วารสารวิ ชาการ วิทยาลัยSaแสงธรรม e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554
วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งใน และนอกวิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม บรรณาธิการ บาทหลวง ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ ในนามรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กองบรรณาธิการ อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสุจิต เพชรแก้ว อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ นางสาวจิตรา กิจเจริญ อาจารย์ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ นางสาวปนัดดา ชัยพระคุณ อาจารย์ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต นางสาวศรุตา พรประสิทธิ์ นายวีระยุทธ กิจเจริญ นายศรัญญู พงษ์ประเสริฐสิน กำหนดเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก โดย อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย รูปเล่ม โดย นางสาววรัญญา สมตัว พิสูจน์อักษร โดย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสุจิต เพชรแก้ว นางศรุตา พรประสิทธิ์ ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ ในเอกสารใดๆ โดยส่งบทความมาที่ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อประเมิน คุณภาพบทความว่าเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการส่งต้น ฉบับได้ที่ www.saengtham.ac.th
รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ
(Editorial Advisory Board)
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น้ำเพชร, S.J. Sophia University, Japan 2. ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต 3. ศ.ปรีชา ช้างขวัญยืน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. ศ.ดร.เดือน คำดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5. ศ.ดร.สมภาร พรมทา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 7. ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 2. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 4. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ ลิขสิทธิ์
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของ ผูเ้ ขียนเท่านัน้
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ
(Peer Review) ประจำฉบั บ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ดร.วิทยา คู่วิรัตน์ เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส 2. บาทหลวง ดร.เอกชัย ชิณโคตร ผู้จัดการโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ จ.บุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระแห่งสายประคำศักดิส์ ทิ ธิ์ บุรรี มั ย์ 3. ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต 4. ศ.ดร.สมภาร พรมทา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5. รศ.ดร.สุมารี จันทร์ชะลอ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 6. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม 2. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J.
บทบรรณาธิการ
บทบรรณาธิการ
Saengtham College Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 วารสารวิ ช าการ วิ ท ยาลั ย แสงธรรม ปี ท่ี 3 ฉบั บ ที่ 2 เดื อ นกรกฎาคม – ธั น วาคม 2011/2554 ฉบับนี ้ กองบรรณาธิการได้นำเสนอบทความพิเศษจากผูท้ รงคุณวุฒิ และบทความวิจยั จำนวนรวม 5 บทความ ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอขอบคุณเป็นพิเศษ สำหรับบทความพิเศษ เรื่อง สาเหตุกระตุน้ ให้เกิดสำนักวิจยั แฟรงค์เฝิรท์ โดยศาสตราจารย์กรี ติ บุญเจือ ราชบัณฑิต ขอพระเจ้า ตอบแทนน้ำใจดีของท่านทีไ่ ด้กรุณามอบบทความนีเ้ พือ่ ตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม กองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ กรุณาให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่าง ๆ อันส่งผลให้วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีท่ี 3 ฉบับที่ 2 สำเร็จและผลิตออกเผยแพร่องค์ความรู้ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และ การศึกษา ตามวัตถุประสงค์ท่ตี ้งั ไว้ พร้อมกันนี้ขอขอบคุณคณาจารย์ นักวิชาการ ผู้เขียนบทความ ทุ ก ท่ า น ที่ไ ด้ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ ส่ ง ผลงานเพื่อ ลงตี พิม พ์ อย่ า งไรก็ ต าม วารสารวิ ช าการฉบั บ นี้ ออกเผยแพร่ล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากสาเหตุหลาย ๆ ประการ ประการหนึ่งที่สำคัญคือ เหตุการณ์ มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ จังหวัด และในกรุงเทพมหานคร อันเป็นผลทำให้ท้งั การประเมิน บทความ การผลิต และการจัดส่งเกิดปัญหาความล่าช้า จึงขออภัยท่านไว้ ณ ทีน่ ด้ี ว้ ย สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะเป็นอีกช่างทางหนึ่ง ในการส่งมอบความรูส้ แู้ วดวงวิชาการอีกช่องท่างหนึง่ ตามวัตถุประสงค์ของวิทยาลัยทีไ่ ด้ตง้ั ไว้ บรรณาธิการ
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท
The Stimulation that Causes the Establishment of the Frankfurt Research Center ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ * ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต * ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา * ประธานบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน
Professor Kirti Bunchua * Professor and the Royal Institute. * Chairman of the Ph.D. Program in Philosophy and Ethics Suan Sunandha Rajabhat University * Chairman of the editorial preparation of the Encyclopedia of Philosophy Royal Institute
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท
ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ฉบับที่ผ่านมา (ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคมมิ ถุ น ายน 2554) ได้ แ นะนำศู น ย์ วิ จั ย แห่ ง มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิรท์ ซึง่ มีการอ้างอิงและ กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางในวงวิชาการ ทุกสาขา เพราะ 1) เป็นสำนักวิจยั ทีไ่ ด้มาตรฐานชั้นนำระดับโลก 2) มีผลงานวิจารณ์และ เสนอแนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ 3) มีผู้ส่งเสริม และร่วมมือในนามของทฤษฎีวิจารณ์ (Criti– cal Theory) ที่ครอบคลุมทุกวิชาในลักษณะ สหวิชา ไม่ใช่ในความหมายว่า พูดถึงหลาย ๆ วิชาอย่างเอกเทศต่อกัน แต่พดู ถึงหลาย ๆ วิชา อย่างสัมพันธ์กันโดยต่างก็ไม่เสียเอกลักษณ์ ของตน นับเป็นแนวทางวิจยั ทีท่ า้ ทายความคิด ของนักวิชาการระดับยอดนานาชาติ วารสาร วิชาการวิทยาลัยแสงธรรมจึงไม่ควรละเลยที่ จะติดตามความเคลื่อนไหวนี้ งานค้ น คว้ า ครั้ ง นี้ จ ะขอย้ อ นรอยไป ศึกษาดูให้ถึงต้นลำธารของกระแสความคิดที่ ทำให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท และงานวิจัย ที่เรียกว่าทฤษฎีวิจารณ์ในขณะนี้ In the last issue of Saengtham Collage Journal (Year 3, No.1 JanuaryJune 2011) introduces The Research Center of Frankfurt University that has been referred and mentioned in
2
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
every academic field, because of 1) being a leader of the standard research institutes at world-level, 2) possessing the critical achievements and frequently proposing the new directions of thought, 3) being rich with the supporters and coope– rators for the sake of Critical Theory which covers every subject in the interdiscipline, not in the sense of mentioning a cluster of subjects independently of each other, but of mentioning a lot of subjects rele– vantly without losing of identity of each. Therefore, it may be reckoned as a guideline of researches that challenge the concepts of international outstanding researchers. For that reason, Saengtham Collage Journal could not help persuing this move– ment. This research would retrace to meet the origin of this train of thought that generated the Frankfurt Research Center and Its produce known today as the Critical Theory.
กีรติ บุญเจือ
ความเป็นมาของลัทธิโครงสร้างนิยม ประมาณ ค.ศ. 1906 โซสซืร์ (Ferdinand de Saussure 1857-1913) ได้ บรรยายวิ ช าภาษาศาสตร์ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เจเนวา ซึง่ บรรดาลูกศิษย์ได้รวบรวมบทบรรยาย พิมพ์เป็นหนังสือ Cours de la linguistique génerale เผยแพร่ ตั้ ง แต่ ค.ศ. 1916 เป็นต้นมา โดยเสนอความคิดว่า สมรรถภาพ คิดก่อนเกิดของมนุษย์มีโครงสร้างของภาษา ร่วมของมนุษยชาติ ภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์ จึงเป็นเพียงการประยุกต์โครงสร้างนี้ออกมา ใช้ ใ นบรรยากาศต่าง ๆ กัน ภาษาต่าง ๆ จึง ต่างกันทีห่ ลักภาษา (language) ส่วนไวยากรณ์ (langue หรือ grammar) เหมือนกัน คือภาษา จะต้องประกอบด้วยประโยคซึ่งมีโครงสร้าง ประธาน+กริยา+(กรรม) ซึ่งอาจจะขยายใน ระดับคำ วลี และประโยคไปถึงไหนก็ได้ เรือ่ งนี้ เป็นเรื่องของวิชาการซึ่งจะวิจัยได้ด้วยวิธีการ วิ ท ยาศาสตร์ โรว์ ล อง เจเขิ บ สั น (Roland Jacobson 1896 - 1982) ชาวยิวเกิดในรัสเซีย ตีความว่า ความคิดของโซสซืร์ควรเรียกได้ว่า ลัทธิโครงสร้างนิยม (Structuralism) เพราะ ทำให้นักวิชาการหลายคนเห็นช่องทางเอาไป ใช้พัฒนาวิชาการของตนให้เข้ากระแสโครง– สร้างนิยม เช่น เลวี สโตรส (Claude LéviStrauss 1908 - ) ในวิชามานุษยวิทยา ฌากส์
ลากอง (Jacques Lacan 1901 - 1981) ในวิชา จิตวิเคราะห์ หลุย อัลตุสเสร์ (Louis Althus– ser 1918-1990) ในวิชาปรัชญา โรลอง บาร์ต (Roland Barthes) ในวิชาวรรณคดี อัลกีร์ดา แกรมา (Algirdas Greimas) ในเรื่ อ งเล่ า คนเหล่านี้ล้วนแต่ได้ชื่อว่านักเขียนมือดีในแนว โครงสร้างนิยมในช่วง ค.ศ. 1950-1970 คือ ปฏิรูปแนวคิดในวิชาที่ตนถนัด พวกเขามิได้ เขียนเนื้อหาเดียวกัน แต่เขียนเนื้อหาต่างกัน ด้วยวิธคี ดิ และวิธวี จิ ยั เดียวกัน ได้เนือ้ หาออกมา ต่าง ๆ กัน เรียกว่าวิจัยในแนวโครงสร้างนิยม คือมองอะไรอย่างมีโครงสร้างเป็นระบบเครือ– ข่ายไปหมด คือ เครือข่ายในแต่ละสาขาวิชา และเมื่ อ เอามาคิ ด รวมกั น เข้ า แล้ ว ต่ า งก็ เ ป็ น ส่วนหนึ่งขององค์ความรู้รวมที่เป็นเครือข่าย รัดกุม ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายรวมเนื้อหาต่าง ๆ เหล่านัน้ ราวกับเป็นส่วนของกันและกัน โยงใย ถึงกันได้ เป็นเหตุผลของกันและกันได้ จริง ร่วมกันหรือเท็จร่วมกันได้ และเป็นจุดเริ่มต้น ของกันและกันได้ เช่น โครงสร้างภาษาของ โซสซืร์เป็นจริงสำหรับทุกภาษาที่ใช้ในทุกวิชา และโครงสร้างในจิตวิเคราะห์ของลากองย่อม จริ ง สำหรั บ จิ ต ทุ ก ดวงของนั ก คิ ด ในทุ ก วิ ช า และโครงสร้างในเรื่องเล่าของแกรมา (Greimas) ย่อมจริงสำหรับนักคิดทุกสาขาวิชาทีอ่ า่ น เรื่องเล่าและใช้เรื่องเล่าเป็นส่วนประกอบคำ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 3
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท
อธิ บ ายในวิ ช าของตน โครงการวิจัยอย่างนี้ เกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันในประเทศฝรั่งเศส หลังจากปี ค.ศ. 1970 ชาวฝรั่งเศสก็เริ่มเบื่อ โครงสร้าง เพราะมันซ้ำซากจำเจน่าเบื่อ เซ็ง เหงา อย่างที่ฌองปอล ซาตร์ได้ประณามไว้ จึงหวนกลับมารื้อฟื้นแนวคิดของซาตร์ ฮาย– เด็ ก เกอร์ และหวนกลั บ ไปถึ ง นี ท เฉอ และ พัฒนาก้าวไปสูล่ ทั ธิหลังโครงสร้างนิยม (Post– structuralism) ซึ่งในรุ่นแรกใช้สำนวนรุนแรง ปฏิ เ สธโครงสร้ า งและระบบเครื อ ข่ า ยของ ความรู้ทั้งหมด ชอบวิจารณ์และวิจัยเชิงลบ หรือรื้อทำลายจนได้สมญาว่า นักรื้อถอนนิยม (Deconstructionists) ที่ รู้ จั ก กั น เด่ น ชั ด มี ฌากส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida 1930 2004) รื้อถอนความหมายของภาษา, มีเชล ฟู โ ก (Paul-Michel Foucault 1926 1984) รื้ อ ถอนอำนาจในสั ง คม, เดอเลอส (Gilles Deleuze 1925 - 1995) รื้อถอน ความอยาก, ลีโอตาร (Jean-François Ly– tard 1924 - 1998) รื้อถอนสุนทรียภาพ, นักคิดสตรีอย่างลูส อีริกาเรย์ (Luce Irigaray 1932 - ) จูเลีย คริสเตวา (Julia Kristeva 1941 - ) เอแลน ซี ก ซู (Hélène Cixous 1937 - ) รื้อถอนความเหลื่อมล้ำทางเพศ เมื่อ กระแสนี้ข้ามทวีปไปสหรัฐอเมริกา ผสมผสาน กั บ กระแสหลั ง อาณานิ ค มนิ ย ม (postcol–
4
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
nialism) ของอังกฤษ จึงอ่อนตัวลงกลายเป็น กระแสหลังนวยุคนิยมสายกลาง คาร์ลมากซ์เป็นชาวเยอรมัน แต่ไป เผยแพร่ความคิดในประเทศอังกฤษ รัสเซีย นำเอาไปใช้พัฒนาการเมืองเป็นระบอบคอม– มิ ว นิ ส ต์ มหาวิ ท ยาลั ย แฟรงค์ เ ฝิ ร์ ท รู้ สึ ก ไม่ สบายใจที่เห็นชาวรัสเซียเอาความคิดของชาว เยอรมั น ไปอ้ า งและใช้ อ ย่ า งเลยเถิ ด จนผิ ด เจตนาของมากซ์ จึงได้คิดตั้งสถาบันวิจัยแห่ง มหาวิ ท ยาลั ย แฟรงค์ เ ฝิ ร์ ท ขึ้ น เพื่ อ วิ จั ย เชิ ง วิเคราะห์ วิจกั ษ์ และวิธาน ความคิดของมากซ์ เป็นปฐม วิจัยเรื่องอื่น ๆ อย่างเป็นผลพลอยได้ กลายเป็ น ศู น ย์ ก ลางเผยแพร่ ง านเขี ย นและ วิจัยความคิดของมากซ์อย่างสำคัญ เมื่อลัทธิ นาซีครองประเทศจึงอยู่ไม่ได้ ต้องลี้ภัยไปอยู่ ที่สหรัฐอเมริกา ได้สัมผัสลัทธิหลังโครงสร้าง นิ ย มจากฝรั่ ง เศส ลั ท ธิ ห ลั ง อาณานิ ค มนิ ย ม จากอังกฤษ ลัทธิปฏิบัตินิยมใหม่ของอเมริกา และลั ท ธิ ห ลั ง นวยุ ค นิ ย มอั น เป็ น ผลจากการ หลอมรวม 3 กระแสดังกล่าวในเบ้าเดียวกัน เมื่อสิ้นสงครามโลก บางคนจากสำนักแฟรงค์– เฝิรท์ กลับไปรือ้ ฟืน้ สำนัก แต่บางคนอยูต่ อ่ ยอด ในสหรัฐอเมริกาและไปต่อยอดที่อื่นก็ม ี ทำให้ ต้ อ งประสานงานกั น โดยสำนั ก แฟรงค์ เ ฝิ ร์ ท เป็ น ศู น ย์ ก ลางประสานงานกั บ ศู น ย์ ส าขา ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งขยายวงกว้างออกไปยัง
กีรติ บุญเจือ
ประเทศต่ า ง ๆ ในนามของทฤษฎี วิ จ ารณ์ (Critical Theory) ซึง่ เป็นกระแสความคิดของ กลุ่มศูนย์วิจัยที่มีเป้าหมายพัฒนาเป้าหมาย เดิมของสำนักแฟรงค์เฝิร์ทที่ไม่จำกัดแต่เพียง วิจัยเฉพาะความคิดของคาร์ล มากซ์อีกต่อไป แต่ตั้งเป้าหมายวิจัยเพื่อแฉทุกเรื่องที่สามารถ ปลดปล่อยมวลมนุษย์จากการเสียเปรียบกัน และกันในสังคม ทั้งนี้จึงได้แนวร่วมจากลัทธิ หลังนวยุคนิยม ลัทธิหลังโครงสร้างนิยม ลัทธิ หลังอาณานิคมนิยม และลัทธิปฏิบัตินิยมใหม่ โดยปริยาย จากข้อมูลเพียงเท่านี้ก็พอจะเห็น แล้วว่า โครงการและวิธีวิจัยของทฤษฎีวิจารณ์ (Critical Theory Methodology of Research) น่าสนใจเพียงใดในปัจจุบัน ซึ่งเป็น คนละเรื่ อ งกั น กั บ ทฤษฎี วิ จ ารณ์ ว รรณคดี (Literary Critical Theory) ซึ่งอาจจะเป็น แบบนวยุคหรือหลังนวยุคก็ได้ หากทำการวิจัย แบบหลั ง นวยุ ค ก็ เข้ า ข่ า ยทฤษฎี วิ จ ารณ์ ข อง สำนักแฟรงค์เฝิร์ท ทำไมจึงเริ่มด้วยทฤษฎีวิจารณ์ มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ทเป็นมหา– วิทยาลัยชัน้ นำเก่าแก่แห่งหนึง่ ของยุโรป ตัง้ ขึน้ ในยุคกลาง จึงได้รเู้ ห็นการเปลีย่ นแปลงแนวคิด และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและสร้างกระ– แสมาโดยตลอด ได้รู้เห็นมาว่า วิชาสังคมแต่
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาคุณค่า (Axio– logy) คือวิจัยว่าสังคมที่ดีมีคุณค่า คือสังคม ที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ก ารปกครองของพระเจ้ า ซึ่ ง ส่ ง ผู้แทนมาปกครองเป็ น 2 ด้ า น ด้ า นจิ ต ใจมี สั น ตะปาปาที่ ก รุ ง โรมเป็ น ผู้ แ ทน ส่ ว นด้ า น การเมืองมีจักรพรรดิแห่งมหาอาณาจักรโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ประทับที่กรุงเวียนนาเป็นผู้แทน ครั้นวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์เข้ามาแทน วิธีคิดแบบปรัชญา การปกครองแบบประชา– ธิ ป ไตยก็ เข้ า มาแทนที่ ด้ ว ยเหตุ ผ ลว่ า “เสี ย ง ประชาชนเป็นเสียงของพระเจ้า” แทนเสียง ของสั น ตะปาปาและเสี ย งของจั ก รพรรดิ์ กล่าวคือ “มติใดได้รับการสนับสนุนจากการ ตั ด สิ น ใจของคนส่ ว นใหญ่ ก็ถือ ว่ า เป็ น พระ– ประสงค์ของพระเจ้า” หรือกล่าวได้อีกสำนวน หนึ่งว่า “พระเจ้าทรงแสดงพระประสงค์ของ พระองค์ โ ดยผ่ า นทางเสี ย งส่ ว นใหญ่ ข อง ประชาชน” ซึ่งแรก ๆ รู้สึกว่าจะไปได้ดี เพราะ ทุกฝ่ายปล่อยให้ประชาชนคิดเองรู้สึกเองและ แสดงออกอย่างตรงไปตรงมา เสียงส่วนใหญ่ ว่าอย่างไรก็พอใจกันอย่างนั้น เสียงส่วนน้อย ก็ยอมแต่โดยดี ไม่มกี ารกล่าวหากันภายหลังว่า มีการตุกติกอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ต่อ ๆ มาก็มี คนต้องการใช้มติมหาชนเพื่อเป้าหมายส่วนตัว จึงวางแผนลอบบีก้ นั อย่างทีส่ าธารณรัฐเอเธนส์ โบราณได้ เ คยใช้ วิ ช ามารของนั ก ปราชญ์
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 5
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท
ซัฟเฝิสท์ (Sophist) มาแล้ว ก็หันมาแก้ไขกัน ด้วยวิธกี ารวิทยาศาสตร์ เพือ่ หาข้อมูลและสถิติ ที่ชี้บ่งว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะถูกลอบบี้บ้าง จ้างวานบ้าง เกลี้ยกล่อม ด้วยอุดมคติให้ฝันหวานแต่ไม่ปฏิบัติจริงบ้าง ผลยิ่งออกมามากเท่าใด ประชาชนในระบอบ ประชาธิ ป ไตยก็ ยิ่ ง หวาดระแวงทฤษฎี ใ หม่ เพราะกลั ว จะเป็ น อุ ด มคติ แ อบแฝงมากขึ้ น เท่ านั้น ดัง ข้ อสังเกตของฮอร์คคายเมอร์ผู้– อำนวยการสำนักแฟรงค์เฝิร์ทคนแรกว่า ความหวาดระแวงต่อทฤษฎีในฐานะ ทฤษฎี ที่ ร ะบาดอยู่ ใ นชี วิ ต ประจำวั น ของ ประชาชนปั จ จุ บั น แท้ ที่ จ ริ ง แล้ ว พวกเขา ต้องการต่อต้านกระแสวิพากษ์ที่มาชักชวนให้ พวกเขาเปลี่ยนวิถีชีวิต พวกเขาจะเริ่มต่อต้าน ทันทีทเ่ี ห็นว่านักทฤษฎีไม่แสดงความเป็นกลาง ในการเสนอความคิด เพราะไม่สามารถทดสอบ ให้เห็นกับตา หรือไม่แจกแจงด้วยศัพท์แสงที่ พวกเขาคุ้นอยู่ว่าเป็นกลาง ไม่ชักนำให้ออก นอกลู่นอกทางของชีวิตที่คุ้นเคยอยู่ ราษฎร ส่ ว นนี้ มี จิ ต ใต้ ส ำนึ ก กลั ว อยู่ ว่ า นั ก ทฤษฎี จ ะ พยายามชักนำให้พวกเขาปรับตัวให้ได้กบั ความ เป็นจริงที่เลวร้ายโดยไม่จำเป็น1
ฮอร์คคายเมอร์ต้องการชี้ให้เห็นว่าใน ขณะที่เริ่มก่อตั้งสำนักแฟรงค์เฝิร์ทนั้นวิธีการ วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนทรรศน์ของคนทั่วไป อยู่แล้ว เพราะเหตุนี้เองวิชาสังคมทั้งหลายก็ ต้องใช้วิธีคิดและวิจัยแบบวิทยาศาสตร์เพื่อให้ เป็นที่ยอมรับ ประเด็นที่มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท เป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ของยุโรป (และ ของโลก) ในขณะนั้ น ก็ คื อ คาร์ ล มากซ์ ศิ ษ ย์ ทางปรั ช ญาของเฮเกลใช้ วิ ธี คิ ด และวิ จั ย เชิ ง หยั่งรู้ (Insight) เพื่อคิด เข้าใจ และอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับ สร้างสรรค์ความคิดใหม่และเสนอให้ผู้สนใจ รับรู ้ แต่ถา้ เสนอด้วยระเบียบวิธวี จิ ยั เชิงวิชาการ (Academic) ก็ยากที่จะวัดผลเพื่อการรับรอง ผลได้ หากไม่คำนึงถึงการวัดและรับรองผล แล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นวิธีวิจัยทางปรัชญาที่ยอด เยี่ยม ทั้ ง เฮเกลและคาร์ ล มากซ์ ไ ม่ ส นใจ การวัดและรับรองผลจากใคร ท่านต้องการ ความคิ ด ใหม่ เ พื่ อ เสนอให้ ท ำใหม่ เ พื่ อ แก้ ปัญหาสังคมสมัยนั้น เฮเกลสามารถแก้ปัญหา ทางตั น ของวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ โดยเฉพาะ
Horkheimer, quoted in Raymond Morrow, Critical Theory and Methodology, (London : Sage, 1994), p. 3. 1
6
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กีรติ บุญเจือ
อย่างยิง่ ในเรือ่ งกำเนิดของเอกภพว่าหมอกเพลิง หรือกระบวนการบิ๊กแบงทั้งหมดมาจากไหน (เฮเกลตอบว่ามาจากจิตปฏิพัฒนาการ) ส่วน มากซ์ เ ห็ น ว่ า ความคิ ด ของเฮเกลไม่ ช่ ว ยแก้ ปัญหาของคนรากหญ้า ซึ่งมากซ์ต้องการช่วย จึ ง เสนอทฤษฎี ส สารปฏิ พั ฒ นาการจากการ หยั่งรู้เช่นเดียวกับเฮเกล แต่สสารพัฒนามุ่ง กระตุ้ น ให้ ช นชั้ น รากหญ้ า รวมตั ว กั น เพื่ อ เรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ไม่ เ กี่ ย วกั บ วิธีการวิทยาศาสตร์ ครั้นพรรคคอมมิวนิสต์ เอาไปใช้ ต้องการผลสำเร็จเร็ว จึงอธิบายให้ เป็นวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนทรรศน์ของ คนทั่วไปสมัยนั้น จึงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้าง– ขวางในเวลาอันรวดเร็ว ครัน้ พรรคคอมมิวนิสต์ รัสเซียได้อำนาจปกครองประเทศจริง ๆ แล้ว ก็มิได้ปฏิบัติตามเจตนาของมากซ์ แต่กลับใช้ วิธีการวิทยาศาสตร์อธิบายความคิดของมากซ์ ให้ประชาชนรับเชือ่ และใช้วธิ กี ารวิทยาศาสตร์ เพื่อครอบงำประชาชนให้อยู่ภายใต้ระบอบ เบ็ดเสร็จพรรคเดียว กลายเป็นที่ยอมรับกันใน งานวิ จั ย ว่ า วิ ช าสั ง คมศาสตร์ ต้ อ งใช้ วิ ธี ก าร วิทยาศาสตร์ เกิดพรรคคอมมิวนิสต์ในวงการ เมืองขึ้นในเยอรมนี ฝรั่งเศส ซึ่งสมาชิกพรรค แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายต้องการล้างสมอง ประชาชนเพื่อการมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหมือน ในรัสเซีย และฝ่ายปัญญาชนที่ต้องการช่วยแก้
ปัญหาคนรากหญ้าตามเจตนาของมากซ์ซึ่งคิด แบบปรัชญา จึงเป็นความขัดแย้งกันในพรรค คอมมิวนิสต์ของหลายประเทศในยุโรปทำให้ เกิด ชื่อ ลั ท ธิม ากซิ ส ม์ใ หม่ (new Marxism) ซึ่งหมายถึงความเข้าใจมากซ์ตามเจตนาดั้งเดิม ของมากซ์ ไม่ใช่ตามที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ยิ่ ง กว่ า นั้ น ในเยอรมนี ก็ ก ำลั ง เกิ ด พรรคนาซี และในอิตาลีก็กำลังเกิดพรรคฟาสซิสต์แทรก ซ้ อ นขึ้ น มา เพราะทั้ ง 2 พรรคนี้ จั บ ถู ก เส้ น ความต้องการของประชาชน โดยโฆษณาโดน ต่อมปมเขื่องของมวลชน ในเยอรมนีคือความ ยิ่งใหญ่ของเผ่าอารยันสายเยอแมนิก ส่วนใน อิ ต าลี คื อ ความยิ่ ง ใหญ่ ข องเผ่ า อารยั น สาย ละติน ทั้ง 2 ชาติมุ่งใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสร้าง ความพร้อมทางวัตถุ และใช้จิตวิทยาเพื่อสร้าง ความพร้อมทางสละชีพเพื่อสายเลือด มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ทตระหนัก ถึงหน้าที่ในฐานะปัญญาชนสุดยอดของสังคม ว่า จำต้องลงทุนลงแรงวิจยั ด้วยวิธวี จิ ยั ทีถ่ กู ต้อง เหมาะสมตรงประเด็น เพือ่ เป็นสมองของสังคม รู้ เ ห็ น สิ่ ง ที่ ถู ก ต้ อ งเพื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ สู่ ประชาชนให้รับรู้ความเป็นจริง จะได้สู้กับคำ โฆษณาชวนเชื่อไหว มิฉะนั้นคาดว่าหายนะ ยิง่ ใหญ่กำลังจะคลานคืบเข้าทำลายล้างมนุษย– ชาติ แต่ไม่ทนั ได้ตง้ั ตัวติด สงครามโลกก็ระเบิด ขึ้นและลุกลามอย่างรวดเร็ว ในขณะหน้าสิ่ว–
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 7
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท
หน้ า ขวาน ไม่ มี ใ ครอยากฟั ง นั ก ปรั ช ญาพู ด จำเป็นต้องหอบเสื่อลี้ภัย ความหายนะใหญ่ หลวงเกิ ด ขึ้ น จริ ง แก่ ม นุ ษ ยชาติ ยิ่ ง รู้ ค วาม เสียหายยิ่งรู้สึกต้องดำเนินการต่อไป โดยปรับ เป้าหมายเดิมให้ครอบคลุมความต้องการของ ชาวโลกให้ ม ากที่ สุ ด ไม่ ใช่ ค วามต้ อ งการ ประเภท want (ความอยาก) แต่เป็นความ ต้องการประเภท need (ความพึงประสงค์) ของคนทั้งโลก นโยบายนี้จึงได้รับการต้อนรับ และร่วมมือจากผู้หวังผลทุกมุมโลก วิเคราะห์วิธีวิจัยกันเสียก่อน วิธีวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์เป็นที่รับรู้ใน มหาวิ ท ยาลั ย ตั้ ง แต่ ป ระมาณ ค.ศ. 1600 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นปีที่ถือว่ามนุษยชาติก้าวเข้า สู่ยุคใหม่และกระแสความคิดเริ่มเปลี่ยนเป็น กระบวนทรรศน์นวยุค วิธีการวิทยาศาสตร์ มีข้อกำหนดว่า 1) ความสามารถของมนุษย์ ก้าวหน้าได้กโ็ ดยการเน้น (Specialization) ให้ สมองทำงานบนธรรมชาติท่แี ตกต่างจากสมอง ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ข้ อ มู ล ประสบการณ์ 2) ความ พยายามทั้งหลายต้องรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน ทีว่ ธิ กี ารวิทยาศาสตร์ ซึ่งให้ข้อมูลที่ไม่มีจุดเน้น (no specialization) และไม่มีแก่นสารอันใด อยู่เบื้องหลัง มีแต่เท่าที่ปรากฏเท่านั้น พิศ– ดู ห้ ดี ก็ จ ะเห็ น ความไม่ ป ระสานกั น ระหว่ า ง
8
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2 ข้อนีท้ ค่ี ำว่า Specialization ทำให้ไม่แน่ใจว่า ในการวิจัยควรเน้นอะไรกันแน่ ในที่สุดมหา– วิทยาลัยต่าง ๆ ก็พร้อมใจกันทำการวิจัยเป็น 3 แบบเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาวิชาการทั้งหมด คือ แบบวิทยาศาสตร์ แบบสังคมศาสตร์ และ แบบมนุษยศาสตร์ วิ จั ย แบบวิ ท ยาศาสตร์ ไ ม่ มี อ ะไร ซับซ้อน เพราะเป็นเรือ่ งของทุกสิง่ ทีไ่ ม่ใช่มนุษย์ แต่ วิ จั ย แบบสั ง คมศาสตร์ กั บ มนุ ษ ยศาสตร์ ทั บ ซ้ อ นกั น ที่ ว่ า ทั้ ง 2 แบบวิ จั ย เรื่ อ งมนุ ษ ย์ มนุ ษ ย์ ก ลายเป็ น จำเลยให้ วิ จั ย ทั้ ง 2 แบบ แบบแรกวิจัยมนุษย์เป็นกลุ่ม แบบหลังวิจัย มนุ ษ ย์ เ ป็ น คนๆ มนุ ษ ย์ เ ป็ น กลุ่ ม ก็ คื อ มนุ ษ ย์ หลาย ๆ คน ทำให้ เ กิ ด ความสั ม พั น ธ์ ต่ อ กั น แต่จริง ๆ แล้วมนุษย์เป็นคนๆเป็นการสมมุติที่ ไม่ อ าจเป็ น จริ ง ได้ เ ลย เพราะหามนุ ษ ย์ ที่ อ ยู่ คนเดียวไม่สัมพันธ์กับใครเลยไม่ได้ และถ้ามี จริงก็ไม่รู้จะวิจัยไปทำไม ดังนั้นการวิจัยมนุษย์ คนหนึ่ ง โดยตั ด ความสั ม พั น ธ์ กั บ มนุ ษ ย์ อื่ น ออกไปทั้งหมด ย่อมไม่ได้ความรู้สมบูรณ์แบบ เกี่ยวกับมนุษย์ผู้นั้น เหมือนวิจัยปลาที่สมมุติ ว่าไม่มีน้ำ ก็ไม่รู้ว่าจะรู้เรื่องปลาได้ถูกต้องแค่ ไหน ดังนั้นวิชามนุษยศาสตร์จึงไม่ใช่วิชาศึกษา มนุษย์เป็นคน ๆ เพราะควรวิจัยรวมอยู่ในการ วิจัยสังคมในฐานะแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมอย่างแบ่งแยกไม่ได้ และมนุษย์แต่ละคน
กีรติ บุญเจือ
มีความรู้สึกนึกคิดอย่างมนุษย์เมื่อรวมกันเป็น สังคมก็ยังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นหน่วยเฉพาะ และเป็นองค์รวมด้วยในเวลาเดียวกัน ทำให้ การวิจัยสังคมต้องมีวิธีการของตนเองต่างจาก วิธีการวิทยาศาสตร์ซึ่งก็วิจัยมนุษย์และสังคม มนุษย์ด้วย แต่วิจัยในฐานะที่เป็นสสาร ไม่ต้อง คำนึงถึงความรูส้ กึ นึกคิด ปล่อยให้การวิจยั ทาง สังคมวิจัยมนุษย์ในส่วนที่มีความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะ และให้การวิจัยแบบมนุษยศาสตร์ ดูแลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ซง่ึ มีได้หลายด้าน ทำให้ทกุ ด้านมีสว่ นของการวิจยั ร่วมกันในฐานะ ที่วิจัยงานสร้างสรรค์ แต่ก็มีส่วนต่างในแต่ละ งานสร้างสรรค์ทต่ี อ้ งการความละเอียดผิดเพีย้ น กันออกไป ทัง้ ยังต้องอาศัยกันทำให้ตอ้ งร่วมกัน วิจัยอีกต่างหาก เช่น ดนตรีกับประวัติศาสตร์ ต่างก็มีส่วนเฉพาะสาขา แต่ก็ต้องอาศัยกันใน เนื้อหาประวัติศาสตร์ดนตรี เป็นต้น ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิทยาศาสตร์ก็มี ส่วนทับซ้อนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เพราะวิทยา– ศาสตร์เริ่มจากสถิติลงท้ายด้วยกฎ แต่สังคม– ศาสตร์เริม่ จากกฎลงท้ายด้วยสถิต ิ ส่วนมนุษย– ศาสตร์ต้องอาศัยทั้งกฎและสถิติเพื่อกำหนด ขอบเขตแห่ ง ความเข้ า ใจก่ อ นที่ จ ะตี ค วาม (Interpretation) และวิจักษ์คุณค่า (Appre– 2
ciation) ซึ่ ง เป็ น เป้ า หมายของการวิ จั ย เชิ ง มนุษยศาสตร์ โมว์โรว์ (Raymond Morrow) ให้ขอ้ สังเกตว่ามหาวิทยาลัยใดเปิดคณะมนุษย– ศาสตร์ (Faculty of Humanities) ก็หมาย– ความว่าตั้งใจจำกัดขอบข่ายของการวิจัยอยู่ที่ การตีความและประเมินค่าเท่านั้น แต่ถ้าเปิด คณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Arts) ก็หมาย– ความว่ายอมให้วิจัยส่วนที่เป็นสถิติของมนุษย์ ได้ดว้ ย3 ไม่ได้บอกไว้วา่ ถ้าเปิดคณะอักษรศาสตร์ (Faculty of Letters) จะจำกัดให้วิจัยเฉพาะ ด้านภาษาและวรรณคดีหรือไม่ ทิศทางการวิจัย ทิศทางการวิจยั ของมนุษยชาติปรับตัว เรื่อยมาตั้งแต่มนุษย์คนแรกที่วิจัย มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ 1. ทิศทางวิจัยของกระบวนทรรศน์ที่ 1. มนุ ษ ย์ ค นแรก เพราะมี ปั ญ ญา ย่ อ มใช้ ปัญญาถามตัวเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว และเหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่ เนื่ อ งจากสมรรถนะวิ จั ย อยู่ ร ะดั บ ต่ ำ สุ ด คื อ เข้ า ใจในกรอบของความเชื่ อ ว่ า มี จ ริ ง อยู่ 3 อย่ า ง คื อ 1) ตั ว เขาเอง 2) สิ่ ง ทั้ ง หลายใน ประสบการณ์ และ 3) อำนาจลึ ก ลั บ ที่ มี
Ibid, p. 4 .
