วารสารวิชาการปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2554

Page 1


วารสารวิ ชาการ วิทยาลัยSaแสงธรรม e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2011/2554

วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งใน และนอกวิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม บรรณาธิการ บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ ในนามรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กองบรรณาธิการ บาทหลวง ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ นางสุจิต เพชรแก้ว อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสาวจิตรา กิจเจริญ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ นางสาวปนัดดา ชัยพระคุณ อาจารย์ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ นางสาวศรุตา พรประสิทธิ์ อาจารย์ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต นางสาววรัญญา สมตัว อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย กำหนดเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก โดย อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย รูปเล่ม โดย นางสาววรัญญา สมตัว พิสูจน์อักษร โดย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสุจิต เพชรแก้ว นางศรุตา พรประสิทธิ์ ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ ในเอกสารใดๆ โดยส่งบทความมาที่ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อประเมิน คุณภาพบทความว่าเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการส่งต้น ฉบับได้ที่ www.saengtham.ac.th


รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

(Editorial Advisory Board)

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น้ำเพชร, S.J. Sophia University, Japan 2. ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต 3. ศ.ปรีชา ช้างขวัญยืน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. ศ.ดร.เดือน คำดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5. ศ.ดร.สมภาร พรมทา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 7. ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 2. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 4. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ ลิขสิทธิ์

ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของ ผูเ้ ขียนเท่านัน้


รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ

(Peer Review) ประจำฉบั บ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต 2. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 4. บาทหลวง ดร.วิทยา คู่วิรัตน์ เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม


บทบรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ

Saengtham College Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2011/2554 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีท่ี 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถนุ ายน 2011/2554 ฉบับนี้ กองบรรณาธิการได้รับบทความพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ บทความวิจัย และบทความ วิชาการ จำนวนรวม 5 บทความ เพื่อนำเสนอให้กับท่านผู้อ่าน ทั้งนี้กองบรรณาธิการต้อง ขอขอบพระคุณเป็นพิเศษ สำหรับบทความพิเศษเรื่องแนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท โดยศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต ขอพระเจ้าโปรดตอบแทนน้ำใจดีของท่านที่ได้ กรุณามอบบทความนี้เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบพระคุณผูท้ รงคุณวุฒทิ กุ ท่าน ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ อันส่งผลให้การผลิตวารสารวิชาการ วิทยาลัย แสงธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 นี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี พร้อมนี้ขอขอบคุณคณาจารย์ นักวิชาการ ผู้เขียนบทความทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือส่งผลงานเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ อันเป็นการส่งมอบ ความรู้สู่แวดวงวิชาการอีกทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าวารสารวิชาการฉบับนี้จะออกล่าช้าไปบ้าง แต่ก็ขอยืนยันว่า วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะยังคงทำหน้าที่ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต่อไป บรรณาธิการ


แนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท

T

he Introduction to Research Center of University of Frankfurt

ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ * ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต * ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา * ประธานบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน

Professor Kirti Bunchua * Professor and the Royal Institute. * Chairman of the Ph.D. Program in Philosophy and Ethics Suan Sunandha Rajabhat University * Chairman of the editorial preparation of the Encyclopedia of Philosophy Royal Institute


แนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท

แนะนำศูนย์วจิ ยั แห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิรท์ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท (University of Frankfurt) ประเทศเยอรมนี ได้ก่อตั้ง ศูนย์วิจัยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 โดยนายเฮอร์มานน์ วายล์ (Hermann Weil) พ่อค้านำเข้าข้าว บริจาคเงินตั้งเป็นกองทุนให้ ประมาณ 1 ล้านเหรียญเยอรมัน เพื่อใช้ดอกเบี้ยดำเนินงานวิจัยให้เข้าใจปัญหาของมนุษยชาติให้ชดั เจนอย่างตรงไปตรงมา เพือ่ แก้ปญ ั หา ถูกจุด สภามหาวิทยาลัยเลือกเคิร์ท เกร์ลัค (Kurt Gerlach) เป็นผู้อำนวยการ แต่ก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนวันเปิดศูนย์ คาร์ล กรืนแบร์ก (Karl Grünberg) จึงรับตำแหน่งจนถึง ปี ค.ศ. 1931 แมกซ์ ฮอร์คายเมอร์ (Max Horkheimer 1895-1973) ได้ขึ้นเป็นผู้อำนวยการ ก็ ได้ตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าจะใช้อำนาจหน้าที่ ชักชวนผู้มีความรู้ความสามารถมาร่วมทีมกัน วิจัย (วิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน) เพื่อเข้าใจ ปัญหาที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติและหาทางแก้ ปัญหาอย่างเป็นไปได้มากที่สุด จนเกิดกระแส ความคิ ด ตามชื่ อ ของมหาวิ ท ยาลั ย ว่ า ทฤษฎี วิกฤติแห่งสำนักแฟรงค์เฝิรท์ (Critical Theory of Frankfurt School) ซึ่งมีวิวัฒนาการแห่ง การต่อสู้ทั้งทางความคิดและสังคมอย่างน่า สนใจศึกษาเป็นแบบอย่าง จะขอยกมาสาธยาย เป็นตัวอย่างพอควรแก่เนื้อที่ของบทความดัง ต่อไปนี้

2

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปัญหาและทางแก้ อนุสนธิจากหนังสือนวนิยาย 2 เล่ม ของสหรัฐอเมริกา คือ The Animal Farm และ The Year 1984 อันเป็นนวนิยายขายดี และงานเขียนอื่นๆ ต่อมาอีกมากที่ชี้ให้เห็นว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วใน ทุกด้านเช่นนี้ จะเปิดโอกาสให้คนฉลาดและ หลงอำนาจสามารถรวบอำนาจเบ็ดเสร็จระดับ โลกได้อย่างถาวรและน่าสะพรึงกลัวยิ่ง ทั้งนี้ เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อ สำรวจตรวจตราได้ถี่ยิบ ใช้เทคโนโลยีการลงโทษได้อย่างน่าหวาดกลัว และใช้การโฆษณา ชวนเชื่อหาคะแนนนิยมได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เมื่อฮอร์คายเมอร์ได้เป็นผู้อำนวยการ ศูนย์วจิ ยั ก็ได้เห็นความจำเป็นรีบด่วนทีจ่ ะต้อง มองลูท่ างแก้ปญ ั หาไว้ลว่ งหน้า ขณะนัน้ ขบวนการประเทืองปัญญา (The Enlightenment Movement) กำลังได้รับความนิยม เพราะ คนทั่วไปเข้าใจว่านโยบายของขบวนการนี้เปิด ทางให้เกิดความก้าวหน้าของความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั่นคือคิดให้เป็นระบบ เครือข่าย และประยุกต์ใช้บนฐานของระบบ เครือข่าย เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ความรู้ ระบบเครือข่ายเป็นเครื่องใช้ไม้สอยทุกอย่างที่ มนุ ษ ย์ ต้ อ งการให้ ก้ า วหน้ า ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว นำความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตและ


กีรติ บุญเจือ

บริ ห ารงานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพยิ่ ง ขึ้ น ตาม ลำดับ คาร์ล มากซ์ (Karl Marx 1818-1883) เสนอการประยุกต์ความรู้ระบบไปสร้างลัทธิ มากซิ ส ม์ โ ดยเอาเศรษฐกิ จ และการเมื อ ง มารวมเข้าเป็นอภิปรัชญา (ความเป็นจริง) เอา กฎปฏิพัฒนาการของเฮเกลเป็นญาณปรัชญา (เกณฑ์ความจริง) และเอาอภิปรัชญากับญาณปรัชญารวมกันเข้าเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สำหรับ นำไปตีความข้อมูลทัง้ หลายออกมาเป็นปรัชญา ประยุกต์สาขาต่างๆ ลีโอตารด์ จึงเรียกระบบ ความคิดของมากซ์ว่าเป็นเรื่องเล่าใหญ่อย่าง เป็นแม่แบบของยุคปัจจุบัน และเรื่องเล่าใหญ่ นี้แหละที่สำนักแฟรงค์เฝิร์ทคิดว่าตนได้พบว่า กำลังจะเป็นจริงตามนิยายอเมริกันขายดี 2 เรือ่ งนัน้ เพราะพรรคคอมมิวนิสต์รสั เซียนำเอา ไปใช้เป็นนโยบายเศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) ของตน และกำลังพยายาม ชักชวนให้ชาติต่างๆ เดินตามโดยรวมตัวกัน เป็นกลุ่มโลกคอมมิวนิสต์ที่แสดงศักยภาพว่า อาจจะขยายอิทธิพลจนครอบครองโลกได้ ฮอร์คายเมอร์วางนโยบายว่า ต้องใช้ วิธีเกลือจิ้มเกลือ วิเคราะห์ความคิดของมากซ์ และลัทธิมากซิสม์ เพื่อเลือกเก็บเอาส่วนดีมา วิจักษ์และวิธานในระบอบประชาธิปไตยชนิด สังคมอารยะ (Civil Society) มีผู้สมัครใจ ร่วมทีมมาก ที่สำคัญมี Theodore Adorno,

Herbert Marcuse, Walter Benjamin, Erich Fromm, Leo Löwenthal, Franz Newman, Otto Kirchheimer, Frederick Pollock ตกลงเรียกอภิปรัชญา (ความเป็นจริง ทีส่ นใจคิด) ของตนว่าได้แก่ โลกพัฒนา (Better World) และเรียกญาณปรัชญา (เกณฑ์ความ จริงที่ใช้) ของตนว่า ทฤษฎีวิจารณ์ (Critical Theory) ครั้ น ฮิ ต เลอร์ ใช้ อ ำนาจเบ็ ด เสร็ จ ใน เยอรมนี ในปี ค.ศ. 1933 ฮอร์คายเมอร์รู้สึก ไม่ ป ลอดภั ย จึ ง อพยพไปอยู่ นิ ว ยอร์ ค โดยมี อดอร์โนว์และสมาชิกสำนักตามไป และดำเนินการสำนั ก แฟรงค์ เ ฝิ ร์ ท พลั ด ถิ่ น ที่ นั่ น เมื่ อ สงครามสงบและเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว ก็กลับ มาเปิ ด สำนั ก งานที่ ม หาวิ ท ยาลั ย แฟรงเฝิ ร์ ท ต่อไป ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ได้ผู้ร่วมใจรุ่นใหม่ เช่น Jürgen Habemas, Karl-Olto Apel, Albrecht Wellmer แม้ผลงานจะพัฒนาจน กลายเป็นกระแสหลักของหลังนวยุคสายกลาง ผลงานของนั ก ปราชญ์ ใ นกลุ่ ม นี้ ยั ง ได้ ชื่ อ ว่ า นักทฤษฎีวิเคราะห์ (Critical Theorist) จนถึง ปี ค.ศ. 1970 อันเป็นปีที่ปรัชญาหลังนวยุค เริม่ ตัง้ มัน่ จึงเป็นทีร่ บั รูก้ นั ว่านักทฤษฎีวเิ คราะห์ ได้ปรับตัวเป็นนักคิดหลังนวยุคไปแล้ว วิธีการหนึ่งของทฤษฎีวิจารณ์ (Critical Theory) คือ เกลือจิ้มเกลือ (Parody)

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

3


แนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท

ขอยกมา 3 ตัวอย่าง คือ เลอกเสิมเบิร์ก (Rosa Luxemberg 1870-1919) ลูแขทช์ (Georg Lukacs 1885-1971) และแกรมฉิ (Antonio Gramsci 1891-1937)1 โรซา เลอกเสิมเบิรก์ เกิดจากครอบครัว ยิวในโปแลนด์ รู้สึกเคืองแค้นรุนแรงต่อต้าน การเอารัดเอาเปรียบตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เมื่อมี คนมาชักชวนก็เข้าขบวนการมาร์กซิสท์ เพื่อ เรี ย กร้ อ งความยุ ติ ธ รรมเสมอภาคสำหรั บ ผู้ ด้อยโอกาส เธอจึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกชัน้ ผูน้ ำ และทุม่ เทเต็มทีจ่ นถูกตำรวจออกหมายจับ เธอ รีบหนีออกนอกประเทศ และลี้ภัยไปอยู่สวิตเซอแลนด์ เธอทำงานเลี้ ย งตั ว เอง ในขณะ เดียวกันก็เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยซูริคจนได้ ปริญญาเอก 2 ใบ คือ กฎหมายและปรัชญา เธอเริ่มเขียนหาแนวร่วม รู้สึกว่าในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์หาคนสนใจยาก จึงย้ายไปปักหลักทำกิจกรรมในปรัสเซีย เธอปลุกระดมและ เป็นผู้นำสำคัญในการลุกฮือของกลุ่มกรรมกร ที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มสพาร์ตา (Spartacists) เธอถูกทหารปราบจลาจลยิงตายและศพถูกทิ้ง

1

ไว้ริมคลองในป่า 6 เดือนต่อมาจึงได้มีผู้พบศพ สำนักแฟรงค์เฝิร์ทได้วิจัยชีวิตและงานของเธอ พบว่าเป็นกรณีศกึ ษาสำหรับทฤษฎีวจิ ารณ์ของ สำนักได้โดยทำการวิเคราะห์ วิจกั ษ์ และวิธาน จากงานเขียนและชีวิตจริงของเธอ เลอกเสิมเบิร์กเป็นคนจริงใจในการ ทุ่มเทชีวิตเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม เธอศึ ก ษาปรั ช ญาของมากซ์ แ ล้ ว ก็ มั่ น ใจว่ า มากซ์มีความจริงใจเช่นเดียวกับเธอ และเธอ ก็หวังอย่างจริงใจจะได้เห็นผู้ที่อ้างมากซ์เป็น ผูน้ ำทางความคิด จะเอาความคิดของมากซ์ไป ใช้เพื่อการปลดปล่อยผู้ด้อยโอกาสจากความ อยุตธิ รรมเช่นเดียวกัน เธอได้เขียนหนังสือและ บทความไว้ ซึ่ ง ชี้ จุ ด บกพร่ อ งในการนำเอา เจตนาของมากซ์ไปใช้อย่างผิดๆ และวิจารณ์ ความไม่จริงใจของผู้บริหาร อย่างเช่น เลนิน ดังความว่า “เลนินแทนที่จะมุ่งมั่นทำกิจกรรม ให้พรรคคอมมิวนิสต์รงุ่ โรจน์ ก็กลับสนใจแต่จะ ควบคุมพรรค เลยทำให้ขบวนการปลดปล่อย หดตัวแทนที่จะพัฒนา เขามัดสมาชิกแทนที่ จะสร้างเอกภาพในหมู่สมาชิก...การที่เขามัด

ให้พยายามออกเสียงให้ใกล้เคียงเสียงภาษาอังกฤษ เพื่อเวลาร่วมประชุมนานาชาติจะได้เข้าใจกันได้ เลอกให้ออกเสียง พยางค์เดียวเสียงยาว เสิมให้อ่านเสียงสั้นวรรณยุกต์กลาง (ไม่ต้องขึ้นเสียงจัตวา) Lukacs เป็นชาวฮังกาเรียน เขาอ่าน กันอย่างนั้น แกรมฉิเป็นชาวอิตาเลียน แต่อังกฤษอ่าน แกรมยาว และฉิสั้น ไม่อ่านกรามฉิ และไม่อ่านแกรมสิ

4

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

พรรคไว้ขณะนี้ ทำให้พรรคหมดศักยภาพที่จะ ปฏิบัติพันธกิจอันยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน”2 เคียร์นยี อ์ อกความเห็นเกีย่ วกับหนังสือ เล่มนี้ไว้ว่า “ไม่ต้องแปลกใจ แม้โรซา เลอกเสิมเบิร์กจะได้ตายไปนานแล้ว แต่จิตวิญญาณ แห่งเสรีภาพที่เธอเสนอไว้นั้น สามารถทำให้ จอมเผด็จการอย่างฮิตเลอร์และสตาลินต้อง ผวาเมื่อได้ยินคนอ้างถึงเธอ”3 แมกซ์ ฮอร์คายเมอร์ แมกซ์ ฮอร์คายเมอร์ (Max Horkheimer 1895-1971) เกิดในครอบครัวพ่อค้ายิว ฐานะดี บิดาฝึกให้ทำธุรกิจแต่ไม่สนใจ เพราะ ชอบเรียนมากกว่า สนใจจิตวิทยาและปรัชญา ได้ เรี ย นจากฮู ส เซิ ร์ ล (Edmund Husserl 1859-1938) และฮายเดกเกอร์ (Martin Heidegger 1889-1976) ที่มหาวิทยาลัยฟราย บวร์ก จบปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1922 ลุปี ค.ศ. 1925 เป็นอาจารย์ฝกึ สอนทีม่ หาวิทยาลัย แฟรงค์เฝิร์ท ค.ศ. 1929 ได้ตำแหน่งประจำ

วิชาปรัชญาสังคม และเข้าช่วยงานในสถาบัน วิจัยสังคม ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1923 โดย คาร์ล กรืนแบร์ก (Carl Grünberg) ซึ่งเป็น นักเศรษฐศาสตร์ และนิยมคาร์ล มากซ์ งาน วิ จั ย จึ ง เป็ น ไปในทางหาข้ อ มู ล และสถิ ติ เ พื่ อ สนับสนุนความคิดของคาร์ลมากซ์ ฮอร์คายเมอร์ ไ ด้ สื บ ตำแหน่ ง ผู้ อ ำนวยการศู น ย์ ใ นปี ค.ศ. 1931 จึงได้ดึงอดอร์โนว์ (Theodore Adono 1903-1969) เข้ามาช่วย มีผเู้ ชีย่ วชาญ ด้านต่างๆ เข้ามาช่วยมากมาย ทำให้งานวิจัย คึกคักและมองสังคมในหลายมิติเพิ่มขึ้น เช่น จิตวิทยาของฟรอย์ สังคมวิทยาของเวบเบอร์ ปรัชญาของฮูสเซิรล์ และมนุษยนิยมของมากซ์ จากการค้นพบต้นฉบับเขียน (Paris Manuscript, 1931) เป็นต้น ทำให้การค้นคว้าเปิด แนวใหม่ คือ วิจารณ์วัฒนธรรม (Culture Criticism) จนได้แนวทางวิจารณ์สังคมแนว ใหม่ทเี่ รียกว่า ทฤษฎีวจิ ารณ์ (Critical Theory) โดยเฉพาะอันเป็นผลงานค้นพบของนักปราชญ์ กลุ่มนี้ซึ่งต่อมาจะนิยมเรียกว่า สำนักแฟรงค์-

2

Quoted in Richard Kearney and Mara Rainwater, Continental Philosophy Reader (London : Routledge, 1996), p. 168. “Lenin’s concern is not so much to make the activity of the party more fruitful as to control the party to narrow the movement rather than to develop it, to bind rather than to unify it… To attempt to bind the initiative of the party at this moment, to surround it with a network of barbed wire, is to render it incapable of accomplishing the tremendous tasks of the hour. 3

Ibid., p.160. “It is little wonder that long after Rosa Luxemberg was dead, the spirit of freedom she presented made dictators like Hitler and Stalin still fear her name.”

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

5


แนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท

เฝิร์ท เริ่มจากความคิดของเวเบอร์ (Max Weber 1864-1920) ซึ่งคัดค้านวิธีวิจัยสังคมของ ดูร์คายม์ (Emile Durkheim 1858-1917) ดูร์คายม์เป็นคนแรกที่แยกวิชาสังคมเป็นอิสระ จากปรัชญาเพราะจะต้องใช้วธิ กี ารวิทยาศาสตร์ เพื่ อ สะสมข้ อ มู ล ตายตั ว เชิ ง สถิ ติ ข องสั ง คม ให้ เ ป็ น ฐานข้ อ มู ล สำหรั บ แก้ ปั ญ หาและวาง ระเบียบสังคมให้เรียบร้อยต่อไป เวบเบอร์คา้ น ว่าสังคมต้องใช้วิธีการของสังคมศาสตร์ จะใช้ วิธกี ารวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ทาง สังคมเกิดจากการตัดสินใจของมนุษย์ ซึง่ ไม่เข้า กฎเกณฑ์ถึงครึ่งหนึ่ง สำหรับเวบเบอร์ เหตุผล ไม่ใช่เครื่องมือสร้างระบบเครือข่ายรวม แต่ เป็นเครื่องมือคิดที่นำไปสู่เป้าหมายที่มนุษย์ แต่ละคนกำหนดให้กบั ตน ระบบเครือข่ายเป็น เพียงกรงเหล็ก (Iron Cage) ดักนกให้หมด ทางเลือก สำนักแฟรงค์เฝิร์ทเห็นด้วยกับเวบเบอร์ในประเด็นดังกล่าว จึงประกาศเป็นนโยบายว่าจะปลดปล่อยมนุษยชาติจากกรงเหล็ก ที่ขบวนการประเทืองปัญญาหลอกว่าจะปลด ปล่อยจากบ่วงแห่งความโง่ แต่ก็ต้อนเข้าจน มุมในกรงเหล็กเหมือนหนีเสือปะจระเข้ บัดนี้ เป็นบทบาทของสำนักแฟรงค์เฝิร์ทที่จะต้อง ปลดปล่อยปัญญามนุษย์จากกรงเหล็กสู่อิสรภาพในเวหาอย่างแท้จริง ฮอร์คายเมอร์ได้ เขียนหนังสือไว้หลายเล่มและบทความอีกมาก

6

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เพื่อเป้าหมายดังกล่าว เช่น Critical Theory 1972, Dialectic of Enlightenment 1979, Critique of Instrumental Reason 1974, Eclipse of Reason 1974, Dawn and Decline 1978. ธีเออดอร์ อดอร์โนว์ ธีเออดอร์ อดอร์โนว์ (Theodore Adorno 1903-1969) เกิดจากพ่อค้ายิวแห่ง แฟรงค์เฝิร์ทชื่อวีเสนกรูนด์ (Wiesengrun) มารดาเป็นชาวอิตาเลียน ธีเออดอร์ใช้นามสกุล ของมารดาจึงดูเป็นชาวอิตาเลียน เรียนปรัชญา ดนตรี จิตวิทยา และสังคมวิทยาทีม่ หาวิทยาลัย แฟรงค์เฝิร์ท จบปริญญาเอกปรัชญาในปี ค.ศ. 1924 ไปเรียนดนตรีที่เวียนนากลับมาเป็น อาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ทใน ปี ค.ศ. 1927 ร่วมมือกับฮอร์คายเมอร์ในการ พัฒนาทฤษฎีวิจารณ์ของสำนักแฟรงค์เฝิร์ท ร่วมมือกับฮอร์คายเมอร์เขียนหนังสือ Dialectic of Enlightenment 1947 และเขียน คนเดียวอีกหลายเล่ม เช่น Philosophy of Modern Music 1949, Minima Moralia 1951, Against Epistemology 1956, The Jargon of Authenticity 1964, Negative Dialectics 1966, Aesthetic Theory 1970., Prisms 1955.


