Betta
1 A Betta
2 A Betta
บรรณาธิการ นิตยสารเล่มนี้ มีเนื้อหาที่ชวนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลากัด การดูแลรักษาปลา กัดและรวมปลากัดที่สวยงามมาให้รับชมกัน เราจะได้เรัยนรู้เกี่ยวกัยสานพนัธ์ของ ปลากัด รวมถึงการเพาะเลี้ยงปลากัด สำ�หรับใครที่กำ�ลังสนใจเลี้ยงปลากัดนิตยสารเล่มนี้น่าจะเป็นนิตยสารที่สามา รถให้คำ�ตอบได้เป็นอยย่างดีเยี่ยม เพราะเราจะรวมความรู้ทุกๆอย่างมาให้ได้อ่าน กัน
3 A Betta
สารบัญ ลักษณะพฤติกรรมและความสัมพันธ์กับมนุษย์
1
สายพันธ์ปลากัด
8
5 เรื่องน่ารู้ของปลากัดไทย
24
4 A Betta
5 A Betta
ลักษณะ พฤติกรรม และความสัมพันธ์กับมนุษย์ ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาว จรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำ�ได้โดยใช้ปากฮุบ อากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำ�หรับสัมผัส ปลา ตัวผู้มีสีน้ำ�ตาลเหลือบแดงและน้ำ�เงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลือง ประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำ�ตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ ชัด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่ง น้ำ�นิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็กของที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือใน ประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้าย ก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่ง สีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่าย ก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ� ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะ เป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
6 A Betta เป็นปลาที่ชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิม จากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า “ปลากัดทุ่ง” หรือ “ปลากัดลูกทุ่ง” หรือ “ปลา กัดป่า” จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำ�ให้นิยมนำ�มาเลี้ยงใช้สำ�หรับ กัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของชาวไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และ ความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ ประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ “Siamese fighting fish” โดย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ มีส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้ปลากัดเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในระดับ โลก โดยเขียนบทความชื่อ “The Fighting Fish of Siam” ลงในวารสารโคเพีย ฉบับ ที่ 159, วารสารไซเอนซ์ไดเจสต์ ฉบับที่ 2 และวารสารเนเชรัลฮิสทรี ฉบับที่ 39 โดย บรรยายถึงลักษณะเฉพาะตัวของปลากัด เช่น การพองตัวต่อสู้, การแข่งขันพนัน กัดปลาในประเทศไทย รวมถึงการเพราะพันธุ์ปลากัดเพื่อการเลี้ยงเพื่อการพนันและ ความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ของฮอลลีวู้ด เรื่อง From Russia with Love ในปี พ.ศ. 2509 ก็ได้มีการอ้างอิงถึงปลากัดในเชิง สัญลักษณ์ด้วย ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสัน ที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า “ปลากัดหม้อ” นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาด เล็กและแคบ เช่น ขวดโหล, ขวดน้ำ�อัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น “ปลากัดจีน” ที่มีเครื่องครีบยาว “ปลากัดแฟนซี” ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม “ปลากัดคราวน์เทล” หรือ “ปลากัด ฮาร์ฟมูน” เป็นต้น
