วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2555

Page 1


วารสารวิ ชาการ วิทยาลัยSaแสงธรรม e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งใน และนอกวิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวง เดชา อาภรณ์รัตน์ ในนามประธานสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย บรรณาธิการ บาทหลวง ดร.อภิ​ิสิทธิ์ กฤษเจริญ ในนามรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ผศ.ประเสริฐ วิเศษกิจ ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา มูลนิธิเซนต์คาเบรียล ดร.สมเจตน์ ไวยการณ์ โรงเรียนเซนต์เทเรซา ดร.ยุพิน ยืนยง โรงเรียนบอสโกพิทักษ์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ อาจารย์ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสาวจิตรา กิจเจริญ นางสุจิต เพชรแก้ว อาจารย์ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต นางสาวปนัดดา ชัยพระคุณ นางศรุตา พรประสิทธิ์ นายวีระยุทธ กิจเจริญ นายศรัญญู พงษ์ประเสริฐสิน กำหนดเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.- มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.- ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก & รูปเล่ม : โดย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ พิสูจน์อักษร : โดย นางสุจิต เพชรแก้ว, นางศรุตา พรประสิทธิ์

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และ บทความปริทัศน์ ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ โดยส่ง บทความมาที่ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อประเมิน คุณภาพบทความว่าเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการส่งต้น ฉบับได้ที่ www.saengtham.ac.th/journal


รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

(Editorial Advisory Board)

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น้ำเพชร, S.J. Sophia University, Japan 2. ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต 3. ศ.ปรีชา ช้างขวัญยืน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. ศ.ดร.เดือน คำดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5. ศ.ดร.สมภาร พรมทา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 7. ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 2. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 4. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ ลิขสิทธิ์

ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามนำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของ ผูเ้ ขียนเท่านัน้


รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ

(Peer Review) ประจำฉบั บ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

1. ศ.กีรติ บุญเจือ 2. ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ 3. รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร 4. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 5. รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช 6. ผศ.ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ 7. ผศ.ดร.ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม 8. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล 9. อาจารย์ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน

ราชบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มูลนิธิเซนต์คาเบรียล

อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ คณะศาสนศาสตร์

1. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ 2. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย 3. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา


บทบรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ

Saengtham College Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีท่ี 4 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2012/2555 ฉบับนี่ นับเป็นฉบับทีส่ องแล้วทีท่ างสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้มอบความไว้วางใจ ร่วมมือกับวิทยาลัยแสงธรรม เพือ่ ร่วมกันผลิตวารสารวิชาการฉบับนี้ โดยเนือ้ หาในฉบับนี้ กอง บรรณาธิการได้นำเสนอบทความวิจยั จำนวนรวม 6 บทความประกอบไปด้วยบทความพิเศษ เรือ่ ง “ข้อตกลงทีน่ กั วิจยั ปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู”้ ซึง่ ได้รบั ความกรุณาจาก ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต ท่านได้กรุณาส่งบทความให้ทางกองบรรณาธิการอย่างต่อเนือ่ ง ต่อด้วยบทความวิจยั จำนวน 4 บทความ โดย 3 บทความแรกเป็นบทความวิจยั ทีไ่ ด้จากรายวิชา กอ. 791 การค้นคว้าอิสระ ในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม และอีก 1 บทความวิจยั จากภายนอก เรือ่ ง “ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง” โดย อ.ดร.วิศษิ ฐ์ ฤทธิบญ ุ ไชย อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นอกจากนีย้ งั มี บทความวิชาการเรือ่ ง “การศึกษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย : บทบาทของการศึกษาคาทอลิกในการ ส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบตั แิ บบประชาธิปไตย” โดย บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกโิ ย ปิโตโย, S.J. ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัย แสงธรรม โดยทัง้ 5 บทความทีก่ ล่าวมานีไ้ ด้รบั การประเมินจากผูท้ รงคุณวุฒแิ ล้วทัง้ สิน้ ทัง้ นีก้ อง บรรณาธิการขอขอบคุณคณาจารย์ นักวิชาการผูเ้ ขียนบทความทุกท่าน ทีไ่ ด้ให้ความร่วมมือส่งผลงาน เพือ่ ลงตีพมิ พ์ ขอพระเจ้าตอบแทนน้ำใจดีของท่านทีไ่ ด้กรุณามอบบทความนีเ้ พือ่ ตีพมิ พ์ในวารสาร วิชาการวิทยาลัยแสงธรรม กองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบคุณผูท้ รงคุณวุฒทิ กุ ท่านที่ กรุณาให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ อันส่งผลให้วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีท่ี 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2012/2555 สำเร็จและผลิตออกเผยแพร่องค์ความรูด้ า้ นปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา สุดท้ายนีห้ วังเป็นอย่างยิง่ ว่า วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม โดยความร่วมมือกันระหว่าง ฝ่ายวิจยั และพัฒนา สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย และศูนย์วจิ ยั ค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม จะเป็นอีกช่องทางหนึง่ ในการส่งมอบความรูส้ แู้ วดวงวิชาการ บรรณาธิการ ธันวาคม 2012


A

ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

greements : The Researchers of Ancient Greek Philosophy Have to Know

ศ.กีรติ บุญเจือ * ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต * ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา * ประธานบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน

Professor Kirti Bunchua * Professor and Member of Royal Institute. * Chairman of the Ph.D. Program in Philosophy and Ethics, Suan Sunandha Rajabhat University. * Editor in Chief of the Encyclopedia of Philosophy, Royal Institute.


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

บทคัดย่อ

แหล่ ง ข้ อ มู ล ของปรั ช ญากรี ก โบราณ จากสภาพที่ เ หลื อ อยู่ อย่างกระท่อนกระแท่นเป็นส่วนมาก ได้มีผู้เชี่ยวชาญช่วยกันจัดเป็น หมวดหมู่ และกำหนดวิธีอ้างอิงเป็นที่ตกลงใช้เป็นระบบเดียว ช่วย ให้การศึกษาค้นคว้าและอภิปรายเรื่องปรัชญากรีกโบราณ เป็นไปได้ อย่างสะดวกเป็นที่ยอมรับ ผู้เชี่ยวชาญประวัติปรัชญากรีกโบราณและ ผู้สนใจโดยทั่วไปจึงต้องทำความเข้าใจกับข้อตกลงต่าง ๆ เพื่ออ่านตำรา เรื่องนี้ได้อย่างถ่องแท้ และเมื่อเป็นผู้เสนอเรื่องราวเสียเอง ก็จะได้อ้าง อิงได้ถูกต้องตามสากลนิยม นักปรัชญากรีกโบราณมีน้อยท่านนักที่เขียนหนังสือชี้แจงความ คิดเห็นโดยตรง แล้วยังคงเหลือมาถึงเราครบถ้วนให้เราได้อ่าน เพื่อ เข้าใจและชื่นชมความปราดเปรื่องของท่านโดยตรง ส่วนมากเราจำ ต้องพอใจกับการสันนิษฐานความคิดจากเศษนิพนธ์ (Fragment) บ้าง คำอ้างอิง (Quotation) บ้าง ลักษณะของข้อมูลจึงเป็นได้ทั้งข้อมูล ปฐมภูมิ หรือข้อมูลทุติยภูมิก็ได้ คำสำคัญ :

Abstract

2

1) ข้อตกลง 2) นักวิจัย 3) ปรัชญากรีกโบราณ

From the sources of ancient Greek Philosophy, the remainders are rather fragmentary. There were some experts categorized and regulated the reference methods that were agreed to use as mono-system. This helped for searching and discussing on ancient Greek Philosophy conveniently and admittedly. The experts and general interested persons on the history of ancient Greek philosophy have to make under-

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

standing to the agreements for completely studying about these texts. In addition, the account proposer is able to accurately refer through the internationality. A few ancient Greek philosophers those who wrote to directly clarify some opinions, then still remained complete fragment to study to understand and admire their intellectuals. We need to satisfy with conceptual assumption from either fragments or quotations. The specific characteristics of information are possible to be both primary and secondary. Keywords : 1) Agreement 2) Researcher 3) Ancient Greek Philosophy

หมายเหตุ : กีรติ บุญเจือ ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต อดีต สนช. อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประธานบรรณาธิการ จัดทำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของ ราชบัณฑิตยสถาน อนุกรรมาธิการศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรม วุฒิสภา ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราชฎร กรรมการคุณธรรมจริยธรรม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกิติมศักดิ์องค์การ ศาสนาเพื่อสันติภาพแห่งเอเชีย สอบถามเรื่องปรัชญาได้ที่ โทรศัพท์ 08 6045 5299

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

3


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

น้ำหนักของข้อมูล เราจะรู้ความคิดของนักปรัชญากรีก โบราณก่ อ นคริ ส ตกาล ก็ โ ดยผ่ า นทางข้ อ มู ล (Source) หลั ง คริ ส ตกาลเป็ น ส่ ว นมาก ข้อมูลจึงแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท มีอยู่ ๒ ชนิด มีน้ำหนักน่าเชื่อถือต่างกัน ดังนี้ ๑. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ได้แก่ งานนิพนธ์หรือคำอ้างอิงที่ เป็นคำโดย ตรงของนั ก ปรั ช ญาที่ ก ล่ า วถึ ง ที่ เรี ย กได้ ว่ า อั ญ พจน์ (Quotation) มี น้ ำ หนั ก น่ า เชื่ อ ถื อ ได้ ม าก แต่ ก็ ไ ม่ ส มบู ร ณ์ เ พราะผู้ คั ด ลอก หรือผู้อ้างอิงอาจจะจำหรือลอกมาผิดพลาด ได้ นอกจากนั้น การอ้างอิงมาเพียงข้อความ สั้น ๆ ทำให้ขาดบริบท (Context) อาจจะบิด เบือนความหมายไปตามความต้องการของผู้ อ้างอิงได้ ข้อมูลจากการอ้างอิงเช่นนี้อาจจะ เป็นอัญพจน์ (Quotation) หรือเศษนิพนธ์ (Fragment) ความจริงอัญพจน์มีความหมาย เหลื่อมล้ำกับเศษนิพนธ์อยู่บ้างกล่าวคือ เมื่อ มี ก ารอ้ า งอิ ง คำพู ด ของผู้ อื่ น โดยตรงครั้ ง ไร ก็เรียกได้ว่าเป็นอัญพจน์ทุกครั้ง แต่เศษนิพนธ์ จะต้ อ งเป็ น คำอ้ า งอิ ง ที่ ห าหนั ง สื อ ฉบั บ ครบ ของผู้นั้นไม่ได้แล้ว ยังมีเศษนิพนธ์อีกส่วน หนึง่ ทีไ่ ม่เป็นอัญพจน์ คือ เศษนิพนธ์ทไี่ ด้มาจาก ต้ น ฉบั บ ที่ ถู ก ทำลายไปไม่ ห มดเหลื อ อยู่ ก ระ ท่อนกระแท่นเรียกว่าซากนิพนธ์ (Ruinous

4

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Text) ซากนิพนธ์จึงเป็นเศษนิพนธ์ แต่ไม่เป็น อัญพจน์ และอัญพจน์ที่มีต้นฉบับก็ไม่เป็น เศษนิพนธ์ เขียนเป็นแผนผังได้ดังนี้ เศษนิพนธ์ ซากนิพนธ์ (Fragment) (Ruinous Text) อัญพจน์ที่ไม่มีต้นฉบับ อัญพจน์ที่มีต้นฉบับ

อัญพจน์ (Quotation)

แผนผังที่ 1 แสดงการแบ่งระหว่าง เศษนิพนธ์กับอัญพจน์

๒. ข้ อ มู ล ทุ ติ ย ภู มิ (Secondary Source) ได้ แ ก่ การอ้ า งความคิ ด ของนั ก ปรัชญาที่กล่าวถึงโดยอธิบายหรือตีความด้วย คำพูดของผู้อ้างเอง ในทำนองเดียวกันกับเล่า เรื่องให้ฟัง วิธีนี้ผู้อ้างอาจจะบิดเบือน ต่อเติม หรือตัดทอนไปอย่างไรก็ได้ ข้อมูลประเภทนี้ จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อน้อยกว่าประเภทแรก ถ้า มีการอ้างตรงกันจากหลายทางน้ำหนักความ น่าเชื่อก็มากขึ้น แต่ต้องระวังสำรวจดูให้แน่ใจ ได้ว่า คำอ้างเหล่านั้นไม่ได้ถ่ายทอดจากกันและ กัน ในกรณีที่ถ่ายทอดจากกันจะมีน้ำหนักเท่า กับข้อมูลเดียว โดยถือข้อมูลต้นตอเป็นหลัก ข้ อ มู ล จากการอ้ า งความคิ ด เช่ น นี้ เ รี ย กว่ า คำอ้าง (testimony) ความน่ า เชื่ อ (Credibility) ในที่ นี้ หมายถึงว่า ผู้อ่านจะปลงใจเชื่อได้แค่ไหนว่า


กีรติ บุญเจือ

ข้อความที่ยกขึ้นมาพิจารณานั้น แสดงความคิด ของผู้ถูกอ้างว่าเป็นเจ้าของข้อความนั้น ๆ เช่น ข้อความในหนังสือเล่มนี้เป็นความคิดของผู้ เขียน (นอกจากที่ระบุไว้ว่าเป็นความคิดของผู้ อื่น) แต่ถ้ามีใครเอาไปอ้างถึงว่า “ข้าพเจ้าคิดว่า X” ก็อาจสงสัยได้ว่า ความคิด X เป็นความคิด ของผู้เขียนคิดขึ้นเป็นคนแรกแค่ไหน ๓. เศษนิพนธ์ มีนักเขียนตั้งแต่สมัย โบราณแล้วที่ชอบอ้างอิงคำพูดโดยตรงของเจ้า ของเรื่อง ซึ่งขณะที่อ้างอิงนั้นยังมีฉบับครบ ให้หาอ่านกันได้ แต่ต่อมาฉบับเต็มเหล่านั้น สู ญ หายจนหมดสิ้น จึงต้องพอใจกับคำอ้าง อิ ง ในที่ ต่ า งๆ และเราก็ มี เ ศษนิ พ นธ์ ข องนั ก ปรัชญากรีกโบราณในทำนองนี้ไว้จำนวนมาก ความน่ า เชื่ อ ถื อ จึ ง อ่ อ นกว่ า ข้ อ มู ล ปฐมภู มิ เฉพาะในข้ อ จำกั ด ของบริ บ ทแห่ ง ตั ว บท เท่านั้น เพราะเศษนิพนธ์มีตัวบทช่วยตีความ น้อยกว่า ๔ คำอ้าง มีมากกว่าคำอ้างอิงหลาย เท่ า อาจจะกล่ า วได้ ว่ า นั ก เขี ย นปรั ช ญาทุ ก คนจะต้ อ งอ้ า งถึ ง ความคิ ด ของนั ก ปรั ช ญา ก่ อ นหน้ า นั้ น หรื อ ร่ ว มสมั ย กั บ ตนไม่ ม ากก็ น้อย เพื่อเป็นจุดเปรียบกับความคิดที่ตนเอง จะเสนอต่อไป แต่ส่วนมากมักจะอ้างซ้ำกับนัก เขี ย นก่ อ นหน้ า ถ้ า อ้ า งเป็ น คนแรกเท่ า ที่ เรา มี ห ลั ก ฐานอยู่ ก็ นั บ ว่ า มี ค วามสำคั ญ รองจาก

เศษนิ พ นธ์ แต่ ถ้ า อ้ า งซ้ ำ กั บ ผู้ อื่ น ที่ อ้ า งก่ อ น หน้าไว้แล้ว ก็ไม่สู้มีความสำคัญ นอกจากจะ ย้ ำ คำอ้ า งของคนแรกให้ ห นั ก แน่ น ขึ้ น นิ ด หน่ อ ยเท่ า นั้ น แต่ ถ้ า มี ห ลั ก ฐานทราบได้ ว่ า คนที่สองอ้างโดยถ่ายทอดจากคนแรก คำอ้าง ของคนที่สองจะไม่มีค่าอะไรเลย นอกจากคำ อ้างของคนแรกจะหายสาบสูญไปเสียก่อนเท่า นั้น คำอ้างที่มีค่ามาก ๆ เพราะเป็นคำอ้าง แรกและไม่มีเศษนิพนธ์ที่ดีกว่าให้ศึกษา ได้แก่ คำอ้างในงานนิพนธ์ของเพลโทว์ อริสโตเติล และธีเออแฟรสเถิส นอกจากนี้ก็มีนักรวบรวม ความคิดเห็นซึ่งจะชี้แจงไว้ต่างหาก ๕. นักรวบรวมความคิดจากตัวอย่าง ของธีเออแฟรสเถิส ผู้เป็นศิษย์สืบตำแหน่ง ผู้ อ ำนวยการสำนั ก ปรั ช ญาของอริ ส โตเติ ล ณ กรุ ง เอเธนส์ ที่ ไ ด้ ร วบรวมความคิ ด ของ อริสโตเติลเรียบเรียงขึ้นเป็นตำราใช้สอน ได้มี ผู้ เขี ย นคู่ มื อ รวบรวมความคิ ด เห็ น ของนั ก ปรัชญากรีกโบราณกันมาเรื่อย ๆ นักรวบรวม รุ่ น หลั ง มั ก จะใช้ ห นั ง สื อ ของนั ก รวบรวมรุ่ น ก่อนเป็นหลัก แล้วแต่งเติมหรือดัดแปลงตาม ที่แต่ละคนจะเห็นควร และเห็นว่าจะเป็นประ โยชน์สำหรับการศึกษา ประมวลความคิดนี้จะ มีค่าทางเป็นข้อมูลก็ต่อเมื่อหลักฐานก่อนหน้า นั้ น สู ญ หายไปอาจจะทั้ ง หมดหรื อ บางส่ ว น

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

5


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

ก็แล้วแต่กรณี ดังได้เห็นมาแล้วในเรื่องเศษ นิพนธ์และคำอ้าง อย่างไรก็ตาม การรวบรวม เช่ น นี้ มี ป ระโยชน์ อ ย่ า งยิ่ ง สำหรั บ นั ก ศึ ก ษา เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นคว้าหาเอง จากหนังสือจำนวนมาก ซึ่งบางเล่มอาจจะหา อ่านไม่ได้เลยก็ได้ แต่ครั้นมีผู้ทำใหม่ละเอียด ครบถ้วนกว่าเก่า เล่มเก่าก็ไม่มีประโยชน์อีก ต่อไป เพราะนักศึกษาจะหันมานิยมใช้ของใหม่ หนังสือที่รวบรวมความคิดในสมัยโบราณมัก จะมีชื่อว่า Doxai ภาษากรีก แปลว่า ข้อคิดเห็น, Areskonta ภาษากรี ก แปลว่ า ประมวล, Placita ภาษาละติน แปลว่าประมวล, หรือ Epitome ภาษากรี ก และละติ น แปลว่ า สรุปย่อ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Doxography สำหรั บ เรี ย กตำรารวบรวมความคิ ด เห็ น และผู้รวบรวมได้ชื่อว่า Doxographers ซึ่ง ทั บ ศั พ ท์ จ ากภาษาละติ น ว่ า Doxographi เฮอร์มาน ดีลส์ (Hermann Diels 1848–1922) เขี ย น Doxographi Graeci (นั ก รวบรวม ความคิดเห็นชาวกรีก) ปี ค.ศ.๑๘๙๗ และ Die Fragmente der Vorsokratiker หรือ The Presocratic Fragments (เศษ นิ พ นธ์ ส มั ย ก่ อ นซาคเขรอถิ ส (Socrater)) ปี ค.ศ.๑๙๐๓ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม โดยครานซ์ (Kranz) ปี ค.ศ.๑๙๓๔ ซึ่งถือเป็นหลักอ้างอิง ในการศึกษาปรัชญากรีกโบราณมาจนทุกวันนี้

6

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

วิธีอ้างอิง ๑. การอ้างอิงจากหนังสือของดีลส์ การอ้างอิงหนังสือทั้ง ๒ เล่มของดีลส์ นิยม อ้างอิงเหมือนกันดังนี้ คือ ขึ้นต้นโดยใช้อักษร ย่ อ ของผู้ เรี ย บเรี ย งทั้ ง สองว่ า DK (ย่ อ จาก Diels and Kranz) แล้วต่อด้วยเครื่องหมายซึ่ง แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ตอนแรกเป็นจำนวนเลขบอกหมาย เลขประจำตั ว ของนั ก ปรั ช ญา ซึ่ ง แต่ ล ะ คนมี ห มายเลขตรงกั น ในทั้ ง สองเล่ ม เช่ น เธลิสได้หมายเลข ๑๑ เฮร์เรอคลายเถิสหมาย เลข ๒๒ เป็นต้น ตอนที่สอง เป็นอักษรโรมันตัวใดตัว หนึ่งใน ๒ ตัว “A” หมายความว่า อ้างอิงมา จากหนังสือ Doxographi Graeci ซึ่งเป็นคำ อ้างของนักเขียนอื่นเกี่ยวกับความคิดของนัก ปรัชญาหมายเลขนั้น “B” หมายความว่า มา จากหนังสือ The Presocratic Fragments ซึ่งเป็นเศษนิพนธ์ของนักปรัชญาหมายเลขนั้น เช่น ๑๑ A หมายความว่าเป็นคำอ้างของผู้อื่น ที่กล่าวถึงเธลิส ๑๑ B หมายความว่าเป็นคำ กล่าวของเธลิสซึ่งเป็นเศษนิพนธ์อ้างอิงไว้ใน หนังสือของผู้อื่น ตอนที่สาม เป็นตัวเลขบอกลำดับข้อ เช่น DK, ๑๑ A ๑ หมายความว่า เป็นคำอ้าง ของผู้อื่นที่กล่าวถึงเธลิส ลำดับข้อที่ ๑; DK,


กีรติ บุญเจือ

๑๑ B ๒ หมายความว่า เป็นเศษนิพนธ์ของ เธลิสลำดับข้อที่ ๒ บางครั้งอาจพบว่า ผู้อ้างอิงดีลส์ใช้ เครื่ อ งหมายเพี ย งตอนสองและตอนสาม เท่านั้น ตอนต้นละไว้ จะละได้เช่นนี้ก็เฉพาะ ในตอนที่ ก ำลั ง พู ด ถึ ง นั ก ปรั ช ญาผู้ นั้ น โดย เฉพาะอยู่ เช่นในบทที่ว่าด้วยเธลิส อาจจะใช้ เครื่ อ งหมายเพี ย ง DK,A๑ หรื อ DK,B๒

ให้ผู้อ่านเข้าใจเอาเองว่ามีเลข ๑๑ นำหน้า ในบทที่กล่าวถึงนักปรัชญาอื่น ถ้าจะอ้างอิงถึง เรื่องของเธลิส จะขาดเลข ๑๑ นำหน้าเสียมิได้ ๒. หมายเลขประจำตั ว ของนั ก ปรั ช ญาในหนั ง สื อ ของดี ล ส์ แ ละครั น ซ์ กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ การอ้างชื่อเดิม ตามสำเนียงและเสียงเน้นอเมริกัน เพื่อประโยชน์ สำหรับผู้ต้องนำไปใช้พูดภาษาอังกฤษมาตรฐานโลก)

๑) Orpheus = ออร์เฝียส (กวีและนักดนตรีคนแรกที่ใช้ภาษากรีกก่อน ศต.๘ ก.ค.ศ.) ๒) Musaeus = เมอซีเอิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) (ศิษย์คนหนึ่งของออร์เฝียส) ๓) Epimenides = เอพเผอเมนเนอดิส (ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๔) Hesiod = เฮสเสียด (ศต. ๙-๘ ก.ค.ศ.) ๕) Phocus = โฟเขิส (๖-๕ ก.ค.ศ.) ๖) Cleostratus = คลีเอิสเทรเถิส (ศต. ๕ ก.ค.ศ.) ๗) Pherecydes = เฟร์เรอซายดิส (ปลาย ศต. ๕ ก.ค.ศ.) ๘) Theagenes = ธีเออจีนิส (ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๙) Acusilaus = อคีวเสอเลเอิส (ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๑๐) Seven Sages = ปราชญ์ทั้ง ๗ ๑๑) Thales = เธลีส (ก.ค.ศ. ๖๒๕? -๕๔๗) ๑๒) Anaximander = อแนกเสอแมนเดอร์ (ก.ค.ศ. ๖๑๐? - ๕๔๗) ๑๓) Anaximenes = แอนเนิกซีมเมอนิส (ก.ค.ศ. ๕๘๘? - ๕๒๔) ๑๔) Pythagoras = เผอแธกเกอเริส (ก.ค.ศ. ๕๘๐? - ๕๐๐?) ๑๕) Cercops = เซอร์คัพส์ (ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๑๖) Petron of Himera = พีถรันแห่ง ฮายเมอเรอ) ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๑๗) Bro(n)tinus = เบรินทายเนิส) ศต.๖ ก.ค.ศ.) ๑๘) Hippasus of Metapontum = ฮีพเผอเสิสแห่งเมทเถอพานเถิม (ศต.๖-๕ ก.ค.ศ.)