กีรติ บุญเจือ

ปีค.ศ.1934 หนีภยั นาซีไปอยู่ Oxford Merton College ปี 1938 ไปร่วมงานกับ ฮอร์คายเมอร์ในสหรัฐอเมริกา ปี 1953 กลับ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท ปี 1959 ได้เป็น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแทนฮอร์คายเมอร์จนถึง แก่มรณกรรมใน ปี ค.ศ. 1969 Critical Theory Critical ในกรณีนี้เป็นคำคุณศัพท์ของ Crisis จึงควรแปลว่าวิกฤติ Critical Theory (ทฤษฎีวิกฤติ) มีความหมายเทียบได้กับหิน นักปรัชญา (Philosopher’s Stone) ที่คนยุค กลางใฝ่ฝันอยากได้ เพราะเป็นแก้วสารพัดนึก ที่จะให้ได้ทุกสิ่งที่พึงประสงค์ ทฤษฎีวิกฤติจึง ไม่ใช่ทฤษฎีที่เลว แต่เป็นทฤษฎีที่พึงประสงค์ พบทฤษฎีนี้เมื่อใด ก็จะเป็นจุดหักเห (วิกฤติ) ของมนุษยชาติ หักเหสู่ชีวิตที่ดีและสังคมใน อุดมการณ์ เป็นยุคพระศรีอาริย์ ทุกคนจะได้ สิ่งที่พึงปรารถนา เฮเกล (Friedrich Hegel 1770-1831) ใช้คำนี้เป็นคนแรก เพื่อบอกว่าปรัชญาของตน เป็นทฤษฎีที่นำไปปฏิบัติได้ และจะยังผลให้ ทุกคนมีความสุข ดังนั้น ทฤษฎีวิกฤติจึงมี 2 ความหมายอยู่ด้วยกัน คือ ทฤษฎีที่ปฏิบัติได้ ปฏิบัติแล้วจะสมหวังทุกประการ (พ้นวิกฤติ)

มากซ์ (Karl Marx 1818-1883) บอกว่า ของเฮเกลเกือบใช่ แต่ยังไม่ใช่ เพราะเฮเกล ไม่สามารถระบุได้อย่างฟันธงว่า จะปฏิบัติ อย่างจริงๆ พูดได้เพียงกว้างๆ ว่าจะมีตัวแทน จิตใหญ่มาเป็นผู้นำชนเผ่าเยอรมันให้เป็นเจ้าโลก ซึ่งเป็นความหวังที่เลื่อนลอยมาก มากซ์ จึงปรับมาให้เป็นหน้าที่ของชนชั้นกรรมาชีพ ที่จะต้องลงมือปฏิวัติจนกว่าจะได้รับชัยชนะ ทัว่ โลก มากซ์และบรรดาศิษย์จงึ ยกเป็นข้ออวด ชูธงว่าลัทธิมากซิสม์มีการปฏิบัติชัดเจนและ ปฏิรูปได้จริงตามเป้าหมายของทฤษฎีวิกฤติ ตระกูลวายล์ (Herman and Felix Weil) พ่อและลูกทำธุรกิจนำเข้าข้าวเปลือกจาก อาร์เยนตีนา ชอบความคิดของมากซ์ในหลักการว่าต้องให้ชนชั้นกรรมาชีพมีอำนาจต่อรอง เพียงพอ และไม่คดิ ว่ามากซ์จะตัง้ ใจทำลายล้าง คนชั้นสูงและชั้นกลาง จึงอยากให้มีการค้นคว้า ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเท่าที่สังเกตดู นักปฏิรูปทั้งหลายพูดและทำเลยเถิดไปทั้งสิ้น แต่ก็ชอบอ้างว่าเป็นความคิดของมากซ์ อยาก จะให้วิจัยให้ถ่องแท้และแฉออกมาจากต้นตอ ว่ามากซ์ต้องการสอน และให้ทำอะไรกันแน่ จึ ง บริ จ าคเงิ น ให้ ม หาวิ ท ยาลั ย แฟรงค์ เ ฝิ ร์ ท ประมาณ 1 ล้านเหรียญเยอรมันให้เก็บดอกผล เพื่อใช้จ่ายในการทำวิจัยเรื่องนี้

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

7


แนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท

แอลเบิร์ท เกอร์ลัค (Albert Gerlach) ได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการคนแรก เขา เป็นผูส้ นใจและให้ความเห็นชอบแก่มากซ์อย่าง เต็มตัว จึงวางแผนว่าจะเริ่มทำความเข้าใจให้ ชัดเจนเสียก่อนว่า สังคมนิยม อนาธิปไตยและ ลัทธิมากซิสม์ต่างและเหมือนกันอย่างไร แต่ก็ ถึงแก่มรณกรรมเสียก่อนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1922 อันเป็นวันกำหนดเปิดสถาบันวิจัยอย่าง เป็นทางการ รองผูอ้ ำนวยการ คาร์ล กรืนเบิรก์ (Karl Grünberg) จึงขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการ ทำพิธีเปิดศูนย์แถลงนโยบายว่าเป้าหมายอยู่ที่ ความเข้ า ใจลั ท ธิ ม าร์ ก ซิ ส ม์ ใ ห้ ถ่ อ งแท้ แ ละ ตัวเองก็สนใจอยูแ่ ล้ว เพราะได้ไปศึกษามาจาก มหาวิทยาลัยเวียนนา กลับมาก็ได้สอนวิชากฎหมายการเมืองที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ได้สนใจ รวบรวมเกี่ยวกับคำสอนของมากซ์และความ เคลื่อนไหวของขบวนการกรรมกรตั้งแต่ 10 ปี มาแล้ว อย่างไรก็ตาม กรืนเบิร์ก ก็เป็นแค่ นักทฤษฎี และพยายามมองมากซ์อย่างนักวิทยาศาสตร์โดยใช้วธิ กี ารและกระบวนทรรศน์ วิทยาศาสตร์เข้าจับอยู่มาก นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ทขณะนั้น จึงเรียกเป็นเชิง ล้อเลียนว่าเป็นปรัชญามากซ์ร้านกาแฟ (Café Marx) หรืออย่างสำนวนไทยว่า “ไม่ติดดิน” หรือ “เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ” ผิดกับความเข้าใจ ของชาวบ้านที่เดินขบวน ซึ่งเป็นขนานแท้กว่า

8

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

10 ปี ต่ อ มาเมื่ อ กรื น เบิ ร์ ก ถึ ง แก่ ม รณกรรม ฮอร์คายเมอร์รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ ทิศทางก็เปลี่ยนไป ฮอร์คายเมอร์ (Horkheimer) ครั้นมี อำนาจ ในปี ค.ศ. 1937 ที่จะวางนโยบาย ของสำนักอย่างเต็มที่ ก็รู้สึกว่ากระแสความ เข้ า ใจปรั ช ญามาร์ ก ซิ ส ต์ เ บี่ ย งเบนไปจาก เจตนาเดิมของมากซ์ไปมากแล้ว และคติของ สำนักที่ว่า “ทฤษฎีวิกฤติ” ก็เบี่ยงเบนไปตาม กระแสมาร์กซิสต์ขณะนั้น จึงตั้งนโยบายของ ตนเองขึน้ มาว่า ต้องสะสางกันใหม่ตงั้ แต่ตน้ จึง เขียนแถลงการณ์ของสำนัก “Traditional and Critical Theory 1937” เป็นนโยบายของสำนัก ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1. นิยามทฤษฎีที่ว่า “การทำให้เป็น กฎสากลจากประสบการณ์” ที่ยึดถือกันมา ตั้งแต่เดการ์ตนั้น ส่งเสริมระบบความคิดของ ขบวนการประเทืองปัญญา ใช้ได้กับวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อวิจัยสสารเท่านั้น 2. แม้ดีลธาย (Wilhelm Dilthey 1833 - 1911) พยายามแยกวิธีการวิจัยทาง สังคมว่าเป็นวิธีการเดียวกับวิทยาศาสตร์ท่วี ิจัย ข้อมูลของสสาร เพียงแต่วจิ ยั หาข้อเท็จจริงของ สังคม (Social Fact)แทนข้อมูลของสสาร ฮอร์คายเมอร์วจิ ารณ์วา่ แค่นน้ั ไม่พอ เพราะเป็นการ ลดฐานะของข้อเท็จจริงของสังคมมนุษย์ลง


กีรติ บุญเจือ

เสมอข้อมูลของสสารและเข้าระบบเครือข่าย ความรู้ตายตัวระบบเดียวกับวิทยาศาสตร์ แต่ จริงๆ แล้วไม่สามารถใช้ตีความความเป็นจริง ของมนุษย์ที่รวมตัวกันเป็นสังคมได้ ฮอร์คายเมอร์ฟันธงว่าเป็นความผิดพลาดของขบวนการประเทืองปัญญาเป็นปฐม ถ่ายทอดมาสู่ ลัทธิตา่ งๆ เกือบทัง้ หมดหลังจากนัน้ เช่น Positivism, Pragmatism, Neo-Kantianism, Phenomenology รวมทั้งตัวคาร์ล มากซ์ เองด้วย ผู้ตีความมากซ์ คือ ลูคัทช์ (Lukacs) นักนิยมมากซ์ชาวฮังการีซึ่งเสนอนิยามทฤษฎี ทางสังคมว่าเป็น “การทำให้ประสบการณ์เป็น จริง” (Reification of Experiences) เป็นที่ ยอมรับต่อมาในวงการผู้นิยมมากซ์ แต่ฮอร์คายเมอร์ถือว่าเป็นการช่วยตีความมากซ์ตาม กระแส แต่หาได้แก้ปญ ั หาญาณวิทยาของมากซ์ ไม่ “ความเข้าใจเรื่องทฤษฎีได้ถูกยกขึ้นเป็น เรื่องอสัมพัทธ์ไปนานแล้ว ประหนึ่งว่ามันมี พื้นฐานอยู่บนธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ อยู่แล้ว หรือเชื่อว่าสามารถพิสูจน์ได้โดยไม่ขึ้น ต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จึงถือกัน (ในหมู่

นักนิยมมากซ์) ว่าเป็นประเภทมโนคติวิทยา ที่พิสูจน์ได้แล้วว่าเป็นจริง”4 ซึ่งฮอร์คายเมอร์ ถือว่าเป็นการสร้างระบบความรูท้ แ่ี ยกจากชีวติ จริง เพื่อแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าว ฮอร์ คายเมอร์จึงเสนอ “ทฤษฎีวิกฤติ” ของตนขึ้น มาแทน ซึ่งจะเป็นทฤษฎีอเนกประสงค์และ แก้วสารพัดนึกให้เกิดความรู้และความเข้าใจ ใหม่ๆ ที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้จริง ทั้งชีวิต ส่วนตัวและชีวติ สังคม เพราะเป็นทฤษฎีทอี่ อก มาจากความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์และเพื่อ แก้ปัญหาของมนุษย์โดยเฉพาะ “อันที่จริงนั้น ความรูต้ วั เองของมนุษย์ในปัจจุบนั หาใช่ความ รู้ธรรมชาติตามสูตรคณิตศาสตร์ที่ชอบอ้างกัน นักว่าเป็นวจนะนิรนั ดรไม่ แต่เป็นทฤษฎีวกิ ฤติ ของสังคมตามความเป็นจริง มันเป็นทฤษฎีที่ พัวพันทุกขั้นตอนกับเงื่อนไขของชีวิตมนุษย์ อย่างมีเหตุผล”5 สรุป “ทฤษฎีวกิ ฤติ” ตามนโยบายของฮอร์คายเมอร์ มี ลั ก ษณะเป็ น เกณฑ์ ค วามจริ ง ใน

4

Horkheimer, Critical Theory (New York : Herder and Harper, 1972), p.194. “But the conception of theory was absolutized as though it were grounded in the inner nature of knowledge as such, or justified in some other ahistorical way, and then it became a reified ideological category.”

5

Ibid., p.199. “In fact, however, the self-knowledge of present-day man is not a mathematical knowledge of nature which claims to be the eternal logos, but a critical theory as it is, a theory dominated at every turn by a concern for reasonable conditions of life.”

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

9


แนะนำศูนย์วิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท

ขอบข่ายของญาณวิทยา เมื่อเป็นเช่นนี้นักประวัติปรัชญารวมทั้งฮอร์คายเมอร์ด้วยเมื่อ ศึกษาปรัชญาในวงกว้างต้องแยกเรียกทฤษฎี วิกฤติแบบเดิมซึ่งเป็นระบบอภิปรัชญาว่า Traditional Theory (ทฤษฎีตามขนบ) และเรียก แนวใหม่ของตนว่า Critical Theory (ทฤษฎี วิกฤติ) ซึ่งเป็นเกณฑ์ความจริงของญาณวิทยา สิ่งที่ฮอร์คายเมอร์วิเคราะห์ได้ต่อมา ตามนโยบายของตนก็คือ กระแสมาร์กซิสม์ใน หมู่ผู้นิยมมากซ์ขณะนั้นตลอดจนความเข้าใจ ของชนกรรมาชีพ ผิดเพี้ยนไปจากเจตนาของ มากซ์ดั้งเดิมเสียสิ้นแล้ว จึงถือเป็นอุดมการณ์ จริงๆ ไม่ได้ เพราะ “แม้แต่สถานภาพของ ชนชัน้ กรรมาชีพในสังคมขณะนี้ ก็ไม่อาจจะค้ำ ประกันความถูกต้องได้อกี แล้ว”6 เพราะถูกแทรก ซึมโดยลัทธิปจั เจกนิยมชัน้ กลาง” (ฺBourgeois Individualism) อย่างโงหัวไม่ขนึ้ ส่วนนักนิยมมากซ์เล่าก็พยายามหาเสียงจากมวลชนโดยไม่ คำนึงถึงความผิด/ถูก แต่แข่งขันกันทุกวิถีทาง เพือ่ ให้ได้ตำแหน่งทีต่ อ้ งการ “นักวิชาการพอใจ

จะประกาศความสูงส่งแห่งพลังสร้างสรรค์ของ ชนชั้ น กรรมาชี พ พยายามทำตั ว ให้ เข้ า กั บ มวลชน และรับรองความถูกต้องทุกอย่างของ มวลชน”7 ด้วยนโยบายใหม่ของฮอร์คายเมอร์ สำนักวิจัยแห่งแฟรงค์เฝิร์ทจึงได้สลัดตัวออก จากการโยงใยกับลัทธิปรัชญาใดโดยเฉพาะ แต่ มุ่ ง มั่ น ที่ จ ะใช้ วิ ธี ป รั ช ญาอย่ า งเป็ น กลาง คือ วิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน (Analysis, Apreciation and Application) เพื่อวิจัยหา ความเข้าใจเรือ่ ง Social Justice (ความยุตธิ รรม ในสังคม) อย่างเป็นกลาง และเปิดเผยกลยุทธ์ และเล่ห์เหลี่ยมต่างๆ ที่แม้จะซ่อนเงื่อนอย่าง ลับลมคมในอย่างใด ก็จะพยายามแฉออกมา ด้วยวิจารณญาณแห่งปรัชญา แม้ผู้สืบเจตนารมณ์ต่อมา คือ เจอร์เกิน แฮบเบอร์เมิส (Jürgen Habermas 1929- ) ก็ยังคงสืบทอด เจตนาเดิม ทำให้ผลงานได้รับความเชื่อถือทั่ว โลก

6

Ibid., p. 213.” ...even the situation of the proletariat is, in this society, no guarantee of correct knowledge.”

7

Ibid., p. 214.” The intellectual is satisfied to proclaim with relevant admisation the creative strength of the proletariat and finds satisfaction in adapting himself to it and canonizing it.

10 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

บรรณานุกรม Borchert, Donald. Encyclopedia of Philosophy. 2nd ed. n.p. : Macmillan, 2006. Craig, Edward. Encyclopedia of Philosophy. n.p. : Routledge, 1998. Kearney, Richard. Century Continental Philosophy. 20th ed. n.p. : Routledge, 1994.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

11


การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา

ก ารศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา ปร.432 ปรัชญาศาสนา

T

he Opinion of Bachelor of Arts Program in Philosophy and Religion’s Students on Teaching and Learning Management of PH. 432 Philosophy of Religion Course.

บาทหลวงวุฒิชัย อ่องนาวา * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลราชบุรี Rev.Wuttichai Ongnawa * Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese.

12 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วุฒิชัย อ่องนาวา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสู ต รศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าปรั ช ญาและศาสนา ต่ อ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอนของรายวิ ช า ปร. 432 ปรั ช ญาศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มีวัตถุประสงค์ เพื่ อ ทราบความคิ ด เห็ น ของนั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ รายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา กลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลทีใ่ ช้ในการศึกษาครัง้ นี้ ประกอบด้วยนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา และศาสนา รายวิชา ปร.432 ปรัชญาศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิ ด เห็ น ของนั ก ศึ ก ษาต่ อ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย น การสอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. เมื่อพิจารณาแยกด้านระดับความพึงพอใจพบว่า ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก จำนวน 20 รายการ อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 10 รายการ 3. จุดเด่นหรือความประทับใจของนักศึกษาต่อการจัดการ เรียนการสอนที่สำคัญ เช่น อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเอง ฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ เน้นให้นักศึกษา เป็นศูนย์กลางของการเรียนโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมต่างๆ จะเป็นการ ดึงศักยภาพของนักศึกษาได้ดีที่สุด เป็นการนำความรู้ต่างๆ มาประสาน กัน เป็นต้น

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

13


การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา

คำสำคัญ : 1) การศึกษาความคิดเห็น 2) สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4) รายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา 5) วิทยาลัยแสงธรรม Abstract

This research was to study the opinion of Bachelor of Arts Program in Philosophy and Religion’s students on teaching and learning management of PH. 432 Philosophy of Religion Course of Saengtham College in second semester 2009. The research objective was to know the opinion of Bachelor of Arts Program in Philosophy and Religion’s students on teaching and learning management of PH. 432 Philosophy of Religion Course. The informants were 29 Philosophy and Religion’s students of Saengtham College. The information collection tool was the questionnaire. The statistics for information analysis were the percentage, mean and standard deviation. The research results were found that 1. The opinion of students on teaching and learning management of PH. 432 Philosophy of Religion Course was in high level by overall. 2. When consider as the satisfaction level, it was found that the majority was in high level with 20 lists and in highest level with 10 lists.

