วารสารวิชาการ
วิทยาลัยแสงธรรม
Saengtham College Journal
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2019/2562
วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งในและนอก วิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ บาทหลวง เดชา อาภรณ์รัตน์ บรรณาธิการ บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช รศ.ดร.สมเจตน์ ไวยาการณ์ ผศ.ประเสริฐ วิเศษกิจ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ อาจารย์ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ อาจารย์ ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน นางสาว สุกานดา วงศ์เพ็ญ
ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม ในนามเลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย ในนามผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนา และวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มูลนิธิเซนต์คาเบรียล ดร.ทิพอนงค์ กุลเกตุ อาจารย์ สุดหทัย นิยมธรรม นางสาว จิตรา กิจเจริญ
ก�ำหนดเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ปก/รูปเล่ม : นางสาว สุกานดา วงศ์เพ็ญ พิสูจน์อักษร : อาจารย์ สุดหทัย นิยมธรรม
วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม
ได้ผ่านการประเมินคุณภาพวารสาร จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) รอบที่ 3 (ปีพ.ศ.2558-2562)
โดยจัดอยู่ในกลุ่ม 1
เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป
รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ
Editorial Advisory Board
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น�ำ้ เพชร, S.J. 2. ศ.กีรติ บุญเจือ 3. ศ.ดร.เดือน ค�ำดี 4. ศ.ดร.สมภาร พรมทา 5. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 6. รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช 7. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน 8. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล
Sophia University, Japan ราชบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 9. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
2. บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ 4. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์
ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิข์ องวิทยาลัย แสงธรรม ห้ามน�ำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ �้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบ ของผูเ้ ขียนเท่านัน้
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ
(Peer Review) ประจำ�ฉบับ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2019/2562 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
1. ศ.กีรติ บุญเจือ 2. ศ.ดร.เดือน ค�ำดี 3. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 4. รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช 5. รศ.ดร.อภิชาติ ใจอารีย์ 6. รศ.ดร.วิโรจน์ สารรัตนะ 7. รศ.ดร.ไชยยศ ไพวิทยศิรธิ รรม 8. รศ.ดร.พิทักษ์ ศิริวงษ์ 9. รศ.ดร.ประกอบ คุณารักษ์ 10. รศ.ดร.นวลฉวี ประเสริฐสุข 11. รศ.ดร.ชวนชม ชินะตังกูร 12. ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทรักษ์ 13. ผศ.ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์ 14. ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน
1. บาทหลวง ผศ.ดร.วุฒชิ ัย อ่องนาวา 2. บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์ 3. บาทหลวง ดร.ธวัช สิงห์สา 4. บาทหลวง ดร.นันทพล สุขส�ำราญ 5. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ราชบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษาคาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ โดยส่งบทความมาที่ ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 ม.6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อ ประเมินคุณภาพบทความว่าเหมาะสมส�ำหรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการ ส่งต้นฉบับได้ท่ี www.saengtham.ac.th/journal
บทบรรณาธิ ก าร Saengtham college Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2019/2562
วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรมฉบับนี ้ ขอน�ำเสนอบทความด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยาและ การศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย บทความวิชาการจ�ำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ บทความเรื่อง จากความขัดแย้งในครอบครัว สู่กระบวน การคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบ จากพระคริสต์ธรรมคัมภีร ์ โดย ครูศาสนาวีระเดช กันธิพนั ธิ ์ และ เรือ่ ง Experiencing God in Laboratory according to Francis Collins โดย บาทหลวง วีรศักดิ ์ ยงศรีปณิธาน บทความวิจยั จากบุคคลภายนอกจ�ำนวน 6 เรือ่ ง ได้แก่ งานวิจยั เรือ่ ง กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากร น�้ำของชุมชนหนองพันจันทร์ อ�ำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โดย ปริชัย ดาวอุดม เรื่อง การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงส�ำรวจของคุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก โดย ผศ.รตต.หญิง ดร.เรวดีทรรศน์ รอบคอบ และคณะ เรือ่ ง แนวทาง การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียน ในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดย บาทหลวง เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก เรื่อง มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาฯ โดย ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว เรื่อง องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา โดย หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต เรื่อง องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขในตนเองของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร โดย ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา และบทความวิจยั จากภายในจ�ำนวน 3 เรือ่ งได้แก่ เรือ่ ง การ พัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก โดย บาทหลวงธวัช สิงห์สา เรื่อง ชีวิตบุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวิตพระศาสนจักร โดย กฤษฎา ลิ้มเฉลิม เรื่อง หลักสูตรการ พัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย โดย ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และคณะ กองบรรณาธิการ วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบพระคุณผูท้ รงคุณวุฒทิ กุ ท่านทีก่ รุณา ให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ ท�ำให้วารสารของเราเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานทีไ่ ด้คณ ุ ภาพ และ หวังว่าบทความต่างๆ ภายในเล่มนี้จะก่อเกิดประโยชน์ส�ำหรับผู้อ่านทุกท่าน บรรณาธิการ มิถุนายน 2562
จากความขัดแย้งในครอบครัวสู่กระบวนการคืนดี: กรณีศึกษาครอบครัวยาโคบ จากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
From Conflict to Reconciliation:
A Case Study of Jacob’s Family from the Bible. ครูศาสนาวีระเดช กันธิพันธิ์ * ศิษยาภิบาลหมวดคริสเตียนสหายเลิศ สังกัด ภาคที่ 2 สภาคริสตจักรในประเทศไทย * อาจารย์พิเศษวิทยาลัยพระคริสต์ธรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ Pastor Weeradach Kantiphan * Pastor of Good Friend Church Under the 2nd district The Church of Christ in Thailand. * Guest lecturer at McGilvary College of Divinity, Payap University. *** วันที่ตอบรับบทความ 4 กุมภาพันธ์ 2562
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
บทคัดย่อ
พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ได้น�ำเสนอเรื่องราวความขัดแย้งและการ คืนดีไว้มากมาย เรื่องการคืนดีเป็นหัวใจของข่าวประเสริฐของพระเยซู คริสต์ บทความฉบับนี้จะน�ำเสนอแผนการดั้งเดิมของพระเจ้า พระ ประสงค์ของพระองค์ที่สร้างมนุษย์เป็นพระฉายาของพระเจ้า เพื่อให้มี ความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์และสิ่งทรงสร้างอื่นๆ โดยที่ บาปและการไม่เชื่อฟังน�ำมาซึ่งความขัดแย้ง ความขัดขัดแย้งโดยทั่วไป มักเกิดจากการที่บุคคล หรือกลุ่มคนมีความแตกต่างกันในเป้าหมาย ทัศนคติ การแย่งชิงทรัพยากรทีจ่ ำ� กัดและการสือ่ สารทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพ ความขั ด แย้ ง เหล่ า นี้ มั ก เกิ ด ขึ้ น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ความขั ด แย้ ง ใน ครอบครัว ของสังคมไทย ในปี พ.ศ.2559 มีสถิติการหย่าร้างในสังคม ไทยเพิ่มขึ้นถึง 39% ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดในปัจจุบันก็มีปรากฏใน พระคริสตธรรมคัมภีร์ ในบทความนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์จากกรณีศึกษา ครอบครัวของยาโคบ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโยเซฟกับพวกพี่ชาย ในแง่ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งและน�ำมาสู่การคืนดี จากหนังสือปฐมกาล บทที่ 42-45 โดยใช้หลักการของผู้สร้างสันติ 4 G (4 จ.) ของ เคน แซนดี้ จากหนังสือ “ผู้สร้างสันติ” ได้แก่ 1. จงถวายเกียรติแด่พระเจ้า (Glorify God) 2. จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตา (Get the log out of your own eye) 3. จงฟื้นฟูความสัมพันธ์ขึ้นใหม่อย่างอ่อนสุภาพ (Gently restore relationships) 4. จงไปและคืนดี (Go, and be reconciled) โดยได้ศกึ ษาวิเคราะห์ถงึ หลักการ 2 ประการแรกทีส่ ำ� คัญ และกระบวนการคืนดีของโยเซฟกับพวกพี่น้อง โดยสรุปผู้เขียนได้เสนอ แนวทางจัดการความขัดแย้ง การคืนดีของคนในครอบครัวของสังคมไทย จากหลักการของ เคน แซนดี้ และหลักคริสต์ศาสนศาสตร์ ค�ำส�ำคัญ:
2
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) พระฉายาของพระเจ้า 2) ความขัดแย้ง 3) การคืนดี 4) ครอบครัว
วีระเดช กันธิพันธิ์
Abstract
The Bible has many stories of conflict and reconciliation; and reconciliation is at the heart of the Gospel of Jesus Christ. This paper is about God’s original plan and purpose in creating humankind after His own image: that we might have good relationship with God, our neighbors, and the rest of creation; in spite of the fact that our sin and disobedience often lead to conflict. Conflict between individuals and groups usually results from differences in objectives and attitudes, quarrels over limited resources, or poor communication, especially in families of Thai society. For instance, research has shown that the incidence of divorce rose to 39 % in 2016. Present day conflict is also reflected in the Bible. A good case study is that of Jacob’s family where the conflict between Joseph and his brothers eventually led to reconciliation. (Genesis, chapters 42-45). The study also uses the book about peace-building by Kenneth Sande, entitled “Peace-maker”. This book suggests four steps toward reconciliation beginning with the letter “4G”: 1. Glorify God. 2. Get the log out of your own eye. 3. Gently restore relationships. 4. Go, and be reconciled. The study deals with the first two of the four essential steps suggested by Kenneth Sande and the reconciliation process between Joseph and his brothers. As conclusion, the author presents a guideline for conflict and reconciliation management for the Thai society based on Sande’ s steps and Christian theology. Key Words: 1) Image of God 3) Reconciliation
2) Conflict 4) Family
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
3
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
1. บทน�ำ ข่าวสาร ละคร สื่อต่างๆ ได้น�ำเสนอ อย่ า งแพร่ ห ลายเกี่ ย วกั บ ความขั ด แย้ ง ใน ครอบครัวของสังคมไทย สิง่ นีช้ ใี้ ห้เห็นถึงปัญหา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัวของสังคม ไทยในปัจจุบัน คนไทยและผู้เชื่อในฐานะพระ ฉายาของพระเจ้า ควรจะตอบสนองต่อความ ขัดแย้งอย่างไร โดยบทความนีจ้ ะได้นำ� แผนการ ดั้ ง เดิ ม ของพระเจ้ า และพระประสงค์ ข อง พระองค์ที่สร้างมนุษย์ขึ้นเพื่อมีความสัมพันธ์ดี กับพระเจ้า เพือ่ นมนุษย์ และสิง่ ทรงสร้างอืน่ ๆ มนุษย์จึงเป็นพระฉายาของพระเจ้า เพราะ พระเจ้าเป็นพระเจ้าที่มีความสัมพันธ์ แต่บาป การไม่เชื่อฟังพระเจ้าน�ำมาซึ่งความสัมพันธ์ ที่ ข าดสะบั้ น ลง เกิ ด ความขั ด แย้ ง ไปทั่ ว จน ปั จ จุ บั น โดยเฉพาะความขั ด แย้ ง ของคนใน ครอบครั ว ของสั ง คมไทยที่ มี เ พิ่ ม มากขึ้ น ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นไม่ต่างจากอดีต ไม่ต่าง จากเรือ่ งราวในพระคริสตธรรมคัมภีร ์ ทีป่ รากฏ ในหนังสือปฐมกาล หรือในพันธสัญญาใหม่ โดยเรื่องราวความขัดแย้งของโยเซฟกับพวก พีช่ ายนัน้ ได้นำ� มาสูก่ ระบวนการคืนดี การน�ำมา วิเคราะห์ร่วมกับหลักการของผู้สร้างสันติ 4G (4 จ.) ของ เคน แซนดี ้ หนังสือ “ผูส้ ร้างสันติ” น�ำมาซึ่งการน�ำเสนอแนวทางจัดการกับความ ขัดแย้ง การคืนดีโดยใช้หลักการทางคริสต์-
4
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ศาสนศาสตร์ การจัดการความขัดแย้งและการ คืนดีในครอบครัวของสังคมไทย 2. แผนการดั้งเดิมของพระเจ้า หนั ง สื อ ปฐมกาล เป็ น หนั ง สื อ แรกใน พระคริสตธรรมคัมภีร์ ได้เริ่มต้นด้วยเรื่องของ พระเจ้าสร้างสรรพสิง่ ทัง้ ปวงขึน้ ได้แก่ จักรวาล โลก สิง่ มีชวี ติ ทัง้ ปวง รวมถึงมนุษย์ พระคริสตธรรมคัมภีร์กล่าวว่ามนุษย์เป็นพระฉายาของ พระเจ้า พระเจ้าตรัสว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ ตามฉายาของเรา ตามอย่างของเรา...” (ปฐม กาล 1:26) ซึง่ ในบทความของ เดเร็ค ทอมสัน ได้สรุปแนวคิดของนักวิชาการ ความหมายของ พระฉายาของพระเจ้ า ออกเป็ น 4 ทั ศ นะ 1. มนุษย์มคี วามส�ำคัญทีส่ ดุ หรือเหนือกว่า เมือ่ เทียบกับสิ่งทรงสร้างอื่นๆ 2. มนุษย์มีหน้าที่ ในการครอบครองสิ่ ง ทรงสร้ า ง 3. ความ สัมพันธ์พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีความสัมพันธ์ 4. เป็นการรวมความหมายทั้งสามก่อนหน้านี้ โดยพระฉายาสามารถปรับเปลีย่ นได้ตามบริบท คาร์ล บาร์ธ สนับสนุนทัศนะที่ 3 โดยได้ให้ ความหมาย มนุษย์เป็นพระฉายาของพระเจ้า ในแง่ของความสัมพันธ์ เพราะพระเจ้าทรงเป็น ตรีเอกภาพ (Trinity) การทีม่ นุษย์มคี วามสัมพันธ์ กับพระเจ้า และการที่มนุษย์มีความสัมพันธ์ กับมนุษย์ด้วยกันนั้นได้สะท้อนถึงความเป็น พระฉายาของพระเจ้า (Derek Thompson,
วีระเดช กันธิพันธิ์
2014, P.6) พระเจ้าตรัสว่า “การที่ชายผู้นี้ จะอยู่แต่ล�ำพังนั้นไม่ดี เราจะสร้างคู่อุปถัมภ์ ที่ เ หมาะสมกั บ เขาขึ้ น ” (ปฐมกาล 2:18) แผนการดั้งเดิมของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ เพื่ อ ให้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี เมื่ อ พระเจ้ า ทรง สร้างมนุษย์ทงั้ ชายและหญิงเป็นพระฉายาของ พระเจ้า ให้อาศัยอยู่ในสวนเอเดน พระเจ้า กั บ มนุ ษ ย์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต ่ อ กั น มาก โดยพระเจ้าด�ำเนินมาหามนุษย์ถงึ ในสวนเอเดน พู ด คุ ย กั บ มนุ ษ ย์ (ปฐมกาล 3:8-9) ความ สัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ อาดัมและเอวา ต่างก็เปลือยกายอยูแ่ ละไม่ปดิ บังกัน (ปฐมกาล 3:7) ธรรมชาติ สัตว์ สิง่ มีชวี ติ และสิง่ ทีพ่ ระเจ้า ทรงสร้างทุกสิ่งนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และสมบู ร ณ์ แ บบ นี่ คื อ สวนเอเดน สวนที่ จ�ำลองโลกที่เต็มไปด้วยสันติสุข ความบริบูรณ์ โลกที่ ไ ม่ มี ค วามขั ด แย้ ง ในพระคริ ส ตธรรม คัมภีร์หนังสือปฐมกาลคือพระประสงค์ของ พระเจ้ า ในการให้ ม นุ ษ ย์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กับพระผู้สร้าง กับมนุษย์ และสรรพสิ่งที่ทรง สร้ างอื่ น ๆ แม้ โ ลกนี้ จ ะเปลี่ ย นแปลงไปมาก ไม่ เ หมื อ นการสร้ า งดั้ ง เดิ ม ของพระเจ้ า แล้ ว แต่เพราะเจ้าไม่เคยเปลี่ยนแปลง พระเจ้าทรง จั ด เตรี ย มและมี แ ผนในการท� ำ ให้ แ ผนการ อั น ดั้ ง เดิ ม ของพระเจ้ า คื อ ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ดังเดิม โดยแผนการนีป้ รากฏอีกครัง้ ในพระเยซู คริสต์ โดยพระเยซูคริสต์ได้เสด็จเข้ามาในโลก
เมือ่ 2,000 กว่าปีทแี่ ล้ว เพือ่ น�ำแผนการดัง้ เดิม ของพระเจ้ามาถึงมนุษย์ทุกคน เพื่อน�ำมนุษย์ คื น ดี กั บ พระเจ้ า พระผู ้ ส ร้ า ง คื น ดี กั บ เพื่ อ น มนุษย์ และคืนดีกบั สิง่ ทรงสร้างอืน่ ๆ ในธรรมชาติ โดยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อเป็น ค่าไถ่บาป และเป็นสะพานในการเชื่อมความ สัมพันธ์ท่ีขาดสะบั้นให้กลับมีความสัมพันธ์ที่ดี ดังเดิม แผนการดั้งเดิมของพระเจ้านั้นยังคง ด�ำเนินอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยพระเยซูคริสต์ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวในรายละเอียดต่อไป 3. ความสัมพันธ์ที่แตกร้าว 3.1 ความขั ด แย้ ง โดยทั่ ว ไปใน ครอบครั ว ของสั ง คมไทย ความหมาย ของความขั ด แย้ ง ตามพจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน (พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.183) หมายถึง ไม่ ต รงหรื อ ลงรอยเดี ย วกั น ต้ า นไว้ ทานไว้ ในหนังสือ Dictionary of Feminist Theology ให้ ค วามหมายว่ า ความขั ด แย้ ง คู ่ ก ารต่ อ สู ้ โจมตี ความขัดแย้งระหว่างอ�ำนาจที่ตรงข้าม กั น ความเชื่ อ หลั ก การที่ ต รงข้ า มกั น และ ต้องการเอาชนะกัน (Latty M. Russell and J. Shannon Clarkson, 1996, P.52) เคน แซนดี้ กล่าวคือ “ความแตกต่างในทางความ เห็นหรือจุดประสงค์ซึ่งท�ำให้เป้าหมายหรือ ความต้องการของอีกคนตกไป” (2014, น.32)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
5
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
พระมหาหรรษา ธมฺ ม หาโส (นิ ธิ บุ ณ ยากร) กล่าวว่า ความขัดแย้งคือ การที่บุคคลสองคน หรือกลุ่มบุคคล มีความเห็น ความเชื่อ หรือ ความต้องการไม่เหมือนกัน (2554, น.19-22) ความขัดแย้งคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการติดต่อกัน ระหว่างสองสิง่ หรือมากกว่านัน้ ระหว่างคนต่อ คน กลุ่มต่อกลุ่มเกิดจากความผิดหวัง และ เกีย่ วข้องกับกฎเกณฑ์ของสังคม (บุญทัน ดอก ไธสง, 2520, น.33) จากค�ำจ�ำกัดความต่างๆ ข้างต้น จึงพอกล่าวสรุปได้วา ่ ความขัดแย้ง คือ การที่บุคคลหรือกลุ่มคนมีความแตกต่างใน ความต้องการ ความคิดเห็น เป้าหมาย และ ค่านิยม การแย่งชิงทรัพยากร ไม่สามารถลง รอยเดี ย วกั น เข้ า กั น ไม่ ไ ด้ และต่ อ ต้ า นกั น เป็นปรปักษ์ต่อกัน ต่อสู้กัน รุกล�้ำ ขัดขวาง สิ่งเหล่านี้รวมไปถึงความรู้สึกนึกคิดหรือกริยา ที่แสดงออกมาของบุคคล หรือกลุ่มคนนั้นๆ ความขัดแย้งนี้อาจจะออกมาในรูปแบบความ รุ น แรงหรื อ ไม่ รุ น แรงก็ ไ ด้ โดย พรรณทิ พ ย์ ศิริวรรณบุศย์ ได้กล่าว ถึงสาเหตุความขัดแย้ง โดยสรุ ป ว่ า เกิ ด จากการเปลี่ ย นแปลงทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในยุคสารสนเทศ อีกประการหนึ่งที่เป็นสาเหตุใหญ่คือขาดการ สื่อสารที่ดีไม่เข้าใจกัน (2556, น.205) ข้อมูลกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ในปี 2559 คนไทยจดทะเบียนสมรสรวม 307,746 คู ่ และมี คู ่ ส มรสจดทะเบี ย นหย่ า 118,539
6
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คู ่ คิดเป็น 35% ทัง้ นี ้ ในรอบ 10 ปี อัตราการ หย่ามีแนวโน้มสูง จากอัตรา 27% ในปี 2549 เพิ่มเป็น 39 % ในปี 2559 (https://today. line.me/th/pc/article/ปี+59+คนไทย+หย่า ร้างกว่าแสนคู่-DEjpkm สืบค้นวันที่ 23/09/ 2561) จากสถิติการหย่าร้างสะท้อนให้เห็นถึง ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้น ซึง่ แน่นอนสิง่ นีส้ ง่ ผลกระทบต่อสังคม เช่น เด็ก ที่ได้รับผลกระทบในครอบครัวที่ขัดแย้งกันนั้น ย่อมท�ำให้ครอบครัวไม่อบอุน่ และอาจจะส่งผล ให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความขัดแย้งส่วนใหญ่มักจะตามมาด้วยความ รุนแรงต่อเด็กและสตรี อีกทั้งปัจจุบันอิทธิพล ของสื่อละครโทรทัศน์ของไทยมักจะน�ำเสนอ เรื่องความขัดแย้งของคนในครอบครัว เช่น ละครเรื่องเมีย 2018, ละครเรื่องเลือดข้นคน จาง ทีอ่ อกอากาศทางช่อง One ทีเ่ ป็นกระแส และมีผู้คนติดตามเป็นจ�ำนวนมาก สะท้อนให้ เห็นถึงเรื่องความขัดแย้งในครอบครัวที่เกิดขึ้น จริงของสังคมไทยปัจจุบนั ข่าวสารทีโ่ ด่งดังและ มีคนติดตามเป็นอย่างมาก ในหัวเรือ่ งของความ ขัดแย้งของคนในครอบครัว เช่น ทุกส�ำนักข่าว ได้น�ำเสนอเรื่อง “เสี่ยเกาะเต่า” ความว่า เสี่ย เกาะเต่าได้ฆ่าตัวตายโดยการถ่ายทอดสดผ่าน สือ่ ออนไลน์ เพราะคิดว่าภรรยานอกใจ ไม่เห็น คุณค่า เพราะถูกภรรยาขับไล่ออกจากบ้าน สู ญ เสี ย งาน ทรั พ ย์ ส มบั ติ ที่ ส ะสมมาทั้ ง ชี วิ ต
วีระเดช กันธิพันธิ์
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างเรื่องของความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นในครอบครัวของสังคมไทย (https:// morning-news.bectero.com/socialcrime/14-Sep-2018/129839 สืบค้นวันที่ 23/09/2561) ซึง่ ลักษณะความเป็นคนไทยนัน้ มีผลอย่างมากต่อความขัดแย้งในครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เพราะคนไทย ส่วนใหญ่ให้ความส�ำคัญกับเรื่องของศักดิ์ศรี ศจ.ผศ.ดร. สาธนัญ บุณยเกียรติ ได้กล่าวอ้าง ถึ ง สุ น ทรี โคมิ น คุ ณ ลั ก ษณะของคนไทย ประการแรก คื อ ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ตั ว ตน (อัตตา) และศักดิ์ศรี คนไทยแม้ดูเหมือนจะ สุภาพอ่อนน้อม แต่จะไม่ยอมเมื่อมีคนมาท�ำ ให้ตนเองและผู้ที่ตนเองเคารพนับถือสูญเสีย เกี ย รติ ย ศและศัก ดิ์ศรี แม้สังคมไทยจะเป็น สั ง คมแบบพึ่ ง พาอาศั ย กั น มี ใจกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ และมักจะรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ราบรื่น (2008, น.142-143) แต่บางครัง้ คุณลักษณะนี้ ก็เป็นอุปสรรคในการที่จะเกิดการคืนดีอย่าง แท้ จ ริ ง ได้ เพราะเลื อ กที่ จ ะเดิ น จากไม่ ก ล้ า เผชิญหน้าที่จะพูดความจริงต่อกันด้วยใจรัก อันเป็นจุดเริ่มต้นในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ ทีแ่ ท้จริง (อ็อกเบิรก์ เกอร์ เดวิด, 1992, น.3-5) และจากการยึดถือตัวตน (อัตตา) และศักดิ์ศรี มากจนเกินไปนัน้ เป็นเหตุปจั จัยหลักของความ ขั ด แย้ ง ของสั ง คมไทยเลยก็ ว ่ า ได้ จากการ พิจารณาถึงสาเหตุของความขัดแย้งของคนใน
ครอบครัวของสังคมไทย ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง ของตัวตน ศักดิศ์ รี เรือ่ งของเป้าหมาย ค่านิยม ทรัพย์สมบัติ ผลประโยชน์ ต�ำแหน่ง อาชีพ เป็นต้น ซึ่งความขัดแย้งส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ รั บ การแก้ ไข ไม่ คื น ดี กั น หรื อ ไม่ มี ก ารฟื ้ น สัมพันธภาพ เนื่องจากคนไทยมักจะเลือกที่จะ เดินหนีปัญหาความขัดแย้ง ไม่ต้องการเผชิญ หน้าในการพูดความจริงต่อกันด้วยใจรัก 3.2 ความขัดแย้งในพระคริสตธรรม คัมภีรจ์ ากหนังสือปฐมกาล เรือ่ งราวในหนังสือ ปฐมกาล ซึ่งเป็นเล่มแรกในพระคริสตธรรม คัมภีร์ มนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรงสร้างให้เป็น พระฉายาของพระเจ้า แรกเริม่ เดิมทีพวกเขาได้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ พระเจ้ า และมี ค วาม สัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กัน แต่เมือ่ เขาได้ลม้ ลงในบาปไม่ เชื่อฟังพระเจ้า ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้ากับมนุษย์ขาดสะบั้นลง และผลของ บาป คือการที่ไม่มนุษย์ไม่เชื่อฟังพระเจ้านั้น ยังส่งผลให้ความสัมพันธ์อื่นๆ ของมนุษย์ขาด สะบั้ น ลงเช่ น กั น ทั้ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง มนุษย์ดว้ ยกันเอง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับสิง่ ทรงสร้างอืน่ ๆ ปัญหาความสัมพันธ์ทขี่ าด สะบั้นนั้นรุนแรงถึงขั้นมีการเข่นฆ่ากันในหมู่ พี่น้องในครอบครัว ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ หนังสือปฐมกาล พระเจ้าส�ำแดงให้เห็นผลของ บาปคือการไม่เชือ่ และพระประสงค์ของพระเจ้า ให้มนุษย์เข้าใจและเรียนรูโ้ ดยเฉพาะเรือ่ งความ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
7
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และมนุษย์ ต่อเพื่อนมนุษย์ โดยผ่านเรื่องราวของความ สัมพันธ์และความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัด แย้ ง ของคนในครอบครั ว ยกตั ว อย่ า ง เช่ น คาอิน-อาแบล (ปฐมกาล 4:1-16) คาอินและ อาแบล คู่พี่น้องคู่นี้ได้ขัดแย้งกัน สาเหตุของ ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความโกรธ ความ อิจฉาของคาอินที่ไม่พอใจอาแบลเนื่องด้วย พระเจ้ า สนพระทั ย ในเครื่ อ งถวายบู ช าของ อาแบลมากกว่าของคาอิน คาอินได้ตอบสนอง ต่ อ ความขั ด แย้ ง ของตนเองโดยการลงมื อ ฆ่าน้องชาย ผลคือคาอินต้องเผชิญความทุกข์ มากขึ้น และต้องพเนจรออกไปจากพระพักตร์ พระเจ้า ซาราห์ - ฮาการ์ (ปฐมกาล 21:8-21) ซาราห์ ผู ้ เ ป็ น นายและฮาการ์ ผู ้ เ ป็ น สาวใช้ ซาราห์คิดว่าตนเองเป็นหญิงหมันจึงยกสาวใช้ ให้แก่อับราฮัมผู้เป็นสามี ฮาการ์จึงคลอดบุตร ชื่ออิชมาเอล ต่อมาซาราห์ก็คลอดบุตรชายชื่อ อิสอัค ซาราห์กลัวว่าบุตรชายของทาสหญิงจะ เป็นผู้รับมรดกส่วนแบ่งร่วมกับอิสอัค ท�ำให้ ซาราห์ขอให้อบั ราฮัมขับไล่ฮาการ์และอิชมาเอล ออกไปจากบ้าน ท�ำให้ฮาการ์ ทุกข์เสียใจ และ พเนจรไปในถิ่นทุรกันดาร เอซาว-ยาโคบ (ปฐมกาล 25:27-34) กรณีความขัดแย้งของพีน่ อ้ งฝาแฝด สาเหตุของ ความขัดแย้งของพีน่ อ้ งคูน่ มี้ าจากความต้องการ
8
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สิทธิบตุ รหัวปี หรือพรจากบิดา เอซาวขายสิทธิ บุตรหัวปีให้ยาโคบด้วยอาหารเพียงมื้อเดียว และยาโคบได้ปลอมตัวเป็นเอซาวเพื่อรับพร จากบิดา เมือ่ ยาโคบได้รบั พรสิทธิบตุ รหัวปีแล้ว (ปฐมกาล 27:1-30) ท�ำให้เอซาวโกรธเกลียด ยาโคบขูจ่ ะฆ่าเสีย ยาโคบจึงต้องหนีไปอาศัยอยู่ กับลาบัน และหลังจากยาโคบออกมาจากบ้าน ลาบัน เขาได้เผชิญหน้ากับพีช่ ายของเขาอีกครัง้ (ปฐมกาล 33:1-20) ในการเผชิญหน้าครัง้ นีไ้ ด้ เกิดการสมานฉันท์ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเวลา ต่อมา เราพบว่าตลอดประวัติศาสตร์อิสราเอล ลูกหลานของยาโคบ มักจะเป็นศัตรูกับเอโดม ผู้เป็นลูกหลานเอซาวอยู่เรื่อยๆ ยาโคบ-ลาบั น การที่ ย าโคบมี ค วาม ขั ด แย้ ง กั บ ลาบั น ผู ้ เ ป็ น พ่ อ ตา เพราะลาบั น เป็นคนที่โกหกหลอกลวงไม่รักษาค�ำพูด และ อิจฉาในความมั่งมีของยาโคบ (ปฐมกาล 29: 1-30) บิดพลิ้วเปลี่ยนค่าจ้าง ขี้โกง (ปฐมกาล 31:7) ในการตอบสนองของยาโคบในความ ขัดแย้งคือยาโคบได้เลือกทีจ่ ะหนีออกจากความ ขัดแย้ง (ออกจากบ้านของพ่อตาไป) ครอบครัวยาโคบ โยเซฟ-บรรดาพี่ชาย ความขัดแย้งของคนในครอบครัวของยาโคบ ในบรรดาลูกๆ ของเขา สาเหตุเกิดจากความ เกลี ย ดชั ง กั น ในหมู ่ พี่ ช ายเนื่ อ งจากยาโคบที่ แสดงออกถึงการรักบุตรไม่เท่ากัน และความ ฝันของโยเซฟผูเ้ ป็นน้องเองทีบ่ อกว่าพวกพีช่ าย
วีระเดช กันธิพันธิ์
จะกราบไหว้ตน (ปฐมกาล 37:1-36) ผลของ การเกลียดชังท�ำให้พชี่ ายคิดจะฆ่าโยเซฟ แต่ใน ที่สุดแล้วพวกเขาได้ขายโยเซฟไปเป็นทาสยัง อี ยิ ป ต์ แต่ โ ยเซฟมีความซื่อสัตย์ และถวาย เกียรติแด่พระเจ้า เขาไม่ทำ� บาปเชือ่ ฟังพระเจ้า เสมอ ในเวลาต่อมาท�ำให้เขาได้รับแต่งตั้งให้ ดูแลราชส�ำนักของฟาร์โรห์ และในเวลานั้นได้ เกิดการกันดารอาหารทั่วโลก พวกพี่ชายของ โยเซฟได้เดินทางมาอียิปต์เพื่อแสวงหาอาหาร ไปเลี้ยงครอบครัว ท�ำให้โยเซฟได้พบกับพี่ชาย อีกครั้ง โดยในการพบกันครั้งนี้เราพบว่านี่เป็น กระบวนการคืนดีที่พระเจ้าทรงมีส่วนร่วมใน ชีวิตของโยเซฟและพวกพี่ชาย โดยชีวิตโยเซฟ ที่ ไ ด้ ถ วายเกี ย รติ แ ด่ พ ระเจ้ า และพระเจ้ า กระท�ำให้พวกพี่ชายได้ส�ำนึกในบาปผิดของ พวกเขา เกิดการสารภาพ กลับใจ น�ำมาซึง่ การ ให้อภัยกัน เกิดการคืนดีของคนในครอบครัว ต่อมาครอบครัวของยาโคบ มีลกู หลานมากมาย กลายเป็ น ชนชาติ อิ ส ราเอลทั้ ง 12 เผ่ า ใน พระคริสตธรรมคัมภีร์ถือว่าชนชาติอิสราเอล เป็นชนชาติที่ได้รับพระพรจากพระเจ้า และ พระเยซู ค ริ ส ต์ พ ระผู ้ ช ่ ว ยมนุ ษ ย์ ใ ห้ ห ลุ ด พ้ น จากบาป ผู้ซึ่งน�ำแผนการดั้งเดิมของพระเจ้า มายั ง โลกมนุ ษ ย์ คื อ น� ำ การคื น ดี ร ะหว่ า ง พระเจ้ากับมนุษย์ และมนุษย์กับมนุษย์ ก็ได้ มาบังเกิดในชนชาติอิสราเอลอีกด้วย
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องราวความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นในพระคริสตธรรมคัมภีร์ เราพบสาเหตุ มาจาก ความอิจฉา การต้องการการยอมรับ เรื่องของการแย่งชิงในทรัพย์สมบัติ การไม่ รั ก ษาค� ำ พู ด การสื่ อ สารที่ ไ ม่ ดี การยึ ด ถื อ ในเกี ย รติ ศั ก ดิ์ ศ รี ซึ่ ง เคน แซนดี้ ได้ ร ะบุ ถึงสาเหตุของความขัดแย้งหลักเกิดจากสาเหตุ พื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้ (2014, น. 30-31) 1. ความขัดแย้งเป็นผลมาจากการขาด การสื่อสารที่ดี (ดู โยชูวา 22:10-34) 2. ความแตกต่างในค่านิยมเป้าหมาย ความสามารถ บทบาทหน้าที่ ความคาดหวัง ความสนใจ ความคิ ด เห็ น (ดู กิ จ การของ อัครทูต 15:39; 1 โครินธ์ 12:12-31) 3. การแย่ ง ชิ ง ในทรั พ ยากรที่ มี จ� ำ กั ด เช่น เวลา เงินทอง ซึ่งสาเหตุนี้มักเป็นต้นตอ ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของคนในครอบครัว (ดู ปฐมกาล 13:1-12) 4. นิสัยหรือท่าทีซึ่งน�ำไปสู่การกระท�ำ หรือมีถ้อยค�ำที่มาจากบาป (ดู ยากอบ 4:1-2) จากแนวคิดสาเหตุของความขัดแย้งข้าง ต้น และจากเรื่องราวในพระคริสตธรรมคัมภีร์ หนังสือปฐมกาล รวมถึงจากเรื่องความขัดแย้ง ทั่ ว ไปที่ เ กิ ด ขึ้ น พอสรุ ป ได้ ว ่ า พื้ น ฐานของ สาเหตุความขัดแย้งเริ่มต้นที่ตนเอง ใจ ความ คิ ด ความแตกต่ า งของทั ศ นคติ เป้ า หมาย การสือ่ สารทีไ่ ม่ด ี การแย่งชิงทรัพยากรทีจ่ ำ� กัด
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
9
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
การเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง และนิ สั ย ท่ า ที ที่ ม าจากบาปการ ไม่เชื่อฟังพระเจ้า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ ในปั จ จุ บั น แต่ เ กิ ด ขึ้ น ตั้ ง แต่ ส มั ย ของอาดั ม เอวา มนุษย์คู่แรกที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้นแล้ว และสาเหตุของความขัดแย้งในอดีตจากเรื่อง ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ในหนังสือปฐมกาล ทีไ่ ด้ยกตัวอย่างไปนัน้ สาเหตุเหล่านัน้ ยังคงเป็น สาเหตุที่ท�ำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว ของสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ในพระเยซูคริสต์ เรายังคงมีความหวังว่าพระองค์จะน�ำการคืนดี ความสัมพันธ์ที่ดีมาสู่ชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคม และในประเทศไทย ดังที่พระเจ้าทรง กระท� ำ การของพระองค์ ผ ่ า นทางชี วิ ต ของ โยเซฟและครอบครัวมาแล้ว 4. การฟื้นฟูความสัมพันธ์ ค� ำ สอนในศาสนาเสริ ม สร้ า งมนุ ษ ย์ สัมพันธ์ศาสนาหลักของโลกทีอ่ ยูร่ อดจนทุกวัน นี้ เ นื่ อ งด้ ว ยค� ำ สอนของพระศาสดามุ ่ ง เน้ น มนุ ษ ย์ สั ม พั น ธ์ (บุ ญ ทั น ดอกไธสง, 2520, น.76-79) หลักการคืนดีของโยเซฟกับบรรดา พี่ชาย เป็นหลักการที่พบในพระคริสตธรรม คัมภีร์ หลักค�ำสอนของคริสต์ศาสนาที่ได้รับ อิทธิพลมาจากศาสนายิว เป็นบทเรียนที่ดีใน การจัดการกับความขัดแย้ง และเกิดการคืนดี น�ำมาซึ่งสันติ และพระพรจากพระเจ้า และ
10
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
หลักการจัดการความขัดแย้ง ของ เคน แซนดี้ 4 จ. ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐาน เป็นค�ำปฏิญาณ ของผู้สร้างสันติ เมื่อมนุษย์ผู้เป็นคนบาปได้ คื น ดี กั บ พระเจ้ า โดยการสิ้ น พระชนม์ บ นไม้ กางเขนของพระเยซูคริสต์ พระเจ้าทรงเรียก ให้ผู้เชื่อตอบสนองต่อความขัดแย้งที่แตกต่าง อย่างสิ้นเชิงกับวิถีทางของโลกหรือแบบในวิถี ของคนไทย ที่มักจะตอบสนองความขัดแย้ง ด้วยการเดินหนีพยายามหลีกเลีย่ งความขัดแย้ง หรือจู่โจมต่อสู้เพื่อเอาชนะในความขัดแย้งเพื่อ แสดงถึงเกียรติศักดิ์ศรี อาจจะเป็นเรื่องที่เป็น ไปได้ยากที่ในชีวิตเราจะไม่พบกับความขัดแย้ง เช่นเดียวกับการทีเ่ ป็นไปไม่ได้ทมี่ นุษย์จะไม่พบ เจอกั บ ความทุ ก ข์ ใ นโลกนี้ บางครั้ ง เรามอง ความขัดแย้งเป็นเรื่องลบๆ และไม่ต้องการให้ เกิ ด ขึ้ น อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว ความขั ด แย้ ง อาจเป็ น ประโยชน์ก็ได้ (Latty M. Russell and J. Shannon Clarkson, 1996, P. 2) ในค� ำ ปฏิญาณของผู้สร้างสันติกล่าวโดยความเชื่อว่า ความขั ด แย้ ง จั ด เตรี ย มโอกาสในการถวาย เกียรติแด่พระเจ้า รับใช้ผู้อื่น และเติบโตขึ้น เป็นเหมือนพระคริสต์ โดยอุทิศตนในการตอบ สนองต่อความขัดแย้ง 4G (4 จ.) ซึ่งไม่จ�ำเป็น ต้ อ งท� ำ ตามขั้ น ตอนและครบทั้ ง หมดก็ ไ ด้ โดยหลั ก การนี้ ไ ด้ รั บการพิ สู จน์ แ ล้ วว่ า ใช้ ไ ด้ จริงในกระบวนการสร้างสันติ จึงขอน�ำหลักการ 2 ประการแรกที่ส�ำคัญ ในการวิเคราะห์กับ
วีระเดช กันธิพันธิ์
กระบวนการคื น ดี ข องโยเซฟกั บ พวกพี่ น ้ อ ง ควบคู่กันไป ดังนี้ 1. จงถวายเกียรติแด่พระเจ้า (Glorify God.) “เพราะฉะนัน้ เมือ่ พวกท่านจะรับประทาน จะดื่ม หรือจะท�ำอะไรก็ตาม จงท�ำเพื่อถวาย พระเกียรติแด่พระเจ้า” (1 โครินธ์ 10:31) ใน การสร้างสันติตามแบบพระคัมภีรไ์ ด้ขบั เคลือ่ น ให้ผู้เชื่อปรารถนาที่จะถวายเกียรติแด่พระเจ้า แทนที่ จ ะจดจ่ อ อยู ่ กั บ ความปรารถนาของ ตนเองหรือยึดติดกับสิง่ ทีผ่ อู้ นื่ ได้กระท�ำ ชืน่ ชม ยิ น ดี ใ นพระเจ้ า และน� ำ การสรรเสริ ญ มาสู ่ พระองค์ โดยพึ่ ง พาการยกโทษ สติ ป ั ญ ญา ความรักเมตตาของพระเยซูคริสต์ที่ปรากฎที่ บนไม้กางเขน ในการที่พระองค์ได้ทรงช�ำระ บาป และไถ่มนุษย์จากบาป พระองค์นำ� มนุษย์ กลับมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า คืนดีกับ เพื่อนมนุษย์ รับชีวิตนิรันดร์ คริสเตียนเรียก ว่า “พระคุณพระเจ้า” คือ เป็นสิ่งที่มนุษย์ ผู ้ เ ป็ น คนบาปไม่ ส มควรได้ รั บ แต่ ไ ด้ รั บ ชี วิ ต นิรันดร์ และความสัมพันธ์ที่ดี การได้รับสิ่ง เหล่ า นี้ ไ ม่ ใช่ โ ดยการกระท� ำ ของมนุ ษ ย์ เ อง แต่โดยการกระท�ำ แผนการดัง้ เดิมของพระองค์ โดยความรักเมตตาของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ ทุกครั้งที่เผชิญกับความขัดแย้ง ชีวิตของผู้เชื่อ ต้องส�ำแดงออกถึงการรักพระเจ้าด้วยสุดใจ สุดจิต เป็นการถวายเกียรติแด่พระเจ้าโดยการ วางใจ เชื่อฟัง เลียนแบบ และรับรู้พระองค์
(เคน แซนดี,้ 2014, น. 12-13, 319-320, 3436) สิ่งเหล่านี้ท�ำให้หลุดพ้นจากการตัดสินใจ ที่วู่วามและการเอาตนเองเป็นศูนย์กลางอาจ น� ำ มาซึ่ ง ความขั ด แย้ ง มากขึ้ น และแย่ ล งๆ พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ในหนังสือ 1 โครินธ์ 10:31-11:1 ชีใ้ ห้เห็นมุมมองพืน้ ฐานของความ ขัดแย้งน�ำไปสู่การตอบสนองต่อความขัดแย้ง โดยการสร้างสันติ 3 ประการที่ คือ 1. ถวาย เกียรติแด่พระเจ้า 2. ปรนนิบตั ผิ อู้ นื่ 3. เติบโต ขึ้นเป็นเหมือนพระคริสต์ หลักการคืนดีในการ ถวายเกียรติแด่พระเจ้า ได้พิสูจน์แล้วในชีวิต ของโยเซฟ โดยการเชื่อวางใจในพระเจ้า ในค�ำ พูดทีโ่ ยเซฟได้พดู กับพีช่ าย “แต่บดั นีอ้ ย่าเสียใจ ไปเลย อย่าโกรธตัวเองทีข่ ายเรามาทีน่ ี่ เพระว่า พระเจ้าทรงใช้เราให้มาก่อนหน้าพี่ เพื่อจะได้ ช่วยชีวิต” (ปฐมกาล 45:5) หลักการถวาย เกี ย รติ แ ด่ พ ระเจ้ า เป็ น การที่ ผู ้ เชื่ อ วางใจ ในพระเจ้าแม้เผชิญกับความทุกข์ ถูกกระท�ำ ถูกเอาเปรียบ เป็นการยอมรับต่อพระประสงค์ และแผนการของพระเจ้า เพราะไม่มีสิ่งใดที่ อยู่นอกเหนือการควบคุมของพระเจ้า พระเจ้า ทรงมีพระประสงค์ แผนการที่ดี และทรงใช้ เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ท� ำ ให้ พ ระราชกิ จ ของ พระองค์ ส� ำ เร็ จ เมื่ อ ผู ้ เชื่ อ วางใจในพระเจ้ า เดิ น ในวิ ถี ท างที่ ขั ด กั บ วิ ถี ท างโลก ผู ้ ค นจะมี โอกาสได้เห็นว่าพระเจ้ามีอยู่จริงและยกย่อง พระเจ้าในชีวติ ของผูเ้ ชือ่ (ดู กิจการของอัครทูต
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
11
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
16:22-31) (เคน แซนดี้, 2014, น.35) โยเซฟ ไม่ท�ำบาป แม้จะถูกกลั่นแกล้ง ถูกใส่ร้ายจาก ภรรยาของโปทิฟาร์ จนต้องติดคุก โยเซฟยังคง ใช้ชีวิตที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า และเขายังคง ปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่นด้วย โยเซฟได้เป็นพระพร ส�ำหรับครอบครัว แม้ตนเองจะเผชิญกับการถูก ขายมายังอียปิ ต์เขาถือว่านีเ่ ป็นโอกาสทีพ่ ระเจ้า จัดเตรียมเพื่อการปรนนิบัติผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น ในกระบวนการคืนดีของโยเซฟกับพีช่ าย โยเซฟ ได้มีโอกาสช่วยเหลือให้บรรดาพี่ชายได้เรียนรู้ ว่าความผิดพลาดของเขาอยู่ตรงไหน พี่ชายได้ ส�ำนึกในบาป และกลับใจใหม่ และชีวิตของ โยเซฟได้เล็งถึงองค์พระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง (John Hargreaves, 1995, P.239) โดย พระเยซูคริสต์ ได้เสด็จมาบังเกิดในโลก ทรง กระท�ำพระราชกิจสั่งสอน และช่วยเหลือคนที่ ประสบกับปัญหา วิกฤติต่างๆ เป็นแบบอย่าง ในการด�ำเนินชีวิต จนพระเยซูถูกจับกุมเพราะ ความไม่พอใจของพวกผู้น�ำศาสนายิวในเวลา นั้น และพระเยซูถูกตัดสินโดยถูกตรึงบนไม้ กางเขนทุกข์ทรมานจนตายแม้กระนัน้ พระองค์ ไม่เคยอาฆาตแค้นพวกผูน้ ำ� ศาสนายิว และพวก ทหารโรมันเลย แต่ทรงอธิษฐานต่อพระบิดา เพื่อให้อภัยพวกเขา (ดู ลูกา 23:34) พระเยซู สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อแบกรับความ ทุกข์ล�ำบาก แบกรับบาปโทษแทนมนุษย์ และ ทรงช�ำระบาปของมนุษย์ทั้งโลก มนุษย์คนใด
12
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ก็ตามที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ได้รับการ อภั ย โทษบาปจากพระเจ้ า ได้ ก ลั บ คื น ดี กั บ พระองค์ น�ำไปสู่การคืนดีกับพี่น้อง เพื่อนบ้าน และคนอืน่ ๆ แม้กระทัง้ รักศัตรูของตนเอง ชีวติ ของโยเซฟได้ ต อบสนองต่ อ ความขั ด แย้ ง ที่ ท้าทายนีด้ ว้ ยการถวายเกียรติแด่พระเจ้าในการ ให้อภัยกับบรรดาพี่ชายที่ท�ำร้ายเขา 2. จงชักไม้ทงั้ ท่อนออกจากตาของท่าน (Get the log out of your own eye.) “คนหน้าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจาก ตาของท่ า นก่ อ น แล้ ว ท่ า นจะเห็ น ได้ ถ นั ด จึ ง จะเขี่ ย ผงออกจากตาพี่ น ้ อ งของท่ า นได้ ” (มั ท ธิ ว 7:5) การโจมตี เ ป็ น การเชื้ อ เชิ ญ ให้ เกิดการตอบโต้กลับมา พระเยซูคริสต์สอนให้ เผชิญหน้ายอมรับกับความขัดแย้งไม่ใช่เดินหนี ออกจากปัญหา โดยเริ่มจากตัวเราเอง ส�ำรวจ ตนเองก่อนที่จะมองสิ่งที่ผู้อื่นกระท�ำ และให้ เรามองข้ามความผิดเล็กๆ น้อยๆ ของผู้อื่น และยอมรั บ ความผิ ด ของเราอย่ า งสั ต ย์ ซื่ อ ในขั้นตอนนี้ เราจะต้องเริ่มต้นโดยการระบุ ปัญหาให้ได้ ตรวจสอบทัศนคติของเราและ เปลี่ยนทัศนคติตามค�ำสอนในพระคริสตธรรม คั ม ภี ร ์ จดหมายที่ อั ค รทู ต เปาโลเขี ย นไปถึ ง คริสตจักรทีเ่ มืองฟีลปิ ปี เพือ่ เตือนให้นางยูโอเดีย แลนางสินทิเคที่ขัดแย้งกัน (ดู ฟีลิปปี 4:2-7) กล่ า วคื อ ชื่ น ชมยิ น ดี ใ นองค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ทุกเวลา จิตใจอ่อนสุภาพประจักษ์แก่คนทัง้ ปวง
วีระเดช กันธิพันธิ์
แทนความวิตกกังวลด้วยการอธิษฐาน และมอง สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งที่ เ ป็ น จริ ง ๆ การเปลี่ ย น ทัศนคติอาจจะไม่ช่วยให้เรามองข้ามความผิด ทัง้ หมดแต่บอ่ ยครัง้ มันช่วยเราให้คดิ ถึงและมอง ส่วนดีของผู้อื่น ซึ่งท�ำให้เกิดผลลัพธ์ที่งดงาม มากกว่าการมองด้านลบ สุดท้ายนอกจากตรวจ สอบทัศนคติแล้ว เราต้องฝึกฝนในสิง่ ทีไ่ ด้เรียน รู้จากบทเรียน และค�ำสอนในพระคริสตธรรม คัมภีร์ เรียนรู้เรื่องของสิทธิ และความรับผิด ชอบ (เคน แซนดี้, 2014, น.94-107) มีความ ขัดแย้งมากมายทีต่ อ้ งอาศัยความพยายามและ เวลา แต่กม็ คี วามขัดแย้งอีกมากมายทีส่ ามารถ แก้ไขได้อย่างง่ายดาย โดยการมองข้ามความ ผิดเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะเขี่ยผงจากตาของ คนอื่น จงชักไม้ทั้งท่อนจากตาของท่านก่อน เมื่ อ พระเจ้ า ทรงเปิ ด ตาให้ เ ห็ น ว่ า เราเองได้ กระท� ำ บาปต่ อ ผู ้ อื่ น อย่ า งไร เวลาเดี ย วกั น พระเจ้ า ทรงเสนอวิ ธี ที่ จ ะพบเสรี ภ าพจาก ชีวิตของเรา โดยเราเรียกว่า “การสารภาพ บาป” ประโยคที่พูดเป็นพิธีไม่ได้ชักน�ำให้เกิด การคื น ดี แ ละการยกโทษอย่างแท้จ ริง หาก ต้ อ งการสั น ติ และการคื น ดี ที่ แ ท้ จ ริ ง ขอ พระเจ้ า ช่ ว ยเราส่ ง ต่ อ พระคุ ณ ของพระเจ้ า ด้วยใจถ่อมและยอมรับความผิดของตนเอง อย่ า งหมดสิ้ น โดยการท� ำ สิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า การ สารภาพ 7 ประการ ดังนี ้ (เคน แซนดี,้ 2014, น.155-164) (1) สารภาพต่อทุกคนที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง (2) หลีกเลี่ยงค�ำว่า “ถ้า” “แต่” และ “อาจจะ” (3) สารภาพอย่ า งเฉพาะ เจาะจง (4) รั บ รู ้ ถึ ง ความเจ็ บ ปวดของผู ้ อื่ น (5) ยอมรั บ ผลที่ เ กิ ด ขึ้ น (6) เปลี่ ย นนิ สั ย พฤติกรรมของเรา (7) ขอการยกโทษ (และให้ เวลา) “การคืนดี” เป็นการ “เปลีย่ น” ทัศนคติ จากศัตรูมาเป็นมิตร แนวคิดนีม้ พี นื้ ฐานมาจาก การไถ่บาป ตามหลักคริสต์ศาสนศาสตร์คือ เกิดการส�ำนึกในบาป สารภาพ กลับใจ ขอการ อภัย การอภัยและการคืนดีเป็นสิง่ ส�ำคัญเพราะ เป็นศูนย์กลางของค�ำสอนของพระเยซูคริสต์ พระเจ้าทรงให้อภัยมนุษย์ และให้มนุษย์คืนดี กับพีน่ อ้ ง คืนดีกบั คนทีอ่ ยูต่ รงข้ามเรา คืนดีกบั ศัตรูกับคนที่ท�ำให้เราโกรธ (ดู มัทธิว 5:2224) (John and Childress, James Macquarrie, 1986, P.528) จากเรื่ อ งความขั ด แย้ ง ของโยเซฟกั บ พี่ ช าย เราพบว่ า ก่ อ นที่ จ ะเกิ ด การคื น ดี นั้ น โยเซฟพบกับบรรดาพีช่ าย โดยทุกอย่างเริม่ ต้น ที่โยเซฟเองที่ตอบสนองต่อความขัดแย้งด้วย การถวายเกียรติแด่พระเจ้า แต่การคืนดีที่แท้ จริงระหว่างบุคคลจะไม่เกิดขึ้นได้หากไม่มีการ เผชิ ญ หน้ า การกลั บ ใจ ส� ำ นึ ก ในบาป และ สารภาพบาปที่บรรดาพี่ชายได้กระท�ำ ในส่วน นี้ พ ระเจ้ า ทรงกระท� ำ การของพระองค์ ผ ่ า น ความคิด ค�ำพูดของโยเซฟ เพื่อน�ำให้บรรดา พี่ชายได้กลับใจ ส�ำนึกในบาป และสารภาพ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
13
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
บาป พวกพีช่ ายจึงพูดกันว่า “ทีจ่ ริงเรามีความ ผิดเรื่องน้องเรา เพราะเราได้เห็นความทุกข์ใจ ของน้องเมื่อเขาอ้อนวอนเรา แต่แล้วมิได้ฟัง เพราะฉะนัน้ ความทุกข์ใจทัง้ นีจ้ งึ บังเกิดแก่เรา” (ปฐมกาล 42:21-22) (ดูเพิ่มเติม ในปฐมกาล 42:28; 43:33; 44:13, 32-34; 45:3,5) จาก ข้อพระคัมภีร์ดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงขั้นตอนของ การน�ำมาซึ่งเสรีภาพ สันติ และการคืนดีอย่าง แท้จริง คือการ สารภาพ 7 ประการข้างต้น. 3. จงฟื้นฟูความสัมพันธ์ขึ้นใหม่อย่าง อ่อนสุภาพ (Gently restore relationships.) “พีน่ อ้ งทัง้ หลาย แม้จบั ใครทีล่ ะเมิดประการใด ได้ พวกท่านซึ่งอยู่ฝ่ายพระวิญญาณ จงช่วย คนนั้นด้วยใจสุภาพอ่อนโยนให้เขากลับตั้งตัว ใหม่ โดยคิดถึงตัวเองเกรงว่าท่านจะถูกทดลอง ด้วย” (กาลาเทีย 6:1) เมื่อผู้อื่นล้มเหลวในการยอมรับความ ขัดแย้งในตัวเขาเอง บางครั้งต้องแสดงให้เขา เห็นความผิดของเขาอย่างอ่อนสุภาพ หากเขา ปฏิเสธทีจ่ ะตอบสนอง พระคัมภีรส์ อนว่าให้นำ� คนที่มีความเป็นกลาง ผู้น�ำคริสตจักร เข้ามามี ส่วนเพื่อช่วยหนุนใจท�ำให้เกิดการกลับใจและ น�ำสันติสุข การคืนดีกลับมาดังเดิม 4. จงไปและคืนดี (Go, and be reconciled.) “จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่น บูชา และกลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน แล้ ว จึ ง ค่ อ ยมาถวายเครื่ อ งบู ช าของท่ า น”
14
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
(มัทธิว 5:24) การสร้างสันติ การคืนดี การฟืน้ สัมพันธภาพที่พังทลายลง และเจรจาให้เกิด ข้อตกลงที่เป็นธรรม เมื่อเรายกโทษให้ผู้อื่น เหมือนดังทีพ่ ระเยซูคริสต์ยกโทษแก่เรา มองหา ทางออกทีพ่ งึ พอใจของผูอ้ นื่ และของเราเองแล้ว ซากแห่ ง ความขั ด แย้ ง จะได้ ถู ก ก� ำ จั ด ไปสิ้ น ประตูสันติสุข สัมพันธภาพ การคืนดีได้เปิด ออก การคืนดีที่แท้จริงต้องมีพระเยซูคริสต์ เป็นศูนย์กลาง เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ผู้ซึ่งน�ำการอภัย การคืนดีมาสู่โลกมนุษย์อย่าง แท้จริง 5. บทสรุป และข้อเสนอแนะ กระบวนการ จั ด การความขั ด แย้ ง และการคื น ดี ใ น ครอบครัวในสังคมไทย สังคมไทย ครอบครัวของคนไทยหลาย ครอบครั ว เผชิ ญ กั บ ปั ญ หาความขั ด แย้ ง จากความแตกต่ า งในเป้ า หมาย ทั ศ นคติ อันเป็นผลมาจากการทรงสร้างของพระเจ้า และเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นมักจะเป็นเรื่อง ยากที่จะเกิดการคืนดีอย่างแท้จริง เนื่องด้วย คุ ณ ลั ก ษณะของคนไทยที่ มี ค วามเป็ น ตั ว ตน “อัตตา” ค่อนข้างสูง มีทิฐิถือเกียรติศักดิ์ศรี ที่ใครจะมาหมิ่นไม่ได้ ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ไทยมักจะตอบสนองต่อความขัดแย้งโดยการ เอาชนะทุกรูปแบบ การกดขี่ ใช้ความรุนแรง หรือเลือกวิธีที่ง่ายๆ ไม่ต้องการเผชิญหน้าโดย
วีระเดช กันธิพันธิ์
เดิ น หนี จ ากความขั ด แย้ ง จึ ง มี ก ารหย่ า ร้ า ง การฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งสะท้อนจาก ละครหรือข่าวสารทีน่ ำ� เสนอในปัจจุบนั อันเป็น ผลมาจากความขัดแย้งในครอบครัวโดยส่วน มาก หรือไม่อีกประการคือการเก็บความขัด แย้งไว้ภายในหรือพยายามหลีกเลีย่ ง ท�ำเป็นว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่โกรธ ไม่เกียด ยิ้มให้ได้ แต่ภายในใจเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และ ความอาฆาต ประหนึ่ ง ว่ า เห็ น หน้ า แล้ ว เกิ ด ความทุกข์ขึ้นมาทัน (สุนทรี โคมิน, 2533, น. 689) แต่ส�ำหรับผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกให้เป็น ผู้สร้างสันติ ควรด�ำเนินในวิถีทางที่ต่างออกไป จากวิถีธรรมชาติหรือวิถีของโลก จากหลักการ คืนดีของ เคน แซนดี้ และกระบวนการคืนดี ของโยเซฟกับบรรดาพี่ชาย ที่ปรากฎในพระ คริสตธรรมคัมภีร์นั้น จึงได้น�ำเสนอแนวทาง คริสต์ศาสนศาสตร์การจัดการความขัดแย้ง และการคืนดี ในครอบครัวของสังคมไทย ดังนี้ 1) ใช้หลักการถวายเกียรติแด่พระเจ้า (Glorify God.) ผู้เชื่อชาวไทยต้องเชื่อวางใน พระเยซู ค ริ สต์อย่างแท้จริง เพราะพระเยซู คริสต์เป็นผู้น�ำมาซึ่งสันติและการคืนดีอย่าง แท้จริง ผู้เชื่อต้องตระหนักอยู่เสมอว่าความ ขัดแย้งนั้นเกิดจากความแตกต่างของการทรง สร้ า งของพระเจ้ า และเชื่ อ ว่ า ความขั ด แย้ ง ทุกอย่าง ปัญหาทุกอย่างอยูใ่ นการควบคุมของ พระเจ้า ชีวิตที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้าจะไม่
ตอบสนองความขัดแย้งด้วยการกระท�ำบาป ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น และมี ทัศนคติตอ่ ความขัดแย้งว่าจะน�ำมาซึง่ การถวาย เกียรติแด่พระเจ้าผ่านทางชีวติ ของผูเ้ ชือ่ ในการ ปรนนิบตั ผิ อู้ นื่ น�ำผูอ้ นื่ ให้สำ� นึกในบาป กลับใจ และส�ำแดงพระเยซูคริสต์ในชีวิตของตนเอง ชี วิ ต ถวายเกี ย รติ แ ด่ พ ระเจ้ า จะไม่ จ ดจ่ อ กั บ ความต้องการของตนเอง แต่จะให้พระเยซู คริสต์เป็นศูนย์กลาง ดังนั้น ตัวตน “อัตตา” “ทิฐิ” เกียรติศักดิ์ศรีของมนุษย์ไม่ใช่สิ่งส�ำคัญ อีกต่อไป จงสวมหัวใจของพระเยซูพระคริสต์ เพื่อประกาศถึงพระราชกิจของพระเจ้าในชีวิต เป็นโอกาสในการปรนนิบตั ผิ อู้ นื่ และเติบโตขึน้ ในพระเยซู ค ริ ส ต์ ส มกั บ เป็ น พระฉายาของ พระเจ้าในการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า และกับเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ สัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว 2) ชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาของท่าน (Get the log out of your own eye.) การเลือกเป็นฝ่ายเดินหนีออกจากความขัดแย้ง หรื อ การเก็ บ ความขั ด แย้ ง ไว้ ภ ายใน โดยไม่ จั ด การกั บ ความขั ด แย้ ง ตามหลั ก ค� ำ สอนใน พระคริสตธรรมพระคัมภีร ์ หรือแม้แต่การคืนดี แค่เป็นพิธีเท่านั้นไม่ได้ท�ำให้เกิดสันติ หรือการ คืนดีอย่างแท้จริง การเผชิญหน้าในการแก้ไข ปัญหา การสารภาพบาปจะน�ำเราในการส�ำรวจ ความผิดของตนเอง ส�ำนึก กลับใจ มองส่วนดี
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
15
จากความขัดแย้งในครอบครัวสูก่ ระบวนการคืนดี: กรณีศกึ ษาครอบครัวยาโคบจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์
ของคนอื่นๆ มากขึ้น มองข้ามความผิดเล็กๆ น้อยๆ ของคนอื่นและพร้อมที่จะให้อภัยเสมอ ยิ่งกว่านั้นการสารภาพบาปน�ำมาซึ่งการยอม ชดใช้ในสิ่งที่ได้กระท�ำต่อผู้อื่นหากเราเป็นฝ่าย ผิด หรือยอมรับผลที่ตามมา ขอพระเจ้าช่วย ที่จะให้ผู้เชื่อส่งต่อพระคุณพระเจ้าด้วยความ ถ่อมใจ ยอมรับความผิดของตนเองอย่างแท้จริง เปลีย่ นนิสยั พฤติกรรมบาปอันจะน�ำมาซึง่ ความ ขัดแย้ง ผู้เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ต้องให้ อภัยแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข ตามแบบที่พระ
16
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เยซูคริสต์ทรงอภัยและยกบาปผิดทั้งสิ้นของ แก่ผู้เชื่อ การให้อภัยบางอย่างจ�ำเป็นต้องใช้ เวลาในการพิ สู จ น์ ถึ ง ความจริ ง ใจของการ สารภาพและการพูดความจริงด้วยใจรัก เรา ไม่ควรที่จะหมดหวังในการที่จะท�ำให้เกิดการ คื น ดี ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด จ� ำ เป็ น ต้ อ งพึ่ ง พาฤทธิ์ เ ดช ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ พระคุณของ พระเจ้า ในการเป็นผู้สร้างสันติ เพื่อน�ำการ คืนดี สันติสุข มาสู่คนในครอบครัวและสังคม ไทยอย่างแท้จริง
วีระเดช กันธิพันธิ์
บรรณานุกรม เคน แซนดี้. (2014). ผู้สร้างสันติ. เชียงใหม่: มูลนิธินาซารีนทอแสงธรรม. จอห์น ฮาร์กรีฟส์. (1995). คู่มือศึกษาพระธรรมปฐมกาล. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์สุริยบรรณ. บุญทัน ดอกไธสง. (2520). จิตวิทยาผู้น�ำและมนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. พรรณทิพย์ ศิรวิ รรณบุศย์. (2556). แนวคิดจิตวิทยาในการจัดการความขัดแย้งในใจและสร้างสันติ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 205-224. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธบิ ณ ุ ยากร). (2554). พุทธสันติวธิ :ี การบูรณาการหลักการละเครือ่ ง มือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จ�ำกัด. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. สาธนัญ บุณยเกียรติ. (2008). การสือ่ สารพระกิตติคณ ุ ในสังคมไทย. ก้าวที ่ ๑๔๑...คริสตจักรทีห่ นึง่ เชียงใหม่, 142-143. สุนทรี โคมิน. (2533). จิตวิทยาของคนไทย: ค่านิยมและแบบแผนพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. อ็อกเบิร์กเกอร์ เดวิด. (1992). รัก...จนพูดความจริง. กรุงเทพฯ: คริสเตียนศึกษาแบ๊บติสค์. BEC-Tero Entertainment Public Company Limited. (14 กันยายน 2561). [ออนไลน์]. สืบค้นวันที ่ 23 กันยายน 2561. สืบค้นจาก เรือ่ งเล่าเช้านี:้ morning-news.bectero.com/ social-crime/14-Sep-2018/129839. Derek Thompson. The Theological Implications of Being Made in the Image of God. (September 2014). John and Childress, James Macquarrie. (1986). A New Dictionary Of Christian Ethics. London: SCM Press Ltd. Latty M. Russell and J. Shannon Clarkson. (1996). Dictionary of feminist theologies. Kentucky: Westminster John Knox Press. PPTVHD36. (11 ธันวาคม 2560). [ออนไลน์]. สืบค้นวันที ่ 23 กันยายน 2561. สืบค้นจาก LINE TODAY: https://today.line.me/th/pc/article/ปี+59+คนไทย+หย่าร้างกว่าแสนคู่ DEjpkm ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
17
ประสบการณ์กับพระเจ้าในห้อง Lab Experiencing God in laboratory according to Francis Collins.
บาทหลวง วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลเชียงใหม่ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม
Rev.Werasak Yongsripanithan
* Reverend in Roman Catholic Church, Chiang Mai Diocese. * Lecturer, Bachelor of Arts Program in Philosophy and Religion, Saengtham College. *** วันที่ตอบรับบทความ 11 มีนาคม 2562
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
บทคัดย่อ
บทความนีเ้ ป็นบทความทีเ่ รียบเรียงมาจากหนังสือ “ภาษาของ พระเจ้า” เขียนโดย ฟรังซิส คอลลินส์ เขาได้ถ่ายทอดการเดินทางจาก ผู้ไม่มีความเชื่อไปสู่ผู้มีความเชื่อในพระเจ้า เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความ เชือ่ ในพระเจ้านัน้ เป็นเรือ่ งทีส่ มเหตุสมผลเช่นกันส�ำหรับผูท้ ที่ ำ� งานในห้อง ทดลอง นี่เป็นสมัยปัจจุบันที่ทุกคนเชื่อว่าความจริงต้องพิสูจน์ด้วย วิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่คอลลินส์ยืนยันว่าความจริงจะต้องไม่ถูกจ�ำกัด ด้วยห้องทดลองเท่านัน้ แม้เราจะไม่มเี ครือ่ งมือใดทีพ่ สิ จู น์ได้วา ่ พระเจ้า หรือจิตมีอยูจ่ ริง แต่ถา้ ว่าเราก�ำลังมีประสบการณ์กบั สิง่ เหล่านีต้ ลอดเวลา ผู้เขียนได้แบ่งหัวข้อไว้ 7 ประเด็น คือ 1.บทน�ำ 2. ประวัติย่อของฟรังซิส คอลลินส์ 3. ความคิดเรื่องพระเจ้า 4. พิสูจน์จากเรื่องห่างไกล 5. พิสูจน์จากเรื่องใกล้ตัว 6. ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา 7. บทสรุป ค�ำส�ำคัญ:
ภาษาของพระเจ้า ความจริง วิทยาศาสตร์และศาสนา
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
19
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
Abstract
This article is based on the book the Language of God by a prominent American scientist, Francis Collins. He writes of his journey from atheist to Christian faith. He argues that belief in God is perfectly acceptable to those who work in advanced science laboratories. In this present age, when scientific methods are taken to be the only way to measure truth Collins argues for other sources of truth that cannot be accommodated in the scientific ‘box.’ We may not be able to provide empirical proof of God or a Holy Spirit, but they are realities we experience all the time. I divide the article into seven subtitles; 1. An introduction 2. A brief account of the life of Francis Collins 3. The idea of God 4. Distant proofs 5. Proofs from a nearer home 6. The harmonious relationship between science and religion 7. conclusion Keyword:
20
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
The language of God truth science and religion
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
1. Introduction It is easy to see how many believers might have some worries about the future of Christianity because of how widespread the anti-Christian voices have become. The “There is no God’ position is not of course a new one. St Anselm with his ontological argument was trying to offer an answer to that the very statement which in the Psalms is put in the mouth of a fool. It is important for people of Christian faith to be able to offer the best reasons they can for their faith that there is a God. In this article we will look at one man’s road from atheism to Christian faith and his strong defense of this option. His name is Francis Collins. 2. A brief life of Francis Collins Francis Sellers Collins was born in the USA in 1950 and grew up with
1
a simple life on a ninety-five-acre farm. He describes himself as being an agnostic in his college years. However, he always was a searcher for some elusive truth. He writes: “In my early teens I had had occasional moments of the experience of longing for something outside myself, often associated with the beauty of nature or a particularly profound musical experience. Nevertheless, my sense of the spiritual was very undeveloped and easily challenged by the one or two aggressive atheists one finds in almost every college dormitory. By a few months into my college career, I became convinced that while many religious faiths had inspired interesting traditions of art and culture, they held no foundation truth”1
Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.15. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
21
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
By the end of his college years, during which time he obtained a Ph.D. in chemistry he had become a committed atheist. Who influenced his life at that time? He writes: “My heroes were the giants of physics—Albert Einstein, Niels Bohr, Werner Heisenberg, and Paul Dirac. I gradually became convinced that everything in the universe could be explained on the basis of equations and physical principles. Reading the biography of Albert Einstein, and discovering that despite his strong Zionist position after World War II, he did not believe in Yahweh, the God of the Jewish people, only reinforced my conclusion that no thinking scientist could seriously entertain the possibility of God without committing some sort of intellectual suicide”.2
2
Ibid., p.16. 22
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Some years after his studies in chemistry Collins studied medicine and went on to become a famous and high-profile medical scientist. As a medical geneticist at the University of Michigan, he helped discover the genetic misspellings that cause cystic fibrosis, neurofibromatosis, and Huntington’s disease. As head of the highly successful Human Genome Project, he coordinated the work of thousands of geneticists in six countries. His internet biography tells us that in his spare time, he plays guitar, rides a motorcycle, and writes new lyrics to familiar tunes to entertain his colleagues. For several years he was director of the Human Genome Project. Today he is director of the National Institutes of Health (NIH) in Bethesda, Maryland, United States. Before joining NHGRI, he earned a reputation as a gene hunter at the University of Michigan. He has been elected to the Institute
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
of Medicine and the National Academy of Sciences, and has received the Presidential Medal of Freedom and the National Medal of Science. Collins also has written a number of books on science, medicine, and religion, including the New York Times bestseller, The Language of God: A Scientist Presents Evidence for Belief. After leaving the directorship of NHGRI and before becoming director of the NIH, he founded and served as president of The BioLogos Foundation, which promotes discourse on the relationship between science and religion and advocates the perspective that belief in Christianity can be reconciled with acceptance of evolution and science, especially through the advancement of evolutionary creation. In 2009, Pope Benedict XVI appointed Collins to the Pontifical Academy of Sciences.
