วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561

Page 1


วารสารวิชาการ

วิทยาลัยแสงธรรม

Saengtham College Journal

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2018/2561

วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งในและนอก วิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ บาทหลวง เดชา อาภรณ์รัตน์ บรรณาธิการ บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช รศ.ดร.สมเจตน์ ไวยาการณ์ ผศ.ประเสริฐ วิเศษกิจ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ อาจารย์พรี พัฒน์ ถวิลรัตน์ อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ

ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม ในนามเลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย ในนามผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนา และวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล วิทยาลัยเซนต์เทเรซา ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มูลนิธิเซนต์คาเบรียล ดร.ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต อาจารย์ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน นางสาวจิตรา กิจเจริญ

ก�ำหนดเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก/รูปเล่ม : นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ พิสูจน์อักษร : อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม

วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม

ได้ผ่านการประเมินคุณภาพวารสาร จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) รอบที่ 3 (ปีพ.ศ.2558-2562)

โดยจัดอยู่ในกลุ่ม 1

เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป


รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

Editorial Advisory Board

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น�ำ้ เพชร, S.J. 2. ศ.กีรติ บุญเจือ 3. ศ.ดร.เดือน ค�ำดี 4. ศ.ดร.สมภาร พรมทา 5. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 6. รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช 7. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน 8. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล

Sophia University, Japan ราชบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 9. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

2. บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ 4. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์

ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม  ถือเป็นกรรมสิทธิข์ องวิทยาลัย แสงธรรม ห้ามน�ำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ  �้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม  ถือเป็นความรับผิดชอบ ของผูเ้ ขียนเท่านัน้


รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ

(Peer Review) ประจำ�ฉบับ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2018/2561 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

1. ศ.กีรติ บุญเจือ 2. ศ.ดร.ยศ สันตสมบัต ิ 3. รศ.สิวลี ศิริไล 4. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 5. รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช 6. รศ.ดร.มารุต พัฒผล 7. รศ.ดร.ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม 8. ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทรักษ์ 9. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล 10. ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์ 11. ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา

1. บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ 2. บาทหลวง ผศ.ดร.วุฒชิ ัย อ่องนาวา 3. บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์ 4. บาทหลวง ดร.นันทพล สุขส�ำราญ 5. บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช 6. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร 7. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ 8. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ 9. อาจารย์พรี พัฒน์ ถวิลรัตน์ 10. อาจารย์ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน

ราชบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ราชบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษาคาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ โดยส่งบทความมาที่ ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 ม.6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อ ประเมินคุณภาพบทความว่าเหมาะสมส�ำหรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการ ส่งต้นฉบับได้ท่ี www.saengtham.ac.th/journal


บทบรรณาธิ ก าร Saengtham college Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2018/2561

วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรมฉบับนี้  ขอน�ำเสนอบทความด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย บทความวิชาการจ�ำนวน 2 เรื่อง ได้แก่  บทความเรื่องจุดหมายปลายทางของมนุษย์ โดย ดร.ปรีชา ดิลกวุฒสิ ทิ ธิ ์ และเรือ่ งประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีต สู่รัฐสมัยใหม่  โดย ผศ.ดร.นิพนธ์  ศศิภานุเดช บทความวิจัยจากบุคคลภายนอกจ�ำนวน 7  เรื่อง ได้แก่  งานวิจัยเรื่องกลยุทธิ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น โดย ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์ เรือ่ งการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง โดย อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ เรื่องการพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์  โดย พระมหาธนัญชัย แสงกล้า เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำ สร้างสุขสู่ชุมชน ต�ำบลหนองหมากฝ้าย อ�ำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดย ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา และคณะ เรื่องผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดย นงราม ชะลอเจริญยิ่ง เรื่องภาวะผู้น�ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดย เดชสกล จึงประวัต ิ เรือ่ งอนาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดย สมพร ยอดด�ำเนิน และบทความวิจัยจากภายใน จ�ำนวน 3 เรือ่ งได้แก่ เรือ่ งทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณี ศึกษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์  แก่งกะเบา โดย กฤษฎา ว่องไว เรือ่ งรูปแบบของสถาบัน พัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทย คริสตศักราช 2015 โดย บาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์ กฤษเจริญ และคณะ เรือ่ ง สถานะของความจ�ำเป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลใน พิธีกรรม โดยบาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์  กฤษเจริญ และคณะ กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกท่านทีก่ รุณาให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ ท�ำให้วารสารของเราเป็นเวทีเผย แพร่ผลงานทีไ่ ด้คณ ุ ภาพ และหวังว่า บทความต่างๆ ภายในเล่มนีจ้ ะก่อเกิดประโยชน์สำ� หรับ ผู้อ่านทุกท่าน บรรณาธิการ มิถุนายน 2561



จุดหมายปลายทางของมนุษย์ The End of Man. ดร.ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ * ผู้ช่วยคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

* อาจารย์ประจ�ำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Dr.Preecha Dilokwuthisith, Ph.D. * Assistant Dean of Graduate School. * Lecturer, Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Rajanagarindra University.


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

บทคัดย่อ

ปัญหาเรื่องจุดหมายปลายทางของมนุษย์เป็นประเด็นปัญหาที่ ส�ำคัญอย่างยิง่ ประการหนึง่ ทีไ่ ด้รบั การศึกษาอย่างจริงจังและอธิบายโดย นักปรัชญาเป็นจ�ำนวนมาก เป็นต้นว่า อริสโตเติล้  ผูใ้ ห้ให้อรรถาธิบายว่า หากมนุษย์ดำ� รงชีวติ ของเขาตามหลักศีลธรรมแล้วเขาจะมีความครบครัน บริบูณ์และไม่รู้สึกขาดสิ่งใดเลย ยิ่งไปกว่านั้น นักปรัชญาคริสตชน เป็นต้นว่านักบุญออกุสตินและนักบุญโทมัสอไควนัสก็ได้สอนให้เราด�ำรง ชีวิตอย่างชอบธรรมและเป็นหนึ่งเดียวกันกับเพื่อนมนุษย์เพื่อที่จะได้ไป อยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ซึ่งจะทรงดลบันดาลความสุขที่แท้จริงและไร้ ขอบเขตชั่วนิรันดร ในอีกด้านหนึ่งนั้น นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมที่ไม่เชื่อ ในพระเจ้า เป็นต้นว่า ฌอง-ปอล ซาตร์ และฟรีดริช นิตเซ่ ได้ยำ�้ ถึงความ ส�ำคัญของโลกียสุข/ความสุขในชีวติ ปัจจุบนั  สรุปแล้วก็คอื  วิธคี ดิ ต่างกัน เกี่ยวกับจุดหมายปลายทางของมนุษย์น�ำไปสู่โลกทัศน์ที่ต่างกันและ วิถีชิวิตที่ผิดแผกกันออกไป ค�ำส�ำคัญ:

2

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

จุดหมายปลายทางของมนุษย์ นักปรัชญา ความสุข


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

Abstract

The problem about the end of man is one of the essential issues which has been seriously investigated and explained by a number of philosophers, for example, Aristotle, who elucidated that a human being should live in accordance with moral principles which would make his life complete and sufficient. Notably, Christian philosophers, especially St.Augustine and St.Thomas Aquinas, taught us to live righteously and harmoniously with our fellow human beings in this world in order to live eternally with God, who will imbue us with true and unbounded happiness. On the other hand, the existentialist philosophers e.g Friedrich Nietzsche and Jean-Paul Sartre stressed the importance of pleasure/happiness in this present life. In short, different ways of thinking about the end of man lead to different world views and various ways of life. Keywords:

end of man philosopher happiness

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

3


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

1. จุดหมายปลายทางของมนุษย์เป็นวัตถุวิสัยแต่วิถีที่เลือกต่างๆ กันเป็นอัตวิสัย ปัญหาส�ำคัญที่มนุษย์เราครุ่นคิดกันมา ทุกยุคทุกสมัยก็คือ ชีวิตมนุษย์คืออะไร ตาย แล้วไปไหน สรุปก็คือ จุดหมายปลายทางของ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ คื อ อะไร ผู ้ เขี ย นพยายามที่ จ ะ ประมวลความคิดของนักปรัชญาส�ำคัญๆ ของ โลกมาน�ำเสนอไว้ในบทความนี้โดยสังเขป มนุษย์เราส่วนใหญ่สรุปเอาเองโดยใช้ สามัญส�ำนึกของมนุษย์ว่า ความถูกความผิด ทางศีลธรรมนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ การที่จะ พิจารณาตัดสินว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดนั้น จะยึด ตามเจตนาคติ  อัตวิสัยหรือตามทัศนะของใคร ของมันเท่านัน้ เองหรือ หรือว่ามีหลักการปรนัย (objective principle) ที่ใช้ได้ส�ำหรับมนุษย์ ทุ ก คนเหมื อ นกั น  ซึ่ ง สามารถพิ สู จ น์ ยื น ยั น ข้อสรุปข้างต้นว่าจริงแท้ได้  ความถูกต้องสรุป โดยนับถึงความเป็นระเบียบ และความผิดสรุป โดยนัยถึงความไม่เป็นระเบียบ และระเบียบก็ สรุปโดยนัยว่าเป็นหลักของแนวทางที่จะน�ำไป สู่จุดมุ่งหมาย เราจะเห็นได้ว่าการด�ำเนินการ ต่างๆ ในชีวิตของเรามนุษย์ไม่ว่าในเรื่องใด ก็ตาม อาทิ  เช่น ในการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย ในการด�ำเนินกิจการโทรศัพท์ ในการ เล่นเกมส์ตา่ งๆ นัน้ ล้วนแล้วแต่มที งั้ วิถที างทีถ่ กู และวิถีทางที่ผิดด้วยกันทั้งสิ้น แต่เราไม่อาจที่

4

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

จะบอกได้ว่าวิถีใดเป็นวิถีทางที่ถูกวิถีใดเป็น วิถีทางที่ผิด นอกเสียจากว่าเราจะทราบวัตถุประสงค์ ห รื อ จุ ด มุ ่ ง หมายของมหาวิ ท ยาลั ย หรือของกิจการโทรศัพท์  หรือของเกมส์นั้นๆ เสียก่อน เนื่องจากมีระเบียบการเอาหลายสิ่ง หลายอย่างที่เหมาะสมซึ่งจะน�ำไปสู่จุดหมาย เดียวกันทีว่ างไว้มารวมเข้าด้วยกันเป็นจุดหมาย จุดหมายจึงนับว่าเป็นพื้นฐานของระเบียบการ ซึ่งอาจจะมีได้หลายระเบียบการเป็นอัตวิสัย แต่มีจุดมุ่งหมายสุดท้ายเดียวกันเป็นวัตถุวิสัย ของความถูกและความผิดทางศีลธรรมก็จะเป็น สิง่ ทีเ่ ป็นปรนัย ถ้าหากมนุษย์ไม่มจี ดุ หมายแล้ว ไซร้  ความถูกและความผิดทางศีลธรรมก็ไร้ ความหมายโดยสิน้ เชิง หากปราศจากจุดหมาย ที่จะบรรลุแล้ว ความประพฤติของมนุษย์ก็จะ เป็นสิง่ ทีเ่ ป็นอยูห่ รือเกิดขึน้ มาเฉยๆ เท่านัน้ เอง และก็จะไม่มีจริยธรรม ไม่มีค่านิยมที่จะยึดถือ ปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล สรุปด้วยหลักเหตุผลว่ามนุษย์ด�ำรงอยู่ เพื่อพระสิริโรจนาการของพระเป็นเจ้า และนี่ คือจุดหมายทีเ่ ป็นปรนัยของมนุษย์ทอี่ ยูร่ ว่ มกัน ในสากลจั ก รวาล แต่ ม นุ ษ ย์ มิ ไ ด้ มี จุ ด หมาย เฉพาะตนดอกหรื อ  ดั ง นั้ น ปั ญ หาจริ ย ธรรม ข้ อ แรกก็ คื อ  มนุ ษ ย์ มี วั ต ถุ ป ระสงค์   หรื อ จุ ด มุ ่ ง หมายพิ เ ศษของตนเองโดยเฉพาะที่ เ ป็ น อัตนัยหรือไม่


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

ก. จุดหมายของชีวิตคืออะไร มนุษย์เป็นสิง่ ทีอ่ บุ ตั ขิ นึ้ มาด้วยเหตุบงั เอิญ นั้นก็คือ เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่ไม่จ�ำเป็นต้องมีอยู่ มนุษย์เป็นสิ่งที่มาจากเหตุ  จุดหมายเป็นปฐม เหตุทสี่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของเหตุ  หากปราศจากเสียซึง่ จุดหมายแล้วก็ไม่มสี งิ่ ใดทีจ่ ะก่อให้เกิดขึน้ มาได้ เนื่องจากจุดหมายเป็นมูลเหตุให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้ น มา จุ ด หมายนั้ น จึ ง เป็ น สิ่ ง ดี ง ามซึ่ ง สิ่ ง ที่ สามารถน�ำมนุษย์ให้ไปสูค่ วามสมบูรณ์ครบครัน ประโยชน์สุข หรือค่านิยมที่เหมาะสมได้  ใน ขณะที่มนุษย์เกิดความเข้าใจความดีตามนัย เช่นว่านี ้ มันก็จะกลายเป็นจุดหมายขึน้ มาทันที ในขัน้ ตอนแรกนัน้ จุดหมายเป็นตัวแทนของวัตถุ หรือผลที่เรามุ่งจะให้เกิดขึ้น ตัวแทนเช่นว่านี้ เป็ น มโนภาพที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายในจิ ต ใจของเรา ขั้นตอนต่อมา เราก็จะเกิดการตระหนักถึงมัน ในทันทีทันใด และขั้นตอนสุดท้ายจุดหมายก็ คือการให้ได้มาซึ่งความดี  ซึ่งเราเสาะแสวงหา นั้น จุดหมายหนึ่งๆ มีลักษณะเฉพาะดังต่อ ไปนี้ ก. มันถูกเสาะแสวงหาเพื่อตัวของมัน เอง เพราะตัวของมันเองก็ถกู นับเนือ่ งว่า เป็นความดี ด้วยเหตุนเี้ องมันจึงแตกต่าง จากมรรควิธลี ว้ นๆ ทีม่ นุษย์แสวงหาเพือ่ ที่จะสามารถบรรลุจุดหมายที่แท้จริงได้ เท่านัน้ อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับความดีบาง

ประการนั้นอาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่ถูกแสวง หาเพื่อตัวของมันเอง และมรรควิธีที่จะ สามารถให้ได้ซึ่งความดีอื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นจุดหมายจึงมีอยู่สามชนิดด้วยกัน คือ จุดหมายชั่วคราวจุดหมายเร่งรัด และจุดหมายขั้นอันติมะหรือจุดหมาย ขั้นสุดท้าย (ultimate end) ข. ในระหว่างการพยายามทีจ่ ะบรรลุจดุ หมายนั้น เราจะต้องเสาะแสวงหาสิ่ง อื่นๆ ที่จะช่วยให้ความพยายามของเรา สัมฤทธิผ์ ลอีกด้วย และประการสุดท้าย ค. จุดหมายเป็นสิง่ แรกในเจตนาและสิง่ สุดท้ายในการปฏิบตั  ิ กล่าวโดยสรุปก็คอื ในขัน้ แรกนัน้ จุดหมายเป็นตัวแทนทีเ่ ป็น มโนภาพของความดี ที่ ก ระตุ ้ น ความ อยากของเราให้ ป รารถนาที่ จ ะได้ ม า อย่างแรงกล้า หลังจากทีม่ จี ดุ หมายแล้ว เราก็ จ ะแสวงหามรรควิ ธี ต ่ า งๆ ที่ จ ะ สามารถท�ำให้เราบรรลุถงึ จุดหมายนัน้ ได้ และท้ายที่สุด เราก็จะมีความพึงพอใจ เมื่อได้บรรลุถึงจุดหมายนั้น ข. มนุษย์มีจุดหมายปลายทางที่ต่าง กันหรือไม่ อริสโตเติ้ลตอบค�ำถามนี้โดยกล่าวว่า ถ้าเชื่อว่ามนุษย์มีจุดหมายปลายทางที่ต่างกัน ก็เหมือนกับเราพูดว่ามนุษย์มงี านในฐานะมนุษย์ ทัง้ ครบทีต่ า่ งออกไปจากงานขององคาพยพของ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

5


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

เขา แต่ละส่วนซึ่งท�ำหน้าที่ไม่เหมือนกันอริสโตเติล้ เน้นว่า มนุษย์จะต้องพัฒนาเจตจ�ำนง (will) ของตนให้เข้มแข็งเพือ่ ทีจ่ ะควบคุมสัญชาตญาณ ฝ่ายต�่ำ  และมุ่งพัฒนาคุณธรรม (virtue) หรือ แนวโน้มฝ่ายดีของตนเพือ่ ทีจ่ ะสามารถเลือกท�ำ ดีหนีชวั่ ได้  (Sullivan. 1964: 88) จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กล่าวว่า การสลัดทิ้งเสียซึ่ง จุ ด หมายที่ มั่ น คงตายตั ว  โดยอาศั ย เชาวน์ ปัญญานั้นเป็นเงื่อนไขจ�ำเป็นก่อนอื่นใดของ ศาสตร์ที่เป็นอิสระ และก้าวหน้าทั้งฝ่ายโลก และฝ่ายศีลธรรม ตามความเห็นของเขานั้น เราจะเลือกเชื่อในเรื่องความดีสูงสุด ซึ่งเป็น จุดหมายร่วมกัน ส�ำหรับมนุษย์ทกุ คนทีจ่ ะต้อง บรรลุนั้นแล้วหันมาเชื่อในแนวพหุนิยมเชื่อใน ความแตกต่ า งกั น ออกไปในเรื่ อ งของการ เปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนไหวความดีและ จุดหมายที่แง่อัตวิสัย กล่าวคือ เชื่อว่ามนุษย์ แต่ละคนมีมาตรวัดความดี  และจุดหมายแตก ต่างกันไป เขากล่าวด้วยว่า จุดหมายมิใช่เป็น ปลายที่ที่เราจะต้องไปให้ถึงอีกต่อไป แต่มัน เป็นกระบวนการอันมีชีวิตชีวาของการเปลี่ยน สถานการณ์ที่เป็นอยู่  เป้าหมายของการด�ำรง ชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ มิ ใช่ ก ารพยายามที่ จ ะบรรลุ ความสมบูรณ์ครบครัน และยึดถือว่าสิ่งนี้เป็น เป้าหมายอันสูงสุด แต่เป้าหมายของการด�ำรง ชีวิตของเราคือ กระบวนการอันยาวนานที่น�ำ ไปสูก่ ารปรับตัวเราให้เหมาะสมขึน้ เรือ่ ยๆ และ

6

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การมีวฒ ุ ภิ าวะ ตลอดจนการกล่อมเกลาตนเอง (Dewey, 2001: 402-404) เราได้แสดงทัศนะที่ตรงกันข้ามกับดิวอี้ มาแล้วว่า มนุษย์มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน โดยอาศัยข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ ก. มนุษย์กระท�ำสิง่ ต่างๆ ลงไปเพือ่ การ บรรลุจุดหมายการกระท�ำนั้นเกิดจาก เจตจ�ำนงของเขาเจตจ�ำนงนีม้ งุ่ ไปสูค่ วาม ดี  และการแสวงหาความดีนี่แหละคือ จุดหมาย สิง่ ต่างๆ ทีก่ ระท�ำลงไปโดยไร้ จุดหมายนั้นเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล ดังนั้น มันจึงมิใช่การกระท�ำเยี่ยงมนุษย์ ข. ในการกระท�ำเยี่ยงมนุษย์นั้นจะต้อง มีจุดหมายบางประการซึ่งเป็นจุดหมาย สูงสุด มนุษย์ไม่สามารถที่จะมีจุดหมาย ย่อยๆ ในสิง่ ต่างๆ ทีเ่ ขากระท�ำได้  นอก เสียจากว่าเขาจะต้องมีจดุ หมายรวมหรือ จุดหมายอันสูงสุดเสียก่อน ถ้าปราศจาก เสียซึ่งสิ่งนี้แล้ว เขาก็จะเกิดสภาพขัด แย้งขึ้นในตัวเอง ในลักษณะดังต่อไปนี้ คือ (1) เขาไม่สามารถทีจ่ ะหยุดยัง้ การมี เจตจ�ำนงหรือการถวิลหาในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต่อไปเรื่อยๆโดยไม่มีที่สิ้นสุดได้  และใน ขณะเดียวกัน (2) เขาก็ไม่สามารถที่จะ เริม่ ตัง้ เจตจ�ำนง เขาไม่สามารถทีจ่ ะหยุด ยั้ ง การมี เจตจ� ำ นงหรื อ การถวิ ล หาสิ่ ง ต่างๆ เรือ่ ยๆ ไป เพราะจุดหมายนัน้ อัน


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

ทีจ่ ริงแล้วหมายถึงสิง่ ทีท่ ำ� ให้เราพอใจใน เมือ่ เราได้บรรลุถงึ มัน และเนือ่ งจากมัน อยู ่ ใ นอั น ดั บ สุ ด ท้ า ยของการกระท� ำ ดังนั้นหากมนุษย์ไม่มีจุดหมายอันสูงสุด แล้วเขาก็ไม่สามารถที่จะบรรลุความ พอใจอย่างแท้จริงได้  (3) การปราศจาก จากจุดหมายอันสูงสุด ท�ำให้มนุษย์ไม่ สามารถที่จะเริ่มต้นเจตจ�ำนงได้  ก็ต่อ เมื่อเขารู้สึกว่าสิ่งนั้นสามารถที่จะท�ำให้ เป็นจริงขึ้นมาได้เท่านั้น หรือกล่าวอีก นัยหนึ่งได้ว่าถ้าไม่มีความคาดหมายว่า จะบรรลุ ผ ลส� ำ เร็ จ แล้ ว ก็ จ ะไม่ มี ก าร กระท�ำเกิดขึ้น อริสโตเติ้ล (Aristotle) กล่าวไว้วา่  ในการกระท�ำนัน้  เหตุสดุ ท้าย ก็คือหลักการแรก แต่ถ้ามนุษย์เฝ้าแต่ การตั้ ง จุ ด หมายเฉพาะหน้ า ที่ ไ ม่ เ คย ท� ำ ให้ ส� ำ เร็ จ อยู ่ ค รั้ ง แล้ ว ครั้ ง เล่ า แล้ ว พลังทีก่ ระตุน้ ให้เรากระท�ำสิง่ ต่างๆ ก็ยงั คงมี อ ยู ่ ใ นตั ว เราอย่ า งไม่ มี วั น สิ้ น สุ ด เพราะเรายังไม่บรรลุจุดหมายที่จะยัง ความพอใจให้เราได้ แต่เนือ่ งจากการตัง้ เจตนานัน้ ต้องมีจดุ หมายเป็นอันดับแรก เสียก่อน ดังนั้นถ้าปราศจากจุดหมาย สู ง สุ ด เป็ น เครื่ อ งชั ก น� ำ จิ ต ใจเราแล้ ว มนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะเริ่มตั้งเจตจ�ำนง ได้  ดังค�ำกล่าวของอริสโตเติ้ลข้างต้น ซึง่ เราสามารถพูดเสียใหม่วา่  ถ้าไม่มเี หตุ

สุ ด ท้ า ยก็ ไ ม่ มี ห ลั ก การแรกของการ กระท�ำ  แต่เมื่อมนุษย์มีเจตจ�ำนงแสดง ว่าเขามีจุดหมายสูงสุดเป็นเครื่องชักน�ำ จิตใจของเขาไปสู่แล้ว และการกระท�ำ ทีก่ ระท�ำลงไปโดยมีเจตจ�ำนงของเขานัน้ ก็เป็นทั้งสาเหตุและค�ำตอบของค�ำว่า “ท�ำไม” ในบรรดาค�ำถามว่าท�ำไมๆ นัน้ จะต้องมี  ท�ำไมค�ำสุดท้ายที่สามารถน�ำ ไปสู่และเป็นข้อยุติของค�ำว่า ท�ำไมๆ ที่ถามมาก่อนหน้านั้นทั้งหมด ค. มนุษย์เราสามารถมีจุดหมายสูงสุด เพียงจุดหมายเดียวเท่านั้น จุดหมาย สุดท้ายของมนุษย์ไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม คือ สิ่งที่เติมให้เต็มตามสมรรถนะของสิ่ง นั้นๆ ดังนั้นจึงไม่หลงเหลือช่องว่างใดๆ ไว้ส�ำหรับจุดหมายอื่นๆ อีกต่อไปแล้ว ง. จุดหมายปลายทางของมนุษย์ทงั้ มวล นั้นมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นและเหมือน กันทุกคน ธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคน มีอยู่เหมือนกัน น�ำมนุษย์ไปสู่จุดหมาย เดียวกันส�ำหรับมนุษย์ทกุ รูปนาม กล่าว โดยสรุปก็คือ เมื่อธรรมชาติมีเอกภาพ แล้ว จุดหมายปลายทางก็ย่อมต้องมี เอกภาพด้วย ดังนั้น มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่ครบครัน บริ บู ร ณ์ จึ ง ด� ำ รงอยู ่   เพื่ อ การที่ จ ะได้ บ รรลุ จุ ดหมายแห่ ง ความครบครั นบริ บูร ณ์   หาไม่

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

7


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

แล้วการด�ำเนินชีวิตของเขาจะไม่มีเหตุผลเลย มนุษย์มิได้อาศัยเหตุผลคิดค้นจุดหมายปลาย ทางของตนเองขึ้นมา แต่มันได้ถูกก�ำหนดไว้ให้ พวกเขาแต่ละคนพยายามทีจ่ ะบรรลุถงึ มันให้ได้ แล้ว โดยพระเจ้าผู้ลิขิตธรรมชาติของพวกเขา ดังนัน้ ด้วยเหตุทมี่ นุษย์ทกุ คนโดยธรรมชาติแล้ว มีจดุ หมายปลายทางหนึง่ เดียวเท่านัน้  เจตจ�ำนง ของแต่ละคนจะต้องมุง่ ไปสูจ่ ดุ หมายปลายทาง หนึง่ เดียวกันนัน้ ด้วยอันได้แก่ความครบบริบรู ณ์ ของเอกภาพ จุดหมายปลายทางนี้เป็นปรนัย โดยไม่ขึ้นกับเจตจ�ำนงของมนุษย์คนใด ค. จุ ด หมายปลายทางของมนุ ษ ย์ มี อะไรเป็นองค์ประกอบส�ำคัญ จุดหมายตามธรรมชาติ  (จุดหมายของ งาน) และจุดหมายตามอ�ำเภอใจ (จุดหมายของ ผู้กระท�ำ) มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด จุดหมายตามธรรมชาติเป็นผลทีภ่ วันต์ (being) หนึ่งๆ มุ่งให้เกิดโดยธรรมชาติของตัวมันเอง เช่น จุดหมายของตาคือการมองเห็น จุดหมาย ของเท้ า คื อการเคลื่อนไหวในลัก ษณะต่างๆ เป็นต้น ส่วนจุดหมายตามอ�ำเภอใจนั้นก็คือ จุดหมายซึง่ ตัวกระท�ำทีม่ อี สิ รเสรี (a free agent) เลือกทีจ่ ะมุง่ ด�ำเนินไปสู ่ ซึง่ จุดหมายดังกล่าวนี้ อาจจะไปพ้องกันกับจุดหมายธรรมชาติบาง ประการได้   เช่ น  ในกรณี ที่ เ ด็ ก เล่ น ฟุ ต บอล เพือ่ ความสนุกสนาน หรือมันอาจจะไม่พอ้ งกัน เลยก็ ไ ด้   เช่ น การหัวเราะ ซึ่งจุดหมายตาม

8

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธรรมชาติกค็ อื  การแสดงออกภายนอกถึงความ ดีใจหรือความขบขัน ในบางกรณีผหู้ วั เราะอาจ จะใช้การหัวเราะ เป็นเครื่องซ่อนเร้นความเจ็บ ปวดหรือเพื่อก่อความร�ำคาญให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ก็เป็นได้ มนุษย์เราอาจมีเป้าหมายที่ตนเองเลือก ตามอ�ำเภอใจในอันทีจ่ ะด�ำเนินชีวติ ของตนไปสู่ ความดี  ซึ่งเป็นจุดหมายที่ธรรมชาติได้เสนอให้ เราแตกต่างกันไป แต่ถ้ามนุษย์คนหนึ่งคนใดมี จินตภาพของจุดหมายหรือสิง่ ทีเ่ ขาปรารถนาที่ จะมุ่งไปสู่ผิดเพี้ยนไปจากจุดหมายร่วมกันของ มนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมากแล้ว บุคคลผู้นั้นก็ จะต้องไม่แปลกใจเลยเป็นอันขาด ถ้าหากเขา จะต้องประสบความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่เรียก กันว่าวิกฤติการณ์เอกลักษณ์ (indentity crisis) จุดหมายตามธรรมชาติอาจจะเป็นแบบ ภายใน (intrinsic) หรือแบบภายนอก (extrinsic) ก็ได้จุดหมายตามธรรมชาติแบบภายใน นั้นก็คือ ความดีหรือประโยชน์สุขที่สามารถ ยังให้เกิดขึ้นได้ในตัวของภวันต์เอง จุดหมาย ภายในขั้นอันติมะ (ultimate intrinsic end) ก็คอื  สภาวะของความครบครันบริบรู ณ์ทไี่ ด้มา ด้ ว ยการปฏิ บั ติ ใ นทางที่ ถู ก ที่ ค วร และการ พัฒนาตนเองจนถึงขีดสุดของสมรรถนะธรรมชาติของภวันต์นั้นๆ ส่วนจุดหมายตามธรรมชาติแบบภายนอก ก็คอื  ความดีหรือประโยชน์ สุขทีส่ ามารถยังให้เกิดขึน้ ได้ภายนอกธรรมชาติ


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

ของภวันต์นนั้ ๆ และมีองค์ประกอบส�ำคัญ ก็คอื การสร้างคุณูปการให้แก่สิ่งที่เหนือกว่าซึ่งการ กระท�ำดังกล่าวนีถ้ กู วางแผนแบบ หรือก�ำหนด ไว้แล้วโดยธรรมชาติ  เช่น จุดหมายธรรมชาติ แบบภายนอกของพืช ตัวอย่างก็คือการถูกน�ำ มาใช้เป็นอาหารเลีย้ งสัตว์ สัตว์กถ็ กู ก�ำหนดโดย ธรรมชาติให้เป็นอาหารเลี้ยงมนุษย์  เป็นต้น มนุษย์ไม่มจี ดุ หมายภายนอกขัน้ อันติมะ (extrinsic ultimate end) เนื่องจากเขาไม่ สามารถที่จะก่อคุณูปการใดๆ แก่สิ่งที่สูงกว่า เขาคือพระเจ้าได้  หรือแม้แต่การที่จะหาของที่ มีประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริงส�ำหรับพระองค์ ไปถวายได้  เนื่องจากพระองค์มีทุกสิ่งทุกอย่าง พร้อมบริบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตามธรรมชาติที่ สมบูรณ์ครบครันของมนุษย์กเ็ ป็นพระสิรโิ รจนา การของพระเป็นเจ้าเหมือนกัน ถึงแม้พระเป็น เจ้ากับมนุษย์โดยมโนคติแล้วจะมีความแตกต่าง กันมาก แต่ความแตกต่างนั้นก็เป็นเพียงข้อ แตกต่างในแง่มมุ ต่างๆ ของจุดหมายปลายทาง เดียวกันเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นแล้วอะไรเล่าคือ ประโยชน์สุขสุดยอดที่ธรรมชาติชี้น�ำให้มนุษย์ มุง่ ทีจ่ ะยังให้เกิดขึน้ มาเล่า ส�ำหรับผูท้ มี่ แี นวคิด ตามลัทธิสรรพเทวนิยม (Pantheist) แล้วสิง่ นัน้ คือ การดูดซึมเข้าไปในองค์สมั บูรณ์ (The Absolute) ซึ่งองค์แห่งความสัมบูรณ์นั้นหมาย ถึง “...ภวันต์สูงสุดที่มีความเป็นอยู่โดยตนเอง คงอยู ่ โ ดยตนเองมี เ สรี ภ าพเต็ ม เปี ่ ย มโดย

ตนเอง...” (กีรติ บุญเจือ. 2522: 277) แต่ลทั ธิ ดั ง กล่ า วก็ ไ ม่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ กั น ในเรื่ อ งอื่ น ๆ ส�ำหรับเชลลิง (Schelling) เฮเกล (Hegel)  และฟอน ฮาร์ดมันน์  (Von Hardmanm) แล้วสิ่งนั้นก็คือวิวัฒนาการและความสมบูรณ์ สุดยอดของเผ่าพันธุ ์ ปรัชญาเมธีทกี่ ล่าวนามมา ข้ า งต้ น นั้ น มี ค วามคิ ด เห็ น ประโยชน์ สุ ข ของ แต่ละปัจเจกบุคคลมีความส�ำคัญน้อยกว่าของ ส่วนรวม แต่ทัศนะดังกล่าวนี้ก็ขัดแย้งกับแนว ความคิดทีว่ า่  แต่ละปัจเจกบุคคลมีคา่ อันอมตะ เนื่องจากเขาเป็นภาพลักษณ์  (image) ของ พระเป็นเจ้า เพราะฉะนั้นเขาจะอยู่เพื่อเป็น ประโยชน์ใช้สอยของสิ่งใดมิได้ การให้คำ� ตอบของเราต่อปัญหานีจ้ ำ� ต้อง มีการให้อรรถาธิบายค�ำว่า ความอยาก (desire) เสียก่อน นั่นก็คือในการสร้างสรรค์สิ่ง ต่างๆ นั้น พระประสงค์ของพระเป็นเจ้าก็คือ การให้ บ รรดาสิ่ ง สร้ า งทั้ ง หลายได้ รู ้ จั ก และ นมัสการพระองค์  และในเวลาเดียวกันสิง่ สร้าง ทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นเครื่องประกาศยืนยัน การมีอยู่จริงของพระองค์ด้วย พระองค์ได้ทรง แจ้งให้เราได้ทราบวัตถุประสงค์ของพระองค์ ที่ทรงมีต่อเรา สิ่งสร้างแต่ละอย่างได้รับสิ่งที่ เรียกว่าหลักภายในของการกระท�ำ  (internal principles of action) เป็นอุปกรณ์ส�ำหรับ ช่วยให้สามารถด�ำเนินบทบาทหน้าทีโ่ ดยเฉพาะ ของตนให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้  เพื่อที่จะเป็นหลัก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

9


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

ประกันได้ว่าสิ่งสร้างทั้งหลายจะด�ำเนินตาม พระประสงค์ของพระองค์ให้ส�ำเร็จลุล่วงไปนั้น พระองค์ได้ประทานหรือทรงใส่หลักแห่งการ กระท�ำไว้ในบรรดาสิ่งสร้างทั้งหลาย เพื่อเป็น เครื่องชักน�ำสิ่งสร้างเหล่านั้นไปในทิศทางที่ พระองค์ได้ทรงก�ำหนดไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึง่ ก็คือ ชักน�ำไปสู่จุดหมายเฉพาะของแต่ละสิ่ง สร้างนั่นเอง และอุปกรณ์เครื่องชักน�ำดังกล่าว ก็คอื ความอยากทีบ่ รรลุความดี  ความครบครัน บริบูรณ์  ซึ่งพระองค์ได้ทรงปลูกฝังเอาไว้ใน แต่ละสิ่งสร้างแล้ว ดังนัน้ ความอยากนีก้ ค็ อื  ความโน้มเอียง ของตั ว กระท� ำธรรมชาติ   (natural agent) ที่ จ ะมุ ่ ง ไปสู ่ ค วามดี   ความครบครั น บริ บู ร ณ์ ความอยากนีเ้ ป็นสิง่ ทีม่ โี ดยธรรมชาติ หรือสิง่ ที่ มีอยู่ภายในสิ่งสร้างนั้นเริ่มอุบัติขึ้นมา ความ อยากนี้กระตุ้นให้สิ่งสร้างทั้งหลายกระท�ำการ ต่างๆ ที่สามารถจะกระท�ำให้บรรลุความครบ ครันบริบูรณ์ได้ไม่ว่าตัวกระท�ำนั้นจะรู้หรือไม่รู้ ก็ตาม ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อสิ่งสร้างนั้นบรรลุ ความครบครันบริบรู ณ์แล้ว ความอยากก็จะได้ รับการตอบสนองหรือบ�ำบัดให้หมดไป และ เกิดความพอใจอย่างเต็มเปี่ยม ในกรณีที่สิ่ง สร้างนั้นเป็นมนุษย์ความครบครันบริบูรณ์เช่น ว่านี้เรียกว่า ความสุข ซึ่งเป็นสภาพหฤหรรษ์ ของความรูส้ กึ ว่าพอแล้วเต็มอิม่ แล้ว ด้วยเหตุนี้ จุดหมายตามธรรมชาติของมนุษย์นนั้ ก็คอื ความ สุขอันสมบูรณ์นั้นเอง 10

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เนือ่ งจากมนุษย์ไม่ครบครัน เขาจึงมุง่ ไป สู่จุดหมายหนึ่งที่จะท�ำให้เขาครบครันได้  นั้นก็ คื อ ความดี จุ ด หมายขั้ น อั น ติ ม ะก็ คื อ ความดี สูงสุด ความดีสูงสุดของมนุษย์ก็คือความสุข อันสมบูรณ์  เนื่องจาก (ก) ประสบการณ์ต่างๆ ได้พิสูจน์ให้เห็นแน่ชัดแล้วว่า จุดหมายอื่นๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศชื่อเสียง ความ มั่งคั่ง อ�ำนาจ ก็ล้วนแล้วแต่ถูกเสาะแสวงหา เพราะคิดว่าจะน�ำความสุขมาให้  ประวัตศิ าสตร์ ของมนุ ษ ยชาติ ก็ คื อ เรื่ อ งราวของจั ก รวาลที่ เต็ ม ไปด้ ว ยการเสาะแสวงหาอั น ไม่ มี ที่ สิ้ น สุดของการที่จะบรรลุความครบครันบริบูรณ์ อริสโตเติล้  กล่าวไว้วา่ มนุษย์มเี หตุผลรูจ้ กั ตัดสิน ถู ก ผิ ด และการประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นตามหลั ก ศีลธรรมนัน้ แหละทีท่ ำ� ให้ชวี ติ ครบครันบริบรู ณ์ และไม่รู้สึกขาดสิ่งใดเลย (Aristotle. 1996: 30-33) การจะมีความสุข และความอยากทุก อย่างจะต้องได้รับการตอบสนองจนเป็นที่น่า พอใจหรื อ ไม่ นั้ น ค� ำ ตอบมี   2 แง่   (ก) ความ อยากจะได้รับการตอบสนองจนเป็นที่น่าพอใจ และมีความสุขได้กต็ อ่ เมือ่ เจตจ�ำนงนัน้ ชอบด้วย เหตุผล เพราะมนุษย์เป็นสิ่งสร้างที่มีเหตุผล (ข) เมือ่ เจตจ�ำนงนัน้ ได้รบั การตอบสนองเป็นที่ น่าพอใจความอยากก็จะหายไป เหตุผลที่เป็น เช่นนี้เพราะว่าแม้มนุษย์จะมีความอยากหลาย อย่างก็ตามแต่ความอยากเหล่านั้นก็อยู่ภายใต้


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

การควบคุมหรือการชักน�ำของความอยากสูงสุด คื อ เจตจ� ำ นง ด้วยเหตุนี้เ มื่อเจตจ�ำนงเสาะ หาความสุขไม่ได้  เจตจ�ำนงก็จะต้องดิน้ รนเสาะ หาต่ อไปจนกว่าจะพบความสุขแล้วจึงหยุด เนื่องจากความดี  เป็นสิ่งที่เจตจ�ำนงต้องการ มนุษย์จึงปรารถนาความดี หรือ ความสุข เมื่อ ได้พบหรือได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็ ย่อมพึงพอใจ การมีความสุขอย่างสมบูรณ์  คือ ความ สมบูรณ์พร้อมสูงสุดของมนุษย์ คนทีม่ คี วามสุข เพราะเขามีทกุ สิง่ ทุกอย่างตามทีธ่ รรมชาติเรียก ร้องให้เขามี  แต่ละคนมีจุดหมายเฉพาะตัวของ ตนแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามทุกคนก็มุ่งไป สูจ่ ดุ หมายสุดท้ายเดียวกัน จุดหมายสุดท้ายนัน้ ก็คอื  ความสมบูรณ์พร้อมทีจ่ ะน�ำความสุขอย่าง สมบู ร ณ์ ม าให้   ในบางครั้ ง พบว่ า มนุ ษ ย์ อ าจ กระท� ำ บางสิ่ ง บางอย่ า งโดยมิ ไ ด้ ตั้ ง ใจอย่ า ง จริงจัง แต่หากวิเคราะห์โดยลึกแล้ว มนุษย์มี แรงจูงใจที่จะกระท�ำสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขทั้ง สิ้น 2. ความสุขเป็นจุดหมายปลายทางของมนุษย์ การกล่าวว่า ความสุขคือความดี  หรือ ความสมบูรณ์พร้อมนั้น เป็นการน�ำค�ำกล่าว ของคนโบราณมาเล่าใหม่  ค�ำถามที่ท ้าทาย อย่างหนึ่งก็คือ อะไรที่จะท�ำให้ความอยากที่ ชอบด้วยเหตุผลของมนุษย์ได้รบั การตอบสนอง

อย่างพอใจเต็มที่  และท�ำให้มนุษย์มีความสุข ครบครันบริบูรณ์  ความสุขดังกล่าวนี้มนุษย์ได้ มาด้วยการครอบครองบางสิ่งบางอย่าง แต่สิ่ง ที่ว่านั้นคืออะไร บางคนกล่าวว่า เราไม่สามารถรู้ได้ว่า อะไรท�ำให้เรามีความสุข แต่ที่จริงนั้นมนุษย์ ในฐานะเป็นสิ่งสร้างที่มีเหตุผลจะมีความสุข ด้วยสิ่งที่เขาไม่รู้ไม่ได้  มนุษย์จะต้องรู้จักหรือมี ความรูใ้ นสิง่ นัน้ ได้ ด้วยเหตุน ี้ ปัญหาถัดไปของ จุดหมายปลายทางของมนุษย์  ก็คือ อะไรท�ำ ให้มนุษย์ทุกคนมีความสุข ปัญหาดังกล่าว มนุษย์ในสมัยโบราณ ได้คิดอย่างจริงจัง จนกระทั่งถึงปัจจุบันมนุษย์ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติที่แน่นอน ค�ำตอบของปัญหา ดังกล่าวนี้มีแตกต่างกันหลายทรรศนะด้วยกัน ค�ำตอบที่ส�ำคัญๆ มีดังนี้ 1. ของนอกกาย หลายคนคิดว่า เงิน ทองชื่อเสียง เกียรติยศ และอ�ำนาจทางโลก สามารถท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ มี ค วามสุ ข สมบู ร ณ์ ไ ด้ ความเชื่อดังกล่าวนี้เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะ สิ่งที่จะท�ำให้เรามีความสุขสมบูรณ์นั้นจะต้อง 1.1 เป็นสิ่งที่ไม่น�ำความทุกข์มาสู่เราได้ 1.2 ให้สิ่งที่เราปรารถนาได้ทั้งหมด 1.3 ตัวมันเองจะท�ำให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้ จากประสบการณ์ ชี วิ ต ของเราพบว่ า การมีของนอกกายดังกล่าวมาก บ่อยครัง้ ได้นำ� เอาความทุกข์ความเดือดเนื้อร้อนใจมาให้เรา

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

11


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

ด้วย บางครั้งเกิดความต้องการเพิ่มอย่างไม่มี ทีส่ นิ้ สุด เรียกว่า “ความไม่พอ” และบางครัง้ ก็ เป็นสาเหตุให้เราเกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส 2. ความงามและความอยูด่ มี สี ขุ ทางฝ่าย กาย พวกเอพิคคิวเรียน (Epicurean) เชื่อว่า การที่ ม นุ ษ ย์ จ ะมี ค วามสุ ข สมบู ร ณ์ ไ ด้ นั้ น จะ ต้อง “อยูด่ กี นิ ดี” มีพลานามัยสมบูรณ์  รูปร่าง หน้ า ตางดงามได้ สั ด ส่ ว น แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีส่ิงดังกล่าวทั้งหมดมนุษย์ ก็ ไ ม่ อ าจมี ค วามสุ ข ได้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์   เพราะ ร่างกายเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งจะต้องมี  จิตใจ เป็นองค์ประกอบส�ำคัญของมนุษย์ด้วย กาย สบายแต่ใจอาจเป็นทุกข์  มนุษย์เป็นสิ่งสร้าง สูงกว่าสัตว์ เพราะฉะนัน้  สิง่ ทีจ่ ะท�ำให้มนุษย์มี ความสุขได้นนั้ จะต้องเลิศเลอกว่าสัตว์ (http:// en.wikipedia.org/wiki/Epicurean สืบค้น เมื่อวันที่  12/10/2558) 3. ความสุขทางโลกีย์  พวก เฮดเดอน นิสต์  (Hedonist) ซึ่งเจ้าลัทธิคือ อริสติปปุส (Aristippus) นั้นเห็นว่า สิ่งที่เจตจ�ำนงของเรา ต้องการอย่างส�ำคัญนั้นก็คือควมสุขทางโลกีย์ เพราะฉะนั้น ความสุขที่สมบูรณ์ก็คือความสุข ทางโลกีย์  ผู้เชื่อในลัทธินี้คนหนึ่ง คือ จอห์น สจ๊วต มิลล์  (John Stuart Mill) กล่าวไว้ว่า ความสุขทางโลกีย์  และการหลุดพ้นจากความ เจ็บปวดทรมานนัน้ ก็คอื  สิง่ เดียวทีป่ รารถนาใน ฐานะเป็นจุดหมายสุดท้าย อันทีจ่ ริงแล้ว ความ

12

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง นั้ น จะต้ อ งเกิ ด จาการกระท� ำ ที่ ถูกต้องชอบธรรมเท่านั้น แต่ทว่าความสุขทาง โลกี ย ์ ห รื อ ความสุ ข ทางกายนั้ นอาจเกิ ดจาก การกระท�ำที่ถูกหรือผิดศีลธรรมก็ได้  อย่างไร ก็ตาม มิลล์ก็เชื่อว่า ความสุขด้านสติปัญญา และศี ล ธรรมนั้ น สู ง กว่ า ความสุ ข ทางโลกี ย ์ หรือความสุขทางกาย (http://en.wikipedia. org/ wiki/John_Stuart_Mill สืบค้นวันที่ 12/10/2558) 4. ความรู้  ความรักหรือคุณธรรม พวก สโตอิก (Stoic) เชื่อว่าคุณธรรม หรือความ ปรีชาฉลาดเป็นความดี สมบูรณ์  หรือความสุข สมบูรณ์ของมนุษย์ แต่ความเชือ่ นีม้ จี ดุ อ่อนตรง ที่มันเป็นเรื่องอัตวิสัยหรือเป็นเรื่องที่แตกต่าง กันไปในแต่ละคน ไม่มมี าตรฐานแน่นอนมาวัด ความรู ้   ความรั ก  หรื อ คุ ณ ธรรมและความ สามารถที่จะบรรลุความพอใจขึ้นกับสิ่งที่เรารู้ เรารัก ซึ่งเป็นคนหรือวัตถุนั้นๆ แต่ทว่าสิ่งที่ เจตจ�ำนงของเรามุ่งเน้นจะต้องเหนือขึ้นไปกว่า นั้นอีก (http://en.wikipedia.org/wiki/Stoicism สืบค้นเมื่อวันที่  12/10/2558) นอกจากนัน้ ยังมีพวกทีเ่ ห็นว่ามนุษย์ควร ตัง้ เจตจ�ำนงทีจ่ ะพัฒนาเผ่าพันธุข์ องคนให้เจริญ รุ่งเรืองถึงขีดสุดหรือถึงสภาวะสมบูรณ์ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นนักปรัชญาแนวเศรษฐกิจการเมืองและ นักการเมืองที่น�ำเอาแนวความคิดทางปรัชญา ไปใช้หรือดัดแปลงตามเจตนารมณ์ของตน เช่น


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

ฮิตเลอร์  (Hitler) ดังที่กล่าวแล้วแนวความคิด ต่างๆ นีไ้ ม่สามารถทีจ่ ะน�ำไปสูจ่ ดุ หมายสุดท้าย ที่แท้จริงของมนุษย์ได้  ซึ่งจะท�ำให้มนุษย์ต้อง ดิ้นรนแสวงหาต่อไปอย่างไม่มีที่ส้ินสุด สรุป ปัญหาในประเด็นนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่ ทรงมีความสามารถที่จะท�ำให้ความอยากที่ ชอบด้วยเหตุผลบรรลุถงึ ความพึงพอใจได้อย่าง เต็มเปี่ยม ประสบการณ์ได้แสดงให้เราเห็นชัดแล้ว ว่าไม่มีสิ่งสร้างใดๆ สามารถท�ำให้การโหยหา ความสุขของมนุษย์ได้รับการบ�ำบัดจนเป็นที่ พอใจอย่างเต็มเปี่ยม มนุษย์ในฐานะสิ่งสร้าง ทีม่ ปี ญ ั ญาไม่เคยพึงพอใจกับสิง่ สร้างต่างๆ รวม ทัง้ มนุษย์ดว้ ยกันทีม่ ขี อบเขตจ�ำกัด เขาต้องการ สิ่งที่เหนือกว่านั้น สิ่งที่สติปัญญาของมนุษย์ ต้องการที่จะเข้าถึงก็คือสิ่งที่เรียกกันว่าความดี สากล (Universal Goodness) ด้วยเหตุนี้ ความอยากหรือการโหยหาความสุขของมนุษย์ จะได้หยุดพักก็ด้วยสิ่งซึ่งทรงความดีอย่างหา ที่ สุ ด มิ ไ ด้ เ ท่ า นั้ น  สิ่ ง นั้ น ก็ มี แ ต่ พ ระเป็ น เจ้ า เท่านัน้ เอง เนือ่ งจากพระองค์ทรงเป็นองค์แห่ง ความดีทั้งมวลและบรรดาสิ่งสร้างทั้งหลายที่ พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้นจะดีได้ก็ต่อเมื่อ เข้าไปมีส่วนร่วมในความดีของพระองค์เท่านั้น ในขณะที่ซาตร์  (Sartre) และนักอัตถิภาวนิยมคนอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายอเทวนิยม เชื่อว่า มนุษย์มพี ลังขับเคลือ่ นให้เสาะแสวงหาสิง่ ต่างๆ

เรือ่ ยไปอย่างไม่มที สี่ น้ิ สุด และสรุปว่ามนุษย์คอื กิเลสตัณหาทีไ่ ร้ประโยชน์เพราะว่าสิง่ ทีพ่ ลังขับ เคลื่อนดังกล่าวมุ่งไปสู่นั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีอยู่ จริง (https://en.wikipedia.org/ wiki/JeanPaul_Sartre สืบค้นเมื่อวันที่  12/10/2558) ส่วนทางอีกฝ่ายหนึง่  คือ ฝ่ายเทวนิยมนัน้ ก็เชือ่ มั่นว่า การที่มนุษย์ทั่วไปในโลกมีความรู้สึก กระหายอย่างแรงกล้าตลอดมาอย่างคงเส้นคง วาทุกยุคทุกสมัยนั้น แสดงว่าจะต้องมีสิ่งหนึ่ง ซึง่ สามารถท�ำให้ความกระหายอยากเช่นว่านัน้ ได้รับการบ�ำบัดจนเป็นที่น่าพึงพอใจได้  ถ้ามิ เช่นนัน้ แล้วชีวติ ก็จะเป็นการทารุณโหดร้ายและ เป็ น เรื่ อ งชวนหั ว ที่ ไร้ ค วามหมาย เนื่ อ งจาก มนุษย์โหยหิวในสิง่ ทีไ่ ม่มที สี่ นิ้ สุด และสิง่ ทีไ่ ม่มี ที่สิ้นสุดนั้นด�ำรงอยู่  มนุษย์จึงถูกสร้างมาเพื่อ จะได้รับความพอใจอย่างเต็มที่จากสิ่งที่ไม่มีที่ สิ้ น สุ ด  คื อ  พระเป็ น เจ้ า นั้ น เท่ า นั้ น  นั ก บุ ญ ออกุสตินได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า พระองค์ ทรงสร้างเรามาเพือ่ พระองค์เอง และหัวใจของ เราจะโหยหาเรื่อยไปจนกว่าเราจะได้พบและ พักผ่อนในพระองค์ (htt://en.wikipedia.org/ wiki/Augustine_of_Hippo สืบค้นเมื่อวันที่ 16/10/2558) มนุษย์เข้าถึงความสุขได้ดว้ ยการกระท�ำ ซึ่งเกิดจากความรู้ในองค์พระผู้เป็นเจ้า และ ความรักพระองค์การกระท�ำเป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นใน การนี้เพราะว่าสมรรถภาพที่จะกระท�ำนั้นมี

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

13


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

ความสมบูรณ์น้อยกว่าการที่ได้ลงมือกระท�ำ จริงๆ ให้ดีท่ีสุด อริสโตเติ้ล กล่าวว่า ความดี ของมนุษย์ มาจาการท�ำงานของวิญญาณใน วิถีทางที่ดีที่สุด และเลิศเลอสมบูรณ์ที่สุดใน ชีวิตที่ครบครัน กิจกรรมของวิญญาณดังกล่าว นี้จะต้องเป็นการกระท�ำที่สูงส่งที่สุดของแนว โน้ ม ของคุ ณ ลั ก ษณะของเขา หรื อ พู ด ง่ า ยๆ ก็คือ เขาจะต้องพยายามให้คุณลักษณะที่เขามี อยู่กระท�ำสิ่งต่างๆ ให้ดีที่สุด เพื่อที่เขาจะได้ บรรลุจุดหมายปลายทางของมนุษย์และเข้าสู่ สภาวะที่สมบูรณ์ครบครัน เนื่องจากแนวโน้ม ของคุณลักษณะของเขาคือความรูแ้ ละความรัก มนุษย์จึงสามารถเข้าถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่ง เป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของเขาได้ด้วย การกระท�ำซึ่งเกิดจากความรู้และความรักที่ สมบูรณ์ อริสโตเติ้ลเรียกการเข้าถึงความสุขด้วย การกระท�ำตนให้สมบูรณ์ครบครันนีว้ า่  ยูเดโมเนีย (Eudaemonia) เขากล่าวว่าเมื่อพลังแห่งวิญญาณของเราได้ใช้คุณลักษณะที่มีอยู่กระท�ำ สิง่ ต่างๆ ลงไปอย่างดีทสี่ ดุ แล้ว กระแสธารแห่ง ความปรีดาปราโมทย์ก็จะหลั่งไหลมาจากการ กระท�ำนั้น (https://en.wikipedia.org/wiki. Eudaemonia สืบค้นเมื่อวันที่  12/10/2558) และนี่ก็คือค�ำตอบของเราต่อปัญหาจริยธรรม ประการแรกที่ว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นการกระท�ำ ของมนุษย์จะมุ่งไปสู่ความสุข

14

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เรายั ง สรุ ป ด้ ว ยว่ า ความถู ก ต้ อ งทาง ศีลธรรม และความผิดทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่มี อยู่จริง ความถูกต้องทางศีลธรรมก็คือสิ่งซึ่ง ช่วยมนุษย์ตรงในการพยายามเข้าถึงองค์พระ ผูเ้ ป็นเจ้าของเขา ความผิดทางศีลธรรมก็คอื สิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคกีดขวางความพยายามเช่นว่านัน้ ความสุ ข ตามธรรมชาติ ห รื อ เหนื อ ธรรมชาติ   ความสุ ข ที่ เ กิ ด จากการบรรลุ จุดหมายตามธรรมชาติฝ่ายโลกของมนุษย์นั้น เรียกว่าความสุขตามธรรมชาติ  แต่มนุษย์เป็น สิ่งสร้างที่อมตะและมีสติปัญญาจะต้องมีความ สุขชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปอีก อริสโตเติ้ล กล่าว ว่าความสุขอันติมะของมนุษย์เราเกิดขึ้นจาก การพิจารณาไตร่ตรองอย่างสมบูรณ์ที่สุดจน กระทั่งสามารถได้เห็นได้รับรู้สิ่งที่ตามธรรมดา แล้วประสาทสัมผัสต่างๆ ของเราไม่สามารถที่ จะเห็นหรือรับรู้ได้  สิ่งนั้นก็คือ องค์พระผู้เป็น เจ้านั้นเอง การเผยแสดงของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งท�ำให้เราเกิดความสุขอย่างดื่มด�่ำลึกล�้ำสุด พรรณนานัน้ เป็นความสุขเหนือธรรมชาติซงึ่ เรา ไม่อาจที่จะแสวงหาได้ในชีวิตฝ่ายธรรมชาติ ของเรา ต้องรอคอยในภพหน้า ซึง่ เราจะได้เห็น พระผู้เป็นเจ้าในสภาพที่พระองค์เป็นอยู่จริงๆ แต่อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับผูท้ เี่ ชือ่ ในพระองค์และ ปฏิบัติตามค�ำสั่งสอนของพระองค์อย่างครบ ครันบริบูรณ์  ก็อาจที่จะได้ชิมลางความสุขเช่น ว่านั้นบ้างแล้วตั้งแต่ยังอยู่ในโลกนี้


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

ค�ำถามที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมิได้มีความ หมายเป็นนัยว่า มนุษย์มีจุดหมายปลายทาง สุ ด ท้ า ยอยู ่ ส องจุ ด หมายปลายทางด้ ว ยกั น เพราะว่าจุดหมายตามธรรมชาติของเขานัน้ ก็ได้ รับการบรรจุอยู่ในจุดหมายเหนือธรรมชาติ และถูกดูดซับให้ไปสู่จุดหมายเหนือธรรมชาติ คื อ การได้ เ ห็ น องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ในสวรรค์ แต่ได้ดำ� เนินตามจุดหมายตามธรรมชาติของเขา อย่างดีครบครันทีส่ ดุ ซึง่ ตามสมรรถภาพประสา มนุษย์ของเขานั้นเมื่อสิ้นชีวิตไปจากโลกนี้แล้ว ก็ควรทีจ่ ะได้รบั ความสุขตามธรรมชาติในสถาน ที่เรียกว่าแดนบาดาล (Limbo) คริสตชนเชื่อ กันว่าความสุขในสถานที่ที่เรียกว่าแดนบาดาล คือ ความสุขที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสาประสาเด็กๆ เนื่องจาการที่เขาไม่เหมาะสมที่เข้าไปสู่สวรรค์ และอยู ่ กั บ พระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ตลอดนิ รั น ดรได้ เพราะเหตุที่เขาไม่ได้รู้จักและนับถือพระองค์ นั้น มิใช่ความผิดของเขาเอง เรื่ อ งจุ ด หมายเหนื อ ธรรมชาติ นี้ เ ป็ น เรื่องที่ศาสนาสอนและกล่าวเน้น แต่ส�ำหรับ นักจริยศาสตร์โดยทัว่ ๆ ไปแล้ว จะพิจารณากัน ถึงเรือ่ งคุณความดี  และวิธกี ารมนุษย์สามารถที่ จะบรรลุความดี  หรือการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การที่เขาจะสามารถบรรลุสิ่งดังกล่าวได้ด้วย วิธีการตามธรรมชาติหรือเหนือธรรมชาตินั้น หาได้กอ่ ให้เกิดความแตกต่างทีส่ ลักส�ำคัญในแง่ ของจริยศาสตร์แต่ประการใดไม่

3. ความสุขแท้กับความสุขเทียม ในเรื่องความสุขเหนือธรรมชาติเราจะ ต้องไปศึกษาพิจารณาดูจากหลักความเชื่อใน เทวศาสตร์  ซึ่งบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับจุด สุดท้ายของมนุษย์หรือเรือ่ งเกีย่ วกับนรกสวรรค์ แต่กระนั้นก็ดีนักบุญเปาโลได้เตือนไว้ว่า ความ บรมสุ ข ในสวรรค์ ที่ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ได้ ท รงจั ด เตรียมไว้ส�ำหรับผู้ที่รักพระองค์นั้นเป็นที่สิ่งที่ ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยนิ  และมนุษย์เราไม่สามารถ ที่จะล่วงรู้ก่อนได้  พูดง่ายๆ ก็คือต้องรอให้เรา สิ้นชีวิตไปจากโลกนี้เสียก่อนเราจึงจะสามารถ เข้าใจหรือรู้ถึงความสุขเหนือธรรมชาติหรือ ความสุขในสวรรค์นั้นได้  อย่างไรก็ตาม ก็มี นักเทวศาสตร์หรือนักปรัชญาในคริสตศาสนา บางท่านได้แสดงทรรศนะในเรื่องดังกล่าวนี้ไว้ บ้าง เช่น นักบุญโทมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) ซึ่งกล่าวว่าความสุขตามธรรมชาตินั้นเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งของความ บรมสุขเช่นว่านัน้  แต่ความบรมสุขซึง่ เป็นความ สุ ข ที่ ส มบู ร ณ์ จ ริ ง ๆ ที่ คั ม ภี ร ์ ไ บเบิ้ ล เรี ย กว่ า การได้ประจักษ์ในพระเจ้า (vision of God) และนักบุญโทมัส อไควนัส เรียกว่าอานันทสุข หรืออานันทปัสนา (beatific vision) นัน้ จะเกิด ขึ้นในโลกหน้าเมื่อได้ขึ้นสวรรค์เท่านั้น (Aquinas, 1987:42, กีรติ  บุญเจือ. 2527:263) โบเอธีอสุ  (Boethius) ให้คำ� จ�ำกัดความ ค�ำว่าความบรมสุขว่าเป็นสภาพที่สมบูรณ์ด้วย

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

15


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

การน�ำสิ่งดีๆ ทั้งหลายมารวมเข้าไว้ด้วยกัน สภาพความบรมสุ ข นี้ มิ ใช่ ก ารหยุ ด ยั้ ง จาก กิจกรรมใดๆ ทั้งหมด เมื่อเราสลักค�ำว่า “พัก ผ่อน” (Rest) ที่หลุมฝังศพนั้นเราหมายความ ว่าการต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายและความยากล�ำบาก ต่างๆ ในชีวิตของร่างที่ถูกฝังศพนั้นสิ้นสุดลง แล้วแต่วิญญาณของเขายังคงด�ำรงอยู่  และจะ ได้รับบ�ำเหน็จรางวัลในสวรรค์หรือไม่ก็แล้ว แต่การกระท�ำต่างๆ บนโลกนี้ของเขา ถ้าเขา พยายามท�ำดีหลีกหนีบาปและปฏิบัติตามน�้ำ พระทัยของพระองค์อย่างเคร่งครัดเขาก็จะได้ รับความบรมสุขชัว่ นิรนั ดรในสวรรค์  ความบรม สุขเช่นว่านี้  (ก) ปราศจากสิ่งที่เลวร้ายทั้งมวล ซึ่งจะมาท�ำให้สภาพที่เต็มบริบูรณ์ของเขาต้อง พร่องไป (ข) เต็มไปด้วยความดีงามทั้งมวลใน สภาพที่มนุษย์พึงมีพึงได้  (ค) ความแน่นอนว่า สภาพเช่นนีจ้ ะด�ำรงอยูช่ วั่ นิรนั ดร อย่างไรก็ตาม ความบรมสุ ข ที่ ม นุ ษ ย์ แ ต่ ล ะคนได้ รั บ นั้ น ก็ มี ขอบเขตจ�ำกัดตามคุณความดีที่เขาได้สร้างสม เอาไว้บนโลกนี ้ แต่กเ็ ป็นสภาพทีส่ มบูรณ์พร้อม ส�ำหรับแต่ละคนเปรียบเสมือนแก้วน�ำ้ แต่ละใบ ที่มีขนาดไม่เท่ากันเล็กบ้างใหญ่บ้าง แก้วเหล่า นั้นแต่ละใบก็มีน�้ำบรรจุอยู่เต็มตามขีดจ�ำกัด ของมัน นอกจากความรูแ้ ละความรักในองค์พระ ผูเ้ ป็นเจ้าจะเป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นในเรือ่ งความสุขแล้ว มนุษย์ที่สมบูรณ์ครบครันยังจะต้องมีความสุข

16

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อืน่ ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ตามประสามนุษย์ในชีวติ ประจ�ำ วัน ซึ่งอยู่ท่ามกลางเพื่อนมนุษย์ของเขาด้วย เนือ่ งจากมนุษย์เป็นสัตว์สงั คมเขาจึงมิอาจทีจ่ ะ มีความสุขในองค์พระผู้เป็นเจ้าจากการเฝ้า เอาแต่บ�ำเพ็ญภาวนาหรือพิจารณาใคร่ครวญ ถึงพระองค์เพียงล�ำพังแต่ผู้เดียวได้ แต่ต้องได้ จากการกระท�ำหน้าที่ของตนด้วยดีต่อเพื่อน มนุษย์ทงั้ หลาย โดยเฉพาะผูท้ อี่ ยูใ่ นชุมชนเดียว กั บ เขาหรื อ ผู ้ ที่ เขาได้ มี โ อกาสพบปะในชี วิ ต ประจ�ำวันของเขาด้วย 4. การได้มาซึ่งความสุขแท้ ก. ความสุขแท้เป็นสิ่งที่สามารถได้มา จริงๆ หรือไม่ คานท์  (Kant) เชื่อว่า ความศักดิ์สิทธิ์ หรื อ สิ่ ง ที่ ไ ปด้ ว ยกั น กั บ กฎศี ล ธรรมนั้ น เป็ น กระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด หรือกล่าวอีกนัย หนึ่งก็คือ เป็นการพยายามที่จะไปสู่จุดหมาย ที่ไม่มีมนุษย์หน้าไหนสามารถจะบรรลุถึงได้ ส่วน ที.เอช.กรีน (T.H. Green) คิดว่ามนุษย์ มีสมรรถภาพอันจ�ำกัด แต่มนัสพระผู้เป็นเจ้า (Divine mind) ค่อยๆ ผลิตตนเองขึ้นมาใหม่ ภายในวิญญาณของมนุษย์  เพราะฉะนั้นความ ดีอันแท้จริงที่จะยังความสุขสมบูรณ์ให้มนุษย์ นั้นจึงไม่สามารถที่จะเกิดในมนุษย์เองได้  แต่ เกิดขึ้นในมนัสพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมีอยู่ทั่วไปรวม ทั้งในตัวมนุษย์เองด้วย


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

อย่างไรก็ตามความสุขอันสมบูรณ์นั้น เป็นสิ่งที่สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้  (แต่มิใช่ใน โลกนี้ดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป) เนื่องจาก มนุษย์มีสมรรถภาพธรรมชาติส�ำหรับความดี อันสมบูรณ์และการที่เขาจะได้ชื่นชมยินดีใน ความดีอนั สมบูรณ์นนั้ ก็คอื ความสุขอันสมบูรณ์ มนุษย์มีสมรรถภาพดังกล่าวก็เพราะสติปัญญา ของเขาสามารถเข้ า ใจจั ก รวาลและความดี อันสมบูรณ์  และเพราะว่าเจตจ�ำนงของเขา สามารถที่จะปรารถนามันได้  สมรรถภาพนี้ เป็นธรรมชาติเพราะ (ก) มันมิได้เป็นสิ่งที่มี อยู่ในมนุษย์  เพราะมนุษย์เป็นผู้เลือกให้มันมา อยู่ตามอ�ำเภอใจของเขา แต่เป็นสิ่งที่อยู่ใน ตัวมนุษย์เองอยู่แล้วโดยธรรมชาติ  (ข) มนุษย์ ทุกคนมีประสบการณ์ดว้ ยตนเองถึงแรงกระตุน้ อันแรงกล้าที่มีอยู่โดยธรรมชาติในตัวเขาถึงแม้ เขาอาจจะไม่รู้ว่าจะท�ำความพึงพอใจให้แรง กระตุน้ นัน้  อย่างไรก็ตาม มันเหมือนกับดอกไม้ ตู ม ที่ มี ส มรรถภาพโดยธรรมชาติ ที่ เ บ่ ง บาน หรือปลามีสมรรถภาพโดยธรรมชาติทจี่ ะวางไข่ ครั้งละจ�ำนวนมากๆ ดังนั้นมนุษย์จึงมีสมรรถภาพโดยธรรมชาติส�ำหรับความสุขอันสมบูรณ์ โดยการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความดีอัน สมบูรณ์  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มนุษย์จะต้องใช้เจตจ�ำนงเสรีของเขาตัดสินในปฏิบัติตามเงื่อนไข ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการท�ำให้ธรรมชาติของเขาครบ ครัน (ด้วยการด�ำเนินตามกฎธรรมชาติของเขา)

เสี ย ก่ อ น สมรรถภาพส� ำ หรั บ ความสุ ข อั น สมบูรณ์ของเขาจึงจะสามารถบรรลุถงึ ความพึง พอใจได้   เฉกเช่ น เดี ย วกั บ ดอกไม้ ตู ม ซึ่ ง มี สมรรถภาพโดยธรรมชาติที่จะเบ่งบาน หรือ ปลามี ส มรรถภาพโดยธรรมชาติ ที่ จ ะวางไข่ ครัง้ ละจ�ำนวนมากๆ แต่ถา้ มันไม่ดำ� เนินตามกฎ ธรรมชาติ  หรือมีสิ่งใดมาฝืนกฎธรรมชาติของ มันแล้ว มันก็อาจจะไม่มกี ารเบ่งบานหรือวางไข่ ตามสมรรถภาพโดยธรรมชาติของมันได้ การโหยหาความสุขของมนุษย์ทั่วไปใน สากลพิภพในทุกยุคทุกสมัยเป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจทีจ่ ะ ปฏิ เ สธได้ อั น แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ธรรมชาติ ข อง มนุษย์ในการที่จะมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางซึ่ง ก็คือ ความสุขอันสมบูรณ์ที่พระผู้เป็นเจ้าทรง ก�ำหนดไว้แล้วที่จะประทานให้แก่เขา ถ้าความ สุขที่ว่านี้มิได้มีอยู่จริง ก็จะเป็นการขัดแย้งกับ ความจริงที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นองค์แห่ง ความดีและความจริง พระองค์จะต้องไม่ทรง หลอกลวงเราให้มุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางที่ ไม่มีวันจะเข้าถึงได้เป็นอันขาด ข. เราจะได้รับความสุขสมบูรณ์เมื่อไร ความสุขอันสมบูรณ์เป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ ในโลกนี้  จากประสบการณ์ต่างๆ ของมนุษย์ ทั่วพิภพนี้แสดงให้เห็นชัดว่า ไม่มีใครเลยที่มี ความสุ ข อั น สมบู ร ณ์ แ ละยื น นานตลอดไป มนุ ษ ย์ เรามี ทั้ ง สุ ข และทุ ก ข์ ค ละเคล้ า กั น ไป ตลอดชีวิต บางคนอาจโชคดีมากจนดูเหมือน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

17


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

ว่ามีความสุขอันสมบูรณ์  แต่ตวั เขาเองก็ยงั รูส้ กึ ว่ามันยังขาดอะไรอยู่  และความสุขเช่นว่านั้น ก็นบั วันแต่จะหมดสิน้ ไป ความตายอันเป็นสิง่ ที่ เทีย่ งแท้แน่นอนท�ำให้ความหวังทีจ่ ะมีความสุข อันถาวรบนโลกนี้ต้องมลายสิ้นไป 5. ชีวิตนี้คือวิถีสู่ความสุขแท้ ความสุขอันสมบูรณ์เป็นสิง่ ทีจ่ ริงแท้และ เป็นจริงขึน้ มาได้  แต่เมือ่ มันเป็นสิง่ ทีเ่ ราจะต้อง ไปประสบในชีวติ หน้าแล้ว ก็เกิดปัญหาติดตาม มาว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว จุดประสงค์ของชีวิต บนโลกนี้คืออะไร เนือ่ งจากมนุษย์ถกู สร้างมาให้มจี ดุ หมาย ปลายทางอยูท่ คี่ วามสุขอันสมบูรณ์  จุดประสงค์ ของชีวติ นีข้ องเราจึงต้องอยูท่ กี่ ารได้มาซึง่ ความ สุขนั้นประการหนึ่ง แต่เนื่องจากจุดประสงค์ ประการแรกเป็นสิ่งที่ไม่อาจบรรลุได้ในชีวิตนี้ จุดประสงค์ของชีวิตนี้จึงมีอยู่เพียงประการ เดี ย วเท่ า นั้ น  คือ การเตรียมตัวของเราเพื่อ ความสุขในชีวิตหน้า มนุ ษ ย์ เ ตรี ย มตนเองเพื่ อ ความสุ ข นั้ น โดยการใช้เสรีภาพของเขาเลือกการกระท�ำที่ ถูกต้องด้วยศีลธรรม นักคิดสมัยใหม่หลายต่อ หลายท่านแสดงทรรศนะว่าชีวิตนี้เป็นการมี ปฏิสมั พันธ์ (interaction) ในเชิงเหตุผลระหว่าง พระผู ้ ส ร้ า งกั บ มนุ ษ ย์ แ ต่ ล ะคน พระผู ้ ส ร้ า ง เชื้อเชิญเราแต่ละคนให้มุ่งไปสู่ความบรมสุข ชั่วนิรันดรกับพระองค์ในสวรรค์  โดยการทรง 18

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปลูกฝังความโหยหาความสุขอันสมบูรณ์ไว้ใน มนุษย์ทกุ รูปทุกนาม มนุษย์ตอบสนองการเชิญ นี้ด้วยการยอมรับหรือปฏิเสธ เขามีเจตจ�ำนง เสรีทจี่ ะยืนยันศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ของ เขาด้วยการกระท�ำที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีนั้น หรือปฏิเสธศักดิ์ศรีของเขาด้วยการเลือกอย่าง เสรีที่จะกระท�ำการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของเขา การกระท�ำอย่างแรกเป็นการกระท�ำที่ ถูกศีลธรรมและการกระท�ำอย่างหลังเป็นการ กระท�ำทีผ่ ดิ ศีลธรรม เหตุวา่  ถ้ามนุษย์ยนื กราน ทีจ่ ะลดศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ของเขาแล้ว ไซร้  เขาก็ไม่อาจทีจ่ ะบรรลุความสุขอันสมบูรณ์ หรือแม้แต่การทีจ่ ะได้ชมิ ลางความสุขเช่นว่านัน้ ด้วยเหตุนเี้ อง สิง่ ทีพ่ ระเป็นเจ้าทรงต้องการจาก มนุ ษ ย์ ใ นการเตรี ย มตั ว ที่ จ ะรั บ ความสุ ข ชั่ ว นิรันดรกับพระองค์ในสวรรค์นั้นก็คือ การใช้ เจตจ�ำนงเสรีที่พระองค์ประทานให้นั้นเลือก เอาการยอมรับการเชิญชวนของพระองค์ด้วย การกระท�ำการต่างๆ ที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรี แห่งความเป็นมนุษย์  หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการ กระท� ำ ที่ ถู ก ต้ อ งศี ล ธรรมนั่ น เอง ด้ ว ยเหตุ ดังกล่าว ชีวิตนี้จึงเป็นการทดสอบหรือการ ทดลองใจ พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์ มี ค วามสุ ข อั น สมบู ร ณ์   แต่ มิ ใช่ โ ดยอั ต โนมั ติ หรือโดยที่มนุษย์ไม่ต้องต่อสู้ออกแรงอะไรเลย แต่ด้วยการร่วมมือยอมรับการเชิญชวนของ พระองค์ด้วยการกระท�ำความดีดังกล่าว


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

เป็นที่ชัดกระจ่างชัดแล้วว่า คุณค่าทาง ศีลธรรมนั้นมีค่าสูงสุดในบรรดาคุณค่าทั้งปวง การเลือก หรือการกระท�ำต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ชีวิตของเรานั้นจะส่งผลกระทบไปถึงชีวิตหน้า ของเราซึ่งจะด�ำรงอยู่ชั่วนิรันดร ดังนั้น ผู้ที่ ฉลาดรอบคอบจะต้องพยายามที่จะใช้ชีวิตนี้ ในทางที่จะอ�ำนวยประโยชน์  หรือส่งผลดีต่อ ชีวิตหน้าของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ด้วยการกระท�ำความดีหรือใช้สิ่งต่างๆ ในชีวิต นี้ ข องตนในทางที่ จ ะท� ำ ให้ ไ ด้ รั บ ความสุ ข สมบูรณ์ในชีวิตหน้า และละเว้นจากสิ่งใดๆ ก็ ต ามที่ จ ะเป็ น อุ ป สรรคกี ด ขวางการบรรลุ วัตถุประสงค์ของชีวิตนั้น

“อันชีวิต นั่นก็คือ ไม่มีใคร จะคิดค้น คนที่ตาย เราจึงเดา เอาอย่างนี้ ปล่อยตัวให้

นอกเหนื อ จากการที่ จ ะสู ญ เสี ย ความ บรมสุขชัว่ นิรนั ดรแล้ว ไม่มสี งิ่ ใดทีจ่ ะเป็นความ เคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงของมนุษย์ยิ่งไปกว่า การเพิกเฉยต่อความหมายของชีวิตอมตะนี้ ในยุคที่กรีซเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดนั้น ได้มี ชาวกรีกเป็นจ�ำนวนมากเห็นว่าชีวติ หน้าเป็นสิง่ ที่ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น มนุษย์ควรใช้ชีวิต ในปัจจุบันนี้แสวงหาความสุขส�ำราญให้มาก ที่สุดเท่าที่จะมากได้  โดยไม่ต้องค�ำนึงถึงเรื่อง ศีลธรรมแต่ประการใด ยูรีปีดิส (Euripides) กวีชาวกรีกทีม่ ชี วี ติ อยูก่ อ่ นคริสตกาล 400 กว่า ปี  และหลังสงครามโทรจัน 800 ปี  (https:// en.wikipedia.org/wiki/Electra_(Euripidesplay) สืบค้นเมื่อวันที่  12/10/2558) ได้สรุป แนวความคิ ด ดั ง กล่ า วของชาวกรี ก ไว้ ใ นกวี นิพนธ์ของเขาดังต่อไปนี้

ภพหน้า ปริศนา ในพิภพ ค�ำตอบ ไปแล้ว ไม่ถูก ดีกว่า ไปตาม

จะมีหรือ น่าฉงน จบสากล ให้ชอบใจ ไม่มาเล่า ว่ามีไหม สบายใจ ยถากรรม”

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

19


จุดหมายปลายทางของมนุษย์

ความสงสัยไม่แน่ใจในท�ำนองเดียวกันนี้ ก�ำลังระบาดอยู่ท่ามกลางมนุษย์เป็นจ�ำนวน มากในปัจจุบัน บางคนถึงกับกล่าวว่าพระเจ้า ตายแล้ว (https://en.wikipedia.org/wiki/ Friedrich_Nietzsche. สืบค้นเมื่อวันที่  12/ 10/2558) ด้วยเหตุนี้  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท�ำไมยุคนี้จึงเป็นยุคที่ศีลธรรมเสื่อมโทรมเป็น อย่างมากที่สุด สรุปได้ว่า มนุษย์เราควรมีจุดหมายการ ด�ำเนินชีวิตในโลกนี้ให้ดีที่สุดตามหลักศีลธรรม และประพฤติปฏิบัติตนต่อเพื่อนมนุษย์อย่างดี ที่สุด เพื่อที่ชีวิตของตนจะเป็นอย่างที่อริสโตเติ้ลว่าเป็นชีวิตที่ครบครันบริบูรณ์และไม่รู้สึก ขาดสิง่ ใดเลย และเมือ่ ได้สนิ้ ชีวติ จากโลกนีแ้ ล้ว ก็เป็นที่หวังได้ว่าเขาก็สามารถที่จะบรรลุจุด หมายปลายทางของเขา นั่นก็คือ การได้ไปมี ความสุ ข อย่ า งแท้ จ ริ ง กั บ องค์ อ สั ม พั ท ธ์ (The Absolute) หรือองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตลอด นิรันดร

20

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

รายการอ้างอิง กีรติ  บุญเจือ. (2527). แก่นปรัชญายุคกลาง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. กีรติ  บุญเจือ. (2522). สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. Aquinas, St.Thomas. (1987). On Politics and Ethics. (translated and edited by Paul E. Sigmund). New York: Princeton University. Augustine – Wikipedia, the free ency clopedia. (2558). ค้นหาจาก https:// en.wikipedia.org/wiki/Augustine_ (disambiguation) เข้าถึงเมื่อ 16/10/ 2558. Augustin, Jean-kevin, Wikipedia, the free encyclopedia. (2558). ค้นหา จาก https://en.wikipedia.org/wiki/ Jean-K%C3A9vin_Augustin เข้าถึง เมื่อ 16/10/2558.


ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

Dewey, John. in Encyclopedia of Ethics. (2001). (edited by Lawrence C. Becker and Charlotte B. Beckers, New York: Routledge. Dewey, John. in Philosophy of Educa tion: An Encyclopedia. (1996) (edited by J.J. Chambliss, New York: Garland. Electra (Euripides play) - Wikipedia, the free encyclopedia. (2558). ค้นหาจาก https://en.wikipedia.org/ wiki/Electra_(Euripides_play) 12/ 10/2558 Eudaemonia - Wikipedia, the free encyclopedia. (2558). ค้นหาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/ Eudaemonia 12/10/2558 Hedonism - Wikipedia, the free ency clopedia. (2558). ค้นหาจาก https: //en.wikipedia.org/wiki/Hedo nism. 12/10/2558

Immanuel, Kant – Wikipedia, the free encyclopedia. (2558). ค้นหาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/ Immanuel_Kant เข้าถึงเมื่อ 12/10/ 2558. Mill, John Stuart, Wikipedia, the free encyclopedia. (2558). ค้นหาจาก https://en.wikipedia.org/wiki/ John_Stuart_Mill. 12/10/2558 Nietzsche, Friedrich, Wikipedia, the free encyclopedia. (2558). ค้นหา จาก https://en.wikipedia.org/wiki/ Friedrich_Nietzsche. 12/10/2558 Stoicism - Wikipedia, the free encyclo pedia. (2558). ค้นหาจาก https:// en.wikipedia.org/wiki/Stoicism. 12/10/2558 Sullivan, Daniel J. (1963). An Introduc tion to Philosophy. Milwaukee: Bruce.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

21


ประวัติศาสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร:  จากรัฐจารีตสู่รัฐสมัยใหม่1

History of Christianity in China:

From Traditional State to Modern State.

ผศ.ดร.นิพนธ์ ศศิภานุเดช * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Asst.Prof.Dr.Nipon Sasipanudej, Ph.D.  * Department of Chinese Faculty of Liberal Arts Thammasat University.

