The History of Thai Royal Throne Hall

Page 1




ปฐมบท

พระทีน่ งั่ หมายถึงเรือนทีป่ ระทับหรือทีส่ าํ หรับทรงงานสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน, ไว้รองรับราช อาคันตุกะจากต่างประเทศ, เป็นสถานที่สําาหรับประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนาของเชื้อพระวงศ์หรืองานสําคัญต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพระที่นั่งจะอยู่ภายใน พระบรมหาราชวัง, พระราชวังเท่านัน้ โดยพระทีน่ งั่ เปรียบเสมือนห้องทีพ่ ระมหากษัตริย์ ทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสต่างๆแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม โดยสามารถแบ่ ระดับตามความสําคัญของที่ประทับพระมหากษัตริย์, พระมเหสี, พระบรมศานุวงศ์, เจ้านายและข้าราชการฝ่ายในได้ดังนี้ ๑. พระบรมหาราชวัง ใช้ส�ำหรับเป็นวังหลวงของพระมหากษัตริย์ ๒. พระราชวัง,วัง ใช้ส�ำหรับเป็นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ต้องได้รับการ สถาปนาขึ้นจึงจะเรียกว่า พระราชวังได้ ๓. พระตําหนัก คือ อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ๔. ตําหนัก ใช้ส�ำหรับเป็นอาคารที่ประทับของเชื้อพระวงศ์หรือเจ้านายฝ่ายใน



ข้อมูลภายในหนังสือ “สยามพระที่นั่ง” สยามพระที่นั่งเป็นศิลปนิพนธ์คณะศิลปศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รวบรวมเนื้อหา : วัชริศ สุมนวรางกูร ภาพประกอบ : วัชริศ สุมนวรางกูร ลักษณะตัวอักษรที่นำ�มาใช้ Himmaparnt BSRU BANSOMDEJ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของข้อมูลหนังสือ “สยามพระที่นั่ง” Siam today. ประวัติศาสตร์ไทยยุคต่างๆ. ( ม.ป.ป ) เข้าถึงได้จาก : http://www.siam.today/ประวัติศาสตร์รัตนโกสิน/ สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชนฯ. เรื่องที่ ๑ พระราชวังในกรุงเทพมหานคร. ( ม.ป.ป ) เข้าถึงได้จาก : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=14& chap=1&page=t14-1-infodetail05.html ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ( ม.ป.ป ) เข้าถึงได้ จาก : http://203.155.220.230/m.info/bangkokforyou/b_rattanagosin.html พระราชวังเดิม.หน้าแรก. ( ม.ป.ป ) เข้าถึงได้จาก : http://www.wangdermpalace.org/index_th.html สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชนฯ. เรื่องที่ ๑๔ พระราชวังส่วนภูมิ ( ม.ป.ป ) เข้าถึงได้จาก : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php? book=14&chap=2&page=t14-2-infodetail03.html

พันทิปดอทคอม. เขตพระราชฐานชั้นใน ( ๒๕๕๒ ) เข้าถึงได้จาก : http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/09/ K8283395/K8283395.html

ระพีพรรณ ใจภักดี. ( ๒๕๕๔ ). วังและพระตำ�หนัก. พิมครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำ�นักพิมพ์แสงแดดเพื่อนเด็ก สมประสงค์ บุญยะชัย และคนอื่นๆ. ( ๒๕๕๓ ). สถาปัตยกรรมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง. พิมครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบิซชิ่ง ธนาคม บรรณกิจ. ( ๒๕๕๑ ). พระราชวังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. พิมครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทไทยควอลิตี้บุ๊คส์ พิมพ์ที่ บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด 13/11-15 พระรามที่ 6 ซอย 17 ถนนพระราม 6 แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


สารบัญ

๑๐

พระบรมมหาราชวัง

๓๒

พระบรมหาราชวัง

๔๔

พระราชวังดุสิต

๕๒

พระราชวังพญาไท

๖๐

พระราชวังสนามจันทร์

๖๘

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

๗๖

ปัจฉิมบท




พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง (วังหลวง)สร้างขึน้ พร้อมๆกับการสร้างกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. ๒๓๒๕ ตัง้ อยูร่ มิ แม่นำ�้ เจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกโดยมีด้านทิศเหนือติดกับถนนหน้าพระลาน ทิศใต้ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามคั่นด้วยถนนท้ายวัง ทิศ ตะวันออกติดกับถนนสนามไชย ทิศตะวันตกติดกับถนนมหาราชต่อเนื่องกับแม่น�้ำเจ้าพระยา เป็นพระราชวังที่ส�ำคัญที่สุดของ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นทัง้ ทีป่ ระทับของพระมหากษัตริยแ์ ละเป็นทีเ่ สด็จออกว่าราชการเพือ่ การบริหารประเทศ ในพระบรม มหาราชวังมีหมูพ่ ระทีน่ งั่ ต่างๆสร้างขึน้ ด้วยความประณีตบรรจงงดงามมาก นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทีช่ าวไทยทุกคนควร ภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังมีวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจ�ำพระราชวังและเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ส�ำคัญของไทย พระบรมมหาราชวังเคยเป็นทีป่ ระทับของพระมหากษัตริยใ์ นพระบรมราชจักรีวงศ์มาตลอดตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๕ หลังจากนัน้ เมือ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสติ พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบนั จึงได้เสด็จมาประทับ ณพระราชวังดุสติ ซึง่ มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าและไม่มอี าคารต่างๆ แออัดเหมือนในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันพระบรมมหาราชวังยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีที่ส�ำคัญ เช่น พระราชพิธี บรมราชาภิเษก, พระราชพิธีฉัตรมงคล และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น

๑๐

สยามพระที่นั่ง


สยามพระที่นั่ง

๑๑


พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง

๑๒

สยามพระที่นั่ง


หมู่พระที่นั่งฝ่ายตะวันออก

หมู่ราชมณเฑียร

๑. พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ ๒. พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ๓. พระที่นั่งบรมพิมาน ๔. พระที่นั่งมหิศรปราสาท

๕. พระที่นั่งสนามจันทร์ ๖. พระที่นั่งราชฤดี ๗. พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ ๘. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

๙. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ๑๐. พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ( ซ้าย ) ๑๑. พระที่นั่งเทพอาสถ์พิไล ( ขวา ) ๑๒. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

หมู่พระมหาปราสาท

หมู่พระที่นั่งเขตพระราชฐานชั้นนอก

๑๓. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๑๔. พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ๑๕. พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ๑๖. พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

๑๗. พระที่นั่งราชกรัณ ยสภา ๑๘. พระที่นั่งพิมานรัตยา ๑๙. พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ๒๐. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

๒๑. พระที่นั่งไชยชุมพล ๒๒. พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท

สยามพระที่นั่ง

๑๓


หมู่พระที่นั่งฝ่ายตะวันออก

พระที่น่ังมหิศรปราสาทสร้าง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทรพระ พุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย พระบรมชนกนาถ

พระที่นั่งมหิศรปราสาท พระที่นั่งมหิศรปราสาทตั้งอยู่ที่แนวก�ำแพงกั้นเขตระหว่าง สวนศิวาลัยและเขตพระราชฐานชั้นในเป็นพระที่นั่งชั้นเดียวขนาดเล็ก มีอัฒจันทร์ส�ำหรับขึ้นลงด้านหน้า สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาอิศรสุน ทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และโปรดให้อญ ั เชิญพระบรมอัฐมิ าประดิษฐานไว้ด้วย ในรัชกาลต่อๆมาได้อัญเชิญกลับไปประดิษฐาน ณ หอ พระธาตุมณเฑียรตามเดิมปัจจุบันได้รับการบูรณะและเป็นที่ประดิษ ฐานพระพุทธรูปต่างๆภายในพระที่นั่ง

ภายในพระทีน่ งั่ มหิศรปราสาท ประกอบด้ ว ยพระบรมอั ฐิ ส มเด็ จ พระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ ๒), พระปฎิมากรรูปต่างๆ, พระไตรปิฎกซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัยทรงสถาปนา

พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ตั้งอยู่ริม สนามด้ า นหลั ง ของพระที่ นั่ ง บรม พิ มาน เป็ น พระที่ นั่ ง ไม้ ข นาดเล็ ก แบบพลับพลาโถง ใช้เป็นที่ประทับ ส�ำราญพระราชอิริยาบถหรือเป็นที่ ประทับเมื่อพระราชทานงานเลี้ยง ณ บริเวณสวนศิวาลัย

วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๑๑ เวลา ตอนบ่าย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ในงานราชอุทยาน สโมสร เนื่องใน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ สวนศิวาลัย

พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ ๑๔

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งบรมพิมาน เดิมชื่อ พระที่นั่งภานุมาศจ�ำรูญ เป็นพระที่นั่งอยู่ในพระ บรมมหาราชวัง ทางด้านใต้ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่เหนือสวนศิวาลัย บริเวณ คลังสรรพาวุธเดิม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร แต่เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เสด็จสวรรคตเสียก่อน จึงพระราชทานให้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นอาคาร ๒ ชั้น หลังคารูปโค้ง มุงด้วยกระเบื้องหินชนวน ลักษณะแบบเฟรนซ์เรเนซองซ์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวยุโรป ผู้ท�ำการก่อสร้างคือ พระยาประดิษฐ์อมรพิมาน ( หม่อมราชวงศ์ชิต อิศวรศักดิ์ )

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานั น ทมหิ ด ลสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมาน แห่งนี้

พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประดิษ ฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริยท์ งั้ สี่รัชกาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ โ ปรด เกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งขึ้ น เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๑ ต่ อ มาพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรด เกล้าฯ ให้ไปประดิษฐาน ณ ปราสาท พระเทพบิดร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ และตั้งเป็นพระราชพิธีถวายบังคม พระบรมรูปในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นต้นมา

สยามพระที่นั่ง

พระทีน่ งั่ ศิวาลัยมหาปราสาท ตัง้ อยูใ่ นบริเวณสวนศิวาลัยทาง ด้านทิศใต้ ถัดจากพระทีน่ งั่ สุทไธสวรรยปราสาท อยูใ่ นเขตพระราชฐาน ชัน้ ใน สร้างเป็นปราสาทห้ายอด ยอดกลางใหญ่ ยอดเล็กสีย่ อด ตัง้ อยู่ บนสันหลังคา เป็นปราสาทสองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ มีบันได ขึ้น ทางทิศตะวันตก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันจ�ำหลักลาย ปิดทองประดับกระจก ซุ้มพระทวารและซุ้มพระบัญชรเป็นแบบบัณแถลง พระทีน่ งั่ องค์นี้สร้างเมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๒ - พ.ศ.๒๔๒๕ ตรงบริเวณ พระทีน่ งั่ ประพาสพิพธิ ภัณฑ์ทสี่ ร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โดยให้รื้อพระที่นั่งนี้ลงและขนย้ายสิ่งของในพระที่นั่งดัง กล่าวมาไว้ที่ศาลาสหทัยสมาคม

๑๕


หมู่ราชมณเฑียร

๐๑ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระมหามณเฑียร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีความ ส�ำคัญเป็นพระราชพิธีมณฑล “พระราชพิธีขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร” ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับที่พระที่นั่ง องค์นี้เป็นการถาวร รัชกาลต่อๆมาประทับเป็นเวลาสั้นๆตามก�ำหนดพระราชพิธี ลักษณะพระทีน่ งั่ เป็นสถาปัตยกรรมไทย ๓ หลังแฝดชัน้ เดียว ก่ออิฐปูน ยกฐานสูง เรียงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก องค์กลางใหญ่ องค์ขนาบสองข้างมีขนาดเท่ากัน แต่ละองค์มพี ระทวารเชือ่ ม หลังคามุงกระเบือ้ งเคลือบสี ตกแต่งช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกสีทอง หน้าบันจ�ำหลักไม้เป็นรูปสมเด็จพระอมรินทราราชในบุษบก พระทวารและพระบัญชรท�ำซุ้ม บันแถลง เป็นลายนาคสามเศียรสองชัน้ ประสมซุม้ รูปไข่ลายดอกเบญจมาศ ระเบียงรอบมีชานตัง้ เสานางเรียงรองรับชายคา

พระราชพิธีขึ้น เฉลิมพระราช มณเฑียร คือ เครื่องในการขึ้นบ้าน ใหม่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมือ่ เสร็จจากพระราชพิธบี รมราชาภิเษก( เฉลิมพระยศ )แล้วจึงเสด็จ ขึ้นประทับพระราชมณเฑียรสถาน ( เฉลิมพระราชมณเฑียร )เพื่อเป็น พิธีเพื่อเข้ามาประทับ ณ พระที่นั่ง ส่วนมากเป็นพระราชพิธที ดี่ �ำเนินต่อ กันไปในคราวเดียว

๑๖

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ นี้ เป็น ที่เสด็จฯ สวรรคตของพระ มหากษัตริย์ ๒ พระองค์คอื พระบาท สมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ ล้ า นภาลั ย (รัชกาลที่ ๒) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ ๖)