7 A Betta
8 A Betta
สายพันธ์ปลากัด ปลากัดจีน เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาว รุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูก หม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหาง ส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำ�ตัวและหัวรวมกัน และมีการ พัฒนาให้ได้สีใหม่ ๆ และ สวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาว ไทย ซึ่งได้พัฒนา สายพันธุ์สำ�เร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลา กั ด จ ะ ถู ก นำ � ไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการ บั น ทึ ก ไ ว้ ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์ นี้ เ กิ ด ขึ้ น ตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็น ช นิ ด ที่ นิ ย ม เ ลี้ ย ง เ ป็ น ป ล า สวยงาม แพร่หลายไปทั่ว โลก และได้ มี ก ารนำ � ไป พั ฒ นาสาย พั น ธุ์ ต่ อ เนื่อง จนได้ สายพันธุ์ ที่ มี ลั ก ษณะใหม่ ๆ ออกมา อีกมากมาย ป ลากั ด ป่ า หรื อ ปลา กัดลูกทุ่ง เ ป็ น ป ล า กั ด ที่ พ บ ใ น แหล่งน้ำ�ธรรมชาติ ตาม ท้องนา และ หนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมาก นั ก ส่ ว น ม า ก ค รี บ และหางมีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำ�บ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อน ๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียว ๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำ�ตาล ด้าน ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำ�ว่า “ปลาป่า” หมายความรวมถึงปลากัดพื้น เมืองภาคอีสาน ปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ และ ปลากัดป่ามหาชัย ด้วย
9 A Betta
10 A Betta ปลาสังกะสีและปลากัดลูกหม้อ เป็นปลากัดที่นักเพาะพันธุ์ปลาได้นำ�มาคัดสายพันธุ์ โดยมุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำ�บอกเล่าของหลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) ซึ่งเป็น นักเลงปลาเก่าเชื่อว่า ปลาสังกะสีและปลาลูกหม้อน่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 โดยท่านจำ�ได้ว่าก่อนหน้านั้นยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมา นักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในฤดูแล้ง มา ขังไว้ในโอ่ง และเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝน ก็นำ�มากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วน ใหญ่จะสู้ปลาขุดที่นำ�มาเลี้ยงไว้ไม่ได้ การเล่นปลาขุดยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ พ.ศ. 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมีย มาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกเรียกว่า “ปลาสังกะสีสีแดง” หรือ “ปลา กัดสังกะสี” ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสม ออกมาในชุดต่อไป จะได้ปลาที่เรียกว่า “ปลาลูกหม้อ” หรือ “ปลากัดหม้อ” ที่เรียกว่า ปลาสังกะสี สันนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ขาด ง่ายเมื่อถูกกัดเหมือนปลาป่า ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ มีสีสันลักษณะต่างจากปลา ป่า แต่ส่วนมากมีชั้นเชิงและความอดทนในการกัดสู้ปลาลูกหม้อไม่ได้ ส่วนที่เรียกว่า ปลาลูกหม้อ นั้น น่าจะมาจากการนำ� หม้อดินมาใช้ในการเพาะและ อนุบาลปลากัดในระยะแรกๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาโดยนักเลง ปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำ�หรับการต่อสู้ และมีสีสันที่สวยงามตามความ พอใจของเจ้าของ ปลาลูกหม้อมีรูปร่างหนาใหญ่กว่าปลาป่าและปลาสังกะสี ส่วน มากสีจะเป็นสีน้ำ�เงิน สีแดง สีเทา สีเขียว สีคราม หรือสีแดงปนน้ำ�เงิน ครีบหางอาจ เป็นรูปมนป้าน หรือรูปใบโพธิ์ การเล่นปลากัดในสมัยก่อนนั้น ปลาลูกหม้อแบ่งออก เป็น 2 ประเภทคือ “ลูกแท้” และ “ลูกสับ” ลูกแท้หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ที่มาจากครอกเดียวกัน ส่วนลูกสับหมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากต่าง ครอกกัน
11 A Betta
12 A Betta
ปลากัดหางสามเหลี่ยมหรือปลากัดเดลตา (Delta) เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้ หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำ�มุม 45 - 60 องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซู เปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบ เป็นเส้นตรง กลิ่นหอม
13 A Betta
ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกหรือฮาล์ฟมูน (Halfmoon) เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรง เดียวกันเป็นมุม 180 องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลา กัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำ�เร็จเมื่อ ราว พ.ศ. 2530 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน ปลากัดหาง พระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำ�คัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบ ครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม 180 องศา ครีบด้านนอกเป็น ขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง 2 ครั้ง เป็น 4 แขนง หรือ มากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำ�ตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำ�ตัวต้องไม่เล็กเกิน ไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้น เดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น 2 แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมน สวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำ�มุม 180 องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม
14 A Betta
ปลากัดหางมงกุฎหรือปลากัดคราวน์เทล (Crowntail) เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. 2543 โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัด ชาวอินโดนีเซีย เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็น สายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำ�คัญของปลากัด ชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจ ยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และ การแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบ หางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่น ๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่ สวยงามสม่ำ�เสมอ ปลากัดประเภทอื่น นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีปลากัดประเภทอื่น ๆ เช่น “ปลากัดเขมร” ที่ใช้เรียก ปลากัดที่มีสีลำ�ตัวเป็นสีอ่อนหรือเผือก และมีครีบสีแดง “ปลากัดหางคู่” ซึ่งครีบหาง มีลักษณะเป็น 2 แฉก อาจแยกกันอย่างเด็ดขาด หรือที่ตรงโคนยังเชื่อมติดกันอยู่ ก็ได้ รวมทั้งปลากัดที่เรียกชื่อตามรูปแบบสี เช่น “ปลากัดลายหินอ่อน” และ “ปลา กัดลายผีเสื้อ