แนวคิดในบทความนี้ใช้บรรยายในงานศิลป์เสวนาภายใต้หัวข้อชื่อ “คริสตังจีนถิ่นสยามกับค�ำถามถึงคริสต์ในแดนมังกร” วิทยากรโดย อาจารย์ภูมิ  ภูติมหาตมะ หมวดวิชาประวัติศาสตร์  คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ดร.นิพนธ์  ศศิภานุเดช ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ด�ำเนินรายการโดย ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์  ภาควิชาประวัติศาสตร์  คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จัดโดย โครงการศิลป์เสวนา ฝ่ายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ณ วันที่  4 พฤศจิกายน 2557 เวลา 16.30-18.30 ห้อง 211 คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต

1


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

บทคัดย่อ

บทความนี้  แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและปัญหาภายในพัฒนา การของคริสตศาสนาในสังคมจีนตั้งแต่รัฐจารีต (traditional state) จนถึงรัฐสมัยใหม่  (modern state) โดยชี้ให้เห็นว่า คริสตศาสนาที่แผ่ เข้ามาในรัฐจารีตนั้นอยู่ในรูปของศาสนจักรเนสทอเรียนแห่งตะวันออก (Nestorian Church of the East) ซึ่งขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์กับคริสตจักรสายหลักอื่นๆ โดยเผยแผ่ผ่านเข้ามาทางเส้นทาง สายไหมสมัยราชวงศ์ฉิน คริสตศาสนาในยุคนี้  เป็นการปะทะสังสรรค์ ทางวัฒนธรรมมากกว่าการเข้ามาของอาณานิคมในสมัยปลายราชวงศ์ชงิ ในสมัยชิง จีนไม่ได้ต้อนรับคริสตศาสนา และมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อ ความมัน่ คงของรัฐจารีต จนถึงสมัยเติง้ เสีย่ วผิง จีนเริม่ เปิดเสรีทางศาสนา มากขึ้น ในยุคนี้จีน ตี ค วามความรั ก ในศาสนาคริ ส ต์ ให้ เข้ า กั นได้ กั บ หลักความรักสากลแบบไม่มีชนชั้นแบบลัทธิคอมมิวนิสต์จีนสมัยใหม่ (modern Chinese communism) แนวคิดดังกล่าวยังสอดคล้องต้อง กันกับหลักว่าด้วยความรักสากล (Universal Love) ของมั่วจื่อใน รัฐจารีตอีกด้วย คริสตศาสนายังใช้ช่องทางของอาณานิคมเผยแพร่เข้า มายังไต้หวันและฮ่องกง เมื่อสิ้นยุคอาณานิคมเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ คริสตศาสนาก็กลับมาใช้ชอ่ งทางการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมในการ เผยแผ่ค�ำสอนเช่นเดิม ค�ำส�ำคัญ:

1) คริสตศาสนา 2) ประวัติศาสตร์คริสตศาสนา 3) จีน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

23


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

Abstract

This article demonstrates the evolution of Christianity and intrinsic problem within its philosophical development from traditional state to modern state of China, and argues that Nestorian Church of the East as the most initial form of religion which spreads through Silk Road of China under Qin reign is a product of cultural interaction between foreign and indigenous cultures, and its ideology is against, and incompatible with other main schism of Christianity, while Christianity under late Qing reign is a product of colonialism from the West. In Qing period, Christianity is unwelcomed by the court, it is considered as threatening disaster to the stability of traditional state. Until Deng Xiaoping era, China begins to enact the doctrine of laissez-faire in religious belief, the concept of love in Christianity is reinterpreted as universal love without classes in the light of modern Chinese communism which can be identical with Mohistic concept of Universal Love in traditional state. In case of Taiwan and Hong Kong, Christianity is a product of colonialism. When colonial era ended, the whole world enters into globalization period, Christianity finds its own way in cultural interactions to disseminate its doctrinal foundation again. Keywords:

24

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

1) Christianity 2) History of Christianity 3) China


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

บทน�ำ เมื่อเราพูดถึงคริสตศาสนา เราพูดถึงใน ระดับใด 1) ระดับวัฒนธรรมศึกษา (เรียกว่า วั ฒ นธรรมศาสนา) (วัฒนธรรมศึก ษาในที่นี้ ไม่ใช่การศึกษาวัฒนธรรมทั่วๆ ไป กล่าวคือ ไม่ ใ ช่ วั ฒ นธรรมในเชิ ง เรื่ อ งเล่ า  แต่ ม อง วั ฒ นธรรมในกระสวนทางประวั ติ ศ าสตร์ หรื อ กรอบทางมนุ ษ ยวิ ท ยาซึ่ ง ใช้ วิ ธี วิ ท ยา อั น หลากหลายในการมอง) หรื อ  2) ระดั บ คติชนวิทยา (เรียกว่า คติชนวิทยาทางศาสนา) ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องสัมพันธ์กับวัฒนธรรมศึกษา และอาจจะแย้งกับวัฒนธรรมศึกษาก็ได้ เพราะ ความเข้าใจระดับชาวบ้านไม่จำ� เป็นต้องสัมพันธ์ กับความรู้เชิงศาสนาในระดับวัฒนธรรมศึกษา และ 3) ระดับปรัชญาศาสนา (ซึ่งก็ไม่จ�ำเป็น ต้องสัมพันธ์กับศาสนาในระดับคติชนวิทยาอัน จะน�ำไปสู่ค�ำถามว่า คติชนวิทยาจริงๆ แล้วถึง ทางตันหรือไม่  มันเป็นศาสตร์พอหรือเปล่า) ข้าพเจ้าขอวิเคราะห์ในระดับปรัชญาศาสนา ก่อน ปัญหาคริสตปรัชญาในจีน คริสตศาสนาผ่านเข้ามาในสมัยฉินทาง เส้ น ทางสายไหมในรู ป ของศาสนจั ก รเนสทอเรียนแห่งตะวันออก (Nestorian Church of the East) (ดูรูปประกอบ) ลัทธินี้ไม่ใช่ทั้ง โปรเตสแตนท์ แ ละไม่ ใช่ ทั้ ง คาทอลิ ก  ไม่ ใช่

เพราะเหตุ ใ ด เพราะมั น ไม่ ย กสถานะของ พระเยซูคริสต์ขนึ้ สูห่ ลักตรีเอกานุภาพ (Trinity) ค�ำว่าไม่ยกหมายความอะไร หมายความว่า ลัทธินแี้ ยกตัวออกมาจากทัง้ โรมันคาทอลิกและ โปรเตสแตนท์อีกทีหนึ่งโดยอธิบายสถานะของ พระเยซูคริสต์ว่า ตอนที่พระเยซูคริสต์เป็น พระเจ้า ก็เป็นพระเจ้าโดยสมบูรณ์  และเมื่อ ทรงเป็นมนุษย์  ก็เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เช่นกัน กาละและเทศะของการเป็นสิ่งทั้งสองก็แยก ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิงซึ่งก่อนหน้านี้เรา จะอธิบายพระเยซูในสองลักษณะเท่านัน้  กล่าว คือ 1) เป็นพระเจ้าอย่างเดียว (monophysitism) ตามรากศั พ ท์ ล ะติ น มี ค วามหมายว่ า ร่างเดียว mono แปลว่าหนึ่งเดียว physite แปลว่า ร่าง) 2) เป็นมนุษย์ในลักษณะของ พระเจ้า กล่าวคือ เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ ร่วมเวลาและร่วมสถานที่ไปพร้อมกัน (miaphysitism ตามรากศัพท์ละตินมีความหมาย ว่า ร่างอันรวมกันโดยไม่แบ่งแยกหรือร่างที่ สามารถทะลุและเชื่อมโยงถึงกันได้) การแยก สถานะของพระเยซูในฐานะที่เป็นพระเจ้าและ มนุษย์ออกจากกันอย่างสิ้นเชิงท�ำให้พระเยซู หมดสิ้ น สิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า  เอกภาวะทางตั ว ตน (monophysite) แต่กลับกลายเป็นทวิภาวะ ทางตัวตนที่แยกขาดออกจากกัน (dyophysite) และการอธิบายแบบนี้ท�ำให้พระแม่มารี ในฐานะผูใ้ ห้กำ� เนิดพระผูเ้ ป็นเจ้า (theotokos)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

25


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

ในรูปลักษณ์ของเลือดเนือ้  (God made flesh) ซึง่ เคยเชือ่ กันตามพันธสัญญาใหม่ในบทแมทธิว (Matthew) และลุค (Luke) ที่อธิบายว่า ทรง มีสถานะอันบริสุทธิ์  (parthénos) กลายเป็น แปดเปื้อนตามไปด้วย แน่นอนว่าเนสทอเรียส (Nestorius 386-450) ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น สังฆราชแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิลตั้งแต่ปี 428-431 ซึ่งน�ำเสนอแนวคิดแบบศาสนจักร เนสทอเรี ย นแห่ ง ตะวั น ออกถู ก ต่ อ ต้ า นจาก สมาชิกสภาปฐมกาลแห่งอีฟซี สุ  (First Council of Ephesus) ในปี  431 และสมาชิกสภาแห่ง แคลเซดอน (Council of Chalcedon) ในปี 451 ในการช�ำระพระคัมภีร์ไบเบิล และกล่าว หาเขาว่า นอกรีต จนต้องลี้ภัย และย้ายฐาน ที่มั่นทางความเชื่อ พร้อมเหล่าสานุศิษย์ไปยัง เปอร์เซียหรือซีเรียในปัจจุบัน เหล่าบาทหลวงเนสทอเรียนในขบวน แถวในวันอาทิตย์ใบปาล์ม (Palm Sunday) ราวศตวรรษที่  7 หรือ 8 จิตรกรรมฝาผนัง จากโบสถ์ เ นสทอเรี ย นในสมั ย ถั ง ของจี น พิพทิ ธภัณฑ์ Fur Indishe Kunst Dahlem ในเบอร์ลิน (Berlin)

คนจี น นั้ น ไม่ ไ ด้ เชื่ อ ในเอกเทวนิ ย ม (monotheism) อยูแ่ ต่เดิม ชาวจีนถึงแม้จะเชือ่ ในเทวนิ ย ม แต่ เ ทวนิ ย มแบบจี น ก็ ไ ม่ ไ ด้ มี ลักษณะสัมบูรณภาวะ (absolutism) แบบ เอกเทวนิยมในรูปตรีเอกานุภาพเหมือนคริสตศาสนา และไม่ได้มีพลานุภาพ 3 ประการใน แบบคริสตศาสนาด้วย ได้แก่  ทรงเป็นหนึ่ง เดียวและปรากฏอยู่ทุกหนแห่ง (omnipresence) ทรงเป็ น สั พ พั ญ ญู   (omniscience) ทรงพระปรีชาสามารถ (omnipotent) ใน เฟิงเสินป่าง2 (封神榜) แสดงให้เห็นว่า เทพเจ้ า ของจี น ไม่ ใช่ เ อกเทวนิ ย มในแบบ สั ม บู ร ณภาวะ แต่ เ ป็ น พหุ เ ทวนิ ย มในเชิ ง โครงสร้างที่มีลำ� ดับชั้น เช่น การแบ่งหมวดหมู่

เฟิงเสินป่าง คือนิยายเกีย่ วกับปฏิสมั พันธ์ระหว่างเหล่าเทพเจ้าหรือผีสางเทวดากับมนุษย์ในรัฐสงครามของจีนโบราณ เชือ่ กันว่า เป็นงานเขียน ของสวีจ่ งหลินแห่งราชวงศ์หมิง โครงเรือ่ งเกีย่ วกับวิธกี ารทีเ่ จียงไท่กงใช้กำ� ราบทวยเทพต่างๆ และกลยุทธ์ทจี่ กั รพรรดิอแู่ ห่งราชวงศ์โจวใช้ปราบ แว่นแคว้นต่างๆ ในเฟิงเสินป่าง บอกเล่าถึงโครงสร้างและชนชัน้ ของทวยเทพอย่างสลับซับซ้อน ตลอดจนอ�ำนาจทีเ่ หล่าทวยเทพกระท�ำต่อมนุษย์ ตามอ�ำเภอใจที่ใฝ่การเมือง เฟิงเสินป่างแสดงให้เห็นว่า ด้านหนึ่งมนุษย์ตกเป็นเครื่องเล่นของเทพเจ้า และไม่อาจต้านทานอ�ำนาจของเทพเจ้า ที่มีพลานุภาพเหนือกว่าตนได้  ด้านหนึ่งก็แสดงคติแบบมนุษยนิยมผ่านมนุษย์ในอันที่จะท้าทายอ�ำนาจของเทพเจ้าจนน�ำไปสู่โศกนาฏกรรมที่ ลึกซึ้งกินใจผู้อ่าน 2

26

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

เทพเจ้าตามการตอบสนองเรื่องทางโลกย์เป็น เรื่องๆ ไปให้แก่มนุษย์ที่วอนขอ เช่น เทพเจ้า มังกร (神龍王) ที่ควบคุมดูแลเรื่องจ่าย น�้ำและการตกของฝน เทพเจ้าต่างๆ เหล่านี้มี ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างใกล้ชิด และขัดแย้ง กับเทพเจ้าด้วยกันเอง รวมทัง้ ขัดแย้งกับมนุษย์ ด้วยโดยผ่านกระบวนการท�ำให้เทพเจ้าเหล่านี้ มี บุ ค ลิ ก ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ค ว า ม เ ป ็ น ม นุ ษ ย ์ (人格化) อันน�ำไปสู่ชะตากรรมแบบโศก นาฏกรรมของบุ ค คลในประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ถู ก เทพเจ้าเหล่านี้เล่นตลก เช่น เทพเจ้ามังกรใน ต�ำนานนางพญางูขาว (白蛇傳) ที่อิจฉา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรซึ่งได้รับบูชาและ ความนิยมจากชาวบ้านในแถบนัน้ เกินหน้าเกิน ตาตนเอง จึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเป็นเวลาหลาย ปี ท�ำให้นางพญางูขาวต้องออกมาต่อสูเ้ พือ่ ช่วย ชาวบ้านในละแวกนั้นจนเกิดเป็นความขัดแย้ง ที่ก�ำหนดชะตากรรมของนางเองในภายหลัง เทพเจ้าเหล่านีม้ คี วามรัก ความโกรธ ความโลภ ความหลงในแบบมนุษย์ทุกอย่าง ตลอดจน แต่งงานระหว่างเทพเจ้าด้วยกัน หรือแต่งงาน กับมนุษย์ได้ด้วย พหุเทวนิยมของจีนนั้นใกล้ เคียงกับพหุเทวนิยมของกรีกมากกว่าศาสนา

คริสต์ในยุคกลาง เพราะถูกท�ำให้มีความเป็น มนุษย์อย่างหลากหลายระดับ และมนุษย์ก็มี ปฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ เทพเจ้ า อย่ า งใกล้ ชิ ด ด้ ว ย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้าในปกรณัมเหล่านี้บ่งบอกว่า มนุษย์นั้นแม้ไม่อาจต่อ กรกับเทพเจ้าได้  แต่จิตวิญญาณของพวกเขา นั้ น ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า เทพเจ้ า  ขณะที่ ชี วิ ต ของทู ต สวรรค์  (angelic life) ในรหัสยนิยม (mysticism) ตามแบบยุคกลางหรือไบแซนไทน์ (Byzantine) นัน้ ให้ความส�ำคัญต่อการหลุดพ้นจาก อารมณ์ทางโลกเพื่อให้ชีวิตของทูตสวรรค์มี ลักษณะทีเ่ รียกว่า “ความปลอดจากอารมณ์อนั ศักดิ์สิทธิ์” (divine impassivity)3 และนัก รหัสยนิยมยุคกลางในศาสนจักรไบแซนไทน์ก็ เชิ ด ชู แ ละปลู ก ฝั ง สานุ ศิ ษ ย์ ใ ห้ ด� ำ รงชี วิ ต ใน ลักษณะนี้แสงเรืองรองที่เปล่งออกมาเป็นรัศมี ทรงกลมจากศีรษะพระแม่มารีหรือนักบุญอืน่ ๆ ตลอดจนดวงตาอันมองต�่ำที่สงบนิ่งเย็นเยือก ของนักบุญเหล่านัน้ ก็สะท้อนถึงความศักดิส์ ทิ ธิ์ อันเกิดภาวะหลุดพ้นจากอารมณ์ทางโลกย์ทั้ง สิ้น ทว่าศาสนจักรเนสทอเรียนแห่งตะวันออก พยายามแยกความเป็นมนุษย์ออกจากความ

Basil Tatakis, Byzantine Philosophy, translated with introduction by Nicholas J. Moutafakis (Indianapolis: Hackett Publishing Company, Inc., 2003), pp. 40-41, 121. 3

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

27


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

เป็ น พระเจ้ า โดยบอกว่ า ถ้ อ ยค� ำ สั่ ง สอนที่ ออกปากของพระเยซู ค ริ ส ต์ นั้ น เป็ น ถ้ อ ยค� ำ ของมนุษย์โดยสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงถูกจริต ท้องถิน่ และครองใจชนกลุม่ น้อยในแถบเส้นทาง สายไหมได้ ศาสนจักรเนสทอเรียนแห่งตะวัน ออกได้รับความนิยมอย่างมากในแถบเส้นทาง สายไหมในสมัยหยวนโดยผ่านเข้ามาทางการค้า และการแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมฮัน่ กับวัฒนธรรม ชายขอบ แท่ น จารึ ก เนสทอเรี ย นที่ ถู ก ตั้ ง ขึ้ น ที่ เมืองฉางอานในสมัยถัง (781) ในสมัยนั้น เรียกศาสนจักรเนสทอเรียนแห่งตะวันออก เป็นภาษาจีนว่า “จิ่งเจี้ยว” (景教)

28

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ขณะที่โรมันคาทอลิกกับโปรเตสแตนท์ นั้ น ยึ ด มั่ น ในหลั ก ตรี เ อกานุ ภ าพที่ เ ชื่ อ ว่ า พระเยซู ค ริ ส ต์ มี   3 สถานะไปพร้ อ มกั น  คื อ ทรงเป็ น ทั้ ง พระบุ ต ร (The Son) พระจิ ต (The Holy Spirit) พระบิดา (The Father) หมายความว่า ทรงเป็นทั้งมนุษย์  (บุตรของ พระผูเ้ ป็นเจ้า) ทัง้ จิต (จิตวิญญาญอันศักดิส์ ทิ ธิ์ ของพระผู้เป็นเจ้า) และทั้งตัวพระผู้เป็นเจ้าไป ในเวลาเดียวกัน แผนภูมิในยุคกลางสามารถ อธิ บ ายการสั ง เคราะห์ ต รี ภ าวะให้ เ ป็ น หนึ่ ง เดียวกันได้ดีที่สุด ข้าพเจ้าขอเทียบฉบับภาษา ละตินกับฉบับภาษาอังกฤษดังนี้ ต้นฉบับยุคกลางของปีเตอร์  ปัวติเย่ร์ (Peter Poitier) ในปี  1210 ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นแผนภูมิแรกเริ่มสุด


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

(ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ) แผนภูมิข้างต้น อ่านได้ดังนี้ (อ่านแถวด้านซ้ายลงมาก่อน) พระบิดาคือพระเจ้า พระบุตร (แห่งพระเจ้า) คือพระเจ้า พระจิต (หรือจิตสากล) คือพระเจ้า พระเจ้าก็คือพระบิดาด้วย พระเจ้าก็คือพระบุตรด้วย และพระเจ้าก็คือพระจิตด้วย

แต่พระบิดาโดยล�ำพังไม่อาจเป็นพระบุตร พระบิดาโดยล�ำพังไม่อาจเป็นพระจิต พระบุตรโดยล�ำพังไม่อาจเป็นพระบิดา พระบุตรโดยล�ำพังไม่อาจเป็นพระจิต พระจิตโดยล�ำพังไม่อาจเป็นพระบิดา พระจิตโดยล�ำพังไม่อาจเป็นพระบุตร

หากเราดูการแบ่งนิกายในคริสต์ศาสนา เราจะพบว่าศาสนจักรเนสทอเรียนแห่งตะวัน ออกซึง่ ยึดหลัก ทวิภาวะทีแ่ ยกขาดออกจากกัน ทั้งกาละและเทศะ (dyophysite) ของพระ เยซูคริสต์นั้นไม่เข้าพวกกับนิกายอื่นๆ เลย ตารางการแบ่งนิกายหลักๆ ในคริสตศาสนา 1. ศาสนจักรโรมันคาทอลิค (Roman Catholic Church) (ยึดหลักตรีเอกานุภาพ)

2. โปรเตสแตนท์  (Protestantism) (ยึดหลักตรีเอกานุภาพ) ในแนวคิดแบบโปรเทสแตนท์แบ่งออกได้เป็น 2.1 ลัทธิแคลวิน (Calvinism) 2.2 ลัทธิลูเทอรัล (Lutheranism)  2.3 ศาสนจักรแองกลิแกน (Anglican Church) หรือศาสนจักรอังกฤษ (Church of England) (ทั้ง 1. และ 2. ทุกส�ำนักยึดหลัก ตรีเอกานุภาพ)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

29


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

3. คริสตจักรแบบตะวันออก (Eastern Christianity) แบ่งออกเป็น 3.1 คริสตจักรออร์โธด๊อกซ์ (Orthodox Christianity) ในคริสตจักรออร์โธด๊อกซ์แบ่ง ออกได้เป็น 3.1.1 Eastern Orthodox Church (ยึดหลักตรีเอกานุภาพในระบบเอก เทวนิยม กล่าวคือ ทรงเป็นพระเจ้าพระองค์ เดียวเท่านั้น แต่มีตรีลักษณะ) 3.1.2 Oriental Orthodox Church (ยึดหลัก miaphysitism กล่าวคือ ยึ ด ถื อ พระเจ้ า ในลั ก ษณะมนุ ษ ย์ ห รื อ มนุ ษ ย์ ในฉายาลักษณ์ของพระเจ้าทีม่ คี ณ ุ ลักษณะร่วม กาละและเทศะกัน พระองค์ทรงเป็นทัง้ พระเจ้า และมนุษย์ไปพร้อม ๆ กันภายใต้เอกเทวนิยม กล่าวคือ ทรงเป็นพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว แต่มีสองลักษณะ) 3.2 ศาสนจักรเนสทอเรียน แห่งตะวันออก (Nestorian Church of the East) (ยึดหลักทวินภุ าพทีแ่ ยกขาดออกจากกัน ทั้งในเชิงกาละและเทศะหรือ dyophysitism ในภาษาละติน ภาวะของพระเจ้าและมนุษย์ ของพระเยซูคริสต์แยกขาดออกจากกันทั้งใน ระดับภววิทยาและญาณวิทยา เมื่อพระเยซู คริ ส ต์ ท รงเป็ น พระเจ้ า  (พระบิ ด า) ก็ เ ป็ น พระเจ้าโดยสมบูรณ์และเมื่อทรงเป็นมนุษย์ (พระบุตร) ก็เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เช่นเดียว กัน ทั้งสองกาละและเทศะที่แยกขาดออกจาก 30

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

กั น อั น ท� ำ ให้ ส ถานะของพระแม่ ม ารี ที่ เ คย บริสุทธิ์กลายเป็นไม่บริสุทธิ์  และท�ำให้นิกายนี้ ถูกต่อต้านจากส�ำนักอื่นๆ ว่า ไม่ใช่คริสต์แท้ และนอกรีต) 3.3 ศาสนจักรคาทอลิคแห่งตะวันออก (Eastern Catholic Churches) หลักตรีเอกานุภาพถือว่า เป็นขั้นสุดยอดของระบบเทววิทยาทั้งปวง เพราะมันสามารถสลายความ แตกแยกเกี่ยวกับสถานะของพระเยซูคริสต์ ได้ ทั้ ง หมด พระองค์ ท รงเป็ น สั จ จะภาวะ (Logos) ทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลักตรีเอกานุ ภ าพนี้ ถื อ ว่ า  เป็ น ระบบเทววิ ท ยาที่ ท� ำ ให้ คริสตศาสนาก้าวไกลกว่าศาสนาเทวนิยมอื่นๆ มาก หากเที ย บกั บ ศาสนาอิ ส ลาม ศาสนา อิสลามแทบจะไม่มพี ฒ ั นาการทางเทววิทยาเลย เพราะนบี ท รงมี ส ถานะมนุ ษ ย์ เ ท่ า นั้ น ไม่ ใช่ พระเจ้ า  และหากเที ย บกั บ ศาสนายิ ว ก็ ยิ่ ง ชัดเจนว่า  โมเสสมี สถานะเป็นมนุ ษย์   ไม่ใช่ พระเจ้า ที่ข้าพเจ้าอธิบายมาตอบค�ำถามอะไร มันตอบว่า ความเชื่อทั้งในโรมันคาทอลิกและ โปรเตสแตนท์เป็นผลิตผลของรัฐสมัยใหม่ผ่าน คณะเยสุอิต (Jesuit) ที่มากับแนวคิดอาณานิคมในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ไม่ใช่เป็นผลิตผล ของรัฐจีนสมัยโบราณทีผ่ า่ นมาทางการค้า และ การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมผ่านดินแดน ชายขอบ และที่ส�ำคัญมันไม่ได้รับการต้อนรับ อย่างเป็นทางการจากราชส�ำนักในรัฐจารีตเลย


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

กล่ า วได้ว่า ทั้งคริสตศาสนาเป็นการ ปลูกถ่าย (移植) เข้าไปในสังคมจีน เป็น ความแปลกแยกมากกว่าที่จะผสมกลมกลืน จึงต้องใช้เวลาอย่างยาวนานที่จะปรับตัวให้มี รากอยู ่ ใ นสั ง คมจี น ได้   ในสมั ย พระเจ้ า คั ง ซี วิทยาการของอาณานิคมเรือ่ งนาฬิกาแบบสมัย ใหม่ทบี่ าทหลวงทังหมาฟ่า (湯瑪法) หรือ ทั ง ยั่ ว วั่ ง  (湯若望) (Johann Adam \ Schall von Bell 1592-1666) บาทหลวง เยซูอิตที่เสนอต่อพระเจ้าคังซีนั้นนับล�้ำยุคมาก บาทหลวงทังหมาฟ่ายังเสนอต่อพระเจ้าคังซี ให้ จั ด ล� ำ ดั บ ปฏิ ทิ น จี น ใหม่ โ ดยให้ เ ปลี่ ย นมา ใช้ระบบสุรยิ คติแทนจันทรคติเพือ่ ให้ได้ผลผลิต ที่แม่นย�ำตามฤดูกาลมากขึ้น ขุนนางสมัยชิง ก็ อาศั ย ชาติ นิยมก�ำจัดบาทหลวงทังหมาฟ่า โดยการกล่าวโทษเขาว่า ระบบเวลาแบบนี้จะ ท�ำให้เวลาในการท�ำเกษตรกรรมของจีนยุง่ เหยิง ชาตินิยมใดๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นลอยๆ ได้หากว่า

มันไม่มีเป้าประสงค์ทางการเมืองรองรับอยู่ ในสมัยนั้นพระเจ้าคังซีทรงโปรดนาฬิกาขนาด ใหญ่แบบตั้งโต๊ะและแบบห้อยติดพระกายของ ตะวันตกที่บาทหลวงเยซูอิตน�ำมาถวายมาก แน่นอนว่า เรือ่ งการชมชอบวิทยาการด้านเวลา ส่วนพระองค์ก็กลายเป็นเรื่องการเมืองไปได้ ขุนนางฝ่ายศัตรูที่ต้องการก�ำจัดพระองค์โจมตี การชื่นชมในวิทยาการตะวันตกของพระเจ้า คังซีโดยใช้บาทหลวงทังหมาฟ่าเป็นเครื่องมือ พระองค์ เ สี ย เวลาอยู ่ ห ลายปี เ พื่ อ ปกป้ อ ง บาทหลวงทังหมาฟ่าให้รอดพ้นจากความผิด แต่กไ็ ม่ประสบผลส�ำเร็จ และถูกส�ำเร็จโทษด้วย การตัดศีรษะไปในที่สุด ในรัฐสมัยใหม่ภายใต้การน�ำของเหมา เจ๋ อ ตง คริ ส ตศาสนาก็ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การต้ อ นรั บ แม้แต่น้อย เหมาคุมสื่อและโฆษณาว่า ศาสนา คือสารเสพติด โดยตีความวาทะท่อนหนึ่งของ มากซ์ที่ว่า

宗教裏的苦難既是現實的苦難的表現,又是對這種現實的 苦難的抗議。宗教是被壓迫生靈的嘆息,是無情世界的感 情,正像它是沒有精神制度的精神一樣,宗教是人民的鴉 片。——馬克思4  Karl Marx, “Contribution to the Critique of Hegel’s Philosophy of Right,” (Introduction part) in On Religion by Karl Marx and Friedrich Engels (Moscow: the Foreign Language Publishing House, 2008), p.42. ผู้เขียนอ่านจากฉบับแปลภาษาจีน จากสรรนิพนธ์มากซ์และแองเกิล (เล่ม 1) (ปักกิง่ : ส�ำนักพิมพ์ประชาชน, 1995), หน้า 1-2.《馬克思恩格斯選集》第1卷, (北京:人民出版社,1995),頁1-2,อ้างใน 張建映,張躍濱編著,《馬克思主義讀 本》(北京:清華大學出版社,2005),頁3。 4

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

31


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

ความทุกข์ระทมทีศ่ าสนามุง่ อธิบาย แท้ทจี่ ริงแล้วเป็นการแสดงออกถึงความทุกข์ยากในชีวติ  ทัง้ ยัง เป็นการขบถต่อความทุกข์ยากในชีวติ ด้วย ศาสนาเป็นเพียงลมหายใจแห่งชีวติ ทีถ่ อนออกมาเมือ่ ถูก กดขี ่ เป็นดัง่ น�ำ้ ใจแห่งโลกอันไร้นำ�้ ใจ เฉกเช่นจิตวิญญาณอันไร้ซงึ่ จิตวิญญาณ ศาสนาคือฝิน่ แห่งมวล มนุษย์  (แปลโดยผู้เขียน) ส� ำ หรั บ เหมา  ศาสนาท� ำ ให้ ช นชั้ น แรงงานเอื่อยเฉื่อยและด้านชาต่อการปฏิวัติ ทางชนชั้นโดยยอมรับเอาความคิดของชนชั้น นายทุนมาเป็นคุณธรรมของตนเอง เมื่อใดที่ เราเสพจนติดฝิน่ ก็จะโหยหาโดยไม่คดิ จะลุกขึน้ มาต่ อ สู ้ กั บ อาการป่ ว ยไข้ ข องตนเอง และ ยอมรับความไม่เป็นธรรมไปโดยปริยาย นี่ก็ เหมือนกับศาสนาพุทธหินยานทีม่ อมเมาชนชัน้ ล่างให้ยอมรับ และรับใช้ชนชั้นปกครองผ่าน แนวคิดเรือ่ งไพร่กบั กรรมนิยม (เราเกิดเป็นไพร่ ก็เพราะกรรม เราจึงมีหน้าทีร่ บั ใช้ชนชัน้ สูงเพือ่ ตอบแทนพวกเขาในนามคุณธรรมของไพร่) หรือผ่านความเชื่อทางคติชนอื่นๆ อีกมากมาย เหมาก�ำจัดศาสนาทุกศาสนาโดยถือว่า มันเป็น ซากเดนของลัทธิทนุ นิยม และเขามีหน้าทีใ่ นอัน ทีจ่ ะขจัดซากเดนเหล่านีใ้ ห้หมดสิน้ ไปจากสังคม จีน เหตุการณ์หนึ่ง ที่ท�ำให้ศาสนาคริสต์ กลับมาฝังตัวได้อีกครั้งในสังคมจีน ก็เพราะมี การปฏิวัติวัฒนธรรมที่ท�ำลายวัฒนธรรมเก่า ให้หมดไป แล้วฟื้นขึ้นมาใหม่ในยุคเติ้งเสี่ยวผิง

32

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

นั ก วิ ช าการจี น ศึ ก ษาในโลกตะวั น ตกเรี ย ก กระแสนี้ว่า “การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในโลก ตะวั น ออก” (Oriental Renaissance) (ในภาษาจีนเรียกว่า 東方復興ซึ่งการ ฟื้นฟูศิลปวิทยาการในโลกตะวันออกนี้ก็รวม จีนไปด้วย) แน่นอนว่า ระบอบคอมมิวนิสต์ จะอนุญาตให้คริสตศาสนาฝังตัวอยูไ่ ด้ ก็เพราะ ว่าคริสตศาสนาต้องมีอุดมการณ์บางอย่างที่ สอดคล้องเข้ากันได้กบั ลัทธิคอมมิวนิสต์  สิง่ นัน้ ก็คือ หลักว่าด้วยความรักสากล (Universal Love) หลักนีเ้ ป็นอย่างไร หลักนีพ้ ยายามสอน ว่า เราสามารถรักคนอื่นได้อย่างไม่มีชนชั้น ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา หลักนี้ก็สอดคล้องกับมั่วจื่อ (墨子 ประมาณ 470-391 ก่อนคริสตกาล) ทีเ่ รียกว่า “เจียนอ้าย” (兼愛) (ความหมาย ก็ คื อ  以愛為兼 แปลว่ า  รั ก อย่ า งไม่ มี ชนชั้นหรือรักอย่างไม่แบ่งแยก) หลักที่เข้าได้ กันกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี้ก็ถูกโจมตีโดยส�ำนัก หรู ส กุ ล เมิ่ ง จื่ อ  เมิ่ ง จื่ อ  (孟子 372-289 ก่อนคริสตกาล) แย้งว่า “ผู้มีมนุษยธรรมรัก เพื่อนมนุษย์” (仁者愛人) ซึ่งค�ำกล่าว


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

นีม้ าจาก《孔子家語 • 三怒》5 ในคั ม ภี ร ์ จ ริ ย ธรรมของขงจื่ อ นั้ น  ความรั ก มี ล�ำดับชั้น การรักผู้อื่นอย่างไม่มีชนชั้นดังกล่าว เป็นสุภาพบุรุษจอมปลอม เมิ่งจื่อกล่าวโจมตี มั่วจื่อว่า 楊氏為我,是無君也;墨氏兼愛,是無父也。無父無君, 是禽獸也。...... 楊墨之道不息,孔子之道不著,是邪說誣 民,充塞仁義也。《孟子 • 滕文公下》 หยางจือ่ เอาอัตประโยชน์เป็นทีต่ งั้  กล่าวได้วา่  ไร้ผปู้ กครอง มัว่ จือ่ ก็ยดึ หลักความรักสากล กล่าวได้ ว่า ไร้บิดา ไร้บิดา ไร้ผู้ปกครองเยี่ยงเดรัจฉาน ปรัชญาหยางและมั่วไม่ดับสิ้น ธรรมแห่งขงจื่อไม่มี ทางปรากฏชัด รังแต่เ สี้ยมสอนผู้คนให้ห ลงผิ ดด้ วยจริ ตอั นนอกรี ต เป็ นอุ ปสรรคต่ อ ทั้ ง หลั ก มนุษยธรรมและความถูกต้อง (เมิ่งจื่อ: เถิงเหวินกงบทท้าย) (แปลโดยผู้เขียน) 巫馬子謂子墨子曰:「我與子異,我不能兼愛。我愛鄒人 於越人,愛魯人於鄒人,愛我鄉人於魯人,愛我家人於鄉 人,愛我親於我家人,愛我身於吾親,以為近我也。」《 墨子》卷十一耕柱篇

นอกจากนี้ในคัมภีร์จริยธรรมของขงจื่อ บทหยวนยวน ยังมีบทสนทนาระหว่างขงจื่อกับศิษย์ที่ว่า “ฟานฉือถามถึงมนุษยธรรม อาจารย์ตอบ ว่า “มนุษยธรรมคือการรักในเพือ่ นมนุษย์” ” (แปลโดยผูเ้ ขียน)『「樊遲問仁。子曰:「愛人」』《論語 • 淵 源篇第十三》 5

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

33


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

อู๋หมาจื่อกล่าวกับท่านมั่วจื่อว่า “ข้าพเจ้านั้นต่างจากท่าน ข้าพเจ้าไม่อาจรักใครได้อย่างเท่าเทียม กัน ข้าพเจ้ารักคนแคว้นโจวมากกว่าคนแคว้นเยว่  รักคนแคว้นหลู่มากกว่าคนแคว้นโจว รักคนใน หมู่บ้านเดียวกันมากกว่าคนในแคว้นหลู่  รักคนในครอบครัวมากกว่าคนในหมู่บ้าน รักบิดามารดา มากกว่าคนในครอบครัว รักตนเองมากกว่าบิดามารดา เพราะบุคคลเหล่านีใ้ กล้ตวั ข้าพเจ้า” มัว่ จือ่ เล่มที่สิบเอ็ด บทเกิงจู้6 (แปลโดยผู้เขียน) ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่คน จีนเชือ่ ว่าการจะน�ำสิง่ ทีด่ ๆี  ของแต่ละลัทธิมาส กัดและย�ำรวมเข้าด้วยกันเป็นสิ่งที่ท�ำไม่ได้ใน เชิงทฤษฎี มันท�ำได้ในระดับชาวบ้าน ความเชือ่ หรือคติชนวิทยาเท่านัน้  แต่มนั ท�ำไม่ได้ในระดับ ปรัชญา ในไต้หวันยุคร่วมสมัย เกิดขบวนการ หนึง่ ซึง่ พยายามสังเคราะห์สงิ่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าของแต่

ศาสนาเข้าไว้ด้วยกันเรียกว่า ลัทธิอี๋กว้านเต้า (一貫道) ซึ่งแปลว่า ธรรมะจากทั้งพุทธ เต้า ขงจื่อ คริสต์  อิสลามสามารถจะทะลุเข้า ถึงกันได้หมด ลัทธินี้เชื่อว่า สามารถสกัดสิ่งที่ ดีๆ ของแต่ละศาสนาแล้วน�ำมาผนวกเข้าหากัน ได้หมด คนจีนมีโน้มแนวอย่างมากที่จะสกัด ทุกอย่างมารวมกัน เรียกว่า ปกิณณกะนิยม

ความตอนนีย้ งั กล่าวว่า 「擊我則疾,擊彼則不疾於我,我何故疾者之不拂,而不疾者之拂? 故有我有殺彼以我,無殺我以利。」子墨子曰:「子之義將匿邪,意將以告人乎? 」巫馬子曰:「我何故匿我義?吾將以告人。」子墨子曰:「然則,一人說子,一 人欲殺子以利己;十人說子,十人欲殺子以利己;天下說子,天下欲殺子以利己。 一人不說子,一人欲殺子,以子為施不祥言者也;十人不說子,十人欲殺子,以子 為施不祥言者也;天下不說子,天下欲殺子,以子為施不祥言者也。說子亦欲殺子, 不說子亦欲殺子,是所謂經者口也,殺常之身者也。」子墨子曰:「子之言惡利也? 若無所利而不言,是蕩口也。」 “ตีข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็เจ็บ ตีผู้อื่น ความเจ็บก็ไม่ย่างกรายมาสู่ข้าพเจ้า ไฉนข้าพเจ้าไม่ จัดการกับตนเองทีเ่ จ็บ แต่แส่ไปยุง่ กับคนอืน่ ทีไ่ ม่เจ็บด้วยเล่า เมือ่ เป็นดังนัน้  ข้าพเจ้าก็อาจสังหารผูใ้ ดก็ได้เพือ่ ประโยชน์แก่ตนเอง แต่จะไม่สงั หาร ตนเองเพือ่ ประโยชน์แก่ผใู้ ด” ท่านมัว่ จือ่ กล่าวว่า “ความคิดเช่นนีท้ า่ นจะเก็บง�ำไว้ในใจหรือบอกเล่าต่อผูอ้ นื่ ” อูห๋ มาจือ่ ตอบว่า “ใยข้าพเจ้าต้อง เก็บง�ำไว้โดยไม่บอกกล่าวต่อผูอ้ นื่ ด้วยเล่า” ท่านมัว่ จือ่ กล่าวว่า “ถึงแม้จะเป็นจริงตามทีก่ ล่าวมา แม้นมีบรุ ษุ เพียงหนึง่ ชืน่ ชมในตัวท่าน บุรษุ นัน้ ก็จะสังหารท่านเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง แม้นมีบุรุษอยู่นับทศชื่นชมในตัวท่าน เหล่าบุรุษนั้นก็จะสังหารท่านเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง แม้นทั่ว หล้าจะชื่นชมในตัวท่านทั่วหล้าก็จะสังหารท่านเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง แม้นมีบุรุษสักนามไม่ชื่นชมในตัวท่าน เขาผู้น้ันก็จะสังหารท่านด้วยว่า ค�ำพูดท่านนัน้ อัปมงคลแม้นมีบรุ ษุ อยูน่ บั ทศไม่ชนื่ ชมในตัวท่าน เขาเหล่านัน้ ก็จะสังหารท่านด้วยว่า ค�ำพูดท่านนัน้ อัปมงคล แม้นทัว่ หล้าไม่ชนื่ ชม ในตัวท่าน ทัว่ หล้าก็จะสังหารท่านด้วยว่า ค�ำพูดท่านนัน้ อัปมงคล เมือ่ ชืน่ ชม ก็มคี นจะสังหารท่าน เมือ่ ไม่ชนื่ ชม ก็มคี นจะสังหารท่าน จึงถือเป็น ถ้อยค�ำหลุดปากที่น�ำภัยถึงชีวิต” ท่านมั่วจื่อกล่าวต่อว่า “ถ้อยค�ำที่ท่านกล่าวมาล้วนน�ำมาซึ่งโพดผลในทางไม่ดีท้ังสิ้น ในเมื่อไม่ก่อให้เกิด ประโยชน์  ก็ไม่ควรพูดถือเสียว่า พูดพลั้งไปโดยไม่ยั้งคิด” (แปลโดยผู้เขียน)

6

34

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

(折衷主義) แล้ ว นั บ ถื อ ไปพร้ อ มกั น แบบนี ้ สาขาทีไ่ ทยเรียกว่า “ลัทธิอนุตรธรรม” อนุ ต ระในภาษาสั น สกฤต แปลว่ า  เลิ ศ ล�้ ำ ขัน้ สูงสุด รวมกันจึงแปลว่า “ธรรมซึง่ ไม่มสี งิ่ ใด สูงไปกว่า” จะสมเหตุผลในเชิงทฤษฎีหรือไม่ ปรัชญาสกุลหรูมีท่าทีต่อเรื่องชีวิตหลัง ความตายและผี ส างเทวดาดั ง นี้   ในคั ม ภี ร ์ จริยธรรมของขงจื่อ กล่าวไว้ว่า (1) “อาจารย์ไม่กล่าวเรื่องวิปริต ความ รุนแรง ความยุ่งเหยิง ผีสางเทวดา” (แปลโดย ผู้เขียน) (子不語怪、力、亂、 神。) (2) “เคารพผีสางเทวดา และอยู่ห่างๆ โดยไม่เอาตัวเข้าไปข้องแวะ” (แปลโดยผูเ้ ขียน) (敬鬼神而遠之。) แต่ต้องมีความ จริงใจ (誠心) ในการเคารพด้วย ดั่งค�ำว่า “เซ่นไหว้เทพยาดาและบรรพชนประหนึง่ เหมือน มาสถิตอยู่  ณ ที่นั่น” (แปลโดยผู้เขียน) (祭 神如神在) (3) “หากยังไม่ถอ่ งแท้เรือ่ งการมีชวี ติ อยู่ แล้วไซร้ จะไปถ่องแท้เรือ่ งความตายได้อย่างไร” (แปลโดยผู ้ เขี ย น) (不知生,焉知 死。) หมายความว่า ชีวิตหลังความตาย จะจริงหรือไม่นั้นไม่ส�ำคัญเท่ากับการท�ำความ เข้าใจชีวิตในโลกนี้  เงื่อนไขก็คือ เป็นไปได้หรือ ไม่ที่เราจะเจนจบองค์ความรู้ในโลกแห่งการ ด�ำรงอยูใ่ นชีวติ นีเ้ สียก่อนค่อยไปหยัง่ รูเ้ รือ่ งโลก

หลังความตาย หากเป็นไปไม่ได้  ความรู้เรื่อง ความตายก็ป่วยการที่จะแสวงหา ค�ำกล่าวนี้ ไม่ได้มุ่งตอบค�ำถามที่ว่า ความรู้เกี่ยวกับโลก หน้าจะจริงหรือเท็จ แต่มุ่งค�ำตอบค�ำถามเชิง คุณภาพแต่ในโลกนี้  ส�ำหรับขงจื่อ ขงจื่อออก จะรูส้ กึ ประหลาดด้วยว่า ท�ำไมเราต้องหมกมุน่ กับวาทกรรมว่าด้วยชีวติ หลังความตายมากกว่า สภาพการณ์ด�ำรงอยู่ในโลกนี้ ถ้าเทียบกับศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธ หินยานหรือเถรวาทหมกมุ่นอยู่กับชีวิตหลัง ความตายมาก เราอาจจะตั้งค�ำถามในระดับ คติชนวิทยาก็ได้ว่า สมมติว่า ถ้าไม่มีโลกหน้า เราจะยังท�ำบุญหรือไม่  เราท�ำบุญ เพราะมันมี อุดมการณ์เรื่องโลกหน้ารองรับอยู่  ตายไปแล้ว เกิดเป็นอะไร แม้นว่าสิง่ เหล่านีใ้ นมิลนิ ทปัญหา บอกว่า เป็นอจินไตย (ในภาษาจีนเรียกว่า 不 可思議 แปลว่า อยู่เหนือการตรึกตรอง ด้ ว ยเหตุ ผ ล จึ ง ป่ ว ยการที่ จ ะไปขบคิ ด  และ แสวงหาค�ำตอบ) ถ้าเทียบกับศาสนาคริสต์นกิ ายคาทอลิก (เฉพาะคาทอลิก) คาทอลิกให้ความส�ำคัญกับ วันพิพากษาโลก (apocalyptic) มาก รวมถึง อาณาจักรอันสงบสุขของพระผูเ้ ป็นเจ้าหลังการ พิพากษา (post-apocalyptic utopia) คาทอลิกยอมรับหลักตรีเอกานุภาพทีต่ งั้ อยูบ่ นฐานเอกเทวนิยม กล่าวคือ มีพระเจ้าองค์ เดียวแต่สามลักษณะ แต่พุทธศาสนานิกาย

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

35


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

มหายานกลับมีแนวคิดแบบพหุเทวนิยมที่เชื่อ ในความมากเหลือคณานับของพระโพธิสัตว์ และพระพุ ท ธเจ้ า มากมายนั บ ไม่ ถ ้ ว น ทั้ ง พระพุ ท ธเจ้ า ในอดี ต และพระพุ ท ธเจ้ า แห่ ง อนาคตหรือพระศรีอริยเมตไตรย (彌勒佛) นีย่ งั ไม่นบั ความขัดแย้งระหว่างพุทธด้วยกันเอง เช่น พุทธหินยานไม่ยอมรับตรีกาย (三身 ของพระพุทธเจ้า แต่พุทธมหายานยืนยันใน ตรี ก ายของพระพุ ท ธเจ้ า  ได้ แ ก่   ธรรมกาย (法身) สัมโภคกาย (報身) นิรมาณกาย (應身)7 แม้ แ ต่ ปราชญ์สกุลหรูที่ชื่อหลีเ หมี่ยว (李淼) ก็เคยเขียนจดหมายไปถามภิกษุที่ ชื่อเต้าเซิง (道生ประมาณ 360-434) ว่า พระพุทธเจ้ากายหยาบที่แตกดับไปในโลกนี้ จะเป็นเพียงกายหนึ่งของพระพุทธเจ้าในรูป

ธรรมกายที่ไม่มีกาลเวลา และไม่แตกดับได้ อย่างไร เป็นไปได้อย่างไรกันที่พระพุทธเจ้าซึ่ง เราเห็นในโลกนี้เป็นเพียงสิ่งชั่วคราวของสิ่งที่ จีรังกว่าในรูปธรรมกาย8 คริ ส ตศาสนาในระดั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ห รื อ วัฒนธรรมศึกษา หลั ง จากที่ วิ เ คราะห์ อุ ด มการณ์ ข อง คริสตศาสนาที่เข้ากันได้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ แบบจีน (ขอย�้ำว่า เป็นลัทธิคอมมิวนิสต์แบบ จีนซึ่งมากซ์อาจไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วยก็ได้) ไปแล้ว ในหัวข้อนี้  ผู้เขียนจะวิเคราะห์การ ห้ า มเผยแพร่ ค ริ ส ตศาสนาอย่ า งสิ้ น เชิ ง กั บ การอนุญาตให้เผยแพร่ได้  แต่ต้องได้รับการ ตรวจสอบก่อนจากรัฐบาลกลาง (Ban and Censorship of Christianity in China)9

ธรรมกายคือกายธรรมที่ว่าด้วยความเป็นเช่นนั้นหรือตถตาอันแสดงถึงการไม่มีสารัตถะเชิงภววิทยาของสรรพสิ่งซึ่งก็คือสุญญตาภาวะนั่นเอง มหายานนิกายอวตังสกะ (華嚴) เรียกว่า ธรรมธาตุ  (法界) สัมโภคกายคือการเผยตนทางกายเนื้อหรือรูปกายอันสมบูรณ์เพื่อแสดง ธรรมของบรรดาพระโพธิสตั ว์ในขัน้ ท้ายสุดของรูปธาตุ ส่วนนิรมาณกายคือกายหยาบชัว่ คราวของเหล่าปวงพระพุทธเจ้าทีม่ าปรากฏตนเพือ่ แสดง ธรรม ณ โลกนี้ 8  Whalen Lai ได้แปลจดหมายทีห่ ลีเหมีย่ วเขียนไปถามภิกษุเต้าเกา (Dao Gao) ว่า ท�ำไมพุทธภาวะไม่อาจเห็นได้ดว้ ยตา และมีอยูเ่ ป็นนิรนั ดร์ พุทธภาวะนี้เผยตนเองผ่านนิรมาณกายหรือกายหยาบที่ได้แตกดับไปแล้วของเจ้าชายสิทธัตถะได้อย่างไร หัวข้อในจดหมายเขียนว่า “ว่าด้วย นิรภาวะของพุทธภาวะ” (On the Invisibility of the Buddha Form, Li Miao Asks about the Absent Buddha) Whalen Lai, “Limits and Failure of “Ko-I” (Concept-Matching) Buddhism in History of Religions, Vol. 18, No. 3 (Feb., 1979), pp. 245-247. 9  Ban กับ censorship ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ban เป็นการห้ามเผยแพร่อย่างสิน้ เชิง แต่การ censorship ไม่ได้หา้ มการเผยแพร่  แต่ตอ้ งผ่าน การกลั่นกรอง และตรวจสอบแล้วจากรัฐบาลกลางจึงจะเผยแพร่ได้ 7

36

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

ก่อนหน้าการฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการในโลก ตะวันออก (Oriental Renaissance) ในจีน ของสมัยเติ้งเสี่ยวผิงที่เปิดกว้างทางความเชื่อ มากขึ้น ศาสนาคริสต์ก็ถูกมองว่าเป็นภัยอย่าง ใหญ่หลวงต่อจีน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่ส�ำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่บอกเล่าถึงอันตราย ดังกล่าวคือเหตุการณ์ของหงซิว่ ฉวน (洪秀全 1814-1864) หรือที่เรียกในภาษาจีนว่า กบฎ ไท่ผงิ  (太平天國 1850-1851) หงซิว่ ฉวน อ้างตนว่า เป็นประกาศกของพระผู้เป็นเจ้าใน การที่ขจัดความฉ้อฉล ความฟอนเฟะ ความ เสือ่ มทรามของราชวงศ์ชงิ เพือ่ ทีจ่ ะสร้างอาณาจักรแห่งพระเป็นเจ้า (Land of God) ขึ้นมา ใหม่  และก่อนหน้ากบฎไท่ผิง ราชส�ำนักชิงก็ ต้องรับศึกหนักแล้วจากกลุ่มกบฎ ซึ่งตีความ พุทธศาสนามหายานนิกายสุขาวดีให้มีนัยยะ ทางการเมื อ งเพื่ อ มาต่ อ สู ้ กั บ ราชวงศ์ ชิ ง ในภาษาจีนเรียกว่า ลัทธิบวั ขาว (白蓮教) นอกจากลัทธิบัวขาว ยังมีนิกายย่อยๆ ภายใต้ ชื่อนิกายสุขาวดีอีกมากมายซึ่งถูกราชส�ำนักตั้ง แต่สมัยซ่งปราบปราม และกล่าวหาว่าเป็น นิกายนอกรีตทีเ่ ข้ามาหากินภายใต้ชอื่ ของพุทธ ศาสนามหายานนิกายสุขาวดี  ลัทธิบัวขาวใช้ ดอกบัวของอมิตาพระพุทธเจ้าในคัมภีร์ของ นิกายสุขาวดีเป็นสัญลักษณ์  ลัทธินี้จะไม่ทาน หั ว หอม นม ไม่ ฆ ่ า สั ต ว์ ตั ด ชี วิ ต  ไม่ ดื่ ม สุ ร า แต่ไม่ออกบวช มีภรรยาได้หลายคน มีลูกได้ ถือว่าเป็นองค์กรศาสนาระดับชาวบ้านที่ตั้งขึ้น

มาอย่างลับๆ และเป็นก�ำลังให้ชาวบ้านต่อต้าน ราชส�ำนักมาตลอด รวมทัง้ ซ่องสุมก�ำลังคนโดย ผนวกเอาศาสนาเต๋าที่พัฒนากังฟู  และไทเก็ก ลงไปเพื่อฝึกฝนตนในทางทหารเพื่อออกรบ มากกว่าการฝึกฝนของอัตตบุคคลตามแนวคิด เดิม พระทีเ่ ป็นนักคิดในมหายานเอง ก็ตอ่ ต้าน องค์กรในระดับชาวบ้านแบบนี้  เพราะสร้าง ความรุนแรงทั้งในระดับปรัชญาเองและทั้งใน เชิงการเมืองด้วย หงซิ่วฉวนอ้างตนว่า ในคืนหนึ่งเขาได้ เห็นนิมิตว่า เขาจะเป็นผู้ปลดปล่อยความทุกข์ ยากแร้ น แค้ น ของชาวจี น ให้ พ ้ น จากมื อ ของ ราชวงศ์ชิง เขายังอ้างตนด้วยว่า เป็นบุตรของ พระผูเ้ ป็นเจ้าในรูปแบบของชาวจีนและราชันย์ แห่งสวรรค์  (天王) งานเขียนสมัยใหม่ต่าง อธิบายการตีความของหงซิว่ ฉวนทีม่ ตี อ่ ศาสนา คริสต์ในหลายลักษณะ บ้างก็ว่า หงซิ่วฉวนไม่ เคยผ่านพิธีศีลล้างบาปเพื่อปวารณาตนเป็น คริสตชนด้วยซ�ำ  ้ บางก็วา่  หงซิว่ ฉวนแอบท�ำพิธี นี้อย่างลับๆ บ้างก็ว่า ค�ำสอนของหงซิ่วฉวน ไม่เป็นทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนท์  แต่เป็น ลัทธิแก้มากกว่า บ้างก็ว่า หงซิ่วฉวนมีความ เป็นโปรเตสแตนท์มากกว่า เพราะอ้างอิงหลัก ฐานที่ว่า การแปลคัมภีร์  ไบเบิลในจีนช่วงนั้น เน้นหนักไปในส่วนของพันธสัญญาใหม่มากกว่า พั น ธสั ญ ญาเก่ า  และหงซิ่ ว ฉวนก็ ตี ค วาม พันธสัญญาใหม่ให้มีนัยยะเชิงปฏิวัติอย่างเข้ม ข้น ความหลากหลายของการตีความท�ำให้เรา

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

37


ประวัตศิ าสตร์คริสตศาสนาในแดนมังกร: จากรัฐจารีตสูร่ ฐั สมัยใหม่

ประจักษ์ชดั ว่า ความเข้าใจในประวัตศิ าสตร์แท้ ที่จริงแล้วเป็นเพียงการสานทอทางตรรกะขึ้น มาใหม่ผ่านข้อมูลที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย เราจะเข้าใจอย่างไรก็ขนึ้ อยูก่ บั ว่าเราเทน�ำ้ หนัก ไปที่ข้อมูลชุดใดเป็นส�ำคัญ และการสานทอ เครือข่ายค�ำอธิบายของเราก็ไปก�ำหนดการ คัดสรรข้อมูลของเราอย่างเลีย่ งไม่ได้วา่  อะไรที่ เราเลือกจะมอง เลือกจะใช้เลือกจะตัดออก มุมมองต่างหากที่ก�ำหนดการเลือกใช้ข้อมูล มากกว่าที่ข้อมูลจะก�ำหนดมุมมอง จะเห็นได้วา่  ไม่วา่ ศาสนาพุทธหรือคริสต์ ถูกตีความไปรับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองมา ตั้งแต่ยุคจักรวรรดินิยมแล้ว ศาสนาในระดับ คติชนนั้นแฝงไปด้วยความรุนแรงอย่างมาก และราชส� ำ นั ก จี น ก็ ต ่ อ ต้ า นมาโดยตลอด และศาสนาในระดั บ คติ ช นก็ ถู ก การศึ ก ษา ศาสนาในระดับปรัชญาต่อต้านอีกทีหนึ่งมา ตั้งแต่โบราณด้วย การที่ศาสนาคริสต์สามารถ เข้ามาฝังตัวอยู่ในสังคมจีนสมัยใหม่ได้ชี้ชัดว่า มันเป็นผลิตผลของรัฐชาติแบบสมัยใหม่ภายใต้ นโยบายปฏิบัตินิยมเชิงเป้าหมายของเติ้งเสี่ยว ผิงที่เรียกว่า อะไรที่ดีก็รับเอาไว้ได้โดยไม่เกี่ยง วิธกี ารหรือทีเ่ รียกว่า “ไม่วา่ จะแมวด�ำแมวขาว จับหนูได้ ก็เป็นแมวทีด่ ”ี  (黑貓白貓, 抓到老鼠就是好貓) มันไม่ใช่ผลิต ผลทางวัฒนธรรมภายในรัฐแบบจารีต

38

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ส� ำ หรั บ ไต้ ห วั น  ช่ ว งศตวรรษที่   17 ที่ดัตช์  (Dutch) เข้ามาปกครองช่วงปี  16241662 (ค� ำ ศั พ ท์ เ ฉพาะทางประวั ติ ศ าสตร์ ไต้ ห วั น เรี ย กว่ า  臺灣荷蘭統治時 期) ดัตช์นำ� ศาสนาคริสต์นกิ ายโปรเตสแตนท์ เข้ามาเผยแพร่ในไต้หวันเพื่อให้ชาวพื้นถิ่นเลิก บูชาผีสาง (animism) และดัตช์ก็ถูกเจิ้งเฉิงกง (鄭成功) ที่ลี้ภัยการเมืองมาอยู่ไต้หวัน ชั่วคราวเพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิงจากราชวงศ์ชิง (เรียกขบวนการนีว้ า่  ต้านชิงกูห้ มิง 反清復 明) ขับไล่ออกไปในที่สุด หลังจากเจิ้งเฉิงกง ก่อตั้งรัฐเจิ้ง (鄭氏王國 1662-1683) ที่ ไ ต้ ห วั น แล้ ว  เขายั ง โจมตี ขั บ ไล่ ส เปนที่ ม า ยึ ด ไต้ ห วั น เป็ น อาณานิ ค มราว 1626-1642 (ค�ำศัพท์เฉพาะทางประวัติศาสตร์ไต้หวันเรียก ว่ า   臺 灣 西 班 牙 統 治 時 期 ) จนออกไปได้อีกเช่นกัน ช่วงเวลานั้นสเปนก็ บี บ บั ง คั บ ให้ ค นพื้ น ถิ่ น นั บ ถื อ โรมั น คาทอลิ ก แทนการบู ช าผี ส างเช่ น กั น  ภายในรั ฐ เจิ้ ง ใต้อาณัติของเจิ้งเฉิงกงซึ่งอยู่บริเวณไถหนาน (台南) ก็มีการห้ามนับถือคริสตศาสนาที่ พวกดัตช์และสเปนเข้ามาเผยแพร่ รัฐเจิง้ ต่อมา ถูกพระเจ้าคังซีแห่งราชวงศ์ชิงยกทัพไปปราบ ส�ำเร็จได้ในที่สุด และคริสตศาสนาในช่วงภาย ใต้การปกครองของชิง (臺灣清治時期 1683-1895) ก็ไม่มีความส�ำคัญเลย คริสต-


นิพนธ์ ศศิภานุเดช

ศาสนาฟื้นคืนอย่างมาชีวิตชีวาได้อีกครั้งใน ยุคสาธาราณรัฐจีน (中華民國時期 1945-) หลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง และถอนอาณานิคมออกไป เห็นได้ว่าคริสต-

บรรณานุกรม Lai, Whalen.  (1979).  “Limits  and Failure of “Ko-I” (Concept-Match ing)  Buddhism in  History of Religions, Vol. 18, No. 3 (Feb.). Marx, Karl. (2008). On Religion by Karl Marx  and  Friedrich  Engels. Moscow: the Foreign Language Publishing House. Tatakis,  (2003).  Basil.  Byzantine Philosophy. Translated with introduction  by  Nicholas  J. Moutafakis. Indianapolis: Hackett Publishing Company, Inc.

ศาสนาไม่ได้มีรากเดิมอยู่ในวัฒนธรรมไต้หวัน ทว่ามากับแนวคิดแบบอาณานิคมของตะวันตก ที่จะมาปลดปล่อยอนารยชนจากลัทธินอกรีต และกลับมามีชวี ติ ชีวาอีกครัง้ หลังยุคอาณานิคม

《孟子》 馬克思、恩格斯,《馬克思 恩格斯選集》第1卷, 北 京 : 人 民 出 版 社,1995。 《墨子》 《論語》 張建映,張躍濱編著,《馬 克思主義讀本》,北 京:清華大學出版 社,2005。

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

39


กลยุทธิ์การบริหาร

การคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

A Strategic Administration for

Sustainable Excellence School.

ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์ * นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์ * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาการบริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผศ.ว่าที่ พ.ต.ดร.นพดล เจนอกษร * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจ�ำภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Natthanan Ravipong * Ph.D. student at Education Department of Management Studies Faculty of Education,  Silpakorn University. Asst.Prof. Prasert Intarak. Ed.D * Assistant Professor, Department of Education Administration, Faculty of Education,  Silpakorn University.

Asst.Prof.Maj. Nopadol Chenaksara, RTAR., Ph.D.

* Assistant Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Education,  Silpakorn University.


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

บทคัดย่อ

การวิจยั ครัง้ นี ้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ทราบ 1) องค์ประกอบของการ บริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น 2) กลยุทธ์การบริหารการคง สภาพของสถานศึกษาดีเด่น และ 3) เพือ่ ยืนยันกลยุทธ์ การบริหารการ คงสภาพของสถานศึ ก ษาดี เ ด่ น  ประชากร คื อ  สถานศึ ก ษารางวั ล พระราชทาน และสถานศึกษารางวัลโล่พระราชทานระดับมัธยมศึกษา ในประเทศไทยที่ ผ ่ า นการคั ด เลื อ กจากกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารตั้ ง แต่ ปี  2550-2554 รวม 142 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษารางวัล พระราชทาน และสถานศึกษารางวัลโล่พระราชทานระดับมัธยมศึกษา ในประเทศไทย รวม 103 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อ�ำนวยการ และ/หรือ รองผูอ้ ำ� นวยโรงเรียน 1 คน หัวหน้าแผนงานโรงเรียน 1 คน และหัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้  1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 309 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ วิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงส�ำรวจ และการวิเคราะห์เนือ้ หา ผลการวิจยั พบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น ประกอบด้วย 10 คือ 1) การก�ำหนดและปฏิบตั งิ านตามกลยุทธ์ 2) ผูน้ ำ� การบริหาร 3) ความสามารถในการแข่งขัน 4) การบริหารอย่างสมดุล 5) ความไว้วางใจ 6) ความร่วมมือร่วมใจ 7) การพัฒนาส่งเสริมศักยภาพ บุคลากร 8) การสร้างทีมงานและเครือข่าย 9) การก�ำหนดเป้าหมาย ความส�ำเร็จ และ 10) การร่วมมือพัฒนากับชุมชน 2. กลยุ ท ธ์ ก ารบริ ห ารการคงสภาพของสถานศึ ก ษาดี เ ด่ น ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์ คือ 1) การก�ำหนดและปฏิบตั งิ านตามกลยุทธ์ 2) ผูน้ ำ� การบริหาร 3) ความสามารถในการแข่งขัน 4) การบริหารอย่าง สมดุล 5) ความไว้วางใจ 6) ความร่วมมือร่วมใจ 7) การพัฒนาส่งเสริม ศักยภาพบุคลากร 8) การสร้างทีมงานและเครือข่าย 9) การก�ำหนด เป้าหมายความส�ำเร็จ และ10) การร่วมมือพัฒนากับชุมชน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

41


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

3. ผลการยืนยันกลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษา ดีเด่น ผูท้ รงคุณวุฒเิ ห็นสอดคล้องกันว่า กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพ ของสถานศึกษาดีเด่น มีความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ค�ำส�ำคัญ: Abstract

42

1) การบริหารการคงสภาพ

The purposes of this research were to find: 1) the components of administration for sustainable excellence school, 2) a strategic administration for sustainable excellence school, and 3) the confirmation of strategic administration for sustainable excellence school. The population in this research were the Royal School Award and the Shield Royal School Award conferred in high school who were chosen by the Ministry of Education since 25502554 with the total of 142 schools. The samples were 132 the Royal School Award and the Shield Royal School Award. The respondents were director and/or deputy director, head of school planning and head of learning group with the total of 309 respondents. The data collected by using the opinionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and content analysis. The findings were as follows: 1. The components of administration for sustainable excellence school factors were 10 components namely: 1) define and implement the strategy, 2) the administration

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

leadership, 3) the ability to compete, 4) administration with balance, 5) trust, 6) cooperation, 7) Development and promotion of human potential, 8) team building and networking, 9) determine goals, and 10) the partnerships with the community. 2. A strategic administration for sustainable excellence school were 1) define and implement the strategy, 2) the administration leadership, 3) the ability to compete, 4) administration with balance, 5) trust, 6) cooperation, 7) Development and promotion of human potential, 8) team building and networking, 9) determine goals, and 10) the partnerships with the community. 3. The experts confirmed that a strategic administration for sustainable excellence school, and 3) the confirmation of strategic administration for sustainable excellence school was accuracy, propriety, feasibility, and utility standards. Keyword:

1) Administration for Sustainable

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

43


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา เมือ่ โลกเข้าสูย่ คุ ของการแข่งขัน อันเนือ่ ง มาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่าง รวดเร็วที่คาดไม่ถึง หรือที่เราเรียกโลกในยุคนี้ ว่า ยุคโลกาภิวตั น์ ยุคทีม่ กี ารสือ่ สารไร้พรมแดน โลกที่ไร้ขีดจ�ำกัดในเรื่องของเทคโนโลยี  และ ข้อมูลข่าวสาร การปรับตัวอย่างรวดเร็วของ ระบบเศรษฐกิ จ  สั ง คม การเมื อ ง และการ แข่งขัน ในทุกภาคส่วนของสังคมการเปลี่ยน แปลงดังกล่าวมีรูปแบบโครงสร้างการเปลี่ยน แปลงต่างไปจากเดิม ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยจึงจ�ำเป็นต้องเพิ่มขีดความ สามารถของทรัพยากรมนุษย์ซงึ่ เป็นทรัพยากร ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในกระบวนการบริหารจัดการเพือ่ การแข่งขันแบบยัง่ ยืน และการศึกษาเป็นปัจจัย ส�ำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขัน การบริ ห ารโรงเรี ย นที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ล เพื่อน�ำไปสู่โรงเรียนคุณภาพ ถือเป็นนโยบาย เร่งด่วนที่ส�ำคัญในการเป็นกลไกให้เกิดการ พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ มีความ เป็ น เลิ ศ  และเกิ ด ความเสมอภาคในการให้ บริการทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และได้ มาตรฐาน ดังนั้นจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ สถานศึกษาต้องสร้างองค์การของตนให้เป็น องค์การแห่งการเรียนรู้  และมีคุณภาพตาม มาตรฐาน การบริหารจัดการระบบคุณภาพซึง่

44

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

จะท�ำให้เกิดคุณลักษณะต่อการจัดการเรียน การสอน อันส่งผลกระทบต่อนักเรียน เป็น เป้ า หมายปลายทางของการจั ด การศึ ก ษา ระบบบริหารจัดการ พัฒนาองค์การให้มผี ลการ ด�ำเนินการทีเ่ ป็นเลิศ พัฒนา ขีดความสามารถ ด้านการบริหารจัดการองค์การ เพื่อให้มีวิธี ปฏิบตั แิ ละผลการด�ำเนินการในระดับมาตรฐาน โลก การจะให้ผู้เรียนและคนไทยเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข ตามเป้าหมายของการจัดการ ศึกษาหรือมาตรฐานการศึกษาของชาติในยุค ของการแข่งขันกันอย่างเสรีน ี้ คนไทยจ�ำเป็นจะ ต้องมีความรู้เป็นภูมิคุ้มกันที่ส�ำคัญเพื่อการ ด�ำรงอยูใ่ นโลกของการแข่งขันบนฐานเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้ได้อย่างรู้เท่าทันและยั่งยืน รางวัลพระราชทาน เป็นรางวัลตามพระ ราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ที่ทรงให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพ การศึ ก ษา ด� ำ เนิ น การมาตั้ ง แต่   พ.ศ.2506 โดยที่ ท รงมี พ ระประสงค์ ที่ จ ะพระราชทาน รางวัลให้แก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี  และ มีความมานะพยายามศึกษาเล่าเรียนจนได้ผลดี รวมทั้งโรงเรียนที่จัดการศึกษาดีจนนักเรียนได้ รับผลการเรียนดีเป็นส่วนรวม ในการคัดเลือก สถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน มีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

ในกรณี ที่ ส ถานศึ ก ษาได้ รั บ รางวั ล พระราชทาน 3 ครัง้  ภายใน 10 ปี  ให้ได้รบั โล่ รางวัลพระราชทานหลังจากนั้นให้เริ่มต้นนับ จ�ำนวนครั้งที่ได้รับใหม่ด้วยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทรงเล็งเห็นความส�ำคัญในการ ส่งเสริมการศึกษาของชาติ จึงทรงพระราชทาน ขวัญก�ำลังใจแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี มีผลการเรียนดี  ตลอดถึงผู้บริหารสถานศึกษา ที่ จั ด การศึ ก ษาได้ ม าตรฐานดี เ ด่ น  ด้ ว ยการ พระราชทานรางวัลดังกล่าวให้ รางวัลพระราชทานจึงเป็นเครื่องส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิด การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของตน และการ ศึ ก ษาชาติ ใ ห้ มี ม าตรฐานและมี คุ ณ ภาพที่ ดี ยิ่งขึ้น สถานศึ ก ษาที่ ผ ่ า นการตั ด สิ น รางวั ล พระราชทานต้องมีสงิ่ แสดงให้เห็นถึงความยอด เยี่ยมดีเด่นได้อย่างชัดเจนและดีจริง ทุกคน ต้องตระหนักไว้เสมอว่ารางวัลพระราชทานเป็น สิ่งที่ทรงคุณค่าและเป็นเกียรติประวัติต่อผู้รับ อย่างสูงสุด คุณความดีจะถูกประกาศและเผย แพร่ไปยังสาธารณชนทั่วไป สมควรที่ผู้เกี่ยว ข้องทุกฝ่ายต้องกระท�ำอย่างรอบคอบ และผูท้ ี่ ได้รบั รางวัลไปแล้วจะต้องด�ำรงรักษาคุณความ ดีนั้นให้ยาวนานสืบไป

วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. ทราบองค์ประกอบของการบริหาร การคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น 2. ทราบกลยุ ท ธ์ ก ารบริ ห ารการคง สภาพของสถานศึกษาดีเด่น 3. ยื น ยั น กลยุ ท ธ์ ก ารบริ ห ารการคง สภาพของสถานศึกษาดีเด่น กรอบแนวคิดของการวิจัย ผู้วิจัยยังได้ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหาร สถานศึ ก ษาที่ เ ป็ น เลิ ศ  และมี ป ระสิ ท ธิ ผ ล ที่ท�ำให้สถานศึกษาประสบความส�ำเร็จที่ยั่งยืน ซึ่งหมายถึงการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น จากแนวคิ ด ทฤษฎี ดั ง กล่ า ว สามารถน� ำ มา ประกอบเป็ น กรอบแนวคิ ด ที่ ผู ้ วิ จั ย ใช้ เ ป็ น แนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  โดยเขียนเป็น แผนภูมิดังปรากฏ ในแผนภูมิที่  1

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

45


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

แนวคิดทฤษฎีการบริหารการศึกษาอย่างยั่งยืน (1) อมราวรรณ ทิวถนอม (2) ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ (3) นิตยา กมลวัทนนิศา (4) ประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ (5) พระราชวรมุนี (6) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ระยะที่  8 (7) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ระยะที่  9 (8) สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (9) ธนสาร บัลลังก์ปัทมา (10) ติน ปรัชพฤทธิ์ (11) กระทรวงศึกษาธิการ (12) ชรินทร์  ชุนหพันธุ์รักษ์ (13) เสนาะ ติเยาว์ (14) ประโชค ชุมพล (15) สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (16) ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (17) จินตนา บุญบงการ (18) พวงรัตน์  เกสรแพทย์ (19) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (20) รุ่ง แก้วแดง (21) ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (22) ประวัฒน์  เบญญาศรีสวัสดิ์ (23) แผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2545-2549 (24) สมศักดิ์  สินธุระเวชญ์ (25) ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ตอบสนองต่อมิติทางสังคมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (1) Keith and Girling (2) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542 (3) ปรัชญา เวสารัชช์ (4) สุพล วังสินธ์ (5) อ�ำรุง จันทวานิช  (6) Hoy, Wayne and Miskel (7) Edmonds  (8) Purkey and Marshall  (9) Prince, C. (10) ประยงค์  เนาวบุตร  (11) ทิศนา แขมมณี (12) สมจิตร อุดม (13) Bush and Coleman  (14) Mazzarol and Soutar

กลยุทธ์ การบริหาร การคงสภาพ ของสถานศึกษาดีเด่น

1. แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ที่ตอบสนองต่อมิติทางเศรษฐกิจตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (1) Nelson,Carlson and Palonsky (2) ไพพรรณ เกียรติโชติชัย (3) สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์ (4) ประภาศรี  อมรสิน (5) Michael E.Porter (6) Hill and Jones (7) ลักคณา วรศิลป์ชัย (8) Caldwell, B.J.and Spinks (9) เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์

สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร

เกณฑ์คัดเลือกสถานศึกษารางวัลพระราชทาน (กระทรวงศึกษาธิการ)

3. แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนตอบสนองต่อมิติทางสิ่งแวดล้อมของการจัดการศึกษาตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (1) Daft (2) นรา สมประสงค์  และคณะ (3) สมประสงค์  วิทยเกียรติ  และคณะ (4) ประยงค์  เนาวบุตร (5) มนัด เทศทอง (6) สุระพล ด่านแก้ว

46

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) มีแผนแบบการวิจัย แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ศึกษาสภาวการณ์ไม่มี การทดลอง (the one shot, non-experimental case study design) แสดงเป็น แผนแบบ (diagram) ด� ำ เนิ น การวิ จั ย ตาม ขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์เนือ้ หา และก�ำหนด กรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการวิเคราะห์ เอกสาร สิง่ พิมพ์และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทกุ ชนิดทีเ่ กีย่ วข้องกับแนวคิดทฤษฎีและบันทึกผล การวิ เ คราะห์   ก� ำ หนดกรอบแนวคิ ด แบบ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) เพื่อสร้างเครื่องมือ 2. ร่างแบบสอบถามองค์ประกอบการ บริ ห ารการคงสภาพของสถานศึ ก ษาดี เ ด่ น โดยการวิเคราะห์ก�ำหนดกรอบเนื้อหา ระบุ นิยามศัพท์ตัวแปร ก�ำหนดรายละเอียดของ ตัวแปร เพือ่ ก�ำหนดประเด็นค�ำถามในการสร้าง แบบสอบถาม 3. สร้างแบบสอบถามเครื่องมือที่ใช้ใน การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เพื่ อ วิ เ คราะห์ อ งค์ ประกอบการบริหารการคงสภาพของสถาน ศึกษาดีเด่น น�ำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมา ด�ำเนินการตรวจสอบคุณภาพ โดยหาความตรง ด้านเนื้อหา (content validity) และความ

เชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่น .960 น�ำไปใช้ทดลองปรับปรุงคุณภาพ น�ำเครื่องมืิอ ทีส่ ร้างไปพัฒนาแล้วเก็บข้อมูลจากลุม่ ตัวอย่าง 4. เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วน�ำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ ถู ก ต้ อ ง วิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบเชิ ง ส� ำ รวจ (exploratory factor analysis) สกัดปัจจัย ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (principal component analysis) หมุนแกน แบบออโธกอนอล (orthogonal rotation) (แบบตั้ ง ฉาก) ด้ วยวิ ธีแวริ แ มกซ์   (varimax rotation) 5. จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ส� ำ รวจ (exploratory factor analysis) จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อทราบกลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่น โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรง คุ ณ วุ ฒิ   ในสถานศึ ก ษารางวั ล พระราชทาน และสถานศึกษารางวัลโล่พระราชทานระดับ มั ธ ยมศึ ก ษาในประเทศไทย จ� ำ นวน 9 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ดุษฎีนิพนธ์ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง (purposive method) 6. การยืนยันกลยุทธ์ เป็นการน�ำกลยุทธ์ การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น ที่ได้จากการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

47


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

Discussion) มาตรวจสอบยืนยันกลยุทธ์การ บริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่นโดย สอบถามผู้เชี่ยวชาญ 5 คน (EFR: ethnographic future research) โดยผู ้ วิ จั ย น� ำ กลยุ ท ธ์ ก ารบริ ห ารการคงสภาพของสถาน ศึ ก ษาดี เ ด่ น  ที่ ไ ด้ เ สนอต่ อ ผู ้ เชี่ ย วชาญเพื่ อ ตรวจสอบยื น ยั น ความถู ก ต้ อ งครอบคลุ ม (accuracy standards) ความเหมาะสม (propriety standards) ความเป็นไปได้  (feasibility standards) และความเป็ น ประโยชน์ (utility standards) ของกลยุทธ์  และข้อคิด เห็นอื่นๆ แล้วผู้วิจัยท�ำการรวบรวมข้อมูลและ สรุปผล ประชากร คื อ  สถานศึ ก ษารางวั ล พระราชทาน และสถานศึ ก ษารางวั ล โล่ พระราชทานระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาในประเทศ ไทยที่ ผ ่ า นการคั ด เลื อ กจากกระทรวง ศึกษาธิการตั้งแต่ปี  2550-2554 รวม 142 แห่ง กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง คื อ สถานศึ ก ษารางวั ล พระราชทาน และสถานศึ ก ษารางวั ล โล่ พระราชทานระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย รวม 103 แห่ง ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ตามสัดส่วน ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเปิดตาราง ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)

48

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ผู้ให้ข้อมูล ในแต่ละสถานศึกษามีผู้ให้ ข้ อ มู ล สถานศึ ก ษาละ 3 คนประกอบด้ ว ย ผู้อ�ำนวยการ และ/หรือ รองผู้อ�ำนวยโรงเรียน 1 คน หัวหน้าแผนงานโรงเรียน 1 คน และ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  1 คน รวมผู้ให้ ข้อมูลทั้งสิ้น 309 คน เครือ่ งมือส�ำหรับใช้ในการวิจยั  คือ แบบ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) และแบบสอบถามความคิดเห็น (opinionnaires) ผลการวิจัย 1. องค์ประกอบการบริหารการคงสภาพ ของสถานศึกษาดีเด่น ประกอบด้วย 10 องค์ ประกอบ เรียงตามน�้ำหนักองค์ประกอบที่ได้ จากมากไปน้อยคือ 1) การก�ำหนดและปฏิบัติ งานตามกลยุทธ์  2) ผู้น�ำการบริหาร 3) ความ สามารถในการแข่งขัน 4) การบริหารอย่าง สมดุ ล  5) ความไว้ ว างใจ 6) ความร่ ว มมื อ ร่วมใจ 7) การพัฒนาส่งเสริมศักยภาพบุคลากร 8) การสร้ า งที ม งานและเครื อ ข่ า ย 9) การ ก�ำหนดเป้าหมายความส�ำเร็จ 10) การร่วมมือ พัฒนากับชุมชน การบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่นเป็นพหุองค์ประกอบตาม สมมติฐานการวิจัย


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

2. กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่น ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ท ี่ 1 การก�ำหนดและปฏิบตั งิ าน ตามกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่  2 ผู้น�ำการบริหาร กลยุทธ์ท ี่ 3 ความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่  4 การบริหารอย่างสมดุล กลยุทธ์ที่  5 ความไว้วางใจ กลยุทธ์ที่  6 ความร่วมมือร่วมใจ กลยุทธ์ที่  7 การพัฒนาส่งเสริมศักยภาพบุคลากร กลยุทธ์ที่  8 การสร้างทีมงานและเครือ ข่าย กลยุทธ์ท ี่ 9 การก�ำหนดเป้าหมายความ ส�ำเร็จ กลยุ ท ธ์ ที่   10 การร่ ว มมื อ พั ฒ นากั บ ชุมชน 3. ผลการยืนยันกลยุทธ์การบริหารการ คงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นสอดคล้องกันว่า กลยุทธ์การบริหารการคง สภาพของสถานศึกษาดีเด่น มีความถูกต้อง ครอบคลุม (accuracy standards) เหมาะสม (propriety standards) เป็นไปได้  (feasibility standards) และเป็นประโยชน์  (utility standards) กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพ ของสถานศึกษาดีเด่น จึงมีความถูกต้องเหมาะสม

เป็นไปได้  และเป็นประโยชน์  ตามสมมติฐาน การวิจัย การอภิปรายผล 1. จากการศึกษาองค์ประกอบของการ บริ ห ารการคงสภาพของสถานศึ ก ษาดี เ ด่ น พบว่า มี  10 องค์ประกอบ เรียงตามน�้ำหนัก ขององค์ประกอบ ดังนี้  1. การก�ำหนดและ ปฏิบตั งิ านตามกลยุทธ์ประกอบด้วย 29 ตัวแปร 2. ผู้น�ำการบริหารประกอบด้วย 17 ตัวแปร 3. ความสามารถในการแข่งขันประกอบด้วย 11 ตัวแปร 4. การบริหารอย่างสมดุล ประกอบ ด้วย 12 ตัวแปร 5. ความไว้วางใจประกอบด้วย 5 ตัวแปร 6. ความร่วมมือร่วมใจประกอบด้วย 5 ตั ว แปร 7. การพั ฒ นาส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพ บุคลากรประกอบด้วย 6 ตัวแปร 8. การสร้าง ทีมงานและเครือข่ายประกอบด้วย 3 ตัวแปร 9. การก�ำหนดเป้าหมายความส�ำเร็จประกอบ ด้ ว ย 3 ตั ว แปร 10. การร่ ว มมื อ พั ฒ นากั บ ชุมชนประกอบด้วย 5 ตัวแปร ซึ่งที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะการบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่น เน้นการก�ำหนดและปฏิบัติ งานตามกลยุทธ์มากทีส่ ดุ  ส่วนด้านการร่วมมือ พั ฒ นากั บ ชุ ม ชนมี น�้ ำ หนั ก ปั จ จั ย น้ อ ยที่ สุ ด โดยภาพรวมขององค์ประกอบการบริหารการ คงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น สอดคล้องกับ ลัดมิรา่  อะ เวอบิสคาย่า, นัสตาเรีย บี โนโซวา,

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

49


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

ลัดมิร่า แอล โรดิน่า (Ludmila A Verbitskaya, Natalia B Nosova , Ludmila L Rodina) ศึกษาเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการศึ ก ษาระดั บ สู ง ในรั ส เซี ย  กรณี ศึ ก ษา St Petersburg State University งานวิจยั นี้ ท�ำการศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาการ ศึกษาทีย่ งั่ ยืนของหลักสูตรส�ำหรับมหาวิทยาลัย ขนาดใหญ่ที่สุดในรัสเซีย ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนทางการศึกษาในรัสเซียเป็น ส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญยิ่งต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ สังคม สอดคล้องกับ วิคตอเรีย เอ็ม ซีโกเวีย และ แองเจอริน่า พี  กาแลนด์  (Victoria M. Segovia and Angelina P Galang) ศึกษา เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการศึกษาระดับ สูงในฟิลปิ ปินส์ กรณีศกึ ษา Mariam College พบว่ า  การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น สามารถท� ำ ให้ คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นในทุกประเทศ การเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้นต้องปลูกฝัง จิตส�ำนึก และสร้างวัฒนธรรมในสังคม ซึ่งเป็น หน้าที่ขององค์กรทางการศึกษาโดยตรง และ ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์  ศึกษาเรื่องการพัฒนารูป แบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า รูปแบบการศึกษาขุมขนเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน จ�ำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูป แบบอิ ง ชุ ม ชน เป็ น ผู ้ ริ เริ่ ม  และรู ป แบบอิ ง สถาบัน ซึ่งหน่วยงานจากภายนอกเป็นผู้ริเริ่ม รู ป แบบที่ ชุ ม ชนเป็ น ผู ้ ริ เริ่ ม  เป็ น รู ป แบบที่

50

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เหมาะสมส� ำ หรั บ ชุ ม ชน ที่ มี ผู ้ น� ำ ที่ เข้ ม แข็ ง และมีศักยภาพพื้นฐาน รูปแบบนี้เน้นความ คิดการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วม และการใช้ ทรัพยากร ตลอดจนภูมิปัญญาภายในชุมชน โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยชุมชนเอง และมี เป้ า หมายในการพั ฒ นาความสามารถของ สมาชิ ก  เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาการพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น รูปแบบที่หน่วยงานภายนอกเป็นผู้ริเริ่มเป็น รูปแบบที่เหมาะส�ำหรับชุมชนที่ประสบปัญหา เกินขอบเขต ความสามารถของชุมชน การแก้ ปัญหาจ�ำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก ภายนอก Didac Ferrer-Balas,Jordi Brunl, Mireia de Mingo and Ramon Sans เอลมอร์   (Elmore) ได้ ก ล่ า วถึ ง การจั ด การ ศึ ก ษาของโรงเรี ย นว่ า การด� ำ เนิ น งานของ โรงเรียนนับวันจะยิ่งซับซ้อน ต้องตอบสนอง ต่อความต้องการ และความคาดหวังของผู้รับ บริการทางการศึกษามากกว่าในอดีตทุกฝ่าย ทีเ่ กีย่ วข้องต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผูเ้ รียน โดยต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับการศึกษา ที่ มี คุ ณ ภาพมาตรฐานการจั ด การศึ ก ษาเพื่ อ สร้ า งความสามารถในการตอบสนองความ ต้องการของผูร้ บั บริการทางการศึกษา สามารถ ด�ำเนินการตามที่ก�ำหนดไว้  ในแผนการจัดการ ศึ ก ษาชาติ   พ.ศ.2545-2549 ซึ่ ง ได้ ก� ำ หนด แนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ได้แก่  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้อง การของชุมชนและท้องถิ่น จัดการศึกษาในรูป แบบและวิธกี ารทีห่ ลากหลาย จัดกระบวนการ เรียนรูแ้ ละการประเมินผลการเรียนรูต้ ามสภาพ จริง ที่มีความยืดหยุ่นและสมบูรณ์ทั้งในด้าน ความถูกต้องและความเหมาะสมของเนื้อหา สาระ จั ด บรรยากาศการเรี ย นรู ้   ใช้ สื่ อ และ แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ด�ำเนินการบริหาร งานบุคคลทีส่ อดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ มี ก ารพั ฒ นา  และจั ด ระบบการประเมิ น คุณภาพภายในของครูและบุคลากรทางการ ศึกษา เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ ต้ อ งด� ำ เนิ น งานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ พั ฒ นา คุ ณ ภาพให้ เ ป็ น ไปตามมาตรฐานการศึ ก ษา จัดท�ำแผนบริหารการเงินของสถานศึกษาที่ สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางใน การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา สนับสนุน ให้ผู้ปกครอง ชุมชนภูมิปัญญา และทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่ง ประโยชน์แก่ผเู้ รียนเป็นส�ำคัญซึง่ สอดคล้องกับ กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ก�ำหนดแนวปฏิบัติ ในการประกันคุณภาพการศึกษาและประกาศ ให้ ใช้ ม าตรฐานการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานเพื่ อ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาฉบับ ปัจจุบัน โดยได้ก�ำหนดมาตรฐาน ซึ่งประกอบ