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 9
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดสำนักวิจัยแฟรงค์เฝิร์ท
อำนาจเหนือความเป็นไปทั้งหลาย คำตอบต่อ ปัญหาต่าง ๆ จึงลงเอยที่น้ำพระทัยของอำนาจ ลึกลับที่เข้าใจว่าเป็น “เบื้องบน” น้ำพระทัย ของเบือ้ งบนจึงเป็นเป้าหมายหลักของการวิจยั 2. ทิศทางวิจัยของกระบวนทรรศน์ที่ 2. มนุ ษ ย์ พั ฒ นาปั ญ ญาจนเชื่ อ ว่ า มี ก ฎตาย ตัวทีบ่ นั ดาลให้ทกุ อย่างเป็นไป การวิจยั ของเขา จึงมุ่งที่การรู้กฎของการเกิดและการเปลี่ยน– แปลงทั้งหลาย หากตัวเองไม่แน่ใจในคำตอบ ก็ฝากความมั่นใจไว้ที่เจ้าสำนัก ซึ่งเชื่อว่ารู้ได้ ด้วยวิธีพิเศษ เช่นรู้เองด้วยญาณวิเศษ หรือมีผู้ หรือสิ่งวิเศษมาบอก แล้วก็บอกต่อ ๆ กันไป 3. ทิศทางวิจัยของกระบวนทรรศน์ที่ 3. มี ศ าสดาหลายองค์ อุ บั ติ ขึ้ น มาสอนด้ ว ย ประกาศิตว่ามีชีวิตในโลกหน้าที่สมบูรณ์แบบ ทุกประการ การวิจัยจึงมุ่งที่การรู้เรื่องโลกหน้า และวิ ธี บ รรลุ โ ลกหน้ า ได้ อ ย่ า งดี ที่ สุ ด และ แน่นอนที่สุด โดยตีความจากคัมภีร์ที่บันทึก คำสอนของศาสดาไว้ 4. ทิศทางของกระบวนทรรศน์ที่ 4. วิธีการวิทยาศาสตร์เริ่มเป็นกระบวนทรรศน์ ของมนุ ษ ยชาติ ตั้ ง แต่ ป ระมาณ ค.ศ. 1600 ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ซึ่งกลายเป็นวิธีการ มาตรฐานสำหรับการวิจัยทุกอย่างในช่วงนั้น สืบต่อมาได้ประมาณ 100 ปี ความก้าวหน้า ทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ผ ลั ก ดั น ให้
10 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สังคมยอมรับปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเปลี่ยน– แปลงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ไปจากเดิม อย่างสิน้ เชิง ทำให้การวิจยั สังคมด้วยวิธวี ทิ ยา– ศาสตร์ มี ปั ญ หาอย่ า งยอมรั บ ไม่ ไ ด้ อี ก ต่ อ ไป จึงมีผู้เสนอการใช้ทฤษฎีสถิติมาเสริมผลสรุป จากวิธีการวิทยาศาสตร์อีกต่อหนึ่ง การปฏิวัติ ฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1789 ซึ่งใช้การปลุก ระดมในเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และภราดร– ภาพอย่างได้ผล ทำให้สังคมเรียกร้องประชา– ธิ ป ไตยที่ ค้ ำ ประกั น คุ ณ ภาพ 3 ประการนี้ อย่ า งไม่ สู้ ไ ด้ ผ ล กลายเป็ น จุ ด สนใจของ นักวิชาการเรื่อยมาจนทุกวันนี้ และเป็นแรง บันดาลใจอย่างสำคัญให้ผ้บู ริหารมหาวิทยาลัย แฟรงค์เฝิร์ทตัดสินใจทุ่มทุนและความสามารถ วิจัยให้เข้าใจสังคมและแก้ปัญหาสังคมอย่าง ได้ผลดีที่สุด 5. ทิศทางของกระบวนทรรศน์ที่ 5 สำนักแฟรงค์เฝิร์ทเริ่มจากความต้องการเข้าใจ ปัญหาสังคมเพื่อการแก้ไขที่ถูกประเด็นก็จริง แต่เมื่อทำไปแล้วจึงค่อย ๆ เห็นชัดขึ้นทุกทีว่า การเข้าใจปัญหาและทางแก้ปัญหาของสังคม นั้น จะวิจัยเฉพาะด้านสังคมด้วยวิธีวิจัยแบบ สังคมศาสตร์ตามที่เคยทำกันมาเท่านั้นหาพอ ไม่จำเป็นจะต้องวิจัยวิชาการด้านอื่น ๆ เพื่อ เป้าหมายดังกล่าวควบคู่ไปด้วย ซึ่งก็หมาย– ความว่าเมื่อส่งเสริมการวิจัยทางด้านอื่นนั้น
กีรติ บุญเจือ
ย่ อ มไม่ ใช่ เ พื่ อ เพิ่ ม ความรู้ ข องวิ ช านั้ น อย่ า ง บริสุทธิ์ก็หาไม่ แต่จะต้องมีผลสรุปให้เห็นว่ามี ความสำคัญต่อความเข้าใจปัญหาและทางแก้ ปั ญ หาสั ง คมไม่ ท างใดก็ ท างหนึ่ ง ในขณะ เดียวกันระเบียบวิธีวิจัยแบบสังคมศาสตร์เอง ก็ต้องมีการวิจัยเพื่อปรับปรุงให้ได้ผลตามที่ตั้ง เป้าหมายไว้ดียิ่ง ๆ ขึ้นอยู่เสมอ ในเมื่อต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอใน ทุกด้านเช่นนี้ หากต้องเปลี่ยนชื่อตามเพื่อให้ ชื่อตรงกับเนื้อหา ก็จะต้องเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ อย่างน่ารำคาญสำหรับผู้สนใจติดตามผลงาน อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง คณะผู้ บ ริ ห ารทุ ก ชุ ด จึ ง มี ม ติ มั่ น คงเรื่ อ ยมาว่ า ไม่ เ ปลี่ ย นทั้ ง ชื่ อ สำนั ก วิ จั ย (สำนักแฟรงค์เฝิร์ท) และเป้าหมายของงาน (ทฤษฎีวจิ ารณ์) ใครติดตามมาตลอดก็จะเข้าใจ ได้เอง ใครเริ่มสนใจก็ควรได้ศึกษาความเป็น มาเสียก่อน นี่คือตัวอย่างของสถาบันวิจัยหนึ่งที่ รับรู้กันทั่วโลกว่าเป็นสถาบันวิจัยได้มาตรฐาน และทำคุณแก่มนุษยชาติอย่างประเมินค่ามิได้ ทีส่ ำคัญ คือ เป็นสถาบันวิจยั วิชาการเพือ่ รูแ้ ละ เผยแพร่ความรู้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ยอมเป็น เครื่องมือของฝ่ายใด การปรองดองในสังคมจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีผู้เสียสละเป็นนักวิจัยอย่างนี้บ้าง กระมัง
บรรณานุกรม Borchert, Donald. Encyclopedia of Philosophy, 2nded. London: Mcmillan, 2006. Craig, Edward. Encyclopedia of Philosophy, New York: Routledye, 1998. Geuss, Raymond. Habermus and the Frakfurt School. Cambridge: Cambridge U. Press, 1999. Jay, Martin. A History of the Frankfurt School. Berkley: U. of California Press, 1996 Malpas, Simon. Companion to Critical Theory. London: Routledge, 2006. Morrow, Raymond. Critical Theory and Methodology. London: Sage, 1994.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 11
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
กนักเรีารศึยนทีกษาความรั บผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของ ่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพฯ
A
Study of Social Responsibility in Accordance with the Catholic School Principles: A Case Study of Students Who Completed High School Level Between B.E. 2548 and B.E. 2551 from the Our Lady of Perpetual Help School in Bangkok
บาทหลวงเทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ Rev.Thepprasit Thorsaengtham * Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese
12 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับ ความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก ของนักเรียนที่ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพฯ 2) เพือ่ ศึกษาเปรียบเทียบ ความแตกต่ า งในระดั บ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรี ย น คาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพฯ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักคำสอน ด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกไปใช้ในชีวิตประจำวันของ นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง แผนการเรียนในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายเป็นแผนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ อยู่ระดับชั้น ปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย ศึกษาในสถาบันของรัฐ และเข้าร่วมทำกิจกรรม เพื่อสังคมต่ำกว่า 6 ครั้งต่อ 1 ปีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย 2. ระดับคุณลักษณะพื้นฐานของนักเรียนแต่ละบุคคลโดยรวม อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย คือ ด้านการกล่อมเกลาทางสังคม ด้านความตระหนัก และด้านการเสริมแรงทางบวก 3. ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก โดยรวมอยู่ ใ นระดั บ สู ง เมื่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายด้ า น พบว่ า ทุ ก ด้ า น อยู่ในระดับสูง โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย คือ ด้านความรัก ด้านความรับผิดชอบ ด้านเสรีภาพ และด้านการเคารพสิทธิซึ่งกันและ กัน
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 13
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
4. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความ– รับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก คือ เพศ ความตระหนัก และการเสริมแรงทางบวก ส่วนตัวแปรที่ไม่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อ สังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก คือ แผนการเรียนในระดับชั้นมัธยม– ศึกษาตอนปลาย ระดับชั้นปีในมหาวิทยาลัย สถาบันที่กำลังศึกษา จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม (ต่อ 1 ปีการศึกษาในระดับ มหาวิทยาลัย) และการกล่อมเกลาทางสังคม คำสำคัญ : 1. โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ 2. โรงเรียนคาทอลิก Abstract
This study has three objectives: 1) to study about the levels of students’ social responsibility in line with the Catholic school principles with a case study of students, who completed high school level between B.E. 2548 and B.E. 2551 from the Our Lady of Perpetual Help School in Bangkok; 2) to compare their social responsibilities; 3) to explore problems and obstacles to apply the Catholic school principles of social responsibility with their daily lives. The research results were as the followings: 1. Most of the targeted populations were female. They have already completed high school in which most of them had the major course in science and mathema– tics. Majority of them are now state universities’ freshmen who participated in activities for society less than six times a year.
14 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
2. The basic attributes of targeted populations were found to be at high level. These basic attributes arranged in order from the highest to the lowest marks were sociali– zation, awareness and constructive reinforcement. 3. The targeted group’s level of social responsibility in line with the Catholic school principles was found to be high. There were four aspects of social responsibility arranged in order from the highest to the lowest marks as the following: loving, responsibility, liberty and mutual respect. 4. According to the hypotheses test, it was found that factors affecting social responsibility in line with the Catholic school principles were sex, awareness and the constructive reinforcement. On the other hand, factors like study program at the high school level, the students’ levels in the university, types of university they are belonging to, the regularity of students’ participation in the activities for society, and their socializations were found not to be relevant with the students’ social responsibility in line with the Catholic school principles. Keywords : 1. The Our Lady of Perpetual Help School in Bangkok 2. The Catholic School
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 15
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
คำสำคัญที่ปรากฏในบทความชิ้นนี้ เป็น คำเฉพาะที่ ใช้ ใ นศาสนาคริ ส ต์ นิ ก ายโรมั น คาทอลิ ก ดั ง นั้ น ผู้ เขี ย นจึ ง ต้ อ งคงคำสำคั ญ ตามศาสนา และตามเอกสารอ้ า งอิ ง เช่ น นั ก บวช (Religious) บาทหลวง (Priest) พระธรรมคำสอน (Catechism) ศิ ษ ย์ ข อง พระเยซูเจ้า (Disciple of Jesus) ความรัก ตามพระวรสาร (Love of the Gospel) บาปทั้ง ปวง (Sins) พระเจ้ า (God) สภา– สังคายนาวาติกันที่ 2 (Vatican Council 2) พระคริสตเจ้า (Christ) ความสำคัญของการศึกษา สภาพความเสื่ อ มถอยด้ า นคุ ณ ธรรม จริยธรรมของคนในสังคมไทยปัจจุบัน ที่เริ่ม เข้าสู่ภาวะวิกฤติขึ้นทุกขณะ ก่อให้เกิดปัญหา ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในสังคมมากมายหลาย ปัญหา ซึ่งเป็นจุดอ่อนของสังคมที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมนี ้ จะส่งผล โดยตรงต่อการพัฒนาคน และสังคมไทยใน อนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อกอบกู้วิกฤติ ด้ า นคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมให้ ดี ขึ้ น จำเป็ น ต้ อ ง อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โรงเรี ย นคาทอลิ ก เป็ น สถานที่ ใ ห้ ก าร อบรมแบบองค์รวม โดยอาศัยการซึมซาบอย่าง เป็ น ระบบเข้ าไปในวัฒนธรรม เพื่อเป็นการ
16 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ยอมรั บ คุ ณ ค่ า สู ง สุ ด ในชี วิ ต จริ ง โรงเรี ย น คาทอลิ ก พยายามทำหน้ า ที่ ใ นการปลู ก ฝั ง คุณธรรมความดีให้แก่เยาวชนตามหลักคำสอน ของศาสนาคริสต์คาทอลิกที่ได้รับความสว่าง จากพระวรสาร และการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต่อ “การท้าทาย” ซึ่งวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ นำมาเผชิ ญ กั บ ความเชื่ อ เพื่ อ ให้ เ ยาวชนได้ แสดงออกถึงความรักต่อผู้อื่น โดยการมีส่วน ร่ ว มในความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรียนคาทอลิก โรงเรียนคาทอลิกส่วนใหญ่จะมีนักบวช ชาย-หญิงเป็นคณะผูบ้ ริหาร ซึง่ มีสว่ นนำเยาวชน ให้พฒ ั นาขีดความสามารถทีจ่ ะรักอย่างสมบูรณ์ ต่อต้านความรักอย่างฉาบฉวย และช่วยเยาวชน ที่จะปิดกั้นชีวิตในสังคมที่ได้อะไรมาง่าย ๆ ใน ฐานะทีผ่ ทู้ ำวิจยั เป็นบาทหลวง ซึง่ มีสว่ นในการ อบรมจริยธรรม ศีลธรรม และสอนพระธรรม คำสอนของศาสนาคริสต์คาทอลิกให้แก่นกั เรียน ระดับมัธยมโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ จึงมีความห่วงใยต่อนักเรียนในสภาพเหตุการณ์ ปั จ จุ บั น การติ ด ตามประเมิ น ผลด้ า นความ รับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนทีจ่ บการศึกษา ไปแล้ว จะเป็นข้อมูลสำคัญทีน่ ำมาสะท้อนการ อบรมสัง่ สอนของโรงเรียนคาทอลิกว่า สามารถ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต และเป็นประโยชน์ต่อสังคมเพียงใด เพื่อเป็น แนวทางในการสร้างเยาวชนที่ดีให้แก่สังคม ต่อไป
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
ขอบเขตในการศึกษา 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา 1.1 ตัวแปรอิสระมี 8 ตัวแปร ได้แก่ เพศ แผนการเรี ย นในระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนปลาย ระดับชัน้ ปีในมหาวิทยาลัย สถาบัน ทีก่ ำลังศึกษา จำนวนครัง้ ทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรมเพือ่ สังคม (ต่อ 1 ปีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย) การกล่อมเกลาทางสังคม ความตระหนักและ การเสริมแรงทางบวก 1.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ระดับความ รับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก ซึ่ ง มี 4 ด้ า น ได้ แ ก่ เสรี ภ าพ ความรั ก ตาม พระวรสาร ความรับผิดชอบ และการเคารพสิทธิ ซึ่งกันและกัน 2. ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย การศึ ก ษาครั้ ง นี้ มุ่ ง ศึ ก ษาเฉพาะ นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียน พระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพฯ จำนวน 383 คน 3. ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาเฉพาะโรงเรียนพระมารดานิจจา– นุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ 4. ขอบเขตด้านเวลา ศึกษาภาคเรียนที่ 1-2 ประจำปีการ– ศึกษา 2552
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม หมายถึ ง คุณธรรมที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งควบคุมพฤติ– กรรม ทำให้สามารถมองเห็นว่าอะไรเป็นสิ่งพึง ปรารถนาของคนกลุ่ ม ใหญ่ และพร้ อ มที่ จ ะ กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขต่อสังคมส่วนรวม เมื่อมีเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมมากระตุ้น สังคม หมายถึง มนุษย์และสิ่งแวดล้อม ที่นักเรียนได้มีความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน โรงเรียนคาทอลิก หมายถึง โรงเรียนที่ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของศาสนาคริสต์ คาทอลิ ก รวมถึ ง โรงเรี ย นที่ อ ยู่ ใ นเครื อ ข่ า ย คาทอลิก ความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรง– เรี ย นคาทอลิ ก หมายถึ ง พฤติ ก รรมความ รับผิดชอบที่มากกว่า ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ บุคคลนัน้ กระทำ และยังหมายถึง ความรับผิด– ชอบชัว่ ดีตอ่ ส่วนรวม สังคม ชุมชนและประเทศ ชาติ เพื่อรังสรรค์ความเจริญ ความดีงาม และ ความรุ่งเรืองให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใน 4 ด้าน คือ เสรีภาพ ความรักตามพระวรสาร ความรับผิดชอบและการเคารพสิทธิซ่งึ กันและ กัน นักเรียน หมายถึง ผูท้ จ่ี บการศึกษาระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 25482551 โรงเรี ย นพระมารดานิ จ จานุ เ คราะห์ กรุงเทพฯ ทั้ง 3 แผนการเรียน คือ วิทย์-คณิต คณิต-อังกฤษ และอังกฤษ-ฝรั่งเศส
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 17
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
เสรีภาพ หมายถึง การเกี่ยวข้องกับการ เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ทำให้พบความจริง และความจริงจะทำให้เป็นอิสระ ซึ่งให้ผลใน 4 ด้าน คือ การเป็นอิสระจากความกลัว การ เป็นอิสระจากตนเอง การเป็นอิสระจากผู้อื่น และการเป็นอิสระจากบาปทั้งปวง ความรักตามพระวรสาร หมายถึง นิสัย ที่พระเจ้าทรงโปรดให้ซึมซาบในตัวเรา เพื่อ โน้มนำน้ำใจของเราให้รกั พระเจ้าเหนือสิง่ อืน่ ใด เพราะเห็นแก่พระองค์เองและรักมนุษย์เพราะ เห็นแก่พระเจ้า ดังนัน้ ความรักตามพระวรสาร จึงหมายถึง รักพระเจ้าเหนือสิ่งอื่นใด และรัก เพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ความรับผิดชอบ หมายถึง พันธกิจของ การดำรงชีวติ ตามธรรมชาติ ซึง่ ก่อกำเนิดหน้าที่ ใน 3 ด้าน คือ หน้าที่ต่อพระเจ้า หน้าที่ต่อ ตนเอง และหน้าที่ต่อผู้อื่น การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน หมายถึง ความยุ ติ ธ รรมในการตั ด สิ น ในการซื้ อ ขาย ความยุตธิ รรมต่อคนยากจน ต่อเด็กกำพร้าและ สตรีที่ถูกทอดทิ้ง และต่อคนรับใช้ การกล่อมเกลาทางสังคม หมายถึง การ เรียนรู้แบบแผนพฤติกรรมกฎเกณฑ์ โดยการ อบรม สั่งสอน ปลูกฝัง และฝึกฝน จากคณะ นักบวช ผู้บริหาร และคณะครูโรงเรียนพระ– มารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ ความตระหนัก หมายถึง การให้ความ
18 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สำคัญในความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก โรงเรียนคาทอลิก ในด้านเสรีภาพ ความรักตาม พระวรสาร ความรับผิดชอบ และการเคารพ สิทธิซึ่งกันและกันมากน้อยเพียงใด การเสริมแรงทางบวก หมายถึง การทำ ให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวกมีมากขึ้น เพื่อปฏิบัติ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรี ย น คาทอลิก ในด้านเสรีภาพ ความรักตามพระ– วรสาร ความรับผิดชอบ และการเคารพสิทธิ ซึง่ กันและกัน โดยเสริมแรงตนเองจากความเชือ่ และคุณธรรม และการเสริมแรงจากผู้อ่นื โดย ได้รบั การยอมรับและความรักเป็นสิง่ ตอบแทน วิธีดำเนินการศึกษา งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในรูปแบบของ การวิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณที่ เ สริ ม ด้ ว ยการวิ จั ย เชิ ง คุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มาก ยิ่ ง ขึ้ น กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใช้ ใ นการศึ ก ษา คื อ นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียน พระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ จำนวน 198 คน โดยการสุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม และแนวประเด็นสำหรับการสัมภาษณ์เจาะลึก 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ สมมติฐาน โดยใช้ t-test และ F-test
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
ผลการทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานที ่ 1 นักเรียนที่มีเพศแตกต่าง กัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกแตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบ ต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตกต่าง กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ .05 เป็น การยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์สว่ นใหญ่มคี วามคิดเห็นว่า ผูห้ ญิง และผูช้ ายมีความเท่าเทียมกันในการรับผิดชอบ ต่อสังคม แต่มคี วามแตกต่างกันในบทบาทและ หน้าที่ รวมถึงสถานภาพที่ผู้หญิงและผู้ชายพึง จะมีในคุณลักษณะที่แตกต่างกัน สมมติฐานที ่ 2 นักเรียนทีม่ แี ผนการเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกแตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนที่มีแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยม– ศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบ ต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรี ย นคาทอลิ ก ไม่ แ ตก ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ส่ ว นใหญ่ มี ค วามคิ ด เห็ น ว่ า
หลั ง จากจบการศึ ก ษาระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนปลายในแผนการเรียนต่าง ๆ ไปแล้ว ไม่ว่า แผนการเรียนใดก็ตาม สิ่งที่นำไปใช้กับบุคคล อื่ น ในสั ง คม เพื่ อ แสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกในด้านต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน โดยให้ความคิดเห็นว่า โรงเรียน คาทอลิ ก อบรมสั่ ง สอนให้ นั ก เรี ย นเป็ น คนดี มีคุณธรรมเข้ากับสังคมอื่นได้ง่าย สามารถเป็น แบบอย่าง และช่วยเหลือผู้อื่นได้ โดยการรู้จัก ให้ความรักแก่ผู้อื่น การให้อภัย และการใช้ ชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข สมมติฐานที่ 3 นักเรียนที่มีระดับชั้นปี ในมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบ ต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตกต่าง กัน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า นั ก เรี ย นที่ มี ร ะดั บ ชั้ น ปี ใ นมหาวิ ท ยาลั ย แตก ต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก โรงเรียนคาทอลิกไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นการปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การ เรียนในมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นปี ใดก็ตาม มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบ ต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรี ย นคาทอลิ ก ไม่ แ ตก ต่างกัน ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์สว่ นใหญ่ แสดงความเห็น
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 19
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
ว่า การปฏิบัติที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ที่ปฏิบัติเป็นประจำเสมอ ๆ ในเวลา ที่ อ ยู่ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย คื อ การรั ก ษาความ สะอาดและสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน และการเคารพกฎของมหาวิทยาลัย สมมติ ฐ านที่ 4 นั ก เรี ย นที่ มี ส ถาบั น ที่ กำลังศึกษาแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อ สังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนที่มีสถาบันที่กำลังศึกษาแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 เป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ส่ ว นใหญ่ มี ค วามคิ ด เห็ น ว่ า ครอบครั ว และบุ ค คลรอบข้ า ง ครู เพื่ อ น ๆ และโรงเรียน มีผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ของตนเอง ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์บางคนบอกว่า ชีวิตในมหาวิทยาลัยที่แตกต่างไปจากโรงเรียน มีผลสำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะ เป็นมหาวิทยาลัยใดก็ตาม สมมติฐานที่ 5 นักเรียนที่มีจำนวนครั้ง ทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรมเพือ่ สังคม (ต่อ 1 ปีการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย) แตกต่างกัน มีความ รับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก แตกต่างกัน
20 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนที่มีจำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อ สังคม (ต่อ 1 ปีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย) แตกต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตาม หลักโรงเรียนคาทอลิกไม่แตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ .05 เป็นการปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ส่ ว นใหญ่ มี ค วามคิ ด เห็ น ว่ า กิจกรรมทางสังคมที่มีโอกาสเข้าร่วมมากที่สุด คือ การบริจาคสิ่งของช่วยผู้ยากไร้ และด้อย โอกาส การทำความสะอาดบริเวณสาธารณะ ซึ่งจำนวนครั้งที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มี ความสั ม พั น ธ์ กั บ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม เพราะจิตสำนึกที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เช่น การบริจาคสิ่งของช่วยผู้ยากไร้หรือการบำเพ็ญ ประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม สิง่ เหล่านีข้ น้ึ อยูก่ บั ปัจจัย สิ่งแวดล้อมที่จะมีผลมากกว่าจำนวนครั้งที่เข้า ร่วมกิจกรรม สมมติฐานที่ 6 นักเรียนที่มีระดับการ กล่อมเกลาทางสังคมแตกต่างกัน มีความรับ ผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ พบว่า นั ก เรี ย นที่ มี ร ะดั บ การกล่ อ มเกลาทางสั ง คม แตกต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก โรงเรียนคาทอลิกไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัย–
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นการปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดย ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน กับผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ซึ่งผลการวิเคราะห์ ข้อมูล พบว่า เป็นกลุม่ ทีม่ รี ะดับการกล่อมเกลา ทางสังคมอยู่ในกลุ่มปานกลาง และกลุ่มสูง ซึ่ง มีการขัดเกลาทางสังคมใกล้เคียงกัน ดังนั้น ความรั บ ผิ ด ชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกของกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้จงึ ไม่แตกต่าง กัน โดยผลของการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะระบุ บทบาทของตนเองในสังคมใกล้เคียงกัน คือ มี ความรั บ ผิ ด ชอบ รู้ จั ก หน้ า ที่ ข องตนเอง มี คุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดี และช่วย เหลือสังคม สมมติฐานที่ 7 นักเรียนที่มีระดับความ ตระหนั ก แตกต่ า งกั น มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนที่มีระดับความตระหนักแตกต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกแตกต่างกัน อย่างมีนยั สำคัญทางสถิติ ทีร่ ะดับ .05 และ .01 เป็นการยอมรับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ความ ตระหนักหมายถึง ความคิด ไตร่ตรองทีร่ วู้ า่ อะไร
ควรทำ ไม่ควรทำ ซึ่งจะส่งผลต่อความรับผิด ชอบต่อสังคม คือ รู้ว่าควรทำอะไรเพื่อสังคม เพื่ อ ให้ สั ง คมเกิ ด ความสงบสุ ข และไม่ ส ร้ า ง ความเดือดร้อนให้กับสังคม นอกจากนี้ ผู้ให้ สัมภาษณ์สว่ นใหญ่ยงั มีความเห็นว่า การเลีย้ งดู ตัง้ แต่เล็กจนโตการอบรมสัง่ สอนจากครอบครัว โรงเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้ความตระหนักต่อความรับผิดชอบต่อ สังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตกต่างกัน สมมติฐานที่ 8 นักเรียนที่มีระดับการ เสริมแรงทางบวกแตกต่างกัน มีความรับผิด ชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตก ต่างกัน ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนทีม่ รี ะดับการเสริมแรงทางบวกแตกต่าง กั น มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรียนคาทอลิกแตกต่างกัน อย่างมีนยั สำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นการยอมรับสมมติ– ฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า คว รมีการเสริมแรงทางบวกสำหรับผู้ที่มีความรับ ผิดชอบต่อสังคม โดยวิธีการชมเชย ให้กำลังใจ ยกย่อง และมีการส่งเสริมให้กระทำความดี ต่อไป นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ยังมีความเห็น ว่า การเสริมแรงทางบวกจะก่อให้เกิดความรูส้ กึ อยากรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพราะได้รับ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 21
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
การยอมรับจากผู้อื่น เป็นการส่งเสริมให้ทำ ความดีให้มากยิ่ง ๆ ขึ้น อภิปรายผลการศึกษา การศึกษาเรือ่ งการศึกษาความรับผิดชอบ ต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรี ย นคาทอลิ ก ของ นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียน พระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ ผู้วิจัย ขอนำเสนอการอภิ ป รายผลการศึ ก ษา โดย เรี ย งลำดั บ ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการศึ ก ษา ดังนี้ 1. ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมตาม หลักโรงเรียนคาทอลิกของกลุ่มตัวอย่าง ระดั บ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมตาม หลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการ ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการ ศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจา– นุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ พบว่า โดยรวมอยู่ใน ระดับสูง และเมือ่ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้ า นเสรี ภ าพ ด้ า นความรั ก ตามพระวรสาร ด้านความรับผิดชอบ และด้านการเคารพสิทธิ ซึ่งกันและกันก็อยู่ในระดับสูงเหมือนกัน เนื่อง จากโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ได้จัด การศึกษา โดยยึดปรัชญาการศึกษาคาทอลิก (สภาสังคายนาวาติกันที่ 2, 2512: 199-216) ที่ว่า การอบรมมีความสำคัญยิ่งยวดในชีวิต
22 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
มนุษย์ และมีอิทธิพลต่อความเจริญพัฒนาของ สังคม มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ฐานะ และอายุอย่างไรย่อมมีสิทธิที่จะรับการอบรมที่ ตรงกับจุดหมายเฉพาะของตนเข้ากับอุปนิสัย ของตน โรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพัฒนา สมรรถภาพทางสติปัญญา ฝึกหัดการพิจารณา ไตร่ตรอง ส่งเสริมจิตใจให้มีความเข้าใจอันดี ต่ อ กั น ดั ง นั้ น หน้ า ที่ ข องครู คื อ การรั บ ใช้ สั ง คมอย่ า งแท้ จ ริ ง เพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นบรรลุ ถึ ง ความสมบูรณ์ในทุกมิติ (Holistic) โรงเรียน คาทอลิกจึงต้องปรับตัวให้เหมาะสม เข้ากับ สภาพแวดล้ อ มของยุ ค สมั ย ที่ ก ำลั ง ก้ า วหน้ า อบรมนักเรียนให้ทำงานของตนอย่างมีประ– สิทธิภาพ เพือ่ ประโยชน์ของประเทศชาติ และ พั ฒ นาอาณาจั ก รของพระเจ้ า โดยมุ่ ง สร้ า ง บรรยากาศอันมีชีวิตชีวาด้วยจิตตารมณ์แห่ง เสรีภาพ และความรักตามพระวรสาร ดังนิยาม ความรักของนักบุญเปาโลที่ว่า “ความรักย่อม อดทน มีใจเอื้อเฟื้อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวดตนเอง ไม่ยินดีในความชั่ว แต่ร่วมยินดีในความถูกต้อง ความรั ก ให้ อ ภั ย ทุ ก อย่ า ง เชื่ อ ทุ ก อย่ า งหวั ง ทุกอย่าง อดทนทุกอย่าง ความรักไม่มีสิ้นสุด” (1คร 13: 1-8) รวมทัง้ โรงเรียนคาทอลิกยังได้ เน้นย้ำให้เด็กและเยาวชนรู้จักความรับผิดชอบ ส่วนตัว และส่วนรวมตามวัย และภาวะของ แต่ละคน เน้นการปฏิบตั ิ และการปลูกฝังค่านิยม ของการเคารพสิทธิซง่ึ กันและกัน ความยุตธิ รรม และความเสมอภาค
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์มกี าร จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึ ง ระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 นั ก เรี ย น ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาเล่าเรียนใน โรงเรียนประมาณ 15 ปี ในบรรยากาศของ การศึกษาคาทอลิก ซึ่งมีการปลูกฝังความรับ ผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกให้ มีความตระหนัก และได้รับการเสริมแรงทาง บวกตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ โดยการฝึกให้ปฏิบัติ จริงในช่วงเวลาที่ยาวนานนี้ ทำให้ความรับผิด ชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกในด้าน เสรีภาพ ด้านความรักตามพระวรสาร ด้าน ความรับผิดชอบ และด้านการเคารพสิทธิซึ่ง กันและกันเกิดขึ้นในตัวนักเรียนในระดับสูง 2. ตัวแปรที่มีผลต่อระดับความรับผิด ชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของ กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่มีผลต่อระดับความรับผิดชอบ ต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียน ทีจ่ บการศึกษาระดับชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดา นิจจานุเคราะห์กรุงเทพฯ พบว่า เพศที่แตก ต่างกัน ระดับความความตระหนักทีแ่ ตกต่างกัน และระดับการเสริมแรงทางบวกที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้นักเรียนมีระดับความรับผิดชอบ ต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกแตกต่าง กัน
คุณลักษณะเฉพาะของโรงเรียนคาทอลิก คือ มุง่ สร้างให้ประชาคมในโรงเรียนเกิดบรรยา– กาศอันมีชีวิตชีวาแห่งเสรีภาพ และความรัก ตามแบบอย่างพระคริสตเจ้า มุ่งช่วยให้คนรุ่น หนุ่มสาวได้พัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อประโยชน์ ของประเทศบ้านเมืองในโลก กระบวนการศึกษา จะต้องเหมาะกับแต่ละคน ต้องเคารพในเสรี– ภาพ และสร้ า งเสริ ม ความรั บ ผิ ด ชอบส่ ว น บุคคล ซึ่งต้องปรับให้เหมาะกับความสามารถ เพศ วั ย วั ฒ นธรรม และเชื้ อ ชาติ (สภา– สังคายนาวาติกันที่ 2, 2512: 199-216) Freud (1967: 26-29) ได้ให้ข้อคิดว่า การพัฒนาบุคลิกภาพของคนในช่วงชีวิตตอน ต้น จะส่งผลต่อบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ การ ขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการปฏิสงั สรรค์ ทีม่ ผี ลต่อพฤติกรรมของบุคคล รวมทัง้ Erikson (1960) ได้ ก ล่ า วถึ ง การขั ด เกลาโดยตรง (Direct Socialization) เป็นวิธีบอกให้ปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ของสังคม บอกให้รวู้ า่ อะไรควรทำ อะไรไม่ ค วรทำ อะไรผิ ด อะไรถู ก เป็ น การ ชีแ้ นวทางในการปฏิบตั ิ เพือ่ ให้แสดงออกอย่าง เหมาะสมตามสถานภาพของตน ซึ่งโรงเรียน คาทอลิ ก ได้ อ บรมนั ก เรี ย นอย่ า งสม่ ำ เสมอ ประกอบกับลักษณะในสังคมไทยที่ว่า เพศที่ แตกต่างกัน การแสดงออกอย่างเหมาะสมก็ แตกต่างกันด้วย ดังนัน้ โรงเรียนนอกจากจะให้ วิชาความรู้ ฝึกระเบียบวินัย ได้สมาคมกับคน
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 23
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
จำนวนมากในลักษณะต่าง ๆ กันแล้ว ยังเป็น แหล่งทีจ่ ะพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในช่วงเวลา ที่ยาวนานพอสมควร โดยเฉพาะโรงเรียนพระ มารดานิจจานุเคราะห์ ซึง่ เป็นโรงเรียนคาทอลิก ให้ ก ารอบรมที่ เ น้ น ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ทำให้ ลักษณะธรรมชาติของเพศที่แตกต่างกัน การ ให้การอบรมจึงต้องแตกต่างกัน เพือ่ ตอบสนอง ลักษณะธรรมชาติเหล่านี้ จึงอาจจะส่งผลให้ ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกแตกต่างกันไปด้วย ปั จ จั ย ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความตระหนั ก มี 3 ประการ คือ ความเข้าใจ อารมณ์ความรู้สึก และพฤติ ก รรม ความตระหนั ก คื อ การที่ บุคคลฉุกคิดได้ เป็นความรู้สึกของสภาวะจิต (ประภาเพ็ญ สุวรรณ, 2520: 14) โดยพื้นฐาน จิตใจของแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของ ครอบครั ว และสิ่ ง แวดล้ อ ม สภาการศึ ก ษา คาทอลิกแห่งประเทศไทยได้เน้นย้ำให้เด็กและ เยาวชนรู้จักความรับผิดชอบส่วนตัว และส่วน รวมตามวัย และภาวะของแต่ละคน นอกจากนี้ ยังเน้นการปฏิบัติ และการปลูกฝังค่านิยมของ การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ความยุติธรรม ความรัก และความเสมอภาคที่ไม่อาจตัดสิน ได้ด้วยกฎหมายเพียงอย่างเดียว เพราะความ เข้าใจ และอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน จะ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกแตกต่างกัน
24 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ดังนัน้ จึงเป็นไปได้วา่ นักเรียนทีม่ รี ะดับความ– ตระหนักทีแ่ ตกต่างกัน เพราะพืน้ ฐานครอบครัว และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน จึงมีระดับความ– รับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกันด้วย โรงเรียนคาทอลิกเป็นสถาบันการศึกษา ที่มีวัตถุประสงค์ให้การอบรมสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดาให้เป็นบุคคลที่บรรลุถึงความสมบูรณ์ ปลูกฝังค่านิยมด้านจิตใจให้มีจริยธรรม และ คุณธรรม มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และผนึกกำลังกันรับผิด ชอบ เพื่อความดีของส่วนรวม มีความรัก และ กตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ และต่อสถาบัน ของตน ซึ่งการปลูกฝังคุณสมบัติดังกล่าวมานี้ ได้นำการเสริมแรงทางบวกมาใช้ โดยยึดพระ วาจาเกี่ยวกับคำสัญญา และรางวัลสำหรับผู้ รั ก ษาความยุ ติ ธ รรม ดั ง ที่ ส มโภชน์ เอี่ ย ม– สุภาษิต (2530: 284) ได้กล่าวถึงความหมาย ของการเสริมแรงทางบวก (Positive Rein– forcer) และตัวเสริมแรงทางบวกว่า การเสริม แรงทางบวกเป็นการทำให้ความถีข่ องการแสดง พฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการ ได้รบั ผลทีพ่ งึ พอใจหลังจากการแสดงพฤติกรรม นั้น และตัวเสริมแรงทางบวกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัวเสริมแรงที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข แต่มอี ทิ ธิพลโดยตรง เช่น อาหาร เวลาพักผ่อน ความเจ็บปวด ประเภทที่สอง คือ ตัวเสริมแรง ที่ใช้กับตัวเสริม อื่น ๆ เช่น เงิน คะแนน การ
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
ยอมรับ การชมเชย ดังนั้น ประสิทธิภาพของ ตัวเสริมแรงจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่าง บุคคล และความต้องการชนิดของตัวเสริมแรง ในแต่ละบุคคล จึงอาจจะเป็นสาเหตุให้ระดับ การเสริมแรงทางบวกที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรง เรียนคาทอลิกแตกต่างกัน 3. ปัญหา และอุปสรรคในการนำหลัก คำสอนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก โรงเรียนคาทอลิกไปใช้ในชีวิตประจำวันของ กลุม่ ตัวอย่าง ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการนำหลั ก คำสอนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก โรงเรียนคาทอลิกไปใช้ในชีวิตประจำวันของ นักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียน พระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ ผลจาก การสัมภาษณ์พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่นำหลัก คำสอนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก โรงเรียนคาทอลิกไปใช้ในชีวิตประจำวันด้าน สิ่งแวดล้อมมากที่สุด เช่น การเก็บขยะ การ รักษาความสะอาดบริเวณมหาวิทยาลัย รอง ลงมาคือ การบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ การเข้าค่ายอาสาพัฒนาชนบท การบริจาคโลหิต จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า ความรับผิดชอบ ต่อสังคมของนักเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในแวดวง ภายในมหาวิทยาลัย และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ที่มาจากมหาวิทยาลัย ซึ่งถ้าหากมีการรวมตัว กันของนักเรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ มีแกนนำก็จะ สามารถขยายวงกว้างของกิจการที่แสดงออก ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมได้มากกว่าที่เป็น อยู่ เช่น การรวมกลุ่มกันไปซ่อมแซม อาคาร สถานที่ ส าธารณะต่ า ง ๆ อาสาสมั ค รในการ ช่วยเหลือผูเ้ จ็บป่วย ผูส้ งู อายุ หรือผูอ้ พยพลีภ้ ยั เป็นต้น ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาเรื่อง การศึกษาความ รับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก ของนั ก เรี ย นที่ จ บการศึ ก ษาระดั บ ชั้ น มั ธ ยม ศึ ก ษาตอนปลาย ปี ก ารศึ ก ษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ มีประเด็น ต่าง ๆ ทีค่ วรได้รบั ความสนใจ นำมากำหนดเป็น ข้อเสนอแนะทั้งในเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. จากผลการวิจัยที่พบว่า นักเรียนเพศ หญิง และเพศชายมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตามหลั ก โรงเรี ย นคาทอลิ ก แตกต่ า งกั น จึ ง จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในประเด็นนี้ โดยเฉพาะด้านความรักตามพระวรสาร และ ด้านความรับผิดชอบ คือ โรงเรียนควรเสริม สร้างความรับผิดชอบตามหลักโรงเรียนคาทอลิก ให้แก่นักเรียนเพศชายเพิ่มมากขึ้น โดยการ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 25
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
ส่งเสริมในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จิต– อาสา รักและรับใช้ การทำงานเป็นหมู่คณะ เน้นความเป็นมนุษย์บุตรพระเจ้า โดยให้การ ปฏิบัติที่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน 2. จากผลการวิจัยที่พบว่า นักเรียนที่มี ระดับความตระหนักแตกต่างกัน มีความรับ ผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ในประเด็นนี ้ และถือเป็นนโยบายสำคัญในการ พัฒนามนุษย์ ผลการวิจัยชี้ชัดว่า หากนักเรียน ได้รบั การอบรมให้มคี วามตระหนักมาก นักเรียน จะแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมตาม หลั ก โรงเรี ย นคาทอลิ ก มาก โดยเฉพาะด้ า น ความรับผิดชอบ และด้านการเคารพสิทธิซึ่ง กันและกัน โดยโรงเรียนต้องมีวิธีการเรียนการ สอนที่บูรณาการเข้าไปในชีวิตประจำวันของ นักเรียน ปลูกฝังตัง้ แต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา ตอนปลาย เพราะความตระหนักเป็นความรูส้ กึ ที่ เ กิ ด จากสภาวะจิ ต การฉุ ก คิ ด ขึ้ น ได้ ต้ อ ง ปลูกฝังให้เป็นธรรมชาติ จนเป็นความเคยชิน ในการปฏิบัติ ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ 3. จากผลการวิจัยที่พบว่า นักเรียนที่มี ระดั บ การเสริ ม แรงทางบวกแตกต่ า งกั น มี ความรั บ ผิ ด ชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียน คาทอลิกแตกต่างกันในทุกด้าน จึงจำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในประเด็นนี้ โดย โรงเรียนควรทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์
26 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ระหว่างตัวเสริมแรงทางบวกกับระดับชั้นเรียน ของนักเรียน เพือ่ เป็นแนวทางในการเสริมสร้าง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมตามหลั ก โรงเรี ย น คาทอลิกโดยให้ตวั เสริมแรงทางบวกทีเ่ หมาะสม ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติ 1. ครูผู้สอนในวิชาต่าง ๆ ควรบูรณาการ แผนการสอนที่มีกิจกรรม ที่แสดงออกถึงการ ทำงานร่วมกันเป็นหมูค่ ณะ โดยสมาชิกในแต่ละ กลุม่ มีทง้ั เพศหญิงและเพศชาย เพือ่ ทีจ่ ะเรียนรู้ การทำงานร่วมกันกับเพศตรงข้าม โดยเฉพาะ งานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ทุ ก ฝ่ า ยของโรงเรี ย น คื อ อนุ บ าล ประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย ควรประชุม ร่วมกัน เพื่อกำหนดเป้าหมาย วิธีการ และ แนวทางปฏิบตั ทิ ช่ี ดั เจน รวมถึงการประเมินผล ตามสภาพจริงที่สามารถนำมาพัฒนานักเรียน โดยให้เป็นโครงการต่อเนือ่ ง ทีเ่ อือ้ ต่อการส่งต่อ ข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน จนจบการศึกษา จากโรงเรียน 3. โรงเรียนควรศึกษาชนิดของตัวเสริม แรงทางบวก ทีเ่ หมาะสมในแต่ละระดับชัน้ ของ นักเรียน เช่น การเสริมแรงทางสังคม (แตะตัว ยิ้ม พูดชมเชย) การทำในสิ่งที่ชอบ การใช้ดาว หรือคะแนน และการได้รบั ข้อมูลเกีย่ วกับความ ก้ า วหน้ า ของตนเอง ที่จ ะส่ ง ผลต่ อ ความรั บ ผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกใน แต่ ล ะระดั บ ชั้ น แล้ ว ทำข้ อ สรุ ป ที่ ไ ด้ ม าเป็ น
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
แนวทางจัดการศึกษาอบรม ในด้านของความ รับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิก บรรณานุกรม กระแต. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจนุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 15. 2553 (29 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. กระรอก. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจา– นุเคราะห์ ฯ รุน่ ที ่ 15. 2553 (29 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. ก่อ สวัสดิพาณิชย์. 2525. การสอนอ่านในชัน้ ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา. กาญจนา แก้วเทพ. 2527. จิตสำนึกชาวนา: ทฤษฎีและแนววิเคราะห์แบบ เศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาการพิมพ์. กำชัย ลายสมิต. 2533. เศรษฐกิจไทยใน ระบบทุนนิยมโลก. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิ่งแก้ว อัตถากร. 2524. มนุษย์ศาสตร์– ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. ไก่. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 13. 2553 (23 ตุลาคม). การสัมภาษณ์.
คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ คริสตศาสนธรรม– แผนกพระคัมภีร์. 2007. พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. ม.ป.ท. ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย. 2009. การให้การศึกษาอบรมร่วมกันในโรงเรียน คาทอลิก. อุดมสาร. 33 (6-12 กันยายน): 13. ชัยยะ กิจสวัสดิ์. ม.ป.ป. ความรัก. เอกสารประกอบการบรรยายพระคัมภีร์ ไบเบิล. . ความยุตธิ รรม. เอกสารประกอบการ บรรยายพระคัมภีร์ไบเบิล. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2541. ตำราชั้นสูง เรื่องการปรับพฤติกรรม– เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพ ฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. แตน. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 16. 2553 (29 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. นก. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 14. 2553 (25 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. 2520. ทัศนคติ: การวัดการเปลีย่ นแปลงและพฤติกรรม– อนามัย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 27
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
ปิยนุช สุวรรณทัต. 2540. วิวัฒนาการ– ของการจั ด การศึ ก ษาระดั บ ประถม– ศึกษาโดยมิชชันนารีนกิ ายโรมันคาทอลิก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เป็ด. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 13. 2553 (23 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. ผึ้ง. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 16. 2553 (29 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. พระไพศาล วิสาโล. 2535. สุขภาพวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข. มด. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 15. 2553 (29 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. แมว. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 14. 2553 (25 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ. 2553. บริบทสถานศึกษาของโรงเรียน พระมารดานิจจานุเคราะห์. ค้นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 จาก http: www.pramanda.ac.th วิทยา คู่วิรัตน์. 2544. มุมมองด้านการศึกษาคาทอลิก. นครปฐม: โรงพิมพ์วิทยาลัยแสงธรรม. 28 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2528. การศึกษาคาทอลิกใน ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สภาสังคายนาวาติกันที่ 2. 2512. คำแถลงเรื่องการอบรมด้านหลักพระ คริสตธรรม ฉบับแปล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตรีรณสาร. สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2531. มิติด้านศาสนาของการศึกษาใน โรงเรียนคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2542. โรงเรียนคาทอลิกสู่สหัสวรรษที่สาม (1998). กรุงเทพมหานคร: จูน พับลิชชิ่ง. สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2551ก. นักบวชและพันธกิจในโรงเรียน. ในอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 187-233. สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2551ข. มิติด้านศาสนาของ การศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก. ในอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 95-168.
เทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2551ค. โรงเรียนคาทอลิก. ในอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 19-56. สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2551ง. โรงเรียนคาทอลิกขณะกำลัง เข้าสู่สหัสวรรษที่สาม. ในอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 169-186. สมาคมพระคริสตธรรมไทย. 2005. พระคริสตธรรมคัมภีร์. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพ ฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ. 2543. รายงานผลการระดมความคิด กรอบ วิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 9 ระดับจังหวัดและอนุภาคทั่ว ประเทศ ในเอกสารประกอบการสัมมนา ระดมความคิดระดับชาติกรอบวิสยั ทัศน์ และทิศทางแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2543. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ– พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สีลม ไชยเผือก. 2545. คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร. กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์คาทอลิกประเทศไทย. หงส์. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 14. 2553 (25 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. หนู. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 13. 2553 (23 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. หมี. ศิษย์เก่าร.ร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ ฯ รุ่นที่ 16. 2553 (29 ตุลาคม). การสัมภาษณ์. เอกชัย ชิณโคตร. 2551. การศึกษาคาทอลิก: Utopia or Reality วัฒนธรรม องค์การของโรงเรียนคาทอลิก ในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. Barclay, W. 1975a. The Gospel of John: Volume 2. 2000. Rev. ed. The Daily Study Bible Series. Philadelphia: The Westminster Press.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 29
การศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักโรงเรียนคาทอลิกของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548-2551 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ กรุงเทพ ฯ
Barclay, W. 1975b. The Gospel of Mathew: Volume 2. 2000. Rev. ed. The Daily Study Bible Series. Philadelphia: The Westminster Press. Erikson, Erik H. 1960. Identity Youth and Crisis. New York: W.W. Norton and Company. Eysenck, H.J.; Arnold, W. and Meili, Richard. 1972. Awareness. In Encyclopedia of Psychology. Vol. 1. London: Search Press. Pp. 356-357.
30 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Fox, James J. 1909. Duty. In The Catholic Encyclopedia. Volume V. New York: Robert Appleton Company. Pp. 7-8. Freud, Sigmund. 1967. An Outline of Psychoanalysis. An Theorized Translation by Jame Strachey. Rev. ed. New York: Liverright Pub. Wolman, Benjamin B. 1975.
อุปมาของพระเยซูเจ้า :
มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวติ
T he Parables of Jesus : Love Criterions in Simplicities of Life
มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลอุดรธานี * อาจารย์ประจำ คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม * ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี บาทหลวงธรรมรัตน์ เรือนงาม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี * อาจารย์ประจำ คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวงปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลราชบุรี Bishop Dr.LueChai Thatwisai * Reverend in Roman Catholic Church, Udonthani Diocese. * Lecturer at Saengtham College. * Bishop of Udonthani Diocese. Rev.Thamarat Ruanngam * Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * Lecturer at Saengtham College. Rev. Pitisak Pongjirapan * Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese.
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
บทคัดย่อ
งานวิจยั ฉบับนีม้ วี ตั ถุประสงค์ เพือ่ ศึกษาความหมายและเอกลักษณ์ ของอุปมาของพระเยซูเจ้า รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวยิว ทั้งทางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรมและความเชื่อที่พบในอุปมาของพระเยซูเจ้า และ รูปแบบของความรักในความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าและต่อเพื่อน มนุษย์ผา่ นทางอุปมาของพระเยซูเจ้า ทัง้ นี ้ เพือ่ เป็นแนวทางในการเทศน์ สอนเทววิทยาแบบชาวบ้านให้คริสตชนสามารถเข้าใจและสัมผัสความรัก ของพระเจ้าได้ในชีวิตประจำวัน จากการศึกษาพบว่า พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนบรรดาศิษย์และ ประชาชนด้วยอุปมาโดยทรงหยิบยกเรือ่ งราวต่าง ๆ ในชีวติ ประจำวันของ ผู้ฟังมาให้ความหมายใหม่เพื่อนำผู้ฟังไปสู่คุณค่าแห่งพระอาณาจักร สวรรค์ ผ่ า นทางอุ ป มาแต่ ล ะเรื่ อ งของพระองค์ พระเยซู เจ้ า ทรงให้ ความหมายของบัญญัติแห่งความรักที่ซ่อนอยู่ในความเรียบง่ายของ ชีวติ เช่น การชิดสนิทกับพระเจ้า การกลับใจอย่างแท้จริง การพากเพียร ภาวนา การแสดงความรักด้วยเมตตากิจต่อเพื่อนมนุษย์ การให้อภัย ซึ่งกันและกัน การภาวนาเพื่อศัตรู การรับใช้ซึ่งกันและกัน ฯลฯ ทั้ง นี้ มีม าตรฐานแห่ ง ความรั ก สองประการที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรง เรียกร้องจากคริสตชน มาตรฐานแรกคือจงรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง และมาตรฐานที่สองคือจงรักกันและกันเหมือนที่พระองค์ทรงรักเรา นอกจากนี้ อุ ป มาของพระเยซู เ จ้ า ยั ง ทรงคุ ณ ค่ า อยู่ เ สมอและให้ ความหมายสำหรับชีวิตคริสตชนในการดำเนินชีวิตประจำวันตามบริบท ทางสังคมและวัฒนธรรมของเราได้อย่างปราศจากขอบเขตของกาลเวลา ดังนั้น คริสตชนผู้ได้รับการเจิมโดยองค์พระจิตเจ้าให้เลียนแบบ อย่ า งชี วิ ต ของพระคริ ส ตเจ้ า และมี ส่ ว นร่ ว มในพั น ธกิ จ ของพระองค์ จึงต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ในการดำเนินชีวิตประจำวันไม่ว่าในสังคมเมือง หรือชนบท ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด ๆ พระเจ้าทรงวางโอกาสให้เราได้ เป็นพยานถึงความรักของพระองค์ท่ามกลางพี่น้องต่างความเชื่อ และ
32 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
เรามีหน้าที่ต้องใช้ โ อกาสนั้ น ในการประกาศข่ า วดี แ ห่ ง ความรั ก ของ พระเจ้าในชีวิตของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสดงออกด้วยกิจการ แห่งความรักดังที่พระเยซูเจ้าทรงวางแบบอย่างให้กับเราด้วยพระวาจา และพระชนมชีพของพระองค์ Abstract
คำสำคัญ : 1) อุปมาของพระเยซูเจ้า 2) มาตรฐานแห่งความรัก 3) ความเรียบง่ายของชีวิต
The objectives of this thesis are studying of the meaning and the identification of the parables of Jesus including the social, political, traditional and religious ways of Jewish life that we can find in the parables of Jesus. Moreover, I also studied of the varied forms of love in the human relationships through the parables of Jesus. in order to offer me the ways of simple theological preaching that Christians can understand and touch the love of God in their daily lives easily. The thesis told me that Jesus taught His disciples and people with the parables to which He gave the new mean– ings to the usual experiences of His listeners in order to lead them to the understanding of the Kingdom of God. Through each parable, Jesus offered us the values of the law of love in the simplicities of life such as Abba experiences, true con– version, diligent praying, love activities, forgiveness, praying for the enemies, serving one another, etc.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 33
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
There are two criteria of love that Jesus required Christians to illustrate concretely. The first is to love the others asone’s own self and the second is to love one another as He has loved us. Moreover, eternally, the parables of Jesus have been valuable and give the mean– ings of Christian life in the varied social and traditional contexts with the unlimited time. So, Christians who, by the Holy Spirit, are appointed to imitate Jesus and co-operate His works in this world, usually have to be aware of having many opportunities to be the witness of God’s love among the unbelievers in daily life. They are required to use the varied opportunities to proclaim Good News of God’s love especially, through love activities as Jesus has already given us the best model.
Keywords : 1) The Parables of Jesus 2) The Criteria of Love 3) The Simplicity of Life
34 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
1. บทนำ 1.1 ความเป็ น มาและความสำคั ญ ของ ปัญหา คริสต์ศาสนาเป็นหนึง่ ในบรรดาศาสนา ที่ทรงอิทธิพลที่สุดต่อจิตใจของมนุษยชาติมา นับสองพันปี คำสอนทั้ ง หมดของคริ ส ต์ ศ าสนามา จากพระคัมภีร ์ ธรรมประเพณี และอำนาจสอน ของพระศาสนจักร อย่างไรก็ตาม แม้ประชาชน ทั่วไปจะไม่สามารถจดจำเรื่องราวและคำสอน ทั้งหมดในพระคัมภีร์ได้ แต่อย่างน้อย พวกเขา สามารถจดจำอุปมาของพระเยซูเจ้าได้ เหตุใด จึงเป็นเช่นนั้น เมื่อเป็นเด็ก เรามักชอบฟังนิทานที่มี คุณธรรมสอนใจ ธรรมชาตินย้ี งั คงมีอยูใ่ นความ เป็นมนุษย์ของเราทุกคน และดังนี้ เมื่อได้ฟัง อุปมาของพระเยซูเจ้า เราจึงสามารถจดจำ เนื้อหาที่มีลักษณะคล้ายนิทานและมีตัวละคร ดำเนินเรื่องที่ให้ข้อคิดและบทสอนใจได้เป็น อย่างดี อย่างไรก็ตาม อุปมาของพระเยซูเจ้าไม่ เพียงสะท้อนคุณค่าในการอยู่ร่วมกันของชีวิต มนุษย์เท่านั้น เพราะที่พิเศษกว่านั้นคือ อุปมา ของพระองค์สามารถนำพาชีวิตของเราขึ้นไป สัมผัสกับความรักของพระเจ้าได้ นักบุญมัทธิวได้บันทึกไว้ในพระวรสาร ของท่านว่า พระเยซูเจ้าตรัสเรื่องทั้งหมดนี้แก่ ประชาชนเป็นอุปมา พระองค์ไม่ตรัสสิ่งใดกับ
เขาโดยไม่ใช้อุปมา ทั้งนี้ เพื่อให้พระดำรัสที่ ตรัสไว้ทางประกาศกเป็นความจริงว่า “เราจะ เปิดปากกล่าวเป็นอุปมา เราจะกล่าวเรื่องที่ยัง ไม่เคยเปิดเผยตั้งแต่สร้างโลก” (มัทธิว 13:3435) ผู้ที่ให้ความสำคัญในการอ่านและศึกษา พระคั ม ภี ร์ ไ บเบิ้ ล อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง คงไม่ มี ใ คร ปฏิเสธว่าวิธีการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าช่าง แยบยลและน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก เพราะอุปมา ของพระเยซูเจ้าทรงคุณค่าและให้ความหมาย สำหรับชีวิตมนุษย์เสมอโดยปราศจากเงื่อนไข ของกาลเวลา ข้อสรุปนี้กล่าวเกินจริงหรือไม่ ในสภาพสังคมปัจจุบันที่ความรักกำลัง กลายเป็นเพียงนามธรรมทีล่ อ่ งลอยอยูใ่ นอุดม– คติของมนุษย์ทุกชนชั้น คริสตชนถูกเรียกร้อง ให้รกั เหมือนทีพ่ ระบิดาเจ้าทรงรักโลกอย่างเป็น รูปธรรม นัน่ คือการประทานพระบุตรหนึง่ เดียว ลงมารับเอากายเป็นมนุษย์และสิ้นพระชนม์ เพื่อเรา พระบุตรพระองค์เดียวนี้คือพระเยซู– คริสตเจ้าผู้ทรงนำบัญญัติใหม่มาให้โลก คือ บัญญัติแห่งความรัก และคำสอนเรื่องความรัก นี้เองที่พระองค์ทรงนำเสนอให้แก่ประชาชน ในรูปแบบของอุปมา การอธิบายคำสอนทาง เทววิทยาของพระเยซูเจ้าไม่เหมือนเทววิทยา ของนักบุญยอห์น นักบุญเปาโล บรรดาปิตาจารย์ หรือนักปราชญ์ของพระศาสนจักรในสมัยหลัง เพราะเทววิทยาของพระองค์เป็นเทววิทยาแบบ ชาวบ้านที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 35
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
นอกจากนี้ ยังนำเสนอบทสอนเกี่ยวกับคุณค่า แห่ ง ความรั ก ที่ ห ลากหลายซึ่ ง ซุ ก ซ่ อ นอยู่ ใ น อุปมาเรื่องต่าง ๆ ของพระองค์ และสามารถ อธิบายเพื่อให้คุณค่าสำหรับชีวิตมนุษย์ได้ใน ทุกยุคทุกสมัยอีกด้วย และดังนี ้ เพือ่ ให้คริสตชนได้พบคำตอบ ของคำถามที่ว่า ทุกครั้งที่เรารับฟังอุปมาของ พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเรียกร้องให้เราดำเนิน ชีวติ ตามมาตรฐานของความรักอย่างไร ข้าพเจ้า จึงปรารถนาจะศึกษาอุปมาของพระเยซูเจ้า ให้ลึกซึ้งมากขึ้นในประเด็นที่เกี่ยวกับคุณค่า แห่ ง ความรั ก ตามมาตรฐานที่ คริ ส ตชนถู ก เรียกร้องให้มีเพื่อจะมุ่งไปสู่การ “เป็น” อย่าง พระคริสตเจ้า และเพื่อให้การศึกษานี้เป็นแนว ทางในการเทศน์สอนเทววิทยาแบบชาวบ้าน ให้คริสตชนสามารถเข้าใจและสัมผัสความรัก ของพระเจ้าได้ผ่านทางสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิต ประจำวัน 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษาความหมายและเอก– ลักษณ์ของอุปมาของพระเยซูเจ้า 1.2.2 เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวยิว ทั้ง ทางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรมและความ เชื่อที่พบในอุปมาของพระเยซูเจ้า 1.2.3 เพื่อศึกษารูปแบบของความรัก ในความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าและต่อ เพื่อนมนุษย์ผ่านทางอุปมาของพระเยซูเจ้า 36 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1.2.4 เพื่อเป็นแนวทางในการเทศน์ สอนเทววิทยาแบบชาวบ้านให้คริสตชนสามารถ เข้าใจและสัมผัสความรักของพระเจ้าได้ในชีวิต ประจำวัน 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.3.1 มีความเข้าใจถึงความหมายและ เอกลักษณ์ของอุปมาของพระเยซูเจ้ามากขึ้น 1.3.2 มีความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาว ยิว ทัง้ ทางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรมและ ความเชื่อที่พบในอุปมาของพระเยซูเจ้า 1.3.3 มีความเข้าใจในรูปแบบของความ รักในความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าและ ต่อเพื่อนมนุษย์ผ่านทางอุปมาของพระเยซูเจ้า 1.3.4 มี แ นวทางในการเทศน์ ส อน เทววิทยาแบบชาวบ้านให้คริสตชนสามารถ เข้ า ใจและสั ม ผั ส ความรั ก ของพระเจ้ า ได้ ใ น ชีวิตประจำวัน 2. เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พระเยซู เ จ้ า ตรั ส เรื่ อ งทั้ ง หมดนี้ แ ก่ ประชาชนเป็นอุปมา พระองค์ไม่ตรัสสิ่งใดกับ เขาโดยไม่ใช้อปุ มา ทัง้ นี ้ เพือ่ ให้พระดำรัสทีต่ รัส ไว้ทางประกาศกเป็นความจริงว่า “เราจะเปิด ปากกล่าวเป็นอุปมา เราจะกล่าวเรื่องที่ยังไม่ เคยเปิดเผยตั้งแต่สร้างโลก” (มธ 13:34-35) พระวาจาที่ถูกบันทึกโดยนักบุญมัทธิวตอนนี้ ได้อ้างถึงบทเพลงสดุดีท่ ี 78 ข้อ 2 เพื่ออธิบาย
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
ถึงเหตุผลทีพ่ ระเยซูเจ้า โอรสของกษัตริยด์ าวิด ทรงเทศน์สอนเป็นอุปมา ตลอดประวัติศาสตร์ของชาวยิว มีการ สั่งสอนโดยใช้อุปมาเพื่อถ่ายทอดคำสอนของ บรรพบุรุษ ซึ่งบรรดาอาจารย์ทั้งหลายนิยมใช้ ในการสอนให้เห็นความจริงตามที่ต้องการได้ ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม อุปมาปรากฏใน หนังสือหลายเล่ม เช่น หนังสือซามูแอลฉบับ ทีส่ อง ภายหลังทีก่ ษัตริยด์ าวิดได้นำนางบัทเชบา มาเป็นภรรยาของพระองค์แล้ว ประกาศกนาธัน ได้มาเข้าเฝ้าและเล่าอุปมาเรื่องเศรษฐีท่ลี ะเมิด ความยุติธรรมโดยขโมยแกะเพียงตัวเดียวของ คนยากจนไปฆ่าเลี้ยงสหาย ทั้งนี้เพื่อต้องการ บอกว่ากษัตริย์ดาวิดทรงประพฤติตนเช่นเดียว กับเศรษฐีผนู้ น้ั ทันทีทก่ี ษัตริยด์ าวิดได้ฟงั อุปมา เรื่องนี้จบ พระองค์ทรงรู้สึกเสียพระทัย สำนึก ผิดและใช้โทษบาป (เทียบ 2ซมอ 12:1-4) และ ดังนี ้ เมือ่ พระเยซูเจ้าทรงใช้อปุ มาในการสัง่ สอน ประชาชน พระองค์ก็ทรงใช้วิธีการเดียวกับที่ บรรดาประกาศกในอดีตได้ใช้อย่างได้ผลมาแล้ว (เทียบ วิลเลียม บาร์คเล่ย์, 1970: 1-2) เหตุ ใ ดพระเยซู เจ้ า ทรงเทศน์ ส อนเป็ น อุปมา นักบุญมัทธิวบันทึกไว้ว่า ทั้งนี้ เพื่อให้ พระดำรัสที่ตรัสไว้ทางประกาศกเป็นความจริง ว่า “เราจะเปิดปากกล่าวเป็นอุปมา เราจะกล่าว เรื่องที่ยังไม่เคยเปิดเผยตั้งแต่สร้างโลก” (มธ 13:34-35) ส่วนพระวรสารของนักบุญมาระโก
ได้ บ รรยายถึ ง เหตุ ผ ลที่ พ ระเยซู เจ้ า ตรั ส เป็ น อุ ป มาไว้ ใ นบทที่ 4 ข้ อ 10-12 ว่ า เมื่ อ ประชาชนจากไปแล้ว อัครสาวกสิบสองคนกับ ผู้ ที่ อ ยู่ ร อบ ๆ พระองค์ ทู ล ถามเรื่ อ งอุ ป มา พระองค์ตรัสตอบว่า “พระเจ้าประทานธรรม– ล้ำลึกเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าให้ท่าน ทั้งหลายรู้ แต่สำหรับคนที่อยู่ภายนอก ทุกสิ่ง แสดงออกเป็นเพียงอุปมา ดังที่เขียนไว้ในพระ คัมภีรว์ า่ เพือ่ เขาจะมองแล้วมองเล่า แต่ไม่เห็น ฟังแล้วฟังเล่า แต่ไม่เข้าใจ มิฉะนั้นแล้วเขาคง ได้กลับใจ และพระเจ้าคงจะทรงให้อภัยเขา” (เทียบ อสย 6:9-10) จากพระวรสารตอนนี้ เกิดคำถามที่ชักชวนให้เราทำความเข้าใจอีกว่า เหตุใดการใช้อุปมาที่น่าจะสร้างความเข้าใจได้ ง่ายสำหรับผู้ฟังทั่ว ๆ ไป แต่ดูเหมือนคำตอบ ของพระเยซูเจ้าทำให้เราเข้าใจว่า พระองค์กลับ ทรงใช้อุปมาเพื่อปิดบังความจริงโดยเจตนา ความจริงทีว่ า่ นัน้ คือ ฝูงชนทีไ่ ม่เชือ่ จะถูกลงโทษ เพราะความไม่เชื่อของพวกเขาเอง สำหรั บ นั ก บุ ญ มาระโก ความจริ ง อี ก ประการหนึ่งก็คือ ความลับของอาณาจักรของ พระเจ้ามิได้เปิดเผยสำหรับทุกคนแต่เฉพาะ บรรดาศิษย์เท่านั้น ความลับนั้นคืออะไร สิ่งนั้น คือความจริงที่ว่า พระอาณาจักรของพระเจ้า นั้นเป็นจริงแล้วในพระบุคคลของพระเยซูเจ้า และในภารกิจของพระองค์ และด้วยอำนาจ การสอนอย่างอดทนของพระองค์ บรรดาศิษย์
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 37
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
สามารถระลึกได้ถึงความจริงข้อนี้เมื่อพระ– เยซูเจ้าทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์แห่งการกลับ คืนพระชนมชีพของพระองค์ แต่ประชาชนกลับ ล้มเหลวทีจ่ ะสำนึกถึงเครือ่ งหมายแห่งกาลเวลา จึงไม่น่าแปลกใจเลยถึงภาพลักษณ์การปฏิเสธ พระเยซูเจ้าของชาวยิว เป็นความมืดบอดของ ชาวอิสราเอลซึ่งนักบุญเปาโลได้เคยกล่าวถึง ในพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม นักบุญมาระโก ได้ไตร่ตรองว่าไม่เพียงแต่อปุ มาจะทำให้บรรดา ผู้ฟังมีความเชื่อ แต่บรรดาศิษย์ของพระองค์ ก็ได้ยอมรับความเชื่อนี้ด้วย (เทียบ Wilfrid J. Harrington, 1964: 22-23) ดังนั้น จึงเป็น ไปไม่ได้เลยทีจ่ ะเป็นความตัง้ ใจของพระเยซูเจ้า ที่จะทำให้สารของพระองค์ไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะท่านบันทึกไว้อีกว่า “พระองค์ตรัสเป็น อุปมาเช่นนี้อีกมากตามที่เขาเหล่านั้นฟังเข้าใจ ได้ พระองค์ มิ ไ ด้ ต รั ส กั บ เขาโดยไม่ ใช้ อุ ป มา แต่ เ มื่ อ ทรงอยู่ กั บ บรรดาศิ ษ ย์ ก็ ท รงอธิ บ าย ทุ ก เรื่ อ งให้ กั บเขาเหล่านั้น” (มก 4:33-34) ส่วนในพระวรสารนักบุญลูกา เมื่อบรรดาศิษย์ ทูลถามพระองค์ว่าอุปมาเรื่องผู้หว่านมีความ หมายว่าอย่างไร พระองค์ตรัสว่า “พระเจ้า โปรดให้ท่านรู้ธรรมล้ำลึกเรื่องพระอาณาจักร สวรรค์อย่างชัดเจน แต่สำหรับคนอื่นพระองค์ โปรดให้รู้เป็นอุปมาเท่านั้น เพื่อว่าเขาจะมอง แล้ ว มองอี ก แต่ ไ ม่ เ ห็ น ฟั ง แล้ ว ฟั ง อี ก แต่ ไ ม่ เข้าใจ” (ลก 8:9-10) จากพระวาจาที่มาจาก
38 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
พระวรสารสหทรรศน์จงึ ได้ยนื ยันความจริงทีว่ า่ ความลับของอาณาจักรของพระเจ้ามิได้เปิดเผย สำหรับทุกคนแต่เฉพาะบรรดาศิษย์เท่านั้น 3. ผลการวิจัย 3.1 ความหมายและเอกลักษณ์ของอุปมา ของพระเยซูเจ้า 3.1.1 อุปมาของพระเยซูเจ้า คือ วิธกี าร เทศน์สอนของพระเยซูเจ้าอาศัยการนำเรือ่ งราว จากชี วิ ต ประจำวั น ของผู้ ค น จากธรรมชาติ รอบตัว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในบริบท ของผู้ฟังซึ่งก็คือชาวยิว เพื่อสอนพวกเขาถึง คุณค่าแห่งพระอาณาจักรสวรรค์ รวมทัง้ อธิบาย บทบัญญัติใหม่คือบัญญัติแห่งความรัก ทำให้ ผู้ ฟั ง ค้ น พบความจริ ง ว่ า เขาควรดำเนิ น ชี วิ ต อย่างไร สำหรับผูท้ ม่ี คี วามเชือ่ และเปิดใจรับฟัง พระวาจา พวกเขาสามารถเข้าใจคำสอนจาก อุปมาของพระองค์ได้ 3.1.2 อุปมาของพระเยซูเจ้าถูกนำเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 3.1.2.1 ใช้ สื่ อ ความจริ ง แห่ ง พระอาณาจักรของพระเจ้า อาศัยเรื่องราวของ มนุษย์ที่มองเห็นได้เพื่ออธิบายถึงคุณลักษณะ ของพระเจ้าที่มองไม่เห็น 3.1.2.2 ให้ ผู้ ฟั ง หั น กลั บ มา พิจารณาตนเองอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดการ ตัดสินขึ้นในใจและใช้การตัดสินนั้นในการแก้ ปัญหาของตนเอง
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
3.1.2.3 ใช้เป็นอาวุธแทงสวน ออกไปในสถานการณ์แห่งความขัดแย้ง ตอก ย้ำความไม่เชื่อและการที่ผ้นู ำชาวยิวไม่ยอมรับ พระองค์ 3.1.3 อุปมาของพระเยซูเจ้าใช้ภาษา และวัฒนธรรมแบบเกษตรกรในดินแดนกาลิลี เพื่อแสดงออกถึงประสบการณ์ที่พระเยซูเจ้า ทรงมีต่อพระบิดา ผ่านทางประสบการณ์ใน ชีวติ มนุษย์กบั ธรรมชาติ การทำงาน ความยาก ลำบากและสภาพสังคมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน 3.2 วิถีชีวิตของชาวยิวที่พบในอุปมาของ พระเยซูเจ้า 3.2.1 ด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ในสังคมชาวยิวของแคว้นกาลิลมี กี ลุม่ ความเชือ่ ต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ ซี ล อท ฟาริ สี เอสซี น สะดู สี ธรรมาจารย์ และนักเขียนนิรนาม รวมทั้งการ แบ่งกลุ่มชนชั้นทางสังคม ได้แก่ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง ประชาชนส่วนใหญ่ ในชนบทแคว้นกาลิลปี ระกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนเลี้ยงสัตว์ เป็นช่างฝีมือ ชาวประมง ค้าขายและอืน่ ๆ เช่น คนงานรับจ้าง ช่างทอผ้า และตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างปั้นดินเผาหรือตัดเย็บ หนังสัตว์ เป็นต้น 3.2.2 ด้านวัฒนธรรมและภาษา แคว้น กาลิลีประกอบด้วยชนหลายชาติหลายภาษา มีหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่กระจัดกระจายทั่วไป ขณะ
ที่มีเมืองสำคัญ ๆ หลายเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ มี ทะเลสาบกาลิลีเป็นแหล่งของปลาจำนวนมาก กาลิลีเป็นทางผ่านสำคัญในการสัญจรติดต่อ ค้ า ขาย กลุ่ ม วั ฒ นธรรมชี วิ ต ชนบทในแคว้ น กาลิลีพยายามต่อต้านแนวโน้มวัฒนธรรมการ ดำเนินชีวติ แบบสังคมเมือง และพยายามรักษา ธรรมประเพณีดั้งเดิมของพวกตน ชาวยิวใช้ภาษาอาราเมอิกเป็น ภาษาพูด แต่มภี าษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนา ในการเล่าอุปมาของพระเยซูเจ้าทรงใช้ภาษา ของเกษตรกร ซึง่ มีเอกลักษณ์ทแ่ี สดงออกอย่าง เป็นธรรมชาติถึงประสบการณ์ชีวิตในชนบท 3.2.3 ด้านศาสนาและความเชือ่ ชาวยิว ทั่วไปในแคว้นกาลิลีมีความเคร่งครัดในศาสนา ยิว ยึดถือและปฏิบัติธรรมบัญญัติของโมเสส ด้วยความซื่อสัตย์ แต่ไม่ค่อยสนใจการโต้เถียง เรื่องศาสนาหรือการตีความธรรมบัญญัติ 3.3 รูปแบบของความรักที่มนุษย์มีต่อพระ– เจ้าและเพื่อนมนุษย์ในอุปมาของพระเยซูเจ้า เมื่อได้ศึกษาอุปมาของพระเยซูเจ้าใน หนังสือพระวรสารสหทรรศน์ ข้าพเจ้าขอสรุป การไตร่ตรองอุปมาของพระเยซูเจ้าในประเด็น ของความรักที่มนุษย์พึงแสดงออกต่อพระเจ้า และเพื่อนมนุษย์ตามที่พระอาจารย์เจ้าทรง เรียกร้องจากผู้ฟังอุปมาของพระองค์ ดังนี้ 3.3.1 สำนึกถึงพระพรและปฏิบตั หิ น้าที่ ตามบทบาทของคริสตชน คริสตชนต้องสำนึก
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 39
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
ในพระพรแห่งการเข้ามาเป็นสมาชิกของพระ– ศาสนจักรเสมอ และในเวลาเดียวกัน ในฐานะ เป็นคริสตชน เราต้องคำนึงถึงหน้าที่และรู้สึก รับผิดชอบต่อหน้าที่ของเราหลังจากที่เราได้รับ ศีลล้างบาป นั่นคือการทำงานร่วมกับพระองค์ ในการเผยแพร่ พ ระศาสนจั ก รของพระองค์ นอกจากนี ้ พระเจ้าทรงประทานพระพรสำหรับ มนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้าง ตามพระประสงค์ของพระองค์ มนุษย์มีหน้าที่ ใช้พระพรนั้นอย่างเต็มที่ตามที่ได้รับมาเพื่อให้ เกิดประโยชน์ต่อหมู่คณะส่วนรวมและเพื่อเทิด พระเกียรติแด่พระเจ้า และพระเจ้าทรงโปรด ประทานพระหรรษทานทีพ่ อเพียงสำหรับสานุ– ศิษย์ของพระองค์ 3.3.2 สำนึกถึงพระเมตตาของพระเจ้า และขอบพระคุณพระองค์ ชีวิตของมนุษย์ขึ้น อยู่กับพระเมตตาของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ กิจกรรมดีทั้งหลายของมนุษย์ พระเจ้าทรงมี ส่วนร่วมด้วยเสมอ และเราไม่มีสิทธิ์จะทวงเอา รางวัล เพราะรางวัลหรือผลตอบแทนทั้งใน โลกนีแ้ ละโลกหน้านัน้ พระเจ้าจะทรงประทาน ให้เราด้วยพระทัยเมตตาของพระองค์ ในฐานะ ที่เราเป็นคริสตชน ให้เราขอบพระคุณพระองค์ ด้วยความจริงใจที่ได้ประทานพระคุณเพื่อเรา จะได้ ส ามารถร่ ว มงานกั บ พระองค์ ใ นการ ช่วยเหลือมนุษย์ชาติให้รอด และเพือ่ ความรอด ของเราเอง ในเมือ่ สวรรค์เป็นบำเหน็จอันล้ำค่า
40 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เสมอ หากเรารู้จักคุณค่าของอาณาจักรสวรรค์ แล้ว เราคงจะพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้มโี อกาสเข้ามาทำงานอยูใ่ นสวนของพระบิดา– เจ้า แม้พวกเขาอาจจะมีเวลาเหลืออยู่เพียงเล็ก น้อยก็ตาม 3.3.3 วางใจพระเจ้าด้วยความเพียร อดทน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา นั้น เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าผู้ทรง รักเรา เราไม่มีความสามารถที่จะเห็นแผนการ ทั้งหมดที่พระเจ้าทรงจัดไว้สำหรับเรา ดังนั้น ในยามตกทุกข์ได้ยาก ให้เราเต็มใจรับสภาพของ เราและมีความไว้วางใจอย่างมัน่ คงในพระปรีชา– ญาณและความรักอันปราศจากขอบเขตของ พระองค์ ในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า จงมีความพากเพียรอดทนและพยายามดำเนิน ชี วิ ต ตามความเชื่ อ โดยถื อ ตามพระบั ญ ญั ติ ของพระเจ้ า และของพระศาสนจั ก รอย่ า ง ครบครัน ต่อสู้กับความยากลำบากและการ ทดลองต่าง ๆ ยอมเสียสละตนเองแบกกางเขน และเดินตามรอยพระอาจารย์เจ้าทุกวัน เมื่อ เราได้รับชัยชนะ เราก็พิสูจน์ได้ถึงการเป็นผู้ที่ เหมาะสมกับพระอาณาจักรสวรรค์ และคู่ควร กับพระเยซูคริสตเจ้า 3.3.4 การกลับใจและคืนดีกับพระเจ้า และเพือ่ นมนุษย์ พระเจ้าทรงมีพระเมตตากรุณา อันปราศจากขอบเขตต่อมนุษย์ และมีความ เพียรอดทนต่อความชั่วร้ายและความอกตัญญู
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์ พระองค์ทรงมี พระประสงค์จะให้ลูก ๆ ทุกคนของพระองค์ได้ รับความรอด ทรงเป็นฝ่ายเชื้อเชิญให้คนบาป กลับใจ ทรงพร้อมที่จะอภัยโทษและช่วยเราให้ ลุกขึ้นอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงตั้ง ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ศีลมหาสนิทและศีลอภัยบาป เพือ่ ช่วยเราให้สามารถกลับใจและคืนดีกับพระเจ้า และเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง ดังนั้น ขอให้เรา ยอมรับสภาพความอ่อนแอ ความผิดและข้อ บกพร่องต่าง ๆ ของเราด้วยใจจริงและวิงวอน ขอจากพระองค์ ด้ ว ยใจสุ ภ าพ สดั บ ฟั ง และ สนองตอบคำเชือ้ เชิญของพระองค์ มีความหวัง และความไว้วางใจในพระเมตตาของพระองค์ ที่มีต่อเราแต่ละคน ลบความผิดพลาดต่าง ๆ ที่ เราได้เคยทำมาโดยอาศัยศีลอภัยบาป เริ่มชีวิต ใหม่ ชีวติ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละบริสทุ ธิ ์ เพือ่ จะไม่ตอ้ ง ตกใจกลัวในวันพิพากษา เพราะคนบาปทีส่ ำนึก ผิดกลับใจในภายหลังก็ยังดีกว่าพวกที่คิดว่า ตนเองทำดีแล้วแต่กไ็ ม่ได้ทำอย่างจริงจัง เพราะ การนมัสการพระเจ้าด้วยปากไม่มีคุณค่าอะไร ดังนั้น จะเป็นการดีที่สุดหากเราจะเป็นบุตรที่ ตอบว่า “ได้” และพร้อมที่จะเชื่อฟังด้วยใจ สัตย์ซื่อ 3.3.5 เมตตากรุณาและอภัยความผิด ซึ่งกันและกัน ชีวิตในโลกนี้จะมีวันจบสิ้น และ การพิพากษาตัดสินย่อมต้องเกิดขึน้ อย่างแน่นอน
