หนังสือรวมบทความวิจารณ์หนังเรื่อง 7 Year In Tibet

Page 1


2


3

Climate Emergency นิสิตชั้นปีที่ 3 พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2563 (จำนวน 1,000 เล่ม)

บรรณาธิการบริหาร : กุลนัฐ บานสีดำ ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร : กุลนัฐ บานสีดำ บรรณาธิการ : กุลนัฐ บานสีดำ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : กุลนัฐ บานสีดำ ศิลปกรรม : กุลนัฐ บานสีดำ พิสูจน์อักษร : กุลนัฐ บานสีดำ

ราคา 285


ก4

คำนำ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความวิจารณ์ภาพยนตร์ แนววัตชีวประวัติของนักปีนเขาเหรียญ์ทองโอลิมปิกชาวออสเตรีย ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ทีใ่ ช้ชีวิตอยู่ในทิเบตระหว่างปี ค.ศ. 1944 ถึง 1951 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการรุกรานทิเบตโดยกองทัพ ปลดปล่อยประชาชนจีน ชื่อ 7 Year in Tibet หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาษาไทยว่า 7 ปีโลกไม่มีวันลืม ซึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้ให้อะไร ในหลายๆ อย่างแก่ผู้ชมหลายๆท่านที่ได้ดูในหลายๆ มุมมอง ซึ่งเรา ได้รวบรวมบทความวิจารณ์หนังมาให้ท่านได้ลองอ่านดูว่าภาพยนตร์ เรื่องนี้ได้ให้อะไรกับผู้ชม ให้เราบ้าง และเราหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะ เป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อา่ นทุกๆ ท่านที่ได้หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา อ่านนะคะ กุลนัฐ บานสีดำ


5ข

สารบัญ เรื่อง

หน้า

คำนำ

สารบัญ

- บทความวิจารณ์หนัง7Year in Tibet (ภาพรวมหนัง)

8

- บทความวิจารณ์หนัง7YearinTibet (ตัวละคร)

97

- บทความวิจารณ์หนัง7YearinTibet(มุมกล้อง)

114


6


7


8

บทความวิจารณ์ ภาพรวม


9

7 ปี โลกไม่ลืม “7 Years in Tibet” (ภาพรวมหนัง)

หากจะให้พูดถึงเรื่องราวจากหนังเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้โด่งดังนัก และไม่ได้เข้าชิงรางวัลอะไรมากมาย แต่สำหรับผู้ที่ได้รับชมนั้น กลับ มีความจำให้กับเนื้อเรื่องที่แสนประหลาดนี้ด้วยการเล่าเรื่องที่ หลาก มุมมอง และช่วงการเดินเนื้อเรื่องที่ต่อเนื่อง มันทำให้เป็นเสน่ห์อย่าง หนึ่งของหนังเรื่องนี้ และเตรียมพบกับการ รีวิว 7 ปี โลกไม่ลืมครับ ว่าด้วยการเดินเรื่องของหนัง หนังเรื่องนี้เดินเรื่องเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ช่วงต้น ช่วงกลาง และช่วงท้ายโดยแต่ละช่วงของหนังเรื่องนี้จะแบ่งสัดส่วนเวลาและ เนื้อหาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเรียกได้ว่า เหมือนดูหนัง 3 เรื่อง ใน เรื่องเดียวกันเลยทีเดียว


10

- ช่วงที่หนึ่งคือการเปิดหัวเรื่องโดยที่ตัวเอกต้องเดินทางไป ปีนเขาแบบไม่เต็มใจเท่าไหร่และในระหว่างที่ปีนเขานั้นเขากลับเจอ ปัญหา รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศสงครามกับเยอรมันทำให้กลุ่มปีน เขาของเขาต้องตกเป็นเชลย แบบไม่เต็มใจไปในที่สุด..และในช่วงต้น นี้ เนื้อเรื่องคือการดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการบอกเล่าวิธีการ แหกคุกอย่างแยบยลจากวิธีการปลอมตัว เป็นคนงานและแอบย่อง เดินออกมาอย่างง่ายดาย - ช่วงที่สอง คือ ช่วงที่ดำเนินเนื้อเรื่องยาวในระดับหนึ่ง และ อาจจะยาวที่สุดของหนัง - ช่วงกลางเหมือนหนังเอาชีวิตรอดจากชายหนุ่มที่แหกคุก ออกมา และต้องเดินทางเร่ร่อน ทั้งถูกขับไล่จากชาวบ้าน ทั้งต้องสู้ กับโรคภัย และความหิวกระหาย แทบจินตนาการไม่ออกเลยใช่ไหม ล่ะครับ ? ผมยกตัวอย่างจากหนังดัง อย่างเรื่อง 127 Hours แค่ชื่อ เรื่องทีย่ กมาหลายๆ คนก็คงจะ อ๋อ.. กันอย่างแน่นอนครับ ผมว่าช่วง นี้อารมณ์คล้ายๆ กันครับ เพียงแต่ยังมีความโชคดีที่มีเพื่อนที่ปีนเขา ที่ร่วมกันหลบหนีกลับมาร่วมเดินทางไปด้วยกันครับ ทั้งสองจึงเริ่ม ออกเดินทางไปยังทิเบต และลงเอยที่ปักหลักปักฐานอยู่ในประเทศ ทิเบต และเริ่มมีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแต่งงาน กินอยู่ โดยไม่สนใจคำพยากรณ์ หรือความสัมพันธ์ของคนธรรมดา


11

กับองค์ ทะไล ลามะ เป็นอีก point หนึ่งของหนังที่ทำให้เกิด ความรู้สึกลุ้นและเพลินไปกับหนังเรื่องนี้อย่างมากเลยครับ - ช่วงที่สาม คือ ช่วงที่เกิดสงคราม ระหว่างชาวทิเบต และ เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญไปทั่วโลก เรื่องนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่ได้ ถูกจารึกว่ามีความโหดร้ายเป็นอย่างมาก และนักประวัติศาสตร์หรือ นักสิทธิมนุษยชน ก็มักจะนำเรื่องนี้ไปเป็นตัวอย่างในการบรรยายอยู่ บ่อยครั้งเช่นกันครับ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ไม่ยาวและไม่สั้นมากจนเกินไป นัก แต่กลับทำให้คนที่รู้จักเหตุการณ์นี้และได้มาชมภาพยนตร์เรื่อง 7 ปีโลกไม่ลืมนี้นั้น รู้สึกถึงความโหดร้ายและสะเทือนใจ อย่างมาก แน่นอนครับ

ว่าด้วยประเด็นที่น่าจับมาพูดในเรื่อง ประเด็นในเรื่องนี้มีเยอะมากครับ อย่างผมก็จับได้ไม่ต่ำกว่า 10-15 ประเด็น แต่มีประเด็นหนึ่งที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษครับ นั่นคือ “เชลยสงคราม” เหตุผลหลักๆ ที่ผมคิดว่าประเด็นนี้น่าสนใจ คือ น้อยเรื่อง น้อยความ น้อยสาร ที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้ครับ อาจจะ เป็นเพราะ สิทธิ์มนุษยชน หรือ เรื่องของความเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน แต่เรื่องนี้กลับเลือกที่จะนำเสนอต่างกันออกไปครับ มันจึง ทำให้ผมสนใจและชอบที่ตัวหนังเรื่องนีเ้ ล่าประเด็นมุมนี้ออกมา โดย จากบุคคลที่อยู่ต่างประเทศไม่ได้รู้เรื่องที่เกิดขึน้ อะไรเลย พอรู้สึกตัว


12

ก็กลายเป็นเชลยไปเสียอย่างนั้นแหม๋..เป็นผมก็คงทำตัวไม่ถูกเช่นกัน ครับ.. แต่ทั้งหมดนี้ หากจะให้ยกตัวอย่างจริงๆ ก็มีอยู่มากมายครับ จากหนังเรื่องนี้ทำให้ผม นึกถึงเรื่อง เชลยชาวญี่ปุ่นที่โดนเกณฑ์ไป รบที่สงครามเวียดนามโดยชาวอเมริกา และ หนีตายกันขึ้นไปหลบ บนภูเขา สร้างหลุมหลบภัยและอยู่ในนั้นมานานกว่า 20 ปี (ตรงนี้ จำปีไม่ได้) จนสงครามมันจบไป แต่ก็ยังใช้ชีวิตอยู่ในนั้นจนกระทั่ง วันหนึ่งมีชาวนาไปพบเข้า และ พวกเขาถึงได้ทราบว่า สงครามนั้น มันจบไปนานแล้ว..เป็นเรื่องราวที่ถือว่าแปลก อีกเรื่องเลยก็ว่าได้ ครับ เหมือนกับหนังเรื่องนี้แหละครับ ที่แปลกในการนำเสนอและ แปลกในการเล่าเรื่อง รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่แปลกๆ สรุป เรื่องนี้ มันแปลกแต่สนุกครับ!!


13

บทความวิจารณ์หนัง 7 years in “Tibet” (ภาพรวมหนัง) เรื่องราวของชายคนหนึ่งในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ที่ ได้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของสงครามและทำตามคำสั่งที่ได้รับม Seven years in “Tibet” เรื่องราวของชายคนหนึ่งในช่วงของเหตุการณ์ ในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ที่ซงึ่ ได้ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของ สงครามและทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำ นั่นคือการปีน เขาหิมาลัยเพื่อศักดิ์ศรีของนาซี (เยอรมัน) แต่กลับต้องพบกับจุดสิ้น หวังมากมายเมื่อภารกิจไม่สำเร็จพร้อมอีกทั้งยังถูกจับไปเป็นเชลยที่ ค่ายกักกัน แต่การเดินทางของชายหนุ่มก็ยังไม่จบเพียงเท่านั้น เมื่อ เขาได้ทำการวางแผนที่จะทำการหลบหนีออกมาจากค่ายกักกันได้ และมุ่งหน้าไปยังจุดหมายที่เขาคิดไว้คือ “ทิเบต”


14

เนื้อเรื่องในช่วงก่อน 40 นาทีหลังนั้นจะเป็นการปูทางว่าตัว เอกนั้นเดินทางอย่างไร ใช้ชีวติ อย่างไร ความยากลำบากที่ต้องเผชิญ ก่อนทีจ่ ะเดินทางไปถึงประเทศทิเบต รวมถึงการปฏิบัติตัวเพื่อทำให้ ผู้คนชาวทิเบตยอมรับในตัวเขากับเพื่อนอีกหนึ่งคนที่ได้ร่วมเดินทาง มาด้วยกัน ซึ่งหากว่าถ้าคนที่ไม่ชอบเนื้อเรื่องที่ยืดยาวก็อาจรู้สึกน่า เบื่อไม่น้อยก่อนจะถึงช่วงฉากไคลแม็กซ์ แต่เมื่อมาถึงฉากไคลแม็กซ์ต้องขอบอกตรงนี้เลยว่า ในขณะ ที่ดูคณ ุ จะไม่เสียดายเวลาที่คุณเสียมันไปเลย เพราะฉากที่ชาวจีนบุก เข้ามาเพื่อหวังยึดทิเบตนั้นทำออกมาได้กินอารมณ์เสียเอามากๆ ซึ่ง ภายใต้อารมณ์ของนักแสดง เสียงของซาวน์ รวมถึงบรรยากาศใน การรบที่ทำออกมาทำให้ตัวผู้ดูรู้สึกอินไปกับเนื้อหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะมีความรู้ด้านสงครามมาแล้วแต่หนังก็สามารถทำให้ เราอินกับฉากนี้ได้อยู่หมัดสุดๆ ไม่ใช่เพียงเนื้อหาที่หนังพยายามจะสื่อจะออกมาให้เรารู้สึก ว่าเนื้อเรื่องและอารมณ์จะเข้มข้นแล้ว ก็ยังมีการแสดงของนักแสดง ก็ทำให้เรารับรู้ได้ถึงสถานการณ์ที่ตึงเครียด รับรู้ถงึ ความรู้สึกสิ้นหวัง ที่แสดงผ่านสีหน้าของตัวเอกและตัวละครอื่นๆ แล้วมันยังทำให้รู้สึก ว่าใจของเราเหมือนโดนอะไรบีบแน่นอยู่ตลอดในช่วงเวลานั้น


15

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือซาวน์ดนตรีระหว่างที่เกิดสงคราม เป็นซาวน์ที่ดึงดูดให้ผู้ดูรู้สึกไปตามจังหวะของซาวน์ ยิ่งรู้สึกอินไปกับ จังหวะทีท่ ำให้หัวใจของเราต้องเต้นตึกตักลุ้นไปกับเหตุการณ์ ฉากที่ผู้เขียนอยากจะเขียนบอกเล่าที่สุดคือฉากสงครามที่ แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายในการล่าอาณานิคมของประเทศจีน โดยการให้ชาวทิเบตฆ่ากันเองแล้วค่อยฆ่าชาวทิเบตที่เหลือ หรือการ สังหารหมู่ที่ถึงแม้จะไม่มีเลือดสาดกระเซ็นมากนัก แต่ก็สามารถทำ ให้เรารับรู้ได้ทันทีว่านี่คือความไม่ปราณีใดๆ ของการล่าอาณานิคม ในสมัยนั้น ทั้งการดูถูกเผ่าพันธุ์ชาติกำเนิด การเหยียบย่ำศาสนาที่ผู้ แพ้นับถือ ซึ่งมันแสดงให้เราเห็นถึงแรงกดดันที่ทำให้เรารู้สึกปวดใจ ตาม แต่เราก็ไม่สามารถร้องไห้ออกมาได้ น่าเสียดายที่หลายๆ ฉากที่กำลังจะกินอารมณ์คนดูนั้นบาง ฉากก็ตัดจบแบบงงๆ ก็มีบ้างอาจจะเพราะไม่ต้องการให้หนังยืดยาว จนเกินไปก็เป็นได้ รวมถึงช่วงหลังนี้ตัวเอกมีบทบาทเกี่ยวกับการเข้า สงครามก็เป็นการตัดจบแบบงงๆ เช่นเดียวกัน (ไม่ได้รู้ว่าตัวเอกทำ อะไรบ้างในระหว่างการรบ) อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของผู้เขียนที่เป็นผู้ชื่นชอบหนัง ดาร์คแล้ว และมองในฐานะคนที่ดูหนังแนวดาร์คๆมาหลายปี ต้อง บอกเลยว่า seven years in tibet เป็นหนังแนวสารคดีชีวิตที่แฝง ความดาร์คไว้ข้างในเป็นรสชาติขมๆ จางๆ ภายใต้รสชาติชีวิตของ


16

ชายคนหนึ่ง ด้วยความที่หนังเรื่องนี้ถูกรับประกันอยู่แล้วว่า เป็นหนัง ที่ทำออกมาจากเรื่องจริงจากอัตชีวประวัติของ ไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ ด้วยความที่เป็นเรื่องจริง ความรู้สึกต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดออกมาจึง สื่ออารมณ์ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมและสมจริง ซึ่งมันช่วยทำให้เรา ค่อยๆ รู้สึกได้ถึงอารมณ์ของตัวละครและทำให้เรารู้สึกอินไปกับหนัง อย่างช้าๆ แม้ว่าช่วงแรกๆ ของหนังนั้นในฐานะคนที่ชอบดูหนังแนว ดาร์คๆ หนักๆ สะกดจิตใจตั้งแต่เริ่มเรื่องจึงทำให้รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ น่าเบื่อกว่าที่คิดไว้ในช่วงแรก (แต่ก็อย่างได้บอกไว้ในช่วงหลังก็เลย นั่งลุ้นและ(หัวเราะ)) อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณผู้อ่านทุกท่านหนังเรื่องนี้เป็นหนัง แนวชีวประวัติของชายคนหนึ่งผู้ที่ซงึ่ ต้องฝ่าฝันอุปสรรคระหว่างการ เดินทางที่เข้ามากมายและได้รู้จักกับองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ในช่วง วัยเยาว์ มิตรภาพของคนต่างแผ่นดินที่ช่วยขับเคลื่อนรสชาติหนังให้ เบาจากสงครามลง ด้วยความทีเ่ ป็นหนังแนวชีวประวัติคนซึ่งออก แนวดาร์คคงจะไม่น่าสนใจมากนัก แต่ถ้าคุณอดทนรอจนไปถึงฉาก สงครามได้ พวกคุณที่เป็นคนชอบดูแนวดาร์คเหมือนกับผู้เขียนต้อง ติดตาตรึงใจเช่นกันแน่นอน


17

บทความวิจารณ์หนัง 7 YEARS IN TIBET การเมืองและศาสนาที่ผนวกเข้าไว้ด้วยกัน (ภาพรวมหนัง) การประกาศความเป็นมหาอํานาจ เพื่อช่วงชิงพื้นที่ที่อยู่ และปกครองเมืองที่มีผลพวงมาจากความศรัทธา Seven years in Tibet หรือชื่อภาษาไทยคือ 7 ปีโลกไม่มีวันลืม สร้างจากหนังสือ อัตชีวประวัติของไฮน์ริค แฮร์เรอร์ นักไต่เขาที่ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ทที่ ิเบต ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผลงานการกํากับหนังโดยผู้กำกับชื่อ ดัง อย่างคุณ ฌอง ฌากส์ อันโน นักแสดงตัวหลักคือแบรดพิตต์ และ เดวิด ทีวลิส ออกฉายในวันที่ 8 ตุลาคม 2540 Seven years in Tibet เป็นการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในยุค สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีการล่าอาณานิคม เพื่อประกาศถึงความ ยิ่งใหญ่และความเป็นมหาอํานาจในประเทศของตนเอง และทิเบต เป็นพื้นที่หนึ่งในตัวเลือกแรกของจีนที่จะทําการยึดครองมาเป็นของ


18

ตน (ซึ่งในขณะนั้นปกครองโดยเหมา เจ๋อ ตุง) ฉากหนึ่งของหนังสื่อ ให้เห็นว่าทิเบตนั้นมีองค์ทะไล ลามะ เป็นผู้ปกครองและมีทั้งบุคคล ธรรมดาและพระสงฆ์เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปกครองประเทศ มีการ เปิดประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันเรื่องการเมืองการปกครองต่างๆ อนึ่ง ประเทศ ทิเบตมีการปกครองแบบศักดินาเทวาธิปไตย ซึ่งมีผล มาจากความเชื่อของประชาชนภายในประเทศ การนําเอาพระมาเป็นผู้ที่คอยปกครองประเทศนั้น มีความ เกี่ยวเนื่องกับการปกครองของประเทศทิเบตที่เป็นการปกครองใน รูปแบบของศักดินาเทวาธิปไตย โดยการปกครองนี้เกิดขึ้นจากความ เชื่อที่มีต่อองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 อีกทั้งยังมีความเชื่อต่อจิตวิญญาณ การกลับชาติมาเกิด ห้วงครรลองของธรรมชาติ และศาสตร์อันเร้น ลับ การสลับซับซ้อนที่เกิดขึ้นทําให้กลุ่มชนชั้นผู้นําทางการเมืองได้ ใช้ความเชื่อในเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้มาประกอบสร้างเข้ามาเป็นข้อ ปฎิบัติในชนบธรรมเนียมทางการเมืองขึ้น และผูกขาดเข้าด้วยกัน กับชนชั้นสูง ซึ่งทีท่ ิเบตมีการแบ่งชนชั้นศักดินาอย่างชัดเจน มีการ กระจายอํานาจโดยลดหลั่นกันไปตามฐานะของศักดินา โครงสร้าง ทางการเมืองของทิเบตจึงเกิดเป็นแบบระบบอํานาจคู่ขึ้น โดยมีผู้ทำ หน้าที่ข้าราชการที่เป็นฆราวาสควบคู่ไปกับการที่มีข้าราชการที่เป็น พระ ซึง่ มีไว้เพื่อใช้เป็นผู้คอยคานอํานาจกันและกันภายในประเทศ นั้นเอง


19

“รูปขององค์ทะไล ลามะ ช่วยคุ้มครองเรา” ชายหนุ่มที่เป็น ลูกหาบเอ่ยกับไฮน์ริค หลังจากค่ำาคืนที่พึ่งผ่านพ้นมานั้น ทีแ่ คมป์ โดนหิมะถล่มและตอนเช้าต้องเดินทางกลับตามความเห็นอันสมควร ของหัวหน้าทีมไต่เขาอย่างปีเตอร์ ซึ่งมองว่าไม่น่าจะสามารถเดินขึ้น เขาหิมาลัยต่อไปได้ จึงตัดสินใจให้ทุกคนในทีมเดินกลับลงจากเขาไป ยังด้านล่างแทนที่จะไปต่อ แต่ไฮน์ริคตัดใจจากยอดเขาหิมาลัยที่ตั้ง สูงตระหง่านอยู่ตรงหน้าไม่ได้จึงได้แค่มองตามด้วยแววตามุ่งมั่นแต่ สั่นไหว ชายหนุ่มลูกหาบคนเดิมนํารูปขององค์ทะไล ลามะชูขึ้นเพื่อ นำไปแตะบริเวณหน้าผากของตนเอง จากนั้นยื่นให้กับไฮน์ริค พร้อม ทั้งพูดย้ำๆ ว่า “รูปขององค์ทะไล ลามะ ช่วยคุ้มครองเรา” ในส่วนนี้ ของหนังสอดคล้องกับความเชื่อของชาวทิเบตที่เชื่อกันว่า องค์ทะไล ลามะเป็นร่างอวตารของพระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ที่กลับชาติ มาเกิด เป็นการแสดงถึงความเคารพและเทิดทูน ความเชื่อเหล่านี้มี ผลเกี่ยวเนื่องจากที่ประเทศทิเบตนั้นตั้งอยู่บนเทือกเขาสูง ผู้คนที่มี ศักดินาลดต่ำลงมาจะขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคร่วมถึงยาที่ไว้ ใช้ในการรักษาโรคที่มาพร้อมกับอากาศหนาว อีกทั้งในบางพื้นที่ที่ อยู่บนยอดเขาที่สูงมากออกซิเจนจึงเบาบางกว่าปกติ จึงส่งผลทําให้ ชาวทิเบตประสบกับปัญหาการขาดออกซิเจน ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้เอง จึงนําไปสู่การถูกตีกรอบ โดยประชาชนไปเองว่าเกิดจากการลงโทษ จากสิ่งลี้ลับ


20

ชาวทิเบตมีการนับถือและศรัทธาต่อศาสนาอย่างแรงกล้า จนพลเมืองที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่ของประเทศทิเบตกว่าครึ่ง บวชเป็น พระและปฎิบัติตามคำสอนกันเยอะ จนได้รับฉายานามว่า“ดินแดน แห่งพระธรรม”(land of dharmar) ความศรัทธาเป็น ตัวนําพาให้ ประชาชนที่อยู่ห่างไกลเดินทางมาเยือนยังเมืองลาซา ซึ่งถือว่าเป็นที่ ประทับขององค์ทะไล ลามะผู้เป็นดั่งศูนย์รวมความสงบของจิตใจ มี การเปรียบเปรย และกล่าวถึงให้เราเห็นภาพแห่งความศรัทธานใน บางส่วนของหนัง “ผู้คนเชื่อกันว่าการเดินทางไกลไปเยือนยังพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (ตัวผู้เขียนอนุมานว่าเป็นที่ประทับขององค์ทะไลลามะ องค์ที่ 14 ยัง เมืองลาซา) จะเป็นการช่วยชําระความผิดที่เคยกระทํา ยิ่งหากเดิน ทางไกลมากเท่าใด ยิ่งทําให้บริสุทธิ์มากขึ้นเท่านั้น” ข้อความนี้เป็น ส่วนหนึ่งของข้อความภายในจดหมายที่ไฮน์ริคเขียนถึงรอล์ฟ ผู้เป็น ลูกชายของเขาเอง ขณะที่กําลังออกเดินทางผ่านภูเขาเขียวขจี ทุ่ง หญ้าที่มีดอกไม้แห้งขึ้นเต็มไปหมด และเทือกเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ นั่นหมายถึงว่าไฮน์ริคได้เดินทางมาอย่างยาวนานจนผ่านฤดูกาลที่ได้ แปรเปลี่ยนไปหลากหลายฤดูการ มันเป็นการเดินทางที่เขาไม่รหู้ รือ ทราบได้ถึงจุดหมาย มองเห็นเพียงภูเขาที่รายล้อมและในท้ายที่สุดก็ หยุดพักความเหนื่อยอ่อนที่รอนแรมมานาน ณ เมืองลาชา นั่นจึงทํา ให้เขาคิดได้พร้อมทั้งหวนคิดคํานึงถึงการกระทําผิดของตนที่ได้ผ่าน พ้นมา ความศรัทธาจึงก่อเกิดขึ้นภายในหัวใจของไฮน์ริค ทำให้เขา