3 4
3. The idea of God God is not one more thing in the universe subject to scientific examination. Prayer and meditation are other roads to the discovery of God but absolute certainty is not always to be found. Does doubt mean a lack of faith? He writes: “Doubt isn't the opposite of faith; it is an element of faith”.3 He refers to Paul Tillich’s description of faith in his book The Dynamics of Faith. “An unsatisfied desire which is itself more desirable than any other satisfaction”.4 Collins looks at doubt in a positive way. Faith also is a journey of the heart. Times of trouble may test faith but can also be a challenge to deepen it. As rational beings humans is search for the truth. C.S. Lewis, in his book Surprised by Joy writes “I find at once both a sense of satisfaction and a longing to understand some even
P. Tillich, the Dynamics of Faith (New York: Harper & Row, 1957), 20. C. S. Lewis, Surprised by Joy (New York: Harcourt Brace, 1955), 17. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
23
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
greater Truth. In such a moment, science becomes more than a process of discovery. It transports the scientist into an experience that defies a completely naturalistic explanation”.5 Since the time of Karl Marx and Sigmund Freud there has been no shortage of philosophers etc. who set out to show that God does not exist. Marx, who recognized that religion serves a function in society described it in his much-remembered phrase as ‘the opium of the people”. Sigmund Freud affirmed that “Psychoanalysis of individual human beings teaches us with quite special insistence that the God of each of them is formed in the likeness of his father, that his personal relationship to God depends on the relation to his father in the flesh, and oscillates and changes along with that relation, and that at bottom God is nothing other than an
exalted father”.6 This god/father then is purely a human creation which responds to some human psychological needs. The idea of God is nothing more than the fruit of the human mind. In theistic writers like C.S. Lewis we find a different evaluation of this experience. Humans have a desire for something that goes beyond the passing satisfactions of every day. He writes: “Creatures are not born with desires unless satisfaction for those desires exists. A baby feels hunger: well, there is such a thing as food. A duckling wants to swim: well, there is such a thing as water. Men feel sexual desire: well, there is such a thing as sex. If I find in myself a desire which no experience in this world can satisfy, the most probable explanation is that I was made for another world”.7 The desire is deepened by experiencing
Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.36. S. Freud, Totem and Taboo (New York: W. W. Norton, 1962). 7 C. S. Lewis, Mere Christianity (Westwood: Barbour and Company, 1952), 115. 5 6
24
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
a reality which is beyond the bounds of human limitations; that is the experience of God. 4. Proofs from the distant universe In The Language of God, Collins develops the theme that there is no fundamental conflict between the truths of science and those of Christian faith. In fact science can help us get closer to God. He quotes Immanuel Kant: “Two things fill me with constantly increasing admiration and awe, the longer and more earnestly I reflect on them: the starry heavens without and the Moral Law within”.8 Collins pinpoints the beginning of the confusion. “In the sixteenth and seventeenth centuries, Copernicus, Kepler, and Galileo (all strong believers in God) built an increasingly compelling case that the movement of the planets could be properly understood only if
8 9
the earth revolved around the sun, rather than the other way around”.9 In the 1200’s in the University of Paris one of the big debates was about what was called ‘double truth.’ Could reason/philosophy tell one truth about some reality and the Bible tell a contradictory truth about the same reality? St.Thomas Aquinas firmly opposed the idea. He declared that there is only one truth. If something is clearly true in philosophy/science then it must also be accepted as true by people of faith. Truth could not be imprisoned by some system – the true findings of reason must be accepted even if they appear to conflict with faith. Stephen Hawking ‘A Brief History of Time’ concludes that “Then we shall all, philosophers, scientists, and just ordinary people, be able to take part in the discussion of the question of why it is that we and
Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.57. Ibid., p. 59. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
25
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
the universe exist. If we find the answer to that, it would be the ultimate triumph of human reasonfor then we would know the mind of God”10 4.1 The Big Bang Collins looks at the question of the origin of the universe and the apparent contradiction between the accounts of the Book of Genesis and present-day science – the Big Bang theory. Although the first man to suggest this theory was a Catholic priest, Georges Lemaitre of the University of Louvain the credit is usually given to an American Edwin Hubble. “Hubble found that everywhere he looked, the light in the galaxies suggested that they were receding from ours. The farther away they were, the faster the galaxies were receding”.11 Collins continues “The vast majority of physicists and cosmologists believe
that the universe began at a single moment, commonly now referred to as the Big Bang. Calculations suggest it happened approximately 14 billion years ago”.12 Stephen Hawking explains how incredible that event must have been. “Why did the universe start out with so nearly the critical rate of expansion that separates models that recollapse from those that go on expanding forever, that even now, 10 thousand million years later, it is still expanding at nearly the critical rate? If the rate of expansion one second after the Big Bang had been smaller by even one part in 100 thousand million millions, the universe would have recollapsed before it ever reached its present size”13
S. Hawking, A Brief History of Time (New York: Bantam Press, 1998), 210. Francis Collins, the language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.64. 12 Ibid., p.64. 13 Hawking, Brief History, (New York; Bantam press, U.S.A., 1998, p.138. 10 11
26
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
The original theory had to be corrected. Collins again says: “Additional compelling evidence for the correctness of the Big Bang theory has been provided by the ratio of certain elements throughout the universe, particularly hydrogen, deuterium, and helium … That finding is consistent with all of the universe's deuterium having been formed at unbelievably high temperatures in a single event during the Big Bang”.14 As time passes the Big Bang theory becomes more rather than less credible. “Based on these and other observations, physicists are in agreement that the universe began as an infinitely dense, dimensionless point of pure energy”.15 This dimension of pure energy is still expanding into the horizon.
4.2 What existed before the Big Bang? People who accept the Big Bang as a credible theory to explain the origin of the universe are left with another question: what existed before the Big Bang? Many scientists live with the belief that they will be able to explain it all someday. R. Jastrow, in his book ‘God and the Astronomers’ writes that “At this moment it seems as though science will never be able to raise the curtain on the mystery of creation. For the scientist who has lived by his faith in the power of reason, the story ends like a bad dream. He has scaled the mountains of ignorance; he is about to conquer the highest peak; as he pulls himself over the final rock, he is greeted by a band of theologians who have been sitting there for centuries”16
Francis Collins, The Language of God; CPI Group (UK), Britain, 1988, p.64-65. Francis Collins, The Language of God; CPI Group (UK), Britain, 1988, 65. 16 R. Jastrow, God and the Astronomers (New York: W. W. Norton, 1992), 107. 14 15
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
27
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
Jastrow does not see a necessary conflict between the scientific and Biblical accounts. “Now we see how the astronomical evidence leads to a biblical view of the origin of the world. The details differ, but the essential elements and the astronomical and biblical accounts of Genesis are the same; the chain of events leading to man commenced suddenly and sharply at a definite moment in time, in a flash of light and energy”.17 Biblical and astronomical arguments give dimensions of the truth. The how and the why of universe’s beginning still leaves many questions. Collins says: “I have to agree. The Big Bang cries out for a divine explanation. It forces the conclusion that nature had a defined beginning. I cannot see how nature could have created itself. Only a supernatural force that is outside of
space and time could have done that”18 4.3 Formation of our Solar system and planet Earth We may not know what happened before the Big Bang but scientists are gradually discovering what happened after it. “For the first million years after the Big Bang, the universe expanded, the temperature dropped, and nuclei and atoms began to form. Matter began to coalesce into galaxies under the force of gravity. It acquired rotational motion as it did so, ultimately resulting in the spiral shape of galaxies such as our own. Within those galaxies local collections of hydrogen and helium were drawn together, and their density and temperature rose. Ultimately nuclear fusion commenced”19
Ibid., p. 14. Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.67. 19 Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.67. 17 18
28
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
Scientists are still trying to establish with more accuracy when and how life appeared on earth. For the existence of life certain elements were necessary. “Early in the universe (within the first few hundred million years) such elements appeared only in the core collapsing stars, but some of these stars then went through massive explosions known as supernovae, flinging heavier elements back into the gas in the galaxy”. 20 Gradually the planets were formed. For us who live on earth the formation of the Sun was a vitally important event. “Scientists believe our own sun did not form in the early days of the universe; our sun is instead a second- or third-generation star, formed about 5 billion years ago by a local re-coalescence. As that was occurring, a small proportion of heavier elements in the vicinity escaped incorporation into the new star, and instead
collected into the planets that now rotate around our sun”21 The more you search, the more you understand and the more you understand, the more you believe. A long time ago St.Augustine said I believe in order to understand and later on St.Anselm took up this theme. Collins says “All of these steps in the ormation of our solar system are now well described and unlikely to be revised on the basis of additional future information. Nearly all of the atoms in your body were once cooked in the nuclear furnace of an ancient supernova—you are truly made of Stardust”.22 How did life come to be in this universe? I like the way Collins’s describes it. He pushes us to reflect more on the origin of life in this universe and how we might reconcile the scientific view with the Biblical one:
Ibid., p.68. Ibid., p.68. 22 Ibid., p.68. 20 21
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
29
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
“The origin of complex life forms in this universe could not have happened in less than about 510 billion years after the Big Bang, since the first generation of stars would not have contained the heavier elements like carbon and oxygen that we believe are necessary for life, at least as we know it. Only a second- or third-generation star, and its accompanying planetary system, would carry that potential. Even then, a great deal of time would be necessary for life to reach sentience and intelligence. While other life forms not dependent on heavy elements might potentially exist elsewhere in the universe, the nature of such organisms is extremely difficult to contemplate from our current knowledge of chemistry and physics”23
23
Ibid., p.68-69.
30
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
If a divine being, God, exists it seems unlikely he can somehow communicate with all the individuals on Earth – and much less with humans on other planets if such people exist? Frank Drake responds: “In my view, such conclusions do not really seem warranted. If God exists, and seeks to have fellowship with sentient beings like ourselves, and can handle the challenge of interacting with six billion of us currently on this planet and countless others who have gone before, it is not clear why it would be beyond His abilities to interact with similar creatures on a few other planets or, for that matter, a few million other planets. It would, of course, be of great interest to discover whether such creatures in other parts of the universe also possess the Moral
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
Law, given its importance in our own perception of the nature of God. Realistically, however, it is unlikely that any of us will have the opportunity to learn the answers to those questions during our lifetime”24 5. Proofs from nearer home I am not trying to give some proofs that God exists but I am trying to indicate what kind of reasons for our belief we might give to someone who asks ‘Why do you believe?’ We should be able to give a response. What is it in my experience that makes me continue to believe? Most people have a desire for truth and understanding but they often either fail to find or go down wrong roads. Sometimes they search too far away. A better understanding of our own bodies might offer us reasons to believe in a creator. Collins writes: 24 25
“All evidence currently available suggests that the earth was a very inhospitable place for its first 500 million years. The planet was under constant and devastating attack from giant asteroids and meteorites, one of which actually tore the moon loose from Earth. Not surprisingly, therefore, rocks dating back 4 billion years or more show absolutely no evidence of any life forms. Just 150 million years later, however, multiple different types of microbial life are found. Presumably, these single celled organisms were capable of information storage, probably using DNA, and were self-replicating and capable of evolving into multiple different types”25 Man can get knowledge about the distant universe or he can measure even the deepest point of the sea but somehow he doesn’t know much
Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.71. Ibid., p.89. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
31
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
about the closest things to him such as eyelids or the moving of organs in the body. Collins talks about some of the possible biological arguments for creation. “Fifty years ago, famous experiments by Stanley Miller and Harold Urey reconstructed a mixture of water and organic compounds that might have represented primeval circumstances on Earth. By applying an electrical discharge, these researchers were able to form small quantities of important biological building blocks, such
as amino acids. The finding of small amounts of similar compounds within meteorites arriving from outer space has also been put forward as an argument that such complex organic molecules can arise from natural processes in the universe”26 Collins is an expert in genetics and DNA. He explains: “DNA 27 seems to possess no intrinsic means of copying itself. More recently, many investigators have pointed instead to RNA28 as the potential first life
Ibid., p. 90. “The DNA molecule has a number of remarkable features. The outside backbone is made up of a monotonous ribbon of phosphates and sugars, but the interesting stuff lies on the inside. The rungs of the ladder are made up of combinations of four chemical components, called "bases." Let's call them (from the actual chemical names of these DNA bases) A, C, G, and T. Each of these chemical bases has a particular shape. (Francis Collins, the language of God, p. 102 at Figure 4.1). 28 The main job of RNA is to transfer the genetic code need for the creation of proteins from the nucleus to the ribosome. this process prevents the DNA from having to leave the nucleus, so it stays safe. Without RNA, proteins could never be made. (https://www.saylor.org/site/wpcontent/uploads/2010/11/BIO101-DNA-vs-RNA.pdf) 26 27
32
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
form, since RNA can carry information and in some instances it can also catalyze chemical reactions in ways that DNA cannot. DNA is something like the hard drive on your computer: it is supposed to be a stable medium in which to store information (though, as with your computer, bugs and snafus are always possible). RNA, by contrast, is more like a Zip disk or a flash drive—it travels around with its programming, and is capable of making things happen on its own”29 Aspects of life that were a total mystery to scientists in the past are gradually being explained as the complex nature of DNA is better understood.
“DNA provides another wonderful example of possibility spaces. DNA molecules are strings of ust four kinds of nucleobase molecules (typically labeled C, G, A, or T). But they can be combined in almost any order into long strings. The DNA in mammalian cells has about a billion nucleobases strung together. This means that there are about 10500,000,000 different possible ways to put together a DNA string that long. When God designed the DNA molecule, he also created the vast possibility space of creatures which could be generated by all those combinations. The natural laws of biochemistry describe the mutations by which a cell can move
Francis Collins, the language of God; A scientist presents evidence for Belief, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.91. 29
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
33
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
from one location in the combinatoric possibility space of DNA to another. Living organisms over the long history of life on earth have only explored an extremely tiny portion of that enormous possibility space”30 All of the foregoing is complex but it does underline the fact that we are part of a web of life. DNA studies show that a surprising amount of what we think is unique to humans is also shared by other living things. For example over 90% of our genes are similar to those of the chimpanzee. Darwin was right when he said, “When the views advanced by me in this volume, and by Mr. Wallace, or when analogous views on the origin of species are generally admitted, we can dimly foresee that there will be a considerable
revolution in natural history”31 What, for example, can we say about the following? “Some theists have identified the appearance of RNA and DNA as a possible opportunity for divine creative action”.32 Or another statement: “A theory of the method of the divine providence”.33 Collins does not accept the idea of ‘special creation’ that is, the idea that God intervenes at certain points along the journey of evolution to ‘fill a gap.’ He doesn’t accept intelligent design arguments either. This type of argument uses examples of what they call ‘irreducible complexity’ to demonstrate God’s existence. Without invoking any of these arguments Collins says: “There are good reasons to believe in God, including the existence of mathematical principles and order in creation. They are positive
https://biologos.org/blogs/guest/creating-information-naturally-part-1-snowflakes-chess-anddna. 31 C. R. Darwin, the Origin of Species (New York: Penguin, 1958), 456. 32 Ibid., p. 92. 33 B. B. Warfield, "On the Antiquity and the Unity of the Human Race," Princeton Theological'Review'9 (1911): 1-25. Darwin, Origin, 452. 30
34
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
reasons, based on knowledge, rather than default assumptions based on (a temporary) lack of knowledge”.34 Although Darwin, as a middle aged man allowed for the existence of a Creator, in later life he appeared to drift into agnosticism or atheism. For Collins his scientific reflections led him in a different direction: “I had to admit that the science I loved so much was powerless to answer questions such as "What is the meaning of life?" "Why am I here?" "Why does mathematics work, anyway?" "If the universe had a beginning, who created it?" "Why are the physical constants in the universe so finely tuned to allow the possibility of complex life forms?" "Why do humans have a moral sense?" "What happens after we die?”.35
These were the questions that forced Collins to continue his search. He gradually came to see that if God exists, then He must be outside the natural world, and therefore the tools of science are not the right ones to learn about Him.36 As human being we cannot stop searching because by our nature we are questioners. 6. Science and faith in harmony The 21st century has already seen several brutal wars such as the one (largely) between the great powers fought on Syrian soil which caused such immense suffering and destruction. This and other wars show how little has been learned with the passing of time and the advance of science. I remember an Italian saying ‘quando la guerra è, l'umanità usa la pala ma quando non c'è guerra, usando la zappa’ In simple
Ibid., p. 93. http://edition.cnn.com/2007/US/04/03/collins.commentary/index.html. 36 Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.30. 34 35
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
35
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
words it means that when there is no war humanity progresses; when there is war it slides backwards. In previous pages we wrote of a conflict between religious authorities and a scientist, Galileo, in the seventeenth century. That however was not the normal state of affairs. This article is principally written to offer some ideas on the relationship today. Collins is very aware of the conflict between many promoters of the technological society and belief in God at the present time. “In the twenty-first century, in an increasingly technological society, a battle is raging for the hearts and minds of humanity. Many materialists, noting triumphantly the advances of science in filling the gaps of our understanding of nature, announce that belief in God is an outmoded superstition”.37 Media often present a scenario of the relationship between science and religion as
37 38
Ibid., p.210. Ibid., p.211.
36
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
a battleground. There are extremists on both sides and it is unlikely that they will come to harmonious agreement at any time in the near future. Francis Collins the scientist who loves his discipline and research sees science not as a threat but as the language of God. He warns against the dangers of insisting that it involves an either/or choice. “Will we turn our backs on science because it is perceived as a threat to God, abandoning all of the promise of advancing our understanding of nature and applying that to the alleviation of suffering and the betterment of humankind? Alternatively, will we turn our backs on faith, concluding that science has rendered the spiritual life no longer necessary, and that traditional religious symbols can now be replaced by engravings of the double helix on our altars?”38
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
On the extremes there is one side that insists on a fundamentalist religious interpretation of the universe and on the other there are the disciples of scientism, the belief that science can answer all the most important questions. Collins warns: “Both of these choices are profoundly dangerous. Both deny truth. Both will diminish the nobility of humankind. Both will be devastating to our future. And both are unnecessary. The God of the Bible is also the God of the genome. He can be worshiped in the cathedral or in the laboratory. His creation is majestic, awesome, intricate, and beautiful-and it cannot be at war with itself. Only we imperfect humans can start such battles. And only we can end them”39
39
His reminder needs to be taken seriously. An exaggerated emphasis on one side leads to a denial of the truth of the other. Reality is complex, no onedimensional. God can be venerated in the Church or in the laboratory. While we understand one aspect of reality we have to be sensitive to the fact that there are other aspects which can be studied by other disciplines, or are seen in other cultures. Collins says that the questions are many. “Some have asked, doesn't your brain explode? Can you both pursue an understanding of how life works using the tools of genetics and molecular biology, and worship a creator God? Aren't evolution and faith in God incompatible? Can a scientist believe in miracles like the resurrection? Actually, I find no conflict here,
Francis Collins, the Language of God, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.211. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
37
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
and neither apparently do the 40 percent of working scientists who claim to be believers. Yes, evolution by descent from a common ancestor is clearly true. If there was any lingering doubt about the evidence from the fossil record, the study of DNA provides the strongest possible proof of our relatedness to all other living things”40 In The Language of God Collins gives the reasons why faith and reason or science and religion can be compatible. He provides the resources for those who doubt this is possible. One of the objectives of this article has been to present some of his main ideas in order to help those who may be beginning to think there are irreconcilable conflicts between them. At the end of his book The Language God he summarizes:
40 41
“I have found there is a wonderful harmony in the complementary truths of science and faith. The God of the Bible is also the God of the genome. God can be found in the cathedral or in the laboratory. By investigating God's majestic and awesome creation, science can actually be a means of worship.41 7. Conclusion In the conclusion of his book ‘The Language of God’ Francis Collins says that before a non-believer makes any judgments about the faith of another person, they are obliged to take time to study the real meaning of that expression of faith. People who don’t do that are in danger of relying on their own prejudice or may simply set up a ‘straw man’ and then proceed to knock it down with their arguments. Believers too must be careful:
http://edition.cnn.com/2007/US/04/03/collins.commentary/index.html. http://edition.cnn.com/2007/US/04/03/collins.commentary/index.html.
38
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
“In matters that are so obscure and far beyond our vision, we find in Holy Scripture passages which can be interpreted in very different ways without prejudice to the faith we have received. In such cases, we should not rush in headlong and so firmly take our stand on one side that, if further progress in the search for truth justly undermines this position, we too fall with it”42 We see that Collins doesn’t waste much time on historical or contemporary debates about the conflict between science and religion but he goes straight to the heart of his theme: evidence of the existence of God. He writes:
“I confess that I didn't pay much more attention to the potential for conflict between science and faith for several years it just didn't seem that important. There was too much to discover in scientific research about human genetics, and too much to discover about the nature of God from reading and discussing faith with other believers”.43 At the end of his book he affirms that it is up to the reader to decide the persuasiveness of the evidence and if he/she accepts it to become a promoter of peace and happiness in the world. For Collins the evidence was convincing:
Saint Augustine, The Literal Meaning of Genesis, translated and annotated by John Hammond Taylor, S.J. (New York: Newman Press, 1982), 1:41. 43 Francis Collins, the language of God; A scientist presents evidence for Belief, CPI Group (UK), Britain, 1988, p.198. 42
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
39
Experiencing God in laboratory according to Francis Collins
“I found this elegant evidence of the relatedness of all living things an occasion of awe, and came to see this as the master plan of the same Almighty who caused the universe to come into being and set its physical parameters just precisely right to allow the creation of stars, planets, heavy elements, and life itself. Without knowing its name at the time, I settled comfortably into a synthesis generally referred to as "theistic evolution," a position I find enormously satisfying to this day”.44 I hope this paper may help others towards a position that is both credible and satisfying.
44
Ibid., p.199.
40
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน
References Alister McGrath. (2007). A review of The Dawkins Delusion. [Online]. Available: https://billm uehlenberg.com/2007/03/20/a-review-of-the-dawkins-delusion-by-alister-mcgrath/. Darwin, C. R. (1958). The Origin of Species. New York: Penguin. Darwin, C. R. (1958). The Origin of Species. New York: Penguin, 456. Darwin, C. R. (1999). Quoted in Kenneth R. Miller, Finding Darwin's God. New York: HarperCollins, 287. Francis Collins. (1988). The language of God; A scientist presents evidence for Belief, CPI Group (UK): Britain. Francis Collins. (2007). Colins: Why this scientist believes in God. [Online]. Available: http:// edition.cnn.com/2007/US/04/03/collins.commentary/index.html. Freud, S. (1962). Totem and Taboo New York: W. W. Norton. Hawking, S. (1998). A Brief History of Time. New York: Bantam Press. Jastrow, R. (1992). God and the Astronomers. New York: W. W. Norton. Lewis, C. S. (1955). Surprised by Joy New York: Harcourt Brace. Saint Augustine. (1982). The Literal Meaning of Genesis, translated and annotated by John Ham mond Taylor, S.J. New York: Newman Press. The Biologos Forum. (2018). Creating Information Naturally, Part1: Snowflakes, Chess, and DNA. [Online]. Available: https://biologos.org/blogs/guest/creating-information-naturally-part 1-snowflakes-chess-and-dna. Tillich, P. (1957). The Dynamics of Faith New York: Harper & Row. Warfield, B. B. (1911). "On the Antiquity and the Unity of the Human Race," Princeton Theological'Review'9. White, A. D. (1898). A History of the Warfare of Science with Theology in Christendom. New York.
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
41
กระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรนำ�้ของ
ชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
The Learning process of water resource
management of Nong Phan Chan community, Ban Kha district, Ratchaburi province. ปริชัย ดาวอุดม
* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Pharichai Daoudom
* Lecturer, Department of Development Education Graduate School, Srinakarinwirot University. *** วันที่ตอบรับบทความ 22 มิถุนายน 2562
ปริชัย ดาวอุดม
บทคัดย่อ
การวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษากระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการ ทรัพยากรน�้ำของชุมชนหนองพันจันทร์ อ�ำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี และสังเคราะห์ตัวแบบการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรน�้ำของชุมชน หนองพันจันทร์ อ�ำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี วิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาของทฤษฎีฐานราก เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม กระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรน�้ำของชุมชนหนอง พันจันทร์ ประกอบไปด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การ รับรู้เงื่อนไขของโลกทางวัตถุที่แวดล้อมอยู่ภายใต้บริบทชุมชน 2) การ แก้ ไขดั ด แปลงสภาพแวดล้ อ มทางวั ต ถุ ใ ห้ เ ป็ น ไปในทิ ศ ทางที่ ชุ ม ชน ต้องการ 3) ความส�ำเร็จในการจัดการทรัพยากรน�้ำของชุมชน ผลการ สังเคราะห์ตัวแบบการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรน�้ำของชุมชน พบว่า ภายใต้ ค วามเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น คนในชุ ม ชนจะน� ำ เอาความรู ้ ภูมปิ ญ ั ญาและบทเรียนจากประวัตศิ าสตร์ชมุ ชน มาสร้างการรับรูใ้ นการ เปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากร น�ำไปสู่การปรับทิศทางหรือการหาวิธีการ แก้ปัญหา เพื่อสนองความต้องการของตนเองและคนในชุมชนสั่งสม กลายเป็นความรูใ้ หม่ในการบริหารจัดการทรัพยากรน�ำ้ ของชุมชนหนอง พันจันทร์ ค�ำส�ำคัญ:
กระบวนการเรียนรู้ พลังแห่งการสร้างสรรค์ การจัดการทรัพยากรน�้ำ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
43
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
Abstract
This research aimed to study the learning process of water resource management of Nong Phan Chan community, Ban Kha district, Ratchaburi province. And synthesize the learning model for water resource management of Nong Phan Chan community, Ban Kha district, Ratchaburi province The methodology used in the research is qualitative research by using the methodology of grounded theory. Data were collected by in-depth interviews and group discussions. Learning process of water resource management of Nong Phan Chan community Consists of 3 learning steps: 1) Recognizing the conditions of the material world under the context of the community 2) Modifying the material environment in the direction that the community needs 3) Success In the management of community water resources. The results of the synthesis of learning models for community water resource management found that under the changes that occurred people in the community will bring knowledge, wisdom and lessons from community history to create awareness in the change of resources leading to direction adjustment or finding solutions. To meet the needs of themselves and the people in the community became a new knowledge in water resource management of Nong Phan Chan community. Keyword:
44
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
learning process creative power water resource management
ปริชัย ดาวอุดม
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ต�ำบลหนองพันจันทร์ อ�ำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เป็นชุมชนที่พึ่งพาอาศัยน�้ำเพื่อ การเกษตรมาโดยตลอด มีการปรับตัวต่อการ เปลี่ ย นแปลงของสถานการณ์ น�้ ำ อย่ า งเป็ น พลวั ต จากอดี ต ที่ ต ้ อ งพึ่ ง พาน�้ ำ จากฝนตาม ฤดูกาล ปัจจุบันชุมชนได้มีการบริหารจัดการ ทรัพยากรน�้ำจากอ่างเก็บน�้ำห้วยมะหาดอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยในปี 2558 ซึง่ ประเทศไทย ทั่ ว ทุ ก ภาคประสบปั ญ หาภั ย แล้ ง ขั้ น วิ ก ฤติ 1 แต่ ด ้ ว ยการบริ ห ารจั ด การอ่ า งเก็ บ น�้ ำ ห้ ว ย มะหาดที่ ยึ ด การมี ส ่ ว นร่ ว มและอ� ำ นาจการ ตัดสินใจจากประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ท�ำให้ อ่างเก็บน�ำ้ ห้วยมะหาดสามารถเก็บน�ำ้ ส�ำรองไว้ ได้ถึง 1 แสนลูกบาศก์เมตร อันเกิดจากการ ร่วมกันก�ำหนดกฎเกณฑ์กติกา และควบคุมการ ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดของคนในชุมชน สะท้อนให้เห็นเงื่อนไขการตื่นรู้ของชุมชนที่ ลุกขึ้นมาจัดการทรัพยากรน�้ำเพื่อแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของตนเอง ความส� ำ เร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในการบริ ห าร จัดการทรัพยากรน�้ำของชุมชนหนองพันจันทร์
นัน้ เป็นกระบวนการทีเ่ กิดขึน้ อย่างสร้างสรรค์ ผ่านการต่อสู ้ ต่อรอง การสร้างความร่วมมือกับ คนในและนอกชุมชน รวมถึงการมีสว่ นร่วมจาก หน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชนน� ำ ไปสู ่ ค วาม ส�ำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำอย่าง มีประสิทธิภาพ ภายใต้กระบวนการดังกล่าว คนในชุมชนได้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ จริง (learning by doing) เป็นการเรียนรู้ ของชุมชนที่ใช้การร่วมเผชิญ ต่อสู้และต่อรอง กั บ ปั ญ หาที่ ส� ำ คั ญ อั น เป็ น การเรี ย นรู ้ โ ดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน (problem based) อย่างหนึง่ ซึ่งคนในชุมชนร่วมกันเสาะแสวงหาค�ำตอบ ค�ำอธิบายและวิธแี ก้ไขปัญหาการขาดแคลนน�ำ้ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความหมายส�ำคัญต่อคนใน ชุมชน2 ร่วมดัดแปลงแก้ไข น�ำไปสู่การสนอง ตอบความต้องการอย่างเข้มแข็ง การเรียนรู้ ดังกล่าวกลายเป็นความรูแ้ ฝงฝัง (tacit knowledge) ที่ปรากฏอยู่ในตัวบุคคลทั่วทั้งชุมชน3 ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งที่จะอธิบายให้ เห็ น ว่ า กระบวนการเรี ย นรู ้ ข องชุ ม ชนที่ เ กิ ด ขึ้นจากการจัดการทรัพยากรน�้ำของชุมชนใน ต�ำบลหนองพันจันทร์นนั้ มีกระบวนการอย่างไร
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร. 2559. Barrows, H.S. 2000. 3 ส�ำนักการจัดการความรู้. 2558. 1 2
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
45
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
ซึง่ เป็นพืน้ ฐานส�ำคัญของการจัดการทรัพยากร น�ำ้ ของชุมชน สะท้อนให้เห็นการบริหารจัดการ ที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและตอบสนองความ ต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง และสังเคราะห์ น�ำเสนอตัวแบบการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากร น�้ำของชุมชนหนองพันจันทร์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการ จัดการทรัพยากรน�ำ้ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อ�ำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี 2. เพื่อสังเคราะห์ตัวแบบการเรียนรู้ใน การจั ด การทรั พ ยากรน�้ ำ ของชุ ม ชนหนอง พันจันทร์ อ�ำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
กรอบแนวคิดของการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรน�้ำ
ความส�ำเร็จ ในการบริหารจัดการน�้ำ
วิธีการวิจัย การวิ จั ย นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ (Qualitative research) ภายใต้ฐานคิดแบบ สร้างสรรค์สังคม (Social Constructivism) ทีเ่ ชือ่ ว่าความรูค้ วามจริงเป็นสิง่ ทีม่ นุษย์รว่ มกัน สร้างขึ้น เป้าหมายในการศึกษาจึงมุ่งที่จะเข้า ถึงความหมายของประสบการณ์ชีวิตบุคคลใน ชุมชนทีผ่ า่ นการเรียนรูใ้ นการบริหารจัดการน�ำ้ ในชุมชนหนองพันจันทร์ เลือกใช้วิธีการศึกษา ตามแนวทางของการสร้ า งทฤษฎี ฐ านราก (Grounded theory approach) เนื่องจาก เป็นวิธีในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมที่ Charmaz, K. 2014.
4
46
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ตัวแบบการเรียนรู้ ในการจัดการทรัพยากรน�้ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์
เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ น� ำ ไปสู ่ ก ารสร้ า ง (construct) ทฤษฎีบนฐานของปรากฏการณ์ และได้รับ การตรวจสอบ (verify) โดยการเก็บและวิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางสังคม อย่างเป็นระบบ4 โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนหนองพันจันทร์ ตลอดจนนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อน การพัฒนาสู่พื้นที่ชุมชนในด้านต่างๆ อันแสดง ให้เห็นถึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่ อันเป็นผลมาจากนโยบายของภาครัฐ
ปริชัย ดาวอุดม
2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-dept interview) โดยใช้คำ� ถามแบบกึง่ โครงสร้างทีเ่ ป็น ค�ำถามปลายเปิด เน้นการสนทนาและสร้าง ข้ อ มู ล ร่ ว มกั น ระหว่ า งผู ้ สั ม ภาษณ์ กั บ ผู ้ ถู ก สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 3. การเลือกผูใ้ ห้ขอ้ มูลภายใต้การยึดจุด มุ่งหมายของการวิจัยเป็นหลัก (purposeful sampling) กล่าวคือเป็นบุคคลทีม่ เี รือ่ งราวและ ประสบการณ์ชีวิตที่สอดคล้องกับเรื่องที่ท�ำ การวิจัย รวม 18 คน ประกอบด้วย 3.1 คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น�้ำทุกกลุ่ม ในต�ำบลหนองพันจันทร์ 3.2 ผูน้ ำ� ชุมชนทัง้ ผูน้ ำ� โดยต�ำแหน่งและ ผู้น�ำตามธรรมชาติ 3.3 สมาชิกผู้ใช้น�้ำในชุมชนและผู้เกี่ยว ข้องจากหน่วยงานต่างๆ ทัง้ ภาครัฐและเอกชน 4.การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ด� ำ เนิ น การไป พร้อมกับการเก็บข้อมูล เนือ่ งจากการใช้ทฤษฎี ฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหลักนั้น ไม่สามารถรอ ให้มีการเก็บข้อมูลจนเสร็จสิ้น โดยสามารถท�ำ วิเคราะห์ไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล ดังนี้ 4.1 เมือ่ ได้ขอ้ มูลชุดแรกผูว้ จิ ยั ได้ดำ� เนิน การก� ำ หนดรหั ส เพื่ อ จ� ำ แนกข้ อ มู ล (open coding)
4.2 เชื่อมโยงข้อมูลที่จ�ำแนกตามรหัสที่ สัมพันธ์กัน เพื่อสร้างมโนทัศน์ของข้อมูลเป็น กลุ่มๆ 4.3 เมือ่ ได้มโนทัศน์ทสี่ มั พันธ์เป็นกลุม่ ๆ แล้วจึงน�ำมโนทัศน์เหล่านั้นมาเรียบเรียงสร้าง เป็นข้อเสนอเชิงทฤษฎี 4.4 พัฒนาข้อเสนอเชิงทฤษฎี (proposition) และสร้างโครงร่างตัวแบบเชิงมโนทัศน์ (conceptual model) 4.5 ด�ำเนินการเก็บข้อมูลต่อไปและย้อน กลั บ ไปท� ำ การก� ำ หนดรหั ส ข้ อ มู ล แบบเดิ ม ซึ่งในขั้นตอนเหล่านี้จะมีการปรับข้อเสนอเชิง ทฤษฎีไปตามข้อมูลและมโนทัศน์ที่ค้นพบเพิ่ม ขึ้น จนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว5 5.จัดให้มีการสนทนากลุ่มเพื่อน�ำเสนอ ข้อเสนอเชิงทฤษฎี และโครงร่างตัวแบบเชิง มโนทั ศ น์ กั บ กลุ ่ ม ผู ้ น� ำ ชุ ม ชน กลุ ่ ม คณะ กรรมการผู ้ ใช้ น�้ ำ กลุ ่ ม สมาชิ ก ผู ้ ใช้ น�้ ำ กลุ ่ ม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะตรวจ สอบความถู ก ต้ อ ง อั น เป็ น การอธิ บ าย ปรากฏการณ์ทศี่ กึ ษาจากมุมมองทีห่ ลากหลาย ซึง่ ช่วยให้ผวู้ จิ ยั สามารถสร้างข้อสรุปเชิงทฤษฎี และตั ว แบบเชิ ง มนโนทั ศ น์ ไ ด้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ ยิ่งขึ้น
นภาภรณ์ หะวานนท์และคณะ. 2550.
5
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
47
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
6. น� ำ ข้ อ มู ล จากการสนทนากลุ ่ ม มา ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อเสนอเชิง ทฤษฎีและตัวแบบโครงร่างมโนทัศน์ และสร้าง เป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎีและตัวแบบเชิงมโนทัศน์ กระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยแบบปรึกษา หารือบนฐานการจัดการทรัพยากรน�้ำ ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการเรียนรู้ การจั ด การทรั พ ยากรน�้ ำ ของชุ ม ชนหนอง พันจันทร์ ประกอบไปด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1.1 การรับรู้เงื่อนไขของโลกทางวัตถุ ทีแ่ วดล้อมอยูภ่ ายใต้บริบทชุมชน การทีค่ นใน ชุ ม ชนที่ ยั ง มี ชี วิ ต อยู ่ มี ทั้ ง กลุ ่ ม คนที่ เริ่ ม ย้ า ย ถิ่นฐานเข้ามาในชุมชนในยุคสมัยที่ยังเป็นป่า ต้องเริม่ ตัง้ ถิน่ ฐานด้วยการหักร้างถางพง ท�ำให้ คนในชุมชนมีการรับรู้เงื่อนไขของโลกทางวัตถุ ที่แวดล้อมอยู่ภายใต้บริบทชุมชนดังนี้ 1.1.1 ประวัติศาสตร์ชุมชนกับการรับรู้ การเปลี่ ย นแปลงของบริ บ ทด้ า นทรั พ ยากร ชุมชนหนองพันจันทร์มีประวัติที่สามารถย้อน ไปได้ในราวปีพ.ศ.2500 เป็นยุคทีค่ นรุน่ แรกเริม่ อพยพโยกย้ายเข้าสู่พื้นที่ด้วยการเข้ามาขอซื้อ ทีด่ นิ จากชนเผ่ากะเหรีย่ งทีเ่ คยตัง้ ถิน่ ฐานอยูม่ า ก่อน ราคาค่างวดทีด่ นิ ไม่ได้มรี าคาแพงมากนัก และปริ ม าณที่ ดิ น ก็ มี ม ากพอที่ จ ะให้ แ ต่ ล ะ
48
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ครอบครัวเข้ามาท�ำมาหากินได้อย่างเหลือเฟือ ทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เพราะ ยั ง คงสภาพความเป็ น ป่ า เขา มี ดิ น ที่ อุ ด ม สมบูรณ์ มีนำ�้ จากน�ำ้ ฝน ท�ำให้ผคู้ นเริม่ หลัง่ ไหล เข้าสู่ชุมชนมากขึ้นจากหลายจังหวัดในพื้นราบ การก่อตัวของชุมชนก็เริ่มจากกลุ่มเครือญาติ ไปจนถึ ง เพื่ อ นบ้ า นที่ ไ ม่ รู ้ จั ก กั น มาก่ อ นเลย เป็ น การอยู ่ อ าศั ย ร่ ว มกั น อย่ า งมี ก ฎกติ ก าที่ ค่อยๆ ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อการแบ่งปันและ การใช้ทรัพยากร การหาอยู่หากินในพื้นที่เป็น เวลานานท�ำให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และรู้จัก ทรัพยากร ภูมปิ ระเทศ สภาพทางลมฟ้าอากาศ รวมไปถึงการสัง่ สมภูมปิ ญ ั ญาทีใ่ ช้ในการจัดการ กับพื้นที่ท้องถิ่นชุมชนของตนเอง แต่เมื่อวัน เวลาผ่ า นไปเทคโนโลยี ท างการเกษตรและ กิจกรรมการเกษตรแบบเชิงการค้าได้แพร่เข้าสู่ ชุมชนพร้อมๆ กับความเจริญก้าวหน้าของถนน หนทาง การท�ำการเกษตรง่ายขึ้นเนื่องจากมี เครื่องทุ่นแรง การพึ่งพาโลกภายนอกก็มีมาก ยิง่ ขึน้ ทัง้ การขายผลผลิตและการซือ้ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและยา การขยายที่ดินเพื่อการเพาะปลูก ก็เริม่ ขยายออกไปมากขึน้ ขณะทีด่ นิ เริม่ เสือ่ มลง และฝนเริ่มไม่ตกต้องตามฤดูกาล คนในชุมชน รับรูถ้ งึ ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ ข้าขัน้ วิกฤติมากขึน้ เรือ่ ยๆ คนในชุมชนก็ไม่ได้คดิ จะทิง้ ถิน่ หากแต่ หันหน้าเข้าสู้โดยการรับรู้สภาพความเปลี่ยน แปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสามารถที่จะ
ปริชัย ดาวอุดม
เทียบเคียงกับสภาพการณ์ที่พวกเขาได้เผชิญ มานับแต่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐาน นับเป็นความรู้ ที่ค่อยๆ สั่งสมจากประสบการณ์แบบปีต่อปี และรุ่นสู่รุ่น 1.1.2 ความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากร การทีค่ นในชุมชนส่วนใหญ่ลว้ นแต่เป็นคนทีเ่ ข้า มาในชุมชนตัง้ แต่ยคุ ต้นๆ บางคนตามพ่อแม่มา ตัง้ แต่วยั เด็ก บางคนมาเกิดในชุมชนท�ำให้พวก เขามีความผูกพันกับชุมชนอย่างมาก การใช้ ชีวติ ในชุมชนทีอ่ ยูห่ า่ งไกลจากความเจริญท�ำให้ คนในชุมชนส่วนใหญ่ได้ใช้เวลาในการสังเกต ส�ำรวจและเรียนรูท้ กุ สิง่ ทีอ่ ยูร่ อบตัวในชุมชนจน สามารถเก็บเป็นสถิติคร่าวๆ ในการท�ำนาย สภาพทางสิง่ แวดล้อม เช่น ฝนตก น�ำ้ แล้ง การ เกิดพายุ การเกิดน�้ำป่าไหลหลาก เส้นทางน�้ำ ความสูงต�ำ่ ของพืน้ ที ่ ฯลฯ ท�ำให้คนในชุมชนมี ฐานความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับทรัพยากรของตน และมี ค วามหวงแหนในฐานะที่ เ ป็ น เจ้ า ของ ทรัพยากรนั้นร่วมกัน ความรู้สึกเป็นเจ้าของนี้ ท�ำให้คนในชุมชนไม่รู้สึกแปลกแยกจากชุมชน มีความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกับพืน้ ที ่ ทรัพยากร และผู ้ ค นในชุ ม ชน การที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทาน อ่างเก็บน�ำ้ ตามโครงการพระราชด�ำริขนึ้ บริเวณ ห้วยมะหาดในพื้นที่ของชุมชนหนองพันจันทร์ คนในชุมชนจึงรูส้ กึ ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ พร้อมไปกับการรับรู้ว่าจะต้องใช้อ่างเก็บน�้ำ
ห้วยมะหาดให้เกิดประโยชน์สงู สุด คนในชุมชน จึงตระหนักดีว่าอ่างเก็บน�้ำที่เกิดขึ้นในชุมชน ก็เป็นของชุมชน ทีจ่ ะต้องหวงแหนพิทกั ษ์รกั ษา และใช้ให้เกิดการต่อยอดอย่างยัง่ ยืน แต่ปญ ั หา ของการใช้น�้ำจากอ่างเก็บน�้ำในระยะแรกก็คือ น�้ำในอ่างถูกปล่อยลงล�ำห้วยเพียงอย่างเดียว ประกอบกับความสูงต�ำ่ ของพืน้ ที ่ ท�ำให้หมูบ่ า้ น ที่อยู่สูงกว่าตัวอ่างเก็บน�้ำหมดโอกาสที่จะได้ ใช้น้�ำ ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ในสภาพภูมิประเทศ ที่ต�่ำกว่าอ่างเก็บน�้ำก็ไม่มีช่องทางอื่นในการน�ำ น�้ำมาใช้ 1.1.3 โครงสร้างทางสังคมและองค์กร ในชุมชน คนในชุมชนมีวถิ ขี องการจัดตัง้ องค์กร ในชุมชนของตนเองเพื่อเผชิญกับสภาวการณ์ ต่างๆ ในชุมชน ตามลักษณะโครงสร้างองค์กร แบบหลวม กล่าวคือองค์กรดังกล่าวอาจไม่ใช่ องค์กรทีเ่ ป็นทางการซึง่ จัดตัง้ โดยภาครัฐ โดยที่ ชาวบ้านสามารถจัดตัง้ กันขึน้ มาเองเพือ่ บริหาร จัดการ และควบคุมกฎกติกาต่างๆ ในพื้นที่ ชุมชน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความห่างไกลจาก อ�ำนาจรัฐในอดีตท�ำให้ชาวบ้านมีพื้นฐานของ การพึ่งพาตนเองอยู่แล้ว เมื่อบริบททรัพยากร เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเริ่มส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบสัมมาชีพ การจัดตั้งองค์กรของชุมชนก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เพือ่ รับรูป้ ญ ั หาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ และตัว องค์กรทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ นีไ้ ด้นำ� ไปสูก่ ารแก้ไขดัดแปลง
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
49
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
โลกทางกายภาพเพื่ อ แก้ ป ั ญ หา ที่ ส านต่ อ แนวคิดกลุม่ แกนน�ำชุมชนทีจ่ ะคิดหาทางน�ำน�ำ้ ในอ่างเก็บน�ำ้ ห้วยมะหาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุดที่เริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว 1.2 การดัดแปลงแก้ไขสภาพแวดล้อม ทางวัตถุให้เป็นไปในทิศทางที่ชุมชนต้องการ คนในชุมชนหนองพันจันทร์มีลักษณะเด่นคือ ไม่มแี นวคิดทีจ่ ะทิง้ ถิน่ ฐานแม้วา่ การออกไปหา งานท�ำในเมืองและภาคอุตสาหกรรมจะเกิดขึน้ กับคนรุ่นใหม่มากขึ้น แต่คนรุ่นใหม่เหล่านั้น ก็จะใช้เวลาเพียง 5-10 ปีกจ็ ะกลับมาท�ำอาชีพ ทางการเกษตรของปู ่ ย ่ า ตายาย รั บ ช่ ว งสื บ ทอดต่อจากพ่อแม่ ท�ำให้คนในชุมชนมีความ สามารถที่จะดัดแปลงสภาพแวดล้อมทางวัตถุ ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปจากเดิ ม ให้ ส ามารถสนอง ตอบต่อคนในชุมชนได้ หากกล่าวเฉพาะใน กระบวนการเรียนรู้การจัดการน�้ำ ก็จะพบว่า ชาวหนองพันจันทร์ได้สร้างแบบแผนของความ ร่วมมือ การสร้างความตระหนักในสิทธิชุมชน การต่อสู้/ต่อรอง รวมถึงการตั้งองค์กรของ ชุ ม ชนขึ้ น มาจั ด การทรั พ ยากรน�้ ำ ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ 1.2.1 แบบแผนของความร่วมมือ การ อยู่ร่วมกันของชาวหนองพันจันทร์ได้ก่อให้เกิด แบบแผนความร่วมมือในหลายลักษณะ ซึง่ เกิด ขึน้ ภายใต้เงือ่ นไขทีแ่ ตกต่าง ทัง้ แบบแผนทีเ่ กิด ขึ้ น จากความสั ม พั น ธ์ ข องคนภายในชุ ม ชน
50
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ตลอดจนแบบแผนความร่วมมือที่เกิดขึ้นจาก การมีปฏิสมั พันธ์กบั โครงสร้างภายนอก ซึง่ เป็น เงื่อนไขส�ำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของ ชาวบ้านต่อการจัดการทรัพยากรรวมถึงการท�ำ กิจกรรมอืน่ ๆ ภายในชุมชนหลายรูปแบบได้แก่ ประการแรก แบบแผนความร่วมมือแบบเครือ ญาติ เกิดจากความเป็นมาของชุมชนของการ อพยพย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ของผู้คน จากหลากหลายถิ่น หลายครอบครัวเป็นกลุ่ม เครือญาติตามสายโลหิตที่ชักชวนกันเข้ามาอยู่ อาศัย ขณะทีบ่ างครอบครัวเมือ่ เข้ามาอยูอ่ าศัย ในพืน้ ทีก่ ไ็ ด้มกี ารแต่งงานข้ามครอบครัว ท�ำให้ เกิดความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่ขยายกว้าง ออกไป ทั้งนี้แบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ นั้นยังมีพื้นฐานส�ำคัญมาจากการอยู่ร่วมกัน แบบพึง่ พาอาศัยของผูค้ น การได้รว่ มทุกข์ ร่วม สุขร่วมกันมาในอดีตของผู้คนในชุมชน จึงท�ำ ให้ทุกคนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเหมือนญาติ พี่น้อง ซึ่งส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการท�ำ กิ จ กรรมและร่ ว มจั ด การทรั พ ยากรภายใน ชุมชนร่วมกัน ประการที่สอง แบบแผนความ ร่วมมือแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นแบบความร่วมมือที่ ปรากฏชัดในลักษณะของการร่วมกลุ่มอย่าง เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส�ำหรับการ รวมกลุ่มแบบเป็นทางการนั้นจะพบในกลุ่มที่มี การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแปรรูปสัปปะรด กลุ่มจักสาน
ปริชัย ดาวอุดม
กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี เป็นต้น ความสัมพันธ์แบบกลุ่มท�ำให้ชาวบ้าน ได้เรียนรู้การมีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษา หารือกับชาวบ้านด้วยกันเองตลอดจนร่วมกับ หน่วยงานภายนอก ประการที่สาม แบบแผน ความร่วมมือแบบองค์กร การที่ชุมชนหนอง พั น จั น ทร์ ใ นอดี ต ที่ อ ยู ่ ใ นพื้ น ที่ ห ่ า งไกลจาก หน่วยงานภาครัฐ ท�ำให้ชาวบ้านทีอ่ ยูอ่ าศัยต่าง พึ่งพาอาศัย ให้ความเคารพซึ่งกันและกันใน รูปแบบที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีผู้น�ำที่เป็นทางการ ที่ ถู ก ก� ำ หนดด้ ว ยบทบาทและอ� ำ นาจหน้ า ที่ ตามกฎหมาย หากแต่ เ มื่ อ สภาพสั ง คมและ การปกครองได้เข้ามามีบทบาทต่อการก�ำหนด ทิ ศ ทางการพั ฒ นาและการปกครองพื้ น ที่ ชุมชนจึงได้มกี ารปรับตัว บุคคลทีเ่ ข้ามาท�ำงาน และมีบทบาทตามโครงสร้างการปกครองใน รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่า จะเป็นนายก อบต. ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เหล่านี้ จึ ง ล้ ว นเป็ น บุ ค คลที่ มี ค วามสนิ ท คุ ้ น เคย แบบแผนความร่ ว มมื อ แบบองค์ ก ร จึ ง มี ลักษณะของการเอื้ออ�ำนวยมากกว่าที่จะเหมา ท�ำแทน โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการ จัดการทรัพยากรที่ชาวบ้านและผู้น�ำชุมชนที่ อยูใ่ นต�ำแหน่งและมีบทบาทในองค์กรเหล่านัน้ ต่างร่วมมือกัน ช่วยกันพัฒนาและแก้ปัญหา ชุมชนมากกว่าที่จะกระท�ำในลักษณะของการ รอค�ำสั่งการหรือการก�ำหนดนโยบายมาจาก
หน่ ว ยงาน องค์ ก รภาครั ฐ เพี ย งอย่ า งเดี ย ว ประการสุดท้าย แบบแผนความร่วมมือแบบ เครือข่าย อันเป็นผลมาจากการสร้างความ สั ม พั น ธ์ ข องคนในชุ ม ชนกั บ ชุ ม ชนข้ า งเคี ย ง หน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน สถาบันการ ศึกษาที่ได้มีการติดต่อสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนการด�ำเนินงานในด้านต่างๆ ทั้งนี้ ความร่ ว มมื อ แบบเครื อ ข่ า ยนั้ น ยั ง เป็ น ส่ ว น ส�ำคัญทีช่ ว่ ยให้เกิดการเรียนรูใ้ นการท�ำงานด้วย จากแบบแผนความร่วมมือดังกล่าวท�ำให้คน ในชุ ม ชน เกิ ด แนวความคิ ด ในการที่ จ ะเอา ชนะอุ ป สรรคปั ญ หา โดยมี โจทย์ ส� ำ คั ญ คื อ ท�ำอย่างไรให้สามารถใช้ประโยชน์จากน�้ำใน อ่างเก็บน�้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งความ ร่วมมือต่างๆ ข้างต้นได้ท�ำให้เกิดข้อเสนอแนะ จากทั้ ง คนในชุ ม ชนเองและกลุ ่ ม คนที่ เ ป็ น เครือข่ายจากภายนอกในอันที่จะผสมผสาน เทคโนโลยีเข้ามาเพือ่ ใช้ประโยชน์จากน�ำ้ ในอ่าง เก็บน�้ำได้ตามความต้องการของคนในชุมชน 1.2.2 การสร้างความตระหนักและใช้ สิ ท ธิ ชุ ม ชน การเรี ย นรู ้ อี ก ประการหนึ่ ง ของ คนในชุมชนหนองพันจันทร์ก็คือการตระหนัก ในสิ ท ธิ ชุ ม ชน แม้ ว ่ า สิ ท ธิ ดั ง กล่ า วเป็ น สิ ท ธิ ตามกฎหมายที่ให้การรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย แต่คนในชุมชนกลับ ไม่ได้อ้างสิทธินั้นตามกฎหมาย หากแต่การ อ้างสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้ลักษณะสิทธิ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
51
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
โดยธรรมชาติ ในฐานะเป็นเจ้าของชุมชนย่อม ไม่มีใครหรือหน่วยงานใดจะรัก หวงแหนและ เข้าใจคนในชุมชนและวิถีการจัดการสิ่งต่างๆ ในชุมชนไปได้ดีกว่าคนในชุมชนด้วยกันเอง ชาวหนองพันจันทร์จงึ เผชิญกับเงือ่ นไขเชิงวัตถุ ในชุมชนในฐานะผู้อาศัย ได้ประโยชน์ และ เกื้อกูลต่อพื้นที่ชุมชนของตนเอง เจ้าหน้าที่ ราชการหน่วยงานภาครัฐในมุมมองของคนใน ชุมชนเป็นเพียงผู้มีอ�ำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ทีค่ วรจะต้องร่วมคิดร่วมตัดสินใจกับประชาชน การตระหนักและเกิดแนวทางการปฏิบัติเช่นนี้ ท� ำ ให้ ค นในชุ ม ชนหนองพั น จั น ทร์ มี ค วาม กระตือรือร้นและสนใจทีจ่ ะเข้ามามีสว่ นร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในประเด็นสาธารณะของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารจัดการน�้ำ 1.2.3 การต่อสู/้ ต่อรอง ชาวชุมชนหนอง พันจันทร์ มิได้สยบยอมต่อสภาพความเปลี่ยน แปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ทรั พ ยากรโดยเฉพาะ ทรั พ ยากรน�้ ำ โดยมี ค วามพยายามในการที่ จะใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าอย่างมากทีส่ ดุ เท่า ที่จะเป็นไปได้ นั่นคือการน�ำเอาน�้ำจากอ่าง เก็บน�้ำห้วยมะหาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งแกนน�ำชุมชนและคนในชุมชนได้คิดหาวิธี การที่จะใช้น�้ำจากอ่างเก็บน�้ำ โดยอาศัยความ ร่วมมือที่มีต่อหน่วยงานต่างๆ เริ่มตั้งแต่การ ออกแบบ คิดหาวิธีการทางเลือกต่างๆ และ ขับเคลื่อนการต่อสู้ ต่อรองด้วยวิธีการต่างๆ
52
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อาทิการผลักดันงบประมาณจากหน่วยงาน ภาครัฐ การหาแนวร่วมจากภาคส่วนเอกชน โดยเฉพาะจากกลุ่มทุนโรงงานน�้ำตาล โรงงาน สั บ ปะรด น� ำ ไปสู ่ ก ารได้ ม าซึ่ ง งบประมาณ ครั้งแรกเพื่อการจัดท�ำระบบเครื่องสูบก�ำลังส่ง สูงในพื้นที่ แม้ว่ายังไม่ครอบคลุมทั้งต�ำบลแต่ ก็ นั บ เป็ น นิ มิ ต รหมายที่ ดี น� ำ ไปสู ่ ก ารท� ำ ให้ หน่วยราชการเห็นว่าชุมชนสามารถดูแลบริหาร จั ด การการใช้ น�้ ำ ได้ อ ย่ า งเป็ น ระบบและขั บ เคลื่อนเพื่อหางบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม อีกหลายส่วนจนสามารถให้บริการครอบคลุม พื้นที่ได้ดังปรากฏในปัจจุบัน 1.2.4 การตั้งองค์กรชุมชนเพื่อจัดการ ทรัพยากร ภาพปรากฏของกระบวนการจัดการ ทรั พ ยากรน�้ ำ ของชุ ม ชนหนองพั น จั น ทร์ ไ ด้ สะท้อนให้เห็นอ�ำนาจในการบริหารจัดการเป็น ของประชาชนอย่างสมบูรณ์และมีผลประโยชน์ ตกสู่ประชาชนและชุมชนโดยตรง อันเป็นผล มาจากความตระหนักในสิทธิชุมชน ซึ่งเป็น ความรูส้ กึ ร่วมในฐานะเจ้าของทรัพยากร (sense of belonging) เนื่องจากคนในชุมชนมีความ ผู ก พั น กั บ พื้ น ที่ ม าเป็ น ระยะเวลานาน ผ่ า น ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภาย ในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการเรียนรู้ และปรับตัวเข้ากับสภาพบริบทแวดล้อมและ การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรภายในพื้นที่ได้ เมื่อเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วม
ปริชัย ดาวอุดม
ชาวบ้านจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการก�ำหนด กติกา ผ่านการเรียนรู้ ลองถูก ลองผิดร่วมกัน ดังนั้นกติกาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้และ จัดการน�้ำจึงเป็นสิ่งที่ถูกก�ำหนดร่วมกัน มีการ เคารพและปฏิบัติร่วมกัน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ ทุกคนร่วมคิดร่วมท�ำด้วยกันมา นอกจากนีก้ าร เรียนรู้ประชาธิปไตยชุมชนยังเกิดขึ้นจากการ ร่วมบริหาร/ตรวจสอบการบริหาร แม้จะมีการ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน�้ำขึ้นมา เป็นตัวแทน หากแต่ชาวบ้านทุกคนได้เข้ามามี ส่วนร่วมผ่านการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น การ โทรศัพท์ การใช้ระบบไลน์ รวมถึงการเสนอ แนะความคิดเห็นผ่านประธานหรือกรรมการ น�้ำได้ทุกคน ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องมีการจัดประชุม ในรู ป แบบที่ เ ป็ น ทางการ ทั้ ง นี้ แ ม้ จ ะมี ก าร ก�ำหนดกติกาข้อบังคับขึน้ ในการบริหารจัดการ น�ำ้ แล้ว สิง่ ส�ำคัญคือการร่วมบังคับใช้กติกาของ ชาวบ้ า นผู ้ ใช้ น�้ ำ เนื่ อ งจากการรอให้ ค ณะ กรรมการมาสอดส่องหรือบังคับใช้กติกาย่อม ไม่ทั่วถึง ชาวบ้านผู้ใช้น�้ำจึงเป็นส่วนส�ำคัญที่ ในการบังคับใช้กติกาผ่านการสอดส่องดูแล เพื่อนบ้านที่ไม่ท�ำตามข้อตกลงที่ก�ำหนดไว้ 1.3 การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำที่ ตอบสนองความต้องการของชุมชน 1.3.1 กระบวนการการบริหารจัดการ น�้ำที่สร้างขึ้นโดยคนในชุมชน ความเปลี่ยน แปลงด้ า นทรั พ ยากรน�้ ำ อั น เป็ น ทั้ ง ปั จ จั ย
พื้นฐานหล่อเลี้ยงกิจกรรมทางการเกษตรใน ชุมชน น�ำมาสู่การสร้างกระบวนการบริหาร จัดการน�้ำของชุมชนขึ้นกล่าวคือ ประการแรก การจ� ำ แนกประเภทของการใช้ น�้ ำ ใน กระบวนการบริ ห ารจั ด การน�้ ำ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ชาวหนองพันจันทร์จะแบ่งประเภทของการ ใช้ น�้ ำ ออกเป็ น การใช้ น�้ ำ เพื่ อ ท� ำ น�้ ำ ประปา การปล่ อ ยน�้ ำ เพื่ อ หล่ อ เลี้ ย งล� ำ ห้ ว ยมะหาด ซึ่งเป็นล�ำห้วยตามธรรมชาติ การใช้น�้ำเพื่อ การเกษตรและอุปโภคบริโภคของประชาชน ท้ายอ่างเก็บน�ำ้ การใช้นำ�้ โดยเครือ่ งส่งน�ำ้ ก�ำลัง สูง การใช้น�้ำโดยระบบแรงโน้มถ่วงของโลก ในพื้ น ที่ ต�่ ำ กว่ า อ่ า ง และการใช้ น้� ำ เพื่ อ การ พักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการ ประการที่ สอง การก� ำ หนดปริ ม าณต�่ ำ สุ ด ของน�้ ำ ที่ มี ในอ่ า งเพื่ อ ยุ ติ กิจกรรมทางการเกษตร จาก ประสบการณ์ของชาวหนองพันจันทร์พบว่า ระยะฝนทิ้ ง ช่ ว งระหว่ า งเดื อ นมกราคมถึ ง เมษายนจะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติน�้ำในชุมชน และพื้ น ที่ ข ้ า งเคี ย งเสมอมาจึ ง มี ก ารก� ำ หนด ปริมาณน�้ำต�่ำสุดร่วมกันไว้ว่า จากปริมาตร สูงสุดของอ่างเก็บน�้ำที่ความจุประมาณสี่ล้าน ลู ก บาศก์ เ มตรเศษนั้ น จะต้ อ งส� ำ รองน�้ ำ ไว้ ติดก้นอ่าง 1 แสนลูกบาศก์เมตร เพื่อป้อน ให้ กั บ ระบบประปาและส� ำ รองยามฉุ ก เฉิ น กติกานี้ถือเป็นกติกาเด็ดขาดที่ชาวบ้านทุกคน ต้องยอมสละผลผลิตเพือ่ รักษาการมีนำ�้ ส�ำหรับ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
53
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
การอุ ป โภคและบริ โ ภค ประการที่ ส ามการ ก� ำ หนดการเก็ บ ค่ า บ� ำ รุ ง น�้ ำ จากสมาชิ ก ที่ ใช้ น�้ำเพื่อการเกษตรและการมีก�ำหนดระยะเวลา ในการปล่อยน�้ำไปตามเส้นทางต่างๆ อย่าง เสมอภาคเท่าเทียม ประการที่สี่ การบริหาร จัดการ ก�ำกับติดตามและควบคุมให้ผู้ใช้น�้ำ ปฏิบัติตามกฎกติกาโดยอาศัยการมอบหมาย หน้ า ที่ แ ก่ ผู ้ น� ำ และการสอดส่ อ งดู แ ลซึ่ ง กั น และกันในชุมชน โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อยและ เลือกตัวแทนคอยสอดส่องดูแลให้มีการใช้น�้ำ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ในชุ ม ชนจึ ง จะไม่ มี ใครใช้น�้ำอย่างฟุ่มเฟือยหรือปล่อยให้น�้ำไหล ทิ้งเปล่า ประการที่ห้ามีระบบการบริหารงบ ประมาณเพื่ อ การซ่ อ มบ� ำ รุ ง ที่ ไ ม่ ต ้ อ งพึ่ ง พา งบประมาณของรั ฐ แม้ ว ่ า ระบบน�้ ำ เพื่ อ การเกษตรทั้งหมด จะเป็นภาระหน้าที่ของ กรมชลประทาน แต่เนื่องด้วยความเข้มแข็ง ของชุมชนท�ำให้เมื่อมีความจ�ำเป็นที่จะต้อง ซ่อมแซมระบบสามารถใช้เงินจากกองทุนของ คณะกรรมการบริหารจัดการน�้ำของชุมชนมา จ่ายแทนงบประมาณแผ่นดินหากอาศัยแต่เพียง เครื่ อ งไม้ เ ครื่ อ งมื อ ของทางราชการเท่ า นั้ น ประการสุดท้ายคือ ความคิดสร้างสรรค์และ การพัฒนาระบบบริหารจัดการน�้ำต่อไปอย่าง ไม่หยุดนิ่ง ชุมชนมีแนวคิดที่จะพัฒนาทั้งด้าน การสร้ า งหอกั ก เก็ บ น�้ ำ ในที่ สู ง เพื่ อ ประหยั ด ค่าใช้จา่ ยในการสูบน�ำ้ ด้วยไฟฟ้า มีการก�ำหนด
54
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
และตัดสินใจร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเป็น กัลยาณมิตร ท�ำให้รัฐลดภาระในการที่จะต้อง ส่งทั้งคน เงิน และวัสดุอุปกรณ์เข้าไปในชุมชน 1.3.2 ความส�ำเร็จในการบริหารจัดการ น�ำ้ ส�ำหรับความส�ำเร็จทีเ่ กิดขึน้ สามารถแยกได้ เป็นสองประการ ประการแรกคือความส�ำเร็จ ในการบริหารจัดการน�้ำ ที่ผ่านมาชุมชนหนอง พันจันทร์เป็นชุมชนเดียวที่สามารถบริหารน�้ำ จนสามารถผ่านวิกฤติฝนแล้งในปี 2558 ได้ โดยที่ ไ ม่ ก ระทบต่ อ ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ แ ละ ผลผลิต สามารถช่วยชุมชนอื่นด้วยการส่งน�้ำ ผ่านล�ำห้วยเข้าไปสู่ตัวเมืองกาญจนบุรีตาม ล�ำน�ำ้ สาขาต่างๆ และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือสามารถ น�ำปริมาณน�้ำส�ำรองส่วนหนึ่งส่งไปหล่อเลี้ยง โรงพยาบาลสวนผึ้งตลอดฤดูแล้งปี2558 ได้ อีกด้วย ผลจากความส�ำเร็จดังกล่าวท�ำให้พนื้ ที่ ต�ำบลหนองพันจันทร์สามารถท�ำไร่สับปะรด และไร่ออ้ ยได้ผลดี บางหมูบ่ า้ นมีนำ�้ ตลอดเวลา ก็ ส ามารถเปลี่ ย นอาชี พ มาปลู ก ผั ก สวนครั ว เพื่อการค้าได้ การท�ำนาก็ได้ผลดีขึ้นชาวบ้าน บอกว่าเริ่มลืมตาอ้าปากได้ ลูกหลานคนหนุ่ม สาวเริ่มถูกเรียกตัวกลับมาเพราะการเกษตรที่ หนองพั น จั น ทร์ ไ ด้ ผ ลดี ก ว่ า การท� ำ งานเป็ น มนุษย์เงินเดือน ประการที่สองคือความส�ำเร็จ ทีไ่ ด้จากการเรียนรูก้ ารบริหารจัดการน�ำ้ ท�ำให้ คนในชุมชนทีม่ สี ว่ นร่วมมีความรูใ้ นการบริหาร จัดการน�้ำไปพร้อม ๆ กันกระทั่งสามารถที่จะ
ปริชัย ดาวอุดม
ยืนยันได้ว่าไม่ว่าใครมาเป็นกรรมการบริหาร จัดการน�้ำ ก็จะสามารถบริหารจัดการน�้ำใน อ่างเก็บน�้ำห้วยมะหาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนอย่างแน่นอน 2. ตั ว แบบกระบวนการเรีย นรู้การจัด การ ทรัพยากรน�้ำ จากการศึกษาท�ำให้พบว่าการบริหาร จัดการน�้ำของชุมชนหนองพันจันทร์นั้นด�ำเนิน ไปอย่างเป็นพลวัต เป็นการเรียนรู้ที่ก่อตัวมา จากแบบแผนความร่ ว มมื อ ของชุ ม ชน และ
จิตส�ำนึกร่วม อาศัยระบบการสือ่ สารทีท่ นั สมัย ยึดหลักความเป็นธรรม ความมีเหตุผล ความ ไว้เนื้อเชื่อใจและการพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร แบบสุนทรียสนทนา นอกจากนี้ได้สร้างความ ตระหนั ก ในสิ ท ธิ ชุ ม ชนในฐานะเจ้ า ของ ทรั พ ยากร ความตระหนั ก ในสิ ท ธิ ชุ ม ชนจึ ง เป็นเงื่อนไขส�ำคัญในการท�ำให้เกิดพลวัตของ การจัดการทรัพยากรน�ำ้ ในขณะทีก่ ระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชน ดังปรากฏดังแผน ภาพต่อไปนี้
ความเปลี่ยนแปลง ด้านทรัพยากรน�้ำ - ทรัพยากร - ประวัติศาสตร์ชุมชน - คนในชุมชน - ผู้น�ำชุมชน - ความรู้/ภูมิปัญญา
การรับรู้/ การเรียนรู้
การปรับตัว/ ทิศทาง
การตอบสนอง ความต้องการ
แบบแผน ความร่วมมือ
ความตระหนัก ในสิทธิชุมชน
ภายใต้ ค วามเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น คนในชุ ม ชน ผู ้ น� ำ ชุ ม ชน จะน� ำ เอาความรู ้ ภู มิ ป ั ญ ญาและบทเรี ย นจากประวั ติ ศ าสตร์ ชุมชน มาสร้างการรับรับรู้ในการเปลี่ยนแปลง ด้านทรัพยากร น�ำไปสู่การปรับทิศทางหรือ การหาวิ ธี ก ารแก้ ป ั ญ หา เพื่ อ สนองความ ต้ อ งการของตนเองและคนในชุ ม ชน เมื่ อ
ความส�ำเร็จในการจัดการ ทรัพยากรน�้ำของชุมชน
แก้ปัญหาได้ก็สั่งสมกลายเป็นความรู้ใหม่ใน การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ และเมื่อเกิด ความเปลี่ ย นแปลงและต้ อ งเผชิ ญ วิ ก ฤติ ใ น การบริหารจัดการอีก ก็จะเข้าสู่กระบวนการ ปรับทิศทางเพือ่ แก้ปญ ั หาอีก ท�ำให้ความรูแ้ ละ กระบวนการจัดการน�้ำไม่หยุดนิ่งตายตัว
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
55
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การศึกษานี้เป็นการศึกษากระบวนการ เรียนรู ้ ซึง่ เป็นการเรียนรูท้ ผี่ วู้ จิ ยั มองว่าเป็นการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ความส�ำเร็จ ในการการจั ด การน�้ ำ ของชาวชุ ม ชนหนอง พันจันทร์เกิดขึน้ ได้เนือ่ งจากคนในชุมชนได้เกิด การเรียนรูก้ ล่าวคือหากเราเชือ่ ว่าการเรียนรูค้ อื การเปลีย่ นแปลงของบุคคลจากความไม่รสู้ กู่ าร มี ค วามรู ้ เราจะเห็ น ได้ ว ่ า ชาวชุ ม ชนหนอง พันจันทร์ได้เรียนรู้วิธีการน�ำเอาน�้ำในอ่างเก็บ น�้ ำ มาใช้ ป ระโยชน์ ได้ เรี ย นรู ้ วิ ธี ก ารบริ ห าร จัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเรียนรู้วิธีการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทีส่ ามารถน�ำมาใช้ในการ บริหารจัดการน�้ำของชุมชนได้ รวมถึงชุมชน ได้เรียนรู้วิธีการสร้างความร่วมมือทั้งภายใน และภายนอกชุมชนเพื่อการบริหารจัดการน�้ำ ดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่าง มากต่อชุมชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ อาชีพ และ ความอบอุ ่ น ของครอบครั ว ที่ เริ่ ม กลั บ คื น มา ทั้งนี้การเรียนรู้ของชาวหนองพันจันทร์เกิด ขึ้ น ก็ เ พราะคนในชุ ม ชนอยู ่ ใ นฐานะเจ้ า ของ ทรั พ ยากรและผลผลิ ต พวกเขารั บ รู ้ ว ่ า การ เปลี่ ย นแปลงที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น จากการลงแรง ดัดแปลงเงือ่ นไขทางวัตถุรอบตัวและการเผชิญ ปัญหาต่างๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวพวก เขาและชุมชนอย่างเต็มที่ การใช้พลังแห่งการ สร้างสรรค์จงึ เกิดอย่างเต็มทีแ่ ละก่อให้เกิดการ เรียนรู้โดยที่ชาวบ้านเองก็ไม่รู้ตัวว่าเป็นการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นแล้ว 56
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การเรียนรูด้ งั กล่าวสอดคล้องกับแนวคิด ของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ที่ได้กล่าวถึง พลังแห่งการสร้างสรรค์ (creative power) ซึ่งเป็นศักยภาพที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เป็น พลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในหัวใจของพลังแห่ง การสร้างสรรค์นั้นประกอบด้วยเงื่อนไขสาม ประการกล่าวคือ ประการแรกการรับรู้ของ มนุษย์ว่าโลกทางวัตถุที่แวดล้อมตัวเรานั้นมี อะไรอยู่ ประการที่สองคือมนุษย์จะท�ำการ ปรับทิศทาง หรือแปลงรูปร่างของวัตถุเหล่านัน้ เพื่ อ ให้ รู ้ ว ่ า เราจะสามารถจั ด การกั บ มั น ได้ อย่ า งไร ประการสุ ด ท้ า ยคื อ การท� ำ ให้ วั ต ถุ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ ภายใต้แนวคิดพลังแห่งการสร้างสรรค์นี้เชื่อว่า พลังแห่งการสร้างสรรค์ดังกล่าวจะไม่ปรากฏ หากบุคคลมีจิตส�ำนึกที่ผิดพลาดหรือไม่ได้อยู่ ในภาวะที่จะได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง จากการใช้พลังแห่งการสร้างสรรค์นนั้ จิตส�ำนึก ที่ผิดพลาดดังกล่าวมักเกิดขึ้นในกระบวนการ ท�ำงานที่แบ่งงานกันท�ำภายใต้การขายชั่วโมง แรงงานเพื่ อ รั บ ค่ า จ้ า ง ซึ่ ง ผู ้ รั บ จ้ า งไม่ ไ ด้ ประโยชน์อะไรจากการสร้างสรรค์นอกจาก ค่ า แรงงาน สภาพที่ ป รากฏในโรงงาน อุตสาหกรรมจึงเป็นภาพทีผ่ ใู้ ช้แรงงานไม่จำ� เป็น ต้องเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ และไม่ตอ้ งใช้พลังสร้างสรรค์ ใดๆ ซึง่ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มองว่าเป็น การลดทอนศักยภาพของมนุษย์
ปริชัย ดาวอุดม
ข้อเสนอแนะของการวิจัย การศึกษาครั้งนี้น�ำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิง นโยบายดังนี้ 1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการทรัพยากรต่างๆ อันต้องสัมพันธ์กบั พืน้ ที่ ท้องถิ่นชุมชนว่า การบริหารจัดการทรัพยากร ที่ อ ยู ่ ใ นสภาพเปลี่ ย นแปลง เสื่ อ มโทรม ขาดแคลน จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการมี ส่วนร่วมจากชุมชน 2. หน่วยงานภาครัฐการต้องลดบทบาท การท�ำงานแบบอาสาท�ำแทน ไม่เปิดโอกาสให้ ชาวบ้านได้รับรู้และเรียนรู้การเผชิญกับปัญหา ซึ่งท�ำให้เกิดภาวะที่ชาวบ้าน/ชุมชนต้องพึ่งพิง
หน่วยงานภาครัฐเสมอและตลอดไปน�ำมาซึ่ง ภาระงบประมาณ ก�ำลังคน และในหลายกรณี เกิดความขัดแย้งกับชุมชน 3. กระบวนการของพลั ง แห่ ง การ สร้างสรรค์จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อ การเผชิญกับปัญหาของตนเองได้อย่างแท้จริง หน่วยงานภาครัฐท�ำหน้าที่ของตนอย่างเหมาะ สมในฐานะหน่วยงานทีค่ อยดูแลและสนับสนุน ให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้จากศักยภาพ ที่ ซ ่ อ นอยู ่ ภ ายในของคนในชุ ม ชน จะท� ำ ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการทรัพยากร ในอนาคต
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
57
กระบวนการเรียนรูก้ ารจัดการทรัพยากรน้�ำ ของชุมชนหนองพันจันทร์ อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
เอกสารอ้างอิง ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล และสุรวุฒิ ปัดไธสง. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่อง ความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. บุญศักดิ์ แสงระวี. (2559). ว่าด้วยทุน(ลัทธิทุนนิยมคืออะไร). กรุงเทพฯ: ชุมศิลป์ธรรมดา. ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2557). ทางออกการบริหารจัดการน�้ำของไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://thaipublica.org/2014/03/water-management-solutions/ (สืบค้นเมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2559). สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�ำ้ และการเกษตร. (2559). บันทึกเหตุการณ์ภยั แล้ง ปี 2558/2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiwater.net/current/2016/drought59/ drought59.html. (สืบค้นเมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2559). ส�ำนักการจัดการความรู้. (2558). คู่มือ KM 2558. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารอัดส�ำเนา. อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชนวิธีคิดท้องถิ่น ว่าด้วยสิทธิ อ�ำนาจและการจัดการ ทรัพยากร. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. Barrows, H.S. (2000). Problem-Based Learning Applied to Medical Education, Southern Illinois: University Press, Springfield. Charmaz, K. (2014). Comstructing Grounded Theory. London: SAGE Publications Ltd. Ritzer, G. (1992). Sociological theory. New York: McGraw-Hill.