14 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วุฒิชัย อ่องนาวา

3. The main prominent points or the impression of students on teaching and learning management are the familiarity of lecturers, training the students to be responsible adults, emphasizing the students as the center of learning especially for activity management that will enhance the student’s capacity and bringing the knowledge linkage etc. Keywords : 1) Opinion Study 2) Program in Philosophy and Religion 3) Teaching and Learning Management 4) PH.432 Philosophy of Religion Course 5) Saengtham College

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

15


การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การศึกษาวิชาปรัชญา เป็นการศึกษา ที่เน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็น “ผู้มีกระบวนทัศน์ ทางปรัชญา” กล่าวคือ มุง่ ให้ผเู้ รียนเปิดตนเอง สู่ค วามจริง ในเรื่องคุณค่า ความหมายและ เป้าหมาย (What/Why to be) พยายามตั้ง คำถามและตอบปัญหาเกี่ยวกับภาวะที่มีอยู่ ในฐานะที่มันเป็นอย่างที่มันเป็น (ไม่ใช่มุ่งสู่ ความจริงในแบบที่เราอยากให้เป็น) ในฐานะ ทีภ่ าวะนัน้ ๆ มีคณ ุ ค่าและความหมายในตัวของ มันเอง นำสู่การจัดระบบและหลักการดำเนิน ชี วิ ต ที่ ต ระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ความหมายของ สรรพสิ่ง โดยเฉพาะตัวมนุษย์ อันเป็นพื้นฐาน สู่ ก ารสร้ า งหลั ก /แนวทาง/ปรั ช ญาชี วิ ต ของ ผู้ศึกษาปรัชญา การศึกษาวิชาปรัชญา จึงเริ่ม ต้นและให้ความสำคัญต่อการศึกษาแนวคิด/ ระบบความคิดของนักปรัชญาในอดีต (Dilley, 1964) เนื่องจากการศึกษาปรัชญา มีพื้นฐาน บนการตระหนักถึงคุณค่าของประสบการณ์ ในอดีตทีม่ คี วามสัมพันธ์ตอ่ เนือ่ งสูป่ จั จุบนั เพือ่ เป็นแนวทางสู่การบรรลุเป้าหมายในอนาคต อันเป็นคุณค่าและความหมายของชีวิต แนว ความคิด/คำตอบในอดีตของนักปรัชญาเกี่ยว กับความจริง ความรู้ ความงาม ความดี นำสู่ “คำตอบของแต่ละบุคคล” ในเรือ่ งคุณค่าและ ความหมายของการมีอยู่ (วุฒิชัย อ่องนาวา และคณะ, 2552)

16 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การศึกษาวิชาปรัชญา วิทยาลัยแสงธรรม มีอตั ลักษณ์ทสี่ อดคล้องกับธรรมชาติของ สถาบัน กล่าวคือ วิทยาลัยแสงธรรม เป็น สถาบันเตรียมบุคลากรสู่การเป็นบาทหลวง (ผู้ อภิบาล) ของคริสต์ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย และการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ตามเจตนารมณ์ ข องสภาประมุ ข แห่ ง บาทหลวงโรมั น คาทอลิ ก ประเทศไทย (วุฒชิ ยั อ่องนาวา และคณะ, 2552) ซึง่ สอดคล้อง กับที่คณะผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ภายนอก สำนั ก งานรั บ รองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) วิเคราะห์ จุดเด่นของวิทยาลัยแสงธรรมว่า “เป็นสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาเฉพาะทางที่ มุ่ ง ผลิ ต บั ณ ฑิ ต ให้ พร้อมซึ่งความรู้ทางด้านปรัชญา ศาสนาและ เทววิทยา ความประพฤติที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และศักยภาพที่จะสร้างเสริมคุณค่า แห่งมนุษยชาติและมีความสามารถในการชี้นำ และพั ฒ นาสั ง คม” (คณะผู้ ต รวจประเมิ น , 2551: 12) ดังนั้น อัตลักษณ์การศึกษาวิชา ปรั ช ญาวิ ท ยาลั ย แสงธรรม ดำเนิ น ไปเพื่ อ เตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่การศึกษา สาขาวิชาเทววิทยา (Canon law, 1983:251) ซึ่ ง เป็ น กระบวนการอบรมผู้ เ ตรี ย มตั ว เป็ น บาทหลวง ซึ่ ง เป็ น ศาสนบริ ก รของคริ ส ต์ ศาสนจักร


วุฒิชัย อ่องนาวา

สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะ มนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรมจัดให้มีการ ศึกษารายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา (Philosophy of Religion) เป็นรายวิชาในหมวด วิชาเฉพาะในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา วิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 25471 ผู้วิจัยได้รับมอบ หมายจากคณะกรรมการคณะมนุษยศาสตร์ ให้รับผิดชอบรายวิชาปรัชญาศาสนา ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2549 จวบจนปัจจุบัน ทำการ เรียนการสอนเข้าสู่ปีที่ 4 จึงเห็นควรทำการ ศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ สำรวจความคิ ด เห็ น ของนั ก ศึกษาต่อการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าว เพื่อให้การเรียนการสอนรายวิชานี้มีประสิทธิภาพ บรรลุ ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องหลั ก สู ต ร ประกอบกับที่วิทยาลัยแสงธรรม มีนโยบาย ด้านการค้นคว้าและการวิจัยทางวิชาการ โดย จัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีส่วนร่วม (สำนัก งานบริหาร, 2551) ซึ่งสอดคล้องกับที่สาขา วิชาปรัชญาและศาสนา กำหนดนโยบายว่าให้ มีการพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยมุ่ง เน้นการมีสว่ นร่วมของผูท้ เี่ กีย่ วข้อง (สำนักงาน คณะมนุษยศาสตร์ฯ, 2551)

จึงเห็นสมควรดำเนินการวิจัย โดย ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการ เรียนการสอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา เพื่อนำผลการวิจัยมาพิจารณาปรับปรุงและ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ให้ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและการจัดการศึกษาราย วิชาปรัชญาศาสนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการ เรี ย นการสอนตามอั ต ลั ก ษณ์ ก ารศึ ก ษาวิ ช า ปรัชญาของวิทยาลัยแสงธรรมต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อทราบความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา และศาสนา ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการ สอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและ ศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม

1

รายวิชา ปร.432 ปรัชญาศาสนายังคงเป็นรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ และมีคำอธิบายรายวิชาเช่นเดิม ในหลักสูตร ศิลปศาสสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

17


การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา

ขอบเขตด้านประชากร นักศึกษาชัน้ ปีที่ 4 ปีการศึกษา 2552 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญา ศาสนา ตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา วิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการทำ วิจัย ผู้วิจัยจึงกำหนดนิยามศัพท์ ดังนี้ ความคิดเห็น หมายถึง ความพึงพอ ใจที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์ แ ละอั ต ลั ก ษณ์ ก ารเรี ย นการสอนตาม ธรรมชาติของวิทยาลัยแสงธรรม นั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ชั้นปีที่ 4 หมายถึง นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนปกติ ตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ปรัชญาและศาสนา ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยแสงธรรม ปีการศึกษา 2552 รายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา หมายถึงรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา ซึ่ง เป็นรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม กิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา หมายถึง กิจกรรม การเรียนการสอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญา

18 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ศาสนา ที่ผู้สอนนำเสนอและเปิดโอกาสให้ นักศึกษาได้อภิปรายและเสนอแนะต่อการจัด กิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ การบรรยาย/การอภิปราย/วิเคราะห์/ซักถาม การวิพากษ์วิจารณ์ ความคิด การเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยาย พิ เ ศษ การศึ ก ษาค้ น คว้ า ด้ ว ยตนเองตาม หัวข้อทีก่ ำหนด การทำแฟ้มสะสมงาน (ศึกษา วิเคราะห์กระทู้ทางปรัชญาและศาสนา) และ การนำเสนอผลงานหน้าชั้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน นำผลการวิจยั เป็นแนวทางในการปรับ ปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพในรายวิชา ปร. 432 ปรัชญา ศาสนาและรายวิชาปรัชญาอื่นๆ ยิ่งขึ้น ประโยชน์ด้านการวิจัย ผู้ บ ริ ห ารและคณาจารย์ ข องคณะ มนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม มีแนวทาง และการจัดระบบการทำวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการ จัดการเรียนการสอนต่อไป วิธีดำเนินการวิจัย การวิจยั ครัง้ นีเ้ ป็นการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิ ช าปรั ช ญาและศาสนา ต่ อ การจั ด


วุฒิชัย อ่องนาวา

กิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชาปร.432 ปรัชญาศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ทราบ ความคิ ด เห็ น ของนั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของราย วิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา และศาสนา รายวิชา ปร.432 ปรัชญาศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็น ของนั ก ศึ ก ษาต่ อ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย น การสอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา ด้วย ค่าเฉลีย่ (X) ของนักศึกษาทีเ่ ป็นกลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกด้านระดับความพึงพอใจพบว่า ส่วนใหญ่อยูใ่ นระดับมาก จำนวน 20 รายการ เรียงลำดับดังนี้ เอกสารประกอบ การสอนเพียงพอ ตรวจสอบติดตามผลการ เรียนแล้วให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา การ ใช้สื่อและเทคโนโลยีมาประกอบการเรียนการ

สอนได้อย่างเหมาะสม มีเกณฑ์การวัดและ การประเมินผลทีช่ ดั เจนและเหมาะสม ตรงต่อ เวลา ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ผลที่ได้รับจาก การเรี ย นสามารถนำไปใช้ ชี วิ ต ประจำวั น ได้ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษา มี เครื่องมือวัดและประเมินผลได้มาตรฐาน การ วางตัวเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา การให้ความยุติธรรมแก่นักศึกษา การยอมรับ ความคิดเห็นและความสามารถของนักศึกษา เน้นให้นักศึกษาศึกษาจากสภาพจริง มีความ เป็นกันเองกับนักศึกษา ผู้สอนมีความรู้และมี การเตรียมตัวเป็นอย่างดี การใช้เทคนิคการ สอนทีน่ า่ สนใจ การให้ความสนใจและเอาใจใส่ นักศึกษาอย่างทัว่ ถึง การเสียสละและอุทศิ เวลา ให้กับนักศึกษา อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน การ มอบหมายงานให้นักศึกษาทำอย่างเหมาะสม อยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ จำนวน 10 รายการ เรียง ลำดับ ดังนี้ ได้เชิญวิทยากร/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ มาให้ความรู้ มีแนวการสอน รายวิ ช าและแจ้ ง ให้ นั ก ศึ ก ษาทราบก่ อ นเริ่ ม เรียน การจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างหลากหลาย การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ สอนตรงตามเนื้อหาที่แจ้ง ไว้ การตรวจผลงานที่มอบหมายอย่างสม่ำเสมอ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอน เน้นให้นักศึกษาได้เป็น ผู้ปฏิบัติกิจกรรม เปิดโอกาสให้นักศึกษาซัก

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

19


การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา

ถามเพือ่ ความเข้าใจยิง่ ขึน้ บุคลิกภาพและการ แต่งกายเหมาะสม โดยสรุปการหาค่าเฉลี่ยของนักศึกษา มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมเกี่ยวกับการ จัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก จุดเด่นหรือความประทับใจของนักศึ ก ษาต่ อ การจั ด การเรี ย นการสอนที่ ส ำคั ญ เช่น อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเอง ฝึกให้ นักศึกษาได้เรียนรู้ในการเป็นผู้ใหญ่ที่มีความ รับผิดชอบ เน้นให้นกั ศึกษาเป็นศูนย์กลางของ การเรียนโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมต่างๆ จะ เป็ น การดึ ง ศั ก ยภาพของนั ก ศึ ก ษาได้ ดี ที่ สุ ด เป็นการนำความรูต้ า่ งๆ มาประสานกันเป็นต้น อภิปรายผลการวิจัย การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา ปีการศึกษา 2552 เป็น การจั ด การเรี ย นการสอนสำหรั บ นั ก ศึ ก ษา ชั้นปรัชญาและศาสนา ปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม โดยนักศึกษาที่ลงทะเบียน รายวิชาดังกล่าวเป็นกลุม่ นักศึกษาทีม่ วี ฒ ุ ภิ าวะ และมีประสบการณ์การศึกษาวิชาปรัชญาที่ วิทยาลัยแสงธรรม ในระดับที่มีภาวะพร้อม ต่อการบูรณาการความรู้ในการนำแนวคิดทาง ปรัชญามาอธิบายคุณค่าและความหมายของ สิง่ ทีม่ อี ยู่ ตามกระบวนทัศน์ทางปรัชญาได้แล้ว ในระดับหนึ่ง 20 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอน รายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา สำหรับกลุ่ม ผู้เรียนที่มีความพร้อมสู่การเป็นบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญาและ ศาสนา จึงมีแนวทางที่หลากหลาย เป็นโอกาส ให้ผสู้ อนได้นำเสนอและเปิดโอกาสให้นกั ศึกษา มีส่วนร่วมในการอภิปรายและเสนอแนะการ จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอนในรายวิ ช า ดังกล่าว จากนั้นจึงนำสู่การดำเนินการตามที่ ร่วมกันพิจารณา เป็นเหตุผลสำคัญที่นักศึกษา มีความคิดเห็นในเชิงพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนในระดับมากและมากที่สุด รวมทั้งการให้ความร่วมมือต่อการจัดกิจกรรม การสอนอย่างดี ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนในรายวิชา ปร.432 ปรัชญาศาสนา ที่ ผลการวิ จั ย ได้ ป รากฏให้ เ ห็ น ดั ง กล่ า ว ต้ อ ง พิจารณาปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ นักศึกษาที่มี วุฒภิ าวะและมีกระบวนทัศน์การศึกษาปรัชญา มาในระดับหนึ่ง จนพร้อมต่อการบูรณาการ ความรูด้ า้ นปรัชญาสูก่ ารอธิบายปัญหาเกีย่ วกับ สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติของรายวิชา ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ 1) ในการบรรยายของวิทยากรพิเศษ ควรมีเอกสารประกอบการบรรยายการเรียนรู้


วุฒิชัย อ่องนาวา

2) ควรให้ มี ผู้ น ำของศาสนาอื่ น มา บรรยาย 3) ควรจัดให้มกี ารไปศึกษานอกสถาน ที่อย่างน้อย 1 ครั้ง 4) ควรเพิ่มเวลาในการจัดการเรียน การสอนให้มากกว่านี้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรมี ก ารประเมิ น การสอนของ อาจารย์ทุกท่าน ทุกภาคเรียน 2) ควรแยกประเมินการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปที่มีอาจารย์ผู้สอนหลายท่านเพื่อจะ ได้นำมาปรับปรุงแก้ไขจุดที่บกพร่องต่อไป บรรณานุกรม กีรติ บุญเจือ. 2541. ปรัชญาสำหรับผูเ้ ริม่ เรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. . 2522. สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. คณะมนุษยศาสตร์, คณะกรรมการ. 2550. รายงานการประชุมคณะฯ ปีการศึกษา 2548 – 2550. (เอกสารถ่ายสำเนา). นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. บรรจง พลไชย. 2550. “ความคิดเห็นของ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) ต่อการจัดการ เรียนการสอนวิชาสารสนเทศและ

การศึกษาค้นคว้า” นวัตกรรม การเรียนการสอน. ยศ ทรัพย์เย็น และคณะ 2549. “ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการเรียน การสอนระดับอุดมศึกษากับความคิด อย่างมีวิจารณญาณของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขต กำแพงแสน ประจำปีการศึกษา 2547.” ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2549. ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรทัศน์. วิทย์ วิศวเวทย์. 2538. ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. วุฒิชัย อ่องนาวา, บาทหลวง และคณะ. 2552. รายงานการวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์การศึกษาวิชาปรัชญา วิทยาลัยแสงธรรม. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. วุฒิชัย อ่องนาวา, บาทหลวง. 2551. ปรัชญาเบื้องต้น. นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม. สมัคร บุราวาศ. 2544. วิชาปรัชญา. กรุงเทพฯ: ศยาม.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

21


การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ปร. 432 ปรัชญาศาสนา

สุนทร ณ รังษี. 2537. ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สนั่น ไชยานุกูล. 2519. ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย. อธิการบดี, สำนัก. 2550. คู่มือการศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. บริหาร, สำนักงาน. 2551. คู่มือการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัย แสงธรรม ปีการศึกษา 2551. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. คณะมนุษยศาสตร์และศาสนศาสตร์, สำนักงาน. 2551. คู่มือประกัน- คุณภาพการศึกษาภายในสาขาวิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม ปีการศึกษา 2551. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. 2549. ปรัชญา สำหรับเยาวชนกับการสอนปรัชญาใน ฐานะวิชาศึกษาทั่วไป, โครงการส่งเสริมการวิจัยปรัชญาและ ศาสนาสัญจร. กรุงเทพฯ: นำทองการพิมพ์.

22 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปีโตโย, ออกัสติน สุกโี ย, บาทหลวง และคณะ. 2551. รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. มะลูลีม, อิมรอน. 2539. ปรัชญาอิสลาม. กรุงเทพฯ: อิสลามิคอะเคเดมี. Apostolic Constitution Sacrae Disciplinae Leges. 1983. Code of Canon Law. Washington, D.C.: Brumfield, Inc. Artigas, Mariano. 1990. Introduction to Philosophy. Manila: Sing-Tala Publishers. Copleston, Frederich. 1964. A History of Philosophy. New York: Image Books. Dilley, Frank B. 1964. Metaphysics and Religious Language. New York: Columbia University. Hick, John. 1974. Faith and Knowledge. Collins: Fantana Books. John Paul 2, Pope. 1998. Fides et Ratio. Pasy City: Paulines Publishing House.


วุฒิชัย อ่องนาวา

Rowe, William L. (Ed.). 1973. Philosophy of Religion. New York: Harcourt brace Jovanovich, inc. Stumpf, Samuel Enoch. 1989. Philosophy : history & problems. Singapore: McGraw-Hill. Wolff, Robert Paul. 1992. About Philosophy. New Jersey: Prentice Hall. Wallace, William A. 1977. The Elements of Philosophy. New York: Alba House. Williamson, William B. 1976. Decisions in Philosophy of Religion. Columbus: A Bell & Howell Company.

การสัมภาษณ์ แลกเปลี่ยนความคิดกับผู้ทรง คุณวุฒิ บาทหลวง ดร. วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช. สัมภาษณ์, ม.ค. – ธ.ค. 2551. บาทหลวง ดร. ชาติชาย พงษ์ศิริ. สัมภาษณ์, พ.ย. – ก.พ. 2552. บาทหลวงยัง มารี ดังโตแนล. สัมภาษณ์, พ.ย. – ก.พ. 2552. บาทหลวงสุรชาติ แก้วเสนีย์. สัมภาษณ์, พ.ย. – ก.พ. 2552. ศ. กีรติ บุญเจือ. สัมภาษณ์, 4 เม.ย. 2551. ศ. ปรีชา ช้างขวัญยืน. สัมภาษณ์, 4 ก.พ. 2551. . สัมภาษณ์, 28 พ.ค. 2551.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

23


การพัฒนาสื่ิอการศึเรื่องกษาด้ความสุวยโปรแกรม Microsoft Powerpoint ขแท้ 8 ประการ

การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี

T

he Development of Instructional Media by Microsoft PowerPoint about The 8 Beatitudes for 15-24 year-old Catholic Youths มุขยายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย * มุขนายกสังฆมณฑลอุดรธานี บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลราชบุรี * หัวหน้าสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวงบุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลเชียงใหม่ * อาจารย์ประจำ คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวง ผศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลราชบุรี * อาจารย์ประจำ สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม นางสาวทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต * ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม Bishop Dr.LueChai Thatwisai * Bishop of Udonthani Diocese Rev.Charoen Vongprachanukul * Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese * Head of Program of Christian Studies, Saengtham College Rev.Boonlert Sangkusolnaiphasutha * Reverend in Roman Catholic Church, Changmai Diocese * Lecturer of Faculty of Religions Saengtham College Rev. Asst. Prof. Watchasin Kritjaroen * Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese * Lecturer of Program of Christian Studies, Saengtham College Thip-anong Ratchaneelatdachit * Assistant Director and Researcher of Religious and Cultural Research Centre, Saengtham College 24 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย, เจริญ ว่องประชานุกูล, บุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, วัชศิลป์ กฤษเจริญ, ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการศึกษาด้วย โปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ ของ นักเรียนก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนคาทอลิก ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่มีต่อสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ กลุ่มตัวอย่างเป็น เยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่กำลังศึกษาในวิทยาลัย แสงธรรม สาขาคริสตศาสนศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการศึกษา ด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี 2) แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการศึกษา เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการศึกษา ด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. สื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ประกอบด้วยหน่วยการศึกษา 8 หน่วย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.65/88.20 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

25


การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้เรียนเห็นด้วย ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 1 รายการ คือ การเรียนด้วยสื่อการศึกษา ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และที่เห็นด้วยในระดับมาก จำนวน 7 รายการคือ ทบทวนบทเรียนได้สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้มี ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้สนุกสนาน ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทำตามความสามารถของผู้ เรียนและที่เห็นด้วยในระดับปานกลาง 2 รายการคือ ตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาและทำให้เข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น คำสำคัญ : Abstract

1) การพัฒนาสื่อการศึกษา 2) โปรแกรม Microsoft Powerpoint 3) ความสุขแท้ 8 ประการ 4) เยาวชนคาทอลิก

The purposes of this research were 1) To develop an instructional media by Microsoft PowerPoint about the 8 Beatitudes for 15-24 year-old Catholic youths to be effective following 80/80 standard 2) To compare learning achievement between pre-learning and post-learning from Microsoft PowerPoint about the 8 Beatitudes 3) To study the opinions of 15-24 year-old Catholic youths about an

26 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย, เจริญ ว่องประชานุกูล, บุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, วัชศิลป์ กฤษเจริญ, ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต

instructional media by Microsoft PowerPoint about the 8 Beatitudes. The samples consisted of 20 Catholic youths who were 15-24 years old and studied in Christian Studied Program at Saengtham College in 1st semester of 2009 academic year. The research tools were as following 1) Instructional media by Microsoft PowerPoint of 8 Beatitudes for 15-24 year-old Catholic youths 2) Learning achievement by pre-test and post-test about the 8 Beatitudes 3) Questionnaires using to collect the data and statistic data analyzed by the percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. The research found that 1. The instructional media by Microsoft PowerPoint of 8 Beatitudes for 15-24 year-old Catholic youths containing of 8 educational units was effective as 87.65/88.20 that was higher than the 80/80 standard. 2. Learning achievement from Microsoft PowerPoint about the 8 Beatitudes revealed that pre-learning achievement was higher that post- learning achievement at 0.01 level of statistical significance. 3. The opinions of the students about the instructional media were agreed at high level. Moreover, when considered as each item, it was found that there was 1 item which the students agreed at highest level. That was learning by instructional media could make them more confident. There were also 7 items which the students agreed

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

27


การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

at high level. Those were 1) comfortable and simple to review the lesson, 2) computer skill could be more improved, 3) to stimulate them to study more, 4) to enjoy the lesson, 5) to associate to student centre educational system, 6) to learn under the student’s abilities and 7) teaching concerning to learning’s objectives. Finally, there were 2 items which the students agreed at fair level. They were to help easily understand the lessons and to bring about the creativity. Keyword : 1) The Development of Instructional Media 2) Microsoft PowerPoint 3) The 8 Beatitudes 4) Catholic Youths

28 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย, เจริญ ว่องประชานุกูล, บุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, วัชศิลป์ กฤษเจริญ, ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านการศึ ก ษา วิ ท ยาศาสตร์ ก ารแพทย์ การสื่ อ สาร โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผลทางสติ ปัญญามากขึ้น สิ่งที่พัฒนาควบคู่ไปกับความ เจริญก้าวหน้าด้านต่างๆ ของสังคมโลกก็คอื การดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะ เป็นการทำงานเพื่อหาค่าครองชีพ การเลี้ยงดู บุตรหลาน ดังจะเห็นได้จากในวงการศึกษา มี ก ารพั ฒ นาให้ ผู้ เรี ย นมี ทั ก ษะด้ า นการคิ ด วิเคราะห์ พัฒนาความเป็นเลิศด้านสติปัญญา วงการแพทย์ได้พฒ ั นาภูมคิ มุ้ กัน วัคซีนป้องกัน โรค เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น การ สื่อสารได้พัฒนาให้มีการติดต่อได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น การเดินทางได้ปรับปรุงเส้นทาง ให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ฯลฯ ท่ามกลางกระแสความเจริญก้าวหน้า ของสังคมโลก องค์กรศาสนาก็ไม่หยุดนิ่งที่จะ เผยแผ่ความเชื่อความศรัทธาเช่นกัน ศูนย์วิจัย ค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรมเล็งเห็นความสำคัญในความก้าวหน้าที่ ไม่หยุดนิง่ ของสังคมโลก การเปลีย่ นแปลงอย่าง รวดเร็วที่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบความ เชื่อความศรัทธาและการปฏิบัติศาสนกิจของ คริสตชนได้ ดังนั้น จึงพยายามผลักดันให้เกิด องค์ ค วามรู้ เข้ า ถึ ง วิ ถี ค วามเชื่ อ ความศรั ท ธา