ด้วยตัวแปรการจัดการศึกษาตามแนวคิดเชิง ระบบได้แก่  ด้านการเรียนการสอน เกี่ยวข้อง กับตัวแปรที่เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาในส่วน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การธ� ำ รงรั ก ษาครู   กล่ า วคื อ สถานศึ ก ษาต้ อ งจั ด ครู ที่ มี วุ ฒิ / ความรู ้ ค วาม สามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบให้เพียงพอ มีการพัฒนาครูให้มีคุณธรรมจริยธรรม หมั่น พั ฒ นาตนเอง เข้ า กั บ ชุ ม ชนได้ ดี   มี ค วาม สามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญด้าน การบริหารและการจัดการศึกษา เกี่ยวข้อง กั บ ตั ว แปรที่ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องผู ้ บ ริ ห ารและ การพั ฒ นางานของสถานศึ ก ษา กล่ า วคื อ ในส่ ว นของผู ้ บ ริ ห ารนั้ น  ผู ้ บ ริ ห ารต้ อ งมี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม มี ภ าวะผู ้ น� ำ  มี ค วาม สามารถในการบริหารจัดการศึกษา ส่วนด้าน การพัฒนางานของสถานศึกษา จะเกี่ยวข้อง กับการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหาร งานและพั ฒ นาองค์ ก รอย่ า งเป็ น ระบบครบ วงจร มีการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้สถาน ศึ ก ษาเป็ น ฐาน  มี ก ารจั ด หลั ก สู ต ร  และ กระบวนการเรี ย นรู ้ ที่เ น้ นผู ้ เรี ย นเป็ นส� ำ คั ญ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่าง หลากหลาย มีการจัดสภาพแวดล้อมและการ บริการทีส่ ง่ เสริมให้ผเู้ รียนพัฒนาตามธรรมชาติ เต็มศักยภาพ ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการ เรียนรู้  เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะต้อง

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

51


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

สนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู ้ ภูมปิ ญ ั ญาในท้อง ถิ่น มีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทาง ศาสนา สถาบันทางวิชาการ องค์กรภาครัฐและ เอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน หากพิ จ ารณาความส� ำ คั ญ ขององค์ ประกอบทั้ง 10 องค์ประกอบ ซึ่งจัดล�ำดับ ความส�ำคัญได้ดังนี้คือ ล�ำดับที่  1 การก�ำหนด และปฏิบัติงานตามกลยุทธ์  ล�ำดับที่  2 ผู้น�ำ การบริหาร ล�ำดับที่  3 ความสามารถในการ แข่ ง ขั น  ล� ำ ดั บ ที่   4 การบริ ห ารอย่ า งสมดุ ล ล�ำดับที ่ 5 ความไว้วางใจ ล�ำดับที ่ 6 ความร่วม มื อ ร่ ว มใจ ล� ำ ดั บ ที่   7 การพั ฒ นาส่ ง เสริ ม ศักยภาพบุคลากร ล�ำดับที ่ 8 การสร้างทีมงาน และเครื อ ข่ า ย ล� ำ ดั บ ที่   9 การก� ำ หนดเป้ า หมายความส� ำ เร็ จ ล� ำ ดั บ ที่   10 การร่ ว มมื อ พัฒนากับชุมชน เมื่อจัดล�ำดับความส�ำคัญที่มี ผลต่อการบริหารการคงสภาพของสถานศึกษา ดีเด่น สามารถอภิปรายผลได้  ดังนี้ 2. กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่น จากการสนทนากลุ่ม พบว่า กลยุ ท ธ์ ก ารบริ ห ารการคงสภาพของสถาน ศึกษาดีเด่น ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์  ได้แก่ กลยุทธ์ที่  1 การก�ำหนดและปฏิบัติงานตาม กลยุทธ์ กลยุทธ์ท ี่ 2 ผูน้ ำ� การบริหาร กลยุทธ์ที่ 3 ความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่  4 การบริ ห ารอย่ า งสมดุ ล  กลยุ ท ธ์ ที่   5 ความ ไว้ ว างใจ กลยุ ท ธ์ ที่   6 ความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ

52

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

กลยุ ท ธ์ ที่   7 การพั ฒ นาส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพ บุคลากร กลยุทธ์ที่  8 การสร้างทีมงานและ เครือข่าย กลยุทธ์ที่  9 การก�ำหนดเป้าหมาย ความส�ำเร็จ กลยุทธ์ที่  10 การร่วมมือพัฒนา กับชุมชน ซึง่ ทีเ่ ป็นเช่นนีอ้ าจเป็นเพราะกลยุทธ์ การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการบริหารการคงสภาพ ของสถานศึกษาดีเด่น เป้าหมายปลายทางของ ทุ ก กลยุ ท ธ์ จ ะเป็ น ไปเพื่ อ การบริ ห ารสถาน ศึกษาเพื่อให้คงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์  เกิด การเปลีย่ นแปลงขึน้ อย่างรวดเร็วความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานศึกษาต่างเร่งผลักดันตนเองเพือ่ การเรียน รู้พร้อมปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาการ บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อน�ำไปสู่ สถานศึกษาคุณภาพ ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ ส�ำคัญในการเป็นกลไกให้เกิดการพัฒนาการ จัดการศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพ มีความเป็นเลิศ และ เกิดความเสมอภาคในการให้บริการทางการ ศึกษาที่เท่าเทียมกัน และได้มาตรฐาน ดังที่ ธัญนันท์  แก้วเกิด ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบ การบริหารโรงเรียนในฝันให้มีคุณภาพอย่าง ยัง่ ยืน พบว่า มีความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ทั้ ง  5 องค์ ป ระกอบ ได้ แ ก่   (1) วั ฒ นธรรม องค์ ก าร (2) การก� ำ กั บ ติ ด ตามประเมิ น ผล


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

(3) ครู ที่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ (4) ผู้บริหารที่มีธรรมมาธิบาล และ (5) เครือข่ า ยความร่ ว มมื อ  สอดคล้ อ งกั บ  อนั น ดา ดัทนาว (Ananda Datnow) ได้ศึกษาเรื่อง ความยั่งยืนของรูปแบบการปฏิรูปสถานศึกษา ในการเปลี่ยนแปลงบริบทของเขตพื้นที่และ รัฐ (The Sustainability of Comprehensive School Reform Models in Changing District and State Contexts) ผลการ ศึกษา พบว่าการเปลี่ยนแปลงบริบทของเขต พื้นที่การศึกษาและรัฐมีผลต่อความยั่งยืนของ รูปแบบการปฏิรูปสถานศึกษาในสถานศึกษา แตกต่างกัน คือ ยั่งยืนในบางสถานศึกษาและ น้อยลงในบางสถานศึกษาขึน้ อยูก่ บั ยุทธศาสตร์ ของแต่ละสถานศึกษาในการเกี่ยวข้องกับการ เปลี่ ย น  และสภาพในพื้ น ที่ ข องตนเอง ประสบการณ์ด้านการปฏิรูปและสมรรถนะ และจ�ำรัส นองมาก ได้ท�ำการศึกษาเรื่องการ รับรองมาตรฐานคุณภาพโรงเรียนเอกชนใน แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมบทบาทการแบ่ง เบาภาระของรัฐ พบว่า แนวทางการพัฒนา โรงเรียนเอกชนให้เป็นที่มั่นใจของผู้ปกครอง และรัฐบาลนั้น ต้องด�ำเนินการในลักษณะของ การรับรองมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษา ตามแนวทางสากล ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การก� ำ หนดคุ ณ ลั ก ษณะของโรงเรี ย นที่ มี คุณภาพเป็นทีย่ อมรับให้ชดั เจนด้วยการก�ำหนด องค์ประกอบเป็นกรอบการด�ำเนินงาน และ

มาก� ำ หนดมาตรฐานและตั ว ชี้ วั ด เพื่ อ ให้ ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจตรงกัน เห็นภาพที่ชัดเจน เป็ น รู ป ธรรมในการปฏิ บั ติ ง านแต่ ล ะด้ า น และการประเมินพัฒนาการด�ำเนินงานให้บรรลุ คุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ ด ้ ว ยการวิ จั ย และ พัฒนา เพือ่ ตรวจสอบข้อบกพร่องของโรงเรียน คื อ  เมื่ อ ด� ำ เนิ น การไประยะหนึ่ ง  จะมี ก าร ประเมินเพื่อน�ำผลไปปรับปรุงเป็นวงจรใหม่ ต่อไปเรื่อยๆ สอดคล้องกับ ธีระยุทธ รัชชะ และชัยวัฒน์  ผดุงพงษ์  ได้กล่าวถึงแนวทางที่ ท�ำให้การปฏิรูปการศึกษาส�ำเร็จว่าการที่จะ ให้ ก ารศึ ก ษาเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการพั ฒ นา เศรษฐกิ จ สั ง คมวั ฒ นธรรม การเมื อ งอย่ า ง แท้จริงนั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการจัดการ ศึกษาที่มุ่งสร้างสังคมให้มีลักษณะเอื้ออาทร มุ่งสร้างคน และพัฒนาให้มีคุณภาพ ซึ่งบุคคล ส�ำคัญที่จะสามารถช่วยให้การปฏิรูปประสบความส� ำ เร็ จ ได้   คื อ  ผู ้ บ ริ ห ารและครู ผู ้ ส อน เพราะผู้บริหารและครูผู้สอนนั้น มีหน้าที่เป็น ผู้จัดสภาพการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจ ความสามารถ และความถนัด ของผู้เรียน รวมทั้งยังต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษา เพื่อ สร้างผลผลิตหรือสร้างคนให้มีศักยภาพพอที่ จะสามารถแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ ว ในปั จ จุ บั น และอนาคต และน� ำ การ ศึ ก ษาไทยไปสู ่ ยุ ค การปฏิ รู ป อย่ า งแท้ จ ริ ง นอกจากนี้  เพอกี้  และมัชเชลล์  (Purkey and

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

53


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

Marshall) ได้ ก ล่ า วถึ ง แนวทางการจั ด การ ศึ ก ษาของโรงเรี ย นที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลและเป็ น ที่ยอมรับของผู้รับบริการทางการศึกษา คือ เป็นโรงเรียนทีม่ ผี บู้ ริหารทีม่ ภี าวะผูน้ ำ� ทีเ่ ด่นชัด ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในวิสัยทัศน์และเป้าหมาย หลักสูตรที่มีมาตรฐาน ความมุ่งหวัง และเป้า หมายการด�ำเนินงานที่ชัดเจนการบริหารเวลา ความตระหนั ก ในเป้ า หมายของการจั ด การ ศึ ก ษา บรรยากาศที่ เ อื้ อ ต่ อ การด� ำ เนิ น งาน การประสานความสั ม พั น ธ์ กั บ ชุ ม ชน การ สนับสนุนจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง การ จัดท�ำเลที่ตั้งของโรงเรียน การพัฒนาบุคลากร การสร้างความมั่นคงให้แก่บุคลากร การสร้าง ความมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ การสนับสนุนส่งเสริมในหน้าทีง่ านโดยตรงการ ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า ทั้งผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง ในด้าน การตอบสนองความต้องการของผู้เรียนนั้น สถาบันการศึกษาควรจัดโปรแกรมการเรียน การสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้เรียน ส่วนด้านผู้ปกครองนั้น สถาบันการ ศึกษาต้องด�ำเนินการพัฒนาคุณภาพโดยรวม ของทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ผูป้ กครองให้มมี าตรฐานและใช้กลยุทธ์ทางการ ตลาดเพื่อความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างต่อ เนื่อง

54

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อย่างไรก็ตามเงือ่ นไขของความส�ำเร็จใน การน�ำกลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่นไปใช้  หรือไปประยุกต์ให้มี ความเหมาะสมในแต่ละสถานศึกษา มีความ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีผ่ บู้ ริหารสถานศึกษาต้องศึกษา แนวทางดังกล่าวให้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกลยุทธ์ความส�ำเร็จที่ผู้วิจัยกล่าวถึง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัจจัยความส�ำเร็จของ การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น ที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังคงมีอีกหลายกลยุทธ์ หรือหลายองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยของแต่ละ สถานศึกษามีสภาพทั้งคล้ายคลึงกันและแตก ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสถาน ศึกษาจะต้องพยายามค้นหาปัจจัยต่างๆ เหล่า นั้นโดยสามารถศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบ การจัดการศึกษาทีม่ ปี ระสิทธิภาพของประเทศ ทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่าระบบการศึกษามีคณ ุ ภาพ เมือ่ ทราบว่ามีปจั จัยใดบ้างทีเ่ กีย่ วข้องกับความ ส�ำเร็จของการบริหารการคงสภาพของสถาน ศึกษาดีเด่น ผูบ้ ริหารควรจะน�ำมาบริหารสถาน ศึกษาของตนให้ประสบความส�ำเร็จตามแผน และเป้าหมายทีท่ กุ ฝ่ายได้รว่ มกันก�ำหนดไว้และ คงสภาพเป็นสถานศึกษาดีเด่นต่อไป 3. ผลการยืนยันกลยุทธ์การบริหารการ คงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น จากการยืนยัน กลยุ ท ธ์ ก ารบริ ห ารการคงสภาพของสถาน ศึ ก ษาดี เ ด่ น โดยผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ   พบว่ า  ผู ้ ท รง


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

คุณวุฒิทุกท่าน มีความคิดเห็นว่า กลยุทธ์การ บริ ห ารการคงสภาพของสถานศึ ก ษาดี เ ด่ น มีความถูกต้อง (Accuracy Standards) มี ความเหมาะสม (Propriety Standards) มี ความเป็ น ไปได้  (Feasibility Standards) และมีการใช้ประโยชน์  (Utility Standards) โดยผูเ้ ชีย่ วชาญส่วนใหญ่เห็นว่า กลยุทธ์ทงั้  10 กลยุทธ์นนั้  เป็นปัจจัยพืน้ ฐาน ซึง่ มีความครอบ คลุมสอดคล้องเชือ่ มโยงประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับ การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็น จริ ง ของการบริ ห ารการคงสภาพของสถาน ศึกษาดีเด่น กลยุทธ์ดังกล่าวมาจากข้อมูลจริง ในด้านความคิดเห็นและเหตุผลแล้ว จึงไม่มี ข้อโต้แย้ง ประเด็นจึงอยูท่ กี่ ารท�ำให้เกิดผลเป็น รูปธรรม แล้วแต่อุปสรรคในแต่ละท้องที่หรือ สถานศึกษานั้นๆ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1.  ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ โรงเรี ย น มัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรน�ำ  “องค์ประกอบการ บริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น” ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา

2. ผูบ้ ริหารสถานศึกษา ควรน�ำกลยุทธ์ ข้อค้นพบทีไ่ ด้จากการศึกษาวิจยั ครัง้ นี ้ ไปปรับ ใช้ ใ นการบริ ห ารการศึ ก ษาของสถานศึ ก ษา ที่เหมาะสมกับสภาพและบริบทจริงของสถาน ศึกษา 3. ผูบ้ ริหารและครู  ควรน�ำข้อค้นพบคือ องค์ประกอบ และกลยุทธ์การบริหารการคง สภาพของสถานศึกษาดีเด่น ไปเป็นมาตรฐาน การศึกษาด้านการบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์ การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น กั บ สถานศึ ก ษาดี เ ด่ น  ที่ เ หมาะสมกั บ สถาน ศึกษาทุกระดับในบริบทต่างๆ 2. ควรมีการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยว กับองค์ประกอบการบริหารการคงสภาพของ สถานศึกษาดีเด่น เพื่อสร้างเป็นกลยุทธ์ของ การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น ที่มีประสิทธิผล 3. ควรมี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย  กลยุ ท ธ์ ก าร บริ ห ารของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาของสถาน ศึกษาดีเด่นด้านอืน่ ๆ เพือ่ น�ำไปสูข่ อ้ ค้นพบใหม่ ที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษาต่อ ไป

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

55


กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น

บรรณานุกรม กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร, (2555). “ระเบี ย บ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ว่ า ด้ ว ยรางวั ล พระราชทานแก่ นั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษา และสถานศึกษา พ.ศ.2555”. จินตนา ศักดิ์ภู่อร่าม. (2545). “รูปแบบการ บริหารโรงเรียนในก�ำกับของรัฐส�ำหรับ ประเทศไทย” (ปริญญาครุศาสตรดุษฏี นิ พ นธ์   สาขาการบริ ห ารการศึ ก ษา คณะครุ ศ าสตร์   บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์, (2543). “การพัฒนารูป แบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน”, (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎี บั ณ ฑิ ต   สาขาพั ฒ นศึ ก ษา  บั ณ ฑิ ต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. การพัฒนาสถานศึกษา อย่างยัง่ ยืน...กลยุทธ์การบริหารตามวิสยั ทัศน์, เข้าถึงเมือ่  20 พฤศจิกายน 2555, เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow. org/posts/ ธัญนันท์  แก้วเกิด. (2556). “การพัฒนารูป แบบการบริ ห ารโรงเรี ย นในฝั น ให้ มี คุ ณ ภาพอย่ า งยั่ ง ยื น .” (วิ ท ยานิ พ นธ์ ปริญญาการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาค วิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษา ศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร). 56

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก, (2555). “การพัฒนาที่ ยั่งยืนในวิถีชีวิตชาวเบอร์ลิน,” วารสาร พฤติ ก รรมศาสตร์   ปี ที่   18 ฉบั บ ที่   2 (กรกฎาคม). ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). “การพัฒนา ระบบการบริหารทีม่ งุ่ เน้นความเป็นเลิศ ของสถานศึ ก ษาเอกชน” (ปริ ญ ญา ครุศาสตรดุษฏีนิพนธ์  สาขาการบริหาร การศึ ก ษา คณะครุ ศ าสตร์ บั ณ ฑิ ต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. “การจัดการศึกษา.. เพือ่ การพัฒนาเมืองอย่างยัง่ ยืน” (เอกสาร ประกอบการเสวนา 13-14 พฤศจิกายน 2552). เข้ า ถึ ง เมื่ อ  1 พฤศจิ ก ายน 2557, เข้าถึงได้จาก www.tei.or.th/ event/091113-14 document.pdf ส�ำนักงานศึกษาธิการภาค 7. “รายงานการ ติดตามประเมินผลการด�ำรงรักษาสภาพ สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน เขตตรวจราชการที่   ๑๐ และ ๑๒ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๖,” เข้าถึง เมือ่  8 พฤษภาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.reo7.moe.go.th อมราวรรณ ทิวถนอม, (2548). “ดัชนีชวี้ ดั การ พัฒนาทีย่ งั่ ยืนของประเทศไทย มิตใิ หม่ ของการพั ฒ นาประเทศ,” วารสาร เศรษฐกิ จ และสั ง คม (กรกฎาคม – สิงหาคม).


ณัฏฐ์ธนัน ระวิพงษ์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และ นพดล เจนอกษร

Ananda Datnow. (2004). “The Sustain ability of Comprehensive School Reform Models in  Changing District and State Contexts”. Fullan, Michael. (2004). Leadership and  Sustainability:  Systems Thinkers in Action. Thousand Oaks, CA: Corwin.

Hoy ,Wayne K.and Miskel ,C.G. (2005). Educational Administration: Theory, Research andPractice. 7thed. New York: The McGraw-Hill Companies. Ministry of Ministration, (2000). The School Excellence Model: A Guide Singapore: The School Appraisal Branch. School Division, Singapore: ministry of Ministra tion.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

57


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่น ที่ครอบครัวหย่าร้าง

Emotional Adjustment of Adolescents

from Divorced Families.

อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ * นักศึกษาสาขาวิชาการวิจยั และพัฒนาศักยภาพมนุษย์ แขนงวิชาจิตวิทยาพัฒนามนุษย์และการให้คำ� ปรึกษา   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผศ.ดร.พิศมัย รัตนโรจน์สกุล * อาจารย์ประจ�ำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Arpornrat Senangnart * Student’s Research and Development on Human Potentials, Department of Psychology of   Human Development and Counseling , Faculty of Education, Srinakharinwirot University.

Asst.Prof.Dr.Pissamai Ratanarojsakul * Lecturer, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. Asst.Prof.Dr.Patcharaporn Srisawat * Lecturer, Department of Guidance and Education Psychology, Faculty of Education,   Srinakharinwirot University.


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบจากครอบครัว ที่ ห ย่ า ร้ า งต่ อ การปรั บ ตั ว ทางอารมณ์ ข องวั ย รุ ่ น  และเพื่ อ พั ฒ นา กระบวนการให้ค�ำปรึกษารายบุคคลที่ช่วยเสริมสร้างการปรับตัวทาง อารมณ์ทเี่ หมาะสมกับวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง เป็นการวิจยั แบบผสาน วิธี  ประกอบด้วย ส่วนที่  1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ร่วม กับการสังเกตกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นนักเรียนที่ก�ำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ประสบปัญหาครอบครัวหย่าร้างตั้งแต่เยาว์วัย จ�ำนวน 10 คน และส่วนที ่ 2 การวิจยั กึง่ ทดลอง โดยใช้กระบวนการให้ ค�ำปรึกษารายบุคคล กับผู้เข้ารับค�ำปรึกษาจ�ำนวน 5 คน ซึ่งคัดเลือก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนที่  1 ที่พบว่ามีปัญหาด้านอารมณ์และ พฤติกรรมที่สะท้อนถึงกระบวนการปรับตัวทางอารมณ์ที่มีปัญหา ผลการวิจัย ส่วนที่  1 การศึกษาผลกระทบจากสภาวะครอบครัว หย่าร้างต่อการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่น พบว่า พฤติกรรมด้านลบ และสภาวะทางอารมณ์ของพ่อแม่และญาติที่เลี้ยงดู  ส่งผลกระทบต่อ ความคิด ความรูส้ กึ  และพฤติกรรมของวัยรุน่  โดยพบว่าวัยรุน่ มีการปรับ ตัวทางอารมณ์ใน 3 รูปแบบ ได้แก่  (1) การโทษผู้อื่น เป็นการปรับตัว ด้วยการตอบโต้กลับทางสีหน้า ค�ำพูดและท่าทีทกี่ า้ วร้าว อารมณ์รนุ แรง เมือ่ รูส้ กึ โกรธหรือไม่พอใจ (2) การยอมตาม เป็นการปรับตัวด้วยการเก็บ ความรู้สึก ยอมท�ำตามโดยหวังให้บุคคลอื่นยอมรับและพอใจ (3) การ เฉไฉ เป็นการปรับตัวด้วยการเพิกเฉย ไม่ใส่ใจ หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับ ความรูส้ กึ เจ็บปวด หรือสถานการณ์ทที่ ำ� ร้ายจิตใจ ส่วนที ่ 2 การพัฒนา กระบวนการให้ค�ำปรึกษารายบุคคล ซึ่งได้ผสมผสานทักษะและเทคนิค การให้ค�ำปรึกษา ได้แก่  ทฤษฎีการให้ค�ำปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ทฤษฎีการบ�ำบัดแบบซาเทียร์  และทฤษฎีการให้ ค�ำปรึกษาแบบเผชิญความจริง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) การ สร้างสัมพันธภาพ เพือ่ ช่วยให้วยั รุน่ พัฒนาความไว้วางใจ เกิดความมัน่ ใจ ในตัวเอง และได้รบั การตอบสนองด้านความรักและการยอมรับ (2) การ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

59


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

ส�ำรวจปัญหา เพื่อให้วัยรุ่นได้ท�ำความเข้าใจกับตนเองและมองตนเอง ตามความเป็นจริง (3) การท�ำความเข้าใจปัญหา เพื่อให้วัยรุ่นกระจ่าง ชัดในปัญหาและรู้ว่าตนเองมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาตนเองได้ (4) การวางแผนแก้ปัญหา เพื่อให้วัยรุ่นสร้างแนวทางการพัฒนาตนเอง จนประสบความส�ำเร็จ เกิดความรัก เคารพนับถือตนเองมากขึ้น และ (5) การยุติกระบวนการ เพื่อให้วัยรุ่นได้ทบทวนสิ่งที่ได้รับจากการเข้า รับค�ำปรึกษา เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น ซึ่งผู้วิจัย พบว่ากระบวนการให้คำ� ปรึกษาจะต้องมีความยืดหยุน่ ทัง้ ด้านเทคนิควิธี และจ�ำนวนครั้งในการให้ค�ำปรึกษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทาง อารมณ์และพฤติกรรมของวัยรุ่นแต่ละคน และพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยทุก คนมีการพัฒนาด้านความคิด อารมณ์และพฤติกรรมในทิศทางที่ดีขึ้น

60

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

Abstract

This research aims to study the emotional adaptation of teenagers who have been effected by being from a divorced family and developing the consulting process to help the emotional adaptation of teenagers from divorced families. The mixed methods approach were used in this study. Firstly, the qualitative methodology, in-depth interview  and  non-participant  observation  were employed with the ten participants, who were in the secondary school and parents who had been divorced since the children were young. Next, in terms of quasi-experimental research, the researcher invented instruments to provide an individual consultation with five selected participants which were found that the participants had emotional problems and negative behaviors. There were two parts to the findings. Part one, studied the effects from the divorced family to the emotional adaptation of teenagers found that negative behaviors, including the emotions of their parents and relatives affected their thoughts, feelings and behaviors. It was found that teenagers adapted their emotion into three types, i.e. 1) Blaming is an adaptation which results in reacting aggressively and emotionally when angry and unsatisfied; 2) Placating is an adaptation that teenagers use to keep their feelings under control and follow others because they wish to be accepted by others; 3) Irrelevance is an adaptation used to avoid pain or unwanted situations. In Part two, the process of improving individual consultations in which

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

61


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

the techniques and theories were applied, i.e. Rational Emotive Behavior Counseling Theory, Satir Transformation Therapy and Reality Counseling Theory. It is consisted of five methods: 1) Building a relationship in order to enhance trust, self-confidence and responded with love and acceptance; 2) Exploring problems in order to help them to understand more about themselves; 3) Understanding problems in order to help them to identify problems, to believe in their potential and the fact that they could be improved; 4) Planning to solve problems in order to help them to plan how to improve themselves and gain more self-esteem; 5) Closing the process in order to give them time to think or review what they had gained from consultations in order to have more selfesteem. The researcher found that every participant positively improved their thoughts, emotions and behaviors.

62

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

บทน�ำ ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่ให้ ก�ำเนิดชีวติ  ให้ความรัก ความอบอุน่ และความ มัน่ คงปลอดภัยแก่สมาชิกของครอบครัว แต่ใน ปัจจุบันกลับพบว่ามีการหย่าร้างแยกทางกัน ของคู่สมรสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผลการส�ำรวจ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ  (2556: ออนไลน์) รายงานว่า ในปี  2556 มีผู้จดทะเบียนสมรส ใหม่ทวั่ ประเทศ จ�ำนวน 295,519 คู ่ และในปี เดี ย วกั น มี คู ่ ส มรสที่ จ ดทะเบี ย นหย่ า จ� ำ นวน 117,031 คู่  ซึ่งหากเปรียบเทียบกับผลส�ำรวจ ในปี   พ.ศ.2547 ที่ มี ก ารหย่ า ร้ า งทั้ ง หมด 86,982 คู ่ จะพบว่าอัตราการหย่าร้างได้เพิม่ สูง ขึ้นถึงร้อยละ 23.05 และมีอัตราการหย่าร้าง ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 10 ปีดังกล่าว สภาพของครอบครัวที่หย่าร้างส่งผลให้มีเด็ก จ�ำนวนไม่นอ้ ยถูกทอดทิง้  ซึง่ ทางส�ำนักงานสถิติ แห่ ง ชาติ ไ ด้ ร ายงานการส� ำ รวจเด็ ก ช่ ว งอายุ 0-14 ปีที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่  พบว่าในปี  พ.ศ. 2548 มีจ�ำนวนร้อยละ 19.8 และในปี  พ.ศ. 2554 มีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.8 ซึ่ง นั บ เป็ น การเพิ่ ม ขึ้ น ที่ น ่ า เป็ น ห่ ว งยิ่ ง  (ส� ำ นั ก งานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. 2556: ออนไลน์) การหย่าร้างเป็นปรากฏการณ์สำ� คัญของ ครอบครัวไทยในสังคมปัจจุบันที่นับวันยิ่งทวี

ความรุนแรงมากขึน้  ซึง่ สังคมไม่อาจมองข้ามได้ เพราะหนึง่ ครอบครัวทีอ่ อ่ นแอและล่มสลายลง ท�ำให้มีเด็กที่ต้องเติบโตขึ้นในครอบครัวที่ขาด ความสมบูรณ์มจี ำ� นวนมากขึน้  และเติบโตด้วย สภาพจิตใจทีเ่ ปราะบางมากกว่าเด็กทีเ่ ติบโตขึน้ ในครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่  (ชาย โพธิสิตา. 2552: 9) นับเป็นความเสียหายอันส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตของเด็กที่ไม่อาจประเมินค่าได้ เด็กที่เติบโตจากครอบครัวโดยไร้อ้อมกอดของ พ่ อ แม่   จะขาดความรั ก  ความอบอุ ่ น และมี ปมด้ อ ย เมื่ อ เด็ ก เหล่ า นี้ เข้ า สู ่ วั ย รุ ่ น ก็ มั ก จะ ประสบกั บ ปั ญ หาการปรั บ ตั ว ทางอารมณ์ ซึง่ แตกต่างกับวัยรุน่ ทีม่ าจากครอบครัวทีพ่ อ่ แม่ อยู่ด้วยกันอย่างปกติ จากการศึกษาอัตลักษณ์แห่งตนของวัย รุน่ ทีค่ รอบครัวแตกแยก (พิมพ์ชนก กลิน่ สุทโธ. 2554: 9-11; อ้างถึง Marsia. 1975: 253) พบว่า วัยรุ่นซึ่งอยู่ในช่วงวัยของการพัฒนา เอกลั ก ษณ์ ข องตนเอง แต่ ต ้ อ งประสบกั บ สภาวะครอบครัวแตกแยก ท�ำให้ประสบปัญหา การพัฒนาอัตลักษณ์ของตนเองในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) ด้านความเป็นตัวของตัวเอง วัยรุน่ จะ ขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกลังเลที่จะต้อง ตั ด สิ น ใจ ไม่ ก ล้ า คิ ด  และไม่ ก ล้ า แสดงออก 2) ด้านการรู้จักตนเอง วัยรุ่นจะไม่สามารถ เข้าใจตนเองได้อย่างถ่องแท้  จะรู้สึกสับสนต่อ ตนเองและต่อการก�ำหนดวิถีชีวิต 3) ด้านวุฒิ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

63


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

ภาวะทางอารมณ์  วัยรุ่นจะไม่สามารถแสดง ออกด้วยค�ำพูดและท่าทางที่เหมาะสม เมื่อ ตนเองมี อ ารมณ์ โ กรธ โมโห หรื อ ไม่ พ อใจ 4) ด้านการตั้งเป้าหมายในชีวิต วัยรุ่นจะไม่ สามารถวางแผนหรือตั้งเป้าหมายในการเรียน อาชีพ และชีวติ  เพราะขาดข้อมูลและค�ำแนะน�ำ เนื่ อ งจากไม่ มี ผู ้ ใ ห้ ค� ำ ปรึ ก ษาที่ ชั ด เจนและ ถู ก ต้ อ ง และ 5) ด้ า นสั ม พั น ธภาพระหว่ า ง บุคคล วัยรุ่นจะคบเพื่อนเฉพาะกลุ่ม ไม่ค่อย ยอมรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของผู ้ อื่ น  ขาดปฏิ สัมพันธ์ในครอบครัวและผู้อื่น ความเข้ ม แข็ ง ของจิ ต ใจเป็ น รากฐาน ภายใน ทีถ่ กู สร้างขึน้ จากความรักทีม่ นุษย์ได้รบั จากครอบครัว เป็นคุณสมบัติที่ส�ำคัญส�ำหรับ เด็กในการก้าวเข้าสูโ่ ลกของวัยรุน่  ช่วงหัวเลีย้ ว หัวต่อของชีวติ  วัยรุน่  จึงเป็นช่วงเวลาของชีวติ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ในการปรั บ ตั ว ทุ ก ๆ ด้ า น โดย เฉพาะทางด้านอารมณ์ที่มีอิทธิพลอย่างมาก ในการด�ำ เนิ นชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด เกี่ยวกับการปรับตัวของซาเทียร์  (Satir) ที่ อธิบายว่าการปรับตัวเป็นกระบวนการหรือ วิธีการที่คนน�ำมาใช้รับมือกับปัญหา (Coping Stances)  ที่ เ กิ ด จากการเรี ย นรู ้ ใ นอดี ต เพื่อรักษาตัวรอดจากสถานการณ์ที่ท�ำให้เกิด ความเครียด หรือสิ่งที่รบกวนจิตใจ โดยท�ำให้ รู้สึกสบายใจมากขึ้น โดยย�้ำว่า “ในตัวปัญหา เองนั้น แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ปัญหา แต่วิธีการ

64

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปรับตัวต่อปัญหาต่างหากทีเ่ ป็นปัญหา” ดังนัน้ คนที่รับรู้และเห็นคุณค่าในตัวเองสูง จะรู้สึก มั่นคงและเกิดความสมดุลในจิตใจ (Congruent) และหากประสบปั ญ หาก็ จ ะสามารถ ตอบสนองต่ อ ปั ญ หานั้ น ได้ อ ย่ า งเหมาะสม ส่วนบุคคลทีร่ สู้ กึ ว่าตนเองด้อยค่า จะขาดความ สมดุลในจิตใจ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ของ ความเครี ย ด จะรั บ มื อ กั บ ปั ญ หาด้ ว ยกลไก ปกป้ อ งตั ว เองเพื่ อ เอาตั ว รอด (Survival Stances) โดยร้อยละ 50 ใช้วิธีการยอมตาม เพื่อให้ผู้อื่นพอใจ ร้อยละ 30 ใช้วิธีการโทษ ผูอ้ นื่ และท�ำให้ตวั เองส�ำคัญโดยการแสดงความ เกรี้ยวกราด ก้าวร้าวรุนแรง ร้อยละ 15 ใช้วิธี การอ้างแต่เหตุผล เต็มไปด้วยหลักการ แต่ไม่ สามารถเข้ า ถึ ง อารมณ์ ข องตนเองและผู ้ อื่ น และสุดท้าย ร้อยละ 5 ใช้วิธีการเฉไฉ ซึ่งเป็น ท่าทีของคนที่หลีกเลี่ยงที่จะรู้สึก ไม่อยากรับรู้ มองทุกอย่างไม่ใช่ปญ ั หา ไม่มเี ป้าหมาย (นงพงา ลิ้มสุวรรณ และนิดา ลิ้มสุวรรณ. 2556: 3641) การให้คำ� ปรึกษารายบุคคล (Individual Counseling) เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพ การพูดคุยทีม่ เี ทคนิควิธตี า่ งๆ ของการให้ ค�ำปรึกษา ทีจ่ ะช่วยให้ผรู้ บั ค�ำปรึกษาได้สำ� รวจ และเข้ า ใจตนเอง จนสามารถตั ด สิ น ใจและ แก้ไขปัญหาได้ดว้ ยตนเอง โดยผูว้ จิ ยั ได้ประมวล แนวคิดทฤษฎี  ทักษะและเทคนิคของทฤษฎี


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

การให้คำ� ปรึกษาทีส่ อดคล้องกับประเด็นปัญหา ต่างๆ ดังต่อไปนี้  (1) แนวคิดทฤษฎีการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแบบพิ จ ารณาเหตุ ผ ล อารมณ์ และพฤติกรรม (REBT) ของอัลเบิร์ต เอลลิส (Albert Ellis) ทีเ่ น้นว่าความคิด อารมณ์ และ พฤติ ก รรมของบุ ค คลมี ค วามสั ม พั น ธ์ แ ละ เป็นผลซึ่งกันและกัน โดยที่ความคิดและการ รับรู้ต่อสภาพการณ์ต่างๆ เป็นตัวก่อก�ำเนิด อารมณ์ซึ่งจะส่งผลต่อการกระท�ำของบุคคล (2) แนวคิ ด ทฤษฎี ก ารบ� ำ บั ด แบบซาเที ย ร์ (Satir Tranformation Theory) ของเวอร์จิเนีย ซาเทียร์  (Satir) ที่ให้ความส�ำคัญเรื่อง อารมณ์  ความรู้สึก (Emotion & Affective) และความเป็นในปัจจุบัน (Here and Now) และ (3) แนวคิ ด ทฤษฎี ก ารให้ ค� ำ ปรึ ก ษา แบบเผชิญความจริง (Reality Counseling Theory) ของวิลเลียม กลาสเซอร์  (William Glasser) ที่เชื่อว่ามนุษย์มีความต้องการด้าน จิตใจที่ส�ำคัญคือ ต้องการแสวงหาเอกลักษณ์ ของตนเอง (Identity) ต้องการเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม (Belongingness) ต้องการอ�ำนาจ (Power) ต้องการความอยู่รอด (Survival) ต้องการอิสระ (Freedom) และต้องการความ สนุกสนานรื่นเริง (Fun) ความต้องการต่างๆ เหล่ า นี้   จะเป็ น กลไกที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด พฤติ ก รรม ต่างๆ หากบุคคลสามารถสนองความต้องการ เหล่านี้ได้  ก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

(Self- esteem) การให้ค�ำปรึกษารายบุคคล จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับตัวทาง อารมณ์ที่เหมาะสมของวัยรุ่น ซึ่งจะท�ำให้พวก เขาตระหนั ก และรั บ มื อ กั บ อารมณ์ ท างลบ มีอทิ ธิพลเหนือการควบคุมตนเอง ในขณะเดียวกัน ก็ จ ะช่ ว ยพวกเขาให้ ส ามารถมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ เหมาะสมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมต่อไป ผูว้ จิ ยั ในฐานะเป็นนักบวชหญิงคาทอลิก ด�ำเนินงานด้านอภิบาลและให้ค�ำปรึกษากับ นักเรียนในโรงเรียน ภายใต้ระบบการศึกษา คาทอลิกที่ให้ความส�ำคัญในการอภิบาลด้าน จิตใจส�ำหรับนักเรียนทีป่ ระสบปัญหา เพือ่ ตอบ สนองตามปรัชญาการศึกษาคาทอลิกที่มุ่งเน้น การอบรมนักเรียนให้เรียนรู้การพัฒนาตนเอง ให้เป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ จึงสนใจศึกษาการปรับ ตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่นที่ครอบครัวหย่าร้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น จะได้รบั รูแ้ ละเข้าใจถึงสภาพปัญหา และปัจจัย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สภาวะทางด้ า นอารมณ์ ข อง วัยรุน่ ทีต่ กอยูใ่ นสภาพครอบครัวพ่อแม่หย่าร้าง และมีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือวัยรุ่น จากต้ น ตอของปั ญ หาที่ แ ท้ จ ริ ง  นอกจากนี้ การพัฒนากระบวนการให้คำ� ปรึกษารายบุคคล จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการช่ ว ยเหลื อ วั ย รุ ่ น ให้สามารถมีแนวทางการปรับตัวทางอารมณ์ ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

65


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

วิธีการศึกษาวิจัย การศึกษาผู้วิจัยใช้การศึกษาแบบผสาน วิธ ี (Mixed Methods) ประกอบด้วย การวิจยั เชิงคุณภาพกับการวิจยั กึง่ ทดลอง โดยแบ่งการ ศึกษาออกเป็นสองส่วน ตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย ส่ ว นที่ ห นึ่ ง  เป็ น การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ตามแนวปรากฏการณ์วทิ ยาแบบอรรถปริวรรต ของไฮเดคเกอร์  (Heidegger) ที่เน้นการท�ำ ความเข้าใจความหมายของประสบการณ์ใน ทั ศ นะของบุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ ประสบการณ์ นั้ น โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแนวค�ำถาม กึง่ โครงสร้าง และการสังเกตอย่างไม่มสี ว่ นร่วม เพือ่ ศึกษาผลกระทบจากสภาวะครอบครัวหย่า ร้างต่อการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่  ผูว้ จิ ยั ได้คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย 2 กลุม่ ได้แก่  ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักเรียนหญิงระดับ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา อายุ ร ะหว่ า ง 13-18 ปี ที่ ค รอบครั ว หย่ า ร้ า ง และมี พ ฤติ ก รรมการ แสดงออกในสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เมื่ อ รู ้ สึ ก โกรธหรื อ ไม่ พ อใจ โดยจะแสดง พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ไม่สามารถควบคุม อารมณ์ได้  หรือในทางตรงข้ามกลับวิตกกังวล เกินเหตุ  เศร้าซึม เลือกทีจ่ ะเก็บตัวหรือแยกตัว ออกจากคนอืน่  จ�ำนวน 10 คน และผูใ้ ห้ขอ้ มูล รอง ได้แก่ พ่อแม่ ผูป้ กครองหรือญาติทใี่ กล้ชดิ

66

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ของผู้ให้ข้อมูลหลักที่ท�ำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กภาย หลังการหย่าร้างของครอบครัว ส่วนที่สอง เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดย ใช้กระบวนการให้ค�ำปรึกษารายบุคคลที่ผู้วิจัย ออกแบบขึ้น โดยมีผู้ที่สมัครและเต็มใจรับการ ปรึกษาจ�ำนวน 5 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่ผู้วิจัยคัด เลือกมาจากการกลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลักในส่วนที ่ 1 ที่มีพฤติกรรมสะท้อนถึงรูปแบบการปรับตัว ทางอารมณ์ทไี่ ม่เหมาะสม และส่งผลให้ประสบ ปัญหาด้านความสัมพันธ์เมื่อต้องอยู่ร่วมกับ ผู้อื่น และได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองให้ เข้ากระบวนการให้ค�ำปรึกษาได้อย่างสมัครใจ ผู้วิจัยได้ออกแบบกระบวนการให้ค�ำ ปรึกษารายบุคคล (Individual Counseling) โดยน�ำเอาเทคนิคและทักษะของทฤษฎีการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแบบพิ จ ารณาเหตุ ผ ล อารมณ์ และพฤติกรรม ทฤษฎีการบ�ำบัดแบบซาเทียร์ (Satir Tranformation Theory) และทฤษฎี การให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแบบเผชิ ญ ความเป็ น จริ ง มาปรับใช้ตามสภาพปัญหาเบื้องต้นที่พบใน กลุม่ วัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้างทัง้ ในระดับความ คิด อารมณ์  และพฤติกรรม โดยกระบวนการ ให้ ค� ำ ปรึ ก ษาประกอบด้ ว ย 5 ขั้ น ตอน คื อ ขัน้ การสร้างสัมพันธภาพ ขัน้ การส�ำรวจปัญหา ขั้นการท�ำความเข้าใจปัญหา ขั้นการวางแผน การแก้ปญ ั หา และขัน้ การยุตกิ ระบวนการ โดย ก�ำหนดการให้ค�ำปรึกษาจะด�ำเนินการสัปดาห์


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

ละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 90 นาที  เป็นระยะ เวลาต่อเนือ่ งกัน 5-8 ครัง้  ตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี  โดยจะยุตกิ ระบวนการ เมือ่ ผูว้ จิ ยั ประเมินโดยการสัมภาษณ์ และด้วยการสังเกต พฤติกรรม แล้วเห็นว่าผู้รับค�ำปรึกษารู้จักและ เข้าใจตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองมากขึ้น สามารถปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมที่ ต ้ อ งการ ซึง่ สะท้อนถึงการปรับตัวทางอารมณ์ทไี่ ม่เหมาะ สม จนประสบผลในระดั บ ที่ ดี ขึ้ น  ตั ว ผู ้ รั บ ค�ำปรึกษาเองรู้สึกพึงพอใจ และเกิดความภาค ภูมิใจตนเองที่พัฒนาตนเองได้จนประสบผล ส�ำเร็จ การวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย การศึกษานี ้ เมือ่ ผูว้ จิ ยั ได้ดำ� เนินการวิจยั ครบทั้ ง สองส่ ว น พร้ อ มทั้ ง เก็ บ ข้ อ มู ล เชิ ง คุณภาพด้วยการสัมภาษณ์  การสังเกต และ การจดบันทึกข้อมูลระหว่างการให้ค�ำปรึกษา แล้วจึงน�ำข้อมูลดังกล่าวมาจัดระเบียบข้อมูล ให้รหัสข้อมูล จัดกลุ่มข้อมูล เพื่อน�ำไปสู่การ วิเคราะห์และอภิปรายผลของข้อมูลการวิจัย เพื่ อ ตอบวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารวิ จั ย ที่ ก� ำ หนดไว้ 2 ส่วน ดังนี้ 1. ผลกระทบจากสภาวะครอบครัวหย่าร้าง ต่อการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่น จากการสัมภาษณ์วยั รุน่ หญิงจ�ำนวน 10 คน ที่ครอบครัวหย่าร้างตั้งแต่ในวัยเด็ก ได้แก่

แอม ฟีน อาย ใบหยก อุ้ม ไวน์  พลอย ตูน แบ๋มและรัตนา (เป็นนามสมมติ) ซึ่งเป็นกลุ่ม เป้าหมายของการวิจัยนี้  ผลการวิจัยพบว่าการ ปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่น เกิดจากสาเหตุ ส�ำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ 1.1 สภาวะการเลี้ยงดูซึ่งเกิดขึ้นภาย หลังครอบครัวหย่าร้าง จากงานวิจยั พบว่าเด็ก ทีต่ กอยูใ่ นสภาวะครอบครัวหย่าร้างประสบกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กัน ได้แก่  การขาด ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพ่อแม่  การไม่ได้รับ การอบรมฝึกฝนด้านความรับผิดชอบ และด้าน ทักษะการอยูร่ ว่ มกันกับผูอ้ นื่  ซึง่ ล้วนแล้วแต่สง่ ผลกระทบต่อบุคลิกภาพและอารมณ์ของวัยรุน่ ทัง้ สิน้  โดยแบ่งการเลีย้ งดูได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ (1) การเลี้ยงดูในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ซึ่งอาจจะเป็นพ่อหรือแม่เป็นผู้เลี้ยงลูกตาม ล�ำพังโดยไม่ได้มคี รอบครัวใหม่ ได้แก่ กรณีของ ไวน์ทอี่ ยูก่ บั พ่อและพลอยทีอ่ ยูก่ บั แม่ ซึง่ ให้การ เลีย้ งดูลกู ด้วยตัวคนเดียวตามล�ำพัง พ่อหรือแม่ จึงประสบปัญหาความเครียดด้านการงาน เพือ่ หารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย จนไม่มีเวลา ให้การอบรมดูแลและให้ความใกล้ชิดกับลูก ทั้งไวน์และพลอยจึงมีลักษณะของวัยรุ่นที่ขาด ทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ก้าวร้าว ขาด ความรั บ ผิ ด ชอบ สอดคล้ อ งกั บ งานศึ ก ษา ของศิริรัตน์  แอดสกุล (2556: 24-25) ที่ได้ ศึกษาสถานการณ์ครอบครัวไทยในเขตพื้นที่

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

67


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

กรุ ง เทพมหานคร พบว่ า นอกจากผู ้ เ ป็ น พ่ อ หรื อ แม่ เ ลี้ ย งเดี่ ย วจะมี ค วามตึ ง เครี ย ดและ เหนื่อยยากล�ำบากมากกว่าผู้เป็นพ่อหรือแม่ ในครอบครั ว ปกติ แ ล้ ว  พ่ อ แม่ ใ นครอบครั ว ดังกล่าวยังมักจะหมกมุ่น สนใจแต่ปัญหาและ ความรู้สึกของตนเอง โดยปล่อยปละละเลย ที่จะให้ความรักความอบอุ่น การอบรม และ การตอบสนองความต้องการของลูก ส่งผลให้ เด็กกลายเป็นคนที่ขาดความอบอุ่นทางด้าน จิ ต ใจ ตกอยู ่ ใ นสภาวะของความเหงาและ ว้าเหว่  ขาดทักษะด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งตรงกับแนวคิดทฤษฎีของวิลเลียม กลาสเซอร์ ทีอ่ ธิบายว่า “ความว้าเหว่ เป็นผลมาจาก การประสบความล้มเหลวในการมีสมั พันธภาพ กับผู้อื่น” (วัชรี  ทรัพย์มี. 2556: 208) (2) การเลี้ยงดูในครอบครัวใหม่  ซึ่งพ่อ หรือแม่แต่งงานใหม่และพาลูกมาเลี้ยงดูด้วย การทีเ่ ด็กต้องอยูใ่ นสภาพครอบครัวทีเ่ ปลีย่ นไป จากเดิม โดยมีคคู่ รองใหม่ของพ่อหรือแม่เข้ามา มีบทบาทกับชีวิตของลูกในฐานะพ่อเลี้ยงหรือ แม่เลี้ยง ท�ำให้เด็กต้องปรับตัวอย่างมาก เช่น กรณีของอุม้  การทีแ่ ม่มพี อ่ เลีย้ งใหม่โดยทีแ่ ม่ไม่ ได้ อ ธิ บ ายให้ อุ ้ ม เข้ า ใจก่ อ น ท� ำ ให้ อุ ้ ม รู ้ สึ ก ไม่พอใจเพราะกลัวว่าจะต้องสูญเสียแม่หลัง จากได้สูญเสียพ่อเพราะการหย่าร้างไปแล้ว พฤติกรรมที่อุ้มแสดงออก คือ การเรียกร้อง ความสนใจจากแม่และต่อต้านพ่อเลี้ยงอย่าง

68

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

รุนแรง นอกจากนีย้ งั พบว่าครอบครัวทีพ่ อ่ หรือ แม่มคี คู่ รองใหม่ มักมีความขัดแย้งกันอยูบ่ อ่ ยๆ เช่ น กรณี ข องตู น ที่ พ ่ อ มี อ ารมณ์ รุ น แรงและ ทะเลาะกับแม่เลี้ยงอยู่เป็นประจ�ำ  หรือกรณี ของแอมและอายที่พ่อเลี้ยงมีอารมณ์รุนแรง และแสดงความเกรีย้ วกราดกับคนในครอบครัว ท� ำ ให้ ค รอบครั ว ขาดสั น ติ สุ ข  เด็ ก ตกอยู ่ ใ น สภาวะของความเก็ บ กด ขลาดกลั ว  และ หวาดระแวง เพราะต้องรองรับอารมณ์ของ ผู้เป็นพ่อแม่  และ หากว่าเด็กถูกปล่อยปละ ละเลย ไม่ได้รบั การดูแลความเอาใจใส่ทางด้าน จิตใจอย่างเหมาะสมแล้วนั้น จะยิ่งท�ำให้เด็ก กลายเป็นคนที่ขาดความมั่นคงทางด้านจิตใจ มองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจ ไม่เป็นตัว ของตั ว เอง ขาดความคิ ด ริ เริ่ ม  และไม่ ก ล้ า ตัดสินใจ ซึ่งสอดคล้องกับที่จิราภรณ์  ตั้งกิตติ ภาภรณ์  (2559: 25) ได้อธิบายถึงลักษณะของ ครอบครัวทีข่ าดความสามัคคีวา่  ครอบครัวทีไ่ ม่ ลงรอยกันในชีวติ สมรส มีความขัดแย้งทะเลาะ วิ วาทกั นอยู ่ เ ป็ นประจ� ำ  ผู ้ ที่ รั บเคราะห์ จาก เหตุการณ์ในแต่ละวันนัน้ ก็คอื ลูก ซึง่ ต้องทนรับ ฟังการโต้เถียงและถ้อยค�ำประชดประชันที่พ่อ แม่พูดใส่กัน เก็บกดอารมณ์ต่างๆ ที่ไม่อาจ แสดงออกได้  จนกลายเป็นเด็กมีปัญหาและ ปรับตัวยาก เช่น มีอารมณ์ซึมเศร้า ไม่ไว้ใจ สังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

(3) การเลี้ยงดูจากญาติพี่น้อง หลังจาก การหย่าร้างพ่อแม่ได้น�ำเด็กไปฝากเลี้ยงไว้กับ ปูย่ า่  ตายาย ทีเ่ ป็นญาติผใู้ หญ่ ซึง่ มักจะเลีย้ งดู แบบตามใจด้วยความสงสารว่าเด็กต้องอยู่ห่าง ไกลจากพ่อแม่  เช่น กรณีของแบ๋มที่อยู่กับตา ยาย และใบหยกที่อยู่กับทวด ทั้งแบ๋มและใบ หยกมีลักษณะนิสัยเอาแต่ใจ ใจร้อน ดื้อรั้น ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับที่ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์  (2560: 38) ได้ อธิบายถึงแบบแผนการเลี้ยงดูไว้ว่า “หากพ่อ แม่เลีย้ งลูกแบบปกป้องเกินควรและตามใจเกิน ควร จะได้ลูกที่มีบุคลิกเอาแต่ใจ (Pampered Child)” แต่กระนั้นก็ดี  เด็กแต่ละคนก็ยังมี พฤติกรรมการปรับตัวทางอารมณ์ทแี่ ตกต่างกัน ออกไป ขึ้ น กั บ สภาพเฉพาะของแต่ ล ะคน เช่นในกรณีของใบหยก ที่ถูกตาเขยชี้หน้าดุด่า อยู่บ่อยๆ ซึ่งใบหยกก็จะมีปฏิกิริยานั่งก้มหน้า น�้ ำ ตาไหล แล้ ว ลุ ก เดิ น หนี เข้ า ห้ อ งนอนไป สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีของคนที่เก็บกดความ รูส้ กึ  ขลาดกลัว พูดน้อย และเงียบเฉย ซึง่ ต่าง จากกรณีของรัตนาทีอ่ ยูก่ บั ป้าซึง่ เข้มงวดกวดขัน คอยบั ง คั บ และบงการ ให้ รั ต นาปฏิ บั ติ ต าม กรอบระเบียบวินัยที่ป้าวางไว้อยู่ตลอดเวลา แม้รตั นาจะมีพฤติกรรมเก็บกดความรูส้ กึ คล้าย กับใบหยก แต่มกี ารแสดงออกทางพฤติกรรมที่ แตกต่างกัน ซึง่ พบได้ภายหลังจากทีร่ ตั นากลับ มาอยู่กับแม่  ซึ่งค่อนข้างให้อิสระและปล่อย

ปละละเลย รัตนาจะด�ำเนินชีวิตตามใจตนเอง จนขาดการควบคุม และเมือ่ ถูกส่งมาอยูห่ อพัก ก็จะมีพฤติกรรมต่อต้านกฎระเบียบวินัย และ ประพฤติตนเพือ่ เรียกร้องความสนใจจากคนอืน่ อยู่ตลอดเวลา 1.2 การรับรู้สถานการณ์ความรุนแรง ในครอบครั ว  ซึ่ ง ผู ้ วิ จั ย พบว่ า มี   2 ประเด็ น ส�ำคัญ ที่มีผลต่อสภาวะทางด้านจิตใจ บุคลิกภาพและลักษณะนิสัย ได้แก่  (1) สถานการณ์ ทีเ่ กิดจากความผิดพลาดในชีวติ ของพ่อหรือแม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่ออารมณ์ความรู้สึกของลูกอย่าง มาก เช่น กรณีของแบ๋มที่รับรู้ว่าแม่เคยคิดจะ ท�ำแท้งในระหว่างที่ท้องเธอ ท�ำให้เธอมองว่า ตัวเองเป็นคนไร้คา่  ไม่เป็นทีต่ อ้ งการของคนอืน่ น�ำไปสู่ความกลัวที่จะถูกปฏิเสธจากผู้อื่น หรือ กรณีของตูนที่รู้ว่าพ่อติดยาเสพติด ท�ำให้พ่อมี อารมณ์และพฤติกรรมรุนแรงอยู่บ่อยๆ ท�ำให้ ตู น รู ้ สึ ก ถึ ง ความไม่ ป ลอดภั ย  กลายเป็ น คน ขี้กลัวและหวาดระแวง ซึ่งเป็นมุมมองด้านลบ ที่สะท้อนความคิดในด้านที่ลงโทษหรือท�ำลาย ตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของอัลเบิร์ต เอลลิส (ลักขณา สริวัฒน์. 2560: 189) ที่เชื่อ ว่ามนุษย์เป็นทั้งผู้ที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล มีทั้งความคิดที่ดีงามต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะ ช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเอง และมีความคิดที่ ลงโทษหรือท�ำลายตนเอง เนือ่ งจากไม่สามารถ ยอมรั บตนเองในด้ า นลบซึ่ ง ขั ดขวางต่ อ การ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

69


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

พัฒนาตนเอง และ (2) พฤติกรรมการใช้ความ รุนแรงของพ่อแม่  จากสถานการณ์ที่พ่อแม่ ท�ำร้ายร่างกาย รวมถึงการใช้อ�ำนาจความเป็น พ่อหรือแม่บังคับบงการอย่างเข้มงวดให้ต้อง ปฏิบัติตามแนวทางของตนเองอยู่ตลอดเวลา เช่น กรณีของไวน์ที่พ่อมักใช้วิธีการลงโทษที่ รุนแรง ใช้คำ� พูดในเชิงต�ำหนิดา่ ว่า หรือด้วยการ เมินเฉย ไม่พูดด้วยเมื่อรู้สึกไม่พอใจ สิ่งที่พ่อ กระท�ำต่อไวน์  จึงกลายเป็นต้นแบบให้ไวน์ กระท�ำเช่นเดียวกัน กรณีนไี้ ด้สะท้อนให้เห็นถึง การซึมซับความรุนแรงทางอารมณ์ของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับที่เพียเจต์  (Piajet) อธิบายว่า มนุ ษ ย์ ด� ำ รงชี วิ ต โดยการปรั บ ตั ว ให้ เข้ า กั บ สิ่งแวดล้อม คือ การซึมซับประสบการณ์ตาม ความสามารถในการรับรู้ของตนเอง (พรรณทิพย์  ศิริวรรณบุศย์. 2556: 40) 1.3 การเผชิญกับปัญหาของวัยรุ่นที่ ครอบครัวหย่าร้าง ซึ่งตามแนวคิดของอีริค อีรคิ สัน (Eric Erikson) ได้อธิบายไว้วา่  จิตใจมี พัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจะ สัมพันธ์กบั สังคมวัฒนธรรมและการปฏิสมั พันธ์ กับบุคคลอื่น เมื่อเด็กก้าวเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัย แห่งการพัฒนาอัตลักษณ์  พัฒนาความเข้าใจใน ปัญหาต่างๆ สามารถตัดสินใจและวางแผนชีวติ ของตนเองในอนาคตได้นั้น เป็นผลมาจากการ ที่เด็กได้รับการพัฒนาตนเองตั้งแต่ในขั้นแรก นั่นคือ ความไว้วางใจ ซึ่งเป็นรากฐานส�ำคัญที่

70

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�ำไปสู่การพัฒนาที่ส�ำเร็จหรือล้มเหลวในขั้น ต่อๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นความเป็นตัวของตัวเอง การรู ้ จั ก พึ่ ง พาตนเองได้   ความคิ ด ริ เ ริ่ ม สร้างสรรค์ในทางที่เหมาะสม มีความวิริยะ อุ ต สาหะ รู ้ ว ่ า ตนเองมี ค วามสามารถและมี ความเคารพนับถือตนเอง (มาโนช หล่อตระกูล ธนิตา หิรญ ั เทพ; และ นิดา ลิม้ สุวรรณ. 2555: 9-10) จึงกล่าวได้วา่  ประสบการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ ด็ก ได้รับเมื่อต้องเผชิญกับสภาพการหย่าร้างของ ครอบครัว ทั้งด้วยการเลี้ยงดูในรูปแบบต่างๆ การซึมซับพฤติกรรมของพ่อแม่ผู้เป็นต้นแบบ ในด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ปัญหาที่เกิด จากความผิดพลาดของพ่อหรือแม่  และการ พบเห็นความรุนแรงในครอบครัว ล้วนน�ำไปสู่ สภาวะทางอารมณ์ที่เป็นปัญหา และส่งผลให้ เด็กล้มเหลวในการพัฒนาความไว้วางใจตั้งแต่ ในวัยเยาว์ ซึง่ เห็นได้จากการทีเ่ ด็กมักเกิดความ กลัว ความสงสัย และไม่ไว้วางใจคนอื่น รู้สึก ต�่ำต้อย ไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจ จากงานวิจัยนี้สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่  (1) ปัญหาระดับความคิด จาก การศึกษา พบว่า เด็กในครอบครัวหย่าร้างมี ความคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก คนรอบข้างไม่เข้าใจ และมองตัวเองเป็นเด็กมีปญ ั หา ซึง่ เป็นมุมมอง ด้านลบที่สะท้อนความคิดในลักษณะที่ลงโทษ หรือท�ำลายตนเอง (2) ปัญหาระดับความรู้สึก ซึ่งพบว่าแต่ละกรณีมีความรู้สึกคล้ายคลึงกัน


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

คือ การรู้สึกเสียใจเพราะครอบครัวแตกสลาย ผิดหวังในการกระท�ำของพ่อแม่ น้อยใจทีถ่ กู พ่อ แม่ปฏิเสธ รู้สึกอึดอัดที่ถูกบังคับ บงการ และ เบื่ อ หน่ า ยที่ ต ้ อ งอยู ่ ใ นสถานการณ์ ที่ ก ดดั น นอกจากนั้นยังพบว่าเด็กที่ครอบครัวหย่าร้าง มั ก จะคาดหวั ง ให้ พ ่ อ แม่ ก ลั บ มาอยู ่ ด ้ ว ยกั น หรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกกีดกันจากพ่อหรือแม่ที่ แยกทางไป พร้อมๆ กับความคาดหวังให้ตวั เอง เป็ น คนส� ำ คั ญ  ไม่ อ ยากถู ก ทอดทิ้ ง  แต่ เ มื่ อ ผิ ด หวั ง  จึ ง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด  (3) ปั ญ หาระดั บ พฤติ ก รรม โดยปรากฏเป็ น พฤติ ก รรมใน 3 ลักษณะ ซึง่ เด็กมักจะแสดงออกเมือ่ เผชิญกับ สถานการณ์ที่ตึงเครียด ได้แก่  1) การต่อต้าน และตอบโต้กลับ ด้วยความก้าวร้าว รุนแรง เรียกร้องความสนใจ 2) การเก็บความรูส้ กึ และ ถอยห่ า ง 3) การเพิ ก เฉยและเกี ย จคร้ า น ไม่ใส่ใจ บางรายเลือกหันไปหาเพื่อนในโลก ออนไลน์หรือการเล่นเกม เพื่อใช้เป็นที่ระบาย อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ซึ่งพฤติกรรม ดังกล่าวเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อจิตใจของ วัยรุ่นเองและปฏิสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับผู้อื่นใน การด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ดังนั้น กลไกการปรับตัวทางอารมณ์ ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง ซึง่ ผูว้ จิ ยั พบรูป แบบการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่นใน 3 รูปแบบ ได้แก่  (1) กลไกการปรับตัวแบบโทษ ผู้อื่น (Blaming) แสดงออกโดยการร้องไห้ โวยวาย พูดประชด ตวาดขึ้นเสียงเมื่อไม่พอใจ

การพู ด ด่ า หยาบคาย เกรี้ ย วกราด ดุ ดั น แข็ ง กร้ า ว การแสดงออกทางสี ห น้ า บึ้ ง ตึ ง การพูดตัดพ้อ (2) กลไกการปรับตัวแบบยอม ตาม (Placating) แสดงออกโดยการยอมท�ำ ทุกอย่างโดยหวังให้บคุ คลอืน่ ยอมรับและพอใจ การหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาหรือ กั บ บุ ค คลที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก อึ ด อั ด และ ไม่สบายใจ การเก็บกดความรู้สึก การหลบมุม ไปอยู่เงียบๆ คนเดียว การคิดมาก การร้องไห้ คนเดียว การคิดลบในใจ และการโทษตัวเอง และ (3) กลไกการปรับตัวแบบเฉไฉ (Irrelevant) แสดงออกโดยการไม่สนใจและไม่ใส่ใจ คนอื่น การเลือกวิถีชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ หลีกเลี่ยงการปะทะ การหาเหตุผลเพื่อปลอบ ใจและเข้ า ข้ า งตั ว เอง การปล่ อ ยชี วิ ต ไปใน ลั ก ษณะคล้ า ยคนเรื่ อ ยเฉื่ อ ย ไม่ ใ ส่ ใจอะไร สนุกสนานกลบเกลือ่ นปัญหาทีแ่ ท้จริง และการ ติ ด เกม ซึ่ ง การปรั บ ตั ว ทางอารมณ์ ใ นสาม ลักษณะนี ้ สอดคล้องกับแนวคิดของเวอร์จเิ นีย ซาเทียร์  ที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการปรับตัวว่า เป็นกระบวนหรือวิธีการซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ ในอดีต ทีค่ นเราใช้เพือ่ รับมือกับปัญหาเมือ่ ต้อง พบกับความเครียดหรือสิ่งรบกวนจิตใจ ทั้งนี้ ก็เพื่อรักษาตัวเองให้รอดจากสถานการณ์ของ ปัญหา หรือ เพือ่ ช่วยให้ตนเองรูส้ กึ สบายใจขึน้ (นงพงา ลิ้ ม สุ ว รรณ และ นิ ด า ลิ้ ม สุ ว รรณ. 2556:27)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

71


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

2. กระบวนการให้ค�ำปรึกษารายบุคคลเพื่อ การเสริมสร้างการปรับตัวทางอารมณ์ ผู ้ วิ จั ย ได้ พั ฒ นากระบวนการให้ ค� ำ ปรึกษารายบุคคล ตามสภาพปัญหาของวัยรุ่น แต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อ ช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา เกิดการยอมรับ และสามารถแก้ไขพฤติกรรม และการปรั บ ตั ว ทางอารมณ์ ต ่ า งๆ ได้ ด ้ ว ย ตนเอง วิธกี ารด�ำเนินการให้คำ� ปรึกษา ผูว้ จิ ยั ใช้ ทักษะเบื้องต้นของการให้ค�ำปรึกษา ได้แก่ เทคนิ ค การน� ำ  เทคนิ ค การฟั ง  เทคนิ ค การ สะท้อนความรู้สึก เทคนิคการสังเกต เทคนิค การให้ ก� ำ ลั ง ใจ เทคนิคการทวนความ และ เทคนิคการสรุปประเด็น (พัชราภรณ์  ศรีสวัสดิ.์ 2556: 7-17) ประกอบกับทักษะของทฤษฎี การให้ ค� ำ ปรึ ก ษา 3 ทฤษฎี   โดยปรั บ ใช้ ใ ห้ เหมาะสมกับแต่ละกรณีศกึ ษา ซึง่ จะช่วยให้การ ให้ค�ำปรึกษาบรรลุเป้าหมาย เกิดความเข้าใจ อันดีต่อกันในระหว่างผู้ให้ค�ำปรึกษาและผู้รับ ค�ำปรึกษา โดยมีผู้เข้ารับการให้ค�ำปรึกษาโดย สมั ค รใจและได้ รั บ อนุ ญ าตจากผู ้ ป กครอง จ�ำนวน 5 คน ได้แก่  แอม ฟีน ใบหยก อุ้ม และ อาย (นามสมมติ) ซึ่งจากการเก็บข้อมูล ในส่วนที่  1 สรุปได้ว่า กรณีศกึ ษาที ่ 1 แอม เป็นเด็กทีไ่ ม่ได้รบั ความเอาใจใส่ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด จากพ่ อ และแม่ จึงขาดที่พึ่งและแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต

72

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ผลกระทบจากสภาวะครอบครัว ท�ำให้แอมมี มุมมองต่อตัวเองว่าเป็นเด็กมีปัญหา ขี้ขลาด ไม่ ก ล้ า หาญ ไม่ มี ค วามสามารถ แอมจึ ง มี พฤติ ก รรมคล้ า ยคนเฉื่ อ ยชา  ไม่ มี ค วาม กระตื อ รื อ ร้ น  ขาดความคิ ด ริ เริ่ ม และความ รั บ ผิ ด ชอบ ปล่ อ ยตั ว เองจนกลายเป็ น คน เกียจคร้าน บ่งบอกถึงรูปแบบการปรับตัวทาง อารมณ์ในแบบของการเฉไฉ ดังนั้น ในกรณี ของแอม ผูว้ จิ ยั จึงใช้กระบวนการให้คำ� ปรึกษา โดยมุ ่ ง เน้ น ให้ แ อมระบายความรู ้ สึ ก  ปรั บ เปลี่ยนมุมมองความคิด และพฤติกรรมการ ใช้ชีวิตที่เป็นอุปสรรคในปัจจุบัน เพื่อให้แอม เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง ผูว้ จิ ยั ใช้เวลาในการให้คำ� ปรึกษา สัปดาห์ละ 1 ครัง้  ครัง้ ละไม่เกิน 90 นาที  ซึง่ กระท�ำต่อเนือ่ ง 5 ขั้นตอน เป็นเวลา 5 ครั้ง กรณีศกึ ษาที ่ 2 ฟีน ได้รบั การเลีย้ งดูทงั้ ในรูปแบบของการตามใจของยาย ซึ่งท�ำให้ ฟีนมีลกั ษณะนิสยั เอาแต่ใจตนเอง และก็มกั จะ รู้สึกน้อยใจอยู่บ่อยๆ เมื่อถูกลดความส�ำคัญ รวมถึงรูปแบบของการบังคับเมื่อมาอยู่กับย่า ทีท่ ำ� ให้ฟนี รูส้ กึ อึดอัด เพราะขาดอิสระ ไม่เป็น ตัวของตัวเอง ฟีนจึงรู้สึกสับสนและล�ำบากใจ อยู่เสมอเมื่อต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พฤติกรรม ที่แสดงออกคือการโลเล ไม่กล้าตัดสินใจ เมื่อ ประสบปัญหาทางอารมณ์ฟนี มักจะปรับตัวทาง อารมณ์ ใ นแบบของการยอมตาม เมื่ อ รู ้ สึ ก


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

อึดอัด คับข้องใจ ฟีนจะแสดงออกให้เห็นได้ ชัดด้วยการเงียบ เก็บความรู้สึกและถอยห่าง ออกจากคนอื่น มักคิดมากอยู่คนเดียว ไม่พูด ความต้องการในใจที่แท้จริงออกไป แต่เมื่อพูด ก็ จ ะพู ด ในเชิ ง ตั ด พ้ อ  ด้ ว ยถ้ อ ยค� ำ ประชด ประชัน ฟีนจึงประสบปัญหาด้านความสัมพันธ์ อยู ่ เ สมอ  ในกรณี ข องฟี น   ผู ้ วิ จั ย จึ ง ใช้ กระบวนการให้ค�ำปรึกษาโดยมุ่งเน้นให้ฟีน ระบายความรู้สึก ปรับเปลี่ยนความคิด และ พฤติกรรมการสื่อสาร ซึ่งเป็นอุปสรรคในการ อยู่ร่วมกับคนอื่น ผู้วิจัยจึงด�ำเนินการให้ค�ำ ปรึกษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 90 นาที   กรณี นี้ ผู ้ วิ จั ย กระท� ำ การแก้ ไขปั ญ หา 2 เรือ่ ง ซึง่ กระท�ำต่อเนือ่ ง 5 ขัน้ ตอน เป็นเวลา 7 ครัง้  โดยบางขัน้ ตอนใช้เวลามากกว่า 1 ครัง้ คือ การส�ำรวจปัญหา 3 ครั้งซึ่งกระท�ำพร้อม กับการสัมพันธภาพในครั้งแรก 1 ครั้ง และ กระท�ำพร้อมกับการท�ำความเข้าใจปัญหา 2 ครั้ง ส่วนในขั้นวางแผนการแก้ปัญหา กระท�ำ ถึง 3 ครั้ง จึงยุติกระบวนการ กรณีศึกษาที่  3 อาย ถูกเลี้ยงดูอยู่ใน ครอบครัวทีท่ ะเลาะวิวาทกันเป็นประจ�ำ ท�ำให้ อายกลายเป็นผู้รองรับการดุด่าว่ากล่าว และ อารมณ์ที่รุนแรงของคนในครอบครัว อายจึง กลายเป็ น คนที่ ข าดความมั่ น ใจและไม่ เ ห็ น คุณค่าในตนเอง มีความคิดว่าตนเองไม่เป็นที่ ต้องการของคนอืน่  รูส้ กึ กลัวถูกปฏิเสธ จึงปรับ

ตัวกับอารมณ์ในลักษณะยอมตาม เก็บกดความ รู้สึกของตนเอง แสดงออกด้วยการเงียบและ มั ก จะถอยห่ า งออกจากคนอื่ น  ผู ้ วิ จั ย จึ ง ใช้ กระบวนการให้ค�ำปรึกษาเพื่อให้อายระบาย ความรู้สึกที่ยังคงค้างคาอยู่ภายในจิตใจ ปรับ เปลี่ยนความคิดในแง่ลบ ที่มีผลโยงถึงความ รู้สึกน้อยใจในชีวิต อันเนื่องมาจากการคิดว่า ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจ ควบคู่กับการปรับ พฤติกรรมทีเ่ น้นความกล้าแสดงออกเพือ่ พัฒนา ความมัน่ ใจและการเห็นคุณค่าในตนเอง ผูว้ จิ ยั ก� ำ หนดระยะเวลาในการด� ำ เนิ น การให้ ค� ำ ปรึกษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 90 นาที ซึง่ กระท�ำต่อเนือ่ ง 5 ขัน้ ตอน เป็นเวลาถึง 8 ครัง้  โดยบางขัน้ ตอนใช้เวลามากกว่า 1 ครัง้ คือ การสร้างสัมพันธภาพ 2 ครั้ง และการ วางแผนการแก้ปญ ั หา กระท�ำถึง 3 ครัง้  จึงยุติ กระบวนการ กรณี ศึ ก ษาที่   4 ใบหยก จากสภาพ ครอบครัวที่ขาดความสมบูรณ์  ตั้งแต่ยังเด็ก ใบหยกจึงต้องย้ายมาอยูก่ บั ทวด ซึง่ ให้การเลีย้ ง ดูอย่างใกล้ชดิ  เมือ่ ทวดจากไป ท�ำให้รสู้ กึ เสียใจ อย่างมาก ใบหยกด�ำเนินชีวติ ในแต่ละวันคล้าย กับคนขาดทีพ่ งึ่ ทัง้ ทางใจและกาย ยิง่ ถูกดุดา่ ว่า กล่าวจากตาเขย ซึง่ เป็นคนทีอ่ ารมณ์รอ้ น ชอบ ดืม่ เหล้าและมักจะอาละวาดดุวา่ ใบหยกอยูเ่ ป็น ประจ�ำ  ใบหยกจึงกลายเป็นคนที่ขาดความ มัน่ ใจและไม่เห็นคุณค่าในตนเอง เมือ่ พิจารณา

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

73


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

การปรั บ ตั ว ทางอารมณ์   พบว่ า ใบหยกมี พฤติกรรมการปรับตัวในลักษณะของคนเฉไฉ ท�ำอะไรตามอารมณ์  ขาดความกระตือรือร้น ด� ำ เนิ น ชี วิ ต เรื่ อ ยเฉื่ อ ยไปวั น ๆ ผู ้ วิ จั ย จึ ง ใช้ กระบวนการให้คำ� ปรึกษาเพือ่ ให้ใบหยกระบาย ความรู ้ สึ ก เศร้ า ในใจ ควบคู ่ กั บ การปรั บ พฤติกรรมเน้นฝึกการกล้าแสดงออก ซึ่งจะส่ง ผลใบหยกหั นกลับมาเห็นคุณ ค่าของตนเอง และเกิ ด ความมั่ น ใจในตนเองมากขึ้ น  โดย ก�ำหนดระยะเวลาการด�ำเนินการให้ค�ำปรึกษา สั ป ดาห์ ล ะ 1 ครั้ ง  ครั้ ง ละไม่ เ กิ น  90 นาที ซึง่ กระท�ำต่อเนือ่ ง 5 ขัน้ ตอน เป็นเวลา 7 ครัง้ โดยบางขั้นตอนใช้เวลามากกว่า 1 ครั้ง คือ ขัน้ การส�ำรวจปัญหาและขัน้ การท�ำความปัญหา ผู ้ วิ จั ย กระท� ำ พร้ อ มกั น  2 ครั้ ง  กั บ ประเด็ น ปัญหา 2 เรื่อง และขั้นวางแผนการแก้ปัญหา กระท�ำถึง 3 ครั้ง จึงยุติกระบวนการ กรณีศึกษาที่  5 อุ้ม อุ้มมีลักษณะนิสัย ค่อนข้างเอาแต่ใจตนเอง ไม่ชอบการบังคับ อุม้ คิดว่าตนเองเป็นคนเข้มแข็ง เก่ง ไม่กลัวใคร เมือ่ อยูร่ ว่ มกันกับเพือ่ น อุม้ อยากเป็นคนส�ำคัญ จึงมักจะท�ำตัวเองให้โดดเด่น ตลก สนุกสนาน แต่หากรูส้ กึ โมโห ไม่พอใจ เพราะโดนดูถกู จาก คนอื่น อุ้มจะทนไม่ได้  และมักจะตอบโต้กลับ ด้วยพฤติกรรมในด้านลบ สะท้อนรูปแบบการ ปรับตัวทางอารมณ์แบบโทษผู้อื่น ผู้วิจัยจึงใช้ กระบวนการให้ค�ำปรึกษาที่เน้นให้อุ้มระบาย

74

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ความรู้สึกเป็นหลัก พร้อมทั้งน�ำเสนอแนวทาง ในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ผูว้ จิ ยั ก�ำหนด ระยะเวลาในการด� ำ เนิ น การให้ ค� ำ ปรึ ก ษา สั ป ดาห์ ล ะ 1 ครั้ ง  ครั้ ง ละไม่ เ กิ น  90 นาที ซึง่ กระท�ำต่อเนือ่ ง 5 ขัน้ ตอน เป็นเวลา 7 ครัง้ โดยบางขั้นตอนใช้เวลามากกว่า 1 ครั้ง คือ ขัน้ การส�ำรวจปัญหาและขัน้ การท�ำความปัญหา ผู้วิจัยกระท�ำขั้นละ 2 ครั้ง ด้วยปัญหาใน 2 ประเด็น กระบวนการให้ค�ำปรึกษารายบุคคลที่ ผู ้ วิ จั ย ด� ำ เนิ น การ ประกอบด้ ว ย 5 ขั้ น ตอน และสามารถสรุปแนวทางการให้ค�ำปรึกษาใน แต่ละขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้ ขั้ น ตอนที่   1 การสร้ า งสั ม พั น ธภาพ เป็นการพบกันครั้งแรกระหว่างผู้ให้ค�ำปรึกษา และผู้รับค�ำปรึกษา ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นประตู บานแรกที่ส�ำคัญของกระบวนการ มีเป้าหมาย เพือ่ ให้วยั รุน่ ได้พฒ ั นาความไว้วางใจ เกิดความ รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย สิ่งที่ผู้ให้ค�ำปรึกษาค�ำนึง ถึงเป็นอันดับแรก คือ การสร้างบรรยากาศใน การให้ค�ำปรึกษา ที่เอื้อให้เกิดการผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกที่ดีและลด อาการเกร็งที่อาจเกิดขึ้นได้  จากนั้นจึงเริ่มการ พูดคุย โดยเอ่ยทักทายด้วยน�ำ้ เสียงและท่าทาง ที่แสดงถึงความเป็นกันเอง ชวนพูดคุยในเรื่อง ทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นเทคนิคการน�ำที่ช่วยให้วัยรุ่น เกิดความรู้สึกที่ดี  สบายใจ คลายความกังวล


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

หรือความเครียดในเบือ้ งต้น (ลักขณา สริวฒ ั น์. 2560: 110) พร้อมทั้งชี้แจงให้ทราบถึงการ รักษาความลับซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญของกระบวนการให้ค�ำปรึกษาเพื่อให้เกิดความมั่นใจและ กล้าเปิดเผยตนเอง สะท้อนได้จากกรณีของ แอม ฟี น  ใบหยก และอุ ้ ม  ที่ พู ด หรื อ เขี ย น ระบายอารมณ์ ค วามรู ้ สึ ก ของตนเองตั้ ง แต่ ขั้ น ตอนแรกของการพบกั น  ในกรณี ที่ ผู ้ รั บ ค�ำปรึกษามีทา่ ทีของการเปิดใจและรูส้ กึ คุน้ เคย ได้เร็ว ผูว้ จิ ยั จึงใช้เวลาในการสร้างสัมพันธภาพ ไม่ ม ากนั ก  นอกนั้ น  ในรายกรณี ข องผู ้ รั บ ค�ำปรึกษาที่เป็นคนพูดน้อย มีอาการเกร็งมาก ผู้วิจัยจึงใช้การพบปะนอกเวลาให้ค�ำปรึกษา เพื่อสร้างความสัมพันธ์เพิ่มเติม เพื่อให้วัยรุ่น รับรู้ถึงความเป็นกันเอง ท�ำให้กล้าคุยและกล้า เปิดเผยตนเองมากขึ้น ขัน้ ตอนที ่ 2 การส�ำรวจปัญหา เป็นขัน้ ตอนที่ช่วยให้วัยรุ่นได้พิจารณาตนเองไปพร้อม กับผูว้ จิ ยั  โดยใช้เทคนิคการส�ำรวจภูเขาน�ำ้ แข็ง ของจิตใจของเวอร์จิเนียร์  ซาเทียร์  เป็นฐาน วิเคราะห์สภาพจิตใจของวัยรุน่  เพือ่ ให้ได้ขอ้ มูล ที่ครอบคลุมสภาพภายในจิตใจที่มีอิทธิพลต่อ การปรับตัวและพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ผู้วิจัย ใช้เทคนิคการเผชิญหน้า โดยใช้การวาดภาพ สัญลักษณ์แทนบุคคลที่วัยรุ่นอยากให้เข้าใจ ตนเองมากที่สุดเพื่อส�ำรวจความคาดหวังในใจ ต่อคนที่มีอิทธิพลให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกด้าน

ลบในใจมีอทิ ธิพลต่อการปรับตัวและพฤติกรรม ที่เป็นปัญหาเป็นกิจกรรมเริ่มต้นการสนทนา จากการสังเกตพบว่าการใช้การวาดภาพเพื่อ เป็นสื่อกลางในการพูดคุยซึ่งได้ผลดีกว่าการ ใช้ ภ าพภู เขาน�้ ำ แข็ ง  ซึ่ ง อาจท� ำ ให้ วั ย รุ ่ น เกิ ด ความเครียด หรือเบื่อหน่ายได้  โดยระยะเวลา ของการส�ำรวจปัญหาในแต่ละกรณีของขัน้ ตอน นี้จะแตกต่างกัน เช่น กรณีของแอมและอาย ซึง่ เป็นคนทีม่ คี วามมุง่ มัน่ ตัง้ ใจทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง ตนเอง มีความชัดเจนกับปัญหาของตนเองที่ ต้องการแก้ไข และมีเพียงปัญหาเดียว จึงใช้ การส�ำรวจเพียง 1 ครั้ง ในขณะที่ฟีน ใบหยก และอุ้ม ผู้วิจัยใช้การส�ำรวจปัญหา 2- 3 ครั้ง เนือ่ งจากพบว่ามีปญ ั หาหลายประเด็นทีเ่ กิดขึน้ และต้องการปรับเปลี่ยนแก้ไข ขัน้ ตอนที ่ 3 การท�ำความเข้าใจปัญหา เป็นขั้นตอนซึ่งอาจจะท�ำพร้อมกับการส�ำรวจ ปัญหาในครั้งเดียวกันได้  หรืออาจแยกท�ำต่าง หากได้แล้วแต่กรณี  จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัย ใช้ เ ทคนิ ค วิ ธี ต ่ า งๆ ที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไปใน แต่ละบุคคล อาทิ  กรณีของฟีน ผู้วิจัยเลือกใช้ เทคนิคการเผชิญความจริง เพือ่ ให้ฟนี พิจารณา และท�ำความเข้าใจปัญหาของตนเองอีกครั้ง โดยให้ฟนี ส่องกระจกทดลองท�ำหน้าบึง้ หน้ายิม้ พร้อมกันกับผู้วิจัย ผู้วิจัยให้ฟีนบอกความรู้สึก เมือ่ เห็นผูว้ จิ ยั ท�ำหน้าบึง้ และหน้ายิม้ ก่อน หลัง จากนั้น ผู้วิจัยจึงใช้เทคนิคการให้ข้อมูลย้อน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

75


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

กลับ (Feed back) โดยบอกความรู้สึกเมื่อ เห็นฟีนหน้าบึ้งและหน้ายิ้ม ซึ่งท�ำให้ฟีนเริ่ม เข้าใจในตนเองเกี่ยวกับสภาวะการแสดงออก ทางสีหน้าของตนเองมากขึ้น กรณีของแอม ผูว้ จิ ยั วาดภาพ “ตัวขีเ้ กียจขีค่ อ” ประกอบการ พูดคุยกับแอม พร้อมทั้งใช้เทคนิคการแสดง บทบาทสมมติ เ ป็ น ตั ว ขี้ เ กี ย จก� ำ ลั ง ขี่ ค ออยู ่ เพื่อให้เห็นชัดถึงอิทธิพลของความเกียจคร้าน ที่ส่งผลต่อการด�ำเนินชีวิตของแอมอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับเทคนิควิธีการเผชิญหน้าของ กลาสเซอร์   (ลั ก ขณา สริ วั ฒ น์ . 2560:205) ที่ ใ ห้ ผู ้ รั บ ค� ำ ปรึ ก ษาเผชิ ญ กั บ ความจริ ง ของ พฤติ ก รรมที่ ข าดความรั บ ผิ ด ชอบ ในกรณี ของอาย ผู้วิจัยใช้การแสดงบทบาทสมมติโดย ผู ้ วิ จั ย แสดงเป็ น อาย และให้ อ ายแสดงเป็ น เพื่ อ น ซึ่ ง ผู ้ วิ จั ย ประยุ ก ต์ ม าจากเทคนิ ค การ แสดงบทบาทสมมติ ข องอั ล เบิ ร ์ ต  เอลลิ ส ทีเ่ ป็นการทดลองให้ผรู้ บั ค�ำปรึกษาสวมบทบาท ผู้อื่น เพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึก และอารมณ์ใน บทบาทของผู ้ อื่ น และเปลี่ ย นความคิ ด ของ ตนเองได้ (ลักขณา สริวฒ ั น์. 2560: 194) อาย จึงเห็นภาพของตัวเองเป็นภาพของผู้ที่ยอมให้ เพือ่ นมีอทิ ธิพลต่อชีวติ มากเกินไป และในกรณี ของอุ้มที่มีลักษณะนิสัยอารมณ์ร้อน เกรี้ยว กราด ผูว้ จิ ยั ใช้เทคนิคการเผชิญหน้า เพือ่ ให้อมุ้ ท�ำความเข้าใจกับอารมณ์ความรูส้ ึกของตนเอง โดยให้ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับนิสัยอันตราย และ