58
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
The Development of Educational Quality in The Catholic School in Accordance with Identity of Catholic Education.
บาทหลวง ธวัช สิงห์สา * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลนครสวรรค์ * นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์ * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Rev.Tawat Singsa * Reverend in Roman Catholic Church, Nakhon Sawan Diocese. * Doctor of Education Administration Faculty of Education, Silpakorn University.
Asst.Prof.Prasert Intarak, Ed.D.
* Lecturer at Education Administration Faculty of Education, Silpakorn University. *** วันที่ตอบรับบทความ 30 มีนาคม 2560
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
บทคัดย่อ
60
การวิจัยครั้งนี้มีมีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) องค์ประกอบการ ศึกษาโรงเรียนตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (2) แนวทางพัฒนา คุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามลักษณ์การศึกษาคาทอลิก กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลในประเทศไทย จ�ำนวน 103 โรง ผูใ้ ห้ขอ้ มูลคือ ผูบ้ ริหารโรงเรียน ตัวแทนคณะกรรมการ วิชาการ หัวหน้ากลุ่มงานจิตตาภิบาล ตัวแทนคณะกรรมกรรมการ บริหารการศึกษานิติบุคคล รวมจ�ำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจยั คือ แบบสอบถาม สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ ป ระกอบการศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ การศึกษาคาทอลิกมี 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลักด้านผู้เรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ประกอบหลักด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 6 องค์ ประกอบย่อย 3) องค์ประกอบหลักด้านการจัดเรียนการสอน ประกอบ ด้วย 3 องค์ประกอบย่อย และ 4) องค์ประกอบหลักด้านคุณลักษณะ เฉพาะ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย 2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก มี 130 แนวทาง ดังนี ้ 1) แนวทางพัฒนา ผูเ้ รียน ประกอบด้วย 29 แนวทาง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 62 แนวทาง 3) แนวทางพัฒนาการจัดเรียนการสอน ประกอบด้วย 21 แนวทาง และ4) แนวทางพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะ ประกอบด้วย 18 แนวทาง แนวทางเหล่านี้ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็น สอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสม เป็นประโยชน์ และสามารถใช้ได้จริง สอดคล้องกับกรอบทฤษฎีของการวิจยั และเกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนคาทอลิก
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
ค�ำส�ำคัญ: Abstract
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
The purposes of this research were to find 1) the components of Education in the Catholic school in accordance with Catholic identity, and 2) the guidelines for the development of education in Catholic school in accordance with Catholic identity. The populations of this research were 136 Catholic schools. The samples were 103 Catholic schools. The respondents were administrators, member of academic departments, member of spiritual departments, and school management committees with the total of 412 respondents. The data was collected by using an opinionnaire. The data was analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, and content analysis. The findings of this research were as follows: 1. Education in Catholic school in accordance with Catholic identity had 4 components and 15 sub-components namely: 1) the component of student had 4 components 2) the component of system Management had 6 subcomponents 3) the component of instructional management had 3 sub-components and 4) the component of Catholic identities had 2 sub-components.
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
61
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
2. The guidelines for development the education in Catholic school in accordance with Catholic identity had 130 guidelines: 1) the guidelines for development the student had 29 guidelines 2) the guidelines for development the system management had 62 guidelines 3) the guidelines for development instructional management had 21 guidelines and 4) the guidelines for development the proper identity had 18 guidelines. The experts confirmed that these guidelines were accuracy, propriety, feasibility, and utility for developing the Catholic school in accordance with Catholic identity Keyword:
62
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
The Developement Of Educationl Quality. Identity Of Catholic Education.
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา พระศาสนจักรคาทอลิกจัดการศึกษาใน สั ง คมไทยมาเป็ น เวลา 350 ปี จนท� ำ ให้ ใ น ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาคาทอลิกกระจาย อยูท่ วั่ ประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก พันธกิจด้าน การศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกยังคงด�ำเนินไป อย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องเจอกับปัญหาและ อุปสรรคต่างๆ มาย ผู้รับผิดชอบงานด้านการ ศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกยังคงมุ่งมั่นที่จะ ต้องท�ำพันธกิจนี้ต่อไป โดยจัดการศึกษาตาม แนวทางของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งถือ เป็น “อัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิก” ปัญหาของการวิจัย การจั ดการศึก ษาโรงเรียนคาทอลิก ที่ ผ่ า นมาต้ อ งพบกั บ อุ ป สรรคต่ า งๆ มากมาย สมณสาส์ น “การศึ ก ษาในปั จ จุ บั น และใน อนาคต: ฟืน้ ฟูความกระตือรือร้นขึน้ ใหม่ (Educating Today and Tomorrow. A Renewing Passion) ปี 2557 ได้ก�ำหนดประเด็น ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคาทอลิก อันเป็น ความท้าทายต่อโรงเรียนคาทอลิกในยุคปัจจุบนั ว่ า มี ป ั ญ หาทางด้ า นอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษา คาทอลิกที่เปลี่ยนไป ต้นเหตุของปัญหาเกิด จากวิ ก ฤติ คุ ณ ค่ า ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมทั่ ว ไป เนื่องจากกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม และ สุขนิยม ก่อให้เกิดค่านิยมผิดๆ มิตดิ า้ นศีลธรรม ถูกลดคุณค่า ส่งผลต่อโรงเรียนคาทอลิกหลายๆ แห่ ง ไหลตามกระแสของสั ง คม ผู ้ บ ริ ห าร
โรงเรียนคาทอลิกหลายแห่งไม่ได้มอบคุณค่า พระวรสาร(Gospel) ให้แก่นักเรียนแต่มอบ สิ่ ง อื่ น แทน เป็ น ผู ้ ที่ จ ะถู ก จู ง ใจได้ ง ่ า ยด้ ว ย ผลประโยชน์เฉพาะหน้า หรือจากสิ่งที่ขายได้ ง่ายๆ ทางวัตถุ เน้นการแข่งขันด้านวิชาการ เพื่อชื่อเสียง โรงเรียนถูกสังคมมองว่าจ�ำกัด โอกาสในการให้การศึกษาด้วยปัจจัยทางสังคม และเศรษฐกิจ โรงเรียนคือธุรกิจการศึกษา เน้น ด้านวิชาการมากกว่าการอบรมด้านศีลธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริงของตนเอง จนภาพของโรงเรียนคาทอลิกถูกมองว่าเป็น โรงเรียนของคนรวยหรือโรงเรียนของชนชั้นสูง สิง่ เหล่านีย้ นื ยันได้จากเอกสาร ก้าวไปข้างหน้า ด้วยอัตลักษณ์คาทอลิก และตอกย�้ำอีกครั้ง ด้วยงานวิจัยต่างๆ ในเอกสารก้าวต่อไปด้วย อั ตลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก ของสภาการ ศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ฟื้นฟูอัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิกขึ้นใหม่ แสวงหาแนวทางของการจัดการศึกษาคาทอลิก ที่เหมาะสมกับบริบทสังคมในศตวรรษที่ 21 และสั ง คมไทยที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง เพื่ อ พัฒนาการศึกษาที่เหมาะสมกับครู บุคลากร นั ก เรี ย น ผู ้ ป กครอง ตลอดจนวั ฒ นธรรม และประเพณีของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้เป็น กระบวนการในการพัฒนาทีท่ กุ ภาคส่วนจะต้อง ร่วมมือกันท�ำให้เกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งไม่มวี นั จบ เพื่อท�ำให้โรงเรียนคาทอลิกเป็นสถานที่ในการ สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ เพราะได้รับการ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
63
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
พัฒนาทักษะที่จ�ำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างพอ เพี ย งกั บ ยุ ค สมั ย เป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรมและ จริ ย ธรรมควบคู ่ กั บ ความรู ้ ส มั ย ใหม่ เพื่ อ สามารถใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกับผูอ้ นี่ ในสังคมได้อย่าง มีความสูข วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการศึกษา โรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษา คาทอลิก 2. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนคาทอลิก ตามอัตลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิก กรอบแนวคิดการวิจัย ผูว้ จิ ยั ก�ำหนดกรอบแนวคิดการวิจยั จาก เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ศึกษาคาทอลิกของพระศาสนจักรคาทอลิกและ ของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย แนวคิดการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการ ศึกษาไทย ตลอดจนแนวคิดการจัดการศึกษา ในศตวรรษที่ 21ซึ่งสามารถน�ำมาเขียนเป็น แผนภูมิได้ดังนี้ (แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด ในการวิจัย หน้าที่ 65) นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เข้าใจความหมายเฉพาะของค�ำ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จึงนิยามความหมายของ ค�ำต่างๆ ในงานวิจัยไว้ได้ดังนี้ 64
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง ภารกิจทีท่ ำ� ให้การจัดการศึกษามีคณ ุ ภาพ ตาม วัตถุประสงค์ของพระศาสนจักรคาทอลิก คือ การพัฒนามนุษย์ทั้งครบเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โรงเรียนคาทอลิก หมายถึง สถานศึกษา เอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตามเอกลักษณ์และปรัชญาการศึกษา คาทอลิ ก ซึ่ ง บริ ห ารจั ด การโดยสั ง ฆมณฑล หรื อ คณะนั ก บวช หรื อ ฆราวาสในนิ ก าย โรมั น คาทอลิ ก ที่ มี ที่ ตั้ ง อยู ่ ใ นประเทศไทย ในงานวิจยั นีโ้ รงเรียนคาทอลิก หมายถึง สถาน ศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษในระดับการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐานตามเอกลั ก ษณ์ แ ละปรั ช ญาการ ศึกษาคาทอลิกซึง่ บริหารจัดการโดยสังฆมณฑล ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย อัตลักษณ์การศึกษาโรงเรียนคาทอลิก หมายถึง ลักษณะอันแสดงถึงการด�ำเนินงาน ของโรงเรี ย นตามหลั ก การศึ ก ษาของพระ ศาสนจักรคาทอลิก และเหมาะสมกับบริบท ของการจั ด การศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ใน ประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมาย จัดการศึกษาตาม ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของการศึกษา คาทอลิก เพือ่ พัฒนานักเรียนสูค่ วามเป็นมนุษย์ ทีส่ มบูรณ์ทงั้ ครบด้วยคุณค่าแห่งพระวรสารเพือ่ เป็นฐานแห่งการประกาศข่าวดีแห่งความรัก ของพระเป็นเจ้า และเป็นสนามเผยแผ่ธรรม ด้วยกระบวนการศึกษาที่สร้างนักเรียนให้เป็น ผูม้ จี ติ อาสา ตลอดจนสร้างผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง ในสังคม
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
แนวคิดด้ำนกำรศึกษำของ พระศำสนจักรคำทอลิก
แนวคิดกำรพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำ ตำมมำตรฐำนกำรศึกษำไทย (กระทรวงศึกษำธิกำร) - รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2550 - พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแหงชำติ พ.ศ.2542 - แผนกำรศึกษำแห่งชำติ ฉบับ ปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) - แผนพัฒนำกำรศึกษำแห่งชำติ ฉบับที่ สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559
แนวคิดด้ำนกำรศึกษำในศตวรรษที่ 21 และโรงเรียนมำตรฐำนสำกล (คณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน) กกำกำงำนวิจัยเรื่อง กำรจัดกำรศึกษำโรงเรียนคำทอลิก ในประเทศไทยตำมอัตลักษณ์ กำรศึกษำคำทอลิก
กำร พัฒนำ คุณภำพ กำรศึกษำ โรงเรียน คำทอลิก ตำม อัตลักษณ์ กำรศึกษำ คำทอลิก
(สมณกระทรวงเพื่อกำรศึกษำคำทอลิก) 1. แนวคิดของพระศำสนจัคำทอลิก สำกล - ค�ำแถลงฯ เรื่อง กำรศึกษำแบบคริสต์ - สมณสำสน์ฯ เรื่อง โรงเรียนคำทอลิก, ฆรำวำสคำทอลิกในโรงเรียน, มิติด้ำน ศำสนำของกำรศึกษำในโรงเรียน คำทอลิก, โรงเรียนคำทอลิกสู่สหัสวรรษ ที่สำม, นักบวชและพันธกิจในโรงเรียน, กำรให้กำรศึกษำร่วมกันในโรงเรียน คำทอลิก, กำรศึกษำสู่กำรเสวนำ ระหว่ำงวัฒนธรรมในโรงเรียนคำทอลิก 2. กำรจัดกำรศึกษำของสภำกำรศึกษำ คำทอลิกแห่งประเทศไทย (สภำกำรศึกษำคำทอลิกฯ) - กำรพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำตำม แผนงำนของสภำกำรศึกษำคำทอลิก แห่งประเทศไทย - เอกสำรก้ำวไปข้ำงหน้ำด้วยอัตลักษณ์ กำรศึกษำคำทอลิก - เอกสำรก้ำวต่อไปด้วยอัตลักษณ์ กำรศึกษำคำทอลิก
(สุรินทร์ จำรย์อุปกำระ) - กำรจัดกำรศึกษำฯ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ กำรเงินและ งบประมำณ กำรจัดกำรเรียนกำรสอน กำรบริหำรจัดกำร กำรอภิบำล กำรจัด กิจกรรม งำนจิตตำภิบำล กำรก�ำหนด หลักสูตร กำรก�ำหนดเนื้อหำ กำร วำงแผน
แนวคิดด้ำนกำรศึกษำคำทอลิกของ นักวิชำกำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง - ศึกษำเอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แผนภาพที ่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
65
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
การด�ำเนินการวิจัย การด�ำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ตั ว แปรเกี่ ย วกั บ การ ศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก าร ศึกษาคาทอลิก โดยการประชุมกลุม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญ (Connoisseurship) 2) การพัฒนาเครื่องมือ และ การวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น (Confirmatory Factor Analysis) และ 3) การยืนยันแนวทางการพัฒนาฯ โดยกลุ่ม ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ โดยแบบสอบถามและการ สนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แล้วผู้วิจัยท�ำการสรุปรายงานผลการวิจัย แผนแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ ผสมผสาน (mixed methodology) โดยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณ (quantitative research) มี แ ผนแบบการวิ จั ย แบบกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งเดี ย ว ศึ ก ษาสภาวการณ์ ไ ม่ มี ก าร ทดลอง (the one shot, non-experimental case study design) ประชากร ประชากร คือ โรงเรียนคาทอลิกสังกัด สังฆมณฑลในประเทศไทย จ�ำนวน 136 โรง
66
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กลุ่มตัวอย่าง กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง คื อ โรงเรี ย นคาทอลิ ก สังกัดสังฆมณฑลในประเทศไทย จ�ำนวน 103 โรง ผู้ให้ข้อมูล ผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ในแต่ ล ะโรงเรี ย นมี 4 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร (ต�ำแหน่งผู้รับใบ อนุ ญ าต หรื อ ผู ้ จั ด การ หรื อ ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงเรี ย น ท� ำ หน้ า ที่ บ ริ ห ารจั ด การโรงเรี ย น โดยตรง) จ� ำ นวน 1 คน 2) ตั ว แทนคณะ กรรมการวิชาการ (ที่เกี่ยวข้องด้านอัตลักษณ์ การศึกษาคาทอลิก) จ�ำนวน 1 คน หัวหน้า กลุ ่ ม งาน จิ ต ตาภิ บ าล จ� ำ นวน 1 คน และ 4) ตัวแทนคณะกรรมการบริหารการศึกษา นิติบุคคล จ�ำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจ�ำนวน 412 คน ผู ้ วิ จั ย ก� ำ หนดขนาดกลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง จากตารางประมาณการขนาดตั ว อย่ า งของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608-609) ได้ขนาดตัวอย่างจ�ำนวน 103 โรง โดยวิ ธี ก ารสุ ่ ม แบบ แบ่ ง ประเภท (stratified random sampling) ในแต่ละ สังฆมณฑลตามสัดส่วน
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรพืน้ ฐาน คือ ตัวแปรทีเ่ กีย่ วกับ สถานภาพส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล 2. ตั ว แปรที่ ศึ ก ษา คื อ ตั ว แปรที่ เกีย่ วข้องกับการจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก ในประเทศไทยตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษา คาทอลิ ก ที่ ไ ด้ จ าก การวิ เ คราะห์ เ อกสาร (documentary analysis) และจากการ ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseursip) และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Forcus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็น (opionionnire) เรื่ อ งแนวทางการพัฒนาคุณ ภาพการ ศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก าร ศึกษาคาทอลิก จ�ำนวน 1 ฉบับ ส�ำหรับใช้เก็บ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือการวิจัย 1. สั ง เคราะห์ แนวคิ ด ทฤษฎี จาก เอกสารและงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ สร้ า ง แบบสอบถาม 2. สร้างแบบสอบถาม จ�ำนวน 1 ฉบับ น�ำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เพื่อตรวจสอบ
ความเทีย่ งตรงเชิงเนือ้ หา (content validity) ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.40-1.00 แล้วคัดเลือก ข้อค�ำถามทีม่ คี า ่ IOC มากกว่า 0.6 ตามเกณฑ์ การพิจารณาทีก่ ำ� หนดไว้ ได้ขอ้ ค�ำถาม 130 ข้อ 3. น�ำเครือ่ งมือไปทดลองใช้กบั โรงเรียน คาทอลิกจ�ำนวน 8 โรง ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อน�ำมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามด้วยการค�ำนวณค่า สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟา (α-coefficient) ของ ครอนบาค (Cronbach, Lee J., 1984: 126) ได้ ค ่ า ความเชื่ อ มั่ น 0.980 ซึ่ ง มี ค ่ า มากกว่ า เกณฑ์ทตี่ งั ไ้ ว้ 0.7 จึงสามารถน�ำไปใช้เก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (percentage : %) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean : x̅) และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory factor analysis) ส่วนการยืนยันแนวทางพัฒนาการ ศึกษาฯใช้แบบประเมินและการสนทนากลุ่ม ของผู้ทรงคุณวุฒิ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
67
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
สรุปผลการวิจัย 1. การศึกษาโรงเรีย นคาทอลิกตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก การศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย ดั ง นี้ 1) องค์ ป ระกอบหลั ก ด้ า นผู ้ เ รี ย น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ ประกอบหลักด้านการบริหารจัดการ ประกอบ ด้วย 6 องค์ประกอบย่อย 3) องค์ประกอบ หลักด้านการจัดเรียนการสอน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย และ4) องค์ประกอบหลัก ด้านอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ประกอบ ด้ ว ย 2 องค์ ป ระกอบย่ อ ย ด้ ว ยเหตุ นี้ องค์ ประกอบการจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก
ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก จึงเป็นพหุ องค์ประกอบตามสมมติฐานการวิจัย และจาก การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) 2. แนวทางการพั ฒ นาคุ ณ ภาพการ ศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิก ผลการวิ เ คราะห์ โ มเดลแนวทางการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก โดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) ปรากฏดังแผนภาพที่ 2 และ การประเมินความสอดคล้อง รายละเอียดสรุป ดังตารางที่ 1
แผนภาพที่ 2 โมเดลแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก 68
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
ตารางที่ 1 การประเมินความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ดัชนีวัด ความสอดคล้อง
เกณฑ์
ก่อนการปรับโมเดล ค่าสถิติ ผลการ พิจารณา
χ2/df
< 3.00
p-value of χ2 GFI AGFI CFI Standardized RMR RMSEA
> 0.05 > 0.90 > 0.90 > 0.90 < 0.08
626.62/87= ไม่ผ่านเกณฑ์ 7.20 0.00 ไม่ผ่านเกณฑ์ 0.81 ไม่ผา่ นเกณฑ์ 0.74 ไม่ผา่ นเกณฑ์ 0.97 ไม่ผา่ นเกณฑ์ 0.01 ไม่ผา่ นเกณฑ์
< 0.06
0.131
ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของ โมเดล พบดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ดังนี้ ค่าสถิติ ไค-สแควร์เท่ากับ 59.37 p-value เท่ากับ 0.28 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (Chisquare/df) เท่ากับ 1.09 ดัชนี GFI เท่ากับ 0.98 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.95 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า Standardized RMR เท่ากับ 0.00 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตาม เงื่อนไขของการตรวจสอบความสอดคล้องของ โมเดล แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์
ไม่ผ่านเกณฑ์
หลังการปรับโมเดล ค่าสถิติ ผลการ พิจารณา 59.37/54= 1.09 0.28 0.98 0.95 1.00 0.0045
ผ่านเกณฑ์
0.017
ผ่านเกณฑ์
ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์
และจากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียน คาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก มี 4 องค์ประกอบใหญ่ 130 แนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 29 แนวทาง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการ ประกอบด้ ว ย 62 แนวทาง 3) แนวทาง พัฒนาการจัดเรียนการสอน ประกอบด้วย 21 แนวทาง และ 4) แนวทางพัฒนาคุณลักษณะ เฉพาะ ประกอบด้ ว ย 18 แนวทาง ดั ง นั้ น แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียน คาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก จึงเป็นเป็นพหุองค์แนวทางตามสมมติฐาน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
69
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
อภิปรายผล 1. องค์ ป ระกอบด้ า นผู ้ เรี ย น ผู ้ เรี ย น ถือว่าเป็นส่วนส�ำคัญทีส่ ดุ เพราะเป้าหมายของ การศึกษาคาทอลิกมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับ การพัฒนาทัง้ ครบจนกลายเป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ โดยใช้ ก ารศึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นาก่ อ ให้ เ กิ ด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้ มีคุณธรรม จริยธรรมควบคูก่ บั ความรู/้ การแสวงหาความรู้ และทักษะอาชีพ มีความสุขทางกายและมีนสิ ยั รักงานทางด้านสุนทรียภาพ(ผลงานด้านศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์) ทีเ่ ป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนความดีงาม ของพระเป็นเจ้า จึงสามารถสรุปได้เป็นการ พั ฒ นา 4 ส่ ว นที่ ส� ำ คั ญ คื อ การพั ฒ นา คุณธรรมจริยธรรมตามคุณค่าพระวรสาร การ พัฒนาความรู้/การแสวงหาความรู้และทักษะ อาชี พ การพั ฒ นาสุ ข ภาวะ และการพั ฒ นา สุ น ทรี ย ภาพ สอดคล้องกับสมณสาส์นเรื่อง “โรงรียนคาทอลิก” (Catholic School) ใน ข้ อ ที่ 35 ที่ ก ล่ า วถึ ง ว่ า โรงเรี ย นคาทอลิ ก มี พั น ธะผู ก พั น ที่ จ ะพั ฒ นามนุ ษ ย์ ทั้ ง ครบ ตามแบบอย่างองค์พระเยซูคริสตเจ้าทีพ่ ระองค์ ทรงเป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ และในข้อที ่ 27 ยังได้ กล่าวเช่นเดียวกันอีกว่า ภารกิจของโรงเรียน คาทอลิกคือการดึงมิติทางด้านจริยธรรมใน ตัวนักเรียนให้ปรากฎออกมา อันเป็นพลังทาง ด้านศีลธรรมทีม่ อี ยูภ่ ายในจิตวิญาณของมนุษย์
70
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2. องค์ ป ระกอบด้ า นบริ ห ารจั ด การ โรงเรี ย นคาทอลิ ก ในฐานะเป็ น องค์ ก รหนึ่ ง มีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการ โรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนา ผู้บริหารให้มีทักษะการบริหารและภาวะผู้น�ำ เพื่ อ ท� ำ ให้ พั น ธกิ จ ของโรงเรี ย นส� ำ เร็ จ ตาม วัตถุประสงค์ พัฒนาให้ครูสามารถใช้เทคนิค วิ ธี ก ารสอนที่ ห ลากหลาย ควบคู ่ กั บ การใช้ ปัจจัยพืน้ ฐานต่างๆ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ เช่น ห้องเรียน ห้องประกอบการต่างๆ ฯลฯ มีระบบบริหาร จัดการเชิงคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีการวิจัย และพั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ หาวิ ธี พั ฒ นา นั ก เรี ย นให้ เ ต็ ม ศั ก ยภาพ จึ ง สามารถสรุ ป ได้เป็นการพัฒนา 6 ส่วนที่ส�ำคัญ คือ การ พัฒนาผูบ้ ริหาร ครู ระบบบริหารจัดการ ปัจจัย พืน้ ฐาน เครือ่ ข่ายร่วมพัฒนา และการวิจยั และ พัฒนาสอดรับกับแนวคิดของสมณสาส์นเรื่อง “มิ ติ ด ้ า นศาสนาของการศึ ก ษาในโรงเรี ย น คาทอลิก” (The religious dimention of education in a catholic school) ได้กล่าว ไว้ ใ นข้ อ ที่ 1 00 เกี่ ย วกั บ การบริ ห ารจั ด การ โรงเรี ย นคาทอลิ ก ว่ า จ� ำ เป็ น จะต้ อ งมี ก าร บริหารงานอย่างเป็นระบบ เพื่อท�ำให้พันธกิจ ของโรงเรี ย นประสบความส� ำ เร็ จ เช่ น ต้ อ ง ก� ำ หนดอั ต ลั ก ษณ์ ข องโรงเรี ย นให้ ชั ด เจน ต้องก�ำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
ก�ำหนดเนือ้ หารายวิชา พร้อมทัง้ ก�ำหนดคุณค่า (value) ที่จะถ่ายทอดให้แก่นักเรียนโดยผ่าน ทางวิชานั้นๆ และก�ำหนดการจัดองค์กรและ การบริหารจัดการโรงเรียนอย่างเป็นระบบ 3. องค์ประกอบด้านการจัดการเรียน การสอน หมายถึ ง โรงเรี ย นคาทอลิ ก มี ก าร จั ด ก า ร เรี ย น ก า ร ส อ น อ ย ่ า ง มี คุ ณ ภ า พ การจัดการเรียนการสอนมีความส�ำคัญในฐานะ เป็นเครื่องมือในการท�ำให้พันธกิจการพัฒนา ผู้เรียนส�ำเร็จ โรงเรียนจะต้องพัฒนาหลักสูตร ให้เหมาะสมกับผู้เรียน พัฒนาครูให้สามารถ ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายและน�ำนวัตกรรม การสอนที่เหมาะสมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่ง เรี ย นรู ้ เ พื่ อ ช่ ว ยสนั บ สนุ น ความเข้ า ใจให้ กั บ ผู้เรียนและท�ำให้กิจกรรมการเรียนการสอน มี ค วามน่ า สนใจมากขึ้ น จึ ง สามารถสรุ ป ได้ เป็นการพัฒนา 3 ส่วนที่ส�ำคัญคือ การพัฒนา หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการ พั ฒ นาสื่ อ และแหล่ ง เรี ย นรู ้ เหมาะสม สอดคล้องกับเอกสารเตรียมการประชุมใหญ่ การศึกษาของพระศาสนจักรคาทอลิกสากล เรื่ อ งการศึ ก ษาในปั จ จุ บั น และในอนาคต – ฟื้นฟูความกระตือรือร้นขึ้นใหม่ (Educating today and tomorrow - A renewing passion) ปี 2015 ในตอนที่ 2 ข้อที่ 3 ได้เน้น ให้เห็นความส�ำคัญของการสอนว่า ปัจจุบัน
ดูเหมือน “วิธกี ารสอน” ส�ำคัญกว่า “เนือ้ หา” ที่ ส อน เพราะเนื้ อ หามี ก ารเปลี่ ย นแปลง อยู่เสมอ แต่วิธีการสอนที่เน้นการไตร่ตรอง จะช่ ว ยพั ฒ นากระบวนการคิ ด และความ สามารถทางสติ ป ั ญ ญา ท� ำ ให้ ผู ้ เรี ย นได้ รั บ มากกว่าข้อมูลที่ตายตัวแต่ยังได้รับการกระตุ้น ให้ รู ้ จั ก การท� ำ งานร่ ว มกั น เพื่ อ แสวงหา องค์ความรู้ที่สูงกว่า 4. องค์ประกอบด้านคุณลักษณะเฉพาะ เป็ น ลั ก ษณะเฉพาะของการเป็ น โรงเรี ย น คาทอลิ ก ที่ ผู ้ เรี ย นจะได้ รั บ การพั ฒ นาทาง ด้ า นคุ ณ ธรรมและจริ ย ธรรมตามคุ ณ ค่ า พระวรสาร และโรงเรียนมีเอกลักษณ์พิเศษ ที่จะน�ำคุณค่าพระวรสารมาเป็นฐานในการ ด� ำ เนิ น งานทางด้ า นการศึ ก ษาของโรงเรี ย น เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน ตลอดจน การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ฯลฯ จึ ง สามารถสรุ ป ได้ เ ป็ น การพั ฒ นา 2 ส่ ว น ที่ส�ำคัญ คือ การพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนและ การพัฒนาเอกลักษณ์สถานศึกษา สอดคล้อง กั บแนวคิ ดของพระอั ค รสั ง ฆราช เจ ไมเคิ้ ล มิ ล เลอร์ (J. Michael Miller) ที่ ร ะบุ ว ่ า มีเครื่องหมายส�ำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเป็น อัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิก คือการได้ รับแรงบันดาลใจจากวิสยั ทัศน์ทเี่ หนือธรรมชาติ จนกลายเป็นความเชื่อ ท�ำให้บุคคลร่วมกันท�ำ พันธกิจ (Teamwork) ที่มีการปฏิสัมพันธ์กัน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
71
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
ระหว่างนักเรียนและครู โดยมีสภาพแวดล้อม ที่ เ อื้ อ ต่ อ การอบรมบ่ ม เพาะเพื่ อ พั ฒ นา นั ก เรี ย นในมิ ติ ต ่ า งๆ คื อ พั ฒ นาสติ ป ั ญ ญา ร่ า งกาย จิ ต ใจ ศี ล ธรรม และศาสนา โดย มีแนวทางใน ข้อเสนอแนะเพื่อน�ำผลการวิจัยไปใช้ 1. ควรบรรจุเรื่องการพัฒนาคุณภาพ การศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ การศึกษาคาทอลิกลงในนโยบายและแผนฯ อภิ บ าลของสภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย ทั้ ง นี้ เป็ น สิ่ ง ที่ ส อดรั บ กั บ “กฤษฎี ก าของสภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่งประเทศไทย ค.ศ. 2015/ พ.ศ. 2558” ข้อค้นพบของการวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพ การศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ การศึกษาคาทอลิก จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ต่อการก�ำหนดนโยบายและแผนฯในด้านการ จัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกหรือการก�ำหนด รูปแบบโรงเรียนมาตรฐานคาทอลิก (Catholic Standard School) ทีม่ มี าตรฐานและตัวบ่งชี้ พร้ อ มทั้ ง มี ร ะบบประเมิ น และการประกั น คุณภาพภายใน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลที่เป็นรูป ธรรม ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ ในสังคม ปัจจุบันและในอนาคตที่จะเกิดขึ้น 2. สภาการศึ ก ษาคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทยในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
72
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กั บ งานด้ า นการศึ ก ษาคาทอลิ ก ควรมี ก าร รับนโยบายและท�ำให้นโยบายด้านการพัฒนา คุ ณ ภาพการศึ ก ษาโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกเกิดผลอย่างเป็น รู ป ธรรมโดยท� ำ ความเข้ า ใจกั บ โรงเรี ย นที่ กระจายอยู่ตามสังฆมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ ต ระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของอั ต ลั ก ษณ์ การศึ ก ษาคาทอลิ ก จั ด ท� ำ แผนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ และการนิเทศ เกณฑ์การ ประเมินวัดผลและประเมินผล ตลอดจนการ วิจัยในชั้นเรียนเพื่อช่วยให้โรงเรียนคาทอลิก ได้ มี ก ารพั ฒ นางานทางด้ า นการศึ ก ษาได้ อย่ า งมี ม าตรฐานและตรงตามแนวทางของ พระศาสนจักรคาทอลิก 3. สั ง ฆมณฑลต่ า งๆ ควรได้ บ รรจุ นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียน คาทอลิ ก ตามอั ต ลั ก ษณ์ ค าทอลิ ก ไว้ ใ นแผน อภิบาลของแต่ละสังฆมณฑล ซึ่งจะสามารถ ลงสู่การปฏิบัติได้ ผ่านทางฝ่ายการศึกษาของ แต่ละสังฆมณฑล อันจะก่อให้เกิดการพัฒนา อย่ า งเป็ น ระบบและยั่ ง ยื น สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น วัตถุประสงค์ทเี่ กิดจากการประชุมสมัชชาใหญ่ ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ค.ศ 2015/พ.ศ.2558 ที่มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟู ชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักรคาทอลิก แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “ศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” และประเด็น
ธวัช สิงห์สา, ประเสริฐ อินทร์รักษ์
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาก็เป็นประเด็น ใหญ่ที่ที่ประชุมให้ความส�ำคัญและควรมีการ ด�ำเนินการอย่างเร่งด่วน 4. ควรมี ร ะบบการพั ฒ นาครู แ ละ ผู ้ บ ริ ห ารอย่ า งเป็ น ระบบ เช่ น การสรรหา การเข้าสู่ต�ำแหน่ง การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสร้างขวัญและก�ำลังใจ ฯลฯ แม้ว่าการ จัดการในเรื่องนี้ค่อนข้างยากด้วยบริบทของ แต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน ท�ำให้การ ด�ำเนินการในเรื่องนี้ยังขาดเอกภาพและแนว ปฏิ บั ติ ที่ ชั ด เจน อย่ า งไรก็ ต ามพระสั ง ฆราช แต่ละสังฆมณฑลในฐานะผู้บริหารสูงสุดและ สภาการศึกษาคาทอลิกในฐานะผู้รับผิดชอบ ด้านการศึกษาคาทอลิกฯลฯ ควรต้องมีการ ก�ำหนดนโยบายในเรื่องนี้และด�ำเนินการอย่าง เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบุคลากรทางด้านการ ศึกษาให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับการศึกษา อบรมในด้ า นอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก เช่น ควรมีสถาบันเฉพาะทางที่ผลิตบุคลากร ทางการศึกษาคาทอลิกทัง้ ครูและผูบ้ ริหารตาม แนวอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก ควรมี หลักสูตรอบรมต่อเนือ่ งส�ำหรับผูบ้ ริหารในด้าน การศึกษาต่อความท้าทายในยุคปัจจุบัน และ มีการเตรียมบุคคลทีจ่ ะท�ำงานในด้านการศึกษา คาทอลิกอย่างเป็นระบบ ตลอดจนพยายาม เน้นบทบาทของฆราวาสให้เข้ามามีสว่ นร่วมใน
การบริ ห ารการศึ ก ษาให้ ม ากขึ้ น เพราะใน ปัจจุบันอัตราการเข้าสู่กระแสเรียกการเป็น พระสงฆ์ นั ก บวชลดลงอย่ า งมาก ดั ง นั้ น ฆราวาสที่ผ่านกระบวนการอบรมฯ จะเป็น ทางออกที่ดีส�ำหรับการท�ำงานด้านการศึกษา คาทอลิกในอนาคต ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาเรื่องการบริหารโรงเรียน เพือ่ พัฒนานักเรียนไปสูล่ กั ษณะอันพึงประสงค์ ตามคุณค่าพระวรสาร เพื่อสามารถน�ำคุณค่า พระวรสารน�ำมาปฏิบัติในการบริหารจัดการ ในโรงเรียนคาทอลิก อันจะก่อให้เกิดผลในทาง รูปธรรม 2. ควรศึกษาเรื่อง การบริหารโรงเรียน เพื่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด ทั ก ษะการคิ ด ไตร่ ต รอง ตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก เพื่อน�ำแนวทาง การศึกษาแบบพัฒนาทักษะการคิดไตร่ตรอง มาใช้ในกระบวนศึกษา 3. ควรศึกษาเรื่องการพัฒนาผู้บริหาร โรงเรี ย นคาทอลิ ก สู ่ ก ารเป็ น ผู ้ น� ำ การ เปลี่ยนแปลงตามแนวทางอัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิก เพือ่ เตรียมผูบ้ ริหารโรงเรียนคาทอลิก ให้มีความรุ้ความเข้าใจและมีทักษะการบริหาร ตามอัตลักษณ์คาทอลิก
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
73
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
บรรณานุกรม สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2558). ตลอดกาลนิรันดร์ 350 ปีการศึกษาคาทอลิก ไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. _____. (2555). ก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ปี ค.ศ. 2012-2015. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. _____. (2557). “ก้าวต่อไปด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก.” เอกสารการวิจยั โรงเรียนคาทอลิก. _____. (2551). อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2557). เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาใหญ่ หัวข้อ “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. ส�ำนักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพฐ). (2553). “แนวทางจัดการเรียนรูใ้ นศตวรรษ ที ่ 21”, เอกสารเพือ่ ใช้ในโครงการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนในโครงการทักษะการเรียนรูใ้ น ศตวรรษที่ 21. _____. (2553). แนวทางการด�ำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of psychological Testing. 4 th ed. New York: Harper & Row Publishers. Krejcie, R.V., and P.W. Morgan. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: Harper & Row Publishers. Likert, Rensis. (1967). The Human Organization: Its Management and Values. New York: McGraw – Hill. Michael J, Miller. (1965). Archbishop. Five Essential Marks of Catholic Schools. [online]. Accessed September 24, 2011. Available from http://www.catholiceducation. org The sacred Congregation for Catholic Education. Declaration on Christian Education(Gravissimum Educationis). Rome: Libreria Editrice Vaticana. ____. (1988) The Religious Dimension of Education in a Catholic School: guidelines for reflection and renewal. Rome: Libreria Editrice Vaticana. ____. (1977) CatholicSchool. Rome: Libreria Editrice Vaticana. ____. (1988) The religious Dimension of Education in a Catholic school. Rome: Liberia Editrice Vaticana. 74
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
The Exploratory Factor Analysis of Students
Characteristics in Higher Educational Institution according to the Identities of Catholic Education. ผศ. ร.ต.ต.หญิง ดร.เรวดีทรรศน์ รอบคอบ
*** วันที่ตอบรับบทความ 12 กันยายน 2561
* คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
ดร.อัชฌา ชื่นบุญ
* ส�ำนักวิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
ดร.ชุติมา แสงดารารัตน์
* ส�ำนักวิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลราชบุรี * รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อาจารย์ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน
* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม * หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม
ศ.กิตติคุณ นพ.ดร.จิตร สิทธีอมร * อธิการบดีวิทยาลัยเซนต์หลุยส์
Asst.Prof.Police sub Lt.Dr.Raywadeetas Robkob
* Lecturer, Faculty of Nurse, Saint Louis College, Thailand.
Dr.Athcha Chuenboon
* Lecturer, School of General Education, Saint Louis College, Thailand.
Dr.Chutima Saengdararat
* Lecturer, School of General Education, Saint Louis College, Thailand.
Rev.Asst.Prof.Dr.Aphisit Kitcharoen
* Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese. * Vice President for Academic Affairs of Saengtham College.
Saranyu Pongprasertsin
* Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College.
Professor Emeritus Chitr Sitthi-amorn.
* President of Saint Louis College, Thailand.
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของ คุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งเป็น สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในก�ำกับดูแลของส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จ�ำนวน 5 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 1,111 คน ได้ ม าโดยวิ ธี ก ารสุ ่ ม แบบหลายขั้ น ตอน เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ เป็นแบบสอบถามคุณลักษณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาคาทอลิกประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก แบบมาตราส่วนประมาณค่า 10 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก การหมุนองค์ประกอบ แบบมุมฉากด้วยวิธีวาริแมกซ์ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้คือ วิเคราะห์องค์ประกอบของ คุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก มี 21 องค์ประกอบย่อย สามารถ ก�ำหนดเป็นองค์ประกอบของคุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบัน อุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเชือ่ และศรัทธาในการสร้างสันติภาพด้วย ข้อเท็จจริง (Faith) 2) มโนธรรมและความมุ่งมั่น (Conscience and Commitment) 3) พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Desirable Behavior) 4) ผลที่ได้จากพฤติกรรม (Behavioral Outcome) 5) ความยุติธรรม ต่อบุคคล สังคม สิง่ แวดล้อม และสันติภาพ (Justice and Peace) และ 6) ความหวัง (Hope) ค�ำส�ำคัญ:
76
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คุณลักษณะของนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
Abstract
This research aims to analyze the components of the characteristics of students in Catholic higher education institutions in Thailand according to the identities of Catholic education. The sample group used in this study is the 1,111 undergraduate students in Catholic higher education institutions in Thailand. These institutes are five public institutes supervised by the Higher Education Commission, The Ministry of Education. The sample was collected using multi-stage sampling method while the tool used for identifying the characteristics of students in Catholic higher education institutions in Thailand according to the identities of Catholic education is 10-levels rating scale questionnaire with 0.97 reliability. Data analysis was done using principal component analysis with varimax method. The summary of the research’s result is the analyzed characteristic of students in Catholic higher education institutions in Thailand according to the identities of Catholic education. There are 21 minor components which can be defined into 6components of the students’ characteristic in Catholic higher education institutions in Thailand according to the identities of Catholic education in Thailand which are 1) Faith from fact 2) Conscience and commitment 3) Desirable behaviors 4) Behavioral outcome 5) Personal, social, and environmental justice and peace and 6) hope. Keywords:
The characteristics of students Catholic higher education institutions in Thailand The identities of Catholic education Analytical studies, exploratory factor analysis ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
77
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศลง วันที ่ 7 สิงหาคม 2549 ซึง่ ได้กำ� หนดมาตรฐาน ด้านคุณภาพบัณฑิตว่า“ บัณฑิตระดับอุดมศึกษา เป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความ สามารถในการเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรูเ้ พือ่ การด�ำรงชีวติ ใน สังคมได้อย่างมีความสุขทั้งทางร่างกายและ จิตใจ มีความส�ำนึกและความรับผิดชอบใน ฐานะพลเมื อ งและพลโลก” ซึ่งสถานศึก ษา ส่ ว นใหญ่ ไ ด้ ป รั บ ปรุ ง คุ ณ ลั ก ษณะบั ณ ฑิ ต ที่ พึงประสงค์ของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ ประกาศดังกล่าว โดยเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และคุณสมบัติอื่นๆ ตามประกาศ ดังกล่าว แต่มีความแตกต่างกันตรงที่สถาน ศึกษาบางแห่งเน้นคุณธรรมน�ำความรู้ สถาบัน ศึกษาบางแห่งเน้นความรู้มากกว่าคุณธรรม (ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์, 2552) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัย เซนต์จอห์น วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ วิทยาลัย แสงธรรม และวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ที่มีพันธกิจหลักที่จะต้อง ด�ำเนินการตามแบบ ฉบับของพระเยซูเจ้าในการรักและรับใช้เพื่อน มนุ ษ ย์ เพื่ อ การพั ฒ นามนุ ษ ย์ ใ นทุ ก มิ ติ ด ้ ว ย ความรู ้ ค วามช� ำ นาญในศาสตร์ เ ฉพาะทาง เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
78
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อันเป็นการสร้างสรรค์ความผาสุกและสันติสุข แก่สังคมแล้ว และในฐานะเป็นสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนในก�ำกับดูแลของส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีความจ�ำเป็นต้องด�ำเนินการให้นักศึกษา และบัณฑิตมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศดังกล่าว อีกทั้ง ต้องปฏิบตั ติ ามพันธกิจอุดมศึกษา อันประกอบ ด้วย 1) ในการผลิตบัณฑิต มุง่ ผลิตบัณฑิตตาม มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ มีคุณลักษณะ ของบัณฑิตพึงประสงค์ และสามารถปฏิบตั งิ าน ตามมาตรฐานวิชาชีพ 2) การวิจัย มุ่งศึกษา ค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผูป้ ว่ ยระยะสุดท้าย ผู้พิการ รวมทัง้ คุณค่าและ ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ แลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ละ ประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสันติสุขแก่สังคม 3) การ บริ ก ารวิ ช าการแก่ สั ง คม ใช้ ศั ก ยภาพของ สถาบั น ในการให้ บ ริ ก ารวิ ช าการแก่ สั ง คม โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและการ วิ จั ย 4) การท� ำ นุ บ� ำ รุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรมและ ศาสนา สร้างความเข้าใจ ชื่นชม สืบสาน ท�ำนุ บ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และภูมิปัญญา ไทย รวมทั้งแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ อย่างสร้างสรรค์ และ 5) การบริหารจัดการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรและ สิง่ แวดล้อมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และ หลักธรรมาภิบาล
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
ดังนั้น ด้วยลักษณะเฉพาะของสถาบัน อุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทยดังกล่าว ข้างต้น ยังไม่ได้มีการด�ำเนินการศึกษาวิจัย ให้เห็นชัดถึงคุณลักษณะของนักศึกษา ตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คณะผู้วิจัยจึง ด�ำเนินการวิจยั นีข้ นึ้ เพือ่ ให้ได้ทราบคุณลักษณะ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามอัตลักษณ์ การศึกษาคาทอลิกในแต่ละสถาบันอันจะน�ำ ผลไปเป็นข้อมูลในการก�ำหนดเป็นคุณลักษณะ บั ณ ฑิ ต ที่ พึ ง ประสงค์ ข องสถานศึ ก ษานั้ น ๆ ให้ชัดเจนขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ ของคุ ณ ลั ก ษณะของนั ก ศึ ก ษา ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาคาทอลิ ก ในประเทศไทย ตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าพระวรสาร 21 ประการ ส�ำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ ส�ำหรับ อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (สภาการศึกษา คาทอลิกแห่งประเทศไทย, 2556) คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซู สัง่ สอน และเจริญชีวติ เป็นแบบอย่างแก่บรรดา สานุ ศิ ษ ย์ แ ละประชาชน ดั ง ที่ มี บั น ทึ ก ใน
พระคัมภีร์ ตอนที่มีชื่อเรียกว่า “พระวรสาร” ซึ่งแปลว่า “ข่าวดี” ค�ำว่า “ข่าวดี” หมายถึง ข่าวดีแห่งความรอดพ้น ของมนุษย์จากทุกข์ (อิสยาห์ 61:1) (ลูกา 4:16-18) (อิสยาห์ 35: 4-6) (ลูกา 7:22) และข่าวดีแห่งความรักของ พระเจ้าผู้รักมนุษย์ จนกระทั่งประทานพระ บุ ต รของพระองค์ ม าบั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ เ พื่ อ ไขแสดงพระองค์ และแสดงพระธรรมแก่มนุษย์ และท� ำ การกอบกู ้ ม นุ ษ ย์ ใ ห้ พ ้ น จากทุ ก ข์ อัศจรรย์ต่างๆ พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์บน ไม้กางเขนเพื่อไถ่กู้มนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อบันดาลให้ มนุษย์ได้รับ ชีวิตนิรันดร (ยอห์น 3:16) องค์ ประกอบของคุณลักษณะของนักศึกษาระดับ อุ ด มศึ ก ษาในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาคาทอลิ ก ประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ก�ำหนดขอบเขตของคุณลักษณะของนักศึกษา ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษา คาทอลิกมี 21 คุณค่า ได้แก่ 1) ความเชื่อศรัทธา (Faith) ความเชื่อ ศรัทธาหมายถึง ความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า (มาระโก 11:22) ความเชื่อในความเป็นจริงที่ อยู่เหนือสิ่งที่เราจับต้องมองเห็น ความเชื่อใน ความเป็นจริงของจิตวิญญาณและในมิติทาง ศาสนาของชี วิต พระเยซู ส อนว่ า หากเรามี ความเชือ่ ศรัทธา อัศจรรย์จะเกิดขึน้ ในชีวติ ของ เรา (ลูกา 17:19) (มัทธิว 11:23) หากเรามี
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
79
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
ความเชื่อศรัทธา เราจะได้รับความรอดพ้น จากบาป (มาระโก 2:5) และทุกข์ (ลูกา 7:50) เราต้ อ ง มี ค วามเชื่ อ ศรั ท ธาเมื่ อ เราภาวนา (มาระโก 11:24) และเมื่ อ เราอยู ่ ใ นวิ ก ฤต (มาระโก 4:39-40) ความเชื่อศรัทธาเป็นพื้น ฐานของคุณค่าพระวรสารอื่นๆ ทั้งหมด 2) ความจริง (Truth) พระเยซูตรัสว่า พระองค์ คื อ “หนทาง ความจริ ง และชี วิ ต (ยอห์น 14:6) ชีวิตของเราเป็นการแสวงหา ความจริง ความจริงของโลก ของชีวิต และ ของมนุษย์ พระองค์สอนเราว่า ความจริงท�ำให้ เราเป็นไท (ยอห์น 8:32) บุคคลที่ไม่ซื่อตรง คื อ บุ ต รแห่ ง ปี ศ าจผู ้ มี แ ต่ ค วามเท็ จ (ยอห์ น 8:44) 3) การไตร่ตรอง/ภาวนา (Reflection /Prayer) พระเยซูสอนให้เราไตร่ตรองอยูเ่ สมอ พระองค์ ส อนให้ เรารู ้ คุ ณ ค่ า ของความสงบ (ลูกา 4:42) และการไตร่ตรองเพื่อหาความ หมายทีล่ กึ ซึง้ ของปรากฎการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ (ลูกา 12:27; 2:51) การไตร่ตรองน�ำไป สูก่ ารเข้าใจ (มัทธิว 13:23) ยอมรับ และปฏิบตั ิ คุ ณ ค่ า จนเกิ ด ผลมากมาย (มาระโก 4:20) พระเยซูภาวนาอยู่เสมอ (ลูกา 6:12; 22:39) พระองค์ภาวนาเป็นพิเศษ เมือ่ ประกอบภารกิจ ส�ำคัญ (ลูกา 5:16) เมื่อมีการประจญ (มัทธิว 4:1) (ลูกา 22:46) และเมื่อมีวิกฤติของชีวิต (มัทธิว 26:36) พระองค์สอนเรา ให้ภาวนาอยู่ เสมอ (ลูกา 18:1-7) 80
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
4) มโนธรรม/วิจารณญาณ/ความกล้า หาญเชิงศีลธรรม (Conscience/Discernment /Moral Courage) พระเยซูสอนให้เรามีความ กล้าหาญเด็ดเดีย่ วในการรักษาศีลธรรม (มัทธิว 5:30; 18:8) มีมโนธรรมเทีย่ งตรง วิจารณญาณ แยกแยะชั่ ว ดี รู ้ จั ก ตั ด สิ น ใจเลื อ กทางแห่ ง ความดีงาม และยึดมัน่ ในทางแห่งความดี (ลูกา 18:8) แม้ในสถานการณ์ทเี่ ราถูกคุกคาม (มัทธิว 5:10; 24:10, 12-13) 5) อิ ส รภาพ (Freedom) พระเยซู สอนว่า “ความจริงท�ำให้เราเป็นอิสระ” (ยอห์น 8:32) ซึ่งหมายถึงความเป็นอิสระจากการเป็น ทาสของบาป เราปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องเราด้ ว ย ความเชื่อมั่น ด้วยความรัก มิใช่ด้วยความกลัว (ยอห์น 14: 27) (ลูกา 5:10) 6) ความยิ น ดี (Joy) ความยิ น ดี เ ป็ น ผลของประสบการณ์การสัมผัสความรักของ พระเจ้า (ยอห์น 16:22) พระเยซูสอนให้เรา มีใจเบิกบานอยูเ่ สมอ เพราะชือ่ ของเราถูกจารึก ไว้ ใ นสวรรค์ แ ล้ ว (ลู ก า 10:20) ไม่ มี สิ่ ง ใด ท�ำให้เราหวั่นไหว หรือหวาดกลัว (ยอห์น 14: 1) เพราะพระเจ้ารักเรา (ลูกา 12:7) (ยอห์น 17:13) 7) ความเคารพ / ศักดิ์ศรี (Respect /Dignity) มนุ ษ ย์ ถู ก สร้ า งตามพระฉายา ลักษณ์ของพระเจ้า มนุษย์เป็นลูกของพระเจ้า (ลู ก า 20:36) ดั ง นั้ น ชี วิ ต มนุ ษ ย์ จึ ง มี ค วาม ศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูสอนให้เราเคารพศักดิ์ศรี
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
ของตนเอง และของกันและกัน เราแต่ละคน มีค่ามากในสายพระเนตรของพระเจ้า (มัทธิว 10:29-31; 18:10) 8) ความสุ ภ าพถ่ อ มตน (Humility) พระเยซู เชื้ อ เชิ ญ ให้ เราเลี ย นแบบพระองค์ “เรี ย นจากเรา เพราะเรามี ใจอ่ อ นโยนและ สุภาพ” (มัทธิว 11:29) ค�ำสอนหลักทีพ่ ระเยซู เน้นย�้ำบ่อยครั้งคือ ผู้ใดถ่อมตัวลง ผู้นั้นจะได้ รับการยกย่องให้สูงขึ้น (ลูกา 14:11) ผู้ใดมีใจ สุภาพอ่อนโยนผู้นั้นย่อมเป็นสุข (มัทธิว 5:5) ผู้ใดมีใจสุภาพเหมือนเด็กเล็กๆ ผู้นั้นจะเป็น ผูย้ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในพระอาณาจักรสวรรค์ (มัทธิว 18:4) 9) ความซื่อตรง (Honesty) พระเยซู คาดหวังให้เราเป็น “มนุษย์ใหม่” (ยอห์น 1: 13) มนุษย์ที่ซื่อตรง (มัทธิว 5:37) ชอบธรรม (ยอห์น 1:47) ประพฤติชอบในสายพระเนตร ของพระเจ้ า (ลู ก า 16:15) ด� ำ รงตนอยู ่ ใ น ศีลธรรม ไม่หน้าซื่อใจคด (มัทธิว 23:13-15) ไม่คดโกงหรือเบียดเบียนผู้อื่น (มัทธิว 15:8; 23:13-15) ผู้ซื่อตรงต้องเริ่มจากการซื่อสัตย์ ในสิ่งเล็กน้อย (ลูกา 16:10) ผู้ซื่อตรงจะเกิด ผลมากมาย (ลูกา 8:15) 10) ความเรี ย บง่ า ย/ความพอเพี ย ง (Simplicity/Sufficiency) พระเยซูเจริญชีวิต ที่ เรี ย บง่ า ย คลุ ก คลี กั บ ประชาชนคนสามั ญ ทุ ก คนเข้ า หาพระองค์ ไ ด้ แ ม้ แ ต่ เ ด็ ก ๆ (ลู ก า 18:16) พระองค์ ส อนเรามิ ใ ห้ กั ง วลใจใน
เครือ่ งแต่งกาย ในอาหารการกิน เพราะพระเจ้า ดู แ ลชี วิ ต ของเราทุ ก คน (ลู ก า 12:24-27) (มัทธิว 6:32) สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง และนก ในอากาศยังมีรัง แต่พระองค์ไม่มีที่ที่จะวาง ศีรษะ (มัทธิว 8:20) 11) ความรัก (Love) พระเยซูสอนให้ เรามีความรักแท้ ความรักที่สูงส่งกว่าความ รักใคร่ เป็นความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่หวัง สิง่ ตอบแทน ความรักทีม่ อบแก่ทกุ คน ความรัก ที่เอาชนะอารมณ์ความรู้สึกของตน จนกระทั่ง สามารถ รักแม้แต่คนที่เป็นอริกับเรา (มัทธิว 5:43-45) หลักปฏิบัติพื้นฐานของการแสดง ความรัก คือ “ปฏิบัติต่อผู้อื่น ดังที่เราอยาก ให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา” (มัทธิว 22:39) หลัก ปฏิบตั ขิ นั้ สูงของการแสดงความรัก คือ “รักกัน และกันเหมือนที่พระเจ้าทรงรักเรา” (ยอห์น 15:12) ความรักเป็นคุณค่าที่ส�ำคัญที่สุด เป็น จุดมุ่งหมายที่คุณค่าพระวรสารอื่นๆ ทั้งหมด น�ำไปสู่ 12) เมตตา (Compassion) พระเยซู เจริญชีวิตที่เป็นแบบอย่างของความเมตตา พระองค์เมตตาต่อทุกคน คนเจ็บป่วย (มัทธิว 20: 34) คนตกทุกข์ได้ยาก (ลูกา 7:13) และ คนด้อยโอกาส (มัทธิว 9:36) พระองค์รว่ มทุกข์ กับคนทีม่ คี วามทุกข์ เข้าถึงความรูส้ กึ และความ ต้องการของผู้อื่น (ยอห์น 11:33) พระองค์ สอนเราให้รจู้ กั พระเจ้าผูเ้ ป็น พระบิดาผูเ้ มตตา (ลู ก า 15:20) และสอนให้ เราเป็ น ผู ้ เ มตตา
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
81
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
เหมือนพระบิดาทรงเป็นผู้เมตตา (ลูกา 6:36) พระองค์เล่านิทานเปรียบเทียบทีน่ า่ ฟังเรือ่ งชาว สะมาเรียผู้ใจเมตตา (ลูกา 10:33) 13) ความกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ (Gratitude) พระเยซู ต รั ส ชมเชยผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ การรั ก ษาจาก โรคภัย ที่กลับมาขอบคุณพระองค์ (ลูกา 17: 16-17) พระเยซูขอบคุณพระเจ้าในทุกขณะ (มัทธิว 15:36) (ลูกา 22:19) (ยอห์น 11:41) และสอนให้ เรารู้จัก กตัญญูรู้คุณ ต่อพระเจ้า และต่อทุกคนที่มีบุญคุณต่อเรา (ลูกา 2:51) 14) การงาน/หน้ า ที่ (Work/Duty) พระเยซูสอนให้เราเห็นคุณค่าของการท�ำงาน ผู้ที่ท�ำงานก็สมควรได้รับค่าตอบแทน (ลูกา 10:7) พระองค์จะประทานรางวัลแก่ทุกคน ตามการท�ำงานของแต่ละคน (มัทธิว 16:27) พระองค์ ท� ำ งานอยู ่ เสมอเหมื อ นพระบิ ด า ท�ำงานอยูเ่ สมอ (ยอห์น 5:17) พระองค์ยงั สอน ว่าการท�ำงานเป็นการถวายเกียรติ แด่พระเจ้า (มัทธิว 5:16) (ยอห์น 15:8; 17:4) เราพึงระลึก อยู่เสมอว่า เราต้องท�ำงานเพื่ออาหารที่คงอยู่ เป็นชีวิตนิรันดร์ (ยอห์น 6:27) “จงท�ำงาน หนักเพื่อเข้าประตูแคบสู่พระราชัยสวรรค์” (ลูกา 13:24) 15) การรั บ ใช้ (Service) พระเยซู เสด็จมาในโลกเพือ่ มารับใช้มใิ ช่มาเพือ่ ได้รบั การ รับใช้ พระองค์สอนสานุศิษย์ว่าพระองค์ผู้เป็น พระเจ้ายังรับใช้พวกเขา (ยอห์น 13:14) ดังนัน้ พวกเขาต้องรับใช้ผู้อื่นเช่นเดียวกัน ผู้ใหญ่กว่า จะต้องรับใช้ผู้น้อยกว่า (ลูกา 22:26) 82
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
16) ความยุติธรรม (Justice) พระเยซู สอนให้เราแสวงหาความยุติธรรมให้กับผู้อื่น ก่อนให้กับตนเอง (ยอห์น 8:7) ความยุติธรรม เรียกร้องให้เราเปิดใจกว้างต่อความต้องการ ของผู้อื่น (ลูกา 18:3) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ ด้อยกว่าเรา (ลูกา 16:19-21) 17) สันติ/การคืนดี (Peace/Reconciliation) พระเยซูตรัสว่า พระองค์มอบสันติ ของพระองค์แก่เรา (ยอห์น 14:27) สันติเป็น ผลมาจากความยุติธรรม เราสามารถน�ำสันติ สู่สังคมที่เราอยู่โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และกัน (ลูกา 10:6) (มัทธิว 5:9) มีใจที่ปล่อย วาง หลุดพ้นจากความว้าวุน่ ใจ หลีกเลีย่ งความ รุนแรงทุกชนิด และเมือ่ มีความขัดแย้ง เราต้อง พร้อมที่จะคืนดีเสมอ (มัทธิว 5:24) การคืนดี เป็นผลจากการเคารพซึง่ กันและกัน และใจเปิด ต่อการเสวนา 18) อภัย (Forgiveness) พระเยซูสอน ศิษย์ให้ภาวนาต่อพระบิดาเสมอๆ ว่า “โปรด อภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนที่ข้าพเจ้าอภัยให้ผู้อื่น ที่ท�ำผิดต่อข้าพเจ้า” (ลูกา 11:3-4) พระเยซู เล่านิทานของบิดาผู้ใจดีที่ให้อภัยแก่ลูกที่ล้าง ผลาญทรัพย์สมบัติของบิดา (ลูกา 15:11-24) พระเยซูให้อภัยแก่ผู้ที่ตรึงพระองค์บนกางเขน (ลูกา 23:34) การรู้จักให้อภัยผู้อื่นเกิดขึ้นได้ เมื่ อ เรารู ้ จั ก เอาชนะความโกรธเคื อ ง ความ อาฆาตมาดร้ายทุกชนิด (มัทธิว 5: 22) การให้ อภัยของเราต้องไม่มีขอบเขตเหมือนที่พระเจ้า ให้อภัยแก่เราอย่างไม่มีขอบเขต (ลูกา 17:4)
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
19) ความเป็นหนึ่ง/ความเป็นชุมชน (Unity/Community) พระเยซู ส อนว่ า มนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกัน ทุกคนมีพระเจ้า เป็นพระบิดาองค์เดียวกัน (มัทธิว 6:9) (ยอห์น 10:30) ดังนั้น มนุษย์จึงต้องสร้างสังคมมนุษย์ ให้น่าอยู่ มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน (มาระโก 3:35) มีสายใยยึดเหนีย่ วกันอย่างมัน่ คง (ยอห์น 15:12) ไม่ว่าเราจะอยู่ในหน่วยใดของสังคม ทั้งบ้าน โรงเรียน และท้องถิ่น เราต้องแสดง ความเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมในชีวิตของ ชุมชนนั้นๆ (ยอห์น 13:35) 20) การพิศเพ่งสิ่งสร้าง/รักษ์ธรรมชาติ (Wonder/Conservation) พระเยซูสอนให้ เรามองดูความสวยงามของธรรมชาติ ดวงดาว บนท้องฟ้า (ลูกา 10:20) นกที่บินในอากาศ (ลูกา 12:24) ดอกไม้ในทุ่งหญ้า (ลูกา 12:27) แล้ ว มองเห็ น ความยิ่ ง ใหญ่ ข องพระผู ้ ส ร้ า ง ธรรมชาติ มองเห็นความน่าพิศวงของธรรมชาติ ทีถ่ กู สร้างมาเพือ่ ให้มนุษย์เอาใจใส่ดแู ล (มัทธิว 11:27) เราจึงต้องหวงแหนธรรมชาติ อนุรักษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม พิ ทั ก ษ์ โ ลกของเราให้ อ นุ ช น รุ่นหลัง 21) ความหวั ง (Hope) ความหวั ง มี พื้ น ฐานอยู ่ บ นค� ำ สั ญ ญาของพระเยซู ว ่ า พระองค์ ม าเพื่ อ กอบกู ้ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คน ให้ ไ ด้ ความรอดพ้ น จากบาป และมี ชี วิ ต นิ รั น ดร์ (ยอห์ น 3:15; 6:40) ความหวั ง ท� ำ ให้ เรามี ความอดทน พากเพียร และมั่นคงในความดี
ความหวังยังท�ำให้เราคิดบวก มองโลกในแง่ดี เราหวั ง ในพระเจ้ า มิ ใช่ ใ นวั ต ถุ (ลู ก า 6:35) (มัทธิว 12:21) ความหวังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เรายึดมั่นในคุณค่าพระวรสารอื่นๆ ทั้งหมด 2. แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ ประกอบ นงลั ก ษณ์ วิ รั ช ชั ย (2555: 36-39) อธิบายการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ว่าเป็นเทคนิคด้านความสัมพันธ์ ระหว่างกัน (Interdependent technique) หมายถึง กลุ่มสถิติวิเคราะห์ส�ำหรับข้อมูลที่ ประกอบด้วยตัวแปรชุดหนึ่งที่วัดคุณลักษณะ (Attribute) หรือตัวแปรแฝง (Latent variable) โดยที่ ชุ ด ตั ว แปรนั้ น มี ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่างตัวแปรกันเอง และไม่มกี ารระบุตวั แปร ต้นหรือตัวแปรตาม สถิติวิเคราะห์ประเภทนี้ เป็ น ประโยชน์ ใ นการวิ เ คราะห์ โ มเดลการ วัดตัวแปร หรือตัวบ่งชี้ มี 2 แบบ ได้แก่ การ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ในบทความนี้ ใช้ ก ารวิ เ คราะห์ อ งค์ ประกอบเชิงส�ำรวจ สามารถอธิบายได้ว่า เป็น สถิตทิ วี่ เิ คราะห์ทใี่ ช้ในการส�ำรวจความสัมพันธ์ ระหว่างชุดของตัวแปรหลายตัว จุดมุ่งหมาย ในการวิเคราะห์คอื 1) การส�ำรวจโมเดลการวัด 2) การยืนยันว่าโมเดลการวัดองค์ประกอบตาม
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
83
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
กรอบความคิดในการวิจัยนั้น สอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ควรลดจ�ำนวน ตัวแปรโดยสร้างเป็นองค์ประกอบ (Factors) เพื่อน�ำไช้ในการวิเคราะห์หรือตีความต่อไป โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจเป็น โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation model: SEM) ชนิ ด หนึ่ ง ในโมเดล ประกอบด้วยตัวแปรแฝง (Latent Variables) และตัวแปรสังเกตได้ (Observed Variables) วิธีการด�ำเนินการวิจัย ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย นั ก ศึ ก ษา ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา คาทอลิ ก ในประเทศไทย ซึ่ ง เป็ น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนในก� ำ กั บ ดู แ ลของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ จ�ำนวน 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น วิทยาลัย เซนต์หลุยส์ วิทยาลัย แสงธรรม และวิทยาลัย นานาชาติเซนต์เทเรซา รวมทัง้ สิน้ 19,534 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักศึกษา ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา คาทอลิ ก ในประเทศไทย ซึ่ ง เป็ น สถาบั น อุดมศึกษาเอกชนในก�ำกับดูแลของส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร จ� ำ นวน 5 สถาบั น รวมทั้ ง สิ้ น 1,111 คน ก� ำ หนดขนาดกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งโดย ใช้ตารางก�ำหนดขนาดกลุม่ ตัวอย่างของยามาเน่ 84
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
(Yamane, 1967) แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน (Multi-stages random sampling) การพิ ทั ก ษ์ สิ ท ธิ ข องกลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง โครงการวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะ กรรมการจริยธรรมเกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ตอน ประกอบ ด้ ว ยตอนที่ 1 เป็ น ข้ อ มู ล ทั่ ว ไปของผู ้ ต อบ แบบสอบถาม เป็ น แบบตรวจสอบรายการ จ�ำนวน 6 ข้อ และตอนที ่ 2 เป็นแบบสอบถาม คุ ณ ลั ก ษณะของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาคาทอลิ ก ประเทศไทย ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก แบบ มาตราส่วนประมาณค่า 10 ระดับ จ�ำนวน 65 ข้อ ที่ ผู ้ วิ จั ย ได้ ส ร้ า งขึ้ น โดยศึ ก ษาจากแนวคิ ด ทฤษฎีและผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของ มาตรวัด (Content Validity) ผ่านการพิจารณา จากข้ อ ค� ำ ถามผู ้ เชี่ ย วชาญ 3 คน มี ค ่ าดั ช นี ความสอดคล้อง (Index of Item–Objective Congruence: IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 2. น�ำแบบวัดไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบ ความเที่ยง (Reliability) ได้ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าด้วยสูตรของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.97
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