สยามพระที่นั่ง


๐๒ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นพระที่นั่งในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นส่วนหนึ่งของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ลักษณะเป็น อาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูนผนังภายนอกฉาบปูนเรียบทาสีขาว ตั้งอยู่ระหว่างท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ลักษณะเป็นพระที่นั่งโถงยาว ๑๑ ห้อง (ช่วงเสา) ทอดยาวจากทิศตะวันออกไป ทิศตะวันตก ยกพื้นสูงสองเมตร ด้านที่ติดต่อกับท้องพระโรงหน้าเป็นคูหาเปิดโล่ง มีอัฒจันทร์ทางขึ้นลงตอนกลาง และที่ เฉลียงชั้น ลดของสองปีก ด้านที่เชื่อมกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมานมีผนังกั้น มีประตูตรงกลางเรียกว่า “พระทวารเทวราชมเหศวร” เป็นทางเฉพาะของพระมหากษัตริย์ส�ำหรับเสด็จ สองข้างมีพระทวารเทวราชมเหศวร มีพระ บัญชร ๑๐ ช่อง เฉพาะด้านที่เปิดออกสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และลานภายนอกประดับเป็นซุ้มบันแถลง นอกนั้นเป็นเรือนแก้วลายดอกเบญจมาศ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ปิดทองประดับกระจกสีทอง หน้าบันจ�ำหลักไม้ รูปสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับในวิมานปราสาทสามยอด พื้นกระจก สีน�้ำเงินประกอบลายก้านขดหัวนาค

พระที่ นั่ ง อั ฐ ทิ ศ อุ ทุ ม พรราช อาสน์กางกัน้ ด้วยพระบวรเศวตฉัตร หรือสัปตปฏลเศวตฉัตร คือฉัตรขาว ๗ ชั้น เป็นพระที่นั่งหรือพระราช อาสน์ ท รงแปดเหลี่ ย มท�ำด้ ว ยไม้ มะเดือ่ ส�ำหรับพระมหากษัตริยเ์ สด็จ ขึ้นทรงประทับรับน�้ำอภิเษกในพระ ราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระสยามเทวาธิ ร าช เป็ น เทวรูปหล่อด้วยทองค�ำสูง ๘ นิ้ว ประทับยืนทรงเครือ่ งกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครือ่ งของ เทพารั ก ษ์ ป ระดิ ษ ฐาน อยู ่ ใ น เรือนแก้วท�ำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะ แบบวิมานเก๋งจีน มีค�ำจารึกเป็น ภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า “ทีส่ ถิตย์แห่งพระสยามเทวาธิราช” ณ ตอนกลางของพระที่นั่งไพศาลทักษิณแห่งนี้

สยามพระที่นั่ง

พระที่นั่งภัทรบิฐกางกั้น ด้วย พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร คือฉัตร ขาว ๙ ชั้น พระที่นั่งส�ำหรับพระ มหากษัตริย์ เสด็จขึ้น ประทับทรง รั บ เครื่ อ งเบญจราชกกุ ธ ภั ณ ฑ์ เครื่ อ งบรมราชู ป โภคอั น เป็ น โบราณมงคล พระแสงอั ษ ฎาวุ ธ และ พระแสงราชศัสตราวุธในพระ ราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จฯสวรรคต ณ พระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณแห่งนี้ี่

๑๗


๐๓ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส, พระที่นั่งเทพอาสถ์พิไล พระที่นั่งเทพสถานพิลาศและพระที่นั่งเทพอาสน์พิไล เดิมคือ เรือนพระปรัศว์ซ้ายและขวาที่ต่อกับ ท้องพระโรงหลังแห่ง พระทีน่ งั่ จักรพรรดิพมิ าน สร้างขึน้ ตัง้ แต่รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปรัศว์ขวาอยู่ทางะวันออกของท้องพระโรงและพระปรัศว์ซ้ายอยู่ทางตะวันตกของท้อง พระโรง พระที่นั่งทั้ง ๒ ใช้เป็นที่ประทับของฝ่ายใน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระที่นั่งทั้ง ๒ องค์ โดยพระที่นั่งองค์ทิศตะวันออกพระราชทานนามว่า พระที่นั่งเทพย สถานพิลาศ ต่อมาเปลี่ยนเป็น “พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ” และพระที่นั่งองค์ทิศตะวันตกพระราชทานนาม ว่า “พระทีน่ งั่ เทพอาสน์พไิ ล” ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระทีน่ งั่ เป็นสถาปัตยกรรมไทยเลียนแบบพระทีน่ งั่ จักรพรรดิพมิ านยกพืน้ สูงกว่า ๕๐ เซนติเมตร หลังคามุงกระเบือ้ งไม่เคลือบสี พระทวารและพระบัญชรไม่มี ซุ้มเรือนแก้ว พระปรัศว์ทั้งสองมีก�ำแพงแก้วล้อมรอบก�ำแพงด้านนอกมีหอน้อยเป็นศาลาเล็ก ๆ

พระที่นั่งเทพสถานพิลาศและ พระทีน่ งั่ เทพอาสน์พไิ ล พระทีน่ งั่ ทัง้ ๒ นี่นนั้ ใช้เป็นทีป่ ระทับของเจ้านาย, และข้าราชการฝ่ายใน

๐๔ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน พระทีน่ งั่ อมรินทรวินจิ ฉัยมไหยสูรยพิมาน หรือ พระทีน่ งั่ อมรินทรวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งอยู่ในหมู่พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง ตัง้ อยูท่ างทิศเหนือติดกับพระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณ มีก�ำแพง แก้วล้อมด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก อยู่ในพระราชฐานชั้นกลาง ใช้ เป็นท้องพระโรงส�ำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า เป็นทีเ่ สด็จออกว่าราชการ บางคราวก็ใช้เป็นที่ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่เสด็จออกมหา สมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระทีน่ งั่ อม รินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยยกพื้น เล็กน้อยกว้าง ๒๑ เมตรยาว ๓๑.๕๐ เมตรหลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันจ�ำหลักรูปพระอินทร์ดา้ นหน้า มีพระทวารใหญ่เปิดออกสูท่ อ้ งพระโรงด้านหน้า ๓ บานด้านข้างมีพระ บัญชรด้านละ ๗ พระบัญชรและมีพระทวารออกสูด่ า้ นข้างด้านละ ๒ บาน

พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักร พรรดิพิมาน เป็น บุษบกประกอบ ท้ายเกรินทั้ง ๒ ข้าง ที่ท้ายเกริน ปักฉัตรลายทอง ๗ ชั้น พระมหา กษัตริย์เสด็จขึ้นประทับในวโรกาส เสด็ จ ออกฝ่ า ยหน้ า ในงานมหา สมาคมหรือประดิษฐานปูชนียวัตถุ ในพระราชพิธี ปัจจุบันใช้ประดิษ ฐานพระพุ ท ธรู ป ประจ�ำพระชนม วารของพระมหากษัตริย,์ อัครมเหสี ในการพระราชพิธีส�ำคัญ

๑๘

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบั ติ ท รงตั้ ง พระราชพิ ธี บ รม ราชาภิ เ ษก อั น เป็ น พระราชพิ ธี พระบรมราชาภิเษกบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรี วงศ์ ณ พระทีน่ งั่ ไพศาลทักษิณ และ เมือ่ พระราชพิธบี รมราชาภิเษกเสร็จ สิ้นจึงเสด็จมาประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์เป็นครั้งแรก ในรัชกาลเพือ่ เสด็จออกมหาสมาคม ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่ นั่ ง พุ ด ตานกาญจนสิ ง หาสน์ เ ป็ น พระราชบั ล ลั ง ก์ ท อง ขนาดย่ อ ม เมื่ อ มี พ ระราชพิ ธี จ ะ เชิ ญ มาทอดบนพระราชบั ล ลั ง ก์ ภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตร อีกชั้น หนึ่ ง ณ พระที่นั่งอมริน ทร วินิจฉัย พระมหากษัตริย์จะเสด็จ ขึ้ น ประทั บ บนพระราชบั ล ลั ง ก์ นี้ เพื่อเสด็จออกมหาสมาคมเป็นครั้ง แรกในรัชกาลของพระองค์ และใน วันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี เพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ พระทีน่ งั่ ดุสติ าภิรมย์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งอยู่ริมก�ำแพงทางด้านทิศะวันตกเฉัยงเหนือของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เป็นพลับพลาโถงเสาไม้ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ชั้นเดียวยกพื้นสูง บันไดอยู่ในก�ำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก ภายในยกพื้น ตอนกลางสูง มีพระแท่นองค์ ประธานอยู่ระหว่างเสาลายทอง หลังคามุงกระเบื้องดิน เผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจก หน้าบันไม้จ�ำหลักรูปเทวดายืนแท่น พระหัตถ์ขวาทรง พระขรรค์, พระหัตถ์ซา้ ยทรงตรี ล้อมรอบด้วยลายกระหนกก้านขดเทพพนม พืน้ ปิดกระจก ลายจ�ำหลักลงรักปิดทอง ผนังภายนอกเขียนลายกระหนกก้านแย่งหน้าสิงห์ ผนังภายใน เขียนเป็นภาพในสรวงสวรรค์ ด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ เป็นเกยประทับพระคชาธาร ด้านทิศตะวันตกเป็นเกยประทับพระ ราชยาน พระที่นั่งองค์นี้สร้างเป็น พลับพลาเปลื้องเครื่อง ในโอกาส เสด็ จ พระราชด�ำเนิ น ขึ้ น ทรงพระ คชาธารหรื อ ทรงพระราชยาน เสด็จฯโดยกระบวนพยุหยาตรา

สยามพระที่นั่ง

๑๙


พระที่นั่งราชฤดีก่อสร้างขึ้น หลายครั้ง ตั้งอยู่ที่ชานชาลา ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นตึก อย่างฝรั่งสองชั้น ภายในโถงตอนกลางยกพื้น สูง มีพระแท่น องค์ ประธานอยู่ระหว่างเสา มีประตูรับเสด็จขึ้น หมู่พระมหามณเฑียร จากพระที่นั่งองค์นี้ทางหอพระสุราลัยพิมาน โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ จัดแสดงสิ่งของนานาชาติ ส่งเข้ามาถวายมาเป็นพระราชไมตรีมาตั้ง ให้ทูตานุทูต พระราชอาคันตุกะ เมื่อพระที่นั่งราชฤดีทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้รื้อแล้วปลูกเป็นเก๋งจีน ครั้น เมื่อทรุดโทรมอีก จึงให้รื้อไป และน�ำนามพระที่นั่งที่ไปพระราชทาน เป็นนามพระที่นั่งโถงในพระราชวังดุสิตแทน หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้น ใหม่ในบริเวณพระทีน่ งั่ ราชฤดีเดิม ส�ำหรับสรงน�ำ้ ในพระราชพิธตี า่ ง ๆ พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส” ต่อมาได้มีประกาศ พระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ให้เปลี่ยน พระนามเป็น “พระที่นั่งราชฤดี” ( ส่วนพระที่นั่งราชฤดีภายใน พระราชวังดุสิต เปลี่ยนชื่อเป็น “ศาลาส�ำราญมุขมาตยา” )

พระที่นั่งราชฤดี

พระที่ นั่ ง องค์ นี้ ถื อ เป็ น ต้ น ก�ำเนิดพิพธิ ภัณฑสถานแห่งแรกของ ไทยเมื่ อ สร้ า งพระที่ นั่ ง ประพาส พิพธิ ภัณฑ์ในพระอภิเนาว์นเิ วศน์ จึง ย้ายของไปไว้ที่พระที่นั่งประพาส พิพิธภัณฑ์แทน

๒๐

สยามพระที่นั่ง


พระทีน่ งั่ สนามจันทร์ ตัง้ อยูท่ างทิศตะวันตกของพระทีน่ งั่ อมรินทรวินจิ ฉัยมไหยสูรยพิมาน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึน้ ลักษณะเป็นพระทีน่ งั่ พลับพลาโถงไม้ขนาดเล็ก ตั้งลอยอยู่กับพื้นที่ เคลื่อนย้ายได้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ใน ประธานขององค์พระที่นั่งยกพื้นสูง มีชานไม้รอบพื้นประธานไม้ที่ท�ำ พื้นประธานขององค์พระที่นั่งเป็นไม้สักขนาดกว้างแผ่นเดียว เฉพาะ ลายเพดานเขียนลายทอง เป็นลายดอกพุดตาลก้านแย่งแบบต่างๆ กล่าวกันมาว่าเป็นฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ ๒ ด้านหลังพระที่นั่งสนาม จันทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรด เกล้า ฯ ให้สร้างแอ่งแก้วเอาไว้ด้านหลังของพระที่นั่งสนามจันทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๔ ทรงนับถือ ว่าพระทีน่ งั่ องค์นี้ เสมือนพระแท่นราชบัลลังก์ในพระชนกนาถ จึงห้าม ไม่ให้ผู้ที่ไม่มีกิจหน้าที่ขึ้นไปบนพระที่นั่งองค์นี้