76

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ฝึกทดลองอดกลัน้ เมือ่ ได้รบั สิง่ ยัว่ ยุทางอารมณ์ โดยการนั่ ง มองมาม่ า  (บะหมี่ กึ่ ง ส� ำ เร็ จ รู ป ) ทีผ่ วู้ จิ ยั ต้มวางไว้และห้ามรับประทาน พร้อมทัง้ ใช้เทคนิคการชี้แนะโดยอธิบายให้อุ้มเข้าใจ อิทธิพลของอารมณ์ที่ขาดการยับยั้งชั่งใจของ ตนเองท่าทีของตนเอง ซึ่งอุ้มก็เข้าใจท่าทีของ ตนเอง และเกิดการยอมรับตนเองมากขึน้  จาก เทคนิคต่างๆ เหล่านี้  ท�ำให้วัยรุ่นเข้าใจปัญหา และยอมรับตนเองตามความเป็นจริงมากขึ้น ขั้ น ตอนที่   4 การวางแผนการแก้ ปั ญ หา ผู ้ วิ จั ย ใช้ เ ทคนิ ค การแก้ ป ั ญ หาตาม ประเด็นปัญหาของเด็กแต่ละคน หลังจากที่ เด็กได้ระบายอารมณ์ความรูส้ กึ  รวมถึงปรับมุม มองความคิดจากสามขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว ขั้ นนี้ ผู ้ วิจัย จึ ง เน้ นการแก้ ปั ญ หาในด้ า นของ พฤติกรรม ซึง่ สิง่ ทีส่ ามารถมองเห็นได้งา่ ยทีส่ ดุ และยังสามารถโยงไปถึงผลที่เป็นปัญหาด้าน ความสัมพันธ์กบั คนอืน่  โดยเฉพาะกับเพือ่ นซึง่ วัยรุ่นให้ความส�ำคัญมากที่สุด ในการศึกษานี้ ผูว้ จิ ยั ใช้เทคนิควิธที แี่ ตกต่างกัน ใน 3 กรณีแรก ได้แก่  แอม อาย และฟีน ผู้วิจัยใช้กระบวน WDEP ของทฤษฎีการให้คำ� ปรึกษาแบบเผชิญ ความจริง โดยกรณีของแอมนัน้  ผูว้ จิ ยั เน้นการ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมความเกียจคร้าน ซึง่ เป็น ผลมาจากการปรับตัวทางอารมณ์แบบเฉไฉ ผูว้ จิ ยั จึงเชิญชวนให้แอม สร้าง “ตารางเช็คการ ปรับเปลี่ยนนิสัยตนเอง” เพื่อเป็นการกระตุ้น


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

และสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลีย่ นพฤติกรรม ในขณะที่ ก รณี ข องอาย ผู ้ วิ จั ย เน้ น การปรั บ เปลี่ยนมุมมองความคิดด้านลบ ซึ่งท�ำให้อาย มักมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนอย่าง มาก ควบคู ่ กั บ พั ฒ นาความมั่ น ใจในตนเอง เนือ่ งจากอายเป็นคนทีไ่ ม่กล้าแสดงออกเพราะ มีลักษณะนิสัยคิดลบและขาดความมั่นใจใน ตนเอง จึงใช้วธิ กี ารทีห่ ลากหลายนอกเหนือจาก กระบวนการ WDEP เพือ่ วางแผนการแก้ปญ ั หา ไม่ว่าจะเป็นการก�ำหนดงานให้ท�ำและท�ำการ ประเมิ น ตนเองหลังการปฏิบัติในแต่ละครั้ง การฝึกเผชิญกับการอาย (Shame-attacking Exercises) โดยให้อายฝึกร้องเพลงเพื่อพัฒนา ความกล้าแสดงออก เกิดความมั่นใจในตนเอง มากขึ้น ส่วนกรณีของฟีน ผู้วิจัยใช้เทคนิคการ ให้ขอ้ เสนอแนะ โดยแนะน�ำวิธกี ารสือ่ สารอย่าง สันติ  ที่ช่วยปรับแก้ปัญหาของฟีนในด้านการ สื่อสารกับผู้อื่น ประกอบกับฝึกเผชิญกับความ อาย ซึง่ กระท�ำร่วมกันกับผูว้ จิ ยั และเพือ่ นอีก 1 คนที่ฟีนเลือกเข้ามาร่วมในการฝึกปฏิบัติด้วย การฝึกปฏิบตั ปิ ระกอบกับแรงเสริมทีไ่ ด้รบั จาก เพือ่ น ช่วยเสริมความมัน่ ใจให้ฟนี กล้าเข้าไปคุย กับเพื่อนได้ถึง 5 คน ซึ่งตรงตามเป้าหมายที่ ฟีนต้องการ คือ ได้ปรับความเข้าใจกับเพื่อน และเข้าใจเพื่อนมากขึ้น สะท้อนได้จากค�ำพูด ของฟีนที่ว่า “ถ้าเราไม่พูด ก็ไม่มีใครเข้าใจเรา หรอก ถึงเพื่อนจะสนิทมาก แต่เพื่อนไม่ใช่เรา

จะได้เข้าใจเราทุกเรื่อง” กรณีของแอม อาย และฟีนหลังจากที่เข้ากระบวนการดังกล่าวแม้ จะแตกต่างกันด้วยเทคนิควิธหี รือระยะเวลาใน แต่ละขั้นตอน แต่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองจนประสบผลส�ำเร็จได้ กรณี ข องใบหยก ที่ มี ก ารปรั บตั วทาง อารมณ์ในแบบยอมตาม และมีพฤติกรรมขาด ความกระตื อ รื อ ร้ น  ไม่ มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบ ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจในตนเอง ผู้วิจัยใช้เทคนิคการฝึกเผชิญกับความอายของ ทฤษฎี  REBT โดยให้ใบหยกฝึกด้วยการพูด แนะน� ำ ตนเอง และพู ด ประกอบการแสดง อารมณ์และท่าทาง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ใบหยก เกิดความกล้าแสดงออกซึง่ อารมณ์ และสุดท้าย คือกรณีของอุ้ม ที่มีการปรับตัวทางอารมณ์ใน แบบโทษผู้อื่น และมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ผู้วิจัยใช้กระบวนการ WDEP โดยให้ค้นหา วิธีการควบคุมอารมณ์ที่อุ้มเคยปฏิบัติ  และ พิจารณาผลที่เกิดขึ้นจากวิธีการต่างๆ เพื่อให้ อุ้มเห็นแนวทางที่เหมาะสมในการน�ำไปใช้ใน เวลาทีต่ อ้ งเผชิญกับสถานการณ์ทจี่ ะกระทบต่อ อารมณ์ของตนเอง เทคนิควิธกี ารต่างๆ ทีผ่ วู้ จิ ยั น�ำมาใช้  เป็นเพียงการช่วยให้ใบหยกและอุ้ม รู ้ จั ก และเข้ า ใจตนเองตามความเป็ น จริ ง เนื่องจากยังขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนไป ถึงระดับพฤติกรรม

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

77


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

ขั้นตอนที่ 5 การยุติกระบวนการ เป็น ขั้นของการสรุปสิ่งต่างๆ ที่ท�ำร่วมกันในช่วง เวลาของการให้ค�ำปรึกษาที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อยุติการให้ค�ำปรึกษา ด้วยการใช้ ค�ำถามและให้วัยรุ่นทบทวนตนเองถึงสิ่งที่ได้ รับจากการเข้ารับการปรึกษา รวมถึงพิจารณา พฤติ ก รรมและการปรั บ ตั ว ทางอารมณ์ ข อง ตนเองว่าเกิดผลอย่างไร เทคนิควิธที ส่ี ำ� คัญของ ขั้นนี้คือ เทคนิคการเปิดเผย ซึ่งเป็นเทคนิคที่ จะช่วยให้วยั รุน่ เปิดเผยประสบการณ์  ความคิด ของตนเอง หลังจากนั้นจึงให้การเสริมก�ำลังใจ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้พบกับผู้วิจัยได้อีกหาก ต้องการ จึงท�ำการยุติการให้ค�ำปรึกษา การติดตามผลการปรับตัวทางอารมณ์ของ วัยรุ่นหลังจบกระบวนการให้ค�ำปรึกษา หลังจากการให้ค�ำปรึกษารายบุคคลจบ ลงเป็นระยะเวลา 1 เดือน ผู้วิจัยกลับไปพบ กลุ่มเป้าหมายทั้งห้าคนอีกครั้งเพื่อติดตามผล การปรับตัวทางอารมณ์  ซึ่งพบว่า พฤติกรรม และการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทัง้ ห้าคน มีความแตกต่างกันตามวัย ผู้รับค�ำปรึกษาที่ เป็นวัยรุน่ หญิงตอนต้น อายุระหว่าง 13-15 ปี จ�ำนวน 2 คน ได้แก่  ใบหยกและอุ้ม เป็นวัย รุ่นที่ยังขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนตนเอง แม้จะมีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะปรับ เปลี่ ย นพฤติ ก รรม มี ก ารเปิ ด เผย เปิ ด ใจ

78

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

พยายามเรียนรูท้ จี่ ะเข้าใจตนเอง แต่ในระหว่าง ด�ำเนินการให้คำ� ปรึกษา ผูว้ จิ ยั เห็นว่า ทัง้ ใบหยก และอุ้มยังขาดประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ยังไม่พร้อม ทีจ่ ะเผชิญหน้ากับปัญหาของตนเอง จึงไปไม่ถงึ การปรับเปลี่ยนทางด้านพฤติกรรมและการ ปรับตัวทางอารมณ์ในระดับที่จะเห็นได้อย่าง ชัดเจน แต่ผลลัพธ์ที่ได้พบว่าเด็กวัยรุ่นทั้งสอง คนรู้จักและเข้าใจตนเอง รวมถึงสภาพปัญหา ของตนเองได้ ม ากขึ้ น   ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น การ เปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่งที่ดีขึ้น ผู้วิจัยจึงช่วย ให้ใบหยกและอุ้มได้ระบายอารมณ์ความรู้สึก เพือ่ ให้คลายความหนักหน่วงทีเ่ กิดขึน้ ภายในใจ โดยไม่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ในกรณีของผู้รับค�ำปรึกษาที่เป็นวัย รุ ่ น หญิ ง ตอนปลาย อายุ ร ะหว่ า ง 16-18 ปี จ�ำนวน 3 คน ได้แก่  แอม ฟีน และอาย ที่มี ความมุ ่ ง มั่ น และตั้ ง ใจอย่ า งมากที่ จ ะพั ฒ นา ตนเอง สะท้อนให้เห็นได้จากการท่าทีของการ เปิดเผย เปิดใจ ที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ครั้งแรกของ การเริ่มต้นการให้ค�ำปรึกษา แม้ว่าอาจจะแตก กันด้วยระยะเวลาของการด�ำเนินการไปบ้าง ก็ตาม เช่น ในกรณีของแอม ผู้วิจัยด�ำเนินการ ให้คำ� ปรึกษาเพียง 5 ครัง้  ในขณะทีฟ่ นี  ใช้เวลา ด�ำเนินการถึง 7 ครัง้  และอาย ถึง 8 ครัง้  ทัง้ นี้ เพราะสภาพปัญหาของแต่ละคนมีความแตก ต่างกัน แต่ท่าทีของความมุ่งมั่น ตั้งใจ โดยมี


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

แรงจูงใจที่ชัดเจน จึงท�ำให้ทั้งแอม ฟีน และ อาย พยายามให้ความร่วมมืออย่างดีในทุกๆ ขัน้ ตอน ส่งผลให้เกิดการตระหนักรู ้ และเข้าใจ ตนเองตามความเป็ น จริ ง  เกิ ด การยอมรั บ และกล้ า เผชิ ญ หน้ า กั บ ปั ญ หาของตนเอง จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการ ปรับตัวทางอารมณ์ที่ดีขึ้น จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า วัยรุ่นคนที่มี ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง อย่างจริงจัง มีท่าทีของการเปิดเผยและเปิดใจ จะสามารถพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปรับตัวจนประสบผลส�ำเร็จได้  แต่ในราย ของวัยรุ่นคนที่มีความปรารถนาอย่างจริงใจที่ จะเปลี่ ย นแปลงตนเองแต่ ยั ง ขาดแรงจู ง ใจ ภายใน เทคนิควิธตี า่ งๆ จะเป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ย ให้วัยรุ่นรู้จักและเข้าใจตนเอง กล้าเผชิญหน้า กับปัญหาและยอมรับตนเอง แม้จะไปไม่ถงึ การ เปลี่ยนแปลงในระดับของพฤติกรรม แต่นับว่า เป็นการเปลีย่ นแปลงทีด่ ใี นระดับหนึง่  นอกจาก นี้  ผู้วิจัยยังพบว่าการให้ก�ำลังใจเป็นสิ่งจ�ำเป็น อันขาดเสียไม่ได้และต้องกระท�ำอย่างต่อเนื่อง เพือ่ เป็นพลังผลักดันให้วยั รุน่ รับรูถ้ งึ การยอมรับ ซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นเริ่มมีมุมมองต่อตนเองในด้าน บวก เกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ และมุ่งมั่น ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมของตนเองจนประสบผล ส�ำเร็จได้  ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการ ให้ ค� ำปรึก ษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์

และพฤติกรรมของเอลลิส (Ellis) ที่อธิบายว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความ คิด และค่านิยมอันไร้เหตุผลของตนได้  โดย เปลี่ยนระบบความคิดและการรับรู้ไปสู่ความ คิดทีม่ เี หตุผล ซึง่ จะก่อให้เกิดการเปลีย่ นแปลง การกระท�ำ (วัชรี ทรัพย์ม.ี  2556: 121) ดังนัน้ จึงสรุปได้ว่า กระบวนการให้ค�ำปรึกษาราย บุ ค คลที่ ผู ้ วิ จั ย พั ฒ นาขึ้ น ในแต่ ล ะขั้ น ตอน อันประกอบไปด้วยเทคนิควิธกี ารต่างๆ ทีผ่ วู้ จิ ยั น�ำมาประยุกต์ใช้กับผู้รับค�ำปรึกษาแต่ละคน โดยให้การเสริมก�ำลังใจอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่เริม่ ต้นจนจบกระบวนการ สามารถช่วยให้เด็กเกิด ความเข้มแข็งทางจิตใจ มีความมั่นใจและภาค ภูมใิ จในตนเอง ส่งผลให้ผรู้ บั ค�ำปรึกษาทุกคนมี พฤติกรรมและการปรับตัวทางอารมณ์ที่ดีขึ้น แต่จะมีระดับที่แตกต่างกันออกไปตามความ พร้อมของแต่ละคน ข้อเสนอจากการวิจัย 1. การศึกษาสภาพปัญหาของวัยรุ่นที่ ครอบครัวหย่าร้างผ่านประสบการณ์ของวัยรุน่ เป็นวิธีการส�ำคัญที่ท�ำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ทัง้ ในโรงเรียน สังคม และโดยเฉพาะครอบครัว ของวัยรุ่นเอง ได้เข้าใจและเข้าถึงปัญหาใน ระดับพื้นฐานทางจิตใจ ซึ่งจะท�ำให้การช่วย เหลือวัยรุน่ ได้จากต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริง และอีกทั้งผู้ให้ความช่วยเหลือยังมีหัวใจที่เปิด

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

79


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

กว้าง พร้อมที่จะให้ความรัก ให้การสนับสนุน และให้ ก� ำ ลั ง ใจ ซึ่ ง แสดงถึ ง ความใส่ ใจและ เมตตา อั น เป็นคุณ สมบัติส�ำคัญของผู้ให้ค�ำ ปรึกษา ที่จะช่วยผลักดันให้วัยรุ่นมีความเข้ม แข็งทางด้านจิตใจ สามารถพัฒนาและแก้ไข ปัญหาของตนเองจนบรรลุผลส�ำเร็จได้ 2. ผลจากการศึ ก ษาการปรั บ ตั ว ทาง อารมณ์ของวัยรุ่นที่ครอบครัวหย่าร้างและพบ ว่า การขาดความอบอุน่ ทางด้านจิตใจ อันเนือ่ ง มาจากความสัมพันธ์ที่ห่างเหินในครอบครัว ประกอบกั บ สภาวะทางด้ า นอารมณ์ แ ละ พฤติกรรมทางด้านลบของพ่อแม่หรือผู้ที่อยู่ ใกล้ชิด เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเด็ก ในลักษณะที่เป็นปัญหา ดังนั้น ครอบครัวของ วัยรุ่น อาทิ  พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ดูแลวัยรุ่น ควรตระหนั ก ถึ ง สภาวะทางด้ า นจิ ต ใจของ ตนเอง และพยายามท�ำความเข้าใจในบทบาท หน้าที่รวมถึงพฤติกรรมการเลี้ยงดูของตัวเอง ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้สภาวะทางอารมณ์และ พฤติกรรมของตนเองเป็นเหตุให้วยั รุน่ มีอารมณ์ และพฤติกรรมในเชิงลบ ซึง่ จะก่อให้เกิดผลเสีย หายที่จะตามมา 3. รูปแบบการให้คำ� ปรึกษารายบุคคลที่ ผูว้ จิ ยั พัฒนาขึน้  เพือ่ เป็นเครือ่ งมือช่วยให้วยั รุน่ สามารถปรับเปลีย่ นพฤติกรรมและการปรับตัว

80

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ทางอารมณ์ทเี่ ป็นปัญหาของตนเองจนบรรลุผล ส�ำเร็จได้  จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักจิตวิทยา ให้การปรึกษา ครูแนะแนว ที่ท�ำงานด้านการ ให้ค�ำปรึกษากับวัยรุ่นในโรงเรียน รวมไปถึง นั ก บวชของศาสนาต่ า งๆ ที่ อุ ทิ ศ ตนในการ อภิ บ าลเด็ ก และเยาวชน สามารถน� ำ ทั ก ษะ และเทคนิควิธีการต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนที่ได้ จากการวิจัยนี้ไปใช้เพื่อเสริมสร้างการปรับตัว ทางอารมณ์ของวัยรุ่นที่ครอบครัวหย่าร้างตาม สภาพปัญหาของแต่ละบุคคล ให้สามารถปรับ ตัวทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป 4. จากผลการให้ค�ำปรึกษารายบุคคล กับวัยรุน่ บางรายในงานวิจยั ครัง้ นี ้ ซึง่ ผูว้ จิ ยั พบ ว่า ยังขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง จึงสามารถพัฒนาตนเองได้ เพียงระดับหนึ่ง ด้วยเหตุนี้  จึงเห็นว่า บทบาท ของผู้เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ได้แก่  พ่อแม่หรือ ผู้ปกครองที่อยู่ใกล้ชิด ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่ เกี่ยวข้อง และเพื่อนนักเรียน ควรเข้ามามีส่วน ร่ ว มในการประคั บ ประคอง คอยเคี ย งข้ า ง ให้การสนับสนุน ให้ความเข้าใจ ให้กำ� ลังใจและ ช่วยเหลือวัยรุ่นให้สามารถปรับตัวทางอารมณ์ เมื่อเผชิญกับความเครียดหรือความวิตกกังวล จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนา ชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยต่อไป 1. ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาผล กระทบจากสภาวะทางด้านจิตใจของพ่อแม่ หรื อ ผู ้ ป กครองที่ อ ยู ่ ใ กล้ ชิ ด และมี บ ทบาท เกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ต่อการปรับตัวทางอารมณ์ ของวัยรุ่นที่ครอบครัวหย่าร้าง 2. ผูว้ จิ ยั อาจใช้กระบวนการกลุม่ กับพ่อ แม่หรือผู้ปกครองในประเด็นที่เกี่ยวกับการ สือ่ สารภายในครอบครัว สิง่ เป็นสิง่ ส�ำคัญทีช่ ว่ ย เสริมสร้างการปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่น และศึกษาวิจยั เพิม่ เติม โดยการน�ำกระบวนการ ให้ ค� ำ ปรึ ก ษารายบุ ค คลมาใช้ ใ นการรั ก ษา (Healing) บาดแผลทางจิ ต ใจของวั ย รุ ่ น ที่ ครอบครั ว หย่าร้าง นอกเหนือจากการปรับ พฤติกรรมและการปรับตัวทางอารมณ์ทปี่ รากฏ ภายนอก ซึ่ ง เป็ น การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ใน ระดับที่ลึกขึ้น หรืออาจส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการบ�ำบัดต่อไป

3. หากต้ อ งการศึ ก ษาในประเด็ น ที่ คล้ายคลึงกับงานวิจยั ชิน้ นี ้ เสนอให้ศกึ ษาเกีย่ ว กับการสื่อสารภายในครอบครัวที่ส่งผลต่อการ ปรับตัวของวัยรุ่นที่ครอบครัวหย่าร้าง ตาม แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การปรั บ ตั ว หรื อ รั บ มื อ กั บ ปัญหา (Stances) ใน 4 รูปแบบ ของเวอร์จิเนีย ซาเทียร์  (Verginia Satir) และพัฒนา รู ป แบบการให้ ค� ำ ปรึ ก ษารายบุ ค คล ที่ ช ่ ว ย พั ฒ นาทั ก ษะการสื่ อ สารกั บ ผู ้ อื่ น  ที่ ส ะท้ อ น ถึงปรับตัวหรือการรับมือกับปัญหาทีส่ อดคล้อง กลมกลืน (Congruence) ต่อไป ผู้วิจัยจึงสรุปเทคนิคการให้ค�ำปรึกษา รายบุ ค คลเพื่ อ เสริ ม สร้ า งการปรั บ ตั ว ทาง อารมณ์ของวัยรุ่นที่ครอบครัวหย่าร้าง ดังต่อ ไปนี้

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

81


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

82

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อาภรรัตน์ เสนางค์นารถ, พิศมัย รัตนโรจน์สกุล และ พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

บรรณานุกรม จิราภรณ์  ตั้งกิตติภาภรณ์. (2559). จิตวิทยา บุ ค ลิ ก ภาพและพฤติ ก รรมสุ ข ภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ชาย โพธิ สิ ต า. (2552). เกิ ด อะไรขึ้ น กั บ ครอบครั ว ?.  สื บ ค้ น เมื่ อ วั น ที่   13  มิถุนายน 2559, จาก http://www. ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/Annual Conference/ConferenceV/Down load/Article_Files/Article_Intro. pdf นงพงา ลิ้ ม สุ ว รรณ; และ นิ ด า ลิ้ ม สุ ว รรณ. (2556). ซาเที ย ร์   จิ ต บ� ำ บั ด และการ พัฒนาตนเอง. พิมพ์ครัง้ ที ่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2560). เลี้ยงลูก ให้เป็นคนเก่ง. พิมพ์ครัง้ ที ่ 4. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็กอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. พรรณทิพย์  ศิริวรรณบุศย์. (2556). ทฤษฎี จิ ต วิ ท ยาพั ฒ นาการ. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่   6. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. พิ ม พ์ ช นก กลิ่ น สุ ท โธ. (2554). การศึ ก ษา อัตลักษณ์แห่งตนแห่งตนของวัยรุ่นที่ ครอบครั ว แตกแยก. ปริ ญ ญานิ พ นธ์

กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. พัชราภรณ์  ศรีสวัสดิ์. (2556). ทฤษฎีการให้ ค�ำปรึกษา. (เอกสารประกอบการสอน). กรุ ง เทพฯ: คณะศึ ก ษาศาสตร์   มหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มาโนช หล่อตระกูล; ธนิตา หิรัญเทพ; และ นิดา ลิ้มสุวรรณ. (2555). ต�ำราพฤติ กรรมสาสตร์ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามา ธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล. ลักขณา สริวัฒน์. (2560). ทฤษฎีและเทคนิค การให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์. วัชรี ทรัพย์ม.ี  (2556). ทฤษฎีการให้คำ� ปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่  7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิรริ ตั น์  แอดสกุล. (2556, มกราคม-เมษายน). สถานการณ์ของครอบครัวไทย: กรณี ศึกษาครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในเขต พื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร.  วารสาร การเมื อ ง การบริ ห ารและกฎหมาย. 5(1): 24-25

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

83


การปรับตัวทางอารมณ์ของวัยรุน่ ทีค่ รอบครัวหย่าร้าง

ส�ำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มัน่ คงของมนุษย์. (2553). นโยบายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547- 2556. สืบค้นเมื่อวันที่  2 สิงหาคม 2559, จาก https://www. m-society.go.th/article_attach/ 9867/14191.pdf ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). สถิติการจด ทะเบียนสมรส จ�ำแนกตามภาค และ จังหวัด พ.ศ.2547-2556: ทัง้ ราชอาณา จักร ภาค จังหวัด. สืบค้นเมื่อวันที่  13 มิถุนายน 2559, จาก http://service. nso.go.th/nso/web/statseries/ statseries02.html. _____(2556). สถิ ติ ก ารจดทะเบี ย นหย่ า จ� ำ แนกตามภาค และจั ง หวั ด  พ.ศ. 2547-2556: ทั้งราชอาณาจักร ภาค จังหวัด. สืบค้นเมื่อวันที่  13 มิถุนายน 2559, จาก http://service.nso.go.th /nso/web/statseries/statseries02. html.

84

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้นำ� ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์

Leadership Components Development of Abbots in Globalization Era.

พระมหาธนัญชัย แสงกล้า  * นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผู้น�ำ คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

ดร.พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผู้น�ำ คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

ดร.ธนีนาฏ ณ สุนทร * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผู้น�ำ คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

Pra Maha Thananchai Sangkla * Ph.D. student at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education,   Saint John’s University. Dr.Pimprapa Amornkitpinyo  * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education,   Saint John’s University. Dr.Taneenart Na-soontorn  * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education,   Saint John’s University.


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

บทคัดย่อ

86

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้น�ำ ของเจ้าอาวาสในยุค โลกาภิวัตน์  ประชากรคือ เจ้าอาวาส จ�ำนวน 38,984 รูป กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าอาวาสในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล จ�ำนวน 300 รูป ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่  (1) ตัวแปรแฝง คือ องค์ประกอบ ภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุค โลกาภิวัตน์  (2) ตัวแปรสังเกตได้  6 ตัวแปร คือ (1) คุณลักษณะภาวะผู้น�ำ  (2) การบริหารองค์กร (3) การ บริหารงานบุคคล (4) การพัฒนาวัดแบบบูรณาการ (5) ความรู้ทาง เทคโนโลยี  และ (6) ความคิดสร้างสรรค์  การด�ำเนินการวิจัยมี  3 ขั้น ตอน คือ (1) การพัฒนากรอบแนวคิดองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้า อาวาสในยุคโลกาภิวัตน์  (2) การตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของ เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์โดยการสนทนากลุม่  และ (3) การตรวจสอบ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติขององค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาส ในยุคโลกาภิวัตน์ ผลการวิจยั พบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผูน้ ำ� ของเจ้าอาวาสในยุค โลกาภิวัตน์มี  6 องค์ประกอบ คือ (1) คุณลักษณะภาวะผู้น�ำ  (2) การ บริ ห ารองค์ ก ร (3) การบริ ห ารงานบุ ค คล (4) การพั ฒ นาวั ด แบบ บูรณาการ (5) ความรูท้ างเทคโนโลยี และ (6) ความคิดสร้างสรรค์ และ ผูท้ รงคุณวุฒ ิ เห็นด้วยกับองค์ประกอบภาวะผูน้ ำ� เจ้าอาวาสยุคโลกาภิวตั น์ ที่ผู้วิจัยศึกษาร่างขึ้น และ 2) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 ยืนยันว่า องค์ ประกอบของการเป็นผู้น�ำของเจ้าอาวาสมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อยู่ในระดับมากและระดับมากที่สุด และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันของตัวแปรภาวะผูน้ ำ� เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์ พบว่า ข้อมูล เชิงทฤษฎีมคี วามสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (ค่าไคสแควร์ = 14.86, df = 8, p = 0.062 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 0.983 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้ไขแล้ว (AGFI) = 0.957 ค่ารากที่

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

สองของความคลาดเคลื่อนก�ำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) = 0.054 และค่ า ดั ช นี ร ากของค่ า เฉลี่ ย ก� ำ ลั ง สองของส่ ว นที่ เ หลื อ (RMR) = 0.0105)

Abstrct

ค�ำส�ำคัญ:

1) ภาวะผู้น�ำ 2) เจ้าอาวาส 3) ยุคโลกาภิวัตน์

The objective of this research was to develop leadership Components of abbots in globalization era. The population was 38,984 abbots. Sample group was 300 abbots from Bangkok and metropolitan, come from proportionate stratified sampling. The variables in this research were 1) Latent variable which was abbot’s leadership Components in globalization era; and 2) Observed variables which were leadership characteristic, organizational administration, personal management, integrated temple development, technology skill, and creative thinking. Research methodology had 3 steps: 1) to develop the conceptual framework of abbot’s leadership Components in globalization era; 2) to validate abbot’s leadership in globalization era from focus group; and 3) to validate feasibility in practice of abbot’s leadership Components in globalization era. Research findings indicated that 1) The components of abbot’s leadership were 6 components included: (1) leadership characteristic (2) organizational administration

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

87


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

(3) personal management (4) integrated temple development (5) technology skill and (6) creative thinking. And the experts agreed with all components of abbot’s leadership in globalization era which drafted by researcher and 2) 100 percent of the respondents confirmed that the components of abbot’s leadership were feasibility in practice at height level and highest level. And confirmatory factor analysis found that abbot’s leadership components in globalization era conformed to the empirical evidence. The validity assessment of all factors passed, it meant this model had construct validity in the good manner (χ2 = 14.86, df = 8, p = 0.062, GFI = 0.983, AGFI = 0.957, RMSEA = 0.054, RMR = 0.0105). Keywords:

88

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

1) Leadership 2) Abbot 3) Globalization Era


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

บทน�ำ สังคมไทยในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา ไม่วา่ จะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสั ง คมที่ เ กิ ด ขึ้ น ในประเทศ อี ก ทั้ ง ความ เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้การติดต่อ สือ่ สาร การรับรูห้ รือเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว เกิดกระแส โลกาภิวัตน์เป็นโลกยุคไร้พรมแดน เร่งให้มี กระแสการเปลีย่ นแปลงใหม่เข้ามาในสังคมไทย เกิดการแข่งขันขององค์กรต่างๆ ในสภาวการณ์ ที่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นมี แ ต่ ค วามไม่ แ น่ น อนและไม่ สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และวัฒนธรรมในประเทศไทยให้เป็นไปอย่าง รวดเร็วและรุนแรงกว่าในอดีต (พระไพศาล วิ ส าโล, 2543) ดั ง นั้ น  ผู ้ น� ำ องค์ ก รยุ ค ใหม่ นอกจากต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ แล้ว ยังต้องมีการปรับ เปลี่ยนแนวคิดเพื่อก่อให้เกิดการปรับตัวทั้ง ระบบ นั่นคือ การปรับโครงสร้างขององค์การ ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดศักยภาพเชิงองค์การ (Organizational Effectiveness) ขณะเดียว กันควรมีการฟืน้ ฟูและพัฒนาความสามารถของ สมาชิ ก ในองค์ ก ารเพื่ อ ให้ เ กิ ด ศั ก ยภาพของ บุคลากร (Individual Effectiveness) (Certo, 2006) และในแต่ละองค์กรหรือสถานศึกษา

ย่อมมีผนู้ ำ� ทีท่ ำ� หน้าทีใ่ นการชีแ้ นะ สัง่ การและ ให้ความช่วยเหลือ เพือ่ ให้องค์กรนัน้ ๆ สามารถ ปฏิ บั ติ ง านได้ ส� ำ เร็ จ ตามจุ ด ประสงค์ ที่ ตั้ ง ไว้ ได้มีการเขียนชื่อผู้น�ำแตกต่างกันออกไปตาม ลักษณะงานและองค์การที่อยู่  เช่น ผู้บริหาร ผู ้ จั ด การ ประธานกรรมการ ผู ้ อ� ำ นวยการ อธิการบดี  ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้ว่าราชการ นายอ� ำ เภอ ก� ำ นั น  เจ้ า คณะจั ง หวั ด  ปลั ด กระทรวง คณบดี  รวมทั้งเจ้าอาวาส ซึ่งเป็น ผู้น�ำของวัด (กวี  วงศ์พุฒ, 2535) เนื่องจาก วัดเป็นศูนย์กลางแห่งการรวมน�้ำใจของบรรดา พุทธศาสนิกชน ท�ำหน้าที่ในการวางรากฐาน ความเจริ ญ ให้ แ ก่ สั ง คม ส่ ง เสริ ม ความเป็ น ปึกแผ่น ความมัน่ คงให้แก่สงั คม ช่วยลดปัญหา สังคม ส่งเสริมประสิทธิภาพการควบคุมทาง สังคมหรือกล่าวได้ว่า วัดเป็นศูนย์กลางทาง ศาสนา  และวั ฒ นธรรม  ที่ ผู ้ ค นใช้ เ ป็ น บรรทั ด ฐานในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต และเป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องสั ง คมซึ่ ง จะพบได้ จ ากการ แสดงออกทาง ศิ ล ปะ วรรณคดี   คติ ธ รรม ขนบธรรมเนี ย มจารี ต ประเพณี   เป็ น ต้ น (พระพรหมคุณาภรณ์  (ป.อ.ปยุตโต), 2545) ปัจจุบันวัดมีปัญหาในด้านการบริหารจัดการ เป็นอันมาก กล่าวคือ วัดขนาดเล็ก มีพระสงฆ์ อยู่  2-3 รูป ส่วนใหญ่อยู่ในชนบท เจ้าอาวาส ขาดการศึกษา วิสัยทัศน์  การอบรม รวมทั้ง ไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขาด

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

89


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

ปัจจัย บางวัดมีการบริหารจัดการไม่โปร่งใส ท�ำให้ประชาชนขาดความเลือ่ มใส และเกิดเป็น ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์  ท�ำให้เกิดความเสื่อม เสี ย ต่ อ พระพุ ท ธศาสนา (กรมการศาสนา, 2539) ดังนั้น จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยเจ้าอาวาส ที่มีภาวะผู้น�ำที่มีประสิทธิภาพในการด�ำเนิน การกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะน�ำพาองค์กร หรือ วัดไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องพร้อมทั้งให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้  เจ้าอาวาส ยังต้องท�ำหน้าที่บริหาร ภารกิจของวัดและอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องอีก คือ การ ปกครอง การศึกษา การเผยแผ่  การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณะ สงเคราะห์  (พระธรรมวรนายก โอภาส นิรุตติ เมธี, 2546) ซึง่ สอดคล้องกับ ธีรวุฒ ิ ทองโอษฐ์ (2546) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการวัดให้ มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความสามารถในการ บริหารจัดการของพระภิกษุสามเณรภายใน วัดเป็นส�ำคัญ เจ้าอาวาสซึง่ เป็นผูป้ กครองคณะ สงฆ์ระดับต้น ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารจัดการ วัดในด้านต่างๆ เจ้าอาวาสซึง่ เป็นผูน้ ำ� เบือ้ งต้น นับเป็นปัจจัยส�ำคัญในการน�ำวัดไปสู่เป้าหมาย แห่งความส�ำเร็จ ทั้งนี้เพราะเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการตั ด สิ น ใจ ก� ำ หนด นโยบายและบริ ห ารบุ ค ลากรในองค์ ก ร ให้ ท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรจ�ำเป็นจะต้องมีความสามัคคีและ

90

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ท�ำงาน ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้น�ำ กับผู้ตาม เจ้าอาวาสนั้นมีภารกิจการบริหาร จั ด การวั ด ตามอ� ำ นาจหน้ า ที่ ข องเจ้ า อาวาส และตามภารกิจของคณะสงฆ์ วั ด จึ ง ต้ อ งมี ก ารปรั บ ตั ว และเปลี่ ย น แปลงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของกระแส โลกาภิวัตน์ ในอดีตวัดเป็นสถาบันที่มีบทบาท ในสังคมเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่เป็นโรงเรียน เป็ น ศู น ย์ ร วมจิ ต ใจของชุ ม ชน เป็ น สถานที่ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนเป็น สถานที่ ใ นการถ่ า ยทอดวั ฒ นธรรม และ คุ ณ สมบั ติ ข องเจ้ า อาวาสโดยมากนั้ น เป็ น คุ ณ สมบั ติ ข องทางธรรมเท่ า นั้ น  แต่ ข ณะที่ คุณสมบัตทิ างด้านอืน่  หรือทางโลกควรจะต้อง มี ส� ำ หรั บ การเป็ น ผู ้ น� ำ ให้ ม ากกว่ า ที่ ผ ่ า นมา (คณะกรรมการการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ,  2541) และการบริหารจัดการวัดให้มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการ ของพระภิ ก ษุ ส ามเณรภายในวั ด เป็ น ส� ำ คั ญ เจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับต้น ซึง่ มีหน้าทีใ่ นการบริหารจัดการวัดในด้านต่างๆ เจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้น�ำเบื้องต้นนับเป็นปัจจัย ส�ำคัญในการน�ำวัดไปสู่เป้าหมายแห่งความ ส�ำเร็จ ทั้งนี้เพราะเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่มีบทบาท ส�ำคัญในการตัดสินใจ ก�ำหนดนโยบายและ บริหารบุคลากรในองค์กร ให้ท�ำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากร


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

จ� ำ เป็ น จะต้ อ งมี ค วามสามั ค คี แ ละท� ำ งาน ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้น�ำกับผู้ตาม เจ้าอาวาสนั้นมีภารกิจการบริหารจัดการวัด ตามอ� ำ นาจหน้ า ที่ ข องเจ้ า อาวาส  และตาม ภารกิจของคณะสงฆ์ (ธีรวุฒ ิ ทองโอษฐ์, 2546) การศึกษาวิจัยนี้ใช้แนวคิดของ(นิคม นาคอ้าย, 2549 ; สุเทพ พงษ์ศรีวัฒน์,2549; ธรรมนูญ เฮงษฎี กุ ล , 2551; กิ ต ติ์ ก าญจน์  ปฏิ พั น ธ์ , จั ก รกฤษณ์   โพดาพล,วิ ลั ย พรณ์  เสรี วั ฒ น์ , 2556; พระพรหมคุ ณ าภรณ์ ,  2557;  และ Burke, 2009) แล้วน�ำมาสรุปเป็นองค์ประกอบ ภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์ได้ 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) คุณลักษณะภาวะผูน้ ำ� 2) การบริหารองค์กร 3) การบริหารงานบุคคล 4) การพัฒนาวัดแบบบูรณาการ 5) ความรูท้ าง เทคโนโลยี และ 6) ความคิดสร้างสรรค์ ในการ ศึกษาการพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของ เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์  จากสถานการณ์ที่กล่าว ผู้วิจัยซึ่งด�ำรง สมณเพศเป็ น พระสงฆ์ ใ นพระพุ ท ธศาสนา จึงมีความสนใจจะพัฒนาองค์ประกอบภาวะ ผู้น�ำของเจ้าอาวาส เนื่องจากการศึกษาที่ผ่าน มาไม่ พ บมี ง านวิ จั ย เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาองค์ ประกอบภาวะผู ้ น� ำ ของเจ้ า อาวาส ดั ง นั้ น ข้อมูลทีไ่ ด้รบั สามารถน�ำมาพัฒนาองค์ประกอบ ภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกา-

ภิวตั น์วา่ ควรมีภาวะผูน้ ำ� อย่างไร ซึง่ ผลการวิจยั นี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ประกอบ ภาวะผูน้ ำ� ของเจ้าอาวาสตามความประสงค์ของ มหาเถรสมาคม และตอบสนองให้การบริหาร จัดการวัดสามารถทันต่อยุคโลกาภิวตั น์ได้ตอ่ ไป วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของ เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์ ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถน�ำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา องค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสเพื่อให้ สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์ ขอบเขตการวิจัย ด้านประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้   คื อ เจ้าอาวาส จ�ำนวน 38,984 รูป กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งคื อ  เจ้ า อาวาสในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จ�ำนวน 300 รูป ด้านเนื้อหาการวิจัย การวิจยั ในครัง้ นีเ้ ป็นการวิจยั เพือ่ พัฒนา องค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุค โลกาภิวัตน์  ตามแนวคิดของ นิคม นาคอ้าย (2549); สุเทพ พงษ์ศรีวฒ ั น์ (2549); ธรรมนูญ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

91


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

เฮงษฎี กุ ล  (2551); กิ ต ติ์ ก าญจน์   ปฏิ พั น ธ์ , จั ก รกฤษณ์   โพดาพล, วิ ลั ย พรณ์   เสรี วั ฒ น์ (2556); พระพรหมคุณาภรณ์  (2557); และ Burke (2009) แล้วน�ำมาสรุปเป็นองค์ประกอบ ภาวะผู้น�ำของ เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์ จ�ำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณลักษณะ ภาวะผู ้ น� ำ  2) การบริ ห ารองค์ ก ร 3) การ บริ ห ารงานบุ ค คล 4) การพั ฒ นาวั ด แบบ บู ร ณาการ 5) ความรู ้ ท างเทคโนโลยี   และ 6) ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการด�ำเนินการ การวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เพื่ อ การ พัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาส ในยุคโลกาภิวัตน์  โดยการศึกษาจากทฤษฎี ภาวะผู้น�ำ  องค์ประกอบของเจ้าอาวาส และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขั้นตอนการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนากรอบแนวคิดองค์ประกอบภาวะ ผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์  โดยการ ศึ ก ษาแนวคิ ด ทฤษฎี   เป็ น การศึ ก ษาทฤษฎี ภาวะผูน้ ำ  � ทักษะการบริหาร และองค์ประกอบ ของภาวะผู้น�ำที่เกี่ยวข้อง และท�ำการยกร่าง องค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุค โลกาภิวัตน์  ขั้นตอนที่  2 การตรวจสอบองค์ ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์  โดยผู้ทรงคุณวุฒิ  จ�ำนวน 2 กลุ่ม คือ

92

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

กลุ่มที่  1 ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นเจ้าอาวาสหรือ พระเถระที่มีประสบการณ์ในการบริหารงาน เกี่ยวกับงานคณะสงฆ์  กลุ่มที่  2 ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ในการสอนภาวะผู้น�ำ  เพื่อ ท� ำ การสนทนากลุ ่ ม  (Focus Group) และ ขั้นตอนที่  3 การตรวจสอบความเป็นไปได้ใน ทางปฏิบัติขององค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้า อาวาสในยุ ค โลกาภิ วั ต น์   โดยการก� ำ หนด ประชากร 38,984 รูป (กองพุทธศาสนสถาน ส�ำนักงานพุทธศาสนา แห่งชาติ, 2557) และ ท�ำการก�ำหนดขนาดของตัวอย่างของ Hair, Black, Bakin, Anderson, and Tatham (2006) 5-20 เท่าของ 1 พารามิเตอร์และต้อง มีขนาดตัวอย่างอย่างน้อย 100 รูป ในงานการ วิจัยครั้งนี้มีพารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณ ค่าทัง้ หมด 13 พารามิเตอร์ ตัวอย่างจะมีขนาด 100-260 รูป ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยก�ำหนด ตัวอย่าง 20 เท่าต่อ 1 พารามิเตอร์ได้ตวั อย่าง จ�ำนวน 260 รูป ผูว้ จิ ยั ปรับขนาดตัวอย่างเป็น 300 รูป เพื่อชดเชยกรณีได้รับแบบสอบถาม กลับคืนมาไม่ครบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็ น แบบสอบถาม ประกอบด้ ว ยตอนที่   1 ข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ของผู ้ ต อบแบบสอบถาม เป็ น แบบตรวจสอบรายการ (Check List) ประกอบด้ ว ยอายุ แ ละจ� ำ นวนพรรษา และ ตอนที ่ 2 ความเป็นไปได้ในทางปฏิบตั ขิ องการ พัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาส


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

ในยุคโลกาภิวัตน์  โดยผลของค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .856 และการวิเคราะห์ขอ้ มูลในงานวิจยั ครัง้ นี ้ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของข้อมูลส่วนตัว ของตัวอย่างด้วยสถิตบิ รรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ 2) วิเคราะห์ระดับความเป็นไปได้ ในทางปฏิบัติขององค์ประกอบภาวะผู้น�ำของ เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่  ค่าความถี่  และร้อยละ โดยคัดเลือกข้อ ค�ำถามที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมาก ที่สุดและมาก ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และ 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ของ องค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุค โลกาภิวัตน์ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจยั ของการพัฒนาองค์ประกอบ ภาวะผู ้ น� ำ ของเจ้ า อาวาสในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ พบว่า 1. ผูท้ รงคุณวุฒเิ ห็นด้วยกับองค์ประกอบ ภาวะผู ้ น� ำ ของเจ้ า อาวาสในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ ที่ผู้วิจัยร่างขึ้น ซึ่งมี  6 องค์ประกอบ คือ 1.1 คุณลักษณะภาวะผู้น�ำ  ประกอบ ด้วย 1) มีความรู้ความสามารถและสติปัญญา ในการบริหารวัด 2) มีความสามารถในการใช้

ศรั ท ธาโน้ ม น้ า วจู ง ใจให้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนเข้ า ร่วมกิจกรรมของวัด 3) มีความสามารถในการ บูรณาการศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสตร์ รวมทั้ ง ประยุ ก ต์ เ ข้ า กั บ หลั ก พุ ท ธธรรม 4) มี ค วามสามารถในการครองตนด้ ว ยศี ล ครองคนด้วยพรหมวิหารธรรม 4 และครอง งานด้วยอิทธิบาทธรรม 4 5) มีความสามารถ ในการแยกบทบาทผูน้ ำ� และภาวะผูน้ ำ� ได้ชดั เจน 1.2 การบริหารองค์กร ประกอบด้วย 1) มีการดูแลเอาใจใส่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ในการปกครองของตน 2) มี ก ารบั ง คั บ ใช้ ระเบียบและข้อบังคับของวัดอย่างเคร่งครัด 3) มี ก ารพิ จ ารณาลงโทษเมื่ อ บรรพชิ ต และ คฤหัสถ์ท�ำผิดด้วยความยุติธรรม 4) มีความ สามารถในการก� ำ หนดเป้ า หมายให้ ชั ด เจน สามารถสร้างศรัทธาและมีหลักธรรมในการ บริหาร 5) มีความสามารถในการสร้างผู้น�ำ (สร้างคน) 6) มีความสามารถในการเป็นผู้น�ำ เชิงจิตวิญญาณ 1.3 การบริหารงานบุคคล ประกอบ ด้ ว ย 1) มี ค วามสามารถในการอบรมและ สั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ 2) มีความสามารถในการส่งเสริมให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ได้ศึกษาในทางโลก 3) มีความ สามารถในการจั ด อบรมพระธรรมวิ นั ย แก่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนทั่ ว ไปอย่ า งสม�่ ำ เสมอ 4) มีความสามารถในการฝึกอบรมการปฏิบัติ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

93


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

ศาสนกิจของบรรพชิตและคฤหัสถ์  5) มีความ สามารถในการจัดการด้านศาสนศึกษา 6) มี ความสามารถในการวิเคราะห์คน 7) มีความ สามารถในการส่งเสริมให้บุคคลมีส่วนร่วมให้ มากที่สุด 8) มีความสามารถในการบริห าร บุคคลนอกวัด 1.4 การพั ฒ นาวั ด แบบบู ร ณาการ ประกอบด้วย 1) มีความสามารถในการพัฒนา วั ด โดยการเชื่ อ มโยงกิ จ กรรมของวั ด ให้ สอดคล้ อ งกั บ การบริ ห ารงานคณะสงฆ์ ทั้ ง 6 ด้าน 2) มีความสามารถในการพัฒนาวัด ให้ ส อดคล้ อ งกั บ เศรษฐกิ จ   สั ง คมและ สิ่ ง แวดล้ อ มปั จ จุ บั น  3) มี ค วามสามารถใน การบริหารเชิงรุก 1.5 ความรู้ทางเทคโนโลยี  ประกอบ ด้วย 1) มีความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับเทคโนโลยี สารสนเทศและกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง 2) มีความ สามารถในการน�ำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่ ว ยในการบริ ห ารงานด้ า นต่ า งๆ เช่ น การจั ด ท� ำ บั ญ ชี ก ารเงิ น  การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล เอกสารส� ำ คั ญ ต่ า งๆ เป็ น ต้ น  3) มี ค วาม สามารถในการน�ำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการ เผยแผ่หลักธรรม 4) มีความสามารถในการ น�ำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ภายในองค์กร 1.6 ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) มี ค วามสามารถในการแก้ ไขปั ญ หาด้ ว ย

94

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

แนวคิดนอกกรอบที่ไม่ผิดต่อหลักพระธรรม วินัย 2) มีความสามารถในการส่งเสริมการ ท� ำ งานเป็ น ที ม  3) มี ค วามสามารถในการ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ 4) มีความสามารถใน การประยุกต์ปัญญา เช่น การถ่ายทอดหลัก ธรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นต้น 2. กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 100 ยืนยันว่า องค์ประกอบของการเป็นผู้น�ำของเจ้าอาวาส มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และระดั บ มากที่ สุ ด  และผลการวิ เ คราะห์ องค์ ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น ของตั ว แปรองค์ ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์พบว่า ข้อมูลเชิงทฤษฎีมคี วามสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (ค่าไคสแควร์ = 14.86, df = 8, p = 0.062 ค่าดัชนีวัด ความกลมกลื น (GFI) = 0.983 ค่ า ดั ช นี วัด ความกลมกลื น ที่ ป รั บ แก้ ไขแล้ ว  (AGFI) = 0.957 ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อน ก�ำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) = 0.054 และค่ า ดั ช นี ร ากของค่ า เฉลี่ ย ก� ำ ลั ง สองของส่วนที่เหลือ (RMR) = 0.0105) เมื่อ พิจารณาค่าน�้ำหนักองค์ประกอบของ ตัวแปร พบว่าค่าน�้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมดมีค่าเป็น บวกขนาดใกล้เคียงกัน มีค่าตั้งแต่  .510 ถึง .629 โดยค่าน�้ำหนักองค์ประกอบมีนัยส�ำคัญ ทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 ทุกตัว ตัวแปรทีม่ นี ำ�้ หนัก ความส�ำคัญมากที่สุด คือ LEA3 มีค่าน�้ำหนัก


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

องค์ประกอบเท่ากับ .629 และมีการแปรผัน ร่วมกับ ตัวแปรองค์ประกอบภาวะผู้น�ำเจ้า อาวาสในยุคโลกาภิวัตน์ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 79.6) ตัวแปรทีม่ นี ำ�้ หนักความส�ำคัญน้อยทีส่ ดุ คือ LEA1 มีค่าน�้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .510 และมี ก ารแปรผันร่วมกับตัวแปรองค์ ประกอบภาวะผูน้ ำ� เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

ปานกลางค่อนข้างสูง (ร้อยละ 61.0) ค่าน�ำ้ หนัก องค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวที่มี ค่าใกล้เคียงกันแสดงให้เห็นว่าตัวแปรเหล่านี้ มีความส�ำคัญใกล้เคียงกันในการวัดตัวแปรองค์ ประกอบภาวะผูน้ ำ� เจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์ ดังภาพที่  1 และและตารางที่  2

ภาพที่ 1 ภาพองค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรองค์ประกอบภาวะผู้น�ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

95


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรองค์ประกอบภาวะผู้น�ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวัตน์ น�้ำหนักองค์ประกอบ ตัวแปร FSR b SE t CSS R2 LEA1 0.510 (0.032) 15.847** 0.781 0.610 0.189 LEA2 0.519 (0.032) 16.449** 0.804 0.647 0.312 LEA3 0.629 (0.033) 19.304** 0.892 0.796 0.492 LEA4 0.562 (0.036) 15.615** 0.783 0.613 0.274 LEA5 0.550 (0.036) 15.070** 0.756 0.571 0.208 LEA6 0.596 (0.034) 17.383** 0.829 0.687 0.172 2 χ = 14.86 ; df = 8, p = .062 ; GFI = .983 ; AGFI = .957 ; RMR = .0105 หมายเหตุ: ** p < .01 อภิปรายผล จากผลการวิ จั ย เรื่ อ งการพั ฒ นาองค์ ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์  แสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบภาวะผูน้ ำ� ของเจ้ า อาวาสในยุ ค โลกาภิ วั ต น์   จ� ำ นวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่  1) คุณลักษณะภาวะผู้น�ำ 2) การบริหารองค์กร 3) การบริหารงานบุคคล 4) การพัฒนาวัดแบบ บูรณาการ 5) ความรู้ ทางเทคโนโลยี  และ 6) ความคิดสร้างสรรค์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและสอดคล้อง กับงานวิจัยของนิคม นาคอ้าย(2549); สุเทพ พงษ์ ศ รี วั ฒ น์ ( 2549); ธรรมนู ญ  เฮงษฎี กุ ล

96

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

(2551); คณาจารย์ ม หาจุ ฬ าลงกรณ์ ร าชวิ ท ยาลั ย  (2555); กิ ต ติ์ ก าญจน์ ป ฏิ พั น ธ์ , จั ก รกฤษณ์   โพดาพล, วิ ลั ย พรณ์   เสรี วั ฒ น์ (2556); พระพรหมคุณาภรณ์  (2557); และ Burke (2009) ภาวะผู้น�ำนับเป็นปัจจัยที่มี ความส� ำ คั ญ ยิ่ ง ในการบริ ห ารงานในองค์ ก ร เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุผลส�ำเร็จ เพราะ ภาวะผู ้ น� ำ เป็ น กระบวนการที่ บุ ค คลหนึ่ ง มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ผู ้ อื่ น ให้ ร ่ ว มท� ำ งาน เพื่ อ บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์กร จะช่วยกระตุ้นให้ ผู ้ ร ่ ว มงานท� ำ งานอย่ า งกระตื อ รื อ ร้ น  และ


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

สามารถสร้างองค์กรให้มคี วามมัน่ คง ภาวะผูน้ ำ� ดี  จะช่วยให้การบริหารงานดีและท�ำให้องค์กร เกิดผลดีตามมาด้วย นอกจากนั้ น  ผลการสนทนากลุ ่ ม ได้ เสนอแนะว่ า  บทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาส ที่ต้องแสดงภาวะผู้น�ำทั้ง 6 องค์ประกอบนั้น เจ้าอาวาสควรมีวิสัยทัศน์  มีการฝึก การอบรม และมีความคิดสร้างสรรค์ว่าท�ำอย่างไรให้วัด เป็นพุทธอุทยานให้ได้  เจ้าอาวาสต้องมีการ สร้ า งสรรค์ ต ามหลั ก ธรรมาภิ บ าล ต้ อ งมี คุ ณ ธรรม มี ค วามรู ้   มี ป ระสบการณ์   และ ส่งเสริมให้มีการนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 ดังนั้น เจ้าอาวาสจ�ำต้องน�ำหลักการเรื่องของ การเข้ า ใจ เข้ า ถึ ง และพั ฒ นา มาใช้ ใ นการ พัฒนา โดยไม่จ�ำเป็นต้องเหมือนทางโลก แต่ ควรอยู่บนหลักของพระธรรมวินัยเป็นส�ำคัญ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ระดับองค์กรหรือวัดจากการศึกษา ที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าระดับ ภาวะผู้น�ำเจ้าอาวาสเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากในการ บริ ห ารจั ด การวั ด เป็ น กลไกที่ ช ่ ว ยพั ฒ นา บุ ค ลากรและแนวทางการด� ำ เนิ น งานเพื่ อ

รองรั บ การเปลี่ ย นแปลงในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ กล่าวคือ เป็นข้อมูลให้มหาเถรสมาคม อันเป็น องค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์  ส่งต่อไปยังองค์กร ย่อยต่างๆ ทั้งภาค จังหวัด อ�ำเภอ และต�ำบล เพื่อท�ำแผนฝึกอบรมเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็น ข้ อ มู ล ในการคั ด สรรบุ ค ลากรสงฆ์ ม าด� ำ รง ต�ำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป 2. ระดับการด�ำเนินงานในระดับการ ปฏิ บั ติ ก ารควรมี ก ารปรั บ ใช้ ผ ลที่ ไ ด้ จ าก คุ ณ ลั ก ษณะภาวะผู ้ น� ำ การบริ ห ารองค์ ก ร การบริ ห ารงานบุ ค คล การพั ฒ นาวั ด แบบ บูรณาการ ความรูท้ างเทคโนโลยี  และความคิด สร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอเพื่อการวิจัยต่อไป 1. ในการท�ำวิจัยครั้งต่อไปควรมีศึกษา องค์ประกอบภาวะผู้น�ำของเจ้าอาวาสในเชิง คุณภาพในแต่ละรายด้านที่มีต่อการบริหาร จั ด การวั ด ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพขึ้ น อยู ่ กั บ การ บริหารจัดการของพระภิกษุสามเณรภายในวัด 2. ควรศึกษาบทบาทของเจ้าอาวาสที่มี ความส�ำคัญต่อการตัดสินใจ ก�ำหนดนโยบาย และบริหารบุคลากรในองค์กรให้ทำ� งานอย่างมี ประสิทธิภาพ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

97


การพัฒนาองค์ประกอบภาวะผูน้ �ำ ของเจ้าอาวาสในยุคโลกาภิวตั น์

บรรณานุกรม กิตติ์กาญจน์  ปฏิพันธ์, จักรกฤษณ์  โพดาพล และวิลัยพรณ์  เสรีรัตน์. (2556). ภาวะ ผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์: สิ่งที่ควรค่าสาหรับ ทุกคนในอนาคต.ขอนแก่น: คลังนานา. กองพุทธศาสนสถาน ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี 2557. นครปฐม:ส�ำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ. กวี  วงศ์พุฒ. (2535). ภาวะผู้น�ำ. กรุงเทพ มหานคร: ศูนย์ส่งเสริมบัญชี. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). รายงานการวิ จั ย เรื่ อ งระบบประกั น คุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาแห่ง ชาติ: การอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพัฒนานโยบายและวางแผนการ จัดการศึกษา. ธีรวุฒ ิ ทองโอษฐ์. (2544). การศึกษาการปฏิบตั ิ ศาสนกิ จ ของเจ้ า อาวาสในจั ง หวั ด ร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและ การจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

98

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธรรมนูญ เฮงษฎีกลุ . (2551). กระแสโลกาภิวตั น์ กับการศึกษาต่อเนื่อง. วารสารมหา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี ฉบับที่  10 (ตุลาคม – พฤศจิกายน) : 1-30. นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะ ผู ้ น�ำ เชิ ง อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละปั จจั ย ที่ มี อิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้น�ำเชิง อิเล็กทรอนิกส์ส�ำหรับผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาการบริหาร การศึ ก ษา คณะศึ ก ษาศาสตร์   มหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. พระไพศาล วิ ส าโล. (2543). แนวโน้ ม ของ พุ ท ธศาสนาไทยในศตวรรษที่   21. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร. พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ.ปยุตโต). (2545). การศึ ก ษาเครื่ อ งมื อ พั ฒ นาที่ ยั ง ต้ อ ง พัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก. . 2557. พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับ ประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.


ธนัญชัย แสงกล้า, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ และ ธนีนาฏ ณ สุนทร

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้น�ำแบบ สร้างสรรค์. [Access on August 5, 2014]. Available from: http:// suthep.ricr.ac.th Burke, R.J. (2009). Leading in turbulent times: Managing in the new world of work (Manchester Business and Management). Malden, MA: Blackwell Pub. Certo, S.C. (2006). Modern management. N.J: Pearson Prentice Hall. Cronbach, L.J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.), New York, Harper & Row Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., and Tatham, R.L. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561

99


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสี่ยงโชค

ของคริสตชนคาทอลิก กรณีศึกษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

Catholic Christian Attitudes and Gambling

Situation Case Study: The Habitants of our Lady of The Miraculous Medal Church, Kaengkabao. กฤษฎา ว่องไว

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวง ดร.พิเชฐ แสงเทียน  * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดคณะเยสุอิต * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม

Krisada Wongwai

* Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Dr.Pichet Saengthien, S.J.

* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lecturer of The Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College.

Asst.Prof.Laddawan Prasutsaengchan, Ph.D.

*  Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College.


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีจุดประสงค์  1) เพื่อศึกษาทัศนคติและ สภาพการณ์การเสี่ยงโชคของคริสตชนคาทอลิก 2) เพื่อศึกษาประเด็น ทางจริยธรรมเกีย่ วกับการเสีย่ งโชค กลุม่ ตัวอย่าง คือ คริสตชนคาทอลิก วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์  แก่งกะเบา จ�ำนวน 113 ครอบครัว ผู้ให้ ข้อมูลครอบครัวละ 1 คน เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่  18 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติ เชิงพรรณนาได้แก่  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการเสี่ยงโชคว่าเป็นบาปผิด หรือขัดต่อหลักค�ำสอนของศาสนาคริสต์ แต่กย็ งั นิยมการเสีย่ งโชคเพราะ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ สนุกสนาน คลายเครียด มากที่สุด รองลงมา คือ ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยนิยมซื้อหวยใต้ดิน/หวยลาว/หวยหุ้น มากทีส่ ดุ  รองลงมา ซือ้ ลอตเตอรี/่ สลากกินแบ่ง ซือ้ สลากออมทรัพย์ของ ธนาคารออมสิน/ธนาคารเกษตรและสหกรณ์  การชิงโชคต่างๆ แต่เมื่อ เสี่ยงโชคแล้ว ท�ำให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อผู้เสี่ยงโชคใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ครอบครัว ได้แก่ การเป็นแบบอย่างทีไ่ ม่ดแี ก่บตุ รหลาน มากที่สุด รองลงมาคือ รายได้ลดลงหนี้สินมากขึ้น ครอบครัวถูกสังคม มองไปในทางที่ไม่ดี  การทะเลาะเบาะแว้ง 2) สุขภาพ และ 3) หน้าที่ การงาน อย่างไรก็ตาม ผูใ้ ห้ขอ้ มูลส่วนใหญ่มคี วามตัง้ ใจทีจ่ ะเสีย่ งโชคให้ น้อยลง และทุกคนมีความตั้งใจที่จะอบรมสั่งสอน ตักเตือนบุตรหลาน เกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการเสี่ยงโชค 2. ประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ เสี่ยงโชค ได้แก่  ความรัก ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม และความ ซื่อสัตย์  ซึ่งจริยธรรมเหล่านี้  สามารถช่วยให้ครอบครัว คริสตชนมีการ พัฒนา โดยน�ำไปใช้เป็นหลักในการด�ำเนินชีวติ และแสดงออกมาทางการ ปฏิบัติได้  อันเป็นผลด้านบวกต่อครอบครัวคริสตชน ท�ำให้มีแนวโน้มที่ จะช่วยลดผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากการเสีย่ งโชค และสามารถด�ำเนินชีวติ ตามหลักค�ำสอนของพระเป็นเจ้าและของพระศาสนจักรได้ดีมากยิ่งขึ้น ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 101


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

Abstract

The purposes of this descriptive research were: 1) to study the attitude and situation of the parishioners affected by gambling. 2) to study a moral viewpoint toword the gambling problem. The target group of study were the parishioners of the Parish of Our Lady of the Miraculous Medal Church. The data was provided by a member over 18 years old from 113 families. The tool for data  collection  was  questionnaire.  The  data  was analyzed by descriptive statistic; frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation. The findings were as follows: 1. Most of the respondents expressed that according to the teaching of the Church gambling was a sin. But gambling still has been popular because the people think that it is just for relaxing and they may earn some money. The popular gambling were illegal lottery-Laos lottery-the number of the stock market, government lottery, bank lottery and other kinds of gambling respectively. There are three negative impacts on the gambler. 1) Family: being bad model to the children, losing money, having more debt, being looked down by the neighbors and impact on quarreling in the family, 2) Health and 3) Job. However most of the respondents have the intention to reduce gambling and everyone attends to teach their children about the disadvantages of gambling

102 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

2. For morality toward gambling impacts to the person at their virtues of love, responsibility, justice and fidelity. The moral help Christian families to grow and integrate in their life and show the virtues in their actions. May these some positive effects to Christian families foud to reduce the negative impacts from gambling and have better lifes as the teaching of the Church. Key Word: Gambling The Parish Of Ourlady Of The Miraculous Medal Church, Kaeng Kabao

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 103


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา วัฒนธรรมความเป็นอยู่และความเชื่อ ของคนไทยอย่างหนึ่งที่มีมาแต่ช้านาน นั่นคือ การเชื่อเรื่องโชคลาง โชคลาภ ที่มักพบเห็นได้ ในการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน เช่น การกราบไหว้ พระ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ เพื่อการ เป็ น สิ ริ ม งคล โชคดี   คุ ้ ม ครองตนเองและ ครอบครัว การดูฤกษ์ยามงามดีในการสร้าง บ้าน ท�ำกิจการ หรือการแต่งงาน เพื่อความ เป็นสิริมงคล เจริญรุ่งเรือง รวมไปถึงความเชื่อ ในเรื่องของดวงชะตา ความโชคดีโชคร้ายของ บุคคลที่แตกต่างกันไป วัฒนธรรมความเป็นอยู่และความเชื่อ ของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องโชคลาง โชคลาภนี้ ยังคงมาจนถึงปัจจุบัน และดูเหมือนจะเป็นที่ รู้จักและนิยมกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของ โชคลาภ การเสี่ยงโชค ด้วยทุกวันนี้  การเสี่ยง โชคหรือการเสีย่ งดวงเพือ่ ให้ได้โชคได้ลาภนัน้ มี ด้วยกันหลายอย่างมีทั้งการเสี่ยงโชคที่ต้องใช้ เงินลงทุนและไม่ใช้เงินทุน มีการแข่งขันกันเพือ่ ให้ได้รางวัล เป็นการเสี่ยงโชคที่ถือว่าเป็นการ พนันตามพระราชบัญญัตกิ ารพนัน พ.ศ. 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาจนถึง ฉบับที่  8 พ.ศ. 2505  (ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการกฤษฎี ก า, 2505: 1-8) ตามบัญชี  ก. เช่น หวย โป จับยีก่ ี ไพ่สามใบ แปดเก้า ต่อแต้ม คู่คี่  ถั่ว น�้ำเต้า ไฮโลว์  ปั่นแปะ สล๊อทแมชีน ฯลฯ หรือตาม

104 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

บั ญ ชี   ข. เช่ น สลากกิ น แบ่ ง  ไพ่ น กกระจอก ชนโค ชนไก่ กัดปลา แข่งม้า ชกมวย บิงโก บิลเลียด สะบ้าฟุตบอลโต๊ะ ฯลฯ ซึ่งการเสี่ยง โชคดังกล่าวนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้ ง ตั ว ผู ้ ที่ นิ ย มเสี่ ย งโชคก็ จ ะชอบเสี่ ย งโชค หลายๆ รูปแบบที่เปิดกว้างและเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะการเสี่ยงโชคผ่านทางสื่อเทคโนโลยี สื่ อ ออนไลน์   หน่ ว ยงานหรื อ ผู ้ ป ระกอบการ ก็เพิม่ มูลค่าของรางวัลให้สงู ขึน้  เพือ่ จูงใจผูเ้ สีย่ ง โชคให้มากขึ้นปรากฏการณ์เหล่านี้ก�ำลังสร้าง บรรยากาศที่บ่มเพาะให้คนไทย โดยเฉพาะ เยาวชนไทยหมกมุ่นในการใช้เงินน้อยต่อยอด เพื่อให้ได้เงินมาก สร้างความฝันลมๆ แล้งๆ และที่ส�ำคัญก็คือ การบ่มเพาะจิตใจของการ เป็ น นั ก พนั น ตลอดจนบ่ อ นเซาะความเชื่ อ ศรัทธาซึ่งเป็นสากลในเรื่องที่ว่าความส�ำเร็จใน ชีวิตมาจากการบากบั่นท�ำงาน ‘การเสี่ยงโชค’ ชนิดที่มอมเมาผู้คนจะหล่อหลอมและบ่มเพาะ ให้ ผู ้ ค นรั ก การพนั น ในระยะเวลายาว... (หนั ง สื อ พิ ม พ์ ก รุ ง เทพธุ ร กิ จ  ฉบั บ วั น ที่   4 มิถุนายน 2556) ในเรื่องของการเสี่ยงโชคนี้  พบได้กับ ประชาชนทั่วไป ไม่เจาะจงว่าเป็นผู้ที่นับถือ ศาสนาใด ส� ำ หรั บ พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก (2003: ข้อ 2413) ระบุมุมมองในเรื่องนี้ว่า เกมที่ เ สี่ ย ง (เช่ น  การแทงหวย การเล่ น ไพ่ ฯลฯ) หรือการพนันในตัวมันเองไม่ขดั ต่อความ


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ยุติธรรม แต่หากมองตามหลักศีลธรรม คงไม่ อาจยอมรับสิ่งที่เหล่านี้ได้  เมื่อการเล่นเกมที่ เสี่ยงหรือการพนันนั้น ท�ำให้บางคนขาดสิ่งที่ จ�ำเป็นส�ำหรับตนเองและของคนอื่น การติด การพนันเสีย่ งต่อการกลายเป็นทาส การฉ้อโกง ในการพนั น หรื อ การเล่ น  ถื อ เป็ น เรื่ อ งหนั ก ยกเว้นแต่วา่ ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ นัน้ เบามาก จนว่าเจ้าทุกข์ไม่ถอื ว่าเป็นเรือ่ งส�ำคัญ และพระ สันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่  2 ก็ได้ให้แนวคิด เกี่ ย วกั บ อิ ส รภาพของมนุ ษ ย์ ใ นสมณสาสน์ Veritatis Splendor ว่า อิสรภาพของมนุษย์ จะต้องคู่กับความรับผิดชอบ มนุษย์ต้องรับ ผิดชอบต่อการเลือกวิถีของตน พระองค์ทรง เรียกร้องให้มนุษย์ใช้อิสรภาพด้วยความรับ ผิดชอบ การใช้เสรีภาพในลักษณะเช่นนี้จึงจะ ถือได้วา่ มนุษย์มคี วามรับผิดชอบต่อการกระท�ำ ในชีวิตของเขา” (อ้างถึงใน วุฒิชัย อ่องนาวา, 2550: 46) ดังนั้น การใช้อิสรภาพของมนุษย์ จึงจ�ำเป็นต้องมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเอง ได้เลือกนั้น ดังนั้นการหลงมัวเมากับการเสี่ยง โชค ไม่เป็นอันท�ำมาหากิน มีหนี้สิน ก็ย่อมน�ำ มาซึ่งความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว บางคนอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวเลย ดังค�ำ กล่ า วของคนไทยที่ ว ่ า  โจรขึ้ น บ้ า นสิ บ ครั้ ง ไม่เท่าไฟไหม้บา้ นครัง้ เดียว ไฟไหม้บา้ นสิบครัง้ ยังไม่เท่าเสียพนันครั้งเดียว สาขาวิชาจิตวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2559: ออนไลน์) ระบุว่า การติดการพนันก่อ ให้เกิดความบกพร่องในชีวิตทั้งทางด้านจิตใจ ร่างกาย สังคม หรืออาชีพอย่างรุนแรง มีผล กระทบต่อครอบครัวทัง้ ในแง่ความสัมพันธ์และ การเงิน คนทัว่ ไปทีเ่ ล่นการพนันอาจเล่นเพราะ รู้สึกสนุกกับการที่ได้เสี่ยง หรือลุ้นที่จะชนะ พนัน ในขณะที่บางคนเล่นเพื่อท�ำให้อารมณ์ ตนเองดีขึ้น หรือเพื่อหลีกหนีจากปัญหามรสุม ในชีวติ  จากการศึกษาพบว่ามีนกั พนันประมาณ 8 – 47 % ติดสารเสพติดชนิดอื่น เช่น บุหรี่ เหล้า กัญชา ร่วมด้วย และพบกลุม่ อาการทาง จิ ต เวชได้ ม ากกว่ า คนทั่ ว ไป เช่ น  ปั ญ หา บุคลิกภาพโดยเฉพาะบุคลิกภาพแบบอันธพาล อาการซึ ม เศร้ า  การฆ่ า ตั ว ตาย โดยพบการ พยายามฆ่าตัวตายได้มากถึง 15 – 20% ของ ผู้ติดการพนัน ตามหลักค�ำสอนของศาสนาล้วนสอนให้ บุคคล ไม่เล่นหรือหมกหมุน่ ไปกับการเสีย่ งโชค เล่นการพนันจนท�ำให้ตนเองหรือครอบครัว เดือดร้อน และสอนให้มีความรับผิดชอบต่อ หน้าที่และต่อสิ่งที่กระท�ำให้เป็นไปตามหลัก ศีลธรรม ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงการเสี่ยง โชคของคริสตชน วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา ต�ำบลป่งขาม อ�ำเภอหว้านใหญ่ จั ง หวั ด มุ ก ดาหาร  ซึ่ ง เป็ น กลุ ่ ม ชนที่ ยั ง มี วัฒนธรรมความเป็นอยู่และความเชื่อในเรื่อง ของโชคลาง โชคลาภ และการเสี่ ย งโชคใน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 105


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

รูปแบบต่างๆ เพือ่ เข้าใจถึงทัศนคติ  และสภาพ การณ์การเสี่ยงโชคและประเด็นทางจริยธรรม เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแล อภิบาลคริสตชนและชุมชนต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาทัศนคติและสภาพการณ์ การเสี่ยงโชคของคริสตชนคาทอลิก 2. เพือ่ ศึกษาประเด็นทางจริยธรรมเกีย่ ว กับการเสี่ยงโชค นิยามศัพท์เฉพาะ ทั ศ นคติ เรื่ อ งการเสี่ ย งโชค หมายถึ ง ความคิดเห็น ความรู้  ความเข้าใจ ความรู้สึก ของบุคคลที่มีต่อการเสี่ยงโชค เล่นการพนัน โดยเกิ ด จากความรู ้   ความเข้ า ใจ ความเชื่ อ ประสบการณ์  หรือสิ่งแวดล้อมที่ท�ำให้บุคคล แสดงพฤติกรรมในด้านสนับสนุนหรือปฏิเสธ เรื่องการเสี่ยงโชค เล่นการพนัน การเสี่ยงโชค หมายถึง การกระท�ำเพื่อ ให้ได้รางวัล สิ่งที่คาดหวัง ทั้งที่มีการลงทุนมี การชิงไหวชิงพริบ มีการแข่งขัน หรือไม่มกี ต็ าม เช่ น  การส่ ง ชิ้ น ส่ ว นสิ น ค้ า การส่ ง ข้ อ ความ หมายเลขโทรศัพท์เพือ่ ชิงรางวัล หรือการเสีย่ ง โชคที่ถือว่าเป็นการพนันตามพระราชบัญญัติ การพนันด้วย เช่น การเล่นไพ่  ไฮโลว์  ชนไก่ กัดปลา พนันบอล พนันมวย ซื้อสลากกินแบ่ง หวยใต้ดิน หวยลาว ฯลฯ 106 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

จริยธรรมทีเ่ กีย่ วกับการเสีย่ งโชค หมาย ถึง หลักการประพฤติที่เกี่ยวข้องกับการเสี่ยง โชคตามค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC) ภาคที ่ 3 ชีวติ ในพระคริสตเจ้า พระบัญญัติ ประการต่างๆ ในเรือ่ งความรัก ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม และความซื่อสัตย์ คริสตชนคาทอลิก หมายถึง บุคคลที่ นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในงาน วิจัยนี้หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ นิ ก ายโรมั น คาทอลิ ก  ที่ อ ยู ่ ใ นเขตการดู แ ล ของวัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์  แก่งกะเบา วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์  แก่งกะเบา หมายถึง โบสต์แห่งหนึง่ ในศาสนาคริสต์  นิกาย โรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งกะเบา ต�ำบล ป่งขาม อ�ำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร วิธีด�ำเนินการวิจัย เป็นการวิจยั เชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยด�ำเนินการศึกษาข้อมูลทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคจากครอบครัว คริ ส ตชนในเขตวั ด แม่ พ ระเหรี ย ญอั ศ จรรย์ จ�ำนวน 113 ครอบครัว จากจ�ำนวนประชากร ทั้งหมด 153 ครอบครัว ได้มาโดย โดยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากการ ใช้ตารางเครจซี่  และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608 – 609) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คื อ  บุ คคลในครอบครั วคริ ส ตชนที่ เ ป็ นกลุ ่ ม


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่  18 ปีขึ้นไป ครอบครัว ละ 1 คน รวม 113 คน การเก็บข้อมูลจากลุม่ ข้อมูลใช้แบบสอบถามเรือ่ ง ทัศนคติและสภาพ การณ์ ก ารเสี่ ย งโชคของคริ ส ตชนคาทอลิ ก จ�ำนวน 1 ฉบับ ที่ผ่านการตรวจประเมินจาก ผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 3 คนแล้ว ได้ค่าดัชนีความ สอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ระหว่าง 0.6-1.00 แล้วน�ำไป ทดลองใช้  (Try out) กับคริสตชนที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่างจ�ำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) จากการค�ำนวณค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา (α-coefficient) ของครอนบาค (Cronbach, Lee J., 1984) เท่ากับ .729 แล้วน�ำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 113 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมาจ�ำนวน 113 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 น�ำข้อมูลที่ได้ จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์  ข้อมูลส่วนตัว โดยใช้คา่ ความถี ่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ทัศนคติและสภาพการณ์และ ผลกระทบจากการเสี่ ย งโชคใช้   ค่ า ความถี่ (Frequency) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean: X ) และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) แล้วผู้วิจัยน�ำ ผลกระทบทีเ่ ป็นด้านลบมาวิเคราะห์สงั เคราะห์ (Content Analysis / Content Synthesis) โดยใช้หลักค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC) ภาคที่  3 ชีวิตในพระคริสตเจ้า และ

พระบัญญัติต่างๆ ในประเด็นทางจริยธรรมที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ผลที่ ไ ด้ จ ากการสอบถามกลุ ่ ม ตัวอย่าง แล้วจัดท�ำเป็นรายงานการศึกษาวิจัย ผลการวิจัย 1. ข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง พบ ว่ า  ส่ วนใหญ่ เ ป็ นเพศหญิ ง  จ� ำ นวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 62.8 เพศชาย 42 คน (ร้อยละ 37.2) ระดับการศึกษาส่วนใหญ่  อยู่ในช่วง มัธยมศึกษา, ปวช, ปวส.อนุปริญญา 74 คน (ร้อยละ 62.8) รองลงมา ประถมศึกษาหรือ ต�่ำกว่า 35 คน (ร้อยละ 31.0) น้อยที่สุดคือ ปริญญาตรี  7 คน (ร้อยละ 6.2) รายได้โดย เฉลี่ยต่อเดือน ต�่ำกว่า 5,000 บาท 54 คน (ร้อยละ 47.8) รองลงมา 5,000-10,000 บาท 36 คน (ร้อยละ 31.9) และน้อยทีส่ ดุ  20,00130,000 บาท 2 คน (ร้อยละ 1.8) 2. กลุ่มตัวอย่างมีการเสี่ยงโชค 91 คน (ร้อยละ 80.53) ไม่เคยเสีย่ งโชค 22 คน (ร้อย ละ 19.47) ประเภทที่เสี่ยงโชคมากที่สุด คือ ซื้อหวยใต้ดิน/หวยลาว/หวยหุ้น 80 คน (ร้อย ละ 70.08 มากที่สุด รองลงมา ซื้อลอตเตอรี่/ สลากกินแบ่ง 64 คน (ร้อยละ 56.46) ซื้อ สลากออมสิน/ธกส. 41 คน (ร้อยละ 36.28) การส่งชิ้นส่วน 37 คน (ร้อยละ 32.74) การ เล่ น บิ ง โก/จั บ สลาก 31 คน (27.43) และ ประเภทที่คนเล่นน้อยที่สุดคือ การแข่งบั้งไฟ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 107


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

5 คน (ร้อยละ 4.42) โดยมีผู้ที่เล่นทุกสัปดาห์ มากทีส่ ดุ  คือ 40 คน (ร้อยละ 35.4) รองลงมา คือ นานๆ เล่นครัง้ หนึง่  29 คน (ร้อยละ 25.66) เล่นทุกเดือน 22 คน (ร้อยละ 19.47) และเล่น ทุกวันน้อยที่สุด 7 คน (ร้อยละ 6.2) 3. กลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่มคี วามคิดเห็น ว่า การเสีย่ งโชค/การเล่นพนันเป็นบาปผิดหรือ ขัดต่อหลักค�ำสอนของศาสนาคริสต์ ( X =3.83, S.D.=1.401 อยู่ในระดับมาก) เป็นสิ่งที่ดีมี ประโยชน์นอ้ ย ( X =2.41, S.D.=1.354 อยูใ่ น ระดับน้อย) และการเสีย่ งโชคนัน้  ส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจการเงินของผูท้ เี่ สีย่ งโชค มากทีส่ ดุ ( X =4.24, S.D=.4.956 อยู ่ ใ นระดั บ มาก) รองลงมาคื อ  การส่ ง ผลกระทบด้ า นลบต่ อ คนในครอบครัวของผูท้ เี่ สีย่ งโชค เล่นการพนัน ( X =4.01, S.D.=1.91 อยู่ในระดับมาก) การ ส่ ง ผลกระทบด้านลบต่อชุมชน สังคม หรือ ประเทศชาติ  ( X =3.88, S.D.=1.116 อยู่ใน ระดับมาก) การท�ำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และโจรขโมยมากขึน้  ( X =3.86, S.D=.1.141 อยู่ในระดับมาก) และการเสี่ยงโชค/การเล่น พนัน ท�ำให้ศีลธรรมในสังคมเสื่อมลง ( X = 3.84, S.D=.1.098 อยู่ในระดับมาก) กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งที่ เ ล่ น การพนั น มี ค วาม นิยมชมชอบในการเสี่ยงโชค/เล่นพนัน อยู่ใน ระดั บ ปานกลาง ( X =2.82, S.D=1.670) เหตุ ผ ลที่ เ สี่ ย งโชค/เล่ น พนั น มากที่ สุ ด คื อ

108 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ สนุกสนาน คลาย เครียด ( X =3.43, S.D=1.292 อยู่ในระดับ ปานกลาง) รองลงมาคือ ต้องการมีรายได้เพิ่ม ขึ้น ( X =3.12, S.D=1.436 อยู่ในระดับปาน กลาง) แต่เมือ่ เสีย่ งโชคแล้ว ท�ำให้ผเู้ ล่นมีรายได้ ลดลง หนี้สินมากขึ้น ( X =3.06, S.D=1.348 อยูใ่ นระดับปานกลาง) และเกิด 1) ผลกระทบ ต่อครอบครัว กล่าวคือ มีผลกระทบในเรือ่ งของ การเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้แก่บุตรหลานมาก ทีส่ ดุ  ( X =3.96, S.D=3.504 อยูใ่ นระดับมาก) รองลงมาคือ ครอบครัวถูกสังคมมองไปในทาง ที่ไม่ดี  ( X =3.32, S.D=1.365 อยู่ในระดับ ปานกลาง) เศรษฐกิจ เช่น รายได้ลดลง เงินไม่ พอใช้หนี้สินมากขึ้น ( X =3.32, S.D=1.334 อยูใ่ นระดับปานกลาง) และมีการทะเลาะเบาะ แว้ ง ในครอบครั ว  ( X =3.03, S.D=1.303 อยู่ในระดับปานกลาง) 2) ผลกระทบด้านลบ สุขภาพของตน (สุขกายและสุขภาพจิต) ( X = 2.86, S.D.1.231 อยู่ในระดับปานกลาง) และ 3) เกิดผลกระทบด้านลบต่อหน้าทีก่ ารงานทีท่ ำ� อยู่  ( X =3.263, S.D.=1.153 อยู่ในระดับ ปานกลาง) กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจที่จะเสี่ยงโชค ให้น้อยลง มากที่สุด ( X =2.85, S.D=1.144 อยูใ่ นระดับปานกลาง) รองลงมาคือ ตัง้ ใจทีจ่ ะ เลิกเสี่ยงโชค ( X =2.80, S.D=1.144 อยู่ใน ระดับปานกลาง) ซึ่งใกล้เคียงกับที่คิดว่าจะยัง