ในสักวันหนึง่ เพราะฉะนัน้ เวลาทีม่ นุษย์คนหนึง่ จะกลั บ ใจก็ มี อ ย่ า งจำกั ด ด้ ว ย ดั ง นั้ น ให้ เรา พยายามที่จะเป็นผู้ที่มีใจเมตตากรุณาเหมือน กับพระบิดาเจ้าสวรรค์ ผู้ทรงพระทัยเมตตา กรุณา คือต้องทั้งพร้อมที่จะอภัยความผิดให้ แก่เพื่อนมนุษย์เสมอและภาวนาขอพระเจ้าได้ ทรงอภัยบาปให้แก่คนบาปด้วย ไม่ว่าความผิด นัน้ จะหนักหรือจงใจทำหรือบ่อยครัง้ สักเพียงไร ก็ตาม พระเจ้าผู้ทรงพระทัยเมตตากรุณาจะ เมตตาเราเช่นกัน รวมทัง้ จงยินดีกบั พระเจ้าเมือ่ คนบาปคนหนึ่งกลับใจ 3.3.6 รัก เมตตากรุณาและช่วยเหลือ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ มนุ ษ ย์ ทุ ก คนต่ า งเป็ น บุ ต รของ พระเจ้า ไม่มีใครเป็นบุตรที่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้า นอกจากคนที่มีความรักต่อพี่น้องของตนอย่าง แท้จริง ดังนัน้ จงพยายามจนสุดความสามารถ ที่จะช่วยเหลือพี่น้องของตนด้วยใจกว้างและ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวโดยเฉพาะในยาม ขาดแคลนทั้งฝ่ายกายและใจ รักเพื่อนมนุษย์ มิใช่แต่เพียงไม่ปรารถนาสิ่งของของผู้อื่นอย่าง อยุตธิ รรมเท่านัน้ แต่จะต้องหยิบยืน่ ของเราเอง ให้แก่เพื่อนมนุษย์ที่ขัดสน บรรเทาใจเขาด้วย คำพูด ทำให้เขามีกำลังใจและความสุขใจ ให้ คำแนะนำที่มีประโยชน์ หากเรามีทรัพย์สมบัติ ก็จงใช้ทรัพย์สมบัตินั้นอย่างดี เพื่อช่วยตัวเอง ให้รอด เพือ่ อาณาจักรสวรรค์ของพระเจ้า และ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อย่าให้ทรัพย์สมบัติ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 41
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
นั้นเป็นเครื่องจำจองที่ผูกจิตใจของเราให้ติด อยู่กับโลก 3.3.7 พากเพียรในการอธิษฐานภาวนา ต่อพระเจ้า เมื่อเราอธิษฐานภาวนา เราต้องมี ความไว้วางใจอย่างแท้จริงในฐานะที่เป็นบุตร ของพระเจ้า ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องมี ความเชื่อมั่นจริง ๆ ว่าเราเป็นบุตรของพระองค์ ถ้าหากเราเชื่อเช่นนั้นจริง ๆ ความเชื่อนั้นจะ ต้องมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของเรา ด้วย เหตุนี้ ท่าทีของการเพียรภาวนาวอนขอจึงมิใช่ การบีบบังคับให้พระเจ้าประทานพระพรให้ เราในที่สุด แต่เราได้เข้าไปถึงพระบิดาของเรา ผู้พร้อมเสมอที่จะประทานพระพรเกินกว่าที่ บุ ต รของพระองค์ ว อนขอเสี ย อี ก ดั ง นั้ น จง ภาวนาด้วยความพากเพียรไม่หยุดหย่อน เมื่อ เราคิดถึงพระองค์อยูเ่ สมอ พระองค์กจ็ ะสดับฟัง และสนองตอบคำภาวนาของเราเสมอเช่นกัน 3.3.8 ดำเนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยความสุ ภ าพ ถ่อมตน ความสุภาพน่าจะเป็นฤทธิ์กุศลที่ง่าย ทีส่ ดุ สำหรับคริสตชนทีค่ วรปฏิบตั ิ ดังนัน้ จงวาง ตัวเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าด้วยท่าทีท่สี ุภาพ นอบน้อม และสำนึกอยู่เสมอถึงการเป็นคน อ่อนแอที่ต้องพึ่งพาพระเจ้า เพื่อเราจะไม่ดูถูก เพื่อนมนุษย์คนใดคนหนึ่งเลย 3.3.9 เตรียมตัวให้พร้อมรับการเสด็จ กลับมาของพระเจ้า ธรรมชาติมนุษย์นน้ั อ่อนแอ และชี วิ ต บนโลกนี้ สั้ น พระเจ้ า ทรงเรี ย กเรา
42 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เหมือนกับคนอื่น ๆ ทั้งหลาย การจะไปปรากฏ ตัวต่อพระพักตร์พระเจ้าไม่ว่าในโลกนี้หรือโลก หน้า เราต้องเตรียมตนเองให้พร้อม ตืน่ เฝ้าและ ระวังตัวเราเองอยู่เสมอ นั่นคือการสวมความ ชอบธรรมของพระคริ ส ตเจ้ า เป็ น อาภรณ์ ที่ ประเสริฐที่สุด อาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ ในระหว่าง ที่มีชีวิตอยู่ จงพิจารณาถึงกิจวัตรประจำวัน ของเรา จงพยายามปฏิบัติหน้าที่ตามสถานะ ของตนอย่างดี พร้อมที่จะต่อสู้กับการประจญ ต่าง ๆ เป็นต้น การต่อสู้กับตัวเราเอง ด้วยการ ถื อ ตามพระบั ญ ญั ติ ข องพระเจ้ า ด้ ว ยความ ยินดี เพื่อต้อนรับวันอันสำคัญยิ่งนั้น คือวันที่ เจ้าบ่าวจะเสด็จมา 4. สรุปและวิจารณ์ผล อุ ป มาของพระเยซู เจ้ า ในพระวรสาร สหทรรศน์ที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาและนำเสนอใน สารนิพนธ์ฉบับนี้ ข้าพเจ้าได้เน้นการศึกษาใน ขอบเขตของความหมายและเอกลักษณ์ของ อุปมาของพระเยซูเจ้า ศึกษาวิถีชีวิต สภาพ แวดล้อม รวมทัง้ คำสอนและวิธคี ดิ ทีเ่ ป็นพืน้ ฐาน แห่งปรัชญาชีวิตของคนในสมัยของพระองค์ ศึกษาความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าและ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ใ นอุ ป มาของพระเยซู เ จ้ า ซึ่ ง แสดงออกมาในรูปแบบและท่าทีของความรัก รวมทั้งความหมายของอุปมาของพระเยซูเจ้า ทีส่ อดคล้องกับสถานการณ์ปจั จุบนั และประยุกต์
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
ให้กลายเป็นมาตรฐานแห่งความรักที่คริสตชน ในสภาพสังคมปัจจุบนั ถูกเรียกร้องให้เจริญชีวติ ตาม ทั้งนี้ เพื่อจะตอบคำถามที่ว่า “อุปมาของ พระเยซูเจ้าเรียกร้องคริสตชนให้ดำเนินชีวิต ตามมาตรฐานของความรั ก อย่ า งไร” และ จากการศึกษาอุปมาของพระเยซูเจ้าในขอบเขต ดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้าสามารถสรุปได้ว่า ในความเรียบง่ายของชีวิตผ่านทางประ– สบการณ์ธรรมดา ๆ และสัมพันธภาพระหว่าง มนุษย์ในชีวิตประจำวันนั้น คริสตชนสามารถ แสวงหาคุณค่าแห่งความรักและแสดงออกมา เป็นกิจการในรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมผัสได้ คุณค่า แห่งชีวติ คริสตชนมาจากการเปิดเผยของพระ– เยซูเจ้าทีว่ า่ “พระเจ้าทรงเป็นความรัก ผูท้ ด่ี ำรง อยูใ่ นความรักก็ดำรงอยูใ่ นพระเจ้าและพระเจ้า ก็ดำรงอยู่ในผู้นั้น” (1 ยน 4:16) การเปิดเผย นี้ น ำเราไปสู่ แ ก่ น แท้ ข องความเชื่ อ คริ ส ตชน นัน่ คือ “ท่านจงรักเพือ่ นมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (มก 12:29-31) เพราะว่า “พระเจ้าได้ทรงรัก เราก่อน” (เทียบ ยน 4:10) และดังนี้ “รัก” จึงมิได้เป็นเพียงแค่ “คำสั่ง” หากแต่เป็นการ ตอบสนองต่อความรักที่พระเจ้าเสด็จเข้ามา ใกล้ชดิ และเป็นหนึง่ เดียวกับเรา เพราะคริสตชน ถูกเรียกมาเพื่อรักและถูกรัก อุปมาของพระ– เยซู เจ้ า จึ ง ได้ น ำเสนอมาตรฐานความรั ก ที่ พระองค์ทรงเรียกร้องจากคริสตชนใน 2 ระดับ คือ
1) มนุ ษ ย์ เ ป็ น มาตรฐานแห่ ง ความรั ก นั่นคือ ทรงเรียกร้องให้เรารักผู้อื่นเหมือนรัก ตนเอง (เทียบ ลก 10:25-37) ความรักในระดับ นี้ เป็นข้อเรียกร้องให้เราคริสตชนใช้ตนเอง เป็ น มาตรฐานแห่ ง ความรั ก เป็ น อั น ดั บ แรก นั่นคือ เราต้องการให้ผ้อู ่นื ปฏิบัติต่อเราอย่างไร ก็ ใ ห้ เราปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ อื่ น อย่ า งนั้ น ด้ ว ย เรารั ก ตนเองอย่างไร ก็ให้เรารักผู้อื่นอย่างนั้นด้วย 2) พระเจ้าเป็นมาตรฐานแห่งความรัก นั่นคือ เป็นการเรียกร้องให้เรารักกันและกัน ดังที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงรักเรา (เทียบ ยน 13:34) คริสตชนทราบดีว่า พระเยซูคริสตเจ้า ทรงรักเราอย่างไร พระองค์ทรงยอมพลีพระ– ชนมชี พ เพื่อ มนุ ษ ยชาติ พระองค์ ท รงรั ก เรา ทัง้ ๆ ทเ่ี ราเป็นคนบาป เป็นความรักทีไ่ ม่หวังผล ตอบแทนและไม่มีเงื่อนไขใด ๆ แบบอย่างแห่ง ความรักของพระเจ้าจึงเป็นมาตรฐานการดำเนิน ชีวิตของเรา ซึ่งเรียกร้องความพยายามและ ท้าทายเราคริสตชนในปัจจุบนั ให้รกั เพือ่ นมนุษย์ ทุกคน ความรักแบบนี้เป็นความรักที่เราต้อง พยายามไปให้ถึง “พระบิดาทรงรักเราอย่างไร เราก็รักท่านทั้งหลายอย่างนั้น จงยึดมั่นอยู่ใน ความรักของเรา” (ยน 15:9) ถ้าเราสามารถ รักอย่างที่พระเจ้าทรงรักเรา แน่นอนทีเดียว ความสงบสุข ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันย่อม เกิดขึ้นในสังคมและในพระศาสนจักรของเรา
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 43
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
อุปมาของพระเยซูเจ้านำเสนอรูปแบบ ของความรักอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงรัก คือ 1) รักเพื่อนมนุษย์ทุกคน แม้แต่ผู้ที่ไม่ เคยรู้จักมาก่อน อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี (เทียบ ลก 10:25-37) ให้บทสอนที่สำคัญสอง ประการ ก่อนสมัยพระเยซู คำว่า “เพือ่ นบ้าน” หมายถึ ง เพื่ อ นร่ ว มชาติ แ ละชาวต่ า งชาติ ที่ มาตั้งรกรากอยู่ในประเทศอิสราเอลหรือพูด อีกอย่างก็คือ หมายถึงชุมชนที่มีการติดต่อกัน อย่างใกล้ชิดแห่งประเทศหรือชุมชนหนึ่ง แต่ บัดนี้ เขตแดนนี้ถูกรื้อออกไปแล้ว ไม่ว่าใครที่ ต้องการข้าพเจ้าและที่ข้าพเจ้าช่วยได้ ล้วนเป็น เพื่ อ นบ้ า นของข้ า พเจ้ า ทั้ ง สิ้ น ความคิ ด ของ คำว่า “เพือ่ นบ้าน” กลายเป็นสากล แต่กย็ งั คง ไว้ซึ่งความเป็นรูปธรรม ถึงแม้ว่าความรักนี้จะ ขยายออกไปถึงมนุษย์ทุกคน 2) รั ก ผู้ ที่ ต่ ำ ต้ อ ยที่ สุ ด “ใครคื อ เพื่ อ น มนุษย์ทต่ี ำ่ ต้อยทีส่ ดุ ” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เรา ขอบอกพวกท่านว่า ท่านทำสิง่ ใดแก่ผทู้ ต่ี ำ่ ต้อย ที่สุดในบรรดาพี่น้องเหล่านี้ของเรา ท่านก็ทำ กับเราเอง” (มธ 25:40) ใครเล่าเป็นพี่น้องที่ ต่ำต้อยทีส่ ดุ จากอุปมาเรือ่ งวันพิพากษาสุดท้าย (เทียบ มธ 25:31-46) ความรักจะเป็นมาตรฐาน ในการตัดสินเกี่ยวกับคุณค่าชีวิตว่าดีหรือชั่ว พระเยซูทรงทำให้พระองค์เป็นพวกเดียวกัน กั บ คนยากจน กั บ คนที่ หิ ว โหย คนกระหาย คนแปลกหน้า คนไร้เครือ่ งนุง่ ห่ม คนป่วย และ
44 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คนที่ถูกจำจอง “ท่านปฏิบัติต่อพี่น้องต่ำต้อย ที่สุดของเราเช่นไร ท่านก็ปฏิบัติต่อตัวเราเอง” (มธ 25:40) ความรักต่อพระเจ้าและความรัก ต่อเพื่อนมนุษย์กลายเป็นสิ่งเดียวกัน เราพบ พระเยซู เจ้ า ในพี่ น้ อ งที่ ต่ ำ ต้ อ ยที่ สุ ด และใน พระเยซูเจ้าเราก็ได้พบกับพระเจ้า 3) รักศัตรู ผูท้ เ่ี ราไม่ชอบ และบุคคลทีไ่ ม่ น่ า รั ก ที่ สุ ด ของความรั ก ที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรง เรียกร้องจากบรรดาศิษย์ของพระองค์ คือการ รักและให้อภัยศัตรู ดังที่พระองค์ทรงกระทำ เป็ น แบบอย่ า งในพระชนมชี พ ของพระองค์ เพราะนอกจากคำว่า “พี่น้องที่ต่ำต้อยที่สุด” จะหมายถึงบรรดาคนยากจน คนหิวโหย คน กระหาย คนแปลกหน้ า คนไร้ เ ครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม คนป่วย และคนที่ถูกจำจองแล้ว พระเยซูเจ้า ยังทรงหมายถึงคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา และคน ๆ นั้น เป็นลำดับสุดท้ายสำหรับชีวิตของเรา คนนั้น คื อ คนที่ เ ราทนเขาไม่ ไ หวเพราะความผิ ด บกพร่องของเขา ความดื้อรั้นของเขา มารยาท เลวทรามของเขา นิสัยไร้เหตุผล ความแปลก ประหลาดของเขา ฯลฯ เมื่อท่านทำดีกับคน เหล่านี้ ท่านก็ทำดีกับองค์พระเยซูเจ้าเอง หาก ท่านปฏิเสธคนเหล่านี ้ ท่านก็ปฏิเสธพระเยซูเจ้า เองด้วยเช่นกัน ความรักเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรา ได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่งทำให้เรา
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
สามารถมองคนอื่นไม่ใช่ด้วยสายตาหรือความ รู้สึกของตนเอง นั่นคือ เมื่อมองข้ามสิ่งปรากฏ ภายนอก เราจะมองเห็นความปรารถนาภายใน ที่อยากแสดงออกถึงความรักและความห่วงใย ในตั ว ผู้ อื่ น ดั ง นั้ น ความรั ก ต่ อ พระเจ้ า และ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่แยกออก จากกันไม่ได้ ทั้งสองรวมเป็นบัญญัติเดียวกัน พระเยซูเจ้าทรงรักเราแต่ละคนตามที่ เราเป็นจริง ๆ เพื่อจะรักเรา พระองค์ไม่ทรง มองดู ค วามดี ห รื อ ความผิ ด บกพร่ อ งของเรา พระองค์รักเราเพราะพระเมตตาของพระองค์ แต่อย่างเดียว เราต้องรักแบบพระเยซูเจ้า และ รักเพื่อนมนุษย์ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า เป็น ความรักที่อยู่เหนือความชอบ เหนือมิตรภาพ เหนือความผิดบกพร่อง เหนือความสงสาร เหนือ ความเกลียดชัง เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้ เป็นความรักสากล ความรักที่บริสุทธิ์ ความรัก เหนือธรรมชาติเป็นความรักแบบพระคริสตเจ้า สรุปได้ว่า “ในความเรียบ ๆ ง่าย ๆ ของ ชีวติ มนุษย์ ผ่านทางการนำเสนอโดยอุปมาของ พระเยซู เจ้ า มี บ ทสอนเกี่ ย วกั บ คุ ณ ค่ า ของ ความรักทีห่ ลากหลายซุกซ่อนอยู ่ เป็นมาตรฐาน ความรักที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องจากบรรดา คริสตชน ซึ่งให้คุณค่าสำหรับชีวิตมนุษย์ได้ใน ทุก ๆ สถานการณ์ของทุกยุคสมัย” ข้าพเจ้าจึงขอยกย่องให้อุปมาของพระ– เยซูเจ้าเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของโลก เพราะ
อุปมาแต่ละเรือ่ งสะท้อนแง่มมุ ของความงดงาม ในชีวิตมนุษย์และเปิดตาผู้รับฟังให้มองเห็น แนวทางการสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ร ะหว่ า ง มนุ ษ ย์ ใ นสั ง คมปั จ จุ บั น ซึ่ ง พระสั น ตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ได้ให้ทรรศนะไว้ว่า มนุษย์ได้ มองข้ามคุณค่าของความรักที่รายล้อมตัวเขา อยู่ โดยเฉพาะความรักของพระเจ้าที่อบอวล อยู่ในทุก ๆ สรรพสิ่งบนโลก และดังนี้ ข้าพเจ้า จึงปรารถนาให้คำสอนเรื่องความรักจากอุปมา ที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าของเรา ดังก้องกังวานในหัวใจของมนุษย์ทกุ คนเพือ่ เป็น เครื่องมือฉุดดึงพวกเขาไปสู่หนทางแห่งความ รอดพ้นที่พระเจ้าทรงเชื้อเชิญเราทุกคนมุ่งไป ให้ถึงในสักวันหนึ่ง 5. เอกสารอ้างอิง (บรรณานุกรม) เอกสารภาษาไทย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. (2002). พระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพมหานคร. . (1992).คูม่ อื พระคัมภีรฉ์ บับสมบูรณ์. เล่ม 3, แปลโดย ปฏิมา คงสืบคติ. กรุงเทพมหานคร : กนกบรรณสาร. เบเนดิกต์ที่ 16, พระสันตะปาปา. (2009). พระสมณสาสน์พระเจ้าทรงเป็นความรัก. แปลโดย ว.ประทีป. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: Caritas Thailand,
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 45
อุปมาของพระเยซูเจ้า : มาตรฐานความรักในความเรียบง่ายของชีวิต
กรรมาธิการฝ่ายสังคม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. ฟรังซิส ไก้ส์, บาทหลวง. (2550). เทววิทยาเรือ่ งพระคริสตเจ้า. นครปฐม : สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม. (อัดสำเนา) ฟรังซิส เซเวียร์ เหวีย่ น วัน ถ่วน, พระคาร์ดนิ ลั . (2008). พยานแห่งความหวัง. แปลโดย บาทหลวงยอห์น บ.นรินทร์ ศิริวิริยานันท์, สกลนคร : อัครสังฆมณฑลท่าแร่หนองแสง. ยอหน์ ปอล ที่ 2, พระสันตะปาปา. (1999). พระสมณสาสน์พระเมตตาของพระเจ้า. แปลโดย พระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร, C.Ss.R., กรุงเทพมหานคร : แผนกคำสอนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. วงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์, บาทหลวง. (2550). ภาวนาด้วยคุณค่าและความหมาย. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม : หน้า 41-43 วสันต์ พิรุฬวงศ์, บาทหลวง. (2551 : พฤษภาคม-สิงหาคม). “พระเยซูแห่งนาซาเร็ท”, วารสารแสงธรรมปริทัศน์. 32, 2 : 121-132
46 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สมกิจ นันทวิสุทธิ์, บาทหลวง. (2550). ความเชื่อ ความหวัง ความรัก. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม : หน้า 38-56 อัลเบิร์ต โนลัน. (2540). พระเยซูก่อนคริสตกาล. แปลโดย บาทหลวงศิริชัย เล้ากอบกุล, พิมพ์ครั้งที่ 3, นครปฐม : คณะพระมหาไถ่. Elenore Beck. (1998). ข้าพเจ้าเชื่อ คำสอนคาทอลิกเล่มเล็ก. แปลโดย มุขนายกยอร์ช ยอด พิมพิสาร, กรุงเทพมหานคร : สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์. Rogers Anthony. (2007). รากฐานความคิดและการทำงานของ พระเยซูเจ้าต่อสังคม. กรุงเทพมหานคร : แผนกสังคมพัฒนา อัครสังมณฑลกรุงเทพฯ. (อัดสำเนา) ภาษาต่างประเทศ David B.G. (2000). The parables?. USA : Paulist Press. Drury John. (1985). The parables in the gospels. USA : Crossroad.
ลือชัย ธาตุวิสัย ธรรมรัตน์ เรือนงาม ปิติศักดิ์ พงศ์จิรพันธุ์
Imbach Josef. (1997). And He taught them with picture : The parables in practice today. Translation by Jane Wilde. ______ : Templegate Publishers. Madeleine I. Boucher. (1983). The parables. Revised edition, USA : Michael Glazier. Marguerat Daniel. (1991). Parabole: Service biblique evangile et vie. Paris : Editions de Cerf. Montonati Angelo. (1991). A journalist looks at the parables. UK : St Paul Publications. Pheme Perkins. (1981). Hearing the parables of Jesus. USA : Paulist Press. Wilfrid J. H., O.P. (1964). A key to the parable. USA : Paulist Press Deus Books.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 47
ปัญหาเรือ่ งความยุตธิ รรม
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
กับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Tin he3 Southern Problems of Justice and Crisis Provinces in Thailand.
ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน * หัวหน้าภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ * รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * อาจารย์ประจำ คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม อุดม ดีเลิศประดิษฐ์ * บัณฑิตสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม Asst.Prof.Dr.Channarong Boonnun * Head of Department of Philosophy, Silpakorn University. Pichet Runglawan * Deputy Director of Religious and Cultural Research Centre, Saengtham College. * Lecturer at Saengtham College. Udom Deelertpradit * Bachelor of Art Program in Philosophy and Religion, Saengtham College.
48 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทความยุติธรรมกับ ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กบั การแก้ปญ ั หาความ อยุติธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีการศึกษาและวิเคราะห์ใน ความหมายของความยุติธรรม ปัญหาที่ขัดแย้งต่อเงื่อนไขของความ ยุติธรรม และวิธีการที่ทำให้เกิดความยุติธรรมในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ พร้อมกับการนำบทสัมภาษณ์จากแง่มุมทั้งสามด้านคือ จาก นักการศาสนา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป เพื่อจะได้สะท้อนถึง ความจริงที่เกิดขึ้นในปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีน้ำหนักมากขึ้น ผลจากการศึกษาประการทีห่ นึง่ พบว่า ปัญหาความไม่สงบทีเ่ กิดขึน้ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นน้ั ล้วนแล้วเกิดจากการสะสมการกระทำ ทีเ่ ต็มไปด้วยความอยุตธิ รรมจนเป็นรากเหง้าของปัญหาทุกวันนี้ ประการ ที่สอง พบว่า แนวคิดและทฤษฎีเรื่องความยุติธรรมในแง่มุมต่าง ๆ มี ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในการเข้าใจในต้นตอของ ปัญหาต่าง ๆ ประการทีส่ ามได้คน้ พบวิธกี ารและแนวทางการแก้ไขปัญหา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากแง่มุมต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ดังนั้น บทบาทของความยุติธรรม เป็นคุณธรรมอันล้ำค่า และ เป็นรากฐานที่ทำให้เกิดคุณธรรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งความดี สูงสุด ที่ทำให้สังคมมนุษย์มีสันติสุข และบทบาทความยุติธรรม เป็นสิ่ง ที่มีคุณค่า และมีความหมายในสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเท่าเทียม ความ เสมอภาค และความชอบธรรมอันดีในสังคม คำสำคัญ :
1) ปัญหาความยุติธรรม 2) ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 49
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
The purpose of this research is to study the role of justice on the crisis in the 3 southern provinces of Thailand as well as solving their injustice. It studies on the meaning of justice, problems opposed to justice and how to restore justice in 3 southern provinces of Thailand. With the interviews from religious, professors and people, it reflects the facts of crisis with more weight. It found that 1) the crisis in 3 southern provinces of Thailand is from amassing of the past injustice problems that is the root of today problems, 2) theories of justice are important to understand the root of problems, and 3) it found out the solutions to solve the problems of 3 southern provinces of Thailand more deeply. So the role of justice is the valuable virtue and it is the foundation of other virtues that lead to the supreme goodness for peace in human society. The role of justice is valuable and meaningful in human society especially in 3 southern provinces of Thailand for living with dignity, fairness and good morality in society. Keywords: 1) Problem of Justice 2) Crisis of 3 Southern Provinces in Thailand
50 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
1. บทนำ ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ เป็นสถานการณ์ความรุนแรง ที่สร้าง ความเสียหายให้ทั้งแก่ชีวิต และทรัพย์สินของ ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่อย่างมากมาย นับวัน ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นไม่รู้จบ เป็นปัญหา ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่แฝงไปด้วยความซับซ้อน เนื่องจากปัญหามากมายที่ทับถมมาเป็นเวลา ยาวนาน จึงส่งผลเสียอย่างมากต่อประชาชนใน พื้นที่ในเขตชายแดนภาคใต้ ต่อสภาพชีวิตและ วิถีความเป็นอยู่ของประชาชน จากความเป็น อยู่ที่สงบเปลี่ยนเป็นความเป็นอยู่ที่เต็มไปด้วย ความอยุติธรรมมากมาย และเป็นที่ทราบกัน ทั่วไปแล้วว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบ ด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตู ล ซึ่ ง มี ป ระชากรส่ ว นใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 78 ถ้าพิจารณา อย่างแท้จริง ในทางประวัติศาสตร์ต้องยอมรับ ว่า ดินแดนที่เรียกว่า “ปัตตานีดารุสสลาม” (ดิ น แดนแห่ ง สั น ติ ) เจ้ า เมื อ งมลายู มุ ส ลิ ม ปกครองรัฐปัตตานีดารุสสลาม ต่อเนื่องกัน เกือบ 600 ปี ในที่สุด ได้เสียอธิปไตยอย่าง สมบูรณ์ แก่ราชอาณาจักรสยาม ในต้นศตวรรษ ที่ 19 รัฐปัตตานีดารุสสลามถูกแบ่งออกเป็น 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
สาเหตุของปัญหาความไม่สงบในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นได้ครอบคลุมหลาย ด้านหลายมิติ สาเหตุของปัญหามีความเชื่อม โยงกันและมีการพัฒนาการของปัญหาที่แตก หน่อออกไป ทำให้เกิดความรุนแรงหลายรูปแบบ มีส่วนเกี่ยวโยงในเรื่องความมั่นคง ที่สัมพันธ์ กับขบวนการก่อการร้าย หรือกรมการปกครอง ต่างๆ ในด้านการเมือง เกี่ยวกับนโยบายทาง การเมือง บทบาทของผู้นำ การแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่รุนแรง ในด้านเศรษฐกิจที่เต็มไป ด้วยปัญหาการว่างงาน นโยบายต่าง ๆ มีการ บังคับใช้ในพื้นที่ ส่วนในด้านสังคมที่มีความ แตกต่างในเรื่องของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ปัญหา เรื่องยาเสพติด และเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ผู้มีอิทธิพล สาเหตุของปัญหาต่อมาคือด้าน ศาสนาและวัฒนธรรม ที่เกิดความขัดแย้งกัน ทางด้านความคิดของฝ่ายผู้นำศาสนา นโยบาย ของรัฐบาลทางด้านศาสนาด้วย และทางด้าน การศึกษา ในเรื่องมาตรฐานการศึกษา การจัด ระบบโรงเรียนสอนศาสนา ครูสอนศาสนากับ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ เป็นต้น ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ลุกลามและเผาไหม้อย่างรวดเร็ว เป็นเปลวไฟ ทีไ่ ด้ตดิ ขึน้ มาเป็นเวลายาวนาน แทนทีค่ วรจะได้ ดับให้มอดไป แต่นบั วันยิง่ ทำให้ลกุ ไหม้ขน้ึ เรือ่ ยๆ ไร้ร่องรอยของการยุติและไม่ร้วู ่าเมื่อไหร่จะดับ มันได้ด้วยความสันติ ความสงบ ปัญหาเรื่อง
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 51
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ความยุตธิ รรมในสังคมหลาย ๆ เรือ่ งราว หลาย ๆ สถานการณ์ทเ่ี ป็นตัวบ่งชีว้ า่ เป็นปัญหาทีเ่ กีย่ วกับ ความยุติธรรมอย่างชัดเจน ประชาชนไม่ได้รับ ความเป็นธรรมเท่าที่ควร ไม่ได้รับสิทธิอย่าง เป็นธรรมในสังคม กลายเป็นปัญหารุนแรงขึ้น ฝั ง รากลึ ก ในจิ ต ใจไปด้ ว ยความแค้ น ของคน บางคนหรื อ บางกลุ่ ม พร้ อ มกั บ เรื่ อ งการใช้ กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ได้คำนึงถึงผล กระทบต่อประชาชนในภาคใต้อย่างขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดความเป็นธรรม บางสิ่ง บางอย่างไม่สามารถที่จะนำหลักการต่าง ๆ มา ใช้ในภาคใต้ได้ทง้ั หมด ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากประชาชน ส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู และพูดภาษามลายูเป็นภาษาท้องถิ่นมานาน (จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย และคณะ, 2548:34) และมีผู้คนเป็นจำนวนมากไม่ได้รับความเป็น ธรรมเหมือนกับคนอื่นทั่วไป เพียงเพราะความ แตกต่าง และการมีอคติของเจ้าหน้าที่รัฐต่อ ประชาชนในพื้ น ที่ แล้ ว จะเป็ น ไปได้ ไ หมที่ ปัญหาต่าง ๆ นัน้ ได้กอ่ ตัวมาจากความไม่ยตุ ธิ รรม ในสั ง คม อย่ า งไรก็ ต ามเรื่ อ งเลวร้ า ยเหล่ า นี้ มันได้กอ่ ให้เกิดความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ต่อสังคมทีย่ งั ไม่ได้รับความยุตธิ รรม ประชาชน ที่ ไ ม่ มี อิ ท ธิ พ ลใด ๆ ในสั ง คม คนยากคนจน ชาวบ้านธรรมดาทัว่ ไปซึง่ ถือว่าเป็นคนส่วนใหญ่ ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประชาชนทีอ่ ยู่ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังถูกครอบงำ
52 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ในระบบของผูม้ อี ำนาจ จากการถูกเอารัดเอา– เปรียบ และมักจะใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ และความต้องการของพวกตนเองเป็นหลัก เรื่องราวการขยายตัวอย่างเห็นได้ชัดใน ปัญหาเรื่องความยุติธรรม ปัญหาความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนใต้นั้น ผู้วิจัยเห็นว่าได้ สะท้อนภาพของสังคมไทยอย่างหนึ่งคือ การ ขาดความเป็นธรรม ขาดความยุตธิ รรมในสังคม ปัญหาเรื่องความยุติธรรม เป็นเหมือนกับโรค มะเร็งชนิดหนึง่ เมือ่ ขยายตัวแล้ว จะลามไปทัว่ และกัดกินไปทุกหนทุกแห่งจนเราไม่รู้ตัว แม้ กระทัง้ รุน่ ลูกรุน่ หลานก็จะซึมซับในสิง่ ทีเ่ ขาเห็น ปั ญ หาในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ เ ป็ น ส่วนหนึ่งของเราทุกคนที่เป็นคนไทยควรที่จะ รั บ รู้ ด้ ว ย เหมื อ นกั บ เวลาที่ ร่ า งกายของเรา ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ได้รับความทุกข์ทรมานหรือ ได้รับความเจ็บปวดหรือมีบาดแผล ต้องไปรับ การรักษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ปัญหาที่ เกิ ด ขึ้ น ในสามจั ง หวั ด ชายแดนใต้ ก็ เช่ น กั น ทำให้สงั คมไทยของเราเจ็บปวดไม่นอ้ ย คนไทย ทั้งประเทศ มีความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน เรา ทั้งหลายก็ได้รับความรู้สึกที่ไม่พร้อมกับชาว ใต้ ด้ ว ย แล้ ว เราจะทำอย่ า งไรกั บ เพื่ อ นบ้ า น ของเรา ในการบำบัดรักษาให้ดีขึ้นอย่างเป็น ปรกติสุขได้ ดังนั้นการศึกษาปัญหาความไม่สงบใน สามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ จึ ง เป็ น การหา
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
แนวทางออกในเรื่องความยุติธรรมจากแนวคิด ในมุมมองต่าง ๆ และเพื่อที่จะศึกษา ค้นคว้า สาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงแห่ง ประเด็ น ความยุ ติ ธ รรม ให้ ไ ด้ พ บแง่ มุ ม ทาง ปรัชญา สามารถตอบปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้ผู้วิจัยได้มีความ เข้าใจผ่านทางสถานการณ์ปัญหาความไม่สงบ ในสามจังหวัดชายแดนได้ 1.1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.1.1 เพื่อศึกษาความหมาย หลักการ และทฤษฎีความยุติธรรมตามทัศนะของนัก ปรัชญา นักกฎหมายและศาสนา 1.1.2 เพือ่ ศึกษาความเป็นมาของปัญหา ความไม่ ส งบในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ อันเนื่องมาจากปัญหาความยุติธรรม 1.1.3 เพื่อศึกษาทัศนะของศาสนิกชน ในประเด็นบทบาทและความสำคัญของความ ยุติธรรมในการแก้ปัญหาความไม่สงบในสาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.2.1 เป็ น การวางรากฐานของชี วิ ต เกี่ยวกับคุณค่าทางคุณธรรมและศีลธรรมเพื่อ จะได้สร้างจิตสำนึกในการมีความยุติธรรมใน สังคม 1.2.2 เพือ่ จะได้เรียนรู ้ และรับรูถ้ งึ ความ รู้ สึ ก กั บ พี่ น้ อ งในพื้ น ที่ ส ามจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้
1.2.3 เพือ่ จะได้ทำให้เข้าใจในความหมาย ของชีวิตที่กว้างขวางมากขึ้นโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับพี่น้องที่มีความแตกต่าง ในด้านศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและความ เป็นอยู่ 1.2.4 เพือ่ จะได้ทราบความจริงทีเ่ กิดขึน้ ในปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ที่เกี่ยวกับปัญหาความไม่เป็นธรรมของ สังคม 2. แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่อง ความยุติธรรม 2.1 คำนิ ย ามและความหมายเกี่ ย วกั บ เรื่องความยุติธรรม ถ้าจะกล่าวถึงความหมาย ของความยุ ติ ธ รรม ความยุ ติ ธ รรมแปลตาม ตัวอักษร หมายความว่า ยุต ิ คือ ชอบ ถูกต้อง, ตกลง จบ เลิก, ธรรม คือ สภาพของความดี ความยุติธรรม จึงมีความหมายถึงความเที่ยง ธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล และเป็นเจตจำนง อันแน่วแน่ตลอดกาลทีใ่ ห้แก่ ทุกคนตามส่วนทีเ่ ขาควรจะได้รบั ความยุตธิ รรม อาจไม่ใช่ความเป็นธรรมก็ได้ และอาจไม่ใช่สิ่ง ที่ถูกต้องก็ได้ แต่มีอยู่จริงในความรู้สึกทุกคน ซึ่ ง ลั ก ษณะของความชอบธรรมนั้ น เห็ น ได้ โดยการแสดงออก เป็นความยุตธิ รรมตามแบบ พิธีและความรู้สึก