21

ได้สัมผัส รู้ถึงคความเลื่อมใส และทำให้เขารู้สึกสงบขึ้นภายในจิตใจ เช่นเดียวกันกับความศรัทธาของชาวทิเบตที่มีต่อองค์ทะไล ลามะ ศรัทธาและความเชื่อที่ไม่สูญสิ้นก่อให้เกิดแนวคิดการสร้าง ความชอบธรรมทางการเมือง ที่ผู้เป็นประมุขนั้นเป็นผู้นําของปวงชน ทั้งทางโลกและทางจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้รับอิทธิผลมา จากศาสนาดั้งเดิมของทิเบตผนวกเข้ากับแนวคิดทางพุทธศาสนา จึง ทําให้เกิดการปกครองแบบระบบคู่ที่มีทั้งฆราวาสและพระปกครอง ขึ้นมา และใช้มาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Seven years in Tibet ถ่ายทอดให้เห็นถึงการปกครอง ของทิเบตได้อย่างลงตัว ความเชื่อ ความศรัทธา การเคารพยกย่อง สรรเสริญและเทิดทูนต่อองค์ทะไล ลามะ ก่อให้เกิดการปกครองที่มี ทั้งฆราวาสและพระ ทําให้เห็นว่าการเมืองและศาสนาสามารถผนวก หลอมรวมเข้าไว้ด้วยกันได้ ถ้าสิ่งนั้นเกิดจากความศรัทธาอันแรงกล้า ของประชาชนนั่นเอง อีกทั้งยังมีส่วนที่มีการสอดแทรกสัญลักษณ์ใน เชิงความหมายแฝงได้อย่างน่าสนใจและแยบยลกลมกลืน ซึ่งนั่นเป็น การสะท้อนให้เห็นถึงการประกาศความยิ่งใหญ่ในการล่าอาณานิคม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีม่ ีการพูดถึงเพื่อเปรียบเทียบต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งได้อย่างลงตัวและสมบูรณ์แบบ


22

บทความวิจารณ์หนัง 7 Year in Tibet การ ถ่ายทอดวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวทิเบตผ่าน บทภาพยนตร์ (ภาพรวมหนัง)

"ศาสนาคือยาพิษ" คำพูดของ นายพลชางจีงวู ประเทศจีน ในภาพยนตร์เรื่อง seven year tibet 7 ปีไม่มีวันลืม กล่าวทิ้งท้าย ก่อนขึ้นเครื่องบินจากไปหลังจากมาเยือนชาวเมืองลาซา เมืองหลวง ของทิเบตในตอนนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นในใจของผู้เขียน ว่าจริงหรือ? เลยอยากจะเขียนบทความวิจารณ์ในมุมของผู้ที่ก็ไม่ได้อินกับศาสนา ขนาดนั้น


23

ศาสนามักจะมาพร้อมกับวัฒนธรรมความเชื่ออันเก่าแก่ที่มี สืบทอดต่อกันมาตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบันของคนในแต่ละพื้นที่นั้นๆ อย่างเช่นที่ทิเบตก็ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ มายาวนาน เรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะแต่ละคนแต่ละ พื้นที่ก็จะมีศรัทธาไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับนายพล ชางจิงวู ที่ได้กล่าว คำพูดนั้นเอาไว้ แต่ในทางกลับกันประเทศที่นับถือพุทธเช่นเดียวกับ ทิเบตก็ไม่ได้มีการทำพิธีกรรมอย่างเดียวกันนั้นเลย จะโทษในเรื่อง ศาสนาเลยก็ไม่ถูต้องสะทีเดียว เพราะทุกสิ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์ถือเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ ของเมืองลาซา ที่มีการสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ทุกยุคสมัยผู้คนล้วนเติม ใจทำ ทั้งยังมีความศรัทธา และเชื่ออย่างสุดหัวใจว่าทุกสิ่งที่เขาทำไป สิ่งที่จะได้กลับมาคือการได้พบความสุขที่แท้จริง สิ่งที่พวกเขาหวังมี เพียงการได้เป็นผู้ที่ละวางสิ่งต่างๆ ได้ เป็นผู้ที่ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ไม่ว่า จะเงินทอง หรืออำนาจก็ตาม เช่นเดียวกับในฉากหนึ่งในภาพยนตร์ ตอนที่คนของคณะทูตจีนชวน นาวัง จิ๊กมี่ ไปทำงานด้วยกัน แต่ คำตอบของเขาที่ตอบกลับไปให้คณะทูตจีน คือ แค่ได้รับใช้ชาติ อย่างซื่อสัตว์เป็นรางวัลเพียงพอแล้วครับท่าน แม้ว่าในตอนท้ายจะ เหมือนเขาหักหลังประเทศก็ตามแต่ก็ทำไปเพื่อไม่ให้มีการนองเลือด ของคนในประเทศเขาเท่านั้นเอง


24

และในแต่ละเดือน จะต้องมีอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 7 วัน ที่ ชาวทิเบตจะต้องจัดงานพิธีกรรมที่พิเศษเฉพาะขึ้นมา ชาวทิเบตเชื่อ กันว่า ในช่วงของวันพิธีกรรมที่มีความสำคัญอย่างนี้ ไม่ว่าจะสร้าง กรรมดีหรือกรรมร้าย ผลของกรรมที่ตยได้กระทำย่อมจะให้ผลอย่าง อนันต์และอย่างมหันต์ ทุกๆ วันพุธชาวทิเบตจึงเชื่อกันว่าเป็นวันที่ เป็นมงคลที่ต้องประกอบพิธีกรรม เพราะเชื่อว่าวันพุธคือวันประสูติ ขององค์ทะไล ลามะ ในวันที่พระจันทร์เต็มดวงพระสงฆ์ก็จะร่วมกัน สวดมนต์ให้พิเศษกว่าวันอื่นๆ เช่นเดียวกันนั้นเองในวันประกอบพิธี สารภาพก็เช่นกัน คือจะมีการสวดมนต์ชนิดพิสดารกว่าวันปกติ ส่วน ชาวบ้านก็จะประกอบพิธีพร้อมกับการรักษาศีลแปดติดต่อกันเป็น เวลาสองวัน (มหาวิทยาลัยมหิดล) และเพราะคนของที่นั่นยังบริสุทธิ์เปรียบเสมือนว่าพวกเขา ไม่ได้หวังลาภยศ หรือเงินทองมากมาย เพียงแค่ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ สุข และได้ทำตามประเพณีของประเทศชาติเพื่อความเป็นศิริมงคล เท่านั้น เหมือนฉากหนึ่งในภาพยนตร์ในงานพิธีแต่งตั้งทะไล ลามะ องค์ที่ 14 ลินปูชีนั้นได้พูดว่า เราขอให้พระองค์เป็นผู้นำชาวทิเบต ทั้งทางโลกและทางธรรม มันเหมือนเป็นความบริสุทธิ์ที่แท้จริงมัน ทำให้เราทึ่งในความเคารพที่ชาวทิเบตมีต่อ ทะไล ลามะ เพราะเหตุ นี้ชาวเมืองถึงได้อยู่กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน และการทำการปฏิบัติตน ในกิจวัตรประจำวันที่น่าสนใจ ทำให้เมืองแห่งนี้ดูมีเสน่ห์ แม้แต่การ ทำความสะอาดบ้านเรือนนั่นก็ถือเป็นพิธีกรรมที่พิเศษแล้ว


25

แต่มันก็มีอีกฉากที่อาจจะสื่อความหมายของคำว่า “ศาสนา คือยาพิษ” ได้อยู่เหมือนกัน คือการที่ทุกคนลุกขึ้นมาเพื่อที่จะสู้กับ รัฐบาลจีน แต่นั่นก็เป็นเพียงเพื่อการปกป้องบ้านเมืองและผู้คนที่อยู่ ในเมือง อีกนัยคืออยากปกป้องวัฒนธรรมอันเก่าแก่นี้ไว้ และหนึ่งใน ความคิดที่คนดูสัมผัสได้คือ ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำของเขาได้จะต้องเป็นผู้ ที่ถูกเลือกโดยพระพุทธเจ้าเพียงเท่านั้น นั่นก็คือ ทะไล ลามะ นั่นเอง ถึงแม้ภาพยนตร์จะปูเรื่องมาให้ชาวทิเบตเป็นผู้ถูกกระทำก็ตาม แต่ก็ เพราะส่วนใหญ่ในภาพยนตร์ที่ชัดเจนที่สุดก็คงเป็นความขาวบริสุทธิ์ ของจิตใจคนในประเทศเท่านั้น แต่ก็ได้ทิ้งปมต่างๆ ให้คนดูได้ขบคิด กันเอง และตีความหมายตามที่ผู้ชมมองเห็นได้ เพราะแต่ละปมที่ ปรากฏในภาพยนตร์ไม่ได้มีการแก้ปมนั้นๆ ออกมาปรากฎให้เราได้ เห็นได้อย่างดชัดเจนมากซักเท่าไหร่ เลยแม้แต่ปมเดียว ดังนั้นส่วนนี้ จึงถือได้ว่าเป็นอีกเหตุผลที่สะกิดใจคนดูได้บ้างว่า หรือมันจะเป็นพิษ จริงๆ แต่อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ทิ้ง ปมเอาไว้มากมายให้ผู้ชมได้คิดต่อยอดต่อจากหลังที่ดูหนังจบ มันให้ อารมณ์เหมือนหนังจบแล้วแต่ความคิดยังไม่จบ และเป็นหนังรางวัล อีกเรื่องที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง นั่นเพราะเราเหมือนได้สัมผัสกับ ความยิ่งใหญ่ และเก่าแก่ทางด้านวัฒนธรรมของชาวทิเบตผ่านการ ถ่ายทอดทางบทภาพยนตร์ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธควรไปเหยียบ และเยือนให้ได้สักครั้ง รวมทั้งการได้รับรู้ถึงบุคคลที่ใครๆ ก็ให้ความ


26

เคารพอย่างองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 และชีวิตการเป็นอยู่แบบเรียบ ง่ายของคนในพื้นที่ที่นับว่าได้เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ผู้สร้างสามารถสื่อ และสามารถถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างดีเยี่ยม แต่ก็ยังคงโทนของ ภาพยนตร์เชิงชีวประวัติได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


27

บทความวิจารณ์หนัง 7 years in Tibet วัฒนธรรมความเชื่อ และแนวปฏิบัติของคนทิเบตในสมันก่อน (ภาพรวมหนัง) จากภาพยนตร์แนวอัตชีวประวัติเรื่อง 7 years in Tibet ที่ ได้รับชมไปแล้วนั้น นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่น่าดูอีกเรื่องเลยก็ว่าได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศาสนา และ วัฒนธรรมความเชื่อของคนทิเบตในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และลึก ซึ่งน่าสนใจ ควรค่าแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ ชอบเรื่องราวแนวประวัติศาสตร์โบราณ สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นว่าคนทิเบตนั้นนับ ถือและให้ความสำคัญกับเรื่องศาสนามากเป็นพิเศษ มีองค์ทะไล ลา มะเป็นตัวแทนศาสนาและเป็นที่เคารพสูงสุดในศาสนา มีความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ อีกหลายๆ ความเชื่อที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการ ปฏิบัติตนต่อชาวต่างชาติ ซึ่งคนทิเบตจะไม่ยินดีหรือยินยอมนักหาก


28

จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามายังประเทศของตน เพราะเคยมีคำ ทำนายว่าเอาไว้ว่า อาจจะมีสักวันที่ศาสนาของคนทิเบตจะถูกบุกรุก ระรานจากชาวต่างชาติ อาจะทำให้ศาสนา ถูกทำลายลง รวมไปถึง องค์ทะไล ลามะอาจจะต้องกลายเป็นสามัญชน นอกจากนี้สิ่งที่กล่าวถึงมากในภาพยนตร์เรื่องนี้คือความ เชื่อของคนทิเบตในสมัยก่อน สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ คนทิเบต เชื่อกันว่า “สัตว์ทุกชนิดบนโลกนี้อาจจะเคยเกิดเป็นพ่อแม่ของเรา เมื่อชาติที่แล้ว” ต้องให้ความเคารพ เช่นการทดแทนสัตว์ผู้มีพระคุณ และไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิต คนทิเบตเชื่อว่าการเดินทางไกลไปยังสถานที่อัน เป็นสถานทีศ่ ักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นั้นถือว่าเป็นการชำระบาปที่ตวั เราเคย ได้ก่อเอาไว้ ยิ่งเราเดินทางด้วยความยากลำบากเพียงใดเราก็จะยิ่ง ชำระบาปที่เราก่อเอาไว้ได้มากเท่านั้น แถมคนทิเบตยังมีความเชื่อ อีกว่าการที่ปรบมือนั้นเป็นการขับไล่ปีศาจขับไล่สิ่งที่ไม่ดี คนทิเบตมีความเชื่อว่าศัตรูคือครูที่ยิ่งใหญ่ เพราะว่าศัตรูทำ ให้ชาวทิเบตมีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ และช่วยให้มีเมตตา และ เชื่อว่า “พลังแห่งศาสนาจะปกป้องพวกเขาจากอันตรายทั้งหลาย” คนทิเบตมีการทักทายที่ทำในสมัยก่อน คือ การแลบลิ้นให้ บุคคลอื่น เปรียบเสมือนการไหว้ทักทายของไทย และคนทีท่ ิเบตมี ประเพณีการต้อนรับผู้คนสำคัญจากต่างถิ่นที่น่าสนใจที่เราจะเห็นได้


29

จากภาพยนตร์ ในที่นี้ในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงการต้อนรับนายพลจาก ประเทศจีน โดยคนทิเบตจะทำพิธีต้อนรับ โดยการนำเนยมาปั้นเป็น รูปพระพุทธเจ้าและรูปต่างๆ แล้วนำรูปปั้นนั้นมาจัดตั้งเอาไว้ตามที่ สถานประกอบงานพิธีด้านนอก หลังจากนั้นก็จะมีการเริ่มทำพิธีสวด คาถาบูชา “เมื่อรูปปั้นที่ทำจากเนยโดนความร้อนจากแสงของดวง พระอาทิตย์เนยนั้นก็จะเริ่มละลาย แสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบน โลกนี้ไม่มีความยั่งยืน ไม่มีความแน่นอน” เรื่องต่อมาในภาพยนตร์ที่จะขอกล่าวถึงต่อจากเรื่องความ เชื่อและวัฒนธรรมก็คือ การที่คนทิเบตปฏิบัติตนต่อองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 โดยคนทิเบตเชื่อว่าองค์ทะไล ลามะเป็นผู้นำทางวิญญาณและ มีความเชื่อว่าท่านเป็นองค์อวตารของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิ์ สัตว์แห่งความเมตตา) เป็นพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ แจ่มใส กรุณา รู้แจ้งทรงนำทางสว่างแห่งสัทธาและปัญญา ซึ่งการเข้าพบพระองค์ ท่าน หากเรายืนเสมอท่านจะต้องน้อมคำนับ มือประนมแสดงความ เคารพพระองค์ ถ้าหากพระองค์นั่งอยู่เราจะต้องนั้งต่ำกว่าพระองค์ ห้ามสบตา ห้ามพูดก่อนท่านรับสั่ง ให้เรียกว่าพระองค์ท่านทุกครั้ง ห้ามหันหลังให้ และอย่าแตะต้องพระองค์ท่านเป็นอันขาด จากสิ่งต่างๆ ทีเ่ ราได้กล่าวมาเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คนทิเบต ในสมัยก่อนได้ยึดถือเป็นใจกลางในการเป็นแนวทางในการปฏิบัติ นับว่าเป็นที่ที่ดีงามที่ควรค่าแก่การที่เราจะสืบทอดขนบธรรมเนียม


30

เหล่านี้เอาไว้ จริงอยู่ที่ว่าการปฏิบัติบางอย่างอาจจะมีความแปลกไป บ้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าวัฒนธรรมใครเป็นแบบไหน สำหรับคนไหนที่ ไม่รู้ว่าวัฒนธรรม ความเชื่อ แนวปฏิบัติ และ ศาสนาของคนทิเบตว่า เป็นแบบไหน และสนใจอยากจะทำการศึกษาประวัติศาสตร์ทิเบต ในสมัยโบราณ แนะนำให้ดูเรื่องนี้ ไม่แน่ว่าใครที่ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ แล้วอาจจะมีความหลงรักในวัฒนธรรมทิเบตก็เป็นได้


31

บทความวิจารณ์หนัง 7 Year in Tibet มิตรภาพต่างชนชั้น (ภาพรวมหนัง)

หนังว่าด้วยการเดินทางของนักปีนเขาชาวออสเตรียชื่อดัง ชื่อ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ที่ต้องมาปีนเขาในนามของเยอรมัน ในสมัยนั้น เยอรมันเรืองอำนาจโดยการปกครองของ อดอฟ ฮิตเลอร์ เขาและ ทีมปีนเขาถูกส่งตัวไปปีนพิชิตยอดเขาหิมาลัย และการปีนเขาครั้งนี้ มิได้เป็นเพียงการปีนเขาธรรมดา แต่กลับแฝงนัยยะบางอย่างเอาไว้ โดยเยอรมันต้องการที่จะประกาศอำนาจผ่านการพิชิตยอดเขาที่ได้ ชื่อว่าไม่มีผู้ใดสามารถปีนไปถึงจุดยอดของมันได้ แต่การเดินทางใน ครั้งนี้ของไฮน์ริค กลับไม่ใช่การเดินทางในแบบธรรมดาทั่วไปอย่างที่ ตัวเขาคิด มันกลับกลายเป็นการเดินทางที่ผ่านเขาไปพบกับเรื่องราว มากมาย ทั้งการเอาขีวิตรอดจากการติดคุกที่อินเดีย การเอาชีวิต รอดจากอากาศหนาวเหน็บ ความอดหยากต่างๆ ที่เขาต้องเผชิญ


32

ตลอดการเดินทาง เขาเดินทางรวมกับนักเดินทางที่สามารถหนีเอา ตัวรอดมาด้วยกันหนึ่งคนนั่นคือ ปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ สองนัก เดินทางที่มีจุดหมายเดียวกันนั่นคือ ลาซา เมืองหลวงของประเทศ ทิเบต สถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของศาสนา ความเลื่อมใส ที่นั่น ไฮน์ริคได้เรียนรู้ และค้นพบมิตรภาพครั้งใหม่กับผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นองค์ จำลองเทพแห่งทิเบต ทะไล ลามะ 7 Year in Tibet จากฝีมือผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ฌอง ฌากส์ อันโน นอกจากนี้ยังเสริมทัพด้วยนักแสดงคุณภาพอย่าง แบรด พิตต์ และเดวิด ทีวลิส รับบทนำของหนังอีกด้วย หนังสร้าง จากหนังสืออัตชีวประวัติของไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ซึ่งก็คือตัวละครเอก ของหนังนั่นเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในปี 2540 นำเสนอด้าน บวกขอองค์งทะไล ลามะ ที่ 14 แต่กลับเสนอภาพลักษณ์ในด้านลบ ของประเทศจีนจากการเข้ารุกราน และบีบบังคับทิเบตให้อยู่ภายใต้ การปกครองของคนจีน นั่นจึงเป็นเหตุให้เมื่อหนังเข้าฉายก็ทำให้เกิด กระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆ ด้าน แต่ที่หนักที่สุดคงเป็นทางด้าน ฝั่งจีนที่สั่งแบนผู้กำกับและนักแสดงทั้งสองเข้าประเทศเลยทีเดียว มิตรภาพ คนต่างชาติ องค์ทะไล ลามะ ความสัมพันธ์ที่ไม่ น่าจะเกิดขึ้นได้ในหนังตัวไฮริช คือ ตัวชูโรงในทุกๆ เรื่อง แน่นอนก็ เพราะว่าหนังเรื่องนี้มันสร้างจากชีวประวัติของเขา แต่ถ้าลองมอง ดีๆ เราจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีบางเรื่องของหนังที่ย้อนแย้ง


33

กับบริบทในประเทศทิเบต ไม่ว่าจะเป็นข้อห้าม หรือกฎข้อบังคับที่ ต้องประพฤติตัวเมื่ออยู่ต่อหน้าองค์ทะไล ลามะ อีกทั้งทิเบตนั้นเป็น ประเทศที่น้อยคนนักที่ชาวต่างชาติจะสามารถเข้าไปใช้ชีวิต เข้าไป ศึกษา หรือหลบซ่อนอยู่ได้นานตามที่หนังได้บอกเอาไว้ หนังชูเรื่อง มิตรภาพระหว่างทะไล ลามะ กับตัวไฮน์ริค ในที่นี้เราไม่ได้มาขัดแย้ง ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่เจ้าตัวเล่ามานั้นเป็นเรื่องโกหกหรือเรื่องแต่ง แต่อย่างใด เพราะทะไลลามะที่ 14 ก็ยังทรงพูดถึงมิตรสหายเก่าแก่ ที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กันมา เพียงแต่อยากจะชี้ให้เห็นถึงความย้อนแย้ง และ ‘ความอะไรนะ ขออีกที’ ในหนังที่เกิดขึ้นหลายๆ อย่าง ในหนังแสดงให้เห็นถึงการเข้าพบองค์ทะไล ลามะ ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย และใช่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าพบพระองค์หรือได้ เห็นพระพักตร์ของพระองค์ได้ ยิ่งสำหรับชาวต่างชาติแล้วนั้นยิ่งแล้ว ใหญ่โอกาสที่จะได้เข้าพบนั้นเรียกได้ว่าน้อยมาก ขั้นตอนการเข้าพบ หรือการที่องค์ทะไล ลามะที่ 14 จะเสด็จไปไหนสักที่นึงนั้น ค่อนข้าง ยุ่งยากและมีขบวนผู้ติดตามยิ่งใหญ่ หากไม่ทรงออกไปไหนก็จะอยู่ แต่ที่พักด้านบนที่อยู่สูงจากบ้านเรือนธรรมดาเป็นอย่างมาก เพราะ พระองค์นั้นถือได้ว่าเป็นคนชนชั้นสูงประดุจเทพ การทำเข้าพบและ ทำความเคารพก็แตกต่างกันไป มีทั้งการกราบไหว้ที่ต้องทรุดตัวไป ลงนั่งกับพื้น เราจะไม่สามารถแตะตัวองค์ทะไล ลามะได้ เว้นเสียแต่ ว่าพระองค์จะเป็นผู้เริ่มกระทำเอง


34

แต่ในฉากการเข้าพบองค์ทะไล ลามะที่ยังคงเป็นเด็กด้วย วัยอยากรู้อยากลอง และพบเห็นชาวต่างชาติที่สามารถอาศัยอยู่ใน ประเทศตนเองได้โดยที่ไม่ถูกสภาขับไล่ออกไปเสียก่อน จึงได้มีการ เชิญตัวไฮน์ริคเข้าพบ ในการเข้าพบครั้งแรกการเข้าพบนั้นทางสภา ไม่ได้อนุญาตให้เข้าพบกับพระองค์ตามลำพังสองต่อสองแต่ทางด้าน องค์ทะไล ลามะกลับใช้แม่ของตนเองเป็นตัวกลางในการพาไฮน์ริค เข้าพบ ทรงถามในหลายๆ อย่างและประพฤติประหลาดกับไฮน์ริค ต่อหน้าต่อตาสภา เช่น การยีผมของอีกฝ่ายเล่น ทั้งที่วัฒนธรรมของ ทิเบตนั้นเคร่งครัดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่กลับไม่ทำอะไรและได้ เพิกเฉยต่อพฤติกรรมการกระทำขององค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ในส่วน นี้อาจจะเป็นเพราะตัวองค์ทะไล ลามะนั้นถือว่าเป็นผู้ที่อยู่สูงสุดของ ทิเบต จึงไม่มีผู้ใดกล้าว่ากล่าวหรือตักเตือน องค์ทะไล ลามะมักที่จะขลุกตัวอยู่กับไฮน์ริชเพื่อถามไถ่ และเรียนรู้ในสิ่งที่พระองค์สงสัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ไฮน์ริคยังเป็นผู้ คอยสอนวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ให้กับพระองค์ทั้งที่ตนเอง เป็นชาวต่างชาติแต่กลับถูกปฏิบัติตนเป็นคนสำคัญ ซึ่งจุดนี้ที่มันขัด กับธรรมเนียมปฏิบัติและจารีตของประเทศทิเบตเป็นอย่างมาก หากจะอ้างถึงเพราะองค์ทะไล ลามะทรงโปรดแล้ว ก็เห็นจะเป็นไป ไม่ได้ เพราะแม้ทิเบตจะนับถือองค์ทะไล ลามะ เป็นอย่างมาก แต่ ประเทศทิเบตก็ยังมีสภาคอยถกเถียงเรื่องที่เหมาะสม เรื่องที่ควรทำ หรือไม่ควรทำอยู่ดี