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

คงเสี่ ย งโชคต่ อ ไป ( X =2.79, S.D=1.269 อยู่ในระดับปานกลาง) แต่ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด (113 คน) มี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะอบรมสั่ ง สอน ตักเตือนบุตรหลานเกีย่ วกับข้อดีและข้อเสียของ การเสี่ยงโชค/การเล่นพนัน อยู่ในระดับมาก ( X =3.911, S.D.=1.278) กลุม่ ตัวอย่างทีม่ คี วามตัง้ ใจทีจ่ ะเสีย่ งโชค หรือเล่นการพนันต่อไป ก็เพราะว่า เป็นสิ่งที่ คลายเครียด สนุก ได้ลุ้น ชีวิตมีสีสัน มีความ ฝันมีความหวัง ลงทุนน้อยได้ก�ำไรมาก มาก ที่สุด (ความถี่  12) รองลงมาคือ หวังจะเพิ่ม รายได้  มีเงินหมุนมาใช้จ่ายภายในครอบครัว (ความถี่  11) และเล่นเผื่อเสี่ยงโชคบ้าง อยาก มีเงินเยอะๆ เผื่อถูกรางวัลที่  1 (ความถี่  8) ส่วนกลุม่ ตัวอย่างทีม่ คี วามตัง้ ใจทีจ่ ะลดหรือเลิก เสี่ยงโชคหรือเล่นการพนัน ก็เพราะว่า เป็น แบบแบบอย่างที่ไม่ดีต่อลูกหลาน/ท�ำให้ลูก หลานเลียนแบบที่ไม่ดี  มากที่สุด (ความถี่  11) รองลงมาคื อ  เงิ น ไม่ พ อใช้   ไม่ มี เ งิ น ลงทุ น (ความถี่  9) มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น (ความถี่  5) 4. จากการศึ ก ษาทั ศ นคติ แ ละสภาพ การณ์การเสี่ยงโชคของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การเสี่ ย งโชคก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบด้ า นลบ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ครอบครัว ได้แก่  การ เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่บุตรหลานมากที่สุด รองลงมาคื อ  รายได้ ล ดลงหนี้ สิ น มากขึ้ น ครอบครัวถูกสังคมมองไปในทางที่ไม่ดี  การ

ทะเลาะเบาะแว้ง 2) สุขภาพ และ 3) หน้าที่ การงาน ซึ่ ง การเสี่ ย งโชคเล่ น การพนั น นี้ ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC) ภาคที ่ 3 ชีวิตในพระคริสตเจ้า ข้อ 2413 ระบุว่า เกมที่ เสี่ยง (เช่น การเล่นไพ่  ฯลฯ) หรือการพนันใน ตัวมันเองไม่ขัดต่อความยุติธรรม แต่ไม่อาจ ยอมรับสิ่งเหล่านี้ตามหลักศีลธรรม เมื่อท�ำให้ บางคนขาดสิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับตนเองและของ คนอื่น การติดการพนันเสี่ยงต่อการกลายเป็น ทาส การฉ้อโกงในการพนัน หรือการเล่นอื่นๆ ถือเป็นเรือ่ งหนัก และตามทีส่ มเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที ่ 2 ทรงกล่าวในพระสมณสาส์น (Veritatis Splendor ว่า อิสรภาพของ มนุษย์จะต้องคูก่ บั ความรับผิดชอบ มนุษย์ตอ้ ง รั บ ผิ ด ชอบต่ อ การเลื อ กวิ ถี ข องตน ต้ อ งใช้ อิสรภาพด้วยความรับผิดชอบ เหล่านี้จึงน�ำไป สู่ประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องตามหลัก ค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก 4 ประการ คือ 1) ความรัก 2) ความรับผิดชอบ 3) ความ ซื่อสัตย์  และ 4) ความยุติธรรม ซึ่งจริยธรรม เหล่านี้  สามารถช่วยให้ครอบครัว คริสตชนมี การพั ฒ นาในเรื่ อ งของความรั ก  ความรั บ ผิดชอบ ความยุติธรรม และความซื่อสัตย์ที่ดี มากยิ่งขึ้น โดยคริสตชนสามารถน�ำไปใช้เป็น หลั ก ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต และแสดงออกมา ทางการปฏิ บั ติ ไ ด้   อั น เป็ น ผลด้ า นบวกต่ อ ครอบครั ว คริ ส ตชน มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะช่ ว ยลด

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 109


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการเสี่ ย งโชค และ สามารถด�ำเนินชีวิตตามหลักค�ำสอนของพระ เป็นเจ้าและของพระศาสนจักรได้ดีมากยิ่งขึ้น อภิปรายผล 1. ทัศนคติและสภาพการณ์การเสี่ยงโชค 1.1 เหตุผลในการเสี่ยงโชค กลุม่ ตัวอย่างมีเหตุผลในการเสีย่ งโชคว่า เป็นเพราะต้องการพักผ่อนหย่อนใจ สนุกสนาน คลายเครียด มีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเป็น เพราะ รู้สึกชอบที่ได้เสี่ยงโชค ขณะเล่นก็มี ความสนุกเร้าใจ ตื่นเต้นได้ลุ้นว่าจะได้หรือไม่ หากเป็ น ฝ่ า ยมี โชค ได้ ม ากกว่ า เสี ย  ก็ รู ้ สึ ก ชอบใจติดใจ ต้องการเล่นอีก รูส้ กึ ว่าได้มาง่ายๆ ไม่ ต ้ อ งเหนื่ อ ยไม่ ต ้ อ งออกแรง วั น ไหนเสี ย มากกว่าได้  ก็คิดว่าวันข้างหน้าก็คงจะมีโอกาส ได้มากกว่าเสีย ความคิดความรู้สึกชอบที่จะ เสี่ ย งโชคนี้ ส อดคล้ อ งกั บ องค์ ป ระกอบของ ทั ศ นคติ ข อง  ซิ ม บาโด  และ  เอบบี - เซน (Zimbardo and Ebbesen, 1970 อ้างถึงใน พรทิพย์ บุญนิพทั ธ์, 2531: 49) ซึง่ ได้แยกเป็น ประเด็นไว้ 3 ประเด็นคือ 1) องค์ประกอบด้าน ความรู้  เป็นความเชื่อของบุคคล ที่เกี่ยวกับ สิง่ ต่างๆ ทัว่ ไปทัง้ ทีช่ อบและไม่ชอบ หากบุคคล มีความรู้  หรือคิดว่า สิ่งใดดี  มักจะมีทัศนคติ ที่ ดี ต ่ อ สิ่ ง นั้ น  แต่ ห ากมี ค วามรู ้ ม าก่ อ นว่ า สิ่ ง ใดไม่ ดี ก็ จ ะมี ทั ศ นคติ ที่ ไ ม่ ดี ต ่ อ สิ่ ง นั้ น

110 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2) องค์ ป ระกอบด้ า นความรู ้ สึ ก  คื อ  ส่ ว นที่ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลแตกต่างกันไปตามบุคลิกภาพของคน นัน้  เป็นลักษณะทีเ่ ป็นค่านิยมของแต่ละบุคคล 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม คือ การแสดง ออกของบุ ค คลต่ อ สิ่ ง หนึ่ ง หรื อ บุ ค คลหนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น ผลมาจากองค์ ป ระกอบด้ า นความรู ้ ความคิด และความรู้สึก และสอดคล้องกับที่ Karl H.Peschke, S.V.D. (2010: 256, 726727, 742) ได้กล่าวเชื่อมโยงถึงการเสี่ยงโชค หรื อ การพนั น ในเอกสาร “Christian Ethics: Moral Theology in the Light of Vatican 2” ว่ า  “เกมยั ง เหมาะในการที่ จ ะให้ ความบันเทิง นันทนาการ เป็นการหย่อนใจ หากฝึ ก เพื่ อ การเล่ น พนั น จะเป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ดี น�ำความเสียหายมาสูเ่ ศรษฐกิจ เป็นการกระท�ำ ทีส่ นิ้ เปลืองกับคนจน การเล่นเกมเพือ่ แสวงหา โชคหรือโอกาสนั้นเป็นการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่าย เป็น ส� ำ หรั บ ชนิ ด ของการเสี่ ย งโชคที่ ก ลุ ่ ม ตัวอย่างนิยมเล่นมากที่สุดนั้น คือ การซื้อหวย ใต้ดิน หวยลาว หวยหุ้น ลอตเตอรี่  สลากกิน แบ่ง ซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารออมสิน ธนาคารเกษตรและสหกรณ์   นั้ น  อาจเป็ น เพราะความนิยมชมชอบในการเสี่ยงโชคเป็น ทุนเดิมอยู่แล้ว และคงเห็นว่าเป็นการลงทุน น้อยแต่ได้มากเช่น หวยใต้ดิน หวยลาว หวย


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

หุ้น ที่ผู้เล่นสามารถก�ำหนดจ�ำนวนเงินที่จะ ลงทุ น หรื อ ที่ เรี ย กว่ า  "แทง" ได้ ต ามใจชอบ ตั้งแต่หลักสิบขึ้นไป และสามารถเล่นได้บ่อย มากกว่าลอตเตอรี่  สลากกินแบ่ง สลากออม ทรัพย์  อาจเล่นได้ทกุ วัน หรือเล่นได้หลายรอบ ในช่วงวันหนึ่งๆ ในขณะที่นิยมซื้อลอตเตอรี่ สลากกินแบ่ง สลากออมทรัพย์ อาจเป็นเพราะ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และหากมีโชค จะได้รับเงินก้อนโตเป็นหลักล้านบาทได้  เช่น ถูกรางวัลที่  1 ซึ่งชีวิตจริงให้ตั้งใจท�ำงานอย่าง เต็มทีก่ ค็ งเป็นไปได้ยากทีจ่ ะมีเงินหลักล้านบาท ได้ชวั่ ข้ามวันหรือข้ามคืน จึงเป็นความหวังเดียว ที่จะช่วยให้ฝันเป็นจริงได้หากมีโชคมากพอ ซึ่งชนิดของการเสี่ยงโชคของกลุ่มตัวอย่างนี้ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ บุญรักษ์ พัฒนยินดี ทีไ่ ด้ศกึ ษาเรือ่ งกระบวนการ “หวยใต้ดนิ ” แล้ว พบว่ า  คนไทยตั้ ง แต่ อ ดี ต ชอบการเสี่ ย งโชค การพนัน มาตลอด ซึง่ การพนันมีแพร่กระจาย อยู่หลายรูปแบบในสังคมไทย จนดูเหมือนว่า การพนันเป็นวัฒนธรรมหรือประเพณีของไทย ควบคู ่ กั บ วิ ถี ชี วิ ต คนไทยมาโดยตลอด และ สอดคล้องกับ พินิจ ลาภธนานนท์  และคณะ ที่ ไ ด้ ส� ำ รวจความคิ ด เห็ น ของประชากรอายุ 15 ปีขนึ้ ไป จาก 16 จังหวัดทัว่ ประเทศ จ�ำนวน ทั้งสิ้น 5,042 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปั ญ หาการเล่ น พนั น  ผลการศึ ก ษาพบว่ า ประชากรศึกษาถึงร้อยละ 77.1 เคยมีประสบ-

การณ์เล่นการพนันมาก่อน โดยภาคตะวันออก เฉี ย งเหนื อ มี ผู ้ ที่ เ คยเล่ น การพนั น มากที่ สุ ด รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ส�ำหรับ ชนิดของการพนันทีน่ ยิ มเล่นกันมาก คือ สลาก กินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน 1.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเสี่ยง โชค ผลกระทบที่เกิดกับครอบครัว ไม่ว่าจะ เป็ น การเป็ น แบบอย่ า งที่ ไ ม่ ดี แ ก่ บุ ต รหลาน ครอบครัวถูกสังคมมองไปในทางไม่ด ี เนือ่ งจาก หากน�ำทรัพย์สินเงินทองและเวลาไปใช้ในการ เสี่ ย งโชค มากกว่ า ที่ จ ะดู แ ลครอบครั ว แล้ ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ในครอบครัว เกิดการ ทะเลาะเบาะแว้ง ครอบครัวขาดจริยธรรมใน เรื่องของความรัก ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม และความซื่อสัตย์  ที่ทุกคนในครอบครัว ควรประพฤติปฏิบตั ติ อ่ กัน ดังทีเ่ อกสารวาติกนั ที่  2 ได้กล่าวว่า “การที่ชาย และหญิงสองคน ร่วมชีวิต และรักอย่างสนิทนั้นเป็นสิ่งที่พระ ผู้สร้างทรงตั้งขึ้น และก�ำหนดให้มีกฎเกณฑ์ กระนั้ น เกิ ด ขึ้ น จากการที่ ส ามี ภ รรยา สร้ า ง พันธะต่อกัน..... พระเจ้าเองเป็นผูใ้ ห้กำ� เนิดการ สมรส” (พระสมณสาส์นพระศาสนจักรในโลก ปัจจุบัน 48) ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อที่มาจาก พระคัมภีร์  “ชายจะละบิดามารดาของตนไป ผูกพันกับภรรยา และทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียว

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 111


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

กัน” (ปฐก 2:24) และตามค�ำสอนของพระ ศาสนจักรข้อที่  1660 “พันธสัญญาการสมรส ซึง่ ชายและหญิงสร้างชีวติ  และความรักร่วมกัน อย่างใกล้ชดิ ระหว่างเขาทัง้ สองนัน้  พระผูส้ ร้าง ได้ตงั้ ขึน้  และได้มอบให้เป็นธรรมบัญญัตเิ ฉพาะ ได้ตั้งขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน เพื่อความดี ของคูส่ ามีภรรยา เพือ่ ให้กำ� เนิด และการอบรม บุตรหลาน พระคริสตเจ้ายกการสมรสระหว่าง ผู้ได้รับศีลล้างบาปไปสู่ศักดิ์ศรีแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์” (CCC 1660) และเมื่อหญิงชายสมรส กัน มีบุตรหลานแล้ว หน้าที่อันส�ำคัญยิ่งก็คือ การดูแลอบรมบุตรหลาน การปฏิบัติตนเป็น แบบอย่ า งที่ ดี   ไม่ ป ระพฤติ ป ฏิ ต นไปในทาง ที่ เ สื่ อ ม ไม่ ท� ำ ตั ว เสเพล ติ ด เหล้ า ติ ด การ พนัน “จงคอยระวังว่า ท่านด�ำเนินชีวติ อย่างไร จงด�ำเนินชีวิตอย่างผู้เฉลียวฉลาด มิใช่อย่าง ผู้ขาดสติปัญญา จงใช้เวลาปัจจุบันให้ดีที่สุด เพราะเราอยู่ในยุคแห่งความเลวร้าย อย่าเป็น คนโง่เขลา แต่จงพยายามเข้าใจว่า พระเป็นเจ้า ทรงประสงค์ สิ่ ง ใด อย่ า เสพสุ ร าจนเมามาย เพราะสุราเป็นสาเหตุของการปล่อยตัวเสเพล แต่จงยอมให้พระจิตเจ้าทรงน�ำชีวิตท่าน” (อฟ 5:15-18) และ “ผู ้ ป กครองดู แ ลจะต้ อ ง ประพฤติดไี ม่มที ตี่ �ำหนิ  แต่งงานเพียงครัง้ เดียว รู ้ จั ก ประมาณตน มี ส ติ สั ม ปชั ญ ญะ สุ ภ าพ เรี ย บร้ อ ย มี อั ธ ยาศั ย ไมตรี แ ละรู ้ จั ก สอน ต้องไม่ใช่นักดื่มหรืออันธพาล แต่จะต้องมีใจ

112 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เยือกเย็น ไม่ชอบทะเลาะวิวาท ไม่โลภทรัพย์สิ น เงิ น ทอง รู ้ จั ก ปกครองคนในบ้ า นได้ ดี มี ค วามประพฤติ ดี   อบรมบุ ต รธิ ด าให้ อ ยู ่ ใ น โอวาท” (1 ทธ 4:14) อยู่ด้วยกันโดยให้ความ รั ก  ความยุ ติ ธ รรมแก่ กั น และกั น  อั น เป็ น พื้นฐานที่พระเยซูเจ้าได้ก�ำหนดให้มนุษย์พึงมี ต่อกัน “เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็ จงรักกันอย่างนั้นเถิด” (ยน 13:34) ผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย และจิ ต ใจ เนื่ อ งจาก ต้ อ งน� ำ เวลาที่ ค วรจะ พักผ่อน ออกก�ำลังกาย เสริมสร้างสุขภาพทั้ง ด้านร่างกายและจิตใจ ไปใช้ในการเสี่ยงโชค ประเภทต่างๆ ท�ำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ และเมื่อไม่มีโชค เล่นพนันเสีย รายได้ลดลง เงินไม่พอใช้  หนี้สินมากขึ้น ก็ย่อมท�ำให้เกิด ความเครียด ส่งผลเสียต่อจิตใจ เป็นการไม่รัก ตนเอง ไม่ยตุ ธิ รรมต่อตนเอง เพราะทุกคนควร มีความรักตนเอง ยุตธิ รรมต่อตนเอง ซึง่ ปัญหา นี้พระศาสนจักรได้ให้ความส�ำคัญอย่างมาก เพราะเกี่ ย วข้ อ งกั บคุ ณ ค่ า  และศั ก ดิ์ศรี ข อง ความเป็ น มนุ ษ ย์   “แก่ น แท้ ข องมนุ ษ ย์ อ ยู ่ ที่ ศักดิ์ศรี  ในฐานะที่ถูกสร้างให้เป็นภาพลักษณ์ ของพระเจ้า ดังนัน้ คุณค่า และความหมายของ มนุษย์จึงอยู่ที่การเป็นมนุษย์ที่มาจากพระเจ้า และมุ่งสู่พระเจ้า” (วุฒิชัย อ่องนาวา, 2550: 3) “ชีวิตของมนุษย์เป็นพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระเจ้า” (EV.38) “เราจะสร้างมนุษย์ขึ้นมา


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตามภาพลักษณ์ของเรา” (ปฐก 1: 26) ดังนั้น มนุษย์จึงมีหน้าที่ที่จะดูแลตนเอง รักตนเอง และให้ความยุตธิ รรมกับตนเองดังทีพ่ ระเยซูเจ้า ทรงสอนให้รกั ตนเอง (เทียบ มธ 22: 39) หาก มนุษย์ขาดความรักความยุติธรรมแม้แต่กับ ตนเองแล้ว ก็คงยากที่จะมีความรักและความ ยุ ติ ธ รรมให้ แ ก่ ผู ้ อื่ น   แม้ แ ต่ กั บ บุ ค คลใน ครอบครัว การเสี่ยงโชคโดยไม่คิดถึงผลเสีย กับตัวเอง เป็นการไม่เห็นคุณค่า และศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของตน เป็นการท�ำให้ภาพ ลักษณ์ของพระเจ้าที่อยู่ในตนสูญเสียไป ผลกระทบต่อหน้าที่การงาน เนื่องจาก การเสีย่ งโชคนัน้ มีผลกระทบต่อสุขภาพทัง้ ด้าน ร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาจส่งผลให้การปฏิบัติ หน้าที่การงาน ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร บางครั้ง อาจพักผ่อนไม่เพียงพอ เจ็บป่วย ต้องลางาน ไปท�ำงานสาย หรืออาจทิง้ ภาระหน้าทีก่ ารงาน เพือ่ มุง่ เสีย่ งโชคมากเกินไป เป็นการไม่ยตุ ธิ รรม ไม่ ซื่ อ สั ต ย์ ต ่ อ เพื่ อ นร่ ว มงาน นายจ้ า งและ องค์กร เพราะบุคลากรทุกคนควรมีความรัก ความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน ถึงแม้ทุกคนจะมีเสรีภาพในการที่จะเสี่ยงโชค แต่ถ้าใช้เสรีภาพนั้นอย่างขาดความรับผิดชอบ แล้ว เสรีภาพนัน้ ก็คงน�ำมาซึง่ ปัญหาความเดือด ร้อนของผูน้ นั้ และบุคคลในสังคมรอบข้าง ตาม ที่สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่  2 ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับอิสรภาพของมนุษย์ใน

สมณสาส์น Veritatis Splendor ว่า อิสรภาพ ของมนุษย์จะต้องคูก่ บั ความรับผิดชอบ มนุษย์ ต้องรับผิดชอบต่อการเลือกวิถขี องตน พระองค์ ทรงเรียกร้องให้มนุษย์ใช้อสิ รภาพด้วยความรับ ผิดชอบ โดยอาศัยเหตุผล การมีสติรู้ตัว และ การเต็มใจปฏิบัติอย่างเสรี 1.3 ความตัง้ ใจทีจ่ ะเสีย่ งโชคให้นอ้ ยลง และจะอบรมสั่งสอน ตักเตือนบุตรหลาน ความตั้งใจที่จะอบรมสั่งสอนตักเตือน บุตรหลานเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการ เสีย่ งโชค เป็นความตัง้ ใจทีด่ แี ละมีแนวโน้มทีจ่ ะ ก่ อ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาทางจริ ย ธรรมทั้ ง 4 ประการ คื อ  ความรั ก  ความรั บ ผิ ด ชอบ ความยุติธรรม และความซื่อสัตย์  ที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อพ่อแม่  และบุตรหลาน เพราะครอบครัว เป็นสถาบันแรกทีจ่ ะช่วยหล่อหลอมบุตรหลาน ให้เติบโตเป็นมนุษย์ทั้งครบ ด�ำเนินชีวิตตาม หลักค�ำสอนของพระเจ้า ด้วย “บิดามารดาเมือ่ ให้ก�ำเนิดบุตรแล้ว มีพันธะอันหนักยิ่งจะต้อง เลี้ยงดูอบรมบุตรเพราะเหตุนี้ต้องถือว่าบิดา มารดาเป็ น ผู ้ อ บรมส� ำ คั ญ คนแรกของบุ ต ร หน้าทีอ่ บรมของบิดามารดามีความส�ำคัญอย่าง ยิ่งยวดจนว่าถ้าขาดการอบรมของบิดามารดา ก็ยากที่จะหาการอบรมอื่นใดมาทดแทนได้” (GE 3) และ “บิดามารดามีหน้าที่หนักที่สุด และมีสทิ ธิอนั ดับแรกทีจ่ ะให้การเลีย้ งดูบตุ รของ ตนทางด้านร่างกาย สังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 113


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

และศาสนาอย่างสุดก�ำลัง (ประมวลกฎหมาย พระศาสนจักร มาตรา 1136) “ลักษณะของ การสมรสของสามีภรรยามีไว้ส�ำหรับมีบุตร และอบรมบุตร..... พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ในการ อบรมบุ ต ร” (GS 50) ดั ง ที่ นั ก บุ ญ เปาโลได้ กล่าวว่าบุตรได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระ ผูเ้ ป็นเจ้าแล้ว” (1คร 7:14) เฉกเช่นครอบครัว ศักดิ์สิทธิ์  ที่พระเยซูเจ้าถูกอบรมเลี้ยงดู  จาก การเป็นแบบอย่างที่ดีของนักบุญยอแซฟ และ พระนางมารีย์  (เทียบ ลก 2: 51 – 52) 2. ประเด็นทางจริยธรรมเกี่ยวกับการเสี่ยง โชค ความรัก เป็นพระคุณพิเศษที่พระเจ้า ประทานให้แก่มนุษย์  เป็นการร่วมชีวิตอย่าง แท้จริงกับพระองค์  ความรักของมนุษย์ก็เป็น ภาพลักษณ์ของชีวิตพระเจ้าแม้จะเป็นฉายาที่ ยังไม่สมบูรณ์  ก็ตาม แต่ก็มีความหมายของ ความจริงที่ศักดิ์สิทธิ์  และลึกล�้ำที่เราไม่อาจจะ เข้าใจได้โดยตรง ความรักจึงเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ และสร้ า งความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นหั ว ใจของชาย และหญิง” (Familiaris Consortio,1981: 8) ความรักเรียกหาการเสียสละให้มากกว่าการ เรียกร้อง “ความรักคือการอุทศิ ตนเอง สมเด็จ พระสันตะปาปาทรงใช้คํา “ความรัก - การ อุทิศตนเอง” (Familiaris Consortio,1981: 8) ความรัก ความซื่อสัตย์ในครอบครัวเกิดขึ้น เมื่ อ ชายและหญิ ง ได้ เข้ า ร่ ว มพิ ธี แ ต่ ง งานอั น

114 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต กลงร่ ว มใช้ ชี วิ ต ด้ ว ยกั น  เป็ น ครอบครั ว เดี ย วกั น ถู ก ต้ อ งตามกฎหมาย และนอกจากความรักทีพ่ งึ มีตอ่ กันในครอบครัว แล้ว พระเยซูเจ้าได้กำ� หนดหลักพืน้ ฐานทีเ่ ราพึง มีต่อเพื่อนพี่น้อง “เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่ า นก็ จ งรั ก กั น อย่ า งนั้ น เถิ ด ” (ยน 13:34) พระองค์ทรงสอนให้เราซื่อสัตย์ในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่โต มากเพียงใดก็ตาม "คนทีส่ ตั ย์ซอื่ ในของเล็กน้อย จะสัตย์ซอื่ ในของมากด้วย และคนทีไ่ ม่สตั ย์ซอื่ ในของเล็ ก น้ อ ยก็ จ ะไม่ สั ต ย์ ซื่ อ ในของมาก ด้วย ” (ลก. 16:10) ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่ ส่งเสริมให้คริสตชนด�ำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และเป็ น การถวายเกี ย รติ แ ด่ พ ระบิ ด าเจ้ า "ข้าพระองค์จะร้องเพลงเรื่องความจงรักภักดี และความยุ ติ ธ รรม  ข้ า แต่ พ ระยาห์ เ วห์ ข้ า พระองค์ จ ะร้ อ งเพลงสดุ ดี พ ระองค์ ข้าพระองค์จะด�ำเนินด้วยใจซื่อสัตย์  ภายใน เรือนของข้าพระองค์" (สดด. 101: 1-2) ความรั บ ผิ ด ชอบและความยุ ติ ธ รรม เป็นการกระท�ำที่มีความชอบธรรม มีเหตุผล ก่อให้เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง บุคคลและความดีของส่วนรวม (เชิดชัย, 2548: 214) ผู้ที่มีความยุติธรรม จักใช้มโนธรรมใน การคิ ด พิ จ ารณาเพื่ อ การกระท� ำ ที่ ซื่ อ ตรง ไม่ลำ� เอียงไม่กอ่ ให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลรอบ ข้าง ความซือ่ สัตย์จงึ ย่อมน�ำมาซึง่ ความสงบสุข


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ของสังคม “ในทีส่ ดุ ขอจงใคร่ครวญถึงสิง่ ทีจ่ ริง สิง่ ทีน่ า่ นับถือ สิง่ ทีย่ ตุ ธิ รรม สิง่ ทีบ่ ริสทุ ธ์” (ฟป. 4: 8) คริสตชนควรด�ำเนินชีวิตอยู่บนความ ยุติธรรม ไม่เห็นแก่เงินทอง สินบน อามิสสิน จ้าง เพราะจะน�ำมาซึ่งความเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ เร็ ว ก็ ช ้ า  “ท่ า นอย่ า กระท� ำ ให้ เ สี ย ความ ยุติธรรม อย่าล�ำเอียง อย่ารับสินบน เพราะว่า สิ น บนท� ำ ให้ ต าของคนมี ป ั ญ ญามื ด มั ว ไป” (ฉธบ. 16: 19) “แต่ควรเป็นคนมีอัชฌาสัย รับแขกดี  เป็นผู้รักความดี  เป็นคนมีสติสัมปชัญญะ เป็นคนยุติธรรม เป็นคนบริสุทธิ์  รู้จัก บังคับใจตนเอง” (ทต 1: 8) แม้จะเป็นเรื่องที่ ดูเหมือนจะท�ำยากมากกว่าการท�ำตามอ�ำเภอ ใจหรือตามคนอืน่ ๆ ทัว่ ไป แต่พระเจ้าทรงสอน ให้ท�ำในสิ่งที่เป็นความยุติธรรมเสมอ “อย่าท�ำ ชั่วตามอย่างคนจ�ำนวนมากที่เขาท�ำกันนั้นเลย อย่ า อ้ า งพยานล� ำ เอี ย งเข้ า ข้ า งคนหมู ่ ม าก จะท�ำให้ขาดความยุติธรรมไป” (อพย. 23:2) คริสตชนจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ ยุติธรรมแม้แต่กับตนเอง พร้อมกับชักจูงให้ ผู้อื่นเป็นผู้มีความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อ ให้เป็นไปประสงค์ของพระองค์ "ข้าพระองค์จะ อยู่ห่างไกลจากคนใจคด ข้าพระองค์จะไม่ข้อง เกี่ยวกับความชั่วร้ายเลย ... คุ ณ ธรรม ความรั ก  ความรั บ ผิ ด ชอบ ความซื่ อ สั ต ย์   และความยุ ติ ธ รรม  ทั้ ง  4 ประการนี ้ มีผลต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และ การเติ บ โตทางจริ ย ธรรมให้ แ ก่ บุ ค คลใน ครอบครัว และสังคมได้อย่างดี  โดยเฉพาะ

อย่ า งยิ่ ง ในเรื่ อ งของความรั ก  และความรั บ ผิดชอบ เพราะความรักเป็นบ่อเกิดของทุกสิ่ง เมือ่ บุคคลมีความรักให้กนั และกัน ย่อมมีความ รับผิดชอบ ดูแลเอาใจใส่  ห่วงใย หวังดีต่อกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ก้าวร้าว ให้อภัย ไม่จดจ�ำความผิด (เทียบ 1 คร.13 1-7) ทั้ ง หมดนี้   น� ำ ไปสู ่ ก ารมี ค วามซื่ อ สั ต ย์ ความยุติธรรมให้แก่กันและกัน ซึ่งจะสามารถ ช่ ว ยให้ บุ ค คลที่ เ สี่ ย งโชคหรื อ มี บุ ค คลใน ครอบครัวที่เสี่ยงโชค สามารถลดผลกระทบ ด้านลบหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเสี่ยงโชค ได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ของความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และการ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน การมีและให้ ความรัก ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์  และ ความยุติธรรมแก่กันและกันนี้  จึงเป็นแนวโน้ม ทีจ่ ะเป็นส่วนทีช่ ว่ ยให้ครอบครัวคริสตชนมีการ พัฒนาในเรือ่ งของการมีความรัก ความซือ่ สัตย์ และความยุติธรรม ก้าวหน้าขึ้น อันจะเป็น ผลท� ำ ให้ เ กิ ด ความสุ ข สงบแก่ ทุ ก คนทั้ ง ใน ครอบครัวและสังคม ครอบครัวจึงเป็นสถานที่ แรกทีค่ วรมีและด�ำเนินชีวติ ร่วมกันด้วยความรัก ความรั บ ผิ ด ชอบ ความซื่ อ สั ต ย์   และความ ยุติธรรม ดังที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้กล่าวไว้ในพระสมณลิขิตเตือนใจ ความปีติ ยิ น ดี แ ห่ ง ความรั ก  (Amoris Laetitia) ว่ า "ครอบครัวไม่ใช่ปัญหา ครอบครัวเป็นโอกาส ล�ำดับแรกและล�ำดับส�ำคัญที่สุด"

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 115


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะส�ำหรับการน�ำผลการวิจัย ไปใช้ 1. ครอบครัว โดยเฉพาะบิดามารดา ควรเป็นผู้เสริมสร้างให้ครอบครัวมีบรรยากาศ ที่เต็มไปด้วยความรัก ความรับผิดชอบ ความ ซื่อสัตย์  และความยุติธรรม บิดามารดาควร เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุตรหลาน โดยละเว้น จากการเสีย่ งโชค และเอาใจใส่อบรมสัง่ สอนให้ บุตรหลานทราบถึงผลเสียของการเสี่ยงโชค 2. โรงเรี ย นและวั ด  ควรร่ ว มมื อ กั บ ครอบครัวในการอบรมสัง่ สอนเด็กและเยาวชน ให้ห่างไกลจากการเสี่ยงโชค และเป็นบุคคล ที่มีคุณธรรมความรัก ความรับผิดชอบ ความ ซื่อสัตย์  และความยุติธรรม 3. บาทหลวง ซิสเตอร์  และครูจิตตาภิบาล ควรสอนให้เด็กและเยาวชนทราบถึง ค�ำสอนของพระศาสนจักรเกีย่ วกับการเสีย่ งโชค 4. สื่อมวลชนคาทอลิกและสื่อมวลชน สาธารณะ ควรช่วยกระตุ้นให้ประชาชนโดย เฉพาะเด็ ก และเยาวชน เห็ น และค� ำ นึ ง ถึ ง ผลเสียที่เกิดจากการเสี่ยงโชค/เล่นการพนัน โดยผ่ า นทางสื่ อ ต่ า งๆ เช่ น  ที วี   วิ ท ยุ   สื่ อ ออนไลน์ต่างๆ

116 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

5.  พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย ควรส่งเสริมให้หน่วยงานคาทอลิก มีการใช้สอื่ ออนไลน์ตา่ งๆ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือใน การอภิบาลคริสตชนเรื่องการเสี่ยงโชค ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาแนวทางอภิบาลคริสตชน คาทอลิกที่ชอบเสี่ยงโชค เพื่อเป็นการป้องกัน และลดผลกระทบหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นจาก การเสี่ยงโชค 2. ควรศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูก ต้องในเรื่องการเสี่ยงโชค และ/หรือ กิจกรรม เสริมสร้างคุณธรรมความรัก ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์  และความยุติธรรม ให้แก่คริสต ชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน อันเป็นช่วงวัย ที่ เ หมาะสมและต้ อ งการการหล่ อ หลอมให้ เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมมาก ที่สุด


กฤษฎา ว่องไว, พิเชฐ แสงเทียน และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

บรรณานุกรม คณะแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปั ญ หาการพนั น .  เข้ า ถึ ง เมื่ อ   27 มิถุนายน 2559 เข้าถึงได้จาก http:// www.cumentalhealth.com/ “พระราชบัญญัตกิ ารพนัน พุทธศักราช 2478.” ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ที่   56, (2 ตุลาคม 2482): 1-10. พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก. (2540). ค�ำสอน พระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 3: ชีวติ ใน พระคริสตเจ้า (Catechism of The Catholic Church). แปลโดย ประคิน ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ. ฟรังซิส, พระสันตะปาปา. (2016). พระสมณ ลิ ขิ ต เตื อ นใจ “Amoris Laetitia” ความปีติยินดีแห่งความรัก. มปท. ___. (2014). พระสมณสาส์นเตือนใจ ความ ชื่ น ชมยิ น ดี แ ห่ ง พระวรสาร (Evan gelii Gaudium). แปลโดย เซอร์มารี หลุยส์ พรฤกษ์งาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ. ยอห์น ปอลที่  2, พระสันตะปาปา. (1965). พระสมณสาส์นพระศาสนจักรโลกสมัย ใหม่. มปท. ___. (1981). พระสมณสาส์น “Familiaris Consortio” ครอบครัวคริสตชนในโลก ปัจจุบัน. มปท.

___. (2542). พระสมณสาสน์ข่าวดีเรื่องชีวิต มนุษย์  (Evangelium Vitae). แปลโดย คณะกรรมการที่ปรึกษาทางเทววิทยา ของสภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย. กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ์ อัสสัมชัญ. ___. (2537). พระสมณสาสน์ เรื่ อ งความ รุ ่ ง โรจน์ แ ห่ ง ความจริ ง  (Veritatis Splendor). แปลโดย นรินทร์ ศิรวิ ริ ยิ า นันท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. วุฒิชัย อ่องนาวา, บาทหลวง. (2550). มนุษย์ ภาพลั ก ษณ์ ข องพระเจ้ า . นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. อั ค รสั ง ฆมณฑลท่ า แร่ - หนองแสง. (2555). อนุสรณ์  125ปี  ชุมชนคริสตชนวัดสอง คอน. สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์. Best, John W. (1997). Research in Edu cation. 2nd. ed. New Jersey: Prentice Hall Inc. Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of psychological Testing. 4 th ed. New York: Harper & Row Publish ers. Paul II, Pope. (1993). Veritatis Splen dor. Washington: United States Catholic Conference.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 117


ทัศนคติและสภาพการณ์การเสีย่ งโชคของคริสตชนคาทอลิก กรณีศกึ ษา: วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา

Karl H. Peschke, S.V.D. (2010). Christian Ethics. India. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Measurement. 608-609.

118 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนา แกนนำ�สร้างสุขสู่ชุมชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว1

Factors affecting the effectiveness of developing key leaders who created the happiness project in Tambon Nongmakfai community, Watthana District, Srakaew Province.1

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา

* อาจารย์ประจ�ำสาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.สุเมษย์ หนกหลัง * อาจารย์ประจ�ำส�ำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา ภาควิชาพลานามัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ดร.วรสรณ์ เนตรทิพย์ * อาจารย์ประจ�ำส�ำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Dr.Jitra Dudsdeemaytha

* Lecturer, Research and Curriculum Development, Graduate School, Srinakharinwirot University.

Dr.Sumate Noklang

* Lecturer, Innovate Learning Center, Srinakharinwirot University.

Dr. Wanatphong Benjaphong

* Lecturer, Department of Physical Education, Faculty of Education, Ramkhamhaeng University. Dr.Worasorn Netthip * Lecturer, Innovate Learning Center, Srinakharinwirot University. 1

ทุนวิจัยนี้  ได้รับการสนับสนุนจาก เงินรายได้บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจ�ำปีงบประมาณ 2560


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุข สูช่ มุ ชน ต�ำบลหนองหมากฝ้าย อ�ำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และ วิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลของ โครงการ รวมถึงวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน การวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที ่ 1 เป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วย เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับแกนน�ำและกลุ่ม ผู้สูงอายุ  รวม 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่  2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบ มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอน ตัวอย่าง เป็นประชาชนต�ำบลหนองหมากฝ้าย จ�ำนวน 252 คน ได้มาจากเทคนิค การสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกน น� ำ สร้ า งสุ ข สู ่ ชุ ม ชน ประกอบด้ ว ยปั จ จั ย  4 กลุ ่ ม ปั จ จั ย หลั ก  ได้ แ ก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรม ด้านวิทยากร และด้านผู้น�ำชุมชน และปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำ สร้างสุขสูช่ มุ ชน ได้แก่  ด้านกิจกรรม ด้านผูน้ ำ� ชุมชน ด้านวิทยากร และ ปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อม ได้แก่  ด้านวิทยากร และ ด้านสภาพแวดล้อม ค�ำส�ำคัญ:

120 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ประสิทธิผล โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน หนองหมากฝ้าย


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

Abstract

This research was a mixed method which aimed to study factors affecting the effectiveness of developing key leaders who created the happiness project in Tambon Nongmakfai community project and to analyze the Confirm Factors that affected to the project effectiveness as well as to analyze Path Analysis relation of the factors affecting the effectiveness of developing key leaders who created the happiness project. The research was divided into 2 phases, the initial phase was the qualitative research, collecting data by in depth interview and focus group with key leaders and elders totally 17 persons, analyzing data by content analysis. The second phase was the quantitative research, collecting data with the rating scales, 5 levels. The questionnaire was divided into 3 parts. The sample groups were the number of 252 people in Tambon Nongmakfai, analyzing the data by means of a Confirmatory Factor Analysis and Path Analysis. The data analysis results were found that there were 4 main factors affecting the effectiveness of the community development project which were environment, activities, trainers, and the community leader. The factors that affected directly were activities and the community leader. The factors that affected indirectly were trainers and environment. Key words: effectiveness developing key leaders who created the happiness to community project, Nongmakfai

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 121


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2558) ก�ำหนดให้การบริการวิชาการแก่ชมุ ชน เป็นอีกหนึ่งในพันธกิจหลักของอาจารย์มหาวิทยาลัย นอกเหนือจากงานสอนและงานวิจัย ทีต่ อ้ งด�ำเนินการอย่างมีคณ ุ ภาพ ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่ดีแก่สังคม ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ได้ก�ำหนดภารกิจ การสร้าง องค์ความรูแ้ ละพัฒนาโครงการบริการวิชาการ ที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่าง ยั่งยืน (มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 2557) มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม โดยมีพื้นที่ เป้าหมายตามนโยบาย หนึง่ มหาวิทยาลัย หนึง่ จังหวัด ได้แก่  จังหวัดนครนายก และจังหวัด สระแก้ว ในช่วงศตวรรษทีผ่ า่ นมา มหาวิทยาลัย มี ค วามพยายามในการบู ร ณาการพั น ธกิ จ ทั้งสามด้านเข้าด้วยกัน เดิมการเรียนการสอน อยู่เพียงในห้องเรียน ใช้การบรรยาย (Lecture-Based) เปลี่ยนเป็นการเรียนรู้จากพื้นที่ จริงในชุมชน การบริการวิชาการที่เคยน�ำองค์ ความรู้ไปสู่ชุมชนให้ชุมชนเป็นฝ่ายรับ เปลี่ยน เป็น การเริ่มต้นหาความต้องการที่แท้จริงของ ชุมชนและเปิดโอกาสให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วม (Engagement) เพือ่ เสริมพลังของคนในชุมชน (Empower) มุ่งให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง อันน�ำไปสูก่ ารสร้างความยัง่ ยืน (Sustainable) โดยสนับสนุนให้ศกึ ษาวิจยั ร่วมด้วย ผลทีไ่ ด้จาก งานวิจยั  สามารถน�ำกลับมาใช้ในการเรียนการ 122 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สอน และคืนกลับสูช่ มุ ชนเพือ่ ให้ชมุ ชนน�ำความ รูไ้ ปใช้ตอ่ ได้ มิใช่เพียงท�ำให้สำ� เร็จเป็นครัง้ คราว ไป ในปี  2554 คณาจารย์  บุคลากร ที่เป็น คณะท�ำงานบริการวิชาการ ได้เข้าพื้นที่ต�ำบล หนองหมากฝ้าย อ�ำเภอวัฒนานคร จังหวัด สระแก้ ว  เพื่ อ หาความต้ อ งการของชุ ม ชน ในปีแรกของการท�ำโครงการ ต่อมา ในปี 2555 ผู้น�ำชุมชน มีความต้องการให้จัดกิจกรรมแก่ ผูส้ งู อายุ เนือ่ งจากมีภาวะเครียด เสีย่ งต่อภาวะ ซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย เก็บตัว โดยผลจากการ จัดโครงการ พบว่า อัตราความเสี่ยงต่อภาวะ ซึ ม เศร้ า ของผู ้ สู ง อายุ ล ดลงจากร้ อ ยละ 50 เหลื อ ร้ อ ยละ 23.08 และค่ า ใช้ จ ่ า ยด้ า นยา ในปี 2556 ลดลงกว่าปี 2555 ถึงร้อยละ 44.62 (สุธี  สุนทรชัย, เอกพจน์  จงดี  และระวิวรรณ ปัญญา, 2556; 2557) ผู้สูงอายุมีการรับรู้การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองในทิศทางบวก ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์  ด้านพลังชีวิต ด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น และด้านความคิด เชิงบวก (จิตรา ดุษฎีเมธา และคณะ, 2558) นอกจากนี ้ ชุมชนได้รอื้ ฟืน้ ชมรมผูส้ งู อายุขนึ้ มา ใหม่  เพื่อร่วมฝึกสยามหัวเราะทุกสัปดาห์ และ จากผลการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุในชุมชน ท�ำให้อาสาสมัครแกนน�ำสาธารณสุข อยาก เรียนรู้การฝึกสยามหัวเราะด้วย เพราะเห็น แบบอย่างที่ดีของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ จนน�ำมาสู่การจัดโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้าง


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

สุขสู่ชุมชน ประกอบด้วยแกนน�ำ  3 วัย คือ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่  และวัยสูงอายุ  ความส�ำเร็จ ของโครงการนี ้ ได้มกี ารเผยแพร่จนไปถึงระดับ จังหวัด และระดับประเทศ มีหน่วยงานต่างๆ ติดต่อเข้ามาศึกษาดูงานเกี่ยวกับกิจกรรมใน พื้ น ที่ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ น� ำ รู ป แบบสยาม หัวเราะไปปรับใช้กับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การสร้างสุขภาวะในผู้สูงอายุ  และการสร้าง ความสุขให้เกิดขึ้นกับคนภายในชุมชน ด้วยเหตุน ี้ งานวิจยั นี ้ จึงมุง่ ศึกษาวิจยั ถึง ปัจจัยทีส่ ง่ ผลท�ำให้โครงการประสบความส�ำเร็จ ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ในช่วง 6 ปี  (พ.ศ. 2555-2560) ที่ได้ท�ำโครงการบริการวิชาการ มาอย่างต่อเนื่อง โดยศึกษาถึงลักษณะความ ส�ำเร็จของการด�ำเนินโครงการพัฒนาแกนน�ำ สร้างสุขสูช่ มุ ชน ต�ำบลหนองหมากฝ้าย อ�ำเภอ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ตลอดจนศึกษา ถึงปัจจัย และเงื่อนไขต่างๆ ที่ส่งผลต่อความ ส�ำเร็จ เพือ่ น�ำข้อมูลไปใช้เป็นแนวปฏิบตั ใิ นการ ด�ำเนินโครงการบริการวิชาการในพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพือ่ ค้นหาปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน 2. เพือ่ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ปั จ จั ย เชิ ง สาเหตุ ข องประสิ ท ธิ ผ ลโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน

3. เพื่อวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ขอบเขตการท�ำวิจัย ระยะที่หนึ่ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย 8 คน และยืนยันผลด้วยการสนทนากลุ่ม 9 คน รวม 17 คน กลุ่มเป้าหมาย แกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุจ�ำนวน 10 คน และแกนน�ำชุมชนวัย ผู้ใหญ่  จ�ำนวน 7 คน จ�ำนวน 17 คน โดยมี เกณฑ์คดั เข้า คือ 1. เป็นผูท้ เี่ คยเข้าร่วมการฝึก สยามหัวเราะจากคณะวิทยากร มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ในช่วงปี  2555-2560 ไม่ตำ�่ กว่า 6 ครัง้  2. เคยเข้าร่วมการฝึกสยามหัวเราะ ทุกวันศุกร์ในชุมชน ไม่ตำ�่ กว่า 80 ครัง้  3. เคย มีประสบการณ์การน�ำฝึกสยามหัวเราะอย่าง น้อย 3 ครัง้ ขึน้ ไป เกณฑ์คดั ออก คือ 1. ผูท้ ไี่ ม่ ได้เข้าร่วมการฝึกสยามหัวเราะในชุมชนติดต่อ กัน เกิน 1 ปีขึ้นไป 2. แกนน�ำเยาวชนที่มีอายุ ต�่ำกว่า 15 ปีลงมา ระยะที่สอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิง สาเหตุของประสิทธิผลโครงการพัฒนาแกนน�ำ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 123


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

สร้างสุขสู่ชุมชนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์เส้นทางความ สัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ด้วย เทคนิค Path Analysis วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิติ ประชากร ได้แก่  ประชาชนที่เคยเข้า ร่ ว มการฝึ ก สยามหัวเราะอย่างน้อย 1 ครั้ง ขึน้ ไป ในต�ำบลหนองหมากฝ้าย อ�ำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ตัวอย่าง ได้แก่  ประชาชนหมู่  4 ต�ำบล หนองหมากฝ้าย อ�ำเภอวัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว ที่เคยเข้าร่วมการฝึกสยามหัวเราะ อย่ า งน้ อ ย 1 ครั้ ง  ขึ้ น ไป จ� ำ นวน 252 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยใช้หมู่บ้านเป็นหน่วยใน การสุ่ม (8 หมู่) ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่  ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโครงการ ประกอบด้วยตัวแปร (1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (2) ปัจจัยด้าน กิ จ กรรม (3) ปั จ จั ย ด้ า นวิ ท ยากร และ (4) ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน ตัวแปรตาม ได้แก่  (1) ประสิทธิผลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน

124 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่หนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  แบบ สัมภาษณ์แบบกึง่ โครงสร้าง (Semi-structure) เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โครงการแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน และแบบ สนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาฉันทา มติ ข องปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลของ โครงการแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ระยะที่ ส อง  เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้   ได้ แ ก่ แบบสอบถามแบบมาตรส่ ว นประมาณค่ า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที ่ 1 สอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่  2 สอบถาม ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลของโครงการ 4 ตัวแปร ได้แก่  (1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (2) ปัจจัยด้านกิจกรรม (3) ปัจจัยด้านวิทยากร และ (4) ปัจจัยด้านผูน้ ำ� ชุมชน จ�ำนวน 28 ข้อ มีค่าอ�ำนาจจ�ำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .218 .780 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .907 ตอนที่  3 สอบถามประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกน น�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน จ�ำนวน 16 ข้อ มีคา่ อ�ำนาจ จ�ำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .247 - .604 มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .798


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ปั จ จั ย เชิ ง สาเหตุ ข องประสิ ท ธิ ผ ลโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน ตามวัตถุประสงค์ การวิจัยข้อที่  2 ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) 2. การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ พั ฒ นาแกนน� ำ สร้ า งสุ ข สู ่ ชุ ม ชน ตามวั ต ถุ ประสงค์ ก ารวิ จั ย ข้ อ ที่   3 ใช้ เ ทคนิ ค การ วิเคราะห์  Path Analysis การพิทักษ์สิทธิ์ งานวิจยั ครัง้ นี ้ คณะผูว้ จิ ยั ได้ดำ� เนินการ ปกป้องสิทธิตวั อย่างตามหลักการของจริยธรรม โดยโครงการวิ จั ย ได้ รั บ การอนุ มั ติ จ ากคณะ กรรมการจริยธรรมส�ำหรับพิจารณาโครงการ วิจัยที่ท�ำในมนุษย์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ เมื่ อ วั น ที่   17 กรกฎาคม 2560 รหั ส หมายเลขรับรอง คือ SWUC/E-078/2560

ก่ อ นการเก็ บ ข้ อ มู ล มี ก ารขออนุ ญ าตกลุ ่ ม เป้าหมายและตัวอย่างก่อนเพื่อให้ยินยอมใน การให้ความร่วมมือในงานวิจัย และไม่มีการ บันทึกชือ่  นามสกุล บ้านเลขทีใ่ นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัย 1. ผลการค้ น หาปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุข สู่ชุมชน เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อที่  1 จากการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิค การสั ม ภาษณ์ เชิ ง ลึ ก  และการสนทนากลุ ่ ม พบว่าปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ประกอบด้วย 4 กลุ ่ ม ปั จ จั ย หลั ก  ได้ แ ก่   ปั จ จั ย ด้ า นสภาพ แวดล้อม (5 ปัจจัย) ปัจจัยด้านกิจกรรม (8  ปัจจัย) ปัจจัยด้านวิทยากร ( 8ปัจจัย) และ ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน (7 ปัจจัย) สามารถสรุป รายละเอียดดังตาราง 1

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 125


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ตาราง 1 ผลการสรุปปัจจัยต่างๆ ทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (5 ปัจจัย)

ปัจจัยด้านกิจกรรม (8 ปัจจัย)

ปัจจัยด้านวิทยากร (8 ปัจจัย)

ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน (7 ปัจจัย)

1.มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ที่เพียงพอ 2. เดินทางสะดวก 3. เป็นจุดศูนย์กลางของ ชุมชน 4. มีความปลอดภัย 5. สามารถท�ำกิจกรรม กลางแจ้งและในร่มได้

1. ท่าหัวเราะบ�ำบัดด้วย สยามหัวเราะท�ำได้ง่าย 2. มีความสนุกขณะฝึก 3. รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ที่ชัดเจนทางด้านร่างกาย และด้านอารมณ์  4. ท�ำให้รู้จักและมีความ สัมพันธ์กันมากขึ้น 5. ฝึกแล้วหายเครียด  6. ได้รวมกลุ่มเพื่อฝึกอย่าง ต่อเนื่อง 7. ไม่ขัดกับวิถีชีวิตหรือการ ด�ำรงชีวิต  8. เป็นที่รู้จักในชุมชนและ สร้างชื่อเสียง

1. มีความเชี่ยวชาญ 2. สอนสนุกเข้าใจง่าย 3. มีบุคลิกภาพ  4. มีความน่าเชื่อถือ  5. กระตุ้นผู้เข้าร่วมอบรม ได้ดี 6. เข้าถึงผูเ้ ข้าร่วมอบรม 7.  มีความใส่ใจไม่ทิ้งชุมชน  8. ชื่อเสียงของ มศว.

1. ผู้น�ำชุมชนมีความเข้ม แข็ง  2. ดูแล ใส่ใจผู้เข้าร่วม กิจกรรม  3. สามารถน�ำฝึกท่าทางได้ 4. จดจ�ำท่าทางได้  5. กระตุ้นกลุ่มและจัด กิจกรรมต่อยอดอย่างต่อ เนื่อง 6. มีการชักชวนโน้มน้าว คนในชุมชนให้เข้าร่วม 7. ให้ก�ำลังใจและติดตาม

2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการพัฒนา แกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่  2 จากการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) พบว่าประกอบด้วย 4 กลุ่มปัจจัย หลักทีเ่ ป็นปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน ตามผลการวิจยั เชิงคุณภาพ ได้แก่  ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (5 ปัจจัย) ปัจจัยด้านกิจกรรม (8 ปัจจัย) ปัจจัยด้าน วิ ท ยากร (8 ปั จ จั ย ) และปั จ จั ย ด้ า นผู ้ น� ำ ชุ ม ชน (7 ปั จ จั ย ) เมื่ อ ด� ำ เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ด้ ว ย แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน พบว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (Chi-Square=0.02, df=1, P-value= 0.88722, RMSEA=0.000) รายละเอียดดังตาราง 2 126 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

ตาราง 2 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการพัฒนา แกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน (n=252) ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน 1. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (envi) 2. ปัจจัยด้านกิจกรรม (activities) 3. ปัจจัยด้านวิทยากร (trainers) 4. ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน (com-lead) (Chi-Square=0.02, df=1, P-value =.88722, RMSEA =.000)

λ

θ

t

R2

.42 .63 .89 .67

.83 .61 .22 .55

6.13 9.64 13.29 10.25

.17 .39 .78 .45

ตาราง 2 พบว่าแบบจ�ำลององค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการพัฒนา แกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชนมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (Chi-Square = 0.02, df = 1, P-value = 0.88722, RMSEA = 0.000) ประกอบด้วย 4 กลุ่มปัจจัยหลัก ได้แก่  ปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านกิจกรรม ปัจจัยด้านวิทยากร และ ปัจจัยด้านผูน้ ำ� ชุมชน ค่าน�ำ้ หนักองค์ ประกอบมาตรฐาน (λ) (Standardized Solution) อยู่ระหว่าง .42 - .89 อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (θ) อยู่ระหว่าง .22 -.83 มีค่าความ เชื่อมั่นของแต่ละองค์ประกอบโดยพิจารณาจากค่า R2 ได้ร้อยละ 17 – 78 สามารถแสดงดังภาพ ประกอบ 1

ภาพประกอบ 1 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบผลการการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัย เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน (n=252) ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 127


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

3. ผลการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนา แกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่  3 จากการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค Path Analysis พบเส้นทางความสัมพันธ์ว่า ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิผลของโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ได้แก่  ปัจจัยด้านวิทยากร ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน และปัจจัยด้าน กิจกรรม ปัจจัยที่สงผลทางอ้อม ได้แก่  ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านวิทยากร มีราย ละเอียดดังตาราง 3 ตาราง 3 ผลการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนา แกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) (n=252) ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม R2 อิทธิพล ปัจจัยด้าน ปัจจัยด้าน ปัจจัยด้านผูน้ ำ� ปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อม วิทยากร ชุมชน กิจกรรม (envi) (trainer) (com-lead) (activity) ปัจจัยด้าน .43 DE .37*(7.21) .42*(8.14) n/a n/a กิจกรรม IE n/a n/a n/a n/a (activities) TE .37* (7.21) .42*(8.14) n/a n/a ประสิทธิผล .45 DE n/a .15*(2.29) .18*(3.10) .47*(8.32) โครงการ IE .18*(5.45) .20*(5.82) n/a n/a (effect) TE .18*(5.45) .35*(5.48) .18* (3.10) .47* (8.32) 2 χ = 4.96 df = 2 p-value = .08367, RMSEA = .077 , RMR = .00082, SRMR = .024, CFI = .99, GFI = .99,AGFI = .94, CN = 465.60

ตาราง 3 พบว่าแบบจ�ำลองเส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 4.96df = 2 pvalue = .08367, RMSEA = .077, RMR = .00082, SRMR = .024, CFI = .99, GFI = .99, AGFI = .94, CN = 465.60) โดยพบการประมาณค่าพารามิเตอร์ในแบบจ�ำลองดังกล่าว ดังนี้ 1. ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลทางตรงต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลของโครงการพั ฒ นาแกนน� ำ สร้ า งสุ ข สู ่ ชุ ม ชน เรียงตามล�ำดับ ได้แก่  ปัจจัยด้านกิจกรรม ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน และปัจจัยด้านวิทยากรโดยมีค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .48, .18 และ .15 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 128 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

2. ปัจจัยด้านวิทยากร ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ ชุมชน ผ่านปัจจัยด้านกิจกรรมมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .20 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้าง สุขสูช่ มุ ชน ผ่านปัจจัยด้านกิจกรรม มีคา่ สัมประสิทธิอ์ ทิ ธิพลเท่ากับ .18 อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านกิจกรรม ปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน และปัจจัยด้าน วิทยากร สามารถร่วมกันท�ำนายประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน ได้รอ้ ยละ 45 สามารถแสดงดังภาพประกอบ 2

ภาพประกอบ 2 ผลการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชนด้วยเทคนิค Path Analysis (n=252)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 129


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

อภิปรายผลการวิจัย 1. ผลการค้ น หาปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุข สู่ชุมชน ผลการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ในระยะที่   1 สามารถแบ่งกลุ่มขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสูช่ มุ ชน ได้เป็น 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่  ปัจจัย ด้านกิจกรรม ด้าน วิทยากร ด้านผู้น�ำ  และด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการ ยื น ยั น ด้ ว ยการสนทนากลุ ่ ม  ผู ้ สู ง อายุ แ ละ แกนน�ำชุมชน ให้ข้อมูลว่า สยามหัวเราะ เป็น กิจกรรมที่ดี  เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และ จิตใจอย่างชัดเจน ผู้สูงอายุรอเข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละสัปดาห์  เพราะได้ออกมาเจอเพื่อนใน ชุ ม ชน ได้ ฝ ึ ก หายใจ ฝึ ก การออกก� ำ ลั ง กาย ภายในด้วยสยามหัวเราะ สร้างให้เกิดชีวิตชีวา และถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จนเกิดการรื้อฟื้นการรวมกลุ่มของชมรมผู้สูง อายุขึ้นใหม่ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของจิตรา ดุษฎีเมธา และคณะ (2558; 2560) ทีว่ า่  หาก ผู้สูงอายุได้ท�ำกิจกรรมที่ท�ำให้เกิดเกิดความ พึงพอใจ หรือ รับรูไ้ ด้ถงึ การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด ขึน้ กับตนเอง จะท�ำให้ผสู้ งู อายุมกี ำ� ลังใจในการ พัฒนาตนเองต่อได้  และเป็นพลังที่ส่งเสริมซึ่ง กันและกันอีกด้วย แม้ว่า ช่วงปีแรก บางกลุ่ม ในชุ ม ชนมี เจตคติ ว ่ า  ผู ้ ที่ เข้ า ร่ ว ม คื อ  คนมี

130 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปัญหา มีความผิดปกติ  อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิด การเปลีย่ นแปลงในการทิศทางบวกของผูท้ เี่ ข้า ร่วมทีเ่ พิม่ จ�ำนวนมากขึน้  ท�ำให้คนจ�ำนวนหนึง่ ที่เคยคิดเช่นนั้น เปลี่ยนการรับรู้ใหม่  เพราะ เห็นการขยายผลในวงกว้างจนเป็นที่ยอมรับ จากชุมชนภายนอก และกิจกรรมไม่ขัดกับวิถี ชีวิตของชุมชนแต่อย่างใด นอกจากนี้   ทุ ก ครั้ ง ที่ ล งพื้ น ที่   คณะ ท�ำงานจะมีการประชุม โดยให้ตวั แทนผูเ้ ข้าร่วม กิ จ กรรมและอาสาสมั ค รผู ้ น� ำ กลุ ่ ม  ซึ่ ง เป็ น ผู ้ อ� ำ นวยการโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ สาธารณสุ ข ต� ำ บลบ้ า นท่ า ช้ า ง (ผอ.รพสต) เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมประเมินผลโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป รวมถึง มีการสานต่อในการฝึกอย่างต่อเนือ่ งทุกสัปดาห์ โดยผู้อ�ำนวยการฯ เป็นผู้น�ำการฝึกและเป็น ผู ้ ส ร้ า งให้ เ กิ ดการรวมกลุ ่ ม  ท� ำ ให้ ผู ้ เข้ า ร่ วม กิจกรรมเกิดความรู้สึกมั่นใจ ปลอดภัยเพราะ รูส้ กึ ว่าอยูใ่ กล้กบั หมอ (นักวิชาการสาธารณสุข) เนื่องจากคนชนบทส่วนใหญ่จะให้ความเคารพ และความส�ำคัญกับครู  อาจารย์  วิชาชีพด้าน การพยาบาลและการแพทย์  ทั้งนี้  ต้นทุนของ ผูน้ ำ  � สนับสนุนให้เกิดการเข้าร่วมอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ เป็นไปตามแนวคิดการพัฒนาแบบมีสว่ นร่วม ของ สุเมษย์ หนกหลัง (2560) ทีว่ า่ การพัฒนา แบบมีส่วนร่วมโดยใช้พลังปัญญาของคนใน ชุมชนจะท�ำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนัก


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

และเห็นความส�ำคัญของการพัฒนาชุมชนของ ตนเองในทุกขัน้ ตอน อีกทัง้ การด�ำเนินการวิจยั จะเห็นลักษณะของการให้ความเคารพบทบาท หน้าที่  สอดคล้องกับแนวคิดการขัดเกลาทาง สังคมของ ธีระชน พลโยธา (2556) ที่ท�ำให้ ผู ้ อ ยู ่ ใ นสั ง คมนั้ น เกิ ด ความรู ้ สึ ก ตระหนั ก ใน บทบาทหน้าทีข่ องตนเอง นัน่ คือ การทีแ่ กนน�ำ มีความภาคภูมิใจที่สามารถสอนท่าแต่ละท่า ของสยามหัวเราะกับผู้อื่นได้ นอกจากนี้  ชุมชนมีการรับรู้ท่ีมีต่อคณะ วิทยากร คนในชุมชนให้ค่ากับผู้ที่มาให้ความรู้ ว่า จบระดับปริญญาเอก และเป็นคณาจารย์ จากมหาวิ ท ยาลัยมาสอนให้  แสดงถึงความ เชี่ยวชาญและการสอน เป็นไปด้วยความเป็น กั น เอง ใช้ ภ าษาที่ ง ่ า ย การฝึ ก ในแต่ ล ะครั้ ง จะฝึก ย�้ำ  ซ�้ำ  ทวนความรู้เก่า และเสริมความ รู้ใหม่เพื่อการปฏิบัติตนให้มีสุขภาวะเกิดขึ้นได้ สามารถเข้าถึงได้งา่ ย ใส่ใจกับผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรม และคนในชุมชน โดยมีการเข้ามาให้บริการ วิชาการอย่างต่อเนือ่ งมานานหลายปี ยิง่ ไปกว่า นั้น ผู้น�ำชุมชนยังร่วมท�ำงานกับคณะวิทยากร ท�ำกิจกรรมต่อเนื่อง มิใช่เพียงรอวิทยากรมา สอน ได้รับก�ำลังใจ และการกระตุ้นกลุ่ม รวม ถึงการโน้มน้าวชักชวนให้คนในชุมชนให้เข้าร่วม กิ จ กรรม มี ก ารติ ด ตามผลการฝึ ก และการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงท�ำให้เกิดความสุข และความพึงพอใจ

สถานที่ตั้งในการฝึกสยามหัวเราะ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสาธารณสุขต�ำบล บ้านท่าช้าง ซึ่งถือเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน มี ค วามสะดวกในการเดิ น ทาง สามารถจั ด กิจกรรมกลางแจ้งและในร่มได้  ทั้งนี้  โดยปกติ การฝึกจะท�ำหน้าลานกลางแจ้งทุกวันศุกร์เวลา 9.00-11.00 น. หากฝนตก หรือมีกจิ กรรมอืน่ ๆ จะย้ายการฝึกไปทีห่ อ้ งประชุมในร่ม ครอบครัว ของผูเ้ ข้าร่วม ไม่เป็นห่วงเพราะสถานทีม่ ศี าลา นั่งพัก สามารถตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้  เช่น การวัดระดับความดันโลหิต เป็นต้น ดังนั้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าชุมชนต�ำบลหนอง หมากฝ้าย มีการแลกเปลี่ยนความรู้เชื่อมโยง คุณลักษณะเฉพาะตัวของชุมชนที่บูรณาการ ร่วมกับวิทยาการจากภายนอกได้อย่างเหมาะ สม จนสามารถสร้ า งให้ ชุ ม ชนเป็ น ตั ว แบบ (Modeling) ให้แก่ชมุ ชนภายนอก เป็นไปตาม แนวคิดความส�ำคัญของของแหล่งเรียนรู้ใน ชุมชน ที่ว่า แหล่งการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่เชื่อม โยงเรื่องราวในพื้นที่หรือความรู้ท้องถิ่นสู่ความ รูส้ ากล พัฒนาคุณลักษณะและความคิด ความ เข้าใจในคุณค่าของชุมชนและเจตคติ  มีนิสัย รั ก การเรี ย นรู ้   มี ทั ก ษะการแสวงหาความรู ้ สามารถจัดการความรู้  ไปสู่การเผยแพร่ให้แก่ ผู้อื่น (นเรนทร์  แก้วใหญ่, 2561)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 131


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการ พัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยัน พบว่า ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน ปัจจัยด้านสิง่ แวดล้อม ปัจจัยด้านกิจกรรม ปัจจัยด้านวิทยากร และปัจจัยด้านผู้น�ำชุมชน ทั้ ง  4 ปั จ จั ย  มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ ซึง่ ครอบคลุมองค์ประกอบการพัฒนา โครงการให้ประสบผลส�ำเร็จเพราะการท�ำงาน ชุมชน มิใช่เกิดจากปัจจัยเพียงปัจจัยใดหนึ่ง เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิง่  การท�ำงาน ชุมชนในเชิงพัฒนาทุนทางทรัพยากรบุคคลใน ชุมชน ผูน้ ำ� ชุมชน ทัง้ ผูน้ ำ� ทีเ่ ป็นทางการและไม่ เป็นทางการ จะต้องให้การสนับสนุน (Edginton et. al, 2002) โดยชุมชนในต�ำบลหนอง หมากฝ้ า ย ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากนายก องค์การบริหารส่วนต�ำบล ทั้งอดีตนายกและ นายกคนปัจจุบนั  นอกจากนี ้ จุดศูนย์กลางของ การรวมกลุ่ม คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สาธารณสุขต�ำบลบ้านท่าช้าง ซึ่งปกติชุมชน อืน่ ๆ จะใช้ศาลาอเนกประสงค์ในวัด หรือพืน้ ที่ โรงเรี ย น ในการรวมกลุ ่ ม  (สุ มิ ต ร สุ ว รรณ และคณะ, 2554) ยิ่งไปกว่านั้น ผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลฯ เป็ น ผู ้ ที่ ค นในชุ ม ชนศรั ท ธา เชื่อใจ เพราะท�ำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ อย่างเข้มแข็งและเข้าถึงประชาชน เมือ่ ได้อาสา

132 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เป็นผู้น�ำการฝึกกลุ่มด้วยตนเอง จึงท�ำให้สร้าง แกนน�ำชุมชนได้ไม่ลำ� บากนัก ซึง่ กิจกรรมสยาม หัวเราะที่รวมกลุ่มกันฝึกเพื่อสร้างแกนน�ำนี้ ไม่ ต ้ อ งใช้ อุ ป กรณ์ ห รื อ งบประมาณ เวลามี ความเหมาะสม ไม่ได้ทำ� ให้เกิดความเหนือ่ ยล้า หรื อ น่ า เบื่ อ  ในทางตรงข้ า ม สร้ า งความ สนุ ก สนาน และท� ำ ให้ เ กิ ด ชี วิ ต ชี ว ามากขึ้ น ทั้งนี้  ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและ การสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะ รอคอยวันศุกร์  เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมและเดิน ทางมาก่อนล่วงหน้าการฝึกหนึ่งชั่วโมง เพื่อ พบปะ พูดคุยกัน และจะร่วมฝึกกิจกรรมด้วย ความสุข สนุกสนาน อยากแบ่งปันความสุขต่อ กับคนใกล้ชิด นอกจากนี้  จะติดตามวันและ เวลาทีค่ ณะวิทยากรเดินทางมาให้ความรูเ้ พิม่ ใน แต่ ล ะปี   พร้ อ มโทรศั พ ท์ ม ายั ง นั ก วิ ช าการ สาธารณสุข เพือ่ ขอเข้าร่วมกิจกรรม และจะมา ก่ อ นเวลานั ด จริ ง  1-2 ชั่ ว โมง เพื่ อ รอคณะ วิทยากร ซึง่ หากนักวิชาการสามารถสร้างความ เชือ่ มัน่ ให้เกิดกับกลุม่ เป้าหมายได้แล้ว จะท�ำให้ เกิดความมั่นใจ ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นนั้น นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะน�ำไปให้แก่ชุมชน ยังต้องมีท่าทางที่เป็นกันเอง ใช้ภาษาที่ง่าย กิจกรรมไม่ซับซ้อนและสอนอย่างช้าๆ มีการ สาธิ ต เป็ น ตั ว อย่ า ง ให้ ฝ ึ ก ท� ำ ตามพร้ อ มกั น โดยมีคณะผู้ช่วยวิทยากรประกบเพื่อช่วยปรับ ท่าทาง และมีการใช้อารมณ์ขนั  และน�้ำเสียงที่


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

ปลุกเร้า รวมถึงการน�ำกิจกรรมทีค่ อ่ ยเป็นค่อย ไป สังเกตผูเ้ ข้าร่วมการฝึก โดยให้ผเู้ ข้าร่วมการ ฝึกนัน้ เป็นศูนย์กลาง มีความยืดหยุน่ และแก้ไข สถานการณ์ทอี่ าจเกิดขึน้ เฉพาะหน้าได้ รวมถึง ต้องมีอารมณ์ขนั ด้วย เพือ่ สร้างบรรยากาศของ ความเป็นกันเองให้เกิดขึ้น (Kosseff, 2010, สุวิมล ตั้งสัจจพจน์, 2553) 3. ผลการวิ เ คราะห์ เ ส้ น ทางความ สัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ผลวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของ ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลทางตรงต่ อ ประสิ ท ธิ ผ ลของ โครงการพัฒนาแกนน�ำสร้างสุขสู่ชุมชน ได้แก่ ปัจจัยด้านกิจกรรม ด้านผู้น�ำชุมชน และ ด้าน วิทยากรตามล�ำดับ เนื่องจากกิจกรรมที่น�ำไป ท�ำในโครงมีความใหม่  ไม่ซ�้ำกับแนวการส่ง เสริ ม สุ ข ภาพแบบเดิ ม ๆ สามารถรั บ รู ้ ก าร เปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายหลั ง จากการท� ำ กิจกรรมได้ด้วยตนเอง (Russell, 2005) นอก จากนี้   การเป็ น ที่ รู ้ จั ก กั บ ชุ ม ชนภายในและ ภายนอก ท�ำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง จึงเป็นแรงสนับสนุนให้อยากเป็นแกนน�ำและ อยากฝึกต่อไป นอกจากนี้  การที่ผู้น�ำชุมชน เป็นผูส้ อน ส่งเสริม สนับสนุน เชิญชวนให้ผทู้ มี่ ี ปัญหาด้านสุขภาพกายหรือด้านสุขภาพจิตมาก เข้าร่วม และเกิดผลเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมา จากกิ จ กรรม  ยิ่ ง ท� ำ ให้ เ ป็ น หลั ก ฐานเชิ ง

ประจักษ์ที่แสดงให้เห็นถึงผลส�ำเร็จที่เกิดขึ้น ภายในตัวบุคคล และส่งต่อไปยังคนรอบข้าง เมื่อผู้น�ำกระตุ้นเชิญชวนให้เกิดการฝึกและ สร้ า งแกนน� ำ ขึ้ นมาและเปิ ด พื้ นที่ ให้ แ กนน� ำ ได้ เรี ย นรู ้   จึ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด ความยั่ ง ยื น มากขึ้ น เกิดความต่อเนื่องและการต่อยอดจากสิ่งที่ได้ เรียนรู ้ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปี คณะวิทยากร จะเข้ า ชุ ม ชนเพี ย ง 3 ครั้ ง ต่ อ ปี   ปั จ จั ย ด้ า น วิทยากรจึงส่งผลทางอ้อมทีท่ ำ� ให้การสอนสยาม หัวเราะ ผู้เข้าร่วมเห็นประโยชน์จากกิจกรรม ผ่านทางการให้ความรู้จากวิทยากร ผู้เข้าร่วม จึ ง มี ส มาธิ   เกิ ด ความสนุ ก กั บ กิ จ กรรมได้ สามารถเรียบเรียงล�ำดับการฝึกสยามหัวเราะใน รู ป แบบของกลุ ่ ม  อย่ า งไรก็ ต าม วิ ท ยากร ได้ติดตามผลผ่านทางผู้น�ำชุมชน รวมถึงเป็น ทีป่ รึกษาทางด้านวิชาการในการน�ำความรูไ้ ปใช้ กับงานส่งเสริมสุขภาพ มุง่ หมายทีจ่ ะสร้างผูน้ ำ� ภายในชุมชนให้สร้างแกนน�ำในชุมชนให้เกิดขึน้ และเป็นแกนน�ำ ที่เข้ มแข็ง ในขณะเดียวกั น สถานที่ฝึก มีทั้งที่ฝึกกลางแจ้งและในร่ม เป็น จุดศูนย์กลางของชุมชน ท�ำให้เกิดความไหลลืน่ ในการฝึ ก กิ จ กรรมได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และถือเป็นการประชาสัมพันธ์ทางอ้อม ให้แก่ คนในระแวกทีผ่ า่ นไปมา หยุดดูและเข้ามาร่วม ฝึกด้วย ดังนั้น ปัจจัยทั้งสี่ตัวดังกล่าวข้างต้น จึงช่วยท�ำนายประสิทธิผลของโครงการพัฒนา แกนน� ำ สร้ า งสุ ข สู ่ ชุ ม ชนได้ ถึ ง ร้ อ ยละ 45

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 133


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Patry et al. (2007) ที่ได้จัดโครงการโดยใช้กิจกรรมที่มี ฝึกบ่อยๆ จะท�ำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความ ช�ำนาญ และเกิดการปรับตัวในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งส่งผลให้เกิดผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความสุข ได้ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะ ในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ในช่วงระยะแรกของการลงพื้นที่ เพื่อเปิดพื้นที่ในชุมชน การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ ความ ต้องการที่แท้จริงอาจจะไม่ได้ข้อมูลเชิงลึกหรือ ปรากฏอย่างแท้จริงในช่วงแรกของการท�ำงาน อย่างไรก็ตาม หากการบริการวิชาการที่ท�ำให้ กับทางชุมชน กระท�ำอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ เกิด ประโยชน์และคุณค่าต่อผู้เข้าร่วม คนในชุมชน จะสนับสนุนและให้ข้อมูลความต้องการที่แท้ จริงได้ 1.2 ในการท�ำงานบริการวิชาการแก่ ชุมชน ให้ประสบความส�ำเร็จและเกิดความ ยั่งยืน ควรค�ำนึงถึงปัจจัยด้านกิจกรรมที่น�ำไป บริการวิชาการแก่ชมุ ชน ควรเป็นสิง่ ทีผ่ เู้ ข้าร่วม สามารถรับรู้ประโยชน์ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะส่ง ผลให้ผู้น�ำชุมชนทั้งผู้น�ำแบบทางการและไม่ เป็นทางการ เข้ามาร่วมขับเคลื่อน ยิ่งไปกว่า นั้น หากผู้น�ำที่เป็นทางการเข้ามามีส่วนร่วม เป็นตัวแบบให้แก่คนในชุมชนได้เห็นแบบอย่าง 134 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

จะยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้น จนน�ำไปสู่ การสร้างความยั่งยืนและความเข้มแข็งของ คนในชุมชนต่อไปได้  ท�ำให้เกิดการขยายผลต่อ วิ ท ยากรหรื อ ผู ้ ใ ห้ ค วามรู ้ ที่ ม าจากภายนอก ชุมชน ท�ำหน้าที่เพียงเป็นผู้จุดประกาย เมื่อ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้ดว้ ยตนเอง จะค่อยๆ ถอนตัวออก ให้ชุมชนน�ำชุมชนกันเอง ทั้งนี้ สถานที่ ใ นการจั ด กิ จ กรรมควรหาสถานที่ ที่ เหมาะสมกับการท�ำกิจกรรมและเป็นจุดศูนย์ รวมผูเ้ ข้าร่วมสะดวกเดินทางมาท�ำกิจกรรมด้วย 2. ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรติดตามผลของความเข้มแข็ง และความยั่งยืน ภายหลังจากที่คณะวิทยากร ถอนตัวออกจากชุมชนว่า ชุมชนจะเกิดความ เข้ ม แข็ ง และความยั่ ง ยื น ต่ อ ได้ ห รื อ ไม่   และ ปัจจัยใดทีส่ ร้างให้เกิดความยัง่ ยืน และส่งผลต่อ ความเข้มแข็งของชุมชนได้ 2.2 ควรน�ำรูปแบบการจัดกิจกรรมทีท่ ำ� ขยายผลไปยังอ�ำเภอ หรือ จังหวัดอืน่ ๆ โดยให้ แกนน�ำชุมชนที่สร้างขึ้นเป็นผู้ขยายผล โดย มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา หรือ ช่วยนิเทศก์ เพื่อสร้างแกนน�ำกลุ่มใหม่  ให้เกิดขึ้นได้ด้วย กลุ่มแกนน�ำที่สร้างขึ้นมา กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ให้ทุนสนับสนุน


จิตรา ดุษฎีเมธา, สุเมษย์ หนกหลัง, วณัฐพงศ์ เบญจพงศ์ และ วรสรณ์ เนตรทิพย์

การท� ำ วิ จั ย ในครั้ ง นี้   และขอขอบคุ ณ นายก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลหนองหมากฝ้ า ย ทีอ่ นุญาตให้เข้าไปเก็บข้อมูลในต�ำบล ตลอดจน ผู ้ อ� ำ นวยการโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ สาธารณสุ ข ต� ำ บลบ้ า นท่ า ช้ า ง (ผอ.รพสต) นางสาวสุ ธี   สุ น ทรชั ย  ที่ ช ่ ว ยอ� ำ นวยความ สะดวกให้แก่คณะผูว้ จิ ยั  รวมไปถึงคนในชุมชน ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลจนส�ำเร็จ ลุล่วงด้วยดี เอกสารอ้างอิง จิตรา ดุษฏีเมธา, สุเมษย์  หนกหลัง, ณัฐชวดี จันทร์ฟอง และ สุธ ี สุนทรชัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างความสุข ของผู้สูงอายุด้วยสยามหัวเราะบ�ำบัด ผ่านการวิจยั แบบมีสว่ นร่วมโดยใช้ชมุ ชน เป็นฐาน: กรณีศกึ ษา ชุมชนบ้านท่าช้าง อ� ำ เภอวั ฒ นานคร จั ง หวั ด สระแก้ ว . วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(1), 31-46. จิ ต รา ดุ ษ ฎี เ มธา สุ เ มษย์   หนกหลั ง  และ วณั ฐ พงศ์   เบญจพงศ์ .  (2560). การ พัฒนาโปรแกรมนันทนาการบ�ำบัดที่มี ต่อความสุขผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล ต�ำรวจ, 9(2) 1-13. นเรนทร์  แก้วใหญ่. (2561). ศูนย์การเรียนรู้ ของชุ ม ชน: การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ของ สถาบันอุดมศึกษา.

วารสารวิ ช าการเซาธ์ อี ส ท์ บ างกอก (สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(2), 108-123. ธี ร ะชน พลโยธา. (2556). จิ ต วิ ท ยาสั ง คม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2557). การ บริ ก ารวิ ช าการแก่ ชุ ม ชน. ออนไลน์ ค้ น หาเมื่ อ  17 มี น าคม พ.ศ.2561 https://www.swu.ac.th/SWUAn nualReport/2014/thai/pdf/การ บริการวิชาการแก่ชุมชน.pdf สุธี  สุนทรชัย, เอกพจน์  จงดี  และระวิวรรณ ปัญญา. (2556). เอกสารสรุปรายงาน ผลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล บ้ า นท่ า ช้ า ง ต� ำ บลหนองหมากฝ้ า ย อ� ำ เภอวั ฒ นานคร จั ง หวั ด สระแก้ ว ประจ�ำปี  2555. (อัดส�ำเนา) ____. (2557). เอกสารสรุ ป รายงานผล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้าน ท่าช้าง ต�ำบลหนองหมากฝ้าย อ�ำเภอ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ประจ�ำปี 2556. (อัดส�ำเนา) สุมิตร สุวรรณ, ฐณัฐ วงสายเชื้อ, สภาภรณ์ สงค์ประชา และ สถาพร รอดโพธ์ทอง. (2554). มนุษย์  เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จ�ำกัด.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 135


ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลของโครงการพัฒนาแกนนำ�สร้างสุขสูช่ มุ ชน ตำ�บลหนองหมากฝ้าย อำ�เภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

สุเมษย์  หนกหลัง. (2560). การพัฒนาการ ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องป่าชาย เลนชุมชนผ่านการมีสว่ นร่วมของชุมชน ให้แก่เยาวชนในชุมชนเกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรัง. วารสารสถาบันวัฒนธรรม และศิลปะ, 2(36), 115-123. สุวิมล ตั้งสัจจพจน์  (2553). นันทนาการและ การใช้เวลาว่าง. กรุงเทพฯ: เอดิสนั เพรส โพรดักส์. ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการ ศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปี การศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

136 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Edginton, C.R., Jordan, D.J., DeGraaf, D.G., & Edginton, S.R. (2002). Leisure and life satisfaction: Foundational perspectives. NY: McGraw Hill. Kosseff, A. (2010). AMC Guide to Outdoor Leadership. MA. Appalachian Mountain Club Books. Patry, D. A., Blanchard, C. M., & Mask, L. (2007). Measuring university stu dents' regulatory leisure coping styles: Planned breathers or avoid ance? Leisure Sciences, 29(3), 247 265. Russell, R.V. (2005). Pastimes: The Con text of Contemporary Leisure. IL: Sagamore Publishing L.L.C.


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำ� นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

The Result of The Development of

Enhancement Program for Secondary Students Leadership in Education Opportunity Extension School. นงราม ชลอเจริญยิ่ง * ผู้วิจัยสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ ดร.สมเกียรติ ทานอก * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา Nongram Chalorcharoenying * Researcher at Educational Administration and Development,    Faculty of Education, Mahasarakham University.

Assoc.Prof.Dr.Prawit Erawan * Lecturer at Department of Educational Research and Development,   Faculty of Education, Mahasarakham University.

Dr.Somkiat Tanok  * Lecturer at Department of Educational Measurement,

Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Rajabhat University.