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

7


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

๑๙) Calliphon = แคลเลอฟัน (ศต.๖ ก.ค.ศ.) Democedes = เดอโมซีดิส (ศต.๖ ก.ค.ศ.) ๒๐) Parm(en)iscus = พาร์เมอนีสเขิส/ พาร์มีสเคิส (ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๒๑) Xenophanes = ซีนาฟเฝอนิส (ก.ค.ศ. ๕๖๐? - ๔๗๘?) ๒๒) Heracleitus = เฮร์เรอคลายเถิส (ก.ค.ศ. ๕๓๖? - ๔๗๐?) ๒๓) Epicharmus of Syracus = เอพเผอคาร์เมิสแห่งซีเรอคิวส์ (ก.ค.ศ. ๕๓๐? - ๔๔๐?) ๒๔) Alcmaeon of Croton = แอลค์เมียนแห่งโครทัน (ศต. ๖ ก.ค.ศ.) ๒๕) Iccus = อีคเขิส (ศต. ๕ ก.ค.ศ.) ๒๖) Paron = แพร์รัน (ศต. ๕ ก.ค.ศ.) ๒๗) Ameinias = อมายเนียส (ศต. ๕ ก.ค.ศ.) ๒๘) Parmenides = เผอร์เมนเนอดีส (ก.ค.ศ.๕๑๕ - ๔๕๐?) ๒๙) Zeno of Elea = ซีโนว์แห่งอีเลีย (ก.ค.ศ.๔๙๕? - ๕๓๐?) ๓๐) Melissus = เมอลีสเสิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๑) Empedocles = เอิมเพดเดอขลิส (ก.ค.ศ.๔๙๒? - ๔๓๐?) ๓๒) Menestor = เมอเนสเถอร์ (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๓) Xuthus = ซีวเธิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๔) Boidas = บอยเดิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๕) Thrasyalces = เธรอเซียลลิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๖) Ion of Chios = อายอันแห่งคายอัส (ก.ค.ศ. ๔๙๐? - ๔๒๑?) ๓๗) Damon = เดมัน (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๘) Hippon of Samos = ฮีพผันแห่งเซมัส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๓๙) Hippodamus = เหิพพาดเดอเมิส (ศต. ๕ ก.ค.ศ.) ๔๐) Polycleitus = พาลเลอลายเถิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๔๑) Oenopides = อนาพเผอดิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๔๒) Hippocrates of Cos = เหิพพาคเขรอถิส แห่งคาส (ก.ค.ศ. ๔๖๐? - ๓๗๗?) Aeschylus = เอสเขอเลิส (ก.ค.ศ. ๕๒๕-๔๕๖)

8

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

๔๓) Theodorus = ธีเออดอร์เริส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๔๔) Philolaus of Tarentum = ฟีลเลอเลเอิส แห่งเถอเรนเถิม (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๔๕) Eurytus = เยอรายเผิส (ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๔๖) Archippus = เออร์คีพเผิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) Lysis of Tarentum = ลายเสิสแห่ง เถอเรนเถิม (ศต.๕ ก.ค.ศ.) Opsimus = เอิพซายเมิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๔๗) Archytas of Tarentum = เออร์คีทเถิส แห่งเถอเรนเถิม (ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๔๘) Occelus / Ocellus = อเซลเลิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๔๙) Timaeus of Tauromenium = เถอมี-เอิสแห่งทอร์เรอมีเนียม (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๕๐) Hicetas of Syracuse = เหอซีเถิสแห่งซีเรอคิวส์ (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๕๑) Ecphantus of Syracuse = เอิกเฟนเถิส แห่งซีเรอคิวส์ (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๕๒) Xenophilus = ซีเนอฟายเลิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๕๓) Arion = อรายอัน (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Diocles = ดายเออขลิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Echecrates = อีเขอเครถิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Phanton = แฟนทัน (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Polymnastus = พาลเลิมแนสเถิส (ศต. ๔ ก.ค.ศ.) ๕๔) Amyclas = อมายเขลิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Cleinias = คลายเนียส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Prorus = โพรเริส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๕๕) Damon and Phintias = เดมันและ ฟีนเฉิส (ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๕๖) Euphranor = เยอเฟรเนอร์ (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Myonides = มายเออนายดิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) Simus = ซายเมิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๕๗) Lycon = ลายขัน (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๕๘) Pythagoreans = ชาวเผอแธกเกอเรียน(ที่มีบันทึกอยู่ในสำนักของแอร์เริสทาทเถิล)

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

9


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

๕๙) Anaxagoras = แอนเนิกแซกเกอเริส (ก.ค.ศ. ๔๙๙? - ๔๒๘?) ๖๐) Archelaus of Athens = อาร์เขอเลเอิส แห่งเอเธนส์ (ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๖๑) Metrodorus of Lampsaxus = เมทเถรอดอร์เริสแห่งแลมพ์เสอเขิส (ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๖๒) Cleidemus = คลายเดอเมิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๖๓) Idaeus = เออดีเอิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๖๔) Diogenes of Apollonia = ดายเออจีนิส แห่งแอพเผิลโลว์เนีย (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๖๕) Cratylus = เครเถอเลิส(ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๖๖) Antisthenes the Heracleitean = แอนเถิสทีนีสชาวเฮร์เรอคลายเถียน (ก.ค.ศ.๔๔๕?-๓๖๕?) ๖๗) Leucippus = 200 เลอซีพเผิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๖๘) Democritus of Abdera = เดอมาคเขรอเถิสแห่งแอบเดอเรอ (ก.ค.ศ. ๔๖๐? - ๓๗๐?) ๖๙) Nessas = เนสเสิส (ศต.๕-๔ ก.ค.ศ.) ๗๐) Metrodorus of Chios = เมทเถรอดอร์เริสแห่งคายอัส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๗๑) Diogenes of Smyrna = ดายเออจีนิสแห่งสเมียร์เนอ (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๗๒) Anaxarchus = แอนเนิกซาร์เขิส (ศต.๔ ก.ค.ศ.) ๗๓) Hecataeus of Abdera = เฮคเขอทีเอิสแห่งแอบเดอเรอ (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๗๔) Apollodorus of Cyzicus = อพาลเลอดอร์เริสแห่งซายเสอเขิส (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๗๕) Nausiphanes = เนอซีฟเฝอนิส (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๗๖) Diotimus = เดออาทเถอเมิส (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๗๗) Bion of Abdera = บายอันแห่งแอบเดอเรอ (ศต.๔-๓ ก.ค.ศ.) ๗๘) Bolus = โบว์เลิส (ศต.๓ ก.ค.ศ.) ๗๙) Sophism = ลัทธิเสอฟีสม์

10

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

๘๐) Protagoras of Abdera = เผรอแทกเกอเริสแห่งแอบเดอเรอ (ก.ค.ศ. ๔๘๐? - ๔๑๐?) ๘๑) Xeniades = เสอนายเออดิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๘๒) Gorgias = กอร์เกียส (ก.ค.ศ. ๔๘๓? - ๓๗๖?) ๘๓) Lycophron the Sophist = ลายเขอฟราน ชาวซัฟเฝิสท์ (ศต.๔ ก.ค.ศ.๓๕๐?) ๘๔) Prodicus of Ceos = พราดเดอเขิส แห่งซีอัส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๘๕) Thrasymachus = เถรอซีมเมอเขิส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๘๖) Hippias = ฮีพเผียส (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๘๗) Antiphon the Sophist = แอนเถอฟานชาวซัฟเฝิสท์ (ศต.๕ ก.ค.ศ.) ๘๘) Critias = ครายเฉิส (ก.ค.ศ.๔๘๐? - ๔๐๓?) ๘๙) Anonymous (in Imblicus) = นิรนาม (อ้างอิงในเอิมบลายเขิส) ๙๐) Twofold Arguments = ข้ออ้าง เหตุผลสองง่าม ๓. การอ้างอิงจากนิพนธ์ของนักเขียน โบราณทั่วไป งานนิ พ นธ์ ข องนั ก เขี ย นโบราณโดย ทั่ ว ไป ได้ มี นั ก วิ จ ารณ์ ตั ว (text) กำหนด แบ่งเป็นเล่ม (book) บท (chapter) และข้อ (number) ไว้แล้วเป็นส่วนมาก และนิยมอ้าง อิงเป็นแบบแผนเดียวกันโดยมีหลักเกณฑ์ดัง ต่อไปนี้ ๑) เลขโรมัน หมายถึง เล่ม เช่น Diogenes Laertius, Lives of Philosophers, X. หมายความว่าเล่มที่ ๑๐ ๒) เลขอาหรับ หมายถึง บทและข้อ ถ้ามีจำนวนเดียวหมายถึงข้อ ถ้ามีสองจำนวน

จำนวนแรกหมายถึ ง บท และจำนวนที่ ๒ หมายถึงข้อ เช่น Diogenes Laertius, Lives of Philosophers, X, 5. หมายความว่า เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๕ Clement of Alexandria, Stromateis, 1, 64, 2. หมายความว่า เล่มที่ ๑ บทที่ ๖๔ ข้อที่ ๒ บางคนใช้ เ ลขโรมั น ตั ว เล็ ก สำหรั บ บอกบท เช่น Clement of Alexandria, Stromateis, I, lxiv, 2, แต่ไม่สู้นิยมกันนัก เพราะใน ปัจจุบันผู้รู้จักอ่านเลขโรมันมีน้อยลงทุกวัน ยังมีอีกวิธีหนึ่ง เป็นวิธีใหม่เอี่ยมใช้ได้

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

11


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

สะดวกดี ม าก กำลั ง เป็ น ที่ นิ ย มแพร่ ห ลาย มากขึ้นเรื่อย ๆ คือใช้เลขอาหรับกับจุดทศนิยม สำหรับแยกเล่มที่ บทที่ และเลขที่ นั่นคือ ถ้ า ไม่ มี จุ ด ทศนิ ย มเลยก็ ห มายความว่ า เป็ น ข้ อ ถ้ า มี จุ ด ทศนิ ย ม ๑ แห่ ง ก็ ห มาย ความว่ า หน้ า จุ ด ทศนิ ย มเป็ น บท และหลั ง จุดทศนิยมเป็นข้อ ถ้ามีจุดทศนิยม ๒ แห่ง ก็หมายความว่า บอกเล่ม บทและข้อ ตามลำดับ โดยมีจุดทศนิยมคั่น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ Solon, Fragments, 5 หมายความว่า ข้อที่ ๕ Diogenes Laertius, Lives of Philosophers, 10. 12. หมายความว่า บทที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๒ Clement of Alexandria, Stromateis, 1.62.2. หมายความว่า เล่มที่ ๑ บทที่ ๖๒ ข้อที่ ๒ ๔. การอ้างอิงงานนิพนธ์ของเพลโทว์ นิยมอ้างตามสทีเฟอเนิส (Stephanus) ผู้รวบ รวมและแปลงานของเพลโทว์ออกเป็นภาษา ละตินรวม ๓ เล่ม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บูด (Bude) ที่กรุงปารีส ในปี ค.ศ. ๑๕๗๘ สทีเฟอเนิ ส เรี ย งลำดั บ หน้ า เรี ย งต่ อ กั น ทั้ ง ๓ เล่ ม แต่ละหน้าแบ่งออกเป็น ๕ ตอน ใช้อักษร กำกับตอนไว้ทุกหน้าว่า A, B, C, D และ E แม้ ภ ายหลั ง จะมี ผู้ แ ปลเป็ น ภาษาอื่ น ก็ ยั ง นิ ย ม อ้ า งอิ ง หน้ า และตอนของสที เ ฟอเนิ ส

12

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เรื่อยมา บางคนนิยมใช้อักษรตัวเล็ก a, b, c, d, e แทนอักษรตัวใหญ่ก็มี และบางคนบอก บรรทัดด้วย เช่น Plato, Phaedo, 72 E 1. หมายความ ว่า หน้า ๗๒ ตอน E บรรทัดที่ ๑ Plato, Republic, 613 e–616 c. หมายความว่า ตั้งแต่หน้า ๖๑๓ ตอน E ถึงหน้า ๖๑๖ ตอน C ๕. การอ้างอิงงานนิพนธ์ของอาริสโตเติ ล นิ ย มอ้ า งตามฉบั บ ของเบคเคอร์ (Becker) ชาวเยอรมัน โดยเรียงลำดับหน้า ซึ่งแบ่งเป็นซีกซ้ายมือ (a หรือ A) กับซีก ขวามือ (b หรือ B) นิยม a, b มากกว่า A, B และนับบรรทัดซึ่งมีหน้าละประมาณ ๓๕ บรรทัด บางคนบอกเล่มและบทด้วย เช่น Aristotle, Metaphysics, 983 a 34. หมายความว่า หน้า ๙๘๓ ซีกซ้ายมือบรรทัด ที่ ๓๔ Aristotle, Poetics 1448 b 101541 a 2. หมายความว่า ตั้งแต่หน้า ๑๔๔๘ ซีกขวามือบรรทัดที่ ๑๐ จนถึงหน้า ๑๕๔๑ ซีกซ้ายมือบรรทัดที่ ๒ Aristotle, Physics, II, 7, 198 a 21-27. หมายความว่า เล่มที่ ๒ บทที่ ๗ หน้า ๑๙๘ ซีกซ้ายมือ บรรทัดที่ ๒๑ ถึงบรรทัดที่ ๒๗


กีรติ บุญเจือ

การอ้างนามเฉพาะ นามเฉพาะที่ ต้ อ งใช้ ใ นปรั ช ญากรี ก เดิมเป็นภาษากรีก เมื่อชาวโรมันรับมาใช้ใน

ภาษาละตินก็แปลงรูปให้เป็นรูปละตินก็มี และ แปลเที ย บกั บ คำภาษาละติ น ที่ มี อ ยู่ ก่ อ นก็ มี ตัวอย่างเช่น

(๑) Zeus แปลเทียบคำละตินว่า Jupiter (๒) Dionusos แปลงเป็นรูปละติน ว่า Dionysus แปลเทียบคำละตินว่า Bacchus (๓) Athene แปลงเป็นรูปละตินว่า Athena แปลเทียบคำละตินว่า Minerva ในกรณี ที่ ๑ ภาษาละติ น จะใช้ ๒ ศัพท์ คือ Zeus กับ Jupiter แต่ในกรณีที่ ๒ ภาษาละตินใช้ ๓ ศัพท์ คือ Dionysos, Dionysus และ Bacchus ซึ่งผู้รู้จะรู้ว่าเป็นเทพองค์ เดียวกัน ในกรณีที่ ๓ มีใช้ ๓ ศัพท์เช่น ภาษากรีก Aristotele ภาษาละติน Aristoteles ภาษาเยอรมัน Aristoteles ภาษาอิตาเลียน Aristotele ภาษาสเปน Aristotele ภาษาฝรั่งเศส Aristote ภาษาอังกฤษ Aristotle

เดียวกัน ภาษาตะวั น ตกปั จ จุ บั น นิ ย ม แปลงรูปหรือทับศัพท์ตามความนิยมของ แต่ละภาษา เช่น

อ่านอาริสโตเตเลส Herakleito อ่านเฮราเกลอิตอส อ่านอาริสโตเตเลส Heraclitus อ่านเฮรากลิตุส อ่านอาริสโตเตเลส Heraklit อ่านเฮราคลิท อ่านอาริสโตเตเลส Eraclito อ่านเอรากลีโต อ่านอาริสโตเตเลส Heraclito อ่านเฮรากลีโต อ่านอาริสตอต Heraclite อ่านเอรากลิต อ่านแอร์เริสทาทเถิล Heraclitus อ่านเฮร์เรอคลายเถิส

คำกรีกและละตินในภาษาอังกฤษ สารานุ ก รมเล่ ม นี้ ก ำหนดให้ ภ าษา ไทยแปลงจากภาษาอังกฤษ จะโดยการทับ ศัพท์หรือการแปลศัพท์แล้วแต่กรณี นักเขียน ภาษาอังกฤษยกคำเหล่านี้ขึ้นมาใช้ในภาษา อังกฤษ โดยที่แต่ละคำยกได้หลายแบบทั้ง ๆ ที่เป็นศัพท์เดียวกัน บางครั้งทำให้หลงเข้าใจ

ผิดว่าเป็นคนละศัพท์ และทำให้เกิดความสับ สนในการเข้าใจในตัวบทภาษาไทย จึงควรรู้วิธี แปลงของเขาให้ถ่องแท้ (คือทั้งวิธีทับศัพท์และ วิธีแปลงศัพท์) จะได้แปลงเป็นภาษาไทยได้ชัด เจนไม่สับสน การแปลงคำละตินเป็นภาษาอังกฤษ นั้น แปลงได้เลย แต่ถ้าเป็นคำกรีกต้องแปลง

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

13


ข้อตกลงที่นักวิจัยปรัชญากรีกโบราณต้องรับรู้

เป็ น ศั พ ท์ ล ะติ น หรื อ แปลเที ย บเป็ น ภาษา ละตินเสียก่อน จึงค่อยแปลงจากละตินเป็น

อังกฤษอีกต่อหนี่ง คำกรีกจึงมีรูปแบบที่ใช้ใน ภาษาอังกฤษมากกว่าคำละตินก็ด้วยเหตุนี้

การแปลงศัพท์จากภาษากรีกมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑. คำกรีก ๒. แปลงเป็นอักษรโรมัน ๓. แปลงเป็นศัพท์ละติน ๔. แปลเทียบคำละติน ๕. แปลเป็นภาษาอังกฤษ

Huper Hyper Hyper Super Above

Ouranos Kronos Athenai Uranos Cronus Athenai Uranus Cronus Athenae Coelum Saturnus Athenae Sky Crone Athens Saturn

หลักการแปลงของภาษาอังกฤษ ๑. ขั้ น ที่ ๑-๒ อั ก ษรโรมั น มี ไ ม่ พ อ สำหรับถ่ายทอดอักษรแบบตัวต่อตัว ดังนี้ – อักษรกรีกมีพยัญชนะ k ซึ่งออก เสียง “ก” เสมอ อักษรโรมันไม่มี จึงเทียบกับ C ทำให้บางครั้งเสียงเพี้ยน คือ ce ci ออกเสียง “เช ชี” ซึ่งเมื่อแปลงเป็นภาษาอังกฤษก็กลาย เป็น “ซี ไซ” – อักษรกรีกมีพยัญชนะ “คี” ซึ่งออก เสียง “ค” อักษรโรมันใช้ ch ซึ่งไม่มีที่ใช้ในภาษา ละตินของชาวโรมัน – อักษรกรีกมีพยัญชนะ“ปซี”ซึ่งออก เสียงเท่ากับ “ปซ” อักษรโรมันใช้ ps ซึ่งไม่มีที่ ใช้ในภาษาละตินของชาวโรมัน – อักษรกรีกมีพยัญชนะ “ฟี” ซึ่งคง จะออกเสียงไม่ตรงกับ f อักษรโรมันจึงใช้ ph ซึ่งไม่มีที่ใช้ในภาษาละตินของชาวโรมัน – อักษรกรีกมีสระ u แต่ออกเสียง 14

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Athene Athene Athena Minerva Athena Minerva

Theodoros Theodoros Theodorus Deodedit Theodore Godwin

“อื+อู” อักษรโรมันใช้ y ซึ่งไม่มีที่ใช้ทั้งในภาษา ละตินของชาวโรมัน – อักษรกรีกมีพยัญชนะ “ธีตา” ซึ่ง ออกเสียงเท่ากับ “ท+ซ” อักษรโรมันใช้ th ซึ่ง ไม่มีที่ใช้ในภาษาละตินของชาวโรมัน – อักษรกรีกมีสระ ou ซึ่งออกเสียง “อู” เทียบสระโรมันใช้ u – อักษรกรีกมีสระควบ ai ออกเสียง “อาย” ชาวโรมันคงออกเสียงยากเพราะไม่มี ใช้ในภาษาของตนจึงแปลงเป็น ae ออกเสียง “เอ”ซึ่งมีใช้เป็นปรกติอยู่แล้วแต่ทำให้เพี้ยน เสียงไปมาก ภาษาอังกฤษรับเอาไปเพี้ยนต่อ เป็น “อี” – อักษรกรีกมีสระควบ oi ออกเสียง “ออย” ชาวโรมันคงออกเสียงยากเพราะไม่มี ใช้ในภาษาของตนจึงแปลงเป็น oe ออกเสียง “เอ”ซึ่งมีใช้เป็นปรกติอยู่แล้วแต่ทำให้เพี้ยน เสียงไปมาก ภาษาอังกฤษรับเอาไปเพี้ยนต่อ


กีรติ บุญเจือ

เป็ น “อี ” สั ง เกต ศั พ ท์ ล ะติ น คำใดมี อั ก ษร y k ch th ps ei ae oe แสดงว่าแปลง มาจากภาษากรีก ๒. ขั้ น ที่ ๒–๓ ศั พ ท์ ภ าษาละติ น ไม่มีปลาย os, oi, e, ai ปลายศัพท์กรีกจึงถูก แปลงเป็น us, oe, a, ae เพื่อแจกรูปได้ ตามไวยากรณ์ละติน ๓. ขั้นที่ ๓–๔ ศัพท์กรีกบางคำมีคำ เทียบความหมายได้ในภาษาละตินบางคนจึง ใช้คำเทียบภาษาละติน แต่บางคนก็ไม่ใช้คำ เทียบ เพราะถือว่าความหมายไม่เหมือนกัน เสียทีเดียว ยังคงรักษารากศัพท์เดิมโดยเปลี่ยน รูปโฉมให้เข้ากับไวยากรณ์ละตินได้เท่านั้น ๔. ขั้นที่ ๔–๕ ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมี นิ สั ย ใจกว้ า งในการรั บ ศั พ ท์ จ ากทุ ก ทางที่ มี ประสบการณ์และแปลงให้มีลักษณะของภาษา อังกฤษได้ โดยไม่วายออกเสียงตามที่ตนถนัด ทัง้ ๆ ทีม่ คี ำเทียบในภาษาของตนได้ แต่กย็ งั เก็บ คำภาษาเดิมไว้ด้วยทำให้ภาษาอังกฤษร่ำรวย ด้วยศัพท์ แต่ก็สร้างความร่ำรวยศัพท์อย่างมี ระบบระเบียบ คือจากภาษากรีกจะเอาขั้นที่ ๓ ที่แปลงเป็นอักษรโรมันแล้ว เช่น พระเสาร์ จะใช้คำว่า Cronus โดยอ้างว่าเป็นศัพท์ภาษา

กรีกและออกเสียงตามความถนัดของคนอังกฤษ ว่า “โครว์เนิส” โดยไม่แคร์ว่าชาวกรีกและชาว โรมันจะออกเสียงอย่างไร หากจะอ้างคำ Knonos หรือ Cronos ก็เฉพาะเพื่อให้รู้ สึ ก เก๋ ไ ก๋ ว่ า รู้ ถึ ง ต้ น ตอภาษาเดิ ม แต่ ไ ม่ ถื อ ว่ า เป็นทางการ บางคนก็นิยมแปลงเป็นภาษา อังกฤษจริง ๆ ว่า Crone (อ่านว่า โครน) บางคนก็ใช้คำภาษาละตินว่า Saturnus (อ่านตามถนัดของตนว่า เสอทัวร์เนิส โดยไม่ คำนึงว่าชาวละตินจะอ่านอย่างไร และบาง คนก็แปลงเป็นคำอังกฤษไปเสียเลยว่า Saturn (อ่านแซทเทิร์น) หรือ The Chief Titan (อสูรเอก) หลักการแปลงของภาษาไทย ในเมื่อเราตกลงใช้ภาษาอังกฤษเป็น ทางผ่าน เราจึงต้องทับศัพท์ตามเกณฑ์ของ ราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการทับศัพท์ภาษา อังกฤษ โดยทับศัพท์จากขั้นที่ ๓, ๔ และ ๕ โดยอธิบายว่าศัพท์ใน ๓ ขั้นตอนการ แปลงซึ่งภาษาอังกฤษรับรู้เป็นความนิยมนั้น มีความหมายเหมือนกัน ส่วนขั้นตอนที่ ๑ และ ๒ สำหรับรู้รูปดั้งเดิมของศัพท์เท่านั้น

บรรณานุกรม

กีรติ บุญเจือ. 2546. ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. กีรติ บุญเจือ. 2545. ปรัชญากรีกระยะก่อตัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Freeman, Kathleen. 1966. Ancilla to the Pre-Socratic Philosophers. Oxford : Basil Blackwell. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

15


การศึ กษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริม คริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จังหวัดบึงกาฬ

A

Study of Parent’s Role in Enhancing Christian Morality at Huaylebmue, Bungkhan Province.

บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะเยสุอิต * อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี * อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม

เปรม คุณโดน

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลอุดรธานี

Rev.Dr.Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J.

* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lacturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Dr.Chatchai Pongsiri

* Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * President of Saengtham College.

Rev.Prem Khundon

* Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College. * Reverend in Roman Catholic Church, Udonthani Diocese.


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม (2) ศึกษาแนวทางการปลูกฝัง คริ ส ตจริ ย ธรรมให้ แ ก่ บุ ต รและส่ ง เสริ ม ครอบครั ว ให้ มี ค วามสุ ข (3) ศึกษาแนวทางการแก้ ไขปั ญ หาครอบครั ว ในสั ง คมไทยปั จ จุ บั น อย่างเป็นรูปธรรม โดยศึกษาจากงานวิจัยและเอกสารต่างๆ เก็บรวบ รวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของบิดามารดา ในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม การส่งเสริมครอบครัวให้มีความสุขและ การแก้ไขปัญหาครอบครัวในสังคมปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครอบครัวคริสตชนคาทอลิกในเขตชุมชน บ้านห้วยเล็บมือ จังหวัดบึงกาฬ จำนวนทั้งสิ้น 10 ครอบครัว เพื่อให้ ได้ รั บ รู้ ถึ ง สภาพความเป็ น จริ ง ของครอบครั ว ในสั ง คมไทยปั จ จุ บั น ผลการวิจัยพบว่า 1) โดยส่วนใหญ่ทุกครอบครัวมีความเข้าใจในเรื่อง บิดามารดามีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมคริสตจริยธรรมได้เป็นอย่าง ดี 2) สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมครอบครัวให้อยู่ร่วม กันอย่างมีความสุขคือการถือปฏิบัติตามหลักคริสตจริยธรรมในเรื่อง ความรัก (Charity) และ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาครอบครัว คือ การที่ สมาชิกในครอบครัวมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความเป็นหนึ่งเดียว มีการพูดคุยปรึกษาปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัยพื้นฐานเรื่องความรัก คำสำคัญ :

Abstract

1) บทบาทหน้าที่ของบิดามารดา 2) คริสตจริยธรรม

The purposes of this research were (1) To study the parent’s role in enhancing Christian morality. (2) To study morally formative directions for children and the promotion of happiness in the family. (3) To study the practical methodology to

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

17


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

solve the family’s problem in the present of Thai society. This research is based on the investigation, involved documentaries and structured interviews, which provided an understanding of the parent’s role of in enhancing Christian morality, of promoting happiness in the family, and of concrete directions for family solutions in present-day Thai society by using purposive samplings, including those from 10 Catholic families in Huaylebmue village, Bungkhan Province, Thailand. The result of the study were : 1) Most of the families understood well the parent’s role in enhancing Christian morality. 2) The important component of promoting happiness in the family was the practice of the Christian morality of charity. 3) Methods to solve family problems, such as, family member finding time to engage and be involved in regular common activities together as a means of building unity; Family members building their relationship founded and based on charity. Keywords : 1) Parent’s Role 2) Christian Morality

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องบท บาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เพราะว่าในสังคมไทยปัจจุบันนี้มี การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวด เร็ว โดยเฉพาะในเขตชุมชนหมู่บ้านห้วยเล็บ มือ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งมีความเจริญทางด้าน

18

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เศรษฐกิ จ อั น เนื่ อ งมาจากผลผลิ ต ทางการ เกษตร คือ ยางพาราที่ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ ในการดำรงชีพมากขึ้นเป็นเท่าตัวจากอดีตที่ ผ่านมา ฉะนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสถาบัน ครอบครัวก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เพราะทุกคน มีภาระของตนเพิ่มมากขึ้น การแสวงหาความ สะดวกสบายสำหรั บ ตนเองและครอบครั ว


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

โอกาสและเวลาสำหรับครอบครัวในการเสริม สร้างความรักและการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน น้อยลงไป เพราะว่าความสะดวกสบายทาง ด้านวัตถุ การบริโภคนิยมได้เข้ามาแทนที่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้บิดามารดา ขาดการปลู ก ฝั ง ให้ แ นวคิ ด และแนวทาง ปฏิบัติที่ถูกต้องแก่บุตร ถึงแม้ว่าจะได้สิ่งที่ต้อง การมาทดแทนสิ่งที่ครอบครัวขาดหายไป ใน ขณะเดียวกันความรักความอบอุ่นและความ เข้าใจระหว่างสมาชิกของครอบครัวได้ลดลง ไปอย่างสิ้นเชิง “การเลี้ยงดูบุตรในลักษณะ บริ โ ภคนิ ย มในสภาวะสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลง ไปอย่างรวดเร็วนี้ ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ความต้องการทางด้านจิตใจได้ แต่เป็นการ ตอบสนองความต้ อ งการขั้ น พื้ น ฐานและทำ ให้ เ กิ ด ค่ า นิ ย มเลี ย นแบบมากขึ้ น เท่ า นั้ น ” (นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์, 2538 : 23) พฤติกรรม เลียนแบบจะทำให้ครอบครัวที่เคยเป็นตัวจักร สำคั ญ ในการแก้ ปั ญ หาสั ง คมกลั บ กลายเป็ น การสร้ า งปั ญ หาให้ กั บ สั ง คมเสี ย เองซึ่ ง เป็ น ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้อย่างเห็นได้ ชัด เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การหย่าร้าง ปัญหาเด็กและเยาวชนติดยา เสพติด และอื่นๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมดัง กล่าวนี้ จะพบว่ามีสาเหตุมาจากภายในครอบ ครั ว และจากสภาพแวดล้ อ มของสั ง คมภาย

นอกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้ ว ยเหตุ ผ ลตามแนวคิ ด ดั ง กล่ า วทำ ให้ ผู้ วิ จั ย สนใจที่ จ ะศึ ก ษาวิ เ คราะห์ บ ทบาท ของหน้าที่บิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรมแก่บุตร โดยเลือกกลุ่มเฉพาะเจาะ จงคือชุมชนคริสตชนคาทอลิกบ้านห้วยเล็บ มือ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งมีความเจริญทางด้าน เศรษฐกิจอันเนื่องมาจากผลผลิตทางเกษตร คือยางพารา และชาวบ้านต้องมีภาระหน้าที่ เพิ่มมากขึ้น ไม่มีเวลาสำหรับครอบครัวเพราะ มุ่ ง แสวงหาเพี ย งด้ า นวั ต ถุ แ ละความสะดวก สบายภายนอกเท่านั้น โอกาสในการเสริมสร้าง ความรักมั่นคงในครอบครัวก็ลดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้เพื่อที่จะได้เข้าใจใน บทบาทหน้ า ที่ ข องบิ ด ามารดาและเพื่ อ เป็ น แนวทางให้บิดามารดาได้นำไปพัฒนาครอบ ครัว และตนเองเพื่ออบรมสั่งสอนบุตรให้ได้ เรี ย นรู้ แ ละประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต ามหลั ก คริ ส ตจริยธรรมได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นประโยชน์ ต่อบิดามารดาและบุตร เพื่อเสริมสร้างความ รักมั่นคง ความเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัวและ สังคมคุณภาพได้ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งหวังไว้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดา

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

19


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

มารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม 2. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมคริสตจริยธรรมให้ แ ก่ บุ ต รและส่ ง เสริ ม ครอบครั ว ให้ มี ความสุข 3. เพื่ อ นำเสนอแนวทางการแก้ ไขปั ญ หา ครอบครั ว ในสั ง คมไทยปั จ จุ บั น อย่ า งเป็ น รูปธรรม นิยามศัพท์เฉพาะ บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้ า ที่ อั น เนื่ อ งมาจากสถานภาพของบุ ค คล เนื่ อ งจากบุ ค คลมี ห ลายสถานภาพในคนคน เดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติ ไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้นๆ หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของ บุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดา มารดาที่มีต่อบุตร เป็นต้น ครอบครัวคริสตชน หมายถึง ครอบ ครัวในอุดมคติที่ดำเนินชีวิตตามหลักคำสอน ของพระเยซูคริสตเจ้าหรือตามหลักพระคริสตธรรมคัมภีร์ คณะพระมหาไถ่ หมายถึง คณะนัก บวชชายในพระศาสนจักรคาทอลิก ที่ทำงาน รับใช้ในการประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า และดำเนินชีวิตตามจิตตารมณ์ผู้ก่อตั้งคณะ