35

นอกจากการประพฤติตนของทะไลลามะกับไฮน์ริชนั้นจะ ละเมิดต่อกฎของบ้านเมืองในหลายๆ ข้อ ทั้งการลดตัวลงมานั่งเสมอ กัน การแตะเนื้อต้องตัว ห้ามสบตาหรือมองหน้าทะไลลามะโดยตรง ก็ดี ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นเรื่องที่ในหนังละเลยอยู่ไม่น้อย สิ่งเหล่านี้ ทำให้กฎการประพฤติตัวกับองค์ทะไล ลามะดูไม่น่าเชื่อถือ การที่ให้ ความสำคัญกับชาวต่างชาติมากเสียจนขัดกับวิสัยของประเทศทิเบต ที่มีการปกครองแบบการปกคองรตนเอง และไม่นิยมต้อนรับชนชาติ อื่นเข้ามาเดินป้วนเปี้ยนในประเทศนั่นก็อีก อีกทั้งคนต่างชาติเหล่านี้ กลับมีพฤติกรรมรักและซื่อสัตย์กับประเทศทิเบตมากกว่าชาวทิเบต ที่ทรยศประเทศของตน อย่างเช่น ในฉากที่รัฐมนตรีทรยศหักหลัง ทิเบตให้จีนเข้ามายึดครองประเทศทิเบตได้ และทำให้ทิเบตสูญเสีย ประชากรไปเป็นจำนวนไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตามหนังเรื่องนี้ก็ให้คุณค่ามากกว่าจุดเล็กๆ ที่ ย้อนแย้งจนสามารถมองข้ามไปได้แบบไม่มีที่ตนิ ั่นก็คอื มิตรภาพที่ สวยงามที่ก่อเกิดขึ้นนั้นเอง เพราะไม่ว่ามันจะเกิดขึน้ กับใครหรือชน ชาติไหนก็ตาม อย่างเช่นจุดเด่นของหนังที่ต้องการชูเรื่องนี้มากที่สุด เลยส่งผลให้จุดย้อนแย้งพวกนี้สามารถถูกกลบลบทิ้งได้อย่างเรียบ ง่ายและง่ายดาย เพราะคุณค่าที่ได้จากหนังนั้นมีมากกว่าจึงถือได้ว่า ไม่มีอะไรน่าตะขิดตะขวงใจ ดูจบแล้วทำให้ย้อนกลับไปคิดได้หลาย เรื่อง


36

บทความวิจารณ์หนัง 7 Year in Tibet (ภาพรวมหนัง)

เป็นหนังที่หยิบยกมาทำให้เห็นหลากหลายมุมมองทั้งใน เรื่องของความเชื่อศาสนาวัฒนธรรมปัญหาสงครามซึ่งทำให้ตัวของ หนังมีความกลมกล่อมแต่ก็แอบมีการตั้งคำถามในหลายๆ ช่วงของ หนังอยู่พอสมควร เพราะหากใครที่ไม่เคยได้ฟังเรื่องราวความเชื่อ ประเพณีรวมถึงวัฒนธรรมของชาว Tibet ก็ต้องเกิดความไม่เข้าใจ ในตัวเนื้อเรื่องอย่างแน่นอนแถมแต่ละฉากที่หยิบยกสิ่งเหล่านั้นเข้า มาเป็นส่วนประกอบในเรื่องก็ไม่ได้มีการอธิบายให้ผู้ชมเข้าใจอย่างที่ จะเป็น ทั้งภาษาที่ไม่ได้มีคำแปลขึ้นมาให้ เพราะมีจังหวะที่เราฟัง แล้วเกิดความไม่เข้าใจเยอะมาก ชาวทิเบตมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง จะอยู่ ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาทิเบต-พม่า และมีสำเนียงสามแบบ


37

คือสำเนียงเว่ยจิ้ง สำเนียงดัง และสำเนียงอานตัว นอกจากในเรื่อง จะไม่มีคำแปลแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นอีกอย่างตอนดูหนังคือพระกับมีส่วน ในการปกครองประเทศซึ่งหากท่านผู้ชมไม่ได้มีข้อมูลในตรงนี้ก่อนดู จะทำให้สงสัยได้ว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร เราว่าในเรื่องน่าจะ มีรายละเอียดอธิบายสักนิดก่อนเข้าสู้เนื้อเรื่อง เพราะชาวทิเบตจะมี ความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิดหรือที่ชาวท้องถิ่นเรียกกันว่า "ตุลฎ" ที่ให้นิยามเอาไว้คือผู้ที่เลือกจะกลับมาเกิดใหม่เพื่อโปรดสัตว์ ช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ซึ่งชาวทิเบตมองว่าการกลับชาติมาเกิดนั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ที่พิเศษไปกว่าการตุลฎ คือการกลับมาเกิด ขององค์ทะไล ลามะ หรือเรียกว่าการอวตารมาเกิดใหม่ก็ได้ในจุดนี้ ชาวที่เบตจึงเกิดความเลื่อมใสและมีความศรัทธาอย่างมากในองค์ ทะไล ลามะ และพระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นพระองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 แล้วพระองค์ยัง ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดทั้งการเมืองศาสนาและอื่นๆ กล่าวโดยรวม รวมคือเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และพระสังฆราช ส่วนในด้านศาสนา และความเชื่อเดิมชาวทิเบตนับถือศาสนาเป็นเจี้ยว หรือที่เรียกกัน ว่าศาสนาคำ มีการพัฒนา 3 ขั้นคือ ขั้นที่หนึ่งที่เป็นหรือการภักดี ขั้น ที่สองเชียเป็นหรือการเผยแพร่ ขั้นที่สามเลี้ยวเป็นหรือการนับถือ ซึ่ง หลังจากศตวรรษที่ 7 ก็เกิด 1 ความขัดแย้งกันในข้อปฏิบัติทาง ศาสนา ปัจจุบันชาวทิเบตจึงเรียกศาสนาพุทธว่า "หนางปาฉวีหรือ ศาสนาลามะโดยแบ่งแยกออกเป็นนิกายเช่นนิกายหนงหม่า ซึ่งก็คือ


38

นิกายดั้งเดิมเรียกทั่วไปว่าศาสนาแดง นิกายซ่าเจีย คือ นิกายเทา เรียกทั่วไปว่านิกายดอกไม้นิกายกำจวี คือ นิกายเผยแผ่ศาสนาเรียก ทั่วไปว่าศาสนาขาว และนิกายกำลังที่หมายถึงนิกายเทศนา นอกจากนี้ในเนื้อเรื่องเหมือนกับว่าชาวทิเบตไม่ต้อนรับ ชาวต่างชาติให้เข้ามาในเมืองทั้งการตบมือขับไล่การแลบลิ้นของชน เผ่าทิเบตแต่จริงๆ แล้วอีกฉากที่มีการคล้องผ้าสีขาวที่คอคือการห่า ดำ สิ่งนั้นจริงๆ แล้วคือการต้อนรับและแสดงถึงความเคารพสูงสุด นั้นเอง ต่อไปอีกฉากที่ในเรื่องไม่ได้อธิบายเหตุผลไว้ก็คือการกราบ แบบชาวทิเบตเพราะในเรื่องจะมีจังหวะที่มีผู้คนกำลังโน้มตัวกราบ ไปกับพื้นตลอดทาง ซึ่งชาวทิเบตเรียกการกราบแบบนี้ว่ากราบแบบ อัษฎางคประดิษฐ์เป็นเอกลักษณ์ของชาวพุทธทิเบต เพราะเป็นการ นอนราบติดพื้นทั้งตัวโดยให้ร่างกาย มือ 2 ข้าง เข่า 2 ข้าง เท้า 2 ข้าง ลำตัว และหน้าผากรวม 8 จุดติดไปกับพื้นหรือเรียกอีกอย่างว่า ชากเซลชาก Chog หมายถึงกายศักดิ์สิทธิ์วาจาศักดิ์สิทธิ์ และจิต ศักดิ์สิทธิ์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายส่วนเซล Tsel คือการอุทิศตน อย่างจริงใจและจริงจังที่จะเดินรอยตามพระพุทธศาสนาตามทางที่ ถูกต้องมุ่งสู่การเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งมีความเชื่อกันว่าชาวทิเบตจะ กราบไหว้แบบอัษฎางคประดิษ์ถึง 100, 000 ครั้งในการแสวงบุญไป ยังวัดโจคังเมืองลาซาของทิเบต ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญมีประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 1, 360 ปี ต่อไปในเรื่องที่ขอชื่นชมคือการแต่งกายดู เป็นธรรมชาติตรงกับบรรยากาศชีวิตจริงของชาวทิเบตโดยชุดของ


39

ทะไล ลามะจะเรียกว่าชุดไตรจีวร โดยการนำเศษผ้าที่มีสีและขนาด ต่างกันเอามาต่อขึ้นเป็นผืนสวมรองเท้าบูทและสวมหมวกของพระ ส่วนประชาชนชายจะสวมเสื้อคลุมยาวแขนยาวหญิงจะเป็นแบบมี แขนและไม่มีแขนเสื้อซึ่งเป็นเสื้อที่ทำมาจากขนแกะและหนังสัตว์


40

บทความวิจารณ์ภาพยนตร์ 7 years in Tibet (1997) (ภาพรวมหนัง)

จากเชลยสงครามสู่การเป็นครู ความยิ่งใหญ่ที่แสดงออกมา อย่างสุดแสนธรรมดา ภาพยนตร์ที่สะท้อนในอีกแง่มุมที่เราไม่รู้ของ องค์ทะไล ลามะที่ 14 ผู้นำด้านจิตวิญญาณสูงสุดของทิเบต ผ่าน สายตาของ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ นักปีนเขาชาวออสเตรียที่ใช้ชีวิตอยู่ใน ทิเบต ระหว่างปี ค.ศ.1944 -1951 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึง การรุกรานทิเบตโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน 7 years in Tibet หรือในชื่อไทย เจ็ดปีที่โลกไม่มีวันลืม กำกับโดย ฌอง ฌากส์ อันโน และเรียบเรียงเป็นบทภาพยนตร์ใหม่ โดย เบคกี้ จอห์นสตัน นำแสดงหลักโดย แบรด พิตต์ รับบท ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ และ เดวิด ทีวลิส รับบท ปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ ภาพยนตร์ เรื่องนี้มีที่มาจากหนังสืออัตชีวประวัติ ถูกเขียนจากเรื่องราวทั้งหมด


41

ที่เกิดขึ้นจริงของ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ จากการหลบหนีการเป็นเชลย สงครามจนได้พบกับองค์ทะไล ลามะที่ 14 ในวัยเด็กซึ่งในภาพยนตร์ เรื่องนี้จะเล่าถึงระยะเวลาตลอดเจ็ดปีที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองลาซา ประเทศทิเบตที่ไฮน์ริค สอนเรื่องราวต่างๆ บนโลกให้กับพระองค์ ทะไล ลามะ ที่ 14 ในวัยเยาว์และพระองค์เองก็สอนเรื่องเกี่ยวกับ ความเชื่อ ความสงบที่ลึกเข้าไปในหัวใจให้กับเขาเช่นกัน จนกระทั่ง ตัวไฮร์ริคได้เรียนรู้ ได้เติบโตทางจิตวิญญาณ และได้เติบโตในหัวใจ จนยอมรับตัวเองและพบความสุขในที่สุด ก่อนจะเข้าสู่บทวิจารณ์ เราขอบอกเอาไว้ก่อนว่าด้านล่างนี้ มีการสปอยเนื้อหาบางส่วนนะคะ ถ้าหากใครยังไม่ได้ดู หรือหาอ่าน รีวิวก่อนรับชมภาพยนตร์ ก็ขอให้ข้ามบทความนี้ไปก่อนนะคะ ทุกๆ คนเมื่อพูดถึงองค์ทะไล ลามะ สิ่งแรกที่นึกถึงก็คงจะ เป็นความยิ่งใหญ่ ความเปี่ยมความสามารถของพระองค์ท่าน ซึ่งใคร หลายๆ คนก็อาจมีพระองค์เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิต หรือแม้แต่ใน การแก้ปัญหาความขัดแย้งในหลายๆ ครั้งก็สามารถนำการปฏิบัติตน ของพระองค์มาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ภาพยนตร์ เจ็ดปีที่โลกไม่มีวันลืม มีมุมมองการนำเสนอ ที่ชูองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ในด้านที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าจะเป็น ตั้งแต่มุมมองของภาพยนตร์ที่ใช้ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ เป็นตัวดำเนิน เรื่องเสมือนกับเป็นสายตาของเราที่มองเห็นพระองค์ท่านด้วยตาคู่นี้


42

ของตนเอง ด้วยการใช้ตัวละครเป็น Point of View ส่งผลให้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่าเสมือนได้เข้าใกล้องค์ทะไล ลามะ ในวัยเยาว์ด้วยตัวเองได้อย่างใกล้ชิดเลยทีเดียว ความที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องในขณะที่องค์ดาไลลามะ ที่ 14 ยังเป็นวัยเยาว์ ดังนั้นภาพจำที่เราทุกคนมีต่อพระองค์ท่าน ล้วนแต่ยังไม่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ในภาพยนตร์จึงมีมุมมองที่ตัวเราสามารถ จับออกมาได้ว่า องค์ทะไล ลามะนั้นเป็นเพียงพระสงฆ์คนธรรมดา เท่านั้น ด้วยความที่พระองค์เป็นคนที่มีความคิดความอ่านแบบนั้น จริงๆ ประกอบกับเมื่อนำเสนอในแง่มุมนี้เรารู้สึกว่าคนดูจะสามารถ อินตามได้ง่ายกว่ามาก อย่างหนึ่งที่เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งใจให้เรามองว่าองค์ ทะไล ลามะคือคนธรรมดา คือเรื่องกฎต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะต้อง อยู่ต่ำกว่าพระองค์ท่าน ห้ามสบตา ห้ามพูดก่อน และอีกมากมายใน ภาพยนตร์ที่ร่ายมาจนฟังแทบไม่ทัน เราจะเห็นได้ในหลายๆ ฉาก ของภาพยนตร์ว่าตัวพระองค์เองนั้นไม่ค่อยถืออะไรสักเท่าไหร่ ไม่ว่า จะการที่ลงมานั่งเสมอกับไฮน์ริค ในฉากที่พระองค์ฝันร้าย หรือฉาก ซ่อมกล่องดนตรีนั้นก็สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน ประกอบกับคำพูดขององค์ทะไล ลามะในเรื่องในหลายๆ ประโยคที่พระองค์พูดออกมาก็ล้วนแล้วแต่สื่อถึงความธรรมดาๆใน ทุกๆ คำทั้งสิ้น แต่ที่เราคิดว่าชัดเจนที่สุดคงเป็นประโยคที่ว่า “My


43

experience of such things is limited. I am a simple Buddhist monk. All I know is the scripture and the words of Lord Buddha.” ในฉากที่นายพลจากจีนเข้าพบ ตัวขององค์ ทะไล ลามะในวัยเยาว์ นั่นเอง ด้วยตัวพระองค์ก็มองว่าตนเป็นเพียง พระสงฆ์ธรรมดาที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องการทหารหรือเรื่องราวโลกอัน กว้างใหญ่ใบนี้มากมายอะไรนัก เป็นเพียงผู้ที่มีความรู้ในด้านคำสอน ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ในอีกแง่หนึ่ง เหมือนกับว่าผู้กำกับและคนเขียนบทได้แฝง ข้อคิดบางอย่างซ้อนทับมาในหนัง นั่นคือไม่มีใครยิ่งใหญ่ หรือเก่ง โดยไร้ซึ่งการฝึกฝน คนทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง มี จุดสูงสุดและต่ำสุดเป็นของตนเอง ตัวพระองค์ทะไล ลามะในขณะ นั้นเองก็เป็นเพียงเด็กคนหนึ่งที่อยากจะฟังเพลง ดูหนัง หรือขับรถ เหมือนกับคนธรรมดาๆ ทั่วไป แต่เพราะตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ พระองค์จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาดึงเอาศักยภาพสูงสุดของตัวเอง เพื่อให้คู่ควรกับตำแหน่งนั้น ปัจจุบัน องค์ทะไล ลามะมีอายุ 85 ปี และประทับอยู่ที่ ประเทศอินเดีย ในส่วนของเมืองลาซาก็ยังคงเป็นเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวพุทธผู้นับถือนิกายทิเบตมุ่งฝันจะไปให้ถึงให้ได้ซักครั้งในชีวิต และพระราชวังโปตาลากลายเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานสักการะที่อยู่


44

สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยทางองค์กรยูเนสโกได้ประกาศให้ เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมแล้วเรียบร้อย เจ็ดปีที่โลกไม่มีวันลืม เป็นอีกภาพยนตร์กึ่งอัตชีวประวัติที่ น่าสนใจ และมีรายละเอียดยิบย่อย มีเนื้อหา ที่ถึงแม้จะมีความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ไม่มากก็สามารถเข้าใจได้ บวกกับการรับบทบาท และการแสดงของนักแสดง ทำให้เหมือนกับว่าเราได้ไปสัมผัส ไปอยู่ ตรงนั้นจริงๆ แม้จะมีในบางจังหวะที่หลุดความสนใจออกไปหน่อย หรือฉากที่ตัดสลับไปมาแบบงงๆ อยู่บ้าง แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถือ ว่าเป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีความสอกนสนใจในภาพยนตร์ แนวกึ่งอัตชีวประวัติ หรือคนที่อยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ ทะไล ลามะที่ 14 เพราะไม่ใช่แค่ตัว ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ เท่านั้นที่ได้เติบโตขึ้น หลังจากจบเรื่องราวในครั้งนั้น แต่ตัวเราเองก็ได้เติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับตัวละครและภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน ตลอดระยะเวลาที่ภาพยนตร์ ถ่ายทอดออกมานั้น จะว่าเวลาสองชั่วโมงเป็นเวลาที่สั้นก็สั้น หรือจะ ว่ายาวแสนยาวก็ไม่ผิด แต่เวลาสองชั่วโมงตลอดภาพยนตร์ทำให้เรา ตระหนักได้ถึงอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งข้อคิดดีๆ ที่แฝงมากับเนื้อเรื่อง หรือแม้แต่คำสอนต่างๆ ก็เหมือนจะสลักตรึงอยู่ในใจเราเช่นกัน


45

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years in Tibet (ภาพรวมหนัง) นิสัยและวัฒนธรรมของคนตะวันตกและคนตะวันออกที่มี ความแตกต่างบางครั้งก็นำไปสู่การล้อเลียนทางวัฒนธรรมหรือเห็น เป็นเรื่องตลกจะยกตัวอย่างฉากในเรื่อง 7Years in Tibet คนเอเชียมีความเชื่อว่า ชาวตะวันตกมีนิสัยที่เรียกว่า ตัว ใครตัวมัน ไม่เหมือน น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า เพราะประเทศทางแถบ ตะวันตกหนาวและมีสี่ฤดูรวมทั้งต้องทำงานอย่างรวดเร็วด้วย จึงมี คำกล่าวไปทั่วทั้ง ทวีปอเมริกา ยุโรป และ ออสเตรเลียด้วยว่า "Help yourself" แปลว่า บริการตนเอง ด้วยเหตุนี้ชาวตะวันตกจึงมีลักษณ นิสัยไม่เหมือนชาวเอเชีย ที่สำคัญคือ ชาวตะวันตกมีวัฒนธรรมที่ แตกต่างจากชาวเอเชีย เมื่อเขามีครอบครัวจะแยกทางจากพ่อแม่ไป เมื่อตอนเด็กพ่อแม่จะสอนให้ลูกกล้าเผชิญความไม่แน่นอน ด้วยเหตุ


46

นี้ชาวเอเชียบางคนจึงเข้ากับคนตะวันตกไม่ได้ ส่วนนิสัยเป็นผู้ที่ใช้ เหตุผล (วิทยาศาสตร์) มากกว่าอารมณ์ มีความมั่นใจในตนเอง และ มีความเป็นปัจเจกมากกว่า เพราะพวกเขามีประวัติศาสตร์ที่เรียนรู้ และชินชากับระบบทุนนิยม และแนวความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่ง สอนให้คิดอย่างเป็นระบบ มีหลักการและเหตุผลชัดเจน แต่ก็เคารพ ในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เช่น ใครมาเข้าแถวก่อน คนๆ นั้นจึงมี เหตุผลเพียงพอที่ควรจะได้รับคิวก่อนหน้าเรา เรามาช้ากว่าเขา เราก็ ควรที่จะได้คิวหลังคนที่มาก่อน การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเช่นนี้ ทำให้ไม่เกิดการแซงคิวเกิดขึ้นนั่นเอง ส่วนนิสัยและวัฒนธรรมของคนเอเชีย มีความคิดเรื่องของ กฏระเบียบในชุมชนหรือกลุ่มขึ้นมาในเลือดเนื้อ ในการปฏิบัติรักษา วัฒนธรรมดั้งเดิม เมื่อเราเป็นสมาชิกในชุมชน เราจึงต้องคำนึงถึง ผลกระทบของเรื่องต่างๆ มากกว่าแค่ตัวเราเอง เป็นต้นกำเนิดนิสัย เอกลักษณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น ความเกรงใจ การเคารพเจ้านาย ผู้ใหญ่ ผู้ อาวุโส ไม่กล้าพูดติตรงๆ เพราะกลัวจะเสียน้ำใจ หรือเข้าแถวอย่าง กระจัดกระจาย ด้วยความที่ชาวตะวันตกมีนิสัยมุมมองความคิดและมี แนวทางปฎิบัติวัฒนธรรมที่แตกต่างจากชาวเอเชียทำให้เกิดการ ล้อเลียนหรือเห็นเป็นเรื่องที่ขำขันหรือเข้าใจผิดเพราะการกระทำ บางอย่างมีความหมายตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง


47

ยกตัวอย่างฉากในเรื่อง7Years in Tibet นาทีที่ 34:34 ชาวทิเบตจะมีความเชื่อในเรื่องของสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์เชื่อคำทำนายจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่ต้อนรับชาวต่างชาติ มองชาวต่างชาติเป็นปีศาจและขับไล่ ส่วนพระเอกกับเพื่อนก็จะเชื่อ ในเรื่องเหตุและผลมากกว่า เนื่องจากมุมมองทางด้านวัฒนธรรมของ ประชาชนชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะเชื่อเรื่องที่พิสูจน์ได้ นาทีที่ 36:43 ล้อเลียนภาษา จากความแตกต่างทางด้าน ภาษาและวัฒนธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการล้อเลียนกันได้ นาทีที่ 37:32 การปรบมือคือการขับไล่เป็นวัฒนธรรมของ ชาวทิเบตแต่ในทางกลับกันการปรบมือแบบสากลคือการแสดงออก ถึงความยินดีหรือชื่นชม นาทีที่ 40:19 แลบลิ้นคือการทักทาย ชาวทิเบตจะดึงหูทั้ง สองข้างของตัวเองไว้พร้อมแลบลิ้น นาทีที่ 59:59 เปมาลากี มองว่าการแต่งตัวของชาวต่างชาติ เป็นชุดพิลึก นาทีที่ 1:18:55 องค์ดาไลลามะยีหัวพระเอก แล้วพูดล้อสี ผม “หัวเหลือง หัวเหลือง”


48

นาทีที่ 1:21:48 พระเอกหัวเราะความเชื่อของชาวทิเบต เรื่องมีความเชื่อว่าห้ามทำลายหรือทำร้ายสัตว์ทุกชนิดเพราะชาติที่ แล้วอาจเคยเกิดเป็นพ่อแม่ของเราในชาติที่ก่น เพราะชาวตะวันตก แนวความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา มุมมองความคิดและมี แนวทางการปฎิบัติทางวัฒนธรรม ในแต่ละชนชาติก็มีความแตกต่าง กันออกไปหลากหลายรูปแบบ ซึ่งถ้าหากเรานั้นยึดเอาชนชาติเรา เป็นศูนย์กลางก็จะมองชนชาติอื่นว่าเป็นเรื่องตลกสิ้นดี ที่มีความคิด หรือขนบธรรมเนียนแบบนั้น แต่ถ้าหากเราลองมองลึกลงไปก็คงเป็น เพราะแนวความคิดความเชื่อที่บรรพบุรุษถ่ายทอดกันมายาวนาน จนหล่อหลอมให้ชาตินั้นๆ มีวัฒนธรรมและแนวทางการปฎิบัติแบบ นั้นโดยต้องใช้ความเข้าใจ อย่าไปล้อเลียนเพราะอย่างไรก็ตามการ ล้อเลียนทางวัฒนธรรมก็เป็นสิ่งไม่ควรทำ