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 53
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.1.1 คำนิยามและการให้ความหมาย ทั่ ว ไป ออกั ส ติ น สุ กิ โ ย ปิ โ ตโย (2552) ให้ ความหมายเกีย่ วกับความยุตธิ รรมไว้วา่ “ความ ยุ ติ ธ รรม ไม่ ส ามารถบอกได้ ว่ า มั น คื อ อะไร แต่ สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ สำหรั บ ความยุ ติ ธ รรมอยู่ ที่ ว่ า จะมองอย่างไร มองในแง่ไหน และมีเป้าหมาย อย่างไร” ความยุติธรรม ย่อมมีองค์ประกอบ หรือแนวคิดอื่น ๆ ในหลักการที่แตกต่างกันไป ซึ่ ง เป็ น ความยุ ติ ธ รรมหรื อ ไม่ ยุ ติ ธ รรมก็ ไ ด้ ในอีกแง่มุมหนึ่งการพูดว่าเป็นความยุติธรรม แต่ในความเป็นจริงนัน้ ตรงข้ามกันสิง่ นัน้ อาจจะ ไม่ยุติธรรมก็ได้ เพราะความยุติธรรมของคน หนึ่งคงจะไม่ยุติธรรมสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ ซึง่ บางที เจาะจงไม่ได้วา่ ความยุตธิ รรมคืออะไร และบางครั้งสิ่งนั้นสัมผัสได้ รับรู้ได้ รู้สึกได้ว่า สิ่งนั้นคือความยุติธรรม 2.1.2 คำนิ ย ามและความหมายทาง ศาสนา ความยุติธรรมทางศาสนา สอนให้มอง ชีวิตในภาพรวม และมองภาพอย่างต่อเนื่อง ในชีวติ ปัจจุบนั ของโลกนี ้ กับชีวติ ในอนาคตของ โลกหน้า หมายความว่าเป็นการอธิบายความ ยุติธรรมที่มีความผูกพัน ระหว่างชีวิตนี้กับชีวิต อีกภพหนึ่ง ในมิติของการกระทำที่เกี่ยวกับ ศีลธรรม ความยุติธรรมในแง่มุมนี้กล่าวได้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” (วุฒิชัย อ่องนาวา, 2553: 63)
54 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ความหมายของความยุ ติ ธ รรมทาง พุ ท ธศาสนาก็ เ ตื อ นว่ า สวรรค์ เ ป็ น รางวั ล นรกเป็นบทลงโทษ แต่เป้าหมายที่สูงกว่านี้ ไม่ใช่แค่การทำความดีเพราะกลัวที่จะตกนรก หรือทำความดีเพราะอยากได้รับสิ่งตอบแทน เหนือสิ่งอื่นนั้นคือ การทำความดีด้วยเมตตา– ธรรม ในแง่มุมศาสนาคริสต์ เป็นการกระทำ เพือ่ ทีจ่ ะรักพระเจ้าเป็นความหมายและเป้าหมาย สูงสุดของความยุติธรรมทางศาสนาเทวนิยม (สุวรรณา สถานอนันท์, 2550: 152) แต่ทว่า ความหมายทางพุทธศาสนาไม่ได้มีคำนิยาม โดยตรง เพราะเมื่อพูดถึงความยุติธรรมแล้ว บางครั้ง ขัดคุณธรรมความดีอื่น เพราะพุทธ– ศาสนาเชื่อว่าชีวิตขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรม ผล ที่ เ กิ ด ไม่ ใช่ ค ำตอบที่ แ น่ น อน เหนื อ สิ่ ง อื่ น ใด การให้ความเมตตาธรรมแก่ผู้อื่น ให้อภัยผู้อื่น จึ ง เป็ น ความยุ ติ ธ รรมอย่ า งแท้ จ ริ ง (กี ร ติ บุญเจือ, 2553) สมเกี ย รติ ตรี นิก ร (2552) กล่ า วว่ า ความยุติธรรม คือ ความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า (Righteousness) หรือเป็นความเที่ยงตรงต่อ พระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงถูกเรียกว่ายุติธรรม ทีท่ รงเปีย่ มด้วยความเมตตากรุณา ทรงเป็นองค์ ทีน่ า่ เชือ่ ถือทีส่ ดุ พระองค์ทรงเป็นผูน้ ำความรอด ดังนัน้ ความยุตธิ รรมจึงมุง่ ไปสูพ่ ระประสงค์ของ พระเป็นเจ้าของมนุษย์ที่มีต่อกฎบัญญัติของ พระเจ้าด้วยความมั่นคง เพราะสิ่งที่มนุษย์จะ
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
ได้ รั บ นั้ น คื อ ความชอบธรรมที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ใน ตัวเขาเอง 2.1.3 คำนิยามและความหมายความ ยุติธรรมทางกฎหมาย ความยุติธรรมในทาง กฎหมายเป็นความยุติธรรมที่อยู่ในการดำรง ความสั ม พั น ธ์ ที่ ถู ก ต้ อ งของบุ ค คล ระหว่ า ง บุคคล กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในทุกภาคส่วนของ สังคม และในสังคมใหญ่ จึงกล่าวได้ว่าความ ยุติธรรมทางกฎหมายคือ การที่มนุษย์ทุกคน ยอมรับกัน เคารพปฏิบัติต่อกันและกัน เพื่อ นำมาซึ่ ง ความยุ ติ ธ รรมในการแบ่ ง ปั น การ ช่ ว ยเหลื อ กั น ทำให้ ม นุ ษ ย์ ด ำรงชี วิ ต อย่ า ง สมบูรณ์ทุก ๆ ด้านของสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้าน เศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง และวั ฒ นธรรม (อัจฉรา สมแสงสรวง, 2553: 3) ความหมายในเชิ ง กฎหมายชี้ ใ ห้ เ รา เห็นความสำคัญของเป้าหมายประการหนึ่ง คือการทำให้สังคมนั้นมีความหมาย มีความ สงบสุ ข ได้ ต้ อ งอาศั ย ความยุ ติ ธ รรม ความ ยุ ติ ธ รรมนั้ น ก็ คื อ กฎเกณฑ์ ที่ เ ป็ น ตั ว นำทาง สังคมให้เจริญพัฒนา เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่รักษา ปกป้อง พิทักษ์ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ใน สังคมมนุษย์ ดังนั้นความหมายของความยุติ– ธรรมทางกฎหมาย กล่าวได้ว่าเป็นหลักการ อย่างหนึ่ง ที่มีความสำคัญเพื่อประโยชน์ของ ความเทีย่ งธรรม หรือมิตทิ ก่ี อ่ ให้เกิดคุณค่าทาง ด้ า นศี ล ธรรม เป็ น เสมื อ นมาตรฐานอั น พึ ง
เคารพ เนื่ อ งจากเป็ น สิ่ ง ที่ จ ำเป็ น ของความ เป็ น ธรรม ที่ จ ะปกป้ อ งสิ ท ธิ ข องประชาชน (จรัญ โฆษณานันท์, 2547: 89) 2.1.4 คำนิยามและความหมายความ ยุติธรรมในทรรศนะทางปรัชญา เป็นการมอง คุณค่าที่แตกต่างกันไปซึ่งก็ไม่ผิด แต่บางทีก็ไม่ ถูกถ้าถามว่าสิ่งที่ทุกคนยอมรับด้วยกันได้นั้น คืออะไร สิ่งต่าง ๆ ที่นักปรัชญาหลายท่านได้ พยายามมอง เสนอความคิ ด มองคุ ณ ค่ า ที่ ต่างกันไป “ปรัชญา” ไม่ผิด แต่เป็นอะไรที่ เป็นคุณค่าสำหรับสังคมได้อย่างแท้จริง เมื่อ กล่าวถึงความยุติธรรม ก็จะเกี่ยวข้องกับสังคม มนุษย์อย่างชัดเจน 2.2 เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความยุติธรรม สาเหตุที่สำคัญที่จะเป็นต้นตอที่จะทำให้เกิด ความยุติธรรมจะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยใน หลาย ๆ ด้านที่จะทำให้เกิดผลที่เป็นจริงและ เหมาะสม ถูกต้องได้ เป็นการวางขอบเขตของ ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะให้เกิด ความยุติธรรมในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งก็มีหลักการและแนวคิดทฤษฎีในแง่ต่าง ๆ ดังนี้ 2.2.1 เงื่อนไขทางศาสนา 1) เงื่อนไขตามหลักการทาง ศาสนาอิ ส ลาม “จงอย่ า ให้ ค วามเกลี ย ดชั ง ของสูเจ้าต่อหมู่ชนใดโดยทำให้สูเจ้าไม่มีความ ยุตธิ รรม จงมีความยุตธิ รรม มันจะทำให้ใกล้ชดิ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 55
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
กับความยำเกรงมากทีส่ ดุ ” เป็นหลักทีใ่ ห้ความ สำคัญถึงคุณค่าของการให้ความยุตธิ รรมทีไ่ ม่ได้ จำกัดเพียงหมู่มิตรเท่านั้นแต่เป็นการให้อภัย กับผู้ที่เกลียดชังด้วย 2) เงื่อนไขตามหลักการทาง คริ ส ต์ ศ าสนา ดั ง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ตรั ส ไว้ ว่ า “บุคคลใดที่หิวกระหายความยุติธรรมก็เป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รบั ความอิม่ บริบรู ณ์” (มัทธิว 5:6) จึงเป็นการที่จะต้อง “รักพระเป็นเจ้า” ซึ่งเป็นวิถีทางของพระเจ้า เป็นความยุติธรรม เป็ น รู ป แบบการดำเนิ น ชี วิ ต ของชาวคริ ส ต์ (มณฑทิพย์ เคอล์เล็น. ผูแ้ ปล, 1991:135-140) เงื่ อ นไขที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด ในการกระทำให้ เ กิ ด ความยุติธรรมตามพระประสงค์ของพระเจ้า คือ ประการทีห่ นึง่ เป็นการรักเพือ่ นบ้านเหมือน กับรักตนเอง (มธ 22, 34-40) ประการที่สอง การลบล้างอคติออกเสียจากตนเองที่ต้องเรียก ร้องการกลับใจเหมือนกับเด็ก ๆ (มธ 18, 1-5) ประการที่ ส าม คือเงื่อนไขในการรับใช้ผู้อื่น ตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า (มธ 20, 2028) ประการทีส่ ่ี คือเงือ่ นไขทีจ่ ะให้อภัยแก่ผอู้ น่ื ด้ ว ยความรั ก และอดทน (มธ 18, 21-35) ความสำคัญทั้งสี่ประการนี้จะเป็นเครื่องมือใน การสร้างความยุติธรรมและสันติอย่างแท้จริง (ลาแชนกี, 2552) 3) เงื่ อ นไขตามหลั ก การ พุทธศาสนา หลักแห่งความมีอคติเป็นสาเหตุ
56 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ที่ ตั ว บุ ค คล คื อ ประการแรกต้ อ งไม่ ล ำเอี ย ง เพราะความชอบกัน ประการที่สอง ต้องไม่ ลำเอียงเพราะความโกรธเกลียดกัน ประการ ที่ส าม ต้ อ งไม่ ล ำเอี ย งเพราะความกลั ว ที่ จ ะ กระทำดี และประการทีส่ ต่ี อ้ งไม่ลำเอียงเพราะ การหลงประเด็นหรือหลงในข้อเท็จจริง เมื่อ อคติ ทั้ ง สี่ ป ระการนี้ ไ ม่ มี แ ล้ ว ความยุ ติ ธ รรม ความสันติย่อมเกิด (ศรี จริยภรณ์, 2552) 2.2.2 เงื่อนไขทางกฎหมาย 1) มาตรา 72 บัญญัติว่า “รัฐ จะต้ อ งให้ ค วามอุ ป ถั ม ภ์ แ ละความคุ้ ม ครอง พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความ เข้ า ใจอั น ดี แ ละความสมานฉั น ท์ ร ะหว่ า ง ศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุน การนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริม สร้ า งคุ ณ ธรรม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ” (ปรีชา ช้างขวัญยืนและคณะ, 2546: 22) 2) มาตรา 75 บัญญัตวิ า่ “รัฐจะ ต้องดูแลให้มกี ารปฏิบตั ติ ามกฎหมาย คุม้ ครอง สิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของ กระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและ อำนวยความยุติธรรม แก่ประชาชนอย่างรวด เร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานของ รัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชน” (ปรีชา ช้าง– ขวัญยืน และคณะ, 2546: 22)
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
2.2.3 เงื่อนไขทางปรัชญา 1) ความยุติธรรมในการแลก เปลี่ยน เป็นความยุติธรรมที่เกิดขึ้นในความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม ซึ่งมีข้อตกลง ระหว่างกัน บนความถูกต้องและเท่าเทียมกัน เป็นการเกี่ยวข้องกันในเรื่องของการให้และ การรับ เป็นส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ และผลประโยชน์ต่อกัน พร้อมตั้งอยู่บนความ รับผิดชอบ (ความยุติธรรมในสังคม, 2553: 2) 2) ความยุตธิ รรมในการแบ่งปัน เป็นความยุติธรรมในความสัมพันธ์ของสังคม ใหญ่ที่มีส่วนช่วยเหลือและแบ่งปันทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง วิทยาการและความก้าวหน้าใน ด้านต่าง ๆ ของสังคม ทีค่ ำนึงถึงหน้าทีข่ องแต่ละ คน ต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ให้ได้เข้าถึงผล ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ด้วยความเสมอภาค อย่างเท่าเทียม (ความยุตธิ รรมในสังคม, 2553: 2) 2.3 วิธีการที่จะทำให้เกิดความยุติธรรม การทำให้เกิดความยุติธรรมได้ในสังคม จำเป็น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เพราะถ้าเมื่อขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้ว ความ อยุติธรรมจะกลับมา แม้บางครั้ง ความชอบ ธรรมในความยุ ติ ธ รรม ไม่ ถู ก ใจใครบางคน บางกลุ่ ม หรื อ บางพวก แต่ อ าศั ย หลั ก การ เงือ่ นไขต่าง ๆ ทีม่ ี จะทำให้ความหมายของคำว่า
“ความยุตธิ รรม” สมบูรณ์มากขึน้ ถ้าหากทุกคน และทุกฝ่ายได้ทำให้หลักการต่าง ๆ เป็นจริงได้ ด้วยการปฏิบัติทั้งกายและใจ 2.3.1 แนวทางการปฏิบตั ดิ ว้ ยความ ชอบธรรมในพระเจ้า เป็นวิธีการอันอ่อนนุ่ม ทำให้ เ กิ ด ความยุ ติ ธ รรมที่ ฝั่ ง ลึ ก ลงในจิ ต ใจ มนุษย์ เป็นแหล่งที่จะสร้างพลัง สามารถให้ สั ง คมเกิ ด ความสงบสุ ข ได้ ประการที่ ห นึ่ ง “ความยุ ติ ธ รรมนั้ น จำเป็ น จะต้ อ งอาศั ย การ เข้ า ใจ รู้ ตั ว ไวต่ อ สิ่ ง กระตุ้ น ของตนเองหรื อ ของคนอื่น รับความรู้สึกได้ง่าย รวมทั้งความ คิดและประสบการณ์ของคนอื่น” (ลาแชนกี้, 2552) 2.3.2 แนวทางการปฏิ บั ติ พ ลั ง ทาง จิตใจด้วยสันติวิธี การกล่าวถึงแนวทางสันติ วิธี เปลี่ยนแปลงสถานการณ์อันเลวร้ายด้วย การยึดมั่นในสันติวิธี เป็นพลังทำให้ทุกคนมี ความสุข ดังคำกล่าวของ พระไพศาล วิสาโล ที่ว่า “การใช้สันติวิธีอาจจะดูเหมือนว่า แพ้ แต่ นั่ น สามารถกลั บ กลายเป็ น ชั ย ชนะได้ ” (2549) เพราะสันติวิธีเรียกร้องให้ เราทุ ก คน มี ส ติ ไม่ ใ ห้ ค วามโกรธเกลี ย ดครอบงำจิ ต ใจ สั น ติ วิ ธี จึ ง เป็ น วิ ธี แ ห่ ง อารยชน สั น ติ วิ ธี แ ห่ ง พลังทางใจ คือการปฏิเสธการเชื่อฟังการใช้ ความรุนแรง แต่เป็นความปรารถนาดีที่ไม่มุ่ง ร้ายต่อคู่กรณี เป็นพลังที่ออกมาจากจิตใจ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 57
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3.3 แนวทางการสร้างสันติสุขใน สั ง คมตามแนวปรั ช ญาแห่ ง สั น ติ ภ าพ เป็ น แนวคิดทางปรัชญาที่จะสร้างให้สังคมมนุษย์ ดำรงด้ ว ยความยุ ติ ธ รรมและสั น ติ อั น เป็ น วัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ควรจะรักษาไว้ ดังนี้คือ การเน้นถึงสิทธิของการเป็นประชากรโลก จึง ทำให้ทุกคนมีสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองนี้ และ จะเป็นผู้ที่ได้รับมากกว่าการที่จะทำให้ถูกรอน สิทธิอันพึงจะได้รับไปในฐานะที่เป็น “ผู้อื่น” 2.3.4 แนวทางการสร้างสันติสุขให้ สั ง คมเกิ ด สั น ติ สุ ข อาศั ย กระบวนการคิ ด ทางปัญญา เป็นพืน้ ฐานทางปัญญา กล่าวได้วา่ เป็นสุขแท้ด้วยปัญญา และสามารถทำให้เกิด ประโยชน์ สุ ข ให้ กั บ สั ง คมได้ อ ย่ า งสั น ติ การ คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง เวลาที่เราคิดถึงคน อื่นอยู่เสมอ ทำให้เราคิดว่าตัวเราเล็กลง และ เวลานั้น ทำให้ความทุกข์ของเราจะกลายเป็น เรื่องเล็กน้อย เพราะฉะนั้นยิ่งเราช่วยคนอื่น มากเท่าไร เราก็จะยิ่งมีความสุขเพราะเราได้ เห็นผู้อื่นมีความสุขกับเราด้วย 2.3.5 แนวทางการสร้างสันติสุขใน สังคมแบบองค์รวม หลักการห้าประการที่จะ ทำให้สงั คมเกิดสันติสขุ ได้คอื การศึกษา ศาสนา การเมือง กระบวนการยุติธรรม และเรื่องของ สื่อทางสังคม ทั้งห้าสิ่งสำคัญนี้จะเป็นแนวทาง และตัวสร้างความยุติธรรมในสังคมได้อย่างดี
58 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
3. ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชาย แดนภาคใต้กับปัญหาความยุติธรรม 3.1 ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความ ขั ด แย้ ง ในสามจั ง หวั ง ชายแดนภาคใต้ กั บ ปัญหาความยุติธรรม สถานการณ์ความรุนแรง ได้ระเบิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา รวมทั้ง บางแห่ ง ในอำเภอจะนะ อำเภอสะบ้ า ย้ อ ย ส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา มีการเกิดความ รุนแรงอย่างต่อเนื่อง คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ผู้ท่นี ับถือศาสนาอิสลาม เป็นชุมชนมุสลิม โดย มี ก ารตั้ ง ถิ่ น ฐานในบริ เวณนี้ ม าเป็ น เวลาอั น ยาวนาน เรียกแถบนี้ว่า คาบสมุทรมลายู และ รวมบางรัฐของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ด้ ว ยในสมั ย นั้ น หลั ง จากตกอยู่ ภ ายใต้ ก าร ปกครองของรัฐสยาม ทำให้สถานะของชาว มุสลิมเป็นเหมือนชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่งและ พยายามทำให้ตนเองเป็นอิสระอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งมีสงครามเพื่อปลดปล่อยตัวเองเรื่อย มา กระทั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการส่ง คนส่วนกลางไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆ และมี การเปลี่ยนรูปแบบการปกครองในรัชกาลที่ 5 ด้วย จึงยิ่งทำให้สูญเสียการปกครอง และถูก แบ่งแยกพื้นที่ระเบียบการปกครองแบ่งพื้นที่ ออกเป็นหลายจังหวัดต่อมา เป็นการจุดชนวน ของไฟที่กำลังลุกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (ศรินธร รัตน์เจริญขจร, 2552)
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
3.2 ปั ญ หาความอยุ ติ ธ รรมกั บ ความ ไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการ เรี ย นรู้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ที่ ผ่ า นมาทำให้ ไ ด้ เ ห็ น ภาพรวมของความจริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ มี กั น มา ช้ า นานตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น หลาย ๆ เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น สร้ า งความรู้ สึ ก ไม่ ดี กั บ ทุ ก ๆ ฝ่ า ยโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ญาติ พี่ น้ อ ง ของผู้ ที่ สู ญ เสี ย ชี วิ ต รวมทั้ ง สถานการณ์ อั น เลวร้ายที่ยังมิอาจจบสิ้น จนเกิดคำถามขึ้นว่า ความยุติธรรมยังอยู่ในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้หรือเปล่า ความยุติธรรมสำหรับชาว บ้านได้รับอย่างเป็นธรรมหรือไม่ แล้วสิ่งที่รัฐ ทำไปเปี่ยมด้วยความยุติธรรมพอไหม และสิ่ง ที่ ช าวบ้ า นได้รับมันยุติธรรมสำหรับชีวิตเขา มากน้อยแค่ไหนกัน สถานการณ์หลายอย่างได้ บ่ ง บอกความจริ ง ประการนี้ ว่ า สั ง คมในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังขาดความเข้าใจ ในเรื่องความยุติธรรม ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานที่ จะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาที่สำคัญ 3.2.1 ปั ญ หาความอยุ ติ ธ รรม ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความ เป็นอยู่ของชีวิตมนุษย์ หากมนุษย์ดำรงอยู่บน พื้นฐานที่มีสภาพของเศรษฐกิจที่ดี ความเป็น อยู่ของประชาชนเหล่านั้นก็จะดีตามไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม หากใช้ชีวิตอยู่ในสภาพ เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิต
ความเป็นอยู่ของประชากรไปด้วย ดังที่เราเห็น กันอยู่ทุกวันนี้ มนุษย์เราทุกคนพยายามดิ้นรน หาเลี้ยงชีพตนเอง เพื่อได้สิ่งต้องการให้ตนเอง (สันติ อัลอิดรุส, 2550: 97) 3.2.2 ปั ญ หาความอยุ ติ ธ รรม ด้านการเมืองการปกครอง การบริหารด้านการ เมื อ งการปกครอง ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ นั้ น เป็ น ประเด็ น สำคั ญ และร้ อ นแรง ประเด็นหนึ่ง ที่มีการถกเถียงกันในแวดวงนัก รัฐศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากหลายสำนักความคิด หลายองค์ ก รทั้ ง ในและนอกราชการ ต่ า งมี ความเชือ่ ว่า ปัญหาความไม่สงบในพืน้ ทีจ่ งั หวัด ชายแดนภาคใต้เกิดจากการบริหารด้านการ เมืองการปกครองที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ ที่นับถือ ศาสนาอิสลามซึ่งวิถีชีวิตของประชาชนกลุ่ม ดังกล่าว ล้วนแนบแน่นอยูก่ บั วัฒนธรรมอิสลาม ตัง้ แต่เกิดจนตาย ในขณะทีป่ ระชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ วิถีชีวิต เป็นแบบวิถีพุทธ และเป็นกลุ่มคนที่ผูกขาด ระบบการเมืองการปกครองมานานนับตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน ความไม่สมดุลและไม่ลงตัวในรูปแบบ ทางวั ฒ นธรรมดั ง กล่ า ว ทำให้ ช าวไทยที่ เป็ น มุ ส ลิ ม ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ส่ ว นหนึ่ ง มี ค วามรู้ สึ ก ว่ า ระบบที่ เ ป็ น อยู่ ใ น ปั จ จุ บั น ไม่ เ ป็ น ธรรม ข้ า ราชการที่ ใช้ ร ะบบ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 59
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเฉพาะด้านการเมืองและการปกครองยิ่งมี ลักษณะใช้กฎหมายสองมาตรฐาน การต่อต้าน และไม่ ย อมรั บ ระบบการปกครองจึ ง ก่ อ ตั ว ขยายใหญ่ขน้ึ เป็นความรุนแรง ทีห่ ลายฝ่ายเชือ่ ว่ากำลังลุกลามไม่สู่การขอแบ่งแยกดินแดน เป็นรัฐเอกราชอยูใ่ นปัจจุบนั (จากอินเตอร์เน็ต) ดังจะเห็นได้จากกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ปัญหาการใช้อำนาจของผู้มีอิทธิพล 2) ปัญหาโครงสร้างของการบริหารประ– เทศ • ไม่บริหารประเทศให้สอดคล้องกับ โครงสร้างของประเทศ • ฝ่าฝืนหลักการกระจายอำนาจให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามโครงสร้าง ของประเทศที่เป็นรัฐเดียว 3) ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี ้ ไม่ใช่ เพียงแค่การจัดการกับระบบของการบริหาร ที่ผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามความ เหมาะสมแต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิด ปัญหาอีกด้วยเช่นกัน • การปกครองทีข่ าดความรูค้ วามเข้าใจ การขาดความรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ส ำคั ญ สำหรั บ การปกครองประชาชนมุ ส ลิ ม ในพื้ น ที่ อย่างเช่น ความรู้ความเข้าใจในเรื่องอัตลักษณ์ • การปกครองที่ ข าดความใส่ ใ จ
60 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การละเลยความใส่ใจต่อประชาชนมุสลิมใน พื้นที่ เช่น การเห็นคุณค่า การเคารพให้เกียรติ การขาดความระมั ด ระวั ง ในการแสดงออก ทั้ ง ทางคำพู ด การกระทำ การดู ถู ก ดู ห มิ่ น การข่มขู่ การเลือกปฏิบัติ 4) การปกครองที่ ข าดคุ ณ ธรรมและ ความจริ ง ใจจากการปกครองที่ ผ่ า นมายั ง สะท้อนถึงการขาดคุณธรรม ความถูกต้อง การ ละเมิดกฎหมายหรือหลักการอันเป็นสากล 5) การปกครองที่ไม่สามารถสร้างความ เชื่ อ มั่ น ไว้ ว างใจ การปกครองที่ ผ่ า นมายั ง ปรากฏเสียงสะท้อนจากประชาชนมุสลิมใน พื้นที่ 3.2.3 ปั ญ หาความอยุ ติ ธ รรมด้ า น การศึกษา ในสังคมของจังหวัดชายแดนภาค ใต้นั้น จัดว่าเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม (Culture Diversity) ซึ่งความ หลากหลายนีค้ รอบคลุมถึงเรือ่ งชาติพนั ธุ ์ ภาษา ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ศาสนา และความเชื่อ สำหรั บ ในด้ า นการศึ ก ษาของชาวไทยมลายู มุสลิมในพื้นที่น้นั มีสถาบันการศึกษาอิสลามที่ เก่าแก่ที่สุด และมีบทบาทมากตั้งแต่อดีตจน ถึงปัจจุบัน เรียกว่า “ปอเนาะ” ปอเนาะเป็น ศูนย์รวมทางอัตลักษณ์ของชาวมลายูมุสลิม เป็นสถานศึกษาเรียนรู้คู่กับสังคมมุสลิมไทย มากกว่า 500 ปี ปอเนาะเป็นองค์ประกอบหนึง่ ของกระบวนการพั ฒ นาและความเปลี่ ย น
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
แปลง ที่เปรียบเสมือนกับเกียรติและศักดิ์ศรี ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองของชาวมลายูมุสลิม แม้จะ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง การปกครองหรือเศรษฐกิจ แต่ปอเนาะก็ยังคง อยู่ในสังคมของชาวมลายูมุสลิมมาโดยตลอด จนถึ ง ปั จ จุ บั นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ส ถาบั น ศึ ก ษาปอเนาะ จำนวน 255 แห่ ง (ณ เดือนพฤศจิกายน 2547) (อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์, 2552) 3.2.4 ปั ญ หาความอยุ ติ ธ รรมทาง ด้านกระบวนการยุตธิ รรม ในห้วงเวลาระหว่าง เดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมิถุนายน 2548 มี ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การกระทำที่ ก ระบวนการ ยุตธิ รรม “ไม่ควรกระทำ” ต่อประชาชนทีต่ กอยู่ ในฐานะผู้ต้องสงสัย ผู้ถูกกล่าวหา ผู้กระทำผิด และจำเลย ต่อญาติพ่นี ้องของบุคคลเหล่านั้น ทำให้เกิดเครือข่ายของกลุ่มคนชุดใหม่คือกลุ่ม เหยื่อของกระบวนการยุติธรรมในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 4. ผลการศึกษา การศึกษาเรื่องปัญหาความยุติธรรมกับ การแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชาย แดนภาคใต้ กรณีศึกษาในความหมาย ปัญหา และวิ ธี ก ารที่ จ ะทำให้ เ กิ ด ความยุ ติ ธ รรมใน แง่มมุ ในด้านการศาสนา กฎหมาย และปรัชญา โดยการสั ม ภาษณ์ จ ากนั ก การศาสนา นั ก
วิ ช าการ นั ก กฎหมายและประชาชนทั่ ว ไป ที่จะให้ทรรศนะและความคิดเห็นในปัญหาที่ เกิดขึ้น ในความจริงเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ เกิดขึ้น ดังนี้ 4.1 จากการศึกษาและการให้ความหมาย ในเรื่องความยุติธรรม เป็นเรื่องที่สำคัญเป็น คุณธรรมพื้นฐานของคุณธรรมอื่น ๆ กล่าวได้ว่า ความยุติธรรมคือความสมดุลของชีวิต ทำให้ เกิดความสุขต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการคืน สิ่งดีให้กับผู้อื่น ความหมายของความยุติธรรม เป็นเครื่องหมายที่ทำให้สังคมเกิดสันติสุขใน การอยู่รวมกันของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านทางสังคมในพืน้ ทีค่ วามไม่สงบในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่เต็มไปด้วยความอยุติธรรม ผู้ วิ จั ย จึ ง ขอนำเสนอความจริ ง ที่ ไ ด้ ค้ น พบ อันเป็นรากฐานที่มั่นคงที่จะทำให้เกิดความ เข้าใจ และเห็นคุณค่าได้มากขึ้น เป็นต้นใน การที่ทำให้เกิดภาพแห่งสันติ ภาพแห่งความ ยุติธรรมในสังคม ประเด็ น ที่ ห นึ่ ง ผลการศึ ก ษาพบว่ า ความยุติธรรมเป็นความจริงในชีวิต เป็นความ จริงที่มีความหมายในการดำรงชีวิตในแง่หนึ่ง อาจมองว่า เป็นนามธรรมมากเกินไป ยากทีจ่ ะ เข้าใจแต่ผวู้ จิ ยั สังเกตได้วา่ เพราะความยุตธิ รรม แฝงรหัสธรรม หรือสิ่งเป็นจริงบางอย่างที่มี คุณค่า มีประโยชน์ และมีความหมายในชีวิต ของเรามากทีเดียว เพราะความยุติธรรมนั้น
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 61
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หากมองในทางศาสนา ความยุ ติ ธ รรมคื อ สิ่งที่ทำให้เกิดพลัง จากภายในสู่ภายนอก เป็น ความพลังของมนุษย์ ที่ทำให้มีการพัฒนาทาง ด้านจิตใจ เพราะความยุติธรรมที่แท้จริง คือ การทีเ่ ราไม่มคี วามยุตธิ รรม หมายความว่าเป็น ความยุติธรรมที่เราต้องแสวงหาจากความดี สูงสุดคือ พระเจ้าผูท้ รงเทีย่ งธรรมและชอบธรรม หรือความยุติธรรมเกิดจากการให้สิ่งที่ดี ๆ แก่ คนอื่ น จึ ง จะทำให้ เข้ า ใจ และสั ม ผั ส ได้ ว่ า ความยุ ติ ธ รรมนั้ น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น นามธรรมอย่ า ง ที่ คิ ด เป็ น ความยุ ติ ธ รรมที่ จ ะทำให้ ม นุ ษ ย์ มี ความหวัง และพลังในการดำเนินชีวติ ซง่ึ มนุษย์ ทุกคนเกิดมาไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็น และควร แสวงหาความดีงาม ความชอบธรรมที่มาจาก ความจริงสูงสุด ประเด็นที่สอง ความยุติธรรมในมิติของ กฎหมาย เป็ น ความยุ ติ ธ รรมที่ แ ฝงไปด้ ว ย ความรับผิดชอบทุก ๆ ฝ่าย ด้วยความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน เมื่อใดที่ผู้มีอำนาจอยู่ เหนือกฎหมาย เมือ่ นัน้ ความอยุตธิ รรมจะดำรง ในสั ง คมโดยไม่ รู้ ตั ว เพราะฉะนั้ น การมี ก ฎ ระเบียบ เพือ่ นำให้ประชาชนมีสนั ติภาพ สันติสขุ ร่วมกัน กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือของความ ยุตธิ รรม ความจริงประการหนึง่ ได้พบว่า คนใด ที่ ข าดความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ กฎระเบี ย บของ สังคม คนนั้นถือว่าเป็นคนขาดความยุติธรรม เมื่อขาดความยุติธรรม ปัญหาก็จะเกิดขึ้นใน
62 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สังคม ดังนัน้ ชีวติ ในสังคมจะต้องเห็นจิตตารมณ์ ของกฎหมายที่แท้จริงให้ได้ ทั้งทางดีและทาง บวก มิเช่นนั้นแล้วกฎหมายก็มีไว้เพื่อละเมิด หรือมีไว้เพื่อหลีกเลี่ยง โดยที่ไม่เข้าใจเป้าหมาย ที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การเข้าใจความหมายใน มิตนิ ท้ี ำให้เราเป็นคนทีม่ คี วามน่าเชือ่ ถือมากขึน้ ด้วยเหตุที่ว่า ความยุติธรรม คือ ความถูกต้อง ไม่เอนเอียง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ถ้าหากทุกคนทำได้ สังคมจะดำรงด้วยความ ยุติธรรมอย่างมีความหมาย และเมื่อกล่าวถึง ความยุติธรรมในแง่ของเหตุผล จะหมายถึง ความสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลที่กระทำ ประเด็ น ที่ ส าม จากการศึ ก ษาผู้ วิ จั ย พบว่าความยุติธรรมยังหมายถึงความจริงที่จะ ต้องเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์แน่นอน คือ ความ หมายในความสั ม พั น ธ์ ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ใ น สังคม และบุคคลรอบข้าง เพราะทุกคนมีชีวิต มี ล มหายใจ มี ค วามคิ ด สติ ปั ญ ญา ที่ อ ยู่ บ น โลกนี้ เ หมื อ นกั น เป็ น ความหมายของความ ยุติธรรมเชิงกว้าง เป็นสิ่งที่เราจะต้องออกจาก ตนเอง ความยุ ติ ธ รรมไม่ ใช่ เ พี ย งแค่ ค วาม พึ ง พอใจของเราเพี ย งอย่ า งเดี ย ว แต่ ค วาม ยุติธรรมจะต้องเป็นในเรื่องของการเป็นคนดี เป็นคนดีในที่นี้หมายถึง การคิดถึงผู้อื่น คิดถึง ในสิ่งที่เขาเป็น ในสิ่งที่เขาจำเป็น และเป็นสิ่ง ที่ เขาควรจะได้ รั บ อย่ า งจำเป็ น ซึ่ ง สิ่ ง นี้ จ ะ เป็ น คุ ณ ค่ า ต่ อ ตนเองและผู้ อื่ น ซึ่ ง จะทำให้
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
ความหมายของความยุ ติ ธ รรมเป็ น จริ ง ใน สั ง คม ซึ่ ง จะต้ อ งอยู่ ใ นกรอบแห่ ง คุ ณ ธรรม และศีลธรรม ดังนั้นความหมายของความยุติธรรมจึง เป็นสิ่งที่สามารถรู้และเข้าใจได้ เพราะเป็นราก ฐานของสังคม และการเข้าใจความหมายของ ความยุติธรรมจะทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้นใน การกระทำคุณงามความดีท้งั ต่อตนเองและต่อ ผู้อ่ืนความยุ ติ ธ รรมจึ ง เปรี ย บกั บ การเคลื่ อ น ไหว เป็ น การเคลื่ อ นที่ อ อกจากตนเอง ไปสู่ ผูอ้ น่ื กล่าวคือ ความยุตธิ รรมเป็นความสัมพันธ์ กับการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของสังคม 4.2 จากการศึกษาเรื่องปัญหาความยุติ– ธรรมและปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ที่ จ ะ วิเคราะห์ปัญหาความยุติธรรม และสาเหตุที่ ทำให้เกิดความอยุติธรรมจากทรรศนะในด้าน ต่ า งๆ อาศั ย การสั ม ภาษณ์ จ ากมุ ม มองทาง ศาสนา นักวิชาการ นกั กฎหมาย และประชาชน ทั่วไป ในการให้ทรรศนะในเรื่องความหมาย ของความยุติธรรม สาเหตุของความอยุติธรรม ที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ และวิธีการทำให้เกิดความ สงบสุข ซึ่งเป็นแนวทางที่เพิ่มความยุติธรรมให้ เกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งยัง สามารถที่ทำให้ค้นพบความจริงที่เกิดขึ้นใน สังคม เป็นความจริงที่ทำให้เห็นว่าสังคมกำลัง
ตกอยูใ่ นความอยุตธิ รรม และความจริงนัน้ เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงอย่างมากหลาย อันสถานการณ์ที่ทำให้กลับมาทบทวนร่วมกับ ความจริงที่ควรจะเกิดขึ้นในหนทางที่ดีกว่านี้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้วิจัยได้ค้นพบในการทำวิจัยเรื่องนี้ จึงขอสรุปและอภิปรายผลดังนี้ ผลการศึกษาผู้วิจัยพบว่ามีงานเขียนที่ เกีย่ วข้อง และมีแนวคิดทีส่ นับสนุนปัญหาความ อยุติธรรมที่เกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง เสาวนีย์ จิตต์หมวด (2553) กล่าวไว้ว่า “เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ที่สร้างความบอบช้ำ ขึ้นในจิตใจ และบ่มเพาะความรุนแรงขึ้นในใจ จากความอยุ ติ ธ รรมที่ เจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ ทั้ ง ที่ เ ป็ น พุ ท ธและมุ ส ลิ ม สร้ า งไว้ บ นฐานแห่ ง อำนาจ ตลอดจนความไม่เข้าใจกัน ความหวาดระแวง กัน” ดังนั้นประเด็นที่เกิดจากความอยุติธรรม มีดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง เกิดจากความมี “อคติ” เป็นการคิดและเข้าใจทางที่ผิด ทางลบ เป็น การเกิดความมีอคติของผู้นำบางคนที่กล่าวว่า “ไม่เป็นธรรม” ย่อมจะมีลักษณะที่มองผู้อื่น ด้วยการดูถกู เหยียดหยาม กดขีป่ ระชาชน และ ในงานเขียนของ เสาวนีย์ จิตต์หมวด (2553) มีการสรุปทีส่ อดคล้องกันว่า “อคติทม่ี อี ยูใ่ นจิต ปิดบังทัง้ ความจริง ความงามและความถูกต้อง ชอบธรรม หากให้ประชาชนมุสลิมเป็นฝ่าย ประเมินเจ้าหน้าที่ คงไม่พน้ คำตอบว่า เจ้าหน้าที่
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 63
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มี อ คติ ต่ อ ชาวไทยมุ ส ลิ ม เชื้ อ สายมลายู ใ น ภาคใต้สูง และจากความรู้สึกที่สั่งสมจากการ ถูกปฏิบตั กิ ค็ งหนีไม่พน้ ว่า ประชาชนก็มอี คติตอ่ เจ้าหน้าทีร่ ฐั ด้วยเช่นกัน” ดังนัน้ เป็นสาเหตุของ ความมีอคติที่ไม่ยุติธรรม และไม่เป็นธรรมใน แง่ที่ไม่เป็นธรรมต่อตนเอง ในหน้าที่ที่ตนเอง ได้รับมอบหมาย เพราะยิ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ สูง ก็จะต้องเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่ จะต้องมี ความจริงใจ ซื่อสัตย์ เพราะเด็กไม่มีอคติ จึง แสดงให้เห็นว่า สาเหตุของปัญหาจึงขาดการมี คุณธรรมที่ไม่ได้รับการปลูกฝัง และทำให้เกิด ความอยุติธรรมกับผู้อื่น ประเด็นที่สอง เกิดจากความอยุติธรรม ในเรื่องของ “อำนาจ” เป็นการใช้อำนาจแบบ ไม่พอเพียง และไม่เพียงพอ จึงเห็นได้วา่ ปัญหา ที่ก่อให้เกิดความรุนแรงนั้น คือ การใช้อำนาจ การบังคับใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ อำนาจการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทุก ความสำคัญที่เสนอมานี้ก็คือ “สิ่งที่เป็นความ อยุติธรรมต่อผู้อื่น” อย่างไม่เท่าเทียมกันใน สังคม เป็นความจริงที่ผู้วิจัยเห็นว่า เมื่อใครที่ มีอำนาจ ความจริงบางอย่างประชาชนไม่อาจ เข้าถึงได้ จึงเป็นความอยุติธรรมที่ถูกครอบงำ ภายใต้อำนาจของคนใดคนหนึ่ง เป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะใน เรื่องคอรัปชั่น การใช้ความรุนแรง เป็นต้น ประเด็นที่สาม ความอยุติธรรมในเรื่อง
64 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
“ท่าทีของความแตกต่าง” ความอยุติธรรมที่ เกิ ด จากความแตกต่ า งในเรื่ อ งของเชื่ อ ชาติ ภาษา วัฒนธรรม และศาสนา เพราะความ แตกต่างเหล่านี้เองจึงทำให้เกิดท่าทีแห่งการ มองด้วยความอยุตธิ รรม ว่าเขาด้อยกว่า ต่ำกว่า หรือไม่ใช่กลุ่มไม่ใช่พวกตัวเอง จึงทำให้เกิด การกระทำที่ขัดต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ชอบธรรม พร้ อ มทั้ ง เป็ น การแสดงออกถึ ง ความรู้ สึ ก ที่ อ ยู่ ภ ายในด้ ว ย เมื่ อ มองในท่ า ที เช่ น นี้ แ ล้ ว การกระทำย่ อ มกระทำด้ ว ยความพึ ง พอใจ ของตนเองเป็นหลัก ไม่เข้าใจในความรู้สึกของ คนอื่น หรือปัญหาที่เขากำลังประสบอยู่ จึง ทำให้เข้าไม่ถึงเขา และขาดความอยุติธรรมไป ในที่สุด ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ ปัญหาในเรื่อง สิทธิ ความเสมอภาค และเสรีภาพ เพราะการ มีท่าทีของความแตกต่าง ดั ง นั้ น จากการศึ ก ษาปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ความคิดของกลุม่ ผูร้ ใู้ นด้านต่าง ๆ จึงเป็นเครือ่ ง ชี้ วั ด ได้ ว่ า ปั ญ หาต่ า งๆที่ เ กิ ด ขึ้ น ในพื้ น ที่ ส าม จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่เกิดจาก ส่วนลึก หรือเป็นรากเหง้าของความรุนแรงที่ เกิดขึ้นก็คือ “ความอยุติธรรม” ทุกแง่มุมต่าง ก็ให้มุมมองในด้านต่าง ๆ แต่ที่สุดแล้วก็ต้อง มีความคิดเห็นเป็นเสียงเดียวกันในปัญหาที่ เกิ ด ขึ้ น ว่ า เป็ น ความอ่ อ นแอของสั ง คมไทย ที่ ก ำลั ง ประสบอยู่ ข ณะนี้ ที่ จ ะต้ อ งเร่ ง แก้ ไข และฟื้นฟูให้เกิดขึ้นมาใหม่
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
4.3 จากการศึ ก ษาแนวคิ ด วิ ธี ก ารและ ขบวนการที่จะทำให้เกิดความสงบในปัญหา ความไม่ ส งบในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ โดยการสัมภาษณ์จากทั้งสามแง่มุม ซึ่งมีทั้ง จุ ด เด่ น และจุ ด ด้ อ ย ที่ ค วรนำมาไตร่ ต รอง พิจารณาเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนา อันจะ ทำให้ ค วามยุ ติ ธ รรมดำรงอยู่ ใ นสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ หลาย ๆ ประเด็ น ก็ ไ ด้ ส อด คล้องกับวิธีการและแนวทางที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้วิจัยจึงนำเสนอข้อมูลและประเด็นต่าง ๆ ที่ ค้นพบ ดังนี้ ประเด็ น ที่ ห นึ่ ง เป็ น จุ ด เด่ น ที่ ผู้ วิ จั ย เห็นว่าดี และเหมาะสมในการทีจ่ ะนำมาพัฒนา ปรั บ ปรุ ง มากที่ สุ ด คื อ “การให้ ก ารศึ ก ษา” จากการศึกษาวิเคราะห์ผู้วิจัยพบว่า การให้ การศึกษาในเรือ่ งของหลักปรัชญา จะทำให้สงั คม เกิดความสงบสุข เต็มไปด้วยความยุติธรรม เพิ่มขึ้นได้ เพราะหลักปรัชญาจะสอนหลักแห่ง ความสุ ข ว่ า ความยุ ติ ธ รรมคื อ อะไร การให้ ความยุ ติ ธ รรมอย่ า งไรจึ ง จะทำให้ ทั้ ง ตนเอง บุคคลรอบข้าง และสังคมมีความสุข ไม่เพียง แค่ความชอบธรรม หรือความเท่าเทียม แต่ ความยุ ติ ธ รรมอาจเป็ น การไม่ คิ ด ถึ ง ตนเอง การรูจ้ กั เสียสละ เมือ่ ใคร่ครวญอย่างถ้วนถีแ่ ล้ว จะเป็นแนวทางในการทำให้เกิดความยั่งยืน ทางความคิด และเป็นการปลูกฝังคุณธรรมอันดี รากฐานอันมั่นคงให้กับสังคมด้วย มีงานเขียน
เล่ ม หนึ่ ง ได้ บ อกถึ ง ความสำคั ญ เกี่ ย วกั บ การ ศึกษาดังที ่ กิง่ อ้อ เล่าฮง (2549: 215) กล่าวว่า “ปัญหาส่วนหนึง่ เกิดจากวิถชี วี ติ และวัฒนธรรม ของคนชุ ม ชนมุ ส ลิ ม ที่ มั ก จะไม่ ไ ด้ อ อกไปติ ด ต่อกับสังคมภายนอก มีการศึกษาน้อย โดย เฉพาะพวกกลุ่มผู้หญิงและเด็ก จึงทำให้ชักจูง และเชื่อถือข่าวลือได้ง่าย” ด้วยเหตุนี้จึงเป็น เหตุผลที่น่าจะทำให้เกิดกระบวนในการพัฒนา การศึกษาอย่างจริงจัง ประเด็นที่สอง คือการใช้กระบวนการ “สันติวิธีท่เี กิดจากภายใน” ผู้วิจัยคิดว่าจะเป็น แนวทางที่ดีที่สุดในเวลานี้ และปัจจุบันนี้ที่จะ ทำลายม่ า นแห่ ง ความไม่ รู้ หรื อ กำแพงแห่ ง ความตาย อันจะทำให้สังคมเสื่อมลงขึ้นทุกวัน เพราะสันติวิธีจะสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น ในสังคม กล่าวได้อีกอย่างว่า เป็นแนวคิดที่จะ สร้างสันติสุขให้กับตนเองและผู้คนรอบข้าง อาศัยขบวนการทางปัญญา คือการแสวงหา ความสุขแท้ด้วยปัญญา ความคิดอย่างมีเหตุ และผล จึ ง เป็ น การตอบสนองความชั่ ว ด้ ว ย ความดี เมื่อมีความรุนแรงก็สยบด้วยความรัก และไมตรีโดยเริ่มจากจิตใจ ที่จะเป็นพลังขับ เคลื่อนให้เกิดขบวนการสู่ภาคปฏิบัติ เป็นพลัง จากภายในทีจ่ ะทำให้ตนเองและผูอ้ น่ื มีความสุข ดังนั้นจะต้องคิดดี เมื่อคิดดี การกระทำก็จะดี เพราะฉะนั้นวิธีนี้จึงเป็นการสะสมพลัง เสริม สร้างความยุติธรรมให้กับตนเองและสังคม
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 65
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดั ง นั้ น จากผลการศึกษาและวิเคราะห์ จึงเป็นการตอบคำถามในวัตถุประสงค์ ทุกข้อ จึงเป็นแง่มุมที่แตกต่างกันในการนำเสนอ ผู้ วิจยั มีความคิดเห็นว่าเป็นแนวทางทีด่ ที จ่ี ะทำให้ เข้าใจในสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น 5. อภิปรายผล หากจะให้ คุ ณ ค่ า และความหมาย ซึ่ ง เป็นความงามที่ผู้วิจัยได้มองเห็นคุณค่าเล็ก ๆ น้ อ ย ๆ เป็ น เพี ย งการค้ น พบมุ ม มองหนึ่ ง เหมือนกับเมล็ดพืชเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่ง ที่มีคุณค่า และนำมาทำให้เกิดประโยชน์ในทางความคิด ต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป และเมล็ดนี้อาจจะเป็นสิ่ง สร้างรากฐานให้กับชีวิต เพราะเมล็ดที่กำลัง ปลูกอยู่นี้แฝงไปด้วยคุณธรรมหลาย ๆ อย่าง ให้ได้พบความจริงบางอย่าง และอาจทำให้เกิด ผลได้อย่างมีความหมายต่อชีวิต ดังนั้นผู้วิจัย จึงนำเสนอคุณค่าและความจริงทางปรัชญา กั บ ปั ญ หาความไม่ ส งบในสามจั ง หวั ด ชาย แดนภาคใต้ที่สะท้อนให้เห็นความจริงหลาย ๆ อย่าง ที่จะทำให้เราเข้าใจในการดำรงชีวิตบน โลกนี้มากขึ้น ถึงแม้ว่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีความเป็นไปได้ น้อยที่สุดหรือมากที่สุดในการที่จะทำให้เกิด
66 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การยุตใิ นความรุนแรง หรือจะทำให้เกิดสันติสขุ ยุติธรรมในสังคม แต่หากอยู่ที่ว่า เราต้องการ มันมากน้อยแค่ไหน เราพร้อมที่จะต่อสู้กับมัน ลงทุ น กั บ มั น มากพอหรื อ ยั ง และบทเรี ย นที่ เกิดขึ้นมาเป็นเวลาอันยาวนานจะเป็นบทสอน เป็ น สิ่ ง ที่ เ ตื อ นใจเราได้ เ พี ย งไร ผู้ วิ จั ย จึ ง ขอ สะท้ อ นความคิ ด จากชายคนหนึ่ ง ที่ มี ค วาม ปรารถนา เป็นความฝันที่จะทำให้สังคมได้เห็น ความจริ ง ที่ ท ำให้ ค ำนึ ง ว่ า สั ง คมควรแก้ ไข ปรับปรุง และพัฒนาไปในทางที่ดีกว่านี้ ดังงาน ความคิดของ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ (2550) ที่มี ประสบการณ์ตอ่ พืน้ ทีใ่ นภาคใต้ แสดงทรรศนะ ว่า “เราควรเป็นมิตรกันมิใช่หรือ ในเมืองอัน งดงามเช่นนี้ เราควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกันมิใช่หรือ ในสังคมที่เต็มไปด้วยความ แตกต่างหลากหลาย ยากจะหาทีใ่ ดเสมอเหมือน” เป็นความหมายที่ดี พร้อมทั้งเป็นเครื่องหมาย ที่จะทำให้เรามองสิ่งที่เกิดขึ้น ให้เห็นคุณค่า และความหมายกั บ การที่ ป ระเทศไทยได้ มี บทเรียนราคาแพง ในการสูญเสียชีวิตหลายพัน คน อันเป็นราคามหาศาล จากความอธรรม ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้นปัญหาความ ไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้นั้นไม่ได้ไกลเกินตัว เราเอง แต่มันควรเป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของ เรา เมื่อมีส่วนอื่นได้รับความเจ็บปวด เราก็ต้อง เจ็บเหมือนกัน เพราะไม่เช่นนั้น สันติสุขจะ เกิดไม่ได้ ความเจ็บปวดนั้นอาจลุกลามมาหา
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
เราได้ในที่สุด ดังนั้นเป็นความจริงที่เราต้อง แลกเปลี่ ย นกั น โดยไม่ คิ ด ถึ ง ความแตกต่ า ง ความแตกต่างไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ดี หากแต่เป็น ความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นสิ่งที่จะทำให้ เราคำนึงถึงพืน้ ฐานทีเ่ รามี ในศักดิศ์ รีทเ่ี ราได้รบั ด้วยความเสมอภาค ยิ่งมีความแตกต่างมาก เท่าไรก็ควรยิ่งจะต้องทำให้เรามีความรักและ เป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น มากขึ้ น และที่ ส ำคั ญ ต้ อ ง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น เป็นการทำให้ สังคมไทย เป็นเมืองแห่งความงดงามได้ เพราะ ความจริงที่เกิดขึ้น เราอาจไม่ได้สัมผัสร่วมกัน แต่เรารูส้ กึ ร่วมกันความรูส้ กึ อันนี ้ จะทำให้สงั คม ขยาย และเติบโตในเรื่องความดีงามที่เราได้ แลกเปลี่ยนกันอย่างมีความหมายและมีคุณค่า จากการศึกษาปัญหาที่เกิดจากสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่หนักและรุนแรง เป็นสถานการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่า เป็นจุดอ่อนของ ประเทศไทย เป็นเนื้องอกที่กำลังทำลายสังคม ไทยให้เสื่อมลง พร้อมกันนี้ผู้วิจัย คิดเห็นว่า ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น สามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่เกิดขึ้นใน ทั่วสังคมไทย เป็นความจริงในปัญหาที่กำลัง แผ่ ข ยาย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ปั ญ หาในเรื่ อ ง ความอยุติธรรม ตราบใดที่ยังลดปัญหาเรื่อง ความยุ ติ ธ รรมในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาค ใต้ ไ ม่ ไ ด้ ตราบนั้ น เป็ น เครื่ อ งหมายแสดงว่ า สั ง คมไทยยั ง ไม่ เ ห็ น ความสำคั ญ ของความ
ยุตธิ รรมอย่างจริงจัง หรือสังคมไทยยังไม่พฒ ั นา ในคุณธรรม และคุณงามความดี ด้วยเหตุนี้ ทุ ก ๆ ที่ จ ะมี แ ต่ ค วามไม่ ช อบธรรม ความไม่ เสมอภาค จึงกล่าวได้ว่าปัญหานี้กำลังเป็นเชื้อ ร้ายอย่างหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน โดยไม่ร้ตู ัว เมื่อไม่ร้ตู ัว ไม่มีสติ ปัญญาก็ไม่เกิด ความหายนะก็มาเยือนสังคมก็เป็นได้ จากการศึกษาในเรื่อง “ความยุติธรรม” กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งกาลเวลา และ เป็ น สั ญ ญาณเตื อ นสั ง คมที่ จ ะต้ อ งกลั บ มา ค้นหาความจริง ฟื้นฟูความหมายและคุณค่า อย่ า งจริ ง จั ง ในสั ง คม ดั ง แนวคิ ด ปั จ จุ บั น ที่ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ผู้นำ คริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก ได้เน้นย้ำ และ ให้ ค วามสำคั ญ พร้ อ มตั ก เตื อ นถึ ง เรื่ อ งนี้ ด้ ว ย เช่นกัน ซึ่งพระองค์ทรงยกพระวาจาตอนหนึ่ง ว่า “ความชอบธรรมของพระเจ้า ปรากฏให้เห็น โดยอาศั ย ความเชื่ อ ในพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ” (รม 3,21-22) (เฉลิม กิจมงคล อ้างในพระ สมณสาส์ น ของสมเด็ จ พระสั น ตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16, 2553) กล่าวได้ว่า เป็นความ ยุ ติ ธ รรมที่ จ ะต้ อ งสร้ า งให้ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คม ความยุ ติ ธ รรมเป็ น คำตอบของสั ง คม ความ ยุติธรรมเป็นพลวัต (Dynamic) ที่จะต้องมี ความเคลือ่ นไหว ทีจ่ ะทำให้เกิดขบวนการต่างๆ เป็นพลังในการสร้างความรักและความเมตตา ต่อผู้อ่นื ขบวนการต่าง ๆ จึงเป็นเครื่องผลักดัน
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 67
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่จะทำให้สังคมเกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง ในการมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ตั้งอยู่บน ความชอบธรรมที่ ม าจากพระเจ้ า ตั้ ง อยู่ บ น ความชอบธรรมที่ทุกคนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ มีลมหายใจ มีสติปัญญา มีเหตุผล และอาศัย อยู่ในโลกใบเดียวกัน จึงนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์กับชีวิตเรา โดยตรง กับเส้นทางชีวิตที่เราเกิดมาและอาศัย ในโลกนี้ ทุ ก คนเกิ ด มาล้ ว นแล้ ว แต่ แ สวงหา ความดี ความสมบูรณ์ให้กับตนเอง แต่ทว่า สิ่ ง ที่ มี ใ นตั ว แต่ ล ะคนได้ รั บ ไม่ เ หมื อ นกั น มี ความแตกต่างกัน มีหนทางทีเ่ กิดต่างกัน ถึงแม้ จะเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเสริมสร้าง สิ่งที่ผู้อื่นขาดหาย หรือแสวงหาในสิ่งที่เรายัง ไม่มีเพียงพอ สิ่งนั้นก็คือความหมายของความ ยุ ติ ธ รรม ซึ่ ง เราสามารถจะเห็ น คุ ณ ค่ า และ ความดีในตัวมันได้ เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นแนวทางในการสร้าง สิ่งดีงามให้กับสังคม คล้ายกับว่าเป็นความจริง หลาย ๆ อย่างทีเ่ ป็นองค์ประกอบรวมกัน ทีเ่ ป็น รูปแบบของความยุติธรรม จะทำให้เราสัมผัส ได้ถึงแก่นของความยุติธรรมอย่างแท้จริง เป็น เสมือนความจริงสากลทีจ่ ะทำให้เราเข้าใจ และ สัมผัสกับมันได้และถ่ายทอดได้ในความรู้สึก อันเดียวกัน
68 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปั ญ หาในสามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ก็ เช่นเดียวกัน สะท้อนให้เห็นความจริงประการ หนึ่งว่า เป็นปัญหาในตัวตนของแต่ละคน เป็น สั น ดานดิ บ ของแต่ ล ะคนก็ ว่ า ได้ เพราะการ มองในแง่มุมของความยุติธรรมสามารถกล่าว ได้ว่า บุคคลคนหนึ่งย่อมมีดีและเลวในตัวเอง และความดี ค วามเลวจะมี ร ะดั บ ไม่ เ ท่ า กั น เมื่อไรที่มีความเลวมากความยุติธรรมในสังคม ก็จะน้อยลง ถ้าหากเมือ่ ไรทีค่ วามดีมากจะทำให้ สังคมมีความยุติธรรมมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญ ที่ ค วรจะมองคื อ ความไม่ ดี ข องเขา เราจะ ทดแทนให้ได้อย่างไร หรือถ้าเราเองที่ไม่ดีเอง เราจะสามารถทำอย่างไรที่ทนแทนให้กลับมา ได้ สิ่งนี้เป็นความยุติธรรมที่เราสามารถมอง ได้ สั ม ผั ส ได้ ดั ง นั้ น ความยุ ติ ธ รรมจึ ง ไม่ ใช่ ความเท่าเทียมหรือความเสมอภาคเสมอไป ผู้ วิ จั ย จึ ง ขอเสนอความคิ ด หนึ่ ง ที่ ส ามารถค้ น พบได้ว่า ความยุติธรรมเปรียบกับการวางถัง น้ำไว้บนเรือลำหนึ่ง ถังทั้งสองจะวางไว้คนละ ด้านของเรือ ถ้าหากว่าถังข้างไหนหนักกว่า เรือก็จะจมแน่นอน ในทำนองเดียวกัน เมื่อไหร่ ที่ใครคนหนึ่งมีความดียังไม่พอ เราควรจะเป็น ส่วนหนึ่งที่จะเติมเต็มให้น้ำในถังมีความดี พอที่ จะทำให้เรือคงอยู ่ พอทีจ่ ะทำให้สงั คมพัฒนาไป มากกว่าที่จะทำให้สังคมจมลง แต่เมื่อเราขาด หรือไม่เพียงพอ เราก็ควรจะเป็นฝ่ายที่จะไป แสวงหาและทดแทนในสิง่ ทีเ่ สียไป อาศัยบุคคล
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
อื่นเช่นกัน ดังนั้น สังคมเราก็จะอยู่ด้วยกันอย่าง สันติสุขได้ และสังคมจะไม่จมน้ำอย่างแน่นอน เมื่อเราเริ่มต้นที่จะเสริมสร้าง ส่งเสริม และ ให้คณ ุ ค่าทีด่ ตี อ่ กันและกัน สิง่ ทีเ่ ขาขาดไป ทำให้ เราเข้าใจเขา คิดถึงเขา สิ่งนั้นยังจะเพิ่มความ มั่นคงให้กับสังคมของเราได้ด้วย สังคมจึงจะ เต็มได้ด้วยความชอบธรรม ความเที่ยงธรรม และความเสมอภาคในที่สุด ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงขอนำเสนอความรูส้ กึ ของ หญิงซึ่งอาศัยอยู่ที่ภาคใต้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ความยุตธิ รรมเป็นความดีสงู สุดทีเ่ ราทุกคนควร สร้างให้เกิดขึน้ ในสังคม ดังที ่ วิลาวัณย์ ต่วนเพ็ง (2552) กล่าวว่า “ทำอะไรอย่าไปหวังผลตอบ แทนมาก แค่ทำแล้วสบายใจ พระเจ้าทรงรับรู้ สิ่งที่เราทำก็เป็นสุขแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าเรา สั่งสมความดีไว้ ตายไปก็ยังมีคนสรรเสริญ แต่ ถ้าไม่เคยสร้างความดีให้กับตัวเองและผู้อ่นื เลย ยังไม่ทันเข้าหลุมก็จะมีคนนินทาว่าร้าย โดย เฉพาะชาวมุสลิม เมื่อสิ้นลมหายใจก็มีเพียง ผ้ า ขาวเท่ า นั้ นที่คลุมร่างติดตัวไป ทรัพย์สิน ศฤงคารก็เอาไปไม่ได้” (ฝนกลางไฟ, 2552:62) เป็นความดีที่เขาแสวงหา และต้องการโดยมี พระเจ้าทรงเป็นความดีท่เี ขานับถือ และเชื่อว่า เขาจะทำดีนั้นได้อาศัยพระเจ้า สิ่งที่ได้รับการ ตอบแทนจากความดีที่เขากระทำไม่ใช่เรื่องผล ประโยชน์ หรือทรัพย์สินเงินทอง แต่สิ่งที่เหนือ
กว่านั้นคือ “ความสุข” เป็นความยุติธรรมที่ดี ที่สุดสำหรับเขา ผู้วิจัยยืนยันว่า เมื่อใดที่เรา ทุกคนคิดได้เช่นดังผู้หญิงคนนี้ คงจะตอบได้ว่า เป็นความยุติธรรมจริงแล้ว ที่ฉันได้รับ ที่ฉัน ได้มี และนี่ คื อ บทเรี ย นอั น มี คุ ณ ค่ า และมี ความหมายที่ผู้เขียนได้รับจากส่วนหนึ่งของ ความรู้สึก ถึงแม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรง และปั ญ หาที่ รุ ม เร้ า ในสามจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ จะเป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัว และโหดร้าย ที่ทำลายความรู้สึกผู้คนทั้งประเทศ แต่กระนั้น ก็ ดี เ ป็ น สิ่ ง ที่ ท ำให้ ผู้ วิ จั ย ได้ เ ห็ น ความงามที่ เกิดขึ้น เป็นความดีงามที่ทำให้ผู้วิจัยได้ย้อน มองกลับมามองชีวิต ว่าความจริงที่เกิดขึ้น จะ สามารถทำให้เกิดความเป็นจริงในตนเองได้ อย่างไรกับท่าที มุมมอง ความรู้สึก และความ จริงที่ได้รับผ่านทางประสบการณ์ที่ลงทุนด้วย ชีวิตของผู้คนมากมาย จึงขอสรรเสริญบรรดา วิญญาณผู้ที่เสียชีวิตไปด้วยความอาลัย และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาในครั้งนี้จะเป็น พื้นฐานที่มั่นคง ที่จะจุดประกายให้ตัวผู้วิจัย ได้มีกำลังใจ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมใน วันข้างหน้าอย่างไม่ย่อท้อ ทั้งนี้เพื่อคุณความดี และประโยชน์สุขของสังคม ตอบแทนผู้ที่ได้ สร้างความหมายให้มันเป็นจริงขึ้นมาด้วยชีวิต และหัวใจ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 69
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อเสนอแนะ 1. งานวิจัยฉบับนี้อาจเป็นการศึกษาใน แง่มมุ ทีก่ ว้าง และหลากหลายทำให้มกี ารค้นคว้า หาข้อมูลในเชิงกว้าง จึงอาจจะทำได้ไม่ดีที่สุด หรือลึกที่สุด แต่ถ้าหากผู้ใดต้องการที่จะศึกษา เรื่องนี้ต่อไป ผู้วิจัยขอแนะนำว่าควรจะค้นคว้า ในแง่มุมเฉพาะทาง เฉพาะประเด็นที่สนใจ 2. ผู้วิจัยคิดเห็นว่างานวิจัยฉบับนี้ไม่ได้ มุ่งหวังที่จะแก้ไขความไม่สงบในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้โดยตรง แต่เป็นการเปิดสวิตท์ไฟ หรือเปิดประเด็นในแง่มมุ ทางวิชาการเชิงปรัชญา บรรณานุกรม กีรติ บุญเจือ. (2533). ปรัชญาสำหรับผูเ้ ริม่ เรียน.พิมพ์ครัง้ ที ่ 7. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. . (2551). คูม่ อื จริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา พลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. จรัญ โมฆณานั้นท์. (2552). วารสารฟ้าเดียวกัน: ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
70 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ทำให้เกิด คุณค่าและความหมายในความจริงบางประการ ที่ได้ศึกษามากขึ้น และยังสะท้อนให้สังคมได้ เข้าใจถึงความจริงที่เกิดขึ้นว่าควรเป็นอย่างไร และจะมีแนวทางอย่างไรในการพัฒนาต่อไป ดังนั้นสำหรับผู้วิจัยคิดว่ามีประโยชน์ที่จะเอา แง่มุม และประเด็นทางปรัชญามาวิเคราะห์ ต่อไป อาจจะเป็นในการมองปัญหาสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในแง่มุมของความทุกข์ อัตถิ– ภาวะนิยมหรือแง่มุมทางอภิปรัชญา เป็นต้น
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย และคณะ. (2548). การดำเนินกระบวรการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: เดือนตุลาคม. จอย เคอล์เล็น. (1991). คูม่ อื ศึกษาพระคัมภีรเ์ ฉลยธรรมบัญญัต.ิ กรุงเทพฯ: คริสเตียนศึกษา. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2551). แผ่นดินจินตนาการ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ชาญณรงค์ บุญหนุน พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อุดม ดีเลิศประดิษฐ์
ชุมศักดิ ์ นรารัตน์วงศ์. (2552). ใต้ความทรงจำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หัวใจเดียวกัน. เชิดชัย เลิศจิตรเลขา. (2548). คริสตศาสตร์พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ดอนบอสโก. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ์. (2552). ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยก ดินแดนในภาคใต้ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย. ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2547). กฎหมายกับความยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตสภา ในพระบรมราชูปธรรม. ปรีชา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2546). คุณค่าและการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับ ชีวิตและสังคม: โทษประหารชีวิต. กรุงเทพฯ : วิวพริ้น (1991). พระไพศาล วิสาโล. (2549). สันติวิธี วิถีแห่งอารยะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง ยาสิร อีซาและเกาซัร อีซา. ความจริงที่ไม่อาจซ่อนเร้น. กรุงเทพฯ: สายสัมพันธ์.
วรพจน์ พันธุ์พงศ์. ที่เกิดเหตุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: Open book. วุฒิชัย อ่องนาวา. (2553). ปรัชญาศาสนา. นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม. ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า. (2549). ความรุนแรงในสายหมอก : สิง่ ทีเ่ ห็นและ เป็นไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. สมภาร พรมทา. (2539). ปรัชญาสังคมและการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สีลม ไชยเผือก. (2002). คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร. กรุงเทพฯ : การพิมพ์คาทอลิกแห่ง ประเทศไทย. อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว. (2551). วารสารรูสมิแล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยาเขตปัตตานี : เอสพริ้น (2004).
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 71
ปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
สัมภาษณ์ กิตติพงษ์ เกียรติวชั รชัย. (2553, 15 มกราคม). ทนายความเขตภาคใต้. สัมภาษณ์. กีรติ บุญเจือ. (2553, 16 มกราคม). ศาสตราจารย์ และราชบัญฑิต. สัมภาษณ์. ประธาน ศรีดารุณศีล. (2553, 18 มกราคม). มุขนายกสังฆมณฑลสุราฏฐ์ธานี. สัมภาษณ์. พาลีด๊ะ. (2553, 12 มกราคม). ชาวบ้านในจังหวัดยะลา. สัมภาษณ์. มูหะหมัด เฟาซี แฮยนา. (2553, 13 มกราคม). เลขาธิการยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์. วิโรจน์ นิตตะโย. (2553, 10 มกราคม). ผู้จัดการโครงการฯ ศูนย์สังคมพัฒนา. สัมภาษณ์.
72 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ศราวุฒิ ประทุมราช. (2553, 14 มกราคม). นักสิทธิมนุษยชนภาคใต้. สัมภาษณ์. ศรี จริยภรณ์. (2553, 21 มกราคม). รองเจ้าอาวาสวัดบูรณะพระไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี. สัมภาษณ์. ออกัสติน สุกโิ ย ปิโตโย. (2553, 14 มกราคม). บาทหลวงและอาจารย์ภาควิชาปรัชญา และศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม. สัมภาษณ์. อนันต์ วันแอะลอ. (2553, 17 มกราคม). โต๊ะอิหม่าม อิสลาม. สัมภาษณ์. อาดิสน อาลีอีสเอาะ. (2553, 14 มกราคม). ทนายความศูนย์มุสลิมยะลา. สัมภาษณ์.
วิถชี วี ติ คริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง :
กรณีศกึ ษาบ้านขุนแตะอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
LifestyletheofcaseChristian and sufficiency economy: study of Ban Khuntae, Chomthong District, Chiangmai Province
ผศ.ดร.บงกชมาศ เอกเอี่ยม * วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Asst.Prof.Dr.Bonkotmas EakEyam * School of Administrative Studies of Maejo University. บาทหลวงชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง * บาทหลวงในคริสต์ศาสนาจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณทลเชียงใหม่ คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งเบธาราม Rev.Chanchai Temaroonrung * Reverend in Roman Catholic Church, Chiang Mai Diocese. Congregation of the Sacred Heart of Jesus of Betharam.
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องวิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษา ศึกษาวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ของ ชุมชนบ้านขุนแตะ หมู่ 5 ตำบลดอยแก้ ว อำเภอจอมทอง จั งหวัด เชียงใหม่ รวมทั้งความสอดคล้องของของวิถีชีวิตชุมชนบ้านขุนแตะกับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาวิถชี วี ติ ของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านสังคม พบว่า คริสตชนในบ้านขุนแตะ เป็นหมูบ่ า้ นชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรีย่ ง (สกอร์) เข้ามาตั้งหมู่บ้านอดีตในเขตลุ่มน้ำขุนแตะเมื่อ 200 ปีก่อน มีความ สัมพันธ์ในครอบครัว และชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากสมาชิก ภายในครอบครัวของคริสตชนในบ้านขุนแตะ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ เพื่อนบ้าน และเห็นความจำเป็นของการเข้าร่วมกลุ่ม วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มี อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม มีอาชีพเสริม คือ รับจ้างทั่วไป วิ ถี ชี วิ ต ของคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะด้ า นวั ฒ นธรรม พบว่ า คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาอยู่ ในระดับมากที่สุด มีความเชื่อเรื่องพระคัมภีร์ต่าง ๆ มีความเชื่อเรื่องการ กลับฟืน้ คืนชีพ มีความเชือ่ เรือ่ งชีวติ นิรนั ดร มีความเชือ่ เรือ่ งความรอดพ้น มีความเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ มีความ เชื่อเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มีความเชื่อเรื่องลิขิตที่ พระเจ้ากำหนดไว้ มีความเชื่อเรื่องพระเยซูและศาสดาต่าง ๆ มีความเชื่อ เรื่องทูตสวรรค์ ตลอดจนมีความเชื่อและปฏิบัติตามน้ำพระทัยของ พระเจ้า ผลการศึกษาวิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า คริสตชนในบ้านขุนแตะมีการทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อ ใช้ในการเกษตร ช่วยให้ดินและพืชมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีการนำ
74 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
พืชสมุนไพรมาผลิตสารไล่แมลง เพื่อทดแทนการใช้สารฆ่าแมลง ทำให้ ลดมลภาวะและช่วยรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด ความสอดคล้ อ งของวิ ถี ชี วิ ต ของคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะกั บ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงค่าเฉลี่ยคะแนนความพอเพียงในภาพรวม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของ คริสตชนในบ้านขุนแตะมีค่าเท่ากับ 4.09 ในภาพรวมวิถีชีวิตมีความ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงระดับมากโดยค่าเฉลี่ยคะแนน ความพอเพียงด้านเศรษฐกิจโดยรวมมีค่า 4.01 มีความพอเพียงด้าน เศรษฐกิจระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนนความพอเพียงด้านสังคมโดยรวม มี ค่ า 4.07 มี ค วามพอเพี ย งด้ า นสั ง คม ระดั บ มาก ค่ า เฉลี่ ย คะแนน ความพอเพียงด้านวัฒนธรรมโดยรวมมีค่า 4.16 มีความพอเพียงด้าน วัฒนธรรมระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนนความพอเพียงด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมมีค่า 4.12 มีความพอเพียงด้านสิ่งแวดล้อมระดับมาก คำสำคัญ : 1) วิถีชีวิตคริสตชน 3) คาทอลิก
2) เศรษฐกิจพอเพียง 4) เชียงใหม่
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 75
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Abstract
The purpose of this research study is to study the lifestyle of Christians people on the economic, social and cultural and the environment of Community of people in Baan Khun tae Moo 5 Doikaew subdistrict, Chom Thong, Chiang Mai, including the consistency of community life of people in Ban Khun Tae with the Sufficiency economy concept The result of the study of lifestyle of Christians in Ban Khun Tae. People are Karen who established their village about 200 years ago. On relationship: people have a very good relationship to each other. (high level). Have very good relationship with neighbors. (At a high level). And people are recognize the need of being part of community . The way of life of Christians in Ban Khun Tae on Economic: the main occupation of people is agriculture, the second occupation is employment. On culture : Most people believe in God and believe that God created man, believe in the Word in the Holy Bible, believe on the reserection and eternal life. And believe that things in nature have a good relationship with human. They believe in the relationship between Human and God, believe that God has set everything in order. They believe in Jesus Christ and believe in Prophets, ghost and angels. And believe that human must do everything to fulfill the will of God.