การเก็บรวบรวมข้อมูล การน� ำ แบบวั ด ไปสอบถามกั บ กลุ ่ ม ตัวอย่าง ดังนี้ 1. วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย ประสานไปยังผูป้ ระสานงานของสถาบันทีก่ ลุม่ ตัวอย่างสังกัดเพื่อขอเข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูล โดยก�ำหนดวัน เวลาที่แน่นอน 2. จั ด เตรี ย มแบบวั ด เพื่ อ น� ำ ไปเก็ บ รวบรวมข้อมูล จ�ำนวน 1,200 ชุด 3. ด�ำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเดือน มีนาคม – เมษายน 2560 โดยผูว้ จิ ยั ได้รบั การ พิ จ ารณาจริ ย ธรรมการวิ จั ย ในมนุ ษ ย์ จ าก วิ ท ยาลั ย เซนต์ ห ลุ ย ส์ ก่ อ นให้ ก ลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง ตอบแบบวัด ผู้วิจัยชี้แจงรายละเอียดการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจยั ให้กลุม่ ตัวอย่างทราบ ว่ากลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัยทุกคน สามารถออกจากการวิจัยได้ทุกเมื่อที่ต้องการ โดยไม่มผี ลกระทบต่อการเรียนหรือผลการเรียน ใดๆ ข้ อ มู ล ทั้ ง หมดจะถู ก เก็ บ เป็ น ความลั บ ผลการวิจัยจะน�ำเสนอในภาพรวมโดยไม่ระบุ นามหรือรหัสนักศึกษา 4. คัดเลือกแบบวัดที่กลุ่มตัวอย่างตอบ ครบทุกข้อหรือมีความสมบูรณ์ให้ได้ จ�ำนวน 1,111 ชุด ตามจ�ำนวนกลุม่ ตัวอย่างทีต่ งั้ ไว้กอ่ น น�ำไปวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (Exploration Factor Analysis: EFA) สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มากที่สุด ร้อยละ 67.68 อายุเฉลี่ย 21.8 ปี นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด ร้อยละ 81.13 ก�ำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มาก ที่สุด ร้อยละ 28.5 รองลงมา วิทยาลัยนานา ชาติเซนต์เทเรซา ร้อยละ 27.60 มหาวิทยาลัย เซนต์จอห์น ร้อยละ 18.97 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ร้อยละ 16.74 และวิทยาลัยแสงธรรม ร้อยละ 8.19 ตามล� ำ ดั บ กลุ ่ ม สาขาวิ ช าที่ เรี ย นเป็ น มนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ ม ากที่ สุ ด ร้อยละ 56.81 และก�ำลังศึกษาอยู่ ชั้นปีที่ 2 มากที่สุด ร้อยละ 28.05 2. จากการน�ำแบบสอบถามของกลุ่ม ตั ว อย่ า งมาทดสอบความเหมาะสม ในการ วิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) พบว่าค่า Kaiser-Myer-Olkin Measure (KMO) เท่ากับ 0.983 และผลการทดสอบ Bartlett’s Test of Sphericity P-value น้อยกว่า 0.05 แสดง ว่ า องค์ ป ระกอบทั้ ง 21 ด้ า นสามารถเป็ น
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
85
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
องค์ประกอบของคุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก ได้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ หลัก (Principal Component Analysis: PCA) และหมุ น แกนด้ ว ยเทคนิ ค Varimax ซึ่งเป็นเทคนิคที่ท�ำให้มีจ�ำนวนตัวแปรที่น้อย
ทีส่ ดุ และมีคา ่ Factor loading มากในแต่ละ ปัจจัย ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ ของคุ ณ ลั ก ษณะของนั ก ศึ ก ษา ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาคาทอลิ ก ในประเทศไทย ตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก พบว่า ประกอบ ด้วย 6 องค์ประกอบ รวม 64 ข้อ ดังตาราง แสดงในแต่ละองค์ประกอบต่อไปนี้
ตารางที ่ 1 องค์ประกอบที ่ 1 ด้านความเชือ่ และศรัทธาในการสร้างสันติภาพด้วยข้อเท็จจริง (Faith) ล�ำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
86
ตัวแปรที่ ข้อความ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ VAR17 นักศึกษายินดีในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ .718 VAR16 นักศึกษายินดีต่อความส�ำเร็จของตนเองและผู้อื่น .716 VAR22 นักศึกษาให้เกียรติผู้อื่น .703 VAR20 นักศึกษายอมรับความแตกต่างของบุคคลในสังคม .683 VAR21 นักศึกษาเคารพในสิทธิ/เสรีภาพของผู้อื่น โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น .677 VAR19 นักศึกษาเข้าใจ และเคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง .676 VAR15 นักศึกษาเคารพเสรีภาพทางความคิดต่อตนเองและผู้อื่น .670 VAR14 นักศึกษามีอิสระทางความคิด ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันด้วยความเชื่อมั่น .619 VAR24 นักศึกษามีมารยาท มีความเคารพ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ .572 VAR23 นักศึกษารู้จักกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว ไม่ใช้ความรุนแรง .570 VAR13 นักศึกษามีอิสระที่จะปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม .566 VAR25 นักศึกษาซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน .552 VAR27 นักศึกษาไม่ลักขโมย ไม่คดโกง และไม่เบียดเบียนผู้อื่น .537 VAR18 นักศึกษาไม่หวั่นไหว ไม่หวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิต .466 VAR26 นักศึกษาไม่พูดปดและกล้าพูดความจริง .414 ค่า Eigenvalue = 34.857 ค่าความแปรปรวน 53.626
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
จากตารางที ่ 1 เป็นองค์ประกอบด้านความเชือ่ และศรัทธาในการสร้างสันติภาพด้วยข้อเท็จ สามารถบรรยายได้ด้วยตัวแปร 15 ตัว มีค่าน�้ำหนักตั้งแต่ .414 - .718 ตัวแปรที่ส�ำคัญ 3 ล�ำดับ แรก คือ 1) นักศึกษายินดีในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 2) นักศึกษายินดีต่อความส�ำเร็จของตนเองและ ผู้อื่น และ 3) นักศึกษาให้เกียรติผู้อื่น มีค่า Eigenvalue เท่ากับ 34.857 สามารถอธิบาย องค์ประกอบ ได้เท่ากับ 53.626% ตารางที่ 2 องค์ประกอบที่ 2 ด้านมโนธรรมและความมุ่งมั่น (Conscience and Commitment) ล�ำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14
ตัวแปรที่ ข้อความ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ VAR39 นักศึกษาแสดงออกซึ่งความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกครั้งที่มีโอกาส .697 VAR38 นักศึกษาตอบแทนพระคุณของครู อาจารย์หรือผู้มีพระคุณโดยพูดดีและปฏิบัติดีต่อท่าน .692 VAR37 นักศึกษาตอบแทนพระคุณของบิดา มารดาโดยพูดดีและปฏิบัติดีต่อท่าน .675 VAR34 นักศึกษาปฏิบัติกิจการดีต่อผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน .656 VAR35 นักศึกษาแบ่งปันสิ่งของที่ตนมีแก่ผู้ที่ต้องการ .651 VAR33 นักศึกษารู้จักเสียสละตนเอง และมีจิตอาสา .637 VAR36 นักศึกษาช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม .627 VAR40 นักศึกษาเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ .602 VAR41 นักศึกษาแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง .589 VAR32 นักศึกษามีความรัก ไม่เห็นแก่ตัว และความรักที่มอบแก่ทุกคนในสังคม .586 VAR42 นักศึกษามีนิสัยเอาการเอางาน และความรับผิดชอบ ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย .585 VAR31 นักศึกษามีความสามัคคีในหมู่คณะ .519 VAR29 นักศึกษามีการปรับตัวและใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนในสังคม .503 VAR30 นักศึกษาใช้สิ่งของต่างๆ อย่างสมดุล ตามสถานภาพของตนเอง .467 ค่า Eigenvalue = 2.735 ค่าความแปรปรวน 57.833
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
87
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
จากตารางที่ 2 เป็นองค์ประกอบด้านมโนธรรมและความมุ่งมั่น (Conscience and Commitment) สามารถบรรยายได้ดว้ ยตัวแปร 14 ตัว มีคา่ น�ำ้ หนักตัง้ แต่ .467 - .697 ตัวแปรที่ ส�ำคัญ 3 ล�ำดับแรก คือ 1) นักศึกษาแสดงออกซึง่ ความกตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ และผูม้ ี พระคุณทุกครั้งที่มีโอกาส 2) นักศึกษาตอบแทนพระคุณของครู อาจารย์หรือผู้มีพระคุณโดยพูดดี และปฏิบัติดีต่อท่าน และ 3) นักศึกษาตอบแทนพระคุณของบิดา มารดาโดยพูดดีและปฏิบัติดีต่อ ท่าน มีค่า Eigenvalue เท่ากับ 2.735 สามารถอธิบายองค์ประกอบได้ เท่ากับ 57.833% ตารางที่ 3 องค์ประกอบที่ 3 ด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Desirable Behavior) ล�ำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 88
ตัวแปรที่ ข้อความ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ VAR53 นักศึกษาให้อภัยผู้อื่นที่ท�ำผิดต่อตนเองด้วยใจสงบ .651 VAR56 นักศึกษาช่วยดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ .649 VAR54 นักศึกษามีความอดทนต่อข้อบกพร่องของตนเอง .644 VAR50 นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างเสมอภาค .631 VAR55 นักศึกษาให้อภัยต่อความผิดของตนเอง .628 VAR49 นักศึกษาสามารถตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยความพึงพอใจของแต่ละฝ่าย .623 VAR48 นักศึกษาใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างยุติธรรม และไม่ฟุ่มเฟือย .600 VAR57 นักศึกษาสามารถท�ำงานร่วมกับสมาชิกของสถาบัน .592 VAR52 นักศึกษาน�ำแนวปฏิบัติการขจัดความขัดแย้งมาใช้ ในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน .588 VAR51 นักศึกษาปฏิบัติต่อเพื่อนเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี และสันติ .588 VAR46 นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ของสถาบัน .546 VAR47 นักศึกษาได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม .537 VAR45 นักศึกษาช่วยเหลือการด�ำเนินกิจกรรมในสถาบันการศึกษา และชุมชน .493 VAR44 นักศึกษามีจิตตารมณ์แห่งการรับใช้ผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน .442 VAR43 นักศึกษารับผิดชอบและเห็นคุณค่าในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย .407 ค่า Eigenvalue = 2.663 ค่าความแปรปรวน 61.930 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
จากตารางที่ 3 เป็นองค์ประกอบด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Desirable Behavior) สามารถบรรยายได้ด้วยตัวแปร 15 ตัว มีค่าน�้ำหนักตั้งแต่ .407 - .651 ตัวแปรที่ส�ำคัญ 3 ล�ำดับ แรก คือ 1) นักศึกษาให้อภัยผูอ้ นื่ ทีท่ ำ� ผิดต่อตนเองด้วยใจสงบ 2) นักศึกษาช่วยดูแลรักษาสาธารณะ สมบัติ และ 3) นักศึกษามีความอดทนต่อข้อบกพร่องของตนเอง มีค่า Eigenvalue เท่ากับ 2.663 สามารถอธิบายองค์ประกอบได้ เท่ากับ 61.630% ตารางที่ 4 องค์ประกอบที่ 4 ด้านผลที่ได้จากพฤติกรรม (Behavioral Outcome) ล�ำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7
ตัวแปรที่ ข้อความ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ VAR6 นักศึกษายอมรับ และกล้าที่จะยืนยันความจริงที่เกิดขึ้น .670 VAR4 นักศึกษายอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ .658 VAR5 นักศึกษาด�ำเนินชีวิตไปตามความจริงที่เกิดขึ้นแม้จะล�ำบาก .657 VAR11 นักศึกษาสามารถตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติที่ดี ถูกต้องในเรื่องต่างๆ .636 VAR9 นักศึกษามีการไตร่ตรองการกระท�ำของตน เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ถูกต้อง .609 VAR10 นักศึกษาสามารถใช้วิจารณญาณแยกแยะความชั่ว ความดี ความเหมาะสมได้ .602 VAR12 นักศึกษามีความกล้าหาญ ยึดมั่นในการรักษาศีลธรรม และคุณงามความดี .579 ค่า Eigenvalue = 1.713 ค่าความแปรปรวน 64.565
จากตารางที่ 4 เป็นองค์ประกอบด้านผลที่ได้จากพฤติกรรม (Behavioral Outcome) สามารถบรรยายได้ดว้ ยตัวแปร 7 ตัว มีคา่ น�ำ้ หนักตัง้ แต่ .579 - .670 ตัวแปรทีส่ ำ� คัญ 3 ล�ำดับแรก คือ 1) นักศึกษายอมรับ และกล้าที่จะยืนยันความจริงที่เกิดขึ้น 2) นักศึกษายอมรับความจริงที่ เกิดขึน้ ในชีวติ ได้ และ 3) นักศึกษาด�ำเนินชีวติ ไปตามความจริงทีเ่ กิดขึน้ แม้จะล�ำบาก มีคา ่ Eigenvalue 1.713 สามารถอธิบายองค์ประกอบได้ เท่ากับ 64.565%
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
89
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
ตารางที่ 5 องค์ประกอบที่ 5 ด้านความยุติธรรมต่อบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม และสันติภาพ (Justice and Peace) ล�ำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8
ตัวแปรที่ ข้อความ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ VAR61 นักศึกษารู้คุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม .687 VAR60 นักศึกษาเรียนรู้ ท�ำความเข้าใจ และซาบซึ้งในความสวยงาม ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม .673 VAR62 นักศึกษาดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม .643 VAR59 นักศึกษาสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนและบุคคลรอบข้าง .588 VAR64 นักศึกษามีความคิดเชิงบวกและมั่นคงในความดี .579 VAR65 นักศึกษามีความอดทน พากเพียร และมองโลกในแง่ดี .574 VAR63 นักศึกษาตั้งเป้าหมายในการด�ำเนินชีวิตที่ดี ตามแนวปฏิบัติศาสนาที่ตนเองนับถือ .571 VAR58 นักศึกษาสามารถท�ำงานร่วมกับชุมชน .537 ค่า Eigenvalue = 1.189 ค่าความแปรปรวน 66.394
จากตารางที่ 5 เป็นองค์ประกอบด้านด้านความยุติธรรมต่อบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม และสันติภาพ (Justice and Peace) สามารถบรรยายได้ด้วยตัวแปร 8 ตัว มีค่าน�้ำหนักตั้งแต่ .537 - .687 ตัวแปรที่ส�ำคัญ 3 ล�ำดับแรก คือ 1) นักศึกษารู้คุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) นักศึกษาเรียนรู ้ ท�ำความเข้าใจ และซาบซึง้ ในความสวยงามของธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และ 3) นักศึกษาดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีค่า Eigenvalue เท่ากับ 1.189 สามารถ อธิบายองค์ประกอบได้ เท่ากับ 66.394% ตารางที่ 6 องค์ประกอบที่ 6 ด้านความหวัง (Hope) ล�ำดับที่ 1 2 3 4 5 90
ตัวแปรที่ ข้อความ น�ำ้ หนักองค์ประกอบ VAR3 นักศึกษาด�ำเนินชีวิตตามความเชื่อและ ความศรัทธาของของศาสนา .815 VAR2 นักศึกษาน�ำหลักปฏิบัติทางศาสนามาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจ�ำวัน .813 VAR1 ความเชื่อหรือความศรัทธาของนักศึกษาเป็นไป ตามค�ำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือ .792 VAR7 นักศึกษาสวดภาวนา นั่งสมาธิ เพื่อให้เกิดความสงบในจิตใจ .718 VAR8 นักศึกษาน�ำกระบวนการคิด การไตร่ตรองมาใช้ในการเรียน .558 ค่า Eigenvalue = 1.150 ค่าความแปรปรวน 68.163 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
จากตารางที่ 6 เป็นองค์ประกอบด้านความหวัง (Hope) สามารถบรรยายได้ด้วยตัวแปร 5 ตัว มีค่าน�้ำหนักตั้งแต่ .558 - .815 ตัวแปรที่ส�ำคัญ 3 ล�ำดับแรก คือ 1) นักศึกษาด�ำเนินชีวิต ตามความเชื่อและความศรัทธาของของศาสนา 2) นักศึกษาน�ำหลักปฏิบัติทางศาสนามาประยุกต์ ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน และ 3) ความเชือ่ หรือความศรัทธาของนักศึกษาเป็นไปตามค�ำสอนของศาสนา ที่ตนเองนับถือ มีค่า Eigenvalue 1.150 สามารถอธิบายองค์ประกอบได้ เท่ากับ 68.163% ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบในตารางที่ 1 – 6 สามารถก�ำหนดเป็นภาพรวมของค่าน�้ำหนัก องค์ประกอบดังภาพที่ 1 ต่อไปนี้
ภาพที ่ 1 กราฟทีพ่ ล็อตค่า Eigenvalues ของแต่ละตัวแปรทีเ่ กีย่ วข้องกับองค์ประกอบคุณลักษณะ ของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิก
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
91
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
ดังนั้น จึงได้องค์ประกอบของคุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกใน ประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกได้ดังภาพที่ 2 ต่อไปนี้
องค์ประกอบของ คุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา คาทอลิก
ภาพที ่ 2 องค์ประกอบของคุณลักษณะของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
92
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
อภิปรายผล จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของ คุณลักษณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกประเทศไทย ตาม อั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก ที่ ก� ำ หนด ขอบเขตของคุณลักษณะของนักศึกษาระดับ อุดมศึกษา ได้ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ความ เชื่ อ และศรั ท ธาในการสร้ า งสั น ติ ภ าพด้ ว ย ข้อเท็จจริง (Faith) 2) มโนธรรมและความ มุ่งมั่น (Conscience and Commitment) 3) พฤติ ก รรมที่ พึ ง ประสงค์ (Desirable Behavior) 4) ผลทีไ่ ด้จากพฤติกรรม (Behavioral Outcome) 5) ความยุติธรรมต่อบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม และสันติภาพ (Justice and Peace) และ 6) ความหวัง (Hope) สามารถอภิ ป รายแต่ ล ะองค์ ป ระกอบดั ง ใน พระคัมภีรค์ าทอลิก ฉบับสมบูรณ์ (2557) ดังนี้ องค์ประกอบที ่ 1 ความเชือ่ และศรัทธา ในการสร้างสันติภาพด้วยข้อเท็จจริง (Faith) ความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า ความเป็นจริงของ โลก ของชี วิ ต และของมนุ ษ ย์ ดั ง พระเยซู สอนว่า ให้ท่านทั้งหลาย มีความเชื่อศรัทธา ในพระเจ้า (มาระโก 11: 22) แล้วจงรับใช้กัน และกันด้วยความรัก (กาละเทีย 5:13) และ ร่วมยินดีในความถูกต้อง (โคลิน 13:6) ดังเช่น ความเชื่ อ ศรั ท ธาในความจริ ง การยอมรั บ ความแตกต่ า ง ยิ น ดี ใ นความส� ำ เร็ จ เคารพ เสรีภาพทางความคิด ด้วยความจริงย่อมยังให้ เกิดสันติภาพ
องค์ประกอบที่ 2 มโนธรรมและความ มุ่งมั่น (Conscience and Commitment) พระเยซูสอนให้เรามีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ในการรั ก ษาศี ล ธรรม (มั ท ธิ ว 5:30,18:8) มุ่งมั่นและยึดมั่นในทางแห่งความดี (ลูกา 18: 8) แม้ในสถานการณ์ทถี่ กู คุกคาม (มัทธิว 5:10, 24:10,12:13) ดังเช่น การกตัญญูรู้คุณ การ ปฏิบตั กิ จิ การทีด่ ตี อ่ ผูอ้ นื่ โดยไม่หวังสิง่ ตอบแทน องค์ ป ระกอบที่ 3 พฤติ ก รรมที่ พึ ง ประสงค์ (Desirable Behavior) พระเยซู สอนศิ ษ ย์ ใ ห้ ภ าวนาต่ อ พระบิ ด าเสมอๆ ว่ า “โปรดอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนที่ข้าพเจ้าอภัย ให้ผู้อื่นที่ท�ำผิดต่อข้าพเจ้า” (ลูกา 11:3-4) ความยุติธรรมเรียกร้องให้เราเปิดใจกว้างต่อ ความต้องการของผู้อื่น (ลูกา 18:3) ดังเช่น การให้ อ ภั ย ผู ้ อื่ น ที่ ท� ำ ผิ ด ต่ อ ตนเอง มี ค วาม อดทนต่อข้อบกพร่อง มีพฤติกรรมทีด่ แู ลรักษา สาธารณะสมบัติ ปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างเสมอภาค องค์ประกอบที ่ 4 ผลทีไ่ ด้จากพฤติกรรม (Behavioral Outcome) พระเยซู ต รั ส ว่ า ชีวิตของเราเป็นการแสวงหาความจริง ความ จริงของโลก ของชีวติ และของมนุษย์ พระองค์ สอนเราว่า ความจริงท�ำให้เราเป็นไท (ยอห์น 8:32) มี ม โนธรรมเที่ ย งตรง มี วิ จ ารณญาณ แยกแยะชัว่ ดี รูจ้ กั ตัดสินใจเลือกทางแห่งความ ดีงาม และยึดมั่นในทางแห่งความดี (ลูกา 18: 8) ดังเช่น การยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นใน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
93
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
ชีวิตแม้ยากล�ำบาก แยกแยะความชั่ว ความดี ความเหมาะสมได้ องค์ ป ระกอบที่ 5 ความยุ ติ ธ รรมต่ อ บุ ค คล สั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม และสั น ติ ภ าพ (Justice and Peace) พระเยซู ต รั ส ว่ า พระองค์มอบสันติของพระองค์แก่เรา (ยอห์น 14:27) สั น ติ เ ป็ น ผลมาจากความยุ ติ ธ รรม เราสามารถน�ำสันติสู่สังคมที่เราอยู่โดยมีความ สัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน (ลูกา 10:6) (มัทธิว 5:9) และมองเห็นความยิง่ ใหญ่ของพระผูส้ ร้าง ธรรมชาติ เห็นความน่าพิศวงของธรรมชาติ ที่สร้างมาเพื่อให้มนุษย์เอาใจใส่ดูแล (มัทธิว 11: 27) ดังเช่น การรู้คุณค่า ดูแลรักษา เรียน รู ้ ท� ำ ความเข้ า ใจ ต่ อ บุ ค คล ธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม องค์ประกอบที่ 6 ความหวัง (Hope) ความหวังท�ำให้เรามีความอดทน พากเพียร และมั่ น คงในความดี (ลู ก า 6: 35, มั ท ธิ ว 12:21) อันความเชื่อ ความหวัง และความรัก ทั้งสามประการ แต่ที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งหมด คือ ความรัก (โครินธ์ 13: 13) ดังเช่น ความ หวังท�ำให้ดำ� เนินชีวติ ได้ตามความเชือ่ และความ ศรัทธา จะเห็นได้ว่าจากองค์ประกอบที่พบทั้ง 6 ประการนั้ น สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ สุรินทร์ จารย์อุปการะ (2558: 38) ได้ศึกษา วิจยั เกีย่ วกับการจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษา 94
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คาทอลิก พบว่า องค์ประกอบการจัดการศึกษา โรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยตามอัตลักษณ์ การศึ ก ษาคาทอลิ ก เป็ นพหุ อ งค์ ประกอบมี 9 องค์ ป ระกอบ ซึ่ ง ใน 9 องค์ ป ระกอบ มี 4 องค์ ป ระกอบที่ ส อดคล้ อ งกั บ ผลงานวิ จั ย ครั้งนี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 2 การจัดการ เรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าพระวรสาร ที่ ร ะบุ ว ่ า หากสถานการศึ ก ษาได้ น� ำ องค์ ประกอบคุณลักษณะดังกล่าวมาจัดการเรียน การสอนที่ ส ่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ เรี ย นมี ม โนธรรมที่ ถู ก ต้ อ ง องค์ ป ระกอบที่ 5 การจั ด กิ จ กรรม ตามหลักอภิบาล ที่ระบุว่า มีการจัดกิจกรรม ที่ ส ่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ เรี ย นท� ำ ประโยชน์ เ พื่ อ สั ง คม มี จิตอาสา จิ ต สาธารณะ องค์ ประกอบที่ 7 การก� ำ หนดหลั ก สู ต รบนพื้ น ฐานคุ ณ ค่ า พระ วรสาร ด้วยมิติของความเชื่อในศาสนา มีการ ก�ำหนดหลักสูตรที่สอดคล้องการจัดการศึกษา คาทอลิกบนพื้นฐานคุณค่าพระวรสาร และ องค์ประกอบที่ 8 การก�ำหนดเนื้อหารายวิชา ตามแนวคิ ด ของพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเด็นการจัดการเรียนการสอนเรื่องสื่อ ศึกษา สิทธิมนุษยชน สันติศึกษา เพศศึกษา และนิเวศวิทยา ตามแนวคิดของพระศาสนจักร คาทอลิก ประกอบกับมีการก�ำหนดหลักสูตร บนพื้ น ฐานคุ ณ ค่ า พระวารสาร และเนื้ อ หา รายวิ ช า ตามแนวคิ ด ของพระศาสนาจั ก ร คาทอลิก
เรวดีทรรศน์ รอบคอบ, อัชฌา ชื่นบุญ, ชุติมา แสงดารารัตน์, อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ, ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน และ จิตร สิทธีอมร
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย องค์ ป ระกอบของคุ ณ ลั ก ษณะของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา คาทอลิกประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิก ที่ก�ำหนดขอบเขตของคุณลักษณะ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตามอัตลักษณ์ การศึกษาคาทอลิกมี 21 คุณค่า นักวิจัยได้ ค้ น พบองค์ ป ระกอบของคุ ณ ลั ก ษณะของ นั ก ศึ ก ษา ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาคาทอลิ ก ใน ประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ประกอบด้ ว ย 1) ความเชื่ อ และศรั ท ธาใน การสร้า งสั น ติ ภ าพด้ ว ยข้ อ เท็ จ จริ ง (Faith) 2) มโนธรรมและความมุ่งมั่น (Conscience and Commitment) 3) พฤติ ก รรมที่ พึ ง ประสงค์ (Desirable Behavior) 4) ผลที่ได้ จากพฤติ ก รรม (Behavioral Outcome) 5) ความยุติธรรมต่อบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม และสันติภาพ (Justice and Peace) และ
6) ความหวั ง (Hope) เพื่ อ ให้ ผู ้ บ ริ ห าร คณาจารย์ น� ำ ไปใช้ ใ นการพั ฒ นานั ก ศึ ก ษา อย่างเป็นระบบ เช่น บูรณาการในหลักสูตร หรือรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และ การประเมินผล โดยเฉพาะตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และการท�ำ Rubrics การวัดและประเมินผล เป็นต้น เพื่อ ให้เกิดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และ อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกแก่นักศึกษา ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรน�ำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ของคุ ณ ลั ก ษณะของนั ก ศึ ก ษา ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาคาทอลิ ก ในประเทศไทย ตาม อั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก และน� ำ องค์ ประกอบของคุ ณ ลั ก ษณะของนั ก ศึ ก ษา ในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิกใน ประเทศไทย ตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก ไปจั ด ท� ำ สนทนากลุม่ (Focus group) ก่อนน�ำไปใช้จริง
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
95
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจของคุณลักษณะของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก
บรรณานุกรม คณะกรรมการคาทอลิก เพื่อคริสตศาสนธรรม. (2557). พระคั ม ภี ร ์ คาทอลิ ก ฉบั บสมบู ร ณ์ . กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์: กรุงเทพฯ. ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์. (2552). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์. ขอนแก่น: คณะเทคนิคการ แพทย์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง. สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2556). อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สุรนิ ทร์ จารย์อปุ การะ และประเสริฐ อินทร์รกั ษ์. (2558, มกราคม – มิถนุ ยาน). การจัดการศึกษา โรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกวารสารวิชาการ. วารสาร วิชาการวิทยาลัยแสงธรรม, 7(1), หน้า 29–45. Yamane, Taro. (1967). Statistic, an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Haper.
96
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชีวิตบุญลาภ:
ฐานรากคุณธรรมในชีวิตพระศาสนจักร
Makaria:
Root Virtues In The Life Of The Church. กฤษฎา ลิ้มเฉลิม * มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย * มุขนายกประจ�ำสังฆมณฑลอุดรธานี
* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร
บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ * อาจารย์ประจ�ำวิทยาลัยแสงธรรม
ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม
Krisada Limchalerm * Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College. Bishop Dr.Joseph Luechai Thatwisai
* Bishop of Udonthani Diocese. * Lecturer of The Master of Arts in Moral Theology, Saengtham College.
Rev. Somkiat Trinikorn
* Reverend in Roman Catholic Church, Archdiocese of Bangkok. * Lecturer, Saengtham College.
Asst.Prof.Laddawan Prasutsaengchan, Ph.D.
* Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College. *** วันที่ตอบรับบทความ 20 พฤศจิกายน 2561
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
บทคัดย่อ
98
การวิจยั นีเ้ ป็นงานวิจยั เอกสาร มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษา 1) ชีวติ พระศาสนจักรคาทอลิกที่มีชีวิตบุญลาภเป็นดังฐานรากคุณธรรม และ 2) บทบาทความเป็นพระศาสนจักรคาทอลิกทีม่ ชี วี ติ บุญลาภเป็นฐานราก คุณธรรมท่ามกลางสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. ชี วิ ต พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก มี ชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็ น ฐานราก คุ ณ ธรรม พระคริ ส ตเจ้า ผู ้ ท รงเป็ น ความสมบู ร ณ์ แ ห่ ง บุ ญ ลาภทรง สถาปนาพระศาสนจักร ชีวิตพระศาสจักรจึงมีพระองค์เป็นศูนย์กลาง บุญลาภยังเป็นหัวใจของบทเทศนาของพระเยซูเจ้า และเป็นวิถแี ห่งการ เป็นศิษย์พระคริสตเจ้า อย่างแท้จริง บุญลาภเป็นคลังคุณธรรมของคริสตชน แสดงออกซึ่งความเชื่อ ความหวังและความรัก เป็นคริสตจริยศาสตร์ อันเป็นแนวทางในด�ำเนินชีวติ ของคริสตชนต่อพระเจ้า ต่อตนเองและต่อ ผู้อื่น พระศาสนจักรได้เผยแสดงถึงความสุขแท้จริงแห่งพระอาณาจักร สวรรค์ที่เริ่มต้นแล้วแก่โลกในพระเยซูเจ้าและจะสมบูรณ์เมื่อพระองค์ เสด็จมาอีกครัง้ หนึง่ พระศาสนจักรจึงมีลกั ษณะเป็น “บ้าน” ทีม่ อี งค์พระ เยซูคริสตเจ้าเป็นศิลาหัวมุมเอก บุญลาภเป็นฐานรากและโครงสร้างทีจ่ ะ ท�ำให้บ้านนี้ตั้งมั่นคง เป็นพยานแห่งความรอดพ้นในปัจจุบัน 2. บทบาทความเป็นพระศาสนจักรคาทอลิกที่มีชีวิตบุญลาภ เป็นฐานรากคุณธรรมท่ามกลางสังคมไทยเริ่มต้นจากความเข้าใจที่ว่า พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งบุญลาภที่ ก�ำลังเจริญเติบโต พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นความสมบูรณ์ของบุญลาภเป็น ผู้หว่าน ทรงเป็นผู้เริ่มต้นและผู้ผลักดันให้พระศาสนจักรด�ำเนินไปเพื่อ เป็นพยานท่ามกลางความแตกต่างและความหลากหลายของสังคมไทย กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 มีแนวทางในการขับเคลื่อนพระศาสนจักรไทยที่ว่า “ศิษย์พระ คริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” ซึ่งก็คือชีวิตบุญลาภนั่นเอง พระ ศาสนจั ก รในประเทศไทยภายใต้ แ นวทางกฤษฎี ก าฯ จึ ง มี ลั ก ษณะ
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
เป็น “บ้าน” ที่มีองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นศิลาหัวมุมเอก บุญลาภเป็น ฐานรากและโครงสร้างทีจ่ ะท�ำให้บา้ นนีต้ งั้ มัน่ คง คริสตชนทุกคนร่วมชีวติ กันเป็น “วิถีชุมชนวัด” และเป็นพยานท่ามกลางสังคมไทยในปัจจุบัน ค�ำส�ำคัญ: Abstract
บุญลาภ ฐานรากคุณธรรม พระศาสนจักร
The purposes of this documentary research were to: 1) Study the Life of the Church; living the Beatitudes as root virtues. 2) Study the role of the Catholic Church living the Beatitudes as root virtues among Thai people. The results of the study: 1. The Church recognizes the Beatitudes as root virtues. Christ who established the Church has the perfection of the Beatitudes, therefore the life of the Church has to be Christocentric. The Beatitudes are also the core of Jesus’ sermons and the way of His discipleship. The Beatitudes are sources of Christian virtues, living faith, hope and love, which are the foundation stones of Christian Ethic, which teach Christians the way to live with God, with him/herself and with others. The Church proclaims to the world the Beatitudes of the Kingdom of Heaven which was announced by Christ already, and will be complete when He come again in Glory. The Church is the “house,” having Jesus Christ as the cornerstone, living the Beatitudes as roots and structures that strengthen the whole, being the witness of salvation in the present.
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562
99
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
2. The role of the Catholic Church in Thailand, living Beatitudes as root virtues, is to be understood that the Church is the seed of the Beatitudes which is continually growing. Jesus, perfection of the Beatitudes, is the sower, the founder and the pusher of the Church to be the witness of the Kingdom among the variety and diversity of Thai society. The Decree of the Plenary Counsel of the Catholic Church in Thailand, A.D. 2015, has given the proposal to develop the Church in Thailand “Christ‘s Disciples Living the New Evangelization” that is the life of the Beatitudes. The Church in Thailand, according to the Degree of the Plenary Counsel, is the “house,” having Jesus Christ as the cornerstone, living the Beatitudes as roots and structures that strengthen the whole. All Christians together are called to live “Basic Ecclesial Communities (BECs)” and be the witnesses among Thai people. Keyword:
100 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Makaria Root Virtues The Life of The Church
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ความเป็นมาและความส�ำคัญ “บุญลาภ” เป็นพระวาจาแรกที่ออกมา จากพระโอษฐ์ของพระเยซูเจ้าในค�ำเทศน์บน ภูเขาซึ่งนักบุญมัทธิวได้ร้อยเรียงไว้อย่างน่า ประทับใจ พระศาสนจักรเลือกพระวรสารตาม ค�ำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวเล่มนี้อาศัยการ ดลใจของพระจิตเจ้าให้เป็นพระวรสารเล่มแรก ของสารบบพระคั ม ภี ร ์ ภ าคพั น ธสั ญ ญาใหม่ บาทหลวงอันเดร เชลีนาส (Andre Gelinas, SJ., 2009: 8) ได้ชใี้ ห้เห็นเหตุผลของการเลือก พระวรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว เป็นเล่มแรกโดยอธิบายว่า พระวรสารตาม ค�ำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวเหมาะทีจ่ ะเป็นเล่ม แรกของสารบบพระคัมภีรพ์ นั ธสัญญาใหม่ดว้ ย เหตุผลที่ว่านักบุญมัทธิวได้แสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจนว่า “พระเยซูเจ้าทรงเป็นสะพานเชื่อม ระหว่างพันธสัญญาทั้งสอง” ตามพระคัมภีรพ์ นั ธสัญญาเดิม พระเจ้า ทรงกระท�ำพันธสัญญากับประชาชนกลุ่มหนึ่ง จากพันธสัญญานั้น พวกเขาจึงเจริญชีวิตหล่อ หลอมตนเองด้วยพระบัญญัติ 10 ประการที่ โมเสสรับมาจากพระเยห์เวห์บนภูเขาซีนาย (เทียบ อพย 20: 1-17) พวกเขาภูมใิ จและเรียก ตนเองว่า “ประชากรเลือกสรร” (เทียบ ฉธบ 7: 6, อสย 42: 1) พระยาห์เวห์ทรงสัญญาจะ ประทานพระผู้ช่วยให้รอดพ้น ในสมัยกษัตริย์ ดาวิด ความรุ่งเรืองของพระเจ้าปรากฏเด่นชัด
ในพระองค์ พระสัญญาถึงพระผูช้ ว่ ยให้รอดพ้น ด�ำรงสืบต่อมาผ่านทางเชื้อสายของพระองค์ (เทียบ ซมอ 7: 12-16) ผูท้ รงเปีย่ มด้วยอ�ำนาจ แห่งกษัตริย์ พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ท�ำให้พันธสัญญาเดิมเป็นจริง ทรงเติมเต็มค�ำพยากรณ์ ของบรรดาประกาศกก่อนหน้านี ้ (เทียบ มธ 5: 12) ทั้ ง ยั ง ทรงมอบพั น ธสั ญ ญาใหม่ แ ก่ ประชาชนใหม่ พระเยซูเจ้าทรงกระท�ำเช่นเดียว กับโมเสสคือทรงเสด็จขึ้นบนภูเขา แต่มิได้ทรง รับพระบัญญัติจากพระยาห์เวห์เฉกเช่นโมเสส ทรงเป็นบ่อเกิดแห่งบัญญัติใหม่ในพระองค์เอง เพราะทรงประทับบนบัลลังก์เยีย่ งกษัตริยด์ าวิด ประกาศด้วยอ�ำนาจสูงสุด บัญญัติใหม่นี้คือ บุญลาภ 8 ประการ (มธ 5: 1-13) บัญญัตินี้ มิใช่ขอ้ บังคับอีกต่อไปแต่เป็น “ใจ” ทีจ่ ะสัมผัส พระเจ้าและแสดงออกมาสู่ชีวิตด้วยการปฏิบัติ ความรั ก ต่ อ เพื่ อ นพี่ น ้ อ ง จากพั น ธสั ญ ญานี้ ผู้ที่เจริญชีวิตหล่อหลอมตนเองด้วยบุญลาภ จะได้ชื่อว่าเป็น “ประชากรเลือกสรรใหม่” นั่ น คื อ “พระศาสนจั ก ร” และพระวรสาร ตามค� ำ บอกเล่ า ของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว เป็ น พระวรสารเล่มเดียวที่ใช้ค�ำว่า พระศาสนจักร (ἐκκλησίᾳ) (18: 17) ในการสร้ า ง พระศาสนจักรนี้ ยอห์น พี เมเยอร์ (John P. Meier, 1979: 42-51) ยังได้เน้นว่า พระวรสาร นั ก บุ ญ มั ท ธิ ว เป็ น หนั ง สื อ ที่ มี ค� ำ สอนพิ เ ศษ ด้านศีลธรรมส�ำหรับคริสตชน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 101
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
เมื่ อ พิ จ ารณาเช่ น นี้ จะเห็ น ได้ ว ่ า บุ ญ ลาภมี ความส�ำคัญและความจ�ำเป็นอย่างมากต่อชีวิต พระศาสนจั ก ร แต่ ใ นความเป็ น จริ ง พระ ศาสนจักรปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้ ง ภายในและภายนอก คริสตชนส่วนใหญ่ เข้ า ใจบทเทศน์ บ นภู เขาเรื่ อ งบุ ญ ลาภอย่ า ง ผิวเผิน บางคนมองว่าเป็นยาขม เป็นวิมานเมฆ ทีไ่ ม่อาจเป็นจริงได้ในโลกนี ้ หรืออาจมองเพียง ในแง่ความสุขในเชิงจิตวิทยา เช่น การมอง ความยากจนในแง่ ดี การมองความทุ ก ข์ ใ น มุมมองที่เข้าใจได้ พิจารณาการถูกเบียดเบียน แล้วหาแรงบันดาลใจ ก�ำลังใจหรือแรงกระตุ้น ให้ ต นเอง เป็ น ต้ น บางคนมองเพี ย งในแง่ สังคมศาสตร์ เช่น คนยากจนก็มีความสุขได้ ในความพอเพียง ท่ามกลางสังคม มนุษย์ต้อง เป็นผู้ชอบธรรมเพื่อสร้างสังคมที่ดี เป็นต้น นักจริยศาสตร์บางคนถือว่าบุญลาภเป็น ค�ำสอนหรือแนวทางทีเ่ ป็นไปไม่ได้ (Impossible) เป็ น แนวคิ ด ทางจริ ย ศาสตร์ ที่ เ ป็ น อุ ด มคติ (Idealism) ยากที่ จ ะท� ำ ได้ คานท์ (Kant) มองว่าเป็นจริยศาสตร์แบบความรูส้ กึ (Morality of Sentiment) ตอลสตอย (Tolstoy) ใช้ ความรู ้ ใ นแง่ สั ง คมและการเมื อ งอธิ บ ายว่ า บุญลาภเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมใหม่ที่สมบูรณ์ เป็นสังคมที่มีแต่ความรักและความยินดีแห่ง สันติ ปราศจากความรุนแรง (no violence) สั ง คมนั้ น จะมาถึ ง ถ้ า ทุ ก คนปฏิ บั ติ ต ามวิ ถี บุญลาภ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martine Luther) 102 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อธิบายบุญลาภโดยใช้บทจดหมายของนักบุญ เปาโลถึงชาวโรมเป็นคูม่ อื อธิบาย พระคริสตเจ้า เท่ า นั้ น ที่ ส ามารถปฏิ บั ติ บุ ญ ลาภได้ อ ย่ า ง สมบูรณ์และผู้ที่จะได้รับความรอดพ้นก็โดย อาศั ย ความเชื่ อ เท่ า นั้ น ผู ้ ที่ มี ค วามเชื่ อ ก็ จ ะ ด�ำเนินชีวติ ให้สอดคล้องกับความเชือ่ (Servais Pinckaers, 1995: 134-139) นักบุญเอากุสตินสอนว่า พระคัมภีรเ์ ป็น แหล่งค�ำสอนของพระศาสนจักร เป็นบทเทศน์ เป็ น บ่ อ เกิ ด ของเทววิ ท ยา เป็ น เตาไฟที่ ใ ห้ ก�ำเนิดแสงและชีวิตแก่คริสตชน และยังเน้น ว่า “คริสตจริยศาสตร์อยู่บนพื้นฐานของบท เทศน์บนภูเขา (แก่นอยู่ที่บุญลาภ)” (Servais Pinckaers, 1995: 142) นักบุญพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 (1968: 433-445) ทรงตรัสใน Acta Apostolicae Sedis, 60 (cited in Germain Grisez, 2017: Online) ถึงความ ส� ำ คั ญ ของบุ ญ ลาภ ทรงถื อ ว่ า บุ ญ ลาภเป็ น บทสรุปค�ำสอนของพระเยซูเจ้า พระเยซูเจ้า ทรงประทานบัญญัตแิ ห่งความรักและทรงสอน วิถแี ห่งบุญลาภแห่งพระวรสาร บุญลาภจึงเป็น สรุ ป ค� ำ สอนเรื่ อ งศี ล ธรรมของพระเยซู เจ้ า (Jesus’ Moral Teaching) ซึ่งคริสตชนจะ ต้องปฏิบัติตาม ปอล เฮนเนบัค (Paul Hinnebusch O.P., 1972: 707-717) ยังเสริมว่า บุญลาภเป็นกฎเกณฑ์ศีลธรรมของคริสตชนที่ พระเยซูเจ้าทรงประทานให้ดังนั้น คริสตชน พึงด�ำรงตนตามบุญลาภด้วยความรับผิดชอบ
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
บาทหลวงมีคาเอล เอช ครอสบี (Michael H. Crosby, 2005: 144-145) ถือว่า บุญลาภ เป็นมาตรฐานทางความประพฤติ (Code of Conduct) เป็ น กฎเกณฑ์ ม าตรฐานของ พฤติกรรม และความประพฤติของคริสตชน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ท�ำให้คริสตชนทุกคนเป็น ชุมนุม (Community) ประชากรของพระเจ้า ที่เปี่ยมด้วยความหลากหลายในวัฒนธรรมแต่ เป็นหนึ่งเดียวกัน และท�ำให้พวกเขาคู่ควรเป็น หมู่คณะหรือเป็นสมาชิกครอบครัว (Households) ในพระศาสนจักรด้วย พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ได้กล่าวยืนยันว่า “บุญลาภ เหล่ า นี้ เ ป็ น ต้ น แบบส� ำ หรั บ พระศาสนจั ก ร ซึ่งรับรู้แบบอย่างในบุญลาภเหล่านี้เป็นสิ่งที่ พระศาสนจักรเองควรจะเป็นด้วย” (สือ่ มวลชน คาทอลิ ก ประเทศไทย, 2553: 153) “ผู ้ ใ ด ทุม่ เทเจริญชีวติ บุญลาภก็เจริญชีวติ ตามวิถชี วี ติ จิตคริสตชนอย่างแท้จริง” (Paul Hinnebusch, 2000: 15) อาจกล่าวได้ว่า คริสตชนเข้าใจ และเจริญชีวิตด้วยบุญลาภอย่างผิวเผินฉันใด พระศาสนจักรก็มีชีวิตอย่างผิวเผินฉันนั้น บาทหลวงเซอร์วาอิส พิงคาร์ส (Servais Pinckaers, 1995: 135) ได้วเิ คราะห์ถงึ ต้นตอ ของปัญหาและสรุปว่า “ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ ความเข้าใจในภาษาของพระเยซูเจ้าที่ยากจะ เข้าใจหรือยากที่จะถอดความหมาย” บวกกับ ความเข้าใจถึงระบบทางจริยศาสตร์ที่แตกต่าง กัน ท�ำให้บญ ุ ลาภถูกมองในลักษณะทีแ่ ตกต่าง
กั น ออกไป หากมองว่ า บุ ญ ลาภเป็ น ระบบ จริ ย ศาสตร์ ที่ เ น้ น กฏเกณฑ์ บุ ญ ลาภทั้ ง 8 ประการก็ถกู มองว่าเป็นบัญญัต ิ เป็นกฎ ความ เข้ า ใจเช่ นนั้ นท� ำ ให้ บุญ ลาภเป็ นวิ ถี ที่ เ ป็ นไป ไม่ได้อย่างแน่นอน หากมองว่าบุญลาภเป็น เพียงอุดมคติ บุญลาภก็เป็นเพียงจิตนาการ เลื่อนลอย นี่คือความ ท้าทายภายใต้ค�ำถาม ที่ว่าจะสามารถเข้าใจบุญลาภอย่างไร บาทหลวงมี ค าเอล เอช ครอสบี (Michael H. Crosby, 2004) ยื น ยั น ว่ า บุญลาภเป็นวิถีจริยศาสตร์ของคริสตชนอย่าง แน่นอนเป็นแนวทางที่ส�ำคัญส�ำหรับชีวิตพระ ศาสนจักร เป็นระบบจริยศาสตร์สำ� หรับคริสตชน ทีอ่ ยูใ่ นระดับผูใ้ หญ่ โดยกล่าวถึงการเติบโตทาง ศีลธรรมในลักษณะทีค่ ล้ายคลึงทฤษฎีจติ วิทยา สกุ ล มนั ส นิ ย ม (Cognitive Theory) ของ Lawrance Kohlberg แต่สรุปชีถ้ งึ พัฒนาการ ทางความเชื่อและระบบจริยศาสตร์ตามแนว ศาสนามากกว่า โดยแบ่งพัฒนาการเป็นสาม ช่วงได้แก่ 1) ระดับเด็ก (Children Level) เรียนรู้จักการอยู่ในสังคมโดยด�ำเนินตามกฏ เกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ว่าสิ่งใดท�ำได้และสิ่งใดห้าม กระท�ำ 2) ระดับวัยรุน่ (Adolescence Level) เป็นช่วงทีเ่ ห็นแก่หมูค่ ณะเป็นใหญ่ ยอมถือตาม ข้ อ ปฏิ บัติ เ พื่ อ เห็ นแก่ ชุ ม ชน และ 3) ระดั บ ผู้ใหญ่ (Adult Level) ปฏิบัติตนอย่างมีอิสระ มุ่งสู่ความดีโดยเห็นแก่พระคริสตเจ้า สามารถ สรุปได้ดังตารางที่ 1
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 103
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
ตารางที่ 1 พัฒนาการทางความเชื่อและจริยศาสตร์ตามแนวศาสนา ระดับเด็ก
ระดับวัยรุ่น
ระดับผู้ใหญ่
ด�ำเนินชีวิตโดยเห็นแก่สังคม ถือตามบัญญัติ 10 ประการ
ด�ำเนินชีวิตโดยเห็นแก่หมู่ คณะ ถือตามกฏเกณฑ์ และ ระเบียบของสถาบันศาสนา
ด�ำเนินชีวิตโดยเห็นแก่ พระคริสตเจ้า เลือกกระท�ำ ความดีต่อคนยากจน
ขอบเขตของกฎเกณฑ์ทางศาสนา ระดับบังคับทางศาสนา
ขอบเขตของจิตตารมณ์ แห่งบุญลาภ
ที่มา: Michael H. Crosby, Spirituality of the Beatitudes. New York, Maryknoll: Orbis Books, 2004: 14. จากทีก่ ล่าวมาข้างต้น สามารถพิจารณา ได้ ว ่ า สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ความเข้ า ใจ เริ่ ม จาก ท� ำ ความเข้ า ใจพระวาจาของพระคริ ส ตเจ้ า เข้ า ใจระบบจริ ย ธรรม ด้ ว ยความเข้ า ใจถึ ง ธรรมชาติแท้จริงของคริสตชน และธรรมชาติ ของพระศาสนจักร ผู้เขียนจึงตระหนักได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่พระศาสนจักรจะต้องหันกลับมา มองตนเอง ทั้งมิติด้านความรู้ความเข้าใจและ มองธรรมชาติที่ก่อร่างสร้างชีวิตจากบัญญัติ ใหม่ที่พระเยซูเจ้าทรงประทานให้แก่บรรดา ศิษย์บนภูเขา นักบุญพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 ทรงปลุกพระศาสนจักรว่าถึงเวลาแล้ว ที่พระศาสนจักรคาทอลิกควรได้รับการฟื้นฟู ให้มชี วี ติ ชีวาอีกครัง้ หนึง่ สังคายนาวาติกนั ที ่ 2 จึ ง เกิ ด ขึ้ น พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส (2015:
104 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
218) ตรัสในพระสมณสาสน์ ขอสรรเสริญองค์ พระผูเ้ ป็นเจ้า (Laudato Si’) กระตุน้ คริสตชน ว่า “เราต้องตรวจสอบชีวิตของเรา” โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง พระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทยที่ได้รับถ่ายทอดปลูก ฝังถึงความเชือ่ จากบรรดาธรรมทูตทีไ่ ด้เดินทาง มาประกาศข่าวดีในแผ่นดินสยามเมื่อ 350 ปีก่อน จากความเชื่อนั้นที่เป็นดังเมล็ดพันธุ์ ที่ค่อยๆ เติบโตท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลง ไป เติบโตทางด้านความสนิทสัมพันธ์ ความรู้ และความเข้าใจในองค์พระคริสตเจ้า ปัจจุบัน พระศาสนจักรไทยได้หันกลับมามองธรรมชาติ ตนเองและเรียกตนเองว่า “ศิษย์พระคริสต์” ที่ จะต้อง “เจริญชีวิต” โดยมีพันธกิจ “ประกาศ ข่ า วดี ใ หม่ ” ตามบทบาทฐานะของตน ใน
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก ในประเทศไทย ค.ศ. 2015 ได้ พิ จ ารณาถึ ง ธรรมชาติ พ ระศาสนจั ก รว่ า เป็น “พระศาสนจักรทีย่ ากจนเพือ่ คนยากจน” (ข้ อ 26) ดั ง พระวาจาของพระเยซู เจ้ า ใน ค�ำสอนเรื่องบุญลาภที่ว่า “ผู้มีใจยากจนย่อม เป็นสุข เพราะพระอาณาจักรสวรรค์เป็นของ เขา” (มธ 5: 3) ในพระสมณกฤษฎีกาเรือ่ งการอบรมเพือ่ เป็ น พระสงฆ์ (Optatam totius) ข้ อ 16 กล่ า วถึ ง ความส� ำ คั ญ และความสั ม พั น ธ์ ข อง พระคัมภีร์กับเทววิทยาแขนงอื่นๆ ว่า “ต้อง เอาใจใส่ เ ป็ น พิ เ ศษต่ อ การศึ ก ษาพระคั ม ภี ร ์ ซึ่งต้องเป็นเสมือนวิญญาณของวิชาเทววิทยา ทั้ ง หมด” และโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในเรื่ อ ง เกีย่ วกับด้านจริยธรรม กล่าวว่า “ควรปรับปรุง เทววิทยาแขนงอื่นๆ ให้สัมพันธ์กับพระธรรม ล�้ ำ ลึ ก ของพระคริ ส ตเจ้ าและประวั ติ ศ าสตร์ ความรอดพ้นอย่างมีชวี ติ ชีวา ต้องเอาใจใส่เป็น พิเศษปรับปรุง เทววิทยาด้านจริยธรรมให้มี ความสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ ให้เนือ้ หาค�ำสอนได้รบั การ หล่อเลี้ยงมากขึ้นจากพระคัมภีร์ ช่วยให้ผู้มี ความเชื่อในพระคริสตเจ้าแลเห็นความสูงส่ง ของกระแสเรียกที่ตนได้รับ รวมทั้งพันธะที่จะ ต้องท�ำให้ความเชื่อนั้นบังเกิดผลเป็นความรัก ส�ำหรับชีวิตของโลก”
ด้วยแรงบันดาลเช่นนี ้ ผูเ้ ขียนจึงให้ความ ส�ำคัญเป็นพิเศษกับพระคัมภีรซ์ งึ่ เป็น “วาจาที่ มีชวี ติ และบังเกิดผล” (ฮบ 4: 12) และได้เลือก ที่จะศึกษาชีวิตพระศาสนจักรซึ่งเป็นชีวิตที่ได้ รับการสถาปนาโดยพระคริสตเจ้า ด้วยพระ วาจาของพระองค์ “พระวาจานั้นค�้ำจุนและ เป็นพลังของพระศาสนจักร” (Dei Verbum ข้อ 21) และบรรดาศิษย์ร่วมก่อร่างสร้างตน ยืนหยัดและมัน่ คง พระศาสนจักรเป็น “บ้าน” ทีม่ พี ระเยซูคริสตเจ้าเป็นศิลาหัวมุม (เทียบ มธ 21: 42) เป็ น บ้ า นที่ ตั้ ง ตระหง่ า นในสั ง คม ปัจจุบัน ซึ่งบ้านหลังนี้จะต้องมี “ฐานราก” อันเป็นส่วนส�ำคัญที่ก่อให้เกิดโครงสร้างบ้าน ทีแ่ ข็งแรงทัง้ หลัง เป็นส่วนทีร่ องรับน�ำ้ หนักของ ตัวบ้านทัง้ หลังเอาไว้ ส�ำหรับพระศาสนจักรนัน้ ฐานรากที่แท้จริงก็คือชีวิตบุญลาภ 8 ประการ นั่นเอง วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่ อ ศึ ก ษาชี วิ ต พระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก ที่ มี ชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็ น ดั ง ฐานราก คุณธรรม 2. เพื่ อ ศึ ก ษาบทบาทความเป็ น พระศาสนจักรคาทอลิกที่มีชีวิตบุญลาภเป็น ฐานรากคุณธรรมท่ามกลางสังคมไทย
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 105
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
ขอบเขตของการศึกษา งานวิ จั ย ฉบั บ นี้ มุ ่ ง ศึ ก ษาชี วิ ต พระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก ที่ มี ชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็ น ดังฐานรากคุณธรรม และบทบาทความเป็น พระศาสนจักรคาทอลิกที่มีชีวิตบุญลาภเป็น ฐานรากคุ ณ ธรรมท่ า มกลางสั ง คมไทย โดย อาศัยการวิเคราะห์ตีความจากเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ตัวบทพระคัมภีรจ์ ากพระวรสารตาม ค� ำ บอกเล่ า ของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว บทที่ 5 ข้ อ ที่ 1-12 บทเทศน์ บ นภู เขาในเรื่ อ งบุ ญ ลาภ 8 ประการ 2. อรรถาธิ บ ายเกี่ ย วกั บ บุ ญ ลาภ 8 ประการโดยบรรดาปิ ต าจารย์ ข องพระ ศาสนจั ก ร และพระสั น ตะปาปาเบเนดิ ก ต์ ที่ 16 3. ค� ำ สอนพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก และคุณธรรมพระศาสนจักร 4. พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นิยามศัพท์เฉพาะ บุญลาภ หรือ ความสุขแท้จริง หมายถึง ความชื่นชมยินดีอย่างสมบูรณ์ที่บุคคลหนึ่งๆ จะได้รบั เมือ่ ทุม่ เทชีวติ ปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ ของพระเจ้า ซึง่ ในภาษาอังกฤษใช้คำ� ว่า Blessedness ภาษาลาติ น ใช้ ค� ำ ว่ า Beatitudo มาจากภาษากรีกว่า Μακάριοα 106 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชีวติ บุญลาภ ในงานวิจยั นีห้ มายถึง ชีวติ ทั้ ง ครบที่ ไ ด้ รั บ การหล่ อ หลอมจากคุ ณ ค่ า พระวรสารเรื่ อ งบุ ญ ลาภ 8 ประการ ซึ่ ง ประกอบด้วยชีวิตภายในที่เป็นจิตที่ผูกสัมพันธ์ กับพระเจ้า ชีวิตภายนอกที่ปฏิบัติตนทั้งต่อ ตนเองและผู้อื่นอย่างมีจริยธรรม ฐานราก (Footing) ในงานวิ จั ย นี้ หมายถึง เทววิทยาเริม่ แรกสุดซึง่ หล่อหลอมกัน เป็นชีวิตคุณธรรมที่ก่อร่างสร้างพระศาสนจักร เป็นส่วนทีร่ องรับน�ำ้ หนักของพระศาสนจักรเอา ไว้ เป็ น ส่ ว นส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ โ ครงสร้ า งพระ ศาสนจักรตัง้ มัน่ อยูไ่ ด้อย่างมัน่ คง แข็งแรงและ ถาวร คุณธรรม (Virtue) หมายถึง คุณลักษณะ ที่ดีหรือคุณลักษณะที่ถูกต้อง เป็นการท�ำงาน ของพระเจ้าในชีวติ ของมนุษย์ และมนุษย์มสี ว่ น ร่วมกับพระหรรษทานของพระเจ้าด้วย พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก (Church) หมายถึง ชุมชนแห่งพันธสัญญาใหม่ที่พระเยซู เจ้าได้ ทรงหลั่งพระโลหิตเพื่อไถ่กู้มนุษย์ให้ รอดพ้น ชีวติ พระศาสนจักร ในงานวิจยั นีห้ มายถึง ชีวติ ชุมชนศิษย์พระคริสต์ ซึง่ คริสตชนแต่ละคน มุ ่ ง เจริ ญ ชี วิ ต เลี ย นแบบอย่ า งพระคริ ส ตเจ้ า ปฏิบัติทั้งต่อตนเองและเพื่อนพี่น้องโดยเห็น แก่ ค วามรั ก อั น อุ ด มที่ พ ระเจ้ า ประทานให้ เสริ ม สร้ า งชี วิ ต ซึ่ ง กั น ในชุ ม ชนแห่ ง พระกาย อันรุ่งโรจน์ของพระศาสนจักรซึ่งมีพระเยซูเจ้า เป็นศีรษะ (เทียบ คส 1: 18)
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้ทราบถึงชีวิตพระศาสนจักรคาทอลิก ที่ มีชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็นฐานรากคุณ ธรรม และ บทบาทความเป็นพระศาสนจักรคาทอลิกที่มี ชีวิตบุญลาภเป็นฐานรากคุณธรรมท่ามกลาง สังคมไทย ซึ่งคริสตชนจะสามารถเข้าใจและ สามารถน�ำไปใช้เป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตได้ อย่างดี และ พระศาสนจักรคาทอลิกจะได้มี มุ ม มองเกี่ ย วกั บ บทบาทความเป็ น พระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก ที่ มี ชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็ น ฐานรากคุณธรรม วิธีด�ำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดการ ด�ำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การจัด เตรียมโครงร่างการวิจยั 2) การด�ำเนินการวิจยั และ 3) การรายงานผลการวิจัย รายละเอียด ดังนี้ ขัน้ ตอนที ่ 1 การจัดเตรียมโครงร่างการ วิจัย โดยผู้วิจัยท�ำการศึกษา ที่มา และความ ส�ำคัญของปัญหา ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หลักการ แนวคิดที่เกี่ยวข้องจากพระคัมภีร์ พระวรสาร ต�ำรา หนังสือ เอกสารวิชาการ ข้อมูลสารสนเทศ งานวิจัยต่างๆ เพื่อน�ำมา เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย จัดท�ำโครงร่างการ วิ จั ย น� ำ เสนออาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา ปรั บ แก้ ไข
โครงการวิ จั ย ตามค� ำ แนะน� ำ ของอาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา และเสนอขออนุ มั ติ หั ว ข้ อ การ ค้ น คว้ า อิ ส ระ และด� ำ เนิ น การต่ อ ไปตาม ขั้นตอนก�ำหนด ขั้นตอนที่ 2 การด�ำเนินการวิจัย โดย 1) การศึ ก ษาแปลและตี ค วาม (Exegesis) ข้ อ มู ล จากเอกสารและงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง 2) สั ง เคราะห์ แ ละสรุ ป ข้ อ มู ล เป็ น ผลจาก การศึกษา และข้อเสนอแนะ ขั้นตอนที่ 3 การรายงานผลการวิจัย โดยการน� ำ ผลการวิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ที่ ไ ด้ จากขัน้ ตอนที ่ 2 มาจัดท�ำเป็นรายงานการวิจยั ฉบับร่างเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และคณะ กรรมการตรวจสอบการค้นคว้าอิสระ ตรวจ สอบความถู ก ต้ อ ง และปรั บ ปรุ ง แก้ ไขตาม ที่คณะกรรมการตรวจสอบ การค้นคว้าอิสระ เสนอแนะให้เป็นรายงานการวิจัยที่สมบูรณ์ เสนอต่ อ ส� ำ นั ก งานบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา วิ ท ยาลั ย แสงธรรม เพื่ อ ขออนุ มั ติ จ บการศึ ก ษา ตาม ล�ำดับขั้นตอนที่ก�ำหนด สรุปผลการวิจัย 1. ชีวิตพระศาสนจักรคาทอลิกมีชีวิต บุญลาภเป็นฐานรากคุณธรรม พระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นความสมบูรณ์ แห่งบุญลาภทรงสถาปนาพระศาสนจักร ชีวิต พระศาสจั ก รจึ ง มี พ ระองค์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 107
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
บุญลาภยังเป็นแก่นค�ำสอนของพระอาจารย์เจ้า และเป็นวิถีแห่งการเป็นศิษย์พระคริสตเจ้า อย่างแท้จริง บุญลาภเป็นคลังคุณธรรมของ คริสตชน แสดงออกซึ่งความเชื่อ ความหวัง และความรัก เป็นคริสตจริยศาสตร์อันเป็น แนวทางในการด�ำเนินชีวิตของคริสตชนต่อ พระเจ้า ต่อตนเองและต่อผูอ้ นื่ พระศาสนจักร ได้ เ ผยแสดงถึ ง ความสุ ข แท้ จ ริ ง แห่ ง พระ อาณาจั ก รสวรรค์ ที่ เริ่ ม ต้ น แล้ ว แก่ โ ลกใน พระเยซูเจ้าซึ่งจะสมบูรณ์เมื่อพระองค์เสด็จ มาอี ก ครั้ ง หนึ่ ง พระศาสนจั ก รจึ ง มี ลั ก ษณะ เป็น “บ้าน” ทีม่ อี งค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นศิลา หัวมุมเอก บุญลาภเป็น ฐานรากและโครงสร้าง ทีจ่ ะท�ำให้บา้ นนีต้ งั้ มัน่ คง เป็นพยานแห่งความ รอดพ้นในปัจจุบัน 2. บทบาทความเป็ น พระศาสนจั ก ร คาทอลิกทีม่ ชี วี ติ บุญลาภเป็นฐานรากคุณธรรม ท่ามกลางสังคมไทย พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งบุญลาภที่ก�ำลังเจริญเติบโต พระเยซู เ จ้ า ผู ้ ท รงเป็ น ความสมบู ร ณ์ ข อง บุญลาภและเป็นผู้หว่าน จึงทรงเป็นผู้เริ่มต้น และผู้ผลักดันให้ พระศาสนจักรด�ำเนินไปเพื่อ เป็นพยานท่ามกลางความแตกต่างและหลาก หลายของสั ง คมไทย กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ.2015 มี แ นวทางในการขั บ เคลื่ อ นพระ
108 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ศาสนจั ก รไทยที่ ว ่ า “ศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ เจริ ญ ชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” ซึ่งก็คือชีวิต บุญลาภ นั่นเอง พระศาสนจักรในประเทศไทยภายใต้ แนวทางกฤษฎีกาฯ จึงมีลักษณะเป็น “บ้าน” ที่มีองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นศิลาหัวมุมเอก บุญลาภเป็นฐานรากและโครงสร้างที่จะท�ำให้ บ้านนี้ตั้งมั่นคง คริสตชนทุกคนร่วมชีวิตกัน เป็น “วิถชี มุ ชนวัด” เป็นพยานท่ามกลางสังคม ไทยในปัจจุบัน อภิปรายผล 1. ชีวติ พระศาสนจักรคาทอลิกมีชวี ติ บุญลาภ เป็นฐานรากคุณธรรม 1.1 พระเยซู เจ้ า องค์ ค วามสมบู ร ณ์ แห่ ง บุ ญ ลาภเป็ น ศู น ย์ ก ลางพระศาสนจั ก ร พระคริ ส ตเจ้ า ผู ้ ท รงเป็ น ความสมบู ร ณ์ แ ห่ ง บุญลาภทรงสถาปนาพระศาสนจักร ชีวิตพระ ศาสจักรจึงมีพระองค์เป็นศูนย์กลาง คริสตชน ผู ้ เรี ย กตนเองว่ า เป็ นศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ จะต้ อ ง ปฏิ บั ติ ต ามบุ ญ ลาภด้ ว ยสิ้ น สุ ด ก� ำ ลั ง เพราะ บุญลาภเป็นหัวใจของการเทศนาของพระเยซู เจ้า เป็นวิถสี คู่ วามศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งพระอาณาจักร สวรรค์ เป็นแนวทางพัฒนาความเป็นมนุษย์ ให้ ส มบู ร ณ์ แ ละเป็ น ชี วิ ต คุ ณ ธรรมของศิ ษ ย์ ในการปฏิบัติตนต่อตนเองและผู้อื่นตามแบบ อย่างของพระองค์
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
1.2 บุญลาภคือคลังคุณธรรมของคริสตชน บุ ญ ลาภแต่ ล ะประการเปี ่ ย มด้ ว ยคุ ณ ค่ า และความงดงาม เป็นความสุขแท้จริงที่เป็น เป้าหมายของคริสตชน และเป็นแนวทางแห่ง คุณธรรมที่จะพามนุษย์ก้าวสู่ความสมบูรณ์ มี ใจยากจนซึ่ ง เปี ่ ย มด้ ว ยความเชื่ อ วางใจใน พระเจ้ า เปี ่ ย มด้ ว ยความรั ก เช่ น ผู ้ เ ป็ น ทุ ก ข์ โศกเศร้า เป็นผู้มีใจอ่อนโยนต่อกัน กระตือ รือร้นดั่งผู้หิวกระหายความชอบธรรม ด�ำเนิน ชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ต่อความเชื่อ ความหวัง และความรั ก ที่ มี ต ่ อ พระเจ้ า มี ใจเมตตาดั ง พระบิดาเจ้าสวรรค์ มีใจบริสุทธิ์ซึ่งเป็นใจที่ไม่ หันเหไปหาพระอื่นใด ผู้สร้างสันติด�ำเนินชีวิต เป็นหมู่คณะอย่างแท้จริง เลียนแบบอย่างพระ คริสตเจ้าองค์แห่งสันติ และประกาศข่าวดีดว้ ย ชี วิ ต กระตื อ รื อ ร้ น ที่ เ ป็ น ประจั ก ษ์ พ ยาน ท่ามกลางการเบียดเบียนข่มเหง บุญลาภเป็น วิถแี ห่งการเป็นศิษย์พระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง เป็ น ศู น ย์ ร วมแห่ ง คุ ณ ธรรมของคริ ส ตชน พระศาสนจักรพัฒนาสูค่ วามสมบูรณ์ในพระเจ้า ได้ด้วยบุญลาภ 1.3 ชีวิตพระศาสนจักรมีบุญลาภเป็น ฐานรากคุณธรรม พระศาสนจักรได้เผยแสดง ถึงความสุขแท้จริงแห่งพระอาณาจักรสวรรค์ที่ เริ่มต้นแล้วในโลกผ่านทางพระเยซูเจ้าซึ่งจะ สมบู ร ณ์ เ มื่ อ พระองค์ เ สด็ จ มาอี ก ครั้ ง หนึ่ ง พระคริ ส ตเจ้ า ทรงเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานชี วิ ต
บุ ญ ลาภ ผ่ า นทางแบบอย่ า งของพระองค์ พระศาสนจักรจึงมีชีวิตที่ก้าวสู่ความศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรจึงมีลักษณะเป็น “บ้าน” ที่มี องค์ พ ระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า เป็ น ศิ ล าหั ว มุ ม เอก มีบญ ุ ลาภเป็นฐานรากและโครงสร้างทีจ่ ะท�ำให้ บ้ า นนี้ ตั้ ง มั่ น คง เป็ น พยานท่ า มกลางสั ง คม ปัจจุบัน 2. บทบาทความเป็นพระศาสนจักรคาทอลิก ที่ มี ชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็ น ฐานรากคุ ณ ธรรม ท่ามกลางสังคมไทย 2.1 พระเยซูเจ้าองค์ความสมบูรณ์แห่ง บุ ญ ลาภทรงเป็ น ศู น ย์ ก ลางพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก ในประเทศไทย พระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทยเป็นเมล็ดพันธุ์แห่ง บุญลาภที่ก�ำลังเจริญเติบโต พระเยซูเจ้าผู้ทรง เป็ น ความสมบู ร ณ์ ข องบุ ญ ลาภเป็ น ผู ้ ห ว่ า น ผ่านทางบรรดาธรรมทูตทีเ่ ดินทางมายังแผ่นดิน ไทย ประชาชนชาวไทยจึ ง ได้ รู ้ จั ก พระองค์ พระองค์ทรงเป็นศูนย์กลาง ประชาชนชาวไทย จึงได้เข้ามาเป็นศิษย์พระองค์ เข้ามาหา ดู ฟัง และสัมผัสพระองค์ เมล็ดพันธุ์แห่งบุญลาภได้ หว่านและก�ำลังเจริญเติบโตขึ้นบนผืนแผ่นดิน ไทย ตลอดระยะเวลากว่า 350 ปีที่ความเชื่อ คริสตศาสนาได้ถกู ประกาศในแผ่นดินไทยหรือ สยามประเทศในอดี ต พระศาสนจั ก รใน ประเทศไทยมีพระเยซูเจ้าเป็นจุดเริ่มต้นและ ก�ำลังด�ำเนินไปท่ามกลางความแตกต่างและ หลากหลายอาศัยพระหรรษทานจากพระองค์
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 109
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
2.2 “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศ ข่าวดีใหม่” คือ ชีวิตบุญลาภที่เป็นรูปธรรม กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 มีแนวทาง ใน การขั บ เคลื่ อ นพระศาสนจั ก รไทยที่ ว ่ า “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศข่าวดีใหม่” ซึ่ ง ก็ คื อ ชี วิ ต บุ ญ ลาภนั่ น เอง การเป็ น ศิ ษ ย์ พระคริสต์ คือมีชวี ติ บุญลาภตามแบบอย่างของ พระเยซูเจ้าผู้เป็น ความสมบูรณ์ของบุญลาภ การเจริญชีวิต คือการรับค�ำสอนบุญลาภและ ปฏิ บั ติ ต ามด้ ว ยความกระตื อ รื อ ร้ น การ ประกาศข่าวดีเป็นท่าทีและเป็นธรรมชาติของ การเป็ น ศิ ษ ย์ ข องพระเยซู เจ้ า ที่ ด� ำ รงตนใน บุญลาภ และข่าวดีที่ประกาศก็คือพระเยซูเจ้า องค์แห่งบุญลาภนั่นเอง ความใหม่ที่กฤษฎีกา สมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ใน ประเทศไทย ค.ศ. 2015 กล่าวถึงคือชีวติ คริสตชน ที่ เ ด่ น ชั ด ด้ ว ย บุ ญ ลาภ ความใหม่ ใ นความ กระตือรือร้นคือชีวิตที่มีบุญลาภเป็นแรงผลัก ดัน ความใหม่ในวิธีการเกิดจากใจที่มีบุญลาภ อยู่เต็มเปี่ยม เปิดให้พระเจ้าทรงท�ำงานอย่าง อิสระ ทรงชี้ทางอันเป็นวิธีการที่ควรจะเป็นไป วิธกี ารทีส่ อดคล้องกับน�ำ้ พระทัยพระเจ้า ความ ใหม่ในวิธีแสดงออกเป็นการยึดพระเจ้าเป็น เอกในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต เปี ่ ย มด้ ว ยความเชื่ อ ความหวังและความรัก มีบุญลาภเป็นหลักใน การด�ำเนินชีวิต เป็นชีวิตของผู้ชอบธรรม
110 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2 . 3 พ ร ะ ศ า ส น จั ก ร ค า ท อ ลิ ก ใ น ประเทศไทยมี ชี วิ ต บุ ญ ลาภเป็ น ฐานราก คุณธรรมท่ามกลางสังคมไทย พระศาสนจักร ในประเทศไทยภายใต้แนวทางกฤษฎีกาสมัชชา ใ ห ญ ่ ข อ ง พ ร ะ ศ า ส น จั ก ร ค า ท อ ลิ ก ใ น ประเทศไทย ค.ศ. 2015 มี ลั ก ษณะเป็ น “บ้ า น” ที่ มี อ งค์ พ ระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า เป็ น ศิ ล า หัวมุมเอก เป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักร บุญลาภเป็นฐานรากและโครงสร้างที่จะท�ำให้ บ้านนีต้ งั้ มัน่ คง เปีย่ มด้วยความเชือ่ ทีห่ ล่อเลีย้ ง ด้ ว ยพระวาจา ความรั ก ที่ แ สดงออกด้ ว ย พิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ และความหวังใน พระเจ้าผ่านทางการภาวนา คริสตชนเจริญชีวติ ร่วมกันด้วยความกระตือรือร้นใน “วิถีชุมชน วัด” ร่วมมือร่วมใจประสานกันในทุกภาคส่วน เอาใจใส่คนยากจน เคารพศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ เข้าใจปัญหาต่างๆ ของแต่ละกลุ่มคน ด� ำ รงตนเป็ น พยานท่ า มกลางสั ง คมไทยใน ปั จ จุ บั น การเป็ น ศิ ษ ย์ พ ระคริ ส ต์ เจริ ญ ชี วิ ต ประกาศข่ า วดี ใ หม่ ที่ มี บุ ญ ลาภเป็ น ฐานราก คุณธรรมจึงมีความมั่นคงและปลอดภัยภายใต้ ชายคาบ้ า นบุ ญ ลาภแห่ ง พระศาสนจั ก ร คาทอลิกในประเทศไทย
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะส�ำหรับการน�ำผลวิจยั ไปใช้ บุ ญ ลาภ 8 ประการจากพระวรสาร นักบุญมัทธิวบทที ่ 5 ข้อ 1-12 เป็นพระโอวาท แรกที่ อ อกจากพระโอษฐ์ ข องพระเยซู เจ้ า พระองค์ทรงประทานให้แก่บรรดาศิษย์เป็น พิ เ ศษ อาศั ย ความเข้ า ใจจากการศึ ก ษา วิเคราะห์สังเคราะห์ดังปรากฏในผลงานวิจัยนี้ พระศาสนจั ก รซึ่ ง หมายถึ ง คริ ส ตชนทุ ก คน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง คริ ส ตชนไทยต้ อ งพึ ง ตระหนักถึงความส�ำคัญ เรียนรู้ถึงแก่นค�ำสอน ของบุญลาภ ยึดพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นความ สมบูรณ์ของบุญลาภเป็นแบบอย่าง ด�ำเนินชีวติ ตามจิ ต ตารมย์ แ ห่ ง บุ ญ ลาภ ประกาศถึ ง บุญลาภด้วยความกระตือรือร้นตามบทบาท ของตนโดยเฉพาะบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ครูค�ำสอน และผู้แพร่ธรรมทุกคนจะ ต้องหล่อเลี้ยงความเชื่อ ความหวัง และความ รักของตนด้วยบุญลาภและเป็นประจักษ์พยาน ด้วยชีวิต การเทศน์และการสอน แสวงหาวิธี การใหม่ๆ ในการถ่ายทอดข่าวดีแห่งบุญลาภ ท่ามกลางสังคมที่แตกต่างและหลากหลายใน ประเทศไทย นี่คือการเป็น “ศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” อย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาแนวทางการน�ำบุญลาภ แต่ ล ะประการไปใช้ ใ นองค์ ก รต่ า งๆ ใน พระศาสนจั ก ร เช่ น บ้ า นเณร บ้ า นอบรม โรงเรียน สถาบันคริสต์ศาสนา คณะนักบวช กลุ ่ ม ส่ ง เสริ ม ความเชื่ อ ความศรั ท ธาต่ า งๆ เป็นต้น 2. ควรศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรม หรื อ วิ ธี ก ารอบรมเพื่ อ เสริ ม สร้ า งคุ ณ ธรรม แห่งบุญลาภ เชิงบูรณาการแก่เด็ก เยาวชน สามเณร และผู้ฝึกหัด ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็น กลุ ่ ม เป้ า หมายส� ำ คั ญ และเป็ น อนาคตของ พระศาสนจักร 3. ควรศึกษาค�ำสอนบุญลาภ 8 ประการ เชิ ง เปรี ย บเที ย บกั บ หลั ก ธรรมค� ำ สอนของ ศาสนาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนา และศาสนาอิ ส ลามซึ่ ง เป็ น สองศาสนาที่ มี ประชาชนชาวไทยนั บ ถื อ จ� ำ นวนมาก ทั้ ง นี้ เพื่ อ คริ ส ตชนจะได้ เข้ า ใจและมี แ นวทางใน การเสวนาศาสนสัมพันธ์และการแพร่ธรรม ท่ามกลางสังคมวัฒนธรรมไทยที่ได้รับอิทธิพล ทางแนวคิดจากสองศาสนานี้
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 111
ชีวติ บุญลาภ: ฐานรากคุณธรรมในชีวติ พระศาสนจักร
บรรณานุกรม คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์. (2557). พระคัมภีร์คาทอลิกฉบับ สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม. เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, บาทหลวง. (2548). คริสตจริยศาสตร์พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: แผนกการพิมพ์ โรงเรียนดอนบอสโก. เบเนดิกต์ ที ่ 16, พระสันตะปาปา. (2553). พระเยซูเจ้าแห่งนาซาเร็ธ. แปลโดย สือ่ มวลชนคาทอลิก ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. เปาโล ที่ 6, พระสันตะปาปา. สมณกฤษฎีกาเรื่องการอบรมเพื่อเป็นพระสงฆ์. (Optatam totius) แปลจากต้นฉบับภาษาละติน โดย ทัศไนย์ คมกฤส, 1965. ___. (1965). พระธรรมนูญพระสัจธรรมเรื่องการเปิดเผยความจริงของพระเจ้า. (Dei Verbum) แปลจากต้นฉบับภาษาละติน โดย ทัศไนย์ คมกฤส. ฟรังซิส, พระสันตะปาปา. (2558). พระสมณสาส์นขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า (Laudati Si’). แปลโดย เซอร์มารี หลุยส์ พรฤกษ์งาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2560). กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกแห่งประเทศไทย คริสตศักราช 2015. กรุงเทพฯ: ธนทานต์การพิมพ์. อันเดร เซลีนาส, SJ. (25526). ร�ำพึงเข้าใจพระวรสารนักบุญมัทธิว. แปลโดย คณะภคินเี ซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร. กรุงเทพฯ. Brown, Colin. (1986). New International Dictionary of New Testament Theology. Grand Rapids, MI: Zondervan Publishing House. Butler, John G. (2005). Jesus Christ: His Sermon on the Mount. Clinton, IA: LBC Publications. Crosby, Michael H. (2004). Spirituality of the Beatitudes. New York, Maryknoll: Orbis Books. Green, H. Benedict. (2001). Matthew, Poet of the Beatitudes. Sheffield, England: Sheffield Academic Press. Hagner, Donald A. (2002). Word Biblical Commentary: Matthew 1-13. Dallas: Word, Incorporated.