20

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คริสตจริยธรรม หมายถึง สิง่ ทีค่ วรประ พฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความดีและความถูก ต้องแก่สังคม โดยมีพื้นฐานมาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ ซึ่งสรุปได้ 5 ประการดังต่อไปนี้ 1) ความรั ก และความเมตตา (Charity) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาปรากฏ ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข พ้นจากความทุกข์ ให้ความรักความผูกพัน ความชื่นชมยินดี ซึ่ง แสดงออกมาโดยพฤติ ก รรมความเอื้ อ เฟื้ อ เผื่อแผ่ การช่วยเหลือให้ความสงเคราะห์ด้วย ไมตรีจิตร 2) ความเสียสละและการอุทิศตน (Sacrifice and Dedication) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาให้ปรากฏด้วยการบริจาค การให้ทาน การยอมเสียสละในสิ่งที่ตนเองมี หรือมีสิทธิ์ที่จะได้รับด้วยความมีใจเมตตาอารี เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น 3) ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมา ให้ปรากฏในการปฏิบัติชอบและเที่ยงตรงด้วย เหตุ ผ ลและตามความเป็ น จริ ง ด้ ว ยหั ว ใจอั น หนักแน่นและมั่นคง 4) ความซื่อสัตย์ (Honesty) หมายถึง การประพฤติตนอย่างตรงไป ตรงมา อย่างจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง พูดในสิ่งที่คิด ปฏิบัติในสิ่งที่พูด และ 5) ความสุภาพอ่อนโยน (Humbleness) หมายถึง พฤติกรรมที่ได้แสดงออกมาให้ ปรากฏทั้งทางกาย วาจา ที่ผู้อื่นสังเกตเห็นได้


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

ในเรื่องของคำพูดที่ไพเราะ มีมารยาทที่สุภาพ ไม่ดูถูกผู้อื่น เข้าสังคมและวางตัวได้ถูกกับ กาละเทศะ แต่งกายสุภาพ มีสติอยู่เสมอ ให้เกียรติผู้อื่น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม 2. เพื่อเป็นแนวทางการอบรมสั่งสอน ในหลักคริสตจริยธรรมของบิดามารดาแก่บุตร อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน 3. เพื่อเป็นแนวทางงานอภิบาลด้าน ครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวคริสตชนไทย สำหรับผู้อภิบาล หน่วยงานองค์กร ต่างๆ และผู้สนใจที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป ขั้นตอนของการศึกษา 1. ศึกษาเอกสาร ทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยหรือการสัมมนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่อง บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการ ส่งเสริมคริสตจริยธรรม 2. ศึกษาเอกสารของพระศาสนจักร คาทอลิ ก ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม คริ ส ตจริ ย ธรรม เป็ น ต้ น ในพระคั ม ภี ร์ ค าทอลิ ก คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก พระสมณสาสน์พระศาสนจักรคาทอลิกที่เกี่ยวข้อง และ

ข้อกฎหมายของพระศาสนจักรคาทอลิก 3. การสั ม ภาษณ์ แ บบมี โ ครงสร้ า ง (Structured Interview) เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม 4. นำผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า มาวิเคราะห์เนื้อหา ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล รวมทั้งข้อเสนอ แนะในการศึกษาต่อไป ผลการศึกษา 1. ผลการศึกษาเรื่องบทบาทหน้าที่ ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม ให้แก่บุตร สามารถสรุปได้ว่าบิดามารดามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของ บุตรเป็นอย่างมาก บุตรจะเป็นคนดีหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับบิดามารดาและผู้ปกครอง เป็นสำคัญ บิดามารดาจะต้องปลูกฝังคุณธรรม จริ ย ธรรมให้ แ ก่ บุ ต รหลานตั้ ง แต่ ยั ง เป็ น เด็ ก โดยเฉพาะจริยธรรมแบบคริสต์ โดยทำตัวให้ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุตร ควรส่งเสริมให้ บุตรเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาควบคู่ไปด้วย เพราะการใกล้ชิดกับศาสนาจะส่งเสริมให้เด็ก มีคุณธรรมจริยธรรมได้ง่ายขึ้น บุตรก็จะรักเชื่อ ฟั ง ยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ ต ามและศรั ท ธาในสิ่ ง ที่ บิ ด า มารดาอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดี

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

21


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

2. ผลการศึกษาเรื่ององค์ประกอบ สำคั ญ ที่ สุ ด ในการส่ ง เสริ ม ครอบครั ว ให้ อ ยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข สามารถสรุปได้ว่า ครอบครั ว ที่ ป ระสบผลสำเร็ จ ทั้ ง ด้ า นอาชี พ การงานและชีวิตครอบครัวนั้น เนื่องจาก พวกเขาได้ ใช้ ห ลั ก คำสอนทางคริ ส ต์ ศ าสนา มาเป็ น หลั ก ในการดำเนินชีวิตและอบรมสั่ง สอนบุ ต รหลานให้ เ ป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม คื อ การถื อ ปฏิ บั ติ ใ นเรื่ อ งความรั ก (Charity) ทำให้บุตรหลานของพวกเขากลาย เป็ น คนประสบผลสำเร็ จ ทำงานเพื่ อ สั ง คม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาเปรียบเหมือนเครื่องมือสำคัญในการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็ก แต่อย่างไร ก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว เพราะการ อบรมสั่งสอนของบิดามารดาทำให้บุตรได้รับ การพั ฒ นาที่ ดี ที่ ส ามารถนำหลั ก คริ ส ตจริ ย ธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความสำเร็จในชีวิต และส่ ง เสริ ม ครอบครั ว ให้ อ ยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งมี ความสุขตลอดไป 3. ผลการศึกษาเรื่องแนวทางการ แก้ ไขปัญหาครอบครัวในสังคมปัจจุบันสามารถ สรุปได้ว่า การมีเวลาและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่ ว มกั น ของสมาชิ ก ทุ ก คนในครอบครั ว ระหว่างบิดามารดาและบุตรนั้น เป็นการก้าว เดินไปพร้อม ๆ กันเพื่อก่อให้เกิดความเป็น

22

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

หนึ่งเดียว ความรัก ความผูกพัน ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนมี การพู ด คุ ย ปรึ ก ษาหารื อ กั น ในปั ญ หาต่ า ง ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยอาศั ย พื้ น ฐานในเรื่ อ งความรั ก (Charity) ตามหลักคำสอนในคริสต์ศาสนาก็ จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัว และนำไปสู่ ค วามรั ก มั่ น คงในครอบครั ว ได้ อย่างแท้จริง อภิปรายผล 1. จากการศึกษาพบว่า บิดามารดา มี บ ทบาทหน้ า ที่ ส ำคั ญ อย่ า งมากต่ อ การ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุตร บุตรจะ เป็ น คนดี ห รื อ ไม่ นั้ น ส่ ว นหนึ่ ง ขึ้ น อยู่ กั บ บิ ด า มารดาและผู้ปกครองเป็นสำคัญ “บิดามารดา ควรปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในตัวบุตรตั้ง แต่เกิดมาเพราะถือว่าบิดามารดาเป็นผู้อบรม สำคัญคนแรกของบุตรที่ขาดไม่ได้เลยและยาก ที่จะหาการอบรมอื่นใดมาทดแทนได้” (John Paul II, 1981 : 69) ด้วยการทำตัวให้เป็น แบบอย่างที่ดี ดังในพระคัมภีร์ที่กล่าวไว้ว่า “ต้นไม้พันธุ์ดีไม่สามารถออกผลเลว และต้น ไม้พันธุ์เลวไม่สามารถออกผลดี” (มธ 7 : 1718) และอีกตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ท่านเคย เห็ น คนเก็ บ ผลองุ่ น จากกอหนามหรื อ ลู ก มะ เดื่อจากโพรงหนามไหม” (มธ 7 : 16) เพราะ


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

ว่าบิดามารดาที่ดีจะอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เป็น คนดี แต่ถ้าบิดามารดาเป็นคนชั่วบุตรจะเป็น คนดีได้อย่างไร ที่สำคัญบิดามารดาควรเป็น แบบอย่าง และส่งเสริมให้บุตรได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาควบคู่ไปด้วยเพราะการใกล้ ชิดกับศาสนา จะส่งเสริมให้บุตรมีคุณธรรม จริยธรรมได้ง่ายขึ้น “บรรดาบุตรควรจะได้รับ การอบรมให้ รู้ จั ก พระเป็ น เจ้ า และนมั ส การ พระองค์ อี ก ทั้ ง รั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ วั ย เด็ ก ตามลั ก ษณะของความเชื่ อ ที่ ไ ด้ รั บ มาพร้ อ ม ศีลล้างบาป” (John Paul II, 1981 : 110111) จากครอบครั ว คริ ส ตชนคาทอลิ ก กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ผู้ วิ จั ย ได้ ศึ ก ษามาชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ครอบครัวคริสตชนที่บิดามารดามีความเชื่อ และรู้ เ กี่ ย วกั บ ศาสนาที่ ต นเองนั บ ถื อ อยู่ ไ ด้ ปฏิบัติตามหลักคำสอนเป็นอย่างดีนั้นโอกาส ที่บุตรจะเป็นคนดีนั้นมีสูงเพราะบิดามารดา ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีสอนลูกให้มีคุณธรรม จริ ย ธรรมตามตนและจะเห็ น ได้ ว่ า ครอบ ครัวเหล่านี้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตาม หลั ก ศาสนาในการอบรมสั่ ง สอนบุ ต รหลาน ของพวกเขา บิดามารดาที่อบรมเลี้ยงดูบุตร เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ บุ ต รเป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรม จริยธรรมตามแนวคริสต์ศาสนานั้นเป็นบิดา มารดาที่ มี ลั ก ษณะการเป็ น คริ ส ตชนที่ ดี

ให้ความรักความอบอุ่น มีปฏิสัมพันธ์กับบุตร อย่างใกล้ชิดและมีคุณภาพด้วย และตระหนัก ถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ของตนในการ ส่งเสริมคริสตจริยธรรมแก่บุตรได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นบิดามารดาจะต้องดูแลเอาใจใส่ อบรมเลี้ยงดูบุตรให้เจริญเติบโตในการปฏิบัติ ความเชื่อ ความรักตามรูปแบบคริสตชนด้วย เพื่ อ บุ ต รจะได้ เรี ย นรู้ ที่ จ ะปฏิ บั ติ ต่ อ เพื่ อ นพี่ น้ อ งตามแบบคริ ส ตชนแท้ จ ริ ง และด้ ว ยเหตุ นี้ เ องบิ ด ามารดาจึ ง มี บ ทบาทหน้ า ที่ ใ นการ ส่ ง เสริ ม คริ ส ตจริ ย ธรรมให้ แ ก่ บุ ต รเพื่ อ ให้ เขาเจริ ญ เติ บ โตเป็ น ผู้ ใ หญ่ ที่ ดี มี คุ ณ ภาพใน สังคม ประเทศชาติ และในทำนองเดียวกัน ครอบครั ว ก็ มี ส่ ว นร่ ว มในงานแพร่ ธ รรมของ พระศาสนจักรด้วย เพราะว่า “ครอบครัวได้ รับภารกิจที่จะต้องพิทักษ์ รักษา ประกาศ และเผยแผ่ความรัก” (John Paul II, 1981 : 30) ต่อเพื่อนพี่น้องทุกๆ คน จึ ง สรุ ป ได้ ว่ า บิ ด ามารดามี บ ทบาท หน้าที่สำคัญในการส่งเสริมคริสตจริยธรรมให้ แก่บุตรเป็นอย่างมาก ในทำนองเดียวกันทุก ๆ ฝ่ายควรตระหนักถึงความสำคัญนี้ มีส่วนรับผิด ชอบร่วมกันและลดคุณค่าของวัตถุสิ่งของที่ เป็นเพียงแค่เปลือกภายนอกลงไป เพื่อเด็กจะ ได้มีคุณธรรมจริธรรมตามหลักคริสต์ศาสนา อยู่ในใจ และมีความประพฤติดีงามตามมาด้วย

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

23


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

การจะสร้ า งเด็ ก ให้ เ ป็ น คนดี มี คุ ณ ภาพแท้ จริงนั้น เราควรให้ความสำคัญแก่จิตใจเป็น พิเศษ เด็กถึงจะกลายเป็นคนที่มีศักภาพและ อยู่ ร่ ว มกั บ คนอื่ น ในสั ง คมอย่ า งมี ค วามสุ ข สามารถพัฒนาสังคม ประเทศชาติให้เจริญรุ่ง เรืองยิ่งขึ้นไปได้ 2. จากการศึกษาพบว่า แนวทางที่ บิดามารดาสามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติใน การอบรมสั่ ง สอนและส่ ง เสริ ม คริ ส ตจริ ย ธรรมให้แก่บุตรอย่างเป็นรูปธรรมในสถานการณ์ชีวิตประจำวันอันจะทำให้เกิดความรัก มั่นคงและความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของ ครอบครัวนั้น คือการถือปฏิบัติในเรื่องความรัก (Charity) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่กล่าว ไว้ว่า “ถ้าปราศจากความรัก ครอบครัวก็ ไม่สามารถดำเนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าและ บรรลุ ถึ ง ความสมบู ร ณ์ ใ นฐานะเป็ น กลุ่ ม บุคคลได้” (John Paul II, 1981 : 30-31) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ทิศนา แขมมณี และคณะ (2535 : 55) ที่กล่าวไว้ว่าความรัก ของบิ ด ามารดาเป็ น พลั ง สำคั ญ ในการเจริ ญ เติบโตของบุตร ความรักที่ประกอบด้วยเหตุ ผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้ แก่บุตรนั้น เป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียน รู้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ความสั ม พั น ธ์ ที่ อ บอุ่ น กลม เกลี ย วในครอบครั ว เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ในการ

24

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

พัฒนาความคิด ความรู้สึก ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของชีวิตที่สมบูรณ์มั่นคงของครอบครัวต่อไป เพราะฉะนั้น “จึงเรียกร้องให้สมาชิกแต่ละคน ในครอบครัวยินดีและพร้อมเสมอที่จะเข้าใจ กัน มีความรักความปรองดองในการสร้าง ความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น ในครอบครั ว ” (John Paul II, 1981 : 38) ดังนั้นความรักของ บิดามารดาได้เป็นบ่อเกิดแห่งชีวิตและกลาย เป็นบรรทัดฐานในการอบรมสั่งสอนบุตร และ บิ ด ามารดาควรประพฤติ ต นเป็ น แบบอย่ า ง และส่งเสริมหลักคริสตจริยธรรมที่สำคัญให้แก่ บุตรในแต่ละด้านดังนี้ 1) ในด้านความรักและ ความเมตตากรุณา (Charity) พบว่าบิดา มารดาควรส่ ง เสริ ม และปลู ก ฝั ง หลั ก คริ ส ตจริ ย ธรรมด้ า นนี้ ใ ห้ แ ก่ บุ ต รตั้ ง แต่ ต อนเด็ ก ๆ โดยสอนเขาจากแบบอย่างการดำเนินชีวิตของ บิดามารดาด้วย เพราะว่าความรักนั้นเป็นคุณธรรมที่พระเจ้ามอบให้ “นี่คือบัญญัติใหม่ที่ เรามอบให้แก่ท่าน คือให้ท่านทั้งหลายรักกัน และกันเหมือนอย่างที่เรารักท่าน” (ยน 15 : 12) และผลของความรักนั้นเอง คือความปิติยินดี สันติสุข และความเมตตากรุณา ซึ่งเป็นความ หวังดีก่อให้เกิดความรักใคร่ปรองดองกันใน ครอบครั ว และมุ่ ง สร้ า งมิ ต รภาพและความ กลมเกลียวในชุมชน สังคม และประเทศชาติ ต่อไป 2) ในด้านความเสียสละและการอุทิศ


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

ตน (Sacrifice and Dedication) พบว่าบิดา มารดาควรปฏิบัติและส่งเสริมหลักคริสตจริยธรรมนี้ให้เป็นแบบอย่างแก่บุตร เพราะเขา จะเลียนแบบในการเสียสละและอุทิศตนจากผู้ ที่อยู่ใกล้ชิดเขาคือบิดามารดานั่นเอง ที่สำคัญ ควรสอนและส่งเสริมให้เขาได้เข้าใจในความ หมายการเสียสละและอุทิศตนเองแก่สังคม คือความมีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว ทำในสิ่งที่ถูก ต้องยึดมั่นในคุณงามความดี พร้อมให้ความ ช่วยเหลือแก่เพื่อนพี่น้องและผู้อื่นที่อยู่รอบ ข้างเสมอ 3) ในด้านความยุติธรรม (Justice) พบว่าบิดามารดาควรส่งเสริมและปฏิบัติหลัก คริ ส ตจริ ย ธรรมนี้ เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ในการอบรม เลี้ยงดูบุตรโดยให้ความรักอย่างยุติธรรมแก่ บุตรทุกคน ไม่ลำเอียงจนบุตรรู้สึกได้ชัดเจน ว่าบิดามารดาไม่รักเขาแล้ว เพราะความยุติธรรมคือการเคารพและให้เกียรติผู้อื่นและไม่ ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ความยุติธรรมคือคุณธรรมที่เป็นศีลธรรมและจริยธรรมซึ่งประกอบ ด้วยน้ำใจหนักแน่นมั่นคง พร้อมที่จะมอบทุก สิ่งที่ต้องคืนแก่พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ คนดีมี ธรรมที่กล่าวถึงในพระคัมภีร์ คือบุคคลที่ ประพฤติตนที่คิดดีทำดีต่อเพื่อนบ้านของตน เอง “ฝ่ายพวกเจ้านายจงทำแก่เหล่าทาสของ ตนตามความยุติธรรมและสม่ำเสมอ” (คส 4 : 1) 4) ในด้านความซื่อสัตย์ (Hones-

ty) พบว่าบิดามารดาควรส่งเสริมและปลูก ฝั ง คริ ส ตจริ ย ธรรมให้ แ ก่ บุ ต รได้ มี ค วามซื่ อ สัตย์ มีความจริงใจ และมีความตรงไปตรงมา มีความละอายในการกระทำความผิด เพื่อเขา จะได้ เ ติ บ โตและอยู่ ร่ ว มในสั ง คมได้ อ ย่ า งดี ไม่คดโกง ดั่งคำสอนในพระคัมภีร์หลายตอน ที่กล่าวไว้ว่า “ให้ท่านพูดเพียงคำเดียวว่าใช่ หรือไม่ใช่เท่านั้น” (มธ 5 : 37) และนักบุญเปาโล ยังกล่าวไว้ว่า “จงหลีกเลี่ยงการกล่าวเท็จ จงพูดแต่ความจริงกับพี่น้องเสมอเถิด” (อฟ 4 : 5) เพราะในการประพฤติปฏิบัติที่ซื่อตรง จริงใจ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง เป็นเครื่อง หมายแห่ ง ความจริ ง และความสงบสั น ติ สุ ข อย่างแท้จริง และ 5) ในด้านความสุภาพ อ่อนโยน (Humbleness) พบว่าบิดามมารดา ควรเป็ น แบบอย่ า งและปลู ก ฝั ง หลั ก คริ ส ตจริยธรรมนี้ให้แก่บุตร เพื่อเขาจะได้เติบโต มาเป็นเด็กที่น่ารัก มีความสุภาพอ่อนน้อม เชื่อฟังบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ ยอมรับฟัง เหตุผลของเพื่อนร่วมงาน อยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี ดั่งที่นักบุญมัทธิวได้ สอนเรื่องความสุภาพอ่อนหวานของพระเยซู เจ้าว่า “พระองค์มิได้โต้เถียงกับใคร พระองค์ ไม่ทรงหักต้นอ้อที่กำลังเอนลงและไม่ทรงดับ ไฟที่กำลังริบหรี่อยู่” (มธ 12 : 19) และนักบุญ เทเรซาแห่งพระกุมารเยซูได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

25


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

ท่านรู้สึกไม่พอใจคนใดคนหนึ่ง วิธีที่ท่านจะพบ ความสุขคือการสวดภาวนาให้เขาและปฎิบัติ ต่อเขาด้วยความอ่อนหวานเถิด” จึ ง สรุ ป ได้ ว่ า บิ ด ามารดาที่ มี ค วาม ศรั ท ธาในศาสนาไม่ เ พี ย งอบรมสั่ ง สอนและ ส่ ง เสริ ม คริ ส ตจริ ย ธรรมเหล่ า นี้ ซึ่ ง มี ค วาม สำคัญที่สุดเท่านั้น แต่ต้องสอนลูกๆ รู้จักสวด ภาวนาทุกเช้าหลังจากตื่นนอนด้วย เพื่อขอบ คุ ณ พระเจ้ า ที่ ไ ด้ ท รงรั ก ษาเขาให้ ป ลอดภั ย ตลอดทั้งคืน เพื่อเป็นการถวายเกียรติแด่พระ เป็นเจ้ากิจการดีทั้งหมดที่เขาจะกระทำ รวม ทั้ ง ความทุ ก ข์ ย ากที่ เขาจะประสบในวั น นั้ น และสอนลูกสวดอธิษฐานวิงวอนพระเยซูเจ้า และพระมารดาผู้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ยิ่ ง ของพระองค์ โปรดพิทักษ์รักษาเขาให้พ้นจากบาปในวันนั้น ในตอนค่ำพ่อแม่ควรจะต้องสอนลูกพิจารณา มโนธรรมและสวดบทแสดงความทุกข์ สวดลูก ประคำและอ่านหนังสือบำรุงศรัทธาตลอดจน ปฏิบัติกิจศรัทธาอื่นๆ ด้วย จงเพียรสอนเขาตั้ง แต่ยังเป็นเด็กทารกให้ประพฤติตนในคริสตจริยธรรม และเมือ่ เขาเติบโตเป็นผูใ้ หญ่เขาจะมี นิสัยดีงาม พ่อแม่ต้องพาลูกๆ ไปแก้บาปบ่อยๆ และรับศีลมหาสนิททุกอาทิตย์เพราะจะเกิด คุณค่าอย่างมหาศาล พ่อแม่จะต้องสอนหลัก คริสตจริยธรรมให้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจของ ลูกตั้งแต่ยังเป็นเด็กเพราะจะเฝ้าพิทักษ์รักษา

26

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เขาทั้ ง หลายให้ เจริ ญ ชี วิ ต ในพระหรรษทาน ของพระเจ้าตลอดไป 3. จากการศึกษาพบว่าแนวทางการ แก้ ไ ขปั ญ หาครอบครั ว ในสั ง คมปั จ จุ บั น คื อ การที่ ค รอบครั ว มี เวลาที่ จ ะอยู่ ร่ ว มกั น ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน มีการพูดคุยปรึกษา กันอย่างสม่ำเสมอ การทานข้าวพร้อมหน้า พร้ อ มตากั น การปฏิ บั ติ กิ จ ศรั ท ธาต่ า งๆ การไปโบสถ์พร้อมกันและอื่นๆ เพราะถือว่า สิ่ ง เหล่ า นี้ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความรั ก ความเป็ น หนึ่ ง เดี ย วและสร้ า งความสนิ ท สั ม พั น ธ์ ก ลม เกลียวกันในครอบครัวได้เป็นอย่างดี มีความ สอดคล้องกับแนวคิดที่ได้กล่าวไว้ว่า “ความ สัมพันธ์ดังกล่าวนั้น เรียกร้องสมาชิกแต่ละคน ให้ยินดีและพร้อมเสมอที่จะเข้าใจกัน ให้อภัย มีความปรองดองและคืนดีกัน ครอบครัวทุก ครอบครั ว รู้ ดี ว่ า ความเห็ น แก่ ตั ว การไม่ ล ง ลอยกัน การชิงดีชิงเด่น การขัดสู้กันนั้น ได้ ส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ของ สมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาก จนกระทั่ง ความสัมพันธ์นี้อาจจะแตกสลายและสูญสิ้น ไปเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุให้เกิด ความแตกแยกนานาประการในการอยู่ร่วมกัน ของสมาชิกในครอบครัว” (John Paul II, 1981 : 44) การรู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้า ที่ของตนเองได้เป็นอย่างดีและมีความรับผิด


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

ชอบนั้น ก็เป็นแนวทางที่ช่วยแก้ไขปัญหา ครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็น “บทบาทความเป็น มารดาของฝ่ายหญิงและความเป็นบิดาของ ฝ่ายชายในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของตนเป็น ลูกของพระเจ้าและให้ความรักและเคารพใน ความเป็นบุคคล รับผิดชอบในการศึกษาอบรมบุ ต รและสอนบุ ต รให้ รู้ ว่ า ความต้ อ งการ ทางด้านวัตถุและความต้องการทางด้านร่าง กายต้ อ งอยู่ ภ ายใต้ ก ารควบคุ ม ของชี วิ ต ภายในและชีวิตจิต บิดามารดาต้องเป็นแบบ อย่างที่ดีแก่บุตรของตนและควรให้การศึกษา อบรมแบบ คริสตชนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ เขาปฏิบัติได้”(ฝ่ายอภิบาลและธรรมฑูตอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2542 : 528) จึ ง สรุ ป ได้ ว่ า การส่ ง เสริ ม ให้ ส มาชิ ก ในครอบครัวได้มีเวลาอยู่ร่วมกันและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันนั้นเป็นการพัฒนาบทบาท หน้าที่ของบิดามารดาเพื่อให้มีความใกล้ชิด เกิดความรักความอบอุ่น ทำให้บุตรเกิดความ ไว้วางใจต่อบิดามารดาและเป็นแนวทางการ แก้ไขปัญหาครอบครัวในสังคมไทยปัจจุบันที่ เกิดขึ้น ดังนั้นบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อภิบาล ตลอดจนทุกคนทุกฝ่ายควรตระหนักถึงความ สำคัญนี้มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน จะต้องให้ ความร่วมมือและคอยช่วยเหลือในการอบรม สั่งสอนตลอดจนส่งเสริมคริสตจริยธรรมให้แก่ บุตรหลาน บรรดาเด็กๆ และเยาวชน เพื่อจะ

สร้ า งเด็ ก ให้ เ ป็ น คนมี คุ ณ ภาพแท้ จ ริ ง และ สามารถพัฒนาสังคม ประเทศชาติต่อไป ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ ทราบว่าบิดามารดาและผู้ปกครองมีบทบาท สำคัญในการพัฒนาทางคริสตจริยธรรมของ บุตรเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควร จะให้ความสำคัญต่อครอบครัวและบทบาท หน้าที่ของบิดามารดาเพื่อที่จะทำให้เด็กเจริญ เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต ผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. ควรมีการรณรงค์ให้สถาบันครอบ ครัวได้ตระหนักในความสำคัญและจำเป็นที่ จะต้องร่วมกันพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของ เด็ก รวมทั้งทุกสถาบัน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องโดยถือว่าทุกองค์กรหรือสถาบันนั้นมีบท บาทหน้าที่ร่วมกันและต้องร่วมมือร่วมใจกัน อย่างจริงจังด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ รณรงค์ให้บิดามารดา ผู้ใหญ่ และผู้ปกครอง เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กในทุกสถาบันและ ทุกสังคม 2. บิดามารดาต้องส่งเสริมและปลูกฝัง คริสตจริยธรรมให้แก่บุตรตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

27


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

“ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” หรือลักษณะ การสอนแบบหยดน้ำลงบนก้อนหิน “น้ำหยด ลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน” ซึ่งทำให้น้ำ สามารถซึมผ่านเนื้อก้อนหินเข้าไปได้ เปรียบ เหมื อ นที่ บิ ด ามารดาอบรมสั่ ง สอนบุ ต รใน เรื่องคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะในจริยธรรมแบบคริสต์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่าง ยิ่งสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งจะเป็นอนาคต ที่ดีของชาติ จะได้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมและมีคุณภาพ เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และ เป็นคนมีความสุขสามารถดำรงชีวิตในสังคม ได้อย่างสงบสุขและสันติ ไม่แก่งแย่งชิงดีชงิ เด่น ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตนแต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพื่อความสงบสุขของชาติบ้านเมือง และเป็น พลังของพระศาสนจักรคาทอลิกต่อไป 3. บรรดาผู้ใหญ่ ผู้นำ ผู้อาวุโส ทั้งหลาย บิดามารดา และผู้ปกครอง ควรเป็น แบบอย่างที่ดีในด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม ประจำใจให้กับเด็กได้ดูได้เห็น เด็กเรียนรู้ได้ จากพฤติกรรมของผู้ใหญ่ หลายครั้งที่ผู้ใหญ่ ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก 4. ควรยกย่องคนดี คนมีคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม ส่วนคนที่ไม่ดีก็สมควรได้รับการลงโทษและ

