Cover-biotec2557-OK copy.pdf
1
8/18/2558 BE
07:37
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ
รายงานประจำป 2557
C
M
Y
CM
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ
MY
CY
CMY
K
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 113 อุทยานวิทยาศาสตรประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5 www.biotec.or.th
รายงานประจำป
2557
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รายงานประจ�ำปี 2557 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ISBN : 978-616-12-0399-3 เอกสารเผยแพร่ พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2558 จ�ำนวนพิมพ์ 800 เล่ม สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่อนุญาตให้คัดลอก ท�ำซ�้ำ และดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น Copyright © 2015 by: National Center for Genetic Engineering and Biotechnology National Science and Technology Development Agency Ministry of Science and Technology 113 Thailand Science Park, Phahonyothin Road, Khlong Nueng, Khlong Luang, Pathum Thani 12120 Tel. 66 2564 6700 Fax. 66 2564 6701-5 จัดท�ำโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5 http://www.biotec.or.th
สารบัญ สารจากประธานกรรมการ สารจากผู้อ�ำนวยการ บทสรุปผู้บริหาร วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ ใช้ประโยชน์ ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัย ก้าวสู่ความเป็นสากล พัฒนาบุคลากรวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ ภาคพนวก
4 5 6 10 30 36 40 42 46 49
4
รายงานประจำ�ปี 2557
สารจากประธานกรรมการ
(รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน) ประธานคณะกรรมการบริหารไบโอเทค เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่าประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก ได้ ใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญหลักในการขับเคลือ่ น และพัฒนาประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยได้เห็นความจ�ำเป็นที่จะต้อง น�ำพาประเทศออกจากกับดักรายได้ประเทศปานกลางสู่ประเทศ ที่พัฒนาได้ดี จึงมีการตื่นตัวจากหลายภาคส่วนและมีแนวนโยบาย ของรัฐบาลที่เร่งผลักดัน กระตุ้นและสร้างกลไกต่างๆ ที่จะสนับสนุน และจูงใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสร้างและพัฒนาความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อใช้เป็นฐานในการ พัฒนาประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และเพื่อให้เศรษฐกิจและ สังคมมีความเข้มแข็งก้าวหน้า สามารถเทียบเคียงอารยประเทศได้
ต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ซึง่ เป็นโครงสร้างพืน้ ฐานส�ำหรับผลิต ยาชีววัตถุระดับอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยทีม่ หาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดตั้งขึ้น โรงงานต้นแบบ ผลิตยาชีววัตถุแห่งชาตินี้ มีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ อ�ำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากลการผลิตที่ดี มีกระบวนการด�ำเนินงานที่ ได้มาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี ในการผลิตยา เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยในการ ผลิตยาและวัคซีนใช้เอง ลดการน�ำเข้า ลดการพึ่งพายาชีววัตถุจาก ต่างประเทศ และท�ำให้สามารถเชื่อมโยงการวิจัยและทดลองในระดับ ห้องปฏิบัติการสู่การผลิตจริงในระดับอุตสาหกรรม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นับเป็นหน่วยงานที่ส�ำคัญหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งด�ำเนินการพัฒนา สนับสนุนและส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการ พัฒนาประเทศ โดยการด�ำเนินงานของไบโอเทค ในปี 2557 ทีผ่ า่ นมา มี ค วามก้ า วหน้ า ด้ า นวิ ท ยาการ สร้ า งความสามารถและความ เชี่ยวชาญของบุคลากรวิจัยอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ ไบโอเทคบรรลุตาม เป้าประสงค์ ในการเสริมสร้างความเป็นเลิศในการวิจัย ผลิตผลงาน วิจยั ทีม่ คี ณ ุ ภาพ และสามารถสร้างผลกระทบได้ ในวงกว้าง นอกจากนี้ นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ ไบโอเทคได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงงาน
ในนามของคณะกรรมการบริหารไบโอเทค ผมขอขอบคุณ คณะผู้บริหารและพนักงานไบโอเทค รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรของ ไบโอเทค ที่ร่วมกันขับเคลื่อนการวิจัยพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตผลงานคุณภาพที่สร้างประโยชน์และมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ผมเชือ่ มัน่ ว่าไบโอเทคจะเป็นส่วนหนึง่ ในการพัฒนา ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยใน การแข่งขันในตลาดโลกและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
รายงานประจำ�ปี 2557
สารจากผู้อ�ำนวยการ
(ดร. กัญญวิมว์ กีรติกร) ผู้อ�ำนวยการไบโอเทค ในปีงบประมาณ 2557 ที่ผ่านมา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ด�ำเนินงานและส่งเสริมการ วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของ ประเทศให้เกิดผลความเป็นเลิศทางวิชาการ (excellence) และเป็น ความต้องการของผู้ ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยทั้งในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคมและชุมชน (relevance) เพื่อให้เกิดผลกระทบ สู ง (impact) สอดคล้ อ งและเชื่ อ มโยงกั บ แผนกลยุ ท ธ์ ฉ บั บ ที่ 5 (ปีงบประมาณ 2555-2559) ของส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
น�้ำท่วมส�ำหรับด้านความร่วมมือในระดับภูมิภาคและนานาชาติ ไบโอเทคเป็นผูร้ เิ ริม่ การจัดตัง้ เครือข่ายการใช้ประโยชน์จากจุลนิ ทรีย์ แห่งอาเซียน (ASEAN Network on Microbial Utilization) เพือ่ ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างความสามารถด้านการวิจัยใช้ประโยชน์จาก จุลินทรีย์ ในประเทศกลุ่มอาเซียน และการได้รับการยอมรับในระดับ นานาชาติในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้าน ราวิทยาครัง้ ที่ 10 (The 10th International Mycological Congress: IMC10) รวมทัง้ มีการริเริม่ ด�ำเนินงานต่างๆ ส�ำหรับรองรับการก้าวสู่ กลุ่มอาเซียนและระดับสากล
ตัวอย่างผลงานส�ำคัญที่ไบโอเทคภาคภูมิใจคือ การร่วมมือ ของนักวิจยั ไบโอเทคและพันธมิตรทัง้ ในและต่างประเทศ ท�ำให้สามารถ พัฒนาเทคโนโลยีฐานในการสร้างไวรัสในห้องทดลองโดยไม่ต้อง อาศัยแบคทีเรียเจ้าบ้านที่เป็นประโยชน์ ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ป้องกันโรค ประสบความส�ำเร็จในการค้นพบวิธีการตรวจวินิจฉัย เชื้อก่อโรคสาเหตุของอาการ Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease: AHPND ซึ่ ง เป็ น สาเหตุ ห ลั ก ของกุ ้ ง ตายด่ ว น (Early Mortality Syndrome: EMS) ช่วยให้สามารถควบคุมและป้องกันการ แพร่กระจายของโรคกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการขยายผล การน�ำพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน�้ำท่วมฉับพลัน ไปให้แก่เกษตรกร จังหวัดพัทลุงซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ ได้รับความเสียหายเป็นประจ�ำจาก
ไบโอเทค ยึดมั่นและให้ความส�ำคัญต่อนโยบายการด�ำเนิน งานใน 3 เรื่องหลักมาอย่างต่อเนื่องได้แก่ มุ่งเน้นการด�ำเนินงานตาม ภารกิจของหน่วยงาน โดยค�ำนึงถึงประโยชน์ของสังคม ส่วนรวมและ ประเทศชาติเป็นหลัก มุ่งมั่นพัฒนาสร้างผลงานที่มีคุณภาพและเกิด ผลกระทบสูง และยึดมัน่ ในจริยธรรมการวิจยั โดยมีเป้าหมายโดยรวม เพือ่ น�ำความก้าวหน้าของวิทยาการด้านเทคโนโลยีชวี ภาพเพือ่ สร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์ตอ่ เศรษฐกิจ สังคมและชุมชน และให้เป็นส่วนหนึ่งในการน�ำความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพือ่ สร้างความมัน่ คงยัง่ ยืนในการพัฒนา ประเทศและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยต่อไป
5
6
รายงานประจำ�ปี 2557
บทสรุปผู้บริหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ด� ำ เนิ น งานตามพั น ธกิ จ หลั ก ที่ ส อดคล้ อ งและเชื่ อ มโยงกั บ แผน กลยุทธ์ฉบับที่ 5 (ปีงบประมาณ 2555-2559) ของส�ำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งสร้างเสริมการ วิจัยพัฒนาออกแบบและวิศวกรรมจนสามารถถ่ายทอดไปสู่การ ใช้ประโยชน์ พร้อมส่งเสริมด้านการพัฒนาก�ำลังคนและโครงสร้าง พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่จ�ำเป็นเพื่อสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จัดให้มีระบบ บริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงาน โดยไบโอเทคด�ำเนินงานวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีฐานด้านเทคโนโลยี ชีวภาพและการวิจัยพัฒนาที่ตอบสนองต่อคลัสเตอร์วิจัยมุ่งเป้า 4 คลัสเตอร์หลักของ สวทช. พัฒนาบุคลากรวิจัยสาขาเทคโนโลยี ชีวภาพให้กับประเทศ ผลักดันการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัย ไปใช้ ป ระโยชน์ แ ก่ ภ าคอุ ต สาหกรรมและภาคสาธารณะและสร้ า ง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแนวทาง การท�ำงานร่วมกับพันธมิตรวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อ เป้ า หมายของการใช้ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ใ นการพั ฒ นา ประเทศสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานความรู้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจาก ต่ า งประเทศ ลดความเหลื่ อ มล�้ ำ ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม ท� ำ ให้ เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยใน ปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคมีผลการด�ำเนินงานภายใต้แผนกลยุทธ์ สวทช. ดังนี้ วิ จั ย พั ฒ นาสร้ า งองค์ ค วามรู ้ สู ่ ค วามเป็ น เลิ ศ ไบโอเทค ดาํ เนินงานวิจยั และพัฒนาเพือ่ สร้างความเข้มแข็งสร้างความสามารถ ด้านเทคโนโลยีฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการวิจัยพัฒนาที่ ตอบสนองต่อคลัสเตอร์วิจัยมุ่งเป้า 4 คลัสเตอร์หลักของ สวทช. ได้แก่ คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร คลัสเตอร์สุขภาพและการแพทย์ คลัสเตอร์ทรัพยากร ชุมชนชนบทและผู้ด้อยโอกาส และคลัสเตอร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยองค์ความรู้จากการวิจัยได้รับการ ตีพมิ พ์บทความวิจยั ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำ� นวน 232 บทความ เป็นบทความตีพมิ พ์ในวารสารทีอ่ ยูใ่ นฐานข้อมูล Science Citation Index Expanded จ�ำนวน 215 บทความ ซึ่งเป็นวารสารที่ มีค่า impact factor มากกว่า 4 จ�ำนวน 25 บทความ ผลงานจาก การวิจยั ได้รบั คูม่ อื สิทธิบตั รจากประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ฉบับ ยืน่ จด สิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ 13 ค�ำขอ ได้รับอนุสิทธิบัตรจ�ำนวน 16 ฉบับ ยื่นจดอนุสิทธิบัตร 15 ค�ำขอ ยื่นจดความลับทางการค้า 1 ค�ำขอ และนักวิจัยไบโอเทคได้รับรางวัลทางวิชาการรวม 17 รางวัล เป็นรางวัลระดับชาติ 8 รางวัลและรางวัลระดับนานาชาติ 9 รางวัล
ตัวอย่างผลงานวิจัยและพัฒนาที่ส�ำคัญในปีงบประมาณ 2557 เช่น พัฒนาเทคโนโลยีการสร้างไวรัสจ�ำพวก positive-sense RNA ที่ มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างไวรัสจากดีเอ็นเอโดยไม่ต้องใช้เซลล์ แบคทีเรียเจ้าบ้านช่วยลดระยะเวลาในการสร้างไวรัสจากเดิม 24 สัปดาห์เหลือเพียง 2 สัปดาห์ จึงเป็นเทคโนโลยีฐานส�ำหรับการวิจัย และพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคชนิดต่างๆ ได้ต่อไป การพัฒนายาต้าน มาลาเรีย P218 มีความก้าวหน้าในขัน้ ตอนของการตรวจสอบความ ปลอดภัยทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษของสาร P218 ในระดับ พรีคลินิกด้วยห้องปฏิบัติการที่ ได้มาตรฐาน Good Laboratory Practice (GLP) และการพัฒนาเทคนิคพีซีอาร์ส�ำหรับการตรวจ วินิจฉัยแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio parahaemolyticus ซึ่งเป็นสาเหตุ ของโรคกุ้งตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ที่แสดง อาการของตับและตับอ่อนวายฉับพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease: AHPND) เป็นต้น พัฒนาโครงการพื้นฐานด้าน ว และ ท ที่ส�ำคัญของประเทศ ไบโอเทคร่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี จั ด ตั้ ง โรงงานต้ น แบบผลิ ต ยาชี ว วั ต ถุ แ ห่ ง ชาติ (National Biopharmaceutical Facility) เพือ่ ผลิตยาชีววัตถุระดับอุตสาหกรรม แห่งแรกของประเทศไทย มีความพร้อมและมีมาตรฐานสากลของ เครื่องมืออุปกรณ์และมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการ ผลิตยา ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ ใช้ประโยชน์ ไบโอเทคน�ำ ผลงานวิจัยและความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ ใช้เพื่อให้ เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการบริการ และน�ำไปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคสาธารณะ ในปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทค ถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ ใช้สทิ ธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญาจาก ผลงานวิจยั เพือ่ ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จำ� นวน 7 เรือ่ งให้แก่ 6 บริษทั / หน่วยงาน ด�ำเนินงานโครงการร่วมวิจยั รับจ้างวิจยั จากภาคเอกชน/ ภาครัฐรวม 58 โครงการ ให้บริการปรึกษาอุตสาหกรรมแก่บริษัท และหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ภาคอุตสาหกรรมและภาค การผลิต 7 โครงการ และส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่าง ไบโอเทคและภาคอุตสาหกรรมเพือ่ ให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยจัดการประชุมแลกเปลีย่ นความเห็นและการเยีย่ มชมห้องปฏิบตั กิ าร ที่เกี่ยวข้องด้านชีวภัณฑ์กำ� จัดแมลงศัตรูพืชและเทคโนโลยีการตรวจ วินิจฉัยโรคพืชให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรจ�ำนวน 12 บริษัท นอกจากนี้มีการน�ำความรู้และผลงานวิจัยไปปรับใช้เชิง สาธารณประโยชน์ เช่น พัฒนาต้นแบบการปลูกข้าวอินทรีย์แบบ ครบวงจร ส่งเสริมการสร้างกลไกในการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน
รายงานประจำ�ปี 2557
ข้าวอินทรีย์ ในระดับกลุ่มและเครือข่าย การจัดกิจกรรมให้ความรู้ ฝึกอบรมด้านสุขลักษณะที่ดีในกระบวนการผลิตอาหารเพื่อการ ยกระดับคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารชุมชน เป็นต้น ทัง้ นี้ไบโอเทคประเมินผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการให้บริการต่างๆ ที่ไบโอเทคด�ำเนินการและร่วมด�ำเนินการกับ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจ�ำนวน 53 โครงการ พบว่า ในปีงบประมาณ 2557 ก่อให้เกิดผลกระทบรวม 2,489 ล้านบาท โดยเป็นผลกระทบด้านการลงทุน 74 ล้านบาท ด้านรายได้ที่เพิ่ม ขึ้น 1,860 ล้านบาท ด้านการลดต้นทุน 466 ล้านบาท และด้าน ลดการน�ำเข้า 89 ล้านบาท พัฒนาบุคลากรวิจยั ด้านเทคโนโลยีชวี ภาพ ไบโอเทคตระหนัก ถึงความส�ำคัญของบุคลากรวิจยั ทีจ่ ะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการผลักดัน การพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้มีความก้าวหน้า และ น�ำไปสู่การน�ำผลงานไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยให้ ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ การสร้ า งพั น ธมิ ต รวิ จั ย ด้ ว ยการเรี ย นรู ้ และการแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยระหว่างหน่วยงานภายในประเทศ ในปี ง บประมาณ 2557 จึ ง ริ เ ริ่ ม โครงการสร้ า งนั ก วิ จั ย รุ ่ น ใหม่ ที่มีความรู้ความช�ำนาญในการประยุกต์ ใช้ โมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอในการคัดเลือก (marker assisted selection) ร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (conventional breeding) ให้ กั บ นั ก ปรั บ ปรุ ง พั น ธุ ์ ข องกรมการข้ า ว และไบโอเทคได้ ร ่ ว มเป็ น เจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานานาชาติ The 10th International Mycological Congress: IMC10 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้ า วหน้ า ทางวิ ช าการและสร้ า งความร่ ว มมื อ วิ จั ย ระหว่ า ง นักวิจัยระดับนานาชาติ ก้าวสู่ความเป็นสากล ไบโอเทคให้ความส�ำคัญกับการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศเพื่อผลักดันให้เป็น ที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในเวทีโลก โดยสร้างพันธมิตรวิจัยด้วยการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความ รู้เทคโนโลยีและบุคลากรวิจัย ในปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคได้ ลงนามสั ญ ญาความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการกั บ สถาบั น วิ จั ย และ สถาบันการศึกษาต่างประเทศจ�ำนวน 13 หน่วยงานใน 7 ประเทศ ไบโอเทคริเริ่มการจัดตั้งเครือข่ายการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์แห่ง อาเซียน (ASEAN Network on Microbial Utilization) เพื่อส่งเสริม และสนั บ สนุ น การสร้ า งความสามารถด้ า นการวิ จั ย ใช้ ป ระโยชน์ จากจุลินทรีย์ ในประเทศกลุ่มอาเซียนซึ่งจัดการประชุมขึ้นครั้งแรก ที่กรุงเทพฯ
ศึ ก ษาวิ จั ย เชิ ง นโยบายเทคโนโลยี ชี ว ภาพ เพื่ อ เป็ น ข้ อ มู ล ประกอบการก�ำหนดทิศทางนโยบายในการด�ำเนินงานกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และเพื่อก�ำหนดนโยบายในระดับประเทศ ในปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคได้ จั ด ท� ำ รายงานส� ำ รวจความคิ ด เห็ น ต่ อ การพั ฒ นา มะละกอดัดแปลงพันธุกรรม แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทาง ชีวภาพส�ำหรับการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุม เพื่อใช้ ในระดับโรงงานต้นแบบและอุตสาหกรรมฉบับภาษาอังกฤษ จัดท�ำหนังสือ “พืชจีเอ็ม: มุมมองกระแสโลก” โดยรวบรวมข้อมูล สถานภาพพืชดัดแปลงพันธุกรรมทัง้ ด้านการวิจยั และการปลูกพืชเชิง พาณิชย์ของประเทศต่างๆ นอกจากนี้ไบโอเทคยังร่วมกับส�ำนักงาน คณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (วช.) ด�ำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความ สามารถคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee; IBC) เป็นปีที่ 4 โดยจัดอบรม หลักสูตรเร่งรัด (intensive course) เพื่อเร่งสร้างและพัฒนาความ เข้มแข็งของวิทยากรรุ่นใหม่ในระดับภูมิภาค ยกระดับกลไกควบคุม ความปลอดภัยทางชีวภาพงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือพันธุวิศวกรรมของประเทศให้เข้าสู่มาตรฐานสากล การใช้จา่ ยและรายได้จากการด�ำเนินงาน ไบโอเทคมีการใช้จา่ ย ทั้งสิ้น 733 ล้านบาท โดยจ�ำแนกค่าใช้จ่ายตามพันธกิจหลักในการ ด�ำเนินงานได้เป็น ด้านการวิจัยและพัฒนา 483.77 ล้านบาท (66%) ด้านการพัฒนาก�ำลังคน 39.53 ล้านบาท (5%) ด้านการถ่ายทอด เทคโนโลยี 21.22 ล้านบาท (3%) ด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน 69.04 ล้านบาท (9%) และการบริหารจัดการภายใน 119.44 ล้านบาท (16%) นอกจาก งบประมาณประจ�ำปีที่ไบโอเทคได้รับการจัดสรรจาก สวทช. โดยตรง แล้ว ไบโอเทคมีรายได้ที่ได้รบั จากการสนับสนุนของหน่วยงานวิจยั ทัง้ ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศรวม 119.19 ล้านบาท เป็น รายได้จากการได้รับทุนอุดหนุนวิจัย การร่วมวิจัยและรับจ้างวิจัย 78.39 ล้านบาท และรายได้จากการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ การจัด ประชุมสัมมนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอืน่ ๆ รวม 40.80 ล้านบาท ด้านบุคลากร ไบโอเทคมีบุคลากรรวม 568 คน แบ่งเป็น วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก 173 คน (30%) ปริญญาโท 213 คน (38%) ปริญญาตรี 156 คน (27%) และต�่ำกว่าปริญญาตรี 26 คน (5%) และแบ่งตามกลุม่ งานเป็นกลุม่ บริหารระดับสูงและบริหาร จัดการ 23 คน (4%) กลุ่มวิจัยและวิชาการ 471 คน (83%) และ กลุ่มสนับสนุน 74 คน (13%)
7
8
รายงานประจำ�ปี 2557
ข้อมูลเชิงปริมาณ/สถิติที่ส�ำคัญ ผลการใช จ าย 733 ล านบาท
บุคลากร 568 คน
26
(5%)
156 (27%) 173 (30%)
A A A A
A ปริญญาเอก A ปริญญาโท
5%
6% 9% 13%
A ปริญญาตรี A ต่ำกวาปริญญาตรี
การประเมินผลกระทบ 53 โครงการ ผลกระทบรวม 2,489 ล านบาท
89
ดานการลงทุน
74
ลานบาท
ดานรายไดที่เพิ่มขึ้น
1,860 ลานบาท 466 ลานบาท
12% 1% 20% 119.19 ลานบาท 2%
45%
2,489 ลานบาท
A A A A A A
เงินอุดหนุน รับจาง/รวมวิจัย ลิขสิทธิ/สิทธิประโยชน บริการเทคนิค/วิชาการ ฝกอบรม/สัมมนา คาเชา/บริการสถานที่
54.17 24.22 2.13 23.30 14.17 1.20
ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท ลานบาท
20%
ดานการลดตนทุน
ผลงานและรางวัล ผลงานตีพิมพในวารสารระดับ นานาชาติ 232 บทความ
ผลกระทบรวม
8% 2%
เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย พลังงานและสิ่งแวดลอม ทรัพยากร ชุมชนชนบท และผูดวยโอกาส A Cross-cutting Technology A เทคโนโลยีฐาน A บริหารจัดการวิจยั
A A A A
รายได จากหน วยงานแหล งทุนภายนอก 119.19 ล านบาท
ดานลดการนำเขา ลานบาท
28%
16%
213 (38%)
การวิจัยและพัฒนา
3% 10%
โครงสรางพื้นฐาน ถายทอดเทคโนโลยี พัฒนากำลังคน บริหารจัดการภายใน
รางวัลทางวิชาการ 17 รางวัล (ระดับนานาชาติ 9 รางวัล ระดับชาติ 8 รางวัล)
1 13 16 15 1
ไดรับสิทธิบัตรในตางประเทศ ยื่นจดสิทธิบัตรทั้งในและตางปรเทศ ไดรับอนุสิทธิบัตร ยื่นจดอนุสิทธิบัตร ยื่นจดความลับทางการคา
รายงานประจำ�ปี 2557
เป้าหมายไบโอเทค
วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศให้เกิดผลทั้งในเชิงความเป็นเลิศทางวิชาการ (excellence) และเป็นความต้องการของผู้ ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยทั้งในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคมและชุมชน (relevance) เพื่อให้เกิด ผลกระทบสูง (impact)
แนวทางการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญ AA การท�ำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร โดยเน้นการใช้ทรัพยากร ร่วมในการเอือ้ ประโยชน์รว่ มกัน เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพและสร้าง ผลงานได้อย่างรวดเร็ว AA การพัฒนาบุคลากรวิจยั การเสริมสร้างอาชีพนักวิจยั ด้วยกลไก การมีนกั วิจยั พีเ่ ลีย้ ง เสริมสร้างกลุม่ วิจยั ทีเ่ ข้มแข็ง และส่งเสริมให้ เกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัย ซึ่งจะน�ำไปสู่การพัฒนาความ ร่วมมือในการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ AA มี ร ะบบการประเมิ น คุ ณ ภาพของการวิ จั ย และพั ฒ นา ทั้ ง ใน ระดับโครงการ ระดับหน่วยปฏิบัติการวิจัย และระดับองค์กร โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก
โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ หรือการขยายผล เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศได้จริง โดยเน้นการเชื่อมโยงให้มีการส่งต่องานวิจัยไปสู่ ผู้ ใช้ ได้จริง จ�ำนวน 4 หน่วยงาน AA ศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ณ อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี AA หน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี AA โรงงานต้นแบบผลิตไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี AA โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนม ณ สถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และศูนย์วิจัยและบ�ำรุงพันธุ์สัตว์ล�ำพญากลาง จังหวัดลพบุรี * โครงสร้างการด�ำเนินงานปีงบประมาณ 2557
โครงสร้างพื้นฐานการวิจัยและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัย และพัฒนา ประกอบด้วย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง ณ อุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ�ำนวน 5 หน่วยวิจัย AA AA AA AA AA
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ สถาบันจีโนม หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์
หน่วยปฏิบตั กิ ารวิจยั ทีเ่ ป็นความร่วมมือระหว่างไบโอเทค กับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐ ตั้งอยู่ในสถาบัน การศึกษาและหน่วยงานของรัฐ จ�ำนวน 5 หน่วยวิจัย AA หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงาน ต้นแบบ AA หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว AA หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันส�ำปะหลังและแป้ง AA หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ AA หน่ ว ยปฏิ บั ติ ก ารวิ จั ย ร่ ว มทางธรรมชาติ วิ ท ยาป่ า พรุ แ ละ ป่าดิบชื้น ฮาลา-บาลา
ศูนย์วจิ ยั เพือ่ ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย ที่ ไบโอเทค ร่วมมือหรือสนับสนุนการจัดตัง้ จ�ำนวน 5 หน่วยวิจยั AA ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จาก ของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร AA ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ AA หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง AA ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล AA ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง
9
10
รายงานประจำ�ปี 2557
วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศ ไบโอเทคมีเป้าหมายการวิจยั และพัฒนาเพือ่ สร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีฐาน และการน�ำเทคโนโลยีชวี ภาพไปประยุกต์ใช้เพือ่ พัฒนาและแก้ปญ ั หาด้านการเกษตร ด้านการแพทย์ ด้านสิง่ แวดล้อม และด้านอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการด�ำเนินงาน วิจัยของนักวิจัยไบโอเทคและการร่วมมือกับหน่วยงาน สถาบันต่างๆ ทั้งในและ ต่างประเทศ
รายงานประจำ�ปี 2557
ด้านการเกษตรและอาหาร ด�ำเนินการวิจยั และพัฒนาเพือ่ สร้างขีดความสามารถด้วย การเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต ผลิตสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพและ มีความปลอดภัย น�ำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
งานวิจัยด้านกุ้งกุลาด�ำ มีเป้าหมายในการศึกษากลไกการเกิดโรคและระบบภูมิคุ้มกัน ของกุ้ง เช่น โรคตัวแดงดวงขาว โรคหัวเหลือง โรคตายด่วน เพื่อหา แนวทางในการหาวิธคี วบคุมและลดการสูญเสียของผลผลิตจากการ ระบาดของโรค การพัฒนาสารเสริมหรือสารกระตุน้ ระบบภูมคิ มุ้ กันที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินจิ ฉัย โรคกุ้งให้มีความแม่นย�ำ รวดเร็ว ราคาถูก การศึกษาวิจัยการเจริญ เติบโตและระบบสืบพันธุก์ งุ้ เพือ่ กระตุน้ การวางไข่ของแม่กงุ้ โดยไม่ตอ้ ง ตัดก้านตา ศึกษาหน้าทีข่ องยีนส�ำคัญเพือ่ ใช้เป็นโมเลกุลเครือ่ งหมาย ในการคัดเลือกพันธุก์ งุ้ กุลาด�ำ เพือ่ พัฒนาพ่อแม่พนั ธุก์ งุ้ กุลาด�ำจาก การเพาะเลี้ยง AA ศึ ก ษาความหลากหลายของเชื้ อ แบคที เ รี ย Vibrio
parahaemolyticus จากฟาร์มกุ้งที่มีการระบาดของเชื้อ ที่ก่อให้เกิดอาการของตับและตับอ่อนวายฉับพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease: AHPND) ซึ่งเป็น สาเหตุหลักของกุ้งตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) พบเชื้อจ�ำนวน 4 ไอโซเลท ในกุ้งป่วย โดยเปรียบเทียบ ล�ำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนโดยใช้ Blast analysis ตรวจหา Lecithin-dependent hemolysis gene ซึ่งจ�ำเพาะเจาะจง กับ V. parahaemolyticus และทดสอบความสามารถใน การก่อโรค โดยการเทอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีเชื้ออยู่ด้วยลงไปใน บ่อเลี้ยงกุ้งปกติ พบว่าสามารถท�ำให้กุ้งตายอย่างรวดเร็ว และกุ้งที่ตายมีลักษณะทางพยาธิสภาพของ AHPND การ
ทดลองกับไอโซเลท 5HP พบว่าอัตราการตายของกุ้งขึ้นอยู่ กับจ�ำนวนของแบคทีเรียที่ใส่เข้าไปในบ่อกุ้ง การทดลองกับ ไอโซเลท 2HP พบว่าท�ำให้กุ้งตายเหมือนกัน แต่กุ้งไม่มีพยาธิ สภาพแบบ AHPND จากผลการทดลองบ่งชี้ถึงการมี V. parahaemolyticus มากกว่าหนึ่งไอโซเลทในบ่อกุ้งป่วย และ ท�ำให้เข้าใจกลไกการก่อโรคและความรุนแรงของเชื้อ AA การสร้างและประยุกต์ ใช้แผนที่ปฏิสัมพันธ์ของโปรตีนทั้งหมด
ของไวรั ส ตั ว แดงดวงขาวโดยศึ ก ษาวิ จั ย แผนที่ ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ของโปรตี น ทั้ ง หมดของไวรั ส ตั ว แดงดวงขาวด้ ว ยเทคนิ ค ยีสต์ทไู ฮบริดและชีวสารสนเทศ สร้างโมเดลและศึกษาเครือข่าย โปรตีนดังกล่าว และใช้เทคนิค RNA interference เพื่อศึกษา ยีนของโปรตีนที่มีอันตรกิริยากับโปรตีนอื่นๆ ผลการวิจัย สามารถใช้ศกึ ษาการก่อโรคของเชือ้ ไวรัสในกุง้ และเป็นแนวทาง เพือ่ พัฒนาต่อยอดการก�ำจัดหรือยับยัง้ เชือ้ ไวรัสเพือ่ ลดความ สูญเสียจากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง AA ค้นพบ anti-apoptotic proteins จ�ำนวน 2 ชนิดจากไวรัสตัว
แดงดวงขาวที่สามารถจับกับ effector caspase (PmCasp) ของกุ้งกุลาด�ำ และพบความหลากหลายของโปรตีนจากไวรัส ตัวแดงดวงขาวที่ท�ำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ caspase ท�ำให้เข้าใจ การตอบสนองต่อไวรัสของกุ้งในกลไกการตายของเซลล์ซึ่ง สามารถน�ำไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ในการควบคุมโรค AA การยับยั้งการแสดงของ G-protein pathway suppressor 2
(GPS2) ท�ำให้กงุ้ ตายเนือ่ งจากการลอกคราบไม่ออก (exuvial entrapment) ในกระบวนการลอกคราบ โดยศึกษา GPS2 ชนิดใหม่จากเซลล์เม็ดเลือดของกุ้งขาว พบว่ากุ้งที่ถูกยับยั้ง การแสดงออกของยีน GPS2 มีอัตราการตายสูงเนื่องจากกุ้ง ไม่สามารถลอกคราบได้ส�ำเร็จ และได้ศึกษากลไกควบคุมการ ลอกคราบของกุ้งโดยยีน GPS2 และความสัมพันธ์เกี่ยวกับ ระบบโพรฟีนอลออกซิเดส
11
12
รายงานประจำ�ปี 2557
AA ศึกษาโปรตีน peptidoglycan recognition protein (PGRP)
ในกุ้งกุลาด�ำซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันใน ระบบโพรฟีนอลออกซิเดสในกลุ่มครัสเตเชียน และได้คัดเลือก โปรตีน PmQM และ PmLec มาศึกษาการจับอย่างจ�ำเพาะ กับ peptidoglycan พบว่าเซลล์เม็ดเลือดกุ้งสามารถจับกับ โปรตีน rPmQM หรือ rPmLec ที่ coated บน agarose beads และ encapsulate เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการ melanization ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในกุ้ง องค์ความรู้ที่ได้เป็นการ รายงานครั้งแรกของการใช้ PmQM เป็น peptidoglycan recognition protein ส�ำหรับกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งหรือ กลุ่มสัตว์ครัสเตเชียนอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันเชื้อ ก่อโรคในกุ้งได้ AA ศึกษาเปรียบเทียบชนิดของแบคทีเรียในล�ำไส้ของกุ้งกุลาด�ำ
ที่เลี้ยงในธรรมชาติกับบ่อเพาะเลี้ยง แบคทีเรียที่พบคล้าย กันทั้งที่เลี้ยงในธรรมชาติกับบ่อเพาะเลี้ยง และจ�ำแนกอยู่ใน 3 ไฟลัมคือ Proteobacteria (Vibrio, Photobacterium, Novosphingobium, Pseudomonas, Sphingomonas and Undibacterium), Firmicutes (Fusibacter) และ Bacteroidetes (Cloacibacterium) การพบชนิดของแบคทีเรีย ที่คล้ายคลึงกันในล�ำไส้กุ้งกุลาด�ำที่เลี้ยงในสถานที่ต่างกัน แสดงได้ว่าแบคทีเรียบางกลุ่มได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์แบบ selective pressure ภายใต้สภาวะในล�ำไส้ของกุ้งกุลาด�ำ และ แบคทีเรียบางกลุม่ ในล�ำไส้อาจมีการเปลีย่ นไปตามสิง่ แวดล้อม ซึง่ องค์ความรูน้ จี้ ะน�ำไปสูก่ ารพัฒนาสารอาหารเสริมทีส่ ำ� คัญ ต่อการเพาะเลี้ยงกุ้ง AA การวิ เ คราะห์ ส นิ ป ในยี น เป็ น วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ส�ำหรับค้นหายีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่มีความส�ำคัญทาง เศรษฐกิจของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะการโตเร็ว การเจริญ พันธุ์ ค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลที่แสดงความสัมพันธ์กับ ฟีโนไทป์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ เช่น gonadosomatic index (GSI) และน�ำ้ หนักรังไข่ เพือ่ น�ำไปใช้ ในระบบการเพาะเลีย้ ง และโปรแกรมการคัดเลือกเพือ่ การผสมพันธุข์ องกุง้ กุลาด�ำ โดย พบว่ายีน vitellogenin receptor (PmVtgr) มีการแสดงออก เฉพาะในรังไข่แต่ไม่พบในเนื้อเยื่ออื่นๆ ของแม่พันธุ์กุ้ง และพบ การแสดงออกในรังไข่กุ้งวัยอ่อนต�่ำกว่าในรังไข่กุ้งแม่พันธุ์ และในแม่พันธุ์กุ้งที่ไม่มีการตัดตา PmVtgr มีการแสดงออก สูงในรังไข่ระยะที่ 4 (mature) เมื่อเปรียบเทียบกับระยะที่ 1 (previtellogenic) แต่ในกุ้งที่มีการตัดตาไม่พบความแตกต่าง
เนื้อเยื่อปกติ (ซ้าย) เนื้อเยื่อที่ถูก AHPND ท�ำลาย (ขวา)
ความส�ำเร็จในการพัฒนาวิธีการตรวจแบคทีเรียสาเหตุหลัก ของกุ้งตายด่วน ปัญหากุ้งตายด่วนหรือที่เรียกกันว่าโรค EMS (Early Mortality Syndrome) ซึ่งแสดงอาการของตับและตับอ่อนวาย ฉับพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease; AHPND) โดยสาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio parahaemolyticus EMS/AHPND เริ่มระบาดครั้งแรก ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2552 และแพร่กระจายสู่ประเทศ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย ในปี 2553 ปี 2554 และปี 2555 ตามล�ำดับ ด้วยความร่วมมือของคณะนักวิจยั ไบโอเทค มหาวิทยาลัย มหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติ เชงกุง สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติไต้หวัน และมหาวิทยาลัยแห่ง ชาติไต้หวันจนประสบความส�ำเร็จในการพัฒนาวิธีการตรวจ แบคทีเรียสาเหตุกุ้งตายด่วนด้วยเทคนิค polymerase chain reaction (PCR) ท�ำให้สามารถลดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ของแบคทีเรียสาเหตุกงุ้ ตายด่วนทีเ่ กิดขึน้ ลงไปได้ และด้วยเล็งเห็น ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในระดับโลกและความ เร่งด่วนที่จะต้องควบคุมการระบาด คณะนักวิจัยจึงได้เปิดเผย ข้อมูลต่างๆ ทั้งวิธีการและล�ำดับเบสในการออกแบบไพรเมอร์ ส� ำ หรั บ ตรวจหาเชื้ อ แบคที เ รี ย ดั ง กล่ า วสู ่ ส าธารณะ เพื่ อ ให้ ผู้ประกอบการสามารถน�ำไปใช้ตรวจคัดกรองลูกกุ้งและพ่อแม่ พันธุ์กุ้งเพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของโรคต่อไป เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ ในวิธีการตรวจเชื้อสาเหตุของ กุ้งตายด่วน ไบโอเทค สวทช. จึงจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรือ่ ง การตรวจวินจิ ฉัยแบคทีเรียสาเหตุกงุ้ ตายด่วนเมือ่ วันที่ 24 เมษายน 2557 โดยมีนักวิจัย นักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมการอบรมรวม 104 คน
รายงานประจำ�ปี 2557
การฝึ ก อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร การตรวจ วิ นิ จ ฉั ย แบคที เ รี ย สาเหตุ กุ ้ ง ตายด่ ว น วันที่ 24 เมษายน 2557
ในรังไข่ทุกระยะ นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์สนิปของยีน PmVtgr ในแม่พันธุ์กุ้งที่คัดพันธุ์อายุ 14 เดือนและ 19 เดือนด้วยวิธี PCR-SSCP พบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ single-strand conformational polymorphism หรือ SSCP ของยีน PmVtgr กับฟีโนไทป์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ เช่น GSI และน�้ำหนัก ของรังไข่ และพบสนิปของ PmVtgr จ�ำนวน 11 ต�ำแหน่งมีความ สัมพันธ์กับ GSI องค์ความรู้เกี่ยวกับสนิปของยีน PmVtgr มี ความจ�ำเป็นที่ต้องทดสอบในประชากรกุ้งเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ ได้เครื่องหมายโมเลกุลส�ำหรับใช้ ในการคัดเลือกกุ้งที่มีความ พร้อมส�ำหรับกระตุน้ การเจริญพันธุเ์ พือ่ ใช้เป็นแม่พนั ธุต์ อ่ ไปได้ AA ศึกษาประชากรแบคทีเรียกลุ่มที่ออกซิไดส์ ไนเตรทและไนไตรท์
จากบ่อเลี้ยงกุ้ง 6 แห่ง โดยการสกัดดีเอ็นเอจากดินในบ่อเลี้ยง กุ้ง พบว่า ammonia-oxidizing archaea (AOA) มีบทบาท ในการออกซิไดส์แอมโมเนียในธรรมชาติ องค์ความรู้จากงาน วิจัยสามารถใช้ ในการจัดการบ่อเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยการจัดการ สารประกอบไนโตรเจนในระบบนิเวศน์บ่อเลี้ยงสัตว์น�้ำ ซึ่ง ช่วยจัดการคุณภาพน�้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง และสามารถใช้กับระบบ หมุนเวียนน�ำ้ ส�ำหรับการเลีย้ งสัตว์นำ�้ ความหนาแน่นสูงภายใน โรงเรือน ซึง่ ปัจจุบนั ได้มกี ารร่วมวิจยั และถ่ายทอดเทคโนโลยีไป สู่การใช้งานจริงในฟาร์มสัตว์น�้ำ
งานวิจัยด้านวัคซีนสัตว์ AA การป่วยของสุกรในทุกช่วงอายุและโดยเฉพาะอาการรุนแรงใน
ลูกสุกรดูดนม ซึ่งแสดงอาการท้องเสียและอาเจียน พบว่าเกิด จากไวรัสพีอีดี (porcine epidemic diarrhea virus) จากการ ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการระบาดวิทยา ในระดั บ โมเลกุ ล ของไวรั ส พี อี ดี โดยใช้ ล� ำ ดั บ นิ ว คลี โ อไทด์ บางส่วนและที่ครบสมบูรณ์ของยีน spike และล�ำดับเบสของ บริเวณ Open reading frame (ORF) ที่ 3 และพบว่าไวรัสพีอดี ี ที่ท�ำให้เกิดโรคระบาดในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง กับไวรัสพีอีดีที่พบในประเทศจีนและเกาหลี
งานวิจัยด้านพืช ด�ำเนินงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและศึกษาวิจัยในระดับ ยีนและการแสดงออกของยีนเพื่อประโยชน์ ในการปรับปรุงพันธุ์ โดย มีเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ ได้ผลผลิตสูงและมีคุณสมบัติ ตามที่ต้องการ ได้แก่ ความต้านทานต่อโรคและแมลง ทนต่อสภาพ แวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ดินเค็ม สภาวะแล้ง รวมถึงเพื่อช่วย ลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ โดยมุ่งเน้นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ เช่น ข้าว ปาล์มน�้ำมัน มันส�ำปะหลัง อ้อย และยูคาลิปตัส
13
14
รายงานประจำ�ปี 2557
สายพันธุ์ข้าวทนเค็ม สายพันธุ์อ้อยทนเค็ม
AA ศึ ก ษาการแสดงออกและกลไกการท� ำ งานของ vacuolar 2+-
Ca transporters (CAXs และ ACAs) จากรากของข้าว สายพันธุ์ทนเค็มและอ่อนแอต่อความเค็ม พบว่ายีน OsCAX4 ให้โปรตีน transmembrane ที่มีความจ�ำเพาะและเกี่ยวข้อง กับกระบวนการขนส่งไอออนได้แก่ Ca2+, Mn2+, Cu2+ และพบว่า ในรากของข้าวพันธุ์ทนเค็มและพันธุ์อ่อนแอต่อความเค็มมี ระดับการแสดงออกของยีนแตกต่างกัน องค์ความรู้ที่ได้จะน�ำ ไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการทน เค็มของข้าว AA ศึ ก ษาความสามารถของไมโครอาร์ เ อ็ น เอ miR164 และ
miR167 ในการควบคุมการแสดงออกของยีนเป้าหมายใน มันส�ำปะหลังที่อยู่ภายใต้สภาวะเครียดจากการขาดน�้ำ ผล การวิจัยสามารถสันนิษฐานได้ว่าในภาวะแห้งแล้ง miR164 และ miR167 มีบทบาทในการควบคุมการแสดงออกของยีน MesNAC และ MesARF8 ซึ่งส่งผลให้เกิดการตอบสนองใน ลักษณะต่างๆ เช่น การปิดของปากใบ ขนาดใบลดลง AA สร้างแผนทีท่ างพันธุกรรมและศึกษาหาต�ำแหน่งบนโครโมโซมที่
ควบคุมลักษณะทางปริมาณ (quantitative trait loci: QTLs)
ในปาล์มน�้ำมัน พบว่ามีเครื่องหมายโมเลกุลหรือต�ำแหน่ง บนโครโมโซมที่เชื่อมโยงกับลักษณะทางปริมาณของปาล์ม น�้ำมันอย่างมีนัยส�ำคัญ ได้แก่ ผลผลิตทะลายสด อัตราส่วน น�้ำมันต่อผล อัตราส่วนน�้ำมันต่อทะลาย และปริมาณเปลือก หุม้ เมล็ดต่อผลจ�ำนวน 16 ต�ำแหน่งกระจายอยูบ่ น 7 โครโมโซม องค์ความรู้ที่ ได้จะน�ำไปสู่การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล ที่เชื่อมโยงกับลักษณะทางปริมาณที่สนใจของปาล์มน�้ำมัน ส�ำหรับการปรับปรุงพันธุ์ AA ศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการทนเค็ม
ในอ้อยพันธุ์ต้านทาน (K88-92) พันธุ์อ่อนแอต่อความเค็ม (K92-80) และพันธุ์กลายจากสารเคมีก่อกลายพันธุ์ (A19 mutant) พบระดับการแสดงออกของยีน SuSK, SUT1, P5CS, NHX1 และ CAT2 ในอ้อยสายพันธุ์ K88-92 เพิ่มขึ้น เมื่อปลูก อ้อยในสภาวะเครียดจากความเค็ม และพบว่าปริมาณโซเดียม ไอออนลดลง น�ำ้ ตาลซูโครสเพิม่ ขึน้ มีการสะสมของสารโพรลีน เพิม่ ขึน้ มีปริมาณอัตราการสังเคราะห์แสงและอัตราการเติบโต คงที่ โดยองค์ความรู้ที่ ได้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์อ้อย K88-92 ที่น่าจะมีศักยภาพในการน�ำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ใน การปรับปรุงพันธุ์อ้อยทนเค็ม
รายงานประจำ�ปี 2557
การสกัดแป้งมันส�ำปะหลังในโรงงาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันส�ำปะหลัง
AA ศึกษาการคัดเลือกพันธุ์ยูคาลิปตัสที่ทนทานต่อการขาดน�้ำ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาและ สัณฐานวิทยาท�ำการจัดกลุม่ คลัสเตอร์พนั ธุท์ นเค็มแบบหลาย พารามิเตอร์ พบสายพันธุท์ มี่ ศี กั ยภาพในการทนแล้งประกอบ ด้วย H4, 58H2 และ 27A2 ซึ่งเป็นยูคาลิปตัสลูกผสมระหว่าง สายพันธุ์คามาดูเลนซิสกับยูโรไฟลา
งานวิจัยด้านนวัตกรรมอาหาร ด�ำเนินงานวิจัยด้านคุณสมบัติทางกายภาพและองค์ประกอบ ทางเคมีอาหาร และการประเมินความเสี่ยงอาหารด้านจุลินทรีย์ เพื่อ การพัฒนากระบวนการผลิต แปรรูปเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ AA ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดัดแปรแป้งข้าวด้วยวิธีคาร์บอกซี
เมทิเลชั่น ได้แก่ ชนิดของตัวท�ำละลาย ปริมาณน�้ำ ความ เข้ ม ข้ น ของโซเดี ย มไฮดรอกไซด์ อุ ณ หภู มิ แ ละเวลาที่ ใ ช้ ใ น การท�ำปฏิกิริยา เพื่อผลิต carboxymethyl rice starch (CMRS) โดยใช้แป้งข้าวบริสุทธิ์ทางการค้า 3 ชนิด ได้แก่ แป้ง ข้าวเจ้า แป้งข้าวหอมมะลิ และแป้งข้าวเหนียวบริสุทธิ์ ซึ่งมี ปริมาณอะมิโลส 29.60%, 18.10% และ 6.52% ตามล�ำดับ โดย
ปริมาณอะมิโลสมีผลต่อความแข็งแรงของแกรนูลแป้งทีแ่ ตกต่าง กัน แป้งที่มีปริมาณอะมิโลสต�่ำจะอ่อนแอและสูญเสียโครงสร้าง แกรนูลแป้งได้งา่ ย ซึง่ เป็นอุปสรรคในการท�ำปฏิกริ ยิ าและการท�ำ บริสทุ ธิแ์ ป้งดัดแปร พบว่าแป้งข้าวทัง้ 3 ชนิด มีสภาวะทีเ่ หมาะสม ในการท�ำปฏิกิริยาคาร์บอกซีเมทิเลชั่นซึ่งจะให้ค่า degree of substitution (DS) สูงสุด อยู่ที่สภาวะเดียวกัน คือ ภายใต้ สภาวะที่มีอัตราส่วนของตัวท�ำละลายไอโซโพรพานอล : น�้ำ เท่ากับ 90:10 ค่า molar ratio ของ NaOH: anhydro-glucose unit (AGU) เท่ากับ 1.5 ที่อุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาเท่ากับ 40oC เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง องค์ความรู้ดังกล่าวสามารถน�ำ ไปต่อยอดในการพัฒนาการผลิตไฮโดรเจลจากแป้งข้าวเพื่อ ให้ ไฮโดรเจลที่มีความสามารถในการดูดซับน�้ำและมีก�ำลังการ พองตัวสูงสุด AA ศึกษากลไกทีม่ ผ ี ลต่อการสกัดแป้งมันส�ำปะหลังในกระบวนการ
ผลิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสกัดแป้งโดย ใช้เครื่องสกัดแบบทรงกรวย พบสัดส่วนระหว่างของเหลวต่อ ของแข็งมีคา่ สูง ท�ำให้ประสิทธิภาพการแยกแป้งสูงขึน้ นอกจาก นี้พบว่าอัตราความเร็วในการหมุนเพิ่มขึ้น ท�ำให้แรงเหวี่ยงหนี ศูนย์กลางของเครื่องสกัด และความดันตกคร่อมของระบบ
15
16
รายงานประจำ�ปี 2557
การกรองสูงขึน้ ส่งผลต่อคุณสมบัตหิ รือความต้านทานของชัน้ เค้กบนตะแกรง ท�ำให้ประสิทธิภาพการแยกแป้งสูงขึ้น อย่างไร ก็ตามอัตราความเร็วในการหมุนที่สูงขึ้นมาก ประสิทธิภาพ การแยกแป้งจะลดลง เนื่องจากระยะเวลาการเก็บรักษาน�ำ้ แป้ง บนตัวกรองสัน้ คุณสมบัตแิ ละความต้านทานของชัน้ เค้กแบ่งออก เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนน�ำ้ แป้งขาเข้า ส่วนแยกแป้ง และส่วนลด ความชืน้ องค์ความรูด้ ังกล่าวเป็นแนวทางในการออกแบบการ ท�ำงานของเครื่องสกัดแป้งประสิทธิภาพสูง AA ศึกษาแหล่งทีม่ าและการแพร่กระจายของเชือ้ ซัลโมเนลลาในการ
ผลิตไก่เนือ้ แบบครบวงจรตัง้ แต่ระดับฟาร์มพ่อแม่พนั ธุ์ โรงฟัก ฟาร์มไก่เนื้อ และโรงเชือด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยระหว่างปี 2553-2555 พบการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลาในทุกหน่วยของการผลิต มีการแพร่กระจายเชื้อ แบบ horizontal transmission เป็นหลัก แต่ไม่พบการปนเปือ้ น เชือ้ ซัลโมเนลลาในตัวอย่างทีม่ าจากไข่ แหล่งของการปนเปือ้ นที่ ส�ำคัญคือ สิง่ แวดล้อมและอุปกรณ์ในโรงฟัก การปนเปือ้ นเชือ้ ใน ลูกไก่วนั แรก อาหาร และสัตว์พาหะโดยเฉพาะจิง้ จก นอกจากนี้ พบว่าปัจจัยที่ท�ำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อซัลโมเนลลาไปยัง ซากไก่คือ การปนเปื้อนเชื้อในกล่องขนส่งไก่ การขนส่งไก่เนื้อ ไปยังโรงเชือด และกระบวนการเชือด องค์ความรู้ที่ได้จะเป็น ประโยชน์ต่อการควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อซัลโมเนลลา อย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิตตัง้ แต่ทฟ ี่ าร์มพ่อ แม่พันธุ์ ไปจนถึงการแปรรูปในโรงเชือด โดยเฉพาะการจัดการ ด้านโปรแกรมสุขอนามัย ระบบการควบคุมคุณภาพอาหาร สัตว์ ระบบการฆ่าเชื้อในน�้ำ การควบคุมและก�ำจัดสัตว์พาหะ รวมถึงการจัดการระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point, HACCP) ภายในโรงเชือดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น AA ศึ ก ษาลั ก ษณะการแพร่ ก ระจายปริ ม าณการปนเปื ้ อ น และ
จ�ำแนกลักษณะของเชื้อซัลโมเนลลาในฟาร์มสุกรบริเวณพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ พบเชื้อซัลโมเนลลามากกว่า 20 ซีโรไทป์ โดย ซีโรไทป์ทพ ี่ บมากทีส่ ดุ คือ Salmonella rissen และพบว่าสาเหตุ การติดเชือ้ เกิดจากการปนเปือ้ นข้ามระหว่างฟาร์มสุกร และรูป แบบการดือ้ ยาทีพ ่ บมากทีส่ ดุ คือ กลุม่ ทีด่ อื้ ต่อยาปฏิชวี นะกลุม่ ยา ampicillin, tetracycline และ streptomycin องค์ความรู้ ที่ได้จะเป็นประโยชน์ตอ่ การจัดการป้องกันและควบคุมปริมาณ การปนเปื้อนเชื้อภายในฟาร์ม
AA พัฒนาแผ่นฟิลม์ ผสมพอลิแลคติกแอสิด (PLA) อนุภาคขีเ้ ลือ่ ย
(sawdust particle; SP) และสาร pediocin PA-1/AcH (Ped) เพือ่ ยับยัง้ การเจริญเติบโตของเชือ้ Listeria monocytogenes ในเนื้อหมู พบว่าแผ่นฟิล์มที่พัฒนาได้สามารถยับยั้งเชื้อได้ สูงถึง 99% ผลงานวิจัยช่วยเพิ่มศักยภาพในการน�ำแผ่นฟิล์ม ผสมไปประยุกต์ ใช้ ในอุตสาหกรรมอาหาร AA ศึกษาศักยภาพของวอเตอร์-เบส โอลิโกไคโตซานและนาโน
ไคโตซานวิสเกอร์ ในการน�ำไปใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร เพื่อ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เนือ้ หมูบด พบว่าสามารถ ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus, Listeria monocytogenes, Bacillus cereus, Salmonella enteritidis และ Escherichia coli O157:H7 และพบว่าวอเตอร์-เบส โอลิโก ไคโตซานสามารถลดการเกิดสารไบโอเจนิกเอมีน ชะลอการเกิด ปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน่ ของไขมันในผลิตภัณฑ์ ได้ จึงเป็นทางเลือก ใหม่ของการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร
งานวิจัยด้านชุดตรวจวินิจฉัยทางการ เกษตรและอาหาร AA พัฒนาวิธกี ารตรวจวัดเชือ้ ก่อโรคในพืชด้วยเทคนิคแอนติบอดี
อะเรย์ ในถาดหลุมแบบตรวจหลายตัวอย่างในคราวเดียวกันใน รูปแบบ 96- well plate โดยใช้เชื้อก่อโรคในพืชเป็นเชื้อต้นแบบ ได้แก่ bacterial fruit blotch bacterium ที่ชื่อว่า Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac),Chilli veinal mottle virus (ChiVMV, potyvirus) Watermelon silver mottle virus (WSMoV, tospovirus serogroup IV), และ Melon yellow spot virus (MYSV,tospovirus) โดยเทคนิคแอนติบอดีอะเรย์ ที่ พั ฒ นามี ค วามไวต�่ ำ สุ ด ที่ ส ามารถตรวจได้ คื อ 5x10 5 CFU/mL, 30 ng/mL, 1000 ng/mL และ 160 ng/mL ส�ำหรับ การตรวจเชือ้ Aac, ChiVMV, WSMoV และ MYSV ตามล�ำดับ ซึ่งให้ผลความไวเทียบเท่ากับการตรวจด้วยวิธี sandwich ELISA และมีความแม่นย�ำในการตรวจเชือ้ ทัง้ แบบชนิดเดียวและ หลายชนิดพร้อมๆ กัน เป็นเทคนิคที่สะดวก ง่าย ลดค่าใช้จ่าย ในการตรวจ และที่ส�ำคัญคือตรวจได้อย่างรวดเร็วเนื่องจาก ตรวจหลายๆ ตัวอย่างไปพร้อมกันในรูปแบบ 96- well plate ซึง่ มีประโยชน์อย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมทีม่ คี วามต้องการ ในการตรวจตัวอย่าง
รายงานประจำ�ปี 2557
แบบแสดงขั้ น ตอนการท� ำ งานการ ตรวจวัดเชื้อก่อโรคในพืชด้วยเทคนิค แอนติบอดีอะเรย์แบบถาดหลุม
AA พัฒนาเทคนิค multiplex RT-PCR-ELISA ส�ำหรับตรวจ
AA พัฒนาการใช้เทคโนโลยี microfluidic ร่วมกับ sandwich
เชื้อ tospovirus ที่พบในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ Capsicum chlorosis virus (CaCV), Melon yellow spot virus (MYSV), Tomato necrotic ringspot virus (TNRV), and Watermelon silver mottle virus (WSMoV) ซึ่งผลจากการทดสอบกับ พืชจากแปลงปลูกพบว่าวิธี RT-PCR-ELISA ที่พัฒนาขึ้นมี ประสิทธิภาพในการตรวจจ�ำแนกทอสโพไวรัสที่ดีกว่าวิธีเดิม conventional RT-PCR ทั้งในแง่ความจ�ำเพาะ ความไว และ ความสะดวกรวดเร็วในการตรวจตัวอย่างพืชจ�ำนวนมากใน คราวเดียวกัน ท�ำให้สามารถใช้เป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่ดีใน การใช้ตรวจจ�ำแนกชนิดของทอสโพไวรัสทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว และยังสามารถน�ำไปประยุกต์ ใช้ ในการตรวจหาทอสโพไวรัส ชนิดอืน่ ๆ ทีย่ งั ไม่พบการแพร่ระบาดในประเทศไทยเพือ่ เป็นการ เฝ้าระวังได้อีกด้วย
ELISA ให้มีความรวดเร็วและความแม่นย�ำในการตรวจหาเชื้อ ก่อโรคในเมล็ดพันธุ์ ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างที่มี ปริมาณน้อย ประหยัดสารเคมี ลดระยะเวลาการท�ำปฏิกิริยา ของสารลงได้ 50% ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ 60% สามารถ ใช้ ได้กบั เครือ่ งอ่าน fluorescent และใช้กบั ระบบ robotic liquid handling system เพือ่ ใช้งานแบบ hand-free ได้อย่างสมบูรณ์ AA พัฒนาต้นแบบเทคนิคใหม่ในการตรวจวัดเชื้อก่อโรคกุ้งโดย
ใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับเครื่องวัดความขุ่นแบบเรียลไทม์โดยใช้ ไวรัสแหลมสิงห์ที่ก่อโรคกุ้งโตช้าเป็นตัวอย่างในการศึกษาซึ่ง ออกแบบไพรเมอร์จากล�ำดับเบสในส่วน RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ของไวรั ส แหลมสิ ง ห์ ที่ มี ส าร พันธุกรรมเป็น RNA ส�ำหรับปฏิกิริยาแลมป์ โดยอาศัยหลัก การตรวจวัดความขุ่นของแม็กนีเซียมไพโรฟอสเฟสที่เกิดขึ้น ระหว่างปฏิกริยา ใช้ตัวอย่างอาร์เอ็นเอที่สกัดจากกุ้งที่ความ เข้มข้น 100 นาโนกรัม การท�ำงานของเครื่องวัดความขุ่นแบบ
17
18
รายงานประจำ�ปี 2557
แบบแสดงการตรวจโรคไวรัสแหลมสิงห์ โดยการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม ด้วยเทคนิคแลมป์ร่วมกับการอ่านผล ทดสอบด้วยเครื่องวัดความขุ่นแบบ เรียลไทม์ผา่ นทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
เรียลไทม์จะเริ่มจากส่วนควบคุมอุณหภูมิที่สามารถควบคุม อุณหภูมิของสารละลายในปฏิกิริยาแลมป์ที่บรรจุอยู่ในหลอด พลาสติกใส โปร่งแสง ส่วนต่อไปก็คอื ส่วนตรวจวัดความขุน่ โดย การยิงแสงสีแดงจากหลอด LED ที่ความยาวคลื่น 650 นาโน เมตร ผ่านสารละลายมาตกกระทบตัวรับแสง LDR โดยปริมาณ แสงทีต่ กกระทบนีจ้ ะขึน้ อยูก่ บั ความขุน่ ของสารละลายและโปรแกรม ซอฟแวร์จะรายงานผลความขุน่ ทีเ่ กิดขึน้ โดยเครือ่ งวัดความขุน่ จะถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลแบบเรียลไทม์ ใน รูปแบบที่หลากหลาย ผลการทดสอบความไวของเทคนิคใหม่ นีพ ้ บว่าเทียบเท่ากับวิธเี นสท์พซี อี าร์และไม่ให้ผลบวกปลอมกับ ไวรัสชนิดอื่นๆ ที่ก่อโรคในกุ้ง เทคนิคนี้สามารถน�ำไปประยุกต์ ใช้ ในการตรวจเชื้อก่อโรคกุ้งชนิดอื่นๆ ในห้องปฏิบัติการและใน ภาคสนามได้เป็นอย่างดี AA พัฒนาอนุภาคแม่เหล็กที่สามารถเกิดสีได้ ในระดับนาโน เพื่อ
การตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ที่ก่อโรคใน ระบบทางเดินอาหาร โดยท�ำการสังเคราะห์หมู่ mannoseRhodamine B (Rh B) เพื่อตรึงบริเวณพื้นผิวของอนุภาค magnetic polymeric nanoparticles (MPNP) จากการ ทดสอบพบว่าอนุภาค Rh-MPNP สามารถเข้าจับกับเชื้อ
E.coli สายพันธุ์ ORN178 ได้ดี และปลดปล่อยสัญญาณแสง ฟลูออเรสเซนต์ ได้ทคี่ วามยาวคลืน่ 580 นาโนเมตร จึงสามารถ ใช้ ในการตรวจสอบเชื้อ E.coli ได้สะดวกและรวดเร็ว AA พั ฒ นาวิ ธี ก ารตรวจวั ด เชื้ อ ซั ล โมเนลลา โดยการคั ด เลื อ ก
เปปไทด์ดว้ ยเทคนิค phage display ทีส่ ามารถจับอย่างจ�ำเพาะ กับเชือ้ ซัลโมเนลลา ร่วมกับไบโอเซ็นเซอร์ชนิด microcantilever โดยพบเปปไทด์ MSal020417 ทีส่ ามารถจับกับเชือ้ ซัลโมเนลลา อย่างจ�ำเพาะได้ 8 ชนิดซึ่งมากกว่าแอนติบอดีทางการค้า AA พัฒนาวิธต ี รวจหาปริมาณเชือ้ Aphanomyces invadans ใน
ปลา หรือโรคอียเู อส (Epizootic ulcerative syndrome, EUS) โดยพัฒนา genosensor ที่มีความไวและจ�ำเพาะสูงต่อ 18S rRNA และ internal transcribed spacer regions ของเชื้อ ดังกล่าว พบว่าสามารถตรวจวัดปริมาณเชื้อได้น้อยสุด 0.5 เฟมโตโมลาร์ของดีเอ็นเอเป้าหมาย และ 1 เฟมโตโมลาร์ของ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการท�ำพีซีอาร์ ซึ่งเหมาะสมในการน�ำมาใช้ ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ
19
รายงานประจำ�ปี 2557
การค นพบและพัฒนายาต นแบบ P218 2539
2543
Exploration
2546
2551
Target-based drug R&D
เมษายน 2551
P218 Testing
พฤษภาคม 2557
P218 Validation
P218 Preclinical
P218 scale-up กอตั้งหองปฏิบัติการวิจัย วิศวกรรมโปรตีนลิแกนค และชีววิทยาโมเลกุล
ตีพิมพโครงสรางของโปรตีน DHFR-TS ของมาลาเรียฟาลซิปารัม เปนครั้งแรกของโลก
MMV ใหทุน BIOTEC, LSHTM และ Monash University เพื่อ คนหายากลุมแอนติโฟเลต
ออกแบบและทดสอบ ยาตนแบบ P218
ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด� ำ เนิ น การวิ จั ย และพั ฒ นาด้ า นการพั ฒ นายา ค้ น หา เป้าหมายของยาใหม่ การพัฒนาวัคซีน และการศึกษาด้าน องค์ความรูพ ้ นื้ ฐานเพือ่ ทราบสาเหตุกลไกการเกิดโรค โดย มุ่งเน้นโรคที่เป็นปัญหาส�ำคัญในเขตร้อน ได้แก่ มาลาเรีย ไข้เลือดออก วัณโรค โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคทางพันธุกรรม
งานวิจัยโรคมาลาเรีย AA ศึ ก ษาศั ก ยภาพการต้ า นมะเร็ ง ของยาต้ า นมาลาเรี ย 5
กลุ่ม ได้แก่ อาร์ทีมิซินิน เปอร์ออกไซด์สังเคราะห์ สารยับยั้ง การท� ำ งานของเอนไซม์ ไ ดไฮโดรโฟเลตรี ดั ก เทส เอนไซม์ ไดไฮโดรออรโรเทตดีไฮโดรจีเนส และเอนไซม์ ไคเนส พบว่ายา ต้านมาลาเรียเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจ�ำนวนของเซลล์ มะเร็งชนิดต่างๆ ในระดับทีแ่ ตกต่างกัน และให้ผลการตอบสนอง ในระดับการแสดงออกของยีนที่ต่างกัน และยังพบว่าสารต้าน
เมษายน 2559
P218 dossier ยื่นจดทะเบียนยา Investigational New Drug
NSTDA รวมกับ MMV พัฒนา P218 ระดับพรีคลินิก แบบ GLP ศึกษา P218 ระดับพรีคลินิก แบบ non-GLP
ผลประเมินความปลอดภัย ของ P218 จากการศึกษา ระดับพรีคลินิก แบบ GLP
ศึกษา P218 ระดับคลินิก เพื่อนำไปสูยาใหม สำหรับรักษาโรค มาลาเรีย
มาลาเรีย P218 (ยับยั้งการท�ำงานของเอนไซม์ ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเทส) มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในระดับ 0.4-10 ไมโครโมลาร์ ต่อเซลล์มะเร็งจ�ำนวน 62 จาก 92 เซลล์ ไลน์ ดังนั้นสารต้าน มาลาเรีย P218 จึงอาจเป็นประโยชน์ ในการรักษามะเร็งด้วย AA ศึ ก ษาโครงสร้ า งผลึ ก ของเอนไซม์ Pf SHMT ซึ่ ง มี ลั ก ษณะ
ที่จ�ำเพาะต่างจากเอนไซม์ SHMT ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ มี loop 2 loops และมีคู่กรดอะมิโนซีสเตอีนที่ต�ำแหน่ง 125 และ 364 ทีโ่ พรงการจับของเอนไซม์กบั สารตัง้ ต้น tetrahydrofolate (THF) ซึ่งพบว่าซีสเตอีนทั้งสองท�ำหน้าที่เป็นสวิตช์เปลี่ยน สถานะระหว่าง disulfide/sulfhydryl เพื่อควบคุมการเร่ง ปฏิกิริยาที่มี THF (THF-dependent catalytic function) แต่ ไม่พบลักษณะสวิตช์ดังกล่าวในเอนไซม์ของคน องค์ความรู้ที่ ได้สามารถใช้ขดั ขวางการท�ำงานของเอนไซม์ของเชือ้ ปรสิตโดย ไม่รบกวนการท�ำงานของเอนไซม์ของคนส�ำหรับการพัฒนา ออกแบบยาต้านมาลาเรียต่อไป
20
รายงานประจำ�ปี 2557
1 พฤษภาคม 2557 ไบโอเทค สวทช. และ Medicines for Malaria Venture (MMV) ซึง่ เป็นองค์กร ที่ไม่แสวงผลก�ำไรและเชีย่ วชาญเรือ่ งการพัฒนายารักษา มาลาเรียระดับโลก ได้ลงนาม ในสัญญาความร่วมมือ การสนับสนุนและผลักดันสารต้านมาลาเรีย P218 ที่ พัฒนาโดยนักวิจยั ไทยเพือ่ การทดสอบความปลอดภัย ทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษของสาร P218 ในระดับ พรีคลินิกด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐาน GLP หากสาร ดังกล่าวสามารถผ่านการทดสอบทัง้ ในสัตว์ทดลองและ อาสาสมัครจะเป็นความส�ำเร็จครัง้ ส�ำคัญของวงการวิจยั ด้านมาลาเรียในประเทศไทยที่มียารักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัยไทยเป็นครั้งแรก
AA ศึ ก ษาบทบาทของกลุ ่ ม โปรตี น PTEX ( Plasmodium
translocon of exported proteins) บนเซลล์เมมเบรนที่ จ�ำเป็นต่อการขนส่งโปรตีนของเชื้อมาลาเรีย พบว่า PTEX มี ค วามจ� ำ เป็ น ต่ อ การเจริ ญ เติ บ โตของเชื้ อ มาลาเรี ย ระยะ แบ่งตัวในเม็ดเลือดแดง เมื่อโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของ PTEX ถูกท�ำให้ลดลงเพียงปานกลางกลับส่งผลต่อความ สมบูรณ์ ในวงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรีย จึงมีความเป็นไปได้ว่า PTEX สามารถเป็นเป้าหมายยาที่ส�ำคัญต่อไป AA ศึกษาการยับยัง้ การท�ำงานของเอนไซม์ Plasmepsin V (PMV)
ต่อการส่งออกโปรตีน การแสดงออกของโปรตีน P.falciparum erythrocyte membrane protein 1 (PfEMP1) และการอยูร่ อด ของเชือ้ มาลาเรีย ผลการวิจยั ที่ได้เป็นหลักฐานครัง้ แรกทีแ่ สดง ให้เห็นว่าการท�ำงานของเอนไซม์ PMV มีความจ�ำเป็นต่อการ ส่งออกโปรตีนในเชื้อพลาสโมเดียมและการอยู่รอดของเชื้อใน ระยะเจริญในเซลล์เม็ดเลือดแดงของคน และอาจใช้เป็นเอนไซม์ เป้าหมายยาต้านมาลาเรียต่อไป
ความส�ำเร็จในเบื้องต้นของการพัฒนายาต้านมาลาเรีย P218 จากการวิจัยเพื่อค้นหาเป้าหมายยาต้านมาลาเรียอย่าง ต่อเนือ่ งของคณะนักวิจยั ไบโอเทคในการพัฒนาสารแอนติโฟเลต โดยการศึ ก ษาโครงสร้ า งผลึ ก ของเอนไซม์ ที่ จั บ กั บ ตั ว ยั บ ยั้ ง (inhibitors) และสารตัง้ ต้น (substrates) รวมทัง้ ศึกษาประสิทธิผล และเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) เพือ่ ให้ได้สารแอนติโฟเลต ต้านมาลาเรียส�ำหรับรับประทานที่มีประสิทธิภาพและมีความ จ�ำเพาะสูงในระดับพรีคลินิก โดยสามารถยับยั้งการท�ำงานของ เอนไซม์ DHFR ของเชือ้ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum: PfDHFR) ได้ดที งั้ ชนิดดัง้ เดิม (wild-type) และชนิดที่ กลายพันธุด์ อื้ ยา พบว่าสาร P218 ทีพ ่ ฒ ั นาได้มคี ณ ุ ลักษณะทาง โครงสร้างทีส่ ำ� คัญคือ เป็นสารไพริมดิ นี ซึง่ มีแขนทีม่ คี วามยืดหยุน่ และมีหมูค่ าร์บอกซิเลตทีส่ ามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับอาร์จนิ นี ที่ต�ำแหน่ง 122 ของ PfDHFR ได้ดีมาก แต่ไม่จับกับอาร์จินีนใน เอนไซม์ DHFR ของมนุษย์ ซึ่งมีกรดอะมิโนในบริเวณใกล้เคียง กับอาร์จินีนต่างจาก PfDHFR ถึง 3 ต�ำแหน่ง ส่งผลให้ P218 มี ความจ�ำเพาะกับ PfDHFR เท่านัน้ โดยคุณลักษณะเด่นทีต่ า่ งจาก ไพริเมธามีนคือ P218 สามารถจับกับ PfDHFR ทัง้ ชนิดดัง้ เดิมและ ทีก่ ลายพันธุ์ ได้แน่นและปล่อยได้ชา้ ท�ำให้สารดังกล่าวสามารถจับ กับเอนไซม์ ได้นาน นอกจากนี้ P218 จับกับ PfDHFR ในบริเวณ ที่ ไม่ต่างจากสารตั้งต้น ท�ำให้โอกาสการกลายพันธุ์ดื้อยาต่อ P218 มีน้อยกว่ายาไพริเมธามีน P218 มีประสิทธิผลสูงต่อเชื้อ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัมที่ติดเชื้อในโมเดลหนู (SCID mice) และมีชวี ประสิทธิผล (bioavailability) ในการดูดซึมของยาโดยการ รับประทานที่ดี รวมทั้งมีความจ�ำเพาะและมีความปลอดภัยสูงทั้ง ในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
รายงานประจำ�ปี 2557
งานวิจัยไข้เลือดออก AA พัฒนาการผลิตวัคซีนโดยสร้างเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ลูกผสม
อ่อนฤทธิ์ชนิดใหม่ ที่ท�ำให้มีการตัดโปรตีน prM ได้สมบูรณ์ขึ้น โดยการปรับแก้บางต�ำแหน่งของยีน prM จากจีโนมของไวรัส ลูกผสมอ่อนฤทธิต์ น้ แบบ DENV-1/2 พบว่าเชือ้ ไวรัสกลายพันธุ์ ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีความสามารถในการติดเชื้อในเซลล์ ได้ดี สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีต่อ DENV-1 ได้เท่ากับ ไวรัสลูกผสมอ่อนฤทธิช์ นิดเดิม และพบว่าลิงทีถ่ กู ฉีดด้วยไวรัส กลายพันธุล์ กู ผสม มีประสิทธิภาพในการควบคุมจ�ำนวนไวรัส ระหว่างการ challenge ได้ดกี ว่า จึงสามารถน�ำมาใช้เป็นวัคซีน ตัวเลือกชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ส�ำหรับการทดสอบในคนต่อไป AA การดัดแปลงการแสดงออกของเวกเตอร์เพื่อพัฒนาการผลิต
อนุภาคเสมือนไวรัสเด็งกี่ (dengue virus-like particles) จากเซลล์ยุง โดยศึกษาการดัดแปลงยีนในต�ำแหน่งต่างๆ บน พลาสมิ ด ที่ มี ยี น prM+E ของเชื้ อ ไวรั ส เด็ ง กี่ เพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพการผลิต recombinant virus-like particles (rVLPs) ของไวรัสเด็งกี่ ซีโรทัยป์ 2 จากเซลล์ยุง พบว่าการใช้ ส่วน stem-anchor region บนโปรตีน E ของไวรัสไข้สมอง อักเสบ เจอี (Japanese encephalitis virus) แทนที่โปรตีน E ของไวรัสเด็งกี่ ร่วมกับการท�ำ codon optimization ช่วยให้ มี ก ารสร้ า ง rVLPs และปล่ อ ยออกนอกเซลล์ ไ ด้ ม ากขึ้ น ขณะที่การสร้างการกลายพันธุ์ที่ต�ำแหน่งบนยีน prM เพื่อตัด ยีนส่วน pr ออก ท�ำให้เกิดการท�ำลายเซลล์ยงุ ซึง่ สามารถแก้ ไข ได้โดยเพิ่มการกลายพันธุ์ที่บริเวณ fusion loop บนโปรตีน E และยังท�ำให้สามารถผลิต rVLP ออกมาจากเซลล์ ได้ ในปริมาณ มาก ซึ่งการดัดแปลงพลาสมิดนี้จะน�ำไปสู่การท�ำ stable cells เพื่อให้ผลิต rVLPs จ�ำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับน�ำไป ใช้ ในการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกต่อไป
เทคโนโลยี ก ารสร้ า งรี ค อมบิ แ นนท์ ไ วรั ส ด้ ว ยเทคนิ ค Gibson assembly ไบโอเทคและมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วม กันพั ฒ นา “วิ ธี ก ารสร้ า งไวรั ส จ� ำ พวก positive-sense RNA ที่ ง ่ า ยและเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการวิ เ คราะห์ ท าง พั น ธุ ก รรม” จากการพั ฒ นาการสร้ า งรี ค อมบิ แ นนท์ ไ วรั ส เด็งกี่เพื่อใช้ ในการศึกษาความสามารถของไวรัสกลายพันธุ์ ใน การท�ำให้เกิดโรคเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนายาและวัคซีน โดยได้ น�ำเทคนิค Gibson assembly มาประยุกต์ ใช้ ในการดัดแปลง พันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ ท�ำให้สร้างรีคอมบิแนนท์ ไวรัสได้ง่าย และเร็ว ด้วยการน�ำดีเอ็นเอของแต่ละยีนของไวรัสมาเชื่อมต่อ กันในพลาสมิด จากนั้นถ่ายชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่ได้จากการเชื่อม ต่อเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้าน ท�ำให้ ได้สารพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ที่ สามารถเพิ่มจ�ำนวนและสร้างอนุภาคไวรัสใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งพบ ว่าเทคนิคนี้มีประสิทธิภาพสูงสามารถสร้างไวรัสจากดีเอ็นเอ ได้ถึง 11 ชิ้น ในขั้นตอนเดียว ช่วยให้ ไม่ต้องใช้เซลล์แบคทีเรีย เจ้าบ้านชนิด Escherichia coli ในการสร้างไวรัส ลดระยะเวลา ในการสร้างไวรัสจากเดิม 24 สัปดาห์เหลือเพียง 2 สัปดาห์ และ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างไวรัสปริมาณมากเพื่อ วิเคราะห์ทดสอบและพัฒนาคุณสมบัติของวัคซีนป้องกันโรค ไข้เลือดออก นอกจากนีย้ งั สามารถน�ำเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กบั เป้าหมายวัคซีนชนิดอื่นได้
21
22
รายงานประจำ�ปี 2557
แบบแสดงการพัฒนาชุดตรวจ ELISA ส�ำหรับตรวจหาโปรตีน Ag85 บ่งชี้ เชื้อวัณโรค
งานวิจัยวัณโรค AA พัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยวัณโรคในระบบ Mycobacterial
culture system จากความส�ำเร็จในการผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดีทจี่ ำ� เพาะต่อโปรตีนทีห่ ลัง่ จากเชือ้ วัณโรค แอนติเจน 85 (Ag85) และได้น�ำมาพัฒนาชุดตรวจชนิด ELISA ส�ำหรับ ตรวจหาโปรตีน Ag85 ในน�้ำเลี้ยงเชื้อ พบว่าสามารถบ่งชี้ ผูป้ ว่ ยวัณโรคได้ 25%, 50%, 80% และ 90% ในวันที่ 3, สัปดาห์ ที่ 1, 2 และ 4 ตามล�ำดับ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีความ รวดเร็วและจะน�ำไปสู่การรักษาและควบคุมการติดต่อโรคได้ อย่างมีประสิทธิภาพ AA พัฒนาชุดไพรเมอร 51 คู และโพรบ 153 เสน เพือ่ ใชก บั ดีเอ็นเอ
ชิ พ ที่ ส ามารถจํ า แนกชนิ ด เชื้ อ กลุ ม ก อ วั ณ โรค และจํ า แนก สายพันธุข องเชือ้ กอวัณโรคในระดับโมเลกุล โดยสามารถตรวจ สอบคุณลักษณะของเชื้อไดสูงสุด 96 ตัวอยางตอการทดสอบ ภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมง ผลการวิเคราะหมีความแมนยําสูง 98.94% เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานที่ใช้ ในปัจจุบัน
AA ศึกษาความไวต่อยาต้านวัณโรคกลุ่มส�ำรองในเชื้อวัณโรค
ดือ้ ยาหลายขนานทีพ ่ บในประเทศไทยจ�ำนวน 1,447 สายพันธุ์ พบว่าร้อยละ 93-94 ไวต่อยากลุ่ม aminoglycosides ร้อยละ 85-98 ไวต่อยากลุ่ม fluoroquinolones ร้อยละ 78 ไวต่อยา ethionamide ร้อยละ 85 ไวต่อยา para-amiosalicylic acid และร้อยละ 99 ไวต่อยา linezolid องค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์สำ� หรับการเลือกใช้ยาทีเ่ หมาะสมต่อการรักษาผูป้ ว่ ย ติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
เป้าหมายงานวิจัยด้านวัณโรค เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยวัณโรค ศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อวัณโรค และ การพัฒนาวัคซีนป้องกันวัณโรค
รายงานประจำ�ปี 2557
ขั้นตอนการเลี้ยงเซลล์สัตว์ ส�ำหรับศึกษา วิจยั สารออกฤทธิท์ างชีวภาพ การวิจยั ด้าน โมโนโคลนอลแอนติบอดี
งานวิจยั ด้านการตรวจวินจิ ฉัยทางการแพทย์ AA การประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ทคนิ ค loop-mediated isothermal
amplification (LAMP) ร่วมกับเทคนิค lateral flow dipstick (LFD) ส�ำหรับการตรวจหาเชื้อ Plasmodium falciparum และ Plasmodium vivax โดยใช้ยีน dhfr-ts เป็นยีนเป้าหมาย พบว่ามีความไวในการตรวจสูงกว่าเทคนิค polymerase chain reaction (PCR) ประมาณ 10 เท่า สามารถตรวจหาเชือ้ ได้อย่าง ถูกต้องแม่นย�ำ ลดขัน้ ตอนและเวลาในการตรวจวินจิ ฉัยโรค และ สามารถอ่านผลได้ง่ายด้วยตาเปล่า
AA การสังเคราะห์สารอนุพันธ์ rhodamine (R1) ชนิดใหม่ เพื่อ
ใช้เป็นเซนเซอร์ทางเคมีที่มีความไวและความจ�ำเพาะสูงต่อ ธาตุทองแดงไอออน (Cu2+) จากการทดสอบพบว่า เซนเซอร์ที่ พัฒนาขึน้ สามารถตรวจวิเคราะห์ Cu2+ ไอออน ได้ทรี่ ะดับความ เข้มข้น 0.4–10 µM หรือ 280 nM และเกิดการเปลีย่ นแปลงจาก สารใสไม่มีสีเป็นสารสีชมพู ซึ่งสามารถวัดค่าการดูดกลืนแสง และค่า fluorescence ได้ องค์ความรู้ดังกล่าวสามารถน�ำมา ประยุกต์ใช้ ในพัฒนาชุดตรวจทางเคมีเซนเซอร์ในการตรวจวัด ปริมาณ Cu2+ ในน�้ำในระดับภาคสนามต่อไป
AA พัฒนาชุดตรวจคัดกรองพาหะแอลฟ่าธาลัสซีเมีย 1 ชนิด SEA
(Southeast Asian-type deletion) ด้วยวิธี poly-l-lysineprecoated ELISA โดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จ�ำเพาะ ต่อ zeta globin chain ซึ่งวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถท�ำได้ง่าย และให้ผลรวดเร็วกว่า ELISA แบบเดิม รวมทัง้ มีความไว 100% และมีความจ�ำเพาะ 98%
เป้าหมายการพัฒนาชุดตรวจ วิเคราะห์ทางชีวภาพทางการแพทย์ เพื่อ ให้ ส ามารถตรวจวิ นิ จ ฉั ย โรคได้ อ ย่ า ง แม่นย�ำ รู้ผลรวดเร็ว ใช้งานง่าย และราคา ไม่แพง
23
24
รายงานประจำ�ปี 2557
นิทรรศการแสดงการค้นพบ จุลินทรีย์ชนิดใหม่
ด้านการอนุรกั ษ์และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรชีวภาพ ด�ำเนินงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จากทรั พ ยากรชี ว ภาพโดยเฉพาะจุ ลิ น ทรี ย ์ อ ย่ า งเป็ น รูปธรรมและยัง่ ยืน สามารถน�ำเทคโนโลยีชวี ภาพมาประยุกต์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ลด การน�ำเข้าผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์จากต่างประเทศ
ด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์ เป้าหมายการวิจัยและพัฒนาคือ ศึกษาความหลากหลาย ของเชื้ อ จุ ลิ น ทรี ย ์ ใ นประเทศไทย โดยการส� ำ รวจและศึ ก ษาด้ า น อนุกรมวิธาน วิวัฒนาการ และการจัดกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ โดยมี “คลัง เก็บรักษาจุลินทรีย์ BIOTEC Culture Collection” เป็นโครงสร้าง พื้ น ฐานส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ เก็ บ รวบรวมและให้ บ ริ ก ารจุ ลิ น ทรี ย ์ เ พื่ อ สนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรชีวภาพให้แก่นักวิจัยไบโอเทคและ
นักวิจัยในสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยระบบการจัดเก็บรักษา จุลินทรีย์และฐานข้อมูลจุลินทรีย์ที่เป็นมาตรฐานสากล ที่ได้รับการ รับรองตามระบบ ISO 9001:2008 ปีงบประมาณ 2557 คลังเก็บ รักษาจุลินทรีย์ มีจุลินทรีย์ที่เก็บรวบรวมสะสมรวมทั้งสิ้น 71,431 ตัวอย่าง จ�ำแนกเป็นเชื้อรา 45,442 ตัวอย่าง แบคทีเรีย 18,595 ตัวอย่าง ยีสต์ 7,185 ตัวอย่าง และสาหร่าย 209 ตัวอย่าง โดย เป็ น จุ ลิ น ทรี ย ์ ที่ รั บ ฝากเก็ บ แบบ patent และ safe deposit ใน ประเทศ 310 ตัวอย่าง รวมทั้งมีการรับฝากวัสดุชีวโมเลกุล 155 ตัวอย่าง และมีการเก็บรักษาตัวอย่างเห็ดราในพิพิธภัณฑ์เห็ดรา BIOTEC Bangkok Herbarium จ�ำนวน 38,819 ตัวอย่าง ปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคค้นพบจุลินทรีย์สายพันธุ์ ใหม่ จ�ำนวน 16 สายพันธุ์ จ�ำแนกเป็นแบคทีเรีย 1 สายพันธุ์ แอคติโนมัยซีท 2 สายพันธุ์ ยีสต์ 2 สายพันธุ์ และรา 11 สายพันธุ์ AA แบคทีเรียสายพันธุ์ ใหม่ Idiomarina piscisalsi sp. nov.
สายพันธุ์ TPS4-2T เป็นแบคทีเรียประเภท halophilic AA แอคติโนมัยสีทสายพันธุ์ใหม่ Dactylosporangium siamense
sp. nov. สายพั น ธุ ์ MW4-36(T), Sinosporangium siamense sp. nov. สายพันธุ์ A-T 1946(T)
รายงานประจำ�ปี 2557
การส�ำรวจและศึกษาอนุกรมวิธาน วิวัฒนาการและการจัดกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์
AA ยีสต์สายพันธุ์ ใหม่ Yamadazyma ubonensis f.a., sp. nov.