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบ ภาวะผูน้ ำ� นักเรียน 2) เพือ่ ศึกษาสภาพปัจจุบนั และความต้องการในการ พัฒนาภาวะผู้น�ำนักเรียน 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะ ผู้น�ำนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาผลการน�ำโปรแกรมไปด�ำเนินการเสริม สร้างภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จ�ำนวน 122 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู  และประธาน สภานักเรียน รวมจ�ำนวน 366 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามสภาพปัจจุบนั และ ความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้น�ำนักเรียน ข้อสอบวัดความรู้ก่อน และหลังการพัฒนา และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่  การวิเคราะห์เนือ้ หา ค่าเฉลีย่  ค่าร้อยละ ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการ วิจัย พบว่า 1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผูน้ ำ� นักเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบ ได้แก่ ด้าน ทักษะการแก้ปัญหา ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ด้านความเชื่อมั่นใน ตนเอง ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านความรอบรู ้ ด้านความซือ่ สัตย์สจุ ริต ด้าน ความเสียสละ ด้านวิสัยทัศน์  และด้านความรับผิดชอบ 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนา ภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการ ศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบนั ภาวะผูน้ ำ� นักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ ในระดั บ มาก ส่ ว นความต้ อ งการในการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวม และ รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

138 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

3. ผลการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้น�ำนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า มีองค์ ประกอบ ได้แก่ 1) ทีม่ าและความส�ำคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธกี ารพัฒนา 4) โครงสร้างของโปรแกรม และ5) เนื้อหาและสาระส�ำคัญของโปรแกรม ประกอบด้วย 9 โมดูล ได้แก่  1 ด้านทักษะการแก้ปัญหา 2 ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3 ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง 4 ด้านมนุษยสัมพันธ์  5 ด้านความรอบรู้ 6 ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 7 ด้านความเสียสละ 8 ด้านวิสัยทัศน์  และ 9 ด้านความรับผิดชอบ โดยใช้ระยะเวลาการอบรม 9 วัน ส่วนวิธีการ พัฒนา ได้แก่  1) การอบรม 2) กิจกรรมกลุ่ม และ 3) การปฏิบัติจริง ประกอบด้วย กระบวนการการพัฒนา 3 ขั้น คือ ขั้นที่  1 การประเมิน ก่อนการพัฒนา ขั้นที่  2 การพัฒนา และขั้นที่  3 การประเมินหลังการ พัฒนา 4. ผลการน�ำโปรแกรมไปด�ำเนินการเสริมสร้างภาวะผูน้ ำ� นักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า การ ทดสอบความรูเ้ กีย่ วกับภาวะผูน้ ำ� นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา นักเรียนมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อน การพัฒนา และทุกคนผ่านเกณฑ์  ร้อยละ 80 การประเมินภาวะผู้น�ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา หลัง พัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินความพึงพอใจที่มี ต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ ำ� นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค�ำส�ำคัญ:

1) ภาวะผู้น�ำนักเรียน 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้น�ำ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 139


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Abstrct

The purpose of this research were 1) to synthesize student leadership components 2) to study the current state and need for students leadership development 3) to developed students leadership enhancement programs and 4) to study the result of program implementation in Education Opportunity Extension School. The sample consisted of 122 of schools for the expansion of educational opportunities. The data were composed of administrators, teachers and student council president, totally 366 persons. The research instruments were structured interviews, questionnaires of current condition and needs in students leadership development, the exam questions of Knowledge test before and after development and satisfaction assessment form. The statistical used for analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the consistency index technique. The results of this research found that : 1. The synthesis of students leadership in Education Opportunity Extension School found that; there were elements of the problem solving skills, the creative thinking, the self of confidence, the human relationship, the knowledge, the honesty, the sacrifice, the vision and the responsibility. 2. The results of the current situation and the need of the students leadership in Education Opportunity Extension School; the current situation, in overall and each aspect, they were in the high level. For the need of the

140 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

leadership of students in Education Opportunity Extension School, in overall and each aspect, they were in the highest level. 3. The developed program for developing the students leadership in Education Opportunity Extension School consisted of the components of program are: 1) the importance of the program 2) the purpose of the program 3) format and how to develop 4) the structure of the program and 5) the content and essence of the program consists of 9 modules: Modules 1; the problem solving skills, Modules 2; the creative thinking, Modules 3; the self of confidence, Module 4; the human relationship, Module 5; the knowledge, Module 6; the honesty, Module 7; the sacrifice, Module 8; the vision, Module 9; the responsibility by spending time of development for 9 days. The techniques for development consisted of : 1) training 2) group activities and 3) practicality included 3 steps of development process: Stage 1; assessment before development, Stage 2; development, and Stage 3; assessment after development. 4. The implementation of the students leadership in Education Opportunity Extension School found that; the score of the test on leadership, the students score after treated by this program was higher than pretest and everyone passed the 80 percent threshold. The assessment the students leadership in Education Opportunity Extension School after development in overall at the highest level

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 141


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

and the satisfaction assessment on the students leadership in Education Opportunity Extension School in overall at the highest level. Keywords:

1) students leadership  2) Enhancement Leadership Program

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ภาวะผู้น�ำเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มี อิทธิพลต่อสังคม ซึ่งมีบุคคลๆ หนึ่งพยายามที่ จะเข้ามามีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น เพื่อด�ำเนิน กิจกรรมตามโครงสร้างด้วยวิธีการสร้างความ สัมพันธ์ภายในกลุ่มหรือภายในองค์การ (Hoy and Miskel, 2005: 392) เป็นความสามารถ ในการบั น ดาลใจให้ เ กิ ด ความเชื่ อ มั่ น  และ สนับสนุนบุคคลที่มีความปรารถนาจะท�ำงาน ให้ท�ำงานได้  ประสบผลส�ำเร็จตามเป้าหมาย ขององค์การ (DuBrin, 2009: 334) และสร้าง แรงบันดาลใจให้บคุ คลอืน่ เกิดความเชือ่ มัน่ และ สนับสนุนบุคคลที่มีความปรารถนาจะท�ำงาน ให้ ส ามารถท� ำ งานจนประสบผลส� ำ เร็ จ ตาม เป้าหมายทีก่ ลุม่ หน่วยงานและทีอ่ งค์กรร่วมกัน ก�ำหนดไว้  (ประภาพรรณ รักเลี้ยง, 2556: 2) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ภาวะผู้น�ำเปรียบเสมือนอาวุธ ประจ� ำ กายของผู ้ บ ริ ห ารที่ จ ะเป็ น ตั ว วั ด ผล สั ม ฤทธิ์ แ ละประสิ ท ธิ ภ าพของงาน เป็ น

142 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คุณสมบัติที่ส�ำคัญยิ่งต่อการบริหารงาน ต่อ ผู ้ ร ่ ว มงาน ต่ อ ผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา ต่ อ สถาบั น และต่อความส�ำเร็จขององค์การ ทั้งนี้เพราะ ผู้น�ำเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการด�ำเนินงาน เป็น ตัวแทนองค์การและเป็นแกนน�ำแห่งพลังร่วม ของบุ ค คลในองค์ ก าร ความสามารถและ ลักษณะของผู้น�ำมีส่วนสัมพันธ์อย่างมากกับ คุ ณ ภาพและความก้ า วหน้ า  และสะท้ อ น ประสิทธิภาพขององค์การ นอกจากนีภ้ าวะผูน้ ำ� ยังเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานซึ่งจะส่งผล ให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมี ประสิทธิผล (พิเชษฐ์  วงศ์เกียรติขจร, 2553: 42) ส�ำหรับภาวะผู้น�ำนักเรียน เป็นความ สัมพันธ์ระหว่างคนทีต่ อ้ งการเป็นผูน้ ำ  � กับคนที่ เลือกจะเป็นผูต้ าม บางครัง้ ความสัมพันธ์ทเี่ กิด ขึน้ ก็อาจจะเป็นแบบ 1 ต่อ 1 แต่บางครัง้ ก็อาจ จะเป็ น แบบ 1 ต่ อ หลายคน อย่ า งไรก็ ต าม


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

นักเรียนที่เป็นผู้น�ำต้องเป็นผู้ที่มีความรู้อย่าง ถ่ อ งแท้ เ กี่ ย วกั บ พลวั ต รของความสั ม พั น ธ์ ดังกล่าว (Kouzes and Posner, 2008: 21) ผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นเป็ น บุ ค คลที่ ส มาชิ ก ในกลุ ่ ม ให้ ความไว้วางใจ เชื่อถือและเป็น ที่ยอมรับของ สมาชิ ก คนอื่ น  นอกจากนั้ น ยั ง เป็ น บุ ค คลที่ สามารถโน้มน้าวจิตใจเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม ด้วยความเต็มใจ และปฏิบัติตามจนเกิดความ ส� ำ เร็ จ ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องกิ จ กรรมนั้ น ๆ (จิมมี่  ทองพิมพ์, 2552: 32) ซึ่งคุณลักษณะ ภาวะผู้น�ำนักเรียน ประกอบด้วย การมีความ เชื่อมั่นในตนเอง มีทักษะทางด้านการฟังและ การสื่ อ สาร มี ค วามรอบรู ้ เ กี่ ย วกั บ สั ง คม มีทักษะที่จะช่วยเสริมสร้างด้านอื่นๆ ที่จ�ำเป็น (Lipkin, 2010: 113-122) เป็นแบบอย่างที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์  มีความรับผิดชอบ มีแนวคิดที่ จะช่ ว ยเสริ ม พลั ง อ� ำ นาจให้ กั บ ชุ ม ชนเต็ ม ใจ บริการ (Armistead, 2012: 58-59) นอกจาก นี้ยังต้องมีความซื่อสัตย์  มีวิสัยทัศน์  รู้วิธีเอา ชนะใจคน เป็นผู้มีความรอบรู้  (Haye, 2012: 145-148) สังคมไทยต้องการคนรุ่นใหม่ที่มีภาวะ ผู้น�ำเพื่อเป็นก�ำลังส�ำคัญในการน�ำทิศทางของ ประเทศให้อยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทางสั ง คมเศรษฐกิ จ  และการเมื อ งที่ มี ก าร แข่งขันรุนแรงมากขึน้  แต่ปญ ั หาภาวะผูน้ ำ� ไทย พบว่า นักเรียนจ�ำนวนมากไม่มภี าวะความเป็น

ผูน้ ำ  � เนือ่ งจากอยูภ่ ายใต้สงั คมทีเ่ คยชินกับการ เป็นผู้ตามมากกว่าผู้น�ำ  ไม่กล้าแสดงความคิด เห็น โดยเฉพาะในประเด็นที่แตกต่างจากคน อื่นเพราะกลัวเป็นแกะด�ำ  รวมถึงระบบการ ศึกษาไทยที่ครูจ�ำนวนมากสอนโดยมีครูเป็น ศูนย์กลาง นักเรียนต้องคิดตามกรอบทีก่ ำ� หนด (เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์, 2551: online) ซึ่ ง จุ ด อ่ อ นของการจั ด การเรี ย นการสอน คือ นักเรียนต่อห้องมีหลายคน หรือ ครูสอนได้ ไม่ลึกพอส�ำหรับนักเรียนทุกคน จนนักเรียน หลายคนไม่ได้รบั การชีแ้ นะและได้รบั การฝึกฝน เพียงพอ เมื่อโตขึ้นจะไปท�ำงานการใดก็คอย เป็นผูต้ าม เนือ่ งจากไม่ได้รบั การฝึกให้เป็นผูน้ ำ� คนอื่นได้  (ชัด บุญญา, 2557: online) ซึ่งส่ง ผลให้คนไทยขาดลักษณะความเป็นผู้น�ำได้แก่ ขาดความเสียสละ และความมีจิตใจเอื้อเฟื้อ ขาดความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อการ กระท�ำของตน และไม่กล้าตัดสินใจ (จิมมี ่ ทอง พิมพ์, 2552: 35-36) ทัง้ นีเ้ ป็นผลมาจากระบบ การศึกษาที่สร้างเด็กให้คิดตามมากกว่าคิด สร้างสรรค์  และหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนขาด เนื้อหาที่สอนให้นักเรียนมีภาวะผู้น�ำ ดังนั้น ประเทศไทยจึงประสบปัญหา ขาดผู้ที่ต้องการ เข้ามาน�ำทิศทางประเทศในอนาคต การสร้าง ผู ้ น� ำ จึ ง เป็ น เรื่ อ งใหญ่ ที่ ค วรให้ ค วามส� ำ คั ญ และต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้น พื้ นฐาน (เกรี ย งศั ก ดิ์   เจริ ญ วงศ์ ศั ก ดิ์ , 2551:

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 143


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

online) โดยการฝึ ก ฝนให้ นั ก เรี ย นมี ค วาม สามารถ และทักษะในการพูด กล้าแสดงออก มี บุ ค ลิ ก ภาพ มี ม นุ ษ ยสั ม พนธ์ ที่ ดี   รู ้ จั ก คิ ด วิเคราะห์  มีความรู้  และทักษะในการเป็นผู้น�ำ ในโรงเรียน ทีบ่ า้ น และการท�ำงานในอนาคตฅ ทีต่ อ้ งใช้ภาวะผูน้ ำ� ทีส่ งู ขึน้  (นกานต์ธรี า ปัญจะ ทองค�ำ, 2557: บทคัดย่อ) การสร้างให้นกั เรียนมีภาวะผูน้ ำ� นัน้  ควร เริม่ ตัง้ แต่การสอนให้นกั เรียนมีทศั นคติทถี่ กู ต้อง ต่อการเป็นผู้น�ำ  และมีการฝึกฝนโดยอาจเริ่ม จากการเป็นผู้น�ำในกลุ่มเพื่อน การเป็นผู้น�ำ กิจกรรมในโรงเรียน ซึ่งจะพัฒนาให้นักเรียน เป็ น ผู ้ ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ต ามที่ หลั ก สู ต รก� ำ หนด กลายเป็ น ผู ้ น� ำ ครอบครั ว ผู้น�ำองค์กร ผู้น�ำชุมชน และผู้น�ำประเทศที่ดีมี คุณภาพในอนาคต ดังนั้นจึงถือได้ว่าโรงเรียน เป็นสถาบันหลักในการหล่อหลอมและพัฒนา นักเรียนให้มคี วามเป็นผูน้ ำ  � ซึง่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ที่ โรงเรี ย นต้ อ งมี โ ปรแกรมการเสริ ม สร้ า งให้ นั ก เรี ย นมี ภ าวะความเป็ น ผู ้ น� ำ  ซึ่ ง จะส่ ง ผล ให้การด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียนเป็น ไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิผล วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา

144 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความ ต้ อ งการในการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา 3. เพือ่ พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา 4. เพื่ อ ศึ ก ษาผลการน� ำ โปรแกรมไป ด� ำ เนิ น การเสริ ม สร้ า งภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ทราบถึงองค์ประกอบของภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อใช้ส�ำหรับการ พัฒนานักเรียนให้มภี าวะผูน้ ำ� ตามองค์ประกอบ 2. ได้โปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผูน้ ำ� นักเรียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เป็นนวัตกรรม ในการพัฒนาภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3. ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถน�ำข้อมูลสารสนเทศไปเป็นแนวทาง การพั ฒ นานั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาให้มีภาวะ ผู้น�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ภาวะผู้น�ำ  หมายถึง ลักษณะของ บุคคลที่พยายามเข้ามามีอิทธิพลเหนือบุคคล อืน่  โดยใช้ศลิ ปะหรือกระบวนการในการชักน�ำ จูงใจอย่างกระตือรือร้นเพื่อโน้มน้าวให้บุคคล อื่นในองค์กรยอมรับ และร่วมด�ำเนินการไป ด้ ว ยกั น เพื่ อ ให้ บ รรลุ เ ป้ า หมาย หรื อ วั ต ถุ ประสงค์ในสิ่งที่ผู้น�ำต้องการ 2. การพัฒนาภาวะผู้น�ำ  หมายถึง การ พั ฒ นาศั ก ยภาพของผู ้ น� ำ  ซึ่ ง ได้ ม าจากการ ฝึ ก อบรมหรื อ การเรี ย นรู ้ จ ากประสบการณ์ และความผิดพลาดต่างๆ ของตนเอง บุคคลอืน่ และองค์กร โดยมีแนวทางในการพัฒนาคือการ ท�ำความรู้จักตนเอง การสร้างวินัยในตนเอง การศึกษา การแสวงหาประสบการณ์  การให้ ค�ำปรึกษา 3. ภาวะผู้น�ำนักเรียน หมายถึง ความ สามารถของนักเรียนในด้านการแก้ปญ ั หา ด้าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ด้านความเชื่อมั่นใน ตนเอง ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านความรอบรู้ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ ด้านวิสัยทัศน์  และด้านความรับผิดชอบ 3.1 ด้านทักษะแก้ปัญหา หมายถึง ลักษณะของนักเรียนที่จะต้องรู้จักการค้นหา วิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ประเมินและ ตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ปญ ั หาได้อย่าง เหมาะสม รูจ้ กั การวางแผนและลงมือแก้ปญ ั หา

การประเมินผลการด�ำเนินการแก้ปัญหา และ การสะท้อนผลการแก้ปัญหา 3.2 ด้ า นความคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์ หมายถึ ง  ความสามารถในการคิ ด ในราย ละเอียดเพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลัก ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์  มีความคิดยืดหยุ่น สามารถในการคิดหาค�ำตอบได้หลากหลาย มีความคิดทีแ่ ปลกใหม่ตา่ งจากความคิดของคน อื่น และสามารถคิดหาค�ำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว และได้คำ� ตอบทีม่ ากทีส่ ดุ ในเวลาทีจ่ ำ� กัด และไม่กอ่ ให้เกิดปัญหาในสังคม 3.3 ด้านความเชือ่ มัน่ ในตนเอง หมายถึง คุ ณ ลั ก ษณะที่ จ ะช่ ว ยให้ ไ ม่ เ กิ ด ความวิ ต ก กัง วลในเรื่ องที่ เกิด ขึ้นรอบตัว มีจิตใจมั่นคง มี ค วามคิ ด เป็ น ของตนเอง  ไม่ วิ ต กกั ง วล กล้ า เผชิ ญ ต่ อ ความจริ ง  กล้ า ตั ด สิ น ใจ และ กล้าคิดกล้าท�ำ 3.4 ด้ า นมนุ ษ ยสั ม พั น ธ์   หมายถึ ง ศิลปะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางสังคม โดยการจ�ำชื่อและเรียกชื่อคนได้อย่างแม่นย�ำ รูจ้ กั ตนเองและยอมรับตนเอง รูจ้ กั ผูอ้ น่ื ยอมรับ ผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความอดทน เคารพความคิดเห็น และความ สามารถของบุคคลอื่น 3.5  ด้ า นความรอบรู ้   หมายถึ ง ลักษณะของบุคคลที่จะต้องมีความรอบรู้เกี่ยว กับทักษะชีวิต รู้จักเลือกรับสิ่งที่ถูกและเลือก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 145


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกได้  รอบรู้ทางด้านทักษะการ เรียนรู ้ และมีความรอบรูท้ กั ษะการใช้เทคโนโลยี ที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม 3.6 ด้านความซือ่ สัตย์สจุ ริต หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความ ซื่อตรง ไม่คดโกง พูดจริงท�ำจริง รักษาวาจา สั ต ย์ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด  มี ค วามจริ ง ใจต่ อ คนที่ เกี่ยวข้อง มีความมุ่งมั่นท�ำให้งานส�ำเร็จเกิด ประโยชน์ต่อตนเองหรือส่วนรวม 3.7 ด้ า นความเสี ย สละ หมายถึ ง การเป็นบุคคลที่พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน มีความเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ และมีจิตสาธารณะ 3.8 ด้ า นการมี วิ สั ย ทั ศ น์   หมายถึ ง การรู ้ เ ท่ า ทั น เหตุ ก ารณ์   เป็ น คนช่ า งสั ง เกต มีเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ 3.9 ด้านความรับผิดชอบ หมายถึง การติดตามผลงานของตนเพือ่ ปรับปรุงแก้ไขให้ ดีขึ้น ยอมรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระท�ำ ของตนเอง และรักษาสมบัติของส่วนรวม 4. โปรแกรมเสริ ม สร้ า งภาวะผู ้ น� ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา หมายถึง ชุดกิจกรรม ที่ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้น�ำ  ซึ่งประกอบด้วย 1)  ที่ ม าและความส� ำ คั ญ ของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) รูปแบบและ

146 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

วิธีการพัฒนา 4) โครงสร้างของโปรแกรมและ 5) เนื้อหาและสาระส�ำคัญของโปรแกรม วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจยั  การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เป็นการ วิจัยและพัฒนา โดยด�ำเนินการเป็น 4 ระยะ ดั ง นี้ (ภาพประกอบวิ ธี ก ารด� ำ เนิ น การวิ จั ย หน้าที่  147) สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้  ดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า มี  9 องค์ ประกอบ และ 34 ตั ว ชี้ วั ด  ได้ แ ก่   1) ด้ า น ทักษะการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ การค้นหาวิธกี ารแก้ปญ ั หาได้หลากหลาย การประเมินและตัดสินใจเลือกแนวทางในการ แก้ ป ั ญ หาได้ อ ย่ า งเหมาะสม การรู ้ จั ก การ วางแผนและลงมื อ แก้ ป ั ญ หา การรู ้ จั ก การ ประเมินผลการด�ำเนินการแก้ปัญหา และการ รูจ้ กั การสะท้อนผลการแก้ปญ ั หา 2) ด้านความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่  สามารถคิดในรายละเอียดเพือ่ ขยายหรือ ตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายทีส่ มบูรณ์


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

ภาพประกอบ วิธีการด�ำเนินการวิจัย ระยะการวิจัย

วิธีการด�ำเนินการ

ผลที่คาดหวัง

ระยะที ่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา ตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา

1. ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีจากเอกสาร ต�ำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ตรวจสอบ และยืนยันองค์ประกอบภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวน 7 ท่าน

องค์ประกอบภาวะผู้น�ำนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา

ระยะที่   2  การศึ ก ษาสภาพ ปัจจุบันและความต้องการในการ พั ฒ น า ภ า ว ะ ผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา

3. ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการใน การพัฒนาภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามกับโรงเรียนกลุม่ ตัวอย่าง

สภาพปัจจุบันและความต้องการ ในการพัฒนาภาวะผู้น�ำนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา

ระยะที่  3 การพัฒนาโปรแกรม เสริ ม สร้ า งภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา

4. ยกร่ า งโปรแกรมเสริ ม สร้ า งภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ในโรงเรี ย น ขยายโอกาสทางการศึกษา 5.  ตรวจสอบความเหมาะสมของร่ า ง โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้น�ำนักเรียน 6. ปรับปรุงร่างโปรแกรมเสริมสร้างภาวะ ผู้น�ำนักเรียน

โปรแกรมเสริ ม สร้ า งภาวะผู ้ น� ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นใน โรงเรี ย นขยายโอกาสทางการ ศึกษา

ระยะที่   4 การน� ำ โปรแกรมไป ด�ำเนินการเสริมสร้างภาวะผู้น�ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นใน โรงเรี ย นขยายโอกาสทางการ ศึกษา

7. น�ำโปรแกรมไปด�ำเนินการเสริมสร้างภาวะ ผู้น�ำนักเรียน จ�ำนวน 30 คน 8. ประเมินผลและติดตามผลการเสริมสร้าง ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 9. ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรม เสริมสร้างภาวะผูน้ ำ� นักเรียนมัธยมศึกษาตอน ต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นใน โรงเรี ย นขยายโอกาสทางการ ศึกษามีภาวะผู้น�ำ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 147


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

มีความคิดยืดหยุ่น ความสามารถในการคิดหา ค�ำตอบได้หลากหลาย มีความคิดที่แปลกใหม่ ต่างจากความคิดของคนอืน่  และสามารถคิดหา ค�ำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวรวดเร็วและ ได้ค�ำตอบที่มากที่สุดในเวลาที่จ�ำกัด 3) ด้าน ความเชือ่ มัน่ ในตนเอง ประกอบด้วย 4 ตัวชีว้ ดั ได้แก่  ไม่วิตกกังวลมีความมั่นคงในอารมณ์  มี จิ ต ใจมั่ น คงมี ค วามคิ ด เป็ น ของตนเอง กล้ า เผชิญต่อความจริง และกล้าตัดสินใจกล้าคิด กล้าท�ำ  4) ด้านมนุษยสัมพันธ์  ประกอบด้วย 5 ตัวชีว้ ดั  ได้แก่  จ�ำชือ่ และเรียกชือ่ คนได้อย่าง แม่นย�ำ  รู้จักตนเองและยอมรับตนเอง รู้จัก ผู้อื่นยอมรับผู้อื่นและยอมรับความแตกต่าง ระหว่ า งบุ ค คล มี ค วามอดทน และยอมรั บ เคารพความคิ ด เห็ น และความสามารถของ บุคคลอื่น 5) ด้านความรอบรู้  ประกอบด้วย 9 ตัวชี้วัด ได้แก่  มีความรอบรู้ทักษะชีวิตรู้จัก เลือกรับสิ่งที่ถูกและเลือกปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกได้ รอบรู้ทางด้านทักษะการเรียนรู้  และมีความ รอบรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยี  6) ด้านความ ซื่อสัตย์สุจริต ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความ ซือ่ ตรงไม่คดโกง การพูดจริงท�ำจริงรักษาวาจา สัตย์อย่างเคร่งครัด ต้องมีความจริงใจต่อคนที่ เกี่ ย วข้ อ ง และต้ อ งมี ค วามมุ ่ ง มั่ น ท� ำ ให้ ง าน ส�ำเร็จเกิดประโยชน์ต่อตนเองหรือส่วนรวม 7) องค์ประกอบด้านความเสียสละ ประกอบ

148 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ด้วย 3 ตัวชีว้ ดั  ได้แก่  พร้อมให้ความช่วยเหลือ ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่  และมีจิตสาธารณะ 8) ด้านวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่  รู้เท่าทัน เหตุการณ์ เป็นคนช่างสังเกตมีเหตุผล และรูจ้ กั คิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์  9) ด้านความรับ ผิดชอบ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่  การ ติดตามผลงานเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น การ ยอมรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระท�ำของ ตนเอง และการรักษาสมบัติของส่วนรวม 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบนั ภาวะผูน้ ำ� นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ใน ระดับมาก 6 ด้าน คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้าน ความรอบรู ้ ด้านความซือ่ สัตย์สจุ ริต ด้านความ เสียสละ ด้านความรับผิดชอบ และด้านวิสัย ทัศน์  และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์  และด้านทักษะการแก้ปัญหา ส่วน ความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้น�ำนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ใน ระดับมากทีส่ ดุ  8 ด้าน คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ด้านความรอบรู ้ ด้านความซือ่ สัตย์


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

สุจริต ด้านความเสียสละ ด้านความรับผิดชอบ และด้านวิสยั ทัศน์ และอยูใ่ นระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านทักษะการแก้ปัญหา 3. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ใน โรงเรี ย นขยายโอกาสทางการศึ ก ษา พบว่ า มีองค์ประกอบ ได้แก่  1) ทีม่ าและความส�ำคัญ ของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธกี ารพัฒนา 4) โครงสร้างของ โปรแกรม และ5) เนื้ อ หาและสาระส� ำ คั ญ ของโปรแกรม ประกอบด้วย 9 โมดูล ได้แก่ 1 ด้านทักษะการแก้ปัญหา 2 ด้านความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์  3 ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง 4 ด้ า นมนุ ษ ยสั ม พั น ธ์   5 ด้ า นความรอบรู ้ 6 ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 7 ด้านความเสีย สละ 8 ด้านวิสัยทัศน์  และ 9 ด้านความรับ ผิดชอบ โดยใช้ระยะเวลาการอบรม 9 วัน ส่วน วิธกี ารพัฒนา ได้แก่ 1) การอบรม 2) กิจกรรม กลุ่ม และ 3) การปฏิบัติจริง ประกอบด้วย กระบวนการการพั ฒ นา 3 ขั้ น  คื อ  ขั้ น ที่   1 การประเมินก่อนการพัฒนา ขัน้ ที ่ 2 การพัฒนา และขั้นที่  3 การประเมินหลังการพัฒนา 4. ผลการน�ำโปรแกรมไปด�ำเนินการ เสริมสร้างภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ต้ น ในโรงเรี ย นขยายโอกาสทางการศึ ก ษา ดังต่อไปนี้

4.1 ผลการทดสอบความรู้ภาวะผู้น�ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึ ก ษา คะแนนก่ อ นพั ฒ นามี คะแนนเฉลี่ ย  13.57 จากคะแนนเต็ ม  30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.23 และคะแนน หลั ง การพั ฒ นามี ค ะแนนเฉลี่ ย  25.17 จาก คะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.90 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนหลังการพัฒนาสูง กว่าก่อนการพัฒนาและผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน 4.2 ผลการประเมินภาวะผูน้ ำ� นักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา โดยรวมก่อนพัฒนาอยูใ่ นระดับ ปานกลาง หลั ง พั ฒ นาอยู ่ ในระดั บมากที่ สุ ด เมือ่ เปรียบเทียบภาวะผูน้ ำ� นักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา หลังพัฒนาและระยะติดตามผล พบว่าภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา ระยะติดตามผลสูง กว่าภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาหลังพัฒนา 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้เข้ารับการพัฒนาที่มีต่อโปรแกรมภาวะผู้น�ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ใน ระดับมากที่สุด

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 149


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

การอภิปรายผล จากผลการวิ จั ย ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น อภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะ ผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึ ก ษา พบว่ า  มี อ งค์ ประกอบ ได้ แ ก่   ด้ า นทั ก ษะการแก้ ป ั ญ หา ด้านความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ ด้านความเชือ่ มัน่ ในตนเอง ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านความรอบรู้ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ ด้ า นวิ สั ย ทั ศ น์   และด้ า นความรั บ ผิ ด ชอบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ จิมมี่  ทองพิมพ์ (2552: 35-36) ที่เสนอว่า ภาวะผู้น�ำที่ดีของ นั ก เรี ย นมี อ งค์ ป ระกอบ ได้ แ ก่   ด้ า นความ สามารถแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ด้านความเสีย สละ ด้านความซื่อสัตย์  ด้านความรับผิดชอบ ต่อการกระท�ำของ ด้านการกล้าตัดสินใจ ด้าน ความเชื่ อ มั่ น ในตนเอง ด้ า นความสามารถ วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ด้วยเหตุผลและยุติธรรม ด้านความขยันและอดทน และด้านความรูแ้ ละ มีความคิดสร้างสรรค์  และสอดคล้องกับผล การวิจยั ของ ไพศาล จันทรภักดี  (2548: 349353) ที่ ศึ ก ษาการพัฒนาภาวะผู้น�ำเยาวชน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวง ศึกษาธิการ พบว่า มีองค์ประกอบ ได้แก่  ด้าน การเป็นผู้มีวิสัยทัศน์  ด้านการมีความสามารถ

150 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ในการติดต่อสื่อสาร ด้านการมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์  ด้านการมีความรู้  ทันเหตุการณ์ ก้าวทันโลกเทคโนโลยี  ด้านการมีความเชื่อมั่น ตนเอง ด้านการมีความสามารถในการตัดสินใจ ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม ด้านการมีความ ซื่อสัตย์สุจริต ด้านการมีความสามารถในการ จูงใจ ด้านการมีความสามารถปรับปรุงเปลีย่ นแปลงให้ทนั เหตุการณ์  ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดีต่อบุคคลอื่น ด้านมีความรู้ความสามารถ ในการบริหารจัดการมีบุคลิกภาพดี  ด้านการมี การบริหารจัดการดี  และด้านการมีความเสีย สละและมีความยุติธรรม 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบนั และความ ต้ อ งการในการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบนั ภาวะผูน้ ำ� นักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่ ว นความต้ อ งการในการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุวิทย์  ยอดสละ (2556: 247-248) ที่ศึกษา การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� เชิงวิสยั ทัศน์ของผูบ้ ริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพ ปัจจุบันภาวะผู้น�ำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะ


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมและ รายด้านอยูใ่ นระดับมาก ส่วนความต้องการใน การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� เชิงวิสยั ทัศน์ของผูบ้ ริหาร โรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ ในระดับมากที่สุด และสอดคล้องกับผลการ วิ จั ย ของ กล้ า ศั ก ดิ์   จิ ต ต์ ส งวน ชญาพิ ม พ์ อุสาโห และพฤทธิ์  ศิริบรรณพิทักษ์  (2557: 201) ที่ ศึ ก ษารู ป แบบการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ เชิงกลยุทธ์สำ� หรับผูบ้ ริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผลการวิ จั ย  พบว่ า  สภาพปั จ จุ บั น ของการ พั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ ส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย น มัธยมศึกษาโดยภาพรวม และรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีสภาพปัจจุบัน สูงสุด คือ การก�ำหนดวิสัยทัศน์  ส่วนสภาพที่ พึงประสงค์  โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีสภาพที่พึง ประสงค์สูงสุดคือ การก�ำหนดวิสัยทัศน์  และ ผลการประเมินความต้องการจ�ำเป็น พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจ�ำเป็นสูงสุดคือ การคิดเชิงปฏิวัติ 3. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ใน โรงเรี ย นขยายโอกาสทางการศึ ก ษา พบว่ า มีองค์ประกอบ ได้แก่  1) ทีม่ าและความส�ำคัญ ของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธกี ารพัฒนา 4) โครงสร้างของ โปรแกรม และ5) เนื้อหาและสาระส�ำคัญของ โปรแกรม ประกอบด้วย 9 โมดูล ได้แก่ 1 ด้าน

ทั ก ษะการแก้ ป ั ญ หา 2 ด้ า นความคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์   3 ด้ า นความเชื่ อ มั่ น ในตนเอง 4 ด้ า นมนุ ษ ยสั ม พั น ธ์   5 ด้ า นความรอบรู ้ 6 ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 7 ด้านความเสีย สละ 8 ด้านวิสัยทัศน์  และ 9 ด้านความรับ ผิ ด ชอบ โดยใช้ ร ะยะเวลาการอบรม 9 วั น ส่ ว นวิ ธี ก ารพั ฒ นา ได้ แ ก่   1) การอบรม 2) กิ จ กรรมกลุ ่ ม  และ 3) การปฏิ บั ติ จ ริ ง ประกอบด้วยกระบวนการการพัฒนา 3 ขั้น คือ ขั้นที ่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การพัฒนา และขั้นที่  3 การประเมินหลัง การพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุวิทย์  ยอดสละ (2556: บทคัดย่อ) ที่ศึกษา การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� เชิงวิสยั ทัศน์ของผูบ้ ริหาร โรงเรี ย นประถมศึ ก ษาสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีองค์ ประกอบของโปรแกรม ได้แก่  1) ที่มาและ ความส�ำคัญของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ ของโปรแกรม 3) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 4) โครงสร้างของโปรแกรม 5) เนื้อหาและ สาระส� ำ คั ญ ของโปรแกรม ประกอบด้ ว ย 3 โมดูล ได้แก่  1 การสร้างวิสัยทัศน์  2 การ สื่ อ สารวิ สั ย ทั ศ น์   และ 3 การปฏิ บั ติ ต าม วิ สั ย ทั ศ น์   โดยใช้   เวลาในการพั ฒ นา 169 ชั่วโมง ส่วนวิธีการพัฒนาได้แก่  1) การศึกษา ด้วยตนเอง 2) การศึกษาดูงาน 3) การอบรม 4) การปฏิบัติจริง ประกอบด้วยกระบวนการ พัฒนา 4 ขั้น คือ ขั้นที่  1 การประเมินก่อน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 151


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

การพัฒนา ขั้นที่  2 การพัฒนา ขั้นที่  3 การ บูรณาการ และขั้นที่  4 การประเมินหลังการ พั ฒ นา และสอดคล้ อ งกั บ ผลการวิ จั ย ของ จิราภร อมรไชย (2543 : 249-252) ที่ศึกษา การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะน�ำของนัก บริ ห ารงานปกครองท้ อ งถิ่ น สั ง กั ด องค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีองค์ประกอบ 3 ส่ ว น ได้ แ ก่   ส่ ว นที่   1 ภาวะผู ้ น� ำ ของนั ก บริ ห ารงานปกครองท้ อ งถิ่ น สั ง กั ด องค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องท�ำการพัฒนา ส่วนที่  2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ ของโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้น�ำของนักบริหาร งานปกครองท้องถิน่  สังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้ อ งถิ่ น  และส่ ว นที่   3 กระบวนการพั ฒ นา ภาวะผู้น�ำของนักบริหารงานปกครองท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่  ซึง่ ประกอบ ด้วย เนื้อหาการพัฒนา วัตถุประสงค์ทั่วไป วัตถุประสงค์เฉพาะ วิธีการพัฒนา และวิธีการ ประเมิน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ปิยะ พันธ์  ชัยเสนา และคณะ (2014: 95) ที่ศึกษา การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้น�ำของ ผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาสั ง กั ด ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โปรแกรม มีองค์ประกอบ ได้แก่  ชื่อ โปรแกรม ที่มา และความส�ำคัญ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย แนวคิดและทฤษฎี ค�ำชีแ้ จง เนือ้ หา สาระ หลักการ กิจกรรม แนวทางการวัดและ ประเมินผล และแนวทางการน�ำโปรแกรมไปใช้ 152 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

4. ผลการน�ำโปรแกรมไปด�ำเนินการ เสริมสร้างภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ต้ น ในโรงเรี ย นขยายโอกาสทางการศึ ก ษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 4.1 ผลการทดสอบความรู้ภาวะผู้น�ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา พบว่า นักเรียนผู้เข้ารับ การอบรมมีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อน การพัฒนาและผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุวิทย์  ยอดสละ (2556: 247-248) ที่ศึกษาการพัฒนาภาวะ ผู้น�ำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน ผลการทดสอบความรูภ้ าวะผูน้ ำ� เชิง วิสยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารโรงเรียน พบว่า ผูบ้ ริหาร มีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน และสอด คล้องกับผลการวิจัยของ กานต์ธีรา ปัญจะทองค�ำ  (2557: บทคัดย่อ) ที่ศึกษาการพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผูน้ ำ� ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนมีความ รู้เรื่อง ภาวะผู้น�ำหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึก อบรมอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ  โดยคะแนน เฉลี่ยหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้ หลักสูตร


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

4.2 ผลการประเมินภาวะผูน้ ำ� นักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึ ก ษา พบว่ า  หลั ง การฝึ ก นั ก เรี ย น มี ภ าวะผู ้ น� ำ โดยรวมอยู ่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปิยะพันธ์  ชัยเสนา และคณะ (2014: 96) ที่ ศึ ก ษาการพั ฒ นา โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ ำ� ของผูน้ ำ� นักเรียน ระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านเจตคติ ต่อการเป็นผูน้ ำ� นักเรียน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล พบว่ า  ผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาตาม กระบวนการโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น มีคะแนน เจตคติต่อโปรแกรมหลังการอบรมสูงกว่าก่อน การอบรม และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุวิทย์  ยอดสละ (2556 : 247-248) ที่ศึกษา การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� เชิงวิสยั ทัศน์ของผูบ้ ริหาร โรงเรี ย นประถมศึก ษาสังกัดส�ำนัก งานคณะ กรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ผลการประเมิน พบว่า ผู้บริหารมีภาวะผู้น�ำเชิงวิสัยทัศน์หลัง การฝึกเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบ พบว่า ระยะติดตามผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามี ภาวะผู้น�ำเชิงวิสัยทัศน์สูงกว่าหลังพัฒนา 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้เข้ารับการพัฒนาที่มีต่อโปรแกรมเสริมสร้าง ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า โดย รวมผูเ้ ข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจทุกด้าน

อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการ วิจัยของ วิทยา จันทร์ศิริ  (2551: 218-219) ทีศ่ กึ ษาการพัฒนาสมรรถนะหลักของผูบ้ ริหาร สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า ผูเ้ ข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อหลักสูตร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการ ประเมินระดับความส�ำเร็จของหลักสูตรการ พั ฒ นาสมรรถนะหลั ก  โดยรวม และเป็ น รายด้ า น 4 ด้ า น อยู ่ ใ นระดั บ มาก และที่ มี สมรรถนะหลักอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้าน การท�ำงานเป็นทีม และสอดคล้องกับผลการ วิจัยของ วิมาน วรรณค�ำ  (2553: 218-219) ที่ ศึ ก ษาการพั ฒ นาสมรรถนะวิ ช าชี พ ของ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ นพื้ นฐาน พบว่ า ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมอยูใ่ นระดับมาก ที่สุด ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการน�ำโปรแกรมไปใช้ 1.1 ผลการวิ จั ย  พบว่ า  ภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย นมี อ งค์ ป ระกอบ ด้ า นทั ก ษะการแก้ ปั ญ หา ด้ า นความคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์   ด้ า น ความเชื่ อ มั่ น ในตนเอง ด้ า นมนุ ษ ยสั ม พั น ธ์ ด้านความรอบรู้  ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้าน ความเสียสละ ด้านวิสยั ทัศน์ และด้านความรับ ผิดชอบ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนสามารถน�ำไปใช้

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 153


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

เป็ น องค์ ป ระกอบพื้ น ฐานในการพั ฒ นาให้ นักเรียนมีภาวะผู้น�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 ผลการวิจัย พบว่า สภาพความ ต้ อ งการในการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ นั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึ ก ษา โดยรวมและรายด้ า นอยู ่ ใ น ระดับมากทีส่ ดุ  ดังนัน้  ผูบ้ ริหารโรงเรียนจึงต้อง มีความตระหนักและเห็นความส�ำคัญของการ เสริมสร้างให้นักเรียนเป็นผู้มีภาวะผู้น�ำตาม สภาพความต้องการดังกล่าว 1.3 ผลการวิจยั  พบว่า โปรแกรมการ เสริมสร้างภาวะผู้น�ำนักเรียนที่พัฒนาขึ้นเป็น โปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียน สามารถใช้ เ ป็ น โปรแกรมในการพั ฒ นาให้ นักเรียนมีภาวะผู้น�ำตามองค์ประกอบได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้บริหารโรงเรียนต้องจัด ให้นักเรียนได้รับการเสริมสร้างภาวะผู้น�ำตาม ระยะเวลา และวิ ธี ก ารพั ฒ นาที่ โ ปรแกรม ก�ำหนด โดยการอบรม กิจกรรมกลุม่  และการ ปฏิบัติจริง 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรวิจัยพัฒนาโปรแกรมเสริม สร้างภาวะผู้น�ำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาให้มีความ ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

154 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2.2 ควรศึกษาวิจยั เกีย่ วกับการพัฒนา ภาวะผู้น�ำนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดอื่นๆ 2.3 ควรศึกษาวิจยั การพัฒนารูปแบบ หรือวิธกี ารพัฒนาภาวะผูน้ ำ� นักเรียนในรูปแบบ อื่น บรรณานุกรม กล้าศักดิ์  จิตต์สงวน ชญาพิมพ์  อุสาโห และ พฤทธิ์  ศิริบรรณพิทักษ์. (2557). รูป แบบการพัฒนาภาวะผู้น�ำเชิงกลยุทธ์ ส�ำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น เอเชีย. 4(1), 201. มกราคม-เมษายน 2557. กาญจน์  เรืองมนตรี. (2547). องค์ประกอบ ภาวะผู้น�ำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ บริ ห ารและการจั ด การศึ ก ษาสถาน ศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานตามแนวปฏิ รู ป การ ศึกษา: กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม. วิ ท ยานิ พ นธ์   กศ.ด., มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก. เกรียงศักดิ ์ เจริญวงศ์ศกั ดิ.์  (2551). สร้างภาวะ ผู้น�ำในเด็กและเยาวชนไทย. เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2559. เข้าถึงได้จาก http: //www.moe.go.th/moe/th/news/ detail.php?NewsID=2567&Key= hotnews>


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

จิมมี่  ทองพิมพ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมเพือ่ เสริมสร้างลักษณะผูน้ ำ� ทีด่ ี ของนั ก เรียนชั้นมัธยมศึก ษาตอนต้น . วิ ท ยานิ พ นธ์   ศษ.ด., นครราชสี ม า: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. จิราภร อมรไชย. (2543). การพัฒนาโปรแกรม พั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ ของนั ก บริ ห ารงาน ปกครองท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหาร ส่ ว นท้ อ งถิ่ น . วิ ท ยานิ พ นธ์   กศ.ด., มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ชั ด  บุ ญ ญา. (2557). การสร้ า งภาวะผู ้ น� ำ ส� ำ หรั บ เด็ ก . เข้ า ถึ ง เมื่ อ  30 มี น าคม 2559 เข้าถึงได้จาก https: // www. gotoknow.org/posts/501497.> ธเนศ คิดรุ่งเรือง. (2551). การพัฒนาและการ ประเมินผลการใช้โปรแกรมประยุกต์ ส�ำหรับพัฒนาตนเองของผูบ้ ริหารสถาน ศึกษา. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธีระพงศ์  ธนเจริญรัตน์. (2553). หลักสูตรการ พัฒนาภาวะผู้น�ำของผู้บริหารอู่กลาง การประกันภัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามค�ำแหง. นกานต์ธรี า ปัญจะทองค�ำ. (2557).การพัฒนา หลั ก สู ต รฝึ ก อบรมภาวะผู ้ น� ำ ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย หลักสูตรหลักสูตรครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิ ช าหลั ก สู ต รและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เนตร์ พั ณ ณา ยาวิ ร าช. (2552). ภาวะผู ้ นํา และผู ้ น� ำ เชิ ง กลยุ ท ธ์ .  พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่   7. กรุงเทพฯ: บริษัททริปเพิ้ลกรุป จํากัด. ประกอบ สาระวรรณ. (2548). การน�ำเสนอ รูปแบบสภานักเรียนในสถานศึกษาขั้น พืน้ ฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. ประภาพรรณ รักเลี้ยง. (2556). หลักทฤษฎี และปฏิ บั ติ ก ารบริ ห ารการศึ ก ษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก. ปิ ย ะพั น ธ์   ชั ย เสนาและคณะ.  (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะ ผู้น�ำของผู้น�ำนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษา ศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 37(1): 95-96. มกราคม – มีนาคม 2557. พิ เชษฐ์   วงษ์ เ กี ย รติ ข จร. (2553). ผู ้ นํ า การ บริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน. ไพศาล จันทรภักดี. (2548). การพัฒนาภาวะ ผู ้ น� ำ เยาวชน ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอน ปลาย โรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา สั ง กั ด ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ กระบวนการหลั ก สู ต ร. วิ ท ยานิ พ นธ์ กศ.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 155


ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผูน้ �ำ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2557). รายงานผลการด� ำ เนิ น การ โครงการฝึกอบรมเพือ่ สร้างผูน้ ำ� นักศึกษา ในศตวรรษที่  21 มหาวิทยาลัยเทคโน โลยีราชมงคลพระนคร ระหว่างวันที่ 22–24 มีนาคม 2557. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยา จันทร์ศริ .ิ  (2551). การพัฒนาสมรรถนะ หลั ก ของผู ้ บ ริ ห ารสายสนั บ สนุ น ใน มหาวิทยาลัยของรัฐ. ปริญญาการศึกษา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและ พัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหา สารคาม. วิมาน วรรณคา. (2553). การพัฒนาสมรรถนะ วิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขนาด เล็กสังกัดสานักงาน คณะกรรมการการ ศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน. วิ ท ยานิ พ นธ์   ค.ด. นครราชสี ม า: มหาวิ ท ยาลั ย สถาบั น ราชภัฏนครราชสีมา. สุวิทย์  ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะ ผู้น�ำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยา นิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

156 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Armistead, Katya Jean. (2012). How African American Students Define Leadership. Ed.D. Dissertation. University of California, Santa Barbara and California Polytechnic State University. Bass, B.M. Bass and Stodgill’s. (2016). Handbook of Leadership: Theory, Research and Managerial Applica tions. 3nded. New York: Free Press. 1990. Carolyn, Barratt and others. (2016). How  to  Develop  a  Training Program on the Job. 15 May 2016. DuBrin, Andrew J. (1998). Leadership: Research Finding Practice, and Skills. Boston: Houghton Mifflin Company. Haye, Henry H. (2012). A Study of Urban Middle School Teachers' Reports on how Instruction in Character Education Contributes to Students' Leadership Practices. Ed.D. Dissertation. Hartford: University of Hartford.


นงราม ชลอเจริญยิ่ง, ประวิต เอราวรรณ์ และ สมเกียรติ ทานอก

Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2005). Educational Administration: Theory, Research, And Practice. 6thed. New York: McGraw-Hill. Kouzes and Posner. (2008). The Student Leadership Challenge: Five Prac tices for Exemplary Leaders. New Jersey: Prentice-Hall.

Lipkin, Terri. (2010). The Creation of a Manual for a Diversity Leader ship Training Program for Subur ban High School Students. Psy.D. Dissertation. Rutgers The State University of New Jersey, Gradu ate School of Applied and Pro fessional Psychology.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 157


ภาวะผู้นำ�เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ

ภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0  ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Creative Productive Leadership under

Thailand 4.0 Education Policy of School Administrators, Education Service Area Office 5 of the Roman Catholic Archdiocese of Bangkok. เดชสกล จึงประวัติ

* ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้น�ำการบริหารและการจัดการการศึกษา    คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

รศ.ธีระดา ภิญโญ

* รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้น�ำการบริหารและการจัดการการศึกษา    คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Dechsakon Juengprawat

* Master of Education, Educational Management and Administration Leadership,    Panyapiwat Institute of Management.

Asso.prof. Terada Pinyo

* Lecturer, Educational Management and Administration Leadership,   Panyapiwat Institute of Management.


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงส�ำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การ ขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษาจ�ำแนกตามตามปัจจัย ส่วนบุคคลและขนาดโรงเรียน ประชากรที่ใช้  ได้แก่  ครูและบุคลากร ทางการศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จ�ำนวน 746 คน สุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 270 คนด้วยวิธีการสุ่มแบบใช้หลักความ น่ า จะเป็ น แบบแบ่ ง ชั้ น ภู มิ   ใช้ แ บบสอบถามเกี่ ย วกั บ ภาวะผู ้ น� ำ เชิ ง สร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ในเก็บ ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลด้วยโปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้  ได้แก่  จ�ำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบที  และการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยก�ำหนดค่านัยส�ำคัญ ทางสถิติที่  .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของ ผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ล�ำดับ แรก ด้านคิดรับผิดชอบ รองลงมา ด้านคิดสร้างสรรค์  ด้านคิดวิเคราะห์ และด้านคิดผลิตภาพ ตามล�ำดับ 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิต ภาพ ด้านคิดรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ  ี่ .05 และ 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและ ขนาดกลางมีความคิดเห็นเกีย่ วกับภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน 4 ด้านแตกต่างกัน อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ  ี่ .05 การวิจยั ครัง้ นีก้ อ่ ให้เกิดองค์ความรูเ้ กีย่ ว กับคุณลักษณะด้านคิดรับผิดชอบเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของการเป็น ผู้น�ำในยุคการศึกษา 4.0 ค�ำส�ำคัญ:

ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ การศึกษา 4.0

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 159


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Abstract

This study is a survey research aiming to study and compare the level of creative productive leadership under Thailand 4.0 education policy of school administrators, classifying by individual factors and size of schools. The population employed is 746 teacher and educational personnel from Education Service Area Office 5, the Roman Catholic Archdiocese of Bangkok; and getting 270 people as sample - applying stratified random sampling method. A questionnaire is used for collecting data and distributed to samples. The statistical package program is used to analyze and process the data; and the statistical tools employed consists of percentage, mean, SD, T-test, one way ANOVA – specifying the statistical significance value at .05. The results are that: 1) the creative productive leadership overall and individual aspect are at the high level, having responsibility at the top one, followed by creativity, critical thinking, and productive thinking, respectively; 2) age makes a difference on opinion towards creative productive leadership in terms of responsibility at the level of .05 statistical significances; 3) sizes of schools, special big and medium sizes, make a difference on opinion towards creative productive leadership overall and 4 individual aspects at the level of .05 statistical significances. This research beneficially forms a knowledge of which responsibility is the vital qualification of an educational leader under the Thailand 4.0 policy. Keywords: creative productive leadership Thailand 4.0 education policy

160 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ของโลกในศตวรรษที ่ 21 ทีม่ กี ารติดต่อสือ่ สาร กันอย่างรวดเร็วอย่างไร้พรมแดน ความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยส�ำคัญท�ำให้เกิดการพัฒนา จึงเป็น โอกาสอย่ า งยิ่ ง ในการจั ด การศึ ก ษาของ ประเทศไทยทีจ่ ำ� เป็นต้องมีการเปลีย่ นแปลงให้ มีประสิทธิภาพ ทั้งในการสร้างผลผลิต สร้าง นวัตกรรม และพัฒนาคนให้สอดคล้องกับการ เปลีย่ นแปลง โดยแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้วางเป้าหมายให้สอดคล้อง กั บ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ   “ไทยแลนด์   4.0” ไว้ 2 ด้าน คือ ด้านผูเ้ รียน (learner aspirations) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 (3Rs8Cs) และด้านการจัดการศึกษา (aspirations) ทีต่ อบ สนองและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ เ ป็ น พลวั ต และบริ บ ทที่ เ ปลี่ ย นแปลง (relevancy) (ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) ผ่านการศึกษา 4.0 เพื่อตอบสนองการสร้างนวัตกรรม โดย ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้น การใช้ความรู้สร้างนวัตกรรม เรียนรู้เพื่อตอบ โจทย์เฉพาะบุคคล (personalized) การเรียน ทีเ่ กิดจากความอยากรู ้ อยากท�ำและอยากเป็น (passion-driven) เรียนรูอ้ ย่างสร้างสรรค์ เน้น

การใช้ ค วามคิ ด กระตื อ รื อ ร้ น ในการเรี ย นรู ้ สิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้เพื่อส่วนรวมเน้นปลูกจิต สาธารณะและมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม การรังสรรค์รว่ ม (common creating) รางวัล จากการท�ำงานร่วมกัน (sharing incentive) คุณค่าร่วม (sharing value) การเรียนรู้เพื่อ น� ำ ไปปฏิ บั ติ   ผ่ า นสเต็ ม  (STEM) เน้ น การ วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา เน้นการท�ำโครง งานในรูปแบบต่างๆ ความส�ำเร็จวัดจากการ บรรลุ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ( สุ วิ ท ย์   เมษิ น ทรี ย ์ , 2559) การศึกษา 4.0 จึงเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการ พัฒนาคุณภาพของคนในประเทศ ผู้บริหารหรือผู้น�ำในยุคของการศึกษา 4.0 มี ลั ก ษณะตามที่   Global Center for Digital Business Transformation (2017) ได้สรุปคุณลักษณะของผู้น�ำในยุค 4.0 ไว้  4 ประการ ประกอบด้วย 1) ความถ่อมตัวทาง ปัญญาคือการทีผ่ นู้ ำ� พร้อมทีจ่ ะยอมรับว่าบุคคล อืน่ มีความรูห้ รือความเชีย่ วชาญมากกว่าตนเอง 2) การปรับตัว คือการยอมรับว่าการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้น�ำจะต้องพร้อม ที่จะเปลี่ยนการตัดสินใจที่มาจากข้อมูลใหม่ๆ 3) การมีวิสัยทัศน์  คือมีความสามารถในการ มองเห็นถึงทิศทางในอนาคต แม้จะเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนก็ตาม และ4) การมีสว่ นร่วม คือการทีผ่ นู้ ำ� พร้อมทีจ่ ะ สือ่ สาร รับฟัง พูดคุย กับผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องต่างๆ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 161


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งสอดคล้อง กับไพฑูรย์  สินลารัตน์(2560, น.85) กล่าวถึง ผูน้ ำ� ของการศึกษา 4.0 คือ ผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์ และผลิตภาพ เป็นภาวะผู้น�ำที่จ�ำเป็นอย่างยิ่ง ในยุคของการศึกษา 4.0 เป็นการศึกษาทีอ่ ยูใ่ น ยุคการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้น�ำมี ความส�ำคัญมากในการผลักดันการศึกษา 4.0 ให้ประสบผลส�ำเร็จ ซึง่ ภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์ และผลิตภาพ ได้พัฒนามาจากภาวะผู้น�ำเชิง สร้างสรรค์  ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงและ ภาวะผูน้ ำ� เชิงวิสยั ทัศน์ โดยมีคณ ุ สมบัตทิ สี่ ำ� คัญ ได้แก่  การคิดวิเคราะห์  (critical mind) เป็น การที่ ผู ้ น� ำ สามารถสร้ า งวิ สั ย ทั ศ น์   ก� ำ หนด เป้ า หมายอย่ า งชั ด เจน เข้ า ใจสถานการณ์ ขององค์กร ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ใช้เทคโนโลยี ในการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลสารสนเทศช่วย ในการตัดสินใจ การคิดสร้างสรรค์  (creative mind) เป็นการที่ผู้น�ำมีความสามารถในการ คิดนอกกรอบ หาวิธีการใหม่ๆ ที่ท้าทาย มี การกระตุ้นทีมในการหาวิธีการใหม่ๆ มาสร้าง นวัตกรรม มีการส่งเสริมให้บุคลากรคิดนอก กรอบและการลงมื อ ปฏิ บั ติ   พั ฒ นาคนหรื อ บุคลากรให้เป็นนวัตกรโดยเน้นที่ผลงานหรือ นวัตกรรมที่สร้างขึ้น การคิดผลิตภาพ (productive mind) เป็นการที่ผู้น�ำมีการบริหาร จัดการ การพัฒนากระบวนการ การพัฒนา

162 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ความคิดใหม่ๆ โดยแปลงความคิดให้ออกมา เป็นผลงานออกมาเป็นนวัตกรรม และการคิด รับผิดชอบ (responsible mind) การที่ผู้น�ำ มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ตนเอง รั บ ผิ ด ชอบต่ อ องค์ ก ร รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม ความเป็ น ผู ้ มี คุณธรรมจริยธรรมของผูบ้ ริหาร มีจติ อาสาเพือ่ ส่วนรวมหรือสังคม ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จึง เป็นคุณสมบัติส�ำคัญของผู้น�ำในยุคปัจจุบัน สถานศึ ก ษาในสั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพ ฯ จัดการศึกษาทีข่ นึ้ ตรงต่อส�ำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็น โรงเรียนคาทอลิกขององค์กรทางศาสนา การ บริหารงานโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุ ง เทพฯ บริ ห ารงานโดยนั ก บวชและมี ฆราวาสร่วมมีบทบาทในการเป็นคณะกรรมการ บริหาร ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทส�ำคัญ มีอิทธิพลต่อการท�ำงานให้เคลื่อนไหว เปลี่ยน แปลง พัฒนา มีอิทธิพลต่อความส�ำเร็จหรือ ล้มเหลวของโรงเรียนได้  โดยอัครสังฆมณฑล กรุงเทพ ฯ ได้มีการจัดอบรมพัฒนาผู้บริหาร ของโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ปี ล ะ 2 ครั้ ง  จากสถิ ติ ก ารอบรมสั ม มนา ผู ้ บ ริ ห ารย้ อ นหลั ง  3 ปี   พบว่ า มี ก ารอบรม ผูบ้ ริหารในหัวข้อเกีย่ วกับการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึ ก ษา โดยเฉพาะภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิ ก  และจากการศึ ก ษาเอกสารการ ประชุมใหญ่สามัญผู้บริหาร ประจ�ำปี  2560


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาอั ค รสั ง ฆมณฑล กรุ ง เทพฯ (ฝ่ า ยการศึ ก ษา อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ, 2560) ได้กล่าวถึงการปรับตัวของ โรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ที่ผู้บริหารต้องตระหนักและปรับตัวให้ทันต่อ กระแสการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกระแส การศึกษา 4.0 ซึง่ เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ที่ จ ะขั บ เคลื่ อ นประเทศไปสู ่ ไ ทยแลนด์   4.0 ในอนาคตอันใกล้  ดังนั้นความเป็นผู้น�ำในการ บริหารให้ทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปสู่การศึกษา 4.0 ซึ่ง เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ หรือ CCPR โมเดลนั้น เป็นสิ่งที่ส�ำคัญและท้าทาย ความสามารถผูบ้ ริหารสถานศึกษาในสังกัดอัคร สังฆมณฑล กรุงเทพ ฯ ที่จะสามารถน�ำพา สถานศึกษาให้ทนั เปลีย่ นแปลงและเป็นไปตาม เป้ า หมายของการศึ ก ษา 4.0 นั้ น คื อ ความ ส�ำคัญและความจ�ำเป็นอย่างมากที่ผู้บริหาร สถานศึกษาในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ที่ต้องมีภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ จากความเป็ น มาและความส� ำ คั ญ ดังกล่าวข้างต้น ความเป็นผู้น�ำของการบริหาร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก โดยเฉพาะการเปลีย่ นแปลงไปสูก่ ารศึกษา 4.0 เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ หรือ CCPR โมเดลนั้นเป็นสิ่งท้าทายความสามารถ

ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ทีจ่ ะสามารถน�ำพาสถานศึกษาให้ทนั การเปลีย่ นแปลงและเป็นไปตามเป้าหมายของ การศึกษา 4.0 ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจจะศึกษา ภาวะผูน้ ำ� การเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภาย ใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของผู้บริหาร สถานศึ ก ษา เขตการศึ ก ษา 5 สั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑล กรุงเทพ ฯ เพื่อให้ทราบข้อมูล เกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ของผู้บริหารสถานศึกษา อันเป็นประโยชน์ใน การพัฒนาภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิต ภาพของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลให้สถาน ศึกษาเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.  เพื่ อ ศึ ก ษาระดั บ ภาวะผู ้ น� ำ เชิ ง สร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การขับเคลื่อน การศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขต การศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้น�ำเชิง สร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การขับเคลื่อน การศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขต การศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จ�ำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและขนาดโรงเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 163


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สมมติฐานของการวิจัย ครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตการ ศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ที่มี ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันและอยู่ในโรงเรียนที่มี ขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้ การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของผู้บริหาร สถานศึกษาแตกต่างกัน ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาวะผู้น�ำ เชิ ง สร้ า งสรรค์ แ ละผลิ ต ภาพภายใต้ ก ารขั บ เคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึ ก ษา  5  สั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุ ง เทพฯ ในองค์ ป ระกอบ 4 ด้ า น ได้ แ ก่ ด้ า นคิ ด วิ เ คราะห์ ( critical mind) ด้ า นคิ ด สร้างสรรค์(creative mind) ด้านคิดผลิตภาพ (productive mind) และด้านคิดรับผิดชอบ (responsible mind) 2. ขอบเขตด้านประชากร ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการ ศึกษาในเขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จ�ำนวน 5 โรง รวมทั้งสิ้น 746 คน (ฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, สถิติ ข้อมูลนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

164 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ประจ�ำปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสังกัดอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2560) 3. ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้ แ ก่   เพศ อายุ   ระดั บ การศึ ก ษา ประสบการณ์การท�ำงาน ต�ำแหน่ง และขนาดโรงเรียน ตัวแปรตาม คือ ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การขับเคลื่อนการ ศึ ก ษา 4.0 ของผู ้ บ ริ ห าร ในองค์ ป ระกอบ 4 ด้ า น ได้ แ ก่   ด้ า นคิ ด วิ เ คราะห์   ด้ า นคิ ด สร้ า งสรรค์   ด้ า นคิ ด ผลิ ต ภาพและด้ า นคิ ด รับผิดชอบ 4. ขอบเขตด้านเวลา การศึกษาครั้งนี้ด�ำเนินการวิจัยในช่วง เดื อ นธั น วาคม พ.ศ.2560 ถึ ง เดื อ นมี น าคม พ.ศ.2561 กรอบแนวคิดของการวิจัย จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี  และผล งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดของ ไพฑูรย์ สินลารัตน์มาก�ำหนดกรอบแนวคิดการ วิจยั ภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภาย ใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของผู้บริหาร สถานศึ ก ษา เขตการศึ ก ษา 5 สั ง กั ด อั ค ร สังฆมณฑล กรุงเทพฯ ดังภาพที่  1


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

ตัวแปรอิสระ

ตัวแปรตาม

ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำ�งาน ตำ�แหน่ง ขนาดโรงเรียน ขนาดกลาง ขนาดใหญ่พิเศษ

ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0

• ด้านคิดวิเคราะห์ • ด้านคิดสร้างสรรค์ • ด้านคิดผลิตภาพ • ด้านคิดรับผิดชอบ

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย

วิธีด�ำเนินการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั  ได้แก่  ครูและ บุ ค ลากรทางการศึ ก ษาในเขตการศึ ก ษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จ�ำนวน 5 โรง รวมทั้งสิ้น 746 คน (ฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, สถิติข้อมูลนักเรียน ครูและ บุคลากรทางการศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2560) กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ได้แก่  ครูและบุคลากร ทางการศึกษา จ�ำนวน 270 คน โดยค�ำนวณ จากสูตรของ Yamane ก�ำหนดให้ความคลาด เคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้ อ ยละ 95 ท�ำการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ห ลัก ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) แบบแบ่งชั้นภูมิ  (Stratified Random Sampling) โดยก�ำหนดชั้นภูมิเป็นขนาดโรงเรียน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครือ่ งมือทีใ่ ช้ ได้แก่แบบสอบถามความ คิดเห็นเรื่อง ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิต ภาพภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของ ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตการศึกษา 5 สังกัด อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่  1 เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถามประกอบด้วย เพศ อายุ  ระดับ การศึกษา ประสบการณ์การท�ำงาน ต�ำแหน่ง และขนาดโรงเรียนเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจ สอบรายการ ตอนที่  2 เกี่ยวกับระดับภาวะ ผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การขับ เคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบของลิเคิร์ท (Likert’s scale) มี  5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อย

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 165


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ที่สุด โดยได้ตรวสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่า สัมประสิทธิค์ วามสอดคล้อง (IOC) อยูร่ ะหว่าง 0.67 ถึ ง  1.00 และค่ า ความเชื่ อ มั่ น ของ แบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบัค เท่ากับ 0.952 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผูว้ จิ ยั ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล จ�ำนวน 270 ชุด โดยด�ำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุม่ เป้าหมาย ตัง้ แต่เดือนธันวาคม 2560-มกราคม 2561 โดยติดต่อประสานงานกับผูบ้ ริหารสถาน ศึกษาสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จ�ำนวน 5 โรงเรียน เพือ่ ขอความอนุเคราะห์ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล 4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 วิเคราะห์ปจั จัยส่วนบุคคลของครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขต การศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ โดยใช้ ส ถิ ติ ค ่ า ความถี่   (Frequency) และ ร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์ระดับภาวะ ผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพภายใต้การ ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถาน ศึกษาโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) และแปล ความหมายค่าเฉลี่ยของคะแนน

166 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

4.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้น�ำ เชิ ง สร้ า งสรรค์ แ ละผลิ ต ภาพภายใต้ ก ารขั บ เคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารจ�ำแนกตาม เพศ ต�ำแหน่ง และขนาดโรงเรียนโดยใช้การ วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ กลุม่ ตัวอย่าง 2 กลุม่  ด้วย Independent t test วิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้น�ำเชิงสร้าง สรรค์และผลิตภาพภายใต้การขับเคลื่อนการ ศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารจ�ำแนกตามอายุ ระดับ การศึกษา และประสบการณ์การท�ำงาน โดย ใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ด้วย สถิติ  One Way ANOVA หรือสถิติ  BrownForsythe และภายหลังการวิเคราะห์พบความ แตกต่างระหว่างกลุม่ ตัวอย่างจะท�ำการทดสอบ รายคูโ่ ดยวิธ ี LSD (Least Significant Difference) และวิธี  Dunnett T3 สรุปผลการวิจัย 1. ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิต ภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน อยูใ่ นระดับมาก ล�ำดับแรก ด้านคิดรับผิดชอบ รองลงมา ด้านคิดสร้างสรรค์  ด้านคิดวิเคราะห์ และด้านคิดผลิตภาพ ตามล�ำดับ ดังตารางที ่ 1


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ รายด้านและภาพรวม ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ระดับภาวะผู้น�ำ S.D. แปลผล X 1.ด้านคิดวิเคราะห์ 4.01 0.544 มาก 2.ด้านคิดสร้างสรรค์ 4.06 0.564 มาก 3.ด้านคิดผลิตภาพ 4.01 0.560 มาก 4.ด้านคิดรับผิดชอบ 4.15 0.597 มาก ภาพรวม 4.06 0.504 มาก 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิง สร้างสรรค์และผลิตภาพของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านคิดรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิตทิ  ี่ .05 โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาทีม่ อี ายุ 30 – 39 ปี  40 – 49 ปี  และตัง้ แต่  50 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของผู้บริหารสถานศึกษา สูงกว่า อายุต�่ำกว่าหรือเท่ากับ 29 ปี  ดังตารางที่  2 - 3 ตารางที ่ 2 แสดงการเปรียบเทียบภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา จ�ำแนกตามอายุ

ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์ และผลิตภาพ 1. ด้านคิดวิเคราะห์ 2. ด้านคิดสร้างสรรค์ 3. แปรปรวนด้านคิดผลิตภาพ

แหล่งความ แปรปรวน ระหว่างกลุ่ม ภายในกลุ่ม รวม ระหว่างกลุ่ม ภายในกลุ่ม รวม ระหว่างกลุ่ม ภายในกลุ่ม รวม

df

S.S.

MS

F

P-Value

3 265 268 3 265 268 3 265 268

1.891 77.770 79.661 .706 84.967 85.673 .862 83.441 84.304

.630 .293

2.147 .095

.235 .321

.734

.532

.287 .315

.319

.435

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 167


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์ และผลิตภาพ 4. ด้านคิดรับผิดชอบ ภาพรวม *ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ  .05

แหล่งความ แปรปรวน ระหว่างกลุ่ม ภายในกลุ่ม รวม ระหว่างกลุ่ม ภายในกลุ่ม รวม

df

S.S.

MS

3 265 268 3 265 268

3.241 92.692 95.933 1.249 66.987 68.236

1.080 3.088* .028 .350 .416 .253

F

P-Value

1.648 .179

ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยรายคู่ของภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านคิดรับผิดชอบจ�ำแนกตามอายุ ต�่ำกว่าหรือ 30-39 ปี 40-49 ปี ตั้งแต่ อายุ เท่ากับ 29 ปี 50 ปีขึ้นไป X 3.93 4.12 4.24 4.24 ต�่ำกว่าหรือ 3.93 - -.195 -0.308* -.316 เท่ากับ 29 ปี (.075) (.006) (.010) 30-39 ปี 4.12 - - -.114 -.121 (.210) (.235) 40-49 ปี 4.24 - - - -.008 (.943) ตั้งแต่ 50 ปี 4.24 - - - ขึ้นไป

3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทีอ่ ยูใ่ นโรงเรียนขนาดใหญ่พเิ ศษและขนาดกลางมีความคิด เห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม ด้านคิดวิเคราะห์  ด้านคิดสร้างสรรค์  ด้านคิดผลิตภาพ และด้าน คิดรับผิดชอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่  .05 โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ ในโรงเรียนขนาดกลาง มีความคิดเห็นเกีย่ วกับภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ สูงกว่าโรงเรียน ขนาดใหญ่พิเศษ ดังตารางที่  4 – 5 168 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

ตารางที ่ 4 แสดงค่าความแปรปรวนภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของผูบ้ ริหารสถานศึกษา จ�ำแนกขนาดของโรงเรียน ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ Levene Statistic p-value 1.ด้านคิดวิเคราะห์ 1.488 .224 2.ด้านคิดสร้างสรรค์ 1.671 .197 3.ด้านคิดผลิตภาพ .112 .738 4.ด้านคิดรับผิดชอบ .076 .738 ภาพรวม .013 .909 ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ของผู้บริหารสถานศึกษา จ�ำแนกตามขนาดโรงเรียน ภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์ ขนาด S.D. t df P-Value X

และผลิตภาพ 1. ด้านคิดวิเคราะห์ 2. ด้านคิดสร้างสรรค์ 3. แปรปรวนด้านคิดผลิตภาพ 4. ด้านความคิดรับผิดชอบ ภาพรวม

โรงเรียน ใหญ่พิเศษ กลาง ใหญ่พิเศษ กลาง ใหญ่พิเศษ กลาง ใหญ่พิเศษ กลาง ใหญ่พิเศษ กลาง

3.96 4.14 3.98 4.26 3.95 4.18 4.07 4.34 3.99 4.23

.527 .570 .541 .577 .556 .539 .600 .550 .492 .495

-2.473* 268

.014

-3.714* 268

.000

-3.094* 268

.002

-3.336* 268

.001

-3.537* 268

.000

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 169


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

อภิปรายผล จากข้อค้นพบของการวิจัย มีประเด็นที่ ควรน�ำมาอภิปรายผล ดังต่อไปนี้ 1.  จากข้ อ ค้ น พบ  ภาวะผู ้ น� ำ เชิ ง สร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ น การศึกษา 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา เขต การศึกษา 5 สังกัดอัคร-สังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุก ด้าน ล�ำดับแรก ด้านคิดรับผิดชอบ ด้านคิด สร้างสรรค์  ด้านคิดวิเคราะห์  และด้านคิดผลิต ภาพตามล� ำ ดั บ  สะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า ครู แ ละ บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นว่าการ เป็นผู้น�ำของผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความ รั บ ผิ ด ชอบ มี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมพร้ อ มทั้ ง พั ฒ นาคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมให้ กั บ บุ ค ลากร สนั บ สนุ น กิ จ กรรมจิ ต อาสาช่ ว ยเหลื อ สั ง คม นอกจากนี้ต้องก�ำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ที่ชัดเจนให้สอดคล้องกับการศึกษา 4.0 โดย สามารถสร้างและน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการให้ เหมาะสมกั บ การศึ ก ษา 4.0 สอดคล้ อ งกั บ ทฤษฏีของ Burn (1978) ที่กล่าวว่า ความเป็ นผูน้ ำ� ทีม่ ปี ระสิทธิภาพส�ำหรับปัจจุบนั เป็นผูน้ ำ� แบบจริยธรรม ที่จะยกระดับความประพฤติ และความปรารถนาเชิงจริยธรรมของผู้น�ำและ ผู้ตามให้สูงขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง สองฝ่ า ย สร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ให้ ผู ้ ต ามเกิ ด ความ

170 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ต้องการในระดับขั้นที่สูงกว่าเดิมแล้วจึงด�ำเนิน การเปลี่ยนสภาพท�ำให้ผู้น�ำและผู้ตามไปสู่จุด มุ ่ ง หมายที่ สู ง ขึ้ น  และแนวคิ ด ของไพฑู ร ย์ สินลารัตน์  (2560) ที่กล่าวถึงคุณลักษณะของ ภาวะผู ้ น� ำ ต้ อ งเป็ น ผู ้ คิ ด รั บ ผิ ด ชอบ ทั้ ง รั บ ผิดชอบในตนเอง องค์กรและสังคม ความรับ ผิ ด ชอบถื อ ได้ ว ่ า เป็ น ปรั ช ญาของความเป็ น มนุษย์ ผูน้ ำ� จะต้องมีความรับผิดชอบเป็นปัจจัย ส�ำคัญ รวมถึงแนวคิดของธัญวิทย์  ศรีจันทร์, สิรฉิ นั ท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์, และปทีป เมธา คุ ณ วุ ฒิ   (2559) ที่ ก ล่ า วว่ า คุ ณ ลั ก ษณะของ ภาวะผูน้ ำ� ในศตวรรษที ่ 21 ต้องให้ความส�ำคัญ ในเรื่องของการมีคุณธรรมน�ำผลงาน มีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความเสียสละ อดทนต่ อ การท� ำ งานทุ ก ประเภท พยายาม ท�ำงานให้ส�ำเร็จโดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์สว่ นตน รวมถึงงานวิจยั ของ นิกัญชลา ล้นเหลือ (2554) พบว่า ภาวะผู้น�ำ เชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้น ฐานสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน ปีการศึกษา 2553 โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก งานวิจัยของจารินี  สิกุลจ้อย, พจนีย์  มั่งคั่งและสุนันทาโกธา (2556) พบว่า ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถาน ศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน ตาม ความคิดเห็นของครู  สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 โดย


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

ภาพรวมและรายด้าน อยูใ่ นระดับมาก รวมถึง งานวิจัยของธนัณฎา ประจงใจ (2557) พบว่า ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาน ศึกษา ตามความคิดของครู  สังกัดส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดย ภาพรวมอยู ่ ในระดับมาก และงานวิจัยของ วิทยากร ยาสิงห์ทอง (2559) พบว่า ภาวะผูน้ ำ� เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตาม ความคิดของครู  สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก 2. จากข้ อ ค้ น พบ ครู แ ละบุ ค ลากร ทางการศึกษาที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็น เกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้ ก ารขั บ เคลื่ อ นการศึ ก ษา 4.0 ของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษาด้านคิดรับผิดชอบแตกต่าง กัน โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อายุ ตัง้ แต่  30 ปีขนึ้ ไปมีความคิดเห็นเกีย่ วกับภาวะ ผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของผู้บริหาร สถานศึกษาสูงกว่าครูและบุคลากรทางการ ศึกษาที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 29 ปี  แสดง ให้ เ ห็ น ว่ า  ครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาที่ มีอายุนอ้ ยเติบโตมาในช่วงทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง การเติบโตของชุมชนเมืองทีร่ วดเร็ว การแข่งขัน ทีส่ งู ทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี  ท�ำให้ คนรุ่นใหม่ให้ความส�ำคัญกับความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม จึงมีความคาดหวังสูง

ในความรับผิดชอบของผูบ้ ริหาร ทัง้ ด้านการใช้ คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการและ การอยู่ร่วมกันในสังคม การช่วยเหลือสังคมใน รูปแบบต่างๆหรือการพัฒนาผลงานที่เป็นมิตร กับสิง่ แวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดของไพฑูรย์  สินลารัตน์ (2560) ทีก่ ล่าวถึงคุณลักษณะความ เป็นผู้น�ำต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมี ความคิดเชิงผลงานที่จะต้องออกมาให้เห็นใน การด�ำเนินงานที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อ องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ แนวคิดของพรชัย เจดามาน ที่กล่าวว่าภาวะ ผู้น�ำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่  21 ต้องให้ ความส�ำคัญกับความรับผิดชอบ ความเสมอ ภาค การยึดวัฒนธรรมาภิบาลในจัดการบริหาร ให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงแนวคิดของศิริยุพา รุ่งเริงสุข (2553) ที่กล่าวว่าพนักงานรุ่นใหม่มี แนวโน้มที่อยากจะท�ำงานกับองค์กรที่มีนโย บายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัยของ ชมพูนุท บุญประเสริฐ (2556) พบว่า ปัจจัย ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทีม่ ผี ลทางบวกต่อความผูกพันของพนักงานรุน่ ใหม่   และงานวิ จั ย ของเพ็ ญ ธิ ด า พงษ์ ธ านี (2559) พบว่า พนักงานที่มีอายุต่างกันมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้นําต่อ การควบคุมคุณภาพภายในสํานักงานในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 171


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

3.จากข้ อ ค้ น พบ ในประเด็ น ขนาด โรงเรียนพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็น เกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้ ก ารขั บ เคลื่ อ นการศึ ก ษา 4.0 ของ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาโดยภาพรวมด้ า นคิ ด วิเคราะห์  ด้านคิดสร้างสรรค์ ด้านคิดผลิตภาพ และด้านคิดรับผิดชอบ แตกต่างกัน โดยครูและ บุคลากรทางการศึกษาทีอ่ ยูโ่ รงเรียนขนาดกลาง มีความคิดเห็นเกีย่ วกับภาวะผูน้ ำ� เชิงสร้างสรรค์ และผลิตภาพของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สะท้อนให้เห็นว่า โรงเรี ย นขนาดใหญ่ พิ เ ศษ มี ค วามพร้ อ มใน ทุ ก ด้ า น ทั้ ง ด้ า นการเงิ น ด้ า นวั ส ดุ อุ ป กรณ์ มีบคุ ลากรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถมีการบริหาร งานเป็นระบบเน้นการมีสว่ นร่วมและสนับสนุน ให้ ค รู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาได้ พั ฒ นา ศักยภาพ ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการ ศึกษาของโรงเรียนมีความคาดหวังต่อภาวะผูน้ ำ� ของผู ้ บ ริ ห ารตนเองสู ง  ส� ำ หรั บ สถานศึ ก ษา ขนาดกลางมีจำ� นวนบุคลากรน้อยกว่าท�ำให้การ สื่อสาร การประสานงานการด�ำเนินกิจการ ต่างๆ ของผูบ้ ริหารท�ำได้งา่ ย มีความเข้าใจตรง กันส่งผลให้ความคิดเห็นของครูและบุคลากร เหล่านั้นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำของผู้บริหารของ ตนเองสู ง  สอดคล้องกับแนวคิดของธนากร เอี่ยมปาน (2556) ได้กล่าวว่า ลักษณะของ

172 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

องค์กรจะบ่งบอกถึงความต้องการของผู้นำ� ที่มี ลักษณะเฉพาะอย่างที่เหมาะสมกับประเภท และชนิดขององค์กรนั้นๆนอกจากนี้  รูปแบบ ขององค์กร ขนาดองค์กร จ�ำนวนสมาชิกมาก หรือสมาชิกน้อย เป็นองค์กรขนาดเล็กหรือ ขนาดใหญ่  โครงสร้างขององค์กร การแบ่งส่วน งาน บรรยากาศขององค์กร การส่งเสริมให้ สมาชิกมีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีผลต่อ ภาวะผูน้ ำ  � สอด-คล้องกับงานวิจยั ของสุกญ ั ญา พู ล กสิ   (2557) พบว่ า ครู ที่ อ ยู ่ ใ นขนาดของ สถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาน ศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา มัธยมศึกษา เขต 18 โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 รวมถึง งานวิจัยของภัสรา ชูเสน (2558) พบว่า ครูที่ อยู่ในขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิด เห็ น เกี่ ย วกั บ ภาวะผู ้ น� ำ ทางวิ ช าการของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ.05 งานวิจัยของมนตรี  วรสิงห์ (2554) พบว่าครูทอี่ ยูใ่ นขนาดของสถานศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 แตกต่างกันอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ.05 ในด้านวิสยั ทัศน์


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

และด้านความเชือ่ มัน่ และศรัทธา และงานวิจยั ของธนัณฎา ประจงใจ (2557) พบว่า ครูทอี่ ยู่ ในขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น เกี่ ย วกั บ ภาวะผู ้ น� ำ การเปลี่ ย นแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาตราดโดยภาพรวมแตก ต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะทีไ่ ด้จากการน�ำผลการวิจยั ไป ใช้ 1.1 จากผลการวิจัยที่ว่าคุณลัก ษณะ ด้านคิดรับผิดชอบเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของ การเป็นผูน้ ำ� ในยุคการศึกษา 4.0 นัน้  ผูบ้ ริหาร ควรจัดกิจกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิง่ แวดล้อมขององค์กร (CSR) ให้กบั ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสว่ นร่วมในการ ช่ ว ยเหลื อ และพั ฒ นาสั ง คม ส่ ว นด้ า นคิ ด วิเคราะห์ และด้านคิดผลิตภาพทีม่ คี า่ เฉลีย่ น้อย ผู้บริหารควรจัดให้มีการฝึกอบรมสัมมนาเพิ่ม เติ ม  เพื่ อ เสริ ม ทั ก ษะการคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละ ทักษะคิดผลิตภาพเพือ่ สร้างเป็นผลงานหรือชิน้ งาน 1.2 จากผลการวิจยั ทีว่ า่ ครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่อายุต้ังแต่  30 ปีขึ้นไปมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และ ผลิตภาพของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าครู และบุคลากรทางการศึกษาทีอ่ ายุนอ้ ยกว่าหรือ

เท่ากับ 29 ปี  ผู้บริหารควรใช้ระบบพี่เลี้ยง (Coaching) พั ฒ นาความเป็ น ผู ้ น� ำ  ผู ้ ต าม  ให้กบั ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพือ่ ให้มี ประสิ ท ธิ ภ าพและเกิ ด ประสิ ท ธิ ผ ลสู ง สุ ด ต่ อ องค์กร 1.3 จากผลการวิจยั ทีว่ า่ ครูและบุคลากร ทางการศึกษาทีอ่ ยูโ่ รงเรียนขนาดกลาง มีความ คิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และ ผลิ ต ภาพของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาสู ง กว่ า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษผู้บริหารควรสร้าง ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของครูและ บุคลากรทางการศึกษาโดยใช้การบริหารแบบ มี ส ่ ว นร่ ว มให้ ม ากขึ้ น และมี ก ารสื่ อ สาร ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้ทุกคน ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 การวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เชิ ง ส�ำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ดัง นั้ น ควรศึ ก ษาการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ เชิ ง สร้างสรรค์และผลิตภาพในเชิงลึกด้วยใช้วธิ กี าร สัมภาษณ์หรือส�ำรวจร่วมด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูล เชิงลึกในการหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำ ต่อไป 2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะ ผู้น�ำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพของผู้บริหาร สถานศึ ก ษา เพื่ อ น� ำ ไปเป็ น ข้ อ มู ล ในการ ปรั บ ปรุ ง พฤติ ก รรมในการท� ำ งานให้ มี ประสิทธิภาพต่อไป

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 173


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เอกสารอ้างอิง จาริ นี   สิ กุ ล จ้ อ ย, พจนี ย ์   มั่ ง คั่ ง และสุ นั น ทา โกธา. (2556). ภาวะผูน้ าํ เชิงสร้างสรรค์ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาที่ ส ่ ง ผลต่ อ บรรยากาศของโรงเรียน สังกัดส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา ฉะเชิ ง เทรา เขต 2. (วิ ท ยานิ พ นธ์ ปริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). มหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา. ชมพูนุท บุญประเสริฐ. (2556). ปัจจัยความ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมกับ ความผูกพันของพนักงานกลุม่  Genera tion Y. (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหา บัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ. ธนั ณ ฎา ประจงใจ. (2557). ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงกับ การท�ำงานเป็นทีมตามความคิดเห็นของ ครูผสู้ อนในสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ ร�ำไพพรรณ, จันทบุรี. ธนากร เอี่ยมปาน. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ภาวะผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงของนักบิน กองทัพอากาศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ). มหาวิ ท ยาลั ย ศรี ป ทุ ม , กรุงเทพฯ. 174 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธัญวิทย์  ศรีจันทร์,สิริฉันท์  สถิรกุล เตชพา หพงษ์, และปทีป เมธาคุณวุฒ.ิ  (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะ ภาวะผู ้ น� ำ ในศตวรรษที่   21  ของ กรรมการองค์ ก รนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา. (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการ โครงสร้างภาวะผู้นําเชิงวิสัยทัศน์ของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน. (วิทยา นิพนธ์ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต). มหาวิทยา ลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. ฝ่ า ยการศึ ก ษา อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ. (2560). สถิ ติข ้ อ มู ล นั ก เรี ย น ครู แ ละ บุคลากรทางการศึกษา ประจ�ำปีการ ศึ ก ษา  2560  โรงเรี ย นสั ง กั ด อั ค ร สั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ.  กรุ ง เทพฯ: แผนกบุ ค คล  ฝ่ า ยการศึ ก ษา  อั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ. _______. (2560). เอกสารประกอบการ ประชุมใหญ่สามัญผู้บริหาร ประจ�ำปี 2560 ครั้ ง ที่   2. กรุ ง เทพฯ: แผนก อ�ำนวยการ ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ.


เดชสกล จึงประวัติ และ ธีระดา ภิญโญ

พรชัย เจดามาน. (2560). ภาวะผู้น�ำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่  21, (สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์  2561). จาก http://per sonnel.obec.go.th/hris-th/ภาวะ ผู้น�ำยุค-4-0-ในพล-วัตศต/ เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2559). การศึกษาเปรียบ เทียบความรับผิดชอบของผู้น�ำต่อการ ควบคุมคุณภาพภายในส�ำนักงานตาม ปั จ จั ย ส่ ว นบุ ค คลของผู ้ ส อบบั ญ ชี รั บ อนุญาต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์. ไพฑูรย์  สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้น�ำ ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. _______. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิง่ กว่า การศึกษา ใน การศึกษา 4.0 เป็นยิ่ง กว่าการศึกษา. (น.1). ณ ห้องประชุม อ�ำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์: คณะ ครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัสรา ชูเสน. (2558). ภาวะผู้น�ำทางวิชาการ ของผูบ้ ริหารสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครศรีธรรมราช เขต 4. (วิทยานิพนธ์ ปริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). มหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรม ราช.