49

บทความวิจารณ์หนัง 7 Year in Tibet สงครามของโลกที่สาม (ภาพรวมหนัง)

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เชลยศึกที่หนีมาได้รายหนึ่ง เดินทางไปยังทิเบตพร้อมกับภารกิจบางอย่างที่ต้องปฏิบัติ และที่ นั่นเองเขาได้พบกับองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ด้วยบริบทที่แตกต่าง อีก ทั้งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งในที่สุดมิตรภาพที่เกิดขึ้นนั้น ก็เปลี่ยนแปลงมุมมองต่อชีวิตของเขาตลอดไป ภาพยนตร์อเมริกันเรื่องนี้ฉายในปี 1997 มีความยาว 2 ชั่วโมง 16 นาที ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยฌอง ฌากส์ อันโน โดย สร้างจากหนังสือที่เขียนจากประสบการณ์จริงของ “ไฮน์ริค แฮร์ เรอร์” นักปีนเขาเหรียญทองโอลิมปิก แสดงนำโดยแบรต พิตต์ เรื่องราวนี้เริ่มขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไฮน์ริค นักปีนเขา ชาวออสเตรียกับทีมงาน ตั้งใจจะไปพิชิตยอดเขาที่สูงอันดับเก้าของ


50

โลก ในแถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ทำไม่สำเร็จ อีกทั้งยังถูกทหาร อังกฤษจับกุมเพราะทั้งสองประเทศประกาศสงครามกัน เขาพยายามหนีออกจากค่ายหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ แถม ภรรยาของเขาก็ยัทำการงส่งจดหมายมาขอทำการหย่าอีกต่างหาก แต่การหนีครั้งสุดท้ายก็สำเร็จจนได้โดยร่วมกับพวกที่เป็นนักปีนเขา ด้วยกัน หลังจากที่เขาหนีออกมาได้สำเร็จแล้วเขาก็ได้แยกตัวออก จากกลุ่ม ตระเวนไปทั่ว แล้วเขาก็ได้ตัดสินใจเดินทางเพื่อมุ่งหน้าเข้า ไปยังประเทศทิเบต โดยมีเพื่อนนักปีนเขาอีกคนร่วมทางมาด้วย แต่ กว่าจะเข้าทิเบตได้ต้องเจออุปสรรคมากมาย ด้วยเหตุว่าทางด้านคน ทิเบตไม่ต้อนรับคนต่างชาติ เมื่อเขาเข้าทิเบตได้ และมาถึงเมือง หลวงคือ ลาซา โดยมีข้าราชการใหญ่ให้การรับรอง เขาได้งานให้ สำรวจเมืองหลวง เมื่อรู้ข่าวว่าสงครามโลกจบลงเขาตั้งใจจะเดินทาง กลับบ้าน แต่ได้รับจดหมายจากลูกชายว่าไม่รับว่าเขาเป็นพ่อ ทำให้ เขาเสียใจ และจังหวะพอดีกับองค์ทะไล ลามะ (ตำแหน่งผู้นำทาง ศาสนาของทิเบต) ให้เขาเข้าเฝ้า ซึ่งฉากเริ่มต้นพระองค์ท่านยังเป็น เด็กอยู่ เป็นเหตุให้เขาจึงอยู่ทิเบตต่อ และสอนหนังสือและเป็นเพื่อน กับพระองค์ ทำให้พระองค์ทะไล ลามะ ได้เข้าใจสิ่งต่างๆ มากมาย เกี่ยวกับโลกภายนอกที่ตัวของพระองค์ไม่เคยได้เข้าใจและรับรู้ คลัน ต่อมาจีนคอมมิวนิสต์ประกาศว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน และนำ กำลังเข้ามายังิเบตเพื่อทำการรุกรานทิเบต ทางทิเบตเองก็พยายาม ต่อสู้แต่ไม่สามารถต้านทานได้ สุดท้ายต้องขอยอมแพ้ โดยจีนยอม


51

ให้สิทธิปกครองตนเอง และสิทธิในการนับถือศาสนาแต่ต้องยอมรับ จีนเป็นผู้นำทางการเมือง เขาวางแผนจะพาองค์ทะไล ลามะหนีออก นอกประเทศ แต่พระองค์กับไม่ไป เขาจึงได้เดินทางออกจากทิเบต เพียงคนเดียว เขากลับมายังออสเตรียและกลับมาเยี่ยมลูกชายซึ่งโต พอจะเข้าใจเขา และเขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น ทำให้โลก ได้รับรู้เรื่องราวของทิเบต สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าคนดูจะได้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง คือ ฉาก ตอนที่เขาช่วยสร้างโรงหนังให้องค์ทะไล ลามะ ต้องขุดดินซึ่งมันทำ ให้ไส้เดือนที่อาศัยอยู่ในดินต้องตาย คนทิเบตเชื่อเรื่องการกลับชาติ มาเกิด ไส้เดือนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาจจะเป็นแม่ของเราเมื่อชาติที่ แล้ว คนทิเบตจึงมีทัศนคติความเชื่อที่จะไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และต้องให้ความเคารพ เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณ (ความเชื่อ) และฉากขององค์ทะไล ลามะ ตอนอายุสิบกว่าปี ต้อนรับนายพลจีน แสดงถึงความน่านับถือและสติปัญญาของท่านเช่นกัน ท่านทักทาย และพูดกับนายพลจากจีนว่า “คำสอนของพุทธองค์ ว่าไว้ว่า ทุกคน กลัวอันตราย และความตาย ไม่มีใครไม่รักชีวิต เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว เราจะไม่ฆ่าใคร ท่านต้องเข้าใจ คำสอนนี้ฝังอยู่ในใจชาวทิเบตทุกๆ คน เราจะเป็นชนชาติที่รักความสงบ ยึดหลักปฏิเสธความรุนแรง อาตมาสวดมนต์ขอให้ท่านประจักษ์ว่านี่คือความเข้มแข็ง ซึ่งหาใช่ ความอ่อนแอ” และมีฉากหนึ่งที่ Kungo Tsarong กล่าวกับ ผู้สำเร็จ ราชการ ได้ความว่า เป็นห่วงคนต่างชาติสองรายนั้นจะติดคุกหากทั้ง


52

คู่ต้องข้ามแดนไปอินเดีย และทิ้งท้ายว่า “ช่วยคนตกทุกข์ไม่ต้องมี เหตุผล” สะท้อนให้เห็นถึงความมีเมตตาของคนทิเบต ฉากที่ยกระดับจิตใจของตัวเอกคงจะเป็นฉากที่ไฮน์ริค เพิ่ง มาถึงทิเบตได้ซักพักและพบกับสาวทิเบตรายหนึ่ง นามว่า Pema Lhaki เธอคือช่างตัดเสื้อชาวทิเบต เขากับเพื่อนก็แย่งกันจีบ โดยไฮน์ ริคแสดงความสามารถในการปีนเขาพร้อมโชว์สมุดภาพที่บันทึก ผลงานที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกให้เธอดู เธอผู้นั้นตอบว่า “นี่ก็ เป็นอีกอย่างที่ต่างกันมากระหว่างอารยธรรมของเรา คุณชื่นชมคนที่ พาตัวเองไปสู่จุดสูงสุดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไหนก็ตาม แต่เราชื่นชม คนที่ละวางอัตตาไว้” พร้อมทิ้งท้ายใจความว่า “คนทิเบตทั่วไปจะ ไม่อวดตัวอย่างนั้นนะ” ทำให้ไฮน์ริค เริ่มฉุกคิดในความเป็นจริงว่า ความเก่งของตัวเขานั้น ก็มิอาจได้รักจากใจจริงของสาวทิเบตคนนั้น ช่วงตอนหนึ่งไฮน์ริคได้รับจดหมายจากลูกชายว่าไม่รับว่าเขาเป็นพ่อ ทั้งที่ไฮน์ริค คาดหวังความสมบูรณ์จากลูกและทุกๆ สิ่งรอบตัวเขา ทำให้เขาเสียใจเมื่อทุกสิ่งไม่ได้เป็นดังที่ใจเขาต้องการ และส่งท้าย ด้วยฉากที่ ไฮน์ริค พูดถึงเรื่องการปีนเขาว่า “มันเป็นความเรียบง่าย อย่างแท้จริง เวลาคุณปีนเขา สมองคุณปลอดโปร่ง ไม่สับสน มี เป้าหมายแน่วแน่ และทันใดนั้น แสงเหมือนจะคมชัดขึ้น คุณรู้สึก เหมือนเปี่ยมไปด้วยพลังอันล้ำลึกของชีวิต ผมรู้สึกแบบนั้น เฉกเช่น เมื่อได้อยู่กับพระองค์ท่าน” อีกฉาก คือ เขาวางแผนจะพาองค์พระ ทะไล ลามะหนีออกนอกประเทศ แต่พระองค์ไม่ไป ท่านกล่าวว่า “มี


53

ภาษิตทิเบตอยู่บทหนึ่งว่าเอาไว้ว่า ถ้าปัญหาแก้ไขได้ เราก็ไม่ จำเป็นต้องไปกังวล ถ้าแก้ไขไม่ได้ กังวลไปก็ไม่มีประโยชน์” “ผมจะ ช่วยคนได้ยังไง ถ้าหนีไปจากพวกเขา ผมจะเป็นผู้นำแบบไหน ทำ เพือ่ ผู้อื่นทำให้ผมมีเวลาคิดหาทางออก พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า การ เห็นเราไม่ทำให้พ้นทุกข์ แต่ต้องใช้ความเพียรพยายาม จงเพียร หาทางพ้นทุกข์ของตัวเองด้วยปัญญา” แต่ละฉาก แต่ละประโยค เหมือนใช้มีดแทงเข้ามากลางหัวใจ โดยเฉพาะภาพตอนไฮน์ริคมาลา องค์ทะไล ลามะกลับบ้าน ดูแล้วน้ำตาซึม สัมผัสได้ถึงความรักที่ท่าน ทั้งสองมอบให้แก่กันและกัน เรื่องนี้เป็นหนังที่ดูสนุกและน่าติดตามอีกเรื่องครับ ตั้งแต่ ฉากการปีนเขาช่วงแรกมีให้ลุ้นกัน ซึ่งช่วงการหนีจากค่ายเชลยและ ต้องผจญภัยอยู่นานกว่าจะเข้าทิเบตได้ก็ดูสนุก ในหนังนั้นเมื่อมีฉาก ที่เกี่ยวกับทิเบต เวลาดูเหมือนต้องมนต์ขลัง ทั้งตัวละคร บทสวด พิธีกรรม ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรม ช่วงอยู่ในทิเบตและได้ พบกับองค์ทะไล ลามะเป็นภาพที่น่าประทับใจ ฉากองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ซึ่งยังเด็กอยู่ต้อนรับนายพลจีนแสดงถึงความน่านับถือและ สติปัญญาของท่านเช่นกัน ส่วนช่วงสุดท้ายที่จีนบุกเข้าทิเบตดูแล้ว น่าสะเทือนใจ ทหารทิเบตจำต้องต่อสู้ ทั้งที่กำลังพลน้อยกว่า ใช้ อาวุธปืนที่มีจำนวนน้อยนิดงัดออกมาสู้ บางคนยังใช้ธนูเป็นอาวุธ วัด ในทิเบตโดนทำลายไปเยอะมาก ดูจบแล้วได้แต่ทำใจกับสภาพที่เกิด ขึ้นกับทิเบตและองค์ทะไล ลามะมาก แนะนำว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนัง


54

ที่ไม่เพียงแต่ต้องดู แต่ต้องดูหลายๆ รอบ ดูแล้วจะรักทิเบต รักองค์ ทะไล ลามะ หลังจากที่เราดูหนังจบ เรากลับรู้สึกว่าไม่จบ แต่เป็น เพียงการเริ่มต้น เริ่มต้นที่จะทำความรู้จัก เรียนรู้ สัมผัส องค์ทะไล ลามะอย่างแท้จริงอีกครั้ง แรงบันดาลใจอันรุนแรงครั้งนี้อาจทำให้ เรารีบหาหนังสือของท่านมาอ่าน เช่นเรื่อง “แผ่นดินและประชากร ของข้าพเจ้า อัตชีวประวัติของทะไล ลามะแห่งทิเบต” อยากรู้จัก ความเป็นมาเป็นไปของท่าน อ่านไปก็ยิ่งรู้สึกอบอุ่นในหัวใจ รู้สึก เหมือนมีพระองค์ท่านเดินเคียงข้างเปี่ยมด้วยความรัก และความมี เมตตา ทิ้งท้ายจากผู้เขียนว่า “ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ให้ค้นหาอีก เพียบบบบ ควรค่าแก่การดูมากกกก”

รู้หรือไม่ : ภายหลังจากที่กองทัพคอมมิวนิสต์ได้เข้าไปตั้ง ในทิเบตแล้ว ความไม่พอใจต่อจีนในหมู่ผู้นำและประชาชนทิเบตได้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็เกิดการจลาจลต่อต้านจีนขึ้นเมื่อปี 1959 ทางการจีนได้ปราบปรามการจลาจลอย่างเฉียบขาด ดาไลลามะองค์ ที่ 14 ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของทิเบตได้หลบหนีไปอินเดียพร้อมกับ เจ้าหน้าทีข่ องรัฐบาลและประชาชนอีกจำนวนมาก แล้วไปตั้งรัฐบาล พลัดถิ่นขึ้นที่ธรรมศาลาในแคว้นหิมาจัลประเทศของอินเดีย และ เริ่มกระบวนการเรียกร้องเอกราชของทิเบตที่กินเวลายาวนานเกือบ กึ่งศตวรรษจนถึงทุกวันนี้


55

รู้หรือไม่ : ทิเบตมีภูมิอากาศที่หลากหลายและได้รับการ ขนานนามว่า “เมืองที่ไม่มีฤดูกาล แต่ฤดูกาลทั้งสี่จะเกิดขึ้นได้ในวัน เดียว”


56

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years in Tibet (ภาพรวมหนัง) “Seven Years in Tibet” หรือมีชื่อไทยว่า 7 ปีโลกไม่มี วันลืมนั้น เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสืออัตชีวประวัติของนักปีน เขา ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ นักปีนเขาเหรียญทองโอลิมปิก รับบทโดย แบรต พิตต์ และ ปีเตอร์ อฟฟชไนเดอร์ รับบทโดย เดวิด ทีวลิส สอง นักไต่เขาชาวออสเตรียที่ขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มนาซี ประเทศเยอรมนี ทั้งสองได้เป็นตัวแทนของประเทศเยอรมนีในการ พิชิตยอดเขานังกาปาร์บัต บนเทือกเขาหิมาลัย ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอด เขาที่สูงที่สุดในโลก แต่แล้วเมื่อเยอรมนีก็ได้ทำการประกาศสงคราม ขึน้ กับสหราชอาณาจักร ทั้งสองคนจึงถูกจับตัวไปเป็นเชลยสงคราม และส่งเข้าค่ายกักกัน


57

ทั้งสองหลบหนีออกมาจากค่ายกักกันและเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปสู่ทิเบต และได้พบกับองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ในวัยเด็ก และได้ไป เป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ให้แก่พระองค์ และเป็น ที่ปรึกษาทางการทหารให้กับกองทัพทิเบตอีกด้วย ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ ในพระราชวังโปตาลาเป็นเวลาเจ็ดปีตั้งแต่ปี ค.ศ.1944 จนกระทั่ง องค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ทรงเข้าพิธีครองบัลลังก์อย่างเป็นทางการ และเดินทางกลับออสเตรียหลังจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เข้ารุกรานทิเบตในปี ค.ศ. 1950 ภาพยนตร์เรื่องนี้มีดนตรีประกอบภาพยนตร์ทถี่ ูกแต่งโดย จอห์น วิลเลียมส์ และมี โยโย มาเป็นนักดนตรีโซโล ภาพยนตร์ถ่าย ทำส่วนใหญ่ในอาร์เจนตินาโดยมีภาพฟุตเทจบางส่วนได้มาจากการ ลักลอบถ่ายทำในสถานที่จริง บางส่วนถ่ายทำในเนปาล ชิลี และ แคนาดา เนื้อหาในภาพยนตร์นำเสนอภาพองค์ทะไล ลามะ องค์ที่ 14 ในทางบวก และกองทัพปลดปล่อยประชาชนในทางลบ ส่งผลให้ ผู้กำกับและนักแสดงนำทั้งสองถูกห้ามเข้าประเทศจีน (อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย) มาพูดวิเคราะห์ถึงตัวหนังในด้านเนื้อหาของบทภาพยนตร์ จากการที่ได้รับชมหนังเรื่องนี้รู้สึกได้ว่า ในส่วนของเนื้อหาที่เราเห็น หรือตัวบทของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับชีวิตของผู้คน เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิต ที่อยู่อาศัย แนวทางการ


58

ปฎิบัตืในส่วนของขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของ ผู้คนและเชื้อชาติ รวมไปถึงเรื่องของลัทฺธิทางศาสนา และสงครามที่ ค่อนข้างน่าสนใจมากสำหรับใครที่สนใจ หรือพอจะมีความรู้ในเรื่อง ประวัติศาสตร์และสงครามโลกนั้นน่าจะเข้าใจในตัวบทของเนื้อหา ได้ไม่ยาก ซึ่งที่นำเสนอเกีย่ วกับชีวิตผู้คน ยกตัวอย่างเช่น ในส่วนฉาก ที่เปิดตัวของเรื่องได้นำเสนอถึงพิธีกรรมที่สำคัญของชาวทิเบตอย่าง พิธีแต่งตั้งขององค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ทำให้รู้สึกได้ถึงอารายธรรมอีก รูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนต้องมนต์ขลัง และสะกดเราให้ไม่ สามารถละสายตาไปไหนได้ ด้วยฉากของหนังที่จัดแต่งได้คล้ายคลึง กับพิธีกรรมจริง การแต่งกายของนักแสดงก็บ่งบอกถึงความเป็นชาว ทิเบตได้เป็นอย่างดี บวกด้วยดนตรีประกอบที่ฟังแล้วราวกับผู้ฟังถูก ดึงดูดเข้าไปอยู่ในพิธีกรรมนั้นจริงๆ ซึ่งนับว่าเป็นฉากของหนังเรื่องนี้ ที่นำเสนอออกมาได้ดีมากๆ อีกอย่างที่น่าสนใจของหนังเรื่องนี้คือ ฉากที่ไฮน์ริคที่มาถึง ทิเบตและได้พบกับหญิงสาวทิเบต เขากับเพื่อนก็แย่งกันจีบเธอ โดย ไฮน์ริคแสดงความสามารถในการปีนเขาพร้อมโชว์สมุดภาพที่บันทึก ผลงานที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกให้เธอดู หญิงสาวธิเบตพูดว่า “นี่ ก็เป็นอีกอย่างที่ต่างกันมากระหว่างอารยธรรมของเรา คุณชื่นชมคน ที่พาตัวเองไปสู่จุดสูงสุดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไหนก็ตาม แต่เราชื่นชม


59

คนที่ละวางอัตตาไว้” ซึ่งในฉากนี้ได้แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง อารยธรรมได้เป็นอย่างดี โดยผ่านตัวละเอกและรองของเรื่อง ไม่ว่า จะไปวิธีการพูด การแสดงพฤติกรรมผ่านสายตา และร่างกาย การ แต่งกายที่ดูแตกต่าง ความชอบ ทัศนคติหรือความคิดนั้นเอง และ อีกฉากหนึ่งของการพบกันครั้งแรก ของไฮน์ริค และองค์ทะไล ลามะ ในฉากนี้ได้นำเสนอถึงองค์ทะไล ลามะในด้านที่ดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความสุภาพนอบน้อม เป็นมิตร ความฉลาดและความสนใจใคร่รู้ ที่ จะหาความรู้ต่างๆ มาพัฒนาตนเองอยู่เสมอๆ ดูได้จากการที่ในฉาก นั้นพระองค์ได้ขอให้ไฮน์ริค (แบรต พิตต์) ช่วยมาเป็นครูสอนวิชา ภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ให้กับพระองค์ทะไล ลามะ ถือเป็นฉากที่ เก็บรายละเอียดได้ค่อนข้างดีเลยที่เดียว ต่อมาคืออีกฉากที่มีความสำคัญขอหนังเรื่องนี้ซึ่งก็คือฉาก ของสงคราม เป็นอะไรที่เราจะไม่เอ่ยถึงก็คงเป็นไปไม่ได้ เรียกได้ว่า เป็นอีกฉากที่เป็นไคลแม็กซ์ของเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นอีกฉาก หนึ่งจากในประวัติศาสตร์จริงๆ ที่สำคัญของทิเบตในช่วงยุคขององค์ ทะไล ลามะ ที่ 14 ซึ่งได้นำเสนอชีวิตของผู้คนในทิเบตในฐานะผู้ที่ไป ลี้ภัยในขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างประเทศมหาอำนาจ ต่างๆ โดยมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายระหว่างฝ่ายอักษะ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และฝ่ายสัมพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่อมาจึงมี จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต โดยฝ่ายชนะคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้เป็นอำนาจยุโรปหมดกำลังลง จึงส่งผลให้เกิดมหาอำนาจใหม่


60

คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต จนนำไปสู่สภาพสงครามเย็น ในเกือบจะทันทีที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งในขณะช่วงของ สงครามโลกที่ได้กล่าวมานั้น การเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ของ ทิเบตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เมื่อกลุ่มกองทหารปลดแอกประชาชน ของจีนได้เข้ามาที่ทิเบตเป็นครั้งแรกหลังจากการเอาชนะกองทหาร ขนาดเล็กชาวทิเบต และเข้ายึดครองครึ่งหนึ่งของประเทศแล้ว ทาง รัฐบาลจีนจึงได้กำหนด "ข้อตกลง 17 ข้อ สำหรับอิสรภาพอันสงบสุข ของทิเบต" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1951 เนื่องจากเป็นการเซนต์ สัญญาตกลงกันภายใต้การข่มขู่ ข้อตกลงนี้จึงขาดความถูกต้องและ เห็นชอบภายในกฎหมายระหว่างประเทศ การต่อต้านการยึดครองของจีนได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในทิเบตตะวันออก เนื่องจากมีทั้งการเข้าไปทำการกดขี่จากจีน รวมถึงการทำลายอาคารต่างๆ ทางศาสนา การจำคุกพระภิกษุและ ผู้นำชุมชนอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ในปี ค.ศ. 1959 ประชาชน จึงลุกขึ้นมาก่อจลาจลเป็นจำนวนมากถึงขีดสุดอย่างเป็นกลุ่มเป็น ก้อนที่เมืองลาซา และเมื่อจีนได้ปราบปรามพวกจลาจลเหล่านี้ โดย มีชาวทิเบตประมาณ 87,000 คนได้ถูกฆ่าตายในเมืองลาซาและใน หนังเรื่องนี้ยังได้นำเสนอฉากหนึ่งที่น่าสะเทือนจิตใจของผู้ชมได้เป็น อย่างมากซึ่งก็คือซีนที่ทหารจีน ได้บังคับข่มขู่ให้พระผู้น้อยในทิเบต ยิงพระชั้นผู้ใหญ่ในทิเบตด้วยกันเอง บริบทโดยรวมของฉาก ดนตรี และการสื่ออารม์ของตัวนักแสดงส่งต่อมายังผู้ชมได้อย่างยอดเยี่ยม