76 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
On the Environment : people made compost. Organic fertilizer and water use in agriculture. Allow soil and plants are rich. There are also herbs to smudge producers. To replace insecticides. Reducing pollution and help maintain environmental balance. The highest level. Consistency of the life of Christians in Ban Khun Tae touch with the concept Sufficiency Economy mean score enough in the picture as well as four areas: economic, social, cultural and environmental Christians in Ban Khun Tae is equal. 4.09 The overall way of life consistent with the sufficiency economy concept high. The average sufficiency rating of 4.01 overall economic value is high enough economy. Average sufficiency rating of 4.07 for all of society has sufficient social high average score of overall selfsufficient cultural value of 4.16 is sufficient. High culture. Average sufficiency rating of the overall environmental value of 4.12 is high enough environment. Keywords : 1) Lifestyle of Christian 2) Sufficiency Economy 3) Catholic 4) Chiang Mai
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 77
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ความสำคัญของปัญหา วิ ถี ชี วิ ต ของชาวไทยตั้ ง แต่ ส มั ย อดี ต มี ความเรียบง่าย เอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เป็นสังคมที่มีความไว้ใจกัน หลัก ศาสนา และคุณธรรมเป็นเครื่องมือยึดเหนี่ยว จิ ต ใจ แม้ ว่ า รายละเอี ย ดของคำสอนแต่ ล ะ ศาสนามี ค วามแตกต่ า งกั น อั น นำไปสู่ การ ปฏิบัติตนในรูปแบบและวิธีการที่ไม่เหมือนกัน ของศาสนิ ก ชน โดยศาสนาพุ ท ธสอนให้ ค น เดินทางสายกลาง หมายถึงชีวิตที่ไม่เคร่งครัด จนเกินไปและไม่หย่อนเกินไป ศาสนาอิสลาม สอนให้ใช้ชีวิตอย่างมัธยัสถ์ ดำรงตนในฐานะ เป็น “ผูใ้ ห้” และศรัทธาต่อพระผูเ้ ป็นเจ้า ขณะ ที่ศาสนาคริสต์สอนให้เผื่อแผ่ความรักให้กับ เพื่อนมนุษย์ และมีความเชื่อในเรื่องพระเจ้า ที่มีเพียงหนึ่งเดียว แต่อยู่ในสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต (มัทธิว 28:19) ซึ่งโดยสรุปแล้วหลักใหญ่ๆของศาสนา ทุกศาสนา คือ การดำเนินชีวติ อยูใ่ นความพอดี และไม่เบียดเบียนผู้อ่นื ฉะนั้นหากชุมชนใดที่มี นำหลั ก การคำสอนของศาสนาที่ ต นศรั ท ธา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิตแล้ว ชุมชนนั้นก็จะมีวัฒน– ธรรมที่เข้มแข็งมีการเกื้อกูลกัน และเกิดความ สามั ค คี ใ นชุ ม ชน เช่ น เดี ย วกั น ในสภาพของ สังคมปกาเกอะญอ สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ การมี ความสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งลึ ก ซึ้ ง ระหว่ า งคนใน
78 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
หมู่บ้าน มีความสัมพันธ์ในน้ำหนึ่งใจที่ดีต่อกัน เสมอ ทุกคนในหมู่บ้านอยู่กันด้วยความเป็น พีน่ อ้ งกัน ปัญหาต่าง ๆ จึงไม่คอ่ ยเกิดขึน้ ทุกคน ได้ รั บ ความสงบสุ ข แต่ เ มื่ อ วั น เวลาผ่ า นไป ความเจริญทางด้านวัตถุเข้าไปในหมู่บ้านแล้ว ทำให้การดำเนินชีวิตของคนในหมู่บ้านเปลี่ยน ไป ความสัมพันธ์ที่เคยมีให้กันเริ่มลดน้อยลง และคนเปลี่ ย นไปให้ ค วามสำคั ญ กั บ วั ต ถุ เงินทองต่าง ๆ มุ่งแสวงหาความสะดวกสบาย ให้กับตนเอง เมื่อมนุษย์มีความต้องการทาง ด้านวัตถุมากขึ้น จิตใจก็เสื่อมตามไปด้วย จึง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ปั ญ หามากมายในสั ง คม เช่ น ปัญหาความยากจน ยาเสพติด การฆ่าฟันกัน มีการเอารัดเอาเปรียบกับผู้ด้อยโอกาสและอีก มากมายที่มีอยู่ในสังคมปัจุบันนี้ ชาวบ้ า นในชุ ม ชนบ้ า นขุ น แตะก็ เช่ น เดี ย วกั น ที่ ใ นอดี ต มี วิ ถี ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ที่ เรี ย บง่ า ย สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพียง โดยมีศาสนาและวัฒนธรรมเป็นสิ่ง ยึดเหนี่ยว และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ของชาวบ้านในชุมชน มีการมองด้านคุณค่า มากกว่าที่จะมองเพียงด้านมูลค่าทำให้ครอบ ครัวอยูไ่ ด้ดว้ ยการพึง่ ตัวเอง ชุมชนมีการเกือ้ กูล กันทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชนสามารถ รวมตั ว กั น เพื่ อ สร้ า งวั ฒ นธรรมที่ เ ข้ ม แข็ ง มี ค วามศรั ท ธา และปฏิ บั ติ ต ามคำสอนทาง ศาสนาอย่างเคร่งครัด แต่เนื่องจากสภาพการ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ สังคมเมืองและรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตก ได้แพร่เข้าในสังคมชนบทมากขึน้ ทำให้ชาวบ้าน ขุ น แตะเริ่ ม มี วิ ถี ชี วิ ต ที่ เ ปลี่ ย นไป ต้ อ งพึ่ ง พิ ง ปั จ จั ย ในการดำเนิ น ชี พ จากภายนอกชุ ม ชน มากขึ้น อาจทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนในการ ประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต ดั้งนั้นผู้วิจัย จึ ง ศึ ก ษาถึ ง ชี วิ ต ของชุ ม ชนบ้ า นขุ น แตะว่ า มี ความสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ เพื่อให้ชุมชนบ้านขุนแตะหาแนวทาง ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความพัฒนาในชุมชน ให้ยั่งยืนต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวที่ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้มี ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีระบบภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบ ใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน โดยอาศั ย ความรอบรู้ ความ รอบคอบ และความระมัดระวัง ตลอดจนมี คุณธรรมในการดำเนินชีวิต วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ของชุมชนบ้าน ขุนแตะ หมู ่ 5 ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 2. ศึ ก ษาความสอดคล้ อ งของวิ ถี ชี วิ ต
ชุ ม ชนบ้ า นขุ น แตะกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพียง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1. การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และไม่มี ส่ ว นร่ ว มจากผู้ วิ จั ย ว่ า ในชุ ม ชนมี วิ ถี ชี วิ ต ที่ สอดคล้องกับหลักการของศาสนาคริสต์หรือไม่ และชุ ม ชนมี ก ารนำหลั ก การของแนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งไปใช้ ใ นการดำเนิ น ชี วิ ต มากน้ อ ยเพี ย งใด โดยทำการศึ ก ษาในด้ า น เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 2. ศึกษาข้อมูลจากเอกสารซึ่งเป็นข้อมูล ทุ ติ ย ภู มิ จากเอกสารทางวิ ช าการหนั ง สื อ บทความ ตำรา เอกสารต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชน 3. ศึกษาข้อมูลจากผู้นำศาสนา โดยมี การประชุมกลุม่ กับผูน้ ำศาสนาในชุมชนจำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 5 คน เพื่อศึกษาภาพรวมของ ชุมชนว่าชุมชนมีวิถีชีวิตที่มีความสอดคล้อง กับหลักการของศาสนาคริสต์มากน้อยเพียงใด โดยศึกษาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 4. จัดทำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และไม่มโี ครงสร้าง และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล สำคั ญ (Key Informants) คื อ ชาวบ้านขุนแตะที่นับถือศาสนาคริสต์และพูด
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 79
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ภาษาปกาเกอะญอได้ จำนวน 100 ครัวเรือน อีกทั้งผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาอีกจำนวน 5 คน ว่ า มี วิ ถี ชี วิ ต ที่ ส อดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งหรื อ ไม่ และชาวบ้ า นใน ชุมชนมีการนำหลักการของศาสนาคริสต์ไปใช้ ในการดำเนินชีวิตเพียงใด โดยศึกษาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 5. สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชนและ ผู้นำศาสนาของคริสตชนในบ้านขุนแตะ 5 คน ในเรื่ อ งวิ ถี ชี วิ ต ของคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และ ด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งความสอดคล้องของวิถี ชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง วิธีวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาครัง้ นีใ้ ช้วธิ วี จิ ยั ทัง้ ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ดังนี้ การศึกษาเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ท่ไี ด้นำตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของข้อมูล แล้วจึงนำไปประมวล ผลด้วยคอมพิวเตอร์ คำนวณและวิเคราะห์ สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล แบบสั ม ภาษณ์ แบบมี โ ครงสร้ า ง จากการ สัมภาษณ์ทุกครัวเรือนในชุมชนบ้านขุนแตะ ว่ามีวถิ ชี วี ติ ทีส่ อดคล้องกับหลักการของแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ และชุมชนบ้านขุน–
80 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
แตะมีการนำหลักการของศาสนาคริสต์ไปใช้ ในการดำเนินชีวิตมากเพียงใด โดยศึกษาใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวด– ล้อม การศึกษาเชิงคุณภาพ 1. ศึกษาวิจัยเอกสาร คือ ศึกษาข้อมูล ทุ ติ ย ภู มิ จากเอกสารทางวิ ช าการหนั ง สื อ บทความ ตำรา เอกสารต่าง ๆ รวมทัง้ งานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชน 2. การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Partici– pation Observation) โดยเข้าร่วมกิจกรรม กับชาวบ้านในงานพัฒนาหรืองานพิธีต่าง ๆ หรือการผลิต และมีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน และ ผู้นำแต่ละครอบครัว ตลอดจนสัมภาษณ์เชิง ลึกกับผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาของคริสตชน ในบ้ า นขุ น แตะ 5 คน เพื่ อ มาประกอบการ วิเคราะห์ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 วิ ถี ชี วิ ต ของคริ ส ตชนบ้ า นขุ น – แตะในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ สิง่ แวดล้อม โดยวิถชี วี ติ ด้านสังคมนัน้ ประกอบ ด้วยประวัติความเป็นมา โครงสร้างพื้นฐาน ประชากร สาธารณูปโภค ความสัมพันธ์ภายใน ครอบครัว ความสัมพันธ์ในชุมชน ความสัมพันธ์ ระหว่างเพื่อนบ้าน และกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่ม อุปถัมภ์ กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอาชีพ กลุ่ม การเมื อ ง กลุ่ ม อื่ น ๆ ที่ ท างการเข้ า มาจั ด ตั้ ง
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
เป็นต้น รวมทั้งการศึกษาถึงผู้นำ และสถาบัน ที่ ส ำคั ญ ของสั ง คมวิ ถี ชี วิ ต ด้ า นเศรษฐกิ จ ประกอบด้วย รายได้ รายจ่าย เงินออม และ หนี้ สิ น การประกอบอาชี พ การผลิ ต การ บริโภค ในด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วยความ เชื่อเรื่องพระเจ้า ความเชื่อเรื่องการเกิดของ สรรพสิ่งทั้งหลาย และความเชื่อเรื่องชีวิตหลัง ความตาย รวมทัง้ ความสัมพันธ์มนุษย์กบั มนุษย์ หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะสิ่งที่นำไปใช้เป็นทรัพยากรในการ ดำรงชีวิต และด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ การตั้งถิ่นฐาน และสภาพ ทั่วไปของชุมชน การจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และการจัดการขยะ 2.2 ความสอดคล้องของวิถกี ารดำเนิน ชีวิตของคริสตชนในหมู่บ้านขุนแตะ กับหลัก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สรุปผลการศึกษา วิถชี วี ติ ของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้าน เศรษฐกิ จ ด้ า นสั ง คม ด้ า นวั ฒ นธรรม และ ด้านสิ่งแวดล้อม 1. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านสังคม 1.1 ประวัติความเป็นมา บ้ า นขุ น แตะ หมู่ ที่ 5 ตำบลดอยแก้ ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมูบ่ า้ น
ชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรี่ยง (สกอร์) เข้ามาตั้ง หมู่บ้านอดีตในเขตลุ่มน้ำขุนแตะเมื่อ 200 ปี ก่อนแล้ว 1.2 โครงสร้างพื้นฐานของประชากร คริสตชนในบ้านขุนแตะร้อยละ 56.00 เป็ น เพศหญิ ง ร้ อ ยละ 43.00 มี อ ายุ อ ยู่ ระหว่ า ง 15 ถึ ง 60 ปี โดยร้ อ ยละ 33.00 มีการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา– ธิ ก ารในระดั บ ประถมศึ ก ษา อี ก ร้ อ ยละ 30 ไม่ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษา อี ก ทั้ ง ส่ ว นใหญ่ ร้ อ ยละ 89.00 มีสถานภาพสมรส โดยร้อยละ 65.00 ไม่ได้เป็นหัวหน้าครัวเรือน และร้อยละ 35.00 มี ส ถานภาพในครอบครั ว เป็ น คู่ ส มรส โดย ร้อยละ 67.15 มีสมาชิกในครัวเรือน เป็นวัย แรงงานมี อ ายุ 16-60 ปี ส่ ว นใหญ่ ร้ อ ยละ 74.00 อาศั ย อยู่ ภู มิ ล ำเนาเดิ ม โดยร้ อ ยละ 92.00 มีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านลักษณะ กึ่งถาวร อีกทั้งส่วนใหญ่ร้อยละ 80.00 เป็น เจ้าของที่ดินที่มีขนาดการถือครอง น้อยกว่า 10 ไร่ ซึ่ ง ร้ อ ยละ 98.00 เป็ น ที่ จั บ จองไม่ มี เอกสารสิทธิ์ 1.3 สาธารณูปโภค บ้ า นขุ น แตะ มี ส าธารณู ป โภค ได้ แ ก่ โรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง ประปา 1 แห่ง โทรศัพท์สาธารณะ 2 แห่ง และมีไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซล) 1.4 ความสัมพันธ์ในครอบครัว และ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 81
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ชุมชน มีความสัมพันธ์ในครอบครัว และชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากสมาชิกภายใน ครอบครัวของคริสตชนในบ้านขุนแตะมีความ สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ มี ก ารให้ บุ ต รหลานเรียนรู้ด้านศาสนาคริสต์ และมี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ ญาติ พ่ีน้อ ง โดย มี ค ะแนนค่ า เฉลี่ย ถ่ ว งน้ ำ หนั ก เท่ า กั บ 4.61, 4.63, 4.59 และ 4.51 ตามลำดับ อีกทั้งมีความสัมพันธ์ในครอบครัว และ ชุมชนอยู่ในระดับมาก เนื่องจากคริสตชนใน บ้ า นขุ น แตะเห็ น ความจำเป็ น ในการให้ บุ ต ร หลานเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนตามหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยครอบครัวมีสว่ น ช่วยผลักดันให้เยาวชนเป็นคนดีได้ รวมทั้งมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน และเห็นความ จำเป็นของการเข้าร่วมกลุ่ม โดยมีคะแนนค่า เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 4.46, 4.44, 4.43 และ 4.34 ตามลำดับ 1.5 ผู้ น ำหรื อ สถาบั น ที่ ส ำคั ญ ของ สังคม บ้านขุนแตะเป็นลักษณะหมูบ่ า้ นทางการ ประเภท หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องตนเอง (อพป.) ปัจจุบนั มีนายประเสริฐ สงวนไพรวัลย์ เป็ น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น มี ผู้ น ำทางประเพณี ที่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ และให้ ค ำปรึ ก ษาทางประเพณี วั ฒ นธรรมชุ ม ชนแก่ ลู ก บ้ า นได้ คื อ นายสม
82 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ถาวรไพรศาลกุ ล อายุ 78 ปี และนายโทด คำเงินใจกล้า อายุ 78 ปี 2. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านเศรษฐกิจ 2.1 การประกอบอาชีพ คริสตชนในบ้านขุนแตะส่วนใหญ่ มีอาชีพ หลัก คือ เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 77.00 เนื่องจากมีการปลูกข้าวไว้เพื่อบริโภคในครัว เรือน และปลูกกะหล่ำปลี ถั่วลิสง หอมแดง เพื่อจำหน่าย อีกทั้งส่วนใหญ่มีการศึกษาตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการต่ำกว่าใน ระดั บ ชั้ น อนุ ป ริ ญ ญาหรื อ ปวส. จึ ง ไม่ มี วุ ฒิ การศึ ก ษาในการไปสมั ค รงาน และมี อ าชี พ เสริมคือ รับจ้างทั่วไป เช่น ปลูกข้าว ปลูกถั่ว ปลู ก หอม และปลู ก กะหล่ ำ ปลี และรั บ จ้ า ง ในโครงการตามพระราชดำริ โครงการฟาร์ม ตัวอย่างบ้านขุนแตะ คิดเป็นร้อยละ 64.00 เนื่ อ งจากส่ ว นใหญ่ มี ร ายจ่ า ยสู ง กว่ า รายได้ จึ ง ต้ อ งรั บ จ้ า งเพื่ อ ให้ มี ร ายได้ เ พี ย งพอมาใช้ จ่ายในครอบครัว 2.2 การผลิตและการบริโภค คริสตชนในบ้านขุนแตะส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.00 ปลูกข้าว และร้อยละ 15.00 มีการ ปลูกกะหล่ำปลี ถั่วลิสง หอมแดง เพื่อบริโภค ในครัวเรือนและเพื่อจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 45.00 อีกทั้งส่วนใหญ่ร้อยละ 66.00 มีการ เลี้ยงหมู และไก่ เพื่อบริโภคในครัวเรือน คิด
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
เป็ น ร้ อ ยละ 77.00 เนื่ อ งจากมี ร ายได้ น้ อ ย จึงต้องลดรายจ่ายด้วยการปลูกพืชและเลี้ยง สัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือน เมื่อเหลือจากการ บริโภคแล้วจึงขายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้ กับครอบครัว 2.3 รายได้ รายจ่าย เงินออม และ หนี้สิน คริสตชนในบ้านขุนแตะส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.00 มีรายได้ต่อครัวเรือนต่อปี 10,001 ถึง 20,000 บาท เนื่ อ งจากส่ ว นใหญ่ ป ระกอบ อาชี พ หลั ก คื อ เกษตรกรรม อี ก ทั้ ง ร้ อ ยละ 28.00 มีรายจ่ายต่อครัวเรือนต่อปี 10,001 ถึง 20,000 บาท เนื่องจากต้องชำระค่าต่าง ๆ ในครัวเรือน ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าจ้างแรงงาน ค่าอาหาร ค่าการศึกษาบุตร ค่าเครื่องนุ่งห่ม และค่าผ่อนชำระหนี้สิน จึง ทำให้ ร้ อ ยละ 16.00 มี เ งิ น ออมต่ ำ กว่ า 10,000 บาท และร้ อ ยละ 34.00 มีหนี้สิน ต่ำกว่า 10,000 เพื่อผ่อนชำระทรัพย์สินต่าง ๆ ในครั ว เรื อ น ได้ แ ก่ รถจั ก ยานยนต์ รถยนต์ รถแทกเตอร์ เครื่องตัดหญ้า โทรทัศน์ เครื่อง เล่น VCD 3. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านวัฒนธรรม คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความเชื่อเรื่อง พระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมี ค ะแนนค่ า เฉลี่ ย ถ่ ว งน้ ำ หนั ก เท่ า กั บ
4.97 เนื่องจากความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่ระบุไว้ใน พระคัมภีรแ์ ละทำให้ตนเองยึดมัน่ ในการปฏิบตั ิ ตามคำสอนของศาสนา ส่ ว นความเชื่ อ ด้ า น อื่น ๆ อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ได้แก่ มีความ เชื่อเรื่องพระเจ้า มีความเชื่อเรื่องพระคัมภีร์ ต่ า ง ๆ มี ค วามเชื่ อ เรื่ อ งการกลั บ ฟื้ น คื น ชี พ มีความเชื่อเรื่องชีวิตนิรันดร มีความเชื่อเรื่อง ความรอดพ้ น มี ค วามเชื่ อ ว่ า สิ่ ง ต่ า ง ๆ ใน ธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ มีความ เชื่ อ เรื่ อ งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ พระเจ้า มีความเชื่อเรื่องลิขิตที่พระเจ้ากำหนด ไว้ มีความเชื่อเรื่องพระเยซูและศาสดาต่าง ๆ มีความเชือ่ เรือ่ งทูตสวรรค์ ตลอดจนมีความเชือ่ และปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระเจ้า โดยมี คะแนนค่ า เฉลี่ ย ถ่ ว งน้ ำ หนั ก เท่ า กั บ 4.65, 4.64, 4.63, 4.63, 4.63, 4.62, 4.60, 4.56, 4.55, 4.55 และ 4.52 ตามลำดับ 4. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านสิ่งแวดล้อม คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี ก ารทำปุ๋ ย หมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ช่วยให้ดินและพืชมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้ง มีการนำพืชสมุนไพรมาผลิตสารไล่แมลง เพื่อ ทดแทนการใช้สารฆ่าแมลง ทำให้ลดมลภาวะ และช่วยรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม อยู่ใน ระดั บ มากที่ สุ ด โดยมี ค ะแนนค่ า เฉลี่ ย ถ่ ว ง น้ำหนักเท่ากับ 4.57 และ 4.53 ตามลำดับ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 83
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เนื่องจากมีความเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ จึงต้องรักษาสมดุล ของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ดังนั้นคริสตชนในบ้าน ขุนแตะมีการจัดการขยะโดยไม่ใช้การเผาทำให้ ลดภาวะอีกทั้งทำให้บ้านขุนแตะมีทรัพยากร น้ำทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ มีทรัพยากรดินทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ มีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมในการดำรง ชีวิต โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 4.30, 4.38, 4.18 และ 4.37 ตามลำดับ ความสอดคล้องของวิถีชีวิตของคริสตชนใน บ้านขุนแตะกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 1. ความพอประมาณ ภาพรวมของความพอประมาณด้ า น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.02 ดังนั้นมีความ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน องค์ประกอบของความพอประมาณระดับมาก โดยในด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด คือ 4.14 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะมี ความพอใจกับสภาพความเป็นอยู่ของตนใน ปัจจุบัน และเมื่อพบเห็นคนที่ยากจนกว่าตน จะรู้สึกสงสารแล้วนำมาเป็นกำลังใจให้ไม่ท้อ แท้ในการดำเนินชีวิต รองมา คื อ ภาพรวมของความพอ ประมาณในด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยคะแนน เท่ากับ 4.13 เนือ่ งจากคริสตชนในบ้านขุนแตะ
84 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ใช้วิธีการปลูกพืชโดยไม่เน้นการเพาะปลูกพืช เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต มาก ๆ แต่ ค ำนึ ง ถึ ง ดิ น และ สภาพแวดล้อม อีกทัง้ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ท้องถิ่นที่หลากหลายอย่างพอประมาณ สร้าง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและไม่ก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รองมา คื อ ภาพรวมของความพอ ประมาณในด้านสังคม มีคา่ เฉลีย่ คะแนนเท่ากับ 4.03 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะเห็นว่า ความพอเพี ย ง คื อ การไม่ ฟุ่ ม เฟื อ ย มี ก าร ประกอบอาชี พ ด้ ว ยความสุ จ ริ ต มี ค วาม ยุ ติ ธ รรม ไม่ เ อาเปรี ย บกั น เห็ น ว่ า การนำ เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนิน ชีวิต สามารถมีของหรูหรา หรือมีมากได้แต่ ต้องไม่เบียดเบียนผูอ้ น่ื และมีความพอเพียงโดย การพอประมาณเหมาะแก่กาละและโอกาส รองมา คื อ ภาพรวมของความพอ ประมาณในด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยคะแนน เท่ากับ 3.79 เนือ่ งจากคริสตชนในบ้านขุนแตะ มีความเข้าใจพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ประชาชนคนไทย ยึด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพแล้วมีเวลาผักผ่อน และมีเวลา ให้กับครอบครัว สมาชิกในครัวเรือนออกไป ทำงานนอกพื้ น ที่ น้ อ ยลงกว่ า ในอดี ต ไม่ ต้ อ งการขยายที่ พั ก เพิ่ ม เติ ม มี ก ารหาปั จ จั ย ยั ง ชี พ ด้ ว ยกำลั ง แรงงานของตนเอง เห็ น ว่ า
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
ควรมี ค วามซื่ อ สั ต ย์ ใ นการประกอบอาชี พ ถึงแม้จะได้ผลตอบแทนน้อย มากกว่าที่จะไป คดโกงเพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลตอบแทนสู ง มี ร ายจ่ า ย ครั ว เรื อ นที่ เ พี ย งพอกั บ รายรั บ ที่ ไ ด้ ม า ไม่ ต้องการซื้อรถชนิดใดเพิ่ม มีการชำระหนี้สิน ต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่มีผู้ที่ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เกินความจำเป็น เห็นว่าความพอประมาณ คือ การมี ป ริ ม าณการผลิ ต และการบริ โ ภคที่ เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว เห็นว่า ความพอประมาณด้านการผลิต คือ แม้จะไม่ ทำให้ ร่ ำ รวยแต่ ห ากผลิ ต ให้ เ พี ย งพอก็ อ ยู่ ไ ด้ ไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีการสร้าง ความพอประมาณในครอบครัวจากการเรียนรู้ รายรับและรายจ่ายของครัวเรือนโดยจัดทำ บัญชีครัวเรือน 2. ความมีเหตุผล ภาพรวมของความมีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย คะแนนเท่ากับ 4.11 ดังนั้นมีความสอดคล้อง กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในองค์ประกอบ ของความมี เ หตุ ผ ลระดั บ มาก โดยในด้ า น วัฒนธรรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด คือ 4.21 เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะ มี ส ำนึ ก ว่ า พระเจ้ า มองเห็ น การกระทำของตนเอง ทุกเรื่องจึงไม่กล้าทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งเห็น ว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวติ ประจำวัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความศรัทธาและเชื่อ
ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตก่อนจึงจะนำ ไปปฏิบัติ รองมา คือ ภาพรวมของความมีเหตุผล ในด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยคะแนน เท่ากับ 4.13 เนือ่ งจากคริสตชนในบ้านขุนแตะ เห็นว่า ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำมีความอุดม สมบูรณ์เหมาะกับการทำเกษตรกรรม อีกทั้ง มี ก ารนำทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ ใ นท้ อ งถิ่ น มาใช้ ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของสิ่งที่ มีอยู่ รองมา คือ ภาพรวมของความมีเหตุผล ในด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยคะแนน เท่ากับ 4.09 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะ นอกจาก จะให้บุตรหลานเรียนโรงเรียนสามัญแล้วใน ครอบครั ว มี ก ารส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ ใ นด้ า น อื่น ๆ อีกทั้งเป็นผู้ที่ยินดีดำเนินชีวิตตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รองมา คือ ภาพรวมของความมีเหตุผล ในด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยคะแนน เท่ากับ 4.01 เนือ่ งจากคริสตชนในบ้านขุนแตะมีความ พึ ง พอใจอาชี พ ที่ ท ำอยู่ สมาชิ ก ในครั ว เรื อ น เห็ น ว่ า ไม่ ค วรเปลี่ ย นอาชี พ เพื่ อ ให้ ไ ด้ เ งิ น มากขึ้น เห็นว่าไม่ควรออกไปทำงานนอกพื้นที่ เพราะการอยู่ ใ นชุ ม ชนถึ ง แม้ ไ ด้ เ งิ น น้ อ ยแต่ ได้ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว มีการเรียนรู้ ที่ ท ำให้ ต นเป็ น ที่ พึ่ ง ของตนเองไม่ ต้ อ งไป พึง่ พาผูอ้ น่ื ทำอย่างเป็นขัน้ เป็นตอน ใช้ภมู ปิ ญ ั ญา
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 85
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และภายใน ชุมชนมีการรวมกลุ่มผลิต การจัดการตลาด 3. การมีภูมิคุ้มกัน ภาพรวมของการมี ภู มิ คุ้ ม กั น ด้ า น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.12 ดังนั้นมีความ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน องค์ประกอบของการมีภูมิคุ้มกันระดับมาก โดยการมีภมู คิ มุ้ กันในด้านวัฒนธรรม มีคา่ เฉลีย่ คะแนนสูงสุด คือ 4.27 เนื่องจากคริสตชนใน บ้านขุนแตะเห็นว่าความมั่นคงในวัฒนธรรม ไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นภูมิคุ้มกันด้าน วัฒนธรรมที่แข็งแรง อีกทั้งมีการเข้าร่วมการ สรรเสริญพระเจ้าทุกวันอาทิตย์ รวมทั้งการ เข้าร่วมปฏิบัติพันธกิจของศาสนจักรอยู่เสมอ ตลอดจนมีการปฏิบัติตามวาจาของพระเจ้า รองมา คื อ ภาพรวมของการมี ภู มิ คุ้ ม กั น ในด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม มี ค่ า เฉลี่ ย คะแนน เท่ากับ 4.24 เนือ่ งจากคริสตชนในบ้านขุนแตะ มี น้ ำ มี เ พี ย งพอในการทำเกษตรกรรม มี น้ ำ เพี ย งพอในการอุ ป โภคบริ โ ภคในครั ว เรื อ น และมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รองมา คื อ ภาพรวมของการมี ภู มิ คุ้ ม กันในด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.01 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะ มีข้าว เก็บไว้พอรับประทานในครัวเรือน มีการปลูก ผักหรือผลไม้ไว้บริโภคเมื่อเหลือก็สามารถขาย
86 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ได้ มีการวางแผนระยะยาวที่เตรียมพร้อมรับ กับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ถือว่าเป็นภูมิคุ้มกัน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการมุ่งเน้น ผลิตพืชเพือ่ ให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค ในครัวเรือนเป็นลำดับแรก เมื่อเหลือแล้วจึง ขายและพัฒนาเพือ่ การค้า สมาชิกในครัวเรือน มี บั ต รประกั น สุ ข ภาพเมื่ อ เจ็ บ ป่ ว ย ช่ ว ยให้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และ มีความเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำให้ สามารถหลุดพ้นจากความยากจนและพึ่งพา ตนเองได้ รองมา คื อ ภาพรวมของการมี ภู มิ คุ้ ม กั น ในด้ า นสั ง คม มี ค่ า เฉลี่ ย คะแนนเท่ า กั บ 3.96 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะเห็นว่า การสร้างครอบครัวให้อบอุ่นเป็นการสร้างภูมิ คุ้มกันเบื้องต้นในชุมชน ภายในชุมชนมีการ จัดตั้งกองทุนเพื่อรวบรวมเงินไปใช้เพื่อประ– โยชน์ส่วนรวม ในชุมชนไม่มีปัญหายาเสพติด อบายมุข สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในชุมชนไม่มีเรื่อง ขัดแย้งกัน ในชุมชนมีกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันในการไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้น ในชุ ม ชนมี ค วามเสมอภาคกั น มี ส่ ว นช่ ว ยใน การแก้ปญ ั หาต่าง ๆ ของชุมชน มีการช่วยเหลือ กันภายในชุมชนและชุมชนอื่น ๆ และมีความ สัมพันธ์ดีในครอบครัว ในชุมชน และชุมชน อื่น ๆ 4. การมีความรู้
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
ภาพรวมของการมีความรู ้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ย คะแนนเท่ากับ 4.08 ดังนั้นมีความสอดคล้อง กั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในเงื่ อ นไข ของการมี ค วามรู้ ร ะดั บ มากโดยมี ค วามรู้ ใ น ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด คือ 4.16 เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี ค วามรู้ ด้านหลักการศาสนาคริสต์อยู่ในระดับดีแล้ว มี ก ารรั บ ความรู้หรือหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อง ศาสนาได้ เ สมอ คณะกรรมการคริ ส ตจั ก รมี การใช้ เ หตุ ผ ลหรื อ ใช้ เ สี ย งส่ ว นมากในการ ตัดสินใจดำเนินงาน มีหลักเกณฑ์ที่ดีในการ เลือกคณะกรรมการ มีการเคารพการตัดสินใจ จากคณะกรรมการชุ ม ชนเป็ น สิ่ ง ที่ ดี แ ล้ ว มี ความเคารพการตัดสินใจจากคณะกรรมการ ชุมชนในการจัดกิจกรรมหรือดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งมีการพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดี มีการศึกษา หาความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจพอเพียงบ้าง อีกทัง้ เห็นว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบ ด้วย ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม รวมทั้ง เห็ น ว่ า ในชุ ม ชนมี บุ ค คลหรื อ หน่ ว ยงานที่ ใ ห้ ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ตลอดจนเห็ น ว่ า การประยุ ก ต์ ใ ช้ ป รั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงต้องปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ควรก้าวกระโดด โดยเริ่มจากรับรู้ เข้าใจ คิดวิเคราะห์ เรียนรู้ นำไปปฏิบัติ และทบทวน
แก้ไข รองมา คื อ ภาพรวมของความรู้ ใ น ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.27 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะมีความรู้สึก เสียใจในสิ่งที่กระทำผิดและขออภัยโทษกับ พระเจ้าโดยไม่คิดจะทำสิ่งนั้นอีก และมีการ สร้างงานที่มุ่งใช้แรงงานในท้องถิ่นเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานอย่างเต็มที่ รองมา คื อ ภาพรวมของมี ค วามรู้ ใ น ด้านเศรษฐกิจมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.05 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะมีความรู้ใน การปลู ก พื ช ที่ ท่ า นปลู ก อยู่ มี ก ารเพิ่ ม พู น ความรู้ ใ ห้ ต นเอง โดยการติ ด ตามข่ า วสาร ทำให้สามารถมีความรู้เท่าทันสถานการณ์ใน การประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมของ ตนเอง มีการเปิดรับข้อมูล เรียนรู ้ และทดลอง ปฏิ บั ติ อ าชี พ จริ ง โดยประเมิ น อยู่ เ สมอให้ เหมาะสมกั บ ตนเอง และเห็ น ว่ า ปรั ช ญา เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้แก้ปัญหา เศรษฐกิจได้ รองมา คื อ ภาพรวมของมี ค วามรู้ ใ น ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.00 เนื่องจากคริสตชนในบ้านขุนแตะมีการใช้ปุ๋ย เคมีและสารฆ่าแมลงอย่างรอบรูร้ อบคอบ และ ระมัดระวัง สำหรับผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม มี ค วามรู้ เรื่ อ งสมุ น ไพร มี ก ารใช้ เ ทคโนโลยี และกระบวนการผลิ ต ที่ ไ ม่ เ ป็ น อั น ตรายต่ อ
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 87
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ทรัพยากรและสิง่ แวดล้อมทีม่ อี ยู ่ มีการแสวงหา แนวทางในการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างคุม้ ค่า และประหยัดเกิดประสิทธิผลสูงสุด 5. การมีคุณธรรม ภาพรวมของการมี คุ ณ ธรรม ด้ า น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.12 ดังนั้นมีความ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน เงื่อนไขของการมีคุณธรรมระดับมาก โดยการ มีคุณธรรมในด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยคะแนน สู ง สุ ด คื อ 4.19 เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า น ขุนแตะเห็นว่าในชุมชนไม่มีผู้ที่ให้คนในชุมชน กู้เงินแล้วคิดดอกเบี้ยทำให้ผู้ที่ไปกู้เงินมีหนี้สิน เพิ่ ม ขึ้ น อี ก ทั้ ง เห็ น ว่ า ควรพั ฒ นาความคิ ด ที่ ถูกต้องเที่ยงธรรม มั่นคงอยู่ในเหตุผล และ พัฒนาองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้อง เอาเปรียบผู้อื่น ตลอดจนเห็นว่านอกจากการ ใช้ ค วามรู้ ใ นด้ า นต่ า ง ๆ แล้ ว ยั ง ต้ อ งมี ค วาม ซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพด้วย รองมา คื อ ภาพรวมของการมี คุ ณ – ธรรมในด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยคะแนน คือ 4.12 เนื่องจากในชุมชนของคริสตชนในบ้านขุนแตะ มีผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานแล้ว ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นที่มีฐานะด้อยกว่า และ มีการกำหนดคุณค่าของมนุษย์ด้วยคุณความดี ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง รองมา คื อ ภาพรวมของการมี คุ ณ –
88 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ธรรมในด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยคะแนน คือ 4.09 เนื่องจากในชุมชนของคริสตชนในบ้าน ขุนแตะ มีการเพิ่มพูนคุณธรรมในครัวเรือน โดยหั ว หน้ า ครั ว เรื อ นและสมาชิ ก ถื อ ปฏิ บั ติ ตามหลั ก การของศาสนาคริ ส ต์ แ ละสื บ ทอด ประเพณีอันดีงามในชุมชน มีการภาวนา โดย กล่ า วว่ า “พระนามของพระองค์ จ งเป็ น ที่ สักการะ” มีการปฏิบัติศาสนกิจ วันพระเจ้า และวั น ฉลองทุ ก วั น อาทิ ต ย์ มี ก ารบริ จ าค ประจำสัปดาห์ มีสัจจะ มีความอดทน มีความ บริสุทธิ์ใจไม่ว่าจะช่วยเหลือใครก็ตาม มีความ อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตน มี ก ารให้ อ ภั ย ผู้ อื่ น และมี ความปรองดอง จึงไม่มีเรื่องขัดแย้งกับใคร รองมา คื อ ภาพรวมของการมี คุ ณ – ธรรมในด้านสิง่ แวดล้อม มีคา่ เฉลี่ยคะแนน คือ 4.08 เนื่องจากในชุมชนของคริสตชนในบ้าน ขุนแตะ มีการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทิ้งขยะ ลงในแหล่งน้ำของชุมชน มีการแยกขยะ เศษ อาหาร ขยะมี พิ ษ และวั ส ดุ ที่ น ำกลั บ มาใช้ ใหม่ได้ เห็นว่าการจัดการขยะโดยไม่ใช้วิธีการ เผา เป็นการลดมลภาวะทางอากาศ เห็นว่า การทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เพื่อใช้ใน การเกษตร ทำให้ ดิ น และพื ช มี ค วามอุ ด ม สมบูรณ์ขึ้น และช่วยรักษาสมดุลของสิ่งแวด ล้อม และเห็นว่าการนำพืชสมุนไพรมาผลิต สารไล่แมลง เพื่อทดแทนการใช้สารฆ่าแมลง ทำให้ลดมลภาวะทางอากาศ ดิน และแหล่งน้ำ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
ตลอดจนช่วยรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องของวิถีชีวิตของคริสตชนใน บ้านขุนแตะกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงใน ภาพรวม ในภาพรวมทัง้ 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิง่ แวดล้อมของคริสตชน ในบ้านขุนแตะมีความสอดคล้องกับแนวคิด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในระดั บ มาก เนื่ อ งจาก คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความพอใจกับสภาพ ความเป็นอยู่ของตนในปัจจุบัน เมื่อพบเห็น คนที่ยากจนกว่าตนจะรู้สึกสงสารแล้วนำมา เป็นกำลังใจให้ไม่ท้อแท้ในการดำเนินชีวิต มี สำนึกว่าพระเจ้ามองเห็นการกระทำของตนเอง ทุ ก เรื่ อ งจึ ง ไม่ ก ล้ า ทำสิ่ ง ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง เห็ น ว่ า การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต ประจำวัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความศรัทธาและเชื่อ ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตก่อนจึงจะนำ ไปปฏิ บั ติ เห็ น ว่ า ความมั่ น คงในวั ฒ นธรรม ไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นภูมิคุ้มกันด้าน วัฒนธรรมที่แข็งแรง มีการเข้าร่วมการสรร– เสริ ญ พระเจ้ าทุกวันอาทิตย์ รวมทั้งการเข้า ร่วมปฏิบัติพันธกิจของพระศาสนจักรอยู่เสมอ มีการปฏิบัติตามวาจาของพระเจ้า มีความรู้ ด้านหลักการศาสนาคริสต์อยู่ในระดับดีแล้ว มี ก ารรั บ ความรู้หรือหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อง ศาสนาได้เสมอจากการสอบถามคณะกรรม–
การคาทอลิ ก ที่ มี ก ารใช้ เ หตุ ผ ลหรื อ ใช้ เ สี ย ง ส่วนมากในการตัดสินใจดำเนินงาน ประกอบ กับชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ที่ดีในการเลือกคณะ กรรมการ มี ค วามเคารพการตั ด สิ น ใจจาก คณะกรรมการชุมชนในการจัดกิจกรรมหรือ ดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งมีการพิจารณาแล้วว่าเป็น สิ่งที่ดี มีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจ พอเพี ย ง อี ก ทั้ ง มี บุ ค คลหรื อ หน่ ว ยงานที่ ใ ห้ ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ทำให้ มี ก ารประยุ ก ต์ ใช้ ป รั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ก้าวกระโดด โดยเริ่มจากรับรู้ เข้าใจ คิดวิเคราะห์ เรียนรู้ นำไปปฏิบัติ และทบทวนแก้ไข ประกอบกับมี การพัฒนาความคิดและองค์ความรู้อย่างสม่ำ– เสมอ มั่ น คงอยู่ ใ นเหตุ ผ ลและคุ ณ ธรรม มี ความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพและไม่เอา เปรียบผู้อื่น ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำชุมชนและผู้ นำศาสนาของคริสตชนในบ้านขุนแตะ คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี วิ ถี ชี วิ ต ที่ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน องค์ประกอบของการมีเหตุผลในด้านวัฒนธรรม คื อ วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ของชาวกะเหรี่ ย งผู ก พั น กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ สร้างทุกอย่างในโลก และสร้างมนุษย์มาให้ รักษาสิ่งที่พระเจ้าสร้างให้คงอยู่ตลอดไป จึง
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 89
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ทำให้ มี ก ารให้ ค วามรั ก กั น ในบรรดาพี่ น้ อ ง เคารพพ่ อ แม่ ญ าติ ผู้ ใ หญ่ แบ่ ง ปั น ให้ กั น คน รอบข้าง มีการฟังความคิดเห็นของกันและกัน และอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามในหมู่บ้าน รวมถึ ง มี ค วามพอประมาณในด้ า น เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยการช่วยเหลือ แบ่ง ปัน ซึ่ง กัน และพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ขยันหมั่นเพียร ช่วยเหลือผู้ด้อย โอกาส คนยากจนขัดสน รวมทั้งมีความเชื่อว่า พระเจ้ายังสร้างธรรมชาติที่สวยงามให้อยู่บน โลกนี้ สร้างสิ่งแวดล้อม เป็นระบบนิเวศน์ เพื่อ มนุษย์จะได้ใช้สิ่งแวดล้อมในการทำมาหากิน ใช้ธรรมชาติในการทำเกษตรกรรม และในการ ดำเนินชีวิต แต่มนุษย์ต้องมีจิตใต้สำนึก ในการ ดูแลรักษาธรรมชาติ รวมทั้งภูมิคุ้มกันที่ดี ในด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม คือ มีการพึ่งตนเอง ทำอาชีพ ที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของแต่ละคนตาม ความเป็ น จริ ง แต่ ล ะคนช่ ว ยเหลื อ แบ่ ง ปั น เกื้ อ กู ล กั น อี ก ทั้ ง ไม่ ค ดโกง ไม่ โ ลภ ใช้ ชี วิ ต อย่างพอเพียง พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ อีกทั้งมี ความเชื่อว่าพระเจ้าให้ธรรมชาติมา และต้อง ช่วยกันรักษาสิ่งที่พระเจ้าสร้างให้คงอยู่ตลอด ไป อีกทัง้ มีความรูใ้ นด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ คริสตชนในบ้านขุนแตะปฏิบัติตามคำสอน ที่ได้รับหรือได้เรียนรู้มา เพื่อประยุกต์ใช้ในวิถี