มนตรี  วรสิงห์. (2554). ภาวะผูน้ ำ� ทางวิชาการ ของผูบ้ ริหารสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครศรีธรรมราช เขต 4. (วิทยานิพนธ์ ปริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ นครศรี ธ รรมราช, นครศรี ธรรมราช. วิทยากร ยาสิงห์ทอง. (2559). ภาวะผู้น�ำเชิง นวัตกรรมทีส่ ง่ ผลต่อการเป็นบุคคลแห่ง การเรียนรู้ของครู  สังกัดส�ำนักงานเขต พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษาเขต 25. (วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2553). HR แห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 2 กุมพาพันธ์  2561, จาก http://www.manager. co.th/ mgrweekly/viewnews.aspx?News ID=953000014541 ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษา แห่ ง ชาติ   พ.ศ.๒๕๖๐  -  ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: สาํ นักงานเลขาธิการสภาการ ศึกษา.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 175


ภาวะผูน้ �ำ เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ภายใต้การขับเคลือ่ นการศึกษา 4.0 ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา เขตการศึกษา 5 สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สุ กั ญ ญา พู ล กสิ .  (2557). ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างภาวะผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลงของ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและวั ฒ นธรรม องค์การตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในสถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิ ท ยา-นิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ ร�ำไพพรรณ, จันทบุรี. สุ วิ ท ย์   เมษิ น ทรี ย ์ .  (2559). พิ ม พ์ เขี ย วไทย แลน4.0. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560, จาก http://digital.forest.ku.ac.th/ TFCC/TCERN2017/PW/Thailand_ 40_PM.pdf. Burn, J.M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row. Global Center for Digital Business Transformation. (2017). ผู้น�ำในยุค 4.0. สืบค้นเมือ่  12 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.ncc.or.th/web 2014/index.php/econews/1075--40.

176 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส

ที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

Model of Catholic secular development

institute response to Decree of The Plenary Council of The Catholic Church in Thailand A.D. 2015 บาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์ กฤษเจริญ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลราชบุรี * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม

Rev.Asst.Prof.Dr.Watchasin Kritjaroen, Ed.D.

* Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese. * Assistant Professor, Christian Studies Faculty of Religious, Saengtham College. Rev.Asst.Somchai Phitthayaphongphond * Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * Assistant Professor, Theology Faculty of Religious, Saengtham College.

Asst.Prof.Laddawan Prasutsaengchan, Ph.D.

* Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College.


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบของ สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 และ 2) ผล การยืนยันรูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่สนองตอบ กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยพระสงฆ์ จ�ำนวน 226 คน และ คริสตชนฆราวาส จ�ำนวน 400 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม จ�ำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้คา่ ความถีแ่ ละค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนือ้ หา และการยืนยันรูปแบบ ใช้ วิ ธี ก ารอ้ า งอิ ง ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ที่ เ ป็ น สภาพระสงฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่สนองตอบ กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ควรมีลกั ษณะเป็นศูนย์และมีคณะกรรมการประสานงาน ที่จัดตั้งขึ้นภายในโครงสร้างหนึ่งของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย มีบทบาทหน้าที่ในการ 1) ประสานงาน พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ แล้วให้ดขี นึ้  2) เติมเต็มในส่วนทีย่ งั ขาดหรือไม่ม ี เช่น ค�ำสอนด้านสังคม ค�ำสอนด้านธุรกิจ 3) จัดหาและใช้สอื่ ในการเผยแพร่ ความรู ้ ข้อมูลต่างๆ 4) กลัน่ กรองและเผยแพร่เนือ้ หาส�ำหรับใช้ในการอบรมพัฒนาคริสตชน ฆราวาสหรือสมาชิกของตน และ 5) ก�ำหนดช่องทาง/รูปแบบของสื่อ ที่เหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน โดยมีหน่วยงานระดับประเทศ ระดับ สังฆมณฑลและวัด เป็นทีมงานเครือข่าย มีการก�ำหนดกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เป้าหมาย สนามงาน การวางแผนด�ำเนินการและติดตามผล 2. สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ยืนยันให้ความเห็น ชอบในรู ป แบบของสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส ที่ ต อบสนอง กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ตามโครงสร้างรูปแบบและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามที่เสนอ

178 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ค�ำส�ำคัญ: คริสตชนฆราวาส กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทย คริสตศักราช 2015 Abstract

This research purposes were to study: 1) Model of Catholic secular development institute response to Decree of The Plenary Council of The Catholic Church in Thailand A.D. 2015, and 2) the confirmation of Model of Catholic secular development institute response to Decree of The Plenary Council of The Catholic Church in Thailand A.D. 2015. The samples were 226 Catholic priests and 40 Catholic seculars. The research instrument was an opinionnaire. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, content analysis and the confirmation the model used connoisseurship by The Catholic Bishops' Conference of Thailand. The findings were as follows: 1. Model of Catholic secular development institute response to Decree of The Plenary Council of The Catholic Church in Thailand A.D. 2015 should be center and cooperation by committees that be established in a part of The Catholic Bishops' Conference of Thailand. The 5 roles of this center consist of; 1) coopraration and development 2) fullfill the residual such as social couseling, business couseling 3) arrangement and using ICT for announment knowledge and information 4) scan and advertisement the best content for developing Catholic secular, and

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 179


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

5) identify the varity of communication channel appropriately in all level: Catholic Church of Thailand, diocese and Catholic churches, working in team or network, specification target, area, field, formulating plan and performace, and building evaluation system. 2. The Catholic Bishops' Conference of Thailand verified and approved Model of Catholic secular development institute response to Decree of The Plenary Council of The Catholic Church in Thailand A.D. 2015 according to the model structure and related information. Key Word: Catholic Secular Decree of The Plenary Council of The Catholic Church in Thailand A.D. 2015

180 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ประกาศกฤษฎีการสมัชชาใหญ่ของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศั ก ราช 2015 “ศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ เจริ ญ ชี วิ ต ประกาศข่าวดีใหม่” เพื่อให้บรรดาคริสตชน คาทอลิกสามารถเผชิญกับการท้าทายต่างๆ อันเนือ่ งมาจากการเปลีย่ นแปลงด้านสังคมและ วั ฒ นธรรมร่ ว มสมั ย  ด้ ว ยการเจริ ญ ชี วิ ต เชิ ง ประจักษ์และก้าวออกสู่การประกาศข่าวดีของ พระคริ ส ตเจ้ า  การประชุ ม สมั ช ชาใหญ่ ข อง พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 สรุปถึงความส�ำคัญและทีม่ าของ ปัญหา 2 ประเด็นส�ำคัญที่เป็นเรื่องท้าทายต่อ การด�ำเนินชีวิตของคริสตชนคาทอลิกในฐานะ ศิษย์พระคริสต์  คือ 1) สภาพความเป็นจริงใน โลกปั จ จุ บั น และสั ง คมไทย และ 2) สภาพ ความเป็ น จริ ง ของพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ท่ามกลางบริบททางความเชื่อและวัฒนธรรม ที่หลากหลายในประเทศไทย สมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริ ส ตศั ก ราช 2015 ได้ น� ำ เสนอเครื่ อ งมื อ และมาตรการเพื่ อ การฟื ้ น ฟู “การเป็นศิษย์พระคริสต์  ด�ำเนินชีวติ  ประกาศ ข่าวดีขึ้นใหม่” 8 ประการ ได้แก่  1) การรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและเชือ่ มัน่ ในกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศ-

ไทย คริสตศักราช 2015 2) การปรับโครงสร้าง ของพระศาสนจักรเพือ่ ฟืน้ ฟูการประกาศข่าวดี ขึ้นใหม่  3) การท�ำงานเป็นทีมและเครือข่าย 4) การบริหารจัดการทรัพยากร 5) การพัฒนา ศักยภาพของศิษย์พระคริสต์  6) กระแสเรียก เพื่อเป็นผู้อภิบาลและผู้ร่วมอภิบาล 7) การใช้ เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการอภิบาลและ การประกาศข่าวดี  และ 8) การแต่งตั้งคณะ กรรมการกลางเพื่ อ อ� ำ นวยการงานตาม กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 และก� ำ หนดแนวทางส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นา ศักยภาพของคริสตชนฆราวาส ดังนี้  1) การ อบรมต่ อ เนื่ อ ง และ 2) การจั ด ตั้ ง สถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส ซึ่ ง ในการจั ด ตั้ ง สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสนั้นเพื่อให้เป็น สถาบั น ที่ ส ามารถด� ำ เนิ น งานได้ อ ย่ า งดี มี คุณภาพ สามารถดูแลครอบคลุมไปถึงคริสตชน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ อย่างเหมาะสม ตรงตามความต้ อ งการของคริ ส ตชน และ สามารถสนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ได้ คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษา “รูปแบบของสถาบัน พัฒนาคริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกา สมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ใน ประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ตามนโยบาย

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 181


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย และการตอบสนองตามจุ ด มุ ่ ง หมายของ กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพือ่ ศึกษารูปแบบของสถาบันพัฒนา คริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 2. เพื่อศึกษาผลการยืนยันรูปแบบของ สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่สนองตอบ กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 นิยามศัพท์เฉพาะ ค ริ ส ต ช น   ห ม า ย ถึ ง   พ ร ะ ส ง ฆ ์   (บาทหลวง) นั ก บวช และฆราวาสที่ นั บ ถื อ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก คริ ส ตชนฆราวาส หมายถึ ง  บุ ค คล ทัว่ ไปทีน่ บั ถือศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิก รวมถึงบุคคลที่เป็นคริสตชนส�ำรองซึ่งก�ำลัง เตรียมตัวเข้าเป็นคริสตชนคาทอลิกหรืออยู่ใน ระหว่างการเรียนค�ำสอนตามที่พระศาสนจักร

คาทอลิกก�ำหนด เป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็น ผู้อุทิศตนเป็นพระสงฆ์หรือนักบวชเพื่อรับใช้ พระเจ้าในฐานะ “สมณะ” ที่ผ่านพิธีศักดิ์บวช หรือศีลอนุกรม และไม่ได้เป็น “ผู้รับเจิมถวาย ตน” ซึง่ เป็นบุคคลทีไ่ ด้ถวายตนแก่พระเจ้าเป็น กรณีพเิ ศษทีจ่ ะด�ำเนินชีวติ ตามค�ำปฏิญาณทีจ่ ะ ถือศีลบนหรือข้อตั้งใจ 3 ประการ คือ ความ ยากจน ความบริสุทธิ์  และความนบนอบ สถาบั น พั ฒ นาฆราวาส 1  หมายถึ ง องค์กร สิ่งที่จัดตั้งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาฆราวาสตามความมุ่งมั่นปรารถนาของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยที่จะ พัฒนาคริสตชนฆราวาส ซึ่งเป็นประชากรส่วน ใหญ่ของพระศาสนจักร ให้ได้ตระหนักและมี จิ ต ส� ำ นึ ก ต่ อ การเป็ น ศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ ใ นการ ปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ ที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรงได้ ม อบให้ ทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาป โดยให้มีการสร้าง สนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาคริสตชนฆราวาส ให้มีวุฒิภาวะที่เข้มแข็งมากขึ้นทั้งความรู้ด้าน ค� ำ ส อ น ข อ ง พ ร ะ ศ า ส น จั ก ร ค า ท อ ลิ ก ประสบการณ์ชีวิตการพบปะพระเยซูเจ้า และ การด�ำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยาน สามารถ ที่จะเป็นผู้ประกาศข่าวดีของพระเจ้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

ชือ่  "สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส" เป็นชือ่ ทีใ่ ช้ชวั่ คราว จนกว่าจะได้ชอื่ ทีเ่ หมาะสมกว่า (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก แห่งประเทศไทย คริสตศักราช 2015: 48) 1

182 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

วิธีด�ำเนินการวิจัย เป็นการวิจยั เชิงพรรณนา (Descriptive Research) ด�ำเนินการศึกษาตามล�ำดับขั้น ตอนดังนี้ 1. ศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์และ คริ ส ตชนฆราวาสในประเทศไทยเกี่ ย วกั บ ลักษณะและบทบาทหน้าที่ของสถาบันพัฒนา คริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 จากกลุ่มตัวอย่าง จ� ำ นวน 626 คน ประกอบด้ ว ย 1) กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งที่ เ ป็ น พระสงฆ์   ใน 10 เขตการ ปกครองทางคริสตศาสนา จ�ำนวน 226 คน จากจ�ำนวนประชากรพระสงฆ์ทงั้ หมด 530 คน (ปฏิทนิ คาทอลิก 2559: 3) ผูว้ จิ ยั ก�ำหนดขนาด กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งตามตารางก� ำ หนดขนาดกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งของเครจซี่ แ ละมอร์ แ กน (Krejcie and Morgan, 1970: 608 – 609) ได้มาโดย วิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท (stratified random sampling) ในแต่ละเขตปกครองตาม สัดส่วน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคริสตชน ฆราวาส เขตการปกครองละ 40 คน รวม 400 คน จากจ� ำ นวนประชากรคริ ส ตชนทั้ ง หมด 379,374 คน (ปฏิ ทิ น คาทอลิ ก  2559: 3) ผูว้ จิ ยั ก�ำหนดขนาดของกลุม่ ตัวอย่างตามตาราง การก� ำ หนดตั ว อย่ า งของทาโร  ยามาเน (Taro Yamane.Statistics, 1967: 886) ที่

ขนาดความคลาดเคลื่อน (e) ร้อยละ 5 ได้ มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ในแต่ ล ะเขตการปกครอง เก็ บ ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จ�ำนวน 1 ฉบับ ที่ ผ่านการตรวจประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 3 คนแล้ว มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ระหว่ า ง 0.6-1.00 แล้ ว น� ำ ไปทดลองใช้ (Try out) กับพระสงฆ์และคริสตชนฆราวาสที่ ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 30 คน ได้ค่าความ เชื่ อ มั่ น  (Reliability) จากการค� ำ นวณค่ า สัมประสิทธิ์แอลฟา (α-coefficient) ของ ครอนบาค (Cronbach, Lee J., 1984) เท่ากับ .889 แล้วน�ำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่าง จ�ำนวน 626 คน ได้รบั แบบสอบถาม กลั บ มาจ� ำ นวน  504  ฉบั บ   คิ ด เป็ น ร้ อ ย ละ80.51 น�ำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมา วิเคราะห์ โดยใช้คา่ ความถี ่ (Frequency) และ ค่าร้อยละ (Percentage) 2. ผู้วิจัยน�ำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งเสนอต่ อ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการเฉพาะกิจที่ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย มอบหมาย 2) พระสังฆราช จ�ำนวน 4 ท่าน และ 3) คณะกรรมการคาทอลิ ก เพื่ อ คริ ส ต ศาสนธรรม เพือ่ พิจารณาประกอบการก�ำหนด รู ป แบบสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส ที่

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 183


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

สนองตอบกฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเทศไทย คริ ส ตศักราช 2015 3. ผู ้ วิ จั ย น� ำ  รู ป แบบสถาบั น พั ฒ นา คริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใ ห ญ ่ ข อ ง พ ร ะ ศ า ส น จั ก ร ค า ท อ ลิ ก ใ น ประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ทีไ่ ด้เสนอต่อ ที่ ป ระชุ ม  สภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย ในวันที่  15 กุมภาพันธ์  2017 เพื่ อ พิ จ ารณายื น ยั น รู ป แบบสถาบั น พั ฒ นา คริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ผลการวิจัย ตอนที ่ 1 รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชน ฆราวาส ที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ต อบแบบสอบถาม มีจ�ำนวน 504 คน จาก 626 คน คิดเป็นร้อย ละ 80.51 โดย 1) กลุม่ ตัวอย่างพระสงฆ์ทตี่ อบ สอบถาม มีจ�ำนวน 181 คน จาก 226 คน (ร้อยละ 80.09) อยูใ่ นช่วงอายุ  41-50 ปี  มาก ที่สุด จ�ำนวน 54 คน (ร้อยละ 29.83) รองลง มาคือ อายุ 51-60 ปี  จ�ำนวน 49 คน (ร้อยละ

184 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

27.07) และ 2) กลุม่ ตัวอย่างคริสตชนฆราวาส ที่ตอบแบบสอบถาม มีจ�ำนวน 323 คน จาก 400 คน คิดเป็นร้อยละ 80.75 อยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี  มากที่สุด จ�ำนวน 54 คน (ร้อยละ 29.83) รองลงมาคือ อายุ  51-60 ปี  จ�ำนวน 49 คน (ร้อยละ 27.07) เป็นเพศชาย จ�ำนวน 134 คน (ร้อยละ 41.49) และเป็นเพศหญิง จ�ำนวน 189 คน (ร้อยละ 58.51) 2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับ สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบ กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 2.1 ลักษณะของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริ ส ตศั ก ราช 2015 และสถานที่ ที่เหมาะสมในการพัฒนาคริสตชนฆราวาส มีดังนี้ 2.1.1 กลุม่ พระสงฆ์ มีความคิดเห็นว่า ควรมีลักษณะเป็น 1) ศูนย์หรือสถาบัน มาก ที่ สุ ด  รองลงมาคื อ  2) คณะกรรมการ และ 3) เน็ตเวิร์ค ตามล�ำดับ 2.1.2 กลุ่มคริสตชนฆราวาส มีความ คิดเห็นว่า สถานที่ที่เหมาะสมในการด�ำเนิน การพั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส  ควรอยู ่ ใ น บรรยากาศของ 1) วัด มากที่สุด รองลงมาคือ 2) สังฆมณฑล และ 3) วิถชี มุ ชนวัด ตามล�ำดับ


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

2.2 บทบาทความส�ำคัญของมิตทิ คี่ วร มี ข องสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส ที่ สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศั ก ราช 2015  ในการพั ฒ นาคริ ส ตชน ฆราวาส ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ใน ภาพรวม  กลุ ่ ม พระสงฆ์ มี ค วามคิ ด เห็ น สอดคล้องกับกลุ่มคริสตชนฆราวาส โดยเรียง ตามความส�ำคัญของแต่ละมิติจากมากไปหา น้อย ดังนี้  1) การปลุกจิตส�ำนึก 2) การให้ ความรู ้ ค วามเข้ า ใจ และ 3) การฝึ ก ทั ก ษะ ปฏิบัติ 2.3 ระดับบุคคล/หน่วยงาน ทีค่ วรตืน่ ตั ว และศึ ก ษาติ ด ตาม เพื่ อ ให้ เ กิ ด สถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส ที่ ส นองตอบ กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทยคริสตศักราช 2015 ในปัจจุบัน พบว่า ในภาพรวม กลุ่มพระสงฆ์ มี ค วามคิ ด เห็ น ที่ แ ตกต่ า งไปจากคริ ส ตชน ฆราวาส ดังนี้ 2.3.1 กลุม่ พระสงฆ์ มีความคิดเห็นว่า  ควรเป็น 1) ระดับประเทศ มากทีส่ ดุ  รองลงมา คือ 2) ระดับสังฆมณฑล และ 3) พระสงฆ์  ตามล�ำดับ 2.3.2 กลุ่มคริสตชนฆราวาสมีความ คิดเห็นว่าควรเป็น 1) ระดับสังฆมณฑลมาก ที่ สุ ด  รองลงมาคื อ  2) ระดั บ ประเทศ และ 3) พระสงฆ์  ตามล�ำดับ

3. รู ป แบบของสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชน ฆราวาส ที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 คณะผู้ทรงคุณวุฒิ  พิจารณาความคิด เห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับสถาบันพัฒนา คริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 แล้วน�ำมาประกอบ การวิเคราะห์กำ� หนดรูปแบบของสถาบันพัฒนา คริสตชนฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ได้ดังนี้ 3.1 ลักษณะของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015  ควรมีลักษณะเป็น “ศูนย์และมีคณะ กรรมการประสานงาน” ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น ภายใน โครงสร้างหนึ่งของสภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่ ง ประเทศไทย มี ก ลุ ่ ม บุ ค คลเป็ น คณะ กรรมการประสานงาน อาจมีพระสังฆราชองค์ หนึง่ เป็นประธานคณะกรรมการ แล้วแต่งตัง้ ทีม งานตามความเหมาะสม 3.2 บทบาทหน้าที่  ของ “ศูนย์และ คณะกรรมการประสานงาน”

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 185


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

3.2.1 ประสานงานสิ่งที่สังฆมณฑล หน่วยงาน องค์กร บุคคล ท�ำอยูแ่ ล้ว มีอยูแ่ ล้ว ให้ ดี ขึ้ น  เชื่ อ มโยงถึ ง กั น  เช่ น  การอบรม พิธีกรรม ฯลฯ 3.2.2 เติมเต็มในส่วนที่ยังขาดหรือ ไม่มี  เช่น ค�ำสอนด้านสังคม ค�ำสอนด้านธุรกิจ ฯลฯ 3.2.3 จัดหาและใช้สอื่  ในการเผยแพร่ พระคั มภี ร ์   ค�ำสอน สมัชชา ความรู้  ข้อมูล ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาให้แพร่ หลาย โดยให้ง่ายต่อการเข้าถึง/สืบค้น เช่น จัดท�ำเป็นเว็บไซต์เฉพาะของศูนย์ประสานงาน แขวนไว้ที่เว็บไซต์ของสภาพระสังฆราชฯและ เว็บไซต์ของแต่ละสังฆมณฑล 3.2.4 เผยแพร่ เ นื้ อ หา ที่ ร ะบุ วั ต ถุ ประสงค์  กลุม่ เป้าหมาย เนือ้ หา วิธดี ำ� เนินการ วิธีการวัดประเมิน สื่อหรืออุปกรณ์ท่ีใช้  ฯลฯ ไว้ชัดเจน (เนื้อหาดังกล่าวอาจจะสร้างขึ้นใหม่ หรื อ รวบรวมจากที่ มี อ ยู ่ แ ล้ ว ของแต่ ล ะ สังฆมณฑล/หน่วยงานอื่นๆ) และการแบ่งปัน ของพระสงฆ์ / คริ ส ตชน เพื่ อ เอื้ อ ต่ อ การที่ สังฆมณฑล วัด หรือหน่วยงาน น�ำไปใช้ในการ อบรมพัฒนาคริสตชนฆราวาสหรือสมาชิกของ ตน 3.2.5 ก�ำหนดช่องทาง/รูปแบบของสือ่ ในรูปแบบที่เหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน เช่น เว็บเพจ เว็บบล็อค คลิป ฯลฯ และจัดให้มี ความเคลือ่ นไหว เพิม่ เติม อยูเ่ สมอและให้เป็น ปัจจุบัน (update) 186 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

3.3 หน้ า ที่ ข องบุ ค คลที่ เ ป็ น คณะ กรรมการ 3.3.1 ด� ำ เนิ น การหรื อ จั ด ให้ มี ก าร อบรมส� ำ หรั บ บุ ค คลส� ำ คั ญ  (key person) ในระดับประเทศหรือระดับสังฆมณฑล เมื่อ คณะกรรมการมีความพร้อม 3.3.2 ประสานงาน ติดตาม ประเมิน ผลการด�ำเนินงาน ประเมินสถานการณ์ความ ต้องการเร่งด่วนส�ำหรับการพัฒนาคริสตชน ฆราวาส และประเมิน ทบทวน ปรับเปลี่ยน บทบาทหน้ า ที่ ข องคณะกรรมการเอง ตาม สถานการณ์ แ ละช่ ว งเวลา  เพื่ อ ความมี ประสิ ท ธิ ภ าพและตอบสนองสถานการณ์ การพัฒนาคริสตชนฆราวาสให้เป็นปัจจุบนั มาก ขึ้น 3.3.3 เผยแพร่เนื้อหา ตามข้อ 3.2.4 โดยอาศัยบุคลากร (Fulltime) ที่ท�ำหน้าที่ 1) ฝ่ายเทคนิค ดูแลพัฒนาโปรแกรม 2) ฝ่าย วิชาการ ดูแลรูปแบบ/format และ 3) ฝ่าย เนื้อหา 3.4 หน่วยงาน/ทีมงานเครือข่าย เพื่อ ส่งเสริม สนับสนุน ด�ำเนินการ ขยายผล ร่วม กัน 3.4.1 ระดับประเทศ โดยหน่วยงานที่ มีอยู่แล้วของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย 3.4.2 ระดับสังฆมณฑล และระดับวัด โดยควรมีคณะกรรมการ/ทีมงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะเพื่อด�ำเนินการ


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

3.4.2.1 ประสานงานกับคณะ กรรมการระดับประเทศ จะได้ศึกษาพิจารณา และวางแผนพั ฒ นา เพื่ อ ให้ ง านและคณะ กรรมการระดับประเทศสามารถสนับสนุนให้ สั ง ฆ ม ณ ฑ ล แ ล ะ วั ด เ ป ็ น ส น า ม ง า น ที่ มี ประสิทธิภาพ 3.4.2.2 วางแผนการพัฒนา เฉพาะ เช่น มีการ work shop ร่วมกันเพื่อ วางแผนพัฒนา มีการศึกษาในแต่ละวัด / กลุม่ พื้นที่ก่อนเพื่อน�ำมาวางแผนให้เหมาะสมกับ สภาพ/บริบทของแต่ละวัด/กลุ่มพื้นที่ 3.5 กลุ ่ ม เป้ า หมาย และพื้ น ที่ เ ป้ า หมาย/สนามงาน 3.5.1  กลุ ่ ม เป้ า หมายของคณะ กรรมการระดั บ ประเทศ คื อ  พระสงฆ์ แ ละ ฆราวาสทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ระดับสังฆมณฑล และ/หรือ หน่วยงานระดับประเทศ 3.5.2  กลุ ่ ม เป้ า หมายของคณะ กรรมการระดับสังฆมณฑล คือ พระสงฆ์และ ฆราวาสที่เป็นผู้น�ำระดับวัด และ/หรือ หน่วย งานของสังฆมณฑล 3.5.3 กลุม่ เป้าหมายของวัด คือคริสต ชนทีม่ าเข้าวัด แล้วค่อยขยายกลุม่ เป้าหมายให้ กว้างขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคริสตชนต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว และกลุ่มวิถีชุมชนวัด 3.5.4 พื้นที่เป้าหมาย/สนามงาน คือ วัด

3.6 การวางแผนด�ำเนินการและการ ติดตามการด�ำเนินงาน 3.6.1 วางแผน ด� ำ เนิ น การ และ ประเมินติดตาม ทั้งบทบาทหน้าที่และผลงาน ควรทบทวน ปรับเปลีย่ น เพิม่ เติม เป็นระยะๆ 3.6.2 วางแผนด�ำเนินการ ควรก�ำหนด เป็นช่วงระยะ (phase) เช่น 5 ปี  10 ปี  20 ปี 3.6.3 ติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น มี การประชุมทีมงานใหญ่และทีมงานของแต่ละ สังฆมณฑล ทุกๆ 6 เดือน 3.7 แผนยุทธศาสตร์ 3.7.1 แผนยุ ท ธศาสตร์ ที่ ใช้ ใ นการ พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส อาจพิ จ ารณาน� ำ “แผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูการประกาศข่าวดีขึ้น ใหม่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2016” โดยส�ำนักงานนโยบาย สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย เป็นแผนเบื้องต้น 3.7.2 การน� ำ แผนไปปฏิ บั ติ   หรื อ ก�ำหนดเป็นพันธกิจต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับหน้าที่ ของหน่วยงานสังฆมณฑลที่เกี่ยวข้องพิจารณา น�ำไปปฏิบัติตามความเหมาะสม 3.8 การด�ำเนินงานอื่นๆ 3.8.1 การให้พระสงฆ์เห็นถึงความ ส�ำคัญและตืน่ ตัวในการพัฒนาคริสตชนฆราวาส 3.8.2 การเตรียมงบประมาณในการ จัดตั้งและด�ำเนินงาน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 187


3.9 โครงสร้างรูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสที่สนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ระดับประเทศ คณะกรรมกำร  เผยแพร่เนื้อหำ (ตำมข้อ 2.3.1) โดยทีมงานรับผิดชอบ (1.ฝ่ายเทคนิค+ 2.ฝ่ายวิชาการ +3.ฝ่ายเนื �อหา)

อบรม Key person (พระสงฆ์และฆราวาสผู้น�า ระดับประเทศ/สังฆมณฑล) ฝำยเทคนิค ดูแลพัฒนำโปรแกรม

ฝำยวิชำกำร ดูแลรูปแบบ / format

ประสำนงำน ติดตำม ประเมินผล

ฝำยเนื้อหำ

บริหำรข้อมูล

พัฒนำข้อมูล จากข้อมูลที่รวบรวม และ จากที่สร้างใหม่ รวบรวมข้อมูล จากหน่วยงาน/ฝ่าย สังฆมณฑล วัด ที่ได้ท�าไว้แล้ว

1. เสนอเป็นหมวดหมู่ เช่น เจตคติ ความรู้ ทักษะ 2. มีรำยละเอียดครบถ้วน เช่น วัตถุประสงค์ บุคคลเป้าหมาย เนื้อหา รูปแบบกิจกรรม การประเมินผล สื่อ 3. รวบรวมให้อยู่ในระบบ network ที่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน (update) และเข้าถึงได้ง่าย

ระดับสังฆมณฑล 1. คณะกรรมการ / Key person ( พระสงฆ์และฆราวาส) + 2. ทีมอบรม / ฝ่าย บทบาทหน้ าที� สอดคล้ องกับในระดับประเทศ ระดับวัด 1. Key person (ฆราวาส) บทบาทหน้ าที� สอดคล้ องกับในระดับประเทศ / สังฆมณฑล แผนภาพที่ 1 โครงสร้างรูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสที่ตอบสนองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตอนที่   2 การยื น ยั น รู ป แบบของสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาสที่ ต อบกฤษฎี ก า สมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ส ภ า พ ร ะ ส ง ฆ ร า ช ค า ท อ ลิ ก แ ห ่ ง ประเทศไทย ในการประชุ ม เมื่ อ วั น ที่   20 กุ ม ภาพั น ธ์   2017 ได้ พิ จ ารณารู ป แบบของ สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่ตอบสนอง กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก ประเทศไทย คริ ส ตศั ก ราช 2015 โดยที่ประชุมให้ความเห็นชอบในรูปแบบของ สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสที่ตอบสนอง กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก ประเทศไทย คริ ส ตศั ก ราช 2015 ตามโครงสร้างรูปแบบและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตามที่เสนอ และมีนโยบายให้น�ำผลการวิจัย และรูปแบบที่ได้จากการศึกษานี้ไปพิจารณา ด�ำเนินการน�ำร่อง โดยอาศัยการประสานความ ร่วมมือของบาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์  กฤษ เจริ ญ  และที ม งานสั ง ฆมณฑลราชบุ รี   และ องค์กรหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อภิปรายผล 1. รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชน ฆราวาส ทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ควรมีลักษณะเป็นศูนย์และมี

คณะกรรมการประสานงาน ที่จัดตั้งขึ้นภายใน โครงสร้างหนึ่งของสภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย โดยอาจมีพระสังฆราชองค์ใด องค์ ห นึ่ ง เป็ น ประธานคณะกรรมการ ทั้ ง นี้ เพราะในการด� ำ เนิ น การพั ฒ นาคริ ส ตชน ฆราวาสให้ เ ป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศ-ไทย คริสตศักราช 2015 นั้ น  จ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ห น่ ว ยงานและคณะ กรรมการเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ภายใต้การ ดู แ ลของสภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามพระสมณสารเรื่อง การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบนั โดยพระ สันตะปาปาเปาโลที่  6 (EVANGELII NUNTIANDI) ที่ ร ะบุ ว ่ า  ฆราวาสมี ก ระแสเรี ย กที่ ก�ำหนดให้เขาอยู่ในกลางโลกและต้องท�ำงาน ฝ่ายโลก เขาจะต้องท�ำงานประกาศพระวรสาร แบบพิเศษเฉพาะ... ส่วนการก่อตั้งและพัฒนา กลุ ่ ม คริ ส ตชนนั้ น เป็ น หน้ า ที่ ข องผู ้ อ ภิ บ าล สัตบุรุษ และในกฎหมายของพระศาสนจักร มาตรา 298 วรรค 1 ได้กล่าวถึงการท�ำงาน ร่ ว มกั น ของพระสงฆ์ แ ละคริ ส ตชนร่ ว มกั น "ในพระศาสนจักรที่มีสมาคมที่แตกต่างจาก สถาบันชีวิตที่ถวายแล้วและคณะชีวิตที่แพร่ ธรรม ซึ่งในสมาคมเหล่านี้  คริสตชนไม่ว่าจะ เป็ น สมณะหรื อ ฆราวาสหรื อ ทั้ ง สมณะและ ฆราวาสพร้อมกัน พยายามรวมกันที่จะฟูมฟัก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 189


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

ชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และส่งเสริมคารวกิจ สาธารณะและค�ำสอนคริสตชน หรือเพือ่ ปฏิบตั ิ งานแพร่ ธ รรมอื่ น ๆ เช่ น  การประกาศพระ วรสารที่ได้เริ่มแล้ว การด�ำเนินกิจกรรมด้าน ความศรัทธาหรือกิจเมตตาและเพื่อปลุกสังคม โลกให้ มี จิ ต ตารมณ์ ค ริ ส ตชน" และวรรค 2 ว่าคริสตชนควรเป็นสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมาคมที่ ไ ด้ รั บ การตั้ ง ขึ้ น  หรื อ ได้ รั บ การ ยกย่อง หรือได้รับการแนะน�ำโดยผู้ใหญ่ผู้มี อ�ำนาจพระศาสนจักร สถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ทีส่ นอง ตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 มี บทบาทหน้าที่ในการประสานงาน เติมเต็มใน ส่วนที่ยังขาดหรือไม่มี  เช่น ค�ำสอนด้านสังคม ค�ำสอนด้านธุรกิจ ทัง้ นีเ้ พราะสภาพการด�ำเนิน ชีวิตและการประกอบอาชีพในสังคมปัจจุบัน มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตนมากกว่าประโยชน์สว่ นรวม จึงควรทีจ่ ะ มีสิ่งที่เข้ามาช่วยเหนี่ยวน�ำจิตใจของทุกคนให้ ด�ำเนินชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพตามหลัก ธรรมค�ำสอน สอดคล้องกับที่พระธรรมนูญว่า ด้ ว ยพระศาสนจั ก ร (LUMEN GENTIUM) ข้อ 31 ที่กล่าวสอนให้ฆราวาสเป็นพยานถึง พระคริสตเจ้าด้วยการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน อย่างดีวา่  เป็นหน้าทีเ่ ฉพาะของพวกฆราวาสที่ จะแสวงหาพระราชัยของพระเป็นเจ้า เฉพาะ

190 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อย่างยิง่ ธุระเกีย่ วข้องกับข้าวของของโลกนีแ้ ละ จั ดระเบี ย บให้ เ ป็ นไปตามพระประสงค์ ข อง พระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าทรงเรียกร้องให้ปฏิบตั ิ หน้าที่  ให้ด�ำเนินชีวิตตามจิตตารมณ์ของพระ วรสาร จะได้ก่อให้เกิดประโยชน์บันดาลความ ศักดิ์สิทธิ์แก่โลก เป็นดังเชื้อแป้งที่ออกมาจาก ภายในตัว และส่องแสงเรืองรองด้วยชีวติ  (การ ครองชีพ) และใน พ ระสมณกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ย งานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร (Ad GENTES) กล่าวถึงหน้าที่แพร่ธรรมของฆราวาส ปรากฏ ในข้อ 21 ว่าหน้าที่ส�ำคัญของฆราวาสคือการ เป็นองค์พยานประกาศพระคริสตเจ้า ซึ่งต้อง ท�ำด้วยการด�ำรงชีวิตและค�ำพูดในครอบครัว ในกลุ่มสังคมและในวงงานอาชีพ (เทียบ อฟ 4:24) ในการด�ำเนินงานการพัฒนาคริสตชน ฆราวาสนั้นควรต้องมีการจัดหาและใช้สื่อใน การเผยแพร่  ความรู้  ข้อมูลต่างๆ กลั่นกรอง และเผยแพร่เนื้อหา และการก�ำหนดช่องทาง/ รูปแบบของสื่อ ที่เหมาะสม ง่ายต่อการใช้งาน โดยมี ห น่ ว ยงานระดั บ ประเทศ ระดั บ สั ง ฆมณฑลและวั ด  เป็ น ที ม งานเครื อ ข่ า ย ทั้ ง นี้ เพราะหน่วยงานในแต่ละระดับต้องท�ำงานร่วม กันเป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงจะเกิดพลังและ ผลดีมากทีส่ ดุ  สอดคล้องกับทีก่ ฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ข้อ 22 ได้ระบุว่า


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

วัดเป็นสถานที่อภิบาลคริสตชนให้ด�ำเนินชีวิต ในความรักกันฉันพีน่ อ้ ง และเพาะบ่มให้คริสตชนเข้าใจและด�ำเนินชีวิตด้วยความเป็นน�้ำหนึ่ง ใจเดียวกันในพระศาสนจักรให้มากขึ้น ชุมชน วั ด จะต้ อ งมี ส ่ ว นรั บ ผิ ด ชอบในงานประกาศ ข่าวดีแก่ทุกคน มีพันธกิจให้การศึกษาอบรม อย่างต่อเนือ่ งโดยตรงแก่บรรดาคริสตชนอบรม สั่งสอนสัตบุรุษให้ฟังและด�ำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า ให้มีความสนิทสัมพันธ์ใกล้ ชิดกับพระองค์ในพิธีกรรม ในการสวดภาวนา ส่วนตัวและส่วนรวมและรับใช้ทกุ คนโดยเฉพาะ ผู้ที่ถูกทอดทิ้ง มีการก�ำหนดพื้นที่เป้าหมาย สนามงาน กลุ ่ ม เป้ า หมายของกลุ ่ ม คริ ส ตชนที่ ต ้ อ งการ พัฒนา ตามที่กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเทศไทย คริ ส ตศักราช 2015 ได้ปรารถนาที่ให้จัดการพัฒนา อย่างต่อเนื่องและหลายหลาก และครอบคลุม ทุกเพศวัย ทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่  ผู้สูงอายุ บุคคลในสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมเฉพาะ และบุคคลในสถานการณ์ตา่ งๆ ด้านสังคมและ วัฒนธรรม โดยพิจารณาถึงความส�ำคัญและ ความจ� ำ เป็ น ในแต่ ล ะวั ย  การแบ่ ง ประเภท หน้าที/่ จุดมุง่ หมายการพัฒนา รูปแบบของการ พัฒนาความเชื่อ จนให้พวกเขาสามารถตอบ สนองความรักของพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น พร้อม เจริญชีวิตเป็นแบบอย่าง เป็นแสงสว่าง และ

กล้าหาญที่จะออกไปเป็น “ศิษย์ธรรมทูต” ที่ เข้มแข็ง กระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีดว้ ย ความชืน่ ชมยินดีเสมอ เป็นหนึง่ เดียวกับสมาชิก ของพระศาสนจักร เพื่อพร้อมที่จะด�ำเนินชีวิต เป็นเกลือดองแผ่นดิน เป็นแสงสว่างส่องโลก และเป็นเชื้อแป้งที่มีคุณภาพมากขึ้นต่อไป ซึ่ง หัวใจของการประกาศข่าวดีให้ คือ “keryg ma” ทีห่ มายถึง การฟืน้ ฟูการประกาศข่าวดีขนึ้ ใหม่ จ�ำเป็นต้องเพิม่ ความกระตือรือร้นยิง่ ขึน้ ในการ เทศน์ ส อน หรื อ การบอกเล่ า และแบ่ ง ปั น ประสบการณ์พระเจ้า มุ่งประกาศข้อค�ำสอน ของบรรดาอัครสาวกเรื่องพระเยซูเจ้า (kerygma) ซึ่ ง มี ศู น ย์ ก ลางอยู ่ ที่ พ ระธรรมล�้ ำ ลึ ก ปัสกา คือ พระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลั บ คื น พระชนมชี พ ของพระเยซู คริสตเจ้า พระศาสนจักรจ�ำเป็นต้องมุ่งค้นหา หนทางใหม่ ๆ  วิ ธี ก ารใหม่ ๆ  อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันอย่างแท้จริง ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลเป้าหมายแห่งข่าวดีทุกคนได้ มีโอกาสรับรู้สัมผัสและเชื่อในความรักเมตตา ของพระเจ้ า โดยผ่ า นทางชี วิ ต ของคริ ส ตชน แต่ ล ะคน (กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเทศไทย คริ ส ตศักราช 2015 ข้อ 15) 2. สภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย ยืนยันให้ความเห็นชอบในรูปแบบ ของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่ตอบ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 191


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

สนองกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิ ก ประเทศไทย คริ ส ตศั ก ราช 2015 ตามโครงสร้างรูปแบบและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตามที่เสนอ เนื่องจากกฤษฎีการสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ได้เน้นการพัฒนาศักยภาพ ของศิษย์พระคริสต์  โดยเสนอให้มีการจัดการ อบรมต่อเนื่องส�ำหรับคริสตชนฆราวาส ให้มี ความเชื่อ ความรู้  การด�ำเนินชีวิต และการ ปฏิบตั พิ นั ธกิจประกาศข่าวดี จึงเป็นเรือ่ งส�ำคัญ และเร่ ง ด่ ว น พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ใน ประเทศไทยต้องมุ่งสร้าง สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาฆราวาสให้เข้มแข็งมากขึน้  อย่างต่อ เนื่องและเป็นระบบกว่าเดิม จึงจ�ำเป็นต้องจัด ตั้งสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสขึ้นเพื่อเป็น หน่วยงานในการด�ำเนินงานโดยอาศัยคณะ กรรมการเครือข่ายเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการ พัฒนาโดยใช้หลักสูตรหลากหลาย ครอบคลุม คริสตชนทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ มีรูป แบบของการอบรมที่ทุกคนเข้าถึงได้สะดวก เพื่ อ ให้ ค ริ ส ตชนสามารถด� ำ เนิ น ชี วิ ต เป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานในทุ ก มิ ติ ข องชี วิ ต  (เที ย บ กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ข้อ 36-37) ซึ่งการจัดการอบรมอย่างต่อเนื่อง และหลายหลาก และครอบคลุ ม ทุ ก เพศวั ย ตามมติของกฤษฎีการสมัชชาใหญ่ของพระ-

192 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเทศไทย คริ ส ตศักราช 2015 สอดคล้องกับค�ำแนะน�ำจากคูม่ อื แนวแนวทั่วไปส�ำหรับการสอนค�ำสอน (หรือ การพั ฒ นาความเชื่ อ ) ค.ศ.1997 ข้ อ  167 ด้วยหลักการที่ว่า “เป็นความจ�ำเป็นและสิทธิ ที่จะได้รับการพัฒนาความเชื่อของผู้ที่ได้รับศีล ล้างบาปแล้วทุกคน” และ “ความจริงประการ หนึ่ ง ก็ คื อ  ความเชื่ อ ช่ ว ยส่ ง เสริ ม การพั ฒ นา บุคคลหนึ่งๆ ในขณะที่ทุกๆ ช่วงชีวิตก็เปิดสู่ การท้าทายในเรื่องการเสื่อมถอยของการเป็น คริ ส ตชน” และการด� ำ เนิ น งานของสถาบั น พัฒนาคริสตชนฆราวาสภายใต้การดูแลของ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยนัน้ ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ส อดคล้ อ งกั บ   กฎหมายพระ ศาสนจักรคาทอลิก มาตรา 298 วรรค 2 ที่ ได้เชิญชวนให้คริสตชนทุกคนทั้งสมณะและ ฆราวาสเป็นพยานถึงพระคริสต์โดยการเข้า สังกัดสมาคม เป็นการท�ำงานตามกฎหมาย มาตรา 298 วรรค 1 ในรูปแบบกลุ่ม สมาคม องค์กร ซึ่งช่วยให้ทุกคนด�ำเนินชีวิตตามความ เชือ่  ประกาศพระวรสารถึงพระคริสตเจ้าได้เป็น อย่างดี  มีระบบและมั่นคงกว่าการเป็นพยาน ด้วยตัวเองตามล�ำพัง และ สมาคม องค์กร หรือกลุ่มต่างๆ ที่จะเข้าสังกัด ฆราวาสต้อง ตรวจดูว่าสมาคม องค์กร หรือกลุ่มศรัทธานั้น ได้รับการรับรอง แนะน�ำและยอมรับจากพระ สันตะปาปาหรือพระสังฆราชประจ�ำสังฆมณทล


วัชศิลป์ กฤษเจริญ, สมชัย พิทยาพงศ์พร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

แล้วเพราะพระศาสนจักรเป็นมารดาผูร้ อบคอบ ดู แ ลความเชื่ อ และการแสดงออกให้ถูก ต้อง เสมอ ซึ่งสถาบันต่างๆ ของพระศาสนจักรใน รูปแบบหมู่คณะ ชุมชน องค์กรพระพรพิเศษ ขบวนการ สมาคม ฯลฯ ล้วนเป็นพระพรที่ พระจิตเจ้าได้ทรงบันดาลให้เกิดขึ้นในพระศาสนจักร เพื่อความดีของพระศาสนจักรส่วน รวม ทั้งนี้เพื่อเข้าร่วมในพันธกิจประกาศข่าวดี แก่ประชาชนทุกภาคส่วน ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะส�ำหรับการน�ำผลการวิจัย ไปใช้ ควรน�ำรูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาส ที่ตอบสนองกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ไปทดลองใช้ เพือ่ น�ำข้อมูล มาปรับปรุงพัฒนารูปแบบให้ดเี หมาะสมมากยิง่ ขึ้น ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาผลการทดลองใช้รูป แบบของสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชนฆราวาส ที่ ต อบสนองกฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระ ศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทย คริสตศักราช 2015

2. ควรมี ก ารศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ เนื้ อ หา รูปแบบการอบรม และหลักการบริหารข้อมูล เพื่อการพัฒนาคริสตชนฆราวาสที่มีคุณภาพ  ตามรู ป แบบของสถาบั น พั ฒ นาคริ ส ตชน ฆราวาสที่ตอบสนองกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของ พระศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทย คริสตศักราช 2015 บรรณานุกรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2017). กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015. สืบค้นเมือ่ วันที ่ 30 เมษายน 2017 สืบค้นได้จาก http:// www.catholic.or.th/main/images/ service/350years/decree2015/ decree2015_thai_cbct.pdf เปาโลที่  6 พระสันตะปาปา. (1975). พระ สมณสารเรือ่ งการประกาศพระวรสารใน โลก  (EVANGELII  NUNTIANDI). ส�ำนักมิสซังโรคมันคาทอลิก กรุงเทพฯ, ผู้จัดพิมพ์. (1992.) กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 193


รูปแบบของสถาบันพัฒนาคริสตชนฆราวาสทีส่ นองตอบกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015

เอกสารแห่งสภาพระสังฆคายนาวาติกัน ที่  2 ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึง พระ ศาสนจั ก ร “Lumen Gentium”. ยวง นิ ต โย, พระสั ง ฆราช, ผู ้ แ ปล. (1982.) มปท. พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตแห่งพระ ศาสนจักร (Ad GENTES). ศูนย์คำ� สอน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, ผู้จัดพิมพ์. (1992.) พิมพ์ครั้งที่  2. กรุงเทพฯ โรง พิมพ์อัสสัมชัญ. ไพยง มนิ ร าช, บาทหลวง. “กฎหมายพระ ศาสนจักรในมือฆราวาส. ”. สืบค้นเมื่อ วันที่  20มีนาคม 2017. สืบค้นได้จาก http://www.ratchaburidio.or.th/ main/canon-law

194 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Best, John W. (1997). Research in Edu cation. 2nd. ed. New Jersey: Prentice Hall Inc. Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of psychological Testing. 4 th ed. New York: Harper & Row Publishers. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Measurement. 608-609. Taro Yamane. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. Newyork “Harper and Row.


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการ ของคริสตชนกับความคาดหวัง จากการอภิบาลในพิธีกรรม

Existing Needs and Demands of Christian Faithful and Their Expectations From Sunday Pastoral Liturgy.

บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลราชบุรี * รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา วิทยาลัยแสงธรรม

อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม

อาจารย์ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม

Rev.Asst.Prof.Dr.Aphisit Kitcharoen

* Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese.

* Vice President for Academic Affairs of Saengtham College. Rev.Asst.Prof.Wasan Pirulhwong, C.S.S. * Reverend in Roman Catholic Church, Stigmatine. * Lecturer of The Bachelor of Divinity Program in Thology, Saengtham College.

Sudhathai Niyomtham * Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College. Saranyu Pongprasertsin * Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College.


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. รู้และเข้าใจสถานะความ จ�ำเป็น ความต้องการ ความคาดหวังของสัตบุรุษและผู้อภิบาลจากการ ร่วมพิธีกรรมวันอาทิตย์  2. ก�ำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์  เป้าหมาย การ อภิบาลในพิธกี รรมให้สอดคล้องกับหน้าทีแ่ ละความคาดหวังของสัตบุรษุ 3. เพื่อวางแผนการพัฒนาแนวทางการอภิบาลในพิธีกรรมระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะยาว โดยขอความคิ ด เห็ น และข้ อ เสนอแนะ จากคริสตชนคาทอลิกซึ่งสังกัดสังฆมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศทั้ง 10 สังฆมณฑล จ�ำนวน 400 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั เป็นแบบสอบถาม จ�ำนวน 1 ฉบับ มี 3 ตอน โดยได้รบั ข้อมูลกลับคืนมา 308 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตอนที่  1-2 คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย ( X ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนตอนที ่ 3 ผูว้ จิ ยั วิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยการวิเคราะห์เนือ้ หา (Content Analysis) รวบรวมความคิดเห็นของคริสตชนคาทอลิกทั้งหมดสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นต่อสถานะความจ�ำเป็นและความต้องการของ คริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธีกรรม โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก ( X = 3.77, S.D. = 1.17) 2. ความคิดเห็นต่อสถานะความจ�ำเป็นและความต้องการของ คริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธีกรรม จ�ำแนกรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากและปานกลาง ดังนี้ ด้านที่  1 ด้านการมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์และ วันฉลองต่างๆ ( X = 3.60, S.D. = 1.40) ด้านที่  2 ด้านความรู้  ความ เข้าใจเมื่อร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณและพิธีกรรมต่างๆ ( X = 3.90, S.D. = 1.12) ด้านที่  3 ด้านการปฏิบัติตนเมื่อร่วมในพิธีบูชาขอบ พระคุณ ( X = 3.35, S.D. = 1.20) ด้านที่  4 ด้านบทบาทหน้าที่ของ ศาสนบริกรของงานอภิบาลในพิธกี รรม ( X = 3.95, S.D. = 1.07) และ ด้านที ่ 5 ด้านการอบรมให้ความรู ้ ความเข้าใจเรือ่ งพิธกี รรมในเรือ่ งต่างๆ ( X = 3.87, S.D. = 0.98)

196 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

ค�ำส�ำคัญ: Abstract

1) ความจ�ำเป็น 2) ความต้องการ 3) ความคาดหวัง 4) การอภิบาลในพิธีกรรม

The purpose of this research was to know and understand the status, necessity, needs, and expectations of the faithful and pastors of the Sunday Liturgy. Determining the mission, vision, goal, pastoral liturgy according to the duties and expectations of the faithful. To plan the development of pastoral approaches in medium to long term rites. The samples were 10 dioceses in Thailand, 308 respondents in total. Accounting for 77% of the data. The statistics applied in data analysis were frequency (f), mean ( X ) and standard deviation (S.D.). The findings revealed as follows: 1. Opinion on Existing Needs and Demands of Christian Faithful and Their Expectations from Sunday Pastoral Liturgy as a whole was at a high level. ( X = 3.77, S.D. = 1.17) 2. Opinion on Existing Needs and Demands of Christian Faithful and Their Expectations from Sunday Pastoral Liturgy when classified by elements found at high levels and medium levels the elements. 1. On the occasion of the blessing ceremony on Sundays and celebrations ( X = 3.60, S.D. = 1.40) 2. Knowledge, understanding, participation in worship, thanksgiving and liturgy ( X = 3.90, S.D. = 1.12) 3. In practice, when partici-

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 197


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

pating in the celebration of thanksgiving ( X = 3.35, S.D. =1.20) 4. The role of the minister of pastoral care in the liturgy ( X = 3.95, S.D. = 1.07) 5. Training Understanding of liturgy ( X = 3.87, S.D. = 0.98) Keywords:

198 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

1) Existing Needs 2) Demands 3) Expectations 4) Pastoral Liturgy


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็น ศาสนาทีม่ ผี นู้ บั ถือมากทีส่ ดุ ศาสนาหนึง่  (Central Intelligence Agency, 2556: 1) มีหลัก ค�ำสอนทีส่ ำ� คัญคือ ความรัก ตามทีพ่ ระเยซูเจ้า ตรัสว่า จงรักพระเจ้าอย่างสุดจิตใจ สุดความ คิด สุดก�ำลัง และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรัก ตนเอง มีศาสนบริกรทีส่ ำ� คัญคือ พระสงฆ์หรือ บาทหลวง ผู้ซึ่งได้รับกระแสเรียกจากพระเจ้า เพื่อเป็นผู้อภิบาลที่ดี  ตามแบบอย่างขององค์ พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ผู ้ เ ป็ น สงฆ์ สู ง สุ ด และนาย ชุ ม พาบาลที่ ดี   เป็ น ผู ้ ค อยช่ ว ยเหลื อ  ชั ก จู ง สัตบุรษุ ให้มแี นวทางในการด�ำเนินชีวติ ทีถ่ กู ต้อง เหมาะสม ซึ่งกว่าที่พระสงฆ์หรือบาทหลวงจะ สามารถได้รบั มอบหมายให้เป็นนายชุมพาบาล นั้น ต้องผ่านกระบวนการศึกษาอบรมในด้าน ต่างๆ อย่างเคร่งครัดตามขัน้ ตอน กระบวนการ อบรมผูท้ เี่ ตรียมตัวเป็นพระสงฆ์หรือบาทหลวง ทีพ่ ระศาสนจักรคาทอลิกก�ำหนดไว้ในพระสมณ กฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาว่าด้วย การอบรม พระสงฆ์  (เอกสารแห่งสภาสังคายนาวาติกัน ที่2, 1965: 95-97) กล่าวคือ ข้อ 19 ในการ อบรมสามเณรต้องย�ำ้ พร�ำ่ สอนให้มคี วามห่วงใย ในการอภิ บ าลสั ต บุ รุ ษ  ความห่ ว งใยในการ อภิ บ าลสั ต บุ รุ ษ นี้ เรี ย กร้ อ งให้ เขาได้ รั บ การ อบรมให้รทู้ กุ สิง่ ทีเ่ กีย่ วกับการปฏิบตั หิ น้าทีพ่ ระ สงฆ์  เฉพาะอย่างยิ่งการสอนค�ำสอนและการ เทศน์   การประกอบพิ ธี ก รรมและการโปรด

ศีลศักดิส์ ทิ ธิ ์ งานเมตตากิจ หน้าทีต่ อ้ งไปหาคน ที่หลงผิดหรือไม่เชื่อและงานที่อภิบาลสัตบุรุษ อื่ น ๆ ต้ อ งเอาใจใส่ ส อนให้ เขารู ้ ศิ ล ปะการ แนะน�ำวิญญาณ เพื่อจะสามารถอบรมลูกของ พระศาสนจักรทุกคน ให้ถือชีวิตแบบคริสตชน ทีร่ สู้ ำ� นึกตัวดีและท�ำการแพร่ธรรม อีกทัง้ สอน ให้เขาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของตนอย่างครบ ถ้วน... ในแผนอภิบาลคริสตศักราช 20102015  (สภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย, 2010: 16) ได้กล่าวถึงการสร้าง และพัฒนาผู้อภิบาลและผู้ร่วมงานอภิบาลว่า ต้ น แบบชี วิ ต ผู ้ อ ภิ บ าลในพระศาสนจั ก ร ผู ้ อ ภิ บ าล คื อ  พระสั ง ฆราช พระสงฆ์   และ สังฆานุกร ผู้ร่วมงานอภิบาล คือ นักบวช ครู ค�ำสอน ผู้น�ำกลุ่มคริสตชน ฯลฯ ที่ต้องเลียน แบบพระเยซู เ จ้ า นายชุ ม พาบาลที่ ดี   ผู ้ ส น พระทัยปกปักรักษา ติดตาม และอุทศิ ชีวติ ของ พระองค์เพื่อฝูงแกะ “เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู ้ เ ลี้ ย งแกะย่ อ มสละชี วิ ต เพื่ อ แกะของตน เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเรารู้จักเรา” (ยน 10: 11, 14) ส�ำหรับชีวติ คริสตชนเรา สิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในชีวิตคือพระเจ้า เพราะพระองค์คือบ่อเกิด แห่งชีวิต เป็นพระผู้สร้างและเป็นผู้ประทาน ชีวิตแก่เรามนุษย์  และการที่จะตอบแทนคุณ พระเจ้าได้ก็ต้องท�ำความดี  ท�ำตามพระวรสาร ซึ่งเป็นค�ำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า การแบ่ง ปันแก่เพื่อนมนุษย์  และการสวดภาวนาเพื่อ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 199


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

โมทนาคุณพระเจ้าในแต่ละวัน การสวดภาวนา จึงเป็นหัวใจส�ำคัญในการเริ่มต้นวันใหม่ เพื่อที่ เราจะได้ ส วดสรรเสริ ญ โมทนาพระเจ้ า ขอบพระคุณส�ำหรับพระหรรษทานที่ประทาน ให้แก่เรา ขออภัยโทษส�ำหรับความผิดบกพร่อง และสุดท้ายเพื่อวอนขอพระพรที่จ�ำเป็นในการ ด� ำ เ นิ น ชี วิ ต ใ น แ ต ่ ล ะ วั น   โ ด ย พิ ธี บู ช า ขอบพระคุณ “เป็นการเฉลิมฉลองถึงความ รอดพ้นอันยิ่งใหญ่และความรักที่พระเจ้าทรง มีต่อมนุษย์” (ยอห์น ปอลที่  2, 2541: 22) ซึง่ เป็นค�ำภาวนาทางการจึงเป็นการสวดภาวนา ที่ส�ำคัญ และเป็นศูนย์กลางของชีวิตคริสตชน ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างพระเจ้ากับ มนุษย์ เกิดขึน้ ด�ำรงอยูแ่ ละมีการสะท้อนให้เห็น ความผู ก พั น ระหว่ า งพระเจ้ า กั บ มนุ ษ ย์ ผ ่ า น ลักษณะพิเศษของพิธีกรรมจนกลายมาเป็น หัวใจและเอกลักษณ์ในชีวิตคริสตชน ในพิธี บูชาขอบพระคุณนั้นคริสตชนจะระลึกถึงการ สิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพของพระ เยซูเจ้า และยังเป็นการเฉลิมฉลองถึงพระคริ ส ตเจ้ า ผู ้ ท รงชี วิ ต อยู ่ ใ นปั จ จุ บั น  “เพื่ อ ประกาศความเชื่อในการกลับคืนพระชนม์ของ พระองค์และรับพระพรซึ่งพระองค์ทรงสัญญา ไว้” (ยอห์น ปอลที ่ 2, 2541: 40) และประทับ อยู่ท่ามกลางประชากรของพระองค์ซึ่งมีพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า เป็ น ศู น ย์ ก ลาง และดึ ง ดู ด ให้ คริสตชนทุกคนมาชุมนุมร่วมกันอย่างพร้อม เพรียงโดยมีศลี มหาสนิท พระกายของพระเยซู 200 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คริสตเจ้าที่จะเป็นสิ่งที่รวบรวมประชากรของ พระเจ้าเข้าด้วยกัน และยังเป็นอาหารที่หล่อ เลีย้ งจิตวิญญาณของคริสตชนอย่างแท้จริงเพือ่ น�ำเราไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้า และเพื่อนพี่น้องผ่านทางการถวายเครื่องบูชา แห่งพระกายและพระโลหิตของพระองค์แด่ พระบิดาและช่วยให้เราระลึกถึงพระทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพ ของพระคริสตเจ้า อันเตือนใจเราถึงหน้าทีแ่ ห่ง ความรักที่สามารถท�ำให้เรายอมรับความยาก ล�ำบากและยอมทรมานเพื่อผู้อื่นได้  ทั้งนี้  การ ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เป็นการอยู่ร่วมกัน ด้วยความเชื่ออันแน่นแฟ้น และการหล่อเลี้ยง ด้วย พระวาจาทรงชีวติ ให้คริสตชนได้เป็นอย่าง ดี  พระวาจาของพระเจ้าเป็นอาหารที่จ�ำเป็น และขาดไม่ได้ส�ำหรับชีวิตฝ่ายจิตและวิญญาณ ของเรา พระเยซูเจ้าทรงบอกไว้อย่างชัดเจน ว่า “มนุษย์มิได้ด�ำรงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น แต่ด�ำรงชีวิตด้วยพระวาจาทุกค�ำที่ออกจาก พระโอษฐ์ของพระเจ้า” (มธ 4:4) การรับฟัง พระวาจาและการเทศน์สอนของบาทหลวงใน พิธีบูชาขอบพระคุณ และการรับศีลมหาสนิท จึงเป็นแนวทางที่พระศาสนจักรได้มอบให้เพื่อ หล่อเลี้ยงชีวิตจิตวิญญาณ และช่วยให้ได้รับ อาหารที่ จ� ำ เป็ น ยิ่ ง ทางจิ ต วิ ญ ญาณ พระ ศาสนจักรเองได้เล็งเห็นความส�ำคัญและข้อเท็จ จริงดังกล่าวจึงได้ให้ความรู้ความเข้าใจ และ เสริมสร้างให้คริสตชนเห็นถึงความส�ำคัญของ


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เพื่อให้แต่ละคน ได้เจริญชีวิตขึ้นในพระคริสตเจ้า มีพระหรรษ ทานในการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันและเพือ่ ความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระศาสนจักรด้วย เหตุนี้  “พระวาจา ศีลมหาสนิท และการเป็น หนึ่ ง เดี ย วกั น ในความรั ก และความเชื่ อ ของ คริสตชน” จึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในชีวิต คริสตชน  นอกจากศี ล มหาสนิ ท จะเป็ น สิ่ ง ที่ รวบรวมประชากรของพระเจ้าเข้าด้วยกันแล้ว ยังเป็นอาหารทีห่ ล่อเลีย้ งจิตวิญญาณของคริสต ชนอย่างแท้จริง ตามการยืนยันของสังคายนา วาติ กั น ที่   2 ศี ล มหาสนิ ท คื อ ศู น ย์ ก ลางของ ความสมบูรณ์ครบครันแห่งชีวิตคริสตชน ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ศีลมหาสนิทท�ำให้เรามีส่วนในพระ ทรมานของพระเยซูเจ้าในขณะปัจจุบันและ ท�ำให้ชีวิตของเราเกิดผลช่วยให้เราสามารถ นมัสการพระบิดาและพระจิตได้อย่างบริบูรณ์ เพิ่มพูนซึ่งความรักน�ำเราไปสู่ความเป็นหนึ่ง เดี ย วกั บ พระเยซู เจ้ า และเพื่ อ นพี่ น ้ อ งผ่ า น ทางการถวายเครือ่ งบูชา แห่งพระกายและพระ โลหิตของพระองค์แด่พระบิดา และช่วยให้เรา ระลึกถึงพระทรมาน การสิ้นพระชนม์  และ การกลั บ คื น พระชนมชี พ ของพระคริ ส ตเจ้ า อันเตือนใจเราถึงหน้าที่แห่งความรักที่สามารถ ท� ำ ให้ เรายอมรั บ ความยากล� ำ บากและยอม ทรมานเพือ่ ผูอ้ นื่ ได้ ด้วยเหตุผลทางเทววิทยาที่ กล่ า วมาข้ า งต้ น นี้   รวมกั บ เหตุ ผ ลทางด้ า น

สังคมวิทยา ลักษณะการชุมนุมในวันอาทิตย์ อย่างเป็นประจ�ำ ท�ำให้เกิดขึน้ เป็นชุมชนคริสตชนและขยายตัวออกเป็นพระศาสนจักรในท้อง ที่ต่างๆ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม กล่าวได้ว่าการอยู่ ร่วมกันด้วยความเชื่ออันเหนียวแน่นและการ หล่อเลี้ยงพระวาจาทรงชีวิตกับประสบการณ์ อันเข้มข้นของบรรดาสานุศิษย์  ได้ท�ำให้ชุมชน คริสตชนมีความเข้มแข็ง ยืนยาวและสืบทอด ความเชื่ อ  รวมทั้ ง ธรรมประเพณี ม าจนถึ ง ปัจจุบัน พระศาสนจักรได้เล็งเห็นความส�ำคัญ และข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงได้ให้ความรู้เกี่ยว กั บ ความส� ำ คั ญ ของการร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบ พระคุณ และบัญญัตขิ นึ้ เป็นข้อบังคับให้คริสตชนเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ เพื่อให้แต่ละคนได้เจริญ ชีวิตขึ้นในพระคริสตเจ้า และเพื่อความเป็น อันหนึง่ อันเดียวกันในพระศาสนจักร คริสตชน จึงได้รับการสั่งสอนผ่านการบอกกล่าวและ กระท� ำ เป็ น ตั ว อย่ า งมาตั้ ง แต่ เ กิ ด ว่ า  ทุ ก วั น อาทิตย์เราต้องไปร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณทีว่ ดั ร่วมกันนมัสการสรรเสริญพระเจ้าพร้อมกับ พี่น้อง คริสตชนด้วยกัน กิจกรรมนี้เป็นกิจวัตร ประจ�ำวันอาทิตย์ในตารางชีวิตคริสตชน ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ พิ ธี ก รรม และศู น ย์ วิ จั ย ค้ น คว้ า ศาสนาและ วั ฒ นธรรม วิ ท ยาลั ย แสงธรรม จึ ง ร่ ว มกั น ด� ำ เนิ น การวิ จั ย เรื่ อ งดั ง กล่ า วนี้   เพื่ อ ศึ ก ษา ท� ำ ความเข้ า ใจ และทราบถึ ง  สภาพความ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 201


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

ต้องการจ�ำเป็นของการอภิบาลในพิธกี รรม เพือ่ ที่จะน�ำไปสู่การวางแผน การก�ำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และการด�ำเนินงาน ทัง้ การวางแผนใน ระยะสัน้  ระยะกลาง และระยะยาว เพือ่ ให้การ อภิบาลในพิธกี รรมนัน้ สามารถด�ำเนินการต่อไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. รู ้ แ ละเข้ า ใจ สถานะความจ� ำ เป็ น ความต้องการ ความคาดหวัง ของสัตบุรษุ และ ผู้อภิบาลจากการร่วมพิธีกรรมวันอาทิตย์ 2. ก�ำหนดพันธกิจ วิสยั ทัศน์ เป้าหมาย การอภิบาลในพิธกี รรม ให้สอดคล้องกับหน้าที่ ของสงฆ์  และความคาดหวังของสัตบุรุษ 3. วางแผนการพั ฒ นาแนวทางการ อภิบาลในพิธีกรรม ระยะใกล้  (1 ปี) ระยะ กลาง (3 ปี) และระยะยาว (5 ปี) (ก�ำหนดเป้า โครงการ/กิ จ กรรม งบประมาณ และผู ้ รั บ ผิดชอบ) นิยามศัพท์เฉพาะ พิธบี ชู าขอบพระคุณ (Eucharistic Celebration) หมายถึง พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ เพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้า ผู้สิ้นพระชนม์เพื่อ ไถ่บาปของมนุษย์และเฉลิมฉลองการกลับคืน พระชนมชีพของพระองค์  เป็นการชุมนุมร่วม กันของคริสตชนเพื่อขอบพระคุณพระเจ้าเป็น

202 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

พิธกี รรมการสวดภาวนาของคริสตชน โดยเน้น ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน โดยองค์ พระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปแทนเรา มนุ ษ ย์   อาศั ย พระกายและพระโลหิ ต ที่ ย อม สละชีวิตเพื่อเรา ดังนั้น พิธีบูชาขอบพระคุณ จึงเป็นพิธีที่ท�ำให้คริสตชนเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียว กันโดยอาศัยศีลหาสนิท และพระวาจาของ พระเยซูเจ้าเพื่อที่คริสตชนจะได้ขอบพระคุณ พระเจ้าที่ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ ลงมาไถ่ บ าปเรามนุ ษ ย์ ทุ ก คนและเพื่ อ รั บ พระพรและคุณค่าที่พระองค์ประทานให้พวก เขา ผ่านทางพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ คุณค่าพิธีบูชาขอบพระคุณ หมายถึง คุณประโยชน์สงู สุดทีบ่ คุ คลหนึง่ พึงจะได้รบั จาก การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เป็นคุณค่าจาก การที่ได้รับฟังพระวาจาและการรับพระกาย ของพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท เป็นคุณค่าที่ จะได้น�ำไปสู่การด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ทั้งชีวิต ส่วนตัวและในสังคมด้วย การอภิบาล หมายถึง การดูแลเอาใจใส่ ที่เต็มไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความเอื้อ อาทรซึ่ ง กั นและกั นโดยเล็ ง เห็ นคุ ณ ค่ า  และ ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์  เป็นการปกครอง ที่ มุ ่ ง หวั ง ให้ ทุ ก คน ทั้ ง ผู ้ ป กครองและผู ้ ถู ก ปกครองได้รับประโยชน์สูงสุดและมีความสุข ในการด�ำเนินชีวิต


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

ศีลมหาสนิท (Eucharist) หมายถึง พระเยซู เจ้ า ผู ้ ป ระทั บ อยู ่ ใ นรู ป ของแผ่ น ปั ง (พระกาย) และเหล้าองุ่น (พระโลหิต) เป็น ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระการหนึ่ ง ในพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก  ที่ มี ผ ลให้ ผู ้ รั บ ศี ล นี้ มี ค วามสนิ ท สัมพันธ์กับพระเจ้า

ขั้นตอนที่  3 การรายงานผลการวิจัย เป็นขั้นตอนของการจัดท�ำร่างรายงานผลการ วิจยั น�ำเสนอคณะกรรมการงานวิจยั  เพือ่ ตรวจ สอบความถูกต้อง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ตามที่คณะกรรมการงานวิจัยเสนอแนะ จัดท�ำ รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

การด�ำเนินการวิจัย ขัน้ ตอนที ่ 1 การจัดเตรียมโครงการวิจยั เป็ น การศึ ก ษาข้ อ มู ล  สถิ ติ   วรรณกรรมที่ เกีย่ วข้องต่างๆ จากต�ำรา เอกสารทางวิชาการ วารสาร เว็บไซต์  ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อน�ำผลที่ได้จากการศึกษามาจัดท�ำโครงร่าง งานวิ จั ย  รั บ ข้ อ เสนอแนะของกรรมการที่ ปรึกษางานวิจัย มาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ต่างๆ ให้สมบูรณ์ ขัน้ ตอนที ่ 2 การด�ำเนินการวิจยั  เป็นขัน้ ตอนที่ ผู ้ วิ จั ย จั ด สร้ า งเครื่ อ งมื อ ส� ำ หรั บ เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล  ทดสอบ ปรั บ ปรุ ง แก้ ไขข้ อ บกพร่องของเครือ่ งมือ แล้วน�ำเครือ่ งมือทีส่ ร้าง ขึ้ น  ไปเก็ บ ข้ อ มูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วน�ำ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้  มาตรวจสอบความถูก ต้อง ท�ำการวิเคราะห์ขอ้ มูลทางสถิต ิ และแปล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ คริสตชนคาทอลิกในประเทศไทย จ�ำนวน 363,463 คน ใน 10 เขตสั ง ฆมณฑล ของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง เป็นบาทหลวง นักบวช และคริ ส ตชนคาทอลิ ก ซึ่ ง สั ง กั ด สั ง ฆมณฑล ต่างๆ ทั่วประเทศจ�ำนวน จ�ำนวน 400 คน (Yamane, 1973) โดยการสุ่มอย่างง่าย รวม จ�ำนวนกลุม่ ตัวอย่างทัง้ สิน้  400 คน ทัง้ นีไ้ ด้จดั แบ่งตามสัดส่วนของจ�ำนวนคริสตชนในแต่ละ สังฆมณฑล แจกแจงได้ตามตารางที่  1

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 203


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

ตารางที่  1 จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง แบ่งสัดส่วนตามเขตการปกครอง (10 สังฆมณฑล) เขตปกครอง

จ�ำนวนประชากรทั้งหมด

จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง

1. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. สังฆมณฑลราชบุรี 3. สังฆมณฑลจันทบุรี 4. สังฆมณฑลเชียงใหม่ 5. สังฆมณฑลนครสวรรค์ 6. สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี 7. อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง 8. สังฆมณฑลอุบลราชธานี 9. สังฆมณฑลนครราชสีมา 10. สังฆมณฑลอุดรธานี รวม

115,945 15,674 41,010 61,847 16,463 7,065 54,394 26,301 6,170 18,594 363,463

128 17 45 68 18 8 60 29 7 20 400

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี ้ เป็นแบบสอบถามจ�ำนวนหนึง่ ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่  1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ รายการ (Check list) จ�ำนวน 6 ข้อสอบถามเกี่ยวกับ 1) เพศ 2) อายุ  3) สถานภาพ 4) ระดับ การศึกษา 5) สัตบุรุษวัด 6) ความถี่ในการเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ตอนที่  2 สอบถามสถานะของความจ�ำเป็นและความต้องการของคริสตชน กับความคาด หวังจากการอภิบาลในพิธีกรรม ในตอนที่  2 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของ ไลเคิรท์  (Likert’s Five Rating Scale) โดยผู้วิจัยก�ำหนดค่าน�้ำหนักคะแนนของแต่ละระดับเป็น ดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นตรงมากที่สุด ระดับ 5 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นตรงมากที่สุด ระดับ 4 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นตรงมาก ระดับ 3 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นตรงปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นตรงน้อย ระดับ 1 หมายถึง มีระดับความคิดเห็นตรงน้อยที่สุด 204 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

สรุปผลการวิจัย ผลจากการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ทางสถิ ติ มีข้อค้นพบสรุปได้ดังนี้ 1. ความคิดเห็นต่อสถานะความจ�ำเป็น และความต้องการของคริสตชนกับความคาด หวังจากการอภิบาลในพิธีกรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( X = 3.77, S.D. = 1.17) 2. ความคิดเห็นต่อสถานะความจ�ำเป็น และความต้องการของคริสตชนกับความคาด หวังจากการอภิบาลในพิธีกรรม จ�ำแนกราย ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากและปานกลางดังนี้ ด้านที่  1 ด้านการมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุ ณ ในวั น อาทิ ต ย์ แ ละวั น ฉลองต่ า งๆ ( X = 3.60, S.D. = 1.40) ด้ า นที่   2 ด้ า น ความรู ้ ค วามเข้ า ใจเมื่ อ ร่ ว มในพิ ธี บู ช าขอบพระคุณและพิธีกรรมต่างๆ ( X = 3.90, S.D. = 1.12) ด้ า นที่   3 ด้ า นการปฏิ บั ติ ต นเมื่ อ ร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ ( X = 3.35, S.D. = 1.20) ด้ า นที่   4 ด้ า นบทบาทหน้ า ที่ ข อง ศาสนบริ ก รของงานอภิ บ าลในพิ ธี ก รรม ( X = 3.95, S.D. =1.07) และด้านที่  5 ด้าน การอบรมให้ความรู้  ความเข้าใจเรื่องพิธีกรรม ในเรื่องต่างๆ ( X = 3.87, S.D. = 0.98) การอภิปรายผล ผลการวิจัย พบว่า สถานะความจ�ำเป็น และความต้องการของคริสตชนกับความคาด

หวังจากการอภิบาลในพิธีกรรม โดยภาพรวม อยูใ่ นระดับมากทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะคริสตชนได้ เห็นถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็นของการเข้า ร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ  การมี ส ่ ว นร่ ว มใน พิธีกรรมต่างๆ ในวันอาทิตย์และวันฉลองที่ ส�ำคัญ ซึง่ ในปัจจุบนั คริสตชนฆราวาสได้เข้ามา มีส่วนร่วม และมีบทบาทหน้าที่เพื่อช่วยเหลือ งานอภิบาลด้านพิธีกรรมในส่วนต่างๆ มากยิ่ง ขึ้น โดยได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้อภิบาล คื อ  พระสงฆ์   นั ก บวช ดั ง นั้ น จึ ง จ� ำ เป็ น ที่ บรรดาคริสตชนฆราวาสจะต้องได้รบั การอบรม ให้มีความรู้  ความเข้าใจในด้านพิธีกรรมอย่าง เหมาะสมและถู ก ต้ อ ง สอดคล้ อ งกั บ สั ง ฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์  (Sacrosanctum Concilium) เรื่องความจ�ำเป็นของ การมี ส ่ ว นร่ ว มการประกอบพิ ธี ก รรมของ ประชาชน ได้ให้ความส�ำคัญอย่างมากแก่การ ที่ ค ริ ส ตชนฆราวาสเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในงาน อภิบาลด้านพิธกี รรม เพือ่ ให้สตั บุรษุ มีสว่ นร่วม ในพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างแข็งขัน นับเป็น งานที่เรียกร้องอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหน้าที่แรก ของพระสงฆ์กค็ อื  การเตรียมคริสตชนฆราวาส ไว้ส�ำหรับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและมี ประสิ ท ธิ ผ ล “บรรดาผู ้ อ ภิ บ าลต้ อ งมี ค วาม กระตือรือร้นและพากเพียรที่จะให้การอบรม ด้านพิธีกรรมแก่ผู้มีความเชื่อ เพื่อเขาจะร่วม พิธีกรรมได้อย่างแข็งขันทั้งในด้านจิตใจและ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 205


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

ภายนอก โดยค�ำนึงถึงอายุ สภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และระดับความรู้ทางศาสนาของผู้ได้ รับการอบรม ถ้าบรรดาผู้อภิบาลท�ำเช่นนี้ได้ เขาจะปฏิบัติหน้าที่ส�ำคัญยิ่งประการหนึ่งให้ ส�ำเร็จในฐานะเป็นผู้แจกจ่ายธรรมล�้ำลึกของ พระเจ้าอย่างซื่อสัตย์  ในเรื่องนี้เขาจะต้องน�ำ ประชากรที่เขาอภิบาลดูแล ไม่ใช่ด้วยค�ำพูด เท่ า นั้ น แต่ โ ดยแบบอย่ า งที่ ดี ด ้ ว ย” (SC19) ผลการวิจัยฉบับนี้จ�ำแนกเป็นรายด้านดังนี้ ด้ า นการมาร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ในวันอาทิตย์และวันฉลองต่างๆ พบว่าบรรดา คริสตชนได้เห็นถึงความส�ำคัญของการร่วมใน พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ของวั น อาทิ ต ย์ ว ่ า เป็ น วันพระเจ้า เป็นวันศักดิ์สิทธิ์  คริสตชนมาร่วม พิธบี ชู าขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์เพือ่ ขอบคุณ พระเจ้าและวอนขอพระพร พระหรรษทาน ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำเนินชีวิต สอดคล้องกับ พระสมณสาสน์วันพระเจ้า (Dies Domini) ได้เน้นให้คริสตชนเห็นถึงความส�ำคัญของวัน อาทิตย์ว่าเป็นหัวใจของชีวิตคริสตชน เป็นวัน ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   โดยการมี ส ่ ว นร่ ว มในธรรมล�้ ำลึ ก ปั ส กา ฟั ง พระวาจา รั บ ศี ล มหาสนิ ท  และ ขอบคุณพระเจ้า และเป็นวันพักผ่อนตามจิตตารมณ์คริสตชน ดังนั้นวันอาทิตย์จึงเป็นวัน ของพระเจ้า วันของพระศาสนจักร วันของ มนุษย์  (DD7) ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคริสตชน ทุกคนต้องไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวัน

206 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อาทิตย์และวันฉลองต่างๆ อย่างสม�ำ่ เสมอด้วย ความตั้งใจและศรัทธา และสังฆธรรมนูญว่า ด้วยพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ ์ (Sacrosanctum Concilium) ยังกล่าวถึงความส�ำคัญของการมา ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเป็นหัวใจของการ ฉลองวันพระเจ้า และจิตตารมณ์ที่คริสตชน พึงปฏิบัติในวันพระเจ้า “ตามธรรมประเพณีที่ สืบเนือ่ งมาจากอัครสาวก และมีตน้ ก�ำเนิดจาก วันที่พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ พระศาสนจักรเฉลิมฉลองพระธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา ทุกวันที่แปด ซึ่งเรียกได้อย่างถูกต้องว่า “วัน ขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า” หรือ “วันพระ” ในวัน นัน้  ผูม้ คี วามเชือ่ ในพระคริสตเจ้าต้องมาชุมนุม กันเพื่อฟังพระวาจาของพระเจ้า และร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณ ระลึกถึงพระทรมาน การ กลับคืนพระชนมชีพและพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า และขอบพระคุณ พระเจ้าผู้ทรงบันดาล “ให้เราบังเกิดใหม่และ มีความหวังที่จะมีชีวิตอาศัยการ กลับคืนพระ ชนมชี พ ของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า จากบรรดาผู ้ ตาย” (1 ปต 1:3) ดังนัน้  วันอาทิตย์จงึ เป็นวัน ฉลองส�ำคัญที่สุดที่ต้องเสนอแนะและสอนให้ สัตบุรุษมีความเลื่อมใสศรัทธา ท�ำให้เป็นวัน แห่งความยินดีและเป็นวันพักผ่อนจากการงาน การฉลองอื่นๆ ถ้าไม่ส�ำคัญอย่างยิ่งแล้ว ก็ไม่ ควรจัดฉลองแทนวันอาทิตย์ เพราะวันอาทิตย์ เป็ น  พื้ น ฐานและแก่ น แท้ ข องปี พิ ธี ก รรม


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

ทั้งหมด”(SC106) ดังนั้นในการอภิบาลต้อง อบรมบรรดาคริสตชนให้เห็นถึงความส�ำคัญ ของการมาร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ในวั น อาทิตย์  ซึ่งเป็นวันของพระเจ้า เป็นวันศักดิ์สิ ท ธิ์   เพื่ อ พวกเขาจะได้ มี ค วามพร้ อ มที่ จ ะ ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและเข้าใจว่าเพราะ เหตุใดพระศาสนจักรจึงเรียกร้องพวกเขาให้ ต้องมาชุมนุมกันเพื่อเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท การมารับฟังพระวาจาของพระเจ้า การมาสวด ภาวนาร่วมกัน และโดยอาศัยการมาร่วมชุมนุม กันในวันอาทิตย์นี้พวกเขาจะเข้าใจได้อย่าง ชัดเจนว่าพวกเขาเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรอย่างแท้จริง ด้านความรู้  ความเข้าใจเมื่อร่วมในพิธี บูชาขอบพระคุณและพิธีกรรมต่างๆ พบว่า คริสตชนมีความรู ้ ความเข้าใจว่าการมาร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณเป็นสิ่งที่แสดงถึงการอยู่ร่วม กันด้วยความเชื่ออัน แน่นแฟ้นของคริสตชน มีพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นอาหารหล่อ เลีย้ งจิตวิญญาณของคริสตชน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งจากการเทศน์สอนของบาทหลวงในพิธีบูชา ขอบพระคุณและการรับศีลมหาสนิท จะช่วย ท�ำให้ได้รบั อาหารทีจ่ ำ� เป็นอย่างยิง่ ส�ำหรับหล่อ เลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตฯ ของคริสตชน และทุกวัน อาทิตย์คริสตชนต้องไปร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ ที่วัดร่วมกัน เพื่อนมัสการสรรเสริญพระเจ้า พร้ อ มกั บ พี่ น ้ อ งคริ ส ตชน และเป็ น กิ จ วั ต ร

ประจ�ำวันอาทิตย์ในตารางของชีวิตคริสตชน และหากวันอาทิตย์ใดที่คริสตชนละเลยการไป ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ถือว่ามีความผิดบาป และต้องแก้ไขด้วยการประกอบกิจศรัทธาอื่น ทดแทน ดังนั้นการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ หรือการร่วมมิสซาโดยเฉพาะวันอาทิตย์  เป็น สิง่ ทีส่ าํ คัญมากสําหรับคริสตชน เพราะพิธบี ชู า ขอบพระคุ ณ นั้ น เป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางของชี วิ ต คริสตชนและเป็นกิจการของพระศาสนจักร สอดคล้องกับสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   (Sacrosanctum Concilium) กล่ า วว่ า พิ ธี ก รรมไม่ ใช่ กิ จ การส่ ว นตั ว  แต่ เป็ น การเฉลิ ม ฉลองของพระศาสนจั ก ร ซึง่ เป็น “เครือ่ งหมายแสดงเอกภาพ” กล่าวคือ ประชากรศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ร วมกั น เป็ น หนึ่ ง เดี ย ว พิธีกรรมจึงเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักร ทั้ ง หมดที่ ร วมกั น เป็ น พระกายทิ พ ย์   แสดง ให้เห็นและก่อให้เกิดพระกายนี้  แต่สมาชิก แต่ละคนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้โดยวิธีการ สถานภาพ หน้าที ่ และการมีสว่ นร่วมอย่างแข็ง ขันในรูปแบบต่างๆ (SC 26) นอกจากนี้การ มาร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณยังส่งเสริมให้ ผู้มีความเชื่อ ซึ่งได้รับการหล่อเลี้ยงจากศีล ศักดิ์สิทธิ์แล้วนั้นด�ำเนินชีวิต “เป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกันในความเลื่อมใสศรัทธา” พิธีกรรมยัง วอนขอให้คริสตชน “ด�ำเนินชีวติ ตามความเชือ่ ที่เขาได้รับมา” การรื้อฟื้นพันธสัญญาระหว่าง