พระที่นั่งสนามจันทร์

พระที่ นั่ ง สนามจั น ทร์ เป็ น ที่ ประทับส�ำราญพระอริยาบถ ทรง งานช่างตามที่โปรดปรานเป็น นิจ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาบที่ ๒

บางครั้งพระที่นั่งสนามจันทร์ เป็น ที่เสด็จออกขุน นาง แทนการ เสด็จออกที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉั ย มไหสู ร ยพิ ม าน เป็ น สถานที่ ส�ำหรับกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล หรือวังหน้าประทับพักก่อน เข้าเฝ้าฯ ในท้องพระโรง

สยามพระที่นั่ง

๒๑


หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๐๑ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระทีน่ ั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึน้ เพือ่ เป็นท้องพระโรง เมือ่ พ.ศ. ๒๔๑๙ ภาย หลังเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา โปรดเกล้าฯให้จ้างนายยอน คลูนิช ชาวอังกฤษ สถาปนิกจากสิงคโปร์ เป็นนายช่างหลวงออกแบบพระที่นั่ง นายเฮนรี คลูนิช โรส เป็น นายช่างผู้ช่วย โดยมีเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นแม่กอง พระยาเวียงในนฤบาลเป็นผูก้ �ำกับดูแลการทุกอย่าง และพระประดิษฐการภักดีเป็นผูต้ รวจ ก�ำกับบัญชีและของทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธี วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความ โดดเด่น กว่าพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอื่นๆ เนื่ องจากเป็น ผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่น่ังมีรูปแบบ สถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย จนเป็นที่มาของ ชื่อ “ฝรั่งสวมชฎา” จวบจนปัจจุบัน

๒๒

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังเป็นสถานที่แห่งแรก ในประเทศไทยทีม่ กี ารใช้ไฟฟ้าเป็นครัง้ แรกด้วยเหตุทวี่ า่ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่ง ขณะนัน้ ยังมีบรรดาศักดิเ์ ป็น“เจ้าหมืน่ ไวยวรนารถ” โดย น�ำเงินที่ได้มาจากการขายที่ดินให้กับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี จ�ำนวน ๑๘๐ ชั่ง หรือ ๑๔,๔๐๐ บาท ไปซื้อเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า ๒ เครื่อง จากประเทศ อังกฤษและเมือ่ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๗ ซึง่ เป็น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่ง นับเป็นการเริ่มต้นการมีไฟฟ้าของไทยมาตั้งแต่บัดนั้น

พระทีน่ งั่ พุดตานถมเป็นพระราชอาสน์ทปี่ ระดิษฐาน อยูใ่ นพระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาทเป็นศิลปกรรมเครือ่ งถม ชิ้นเอกของประเทศไทย สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายโดย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยูบ่ นพระแท่น มาลาฐานหินอ่อนกางกัน้ ด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ๙ ชั้น เป็นที่ประทับส�ำหรับพระมหากษัตริย์ในโอกาส ส�ำคัญ บ้างก็เสด็จประทับบนพระทีน่ งั่ พุดตานถม บ้างก็ เสด็จออกทรงยืนหน้าพระทีน่ งั่ พุดตานถม เพือ่ เสด็จออก ให้คณะทูตานุทตู ต่างประเทศ เฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท ถวายพระราชสาส์นตราตัง้ เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล หรือเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสพิเศษต่างๆ

พระที่ นั่ ง จั ก รี ม หาปราสาท เป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐาน พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หอ รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๘ และพระอัฐพิ ระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๔, รัชกาลที่ ๕,รัชกาลที่ ๗

สยามพระที่นั่ง

๒๓


๐๒ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๒ เสร็จสิ้น เมื่ อ พ.ศ.๒๔๙๖ เนื่ อ งจากพระที่ นั่ ง องค์ น้ี ช�ำรุ ด ทรุ ด โทรมมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลปัจจุบนั จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รอื้ ลง และสร้างพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์องค์ใหม่ขึ้นแทน แต่ยังจัดเป็น ห้องพระราชทานเลี้ยงเช่นเดิม เป็นพระที่นั่งสูง ๒ ชั้นศิลปกรรมแบบ ยุโรปลักษณะเป็นโถงกว้าง มีเฉลียงทางด้านทิศเหนือหน้าอัฒจันทร์เสือ ระหว่างเฉลียงกับห้องโถงเป็นคูหาโล่ง ไม่มพี ระทวาร เพดานภาย ในห้องโภงตกแต่งแบบตะวันตกบนพื้นสีชมพู ประกอบลายตราจุลมงกุฏ และลายมงคลแปด

พระทีน่ งั่ มูลสถานบรมอาสนองค์นใี้ ช้เป็นห้องส�ำหรับ พระราชทานเลี้ยงรับรองในงานต่างๆหรือโอกาสพิเศษ ต่างๆจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อเรียกว่า “ห้องโต๊ะ”

๐๓ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ

พระที่นั่งพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติองค์นี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศ กระแสพระราชด�ำริให้มีการเลิกทาส ณ ท่ามกลางที่ ประชุมคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

๒๔

พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งองค์นี้อยู่ต่อกับท้อง พระโรงกลางของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางทิศตะวัน ตก ที่ เฉลียงด้านหน้าพระที่นั่งองค์นี้ มีอ่างน�้ำพุซึ่งเรียกกัน มาแต่เดิมว่า “ อ่างแก้ว ” นามของพระทีน่ งั่ องค์นี้มคี วามหมายว่าเป็นทีซ่ งึ่ พระองค์ เสด็จพระราชสมภพ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน เป็นห้องเสวย นอกจากนั้นในบางครั้ง เจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ยัง เสด็จมาประทับชั่วคราว และพระที่นั่งองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศกระแสพระราชด�ำริให้มีการ เลิกทาส ณ ท่ามกลางที่ประชุมคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ต่อมา พระที่นั่งองค์นี้ช�ำรุดทรุดโทรดมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้รื้อลง และ สร้างพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ องค์ใหม่ขึ้นมาแทนแบบยุโรปร่วม สมัย ตัวพระที่นั่งเป็น อาคารแบบยุโรป มุงหลังคาพระที่นั่งด้วย กระเบื้องเป็นแบบไทยเพื่อให้รับทัศนี ยภาพกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในมีอ่างแก้วอ่างน�้ำพุสวยงดงาม ผนังองค์พระที่นั่ง ประดับประดาด้วยลดลายปูนปั้นปิดทองงดงาม รวมถึงตุ๊กตาส�ำริด กระถางกระเบื้องลายคราม รวมทั้งเครื่องเรือนยุโรป แบบฝรั่งเศส งดงามเข้าชุดกันทั้งพระที่นั่ง

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พระทีน่ งั่ บรมราชสถิตยมโหฬารในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระทีน่ งั่ องค์ใหม่ตงั้ อยูท่ างทิศใต้ของพระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาทในเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน มีลักษณะเป็นพระที่นั่ง ๒ องค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณ ยสถาน อันเป็นรูปแบบหนึ่งของพระที่นั่งหรือที่เสด็จออกมหาสมาคม ซึ่งตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมานิยมสร้างพระทีน่ งั่ เป็นหมูแ่ บ่งตามห้องทีใ่ ช้ประโยชน์ และพระราชทานนามแต่ละห้องพระทีน่ งั่ เหมือนกัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานกระแสพระราชด�ำริประกอบการออกแบบก่อสร้างสรุปได้ว่า ควรจัดให้มีห้อง ส�ำหรับพระราชทานเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของนานาประเทศที่เขามาเยี่ยมประเทศไทย บางครั้งจ�ำเป็นต้องเชิญพระ ราชวงศ์, องคมนตรี, คณะรัฐบาล, ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน, คณะทูตานุทูต และบรรดาผู้เกี่ยวข้องโดยทั่วถึง ซึ่งจะ ต้องให้สามารถจัดเลี้ยงได้ระหว่าง ๒๐๐ – ๒๕๐ คน พระทีน่ งั่ บรมราชสถิตยมโหฬารเริม่ ด�ำเนินการก่อสร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้วเสร็จเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดย พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ใน พระราชพิธีสมโภชพระที่นั่ง เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙

งานแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้ คือ งานพระราชทานเลีย้ งพระกระยาหารคำ�่ แด่สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีตา่ งประเทศ พร้อมทัง้ บุคคลส�ำคัญ เนื่องในงานฉลองสิรริ าชสมบัตคิ รบ ๖๐ ปีเมือ่ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙

สยามพระที่นั่ง

๒๕


หมู่พระมหาปราสาท

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระมหาปราสาท ใน พระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ในเขต พระราชฐานชั้นกลาง ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีพระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวา และเรือนบริวารต่อเนื่องทางด้านหลังในเขตพระราชฐานชั้นใน พระที่นั่งองค์นี้ได้รับยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเอกของ กรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระทีน่ งั่ ทรงไทยแท้องค์เดียวในพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะเรือนยอดพระมหาปราสาท(กุฎาคาร) มีรปู ทรงต้องด้วยศิลปะลักษณะอันวิจติ รงดงาม พระทีน่ ง่ั ดุสติ มหาปราสาทเป็นพระทีน่ งั่ ๑ ชัน้ สถาปัตยกรรมทรงปราสาท แบบจตุรมุขด้านเหนือมีมุขเด็ดยื่นออกมาเป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูนฐานสูง๒.๘๕เมตรชั้นล่างเป็นเชิงฐานถัดไปเป็นฐานสิงห์ และฐานเชิงบาตรสองชัน้ หลังคาเป็นยอดทรงปราสาทประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุง้ คันทวยมีลกั ษณะเป็นพญานาค สามหัว หน้าบันจ�ำหลักรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณล้อมรอบด้วยลายกนกเทพพนมมุมยอดปราสาททั้งสีม่ ุมเป็นรูปลายพญา ครุฑหน้าบันจ�ำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑไขรารอบปราสาทเป็นรูปครุฑหยุดนาครองรับ

๒๖

สยามพระที่นั่ง


พระราชพิธฉี ตั รมงคล เริม่ มีขนึ้ เป็นครัง้ แรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระด�ำริว่า วันที่พระองค์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรม ราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัย จึงนับถือวัน นั้น เป็นวัน นักขัตฤกษ์ มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มี การนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรม ราชาภิเษกของพระองค์ตรงกับสมัย ที่ เ จ้ า พนั ก งานได้ ส มโภชเครื่ อ ง ราชูปโภคแต่เดิมมา ควรมีจะมีการ สมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็น สวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรง พระราชด�ำริ จั ด การพระราชกุ ศ ล พระราชทานนามว่า “ ฉัตรมงคล ” นี้ขึ้น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ครั้ น เมื่ อ สมั ย รั ช กาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยู-่ หัวโปรดเกล้าฯชุมนุ มสงฆ์กระท�ำ สังคายนาพระไตรปิฎกเพื่อบูรณะ ศาสนา ณ พระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท สยามพระที่นั่ง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จฯ สวรรคตได้อัญเชิญพระบรมศพมา ประดิษฐานไว้บนพระทีน่ งั่ ดุสติ มหา ปราสาท จึงได้เกิดเป็นธรรมเนียม ส�ำหรั บ ประดิ ษ ฐานพระบรมศพ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า, สมเด็ จ พระอั ค รมเหสี และบาง โอกาสโปรดเกล้าฯพระราชทานให้ ตั้งพระศพพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูง

พระราชบัลลังก์ พระแท่นราช บัลลังก์ประดับมุก ประดิษฐานอยู่ เหนือพระแท่นลากกลางในพระทีน่ งั่ ดุสิตมหาปราสาท กางกั้นด้วยพระ นพปฎลมหาเศวตฉัตร ๙ ชั้น เป็น พระราชบัลลังก์ที่ประทับของพระ มหากษัตริย์ ในวโรกาสเสด็จออก มหาสมาคม เป็นที่ประดิษฐานพระ พุทธรูปส�ำคัญ พระพุทธรูปประจ�ำ พระชนมวารในการพระราชพิธสี �ำคัญ ๒๗


ชัน้ บนเป็นทีป่ ระดิษฐานรูปท้าว หิรัญฮูขนาดเล็กเป็นอสูรที่ตั้งอยู่ใน สัมมาทิฐิ(ประพฤติในทางที่ดีงาม) คอยติดตามป้องกันภัยอันตรายไม่ ให้มากล�้ำกราพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และข้าราช บริพารที่อารักขา

พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระทีน่ งั่ ราชกรัณ ยสภาสร้างในรัชกาลที่ ๕ เป็นพระทีน่ งั่ สอง ชัน้ อยูท่ างด้านใต้ของพระทีน่ งั่ อาภรณ์ภโิ มกข์ปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อ ให้เป็นที่ประชุมปรึกษาราชการแผ่นดินใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ลักษณะภาย นอกเป็นแบบลายไทยมุงหลังคามุงด้วยกระเบื้องหินชนวน หน้าจั่วมี ลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “มุขทะลุขื่อ” การตกแต่งภายในทั้งหมดเป็น แบบตะวันตก

พระทีน่ งั่ พิมานรัตยาเป็นทีท่ รง น�้ ำ พระบรมศพสมเด็ จ พระมหา กษัตริยาธิราชเจ้า, พระมเหสี, พระ ราชเทวี ในรัชกาลต่างๆ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ด�ำเนินประพาสยุโรปครัง้ แรก สมเด็จ พระศรี พั ช ริ น ทราบรมราชิ นี น าถ ซึ่ ง ทรงเป็ น ผู ้ ส�ำเร็ จ ราชการแทน พระองค์ ประทับเป็นประธานในการ ประชุมที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ณ พระที่นั่งราชกรัณ ยสภาแห่งนี้

พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน ทาสีขาว ยกพื้นสูง มีเสาลอยรับหลังคาโดยรอบ พระที่นั่งองค์นี้เชื่อมต่อ กับพระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาทด้วยห้องโถงทีเ่ รียกว่า “มุขกระสัน” ลักษณะเป็นห้องโถงยาวทอดยาวไปทางทิศใต้ เป็นพระทีน่ งั่ ยกสูง มีระเบียง ๓ ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ตะวันตกและด้านทิศใต้ รอบระเบียงเป็นเสารายมีหลังคาเป็นชัน้ ลด ๓ ชัน้ ทรงไทยมุงด้วย กระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ประดับ หน้าบัน จ�ำหลักรูปพระพรหมทรงหงส์ ซุม้ พระทวารเป็นซุม้ เรือนแก้วลายดอก พุดตาน และซุม้ พระบัญชรเป็นซุม้ ทรงบันแถลงปิดทองประดับกระจก

พระที่นั่งพิมานรัตยา ๒๘

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทเป็นพระที่นั่งโถงทรงปราสาทจตุรมุขประกอบ เครื่องยอดบุษบก โดยมุขรี ( ด้านยาว ) สั้นกว่ามุขด้านสกัด ( ด้านกว้าง ) มีเชิงเทินเกย เทียบพระยานคานหาม ตัง้ อยูร่ ะหว่าง พระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาทและพระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท ด้านหน้าพระที่นั่งราชกรันยสภาภายในพระบรมมหาราชวังชั้นกลาง เดิมทีใช้ เป็นทีป่ ระกอบพระราชพิธโี สกันต์ ( โกนจุก ) และยังเคยใช้เป็นทีป่ ระทับเกยเสด็จบนพระ ราชยานคานหามด้วย นอกจากนี้ความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมไทยแท้นี้ ได้รับการ ยกย่องให้เป็นศิลปกรรมประจ�ำชาติแขนงหนึ่งในหลายๆแขนงที่เรียกกันว่า “ศาลาไทย”

สยามพระที่นั่ง

พระราชพิธีโสกันต์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ พระราชพิธีโสกัน ต์ คือ พระราชพิธีโกนจุก ของพระ ราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้า นายระดับพระองค์เจ้าขึ้นไป ด้วยความเชื่อเรื่องความ เจริญเติบโตและความเป็นสิรมิ งคล โดยมักเริม่ ไว้จกุ เมือ่ มีอายุได้ ๔-๕ ปี และเมื่อมีอายุได้ราว ๑๑-๑๓ ปี ก็จะ โกนจุก และไว้ผมตามปกติตามสมัยนิยม

๒๙


พระที่นั่ง เขตพระราชฐานชั้นนอก

พระที่นั่งไชยชุมพล พระทีน่ งั่ ไชยชุมพลสร้างขึน้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่บนก�ำแพงพระบรมมหาราชวังด้านตะวันออกฝั่ง ถนนสนามไชย ตรงกับพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็น พระทีน่ งั่ พลับพลาชัน้ เดียว กว้าง ๔.๗๕ เมตร ยาว ๘.๗๐ เมตร หลังคา มุงกระเบือ้ งตะกัว่ ลดหลัน่ ๒ ชัน้ ประดับด้วยช่อฟ้า, ใบระกา, และหางหงส์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อใช้ เป็นที่ประทับในการทอดพระเนตร กระบวนแห่พระยาชิงช้าใน “ พระ ราชพิธีตรียัมปวาย ” พิธตี รียมั ปวายเป็นพิธตี ามความ เชื่อของศาสนาพราหมณ์ซึ่งเชื่อกัน ว่ า พระอิ ศ วรเป็ น เจ้ า เสด็ จ ลงมา เยี่ยมโลกมนุษย์ปีละครั้งในเดือนยี่ ครัง้ หนึ่งก�ำหนด ๑๐วันโดยจะเสด็จ ลงมาในวันขึ้น ๗ ค�่ำ และเสด็จขึ้น กลับวันแรม ๑ ค�่ำของทุกปีคณะ พราหมณ์จึงได้จัดพิธีต้อนรับขึ้นใน ระยะเวลาดังกล่าวเพือ่ ความเป็นศรี สวัสดิมงคลแก่พระนคร ๓๐

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อให้ ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระสยามเทวาธิราชและสังเวยเทพยดา ณ พระที่นั่งองค์นี้ในปีพ.ศ.๒๔๒๓ ก่ อ นที่ จ ะย้ า ยไปประกอบพิ ธี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในปีต่อมา

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท

พระที่นั่งสุทไธสวรรย์สร้างขึ้น ส�ำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวน แห่พระราชพิธคี เชนทรัศวสนาน ซึง่ เป็นพิธสี วนสนามแสดงความพร้อม ด้านก�ำลังคนและสรรพาวุธเพื่อให้ เป็นทีเ่ กรงขามแก่ศตั รูหมูป่ จั จามิตร และเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร

พระองค์เจ้าศรีวลิ ยั ลักษณ์กรมขุนสุพรรณภาควดีพระธิดาองค์แรก และเป็นพระธิดาองค์โปรดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั หลังจากพระธิดาสิ้นพระชนม์จึงได้ อัญเชิญพระศพขึป้ ระดิษฐานแว่นฟ้า ๓ ชัน้ ณ พระทีน่ งั่ สุทไธสวรรย์แห่งนี้

สยามพระที่นั่ง

พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทแรกสร้าง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีลักษณะเป็นพลับพลาโถงจตุรมุขเครื่องไม้เรียก ว่า “พลับพลาสูง” สร้างอยู่บนก�ำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าท�ำตาม แบบอย่างธรรมเนี ยมพระราชวังหลวงครั้งกรุง ศรีอยุธยาทีส่ ร้างพระทีน่ งั่ จักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาทอยู่บนก�ำแพงเช่นเดียวกัน เมื่อถึงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสงั ขรณ์ใหม่เป็นปราสาทพระราชทานนามว่า “พระทีน่ งั่ สุทธาสวรรย์” ต่อมาในรัชกาลพระบาท สมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ า โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่อีกครั้งหนึ่ ง นามว่า “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์”

ต่อมาพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ได้ ถูกใช้งานเพื่อเป็นที่เสด็จออกมหา สมาคมให้ประชาชนเฝ้าทูลละออง ธุ ลี พ ระบาทในโอกาสพิ เ ศษ เช่ น พระราชพิธพี ระบรมราชาภิเษกเมือ่ พ.ศ.๒๔๙๓

๓๑




พระราชวังบวรสถาน

หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้น ครองราชย์ สมบัตเิ ป็นปฐมกษัตริยแ์ ห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และโปรดเกล้าสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าพระยาสุรสีห์ ขึน้ เป็น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ภายหลังพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้มีการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังกรุงเทพมหานคร และโปรดเกล้าให้ สร้างพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคลขึน้ ในเวลาเดียวกัน พระราชวัง บวรสถานมงคลนั้ น เป็น ศูน ย์กลางทางการปกครองของผู้ด�ำรงพระอิสริยยศกรม พระราชวังบวรสถานมงคลจึงมีความส�ำคัญ พระราชวังแห่งนี้ใช้เวลาสร้าง ๓ ปีแล้วเสร็จ และมีการฉลองพระราชวังพร้อมกับการสมโภชพระนครและฉลองพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ พระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อแรกสร้างนั้นเป็นเครื่องไม้ทั้งสิ้น ใน การสร้างพระบรมมหาราชวังในระยะแรกนั้นได้ถ่ายแบบบางส่วนมาจากพระราชวังใน สมัยกรุงศรีอยุธยาการก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนื อของวัดสลัก (ปัจจุบนั คือวัดมหาธาตุยวุ ราชรังสฤษฎิ)์ ขึน้ ไปจรดคลองคูเมืองเดิม และได้ท�ำผาติกรรม ที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลักเข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปจั จุบนั ได้ดดั แปลงส่วน หนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๓๔

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถาน

หมู่พระวิหาร ๑. พระที่นั่งปาฎิหาริย์ทัศไนย ๒. พระที่นั่งมังคลาภิเษก ๓. พระที่นั่งพุทไธสววย์ ๔. พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ๕. พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ สยามพระที่นั่ง

๖. พระที่นั่งวสันตพิมาน ๗. พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ ๘. พระที่นั่งพรหมเมศธาดา ๙. พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ๑๐ .พระที่นั่งพิมุขมณเฑียร

๑๑. พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข ๑๒. พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข ๑๓. พระที่นั่งทักษิณาภิมุข ๑๔. พระที่นั่งบูรพาภิมุข ๑๕. พระที่นั่งอุตราภิมุข ๓๕


พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย พระที่นั่งที่สร้างขึ้นหลังเกิดเหตุอัศจรรย์ “ ปาฏิหาริย์ที่องค์พระปฐม” เป็นแท่นไม้สักมีขนาด ๒ เมตร เดิมตั้งอยู่บนชานศาลาระหว่าง พระที่นั่งวัชรีรมยาเเละพระที่นั่งพระที่นั่งวิมานปฐม เหตุที่ได้ชื่อว่าพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ( ในขณะทรงเป็น มงกุฏราชกุมาร) โปรดให้สร้างขึ้นได้ทรงทอดพระเนตรเห็นเหตุกาณ์ปาฎิหารณ์แห่ง องค์พระปฐมเจดีย์พระที่นั่งองค์นี้สมัยก่อนสร้างขึ้น อยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ ใน จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนและเคลื่อนย้ายตั้งอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครแห่งนี้

พระทีน ่ งั่ ปาฎิหาริยท ์ ศ ั ไนย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงได้มจี ดหมายพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ความว่า “ด้วยเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค�่ำ เดือน ๑๑ เวลาดึก ๒ ยามกับ ๔๕ นาที ข้าพระพุทธเจ้าได้นั่งเล่น อยูท่ เี่ รือนสนามจันทร์ มีขา้ ราชการมหาดเล็กอยูด่ ว้ ยจ�ำนวนมากเห็นองค์พระ ปฐมเจดีย์ มีรัศมีสว่างพราวออกทั้งองค์ ดูประหนึ่งว่าองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านตะวันตกคือด้านที่ เล็งกับสนามจันทร์ทาด้วยฟอสฟอรัสพราวเรือง ตั้งแต่คอระฆังลงมาหน่อยหนึ่ง ตลอด จนยอดมงกุฎแลยังซ�้ำมีเป็นรัศมีพวยพุ่งขึ้นสูงอีกประมาณ ๓-๔ วา ปรากฏอยู่อย่างนี้ ๑๗ นาที จากนัน้ ก็ดบั หายไป เหลือสว่างอยูแ่ ค่ขอ่ งมะหวดลงมาอีกกึง่ นาทีกด็ บั หายหมด จนมืดแม้จะมองแต่รปู องค์พระก็ไม่เห็นถนัด ข้าพระพุทธเจ้าได้นบั ผูท้ เี่ ห็นขณะนัน้ ตลอด จนทหารที่อยู่ยามสี่คนเป็นจ�ำนวน ๖๙ คน”

๓๖

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมโปรดสร้าง พระที่นั่งขึ้น เดิมมีพระด�ำริว่าจะใช้ส�ำหรับเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอและอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลง มาทีพ่ ระนครจึงน�ำมาประดิษฐานไว้ ณ พระทีน่ งั่ แห่งนี้ประทานนามพระทีน่ งั่ ว่า “พระที-่ นัง่ สุทธาสวรรย์” เมือ่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างพระทีน่ งั่ อิศราวินิจฉัยขึ้นใหม่ จึงได้เปลี่ยนชื่อพระที่นั่งนี้เป็น “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” เพื่อให้ชื่อทั้ง สองพระที่นั่งคล้องจองกัน

พระบาทสมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงสร้างคู่กบั พระที-่ นั่งเอกอลงกฎ เป็นพระที่นั่งโถงตั้งอยู่บนก�ำแพงแก้ว สองข้างพระที่ นัง่ อิศราวินจิ ฉัยซึง่ เป็นท้องพระโรง มีเกยส�ำหรับทรงพระราชยานอยู่ ทางด้านหน้า พระที่นั่งเอกอลงกฎได้รื้อลงเมื่อปรับปรุงวังหน้าเป็น พิพธิ ภัณฑสถานส�ำหรับพระนคร ปัจจุบนั คงเหลืออยูเ่ ฉพาะพระทีน่ งั่ มังคลาภิเษก

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระบรมราชโองการให้เสด็จขึ้น ไปยังเมืองเชียงใหม่เพื่อส�ำรวจการสร้างเมืองขึ้น ใหม่ให้ประชาชนอยู่ได้ตามปกติ ซึ่งในขณะนั้น เมืองเชียงใหม่อาจจะถือได้วา่ เป็นเมืองร้างเนือ่ งจาก เกิดศึกสงครามอยูบ่ อ่ ยครัง้ ประชาชนส่วนใหญ่จงึ อพยพลี้ภัยไปอาศัยอยู่เมืองอื่น ในระหว่างการ ส�ำรวจนั้น พระองค์ได้พบพระพุทธสิหิงค์และทรง ระลึกได้วา่ เป็นพระพุทธรูปทีเ่ คยประดิษฐาน ณ วัด พระศรีสรรเพชญ์ตงั้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์ จึงอัญเชิญพระพุทธสิหงิ ค์ลงมาทีพ่ ระนครแล้วทรง พระราชอุทศิ พระทีน่ งั่ องค์นี้ พร้อมทัง้ สร้างปราสาท ทองห้ายอดถวายเป็นทีป่ ระดิษฐานพระพุทธสิหงิ ค์

พระที่นั่งองค์นี้สร้างท�ำนองเดียวกับพระที่นั่ง ดุสิดาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวัง ตามลักษณะที่ เรียกกันในสมัยก่อนว่า “พระที่นั่งเย็น” หมายถึง เป็นพระที่นั่งโถงส�ำหรับตากอากาศ

พระที่นั่งมังคลาภิเษก สยามพระที่นั่ง

๓๗


พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน หรือ พระที่นั่งศิวโมกขสถาน สมเด็จฯกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าคงเป็น นามเดิมของพระที่นั่งองค์นี้ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ชื่อที่สอดคล้องกับนาม “พระพิมานดุสิตา” เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นด้วยไม้ทั้งหลัง โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้ใช้เป็นท้องพระโรง พระที่นั่งองค์นี้ถ่ายแบบพระที่นั่งมาจาก พระที่นั่งทรงปืนทีพ่ ระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนัน้ จึงมีบางคนเรียกพระทีน่ งั่ องค์นี้วา่ “พระทีน่ งั่ ทรงปืน” อย่างไรก็ตามเมือ่ พระราชมณเฑียรสร้างแล้วเสร็จพระที่นั่งองค์นี้ก็ใช้เป็นเพียงสถานที่เสด็จทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศล บางครั้งจึงเรียกพระที่นั่ง องค์นี้ ว่า “พระที่นั่งทรงธรรม” เดิมพระที่นั่งแห่งนี้ เป็น พระที่นั่งโถง ต่อมาเมื่อใช้พระที่นั่งแห่งนี้ เป็น ส่วนหนึ่ งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ จึงได้สร้างผนังขึ้นมา

ปั จ จุ บั น พระที่ นั่ ง ศิ ว โมกขพิ ม านองค์ นี้ เ ป็ น สถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

๓๘

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทพระอาการประชวรก�ำเริบ และได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุขในหมุ่พระวิมาน เมื่อวัน ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๓๔๖ พระชนมายุ ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน พระโกศ (พระลอง) ย่อมุมไม้สิบสองหุ้มทองค�ำประดิษฐานพระบรม ศพไว้ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในพระราชวังบวรสถานมงคล

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ สร้างเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ยุโรป ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับหลังทรงได้รับพระราชทานบวรราชาภิเษก ด�ำรงพระอิสริยยศในฐานะเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยูห่ วั เสด็จมาประทับยังพระบวรราชวัง พระองค์ทรงสร้างพระราชมณเฑียรแห่งใหม่ขนึ้ โดยมีลกั ษณะเป็นเก๋งจีน เมือ่ พระองค์ เสด็จเข้าไปประทับ ณ พระราชมณเฑียรแห่งใหม่นั้น พระองค์เกิดพระอาการประชวรติดต่อเป็นเวลานาน เมื่อซินแสเข้ามาดู จึงกราบทูลว่าเนื่องจากพระที่นั่งเก๋งจีนองค์นี้ สร้างในที่ฮวงจุ้ยที่เป็นอัปมงคล หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่บริเวณที่สร้างพระที่นั่งเก๋งจีนองค์เดิม แต่ได้เลื่อนต�ำแหน่งที่ตั้งไปทางทิศตะวัน ออก ลักษณะเป็นตึกฝรั่ง เรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์”

ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิน่ เกล้า เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างตู้ ทองเรียงกัน ๓ ตู้เพื่อใช้ประดิษฐานพระบรมอัฐิ โดยตู้กลางนั้นใช้ ประดิษฐานพระบรมอัฐขิ องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตู้ด้านข้างนั้นประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

สยามพระที่นั่ง

๓๙


หมู่พระวิหาร

หมู่พระวิมาน เป็นหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคลสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์แรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และ เป็นสมเด็จพระราชอนุชาร่วมพระชนกพระชนนีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หมูพ่ ระวิมานเป็น หมูพ่ ระทีน่ งั่ หลายองค์ประกอบกัน และมีการซ่อมแซมและปรับปรุงครัง้ ใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพปัจจุบัน เป็นอาคารหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ใช้เป็นสถานที่ที่จัดแสดง นิทรรศการวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ปัจจุบัน หมู่พระวิมาน ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเกือบทั้งหมด ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์

๐๑ พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวสันตพิมานสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พระบรรทมของกรม พระราชวังบวรสถานมงคล ในท�ำนองว่าใช้ประทับในฤดูฝน ปัจจุบัน พระที่นั่งแห่งนี้ ในส่วนชั้นล่างนั้น จัดแสดงเครื่องถ้วยต่าง ๆ อาทิเช่น เครื่องถ้วยล้านนาลพบุรี, เบญจรงค์ลายน�้ำทอง, เครื่องถ้วยญี่ปุ่น, และเครื่องถ้วยยุโรป เป็นต้น

๔๐

สยามพระที่นั่ง


๐๒ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่บรรทมของกรม พระราชวังบวรสถานมงคล เช่นเดียวกัน กับพระที่นั่งวสัน ตพิมาน สร้างในท�ำนองเพื่อใช้เป็นที่ประทับในฤดูหนาว ปัจจุบันพระที่นั่งแห่ง นี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องทองต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเครื่องประดับ เครือ่ งทองทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ ใช้ในศาสนพิธี หรือประกอบพิธกี รรมความ เชื่ออื่น ๆรวมทั้ง จัดแสดงบุษบกประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้าในรัชกาลที่ ๑-๓ และเครือ่ งสูงส�ำหรับวังหน้าอันเป็นของ ที่ตั้งอยู่เดิมภายในพระที่นั่ง

๐๓ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา พระทีน่ งั่ พรหมเมศธาดาสร้างขึน้ เพือ่ ใช้เป็นทีพ่ ระบรรทมของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในท�ำนองความว่าใช้เป็นที่ประทับในฤดู ร้อน ปัจจุบนั พระทีน่ งั่ แห่งนี้ใช้จดั แสดงสิง่ ของเครือ่ งใช้ในสมัยโบราณ โดยชั้นล่างจัดแสดงเครื่องแต่งกายของเจ้านายและผ้าโบราณตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงปัจจุบัน ส่วนชั้นบนนั้นจัดแสดงเครื่องใช้ใน พระพุทธศาสนา

สยามพระที่นั่ง

๔๑


๐๔ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์หมู่ พระวิมาน พร้อมทั้งสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่เพื่อเป็นท้องพระโรง เนื่องจากพระองค์เสด็จลงมาประทับ ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข ซึง่ ตัง้ อยูท่ ม่ี ขุ หน้าของพระวิมาน และโปรดฯให้น�ำพระทีน่ งั่ บุษบกมาลาซึง่ ตัง้ อยูใ่ นมุขเดิมมาตัง้ ไว้ ณ พระทีน่ งั่ แห่งนี้ดว้ ย พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยสร้างโดยถ่ายแบบมาจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง แต่มีขนาดที่เล็กลงและไม่ท�ำซุ้ม พระแกลและพระทวาร ส่วนการใช้สอยพระที่นั่งนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย คือ ใช้เป็นที่เสด็จออกแขก เมืองและบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ปัจจุบันพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการพิเศษและยังคงเป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งบุษบกมาลา พระราชบัลลังก์ที่ประทับของกรมพระราชวังบวรฯ

๔๒

๐๕ พระที่นั่งพิมุขมณเฑียร

๐๖ พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข

พระที่นั่งพิมุขมณเฑียรจัดได้ว่าเป็นพระที่นั่งหลังหนึ่งที่มีขนาด ใหญ่โตพอสมควร ซึ่งเป็นพระที่นั่ง ชั้นเดียวที่แบ่งเป็น ๒ ตอน ตอน หน้าสุดที่ตัดออกไปยังท้องพระโรงหน้า แต่เดิมเป็นพระที่นั่งยาวที่ใช้ ต้อนรับผูม้ าเข้าเฝ้า ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ซึง่ ทรงเป็นกรมวังหน้าในพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้โปรดฯ ให้สร้างพระทีน่ งั่ อิสราวินจิ ฉัยขึน้ แล้วท�ำเป็นท้องพระโรงส่วนหน้าให้ เชือ่ มติดกับส่วนท้ายของพระทีน่ งั่ พิมขุ มณเฑียร ปัจจุบนั ใช้เป็นสถาน ที่จัดแสดงเครื่องราชยานคานหาม, สัปคับ, เสลี่ยงกง, เสลี่ยงหิ้ว

พระทีน่ งั่ ปฤษฎางคภิมขุ ปัจจุบนั ใช้จดั แสดงจัด แสดงหุ่นจ�ำลองม้าและช้างทองเครื่องคชาธาร, อาวุธภัณฑ์สมัยโบราณและสิ่งของในยามศึก

สยามพระที่นั่ง


๐๗ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข

สยามพระที่นั่ง

๐๘ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข

พระที่ นั่ ง ปั จ ฉิ ม าภิ มุ ข ใช้ จั ด แสดงของใช้ ประดับมุก เครื่องมุกส่วนใหญ่เป็น ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพตั รสุขมุ พันธ์ กรม พระนครสวรรค์พินิต ประทานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แห่งนี้

พระที่นั่งองค์นี้เคยเป็นที่ประทับในสมัยพระบวรเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ปจั จุบนั ใช้เป็นสถานทีจ่ ดั แสดงเครื่องการละเล่น หุ่น หัวโขน หนังใหญ่ เครื่องแต่งกายละคร เครื่องกีฬาไทย หมากรุก ปิ๊ กระเบื้อง ตัวหวย กอ ขอ

๐๙ พระที่นั่งบูรพาภิมุข

๑๐ พระที่นั่งอุตราภิมุข

พระทีน่ งั่ บูรพาภิมขุ ปัจจุบนั เป็นห้องจัดแสดง เครื่องดนตรีไทยต่างๆ เช่น ซอ, กลอง, ระนาด, ฉิ่ง, ฉาบ เป็นต้น

พระทีน่ งั่ อุตราภิมขุ ปัจจุบนั เป็นห้องจัดนิทรรศ การแสดงศิลาจารึก ในอดีต

๔๓




พระราชวังดุสิต

พระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เพือ่ เป็นทีเ่ สด็จประทับชัว่ คราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวังซึง่ เป็นพระราช นิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระต�ำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และ หมูเ่ รือนข้าราชบริพารปลูกสร้างอยูก่ นั อย่างแออัดปิดทางลมท�ำให้ทปี่ ระทับร้อนจัด ดังนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ตลอดทัง้ พระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมาจึงสร้างขึน้ เพือ่ เป็นพระราชวัง ที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังดุสิตเป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้าง ขึ้น เมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยใน พ.ศ. ๒๔๔๑โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ ตอนชายทุ่งนา ในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาขึ้น เป็นทีเ่ สด็จประทับแรมชัว่ คราวและพระราชทานนามว่า “สวนดุสติ ”ต่อมา เมือ่ มีการสร้างพระทีน่ ง่ั ขึน้ และ พระองค์เสด็จพระราชด�ำเนินมาประทับบ่อยครั้ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์แห่งใหม่ และ พระราชทานนามว่า “วังสวนดุสติ ” เมือ่ มีการขยายพระนครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตดั ถนนสามเสน ถนนราชด�ำเนินใน ถนนราชด�ำเนินนอก โปรดเกล้าฯให้สร้างทีป่ ระทับถาวรขึน้ และเสด็จ มาประทับบ่อยครั้ง จึงมีพระราชด�ำริที่จะสร้างพระที่นั่งต่างๆขึ้นเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีได้เช่นเดียวกับ พระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเปลีย่ นนามวังสวนดุสติ เป็น พระราชวังสวนดุสติ จนกระทัง่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯเรียกพระราชวังสวนดุสติ ว่า “พระราชวังดุสติ ”