90 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชีวิต อีกทั้งมีการวางแผนในการดำเนินชีวิต อุปโภคบริโภคของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนมีคุณธรรมทางด้านสังคม โดยมี การดำเนิ น ชี วิ ต โดยปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ธรรม คำสอนของพระเจ้า พอเพียงพอใจในสิ่งที่ตน มี อ ยู่ จึ ง ทำให้ ผู้ ค นอยู่ อ ย่ า งช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกัน มีความรักปรองดองกัน ผู้ใหญ่ปฏิบัติ ตนเป็ น แบบอย่ า งที่ เ หมาะสม มี ศี ล ธรรม มี จริยธรรม ดังเห็นได้จากการไม่เบียดเบียนคน ในสั ง คมเดี ย วกั น ช่ ว ยเหลื อ แบ่ ง ปั น ผู้ อื่ น ที่ ขัดสนกว่า ให้อภัยซึ่งกันละกัน ไม่ฟุ่มเฟือย แนะนำสิ่งที่ดีให้กับคนในสังคมเดียวกัน ไม่เอา เปรียบหรือดูถกู คนในสังคมเดียวกัน รับผิดชอบ ร่วมกันในงานของส่วนรวม และมีน้ำใจเกื้อกูล กันรวมถึงการรับฟังผู้อื่น รู้จักให้อภัยผู้อื่น มี น้ำใจ และเสียสละ มีการวางตัวที่เหมาะสม ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น อภิปรายผลการศึกษา วิถชี วี ติ ของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้าน เศรษฐกิ จ ด้ า นสั ง คม ด้ า นวั ฒ นธรรม และ ด้านสิ่งแวดล้อม 1. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านสังคม สมาชิกภายในครอบครัวของคริสตชน ในบ้านขุนแตะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่ใน ระดับมากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์ท่ดี ีกับญาติ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
พี่น้อง มีการให้บุตรหลานเรียนรู้ด้านศาสนา คริสต์ และมีการไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ อีกทั้ง เห็นความจำเป็นในการให้บุตรหลานเข้าเรียน ในโรงเรียนที่สอนตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการ โดยครอบครัวมีสว่ นช่วยผลักดันให้ เยาวชนเป็นคนดีได้ รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดี กับเพื่อนบ้าน และเห็นความจำเป็นของการ เข้าร่วมกลุ่ม เพื่อพัฒนาสังคมที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น มี ก ารช่ ว ยเหลื อ และเอื้ อ เฟื้ อ ต่ อ กั น ซึ่ ง สอด คล้องกับปรียานุช พิบลู สราวุธ (2549: ระบบ ออนไลน์) คือ บุคคลแต่ละคนต้องการดำเนิน ชีวิตรวมกันเป็นสังคม เพื่อการพัฒนาตัวเอง แต่ ล ะสั ง คมหรื อ แต่ ล ะสถาบั น แม้ เ ล็ ก น้ อ ย ที่สุดเช่น ครอบครัว จะต้องตอบสนองความ ต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์อย่างขาดไม่ได้ อีกทั้งสอดคล้องกับคำสอนของศาสนาคริสต์ คือ เพื่อพัฒนาสังคมที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นนั้นเรา ต้ อ งหั น เหความประพฤติ ใ ห้ ดี ง ามทุ ก คนใน สังคมต้องช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อกัน โดย เฉพาะด้านความประพฤติ การปฏิบัติ โดยยึด คุณธรรมเป็นหลัก และต้องร่วมกันขจัดอุป– สรรคที่อาจทำให้คุณธรรมเสื่อมเสีย ทำนอง เดียวกันบุคคลจะต้องรู้จักแยกแยะคุณธรรม เพื่อจรรโลงสังคมได้อย่างถูกต้อง โดยถือคุณ– ธรรมฝ่ายจิตวิญญาณสำคัญกว่าฝ่ายวัตถุ ดังใน สั ง คายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วย พระศาสนาจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 25 วรรค 1
กล่าวไว้ว่า บุคคลในสังคมหรือในสถาบัน มิใช่ มีอยู่เพื่อเป็นทาสของสังคมหรือสถาบันนั้น ๆ “บุคคลมนุษย์... ย่อมเป็นและต้องเป็นหัวใจ ของและจุดหมายของสถาบันสังคมหรือสถาบัน สังคมทุกอย่าง” 2. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านเศรษฐกิจ คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะส่ ว นใหญ่ มี อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม มีการปลูกข้าว ไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน และมีอาชีพเสริม คือ รับจ้างทั่วไป เช่น ปลูกข้าว ปลูกถั่ว ปลูก หอม และปลูกกะหล่ำปลี เนื่องจากส่วนใหญ่ มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จึงต้องรับจ้างเพื่อให้ มีรายได้เพียงพอมาใช้จ่ายในครอบครัว อีกทั้ง ส่วนใหญ่มปี ลูกข้าว เลีย้ งหมูและไก่ เพือ่ บริโภค ในครัวเรือน เนื่องจากมีรายได้น้อยจึงต้องลด รายจ่ า ยด้ ว ยการปลู ก พื ช และเลี้ ย งสั ต ว์ เ พื่ อ บริโภคในครัวเรือน เมื่อเหลือจากการบริโภค แล้ ว จึ ง ขายเพื่ อ เป็ น การเพิ่ ม รายได้ ใ ห้ กั บ ครอบครัว จะเห็นว่าชาวบ้านมีการประกอบ อาชี พ เสริ ม เพื่ อ เพิ่ ม รายได้ ใ ห้ กั บ ครอบครั ว เป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบ อาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควร เสนอแนะและส่งเสริมให้เกษตรกรลดความ เสี่ยงด้านการกระจายการผลิตและปรับปรุง ทรัพยากรในพื้นที่ของตน ได้แก่ การปลูกข้าว ปลู ก พื ช สวนครั ว ปลู ก ผลไม้ และเลี้ ย งไก่
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 91
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
พื้นเมือง อาจมีการเลี้ยงปลาดุกเพิ่มในบ่อดินที่ สร้างเองง่าย ๆ จะทำให้เกษตรกรและสมาชิก ในครั ว เรื อ นมี ข้ า วและสั ต ว์ เ ลี้ ย งไว้ บ ริ โ ภค เพียงพอตลอดทัง้ ปี เมื่อเหลือจึงขายเป็นรายได้ เก็บไว้ เป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย แก้ ปัญหาที่รายจ่ายมากกว่ารายได้เป็นการพัฒนา คุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ กนก คติการ และ ไพฑูรย์ อรุณพันธ์ (2541) คื อ เกษตรกรส่ ว นใหญ่ ใ นอำเภอกุ สุ ม าลย์ จั ง หวั ด สกลนครจะทำการเกษตรเพื่ อ เป็ น อาหารและขายแรงงานนอกภาคเกษตร เพื่อ หลี ก เลี่ ย งความเสี่ ย งอั น เกิ ด จากรายได้ ท าง การเกษตรอย่างสิ้นเชิง จึงหารายได้นอกภาค เกษตรแทน โดยการประกอบอาชีพเกษตรเดิม มีเฉพาะการปลูกข้าว จึงมีความเสี่ยงอันเกิด จากรายได้ที่ผันผวนหรือแปรปรวนระดับหนึ่ง เมื่อมีการขุดสระส่งเสริมการเลี้ยงปลา ปลูก พืชสวนครัว ปลูกผลไม้ และเลี้ยงไก่พื้นเมือง แล้วความเสีย่ งลดลงได้ และโครงการขุดสระน้ำ ได้สร้างหลักประกัน ได้สร้างหลักประกันการ มีอาหารบริโภคให้เกษตรกรเพียงพอตลอดปี ทั้งด้านคุณค่าและปริมาณ สามารถเก็บข้าวไว้ บริโภคตลอดปี 3. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านวัฒนธรรม คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความเชื่อเรื่อง พระเจ้ า สร้ า งมนุ ษ ย์ ขึ้ น มา เนื่ อ งจากความ
92 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เชื่อนี้เป็นสิ่งที่ระบุไว้ในพระคัมภีร์และทำให้ ตนเองยึ ด มั่ น ในการปฏิ บั ติ ต ามคำสอนของ ศาสนา ส่วนความเชื่อด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับ ใกล้เคียงกัน ได้แก่ มีความเชื่อเรื่องพระเจ้า มี ค วามเชื่ อ เรื่ อ งพระคั ม ภี ร์ ต่ า ง ๆ มี ค วาม เชื่อเรื่องการกลับฟื้นคืนชีพ มีความเชื่อเรื่อง ชีวิตนิรันดร มีความเชื่อเรื่องความรอดพ้น มี ความเชื่ อ ว่ า สิ่ ง ต่ า ง ๆ ในธรรมชาติ มี ค วาม สัมพันธ์กบั มนุษย์ มีความเชือ่ เรือ่ งความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กบั พระเจ้า มีความเชือ่ เรือ่ งลิขติ ที่พระเจ้ากำหนดไว้ มีความเชื่อเรื่องพระเยซู และบรรดานั ก บุ ญ ต่ า ง ๆ มี ค วามเชื่ อ เรื่ อ ง ทู ต สวรรค์ ตลอดจนมี ค วามเชื่ อ และปฏิ บั ติ ตามน้ ำ พระทั ย ของพระเจ้ า มี ค วามเชื่ อ ว่ า มนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ การไถ่ กู้ จ ากพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระบิดา และทรงรัก มนุ ษ ย์ เป้ า หมายชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ คื อ พระ ผู้เป็นเจ้า ต้องรักและชื่นชมพระองค์ตลอดไป ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใดก็จะระลึกถึงพระเจ้าไม่ กล้าทำสิ่งไม่ดีทำสิ่งผิดบาป ซึ่งความเชื่อต่าง ๆ เหล่ า นี้ ถื อ เป็ น คุ ณ ธรรมที่ ช่ ว ยให้ ค ริ ส ตชน ในบ้ า นขุ น แตะมี ค วามระอายต่ อ บาปและ ดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของศาสนาซึ่งเป็น สิ่ ง ช่ ว ยให้ วิ ถี ก ารดำเนิ น ชี วิ ต มี ค วามสงบสุ ข ส่งผลดีทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ซึ่งสอดคล้อง กับคำสอนของศาสนาคริสต์ คือ มนุษย์ข้นึ อยู่ กับพระเป็ น เจ้ า ผู้ ท รงสร้ า งมนุ ษ ย์ ต ามพระ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
ฉายาลักษณ์ของพระองค์ มนุษย์ได้รับการไถ่กู้ จากพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็น พระบิ ด า และทรงรักมนุษย์ เป้าหมายชีวิต ของมนุษย์ คือพระผู้เป็นเจ้า กล่าวคือ รักและ ชื่นชมพระองค์ตลอดนิรันดร โลกนี้มีอยู่เพื่อ มนุ ษ ย์ ศั ก ดิ์ ศ รี ข องสตรี เ ท่ า เที ย มกั บ บุ รุ ษ เพราะสั ง คมครอบครั ว จะมี ขึ้ น ไม่ ไ ด้ ถ้ า ขาด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หน้าที่ตามธรรมชาติของสตรี คือ การเป็นมารดา สังคมจะต้องจัดระเบียบ ให้สตรีสามารถปฏิบัติหน้าที่มารดาได้อย่าง สมบูรณ์ (สังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญ ว่าด้วยพระศาสนาจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 25 วรรค 1) 4. วิถีชีวิตของคริสตชนในบ้านขุนแตะ ด้านสิ่งแวดล้อม คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี ก ารทำปุ๋ ย หมัก และปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ช่วยให้ดินและพืชมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้ง มีการนำพืชสมุนไพรมาผลิตสารไล่แมลง เพื่อ ทดแทนการใช้สารฆ่าแมลง ทำให้ลดมลภาวะ และช่วยรักษาสมดุลของสิง่ แวดล้อม เนือ่ งจาก มีความเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ มีความ สัมพันธ์กับมนุษย์ จึงต้องรักษาสมดุลของสิ่ง ต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ดังนั้นคริสตชนในบ้านขุนแตะ มี ก ารจั ด การขยะโดยไม่ ใช้ ก ารเผาทำให้ ล ด ภาวะอีกทั้งทำให้บ้านขุนแตะมีทรัพยากรน้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์
มีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมในการดำรง ชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของศาสนาคริสต์ คื อ ความเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งหรื อ การพั ฒ นาคุ ณ – ประโยชน์ ทั้ ง ฝ่ า ยจิ ต วิ ญ ญาณและฝ่ า ยวั ต ถุ ครอบครั ว มนุ ษ ย์ ใ นโลกนี้ มี สิ ท ธิ ที่ จ ะทำมา หากิน (ด้านเศรษฐกิจ) เพราะว่าพระผู้เป็นเจ้า ทรงสร้างสรรพสิ่งมา เพื่อลูกของพระองค์จะ ได้ ไ ม่ อ ดอยาก การเกี่ ย วข้ อ งทางเศรษฐกิ จ ของมนุษย์นั้นต้องยึดมั่นในศีลธรรม ต้องไม่ ทำมาหากินเพื่อตนเองหรือเพราะครอบครัว ของตนเองเท่านั้นแต่ต้องคำนึงถึงคนอื่นด้วย ซึ่ ง การกิ น ดี อ ยู่ ดี นี้ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ศั ก ดิ์ ศ รี ข อง มนุ ษ ย์ ที่ เ ป็ น ลู ก ของพระเจ้ า ทรั พ ยากรที่ พระเจ้าให้แก่เรานั้น พระองค์ให้สำหรับมนุษย์ ทุกคนด้วย นั้นในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ นั้น เราไม่ควรใช้อ ย่างสุรุ่ย สุร่าย เหมือนใน สมัยปัจจุบัน เราต้องช่วยกันบำรุงรักษา เพื่อ สำหรับทุก ๆ คน ทั้งในปัจจุบันละอนาคต ความสอดคล้องของวิถีชีวิตของคริสตชนใน บ้านขุนแตะ กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 1. ความพอประมาณ ค ริ ส ต ช น ใ น บ้ า น ขุ น แ ต ะ มี ค ว า ม ความพอประมาณในภาพรวมสอดคล้องกับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากคริสตชน ในบ้ า นขุ น แตะมี ค วามพอใจกั บ สภาพความ เป็นอยู่ของตนในปัจจุบัน และเมื่อพบเห็นคน
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 93
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ยากจนกว่าตนจะรู้สึกสงสารแล้วนำมาเป็น กำลังใจให้ไม่ท้อแท้ในการดำเนินชีวิต อีกทั้ง ใช้ วิ ธี ก ารปลู ก พื ช โดยไม่ เ น้ น เพี ย งเพื่ อ การ เพาะปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตมาก ๆ แต่คำนึง ถึงดินและสภาพแวดล้อม อีกทั้งใช้ประโยชน์ จากทรั พ ยากรท้ อ งถิ่ น ที่ ห ลากหลายอย่ า ง พอประมาณ สร้ า งความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข อง ธรรมชาติ และไม่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม ดั ง เห็ น ได้ จ ากการทำปุ๋ ย หมั ก และปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ช่วย ให้ ดิ น และพื ช มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ อี ก ทั้ ง มี การนำพืชสมุนไพรมาผลิตสารไล่แมลง เพื่อ ทดแทนการใช้สารฆ่าแมลง ทำให้ลดมลภาวะ และช่วยรักษาสมดุลของสิง่ แวดล้อม เนือ่ งจาก มีความเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ มีความ สั ม พั น ธ์ กั บ มนุ ษ ย์ จึ ง ต้ อ งรั ก ษาสมดุ ล ของ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ อีกทั้งมีการจัดการขยะโดย ไม่ใช้การเผาทำให้ลดภาวะ ทำให้บ้านขุนแตะ มีทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรดิน ที่อุดมสมบูรณ์มีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม ในการดำรงชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของ ศาสนาคริ ส ต์ คื อ มนุ ษ ย์ นั้ น ต้ อ งยึ ด มั่ น ใน ศีลธรรม ต้องไม่ทำมาหากินเพื่อตนเองหรือ เพราะครอบครั ว ของตนเองเท่ า นั้ น แต่ ต้ อ ง คำนึงถึงคนอื่นด้วย การกินดีอยู่ดีนี้ เกี่ยวข้อง กั บ ศั ก ดิ์ ศ รี ข องมนุ ษ ย์ ที่ เ ป็ น ลู ก ของพระเจ้ า ทรัพยากรที่พระเจ้าให้แก่เรานั้น พระองค์ให้
94 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สำหรับมนุษย์ทกุ คนด้วย อีกทัง้ วิถชี วี ติ ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์ ป ระกอบของความพอประมาณ คื อ ไม่โลภและไม่กอบโกย นึกถึงประโยชน์ของ ส่วนรวมเป็นสำคัญ ดังพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราช– ทานปริ ญ ญาบั ต รของมหาวิ ท ยาลั ย ธรรม– ศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ความว่ า “…กล่าวโดยทั่วไปมนุษย์เราย่อม ปรารถนาจะประสบแต่ ส่ ิง ที่ดีง ามเจริ ญ ตา เจริญใจ จึงควรจะได้มีอุดมคติด้วยกันทั้งนั้น แต่หากควรเป็นไปในทางไม่กอ่ ความเบียดเบียน แก่ผ้อู ่นื โดยเพ่งเล็งถึงประโยชน์สุขของผู้อ่นื หรือส่วนรวมด้วย...” (คณะอนุกรรมการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, 2547 : 134) 2. ความมีเหตุผล คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความมีเหตุผล ในภาพรวมสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะ มี ส ำนึ ก ว่ า พระเจ้ า มองเห็ น การกระทำของ ตนเองทุ ก เรื่ อ งจึ ง ไม่ ก ล้ า ทำสิ่ ง ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง อีกทั้งเห็นว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น ผู้ ป ฏิ บั ติ ต้ อ งมี ค วาม ศรั ท ธาและเชื่ อ ว่ า จะประสบความสำเร็ จ ใน ชีวิตก่อนจึงจะนำไปปฏิบัติ อีกทั้ง คริสตชน ในบ้ า นขุ น แตะ เห็ น ว่ า ทรั พ ยากรดิ น และ ทรัพยากรน้ำมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
การทำเกษตรกรรม อีกทั้งมีการนำทรัพยากร ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่า และมู ล ค่ า ของสิ่ ง ที่ มี อ ยู่ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ คำสอนของศาสนาคริสต์ คือ บุคคลแต่ละคน ต้องการดำเนินชีวิตรวมกันเป็นสังคม เพื่อการ พัฒนาตัวเอง แต่ละสังคมหรือแต่ละสถาบัน แม้เล็กน้อยที่สุดเช่น ครอบครัว จะต้องตอบ สนองความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ อย่างขาดไม่ได้ และวิถีชีวิตดังกล่าวมีความ สอดคล้ อ งกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน องค์ประกอบของความมีเหตุผล โดยแก่นแท้ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ หลักคิด เพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งการที่เราจะมีชีวิตอยู่บน โลกนี้ได้ เราต้องมีหลักคิดว่าเราจะดำรงชีวิต อย่างไร เพื่ออะไร และสุดท้ายเป้าหมายของ ชีวิตคืออะไร (ปรียานุช พิบูลสราวุธ, 2549: ระบบออนไลน์) 3. การมีภูมิคุ้มกัน คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี ภู มิ คุ้ ม กั น ในภาพรวมสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะ มีการอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมท้องถิน่ มีการประกอบ ศาสนกิจทางศาสนาเสมอ อีกทั้งมีทรัพยากร ธรรมชาติทส่ี มบูรณ์ เพียงพอในการทำเกษตร– กรรม และการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และ มีการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ มีสอดคล้อง กับคำสอนของศาสนาคริสต์ คือ เมื่อชีวิตอยู่
ในโลกนี้ต้องไม่กอบโกย ต้องไม่เที่ยวเตร่หา ความสนุกสนานให้เต็มที่ เพราะว่าเมื่อตายไป แล้ว ก็จะไม่สามารถเอาไปได้ ไม่ปฏิเสธชีวิต ในโลกหน้า เชื่อว่าชีวิตมีอยู่ไม่เฉพาะในโลกนี้ เท่านั้น อีกทั้งชาวบ้านขุนแตะมีการประกอบ อาชี พ เสริ ม เพื่ อ เพิ่ ม รายได้ ใ ห้ กั บ ครอบครั ว เป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบ อาชี พ เกษตรกรรมเพี ย งอย่ า งเดี ย ว วิ ถี ชี วิ ต ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในองค์ประกอบของการมีภูมิคุ้มกัน ที่ดี คือ เตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ซึ่ง การกระทำที่จะสามารถเรียกได้ว่า พอเพียงนั้น จึ ง มิ ใช่ แ ต่ จ ะคำนึ ง ถึ ง เหตุ ก ารณ์ แ ละผลใน ปัจจุบันเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องคำนึงความ เป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตภายใต้ข้อจำกัดของความรู้ ที่มีอยู่ และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้พอเพียงที่ จะสามารถพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระดับของความพอ ประมาณต้องครอบคลุมมิติการจัดการความ เสีย่ งเชิงพลวัต จึงจะนับได้วา่ เป็นระดับพอเพียง ทีส่ มบูรณ์ (กลุม่ พัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎี เศรษฐศาสตร์ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง, 2546: 39-40)
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 95
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
4. การมีความรู้ คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี ค วามรู้ ใ น ภาพรวมสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะ มีความรู้ด้านหลักการศาสนาคริสต์อยู่ในระดับ ดีแล้ว มีการรับความรู้หรือหาความรู้เพิ่มเติม เรื่องศาสนาได้เสมอ อีกทั้งมีการส่งเสริมให้ บุตรหลานเรียนรู้ด้านศาสนาคริสต์ และมีการ ไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ อีกทั้งเห็นความจำเป็น ในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอน ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ คณะ กรรมการคริ ส ตจั ก รมี ก ารใช้ เ หตุ ผ ลหรื อ ใช้ เสี ย งส่ ว นมากในการตั ด สิ น ใจดำเนิ น งาน มี หลักเกณฑ์ที่ดีในการเลือกคณะกรรมการ มี การเคารพการตั ด สิ น ใจจากคณะกรรมการ ชุมชนเป็นสิ่งที่ดีแล้ว มีความเคารพการตัดสิน ใจจากคณะกรรมการชุมชนในการจัดกิจกรรม หรือดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งมีการพิจารณาแล้วว่า เป็ น สิ่ ง ที่ ดี มี ก ารศึ ก ษาหาความรู้ เ กี่ ย วกั บ เศรษฐกิจพอเพียงบ้าง อีกทัง้ เห็นว่าหลักปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย งประกอบด้ ว ย ความพอ ประมาณ มีเหตุผล มีภูมิค้มุ กัน ภายใต้เงื่อนไข ความรู้และคุณธรรม รวมทั้งเห็นว่าในชุมชน มี บุ ค คลหรื อ หน่ ว ยงานที่ ใ ห้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ
96 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเห็นว่า การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้อง ปฏิ บั ติ เ ป็ น ขั้ น เป็ น ตอนไม่ ค วรก้ า วกระโดด โดยเริ่มจากรับรู้ เข้าใจ คิดวิเคราะห์ เรียนรู้ นำไปปฏิบตั ิ และทบทวนแก้ไข อีกทัง้ คริสตชน ในบ้านขุนแตะมีความรู้สึกเสียใจในสิ่งที่กระทำ ผิดและขออภัยโทษกับพระเจ้าโดยไม่คิดจะทำ สิ่งนั้นอีก และมีการสร้างงานที่มุ่งใช้แรงงาน ในท้ อ งถิ่ น เป็ น หลั ก ไม่ ใช่ ใช้ เ ทคโนโลยี แ ทน แรงงานอย่างเต็มที่ ซึ่งมีสอดคล้องกับคำสอน ของศาสนาคริสต์ คือ คำสอนของศาสนจักร กล่าวว่า “เป้าหมายของการทำงานของมนุษย์ มิใช่สร้างความเจริญด้านวัตถุแต่อย่างเดียว แต่ ต้ อ งให้ ฝ่ า ยจิ ต วิ ญ ญาณของมนุ ษ ย์ เจริ ญ เติบโตควบคู่ไปด้วยกัน ดังเช่นในการวางแผน หรือจัดระบบการทำงานของมนุษย์ นอกจาก จะกำจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่นำภัยต่อความเจริญ แล้ ว ยั ง ต้ อ งทุ่ ม เทและสนั บ สนุ น ให้ ม นุ ษ ย์ เจริ ญ ยิ่ ง ขึ้ น ในด้ า นจริ ย ธรรมและวิ ญ ญาณ” หรือในคำสอนทีก่ ล่าวว่า “ประชาคม การเมือง และอำนาจในบ้านเมืองนั้น ตั้งรากฐานอยู่บน ธรรมชาติมนุษย์ ดังนั้นจึงมาจากระเบียบที่ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ทรงกำหนดไว้ แ ล้ ว ” (เรื่ อ ง เดียวกัน ข้อ 74 วรรค 3) ฉะนั้น สมาชิกใน สังคมต้องเคารพเชื่อฟังผู้ได้รับอำนาจอย่าง ชอบธรรม (เทียบ รม.13:1-3) วิ ถี ชี วิ ต ดั ง กล่ า วมี ค วามสอดคล้ อ งกั บ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การมีทัศนคติที่ดี เชื่ อ ในกรรม เชื่ อ ในเหตุ แ ละผล เข้ า ใจการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิเคราะห์ เข้าใจ และใช้ประโยชน์กระแสโลกา– ภิวัตน์ที่เกิดขึ้น ขวนขวายหาความรู้ ข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ และใช้สติคุมจิต ให้เกิดภูมิปัญญาในการตัดสินใจใด ๆ (ธันวา จิตต์สงวน, 2547) และควรมีความรูใ้ นวิชาการ ต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ครอบคลุมเนื้อหาของ เรื่ อ งต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ ใช้ เ ป็ น พื้ น ฐาน สำหรับการนำไปใช้ในโอกาสและเวลาต่าง ๆ อีกทั้งมีความสามารถที่จะนำความรู้และหลัก วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยง สั ม พั น ธ์ กั น และมีสติ ในการนำแผนปฏิบัติ ที่ ตั้ ง อยู่ บ นหลั ก วิ ช าต่ า ง ๆ เหล่ า นั้ น ไปใช้ ใ น ทางปฏิบตั ิ เพราะในความเป็นจริงแล้ว สถาน– การณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการนำ ความรู้และความรอบคอบมาใช้ จึงต้องอาศัย ความระมัดระวังให้ร้เู ท่าทันเหตุการณ์ท่เี ปลี่ยน แปลงไปด้วย (กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทาง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, 2546: 39-40) อี ก ทั้ ง ควรมี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี ใ ห้ สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ โดยการนำปุ๋ยมูล สัตว์และปุย๋ ชีวภาพมาใช้เพือ่ ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น ใช้กระเทียม หอม ยาฉุ น เหล้ า ตะไคร้ ห อม ข่ า ขมิ้ น
สาบเสือ สะเดา เปลือกมังคุด หมักรวมกัน ใช้ เป็นยาฆ่าแมลงไม่อันตรายต่อคนและพืช และ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมเกิดความสมดุล อีกทั้งเป็น แนวทางที่ ส อดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพียงในองค์ประกอบของการพอประมาณ และเงื่อนไขของการมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 5. การมีคุณธรรม คริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะมี คุ ณ ธรรม ในภาพรวมสอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เนื่ อ งจากคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะ เห็นว่าในชุมชนไม่มผี ทู้ ใ่ี ห้คนในชุมชนกูเ้ งินแล้ว คิดดอกเบี้ยทำให้ผู้ที่ไปกู้เงินมีหนี้สินเพิ่มขึ้น อี ก ทั้ ง เห็ น ว่ า ควรพั ฒ นาความคิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง เที่ ย งธรรม มั่ น คงอยู่ ใ นเหตุ ผ ล และพั ฒ นา องค์ ค วามรู้ อ ย่ า งสม่ ำ เสมอ โดยไม่ ต้ อ งเอา เปรียบผู้อื่น ตลอดจนเห็นว่านอกจากการใช้ ความรู้ ใ นด้ า นต่ า ง ๆ แล้ ว ยั ง ต้ อ งมี ค วาม ซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพด้วย อีกทั้งใน ชุมชนของคริสตชนในบ้านขุนแตะมีผ้ทู ่ปี ระสบ ความสำเร็ จ ในหน้ า ที่ ก ารงานแล้ ว ให้ ค วาม ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีฐานะด้อยกว่า และมีการ กำหนดคุ ณ ค่ า ของมนุ ษ ย์ ด้ ว ยคุ ณ ความดี ไม่ ใช่ ท รั พ ย์ สิ น เงิ น ทอง ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ที่ ศาสนจักรให้คำสอนไว้ว่า “ศักดิ์ศรีของสตรี เท่าเทียมกับบุรุษ เพราะสังคมครอบครัวจะมี ขึ้นไม่ได้ถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” “ในส่วนที่ แตกต่างกันนัน้ ถือเป็นแผนการของพระเป็นเจ้า
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 97
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ทรงต้องการให้มนุษย์พึ่งพาอาศัยกัน และ แสดงเมตตาจิตต่อกัน” ดั ง นั้ น ควรใช้ คุ ณ ธรรมของศาสนา คริสต์สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับเยาวชน รุ่นหลังของคริสตชนในบ้านขุนแตะให้มีความ ระอายต่อบาปและดำเนินชีวติ ตามหลักคำสอน ของศาสนา มีความเชื่อว่ามนุษย์ได้รับการไถ่กู้ จากพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็น พระบิดา และทรงรักมนุษย์ เป้าหมายชีวติ ของ มนุ ษ ย์ คื อ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ต้ อ งรั ก และชื่ น ชม พระองค์ตลอดไป ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใดก็จะ ระลึกถึงพระเจ้าไม่กล้าทำสิ่งไม่ดีทำสิ่งผิดบาป ซึ่ ง ความเชื่ อ ต่ า ง ๆ เหล่ า นี้ ถื อ เป็ น คุ ณ ธรรม ทีช่ ว่ ยให้คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความระอาย ต่อบาปและดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของ ศาสนาซึ่งเป็นสิ่งช่วยให้วิถีการดำเนินชีวิตมี ความสงบสุข ส่งผลดีทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น อี ก ทั้ ง เป็ น แนวทางที่ ส อดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด เศรษฐกิจพอเพียงในองค์ประกอบของการมี ภูมิคุ้มกันทางสังคมและในเงื่อนไขของการมี คุณธรรม ชุ ม ชนคริ ส ตชนบ้ า นขุ น แตะมี ค วาม
98 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สอดคล้ อ งกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งใน การเป็นชุมชนเข้มแข็ง ตามที่แนวทางพัฒนา ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง ของคณะอนุ ก รรมการขั บ เคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (2547ข: 21-22) กล่าวว่าชุมชนจะต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ มี ความเอื้ออารี มีผู้นำที่ดี มีคุณธรรม เมตตา– ธรรม รู้ จั ก วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ของตนเอง มี กระบวนการเรียนรู ้ พัฒนากิจกรรมบนพืน้ ฐาน ของศั ก ยภาพชุ ม ชน เพื่ อ นำไปสู่ ก ารพั ฒ นา อย่ า งสมดุ ล และมี ก ระบวนการพั ฒ นาและ ติดตามผลอย่างต่อเนือ่ ง ดังนัน้ ชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง จึงเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านความคิด ที่อยู่บนพื้นฐานของการคิดที่จะพึ่งตนเองให้ ได้ก่อนในเบื้องต้น คิดที่จะแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กันและกัน ตลอดจนตั้งอยู่บนเหตุผล และความสมดุลของแต่ละชุมชน ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยเพื่อพัฒนา คริสตชนในบ้านขุนแตะ 1. ควรใช้คณ ุ ธรรมของศาสนาคริสต์สร้าง ภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับเยาวชนรุ่นหลังของ คริสตชนในบ้านขุนแตะให้มีความระอายต่อ บาปและดำเนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก คำสอนของ ศาสนา มีความเชื่อว่ามนุษย์ได้รับการไถ่กู้จาก พระเยซูคริสตเจ้า พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระ บิ ด า และทรงรั ก มนุ ษ ย์ เป้ า หมายชี วิ ต ของ
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
มนุ ษ ย์ คื อ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ต้ อ งรั ก และชื่ น ชม พระองค์ตลอดไป ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใดก็จะ ระลึกถึงพระเจ้าไม่กล้าทำสิ่งไม่ดีทำสิ่งผิดบาป ซึ่งความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นคุณธรรมที่ ช่วยให้ คริสตชนในบ้านขุนแตะมีความระอาย ต่อบาปและดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของ ศาสนาซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ช่ ว ยให้ วิ ถี ก ารดำเนิ น ชี วิ ต มีความสงบสุข ส่งผลดีทั้งต่อตนเองและต่อ ผู้อื่น อีกทั้งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนว คิ ด เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในองค์ ป ระกอบของ การมีภูมิคุ้มกันทางสังคม ตลอดจนส่งเสริม และหาวิธกี ารให้เยาวชนและชาวบ้านในชุมชน บ้านขุนแตะมีการดำเนินชีวิตโดยปฏิบัติตาม หลั ก ธรรม คำสอนของศาสนาคริ ส ต์ พอใจ ในสิง่ ทีต่ นมีอยู ่ เพือ่ ทำให้ผคู้ นอยูอ่ ย่างช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน มีความรักปรองดองให้อภัยกัน และมีน้ำใจเกื้อกูลกัน 2. ควรเสนอแนะและส่งเสริมตามแนว ทางเศรษฐกิ จพอเพียง โดยให้เกษตรกรลด ความเสี่ยงด้านการกระจายการผลิตและปรับ ปรุ ง ทรั พ ยากรในพื้ น ที่ ข องตน ได้ แ ก่ การ ปลูกข้าว ปลูกพืชสวนครัว ปลูกผลไม้ และ เลี้ยงไก่พื้นเมือง อาจมีการเลี้ยงปลาดุกเพิ่มใน บ่อดินที่สร้างเองง่าย ๆ จะทำให้เกษตรกรและ สมาชิ ก ในครั ว เรื อ นมี ข้ า วและสั ต ว์ เ ลี้ ย งไว้ บริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี เมื่อเหลือจึงขาย
เป็นรายได้เก็บไว้ เป็นการเพิ่มรายได้และลด รายจ่าย แก้ปัญหาที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดีขึ้น รวมทั้งปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาธรรม– ชาติ มีการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกัน พอใจใน สิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ขยันหมั่นเพียร ช่วยเหลือผูด้ อ้ ยโอกาส คนยากจนขัดสน อีกทัง้ เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงในองค์ประกอบของการพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจ 3. ควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สอด คล้ อ งกั บ ระบบนิ เ วศน์ และส่ ง เสริ ม ให้ ช าวบ้ า นขุ น แตะปฏิ บั ติ ต ามคำสอนของ ศาสนาคริสต์ที่ได้เรียนรู้มา เพื่อประยุกต์ใช้ ในวิถีชีวิต อีกทั้งมีการวางแผนในการดำเนิน ชี วิ ต อุ ป โภค บริ โ ภค ของที่ มี อ ยู่ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์โดยการนำปุ๋ยมูลสัตว์และปุ๋ยชีวภาพ มาใช้ เ พื่ อ ลดต้ น ทุ น การผลิ ต เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์มากที่สุด เช่น ใช้กระเทียม หอม ยาฉุน เหล้า ตะไคร้หอม ข่า ขมิ้น สาบเสือ สะเดา เปลือกมังคุด หมักรวมกัน ใช้เป็นยา ฆ่าแมลงไม่อันตรายต่อคนและพืช และเพื่อให้ สิ่ ง แวดล้ อ มเกิ ด ความสมดุ ล อี ก ทั้ ง เป็ น แนว ทางที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในองค์ ป ระกอบของการพอประมาณและ เงื่อนไขของการมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 99
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. นักวิจัยควรใช้กระบวนการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันเสนอ แนวทางการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 2. ควรมีการวิจัยวิถีชีวิตของคริสตชนที่ อยู่ในชุมชนอื่น ๆ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับวิถี ชี วิ ต ของคริ ส ตชนในบ้ า นขุ น แตะที่ เ ป็ น ชาว ปกาเกอะญอ เอกสารอ้างอิง กนก คติการ และ ไพฑูรย์ อรุณพันธ์. 2541. “การวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบจำลอง การลดความเสี่ยง ของครัวเรือนเกษตร : กรณีศึกษา ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร”. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์. 16, 3: 104-130. กลุ่มศึกษาปัญหาสังคม สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มปป. “บ้านขุนแตะ”. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.sri.cmu. ac.th/~localdevelop/index/ (10 กันยายน 2553). คณะอนุกรรมการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ พอเพียง. 2547ก. ประมวลคำในพระบรมราโชวาท
100 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชตัง้ แต่พทุ ธศักราช 2493-2542 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ชัยรินทร์ ชัยวิสิทธิ์. 2545. การวิจัยเชิง ปฏิบตั กิ ารแบบมีสว่ นร่วมเพือ่ สร้างเสริม ค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ให้นักเรียนและชุมชนด้วยโครงงาน อาชีพ. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ทรงชัย ติยานนท์. 2541. “การศึกษาทัศนะ ของเกษตรกรในการสร้างความมั่นคง ทางรายได้ตามแนวคิด เศรษฐกิจ พอเพียง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://thesis.tiac.or.th (5 กันยายน 2551) ทองบูรณ์ พิทักษ์ดำรงสุข. 2553. ผู้นำศาสนา. สัมภาษณ์. 18 ตุลาคม ธันวา จิตต์สงวน. 2547. การประยุกต์ใช้
บงกชมาศ เอกเอี่ยม ชาญชัย เต็มอรุณรุ้ง
เศรษฐกิจพอเพียงระดับบจุลภาค. เอกสารประกอบการสอน พภ. 52 เศรษฐกิจพอเพียง สาขาการพัฒนา ภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 26 กันยายน 2551
บาทหลวงวีระ อาภรณ์รัตน์. 2542. คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (Catechism of the Catholic Church) ภาค 2. กรุงเทพฯ: แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑล. บุญเสริม บุญเจริญผล. 2543. แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์. 1, 1: 39 ประทีป พรมสิทธิ.์ 2544. “การศึกษาวิเคราะห์ เชิงปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thesis.tiac.or.th/ (5 กันยายน 2551). พิกุลทอง เกษมสันต์, ศุภลักษณ์ จันทร์เจริญ และ ไพฑูรย์ พัชรอาภา. 2546. การศึกษาทัศนะของเกษตรกรในการ สร้างความมัน่ คงทางรายได้ตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษาเฉพาะกรณี เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ในโครงการรวมน้ำ+ใจ ถวายในหลวง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. โรแบต์ โกสเต. 2539. คำสอนของคริสตชน และความสอดคล้องในด้านสังคม. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ. สิน พันธุ์พินิจ และ บำเพ็ญ เขียวหวาน. 2542. การยอมรับเทคโนโลยีของ เกษตรกร ตามโครงการปรับโครงสร้าง และระบบการผลิตการเกษตรภาคกลาง ของประเทศไทย. รายงานการวิจัย. นนทบุร ี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ้างถึงใน สิน พันธุ์พินิจ. 2545 กลยุทธ์การส่งเสริมการเกษตรตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับ เกษตรกรรายย่อยภาคตะวันตกของ ประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. . 2547. การวิจัยทาง สังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ. สุภลักษณ์ เรือนชมภู. 2551. เศรษฐกิจ พอเพียงกับวิถชี วี ติ ชนเผ่าปะหล่องบ้าน นอแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2011/2554 101
วิถีชีวิตคริสตชนกับเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เสรี พงศ์พิศ. 2545. ศาสนาคริสต์ คาทอลิกกับสังคมไทย สี่ศตวรรษ แห่งคุณค่าและบทเรียน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
อมรา อารีย์. 2550. วิถีชีวิตมุสลิมกับ เศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านปิงหลวง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
102 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อภิชัย พันธเสน, สรวิชญ์ เปรมชัน และ พิเชษฐ เกียรติเดชปัญญา. 2545. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อรสุดา เจริญรัถ. 2546. เศรษฐกิจ พอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงของ สังคมไทย. รายงายวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย.
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Sa e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l
ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................... ที่อยู่ (สำหรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน.................................... แขวง/ตำบล...................................................เขต/อำเภอ.................................................. จังหวัด..................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... โทรศัพท์.....................................................................โทรสาร......................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงะรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท ชำระเงินโดยวิธี ธนาณัติ (สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ”) ปณ. อ้อมใหญ่ 73160 โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ Fax. 0-2429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม....................................................................................................... เลขที่.........................ถนน.............................แขวง/ตำบล..................................... เขต/อำเภอ............................จังหวัด...............................รหัสไปรษณีย์...................
.............................................(ลงนามผู้สมัคร) วันที่...........................................
ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่ โทรสาร 0 2 429 0819
รูปแบบการส่งต้นฉบับบทความ
www.saengtham.ac.th
1. การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows หรือซอฟต์แวร์อื่น ที่ใกล้เคียงกันพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 26 บรรทัด ต่อ 1 หน้า Angsana New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ยกเว้นหน้าแรก 2. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ชื่อบทความไม่ต้องอยู่ในวงเล็บ) 3. ให้ ข้ อ มู ล เกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน Curriculum Vitae (CV) ได้ แ ก่ ชื่ อ -นามสกุ ล ของ ผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) E-mail หรือโทรศัพท์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 4. ทุกบทความจะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract มีความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 จะต้องพิมพ์คำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ใน Abstract ของบทความ ด้วย 5. ความยาวทั้งหมด ประมาณ 14-20 หน้า 6. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 7. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัว อักษร) 8. บทความวิจัยควรมีหัวข้อดังนี้ ชื่อเรื่องบทความวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้เขียนพร้อมข้อมูลส่วนตัวของทุกคน (รายละเอียดตามข้อ 3) บทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract (รายละเอียดตามข้อ 4) ความสำคัญ ของเนื้อหา วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ ขอบเขตการวิจัย นิยามศัพท์ (ถ้ามี) วิธีการดำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรม/References 9. ฝ่ายวิชาการนำบทความที่ท่านส่งมาเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสม ของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียนจะ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 15 วันนับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ หากท่านต้องการสอบถามกรุณาติดต่อกับกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ โทรศัพท์ (02) 4290100 โทรสาร (02) 4290819 หรือ E-mail: so__we@hotmail.com (underscore 2 ครัง้ )
ขั้นตอนการจัดทำ
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saesngtham College Journal
เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กอง บก. ตรวจรูปแบบทั่วไป
ไม่ผ่าน
แจ้งผู้เขียน
ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข
ก้ไ อ้ งแ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
ไม่ผ่าน
ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ
แจ้งผู้เขียน
ไม่ต
แก้ไ
ข
แจ้งผู้เขียน แก้ไข
จบ