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 207


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

พระเจ้ากับมนุษย์ในพิธีบูชาขอบพระคุณย่อม ดึงดูดผูม้ คี วามเชือ่ ให้มารับความรักของพระเจ้า และจุดไฟความรักในใจของพวกเขา” (SC10) การร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณจึงท�ำให้การ ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของคริสตชนกลายเป็น เครือ่ งบูชาทีม่ ชี วี ติ ทีเ่ ขาถวายแด่พระเจ้า ดังนัน้ ควรจัดกิจศรัทธาเหล่านี้โดยค�ำนึงถึงเทศกาล ทางพิธีกรรมให้สอดคล้องกับพิธีกรรม และน�ำ บรรดาคริสตชนเข้าร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ที่จัด ขึ้น (SC13) พิธีกรรมจึงเป็นจุดยอดที่กิจกรรม ของพระศาสนจั ก รมุ ่ ง ไปหา และในเวลา เดี ย วกั น ก็ เ ป็ น บ่ อ เกิ ด พลั ง ทั้ ง หมดของพระ ศาสนจั ก ร  โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง พิ ธี บู ช า ขอบพระคุณซึ่งเป็นบ่อเกิดให้เราได้รับพระ หรรษทานและประสิทธิผลยิ่งใหญ่  ที่บันดาล ความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์  และเป็นจุดหมาย ที่ กิ จ กรรมอื่ น ๆ ทั้ ง ปวงของพระศาสนจั ก ร มุ่งไปหา (SC10) ด้านการปฏิบัติตนเมื่อร่วมในพิธีบูชา ขอบพระคุณ พบว่าเมื่อไปวัดร่วมพิธีบูชาขอบ พระคุณคริสตชนได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น การรับศีลมหาสนิท การรับศีลอภัยบาป และ คริ ส ตชนไปร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ไม่ ใช่ เฉพาะในวันอาทิตย์เท่านั้น แต่ไปร่วมมิสซาใน วันธรรมดาด้วย ส�ำหรับคริสตชนการมาร่วม พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ในวั น อาทิ ต ย์ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ มากและถื อ ว่ า เป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางของ

208 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ชี วิ ต คริ ส ตชนและเป็ น พระหรรษทานสู ง สุ ด ที่มนุษย์ได้รับจากพระเจ้า ดังที่เอกสารของ พระศาสนจักรกล่าวว่า พิธีบูชาขอบพระคุณ น�ำมาซึ่งความสนิทสัมพันธ์ของประชากรของ พระเจ้ า ทั้ ง มวล นั่ น คื อ ทั้ ง โลก คริ ส ตชนจึ ง พยายามมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณไม่เฉพาะ แต่ วั น อาทิ ต ย์ แ ละวั น ฉลองเท่ า นั้ น  แต่ ยั ง สามารถมาร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ในวั น ธรรมดาได้อีกด้วย ในพิธีบูชาขอบพระคุณเรา ทราบดี ว ่ า ก� ำ ลั ง นมั ส การของพระคุ ณ และ ชดเชยบาปต่ อ พระเจ้ า อย่ า งเหมาะสมที่ สุ ด เราทราบดี ว ่ า เราได้ รั บ พระหรรษทานจาก พระเจ้าเพื่อตัวเราเองและเพื่อผู้ที่เรารักด้วย ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือจากไปแล้ว เพราะว่าใน พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ เป็ น พระเยซู เจ้ า เองที่ วิงวอนต่อพระบิดาเพื่อเราทั้งหลาย ด้านบทบาทหน้าที่ของศาสนบริกรของ งานอภิบาลในพิธีกรรม พบว่างานอภิบาลใน พิธีกรรม เป็นหน้าที่ของทั้งพระสงฆ์  นักบวช และคริสตชน จากสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิส์ ทิ ธิ ์ (Sacrosanctum Concilium) กล่าวว่า พระศาสนจักรไม่เป็นเพียงองค์การ หนึง่  พระศาสนจักรเป็นกายทรงชีวติ  เป็นพระ กาย (ทิพย์) ของพระคริสตเจ้า ในฐานะที่เป็น กายทรงชี วิ ต ชุ ม ชนพระศาสนจั ก รจึ ง มี ส ่ ว น ประกอบต่างๆ ทีม่ หี น้าทีต่ า่ งกัน เพือ่ ความเป็น อยู ่ อ ย่ า งดี ข องร่ า งกายทั้ ง หมด เป็ นพระจิ ต


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

องค์เดียวกันคือ พระจิตของพระเยซูเจ้าที่ทรง ก�ำหนดของประทานจากพระองค์โดยอิสระเสรี ไม่ใช่เรื่องส�ำคัญเลยว่าใครเป็นผู้ใหญ่  ใครเป็น ผูน้ อ้ ยในการปฏิบตั หิ น้าทีต่ า่ งๆ “ศาสนบริกร” ทุกอย่างมีศักดิ์ศรีและบทบาทของตน แต่ละ คนจึงจ�ำเป็นต้องให้ความเคารพต่อกัน ร่วมมือ กันและปฏิบัติบทบาทเฉพาะของตนเท่านั้น “ในพิ ธี ก รรม แต่ ล ะคนทั้ ง ศาสนบริ ก รและ สั ต บุ รุ ษ ผู ้ มี ห น้ า ที่ ต ้ อ งท� ำ เฉพาะหน้ า ที่ นั้ น ทั้งหมดซึ่งเป็นของตน ตามลักษณะของพิธี และตามกฎของพิธกี รรม” (SC28) นอกจากนี้ ยังพบว่าศาสนบริกรที่ส�ำคัญของงานอภิบาล ในพิ ธี ก รรมคื อ   พระสงฆ์ ห รื อ บาทหลวง สอดคล้องกับเอกสารของพระศาสนจักรกล่าว ว่ า  “อาศั ย อ� ำ นาจศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ เขาได้ รั บ มา พระสงฆ์ ศ าสนบริ ก รสั่ ง สอนและปกครอง ประชากรสมณะ เขาปฏิบัติงานในฐานะเป็น บุคคลของพระคริสตเจ้าท�ำให้การถวายบูชา ของพระคุ ณ เป็ น ปั จ จุ บั น และถวายบู ช า ขอบพระคุ ณ นี้ ใ นนามของประชากรทุ ก คน แต่บรรดาผู้มีความเชื่อโดยอ�ำนาจของสมณ ภาพราชตระกู ล ที่ ต นมี   ก็ ร ่ ว มถวายบู ช า ขอบพระคุ ณ ด้ ว ย เขาเหล่ า นี้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ สมณะของตนเมื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์  เมื่ออธิษฐานภาวนาและในการเป็นพยานด�ำเนินชีวิต ศักดิ์สิทธิ์  และโดยการสละตนเองและแสดง ความรักต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแข็งขัน” (LG10)

และปัจจุบันฆราวาสควรมีบทบาทและมีส่วน ร่วมในงานอภิบาลด้านพิธีกรรมเป็นอย่างมาก และคริสตชนมีสว่ นร่วมและมีหน้าทีใ่ นพิธกี รรม บางอย่าง เช่น ผู้อ่านบทอ่าน, พิธีกร, นักขับร้อง ฯลฯ สอดคล้องกับจากสังฆธรรมนูญว่า ด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์  กล่าวว่า “เพื่อให้การ จัดพิธีกรรมในวันพระเจ้าเป็นไปอย่างมีความ หมายและคุ ณ ค่ า ตามจิ ต ตารมณ์ ข องพระศาสนจักร การมีส่วนร่วมในพิธีกรรมจึงเป็น สิ่ ง หนึ่ ง ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง  เนื่ อ งจาก พิ ธี ก รรมเป็ น กิ จ กรรมของพระศาสนจั ก ร ทั้งหมดที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์  คริสตชน แต่ละคนจึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้โดยวิธีการ สถานภาพ หน้าที ่ และการมีสว่ นร่วมอย่างแข็ง ขันในรูปแบบต่างๆ” (SC30) ดังนั้นจึงจ�ำเป็น ต้องส่งเสริมให้พิธีกรรมมีบทบาทมากยิ่งขึ้นใน เขตวัดรวมทั้งส่งเสริมให้ความสัมพันธ์กับพระสังฆราชเพิ่มขึ้นทั้งในความคิดและการปฏิบัติ ของสัตบุรษุ และคณะสงฆ์ และยังต้องพยายาม ส่ ง เสริ ม ให้ สั ต บุ รุ ษ ในเขตวั ด นั้ น มี ค วามรู ้ สึ ก ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าเป็นชุมชนเดียวกัน เฉพาะอย่าง ยิ่งในการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (SC42) ด้านการอบรมให้ความรู้  ความเข้าใจ เรื่องพิธีกรรมในเรื่องต่างๆ พบว่าคริสตชนมี ความต้องการให้การอบรมเพิ่มพูนความรู้เรื่อง พิธีกรรมเป็นสิ่งส�ำคัญ เพราะเป็นการเพิ่มพูน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 209


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

ความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพิธีกรรมและ ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับบรรดาคริสตชน นอก จากนี้คริสตชนยังเห็นว่าการเข้ารับการอบรม เรื่ อ งพิ ธี ก รรมในเรื่ อ งต่ า งๆ ซึ่ ง จั ด โดยคณะ กรรมการคาทอลิกเพือ่ พิธกี รรมหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบเรื่องพิธีกรรมนั้นมีประโยชน์ต่อ ชีวิตคริสตชน และควรจัดอบรมและให้ความรู้ แก่ ค ริ ส ตชนอย่ า งสม�่ ำ เสมอและต่ อ เนื่ อ ง เป็นต้นการให้ความรู้  ความเข้าใจ และปฏิบัติ ตนอย่างถูกต้องเมื่อเข้าร่วมในพิธีกรรมทาง ศาสนาต่างๆ เช่น พิธีสมรส พิธีปลงศพ ฯลฯ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ จากสั ง ฆธรรมนู ญ ว่ า ด้ ว ย พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์  กล่าวว่า “บรรดาผู้อภิบาล ต้องมีความกระตือรือร้นและพากเพียรที่จะ ให้ ก ารอบรมด้ า นพิ ธี ก รรมแก่ ผู ้ มี ค วามเชื่ อ เพื่อเขาจะร่วมพิธีกรรมได้อย่างแข็งขันทั้งใน ด้ า นจิ ต ใจและภายนอก โดยค� ำ นึ ง ถึ ง อายุ สภาพความเป็นอยู่  วิถีชีวิตและระดับความรู้ ทางศาสนาของผู้ได้รับการอบรม ถ้าบรรดา ผู ้ อ ภิ บ าลท� ำ เช่ น นี้ ไ ด้   เขาก็ จ ะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ส�ำคัญยิ่งประการหนึ่งให้ส�ำเร็จในฐานะเป็น ผูแ้ จกจ่ายธรรมล�ำ้ ลึกของพระเจ้าอย่างซือ่ สัตย์ ในเรื่องนี้เขาจะต้องน�ำประชากรที่เขาอภิบาล ดูแล ไม่ใช่ด้วยค�ำพูดเท่านั้น แต่โดยแบบอย่าง ที่ ดี ด ้ ว ย” (SC19) ดั ง นั้ น การอบรมบรรดา คริ ส ตชนในเรื่ อ งพิ ธี ก รรมจึ ง เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ อย่างยิ่ง พระเจ้าทรงมอบขุมทรัพย์ให้แก่เรา

210 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

บรรดาผูอภิบาลเพื่อช่วยบรรดาคริสตชนให้ ส�ำนึกถึงกระแสเรียกและพันธกิจของเขา เพื่อ จะได้เพิ่มพูนความเข้าใจและความเชื่อของเขา และท�ำให้เขาพร้อมยิ่งขึ้นที่จะรับพระหรรษ ทานและหน้าที่เหล่านี้  นอกจากนี้คริสตชน ควรได้รับการอบรมเรื่องพิธีกรรมในเรื่องต่างๆ เช่ น ความรู ้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ พิ ธี ก รรม, การเป็นผูอ้ า่ นพระคัมภีร,์  ดนตรีศกั ดิส์ ทิ ธิ ์ ฯลฯ สอดคล้องกับจากสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธกี รรม ศักดิส์ ทิ ธิ ์ กล่าวว่า “ผูช้ ว่ ยพิธ ี ผูอ้ า่ น ผูอ้ ธิบาย พิธี  และคณะนักขับร้อง ต่างมีสว่ นในพิธกี รรม อย่างแท้จริง ดังนั้นเขาควรท�ำหน้าที่ของตน ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงใจและด้วย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสมกับศาสนบริการ ยิ่งใหญ่นี้  บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมให้ มีจิตตารมณ์ของพิธีกรรมตามส่วนที่เหมาะกับ ตน และเขาต้องได้รับการอบรมให้ท�ำหน้าที่ ของตนอย่างถูกต้องตามกฎและมีระเบียบ” (SC29) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ข้ อ เสนอแนะจากการวิ จั ย เพื่ อ เป็ น แนวทางในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ 1. พระศาสนจั ก รได้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า ความส� ำ คั ญ  และเล็ ง เห็ นถึ ง ปั ญ หาของการ ร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ในวั น อาทิ ต ย์ ใ น ปัจจุบันว่าจะเป็นเรื่องของการสูญเสียความ


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

หมายของวันพระเจ้าจนก�ำลังกลายเป็นส่วน หนึ่งของวันหยุดสุดสัปดาห์ซึ่งคริสตชนได้เน้น ไปอยู่ที่การพักผ่อนมากกว่าการเฉลิมฉลอง ในพิธกี รรมหรือการมีหน้าทีต่ อ้ งไปร่วมพิธบี ชู า ขอบพระคุ ณ ของคริ ส ตชนมี จ� ำ นวนลดลง ดั ง นั้ น จึ ง เป็ น หน้ า ที่ ข องงานอภิ บ าลด้ า น พิธกี รรม ต้องเน้นความรูส้ กึ ของการเป็นชุมชน ที่มีชีวิตชีวา เมื่อมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ที่ วั ด ของชุ ม ชนคริ ส ตชนย่ อ ยที่ อ ยู ่ ใ นเขตวั ด เชิญชวนให้ทุกคนที่มาร่วมพิธีรับศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท การสวดภาวนาร่วมกัน โดยเน้น ที่จิตตารมณ์การฉลองวันพระเจ้า ซึ่งผู้อภิบาล ต้องสอนคริสตชนว่าแม้ไม่อยู่บ้านไปพักผ่อนก็ ต้องไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันพระเจ้า และในทางกลับกันวัดต่างๆ ต้องให้การต้อนรับ คริสตชนของวัดและต่างวัดที่มาร่วมพิธีอย่างดี เหมือนพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน 2. คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พิธกี รรม หรื อ หน่ ว ยงานด้ า นพิ ธี ก รรมควรส่ ง เสริ ม กิจกรรมเกี่ยวกับพิธีกรรมทั้งในระดับวัดและ สังฆมณฑล เพื่อเสริมสร้างให้พิธีกรรมมีชีวิต ชีวา อีกทั้งอบรมให้ความรู้  ความเข้าใจที่ถูก ต้องแก่บรรดาคริสตชนในเพือ่ พวกเขาจะได้เข้า มามีส่วนร่วม ช่วยเหลืองานและปฏิบัติหน้าที่ ในงานอภิบาลด้านพิธีกรรมในสถานที่ๆ พวก เขาอยู่ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้

2.1 ควรเพิ่มพูนความรู้  ความเข้าใจ เกี่ ย วกั บ พิ ธี ก รรมในทุ ก ๆ ด้ า น แก่ บ รรดา คริสตชน เป็นต้น แนวทางการปฏิบัติตนของ คริสตชนเมื่อเข้าร่วมในพิธีกรรมโอกาสและ เทศกาลต่ า งๆ อย่ า งถู ก ต้ อ งและเหมาะสม เช่น พิธแี ต่งงาน พิธปี ลงศพ ฯลฯ การให้ความ รู ้ ความเข้าใจด้านการก่อสวด การเฝ้าศีล การ จัดท�ำวจนพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ และการให้ ความรู้เรื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์  การเลือกบทเพลง ในพิธีกรรมได้อย่างถูกต้อง 2.2 การจั ด อบรมให้ ค วามรู ้   ความ เข้าใจ สอนค�ำสอนแก่พอ่ แม่ ผูป้ กครองของเด็ก ถึงความส�ำคัญและขั้นตอนของพิธีกรรม และ การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ในช่วงวัยต่างๆ ของเด็ก 2.3 การอบรมผูอ้ า่ นพระคัมภีร ์ ผูช้ ว่ ย พิธีกรรม (เด็กช่วยมิสซา) นักขับร้อง ฯลฯ 3. จั ด การอบรมดู แ ลภาพรวมของ พิธกี รรมเพือ่ การเป็นผูน้ ำ� ระดับสังฆมณฑลและ ระดับวัด คือ พระสงฆ์  นักบวช ฆราวาส คณะ กรรมการพิธกี รรมระดับวัดซึง่ ช่วยดูแลภาพรวม ของพิธีกรรม เป็นต้น ผู้รับผิดชอบผู้อ่านพระ คัมภีร ์ ผูร้ บั ผิดชอบผูช้ ว่ ยพิธกี รรม ผูร้ บั ผิดชอบ เรื่องการขับร้อง และผู้จัดวัด 4. การจัดท�ำฐานข้อมูลเรือ่ งพิธกี รรมใน ด้านต่างๆ เช่น ความรู้เรื่องมิสซา การเตรียม ฉลองวันพระเจ้า แนวทางการจัดบทเพลงในพิธี บูชาขอบพระคุณโอกาสต่างๆ ฯลฯ จัดเก็บและ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 211


สถานะของความจำ�เป็นและความต้องการของคริสตชนกับความคาดหวังจากการอภิบาลในพิธกี รรม

รวบรวมองค์ความรูด้ า้ นพิธกี รรมเพือ่ ให้บริการ  โดยน� ำ มาเผยแพร่และให้บริก ารในรูปแบบ ต่างๆ เช่น แผ่นพับ โบโชว์  วีดีทัศน์  สื่อการ สอนฯ จุลสารพิธกี รรม ข้อมูลเกีย่ วกับพิธกี รรม เรื่องต่างๆ ลงใน website เพื่อเผยแพร่ให้ ความรู้แก่คริสตชนที่สนใจต่อไป บรรณานุกรม คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม, (2545). สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศ ไทย.  พิ ธี มิ ส ซาบู ช าขอบพระคุ ณ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม, (2556). สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศ ไทย. ระลึกถึงวาติกนั ที ่ 2 สังฆธรรมนูญ ว่ า ด้ ว ยพิ ธี ก รรมศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   (SACRO SANCTUM CONCILIUM). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอนบอสโก. ชาติชาย พงษ์ศิริ  และคณะ. (2554). การเข้า ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณของคริสตชน คาทอลิ ก ในประเทศไทย. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. วิทยาลัยแสงธรรม. (2550). ประมวลค�ำสอน พระศาสนจักรคาทอลิก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

212 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เปาโล ที่   6, พระสั น ตะปาปา. (2531). การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน (Evangelii Nuntiandi). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. ____. (2508). สมณสาส์นเรือ่ งพระศาสนจักร ในโลกสมัยนี้  (Gaudium et Spes). ม.ป.ท. ฟรังซิส, พระสันตะปาปา. (2557). พระสมณ สาส์นเตือนใจ เรื่อง ความชื่นชมยินดี แห่งพระวรสาร. (แปลจาก Evangelii Gaudium  โดยเซอร์ ม ารี   หลุ ย ส์ พรฤกษ์ ง าม). กรุ ง เทพฯ: อั ส สั ม ชั ญ . เบเนดิ ก ต์ ที่   16, สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา. (2549). พระเจ้าคือความรัก (DEUS CARITASEST). แปลโดย ว.ประทีป. กรุงเทพฯ: อัสสัมชัญ. ยอห์น ปอล ที่  2, พระสันตะปาปา. (2537). พระสมณสาสน์เรื่อง ความรุ่งโรจน์แห่ง ความจริง. (แปลจากเรื่อง Veritatis Splendor โดย บาทหลวงจ� ำ เนี ย ร สันติสุขนิรันดร์). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ. ____. (2541). พระสมณสาสน์เรื่อง วันพระ เจ้ า . (แปลจากเรื่ อ ง Dies Domini โดย  พระคุ ณ เจ้ า ยอด  พิ ม พิ ส าร). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.


อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, สุดหทัย นิยมธรรม และ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน

____. (2542). ข่าวดีเรือ่ งชีวติ มนุษย์. (EVAN GELIUMVITAE). แปลโดย คณะกรรม การที่ ป รึ ก ษาด้ า นเทววิ ท ยาของสภา พระสังฆราช. กรุงเทพฯ: อัสสัมชัญ. ____. (2517). ความหมายของความทุ ก ข์ ทรมานแห่ ง มนุ ษ ย์ จ ากแง่ ค ริ ส ตชน (SALVIFICI DOLORIS). แปลโดย ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์. ____. (2540). พระผู้ไถ่มนุษย์  (REDEMTOR HOMINIS). แปลโดย ชมรมนักบวช. กรุงเทพฯ: อัสสัมชัญ. สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2554). แผนอภิ บ าล คริ ส ตศั ก ราช 2010-2015 ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อัสสัมชัญ. สภาสังคายนาวาติกนั ที ่ 2. (1964). พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องพระศาสนจักร. แปลโดย ผู้หว่าน (นามแฝง). นครปฐม. ____. (1965). พระธรรมนูญว่าด้วยเรื่องพระ ศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (GAUDIUM ET SPES). แปลโดย ผูห้ ว่าน (นามแฝง). นครปฐม.

____. (1965). พระสมณกฤษฎีว่าด้วยการ แพร่ ธ รรมของพระศาสนจั ก ร (AD GENTES). แปลโดย ผูห้ ว่าน (นามแฝง). นครปฐม. สมชัย พิทยาพงศ์พร. (2544). ศีลมหาสนิท: บ่อเกิดและจุดยอดของชีวิตคริสตชน และพระศาสนจักร; แสงธรรมปริทัศน์, ปีที่  25 ฉบับที่  2 นครปฐม: วิทยาลัย แสงธรรม. ทั ศ ไนย์   คมกฤส, ผู ้ แ ปล. (2547). สมณ กระทรวงพิ ธี ก รรมและศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ . Redemptionis Sacramentum. นครปฐม: บ้านผู้หว่าน. ____. (1964). เอกสารสังคายนาวาติกนั ครัง้ ที่ 2 พระธรรมนูญเรื่อง พระศาสนจักร. (Lumen Gentium LG). Second Vatical Council. Constitution on the Sacred Liturgy: Sacrosanctum Concilium. (SC 10-42, 106)

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 213


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย The Future Scenario of

Rittiyawannalai Kindergarten.

สมพร ยอดด�ำเนิน * นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.วรกาญจน์ สุขสดเขียว * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจ�ำภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Somporn Yoddamneon *  Student at Education Administration, Faculty of Education, Silpakorn University. Asst.Prof.Vorakarn Suksodkhew, Ph.D. *   Asst.Prof. of the Department of Education Administration, Faculty of Education, Silpakorn University.


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบเกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยะวรรณาลัย ดังนี้  1.) ประวัติและสภาพปัจจุบัน 2.) อนาคตภาพ และ 3.) แนวทางปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด ผลที่ เ หมาะสมกั บ อนาคตภาพ โดยด�ำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) เพื่อทราบประวัติและสภาพ ปัจจุบัน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการศึกษาเอกสาร 2.) เพื่อทราบ อนาคตภาพ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมสาน ในวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจาก ผู้บริหาร คณะกรรมการสถาน ศึกษา ครู  ผู้ปกครอง และครูสถานศึกษาอื่นในชุมชน ได้ขนาดตัวอย่าง ประชากร 291 คน วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล โดยการวิ เ คราะห์ เ นื้ อ หาและ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ ส่วนเทคนิควิธีวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่ง โครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผูบ้ ริหารระดับนโยบาย ผูบ้ ริหารโรงเรียน นักวิชาการ ครูผสู้ อน ศิษย์เก่า ผูป้ กครองและชุมชน ใช้การวิเคราะห์เนือ้ หา ใช้คา่ ฐานนิยม ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  เพื่อหาความสอดคล้องของความคิดเห็น และ 3) แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดผลทีเ่ หมาะสมกับอนาคตภาพ ใช้การ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาข้อคิดเห็นร่วมที่เป็นเอกฉันท์  โดยผู้ทรง คุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกกองทัพอากาศ จ�ำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยมีวิวัฒนาการ แบ่งได้ดังนี้ 1) ยุ ค ก่ อ ตั้ ง โรงเรี ย นฤทธิ ย ะวรรณาลั ย  (พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2496) ไม่ปรากฎว่ามีการจัดการศึกษาปฐมวัย แต่มรี ะดับ ป.1 – ม.6 โรงเรียน มีฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล มีผู้จัดการบริหารงานทั่วไป และมี ครูใหญ่บริหารงานวิชาการ 2) ยุคก�ำเนิดโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2520) พบว่ามีการจัดการศึกษาระดับอนุบาล โดยตั้ ง แผนกอนุ บ าลขึ้ น มามี หั ว หน้ า แผนกอนุ บ าลดู แ ล รั บ ผิ ด ชอบ จัดการศึกษาระดับอนุบาล โรงเรียนมีฐานะเทียบเท่าโรงเรียนเอกชน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 215


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

3) ยุคเปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่  คือแผนกมัธยมโอนไปอยู่สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ แผนกประถม โอนไปอยูส่ งั กัดกรุงเทพมหานคร ส่วนแผนก อนุบาลยังอยู่ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และได้ เปลีย่ นชือ่ เป็น “โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย” มีฐานะเป็นโรงเรียน เอกชน โดยกรมยุทธศึกษาทหารอากาศเป็นเจ้าของ เจ้ากรมยุทธศึกษา ทหารอากาศเป็นผู้ลงนามรับใบอนุญาติโดยต�ำแหน่ง นับตั้งแต่  ปี  พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา 2. อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย มีองค์ ประกอบส�ำคัญในการด�ำเนินกิจการประกอบด้วย 6 ด้าน 109 ตัวแปร คือ 1) ด้านนโยบายโรงเรียน 21 ตัวแปร 2) ด้านสิทธิและค่านิยมส�ำหรับ เด็กปฐมวัย 6 ตัวแปร 3) ด้านครูและบุคลากร 18 ตัวแปร 4) ด้านการ จัดสภาพแวดล้อม (17 ตัวแปร) 5) ด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 21 ตัวแปร และ 6) ด้านการบริหารจัดการ 26 ตัวแปร 3. แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่เหมาะสมกับอนาคตโรงเรียน อนุบาลอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย สรุปได้ดังนี้  1) ด้านนโยบายโรงเรียน จ�ำนวน 63 แนวปฏิบัติ  2) ด้านสิทธิและค่านิยมส�ำหรับเด็กปฐมวัย จ�ำนวน 18 แนวปฏิบตั  ิ 3) ด้านครูและบุคลากร จ�ำนวน 54 แนวปฏิบตั ิ 4) ด้านสภาพแวดล้อม จ�ำนวน 51 แนวปฏิบัติ  และ 5) ด้านหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย จ�ำนวน 63 แนวปฏิบัติ  และ 6) ด้านการบริหาร จัดการ จ�ำนวน 78 แนวปฏิบัติ ค�ำส�ำคัญ:

216 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การบริหารการศึกษาปฐมวัย อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

Abstract

This research aimed to determine the information concerning Rittiyawannalai kindergarten in the following areas: 1) the history and current status, 2) the future scenario, and 3) the guidelines of practices to achieve optimum results with the future. The research had three operationalized steps: 1) to determine the history and current status using content analysis of the papers 2) to determine the future scenario using mixed research methodology. In quantitative methods, data were collected by questionnaire from 291 samples comprising; policy making level administrators, school administrators, school boards, teachers, parents, and the community delegates. The content analysis and exploratory factor analysis were used for data analysis. In term of EDFR, in-depth interviews were conducted with 21 specialists comprising policy making level administrators, school administrators, scholars, teachers, parents, alumni, and the community delegates. The content analysis was used to determine the consensus 3) the expert workshop was conducted to find the consensus of the guidelines of practices. The findings of the research were as follows: 1. The Rittiyawannalai Kindergarten has evolved for over 69 years, summarized into three periods: 1) the founding period (1947- 1954) there was no early childhood education found, but Mattayom 1 - 6. The school was a public school equivalent. It had a manager as a general administrator while the principal worked as academic administration. 2) The origination period (1955 - 1957) found that early childhood education had been started by formulating a ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 217


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

kindergarten division which responsible for pre-school education. The school had provided education from Kindergarten up to Mattayom 6 and was as a private school equivalent. 3) The change period (1977- present) found a major shift that High school division was transferred to the Department of Education, Ministry of Education and Primary Education Division was transferred to the Bangkok Metropolitan Administration while the Kindergarten Division was still remain in charge of the Directorate of Education and Training, and was renamed "Rittiyawannalai Kindergarten" as a private school. The Director of Directorate of Education and Training has been the school licensee since 1978 onwards. 2. There were 6 factors (109 variables) for the future of Rittiyawannalai kindergarten including; 1) School Policy, (21 variables) 2) Children's Rights and Values for Children (6 variables) 3) Teachers and Staff (18 variables) 4) Environmental Creating (17 variables) 5) Preschool Curriculum and Development (21 variables) and 6) School Management (26 variables). 3. There were 327 guidelines of practices to achieve optimum results with the future: 1) 45 Policy Guidelines, 2) 36 Rights and Value Guidelines, 3) 30 Teacher and Staff Guidelines, 4) 51 Creating Environment Guidelines, 5) 36 Preschool Curriculum and development Guidelines, and 6) 18 School Management Guidelines. Keyword: 218 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Kindergarten Educational Administration The Future Scenario Rittiyawannalai Kindergarten


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา โรงเรียนอนุบาลเป็นการจัดการศึกษา ส�ำหรับเด็กตั้งแต่วัย 3 - 6 ปี  เป็นการจัดการ ศึกษาในช่วงก่อนเข้าเรียนตามเกณฑ์การศึกษา ภาคบังคับในระดับประถมศึกษา ซึง่ การศึกษา ในระดับนี้เป็นการศึกษาที่บุคคลได้รับในระยะ ต้นของชีวติ เป็นการจัดการศึกษาเพือ่ ปูพนื้ ฐาน ชีวิตที่ดีให้แก่เด็ก ให้มีโอกาสได้รับการเสริม สร้างการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิ ต ใจ สั ง คมและสติ ป ั ญ ญา ซึ่ ง เป็ น ปั จ จั ย ที่ ส�ำคัญ (อัญชลี  ไสยวรรณ, 2551) แต่อย่างไร ก็ตามรัฐไม่อาจรับภาระในการจัดการศึกษาให้ ประชาชนได้ทั่วถึงและเพียงพอ เพราะความ จ�ำกัดในด้านทรัพยากร รัฐจึงเปิดโอกาสให้ เอกชนเข้ามาร่วมรับภาระในการจัดการศึกษา ได้  แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่รัฐก�ำหนด ดังนั้น รัฐจึงได้ก�ำหนดออกมาในรูปแบบของแผนการ ศึกษาแห่งชาติ  การเปิดโอกาสให้เอกชนที่มี ความสามารถมีความเหมาะสมและเจตจ�ำนงที่ จะจัดการศึกษาเพือ่ ประโยชน์สว่ นรวมรับภาระ ในการจัดการศึกษาได้โดยไม่แสวงหาผลก�ำไร เกิ น ควรโดยรั ฐ จะต้ อ งให้ ก ารส่ ง เสริ ม สถาน ศึกษาเอกชนให้มีความคล่องตัวในการด�ำเนิน งานทั้งทางด้านการบริหารและการพัฒนาทาง วิชาการรวมทั้งส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพ การจั ด การศึ ก ษาเอกชนทุ ก ระดั บ และทุ ก ประเภทเพื่อให้การจัดการศึกษาของเอกชนมี

มาตรฐานทัดเทียมกับการจัดการศึกษาของรัฐ รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการ ศึกษาเป็นพิเศษให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความจ�ำเป็นในการจัดการศึกษาส�ำหรับผูเ้ รียน ที่มีความต้องการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้ จ่ายในการด�ำเนินการและงบลงทุนให้สถาน ศึกษาตามนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาแห่ง ชาติและภารกิจของสถานศึกษาโดยให้มีอิสระ ในการบริ ห ารงบประมาณของทรั พ ยากร ทางการศึกษาให้ค�ำนึงถึงคุณภาพและความ เสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา กองทัพอากาศได้ให้ความส�ำคัญอย่างยิง่ กับการศึกษาระดับอนุบาลของบุตรหลานของ ก�ำลังพลในกองทัพอากาศ อดีตผู้บัญชาการ ทหารอากาศ คนที่  3 พลอากาศโทหลวงเทว ฤทธิ์พันลึก (กาพย์  ทัตตานนท์) เล็งเห็นถึง ความส�ำคัญดังทีก่ ล่าวมา และมองไปในอนาคต อีกว่าจะไม่ให้ก�ำลังพลทุกนายต้องวิตกกังวล เกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่บุตรหลานของ ตนเอง และเพื่ อ ให้ มี ค วามคล่ อ งตั ว ในการ ด�ำเนินการจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนฤทธิยะวรรณา ลัย ขึ้นเมื่อวัน ที่  18 กันยายน พ.ศ. 2490 ณ บริเวณกองบิน 6 โดยให้  กรมยุทธศึกษาทหาร อากาศดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัย ในกองทั พ อากาศ มี วั ต ถุ ป ระสงค์   เพื่ อ เป็ น สวัสดิการให้กับบุตรหลานข้าราชการกองทัพ อากาศและชุมชนรอบทีต่ งั้  ส�ำหรับสถานศึกษา

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 219


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ระดั บ อนุ บ าลของกองทั พ อากาศในที่ ตั้ ง ดอนเมืองคือโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ซึง่ มีฐานะเป็นโรงเรียนเอกชน ทีส่ ามารถสนอง ตอบต่ อ แผนการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ดั ง กล่ า ว (นันทิยา รักตประจิต, 2548) ปัญหาของการวิจัย โรงเรียน ในความอุปการะของกองทัพ อากาศ ในอดีตยังมีโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ประถมกับโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยมัธยม ทีม่ ี การบริ ห ารจั ด การโดย ข้าราชการทหารใน กองทัพอากาศ มีนกั เรียนทีเ่ ป็นบุตรหลานของ ข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่  ต่อมามีการ เปลี่ยนแปลงโดย นักเรียนมีสัดส่วนของบุตร หลานของชุ ม ชนภายนอกมากขึ้ น  นโยบาย และแนวการจั ด การศึ ก ษาของโรงเรี ย นก็ เปลีย่ นแปลงไป กองทัพอากาศจึงโอน โรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัยประถม ไปอยู่ในสังกัดของ กรุงเทพมหานคร ส่วนโรงเรียนฤทธิยะวรรณา ลัยมัธยมโอนให้กับกรมสามัญ นับว่าเป็นการ เปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ของโรงเรียนทีอ่ ยูใ่ นความ อุปการะของกองทัพอากาศ ในครัง้ นัน้  ปัจจุบนั จึงมีโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยที่อยู่ใน ความอุปการะของกองทัพอากาศ และต้อง เผชิญกับการเปลีย่ นแปลง ทางสังคม แนวการ จัดการศึกษาและบริบทอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรงเรียนอนุบาลในบริเวณใกล้เคียงก็มกี ารปรับ

220 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เปลี่ยนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของตนให้ สามารถแข่ ง ขั น ได้  มี โรงเรี ย นอนุ บ าลสั ง กั ด กรุ ง เทพมหานครที่ ใ ห้ ก ารศึ ก ษาฟรี ท� ำ ให้ สัดส่วนของนักเรียนใน โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะ วรรณาลัยเปลีย่ นแปลงไป มีจำ� นวนบุตรหลาน ข้าราชการลดลง มีบุคคลภายนอกมากขึ้นเป็น เท่าตัว จากแนวโน้มต่างๆ เหล่านี ้ อนาคตของ โรงเรี ย นอนุ บ าลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย จะเป็ น อย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าการด�ำเนิน กิจการของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยใน อนาคตควรมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติที่ เหมาะสมอย่างไร จึงเป็นสิง่ จ�ำเป็นทีต่ อ้ งศึกษา เพื่ อ ให้ ไ ด้ ซึ่ ง สารสนเทศใช้ ป ระกอบในการ ก�ำหนดนโยบายและการวางแผนในการด�ำเนิน กิจการของโรงเรียนต่อไปในอนาคต ผู้วิจัยใน ฐานะทีเ่ ป็นครูผสู้ อนในโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะ วรรณาลัย มาร่วม 20 ปี  และมีส่วนร่วมใน ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ การด� ำ เนิ น กิ จ การของ โรงเรียน มีความผูกพันและรักสถาบันแห่งนี้ อย่างยิ่ง จึงสนใจที่จะศึกษาประเด็นดังที่กล่าว มาข้างต้น (โรงเรียนอนุบาลฤทธิยวรรณาลัย, 2556) วัตถุประสงค์ของการวิจัย การศึกษาเรื่องอนาคตภาพโรงเรียนอนุ บาลฤทธิยะวรรณาลัย ครั้งนี้ผู้วิจัยสนใจศึกษา เพื่อทราบ


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

1. ประวัติและสภาพปัจจุบันโรงเรียน อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย 2. อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย 3. แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดผลทีเ่ หมาะ สมกั บ อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย สมมติฐานการวิจัย การศึกษาครัง้ นีม้ สี มมติฐานของการวิจยั ดังนี้ 1. อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยว ข้องเป็นพหุองค์ประกอบ 2. แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดผลทีเ่ หมาะ สมกั บ อนาคตภาพโรงเรี ย นอนุ บ าลฤทธิ ย ะ วรรณาลัยเป็นพหุวิธี กรอบแนวคิดการวิจัย อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย มีองค์ประกอบสําคัญทีเ่ กีย่ วข้องกับ การด�ำเนินกิจการของโรงเรียนในการจัดการ ศึกษาปฐมวัยในอนาคต โดยใช้การศึกษาแบบ ผสมผสาน คือส่วนหนึ่งศึกษามาจากการใช้วิธี

วิจัยเชิงปริมาณและอีกส่วนหนึ่ง ศึกษาโดยใช้ เทคนิควิธวี จิ ยั  EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยในส่วนแรกนั้นได้ ข้ อ มู ล องค์ ป ระกอบ ตั ว แปรจากการศึ ก ษา เอกสาร งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องและการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ศึกษาปฐมวัยของกองทัพอากาศ อันประกอบ ไปด้วย นโยบายและยุทธศาสตร์การศึกษา ปฐมวั ย พระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม  2545 แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที ่ 11 แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที ่ 11 (พ.ศ. 2545 - 2559) นโยบายและแผนพัฒนาเด็กต่างๆ ทฤษฎีการจัดการศึกษาปฐมวัย แนวคิดการ จัดการศึกษาปฐมวัย แนวคิดการจัดเกี่ยวกับ หลั ก สู ต รปฐมวั ย  ในส่ ว นที่ ส องนั้ น ได้ ข ้ อ มู ล องค์ประกอบ ตัวแปรจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากความคิดเห็นของผูเ้ ชีย่ วชาญ ผูท้ รงคุณวุฒิ ด้านการศึกษาเด็กปฐมวัย ศิษย์เก่า ผูป้ กครอง ชุมชน แล้วจึงน�ำข้อมูลทัง้ สองส่วนมาวิเคราะห์ ร่ ว มกั น  หลั ง จากนั้ น สั ง เคราะห์ เ ป็ น องค์ ประกอบตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับอนาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย สามารถ แสดงเป็นกรอบแนวคิดได้  ดังภาพที่  1

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 221


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ภาพที่  1 กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ 1. อนาคตภาพ หมายถึ ง  การสร้ า ง เรื่องราวหรือค�ำอธิบายของความเป็นไปได้ใน อนาคต จากความเป็นจริงในปัจจุบันหรือจาก การคาดการณ์ แ นวโน้ ม ที่ น ่ า จะเกิ ด ขึ้ น ใน อนาคต ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชุดความคิด เห็ น ของผู ้ เชี่ ย วชาญและผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง ที่ มี ต ่ อ การด�ำเนินกิจการของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล ที่เหมาะสมกับอนาคตภาพโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยะวรรณาลัย ทีเ่ ป็นเทคนิค วิธกี ารด�ำเนิน งานต่าง ๆ ซึง่ เป็นข้อควรปฏิบตั ใิ นเรือ่ งใดเรือ่ ง หนึ่งตามองค์ประกอบ โดยเป็นความเห็นร่วม ของผู้ทรงคุณวุฒิ

222 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2. โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับ อนุบาลของกองทัพอากาศ ขึ้นกับส�ำนักงาน คณะกรรมการส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาเอกชน มี เจ้าของเป็นนิตบิ คุ คลซึง่ เป็นหน่วยงานของกอง ทัพอากาศ คือ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยมีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เป็นผูร้ บั ใบอนุญาติโดยต�ำแหน่ง การด�ำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่  1 การศึกษาประวัติ  สภาพ ปั จ จุ บั น และตั ว แปรเกี่ ย วกั บ อนาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

ขัน้ ตอนที ่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบ อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย จากวิธีวิจัยเชิงปริมาณและจากการ ใช้เทคนิค วิ ธี วิ จั ย  EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research)แล้ ว น� ำ ไปสั ง เคราะห์ แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลที่เหมาะสมกับ อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ขั้นตอนที่  3 การรายงานผลการวิจัย แผนแบบการวิจัย การวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น การวิ จั ย แบบผสม ผสาน (mixed methodology) ประกอบ ด้วยระเบียบวิธวี จิ ยั เชิงปริมาณ (Quantitative research และโดยใช้เทคนิควิธีวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ประชากร ประชากรคือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ สถานศึกษา ครู  ผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยะวรรณาลัย และครูสถานศึกษาอื่นใน ชุมชน จ�ำนวน 1,220 คน กลุ่มตัวอย่าง ตั ว อย่ า ง ของวิ ธี วิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณคื อ ผู ้ บ ริ ห าร คณะกรรมการสถานศึ ก ษา ครู ผู ้ ป กครอง และครู ส ถานศึ ก ษาอื่ น ในชุ ม ชน

จ�ำนวน 291 คน ตามตารางของเครจซี่และ มอร์ แ กน (Krejcie and Morgan, 1970) ได้มาโดยใช้เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างตาม โอกาสทางสถิ ติ   (probability sampling) แบบแบ่งประเภท (stratified random sampling) ตามสัดส่วนประชากรแต่ละลักษณะ โดยเทียบเป็นอัตราส่วนร้อย ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิธี วิจยั  EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) จ� ำ นวน 21 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ นโยบาย 3 คน ผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียน 2 คน นักวิชาการ 3 คน ครูผู้สอน 3 คน ศิษย์เก่า 4 คน ผู้ปกครอง 3 คน และ ชุมชน 3 คน ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรพืน้ ฐาน คือตัวแปรทีเ่ กีย่ วกับ สถานภาพส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  เพศ อายุ  วุฒกิ ารศึกษา ต�ำแหน่งและประสบการณ์ การท�ำงาน 2.  ตั ว แปรที่ ศึ ก ษา  คื อ   ตั ว แปรที่ เกีย่ วข้องกับองค์ประกอบอนาคตภาพโรงเรียน อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ซึ่งได้จากการสรุป ผลการวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎี  เอกสาร ต�ำรา และความเห็ น ของ ผู ้ เชี่ ย วชาญและผู ้ ท รง คุณวุฒิ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 223


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaire) ในวิธีวิจัยเชิงปริมาณ 2. ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิ ด เห็ น  เทคนิ ค วิ ธี วิ จั ย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) 3. ใช้การประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารในการหา แนวทางปฏิบตั ทิ เี่ หมาะสมส�ำหรับอนาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย การสร้างและพัฒนาครื่องมือ การวิเคราะห์องค์ประกอบอนาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ส่ ว นที่   1 การวิ เ คราะห์ อ นาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยโดยใช้วธิ วี จิ ยั เชิ ง ปริ ม าณ ใช้ แ บบสอบถามความคิ ด เห็ น (Opinionnaires) มีขั้นตอนพัฒนาดังนี้ 1. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaires) ให้ครอบคลุมตัวแปร ที่เกี่ยวข้องกับอนาคตโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยะวรรณาลัยโดยใช้ข้อค�ำถามจาก ตั ว แปรที่ ไ ด้ จ ากการสรุ ป ผลการ วิเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎี  งานวิจัย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง และข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

224 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2. น�ำเสนอแบบสอบถามความคิดเห็น ทีส่ ร้างขึน้ ให้ผทู้ รงคุณวุฒจิ ำ� นวน 5 คน พิ จ ารณาตรวจสอบความความตรง (content validity) แล้วน�ำไปหาค่า ดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ที่เรียกว่า IOC (Index of Item-Objective Congruence) แล้ ว พิ จ ารณาเลื อ ก ข้ อ ค� ำ ถามที่ มี ค ่ า  IOC มากกว่ า  0.5 ขึ้ น ไป  และน� ำ มาปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข แบบสอบถาม ตามข้อเสนอแนะของ ผู้ทรงคุณวุฒิ 3. น� ำ แบบสอบถามความคิ ด เห็ น ไป ทดลองใช้  (Try out) แล้วน�ำผลที่ได้มา วิเคราะห์เพื่อหาค่าความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถามทั้ ง ฉบั บ โดยใช้คา่ สัมประสิทธิแ์ อลฟาตามวิธขี อง คอนบราค (Cronbach’s alpha coefficients) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าความเทีย่ งของแบบสอบถามทัง้ ฉบับ มีค่าเท่ากับ .971 ส่ ว นที่   2 การวิ เ คราะห์ อ นาคตภาพ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดยเทคนิค วิธีวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research)ใช้ แ บบสั ม ภาษณ์ กึ่ ง มี โครงสร้างในรอบที่  1 และใช้แบบสอบถาม ในรอบที ่ 2 และรอบที ่ 3 มีขนั้ ตอนพัฒนาดังนี้


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

1. สร้างแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จากข้ อ สรุ ป ที่ ไ ด้ จ ากการสรุ ป ผลการ วิเคราะห์ทฤษฎีและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง เพื่ อ น� ำ ไปสั ม ภาษณ์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญใน รอบที่  1 2. รวบรวมข้ อ มู ล จากการสั ม ภาษณ์ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ในรอบที่ 1 น�ำมาสร้างเป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดั บ  ส� ำ หรั บ รวบรวมข้ อ มู ล จาก ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งในรอบที่  2 3. น�ำค�ำตอบจากแบบสอบถามในรอบ ที่   2  แต่ ล ะข้ อ มาวิ เ คราะห์ ห าค่ า ฐานนิยม (Mode) ค่ามัธยฐาน (Median) และค่ า พิ สั ย ระหว่ า งควอไลท์ (Interquartile Range) แล้ ว น� ำ มา สร้างแบบสอบถามใหม่อีกครั้งในรอบที่ 3 โดยใช้ขอ้ ความเดียวกับแบบสอบถาม รอบที่  2 โดยเพิ่มต�ำแหน่งค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  และต�ำแหน่ง ค�ำตอบของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน เพื่อ ให้ ผู ้ เชี่ ย วชาญแต่ ล ะท่ า นยื น ยั น หรื อ แก้ไขค�ำตอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิ ธีวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์สถิติ เบื้องต้นโดยโปรแกรมส�ำเร็จรูป ประกอบด้วย

การหาค่าความถี่  (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การวิเคราะห์องค์ประกอบ อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูป 2. เทคนิ ค วิ ธี วิ จั ย  EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าฐานนิยม (Mode) ค่ามัธยฐาน (median)และค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์  (interquartile range) ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. ประวัติและสภาพปัจจุบันโรงเรียน อนุ บ าลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย   ที่ ไ ด้ จ ากการ วิเคราะห์เนือ้ หา (Content Analysis) แล้วน�ำ ข้ อ สรุ ป  ที่ ไ ด้ ม าสั ง เคราะห์ เ ป็ น บทความ ดั ง นี้ ค วามเป็ น มาและสภาพปั จ จุ บั น ของ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยพบว่า ตัง้ แต่ อดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพอากาศได้ให้ความ ส�ำคัญอย่างยิง่ กับการศึกษาของบุตรหลานของ ก�ำลังพลในกองทัพอากาศ เช่นเดียวกับเหล่า ทัพอืน่ ๆ ในกระทรวงกลาโหม ซึง่ มีการจัดการ ศึกษาปฐมวัยของทุกเหล่าทัพ เช่นกองทัพบก

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 225


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

มี ส ถานศึ ก ษาปฐมวั ย ที่ จั ด ตั้ ง โดยหน่ ว ยงาน ของกองทัพบกทั้งสิ้น 92 แห่ง มีทั้งโรงเรียน อนุ บ าลและศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก เล็ ก  มี ผู ้ บั ง คั บ บัญชาของหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบกองทัพ เรื อ มี ส ถานศึ ก ษาปฐมวั ย  16 แห่ ง มี ก รม สวัสดิการทหารเรือดูแลรับผิดชอบ กองทัพ อากาศมีสถานศึกษาปฐมวัย 11 แห่ง ในต่าง จังหวัดให้ผู้บังคับกองบินรับผิดชอบ ส่วนที่ตั้ง ดอนเมืองมีโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดยให้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศดูแลรับผิด ชอบ ซึ่งการจัดการศึกษาปฐมวัยในกระทรวง กลาโหมมีวัตถุประสงค์เหมือนกันคือ เพื่อช่วย เหลือก�ำลังพลในการเลี้ยงดูบุตรหลานขณะ ออกปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการสร้างขวัญและ ก�ำลังใจให้กับก�ำลังพลในหน่วยงาน ส�ำหรับ สถานศึกษาเองก็มจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ดูแลส่งเสริม ให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสม ในส่วนของ โรงเรี ย นอนุ บ าลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย นั้ น มี วิ วั ฒ นาการตั้ ง แต่ เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง จนถึ ง ปั จ จุ บั น สรุปได้เป็นสามยุค คือ 1) ยุคก่อตั้งโรงเรียน ฤทธิยวรรณาลัย (พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2496) ใน ยุ ค นี้ ยั ง ไม่ ป รากฎว่ า มี ก ารให้ ก ารศึ ก ษาเด็ ก ปฐมวัย แต่มีการจัดการศึกษาระดับ ป.1 – ม.6  มี จ� ำ นวนนั ก เรี ย น  598 คน ครู   26 โรงเรี ย นมี ฐ านะเที ย บเท่ า โรงเรี ย นรั ฐ บาล ก�ำหนดให้ผู้จัดการบริหารงานทั่วไป และมี ครู ใ หญ่ บ ริ ห ารงานวิ ช าการ 2) ยุ ค ก� ำ เนิ ด

226 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

โรงเรียนอนุบาลฤทธิยวรรณาลัย (พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2520) ในยุคนี้พบว่ามีการให้การศึกษา เด็กปฐมวัย โดยเริ่มจัดตั้งแผนกอนุบาลซึ่งขึ้น อยู่กับโรงเรียนฤทธิยวรรณาลัย จัดการศึกษา ระดับ อนุบาลปีที่  1 - ม.6 โรงเรียนมีฐานะ เทียบเท่าโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วยแผนก มัธยม แผนกประถม และแผนกอนุบาลที่มี หัวหน้าแผนกอนุบาลดูแลการจัดการศึกษาให้ กับเด็กปฐมวัย 3) ยุคเปลีย่ นแปลง (พ.ศ.2520ปัจจุบนั ) ในปี พ.ศ.2520 เกิดการเปลีย่ นแปลง ครัง้ ใหญ่  เมือ่ แผนกมัธยมได้โอนไปอยูใ่ นสังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ส่วน แผนกประถม ได้โอนไปอยู่ในสังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนแผนกอนุบาลยังอยูใ่ นความดูแล ของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศและได้เปลี่ยน ชื่อเป็น “โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย” ยังมีฐานะเป็นเป็นโรงเรียนเอกชน โดยมีกรม ยุทธศึกษาทหารอากาศเป็นเจ้าของ มีเจ้ากรม ยุทธศึกษาเป็นผูล้ งนามรับใบอนุญาต นับตัง้ แต่ ปี   พ.ศ.2521 เป็ น ต้ น มา เปิ ด ให้ ก ารศึ ก ษา ระดั บ ชั้ น อนุ บ าลปี ที่   1 – อนุ บ าลปี ที่   3 ปั จ จุ บั น มี จ� ำ นวน 35 ห้ อ งเรี ย น มี นั ก เรี ย น 1,127 คน มี ค รู แ ละบุ ค ลากรทั้ ง สิ้ น จ� ำ นวน 105 คน มีขา้ ราชการทหารอากาศท�ำหน้าทีใ่ น การบริหารจัดการ จ�ำนวน 2 คน คือ ผูจ้ ดั การ และผู้อ�ำนวยการ 1 คน


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

2. อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยเป็นพหุองค์ประกอบ จากวิธีวิจัย เชิงปริมาณ (quantitative research method) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากเอกสารงานวิจัยและการ สั ม ภาษณ์ ผู ้ เชี่ ย วชาญภายในและภายนอก กองทัพอากาศแล้วน�ำข้อมูลมารวบรวม เรียบ เรียง วิเคราะห์  สังเคราะห์เป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็นแล้วน�ำไปวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงส�ำรวจ ท�ำให้ทราบองค์ประกอบอนาคต ภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย จ�ำนวน 5  องค์ ป ระกอบ  69  ตั ว แปร  ดั ง นี้   องค์ ประกอบที่  1 ด้านการบริหารจัดการ จ�ำนวน 25 ตัวแปร องค์ประกอบที่  2 ด้านหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย จ�ำนวน 20 ตัวแปร องค์ ประกอบที่  3 ด้านครูและบุคลากร จ�ำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที ่ 4 ด้านการจัดสภาพ แวดล้ อ ม จ� ำ นวน 10 ตั ว แปร และองค์ ประกอบที่   5 ด้ า นสิ ท ธิ แ ละค่ า นิ ย มส� ำ หรั บ เด็กปฐมวัย จ�ำนวน 6 ตัวแปร จากเทคนิควิธี วิ จั ย แบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ซึ่งเป็นข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัยทั้ง จากของกองทัพอากาศและจากสถานศึกษา อื่ น ๆ รวมจ� ำ นวน 21 คน มาวิ เ คราะห์ ห า องค์ ป ระกอบอนาคตภาพโรงเรี ย นอนุ บ าล ฤทธิยะวรรณาลัย พบว่ามี 5 องค์ประกอบ 98 ตั ว แปร องค์ ป ระกอบที่   1 ด้ า นนโยบาย

โรงเรียน จ�ำนวน 21 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 ด้ า นครู แ ลบุ ค ลากร จ� ำ นวน 16 ตั ว แปร องค์ประกอบที่  3 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม จ� ำ นวน 8 ตั ว แปร องค์ ป ระกอบที่   4 ด้ า น หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จ�ำนวน 25 ตัวแปร และ องค์ประกอบที ่ 5 ด้านการบริหารจัดการ จ�ำนวน 28 ตัวแปร เมื่อน�ำตัวแปรและองค์ประกอบจากวิธี วิจัยเชิงปริมาณและจากการใช้เทคนิควิธีวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ตวั แปร ร่วมขึ้นมาพบว่า องค์ประกอบอนาคตภาพ โรงเรี ย นอนุ บ าลฤทธิ ย วรรณาลั ย มี ทั้ ง สิ้ น  6 องค์ ป ระกอบ 109 ตั ว แปร ดั ง นี้   1) องค์ ประกอบด้ า นโยบายโรงเรี ย น จ� ำ นวน 21 ตัวแปร 2) องค์ประกอบด้านสิทธิและค่านิยม ส�ำหรับเด็กปฐมวัย จ�ำนวน 6 ตัวแปร 3) องค์ ประกอบด้ า นครู แ ละบุ ค ลากร จ� ำ นวน 18 ตั วแปร 4) องค์ ประกอบด้ า นการจั ด สภาพ แวดล้อม จ�ำนวน 17 ตัวแปร 5) องค์ประกอบ ด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จ�ำนวน 21 ตัวแปรและ 6) องค์ประกอบด้านการบริหาร จัดการ จ�ำนวน 26 ตัวแปร 3. แนวทางปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด ผลที่ เหมาะสมกั บ อนาคตภาพโรงเรี ย นอนุ บ าล อนุ บ าลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย เป็ น พหุ วิ ธี   ผู ้ วิ จั ย น�ำองค์ประกอบอนาคตภาพโรงเรียนอนุบาล

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 227


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ฤทธิ ย ะวรรณาลั ย  ที่ สั ง เคราะห์ ร ่ ว มทั้ ง จาก วิ ธี วิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณและเทคนิ ค วิ ธี วิ จั ย แบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ที่ได้ในข้อ 2 มาท�ำการประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น (workshop) โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภาย นอกกองทัพอากาศ จ�ำนวน 9 คนเพือ่ หาข้อคิด เห็นร่วมกัน (consensus) เกี่ยวกับแนวทาง ปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดผลทีเ่ หมาะสมกับอนาคตภาพ โรงเรี ย นอนุ บ าลอนุ บ าลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย ในแต่ละองค์ประกอบ โดยน�ำข้อคิดเห็นของ ผู ้ เข้ า ร่ ว มระดมความเห็ น  มาจั ด ล� ำ ดั บ ตาม ความถี่ของความเห็นชอบแนวปฏิบัติของแต่ ละองค์ประกอบและใช้แนวปฏิบัติที่มีความถี่ ของความเห็นชอบมากที่สุดมาเป็นแนวปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้  องค์ประกอบที่1.) ด้านนโยบาย โรงเรียน จ�ำนวน 63 แนวปฏิบตั  ิ 2.) ด้านสิทธิ และค่านิยมส�ำหรับเด็กปฐมวัย จ�ำนวน 18 แนวปฏิบัติ  3.) ด้านครูและบุคลากร จ�ำนวน 54 แนวปฏิบตั  ิ 4.) ด้านสภาพแวดล้อม จ�ำนวน 51 แนวปฏิบัติ  5.) ด้านหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย จ�ำนวน 63 แนวปฏิบตั  ิ และ 6.) ด้าน การบริหารจัดการ จ�ำนวน 78 แนวปฏิบัติ สรุปผลการวิจัย 1. โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยมี วิวัฒนาการแบ่งเป็น สามยุค คือ 1) ยุคก่อตั้ง

228 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (พ.ศ.2490-พ.ศ. 2496) ไม่ปรากฎว่ามีการจัดการศึกษาปฐมวัย 2) ยุคก�ำเนิดโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2520) พบว่ามีการจัดการ ศึกษาระดับอนุบาลโดยตั้งแผนกอนุบาลขึ้นมา มีหัวหน้าแผนกอนุบาลดูแลรับผิดชอบจัดการ ศึกษาระดับ 3) ยุคเปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2520ปัจจุบัน) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ แผนกมัธยมโอนไปอยู่สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แผนกประถม โอนไปอยู่ สังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนแผนกอนุบาลยัง อยู ่ ใ นความดู แ ลของกรมยุ ท ธศึ ก ษาทหาร อากาศ และได้ เ ปลี่ ย นชื่ อ เป็ น  “โรงเรี ย น อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย” 2. อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลั ย เป็ น พหุ อ งค์ ป ระกอบมี   6 องค์ ประกอบ 109 ตัวแปร ส�ำคัญในการด�ำเนิน กิ จ การประกอบด้ ว ย 6 ด้ า น คื อ  1) ด้ า น นโยบายโรงเรียน 21 ตัวแปร 2) ด้านสิทธิและ ค่านิยมส�ำหรับเด็กปฐมวัย 6 ตัวแปร 3) ด้าน ครูและบุคลากร 18 ตัวแปร 4) ด้านการจัด สภาพแวดล้อม 17 ตัวแปร 5) ด้านหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย 21 ตัวแปร และ 6) ด้าน การบริหารจัดการ 26 ตัวแปร 3. แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดผลทีเ่ หมาะ สมกับอนาคตโรงเรียนอนุบาลอนุบาลฤทธิยะ วรรณาลั ย เป็ น พหุ วิ ธี   สรุ ป ได้ ดั ง นี้   1) ด้ า น


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

นโยบายโรงเรี ย น จ� ำ นวน 63 แนวปฏิ บั ติ 2) ด้านสิทธิและค่านิยมส�ำหรับเด็กปฐมวัย จ� ำ นวน 18 แนวปฏิ บั ติ   3) ด้ า นครู แ ละ บุ ค ลากร จ� ำ นวน 54 แนวปฏิ บั ติ   4) ด้ า น สภาพแวดล้อม จ�ำนวน 51 แนวปฏิบัติ  และ 5) ด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จ�ำนวน 63 แนวปฏิบัติ  และ 6) ด้านการบริหารจัดการ จ�ำนวน 78 แนวปฏิบัติ อภิปรายผล 1. จากความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน ของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย จะเห็น ได้วา่  กองทัพไทยได้ให้ความส�ำคัญอย่างยิง่ กับ การศึ ก ษาของบุ ต รหลานของก� ำ ลั ง พลใน กองทัพ ไม่เฉพาะแต่ในกองทัพอากาศ ดังที่ นันทิยา รักตประจิต สรุปไว้วา่  ในกองทัพบกมี สถานศึ ก ษาปฐมวั ย ที่ จั ด ตั้ ง โดยหน่ ว ยงาน ของกองทัพบกทัง้ สิน้  92 แห่ง มีผบู้ งั คับบัญชา ของหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบ กองทัพเรือมี สถานศึกษาปฐมวัย 16 แห่งมีกรมสวัสดิการ ทหารเรื อ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบ ส� ำ หรั บ กองทั พ อากาศมีสถานศึกษาปฐมวัย 11 แห่ง ในต่าง จังหวัดให้ผู้บังคับกองบินรับผิดชอบ ส่วนที่ตั้ง ดอนเมืองมี  โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดยให้ ก รมยุ ท ธศึ ก ษาทหารอากาศดู แ ล รับผิดชอบ ซึ่งโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณา ลัย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานควบคู่กับ กองทัพอากาศ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับ

โรงเรี ย นตลอดเวลาตามยุ ค ต่ า งๆ อย่ า งมี วิวฒ ั นาการ ผลิตเด็กให้เป็นบุคลากรทีม่ สี ำ� คัญ ของกองทัพอากาศและประเทศชาติหลายท่าน เช่น พลอากาศเอกสุกัมพล สุวรรณทัต อดีต รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.อ.อิทธพร อดีตผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ เป็นต้น การจัดการศึกษาปฐมวัยในกระทรวง กลาโหมมีวัตถุประสงค์เหมือนกันคือ เพื่อช่วย เหลือก�ำลังพลในการเลี้ยงดูบุตรหลานขณะ ออกปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการสร้างขวัญและ ก�ำลังใจให้กับก�ำลังพลในหน่วยงาน ส�ำหรับ สถานศึกษาเองก็มจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ดูแลส่งเสริม ให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้อง กับกองทัพในต่างประเทศ เช่น ในวิทยาลัย เสนาธิการทหารอากาศจีน มีโรงเรียนอนุบาล ไว้ดูแลบุตรหลานของข้าราชการในหน่วยงาน โดยได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยทหาร แต่การ จัดการศึกษาให้พลเรือนด�ำเนินการ แต่ไม่วา่ จะ ด�ำเนินการโดยฝ่ายใดก็ตาม จะต้องปฏิบตั ติ าม ระเบี ย บของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารที่ อ อกมา บังคับใช้ทงั้ สิน้  มีคณะปฏิวตั  ิ เป็นผูค้ วบคุมดูแล จังหวัด เมือง โรงเรียน มหาวิทยาลัย คอมมูน กลุ่มวัฒนธรรมและองค์การเกือบทุกประเภท ในประเทศจีน (การศึกษาปฐมวัยในประเทศ จีน) เช่นเดียวกันกับอเมริกา มีกฎหมาย (Military Child Care Act, 1998) ที่ต้องจัดให้มี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Child Care Center: CDC) ในกองทัพอยูใ่ นความดูแลของกระทรวง

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 229


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

กลาโหม (Department of Defense: DoD) เพื่ อ เป็ น การให้ ก ารบริ ก ารแก่ ก� ำ ลั ง พลใน กองทัพ ในปี  1994 พบว่ามี  CDC อยู่  534 แห่ง ผ่านการประเมินรับรอง 254 แห่ง คิด เป็น 47% แบ่งเป็นกองทัพอากาศ 154 แห่ง ทัพบก 69 แห่ง ทัพเรือ 24 แห่ง นาวิกโยธิน 3 แห่ง (Zellman et all, 1994) จึงสามารถกล่าวได้วา่ กองทัพในประเทศ ต่างๆ ก็ให้ความส�ำคัญกับการให้การศึกษา ปฐมวัย รวมทั้งกองทัพบก กองทัพเรือและ กองทัพอากาศไทย ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการบริการให้ กับก�ำลังพล เป็นการสร้างขวัญก�ำลังใจให้กับ ก� ำ ลั ง พล มี ก ารจั ด การศึ ก ษาไม่ ว ่ า จะด้ ว ย กองทัพเองหรือให้หน่วยงานภายนอกด�ำเนิน การ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่ ก� ำ หนด มี ก ารก�ำกับประเมินผลการจัดการ ศึกษาโดยหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบทีเ่ กีย่ วข้องใน ด้ า นต่ า งๆ เช่ น  คุ ณ ภาพการศึ ก ษา สภาพ แวดล้อม และสุขอนามัย เป็นต้น และมีการ เปลี่ ย นแปลงเกิ ด ขึ้ น กั บ สถานศึ ก ษาปฐมวั ย อย่างเป็นวิวัฒนาการการจัดการศึกษาปฐมวัย ในกองทัพมีวัตถุประสงค์เหมือนกันคือ เพื่อ ช่วยเหลือก�ำลังพลในการเลีย้ งดูบตุ รหลานขณะ ออกปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการสร้างขวัญและ ก�ำลังใจให้กบั ก�ำลังพลในหน่วยงาน ส�ำหรับตัว สถานศึกษาเองก็มจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ดูแลส่งเสริม ให้เด็กมีพฒ ั นาการทีเ่ หมาะสม มุง่ พัฒนาเด็กให้ มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา 230 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2. จากผลการวิ จั ย อนาคตโรงเรี ย น อนุ บาลฤทธิ ย ะวรรณาลั ย  มี สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ ต ้ อ ง ด�ำเนินการหรือน�ำไปปฏิบัติประกอบด้วย 6 องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ  คื อ  1) ด้ า นนโยบาย โรงเรี ย น 2) ด้ า นสิ ท ธิ แ ละค่ า นิ ย มส� ำ หรั บ เด็กปฐมวัย 3) ด้านครูและบุคลากร 4) ด้าน การจัดสภาพแวดล้อม 5) ด้านหลักสูตรการ สอนเด็ ก ปฐมวั ย  และ 6) ด้ า นการบริ ห าร จัดการ ซึ่งสอดคล้องกับ (ชวนคิด มะเสนะ, 2554) ที่ ไ ด้ ศึก ษารู ปแบบการจั ดการศึ ก ษา ปฐมวัยทีส่ อดคล้องกับการพัฒนาสมอง พบว่า สถานศึกษาปฐมวัยต้องการการจัดการศึกษา ที่ ป ระกอบด้ ว ย 1) ด้ า นปรั ช ญา วิ สั ย ทั ศ น์ 2) ด้านจุดหมาย 3) ด้านหลักสูตรการเรียนการ สอน 4) ด้านการจัดประสบการณ์  5) ด้านสื่อ และแหล่ ง เรี ย นรู ้   6) ด้ า นสภาพแวดล้ อ ม 7) ด้านการประเมินพัฒนาการ และ 8) ด้าน เงื่ อ นไขความส� ำ เร็ จ  ทั้ ง นี้ อ าจเนื่ อ งมาจาก โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยมีลักษณะ พิเศษคือ เป็นสถานศึกษาระดับปฐมวัยของกอง ทัพอากาศซึ่งเป็นองค์การภาครัฐโดยที่มีกรม ยุทธศึกษาทหารอากาศเป็นเจ้าของ แต่ในขณะ เดียวกันเป็นโรงเรียนปฐมวัยประเภทโรงเรียน เอกชนทีม่ ตี น้ สังกัดคือส�ำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดังนั้นการด�ำเนิน กิจการของโรงเรียนอนุบาลในอนาคตนั้นเริ่ม ตั้ ง แต่ มี ก ารก� ำ หนดนโยบายของโรงเรี ย นที่ ชัดเจนในด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

โรงเรียน โดยค�ำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิเด็กและมีการปลูกฝังค่านิยมที่สอดคล้อง กั บ ความเป็ น คนไทย โดยมี หั ว ใจอยู ่ ที่ ค รู บุคลากร ที่มีความเป็นมืออาชีพ มีองค์ความรู้ จิตวิทยาเด็กปฐมวัย ครูมีประสบการณ์ในการ สอนและสอนได้ตรงวุฒิ  ใช้ทุกพื้นที่เป็นแหล่ง เรียนรู ้ พัฒนาตนอย่างต่อเนือ่ ง มีจติ ใจ จรรณยาบรรณที่ดีงาม นอกจากนี้โรงเรียนยังต้องมี การจัดสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศส่งเสริม การเรียนรู้ของเด็ก สะดวก สะอาด ปลอดภัย เพียงพอเป็นไปตามมาตรฐานสากล (อัญชลี ไสยวรรณ, 2551) ในด้านหลักสูตรและการ สอนมีความเป็นมาตรฐานและสอดคล้องกับ ระบบการศึกษาและการพัฒนาคนของชาติ ใช้หลักวิชาการที่เหมาะสมบนพื้นฐานงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน ผ่านกระบวนการเล่นเป็นฐาน (นภเนตร ธรรม บวร, 2551) และสุดท้ายในการบริหารจัดการ ส� ำ หรั บ อนาคต โรงเรี ย นต้ อ งสามารถน� ำ นโยบายโรงเรี ย นมาสู ่ ยุ ท ธศาสตร์ แ ละน� ำ ยุทธศาสตร์ไปสูก่ ารปฏิบตั อิ ย่างมีประสิทธิภาพ โดยคงความส�ำคัญอยูท่ ผี่ นู้ ำ� หรือผูบ้ ริหารทีเ่ ป็น มื อ อาชี พ  ใช้ ห ลั ก การบริ ห ารและเครื่ อ งมื อ บริหารทีท่ นั สมัย ตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลง ของสภาพแวดล้อมได้อย่างเท่าทัน ผูบ้ ริหารใช้ การบริหารแบบมีส่วนร่วมจากครู  ผู้ปกครอง บุคลากร ผูป้ กครองและชุมชน กระจายอ�ำนาจ สู่การปฏิบัติ  (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ, 2542)

3. แนวทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดผลทีเ่ หมาะ สมกับอนาคตภาพของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดยสังเคราะห์เป็นภาพอนาคต ของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย สรุปได้ ดังนี้ 1. “เป็ น แหล่ ง บ่ ม เพาะคนดี   ศรี กองทัพอากาศ” ด้วยโรงเรียนอนุบาล ฤทธิ ย ะวรรณาลั ย เป็ น สถานศึ ก ษา เอกชน แต่ มี ก องทั พ อากาศโดยกรม ยุ ท ธศึ ก ษาทหารอากาศเป็ น เจ้ า ของ จึ ง ส่ ง ข้ า ราชการในสั ง กั ด มาบริ ห าร จัดการโรงเรียน และข้าราชการที่มา บริหารงานในโรงเรียนมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียน บ่อยครัง้ ท�ำให้การด�ำเนินการ ขาดความต่อเนื่องทั้งเชิงนโยบายและ การปฏิบตั  ิ ดังนัน้ การมีนโยบายทีช่ ดั เจน โดยก�ำ หนดเป็ น ธรรมนู ญ โรงเรี ย นให้ โรงเรียนเป็นแหล่งบ่มเพาะคนดีของกอง ทั พ อากาศ ปลู ก ฝั ง ให้ เ ด็ ก มี คุ ณ ธรรม จริยธรรมและความกตัญญู  โรงเรียนมี คุณภาพได้มาตรฐานในทุกด้าน และ ด้ า นอื่ น ๆ ก็ จ ะท� ำ ให้ ข ้ า ราชการที่ ม า บริหารงานมีแนวทางการด�ำเนินงานที่ ต่อเนื่องสอดคล้องกัน 2. “ตระหนั ก สิ ท ธิ เ ด็ ก ตามกฎหมาย สร้างค่านิยมเป้าหมายส�ำหรับคนไทยใน อนาคต” ด้วยแนวทางในอนาคตจะมี กฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ เข้ามาก�ำกับ

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 231


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

การด�ำเนินงานของโรงเรียนดังนั้นการ ด�ำเนินกิจการต้องมีการดูแลช่วยเหลือ เด็ ก ตามสิ ท ธิ พื้ น ฐานทางกฎหมาย ปฏิบัติต่อเด็กอย่างเท่าเทียม ดูแลส่ง เสริมพัฒนาการทุกด้าน นอกจากนีย้ งั มี แผนระดับประเทศต่างๆ ระบุคา่ นิยมใน คนไทยไว้ ดั ง นั้ น หน้ า ที่ ส� ำ คั ญ ของ โรงเรี ย นอี ก ด้ า นคื อ ปลู ก ฝั ง ให้ เ ด็ ก มี คุ ณ ลั ก ษณะและค่ า นิ ย มคนไทยใน อนาคต เช่น มีระเบียบวินัย จิตอาสา รักวัฒนธรรมไทย สิ่งแวดล้อม ใช้ชีวิต ร่วมกับผู้อื่นในสังคมหลายวัฒนธรรม 3. “ครู  บุคลากรชั้นเซียน เพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นเลิศ” ครูนับว่าเป็นผู้ที่อยู่ ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดเมื่ออยู่ในโรงเรียน ดังนั้นครูจะส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการ ของเด็ก ดังนั้นการมีครูและบุคลากร มืออาชีพ พัฒนาตนสม�ำ่ เสมอ มีความรู้ เป็ น ผู ้ น� ำ  มี คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมและ จรรยาบรรณสู ง เชื่ อ ได้ ว ่ า จะสามารถ พัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. “สร้างบรรยากาศการเรียนรู ้ ครูชว่ ย ส่งเสริม เต็มเติมด้วยสภาพแวดล้อม” การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกให้มีความน่าอยู่  สามารถส่ง เสริ ม พั ฒ นาการทั้ ง ทางด้ า นร่ า งกาย อารมณ์  จิตใจ สังคม และสติปัญญา

232 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ของเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น โรงเรี ย นต้ อ งมี ก ารด� ำ เนิ น การด้ า นนี้ อย่างจริงจังและเป็นไปตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย 5. “หลักสูตรเตรียมความพร้อม ตอบ สนองพั ฒ นาการ มาตรฐานสากล” โรงเรียนมีปรัชญาการศึกษาส�ำหรับเด็ก โดยยึดหลักพัฒนาการของเด็กดังนั้น ต้องมีหลักสูตรเตรียมความพร้อมตาม พัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคลที่ส่ง เสริ ม พั ฒ นาการทั้ ง ทางด้ า นร่ า งกาย อารมณ์  จิตใจ สังคม สติปัญญา และมี มาตรฐานเป็นสากล 6. “บริหารเชิงอนาคต ก�ำหนดยุทธศาสตร์ บริหารจัดการฐานผลปฏิบตั งิ าน หลักการประสิทธิภาพและประสิทธิผล” ใช้ ห ลั ก ธรรมาภิ บ าลมาบริ ห ารงาน มี ก ารน� ำ นโยบาย ธรรมนู ญ โรงเรี ย น มาท� ำ แผนยุ ท ธศาสตร์ เ ชิ ง อนาคต บริหารจัดการด้วยหลักการฐานผลการ ปฏิ บั ติ ง าน (Performance based management) ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล ผูว้ จิ ยั สังเคราะห์อนาคตภาพโรงเรียนอนุ บาลฤทธิยะวรรณาลัยและสร้างเป็นตัวแบบ ใช้ชื่อว่า The Future of Rittiyawannalai Kindergarten Model แสดงได้ดังภาพที่  2


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

ภาพที่ 2 อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ภาพที่ 2 อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 233


อนาคตภาพโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ข้อเสนอแนะและการน�ำผลการวิจัยไปใช้ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอ แนะเพื่อน�ำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการ ด�ำเนินกิจการโรงเรียนอนุบาลฤทธิยวรรณาลัย ของกองทัพอากาศ ดังนี้ 1. งานวิ จั ย นี้ จ ะเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยวรรณาลัยของกองทัพ อากาศ เมื่อผู้บริหารระดับสูงรวมถึงเจ้าของ โรงเรียน ผู้จัดการ และผู้อ�ำนวยการน�ำผลการ วิ จั ย นี้ ไ ปประกอบการทบทวนนโยบายของ โรงเรียน ให้มีทิศทางที่ชัดเจน ตอบสนองต่อ แนวโน้มในอนาคต และน�ำนโยบายดังกล่าวไป สู่แผนยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ ของโรงเรียน 2. จัดให้มีที่ปรึกษาโรงเรียนทางด้าน กฎหมายสิทธิเด็ก จิตวิทยาเด็ก เพือ่ การด�ำเนิน กิจการในอนาคตจะลดการเกิดปัญหาขัดแย้ง ทางด้ า นกฎหมายกั บ ผู ้ ป กครอง หน่ ว ยงาน ต่างๆ ที่ดูแลเรื่องสิทธิเด็ก อีกทั้งมีการก�ำหนด แนวทางการปลู ก ฝั ง ค่ า นิ ย มที่ เ หมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชาติและเป็นไป ตามหลักวิชา 3. ออกแบบระบบการคัดเลือก พัฒนา ครู  บุคลากร ที่เหมาะสม เป็นธรรม ยึดหลัก ธรรมาภิ บ าล และสอดรั บ กั บ นโยบายและ ยุทธศาสตร์ของโรงเรียน 4. โรงเรี ย นต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การจัดสภาพแวดล้อม อาคาร สิ่งปลูกสร้าง

234 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สิง่ อ�ำนวยความสะดวก โดยเน้นพัฒนาการของ เด็กเป็นส�ำคัญ และมีความทันสมัย ตอบสนอง ต่ อ ความต้ อ งการของ ครู   บุ ค ลากร และผู ้ ปกครอง 5. ออกแบบหลักสูตรโรงเรียนโดยยึด หลักการทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็น ส�ำคัญ และสามารถสนองตอบต่อแผนพัฒนา คน แผนการศึ ก ษา ตลอดจนแผนอื่ น ๆ ที่ เกีย่ วข้องของชาติ  และมีเอกลักษณ์  อัตลักษณ์ ของตนเอง อีกทั้งตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้ปกครอง และชุมชน 6. มีการบริหารจัดการส�ำหรับอนาคต ที่ เ น้ น ความเป็ น มื อ อาชี พ  ใช้ เ ครื่ อ งมื อ และ นวัตกรรมการบริหารที่แก้ปัญหาและพัฒนา โรงเรียนได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป จากผลการวิจัยท�ำให้ได้สารสนเทศใน การวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ 1. การวิ จั ย เพื่ อ จั ด ท� ำ นโยบายและ ยุทธศาสตร์รองรับอนาคตของโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยวรรณาลัยของกองทัพอากาศ 2. วิจยั เพือ่ ออกแบบหลักสูตรของสถาน ศึกษาเพือ่ ผลิตเด็กให้มคี ณ ุ ลักษณะและค่านิยม ตามแผนการศึกษาของชาติฉบับที่  12 (ปี  6074)


สมพร ยอดดำ�เนิน และ วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บรรณานุกรม การศึกษาปฐมวัยในประเทศจีน เข้าถึงเมือ่  16 ธันวาคม 2558. เข้าถึงได้จาก http:// minneelovemin.blogspot.com/ 2012/12/blog-post.html ชวนคิด มะเสนะ. (2554). รูปแบบการจัดการ ศึกษาปฐมวัยทีส่ อดคล้องกับการพัฒนา สมอง. (วิ ท ยานิ พ นธ์ ค รุ ศ าสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ม ห า วิ ท ย า ลั ย ร า ช ภั ฏ อุบลราชธานี). นั น ทิ ย า รั ก ตประจิ ต , (2548). “การศึ ก ษา ความต้ อ งการในการจั ด การศึ ก ษา ปฐมวั ย  ในกองทั พ อากาศ” (วิ ท ยา นิ พ นธ์ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต   สาขา การจัดการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). นภเนตร ธรรมบวร. (2551). หลักสูตรเพื่อ พัฒนาเด็กปฐมวัยในประมวลสาระชุด วิ ช าการจั ด ประสบการณ์ สํ า หรั บ เด็ ก ปฐมวัยหน่วยที่3. นนทบุรี: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ประวั ติ ค วามเป็ น มาของกองทั พ อากาศ, พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ข องกองทั พ อากาศ. Ac cessed from: http://www.rtaf. mi.th/museum/AFHIST-1.HTM

พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่  2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่  3) พ.ศ. 2553, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127  ตอนที่   45  ก.  หน้ า   3.  22 กรกฎาคม 2553. โรงเรี ย นอนุ บ าลฤทธิ ย วรรณาลั ย , (2556). ประวัติโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณา ลัย, เอกสารรายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนอนุบาลฤทธิยวรรณาลัย. อัญชลี  ไสยวรรณ. (2551). (การศึกษาปฐมวัย ในอนาคต)  เอกสารประกอบการ บรรยาย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 4 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2552.มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค. Zellman, G. L., Johansen, A. S., & Van Winkle, J. (1994). Examining the Effects of Accreditation on Mili tary Child Development Center Operations and Outcomes (No. RAND/MR-524-OSD). RAND CORP SANTA MONICA CA.

ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2018/2561 235


วารสารวิชาการ

วิทยาลัยแสงธรรม

Saengtham College Journal

ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................................ ที่อยู่ (สำ�หรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน......................................... แขวง/ตำ�บล......................................เขต/อำ�เภอ......................................................................... จังหวัด..............................................................รหัสไปรษณีย์.................................................... โทรศัพท์........................................................................โทรสาร............................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท ชำ�ระเงินโดยวิธี โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ โทรสาร 02-429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม........................................................................................................... เลขที่.........................ถนน..............................................แขวง/ตำ�บล........................... เขต/อำ�เภอ.............................จังหวัด................................รหัสไปรษณีย์......................

.............................................(ลงนามผู้สมัคร) วันที่................................................

ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่โทรสาร 02-429-0819


รูปแบบและเงื่อนไขการส่งต้นฉบับบทความ

www.saengtham.ac.th/journal

1. เป็ น บทความวิ ช าการ บทวิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ  และบทความปริ ทั ศ น์   ด้ า นปรั ช ญา ศาสนา เทววิ ท ยา และการศึกษาคาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ 2. การพิ ม พ์ ผ ลงานทางวิ ช าการควรจั ด พิ ม พ์ ด ้ ว ย Microsoft Word for Windows หรื อ ซอฟท์ แวร์ อื่ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น   พิ ม พ์ บ นกระดาษขนาด  A4 หน้ า เดี ย ว ประมาณ 28 บรรทั ด  ต่ อ  1 หน้ า TH SarabunPSK ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ 3. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน ได้แก่  ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ต�ำแหน่ง ทางวิ ช าการ (ถ้ า มี )  E-mail หรื อ โทรศั พ ท์   หากเป็ น วิ ท ยานิ พ นธ์   ต้ อ งมี ชื่ อ และสั ง กั ด ของอาจารย์ ที่ปรึกษาด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 5. ทุ ก บทความจะต้ อ งมี บ ทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และ Abstract จะต้ อ งพิ ม พ์ ค� ำ ส� ำ คั ญ ในบทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และพิมพ์  Keywords ใน Abstract ของบทความด้วย 6. บทความวิจัยความยาวไม่เกิน 12 หน้า บทความวิชาการความยาวไม่เกิน 8 หน้า (รวมบรรณานุกรม แล้ว) 7. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 8. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามล�ำดับตัวอักษร) 9. บทความวิ จัยควรมีหัว ข้อดังนี้  ชื่อเรื่องบทความวิ จั ย  (ภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษ) ชื่ อ ผู ้ เขี ย นพร้ อ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ของทุ ก คน (รายละเอี ย ดตามข้ อ  4) บทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และ Abstract ความส� ำ คั ญ ของเนื้ อ หา วั ต ถุ ป ระสงค์   สมมติ ฐ านของการวิ จั ย  ประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ  ขอบเขตการวิ จั ย  นิ ย ามศั พ ท์ (ถ้ามี) วิธีการด�ำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรรม/References 10. ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการตรวจประเมิ น  จ� ำ นวน 2,400 บาท โดยโอนเงิ น เข้ า บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์   ธนาคาร กรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี  “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี  734-0-27562-2 (พร้ อ มส่ ง เอกสารการโอนมาที่   Fax. 02-429-0819) หรื อ ที่   E-mail: rcrc.saengtham2016@ gmail.com) ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวผู้ส่งบทความเป็นผู้รับผิดชอบ และจะไม่ได้รับคืนในทุกกรณี 11. กองบรรณาธิ ก ารน� ำ บทความที่ ท ่ า นส่ ง มาเสนอต่ อ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ พื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพความ เหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์  ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียน จะต้ อ งด� ำ เนิน การให้แ ล้ว เสร็จภายในระยะเวลา 15 วั น  นั บจากวั น ที่ ไ ด้ รั บผลการประเมิ น บทความ หากท่ า นต้ อ งการสอบถามกรุ ณ าติ ด ต่ อ กั บ กองบรรณาธิ ก ารวารสารวิ ช าการ โทร. 02-429-0100 โทรสาร 02-429-0819 หรือ E-mail: rcrc.saengtham2016@gmail.com


ขั้นตอนการจัดทำ�

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saengtham College Journal

เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กองบก. ตรวจรูปแบบทั่วไป

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข

ก้ไ อ้ งแ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ไม่ต

แก้ไ

แจ้งผู้เขียน แก้ไข

จบ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.