61

ทำให้รับรู้ได้ถึงความสิ้นหวัง ความหดหู่ของผู้ที่ตกไปเป็นเชลยของ ประเทศมหาอำนาจได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นฉากๆ หนึ่งของในหน้า ประวัติศาสตร์ที่สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้ที่ได้รับรู้เป็นอย่างมาก และด้วยการรุกรานของจีนครั้งนี้ทำให้องค์ทะไล ลามะองค์ที่ 14 จึง จำต้องเดินทางออกจากทิเบตไปด้วยการเหตุการยึดครองของจีนใน ทิเบต กองทัพชาวอินเดียและชาวจีนต้องเผชิญหน้ากันบนพื้นเขต แดนของเทือกเขาหิมาลัยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สงครามที่ ต้องเสียเลือดเสียเนื้อระหว่าง 2 ประเทศนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1962 เมื่อครั้งที่ทิเบตยังมีอิสรภาพ อินเดียเคยใช้กำลังทหาร เพียง 1,500 คนในการดูแลความสงบ ณ รอยต่อเขตพรมแดนกับ ทิเบต แต่ทุกวันนี้อินเดียได้ประมาณการใช้จ่ายไว้ถึง 550 - 650 ล้านรูปีต่อวัน ในการที่จะคุ้มกันเขตพรมแดนแห่งเดียวกันนี้จากกอง ทหารจีนกว่า 300,000 กอง ซึ่งตั้งอยู่ในที่ๆ ชาวจีนเรียกว่า "เขต ปกครองตนเองทิเบต" (Tibet Autonomous Region) ซึ่งพื้นที่แห่ง นี้ประกอบไปด้วยอาณาเขตของทิเบตที่หลงเหลืออยู่เพียงครึ่งหนึ่ง เท่านั้นส่วนอีกครึ่งหนึ่งกำลังถูกกลืนไปกับหลายๆ จังหวัดของจีนใน บริเวณนั้น ต่อมาภาพยนตร์ได้เอ่ยถึงความสัมพันธ์ระหว่างทิเบตที่มี ต่ออินเดีย โดยตลอดมาในประวัติศาสตร์ เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด


62

และเป็นมิตรต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธจากอินเดียได้ไป เผยแผ่ที่ทิเบตในศตวรรษที่ 7 ตั้งแต่นั้นมา ประชาชนทิเบต ก็จะมอง อินเดียเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และด้านปัญญา หนังสือของชาว ทิเบตโบราณหลายเล่มได้อ้างถึงอินเดียว่าเป็น Arya Bhumi ซึง่ หมายถึงผืนแผ่นดินแห่งความสูงส่ง การพูดถึงความสัมพันธ์ที่ทิเบต มีต่ออินเดียนั้น Dr. Ram Manohar Lohia ได้พูดไว้ว่า "ทิเบตมี ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับอินเดียมากกว่าจีน เป็นความสัมพันธ์ที่ แนบแน่นของการใช้ภาษา การค้าขาย และวัฒนธรรมประเพนี ไม่ใช่ ความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์"เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ทิเบตได้ทำ หน้าที่เป็น "ประเทศกันชน" ซึ่งมีประสิทธิภาพระหว่างอินเดียกับจีน แต่ทั้งหมดนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในปี ค.ศ. 1950 เมื่อเมืองชามโด ซึ่ง เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตพื้นที่ของทิเบตตะวันออกได้ตกเป็นของ จีนนั้นเอง กงสุลอินเดียในเมืองลาซา หรือเมืองหลวงของทิเบตได้ส่ง สารด่วนไปที่กรุงนิวเดลลี ซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะ พยากรณ์ไว้ว่า "อาณาเขตเทือกเขาหิมาลัยได้ถูกทำให้สิ้นไปแล้ว จีน ได้บุกรุกทิเบต" ความหมายของเขาคือ เขตพรมแดนทางเหนือของ อินเดีย จะไม่ปลอดภัยจากการบุกรุกจากภายนอกประเทศอีกต่อไป แล้ว ในการอภิปรายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 นั้น Acharya Kriplani ได้กล่าวไว้ว่า "เรารู้สึกเป็นห่วงเป็นใยอย่างสุดซึ้ง เพราะเหตุว่าจีนได้ทำลายประเทศกันชนลงไปแล้ว และในการเมือง


63

ระดับชาติถือว่า เมื่อประเทศที่เป็นกันชน ได้ถูกทำลายโดยประเทศ มหาอำนาจหนึ่ง ประเทศมหาอำนาจนั้นก็จะถูกมองว่าได้ประกาศ ตนเป็นศัตรูต่อต้านประเทศเพื่อนบ้าน "และอีกในอีกความหมายใน หนึ่งตัวแปรสำคัญของเรื่องที่สำคัญพอๆ กันกับตัวหลักของเรื่องเลย ก็คือ พระองค์ทะไล ลามะที่ 14 ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นมิตรสหายที่ ดีต่อไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ผู้ประพันธ์เรื่องนี้นั้นเอง ซึ่งองค์ทะไล ลามะ นั้นมีตัวตนอยู่จริงๆ โดยพระองค์ทะไล ลามะ เป็นตำแหน่งประมุข หัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนาแบบชาว ทิเบต นิกายเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) ซึ่งก็คือเป็นผู้นำทางด้านจิต วิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต คำว่า ทะไล ลามะ มาจากภาษา มองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไล ลามะเป็น อวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อพระองค์ ทะไล ลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็น องค์ทะไล ลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับ รองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นองค์ทะไล ลามะ กลับชาติมาเกิด สมเด็จพระ เทนซิน เกียตโซ คือองค์ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี ค.ศ. 1989


64

และเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และเป็นผู้นำสูงสุดของประชาชนชาว ทิเบต ถึงแม้ว่าทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ยินยอมก็ ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งพุทธศาสนานิกายมหายาน พุทธ ศาสนาแบบทิเบตนิกายเกลุก ข้อมูลจาก tibetthailand.info บอกไว้ว่า พระองค์ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนชาวทิเบต ทรงได้รับการยอมรับจาก ชาวโลกทั้งทางตะวันออกและตะวันตก เพราะพระองค์ได้ทรงเสด็จ ไปเยือนยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อแสดงปาฐกถา ทรงได้รับการ ถวายรางวัลและปริญญาบัตรสาขาต่างๆ โดยเฉพาะด้านสันติภาพ จำนวนมาก รวมถึงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ค.ศ. 1989 โดยคำ สอนขององค์ทะไล ลามะนั้นได้สร้างแรงบันดาลใจสูงสุด และช่วยชี้ หนทางการใช้ชีวิตที่เป็นสุขอย่างแท้จริงให้กับชาวโลกมาแล้วนับ ไม่ท่วนในหลายพื้นที่ และนี่คือส่วนหนึ่งของคำสอนเหล่านั้น “ มนุษย์เรานี้ยอมสูญเสียสุขภาพเพื่อทำให้ได้เงินมา แล้ว ต้องสูญเสียเงินตราเพื่อฟื้นฟูรักษาสุขภาพของตน แล้วยังเฝ้ากังวล กับอนาคต จนไม่มีความรื่นรมย์กับปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือ เขาไม่ได้อยู่กับปัจจุบันหรือแม้กระทั่งอยู่กับอนาคต เขาดำเนินชีวิต เสมือนหนึ่งว่า เขาไม่มีวันตาย และแล้วเขาก็ตายอย่างไม่เคยมีชีวิต อยู่จริง”


65

บทความวิจารณ์ วัตถุดิบหลากหลายในสลัดรส SEVEN YEARS IN TIBET (ภาพรวมหนัง) การรวมสิ่งสองสิ่งเข้าด้วยกันแล้วทำให้เกิดความกลมกลืน นั้นเป็นเรื่องที่ยาก แต่เพราะเหตุใด ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากหนังสือ อัตชีวประวัติของนักปีนเขาชาวออสเตรีย ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ อย่าง เรื่อง SEVEN YEARS IN TIBET ถึงรวมเอาความหลากหลายของ เนื้อหาเอาไว้ได้ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คงต้องนึกถึงสลัด ผักชามโตหลากสีสัน ที่ประกอบไปด้วย มะเขือเทศ แครอท ข้าวโพด ผักกาดหอม และมีตัวดำเนินเรื่องที่คลุกเคล้าให้ทุกอย่างเข้ากันดี อย่างน้ำสลัดครีมหวานมัน ออกมาเป็นภาพยนตร์ที่มีรสชาติอร่อย กลมกล่อมน่าลิ้มลอง เรื่อง SEVEN YEARS IN TIBET ว่ากันว่าลาซาเมืองหลวงของประเทศทิเบตเปรียบเหมือน ป้อมปราการสูงใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเอเชีย เป็นประเทศที่อยู่สูงและ


66

โดดเดี่ยวที่สุดในโลก ซึ่งภาพยนตร์ทำให้คนดูอย่างเรานั้นรู้สึกแบบ นั้นจริงๆ จากการดำเนินเรื่องผ่านตัวละครหลักอย่างไฮน์ริค แฮร์ เรอร์ ที่ต้องผ่านความยากลำบาก ผ่านอุปสรรค ตั้งแต่การปีนภูเขา น้ำแข็ง ในอากาศที่หนาว อุณหภูมิติดลบ ถูกทหารอังกฤษจับกุม จากผลของการเกิดสงคราม ความหิวโหยจากการขาดอาหาร ความ เหนื่อยล้าจากการเดินทาง การแหกคุกหนีตายเอาชีวิตรอด หนี กระสุนปืน และผลัดหลงเข้าไปในเมืองลาซาของทิเบต จนได้พบกับ องค์ทะไล ลามะองค์ที่ 14 ในวัยเด็ก ตรงนี้นี่หละ เป็นเหมือน จุดเริ่มต้นของเรื่องอย่างจริงจัง จากที่ก่อนหน้านี้ตัวหนังพยายามที่ จะแสดงให้เห็นถึงด้านเสียของไฮน์ริคเป็นส่วนใหญ่ ทั้งความทะนง ตัว ความเย่อหยิ่ง ความมีอีโก้สูง นำไปสู่การชี้ให้เห็นว่าความสามัคคี นั้นเป็นสิ่งสำคัญผ่านความล้มเหลวของไฮน์ริค ก่อนจะเริ่มเข้าเรื่อง อย่าจริงจังซึ่งใช้เวลาค่อนข้างจะนานถ้าเทียบกลับภาพยนตร์เรื่อง อื่นๆ ทั่วไป ไฮน์ริคที่ได้เข้าไปอยู่ในลาซา เมืองหลวงของทิเบต ที่ใครๆ ต่างก็รู้ว่าเป็นเมืองปิดและไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไป ยังทิเบตได้เป็นอันขาด เป็นเหมือนการเปิดประตูเข้าสู่โลกของทิเบต เพราะหลังจากนี้ผู้กำกับเหมือนค่อยๆ หยิบยกเอาวัตถุดิบสำคัญมา หรับการทำสลัดมาใส่ลงในชามใบใหญ่ให้ได้ลงต โดยเริ่มจากการเล่า ถึงระบอบการปกครองของทิเบตอย่างคร่าวๆ เล่าถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม หนังเรื่องนี้เก็บมาให้เราครบเกือบทั้งหมด


67

ยังไม่นับรวมเรื่องของศาสนาพุทธที่มองผ่านจอยังรู้สึกถึงความน่า เลื่อมใส ความขลัง และความศักดิ์สิทธ์ ที่ตัวหนังพรีเซนต์ให้เรา หรือ แม้แต่การนำเรื่องของสงคราม การล่าอาณานิคมของประเทศจีนมา นำเสนอตีคู่ไปกับหลักความเชื่อในทางศาสนาพุทธของคนชาวทิเบต ความเลื่อมใส เชื่อมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งจะมีฉาก หนึ่งที่สร้างความประทับใจ คือฉากที่องค์ทะไล ลามะ ต้อนรับนาย พลจีน ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงความน่านับถือและสติปัญญาขององค์ ทะไล ลามะ ที่พูดกับนายพลจากจีนว่า “คำสอนของพระพุทธองค์ ว่าไว้ว่า ทุกคนกลัวอันตรายและความตาย ไม่มีใครไม่รักชีวิต เมื่อคิด ได้เช่นนี้แล้ว เราจะไม่ฆ่าใคร ท่านต้องเข้าใจ คำสอนนี้ฝังอยู่ในใจ ชาวทิเบตทุกๆ คน เราจะเป็นชนชาติที่รักความสงบ ยึดหลักปฏิเสธ ความรุนแรง อาตมาสวดมนต์ให้ท่านประจักษ์ว่านี่คือความเข้มแข็ง หาใช่ความอ่อนแอ” เรื่องของมิตรภาพระหว่างไฮน์ริค และองค์ทะไล ลามะนั้น เริ่มต้นจากความสิ้นหวังของไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ที่เสียใจจากจดหมาย ตัดความสัมพันธ์จากลูกชายของเขา ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามที่ทำ ให้ ไฮน์ริค ที่ตกลงปลงใจสร้างโรงหนังตามความประสงค์ขององค์ ทะไล ลามะ ที่ 14 ในวัยเด็ก นั่นเป็นเหมือนชนวนมวนแรกที่สร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีและมิตรภาพระหว่างเขาทั้งสอง ในฉากที่ทั้งสองได้ เจอกันครั้งแรกน่าประทับใจตรงที่องค์ทะไล ลามะ ตื่นตาตื่นใจกับ ผมสีทองสว่างของไฮน์ริค จุดนี้ทำให้เราเห็นว่าองค์ทะไล ลามะนั้นมี


68

ความสนใจในโลกภายนอกและอยากที่จะเรียนรู้ในทุกๆ เรื่อง ซึ่ง ไฮน์ริคก็สามารถสนองความต้องการของท่านได้เกือบทั้งหมด ต่าง คนต่างมอบความรู้ ข้อคิด ขัดเกลากันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ ตลอดระยะเวลา 7 ปี ทำให้คนทั้งสองเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นทั้งศิษย์อาจารย์ เป็นเพื่อนเล่น เป็นพี่ และไม่ว่าความสัมพันธ์นี้ จะมีชื่อเรียกว่าอะไร แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าคนทั้งสองมีมิตรภาพที่ดีและหวังดีต่อกันอย่างไม่น่าเชื่อ นับได้ว่า เป็นอีกจุดที่ภาพยนตร์พยายามให้เราเห็นถึงพัฒนาการของตัวละคร ทางด้านความคิดและจิตใจของตัวละครหลักที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และเมื่อมองย้อนกลับไปต้นเรื่องเราก็จะได้แต่คิดในใจว่ามันช่างให้ ความแตกต่างกันเหลือเกิน เหมือนกับว่าไฮน์ริคในตอนต้นของเรื่อง กับไฮน์ริคในตอนท้ายนั้นเปลี่ยนไปเป็นคนละคนลองคิดดูว่าทั้งหมด นี้มารวมอยู่ในหนังเรื่องเดียวได้อย่างไร โดยที่เนื้อหาไม่ตีหรือขัดกัน ตรงกันข้ามกันกลับสามารถเดินเรื่องได้อย่างราบรื่นและมีสมดุลไม่ เอียงไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้อะไรๆ กับคนดูอย่างเราๆ มากมาย ทั้ง ข้อคิดที่เป็นเหมือนสัญญะ ไม่มีการพูดให้ได้ยิน แต่แสดงให้เห็นจาก บริบทของตัวละคร หรือข้อคิดอีกหนึ่งฉากที่ตรึงใจคนดู คือฉากที่ ไฮน์ริควางแผนจะพาองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 หนีออกนอกประเทศ แต่พระองค์ไม่ไป และบอกกับไฮน์ริคว่า “มีสุภาษิตทิเบตอยู่บทหนึ่ง


69

ว่าเอาไว้ว่า ถ้าปัญหาแก้ไขได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวล ถ้าแก้ไข ไม่ได้ กังวลไปก็ไม่มีประโยชน์ ” ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องตัวอย่างที่ดี สำหรับการ นำเสนอเนื้อหาของเรื่องที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง จะกระจัดกระจาย ให้ลองนึกภาพในหัวถึงเรื่องของมิตรภาพ ศาสนา สงคราม สังคม ประเพณีและวัฒนธรรม แต่ละเรื่องนั้นแทบจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย แต่ภาพยนตร์เรื่อง SEVEN YEARS IN TIBET สามารถหยิบจับเอาวัตถุดิบเหล่านี้ มาผสมและปรุงแต่งได้ รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม ไม่มีหวานเกินไป เค็มเกินไป คงไว้แค่ ความพอดีจนเกิดเป็นความพอใจของเรา


70

บทความวิจารณ์หนัง“ Seven Years in Tibet ” (ภาพรวมหนัง)

การเดินทางที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงตลอดไปของชีวิต ความพลิกผันบนความไม่แน่นอนของชีวิต กับการเดินทางที่ไม่มีวัน สิ้นสุด การหลบหนีเพื่อให้รอดพ้นจากการจับกุม หนัง Seven Years In Tibet หรือในชื่อไทย 7 ปี โลกไม่มี วันลืม ที่เป็นหนังเกี่ยวกับการออกเดินทางของนักปีนเขาออสเตรีย คนหนึ่งในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะนั้นออสเตรียตกอยู่ใต้ การปกครองของนาซี เยอรมัน ทางเยอรมันได้ส่งตัวแทนเพื่อไปพิชิต ยอดเขานังกาปาร์บัต บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นการปีนขึ้นไปเพื่อปัก ธงล่าอาณานิคม ซึ่งเขาได้เข้าร่วมกับอีกหนึ่งคนเพื่อเป็นตัวแทนปีน เขาครั้งนั้น และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวชีวิตของ ไฮร์ริค แฮร์


71

เรอร์ รับบทโดย แบรดพิตต์ และปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ รับบทโดย เดวิด ทีวลิส จนทำให้เขาทั้งสองต้องไปอาศัยอยู่ที่ประเทศทิเบต เนื้อเรื่องดูแล้วเกิดความประทับใจทันทีหลังจากที่เรื่องจบ ลง มันทำให้เราเห็นถึงอุปสรรคต่างๆ ที่ตัวละครต้องเผชิญ การเล่า เรื่องไม่ได้มีอะไรมาก แต่บางช่วงของหนังมันสร้างอิมแพคให้กับคน ดูอย่างเราๆ สร้างมิติให้เห็นถึงเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นและบางฉากที่ ดูมันดูสมจริงว่าเหตุการณ์แบบนี้มันก็เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง การดำเนิน เรื่องดูแล้วเพลิดเพลิน ตัวหนังมีความยาวสองชั่วโมงนิดๆ แต่ด้วย บทและตัวนักแสดงมันดูดให้เราดูจนจบ เป็นการเล่าเรื่องที่เรียบๆ แต่โดยรวมคือดี น่าติดตามดูจน จบ ตอนเริ่มเรื่องมันเหมือนเป็นการเปิดโลกใบใหม่ขึ้นมา แต่พอถึง ตอนจบเรื่องเหมือนปิดสวิตช์ปมที่ค้างเอาไว้ จนรู้สึกว่ามันหมดปมที่ หนังได้เล่าเอาไว้เกี่ยวกับตัวเอกของเรื่อง จากที่ดูหลักๆ ที่จะเห็นได้ชัดจากเรื่องนี้เลย คือ เรื่องของ ศาสนาและการเมืองที่มันมีความขัดแย้งกันจากทางสองฝั่งประเทศ มหาอำนาจที่เกิดขึ้นในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีการจะ เข้ายึดครองและรวบรวมแผ่นดินของทางฝั่งประเทศมหาอำนาจจีน มันเป็นความขัดแย้งเรื่องของศาสนา และเรื่องของวัฒนธรรมซะเป็น ส่วนใหญ่ เพราะมันมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดของทางสอง


72

ฝั่งประเทศจนทำให้เป็นปัญหาระดับชาติร่วมถึง อีกทั้งยังส่งผลถึง ตัวละครหลักของเรื่องที่ต้องทำการหลบหนีหาที่พักพิง นอกจากเรื่องของศาสนาการเมือง และเรื่องวัฒนธรรม ยัง มีเรื่องของความรักและมิตรภาพจากตัวละครที่สร้างขึ้นมา แต่ใน ส่วนของความรักและมิตรภาพนั้นมันมีความขัดแย้งเช่นกัน มันจะมี จุดพลิกผันของตัวละครอยู่ช่วงนึง คือตอนที่ตัวละครสองคนได้ร่วม เดินทาไปงด้วยกัน และมีจุดเปลี่ยนความรู้สึกไม่ชอบขี้หน้ากันของ ตัวละครสองตัวนี้เป็นตอนที่เขาทั้งสองถูกคนทิเบตจับและจะนำตัว ไปส่งทีป่ ระเทศอินเดีย แวะที่ตลาดแห่งหนึ่งปีเตอร์ได้ขายนาฬิกาทิ้ง แต่ไฮน์ริคมีการแอบเก็บไว้อีกถึงสามเรือนด้วยกันทำให้ปีเตอร์โกรธ เขามาก และขอแยกการเดินทางร่วม แต่ไฮน์ริคก็ตามไปขอโทษ ขอ คืนดีทำให้เขาทั้งสองกลับมาดีกัน มันแสดงให้เห็นในมุมที่มองแล้วก็ น่ารัก ประทับใจที่ตัวไฮน์ริคย่อมอ่อนข้อลงจากเดิมเยอะมาก พวก เขาก็ร่วมกันเดินทางสู่ทิเบตประเทศที่จะทำให้เขาไปพบกับเด็กที่ พิเศษคนนึง คือ องค์ทะไล ลามะ รุ่นที่ 4 ตัวละครเอกของเรื่องไฮร์ริค ที่รับบทโดย แบรด พิตต์ เขาเป็นคนที่มีความทะนงตัวสูง ยึดมั่นในตัวเองมาก และดูเป็น คนฉลาด แต่ในบางมุมความก้าวร้าวของเขามันก็ส่งผลที่ไม่ดีให้กับ ตัวของเขาเอง เป็นตัวละครที่พัฒนาขึ้นๆ เราได้เห็นพัฒนาการจาก ตัวละครของเขาได้อย่างชัดเจนมาก จากตรงต้นเรื่องสู่ท้ายเรื่องมัน


73

ทำให้ความคิดของเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึน้ ดูสงบลงจากตอนต้น เรื่องเป็นอย่างมากและความสัมพันธ์ของเขากับครอบครัวที่มันติด ลบ ตอนแรกเขาไม่อยากมีลูกกับแฟนเขาเลย แต่พอเริ่มยิ่งห่าง ก็เฝ้า แต่คิดถึงห่วงหาลูก จนสุดท้ายเขาก็ได้กลับไปและทำหน้าที่ของพ่อ ตัวละครเด่นอีกตัวของเรื่องปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ รับบท โดย เดวิด ทีวลิส เป็นตัวละครที่ช่วยเกื้อหนุนตัวพระเอกและยังเป็น มิตรภาพที่ดีให้กัน เป็นคนที่มีบุคลิกดูสุขุมกว่าไฮร์ริคอยู่มาก เป็นตัว ละครที่เราไม่ได้เห็นถึงพัฒนาการมาก เพราะดูเป็นตัวละครที่เสมอ ต้นเสมอปลายมาตั้งแต่แรกเริ่มของเรื่องและอีกหนึ่งตัวละครสำคัญ ของเรื่องนี้ ถ้าไม่มีในเรื่องนี้เรื่องก็จะไม่สามารถดำเนินต่อได้ นั่นคือ องค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ตอนเด็ก ที่เป็นคนแสวงหาความรู้และเป็น ใบเบิกทางให้ทั้งสองตัวละครหลักได้เข้าสู่ผืนแผ่นดินตอนเหนือเมือง หลวงของทิเบต เป็นตัวละคนที่มีความอยากรู้อยากเห็นโลกกว้างใน ทุกสิ่งเท่าทีจ่ ะเห็นได้ เป็นคนที่ทำให้ไฮน์ริค มีนิสัยเปลี่ยนไป ส่งผล ให้ตัวละคนไฮน์ริคดูสงบนิ่งขึ้น ดูสุขุม และเติบโตอย่างมาก มันเป็น เรื่องของทางแนวคิดที่เล่าเรื่องอัตชีวประวัติเรื่องนี้ออกมา มันทำให้ เราเห็นมุมมองของหนังที่มันสื่อถึงพัฒนาการของตัวละคร เห็นถึง ความเหลื่อมล้ำของยุค ชีวิต การอยู่อาศัย วัฒนธรรม การเมือง ศาสนาที่มันเข้ามาเกี่ยวพันกับเรื่องที่มันเกิดขึ้นทั้งหมด ถ้าตัวไฮน์ริค ไม่เข้าร่วมการเดินทางกับกลุ่มนักปีนเขา ในช่วงของนาซีเพื่อไปปัก ธงบนยอดเขา เขาคงไม่ต้องเจอกับการที่ทำให้ตัวเองต้องโดนจับเป็น