112 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กฤษฎา ลิ้มเฉลิม, ลือชัย ธาตุวิสัย, สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
Hinnebusch, Paul. (2000). The Beatitudes: Seeking the Joy of God's Kingdom. Boston: Pauline Books & Media Press Meier, John P. (1979). The Vision of Matthew: Christ, Church, and Morality in the First Gospel. New York: Paulist Press. Pinckaers, Servais O.P. (1995.) The Sources of Christian Ethics. Trans. by Sr. Mary Thomas. Washington, D.C.: The Catholic University of America Press. Paul VI, Pope. (1968). Acta Apostolicae Sedis. 60. St. Augustine. (1963). The Father of the Church: Saint Augustine, Commentary on the Lord’s Sermon on the Mount with Seventeen Related Sermons. Trans. By Denis J. Kavanagh, O.S.A.,. Washington, D.C.: The Catholic University of America Press. Grisez, Germain. Christian Moral Principles, Chapter 26: Modes of Christian Response, Question A: How are the modes of Christian response related to the Beatitudes?. [online]. Accessed September 27, 2017. Available from http://www.twotlj.org/G-1-26-A.html
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 113
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ�แบบผู้รับใช้ ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
Guidelines for Development of
The Servant Leadership of School Administrators under the Bangkok Archdiocese. บาทหลวง เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก * นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้น�ำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ชญาพิมพ์ อุสาโห
* อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้น�ำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Rev.Cheddanai Chaiyaphuak * Student, Master of Education Program in Educational Administration,
Department of Educational Policy, Management and Leadership, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Asst.Prof.Dr.Chayapim Usaho * Lecturer, Educational Management, Department of Educational Policy, Management and Leadership, Faculty of Education, Chulalongkorn University. *** วันที่ตอบรับบทความ 30 กรกฎาคม 2559
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
บทคัดย่อ
การวิ จั ย ครั้ ง นี้ มี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ 1) ศึ ก ษาคุ ณ ลั ก ษณะภาวะ ผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2) น�ำเสนอเงื่อนไขและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของ ผูบ้ ริหารโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประชากรคือ โรงเรียน คาทอลิ ก ในสั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จ� ำ นวน 34 โรงเรี ย น ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายงานต่างๆ และครูปฏิบัติ หน้าทีส่ อน จ�ำนวน 409 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั คือ แบบสอบถาม เกี่ ย วกั บ ภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของ ผู้บริหารโรงเรียน และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของบริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. คุ ณ ลั ก ษณะภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย น ในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯในปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยคุณลักษณะย่อยของภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสุ ภ าพถ่ อ มตน รองลงมาคื อ การยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม การเห็ น ประโยชน์ของผู้อื่น การสร้างทีม การส่งเสริมการพัฒนาส่วนบุคคล การเห็นใจและการเยียวยาผู้อื่น ความถูกต้องและความยุติธรรม และ การให้อ�ำนาจ ตามล�ำดับ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียน ในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วิธีการพัฒนาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ การพัฒนาเพื่อก�ำจัด อุ ป สรรคในการเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรม การสร้ า งกลยุ ท ธ์ เ พื่ อ การ เปลี่ ย นแปลง การเปลี่ ย นแปลงจิ ต ส� ำ นึ ก และการสนั บ สนุ น การ เปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก ตามล�ำดับ ได้แนวทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบ ผู้รับใช้ 20 แนวทาง ค�ำส�ำคัญ:
1) ภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ 2) อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 115
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the characters of the servant Leadership of School Administrators under the Bangkok Diocese 2) to present the conditions and guidelines for development of the servant leadership for school administrators in Bangkok Archdiocese. There are 34 schools under this scope. Their administrators, heads of department and teachers totally numbered 409 respondents. The researcher used a structured questionnaire for the respondents to identify the condition of The servant leadership and the guidelines for development of the school administrators in Bangkok Archdiocese. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results were as follows: 1) The scores of the characters of The servant Leadership of school Administrators under the Bangkok Diocese at present in general are high. The highest ones include: Integrity, Altruism, Humility, Empathy and Healing, Personal growth, Fairness and Justice Empowerment and Team Building. 2) The guidelines of development of highest include: Change education, Breakthrough training, Building change strategy, Conscious process design and Conscious process facilitation. There are altogether 20 guidelines for the servant leadership development. Keywords:
116 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) Servant leadership 2) Bangkok Archdiocese
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ภาวะผูน้ ำ� ของผูบ้ ริหารเป็นปัจจัยส�ำคัญ ของการขับเคลื่อนองค์กรหรือสถานศึกษาให้ บรรลุเป้าหมาย ภาวะผูน้ ำ� ทีม่ ปี ระสิทธิภาพนัน้ มีความส�ำคัญต่อความส�ำเร็จขององค์กรในอัน ที่จะด�ำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด ไว้เป็นอย่างมาก ความล้มเหลวขององค์กร ต่างๆที่ผ่านมา สืบเนื่องมาจากการขาดภาวะ ผู้น�ำของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพแทบทั้งสิ้น ภาวะผู้น�ำที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อ ผู้บริหารใช้ภาวะผู้น�ำซึ่งมีหลายรูปแบบแล้ว แต่ ว ่ า จะเลื อ กใช้ แ บบใดให้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง การเลือกแบบภาวะ ผู ้ น� ำ ควรค� ำ นึ ง ถึ ง หลายองค์ ป ระกอบ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา สถานการณ์ แ ละ บุคลิกภาพของผู้น�ำเอง ในศาสนาคริ ส ต์ ไ ด้ มี แ นวคิ ด เกี่ ย วกั บ รูปแบบภาวะผู้น�ำด้วยเช่นกัน คือภาวะผู้น�ำ แบบผู้รับใช้ พระเยซูเจ้าผู้เป็นศาสดาได้แสดง ค�ำสอนเกีย่ วกับคุณสมบัต ิ บทบาท และอ�ำนาจ ของผู้น�ำ พระเยซูเจ้าได้กล่าวเกี่ยวกับภาวะ ผู้น�ำแบบผู้รับใช้ไว้ว่า “ในกลุ่มของท่าน ผู้ใด เป็นใหญ่จะต้องรับใช้ผู้อื่น ผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะ ถู ก กดให้ ต�่ ำ ลง ผู ้ ใ ดถ่ อ มตนลงจะได้ รั บ การ ยกย่องให้สูงขึ้น” (มธ.23:11-12) และในเวลา ที่บรรดาศิษย์ของพระองค์ก�ำลังแย่งกันเป็น ใหญ่ในหมู่พวกเขา พระเยซูเจ้าได้น�ำค�ำสอน เรือ่ งการเป็นผูร้ บั ใช้สอนพวกเขา “ถ้าผูใ้ ดอยาก
เป็นคนที่หนึ่งก็ให้ผู้นั้นท�ำตนเป็นคนสุดท้าย และเป็ น ผู ้ รั บ ใช้ ทุ ก คน” (มก.9:35) และ นอกจากค�ำสอนของพระเยซูเจ้าแล้วพระองค์ ทรงแสดงแบบอย่ า งของการเป็ น ผู ้ รั บ ใช้ “เมื่อพระเยซูเจ้าทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ ทรงถอด เสือ้ คลุมออกวางไว้ ทรงใช้ผา้ เช็ดตัวคาดสะเอว แล้วทรงเทน�ำ้ ลงในอ่าง เริม่ ล้างเท้าบรรดาศิษย์ และใช้ผ้าที่คาดสะเอวเช็ดให้” (ยน.13:4-15) แนวคิดผู้น�ำแบบของผู้รับใช้ของพระ เยซูเจ้า จึงได้รับการถ่ายทอดมาสู่บรรดาศิษย์ ของพระเยซูเจ้าตั้งแต่สมัยบรรดาอัครสาวก และส่งต่อค�ำสอนและแนวคิดแบบผู้รับใช้นี้มา สู่ปัจจุบัน ซึ่งบรรดาพระสงฆ์และนักบวชใน ยุคปัจจุบันต่างก็ต้องยึดถือค�ำสอนและแนวคิด นีใ้ นชีวติ ประจ�ำวัน ในหน้าทีก่ ารงานทีพ่ วกเขา ได้รับ ในองค์กรที่พวกเขาได้อยู่ การเป็นผู้น�ำ ของบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า ต้องเป็นผู้น�ำ ที่มีภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ตามค�ำสั่งสอนของ พระเยซูเจ้าซึ่งเป็นพระอาจารย์และแบบอย่าง ของพวกเขา ผูบ้ ริหารโรงเรียนคาทอลิกในฐานะ ที่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า เป็นผู้สานต่อพันธกิจของพระองค์ในโลกยุคปัจจุบัน จึงจ�ำเป็น เหลือเกินที่บรรดาผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก ต้องแสดงแบบอย่างการรับใช้ของพระเยซูเจ้า ให้บรรดาผูร้ ว่ มงานในโรงเรียน บรรดานักเรียน บรรดาผูป้ กครองเห็นถึงความรักและการรับใช้ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 กล่าวแก่ บรรดาพระสงฆ์ นักบวชชายหญิงในพระด�ำรัส
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 117
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
เตือนสติผรู้ บั เจิมว่า “พวกเขาได้รบั การเรียกให้ มาเป็นประจักษ์พยานอย่างลึกซึ้งในโลกแห่ง การศึกษา ถึงคุณค่าแห่งพระอาณาจักรพระเจ้า ซึ่งเสนอต่อทุกคน” (สภาการศึกษาคาทอลิก, 2558:48) ชีวิตที่เป็นประจักษ์แห่งการรับใช้ ของผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิกที่เป็นพระสงฆ์ และนักบวช จึงเป็นเอกลักษณ์ที่ส�ำคัญของ โรงเรียนคาทอลิก แต่จากกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก ยุ ค โลกาภิ วั ต น์ (Globalization) ท� ำ ให้ ส ่ ง ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ในหลาย ด้าย รวมไปถึงด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะ อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกได้ถูกกระแสของ สังคมท�ำให้ค่อยๆ หายไป จนท�ำให้ผู้คนใน สังคมและผู้ปกครองมองว่าโรงเรียนคาทอลิก เป็นโรงเรียนเอกชนทีเ่ น้นการท�ำธุรกิจ เน้นด้าน วิชาการมากกว่าการอบรมเรื่องศีลธรรม เน้น การแข่งขันด้านวิชาการเพื่อชื่อเสียง จนขาด อัตลักษณ์ของโรงเรียนคาทอลิก (เอกสารการ สัมมนา “มองไปข้างหน้า อัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิก, 2012) แสดงให้เห็นปัญหาด้านภาวะ ผู้น�ำ ภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ถูกละเลย ท�ำให้ โรงเรียนคาทอลิกออกห่างจากค�ำสั่งสอนของ พระเยซูเจ้าและแบบอย่างแห่งการรับใช้ของ พระองค์ โรงเรียนคาทอลิกจึงไม่ได้เต็มไปด้วย บรรยากาศแห่งการรับใช้ซงึ่ กันและกัน แต่เป็น ไปเพื่อการแข่งขัน การแบ่งชนชั้น ซึ่งในความ
118 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เป็นจริงแล้ว ความรักและการรับใช้ต้องเป็น รากฐานที่ส�ำคัญของโรงเรียนคาทอลิก ภาวะน�ำผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหาร โรงเรียนคาทอลิกต้องได้รบั การพัฒนาขึน้ มาอีก ครั้ ง หนึ่ ง เพราะภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ ข อง ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็นปัจจัยส�ำคัญในการ น�ำพาโรงเรียนคาทอลิกกลับมาสู่เอกลักษณ์ ของการศึกษาคาทอลิกอีกครัง้ หนึง่ มีสว่ นส�ำคัญ ในการปฏิ รู ป การศึ ก ษาคาทอลิ ก เพราะ โรงเรียนคาทอลิกมีรากฐานส�ำคัญอยู่ที่พระเยซูเจ้า การน�ำค�ำสั่งสอนและแบบอย่างของ พระเยซูเจ้ามาปฏิรูปการศึกษาคาทอลิกเป็น สิ่งที่ควรท�ำที่สุด เพราะเราจะสามารถกลับไป หาเอกลักษณ์การศึกษาคาทอลิกอย่างที่ควร จะเป็นได้ พระเยซูเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “คนทั้ง หลายที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าและปฏิบัติ ตามย่อมเป็นสุข” (ลก.11:28) พระวาจาของ พระเยซู เจ้ า ประโยคนี้ น ่ า จะเป็ น ก� ำ ลั ง ใจให้ กับบรรดาผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในการ ที่จะท�ำให้การศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย กลับมาสู่เอกลักษณ์ที่ควรจะเป็นอีกครั้งหนึ่ง สิ่ ง ที่ ผู ้ วิ จั ย จะท� ำ คื อ “แนวทางการ พั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” เพือ่ ฟืน้ ฟูอตั ลักษณ์การศึกษาคาทอลิกและเป็น แนวทางการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ ของผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ศึกษาคุณลักษณะภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ 2. น�ำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะ ผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนสังกัดอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจยั ในครัง้ นีศ้ กึ ษาคุณลักษณะภาวะ ผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนคาทอลิก สั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ และหา แนวทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของ ผูบ้ ริหารโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ โดยภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ใช้แนวคิด ของ Yukl (2010) ซึ่งได้ศึกษาค่านิยมที่ส�ำคัญ และผลกระทบของผู้น�ำแบบผู้รับใช้ต่อผู้ตาม และองค์กร และแนวคิดภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ของ Gene Wilkes (2011) ซึ่ ง ได้ ศึ ก ษา คุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้จากหนังสือ พระวรสารทัง้ 4 และได้สรุปคุณลักษณะภาวะ ผู้น�ำแบบผู้รับใช้ออกมา 8 คุณลักษณะ คือ 1) การยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม 2) การเห็ น แก่ ประโยชน์ของผู้อื่น 3) ความสุภาพถ่อมตน 4) การเอาใจเขามาใส่ใจเราและการเยียวยา 5) การเติบโตของบุคคล 6) ความถูกต้องและ
ความยุติธรรม 7) การให้อ�ำนาจ 8) การสร้าง ทีม ส่ ว นการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ ใช้ ก รอบ แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้น�ำของ Anderson (2001) ประกอบด้วย 5 วิธี คือ 1) วิธีการ พัฒนาเพื่อก�ำจัดอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม 2) การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ 3) การสร้างกลยุทธ์การเปลี่ยน แปลง 4) การเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก 5) การ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก 2. ขอบเขตด้ า นประชากรและผู ้ ใ ห้ ข้อมูล 2.1 ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คือโรงเรียนคาทอลิกในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จ�ำนวน 34 โรงเรียน 2.2 ผูใ้ ห้ขอ้ มูลในการวิจยั คือ ผูอ้ ำ� นวย การโรงเรียน จ�ำนวน 34 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู ้ ช ่ ว ยผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น (หั ว หน้ า ฝ่ า ย) จ�ำนวน 34 คน และกลุม่ ตัวอย่างคุณครูผสู้ อน ในโรงเรียน จ�ำนวน 353 คน รวมทั้งสิน 421 คน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และโรงเรียนของคณะ นักบวช มีคุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ได้สืบสานจิตตารมณ์ของพระเยซู เป็นแบบ อย่างแห่งการรับใช้ตามแบบอย่างของพระองค์
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 119
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
2. โรงเรี ย นคาทอลิ ก ในสั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีเอกลักษณ์การศึกษา คาทอลิกที่แท้จริง 3. อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ มี แ นว ทางการพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ก�ำหนด นโยบายการพัฒนาภาวะน�ำของผู้บริหาร นิยามศัพท์ ภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ หมายถึ ง คุณลักษณะของผู้น�ำให้ความส�ำคัญกับผู้ตาม และตอบสนองผู้ตามด้วยการรับใช้เพื่อเสริม สร้างให้ผู้ตามเกิดการพัฒนา เกิดสัมพันธภาพ ที่ดีในองค์กร และน�ำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย ที่ได้วางเอาไว้ การยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม (Integrity) หมายถึง การสื่อสารโดยวิธีการที่เปิดเผยและ ซื่อสัตย์ รักษาสัญญาพันธะที่มีต่อผู้อื่น มีการ ปฏิบัติที่สอดคล้องกับค่านิยมที่สนับสนุนอยู่ รับรูแ้ ละยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง มีความ รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด ไม่พยายามที่จะ ครอบง�ำหรือหลอกหลวงผู้อื่น การเห็นแก่ประโยชน์ของผูอ้ นื่ (Altruism) หมายถึง การยินดีที่ได้ช่วยผู้อื่น เต็มใจที่จะ เสี่ ย ง หรื อ อุ ทิ ศ ตั ว เพื่ อ ป้ อ งกั น หรื อ เพื่ อ ประโยชน์ของผู้อื่น ให้ความต้องการของผู้อื่น อยูเ่ หนือความต้องการของตนเอง สมัครใจทีจ่ ะ ท�ำงานหรือให้บริการที่ต้องใช้เวลามากขึ้นเป็น
120 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
พิเศษ และอาจจะไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้เป็น ส่วนหนึ่งของงานประจ�ำ ความสุ ภ าพถ่ อ มตน (Humility) หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องหมายหรือสิ่งที่แสดง สถานภาพและสิ ท ธิ พิ เ ศษต่ า งๆ ยอมรั บ ข้ อ จ�ำกัดและข้อผิดพลาด สุภาพถ่อมตนต่อความ ส�ำเร็จ ไม่โอ้อวดว่าเป็นความส�ำเร็จของตนเอง แต่เน้นว่าเป็นความส�ำเร็จจากการมีส่วนร่วม ของผู้อื่น การเห็นใจและการเยียวยาผูอ้ นื่ (Empathy and healing) หมายถึง การช่วย ผู้อื่นในการรับมือกับความเครียดทางอารมณ์ ส่งเสริมการยอมรับความแตกต่าง เป็นผู้ช่วย ไกล่เกลี่ยหรือเป็นผู้สร้างสันติ ส่งเสริมการ ให้อภัย และการคืนดีกันหลังความขัดแย้งที่ ท�ำให้แตกแยกกัน การส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาส่ ว นบุ ค คล (Personal growth) การส่งเสริมและช่วย เหลื อ ในการพั ฒ นาความมั่ น ใจและความ สามารถของปัจเจกบุคคล แม้ว่าจะไม่มีความ ส� ำ คั ญ ต่ อ งานที่ ท� ำ อยู ่ ช่ ว ยเอื้ อ ให้ มี โ อกาส ในการเรียนรู้ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อความ ผิดพลาด จัดให้มีการแนะน�ำ ให้ค�ำปรึกษา และให้การฝึกฝนเมือ่ มีความต้องการ และช่วย ให้คนเรียนรู้จากความผิดพลาด
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
ความถูกต้องและความยุตธิ รรม (Fairness and Justice) หมายถึง การส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบตั ติ อ่ ผูอ้ นื่ อย่างยุตธิ รรม พูดต่อต้านความไม่ถกู ต้องและการกระท�ำหรือ นโยบายที่ขาดความยุติธรรม ต่อต้านความ พยายามที่จะใช้ความไม่ถูกต้องครอบง�ำ หรือ หลอกลวงผูอ้ นื่ หรือ การบ่อนท�ำลาย หรือการ ละเมิดสิทธิของพวกเขา การให้ อ� ำ นาจ (Empowerment) หมายถึง การปรึกษาหารือกับผูใ้ ต้บงั คับบัญชา ในเรื่ อ งการตั ด สิ น ใจที่ จ ะมี ผ ลกระท� ำ กั บ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้อ�ำนาจและให้อิสระใน การตัดสินใจอย่างเหมาะสมแก่ผใู้ ต้บงั คับบัญชา มีการให้หรือแบ่งปันข้อมูลที่มีความละเอียด อ่อนกับผู้ใต้บังคับบัญชาส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาแสดงออกถึงความห่วงใยหรือมุมมองที่ แตกต่างโดยไม่มีการปกป้องตนเอง การสร้ า งที ม (Building a team) หมายถึง การอ�ำนวยความสะดวกแก่การสร้าง กลุ่มและทีม ท�ำงานร่วมกับผู้อื่นมากกว่าการ แยกตั ว ออกจากผู ้ อื่ น รวมถึ ง การที่ ผู ้ น� ำ ให้ คุณค่าในความแตกต่างของผูค้ น ความแตกต่าง ในความสามารถ วัฒนธรรมและมุมมอง การพัฒนาภาวะผู้น�ำ หมายถึง วิธีการ พัฒนาทีป่ ระกอบไปด้วย 1) วิธกี ารพัฒนาเพือ่ ก�ำจัดอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 2) วิธีการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวน ทัศน์ 3) วิธีการสร้างกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง
4) วิธีการเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก 5) วิธีการ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก วิ ธี ก ารพั ฒ นาเพื่ อ ก� ำ จั ด อุ ป สรรคใน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หมายถึง การ พัฒนาที่มุ่งเปลี่ยนหลักคิดของผู้บริหารจาก โลกทัศน์เดิมมาสู่โลกทัศน์ใหม่ เน้นการเรียนรู้ จากประสบการณ์ ที่ เ กี่ ย วกั บ ตั ว ตน ความ สัมพันธ์ ทีม และองค์กร การศึกษาเพือ่ การเปลีย่ นแปลง หมายถึง การศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหารเข้าใจถึงข้อมูล ทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ น�ำไปสูก่ ารปฏิรปู หรือการเปลีย่ น แปลงกระบวนทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้ า งกลยุ ท ธ์ ก ารเปลี่ ย นแปลง หมายถึ ง การวางกลยุ ท ธ์ ก ารเปลี่ ย นแปลง โดยมุ ่ ง พั ฒ นากลยุ ท ธ์ ใ นเวลาที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง เน้ น การแจกแจงองค์ ป ระกอบด้ า นเนื้ อ หา และบุคลากรในการปฏิรูปองค์กรอย่างเป็น กระบวนการ การเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก หมายถึง การพั ฒ นาที่ เ น้ น การพั ฒ นาที ม งานของ ผูบ้ ริหาร เน้นออกแบบจ�ำลองของกระบวนการ เปลีย่ นแปลงให้สอดคล้องกับสภาพการท�ำงาน จริง การสนับสนุนการเปลีย่ นแปลงจิตส�ำนึก หมายถึง วิธกี ารสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง ผู ้ บ ริ ห ารกั บ ที ม งานและคณะที่ ป รึ ก ษา มุ ่ ง ส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ แ ละการแก้ ไขเนื้ อ หา วิชาการออกแบบกระบวนการและการพัฒนา ตนเอง
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 121
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สรุปผลการวิจัย 1. คุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของ ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ คุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของ ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ โดยภาพรวมมีระดับคุณลักษณะของ ผู้บริหารอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.01, SD = .906) ความสุ ภ าพถ่ อ มตนเป็ น คุ ณ ลั ก ษณะ ทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากทีส่ ดุ (x̅ = 4.30, SD = .780) รองลงมาเป็นการยึดหลักคุณธรรม (x̅ = 4.27, SD = .784) การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (x̅ = 4.18, SD = .846) และการสร้างทีม (x̅ = 4.07, SD = .824) ส่วนคุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯอยู่ในระดับมาก แต่มีค่าเฉลี่ยน้อย กว่า 4.00 ซึ่งจ�ำเป็นต้องมีแนวทางการพัฒนา เพื่ อ ใช้ ใ นการปรั บ ปรุ ง ให้ พั ฒ นามากยิ่ ง ขึ้ น ได้แก่ การส่งเสริมและการพัฒนาบุคคล (x̅ = 3.94, SD = .905) การให้เห็นใจและเยียวยา ผู้อื่น (x̅ = 3.80, SD = 1.051) ความถูกต้อง และความยุติธรรม (x̅ = 3.79, SD = 1.049) และที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การให้อ�ำนาจ (x̅ = 3.75, SD = 1.023)
122 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของ ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ ในปัจจุบนั เมือ่ พิจารณารายข้อย่อย ทุกข้อมีระดับคุณลักษณะของผู้บริหารอยู่ใน ระดับมาก โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ผู้บริหาร ปฏิบัติตนสอดคล้องกับค่านิยมตามค�ำสั่งสอน ของพระเยซู เจ้ า ( x̅ = 4.37, SD = .757) ผู้บริหารเป็นผู้ยินดีช่วยเหลือครูและนักเรียน ด้วยความเต็มใจ โดยยึดประโยชน์ส่วนรวม (x̅ = 4.35, SD = .783) ผู้บริหารไม่โอ้อวด ในความส�ำเร็จของตนเอง แต่ยกย่องผู้ช่วย ผู้บริหารและครูในความส�ำเร็จที่เกิดขึ้น (x̅ = 4.33, SD = .744) และรายข้อย่อยที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อย ที่สุด 3 อันดับคือ ผู้บริหารให้อ�ำนาจและให้ อิสระในการตัดสินใจแก่ผู้ช่วยผู้บริหารและครู โดยผู้บริหารยอมรับการตัดสินใจของผู้ช่วย ผู้บริหารและครู (x̅ = 3.53, SD = 1.109) ผู้บริหารกล้าตัดสินและมีบทลงโทษต่อครูและ นักเรียน ที่กระท�ำไม่ถูกต้อง และผิดต่อความ ยุติธรรม (x̅ = 3.57, SD = 1.000) ผู้บริหาร สามารถควบคุมอารมณ์ ไม่ฉุนเฉียว ไม่แสดง อาการไม่พอใจต่อครูในที่ประชุม (x̅ = 3.68, SD = 1.124)
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ในภาพรวม วิธที มี่ คี วามคิดเห็นเฉลีย่ มากที่สุด คือ การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ (x̅ = 4.31, SD = .663) รอง ลงมาคือ วิธีการพัฒนาเพื่อก�ำจัดอุปสรรคใน การเปลีย่ นแปลงพฤติกรรม (x̅ = 4.30, SD = .679) การสร้างกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (x̅ = 4.23, SD = .677) การเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก (x̅ = 4.21, SD = .711) และการสนับสนุน การเปลี่ยนแปลงจิตส�ำนึก(x̅ = 4.16, SD = .712) แนวทางการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ แบบ ผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ในเรื่ อ งการยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม วิ ธี ที่ มี ค วามคิ ด เห็ น เฉลี่ ย มาก 3 อั น ดั บ แรก คื อ วิ ธี พั ฒ นาที่ เ น้ น ให้ ผู ้ บ ริ ห าร พัฒนาทีมงานของผูบ้ ริหารให้ยดึ หลักคุณธรรม (x̅ = 4.37, SD = .711) รองลงมาคือ วิธพี ฒ ั นา ที่ ท� ำ ให้ ผู ้ บ ริ ห ารเข้ า ใจกระบวนการการ เปลี่ ย นแปลงวิ ธี คิ ด วิ ธี ป ฏิ บั ติ แบบยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรม ( x̅ = 4.32, SD = .656) และ วิธพี ฒ ั นาทีค่ อยสนับสนุนด้วยการปรึกษาหารือ
ระหว่างผู้น�ำกับทีมที่ปรึกษา ในช่วงที่มีปัญหา ระหว่ า งการเปลี่ ย นแปลงด้ า นการยึ ด หลั ก คุณธรรม (x̅ = 4.31, SD = .707) อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะภาวะ ผู้น�ำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายคุณลักษณะภาวะผู้น�ำ แบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งสามารถ ล�ำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังต่อไปนี้ 1) ความสุภาพถ่อมตน (Humility) 2) การยึดหลักคุณธรรม (Integrity) 3) การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (Altruism) 4) การสร้างทีม(Build a team) 5) ส่งเสริมการพัฒนาส่วนบุคคล (Personal growth) 6) การเห็นใจผู้อื่น และการเยียวยา (Empathy and healing) 7) ความถูกต้องและความยุติธรรม (Fairness and Justice) 8) การให้อ�ำนาจ (Empowerment) 1. จากผลการวิจัยพบว่า ความสุภาพ ถ่อมตน (Humility) มีระดับคุณลักษณะของ ผู ้ บ ริ ห ารในระดั บ มาก และเมื่ อ พิ จ ารณา คะแนนเฉลี่ ย ( x̅ = 4.30, SD = .780)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 123
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ซึง่ เป็นคะแนนเฉลีย่ ทีม่ ากทีส่ ดุ ได้แสดงให้เห็น ว่าผู้บริหารมีความสุภาพถ่อมตนอย่างโดดเด่น อันเนื่องมาจากผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯทุกโรงเรียน ผูบ้ ริหารเป็น บาทหลวงและนักบวช ซึ่งยึดหลักความสุภาพ ถ่อมตนตามแบบอย่างพระเยซูเจ้าเป็นแนวทาง ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต และแสดงออกถึ ง ความ สุภาพถ่อมตนในการท�ำงานร่วมกับผู้ร่วมงาน ผูช้ ว่ ยผูบ้ ริหารและคณะครูจงึ สามารถเห็นและ สั ม ผั ส ถึ ง ความสุ ภ าพถ่ อ มตนของผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียนได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความสอดคล้อง กับค�ำสอนหลักที่พระเยซูเน้นย�้ำบ่อยครั้งคือ ผู้ใดถ่อมตัวลง ผู้นั้นจะได้รับการยกย่องให้ สูงขึน้ (ลูกา 14:11) และอีกตอนหนึง่ ทีว่ า ่ ผูใ้ ด มีใจสุภาพเหมือนเด็กเล็กๆ ผู้นั้นจะเป็นผู้ยิ่ง ใหญ่ ที่ สุด ในพระอาณาจัก รสวรรค์ (มัท ธิว 18:4) 2. จากผลการวิจัยพบว่า การยึดหลัก คุณธรรม (Integrity) มีระดับคุณลักษณะของ ผู ้ บ ริ ห ารในระดั บ มาก และเมื่ อ พิ จ ารณา คะแนนเฉลี่ย (x̅ = 4.27, SD = .784) ซึ่ง เป็นคะแนนเฉลี่ยที่มากเป็นอันดับ 2 ได้แสดง ให้เห็นว่าบรรดาผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นบาทหลวงและ นักบวช ได้ท�ำงานในโรงเรียนโดยการยึดหลัก คุณธรรม และถ้ามองดูในรายค�ำถามข้อย่อย จะพบว่า ในรายข้อย่อยที่ว่า “ผู้บริหารปฏิบัติ
124 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ตนสอดคล้องกับค่านิยมตามค�ำสั่งสอนของ พระเยซูเจ้า” เป็นรายข้อย่อยทีไ่ ด้คะแนนเฉลีย่ สูงที่สุด ซึ่งแสดงออกว่าผู้บริหารในโรงเรียน ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีการปฏิบัติ ตนสอดคล้องกับค�ำสัง่ สอนของพระเยซู ในเรือ่ ง ความซื่อตรง ที่ว่า พระเยซูเจ้าคาดหวังให้เรา เป็ น มนุ ษ ย์ ใ หม่ มนุ ษ ย์ ที่ ซื่ อ ตรง ชอบธรรม ประพฤติชอบตามสายพระเนตรของพระเจ้า ด� ำ รงตนอยู ่ ใ นศี ล ธรรม ไม่ ห น้ า ซื่ อ ใจคด ไม่คดโกงหรือเบียดเบียนผูอ้ นื่ ผูซ้ อื่ ตรงต้องเริม่ จากการซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย ผู้ซ่ือตรงจะเกิด ผลมากมาย (คุณค่าพระวรสารประการที่ 9 ส�ำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก) 3. จากผลการวิจยั พบว่า การให้อำ� นาจ หรือการเพิ่มพลังอ�ำนาจ (Empowerment) มีระดับคุณลักษณะของผู้บริหารในระดับมาก และเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ย (x̅ = 3.75, SD = 1.023) ซึ่ ง เป็ น คะแนนเฉลี่ ย ที่ ต�่ ำ ที่ สุ ด ได้แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ไม่ได้กระจายอ�ำนาจ ไปสู่ผู้ช่วยผู้บริหารหรือคณะครูมากเท่าที่ควร อ�ำนาจการตัดสินใจทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้บริหาร เพียงคนเดียว ซึ่งท�ำให้หัวหน้าฝ่ายต่างๆ ไม่มี อ�ำนาจหรือบทบาทในการท�ำงานแต่อย่างใด ท�ำให้หลายครัง้ การท�ำงานอาจล่าช้าเพราะต้อง รอการตัดสินใจของผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว ดังนัน้ ผูบ้ ริหารจะต้องพัฒนาเรือ่ งการให้อำ� นาจ
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
ให้แก่บุคลากรมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการท�ำงานในโรงเรียนให้มากขึ้น และสร้าง ความมัน่ ใจแก่บคุ ลากรในการท�ำงานตามหน้าที่ ของพวกเขา ซึ่งสอดคล้องกับ Yukl (2010) ทีไ่ ด้กล่าวถึง การให้อำ� นาจ (Empowerment) ไว้ว่า มีการปรึกษาหารือกับคนที่เกี่ยวข้องใน เรื่องการตัดสินใจที่จะมีผลกระท�ำกับพวกเขา ให้อ�ำนาจและให้อิสระในการตัดสินใจอย่าง เหมาะสมแก่บุคลากร ดั ง นั้ น แนวทางการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ แบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนในด้านการ ให้ อ� ำ นาจ (Empowerment) มี ด ้ ว ยกั น 7 แนวทาง ได้แก่ 1) ผู้บริหารจัดการประชุม ปรึกษาหารือกับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ เป็นประจ�ำ ทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามงานและรับฟังความ คิดเห็นของหัวหน้าฝ่าย 2) ผู้บริหารให้เวลาใน การประชุมวางแผนบุคลากรในฝ่ายต่างๆ อย่าง เหมาะสมก่อนเปิดปีการศึกษา 3) ผู้บริหารจัด ให้มีเวลาประชุมในฝ่ายต่างๆ เพื่อติดตามงาน ในฝ่ายทุกเดือน โดยให้หัวหน้าแต่ละฝ่ายเป็น ผู้น�ำการประชุม 4) จัดสัมมนากลุ่มผู้อ�ำนวย การโรงเรียน เพื่อก่อให้เกิดการตระหนักถึง ความส�ำคัญของหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ในโรงเรียน ความจ� ำ เป็ น และผลดีของการมอบอ�ำนาจ ให้กับหัวหน้าฝ่าย โดยการใช้ กรณีตัวอย่าง (case study) ของโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้เกิด ความเข้าใจอย่างเด่นชัด 5) ผู้บริหารควรให้
ความส�ำคัญกับการสรรหาบุคลากรเข้ามาเป็น หัวหน้าฝ่ายต่างๆ ลดชัว่ โมงสอนเพือ่ ให้เวลาใน การท�ำงานของฝ่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มากขึ้ น 6) ผู ้ บ ริ ห ารจั ด การอบรมพั ฒ นา หัวหน้าฝ่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย เทอมละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะคนที่เข้ามาเป็น หัวหน้าฝ่ายคนใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ ในบทบาทและหน้าทีข่ องหัวหน้าฝ่าย และรูจ้ กั การสร้างทีมงาน การวางบุคลากรในฝ่ายงานที่ ตนเองรับผิดชอบอย่างเหมาะสม 7) ผู้บริหาร ควรให้เงินค่าต�ำแหน่งให้กับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ เพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจในการท�ำงานแก่หัวหน้า ฝ่าย 4. จากผลการวิจัยพบว่า ความถูกต้อง และความยุติธรรม (Fairness and Justice) มีระดับคุณลักษณะของผู้บริหารในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ย (x̅ = 3.79, SD = 1.049) ได้แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะแบบ ผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนด้านความถูกต้อง และความยุตธิ รรมเริม่ มีปญ ั หา และเมือ่ ไปดูใน รายข้อย่อยพบว่าในรายข้อย่อยทีว่ า ่ “ผูบ้ ริหาร กล้าตัดสินและมีบทลงโทษต่อครูและนักเรียน ที่กระท�ำไม่ถูกต้อง และผิดต่อความยุติธรรม” เป็นข้อย่อยทีม่ คี ะแนนเฉลีย่ น้อยทีส่ ดุ เกือบลง ไปถึงระดับปานกลาง แสดงให้เห็นถึงปัญหา เรื่องการตัดสินและการลงโทษครูและนักเรียน ของผู้บริหาร ซึ่งจ�ำเป็นต้องได้รับการแก้ไข
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 125
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความถู ก ต้ อ งและความยุ ติ ธ รรม ในโรงเรียน Yukl (2010) ได้กล่าวถึง ความ ถูกต้องและความยุติธรรมไว้ว่า เป็นการส่ง เสริมการปฏิบัติต่อกันอย่างยุติธรรม ต่อต้าน การกระท�ำที่ไม่ถูกต้องและขาดความยุติธรรม ดังนัน้ แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบ ผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในด้ า นความ ถู ก ต้ อ งและความยุติธรรม (Fairness and Justice) มี 4 แนวทางด้วยกัน 1) ผู้บริหาร ควรปรึกษาหารือกับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ เวลาทีม่ ี ปัญหาที่ยากกับการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความ เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และชี้แจงถึงปัญหาและ การแก้ ไขเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจแก่ ทุ ก ฝ่ า ย 2) จั ด การฟื ้ นฟูจิตใจของกลุ่มผู้อ�ำนวยการ ให้ ต ระหนั ก ในเรื่ อ งความถู ก ต้ อ งและความ ยุ ติ ธ รรมในโรงเรี ย น โดยไตร่ ต รองจาก ประสบการณ์ ข องตนเองในเรื่ อ งของความ ถูกต้องและความยุติธรรมทั้งด้านดีและไม่ดี 3) ผู้บริหารจัดท�ำกฎระเบียบและบทลงโทษ ส� ำ หรั บ ครู แ ละนั ก เรี ย น ให้ ชั ด เจนเป็ น ลาย ลักษณ์อกั ษร 4) ผูบ้ ริหารควรให้รางวัลส�ำหรับ บุ ค ลากรที่ ท� ำ ความดี ตั้ ง ใจท� ำ งานอย่ า ง สม�่ ำ เสมอเพื่ อ สร้ า งขวั ญ ก� ำ ลั ง ใจในการท� ำ ความดีต่อไป 5. จากผลการวิจัยพบว่า การเห็นใจ ผูอ้ นื่ และการเยียวยา (Empathy and healing) มีระดับคุณลักษณะของผู้บริหารในระดับ
126 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
มาก แต่เมือ่ พิจารณาคะแนนเฉลีย่ (x̅ = 3.80, SD = 1.051) ได้แสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะ แบบผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นด้ า นการ เห็นใจผู้อื่นและการเยียวยาเริ่มมีปัญหา โดย เฉพาะในรายข้อย่อยที่ว่า “ผู้บริหารสามารถ ควบคุมอารมณ์ ไม่ฉุนเฉียว ไม่แสดงอาการ ไม่พอใจต่อครูในที่ประชุม” มีคะแนนเฉลี่ย เกือบลงไปถึงระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่า ผูบ้ ริหารในโรงเรียนหลายครัง้ ไม่ได้เป็นผูเ้ ห็นใจ ผู้อื่น แต่เป็นผู้ท�ำให้ผู้อื่นเสียใจ แทนที่จะเป็น ผู ้ เ ยี ย วยาหั ว ใจแต่ ก ลั บ เป็ น ผู ้ ท� ำ ร้ า ยจิ ต ใจ ซึ่งจ�ำเป็นต้องแก้ไขและพัฒนาการเห็นใจผู้อ่ืน และการเยี ย วยาผู ้ อื่ น ให้ พั ฒ นามากยิ่ ง ขึ้ น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “พระองค์มอบสันติของ พระองค์แก่เรา” (ยอห์น 14:27) สันติเป็นผล มาจากความยุ ติ ธ รรม เราสามารถน� ำ สั น ติ สู่สังคมที่เราอยู่โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และกัน มีใจที่ปล่อยวาง หลุดพ้นจากความ ว้าวุ่นใจ หลีกเลี่ยงความรุนแรงทุกชนิด และ เมื่ อ มี ค วามขั ด แย้ ง เราต้ อ งพร้ อ มที่ จ ะคื น ดี เสมอ การคืนดีเป็นผลจากการเคารพซึง่ กันและ กัน และเปิดใจต่อการเสวนา และพระเยซูเจ้า สอนศิษย์ของพระองค์ให้ภาวนาเสมอๆ ว่า “โปรดอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนที่ข้าพเจ้าอภัย ให้ผอู้ นื่ ทีท่ ำ� ผิดต่อข้าพเจ้า” (ลูกา 11:3-4) การ รู้จักให้อภัยผู้อื่นเกิดขึ้นได้เมื่อเรารู้จักเอาชนะ ความโกรธเคือง ความอาฆาตมาดร้ายทุกชนิด
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
การให้อภัยของเราต้องไม่มีขอบเขตเหมือน ที่ พ ระเจ้ า ให้ อ ภั ย แก่ เราอย่ า งไม่ มี ข อบเขต (คุ ณ ค่ า พระวรสารประการที่ 17 และ 18 ส�ำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก) ดังนัน้ แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบ ผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในด้านการเยียวยา และการเห็นใจผูอ้ นื่ (Empathy and healing) มี 5 แนวทางด้วยกัน 1) ผู้บริหารควรประชุม ปรึกษาหารือกับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ เมื่อเกิด ปัญหาความแตกแยกในโรงเรียน เพือ่ ไกล่เกลีย่ ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และหาทางออก ร่วมกัน 2) ผู้บริหารจัดการฟื้นฟูจิตใจหลังปิด ปีการศึกษาส�ำหรับคณะครู เพือ่ เสริมสร้างการ คืนดีและการให้อภัยแก่กนั โดยเน้นความเข้าใจ และเห็นใจซึ่งกันและกัน 3) ผู้บริหารควรให้ ก�ำลังใจแก่ครูทปี่ ระสบความยากล�ำบากในชีวติ และให้ความช่วยเหลือเท่าทีส่ ามารถจะท�ำได้ให้ แก่บุคลากร 4) ผู้บริหารควรจัดสวัสดิการที่ เหมาะสมให้แก่บุคลากรเพื่อให้สามารถด�ำเนิน ชีวติ อย่างมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ พี อสมควร 5) ส่วน กลางที่ รั บ ผิ ด ชอบโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ควรออกนโยบายใน เรื่องสวัสดิการแก่ครูให้ชัดเจนและให้มีการ ปฏิบัติเหมือนกันในทุกโรงเรียน 6. จากผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริม การพัฒนาส่วนบุคคล (Personal growth) มีระดับคุณลักษณะของผู้บริหารในระดับมาก
แต่ เ มื่ อ พิ จ ารณาคะแนนเฉลี่ ย ( x̅ = 3.94, SD = .905) ได้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า สภาพการ ส่งเสริมการพัฒนาส่วนบุคคลยังมีไม่มากเท่าที่ ควร ท� ำ ให้ บุ ค ลากรในโรงเรี ย นย�่ ำ อยู ่ กั บ ที่ ขาดความคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละการพั ฒ นาใน การท�ำงานให้ดีขึ้น ซึ่งการส่งเสริมการพัฒนา บุคลากรจะส่งผลดีตอ้ งการพัฒนาโรงเรียนเป็น อย่างมาก เพราะบุคลากรจะพัฒนาการท�ำงาน ให้ดีขึ้นอยู่เสมอและสร้างความรักความผูกพัน ในสถาบันมากยิ่งขึ้น Yukl (2010) ได้กล่าวถึง การส่งเสริมการพัฒนาส่วนบุคคลไว้วา ่ เป็นการ ส่งเสริมและช่วยเหลือในการพัฒนาความมัน่ ใจ และความสามารถของปัจเจกบุคคล เอือ้ โอกาส ในการเรี ย นรู ้ เ พิ่ ม เติ ม จั ด ให้ มี ก ารแนะน� ำ ให้ ค�ำ ปรึ ก ษา และให้ ก ารฝึ ก ฝนเมื่ อ มี ความ ต้องการ ดังนัน้ แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� แบบ ผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในด้านการส่งเสริม การพัฒนาส่วนบุคคล (Personal growth) มี แ นวทางการพั ฒ นาดั ง นี้ 1) ผู ้ บ ริ ห ารจั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม พั ฒ นาความมั่ น ใจ และ เพิ่ ม พู น ความรู ้ ใ ห้ แ ก่ ค รู อ ย่ า งสม�่ ำ เสมอ 2) ผู ้ บ ริ ห ารควรให้ ทุ น การศึ ก ษาส� ำ หรั บ ครู มากขึน้ เพือ่ ศึกษาต่อในระดับทีส่ งู ขึน้ 3) ส่วน กลางที่ รั บ ผิ ด ชอบโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรออกนโยบายและ แนวทางการส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาบุ ค ลากร
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 127
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ในโรงเรียนต่างๆ เช่น ให้ทุนส�ำหรับศึกษาต่อ 4) ส่ ว นกลางที่ รั บ ผิ ด ชอบโรงเรี ย นในสั ง กั ด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรจัดการอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ให้แก่ครูตาม โรงเรียนต่างๆ อย่างสม�่ำเสมอ ข้อเสนอแนะในการน�ำผลวิจัยไปใช้ 1) ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรให้ความส�ำคัญใน เรื่องการให้อ�ำนาจแก่บุคลากร มอบอ�ำนาจ และอิ ส ระในการตั ด สิ น ใจให้ แ ก่ บุ ค ลากรที่ รั บ ผิ ด ชอบ เพื่ อ ท� ำ ให้ ร ะบบการท� ำ งานใน โรงเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากผลการ วิจัยผลว่า ด้านการให้อ�ำนาจ (Empowerment) มีคะแนนเฉลี่ยที่น้อยที่สุด แนวทาง การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� ด้านการให้อำ� นาจส�ำหรับ ผู้บริหารมีดังนี้ 1.1 ผู้บริหารจัดการประชุมปรึกษา หารื อ กั บ หั ว หน้ า ฝ่ า ยต่ า งๆ เป็ น ประจ� ำ ทุ ก สัปดาห์ เพือ่ ติดตามงานและรับฟังความคิดเห็น ของหัวหน้าฝ่าย 1.2 ผู้บริหารให้เวลาในการประชุม วางแผนบุคลากรในฝ่ายต่างๆ อย่างเหมาะสม ก่อนเปิดปีการศึกษา 1.3 ผู้บริหารควรให้ความส�ำคัญกับ การสรรหาบุคลากรเข้ามาเป็นหัวหน้าฝ่ายต่างๆ และลดชั่วโมงสอนเพื่อให้เวลาในการท�ำงาน ของฝ่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น 128 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1.4 ผู ้ บ ริ ห ารจั ด การอบรมพั ฒ นา หัวหน้าฝ่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย เทอมละ 1 ครั้ง เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจใน บทบาทและหน้าที่ของหัวหน้าฝ่าย และรู้จัก การสร้างทีมงาน การวางบุคลากรในฝ่ายงานที่ ตนเองรับผิดชอบ 2) ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรสร้างความถูกต้อง และความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในโรงเรียน จาก ผลการวิ จั ย พบว่ า ความถู ก ต้ อ งและความ ยุตธิ รรม มีคะแนนเฉลีย่ ทีไ่ ม่ถงึ เกณฑ์ แนวทาง การพัฒนาภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ด้านความ ถู ก ต้ อ งและความยุ ติ ธ รรมส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห าร มีดังนี้ 2.1 ผู ้ บ ริ ห ารควรปรึ ก ษาหารื อ กั บ หัวหน้าฝ่ายต่างๆเวลาที่มีปัญหาที่ยากกับการ ตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และชี้แจงถึงปัญหาและการแก้ใขเพื่อให้เกิด ความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย 2.2 ผูบ้ ริหารจัดท�ำกฎระเบียบและบท ลงโทษส�ำหรับครูและนักเรียนให้ชัดเจนเป็น ลายลักษณ์อักษร 2.3 ผู ้ บ ริ ห ารควรให้ ร างวั ล ส� ำ หรั บ บุ ค ลากรที่ ท� ำ ความดี ตั้ ง ใจท� ำ งานอย่ า ง สม�ำ่ เสมอเพือ่ สร้างขวัญก�ำลังใจในการท�ำความ ดีต่อไป
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
3) ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรเป็นบุคคลแห่งการ เห็นใจและการเยียวยาผูอ้ นื่ จากผลการวิจยั พบ ว่า การเห็นใจและการเยียวยาผู้อื่น มีคะแนน เฉลี่ยที่ไม่ถึงเกณฑ์ แนวทางการพัฒนาภาวะ ผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ดา้ นการเห็นใจและการเยียวยา ผู้อื่นส�ำหรับผู้บริหารมีดังนี้ 3.1 ผู้บริหารควรจัดการฟื้นฟูจิตใจ หลังปิดปีการศึกษาส�ำหรับคณะครู เพื่อเสริม สร้างการคืนดีและการให้อภัยแก่กัน โดยเน้น ความเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกัน 3.2 ผู้บริหารควรให้ก�ำลังใจแก่ครูที่ ประสบความยากล�ำบากในชีวิต และให้ความ ช่วยเหลือเท่าทีส่ ามารถจะท�ำได้ให้แก่บคุ ลากร 3.3 ผูบ้ ริหารควรจัดสวัสดิการทีเ่ หมาะ สมให้แก่บุคลากรเพื่อให้สามารถด�ำเนินชีวิต อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควร 4) ผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นในสั ง กั ด อั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรส่งเสริมการพัฒนา ส่วนบุคคลให้แก่บุคลากรในโรงเรียน จากผล การวิจัยพบว่า การส่งเสริมการพัฒนาส่วน บุคคล มีคะแนนเฉลี่ยที่ไม่ถึงเกณฑ์ แนวทาง การพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ ด ้ า นการ พัฒนาส่วนบุคคลส�ำหรับผู้บริหารมีดังนี้
4.1 ผู ้ บ ริ ห ารจั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม พัฒนาความมั่นใจ และเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ ครูอย่างสม�่ำเสมอ 4.2 ผู ้ บ ริ ห ารควรให้ ทุ น การศึ ก ษา ส� ำ หรั บ ครู ม ากขึ้ น เพื่ อ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ที่ สูงขึ้น ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรมีการศึกษารูปแบบกิจกรรมทีใ่ ช้ ในการสัมมนาเพือ่ พัฒนาคุณลักษณะภาวะผูน้ ำ� แบบผู ้ รั บ ใช้ ข องผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นเพื่ อ ให้ ผู้บริหารเกิดการเปลี่ยนแปลง มีคุณลักษณะ ภาวะผู ้ น� ำ แบบผู ้ รั บ ใช้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น สื บ เนื่ อ ง มาจากผลการวิจัยที่พบว่า วิธีการศึกษาเพื่อ การเปลีย่ นแปลงกระบวนทัศน์ มีคะแนนเฉลีย่ สูงที่สุด 2) ควรมีการศึกษาเรื่องประสิทธิภาพ การท�ำงานของหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ว่า วิธใี ดบ้าง ที่จะท�ำให้เกิดประสิทธิภาพในการท�ำงานของ หัวหน้าฝ่ายเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากผลการ วิจัยพบว่า คุณลักษณะภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ของผู ้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นด้ า นการให้ อ� ำ นาจ มีคะแนนเฉลี่ยต�่ำที่สุด
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 129
แนวทางการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ แบบผูร้ บั ใช้ของผูบ้ ริหารโรงเรียนในสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
บรรณานุกรม ธมลวรรณ มีเหมย. (2554). ภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้ จิตวิญญาณในองค์กรทีส่ ง่ ผลต่อการปฏิบตั งิ าน ของผู้บริหารระดับต้นธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร, วารสาร วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2554. บังอร ไชยเผือก. (2550). การศึกษาคุณลักษณะของผู้น�ำแบบผู้รับใช้และบรรยากาศของโรงเรียน คาทอลิ ก สั ง กั ด คณะภคิ นี พ ระกุ ม ารเยซู . บริ ห ารการศึ ก ษา. กรุ ง เทพ: มหาวิ ท ยาลั ย ศรีนครินทรวิโรฒ. ภาวัฒน์ พันธุ์แพ. (2546). ผู้น�ำแบบผู้รับใช้. บริหารธุรกิจรังสิต ปีที่ 5: 54-60. สมประสงค์ เรือนไทย. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ การท�ำงานเป็นทีม และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรกับผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้น องค์กรการสื่อสารเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ปีที่16, ฉบับที่ 25-26 (ม.ค.-ธ.ค.2551), 165-181. สภาการศึกษาคาทอลิก. (2556). อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2553). ภาวะผู้น�ำใฝ่บริการ, ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. C. Gene Wilkes. (2011). Jesus on leadership. Mumbai: Jaico. Dennis, R, Winston, B.E. (2003). A factor analysis of Page and Wong’s sevant leadership instrument. Leadership & Organaization Development Journal, 24(7/8), 455-459. Retrieved December 22, 2015, from ABI/INFORM Global database. Greenleaf RK. (1977). The servant leadership: a journey into the nature of legitimate power and greatness. New York: Paulist Press. Hardin, F.W. (2003). Impacting Team Public school through a Student Servant Leader Model: A case Study. Doctor or Education Dissertation in Education, Texas Tech University. Irving JA. (2005). Servant leadership and the effectiveness of team. Virginia: Regent University.
130 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เชษฐ์ดนัย ไชยเผือก, ชญาพิมพ์ อุสาโห
Kyker, B.W (2003). The Spiritual Development of College Students through Servant Leadership and Service Learning. Master of Science Thesis in Leadership study, Californa state University. Lambert, W.E. (2004). Servant Leadership Qualities of Principle, Organizational Climates, and Student Achievement: Correlation Study. Dissertation, Ed.D. Southeastern: Graduate School NovaSoutheastern University. Liana, M.R. (2004). Developing servant leadership in the Wesleyan Church of Myanmar. Dissertation Abstrcts International, 66(02), 634. Patterson, K.A. (2003) Servant Leadership: A Theoretical Model. Ph.D. dissertation, Regent University, United states-Virginia. Retrieved December 22, 2015, from Abi/inform Global database. Yukl G. (2002). Leadership in organization. New Jersey: prentice-Hall.
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 131
มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2
The Dimensional Vision of School
Administrators and School Academic Affairs Management Under Nakornprathom Primary Educational Service Area Office 2 ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว * มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.นุชนรา รัตนศิระประภา * อาจารย์ประจ�ำคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร Panuwat Khatkarw * Master of Education Department of Management Studies. Faculty of Education Silpakorn University.
Asst.Prot.Nuchnara Rattanasiraprapha,Ph.D.
* Assistant Professor, Department of Education Administration. Faculty of Education, Silapakorn University. *** วันที่ตอบรับบทความ 19 เมษายน 2560
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มิติวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต2 2) การบริ ห ารงานวิ ช าการในสถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษานครปฐม เขต 2 และ 3) มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สถานศึกษาประถมศึกษา สังกัด ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 แล้วเลือก ตัวอย่างตามโอกาสทางสถิต ิ 2 (Probability sampling) 2 ด้วยเทคนิค วิ ธี ก ารสุ ่ ม แบบแบ่ ง ประเภท 2 (stratified random sampling) 2 ได้กลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 86 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วยผูบ้ ริหารสถานศึกษา รองผูบ้ ริหาร/หัวหน้าฝ่ายวิชาการและ ครู จ�ำนวนทั้งสิ้น 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับมิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิด ของบรอน (Braun) และการบริ ห ารงานวิ ช าการในสถานศึ ก ษา ตามคู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู ส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี ่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน และการ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยูใ่ น ระดับมาก 2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 133
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
3. มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถาน ศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายคู่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกันปานกลางอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ค�ำส�ำคัญ: Abstract
1) มิติวิสัยทัศน์ 2) การบริหารงานวิชาการ
The purposes of this research were to study 1) The dimensional vision of school administrators under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2. 2) the school academic affairs management under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2. And 3) the relationship between the dimensional vision of school administrators and school academic affairs management under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 86 basic education schools under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2. The respondents were school administrators and deputy administrators or chief academic affairs and teachers 258 respondents in total. The research instrument was a questionnaire regarding dimensional vision of school administrators based on the Braun, and the school academic affairs management in school based on the operations manual for teachers office of the basic education, ministry of education. The statistical used to analtze the data were frequency (f), percentage (%), arithmetic mean (x̅), standard
134 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
deviation (S.D.), and Perason’s product moment correlation coefficient. The findings revealed as follows: 1. The dimensional vision of school administrators under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and each aspect were rated at high level. 2. The school academic affairs management under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and each aspect were rated at high level. 3. There were significance relationship between the dimensional vision of school administrators and school academic affairs management under Nakhonprathom Primary Educational Service Area Office 2 In general and pairs of positive relationship were medium as a whole and each aspect at 0.01 level of significance. Keywords:
1) The Dimensional Vision. 2) The School Academic Affairs Management.