ของคริ ส ตชนเพื่ อ คริ ส ตชนจะได้ น ำความรู้ เหล่านีไ้ ปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ่ การปฏิบตั ิ ศาสนกิจในชีวิตประจำวันของตน ในปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยฯ ได้สำรวจความต้องการบริการความรู้ เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาของคริสตชนไทย วัตถุประสงค์ ข องการสำรวจเพื่ อ ศึ ก ษาความ ต้องการในการรับบริการเกีย่ วกับคริสต์ศาสนา ของคริสตชนไทยทั้ง 10 สังฆมณฑล เครื่องมือ ทีใ่ ช้ในการสำรวจเป็นแบบสอบถามแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ศูนย์วิจัยฯ สร้าง ขึ้นเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบ ถาม ซึ่งได้ส่งให้คริสตชนไทยจำนวน 200 ฉบับ ได้รับกลับคืน 157 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 78.50 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า 1. เนื้ อ หาการอบรมคริ ส ตศาสนามี ความสำคัญกับคริสตชนในภาพรวมอยูใ่ นระดับ มาก (X=4.23) เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ย เป็นรายข้อพบว่าเนื้อหาเรื่องพระคัมภีร์ (X= 4.82) มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เนื้อหาเรื่องข้อบัญญัติ/พระบัญญัติ (X=4.69) และเนื้ อ หาเรื่ อ งการอภิ บ าลคริ ส ตชน (X= 3.28) มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. วิธีการอบรมคริสตศาสนาควรเป็น การใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์ (ร้อยละ 45.32) การ บรรยายความรู้ทางวิชาการ (ร้อยละ 22.52)

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

29


การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

การจัดสัมมนา/เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ร้อย ละ 11.90) การเทศน์ในพิธีกรรม (ร้อยละ 8.86) การศึกษาความรู้ด้วยตนเอง (ร้อยละ 6.84) การจัดค่ายอบรม (ร้อยละ 4.56) 3. กลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสำหรับการ เผยแพร่ความรู้มากที่สุดคือ กลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี (ร้อยละ 45.82) ผู้ใหญ่ อายุ 25-54 ปี (ร้อยละ 31.65) เด็กนักเรียน อายุ 6-14 ปี (ร้อยละ 16.20) และกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 55 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 6.33) ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้ คริ ส ตชนคาทอลิ ก ในประเทศไทยส่ ว นใหญ่ ต้องการทราบเนือ้ หาด้านพระคัมภีรจ์ ากวิธกี าร ใช้สอ่ื อิเลกทรอนิกส์โดยเผยแพร่ความรูด้ งั กล่าว ให้กับกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดผลที่ได้ จากการสำรวจความต้องการบริการความรู้ เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาของคริสตชนไทย ศูนย์ วิจัยฯ จึงได้พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา สื่ อ อิ เ ลกทรอนิ ก ส์ ที่ มี เ นื้ อ หาด้ า นพระคั ม ภี ร์ สำหรับเยาวชนไทย ภายใต้หัวข้องานวิจัยเรื่อง การพั ฒ นาความรู้ ด้ า นคริ ส ต์ ศ าสนาสำหรั บ คริสตชนคาทอลิกในประเทศไทย หวังเป็น อย่างยิ่งว่าผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของคริสตชน ไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

30 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความ สุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่ มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท าง การเรียนด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ ของ นักเรียนก่อนและหลังเรียน 3. เพือ่ ศึกษาความคิดเห็นของเยาวชน คาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่มีต่อ สือ่ การศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Power point เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากร ได้แก่ เยาวชนคาทอลิก ในประเทศไทยที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่ง อยู่ในเขตการปกครองคาทอลิกทั้ง 10 สังฆมณฑล ประกอบด้วย อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สังฆมณฑลจันทบุรี อัครสังฆมณฑล ท่าแร่-หนองแสง สังฆมณฑลเชียงใหม่ สังฆมณฑลอุ บ ลราชธานี สั ง ฆมณฑลอุ ด รธานี สังฆมณฑลนครสวรรค์ สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี สังฆมณฑลราชบุรี และสังฆมณฑลนครราชสีมา


ลือชัย ธาตุวิสัย, เจริญ ว่องประชานุกูล, บุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, วัชศิลป์ กฤษเจริญ, ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต

2. ระยะเวลาในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 3. ขอบเขตการวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษา 3.1 การสร้ า งสื่ อ การศึ ก ษาด้ ว ย โปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิก ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้วย โปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ 3.3 ความคิดเห็นของเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่มีต่อสื่อ การศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ ตัวแปรที่ศึกษา มีดังนี้ ตัวแปรต้น ได้แก่ สื่อการศึกษาด้วย โปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิก ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิท์ างการ ศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ ความคิ ด เห็ น ของเยาวชนคาทอลิ ก ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่มีต่อสื่อการ ศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ

นิยามศัพท์เฉพาะ เพือ่ ความเข้าใจศัพท์เฉพาะทีใ่ ช้ในการ วิจัยตรงกัน คณะผู้วิจัยจึงนิยามความหมาย และขอบเขตของคำศัพท์ที่เป็นคำหลักๆ ไว้ ดังนี้ 1. การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรือ่ ง ความ สุขแท้ 8 ประการ หมายถึง การสร้างสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ โปรแกรมนี้เป็น ลั ก ษณะการเสนอข้ อ มู ล ต่ อ เนื่ อ งด้ ว ยภาพ ข้อความ กราฟ ตาราง สามารถแทรกภาพ เคลื่อนไหวและเสียงประกอบ ผู้เรียนสามารถ ทบทวนและเลือกศึกษาได้ตามถนัด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนของนักเรียนที่ได้หลังจากการทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ 3. ประสิ ท ธิ ภ าพของสื่ อ การสอน หมายถึง ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) ซึ่ง 80 ตัวแรก (E1) หมายถึง ค่า เฉลี่ยร้อยละ 80 ของคะแนนทำได้จากการทำ แบบทดสอบระหว่างเรียน 80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 80 ของคะแนนที่ นักเรียนทำได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน 4. ความคิดเห็น หมายถึง ความรู้สึก นึ ก คิ ด ของนั ก เรี ย นที่ มี ต่ อ สื่ อ การศึ ก ษาด้ ว ย

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

31


การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

โปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการเกี่ยวกับประโยชน์ของ สื่อการศึกษา 5. เยาวชนคาทอลิก หมายถึง ผู้ที่ กำลังศึกษาในสังกัดโรงเรียนคาทอลิกที่มีอายุ ระหว่าง 15-24 ปี ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 6. ความสุขแท้ 8 ประการ หมายถึง คำสอนของพระเยซู เจ้ า ที่ ก ล่ า วถึ ง วิ ถี ชี วิ ต สู่ พระอาณาจักรพระเจ้า ซึ่งมีบันทึกในพระวรสารนักบุญมัทธิว (มธ 5:3-10) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ด้านพระคัมภีร์ถือว่าพระวรสารตอนดังกล่าว เป็นสาระสำคัญหรือหัวใจของคำสอนของพระเยซูเจ้า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ สื่ อ การศึ ก ษาด้ ว ยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุ ระหว่าง 15-24 ปี 2. เยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปีมีความรู้ด้านคริสต์ศาสนาเรื่องความ สุขแท้ 8 ประการเพิ่มมากขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One group pretest-posttest design

32 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ในการเก็บข้อมูลการทดลองของกลุ่มทดลอง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการศึกษา T1

X

T2

T1 หมายถึ ง คะแนนแบบทดสอบก่อนการศึกษา X หมายถึ ง การทดลองเรี ย น ด้วยสื่อการศึกษา T2 หมายถึ ง คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรั บ เยาวชนคาทอลิ ก ที่ มี อ ายุ ระหว่าง 15-24 ปี ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็น สื่อทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประกอบการศึกษา อี ก วิ ธี ห นึ่ ง ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยหน่ ว ยการศึ ก ษา 8 หน่วยคือ ประการที่ 1 ผู้มีใจยากจนย่อม เป็นสุข เพราะพระอาณาจักรสวรรค์เป็นของ เขา ประการที่ 2 ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็น สุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน ประการ ที่ 3 ผู้มีใจอ่อนโยนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะ ได้รับแผ่นดินเป็นมรดก ประการที่ 4 ผู้หิว กระหายความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะเขา จะอิ่ม ประการที่ 5 ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข


ลือชัย ธาตุวิสัย, เจริญ ว่องประชานุกูล, บุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, วัชศิลป์ กฤษเจริญ, ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต

เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา ประการที่ 6 ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็น พระเจ้า ประการที่ 7 ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น บุ ต รของพระเจ้ า ประการที่ 8 ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหง เพราะ ความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักร สวรรค์เป็นของเขา และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.65/88.20 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 2. ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของผูเ้ รียน ด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิก ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี สูงกว่าก่อนการ เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2 3. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อ การศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับ เยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้เรียนเห็นด้วยใน ระดับเห็นด้วยมากที่สุด 1 รายการ คือ การ เรี ย นด้ ว ยสื่ อ การศึ ก ษาทำให้ ผู้ เรี ย นมี ค วาม มั่นใจในตัวเองมากขึ้นและที่เห็นด้วยในระดับ มากจำนวน 7 รายการคือ ทบทวนบทเรียนได้ สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้มีประสบการณ์ใน การใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการ

เรียนรู้ ทำให้สนุกสนาน ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์ กลาง ทำตามความสามารถของผู้เรียนและที่ เห็นด้วยในระดับปานกลาง 2 รายการ คือ ตรงตามจุดประสงค์ของการศึกษาและทำให้ เข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น อภิปรายผล จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ 1. ผลการวิจัยพบว่า สื่อการศึกษา ด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เป็นเพราะใน การสร้างสื่อดังกล่าว ผู้วิจัยดำเนินการสร้าง ตามแนวคิด ทฤษฎีที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ มีขั้นตอน หลัง จากสร้างสื่อต้นร่างแล้วได้นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ พิจารณา และได้ปรับปรุงและเป็นไปตามข้อ เสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ หลังจากนั้น นำสื่อ การศึกษาไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ ของสื่อ ใน 2 ขั้นตอนคือ ทดลองสอนผู้เรียน เป็นกลุ่มย่อยและทดลองภาคสนามกับผู้เรียน 20 คน และในแต่ละขั้นตอนของการทดลอง ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะทดสอบครั้ง ต่อไป ซึง่ สอดคล้องกับผลการวิจยั ของประดิษฐ์ เกษมสินธุ์ (2534:63) ได้ทำการวิจัยเรื่องการ

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

33


การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

สร้างสื่อประสมสำหรับการเรียนการสอนเรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำตามโครงการ อีสานเขียวสำหรับนักเรียนประถมศึกษาผล การวิจัยพบว่าชุดการสอนสื่อประสมที่สร้าง ขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.83/80.67 ซึ่งพบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และ ของวันเพ็ญ มีคำแสน (2544:91) ได้สร้างสื่อ ประสมเรื่อง ทวีปเอเชีย : ดินแดนแห่งความ แตกต่างที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.11/ 86.16 ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ 2. จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า ผลสัมฤทธิ์ การศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรั บ เยาวชนคาทอลิ ก ที่ มี อ ายุ ระหว่าง 15-24 ปี เป็นเนือ้ หาทีน่ า่ สนใจ ดึงดูด กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 3. จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้เรียนมี ความคิดเห็นต่อสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุ ระหว่าง 15-24 ปี โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าบทเรียนที่นำเสนอผ่าน สื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นประสบการณ์ตรงของผูเ้ รียน ดังทีช่ ยั ยงค์ พรหมวงศ์ (2521:100) ให้ข้อคิดเห็นว่า การใช้สื่อการ

34 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สอนหลายๆชนิด ในรูปสื่อประสมจะให้ผลดี กว่าใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สอดคล้ อ งกั บ สุ แ พรวพรรณ ตั น ติ พ ลาผล (2527:14) ได้กล่าวว่า การใช้สื่อการเรียนการ สอนเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งไม่อาจทำให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เท่าที่ควร ดังนั้นจึงจำเป็น ต้ อ งนำสื่ อ หลายๆชนิ ด มาใช้ ร่ ว มกั น อย่ า งมี ระบบ มีความสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและ กัน เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ เรียนรู้ ทำนองเดียวกับยุพิน พิพิธกุล (2524: 295) กล่าวว่า การสอนโดยใช้สื่อประสมทำให้ นักเรียนเกิดความสนใจ ไม่เบื่อหน่ายเพราะ การเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าตลอดเวลาทำให้ผู้เรียน ได้รับความรู้กว้างขวาง เข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. จากผลการวิจัยที่พบว่า สื่อการ ศึกษาที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนด ดังนัน้ ในการสร้างสือ่ การศึกษาทุกครัง้ ควรมีการหาประสิทธิภาพเพื่อที่จะมีการปรับ ปรุงแก้ไขให้เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ 2. จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนด้วยสื่อการศึกษาด้วย โปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการสำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี สูงกว่าก่อน


ลือชัย ธาตุวิสัย, เจริญ ว่องประชานุกูล, บุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, วัชศิลป์ กฤษเจริญ, ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต

เรียน ดังนั้น ควรมีการสร้างสื่อการศึกษาด้วย โปรแกรม Microsoft Powerpoint สำหรับ ผู้เรียนระดับอื่นๆ และรายวิชาอื่นๆ 3. จากผลการวิ จั ย พบว่ า ผู้ เรี ย นมี ความคิดเห็นต่อสื่อการศึกษาที่สร้างขึ้นอยู่ใน ระดับเห็นด้วยมาก ดังนั้น ในการสอนควรมี การใช้สื่อประเภทนี้ให้มากขึ้น ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา เรื่องพระคัมภีร์หรือความรู้ทางด้านศาสนาใน ประเด็ น อื่ น ๆ ด้ ว ยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เพื่อให้มีสื่อการศึกษามากขึ้น 2. ควรวิจัยพฤติกรรมการศึกษาด้วย สื่อการศึกษาโปรแกรม Microsoft Powerpoint รวมทั้งศึกษาความคงทนในการเรียน ซึ่ ง บั น ทึ ก พฤติ ก รรมการเรี ย นตามเวลาที่ ใช้ เรียนจริงว่าผู้เรียนกำลังศึกษาสื่อการศึกษาที่ กรอบเนื้อหาอะไร เมื่อเวลาใด รวมทั้งพฤติกรรมการทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ การ เลือกข้อคำตอบ การเปลี่ยนแปลงข้อคำตอบ และรายละเอียดอื่นๆ เพื่อศึกษารูปแบบของ พฤติกรรมที่เหมาะสม 3. ควรวิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ทางการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนการ สอนด้ว ยคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้การเรียนมี ประสิทธิภาพมากที่สุด

4. ควรมี ก ารวิ จั ย เพื่ อ เปรี ย บเที ย บ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องดังกล่าวด้วยสื่อ การสอนโปรแกรม Microsoft Powerpoint กับวิธีสอนแบบปกติ บรรณานุกรม คาทอลิกเพื่อการอบรมคริสตศาสนธรรม, คณะกรรมการ. 2548. การดำเนินชีวติ ของเยาวชนคาทอลิก วัย 16-20 ปี. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. พระคัมภีร์คาทอลิกแห่งประเทศไทย, คณะกรรมการ. 1994. พระคัมภีร์ภาษาไทยฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: อำนวยรัตน์การพิมพ์. เจริญ ว่องประชานุกูล, บาทหลวง และคณะ. 2551. การสำรวจความ ต้องการการบริการความรู้ด้าน คริสต์ศาสนาสำหรับคริสตชนใน ประเทศไทย. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทัศไนย์ คมกฤส, บาทหลวง. 2529. เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ. กรุงเทพฯ: พลพันธ์การ.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

35


การพัฒนาสื่อการศึกษาด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ สำหรับเยาวชนคาทอลิกที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปี

ประดิษฐ์ เกษมสินธุ์. 2534. “การสร้างสื่อ ประสมสำหรับการเรียนการสอน เรื่องการอนุรักษ์และพัฒนา แหล่งน้ำตามโครงการอีสานเขียว สำหรับนักเรียนประถมศึกษา”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ลือชัย ธาตุวิสัย, บาทหลวง. มปป. “พระวรสารสหทรรศน์”, เอกสารประกอบการสอน. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. ลือชัย ธาตุวิสัย, บาทหลวง และคณะ. 2552. การอ่านพระคัมภีร์ของเยาวชน คาทอลิก. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย, สำนักงาน. 2000. ทิศทางงานอภิบาลคริสตศักราช 2000 ของพระศาสนจักร คาทอลิกไทย สำหรับ ค.ศ.2000-2010. กรุงเทพฯ: อัสสัมชัญ. สุแพรวพรรณ ตันติพลาผล. 2527. การศึกษาชุดสือ่ ประสม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ยุพิน พิพิธกุล. 2524. การเรียนการสอน คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์. 36 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

วันเพ็ญ มีคำแสน. 2544. การพัฒนา ชุดการสอนสื่อประสมเรื่อง ทวีปเอเชีย : ดินแดนแห่งความ แตกต่าง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Apostolic Constitution Fidei Depositum. 1994. Catechism of the Catholic Church. London: Geoffrey Chapman. Apostolic Constitution Sacrae Disciplinae Leges. 1983. Code of Canon Law. Washington, D.C.: Braun-Brumfield, Inc. Barclay, W. 1986. The Gospel of Matthew. Vol. 1. Edinburgh: DSB. Flannery, Austin, O.P. (Ed.). 1965. The Documents of Vatican II. Grand Rapids, Mich: Eerdmans. Guelich, R. 1982. The Sermon on the Mount. Texas: Dallas. Hagner, D.A. 1993. Matthew 1-13. Texas: WBC. Dallas. Hill, D. 1990. The Gospel of Matthew. London: NCBC.


การบริ หารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การ ในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

S

chool Based Management and Organizational Climate of the Catholic Schools in Bangkok Archdiocese

บาทหลวงอิทธิพล ศรีรัตนะ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ Rev.Ittiphon Srirattana * Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese.


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

บทคัดย่อ

การวิจยั ครัง้ นี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ทราบ 1) การบริหารงานโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2) บรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 32 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 10 คน ประกอบด้วย ครูใหญ่ 1 คน ผู้ช่วยครูใหญ่ 4 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ 5 คน รวมทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐานของสำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษาและบรรยากาศองค์การตามแนวความคิดของไลเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน (rxy) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. บรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ทั้งในภาพรวมและราย ด้าน คำสำคัญ :

38 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

1) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) บรรยากาศองค์การ


อิทธิพล ศรีรัตนะ

Abstract

The purposes of this research were to determine 1) the school based management of the Catholic schools in Bangkok Archdiocese, 2) the organizational climate of the Catholic schools in Bangkok Archdiocese, and 3) the correlation between school based management and organizational climate of the Catholic schools in Bangkok Archdiocese. The sample consisted of 32 Catholic schools of Bangkok Archdiocese. The respondents were principal, assistant principal and head of subject groups. The research instrument was a questionnaire on school based management of the Office of the Education Council and organizational climate based on the concept of Likert. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Pearson product moment correlation coefficient. The findings revealed as follows: 1. The school based management of the Catholic schools in Bangkok Archdiocese, as a whole, and in each aspect, was at a high level. 2. The organizational climate of the Catholic schools in Bangkok Archdiocese, as a whole, and in each aspect, was at a high level. 3. There was significantly correlation between school based management and organizational climate of the Catholic schools in Bangkok Archdiocese, as a whole, and in each aspect at .01 level.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

39


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Keywords : 1) School Based Management 2) Organizational Climate

40 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อิทธิพล ศรีรัตนะ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทย ได้ ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการให้การศึกษา ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา เมือ่ คณะมิชชันนารีชาวโปรตุเกส ได้เริ่มเข้ามาเผยแพร่ศาสนาที่กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2097 โดยในระยะแรกๆนั้นไม่มี หลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าได้มีการตั้งโรงเรียน คาทอลิกขึ้น ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาใน แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2198-2231) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส สังกัด คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ได้รับ พระบรมราชานุญาตให้เข้ามาเผยแพร่ศาสนา และได้ รั บ พระราชทานที่ ดิ น ที่ บ้ า นปลาเห็ ด สำหรับเป็นที่พักอาศัย สามารถสร้างโบสถ์ บ้านพัก และโรงเรียน และในปี พ.ศ.2208 โรงเรียนคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทยได้ ถือกำเนิดขึน้ มีชอ่ื ว่า General College (วิวฒ ั น์ แพร่ศิริ, 2543) โรงเรียนคาทอลิกสมัยใหม่แห่งแรก ในยุคปัจจุบัน คือ โรงเรียนอัสสัมชัญ ก่อตั้ง โดยบาทหลวงโคลอมเบต์ ในปี พ.ศ.2428 นับแต่นั้นมาคณะนักบวชคาทอลิกต่างๆ ที่ อุทิศตนในการให้การศึกษา ได้เข้ามาเปิดโรงเรียนในประเทศไทยเพิม่ ขึน้ เป็นลำดับ โรงเรียน คาทอลิกจึงได้นำหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นแม่บทในการจัดการศึกษา แต่มี อุดมการณ์ของการให้การศึกษาที่พัฒนาทั้ง

ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และจิตวิญญาณ ตามแนวทางการศึกษาคาทอลิก และจากการ ที่มีโรงเรียนคาทอลิกเพิ่มขึ้นมากในทุกระดับ การศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา นีเ้ อง ซึง่ ในการดำเนินงานในโรงเรียนคาทอลิก นั้น มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้โรงเรียนบรรลุ วัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของชาติ และตาม นโยบายของโรงเรียน ซึ่งกลไกสำคัญที่จะขับ เคลื่อนให้การบริหารงานของโรงเรียน ดำเนิน ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วิทยา คู่วิรัตน์, 2544) การปฏิ รู ป การศึ ก ษาตามพระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้น ทำให้เห็นว่า บุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งจะต้องมีบทบาทของ การเป็ น ผู้ น ำในการปฏิ รู ป การเรี ย นรู้ เป็ น ผู้ที่จะสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียน ได้มี การพั ฒ นาตนเองทุ ก ๆด้ า นอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และเพื่ อ ให้ ก ารดำเนิ น การในโรงเรี ย นนั้ น มี ประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จจะต้อง มีปัจจัยด้านต่างๆ เป็นองค์ประกอบ เพื่อให้ โรงเรียนมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีบรรยากาศองค์การที่ดีภายในโรงเรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑล กรุ ง เทพฯ ในปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารบริ ห ารโรง-