การค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก ทรัพยากรชีวภาพ
AA เชื้ อ ราสายพั น ธุ ์ ใ หม่ เช่ น Dyfrolomyces tiomanensis,
ไบโอเทคได้ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและโครงสร้าง ทางเคมีของสาร การสังเคราะห์หรือดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ รวมทัง้ พัฒนาเทคโนโลยีในการค้นหา เอนไซม์และยีนทีก่ ำ� หนดการสร้างเอนไซม์จากแหล่งทรัพยากรชีวภาพ ต่างๆ ปีงบประมาณ 2557 ได้ค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก เชือ้ ราเอนโดไฟท์ เชือ้ ราก่อโรคในพืช แบคทีเรียและราต่างๆ รวมทัง้ สิน้ 95 สาร จ�ำแนกเป็นสารโครงสร้างใหม่จำ� นวน 37 สาร และสารทีท่ ราบ โครงสร้างแล้วจ�ำนวน 58 สาร ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ มาลาเรีย เชื้อมัยโคแบคทีเรีย เชื้อยีสต์ก่อโรค เชื้อราโรคผิวหนัง ต้าน เซลล์มะเร็ง ต้านวัณโรค เป็นต้น
สายพันธุ์ DMKU-XE142T, Wickerhamiella siamensis f.a., sp. nov. สายพันธุ์ DMKU-SE106T
Fibrodontia sp. สายพั น ธุ ์ RCK783S, Hypoxylon isabellinum, Hypoxylon lateripigmentum, Hypoxylon laminosum, Fusticeps multiseptata sp. nov., Fulvifomes xylocarpicola sp. nov., Fulvifomes siamensis sp. nov., Fulvifomes halophilus sp. nov., Moelleriella alba, Moelleriella chumphonensis
25
26
รายงานประจำ�ปี 2557
จุลินทรีย์ส�ำหรับควบคุมแมลงศัตรูพืชและ แมลงพาหะน�ำโรค คณะนั ก วิ จั ย ไบโอเทคได้ ค ้ น พบราท� ำ ลายแมลงที่ ส ามารถ ท�ำลายยุงร�ำคาญ ซึ่งเป็นพาหะน�ำโรคไข้สมองอักเสบมาสู่มนุษย์ โดยพบว่ารา Penicillium citrinum CM-010 ที่ความเข้มข้น 1x106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยท�ำลายลูกน�้ำตัวอ่อน ระยะที่ 3 ได้ 100% หลังทดสอบ 2 ชั่วโมง และพบว่า P. citrinum ผลิต toxin ประเภท patulin ซึ่งคาดว่ามีบทบาทในการยั้บยั้งเอนไซม์ ที่มีความส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตของยุงร�ำคาญ
การพัฒนาเอนไซม์สำ� หรับอุตสาหกรรมต่างๆ การพัฒนาอาหารสัตว์ AA ศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของเอนไซม์มาลิกที่มี
ความส�ำคัญต่อการสังเคราะห์กรดไขมันและสเตอรอล ในรา Mucor circinelloides พบ insertion region (FLxxPG) ของ กรดอะมิโนต�ำแหน่งที่ 159-163 บริเวณ N-terminus ซึง่ คาดว่า เป็นบริเวณที่ส่งผลต่อการเข้าท�ำงานของเอนไซม์ องค์ความรู้ นีช้ ว่ ยบ่งชีก้ ลไกการควบคุมการสะสมลิปดิ ของรากลุม่ ทีส่ ะสม ลิปิดสูง โดยเฉพาะราในกลุ่ม Mucoromycotina ที่มีความ ส�ำคัญทางอุตสาหกรรม AA ศึกษาสภาวะทีเ่ หมาะสมส�ำหรับการผลิตไบโอเซลลูโลสจากเวย์
โปรตีนในถั่วเหลือง โดยแบคทีเรีย Komagataeibacter sp. PAP1 พบว่าแบคทีเรียสามารถผลิตไบโอเซลลูโลสที่สภาวะ pH 6.21 ความเข้มข้นของเอทานอล 1.61% (v/v) และอุณหภูมิ 28.4°C ได้มากกว่าอาหารชนิดมาตรฐาน 3.6 เท่า โดยแผ่น ฟิลม์ ไบโอเซลลูโลสที่ได้มคี วามแข็งแรง น�ำ้ และออกซิเจนผ่านเข้า ออกได้ เหมาะส�ำหรับน�ำไปการพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับ ผลิตภัณฑ์ท่ีไวต่อออกซิเจน รวมทั้งน�ำไปประยุกต์ ใช้ ในงาน ด้านชีวการแพทย์
ค้ น พบสารใหม่ ที่ คั ด แยกได้ จ ากเชื้ อ ราจากมู ล ช้ า ง ไบโอเทคมีเป้าหมายในการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพในด้านต่างๆ เช่น ยา เอนไซม์ สารชีวภัณฑ์ และสารมูลค่าสูง เป็นต้น โดยการพัฒนาวิธี การตรวจหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การพัฒนากระบวนการ เลีย้ งจุลนิ ทรีย์ การศึกษาสูตรโครงสร้างทางเคมีของสารสกัดจาก จุลินทรีย์ และการสังเคราะห์หรือดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ เพื่อการประยุกต์ ใช้ประโยชน์ ใน อุตสาหกรรมด้านต่างๆ ในปีงบประมาณ 2557 คณะนักวิจัยไบโอเทคค้นพบสาร ใหม่ 1 สาร ได้แก่ Pleosporin และสารทีท่ ราบโครงสร้างจ�ำนวน 2 สาร ได้แก่ SCH 217048 และ SCH 21815 จากการวิเคราะห์ดว้ ย วิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) และ Marfey’s method ทั้ง 3 สารคัดแยกได้จากเชื้อราจากมูลช้างซึ่ง เป็นเชือ้ ราในวงศ์ Pleosporaceae จากการทดสอบการออกฤทธิ์ ทางชีวภาพ พบว่าทั้ง 3 สาร มีฤทธิ์ต้านมาลาเรียโดยออกฤทธิ์ ต่อ Plasmodium falciparum K1 ด้วยค่า IC50 = 1.6, 6.4 และ 1.6 µg/ml ตามล�ำดับ และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง (KB, MCF-7 and NCI-H187) และเซลล์ปกติ (noncancerous Vero cells) ที่ระดับ 50 μg/ml ทั้งนี้การออกฤทธิ์ต้านมาลาเรียนี้มีค่า น้อยกว่าตัวยามาตรฐาน dihydroartemisinin (IC50 = 0.0044 μg/ml) ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ ในวารสาร Tetrahedron Letters ฉบับประจ�ำเดือนมกราคม vol. 55 Issue 2 ปี 2014 เนือ่ งจากเป็นสารทีม่ โี ครงสร้างซับซ้อนยากต่อการค้นหา วารสาร จึงได้น�ำภาพโครงสร้างสาร Pleosporin A ขึ้นปกวารสาร
รายงานประจำ�ปี 2557
การผลิตเอทานอลหรือสารมูลค่าสูง AA ศึ ก ษาความสามารถในการผลิ ต เอทานอลของยี ส ต์
Zygoascus meyerae สายพันธุ์ E23 พบว่าสามารถผลิต เอทานอลจากน�้ำตาลไซโลสได้สูงถึง 3.631 กรัมต่อลิตร และ ศึกษาล�ำดับเบสและล�ำดับอะมิโนของยีน xylose reductase พบว่ า มี ค วามหนื ด และความคล้ า ยกั บ เอนไซม์ xylose reductase จากยีสต์ O. siamensis (ACN 78427) รวมทั้ง พบบริเวณกรดอะมิโนอนุรักษ์ (IIe-Pro-Lys-Ser) ที่มีความ จ�ำเพาะต่อเอนไซม์ NAD(P)H-dependent xylose reductase ของยีสต์สายพันธุ์ดังกล่าว AA ศึกษาโปรตีน expansin ชนิดใหม่ พบว่าช่วยส่งเสริมให้เอนไซม์
เซลลูเลสจากรา Trichoderma reesei ซึ่งเป็นเอนไซม์ทาง การค้า (Celluclast™) สามารถย่อยเซลลูโลสได้เพิม่ ขึน้ 2-7.6 เท่า และพบว่าโปรตีนจาก Clavibacter michiganensis (CmEX) และ Bacillus pumilus (BpEX) สามารถส่งเสริม การท�ำงานของเอนไซม์ ได้ดี โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่าง เอนไซม์ Celluclast™ และโปรตีน CmEX ที่สามารถส่งเสริม การย่อยลิกโนเซลลูโลสได้ดีที่สุดคือ 72.4% : 27.6% โดย ผลงานวิจัยสามารถประยุกต์ ใช้ ในงานวิจัยด้าน biorefinery ได้ ในอนาคต AA ค้นหาราทีม่ ศ ี กั ยภาพในการย่อยกากชานอ้อยเพือ่ เพิม่ มูลค่า
และลดปริมาณของเหลือทางการเกษตร โดยสามารถแยกรา จากกากชานอ้อยและวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรจ�ำนวน 169 สายพันธุ์ พบราที่สร้างเอนไซม์ ได้สูงสุด 5 ไอโซเลท และได้ ใช้ Taguchi design เพือ่ สร้างกลุม่ ราผสม พบว่าราผสมกลุม่ ต่างๆ สามารถลดปริมาณลิกนิน 9.08% เซลลูโลส 21.03% เฮมิเซลลูโลส 9.21% ผลงานวิจยั แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ในการน�ำกลุ่มราดังกล่าวที่มีฤทธิ์เสริมกันไปประยุกต์ ใช้ย่อย สลายของเหลือทางการเกษตร AA พั ฒ นากระบวนการผลิ ต เอนไซม์ จ ากเชื้ อ รา Aspergillus
aculeatus BCC199 พบว่าสารสกัดจากยีสต์ กากถั่วเหลือง ทวีน 20 และ ค่า pH เริ่มต้น เป็นปัจจัยในการเพิ่มผลผลิต เอนไซม์ FPase, endoglucanase, β-glucosidase, xylanase และ β-xylosidase จากเชือ้ ราดังกล่าว และพบว่ามัลติเอนไซม์จาก เชือ้ ราดังกล่าว สามารถย่อยฟางข้าว ซังข้าวโพด และต้นข้าวโพด ไปเป็นน�ำ้ ตาลกลูโคสและไซโลสได้ดกี ว่าเอนไซม์ทางการค้า 3 ชนิด ผลการวิจยั สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงาน
AA ศึกษาความสามารถของมัลติเอนไซม์จากรา Aspergillus
aculeatus BCC17849 ในการย่อยสลายผนังเซลล์พชื เพือ่ ลด ความหนืดของวัตถุดิบ ได้แก่ หัวมันสดบด มันเส้น และกากมัน ในกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง พบเอนไซม์กลุ่ม glycosyl hydrolase โดยในการย่อยวัตถุดิบที่อุณหภูมิ 45๐C ค่า pH 5.0 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง สามารถลดความหนืดได้ 3.0-51.3% และจากการใช้เอนไซม์ ในระบบการผลิตเอทานอลในแบบ Very High Gravity Fermentation (VHGF) แบบที่อุณหภูมิสูง และ แบบไม่ใช้ความร้อน พบว่าสามารถผลิตเอทานอลได้เท่ากับ 19.65% (v/v) และ17.54% (v/v) ตามล�ำดับ
AA ค้นพบยีนสร้างเอนไซม์ elongase (PyElo) ชนิดใหม่ จากรา
Pythium sp. BCC53698 ที่มีความจ�ำเพาะต่อกรดไขมันไม่ อิ่มตัว Δ6-18C โดยการศึกษาการแสดงออกของยีน PyElo ผ่านยีสต์เจ้าบ้าน พบว่ายีสต์สามารถสร้างเอนไซม์ elongase ที่ จ� ำ เพาะต่ อ สั บ สเตรทที่ เ ป็ น กรดไขมั น ที่ มี พั น ธะคู ่ บ ริ เ วณ คาร์บอนต�ำแหน่งที่ 6 เช่น กรดลิโนเลนิกชนิดแอลฟ่า กรด สเตียริโดนิก ซึง่ เป็นกรดไขมันไม่อมิ่ ตัวเชิงซ้อน [n3-18C PUFA] องค์ความรูท้ ี่ได้สามารถน�ำไปใช้พฒ ั นาระบบการสังเคราะห์กรด ไขมันทีม่ มี ลู ค่าสูงในเซลล์สงิ่ มีชวี ติ อืน่ ได้ ในอนาคต
การผลิตโปรตีน AA ศึกษาการแสดงออกของยีนโดยใช้โปรโมเตอร์ glyceralde-
hyde-3-phosphate dehydrogenase (GAP) จากยีสต์ ทนร้อน Pichia thermomethanolica พบว่าโปรโมเตอร์ glyceraldehyde-3-phosphate dehydrogenase (GAP) ของยีสต์ทนร้อน Pichia thermomethanolica สามารถ ท�ำให้การแสดงออกของเอนไซม์ ไฟเตส ดีกว่าโปรโมเตอร์ของ P. pastoris ทีอ่ ณ ุ หภูมิ 30๐C และสามารถท�ำงานได้ทอี่ ณ ุ หภูมิ ๐ สูงถึง 42 C ผลการวิจัยสามารถประยุกต์ ใช้เพื่อพัฒนาการ ผลิตโปรตีนระดับขยายขนาด และลดค่าใช้จ่ายในการหล่อเย็น ระหว่างการผลิต AA ศึกษากระบวนการของยีสต์ Pichia pastoris ที่เกี่ยวข้องกับ
เมตาบอลิซึมของเมทานอล และการควบคุมการผลิตโปรตีน ลูกผสม โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ทางชีววิทยาระบบ (Elementary Mode Analysis, EMA) พบว่า EMA สามารถใช้ ในการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์ ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลง อัตราส่วนของกลีเซอรอลและเมทานอล และสามารถใช้ ในการ หาสภาวะทีเ่ หมาะสมในการผลิตโปรตีนภายใต้สภาวะออกซิเจน ต�ำ่ สามารถน�ำไปประยุกต์ ใช้ ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ทางการ แพทย์ (therapeutic proteins)
27
28
รายงานประจำ�ปี 2557
การพัฒนาเทคโนโลยีฐาน เพื่อการวิจัย เป้ า หมายเพื่ อ สร้ า งความสามารถความเข้ ม แข็ ง ทาง เทคโนโลยีชีวภาพให้ประเทศก้าวทันการพัฒนาเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ของโลก และน� ำ เทคโนโลยี ที่ พั ฒ นาขึ้ น มาใช้ ใ น การวิ จั ย เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาโจทย์ วิ จั ย ของประเทศได้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีฐาน : เทคโนโลยีหน้าที่ของจีโนม มุง่ เน้นการสร้างความสามารถด้าน sequencing technology, proteomics technology, DNA microarray, bioinformatics and systems biology และ metabolomics เพื่อสร้างให้ฐานเทคโนโลยีมี ความสมบูรณ์ที่จะน�ำไปสู่การพัฒนาไปใช้ประโยชน์ ได้มากขึ้น
Genomics และ transcriptomics AA คัดเลือกแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติสร้างสาร bacteriocin ชนิด
ใหม่ จากคลังจุลินทรีย์ของไบโอเทคด้วยเทคนิค whole cell MALDI-TOF MS และท�ำ spot on lawn assay จากการพบ แลคติคแอซิดแบคทีเรียที่คาดว่าจะมีเปปไทด์ต้านจุลชีพชนิด ใหม่ จ�ำนวน 11 strains และท�ำการวิเคราะห์ล�ำดับเบสของ แลคติคแอซิดแบคทีเรียทัง้ 11 strains ด้วยเทคนิค Ion Torrent ได้ล�ำดับเบสทั้งสิ้น 4,834,067 reads ความยาวเฉลี่ย 150 bp/read AA ได้ข้อมูลล�ำดับเบสจีโนมของราท�ำลายมด Ophiocordycep
polyrachis-furcata (OPF) จากการใช้ เ ทคโนโลยี 454 pyrosequencing และ mate-pair sequencing โดยพบ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารชีวภาพ secondary metabolites จ�ำนวน 24 ยีน และยีนที่ควรท�ำการศึกษาต่อ ได้แก่ กลุ่มยีนที่เกี่ยวข้องกับ pathogenesis และ virulence
Proteomics AA พัฒนาประสิทธิภาพของเทคนิค in-gel digestion ซึง่ สามารถ
วิเคราะห์ตัวอย่างได้เพิ่มขึ้นเป็น 250 ตัวอย่างต่อ 10 ชั่วโมง ใช้เวลา 25 นาที/ตัวอย่าง ต้นทุนน้อยกว่า 1,200 บาท และให้ ผลการวิเคราะห์ที่แม่นย�ำกว่าเทคนิค LC-MS/MS AA ได้ แ ผนที่ โ ปรติ โ อมที่ เ ป็ น ค่ า อ้ า งอิ ง ส� ำ หรั บ โปรตี น ของเชื้ อ
แบคทีเรีย Neisseria gonorrthoeae ที่ท�ำให้เกิดโรคหนองใน ด้วยเทคนิค 2D-PAGE และ MALDI-TOF MS ผลจากการวิจยั นี้แสดงถึงประโยชน์ของการใช้แผนที่โปรติโอมมาศึกษากลไก ของสารปฏิชีวนะและกลไกการปรับตัวของแบคทีเรีย AA ประยุกต์ ใช้เทคนิค MALDI-TOF Biotyper ค้นหาเครือ่ งหมาย
โมเลกุลคัดแยกเชือ้ แบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึง่ เป็นแบคทีเรียแกรมลบที่ก่อให้เกิดโรคเมลิออยด์ ผลจากการ วิจัยนี้พบว่า เทคนิค MALDI-TOF Biotyper สามารถคัดแยก เชื้อก่อโรคและเชื้อที่พบในธรรมชาติออกจากกันได้ ท�ำให้การ ตรวจแบคทีเรียทางการแพทย์มีความรวดเร็วและแม่นย�ำ
เทคโนโลยีฐาน : เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ มุ่งเน้นการสร้างความสามารถด้าน recombinant protein และ heterologous gene expression system และ cultivation and pre-pilot synthesis เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการสร้างเซลล์ จุลินทรีย์ขึ้นใหม่ การใส่ชุดยีนได้หลายยีนพร้อมกันที่จะควบคุม ขัน้ ตอนการสังเคราะห์สาร ท�ำให้จลุ นิ ทรียส์ งั เคราะห์สารใหม่ซงึ่ เดิมไม่ สามารถท�ำได้ และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อการ ผลิตสารส�ำคัญในขนาดระดับก่อนอุตสาหกรรม AA ศึกษาโครงสร้างผลึกของเอนไซม์ ไซลาเนสต้นแบบ (Xyn12.2)
และออกแบบการปรับปรุงโครงสร้างของเอนไซม์ ให้ทนร้อนและ ทนด่างมากขึ้น โดยได้สร้างไซลาเนสกลายพันธุ์ XynC151 (truncation ด้าน N-terminal) ซึ่งพบว่ามี catalytic activity (Kcat) เพิ่มขึ้น 3.4 ถึง 4 เท่า ที่ pH9 และ pH8 ตามล�ำดับ
รายงานประจำ�ปี 2557
AA ศึกษาความจ�ำเพาะต่อซับสเตรทของเอนไซม์ Δ6-elongase
ใน Saccharomyces cerevisiae พบว่า PyELO2 สามารถ เพิ่มความยาวอะตอมคาร์บอนโดยเปลี่ยน GLA, 18:3 n-6 ไปเป็น DGLA, 20:3 n-6 และ ETA, 20:4 n-3 ได้ และได้สร้าง พลาสมิดลูกผสมที่มียีน Δ6-elongase และ Δ6-desaturase เพื่อใช้ปรับองค์ประกอบของกรดไขมันในรา Aspergillus oryzae ต่อไป AA สร้ า ง plasmid template (pPIC-I-SceI-18-MCS-
Amp) และ KU70 disruption plasmid (KU70-ISZeocin) เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการดั ด แปลงพั น ธุ ก รรม ยี ส ต์ P. thermomethanolica BCC16875 (Ogataea thermomethanolica BCC16875) ที่ต�ำแหน่ง KU70 ซึ่งใน อนาคตสามารถดัดแปลง disrupting unit ตามต�ำแหน่งที่ ต้องการดัดแปลงพันธุกรรมของยีสต์ ได้ต่อไป
เทคโนโลยีฐาน : เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร มุ่งเน้นการสร้างความสามารถรองรับงานวิจัยและพัฒนาพืช ดัดแปลงพันธุกรรม และพัฒนาโรคอุบัติใหม่อุบัติซ�้ำในสัตว์ AA ศึ ก ษากลไกการควบคุ ม การตายของเซลล์ เ ม็ ด เลื อ ดกุ ้ ง ใน
จานทดลอง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ การประเมินลักษณะ การตายแบบอะพอพโทซิส และเน็คโครซิสของเซลล์เม็ดเลือด ระดับปฐมภูมิ และระดับปฐมภูมิที่เพาะเลี้ยงในน�้ำยาเพาะเลี้ยง ที่ ไ ด้ รั บ สารที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กระบวนการควบคุ ม การตาย และการสลายตัวของแกรนูลของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งผลการ ทดลองยืนยันว่าเซลล์เม็ดเลือดกุ้งระดับปฐมภูมิมีการตาย แบบอะพอพโทซิส โดยองค์ความรู้ที่ได้มีสามารถใช้เป็นข้อมูล ในการศึกษาเซลล์เม็ดเลือดได้ต่อไป
โรงงานต้ น แบบผลิ ต ยาชี ว วั ต ถุ แ ห่ ง ชาติ (National Biopharmaceutical Facility) เป็นโครงสร้างพื้นฐานส�ำหรับ ผลิ ต ยาชี ว วั ต ถุ ร ะดั บ อุ ต สาหกรรมแห่ ง แรกของประเทศไทย มี ค วามพร้ อ มด้ า นเครื่ อ งมื อ และอุ ป กรณ์ อ� ำ นวยความ สะดวกที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากลการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice for pharmaceutical facility) และมี กระบวนการด�ำเนินงานที่ได้มาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี ในการผลิตยา (Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme ; GMP PIC/S) และได้รับใบอนุญาตเป็นสถานที่ผลิต ยาจากส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงเป็นโรงงาน ต้นแบบฯ ที่สามารถสร้างความมั่นใจให้อุตสาหกรรมผลิตยา วัคซีน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยโรงงาน ต้นแบบฯ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และไบโอเทค ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ สวนอุตสาหกรรมของ มจธ. วิทยาเขตบางขุนเทียน เปิดให้บริการ เป็นทางการตัง้ แต่ 24 มีนาคม 2557 การด�ำเนินงานประกอบด้วย 1) การบริการวิจยั และพัฒนา การออกแบบกระบวนการผลิต การ ขยายขนาดการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ 2) การบริการผลิต ยาชีววัตถุทเี่ ป็นโปรตีนโดยใช้กระบวนวิศวกรรมชีวภาพชัน้ สูง และ 3) การบริการฝึกอบรมและให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำในส่วนของการ ผลิต การตรวจสอบคุณภาพ ระบบสนับสนุนและระบบเอกสาร ตามมาตรฐาน cGMP
29
30
รายงานประจำ�ปี 2557
ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ ใช้ประโยชน์ ไบโอเทคน�ำผลงานวิจยั และความรูด้ า้ นเทคโนโลยีชวี ภาพไปประยุกต์ใช้เพือ่ ให้เกิด ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการบริการ และน�ำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อภาคสาธารณะ
รายงานประจำ�ปี 2557
การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ไบโอเทคใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม ใน รูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ ได้จากการวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ การรับจ้างวิจัย การร่วมวิจัย การให้ บริการปรึกษาอุตสาหกรรม และงานบริการวิเคราะห์ตรวจสอบด้านเทคนิค เพื่อส่งเสริมให้เกิดการน�ำเทคโนโลยีชีวภาพ ไปปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจากผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อน�ำไปใช้ ประโยชน์เชิงพาณิชย์จ�ำนวน 7 เรื่อง ให้แก่ 6 บริษัท/หน่วยงาน บริษัทที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เทคโนโลยีที่มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์และจุดเด่นของเทคโนโลยี
บริษัท กรีน อินโนเวทีฟ ไบโอเทคโนโลยี จ�ำกัด “โลหะ-เมธไธโอนีนคีเลต เพื่อใช้ในสถานประกอบการ” เป็นแร่ธาตุที่อยู่ในอาหารสัตว์ ในรูปของ สารประกอบคีเลต ช่วยการดูดซึมในส�ำไส้เล็กและเซลล์เนื้อเยื่อ ท�ำให้สัตว์จะสามารถใช้ประโยชน์ จากแร่ธาตุได้มากขึ้น สุขภาพแข็งแรง ช่วยลดต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ และลดการน�ำเข้า ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ บริษัท เอเชีย สตาร์ แอนนิมัล เฮลธ์ จ�ำกัด “เชื้อจุลินทรีย์และสภาวะที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณเชื้อดังกล่าวด้วยเทคนิค Solid state fermentation เพื่อการผลิตเป็นสารเสริมอาหารสัตว์” เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสูง ในการสร้างเอนไซม์หลายชนิดในกลุ่มย่อยเยื่อใย ได้แก่ cellulase, amylase และ xylanase โดย สามารถท�ำงานได้ดีที่อุณหภูมิ 60˚C และช่วง pH ที่กว้าง เหมาะสมกับระบบทางเดินอาหารสัตว์ และหลังจากผ่านกระบวนการอัดเม็ดจะคงค่ากิจกรรมเอนไซม์ที่สูง บริษัท อีโค ไซเอนทิฟิค จ�ำกัด “ชุดทดสอบออกซิเจนละลายน�้ำแบบพกพา” เป็นชุดตรวจมีขนาดเล็กกะทัดรัดพกพาได้สะดวก ใช้งานง่าย ใช้เวลาตรวจรวดเร็วเพียง 3 นาที สามารถตรวจวิเคราะห์ ได้ทั้งในน�้ำจืดและน�้ำเค็ม มี ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับวิธีการดั้งเดิม และราคาถูกกว่าชุดทดสอบที่น�ำเข้าจากต่างประเทศ ป.เจริญฟาร์ม “ระบบไนตริฟิเคชั่นแบบท่อยาวเพื่อการใช้ภายในสถานประกอบการ” เป็นกระบวนการบ�ำบัด ของเสียไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียไนไตรต์และไนเตรตออกจากระบบบ่อเลี้ยงสัตว์น�้ำได้อย่าง สมบูรณ์ สามารถหมุนเวียนน�้ำใช้ ได้นานกว่า 1 ปี โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน�้ำออกจากบ่อในระหว่าง การเลี้ยง เหมาะส�ำหรับการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การผลิตลูกพันธุ์สัตว์น�้ำปลอดโรค การเลี้ยงสัตว์น�้ำ ความหนาแน่นสูงเพื่อผลิตสัตว์น�้ำเชิงพาณิชย์ บริษัท ยูนิตี้ จ�ำกัด “ชุดตรวจโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้งแบบ strip test” เป็นเทคโนโลยีตรวจสอบโรคกุ้งในภาค สนามที่เกษตรกรสามารถตรวจสอบได้เองใช้งานง่าย ใช้เวลาตรวจเร็ว และราคาถูก "ไพรเมอร์ที่จ�ำเพาะต่อไวรัสหัวเหลืองสายพันธุ์ YHV และ GAV และการตรวจหาไวรัสหัวเหลือง หน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ไบโอเทค สายพันธุ์ YHV และ GAV พร้อมกันในครั้งเดียว" สามารถใช้ส�ำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคกุ้ง ประเภทไวรัสหัวเหลืองสายพันธุ์ YHV และ GAV ได้พร้อมกันในครั้งเดียวด้วยวิธีพีซีอาร์ โดยให้ผล การตรวจที่แม่นย�ำในเวลารวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย "ไพรเมอร์ที่จ�ำเพาะต่อปรสิต Enterocytozoon hepatopenaei และการใช้ ไพรเมอร์ดังกล่าว" สามารถใช้ส�ำหรับตรวจหาปรสิต Enterocytozoon hepatopenaei ในกุ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของการ ท�ำงานผิดปกติของตับกุ้งด้วยวิธีพีซีอาร์ โดยให้ผลการตรวจที่แม่นย�ำในเวลารวดเร็ว ใช้งานง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย
31
32
รายงานประจำ�ปี 2557
ชุดทดสองออกซิเจนละลายน�้ำ ระบบไนตริฟิเคชั่นแบบท่อยาว
การร่วมวิจัย รับจ้างวิจัย บริการปรึกษา อุตสาหกรรม และการพัฒนาต้นแบบ เทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้เกิดการน�ำเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ ใช้ ใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ หรือการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการผลิตและภาคบริการในระยะยาว ไบโอเทคได้ ใช้กลไกการร่วมมือตั้งแต่การเริ่มศึกษาวิเคราะห์โจทย์ ความต้องการ พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้ผลงานที่ได้จาก การวิจัยสามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการและสามารถ น�ำไปใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคด�ำเนินงานโครงการร่วมวิจัย รับจ้างวิจัย จากภาคเอกชน/ภาครัฐรวม 59 โครงการ แบ่งเป็น โครงการต่อเนื่อง 26 โครงการ และโครงการใหม่ 33 โครงการ โดย โครงการใหม่ 33 โครงการแบ่งเป็นด้านอุตสาหกรรมอาหารและ การเกษตร 21 โครงการ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 7 โครงการ ด้านสุขภาพและการแพทย์ 3 โครงการ ด้านอุตสาหกรรมและบริการ 2 โครงการ ให้บริการปรึกษาอุตสาหกรรมแก่บริษทั และหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต 7 โครงการ
การบริการตรวจวิเคราะห์และเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ ไบโอเทคให้บริการทางเทคนิควิเคราะห์ทดสอบและบริการ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ส�ำคัญให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ บริการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์และวัสดุชีวภาพระดับโมเลกุล บริการคัดแยกและทดสอบการเจริญของเชือ้ รา บริการตรวจวิเคราะห์ เอนไซม์ บริการตรวจสอบหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ บริการ วิเคราะห์สารและสกัดสาร บริการโมโนโคลนอลแอนติบอดี บริการ ตรวจวิเคราะห์ ไวรัสโรคกุ้งและแก้ปัญหาแบบครบวงจร บริการตรวจ วิเคราะห์ดีเอ็นเอสัตว์น�้ำ บริการรับฝากเซลล์สัตว์ บริการเทคโนโลยี เพื่อแก้ ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์ ในโคนม การตรวจวิเคราะห์คุณภาพ แป้ ง และผลิ ต ภั ณ ฑ์ มั น ส� ำ ปะหลั ง บริ ก ารตรวจวิ เ คราะห์ ท างเคมี สิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยในปีงบประมาณ 2557 ให้บริการรวม 8,010 รายการแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
รายงานประจำ�ปี 2557
หนอนกระทู้ผัก สภาพหนอนตายเมื่อได้รับไวรัส เอ็นพีวี โรงงานต้นแบบผลิตไวรัส เอ็นพีวี เพื่อ ควบคุมแมลงศัตรูพืช
เปิดห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ภาค อุตสาหกรรม เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจยั และการใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ระหว่างไบโอเทคและภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการน�ำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เ พื่ อ ประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการพั ฒ นากระบวนการผลิ ต ของภาคอุตสาหกรรม และเพื่อแสดงความพร้อมความสามารถ ด้ า นเทคโนโลยี แ ละผลงานวิ จั ย ของไบโอเทคที่ จ ะช่ ว ยตอบโจทย์ วิจัยภาคอุตสาหกรรม โดยปีงบประมาณ 2557 ได้จัดการประชุม แลกเปลี่ยนความเห็นและการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ด้านชีวภัณฑ์ก�ำจัดแมลงศัตรูพืชและเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัย โรคพืชให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรจ�ำนวน 35 คน จาก 12 บริษัท
ไวรัสเอ็นพีวีเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคกับหนอนแมลงศัตรูพืช หนอนจะ ตายภายใน 3-7 วัน มีความปลอดภัย ต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ไม่มีมลพิษตกค้างบนพืช
33
34
รายงานประจำ�ปี 2557
กิจกรรมการอบรมระบบมาตรฐานสุขลักษณะ ที่ดีให้กับบุคลากรโครงการหลวง
การน�ำผลงานไปใช้ประโยชน์ เชิงสาธารณะ ไบโอเทคน� ำ ผลงานจากการวิ จั ย และพั ฒ นาไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และ ได้น�ำความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชนไปส่งเสริมเพื่อเป็นกลไกในการ สร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน นอกจากนี้ ไบโอเทคได้น�ำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวติ ของประชาชน โดยเน้นกลุม่ เป้าหมายคือ ครู เยาวชน และสามเณร ในถิน่ ทุรกันดาร โดยด�ำเนินการสนับสนุนกิจกรรมทีส่ ง่ เสริมการเรียน รูว้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีทเี่ กีย่ วข้องในชีวติ ประจ�ำวัน และเสริมสร้าง ให้เกิดจิตส�ำนึกในการรักท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในระยะยาว
โครงการพัฒนาระบบความปลอดภัยและ คุณภาพอาหารเพื่อชุมชน ไบโอเทคส่งเสริมการยกระดับคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ อาหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ ฝึกอบรม ให้กับชุมชน 15 เรื่อง (21 ครั้ง) จ�ำนวน 826 คน (1,557 คน-วัน) เช่น สุขลักษณะที่ดีในกระบวนการผลิตอาหาร การยกระดับมาตรฐาน คุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารชุมชน การผลิตข้าวกล้องงอก แหนมเห็ด และเสาวรสแช่แข็งตามหลักมาตรฐานความปลอดภัย อาหาร การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้า OTOP เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมูลนิธโิ ครงการหลวงร่วมจัดกิจกรรมอบรมสุขาภิบาลเบือ้ งต้นใน การประกอบอาหารและระบบมาตรฐานสุขลักษณะทีด่ ใี ห้แก่เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องจ�ำนวน 243 คน (308 คน-วัน)
รายงานประจำ�ปี 2557
โครงการพัฒนานักประกอบการวิสาหกิจ ชุมชนข้าวอินทรีย์ ไบโอเทคร่วมกับ จ.ยโสธร ด�ำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบ การวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนข้ า วอิ น ทรี ย ์ มี เ ป้ า หมายในการส่ ง เสริ ม การ ท�ำนาเกษตรอินทรีย์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวนา ผู้บริโภค และ สิง่ แวดล้อม และเปลีย่ นวิถกี ารท�ำนาของชาวนาจากการปลูกข้าวเพือ่ ขายข้าวเปลือกมาเป็นการขายข้าวสาร ช่วยลดต้นทุนในการผลิต ข้าวของชาวนาเนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีซึ่งมีราคาแพงเพื่อให้ ชาวนามีรายได้ ในการขายข้าวในราคาที่สูงขึ้น โครงการฯ จัดเวทีให้ มีการพูดคุยส�ำหรับแลกเปลีย่ นความรู้ ทัศนคติ สะท้อนปัญหา ท�ำให้ ทราบความต้องการทีจ่ ะพัฒนาการปลูกข้าวให้เป็นเกษตรอินทรียแ์ ละ ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐาน โดยมีชาวนาร่วมมือกับโครงการฯ จ�ำนวน 7 ต�ำบลใน 5 อ�ำเภอ ได้แก่ ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว ต.บากเรือ อ.มหาชนะชัย ต.น�ำ้ อ้อม อ.ค้อวัง ต.บุง่ ค้าและ ต.สามแยก อ.เลิงนกทา ต.นาโส่และ ต.ก�ำแมด อ.กุดชุม จ�ำนวน 4,500 ราย พื้นที่นา 45,650 ไร่ โดยโครงการฯ ได้นำ� วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ เช่น การเพิม่ อินทรียว์ ตั ถุในแปลงนา การจัดเก็บข้อมูลพิกดั แปลงนา การ ตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการส�ำรวจประสิทธิภาพ ของโรงสีข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
การพัฒนากลุ่มครู เยาวชน ในโรงเรียนใน ถิ่นทุรกันดาร ไบโอเทคร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อการ พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจ�ำวัน การพัฒนากระบวนการ คิดอย่างมีเหตุมีผล โดยจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครู นักเรียน 24 เรื่อง (51 ครั้ง) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2,836 คน (5,692 คน-วัน) ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากโครงการเกษตรอาหาร กลางวันแบบบูรณาการ การเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืช การพัฒนาทักษะการท�ำโครงงานวิทยาศาสตร์ การเขียนโครงร่าง การวิจยั เชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน แนวทาง การพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และภาษาไทย เป็นต้น
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ สหกรณ์การเกษตรผักไห่ จ�ำกัด น้อมเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุข์ า้ ว “พันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน�้ำท่วมฉับพลัน” แด่สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จ�ำนวน 3,000 กิโลกรัม เพื่อ ทรงพระราชทานให้แก่เกษตรกรจังหวัดพัทลุงซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ ได้รับความเสียหายเป็นประจ�ำจากน�้ำท่วม ข้ า วพั น ธุ ์ ห อมชลสิ ท ธิ์ ท นน�้ ำ ท่ ว มฉั บ พลั น พั ฒ นาขึ้ น โดยความร่วมมือระหว่างคณะนักวิจัยไบโอเทค มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และกรมการข้าว จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ ข้าว IR7514 ที่มีคุณสมบัติทนน�้ำท่วมฉับพลันกับสายพันธุ์ข้าว ดอกมะลิ 105 มีคุณลักษณะเด่นที่มีกลิ่นหอม ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทนอยู่ใต้น�้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ อายุ เก็บเกี่ยว 120 วัน และมีผลผลิตข้าวเปลือก 800-900 กิโลกรัม ต่อไร่ ทั้งนี้ไบโอเทคได้น้อมเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวแด่สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ โดยทรงพระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่ สมาชิกสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทยเพื่อแจกจ่ายให้ สมาชิกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกษตรกรที่ ประสบภัยน�้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี 2550 และจังหวัด พัทลุงในปี 2555