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 135
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา สังคมไทยมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลง และพัฒนาตนเอง เพื่อให้สามารถด�ำรงอยู่ได้ อย่ า งมั่ น คงยั่ ง ยื น มี สั น ติ สุ ข และสามารถ เอาชนะวิกฤตการณ์ทางด้านต่างๆ ได้ การ ศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในการ พัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และทุกๆด้านให้เจริญก้าวหน้าทันกับ สั ง คมโลกปั จ จุ บั น สถานศึ ก ษาเป็ น ตั ว จั ก ร ส�ำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของการ ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองให้ก้าวไป อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดั ง นั้ น การสร้ า งฐาน แนวคิดของการปฏิรปู การศึกษาคงเป็นรูปแบบ ของการน�ำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในโรงเรียน ให้ เ กิ ด มรรคเกิ ด ผลส� ำ คั ญ ดั ง นั้ น ผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียนยุคใหม่ต้องเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพ สูงในการเป็นผูน้ ำ� การเปลีย่ นแปลง มีศกั ยภาพ แห่งความเป็นผู้มีความรู้ที่สามารถ (Knowledge Worker) เป็นผู้บริหารมืออาชีพ (Professionalism) และถึงขั้นเป็นผู้น�ำทางการ ศึกษา (Educational Leader) ที่จะสามารถ น�ำเอาทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) มาปฏิบตั ริ ว่ มกันได้อย่างสมดุลในเชิงบูรณาการ (Integrated) น�ำองค์กรหรือสถานศึกษาให้ ก้ า วไปสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ ได้ ใ นที่ สุ ด การจั ด การ ศึกษาให้เหมาะสมกับวัยโดยเฉพาะการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐานนั้ น มี ค วามส� ำ คั ญ เป็ น อย่ า งยิ่ ง
136 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เพราะเป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ จ ะวางรากฐานให้ กั บ เด็กและเยาวชน เพื่อที่จะพัฒนาและส่งเสริม ให้เด็กและเยาวชนเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มี คุณภาพและเป็นก�ำลังส�ำคัญในการขับเคลื่อน ประเทศชาติ ในอนาคตให้ มี ความเจริ ญ และ มั่นคง วิสัยทัศน์ของผู้บริหารจึงมีความส�ำคัญ ในการจะสร้างแนวคิด เพื่อน�ำไปสู่การสร้าง นโยบาย กระบวนการการพัฒนาระบบการ ศึกษาในสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการ จัดการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังจะเห็นได้จากมาตรฐานหรือคุณภาพทาง การศึกษาที่จะปรากฏชัดเมื่อการบริหารงาน วิ ช าการประสบความส� ำ เร็ จ นอกจากนี้ วิ สั ย ทั ศ น์ ข องผู ้ บ ริ ห ารจึ ง มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ที่จะสามารถสร้างกระบวนการที่เป็นรูปธรรม ที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษาเพือ่ ขับเคลือ่ นสถานศึกษาให้บรรลุ ตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ ประสิทธิภาพของ การจั ด การศึ ก ษาของสถานศึ ก ษานั้ น ๆ จึ ง ดู ไ ด้ จ ากผลผลิ ต ทางการศึ ก ษา คื อ ตั ว นั ก เรี ย นว่ า มี คุ ณ ภาพมากน้ อ ยเพี ย งใด (สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, 2552) จากปัญหาที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่า ในระบบการบริหารโรงเรียน ผูบ้ ริหารคือกลไก ส�ำคัญที่จะท�ำให้การด�ำเนินงานวิชาการของ โรงเรียนมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพ นักเรียนให้บรรลุเป้าหมายซึ่งสอดคล้องกับ
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
สภาพปัญหาการด�ำเนินงานของส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ซึ่งปัญหาหลักคือการน�ำวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ มักจะเกิดจากการทีผ่ บู้ ริหารไม่สามารถสือ่ สาร และเผยแพร่วิสัยทัศน์ให้กับบุคลากรได้อย่าง ทั่วถึงและเข้าใจ ผู้บริหารควรสร้างวิสัยทัศน์ ร่วมกันในองค์กร วิสัยทัศน์จึงเป็นหลักหรือ เป็นกรอบในการก�ำหนดเป้าหมายของโรงเรียน และสร้างความคาดหวัง และมั่นใจให้กับคณะ ครู นักเรียนและบุคคลอื่นๆ รวมถึงการใช้เป็น กรอบในการก�ำกับติดตามความก้าวหน้าในการ ด�ำเนินงานวิชาการ ซึง่ เป็นหัวใจส�ำคัญของการ วางแผนยุ ท ธศาสตร์ ใ นการพั ฒ นาโรงเรี ย น (ดิลกะ ลัทธพิพฒ ั น์, 2554) ดังนัน้ ผูบ้ ริหารต้อง สร้างกระบวนการในการบริหารงานวิชาการ ให้เข้มแข็งเพื่อผลักดันการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาในทุกด้านอย่างเต็ม ศั ก ยภาพและเติ บ โตเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ของ ประเทศชาติสืบต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพือ่ ให้สอดคล้องกับปัญหาของการวิจยั ผูว้ จิ ยั จึงได้กำ� หนดวัตถุประสงค์การวิจยั ไว้ดงั นี้ 1. เพื่อศึกษามิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร สถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก าร ศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
2. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ วิ สั ย ทั ศ น์ ข องผู ้ บ ริ ห ารกั บ การบริ ห ารงาน วิชาการในสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ขอบเขตของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการทราบ ถึงมิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จึงได้ก�ำหนดตัวแปรที่ศึกษาดังนี้ คือ ตัวแปร ที่ เ กี่ ย วกั บ มิ ติ วิ สั ย ทั ศ น์ ข องผู ้ บ ริ ห าร ผู ้ วิ จั ย ใช้แนวคิดของบรอน (Braun) ที่ได้ก�ำหนดมิติ ของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) 2) การเผยแพร่วสิ ยั ทัศน์ (Articulated Vision) และ 3) การปฏิ บั ติ ต ามวิ สั ย ทั ศ น์ (Operational Vision) ส่วนตัวแปรที่เกี่ยวกับ การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ผู้วิจัย ได้ ศึ ก ษาข้ อ มู ล จากคู ่ มื อ การปฏิ บั ติ ง าน ข้าราชการครู ส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารซึ่ ง ก� ำ หนดขอบข่ า ยงานวิ ช าการดั ง นี้ 1) การ พั ฒ นาหรื อ การด� ำ เนิ น การเกี่ ย วกั บ การให้
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 137
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ความเห็ น การพั ฒ นาสาระหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น 2) การวางแผนงานด้านวิชาการ 3) การจัดการ เรียนการสอนในสถานศึกษา 4) การพัฒนา หลั ก สู ต รของสถานศึ ก ษา 5) การพั ฒ นา กระบวนการเรียนรู้ 6) การวัดผล ประเมินผล และด�ำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 7) การ วิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาในสถาน ศึกษา 8) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่ง เรี ย นรู ้ 9) การนิ เ ทศการศึ ก ษา 10) การ แนะแนว 11) การพัฒนาระบบการประกัน คุ ณ ภาพภายในและมาตรฐานการศึ ก ษา แผนภูมิ: ขอบเขตของการวิจัย
มิติวิสัยทัศน์ (Xtot) 1. การสร้างวิสัยทัศน์ (X1) 2. การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (X2) 3. การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (X3)
138 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
12) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทาง วิชาการ 13) การประสานความร่วมมือในการ พัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น 14) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถาน ประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 15) การจัดท�ำทะเบียนและแนวปฏิบตั เิ กีย่ วกับ งานวิชาการของสถานศึกษา 16) การคัดเลือก หนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา และ 17) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการ ศึกษา การบริหารงานวิชาการ (Ytot) 1. การพัฒนาหรือการด�ำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็น การพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น (Y1) 2. การวางแผนงานด้านวิชาการ (Y2) 3. การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษ (Y3) 4. การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (Y4) 5. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (Y5) 6. การวัดผล ประเมินผล และด�ำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (Y6) 7. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา(Y7) 8. การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ (Y8) 9. การนิเทศการศึกษา (Y9) 10. การแนะแนว (Y10) 11. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐาน การศึกษา (Y11) 12. การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ (Y12) 13. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา และองค์กรอื่น (Y13) 14. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บคุ คล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา (Y14) 15. การจัดท�ำทะเบียนและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการของ สถานศึกษา (Y15) 16. การคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา (Y16) 17. การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Y17)
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย สถานศึกษาในสังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึ ก ษาประถมศึ ก ษานครปฐม เขต 2 จ�ำนวนทั้งสิ้น 122 แห่ง ขั้นตอนที่ 1 การก�ำหนดกลุ่มตัวอย่าง ผู ้ วิ จั ย ใช้ ต ารางประมาณขนาดตั ว อย่ า งของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 2540) จากสถานศึกษาในสังกัดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จ�ำนวนทั้งสิ้น 122 แห่งได้กลุ่มตัวอย่าง 86 แห่ง แล้วเลือกตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติ (Probability sampling) ด้วยเทคนิควิธีการ สุ่มแบบแบ่งประเภท (stratified random sampling) ขัน้ ตอนที ่ 2 ผูใ้ ห้ขอ้ มูลของสถานศึกษา ทีเ่ ป็นกลุม่ ตัวอย่าง ได้แก่ ผูบ้ ริหารสถานศึกษา 1 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา/หัวหน้าฝ่าย วิชาการ 1 คน และครู 1 คน รวมทัง้ สิน้ 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับมิติวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร และ การบริหารงานวิชาการใน สถานศึกษา และน�ำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบ ถามน�ำมาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผู้วิจัยได้ด�ำเนินการสร้างเครื่องมือเป็น แบบสอบถามโดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้ น ที่ 1 ศึ ก ษาจากหลั ก การ แนวคิ ด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยขอ ค�ำแนะน�ำจากอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ แล้วน�ำผลการศึกษามาปรับปรุงเครื่องมือเพื่อ สร้างข้อค�ำถามแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ ส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล มีลักษณะเป็น แบบตรวจสอบรายการ (Check list) จ�ำนวน 5 ข้อ สอบถามเกีย่ วกับ 1) เพศ 2) อายุ 3) ระดับการศึกษา 4) ต�ำแหน่ง หน้าที่ 5) ประสบการณ์ในการท�ำงาน ตอนที ่ 2 สอบถามเกีย่ วกับมิตวิ สิ ยั ทัศน์ ของผู ้ บ ริ ห ารในสถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ นที่ ก ารศึ ก ษาประถม ศึ ก ษานครปฐม เขต 2 ซึ่ ง สร้ า งตาม แนวคิ ด ของบรอน (Braun, 1991) จ�ำนวน 17 ข้อ ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ ย วกั บ แบบ สอบถามเกี่ ย วกั บ การบริ ห ารงาน วิชาการในสถานศึกษาสังกัดส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษานครปฐม เขต 2 สร้างขึ้นจากขอบข่ายการบริหารงาน วิชาการ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จ�ำนวน 103 ข้อ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 139
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ขั้ น ที่ 2 ตรวจสอบความเที่ ย งตรง เชิงเนือ้ หา (content validity) ของแบบสอบ ถามโดยน� ำ แบบสอบถามให้ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ� ำ นวน 5 คน พิ จ ารณาปรั บ แก้ ไขตามราย ละเอียดของตัวแปรโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item Objective Congruence) มากกว่า 0.5 ขึ้นไป ปรับปรุงแก้ไขส�ำนวนภาษาและ เนื้อหาตามข้อเสนอแนะ โดยมีค่าความตรง เชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ขั้ น ที่ 3 น� ำ แบบสอบถามที่ ป รั บ ปรุ ง แก้ไขแล้วไปทดลองใช้ (try out) กับสถาน ศึกษาทีไ่ ม่ใช่กลุม่ ตัวอย่างจ�ำนวน 10 แห่ง รวม 30 ฉบับ ขัน้ ที ่ 4 หาค่าความเชือ่ มัน่ (reliability) ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา โดยใช้วิธี ของครอนบาค (Cronbach, 1974) โดย พิจารณาค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟา (α-coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.935 ขั้นที่ 5 จัดท�ำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์ เพื่อน�ำไปเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจริง ผลการวิจัย ผูว้ จิ ยั ได้สง่ แบบสอบถามให้กลุม่ ตัวอย่าง ได้แก่สถานศึกษาในสังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึ ก ษาประถมศึ ก ษานครปฐม เขต 2 จ�ำนวน 97 แห่ง ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร สถานศึกษา 1 คน รองผู้บริหารสถานศึกษา/ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ 1 คน และครูผสู้ อน 1 คน 140 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
รวมผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ทั้ ง สิ้ น 291 คน ได้ รั บ แบบ สอบถามกลับคืนมาจ�ำนวน 86 แห่ง รวม 258 ฉบั บ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 88.65 ผู ้ วิ จั ย น� ำ มา วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล โดยใช้ ต ารางประกอบการ บรรยายจ�ำแนกได้เป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที ่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพส่วน ตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถาม จ�ำนวน 258 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจ�ำนวน 162 คน เป็น เพศชายจ�ำนวน 96 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 26-46 ปีขนึ้ ไป โดยอายุ อยู่ระหว่าง 26-35 ปี จ�ำนวน 104 คน อายุ อยูร่ ะหว่าง 36-45 ปี จ�ำนวน 48 คน และอายุ มากกว่า 46 ปี จ�ำนวน 106 คน ไม่มี โดยมี ผู ้ ต อบแบบสอบถามจบการศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรี จ�ำนวน 127 คน จบการศึกษา ระดับปริญญาโท จ�ำนวน 115 คน และจบการ ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเอก จ� ำ นวน 16 คน ส่วนต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการสถานศึกษามีจำ� นวน 86 คน ต�ำแหน่งรองผู้อ�ำนวยการโรงเรียน/ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จ�ำนวน 86 และต�ำแหน่ง ครู จ�ำนวน 86 คน และส่วนของประสบการณ์ ในการท�ำงานต�ำ่ กว่า 10 ปี มีจำ� นวน 114 คน มีประสบการณ์ในการท�ำงาน 11-20 ปี จ�ำนวน 59 คน มีประสบการณ์ในการท�ำงาน 21-30 ปี จ�ำนวน 36 คน และผู้มีประสบการณ์ในการ ท�ำงาน 31 ปีขึ้นไปมีจ�ำนวน 49 คน
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
ตอนที ่ 2 ผลการวิเคราะห์มติ วิ สิ ยั ทัศน์ ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ผลวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกีย่ วกับ มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา
นครปฐม เขต 2 โดยใช้ ค ่ า มั ช ฌิ ม เลขคณิ ต (arithmetic mean: x̅) 2 และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (standard deviation: S.D.) จากกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาจ�ำนวน 86 แห่ง แล้วน�ำไปเปรียบเทียบเกณฑ์ตามแนวคิดของ เบสท์ (Best)
ตารางที ่ 1 ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานและระดับความคิดเห็นภาพรวมมิตวิ สิ ยั ทัศน์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดย ภาพรวม (xtot) ข้อที่
มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา
x̅
S.D.
ระดับ
1.
การสร้างวิสัยทัศน์ (x1)
3.97
0.68
มาก
2.
การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (x2)
3.93
0.72
มาก
3.
การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (x3)
4.08
0.67
มาก
3.99
0.69
มาก
รวม(xtot)
จากตารางที่ 1 มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก (x̅= 3.99, S.D. = 0.69) เมือ่ พิจารณา รายด้านพบว่ามิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา อยูใ่ นระดับมากทัง้ 3 ด้าน โดยเรียงล�ำดับตาม ค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (x̅= 4.07, S.D. = 0.67) การ สร้างวิสัยทัศน์ (x̅= 3.9, S.D. = 0.68) และการเผยแพร่วิสัยทัศน์ (x̅= 3.93, S.D.= 0.72) และ เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพบว่า อยู่ระหว่าง 0.67-0.72 หมายความว่า ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 141
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์การบริหาร งานวิ ช าการในสถานศึ ก ษาประถมศึ ก ษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 ผลวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกีย่ วกับ การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาประถม ศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
ประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยใช้คา่ มัชฌิม เลขคณิต (arithmetic mean: x̅) และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: S.D.) จากกลุม่ ตัวอย่างสถานศึกษาจ�ำนวน 86 แห่ง แล้วน�ำไปเปรียบเทียบเกณฑ์ตามแนวคิด ของเบสท์ (Best)
ตารางที่ 2 ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับความคิดเห็นภาพรวมการ บริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม (ytot) S.D.
ระดับ
1.
x̅ การพัฒนาหรือการด�ำเนินการเกีย่ วกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิน่ (y1) 3.95
0.68
มาก
2.
การวางแผนด้านงานวิชาการ (y2)
4.16
0.60
มาก
3.
การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (y3)
4.03
0.63
มาก
4.
การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (y4)
4.07
0.56
มาก
5.
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (y5)
4.12
0.57
มาก
6.
การวัดผล ประเมินผลและด�ำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (y6)
4.05
0.52
มาก
7.
การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา (y7)
4.09
0.63
มาก
8.
การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ (y8)
4.09
0.56
มาก
9.
การนิเทศการศึกษา (y9)
4.10
0.59
มาก
10. การแนะแนว (y10)
4.13
0.53
มาก
11. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา (y11)
4.20
0.51
มาก
12. การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ (y12)
4.06
0.56
มาก
13. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (y13)
4.16
0.52
มาก
14. การส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน ในสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา (y14)
4.16
0.56
มาก
15. การจัดท�ำทะเบียนและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการของสถานศึกษา (y15)
4.04
0.64
มาก
16. การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา (y16)
4.09
0.53
มาก
17. การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (y17)
4.12
0.56
มาก
4.09
0.57
มาก
ข้อที่
การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
รวม(xtot)
142 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
จากตารางที่ 2 การบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.09, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี ค ่ า มั ช ฌิ ม เลขคณิ ต อยู ่ ใ นระดั บ มากทุ ก ข้ อ โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภาย ในและมาตรฐานการศึกษา (x̅ = 4.20, S.D. = 0.51) ,การวางแผนด้านงานวิชาการ (x̅ = 4.16, S.D. = 0.60) การส่งเสริมและสนับสนุนงานด้ านวิ ช าการแก่ บุ ค คล ครอบครั ว องค์ ก ร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่น ที่ จั ด การศึ ก ษา ( x̅ = 4.16, S.D. = 0.56) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ กั บ สถานศึ ก ษาและองค์ ก รอื่ น ( x̅ = 4.16, S.D. = 0.52) การแนะแนว (x̅ = 4.13, S.D. = 0.53) การพั ฒ นากระบวนการเรี ย นรู ้ ( x̅ = 4.12,S.D. = 0.57) การพั ฒ นาและ การใช้สอื่ เทคโนโลยีเพือ่ การศึกษา (x̅ = 4.12, S.D. = 0.56) การนิเทศการศึกษา (x̅ = 4.10, S.D. =0.59),การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาในสถานศึกษา (x̅ = 4.09, S.D. = 0.63) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ (x̅ = 4.09, S.D. = 0.56) การคั ด เลื อ กหนั ง สื อ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา (x̅ = 4.09, S.D. = 0.53) การพั ฒ นาหลั ก สู ต รของ สถานศึกษา (x̅ = 4.07, S.D. = 0.56) การ
ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ (x̅ = 4.06,S.D. = 0.56) การวัดผล ประเมิน ผลและด� ำ เนิ น การเที ย บโอนผลการเรี ย น (x̅ = 4.05, S.D. = 0.52) การจัดท�ำทะเบียน และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการของสถาน ศึกษา (x̅ = 4.04, S.D. = 0.64) การจัดการ เรียนการสอนในสถานศึกษา (x̅ = 4.03, S.D. = 0.63) และอันดับสุดท้าย คือ การพัฒนาหรือ การด�ำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการ พัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิน่ (x̅ = 3.95, S.D. = 0.68) และเมือ่ พิจารณาเฉพาะส่วนเบีย่ งเบน มาตรฐานพบว่ า อยู ่ ร ะหว่ า ง 0.51-0.68 หมายความว่ า ผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ส่ ว นใหญ่ มี ค วาม คิดเห็นสอดคล้องกัน ตอนที่ 4 ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างมิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (r) ระหว่าง มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา (xtot) กั บ การบริ ห ารงานวิ ช าการ (y tot ) ใน สถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ใช้ สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ ข องเพี ย ร์ สั น (Perason’s product moment correlation coefficient) ผลการวิเคราะห์ปรากฎดังราย ละเอียดตามตารางที่ 3
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 143
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
Y2 .302 ** .344 ** .470 ** .320 **
Y3 .398 ** .382 ** .396 ** .394 **
Y4 .463 ** .451 ** .512 ** .505 **
Y5 .332 ** .165 ** .310 ** .212 **
Y6 .268 ** .341 ** .360 ** .349 **
Y7 .410 ** .408 ** .406 ** .422 **
Y8 .271 ** .356 ** .412 ** .312 **
Y9 .418 ** .317 ** .385 ** .332 **
Y10
.319 ** .375 ** .397 ** .374 **
Y11
.279 ** .296 ** .238 ** .291 **
Y12
.224 ** .334 ** .307 ** .351 **
Y13
.318 ** .353 ** .307 ** .376 **
Y14
.240 ** .150 * .249 ** .159 *
Y15
.330 ** .396 ** .352 ** .403 **
Y16
.365 ** .453 ** .455 ** .435 **
Y17
.330 ** .419 ** .437 ** .407 **
Ytot
ตารางที ่ 3 ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ระหว่างมิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัด ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ตัวแปร Y1 .310 ** .406 ** .575 ** .480 **
X
X3
X2
X1
.323 ** .394 ** .568 ** .447 **
tot
** มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 * มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
144 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
สรุปผลการวิจัย ผลจากการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ทางสถิ ติ มีข้อค้นพบสรุปได้ดังนี้ 1. มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและราย ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงล�ำดับตามค่า มัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ด้านการ ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ และด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ 2. การบริ ห ารงานวิ ช าการในสถาน ศึกษาประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดย ภาพรวมและรายด้านอยูใ่ นระดับมาก โดยเรียง ล�ำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ภายในและมาตรฐานการศึ ก ษา ด้ า นการ วางแผนด้านงานวิชาการ ด้านการส่งเสริมและ สนับสนุนงานด้านวิชาการแก่บคุ คล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและ สถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ด้านการประสาน ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถาน ศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการแนะแนว ด้าน การพัฒนากระบวนการเรียนรู ้ ด้านการพัฒนา และการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้าน การนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนา คุ ณ ภาพการศึ ก ษาในสถานศึ ก ษา ด้ า นการ
พัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการ คั ด เลื อ กหนั ง สื อ แบบเรี ย นเพื่ อ ใช้ ใ นสถาน ศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทาง วิชาการ ด้านการวัดผล ประเมินผลและด�ำเนิน การเที ย บโอนผลการเรี ย น ด้ า นการจั ด ท� ำ ทะเบียนและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการ ของสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ในสถานศึกษา และด้านการพัฒนาหรือการ ด�ำเนินการเกีย่ วกับการให้ความเห็นการพัฒนา สาระหลักสูตรท้องถิ่น 3. ความสัมพันธ์ระหว่างมิติวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ ในระดับมาก โดยมีคา่ ความสัมพันธ์กนั ทางบวก หรือมีค่าความสัมพันธ์คล้อยตามกันอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การอภิปรายผล จากผลการวิ จั ย สามารถอภิ ป รายผล ได้ดังนี้ 1. มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 พบว่า ในภาพรวมอยูใ่ น ระดับมาก ซึง่ ไม่เป็นไปตามสมมติฐานทีต่ งั้ ไว้วา่
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 145
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
อยูใ่ นระดับปานกลาง ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะผูบ้ ริหาร สถานศึกษาส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จึงสามารถมองเห็นวิธีการปฏิบัติที่มีทิศทาง และขอบเขตที่จะน�ำองค์การไปสู่เป้าหมาย สูงสุดที่องค์กรหรือสถานศึกษาพึงปรารถนา ให้เป็น ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่ดีจะต้องได้รับ การฝึกให้เป็นนักจินตนาการ แต่สามารถน�ำมา สู่การปฏิบัติที่เป็นจริงได้ จึงต้องเป็นผู้สะสม ประสบการณ์ดว้ ยตนเองจากการศึกษาค้นคว้า การดู ง านน� ำ มาประมวลเป็ น ความรู ้ เ ปรี ย บ เทียบเหตุการณ์ขององค์การจากอดีต ปัจจุบัน ทีจ่ ะเชือ่ มโยงไปสูอ่ นาคต ซึง่ สอดคล้องกับงาน วิจัยของสติลเลอร์แมน (Stillerman, 1992) ซึง่ ได้ศกึ ษาผูบ้ ริหารโรงเรียนทีป่ ระสบผลส�ำเร็จ ในการน�ำโรงเรียนไปสู่วิสัยทัศน์ของตน พบว่า วิสยั ทัศน์เป็นกระบวนการต่อเนือ่ ง ซึง่ ผูบ้ ริหาร โรงเรี ย นสร้ า งวิ สั ย ทั ศ น์ ขึ้ น จากค่ า นิ ย มและ วัฒนธรรมของโรงเรียน โดยมีความสอดคล้อง กับการปฏิบัติของโรงเรียนและความคาดหวัง ของชุมชน ผู้บริหารโรงเรียนเผยแพร่วิสัยทัศน์ ของตน โดยผ่านสิ่งซึ่งเขาให้ความสนใจและ สนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง ผูบ้ ริหารโรงเรียน น�ำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติโดยผ่านความเป็นผู้น�ำ ทางวิชาการ การให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสิน ใจ และการให้อ�ำนาจแก่ครูเสมือนหนึ่งในการ เป็นผู้น�ำ ในการเปลี่ยนแปลงนั้น
146 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการ ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ และด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็น เพราะผูบ้ ริหารเปิดโอกาสให้บคุ ลากรร่วมแสดง ความคิดเห็นเพือ่ เป็นแนวทางในการปฏิบตั งิ าน ต่างๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ มีการโน้มน้าวให้บุคลากรมุ่งมั่น เสียสละเห็น ประโยชน์ส่วนรวม เพื่อปฏิบัติงานต่างๆ และ ด�ำเนินงานให้ประสบความส�ำเร็จตามวิสยั ทัศน์ ที่สร้างขึ้น รับฟังความคิดเห็นของบุคลากร ทุกภาคส่วนเพื่อน�ำกระบวนการที่สร้างขึ้นไป สู่การปฏิบัติจริง นอกจากนี้ ด้วยคุณวุฒิและ วัยวุฒขิ องผูบ้ ริหารสถานศึกษา ท�ำให้เกิดความ น่าเชื่อถือ และไว้วางใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารมีความสามารถสื่อสารจากมวลความ คิด ค�ำพูด การกระท�ำให้บุคลากรรับรู้ภาพ ลักษณ์ขององค์กรในอนาคตได้ ซึ่งสอดคล้อง กับงานวิจัยของบาทหลวงฉลองรัตน์ สังขรัตน์ (2549) ได้ศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมในการ ก�ำหนดวิสยั ทัศน์ของโรงเรียนคาทอลิกในเครือ สังฆมณฑลเชียงใหม่ ผลของการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก โดยมีแนวทางใน การก�ำหนดวิสัยทัศน์คือให้ผู้เข้าร่วมสนทนา กลุ ่ ม ได้ เ สนอแนะให้ ตั ว แทนจากองค์ ก ร ภายนอกทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับโรงเรียน ได้เข้ามา
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
มีส่วนร่วมในการก�ำหนดวิสัยทัศน์ ซึ่งจะเป็น แนวทางในการก�ำหนดนโยบายของโรงเรียน อันส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับงานวิจยั ของอเวอโซ่ (Averso, 2004) ซึง่ ได้ศกึ ษาว่าผูบ้ ริหารโรงเรียนต้องการ ให้ทุกคนเข้าใจ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการวาง วิสัยทัศน์ (share vision) แต่พวกเขาไม่รู้การ พัฒนาและมีส่วนร่วมอย่างไรประการที่สอง ผู ้ บ ริ ห ารต้ อ งการพั ฒ นาการมี ส ่ ว นร่ ว มใน วิสัยทัศน์ (share vision) ตามแนวทางของ ข้อเสนอของแต่ละคนที่มีส่วนในโรงเรียนของ ตน ประการที่สาม วิสัยทัศน์ของโรงเรียนจะ ท� ำ ให้ ทุ ก คนมี ส ่ ว นร่ ว ม ด้ ว ยความรู ้ สึ ก เป็ น เจ้าของ และผู้น�ำท�ำให้เขามีส่วนร่วมถึงที่สุด ประการสุดท้าย ผู้น�ำโรงเรียนแสวงหาความ ท้าทายที่จะปรับโครงสร้าง เปลี่ยนวัฒนธรรม โรงเรียน เก็บรวบรวมสิ่งที่มีค่า เพื่อมุ่งไปสู่ จุดหมายเพื่อการปรับปรุงโรงเรียน 2. การบริ ห ารงานวิ ช าการในสถาน ศึกษาประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งไม่ เป็นไปตามสมมติฐานทีต่ งั้ ไว้วา่ อยูใ่ นระดับปาน กลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะครูในสถานศึกษา มีคุณวุฒิและวัยวุฒิที่หลากหลาย จึงมีทักษะ ในการปฏิ บั ติ ง านที่ แ ตกต่ า ง และเกิ ด ความ หลากหลายในการปฏิบัติงานวิชาการในสถาน
ศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สถาน ศึกษาได้กำ� หนดไว้ ปัจจุบนั งานด้านวิชาการได้ มี ก ารการพั ฒ นาระบบการประกั น คุ ณ ภาพ ภายในและมาตรฐานการศึกษา การส่งเสริม และสนั บ สนุ น งานด้ า นวิ ช าการแก่ บุ ค คล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบ การและสถาบั น อื่ น ที่ จั ด การศึ ก ษา พั ฒ นา กระบวนการเรียนรู ้ ผูบ้ ริหารสถานศึกษามีวสิ ยั ทัศน์และสร้างรูปแบบใหม่ๆ ในการพัฒนางาน วิชาการอย่างจริงจัง มีการก�ำหนดขอบข่ายของ การบริหารงานวิชาการอย่างชัดเจน เพือ่ ให้การ บริ ห ารงานวิ ช าการเกิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ต่ อ ผู ้ เรี ย นและสถานศึ ก ษา ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิดของอังคณา มาศเมฆ กล่าวว่า งาน วิชาการเป็นงานหลักของสถานศึกษาที่มีความ ส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาผู ้ เรี ย น เป็ นตั วก� ำ หนด ปริมาณงานของสถานศึกษา จัดสรรทรัพยากร คุณภาพของสถานศึกษา เป็นเครื่องชี้วัดความ ส�ำเร็จ และความสามารถของผู้บริหารสถาน ศึกษาในฐานะผู้น�ำองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553) ได้ ก ล่ า วว่ า งานวิ ช าการเป็ น เครื่ อ งตั ด สิ น คุณภาพของสถานศึกษา การพิจารณาคุณภาพ ของสถานศึกษาต้องอาศัยงานด้านวิชาการของ สถานศึกษา โดยพิจารณาวิธีการและผลผลิต ของระบบงานวิชาการ อันได้แก่ วิธีการสอน ของครู การบริหารงานวิชาการ ผลสัมฤทธิ์
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 147
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ งานวิชาการเป็นเครื่องชี้วัดความส�ำเร็จและ ความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษา และ สอดคล้องกับงานวิจัยของบีนาร์ด (Beenard, 1984) ได้ศกึ ษาบทบาทของครูใหญ่ในโรงเรียน มั ธ ยมศึ ก ษาในฐานะผู ้ น� ำ ทางวิ ช าการ โดย ต้องการเปรียบเทียบด้านการรับรู้ข้อมูล และ ความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูง และครู ที่ มี บ ทบาททางวิ ช าการของครู ใ หญ่ ใ นรั ฐ แมสซาซู เซทส์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความ คาดหวังของครูใหญ่ ผูบ้ ริหารระดับสูง และครู เกี่ยวกับบทบาทของครูใหญ่ในฐานะผู้น�ำทาง วิชาการไม่แตกต่างกัน 2) การรับรูข้ องครูใหญ่ ผูบ้ ริหารระดับสูง และครู เกีย่ วกับบทบาทของ ครูใหญ่ในฐานะผู้น�ำทางวิชาการแตกต่างกัน และ 3) การรับรู้และการคาดหวังของครูใหญ่ ในฐานะผู้น�ำทางวิชาการมีความแตกต่างกัน และสอดคล้องกับงานวิจัยของเฮค, ลาร์เซน และมาร์คูลิก (Heck.Larsen and Marcouliders, 1990) ได้ศกึ ษาวิจยั เกีย่ วกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน: ความถูกต้องของรูปแบบเชิง เหตุผล โดยมีความมุง่ หมายทีจ่ ะทดสอบทฤษฎี เกี่ ย วกั บ รู ป แบบเชิ ง เหตุ ผ ลที่ ว ่ า ครู ใ หญ่ ใ น โรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่ใช้ พฤติ ก รรมภาวะผู ้ น� ำ อย่ า งสม�่ ำ เสมอ จะ สามารถมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ซึง่ ผลการวิจยั ยืนยันว่าพฤติกรรม
148 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ด้านภาวะผูน้ ำ� ทางวิชาการของครูใหญ่ มีความ สัมพันธ์โดยตรงกับผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของ นักเรียนจริง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่า มัชฌิมเลขคณิตอยูใ่ นระดับมากทุกข้อ โดยเรียง ค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้าน การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา ด้านการวางแผนด้าน งานวิชาการ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน งานด้านวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่น ที่จัดการศึกษา ด้านการประสานความร่วมมือ ในการพั ฒ นาวิ ช าการกั บ สถานศึ ก ษาและ องค์กรอื่น ด้านการแนะแนว ด้านการพัฒนา กระบวนการเรียนรู ้ ด้านการพัฒนาและการใช้ สือ่ เทคโนโลยีเพือ่ การศึกษา ด้านการนิเทศการ ศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการ ศึ ก ษาในสถานศึ ก ษา ด้ า นการพั ฒ นาและ ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการคัดเลือก หนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา ด้าน การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการ ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้ า นการวั ด ผล ประเมิ น ผลและด� ำ เนิ น การ เทียบโอนผลการเรียน ด้านการจัดท�ำทะเบียน และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการของสถาน ศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถาน ศึกษา และด้านการพัฒนาหรือการด�ำเนินการ
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
เกี่ ย วกั บ การให้ ค วามเห็ น การพั ฒ นาสาระ หลักสูตรท้องถิน่ ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะบุคลากรครูใน สถานศึกษา และสถานศึกษาส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อ ให้เกิดความผูกพันต่อท้องถิน่ มีการด�ำเนินการ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น สถานศึกษาสามารถสร้างเครือข่ายความร่วม มือในการพัฒนาวิชาการ และเปิดโอกาสให้ ชุมชนมีสว่ นร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิน่ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของธีระพร อายุวัฒน์ (2552) ได้ท�ำการวิจัยเรื่อง แนวปฏิบัติที่เป็น เลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ขัน้ พืน้ ฐานขนาดเล็ก ผลวิจยั พบว่า 1. โรงเรียน มี แ นวปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น เลิ ศ ในการบริ ห ารงาน วิชาการของสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐานทัง้ 17 ด้าน 2. ได้ ข ้ อ สรุ ป แนวปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น เลิ ศ ในการ บริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ขนาดเล็กทัง้ 17 ด้าน ซึง่ ประกอบด้วย 3 ส่วน คื อ 1) ส่ ว นน� ำ 2) แนวปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น เลิ ศ ประกอบด้วยแนวคิดและหลักการ ยุทธศาสตร์ และคุ ณ ลั ก ษณะของสถานศึ ก ษา และ 3) เงือ่ นไขของการน�ำแนวปฏิบตั ิ 3. ผลการตรวจ สอบแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงาน วิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก มีประโยชน์ และน�ำไปใช้ปฏิบัติได้จริง 3. จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า มิตวิ สิ ยั ทัศน์ ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงาน
วิชาการในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครปฐม เขต 2 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กนั อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้อาจเนื่องมา จากผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมแสดง ความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างวิสัย ทัศน์ตลอดจนเผยแพร่แนวทางสูก่ ารปฏิบตั งิ าน ต่างๆเพือ่ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทกี่ ำ� หนดไว้ โดยผู้บริหารสามารถใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ใน ความเป็นผูน้ ำ� และเป็นแบบอย่างในการปฏิบตั ิ อย่างมีระบบและแบบแผนตามกระบวนการ และขัน้ ตอนทีเ่ กิดจากการตกผลึกทางความคิด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของบาทหลวงวิโรจน์ เสียงไพเราะ (2546) ได้ศึกษาเรื่องวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความเป็น ผู้น�ำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลราชบุรี พบว่า 1) วิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารโดยภาพรวมและทุกรายด้านอยู่ใน ระดั บ สู ง 2) พฤติ ก รรมความเป็ น ผู ้ น� ำ ทาง วิชาการของผู้บริหารโดยรวมและทุกรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมความเป็นผู้น�ำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี โดยภาพรวมและทุกรายด้าน ได้แก่ การปฏิบตั ิ ตามวิสัยทัศน์กับการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และ สอดคล้องกับงานวิจัยของ อเวอโซ่ (Averso,
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 149
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
2004) ศึกษาว่าผู้บริหารโรงเรียนต้องการให้ ทุกคนเข้าใจ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการวาง วิสัยทัศน์ (share vision) แต่พวกเขาไม่รู้การ พัฒนาและมีส่วนร่วมอย่างไรประการที่สอง ผู ้ บ ริ ห ารต้ อ งการพั ฒ นาการมี ส ่ ว นร่ ว มใน วิสัยทัศน์ ตามแนวทางของข้อเสนอของแต่ละ คนที่มีส่วนในโรงเรียนของตน ประการที่สาม วิสยั ทัศน์ของโรงเรียนจะท�ำให้ทกุ คนมีสว่ นร่วม ด้วยความรูส้ กึ เป็นเจ้าของ และผูน้ ำ� ท�ำให้เขามี ส่วนร่วมถึงทีส่ ดุ ประการสุดท้าย ผูน้ ำ� โรงเรียน แสวงหาความท้ า ทายที่ จ ะปรั บ โครงสร้ า ง เปลี่ ย นวั ฒ นธรรม โรงเรี ย น ละทิ้ ง สิ่ ง ไร้ ประโยชน์ เก็บรวบรวมสิ่งที่มีค่า เพื่อมุ่งไปสู่ จุ ด หมาย และบรอน (Braun, 1991) ได้ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์ของ ผูบ้ ริหารโรงเรียนกับบรรยากาศโรงเรียน พบว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนและบรรยากาศ โรงเรียนต่างก็ใช้เป็นตัวท�ำนายซึง่ กันและกันได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากการศึ ก ษาเรื่ อ งมิ ติ วิ สั ย ทั ศ น์ ข อง ผูบ้ ริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ผูว้ จิ ยั มีขอ้ เสนอแนะ เพือ่ เป็นแนวทางในการ ศึกษาครั้งต่อไป ดังนี้
150 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1.จากผลการวิจัยพบว่า มิติวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก จึงแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารมีการศึกษาข้อมูลขององค์กรอย่าง ลึกซึ้งในทุกๆ ด้านเพื่อน�ำมาสร้างภาพอนาคต ให้เป็นรูปแบบ กระบวนการและสามารถน�ำไป ปฏิบัติได้จริง มีการวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบ จุ ด เด่ น จุ ด ด้ อ ยเพื่ อ เป็ น แนวทางในการน� ำ องค์กรสู่ความเป็นเลิศ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ า อยู ่ ใ นระดั บ มากทุ ก ด้ า น ด้ า นที่ มี ค ่ า มัชฌิมเลขคณิตน้อยที่สุดคือ ด้านการเผยแพร่ วิสัยทัศน์ ดังนั้นผู้บริหารควรให้ความส�ำคัญ ในเรื่องการเผยแพร่ และมีการพัฒนาในเรื่อง ของความชั ด เจนในการขั บ เคลื่ อ นนโยบาย สูแ่ ผนงานและกิจวัตรการปฏิบตั งิ านส�ำหรับครู และบุ ค ลากรในการศึ ก ษา ถ่ า ยทอดข้ อ มู ล ข่าวสารตลอดจนนโยบาย เป้าหมายในการ บริหารสถานศึกษาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เปิ ด โอกาสให้ ค รู มี ส ่ ว นร่ ว มในการก� ำ หนด ระเบี ย บแนวปฏิ บั ติ ง านวิ ช าการของสถาน ศึกษา 2. จากผลการวิจัยพบว่า การบริหาร งานวิชาการในสถานศึกษา ส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก จึงแสดงให้เห็นว่า การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเป็นหัวใจ
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว และ นุชนรา รัตนศิระประภา
ส�ำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความส�ำเร็จ มี ก ารจั ด กระบวนการและการประเมิ น ผล ติ ด ตามผลเพื่ อ ตรวจสอบคุ ณ ภาพตรงตาม จุ ด มุ ่ ง หมายของหลั ก สู ต รการศึ ก ษา สร้ า ง ความมั่นใจให้แก่ผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น สามารถบรรลุผลตามมาตรฐานที่สถานศึกษา ก�ำหนดไว้ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่ามัชฌิมเลข คณิ ต น้ อ ยที่ สุ ด คื อ ด้ า นการพั ฒ นาหรื อ การ ด�ำเนินการเกีย่ วกับการให้ความเห็นการพัฒนา สาระหลักสูตรท้องถิ่น อาจเนื่องมาจากสถาน ศึกษายังขาดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในการพัฒนาวิชาการ และการเปิดโอกาสให้ ชุมชนมีสว่ นร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิน่ 3. มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารสถานศึกษา กั บ การบริ ห ารงานวิ ช าการในสถานศึ ก ษา ประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพ รวมอยู ่ ใ นระดั บ มากและมี ค วามสั ม พั น ธ์ ใ น ลักษณะคล้อยตามกัน ดังนั้นผู้บริหารควรเพิ่ม เทคนิ ค สร้ า งกลยุ ท ธ์ ท างการเปลี่ ย นแปลง องค์กร ก�ำหนดทิศทาง รูปแบบการบริหารที่ ชัดเจน รวมทั้งวิธีการจูงใจหรือโน้มน้าวให้ครู เข้าใจในรูปแบบ แผนและนโยบายต่างๆ ของ สถานศึกษา แล้วสามารถน�ำไปปฏิบตั ิ เพือ่ เป็น ประโยชน์ในการพัฒนางานวิชาการอย่างต่อ เนือ่ ง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาสาระหลักสูตร
ท้องถิน่ ซึง่ มีความส�ำคัญในการพัฒนาคุณภาพ สูค่ วามเป็นเลิศของสถานศึกษาและผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาของผู้เรียนดียิ่งขึ้น ผู้บริหารควร เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้ ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางเพือ่ พัฒนาการปฏิบัติงานในองค์กร เพื่อให้เป็นไป ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายสูงสุดที่ ก�ำหนดไว้ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาเกี่ยวกับมิติวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถาน ศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ เพื่อจะได้ผล การวิจัยที่หลากหลาย สามารถน�ำมาเปรียบ เทียบและชัดเจนมากขึ้น 2. ควรศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ มิ ติ วิ สั ย ทั ศ น์ ข องผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครปฐม เขต 2 3. ควรศึกษาวิจยั เกีย่ วกับแนวทางการ พัฒนาขอบข่ายงานวิชาการเพื่อให้สอดคล้อง กับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา 4. ควรมีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดย ผู้วิจัยควรศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน สังเกต สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก มากขึ้ น กว่ า เดิ ม เกิ ด ความหลากหลายใน การศึกษาวิจัย
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 151
มิตวิ สิ ยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
บรรณานุกรม ฉลองรัตน์ สังขรัตน์, บาทหลวง. (2549). การมีส่วนร่วมในการก�ำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียน คาทอลิกในเครือสังฆมณฑลเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. (2554). ผลกระทบของการสร้างความรับผิดชอบทางการศึกษาต่อสัมฤทธิผล ของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้น พื้นฐานขนาดเล็ก. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. สมพงษ์ จิ ต ระดั บ สุ อั ง คะวาทิ น . (2552). โจทย์ . ..การปฏิ รู ป การศึ ก ษารอบ 2. กรุ ง เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Anne Elizabeth Beenard. (1984). A Study of the Senior High School Principals Instruction Leader,” Dissertation abstract International. Daniel Katz and Robert L Kahn. (1978). The Social Psychology of Organization. New York: John Wiley & Son. Jerry Bruce, Braun. (1991). An Analysis of Principal Leadership Vision and Its Relationship of School Climate, Dissertation Abstracts International. Katherne Poerschke Stillerman. (1992). How Five Successful Middle School Principals In North Carolina Define Vision and How they Perceive Themselves as Impelements and Keepers of Vision”. Dissertation Abstracts International. Ronald H. Heck, Terry J. Larsen, and Geoge A. (1990). Marcoulides, “Instructional Leadership and School Achievement: Validation of a Causal Model,” Educa tional Administration Quarterly. Randy Scott Averso. (2004). A phenomenological study of leadership: Developing a shared school vision, Dissertations, the University of Oklahoma.
152 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ�การศึกษาคาทอลิก
สำ�หรับผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
The Development of Leadership in Catholic Education Program for Catholic School Administrators in Thailand.
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน
* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี * อธิการบดี วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง ธีรพล กอบวิทยากุล
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง ดร.นันทพล สุขส�ำราญ
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
Saranyu Pongprasertsin
* Lecturer, Bachelor of Education Program in Christian Studies, Saengtham College.
Rev.Asst.Prof.Chartchai Phongsiri, Ph.D.
* Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * President of Saengtham College.
Rev.Theeraphol Kobvithayakul
* Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese. * Lecturer, Bachelor of Divinity Program in Theology, Saengtham College.
Rev.Nantapon Suksamran, Ph.D.
* Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * Lecturer, Bachelor of Divinity Program in Theology, Saengtham College. *** วันที่ตอบรับบทความ 22 มิถุนายน 2562
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นี ้ มีวตั ถุประสงค์ 1) เพือ่ พัฒนาหลักสูตรการพัฒนา ภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกใน ประเทศไทย 2) เพื่อทราบผลการยืนยันหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำ การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย และ 3) เพื่อทราบผลการประเมินผลการใช้หลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผู ้ น� ำ การศึ ก ษาคาทอลิ ก ส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาคาทอลิ ก ใน ประเทศไทย เป็นงานวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ คือ หลักสูตรการ พั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษาคาทอลิ ก ส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา คาทอลิกในประเทศไทย ประเด็นการสัมมนากลุม่ ผูท้ รงคุณวุฒ ิ และแบบ ประเมินผลการใช้หลักสูตร ผู้ประเมินยืนยันหลักสูตรได้แก่ กลุ่มผู้ ทรงคุณวุฒิ คือ คณะกรรมการสภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย และ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ยืนยันโดยใช้วิธีการ อ้างอิงผู้ท รงคุณ วุ ฒิ ผู ้ ประเมิ นผลการใช้ ห ลั ก สู ต ร ได้ แ ก่ ผู ้ บริ ห าร สถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทยที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร จ�ำนวน 117 คนสถิ ติ ที่ ใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ได้ แ ก่ ค่ า เฉลี่ ย และส่ ว น เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ประกอบด้วย ปรัชญา วัตถุประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาของ หลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร 2. กลุ ่ ม ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ มี ค วามคิ ด เห็ น สอดคล้ อ งว่ า หลั ก สู ต ร การพัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คาทอลิ ก ในประเทศไทยมี ค วามถู ก ต้ อ งครอบคลุ ม เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ สามารถน�ำไปใช้ในการอบรมผู้บริหาร สถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
154 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
3. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษา คาทอลิก ส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย มีค่า มัชฌิมเลขคณิต 4.51 อยู่ในระดับดีมาก ค�ำส�ำคัญ: Abstract
หลักสูตร ภาวะผู้น�ำ สถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
The purposes of this research were to 1) To Develop the curriculum for improving the Leadership in Catholic Education Program for Catholic School Administrators in Thailand 2) To know the confirmation of the curriculum for improving the Leadership in Catholic Education Program for Catholic School Administrators in Thailand and 3) To know the evaluation results of the curriculum for improving the Leadership in Catholic Education Program for Catholic School Administrators in Thailand. The research design was mixed-method methodology. The tool used is Program, Seminars on qualified groups and evaluation form for curriculum implementation. The assessor confirms the course, namely Expert group is the Catholic Education Council of Thailand and The Catholic Bishops' Council of Thailand. Confirm by using a qualified reference method the assessors of Program use were Catholic school administrators in Thailand who attended 117 courses. Statistics was employed to analyze data were mean, standard deviation and content analysis
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 155
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
The results were as follows: 1. The curriculum for improving the Leadership in Catholic Education Program for Catholic School Administrators in Thailand by the researcher is comprised of: Philosophy, objectives, achievement of the curriculum the structure of syllabus Course content Course evaluation 2. A group of experts with consistent opinions that the curriculum for improving the Leadership in Catholic Education Program for Catholic School Administrators in Thailand that is accuracy, coverage, appropriate, possibilities and utilities. Can be used to train Catholic school administrators in Thailand 3. Evaluation of Program found that the effectiveness of the curriculum had an average of 4.51 at a highest level. Keywords:
156 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Program Leadership Catholic School in Thailand
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
บทน�ำ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการจัดการศึกษา คาทอลิกตามพันธกิจและเป้าหมายทีก่ ำ� หนดไว้ ในแผนอภิบาลคริสตศักราช 2010 – 2015 ของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย “สถานศึ ก ษาคาทอลิ ก คื อ สนามแห่ ง การ ศึกษาอบรมความเชื่อเพื่อการประกาศข่าวดี เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการไถ่กู้ของ พระศาสนจักร” ทั้งนี้โดยได้ก�ำหนดจุดเน้นให้ สถานศึ ก ษาคาทอลิ ก ได้ รั บ การปฏิ รู ป อย่ า ง จริงจัง และเปิดใจให้เป็นสนามแห่งการอบรม เป็นฐานแห่งการประกาศข่าวดีในบริบทของ สังคมไทยโดยการสร้างอัตลักษณ์ของการศึกษา อบรมในสถานศึ ก ษาคาทอลิ ก ให้ เ ด่ น ชั ด มี เ อกภาพตามแนวทางของพระศาสนจั ก ร คาทอลิก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ อย่างยิ่งทรัพยากรบุคคลในระดับผู้บริหารใน โรงเรียนคาทอลิก ปัจจุบนั มีจำ� นวนสถาบันการ ศึกษาคาทอลิกทั้งสิ้นจ�ำนวน 345 แห่ง ซึ่งนับ ว่าสถานศึกษาเหล่านี้เป็นสถานที่ของบ่มเพาะ เยาวชน ด้านความรู ้ คุณธรรม จริยธรรม และ เป็นสนามงานแห่งการประกาศข่าวดีให้กบั เด็ก เยาวชนได้เป็นอย่างดี และเป็นปัจจัยส�ำคัญ ที่ จ ะขั บ เคลื่ อ นให้ พั น ธกิ จ ดั ง กล่ า วสามารถ ด�ำเนินไปได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อตอบ สนองทิศทางการด�ำเนินงานทีก่ ำ� หนดไว้ในแผน
อภิบาลดังกล่าว การให้การศึกษาอบรมแก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ เห็นคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของการ เป็นสถานศึกษาคาทอลิกจึงเป็นกระบวนการ ทีส่ ำ� คัญในการขับเคลือ่ นให้ “การจัดการศึกษา คาทอลิ ก เป็ น การจั ด การศึ ก ษาคาทอลิ ก ที่ แท้จริง” ท่ามกลางสังคมโลกและสังคมไทยที่ ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว ท� ำ ให้ ก าร จัดการศึกษาอบรมดังกล่าวเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญ ที่จะน�ำไปสู่การผสมผสานวัฒนธรรมกับความ เชื่อ และความเชื่อกับชีวิตได้อย่างดี ก้าวไป สู่ความเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป (เทียบ แผน อภิ บ าลคริ ส ตศั ก ราช 2010 – 2015 ของ พระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย: หน้า 39) สอดคล้ อ งกั บ การพั ฒ นาในระยะแผน พั ฒ นาฯ ฉบั บ ที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยจะต้ อ งเผชิ ญ กั บ กระแสการ เปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญทั้งภายนอกและภายใน ประเทศที่ ป รั บ เปลี่ ย นเร็ ว และซั บ ซ้ อ นมาก ยิ่ ง ขึ้ น เป็ น ทั้ ง โอกาสและความเสี่ ย งต่ อ การ พัฒนาประเทศโดยเฉพาะข้อผูกพันที่จะเป็น ประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงจ�ำเป็นต้อง น�ำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกัน ในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นมาใช้ในการเตรียม ความพร้ อ มให้ แ ก่ ค น สั ง คม และระบบ เศรษฐกิ จ ของประเทศให้ ส ามารถปรั บ ตั ว รองรับผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงได้อย่าง เหมาะสม สามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 157
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
ต่อไปเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มนุษย์เป็น ทรัพยากรที่ทรงคุณค่ายิ่งส�ำหรับองค์กร การ พั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ จึ ง มี ค วามส� ำ คั ญ ต่อองค์กรหลากหลายประการ ซึ่งเป็นไปตาม แนวคิ ด พื้ น ฐานและปรั ช ญาของการพั ฒ นา ทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะการพัฒนาคนหรือ ทุนมนุษย์ให้เข้มแข็งพร้อมรับการเปลีย่ นแปลง โลกในยุคศตวรรษที่ 21 และการเสริมสร้าง ปัจจัยแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการพัฒนาคุณภาพของ คนทัง้ ในเชิงสถาบัน ระบบโครงสร้างของสังคม ให้เข้มแข็ง สามารถเป็นภูมิคุ้มกันการเปลี่ยน แปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัจจุบันศาสตร์ของการบริหารมีความ หลากหลาย บรรดาผู้บริหารได้ศึกษาเรียนรู้วิธี การต่างๆ จากการเข้ารับการอบรม การรับฟัง จากวิทยากร แต่เนือ่ งด้วยสถานศึกษาคาทอลิก เป็นสถานศึกษาที่มีความพิเศษ กล่าวคือ เป็น สถานศึ ก ษาที่ มุ ่ ง พั ฒ นาบรรดาเยาวชนให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนั้นบรรดาผู้บริหาร ทั้งหลายมีความเข้าใจ และตระหนักถึงจุดนี้ จึงจ�ำเป็นต้องมีการเรียนรู้ศาสตร์ของการเป็น ผู้น�ำด้านการศึกษาคาทอลิก โดยมีแบบอย่าง คือองค์พระเยซูคริสตเจ้า มีความจ�ำเป็นต้อง บูรณาการศาสตร์ด้านการบริหาร ภาวะผู้น�ำ ศาสนา เพื่อให้บรรดาผู้บริหารมีความรู้ ความ เข้าใจในเรื่องที่จ�ำเป็นต่อการบริหารจัดการ
158 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สถานศึ ก ษาคาทอลิ ก และสามารถน� ำ ไป ประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาที่ตนดูแลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เดชา อาภรณ์รัตน์ เลขาธิการ สภาการศึกษาคาทอลิก ได้เน้นย�้ำถึง พันธกิจ ของโรงเรี ย นคาทอลิ ก ที่ เขี ย นลงในหนั ง สื อ ก้ า วไปข้ า งหน้ า ด้ ว ยอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษา คาทอลิก ข้อที่ 4 กล่าวคือ “จัดให้ผู้บริหาร ครู/บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับการ อบรมอย่างต่อเนื่องในเรื่องคุณค่าการศึกษา คาทอลิก รวมทั้งทักษะที่จ�ำเป็น ในการเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้” ซึ่งเป็นจุดที่สภาการ ศึกษาคาทอลิกร่วมมือกับวิทยาลัยแสงธรรม ในการพั ฒ นาผู ้ บ ริ ห ารให้ มี ทั ก ษะ ความรู ้ ที่จ�ำเป็นต่อการบริหารสถานศึกษาคาทอลิก และ สมหมาย อ�ำ่ ดอนกลอย ได้เขียนบทความ เรื่อง บทบาทผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ว่า ปัจจุบันผู้บริหารจ�ำเป็นต้องบริหารบุคลากร เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนของบริษัท และโดย นิยามของหุ้นส่วน แล้วหุ้นส่วนทุกคนจะต้องมี ความเท่าเทียมกันและไม่มีใครสามารถสั่งงาน หุ้นส่วนได้ หากแต่ผู้บริหารจะต้องมีวิธีการ ชักจูงหุ้นส่วนให้ด�ำเนินกิจกรรมในสิ่งที่ต้อง การด้วยค�ำถามที่ว่า กลุ่มเป้าหมายของเรา ต้องการอะไร? นิยมชมชอบในสิ่งใด? ต้องการ ผลสุดท้ายออกมาในรูปแบบใด? เราควรจะ ต้องหันมาก�ำหนดขอบเขตของงานในองค์กร อีกครั้งหนึ่ง มันอาจจะไม่ใช่ การบริหารงาน
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
บุคคล อาจจะต้องเป็นการบริหารเพื่อผลการ ปฏิบตั งิ าน การน�ำการเปลีย่ นแปลง (Leading change) ผู ้ บ ริ ห ารต้ อ งมี ทั ก ษะและความ สามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนัน้ ผูบ้ ริหารจึงมีการใช้ ข้ อมู ลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการก�ำหนด ยุทธศาสตร์และการน�ำยุทธศาสตร์ไปสู่การ ปฏิบัติ ตระหนักถึงศักยภาพของสถานศึกษา ต่อการเปลีย่ นแปลง การแก้ปญ ั หา (problem solving) ผู้บริหารต้องน�ำยุทธศาสตร์การมี ส่วนร่วมและเหตุการณ์มาใช้เป็นฐานในการแก้ ปั ญ หาต่ า งๆ ในองค์ก ร ผู้บริห ารควรมีก าร ศึ ก ษาในรายละเอี ย ดของเหตุ ก ารณ์ มี ก าร ทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์มีการแก้ไข ปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่ โดยค�ำนึงถึงการ บรรลุ ผ ลในวิ สั ย ทั ศ น์ แ ละยุ ท ธศาสตร์ ข อง โรงเรียนเป็นหลัก ด้านคุณภาพของผู้น�ำที่มี ประสิทธิผล ทีส่ นับสนุนต่อการพัฒนาการสอน และผลลัพธ์การเรียนรู้ในโรงเรียน คือ ผู้น�ำ ต้ อ งน� ำ โดยยึ ด หลั ก คุ ณ ธรรมในการบริ ห าร มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในตนเอง เป็ น ผู ้ เรี ย นรู ้ แ ละ พัฒนาตนเองอยูเ่ สมอ รวมทัง้ ต้องเป็นผูน้ ำ� ทาง และเป็นผู้สนับสนุน ดังนั้น การอบรม และ พั ฒ นาบุ ค ลากรในระบบสถาบั น การศึ ก ษา คาทอลิ ก เป็ น กลไกส� ำ คั ญ ในการสร้ า งและ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักปรัชญาและ ทิศทางการจัดการศึกษาคาทอลิกท่ามกลาง
สังคมทีก่ ำ� ลังเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา ดังนัน้ การพัฒนาหลักสูตรทีจ่ ดั ขึน้ นีเ้ ป็นองค์ประกอบ ส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ จิ ต ตารมณ์ วิสัยทัศน์ องค์ความรู้ และทักษะการบริหาร จั ด การศึ ก ษาในโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามหลั ก ปรั ช ญาและทิ ศ ทางที่ ก� ำ หนดไว้ จ ะสามารถ น�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาคาทอลิก ของพระศาสนจั ก รในประเทศไทยบรรลุ เป้าประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ในแผนอภิบาลของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากร ให้มคี วามพร้อมใน ด้านความรู้ ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม นัน้ จ�ำเป็นจะต้องมีหลักสูตรเพือ่ พัฒนาให้เป็น บุคคลที่มีความพร้อมในด้านความรู้ คุณธรรม จริ ย ธรรม และจ� ำ เป็ น จะต้ อ งมี ก ารพั ฒ นา หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะมีการสร้าง โอกาสทางการเรียนรู ้ พร้อมทัง้ องค์ความรูใ้ หม่ อย่างต่อเนือ่ งให้เท่าทันสังคมในปัจจุบนั ดังนัน้ ผู้วิจัยได้พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำ การศึ ก ษาคาทอลิ ก ส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถาน ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย เพือ่ ให้ผบู้ ริหาร โรงเรียนคาทอลิกสามารถน�ำองค์ความรูท้ ไี่ ด้รบั ไปใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาใช้ ภาวะผู้น�ำเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพ ด้านการบริหารงานต่อไป
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 159
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพือ่ พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถาน ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย 2. เพือ่ ทราบผลการยืนยันหลักสูตรการ พัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผู้ บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย 3. เพื่อทราบผลการประเมินผลการใช้ หลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิกส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย นิยามศัพท์เฉพาะ ภาวะผู้น�ำ หมายถึง ความสามารถใน การใช้อทิ ธิพล (influence) หรือพลัง (power) บริ ห ารจั ด การในสถานศึ ก ษาให้ เ กิ ด ความ เรียบร้อย สามารถด�ำเนินงานในสถานศึกษา ให้บรรลุตามแผน เป้าหมายของสถานศึกษา ที่ ไ ด้ ตั้ ง ไว้ ตลอดจนสามารถบริ ห ารจั ด การ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการบริหารได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม การศึกษาคาทอลิก หมายถึง การสร้าง คนให้มคี วามรู ้ มีความสามารถ มีทกั ษะพืน้ ฐาน ทีจ่ ำ� เป็นในการด�ำเนินชีวติ มีลกั ษณะนิสยั จิตใจ ที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและ สังคม และสามารถน�ำความรู้นั้นไป ประกอบ การงานอาชีพ ตลอดจนหล่อหลอมเขาเหล่านัน้ ให้เป็นมนุษย์ทคี่ รบครัน เป็นผูเ้ ข้มแข็ง มีความ 160 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
รับผิดชอบ สามารถที่จะตัดสินใจเลือกอย่าง อิสระและถูกต้องในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก หมายถึง ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ผู้จัดการโรงเรียน ผู้ช่วย ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายต่างๆ ในสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษา คาทอลิก หมายถึง หลักสูตรที่สร้างขึ้นเพื่อ พัฒนาผูบ้ ริหารสถานศึกษาได้รบั การหล่อหลอม อบรมอย่างต่อเนื่อง (ongoing formation) สามารถน�ำผลการด�ำเนินการตามวัตถุประสงค์ ของหลั ก สู ต รไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นการจั ด การ ศึกษาคาทอลิก มุ่งเน้นการพัฒนาจิตวิญญาณ ของความเป็นผู้น�ำตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ การศึกษาคาทอลิกของบุคลากรที่จะน�ำไปสู่ การเปลีย่ นแปลง (transform) มีทกั ษะในการ บริหารจัดการ สามารถบริหารจัดการศึกษา ในสถาบันการศึกษาคาทอลิกท่ามกลางสังคม ที่ ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นแปลงอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เกิดประสิทธิผล ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร บุคลากรครู (Potential Leaders) ในสถาบันการศึกษา คาทอลิ ก ได้ รั บ การหล่ อ หลอมอบรมอย่ า ง ต่อเนื่อง (Ongoing Formation) สามารถ น� ำ ผลการด� ำ เนิ น การตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง หลักสูตรไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
คาทอลิก มุ่งเน้นการพัฒนาจิตวิญญาณของ ความเป็นผู้น�ำตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิกของบุคลากรที่จะน�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลง (Transform) มีทักษะในการ บริหารจัดการ สามารถบริหารจัดการศึกษา ในสถาบันการศึกษาคาทอลิกท่ามกลางสังคม ที่ ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นแปลงอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เกิดประสิทธิผล วิธีการด�ำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรภาวะ ผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถาน ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทยในครั้งนี้ โดยมี ขัน้ ตอนการวิจยั และการพัฒนาหลักสูตร โดย ด�ำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐาน เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อ ก�ำหนดข้อมูลพื้นฐานที่จ�ำเป็นและต้องการใน การพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ 1. การศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ผู ้ วิ จั ย ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาวะผู้น�ำ ปรัชญาการ ศึ ก ษาคาทอลิ ก การบริ ห ารจั ด การศึ ก ษา คาทอลิ ก และแนวคิ ด ทฤษฎี เ กี่ ย วกั บ การ พัฒนาหลักสูตรจากเอกสาร และงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง
ขัน้ ตอนที ่ 2 การตรวจสอบข้อมูล ผูว้ จิ ยั น�ำข้อมูลทีศ่ กึ ษาวิเคราะห์ เสนอต่อผูท้ รงคุณวุฒิ จ�ำนวน 3 คน เพื่อตรวจทานข้อมูลที่ศึกษา วิเคราะห์ ขั้ น ตอนที่ 2 การสร้ า งและพั ฒ นา หลักสูตร ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาหลักสูตร ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. การสร้างหลักสูตร ผู้วิจัยน�ำข้อมูล ทีไ่ ด้จากขัน้ ตอนที ่ 1 มาจัดสร้างเป็น หลักสูตร การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิกส�ำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ฉบั บ ร่ า ง และน� ำ เสนอต่ อ คณะกรรมการ ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม แล้วปรับปรุง แก้ไขตามค�ำแนะน�ำ 2. การวิพากษ์หลักสูตร ครัง้ ที ่ 1 ผูว้ จิ ยั น�ำหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษา คาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ฉบับร่าง จากข้อ 1 เสนอต่อ คณะกรรมาธิการฝ่ายธรรมทูตและการศึกษา อบรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย แล้วด�ำเนินการแก้ไขตามค�ำแนะน�ำ 3. การวิพากษ์หลักสูตร ครัง้ ที ่ 2 ผูว้ จิ ยั น�ำหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษา คาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ฉบับร่าง จากข้อ 2 เสนอต่อ คณะกรรมาธิการ 4 ฝ่าย ของสภาพระสังฆราช คาทอลิกแห่งประเทศไทย แล้วด�ำเนินการแก้ไข ตามค�ำแนะน�ำ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 161
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
4. การน� ำ เสนอหลั ก สู ต ร ผู ้ วิ จั ย น� ำ หลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ฉบับร่าง จากข้อ 3 เสนอต่อ คณะกรรมการอ� ำ นวยการสภาการศึ ก ษา คาทอลิก ประเทศไทย แล้วด�ำเนินการแก้ไข ตามค�ำแนะน�ำ และได้น�ำข้อมูลที่ได้จากการ ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เ อกสาร Draft Proposal: Masters in Catholic School Leadership (MSC in Leadership) และเอกสาร Intercultural Interaction in Catholic Schools: Proposals for an In-service for Directors of Catholic Schools มาปรับปรุงเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 3 การยืนยันหลักสูตร 1. ผู้วิจัยน�ำหลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถาน ศึ ก ษาคาทอลิ ก ในประเทศไทย เสนอต่ อ ที่ ประชุมสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย 2. ผู้วิจัยน�ำหลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถาน ศึ ก ษาคาทอลิ ก ในประเทศไทย เสนอต่ อ ที่ ประชุมสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณายืนยัน ความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม เป็ น ไปได้ และเป็ น ประโยชน์ สามารถน�ำไปใช้ในการอบรมผู้บริหารสถาน ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
162 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
3. ผู้วิจัยน�ำหลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถาน ศึ ก ษาคาทอลิ ก ในประเทศไทย เสนอต่ อ ที่ ประชุมสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณายืนยัน ความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม เป็ น ไปได้ และเป็ น ประโยชน์ สามารถน�ำไปใช้ในการอบรมผู้บริหารสถาน ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ขัน้ ตอนที ่ 4 การน�ำหลักสูตรไปใช้และ การประเมินผลการใช้หลักสูตร เป็นขั้นตอน การประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเปิดอบรม หลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย จ�ำนวน 4 รุน่ มีผสู้ นใจเข้าร่วม อบรมรวม 117 คน โดยมีการประเมินผลการ ใช้หลักสูตร เป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ในช่วง 1 ปีแรกของการเปิด อบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษา คาทอลิก คือ ปีการศึกษา 2558 ซึ่งมีการเปิด อบรม 1 รุ่น รวมจ�ำนวนผู้เข้าอบรม 25 คน มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรโดยผู้เข้าร่วม อบรม 25 คน ระยะที่ 2 ในช่วง 3 ปีต่อมา คือ ปีการ ศึกษา 2559-2561 ซึ่งมีการเปิดอบรม 3 รุ่น รวมจ�ำนวนผู้เข้าอบรม 92 คน มีการประเมิน ผลการใช้หลักสูตรโดยผู้เข้าร่วมอบรม 92 คน
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
เครื่องมือและสถิติที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิกส�ำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ได้แก่ หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษา คาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย จ�ำนวน 1 หลักสูตร 2. เครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันหลักสูตร การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิกส�ำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ได้ แ ก่ แบบสอบถาม จ�ำนวน 1 ฉบับ สถิติ ที่ ใช้ ไ ด้ แ ก่ ค่ า ความถี่ ค่ า ร้ อ ยละ และการ วิเคราะห์เนื้อหา 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการ ใช้ ห ลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิก ในประเทศไทย ได้แก่ แบบสอบถาม ส�ำหรับ ประเมินผลการใช้หลักสูตร จ�ำนวน 1 ฉบับ สถิตทิ ใี่ ช้ได้แก่ ค่าความถี ่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิม เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ วิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย 1. หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการ ศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คาทอลิกในประเทศไทย ประกอบด้วย ปรัชญา จุดประสงค์ ผลสัมฤทธิข์ องหลักสูตร โครงสร้าง
หลักสูตร เนือ้ หาของหลักสูตร การประเมินผล หลักสูตร โดยสรุปดังนี้ ปรัชญา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปรัชญา บุ ค ลากรในระบบสถาบั น การศึ ก ษา คาทอลิกเป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญในการสร้างและ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักปรัชญาและ ทิศทางการจัดการศึกษาคาทอลิกท่ามกลาง สังคมทีก่ ำ� ลังเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา ดังนัน้ หลักสูตรที่จัดขึ้นนี้มีความเชื่อว่าการพัฒนา ภาวะผู้น�ำ จิตตารมณ์ วิสัยทัศน์ องค์ความรู้ และทักษะการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน คาทอลิกตามหลักปรัชญาและทิศทางทีก่ ำ� หนด ไว้จะสามารถน�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาคาทอลิกของพระศาสนจักรในประเทศไทย บรรลุเป้าประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ในแผนอภิบาล ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1. เพื่อพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา คาทอลิกให้เป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็น ผู้น�ำตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก 2. เพือ่ บุคลากรในสถานศึกษาคาทอลิก มีความรู้ ความเข้าใจ ปรัชญาและหลักการ จัดการศึกษาคาทอลิก มีทักษะในการบริหาร โรงเรียนคาทอลิกท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ในสังคมปัจจุบัน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 163
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายและความ เป็นเอกภาพในการจัดการศึกษาคาทอลิกร่วม กัน โครงสร้างของหลักสูตร การศึกษาในหลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผู้น�ำกับการบริหารการศึกษาคาทอลิก มุ่งเน้น การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตวิญญาณของความเป็นผู้น�ำตาม อั ต ลั ก ษณ์ เอกลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาคาทอลิ ก ด้านการวางแผนและการก�ำหนดนโยบายการ บริหารจัดการศึกษาคาทอลิก และด้านการ พั ฒ นาจริ ย ธรรมในโรงเรี ย นคาทอลิ ก โดย จ�ำแนกออกเป็น 3 ด้าน จ�ำนวน 5 รายวิชา และจัดกิจกรรมการเรียนรู้/ฝึกทักษะ จ�ำนวน 180 ชั่วโมง จ�ำนวนรายวิชาตลอดหลักสูตร จ�ำนวน 5 รายวิชา ดังนี้ 1. ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณของความ เป็นผู้น�ำตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์การศึกษา คาทอลิก 1.1 ภาวะผู ้ น� ำ แบบพระเยซู ค ริ ส ต์ (Christ: Model of Leadership) จ�ำนวน 36 ชั่วโมง 1.2 สัมมนาจิตวิญญาณนักการศึกษา คาทอลิก (Seminar in Spirituality of Catholic Educators) จ� ำ นวน 36 ชั่วโมง