15 A Betta
16 A Betta
เล่าสู่กันฟังเรื่องปลากัดครับ พึ่งจะกลับมาเลี้ยงอีกครั้ง หลังเลิกเลี้ยงมา 10 กว่าปี
1.ปลากัดพึ่งซื้อมาไม่ยอมกินอาหารเม็ด (ซึ่งเคยถามไปแล้วเมื่ออาทิตย์ก่อน) - ตอนนี้กินแล้วครับ จับอดอาหารทั้งหมด 8 วัน ซึ่งซื้อมาเมื่อวันอาทิตย์ของอาทิตย์ ที่แล้ว มาวานเย็นพึ่งจะกิน ใส่ไปให้ 6 เม็ด คงจะหิวจัด กินเรียบเลย ปล.วิธีนี้ เจ้าของต้องใจแข็งจิงๆครับ เพราะหาจากเว๊ปส่วนใหญ่ 2-3วันบ้าง 4-5วัน บ้าง แต่ของผม 8 วันเต็มๆ ถึงจะกิน 2.สำ�หรับผู้ที่ไม่มีเวลาหาลูกน้ำ�ให้กิน ผมเลยใช้วิธีหาลูกน้ำ�มาจำ�นวนเยอะๆ แล้ว แช่แข็งไว้ - เมื่อจะให้ ก็หักลูกน้ำ�ที่แข็งออก มาตามจำ�นวนที่จะให้ ต่อปลากัด1ตัว แช่น้ำ�ให้ละลาย และให้กิน ผลปรากฏว่า ปลากัดกินครับ ซึ่งอาทิตย์ที่แล้วถามไปมีบ้างคนบอกว่าไม่ กิน ผมเลยลองดู มันกินครับ
17 A Betta
3.ควรเลี้ยงไว้กับน้ำ�หมักใบหูกวางครับ น้ำ�จะได้เน่าช้า ทำ�ให้สำ�หรับคนที่มีเวลา น้อย ได้เปลี่ยนอาทิตย์ละครั้ง และเพื่อรักษาโรคของปลา ทำ�ให้เกร็ดสวยงาม และ ปลาแข็งแรงครับ ยิ่งถ้าเป็นปลากัดฮาฟมูน คาวเทล ล่ะก็ จากลุงอ้าGolden Betta บอกว่าจะทำ�ให้ หางปลาไม่รีบ แพร่สวนตลอดครับ
4.ควรให้ปลากัดได้กางครีบ กางหาง ทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อจะได้ไม่รีบ
ปล.ความรู้ยังงูๆปลาๆ ครับ แต่อยากแชร์ประสบการณ์ที่เลี้ยงมาประมาณ 1 อาทิตย์ จากมือใหม่ ให้สำ�หรับมือใหม่ ผมเชื่อว่ามือใหม่ก็คงกำ�ลังค้นหาวิธีเลี้ยงอยู่ เหมือน กับผมเหมือนกันครับ
18 A Betta
19 A Betta
20 A Betta
21 A Betta
22 A Betta
23 A Betta
24 A Betta
5 เรื่องน่ารู้ของปลากัดไทย หากเอ่ยถึงชื่อของ ‘ปลากัด’ หลายคนคงคุ้นเคยกับปลาตัวเล็ก แต่สีสันสดใส สวยงาม มักเลี้ยงไว้ในขวดโหลขนาดเล็ก แต่เบื้องหลังเจ้าปลาตัวเล็กนี้ คือปลาน้ำ� จืดพื้นเมืองของไทยที่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและอยู่คู่กับวิถีคนไทยมาช้านาน จน กระทั่งปัจจุบันปลากัดเป็นปลาสวยงามนิยมเลี้ยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลาย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้มหาศาลเป็นอันดับหนึ่งให้แก่วงการปลาสวยงาม ของไทย อุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และฟาร์ม ปลากัด ขวัญศิริ ฟาร์ม ได้ร่วมเปิดประสบการณ์เรื่องราวที่น่าสนใจของปลากัดกับ นิทรรศการ ปลากัด...นักสู้แห่งสยาม (Siamese Fighting Fish) ที่รวบรวมสารพัน รายละเอียดที่น่าสนใจ พร้อมด้วยกิจกรรมเวิร์กช็อปต่างๆ ที่ทำ�ให้ใกล้ชิดและรู้จัก ปลากัดในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น และต่อไปนี้คือ 5 เรื่องน่ารู้ของปลากัดไทย 1.จากปลานักสู้สู่สุดยอดปลาสวยงาม ปลากัด เป็นปลาน้ำ�จืดสายพันธุ์พื้นเมือง พบได้ตามแหล่งน้ำ�ธรรมชาติทั่วไป ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีชาวไทยสมัยโบราณนิยมเลี้ยงปลากัดเพื่อ นำ�มากัดในลักษณะเกมกีฬาคล้ายกับการชนไก่มากว่าร้อยปีแล้ว เพราะปลากัดเป็น ปลาที่มีความอดทนในการต่อสู้เป็นระยะเวลานานเพื่อเอาชนะกัน มีคุณสมบัติว่องไว อดทน แข็งแรง มีสัญชาตญาณของการเป็นนักสู้เพื่อปกป้องอาณาเขตของตนเอง โดยลักษณะธรรมชาติในการกัดของปลากัดจะมีลีลาที่สวยงามและมีชั้นเชิงในการ ต่อสู้ มีการพองครีบให้ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้ ซึ่งแท้จริงแล้วยังมีปลาอีก 2 ชนิดที่นิยมนำ�มากัดแข่งขัน นั่นคือ ปลาหัวตะกั่วและปลาเข็ม แต่ไม่ได้รับความนิยม เท่ากับปลากัด ขณะเดียวกันด้วยสีสันลวดลายสดใสแตกต่างจากปลาชนิดอื่น ปลา กัดจึงนิยมนำ�มาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงามเช่นกัน