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

41


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรียนโดยมีบาทหลวง และนักบวช เป็นผู้ดูแล และตามที่ ฝ่ า ยการศึ ก ษา อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ กำหนด คือ คุณธรรม จริยธรรม และวิชาการ ที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งในด้านความคิด สติปัญญา และ จิตใจ ในการบริหารโรงเรียนทีเ่ ป็นไปอย่างเป็น ขั้นเป็นตอน และได้รับความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่าย แต่เนื่องจากโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีโครงสร้างการบริหารทีเ่ น้น การมีส่วนร่วม (Participation) และความ ร่วมมือ (Cooperation) โดยมีความเข้าใจกัน มากขึ้น ถึงแม้ในบางโรงเรียนผู้บริหารที่เข้า รั บ ตำแหน่ ง ใหม่ ก็ ส ามารถเข้ า รั บ ตำแหน่ ง และดำเนินการบริหารได้อย่างต่อเนือ่ ง ได้อย่าง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ แต่จ ากการศึ กษาถึงสภาพ ปัญหาของโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ในปัจจุบันพบว่า 1. ปั ญ หาการมี ว าระในการบริ ห าร ของผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย น ที่ ท ำให้ ก ารกำหนด แผนงาน และโครงการไม่ต่อเนื่อง เนื่องจาก เป็ น นโยบายของฝ่ า ยการศึ ก ษา อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่จะจัดให้การดำเนินการ บริหารในโรงเรียน โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียน ให้มีวาระในการบริหาร อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป (พรชัย บรัศวกุล, 2544) 2. ปั ญ หาในด้ า นวิ ช าการ จากการ สรุปผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพ

42 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ภายนอกสถานศึ ก ษา ระดั บ การศึ ก ษาขั้ น พื้นฐาน (รอบแรก พ.ศ.2544-2548) สังกัด สำนั ก งานคณะกรรมการส่ ง เสริ ม การศึ ก ษา เอกชน จำนวน 2,116 แห่ง พบว่าในมาตรฐานด้านผูบ้ ริหาร ตัวชีว้ ดั ในการประเมินความ สำเร็ จ มี ม าตรฐานที่ ไ ม่ ไ ด้ ม าตรฐานในด้ า น ผู้ บ ริ ห าร การเรี ย นรู้ การส่ ง เสริ ม กิ จ กรรม และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อาจมีผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ เช่น ขนาด ของโรงเรียน จำนวนนักเรียน หรือขนาดห้อง เรียน โรงเรียนขนาดใหญ่ หรือเกิดจากภาระ งานของผู้บริหาร มีมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก จึงไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลในงานด้านวิชาการได้เท่าที่ควร ต่างจากโรงเรียนของรัฐบาล ที่ มี ก ฎระเบี ย บให้ ผู้ ช่ ว ยครู ใ หญ่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่แทนครูใหญ่ได้ แต่ในโรงเรียนเอกชน ไม่มี กฎระเบียบนี้กำหนดไว้ ทุกอย่างต้องผ่านครู ใหญ่ (คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, 2549) 3. ปัญหาในด้านการให้ความสำคัญ และความเข้ า ใจในหลั ก การบริ ห ารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งในภาพรวมของการ บริหารในโรงเรียนคาทอลิก มีหลักการบริหาร ที่ดี และมีคุณภาพ และเป็นไปตามหลักการ บริหาร แต่ในทางปฏิบตั ิโรงเรียนคาทอลิกอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ยังไม่ได้เจาะจงลงไปว่า


อิทธิพล ศรีรัตนะ

โรงเรียนคาทอลิกมีหลักการบริหารอะไร หรือ นำหลักการบริหารอะไรมาเป็นแนวทางการ บริหารซึ่งจากผลที่ได้รับ คือ คุณภาพการ ศึ ก ษาที่ เ กิ ด ขึ้นโดยอาศัยการบริหารจัดการ ที่ดี นำไปสู่ผลผลิตที่ตรงตามเป้าหมาย และ เกณฑ์ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดขึ้น บาทหลวงวิวัฒน์ แพร่ศิริ ผู้อำนวยการฝ่าย การศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้กล่าว ในเอกสารว่า แม้ว่าโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นใน โรงเรียนคาทอลิกจะมีประสิทธิภาพ แต่จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการประเมินตรวจสอบ และปรั บ ปรุ ง อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แต่ ใ นโรงเรี ย น คาทอลิก พบว่า ยงั ไม่มตี วั ชีว้ ดั ทีเ่ ป็นมาตรฐาน ในการวัดความสำเร็จ ว่าโรงเรียนมีหลักการ บริหารอะไร ที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ จะนำมาเป็นแนวทาง เพื่อให้การจัดการศึกษา ในโรงเรียนคาทอลิกมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนมากที่สุด (เส้นทางสู่มาตรฐานวิชาชีพ สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา, 2550) จากคำกล่ า วข้ า งต้ น ทำให้ เ ห็ น ว่ า โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ แม้จะมีการบริหารโรงเรียนอย่างเป็นระบบ โดยการดู แ ลของฝ่ า ยการศึ ก ษา อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุงเทพฯ แต่กย็ งั พบปัญหาในเรือ่ งของ วาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารที่มีการ เปลี่ยนแปลง ปัญหาในด้านของผู้บริหารใน

การพัฒนาความรู้ด้านวิชาการของผู้บริหาร ที่ ผู้ บ ริ ห ารจำเป็ น จะต้ อ งศึ ก ษาเพิ่ ม เพื่ อ พัฒนาตนเองให้มีความเป็นผู้นำ และผู้บริหาร ที่ มี คุ ณ ภาพ และปั ญ หาในการนำหลั ก การ บริ ห ารโดยใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐานมาใช้ ใ นโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทำให้ ผู้วิจัยเกิดความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่อง การ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และบรรยากาศ องค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อทราบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อทราบบรรยากาศองค์การใน โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 3. เพื่ อ ทราบความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยา กาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอบเขตของการวิจัย ใช้ แ นวคิ ด หลั ก การบริ ห าร โดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานของสำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน คือ

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

43


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

1) หลักการกระจายอำนาจ 2) หลักการบริหารตนเอง 3) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน 5) หลักการพัฒนาทั้งระบบ 6) หลักความพร้อมที่จะรับการตรวจ

สอบ แบบบรรยากาศองค์การตามลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร และผู้ร่วมงาน โดยมีองค์ประกอบ 8 ประการ 1) ภาวะผู้นำ 2) การจูงใจ 3) การติดต่อสื่อสาร 4) การปฏิสัมพันธ์ 5) การตัดสินใจ 6) การกำหนดเป้าหมาย 7) กระบวนการควบคุมบังคับบัญชา 8) เป้าหมายของผลการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม นิยามศัพท์เฉพาะ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง แนวคิดในการจัดการศึกษาโดยการ กระจายอำนาจการจั ด การศึ ก ษาจากส่ ว น กลางไปสูโ่ รงเรียนโดยตรง ให้โรงเรียนมีอำนาจ หน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบบริ ห ารงานอย่ า งมี อิสระและคล่องตัวในการบริหารจัดการวิชาการ

44 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไป ภายใต้ ค ณะกรรมการซึ่ ง ประกอบด้ ว ยผู้ บริหาร ครู และคณะกรรมการโรงเรียน เพื่อ ให้การจัดการศึกษาเป็นไปโดยมีสว่ นร่วม และ ตรงความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และ ชุมชนเป็นสำคัญประกอบด้วย การกระจาย อำนาจ การบริหารตนเอง การบริหารแบบมี ส่วนร่วม การมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน การ พัฒนาทั้งระบบ และความรับผิดชอบที่ตรวจ สอบได้ บรรยากาศองค์การ หมายถึง สภาพแวดล้ อ มของการปฏิ บั ติ ง านร่ ว มกั น ของ บุคลากรในองค์การที่มีต่อองค์การ อันเนื่อง มาจากพฤติ ก รรมของผู้ บ ริ ห ารที่ ตั้ ง อยู่ บ น พื้นฐานองค์ประกอบ 8 ประการ ตามแนวคิด ของไลเคิร์ท (Likert) คือ ภาวะผู้นำ การจูงใจ การติดต่อสือ่ สาร การปฏิสมั พันธ์ การตัดสินใจ การกำหนดเป้าหมาย การควบคุมบังคับบัญชา เป้าหมายของผลการปฏิบัติงานและการฝึก อบรม โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หมายถึง สถานศึกษาเอกชนของ มิสซังโรมันคาทอลิกแห่งกรุงเทพฯ ทีเ่ ปิดทำการ สอนหลักสูตรการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พ.ศ. 2544 โดยมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกแห่งกรุงเทพฯ เป็นผู้รับใบอนุญาต และมอบอำนาจให้บาทหลวงของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นผูแ้ ทน


อิทธิพล ศรีรัตนะ

ผู้รับใบอนุญาต และดำเนินการบริหารโดย บาทหลวง และนักบวชคาทอลิก โดยมีผู้ช่วย มุ ข นายกฝ่ า ยการศึ ก ษา เป็ น ผู้ ดู แ ลกำกั บ นโยบายทางการศึกษา มีโรงเรียนทีจ่ ดั การศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 36 แห่ง และแบ่งเป็น 6 เขตการศึกษา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดนครปฐม จังหวัดอยุธยา จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัด สมุทรปราการ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัด นครนายก จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร การดำเนินการวิจัย เป็นการวิจยั เชิงพรรณนา ทีม่ แี บบการ วิ จั ย แบบกลุ่ ม ตั ว อย่ า งกลุ่ ม เดี ย วตรวจสอบ สภาวการณ์ ไม่มีการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทีเ่ ปิดการสอนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 จำนวนทั้งหมด 36 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ขั้ น ที่ 1 ใช้ ต ารางประมาณขนาด ตัวอย่างของเครจซี และมอร์แกนจากโรงเรียน คาทอลิก อัครสังฆมลฑลกรุงเทพฯ จำนวน 36 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง 32 โรงเรียน

ขั้นที่ 2 กำหนดผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ให้ ข้อมูลโรงเรียนละ 10 คน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ครูใหญ่ จำนวน 1 คน ผู้ช่วยครูใหญ่ จำนวน 4 คน และฝ่ายครู หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็ น แบบสอบถามเกี่ ย วกั บ การ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และบรรยากาศองค์การ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบ ถามนำมาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ ส่ ว นตั ว ของผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล มี ลั ก ษณะเป็ น แบบ ตรวจสอบรายการ (check list) จำนวน 5 ข้อ สอบถามเกี่ยวกับ 1) เพศ 2) อายุ 3) ระดับ การศึกษา 4) ตำแหน่งปัจจุบันของผู้ตอบแบบ สอบถาม และ 5) ประสบการณ์ในการทำงาน ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับหลักการ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งสร้างตาม แนวคิดของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

45


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

(สกศ.) โดยผูว้ จิ ยั ปรับปรุงมาจากแบบสอบถาม ของนายสมชัย พุทธา (พ.ศ.2546) ซึง่ ประกอบ ด้วยข้อคำถาม จำนวน 35 ข้อ วัดการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) หลักการกระจายอำนาจ 2) หลักการบริหาร ตนเอง 3) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) หลักการมีภาวะผูน้ ำแบบเกือ้ หนุน 5) หลักการ พัฒนาทั้งระบบ 6) หลักการความพร้อมที่จะ รับการตรวจสอบ ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ ย วกั บ องค์ ประกอบบรรยากาศองค์การ ซึง่ สร้างตามแนว คิ ด ของไลเคิ ร์ ท (Likert, 1967) ที่ ผู้ วิ จั ย ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามของว่าที่ร้อยตรี ปิยะ ทรัพย์สมบูรณ์ (พ.ศ.2545) ซึ่งประกอบ ด้วยข้อคำถาม จำนวน 40 ข้อ วัดบรรยากาศ องค์การ 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำ 2) การจูงใจ 3) การองค์การติดต่อสื่อสาร 4) การปฏิสมั พันธ์ 5) การตัดสินใจ 6) การกำหนด เป้าหมาย 7) การควบคุมบังคับบัญชา 8) เป้าหมายของผลการปฏิบัติงาน แบบสอบถามในตอนที่ 2 และตอนที่ 3 แบบสอบถามมี ลั ก ษณะเป็ น มาตราส่ ว น ประมาณค่า 5 ระดับ ของไลเคิร์ท (Likert’s Five Rating Scale, 1967) คือ มากที่สุดมี ค่าน้ำหนักเท่ากับ 5 คะแนน มากมีค่าน้ำหนัก เท่ากับ 4 คะแนน ปานกลางมีคา่ น้ำหนักเท่ากับ 3 คะแนน น้อยมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 2 คะแนน และน้อยที่สุดมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 1 คะแนน 46 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ผลการวิจัย ตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบ แบบสอบถาม สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 250 คน คิด เป็นร้อยละ 78.12 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มากที่สุด จำนวน 127 คน คิดเป็น ร้อยละ 39.69 รองลงมาอายุ 31-40 ปี จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 30.31 ส่วนระดับการศึกษา พบว่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 251 คน คิดเป็นร้อยละ 78.44 รอง ลงมาระดั บ ปริ ญ ญาโท จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 18.44 น้อยที่สุดปริญญาเอก จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.94 สำหรับ ตำแหน่ ง ปั จ จุ บั น ของผู้ ต อบแบบสอบถาม ครูหัวหน้ากลุ่มสาระมากที่สุด จำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาคือ ผู้ช่วย ครูใหญ่ฝ่ายต่างๆ จำนวน 128 คน คิดเป็น ร้อยละ 40 และครูใหญ่น้อยที่สุด จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ประสบการณ์ในการ ทำงานของผู้ตอบแบบสอบถาม 16 ปีขึ้นไป มากที่สุด จำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 37.19 รองลงมา 11-15 ปี จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 22.19 และลำดับน้อยที่สุด ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 12.18


อิทธิพล ศรีรัตนะ

ตอนที่ 2 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการวิเคราะห์ระดับการบริหารโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยใช้

ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วนำค่าเฉลี่ย (X) ไปเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ ตามแนวความคิดของ เบสท์ (Best)

ตารางที่ 1 ค่าเฉลีย่ ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน และค่าระดับของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวม การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 1. หลักการกระจายอำนาจ (X1) 2. หลักการบริหารตนเอง (X2) 3. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X3) 4. หลักการมีภาวะผู้นำเกื้อหนุน (X4) 5. หลักการพัฒนาทั้งระบบ (X5) 6. หลักความพร้อมที่จะรับการตรวจสอบ (X6) รวม (Xtot)

จากตารางที่ 1 โดยภาพรวม ระดับ ของการบริ ห ารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ใน โรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (Xtot) มีค่าอยู่ในระดับมาก (X = 4.22, S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุก ด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีหลักการพัฒนาทั้ง ระบบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X = 4.30, S.D. = 0.27) รองลงมา คือ หลักการบริหารตนเอง (X = 4.27, S.D. = 0.23) ส่วนหลักการบริหาร

X 4.24 4.27 4.04 4.25 4.30 4.23 4.22

S.D. 0.29 0.23 0.28 0.25 0.27 0.31 0.24

ระดับ มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

งานแบบมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X = 4.04, S.D. = 0.28) ตอนที่ 3 บรรยากาศองค์การ ในการวิเคราะห์ผล ระดับบรรยากาศ องค์การ ในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยใช้ค่า เฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วนำค่าเฉลี่ย (X) ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ตามแนวคิดของ เบสท์ (Best)

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

47


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าระดับของบรรยากาศองค์การในโรงเรียน คาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวม บรรยากาศองค์การ 1. ภาวะผู้นำ (Y1) 2. การจูงใจ (Y2) 3. การติดต่อสื่อสาร (Y3) 4. การปฏิสัมพันธ์ (Y4) 5. การตัดสินใจ (Y5) 6. การกำหนดเป้าหมาย (Y6) 7. กระบวนการควบคุมบังคับบัญชา (Y7) 8. เป้าหมายของผลการปฏิบัติ และการฝึกอบรม (Y8) รวม (Ytot)

จากตารางที่ 2 พบว่า บรรยากาศ องค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.17, S.D. = 0.31) เมื่อพิจารณาราย ด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีการ จูงใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X = 4.27, S.D. = 0.36) รองลงมา คือ ภาวะผู้นำ (X = 4.26, S.D. = 0.37) และการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุด (X = 4.10, S.D. = 0.30)

48 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

X 4.26 4.27 4.12 4.12 4.10 4.18 4.20 4.14 4.17

S.D. 0.37 0.36 0.32 0.30 0.30 0.31 0.31 0.34 0.31

ระดับ มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง การบริ ห ารโดยใช้ โ รงเรี ย นเป็ น ฐานกั บ บรรยากาศองค์ ก าร ในโรงเรี ย นคาทอลิ ก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การ ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ปรากฏ ดังนี้ ดังตารางที่ 3


อิทธิพล ศรีรัตนะ

ตารางที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับ บรรยากาศองค์การ ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บรรยากาศองค์การ ภาวะผู้นำ (Y1)

การจูงใจ (Y2)

การติดต่อ สื่อสาร (Y3)

การปฏิสัม พันธ์ (Y4)

การ ตัดสินใจ (Y5)

การกำหนด เป้าหมาย (Y6)

กระบวน การ ควบคุม บังคับ บัญชา (Y7)

เป้าหมาย ของผล การปฏิบัติ และการ ฝึกอบรม (Y8)

รวม (Ytot)

การบริหาร โดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน 1. หลักการกระจาย อำนาจ (X1)

.764**

.735**

.792**

.826**

.794**

.781**

.727**

.713**

.799**

2. หลักการบริหาร ตนเอง (X2)

.782**

.769**

.789**

.838**

.812**

.789**

.760**

.736**

.818**

3. หลักการบริหาร แบบมีส่วนร่วม (X3)

.702**

.744**

.801**

.827**

.715**

.771**

.762**

.731**

.788**

4. หลักการมีภาวะ ผู้นำเกื้อหนุน (X4)

.845**

.843**

.871**

.884**

.839**

.867**

.870**

.826**

.892**

5. หลักการพัฒนาทั้ง ระบบ (X5)

.833**

.849**

.879**

.822**

.824**

.884**

.909**

.793**

.886**

6. หลักความพร้อม ที่จะรับการ ตรวจสอบ (X6)

.873**

.866**

.942**

.880**

.814**

.839**

.862**

.773**

.894**

.886**

.887**

.938**

.937**

.884**

.910**

.902**

.842**

.937**

รวม (X tot)

** มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปผลการวิจัย การบริหารโดยใช้โรงเรีย นเป็น ฐาน ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรี ย งตามค่ า เฉลี่ ย จากมากไปน้ อ ยดั ง นี้ หลั ก การพั ฒ นาทั้ ง ระบบ หลั ก การบริ ห าร ตนเอง หลักการมีภาวะผูน้ ำเกือ้ หนุน หลักการ กระจายอำนาจ หลักความพร้อมที่จะรับการ ตรวจสอบ และหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

บรรยากาศองค์ ก ารในโรงเรี ย นคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตาม ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการจูงใจ ภาวะผู้นำ กระบวนการควบคุมบังคับบัญชา การกำหนดเป้าหมาย เป้าหมายของผลการ ปฏิบัติและการฝึกอบรม การปฏิสัมพันธ์ การ ติดต่อสื่อสาร และการตัดสินใจ

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

49


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงาน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กับบรรยากาศองค์การ ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งมี นั ย สำคั ญ ทางสถิ ติ ที่ ระดับ 0.01 ทั้งภาพรวม และรายด้าน อภิปรายผล จากผลการวิจยั สามารถนำมาอภิปราย ผลได้ ดังนี้ 1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เ ป็ น เพราะฝ่ า ยการศึ ก ษาอั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีนโยบายที่ชัดเจนใน การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยนำ เสนอนโยบายนี้ กั บ ผู้ บ ริ ห ารอย่ า งสม่ ำ เสมอ เป็นต้น ในการประชุมผู้บริหารประจำปี ใน ขณะเดียวกันบรรดาผู้บริหารได้นำแนวทางนี้ ไปปฏิบัติจริงในโรงเรียนจนเกิดผล สอดคล้อง กับไพศาล เลาหะโชติ (2546) ซึ่งทำการ ศึกษาวิจัยเรื่อง การปฏิบัติจริง และความคาด หวั ง ตามองค์ ป ระกอบความสำเร็ จ ของการ บริหารโรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหาร และครู โรงเรียนในมูลนิธิซาเลเซียนแห่งประเทศไทย ผลการวิ จั ย พบว่ า การปฏิ บั ติ จ ริ ง เกี่ ย วกั บ องค์ ป ระกอบความสำเร็ จ ของการบริ ห าร โรงเรียนเป็นฐาน อยู่ในระดับมากในภาพรวม