164 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2. ด้านการพัฒนาทักษะการก�ำหนด แผนและนโยบายการจัดการศึกษาคาทอลิก 2.1 ปรัชญาการศึกษาคาทอลิก (Philosophy of Catholic Education) จ�ำนวน 36 ชั่วโมง 2.2 ยุ ท ธศาสตร์ ก ารจั ด การศึ ก ษา คาทอลิ ก (Strategic Planning in Catholic Education) จ� ำ นวน 36 ชั่วโมง 3. ด้ า นการพั ฒ นาจริ ย ธรรมในการ ศึกษาคาทอลิก 3.1 จริยธรรมการศึกษาคาทอลิก (Ethics in Catholic Education) จ�ำนวน 36 ชั่วโมง 2. กลุ ่ ม ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ มี ค วามคิ ด เห็ น สอดคล้องว่า หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำ การศึ ก ษาคาทอลิ ก ส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถาน ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย มีความถูกต้อง ครอบคลุ ม เหมาะสม เป็ น ไปได้ และเป็ น ประโยชน์ สามารถน� ำ ไปใช้ ใ นการอบรม ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย 3. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการ พัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย พบว่า มีค่ามัชฌิมเลขคณิต 4.51 อยู่ในระดับ ดีมาก รายละเอียดผลการประเมินดังนี้
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
ระยะที่ 1 ในช่วง 1 ปีแรกของการเปิด อบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษา คาทอลิก คือ ปีการศึกษา 2558 ซึ่งมีการเปิด อบรม 1 รุ่น รวมจ�ำนวนผู้เข้าอบรม 25 คน ผลการประเมินพบว่า มีค่ามัชฌิมเลขคณิต 4.40 อยู่ในระดับดี ระยะที่ 2 ในช่วง 3 ปีต่อมา คือ ปีการ ศึกษา 2559-2561 ซึ่งมีการเปิดอบรม 3 รุ่น รวมจ�ำนวนผูเ้ ข้าอบรม 92 คน ผลการประเมิน พบว่า มีค่ามัชฌิมเลขคณิต 4.62 อยู่ในระดับ ดีมาก อภิปรายผล 1. หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้น�ำการ ศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คาทอลิกในประเทศไทย เป็นหลักสูตรทีม่ งุ่ เน้น การพัฒนาภาวะผูน้ ำ� ด้านการศึกษา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านการศึกษาคาทอลิก เพื่อเป็นการ พั ฒ นาองค์ ค วามรู้ด้านต่างๆ ที่ส�ำคัญ และ จ� ำ เป็ น ต่ อ การบริ ห ารสถานศึ ก ษาคาทอลิ ก การพัฒนาทักษะสมรรถภาพของผู้บริหารเป็น ความส�ำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการงาน ในสถานศึกษาจะก่อให้เกิดประสิทธิผลของ งานในสถานศึกษา สอดคล้องกับ แบรนโก (Branco, 2003) ที่ได้ศึกษาการท�ำนายศักยภาพของสมาชิกในทีม บทบาทของสมรรถภาพ ทักษะทางพุทธพิสยั และบุคลิกภาพของสมาชิก
ในทีม ผลการวิจัยพบว่าทีมงานในองค์กรที่จะ ประสบความส�ำเร็จต้องมีการบริหารจัดการโดย ใช้สมรรถภาพเป็นฐาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ แบบสอบถาม พบว่ า มี ส มรรถภาพที่ ส� ำ คั ญ 3 ประการทีค่ วรได้รบั การพัฒนาอย่างยิง่ ได้แก่ สมรรถภาพการปฏิ บั ติ ง านด้ า นการมุ ่ ง ผล สัมฤทธิ์ สมรรถภาพการปฏิบัติงานด้านการ พัฒนาตนเอง สมรรถภาพการปฏิบัติงานด้าน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึง่ ทัง้ 3 สมรรถนะ นี้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ หลั ก สู ต รการพั ฒ นา ภาวะผูน้ ำ� การศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับผูบ้ ริหาร สถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย ที่เน้น การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ 3 ด้าน คือ สมรรถภาพการปฏิ บั ติ ง านด้ า นการมุ ่ ง ผล สัมฤทธิ์ สมรรถภาพการปฏิบัติงานด้านการ พัฒนาตนเอง สมรรถภาพการปฏิบัติงานด้าน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ สมรรถภาพการปฏิบัติงานด้านการมุ่ง ผลสั ม ฤทธิ์ เป็ น การที่ ผู ้ บ ริ ห ารมุ ่ ง เน้ น ผล สัมฤทธิข์ องงาน ผูบ้ ริหารจะมีเป้าประสงค์เป็น ตัวตั้ง เป็นมาตรฐาน และเป้าประสงค์ในการ ปฏิบัติงานเพื่อให้งานนั้นประสบความส�ำเร็จ ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึง่ ในหลักสูตรการพัฒนา ภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิกนั้น มีรายวิชา ภาวะผูน้ ำ� แบบพระเยซูคริสต์ (Christ: Model of Leadership) และปรัชญาการศึกษาคาทอลิก (Philosophy of Catholic Education) ทั้ง
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 165
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
2 รายวิชานี้ เป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหาร การศึกษาเข้าใจจุดประสงค์ของการบริหาร สถานศึ ก ษาคาทอลิ ก โดยมุ ่ ง เน้ น ให้ พั ฒ นา ผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถเป็น เยาวชนที่ แ ละ และเติ บ โตเป็ น ผู ้ ใ หญ่ ที่ ดี ใ น อนาคตได้ ซึ่งผู้บริหารมิใช่เพียงมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่เป็นภาพลักษณ์ภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว เท่านั้น แต่ต้องตั้งเป้าประสงค์ในการพัฒนา ด้ายจิตวิญญาณของผูเ้ รียน ให้มคี วามส�ำนึกใน คุณค่าของตน มีจิตสาธารณะ มีการปฏิบัติตน และสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้ อยู่ในความถูกต้อง อีกทั้งสามารถรับผิดชอบ ต่อสิ่งที่ตนเองได้เลือก รวมทั้งยอมรับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับสิ่งที่ผู้อื่นได้เลือก ด้วย ผู้บริหารต้องสามารถรู้จักแก้ปัญหาได้ ทันท่วงทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้น โดยใช้หลักการ ของ 2 รายวิชานี้ในการบริหารจัดการ ภาวะ ผู้น�ำแบบพระเยซูคริสต์ถือเป็นแบบอย่างใน การบริ ห ารจั ด การในสถานศึ ก ษาคาทอลิ ก ซึง่ ผูบ้ ริหารสามารถน�ำมาใช้ และพัฒนาตนเอง ให้ น� ำ การเป็ น แบบอย่ า งผู ้ น� ำ ของพระเยซู มาเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการในสถาน ศึกษา สอดคล้องกับ เฉลิมรัตน์ จันทรเดชา น�ำชัย ศุภฤกษ์ชยั สกุล รัตติกรณ์ จงวิศาล และ ยุทธนา ไชยจูกุล (เฉลิมรัตน์, 2557) ได้เขียน ลงในบทความวิจัยเรื่อง ภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ ในโรงพยาบาลเอกชน: การนิยามมโนทัศน์และ
166 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
พัฒนาเครื่องมือวัดว่าคนแรกที่เสนอแนวคิด ภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้คอื พระเยซูคริสต์ผกู้ อ่ ตัง้ ศาสนาคริสต์ท ี่ ภาวะผูน้ ำ� แบบผูร้ บั ใช้เป็นหัวใจ ของผู้น�ำศาสนาคริสต์ผู้น�ำแบบผู้รับใช้นั้นมี ความแตกต่างกับผู้รับใช้ผู้ที่เป็นคริสเตียนที่ ไม่ใช่ผนู้ ำ� จะเรียกว่าผูร้ บั ใช้คอื การท�ำประโยชน์ ให้แก่ผอู้ นื่ ผูท้ เี่ ป็นผูน้ บั ถือพระเจ้า ตัวอย่างเช่น การล้างเท้าให้กับผู้ที่เป็นสาวกของพระเจ้า เป็นต้น ภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้มิได้เป็นรูปแบบ เฉพาะของภาวะผูน้ ำ� แต่เกีย่ วข้องกับแรงจูงใจ ที่อยู่เบื้องหลังความคิดค�ำพูดและการกระท�ำ ของผู้น�ำ ภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ไม่ได้อยู่บน พืน้ ฐานของต�ำแหน่ง หรือบทบาทของการเป็น ผู้น�ำ แต่เป็นไปตามบทบาท อาชีพ วิสัยทัศน์ และหลักการของแต่ละบุคคล ความท้าทาย อย่างหนึ่งของภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้คือ ต้อง แน่ ใ จว่ า วิ สั ย ทั ศ น์ แ ละหลั ก การนั้ น อยู ่ ใ น แนวทางปฏิบัติเดียวกับผู้อื่นในองค์การ ตลอด จนปรัชญาการศึกษาคาทอลิกเป็นจุดก�ำหนด เป้ า หมายในการศึ ก ษาคาทอลิ ก เพื่ อ พั ฒ นา ผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับ ฉลองรัตน์ สังขรัตน์ (ฉลองรัตน์, 2559) ได้ เขียนไว้ในงานวิจัย เรื่องอัตลักษณ์โรงเรียน คาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่เป็น พลวัตตามนโยบายของสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทยว่า ปรัชญาการศึกษาคาทอลิก ที่ เ ป็ น ลั ก ษณะพิ เ ศษ ลั ก ษณะเฉพาะ ที่ มี
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
เป้าประสงค์หล่อหลอมอบรมมนุษย์ทงั้ ร่างกาย และจิตใจ มุง่ สร้างประชาสังคมด้วยบรรยากาศ อันเป็นการเสริมสร้างจากเสรีภาพและความรัก ในพระวรสาร ด้วยภาพลักษณ์แบบครอบครัว จึงต้องการแบบอย่างจากครู พ่อแม่ นักบวช ผู้บริหารในโรงเรียน และด้วยการหล่อหลอม บูรณาการความรูก้ บั ความเชือ่ ดังนัน้ โรงเรียน เอกชนคาทอลิ ก ของสั ง ฆมณฑล โรงเรี ย น เอกชนคาทอลิกของคณะนักบวชชายและหญิง โรงเรียนเอกชนคาทอลิกของฆราวาส จึงมีพนั ธ กิ จ ร่ ว มกั น ภายใต้ อั ต ลั ก ษณ์ ข องโรงเรี ย น คาทอลิกด้วยพันธกิจเดียวกัน และ พงษ์ศักดิ์ บุญพรม และ ช่อเพชร เบ้าเงิน ได้ด�ำเนินงาน วิจัยเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พืน้ ฐาน ว่าหากผลการปฏิบตั งิ านไม่นา่ พึงพอใจ ผู้บริหารมีโอกาสปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันที เพราะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้บริหาร จะมีเป้าหมายเป็นตัวตั้ง และเป็นหลักในการ ด�ำเนินงานต่างๆในสถานศึกษา สมรรถภาพการปฏิ บั ติ ง านด้ า นการ พัฒนาตนเอง ในรายวิชาจริยธรรมในการศึกษา คาทอลิก (Ethics in Catholic Education) และ สัมมนาจิตวิญญาณนักการศึกษาคาทอลิก (Seminar in Spirituality of Catholic Educator) เป็นรายวิชาทีม่ กี ารวางเนือ้ หาของหลัก
สูตรทีห่ ลากหลาย แต่มงุ่ เน้นให้ผเู้ รียนนัน้ ได้รบั องค์ความรูท้ หี่ ลากหลาย เช่น จิตวิทยาส�ำหรับ ผู้บริหาร จิตวิทยาส�ำหรับเด็ก จริยธรรมของ ผูบ้ ริหาร เอกสารพระศาสนจักรทีเ่ กีย่ วข้องกับ ผู้บริหาร สิทธิของนักเรียน ครู การบูรณาการ ความรู้ที่หลากหลายนั้น สามารถน�ำมาพัฒนา ตนเองให้สามารถเรียนรู ้ เข้าใจเนือ้ หาทีน่ ำ� ไปใช้ ในการบริหารจัดการในสถานศึกษา นอกจากนี้ การพัฒนาตนเองยังคงหมายถึง การพัฒนา บุ ค ลากรที่ ท� ำ งานร่ ว มกั น ในสถานศึ ก ษา ผู้บริหารต้องมีความตระหนักในการพัฒนา บุคลากรให้มอี งค์ความรู ้ ทักษะ และเสริมสร้าง ประสบการณ์ ต ่ า งๆ ในการเรี ย นรู ้ ที่ จ� ำ เป็ น ต่อการท�ำงานในสถานศึกษา สอดคล้องกับ รัตติกรณ์ จงวิศาล (2556) กระบวนการทีผ่ นู้ ำ� มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ผู ้ ร ่ ว มงานและผู ้ ต าม คื อ การ เปลี่ ย นแปลงความพยายามของผู ้ ร ่ ว มงาน และผูต้ ามให้สงู ขึน้ กว่าความพยายามทีค่ าดหวัง พัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานและผู้ตาม ไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและศักยภาพมากขึ้น ท�ำให้ เกิ ด การตระหนั ก รู ้ ใ นภารกิ จ และวิ สั ย ทั ศ น์ ของกลุ่มและขององค์การ และสอดคล้องกับ ของสมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก เรื่อง ฆราวาสคาทอลิ ก ในโรงเรี ย น: พยานยื น ยั น ความเชื่อ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2525 ข้อ17 ว่ า การหล่ อ หลอมอบรมมนุ ษ ย์ ที่ ค รบครั น ซึ่ ง เป็ น จั ด มุ ่ ง หมายของการศึ ก ษาอบรม
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 167
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
ครอบคลุมถึงการพัฒนาศักยภาพในทุกด้าน ของนักเรียน พร้อมกับเตรียมพวกเขาให้พร้อม ส�ำหรับการประกอบสัมมาอาชีพ หล่อหลอม อบรมนักเรียนให้มีจิตส�ำนึกทางจริยธรรมและ ทางสั ง คม และเกิ ด ความตระหนั ก รู ้ ถึ ง การ ศึ ก ษาฝ่ า ยจิ ต และด้ า นศาสนา โรงเรี ย นทุ ก โรงเรียน และนักการศึกษาทุกคนในโรงเรียน ควรมุ่งมั่นในการ “หล่อหลอมบุคคลให้เป็น ผู้เข้มแข็งและมีความรับผิดชอบ สามารถที่จะ ตัดสินใจเลือกอย่างอิสระและถูกต้อง” ดังนั้น จึงเป็นการเตรียมเยาวชนให้ค่อยๆ เปิดรับ ความเป็นจริง และหล่อหลอมอบรมพวกเขาให้ มีความชัดเจนในความหมายของชีวิต สมรรถภาพการปฏิ บั ติ ง านด้ า นการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ รายวิชายุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาคาทอลิก (Strategic Planning in Catholic Education) เป็นการที่ผู้บริหาร ต้ อ งเรี ย นรู ้ จั ก แผนกลยุ ท ธ์ สามารถเข้ า ใจ วิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ แ ผนกลยุ ท ธ์ ไ ด้ ต าม เป้าประสงค์ของสถานศึกษาที่ได้วางไว้ ในการ บริหารจัดการในสถานศึกษาคาทอลิก เมื่อถึง ช่วงระยะเวลาหนึ่งระบบการบริหารจะมีการ ปรับเปลี่ยนผู้บริหาร ดังนั้นการวิเคราะห์และ สังเคราะห์จะเป็นส่วนส�ำคัญประเด็นหนึ่งใน การบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องมีความรู้ และ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์แผนการด�ำเนิน งานของสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะ
168 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สามารถบริหารจัดการให้ได้ตามเป้าประสงค์ที่ ได้ก�ำหนดไว้ สอดคล้องกับ คเนเซวิค (Knezevick) (1984) ได้ ก� ำ หนดบทบาทส� ำ คั ญ ของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ประการหนึ่ง คือ ผู ้ บ ริ ห ารควรมี ค วามสามารถในการเป็ น ผู ้ วิเคราะห์และจัดระบบ (System Manager) เข้ า ใจรู ป แบบของทฤษฎี ก ารบริ ห ารและ สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงาน ได้อย่างชาญฉลาด หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ ำ� การศึกษา คาทอลิก ได้มกี ระบวนการในการสร้าง พัฒนา หลักสูตร และน�ำไปใช้ในปีการศึกษา 2558 ในระยะ 1 ปีแรก โดยมีผเู้ ข้าร่วมในหลักสูตรฯ จ�ำนวน 25 ท่าน โดยเป็นผูบ้ ริหารสถานศึกษา คาทอลิกในประเทศไทย และสมัครใจเข้าร่วม ในหลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิก เมื่อการด�ำเนินการหลักสูตรเสร็จสิ้น ได้มีการประเมินภาพรวมและประสิทธิผลของ หลักสูตร โดยมีค่าเฉลี่ย 4.40 อยู่ในระดับดี ซึ่ ง คณะผู ้ วิ จั ย ได้ ด� ำ เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ทั้ ง เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพือ่ น�ำมาปรับปรุง ในหลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิกต่อไป 2. การประเมินผลการใช้หลักสูตรการ พัฒนาภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก ส�ำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย นั้น ได้มีการด�ำเนินการหลักสูตรการพัฒนา
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
ภาวะผู้น�ำการศึกษาคาทอลิกต่อมาในปีการ ศึกษา 2559 – 2561 ซึ่งผู้วิจัยได้ด�ำเนินการ ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร ซึ่งเป็นการ ประเมินการใช้หลักสูตรระยะ 3 ปีตอ่ มา พบว่า ประสิทธิผลของหลักสูตรมีคา่ เฉลีย่ 4.62 อยูใ่ น ระดับดีมาก ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ด�ำเนินการเก็บ ข้อมูลทัง้ เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ จากการ ใช้ ห ลั ก สู ต รการพั ฒ นาภาวะผู ้ น� ำ การศึ ก ษา คาทอลิก เห็นได้ว่า ผู้บริหารที่เข้าร่วมได้เรียน รู้หลักการ เนื้อหาของภาวะผู้น�ำ ภาวะผู้น�ำ แบบพระเยซูคริสต์ การบูรณาการองค์ความรู้ ต่างๆ ตลอดจนการน�ำเอาอัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิกลงไปในการบริหารจัดการในสถาน ศึกษาเพือ่ ให้นกั เรียน ครู และบุคลากรทางการ ศึกษาได้เข้าใจ และเรียนรู้จิตตารมณ์คาทอลิก นอกจากนี้ ผู้บริหารยังได้มีส่วนร่วมในการฝึก ปฏิ บั ติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสะท้อน ความคิด ผ่านกระบวนการเรียนในหลักสูตร การน�ำเสนอ การแบ่งปันประสบการณ์และ การรับฟังประสบการณ์จากเพือ่ นร่วมหลักสูตร ซึ่งกระบวนการในหลักสูตรการพัฒนาภาวะ ผู้น�ำการศึกษาคาทอลิก จะช่วยให้ผู้บริหาร นั้นมีความช�ำนาญ มีประสบการณ์การเรียนรู้ และสามารถน� ำ ไปใช้ จ ริ ง ในสถานศึ ก ษาได้ สอดคล้องกับ สัมฤทธิ ์ แสงทอง, โยธิน ศรีโสภา จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และ วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม ได้ ด� ำ เนิ น งานวิ จั ย เรื่ อ งการพั ฒ นา หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้น�ำส�ำหรับผู้บริหาร
ระดั บ ต้ น ในสถานศึ ก ษา สั ง กั ด มู ล นิ ธิ คณะ ซาเลเซียนแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้บริหาร ระดั บ ต้ น ยั ง ได้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการฝึ ก อบรม เพราะเป็นการฝึกอบรมที่เน้นการลงมือปฏิบัติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้สะท้อนผลการเรียนรู้ และการปฏิบัติ จริงท�ำให้ได้ผ่านกระบวนการ แก้ ป ั ญ หาที่ เ กิ ด จากการฝึ ก ปฏิ บั ติ จ ากการ ท�ำงานจริง ได้นำ� ผลงานทีเ่ กิดจากการฝึกอบรม ไปปฏิ บั ติ จ ริ ง ในฝ่ า ยงานและแผนกต่ า งๆ ซึ่ ง ประสิ ท ธิ ผ ลดั ง กล่ า วเป็ น ผลจากการใช้ แนวคิดและหลักการฝึกอบรมการเรียนรู้จาก การปฏิบัติ ซึ่งเป็นการฝึกงานในหน้าที่ของตน ที่ ก ระท� ำ อยู ่ ปฏิ บั ติ ง านตรงตามต� ำ แหน่ ง ปั จ จุ บั น ปฏิ บั ติ ต ามหน้ า ที่ ห ลั ก ปั จ จุ บั น ให้ มี ความรู ้ ค วามช� ำ นาญมากขึ้ น ในภาวะผู ้ น� ำ ส�ำหรับผู้บริหารระดับต้น การประเมิ น หลั ก สู ต รระยะ 3 ปี ใน ระหว่างปีการศึกษา 2559 – 2561 คณะผูว้ จิ ยั ได้ ด� ำ เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล จากผู ้ เข้ า ร่ ว มใน หลักสูตร และน�ำข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม หลั ก สู ต รมาปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาหลั ก สู ต รอย่ า ง ต่อเนื่อง เช่น 1. การเพิ่ ม หน่ ว ยการเรี ย นรู ้ ใ นเรื่ อ ง จิตวิทยาส�ำหรับผู้บริหาร ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะ จากผู ้ เรี ย นในหลั ก สู ต ร ปี ก ารศึ ก ษา 2558 คณะกรรมการหลักสูตรได้นำ� มาพิจารณา และ เสนอให้มกี ารเพิม่ เติมในหลักสูตร และน�ำมาใช้ ในปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 169
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
2. การเดินทางไปศึกษาดูงานด้านการ ศึ ก ษา ซึ่ ง เป็ น ข้ อ เสนอแนะจากผู ้ เรี ย นใน หลักสูตร ปีการศึกษา 2558 คณะกรรมการ หลักสูตรได้น�ำมาพิจารณา และเสนอให้มีการ เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา โดยน�ำ ผูเ้ รียนในหลักสูตรไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา ตั้งแต่ในปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป 3. การเพิม่ เติมเนือ้ หาของกฎหมายการ ศึกษา กฎหมายของพระศาสนจักรที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษา ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะจากผู้เรียน ในหลักสูตร ปีการศึกษา 2559 คณะกรรมการ หลักสูตรได้น�ำมาพิจารณา และเสนอให้มีการ เพิม่ เติมในหลักสูตร และน�ำมาใช้ในปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป 4. การเพิม่ เติม กรณีศกึ ษาด้านจิตวิทยา เด็ก เรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ เกีย่ วกับเด็ก ซึง่ เป็นข้อเสนอ แนะจากผูเ้ รียนในหลักสูตร ปีการศึกษา 2560 คณะกรรมการหลักสูตรได้นำ� มาพิจารณา และ เสนอให้มกี ารเพิม่ เติมในหลักสูตร และน�ำมาใช้ ในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป การประเมิ น และปรั บ ปรุ ง หลั ก สู ต ร เป็นกระบวนการทีม่ คี วามส�ำคัญอย่างยิง่ ในการ ด�ำเนินการด้านหลักสูตร เป็นการน�ำข้อมูลทีไ่ ด้ รับจากผู้เข้าร่วมมาพัฒนา และปรับปรุงให้ หลั ก สู ต รนั้ น มี ค วามเข้ ม แข็ ง ทั น สมั ย การ ประเมินนัน้ เป็นดังกระจกส่องเพือ่ สะท้อนภาพ ของหลั ก สู ต รให้ มี ค วามชั ด เจนมากยิ่ ง ขึ้ น
170 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ด�ำเนินการตามขั้นตอนการ ประเมินหลักสูตรโดยการวางแผนการประเมิน สร้างแบบสอบถามการเก็บข้อมูลจากผูเ้ ข้าร่วม หลักสูตร เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ข้อมูล และรายงานผลการประเมินต่อผู้มีส่วน เกี่ยวข้องต่อหลักสูตร ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ด�ำเนิน การเก็บข้อมูลและน�ำเสนอต่อสภาการศึกษา คาทอลิก และสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทยตามล� ำ ดั บ ระเบี ย บขั้ น ตอน การประเมินนี้ สอดคล้องกับ มารุต พัฒผล (2561) ระบบการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการวางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล และ วิเคราะห์ขอ้ มูลน�ำไปสูก่ ารตัดสินใจในเชิงคุณค่า (Value Judgments) ของหลักสูตรในมิตติ า่ งๆ ทีต่ งั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) การรายงานผลการประเมินต่อผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และน�ำผลการประเมินมา ประกอบการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร หรือ ยกเลิกการใช้หลักสูตร
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, ชาติชาย พงษ์ศิริ, ธีรพล กอบวิทยากุล และ นันทพล สุขส�ำราญ
บรรณานุกรม ฉลองรัตน์ สังขรัตน์. (2559). อัตลักษณ์โรงเรียนคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทีเ่ ป็นพลวัต ตามนโยบายของสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. ดุษฎีนพิ นธ์ สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา. เฉลิมรัตน์ จันทรเดชา, น�ำชัย ศุภฤกษ์ชยั สกุล, รัตติกรณ์ จงวิศาล และ ยุทธนา ไชยจูกลุ . (2557, กรกฎาคม). ภาวะผู้น�ำแบบผู้รับใช้ในโรงพยาบาลเอกชน : การนิยามมโนทัศน์และพัฒนา เครื่องมือวัด. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 20(2). พงษ์ศักดิ์ บุญพรม และ ช่อเพชร เบ้าเงิน. (2557, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาสมรรถนะการ ปฏิบตั งิ านของผูบ้ ริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1). มารุต พัฒผล. (2561). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. กรุงเทพฯ: บริษัท จรัล สนิทวงศ์การพิมพ์ จ�ำกัด. รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้น�ำ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2012). ก้าวไปข้างหน้าด้วยอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สมณกระทรวงการศึกษาคาทอลิก. (2556). “ฆราวาสคาทอลิกในโรงเรียน: พยานยืนยันความเชือ่ ”. อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก. สมหมาย อ�่ำดอนกลอย. (2556, มกราคม-มิถุนายน). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 7(1). สัมฤทธิ์ แสงทอง, โยธิน ศรีโสภา, จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และวรวุฒิ จิรสุจริตธรรม. (2558, กันยายน-ตุลาคม). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผูน้ ำ� ส�ำหรับผูบ้ ริหารระดับต้นในสถาน ศึกษา สังกัดมูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(2). ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที ่ 11 (พ.ศ. 2555–2559). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www. nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf. (สืบค้นเมือ่ วันที:่ 16 สิงหาคม 2557)
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 171
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผูน้ �ำ การศึกษาคาทอลิก สำ�หรับผูบ้ ริหารสถานศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย
Branco, C. K. (2003). Predicting individual team member performance: The role of team competency, cognitive ability, and personality. Dissertation abstracts international, 42(3): 1068. Knezevich, J. Stephen. (1984). Administration of Public Education. New York: Harper And Row.
172 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
The Factors of Team Building in General Private School.
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต * ดุษฏีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์ * อาจารย์ประจ�ำคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร Hataitip Sikhuntagasamit * Doctor of Philosophy (Educational Administration) Faculty of Education, Silapakorn University. Asst. Prof. Sakdipan Tonwimonrat, Ph.D. * Assistant Professor, Department of Education Administration. Faculty of Education, Silapakorn University. *** วันที่ตอบรับบทความ 24 เมษายน 2560
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ทราบ 1) องค์ประกอบการสร้าง ทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา 2) ผลการยืนยันองค์ ประกอบการสร้ า งที ม งานในโรงเรี ย นเอกชนประเภทสามั ญ ศึ ก ษา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จ�ำนวน 97 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วยผู้อ�ำนวยการโรงเรียนหรือ รองผูอ้ ำ� นวยโรงเรียน หัวหน้ากลุม่ สาระการเรียนรูแ้ ละครูผสู้ อน จ�ำนวน ทั้งสิ้น 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ไดแก แบบสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ า มั ช ฌิ ม เลขคณิ ต ส วนเบี่ ย งเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ และการสังเคราะหเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ ศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) บทบาทผู้น�ำและผู้ตาม 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) กระบวนการท�ำงาน 4) การติดต่อ สื่อสาร 5) บรรยากาศการท�ำงาน 6) การบริหารความขัดแย้ง 7) การ ทบทวนการท�ำงาน 8) การมีส่วนร่วม 2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา พบว่า มีความถูกต้องครอบคลุม มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ ค�ำส�ำคัญ:
174 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) การสร้างทีมงาน
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
Abstract
The purposes of this research were to identify 1) the factors of team building in general private school and 2) the confirmation factors of team building in general private school. The sample for this study were 97 schools in the general private school. The respondents were school director or assistant director, head of department and teachers totally of 291 respondents. The instruments for collecting the data were semi-structured interview and opinionnaire. The statistics used in this study were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis. The findings of this study were as follows. 1. The factors of team building in general private school composed of eight factors; 1) the roles of leaders and followers 2) cluster relationship 3) procedure 4) communication 5) working conditions 6) conflict management 7) after action review 8) participation. 2. The confirmation factors of team building in general private school were accurate, comprehensive appropriate, possibility and can be utilized. Keywords:
1) Team Building
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 175
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา การพัฒนาองค์กรหรือสังคม เราต้อง พัฒนาให้เป็นองค์กรหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะโลกสมัยใหม่ที่เราต้องการพัฒนาไปนั้น เราต้ อ งการโลกแห่ ง การเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นา บุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู ้ ปัญหาทีเ่ กิด ขึ้ น ทั่ ว โลกหรื อ ในประเทศไทยปั จ จุ บั น ก็ คื อ การศึกษาไม่ตอบสนองต่อความจ�ำเป็นในการ พัฒนา ไม่มอี งค์ประกอบในการพัฒนา ไม่ตอบ สนองต่อคุณภาพชีวติ ซึง่ การจัดการศึกษาของ สถานศึ ก ษาเอกชนของไทยในปั จ จุ บั น มี คุ ณ ภาพมาตรฐานกลางสู ง กว่ า การจั ด การ ศึกษาของภาครัฐ ดูได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการ ศึกษา โดยเฉพาะผลตัวชีว้ ดั ด้านการสอบ O-NET ชั้น ป.6 ปีการศึกษา 2557 ทุกรายวิชามีค่า เฉลี่ ย สู ง กว่ า มาก โดยเฉพาะภาษาอั ง กฤษ มีคะแนนเฉลี่ยมาตรฐานกลาง 46% สูงกว่า โรงเรี ย นของรั ฐ ถึ ง 10%, วิ ช าภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 44% สูงกว่าโรงเรียนของรัฐ 3%, วิชาคณิตศาสตร์ 43% สูงกว่าโรงเรียน ของรั ฐ 5% จึ ง แสดงความขอบคุ ณ ที่ ภ าค เอกชนมี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ที่ ช ่ ว ยภาครั ฐ พั ฒ นา คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของประเทศ (ดาว์ พ งษ์ รัตนสุวรรณ์, 2558) ในช่วงปี 2556-2567 ครูในโรงเรียนสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จ�ำนวนไม่น้อย กว่า 1.9 แสนคน หรือครึ่งหนึ่งของครูทั้งหมด จะเกษี ย ณอายุ ร าชการ โรงเรี ย นจะต้ อ งคั ด 176 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เลือกครูใหม่ประมาณ 1.56 แสนคนซึง่ คิดเป็น ร้อยละ 47 ของจ�ำนวนครูทั้งหมดในปี 2568 เพื่อให้เพียงพอกับจ�ำนวนนักเรียนในโรงเรียน (ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, 2558) ข้อมูลดังกล่าว ส่ ง ผลกระทบกั บ โรงเรี ย นเอกชนโดยตรงใน อนาคตท�ำให้ครูลาออกจากโรงเรียนเอกชนไป สอบเข้าบรรจุเป็นครูของภาครัฐเป็นจ�ำนวน มากเนือ่ งจากครูโรงเรียนเอกชนมีประสบการณ์ ความสามารถต้องการความมั่นคงก้าวหน้า ในชี วิ ต นอกจากนี้ ส วั ส ดิ ก ารของครู เ อกชน ยังไม่เทียบเท่ากับข้าราชการครูหรือครูภาครัฐ (ทักดนัย เพชรเภร, 2556) จากปัญหาที่กล่าว มา ท�ำให้ผู้วิจัยต้องท�ำการศึกษารูปแบบการ สร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ ศึกษา เพือ่ เป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุม่ บุ ค คลรวมถึ ง ปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพในการ ท�ำงานโดยการสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง พร้อม ที่จะเผชิญปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วัตถุประสงค์ของการวิจัย จากสภาพปัญหาและความส�ำคัญของ การวิจยั ผูว้ จิ ยั จึงก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการ วิจัยไว้ ดังนี้ 1. เพื่อทราบองค์ประกอบการสร้างทีม งานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา 2. เพือ่ ยืนยันองค์ประกอบการสร้างทีม งานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
กรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย สถานศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งในระบบ สังคม มีลักษณะเป็นองค์กรระบบเปิดที่มีการ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การ ด�ำเนินงานต่างๆ ตามภารกิจหลักของสถาน ศึ ก ษาสามารถจั ด ในรู ป แบบเชิ ง ระบบ ซึ่ ง ประกอบด้วยปัจจัยน�ำเข้า (input) กระบวน การ (process) และผลผลิต (output) ที่มี ปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยน�ำเข้าในระบบการ ศึ ก ษาคื อ ทรั พ ยากรทางการศึ ก ษาได้ แ ก่ บุ ค ลากร วั ส ดุ อุ ป กรณ์ งบประมาณ และ นโยบาย ซึ่งมีการด�ำเนินงานโดยกระบวนการ หลั ก ต่ า งๆ ได้ แ ก่ กระบวนการบริ ห าร กระบวนการนิเทศ และกระบวนการจัดการ เรียนการสอน และผลผลิตซึง่ หมายถึงคุณภาพ ตามนโยบายและจุ ด หมายของหลั ก สู ต ร หรือประสิทธิผลของสถานศึกษานัน่ เอง (Daniel Katz and Robert L Kahn, 1978) การศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ วิ เ คราะห์ อ งค์ ประกอบและน�ำเสนอรูปแบบการสร้างทีมงาน ในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษานี ้ ผูว้ จิ ยั ได้ ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ และสั ง เคราะห์ แ นวคิ ด การสร้างทีมงานเพื่อน�ำมาเป็นกรอบแนวคิด ของการวิจัยดังนี้ ลลิดา ศรีสัมพันธ์ (2555) ได้ เ สนอแนวคิ ด คุ ณ ลั ก ษณะของที ม งาน ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ 11 ประการ ได้ แ ก่ 1)
วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ชั ด เจนและเป้ า หมายเป็ น ที่ยอมรับ 2) การเปิดเผยและการเผชิญหน้า 3)การสนั บ สนุ น และความไว้ ว างใจซึ่ ง กั น และกั น 4) ความร่ ว มมื อ และความขั ด แย้ ง 5) การทบทวนอย่ า งสม�่ ำ เสมอ 6) ความ สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ดี 7) การติดต่อสื่อสาร ที่ดี 8) การพัฒนาบุคคล 9) บทบาทที่สมดุล 10) การด�ำเนินการทีร่ าบรืน่ 11) ผูน้ ำ� ทีเ่ หมาะ สม ส� ำ หรั บ บุ ญ ฤทธิ์ สมบั ติ ห ลาย (2553) ได้ เ สนอแนวคิ ด ในการสร้ า งที ม งานไว้ ดั ง นี้ 1) หลักส�ำคัญของการสร้างทีม 2) ลักษณะการ ท� ำ งานเป็ น ที ม 3) ลั ก ษณะที ม งานที่ มี ประสิทธิภาพ 4) คุณลักษณะผูน้ ำ� ทีมทีด่ ี มิดรู า และ โกลเวอร์ (Midura & Glover,2005) ได้ เสนอแนวคิดกระบวนการสร้างทีมประกอบ ด้วย 1) กระบวนการสร้างทีม 2) การเตรียม พร้อมสร้างทีม 3) พฤติกรรมด้านลบทางสังคม 4) พฤติกรรมด้านบวกทางสังคม 5) การชมเชย และให้ ก� ำ ลั ง ใจ 6) แบบฝึ ก การชมเชยและ ให้ก�ำลังใจ 7) การก่อตั้งทีม 8) เลือกชื่อทีม 9) ก�ำหนดข้อตกลงของทีม 10) การแบ่งหน้าที่ ในที ม 11) ผู ้ จั ด การโอกาสที่ จ ะฝึ ก ทั ก ษะ การเป็นผู้น�ำ 12) ผู้ให้ก�ำลังใจ 13) ผู้ชมเชย 14) ผู้สรุปผล 15) หน้าที่ของผู้สอนในการ สร้างทีม 16) การจัดเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ และปิยะวุฒิ อนุอันต์ (2558) กล่าวว่า การ สร้างทีมงานทีด่ ี นอกจากทีก่ ล่าวข้างต้นส่วนที่
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 177
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
สนั บ สนุ น ให้ ที ม มี ค วามแข็ ง แกร่ ง มี ป ั จ จั ย สนับสนุนดังนี้ 1)ช่วยให้มี Time Control 2) สมาชิ ก ในที ม ต้ อ งไวต่ อ ความรู ้ สึ ก ของ เพื่อนร่วมงาน 3) บรรยากาศท�ำงานที่ผ่อน คลาย 4) ทุกคนต้องมีขอ้ มูล ต้องเตรียมข้อมูล โดยเฉพาะหากต้องมีการประชุม 5) ต้องคัดคน ที่มีคุณภาพเข้าทีม 6) มีการจดรายละเอียดใน การประชุม 7) ส�ำคัญทีส่ ดุ คือ การประเมินผล การปฏิบัติงานเป็นระยะ สอดคล้องกับ จุฑา เทียนไทย (2550) ได้เสนอแนวคิดวิถีทางใน การสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพ ประกอบ ด้วย 1) อุทิศตัวอย่างยินดี 2) มีน้�ำใจเกื้อกูล 3) เชื่อถือและไว้วางใจ 4) ติดต่อสื่อสารเป็น ยอด 5) สามัคคีคือพลัง ส�ำหรับการสร้างทีม ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในแนวคิ ด ของ พาร์ ค อน (Parcon, 2007) กล่าวว่า การสร้างทีมได้ผลดี ที่สุดเมื่อสามารถบรรลุเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ได้ 1) สมาชิกในทีมมีการพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน 2) ผู้น�ำทีมมีทักษะการเป็นผู้น�ำ ที่ ดี 3) สมาชิ ก ในที ม แต่ ล ะคนสามารถและ เต็ ม ใจในการแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล 4) ที ม สร้ า ง บรรยากาศทีร่ สู้ กึ ผ่อนคลายและสามารถเปิดอก พูดคุยกันได้ 5) สมาชิกในทีมสร้างความเชือ่ ใน ซึ่งกันและกันและเชื่อมั่นในความสามารถของ สมาชิกแต่ละคน 6) ทีมและสมาชิกรายบุคคล พร้ อ มรั บ มื อ กั บ ความเสี่ ย งเพื่ อ พั ฒ นาความ สามารถและทั ก ษะของตน 7) ที ม มี ค วาม
178 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชัดเจนเรือ่ งเป้าหมายทีส่ ำ� คัญ และมีการปฏิบตั ิ งานที่ยืดหยุ่นได้เพื่อบรรลุเป้าหมาย 8) มีการ ระบุบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในทีมและ มีการพัฒนา สนับสนุนการแก้ปัญหาและการ สื่อสารจากทุกคนในทีม 9) สมาชิกรู้ว่าต้อง ตรวจสอบข้ อ ผิ ด พลาดและจุ ด ด้ อ ยของที ม หรือสมาชิกคนอื่นอย่างไรโดยไม่กระทบความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล 10) มีการทุ่มเทความ พยายามเพือ่ ความส�ำเร็จของผลงาน 11) ทีมมี ความสามารถในการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ด้วยการร่วมมือกันและความช่วยเหลือจาก คนนอก 12) สมาชิกแต่ละคนตระหนักว่าเขา หรื อ เธอมี ผ ลกระทบต่ อ ระเบี ย บวาระต่ า งๆ ของที ม ส� ำ หรั บ ปราณี ภารั ง กู ล (2558) ได้ เสนอแนวคิดลักษณะของทีมที่มีประสิทธิผล และสิง่ ทีจ่ ะสร้างทีมให้ประสบความส�ำเร็จ ดังนี้ 1) ตัง้ เป้าหมายให้ชดั เจนและท�ำตามเป้าหมาย ที่วางไว้ให้ได้ 2) มีความเห็นพ้องต้องกันใน แ น ว ท า ง ด� ำ เ นิ น โ ค ร ง ก า ร 3 ) พั ฒ น า กระบวนการท�ำงานให้สำ� เร็จลุลว่ ง 4) ถ่ายทอด และฝึกฝนทักษะซึ่งกันและกัน 5) ด�ำเนินการ ตามกระบวนการทีว่ างไว้ 6) ประเมินและแก้ไข กระบวนการให้ถูกต้อง โดยพิจารณาจากผล การชีว้ ดั และการวิเคราะห์ 7) สือ่ สารให้สมาชิก ในทีมและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ ส�ำหรับ เรื อ งวิ ท ย์ เกษสุ ว รรณ (2556) ได้ ก ล่ า วถึ ง ลั ก ษณะส� ำ คั ญ ซึ่ ง ที ม ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลใช้ เ ป็ น
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
หลักการในการสร้างทีมมี 9 ประการ ได้แก่ 1) มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและมีจุดมุ่งหมายตรง กัน 2) การสื่อสารที่เปิดกว้างและเผชิญหน้า 3) ความสนับสนุนและความไว้วางใจ 4) ความ ร่วมมือและความขัดแย้ง 5) วิธีปฏิบัติงานที่ดี 6) ผูน้ ำ� ทีเ่ หมาะสม 7) การทบทวนเป็นประจ�ำ 8) การพัฒนาบุคคล 9) ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มที่ด ี และดูบริน (Dubrin, 1990) ได้กล่าว ว่ากลยุทธ์ในการสร้างทีมงานเป็นขัน้ ตอนหลาย ขั้นตอนที่ได้รับการแนะน�ำว่าควรน�ำมาใช้เพื่อ ให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ 1) สร้างทีมย่อยๆ ขึน้ มา 2) ให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนรูว้ า่ งานของ ตนคื อ อะไร 3) รู ้ จั ก สมาชิ ก เป็ น รายบุ ค คล 4) รักษาไว้ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่ดี 5) การ ท� ำ งานเป็ น สอดคล้ อ งกั บ ณั ฏ ฐพั น ธ์ เขจร นันทน์ (2546) ได้กล่าวว่า การจัดรูปแบบทีม ตามโครงสร้างขององค์กรมีขอ้ ดีขอ้ ด้อยต่างกัน ซึง่ การทีจ่ ะท�ำให้ทมี งานประสบผลส�ำเร็จได้นนั้ ทีมงานควรจะมีคณ ุ ลักษณะส�ำคัญร่วมกัน ในที่ นี้ จ ะกล่ า วถึ งรายละเอียดขององค์ประกอบ ต่างๆ ดังนี้ 1) เป้าหมาย 2) การแสดงออก 3) ความเป็ น ผู ้ น� ำ 4) แสดงความคิ ด เห็ น ที่ สอดคล้องและเป็นเอกฉันท์ 5) ความไว้วางใจ 6) ความคิดสร้างสรรค์ ส�ำหรับแมคเวล (Maxwell, 2001) ได้เสนอแนวคิด 17 สูตรส�ำเร็จ สร้างทีมเวิรก์ ซึง่ ประกอบไปด้วย 17 สูตร ดังนี้ 1) สูตรของการให้ความส�ำคัญ 2) สูตรของ ภาพรวม 3) สู ต รของการมองหาโอกาส
4) สูตรของภูเขาเอเวอร์เรสต์ 5)สูตรของลูกโซ่ สัมพันธ์ 6) สูตรของตัวช่วย 7) สูตรของเข็ม 8) สูตรของแอปเปิลเน่า 9) สูตรการใส่ใจซึง่ กัน และกัน 10) สูตรของป้าย 11) สูตรของป้าย บอก 12) สูตรของการจัด 13) สูตรของความ เป็นตัวตน 14) สูตรของการสื่อสาร 15) สูตร ของการผลักดัน 16) สูตรของการสร้างก�ำลังใจ 17) สูตรของการปันผลก�ำไร นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ผู้วิจัยได้ ก�ำหนดนิยามศัพท์เฉพาะในการวิจัย ดังนี้ องค์ประกอบ หมายถึง โครงสร้างของ ความเกี่ยวข้องระหว่างชุดขององค์ประกอบ ส�ำคัญที่มีความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล ซึ่งช่วย ให้เข้าใจข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ในเรือ่ งใด เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อเป็นแนวทางในการ ด�ำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป การสร้ า งที ม งาน หมายถึ ง ความ พยายามท�ำให้กลุ่มสามารถเรียนรู้การวินิจฉัย ปัญหา เพือ่ ปรับปรุงความสัมพันธ์ตา่ งๆ ในการ ท�ำงานให้ดีขึ้น ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึง่ ความสัมพันธ์เหล่านีจ้ ะมีผลต่อการท�ำงานให้ เสร็จตามเป้าหมาย ผู้บริหารงานที่จะประสบ ความส�ำเร็จ จ�ำเป็นจะต้องหล่อหลอมทีมงาน ให้เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้จักหาวิธีจูงใจที่ให้ เขาเหล่านั้น ท�ำงานด้วยความสมัครใจและ เต็มใจ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 179
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดั บ ก่ อ นประถมศึ ก ษา (เตรี ย มอนุ บ าล อนุบาล) ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย) การด�ำเนินการวิจัย เป็นแนวทางให้การด�ำเนินการวิจัยเป็น ไปอย่างมีระบบและบรรลุจุดมุ่งหมายของการ วิจัยที่ก�ำหนดไว้ ผู้วิจัยจึงก�ำหนดขั้นตอนของ การวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขัน้ ตอนที ่ 1 การจัดเตรียมโครงการวิจยั เป็ น การศึ ก ษาข้ อ มู ล สถิ ติ วรรณกรรมที่ เกีย่ วข้องต่างๆ จากต�ำรา เอกสารทางวิชาการ วารสาร เว็บไซต์ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อน�ำผลที่ได้จากการศึกษามาจัดท�ำโครงร่าง งานวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การด�ำเนินการวิจัย เป็น ขั้นตอนที่ผู้วิจัยจัดสร้างเครื่องมือส�ำหรับเก็บ รวบรวมข้ อ มู ล ทดสอบ ปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข ข้อบกพร่องของเครื่องมือ แล้วน�ำเครื่องมือ ที่สร้างขึ้น ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้ว น�ำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาตรวจสอบความ ถูกต้อง ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และ แปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 การรายงานผลการวิจัย
180 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูล ประชากรส�ำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จ�ำนวน 3,373 โรง กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการศึกษาวิจยั ครัง้ นี้ ก�ำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนโดยการ เลื อ กแบบหลายขั้ น ตอน (multi – stage sampling) โดยมีวิธีการเลือกดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูล 1.1 แบ่ ง โรงเรี ย นเอกชนประเภท สามัญที่อยู่ในส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึ ก ษาประถมศึ ก ษา โดยแยกจ� ำ นวน โรงเรียนตามส�ำนักงานศึกษาธิการภาค 1-18 และ กรุงเทพมหานคร 1.2 โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ ศึกษาทั้ง 18 ภาค และกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 3,373 โรงเรียน 1.3 จ� ำ นวนประชากร 3,373 โรงเรียน ก�ำหนดขนาดของกลุม่ ตัวอย่าง จากตารางประมาณขนาดของกลุ ่ ม ตัวอย่างของทาโร ยามาเน (Yamane, Taro, 1973) ที่ ร ะดั บ ความเชื่ อ มั่ น 90 เปอร์เซ็นต์ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 97 โรงเรียน 1.4 ผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้เป็นบุคลากร ในโรงเรียนๆ ละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อ�ำนวย
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
การโรงเรียน หัวหน้ากลุม่ สาระการเรียน รู ้ และครูผสู้ อน รวมทัง้ สิน้ จ�ำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการศึกษาวิจยั ครัง้ นีผ้ วู้ จิ ยั ได้ใช้เครือ่ ง มือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ประเภท คือ 1. แบบสั ม ภาษณ์ แ บบกึ่ ง โครงสร้ า ง (semi-structured interview) ผู้วิจัยพัฒนา มาจากการทบทวนวรรณกรรม เอกสารงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการค้นคว้าเกี่ยวกับ ตั ว แปรการสร้ า งที ม งานในโรงเรี ย นเอกชน ประเภทสามั ญ ศึ ก ษา โดยการสั ม ภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบสร้างทีม งานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ผูว้ จิ ยั ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น (opinionnaire) สอบถามผูบ้ ริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุม่ สาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน โรงเรียนละ 3 คน โดยแบบสอบถามฉบับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม จ�ำนวน 5 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต�ำแหน่ง และประสบการณ์ ท� ำ งานในต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่ ป ั จ จุ บั น ลั ก ษณะ แบบสอบถามเป็ น แบบตรวจสอบรายการ (check-list)
ตอนที ่ 2 ตัวแปรทีเ่ กีย่ วกับองค์ประกอบ การสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบ ตรวจสอบรายการ (check-list) น�ำข้อมูลที่ รวบรวมได้ ม าวิ เ คราะห์ ห าค่ า ความเชื่ อ มั่ น (reliability) ของแบบสอบถามด้ ว ยการ ค�ำนวณ ค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟา (α-coefficient) ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .992 สรุปผลการวิจัย การวิจยั เรือ่ ง องค์ประกอบการสร้างทีม งานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ผูว้ จิ ยั สามารถสรุปผลการวิจยั ตามวัตถุประสงค์ ของการวิจยั โดยแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียน เอกชนประเภทสามัญศึกษา และ 2) ผลการ ยืนยันองค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียน เอกชนประเภทสามัญศึกษา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1.องค์ ป ระกอบการสร้ า งที ม งานใน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่ได้จาก การศึ ก ษา วิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ หลั ก การ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จาก นั้นได้น�ำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อให้ได้ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับใน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 181
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
การวิ จั ย เป็ น การทบทวนวรรณกรรมที่ เกีย่ วข้องกับการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามั ญ ศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ไ ด้ ตั ว แปรที่ ต้องการศึกษาแล้วน�ำผลที่ได้ไปพัฒนาแบบ สั ม ภาษณ์ กึ่ ง โครงสร้ า ง(semi-structured interview) หลังจากนั้นน�ำแบบสัมภาษณ์ไป สัมภาษณ์ผทู้ รงคุณวุฒแิ ละผูเ้ ชีย่ วชาญ จ�ำนวน 7 คน ท�ำการวิเคราะห์เนือ้ ทีไ่ ด้จากวรรณกรรม และจากการสัมภาษณ์ ได้ตวั แปรทีเ่ กีย่ วข้องกับ การสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา 2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการสร้าง ทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ผลการตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบการสร้าง ทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา โดยวิ ธี อ ้ า งอิ ง ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ แ ละผู ้ เชี่ ย วชาญ (connoisseurship) จ�ำนวน 7 คน ผลการ ตรวจสอบพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า องค์ ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เป็นพหุองค์ประกอบ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ กรอบแนวคิ ด ทฤษฎี และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ประกอบด้ ว ย 8 องค์ประกอบ 74 ตัวแปร คือ 1) บทบาทผู้น�ำ และผู้ตาม ประกอบด้วย 30 ตัวแปร และมี ค่ า น�้ ำ หนั ก ตั วแปรในองค์ประกอบ (factor loading) = 0.71 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง
182 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
บุ ค คลประกอบด้ ว ย 14 ตั ว แปร และมี ค ่ า น�้ ำ หนั ก ตั ว แปรในองค์ ป ระกอบ (factor loading) =0.63 3) กระบวนการท� ำ งาน ประกอบด้ ว ย 9 ตั ว แปร และมี ค ่ า น�้ ำ หนั ก ตัวแปรในองค์ประกอบ (factor loading = 0.69 4) การติ ด ต่ อ สื่ อ สารประกอบด้ ว ย 6 ตั ว แปร และมี ค ่ า น�้ ำ หนั ก ตั ว แปรใน องค์ ป ระกอบ (factor loading =0.61 5) บรรยากาศการท� ำ งาน ประกอบด้ ว ย 5 ตัวแปรและมีคา่ น�ำ้ หนักตัวแปรในองค์ประกอบ (factor loading = 0.65 6) การบริหารความ ขั ด แย้ ง ประกอบด้ ว ย 4 ตั ว แปร และมี ค ่ า น�ำ้ หนักตัวแปรในองค์ประกอบ (factor loading) = 0.66 7)การทบทวนการท� ำ งาน ประกอบด้ ว ย 3 ตั ว แปร และมี ค ่ า น�้ ำ หนั ก ตัวแปรในองค์ประกอบ (factor loading = 0.63 และ 8) การมี ส ่ ว นร่ ว มประกอบด้ ว ย 3 ตั ว แปร และมี ค ่ า น�้ ำ หนั ก ตั ว แปรในองค์ ประกอบ (factor loading) = 0.59 โดยมี ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้อง กั น ว่ า องค์ ป ระกอบการสร้ า งที ม งานใน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา มีความ ถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ การอภิปรายผล การวิจัยครั้งนี้ สามารถน�ำมาอภิปราย ผล โดยแยกออกเป็น 2 ประเด็นคือ 1) องค์
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา และ 2) ผลการยืนยัน องค์ ป ระกอบการสร้ า งที ม งานในโรงเรี ย น เอกชนประเภทสามัญศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้ 1.องค์ ป ระกอบการสร้ า งที ม งานใน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ผลการ วิเคราะห์องค์ประกอบ ท�ำให้ได้องค์ประกอบที่ ส�ำคัญ รวมทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบ สามารถ อภิปรายผลในแต่ละองค์ประกอบได้ ดังนี้ องค์ ป ระกอบที่ 1 บทบาทผู ้ น� ำ และ ผูต้ าม โดยทัว่ ไปแล้วคนทีอ่ ยูใ่ นทีมทุกคนพอจะ รู้บทบาทหรือหน้าที่ของตนเองคร่าวๆ ว่าจะ ต้ อ งท� ำ อะไร อย่ า งไร แต่ ยั ง มี บ ทบาทอื่ น ๆ อีกหลายประการที่ตนเองไม่รู้ตัวว่าตนเองจะ ต้องท�ำอะไร อย่างไร หรือเป็นบทบาททีต่ นเอง ไม่คาดหวังว่าจะต้องรับผิดชอบ แต่สมาชิก บางคนในกลุ ่ ม อาจคาดหวั ง ให้ รั บ ผิ ด ชอบ ฉะนั้นการสับสนในบทบาทของสมาชิกแต่ละ คนในที มงานจึงอาจก่อให้เ กิดความขัดแย้ง ในทีมงานได้ สอดคล้องกับ บิล(Bill, 2008) ทีไ่ ด้กล่าวว่า ทีมทีป่ ระสบความส�ำเร็จก็เหมือน กั บ องค์ ก รกี ฬ าที่ ร วมตั ว กั น อย่ า งแน่ น แฟ้ น แต่ละคนเข้าใจหน้าที่ของตัวเองและท�ำหน้าที่ ได้ดี ในขณะที่หาทางช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม ด้ ว ยวิ ธี ที่ พ อท� ำ ได้ ความคิ ด แบบนี้ เ กิ ด จาก บู ร ณภาพในที ม เกิ ด จากความสั ม พั น ธ์ ที่
แน่นแฟ้นกับคนอื่นๆ ในทีมและเกิดจากความ เคารพต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่ ข องสมาชิ ก แต่ ล ะคน พูดง่ายๆ ก็คือ ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองและ ท�ำหน้าทีน่ นั้ ได้ด ี ส�ำหรับเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ (2556) ได้กล่าวว่า ทีมเป็นกลุ่มประเภทหนึ่ง โดยทั่ ว ไปเกี่ ย วข้ อ งกั บ กี ฬ าหรื อ การท� ำ งาน มีการก�ำหนดหน้าทีใ่ ห้ปฏิบตั แิ ละมีบทบาทของ สมาชิกที่เกี่ยวกับหน้าที่ ปกติทีมเป็นส่วนหนึ่ง ขององค์การที่ใหญ่กว่า สมาชิกทีมมีความรู้ ทักษะและความสามารถเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับ การท�ำงาน นอกจากทีมเกี่ยวข้องกับงานแล้ว ทีมยังมีความหมายทางบวกต่อการท�ำงานด้วย เพราะสมาชิ ก ในที ม มี เ ป้ า หมายร่ ว มกั น ทุกคนในทีมจึงต้องรับผิดชอบร่วมกัน องค์ประกอบที ่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล การสร้างทีมงานเป็นกระบวนการสร้าง ความสัมพันธภาพในกลุม่ มุง่ ปรับปรุงคุณภาพ ความสั ม พั น ธ์ ที่ มี อ ยู ่ ต ่ อ กั น ระหว่ า งสมาชิ ก ให้มีประสิทธิผลของกลุ่มสูงขึ้นได้ เพื่อมีการ วางแผนที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงหน่วย งานให้มปี ระสิทธิภาพผ่านการวิเคราะห์อย่างมี ระบบและได้ ก ารยอมรั บ ในหน่ ว ยงาน สอดคล้องกับ สุภัททา ปิณฑแพทย์ (2558) ได้กล่าวว่า ค�ำว่า “ทีม” เป็นค�ำในภาษาอังกฤษ ทีน่ ำ� มาใช้ทบั ศัพท์ โดยมีความหมายว่าเป็นการ ร่ วมมื อ กั นท� ำ งานอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง อย่ า งมี ความปรองดองและราบรื่นซึ่งน�ำมาสู่ความ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 183
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
ส� ำ เร็ จ แม้ ว ่ า การรวมตั ว กั น ของบุ ค คลเป็ น กลุ่มจะท�ำเพื่อจุดมุ่งหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ของงานและประโยชน์ ที่ต้องการเป็นเรื่องของแต่ละคนที่คิดช่วงชิงให้ ได้มา จึงพบว่าในหลายๆ องค์การที่เรียกกลุ่ม งานของตนว่า ทีมงาน อาจไม่ใช่ทีมงานที่แท้ จริงถ้าผลผลิตของงานเป็นการน�ำงานของแต่ ละคนมารวมกัน สอดคล้องกับ อุดม ฟุง้ เกียรติไพบูลย์ (2558) กล่าวว่า การสร้างทีมงาน เป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธภาพใน กลุ่ม มุ่งปรับปรุงคุณภาพความสัมพันธ์ที่มีอยู่ ต่อกันระหว่างสมาชิก ให้มีประสิทธิผลของ กลุม่ สูงขึน้ ได้ เพือ่ มีการวางแผนทีม่ จี ดุ มุง่ หมาย ในการปรับปรุงหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่ า นการวิ เ คราะห์ อ ย่ า งมี ร ะบบและได้ ก าร ยอมรับในหน่วยงาน ส�ำหรับเรืองวิทย์ เกษสุ ว รรณ (2556) ได้ ก ล่ า วว่ า ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างทีมเป็นเรื่องส�ำคัญเพราะเกือบทุกทีม ต้องร่วมกันเพื่อให้บรรลุความส�ำเร็จร่วมกัน ขณะที่แรงผลักดันตามธรรมชาติดึงทีมมาอยู่ ด้วยกัน ก็มักมีแรงผลักดันของความเท่าเทียม กัน ท�ำให้มีทีมเป็นคู่แข่งอยู่ตรงข้ามกันจริงๆ แล้วบางทีมสร้างความสามัคคีโดยแสดงความ เหนือกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งมีผลกระทบทางลบต่อ องค์การหลายอย่าง ทีมมักแข่งขันกันทางลบ เห็นได้จากการกระซิบกระซาบ การวิจารณ์ทาง ลบ ข้อสังเกตที่ท�ำให้เสียความรู้สึก และขาด
184 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การสือ่ สารอย่างเปิดกว้าง ผูบ้ ริหารมักจะพูดถึง งานในเชิงแข่งขัน เราจึงเห็นทีมหนึง่ ส�ำเร็จขณะ ที่อีกทีมหนึ่งล้มเหลว ไม่ค่อยสื่อสารกับทีมอื่น อย่ า งเปิ ด กว้ า ง สอดคล้ อ งกั บ ปรี ย าภรณ์ ศรีเจริญ (2554) ได้ท�ำรายงานเรื่อง การสร้าง ทีมงานขององค์การบริหารส่วนต�ำบลโคกโพธิ์ อ�ำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ทีมงานร่วมมือกันในการน�ำ แผนงานไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม มีการแบ่ง หน้าที่และประสานงานระหว่างภายในองค์กร อย่างชัดเจน องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการท�ำงาน การสร้างทีมงานเป็นหน้าทีข่ องทุกคนทีจ่ ะต้อง สร้างและพัฒนาการท�ำงานเป็นทีมอยูเ่ สมอเพือ่ ให้ แ ต่ ล ะคนเห็ น ความส� ำ คั ญ ของงานและ ประโยชน์ ร ่ ว มกั น มากกว่ า ความส� ำ คั ญ หรื อ ผลประโยชน์สว่ นบุคคล บรรยากาศและสภาพ แวดล้อมในการท�ำงาน ผลตอบแทนที่ได้รับ ความยุ ติ ธ รรม ความเสมอภาค และการ สนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้มีส่วน ส่งเสริมการท�ำงานเป็นทีมทั้งสิ้น การตัดสินใจ อาจจะกระท�ำโดยผู้บริหารคนเดียวได้ แต่ใน การปฏิ บั ติ ง านนั้ น ไม่ ส ามารถกระท� ำ โดย ผู้บริหารเพียงคนเดียว ทีมงานที่ดีจึงเปรียบ เสมื อ นพลั ง ในการปฏิ บั ติ ง านของผู ้ บ ริ ห าร นั่ น เอง สอดคล้ อ งกั บ ไมค์ แ ละเดฟ (Mike and Dave, 2008) ได้กล่าวว่า งานส�ำคัญต้อง
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
อาศัยความร่วมมือ ทีมที่ตอบสนองได้ดีที่สุด เวลาท�ำงานส�ำคัญคือทีมที่ประสบความส�ำเร็จ จากการ่วมมือกันของสมาชิกแต่ละคน ทีมที่ ร่ ว มมื อ กั น เท่ า นั้ น ที่ มี ค วามน่ า สนใจในการ พัฒนาเป็นทีม งานทีท่ ำ� ให้ทกุ คนในทีมต้องช่วย กันส่งผลให้มีการพัฒนาอย่างชัดเจน หากไม่มี งานส�ำคัญๆ แล้วทีมก็จะไม่มีความตั้งใจที่จะ ท� ำ ตั ว เองให้ เ ป็ น หน่ ว ยที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สอดคล้องกับ มาร์ค (Mark, 2013) ได้ท�ำการ ศึกษาเรื่อง การตรวจสอบต้นก�ำเนิดการสร้าง ทีมงานด้านกีฬา:เครือข่ายอ้างอิงและวิธีการ ตามล�ำดับ ผลการศึกษาพบว่า การสร้างทีม เป็นหนึ่งในการพัฒนากลุ่มอย่างมีประสิทธิใน การท�ำงานร่วมกันขององค์กร การพัฒนาทีม งานและการท�ำงาน ถึงแม้งานเขียนเกี่ยวกับ การสร้างทีมก�ำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็มี หลายคนที่พยายามวิจัยการสร้างทีมด้านกีฬา งานวิจัยนี้ได้ตรวจสอบหนังสือและบทความที่ มีอทิ ธิพลต่างๆ ทีก่ ล่าวถึงรากฐานของการสร้าง ทีมด้านกีฬา รวมถึงงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับวิธี การวิเคราะห์เครือข่ายอ้างอิง ผลการศึกษาพบ ว่าการมุง่ เน้นด้านความร่วมมือท�ำให้แนวความ คิดเป็นรูปร่างและช่วยในการวิจัยการสร้างทีม งานด้านกีฬา ผลการวิจัยยังเน้นให้เห็นความ ส�ำคัญของมุมมองทางเลือกและกรอบความคิด ซึ่งอาจถูกมองข้ามจากนักวิจัยที่สนใจด้านการ สร้ า งที ม งานด้ า นกี ฬ า ส� ำ หรั บ ประภาพร
เหลืองช่วยโชค ได้กล่าวว่า ทีมงาน หมายถึง คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาท�ำงานร่วมกันโดย สมาชิกมีทักษะเสริมต่อกัน ผูกพันต่อกันด้วย วัตถุประสงค์และเป้าหมายทีต่ รงกัน มีแนวทาง ปฏิบตั งิ านแบบเดียวกัน ต่างมีความรับผิดชอบ ร่วมกันที่สามารถตรวจสอบได้ ประสานกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีเป้าหมายสูงสุดของ ทีมเป็นเครื่องก�ำหนด องค์ ป ระกอบที่ 4 การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร เป็ น อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ในการท� ำ งาน เพราะในระบบทีมงานจะต้องมีการหมุนเวียน ของข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าระบบการ ติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มไม่ดีก็อาจท�ำให้งาน ของทีมงานไม่ประสบความส�ำเร็จได้ ในเรื่อง ระบบการติดต่อสื่อสารนั้นมีความส�ำคัญมาก เพราะปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในหน่วยงานมีไม่นอ้ ยเลย ที่มาจากภาษาพูดจึงจ�ำเป็นจะต้องให้ความ ส� ำ คั ญ เกี่ ย วกั บเรื่ อ งนี้ ให้ ม าก สอดคล้ อ งกั บ จุฑา เทียนไทย (2550) ได้เสนอแนวคิด วิถี ทางในการสร้ า งที ม งานให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ประกอบด้วย ติดต่อสื่อสารเป็นยอด: เราต้อง ยอมรับว่าการที่เราสร้างทีมงานให้เกิดขึ้นนั้น ก็เพื่อที่จะเพิ่มเติมประสิทธิภาพในการแก้ไข ปัญหา เสริมสร้างผลผลิตให้สูงขึ้น ตลอดจน ต้อ งการน� ำ ประสบการณ์ ที่ห ลากหลายของ สมาชิกมาใช้ประโยชน์ในการด�ำเนินงาน ใน การท�ำงานเป็นทีมนัน้ บางครัง้ ย่อมต้องมีความ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 185
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
คิดเห็นทีแ่ ตกต่างกัน เมือ่ เป็นเช่นนี ้ จ�ำเป็นต้อง พึ่ ง พาอาศั ย กระบวนการติ ด ต่ อ สื่ อ สารที่ ดี ตรงไปตรงมาและเปิดเผย ดังนั้น สิ่งที่เราจะ พบเห็นในทีมงานที่มีประสิทธิภาพคือ ระบบ การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกกับสมาชิก จะต้องมีประสิทธิภาพสมบูรณ์พร้อม ข่าวสาร ข้อมูลเที่ยงตรง รวดเร็ว ฉับไว อีกสิ่งหนึ่งก็คือ การติดต่อสื่อสารนั้นจะต้องเป็นไปอย่างเท่า เทียมกัน คือเกิดความเสมอภาคในมวลสมาชิก ของทีมงาน ทุกๆคนได้รบั ข้อมูลข่าวสารทีเ่ ท่าๆ กัน ไม่มีใครมีข้อมูลมากกว่าใคร และในทาง กลับกัน ไม่มใี ครมีขอ้ มูลน้อยกว่าผูอ้ นื่ ส�ำหรับ ส�ำหรับเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ (2556) ได้กล่าว ถึงลักษณะส�ำคัญซึ่งทีมที่มีประสิทธิผลใช้เป็น หลักการในการสร้างทีม คือ การสื่อสารที่เปิด กว้างและเผชิญหน้า (openness and confrontation) ทีมที่มีประสิทธิผลสามารถเผชิญ หน้ากับความขัดแย้งและกระตุ้นให้สมาชิก สื่อสารอย่างเปิดกว้างต่อกัน การเปิดกว้างกับ การเผชิ ญ หน้ า เป็ น สิ่ ง ที่ ที ม ต้ อ งสร้ า งและ สนับสนุนให้สมาชิกแสดงความรู้สึกที่แท้จริง ออกมา ถ้ า หากที ม ต้ อ งการมี ป ระสิ ท ธิ ผ ล สมาชิกทีมต้องสามารถแสดงทรรศนะ ความ เห็น ใช้วิจารณญาณ ความรู้สึกที่มีเหตุผลหรือ ไม่มเี หตุผล รับรูข้ อ้ เท็จจริงหรือลางสังหรณ์โดย ไม่ต้องกลัวว่าจะกลายเป็นคนส่วนน้อยหรือน่า อาย
186 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
องค์ ป ระกอบที่ 5 บรรยากาศการ ท�ำงาน การสร้างทีมงาน เป็นหน้าทีข่ องทุกคน ทีจ่ ะต้องสร้างและพัฒนาการท�ำงานเป็นทีมอยู่ เสมอ เพือ่ ให้แต่ละคนเห็นความส�ำคัญของงาน และประโยชน์รว่ มกันมากกว่าความส�ำคัญหรือ ผลประโยชน์สว่ นบุคคล บรรยากาศและสภาพ แวดล้อมในการท�ำงาน ผลตอบแทนที่ได้รับ ความยุ ติ ธ รรม ความเสมอภาค และการ สนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน สิ่งเหล่านี้มีส่วน ส่งเสริมการท�ำงานเป็นทีมทั้งสิ้น การตัดสินใจ อาจจะกระท�ำโดยผู้บริหารคนเดียวได้ แต่ใน การปฏิ บั ติ ง านนั้ น ไม่ ส ามารถกระท� ำ โดย ผู้บริหารเพียงคนเดียว ทีมงานที่ดีจึงเปรียบ เสมื อ นพลั ง ในการปฏิ บั ติ ง านของผู ้ บ ริ ห าร นั่ น เอง สอดคล้ อ งกั บ ปิ ย ะวุ ฒิ อนุ อั น ต์ (2558) กล่าวว่า บรรยากาศท�ำงานทีผ่ อ่ นคลาย Relaxed Atmosphere ไม่ เ คร่ ง เครี ย ด การท�ำงานเป็นแบบถ้อยทีถอ้ ยอาศัย หลีกเลีย่ ง การติดต่ออย่างเป็นทางการ เน้นความเป็น พี่ เ ป็ นน้ อ ง ซึ่ ง มี ผ ลในการติ ดต่ อ สื่ อ สารการ ประสานงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการสร้างทีม งานที่ดี สอดคล้องกับ แนวคิดของ พาร์คอน (Parcon, 2007) กล่าวว่า การสร้างทีมได้ผลดี ที่ สุ ดเมื่ อ สามารถบรรลุ เ งื่ อ นไขต่ า งๆ ได้ แ ก่ ที ม สร้ า งบรรยากาศที่ รู ้ สึ ก ผ่ อ นคลายและ สามารถเปิ ด อกพู ด คุ ย กั น ได้ สอดคล้ อ งกั บ กิตติกรณ์ ไชยสาร (2557) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
การสร้ า งที ม งานของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถม ศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 พบว่า ด้านบรรยากาศ การท�ำงานที่ปราศจากพิธีรีตอง มีการปรึกษา หารือเป็นระยะๆ หาโอกาสดูแลการท�ำงานของ บุคลากรและให้บคุ ลากรร่วมแสดงความคิดเห็น ที่หลากหลาย ให้ก�ำลังใจและมีรางวัลให้บ้าง ตามสมควร และส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพจิ ต ในการ ท�ำงานอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับ เตือนใจ โพธิ์ทอง (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้าง ทีมงานทีม่ ปี ระสิทธิผลของผูบ้ ริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 เมือ่ พิจารณารายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสร้าง บรรยากาศที่ดีในองค์กร ผู้บริหารมีความเป็น กันเอง ส่งเสริมอารมณ์และความรูส้ กึ ทีด่ ใี นการ ท�ำงาน องค์ ป ระกอบที่ 6 การบริ ห ารความ ขัดแย้ง แม้ว่าพนักงานจะมากันหลายสถานที่ แต่ ก็ ม าท� ำ งานอยู ่ ด ้ ว ยกั น เป็ น ที ม จะต้ อ งมี ความเป็นหนึ่งเดียวกันเพราะการท�ำงานคือ ความเป็นมืออาชีพ ต้องมีการยอมรับความคิด เห็นซึง่ กันและกัน และต้องมีการเสนอความคิด ไปยังผู้อื่นด้วยนั้นคือการให้ความร่วมมือ และ เคารพในสิทธิและหน้าทีซ่ งึ่ กันและกัน เวลาเกิด ปัญหา การแก้ปัญหาต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดความขัดแย้งและสร้างข้อตกลงร่วมกันได้
ลลิดา ศรีสัมพันธ์ (2555) กล่าวว่า ความร่วม มือและความขัดแย้ง หมายถึง การส่งเสริมให้ สมาชิกอุทิศตนในการปฏิบัติงานให้ส�ำเร็จไป ด้วยดี มีการประสานประโยชน์ในเรื่องของ ความรู้ ความสามารถตลอดจนความแตกต่าง ของแต่ละบุคคลให้ได้ผลร่วมกันอย่างสูงสุด เปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในการท�ำงาน ควบคุมความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ภายในทีมให้อยู่ในระดับที่เกิดประสิทธิภาพ ขององค์กร สอดคล้องกับ บุญญฤทธิ์ สมบัติ หลาย (2553) ได้เสนอแนวคิดในการสร้างทีม งานไว้ แม้ จ ะมี ก ารขั ด แย้ ง กั น (Disagreement) คนในกลุ่มก็ยังมีความรู้สึกที่จะอยู่ร่วม ท�ำงานด้วยกันได้ต่อไป แม้จะมีความขัดแย้ง ก็ไม่คิดหลบหนีหลีกเลี่ยงเพื่อปิดบังอ�ำพราง การไม่ตกลงกัน ไม่มีการบีบบังคับกันและกัน ในกลุ่มได้มีการตรวจสอบเหตุผลกันและกัน อย่างระมัดระวัง กลุ่มพยายามจะแก้ปัญหา แทนที่จะหลีกหนีไปให้พ้น องค์ ป ระกอบที่ 7 การทบทวนการ ท� ำ งาน การทบทวนผลงานเป็ น สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ส�ำหรับการพัฒนาความสามารถ เช่น ทีมกีฬา ต้องทบทวนและใช้เวลาเป็นเวลานานเพือ่ พูดถึง ความส�ำเร็จและความล้มเหลวของทีม ระบุจุด อ่อน-จุดแข็ง และวางกลยุทธ์เพื่อการปรับปรุง การทบทวนรวมไปถึงวัตถุประสงค์และข้อมูล ที่เป็นกลาง ทีมได้ประโยชน์จากการทบทวน
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 187
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
ผลงานเป็ น ประจ� ำ และค้ น หาสิ่ ง ที่ ผิ ด พลาด บางที ม ตั้ ง ใจหลี ก เลี่ ย งการไตร่ ต รองและ ทบทวนตนเอง เหตุผลที่ไม่กล้าทบทวนอาจ เป็ น เพราะไม่ อ ยากวิ จ ารณ์ กั น ขาดความ สัมพันธ์เชิงบวกที่สามารถพูดได้ตรงไปตรงมา เกรงว่ า ความส� ำ เร็ จ ที่ เ ป็ น อยู ่ จ ะถู ก ท� ำ ลาย โดยการวิจารณ์ และขาดทักษะในการวิจารณ์ และวิเคราะห์ตนเอง กระบวนการทบทวนเป็น ขั้นตอนส�ำคัญของการพัฒนาประสิทธิผลของ ที ม แต่ มั ก ถู ก ละเลยเพราะแต่ ล ะวั น ที ม มี กิจกรรมที่ต้องท�ำจ�ำนวนมาก สอดคล้องกับ กิบ๊ (Gibb, 2013) ได้กล่าวว่า โครงการเริม่ ต้น เมื่อพบปัญหา ทั้งก่อนเริ่มและระหว่างการ สร้ า งที ม ข้ อ มู ล จะถู ก เก็ บ รวบรวมเพื่ อ หา สาเหตุของปัญหานัน้ ๆ จะมีการวิเคราะห์ขอ้ มูล และวิ นิ จ ฉั ย ว่ า มี ค วามผิ ด พลาดที่ ต รงไหน หลังจากการวินิจฉัยทีมจะได้ข้อตกลงร่วมกัน ในการวางแผนแก้ปญ ั หาอย่างเหมาะสม มีการ วางแผนการด�ำเนินการและสั่งงาน จากนั้น จะเริ่ มด� ำ เนิ นการจริงและมีก ารประเมินผล ตามความเป็นจริง บางครั้งอาจไม่พบปัญหาที่ ชัดเจน ปัญหาส�ำคัญคือต้องระบุปัญหาที่ซ่อน อยู่ให้ได้ ผู้จัดการและที่ปรึกษาจะท�ำงานร่วม กันในการด�ำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มระบุปัญหา จนประเมินผลส�ำเร็จ องค์ประกอบที ่ 8 การมีสว่ นร่วม การมี ส่วนร่วมของสมาชิกในทีม เป็นเรือ่ งส�ำคัญทีจ่ ะ
188 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ท�ำให้แน่ใจว่าสมาชิกพร้อมที่จะมีส่วนร่วมใน ทีม ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นการตัดสินจากใจจริง เ นื่ อ ง จ า ก ข ้ อ จ� ำ กั ด ข อ ง ส ม า ชิ ก ที่ ไ ม ่ มี ประสบการณ์เป็นเรื่องธรรมชาติและเข้าใจได้ สอดคล้ อ งกั บ ประภาพร เหลื อ งช่ ว ยโชค (2558) ได้กล่าวว่า ทีมงาน หมายถึง คนตัง้ แต่ 2 คนขึ้นไปที่มาท�ำงานร่วมกันโดยสมาชิกมี ทั ก ษ ะ เ ส ริ ม ต ่ อ กั น ผู ก พั น ต ่ อ กั น ด ้ ว ย วัตถุประสงค์และเป้าหมายทีต่ รงกัน มีแนวทาง ปฏิบตั งิ านแบบเดียวกัน ต่างมีความรับผิดชอบ ร่วมกันที่สามารถตรวจสอบได้ ประสานกัน อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีเป้าหมายสูงสุดของทีม เป็นเครื่องก�ำหนด สอดคล้องกับ กิตติกรณ์ ไชยสาร (2557) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้าง ที ม งานของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา ศรีสะเกษ เขต1 พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน และเปิด โอกาสให้ ทุ ก คนมี ส ่ ว นร่ ว มในการท� ำ งาน ผู ้ บ ริ ห ารควรติ ด ตามดู แ ลและให้ ก� ำ ลั ง ใจใน การท�ำงานของบุคลากร และเปิดโอกาสให้ บุคลากรมีส่วนร่วมในการก�ำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางในการท� ำ งาน ผู ้ บ ริ ห ารควรรั บ ฟั ง ปั ญ หาและยอมรั บ มติ ที่ ป ระชุ ม และหาแนว ทางแก้ปัญหาร่วมกับบุคลากร สอดคล้องกับ เตือนใจ โพธิ์ทอง (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลของผู้บริหาร
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
สถานศึกษาสังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา ชลบุรี เขต 1 เมื่อพิจารณารายด้านเรียงจาก มากไปหาน้อย พบว่า ด้านการเปิดโอกาสให้ บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรม ต่างๆ ขององค์กรอย่างเต็มที่ รวมทั้งชักชวน ให้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานอื่นอยู่เสมอ ท�ำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งและ มีความส�ำคัญต่อองค์กร ผลการยืนยันองค์ประกอบการสร้างทีมงานใน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ผลการตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบ การสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา โดยวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู ้ เชี่ ย วชาญ (connoisseurship) จ� ำ นวน 7 คน ผลการตรวจสอบพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ส่ ว นใหญ่ มี ค วามคิ ด เห็ น สอดคล้ อ งกั น ว่ า องค์ ป ระกอบการสร้ า งที ม งานในโรงเรี ย น เอกชนประเภทสามั ญ ศึ ก ษาเป็ น พหุ อ งค์ ประกอบ มีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิด ทฤษฎี และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง จ� ำ นวน 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทบาทผูน้ ำ� และผูต้ าม 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) กระบวน การท�ำงาน 4) การติดต่อสือ่ สาร 5) บรรยากาศ การท�ำงาน 6) การบริหารความขัดแย้ง 7) การ ทบทวนการท�ำงาน 8) การมีส่วนร่วม ผู้ทรง คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า
องค์ ป ระกอบการสร้ า งที ม งานในโรงเรี ย น เอกชนประเภทสามัญศึกษา มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ข้อเสนอแนะเพื่อการน�ำผลการวิจัยไปใช้ จากผลการวิจัยเรื่อง องค์ประกอบการ สร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ ศึกษา ชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบที่สังเคราะห์ ออกมาได้ 8 องค์ ป ระกอบ ซึ่ ง แต่ ล ะองค์ ประกอบมีความส�ำคัญในทุกด้าน เพราะถือ เป็นองค์ประกอบหลักของการสร้างทีมงานใน โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ดังนั้น ในการน�ำไปประยุกต์ใช้หรือเป็นแนวทางในการ ศึกษาวิจัย ผู้บริหารหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควร สนับสนุนและส่งเสริมองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. บทบาทผู้น�ำและผู้ตาม จากผลการ วิจัยพบว่า โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญให้ ความส�ำคัญในเรื่องของบทบาทผู้น�ำและผู้ตาม เป็นอันดับแรก โดยควรให้ความส�ำคัญในการ คัดเลือกบุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายต่างๆ โดยคณะกรรมการโรงเรียน มีหัวหน้าทีมช่วย ผู ้ บ ริ ห ารทบทวนแบบแผนการบริ ห ารและ แนะน�ำวิธีปฏิบัติงานแก่บุคลากร 2. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จากผล การวิจยั พบว่า บุคลากรควรให้ขอ้ มูลย้อนกลับ ในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร รวมทั้งเข้าใจและยอมรับวัตถุประสงค์ของทีม
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 189
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
ทัง้ นีอ้ งค์กรจะต้องมีกระบวนการในการปฏิบตั ิ งานและกระบวนการตั ด สิ น ใจที่ เ หมาะสม สมาชิกในทีมปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการท�ำงาน ร่วมกัน 3. กระบวนการท�ำงาน จากผลการวิจยั พบว่า ทุกคนควรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการ ท�ำงาน ในขณะที่องค์กรควรมีการจัดกิจกรรม หรือสร้างวัฒนธรรมการมีสัมพันธภาพอันดี ต่ อ กั น ระหว่ า งกลุ ่ ม เพื่ อ ให้ บุ ค ลากรทุ ก ฝ่ า ย เต็มใจท�ำกิจกรรมละลายพฤติกรรมและพบปะ สังสรรค์กัน 4. การติดต่อสือ่ สาร จากผลการวิจยั พบ ว่า ทีมงานควรร่วมกันอภิปรายถึงเหตุผลที่อยู่ เบือ้ งหลังการพัฒนาทีมงาน โดยทีผ่ บู้ ริหารและ หัวหน้าทีมช่วยสมาชิกท�ำความเข้าใจข้อมูลทีไ่ ด้ มาก มีการติดต่อสื่อสารกับบุคลากรอย่างเปิด เผย ตรงไปตรงมาและชัดเจน 5. บรรยากาศการท�ำงาน จากผลการ วิ จั ย พบว่ า บุ ค ลากรควรใช้ จุ ด เด่ น ให้ เ กิ ด ประโยชน์ต่อการท�ำงาน บุคลากรจะต้องมี สุขภาพจิตที่ดี มีความกระตือรือร้น ประกอบ ไปด้วยคุณธรรมในการท�ำงานต่างๆ รวมทั้ง บุคลากรควรแก้ไขจุดอ่อนเพือ่ ให้เกิดประโยชน์ ต่อการท�ำงาน และองค์กรควรมีบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในการท�ำงานที่ดี 6. การบริหารความขัดแย้ง จากผลการ วิจัยพบว่า บุคลากรควรมีทักษะการรับมือกับ
190 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ความขั ด แย้ ง และสร้ า งข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ได้ และสามารถควบคุ ม ความขั ด แย้ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายในทีมให้อยู่ในระดับที่เกิดประสิทธิภาพ ขององค์กร โดยมีหวั หน้าทีมท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูไ้ กล่ เกลี่ยข้อพิพาทเมื่อเกิดความขัดแย้งภายในทีม 7. การทบทวนการท�ำงาน จากผลการ วิจัยพบว่า องค์กรจ�ำเป็นต้องมีการจัดระบบ การประเมินพฤติกรรมและการเรียนรู้ถึงความ ผิ ด พลาดในการปฏิ บั ติ ง านของกลุ ่ ม มี ก าร ประเมินผลการท�ำงานตามความเป็นจริงและ เหมาะสมอย่างสม�่ำเสมอ และควรประเมินผล หลั ง เสร็ จ สิ้ น การด� ำ เนิ น งานรวมทั้ ง ทบทวน ความผิดพลาดระหว่างการท�ำงานและภายหลัง จากการปฏิบัติงานอยู่เสมอ 8. การมีสว่ นร่วม จากผลการวิจยั พบว่า องค์กรควรสร้างบรรยากาศการท�ำงานของกลุม่ ที่ท�ำให้เกิดความสามัคคีกันสูง และผู้บริหาร ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรปรึกษาหารือเรื่อง งานได้อย่างเป็นกันเอง นอกจากนี้ ผู้บริหาร ควรมีการมอบหมายอ�ำนาจหน้าที่ความรับผิด ชอบให้กับบุคลากรตามความเหมาะสม ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงองค์ประกอบ การสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา โดยอาศัยแนวคิดของนักวิชาการ หลายท่านมาเป็นกรอบในการศึกษา อย่างไร
หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
ก็ ต ามยั ง มี แ นวคิ ด ทฤษฎี แ ละผลงานวิ จั ย ที่ เกีย่ วข้องกับการสร้างทีมงาน ทีอ่ าจมีมมุ มองที่ แตกต่าง และอาจจะไม่ได้น�ำมาใช้ในงานวิจัย ครั้งนี้ ดังนั้น หากมีการวิจัยการสร้างทีมงาน สามารถที่จะน�ำแนวคิดที่ต่างจากนี้มาศึกษา เพิ่มเติมได้ต่อไปอีก
2. งานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะองค์ประกอบ การสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภท สามั ญ ศึ ก ษา ดั ง นั้ น หากสถาบั น การศึ ก ษา องค์กรหรือโรงเรียนอื่นๆ ต้องการพัฒนาใน ด้านการสร้างทีมงาน สามารถศึกษาวิจัยการ สร้างทีมงาน ทีเ่ หมาะสมกับแต่ละองค์กร เพือ่ ให้เกิดประโยชน์และบรรลุตามวัตถุประสงค์ ของแต่ละองค์กรต่อไป
บรรณานุกรม กิตติกรณ์ ไชยสาร. (2557). การสร้างทีมงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต1. จุฑา เทียนไทย. (2550). การจัดการ: มุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2546). การสร้างทีมงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ. พิมพ์ครัง้ ที ่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรม กมลการพิมพ์. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2558). รับฟังปัญหาการศึกษาเอกชน.กระทรวงศึกษาธิการ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมือ่ : 17 กันยายน 2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.moe.go.th/moe/th/news/ detail.php?NewsID=42971&Key=news/. ทักดนัย เพชรเภร. (2556). การพัฒนารูปแบบการธํารงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา. พิษณุโลก: วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 15. บุญญฤทธิ์ สมบัติหลาย. (2553). การท�ำงานเป็นทีม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปราณี ภารังกูล. (2558). ทักษะการบริหารทีม: ศูนย์ศกึ ษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก สถาบันการ พัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. ปรียาภรณ์ ศรีเจริญ. (2554). การสร้างทีมงานขององค์การบริหารส่วนต�ำบลโคกโพธิ์ อ�ำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. ปิยะวุฒิ อนุอันต์. (2558). การสร้างและพัฒนาทีมงาน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ: 17 กันยายน 2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.seminar4u.net. ประภาพร เหลือช่วยโชค. (2558). กระบวนการกลุ่มและเทคนิกการท�ำงานเป็นทีม. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 191
องค์ประกอบการสร้างทีมงานในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จ�ำกัด. ลลิ ด า ศรี สั ม พั น ธ์ . (2555). ปั จ จั ย ทางด้ า นการบริ ห ารงานที่ มี ผ ลต่ อ การสร้ า งที ม งานให้ มี ประสิทธิภาพ. นนทบุรี: คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยราชพฤกษ์. ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2558). โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2558. เข้าถึงได้จาก: http://tdri.or.th/ tdri-insight/reform-teacher- quality. Daniel Katz and Robert L Kahn. (1978). The Social Psychology of Organization. 2nd ed. New York : John Wiley & Son. Daniel W. Midura & Donald R. Glover. (2005). The Procress of Team Building: Essentials of Team Building. Dubrin, Andrewn. (1990). Effective business psychology. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall. John C. Maxwell. (2001). The 17 Indisputable Laws of Teamwork. USA: through Bridge Communication Co.Ltd. Mike Woodcock and Dave Francis. (2008). Successful. Team Building: Team Metrics Resources For Measuring and Improving Team Performance. Paul Parcon. (2007) .Team Development.: Development Your Team Building Skills. Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New york: Harper and Row Publication. William Gibb. (2013). Team building: Proven strategies for improving team perfor mance, 4th ed.