25 A Betta 2.มีเอกลักษณ์จนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ปลากัดไทยถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทย ชาวต่าง ชาติรู้จักปลากัดในชื่อ Siamese Fighting Fish เมื่อปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา กรมส่ง เสริมวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนปลากัดให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ไม่ต่าง จากข้าวหอมมะลิไทย แต่ถ้าจะเล่าถึงจุดเริ่มต้นต้องย้อนกลับไปเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน ได้เดินทางมาสู่ประเทศไทยเพื่อ ศึกษาปลาน้ำ�จืด ก่อนจะได้เข้ามาช่วยเหลือทางราชการไทยด้านการเพาะพันธุ์สัตว น้ำ� ดร.ฮิวจ์มีส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้ปลากัดเป็นที่รู้จักในระดับโลก โดยเขียนบทความชื่อ “The Fighting Fish of Siam” ลงในวารสารต่างประเทศหลายฉบับ เล่าถึงลักษณะ เฉพาะตัวของปลากัด ทั้งลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ และที่สำ�คัญคือการต่อสู้ของ ปลากัด รวมไปถึงความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของปลากัดไทย 3.สายพันธุ์ยิ่งหลากหลาย ยิ่งสวยงาม เดิมทีปลากัดไทยเป็นปลาที่สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำ�ธรรมชาติทั่วไป อย่าง ท้องนาและบึงต่างๆ มีชื่อเรียกสายพันธุ์ว่า ‘ปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง’ มีลักษณะ ไม่สวยงามมากนัก ปกติจะมีสีน้ำ�ตาล เทา หรือเขียว แต่เมื่ออยู่ในสภาวะที่ต้องต่อสู้ ตัวผู้จะมีน้ำ�เงินหรือแดงปรากฏขึ้นชัดเจน และครีบจะพองโตกางออกเต็มที่ ดูสง่า สวยงาม ต่อมามีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้ปลากัดป่าสามารถกัดเก่งขึ้น อดทนขึ้น จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า ‘ปลากัดลูกหม้อ’ ซึ่งมาจากการใช้หมอดินในการเพาะเลี้ยงระยะ แรก มีรูปร่างหนาและใหญ่มากขึ้น ส่วน ‘ปลากัดจีน’ ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มา จากปลากัดหม้ออีกทีหนึ่ง มีลักษณะครีบและหางยาวขึ้นมากกว่าลำ�ตัวอีกเท่าหนึ่ง ที่สำ�คัญคือมีการพัฒนาสีสันให้สวยงามมากขึ้น ซึ่งชื่อปลากัดจีน ไม่ได้หมายความ ว่ามาจากเมืองจีน แต่มาจากครีบที่ยาวกรุยกรายสีสดใสเหมือนชุดงิ้วของจีนนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเป็นสายพันธุ์อื่นๆ อีกมากมาย ตามลักษณะของหาง ทั้ง ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก ปลากัดหางคู่ ปลากัดหางมงกุฎ ฯลฯ
26 A Betta
4.ปลากัดจ้องตาแล้วท้องจริงไหม หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า ปลากัดเพียงแค่จ้างตากันก็สามารถท้องได้ ซึ่ง ไม่เป็นความจริง เพราะปกติแล้วปลากัดตัวผู้จะจ้องตาตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้สร้างไข่ใน ท้อง ก่อนที่ตัวผู้จะรัดตัวเมียเพื่อให้ไข่ออกมาครั้งละ 7-20 ฟอง ตัวผู้จึงปล่อยน้ำ�เชื้อ เข้าผสมกับไข่ แล้วอมไข่ไปพ่นติดกับหวอดที่ก่อไว้บริเวณผิวน้ำ� ทำ�ขั้นตอนทั้งหมดนี้ ซ้ำ�ๆ จนไข่ของตัวเมียหมดท้อง และสุดท้ายเป็นหน้าที่ของตัวผู้ที่คอยดูแลไข่จนฟักออก มาเป็นตัว กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็นการปฏิสนธิภายนอก แตกต่างจากปลา หางนกยูงที่มีการปฏิสนธิภายในและคลอดลูกออกมาเป็นตัวนั่นเอง 5.