๔๖

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งในพระราชวังดุสิต ๑. พระที่อนันตสมาคม สยามพระที่นั่ง

๒. พระที่นั่งอัมพรสถาน

๓. พระที่นั่งวิมานเมฆ

๔. พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ๔๗


พระที่นั่งอนันตสมาคม พระทีน่ งั่ อนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนสมัยเรอเนสซอง และมีลกั ษณะรูปโดมแบบเดียวกับมหาวิหาร เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม โดยที่ตรงกลางมีโดมสูงใหญ่สุดประกอบกับโดมเล็กอีก ๖ โดมขนาดของพระที่นั่งอนันตสมาคมวัด ส่วนกว้างได้ ๔๙.๕๐ เมตร ยาว ๑๑๒.๕๐ เมตรและสูง ๔๙.๕๐ เมตร โครงสร้างส่วนใหญ่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนัง ก่ออิฐฉาบปูนทัง้ ภายในและภายนอกซึง่ ประดับด้วยแผ่นหินอ่อนสีขาวและหินอ่อนสลักลวดลายบัวหยดน�ำ้ ทีม่ าจากเมืองคารารา ในประเทศอิตาลี โค้งหน้าต่างและประตูเป็นไม้ช่องแสงเป็นกระจกติดด้วยขอบลวดลายหินอ่อนตามรูปแบบสถาปัตยกรรม สมัยเดียวกัน ภายในชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นห้องโถงยาวตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยลวดลายแปลกตา เพดาน ประกอบด้วยส่วนโค้งเชื่อมจากหัวเสาเป็นระยะๆ ประดับลวดลาย เสาทั้งต้นเป็นหินอ่อนแบบนูนเด่นด้วยลวดลายและแบบ ลอยตัว โดยปลายเสาสลักลวดลายเป็นใบไม้อันสวยงาม ซึ่งนิยมกันมากในสมัยกรีกโบราณ ที่เรียกกันว่า”โครินเธียน” สถาปัตยกรรมโบราณสถานแห่งนี้ เป็นอาคารหินอ่อนแบบตะวัน ตก นับเป็นพระบรมปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่ ด้วยพระราชประสงค์เพือ่ ใช้เป็นท้องพระโรงหนึ่งในหมูพ่ ระทีน่ งั่ สวนดุสติ โดยเริม่ ก่อสร้างเมือ่ ปีพทุ ธศักราช ๒๔๕๐ และได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายเอ็ม ตมานโย ชาวอิตาเลียน เป็นนายช่างผู้ออกแบบ นาย ซี อัลเลกรี เป็นวิศวกรและ เจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระทีน่ งั่ อนันตสมาคมองค์ นี้ได้ถูกใช้เป็นรัฐสภาแห่งแรก ของประเทศไทย เพราะในช่วง แรกของการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองเป็ น ระบอบประชา ธิปไตยอัน มีพ ระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์ นี้ ใ นการประชุ ม สภาผู ้ แ ทน ราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ ตึกรัฐสภาจนถึงปัจจุบัน

๔๘

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ อันเป็น พระราชพิธีที่ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีไทยแต่ โบราณ ซึง่ เป็นประเพณีรบั ขวัญให้กบั พระราชโอรส พระโอรส,พระราชธิดาและพระธิดา ที่ประสูติใหม่ ซึง่ ในรัชกาลปัจจุบนั ได้มพี ระราชพิธสี ถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและ ขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อพระเจ้าหลานเธอฯ มี พระชนมายุครบ ๑ เดือน

สยามพระที่นั่ง


ในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นปีที่ ฉลองกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ค รบ ๒๐๐ ปี สมเด็ จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ ทรงขอ พระบรมราชานุญาตซ่อมพระทีน่ งั่ วิมานเมฆเพือ่ จัด เป็นพิพธิ ภัณฑ์สว่ นพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันพระที่นั่งวิมานเมฆ เปิดเป็นพิพธิ ภัณฑ์ในความดูแลของส�ำนักพระราชวัง รวมทั้งหมู่พระต�ำหนักของพระบรมวงศานุวงศ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ แปรพระราชฐานจากพระบรมมหาราชวังมา ประทับเป็นการถาวร ณ พระที่นั่งวิมานเมฆแห่งนี้ หลังจากสร้างแล้วเสร็จ

พระที่นั่งวิมานเมฆ พระทีน่ งั่ วิมานเมฆเป็นพระทีน่ งั่ ทีส่ ร้างด้วยไม้สกั ทองทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลกและเป็นพระทีน่ งั่ ถาวรองค์แรกในพระราชวัง ดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต( ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์เรียกว่า พระราชวังสวนดุสิต ) ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยโปรดเกล้าฯให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ที่โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชัง เมือ่ พ.ศ. ๒๔๓๕ แต่ยงั สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยโปรดเกล้าฯให้พระราชโยธาเทพ( กร หงสกุล ต่อมาเป็นพระยาราชสงคราม ) เป็นนายงานรื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชังมาสร้างในสวนดุสิต และพระราชทานนามว่า “ พระที่นั่งวิมานเมฆ” และทรงวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ์ ท รงก�ำกั บ การออกแบบและทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯให้ มี ก ารเฉลิ ม พระที่ นั่ ง วิ ม านเมฆ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ สยามพระที่นั่ง

๔๙


พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในปีเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งวิมานเมฆเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระที่นั่ง อนัน ตสมาคม ซึ่งในเวลานั้น เรียกว่าสวนแง่เต๋ง (สีงา) และทรงตั้งนามให้พระที่นั่งองค์ใหม่ว่า “พระที่นั่งอัมพรสถาน” พระสถิตย์นิมานการ (ม.ร.ว. ชิด อิศรศักดิ์) เจ้ากรมโยธาธิการ ได้ด�ำเนินการก่อสร้างอยู่หลายปี ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๙ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขมุ นัยวินติ (เจ้าพระยายมราช, ปัน้ สุขมุ ) มารับราชการในต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธา ธิการจึงได้เป็นผู้อ�ำนวยการก่อสร้างพระที่นั่งต่อมาจนเสด็จในปีนั้นและการเฉลิมพระที่นั่งนั้น เป็นงานใหญ่ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระที่นั่ง3ชั้นผังอาคารเป็นรูปตัว H คือมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ หลังวางขนานกันใน แนวทิศเหนือและทิศใต้เชื่อมต่อด้วยอาคารในแนวดิ่งสถาปัตยกรรมแบบวิลล่าในชนบทของยุโรป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่ชั้น ๓ ของพระที่นั่งอัมพรสถาน เมือ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมา ประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ ได้ประทับแค่เพียงชั้น ๒ เท่านั้น เพราะชั้น ๓ ถือว่าเป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕๐

อดีตเคยมีโรงละครแสดง แต่ ณ ปัจจุบันได้ เสือ่ มโทรมไปมากจนยากต่อการบูรณะจึงได้ทบุ ทิง้ ไปแล้วในรัชกาลปัจจุบัน

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งอภิเศกดุสิต พระทีน่ งั่ อภิเศกดุสติ เป็นหนึ่งในองค์พระทีน่ งั่ ในพระราชวังดุสติ เริม่ ก่อสร้างขึน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระที่นั่งอภิเศกดุสิตสร้างหลังพระที่นั่ง วิมานเมฆประมาณ ๒ ปีและมีการฉลองพระที่นั่งเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นพระที่นั่งองค์แรกๆ ที่สร้างขึ้นในเขตพระราชวังดุสิตและเป็น พระที่นั่งชั้นเดียว สร้างด้วยไม้เป็นส่วนมากมีลวดลายฉลุไม้เรียกว่า ลายบุหงา มีการ ประดับกระจกสีและลวดลายปูนปั้นที่หน้าบัน เป็นศิลปะแบบมัวร์ตั้งอยู่ทางตะวันออก ของพระที่นั่งวิมานเมฆ สร้างขึ้นโดยพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังจากพระองค์ได้เสด็จกลับมาจากการประพาสยุโรปครั้งที่ ๑

พระทีน่ งั่ กงเป็นพระราชอาสน์ทปี่ ระดิษฐานอยู่ ในพระที่ นั่ ง อภิ เ ศกดุ สิ ต เพื่ อ เสด็ จ ออกให้ ค ณะ ทูตานุทูตต่างประเทศ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล หรือเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทในโอกาสพิเศษต่างๆ

สยามพระที่นั่ง

พระที่ น่ั ง อภิ เ ศกดุ สิ ต ได้ ถู ก ใช้ เ ป็ น สถานที่ ส�ำหรับจัดพระราชทานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง ต่างๆ ของพระราชวังดุสิต

๕๑




พระราชวังพญาไท

พระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท ตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสน ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นและพระราชทานนามให้ว่า “พระต�ำหนัก พญาไท” หรือ “วังพญาไท” ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ได้รบั การสถาปนาเป็น “พระราชวังพญาไท” พระราชวังพญาไทเริม่ ก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการ ท�ำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ พระราชวังแห่งนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างต�ำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระต�ำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ท�ำนารวมทั้งโรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนา ขวัญหลายครั้ง ณ วังพญาไท และใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมี การขึน้ เรือนใหม่ได้เพียงไม่กเี่ ดือนก็เสด็จสวรรคต หลังจากนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงรือ้ พระต�ำหนัก พญาไท เหลือไว้เพียงพระทีน่ งั่ เทวราชสภารมย์ ซึง่ เป็นท้องพระโรงและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระทีน่ งั่ ใหม่หลาย พระองค์ดว้ ยกัน รวมทัง้ ได้รบั การสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท สมัยรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุง วังพญาไทเป็นโรงแรมชัน้ หนึ่งส�ำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมือ่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ ตามพระราชประสงค์ในรัชกาล ที่ ๖ เพื่อพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ต่อมากรมรถไฟด�ำเนินการโรงแรมวังพญาไทได้ ๖-๗ ปีก็เลิกกิจการเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ เนื่องจากคณะราษฎรต้องการน�ำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร จึง พระราชทานวังนี้ให้เป็นสถานพยาบาลของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาจนถึงปัจจุบัน

๕๔

สยามพระที่นั่ง


พระทีน ่ ั่งในพระราชวังพญาไท ๑. พระที่นั่งพิมานจักรี ๒. พระที่นั่งไวยกูณฐเทพยสถาน ๓. พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ๔. พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ๕. พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

สยามพระที่นั่ง

๕๕


พระที่นั่งพิมานจักรี พระทีน่ งั่ พิมานจักรี เป็นพระทีน่ งั่ องค์ประธานของหมูพ่ ระทีน่ งั่ ภายในพระราชวัง พญาไทสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐ ฉาบปูน ๒ ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค โดยจุดเด่นของ พระที่นั่งองค์น้ีอยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้ส�ำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับรวมทั้งบริเวณฝาผนังใกล้กับเพดาน และเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียกซึ่งมีความงดงามมากและ บานประตูเป็นไม้จ�ำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า “ร.ร.๖” ซึ่งหมายถึงสมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ ๖

พระที่นั่งพิมานจักรีใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระมเหสี ภาย ชั้น ๑ ประกอบด้วยห้องเสวยและห้องธาร ก�ำนัลซึ่งเป็นห้องส�ำหรับให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้า ชัน้ สองเป็นทีต่ งั้ ของท้องพระโรงกลางซึง่ เป็นห้อง เสด็จให้เข้าเฝ้าส่วนพระองค์ ๕๖

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระทีน่ งั่ ไวกูณฐเทพยสถานตัง้ อยูท่ างด้าน ทิศตะวันออกของพระทีน่ งั่ พิมานจักรีเป็นพระทีน่ งั่ ก่ออิฐฉาบปูน เดิมเป็นพระที่นั่ง ๒ ชั้น และได้ต่อ เติมเป็นพระที่นั่ง ๓ ชั้นในภายหลังพระที่นั่งองค์นี้ มีทางเชื่อมต่อพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ในชั้นที่ ๒

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เดิมเคยเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของ กรุงเทพฯ เมือ่ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ ซึง่ ตรงกับวันพระราชพิธฉี ตั รมงคลในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้มกี ารเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ พิธเี ปิดสถานีได้กระท�ำโดยอัญเชิญกระแสพระราชด�ำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้าในพระราชพิธี นั้น จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง มีไมโครโฟนตั้งรับกระแสพระ ราชด�ำรัสถ่ายทอดไปตามสายเข้าเครื่องส่งที่พญาไท แล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกรที่มี เครื่องรับวิทยุในสมัยนั้นได้รับฟัง