28

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ควรสอนให้เด็กเลียน แบบอย่างที่ดี คุณธรรมจริยธรรมสำคัญกว่าสิ่ง อื่นใด ถ้าไม่มีคุณธรรมจริยธรรมในจิตใจแล้ว คนก็ไม่มีค่าไม่มีความหมาย ไม่ต่างกับวัตถุหรือ สิ่งของที่ไร้จิตใจ 5. องค์ ก รหน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชน บ้าน โบสถ์ โรงเรียน ชุมชน ควรจัดกิจกรรมโครงการเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนร่วมมือกันเพื่อการเสริม สร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กๆ เยาวชน และบุตรหลานทุกๆ คนสืบไป 6. สื่อมวลชนควรตระหนักในความ สำคัญและมีความรับผิดชอบในบทบาทหน้า ที่ ไม่ควรเสนอภาพและเผยแพร่สื่อที่ขัดต่อ ศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม ควรให้ความ สำคัญในการเผยแพร่และอบรมจริยธรรมให้ กับบุคคลมากขึ้น ทั้งบิดามารดาผู้ปกครอง ผู้ อบรมเลี้ยงดู และเยาวชน เพราะต้องยอมรับ ว่ า สื่ อ สมั ย ปั จ จุ บั น นี้ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ประชาชน เป็นอย่างมาก ซึ่งการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปจะทำให้บุคคลต่างๆ สามารถซึม ซับคุณธรรมจริยธรรมได้เป็นอย่างดี 7. ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารใช้ เวลาว่ า งกั น ระหว่างครอบครัว เพื่อพัฒนาความเข้าใจ ทั้งในมุมมองทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับ บทบาทของบิดามารดา และผู้อบรมเลี้ยงดู ให้มีความใกล้ชิด มีความอบอุ่น และทำให้เด็ก


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และเปรม คุณโดน

เกิดความไว้วางใจเพิ่มมากขึ้น 8. สถาบันทางศาสนา ควรได้รับการ ส่งเสริมให้มีบทบาทในการเผยแพร่และอบรม คุณธรรมจริยธรรมแก่ครอบครัว ควรส่งเสริม ให้ ค รอบครั วมีความใกล้ชิดทางศาสนามาก ขึ้น เพราะบทบาทของศาสนามีส่วนสำคัญใน การส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมของบรรดา คริสตชน เช่น ควรจัดบรรยากาศกิจกรรม สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเข้าไปร่วม พิธีบูชาขอบพระคุณ การสวดภาวนา และร่วม ในพิธีกรรมอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี 9. ส่งเสริมให้มีการเพิ่มหลักสูตรหรือ สอดแทรกเนื้ อ หาหลั ก คำสอนของคริ ส ต์ ศาสนาเข้าไปในแผนการเรียนอย่างเป็นรูปธรรม การดำเนินชีวิตในสังคมที่เน้นวัตถุนิยม โดยเฉพาะในโรงเรียนคาทอลิก เพราะศาสนา จะช่วยทำให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มมาก ขึ้น ซึ่งการที่ทำให้เด็กคุ้นเคยกับศาสนาจะทำ ให้เด็กตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่ผิดศีลธรรม ซึ่ง แนวทางนี้จะทำให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

ฝึ ก ฝนตนเองในด้ า นการเป็ น ผู้ อ ภิ บ าลที่ ดี เพื่อการประพฤติเป็นแบบอย่าง สั่งสอนอบรม ตลอดการปลูกฝังคริสตจริยธรรมให้แก่เด็กๆ เยาวชน และบรรดาพี่น้องสัตบุรุษในการดูแล ปกครองของตนเองด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ศึ ก ษาวิ จั ย ถึ ง ปั จ จั ย ด้ า นอื่ น ของ สถาบันต่าง ๆ ในสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก เช่น บทบาทสถาบันทาง ศาสนา สถาบันทางการศึกษาบทบาทของสื่อ มวลชน ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลที่จะนำมา สนับสนุนและเป็นแนวทางในการกำหนดบท บาทของสถาบันต่างๆ เพื่อร่วมส่งเสริมพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมของเด็ก 2. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบ การสอนทางคริสต์ศาสนา เพื่อยกระดับการมี คุณธรรมจริยธรรมของเด็กให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับสถานฝึกอบรม 1. ให้ ส ถาบั น แสงธรรมและสถาน ฝึ ก อบรมบุ ค ลากรเพื่ อ เตรี ย มตั ว ที่ จ ะเป็ น บาทหลวง นักบวชชาย - หญิง ในคริสต์ศาสนา ควรเพิ่มความเข้มข้นในการศึกษาอบรม และ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

29


การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสริมคริสตจริยธรรม เขตชุมชนบ้านห้วยเล็บมือ จ.บึงกาฬ

บรรณานุกรม ทิศนา แขมมณี และคณะ. 2535. หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยตามวิถีไทย. โครงการเผย แพร่ผลงานวิจัย, ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. 2538. ปัญหาสำคัญๆ ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฝ่ายอภิบาลและธรรมทูตอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ. 2542. คำสอน พระศาสนจักรคาทอลิกภาค 3 ชีวิตในพระคริสตเจ้า. กรุงเทพฯ : สื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย.

30

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ยอห์น ปอล ที่ 2, พระสันตะปาปา. 2527. พระสมณสาสน์เรื่องครอบครัวใน โลกปัจจุบัน (Familiaris Consortio 1981.) แปลโดย แบร์นาร์ด กิลแม็ง. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม. สมาคมพระคริสตธรรมไทย. 1998. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพฯ : สื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย. John Paul II. 1981. Familiaris Consortio. Washington : United States Catholic Conference.


บทเทศน์ บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

T

he sermon on the mount : Moral for all in the teaching of Jesus Chirst ‘Beatitudes’ According to the Gospel of St. Matthew 5:1-12

มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย

* ประมุขแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี * อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ * อาจารยฺ์วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * บาทหลางในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Bishop Dr.LueChai Thatwisai

* Bishop of Udonthani Diocese. * Lacturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Somkiat Trinikorn

* Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese. * Lacturer at Saengtham College.

Sakkarin Sirabantoeng

* Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College. * Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese.


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบ 1) เพื่อศึกษาให้ทราบถึงแนว คิดทางหลักจริยธรรมที่แท้จริงของบทเทศน์บนภูเขา 2) เพื่อศึกษา ให้ทราบถึงการเข้าถึง “ความสุขแท้” ทั้ง 8 ประการของบทเทศน์บน ภูเขา 3) เพื่อศึกษาให้ทราบถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลัก จริยธรรมของบทเทศน์บนภูเขา โดยศึกษาจากงานวิจัยและเอกสาร ต่ า ง ๆ เพื่ อ ให้ ท ราบถึ ง คุ ณ ค่ า และความหมายที่ แ ท้ จ ริ ง ในบทเทศน์ ของพระเยซูเจ้าเรื่องความสุขแท้ ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมในการดำเนิน ชีวิตที่จะก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงแก่มนุษย์ทุกคนโดยเฉพาะคริสตชนผู้มีความเชื่อในพระองค์ เพราะจากสภาพของสังคมในปัจจุบันที่เกิด ปัญหาทางด้านจริยธรรมต่างๆ สืบเนื่องมาจากการที่บุคคลไม่พบกับ ความสุขที่แท้จริงซึ่งจะทำให้เขาได้รับการเติมเต็มในชีวิตจนต้องหันไป หาความสุขเพียงชั่วครู่ชั่วยามซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดปัญหาในสังคมผล การวิจัยพบว่า บทเทศน์บนภูเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “ความสุขแท้” หรือ “บุญลาภแปดประการ” ซึ่งเป็นบทนำของคำสอนบนภูเขานั้น มีหัวใจอยู่ที่ความรัก ความเชื่อ และความหวังจริงๆ ซึ่งเป็นรากฐาน สำคัญที่สุด และเป็นแนวทางสำคัญในการตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม และศี ล ธรรมในการดำเนิ น ชี วิ ต เพื่ อ ให้ บุ ค คลได้ เจริ ญ ชี วิ ต อย่ า งดี ถูกต้องและเหมาะสม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม ส่งผลให้ ปัญหาต่าง ๆ ทางด้านศีลธรรมได้รับการเยียวยาแก้ไขได้อย่างแท้จริง คำสำคัญ :

Abstract

32

1) พระวรสาร 3) พระศาสนจักร

2) นักบุญมัทธิว 4) ความสุขแท้

The objectives of this research are : 1) To find out the main idea of the real moral in the sermon on the mount. 2) To find out how to reach to ‘the Beatitudes’ in the sermon on the mount. 3) To find out the way of life according

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

to the ethic and moral in the sermon on the mount. All these objectives based on studying the researches and the documents as much as possible are to find the value and the real meaning of the teaching of Jesus Christ ‘Beatitudes’ because the ‘Beatitudes’ are very rooted way of life to produce true happiness for all human race especially for the Christians. For all those problems in our society nowadays are outcome of present situations of the people who find no genuine happiness, so they turn to the unreal happiness that often makes trouble to society. The results of the study : The results of this private study of mine on the Sermon on the Mount especially “the Beatitudes” which is the general introduction of the Sermon on the Mount are focused on Love, Faith and Hope. These three values are the very most important and profound foundations and ways to judge the ethical and moral acts so that people will live their lives well, justly, appropriately and have peaceful co-existence in society. By radically living these values then the social problems will be truly and permanently healed. Keywords : 1) Gospel 2) St. Matthew 3) Church 4) Beatitudes

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

33


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา บทเทศน์บนภูเขาซึ่งหมายถึงการประ กาศพระวาจาของพระเยซูเจ้าในพระวรสาร ตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 5-7) นั้น ถือได้ว่าเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญและเป็น ที่สนใจศึกษาของนักพระคัมภีร์หลาย ๆ ท่าน และโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเนื้อหาซึ่งเกี่ยวกับ “ความสุขแท้” (Beatitudes) นั้นนับได้ว่าเป็น คำสอนที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับจริยธรรมสำหรับ มนุษย์ทุกคนและเป็นพิเศษสำหรับคริสตชนผู้ เคารพและศรัทธาในองค์พระเยซูเจ้า บทเทศน์บนภูเขาของพระเยซูถือได้ ว่าเป็นบัญญัติใหม่ซึ่งพระองค์ได้ทรงมอบให้ แก่ บ รรดาศิ ษ ย์ ข องพระองค์ เ มื่ อ เที ย บกั บ บัญญัติเดิมคือ “บัญญัติ 10 ประการ” ที่โมเสส ได้ รั บ มาจากพระเจ้ า บนภู เขาซี น าย โดยที่ บัญญัติใหม่นี้แสดงออกถึงความรักอย่างแท้ จริ ง ที่ พ ระเจ้ า ได้ ท รงมี ต่ อ มนุ ษ ย์ และโดย เฉพาะคำสอนของพระองค์ในเรื่องความสุข แท้ 3 ประการแรก นับได้ว่าเป็นพื้นฐานคำ สอนทางเทววิ ท ยาของคริ ส ตชนก็ ส ามารถ กล่าวเช่นนั้นได้เพราะเป็นคำสอนเรื่องความ เชื่อ ความรักและความหวัง เมื่อได้พิจารณาถึงปัญหาต่าง ๆ ทาง จริ ย ธรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมไทยในปั จ จุ บั น ไม่ ว่ า จะเป็ น ปั ญ หาเรื่ อ งการค้ า ประเวณี

34

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาเรื่องการทำแท้ง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มาจากการที่มนุษย์ไม่ได้ค้น พบและไม่ได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริงในชีวิต ของเขา เขาจึงพยายามที่จะเติมเต็มด้วยสิ่ง อื่น ๆ ที่มนุษย์คิดว่าเป็นความสุขแทนนั่นเอง ดั ง นี้ เ องงานวิ จั ย ฉบั บ นี้ จ ะทำการ ศึกษาถึงเนื้อหาของพระคัมภีร์ในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับเรื่องของ “ความสุขแท้” โดยตรงเพื่อ ที่จะนำเสนอถึงหลักการในการดำเนินชีวิตที่ พระเยซูเจ้าได้ประกาศสอนถึงหลักคำสอนที่ สำคัญซึ่งมนุษย์สามารถนำไปปฏิบัติแล้วจะ ก่อให้เกิดความสุขทั้งต่อบุคคลนั้นเองและต่อ สังคมส่วนรวม วัตถุประสงค์ของการศึกษา งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาเรื่องบท เทศน์ บ นภู เขาซึ่ ง เป็ น พระดำรั ส สอนของ พระเยซูเจ้าถึงคำสอนที่สำคัญโดยเฉพาะใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ความสุขแท้” ซึ่งได้ รั บ การบั น ทึ ก ไว้ ใ นพระวรสารตามคำบอก เล่าของนักบุญมัทธิวบทที่ 5 ข้อที่ 1 – 12 และยังเป็นพระดำรัสแรกใน 5 พระดำรัสที่ บันทึกโดยนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นหลักจริยธรรม ที่อยู่ในส่วนของเนื้อหาเรื่อง “ความสุขแท้” ทั้ง 8 ประการ ดังนั้น 1. เพื่อศึกษาให้ทราบถึงแนวคิดทาง


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

หลักจริยธรรมที่แท้จริงของบทเทศน์บนภูเขา 2. เพื่อศึกษาให้ทราบถึงการเข้าถึง “ความสุขแท้”ทั้ง 8 ประการของบทเทศน์บน ภูเขา 3. เพื่อศึกษาให้ทราบถึงแนวทางใน การดำเนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก จริ ย ธรรมของบท เทศน์บนภูเขา สมมติฐานของการศึกษา ความสุ ข เป็ น สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนต้ อ ง การและพยายามแสวงหาให้ ไ ด้ ม า บางคน ต้องออกแรงอย่างมากเพื่อไขว่คว้าหาความสุข และในบางโอกาสเขาก็หลงทางไปกับความ สุขปลอม ๆ ซึ่งเขาคิดว่าจะสามารถเติมเต็ม ชีวิตของเขาได้จนก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ต่าง ๆ บางคนเพียงแต่อยู่เฉย ๆ เพื่อรอให้ ความสุขเข้ามาหาตน ความสุขของแต่ละคน อาจเหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับมุมมองทางความคิดของบุคคลนั้น ๆ แต่ทว่า ความสุขที่แท้จริงคืออะไร ประเด็นนี้จึงเป็น สิ่งที่สำคัญ ด้วยเหตุที่มนุษย์ต่างก็ต้องการให้ ได้ความสุขแท้มา เพราะเมื่อมนุษย์ได้รับความ สุขที่แท้จริงแล้ว เขาก็ไม่จำเป็นต้องหาสิ่งใด เพื่อมาเติมให้กับชีวิตของตนเองอีก และยัง สามารถที่จะส่งต่อหรือแบ่งปันความสุขที่เขา ได้รับมาให้กับสังคมรอบข้างได้อีกด้วย

ดั ง นี้ เ อง หลั ก จริ ย ธรรมที่ มี อ ยู่ ใ น คำสอนเรื่อง “ความสุขแท้” ที่พระเยซูเจ้า ได้ ท รงมอบให้ กั บ มนุ ษ ย์ คื อ แนวทางในการ ดำเนิ น ชี วิ ต ซึ่ ง มนุ ษ ย์ ทุ ก คนสามารถนำไป ปฏิ บั ติ เ พื่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด “ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง ” ทั้งต่อตนเองและต่อสังคมได้ และเมื่อมนุษย์ ทุกคนมีหลักที่แท้จริงในการดำเนินชีวิตแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่เราพบได้ในสังคมก็จะลดน้อย ลงไป หรือเป็นไปได้ว่าจะหมดไปจากสังคม ของเรา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ งานวิ จั ย ฉบั บ นี้ จ ะนำเสนอถึ ง แก่ น จริยธรรมคริสต์ที่มนุษย์ทุกคนนั้นสามารถนำ ไปใช้ในชีวิตของตนเพื่อก่อให้เกิดความสุขทั้ง ต่อตนเองและต่อสังคมได้ โดยไม่จำกัดเฉพาะ คริ ส ตชนผู้ เ คารพนั บ ถื อ ในองค์ พ ระเยซู เจ้ า เท่านั้น แต่หมายถึงมนุษย์ทุกคนในโลกก็ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และเมื่อ มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงความสุขที่แท้จริง นี้ แ ล้ ว เขาก็ ย่ อ มพบกั บ ความสุ ข ในชี วิ ต ของ เขาเอง และแน่นอนว่าปัญหาต่างๆ ทางด้าน จริยธรรมในสังคมก็จะลดน้อยลงไป ขอบเขตของการศึกษา 1. พระวรสารตามคำบอกเล่ า ของ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

35


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

นักบุญมัทธิวบทที่ 5 ข้อที่ 1 -12 ซึ่งเป็นเนื้อ หาที่เกี่ยวกับเรื่องความสุขแท้ 2. หนังสืออรรถาธิบายถึงเนื้อหาใน เรื่องความสุขแท้ 3. บทความและหนังสือที่มีผู้เขียน เกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องความสุขแท้ 4. สิ่งที่งานวิจัยฉบับนี้จะไม่ทำการ ศึกษาคือการลงลึกในเรื่องภาษาต้นฉบับของ พระวรสารซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณ นิยามศัพท์เฉพาะ 1. นักบุญมัทธิว (Matthew) หมายถึง อัครสาวกคนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกทั้งสิบ สองคนของพระเยซูเจ้าอาชีพเก็บภาษีและต่อ มาพระเยซูเจ้าทรงเรียกให้มาเป็นศิษย์ติดตาม พระองค์ ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นผู้นิพนธ์ พระวรสาร 2. พระศาสนจักร (Church) หมายถึง ชุ ม ชนแห่ ง พั น ธสั ญ ญาใหม่ ที่ พ ระเยซู เจ้ า ได้ ทรงหลั่งโลหิตเพื่อทำการไถ่กู้ให้รอด คาทอลิก ถือว่าพระศาสนจักรคือชุมนุมชนของบุคคลที่ ได้รับศีลล้างบาปตามจารีตโรมันคาทอลิก วิธีดำเนินการศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการ ศึ ก ษาข้ อ มู ล จากเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ บท

36

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เทศน์ บ นภู เขาในเรื่ อ งความสุ ข แท้ จ ากพระ วรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว บทที่ 5 ข้อที่ 1-12 การวิ จั ย เอกสาร (Documentary Research) ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร โดย ศึกษาเอกสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง วารสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และข้อมูล จากการค้นคว้าทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยว ข้องกับเรื่องความสุขแท้ โดยเริ่มต้นจากการ ศึ ก ษาข้ อ มู ล แนวความคิ ด ทั่ ว ไปทั้ ง ในด้ า น ปรัชญา เทววิทยา และคำสอนของพระศาสนจักรในเรื่องของความสุขแท้ และศึกษาข้อมูล เกี่ ย วกั บ ความสุ ข แท้ ใ นรายละเอี ย ดต่ า งๆ ดังต่อไปนี้ 1) แนวคิดเรื่องความสุขของบุคคล ทั่วไป 2) แนวคิดเรือ่ งความสุขในพระคัมภีร์ 3) ทำไมมนุษย์จึงแสวงหาความสุข 4) ความสุขต้องเป็นสิ่งที่ดี 5) อรรถาธิบายเรื่องความสุขแท้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สรุ ป แนวคิ ด เรื่ อ งความสุ ข แท้ ใ นแต่ ล ะ ประการกับการดำเนินชีวิต 1.1 ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุขเพราะ อาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

ในความสุขแท้ประการนี้เป็นการกล่าว ถึงสภาพทางจิตใจของผู้ที่รู้ตนเองดีว่าในความ เป็ น มนุ ษ ย์ ข องตนเองนั้ น ไม่ มี ค วามบริ บู ร ณ์ และมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถเติมเต็มสิ่ง ที่เขาขาดไปได้ (ความยากจนในจิตใจ) ซึ่งเป็น การแสดงออกถึงความเชื่อมั่นว่าเมื่อตนเองนั้น ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของตนเองอย่างที่สุดแล้ว และแม้จะไม่สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ใน ชีวิตได้ สิ่งที่ขาดไปนั้นพระเจ้าจะเป็นผู้เติมเต็ม ให้แก่เขาเอง ส่วนคำสัญญาที่ว่าอาณาจักรสวรรค์ เป็ น ของเขานั้ น เป็ น การรั บ ประกั น ต่ อ ความ เชื่อมั่นของบุคคลนั้นเองว่าพระเจ้าผู้ทรงเป็น องค์แห่งความดีและความรักที่บริบูรณ์จะทรง ดูแลเขาตลอดวันเวลาในชีวิตเสมอ และด้วย ความเชื่อมั่นนี้เองจึงทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นสุข 1.2 ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน ในความสุขแท้ประการนี้เป็นการกล่าว ถึงความเศร้าโศกเสียใจที่สุดในชีวิตมนุษย์ ซึ่ง สิ่งนั้นคือ “ความตาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่มาทำลาย ความสั ม พั น ธ์ ข องบุ ค คลนั้ น ต่ อ เพื่ อ นพี่ น้ อ ง ของตน นอกเหนือไปกว่านั้น “บาป” ก็เป็นสิ่ง ที่ทำให้มนุษย์พบกับความเศร้าเสียใจเช่นเดียว กั น เพราะทำให้ บุ ค คลนั้ น รู้ ตั ว ว่ า ได้ ท ำลาย ความสัมพันธ์ที่ดีของเขากับพระเจ้าผู้ทรงเป็น

องค์แห่งความรักไป แต่ ใ นความโศกเศร้ า นี้ ก ลั บ แฝงไว้ ด้วยความสุข นั่นมาจากการรู้ตัวของเขาว่า เมื่อใดที่บุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลอันเป็นที่รัก ของเขาได้ ต ายไปพระเจ้ า จะเป็ น ผู้ ที่ ป ลอบ ใจเขาเสมอ และเมื่ อ ใดที่ เขากลั บ ใจละทิ้ ง จากหนทางแห่งบาปเขาก็ได้รื้อฟื้นต่อความ สัมพันธ์ที่เขาเองเป็นผู้ทำให้เสียไปและพระ เจ้าผู้ทรงเป็น “องค์แห่งความรัก” ที่รอคอย อยู่เสมอให้บรรดาบุตร-ธิดาของพระองค์หัน กลั บ มาหาพระองค์ จ ะทรงให้ อ ภั ย เขาเสมอ และพร้อมที่จะต้อนรับเขาด้วยความรักเช่น เดียวกัน 1.3 ผู้ มี ใ จอ่ อ นโยนย่ อ มเป็ น สุ ข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก ดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วไว้ แ ล้ ว ว่ า ใจอ่ อ นโยน ในที่ นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ความอ่ อ นแอไม่ สู้ ค น ไม่มีความเข้มแข็ง แต่กลับกันเพราะหมายถึง ความเข้มแข็งของสภาพในจิตใจของบุคคลซึ่ง แสดงออกมาถึงความสามารถในการควบคุม ตนเองให้ไม่หวั่นไหวต่อความไม่ดีที่ได้ ประ สบพบเจอ ซึ่งเราสามารถเห็นบุคลิกอันนี้ได้ เป็นอย่างดีในองค์พระเยซูเจ้า ในการที่ บุ ค คลใดมี ใจอ่ อ นโยนนั้ น มี ค วามสุ ข ได้ นั่ น เป็ น เพราะว่ า เขานั้ น มี “ความหวัง” ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าว่าจะทรง

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

37


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

ช่ ว ยเขาให้ ส ามารถเผชิ ญ กั บ ความเลวร้ า ย ในชีวิตของเขา และยังเป็นการแสดงออกถึง “ความหวัง” ในตัวของเพื่อนพี่น้องที่ได้ทำผิด ต่ อ เขาไปและพร้ อ มที่ จ ะให้ อ ภั ย ต่ อ เพื่ อ นพี่ น้องของตน และในคำสัญญาที่ว่าจะได้รับแผ่นดิน เป็นมรดกนั้นดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่สองว่าไม่ ได้เป็นการหมายถึงความบริบูรณ์จากทรัพย์ สมบัติในโลกนี้ แต่หมายถึงความมั่นคงแท้จริง ที่ทำให้มีชีวิตและเป็นบ่อเกิดที่ทำให้ชีวิตเกิด ผลอย่างแท้จริงของบุคคลเอง 1.4 ผู้ หิ ว กระหายความชอบธรรม ย่อมเป็นสุขเพราะเขาจะอิ่ม ในความสุขแท้ประการนี้เป็นดั่งการ สรุปของสภาพของบุคคลที่มีคุณลักษณะใน ความสุขแท้สามประการแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งหมายถึงสภาพของบุคคลที่หิวกระหายต่อ ความเชื่อ ความรัก และความหวังอยู่เสมอ เป็น แรงปรารถนาที่ จ ะดำเนิ น ชี วิ ต อยู่ ใ นวิ ถี ท าง ของพระเจ้าและทำตามพระประสงค์ของพระ องค์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งความสุขที่เขาจะได้รับ คือการได้รู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้านั้นรับประกัน ว่าจะตอบสนองต่อแรงปรารถนาทั้งหลายนี้ ของเขานั่นเอง 1.5 ผู้ มี ใจเมตตาย่ อ มเป็ น สุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา

38

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เนื้อหาของความสุขแท้ประการนี้คือ การเน้นคุณลักษณะของความสุขแท้ประการ แรก คือ นอกเหนือไปจากการตระหนักว่าตน เองนั้นต้องขึ้นอยู่กับพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง และ เราต้องการความเมตตาจากพระองค์เช่นเดียว กั น กั บ เพื่ อ นพี่ น้ อ งของเราที่ ต้ อ งการความ เมตตาจากเราเช่นเดียวกัน และเมื่อใดที่เรา แสดงความเมตตาต่อเพือ่ นพีน่ อ้ งของเรา ความ สุขก็จะเกิดขึ้นเพราะบุคคลนั้นสามารถรู้ได้ว่า พระองค์จะทรงเมตตาต่อเราเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นในความสุขแท้ประการนี้ เป็นการสนับสนุนความสุขแท้ประการที่สี่ใน ความหมายที่ว่าในการแสวงหาซึ่งความชอบ ธรรมนั้นไม่ได้เป็นการนำเราไปสู่ความอวดดี ว่าตนเองนั้นอยู่เหนือผู้อื่นหรือดีกว่าผู้อื่น แต่ เป็ น การตระหนั ก ถึ ง ความอ่ อ นแอของผู้ อื่ น และมี เ มตตาพร้ อ มที่ จ ะให้ อ ภั ย ผู้ ที่ ไ ด้ ท ำผิ ด ต่อเรา 1.6 ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุข เพราะ เขาจะได้เห็นพระเจ้า บุ ค คลผู้ มี ใ จบริ สุ ท ธิ์ คื อ บุ ค คลที่ มี สภาพของจิ ต ใจและความคิ ด สอดคล้ อ งกั บ พระประสงค์ของพระเจ้าอยู่เสมอ ซึ่งความสุข ของบุคคลผู้มีใจบริสุทธิ์เกิดขึ้นได้เพราะว่าเมื่อ เขาได้ตระหนักถึงการมีจิตใจและความนึกคิด ที่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้าแล้ว


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

คำสัญญาที่ตามมาคือการที่บุคคลผู้มี ใจบริสุทธิ์นั้นจะได้เห็นพระเจ้าซึ่งหมายถึงการ รับประกันได้ว่าเขาจะได้ไปอยู่ร่วมกับพระองค์ ซึ่งเป็นความสุขแท้ตลอดนิรันดรนั่นเอง 1.7 ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะ เขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า เนื้อหาของความสุขแท้ประการที่เจ็ด นี้คือบุคคลที่ได้พยายามในการสร้างสันตินั้น จะเป็นบุคคลผู้มีความสุขได้ นั่นเป็นเพราะว่า ความพยายามของเขานั้นก่อให้เกิดความสัม พันธ์อันดีระหว่างตัวเขาเองต่อพระเจ้าและต่อ เพื่อนมนุษย์ด้วย และคำสั ญ ญาที่ เขาได้ รั บ คื อ การได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น บุ ต รของพระองค์ ห มายถึ ง การที่ พระเจ้ า ทรงรับรองเขาให้เข้ามาร่วมส่วนใน ความบรมสุขของพระองค์เช่นเดียวกับที่พระ เยซูเจ้าทรงได้รับเช่นเดียวกัน 1.8 ผู้ ถู ก เบี ย ดเบี ย นข่ ม เหงเพราะ ความชอบธรรมย่ อ มเป็ น สุ ข เพราะอาณา จักรสวรรค์เป็นของเขา ท่านทั้งหลายย่อมเป็น สุขเมื่อถูกดูหมิ่น ข่มเหง และใส่ร้ายต่างๆ นานา เพราะเรา จงชื่นชมยินดีเถิด เพราะบำเหน็จ รางวัลของท่านในสวรรค์นั้นยิ่งใหญ่นัก เขาได้ เบียดเบียน บรรดาประกาศกที่อยู่ก่อนท่าน ดังนี้ด้วยเช่นกัน ความหมายของความสุขแท้ประการ