ปลากัดไทยที่หนึ่งในโลก แม้ปลากัดจะเป็นปลาตัวเล็กๆ แต่ความสวยงามไม่เล็กไปตามตัว เพราะ ปลากัดได้รับความนิยมทั้งในบ้านเราและในระดับโลก ทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกที่สร้างมูลค่ากว่าร้อยล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว ถือ เป็นปลาสวยงามที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของไทย ส่วนหนึ่งที่ปลากัดไทย ได้รับความนิยมคงต้องยกเครดิตให้บริษัท Apple ที่เปิดตัว iPhone 6s ด้วยภาพ Wallpaper รูปปลากัดที่เคลื่อนไหวได้ นอกจากความนิยมในการเลี้ยงแล้ว ยังมีธุรกิจ การถ่ายภาพปลากัดเพื่อส่งขายในเว็บไซต์ขายภาพถ่าย Stock ระดับโลกอีกด้วย ซึ่ง ส่วนใหญ่ก็เป็นภาพถ่ายฝีมือคนไทยอีกด้วย แม้บ้านเราจะเป็นต้นกำ�เนิดของการเพาะ เลี้ยงปลากัดเพื่อส่งออก แต่ระยะหลังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและมาเลเซียก็ เริ่มต้นบุกเบิกธุรกิจนี้แล้ว สร้างการแข่งขันในตลาดเพาะเลี้ยงปลากัดให้มีมูลค่าสูง ยิ่งขึ้นไปอีก
27 A Betta
28 A Betta
29 A Betta
30 A Betta
31 A Betta
32 A Betta
33 A Betta
34 A Betta
35 A Betta
36 A Betta
วิธีการ สังเกตให้รู้ว่าปลากัดป่วย เวลาปลากัด (betta fish) ป่วย จะแสดงอาการหลายอย่าง ตั้งแต่เซื่องซึมไป จนถึงมีจุดด่างขาวตามตัว ถ้าสงสัยว่าปลากัดจะป่วย ให้รีบแยกจากปลาตัวอื่น ทันที เพราะโรคปลากัดส่วนใหญ่ติดต่อกันได้ อีกอย่างคือคุณหาซื้อยารักษาโรค ปลากัดตามร้านขายปลาสวยงามหรือร้านของใช้สัตว์เลี้ยงไม่ได้ ต้องหาซื้อตามร้าน ออนไลน์ 1.สีซีดลง. เวลาปลากัดป่วย สีจะซีดลงได้ ดีไม่ดีสีจะหายไปเลย 2.ครีบผิดปกติ. ถ้าปลากัดแข็งแรงดี ครีบจะเต็มสมบูรณ์ แต่ถ้าป่วย ครีบอาจแหว่ง วิ่นหรือเป็นรูได้ อีกสัญญาณบอกโรค ก็คือครีบปลากัดม้วนหรือหุบเข้าหาตัว เพราะปกติครีบปลา กัดจะแผ่ออกสวยงาม 3.เซื่องซึม. ถ้าปลากัดป่วย จะไม่ค่อยร่าเริงกระฉับกระเฉงเหมือนเคย จะเคลื่อนไหว ช้าลง อีกสัญญาณบอกโรค ก็คือปลาจะไปซุกตัว ซ่อนอยู่ก้นตู้ปลานานๆ หรือบ่อยกว่าปกติ ที่ปลากัดเซื่องซึม อาจเป็นเพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำ�เกินไป เพราะงั้นต้องเช็คให้ชัวร์ ว่าน้ำ�ในตู้ปลาอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 4.พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป. ถ้าปลากัดป่วย อาจหยุดกินอาหารไปเลย เพราะงั้น ถ้าสังเกตว่าปลาเบื่ออาหาร ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะป่วย 5.มีจุดขึ้น. ถ้าปลากัดมีจุดสีขาวเล็กๆ ขึ้นแถวหัวและปาก อาจเป็นสัญญาณบอกว่ามี ปรสิตบางชนิด เช่น อิ๊ค (Ich)
37 A Betta
38 A Betta 6.หายใจผิดปกติ. อย่าเพิ่งงงว่าจะให้สังเกตลมหายใจของปลากัดเนี่ยนะ จริงๆ แล้ววิธีสังเกตคือถ้าปลากัดต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ�บ่อยๆ เป็นไปได้ว่าปลากัดป่วย ปกติปลากัดก็มีผุดหายใจที่ผิวน้ำ�บ้าง แต่ถ้าทำ�บ่อยผิดปกติแสดงว่าป่วย 7.ถูตัวเองเหมือนคัน. ถ้าปลากัดถูไถตัวเองกับตู้ปลาบ่อยๆ เป็นไปได้ว่ามีอะไรผิดปกติ รวมถึงถ้าปลากัดถูตัวกับพืชน้ำ�ห 8.ความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ. ถ้าปลากัดตาโปนก็เป็นสัญญาณบอกโรค โดยตา จะปูดโปนออกมาจากหัวเลย อีกสัญญาณบอกโรคก็คือเกล็ดพอง (raised scales) สังเกตเหงือกปลาด้วย ถ้าปลากัดหุบเหงือกไม่ได้ แปลว่าเหงือกบวม ซึ่งก็เป็น สัญญาณบอกโรคเช่นกัน หรือของตกแต่งตู้ปลา ก็ผิดปกติเช่นกัน
39 A Betta
40 A Betta
41 A Betta
42 A Betta
43 A Betta
44 A Betta
45 A Betta
46 A Betta
47 A Betta
48 A Betta