สยามพระที่นั่ง

๕๗


พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส เดิมมีนามว่า พระที่นั่งลักษมีพิลาส ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระชายา อยู่ทางด้าน ทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งสูง ๒ ชั้น ก่ออิฐ ฉาบปูน มีโดมขนาดเล็ก ลักษณะอาคารเป็นแบบอิงลิช โกธิค มีทาง เชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานจักรีในชั้นที่ ๒

พระที่ นั่ ง ศรี สุ ท ธนิ ว าสปั จ จุ บั น โดยชั้ น ล่ า ง ประกอบด้วยห้องชุดขนาดใหญ่โดยทางตะวันออก เป็นห้องเสวยและห้องรับแขกถัดไปเป็นโถงบันได ทิศตะวันตกเป็นห้องนอนข้าหลวงห้องแต่งตัวหัอง น�ำ้ และห้องมโหรีชนั้ บนเป็นห้องบรรทม ๓ ชุด ด้าน ตะวันออกและตะวันตกเป็นของเจ้านายด้านใต้เป็น ของข้าราชการฝ่ายใน

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระทีน่ งั่ เทวราชสภารมย์เป็นท้องพระโรงเดิมในสมัยสมเด็จพระศรีพชั รินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพนั ปีหลวง ซึง่ เสด็จ มาประทับ ณ วังพญาไท เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ โดยยังปรากฏอักษรพระ นามาภิไธย สผ (พระนามเดิม สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ลักษณะท้องพระโรงได้รบั อิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบไบเซ็นไทน์ มีโดมอยู่ตรงกลางรับด้วยหลังคาโค้งประทุน ๔ ด้านบนผนังมี จิตรกรรมรูปคนและลายพรรณพฤกษาที่วิจิตรงดงาม ๕๘

พระที่นั่งเทวราชสภารมยใช้ประกอบพระราช พิธีทางศาสนาในงานพระราชกุศล เช่น งานเฉลิม พระชนมพรรษา วัน ธรรมดาใช้รับรองแขกส่วน พระองค์ทมี่ าเข้าเฝ้า บางครัง้ เป็นโรงละครหรือโรง ภาพยนตร์แล้วแต่โอกาส

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระทีน่ งั่ อุดมวนาภรณ์ ตัง้ อยูท่ างทิศตะวันออกของพระทีน่ งั่ ไวกูณฐเทพยสถาน ในบริเวณทีเ่ ข้าใจ ว่าเดิมมีอาคารซึง่ เรียกกันว่า ตึกคลัง ส่วนพระทีน่ งั่ องค์นี้นา่ จะสร้างขึน้ ในระยะหลังจึงมีลกั ษณะต่างไปจาก พระที่นั่งองค์อื่นๆคือเป็นอาคารสูง ๒ ชั้นที่เรียบง่ายหลังคาลาดชันน้อยกว่าไม่มีการตกแต่งด้วยจิตรกรรม เขียนสีปนู แห้งตามเพดานและผนัง แต่ประดับด้วยกระเบือ้ งเคลือบสีขาว เน้นบริเวณประตูทางเข้าและบันได ขนาดใหญ่ตรงกลางบันไดหลักของห้องโถงราวบันไดเป็นเหล็กหล่อท�ำลวดลายคล้ายกับลายแบบอาร์ตนูโว นอกจากนั้นยังมีบันไดเวียนท�ำด้วยเหล็กหล่อทั้งโครงสร้าง ขั้นบันไดและลูกกรงเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพล ต่อเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมักจะท�ำด้วยไม้ แต่ขณะนั้นวัสดุก่อสร้างมีวิวัฒนาการมากขึ้น จึงหันมา ใช้เหล็กหล่อ ประตูกระจกเขียนลายกุหลาบ ห้องชั้นบนมีลักษณะการวางผังเหมือนกันทั้งซ้ายขวา

พระที่ นั่ ง อุ ด มวนาภรณ์ เป็ น ที่ ป ระทั บ ของ พระนางเจ้าสุวทั นาพระวรราชเทวี และพระสุจริตสุดาพระสนมเอก ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว สยามพระที่นั่ง

๕๙




พระราชวังสนามจันทร์

การสร้างพระราชวังสนามจันทร์มีมูลเหตุจูงใจมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์ องค์พระปฐมเจดีย์ซึ่ง ท�ำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราช หฤทัยเมืองนครปฐมเป็นอย่างยิง่ ทรงเห็นว่าเป็นเมืองทีเ่ หมาะสมส�ำหรับประทับพักผ่อน เนื่องจากมี ภูมปิ ระเทศทีง่ ดงามร่มเย็น นอกจากนี้ยงั ทรงมีพระราชด�ำริทลี่ กึ ซึง้ นัน่ ก็คอื ทรงเห็นว่านครปฐมเป็นเมืองทีม่ ชี ยั ภูมเิ หมาะส�ำหรับต้านทานข้าศึกซึง่ จะยกเข้ามาทาง น�้ำได้อย่างดี ด้วยทรงจดจ�ำเหตุการณ์เมื่อ ร.ศ.๑๑๒ ที่ฝรั่งเศสน�ำเรือรบเข้ามาปิดปาก อ่าวไทยได้ และไม่ตอ้ งการทีจ่ ะให้ประเทศไทยตกอยูใ่ นสภาพดังกล่าวจึงตัง้ พระทัยทีจ่ ะ สร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้ส�ำหรับเป็นเมืองหลวงที่สองหากประเทศชาติประสบ ปัญหาวิกฤติ พระราชวังสนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวางประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่ กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบและมีคูน�้ำล้อมอยู่ชั้นนอก

๖๒

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งในพระราชวังสนามจันทร์ ๑. พระที่นั่งพิมานปฐม สยามพระที่นั่ง

๒. พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี

๓. พระที่นั่งวัชรีรมยา

๔. พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ๖๓


พระที่นั่งพิมานปฐม พระทีน่ งั่ พิมานปฐม เป็นพระทีน่ งั่ องค์แรกทีส่ ร้างขึน้ เมือ่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชัน้ แบบตะวันตก แต่ดัดแปลงให้เหมาะกับเมืองร้อน ช่องระบายลมและระเบียงลูกกรงโดยรอบฉลุฉลักเป็นลวดลายตามแบบไทยอย่างประณีต งดงาม พระที่นั่งชั้นบนประกอบด้วยห้องต่างๆซึ่งยังมีป้ายชื่อปรากฏอยู่จวบจนปัจจุบัน คือห้องบรรทม,ห้องสรง ,ห้อง บรรณาคมห้องภูษา, ห้องเสวย และห้องพระเจ้า ซึ่งเป็นหอพระ มีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอยู่องค์หนึ่งและยังมีภาพเขียน จิตรกรรมฝาผนังฝีมือ พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) ซึ่งงดงามมาก

พระทีน่ งั่ พิมานปฐมองค์นี้ใช้เป็นทีป่ ระทับของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ก่อน เสด็จขึ้นเถลิงถวัลราชสมบัติจนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๘) ที่เสด็จออกขุนนาง, ที่รับรองพระราช อาคัน ตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯมากกว่า พระที่นั่งและพระต�ำหนักองค์อื่นๆ

๖๔

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี ตั้งอยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งพิมานปฐม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้นแบบตะวันตก ประดับลวดลายไม้ฉลุ เหมือนกับพระทีน่ งั่ พิมานปฐมโดยมีทางเชือ่ มกับพระทีน่ งั่ พิมานปฐม ในอดีตใช้เป็นที่ประทับเจ้านายฝ่ายในในสมัยนั้น ชั้นล่างพระที่นั่งได้ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี

พระทีน่ งั่ อภิรมย์ฤดี ปัจจุบนั ชัน้ บนได้ถกู น�ำมา จัดแสดงห้องพระบรรทม, ห้องทรงงานเพื่อให้เข้า กับบรรยากาศในสมัยก่อน

สยามพระที่นั่ง

๖๕


พระที่นั่งวัชรีรมยา พระทีน่ งั่ วัชรีรมยาเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชัน้ สร้างขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระที่นั่งองค์นี้มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย แท้วจิ ติ รงดงามตระการตาหลังคามุงด้วยกระเบือ้ งเคลือบเป็นหลังคา ๒ ชั้นเหมือนกับหลังคาในพระบรมมหาราชวังมีช่อฟ้า ใบระกา หาง หงส์ นาคสะดุง้ คันทวยมีมขุ เด็จด้านทิศใต้หน้าบันมุขเด็ดแกะสลักเป็น เข็มวชิราวุธอยู่ภายใต้วงรัศมีมีกรอบล้อมรอบพร้อมด้วยลายกนก ลงรั ก ปิ ด ทองหน้ า พระที่ นั่ ง มี ช านชาลาทอดยาวออกมาจรดกั บ พระที่นั่งพิมานปฐมด้วย พระทวารของบัญชรทั้ง ๒ ชั้นของพระที่นั่ง องค์น้ี มีลักษณะคล้ายกับเรือนแก้วเป็น บันแถลงเสียบไว้ด้วยยอด วชิราวุธภายในมีเลข ๖ อยู่ในลายพิจิตรเลขาเป็นมหามงกุฎมีลาย กนกลงรักปิดทองล้อมรอบบนพื้นที่ประดับตกแต่งไปด้วยกระจก สีน�้ำเงินพื้นเพดานชั้นบนของพระที่นั่งองค์นี้ทาด้วยสีแดงสดเข้มมีด อกดวงประดับประดาละเอียดอ่อนท�ำด้วยไม้แกะสลักปิดทองส่วนชั้น ล่างนอกจากจะทาสีแดงและปิดทองแล้วนั้นชั้นล่างมีความแตกต่าง กันตรงที่ลายฉลุนั้นเป็นดาวประดับพระที่นั่งองค์นี้ ในปีพ.ศ. ๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรงซ้อมเสือป่าที่ บ้านโป่ง โพธาราม เมืองราชบุรี และพระองค์เสด็จกลับมาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้เป็นเวลา ๑ คืนก่อนจะเสด็จไปประทับ ณ สวนนันทอุทยาน ๑ เดือนและกลับมาที่พระราชวังสนามจันทร์และกลับมา ณ พระที่นั่งองค์นี้เป็นเวลา ๑ สัปดาห์ก่อนกลับพระบรมมหาราชวัง

๖๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ใช้เป็น ที่ประทับเป็น ครั้งคราวหลังจากเสด็จมา ประทับทีพ่ ระทีน่ งั่ แห่งนี้โดยมากจะใช้เป็นห้องทรง พระอักษรส่วนพระองค์

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พระทีน่ งั่ สามัคคีมขุ มาตย์ เป็นพระทีน่ งั่ ทีม่ สี ว่ นเชือ่ มต่อกับใกล้เคียงกับพระทีน่ งั่ วัชรีรมยาหน้าบันพระทีน่ งั่ สามัคคีมขุ มาตย์ อยู่ทางทิศเหนือเป็นรูปหลักท้าวอมรินทราธิราชประทานพรประทับอยู่ในปราสาทสามยอด พระหัตถ์ขวาทรงวชิระ พระหัตถ์ ซ้ายทรงประทานพรแวดล้อมด้วยบริวารซึ่งประกอบด้วยเทวดาและมนุษย์ ๕ หมู่ ท้องพระโรงยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ ๑ เมตรมีอัฒจันทร์ ๒ ข้างต่อกับพระที่นั่งวัชรีรมยามีพระทวารเปิดถึงกัน ๒ ข้างซุ้มพระทวารทั้ง ๒ และซุ้มพระบัญชรใกล้ๆ พระทวารทัง้ ๒ ข้างแกะสลักเป็นรูปกีรติมขุ ลงรักปิดทองภายในพระทีน่ งั่ โดยรอบมีเสานางจรัลแบ่งเขตท้องพระโรงกับเฉลียง ส่วนที่เป็นเฉลียงลดต�่ำลงมา ๒๐ เซนติเมตรเสานางจรัลมีลักษณะเป็นเสาทรง8 ๘ หลี่ยมเช่นเดียวกับพระที่นั่งวัชรีรมยาท�ำ เป็นลายกลีบบัวจงกลโดยรอบเสาตลอดทั้งต้นเพดานพระที่นั่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเพดานชั้นล่างพระที่นั่งวัชรีรมยาเพดาน สีแดงเข้มปิดทองฉลุ เป็นลายดาวประดับ มีโคมขวดห้อยอย่างงดงาม

พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์องค์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงใช้เป็นสถานทีจ่ ดั งานหลายอย่าง เช่น งานสโมสรสันนิบาต เสด็จฯ ออกพบปะขุนนาง เป็นสถานทีฝ่ กึ อบรมกองเสือป่า และใช้ เ ป็ น ที่ แ สดงโขนละครต่ า งๆ เนื่ อ งจาก พระที่นั่งองค์นี้ กว้างขวางและสามารถจุคนเป็น จ�ำนวนมาก ปัจจุบันยังใช้เป็นที่ประชุมและจัดงาน ทางราชการมที่ส�ำคัญ