74

เชลย ไม่ต้องหนีพวกกลุ่มคนที่พยายามจะส่งตัวเขากลับประเทศ จน เขาเดินทางมาถึงทิเบตที่เป็นเป้าหมายหลักของตัวเอง ทำให้ได้เห็น การเดินทาง การดำเนินเรื่องที่มันต่อเนื่องกันของหนัง การเปลี่ยน โลเคชั่น การเปลี่ยนมุมของกล้อง มันออกมาเป็นองค์ประกอบที่ น่าสนใจน่าติดตาม ฉากต่างๆ ที่ทีมผู้สร้างถ่ายทอดออกมาได้อย่าง สวยงามดบนพื้นที่โล่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ เสียงซาวน์ที่บรรเลงใน เรื่อง แสง สี ภาพ อารมณ์มันส่งทำให้ดูได้อย่างเพลิดเพลิน และ สบายตามาก หนังเรื่องนี้จงึ เป็นอีกเรื่องที่เปรียบเหมือนกับครูสอนคนดู อย่างเราๆ ในการดำเนินชีวิต จากสองชั่วโมงที่ดูมันทำให้เราเห็น พัฒนาการของเขาอยู่ตลอดเวลา เราก็ได้ข้อคิดจากเรื่องมาว่าชีวิต มันต้องลองเรียนรู้ และลองลงมือทำมัน ต้องเปิดใจและมองให้เห็น ข้อบกพร่องของตัวเองให้ได้อย่างถ่องแท้ และเมื่อดูหนังจบลงมันก็ เป็นการคลายปมทุกอย่างทำให้เราได้เห็นว่าตัวละครตัวนี้มันก็มีด้าน ที่ดีของมันจะไม่ใช่เห็นแต่ด้านที่ก้าวร้าว ถือว่าคุ้มที่จะลองดูกับหนัง เรื่องนี้ เพราะมันทำให้เราได้เห็นในหลายมุมมอง


75

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years in Tibet (ภาพรวมหนัง)

ภาพยนตร์เรื่อง 7 Years in Tibet เป็นภาพยนตร์เชิง อัตชีวประวัติของ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวของตนเอง ที่ไปปีนเขาที่หิมาลัยที่นับได้ว่าเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่ระหว่าง ทางถูกจับตัวไปเสียก่อน จนเขาต้องหาวิธีที่จะหลบหนีออกจากค่าย ทหารนั้น ทำให้เขาต้องออกเดินทางอย่างยาวนานจนมาถึงประเทศ ทิเบตและอยู่ที่นั่นถึง 7 ปี ซึ่งเรื่องราวภายในภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งในภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เล่าถึงเพียง ไฮน์ริคอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกประวัติศาสตร์ก่อนที่ทิเบต จะตกเป็นเขตการปกครองของจีนอีกด้วย


76

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีการเล่าเรื่องที่สื่อถึงมิตรภาพให้เรา เห็นอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่น ไฮน์ริคและปีเตอร์ ที่เดินทางร่วมกันมา ตั้งแต่ปีนเขา พากันหลบหนีออกจากคุก จนกระทั่งเดินทางมาจนถึง เมืองลาซา หรือแม้แต่มิตรภาพที่น่าจะเกิดขึ้นได้ยาก ระหว่างไฮน์ริค และองค์ทะไล ลามะ ที่มีความแตกต่างกันทั้งช่วงอายุ เชื้อชาติ และ ฐานันดร เพราะองค์ทะไล ลามะ ถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของประเทศ ทิเบต แต่ไฮน์ริคเป็นเพียงแค่คนธรรมดา อีกทั้งเป็นคนต่างชาติที่ได้ เดินทางเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองลาซา ซึ่งสมัยก่อนประเทศทิเบตเป็น ประเทศค่อนข้างปิด การที่จะรับคนต่างชาติจึงไม่ค่อยเกิดขึ้นเท่าใด นักหรือไม่เคยเกิดขึ้นเลย แต่ไฮน์ริคก็สามารถลักลอบเข้าไปและถูก ยอมรับให้อาศัยอยู่ในประเทศได้ ซึ่งความสัมพันธ์อันดีของทั้งคู่ได้ พัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ได้ฉายให้เห็นชัดและฉาย ออกมาให้เห็นโดยตรงแต่เราจะเห็นถึงมิตรภาพตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบ เรื่อง อย่างฉากสุดท้ายที่ไฮน์ริคกลับมาปีนเขาหิมาลัยอีกครั้งและทำ มันได้สำเร็จ โดยเลือกที่จะปักธงของประเทศทิเบตแทนธงประเทศ ตัวเองที่ยอดเขา ตัวละครในภาพยนตร์ก็ถือว่าสำคัญอย่างหนึ่ง อย่างเช่นตัว ไฮน์ริค จะเป็นตัวละครหลักที่เป็นผู้คอยดำเนินเรื่องพาเราไปเห็น เหตุการณ์ต่างๆ ลักษณะนิสัยของตัวละครตัวนี้คือ เป็นคนมีความ มั่นใจในตัวเองสูง กล้าที่จะทำในสิ่งต่างๆ ฉลาด มีไหวพริบ ซึ่ง ลักษณะนิสัยลักษญะนี้จะเห็นได้ส่วนมากทางประเทศทางแถบทวีป


77

ยุโรป เรียกได้ว่าเป็นการสื่อถึงชาวต่างชาติที่มีความแตกต่างกับชาว ทิเบตเมื่อมาอยู่รวมกัน หรือองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ที่เหมือนจะเป็น ตัวแทนของการสื่อถึงศาสนา และการปกครองของประเทศทิเบต ที่ ชาวทิเบตนับถือกันเป็นอย่างมาก ซึ่งองค์ทะไล ลามะ ก็จะดำเนิน เรื่องที่สะท้อนเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม คำสอนต่างๆ ที่แสดงออก ทางท่าทาง หรือคำพูดขององค์ทะไล ลามะเอง และยังมีตัวละครที่ เป็นทหารในเรื่องที่ไม่ได้มีบทเด่นมาก แต่ยังมีการปรากฏให้เห็นใน บางฉากบางตอน เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการสู้รบหรือมีสงครามกำลัง เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลานั้น หรือจะเป็นประชาชนประเทศทิเบตที่มี ฉากการเดินทางและการก้มกราบ แสดงถึงการนับถือความเชื่อและ ศรัทธาต่อพระองค์ทะไล ลามะ เป็นอย่างมาก เพื่อให้ภาพยนตร์ เรื่องนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงศาสนาในทิเบตที่มีความเคารพนับถือ พระองค์ทะไล ลามะและความเชื่อต่างๆ ของคนทิเบต ในภาพยนตร์ จะเห็นได้ว่าการนำเสนอในเรื่องนี้ฉายชัดอยู่ในเนื้อเรื่อง อย่างที่เราๆ กล่าวกันว่า “ผู้คนเชื่อกันว่า การเดินทางไกลไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จะ เป็นการชำระความผิดที่เคยกระทำ ยิ่งเดินทางไกลมากเท่าไร ก็ยิ่ง บริสุทธิ์มากเท่านั้น” ซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อของชาวทิเบตที่มักออก เดินทางไกลเพื่อมากราบไหว้องค์ดาไลลามะ ในภาพยนตร์จะมีฉาก คนเดินทางให้เราเห็นอยู่บ่อยครั้ง หรือจะเป็นการเคาะหม้อในลาซา เพื่อไล่ความชั่วร้ายออกไป แม้กระทั่งในตอนหนึ่งของหนังที่แสดงให้


78

เห็นว่าทิเบตไม่ต้องการที่จะทำสงคราม “ชาวทิเบตเชื่อว่าศัตรูคือครู ที่ยิ่งใหญ่ เพราะจะช่วยสร้างความอดทนและความเมตตาให้แก่เรา พวกเขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าศรัทธาในศาสนา จะปกป้องพวกเขา จากกองทัพจีนได้” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสงบสุขในประเทศทิเบต ที่นับถือพระพุทธองค์เป็นเครื่องที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ทางด้าน ประเทศมหาอำนาจจีนที่ต้องการพื้นที่ทิเบตอยู่ก่อนนั้นแล้ว เมื่อการ เจรจาไม่เป็นผลทั้งยังถูกองค์ดาไลลามะสั่งสอนผ่านวาจาที่นิ่มนวล จีนจึงไม่พอใจและยังกล่าวหาว่าศาสนาเป็นพิษ จนเป็นเหตุให้เกิด สงครามระหว่างจีนกับทิเบตขึ้น จากนั้นไม่นานจีนได้ยกกำลังพลเข้า ครอบครองพื้นที่ในทิเบตจนได้ ในเรื่องจะเห็นได้ว่า การแต่งกาย อาวุธ ฉาก และเสียง ประกอบต่างๆ จะสะท้อนให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่ปรากฏนั้นอยู่ในช่วง ที่กำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และบรรยากาศของประเทศทิเบต สื่อออกมาถึงความเชื่อและศรัทธาในตัวของทะไล ลามะ ทีค่ อยให้ เห็นถึงการมีการกราบไหว้อยู่เสมอ การขับไล่ความโชคร้ายด้วยการ เคาะหม้อการคิดหรือวางแผนที่จะสู้รบ หรือแม้กระทั่งการนำคนใน เมืองลาซาไปฝึกซ้อมการต่อสู้ใหม่ตั้งแต่แรก จึงทำให้เห็นว่าในแต่ละ ฉากของทิเบตจะสะท้อนถึงการที่ทิเบตรักความสงบไม่อยากขัดแย้ง กับใคร อาจไม่ได้โดดเด่นอะไรนัก แต่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะฉาก ประกอบเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเห็นภาพเหตุการณ์เสมือน


79

จริง ทั้งเสียงประกอบที่เป็นบทสวดมนต์ ช่วยให้รู้สึกเข้าถึงเนื้อหา ภาพยนตร์ได้ดียิ่งขึ้น การแต่งกายจะทำให้ตัวนักแสดงเด่นขึ้นมาในการแบ่งชน ชั้น และบอกลักษณะของคนๆ นั้น เช่น ไฮน์ริค ที่เป็นชาวต่างชาติ การแต่งกายด้วยการใส่สูทแบบฝั่งยุโรป ทำให้เขาดูโดดเด่นขึ้นมาถึง จะอยู่ในเมืองลาซาท่ามกลางการแต่งกายของชาวทิเบต หรือจะเป็น การแต่งกายในทิเบตก็ยังมีการแบ่งแยกชนชั้นทีเ่ ห็นได้ชัด เช่น คน ชนชั้นกลางกับคนชนชั้นล่าง อย่างการที่คนชนชั้นกลางจะมีการแต่ง กายด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีและมีเครื่องประดับต่างๆ เพิ่มเติม ดูสะอาด เรียบร้อยสวยงาม แต่สำหรับคนชนชั้นล่างการแต่งกายไม่ค่อยดูน่า มองและสะอาดเท่าใดนัก เนื้อตัวมอมแมมเหมือนคนที่ทำงานอย่าง หนัก ในส่วนนี้เป็นลักษณะที่โดดเด่นขึ้นมาให้เราได้รู้ว่าบุคคลนี้อยู่ ในสถานะใดในเรื่อง สัญลักษณ์ในเรื่องมีแฝงอยู่หลายอย่างไม่ได้ดูโดดเด่นมาก นักในฉากเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบหนึ่ง แต่สัญลักษณ์แต่ละอย่างมี ความหมายของมันทำให้เนื้อเรื่องมีอรรถรสและความเข้าใจมากขึ้น อย่างเช่น พระที่เป็นผู้ปกครองประเทศ ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึง ความยกย่องเอาไว้เหนือสุดของทุกอย่าง หรือแม้จะเป็นสัญลักษณ์ ธงชาติ ที่จะนำไปปักในสถานที่ไม่ว่าจะเป็นธงประเทศจีนที่ไปปักที่


80

เมืองลาซา ประเทศทิเบต เพื่อสื่อความหมายของการล่าอาณานิคม ได้สำเร็จเพื่อสื่อทิเบตอยู่ใต้อำนาจของประเทศจีน 7 Years in Tibet เป็นภาพยนตร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกได้ ว่าควรค่าแก่การชม ถึงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอัตชีวประวัติของชาย คนหนึ่งที่มีการสอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยู่ แต่ถ้าเรา ได้ชม เราจะรู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะให้อะไรกับเรามากกว่าที่คิด ทั้ง ได้รู้ถึงวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ของชาวทิเบต และคำสอน ต่างๆ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ถึงเนื้อเรื่องจะ ไม่ได้ตื่นเต้นเร้าใจเหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ แต่ถ้าคุณลองได้ดูสัก ครัง้ คุณอาจจะลงรักภาพยนตร์เรื่องนี้เลยก็ว่าได้


81

บทความวิจารณ์หนัง 7 years in Tibet (ภาพรวมหนัง)

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงหนังเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาน่าสนใจมาก นั่นก็คือ 7 Years in Tibet โดยหนังเรื่องนี่จะพูดถึงนักปีนเขาคน หนึ่งที่เป็นตัวเอกของเรื่อง ที่ได้เดินทางไปอาศัยอยู่ในประเทศทิเบต ท่ามกลางสมรภูมิสงครามช่วงล่าอาณานิคมในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยตัวหนังเรื่องนี้จะดูแตกต่างไปจากหนังสงครามที่เราเคยดูมาจาก หนังหลายเรื่อง เพราะส่วนมากหนังสงครามนั้นจะเน้นขายเนื้อเรื่อง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง การทหาร และฉากบู๊สุดมัน หรือแม้จะ เป็นฉากเลือดสาดจากการโดนสังหารอย่างทารุณ แต่ในหนังเรื่องนี้ นั้นเราจะได้เห็นหนังที่ดำเนินไปโดยมีสงครามเป็นตัวดำเนินเรื่องว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาบ้าง


82

การล่าอาณานิคมในหนังเรื่องนี้นั้นก่อให้เกิดสงครามของ ประเทศแต่ละประเทศ ซึ่งแน่นอนว่ามีก็เกิดกับประเทศเล็กๆ อย่าง ทิเบตด้วย ซึ่งตัวหนังแสดงออกมาได้ดีว่าสงครามนอกจากการต่อสู้ ด้วยอาวุธของทหาร ตัวเรายังได้เห็นการต่อสู้ด้วยสมองของคนที่เป็น ผู้นำกับการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด เพื่อที่จะรักษาความปลอดภัย ของประชาชนและชีวิตของตันเองเอาไว้ ถึงแม้จะต้องยอมสูญเสีย บางอย่างไป และเป็นการนำเสนอหนังสงครามในอีกมุมมองใหม่ๆที่ ควรได้รับ และเมื่อเราได้ชมภาพยนต์เราจะได้เห็นอีกด้านหนึ่งของคน ในประเทศที่รักสงบท่ามกลางสงครามว่าพอถึงเวลาพวกเขาจะต้อง สู้ถึงแม้ว่าเขาจะสู้ไม่ได้ เพราะโดยนิสัยของชาวทิเบตส่วนมากนั้นรัก ความสงบ แต่สงครามนั้นก็ยังโหดร้ายเมื่อพวกประเทศยักษ์ใหญ่ยัง ต้องการล่าอาณานิคมอย่างต่อเนื่องเพื่อเก็บเกี่ยวทรัพยากรเข้าไปใช้ ภายในประเทศ และสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศของตนเอง ถ้าจะให้พูดโดยรวม ในการนำเสนอของภาพยนตร์เรื่องนี้ นับว่าสามารถถ่ายทอดอารมณ์และความโหดร้ายของสงครามนั้น ออกมาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเหตุผลในการล่า อาณานิคมนั้นมีหลากหลายแล้วแต่มุมมอง ส่วนในฉากที่พระเอกนั้น ไม่พอใจที่จิกมีไม่สู้ต่อแต่กลับยอมแพ้เพื่อรักษาชีวิตประชาชนเอาไว้ ซึ่งก็เป็นความคิดของบุคคลหนึ่งที่ยังไม่มีความรู้ทางการเมืองมาก


83

พอ แต่กลับกันที่จิกมีนั้นตัดสินใจยอมแพ้เพราะว่าไม่อยากเสียคนไป โดยเปล่าประโยชน์ จากการทำสงครามที่ไม่สามารถเอาชนะได้และ ยังเป็นการสะท้อนอุปนิสัยของชาวทิเบตว่ายังเป็นคนรักสงบแม้อยู่ ในช่วงสู้รบสงคราม นับว่าหนังเรื่องนี้เก็บรายละเอียดและข้อมูลของ การทำสงครามได้ดีไม่ว่าจะเป็นฉากแต่ละฉากเหตุผลในการสู้รบแม้ จะไม่ได้นำเสนอในสิ่งที่หนังสงครามควรจะเป็น


84

บทความวิจารณ์หนัง 7 years in Tibet (ภาพรวมหนัง) Seven Years in Tibet เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสือ อัตชีวประวัติของไฮน์ริช ฮาเรอร์ นักไต่เขาชาวออสเตรียที่ใช้ชีวิตอยู่ ในทิเบตระหว่างปี ค.ศ. 1944 -1951 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการรุกรานทิเบตโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน มีชื่อ ภาษาไทยว่า "7 ปี โลกไม่มีวันลืม" เนื้อเรื่องเล่าถึงชีวิตในระหว่างการเดินทางของสองนักไต่ เขา ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ และปีเตอร์ ออฟชไนเตอร์ สองนักไต่เขาชาว ออสเตรียที่ขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของนาซีเยอรมนี ทั้งสองเป็น ตัวแทนของเยอรมนีในการเดินทางไปพิชิตยอดเขานังกาปาร์บัต บน เทือกเขาหิมาลัยที่เป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่แล้วเมื่อเยอรมนี ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรพวกเขาจึงถูกจับตัวไปเป็น


85

เชลยสงคราม และส่งเข้าค่ายกักกัน ทั้งสองหลบหนีออกมาจากค่าย และเดินเท้าขึ้นเหนือไปสู่ทิเบต ได้พบกับทะไล ลามะ องค์ที่สิบ 14 ในวัยเด็ก แล้วก็ได้เป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ให้กับ พระองค์ และเป็นที่ปรึกษาทางการทหารให้กับกองทัพทิเบต ซึ่งทั้ง สองใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังโปตาลาเป็นเวลายาวนาน 7 ปีจนกระทั่ง พระองค์ทะไล ลามะทรงเข้าพิธีครองบัลลังก์อย่างเป็นทางการ และ เดินทางกลับออสเตรียหลังจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เข้า รุกรานทิเบตในปี ค.ศ. 1950 นอกจากเรื่องราวการเดินทางของไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ที่เป็น จุดสำคัญของเรื่องราวแล้ว ในภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสอดแทรกหลักคำ สอนและความเชื่อของชาวทิเบตลงไปในหลายๆ ฉาก ทำให้ได้ข้อคิด และคติสอนใจบางอย่างจากชาวทิเบต โดยหลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นรอบที่สองก็ ได้ลิสต์คำสอนในแต่ละฉากออกมาเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจกับคำ สอนและความเชื่อวัฒนธรรมของชาวทิเบตได้อย่างชัดเจน ในฉากที่ไฮน์ริค แฮร์เรอร์และปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ เดินทางมาถึงทิเบตและได้พบกับสาวตัดชุดชาวทิเบต นักไต่เขาทั้ง สองก็ได้ปิ๊งเธอเข้าอย่างจัง ทำให้เขาทั้งสองแย่งกันจีบสาวทิเบตคน นี้ โดย ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ เริ่มจีบโดยพูดคุยเรื่องที่เขาเป็นนักไต่เขา โอลิมปิกพร้อมโชว์สมุดบันทึกที่มีข่าวที่เขาชนะรางวัลโอลิมปิกใน


86

การแข่งมามากมาย ให้สาวชาวทิเบตดู และเธอก็ได้พูดถึงคำสอนที่ แตกต่างระหว่างชนชาติว่า ” นี่ก็เป็นอีกอย่างที่ต่างกันมากระหว่าง อารยธรรมของเรา ตัวคุณชื่นชมคนที่พาตัวเองไปสู่จุดสูงสุดไม่ว่าจะ เป็นในเรื่องไหนก็ตาม แต่เราชื่นชมคนที่ละวางอัตตาไว้ " ฉากตอนที่เขาช่วยสร้างโรงหนังให้พระองค์ ทะไล ลามะ แล้วจำเป็นต้องขุดดินซึ่งทำให้ไส้เดือนตาย ซึ่งคนทิเบตเชื่อเรื่องการ กลับชาติมาเกิด ไส้เดือนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาจจะเป็นแม่ของเรา เมื่อชาติที่แล้วคนทิเบตจึงมีทัศนคติความเชื่อที่จะไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด และต้องให้ความเคารพ เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณ ฉากองค์ทะไล ลามะ ตอนอายุสิบกว่าปี ต้อนรับนายพลจีน แสดงถึงความน่านับถือและสติปัญญาของท่านเช่นกัน ท่านทักทาย และพูดกับนายพลจากจีนว่า“คำสอนของพุทธองค์ ตรัสไว้ว่า ทุกคน กลัวอันตราย และความตาย ไม่มีใครไม่รักชีวิต เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว เราจะไม่ฆ่าใคร ท่านต้องเข้าใจ คำสอนนี้ฝังอยู่ในใจชาวทิเบตทุกๆ คนทุกๆผู้ในประเทศทิเบต เราจะเป็นชนชาติที่รักความสงบยึดหลัก ปฏิเสธความรุนแรง อาตมาสวดมนต์ให้ท่านประจักษ์ว่านี่คือความ เข้มแข็ง หาใช่ความอ่อนแอ”เป็นหนึ่งฉากที่ประทับใจมาก เพราะ ถึงแม้นายพลจีนจะกะทำกริยาและพูดจาไม่ดี องค์ทะไล ลามะก็ใช้ สติปัญญาในการพูดคุยอย่างนิ่งสงบ และเลือกนำเอาคำสอนมาใช้ใน การพูดคุยเจรจาต่อรองทางการเมือง


87

อีกฉากเป็นตอนที่ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ พูดถึงเรื่องการปีนเขา ว่า "มันเป็นความเรียบง่ายอย่างแท้จริง เวลาคุณปีนเขาสมองของ คุณปลอดโปร่ง ไม่สับสน มีเป้าหมายแน่วแน่ และทันใดนั้น แสง เหมือนจะคมชัดขึ้น คุณจะสามารถรู้สึกเหมือนเปี่ยมไปด้วยพลังอัน ล้ำลึกของชีวิต ผมรู้สึกแบบนั้น เฉกเช่นเมื่อได้อยู่กับพระองค์ท่าน" และอีกฉากที่สำคัญในตอนท้ายเรื่อง คือ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ วางแผนจะพาองค์ทะไล ลามะ หนีออกนอกประเทศ แต่พระองค์ไม่ ไป ท่านกล่าวว่า “มีภาษิตทิเบตอยู่บทหนึ่งว่าเอาไว้ว่า ถ้าปัญหา แก้ไขได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวล ถ้าแก้ไขไม่ได้ กังวลไปก็ไม่มี ประโยชน์ “ “ผมจะช่วยคนได้ยังไง ถ้าหนีไปจากพวกเขา ผมจะเป็น ผู้นำแบบไหน ทำเพื่อผู้อื่นทำให้ผมมีเวลาคิดหาทางออก พระพุทธ องค์ตรัสไว้ว่า การเห็นเราไม่ทำให้พ้นทุกข์ แต่ต้องใช้ความเพียร พยายาม จงเพียรหาทางพ้นทุกข์ของตัวเองด้วยปัญญา” และฉากที่ถือว่าเป็นฉากที่กินใจคนดูมากที่สุดคงจะหนีไม่ พ้นฉากที่ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ มาลาองค์ทะไล ลามะ กลับบ้าน ดูแล้ว รู้สึกว่าทั้งสองผูกพันกันมากจริงๆ ไม่แปลกใจเลยที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ จะถือว่าเป็นภาพยนตร์ในดวงใจของใครหลายๆ คน ซึ่งนอกจากจะ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับตัวของเขานักไต่เขาชาวออสเตรียอย่าง ไฮน์ริค ฮาเรอร์ แล้ว เนื้อเรื่องยังมีความสนุกและสอดแทรกคำสอน


88

และคติสอนใจในความเชื่อของชาวทิเบต ทำให้เราได้รู้จักวัฒนธรรม ของคนทิเบตมากขึ้นจากภาพยนตร์นี้


89

บทความวิจารณ์หนัง 7 Year in Tipet 7 ปี โลกไม่มี วันลืม (ภาพรวมหนัง)

หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มนักปีนเขาคนหนึ่งที่มี ชื่อว่า“ไฮร์ริค แฮร์เรอร์”ชายหนุ่มผู้หนึ่งที่รักในการปีนเขาเป็นชีวิต จิตใจ และถึงแม้ว่าเขาจะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องปีนเขาจน ได้รับรางวัลเหรียญทองโอลิมปิกมานับไม่ถ้วนในการแข่งขัน แต่ทว่า ในฐานะหัวหน้าครอบครัว เราว่าเขายังทำมันออกมาได้ไม่ดีมากพอ ฟังจากทีไ่ ฮน์รคิ คบอกกับปีเตอร์ว่า ที่เขาหนีออกมาจากออสเตรเลีย แล้วมาปีนเขาก็เพราะว่าตัวและใจจริงของเขานั้นยังไม่พร้อมที่จะมี ลูกและทำหน้าที่เป็นคุณพ่อ ซึ่งเราก็คิดว่าตอนนั้นภรรยาของไฮน์ริค น่าจะกำลังตั้งท้องอยู่ ซึ่งเหตุผลนี้แหละมันทำให้เรามองว่าไฮน์ริคยัง มีข้อบกพร่องในฐานะของการเป็นผู้นำครอบครัว เรามองว่าตรงนี้ยัง


90

ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ เพียงแค่เพราะไม่อยากมีลูกเลยต้องทิ้ง ภรรยาทีต่ ั้งท้องให้อยู่ท่ามกลางช่วงสงครามเพียงคนเดียว ไม่แปลก ใจเลยว่าทำไมภรรยาของเขาถึงได้ต้องการทีจ่ ะหย่ากับเขา ไฮน์ริคและกลุ่มนักปีนเขาได้ออกเดินทางมายังทวีปเอเชีย เพื่อมาพิชิตยอดเขาในฐานะคนของเยอรมนี แต่เนื่องจากยังคงอยู่ใน สงครามจึงทำให้ไฮน์ริคและกลุ่มนักปีนเขาถูกทหารของอังกฤษจับ ตัวไปขังไว้ที่อินเดีย ในขณะที่พวกเขากำลังปีนเขาอยู่นั้นเอง ไฮน์ริค ก็ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าแต่เขากับไม่ได้บอกกับเพื่อนร่วมทีมว่าเขา ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้า ซึง่ ในความรู้สึกของเรานั้นก็รู้สึกว่าตัวเราเอง ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ของไฮน์ริคเป็นอย่างมาก เพราะการทีเ่ ขา ไม่ยอบบอกกับเพื่อนร่วมทีมว่าเขาได้รับบาดเจ็บ มันอาจจะส่งผลทำ ให้เพื่อนร่วมทีมของเขาได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พอเพื่อนในทีมอย่างปีเตอร์เตือนหรือบอกกับไฮน์ริค เขาก็จะทำการ เถียงเพื่อนกลับมาโดยทันที โดยไม่ฟังคำเตือนของเพื่อเหมือนกับเขา ไม่เคยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเลยนอกจากตัวของเขาเอง นี่ก็ ถือว่าเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราไม่ค่อยชอบไฮน์ริคในช่วงแรกๆ หลังจากกลุ่มนักปีนเขาของไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ถูกจับไปขังที่ อินเดีย พวกเขาก็คิดหาทางทีจ่ ะทำการหลบหนีออกจากที่คุมขังแต่ มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะออกจากที่นั้น กลุ่มนักปีนเขาจึงได้ปรึกษากัน ว่าจะหนีออกจากที่นี่ได้อย่างไร แน่นอนว่าไฮน์ริคก็เป็นหนึ่งในนั้นที่


91

นำเสนอทางออก แต่อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าเขาไม่ฟังความเห็นของ คนอื่น เขาชอบทำอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น โดยไม่คำนึงถึงความ ปลอดภัยของผู้อื่นนอกจากตัวของเขาเอง แต่เรื่องนี้ก็สะท้อนให้เรา ได้ข้อคิดอะไรหลายๆ อย่าง ว่าเราควรทีจ่ ะรับฟังความคิดเห็นของ คนอื่นบ้าง เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ซึ่งตัวละครอย่าง ปีเตอร์เป็นตัวอย่างที่ดีเลยในเรื่องนี้ นอกจากนี้ หลังเรื่องนี้ยังมีความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งนั้นก็ คือ การทำสงครามและการล่าอาณานิคม เราชอบอย่างหนึ่งที่หนัง สะท้อนเรื่องคนที่เชื่อหรือและมีความศรัทธาในเรื่องของศาสนากับ คนที่ไม่เชื่อในเรื่องของศาสนา ตัวอย่างเช่นผู้นำของจีนในหนังเรื่อง นี้ที่ต้องการเป็นผู้นำทางการเมืองในทิเบต เขาเลยมองว่าความเชื่อ ศาสนาของชาวทิเบตเป็นเรื่องที่งมงาย และเป็นตัวที่จะบ่อนทำลาย ประเทศชาติ ซึ่งเป็นความคิดที่ขัดแย้งกับคนทิเบตที่มีความเชื่อและ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา หากมองในอีกมุมหนึ่งในหนังคนทิเบตที่ เชื่ออย่างนั้นกลับเป็นคนที่อ่อนโยน เห็นคุณค่าของทุกชีวิต เราชอบ ส่วนนี้ของหนังมากเลยละ เพราะพอมองดูแล้วมันรู้สึกว่ามันชั่งดูจะ น่ารักมากๆ อีกส่วนหนึ่งก็ทำให้รู้สึกหงุดหงิดที่ผู้นำจีนมาพูดดูถูกคน ทิเบตอย่างนั้น เหมือนกับว่าเขานั้นมองทิเบตในมุมมองของตัวเอง และไม่มองวัฒนธรรมของที่อื่น คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น


92

กลับมาที่ตัวละครหลักอย่างไฮน์ริค แฮร์เรอร์และเพื่อนร่วม ทางของเขาอย่างปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ที่พวกเขาทั้งคู่ได้หนีออกมา จากค่ายกักกันได้สำเร็จ แม้ในตอนแรกจะแยกทางกันแต่สุดท้ายทั้ง คูก่ ็ได้มาเดินทางร่วมกันแม้จะมีกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่สิ่งนั้นเองก็ ทำให้ไฮน์ริคได้เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น เราว่าตรงนี้ของหนัง สอนเราได้ดีเลย บางครั้งเราก็ทะเลาะกันเพื่อที่จะได้เข้าใจกัน ไม่ใช่ ทะเลาะกันเพื่อตัดมิตรภาพ หลังจากที่ทั้งคู่เดินทางมานานในที่สุดก็เดินทางมาถึงทิเบต ในช่วงแรกๆ คนทิเบตก็ยังไม่ต้อนรับคนต่างชาติอย่างพวกเขาแต่มี ผู้ใหญ่ที่มีตำแหน่งในทิเบตให้การรับรองแก่พวกเขา มันจึงส่งผลให้ พวกเขาได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ในประเทศทิเบต และพวกเขาก็ได้รับ การมอบหมายหน้าที่ให้คอยเป็นคนสำรวจเมืองหลวง ซึ่งจากนั้นทั้ง ไฮน์ริค และ ปีเตอร์ ก็ได้พบกับหญิงสาวที่เป็นช่างตัดเสื้อผ้า แน่นอน ว่าทั้งคู่ต่างก็ตกหลุมรักหญิงสาวคนนั้น ทั้งคู่จึงได้เริ่มตามจีบช่างตัด เสื้อคนนั้น และแน่นอนว่าการแข่งขันไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามย่อมมี คนแพ้และคนชนะ บางครั้งคนที่ใช่ก็ไม่จำเป็นต้องพยายามมากมาย ยังไงก็ใช่ แต่กับคนที่ว่าไม่ใช่ต่อให้คุณได้พยายามมากมายขนาดไหน ก็ยังคงไม่ใช่อยู่วันอย่างค่ำ ซึง่ ตัวไฮน์ริคน่าจะเรียนรู้ในเรื่องนี้ได้เป็น อย่างดี เพราะสุดท้ายคนที่ได้หัวใจของหญิงสาวไปคือปีเตอร์ ไม่ใช่ เขา....


93

แม้เขาจะพ่ายแพ้ให้กับความรักแต่ไฮน์ริค กลับได้เรียนรู้สิ่ง ที่เรียกว่ามิตรภาพอันงดงามจากองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 กลับคืนมา เหตุเพราะไฮน์ริคได้รับคำสั่งให้เข้าเฝ้าองค์ทะไล ลามะ หลังจากนั้น ไฮน์ริคก็ได้สอนอะไรหลายๆ อย่างให้กับองค์ทะไล ลามะ ซึ่งตอนนั้น ยังเด็กอยู่ เป็นทั้งเพื่อน ทั้งที่ปรึกษา และในส่วนลึกในหัวใจของเขา เองไฮน์ริค ก็คิดว่าองค์ทะไล ลามะ คือลูกของเขาคนหนึ่ง ซึ่งเขานั้น ก็ได้คิดถึงลูกของเขาอยู่ตลอดเวลาที่อาศัยอยู่ประเทศทิเบต เขาเคย เขียนจดหมายไปหาลูกของเขาซึ่งแน่นอนว่าลูกของเขาไม่ยอมรับว่า เขาเป็นพ่อ นั้นทำให้เขาเสียใจมาก เราว่าตรงนี้เป็นผลการกระทำที่ เขาได้ทำไว้มากกว่า เพราะเขาเองบอกว่าไม่อยากมีลูกและได้ทิ้งลูก กับภรรยามาปีนเขา เราว่าไฮน์ริคต้องยอมรับตรงนี้ให้ได้ หลังจากที่ทิเบตได้ถูกรุกรานจากประเทศมหาอำนาจจีน องค์ทะไล ลามะได้บอกให้ไฮน์ริคกลับไปที่ออสเตรเลียเพื่อกลับไป หาลูกของเขา กลับไปทำหน้าที่พ่อที่ดีที่เขาควรจะทำ ส่วนพระองค์ จะอยู่ทิเบตต่อ และจะรับการสถาปนาให้เป็นผู้นำทางด้านการเมือง เราชอบที่องค์ทะไล ลามะ สอนไฮน์ริคมากๆ เลย ที่บอกว่าพระองค์ ไม่ใช่ลูกของไฮน์ริค หากคิดถึงลูกก็จงเดินทางกลับไปหาเขา กลับไป ทำหน้าที่พ่อที่ดี ชดเชยในสิ่งที่เคยผ่านมาให้เขา นั้นจึงทำให้ไฮน์ริค ตัดสินใจกลับออสเตรเลียไปหาลูก


94

หลังจากนั้นไฮน์ริคก็ได้ออกเดินทางกลับออสเตรเลียเพื่อไป หาลูกของเขา แน่นอนว่าลูกของเขาไม่ยอมเจอเขา แต่เขาก็ไม่ยอม แพ้ เขาได้มอบของที่ได้จากองค์ทะไล ลามะให้กับลูกชายของเขา ซึ่ง นั้นก็ได้ผล ลูกชายของเขายอมออกจากที่ซ่อนเพื่อมาดูของทีไฮน์ริค นำมามอบให้ หลังจากนั้นก็ตัดภาพมาที่แฮริคพาลูกชายของเขามา ปีนเขาหิมาลัย ซึ่งจากฉากเราจะเห็นได้ว่าลูกชายของเขาได้เติบโต ขึ้นมากพอสมควร และยังได้มาปีนเขากับไฮน์ริคอีก แสดงว่าทั้งคู่ได้ เข้าใจกันดี และกลับมาเป็นพ่อลูกกันเหมือนเดิม แสดงว่าที่ผ่านเวลา ที่ผ่านมาไฮน์ริคไม่ได้ยอมแพ้ และได้พยายามเข้าหาลูกชายของเขา ด้วยความรักของผู้เป็นพ่อ แสดงให้ลูกชายของเขาได้เห็นว่าไฮน์ริค รักและพร้อมรับผิดชอบในวันเวลาที่ผ่านมา เราว่ามันเป็นตอนจบที่ ดีมาก เราชอบมากๆ และยังมีฉากไฮน์ริคนั่งมองทอดสายตาไปยัง ทิศที่ประเทศทิเบตตั้งอยู่ ซึ่งแสดงถึงความห่วงใย และความคิดถึง องค์ทะไล ลามะที่ทรงลี้ภัยอยู่จากพิษทางการเมือง รวมๆ แล้วเราว่า หนังสอนเราได้หลายๆ อย่างมาก เป็นหนังที่ควรค่าแก่การดูมากๆ มี ครบทุกอารมณ์ โดยรวมเราชอบมากๆ เลย


95

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years In Tibet ความเชื่อ และความศรัทธาในศาสนา (ภาพรวมหนัง)

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ดึงดูดคนดูให้หลงเข้าไป ในยุคประวัติศาสตร์ ให้รู้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเรื่องราวของความเชื่อ ความศรัทธาของประเทศ ซึ่งประเทศที่เคร่งในศาสนาที่สุดนั่นก็คือ ประเทศที่ขึ้นชื่อว่า ทิเบต ประเทศแห่งความศรัทธาและความเชื่อใน ซึง่ ภาพยนตร์เรื่อง 7 Year In Tibet หรือชื่อภาษาไทยคือ 7 ปีโลก ไม่มีวันลืม นี้ทำให้เรามีความรู้สึกได้ว่าเราได้เข้าไปสัมผัสวัฒธรรม ความเป็นอยู่ของชาวทิเบต แถมเรายังได้ทราบและได้เรียนรู้ในเรื่อง ของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และประสบการณ์ในด้านต่างๆ ที่ใน


96

แต่ละประเทศนั้นๆ ยังไม่รู้หรือไม่มี รวมถึงการเปลี่ยนทัศนคติใน การมองโลกในอีกแง่มุมหนึ่ง ในเรื่องของภาพยนตร์จะเสนอมุมมอง ของความหลากหลายทั้งด้านภาษา ทางด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา และความเป็นอยู่ การนับถือในประเทศของตน โดยสื่อ ผ่านคนทิเบตรวมกับคนทวีปยุโรปว่าเราสามารถสร้างมิตรภาพที่ดี ระหว่างกันได้ ทั้งที่ทิเบตไม่ต้อนเปิดประเทศเพื่อต้อนรับคนยุโรปแต่ ก็ได้มีความสัมพันธ์ และมิตรภาพที่งดงามขององค์ทะไล ลามะที่ 14 กับไฮน์ริค ที่มอบให้แก่กันที่ทำให้เรามองข้ามเรื่องนี้ไปได้ ในหนังยัง มีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เราเชื่อได้เลยว่าประชาชนและองค์ทะไล ลามะ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาที่น่าติดตาม ทำให้ผู้ชมที่เข้ามาดู ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาวทิเบต ได้เรียนรู้วัฒนธรรมได้รู้จักกับ ความเชื่อ ความศรัทธาในอีกมุมมองรูปแบบหนึ่ง ที่ตวั เรานั้นไม่เคยรู้ ที่จะได้ร้จักและสัมผัสมันมาก่อน รวมถึงเรื่องที่ในภาพยนตร์แสดง ให้เราได้เห็นถึงการยึดมั่นในความรักสงบของประชาชนชาวทิเบต มันยังทำให้เห็นมุมมองที่แตกต่างที่ว่า“คนรักสงบไม่ได้หมายความ ว่าเป็นคนอ่อนแอ.


97

บทความวิจารณ์หนัง ตัวละคร


98

บทความวิจารณ์หนัง Seven Years in Tibet (ตัวละคร)

เป็นเรื่องราวของ ‘ไฮน์ริค แฮร์เรอร์’ นักปีเขาชาวออสเตรีย กับทีมงานที่ตั้งใจจะไปพิชิตยอดเขาในแถบเทือกเขาหิมาลัยแต่ก็ไม่ สำเร็จ และถูกทหารอังกฤษจับตัวไปเพราะเกิดสงคราม เขาพยายาม หลบหนีออกจากค่ายเพียงคนเดียวอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ใน ท้ายที่สุดก็หนีออกมาได้ เพราะแผนของพวกที่เป็นนักปีนเขาด้วยกัน หลังจากหลบหนีออกมาได้เขาตัดสินใจเดินทางเข้าสู่ทิเบต หลังจาก สงครามจบลงไฮน์ริค เขาตั้งใจเอาไว้ว่าเขาจะออกเดินทางกลับบ้าน แต่โดนองค์ทะไล ลามะ เรียกพบเสียก่อน เขาจึงต้องอยู่ทิเบตต่อ


99

ในตอนแรกๆ นิสัยใจคอของตัวละครหลักอย่างหนุ่มนักปีน เขา ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ เป็นคนทะเยอทะยาน เห็นแก่ตัว ดื้อรั้น อวดดี และไม่สนใจใครเลย จากที่ในตอนแรกเขายอมทิ้งภรรยาและลูกที่ยัง ไม่เกิดมาลืมตาดูโลกเพื่อที่จะมาปีนเขา (ตอนหลังบอกว่ามาปีนเขา เพราะไม่อยากมีลูก) จะปีนเขาไปให้ได้ทั้งที่เจอหิมะถล่ม เหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ไฮน์ริคได้รู้สึกว่าเป็นเหตุการณ์ที่จะ สอนให้ไฮน์ริครู้จักมองโลกให้กว้างมากขึ้นนอกจากตัวเอง ขอยกมา สองเหตุการณ์ดังนี้ เหตุการณ์แรก คือ การวางแผนหลบหนีออกจาก ค่ายกักกัน ตัวเขานั้นได้พยายามที่จะหลบหนีออกจากค่ายเพียงคน เดียวอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนในสุดท้ายที่ออกมาพร้อมกับเพื่อน นักปีนเขากับแผนที่เขาบอกว่าโง่มาก แต่ก็ทำให้หนีออกมาสำเร็จได้ ด้วยดี การที่เขาต้องเดินทางร่วมกับเพื่อนอีกคน มันก็ทำให้เขาต้อง ยอมเสียสละปรับเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่าง เหตุการณ์ที่สอง คือ ตอนเล่นสเก็ตที่เขาพยายามเรียกร้องความสนใจจากสาวทิเบต แต่ ไม่มีใครสนใจ เขาจึงได้เริ่มเรียนรู้ว่า ถ้าอยากเข้าใจผู้อื่นก็ต้องเข้าใจ ผู้อื่นก่อนเช่นเดียวกัน ไฮน์ริค อยู่ที่ประเทศทิเบตในฐานะเพื่อนและครูให้กับองค์ ทะไล ลามะ เขาเล่าและสอนเรื่องราวต่างๆ ของโลกภายนอกให้กับ องค์ทะไล ลามะ และในขณะเดียวกันตัวเขาเองก็ได้เรียนรู้ถึงความ สงบภายในจิตใจจากองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 มาเช่นเดียวกัน ทั้งสอง


100

คนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ไฮน์ริคได้เรียนรู้ถึงการที่ ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น ว่าต้องมีการปรับตัวเพื่อที่จะอยู่ร่วมวัฒนธรรม กับคนอื่นให้ได้ ส่วนองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ก็ได้สอนทัศนคติทาง ธรรมให้กับไฮน์ริคด้วย สุดท้ายไฮน์ริคที่ค่อยๆ ซึมซับเอาความสุขุม ใจเย็นและสงบ เขามาในตัวก็กลายเป็นคนที่ทำอะไรเพื่อคนอื่นและเข้าใจคนอื่นมาก ขึ้น มีการนึกถึงใจคนอื่นมากขึ้น สุดท้ายเขาก็ค้นพบหนทางพ้นทุกข์ ของตัวเองและเดินทางกลับประเทศเพื่อไปพบลูกชาย


101

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years In Tibe มิตรภาพ บนความแตกต่าง (ตัวละคร)

ความต่างในทางด้านทัศนคติ ลักษณะนิสัย เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อ การก้าวผ่านพรมแดนนามธรรมเหล่านี้สู่ เส้นทางแห่งมิตรภาพปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์เรื่อง 7 Years In Tibet เจ็ดปีโลกไม่มีวันลืม ภาพยนตร์อัตชีวประวัติที่สร้างจากเรื่อง จริงของ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ นักไต่เขาชาวออสเตรีย เรื่องราวการ เดินทาง สงคราม การต่อสู้ การหลบหนีเพื่อมีชีวิตอยู่ และมิตรภาพ 7 Years In Tibet ปรากฏมิตรภาพให้เราได้เห็นในเรื่องอยู่ หลายส่วนที่เห็นเด่นชัดคือ มิตรภาพอันมีความแตกต่างทางความคิด และลักษณะนิสัย เป็นเส้นเชือกเบาบางกั้นอยู่ตรงกลางระหว่างเขา


102

ไฮน์ริค กับ ปีเตอร์ ออฟซไนเดอร์ หนึ่งคนมุทะลุกับอีกหนึ่งรอบคอบ และอีกหนึ่งมิตรภาพกับกำแพงความต่างที่แสนหนาและสูงใหญ่ อัน ประกอบด้วยเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรม ที่กั้นอยู่ตรง กลาง ไฮน์ริคและองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 หนึ่งชาวต่างชาติผู้พัดหลง ในทิเบตกับหนึ่งพระสงฆ์ที่เปี่ยมไปด้วยความกระหายรู้ผู้ปกครอง เมืองลาซา การก้าวข้ามกำแพงและเส้นเชือกสู่คำว่ามิตรภาพ ใน 7 Years In Tibet เริ่มความสัมพันธ์แรกระหว่างไฮน์ริค กับ ปีเตอร์ ออฟซไนเดอร์ ตั้งแต่ตอนที่ขึ้นรถไฟ ลักษณะนิสัยและ ความคิดที่แตกต่างไม่น่าเชื่อว่าสุดท้ายจะลงเอยที่คำว่าเพื่อน ซึ่งเขา ไฮน์ริคชอบเอาชนะตามแบบฉบับของนักกีฬา เขานั้นมุทะลุและมัก ดันทุลังเอาความคิดตัวเองเป็นหลัก ขณะที่อีกฝ่ายคือปีเตอร์ ผู้ที่มัก มีความรอบคอบและดูเป็นผู้ใหญ่ อย่างในฉากหลังที่มภี ูเขาหิมะถล่ม ไฮน์ริคดึงดันที่จะปีนเขาต่อ แต่ทว่าปีเตอร์กลับไม่เห็นด้วยเนื่องจาก เป็นห่วงลูกทีมคนอื่นๆ มิตรภาพของพวกเขาเกิดขึ้นมาและดำเนินไปอย่างแปลก ประหลาด คล้ายไม่ได้มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันอยู่ในนั้น ความสัมพันธ์ ของพวกเขาไม่อาจทำให้เราเชื่อได้อย่างสมบูรณ์ว่าระหว่างพวกเขา คือคำว่าเพื่อน จนกระทั่งในตอนท้ายของเรื่องถึงได้เห็นว่าทั้งไฮน์ริค และปีเตอร์ต่างก็มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อกัน ไม่ว่าจะจากการ เดินทางหรือการต่อสู้ก็ตาม


103

มิตรภาพอันงดงามที่มีสิ่งที่เรียกว่า เชื้อชาติ กำแพงศาสนา เส้นเชือกแห่งความเชื่อ และแผ่นหลังของวัฒนธรรมกั้นอยู่ระหว่าง ไฮน์ริคและองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 คงจะเริ่มต้นเมื่อตอนที่ไฮน์ริครับ รูปภาพขององค์ทะไล ลามะ ที่ 14 จากนักปีนเขาคนหนึ่งจนกระทั้ง พวกเขาก็ได้เจอกันที่เมืองลาซา ความต่างที่มีมากมายเหล่านี้ ทำให้ มิตรภาพระหว่างไฮน์ริคและองค์ทะไล ลามะ ค่อนข้างน่าสนใจ พวก เขาก้าวผ่านกำแพงสูงที่เป็นความสถานที่แห่งความแตกต่างอันเป็น อุปสรรคต่อมิตรภาพ และไปสู่ความเป็นเพื่อน อีกทั้งเรื่องความต่าง ทางชนชั้นวรรณะก็ยากที่จะเป็นไปได้ แต่ในท้ายที่สุดพวกเขาก็เป็น เพื่อนที่ดีต่อกัน และมีมิตรภาพที่ยืนยาว มิตรภาพ คือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเพื่อนนั้นต้อง สามารถที่จะพึ่งพาอาศัยเพื่อนได้ อย่างเช่นฉากหนึ่งระหว่างไฮน์ริค กับปีเตอร์ที่ไฮน์ริคแบกปีเตอร์ท่ามกลางภูเขาหิมะในตอนที่เท้าของ ปีเตอร์โดนหิมะกัดจนเดินไม่ไหว หรือในฉากที่ไฮน์ริคเองต้องพึ่งพา อาหารจากปีเตอร์ ด้านมิตรภาพหระว่างองค์ทะไล ลามะและไฮน์ริค เองก็ปรากฏให้เห็นค่อนข้างมากเลยทีเดียว เนื่องจากไฮน์ริคนั้นเป็น ทัง้ เพื่อนและครูผู้สอนสิ่งต่างๆ ให้แก่องค์ทะไล ลามะ ทว่าไม่ใช่แค่ เขาที่ให้ความรู้แก่ทะไล ลามะ ขณะเดียวกันไฮน์ริคเองก็เรียนรู้จาก องค์ทะไล ลามะด้วยเหมือนกัน เช่นฉากที่ไฮน์ริคสอนเรื่องความต่าง ของเวลาในแต่ละประเทศ และทะไล ลามะได้สอนให้ไฮน์ริคเรียนรู้