นี้นั้นไม่ได้หมายถึงการที่บุคคลจะได้รับความ สุขเพราะได้รับการเบียดเบียน แต่ความสุขนั้น เกิดจากการที่บุคคลนั้นตระหนักรู้ว่าเขาได้รับ การเบียดเบียนเพราะเขาได้ดำเนินเป็นคนดี ตามแบบอย่างที่พระอาจารย์เยซูเจ้าได้ทรง มอบแนวทางให้ และยังหมายความว่าเขาได้ ดำเนิ น ชี วิ ต โดยการนำความสุ ข แท้ เจ็ ด ประ การข้างต้นไปปฏิบัติจริงในชีวิตไม่ได้ให้ความ สุขแท้นั้นเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น และดั ง นั้ น เองคำสั ญ ญาที่ บุ ค คลผู้ นี้ จะได้รับคือการได้รับรองจากพระเจ้าว่าอาณา จักรสวรรค์เป็นของเขาอย่างแน่นอน ซึ่งก็ หมายความว่ า ในท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว นั้ น เขาจะได้ กลับไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบ่อเกิด แห่งชีวิตและความสุขตลอดนิรันดร 2. คำอธิบายเรื่องความสุขแท้คือแนวทาง การดำเนินชีวิตในพระศาสนจักร “พระศาสนจักร” (Church : Eng / ekklesia : Gk) คำนี้พบได้ในพระวรสารตาม คำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวเท่านั้น(มธ 16:18) ซึ่งมีความหมายถึงชุมชนแห่งพันธสัญญาใหม่ ที่พระเยซูเจ้าได้ทรงหลั่งพระโลหิตกระทำให้ สำเร็จไป (คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรมแผนกพระคัมภีร์, 2007) ในบรรดาผู้นิพนธ์พระวรสาร นักบุญ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

39


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

มัทธิวเท่านั้นที่เรียกอิสราเอลใหม่ ประชากร ใหม่ของพระเจ้าว่า “พระศาสนจักร” หรือ “พระศาสนจักรของเรา” (มธ 16:18; 18:17) แม้คำนี้จะปรากฎอยู่เพียงแค่สามครั้งเท่านั้น แต่ความคิดเกี่ยวกับพระศาสนจักรนี้สามารถ เห็นได้อย่างชัดเจนในงานเขียนทั้งหมดของ ท่าน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความผูกพันพิเศษที่พระ เยซู เ จ้ า ทรงมี ต่ อ พระศาสนจั ก ร (ลื อ ชั ย ธาตุวิสัย, 2549) คำว่า ekklesia หรือ พระศาสนจักรนัน้ ในโลกของชาวกรีกหมายถึงกลุ่มชนทางโลก และทางการเมือง แต่ในพระคัมภีรฉ์ บับคำแปล ภาษากรีก (Septuagint) คำนี้ถูกใช้เพื่อหมาย ถึงการชุมนุมซึ่งได้รับการเรียกมาเพื่อจุดประ สงค์ทางศาสนาและทางจารีตพิธีกรรม (ฉธบ 23:2-9; สดด 22:26) (ลือชัย ธาตุวิสัย, 2549) พระศาสนจักรในบริบทของนักบุญมัทธิวนั้น หมายถึงกลุ่มชนที่รวมกันและหน่วยหนึ่งทาง สังคมซึ่งยอมรับพระเยซูเจ้า มีความจงรักภักดี ต่ อ พระองค์ แ ละชุ ม นุ ม กั น ในพระนามของ พระองค์ (มธ 18:20) ซึ่งมีความสัมพันธ์และ เกี่ยวข้องอย่างเหนียวแน่นกับพระเยซูเจ้าใน ฐานะพระเมสสิยาห์ เพราะนักบุญมัทธิวได้ให้ ทัศนะว่าพระเยซูเจ้านั้นทรงเป็นสถาปนาพระ ศาสนจักรของพระองค์ขึ้นโดยมีรากฐานคือ อัครสาวกทั้งสิบสองคนของพระองค์เป็นตัว

40

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

แทนถึง “อิสราเอลใหม่” แทนอิสราเอลเดิมซึ่ง ประกอบไปด้วยชาวอิสราเอลสิบสองเผ่าเช่น กัน (ลือชัย ธาตุวิสัย, 2549) ดังนั้นเมื่อเราพิจารณาถึงโครงสร้าง ในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว ทั้งเล่มซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 บทนั้น เราสามารถแบ่งเนื้อหาที่ท่านบันทึกเกี่ยวกับ บทเทศน์ทั้งหมดของพระเยซูเจ้าออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ซึ่งในส่วนของบทเทศน์บนภูเขา นั้นอยู่ในส่วนที่สอง และส่วนที่เกี่ยวกับพระ ศาสนจั ก รนั้ น อยู่ ใ นส่ ว นที่ สี่ ข องพระวรสาร ตามคำบอกเล่าของท่าน หากเราพิ จ ารณาถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระศาสนจักรและ เกี่ยวกับบทเทศน์บนภูเขาในเรื่องความสุขแท้ แล้วโดยทำการแบ่งเนื้อหาในบทเทศน์เรื่อง ความสุ ข แท้ ทั้ ง 8 ประการออกเป็ น ส่ ว น ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเราจะพบว่าทั้งสอง ส่ ว น นี้ มี ค ว า ม เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น อ ย่ า ง ม า ก ดังรูปต่อไปนี้


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

ภาพที่ 1 ภาพแสดงการเปรียบเทียบบทเทศน์เรื่องความสุขแท้ทั้ง 8 ประการ กับส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้าน

สังเกตได้ว่าความสุขแท้สามประการ แรกอันได้แก่ ความเชื่อ ความหวัง และความรัก นั้นเปรียบได้กับส่วนที่สำคัญที่สุดของบ้านนั่น คือ “รากฐาน” เพราะเป็นสิง่ ทีท่ ราบดีวา่ ในการ สร้างสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางรากฐานที่มั่นคงเสีย ก่อน จากนั้นจึงสามารถต่อเติมเสริมแต่งส่วน ต่างอันได้แก่ตัวบ้าน ห้องต่าง ๆ และหลังคาได้ ในเรื่ อ งนี้ เ องพระเยซูเจ้าได้ทรงตรัสถึงผู้ที่มี ความเชื่อในพระองค์ก็เปรียบได้กับผู้ที่สร้าง บ้านไว้บนหิน ซึ่งแม้จะมีน้ำท่วมหรือภัยใด ๆ ก็ไม่ทำให้บ้านนั้นพังทลายลงมา (เทียบ ลก

6:48) ส่ ว นต่ อ มาที่ อ ยากจะกล่ า วถึ ง คื อ “เสาค้ำยัน” ของบ้านซึ่งก็เป็นส่วนที่สำคัญ เช่ น กั น เพราะจากเสาค้ ำ ยั น นี้ เ องที่ จ ะไม่ ท ำ ให้หลังคาหรือห้องหับต่าง ๆ นั้นทรุดลงมาพัง ทับตัวบ้าน ซึ่งเสาค้ำยันเหล่านี้คือ ความเมตตา ใจที่บริสุทธิ์ และการสร้างสันติ สุดท้ายคือ “พื้นบ้าน คานหรือหลัง คา” ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ของบ้านเช่นเดียวกันที่ทำให้เกิดเป็นอาคาร บ้านเรือนขึ้นมา และคานหรือหลังคานี้คือ ความยุติธรรม หรือความชอบธรรม

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

41


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

จากรูปภาพประกอบนี้เองทำให้เรา ทราบได้ ว่ า ในการดำเนิ น ชี วิ ต ของบุ ค คลใด บุคคลหนึ่งนั้น ไม่จำเป็นว่าเขาจะรู้จักพระเจ้า หรือไม่ แต่หากเขามีความเชื่อ ความหวัง และ ความรักซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็น เป็นรูปธรรมได้แต่ก็เป็นคุณธรรมที่สำคัญ และ ถื อ ได้ ว่ า เป็ น ดั่ ง รากฐานที่ บุ ค คลจำเป็ น ต้ อ ง หยั่งรากลึกลงไปในการดำเนินชีวิต เพราะเป็น หนทางอันจะนำพาเขาไปพบกับความสุขที่แท้ จริงได้ อย่ า งไรก็ ต ามหากเขามี แ ต่ เ พี ย ง ความเชื่อ ความหวัง และความรักเท่านั้น ยังไม่ สามารถกล่ า วได้ ว่ า เขาได้ มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ บุคคลอื่นอย่างเต็มที่ และความสุขที่เขาได้รับ มาอาจผิ ด เพี้ ย นไปด้ ว ยหลงติ ด อยู่ กั บ ตน เองเท่านั้น ดังนั้นเขาจำเป็นที่จะต้องมีเสาค้ำ ยันหรือก็คือ ความเมตตา ใจที่บริสุทธิ์ และการ สร้างสันติร่วมด้วย เขาจึงจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อตัวเขาเองและต่อบุคคลรอบข้างได้ ถึ ง กระนั้ น แม้ ว่ า บุ ค คลใดจะมี พ ร้ อ มแล้ ว ซึ่ ง ความเชื่อ ความหวัง ความรัก ความเมตตา ใจที่บริสุทธิ์ และการสร้างสันติแล้ว แต่ขาดซึ่ง ความชอบธรรม เช่นเดียวกันที่สิ่งต่างๆ เหล่า นี้ก็ยังไม่อาจทำให้เขาเป็นคนดีพร้อมได้ไร้ซึ่ง ความชอบธรรมหรือความเที่ยงธรรม เพราะ เขาอาจใช้เรื่องเหล่านี้ไปในทางที่ผิดพลาดได้ ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่อบรมเลี้ยงดูบุตรของ

42

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ตนด้วยองค์ประกอบของความสุขแท้ทั้งหมด แต่ ข าดซึ่ ง ความชอบธรรมหรื อ ความเที่ ย ง ธรรมก็อาจทำให้เกิดการประคบประหงมจน เกิ ด ความลำเอี ย งในบุ ต รของตนเกิ น ไป จนอาจส่งผลให้บุตรนั้นเห็นแก่ตัว ไม่รู้จักแบ่ง ปัน และขาดซึ่งความยุติธรรมก็เป็นได้ ในขณะที่ บุ ค คลใดก็ ต ามมี แ ต่ เ พี ย ง ความชอบธรรมหรือความเที่ยงธรรมเขาก็ยัง คงขาดซึ่งมิติของความรักที่จะมาชดเชยคุณธรรมของเขาให้สมบูรณ์ขึ้นไม่ทำให้เขากลาย เป็นบุคคลที่ยึดกฎเกณฑ์เป็นที่ตั้งจนละเลยต่อ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เขาควรจะต้องมีต่อทั้งตนเอง และต่อเพื่อนพี่น้องซึ่งก็คือความรักนั่นเอง ดัง ที่พระเยซูเจ้าได้ทรงประณามพวกฟาริสีว่ายึด แต่กฎเกณฑ์แต่ไม่ใส่ใจต่อเพื่อนพี่น้องของตน (เทียบ มก 6:6-10) ดังนี้เองเราจึงสามารถมองได้ว่าพระ ศาสนจั ก รนั้ น ก็ เ ปรี ย บได้ กั บ บ้ า นหลั ง หนึ่ ง ที่ มีมนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่ต้องมีการนำ ความสุขแท้ทั้งแปดประการไปเป็นหลักในการ ดำเนิ น ชี วิ ต อยู่ ร่ ว มกั น จึ ง จะสามารถทำให้ มนุ ษ ย์ ไ ม่ เ พี ย งแต่ ค ริ ส ตชนผู้ เชื่ อ ในองค์ พ ระ เยซูเจ้าเท่านั้นมีความสุข แต่สามารถกล่าวได้ ว่าทุกคนที่นำเอาหลักคุณธรรมในความสุขแท้ ทั้งแปดประการไปปฏิบัติแล้วย่อมทำให้เขา พบไม่ เ พี ย งแต่ ค วามสุ ข ที่ เ กิ ด แก่ ต นเท่ า นั้ น แต่ความสุขของเขาจากการปฏิบัติตามยังเป็น


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

ความสุ ข ที่ เ ผื่ อ แผ่ ไ ปยั ง บุ ค คลรอบข้ า งและ สังคมได้เช่นเดียวกัน สรุปอภิปรายผล 1. ปัญหายาเสพติด ปัจจุบันนี้สิ่ง เสพติ ด นั บ ว่ าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ประการหนึ่ง เพราะสิ่งเสพติดนั้นเป็นบ่อเกิด ของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ตัวผู้เสพ เองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิด อาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้ พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญ เสี ย แรงงานและสู ญ เสี ย เงิ น งบประมาณใน การปราบปรามและรักษา ผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญ ของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่ง เสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ (วิกิพีเดีย สารานุกรม เสรี, 2555) สาเหตุ ข องการติ ด สิ่ ง เสพติ ด นั้ น เกิ ด จากปั จ จั ย ที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบต่ า งๆ มากมาย อาทิเช่น ความอยากรู้อยากลอง การ ถู ก กลุ่ ม เพื่ อ นชั ก ชวนหรื อ การต้ อ งการการ ยอมรับในกลุ่มเพื่อน มีความเชื่อในทางที่ผิด คือเชื่อว่าการเสพสิ่งเสพติดแล้วทำให้ลืมความ ทุกข์ ความกังวลใจ ความไม่สบายใจ ฯลฯ

อีกมากมายหลายประการด้วยกัน ซึ่งอาจแบ่ง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงจากภาย นอกและปัจจัยเสี่ยงภายในตัวบุคคลเอง - ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมของบุคคลนั้น ยกตัวอย่างเช่น อยู่ในครอบครัวที่เป็นผู้ค้ายาเสพติดเสียเอง หรืออยู่ในสภาพที่บ้านเรือนข้างเคียงป็นผู้ค้า ปัจจัยเหล่านี้ก็อาจทำให้บุคคลพบเห็นจนเป็น เรื่องปกติคิดว่าคนอื่นทำได้เราก็สามารถทำได้ เช่นเดียวกัน - ปัจจัยภายในตัวบุคคลเอง ซึ่งเป็น ปัจจัยสำคัญที่สามารถชักนำให้บุคคลหันไป หาทางออกด้วยการติดสิ่งเสพติดได้ง่ายกว่า ได้แก่ ความอยากได้อยากมีที่ไม่รู้จักพอจึงต้อง หันไปค้ายาเสพติดและจากการค้าไปนานวัน เข้าก็กลายเป็นผู้เสพเสียเอง หรืออาจเกิดจาก ความทุกข์ใจจากปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าบุคคล นั้นอยู่และไม่รู้ว่าจะหันไปพึ่งใครก็เลยหันหน้า เข้าหายาเสพติดเป็นที่พึ่งเสียแทน ซึ่งเรา สามารถสรุ ป ได้ ว่ า ปั จ จั ย นี้ เ องเกิ ด ขึ้ น เพราะ บุคคล นั้นขาดซึ่ง “ความสุขแท้” ในชีวิต เพราะความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง นั้ น ไม่ ใ ห้ ทั้ ง ตนเอง และบุคคลอื่นเกิดความทุกข์แน่นอน การแก้ ปั ญ หายาเสพติ ด ด้ ว ยการใช้ แนวคิดเรื่องความสุขแท้ ดังที่เราได้ทราบดีถึง แนวคิดเรื่องความสุขแท้ในบทเทศน์บนภูเขาที่ ได้กล่าวไว้ในบทที่สองถึงการที่บุคคลจะได้รับ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

43


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

ซึ่งความสุขแท้นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากเย็นแสน เข็ญเกินกำลังของมนุษย์จะสามารถทำได้แต่ อย่างไร สิ่งสำคัญคือการยอมรับว่าตนเองนั้น ปรารถนาความสุขแท้มาเป็นเป้าหมายในการ ดำรงชีวิตจริงๆ จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเป็นเหตุ ให้บุคคลหันเข้าหาสิ่งเสพติดนั้นสำหรับปัจจัย เสี่ ย งภายนอกนั้ น เกิ ด จากการที่ เ ห็ น สิ่ ง เสพ ติดเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ ขายได้ เสพได้ ดังนี้เองหากเขาเพียงแต่เข้าใจ ว่าการเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี ทั้งต่อตนเอง ต่อบุคคลรอบข้างและต่อสังคม การจะหยุดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดก็คง สามารถทำได้ง่ายขึ้น แต่ ส ำหรั บ ปั จ จั ย เสี่ ย งภายในตั ว บุคคลนั้นเป็นเรื่องที่เราต้องพิจารณามากกว่า เพราะเป็ น ปั จ จั ย หลั ก ที่ ท ำให้ บุ ค คลนั้ น หลง เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดได้ง่ายกว่า ด้วย เหตุ นี้ ห ากบุ ค คลนั้ น อาศั ย ความสุ ข แท้ ป ระ การที่หนึ่งซึ่งกล่าวถึงการเป็นผู้มีจิตใจยากจน หรือการเป็นผู้มีความเชื่อว่าพระเจ้าเพียงพระ องค์เดียวเท่านั้นที่จะช่วยเติมเต็มความสุขที่ แท้ให้กับเขาได้เป็นบุคคลแรกก่อน หรือโดย อาศัยความสุขแท้ประการที่สองที่กล่าวถึงการ เป็นผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าหรือการเป็นผู้แสวง หาความรักที่แท้จริงแล้วทั้งต่อตนเองและต่อ บุคคลอื่น ก็จะช่วยเยียวยารักษา “ความขาด”

44

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ที่เขามีในจิตใจของเขาอันเป็นเหตุให้เขาต้อง หันไปพึ่งความสุขเทียมหรือความสุขปลอมๆ ชั่วครู่ชั่วยามจากสิ่งเสพติดได้ 2. ปั ญ หาเรื่ อ งการขายประเวณี (การค้าบริการทางเพศ) สาเหตุส่วนใหญ่ของ ผู้ ที่ เ ข้ า สู่ อ าชี พ การค้ า ประเวณี มี ทั้ ง ความ สมัครใจและไม่สมัครใจ มีปัจจัยผลักดันและ ต้นเหตุของปัญหาจากความไม่เพียงพอของ รายได้ในครอบครัว ความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง ของครอบครัว แรงบีบคัน้ จากความผิดหวังของ คนในครอบครัว การถูกบังคับล่อลวงหรือการ ติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในแวดวงอาชีพโสเภณี แรงจูงใจที่ต้องการเงิน เพื่อพึ่งพาตนเองและแบ่งเบาภาระครอบครัว รวมถึงปัญหาจากการมีค่านิยมที่ผิด (สภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : 2548) การค้าประเวณีจึงเป็นปัญหาที่แก้ไข ให้หมดไปได้ยาก ในปัจจุบันสังคมไทยถือว่า การค้าประเวณีเป็นเรื่องผิดกฎหมายและหลัก ศีลธรรมของคนในชาติ อีกทั้งก่อให้เกิดผลเสีย ต่อผู้ประกอบอาชีพค้าประเวณีและสังคมไทย ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ ทุกคนจำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังใน การเยียวยาแก้ไข การแก้ ปั ญ หาเรื่ อ งการค้ า ประเวณี ด้วยการใช้แนวคิดเรื่องความสุขแท้ ดังที่เรา ทราบถึ ง สาเหตุ ข องการค้ า ประเวณี ซึ่ ง มี ทั้ ง


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

ปัจจัยจากภายนอกและภายในเช่นเดียวกับ ปัญหายาเสพติดนั้น การที่จะเยียวยาแก้ไขสา เหตุของปัจจัยภายนอกอันเกิดจากภาวะทาง เศรษฐกิจในครอบครัวนั้นโดยการที่บุคคลนั้น ได้ยึดเอาความสุขแท้ประการที่สี่ซึ่งกล่าวถึงผู้ ที่หิวกระหายความชอบธรรมก็จะทำให้บุคคล นั้นทราบว่าในชีวิตนั้นไม่ได้มีเพียงเรื่องของ เงินทองทรัพย์สินเท่านั้นที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่ สุดในชีวิต และหากขัดสนจริงๆ ยังคงมีทาง ออกอีกมากมายซึ่งมิใช่การค้าประเวณีในการ แก้ ปั ญ หาเท่ า นั้ น ปั จ จั ย นี้ ก็ จ ะสามารถได้ รั บ การเยียวยาแก้ไขได้ แต่ในส่วนปัจจัยภายในตัวบุคคลนั้น สามารถเยียวยาแก้ไขได้หากเพียงแต่บุคคล นั้นคิดว่าตนเองขาดความรักที่มั่นคงและเชื่อ มั่นว่า “พระเจ้า” ผู้เป็นองค์ความรักที่มั่นคง แท้จริง และไม่มีเปลี่ยนแปลงจากความสุข แท้ ป ระการที่ ห นึ่ ง และความสุ ข แท้ ป ระการ สองแล้ว บุคคลนั้นจะสามารถได้รับการเติม เต็มทั้งจาก “ความรัก” และ “ความสัมพันธ์” ที่ไม่มั่นคงจากมนุษย์ได้ และเมื่อบุคคลนั้น พบกับความรักที่แท้จริงจากองค์พระผู้เป็นเจ้า แล้วเมื่อใด เมื่อนั้นบุคคลนั้นก็จะสามารถรัก สร้าง และยอมรับในความรักและความสัมพันธ์ ที่บุคคลอื่นนั้นมีต่อตนเองได้อย่างเป็นแน่แท้ 3. ปัญหาทางจริยธรรมอื่น ๆ เมื่อ พิจารณาจากตัวอย่างของปัญหาทางด้านศีล-

ธรรมสองตัวอย่างข้างต้น และเกือบทั้งหมด ของปัญหาทางศีลธรรม (จริยธรรม) นั้น เรา พบว่ า ปั ญ หาเหล่ า นี้ ล้ ว นเกิ ด ขึ้ น มาจากการ ที่บุคคลแสวงหาความสุขทั้งทางใจและทาง กายแบบชั่วครู่ชั่วยามซึ่งเป็นความสุขเทียม (ไม่เที่ยงแท้) เพราะเมื่อบุคคลได้รับความสุข เที ย มนี้ แ ล้ ว กลั บ ไม่ รู้ สึ ก พอใจและเกิ ด ความ ต้องการอยากได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิด ปัญหาทางด้านศีลธรรมตามมาซึ่งเราสามารถ พบได้ ต ามภาพข่ า วหรื อ เหตุ ก ารณ์ ต่ า งๆ ในสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ดั ง นี้ เ องหากบุ ค คลนั้ น ได้ ท ราบถึ ง แนวทางการดำเนินชีวิตตามบทเทศน์บนภูเขา ในเรื่องความสุขแท้ทั้งแปดประการนั้น ก็จะทำ ให้บุคคลนั้นได้รับถึงความสุขที่แท้จริงในชีวิต ของตัวบุคคลนั้นเองเป็นการเติมเต็มทั้งจิตใจ และร่างกายของเขา และทำให้เขาสามารถส่ง ต่อความสุขไปให้แก่บุคคลรอบข้างและสังคม ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากในสังคมได้เจริญชีวิตตาม แนวทางของความสุขแท้นี้แล้ว ปัญหาต่างๆ ทางด้านศีลธรรมก็จะลดน้อยลงหรือหมดไป ได้จากสังคมไทยเป็นแน่แท้ ข้อเสนอแนะ 1. บทเทศน์ บ นภู เขาโดยเฉพาะใน เรื่องความสุขแท้นั้นเป็นบทเทศน์ที่ยิ่งใหญ่ซึ่ง มี คุ ณ ค่ า และความหมายมากต่ อ การดำเนิ น

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

45


บทเทศน์บนภูเขา : จริยธรรมสำหรับทุกคน ในเรื่องความสุขแท้ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว 5:1-12

ชีวิตของคริสตชน ซึ่งในการค้นคว้าอิสระฉบับ นี้เพียงแต่ได้นำเสนอรายละเอียดในบางประ เด็นที่น่าสนใจโดยกว้างๆ เท่านั้น แต่หากจะ ศึกษาลงไปให้ลึกซึ้งกว่านี้ก็เป็นสิ่งที่สามารถ ทำได้และสมควรทำเป็นอย่างยิ่งแก่ผู้ที่สนใจ ในการแสวงหา “ความสุขแท้”แก่ชีวิตของตน 2. แม้ ว่ า การค้ น คว้ า ฉบั บ นี้ ไ ด้ น ำ เสนอถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตให้พบกับ ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง สำหรั บ ทุ ก คนโดยเฉพาะ คริสตชนผู้เชื่อในองค์พระเยซูเจ้า อย่างไรก็ ตามสำหรั บ ผู้ ที่ ไ ม่ มี ค วามเชื่ อ ในพระเจ้ า คำสอนนี้ถือว่าเป็นความลำบากเพราะจะเป็น การง่ายกว่าหากมองด้วยมุมมองของคริสตชน

อย่างไรก็ตามหากบุคคลนั้นเปิดใจต่อความ จริงอันเป็นสัจธรรมไม่ว่าสิ่งนั้นจะได้รับการ เรียกว่าอะไรก็ตาม เขาสามารถที่จะค้นพบ และได้รับความสุขแท้ได้เช่นเดียวกัน 3. สำหรับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ คำสอนที่ได้รับการบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ใน ประเทศไทยนั้นยังมีผู้สนใจเป็นส่วนน้อยอยู่ มาก สิ่งจำเป็นก็คือการเข้าใจในพระคัมภีร์ อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเขียน เป้าหมายของผู้นิพนธ์พระวรสาร ความหมาย ของรากศัพท์ดั้งเดิม เพื่อที่จะสามารถนำมา ประยุ ก ต์ ใช้ ใ ห้ เ กิ ด ความเหมาะสมกั บ สั ง คม ปัจจุบันในขณะนั้นได้

บรรณานุกรม ดอน เฟล็มมิ่ง. 1997. คู่มืออธิบาย พระคัมภีร์เล่ม 6. กรุงเทพฯ : คริสเตียนศึกษา แบ๊บติสต์. มาติเยอ ริการ์. 2551. คู่มือพัฒนาทักษะ ชีวิตที่สำคัญที่สุด ความสุข. แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สวนเงินมีนา. ดี มาร์ติน ลอยด์-โจนส์. 1983. ทิพยรส แห่งภูผา. แปลโดย กุศล กมลสิงห์. กรุงเทพฯ : 68 การพิมพ์.

นโปเลียน ฮิลล์. 2527. ศิลปะแห่งความสุข. แปลโดย ปสงค์อาสา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มังกาพย์. ริชาร์ด เลยาร์ด. 2550. ความสุข. แปลโดย รักดี โชติจิณดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สวนเงินมีนา. สุวรรณา สถาอานันท์. 2546. คนกับ ความสุข. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

46

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และสักรินทร์ ศิรบรรเทิง

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. 2549. แนวทาง สู่ความสุข. กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์ ฟรีมายด์. Alan Robinson. 1994. The Treasure of JESUS. Guernsey : The Guernsey Press. Joachim Jeremias. 1978. The Ser mon on The Mount. Trans lated by Norman Perrin. Philadelphia : Fortress. Margaret Nutting Ralph. 2009. A Walk through the New Testament. New York : Paulist Press.

Michael H. Crosby, O.F.M. Cap. 1981. Spirituality of the Beatitudes. United States of America. Warren Carter. 1994. What Are They Saying About Matthew’s Sermon on the Mount?. New-Jersey : Paulist Press. William Barclay. 1986. The Daily Study Bible. rev. The Gospel of Matthew (Vol. 1). Edinburgh :The Saint Andrew.

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

47


C

หลักคริในพระศาสนจั สตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้าง กรโรมันคาทอลิก

hristian Ethics for Pastoral Ministry of Divorced People in the Catholic Church.

บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะเยสุอิต * อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, OMI.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล * อาจารย์คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Rev.Dr.Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J.

* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lacturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Bertuccio Paterno Castello Claudio, OMI. * Reverend in Roman Catholic Church, Missionary Oblates of Mary Immaculate (OMI.) * Lacturer at Saengtham College.

Rev.Somphop Ruengwuthichanapuech.

* Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College. * Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese.