สยามพระที่นั่ง

๖๗




พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยูห่ วั จัดเป็นพระราชวังทีม่ คี วามเรียบง่ายทีส่ ดุ ซึง่ สร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพือ่ ไม่ให้เป็นการเปลือง พระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ เป็น เวลา ๓ เดือน และครั้งที่สองในปีเดียวกัน หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก ๕ เดือนต่อมาพระองค์ทรง เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ (ไทยผสม ยุโรป) สร้างด้วยไม้สกั ทองทัง้ หลัง ลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชัน้ เปิดโล่งใต้ถนุ สูงบริเวณใต้ถนุ ท�ำเป็นคอนกรีตหลังคาเป็นหลังคา ทรงปัน้ หยามุงด้วยกระเบือ้ งว่าวแบบสีเ่ หลีย่ มซึง่ สามารถกันแดดและกันฝนได้ดกี ว่าแบบธรรมดาเพดานยกพืน้ สูงมีบานเกร็ด ระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด ๑,๐๘๐ ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบ ขึ้นไปรางน�้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม ใต้ถุนที่โปร่งโล่ง เปิดรับลมทะเลที่ พัด เข้าสู่หมู่พระที่นั่งให้ความเย็นสบายหลังคาทรงปั้นหยาซึ่ง กันแดดและฝนได้ดี กระเบื้องมุงหลังคาท�ำด้วยซีเมนต์เคลือบ สีแดง แนวระเบียงเชื่อมองค์พระที่นั่งทั้งสามอย่างฝรั่ง ที่เรียกว่า คัฟเวอร์เวย์ (Cover Way) ให้ความสะดวกสบายและ ปลอดภัยในการสัญจรไปมา พื้นระเบียงและพระที่นั่งท�ำด้วยไม้สักลงเงาดูโอ่อ่าสวยงาม พระที่นั่งทั้ง ๓ องค์มีความยาวทั้ง สิน้ ๓๙๙ เมตรแบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ ท้องพระโรง เขตทีป่ ระทับฝ่ายหน้า และเขตทีป่ ระทับฝ่ายในโดยมีทางเชือ่ มต่อกันโดยตลอด

๗๐

สยามพระที่นั่ง


พระทีน ่ งั่ ในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ๑. พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ ๒. พระที่นั่งพิศาลสาคร ๓. พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่หนึ่ง ๔. พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่สอง สยามพระที่นั่ง

๗๑


พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระทีน่ งั่ สโมสรเสวกามาตย์เป็นพระทีน่ งั่ องค์แรกตัง้ อยูท่ างทิศเหนือเป็นพระทีน่ งั่ ๒ ชัน้ รูปสีเ่ หลีย่ ม ผืนผ้าเปิดถึงกันทัง้ ชัน้ บนและชัน้ ล่างด้านบนเพดานเป็นช่องสีเ่ หลีย่ มเขียนลวดลายโดยทัง้ ชัน้ ล่างและชัน้ บน มีหอ้ งควบคุมไฟส�ำหรับเวทีทใี่ ช้แสดงละครและมีหอ้ งพักนักแสดงภายในมีบนั ไดส�ำหรับนักแสดงขึน้ ลง โดย การแสดงจะจัดขึ้นบริเวณทิศเหนื อซึ่งเป็นเวทีซึ่งยกพื้น สูงโดยเจ้านายฝ่ายในจะประทับที่เฉลียงชั้นบน อัฒจันทร์ทอี่ ยูต่ รงทางเข้านัน้ เป็นทางเสด็จพระราชด�ำเนินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยูห่ วั โดย ทางขึ้นและทางลงแยกกันคนละทางโดยบนอัฒจันทร์มีลาดพระบาท ( พรม ) ส�ำหรับเป็นทางเสด็จชั้นบน

พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตยเป็นท้องพระโรง ส�ำหรับเสด็จออกว่าราชการพระราชอาคัน ตุกะ และเป็นโรงละคร ประกอบพระราชพิธีต่างๆ โดย ภายในห้องพระราชพิธเี ป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

๗๒

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งพิศาลสาคร พระที่นั่งพิศาลสาครประกอบด้วยห้องรับแขก ห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ห้องสรง และเฉลียงที่รับลม ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ใน คราวทีพ่ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนิน มายังพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระทีน่ งั่ พิศาลสาครให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี เพือ่ ใช้เป็นทีป่ ระทับและทีพ่ กั ของข้าราชบริพารฝ่ายใน โดยพระทีน่ งั่ องค์นี้มที างเชือ่ มกับศาลาลงสรงฝ่ายในภายในประกอบ ด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงส�ำหรับรับลมทะเลโดย ถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน�้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้

สยามพระที่นั่ง

พระที่ นั่ ง พิ ศ าลสาครเป็ น ที่ ป ระทั บ ของ สมเด็จพระนางเจ้าอิน ทรศักดิศจีพระวรชายา และที่พ�ำนักของพระสุจริตสุดา พระสนมเอก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๗๓


หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมาน

หมูพ่ ระทีน่ งั่ สมุทรพิมาน ประกอบด้วย ๒ พระทีน่ งั่ คือ ๑.พระทีน่ งั่ สมุทรพิมาน องค์ที่หนึ่ง ๒.พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่สอง ซึ่งพระที่นั่งหมู่นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ทรง งาน, ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระวรราชเทวีที่พักของ ข้าราชบริพาร

พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่หนึ่ง พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่หนึ่ง เดิมเป็นที่ประทับของพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยูห่ วั ต่อมาโปรดเกล้าให้เป็นทีป่ ระทับของ พระนางเจ้าสุวัฒนา พระวรราชเทวี

๗๔

สยามพระที่นั่ง


พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่สอง พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่สองเป็นส่วนที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยูห่ วั ภายในประกอบด้วยห้องพระบรรทม ห้องทรงงาน, ห้องสรง, ห้องแต่งพระองค์ อาคารด้านตรงข้ามกับ พระที่นั่งสมุทรพิมาน คือหอเสวยฝ่ายหน้าเป็นสถานที่ส�ำหรับเสวย พระกระยาหารและจัดงานพระราชทานเลี้ยง สยามพระที่นั่ง

๗๕


ปัจฉิมบท พระราชวังในบทนี้นั้นเป็นพระราชวังที่มีการเปลี่ยนแปลงจากบทบาทเดิมที่เคยใช้ เช่น ได้ถูกเปลี่ยนจากพระราชวังที่ ถูกใช้งานเป็นทีป่ ระทับหรือทีท่ รงงานของพระเจ้าแผ่นดิน กลายเป็นอาคารรัฐสภา, ถูกเปลีย่ นเป็นห้างสรรพสินค้า, ถูกเปลีย่ น เป็นพิพิธภัรฑ์แทน ซึ่งเมื่อถูกเปลี่ยนแล้วแต่ความส�ำคัญของพระราชวังนั้นๆก็มิได้ลดน้อยลงแต่อย่างไร แต่หากถูกเรียกหรือ เปลี่ยนไปตามสภาพกาลเวลา

พระราชวังบวรสถานพิมุข ( วังหลัง) พระราชวังบวรสถานพิมุข หรือวังหลัง คือวังของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ซึ่งทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขในรัชกาลที่ ๑ สร้างขึน้ ทีต่ �ำบลสวนลิน้ จีต่ งั้ แต่ เมื่อครั้งยังด�ำรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ถือว่าเป็นพระราชนิเวศน์เดิมของ พระองค์ท่าน วังหลังนี้เป็นก�ำลังส�ำคัญที่จะป้องกันพระนครทางทิศตะวันตกฝ่ายเหนือจากการรุกรานของ ข้าศึก ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื้อสายกรมพระราชวังหลังไม่มีก�ำลังที่จะ ดูแลรักษาวังจึงได้ปล่อยให้ร้าง โดยที่รอบๆเป็นที่อยู่ของราชสกุลเสนีวงศ์หรือปาลกะวงศ์ ซึ่งเป็นเชื้อสาย ของกรมพระราชวังหลังในปัจจุบนั ทีเ่ หลือกลายเป็นทีด่ นิ ราษฎรไป ปัจจุบนั เป็นพืน้ ทีข่ องโรงพยาบาลศิรริ าช

พระราชวังปทุมวัน สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2400 ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบใกล้กับวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แต่เดิม พื้น ที่นี้ เป็น นาหลวงเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ มีบัวหลวงมากมาย เมื่อสร้างพระราชวังพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังปทุมวัน” วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อเป็นที่ เสด็จประพาสและให้เป็นที่พักผ่อนของประชาชน โปรดเกล้าฯ ให้ขุดสระใหญ่ ๒ สระติดต่อกัน สระด้านทิศ เหนือเป็นทีเ่ สด็จประพาส สร้างพลับพลาทีป่ ระทับ มีพระทีน่ งั่ ๒ ชัน้ ส�ำหรับประทับแรม ทีร่ มิ สระด้านตะวัน ตกให้สร้างวัดประจ�ำพระราชวัง ชือ่ ว่าวัดปทุมวนาราม และให้อาราธนาพระสงฆ์ธรรมยุตกิ นิกายมาอยูต่ งั้ แต่ แรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระที่นั่งที่ประทับช�ำรุดทรุดโทรม และสระตื้นเขินหมด จึงได้พระราชทานให้เป็น โรงทหารและราชการอืน่ ๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระราชทานทีด่ นิ นี้แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑา ธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ซึ่งเสด็จกลับจากศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสร้างวังเป็นที่ประทับ เรียกว่า “วังเพ็ชรบูรณ์” ปัจจุบันพระราชวังปทุมวันถูกรื้อลงสร้างห้างสรรพสินค้าเวิลด์เทรดขึ้นมาแทน

๗๖

สยามพระที่นั่ง


พระราชวังสราญรมย์ พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง กับวัดราชประดิษฐ์ ทางทิศตะวัน ออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่ท�ำการ ของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ พระราชวังสราญรมย์ เป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดย เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ โดยมีเจ้าพระยา บุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพือ่ ใช้เป็นทีป่ ระทับ พระราชทานนามว่า “สราญรมย์” แต่เสด็จสวรรคตก่อนทีจ่ ะสร้างเสร็จ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นทีท่ �ำการของกระทรวง การต่างประเทศอีกครัง้ หนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภในพระบรมมหาราชวังช�ำรุดทรุดโทรมลงมาก เมือ่ อาคาร ดังกล่าวกลายเป็นที่ท�ำการส�ำนักงานกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็กลับเรียกชื่อว่า “วังสราญรมย์” อีกครั้งหนึ่งเนื่องจากมิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจ�ำ และได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ท�ำการถาวรของ กระทรวงการต่างประเทศสืบมา ซึ่งยังใช้เป็นที่ท�ำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้

พระรามราชนิเวศน์ ( พระราชวังบ้านปืน ) พระราชวังรามราชนิเวศน์ หรือพระราชวังบ้านปืน พระรามราชนิเวศน์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของ แม่น�้ำเพชรบุรีที่บ้านปืน อ�ำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี สร้างในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ให้สร้างพระราชวังแบบยุโรปเพื่อใช้ส�ำหรับแปรพระราชฐานใน ฤดูฝน สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว และพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเปลี่ยนนาม “พระราชวังบ้านปืน” โดยพระราชทานนามพระราชวังใหม่ว่า “พระรามราชนิเวศน์” ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ครั้นเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาฝ่ายทหารได้ใช้พระราชวังนี้เป็นที่ตั้ง กองบัญชาการทหาร ปัจจุบันโปรดเกล้าฯพระราชทานให้เป็นที่ตั้งของจังหวัดทหารบก เพชรบุรีและต่อมา ได้เป็นมณฑลทหารบกที่ ๑๕ และได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และศิลปะของจังหวัดเพชรบุรี

พระจุฑาธุชราชฐาน พระจุฑาธุชราชสถาน เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึน้ ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยเริ่มก่อสร้างอาคารที่พักต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ และใช้เป็น ที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ จนกระทั่งเกิด กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ( เหตุการณ์ รศ. ๑๑๒ ) ซึ่งมีกองทหารบุกขึ้นเกาะสีชังและปิดอ่าวไทย การก่อสร้างพระทีน่ งั่ และพระต�ำหนักต่างๆ จึงยุตลิ ง และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ โปรดให้รอื้ ถอนสิง่ ก่อสร้าง ต่างๆ น�ำไปสร้างทีอ่ นื่ แต่นนั้ มาเป็นอันเลิกพระราชวังทีเ่ กาะสีชงั จนกระทัง่ เมือ่ พ.ศ.๒๕๔๕ พระจุฑาธุชราชสถานได้อยู่ในความดูแลของส�ำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้จัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชสถาน” มาจนถึงปัจจุบัน

สยามพระที่นั่ง

๗๗





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.