104

ถึงความสงบ ความสันติ และสำรวจลึกภายในจิตใจตนด้วย และด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้เกิดเป็นมิตรภาพอันเหนียวแน่นของพวกเขา มิตรภาพที่เกิดขึ้นใน 7 Years In Tibet นี้ ไม่ว่าจะระหว่าง ไฮน์ริคกับปีเตอร์ หรือไฮน์ริคกับองค์ทะไล ลามะ ล้วนแล้วแต่มีส่วน ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมบูรณ์น่าติดตามตั้งแต่ตอนแรกไปจนถึง ตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ ด้วยความต่างที่เกิดขึ้นในคำว่ามิตรภาพ นี้เองที่ชวนให้มันแลดูสนุกและดูน่าสนใจ แต่ขณะเดียวกันเมื่อพูดถึง แค่ความสัมพันธ์ระหว่างไฮน์ริคและองค์ทะไล ลามะ ที่ 14 เพราะ เป็นความแตกต่างที่ยากจะก้าวข้ามนี้เอง ทำให้เรื่องราวดูไม่ค่อยจะ สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่นัก มองแค่ความต่างทางชนชั้นวรรณะ หรือ ศาสนาความเชื่อแล้ว แม้แต่วัฒนธรรมเองก็ดูจะเป็นอุปสรรคต่อการ สร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรภาพ แม้จะบอกว่าการผูกมิตรไร้พรมแดน ทางความแตกต่างก็ตามแต่เนื่องด้วยบริบทต่างๆ มันออกจะมองดู ว่ามันง่ายดายเกินไป สองชั่วโมงสิบหกนาทีกับเลขวินาทีหลักสิบกว่าๆ 7 Years In Tibet เป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติที่น่าดู เรื่องหนึ่ง เราได้เห็น มุมมองและการก่อเกิดขึ้นของมิตรภาพที่สถานการณ์บีบบังคับอย่าง ไฮน์ริคและปีเตอร์ หรือในบางครั้งมิตรภาพก็เกิดในสถานการณ์ที่ไม่ น่าเป็นไปได้อย่างไฮน์ริคกับองค์ทะไล ลามะ และมิตรภาพที่เกิดขึ้น ภายในภาพยนตร์เรื่อง 7 Years In Tibet นี้อาจไม่ได้แตกต่างกับ


105

ภาพยนตร์เรื่องอื่นจนกล่าวได้ว่าเป็นมิตรภาพที่แปลกใหม่ได้ แต่ถ้า พูดถึงความตราตรึงใจในความสัมพันธ์อันมีจุดเริ่มต้นที่ไม่ธรรมดา เหล่านี้แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ถือว่าถ่ายทอดออกมาได้ดีมากทีเดียว


106

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years In Tibet (ตัวละคร)

วันนี้มีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง Seven year in Tibet (7 ปี โลก ไม่มีวันลืม) เป็นเรื่องราวความจริงของหนุ่มนักปีนเขาชาวออสเตเรีย ชื่อไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ในเรื่องรับบทโดย แบรต พิตต์ โดยในเรื่องตัว ละครตัดสินใจที่จะทิ้งภรรยาและลูกที่ยังไม่ลืมตาดูโลกเพื่อเดินทาง ไปปีนเขาเพื่อเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีให้แก่ประเทศ แล้วเขาถูกจับไป เป็นเชลยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาพยายามวางแผนหาทางใน การหลบหนีอยู่หลายครั้งจนสามารถหนีออกมาได้สำเร็จ การดั้นด้น หนีตายทำให้เขาเดินทางมาถึงเมืองลาซาของทิเบต พร้อมกับปีเตอร์ ออฟซไนเดอร์ (หัวหน้านักปีนเขา) จนได้พบกับองค์ทะไล ลามะใน วัยเด็ก เขาอาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลานาน และด้วยองค์ทะไล ลามะที่อยู่ ในช่วงวัยเด็กทำให้อยากรู้อยากเห็นว่าโลกข้างนอกเป็นอย่างไร จน


107

มีรับสั่งให้ไฮน์ริคเข้าพบเพื่อไขข้อสงสัยในสิ่งที่ไม่รู้ จนทั้งสองกลาย มาเป็นเพื่อนและไฮน์ริคก็กลายเป็นครูสอนดาราศาสตร์และสอนอีก หลายๆ อย่างให้แก่องค์ทะไล ลามะ นานจนถึงช่วงที่โดนรุกรานจาก จีน ในขณะที่การอยู่ที่นี่ทำให้ไฮน์ริคได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง ทั้ง จากผู้คน วัฒนธรรมหรือแม้กระทั่งองค์ทะไล ลามะ เองมันก็ทำให้ ชายหนุ่มที่มีความทะเยอทะยานพบกับความสุขที่แท้จริง แต่ประเด็นที่จะหยิบมาคุยกันในมุมมองส่วนตัวของเรา คือ มิตรภาพระหว่างไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ปีเตอร์ ออฟซไนเดอร์ และองค์ ทะไล ลามะ จากต้นเรื่องดูเหมือนว่าปีเตอร์กับไฮน์ริคจะไม่ลงรอย กันซักเท่าไหร่ แต่หลังจากการหลบหนีทำให้ทั้งสองมาเจอกันอีกครั้ง ส่วนตัวมองว่าตัวตนของไฮน์ริคที่มีความเจ้าเล่ห์อยู่ในตัว ซึ่งเขานั้น ก็มักจะทำให้ปีเตอร์ไม่ค่อยชอบใจ แต่ทว่าการดำเนินเรื่องของพวก เขาทั้งสองคือจุดเด่นที่ทำให้เรื่องเป็นไปอย่างสนุก อย่างปีเตอร์ที่เรามองว่าเขาค่อนข้างมีเหตุผลที่จะทำอะไร หลายๆ อย่าง และเขาที่ตามความเจ้าเล่ห์ของไฮน์ริคไม่ค่อยทัน ทำ ให้เขาต้องมีการปรับตัวอยู่ไม่น้อย อย่างในตอนพบรักกับสาวช่างตัด เสื้อที่เขาต้องแข่งกับไฮน์ริคเพื่อจีบเธอ ทำให้เรานั้นนึกถึงภาพหนัง ไทยในสมัยก่อนที่มักจะเห็นกันอยูบ่ ่อยๆ กับฉากที่ต้องทำการแข่ง กับเพื่อนจีบสาว ส่วนตัวชอบคาแร็กเตอร์ของปีเตอร์มาก เพราะเขา จะมีมุมนุ่มๆ ในโหมดของผู้ชายใจดีและมีมุมตลกนิดๆ อยู่ในตัว


108

สำหรับนักปีนเขาหนุ่มเหรียญทองโอลิมปิกอย่างไฮน์ริค กับ ปีเตอร์ นั้น การออกเดินทางร่วมกันทำให้พวกเขาได้ปรึกษาเรื่องราว ต่างๆ ด้วยกันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในทิเบตพวกเขายิ่งสนิทกัน มากขึ้น ซึ่งมีเรื่องของผู้คน และวัฒนธรรมที่หล่อหลอมเขาให้กลาย มาเป็นเพื่อนกันในที่สุด อย่างในฉากของทั้งสองที่ชอบที่สุดคือ ฉาก ที่ไฮน์ริค จะออกเดินทางกลับบ้าน (ออสเตเรีย) ปีเตอร์ได้รินชาใส่ ชามเอาไว้ และ บอกไฮน์ริคให้กลับมาเพื่อดื่มมันอีกครั้ง ฉากนี้ทำให้ เรารู้สึกว่ามันมีความหมายมากๆ เพราะในการสื่อความหมายทางสี หน้ารอยยิ้ม และสายตาของทั้งสองตัวละครนั้นมันทำให้เราเห็นได้ ชัดเจนมากในความรู้สึกของเรา และมีอีกหลายฉากที่พวกเขาแสดง ออกมาได้ดีมากๆ เมื่อเข้าฉากร่วมกัน ตอนแรกงงกับฉากที่ตัดสลับไปมาระหว่างองค์ทะไล ลามะ กับไฮน์ริคว่าทั้งสองนั้นมีส่วนเกีย่ วข้องกันยังไง จนกระทั่งเขาได้เริ่ม ออกเดินทางเพื่อมาถึงเมืองลาซา จนทำให้เราเผลอคิดว่าคงมีอะไร ดลใจให้พวกเขาที่อยู่คนละเชื้อชาติ วัฒนธรรม ได้มาเริ่มแลกเปลี่ยน และเติมเต็มในสิ่งที่อีกคนขาด มิตรภาพระหว่างองค์ทะไล ลามะที่ 14 ในวัยเด็กกับไฮน์ริคในฐานะเพื่อนที่คอยรับฟังและให้คำปรึกษา และอาจารย์คนสนิททำให้องค์ทะไล ลามะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ยินหรือได้เห็น บุคลิกขององค์ทะไล ลามะจะนิ่งสงบเมื่อมีเหตุให้ต้อง ตัดสินใจ ส่วนตัวเรามองว่าความเงียบสงบนี่แหละที่เป็นส่วนหนึ่งที่ ทำให้ไฮน์ริคคนใจร้อนค่อยๆ เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น คำพูดและ


109

คำสอนหลายๆ อย่างได้ทะลายกำแพงที่ปิดบังตัวตนของเขาให้พังลง จนทำให้ไฮน์ริคพบทางสว่างให้ตัวเอง โดยเฉพาะในฉากของตอนจบ ทีภ่ าพขององค์ทะไล ลามะ กับไฮน์ริคที่เอาหน้าผากแนบชิดกัน มันคือการแสดงถึงการบอกลาที่ งดงามและเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดและสวยงามที่สุดแล้วในเรื่องนี้ ด้วยอายุที่ห่าง วัฒนธรรมที่แตกต่างทำให้เกิดมิตรภาพที่ สวยงามขึ้น ตัวแสดงหลักแสดงได้อย่างถึงอารมณ์ นักแสดงหลักเข้า ฉากด้วยกันมันทำให้คอยลุ้นว่าฉากต่อไปจะเป็นยังไง เรามองว่าบท พิสูจน์ของมิตรภาพในเรื่องนี้คงเป็นเวลาและความต่างของสถานที่ วัฒนธรรม เพราะระยะ 7 ปี ในทิเบต ที่ได้มีการถ่ายทอดออกมา มี สองสิ่งนี้ที่ทำให้เรื่องราวระหว่างปีเตอร์ กับไฮน์ริค และ ไฮน์ริค กับ องค์ทะไล ลามะกลายมาเป็นเพื่อน และสร้างมิตรภาพที่สวยงาม และยิ่งใหญ่ได้อย่างแน่นแฟ้น


110

บทความวิจารณ์หนัง " 7 Year in Tibet " 7 ปีโลกไม่มีวันลืม การค้นพบความสุขและสมดุลของชีวิตของ " ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ " (ตัวละคร) ความเชื่อมั่นและความมั่นใจในตนเอง เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนต้องการและอยากมี เพราะไม่ว่าจะทำอะไรหากเรามีความมั่นใจ เราก็พร้อมพุ่งชนกับทุกปัญหาที่เข้ามา ซึ่งในภาพยนตร์อัตชีวประวัติ ของ ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ เรื่อง " 7 Year in Tibet 7 ปีโลกไม่มีวันลืม " ก็ทำให้เราเห็นว่าตัวเขานั้นที่เป็นนักปีนเขาที่พิชิตยอดเขามานักต่อ นัก มีความมั่นใจในตนเอง และมีความทะเยอทะยานสูง ที่ยอมทิ้ง แม้กระทั่งภรรยาและลูกเพื่อมาปีนเขา แต่ตวั เขานั้นกับไม่สามารถ ทำมันได้สำเร็จเพราะมีเรื่องกวนใจทำให้จิตใจของเขาอยู่ไม่นิ่ง ซึ่งสิ่ง นั้นก็คือลูกและภรรยาของเขานี่นเอง


111

ด้วยเหตุนั้นจึงทำให้การปีนเขาของเขาไม่สำเร็จ ประจวบ เหมาะกับสภาพอากาศไม่ค่อยดีจึงเป็นเหตุให้เขาและทีมปีนเขาคน อื่นๆ ต้องยกเลิกการปีนเขาและกลับลงมายังด้านล่าง ต่อมาพวกเขา ก็โดนจับตัวไปยังค่ายกักกัน เพราะบังเอิญเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น หลังจากที่เขานั้นโดนจับมายังค่ายตัวเขาได้พยายามหนีออกจาก ค่ายกักกันอยู่หลายครั้ง แต่เขานั้นก็โดนจับตัวกลับมาได้ในทุกครั้งที่ พยายามที่จะทำการหลบหนี และแน่นอนว่าการหลบหนีเป็นแผนที่ เชลยอีกหลายๆ คนคิด เชลยคนอื่นๆ ชวนเขามาร่วมมือกันหลบหนี แต่ด้วยนิสัยของเขาเขาก็รีบเอ่ยปากปฎิเสธโดยทันที แต่ในภายหลัง เขาก็หนีออกมาได้ด้วยการลดทิฐิและยอมร่วมมือหลบหนีกับเชลย คนอื่นๆ หลังจากการหลบหนี ไฮน์ริค นั้นได้ขอแยกทางกับเชลยคน อื่นๆ และระหว่างทางเขาก็ได้พบกับหนึ่งในเชลยที่เป็นเพื่อนร่วมปีน เขาของเขา" ปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ " ที่หลบหนีออกมาพร้อมกันและ แยกทางกัน ทั้งสองได้ออกเดินทางร่วมกันและ ไฮน์ริคก็เกิดแตกหัก กับปีเตอร์ เพราะเขาหลอกให้ปีเตอร์นำนาฬิกาที่เป็นของสำคัญแลก กับอาหาร โดยที่ตนนั้นมีนาฬิกาและแหวนที่เก็บซ่อนเอาไว้ ทั้งสอง ทะเลาะกันอย่างรุนแรงแต่ไฮน์ริคก็ยังไม่ยอมรับว่าตนเองทำผิดและ ไม่ยอมเอ่ยคำขอโทษต่อปีเตอร์เลย ปีเตอร์ จึงตัดสินใจที่จะแยกทาง กับไฮน์ริคและเดินจากไป เหลือแค่ไฮน์ริคที่ต้องอยู่คนเดียว และนั่น ก็ทำให้เขาได้คิดทบทวนกับตนเองและพบว่าสิ่งที่ตนเองทำมันผิด


112

เมื่อเขาคิดได้เขาจึงรับวิ่งไปหาปีเตอร์พร้อมกับเอ่ยคำพูด ถึงแม้เขา จะไม่ได้เอ่ยคำว่า "ขอโทษ" ออกมาตรงๆ แต่สิ่งที่เขานั้นทำมันก็ทำ ให้ปีเตอร์เข้าใจได้ว่าเขารู้ตัวแล้วว่าเขาได้ทำผิด ด้วยการตัดสินใจวิ่ง ไปหาปีเตอร์ของไฮน์ริคก็ทำให้เขาได้เพื่อนร่วมทางของเขากลับมา คืนอีกครั้ง ทั้งสองเดินทางมาจนถึงทิเบตและได้รับความช่วยจากชาว ทิเบตในการให้ที่พักอาศัยและอาหารแก่พวกเขา ในระหว่างนั้นทั้ง สองก็ได้ตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่งเข้า ทั้งสองได้แย่งกันทำแต้มใน การจีบเธอ ฝ่ายไฮน์ริคนั้นด้วยเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานและมี ความมั่นใจในตนเองสูง เขาได้ทำการคุยโอ้อวดตัวเองถึงขั้นสุด แต่ แล้วการจีบเธอก็ต้องถูกยุติลงเพราะคนที่ได้ใจของหญิงสาวผู้นั้นไป ครอบครองคือ ปีเตอร์ ออฟชไนเดอร์ โดยทางฝ่ายปีเตอร์ ไม่ได้มีการ คุยโอ้อวดตนเองเลย และนั้นก็ทำให้เขาได้รับรู้ว่าการมีความมั่นใจ และคุยโอ้อวดตนไม่ได้ทำให้เขาดีหรือถูกมองว่าเหนือกว่าผู้อื่นแต่ อย่างใด ต่อมาไฮน์ริคก็ได้ถูก" องค์ทะไล ลามะ " เรียกให้ไปเข้าพบ ไฮน์ริคได้เข้าพบองค์ทะไล ลามะ อยู่บ่อยครั้งทั้งในฐานะเพื่อนและ ครูคนหนึ่งขององค์ทะไล ลามะ ในการถ่ายทอดเรื่องราวของอีกซีก โลกหนึ่งให้กับพระองค์ได้รับรู้ แต่ในขณะเดียวกันตัวของไฮน์ริคเอง ก็ได้เรียนรู้จากพระองค์ถึงความสงบ สันติ และการมองเพื่อสำรวจ


113

ลึกเข้าไปภายในจิตใจของเขาเช่นกัน ถึงแม้ว่าเขาจะต้องพบกับการ พลิกผันของชีวิตและใช้เวลายาวนานในการเรียนรู้ แต่มันก็ทำให้เขา ที่เป็นถึงนักกีฬาปีนเขาที่มีความมั่นใจในตนเองสูง และเต็มเปรี่ยม ไปด้วยความทะเยอทะยานจนยอมทิ้งภรรยาและลูกน้อยที่ยังไม่ได้ ลืมตามาดูโลกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เพื่อความ ฝันที่อยากจะพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ได้เข้าใจว่าแม้ว่าเขานั้น จะพิชิตยอดเขาสูงมากี่ร้อยกี่พันครั้ง มันก็ไม่สามารถช่วยทำให้เขา พิชิตความทุกข์และความเปลี่ยวเหงาที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของเขา ได้เลย ท้ายที่สุดแล้วการที่เราจะทำอะไรหรือสิ่งใดได้สำเร็จ ไม่ใช่ เพียงเรามีความมั่นใจในตนเอง แต่เราจะต้องรู้จักการเอาใจตนเอง รู้จักยอมรับข้อบกพร่องของตน เองและเปิดใจที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ เหมือนกับ "ไฮน์ริค แฮร์เรอร์" ที่ยอมลดทิฐิและร่วมมือกันหลบหนี กับเชลยคนอื่นๆ ยอมไปขอโทษปีเตอร์จนได้เพื่อนร่วมทางกลับมา ยอมรับความพ่ายแพ้จากเกมการจีบสาว และยอมที่จะปรับตัวเปิด ใจยอมรับและเรียนรู้ที่จะพิชิตความทุกข์ที่ถูกซ่อนอยู่ภายในจิตใจ ถึงแม้ว่าเขาจะใช้เวลาค้นหาและเรียนรู้มันถึง 7 ปี แต่มันก็ทำให้เขา ค้นพบความสุขและสมดุลของชีวิตอย่างแท้จริง


114

บทความวิจารณ์หนัง มุมกล้อง


115

บทความวิจารณ์หนัง 7 Years in Tibet “1997” (มุมกล้อง) ผลงานภาพยนตร์แนวอัตชีวประวัติจากหนังสือของนักปีน เขา ไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ ที่นำแสดงโดย แบรด พิตต์ จากผู้กำกับรางวัล ออสการ์ของ ฌอง-ชาคส์ อองโนด์ และทีมงาน นักปีนเขาชาวออสเตรีย ไฮน์ริค แฮร์เรอร์ ที่หลบหนีการ เป็นเชลยสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และผลัดหลงเข้าไปใน เมืองลาซา เมืองหลวงของทิเบต จนได้พบกับองค์ทะไล ลามะที่ 14 ในวัยเด็ก และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นระหว่างปี ค.ศ. 1944 ถึง 1951 จนถึง การรุกรานทิเบตโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน และในตลอด ระยะเวลา 7 ปี ที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองลาซา ในฐานะเพื่อนและครู


116

คนหนึ่งขององค์ทะไลลามะ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของอีกซีกโลกหนึ่ง ให้กับพระองค์ แต่ในขณะเดียวกัน ไฮน์ริค ก็ได้เรียนรู้จากพระองค์ ถึงความสงบ สันติและการสำรวจลึกเข้าไปภายในใจของตนเช่นกัน ทำให้จากนักปีนเขาที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง และเต็มไปด้วยความ ทะเยอทะยาน จนยอมที่จะทิ้งภรรยาและลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดู โลกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง ที่ฝันจะพิชิตยอดเขา สูงที่สุดในโลก แต่แม้จะพิชิตยอดเขาสูงมากี่ครั้งกี่หน สิ่งที่เขาไม่เคย พิชิตได้ ก็คือความทุกข์และความเปลี่ยวเหงาที่ซ่อนอยู่ เรามาพูดถึงฉากในการถ่ายทำเห็นว่าภาพรวมทั้งหมดของ ฉากต่างๆ ในเรื่องไม่ว่าจะบนภูเขาสูงที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง บริเวณที่ ราบก่อนเข้าเมืองต่างๆ ในเรื่องเส้นทางบนหุบเขาทั้งหมดเป็นขนาด ภาพที่เป็น E.S.L.(Extreme long shot) หรือภาพมุมกว้าง เกือบ 80% ของเรื่องที่เราเห็นทั้งหมดซึ่งแสดงให้เห็นถึงภูมิประเทศที่มีแต่ ที่ราบและภูเขาสูงของเขตปกครองตนเองของทิเบตที่อยู่ภายใต้การ ปกครองของจีน ที่มีเมืองหลวงชื่อลาซาในปัจจุบัน ที่ได้รับฉายาว่า หลังคาโลกนั้นเอง ส่วน 20% ที่เหลือนั้นอาจเป็นมุม Medium Shot หรือมุมปกติที่ตัวละครจะคุยกันเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นในมุม Close up สักเท่าไหร่ ซึ่งฉากแต่ละฉากอาจเห็นอาการขอบม่วงของ ฉากและสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมถึงตัวประกอบในฉากอีกด้วย ซึ่งมันก็ คือ Chromatic-aberration ก็คือความคลาดสีเป็นอาการที่มาจาก เลนส์กล้อง เนื่องด้วยหนังที่ฉายในปี 1997 ซึ่งการถ่ายทำในสมัยที่


117

กล้องดิจิตอลและเลนส์ยังไม่มีความสามารถในการจัดการกับความ คลาดเคลื่อนของสีที่สะท้อนเข้ามายังเลนท์ เกิดกับการถ่ายย้อนแสง เป็นส่วนมากเพราะฉากจะเป็นตอนกลางวันเลยมีผลกับเรื่องมาก แต่เรื่องอื่นทำได้ดีอย่างมากติดแค่ช่วงแรกที่ตัดฉากหรือเร่งเรื่องเร็ว ไปหน่อย องค์ประกอบของเสียงในเรื่องที่ยังไม่โดนใส่ใจสักเท่าไหร่ใน บางฉาก แต่อาจจะเป็นเพราะเมื่อ 20 กว่าปีก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีที่ มากมายขนาดนี้ ในเสียง Dialog หรือเสียงสนทนาในเรื่องอาจได้ยิน ไม่ค่อยชัดสักเท่าไหร่นัก ทำให้งงในบางฉากว่าต้องการจะสื่อหรือทำ อะไรต่อ ส่วนเสียง Sound Effect ในเรื่องทำได้ปานกลางเพราะ เป็นหนังที่ไม่เน้นในเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แต่เสียง Ambience หรือเสียง บรรยากาศในเรื่องทำได้ค่อนข้างดี อย่างในฉากที่เดินทางข้ามภูเขา ไปยังเมืองต่างๆ และเสียงสุดท้าย คือเพลงประกอบในเรื่องที่แสดง อารมณ์ได้ดีที่สุด เป็นดนตรีจากการบรรเลงวงเครื่องสายคลาสสิค ที่ ให้อารมณ์ความยิ่งใหญ่และเศร้าหมองควบคู่กันไป


118


119


120


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.