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบ 1) สภาพปัญหาการหย่าร้าง ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน 2) แนวทางกฎหมายบ้านเมือง และกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องของการหย่าร้าง 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาการหย่าร้างที่เกิดขึ้นในสังคม ไทยในสมัยปัจจุบัน 4) คำสอนคริสตจริยศาสตร์ของพระศาสน จักรโรมันคาทอลิกในเรื่องการหย่าร้าง 5) แนวทางในการอภิบาลผู้ หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยศึกษาจากงานวิจัยและ เอกสารต่าง ๆ เพื่อให้รับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงของปัญหาการหย่า ร้างที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน และปัญหาการหย่าร้างนี้เอง ถือได้ว่า เป็นปัญหาทางด้านศีลธรรมประการหนึ่งด้วย ทั้งยังเป็นสาเหตุของ ปัญหาครอบครัวและสังคมอีกหลายประการตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็นคริสตชนที่ได้ทำการหย่าร้างทางบ้านเมือง ก็ยังมีผลกระทบ ด้านการดำเนินชีวิตทางศาสนาอยู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมไทยใน ปัจจุบันมีการหย่าร้างเกิดขึ้นจริงเป็นจำนวนมาก และยังมีแนวโน้มว่า จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต 2) กฎหมายบ้านเมือง อนุญาตให้มีการหย่าร้างได้ โดยการจดทะเบียนหย่าหรือการฟ้องร้อง ต่อศาล ส่วนกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกไม่อนุญาตให้มีการ หย่าร้าง โดยถือว่าไม่มีคำว่า “หย่าร้าง” ในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก เลยทีเดียว 3) ปัญหาการหย่าร้างได้ส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ทั้งต่อตัวคู่สมรสที่หย่าร้างกัน ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวและสังคม ด้วย 4) พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกถือว่า การหย่าร้างเป็นการทำ ลายพันธสัญญาต่อพระเจ้าและต่อคู่สมรสของตน จึงมีการเรียกร้อง ให้ตระหนักถึงความหมายและคุณค่าที่แท้จริงของการแต่งงาน และ รั ก ษาไว้ ใ ห้ ค งอยู่ ต ลอดไปส่ ว นผู้ ที่ ไ ม่ ซื่ อ สั ต ย์ ต่ อ คู่ ส มรสของตนพระ ศาสนจักรคาทอลิกถือว่า ผู้นั้นตกอยู่ในสภาพบาป จนกว่าจะเปลี่ยน แปลงการดำเนินชีวิตของตน และ 5) พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก เรียกร้องผู้อภิบาลให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ผู้ที่ตกอยู่ในสภาพการ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

49


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

หย่าร้าง โดยต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นที่สะดุดต่อ ชุมนุมคริสตชนด้วย

50

คำสำคัญ : Abstract

1) หลักคริสตจริยศาสตร์ 2) การอภิบาลผู้หย่าร้าง 3) พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

The purposes of this research were to find : 1) The current situation of divorce problem in the Thai Society. 2) Local Law and Canon Law related to the divorce. 3) Consequential impact of divorce problems in the present Thai society. 4) Christian Ethics for Pastoral Ministry of Divorced People in the Catholic Church. 5) Guidelines for Pastoral Ministry of Divorced People in the Catholic Church by studying researches and documents in order to realize the current situation of divorce problems in contemporary society. The divorce can be considered as a kind of ethical problem and consequently has various familial and social consequences. The Catholics who get civilly divorced, shell get an impact on their life of faith. The results of the study were : 1) The actual significant number of divorces in the current Thai society with trend of constant increase in the future. 2) The local law allows divorce with the divorce registration or suing in court, while Canon law does not allow any divorce. Even the word “divorce” does not exist in the Catholic Church. 3) Divorce has several consequences not only to the divorced couple but also to the members of the family and

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

in society. 4) As the Catholic Church considers that divorce violates commitment to God and the spouse, there is a demand to realize the true meaning and value of the marriage and to protect it everlasting. As for any person who is not faithful to his or her spouse, the Catholic Church considers him or her sinful until there is a change in his or her conduct. 5) The Catholic Church asks the pastor to give a special attention to divorced people by following the appropriate guidelines to avoid scandal to the Catholic community. Keywords : 1) Christian Ethics 2) Pastoral Ministry of Divorced People 3) Catholic Church ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากประสบการณ์ ใ นการฝึ ก งาน อภิ บ าลตามโบสถ์ ใ นช่ ว งปิ ด เทอมภาคฤดู ร้อน เพื่อเตรียมบรรดาเยาวชนคาทอลิกในการ รับศีลศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ ง ๆ ซงึ่ บรรดาเยาวชนเหล่านี้ ไม่ มี โ อกาสได้ เรี ย นคำสอนในระหว่ า งภาค เรียน เพราะไม่ได้เรียนในโรงเรียนคาทอลิก และในระหว่างการสอนคำสอนนี้ จะต้องมี การศึ ก ษาประวัติครอบครัวของเยาวชนแต่ ละคน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการรับศีล ศักดิ์สิทธิ์นั้น ผู้วิจัยได้พบปัญหาหนึ่ง ซึ่งมี

แนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปัญหานี้ไม่ ได้ เ ป็ น อุ ป สรรคต่ อ การรั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข อง บรรดาเยาวชนเหล่านั้น โดยปัญหาที่พบคือ มีครอบครัวหลายครอบครัวที่บิดา และมารดา แยกกันอยู่ หรือมากกว่านั้นคือ หย่าร้างกันตาม กฎหมายบ้านเมือง ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เป็นข้อขัด ขวางที่ ก ระทบต่ อ การรั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข อง บรรดาเยาวชนเหล่านั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ปัญหาที่แฝงอยู่ และเป็นปัญหาที่อาจสร้าง ผลกระทบต่อผู้ปกครองของเยาวชนเหล่านั้น และการดำเนินชีวิตคริสตชนของผู้ปกครอง

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

51


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

และก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว เมื่อบรรดา เยาวชนเหล่ า นั้ น เติ บ โตในสภาพครอบครั ว เช่นนี้ จากสภาพเช่นนี้ทำให้ต้องมุ่งประเด็น ไปถึงปัจจัยที่ทำให้ปัญหานี้ขยายออกไปเป็น วงกว้าง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดย เริ่มพิจารณาถึงการพัฒนาประเทศไทยของ เราภายใต้ ร ะบบทุ น นิ ย ม ที่ ไ ด้ พ ยายามมุ่ ง พั ฒ นาความก้ า วหน้ า ทางด้ า นเทคโนโลยี เป็นสำคัญ รวมทั้งกระแสบริโภคนิยม ที่ส่งผล ทำให้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงวิ ถี ชี วิ ต ของประชา ชนในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งมีการแข่งขันกัน มากขึ้นในทุกด้าน จากสภาพเช่นนี้จึงส่งผล ไปถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ของสั ง คมกลุ่ ม ย่ อ ยที่ สุ ด นั่ น คื อ ครอบครัว กล่าวคือ สมาชิกในครอบครัวมีการ ดิ้นรนมากขึ้น ในขณะเดียวกันการช่วยเหลือ เกื้อกูลกันภายในครอบครัว และการมีเวลาให้ ครอบครั ว ลดน้ อ ยลง บทบาทของสมาชิ ก ในครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวอ่อนแอลง (อุบล ตรีรัตน์วิชชา, 2552 : 1) โดยจากสถิติการ หย่ า ร้ า งในประเทศไทยที่ มี เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น เป็ น 2 เท่าในรอบ 10 ปี ซึ่งจากเดิมในปี พ.ศ. 2539 มีสถิติการหย่าร้าง ร้อยละ 13 แต่ใน ปี พ.ศ. 2549 มีสถิติการหย่าร้างสูงขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 26 หรืออาจกล่าวได้ว่า มีการหย่าร้าง เกิดขึ้น 1 คู่ ทุก ๆ การจดทะเบียน 5 คู่

52

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

หรือกล่าวไปมากกว่านั้นได้อีกว่า มีการหย่า ร้างเฉลี่ยชั่วโมงละ 10 คู่ (กรมการปกครอง, 2549) และจากข้อมูลของบาทหลวงยอห์น ตามาโย (2551 : 8) ทีไ่ ด้บนั ทึกไว้ในหนังสืออบ รมเตรี ย มคู่ ส มรสได้ บั น ทึ ก สถิ ติ ก ารหย่ า ร้ า ง ในปี พ.ศ. 2550 ว่า มีจำนวนคู่สมรสที่หย่าร้าง กันถึง 100,420 คู่ด้วยกัน จากสถิติดังกล่าวที่ ได้นำเสนอมานี้ ทำให้เห็นแนวโน้มว่าครอบ ครัวไทยในปัจจุบันยังมีแนวโน้มการเกิดครอบ ครัวเลี้ยงเดี่ยว (Single Parent Family) มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะของครอบครัวที่เสี่ยงต่อ การเกิดปัญหาความแตกแยกมากกว่าครอบ ครัวใหญ่ ซึ่งมีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในครอบครัว ด้วย ซึ่งจะสามารถสร้างความสมานสามัคคี ให้แก่คู่สมรสได้ เวลาที่เกิดความขัดข้องบาด หมางใจไม่เข้าใจกัน จากลักษณะของครอบ ครัวเลี้ยงเดี่ยวนี้ จึงนำมาซึ่งการสิ้นสุดชีวิตคู่ 4 รูปแบบ คือ 1) การละทิ้ง 2) การหย่าร้าง 3) การแยกทาง และ 4) การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดเสียชีวิต รวมทั้งครอบครัวทีนเอจด้วย เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดวุฒิภาวะของคู่สมรส (สุจิตต์ ไตรพิทักษ์, 2549) การแตกแยกของครอบครัวไม่ว่าในรูปแบบ ใดก็ตาม นับเป็นวิกฤติการณ์ที่สำคัญของสังคม เพราะครอบครั ว เป็ น หน่ ว ยพื้ น ฐานที่ ส ำคั ญ ในการสร้ า งคุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ ต่ า งๆ


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

ให้แก่สมาชิกในครอบครัว ดังนั้นเมื่อมีการ หย่าร้าง หรือเกิดรูปแบบครอบครัวที่เรียกว่า “บ้านแตก” (Broken Home) สมาชิกทุกคนใน ครอบครัวย่อมได้รับผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ ผลกระทบทางอารมณ์ และจิตใจ โดยเฉพาะบุตร รวมทั้งการเลือกวิธี แก้ปัญหาครอบครัวของตนเองในอนาคตด้วย (Sarrazin and Cry, 2007 อ้างใน ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร, 2550ก) จากสาเหตุของการหย่าร้างโดยมาก ที่ ม าจากสั ม พันธภาพในครอบครัวที่เปลี่ยน แปลงไปตามกระแสสังคมที่เน้นวัตถุและการ นอกใจคู่ ส มรส แต่ ที่ ยั ง พบมากอี ก ประการ หนึ่งคือ การมีทัศนคติต่อเรื่องการหย่าร้างที่ คู่สมรสเลือกเป็นวิธีการแก้ปัญหา หรือทาง ออกในการยุ ติ ปั ญ หาความขั ด แย้ ง ในครอบ ครัวแทนที่การแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ ต้องใช้เวลายาวนานอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประ กอบกับปัจจุบันการหย่าร้างได้รับการยอมรับ และเปิดเผยมากขึ้นในสังคม ตัวอย่างเช่น สื่อ ที่มีการเผยแพร่ข่าวเรื่องการหย่าร้างของดารา นักแสดง หรือ คนดังในสังคม จนเกิดเป็นกระ แสการหย่ า ร้ า งตามมาในที่ สุ ด (พระธรรมนิเทศ, 2551) รวมทั้งค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ไปในการใช้ชีวิต ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการหย่า ร้างเปลีย่ นแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะทัศนคติ

ที่มีต่อการหย่าร้างของวัยรุ่นที่มาจากครอบ ครัวทีม่ บี ดิ ามารดาหย่าร้าง โดยเฉพาะในวัยรุน่ เพศหญิงหลายคนกลัวความล้มเหลวในชีวิต แต่งงาน แต่ในทางกลับกันเมือ่ พวกเขาแต่งงาน แล้ว พวกเขาก็เลือกการหย่าร้างเป็นทางออก ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยเช่นกัน (เบญจพร ปัญญายงค์, 2541) เมื่อมีการหย่าร้างเกิดขึ้นแน่นอนย่อม มีผลที่ตามมา แม้ว่าในประมวลกฎหมายของ ไทยจะอนุ ญ าตให้ มี ก ารหย่ า ร้ า งได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง ซึ่ ง ทำให้ พั น ธะของการแต่ ง งานสิ้ น สุดลงทันที แต่ก็ส่งผลกระทบทางจิตใจเป็น สำคัญทั้งแก่คู่สมรสที่หย่าร้างกัน รวมทั้งต่อ บุ ต รของตนด้ ว ย ส่ ว นในพระศาสนจั ก ร คาทอลิกนั้น คำว่า “การหย่าร้าง” ไม่มีทาง เป็นไปได้เด็ดขาด ซึ่งมีหลักฐานของหลักเกณฑ์ อันนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 โดยพระสันตะ ปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III : ค.ศ. 1159-1181) ได้ประกาศหลักการเรื่องการ หย่าร้างไม่ได้ อย่างชัดเจนว่าหากการสมรส ของคริสตชนที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ และได้มีเพศ สัมพันธ์แล้ว ไม่มีอำนาจใด ๆ บนแผ่นดินนี้ที่ จะยกเลิกพันธะการสมรสนี้ได้ (สุเทพ วนพงศ์ทิพากร, 2553 : 17-18) ดังนั้น คู่สมรสที่ทำการ หย่ า ร้ า งด้ ว ยวิ ธี ก ารทางบ้ า นเมื อ งนั้ น ก็ ไ ม่ สามารถสิ้ น สุ ด พั น ธะของการแต่ ง งานได้

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

53


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

และยังถูกลงโทษด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงผลที่ตาม มานี้ในบทต่อไป จากสาเหตุ ทั้ ง หมดนี้ จึ ง เป็ น ความ เป็นมาที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาสภาพที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันของผู้ที่หย่าร้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้น ในครอบครัวและสังคม รวมทั้งในฐานะที่บุคคล เหล่านี้เป็นคริสตชน มีผลอะไรที่เกิดขึ้นจาก การถูกตัดสิทธิบางประการจากพระศาสนจักร และสุดท้าย พระศาสนจักรมีแนวทางอย่างไร ในการอภิบาลดูแล คริสตชนที่หย่าร้างเหล่านี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเยียวยาที่ยิ่งใหญ่ มิเช่นนั้น บรรดาคริสตชนที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ก็จะถอย ออกห่างจากพระศาสนจักรนับวันแต่จะมาก ขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อจะได้มีความรู้ และความเข้า ใจถึ ง สภาพปั ญ หาการหย่ า ร้ า งที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน สังคมไทยในปัจจุบัน 2. เพื่อจะได้มีความรู้ และความเข้า ใจถึงแนวทางกฎหมายบ้านเมือง และกฎหมาย พระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก ในเรื่ อ งการ หย่าร้าง 3. เพื่อจะได้มีความรู้ และความเข้า ใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาการหย่า ร้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน

54

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

4. เพื่อจะได้มีความรู้ และความเข้า ใจถึงคำสอนคริสตจริยศาสตร์ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องการหย่าร้าง 5. เพื่อจะได้นำความรู้ และความเข้า ใจในคำสอนคริสตจริยศาสตร์ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องการหย่าร้าง ไปเป็น แนวทางในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ขอบเขตของการศึกษา สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะ เน้ น การศึ ก ษาเอกสารที่ เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งการ หย่าร้างในทุกแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับงานอภิบาล เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการหย่าร้าง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และมีแนวโน้มว่าจะมี จำนวนการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้นในทุกปี อีกทั้ง ยั ง ศึ ก ษาเอกสารของพระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ งการหย่ า ร้ า ง เพื่ อ หาแนวทางในการอภิ บ าลคริ ส ตชนที่ ประสบกับสภาพการหย่าร้างนี้จึงกำหนดขอบ เขตการศึกษาไว้ดังนี้ 1. ศึ ก ษางานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การหย่าร้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน (ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา) 2. ศึกษากฎหมายบ้านเมือง และกฎ หมายพระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก ในเรื่ อ ง


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

การหย่าร้าง 3. ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผล กระทบที่เกิดขึ้นจากการหย่าร้าง เช่น ผลกระ ทบต่อสมาชิกในครอบครัวสังคม และวิถีชีวิต คริสตชน 4. ศึ ก ษาคำสอนคริ ส ตจริ ย ศาสตร์ ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องการ อภิบาลดูแลผู้หย่าร้าง 5. สรุปข้อคำสอน และหาแนวทางใน การอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมัน คาทอลิก นิยามศัพท์เฉพาะ จริยศาสตร์ (Ethics) คือ ศาสตร์ที่ว่า ด้วยมาตรฐานความประพฤติ จำแนกความ ประพฤติ ที่ ดี อ อกจากความประพฤติ ที่ เ ลว ประมวลความประพฤติที่เลือกออกมาแล้วว่า เป็ น ความประพฤติ ที่ ดี เรี ย กว่ า จริ ย ธรรม ความประพฤติที่ดีเหล่านี้นำไปพัฒนาให้เกิด ในตัวคนเพื่อให้เป็นมนุษย์ เรียกว่า จริยศึกษา พัฒนาทั้ง ความรู้ ความรู้สึก และการปฏิบัติ ส่วนจรรยาบรรณ เป็นหลักจริยธรรมเฉพาะ กลุ่มคนหรือกลุ่มอาชีพ เพื่อประโยชน์ในการ ให้บริการ และให้ผู้รับบริการได้ไว้ใจในการ บริการนั้น (สมประสงค์ น่วมบุญลือ, 2552) คริสตจริยศาสตร์ (The Catholic Moral

Theology) คือ การนำหลักจริยศาสตร์มา พิจารณาในมุมมองของคาทอลิก ซึ่งได้เพิ่มเติม ในเรื่องข้อคำสอนและบทบัญญัติของคาทอลิก เข้าไป โดยถือว่าเป็นหลักศีลธรรมสากลที่ ครอบคลุมมนุษยชาติ โดยอาศัยเหตุผลและ ความจริงซึ่งทั้งเหตุผลและความเชื่อนี้ ต่าง เสริมสร้างซึ่งกันและกัน (เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, 2548 : 15-16) อภิบาล (Pastoral) มีรากศัพท์มาจาก ภาษาละตินว่า “Pastor” แปลว่า ผู้เลี้ยงแกะ ซึ่ ง เป็ น การเปรี ย บภาพพจน์ ข องพระเยซู เจ้า และผู้แทนของพระองค์ในโลกนี้ว่าเป็นคน เลี้ยงแกะที่ดีคอยดูแลแกะทุกตัวให้ปลอดภัย จากภยันตรายทุกชนิด นักบวชของศาสนา คริสต์จึงมีหน้าที่อภิบาลคริสตชนของตนด้วย การเอาใจใส่ชีวิตของพวกเขาโดยเน้นชีวิตฝ่าย วิญญาณเป็นสำคัญ (มนัส จวบสมัย, 2526 : 191) การหย่าร้าง คือ การสิ้นสุดของการ อยู่ ร่ ว มกิ น กั น และเลิ ก เป็ น สามี ภ รรยากั น ของชายและหญิง ดังนั้น เมื่อชายหญิงที่เป็น คู่สมรสกันต้องการจะเลิกร้างกันไป ก็จำเป็น ต้องยกเลิกสัญญาการแต่งงาน คือ ใบทะเบียน สมรสนั่ น เอง โดยการจดทะเบี ย นหย่ า ขาด จากกั น ซึ่ ง การทำหนั ง สื อ ที่ อ ำเภอหรื อ เขต จะต้องมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

55


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

หรือโดยคำพิพากษาของศาล (อุมาพร ตรังคสมบัติ, 2545 : 13) พระศาสนจักร (The Church) หมายถึง มวลคริสตศาสนิกชนที่มารวมตัวกัน ก่อตั้งขึ้นเป็นประชาคม และเป็นสถาบัน โดยมี ผู้นำทางศาสนา มีฐานันดรตามลำดับ ดังนี้คือ พระสันตะปาปา, พระสังฆราช (มุขนายก), พระสงฆ์ (บาทหลวง) และสัตบุรุษ (ฆราวาส) หรือเรียกอีกอย่างว่าคริสตชน(มนัส จวบสมัย, 2526 : 113) โดยในการวิจัยครั้งนี้พระศาสนจักร หมายถึง พระศาสนจักรนิกายโรมัน คาทอลิก คาทอลิก หมายถึง คำที่ทับศัพท์ มาจากภาษาอั ง กฤษว่ า “Catholic”แปล ว่า “สากล” หมายถึง พระศาสนจักรที่พระ เยซู เจ้ า ทรงตั้ ง ขึ้ น นั้ น เป็ น สากลในด้ า นหลั ก ความเชื่อ (มนัส จวบสมัย, 2526 : 25) โดยใน การวิจยั ครัง้ นี้ “คาทอลิก” หมายถึง พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก สมณสาส์น (Encyclical) หมายถึง เอกสารที่พระสันตะปาปาเขียนเป็นทางการ ถึงสมาชิกของพระศาสนจักรสากล สำหรับสั่ง สอนความจริงบางประการด้วยอำนาจการสั่ง สอนตามปกติ ดังนั้น แนวคิดในสมณสาส์น จึ ง อาจเปลี่ ย นแปลงได้ ใ นภายหลั ง (มนั ส จวบสมัย, 2526 : 167)

56

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ หมายถึ ง คำที่ แ ปลมา จากภาษาอังกฤษว่า “Sacrament” ซึ่งคำว่า “ศี ล ” นี้ เ ป็ น ศั พ ท์ เ ฉพาะของศาสนาคริ ส ต์ นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่า “ข้อห้าม” ตามคำว่า “ศีล” ของพุทธศาสนา สำหรับคาทอลิกคำว่า “ศีล” หมายถึง การประ กอบพิธีกรรมทางศาสนา อันเป็นเครื่องหมาย ภายนอกเพื่อแสดงออกถึงความสัมพันธ์ของ คริสตชนกับพระเจ้า โดยพระเยซูเจ้าทรงเป็น ผู้ตั้งศีลศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาโดยอาศัยเครื่องหมาย ภายนอกที่สัมผัสได้ และได้ทรงบันดาลให้ เครื่องหมายนั้น มีฤทธิ์โปรดพระหรรษทาน ตามผลของเครื่องหมายนั้น พระศาสนจักรจึง ให้ นิ ย ามศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ว่ า เป็ น “เครื่ อ งหมาย และเครื่องมือโปรดพระหรรษทาน” (CIC.840) ซึ่งประกอบด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ ได้แก่ ศี ล ล้ า งบาป, ศี ล อภั ย บาป, ศี ล มหาสนิ ท , ศีลกำลัง, ศีลสมรส (หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ศีล แต่ ง งาน), ศี ล บรรพชา (หรื อ เรี ย กอี ก ชื่ อ ว่ า ศี ล บวช)และศี ล เจิ ม คนไข้ โดยในแต่ ล ะพิ ธี ศีลศักดิ์สิทธิ์จะให้พระพรเฉพาะแตกต่างกัน (นริทร์ ศิริวิริยานันท์, ผู้แปล 2538 : 155156) ศีลสมรส คือ ศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้รวม ชายและหญิง ทั้งสองคนเข้าด้วยกันต่อหน้า พระเป็นเจ้า เพือ่ จะได้สร้างครอบครัวคริสตชน


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

โดยมีพระเจ้าเป็นพยาน และอยู่ร่วมกับชีวิต แต่งงานของเขาเสมอ (นริทร์ ศิริวิริยานันท์, ผู้แปล 2538 : 206-212) โดยการประกอบ พิธีสมรสกันนี้ จะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ก็ต่อเมื่อคู่ สมรสต่างเป็นคริสตชนทั้งคู่ (CIC.10511.1) แต่เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้เป็นคริสตชน แต่ได้เข้าพิธีสมรสแบบคาทอลิกอย่างถูก ต้อง เราเรียกว่า เป็นพิธีสมรสแบบคาทอลิก (คณะกรรมการบริ ห ารอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ, 2553 : 60) โดยจุดประสงค์ของการแต่งงานคือ 1) เพื่อเสริมสร้างความรัก ระหว่างสามีภรรยา โดยมีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง เชื่อมความสัมพันธ์ ของทั้งสองเข้าด้วยกัน 2) เพื่อให้กำเนิดบุตร และอบรมเลี้ยงดูบุตร และ 3) เพื่อจะกินอยู่ ด้วยกันอย่างศักดิ์สิทธิ์ โดยมีหน้าที่ของคู่แต่งงานที่ตามมา ดังนี้ 1) สามีและภรรยาคริสตชนต้องรักและ ซื่อสัตย์ต่อกันและกันตลอดชีวิต และ 2) ยอม รับลูกทุกๆ คน ซึ่งพระเจ้าโปรดให้มา โดยมี ความไว้วางใจในพระพรของพระองค์ ประมวลกฎหมายพระศาสนจั ก ร โรมันคาทอลิก หมายถึง กฎข้อบังคับเฉพาะ พระศาสนจักรละตินเท่านั้น (CIC.1) ถือว่าเป็น วิธีการสร้างเสรีภาพเพื่อความดีของส่วนรวม ซึ่งทำให้เกิดเสรีภาพอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น

ถือได้ว่าเป็นกฎหมายของสถาบันหนึ่งซึ่งเป็น ของพระเจ้าและมนุษย์ จึงมีลักษณะพิเศษ มี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ ดู แ ลควบคุ ม พฤติ ก รรม ของกลุ่มชนเฉพาะเจาะจง และเพื่อความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของกลุ่มชน(สุเทพ วนพงศ์ทิพากร, 2553:2) โดยมีชื่อเป็นทางการใน ภาษาละตินว่า “CODEX IURIS CANINICI” โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอใช้อักษรย่อว่า “CIC” เมื่อมีการอ้างถึงข้อกฎหมายประกอบ ซึ่งประมวลกฎหมายนี้มีทั้งหมด 1752 มาตรา แบ่งออกเป็น 7 บรรพ ดังนี้ บรรพ 1 ว่าด้วยเรื่องกฎเกณฑ์ทั่วไป (ม.1-203) บรรพ 2 ว่าด้วยเรื่องประชากรของพระเจ้า (ม.204-746) บรรพ 3 ว่าด้วยเรื่องอำนาจการสั่งสอนของ พระศาสนจักร (ม.747-833) บรรพ 4 ว่าด้วยเรื่องอำนาจการบันดาลความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร (ม.834-1253) บรรพ 5 ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินของพระศาสน จักร (ม.1254-1310) บรรพ 6 ว่าด้วยเรื่องการลงโทษในพระศาสน จักร (ม.1311-1399) บรรพ 7 ว่าด้วยเรื่องกระบวนการทางศาล (ม.1400-1752)

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

57


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

โดยพระศาสนจักรเน้นว่า ภารกิจหลัก ของพระศาสนจักร คือ ช่วยวิญญาณให้รอด ส่วนการใช้บทลงโทษนั้น จะถูกนำไปใช้ในกรณี ที่ได้ตักเตือนแนะนำแล้วแต่ยังดื้อดึงอยู่พระ ศาสนจักรจึงจำเป็นต้องเยียวยาความยุติธรรม ด้วยการตีสอน เพื่อให้มีการกลับใจและการใช้ โทษความผิดนั้น (สุเทพ วนพงศ์ทิพากร, 2553 : 6) ขั้นตอนการศึกษา เพื่ อ ให้ ก ารศึ ก ษาหลั ก คริ ส ตจริ ย ศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ วางเอาไว้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้า และเก็บรวมรวบข้อมูลจากเอกสารทั้งภาษา ไทย และภาษาต่างประเทศ ในรูปแบบของ หนังสือ บทความทางวิชาการ บทความทาง กฎหมาย วิทยานิพนธ์ อินเตอร์เน็ต และตัวบท กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ วิจัย พร้อมทั้งหาแนวทางที่ถูกต้อง และเหมาะ สมที่สุดในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักร โดยผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนของการ ศึกษาไว้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลสถิติของการหย่าร้าง เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า การหย่ า ร้ า งเกิ ด ขึ้ น จริ ง

58

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เป็นจำนวนมากในประเทศไทยนั้น มีสาเหตุ มาจากอะไร และมีผลกระทบอย่างไรบ้าง 2) ศึ ก ษาตั ว บทกฎหมายทางบ้ า น เมืองและของพระศาสนจักรเกี่ยวกับเรื่องการ หย่าร้าง 3) ศึ ก ษาคำสอนด้ า นคริ ส ตจริ ย ศาสตร์ของพระศาสนจักรในเรื่องการหย่าร้าง 4) สรุปข้อกฎหมาย และข้อคำสอน ด้านจริยศาสตร์ของพระศาสนจักรที่เกี่ยวกับ เรื่องการหย่าร้าง และหาแนวทางอภิบาลผู้ หย่าร้างในพระศาสนจักร รวมถึงเสนอแนะวิธี การป้องกันปัญหาการหย่าร้างในสังคมไทยใน ปัจจุบัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบถึงสภาพการหย่าร้างที่เกิด ขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน 2. ทราบถึ ง แนวทางกฎหมายบ้ า น เมือง และกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องการหย่าร้าง 3. ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การหย่าร้างในทุกแง่มุม 4. ทราบคำสอนคริ ส ตจริ ย ศาสตร์ ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องการ หย่าร้าง 5. ทราบถึงแนวทางในการอภิบาลผู้