35
36
รายงานประจำ�ปี 2557
ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมจากผลงานวิจัย ผลส� ำ เร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากงานวิ จั ย และพั ฒ นาของไบโอเทคได้ น� ำไปใช้ ป ระโยชน์ ใ น เชิ ง พาณิ ช ย์ แ ละเชิ ง สาธารณประโยชน์ โดยผ่ า นกระบวนการต่ อ ยอด องค์ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น การอนุญาตให้ ใช้สิทธิ ผลงานวิ จัย การร่วมวิจัย/รับจ้างวิจัยให้กับ ภาคเอกชน หน่ วยงานภาครั ฐ และ ต่อสาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงต่อหน่วยงานผู้รับบริการ รวมทั้งยังส่ง ผลกระทบทางอ้อมต่อภาพรวมเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
รายงานประจำ�ปี 2557
การถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าว จ.สกลนคร ข้าวกล้องงอกปลอดสารพิษ ชุมชนเต่างอย จ.สกลนคร
ในปีงบประมาณ 2557 ไบโอเทคด�ำเนินการประเมินและรวบรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการ ให้บริการต่างๆ ที่ด�ำเนินการเองและร่วมด�ำเนินการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จ�ำนวน 53 โครงการ พบว่าสร้างผลกระทบรวม 2,489 ล้านบาท โดยเป็นผลกระทบด้านการลงทุน 74 ล้านบาท ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น 1,860 ล้านบาท ด้านการลดต้นทุน 466 ล้านบาท และด้านลดการน�ำเข้า 89 ล้านบาท
ด้านการเกษตรและอาหาร “การประเมิน 42 โครงการ เกิดผลกระทบรวม 1,914 ล้านบาท”
ด้านพืช การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี สายพันธุ์ข้าวซึ่งได้จากการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โดยไบโอเทคและ ร่วมทดสอบสายพันธุ์กับกรมการข้าว ได้แก่ ข้าว กข 6 ต้านทาน โรคไหม้ (ธัญสิริน) ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน�้ำท่วมฉับพลัน ไบโอเทคและ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในพืน้ ทีต่ า่ งๆ ได้ดำ� เนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรในพืน้ ทีภ่ าคกลาง ภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่งผลกระทบให้เกิดรายได้เพิ่มรวม 398 ล้านบาท
การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตพืช ผล จากด�ำเนินงานของไบโอเทคในโครงการด้านการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตพืชต่างๆ อาทิ โครงการการขยายก�ำลังการผลิตอ้อย ปลอดโรค การพัฒนาพันธุ์อ้อย การพัฒนาพันธุ์ปาล์มน�้ำมัน การ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้แวนด้า การคัดเลือกพันธุ์พืช การผลิต น�้ำยาตรวจโรคพืช และการผลิตเชื้อไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมแมลง ศัตรูพืช เป็นต้น โครงการดังกล่าวเป็นโครงการทั้งที่ ไบโอเทคได้ ด�ำเนินการเอง และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ได้สง่ ผลกระทบให้เกิดการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง เป็นมูลค่าโดยรวมประมาณ 279 ล้านบาท
ด้านสัตว์ จากการด�ำเนินงานโครงการวิจยั ด้านเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ อาทิ การพัฒนาพันธุ์กุ้งกุลาด�ำ การย้ายฝากตัวอ่อนแช่แข็งโคนม การเหนี่ยวน�ำการตกไข่โคนม ระบบหมุนเวียนน�้ำแบบปิดส�ำหรับ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ สร้างรายได้เพิ่มและลดต้นทุนเป็นมูลค่ารวม ประมาณ 368 ล้านบาท
37
38
รายงานประจำ�ปี 2557
อ้อยทนเค็มพื้นที่ อ.บ้านเฮด จ.ขอนแก่น ข้าวทนเค็มพื้นที่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
ด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ผลงานที่ไบโอเทคได้ถา่ ยทอดเทคโนโลยีให้กบั ภาคเอกชน อาทิ การพัฒนาสูตรการผลิตแหนม การผลิตต้นเชือ้ อาหารหมักสัตว์ การ หมักน�้ำปลาโดยใช้เอนไซม์ การผลิตเอนไซม์เพื่อใช้ ในอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ เป็นต้น โครงการดังกล่าวสร้างผลกระทบในด้านการ ลงทุน รายได้ การส่งออก ประเมินได้รวมประมาณ 449 ล้านบาท
ด้านการพัฒนาชุมชนชนบทและการฟื้นฟู พื้นที่ดินเค็ม ไบโอเทคและหน่วยงานพันธมิตรเข้าร่วมสนับสนุนการพัฒนา ชุมชนสร้างรายได้และอาชีพในพื้นที่ปฏิบัติการ (area based) ได้แก่ อ.เต่างอย จ.สกลนคร และ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ตลอดจนด�ำเนิน โครงการพัฒนาวนเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ จ.แพร่ นอกจากนี้ ไบโอเทคได้ร่วมมือกับบริษัท เกลือพิมาย จ�ำกัด บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จ�ำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด�ำเนิน โครงการฟืน้ ฟูดนิ เค็มในพืน้ ที่ จ.สกลนคร จ.อุดรธานี จ.นครราชสีมา และ จ.ขอนแก่น สร้างผลกระทบให้เกษตรกรโดยสร้างรายได้จาก ผลผลิตเกษตร และนอกภาคเกษตร สร้างผลกระทบรวมประมาณ 420 ล้านบาท
ด้านการแพทย์และ สาธารณสุข “การประเมิน 4 โครงการ สร้างผลกระทบรวม 95 ล้านบาท ”
ด้านการพัฒนาการผลิตยาและวัคซีน ไบโอเทคร่วมกับมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ท�ำการวิจัยและ พัฒนาการผลิตวัคซีนไข้เลือดออก การวิจัยเทคโนโลยีการใช้เซลล์ เป็นแหล่งผลิตยา โดยได้มถี า่ ยทอดเทคโนโลยี ตลอดจนให้คำ� ปรึกษา งานวิจัย สร้างผลกระทบรวมประมาณ 87 ล้านบาท
ด้านการตรวจวินิจฉัย ไบโอเทคได้ถา่ ยทอดเทคโนโลยีการใช้อปุ กรณ์ชว่ ยแปลผลชนิด ของธาลัสซีเมีย และท�ำการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีส�ำหรับการ ตรวจวินจิ ฉัยให้แก่ภาคเอกชน สร้างผลกระทบรวมประมาณ 8 ล้านบาท
รายงานประจำ�ปี 2557
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต แป้งมันส�ำปะหลัง
ด้านสิ่งแวดล้อม “การประเมิน 7 โครงการ สร้างผลกระทบรวม 480 ล้านบาท”
ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต แป้งมันส�ำปะหลัง ไบโอเทคร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนาเทคโนโลยีและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแป้งมันส�ำปะหลัง ให้แก่โรงงานแป้งมันส�ำปะหลัง Near Zero Waste Concept จ�ำนวน 6 โรงงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมแป้ง มันส�ำปะหลังผ่านหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรจ�ำนวน 8 โรงงาน ท�ำให้โรงงานสามารถจัดการลดปริมาณแป้งที่หกหล่น เพิ่ม ประสิทธิภาพหน่วยผลิต และลดการใช้ทรัพยากร น�้ำและพลังงาน ประเมินผลกระทบได้รวม 346 ล้านบาท
ด้านการใช้ประโยชน์จากของเสียในการ ผลิตก๊าซชีวภาพ ไบโอเทคร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถ่ายทอดเทคโนโลยีพัฒนาเทคโนโลยีการบ�ำบัดน�้ำเสียเพื่อผลิต ก๊าซชีวภาพ ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมมันส�ำปะหลัง อุตสาหกรรม น�้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมอาหาร สร้างผลกระทบในการลด ต้นทุนจากพลังงานจากการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน ได้รวม 98 ล้านบาท
ด้านผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อม ไบโอเทคได้ร่วมกับภาคเอกชนวิจัยการผลิตแบคทีเรียส�ำหรับ การก�ำจัดคราบน�้ำมันทางชีวภาพ โดยถ่ายทอดผลงานวิจัยการ พัฒนาสารชีวบ�ำบัดภัณฑ์ ไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ สร้างผลกระทบจาก การจ�ำหน่าย และลดการน�ำเข้าทั้งสิ้นประมาณ 36 ล้านบาท
39
40
รายงานประจำ�ปี 2557
ก้าวสู่ความเป็นสากล ไบโอเทคให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การสร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ กั บ พั น ธมิ ต ร ต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในการวิจัยและพัฒนา ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในเวทีโลก รวมถึงการสร้างพันธมิตรวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการแบ่งปัน การแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุุคลากรวิจัย
รายงานประจำ�ปี 2557
เครือข่ายอาเซียนด้านการใช้ประโยชน์จาก จุลินทรีย์ ไบโอเทคเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเครือข่ายการใช้ประโยชน์ จากจุ ลิ น ทรี ย ์ แ ห่ ง อาเซี ย น (ASEAN Network on Microbial Utilization) ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 โดย มีผู้แทนจากสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย 8 แห่งจากประเทศ สมาชิกอาเซียน และ ASEAN Center for Biodiversity เข้าร่วมประชุม โดยการจัดตั้งเครือข่ายการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์แห่งอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความสามารถ (capacity building) ด้านการวิจยั ใช้ประโยชน์จากจุลนิ ทรีย์ในประเทศ สถาบัน/ประเทศ Temasek Polytechnic ประเทศสิงคโปร์ Korea National Research Resource Center ประเทศเกาหลีใต้ Malaysian Agricultural Research and Development Institute ประเทศมาเลเซีย Agency for the Assessment and Application of Technology ประเทศอินโดนีเซีย Agency for the Assessment and Application of Technology ประเทศอินโดนีเซีย Institute of Research and Community Services, Institute Teknologi Bandung ประเทศอินโดนีเซีย Diponegoro University ประเทศอินโดนีเซีย Hiroshima University ประเทศญี่ปุ่น Chiba University ประเทศญี่ปุ่น Institute of Crops and Nuclear Technology Utilization, Zhejiang Academy of Agricultural Science ประเทศจีน Hunan Agricultural University in Agricultural Biotechnology ประเทศจีน Vegetable Research Institute, Guangxi Academy of Agricultural Sciences ประเทศจีน Centro Internacional De Mejoramiento De Maiz Trigo (CIMMYT)
กลุ่มอาเซียนโดยผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัย แลกเปลี่ยน บุคลากรและการจัดฝึกอบรม โดยในการเปิดตัวครัง้ แรกมีสมาชิกของ เครือข่ายฯ รวม 11 สถาบันจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ฟิลปิ ปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ และไทย
ความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ไบโอเทคได้ ล งนามสั ญ ญาความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการกั บ สถาบันวิจยั และสถาบันการศึกษาต่างประเทศ จ�ำนวน 13 หน่วยงาน ใน 7 ประเทศ
สาขาที่มีความร่วมมือ
ระยะเวลา
การแลกเปลี่ยนบุคลากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ การบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพ
5 ปี (1 พฤศจิกายน 2557–31 ตุลาคม 2562) 3 ปี (18 มิถุนายน 2557–17 มิถุนายน 2560) 3 ปี (25 สิงหาคม 2557–24 สิงหาคม 2560)
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพ
3 ปี (12 ธันวาคม 2556–1 ธันวาคม 2559)
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
3 ปี (19 กุมภาพันธ์ 2557–18 กุมภาพันธ์ 2560)
ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ 3 ปี (1 กรกฎาคม 2557–30 มิถุนายน 2560) ความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลน�้ำลึก เทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร การวิจัยด้านข้าวลูกผสม
3 ปี (2 มิถุนายน 2557–1 มิถุนายน 2560) 3 ปี (1 กรกฎาคม 2557–30 มิถุนายน 2560) 5 ปี (15 กรกฎาคม 2557–14 กรกฎาคม 2562) 5 ปี (1 มกราคม 2557–31 ธันวาคม 2562)
การวิจัยด้านข้าวทนเค็ม
5 ปี (1 พฤศจิกายน 2556–31 ตุลาคม 2561)
การวิจัยด้านไวรัสในมะระ
3 ปี (1 พฤศจิกายน 2556–31 ตุลาคม 2559)
การจัดตั้ง Regional Hub of the Integrated Breeding Platform ภายใต้ The Generation Challenge Program (GCP)
2 ปี (1 มกราคม 2557–1 ธันวาคม 2558)
การพัฒนาบุคลากรวิจยั ในประเทศเพือ่ นบ้าน International Exchange Program ไบโอเทคสนับสนุนทุนให้แก่บุคลากรวิจัยจากประเทศเพื่อน บ้าน เข้ามาท�ำวิจัยในหน่วยวิจัยของไบโอเทคจ�ำนวน 10 ทุน โดยเป็น นักวิจยั จากประเทศอินโดนีเซีย 3 คน ประเทศเมียนมาร์ 2 คน ประเทศ ฟิลิปปินส์ 4 คน และประเทศเวียดนาม 1 คน
ไบโอเทครับนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เข้า ฝึกอบรมการท�ำวิจัยในห้องปฏิบัติการของไบโอเทคจ�ำนวน 66 คน จาก 23 หน่วยงาน 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ไนจีเรีย เนปาล เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ เวียดนาม
41
42
รายงานประจำ�ปี 2557
พัฒนาบุคลากรวิจัย ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเทคตระหนักถึงความส�ำคัญของบุคลากรวิจัยที่จะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการ ผลักดันการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้มีความก้าวหน้า และน�ำไปสู่ การน�ำผลงานไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมถึงการสร้าง พันธมิตรวิจัยด้วยการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยระหว่างกัน จึงได้ ด�ำเนินงานการสนับสนุนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพในรูปแบบต่างๆ
รายงานประจำ�ปี 2557
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการประชุม สัมมนาวิชาการ เพื่อพัฒนาบุคลากรวิจัยภาครัฐ และภาคการผลิตให้มีความ รูค้ วามเข้าใจในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชวี ภาพใหม่ๆ เพิม่ ทักษะ ความสามารถในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี ง บประมาณ 2557 ไบโอเทคจั ด ประชุ ม วิ ช าการ/ฝึ ก อบรม เชิงปฏิบตั กิ ารจ�ำนวน 16 เรือ่ ง โดยมีนกั วิจยั นักวิชาการจากภาครัฐและ เอกชนเข้าร่วมประชุม/อบรม ทั้งสิ้น 1,999 คน หรือ 6,791 คน-วัน AA การประชุมวิชาการนานาชาติ 3 เรื่อง ได้แก่ Starch Update
2013: The 7th International Conference on Starch Technology, The 1st ASEAN Microbial Biotechnology Conference และ The 10th International Mycological Congress (IMC 10) AA การประชุ ม /อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร 13 ครั้ ง ได้ แ ก่ 1) The
Collection, Isolation, Taxonomy and Molecular Phylogenetics of Insect Fungi 2) ชี ว สารสนเทศกั บ การวิเคราะห์ทางด้านพันธุศาสตร์ประชากร 3) Seminar on Rumen Ecology 4) Effective Mycotoxin Management 5) การใช้ระบบ Integrated Breeding Workflow System: การจัดการข้อมูลและแผนงานวิจยั ด้านปรับปรุงพันธุ์ 6) LAMP Technology: การใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรเพื่อการวิจัย เชิงการค้าอย่างเหมาะสมและถูกกฎหมาย 7) Curation Course Program on Microbial Resources Management 8) การ ตรวจวินจิ ฉัยแบคทีเรียสาเหตุกงุ้ ตายด่วน 9) หลักการและการ ใช้เครื่องมือเพื่อศึกษาพลวัตของสภาวะน�้ำและกระบวนการ แลกเปลี่ยนแก๊สในพืช 10) เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา Lab on chip ให้เป็นเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทดสอบในเชิงพาณิชย์ 11) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ด 12) โมเลกุลทีม่ คี วาม สามารถในการจดจ�ำเพื่อประโยชน์ ในการพัฒนาเครื่องมือ ตรวจวัดแบบรวดเร็วและเพื่อการรักษา และ 13) การวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติด้วยระบบ Breeding Management System: Module II
ประชุ ม วิ ช าการนานาชาติ ด ้ า นราวิ ท ยา ครั้ ง ที่ 10 ไบโอเทคร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมราวิทยาแห่ง ประเทศไทย และ International Mycological Association (IMA) จัดการประชุมวิชาการนานาชาติดา้ นราวิทยาครัง้ ที่ 10 (The 10th International Mycological Congress: IMC10) ระหว่างวันที่ 3 - 8 สิงหาคม 2557 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสริ ิกิติ์ กรุงเทพฯ โดยการประชุมฯ ก�ำหนดจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี ภายใต้การสนับสนุน จาก IMA การประชุมในครั้งนี้เป็นการจัดครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพหลัก เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมของบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ และ นักวิจยั และประเทศไทยเป็นแหล่งทีม่ คี วามหลากหลายทางชีวภาพ ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ทางวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ด รา และยีสต์ ซึ่งมีความ ส�ำคัญต่อมนุษย์และสัตว์ทง้ั ทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะการน�ำ มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่ ใช้ ในการรักษาโรค เปิดโอกาสให้นักวิจัยได้น�ำเสนอและเผยแพร่ ผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อก่อให้เกิดความ ร่วมมือทางวิชาการต่อไปในอนาคต โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น จ�ำนวน 921 คนจาก 55 ประเทศ การบรรยายพิเศษได้รับเกียรติ จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จ�ำนวน 220 คน การน�ำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยายจ�ำนวน 168 เรื่อง และ ภาคโปสเตอร์จ�ำนวน 504 เรื่อง นอกจากนี้มีการจัดนิทรรศการ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย แสดงความ หลากหลายของทรัพยากรชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ในภาพรวมของประเทศไทยและนิทรรศการด้านการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ
43
44
รายงานประจำ�ปี 2557
การฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารด้านการปรับปรุง พันธุ์ข้าว โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
การพัฒนาบุคลากรวิจัยด้านเทคโนโลยี ชีวภาพข้าว ไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภายใต้ความร่วมมือ เพื่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไทยระหว่างกรมการข้าว ส�ำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ส�ำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และ สวทช. มีวัตถุประสงค์ ในการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความ รู ้ ค วามช� ำ นาญในการประยุ ก ต์ ใ ช้ โ มเลกุ ล เครื่ อ งหมายดี เ อ็ น เอ ในการคัดเลือก (marker assisted selection) ร่วมกับการปรับปรุง พันธุ์แบบมาตรฐาน (conventional breeding) และเป็นการสร้าง เครือข่ายความร่วมมืองานวิจัยด้านข้าวในภูมิภาค เพื่อยกระดับ งานวิ จั ย ปรั บ ปรุ ง พั น ธุ ์ ข ้ า วของประเทศให้ เ ป็ น ผู ้ น� ำ ในภู มิ ภ าค อาเซี ย นในอนาคต ได้ จั ด การฝึ ก อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารด้ า นการ ปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล ให้กับนักปรับปรุงพันธุ์
ของกรมการข้าว โดยใช้การพัฒนาพันธุ์ข้าวนาชลประทาน 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุช์ ยั นาท1 พันธุป์ ทุมธานี1 พันธุ์ กข47 และพันธุส์ รุ นิ ทร์1 เป็นต้นแบบ และใช้เครือ่ งหมายโมเลกุลมาช่วยคัดเลือกลักษณะทีส่ นใจ ได้แก่ ลักษณะทนน�ำ้ ท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และต้านทาน เพลี้ยกระโดดสีน�้ำตาล โดยการพัฒนาบุคลากรจะด�ำเนินการอย่าง ต่อเนื่องมีระยะเวลา 3 ปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 - 2559
ทุนวิจัยระดับหลังปริญญาเอก เพื่อพัฒนาและสร้างศักยภาพในการวิจัยให้กับผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาเอกให้เป็นนักวิจัยอาชีพ รวมทั้งการเสริมสร้าง เส้นทางอาชีพนักวิจัย โดยสนับสนุนทุนให้คนไทยและต่างชาติในการ ปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยไบโอเทคจ�ำนวน 8 ทุน โดยเป็นทุน ต่อเนื่อง 6 ทุน ทุนใหม่ 2 ทุน
รายงานประจำ�ปี 2557
นิทรรศการเผยแพร่ความรู้ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
การสร้างความตระหนักต่อสาธารณะ ไบโอเทคตระหนักและให้ความส�ำคัญต่อการให้ความรู้ความ เข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีชวี ภาพทีถ่ กู ต้องต่อสาธารณะ โดยเน้นการสื่อสารเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ ให้น่า สนใจเข้าใจง่าย และสามารถน�ำวิทยาศาสตร์ ไปใช้เกิดประโยชน์สงู สุด จึงได้เผยแพร่ข้อมูลผลงานในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ AA รายการโทรทัศน์ “พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย” ของ สวทช.
จ�ำนวน 6 ตอน ได้แก่ เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการผลิต ต้ น พั น ธุ ์ ส ้ ม ปลอดโรค การผลิ ต โมโนโคลนอลแอนติ บ อดี ครบวงจร ENZease: เอนไซม์ดูโอส�ำหรับการลอกแป้งและ ก�ำจัดสิง่ สกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขัน้ ตอนเดียว ชุดตรวจหาชนิด ของไวรัสเด็งกี่ การปลูกพืชแนวตัง้ การบริการวิเคราะห์ทดสอบ ด้านการเพาะเลี้ยงกุ้ง AA ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานไบโอเทคในโครงการต่างๆ
14 ครัง้ โดยแบ่งเป็นนิทรรศการเชิงวิชาการ 3 ครัง้ นิทรรศการ ส�ำหรับเยาวชน 1 ครั้ง และนิทรรศการเชิงการตลาด และ นิทรรศการเชิง ว และ ท และสังคม 10 ครั้ง
AA ไบโอเทคได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ บุคคลทั่วไป เด็ก
และเยาวชนได้เรียนรู้และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของไบโอเทค ในปีงบประมาณ 2557 มีคณะบุคคลในภาคการศึกษา หน่วยงาน ภาครั ฐ และภาคเอกชนเข้ าเยี่ ยมชมรวม 31 คณะ จ� ำ นวน 928 คน ประกอบด้วยคนไทย 21 คณะและต่างชาติ 10 คณะ
45
46
รายงานประจำ�ปี 2557
ศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเทคศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการก�ำหนดทิศทาง นโยบายในการด�ำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพของหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และการก�ำหนดนโยบายระดับประเทศ รวมถึงด�ำเนินการ เผยแพร่เพื่อให้ข้อมูลจากการศึกษาได้น�ำไปใช้ประโยชน์
รายงานประจำ�ปี 2557
มะเขือเทศดัดแปลงพันธุกรรมระดับ ห้องปฏิบัติการ โรงเรือนทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรม
การส�ำรวจความคิดเห็นต่อการพัฒนามะละกอ ดัดแปลงพันธุกรรม
การสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของวิทยากรรุ่นใหม่ ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับภูมิภาค
ไบโอเทคส�ำรวจความคิดเห็นและความเข้าใจเรื่องพืชดัดแปลง พันธุกรรม กรณีศกึ ษามะละกอซึง่ เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมทีพ ่ ร้อม ปลูกทดสอบภาคสนามระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2557 ใน กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้บริโภค และนักส่งเสริม/ นักวิชาการในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลต�ำบลท่าพระ และองค์การบริหารส่วนต�ำบลท่าพระซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปลูกทดสอบ ภาคสนาม ผลการส�ำรวจความคิดเห็นสรุปว่า สังคมไทยมีความเข้าใจ เกีย่ วกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิม่ ขึน้ มากคิดเป็นร้อยละ 65 เพิม่ ขึน้ 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลส�ำรวจเมื่อปี 2547 ซึ่งผู้บริโภคมีความ เข้าใจในพืชดัดแปลงพันธุกรรมถูกต้องร้อยละ 17 โดยนักส่งเสริม/ นั ก วิ ช าการทุ ก คนที่ ส� ำ รวจมี ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งเกี่ ย วกั บ พื ช ดัดแปลงพันธุกรรม รองลงมาคือกลุ่มผู้บริโภคคิดเป็นร้อยละ 80 กลุ่มผู้ปลูกและกลุ่มผู้ขายใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 60 และร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่าง และมีความเห็นว่าประเทศไทยควรส่งเสริมการ วิจัยและพัฒนามะละกอดัดแปลงพันธุกรรมถึงขั้นมีเมล็ดพันธุ์ ให้ เกษตรกรปลูกได้ ทั้งนี้หากการวิจัยและพัฒนาผ่านการทดสอบว่า มีความปลอดภัย ร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างยินดีให้มีการน�ำมาใช้ ประโยชน์ ข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าตัวอย่างบางรายยังมีความกังวล อยู ่ บ ้ า ง ทั้ ง นี้ ผู ้ ป ลู ก เป็ น กลุ ่ ม ที่ ใ ห้ ก ารยอมรั บ มะละกอดั ด แปลง พันธุกรรมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 70
ไบโอเทคร่ ว มกั บ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการวิ จั ย แห่ ง ชาติ (วช.) ด� ำ เนิ น โครงการเสริ ม สร้ า งขี ด ความสามารถคณะ กรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee; IBC) ในปีงบประมาณ 2554 – 2557 แบ่งการด�ำเนินงานเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 มุ่งเน้นการพัฒนา หลั ก สู ต รฝึ ก อบรมแนวทางปฏิ บั ติ เ พื่ อ ความปลอดภั ย ทาง ชีวภาพฯ หลักสูตรขั้นต้น เพื่อให้ IBC และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ ฝึกทักษะการใช้แนวทางปฏิบัติฯ ระยะที่ 2 และ 3 มุ่งเน้นการพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพฯ หลักสูตรวิทยากร (train-the-trainer) เพื่อเพิ่มจ�ำนวนวิทยากร รุ่นใหม่ส�ำหรับเผยแพร่การฝึกอบรมหลักสูตรขั้นต้น ส�ำหรับการด�ำเนินการในปีงบประมาณ 2557 ซึ่งเป็นระยะที่ 4 เป็นหลักสูตรเร่งรัด (intensive course) เพื่อเร่งสร้างและพัฒนา ความเข้ ม แข็ ง ของวิ ท ยากรรุ ่ น ใหม่ ใ นระดั บ ภู มิ ภ าค โดยเน้ น ให้ ผู ้ เ ข้ า รั บ การอบรมมี ป ระสบการณ์ ใ นการประเมิ น และพิ จ ารณา โครงการและระดับความปลอดภัยทางชีวภาพของห้องปฏิบตั กิ ารวิจยั หลักสูตรดังกล่าวสามารถน�ำไปด�ำเนินการฝึกอบรมในภูมภิ าคต่างๆ ได้ โดยไบโอเทคร่วมกับ IBC จัดการฝึกอบรมเพือ่ ทดลองหลักสูตร จ�ำนวน 3 รุน่ มีผเู้ ข้าร่วมอบรมรวมทัง้ สิน้ 180 คน จากผลการประเมิน พบว่า รูปแบบ คุณภาพและเนือ้ หาของการฝึกอบรมอยูใ่ นระดับดีมาก และดีมากที่สุด และเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมมีผู้แสดงความจ�ำนง สมัครเป็นวิทยากรรุ่นใหม่รวมทั้งสิ้น 40 คน
47
48
รายงานประจำ�ปี 2557
แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพส�ำหรับ การใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุม เพื่อใช้ในระดับโรงงานต้นแบบและอุตสาหกรรม ฉบับ ภาษาอังกฤษ คณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพได้ จัดท�ำ “แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพส�ำหรับงาน ที่มีการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในระดับอุตสาหกรรม” เพื่อ รองรับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในภาค อุตสาหกรรมให้มีความปลอดภัยต่อผู้เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อมขึ้น ครั้งแรกในปีงบประมาณ 2547 และด้วยเทคโนโลยีชีวภาพที่ก้าวหน้า ไปอย่างรวดเร็ว ในปีงบประมาณ 2555 จึงได้ปรับปรุงเนื้อหาเทคนิค ต่างๆ ให้มคี วามทันสมัยเป็น “แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ ความปลอดภัยทาง ชีวภาพส�ำหรับการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุม เพื่อใช้ ในระดับโรงงานต้นแบบและอุตสาหกรรม ฉบับภาษาไทย” และ ด้วยภาคอุตสาหกรรมที่ด�ำเนินการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานจากต่างประเทศ ในปีงบประมาณ 2557 คณะ อนุกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพด้านจุลินทรีย์จึงจัดท�ำ แนวทางปฏิบัติฯ ฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงาน ระดับนานาชาติและภาคเอกชนต่างชาติที่มีกิจการเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุมในประเทศไทย
หนังสือ “พืชจีเอ็ม: มุมองกระแสโลก” ไบโอเทคจัดท�ำหนังสือ “พืชจีเอ็ม: มุมมองกระแสโลก” โดย รวบรวมข้อมูลสถานภาพพืชดัดแปลงพันธุกรรม ตั้งแต่พื้นฐาน การพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม สถานภาพแนวโน้มการวิจัยและ พัฒนา และสถานภาพการปลูกเพื่อการพาณิชย์ของประเทศต่างๆ และสถานภาพปัจจุบันของประเทศไทยในด้านการวิจัยและพัฒนา การก�ำกับดูแล ประเด็นท้าทายทีป่ ระเทศไทยจะต้องเผชิญ และข้อเสนอ แนวทางมาตรการเพือ่ รองรับประเด็นดังกล่าว ซึง่ เป็นประโยชน์ตอ่ การ วิเคราะห์และก�ำหนดนโยบายเพือ่ การพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ เหมาะสมของประเทศ
ภาคผนวก
50
รายงานประจำ�ปี 2557
สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และความลับทางการค้า 1. ผลงานที่ได้รับคู่มือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จ�ำนวน 17 ฉบับ 1.1 ผลงานที่ ได้รับคู่มือสิทธิบัตรในต่างประเทศ จ�ำนวน 1 ฉบับ วันที่ได้รับสิทธิบัตร 22 ตุลาคม 2556
ประเทศที่ยื่นจด สหรัฐอเมริกา
เลขที่สิทธิบัตร US8563330
ชื่อการประดิษฐ์ A Process of screening for AlphaThalassemia Carrier Using ImmunoChromatographic Strip Test
ชื่อผู้ประดิษฐ์ นายวัชระ กสิณฤกษ์ นายชัชชัย ตะยาภิวัฒนา นายธนูศักดิ์ ตาตุ นายสุทัศน์ ฟู่เจริญ นางสาวิตรี เจียมพานิชยกุล
1.2 ผลงานที่ ได้รับคู่มืออนุสิทธิบัตรในประเทศ จ�ำนวน 16 ฉบับ วันที่ได้รับ อนุสิทธิบัตร 17 ตุลาคม 2556
เลขที่ ชื่อการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร 8418 กรรมวิธีการเก็บรักษาอับละอองเกสรตัวผู้ของข้าว ภายใต้สภาวะควบคุม อุณหภูมิต�่ำ และความชื้นสัมพัทธ์สูง
17 ตุลาคม 2556 6 ธันวาคม 2556
8419 8521
19 ธันวาคม 2556
8563
19 ธันวาคม 2556
8564
21 กุมภาพันธ์ 2557
8656
27 มีนาคม 2557
8743
11 เมษายน 2557
8790
22 พฤษภาคม 2557
8868
24 กรกฎาคม 2557
9007
ชื่อผู้ประดิษฐ์