50 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

และสอดคล้องกับสุวทิ ย์ จันทร์คงหอม (2548) ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา ในสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา ใน สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดย ภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากทุกข้อ โดยโรงเรียนคาทอลิกใช้หลัก การพัฒนาทั้งระบบ โครงสร้าง การบริหารที่ เป็นระบบชัดเจน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมใน การบริหาร สอดคล้องกับอุปสรรค แล้วนำ ข้ อ มู ล และสารสนเทศไปวางแผนพั ฒ นา คุณภาพ นำแผนพัฒนาคุณภาพไปสูก่ ารปฏิบตั ิ โดยมี ก ารกำหนดโครงสร้ า งตามสายบั ง คั บ บัญชา และโครงสร้างมีความกะทัดรัดลดความ ซ้ ำ ซ้ อ นของงาน มี ก ารกำหนดหน้ า ที่ อ ย่ า ง ชัดเจนและทำงานเป็นทีม จัดบุคลากรตาม ความถนั ด และด้ ว ยความสมั ค รใจ พั ฒ นา บุ ค ลากรให้ เ ป็ น ครู มื อ อาชี พ มี ก ารนิ เ ทศ ติดตามผล ประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง และรายงานผลให้หน่วยงานต้นสังกัด และ สาธารณชนได้รับทราบผลในการปฏิบัติงาน สำหรับตัวแปรด้านการบริหารแบบ มีส่วนร่วมแม้จะอยู่ในระดับมาก แต่ก็อยู่ใน อันดับสุดท้าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฝ่ายการ


อิทธิพล ศรีรัตนะ

ศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีระบบการ จั ด การบริ ห ารงานที่ ชั ด เจนและเป็ น ระบบ จึงอาจทำให้การตัดสินใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และครูเป็นไปตามระบบที่ฝ่ายการศึกษาได้ กำหนด จึ ง อาจทำให้ ก ารมี ส่ ว นร่ ว มในการ ตัดสินใจมีมาก แต่ไม่บ่อยนัก จึงควรที่ฝ่าย การศึ ก ษาและผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นคาทอลิ ก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จะให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้ให้มากขึ้นพร้อมๆ กับตัวแปรด้าน อื่นๆ ของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การที่ผู้บริหารโรงเรียน ทำการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีส่วนสำคัญต่อ ความสำเร็ จ ในการบริ ห ารแบบการบริ ห าร โดยใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐาน และสอดคล้ อ งกั บ ดอนเดโร (Dondero, 1993) ซึ่งทำการวิจัย เรื่อง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานระดับ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครู ประสิทธิผลของโรงเรียน และความพึงพอใจใน การทำงาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มครูที่มีส่วน ร่วมเป็นคณะทำงาน และมีสว่ นร่วมโดยตรงใน การบริหาร จะมีระดับความพึงพอใจในการ ทำงาน และประสิทธิผลของโรงเรียนสูงกว่า กลุ่มครูที่ไม่ได้เป็นคณะทำงาน 2. บรรยากาศองค์ ก ารในโรงเรี ย น คาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยภาพ รวม และรายด้าน อยูใ่ นระดับมาก ทีเ่ ป็นเช่นนี้ เพราะในโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ทุกโรงเรียน มีฝ่ายจิตตาภิบาล ซึ่งงานหลัก ประการหนึ่งของฝ่ายจิตตาภิบาล คือ การ สร้ า งบรรยากาศในโรงเรี ย น โดยมี ก ารจั ด กิจกรรมต่างๆเป็นประจำและสม่ำเสมอ สอดคล้องกับงานวิจัยของฐิติลักษณ์ วีระวรรณโน (2547) ซึง่ ทำการวิจยั เรือ่ ง บรรยากาศองค์การ ของโรงเรียนในเครือคณะภคินีพระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ผลการวิจัยพบว่า บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในเครือคณะ ภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี จะเห็นได้ว่าโรงเรียน คาทอลิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มี บรรยากาศของการจูงใจด้านสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการจัดการสอน และการได้รับความไว้ วางใจจากผู้บริหาร ซึ่งส่งผลต่อความความ กระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับ งานวิจัยของจรูญลักษณ์ แป้นสุข (2545) ซึ่ง ทำการวิจัยเรื่อง บรรยากาศองค์การกับความ พึ ง พอใจต่ อ การปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากร โรงเรียนไกลกังวล ผลการวิจัยพบว่า ด้าน บรรยากาศองค์การ ควรปรับบรรยากาศของ องค์ ก ารให้ สั ม พั น ธ์ กั น และเป็ น ไปในทาง เดียวกัน ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ “คน” ที่ปฎิบัติงานในองค์การให้มากขึ้น ต้อง เรียนรู้ความต้องการ ความรู้สึกของบุคลากร ในการที่จะตอบสนองต่องานที่ตนรับผิดชอบ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลสู ง สุ ด

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

51


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ด้ า นผู้ น ำซึ่ ง เป็ น นั ก บวชคาทอลิ ก เป็ น แบบ อย่างที่ดี ให้เกียรติบุคลากร ให้การสนับสนุน ช่ ว ยเหลื อ เป็ น ที่ ย อมรั บ และเชื่ อ มั่ น ของ บุ ค ลากร และชุ ม ชน ส่ ง ผลให้ ง่ า ยต่ อ การ ควบคุม และบังคับบัญชาในการติดตามระบบ การทำงานของทุ ก ฝ่ า ย ทำให้ ก ารทำงานมี มาตรฐานชัดเจนผ่านการติดต่อสือ่ สาร อันเป็น พื้นฐานของข้อมูลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ สำหรับตัวแปรด้านการตัดสินใจแม้ จะอยู่ในระดับมาก แต่ก็อยู่ในอันดับสุดท้าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะครูของโรงเรียนคาทอลิก ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ให้ ความเคารพและมีความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำ ของผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารส่วนใหญ่ ได้ เป็นตัวอย่างถึงการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ครูมีความเกรงใจ และเคารพในความ คิดของผู้บริหาร สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปิยะ ทรัพย์สมบูรณ์ (2545) ซึ่งทำการศึกษา วิ จั ย เรื่ อ งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบรรยากาศ องค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบบรรยากาศโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวม และแยกพิจารณาเป็นรายด้าน บรรยากาศของ องค์การด้านการตัดสินใจอยู่ในลำดับสุดท้าย

52 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

3. จากผลการวิจยั ทีพ่ บว่า การบริหาร โดยใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐานมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ บรรยากาศองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ในรายด้านของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐาน มีค่าเฉลี่ยที่สูงทุกตัว และยังมีอิทธิพลที่ ทำให้รายด้านของบรรยากาศองค์การทุกตัว มีค่าเฉลี่ยสูงตามด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สามารถทำให้ การดำเนินการบริหารในโรงเรียนบรรลุถึงเป้าหมาย และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน เมื่อการบริหารบุคลากรในโรงเรียนมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลสัมฤทธิต์ อ่ การ เรียนการสอน ตรงตามที่นโยบายของฝ่ายการ ศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่จัดให้โรง เรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มี การบริหารโรงเรียนด้วยตนเอง อันทำให้เกิด ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างต่อ เนือ่ งมีความก้าวหน้า และมีคณ ุ ภาพมาตรฐาน ในการบริหาร การดำเนินงานในโรงเรียนที่สูง ทำให้ เ กิ ด ความเชื่ อ ถื อ ในการเรี ย นการสอน และจากการมี ม าตรฐานในการตรวจสอบ ความถูกต้อง โปร่งใสชัดเจน ทำให้สามารถ ติ ด ตามและประเมิ น ตามเกณฑ์ ม าตรฐาน คุณภาพ และยังสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง มาเป็ น ผู้ ต รวจสอบในการประกั น คุ ณ ภาพ ภายใน และภายนอก ทำให้ผู้ปกครอง ชุมชน


อิทธิพล ศรีรัตนะ

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และ ติดตามผลได้อย่างสม่ำเสมอ และจากการที่ โรงเรียนมีระบบสารสนเทศ ที่เป็นเครื่องมือ สื่ อ สารที่ เ ป็ น พื้ น ฐานข้ อ มู ล ในการบริ ห าร จัดการให้เป็นปัจจุบนั สามารถใช้เป็นหลักฐาน ในการตัดสินใจ ในการบริหารให้ได้ตรงความ ต้องการ ทำให้มาตรฐานการบริหารงานใน แต่ละด้านมีความชัดเจน ส่งผลทำให้โรงเรียนมี บรรยากาศที่ดี โดยเฉพาะในด้านการติดต่อ สื่อสาร จากการประชุมครูเพื่อสื่อสารสัมพันธ์ ทำความเข้าใจในแนวทางการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งทางตรง และ ทางอ้อม และจากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ค้น พบแนวคิดในการแก้ปัญหาในเรื่องการดำรง ตำแหน่งของผู้บริหารที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผล ต่อการดำเนินงานที่ต้องมีการสานต่อ นั่นคือ การมีเกณฑ์มาตรฐานในการเพิ่มระยะเวลา การบริหารให้มีเวลาเหมาะสม ตามอายุ และ ประสบการณ์ในการบริหาร นอกจากนี้การ ยอมรับตำแหน่งของผู้บริหารในโรงเรียนคาทอลิก พบว่า เป็นการรับตำแหน่งที่มาจาก การมอบหมายจากนักบวชผู้มีหน้าที่ปกครอง ในระดับสูง โดยนักบวชผู้อยู่ใต้ปกครองต้อง นบนอบเชื่อฟัง เป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบด้วยความยินดี และปฏิบัติหน้าที่อย่าง เต็มความสามารถ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดัน และ

เป็นความมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดการวางแผนที่ดี คือ มีขั้นตอน ลำดับการที่ชัดเจน ซึ่งสามารถ ทำสำเร็จภายในวาระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ได้ การบริ ห ารโดยใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐาน ของโรงเรียนคาทอลิกอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นั้น ยังไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าได้ใช้หลักการ บริหาร หรือรูปแบบการบริหารที่แน่นอน ทำ ให้ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนือ่ ง เนือ่ งจาก หลั ก ในการบริ ห ารจะเปลี่ ย นไปตามการนำ ตามวาระของผู้บริหารที่เข้าดำรงตำแหน่ง จึง ควรมีการกำหนดนโยบายในการบริหารเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เป็นแนวทางในการ บริหารงาน และเป็นเครื่องมือในการนำพา องค์การไปสู่ความสำเร็จ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากการวิจัยที่พบว่า การบริหารโดย ใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐานในแต่ ล ะด้ า นมี ข้ อ เสนอ แนะเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป คือ 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนควรมีการสนับสนุน และส่งเสริมให้คณะ กรรมการโรงเรียน มีส่วนร่วมในการบริหาร โรงเรียนมากขึ้น 2. ความพร้อมที่จะรับการตรวจสอบ โรงเรียนควรมีมาตรฐานในการบริหารงานที่ ชัดเจนมากขึ้น เป็นต้นการมีระบบการจัดการ เอกสารทีด่ ี มีสารสนเทศทีเ่ ป็นปัจจุบนั สามารถ

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

53


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

นำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจได้ มี การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน ติดตามผลได้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความ พร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ โดยมีการตรวจสอบ และเตรียม งานประกันคุณภาพ โดยคณะกรรมการโรงเรียนอย่างจริงจัง 3. การกระจายอำนาจ โรงเรียนควร มีการกำกับติดตาม ตรวจสอบ ในด้านการ บริหารงาน มีแผนปฏิบัติงาน โครงสร้างการ บริหารงานอย่างเป็นระบบมากขึน้ และมีระบบ การบริหารงบประมาณทีโ่ ปร่งใส ถูกต้อง ตรวจ สอบได้ ช่วยให้การดำเนินงานมีความชัดเจน ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี มีคุณภาพ 4. ผลการวิจัยพบว่า การบริหารโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐานมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์การ ส่วนหนึง่ มาจากนโยบายของฝ่าย การศึ ก ษา อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ซึ่ ง มี แนวทางการบริหารแบบกระจายอำนาจ มี การวางแผนให้ผู้บริหารมีอำนาจหน้าที่ในการ ตัดสินใจได้โดยตรง และสามารถที่จะพัฒนา การบริหารโรงเรียนได้เอง ทั้งนี้ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ควรมีการจัดอบรม และสัมมนาอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้บุคลากรมีความ พร้อมมีศักยภาพ และความเชื่อมั่นในการทำ หน้าที่ของตน เป็นการสร้างความรู้สึกว่าเป็น

54 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ส่วนหนึง่ ในการพัฒนาโรงเรียน และยังเป็นเจ้า ขององค์การร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนา ที่เข้มแข็งยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ งการ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. ควรมีการเปรียบเทียบการบริหาร โดยใช้ โรงเรี ย นเป็ น ฐานในโรงเรี ย นฆราวาส หรือโรงเรียนของคณะนักบวชอืน่ ๆ กับโรงเรียน คาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 3. ควรมีการศึกษาวิจยั ประสิทธิภาพ การบริ ห ารงานแบบมี ส่ ว นร่ ว มในโรงเรี ย น คาทอลิก อัครสังฆมณทลกรุงเทพฯ บรรณานุกรม คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. สรุปผลการสังเคราะห์ผลการประเมิน คุณภาพภายนอก สถานศึกษาระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบแรก พ.ศ. 2544-2548) [ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2549. เข้าถึงได้จากสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน http://www. onesqa.or.th/th/home/index. php


อิทธิพล ศรีรัตนะ

จรูญลักษณ์ แป้นสุข. “บรรยากาศองค์การ กับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน ของบุคลากร โรงเรียนไกลกังวล.” ภาคนิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2548. ฐิติลักษณ์ วีระวรรณโน. “บรรยากาศองค์การ ของโรงเรียนในเครือคณะภคินี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งกรุงเทพฯ.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, 2547. ปิยะ ทรัพย์สมบูรณ์. “ความสัมพันธ์ระหว่าง บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผล ของโรงเรียนมัธยมศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545. ฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2548. ระเบียบฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ว่าด้วยการบริหารโรงเรียน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ : แผนกอำนวยการ

ไพศาล เลาหะโชติ. “การปฏิบตั จิ ริงและความ คาดหวังตามองค์ประกอบความ สำเร็จของการบริหารโรงเรียนเป็น ฐานของผู้บริหารและครูโรงเรียนใน มูลนิธิซาเลเซียนแห่งประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. วิทยา คู่วิรัตน์. มุมมองด้านการศึกษา คาทอลิก. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม, 2544. วิวัฒน์ แพร่ศิริ. “วิวัฒนาการและอนาคต ของการศึกษาคาทอลิกกับการ พัฒนาสังคมไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. ศึกษาธิการ, กระทรวง. 2542. พระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542-2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

55


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สมชัย พุทธา. “การบริหารโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. สุวิทย์ จันทร์คงหอม. “การบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน ประถมศึกษา ในสำนักงานเขต ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร.” สารนิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548. เส้นทางสู่มาตรฐานวิชาชีพ สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา, 2550. เอกสารประชุม เชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุม บ้านผู้หว่าน (อัดสำเนา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547. Caldwell, Brian J. and Spinks, Jim M. The Self-Managing School. London : The Falmer 1988.

56 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Dondero, Grace Marie. “School-Based Management, Teachers’ Decisional Participation Level, School Effectiveness and Job Satisfaction.” Dissertation Abstracts International, 1993. Gibson, James L. and others. Organizations New York : McGraw-Hill, 2006. Likert, Rensis. The Human Organization. New York : McGraw-Hill, 1967. _________. New Pattern of Management. New York : McGraw-Hill, 1967. Likert, Rensis. The Human Organization. New York : McGraw–Hill Book Company Inc., 1967. Hoy, Wayne K., and Miskel., Cecil G. Educational Administration : Theory Research and Practice, 5th New York : McGraw-Hill, 1996.


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

M

acintyre’s Virtues : An Application to Thai Politics

ดร.วีระพันธ์ พันธ์วิไล * ศูนย์จริยธรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Dr.Weeraphan Phanwilai * St. Martin Center for Professional Ethics & Service Learning, Assumption University


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

Abbreviations The following abbreviations are in use throughout this article referring to works by MacIntyre AV = After Virtue: a study in moral theory. Alasdair C. MacIntyre. Notre Dame: University of Notre Dame Press, 1984. DRA = Dependent Rational Animals: why human beings need the virtues. Alasdair C. MacIntyre. Chicago: Open Court, 1999. VE = Virtue Ethics. Harry J. Gensler, Earl W. Spurgin, and James C. Swindal (Eds.). New York: Routledge, 2004. WJWR = Whose Justice? Which Rationality? Alasdair C. MacIntyre. Notre Dame: University of Notre Dame Press, 1988. Key Concepts 1. Virtue Ethics : จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม 2. Virtue-based Ethics :จริยศาสตร์ที่เน้นคุณธรรม 3. Act-centered Ethics : จริยศาสตร์ที่เน้นการกระทำ 4. MacIntyre’s Traditional Virtue : คุณธรรมเชิงวัฒน ธรรมของแมคอินไตย์ 5. Ethical teleology : ทฤษฎีเชิงจุดมุ่งหมายทางจริยศาสตร์

58 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

บทคัดย่อ

หนั ง สื อ และบทความเกี่ ย วกั บ จริ ย ศาสตร์ เชิ ง คุ ณ ธรรมของ แมคอินไตย์ ทำให้เขากลายเป็นนักปรัชญาสำคัญคนหนึ่ง ในแวดวง ปรัชญาตะวันตก งานเขียนของเขาเป็นบทพิสูจน์ว่าเขา คือ บิดาแห่ง ปรัชญาคาทอลิกร่วมสมัยทีท่ ำให้เทววิทยาด้านจริยศาสตร์ของคาทอลิก มีชีวิตชีวามากขึ้น บทความนี้จะพินิจพิจารณางานเขียนของเขาเรื่อง “The Nature of the Virtues” and “The Virtues, the Unity of a Human Life and the Concept of a Tradition” บทความ ทั้งสองให้ความสนใจในธรรมเนียมปฏิบัติตามธรรมชาติของสังคมใน ทุกมิติชีวิตของมนุษย์ ทำให้มิติวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์ (Identity) และ ความสมบูรณ์ครบครันในมิติส่วนบุคคลเพื่อชี้นำพฤติกรรมของมนุษย์ ปรัชญาจริยศาสตร์ของแมคอินไตย์ ยอมรับว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ แสวงหาจุดมุ่งหมายสูงสุด (telos) ด้วยความสามารถที่จะพัฒนาเหตุผล ทางจริยธรรมในขณะที่ต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลรอบข้างด้วย การบรรลุ เป้าหมายสูงสุด (telos) สะท้อนความสำเร็จของการปฏิบัติในทุกมิติ ชีวิตของมนุษย์ ในมิติวัฒนธรรม ในมิติชุมชน ในมิติความสัมพันธ์ส่วน บุคคล แมคอินไตย์ปกป้องบทบาทกลางของทฤษฎีจริยศาสตร์เชิง คุณธรรมของเขาโดยให้เหตุผลว่า วัฒนธรรมของแต่ละสังคมเป็นรากฐาน ที่มั่นคงและที่มาของคุณธรรม บทความนี้จึงเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติ และแก่นความคิดของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมโดยสนใจเป็นพิเศษว่า ทำไมบทบาทจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมจึงโดดเด่นในการใช้เหตุผลทาง ปรัชญาจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจริยศาสตร์เชิงคุณธรรมของ แมคอินไตย์ บทความนี้เป็นการพิจารณาว่าทำไมทฤษฎีเชิงจุดมุ่งหมาย ทางจริยศาสตร์ (Ethical Teleology) และเหล่าคุณธรรมจึงเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในชีวิตสังคมมนุษย์ บทความนี้ยังเป็น

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

59


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

การประยุกต์จริยศาสตร์เชิงคุณธรรมของแมคอินไตย์ในบริบทของสังคม การเมืองไทย Abstract

MacIntyre’s significant contribution of virtue ethics makes him a great figure in Western moral philosophy. He can be considered as the father of post-modern Catholic philosophy whose perspective refreshes Catholic moral theology. This article would be re-examining, “The Nature of the Virtues” and “The Virtues, the Unity of a Human Life and the Concept of a Tradition.” It would include MacIntyre’s focus on the nature of social practices that operates within the unity of life and gives tradition an individual identity and integrity to guide human conduct. MacIntyre’s moral philosophy acknowledges human beings as social animals who pursue a particular telos with the capacities to develop moral rationality while being dependent on others. The pursuit of a particular telos brings successes to practices in the unity of life, in tradition, in community, and in personal relationships. MacIntyre defended the central role of his virtuous moral theory by arguing that virtues are grounded in and emerge from social traditions. This article is divided into two parts. Part one, is the discussion on the nature and the key concept of virtuebased ethics. It focuses on the details of how and why virtue-based ethics is prominent in philosophical and moral reasoning, especially MacIntyre’s virtue-based ethics. Part

60 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

two, is the examination of why ethical teleology and virtues are the qualities needed for success in social life. Its focus is on the details of how MacIntyre’s Virtue Ethics is applied to Thai political society. 1. Nature and Concept of MacIntyre’s Virtue Ethics Alasdair MacIntyre who is a Scottish philosopher developed his virtuebased ethical theory in dealing with the problems of modern1 and postmodern thought by criticizing the actcentered ethical approach. He then turns to an Aristotelian person-centered approach that stresses character and social identity. In meta-ethi-cal area, he criticizes that our society suffers from a collapse of ethical thinking. For epistemological problems, he claims that there is no rational way of securing moral arguments in our society. These arguments are found in the second chapter of his book “After Virtue,” in which he says that, “the most striking feature of contemporary moral

utterance is that so much of it is used to express disagreements” (AV, p.6). This disagreement leads to an emotive view on the nature of ethical judgment, which prevents rational securing of moral arguments in our contemporary society. MacIntyre concludes that our best hope is the return to the tradition of the virtues. His examination therefore covers traits of character and actions. The discussion of the core concept of general virtue ethics includes many rival and incompatible conceptions of a virtue. There is no single core concept of virtues which can claim universal allegiance. Thus, in discussing the nature and concept of MacIntyre’s virtue ethics, attention should be paid on social role and moral life,

1

The term “modern” can refer to many different things. In the context of this dissertation it refers very loosely to the period from late 19th to early 20th century.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

61


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

which provides the background for the concept of virtue to be made intelligible. In reference to Homer, MacIntyre’s virtue’s concept is secondary to that of a social role. In reference to Aristotle, it is secondary to the good life for man. And lastly, in reference to Franklin, it is secondary to utility. To clarify his core concept of virtue ethics, MacIntyre explains the three stages of its logical development i.e. first stage, the background of practice; second stage, the narrative of a single human life and a community life; third stage, the account of what constitutes a moral tradition. Each earlier stage is adjusted by and reinterpreted in the light of each later stage and their meanings are as follows: 1.1. Virtue Ethics as Practice The clarification of the background of practice is needful, as the definition of a virtue including its concept and meaning stems directly from the definition of its practice. In 2

short, reasons and virtues are developed in practices. The general definition of practice is the act of rehearsing behavior repeatedly for the purpose of improving and mastering it. Internal and external perfection is obtained through practice. External perfection in sports is to win the first prize which is the highest aim. Internal perfection develops an athlete’s internal values such as punctuality, hard work, temperance and fair play. MacIntyre’s concept of a virtue is analogical to both sport’s practices as well as to Plato and Aristotle’s concept of practices, which all requires the exercise of both internal and external virtues. Kelvin’s research on the Homeric account of the virtues, confirms its exercise in ex hibiting qualities that were required to sustain a social role or excellence in a well-marked area of social practice such as sports or war (Kelvin 1998: p.83). For example, HM King Taksin the Great,2 through war liberated and sus-

King Taksin (reign from 1767 to 1782) was born in April 17, 1734 in the reign of Borommakot. In King Taksin’s reign, wars were fought to unify, defend and expand the country almost all the time.