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก รวม ทั้งวิธีการป้องกันปัญหาการหย่าร้างในสังคม ไทยในปัจจุบัน ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการหย่า ร้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน พบว่า การหย่ า ร้ า งในประเทศไทยนั้ น เกิ ด ขึ้ น จริ ง และมีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะจาก สถิติการหย่าร้างในประเทศไทยที่มีเพิ่มสูงขึ้น เป็น 2 เท่าในรอบ 10 ปี ซึ่งจากเดิมในปี พ.ศ. 2539 มีสถิติการหย่าร้างร้อยละ 13 แต่ใน ปี พ.ศ. 2549 มีสถิติการหย่าร้างสูงขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 26 และเฉพาะในปี พ.ศ. 2550 มี จำนวนคู่สมรสที่หย่าร้างกันถึง 100,420 คู่ ด้วยกัน 2. ผลการศึกษา แนวทางกฎหมาย บ้านเมือง และกฎหมายพระศาสนจักรโรมัน คาทอลิกในเรื่องการหย่าร้าง พบว่ากฎหมาย บ้านเมือง อนุญาตให้มีการหย่าร้างได้โดยมี ผลถูกต้องตามกฎหมาย และพันธะของคู่สมรส ถื อ ว่ า เป็ น อั น สิ้ น สุ ด ลงทั น ที เ มื่ อ มี ก ารจดทะ เบียนหย่า หรือการสมรสจะสิ้นสุดลงเมื่อศาล ได้พิพากษาให้เพิกถอน และคำพิพากษาถึง ทีส่ ดุ ให้เพิกถอน ก็ถอื ได้วา่ คูส่ มรสนีไ้ ด้หย่าขาด จากกันโดยการฟ้องหย่า หลังจากวันที่มีคำ พิพากษาให้เพิกถอน

ส่ ว นกฎหมายพระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิกในเรื่องการหย่าร้างนั้น ผู้วิจัยพบว่า คำว่า “การหย่าร้าง” ไม่มีทางเป็นไปได้อย่าง เด็ดขาดสำหรับผู้ที่เป็นคริสตชน เมื่อเข้าสู่พิธี แต่ ง งานตามพิ ธี ก รรมเป็ น ที่ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว และยั ง ไม่ มี ก ารประกาศยกเลิ ก ในปั จ จุ บั น ก็ เ ป็ น ที่ ยื น ยั น อย่ า งชั ด เจนว่ า สำหรั บ พระ ศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก ไม่ มี ก ารอนุ ญ าต ให้หย่าร้างได้ 3. ผลการศึกษา ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากปัญหาการหย่าร้างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในปัจจุบัน พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ หย่ า ร้ า งนั้ น ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบทั้ ง ระดั บ บุคคล ระดับครอบครัว และยังส่งผลต่อปัญหา สังคมต่อไปด้วย อีกทั้งสำหรับผู้ที่เป็นคริสตชน นั้น สภาพการหย่าร้างยังก่อให้เกิดผลที่ตามมา เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตทางด้านศาสนาด้วย เพราะว่า การหย่าร้างตามกฎหมายบ้านเมือง “ไม่มีผล” ทำให้การแต่งงานของคาทอลิกนั้น สิ้นสุดพันธะของการแต่งงาน พระศาสนจักร โรมันคาทอลิกยังคงถือว่า การสมรสนี้ยังคงมี พันธะอยู่ ตราบเท่าที่ยังมิได้มีการยกเลิกพันธะ การสมรสตามกฎหมายของพระศาสนจั ก ร โรมันคาทอลิก สำหรับคริสตชนที่หย่าร้างแล้ว แต่งงานใหม่ พระศาสนจักรถือว่า บุคคลนั้นตก อยู่ในสถานะบาป ทำให้ไม่สามารถรับศีล ศักดิ์สิทธิ์ได้ ด้วยสภาพที่ไม่เหมาะสมของตน

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

59


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

แม้แต่การรับศีลอภัยบาป บุคคลนั้นก็ยังกลับ ไปอยู่ในสภาพเช่นเดิม จนกว่าจะเปลี่ยนแปลง รูปแบบการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง 4. ผลการศึกษา คำสอนคริสตจริยศาสตร์ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกใน เรื่องการหย่าร้าง พบว่า คำสอนของพระ ศาสนจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งถือว่าเป็นคำสอน ทางด้านจริยศาสตร์สากลที่ครอบคลุมมนุษยชาติ หรือ เราสามารถเรียกได้ว่า “หลักคำสอน ทางด้านคริสตจริยศาสตร์ของพระศาสนจักร โรมันคาทอลิก” ได้ให้หลักการเรื่องการหย่า ร้างไว้ว่า สำหรับผู้ที่เป็นคริสตชนที่เข้าพิธีแต่ง งานทางศาสนา หรือที่เรียกกันว่า“ศีลแต่งงาน” ซึ่งถือว่าเป็นพันธสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ที่คู่สมรส ทั้งสองได้กระทำต่อกัน และสัญญาว่าจะใช้ ชีวิตคู่กันไปจนตลอดชีวิต ดังนั้น เมื่อเกิดการ หย่าร้างขึ้นตามกฎหมายบ้านเมือง พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกก็ยังถือว่า การหย่าร้าง ทางกฎหมายบ้านเมืองนั้นไม่มีผลต่อผู้ที่เป็น คริสตชน และถ้าหากว่าคู่สมรสคนใดคนหนึ่ง ไปแต่งงานใหม่บุคคลนั้นก็จะตกอยู่ในสถานะ บาปทำให้ไม่สามารถรับศีลศักดิ์สิทธิ์ประการ ใดๆได้เลย แม้แต่การรับศีลอภัยบาปบุคคลนั้น ก็ยังกลับไปอยู่ในสภาพเช่นเดิม จนกว่าจะ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง 5. ผลการศึกษา แนวทางในการ อภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคา-

60

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ทอลิก พบว่า พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ถือว่า เรื่องความรอดของวิญญาณนั้นเป็นเรื่อง ที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น แม้แต่ผู้ที่ได้เดินออกนอกหน ทางที่ถูกต้องพระศาสนจักรก็ไม่ทอดทิ้งพวก เขา แต่ปรารถนาให้พวกเขากลับมาเดินใน หนทางที่ถูกต้องเท่าที่สภาพชีวิตของพวกเขา จะทำได้ พระศาสนจักรจึงได้ให้แนวทางที่ชัด เจนแก่ผู้มีหน้าที่อภิบาล และชุมชนคริสตชน ในการช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องที่หลงทางไปให้ กลั บ มาอยู่ ร่ ว มกั บ ชุ ม ชนของผู้ มี ค วามเชื่ อ ดังเดิม สรุปและอภิปรายผล พระศาสนจั ก รไม่ ย อมรั บ เรื่ อ งของ การหย่าร้าง หลังจากที่ได้เข้าพิธีกรรมทาง ศาสนาอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งพระ ศาสนจักรยังยืนยันว่าการหย่าร้างของผู้ที่เป็น คริสตชนและได้ทำการแต่งงานใหม่ บุคคลนั้น ตกอยู่ในสถานะบาป จึงไม่สามารถรับศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ เนื่องจากสภาพที่ไม่เหมาะสมของ บุคคลนั้น โดยมีแนวทางในการอภิบาลผู้หย่า ร้างในแต่ละกรณี ดังนี้ 1. คู่สมรสที่แยกทางกัน และคู่สมรส ที่หย่าร้างกัน แต่ไม่ได้แต่งงานใหม่ 1) ผู้อภิบาล และชุมชนคริสตชนต้องเข้าใจว่า การสมรสที่ สมบูรณ์อาจถึงจุดที่ต้องแยกทางกันด้วยความ ทรมานใจ และบ่อยครั้งก็แก้ไขไม่ได้ เนื่องจาก


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

เหตุผลนานัปการ เช่น การที่ไม่สามารถเข้าใจ กันได้ การที่ไม่สามารถเปิดใจต่อกันเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ในระดับบุคคลต่อบุคคลได้อย่าง แท้จริงเป็นต้น 2) ผูอ้ ภิบาลและชุมชนคริสตชน ต้องตระหนักว่า การแยกทางกันนั้นเป็นวิธี บำบัดจิตใจขั้นสุดท้าย หลังจากความพยายาม ที่ จ ะแก้ ไ ขสถานการณ์ นี้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ นั้ น ปรากฏว่าไร้ประโยชน์ อีกทั้งบ่อยครั้งความรู้ สึ ก ว้ า เหว่ แ ละความเดือดร้อนอีกหลายประ การ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับคู่สมรสที่แยกทางกัน แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฝ่ายที่ไม่มีความผิด 3) ผู้ อ ภิ บ าลและชุ ม ชนคริ ส ตชนต้ อ งสนั บ สนุนคู่สมรสนี้มากกว่าในกรณีอื่นๆ ต้องให้ เกียรติแก่พวกเขา ร่วมทุกข์สุขกับพวกเขาและ เห็นอกเห็นใจพวกเขารวมทั้งอยู่เคียงข้างพวก เขา เพื่อให้สามารถรักษาความซื่อสัตย์ แม้ใน สภาพยุ่งยากที่เขาประสบอยู่ก็ตาม 4) ผู้อภิบาล และชุมชนคริสตชนยังควรเป็น กำลังใจให้พวกเขามุ่งพัฒนาจิตใจแห่งการให้ อภัยผู้อื่น ซึ่งเป็นคุณงามความดีเฉพาะของ ความรักแบบคริสตชน ตลอดจนให้พวกเขา พร้อมเสมอที่จะกลับไปดำเนินชีวิตสมรสตาม เดิม 5) ส่วนในกรณีของคู่สมรสฝ่ายที่ต้องหย่า ร้างกันโดยจำใจนั้น ก็คล้ายกับกรณีข้างต้นนี้ เพราะพวกเขาก็ ไ ด้ ต ระหนั ก ดี แ ล้ ว ว่ า พั น ธสัญญาของการสมรสที่สมบูรณ์แบบเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถยกเลิกได้ พวกเขาจึงไม่ยอมปล่อย

ตัวหาคู่ชีวิตใหม่ ตรงกันข้ามพวกเขาอุตส่าห์ ปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อครอบครัว และรับผิด ชอบในบทบาทของคริสตชนอย่างดี ดังนั้น ตัวอย่างแห่งความซื่อสัตย์ และความมั่นคง ที่สมกับความเป็นคริสตชนนี้ จึงกลายเป็น ประจั ก ษ์ พ ยานที่ มี คุ ณ ค่ า พิ เ ศษสำหรั บ โลก และสำหรับพระศาสนจักร เพราะฉะนั้นพระ ศาสนจักรจึงต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อพวกเขา ด้วยความรักอย่างมิหยุดหย่อน และอนุญาต ให้พวกเขารับศีลศักดิ์สิทธิ์ได้โดยไม่มีอุปสรรค แต่อย่างใด เพราะพวกเขาไม่ได้ทำตนให้ตก อยู่ในสถานะบาปของการมีความสัมพันธ์กับ บุคคลที่ 3 แต่ประการใด 2. ผู้ที่แต่งงานใหม่หลังการหย่าร้าง 1) ผู้อภิบาลและชุมชนคริสตชน ต้องเข้าใจ ถึ ง สภาพสั ง คมในยุ ค ปั จ จุ บั น ซึ่ ง ผู้ ที่ ห ย่ า ร้ า ง กันแล้ว ก็มักมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมชีวิตกับ คนใหม่แทบทุกราย โดยไม่มีพิธีทางศาสนา คาทอลิกแต่อย่างใด นี่จึงถือว่าเป็นความ หายนะเหมือนกับความหายนะอื่นๆ ซึ่งนับ วั น แต่ จ ะแพร่ ข ยายออกไปอย่ า งกว้ า งขวาง แม้ในกลุ่มคริสตชน เพราะฉะนั้น จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่พระศาสนจักรจะต้องเผชิญหน้ากับ ความยุ่งยากนี้โดยด่วน และด้วยความขยัน ขันแข็ง 2) ผู้อภิบาลและชุมชนคริสตชน ต้อง เข้าใจถึงความปรารถนาของพระศาสนจักร ซึ่ง ได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อมนุษย์ เพื่อจะนำ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

61


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

มนุษย์ทั้งมวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับศีล ล้างบาปไปสู่ความรอดนั้น ก็ไม่สามารถที่จะ ละทิ้งผู้ที่ตั้งใจเข้าสู่การสมรสใหม่ได้ ทั้งๆ ที่เขา เองก็เคยมีพันธะการแต่งงานกับอีกคนหนึ่งใน ศี ล สมรสแล้ ว 3) พระศาสนจักรได้มีความ มานะพยายาม โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยที่จะ แสวงหาวิธีช่วยให้รอดต่างๆ ให้แก่พวกเขา โดยผู้อภิบาลจะต้องทราบว่า ตนเองมีหน้าที่ วินิจฉัยสภาพความเป็นจริงให้ถูกต้อง เพื่อจะ ได้ซื่อสัตย์ต่อความจริง เพราะอันที่จริงแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่ได้ทุ่มเทกำลังทั้งหมด เพื่อที่จะ พิ ทั ก ษ์ รั ก ษาการสมรสครั้ ง แรกด้ ว ยใจจริ ง แต่ถูกทอดทิ้งอย่างไม่เป็นธรรมนั้น มีความ แตกต่ า งจากฝ่ า ยที่ ไ ด้ ท ำลายการสมรสที่ สมบูรณ์ตามกฎหมายพระศาสนจักร เพราะ ความผิดอันมากมายของตน อีกพวกหนึ่งก็คือ ฝ่ายที่ได้เข้าร่วมชีวิตกับคู่ใหม่ เพราะเห็นแก่ ผลทางการอบรมดูแลบุตร และบางครั้งผู้นั้น ก็มีจิตสำนึกที่แน่นอนว่า การสมรสครั้งก่อนที่ ถูกทำลายอย่างแก้ไขมิได้แล้วนั้น ไม่เคยเป็น การสมรสที่สมบูรณ์เลย จากสภาพดังกล่าวนี้ พระศาสนจักรขอเตือนผู้อภิบาลและชุมชน คริ ส ตชนทั้ ง ปวงให้ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ที่ ห ย่ า ร้ า ง กั น แล้ ว แต่ ง งานใหม่ ด้ ว ยความระมั ด ระวั ง และด้วยเมตตาธรรมอันละมุนละไม โดยอย่า ให้พวกเขารู้สึกว่า พวกเขาถูกแยกออกจาก พระศาสนจักร ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาจะต้องมี

62

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ส่ ว นร่ ว มในชี วิ ต ของพระศาสนจั ก รด้ ว ย 4) ผู้อภิบาลและชุมชนคริสตชน จะต้องพยา ยามชั ก ชวนพวกเขาให้ ห มั่ น ฟั ง พระวาจา ของพระเจ้า, ให้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ, ให้หมั่นสวดภาวนา, ให้สนับสนุนกิจเมตตา ต่างๆ และโครงการของชุมชนคริสตชนที่ส่ง เสริมความยุติธรรม, ให้อบรมสั่งสอนบุตรตาม หลักความเชื่อของคริสตชน, ให้ส่งเสริมจิตตารมณ์แห่งการเป็นทุกข์ถึงบาปในใจของตน และให้ทำกิจกรรมใช้โทษบาป เพือ่ จะอ้อนวอน ขอพระหรรษทานของพระเจ้าทุกวันไป อีกทั้ง ขอให้ พ ระศาสนจั ก รสวดภาวนาอุ ทิ ศ ให้ แ ก่ พวกเขา และบำรุงจิตใจของพวกเขา แสดงตัว เป็นมารดาที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อพวก เขา และพยุงพวกเขาให้คงอยู่ในความเชื่อ และ ความหวังอันแน่วแน่ 5) พระศาสนจักรยืนยัน ถึงแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งมีหลักพื้นฐานอยู่บน พระคัมภีร์ที่ว่า พระศาสนจักรจะไม่อนุโลม ให้คริสตชนที่หย่าร้างกัน แล้วแต่งงานใหม่นั้น สามารถที่จะรับศีลมหาสนิทได้ เนื่องจาก สภาพชีวิตของพวกเขาเองเป็นอุปสรรคมิให้ รับศีลมหาสนิทได้ ด้วยเหตุที่ว่า สภาพชีวิตของ พวกเขา และรูปแบบชีวิตของพวกเขาไม่สอด คล้องกับความสัมพันธ์แห่งความรักระหว่าง พระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักร ซึ่งปรากฏ ออกมาในศีลมหาสนิท 6) นอกจากนั้นควร ระวังเรื่องการเป็นที่สะดุด เพราะเหตุผลพิเศษ


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

ในด้านการอภิบาล นั่นก็คือ ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้ รับอนุญาตให้รับศีลมหาสนิทได้แล้ว คริสตชน โดยทั่วไปจะเกิดความเข้าใจผิด และความสับ สนเกี่ยวกับข้อคำสอนของพระศาสนจักรที่ว่า ศีลสมรสนั้นไม่สามารถยกเลิกได้ 7) อีกทั้ง เรื่องการกลับคืนดีกับพระเจ้าโดยผ่านทางศีล อภัยบาป ซึ่งเปิดทางไปรับศีลมหาสนิทนั้น ผู้ที่จะรับได้ก็คือ ผู้ที่เป็นทุกข์ถึงบาป เพราะได้ ฝ่าฝืนสัญลักษณ์แห่งพันธสัญญา และความ ซื่อสัตย์ของพระคริสตเจ้า พวกเขาจึงพร้อมที่ จะดำเนินชีวิตในรูปแบบซึ่งไม่ขัดแย้งกับการ สมรสที่ ย กเลิ ก มิ ไ ด้ นั้ น 8) ส่ ว นในกรณี ที่ ชายและหญิงที่แต่งงานกันใหม่เป็นครั้งที่ 2 หลังสภาพการหย่าร้าง และไม่สามารถแยก ทางกันได้ เพราะมีเหตุผลสำคัญ เช่น มีบุตรที่ จะต้องดูแลรับผิดชอบด้วยกันนั้น ในภาค ปฏิบัติ การเป็นทุกข์ถึงบาปดังกล่าวเรียกร้อง ให้พวกเขารับรองว่า พวกเขาจะดำเนินชีวิต ด้วยการยกเว้นเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเด็ดขาด กล่าวคือ งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ฉันสามี ภรรยา 9) อีกเรื่องที่ต้องควรระวังก็คือการ เคารพต่อศีลสมรสก็ดีต่อคู่สมรสและญาติพี่ น้องของพวกเขาก็ดี และต่อชุมชนคริสตชนก็ดี เรี ย กร้ อ งมิ ใ ห้ ผู้ อ ภิ บ าลจั ด พิ ธี อ ย่ า งใดอย่ า ง หนึ่งในโอกาสที่ผู้หย่าร้างกันแล้ว แต่งงานใหม่ ทั้ ง นี้ ไม่ ว่ า จะอ้ า งถึ ง เหตุ ผ ลหรื อ ข้ อ แก้ ตั ว ประการใดก็ตาม แม้แต่ในแง่ของการอภิบาล

ด้านจิตใจก็ดี ถ้ามีพิธีดังกล่าว ก็จะเป็นการ หลอกให้เข้าใจกันว่า กำลังประกอบพิธีศีล สมรสใหม่โดยสมบูรณ์ และจะเกิดความเข้าใจ ผิดขึ้นเกี่ยวกับลักษณะของการยกเลิกกันมิได้ ของการสมรสที่สมบูรณ์ 10) ผู้อภิบาลและ ชุมชนคริสตชนต้องตระหนัก และเข้าใจให้ ชัดเจนเลยว่า คำแนะนำที่พระศาสนจักรได้ให้ ปฏิบัติเช่นนี้ แม้ว่าจะดูขัดแย้งกับข้อคำสอน เรื่องความรัก และข้อเรียกร้องของพระศาสนจักรที่ให้มีความรัก และความเมตตาต่อผู้ที่อยู่ ในสภาพเช่นนี้ แต่พระศาสนจักรก็จำเป็นยิ่ง กว่าที่จะต้องยืนยันถึงความจงรักภักดีของตน ต่อพระคริสตเจ้าและต่อคำสอนของพระองค์ สำหรั บ แนวทางในการอภิ บ าลผู้ หย่ า ร้ า งในพระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อภิบาล และชุมชนคริสตชน ต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า พระศาสนจักรของเรา ต้องทำตนเป็นมารดาที่มีใจเมตตากรุณาต่อ บุตรของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุตรที่มีข้อ บกพร่องด้วยความอ่อนแอตามประสามนุษย์ ทั้งที่ได้กระทำผิดด้วยตนเอง หรือ ได้รับผล กระทบจากการกระทำผิดของบุคคลอื่นก็ตาม โดยที่ ต นเองไม่ ไ ด้ ก ระทำผิ ด แต่ ป ระการใด อีกทั้ง พระศาสนจักรของเรายังคงมีความเชื่อ เสมอมาว่า แม้แต่คนที่ตีตัวออกห่างจากพระ บัญญัติของ พระคริสตเจ้า และยังคงดำรงชีวิต อยู่ในสภาพนั้น ก็ยังสามารถรับพระหรรษทาน

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

63


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

แห่งการกลับใจ และความรอดจากพระเจ้าได้ เมื่อเขาได้พากเพียรภาวนา เป็นทุกข์ถึงบาป และมีเมตตาประจำใจ ผู้อภิบาลและชุมชน คริสตชน จึงไม่ควรที่จะประณาม และกีดกัน พวกเขาให้ออกห่างจากความรักของพระเจ้า แต่ควรช่วยเหลือโดยการให้พวกเขามีส่วนร่วม ในกิจกรรมของชุมชนคริสตชนของตน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ตลอดการวิจัยที่ผ่านมานี้ ผู้วิจัยเห็น ความจำเป็นบางประการที่พระศาสนจักรใน ประเทศไทย ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ดังนี้ 1. ควรจัดให้มีการให้ความรู้ในเรื่อง ผลกระทบที่ตามมา เมื่อมีการหย่าร้างเกิดขึ้น ในชี วิ ต สมรส เพราะในการอบรมเตรี ย มคู่ แต่งงาน จะมุ่งเพื่อเสริมสร้างความรัก ความ เป็นหนึ่งเดียวกันในชีวิตสมรส โดยไม่ได้พูดถึง สภาพการ หย่าร้าง และผลกระทบที่ตามมา 2. จากการสอบถามพูดคุยกับบรรดา ครูคำสอน ผู้วิจัยพบว่าครูคำสอนไม่ทราบถึง ผลกระทบที่ ต ามมาจากสภาพการหย่ า ร้ า ง ทำให้ไม่ทราบวิธีในการให้คำแนะนำ และดูแล นักเรียนที่บิดามารดาหย่าร้างกันได้ ผู้วิจัยจึง เห็ น ว่ า ควรจั ด ให้ มี ก ารให้ ค วามรู้ ถึ ง สภาพ การหย่าร้างที่เกิดขึ้น และผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการหย่าร้างนี้ แก่บุคลากรต่าง ๆ ในพระ

64

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาครูคาทอลิก เพื่อจะได้สามารถช่วยเหลือนักเรียนของ ตนที่บิดามารดาหย่าร้างกัน 3. ตลอดการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็น ว่า มีข้อมูลเรื่องการหย่าร้างเพิ่มขึ้นมาตลอด เวลา ไม่ว่าจะเป็นบทความที่นำเสนอเกี่ยวกับ สาเหตุการหย่าร้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การหย่าร้าง การอยู่กินด้วยกันโดยไม่แต่งงาน ที่เพิ่มขึ้นของวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งเป็นสัญญาณ ที่บ่งบอกได้ว่า ปัญหาการหย่าร้างยังคงมีอยู่ ในสังคม และมีแนวโน้มที่ยังจะเพิ่มขึ้นตลอด เวลา จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนของสถาบันการศึกษา ที่จะปลูกฝังเรื่องความรัก และความซื่อสัตย์ ให้แก่เยาวชนไทยในปัจจุบัน 4. สำหรับสถาบันแสงธรรม จากการ เรียนในวิชาศีลแต่งงาน หรือกฎหมายที่เกี่ยว ข้องกับชีวิตคริสตชน โดยเฉพาะในเรื่องศีล แต่งงาน ผู้วิจัยเห็นว่า นักศึกษาแสงธรรม ซึ่ ง กำลั ง เตรี ย มตั ว เป็ น ผู้ อ ภิ บ าลในอนาคต ควรให้ความสำคัญ และเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจ ความหมายของศีลแต่งงาน และกระบวน การทางกฎหมายเกี่ยวกับศีลแต่งงานอย่างดี เพราะเราต้องนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ไปใช้ ใ นการอภิ บ าลสั ต บุ รุ ษ ในการปกครอง ของเราอย่างแน่นอน 5. อีกทัง้ สภาพการหย่าร้างในปัจจุบนั และผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการหย่ า ร้ า งนี้


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

กำลังเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของสังคม ไทย นักศึกษาแสงธรรมจึงไม่ควรมองข้าม เพราะเห็ น ว่ า เป็ น เรื่ อ งของชี วิ ต ครอบครั ว ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตน แต่อย่าลืมว่า เรานั่นเอง เป็นผู้ที่จะต้องออกไปอภิบาลครอบครัวคริสตชน หรือแม้แต่ครอบครัวต่างความเชื่อที่อยู่ ในองค์กรที่เราดูแล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เรา จะรั บ รู้ ถึ ง แนวทางในการอภิ บ าลที่ ถู ก ต้ อ ง เพื่อเห็นแก่ความรอดของวิญญาณเป็นสำคัญ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่ง ที่การหาแนวทางในการอภิบาลผู้ที่หย่าร้าง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ผู้วิจัยจึงขอ เสนอให้มีการศึกษาแนวทางในการเตรียมคู่ สมรส และเสริมสร้างความรัก และความซื่อ สัตย์ในชีวิตสมรสมากขึ้น เพื่อให้ชีวิตสมรส นั้นอยู่ยืนยงไปตลอดกาล 2. จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่า ปัญหาการหย่าร้างนั้นยังคงมีอยู่ และมีแนว โน้มว่า จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นการดีที่ จะมี ก ารศึ ก ษาสภาพการหย่ า ร้ า งที่ เ กิ ด ขึ้ น และผลกระทบที่ขยายวงกว้างออกไปอีกมาก มาย รวมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่เกิดตามมาด้วย 3. สุดท้าย การวิจัยในครั้งนี้เป็นเรื่อง ที่ ล ะเอี ย ดอ่ อ นต่ อ ความรู้ สึ ก ของบุ ค คลที่

อยู่ในสภาพการหย่าร้าง หรือได้รับผลกระทบ จากการหย่าร้าง ดังนั้น ผู้ที่สนใจในการศึกษา วิจัยในเรื่องนี้ต่อไป ควรคำนึงถึงเป็นพิเศษ เพื่อ ให้ผู้ที่ประสบกับสภาพเช่นนี้ ยังคงสัมผัสได้ถึง ความรั ก ของพระเจ้ า ที่ ยั ง คงแผ่ เ งาปกคลุ ม พวกเขาเช่นเดียวกันเสมอ บรรณานุกรม คณะกรรมการบริหารอัครสังฆมณฑลกรุง เทพฯ. 2553. ติดตามคู่มือ ศึกษาหลักการ ข้อกำหนด กรณี สำหรับการแต่งงานในแบบ คาทอลิก. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ. เชิดชัย เลิศจิตรเลขา. 2548. คริสตจริย ศาสตร์พื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงเรียนดอนบอสโก. เบญจพร ปัญญายงค์. 2541. ครอบครัว หย่าร้าง. วารสารศูนย์สุขภาพจิต, (2), หน้า 37-42. เบเนดิกต์ ที่ 16. 2550. ศีลมหาสนิท ศีลแห่งความรัก. แปลและเรียบ เรียงโดย สื่อมวลชนคาทอลิก แห่งประเทศไทย แผนกการพิมพ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

65


หลักคริสตจริยศาสตร์ในการอภิบาลผู้หย่าร้างในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก

. 2554. สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 แสงสว่างของโลก พระสันตะปาปาพระศาสนจักร และเครื่องหมายแห่งกาลเวลา. แปลและเรียบเรียงโดย สื่อมวลชน คาทอลิกแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก. 2535. คำสอนพระศาสนจักรโรมัน คาทอลิก ภาค 1 : การประกาศ ยืนยันความเชื่อ. แปลและเรียบเรียง โดย ประคิน ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. . 2535. คำสอนพระศาสนจักร โรมันคาทอลิก ภาค 2 : การเฉลิม ฉลองธรรมล้ำลึกพระศาสนจักร ของพระเยซูเจ้า. แปลและเรียบ เรียงโดย ประคินชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. . 2548. ประมวลคำสอนพระ ศาสนจักรโรมันคาทอลิก. แปลและเรียบเรียงโดย นรินทร์ ศิริวิริยานันท์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จูนพับลิชชิ่ง.