นายเฉลิมพล เกิดมณี นางกนกวรรณ รมยานนท์ นางสาววิกานดา ทองสุข สูตรน�้ำยาและกรรมวิธีส�ำหรับตรวจ วิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนละลายในน�้ำ นายสรวง สมานหมู่ กรรมวิธีการตรวจหาไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้งด้วยเทคนิคแลมป์ร่วมกับ นางนริศรา สุขนิตย์ การใช้สี (แลมป์สี) เชื้อรา Colletotrichum capsici สายพันธุ์กลายที่มียีนเรืองแสง นางสาวชนิกุล ชูตระกูร ฟลูโอเรสเซนต์สีแดง และการใช้ประโยชน์จากเชื้อราสายพันธุ์กลาย กรรมวิธีการตรวจคัดกรองแบบรวดเร็วเพื่อหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งการมี นางสาวชนิกุล ชูตระกู นายธนพงษ์ บุญเรืองประภา ชีวิตของเชื้อราแอนแทรกโนสในพริกได้สองชนิดพร้อมกัน นางสาวพัชนี อุ่นเจริญ สูตรอาหารเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่มีของเหลือจากโรงงานผลิตน�้ำมันพืชเป็น นางพนิดา อุนะกุล ส่วนประกอบและกรรมวิธีการผลิตอาหารสูตรดังกล่าว นายคอร์เนล เวอร์เดิน สูตรอาหารเพาะเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อให้ ได้ผลผลิตเอนโดสปอร์สูง นายสมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ นางสาวนันทิดา สหัชอติเรกลาภ นายวศิมน เรืองเล็ก สูตรอาหารเพาะเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อให้ ได้ผลผลิตเอนโดสปอร์สูง นายสมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ นางสาวนันทิดา สหัชอติเรกลาภ นายวศิมน เรืองเล็ก กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคหัวเหลืองในกุ้ง นายณรงค์ อรัญรุตม์ นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ผงแห้งของเอนไซม์ ไฟเทสที่กักเก็บในสารห่อหุ้มซึ่งเตรียมโดยวิธีสารละลาย นางอุรชา รักษ์ตานนท์ชัย เพื่อใช้ ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ นางสาวสุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์ นายอภินันท์ สุทธิธารธวัช นางสาววันวิสาข์ ศรีนวลไชย นางสาววราศิรินท์ สอนเล็ก นางสาวปนิดา เมตตาวิพารี
รายงานประจำ�ปี 2557
วันที่ได้รับ อนุสิทธิบัตร 24 กรกฎาคม 2557
15 สิงหาคม 2557 15 สิงหาคม 2557 5 กันยายน 2557 5 กันยายน 2557
18 กันยายน 2557
เลขที่ ชื่อการประดิษฐ์ ชื่อผู้ประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร 9008 ผงแห้งของเอนไซม์ผสมเซลลูเลสและไซลาเนสที่กักเก็บในสารห่อหุ้มซึ่งเตรียม นางอุรชา รักษ์ตานนท์ชัย โดยวิธีสารละลายเพื่อใช้ ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ นางสาวสุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์ นายอภินันท์ สุทธิธารธวัช นางสาววันวิสาข์ ศรีนวลไชย นางสาววราศิรินท์ สอนเล็ก นางสาวปนิดา เมตตาวิพารี 9047 สูตรอาหารเพาะเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อให้ ได้ผลผลิตเอนโดสปอร์สูง นางสาวนันทิดา สหัชอติเรกลาภ นายสมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ 9048 สูตรอาหารเพาะเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อให้ ได้ผลผลิตเอนโดสปอร์สูง นางสาวนันทิดา สหัชอติเรกลาภ นายสมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ 9115 กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสไอเอ็ชเอ็ชเอ็นวีในกุ้ง นายณรงค์ อรัญรุตม์ นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย 9116 พลาสมิดลูกผสมที่ใช้ ในการผลิตเอนไซม์อย่างน้อย 2 ชนิด นายนิรันดร์ รุ่งสว่าง นางพีรดา พรมดอนกอย แบบร่วมกันและหลั่งออกนอกเซลล์ ในระบบเซลล์เจ้าบ้านยีสต์ นางสาวมินท์รดี วงศ์วณิชโภคิน และวิธีการผลิตเอนไซม์ดังกล่าว นางสาวลิลี่ เอื้อวิไลจิตร นางสาวสุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์ 9141 ระบบส�ำหรับค้นหายีนที่มีความสัมพันธ์ ไปกับความผิดปกติทางพันธุกรรม นายกฤษดากร ไชยชุมภู ทั้งจีโนมจากข้อมูลสนิปอาเรย์ นางวรรณวิสาข์ เจริญฉิม นายศิษเฎศ ทองสิมา นายศุภศักดิ์ กุลวงศ์อนันชัย นายอนันต์ชัย อัศวเมฆิน นางสาวอลิษา วิลันโท
2. ผลงานทีย่ นื่ ขอจดสิทธิบตั ร อนุสทิ ธิบตั ร และความลับทางการค้า จ�ำนวน 29 ค�ำขอ 2.1 ผลงานที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศและต่างประเทศ จ�ำนวน 13 ค�ำขอ วันที่ยื่นค�ำขอ 11 ธันวาคม 2556 13 กุมภาพันธ์ 2557 5 มิถุนายน 2557
ประเทศที่ยื่นจด ไทย ไทย ไทย
18 กรกฎาคม 2557
ไทย
24 กรกฎาคม 2557 22 กรกฎาคม 2557
ไทย ไทย
31 กรกฎาคม 2557
ไทย
เลขที่ค�ำขอ ชื่อการประดิษฐ์ 1301007022 ชุดตรวจสอบชีวสารปนเปื้อนบนผื้นผิวและกระบวนการตรวจสอบดังกล่าว 1401000762 สารประกอบอัลคาลอยด์ ไพรีโดนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคมาลาเรีย 1401003086 พลาสมิดส�ำหรับการแสดงออกอาร์เอ็นเอจากทั้งยีโนมของไวรัสพีอีดี เซลล์วีโรที่ผ่าน การปรับแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้ ในการสร้างอนุภาคไวรัสพีอีดี และกระบวนการสร้าง อนุภาคไวรัสพีอีดีดังกล่าว 1401004125 อนุพันธ์ของสารประกอบ 2,4-ไดอะมิโนไพริมิดีน (2,4-diaminopyrimidine) ที่ออก ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคมาลาเรีย 1401004254 โปรตีนฟิวชันรีคอมบีแนนท์สแตเทอรีน-ไฟโบรเนคติน 1401004206 กรรมวิธีการใช้กลีเซอรอล (glycerol) เป็นแหล่งอาหารคาร์บอนแหล่งเดียวส�ำหรับ การเพาะเลี้ยง Gluconobacter frateurii BCC 36199 เพื่อผลิตไดไฮดรอกซีอะซีโตน (dihydroxyacetone) 1401004416 พลาสมิดพาหะส�ำหรับการผลิตโปรตีนเป้าหมายโดยระบบเหนี่ยวน�ำด้วยเกลือใน แบคทีเรียเจ้าบ้าน Bacillus subtilis
51
52
รายงานประจำ�ปี 2557
วันที่ยื่นค�ำขอ 17 กันยายน 2557
ประเทศที่ยื่นจด ไทย
18 กันยายน 2557
ไทย
22 กันยายน 2557 30 กันยายน 2557
ไทย ไทย
30 กันยายน 2557
ไทย PCT member countries
เลขที่ค�ำขอ ชื่อการประดิษฐ์ 1401005444 กรรมวิธีการผลิตเบต้า-กลูแคนจากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 1401005454 สูตรสารชีวภัณฑ์ควบคุมหนอนกระทู้หอมซึ่งมีไวรัส SeNPV และโปรตีน Vip3Aa35 เป็น องค์ประกอบ 1401005577 วิธีการตรวจหาไวรัสไอเอ็มเอ็นวี (IMNV) 1401005876 โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่มีความจ�ำเพาะต่อไวรัสในกลุ่มเจมินีไวรัสที่ถูกถ่ายทอดโดย แมลงหวี่ขาวและการใช้ ในการตรวจหาไวรัสดังกล่าวในพืชและแมลง 1401005891 ระบบเลี้ยงแพลงก์ตอนสัตว์แบบต่อเนื่อง Confidential
2.2 ผลงานที่ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรในประเทศ จ�ำนวน 15 ค�ำขอ วันที่ยื่นค�ำขอ 25 ธันวาคม 2556 23 มกราคม 2557
เลขที่ค�ำขอ 1303001618 1403000056
24 มกราคม 2557 21 กุมภาพันธ์ 2557 18 เมษายน 2557
1403000057 1403000167 1403000422
12 มิถุนายน 2557 26 มิถุนายน 2557 31 กรกฎาคม 2557 7 สิงหาคม 2557
1403000590 1403000669 1403000843 1403000877
8 สิงหาคม 2557
1403000889
21 สิงหาคม 2557 5 กันยายน 2557 11 กันยายน 2557
1403000929 1403001028 1403001053
11 กันยายน 2557 11 กันยายน 2557
1403001054 1403001055
ชื่อการประดิษฐ์ วัสดุประกอบเซลลูโลสจากแบคทีเรีย-ไฮดรอกซีอะพาไทต์-โปรตีนบีเอ็มพีชชนิดที่สอง กระบวนการผลิตเอนไซม์ลูกผสมกลุ่มย่อยสลายชีวมวลในระบบถังหมักโดยยีสต์ Pichia pastoris กลุ่มที่ มีความสามารถในการใช้เมทานอลช้าลง (MutS) กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อฟลาโวแบคทีเรี่ยม คอลัมนาเร่ในปลานิลและปลาทับทิม กระบวนการสร้างห้องสมุดฟอสมิด (fosmid library) ของสิ่งมีชีวิต ภาชนะบรรจุตัวอ่อนแช่แข็งด้วยวิธีลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วที่มีการเจือจางสารแช่แข็งแบบขั้นตอนเดียว และการใช้ภาชนะบรรจุดังกล่าว สูตรอาหารส�ำหรับการผลิตเอนไซม์ย่อยชีวมวลพืชจากเชื้อรา แผ่นแถบส�ำเร็จรูปส�ำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 เชื้อได้พร้อมกันในคราวเดียว พลาสมิดพาหะส�ำหรับการท�ำโคลนนิ่งในแบคทีเรีย กระบวนการลอกแป้งและก�ำจัดสิ่งสกปรกแบบขั้นตอนเดียวบนผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติโดยใช้ เอนไซม์ผสม กระบวนการปรับสภาพชีวมวลโดยการใช้น�้ำร้อนความดันสูงแบบมีการเร่งปฏิกิริยาด้วยเบส สูตรต้นเชื้อบริสุทธิ์ส�ำหรับการหมักอ้อยอาหารสัตว์ กระบวนการเพาะเลี้ยงเชื้อ Bacillus thuringensis ในการผลิตโปรตีน Vip3A ส�ำหรับก�ำจัดแมลงศัตรูพืช กรรมวิธีย่อยโพลีเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์พืชด้วยเอนไซม์ที่มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการย่อย ผนังเซลล์พืชร่วมกับโปรตีนเอ็กซ์แพนซิน กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Shewanella spp. ในปลานิลและปลาทับทิม กรรมวิธีการเพิ่มปริมาณการสร้างสปอร์ของเชื้อโรคไหม้ ในข้าว โดยใช้ตัวท�ำละลายอินทรีย์สกัดสาร เมตาโบไลต์ ในใบข้าวที่ติดเชื้อโรคไหม้เพื่อเตรียมสังเคราะห์
2.3 ผลงานที่ยื่นขอจดความลับทางการค้า จ�ำนวน 1 ค�ำขอ วันที่ยื่นค�ำขอ 22 กันยายน 2557
ชื่อการประดิษฐ์ กรรมวิธีการผลิตโลหะ - เมทไธโอนีนคีเลตเพื่อใช้เสริมในอาหารสัตว์
รายงานประจำ�ปี 2557
รางวัลแห่งความส�ำเร็จ ปี 2557 จ�ำนวน 17 รางวัล ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก
ดร. หงลดา เทอดเกียรติกุล
หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ
ได้รับทุนวิจัย Grand Challenges Canada ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง High-throughput approach to discover new dengue vaccine ดร.จิตติมา พิริยะพงศา
สถาบันจีโนม ได้ รั บ ทุ น โครงการทุ น วิ จั ย ลอรี อั ล ประเทศไทย “เพื่ อ สตรี ใ นงาน วิทยาศาสตร์” ประจ�ำปี 2556 ส�ำหรับงานวิจัยเรื่อง การใช้เทคนิค ชีวสารสนเทศในการศึกษาบทบาทและกลไกใหม่ของไมโครอาร์เอ็นเอ ในการจับกับต�ำแหน่งเป้าหมายบนโปรโมเตอร์ ดร.ธริดาพร บัวเจริญ
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ได้ รั บ ทุ น โครงการทุ น วิ จั ย ลอรี อั ล ประเทศไทย “เพื่ อ สตรี ใ นงาน วิทยาศาสตร์” ประจ�ำปี 2556 ส�ำหรับงานวิจัยเรื่อง การค้นหาสาร ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ได้รับคัดเลือกจาก World Economic Forum ให้เป็น Young Global Leader 2013 ด้านประสบความส�ำเร็จในสาขาอาชีพวิทยาศาสตร์ การมุ่งมั่นท�ำงานให้สังคม และศักยภาพในความเป็นผู้น�ำที่สร้างแรง บันดาลใจให้ผู้อื่น ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ได้รับรางวัล The ASEAN Meritotious Service Award (AMSA) ภายใต้โครงการ ASEAN Science and Technology Awards ดร.โจนาลิซา แอล เซี่ยงหลิว
หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีบทบาทส�ำคัญทางวิทยาศาสตร์ ด้าน ปรับปรุงพันธุ์พืชอาหาร จาก Generation Challenge Program (GCP) เนื่องในวันสตรีสากล
ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วม “โครงการน�ำร่อง พัฒนานักวิทยาศาสตร์อาเซียน-สหรัฐ” โดยองค์การเพือ่ การพัฒนา ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ร่วมกับ U.S. Mission to ASEAN ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง
สถาบันจีโนม ได้รบั รางวัลนักเทคโนโลยีดเี ด่น ประเภทกลุม่ ประจ�ำปี 2556 จากมูลนิธิ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ส�ำหรับ ผลงานวิจัยเรื่อง เทคโนโลยีจีโนมิกส์กับการตรวจสอบจีโนมอย่าง รวดเร็ ว เพื่ อ ช่ ว ยควบคุ ม คุ ณ ภาพสิ น ค้ า อาหารส่ ง ออก และการ ปรับปรุงพันธุ์พืชอายุยืนแบบก้าวกระโดด รศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร
หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ได้รับรางวัลผู้สมควรให้ปาฐกถาอายิโนะโมะโต๊ะ ประจ�ำปี 2556 จาก สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงพันธุ์พืชในยุคต่อไปกับอนาคตข้าวไทย นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ได้รับรางวัลทะกุจิประเภทนักวิจัยดีเด่น ประจ�ำปี 2556 จากสมาคม เทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง การ พัฒนาและประยุกต์ ใช้เทคนิคแลมป์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์ น�้ำเศรษฐกิจและทางการแพทย์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) และรางวัลพิเศษ (DIPLOMA: International Warsaw Invention Show โดย Association of Polish Inventors and Rationalizes ประเทศโปแลนด์) จากงาน Seoul International Innovation Fair (SIIF2013) ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซินแบบรวดเร็วขนาดพกพา
53
54
รายงานประจำ�ปี 2557
ศ.ดร.ทิมโมที วิลเลียม เฟลเกล
ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ
ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจ�ำปี 2556 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และนายณรงค์ อรัญรุตม์
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัยประจ�ำปี 2556 ระดับดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคชนิดมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส ด้วยดีเอ็นเอเซนเซอร์ ดร. ปิติ อ�่ำพายัพ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง ได้รบั รางวัลสภาวิจยั แห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจยั ประจ�ำปี 2556 ระดับ ดีเด่น สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง กลไก ระดับโมเลกุลของการสร้างเมลานินโดยระบบโพรฟีนอลออกซิเดส และบทบาทส�ำคัญในการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อการต้านเชื้อก่อโรค ที่ส�ำคัญในกุ้ง
ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold prize) จากงาน Seoul International Innovation Fair (SIIF2013) ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง เอนอีซ: เอนไซม์ ดูโอส�ำหรับการลอกแป้งและก�ำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอน เดียว ดร.พรพิมล วงศ์ธิดา
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ได้รบั รางวัล Travel award จาก Bill and Melinda Gates Foundation เพื่อเข้าร่วมงาน Keystone Symposia on Molecular and Cellular Biology ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง Advancing Vaccines in the Genomics Era ดร.สุริษา สุวรรณรังษี
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ได้ รั บ รางวั ล โปสเตอร์ ดี เ ด่ น จาก The 1 st ASEAN Microbial Biotechnology Conference 2014 ส�ำหรับผลงานวิจัยเรื่อง Multipolysaccharide degrading enzyme system for saccharification of lignocellulosic substrates
รายงานประจำ�ปี 2557
บทความตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จ�ำนวน 232 บทความ 1.
Aderibigbe, E. Y., Visessanguan, W., Boonpayung, S., Kingcha, Y. and Dumnil, J. (2014). Sourcing Starter Cultures for Parkia biglobosa Fermentation Part II: Potential of Bacillus subtilis Strains. British Microbiology Research Journal, 4(2), 224-234.
15.
Chaijan, S., Roytrakul, S., Mutirangura, A. and Leelawat, K. (2014). Matrigel induces L‑plastin expression and promotes L‑plastin‑dependent invasion in human cholangiocarcinoma cells. Oncology Letter, 8(3), 993-1000.
2.
Anekboon, K., Lursinsap, C., Phimoltares, S., Fucharoen, S. and Tongsima, S. (2014). Extracting predictive SNPs in Crohn's disease using a vacillating genetic algorithm and a neural classifier in case–control association studies. Computers in Biology and Medicine, 44, 57-65.
16.
3.
Arpornsuwan, T., Buasakul, B., Jaresitthikunchai, J. and Roytrakul, S. (2014). Potent and rapid antigonococcal activity of the venom peptide BmKn2 and its derivatives against different Maldi biotype of multidrug-resistant Neisseria gonorrhoeae. Peptides, 53, 315-320.
Chaipraser t, A., Srimuang, S., Tingtoy, N., Makhao, N., Sirirudeeporn, P., Tomnongdee, N., Theankeaw, O., Charoensook, S., Leechawengwongs, M. and Prammananan, T. (2014). Secondline drug susceptibilities of multidrug-resistant tuberculosis strains isolated in Thailand: an update. International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 18(8), 961-963(3).
17.
4.
Arpornsuwan, T., Sriwai, W., Jaresitthikunchai, J., Phaonakrop, N., Sritanaudomchai, H., Roytrakul, S. (2014). Anticancer Activities of Antimicrobial BmKn2 Peptides Against Oral and Colon Cancer Cells. International Journal of Peptide Research and Therapeutics, 20, 501-509.
Chaiyarit, P., Taweechaisupapong, S., Jaresitthikunchai, J., Phaonakrop, N. and Roytrakul, S. (2014). Comparative evaluation of 5–15-kDa salivary proteins from patients with different oral diseases by MALDI-TOF/TOF mass spectrometry. Clinical Oral Investigations, 19(3), 729-737.
18.
Arunrut, N., Suebsing, R., Withyachumnarnkul, B. and Kiatpathomchai, W. (2014). Demonstration of a Very Inexpensive, Turbidimetric, Real-Time, RT-LAMP Detection Platform Using Shrimp Laem-Singh Virus (LSNV) as a Model. PLOS one, 9(9), e108047.
Chaiyasap, P., Kulawonganunchai, S., Srichomthong, C., Tongsima, S., Suphapeetiporn, K. and Shotelersuk, V. (2014). Whole Genome and Exome Sequencing of Monozygotic Twins with Trisomy 21, Discordant for a Congenital Heart Defect and Epilepsy. PLOS one, 9(6), e100191.
19.
Chamnanmanoontham, N., Pongprayoon, W., Pichayangkura, R., Roytrakul, S. and Chadchawan, S. (2014). Chitosan enhances rice seedling growth via gene expression network between nucleus and chloroplast. Plant Growth Regulation, 75,101-114.
20.
Chantarasataporn, P., Tepkasikul, P., Kingcha, Y., Yoksan, R., Pichyangkura, R., Visessanguan, V. and Chirachanchai, S. (2014). Water-based oligochitosan and nanowhisker chitosan as potential food preservatives for shelf-life extension of minced pork. Food Chemistry, 159, 463-470.
21.
Charlermroj, R., Himananto, O., Seepiban, C., Kumpoosiri, M., Warin, N., Gajanandana, O., Elliott, C.T. and Karoonuthaisiri, N. (2014). Antibody array in a multiwell plate format for the sensitive and multiplexed detection of important plant pathogens. Analytical Chemistry, 86(14), 7049–7056.
22.
Charoensapsri, W., Amparyup, P., Suriyachan, C. and Tassanakajon, A. (2014). Melanization reaction products of shrimp display antimicrobial properties against their major bacterial and fungal pathogens. Developmental and Comparative Immunology, 47(1), 150-159.
23.
Charoensri, N., Suphatrakul, A., Sriburi, R., Yasanga, T., Junjhon, J., Keelapang, P., Utaipat, U., Puttikhunt, C., Kasinrerk, W., Malasit, P. and Sittisombut, N. (2014). An optimized expression vector for improving the yield of dengue virus-like particles from transfected insect cells. Journal of Virological Methods, 205, 116–123.
24.
Charoenvilaisiri, S., Seepiban, C., Bhunchoth, A., Warin, N., Luxznanil, P. and Gajanandana, O. (2014). Development of a multiplex RT-PCR-ELISA to identify four distinct species of tospovirus. Journal of Virological Methods, 202, 54-63.
25.
Cha-um, S., Batin, C.B., Samphumphung, T. and Kidmanee, C. (2013). Physio-morphological changes of cowpea (Vigna unguiculata Walp.) and jack bean (Canavalia ensiformis (L.) DC.) in responses to soil salinity. Australian Journal of Crop Science, 7(13), 2128-2135.
26.
Cha-Um, S., Samphumphuang, T. and Kirdmanee, C. (2013). Morphological and Physio-biochemical Changes of in Vitro Cactus (Echinopsis calochlora) in Responses to Salt Stress. European Journal of Horticultural Science, 78(5), 225-231.
27.
Cha-um, S., Somsueb, S., Samphumphuang, T. and Kirdmanee, C. (2014). Screening of Eight Eucalypt Genotypes (Eucalyptus sp.) for Water Deficit Tolerance Using Multivariate Cluster Analysis. Applied Biochemistry and Biotechnology, 173(3), 753-764.
5.
6.
Asasutjarit, R., Larpmahawong, P., Fuongfuchat, A., Sareedenchai, V. and Veeranondha, S. (2014). Physicochemical Properties and Anti-Propionibacterium acnes Activity of Film-Forming Solutions Containing Alpha-Mangostin-Rich Extract. Aaps Pharmscitech, 15(2), 306-316.
7.
Asensio, N., Brockelman, W.Y., Malaivijitnond, S. and Reichard, U.H. (2014). White-handed Gibbon (Hylobates lar) Core Area Use Over a Short-Time Scale. Biotropica, 46(4), 461–469.
8.
Aye, K.S., Charngkaew, K., Win, N., Wai, K.Z., Moe, K., Punyadee, N., Thiemmeca, S., Suttitheptumrong, A., Sukpanichnant, S., Malasit, P. and Halstead, S.B. (2014). Pathologic highlights of dengue hemorrhagic fever in 13 autopsy cases from Myanmar. Human Pathology, 45(6), 1221-1233.
9.
10.
Boonprasert, N., Nuanualsuwan, S., Pulsrikarn, C., Pornaem, S. and Chokesajjawatee, N. (2014). Sources and Disseminations of Salmonella spp. in an Integrated Broiler Meat Production. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 44(1), 117-124. Boonyuena, N., Manocha, L., Luangsa-ardc, J.J., Piasaia, O., Chamswarngd, C., Chuaseeharonnachaic, C., Ueapattanakitc, J., Arnthongc, J. and Sri-indrasutdhi, V. (2014). Decomposition of sugarcane bagasse with lignocellulose-derived thermotolerant and thermoresistant Penicillia and Aspergilli. International Biodeterioration and Biodegradation, 92(2014), 86–100.
11.
Bunbamrung, N., Dramae, A., Srichomthong, K., Supothina, S. and Pittayakhajonwut, P. (2014). Streptophenazines I–L from Streptomyces sp. BCC21835. Phytochemistry Letters, 10, 91-94.
12.
Bunbamrung, N., Intaraudom, C., Boonyuen, N., Rachtawee, P., Laksanacharoen, P. and Pittayakhajonwut, P. (2014). Penicisochromans from the endophytic fungus Penicillium sp. BCC18034. Phytochemistry Letters, 10, 13-18.
13.
Bunterngsook, B., Mhuantong, W., Champreda, V., Thamchaipenet, A. and Eurwilaichitr, L. (2014). Identification of novel bacterial expansins and their synergistic actions on cellulose degradation. Bioresource Technology, 159, 64-71.
14.
Bunyapaiboonsri, T., Yoiprommarat, S., Nopgason, R., Komwijit, S., Veeranondha, S., Puyngain, P. and Boonpratuang, T. (2014). Cadinane sesquiterpenoids from the basidiomycete Stereum cf. sanguinolentum BCC 22926. Phytochemistry, 105, 123-128.
55
56
รายงานประจำ�ปี 2557
28.
Chesor, M., Roytrakul, S., Graidist, P. and Kanokwiroon, K. (2014). Proteomics analysis of siRNA-mediated silencing of Wilms' tumor 1 in the MDA-MB-468 breast cancer cell line. Oncology Reports, 31(4), 1754-1760.
29.
Chirakul, S., Bartpho, T., Wongsurawat, T., Taweechaisupapong, S., Karoonutaisiri, N., Talaat, A.M., Wongratanacheewin, S., Ernst, R.K., Sermswan, R.W. (2014). Characterization of BPSS1521 (bprD), a Regulator of Burkholderia pseudomallei Virulence Gene Expression in the Mouse Model. PLOS one, 9(8), e104313.
30.
Chitnumsub, P., Ittarat, W., Jaruwat, A., Noytanom, K., Amornwatcharapong, W., Pornthanakasem, W., Chaiyen, P., Yuthavonga, Y. and Leartsakulpanich, U. (2014). The structure of Plasmodium falciparum serine hydroxymethyltransferase reveals a novel redox switch that regulates its activities. Acta Crystallographica Section D-Biological Crystallography, 70(Pt6), 1517–1527.
31.
Chuaseeharonnachai, C., Somrithipol, S. and Boonyuen, N. (2014). A new species of Fusticeps from Thailand. Mycosphere, 5(2), 313-317.
32.
Chueasiri, C., Chunthong, K., Pitnjam, K., Chakhonkaen, S., Sangarwut, N., Sangsawang, K., Suksangpanomrung, M., Michaelson, L.V., Napier, J.A. and Muangprom, A. (2014). Rice ORMDL Controls Sphingolipid Homeostasis Affecting Fertility Resulting from Abnormal Pollen Development. PLOS one, 9(9), e106386.
41.
Gashaw, A., Theerawitaya, C., Samphumphuang, T., Cha-um, S. and Supaibulwatana, K. (2014). CPPU elevates photosynthetic abilities, growth performances and yield traits in salt stressed rice (Oryza sativa L. spp. indica) via free proline and sugar accumulation. Pesticide Biochemistry and Physiology, 108, 27-33.
42.
Harnpicharnchai, P., Promdonkoy, P., Sae-Tang, K., Roongsawang, N. and Tanapongpipat, S. (2014). Use of the glyceraldehyde-3phosphate dehydrogenase promoter from a thermotolerant yeast, Pichia thermomethanolica, for heterologous gene expression, especially at elevated temperature. Annals of Microbiology, 64(3), 1457-1462.
43.
Hattori, T., Sakayaroj, J., Jones, E.B.G., Suetrong, S., Preedanon, S. Klaysuban, A. (2014). Three species of Fulvifomes (Basidiomycota, Hymenochaetales) associated with rots on mangrove tree Xylocarpus granatum in Thailand. Mycoscience, 55(5), 344-354.
44.
Hongsrichan, N., Intuyod, K., Pinlaor, P., Khoontawad, J., Yongvanit, P., Wongkham, C., Roytrakul, S. and Pinlaor, S. (2014). Cytokine/ Chemokine Secretion and Proteomic Identification of Upregulated Annexin A1 from Peripheral Blood Mononuclear Cells Cocultured with the Liver Fluke Opisthorchis viverrini. Infection and Immunity, 82(5), 2135-2147.
45.
Hooft van Huijsduijnen, R., Guy, R.K., Chibale, K., Haynes, R.K., Peitz, I., Kelter, G., Phillips, M.A., Vennerstrom, J.L., Yuthavong, Y. and Wells, T.N.C. (2013). Anticancer properties of distinct antimalarial drug classes. PLOS one, 8(12), e82962.
46.
Hu, B., Ying, X., Wang, J., Piriyapongsa, J., Jordan, I.K., Sheng, J., Yu, F., Zhao, P., Li, Y., Wang, H., Ng, W.L., Hu, S., Wang, X., Wang, C., Zheng, K., Li, W., Curran, W.J. and Wang, Y. (2014). Identification of a Tumor-Suppressive Human-Specific MicroRNA within the FHIT Tumor-Suppressor Gene. Cancer Research, 74, 2283-2294.
47.
Hyde, K.D., Gareth Jones, E. B., Liu, J.K., Ariyawansa, H., Boehm, E., Boonmee, S., Braun, U., Chomnunti, P., Crous, P.W., Dai, D.Q., Diederich, P., Dissanayake, A., Doilom, M., Doveri, F., Hongsanan, S., Jayawardena, R., Lawrey, J.D., Li, Y.M., Liu, Y.X., Lucking, R., Monkai, J., Muggia, L., Nelsen, M.P., Pang, K.L., Phookamsak, R., Senanayake, I.C., Shearer, C.A., Suetrong, S., Tanaka, K., Thambugala, K.M., Wijayawardene, N.N., Wikee, S., Wu, H.X., Zhang, Y., Aguirre Hudson, B., Alias, S.A., Aptroot, A., Bahkali, A.H., Bezerra, J.L., Bhat, D.J., Camporesi, E., Chukeatirote, E., Gueidan, C., Hawksworth, K., Hoog, S.D., Kang, J.C., Knudsen, K., Li, W.J., Li, X.H., Liu, Z.Y., Mapook, A., McKenzie, E.H.C. Miller, A.N., Mortimer, P.E.,Phillips, A.J.L., Raja, H.A., Scheuer, C., Schumm, F., Taylor, J.E., Tian, Q., Tibpromma, S., Wanasinghe, D., Wang, Y., Xu, J.C., Yacharoen, S., Yan, J.Y. and Zhang, M . (2013). Families of Dothideomycetes. Fungal Diversity, 63(1), 1-313.
48.
Imman, S., Arnthong, J., Burapatana, V., Champreda, V. and Laosiripojan, N. (2014). Effects of acid and alkali promoters on compressed liquid hot water pretreatment of rice straw. Bioresource Technology, 171, 29-36.
33.
Chumyim, P., Rijiravanich, P., Somasundrum, M. and Surareungchai, W. (2014). Tyrosinase Multilayer-Functionalised Carbon Nanotubes as Electrochemical Labels: Application To Immunoassay. BioNanoScience, 4(3), 240-250.
34.
Chutivisut, P., Pungrusmi, W. and Powtongsuk, S. (2014). Denitrification and Dissimilatory Nitrate Reduction to Ammonium (DNRA) Activities in Freshwater Sludge and Biofloc from Nile Tilapia Aquaculture Systems. Journal of Water and Environment Technology, 12(4), 347-356.
35.
Coker, O.O. Warit, S., Rukseree, K., Summpunn, P., Prammananan, T. and Palittapongarnpim, P . (2013). Functional characterization of two members of histidine phosphatase superfamily in Mycobacterium tuberculosis. BMC Microbiology, 13, 292.
36.
Donpudsa, S., Visetnan, S., Supungul, P., Tang, S., Tassanakajon, A., Rimphanitchayakit, V. (2014). Type I and type II crustins from Penaeus monodon, genetic variation and antimicrobial activity of the most abundant crustinPm4. Developmental and Comparative Immunology, 47(1), 95-103.
37.
Elsworth, B., Matthews, K., Nie, C.Q., Kalanon, M., Charnaud, S.C., Sanders, P.R., Chisholm, S.A., Counihan, N.A., Shaw, P.J., Pino, P., Chan, J.A., Azevedo, M.F., Rogerson, S.J., Beeson, J.G., Crabb, B.S, Gilson, P.R. and Koning-Ward, T.F.D. (2014). PTEX is an essential nexus for protein export in malaria parasites. Nature, 511, 587-591.
38.
Faksri, K., Chaiprasert, A., Pardieu, C., Casali, N., Palaga, T., Prammananan, T., Palittapongarnpim, P., Prayoonwiwat, N. and Drobniewski, F. (2014). Heterogeneity of phenotypic characteristics of the modern and ancestral Beijing strains of Mycobacterium tuberculosis. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology, 32(2), 1-9.
49.
Imprasittichail, W., Roytrakul, S., Krungkrai, S.R. and Krungkrail, J. (2014). A unique insertion of low complexity amino acid sequence underlies protein-protein interaction in human malaria parasite orotate phosphoribosyltransferase and orotidine 5'-monophosphate decarboxylase. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine, 7(3), 184-192.
39.
Fongsaran, C., Jirakanwisal, K., Kuadkitkan, A., Wikan, N., Wintachai, P., Thepparit, C., Ubol, S., Phaonakrop, N., Roytrakul, S. and Smith, D.R. (2014). Involvement of ATP synthase β subunit in chikungunya virus entry into insect cells. Archives of Virology, 159(12), 3353-3364.