192 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุข
ภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร1
Component and Inner Happiness
Comparison of People in Bangkok. ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา * อาจารย์ประจ�ำสาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Dr.Jitra Dudsdeemaytha
* Lecturer, Research and Curriculum Development, Graduate School, Srinakharinwirot University. งานวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดความสุขภายในตนเองของประชาชนใน เขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจ�ำปี 2557 1
*** วันที่ตอบรับบทความ 22 ธันวาคม 2561
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและเปรียบเทียบ ความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร จ�ำแนกตาม เพศ อายุ อาชี พ ระดั บ การศึ ก ษา และสถานภาพทางครอบครั ว เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผูเ้ ชีย่ วชาญ จ�ำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา น�ำผลที่ได้มาสร้าง แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และน�ำไปเก็บกับ ตัวอย่างเป็นประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2 ครั้ง ครั้งละ 1,500 คน รวมเป็นจ�ำนวน 3,000 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (EFA) และ เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 (CFA) และ เทคนิ ค การวิ เ คราะห์ ค วามแปรปรวนพหุ คู ณ (MANOVA) ผลการ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (EFA) พบว่าค่า Eigenvalues มากกว่า 1.00 มีอยู่ทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ ก�ำหนดชื่อ ทั้ ง 5 องค์ ป ระกอบของความสุ ข ภายในตนเอง ดั ง นี้ ด้ า นร่ า งกาย ด้านอารมณ์ ด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น ด้านคิดบวก และด้านพลังชีวิต ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน อันดับที่ 2 (2CFA) พบว่าแบบจ�ำลององค์ประกอบของความสุขภายใน ตนเอง 5 องค์ ป ระกอบ มี ค วามกลมกลื น กั บ ข้ อ มู ล เชิ ง ประจั ก ษ์ (χ2 = 600.00 df = 231, p-value = 0.00000; Relative χ2 = 2.59, , RMSEA =.033, RMR = .020, SRMR= .030, CFI = .99, GFI = . 97, AGFI = .96, CN = 733.62) องค์ประกอบทัง้ ห้า อธิบายความสุข ภายในตนเองได้ร้อยละ 43-92 2. ประชาชนในกรุ ง เทพมหานครที่ มี อ าชี พ อายุ การศึ ก ษา แตกต่ า งกั น มี ค วามสุ ข ภายในตนเองแตกต่ า งกั น แต่ ป ระชาชนใน กรุงเทพมหานครทีม่ เี พศ และสถานภาพ แตกต่างกัน มีความสุขภายใน ตนเองไม่แตกต่างกัน ค�ำส�ำคัญ: ความสุขภายในตนเอง, ตัวชี้วัด, กรุงเทพมหานคร
194 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จิตรา ดุษฎีเมธา
Abstract
The purpose of this research was to study the Component and Inner Happiness Comparison of People in Bangkok by gender, age, occupation, education level and family status. Data were collected by in-depth interview technique with 5 experts. Data were analyzed by content analysis technique. The result was a set of 5-level questionnaires and collected for the sample living in Bangkok 2 times, 1,500 people each, totaling 3,000 people by using Stratified Random Sampling. The data were analyzed using the Exploratory Factor Analysis (EFA), Confirmatory Factor Analysis (CFA) and Multivariate Analysis of Variance (MANOVA) technique. The data were analyzed as follows; 1. The results of Exploratory Factor Analysis (EFA) found that the Eigenvalues which greater than 1.00. were 5 elements. Definition of the 5 Inner Happiness elements denominated as of Physical, Emotion, Social interaction, Positive Thinking and Vitality. The results of the data analysis using the Secondary Confirmatory Factor Analysis (2CFA) technique found that the 5 components of inner happiness were congruence with the empirical data (χ2= 600.00 df= 231, p-value = 0.00000; Relative χ2 = 2.59, RMSEA =.033, RMR = .020, SRMR= .030, CFI = .99, GFI = . 97, AGFI = .96, CN = 733.62) All five elements interpreted inner happiness within 43-92%. 2. People in Bangkok who had different occupations, age, education, could distinguish the Inner Happiness. However, people in Bangkok who had different gender and status had no difference in the Inner Happiness. Key words: Inner Happiness, Indicators, Bangkok ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 195
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
บทน�ำ ความสุขเป็นสิง่ ทีท่ กุ คนในโลกปรารถนา ด้ ว ยกั น ทั้ ง สิ้ น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ความสุ ข ของมนุษย์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน ปั จ จุ บั น ทั้ ง ในมิ ติ ด ้ า นเศรษฐศาสตร์ ที่ ใ ห้ ความส�ำคัญกับปริมาณของสินทรัพย์ที่ครอบ ครองเพื่อให้เกิด “ความอยู่ดี” ทางกายมาก ที่ สุ ด หากความต้ อ งการได้ รั บ การสนอง จะท� ำ ให้ เ กิ ด สุ ข ถ้ า ไม่ ไ ด้ ม า ย่ อ มเป็ น ทุ ก ข์ ในขณะที่ มิ ติ ด ้ า นสั ง คม ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สัมพันธภาพกับคนรอบข้าง และในมิติด้าน สุ ข ภาพ ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การมี สุ ข ภาพ ร่างกายและสุขภาพจิตใจสมบูรณ์ ความสุข เป็นเจคติและการรับรู้ของบุคคล เกี่ยวข้อง กั บ ความรู ้ สึ ก และความเชื่ อ หากบุ ค คลมี มุมมองต่อสิ่งรอบข้างเชิงบวก ย่อมส่งผลให้ เกิ ด ความสุ ข ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ได้ โดยองค์ ประกอบหลัก 4 อย่างที่ท�ำให้มีความสุขในเชิง คุณภาพชีวติ ทีด่ นี นั้ ประกอบด้วย ความน่าอยู่ ของสภาพแวดล้ อ ม สมรรถภาพของบุ ค คล ปัจจัยด้านทรัพยากรภายนอก และอารมณ์ ความรู้สึกของบุคคล (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), 2556; Helliwell, Layard, & Sachs, 2013) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ก�ำหนดให้ทุก วันที ่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันความสุข
196 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สากล” นั บ ได้ ว ่ า เป็ น การท้ า ทายความคิ ด กระแสหลักทีแ่ ต่เดิมให้ความส�ำคัญกับความสุข เฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจ วัตถุสิ่งของเท่านั้น สหประชาชาติ รายงานถึงการส�ำรวจดัชนีความ สุ ข โลกในปี 2559 โดยรวบรวมข้ อ มู ล จาก หลายปัจจัย อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ ระบบสั ง คมสงเคราะห์ รายได้ ประชากร อายุขัยของประชากร ความมีอิสระ ในการตัดสินใจ ความเอือ้ อาทร และเจตคติตอ่ ปัญหาคอร์รัปชั่น แล้วน�ำมาวิเคราะห์เป็นค่า ความสุขในประเทศต่างๆ 157 ประเทศทัว่ โลก พบว่าในปีพ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีความสุข มากขึ้นเล็กน้อยมีค่าดัชนีความสุขอยู่อันดับที่ 33 ของโลกเมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2558 ที่อยู่ อันดับที่ 34 จาก 158 ประเทศทั่วโลกและ มี ค ่ า ดั ช นี ค วามสุ ข อยู ่ อั น ดั บ ที่ 2 รองจาก ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม อาเซียน (ส�ำนักข่าวอินโฟเควสท์, 2559) โดย ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ (2559) ส�ำรวจ พบว่า ผู้ทํางานในภาคการบริการและการค้ามีความ สุ ข มากที่ สุ ด และผู ้ ท่ี มี ง านท� ำ จะมี ค วามสุ ข มากกว่าผูท้ วี่ า่ งงาน โดยองค์ประกอบหลักของ สุขภาพจิตที่อ่อนแอที่สุดคือ สมรรถภาพของ จิตใจ (ร้อยละ 57.6) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการจัดการปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ แสดงให้ เห็นว่า การยกระดับสุขภาพจิตของคนไทยให้
จิตรา ดุษฎีเมธา
ดีขึ้น ควรมุ่งพัฒนาสมรรถภาพของจิตใจเป็น หลัก การวั ด “ความสุ ข ” เป็ น การวั ด เชิ ง อั ต วิ สั ย (Subjective) เพราะเป็ น การรั บ รู ้ อารมณ์ความรู้สึกของแต่ละบุคคลในขณะนั้น ซึ่งแตกต่างจากการวัดเชิงภาวะวิสัย (Objective) ที่มีค่า คงที่ การวัดเชิงอัตวิสัยท�ำนอง เดียวกันนีท้ ใี่ ช้กนั บ่อยคือ ความอยูด่ เี ชิงอัตวิสยั (Subjective well – being) (รศรินทร์ เกรย์, วรชั ย ทองไทย และ เรวดี สุวรรณนพเก้า , 2553) ในทางจิตวิทยา ความสุขเป็นเรื่องของ อารมณ์ ความรู้สึก จึงเป็นการวัดที่เน้นไปทาง ความอยู่ดีทางอารมณ์ (Emotional well – being) แต่ถ้าเป็นความอยู่ดี (Well – being) จะรวมเอามิ ติ ข องสุ ข ภาพกาย (Physical health) และสุขภาพใจ (Mental health) เข้าไปด้วย นอกเหนือจากมิติของความอยู่ดี ทางอารมณ์ (Lyubomirsky, 2008) นอกจากนี้ ยังมีการวัดด้านสุขภาวะทางจิต (Psychological well-being) ซึ่งเป็นคุณลักษณะเชิงบวกที่มี ความหลากหลายด้ า นการเจริ ญ เติ บ โตและ พัฒนาการของบุคคลด้วย (Ryff & Keyes, 1995) กรุ ง เทพมหานคร ถือเป็นเมืองหลวง ของประเทศ ที่มีประชาชนอยู่อาศัยหนาแน่น ประมาณ 10 ล้านคน เป็นพื้นที่ชุมชนขนาด ใหญ่ ก ว่ า เขตสุ ข ภาพอื่ น ๆ ที่ มี ป ระชาชน
ประมาณเพียง 5-6 ล้านคน จากการส�ำรวจใน ปีพ.ศ. 2558 พบว่าสัดส่วนคนที่อาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานครมีความสุขน้อยกว่าภาพรวม ประเทศทีไ่ ด้รอ้ ยละ 83.6 นอกจากนี ้ ยังพบว่า ค่าความสุขอยู่ในระดับที่ต�่ำกว่าปกติมากกว่า ภาพรวมประเทศที่ ไ ด้ ร ้ อ ยละ 16.4 หรื อ มากกว่ า เกื อ บ 2 เท่ า ตั ว (กรมสุ ข ภาพจิ ต , 2561) ดังนั้น งานวิจัยนี้ จึงมุ่งศึกษาความสุข ภายในของตนเองของคนในกรุงเทพมหานคร ทีม่ วี ถิ ชี วี ติ บริบท ความเป็นอยูม่ คี วามแตกต่าง จากพืน้ ทีใ่ นชนบทอย่างชัดเจน และเพือ่ เปรียบ เทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร จ�ำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และสถานภาพว่าส่งผลต่อความสุข แตกต่างกันหรือไม่ เพือ่ จักได้เป็นข้อสารเทศให้ แก่ ห น่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งน� ำ ไปใช้ ก� ำ หนด นโยบายในการสร้างโปรแกรมหรือกิจกรรมที่ ส่ ง เสริ ม ความสุ ข ภายในตนเองของคนใน กรุงเทพมหานครต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพือ่ ศึกษาองค์ประกอบของความสุข ภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บความสุ ข ภายใน ตนเองของประชาชนในกรุ ง เทพมหานคร จ�ำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 197
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ได้ แ ก่ ประชาชนที่ อ าศั ย อยู ่ ใ นกรุ ง เทพมหานคร และมีช่ืออยู่ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 รวมจ�ำนวน 5,605,672 คน (ส�ำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2558) 2. ตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัย อยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป โดยแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ครั้ง ครัง้ ที ่ 1 ส�ำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ส� ำ รวจ (Exploratory Factor Analysis) จ� ำ นวน 1,500 คน ครั้ ง ที่ ส อง ส� ำ หรั บ การ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 (Secondary Confirmatory Factor Analysis) และการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเอง ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร จ�ำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และสถานภาพ จ� ำ นวน 1,500 คน ก� ำ หนดตั ว อย่ า งขั้ น ต�่ ำ ส� ำ หรั บ การเก็ บ ข้ อ มู ล แต่ ล ะครั้ ง โดยการ ประมาณค่าจากสัดส่วนของตัวอย่างต่อตัวแปร ที่ท�ำการศึกษาในสัดส่วน 1 ต่อ 20 ซึ่งในการ เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบไปด้วยตัวชี้วัด จ�ำนวน 25 ตัวชีว้ ดั ดังนัน้ ตัวอย่างในการเก็บ ข้ อ มู ล แต่ ล ะครั้ ง ไม่ ค วรน้ อ ยกว่ า 500 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้เขตของกรุงเทพมหานครเป็นตัวแบ่งชั้นภูมิ 198 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
3. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และสถานภาพ ตั ว แปรตาม ได้ แ ก่ ความสุ ข ภายใน ตนเอง ทั้งนี้ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้รับการ รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมส�ำหรับ พิ จ า ร ณ า โ ค ร ง ก า ร วิ จั ย ที่ ท� ำ ใ น ม นุ ษ ย ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รหัสโครงการ 051/56 E วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมี ขั้ น ตอน การวิจัย ดังนี้ 1. ด� ำ เนิ น การทบทวนเอกสารและ วรรณกรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความสุ ข เพื่ อ ท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา องค์ประกอบ ของความสุ ข ในมุ ม มองของนั ก ทฤษฎี และ ด� ำ เนิ น การสั ม ภาษณ์ เชิ ง ลึ ก กั บ ผู ้ เชี่ ย วชาญ ด้ า นจิ ต วิ ท ยา ด้ า นสั ง คม ด้ า นศาสนา รวม จ�ำนวน 5 คน เพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับ เนื้อหา องค์ประกอบ ของความสุขในมุมมอง ของผู้เชี่ยวชาญ 2. ก�ำหนดขอบเขตของความสุขภาย ในตนเอง และสังเคราะห์องค์ประกอบย่อย พัฒนาให้ออกมาในรูปแบบของแบบสอบถาม
จิตรา ดุษฎีเมธา
แบบมาตรส่ ว นประมาณค่ า 5 ระดั บ หา คุ ณ ภาพของแบบสอบถามด้ ว ยการหาค่ า ความเทีย่ งตรงเชิงเนือ้ หา (Content Validity) ด้ ว ยเทคนิ ค การค� ำ นวณหาค่ า ดั ช นี ค วาม สอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวน 5 คน พบว่า มี ค ่ า IOC อย่ ร ะหว่ า ง 0.6-1.00 แล้ ว น� ำ แบบสอบถามไปทดลองใช้ กับตัวอย่าง จ�ำนวน 60 คน เพื่อหาค่าอ�ำนาจจ�ำแนกรายข้อ ด้วย วิ ธี ก ารหาค่ า สหสั ม พั น ธ์ ค ะแนนรายข้ อ กั บ คะแนนรวม (Corrected item-total correlation) พบว่า มีค่าอ�ำนาจจ�ำแนกอยู่ระหว่าง .313 - .656 และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) ด้วยเทคนิคแบบอัลฟา (Cronbach Alpha) พบว่ามีค่าเท่ากับ .924 3. ด� ำ เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ครั้ ง ที่ 1 กับตัวอย่าง จ�ำนวน 1,500 คน เพื่อด�ำเนิน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (EFA) ด้วยโปรแกรม ส�ำเร็จรูปทางสถิต ิ เพือ่ ตรวจสอบถึงองค์ประกอบ ของความสุ ข ภายในตนเองของประชาชน ในกรุงเทพมหานครว่ามีกี่องค์ประกอบ แต่ละ องค์ประกอบประกอบด้วยตัวชี้วัดอะไรบ้าง 4. ด�ำเนินการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 กับ ตัวอย่าง จ�ำนวน 1,500 คน เพื่อด�ำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 (Secondary
Confirmatory Factor Analysis) ด้ ว ย โปรแกรมส� ำ เร็ จ รู ป ทางสถิ ติ เพื่ อ ยื น ยั น ถึ ง องค์ประกอบของความสุขภายในตนเองของ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน หลายตัวแปร (MANOVA) เพื่อเปรียบเทียบ ความสุขภายในตัวเองทั้งในภาพรวมและราย ด้านของประชาชนจ�ำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ผลการวิจัย 1. การศึกษาองค์ประกอบของความสุข ภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ผู ้ วิ จั ย สั ม ภาษณ์ ผู ้ เชี่ ย วชาญ จ� ำ นวน 5 คน ก่อนด�ำเนินการศึกษาองค์ประกอบของความ สุขภายในตนเอง ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้วา ่ ความสุขภายในตนเองเป็นความรูส้ กึ เชิ ง บวกที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายในตนเองโดยไม่ ไ ด้ ถู ก กระตุ้นจากสภาพแวดล้อม เกิดจากการรับรู้ ของบุคคลจากสิ่งที่ตนเองเป็น สิ่งที่ตนเองมี อยู่ในช่วงระยะเวลานั้นๆ บุคคลที่มีความสุข ภายในตนเอง จะเกิ ด ความรู ้ สึ ก เชิ ง บวก อารมณ์ดี มีสติในการตามอารมณ์และจัดการ กั บ อารมณ์ ข องตนเองได้ มี ค วามอิ่ ม เอมใจ พึ ง พอใจกั บ ชี วิ ต มี ค วามสบายใจ สามารถ ใช้ความสุขเอาชนะต่อความทุกข์ได้ มีมุมมอง ต่ อ ปั ญ หาในทางบวก คิ ด หาทางออกเมื่ อ เกิดปัญหา มากกว่าจะจมอยู่กับปัญหานั้นๆ
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 199
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สามารถสร้างสัมพันธภาพทีด่ กี บั บุคคลรอบข้าง พูดถึงคนอื่นในแง่ดี ให้ก�ำลังใจ ชื่นชมผู้อื่นได้ ดู แ ลรั ก ษาสุ ข ภาพของตนเองให้ แ ข็ ง แรง ไม่ปล่อยให้ตนเองเครียดจนส่งผลกระทบต่อ สุขภาพกาย และใจ ท�ำให้ตนเองเป็นผูท้ มี่ จี ติ ใจ ปลอดโปร่ง โล่ง สบาย เป็นผู้ที่วางเป้าหมาย อนาคตของตนเองในการใช้ชีวิต และน�ำพา ตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ มีความสนุกกับ การใช้ ชี วิ ต สร้ า งให้ ต นเองเกิ ด ความมี ชี วิ ต ชีวาในทุกๆ วัน ไม่ทิ้งตัวให้จมกับความทุกข์ ไม่ดูถูกตนเอง มีความรู้สึกดีกับชีวิตและการ ใช้ชีวิต ปรับตัวได้ง่าย จากนั้น ผู้วิจัย ได้น�ำผลการสัมภาษณ์ มาสร้างเป็นข้อค�ำถามเพื่อศึกษาองค์ประกอบ เชิงส�ำรวจ โดยผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงส�ำรวจ (EFA) จากการเก็บข้อมูลกับตัวอย่าง ครั้งที่ 1 จ�ำนวน 1,500 คน เป็นดังนี้ (ตาราง ที่ 1 หน้าที่ 201) ตาราง 1 พบว่า เมทริกซ์สหสัมพันธ์ของ ข้ อ ค� ำ ถามทั้ ง 25 ข้ อ ไม่ เ ป็ น เมทริ ก ซ์ เอกลักษณ์ (Identity Matrix) (Bartlett's Test of Sphericity = 32952.972, P-value = .000) เมื่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายข้ อ ค� ำ ถาม พบว่า ค่าความพอเพียงของการเลือกตัวอย่าง โดยรวม (Kaiser-Meyer-Olkin: KMO) มีค่า เท่ากับ .941 แสดงว่าข้อค�ำถามเป็นรายข้อ
200 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
มีความสัมพันธ์กันเพียงพอพอที่จะน�ำมาใช้ ในการวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบเดี ย วกั น ได้ การวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบ ที่ 1 ประกอบด้ ว ยข้ อ ค� ำ ถามที่ 19 – 25 ก� ำ หนดชื่ อ เรี ย กองค์ ป ระกอบว่ า พลั ง ชี วิ ต องค์ประกอบที่ 2 ประกอบด้วยข้อค�ำถามที่ 11 – 15 ก� ำ หนดชื่ อ เรี ย กองค์ ป ระกอบว่ า สั ม พั น ธภาพกั บ ผู ้ อื่ น องค์ ป ระกอบที่ 3 ประกอบด้ ว ยข้ อ ค� ำ ถามที่ 1-5 ก� ำ หนดชื่ อ เรียกองค์ประกอบว่า ร่างกาย องค์ประกอบที่ 4 ประกอบด้ วยข้ อ ค� ำ ถามที่ 6-10 ก� ำ หนด ชือ่ เรียกองค์ประกอบว่า อารมณ์ องค์ประกอบ ที ่ 5 ประกอบด้วยข้อค�ำถามที ่ 16-18 ก�ำหนด ชื่อเรียกองค์ประกอบว่า คิดบวก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน อันดับทีส่ อง จากการเก็บข้อมูลกับตัวอย่างครัง้ ที่ 2 จ�ำนวน 1,500 คน พบว่า แบบจ�ำลอง มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับ ที่ยอมรับได้ (χ2= 600.00 df= 231, p-value = 0.00000; Relative χ2 = 2.59, RMSEA = .033, RMR = .020, SRMR= .030, CFI = .99, GFI = .97, AGFI = .96, CN = 733.62) แสดง ผลของการวิเคราะห์แบบจ�ำลององค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่ 2 ของความสุขภายในตนเอง ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ดังภาพ ประกอบ 1 และตาราง 2 (หน้าที่ 203)
จิตรา ดุษฎีเมธา
ตาราง 1 ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบของความสุขภายในตนเองหลังการหมุนแกนแบบ Varimax (n = 1,500) ข้อที่ องค์ประกอบ องค์ประกอบ (Factor Loading) 1 2 3 4
Communalities 5
1. สมองปลอดโปร่งโล่งสบาย .168 .142 .704 .222 .038 2. กล้ามเนื้อผ่อนคลาย .086 .071 .786 .119 .151 3. ร่างกายกระฉับกระเฉง .168 .091 .788 .070 .108 4. คอ ไหล่ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหวได้คล่อง .119 .149 .736 .084 .092 5. หายใจได้สะดวก เต็มปอด .134 .200 .651 .126 .023 6. ร่าเริงอารมณ์ดี .234 .360 .381 .399 -.345 7. อารมณ์หนักแน่น มั่นคง .219 .132 .289 .520 .160 8. ปล่อยวางความรู้สึกด้านลบได้ ("ช่างมัน" ) .041 .026 .065 .742 .274 9. ยิ้มได้ง่ายอย่างเป็นธรรมชาติ .255 .439 .223 .566 -.121 10. รู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกภายในตนเอง .176 .216 .201 .583 .190 11. เข้าหาทักทายผู้คนอย่างเป็นกันเอง .178 .705 .148 .146 -.034 12. พร้อมเปิดใจรับฟังความคิดที่ต่างจากตนเอง .130 .670 .159 .141 .307 13. ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ .237 .776 .178 .076 .110 14. เข้าร่วมกับกลุ่มสนทนากับผู้อื่นได้ .165 .785 .157 .071 .171 15. กล้าพูดชื่นชมผู้อื่น .207 .609 .070 .183 .300 16. คิดหาทางออกมากกว่าคิดวกวนอยู่กับปัญหา .204 .289 .128 .282 .511 17. ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ .305 .286 .144 .238 .505 18. คิดว่าปัญหาที่พบเจอสามารถแก้ไขได้อย่าง .315 .165 .163 .218 .605 สร้างสรรค์ 19. คิดวางแผนชีวิตในอนาคตให้มีความสุขตาม .514 .183 .151 .085 .465 ศักยภาพของตนเอง 20. ให้ก�ำลังใจกับตนเองเพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่มุ่งหวัง .647 .251 .106 .054 .351 21. เกิดแรงบันดาลใจในตนเอง .679 .213 .167 .093 .264 22. มีพลังในการด�ำเนินชีวิตอย่างมุ่งมั่น มุ่งหน้า .773 .185 .175 .108 .178 23. ชื่นชมตนเอง เมื่อท�ำสิ่งมุ่งหวังได้ส�ำเร็จ .747 .172 .119 .105 .053 24. มีพลังใจในการสู้ชีวิต .811 .124 .173 .187 .053 25. มีความศรัทธาตนเอง .758 .124 .107 .151 .040 Kaiser-Meyer-Olkin = .941, Bartlett's Test of Sphericity = 32952.972 (p= .0000)
.594 .679 .672 .620 .487 .650 .424 .659 .668 .517 .542 .602 .705 .687 .518 .449 .552 .539 .619 .610 .707 .606 .734 .604 .625
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 201
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
รูปที ่ 1 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที ่ 2 ของความสุขภายในตนเองของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร (n = 1,500)
202 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จิตรา ดุษฎีเมธา
ตารางที่ 2 ค่าน�้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน (Factor Loading Score) แสดงเป็นคะแนน มาตรฐาน (Standardize Score) ขององค์ประกอบหลักของความสุขภายในตนเอง ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (n = 1,500) องค์ประกอบ ค่าน�้ำหนักองค์ สถิติทดสอบ ความคลาดเคลื่อน ประกอบ (λ) ที (t) มาตรฐาน (θ) R2 1. ความสุขภายในตนเองด้านร่างกาย .66 19.30 .37 .43 1.1 สมองปลอดโปร่งโล่งสบาย .73 - .47 .53 1.2 กล้ามเนื้อผ่อนคลาย .66 20.40 .56 .44 1.3 ร่างกายกระฉับกระเฉง .72 19.12 .48 .52 1.4 คอ ไหล่ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหวได้คล่อง .73 20.67 .46 .54 1.5 หายใจได้สะดวก เต็มปอด .71 16.15 .50 .50 2. ความสุขภายในตนเองด้านอารมณ์ .94 17.99 .11 .89 2.1 ร่าเริงอารมณ์ดี .51 - .74 .26 2.2 อารมณ์หนักแน่น มั่นคง .57 15.07 .67 .33 2.4 ปล่อยวางความรู้สึกด้านลบได้ ("ช่างมัน") .41 11.92 .83 .17 2.5 ยิ้มได้ง่ายอย่างเป็นธรรมชาติ .60 17.83 .64 .36 2.6 รู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกภายในตนเอง .58 15.10 .66 .34 3. ความสุขภายในตนเองด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น .79 21.52 .38 .62 3.2 เข้าหาทักทายผู้คนอย่างเป็นกันเอง .65 - .57 .43 3.3 พร้อมเปิดใจรับฟังความคิดที่ต่างจากตนเอง .73 23.35 .46 .54 3.4 ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ .78 23.25 .39 .61 3.5 เข้าร่วมกับกลุ่มสนทนากับผู้อื่นได้ .73 22.01 .47 .53 3.6 กล้าพูดชื่นชมผู้อื่น .67 20.40 .56 .44 4. ความสุขภายในตนเองด้านคิดบวก .96 21.51 .08 .92 4.1 คิดหาทางออกมากกว่าคิดวกวนอยู่กับปัญหา .58 - .66 .34 4.2 ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ .65 20.46 .58 .42 4.5 คิดว่าปัญหาที่พบเจอสามารถแก้ไขได้อย่าง สร้างสรรค์ .62 17.73 .62 .38 5. ความสุขภายในตนเองด้านพลังชีวิต .80 21.29 .37 .63 5.1 คิดวางแผนชีวิตในอนาคตให้มีความสุข ตามศักยภาพของตนเอง .62 - .62 .38 5.2 ให้ก�ำลังใจกับตนเองเพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่มุ่งหวัง .71 25.64 .50 .50 5.3 เกิดแรงบันดาลใจในตนเอง .77 23.58 .40 .60 5.4 มีพลังในการด�ำเนินชีวิตอย่างมุ่งมั่น มุ่งหน้า .84 24.87 .29 .71 5.5 ชื่นชมตนเอง เมื่อท�ำสิ่งมุ่งหวังได้ส�ำเร็จ .68 21.43 .54 .46 5.5 มีพลังใจในการสู้ชีวิต .75 22.97 .44 .56 5.6 มีความศรัทธาตนเอง .65 20.66 .58 .42 χ2= 600.00 df= 231, p-value = 0.00000; Relative χ2 = 2.59, RMSEA =.033, RMR = .020, SRMR= .030, CFI = .99, GFI = .97, AGFI = .96, CN = 733.62
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 203
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 2 แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ความสุ ข ภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้ ว ย 5 องค์ ป ระกอบหลั ก มี ค ่ า น�้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน (λ) (Standardized Solution) มีค่าอยู่ระหว่าง .66 .96 อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 มีคา่ ความคลาดเคลือ่ นมาตรฐานเท่ากับ .08 - .38 มีค่าความเชื่อมั่น (R2) เท่ากับ .43 - .92 2. การเปรี ย บเที ย บความสุ ข ภายใน ตนเองของประชาชนในกรุ ง เทพมหานคร
จ�ำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ผู ้ วิ จั ย ได้ น� ำ ข้ อ มู ล จากผล การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที ่ 2 จากตั ว อย่ า ง จ� ำ นวน 1,500 คน ที่ พ บว่ า ความสุ ข ภายในตนเองของประชาชนใน กรุ ง เทพมหานคร ประกอบด้ ว ย 5 องค์ ประกอบหลั ก มาด� ำ เนิ น การเปรี ย บเที ย บ จ� ำ แนกตามข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลของตั ว อย่ า ง ด้วยสถิตทิ ดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวน พหุคูณ (MANOVA) ได้ผลสรุปดังตาราง 3
ตาราง 3 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคณ ู (MANOVA) เพือ่ เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของความ สุขภายในตนเองโดยรวมและรายด้าน ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ ช่วงอายุ อาชีพ การศึกษา และสถานภาพต่างกัน ค่าสถิติ/ ตัวแปร 1. เพศ 2. ช่วงอายุ 3. อาชีพ 4. การศึกษา 5. สถานภาพ
F F F F F
ด้าน ร่างกาย .002 .081 1.016 3.037* .241
ด้าน อารมณ์ กับผู้อื่น .010 .398 .404 .224 .436
ด้าน สัมพันธภาพ
ด้าน ด้าน โดยรวม Wilks' Lambda คิดบวก พลังชีวิต
.077 7.060* 5.674* 2.058 1.615
2.338 7.613* 8.244* 1.988 2.120
2.390 .588 .998 (F= .987) 8.431* 3.801* .984 (F= 3.947*) 7.219* 4.317* .968 (F= 3.306*) 3.623* 1.090 .989 (F= 2.599*) 1.873 .783 .990 (F= 2.446)
หมายเหตุ *มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, เพศ แบ่งเป็น ชาย (n=931) หญิง (n=1,926), ช่วงอายุ แบ่งเป็น ระหว่าง 15-20 ปี (n=1431) ระหว่าง 21–40 ปี (n=803) มากกว่าหรือเท่ากับ 41 ปี (n=624), อาชีพ แบ่งเป็น นักเรียน/นักศึกษา(n=1454) อาชีพประจ�ำ/มีเงินเดือน (n=1025) อาชีพไม่ประจ�ำ/งานอิสระไม่มีเงินเดือน (n=380), การศึกษา แบ่งเป็นมัธยมศึกษา/ต�่ำกว่า (n=449) อนุปริญญา/ปวช/ปวส (n=1298) ปริญญาตรี/ สูงกว่า (n=1080), สถานภาพ แบ่งเป็น โสด(n=1931) สมรส (n=827) หย่าร่าง/หม้าย (n=92)
204 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จิตรา ดุษฎีเมธา
จากตาราง 3 พบว่ า ตั ว แปรเพศ (Wilks' Lambda = .998 8, F = .987) และ สถานภาพ (Wilks' Lambda = .990, F = 2.446 p = .005) ไม่สามารถจ�ำแนกค่าเฉลี่ย ของความสุขภายในตนเองประชาชนในเขต กรุงเทพมหานครได้ แต่ตวั แปรช่วงอายุ อาชีพ และการศึกษา สามารถจ�ำแนกค่าเฉลี่ยของ ความสุขภายในตนเองได้ โดยพบว่า 1. ประชาชนที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความสุขภายในแตกต่างกัน (Wilks' Lambda = .984, F = 3.947*) โดยพบว่า - ความสุขภายในโดยรวม (F = 3.801*) ประชาชนช่วงอายุระหว่าง 21–40 ปี (M = 3.64) มี ค ่ า เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนอายุ น ้ อ ยกว่ า หรือเท่ากับ 20 ปี M = 3.59) อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ประชาชนที่มีอายุมาก กว่าหรือเท่ากับ 41 ปี (M = 3.64) มีคา่ เฉลีย่ มาก กว่าประชาชนอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี (M = 3.59) อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - ด้านสัมพันธภาพกับผูอ้ นื่ (F = 7.060*) ประชาชนที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 41 ปี (M = 3.78) มีค่าเฉลี่ยมากกว่าประชาชนอายุ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี (M = 3.66) อย่าง มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - ด้านคิดบวก (F = 7.613*) ประชาชน ช่วงอายุระหว่าง 21–40 ปี (M = 3.61) มีค่า
เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนอายุ น ้ อ ยกว่ า หรื อ เท่ากับ 20 ปี (M = 3.52) อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 ประชาชนที่ มี อ ายุ มากกว่าหรือเท่ากับ 41 ปี (M = 3.59) มีค่า เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนอายุ น ้ อ ยกว่ า หรื อ เท่ากับ 20 ปี (M = 3.52) - ด้านพลังชีวติ (F = 8.431*) ประชาชน ช่วงอายุระหว่าง 21–40 ปี (M = 3.85) มีค่า เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนอายุ น ้ อ ยกว่ า หรื อ เท่ากับ 20 ปี (M = 3.73) อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 ประชาชนที่ มี อ ายุ มากกว่าหรือเท่ากับ 41 ปี (M = 3.80) มีค่า เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนอายุ น ้ อ ยกว่ า หรื อ เท่ากับ 20 ปี (M = 3.73) อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 - ส�ำหรับด้านร่างกาย (F= .081) และ ด้านอารมณ์ (F = .398) ประชาชนที่มีช่วง อายุแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 2. ประชาชนที่ มี อ าชี พ แตกต่ า งกั น มีค่าเฉลี่ยความสุขภายในแตกต่างกัน (Wilks' Lambda = .968, F= 3.306*) โดยพบว่า - ความสุขภายในโดยรวม (F=4.317*) ประชาชนที่มีอาชีพประจ�ำ/มีเงินเดือน (M = 3.65) มี ค ่ า เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนที่ เ ป็ น นักเรียน/นักศึกษา (M = 3.59) อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 205
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
- ด้านสัมพันธภาพกับผูอ้ นื่ (F = 5.674*) ประชาชนที่มีอาชีพประจ�ำ/มีเงินเดือน (M = 3.75) มี ค ่ า เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนที่ เ ป็ น นักเรียน/นักศึกษา (M = 3.67) อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 - ด้านคิดบวก (F = 8.244*) ประชาชน ทีม่ อี าชีพประจ�ำ/มีเงินเดือน (M = 3.61) มีคา่ เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนที่ เ ป็ น นั ก เรี ย น/ นักศึกษา (M = 3.51) อย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 ประชาชนที่ มี อ าชี พ ไม่ ประจ�ำ/งานอิสระไม่มีเงินเดือน (M = 3.60) มีค่าเฉลี่ยมากกว่าประชาชนที่เป็นนักเรียน/ นักศึกษา (M = 3.51) อย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 - ด้านพลังชีวติ (F = 7.219*) ประชาชน ทีม่ อี าชีพประจ�ำ/มีเงินเดือน (M = 3.83) มีคา่ เฉลี่ ย มากกว่ า ประชาชนที่ เ ป็ น นั ก เรี ย น/ นักศึกษา (M = 3.73) อย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 ประชาชนที่ มี อ าชี พ ไม่ ประจ�ำ/งานอิสระไม่มีเงินเดือน (M = 3.81) มีค่าเฉลี่ยมากกว่าประชาชนที่เป็นนักเรียน/ นักศึกษา (M = 3.73) อย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 - ส� ำ หรั บ ด้ า นร่ า งกาย (F = 1.016) และด้านอารมณ์ (F = .404) ประชาชนที่มี ช่วงอายุแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน
206 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
3. ประชาชนที่มีการศึกษาแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความสุขภายในแตกต่างกัน (Wilks' Lambda = .989, F = 2.599*) โดยพบว่า - ด้านร่างกาย (F= 3.037*) ประชาชน ที่ มี ก ารศึ ก ษาระดั บ อนุ ป ริ ญ ญา/ปวช/ปวส (M = 3.43) มีค่าเฉลี่ยมากกว่าระดับมัธยม ศึกษา/ต�่ำกว่า (M = 3.35) อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 - ด้านพลังชีวติ (F = 3.623*) ประชาชน ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี/สูงกว่า(M = 3 . 8 2 ) มี ค ่ า เ ฉ ลี่ ย ม า ก ก ว ่ า ร ะ ดั บ มั ธ ย ม ศึกษา/ต�่ำกว่า (M = 3.74) อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ประชาชนที่มีการศึกษา ระดับปริญญาตรี/สูงกว่า (M = 3.82) มีค่า เฉลี่ ย มากกว่ า ระดั บ อนุ ป ริ ญ ญา/ปวช/ปวส (M = 3.75) อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - ส�ำหรับด้านอารมณ์ (F = .224) ด้าน สัมพันธภาพกับผู้อื่น(F = 2.058) และด้าน คิดบวก (F = 1.988) ประชาชนที่มีการศึกษา แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน สรุปและอภิปรายผล 1. การศึกษาองค์ประกอบของความสุข ภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ความสุขภายในตนเองของประชาชนใน กรุงเทพมหานครในงานวิจยั นี ้ ประกอบด้วย 5
จิตรา ดุษฎีเมธา
องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้าน อารมณ์ ด้านสัมพันธภาพกับผูอ้ นื่ ด้านคิดบวก ด้ า นพลั ง ชี วิ ต มี ค ่ า น�้ ำ หนั ก องค์ ป ระกอบ เท่ากับ .66, .94, .79, .96 และ .80 ตาม ล�ำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับราฟและคีเยส (Ryff & Keyes, 1995) ทีศ่ ึกษาถึงคุณลักษณะเชิงบวก ทางจิตใจที่มีความหลากหลายด้านการเจริญ เติ บ โตและพั ฒ นาการของบุ ค คลที่ เรี ย กว่ า “สุขภาวะทางจิต” (Psychological Well-being) ไว้ 6 มิต ิ ได้แก่ ความเป็นตัวเอง (Autonomy) ความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ ต่า งๆ (Environmental mastery) การมี ความงอกงามในตนเอง (Personalgrowth) การมี สั ม พั น ธภาพที่ ดี กั บ ผู ้ อื่ น (Positive relation with others) การมีจุดมุ่งหมายใน ชี วิ ต (purpose of life) และการยอมรั บ ตนเอง (Self-acceptance) แสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบของความสุขภายในตนเองนั้น เป็นสิ่งที่จะสามารถสร้างขึ้นได้เองด้วยการ ปรั บ เปลี่ ย นกระบวนการทั ศ น์ ท างความคิ ด (Paradigm) และการแสดงออกในเชิ ง พฤติกรรมในเชิงบวก (Behavioral) ทีจ่ ะส่งผล ที่ ดี ต ่ อ ตนเอง การให้ ค วามสําคั ญ กั บ ความ หมายและการตระหนักรูในตนเอง หรือความ สุขแบบยูไดโมเนีย (Eudaimonia) จะเกิดขึ้น เมื่ อ คนเราดําเนิ น ชี วิ ต อยางเหมาะสมหรื อ ดําเนินชีวิตอยางมีคุณคาและเต็มที่กับทุกสิ่ง
ทุกอยางและเมื่อเราดําเนินชีวิตอยางมีคุณคา เราจะมีความสุขซึ่งความสุขที่ไดรับนี้จะเปน ความสุขที่แทจริง (Waterman, 1993) การปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน์ (Paradigm) จะให้ความส�ำคัญกับการก�ำกับอารมณ์ของ ตนเอง การคิ ด บวก และพลั ง ชี วิ ต เพราะ คุณลักษณะดังกล่าว จะท�ำให้สิ่งที่เกิดขึ้นใน ชี วิ ต ประจ� ำ วั น หรื อ สิ่ ง ที่ เข้ า มากระทบกั บ อารมณ์ และความรู้สึก เป็นไปในทิศทางบวก ต่อตนเอง เพราะในชีวิตประจ�ำวันนั้น บุคคล ไม่สามารถที่จะควบคุม ก�ำกับ สิ่งต่างๆ ที่เกิด ขึ้ น ได้ แต่ สิ่ ง ที่ ท� ำ ได้ น้ั น ก็ คื อ การท� ำ ความ เข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ยอมรับ และเปลีย่ นมุมมองทางความคิด ทัง้ การมองให้ เห็นว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่ส่งผลทาง บวกต่อการด�ำเนินชีวิต สามารถที่จะแสวงหา ประโยชน์ได้ แม้กระทั่งสิ่งที่ส่งผลกระทบใน เชิงลบ สามารถทีจ่ ะท�ำให้อารมณ์ทเี่ กิดขึน้ เป็น ไปในทิศทางบวกได้ และท�ำให้สงิ่ รอบข้างกลาย เป็นพลังชีวิตที่จะเติมเต็มให้การด�ำเนินชีวิต เปี่ยมไปด้วยพลังได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ วีนโฮเวน (Veenhoven, 2000) ที่อธิบายว่า ความสุขของมนุษย์นั้น เป็นการปรับเปลี่ยน กระบวนการทางความคิดเห็นต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตลอดจนการปรับเปลี่ยนทางเจตคติและความ เชื่อ ให้เป็นไปในทางบวกต่อการด�ำเนินชีวิต ซึง่ จะท�ำให้การด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันมีความสุข
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 207
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
มนุษย์ไม่สามารถจะควบคุมปัจจัยภายนอกได้ ซึ่ ง ตรงกั บ แนวคิ ด ของเฮลลี เ วลและคณะ (Helliwell, Layard, & Sachs, 2013) ทีเ่ ชือ่ ว่า ความสุ ข ของมนุ ษ ย์ เกิ ด ขึ้ น จากการรั บ รู ้ และปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ได้รับในชีวิต ประจ�ำวัน ให้กลายเป็นข้อสารสนเทศเชิงบวก ท� ำ ให้ จิ ต ใจมี ค วามเบิ ก บาน หากมนุ ษ ย์ ไ ม่ สามารถที่ จ ะปรั บ ความคิ ด เจตคติ ที่ มี ต ่ อ ข่าวสารได้แล้ว ย่อมท�ำให้ความรู้สึก อารมณ์ เป็นไปในทางลบ ไม่เกิดความสุขในชีวติ ประจ�ำวัน โดยไลย์โบไมสกายและคณะ (Lyubomirsky, King, & Diener, 2005) อธิบายว่า ความสุข เป็นการแสดงออกซึง่ ประสบการณ์ทางอารมณ์ ความคิด เช่น ความปีติ ความสมใจและความ ภาคภู มิ ใจ นอกจากนี้ คานี แ มนและคณะ (Kahneman, Kruger, Schadke, Schwarz, & Stone, 2004) อธิบายว่า ความ เป็นอยู่ที่ดีของประชาชาตินั้น ประเมินได้จาก อารมณ์ เชิ ง บวก ความเชื่ อ ใจผู ้ อื่ น ความ พึงพอใจในชีวติ ความหมายและเป้าหมายของ ชีวิต ความผูกพันและความสนใจ จากแนวคิด ดั ง กล่ า ว แสดงให้ เ ห็ น ว่ า การปรั บ เปลี่ ย น กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทั้งในด้านอารมณ์ การคิดเชิงบวก และพลังชีวิต สามารถที่จะ เป็ น องค์ ป ระกอบของความสุ ข ภายในของ ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้
208 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2. การเปรี ย บเที ย บความสุ ข ภายใน ตนเองของประชาชนในกรุ ง เทพมหานคร จ�ำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ประชาชนในกรุ ง เทพมหานครที่ มี อาชีพ อายุ การศึกษา แตกต่างกัน มีความสุข ภายในตนเองแตกต่างกัน แต่ประชาชนใน กรุ ง เทพมหานครที่ มี เ พศ และสถานภาพ แตกต่างกัน มีความสุขภายในตนเองไม่แตก ต่างกัน ซึ่งตรงกับงานวิจัยของกิ่งแก้ว ทรัพย์ พระวงศ์ (2553) ที่ ไ ด้ ศึ ก ษาถึ ง บุ ค ลิ ก ภาพ ห้าองค์ประกอบ (Big five) และสุขภาวะทาง จิตของคนไทย พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาวะ ทางจิตของบุคคลไม่มคี วามแตกต่างกันระหว่าง เพศ แต่ มี ค วามแตกต่ า งกั น ระหว่ า งอายุ ระดับการศึกษา รายได้ และภูมิล�ำเนา แต่ ขัดแย้งกับการศึกษาของราฟและคีเยส (Ryff & Keyes, 1995) ที่พบว่า เพศต่างกัน มีผลต่อ คะแนนสุ ข ภาวะทางจิ ต ที่ แ ตกต่ า งกั น และ จากงานของฟรีและสตุทเซอร์ (Frey & Stutzer, 2002) พบว่า ผู้หญิงมีความสุขมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะในปัจจุบันมีความเสมอ ภาคทางเพศมากขึ้น วิถีชีวิตคนโสด สมรส แยกกันอยู่ หรือ หย่า มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน เพราะยังมีสถาบันครอบครัวที่ยังให้การสนับ สนุ น อยู ่ (ส� ำ นั ก งานสถิ ติ แ ห่ ง ชาติ , 2559) หรือถ้าเป็นความสุขเชิงอัตวิสัย เพศที่แตกต่าง กัน อาจส่งผลต่อความสุขที่ต่างกันได้
จิตรา ดุษฎีเมธา
ในตัวแปรด้านอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุมากขึ้น การรับรู้ความสุขจะมากกว่า คนอายุ น ้ อ ยกว่ า หรื อ เท่ า กั บ 20 ปี ทั้ ง นี้ เนื่องมาจากในช่วงอายุดังกล่าว อยู่ในช่วง วัยรุ่นตอนปลาย เป็นรอยต่อระหว่างวัยรุ่น กับผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นช่วงหาเอกลักษณ์ใน ตั ว เอง การเลื อ กอาชี พ ทิ ศ ทางอนาคตไม่ แน่นอน ยังมีการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น วิสัยทัศน์และมุมมองที่มีต่อโลกยังไม่กว้างนัก ต้องการให้โลกปรับเข้าตัวบุคคลมากกว่าบุคคล ปรับตนเองเข้าหาโลก ซึ่งวีนโฮเวน (Veenhoven, 2000) ได้กล่าวว่า คนที่จะด�ำเนิน ชีวิตประจ�ำวันได้อย่างมีความสุข เกิดจากการ ปรับเปลี่ยนเจตคติ ความเชื่อของตนเองให้ เป็นไปในทางบวก เพราะมนุษย์ไม่สามารถจะ ควบคุมปัจจัยภายนอกได้ การรับรู้ของบุคคล และเจตคติในทางบวก ส่งผลท�ำให้เกิดความสุข ในระดับที่แตกต่างกันได้ ในตัวแปรด้านอาชีพ พบว่า คนทีม่ อี าชีพ ประจ� ำ มี เ งิ น เดื อ นจะมี ค วามสุ ข มากกว่ า นักเรียนนักศึกษา เพราะมีความมัน่ คงมากกว่า การหารายได้ด้วยตนเอง ท�ำให้คนเกิดความ ภาคภูมใิ จ และปฏิเสธไม่ได้วา ่ การมีรายได้เป็น ของตัวเอง ท�ำให้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจมาก ขึ้น มีความคล่องตัวมากกว่า โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในสังคมเมืองที่มีการเปรียบเทียบด้านวัตถุ
สิ่งของที่เป็นความสุขภายนอกมากกว่าความ สุขภายในตนเอง ผู้ที่มีงานท�ำจะมีความสุข มากกว่าผู้ที่ว่างงาน และผู้ที่ประกอบอาชีพ จะมี ค วามสุ ข มากที่ สุ ด ซึ่ ง การส� ำ รวจของ ส� ำ นั ก งานสถิ ติ แ ห่ ง ชาติ (2559) ยั ง พบว่ า ผูท้ ที่ ำ� งานในภาคการบริการและการค้ามีความ สุขมากที่สุด โดยหากพิจารณาถึงสถานภาพ การท�ำงาน พบว่า ลูกจ้างรัฐบาลมีความสุขมาก ที่สุด ทั้งนี้ เป็นเพราะมีความมั่นคงทางอาชีพ ตัวแปรด้านระดับการศึกษา พบว่า ผู้ที่ ไม่ได้รับการศึกษา จะมีคะแนนต�่ำกว่า ผู้ที่มี ระดับการศึกษาสูงกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะผู้ที่มี ระดับการศึกษาต�่ำ จะมีรายได้ที่น้อย ส่งผล ท� ำ ให้ เ กิ ด ความวิ ต กกั ง วลต่ อ การครองชี พ ในเมืองได้ เพราะรายได้ที่น้อย อาจท�ำให้ไม่ กล้าเข้าสังคมมากนัก ในขณะที่ผู้มีระดับการ ศึกษาสูง มีโอกาส มีกลุ่มสังคม มีวิธีคิดในการ หาทางออกเพื่อการปรับตัวได้มากกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะงานวิจัยในครั้งนี้ ศึกษากับคนใน กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่า เป็นเมืองหลวง ค่าใช้จ่ายในการด�ำรงชีพสูงกว่าต่างจังหวัด และปฏิเสธไม่ได้ว่า การไม่เป็นหนี้ และการ มีค่าใช้จ่ายเพียงพอกับการใช้ชีวิตยังคงเป็น สิ่งจ�ำเป็น มิใช่การใช้จ่ายแบบฟุ้งเฟ้อ แม้มี มากเท่าใด ยังไม่เพียงพออยู่ดี และการศึกษา ที่ดี จะน�ำมามาซึ่งต�ำแหน่งทางสังคมที่ดีด้วย
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 209
องค์ประกอบและการเปรียบเทียบความสุขภายในตนเองของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเพื่อการน�ำไปใช้ ผลจากงานวิจัยนี้ สามารถจะน�ำไปใช้ เพื่อสร้างโปรแกรมการพัฒนาความสุขภายใน ให้ประชาชนในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการ ป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิต และส่งเสริมสุข ภาวะทางจิตทีด่ ตี อ่ ไป โดยการพัฒนาโปรแกรม ควรเน้นความส�ำคัญด้านการคิดเชิงบวก และ ด้านอารมณ์มากที่สุด เพราะมีค่าน�้ำหนักองค์ ประกอบอยูท่ ี่ .96 และ .94 ประกอบกับคนใน กรุงเทพมีระดับความเครียดที่สูง การพัฒนา ความคิดเชิงบวกและการจัดการในการบริหาร อารมณ์จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นและมีความส�ำคัญ
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรที่จะท�ำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบ ว่ า แบบจ� ำ ลองความสุ ข ภายในตนเองของ ประชาชนในกรุ ง เทพมหานครนี้ เมื่ อ น� ำ ไป ศึกษาในบริบทของสังคมต่างจังหวัด ที่มีรูป แบบการใช้ชีวิต และลักษณะของสัมพันธภาพ แตกต่ า งกั น ออกไปนั้ น จะยั ง คงสามารถใช้ อธิ บ ายได้ อี ก หรื อ ไม่ หากอธิ บ ายได้ ความ ส� ำ คั ญ ขององค์ ป ระกอบจะแตกต่ า งไปจาก บริบทของกรุงเทพมหานครหรือไม่ อย่างไร
บรรณานุกรม กรมสุขภาพจิต. (2561). กรมสุขภาพจิต เผยคนวัยท�ำงานในกทม.45% ถูกความเครียดขโมยความ สุข. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id= 28253 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561. กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2553). บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และสุขภาวะทางจิตของคนไทย. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 41(1), 31-42. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2556). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครัง้ ที ่ 37. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์. รศรินทร์ เกรย์, วรชัย ทองไทย และ เรวดี สุวรรณนพเก้า. (2553). ความสุขเป็นสากล. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ส�ำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2558). ประกาศจ�ำนวนประชากร ปี 2542 – 2560. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm
210 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จิตรา ดุษฎีเมธา
ส�ำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2559). คะแนนสุขภาพจิตคนไทยลดลง. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http:// www.thai-health.or.th/ content/32666-%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B9%8 1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8 %A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0% B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0 %B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%87.html. เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560. ส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติ. (2559). สุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ.2558. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-4-10.html. เมือ่ วันที ่ 10 มิถนุ ายน 2561. Frey, B. & Slutzer, A. (2002). Happiness and economics. Princeton: Princeton University Press. Helliwell, J., Layard, R., & Sachs, J. (Eds.). (2013). World happiness report 2013. New York: UN Sustainable Development Solutions Network. Kahneman, D., Krueger A.B., Schkade, D.A., Schwarz, N, & Stone, A.A. (2004). A survey method for characterizing daily life experience: The day reconstruction method. Science, 306, 1776-1780. Lyubomirsky, S., King, L.A. & Diener, E. (2005). The benefits of frequent positive effect. Psychological Bulletin, 131, 803-855 Lyubomirsky, S. (2008). The how of happiness: A scientific approach to getting the life you want. New York: The Penguin Press. Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. (1995). The structure of psychological well-being revisited. Journal of Personality and Social Psychology, 69(4), 719-727. Veenhoven, R. (2000). The four qualities of life: Ordering concepts and measures of the good life. Journal of Happiness Studies, 1(1), 1-39. Waterman, A.S. (1993). 2 Conceptions of happiness - Contrasts of personal expres siveness (Eudaimonia) and Hedonic enjoyment. Journal of Personality and Social Psychology, 64(4), 678-691
ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2019/2562 211
วารสารวิชาการ
วิทยาลัยแสงธรรม
Saengtham College Journal
ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................................ ที่อยู่ (สำ�หรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน......................................... แขวง/ตำ�บล......................................เขต/อำ�เภอ......................................................................... จังหวัด..............................................................รหัสไปรษณีย์.................................................... โทรศัพท์........................................................................โทรสาร............................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท ชำ�ระเงินโดยวิธี โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ โทรสาร 02-429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม........................................................................................................... เลขที่.........................ถนน..............................................แขวง/ตำ�บล........................... เขต/อำ�เภอ.............................จังหวัด................................รหัสไปรษณีย์......................
.............................................(ลงนามผู้สมัคร) วันที่................................................
ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่โทรสาร 02-429-0819
รูปแบบและเงื่อนไขการส่งต้นฉบับบทความ
www.saengtham.ac.th/journal
1. เป็ น บทความวิ ช าการ บทวิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ และบทความปริ ทั ศ น์ ด้ า นปรั ช ญา ศาสนา เทววิ ท ยา และการศึกษาคาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ 2. การพิ ม พ์ ผ ลงานทางวิ ช าการควรจั ด พิ ม พ์ ด ้ ว ย Microsoft Word for Windows หรื อ ซอฟท์ แวร์ อื่ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น พิ ม พ์ บ นกระดาษขนาด A4 หน้ า เดี ย ว ประมาณ 28 บรรทั ด ต่ อ 1 หน้ า TH SarabunPSK ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ 3. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ต�ำแหน่ง ทางวิ ช าการ (ถ้ า มี ) E-mail หรื อ โทรศั พ ท์ หากเป็ น วิ ท ยานิ พ นธ์ ต้ อ งมี ชื่ อ และสั ง กั ด ของอาจารย์ ที่ปรึกษาด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 5. ทุ ก บทความจะต้ อ งมี บ ทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และ Abstract จะต้ อ งพิ ม พ์ ค� ำ ส� ำ คั ญ ในบทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ใน Abstract ของบทความด้วย 6. บทความวิจัยความยาวไม่เกิน 12 หน้า บทความวิชาการความยาวไม่เกิน 8 หน้า (รวมบรรณานุกรม แล้ว) 7. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 8. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามล�ำดับตัวอักษร) 9. บทความวิ จัยควรมีหัว ข้อดังนี้ ชื่อเรื่องบทความวิ จั ย (ภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษ) ชื่ อ ผู ้ เขี ย นพร้ อ ม ข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ของทุ ก คน (รายละเอี ย ดตามข้ อ 4) บทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และ Abstract ความส� ำ คั ญ ของเนื้ อ หา วั ต ถุ ป ระสงค์ สมมติ ฐ านของการวิ จั ย ประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ ขอบเขตการวิ จั ย นิ ย ามศั พ ท์ (ถ้ามี) วิธีการด�ำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรรม/References 10. ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการตรวจประเมิ น จ� ำ นวน 2,400 บาท โดยโอนเงิ น เข้ า บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์ ธนาคาร กรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้ อ มส่ ง เอกสารการโอนมาที่ Fax. 02-429-0819) หรื อ ที่ E-mail: rcrc.saengtham2016@ gmail.com) ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวผู้ส่งบทความเป็นผู้รับผิดชอบ และจะไม่ได้รับคืนในทุกกรณี 11. กองบรรณาธิ ก ารน� ำ บทความที่ ท ่ า นส่ ง มาเสนอต่ อ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ พื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพความ เหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียน จะต้ อ งด� ำเนิน การให้แ ล้ว เสร็จภายในระยะเวลา 15 วั น นั บจากวั น ที่ ไ ด้ รั บผลการประเมิ น บทความ หากท่ า นต้ อ งการสอบถามกรุ ณ าติ ด ต่ อ กั บ กองบรรณาธิ ก ารวารสารวิ ช าการ โทร. 02-429-0100 โทรสาร 02-429-0819 หรือ E-mail: rcrc.saengtham2016@gmail.com
ขั้นตอนการจัดทำ�
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saengtham College Journal
เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กองบก. ตรวจรูปแบบทั่วไป
ไม่ผ่าน
แจ้งผู้เขียน
ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข
ก้ไ อ้ งแ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ
ไม่ผ่าน
แจ้งผู้เขียน
ไม่ต
แก้ไ
ข
แจ้งผู้เขียน แก้ไข
จบ