62 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

tained Siam as a country. Therefore, he is a virtuous man. Aristotle’s account of virtue in the Nicomachean Ethics, Book II, Chapter 6 gives a clear expression of Aristotle’s Doctrine of the Mean. Here virtue is described as a means between two extremes, an excess and a defect, with respect to a particular action or emotion. From these two ancient accounts of virtues, MacIntyre concludes that the accounts of virtues are still primary and uncompleted and therefore justifies his attempt to identify a core concept of virtues as follows: “By a ‘practice’ I am going to mean any coherent and complex form of socially established cooperative human activity through which goods internal to that form of activity are realized in the course of trying to achieve those standards of excellence which are appropriate to, and partially definitive of, that from of activity, with the result that human powers to achieve excellence, and human conceptions of the ends and goods involved, are systematically extended” (AV, p.187).

According to MacIntyre’s passage (AV, p.187), his virtue definition, in part, is practice that is coherent and yet can be a complex form of cooperative human activity through which the internal good is realized. For MacIntyre, however, not all activities are considered as practice. For example, throwing a football with skill is not a practice, but architecture is. Planting turnips is not a practice; farming is. So his concepts of practices cover all area of both practical and theological sciences (AV, p.188). Understanding the three characteristics of practices will give a precise understanding of MacIntyre’s perspective of practices. The first characteristic of his practice is the notion of the internal good which is opposite to the external good of Homeric and Heroic society. The second characteristic of his practice is the standard of excellence and obedience to rules as well as the achievement of good. The last characteristic of his practice is the human concept of ends (telos). MacIntyre tries to explain the detail of the

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

63


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

internal good by exploring an important element that is missing in modern life. He illustrates practice as the notion of the internal good by using an analogy of a person wishing to teach a disinterested child on how to play chess. Consider the example of teaching a highly intelligent sevenyear-old child who has no desire to play chess. So the child’s very strong desire for candy is used as a motivation to get him to play. The child is told that the game will be difficult, but not impossible to win. And if the child wins, the child will receive an extra 50 cents worth of candy (VE, p.251). Thus, the child is motivated to play to win. Notice however that, so long as it is the candy alone which provides the child with a good reason for playing chess, the child has no reason not to cheat and every reason to cheat, provided he can do so successfully. We can hope that there will come a time when the child will find good reasons like achievement of analytical skills,

64 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

strategic imaginations and competitive intensity, which becomes a new set of reasons for playing chess. So, it is no more the reason for winning alone, but excelling in whatever way the game of chess demands. Now if the child cheats, he will not be defeating anyone else but himself (AV, p.188). Thus, there are two kinds of good to be gained by playing chess. One is the internal good while the other is external good (AV, p.188). For the external good, it contingently attaches to the particular practice as a pair of shoes that cannot be separated from each other. In the case of the above imaginary son who decides to play chess, the external good is not a mobile phone but rather candies and money. In the modern society, there are so many forms of the external good that contingently attaches to the particular practice of respective people. Two of which are power and fame. MacIntyre further believes that external good are therefore characteristically objects of com-


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

petition in which there must be losers as well as winners (AV, p.190; VE, p.251). The second good is the internal good that is derived through specific practices and competitions. An example of an internal good is Thai’s Olympic winner, Somchit, who brings the good outcome of competition for the good name and fame of Thailand. MacIntyre comments that this kind of internal good are missing in modern life. He also confirms that those who lack relevant experiences are incompetent to be judges of the internal good. The second characteristic of MacIntyre’s virtue is the standard of excellence and obedience to rules as well as the achievement of good. It can be summarized as when one as an individual starts to engage in a practice, one has no choice but to agree and accept external standards for the evaluation of their performance, and agree to follow the rules set out for practice (AV, p.190; VE, pp.251-52). The last characteristic of his practice is the human concept of

ends (telos). Every practice needs a certain kind of relationship between those who participate in it. In this relationship, MacIntyre believes that virtues are the references by which the relationship is defined in order to share the kind of purposes and standards which are involved in the practices (AV, p.191). He also believes that “as long as we share the standards and purposes characteristic of practices, we define our relationship to each other, whether we acknowledge it or not, by reference to standards of truthfulness and trust, so we define them by reference to standards of justice and of courage” (AV, 192). Human relationship practice involves the pursuit of certain good. For MacIntyre, the concept of virtue as practice is reflected in the concept of justice. The virtue of justice for MacIntyre relates closely to the virtue of honesty. When one first engages in the particular practice, one must honestly acknowledge both the standards of excellence embodied in

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

65


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

that practice and the fact of one’s own inadequacy. If in the particular practice one dishonestly flaunts one’s selfsuperiority, there is no hope of ever getting anywhere in the practice. Therefore, one needs the virtue of justice in realizing the internal good (AV, p.192). For MacIntyre, the concept of virtue as practice is reflected in the practice of courage. All practices of care and concern require the existence of the virtue of courage. Any unwillingness to risk harm and danger for the care and concern for others are questionable. For example, if Mr. Dang says that he cares and is concerned for Ms. Pink, but is unwilling to risk harm or danger on her behalf, Dang’s genuineness as to his care and concern for Ms. Pink are in question. For MacIntyre, practices are a very important dimension of human life because it is within the context of practice that human beings can exercise the virtues. Virtues can not exist without practices. For MacIntyre, achieving the external good such as

66 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

money, fame and power, can be achieved in a variety of ways, but achieving the internal good requires the presence of the virtues. For instance, if Mr. Dang needs justice in realizing the internal good of his tennis practice, he must give his fellow practitioners or competitors what they deserve. If he treats certain practitioners differently because of some personal characteristics or what so ever, thereby not giving them their due, he is treating them unjustly. This will harm his ability to achieve the internal good from the practice of tennis. MacIntyre explained virtue as a practice by drawing two important contrasts. Firstly, practice, is not just meant to be “set of technical skills, even when directed towards some unified purpose and even if the exercise of those skills can on occasion be valued or enjoyed for their own sake” (AV, p.193). For MacIntyre practice involves relationship not only with its contemporary practitioners but also


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

with those who have preceded us in the practice, particularly those whose achievements extended the reach of the practice to its present point. To MacIntyre, one needs to learn and relate to the past because it embodies the virtues. The virtues such as justice, courage and truthfulness are prerequisite in sustaining present relationships within practices. Secondly, even though practices need to have particular institutional concern, but practices must not be confused with the institutions themselves, because institutions are characteristically and necessarily involved with money, reputation and other material goods of which are only the external good, not the internal one. However, it must be remembered that without any institutions, no practices can survive for any length of time. MacIntyre also noted that without the essential function of the virtues in the context of practice, “practices would not be able resist the corrupting power of institutions” (AV, p.194).

Finally, virtue ethics is not only an individual practice but a practice within a community that has a shared aim, and where the members of that community have the same standards of excellence, the same rules, and the same traditions. The practice determines the best life for human beings, a life which will include engaging in other practices. The benefits of a practice would flow to all practitioners and all people involve. It would make all people more virtuous. 1.2. Virtue Ethics as the Narrative Unity An account of the narrative unity of a person’s life and a community life is the second stage in the logical development of MacIntyre’s virtue ethics. For MacIntyre the narrative unity of a human life is a way of envisaging person’s life as a whole and each human life in a community as a unity, whose character provides the virtues with an adequate telos. In trying to explain the narrative unity of person’s life, however, MacIntyre believed that

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

67


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

there are two different kinds of obstacle to be addressed. They are social and philosophical obstacles. For the social obstacle, it is the way of life in modern society that each human life is partitioned into a variety of parts, each with its own norms, regulations and modes of action. Work is divided from leisure, private life from public, and the corporate from the personal. So both childhood and old age have been wrenched away from the rest of human life and made over into distinct realms. And all these separations have been achieved so that it is the distinctiveness of each and not the unity of the life of the individual who passes through those parts in terms of which we are taught to think and to feel (AV, p.204). This compartmentalization of human life is a social obstacle 3

because it results in individuals lacking the sense of social responsibility and nationality. Family today is a single family and a single parent. The self separated from its roles cannot be the bearer of virtues and can’t provide the virtues with an adequate purpose. To bring the unity to the individual so as to become the bearer of virtues, it needs to overcome these social obstacles by returning to the traditions. For the philosophical obstacles, there are two tendencies of philosophy, the analytical philosophy3 and the existentialism.4 For analytical philosophy, it is as MacIntyre wrote “the tendency to think automatically about human action, to analyze complex actions and transaction in terms of simple components” (AV, p.204). The analytical philosophy considers life as a sequence of individual actions

Analytic Philosophy refers to a specific philosophical program that there are no specifically philosophical truths and that the object of philosophy is the logical clarification of thoughts. This contrasts with the traditional foundationalism of which MacIntyre belong. 4 Existentialism is a term that belongs to intellectual history. Its definition is one of historical convenience. The term was explicitly adopted as a self-description. Its main idea is that freedom is the origin of value.

68 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

and particular actions have no relation as a “part of larger wholes” (Cahoone, 1996, p.535). MacIntyre believed that a life is not only a sequence of individual actions or episodes, and particular actions get their character from the community as parts of larger wholes. Therefore, his view on life differs from the above philosophical tendency that partitions each human life into a variety of segments. Existentialism is the philosophical movements that believe in individual human beings having full responsibility for creating the meanings of their own lives. Existentialism is a reaction against more traditional philosophies. For example, Sartre’s existentialism, claims that a life is the so-called separation characteristic, a sharp separation is made between the self and the role plays of the self, and the role one plays may be the opposite to one’s self. Therefore, existentialists have no conceptual link between the notion of action and the narrative story of life. Existentialists argue against

MacIntyre by saying that narrative life differs from authentic life. To present human life in the form of a narrative is always to falsify it. Narrative life, therefore, is not and cannot be any true stories. Human life for existentialists is composed of discrete actions which have no order and no end. For existentialists, there are two sharp separations in a human life: firstly between the individual self and the roles that he or she plays and, secondly, between the different role enactments of an individual life. So, life for existentialists appears as a series of unconnected episodes. MacIntyre replied that existentialists self loses the area of social relation ships when it separated from its roles as he wrote: “for a self separated from its roles in the Sartrian mode loses that arena of social relationships in which the Aristotelian virtues function if they function at all” (AV, p.205). That is why Sartrian philosophical movement is opposite to MacIntyre who follows Aristotle because MacIntyre confirms in the opposite way that human life is

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

69


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

the series of connected episodes with it own traditions and narrative history, and the particular kind of narrative history turns out to be the basic and essential genre of the characterization of human actions. Therefore, MacIntyre’s conclusion on the narrative unity of a human life is as follows: “the unity of a virtue in someone’s life is intelligible only as a characteristic of a unitary life, a life that can be conceived and evaluated as a whole” (AV, p.205). Hence the researcher disagrees with existentialists, especially Sartre’s thesis, and supports MacIntyre’s argument because Sartre himself writes a narrative in order to show that there are no true narratives. Moreover, MacIntyre explains that the narrative unity of life is the unity of a virtue both in someone’s life and in particular community life. It means that the unity of a virtue is intelligible only as a characteristic of a unitary life of the individual and community, a life that can be envisioned and evaluated as a whole and as a

70 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

unity. So, a concept of the self and a virtue is resided in the unity of narrative which links each human actions and the selfhood together. That is why we have to think of the self in a narrative way even though one and the same segment of human action may be correctly characterized in a number of different ways. Some of these different ways will describe the intentions or others unintended consequences of the actions. Some agent is aware of these unintended consequences but others are not. Talking about narrative unity of life in particular actions, for MacIntyre, there are two important narrative histories. They are an agent’s intentions and the settings in which that agent inhabits. He also wrote on how to identify the actions. We identify a particular action only by invoking two kinds of context. We place the agent’s intentions with reference to their role in his or her history. We also place them with reference to their role in the history


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

of the setting to which they belong. In doing this, we ourselves will be writing a further part of these histories. Narrative history turns out to be the essential genre for the characterization of human actions (AV, p.208). For the agent’s intention or purpose, normally each practice or human action embodies many intentions; there are at least the agent’s primary and secondary intentions or end in each practice. The intentions can be ordered in terms of the scratch of time to which reference is made. Each of the short-term intentions is intelligible by reference to some long-term intentions. So, we cannot characterize behavior independently of intentions and, at the same time, we cannot characterize intentions independently of the settings which make those intentions intelligible both to agents themselves and to others. Because the characterization of the behavior in terms of the long-term intentions can only be correct if some of the characterizations in terms of short-term intentions

are also correct once we are involved in writing a narrative history. For the word setting, it means the social setting that the moral agent inhabits. MacIntyre’s notion of a setting includes the social institutions, contexts, traditions, rules, norms and all its circumstance. A setting has a course of history of which the history of the individual agent as well as the history and the morality of the community are also formed and made intelligible. In this manner, MacIntyre seems to say that, it is only within the context of human relationships and tradition does morality and virtue exists. This idea can be seen in almost all his works, especially in the articles “The Rationality of Traditions” and “Tradition and Translation” of Whose Justice? Which Rationality? (WJWR). In short, the intentions need to make re-ferences to social setting. So, there is no behaviour or decision-making identified independently from intentions, purpose and social setting or institutions. Each of them has to refer to the

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

71


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

other. However, MacIntyre knows that his idea is different from the analytical philosophers. MacIntyre differs from the analytical philosophers whose central notion is of human action. A course of human events is then seen as a complex sequence of individual actions. This leads to a natural question which is, how do we individuate human actions? Now there are contexts in which such notions are at home. In the recipes of a cookery book, actions are individuated in the way some analytical philosophers have supposed. Take six eggs. Then break them into a bowl. Add flour, salt, and sugar. Each element is intelligible as an action only as a-possible-element-in-a-sequence (VE, p.253; AV, p.209). Moreover even such a sequence requires a context to be intelligible. The concept of an intelligible action is more fundamental than of an action itself. For MacIntyre, human actions or decision-makings are enacted narrative. To understand what some-

72 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

one is doing, we place a particular episode in the context of a set of narrative histories of both the individuals and of the social setting in which they act. Action or decision-making has basically a historical character. We all live out narratives in our lives and understand our lives in terms of narratives. For a dramatic narrative unity of human life, MacIntyre has written that “we do not know what will happen next” (AV, p.215). The narrative structure of human life demands the unpredictability, and the generalizations which social scientists discover provide an understanding of human life compatible with that structure. This unpredictability coexists with a second characteristic of live narratives, a teleological character. We live our lives in the light of a future in which certain possibilities beckon us forward and others repel us. There is no present which is not informed by some image of the future which presents itself in the form of goals – towards which we are either moving or failing to move.


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

Unpredictability and teleology therefore coexist as part of our lives. MacIntyre wrote that like characters in a fictional narrative we do not know what will happen next, but nonetheless our lives have a certain form which projects itself towards our future. Thus the narratives which we live out have both an unpredictable and a partially teleological character. If the narrative of our individual and social lives is to continue intelligibly and either type of narrative may lapse into unintelligibility - it is always both the case that there are constraints on how the story can continue and that within those constraints there are indefinitely many ways that it can continue (MacIntyre, 1984, p.216). According to MacIntye, man is, in his actions, fictions and practice, a story-telling animal. Through his history, man becomes a teller of stories that aspires truth. And unpredictability man coexists with a second crucial characteristic of all lived narratives, a certain teleological character. Action is

always an episode in a possible history as he has written: “Man is a story-telling animal. I can only answer the question “What am I to do?” if I can answer the prior question “Of what stories do I find myself a part?” we enter society with roles into which we have been drafted – and we have to learn what they are in order to understand how others respond to us. It is through stories about wicked stepmothers, lost children, good but misguided king, and eldest sons who waste their inheritance, those children learn what a child and what a parent is, what the cast of characters may be and what the ways of the world are” (MacIntyre, 2004, p.253). MacIntyre means that the only way to understand any society is through the stock of stories which constitute its dramatic resources. Therefore, the telling of stories is a key part in educating us into the virtues. However, the narrative concept of selfhood requires two aspects.

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

73


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

The first aspect of narrative selfhood is its subjectivity. This means that the self is the subject of his or her history; and the self has its own peculiar meaning. If someone complains that their own life is meaningless, it means that the narrative of their life has become unintelligible. And their life lacks the purpose and the movement towards a telos. To be the subject of a narrative is to be accountable for the actions and experiences of which compose a narrative life. It ought to be open to being asked and to give an account of what one did or what happen to one. It is the unity of the narrative as MacIntyre wrote “personal identity is just that identity presupposed by the unity of the character which the unity of a narrative requires. Without such unity there would not be subjects of whom stories could be told” (AV, p.218). The second aspect of narrative selfhood is correlative. This means that each individual is not only accountable of his own story but is always asking others for an account

74 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

of all. MacIntyre wrote: “I am part of their story, as they are part of mine. The narrative of any one life is part of an interlocking set of narratives. Moreover this asking for and giving of accounts itself plays an important part in narratives” (AV, p.218). Therefore, the essential questions of narratives are the asking what did you do and why did you do it, and the answering is the explanations of what did I do and why did I do it. It is also the pondering the differences between one account and the others. Without accountability, the unity of narratives would lack that continuity required to make them and the actions that constitute them intelligible. To clearly understand the narrative unity of a human life as the virtue, the following questions are asked: how does the virtues relate to the account of the narrative unity of a life? What does the unity of an individual life consist? And what are the virtues? MacIntyre questions and answers them as follows:


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

“In what does the unity of an individual life consist? The answer is that its unity is the unity of a narrative embodied in a single life. To ask “What is the good for me?” is to ask how best it might live out that unity and bring it to completion. To ask “What is the good for man?” is to ask what all answers to the former question must have in common… It is the systematic asking of these two questions and the attempt to answer them in deed as well as in word which provide the moral life with its unity. The unity of a human life is the unity of a narrative quest. Is a quest for what?” (MacIntyre, 1984, pp.218-19). To answer these questions more clearly, MacIntyre invokes two medieval notion of a quest. The first conception of a quest is that without some conception of the final telos there could not be any beginning to a quest. Some conception of the good for man is required. Whence is such a conception to be drawn? Precisely from those questions which led us to

attempt to transcend that limited conception of the virtues which is available in practices. It is in looking for a conception of the good which will order other goods, a concept of the good which will extend our understanding of the purpose and content of the virtues, that we initially define the quest for the good (MacIntyre, 2004, p.255). And the second concept of a quest is the quest is not at all that of a search for something already adequately characterized, as miners search for gold or geologists for oil. It is in the course of the quest and only through that the goal is finally to be the good understood (MacIntyre, 2004, p.255; 1984, p.219). Therefore, the virtues are understood as those characters which not only sustain practices and enable us to achieve the internal good in practices but also support us in the quest for the good. Therefore, MacIntyre’s catalogue of the virtues will included the virtues required to support the

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

75


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

households and communities in which men and women can seek for the good together and the virtues necessary for philosophical inquiry about the good. He wrote that “we have then arrived at a provisional conclusion about the good life for man: life for man is the life spent in seeking for the good life for man, and the virtues necessary for the seeking are those which will enable us to understand what more and what else the good life for man is” (MacIntyre, 1984, p.219). Finally, MacIntyre’s general conception of the narrative unity of a human life is simply a quest for the good life. Of course, quests and inquiries sometimes fail and human lives may also fail, but such a quest to some extent presupposes an answer to the question of what the good is. This general formulation is obviously circular, but ceases to be so in the final stage of MacIntyre’s project, where the notion of a tradition is invoked. Now let us concentrate on how the virtues are related to such a quest. At this stage of

76 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

the argument the virtues are not only simply qualities which enable one to realize the internal good of practices, but they are also those qualities or carrier which authorize us to pursue our quest for the good. In order to seek the good, it means that one must be just, honest and courageous. If one lacks the virtues, one will be contaminated by particular circumstances, one will be intimidated by the obstacles one face, and one will be tempted by things which are irrelevant to or destructive of our quest for the good. Three stages on the account of the virtue are; virtue is situated in relation to practices, to the good life for man, and to community. Therefore, unity of a human life or the narrative of person’s life is the expression of all virtues. 1.3. Virtue Ethics as Tradition An account of a moral tradition is the third stage in logical development of MacIntyre’s virtue ethics. From the concept of a practice, MacIntyre remarks that practices are always a story and have histories. At


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

any moment of practice, a mode of understanding was transmitted from one generation through many generations. Each one is a part of the story and a history, and also the bearers of a tradition. The virtues sustain both the relationships required for practices and the relationship to the past, in the present and to the future. Through particular practices, therefore, the traditions “are transmitted and reshaped never exist in isolation for larger social traditions” (AV, p.221). Therefore, virtue is a living tradition and tradition is the carrier of virtue. When a tradition is in good order, it is always constituted by an argument about the pursuit of goods which gives to that tradition its particular point and purpose. A living tradition for Macintyre is a historically lengthened and socially embodied argument about the goods which constitute that tradition. Within a tradition the pursuit of goods and flourishing extend from generation through generation, sometimes through many generations. He has written that

“the individual’s search for his or her good is generally and characteristically conducted within a context defined by those traditions of which the individual’s life is a part, and this is true both of those goods which are internal to practices and of goods of a single life. Once again the narrative phenomenon of embedding is crucial: the history of a practice in our time is generally and characteristically embedded in and made intelligible in terms of the larger and longer history of the tradition through which the practice in its present form was conveyed to us; the history of each of our own lives is generally and characteristically embedded in and made intelligible in terms of the larger and longer histories of a number of traditions” (MacIntyre, 1984, p.222). In discussing about the relationship between virtues and traditions, especially about strengths and weaknesses, argument and conflict of traditions, MacIntyre asked these following questions. What sustains or destroys traditions? What strengthens

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

77


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

and weakens them? The primary an swers are: the exercise of the relevant virtues such as of justice, truthfulness and courage can strengthen traditions, and the lack of exercise of the relevant virtues such as lack of justice, lack of truthfulness, lack of courage can destroy them. Put it in the other way, good tradition needs the relevant intellectual virtues, and the outcome of lacks of the relevant intellectual virtues is bad tradition or practice. To claim that what sustains or destroys traditions? What is good or bad traditions? MacIntyre seems to say that it depends on belief and religion of the individual and particular community. However, the researcher would like to strongly confirm that these virtues play the most important role to sustain or strengthen and weaken or destroy traditions. MacIntyre writes that “the virtues find their point and purpose not only in sustaining those relationships 5

necessary if the variety of internal good to practices are to be achieved and not only in sustaining the form of an individual life in which that individual may seek out his or her good as the good of his or her whole life, but also in sustaining those traditions which provide both practices and individual lives with their necessary historical context” (MacIntyre, 1984, p.223).5 This passage shows the closed relationship and the support between traditions and virtues. This relationship is the so-called “MacIntyre’s traditional virtue”. However, his three relevant intellectual virtues are justice, truthfulness, and courage and the most important one is justice. When the virtue tries to spell out the understanding of social life, it is called the tradition of the virtues. For example, MacIntyre traditional justice is the classic and traditional justice that has been transmitted to the present as cultural heritage from the Aristotelian

See also Lawrence E. Cahoone, From Modernism to Postmodernism: an Anthology, Massachusetts: Blackwell Publishers, 1996, p. 553.