50.
40.
Fongsaran, C., Phaonakrop, N., Roytrakul, S., Thepparit, C., Kuadkitkan, A., Smith, D.R. (2014). Voltage Dependent Anion Channel Is Redistributed during Japanese Encephalitis Virus Infection of Insect Cells. The Scientific World Journal, 2014, Article ID 976015.
Intachai, K., Singboottra, P., Leksawasdi, N., Kasinrerk, W., Tayapiwatana, C. and Butr-Indr, B. (2014). Enhanced production of functional extracellular single chain variable fragment against HIV-1 matrix protein from Escherichia coli by sequential simplex optimization. Preparative Biochemistry and Biotechnology, 45(1), 56-68.
51.
Intarasirisawat, R., Benjakul, S. and Visessanguan, W. (2014). Stability of emulsion containing skipjack roe protein hydrolysate modified by oxidised tannic acid. Food Hydrocolloids, 41, 146-155.
รายงานประจำ�ปี 2557
52.
Intarasirisawat, R., Benjakul, S., Visessanguan, W. and Wu, J. (2014). Effects of skipjack roe protein hydrolysate on properties and oxidative stability of fish emulsion sausage. Lwt-Food Science and Technology, 58(1), 280-286.
53.
Intarasirisawat, R., Benjakul, S., Wu, J. and Visessanguan, W. (2013). Isolation of antioxidative and ACE inhibitory peptides from protein hydrolysate of skipjack (Katsuwana pelamis) roe. Journal of Functional Foods, 5(4), 1854-1862.
54.
Intaraudom, C., Dramae, A., Supothina, S., Komwijit, S. and Pittayakhajonwut, P. (2014). 3-Oxyanthranilic acid derivatives from Actinomadura sp. BCC27169. Tetrahedron, 70(17), 2711-2716.
55.
Isaka, M., Chinthanom, P., Danwisetkanjana, K. and Choeyklin, R. (2014). A new cryptoporic acid derivative from cultures of the basidiomycete Poria albocincta BCC 26244. Phytochemistry Letters, 7, 97-100.
56.
Isaka, M., Chinthanom, P., Sappan, M., Supothina, S. and Boonpratuang, T. (2014). Phenylglycol Metabolites from Cultures of the Basidiomycete Mycena pruinosoviscida BCC 22723. Helvetica Chimica Acta, 97(7), 909–914.
57.
Isaka, M., Haritakun, R., Intereya, K., Thanakitpipattana, D. and Hywel-Jones, N.L. (2014). Torrubiellone E, an Antimalarial N-Hydroxypyridone Alkaloid from the Spider Pathogenic Fungus Torrubiella longissima BCC 2022. Natural Product Communications, 9(5), 627-628.
58.
Isaka, M., Palasarn, S., Komwijit, S., Somrithipol, S. and Sommai, S. (2014). Pleosporin A, an antimalarial cyclodepsipeptide from an elephant dung fungus (BCC 7069). Tetrahedron Letters, 55(2), 469-471.
66.
Joshia, J., Srisala, J., Truong, V.H., Chen, I.T., Nuangsaeng, B., Suthienkul, O., Lo, C.F., Flegel, T.W., Sritunyalucksana, K. and Thitamadee, S. (2014). Variation in Vibrio parahaemolyticus isolates from a single Thai shrimp farm experiencing an outbreak of acute hepatopancreatic necrosis disease (AHPND). Aquaculture, 428-429, 297-302.
67.
Junyapate, K., Jindamorakot, S. and Limtong, S. (2014). Yamadazyma ubonensis f.a., sp. nov., a novel xylitol-producing yeast species isolated in Thailand. Antonie Van Leeuwenhoek International Journal of General and Molecular Microbiology, 105(3), 471-480.
68.
Kaewmungkun, K., Srirattana, K., Punyawai, K., Sripunya, N., Liang, Y., Sangsritavong, S. and Parnpai, R. (2013). Influence of Growth Factors on Survival and Development of Swamp Buffalo Early Antral Follicle cultured In Vitro. Buffalo Bulletin, 32(2), 617-621.
69.
Kamcharoen, A., Champreda, V., Eurwilaichitr, L. and Boonsawang, P. (2014). Screening and optimization of parameters affecting fungal pretreatment of oil palm empty fruit bunch (EFB) by experimental design. International Journal of Energy and Environmental Engineering, 5, 136.
70.
Kamsri, P., Koohatammakun, N., Srisupan, A., Meewong, P., Punkvang, A., Saparpakorn, P., Hannongbua, S., Wolschann, P., Prueksaaroon, S., Leartsakulpanich, U. and Pungpo, P. (2014). Rational design of InhA inhibitors in the class of diphenyl ether derivatives as potential anti-tubercular agents using molecular dynamics simulations. Sar and Qsar in Environmental Research, 25(6), 473-488.
71.
Kanchana, S., Montira, N. and Warinthorn, S. (2014). Recovery of tapioca starch from pulp in a conical basket centrifuge – Effects of rotational speed and liquid to solid (L/S) ratio on cake formation and starch–pulp separation efficiency. Separation and Purification Technology, 127, 192–201.
72.
Kanjanawattanawong, S., Tangphatsornruang, S., Triwitayakorn, K., Ruang-areerate, P., Sangsrakru, D., Poopear, S., Somyong, S. and Narangajavana, J. (2014). Characterization of rubber tree microRNA in phytohormone response using large genomic DNA libraries, promoter sequence and gene expression analysis. Molecular Genetics and Genomics, 289(5), 921-933.
59.
Isaka, M., Yangchum, A., Supothina, S., Chanthaket, R. and Srikitikulchai, P. (2014). Isopimaranes and eremophilanes from the wood-decay fungus Xylaria allantoidea BCC 23163. Phytochemistry Letters, 8, 59–64.
60.
Jaru-ampornpan, P., Nark puk , J., Wanitchang, A. and Jongkaewwattana, A. (2014). Nucleoprotein of influenza B virus binds to its type A counterpart and disrupts influenza A viral polymerase complex formation. Biochemical and Biophysical Research Communications, 443(1), 296-300.
61.
Jatuyosporn, T., Supungul, P., Tassanakajon, A. and Krusong, K. (2014). The essential role of clathrin-mediated endocytosis in yellow head virus propagation in the black tiger shrimp Penaeus monodon. Developmental and Comparative Immunology, 44(1), 100-110.
73.
Kanokratana, P., Eurwilaichitr, L., Pootanakit, K. and Champreda, V. (2014). Identification of glycosyl hydrolases from a metagenomic library of microflora in sugarcane bagasse collection site and their cooperative action on cellulose degradation. Journal of Bioscience and Bioengineering, 119(4), 384-391.
62.
Jearaphunt, M., Noonin, C., Jiravanichpaisal, P., Nakamura, S., Tassanakajon, A., Söderhäll, I. and Söderhäll, K. (2014). Caspase1-Like Regulation of the proPO-System and Role of ppA and Caspase-1-Like Cleaved Peptides from proPO in Innate Immunity. PLoS Pathogens, 10(4), e1004059.
74.
Kasetkasem, T., Rakwatin, P., Sirisommai, R. and Eiumnoh, A. (2013). A Joint Land Cover Mapping and Image Registration Algorithm Based on a Markov Random Field Model. Remote Sensing, 5(10), 5089-5121.
63.
Jeennor, S. and Volkaert, H. (2014). Mapping of quantitative trait loci (QTLs) for oil yield using SSRs and gene-based markers in African oil palm (Elaeis guineensis Jacq.). Tree Genetics and Genomes, 10(1), 1-14.
75.
64.
Jeennora, S., Cheawchanlertfaa, P., Suttiwattanakula, S., Panchanawapornb, S., Chutrakulb, C. and Laoteng. K. (2014). Novel elongase of Pythium sp. with high specificity on Δ6-18C desaturated fatty acids. Biochemical and Biophysical Research Communications, 450(1), 507–512.
Keelapang, P., Nitatpattana, N., Suphatrakul, A., Punyahathaikul, S., Sriburi, R., Pulmanausahakul, R., Pichyangkul, S., Malasit, P., Yoksan, S. and Sittisombut, N. (2013). Generation and preclinical evaluation of a DENV-1/2 prM + E chimeric live attenuated vaccine candidate with enhanced prM cleavage. Vaccine, 31(44), 5134-5140.
76.
65.
Jones, E.B.G., Suetrong, S., Cheng, W.H., Rungjindamai, N., Sakayaroj, J., Boonyuen, N., Somrothipol, S., Abdel-Wahab, M.A., Pang, K.L. (2014). An Additional Fungal Lineage in the Hypocreomycetidae (Falcocladium species) and the Taxonomic Reevaluation of Chaetosphaeria chaetosa and Swampomyces species, based on Morphology, Ecology and Phylogeny. Cryptogamie Mycologie, 35(2), 119-138.
K h a m l o r, T. , Po n g p i a c h a n , P. , S a n g s r i t avo n g, S . a n d Chokesajjawatee, N. (2014). Determination of Sperm Sex Ratio in Bovine Semen Using Multiplex Real-time Polymerase Chain Reaction. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences, 27(10), 1411-1416.
77.
Khamthong, N., Rukachaisirikul, V., Pakawatchai, C., Saithong, S., Phongpaichit, S., Preedanon, S. and Sakayaroj, J. (2014). Acremonoside, a phenolic glucoside from the sea fan-derived fungus Acremonium polychromum PSU-F125. Phytochemistry Letters, 10, 50-54.
57
58
รายงานประจำ�ปี 2557
78.
Khamthong, N., Rukachaisirikul, V., Phongpaichit, S., Preedanon, S. and Sakayaroj, J. (2014). An antibacterial cytochalasin derivative from the marine-derived fungus Diaporthaceae sp. PSU-SP2/4. Phytochemistry Letters, 10, 5–9.
79.
Khoomrung, S., Raber, G.,Laoteng, K. and Francesconi, K.A. (2014). Identification and characterization of fish oil supplements based on fatty acid analysis combined with a hierarchical clustering algorithm. European Journal of Lipid Science and Technology, 116(7), 795–804.
80.
Khoontawad, J., Hongsrichan, N., Chamgramol, Y., Pinlaor, P., Wongkham, C., Yongvanit, P., Pairojkul, C., Khuntikeo, N., Roytrakul, S., Boonmars, T., Pinlaor, S. (2014). Increase of exostosin 1 in plasma as a potential biomarker for opisthorchiasis-associated cholangiocarcinoma. Tumor Biology, 35(2), 1029-1039.
81.
Khunnamwong, P., Surussawadee, J., Jindamorakot, S. and Limtong, S. (2014). Wickerhamiella siamensis f.a., sp. nov., a novel endophytic and epiphytic yeast species isolated from sugarcane leaf in Thailand. International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology, 64(Pt 11), 3849-3855.
82.
Kittiloespaisan, E., Tak ashima, I., Kiatpathomchai, W., Wongkongkatep, J. and Ojida, A. (2014). Coordination ligand exchange of a xanthene probe-Ce(III) complex for selective fluorescence sensing of inorganic pyrophosphate. Chemical Communications, 50(17), 2126-2128.
83.
Kittipongpittaya, K., Panya, A., McClements, D.J. and Decker, E.A. (2014). Impact of Free Fatty Acids and Phospholipids on Reverse Micelles Formation and Lipid Oxidation in Bulk Oil. Journal of the American Oil Chemists Society, 91(3), 453-462.
84.
Klinbunga, S., Sittikankaew, K., Jantee, N., Prakopphet, S., Janpoom, S., Hiransuchalert, R., Menasveta, P. and Khamnamtong, B. (2014). Expression levels of vitellogenin receptor (Vtgr) during ovarian development and association between its single nucleotide polymorphisms (SNPs) and reproduction-related parameters of the giant tiger shrimp Penaeus monodon. Aquaculture, 435, 18-27.
85.
Kocharin, K., Supothina, S. and Prathumpa, W. (2013). Hypothemycin production and its derivatives diversifying of Aigialus parvus BCC 5311 influenced by cultural condition. Advances in Bioscience and Biotechnology, 4(12), 1049-1056.
86.
Kor nochaler t, N., K antachote, D., Chaiprapat, S. and Techkarnjanaruk, S. (2014). Bioaugmentation of latex rubber sheet wastewater treatment with stimulated indigenous purple nonsulfur bacteria by fermented pineapple extract. Electronic Journal of Biotechnology, 17(4), 174–182.
87.
Kor nochaler t, N., K antachote, D., Chaiprapat, S. and Techkarnjanaruk, S. (2014). Use of Rhodopseudomonas palustris P1 stimulated growth by fermented pineapple extract to treat latex rubber sheet wastewater to obtain single cell protein. Annals of Microbiology, 64(3), 1021-1032.
88.
Kornsakulkarn, J., Saepua, S., Komwijit, S., Rachtawee, P. and Thongpanchang, C. (2014). Bioactive polyketides from the fungus Astrocystis sp. BCC 22166. Tetrahedron, 70(12), 2129-2133.
89.
Kornsakulkarn, J., Saepua, S., Supothina, S., Chanthaket, R. and Thongpanchang, C. (2014). Sporaridin and sporazepin from actinomycete Streptosporangium sp. BCC 24625. Phytochemistry Letters, 10, 149–151.
90.
Korshkari, P., Vaiwsri, S., Flegel, T.W., Ngamsuriyaroj, S., Sonthayanon, B. and Prachumwat, A. (2014). ShrimpGPAT: a gene and protein annotation tool for knowledge sharing and gene discovery in shrimp. BMC Genomics, 15, 506.
91.
Kowasupat, C., Panijpan, B., Laosinchai, P., Ruenwongsa, P., Phongdara, A., Wanna, W., Senapin, S. and Phiwsaiya, K. (2014). Biodiversity of the Betta smaragdina (Teleostei: Perciformes) in the northeast region of Thailand as determined by mitochondrial COI and nuclear ITS1 gene sequences. Meta Gene, 2(2014), 83–95.
92.
Krajaejun, T., Lerksuthirat, T., Garg, G., Lowhnoo, T., Yingyong, W., Khositnithikul, R., Tangphatsornruang, S., Suriyaphol, P., Ranganathan, S. and Sullivan, T.D. (2014). Transcriptome analysis reveals pathogenicity and evolutionary history of the pathogenic oomycete Pythium insidiosum. Fungal Biology, 118(7), 640-653.
93.
Kramyu, J., Narkpuk, J., Jengarn, J. and Wanasen, N. (2014). Improved Transient Protein Expression by pFluNS1 Plasmid. Molecular Biotechnology, 56(4), 351-359.
94.
Kuan, G.C., Sheng, L.P., Rijiravanich, P., Marimuthu, K., Ravichandran, M., Yin, L.S., Lertanantawong, B. and Surareungchai, W. (2013). Gold-nanoparticle based electrochemical DNA sensor for the detection of fish pathogen Aphanomyces invadans. Talanta, 117, 312–317.
95.
Kuhnert, E., Fournier, J., Peršoh, D., Luangsa-ard, J.J.D. and Stadler, M. (2014). New Hypoxylon species from Martinique and new evidence on the molecular phylogeny of Hypoxylon based on ITS rDNA and β-tubulin data. Fungal Diversity, 64(1), 181-203.
96.
Kümpornsin, K., Modchang, C., Heinberg, A., Ekland, E.H., Jirawatcharadech, P., Chobson, P., Suwanakitti, N., Chaotheing, S., Wilairat, P., Deitsch, K.W., Kamchonwongpaisan, S., Fidock, D.A., Kirkman, L.A., Yuthavong, Y. and Chookajorn, T. (2014). Origin of Robustness in Generating Drug-Resistant Malaria Parasites. Molecular Biology and Evolution, 31(7), 1649-1660.
97.
Kümpornsin, P., Kotanan, N., Chobson, P., Kochakarn, T., Jirawatcharadech, P., Jaru-ampornpan, P., Yuthavong, Y. and Chookajorn, T. (2014). Biochemical and functional characterization of Plasmodium falciparum GTP cyclohydrolase I. Malaria Journal, 13, 150.
98.
Laguerrea, M., Bayrasy, C., Panya, A., Weiss, J., McClements, D.J., Lecomte, J., Decker, E.A. and Villeneuve, P. (2014). What Makes Good Antioxidants in Lipid-Based Systems? The Next Theories Beyond the Polar Paradox. Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 55(2), 183–201.
99.
Laosutthipong, C,, Kanthong, N. and Flegel, T.W. (2013). Novel, anionic, antiviral septapeptides from mosquito cells also protect monkey cells against dengue virus. Antiviral Research, 98(3), 449-456.
100. Laothanachareon, T., Kanchanasuta, S., Mhuanthong, W., Phalakornkule, C., Pisutpaisal, N. and Champreda, V. (2014). Analysis of microbial community adaptation in mesophilic hydrogen fermentation from food waste by tagged 16S rRNA gene pyrosequencing. Journal of Environmental Management, 144, 143-151. 101. Laothumthut, T., Jantarat, J., Paemanee, A., Roytrakul, S. and Chunhabundit, P. (2014). Shotgun proteomics analysis of proliferating STRO-1-positive human dental pulp cell after exposure to nacreous water-soluble matrix. Clinical Oral Investigations, 19(2), 261-270. 102. Leecharoenkiat, K., Sornjai, W., Khungwanmaythawee, K., Paemanee, A., Chaichana, C., Roytrakul, S., Fucharoen, S., Svasti, S. and Smith, D.R. (2014). Comparative Plasma Protein Profiling of Hemoglobin H Disease. Disease Markers, 2014(2014), 340214. 103. Leelatanawit, R., Uawisetwathana, U., Khudet, J., Klanchui, A., Phomklad, S., Wongtripop, S., Angthoung, P., Jiravanichpaisal, P. and Karoonuthaisiri, N. (2014). Effects of polychaetes (Perinereis nuntia) on sperm performance of the domesticated black tiger shrimp (Penaeus monodon). Aquaculture, 433, 266–275.
รายงานประจำ�ปี 2557
104. Lertampaiporn, S.,Thammarongtham, C., Nukoolkit, C., Kaewkamnerdpong, B. and Ruengjitchatchawalya, M. (2014). Identification of non-coding RNAs with a new composite feature in the Hybrid Random Forest Ensemble algorithm. Nucleic Acids Research, 42(11), e93.
118. Nabu, S., Lawung, R., Isarankura-Na-Ayudhya, P., IsarankuraNa-Ayudhya, C., Roytrakul, S. and Prachayasittikul, V. (2014). Reference map and comparative proteomic analysis of Neisseria gonorrhoeae displaying high resistance against spectinomycin. Journal of Medical Microbiology, 63(Pt 3), 371-385.
105. Lertwimol, T., Sangsuriya, P., Phiwsaiya, K., Senapin, S., Phongdara, A., Boonchird, C. and Flegel, T.W. (2014). Two new anti-apoptotic proteins of white spot syndrome virus that bind to an effector caspase (PmCasp) of the giant tiger shrimp Penaeus (Penaeus) monodon. Fish and Shellfish Immunology, 38(1), 1-6.
119. Namwong, S., Tanasupawat, S., Benjakul, S., Kudo, T., Itoh, T. and Visessanguan, W. (2014). Identification of halophilic strains and its proteolytic degradation of fish protein. Malaysian Journal of Microbiology, 10(2), 92-100.
106. Liamwirat, C., Cheevadhanarak, S., Netrphan, S., Chaijaruwanich, J., Bhumiratana, S. and Meechai, A. (2014). Rational identification of target enzymes for starch improvement through system-level analysis of a potato tuber model. Australian Journal of Crop Science, 8(5), 760-770. 107. Lorliam, W., Suwannarangsee, S., Akaracharanya, A. and Tanasupawat, S. (2014). First Determination of Ethanol Production and Xylose Reductase Gene of Zygoascus meyerae E23. Chiang Mai Journal of Science, 41(1), 231-236. 108. Mai-ngam, K., Kiatpathomchai, W., Arunrut, N. and Sansatsadeekul, J. (2014). Molecular self assembly of mixed comb-like dextran surfactant polymers for SPR virus detection. Carbohydrate Polymers, 112, 440-447. 109. Maketon, M., Amnuaykanjanasin, A. and Kaysorngup, A. (2014). A rapid knockdown effect of Penicillium citrinum for control of the mosquito Culex quinquefasciatus in Thailand. World Journal of Microbiology and Biotechnology, 30(2), 727-736. 110. M a k e to n , M . , Am n u ay k a n j a n a s i n , A . , H o t a k a , D. a n d Maketon, C. (2014). Population ecology of Thrips palmi (Thysanoptera:Thripidae) in orchid farms in Thailand. Applied Entomology and Zoology, 49(2), 273-282. 111. Malimas, T., Chaipitakchonlatarn, W., Vu, H.T.L., Yukphan, P., Muramatsu, Y., Tanasupawat, S., Potacharoen, W., Nakagawa, Y., Tanticharoen, M. and Yamada, Y. (2013). Swingsia samuiensis gen. nov., sp. nov., an osmotolerant acetic acid bacterium in the α-Proteobacteria. Journal of General and Applied Microbiology, 59(5), 375-384. 112. Maneerat, K., Yongkiettrakul, S., Kramomtong, I., Tongtawe, P., Tapchaisri, P., Luangsuk, P., Chaicumpa, W., Gottschalk, M. and Srimanote, P. (2013). Virulence Genes and Genetic Diversity of Streptococcus suis Serotype 2 Isolates from Thailand. Transboundary and Emerging Diseases, 60 (Suppl.2), 69-79. 113. Mangkalanan, S., Sanguanrat, P., Utairangsri, T., Sritunyalucksana, K. and Krittanai, C. (2014). Characterization of the circulating hemocytes in mud crab (Scylla olivacea) revealed phenoloxidase activity. Developmental and Comparative Immunology, 44(1), 116-123. 114. Matangkasombut, P., Chan-In, W., Opasawaschai, A., Pongchaikul, P., Tangthawornchaikul, N., Vasanawathana, S., Limpitikul, W., Malasit, P., Duangchinda, T., Screaton, G. and Mongkolsapaya, J. (2014). Invariant NKT Cell Response to Dengue Virus Infection in Human. Plos Neglected Tropical Disease, 8(6), e2955. 115. Mekchay, S., Supakankul, P., Assawamakin, A., Wilantho, A., Chareanchim, W. and Tongsima, S. (2014). Population structure of four Thai indigenous chicken breeds. BMC Genetics, 15, 40. 116. Mongkolsamrit, S., Khonsanit, A., Noisripoom, W. and Luangsa-ard., J.J. (2014). Two new entomogenous species of Moelleriella with perithecia in tubercles from Thailand. Mycoscience, 56(1), 66-74. 117. Montreekachon, P., Nongparn, S., Sastraruji, T., Khongkhunthian, S., Chruewkamlow, N., Kasinrerk, W. and Krisanaprakornkit, S. (2014). Favorable interleukin-8 induction in human gingival epithelial cells by the antimicrobial peptide LL-37. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology, 32(3) 251-260.
120. Nangola, S., Thongkum, W., Saoin, S., Ansari, A.A. and Tayapiwatana, C. (2014). An application of capsid-specific artificial ankyrin repeat proteinproduced in E. coli for immunochromatographic assay as a surrogate for antibody. Applied Microbiology and Biotechnology, 98(13), 6095-6103. 121. Narkpuk, J., Wanitchang, A., Kramyu, J., Namprachan-Frantz, P., Jongkaewwattana, A. and Teeravechyan, S. (2014). An unconventional BST-2 function: Down-regulation of transient protein expression. Biochemical and Biophysical Research Communications, 450(4), 1469–1474. 122. Netsawang, J., Panaampon, J., Khunchai, S., Kooptiwut, S., Nagila, A., Puttikhunt, C., Yenchitsomanus, P.T. and Limjindaporn, T. (2014). Dengue virus disrupts Daxx and NF-κB interaction to induce CD137-mediated apoptosis. Biochemical and Biophysical Research Communications, 450(4), 1485–1491. 123. Ngaemthao, W., Suriyachadkun, C., Chunhametha, S., Niemhom, N., Thawai, C. and Sanglier, J.J. (2014). Planobispora takensis sp. nov., isolated from soil in Thailand. International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology, 64, 1180-1185. 124. Ngoensawat, U., Rijiravanich, P., Somasundrum, M. and Surareungchai, W. (2014). Highly sensitive electrochemical detection of DNA hybridisation by coupling the chemical reduction of a redox label to the electrode reaction of a solution phase mediator. Analyst, 139, 5740-5746. 125. Niyompanich, S., Jaresitthikunchai, J., Srisanga, K., Roytrakul, S. and Tungpradabkul, S. (2014). Source-Identifying Biomarker Ions between Environmental and Clinical Burkholderia pseudomallei Using Whole-Cell Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry (MALDI-TOF MS). PLOS one, 9(6), e99160. 126. Nugraha, A.S., Haritakun, R. and Keller, P.A. (2013). Constituents of the Indonesian epiphytic medicinal plant Drynaria rigidula. Natural Product Communications, 8(6), 703-705. 127. Pang, K. L., Hyde, K. D., Alias, S. A., Suetrong, S., Guo, S. Y., Idid, Rizman, I. and Jones, E. B. G. (2013). Dyfrolomycetaceae, a new family in the Dothideomycetes, Ascomycota. Cryptogamie Mycologie, 34(3), 223-232. 128. Pata, S., Khummuang, S., Pornprasert, S., Tatua, T. and Kasinrerk, W. (2014). A simple and highly sensitive ELISA for screening of the α-thalassemia-1 Southeast Asian-type deletion. Journal of Immunoassay and Immunochemistry, 35(2), 194-206. 129. Peaydee, P., Klinbunga, S., Menasveta, P., Jiravanichpaisal, P. and Puanglarp, N. (2014). An involvement of aquaporin in heat acclimation and cross-tolerance against ammonia stress in black tiger shrimp, Penaeus monodon. Aquaculture International, 22(4), 1361-1375. 130. Phinyo, M., Nounurai, P., Hiransuchalert, R., Jarayabhand, P. and Klinbunga, S. (2014). Characterization and expression analysis of Cyclin-dependent kinase 7 gene and protein in ovaries of the giant tiger shrimp Penaeus monodon. Aquaculture, 432, 286–294. 131. Phithakrotchanakoon, C., Champreda, V., Aiba, S.I., Pootanakit, K. and Tanapongpipat, S. (2014). Production of Polyhydroxyalkanoates from Crude Glycerol Using Recombinant Escherichia coli. Journal of Polymers and the Environment, 23, 38-44.
59
60
รายงานประจำ�ปี 2557
132. Phookaew, P., Netrphan, S., Sojikul, P. and Narangajavana, J. (2014). Involvement of miR164- and miR167-mediated target gene expressions in responses to water deficit in cassava. Biologia Plantarum, 58(3), 469-478. 133. Phromjai, J., Mathuros, T., Phokharatkul, D., Prombun, P., Suebsing, R., Tuantranont, A and Kiatpathomchai, W. (2014). RT-LAMP detection of shrimp Taura syndrome virus (TSV) by combination with a nanogold-oligo probe. Aquaculture Research, 46(8), 1902-1913. 134. Phunpae, P., Chanwong, S., Tayapiwatana, C., Apiratmateekul, N., Makeudom, A. and Kasinrerk, W. (2014). Rapid diagnosis of tuberculosis by identification of Antigen 85 in mycobacterial culture system. Diagnostic Microbiology and Infectious Disease, 78(3), 242-248. 135. Phurpa, W., Keller, P. A., Pyne, S. G., Lie, W., Willis, A. C., Rattanajak, R. and Kamchonwongpaisan, S. (2013). A new protoberberine alkaloid from Meconopsis simplicifolia (D. Don) Walpers with potent antimalarial activity against a multidrug resistant Plasmodium falciparum strain. Journal of Ethnopharmacology, 150(3), 953-959. 136. P i c h y a n g k u l , S . , K r a s a e s u b , S . , J o n g k a e w w a t t a n a , A.,Thitithanyanont, A., Wiboon-Ut, S., Yongvanitchit, K., Limsalakpetch, A., Kum-Arb, U., Mongkolsirichaikul, D., Khemnu, N., Mahanonda, R., Garcia, J.M., Mason, C.J., Walsh, D.S. and Saunders, D.L. (2014). Pre-existing cross-reactive antibodies to avian influenza H5N1 and 2009 pandemic H1N1 in US military personnel. American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 90(1), 149-152. 137. Pinthong, C., Maenpuen, S., Amornwatcharapong, W., Yuthavong, Y., Leartsakulpanich, U. and Chaiyen, P. (2014). Distinct biochemical properties of human serine hydroxymethyltransferase compared with the Plasmodium enzyme: implications for selective inhibition. FEBS Journal, 281(11), 2570-2583. 138. Poh, W.T., Xia, E., Chin-inmanu, K., Wong, L.P., Cheng, A.Y., Malasit, P., Suriyaphol, P., Teo, Y.Y. and Ong, R.T.H. (2013). Viral quasispecies inference from 454 pyrosequencing. BMC Bioinformatics, 14(1), 335. 139. Poomtien, J., Thaniyavarn, J., Pinphanichakarn, P., Jindamorakot, S. and Morikawa, M. (2013). Production and Characterization of a Biosurfactant from Cyberlindnera samutprakarnensis JP52T. Bioscience Biotechnology and Biochemistry, 77(12), 2362-2370. 140. Poonkum, W., Powtongsook, S. and Pavasant, P. (2014). Astaxanthin Induction in Microalga H. pluvialis With Flat Panel Airlift Photobioreactors Under Indoor and Outdoor Conditions. Preparative Biochemistry and Biotechnology, 45(1), 1-17. 141. Poonsawat, W., Theerawitaya, C., Suwan, T., Mongkolsiriwatana, C., Samphumphuang, T., Cha-um, S. and Kirdmanee, C. (2014). Regulation of some salt defense-related genes in relation to physiological and biochemical changes in three sugarcane genotypes subjected to salt stress. Protoplasma, 252(1), 231-243. 142. Poonsrisawat, A., Wanlapatit, S., Paemanee, A., Eurwilaichitr, L., Piyachomkwan, K. and Champreda, V. (2014). Viscosity reduction of cassava for very high gravity ethanol fermentation using cell wall degrading enzymes from Aspergillus aculeatus. Process Biochemistry, 49(11), 1950-1957. 143. Pootakham, W., Ulthaisanwong, P., Sangsrakru, D., Yoocha, T., Tragoonrung, S. and Tangphatsornruang, S. (2013). Development and characterization of single-nucleotide polymorphism markers from 454 transcriptome sequences in oil palm (Elaeis guineensis). Plant Breeding, 132(6), 711-717. 144. Promdonkoy, P., Tirasophon, W., Roongsawang, N., Eurwilaichitr, L. and Tanapongpipat, S. (2014). Methanol-Inducible Promoter of Thermotolerant Methylotrophic Yeast Ogataea thermomethanolica BCC16875 Potential for Production of Heterologous Protein at High Temperatures. Current Microbiology, 69(2), 143-148.