78 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

tradition through Aquinas and Augustinian tradition, as a kind of chimera of excellence. MacIntyre seems to write that the virtue of justice within each communal society must be an expression of charity with mutual collaboration derived from personal consideration based on personal standards of goodness that each member has as well as personal roles, duties, and status, without excluding the principle of equality. Therefore, the traditional of the virtue which transmits from Aristotle and Aquinas tradition is the model of MacIntyre’s traditional virtue. Moreover, MacIntyre emphasizes that all practices have its history and are part of its particular tradition. He points out that an important part of becoming a virtuous moral agent at each particular practice is to study the records and the commentaries of each practice that have been done by previous moral agents. New practitioners need to learn the standard rules because the standard rules have developed in the past and

are binding on the present. Although the standard rules can sometimes be changed by the community as a whole but those changes should be consistent with the principles of the practice as it has developed in the past. For the definition of the good order tradition, MacIntyre explains explicitly that good traditions require ongoing internal debates on its meaning and how to improve and develop its perfection for the future. This means that he does not advocate the blind loyalty to the past traditions and, at the same time, he does not say that all change of the tradition is good or bad. He just wants to acknowledge that the present tradition rests on the past traditions and it needs to take that past traditions into account in its self-understanding as well as in its planning for the future tradition. The past provides materials for use in the present for developing new rules and planning for the future tradition. The past should not be dismissed as irrelevant to start new tradition from

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

79


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

emptiness. For tradition as virtue, MacIntyre concluded that each of us is part of a tradition of which can serve to strengthen the community as a whole. Therefore, a tradition encourages the present members of the community to think of themselves as tied to the past and with an obligation to the future so that they will work to surpass the standards of the past and leave a tradition that is in good order to those who will practice it in the future. 2. Application of MacIntyre’s Virtue Ethics Application of MacIntyre’s virtue ethics might affect economic, political, and social environments in Thai society. The researcher realizes that MacIntyre’s virtue ethics is quite complex and needs a clear understanding of its nature and scope. The researcher has noted that different virtue ethics focuses and persuades in different areas. In order to apply each virtue ethics to each particular area, one

80 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

needs to know its purpose and focus. For example, for Kant, the purpose was to persuade someone about the rightness or wrongness of his action and the focus was on the execution or decision-making. A moral issue for him was an expression of approval or disapproval through the use of norms with duty as its criteria. Therefore, Kant’s good or bad, right or wrong was meant to be a persuasive definition. In contrast to Kant, MacIntyre’s virtue statements were based on fundamental, social, political, economic, and religious contexts of a virtuous person. In this article, the researcher would like to apply virtue ethics in the areas of politics to show the differences by a comparison between MacIntyre’s ideal society and our current society. MacIntyre in his book, “After Virtue,” calls for the rejection of modern politics including liberal, conservative, and socialist politics. The reason for the call for rejection was because modern politics in its institutional forms rejects the tradition of virtue ethics (Cf. AV, 255).


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

Therefore, MacIntyre’s political ideas differ from all existing modern systems. 2.1. MacIntyre’s virtue ethics was applicable to general politics In the area of general politics, MacIntyre reminds that politics in this modern world which is without virtue ethics is “immoral politics.” Current politics, both local and national, have only the conception of individual benefit or the external good. There is no quest for a common good or internal good, as most politicians believe that the common good does not and cannot exist. When we live in a fragmented political society like this, what can the present political systems offer to us in terms of common good or internal good? Kelvin answered the above question by pointing out that “politically, the societies of advanced western modernity are oligarchies disguised as liberal democracies. The large majority of those who inhabit them are excluded from membership by the elites that determine the range of alternatives between which voters

are permitted to choose. And the most fundamental issues are excluded from that range of alternatives” (Kelvin 2007: 237, 248 and 273). MacIntyre referred to “the most fundamental issues” as that which determines the best way of life, the internal good or the good life for individual human beings and for human communities as a whole. However, modern politics has no space for issues such as these which are excluded from the range of alternatives. Most modern citizens consciously or unconsciously subscribe to the modern idea, that issues about the best way of life, the internal good or the good life are not within the capacity of political resolution or consensus and that it must be left to individual decision under the idea of “liberalism.” MacIntyre viewed modern liberalism as the political manifestation of individualism and emotionalism. He argued that liberalism moves the debates about the good life or internal good, out of the public sphere, into the private sphere. The state does not take any position

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

81


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

about what the good life or internal good is. It results in the privileging of a certain kind of life and a certain kind of state in the name of neutrality. Liberalism, individualism, and emotionalism assert wrongly, that each individual has a right to pursue happiness in his or her own way. But the versions of happiness which these individuals pursue are mutually incompatible. For example, if Mr. A as a member of a community, wishes to raise taxes from the wealthy of the community to feed the poor, the rich would naturally reject the notion. Liberalism, individualism, and emotionalism prevent agreement on the issues of common good, internal good and the best way of life. Politics in a modern world cannot be a matter of genuine moral consensus. It leads to what MacIntyre called, “civil war carried on by other means” (AV, 253) as portrayed by Thai politics.

6

Moreover, modern politics for MacIntyre has no place for patriotism because there is no authentic homeland or fatherland. There can be no patriotism due to the lack of genuine healthy affection for the nation and for fellow citizens. It is due to the lack of a sense of belonging6 that would connect citizens to the nation and to fellow citizens. The sense of belonging is ignored by the modern state, which only requires citizens who can be utilized as soldiers, police officers, and in other similar occupations, for individual sakes and the external good, while ignoring the internal or common good. Therefore, modern politics in this sense seems to be like a civil war between the internal and external good. MacIntyre believes that modern politics can avoid a civil war if a sense of belonging is shared by all

Lacking a sense of belonging means people have no a feeling of attachment to the nation, the state does not allow them to have an effective voice, and gives them no unifying vision of the good life or any kind of shared community

82 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

citizens with full effective voice. The full effective voice should not be limited to an elite group who usurps power through manipulation to gain goods of effectiveness for themselves (Cf. DRA, 144). Politics for MacIntyre is not about the selfish pursuit of power, money, and other external good. It is about “a conception of political activity as one aspect of the everyday activity of every adult capable of engaging in it” (DRA, 141), with unifying vision of the good life. If human beings are to flourish, they need not only the goods of effec tiveness but also the internal good or the goods of excellence that can only be acquired through political participation. Political participation for everyone in a community must be through their accessibility to political discussions and decision-making processes. Political discussions and decision-making processes should not be limited only to the ruling group but must also include the opposition group as it is in countries like Thailand. Politics for the good of excellence should be especially

concerned with the virtues of justice and generosity in ensuring that citizens get what they deserve and need. The most important requirement of this new virtue politics is that everyone must have a voice in the communal deliberation about the norms of justice (Cf. DRA, 129). This kind of deliberation is effective in small communities. Healthy politics begins in small communities with authentic participation of all members. It is to be noted that the size of a small community cannot be precisely specified neither can there be a guarantee that every small community be politically healthy. Virtue politics for MacIntyre was the practice of sharing justly the internal good or the goods of excellence, not just the external goods or the goods of effectiveness. MacIntyre believed that when a certain range of moral commitments is shared through the community structured networks through deliberation and when critical enquiry is practiced on the deliberation – the sense of belonging and

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

83


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

healthy politics becomes a way of life (Cf. DRA, 161). The just sharing of the internal good by political communities becomes their choice of the final end, which is the common good. This final end, which is part of human nature as dependent rational animals, will reflect the needs of all citizens, including those who need the virtues. MacIntyre’s political community, on one hand, carefully considered traditional and historical dimensions of the society. This was done by recognizing those people who were the cultural, political, and economic authorities, from whom the rest of the community had to learn in order to understand traditions and histories. For example, in the tradition and history of India’s politics, Mohandas Karamchand Gandhi was the authority who mastered the internal virtues and goods of excellence rather than just the external good or goods of effectiveness. He had authority not because he dominated others, had wealth or political power.

84 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

It is because he recognized those who had mastered the internal virtues and tried to learn from them. He sought to share the knowledge and skills for the common good rather than for the purposes of domination through money, power or exploitation. At the same time, MacIntyre’s political community recognized politicians who educated their members and themselves in the virtues as they recognized them as necessary and desirable in politics. By observing the political rules which is the political code of conducts, they became loyal and enjoyed their political practices while genuinely caring for those under their jurisdiction. Thus, the end motive of political competitions becomes the pursuit of the common good or internal good for citizens. Political community in MacIntyre’s perspective was to serve the community by pursuing the common good through the consideration of tradition, history, virtue, and rule dimensions’ of a particular society (Cf. Clayton 2006: 25).


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

2.2. MacIntyre’s virtue ethics is applicable to Thai Politics Thai Politics is currently unstable and is immoral because it lacks the conception of the internal human good. This has led to a state of no consensus to pursue a common good. Some Thai politicians believe that the common good does not and cannot exist anymore. This has divided Thai people into groups and colors. It has created a fragmented political society. There are certain significant questions that need to be answered in order to resolve the current political instability and immoral politics in Thailand. The questions are: 1) What is the aim of individual life and the life of the nation? 2) What is the internal good for individual Thai people and the Thai community as a whole? 3) How can the internal good be ordered or unified so as to enable each member and the nation to flourish and to achieve their ends? The main obstacle in answering this question is that Thai politics is closed to these issues. Thai

citizens feel that questions about the aim of individual life and the life of the nation, the internal good or the best way of life, have no political resolution or consensus. These questions are left to be answered by each individual or group. Political demonstrations are the political manifestation of individua lism or emotionalism as seen in the blockade of Suvarnabhumi airport and violence marred street protests that led to the forced cancelation of the ASEAN summit in Pattaya. These are not examples of virtue-based political manifestations and participations. Thai politics has removed the debates on the internal good out of the public sphere to the private and group discussion. The state has no position about what the internal good life or the good state is. Moreover, Thai politics incorrectly asserts that each group or individual has their right to pursue their desire in their own way as the visions of the groups are incompatible to each other The conclusion is that, Thai politics cannot agree on a com-

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

85


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

mon good, and it is going to lead to what MacIntyre called, “civil war carried on by other means” (AV, 253). Thai politics has no place for patriotism if there is no authentic sense of fatherland. Although nationalism is portrayed by propaganda, there can be no genuine or healthy affection for the nation or our fellow Thai citizens. This is due to the lack of a sense of belongingness that connects us to the nation and to our fellow Thai citizens. Thai people lack a sense of belongingness and attachment to the nation because the state does not allow some groups to have an effective voice while allowing others to do so. People normally need to share their own sense of belongingness in politics. And this can happen if the state gives them a unifying vision of the good life or any kind of shared community, which currently, Thai politics do not allow. If the state and Thai politics does not champion the internal common 7

good of the nation, it will eventually lead to civil war.7 The best solution is that Thai politics ought to be shared by all adults with full effective voice. It should not be limited to a few elite groups who have gained power through manipulation and who use their power to gain the goods of effectiveness for themselves. These groups are constantly involved in selfish and unconstitutional fights over power and money. Only through full participation in politics can all Thai people pursue and acquire the internal good and the goods of excellence for progress. In order to pursue the common good or the internal good life of the country, each Thai citizen must be allowed to have access to authentic political discussions and share in decision-making processes. Political decisions on issues should not be limited only to elite groups or military men as it is currently the case. The poor people need their voices to be

Civil war is a conflict within a country fight by organized groups that aim to take power at the centre to change government policies (Cf. http://en.wikipedia.org/wiki/Civil_war).

86 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

heard in order for them to have their sense of belonging to Thailand. Thai political crisis can be resolved if virtues of justice and generosity are practiced in Thailand. Justice is needed to ensure that all citizens of the nation, not just a particular elite group, get what they deserve and experience the internal common good of the nation. Generosity is the trait of an open mind that understands the framework of perspectives and mindsets of different groups in the nation. This open-mindedness would enable authentic participations of all members of the country in a just communal deliberation beginning with small communities (Cf. DRA, 129). To avoid political chaos, Thai politics needs to practice the sharing of the internal good and the goods of excellence rather than external good and the goods of effectiveness. Sharing of the internal good is the best way for Thai citizens to choose their own final and common end. This common end will reflect the needs of all the citizens, including the need to

exercise the virtues, which are part of our human nature as socially rational animals. Thai politics ought to focus on its traditions, its histories, and its past authorities and not just the present authority. Thai politicians ought to master the internal good of the practice rather than external one. They should not exercise their authority to dominate others or to have more wealth, but to re-cognize and increase the internal good of their practices. They ought to share their knowledge and skills for the internal good of the practice rather than for the purposes of acquiring money, power, and indulger in other exploitations. Thai politicians should also maintain their own virtues of justice and righteousness for the nation to pro-gress. Finally, in order to get the internal common good, all Thai people, not just the politicians, ought to respect the constitution and laws. This would enable the virtues and the internal good to be cultivated in the depth of their hearts. If they respect and recognize the constitution and

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

87


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

laws as necessary and desirable for the internal good, they will not discard the constitution and laws easily. They will follow the constitution and laws for its sake and for the sake of the internal common good. This pursuit of common good should also be observed in the election period and thereby avoid anything that goes against the constitution and laws. This pursuit of the internal common good should begin in small communities. 3. Conclusion The historical and conceptual development of MacIntyre’s virtue ethics involved a long process from one generation to another. It embodies spirals of virtue involving at least three dimensions: practical dimension, unity of the whole life dimension, and traditional dimension. Each of these ethical virtues spirally plays an important role as they relate to each other equally. In essence, MacIntyre’s virtue ethics is an emotional mean or method at the right times, on the right occasions, towards

88 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

the right persons, for the right causes, and in the right manners that has the internal good as the highest good. Even though MacIntyre’s virtue ethics seems to be an ideal in the eyes of some philosophers, to the researcher, it is an ideal that can become real. The researcher’s belief in MacIntyre’s virtue ethics is based on its practical dimensions and applications to different areas. MacIntyre’s virtue ethics is very different from the idea and practices of today’s world, which makes it difficult to be implemented as practices. Just as the replacement of Aristotelian morality by liberal capitalism took a very long time, MacIntyre’s virtue ethics would undoubtedly take decades or probably centuries to become a reality. However, we strive to achieve his virtue ethics beginning in small communities such as in our family or in our workplace. These small communities are capable of preserving the practices of virtues even in the face of liberal capitalism (Cf. WJWR, 99; Cf. Kelvin 2007: 248). We need to build


วีระพันธ์ พันธ์วิไล

and maintain small communities where relationship and virtues have a place while protecting them as much as possible from the depredations of modern capitalism. In doing so, small communities will make it possible for people to evaluate political candidates and leaders in a variety of settings, before choosing them on the basis of their vitreous characters that displays integrity rather than adaptability, while filtering them from distortion of advertisements and manipulative propaganda. If MacIntyre’s virtue ethics becomes widespread in its adoption, small communities would preserve their practices, the virtues, the morality, and the unity in life, until such a time as they can re-emerge into the modern world. Modern liberalism and some other modern school of thought have regarded traditional and cultural virtues as dispensable and meaningless. But without traditional virtue, there is no conclusive rational deliberation, no sustainable norms and modes of be havior for each individual life in their

society. Traditional virtues provide the ultimate vocabularies for the narratives that any self can tell about its life and thereby achieve self-understanding. MacIntyre’s virtue ethics becomes the new traditional virtues in which both old traditional virtues such as politeness, friendliness, compassion and new traditional virtues of capitalism such as effort, disciplinary, punctuality, efficiency, are combined. Those who put MacIntyre’s virtue ethics into practice are the builders of traditional virtues for the new generation. Finally, MacIntyre’s virtue ethics can defend itself against charges of other mainstream contemporary ethical theories by referring to the rationality of virtue itself. For example, the real reason why I should not lie to you is not that it is against the moral rules, nor that it is unlikely to maximize well-being, but because it is dishonest in itself. So, notions of virtue are more basic and solidly grounded than the notions at the heart of utilitarian and

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2011/2554

89


คุณธรรมของแมคอินไตย์กับบริบทของการเมืองไทย

Kantian theory. And the striking character of virtue ethics is its focus on moral agents. References Cahoon, L. E., (1996). From Modernism to Postmodernism: An Anthology. Massachusetts: Blackwell Publishers. Clayton, Ted. (2006). Political Philosophy of Alasdair MacIntyre. n.p. : Central Machigan University. Clayton, Ted. (2006). Political Philosophy of Alasdair MacIntyre. The Internet Encyclopedia of Philosophy, Retrieved December 12, 2007: http://www.iep.utm.edu/p/ p-macint.htm#top Gensler, Harry J., Spurgin, Earl W. and Swindal, James C. (Eds.), (2004). Ethic: Contemporary Readings. New York: Routledge. Kelvin, Knight. (2007). Aristotelian Philosophy: Ethics and

90 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Politics from Aristotle to MacIntyre. Notre Dame: University of Notre Dame Press. MacIntyre, Alasdair C. (1984). After Virtue: a study in moral theory (2nd Ed.). Notre Dame: University of Notre Dame Press. MacIntyre, Alasdair C. (1988). Whose Justice? Which Rationality? (1st Ed.). Notre Dame: University of Notre Dame Press. MacIntyre, Alasdair C. (1998). The MacIntyre Reader, Kelvin Knight (Ed.). Notre Dame: University of Notre Dame Press. MacIntyre, Alasdair C. (1999). Dependent Rational Animals: why human beings need the virtues. Chicago: Open Court publishing. MacIntyre, Alasdair C. (2004). “Virtue Ethics,” In Harry J. Gensler, Earl W. Spurgin, and James C. Swindal (Eds.). Ethic:


วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Sa e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l

ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................... ที่อยู่ (สำหรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน.................................... แขวง/ตำบล...................................................เขต/อำเภอ.................................................. จังหวัด..................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... โทรศัพท์.....................................................................โทรสาร......................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงะรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท ชำระเงินโดยวิธี ธนาณัติ (สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ”) ปณ. อ้อมใหญ่ 73160 โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ Fax. 0-2429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม....................................................................................................... เลขที่.........................ถนน.............................แขวง/ตำบล..................................... เขต/อำเภอ............................จังหวัด...............................รหัสไปรษณีย์...................

.............................................(ลงนามผู้สมัคร) วันที่...........................................

ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่ โทรสาร 0 2 429 0819


รูปแบบการส่งต้นฉบับบทความ

www.saengtham.ac.th

1. การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows หรือซอฟต์แวร์อื่น ที่ใกล้เคียงกันพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 26 บรรทัด ต่อ 1 หน้า Angsana New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ยกเว้นหน้าแรก 2. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ชื่อบทความไม่ต้องอยู่ในวงเล็บ) 3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน Curriculum Vitae (CV) ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลของ ผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) E-mail หรือโทรศัพท์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 4. ทุกบทความจะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract มีความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 จะต้องพิมพ์คำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ใน Abstract ของบทความ ด้วย 5. ความยาวทั้งหมด ประมาณ 14-20 หน้า 6. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 7. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัว อักษร) 8. บทความวิจัยควรมีหัวข้อดังนี้ ชื่อเรื่องบทความวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้เขียนพร้อมข้อมูลส่วนตัวของทุกคน (รายละเอียดตามข้อ 3) บทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract (รายละเอียดตามข้อ 4) ความสำคัญ ของเนื้อหา วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ ขอบเขตการวิจัย นิยามศัพท์ (ถ้ามี) วิธีการดำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรม/References 9. ฝ่ายวิชาการนำบทความที่ท่านส่งมาเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสม ของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียนจะ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 15 วันนับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ หากท่านต้องการสอบถามกรุณาติดต่อกับกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ โทรศัพท์ (02) 4290100 โทรสาร (02) 4290819 หรือ E-mail: picheat@su.ac.th 10. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะได้รับเงินค่าตอบแทนสมนาคุณ บทความละ 1,500 บาท พร้อม วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม จำนวน 3 เล่ม


ขั้นตอนการจัดทำ

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saesngtham College Journal

เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กอง บก. ตรวจรูปแบบทั่วไป

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข

ก้ไ อ้ งแ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

ไม่ผ่าน

ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ

แจ้งผู้เขียน

ไม่ต

แก้ไ

แจ้งผู้เขียน แก้ไข

จบ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.