145. Prompetchara, E., Ketloy, C., Keelapang, P., Sittisombut, N. and Ruxrungtham, K. (2014). Induction of Neutralizing Antibody Response against Four Dengue Viruses in Mice by Intramuscular Electroporation of Tetravalent DNA Vaccines. PLOS one, 9(6), e92643. 146. Puangploy, P., Smanmoo, S. and Surareungchai, W. (2014). A new rhodamine derivative-based chemosensor for highly selective and sensitive determination of Cu 2+. Sensors and Actuators B-Chemical, 193, 679-686. 147. Quandt1, C.A., Kepler, R.M., Gams, W., Araújo, J.P.M., Ban, S., Evans, Hughes, H.C.D., Humber, R., Jones, N.H., Li, Z., Luangsa-ard, J.J., Rehner, S.A., Sanjuan, T., Sato, H., Shrestha, B.,Sung, G.H., Yao, Y.J., Zare, R. and Spatafora, J.W. (2014). Phylogenetic-based nomenclatural proposals for Ophiocordycipitaceae (Hypocreales) with new combinations in Tolypocladium. International Mycological Association, 5(1), 121–134. 148. Robert, V., Vu, D., Amor, A.B., van de Wiele, N., Brouwer, C., Jabas, B., Szoke, S., Dridi, A., Triki, M., Ben Daoud, S., Chouchen, O., Vaas, L., de Cock, A., Stalpers, J.A., Stalpers, D., Verkley, G.J., .Groenewald, M., Dos Santos, F.B., Stegehuis, G., Li, W., Wu, L., Zhang, R., Ma, J., Zhou, M., Gorjón, S.P., Eurwilaichitr, L., Ingsriswang, S., Hansen, K., Schoch, C., Robbertse, B., Irinyi, L., Meyer, W., Cardinali, G., Hawksworth, D.L., Taylor, J.W. and Crous, P.W. (2013). MycoBank gearing up for new horizons. IMA Fungus, 4(2), 371-379. 149. Rojpibulstit, P., Kittisenachai, S., Puthong, S., Manochantr, S., Gamnarai, P., Jitrapakdee, S. and Roytrakul, S. (2014). Hep88 mAb-initiated paraptosis-like PCD pathway in hepatocellular carcinoma cell line through the binding of mortalin (HSPA9) and alpha-enolase. Cancer Cell International, 14, 69. 150. Rucksaken, R., Pairojkul, C., Pinlaor, P., Khuntikeo, N., Roytrakul, S., Selmi, C. and Pinlaor, S. (2014). Plasma Autoantibodies against Heat Shock Protein 70, Enolase 1 and Ribonuclease/Angiogenin Inhibitor 1 as Potential Biomarkers for Cholangiocarcinoma. PLOS one, 9(7), e103259. 151. Rukachaisirikul, V., Buadam, S., Phongpaichit, S. and Sakayaroj, J. (2013). Amide, cyclohexenone and cyclohexenone-sordaricin derivatives from the endophytic fungus Xylaria plebeja PSU-G30. Tetrahedron, 69(50), 10711-10717. 152. Rukachaisirikul, V., Rungsaiwattana, N., Klaiklay, S., Pakawatchai, C., Saithong, S., Phongpaichit, S., Borwornwiriyapan, K. and Sakayaroj, J. (2013). Indole-benzodiazepine-2,5-dione derivatives from a soil fungus Aspergillus sp. PSU-RSPG185. Tetrahedron, 69(52), 11116-11121. 153. Rukachaisirikul, V., Satpradit, S., Klaiklay, S., Phongpaichit, S., Borwornwiriyapan, K. and Sakayaroj, J. (2014). Polyketide anthraquinone, diphenyl ether, and xanthone derivatives from the soil fungus Penicillium sp. PSU-RSPG99. Tetrahedron, 70(34), 5148–5152. 154. Rungrassamee, W., Klanchui, A., Maibunkaew, S., Chaiyapechara, S., Jiravanichpaisal, P. and Karoonuthaisiri, N. (2014). Characterization of Intestinal Bacteria in Wild and Domesticated Adult Black Tiger Shrimp (Penaeus monodon). PLOS one, 9(3), e91853. 155. Rungroj, N. , Nettuwakul, C. , Sudtachat, N., Praditsap, O., Sawasdee, N., Sritippayawan, S., Chuawattana, D. and Yenchitsomanus, P.T. (2014). A whole genome SNP genotyping by DNA microarray and candidate gene association study for kidney stone disease. BMC Medical Genetics, 15, 50. 156. Sahakitrungruang, T., Srichomthong, C., Pornkunwilai, S., Amornfa, J., Shuangshoti, S., Kulawonganunchai, S., Suphapeetiporn, K. and Shotelersuk, V. (2014). Germline and somatic DICER1 mutations in a pituitary blastoma causing infantile-onset Cushing's disease. Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism, 99(8), E14871492.
รายงานประจำ�ปี 2557
157. Sakaew, W,, Pratoomthai, B., Pongtippatee, P., Flegel, T.W., Withyachumnarnkul, B. (2013). Discover y and par tial characterization of a non-LTR retrotransposon that may be associated with abdominal segment deformity disease (ASDD) in the whiteleg shrimp Penaeus (Litopenaeus) vannamei. BMC Veterinary Research, 9, 189.
170. S o m b a t j i n d a , S . , Wa n t aw i n , C . , Te c h k a r n j a n a r u k , S . , Withyachumnarnkul, B. and Ruengjitchatchawalya, M. (2014). Water quality control in a closed re-circulating system of Pacific white shrimp (Penaeus vannamei) postlarvae co-cultured with immobilized Spirulina mat. Aquaculture International, 22(3), 1181-1195.
158. Sangseethong, K., Chatakanonda, P., Wansuksri, R. and Sriroth, K . (2014). Influence of reaction parameters on carboxymethylation of rice starches with varying amylose contents. Carbohydrate Polymers, 115, 186–192.
171. Somboonna, N., Wilantho, A., Assawamakin, A., Monanunsap, S., Sangsrakru, D., Tangphatsornruang, S. and Tongsima, S. (2014). Structural and functional diversity of free-living microorganisms in reef surface, Kra island, Thailand. BMC Genomics, 15, 607.
159. S a n g s u r i y a , P. , H u a n g, J . Y. , C h u , Y. F. , P h i w s a i y a , K . , Leekitcharoenphon, P., Meemetta, W., Senapin, S., Huang, W.P., Withyachumnarnkul, B., Flegel, T.W. and Lo, C.F. (2014). Construction and application of a protein interaction map for white spot syndrome virus (WSSV). Molecular and Cellular Proteomics, 13(1), 269-282.
172. Somboonna, N., Wilantho, A., Jankaew, K., Assawamakin, A., Sangsrakru, D., Tangphatsornruang, S. and Tongsima, S. (2014). Microbial Ecology of Thailand Tsunami and Non-Tsunami Affected Terrestrials. PLOS one, 9(4), e94236.
160. Sangsuriya, P., Phiwsaiya, K., Pratoomthai, B., Sriphaijit, T., Amparyup, P., Withyachumnarnkul, B. and Senapin, S. (2014). Knockdown of a novel G-protein pathway suppressor 2 (GPS2) leads to shrimp mortality by exuvial entrapment during ecdysis. Fish and Shellfish Immunology, 37(1), 46-52. 161. Senapin, S., Phiwsaiya, K., Laosinchai, P., Kowasupat, C., Ruenwongsa, P. and Panijpan, B. (2014). Phylogenetic Analysis of Parasitic Trematodes of the Genus Euclinostomum Found in Trichopsis and Betta Fish. Journal of Parasitology, 100(3), 368-371. 162. Shaikh, M. S., Rana, J., Gaikwad, D., Leartsakulpanuch, U., Ambre, P.K., Pissurlenkar, R. R. S. and Coutinho, E. C.. (2014). Antifolate agents against wild and mutant strains of Plasmodium falciparum. Indian Journal of Pharmaceutical Sciences, 76(2), 116-124.
173. Sor-suwan, S., Jariyapan, N., Roytrakul, S., Paemanee, A., Phumee, A., Phattanawiboon, B., Intakhan, N., Chanmol, W., Bates, P.A., Saeung, A. and Choochote, W. (2014). Identification of Salivary Gland Proteins Depleted after Blood Feeding in the Malaria Vector Anopheles campestris-like Mosquitoes (Diptera: Culicidae). PLOS one, 9(3), e90809. 174. Sowajassatakul, A., Prammananan, T., Chaiprasert, A. and Phunpruch, S. (2014). Molecular characterization of amikacin, kanamycin and capreomycin resistance in M/XDR-TB strains isolated in Thailand. BMC Microbiology, 14, 165. 175. Sreekanth, G.P., Chuncharunee, A., Sirimontaporn, A., Panaampon, J., Srisawat, C., Morchang, A., Malakar, S., Thuwajit, P., Kooptiwut, S., Suttitheptumrong, A., Songprakhon, P., Noisakran, S., Yenchitsomanus, P. and Limjindaporn, T. (2014). Role of ERK1/2 signaling in dengue virus-induced liver injury. Virus Research, 188, 15-26.
163. Shearman, J.R., Sangsrakru, D., Ruang-areerate, P., Sonthirod, C., Uthaipaisanwong, P., Yoocha, T., Poopear, S., Theerawattanasuk, K., Tragoonrung, S. and Tangphatsornruang, S. (2014). Assembly and analysis of a male sterile rubber tree mitochondrial genome reveals DNA rearrangement events and a novel transcript. BMC Plant Biology, 14, 45.
176. Srilohasin, P., Chaiprasert, A., Tokunaga, K., Nao, N. and Prammananan, T. (2014). Novel DNA Chip Based on a Modified DigiTag2 Assay for High-Throughput Species Identification and Genotyping of Mycobacterium tuberculosis Complex Isolates. Journal of Clinical Microbiology, 52(6), 1962-1968.
164. Shigemori, T., Nagayama, M., Yamada, J., Miura, N., Yongkiettrakul, S., Kuroda, K., Katsuragi, T. and Ueda, M. (2013). Construction of a convenient system for easily screening inhibitors of mutated influenza virus neuraminidases. FEBS Open Bio, 3, 484-489.
177. Srisuk, C., Longyant, S., Senapin, S., Sithigorngul, P. and Chaivisuthangkura, P. (2014). M olecular cloning and characterization of a Toll receptor gene from Macrobrachium rosenbergii. Fish and Shellfish Immunology, 36(2), 552–562.
165. Silaket, P., Chatakanonda, P., Tran, T., Wansuksri, R., Piyachomkwan, K. and Sriroth, K. (2014). Thermal properties of esterified cassava starches and their maltodextrins in various water systems. StarchStärke, 66(11-12), 1022-1032.
178. Srithep, P., Khinthong, B., Chodanon, T., Powtongsook, S., Pungrasmi, W. and Limpiyakorn, T. (2014). Communities of ammonia-oxidizing bacteria, ammonia-oxidizing archaea and nitrite-oxidizing bacteria in shrimp ponds. Annals of Microbiology, 65, 267-278.
166. Siriwan, W., Takaya, N., Roytrakul, S. and Chowpongpang, S. (2014). Study of interaction between Papaya ringspot virus HCPro and papaya (Carica papaya) proteins. Journal of General Plant Pathology, 80(3), 264-271. 167. Sitdhipol, J., Visessanguan, W., Benjakul, S., Yukphan, P. and Tanasupawat, S. (2013). Idiomarina piscisalsi sp. nov., from fermented fish (pla-ra) in Thailand. Journal of General and Applied Microbiology, 59(5), 385-391. 168. Sleebs, B.E., Lopaticki, S., Marapana, D.S., O’Neill, M.T., Rajasekaran, P., Gazdik, M., Gu¨nther, S., Whitehead, L.W., Lowes, K.N., Barfod, L., Hviid, L., Shaw, P.J., Hodder, A.N., Smith, B.J., Cowman, A.F. and Boddey, J.A. (2014). IInhibition of Plasmepsin V Activity Demonstrates Its Essential Role in Protein Export, PfEMP1 Display, and Survival of Malaria Parasites. PLoS Biology, 12(7), e1001897. 169. Soison, B., Jangchud, K., Jangchud, A., Harnsilawat, T., Piyachomkwan, K., Charunuch, C. and Prinyawiwatkul, W. (2014). Physico-functional and antioxidant properties of purple-flesh sweet potato flours as affected by extrusion and drum-drying treatments. International Journal of Food Science and Technology, 49(9), 2067-2075.
179. Sriurairatana, S., Boonyawiwat, V., Gangnonngiw, W., Laosutthipong, C., Hiranchan, J. and Flegel, T.W. (2014). White Feces Syndrome of Shrimp Arises from Transformation, Sloughing and Aggregation of Hepatopancreatic Microvilli into Vermiform Bodies Superficially Resembling Gregarines. PLOS one, 9(6), e99170. 180. Sucharitakul, K., Rakmit, R., Boonsorn, Y., Leelapon, O., Teerakathiti, T., Bunnag, S. and Chanvivattana, Y. (2014). Isolation and Expression Analysis of a SOMATIC EMBRYOGENESIS RECEPTOR-LIKE KINASE (SERK) Gene in Curcuma alismatifolia Gagnep. Journal of Agricultural Science, 6(10), 207-217. 181. Suetrong, S., Rungjindamai, N., Sommai, S., Rung-Areerate, P., Sommrithipol, S and Jones, E.B.G. (2014). Wiesneriomyces a new lineage of Dothideomycetes (Ascomycota) basal to Tubeufiales. Phytotaxa, 176(1), 283–297. 182. Suhardiman, M., Kramyu, J., Narkpuk, J., Jongkaewwattana, A. and Wanasen, N. (2014). Generation of porcine reproductive and respiratory syndrome virus by in vitro assembly of viral genomic cDNA fragments. Virus Research, 195, 1-8.
61
62
รายงานประจำ�ปี 2557
183. S u j ay a n o n t , P. , C h i n i n m a n u, K . , Ta s s a n e e t r i t h e p, B. , Tangthawornchaikul, N., Malasit, P. and Suriyaphol, P. (2014). Comparison of phi29-based whole genome amplification and whole transcriptome amplification in dengue virus. Journal of Virological Methods, 195, 141-147.
196. Tansakul, C., Rukachaisirikul, V., Maha, A., Kongprapan, T., Phongpaichit, S., Hutadilok-Towatana, N., Borwornwiriyapan, K. and Sakayaroj, J. (2014). A new phenalenone derivative from the soil fungus Penicillium herquei PSU-RSPG93. Natural Product Research, 28(20), 1718-1724.
184. Suksangpleng, T., Leartsakulpanich, U., Moonsom, S., Siribal, S., Boonyuen, U., Wright, G.E. and Chavalitshewinkoon-Petmitr, P. (2014). Molecular characterization of Plasmodium falciparum uracil-DNA glycosylase and its potential as a new anti-malarial drug target. Malaria Journal, 13, 149.
197. Tassanakajona, A., Somboonwiwata, K. and Amparyup, P. (2014). Sequence diversity and evolution of antimicrobial peptides in invertebrates. Developmental and Comparative Immunology, 48(2), 324-341.
185. Suktitipat, B., Naktang, C., Mhuantong, W., Tularak, T., Artiwet, P., Pasomsap, E., Jongjaroenprasert, W., Fuchareon, S., Mahasirimongkol, S., Chantratita, W., Yimwadsana, B., Charoensawan, V. and Jinawath, N. (2014). Copy number variation in Thai population. PLOS one, 9(8), e104355. 186. Sunthornvarabhas, J., Chatakanonda, P., Piyachomkwan, K., Chase, G.G., Kim, H.J. and Sriroth, K. (2013). Physical structure behavior to wettability of electrospun poly(lactic acid)/polysaccharide composite nanofibers. Advanced Composite Materials, 22(6), 401-409. 187. Sunthornvarabhas, J., Thumanu, K., Limpirat, W., Kim, H.J., Piyachomkwan, K. and Sriroth, K. (2014). Assessment of material blending distribution for electrospun nanofiber membrane by Fourier transform infrared (FT-IR) microspectroscopy and image cluster analysis. Infrared Physics and Technology, 66, 141–145. 188. Supaphon, P., Phongpaichit, S., Rukachaisirikul, V. and Sakayaroj, J. (2014). Diversity and antimicrobial activity of endophytic fungi isolated from the seagrass Enhalus acoroides. Indian Journal of Marine Sciences, 43(5), 785-797. 189. Suradej, B., Pata, S., Kasinrerk, W. and Cressey, R. (2013). Glucosidase II exhibits similarity to the p53 tumor suppressor in regards to structure and behavior in response to stress signals: A potential novel cancer biomarker. Oncology Reports, 30(5), 2511-2519. 190. Suriyachadkun, C., Ngaemthao, W., Chunhametha, S., Thawai, C., Sanglier, JJ. and Kitpreechavanich, V. (2014). Sinosporangium siamense sp. nov., isolated from soil and emended description of the genus Sinosporangium. International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology, 64(Pt 8), 2828-2833. 191. Suwannaboon, R., Phiwsaiya, K., Senapin, S., Khunrae, P. and Rattanarojpong, T. (2013). The identification and expression of the full-length HtrA2 gene from Penaeus monodon (black tiger shrimp). Protein Expression and Purification, 92(2), 183-189. 192. Suwannarangsee, S., Arnthong, J., Eurwilaichitr, L. and Champreda, V. (2014). Production and Characterization of Multi-Polysaccharide Degrading Enzymes from Aspergillus aculeatus BCC199 for Saccharification of Agricultural Residues. Journal of Microbiology and Biotechnology, 24-10, 1439-1449. 193. Suwanposri, A., Yukphan, P., Yamada, Y. and Ochaikul, D. (2014). Statistical optimisation of culture conditions for biocellulose production by Komagataeibacter sp. PAP1 using soya bean whey. Maejo International Journal of Science and Technology, 8(01), 1-14. 194. Tadee, P., Kumpapong, K ., Sinthuya, D., Yamsakul, P., Chokesajjawatee, N., Nuanualsuwan, S., Pornsukarom, S., Molla, B.Z., Gebreyes, W.A. and Patchanee, P. (2014). Distribution, quantitative load and characterization of Salmonella associated with swine farms in upper-northern Thailand. Journal of Veterinary Science, 15(2), 327-334. 195. Talakhun, W., Phaonakrop, N., Roytrakul, S., Klinbunga, S, Menasveta, P. and Khamnamtong, B. (2014). Proteomic analysis of ovarian proteins and characterization of thymosin-β and RACGTPase activating protein 1 of the giant tiger shrimp Penaeus monodon. Comparative Biochemistry and Physiology - Part D: Genomics and Proteomics, 11, 9-19.
198. Teerapornpuntakit, J., Klanchui, A., Karoonuthaisiri, N., Wongdee, K. and Charoenphandhu, N. (2014). Expression of transcripts related to intestinal ion and nutrient absorption in pregnant and lactating rats as determined by custom-designed cDNA microarray. Molecular and Cellular Biochemistry, 391(1-2), 103-116. 199. Temeeyasen, G., Srijangwad, A., Tripipat, T., Tipsombatboon, P., Piriyapongsa, J., Phoolcharoen, W., Chuanasa, T., Tantituvanont, A. and Nilubol, D. (2014). Genetic diversity of ORF3 and spike genes of porcine epidemic diarrhea virus in Thailand. Infection Genetics and Evolution, 21, 205–213. 200. Thaitrong, N., Charlermroj, R., Himananto, O., Seepiban, C. and Karoonuthaisiri, N. (2013). Implementation of Microfluidic Sandwich ELISA for Superior Detection of Plant Pathogens. PLOS one, 8(12), e83231. 201. Thanakitpairin, A., Pungrasmim, W. and Powtongsook, S. (2014). Nitrogen and Phosphorus Removal in the Recirculating Aquaculture System with Water Treatment Tank Containing Baked Clay Beads and Chinese Cabbage. Environment Asia, 7(1), 81-88. 202. Thawa, C. and Suriyachadkun, C. (2013). Dactylosporangium siamense sp. nov., isolated from soil. International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology, 63 (Pt 11), 4033-4038. 203. Theerawitaya, C., Samphumphaung, R., Cha-um, S., Yamada, N. and Takabe, T. (2014). Responses of Nipa palm (Nypa fruticans) seedlings, a mangrove species, to salt stress in pot culture. Flora, 209(10), 597-603. 204. Thitamadee, S., Sr isala, J., Taengchaiyaphum, S. and Sritunyalucksana, K. (2014). Double-dose β-glucan treatment in WSSV-challenged shrimp reduces viral replication but causes mortality possibly due to excessive ROS production. Fish and Shellfish Immunology, 40(2), 478–484. 205. Tiewcharoen, S., Phurttikul, W., Rabablert, J., Auewarakul, P., Roytrakul, S., Chetanachan, P., Atithep, T. and Junnu, V. (2014). Effect of synthetic antimicrobial peptides on Naegleria fowleri trophozoites. The Southeast Asian journal of tropical medicine and public health, 45(3), 537-546. 206. Trisuwan, K., Rukachaisirikul, V., Borwornwiriyapan, K., Phongpaichit, S. and Sakayaroj, J. (2014). Benzopyranone, benzophenone, and xanthone derivatives from the soil fungus Penicillium citrinum PSU-RSPG95. Tetrahedron Letters, 55(7), 1336-1338. 207. Trungkathan, S., Polpanich, D., Smanmoo, S. and Tangboriboonrat, P. (2014). Magnetic polymeric nanoparticles functionalized by mannose-rhodamine conjugate for detection of E. Coli. Journal of Applied Polymer Science, 131(6), 40012. 208. Tue-ngeun, P., Kodchakorn, K., Nimmanpipug, P., Lawan, N., Nangola, S.,Tayapiwatana, C., Rahman, N.A., Zain, S.M. and Lee, V.S. (2013). Improved scFv Anti-HIV-1 p17 Binding Affinity Guided from the Theoretical Calculation of Pairwise Decomposition Energies and Computational Alanine Scanning. Journal of Biomedicine and Biotechnology, 2013(2013), Article ID 713585.
รายงานประจำ�ปี 2557
209. Udompetcharaporn, A., Junkunlo, K., Senapin, S., Roytrakul, S., Flegel, T.W. and Sritunyalucksana, K. (2014). Identification and characterization of a QM protein as a possible peptidoglycan recognition protein (PGRP) from the giant tiger shrimp Penaeus monodon. Developmental and Comparative Immunology, 46(2), 146-154. 210. Ukoskit, K., Chanroj, V., Bhusudsawang, G., Pipatchartlearnwong, K.,Tangphatsornruang, S. and Tragoonrung, S. (2014). Oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) linkage map, and quantitative trait locus analysis for sex ratio and related traits. Molecular Breeding, 33(2), 415-424. 211. Unrean, P. (2014). Pathway analysis of Pichia pastoris to elucidate methanol metabolism and its regulation for production of recombinant proteins. Biotechnology Progress, 30(1), 28-37. 212. Uttamatanin, R., Yuvapoositanon, P., Intarapanich, A., Kaewkamnerd, S., Phuksaritanon, R., Assawamakin, A., Tongsima, S. (2013). MetaSel: a metaphase selection tool using a Gaussianbased classification technique. BMC Bioinformatics, 14(Suppl 16), S13. 213. Vaithanomsat, P., Sangnam, A., Boonpratuang, T., Choeyklin, R., Promkiam-on, P., Chuntranuluck, S. and Kreetachat, T. (2013). Wood degradation and optimized laccase production by resupinate white-rot fungi in northern Thailand. Bioresources, 8(4), 6342-6360. 214. Vorapreeda, T., Thammarongtham, C., Cheevadhanarak, S. and Laoteng, K. (2013). Repertoire of malic enzymes in yeast and fungi: insight into their evolutionary functional and structural significance. Microbiology-Sgm, 159(Pt 12), 2548-2557. 215. Wang, J., Morton, M.J., Elliott, C.T., Karoonuthaisiri, N., Segatori, L. and Biswal, S.L. (2014). Rapid Detection of Pathogenic Bacteria and Screening of Phage-Derived Peptides Using Microcantilevers. Analytical Chemistry, 86(3), 1671-1678. 216. Wangchuk, P., Keller, P.A., Pyne, S.G., Taweechotipatr, M. and Kamchonwongpaisan, S. (2013). GC/GC-MS analysis, isolation and identification of bioactive essential oil components from the Bhutanese medicinal plant, Pleurospermum amabile. Natural Product Communications, 8(9), 1305-1308. 217. Wangchuka, P., Pyne, S.G., Keller, P.A., Taweechotipatr, M. and Kamchonwongpaisan, S. (2014). Phenylpropanoids and furanocoumarins as antibacterial and antimalarial constituents of the Bhutanese medicinal plant. Natural Product Communications, 9(7), 957-960. 218. Wangkumhang, P., Shaw, P.J., Chaichoompu, K., Ngamphiw, C., Assawamakin, A., Nuinoon, M., Sripichai, O., Svasti, S.,Fucharoen, S., Praphanphoj, V. and Tongsima, S. (2013). Insight into the Peopling of Mainland Southeast Asia from Thai Population Genetic Structure. PLOS one, 8(11), e79522. 219. Wattanachaisaereekul, S., Tachaleat, A., Punya, J., Haritakun, R., Boonlarppradab, C. and Cheevadhanarak, S. (2014). Assessing medium constituents for optimal heterologous production of anhydromevalonolactone in recombinant Aspergillus oryzae. AMB Express, 4, 52. 220. Watthanapanpituck, K. Kiatpathomchai, W., Chu, E. and Panvisavas, N. (2014). Identification of human DNA in forensic evidence by loop-mediated isothermal amplification combined with a colorimetric gold nanoparticle hybridization probe. International Journal of Legal Medicine, 128(6), 923-931. 221. Weerasai, K., Suriyachai, N., Poonsrisawat, A., Arnthong, J., Unrean, P., Laosiripojana, N. and Champreda, V. (2014). Sequential Acid and Alkaline Pretreatment of Rice Straw for Bioethanol Fermentation. Bioresources, 9(4), 5988-6001.
222. Wikan, N., Khongwichit, S., Phuklia, W., Ubol, S., Thonsakulprasert, T., Thannagith, M., Tanramluk, D., Paemanee, A., Kittisenachai, S., Roytrakul, S. and Smith, D.R. (2014). Comprehensive proteomic analysis of white blood cells from chikungunya fever patients of different severities. Journal of Translational Medicine, 12, 96. 223. Wimuttisuk, W., Tobwor, P., Deenarn, P., Danwisetkanjana, K., Pinkaew, D., Kirtikara, K. and Vichai, V. (2013). Insights into the Prostanoid Pathway in the Ovary Development of the Penaeid Shrimp Penaeus monodon. PLOS one, 8(10), e76934. 224. Woraprayote, W., Kingcha, Y., Amonphanpokin, P., Kruenate, J., Zendo, T., Sonomoto, K., Benjakul, S. and Visessanguan, W. (2013). Anti-listeria activity of poly(lactic acid)/sawdust particle biocomposite film impregnated with pediocin PA-1/AcH and its use in raw sliced pork. International Journal of Food Microbiology, 167(2), 229–235. 225. Wu, L., Sun, Q., Sugawara, H., Yang, S., Zhou, Y., McCluskey, K., Vasilenko, A., Suzuki, K-I., Ohkuma, M., Lee., Y., Robert, V., Ingsriswang, S., Guissart, F., Philippe, D. and Ma, J. (2013). Global catalogue of microorganisms (gcm): a comprehensive database and information retrieval, analysis, and visualization system for microbial resources. BMC Genomics, 14, 933. 226. Xu, D., Yuan, F., Gao, Y., Panya, A., McClements, D. J. and Decker, E. A. (2014). Influence of whey protein–beet pectin conjugate on the properties and digestibility of β-carotene emulsion during in vitro digestion. Food Chemistry, 156, 374–379. 227. Yamada, N., Theerawitaya, C., Cha-um, S., Kirdmanee, C. and Takabe, T. (2014). Expression and functional analysis of putative vacuolar Ca2+-transporters (CAXs and ACAs) in roots of salt tolerant and sensitive rice cultivars. Protoplasma, 251(5), 1067-1075. 228. Yim-im, W., Sawatdichaikul, O., Semsri, S., Horata, N., Mokmak, W., Tongsima, S., Suksamrarn, A. and Choowongkomon, K. (2014). Computational analyses of curcuminoid analogs against kinase domain of HER2. BMC Bioinformatics, 15, 261. 229. Yingvilasprasert, W., Supungul, P. and Tassanakajon, A. (2014). PmTBC1D20, a Rab GTPase-activating protein from the black tiger shrimp, Penaeus monodon, is involved in white spot syndrome virus infection. Developmental and Comparative Immunology, 42(2), 302-310. 230. Yongkiettrakul, S., Jaroenram, W., Arunrat, N., Chareanchim, W., Pannengpetch, S., Suebsing, R., Kiatpathomchai, W., Pornthanakasem, W., Yuthavong, Y. and Kongkasuriyachai, D. (2014). Application of loop-mediated isothermal amplification assay combined with lateral flow dipstick for detection of Plasmodium falciparum and Plasmodium vivax. Parasitology International, 63(6), 777-784. 231. Yooyongwech, S., Samphumphuang, T., Theerawitaya, C. and Cha-um, S. (2014). Physio-morphological responses of sweet potato [Ipomoea batatas (L.) Lam.] genotypes to water-deficit stress. Plant Omics Journal, 7(5), 361-368. 232. Zhou, D., Visessanguan, W., Chaikaew, S., Benjakul, S., Oda, K. and Wlodawer, A. (2014). Crystallization and preliminary crystallographic analysis of histamine dehydrogenase from Natrinema gari BCC 24369. Acta Crystallographica Section F-Structural Biology and Crystallization Communications, 70, 942-945.
63
64
รายงานประจำ�ปี 2557
คณะกรรมการบริหารไบโอเทค
คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติ
ที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาเลขาธิการส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
Professor Emeritus, The University of Tokyo, JAPAN
(13 ตุลาคม 2556 – 12 ตุลาคม 2558)
นายนักสิทธ์ คูวัฒนาชัย
นางสาวมรกต ตันติเจริญ
ทีป่ รึกษาอาวุโสผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(29 ตุลาคม 2555 – 23 ตุลาคม 2557)
Prof. Ken-ichi Arai
ประธานกรรมการ
Prof. Lene Lange
นายเสริมพล รัตสุข
Director of Research, Aalborg University, DENMARK
ทีป่ รึกษาอิสระด้านการวางแผนองค์กรและด้านการประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อม
กรรมการ
ประธานกรรมการ
Prof. Roger N. Beachy
นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Professor of Biology, Washington University in St.Louis, USA
Tan Sri Dutuk Dr. Ahmad Zaharudin Idrus
รองประธานกรรมการ
Former Chairman, Malaysian Biotechnology Corporation Sdn Bhd. MALAYSIA
นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
Prof. Martin Keller
ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กรรมการ
Associate Laboratory Director of Energy and Environmental Sciences, Oak Ridge National Laboratory, USA
นายปรเมธี วิมลศิริ
Prof. Gerald T. Keusch
นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ
Prof. Jia-Yang Li
ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร
นายชนรรค์ พุทธมิลินประทีป ส�ำนักงบประมาณ
นายประพนธ์ วิไลรัตน์
Professor of International Health and of Medicine, Boston University School of Public Health, USA Vice Minister of Agriculture, President of Chinese Academy of Agricultural Sciences, CHINA
Prof. Jens Nielsen
มหาวิทยาลัยมหิดล
Professor, Department of Chemical and Biological Engineering, Chalmers University of Technology, SWEDEN
นายอมเรศ ภูมิรัตน
Dr. Sang-Ki Rhee
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
นายจุลภาค คุ้นวงศ์
Executive Director, SCH Center for BioPharmaceutical Research and Human Resources Development, Soon Chun Hyang University, KOREA
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
Director, Generation Challenge Program, MEXICO
นายพาโชค พงษ์พานิช
คณะผู้บริหารไบโอเทค
นายรุจเวทย์ ทหารแกล้ว
ผู้อ�ำนวยการ
นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์
รองผู้อ�ำนวยการ
กรรมการและเลขานุการ
รองผู้อ�ำนวยการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ ไทย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครือเบทาโกร บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน)
นางสาวกัญญวิมว์ กีรติกร ผู้อ�ำนวยการไบโอเทค
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นางสาวดุษฎี เสียมหาญ รองผู้อ�ำนวยการไบโอเทค
Dr. Jean-Marcel Ribaut
นางสาวกัญญวิมว์ กีรติกร นายสุวิทย์ เตีย นางสาวดุษฎี เสียมหาญ นางสาวลิลี่ เอื้อวิไลจิตร รองผู้อ�ำนวยการ
Cover-biotec2557-OK copy.pdf
1
8/18/2558 BE
07:37
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ
รายงานประจำป 2557
C
M
Y
CM
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ
MY
CY
CMY
K
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแหงชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 113 อุทยานวิทยาศาสตรประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5 www.biotec.or.th
รายงานประจำป
2557