66

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

. 2526. ประมวลกฎหมาย พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก. แปลและเรียบเรียงโดย คณะ กรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พระศาสนจักรภายใต้สภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. รุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. . 2508. เอกสารแห่งสภา สังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2. แปลและเรียบเรียงโดย ผู้หว่าน (นามแฝง). นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม. มนัส จวบสมัย. 2526. สารานุกรม ศาสนาคริสต์คาทอลิก. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม. ยอห์น ปอล ที่ 2. 2531. พระสมณสาส์น เรื่องพระกระแสเรียก และภารกิจ ของคริสตชนฆราวาสในพระศาสน จักรและในโลก. แปลและเรียบ เรียงโดย สภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. . 2524. พระสมณสาส์นเรื่อง ครอบครัวในโลกปัจจุบัน. แปลและเรียบเรียงโดย แบร์นาร์ด กิลแม็ง และคณะ. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม.


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์ และสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช

ยอห์น ตามาโย และคณะสงฆ์อัครสังฆ- มณฑลกรุงเทพฯ เขต 2. 2551. อบรมเตรียมคู่สมรส. กรุงเทพฯ : สตาร์บูมอินเตอร์ พริ้นท์. สุเทพ วนพงศ์ทิพากรม. 2553. สัญญาที่เป็นยิ่งกว่าสัญญา. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม. สมประสงค์ น่วมบุญลือ. 2554. จริยศาสตร์ จริยธรรม จริยศึกษา จรรยาบรรณ. เรื่องเล่า เล่าเรื่อง สังคมศึกษา ฐานช่วยค้น [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://my.opera. com/somprasong/blog/http my-opera-com-somprasong -blog-2009-10-23-ethics. (วันที่ค้นข้อมูล : 23 กันยายน 2554). อุบล ตรีรัตน์วิชชา. 2552. ทัศนคติที่มีต่อ การหย่าร้าง และการปรับตัวทาง สังคมของนิสิตนักศึกษามหาวิท ยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรม ศาสตรศึกษาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Benedict XVI. 2007. The Sacra ment of Charity : Sacramen tum Caritatis. Washington : United States Catholic Con ference. Gerald D. Coleman. 1988. Divorce and Remarriage in the Catholic Church. New York : Paulist Press. John Paul II. 1988. Christifideles Laici. Washington : United States Catholic Conference. . 1981. Familiaris Con sortio. Washington : United States Catholic Conference. Peter M.J. Stravinskas. 1991. Our Sunday’s Catholic Encyclo pedia. Indiana : Our Sunday Visitor Publishing Division. Thedore Mackin. 1982. Divorce and Remarriage. New York : Paulist Press.

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

67


ป ระสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

C

atholic Schools’ Efficiency From Parents’ Perception Via Second Order Factor Analysis.

ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย * อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(การจัดการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี * อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Dr.Wisit Rittiboonchai. * Lecturer in Master of Business Administration(Management) Program, Kanchanaburi Rajabhat University. * Part-time Lecturer of Ramkhamhaeng University, Burapha University, Taksin University, Rangsit University and Yala Rajabhat University. * Son1912@gmail.com


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน คาทอลิ ก ตามทั ศ นะของผู้ ป กครอง ทั้ ง ในภาพรวมและแยกตาม ประเภทของโรงเรียน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันลำดับที่สอง ผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 67 คน แยกเป็ น โรงเรี ย นของอั ค รสั ง ฆมณฑล จำนวน 304 คน โรงเรี ย นของนั ก บวช จำนวน 234 คน และโรงเรี ย น ฆราวาสคาทอลิก จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก จำนวน 12 ข้อ แยกตามประสิทธิผลในสามปัจจัยคือ ด้านนักเรียน ด้านการยอมรับ ของชุมชน และด้านการยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ในส่วนสถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนสถิติอ้างอิง ใช้การวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง และตัวแบบเชิงเปรียบเทียบในโรงเรียน ทั้งสามประเภท ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมประสิทธิผลของโรงเรียน คาทอลิกตามทัศนะของผู้ปกครอง จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านนักเรียน ( y1=0.95) และด้านการยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ( y3=0.95) โดยประเด็นที่ได้รับค่าการประเมินสูงสุดได้แก่เรื่อง การจัดการศึกษา สามารถสร้ า งความภาคภู มิ ใจให้ กั บ ทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ โรงเรี ย น ( y34=0.86) และโรงเรียนประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา แบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข ( y11=0.85) ตามลำดับ เมื่อ วิเคราะห์แยกในโรงเรียนทั้งสามประเภท พบว่า โรงเรียนในแต่ละ ประเภทจะได้รับการประเมินประสิทธิผลจากผู้ปกครองในน้ำหนัก ปัจจัยที่แตกต่างกัน คำสำคัญ :

1) ประสิทธิผล 2) โรงเรียนคาทอลิกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

69


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

70

Abstract

This research aims to study the Catholic schools’ efficiency from parents’ perception both in holistic view and in school category via Second Order Factor Analysis. The informants comprise 671 students’ parents: 304 from the Archdiocese’s schools, 234 from Catholic priest’s schools., and 137 from Catholic laity’s schools. 12 item questionnaire on three efficient factors: students, communities’ acceptance, and beneficiaries’ acceptance was used in evaluating the Catholic schools’ efficiency. The descriptive statistics utilized in the study were Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation while those reference statistics were Second Order Factor Analysis and Comparative Models in all three school categories. It is revealed that, holistically, the Catholic schools’ efficiency from parents’ perception depends on student factor ( y1=0.95) and beneficiaries’ acceptance factor ( y3=0.95) The topic evaluated at the highest level is education management which can promote proud for all related parties of the schools ( y34=0.86) and the schools succeed in carrying out moral education following by knowledge along with happiness ( y11=0.85) respectively. When analyzing each school category, it is found that each school category is evaluated by the parents with different factor weight.

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

Keywords : 1) Effectiveness 2) Catholic School in Bangkok Archdiocese 3) The Second Orders Factor Analysis ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โรงเรี ย นคาทอลิ ก นั้ น ถื อ ได้ ว่ า เป็ น โรงเรียนเอกชนรายแรกๆ ที่อยู่คู่กับการศึกษา ไทย โดยสามารถย้ อ นกลั บ ไปถึ ง สมั ย กรุ ง ศรีอยุธยา (Luigi Bressan, 2000 อ้างใน ประทีป โกมลมาศ, 2544 และ De la Motte, 1666 อ้างใน วิวัฒน์ แพร่สิริ, 254, หน้า 146) หากจะนับเวลาจวบจนปัจจุบันแล้ว พบว่าการบริหารการศึกษาคาทอลิกนั้นมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 300 ปี สามารถกล่าวได้ว่าการจัด การศึกษาที่ดำเนินการโดยคาทอลิกนั้น มี ความก้ า วหน้ า และเป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ใ ห้ กั บ โรงเรียนเอกชนรายอื่น ๆ รวมถึงได้มีส่วนช่วย ในการพัฒนาประเทศ และทำคุณประโยชน์ให้ แก่สังคมไทยเป็นอันมาก หลักฐานที่สำคัญพบได้จากประเด็น ของการวัดคุณภาพของโรงเรียน มีหลักฐานที่ แสดงให้เห็นว่าคุณภาพของโรงเรียนคาทอลิก สร้างความพึงพอใจและความไว้วางใจจากผู้ ปกครองมายาวนาน จุดแข็งและความสำเร็จ ของโรงเรี ย นคาทอลิ ก นั้ น อยู่ ที่ ก ารศึ ก ษา คาทอลิกใช้การบูรณาการระหว่างการศึกษา กับศาสนา (รุ่ง แก้วแดง, 2544, หน้า 61)

โรงเรี ย นคาทอลิ ก มุ่ ง พั ฒ นาคนทุ ก ด้ า นให้ บรรลุ ค วามสำเร็ จ ในพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ ผู้ เ ป็ น มนุษย์ที่ดีพร้อม (สมณกระทรวงเพื่อการศึกษา คาทอลิก, 2532 , หน้า 12) อีกทั้งปรัชญาการ ศึกษาคาทอลิกมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งได้กำหนดให้การ ศึกษาเป็นแก่นของศักยภาพของมนุษย์ในการ เรียนรู้เป็นกิจกรรมการศึกษา และวิทยาความ รู้ เป็นเครื่องมือในการรักษาชีวิต ถ่ายทอด และพั ฒ นาศั ก ยภาพชี วิ ต ให้ เจริ ญ ก้ า วหน้ า ครบทุกด้าน ให้สามารถบรรลุถึงความดีงาม ครบครันของมนุษย์ตามหลักพระคริสตธรรม (วิวัฒน์ แพร่สิริ, 2542, หน้า 13) นอกจากนี้โรงเรียนคาทอลิกเน้นความ สำคัญกับผู้เรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของแต่ ละบุคคลให้เป็นคนดีและเก่งของสังคมบนพื้น ฐานของคุณธรรม จริยธรรมทางศาสนา ภารกิจ หลักของโรงเรียนคาทอลิก คือ การอุทิศตนเพื่อ พัฒนาการเรียนทุกมิติตามหลักการของคริสต์ ศาสนา เพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนาความ สามารถในการคิด การตัดสินใจด้วยตนเอง แสวงหาประเพณี ข องศาสนาของตนอย่ า ง

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

71


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

จริงจัง และเป็นผู้สร้างความยุติธรรมในสังคม (วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์, ม.ป.ป., หน้า 1-2) แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ เกิดสภาวการณ์ แข่งขันทั้งจากภาคธุรกิจและภาคการศึกษา ทำให้บริบทต่างๆ เริ่มมีการปรับตัว แนวคิด ในเรื่องประสิทธิผล (Effectiveness) ได้ถูก นำมาใช้ อ ย่ า งกว้ า งขวางกั บ องค์ ก ารต่ า งๆ มากยิ่งขึ้น คำว่าประสิทธิผลนั้น มีผู้ให้คำนิยาม ไว้ ห ลากหลายและได้ ใ ห้ ค วามหมายของคำ ว่าประสิทธิผลคล้ายกันว่า หมายถึง ความ สามารถในการดำเนินการให้เกิดผลตามเป้า หมายที่ตั้งไว้ สำหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2542, หน้า 504) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของคำว่ า ประสิ ท ธิ ผ ล หมายถึ ง ผลสำเร็ จ หรื อ ผลที่ เ กิ ด ขึ้ น ภรณี กีร์ติบุตร (2529, หน้า97) ได้ขยายความเพิ่ม เติมว่า หมายถึง ตัวการที่เป็นเครื่องตัดสินใจ ขั้นสุดท้ายของการบริหารงานหรือการจัดการ ว่าประสบผลสำเร็จเพียงใด ดังนั้นประสิทธิผล จึงมีความสัมพันธ์กับผลงานที่องค์การพึงประ สงค์ หมายถึงความสำเร็จของการปฏิบัติที่เป็น ไปหรือบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ขององค์การ ประสิทธิผลจึงหมายถึง ผลที่เกิดขึ้น ของงานนั้นจะต้องสนองตอบ หรือบรรลุตาม วัตถุประสงค์ขององค์การ (รุ่ง แก้วแดง และ

72

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ชัยณรงค์ สุวรรณสาร, 2536, หน้า107) หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ประสิทธิผล หมายถึง การทำกิจกรรมการดำเนินงานขององค์การ สามารถสร้างผลงานได้สอดรับกับเป้าหมาย /วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ก ำหนดไว้ ล่ ว งหน้ า ทั้ ง ใน ส่วนของผลผลิต และผลลัพธ์ เป็นกระบวน การเปรี ย บเที ย บผลงานจริ ง กั บ เป้ า หมายที่ กำหนดไว้ ก่อให้เกิด ผลผลิต ผลลัพธ์ ที่ตรงตาม ความคาดหวัง ที่กำหนดล่วงหน้าไว้มากน้อย เพียงใด การมีประสิทธิผลจึงมีความเกี่ยวข้อง กับผลผลิตและผลลัพธ์ของการดำเนินงาน เป็น กระบวนการที่ ใช้ วั ด ผลงานทางการจั ด การ (สุพจน์ ทรายแก้ว, 2545, หน้า 18) ในมิติประสิทธิผลทางการศึกษา จะ พบได้ ว่ า งานวิ จั ย ส่ ว นใหญ่ จ ะมุ่ ง เน้ น ไปที่ ความพึงพอใจของครู และผลสัมฤทธิ์ของเด็ก นักเรียน (ภารดี อนันต์นาวี, 2546) แต่จาก ความคิ ด เรื่ อ งคุ ณ ภาพและประสิ ท ธิ ผ ลของ สถานศึกษา ที่ได้จากการระดมความคิดของ บรรดานั ก วิ จั ย ทางการศึ ก ษา ผู้ เชี่ ย วชาญ การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครู ได้ข้อสรุปว่า สำหรับประสิทธิผลของสถาน ศึกษาแล้ว ต้องพิจารณาใน 3 ด้าน อันได้แก่ การวัดผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ การวัดผล สัมฤทธิ์ที่ไม่ใช่วิชาการ (ชื่อเสียง) และการ วัดความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

และชุมชน (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) (สำเริง บุญเรืองรัตน์, 2543, หน้า 62) สาเหตุทั้งหลายดังกล่าวจึงเป็นที่มา ทำให้ ผู้ วิ จั ย เกิ ด ความสนใจที่ จ ะศึ ก ษาประ สิ ท ธิ ผ ลของโรงเรี ย นคาทอลิ ก ในอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามทัศนะของผู้ปกครองขึ้น ทั้ ง นี้ เ พราะผู้ ป กครอง ถื อ ได้ ว่ า เป็ น ผู้ มี ส่ ว น เกี่ ย วข้ อ งที่ ส ำคั ญ เพราะนำบุ ต รหลานเข้ า มาเรียนในโรงเรียน เป็นผูเ้ ริม่ ต้น นำทรัพยากร มนุ ษ ย์ อั น มี ค่ า มาให้ โรงเรี ย นคาทอลิ ก ได้ ขั ด เกลา อีกทั้งในนโยบายการศึกษาคาทอลิกใน ประเทศไทย ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้ บริหารสถาบันการศึกษาคาทอลิก ไว้ว่า ต้อง ร่ ว มมื อ อย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ บิ ด ามารดาในการ อบรม การอบรมที่ดีย่อมไม่สามารถเกิดขึ้น ได้ หากไม่ได้รับการยอมรับที่ดีเป็นจุดเริ่มต้น และการยอมรับที่ดี จะช่วยให้การอบรมเด็กมี ความสมบูรณ์ เพราะมีการส่งไม้ต่อกันระหว่าง บ้านและโรงเรียน โดยเทคนิคที่ผู้วิจัยใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ลำดับที่สอง โดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL เนื่องจากโปรแกรมดังกล่าวมีความ เหมาะสมในการทดสอบแบบจำลองสมการที่ แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบเส้นตรง ของตัวแปรสังเกตได้ (Observed Variables)

และตัวแปรแฝง (Latent Variables) หลายตัว พร้ อ มกั น ในครั้ ง เดี ย ว ซึ่ ง จะผ่ อ นคลาย ข้อตกลงเบื้องต้นที่เกิดจากการวิเคราะห์องค์ ประกอบ (Factor Analysis) ที่ว่า การวัดต้อง ปราศจากความคาดเคลื่อน (หรือเครื่องมือต้อง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 1) ซึ่งไม่เป็นไปตาม ธรรมชาติของการวัด (สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ 2552, หน้า 1-2) ในขณะที่ ค นในชาติ ฝ ากความหวั ง ไว้กับการศึกษา เยาวชนของชาติควรได้รับ หลั ก ประกั น ว่ า จะได้ รั บ การศึ ก ษาและการ ปลูกฝังอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในอนาคตต่อไป ผู้วิจัยหวังว่างานวิจัยชิ้นนี้คง จะเป็ น ประโยชน์ ใ นการค้ น พบมิ ติ ข องการ ประเมินประสิทธิผลจากสายตาของผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่สำคัญ ทำให้ทราบถึงจุดแข็งและ จุดอ่อน เพื่อนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ การศึกษาคาทอลิกที่อยู่คู่กับสังคมไทย ได้พบ ตัวชีว้ ดั บางประการในการทำงาน และสามารถ นำผลไปต่อยอดเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดรับกับปรัชญาการศึกษาคาทอลิกในประ เทศไทย ที่เน้นให้บุคคลสามารถบรรลุถึงความ ดี ง ามของมนุ ษ ย์ ต ามหลั ก พระคริ ส ตธรรม และอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งเป็ น สุ ข ในสั ง คม ด้ ว ย ความรั ก รั บ ผิ ด ชอบต่ อ ตนเองและสั ง คม

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

73


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

เคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคล รักและภูมิใจ ในวัฒนธรรมของตน (วิวัฒน์ แพร่สิริ, 2543, หน้า 12-14) และสอดรับกับ เอกลักษณ์ความ เป็นครอบครัวของโรงเรียนคาทอลิก ที่เสนอว่า วิ สั ย ทั ศ น์ ที่ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น ในโรงเรี ย น นโยบายและเป้ า หมายของโรงเรี ย นชั ด เจน และเป็นที่ยอมรับของทุกคน (มิเกล กาไรซาบาล 2544, หน้า 24-25) ความปรารถนาสูงสุดก็คือ โรงเรียน คาทอลิ ก จะได้ พั ฒ นาคนที่ มี คุ ณ ภาพไว้ ใ น แผ่ น ดิ น เป็ น คนคุ ณ ภาพที่ มี ค วามสามารถ ในการแข่งขันกับสังคมโลก ในเมื่อสังคมไทย จะต้ อ งปรั บ ตั ว เองให้ เ ป็ น สั ง คมแห่ ง การ เรียนรู้ สร้างปัญญาขึ้นให้กว้าง ให้รอบ รู้เรารู้เขาให้มากขึ้น คนไทยรุ่นใหม่จะต้อง เรียนรู้การหาความพอดีระหว่างความร่วมมือ และการแข่งขัน จะต้องเป็นทั้งพลเมืองไทย และพลเมืองโลกได้ (สิปปนนท์ เกตุทัต, 2541, หน้า1) พลเมืองไทยในยุคต่อไปต้องมีความ สามารถที่จะเป็นตัวแปรอิสระมากกว่าตัวแปร ตามในกระแสโลกาภิวัตน์และอยู่ในกระแส แห่งความเป็นพลวัตได้อย่างเต็มภาคภูมิ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน คาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง ทั้งใน

74

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ภาพรวม และแยกย่ อ ย ตามประเภทของ โรงเรียน โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง ขอบเขตการวิจัย การเก็บข้อมูลจาก ผู้ปกครองในแต่ละ โรงเรียน ผู้วิจัยได้ขอความร่วมมือจากทาง โรงเรียนที่อนุญาตให้เข้าไปเก็บข้อมูล ประ กอบด้วย โรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำนวน 28 แห่ง โรงเรียนของกลุ่ม นักบวช จำนวน 20 แห่ง และโรงเรียนกลุ่ม ฆราวาส จำนวน 13 แห่ง นิยามศัพท์เฉพาะ ประสิ ท ธิ ผ ลของโรงเรี ย นคาทอลิ ก หมายถึง การประเมินผลงานที่พึงประสงค์ เป็ น ความสำเร็ จ ตามทั ศ นะของผู้ ป กครอง โดยพั ฒ นาจากแนวความคิ ด เรื่ อ งคุ ณ ภาพ และประสิทธิผลของสถานศึกษา (สำเริง บุญเรืองรัตน์, 2543) โดยกำหนดตัวชี้วัด ประสิทธิผลใหม่ ดังนี้ ประสิทธิผล ด้านนักเรียน (พัฒนามาจาก การวัดผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ) ประสิทธิผลด้านการยอมรับของชุมชน (พัฒนา มาจากการวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ที่ ไ ม่ ใ ช่ วิ ช าการ และชื่อเสียง) และประสิทธิผลด้านการยอมรับ ของผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง(พั ฒ นามาจากการวั ด


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน และ ชุมชน) โรงเรียนคาทอลิก หมายถึง โรงเรียน ศึ ก ษาเอกชน ที่ มี ก ารบริ ห ารจั ด การโดย ศาสนิ ก ชน นิ ก ายโรมั น คาทอลิ ก ในอั ค รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา เอกชน กระทรวงศึกษาธิการ แบ่งรูปแบบการ บริหารได้เป็น 3 แบบคือ แบบอัครสังฆมณฑล นักบวช และฆราวาส การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ลำดับที่สอง หมายถึง เทคนิคการวิเคราะห์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบย่อยที่อยู่ภายใต้องค์ ประกอบใหญ่ สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ศึกษา องค์ประกอบย่อยจำนวน 12 ข้อ ภายใต้ องค์ประกอบ 3 ปัจจัย วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการประ เมินความตรงจากผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา จำนวน 7 ท่าน และผ่านการทดสอบด้านความ เที่ยงกับโรงเรียนคาทอลิกที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาเก็บข้อมูล โดยข้อคำถามเป็นลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 10 ระดับ ในส่วนสถิติสรุปอ้างอิง เนื่องจากใช้ เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ลำดับที่สอง ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบความ เหมาะสมของข้อมูลเบื้องต้น โดยผู้วิจัยหาค่า สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Coefficient Correlation) ระหว่างกลุ่มตัวแปรแฝง การหาเมตริ ก ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งตั ว แปร แฝงแต่ ล ะคู่ ก็ เ พื่ อ หลี ก เลี่ ย งปั ญ หาความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สูงจนเกิด ปัญหาการ ร่วมเส้นตรงพหุ (Multicollinearity) หากมี ตัวแปรแฝงคู่ใดที่มีความสัมพันธ์กันเกิน 0.80 พิจารณาประกอบกับการทดสอบค่าความทน ทาน (Tolerance) และค่า VIF (Variance Inflation Factors) ของตัวแปรแฝงแต่ละตัว เพราะปัญหาการร่วมเส้นตรงพหุจะไม่เกิดขึ้น ถ้าค่าความทนทานมากกว่า 0.1 (Hair et al, 1995, p.127) และค่า VIF ไม่เกิน 10 (Belsley, 1991) ซึ่งหากมีตัวแปรใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่ง ก็จำเป็นต้องตัดตัวแปรแฝงดัง กล่าวออก ผลการวิเคราะห์สามารถนำเสนอ ในตารางที่ 1 สรุปได้ว่าสามารถนำตัวแปรดัง กล่าวมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันได้

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

75


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

ตารางที่ 1. แสดงผลการทดสอบค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรแฝง effi02 effi03 effi04 effi05 effi06 effi07 effi08 effi09 effi01 0.77 0.72 0.71 0.65 0.68 0.51 0.61 0.72 effi02 0.79 0.71 0.60 0.64 0.50 0.55 0.66 effi03 0.70 0.64 0.65 0.50 0.51 0.65 effi04 0.66 0.66 0.48 0.58 0.66 effi05 0.76 0.56 0.59 0.63 effi06 0.57 0.62 0.65 effi07 0.56 0.56 effi08 0.72 effi09 effi10 effi11 effi12

ผลการวิจัย ประกอบไปด้ ว ยสองส่ ว น ได้ แ ก่ การนำเสนอสถิติพรรณนา ด้วยค่าจำนวนและ ร้อยละของส่วนคุณลักษณะของผู้ตอบแบบ สอบถามในตารางที่ 2 และการนำเสนอค่าเฉลีย่ (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)

effi10 effi11 effi12 Tolerance 0.40 0.71 0.72 0.28 0.36 0.65 0.66 0.27 0.36 0.60 0.63 0.30 0.42 0.66 0.69 0.34 0.37 0.60 0.61 0.35 0.36 0.64 0.66 0.32 0.39 0.50 0.52 0.56 0.45 0.63 0.64 0.40 0.42 0.75 0.76 0.27 0.45 0.47 0.72 0.79 0.30 0.28

VIF 3.60 3.68 3.35 2.91 2.85 3.17 1.78 2.50 3.66 1.39 3.36 3.63

และส่ ว นของประสิ ท ธิ ผ ลตามทั ศ นะของผู้ ปกครอง ในตารางที่ 3 และนำเสนอผลการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง ของโรงเรียนคาทอลิกในภาพรวม และแยก ย่อยตามประเภทโรงเรียนตามภาพที่ 1-4

ตารางที่ 2. แสดงค่าร้อยละของคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม ตัวแปร เพศ ชาย หญิง ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

76

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ผู้ปกครอง(n=671) จำนวน ร้อยละ 186 27.69 485 72.31 227 33.89 399 59.46 41 6.05 4 0.60


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

ตารางที่ 2. (ต่อ) ผู้ปกครอง(n=671) ตัวแปร จำนวน ร้อยละ เขต 1 284 42.32 2 111 16.54 3 115 17.14 4 69 10.28 5 43 6.41 6 49 7.31 อายุผู้ตอบ 20-29 ปี 49 7.31 30-39 ปี 34 5.07 40-49 ปี 227 33.83 50-59 ปี 354 52.76 60-69 ปี 53 7.90 จำนวนบุตรของท่าน 1 คน 216 32.19 2 คน 310 46.20 3 คน 111 16.54 ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป 34 5.07 จำนวนบุตรที่เข้าเรียน 1 คน 315 46.94 ในโรงเรียนคาทอลิก 2 คน 252 37.56 3 คน 82 12.22 ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป 22 3.28 รูปแบบ อัครสังฆมณฑล 304 45.31 นักบวช 234 34.87 ฆราวาส 133 19.82

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

77


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

คุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.31) มีการ ศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 59.46) ส่วน ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 86.00) สำหรับ ผู้ปกครองที่เคยเป็นศิษย์เก่าในโรงเรียนคาทอลิกมีเพียงร้อยละ 20.70 มีอายุอยู่ระหว่าง 40-49 ปี (ร้อยละ 52.76) จากการสอบถาม

จำนวนบุ ต รหลานในครอบครั ว พบว่ า ส่ ว น ใหญ่มี 2 คน (ร้อยละ 46.20) และนำเข้าม าเรี ย นในโรงเรี ย นคาทอลิ ก จำนวน 1 คน (ร้อยละ 46.94) ผลการศึกษาแยกกลุ่มเป็น โรงเรียนอัครสังฆมณฑล โรงเรียนของนักบวช และโรงเรียนฆราวาสตามลำดับดังนี้

ตารางที่ 3. แสดงการประเมินประสิทธิผลโรงเรียนคาทอลิกตามทัศนะของผู้ปกครอง สังฆมณฑล นักบวช ฆราวาส n 304 234 133 ประสิทธิผลด้านนักเรียน 1. โรงเรียนประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา Mean 7.59 7.79 7.46 แบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข SD. 1.63 1.57 1.52 2. นักเรียนทุกคนมีความสุขเมื่อมาโรงเรียนเสมอ Mean 7.63 7.82 7.88 SD. 1.63 1.57 1.45 3. นักเรียนทุกคนมีความรัก ความผูกพันและภูมิใจ Mean 7.87 8.16 7.96 ในสถานศึกษาที่เรียน SD. 1.58 1.45 1.41 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับ Mean 7.47 7.90 7.69 ที่น่าพึงพอใจ SD. 1.68 1.50 1.34 5. ศิษย์เก่าที่จบออกไปสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน Mean 7.36 7.93 7.70 SD. 1.78 1.60 1.65 ประสิทธิผลด้านการยอมรับของชุมชน 6. โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชุมชน Mean 7.86 8.40 8.15 SD. 1.60 1.46 1.42 7. คนในชุมชนส่วนใหญ่เคยเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน Mean 7.46 7.34 6.81 SD. 1.87 1.66 1.85 8. มีโรงเรียนหรือสถาบันทางการศึกษาเข้ามาขอชม Mean 6.98 7.45 6.99 กิจการโรงเรียน SD. 1.80 1.71 1.92

78

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

รวม 671 7.61 1.59 7.74 1.58 7.99 1.51 7.66 1.56 7.63 1.71 8.11 1.53 7.29 1.81 7.14 1.80


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

ตารางที่ 3. (ต่อ) สังฆมณฑล นักบวช ฆราวาส n 304 234 133 ประสิทธิผลด้านการยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 9. ผลการบริหารสามารถสร้างความพึงพอใจ Mean 7.36 7.52 7.24 ให้กับครู SD. 1.72 1.53 1.89 10. อัตราการลาออกของครูในแต่ละปีมีแนวโน้ม Mean 6.53 6.62 6.46 ลดลง SD. 2.26 2.16 2.00 11. ผลการบริหารสามารถสร้างความพึงพอใจ Mean 7.39 7.59 7.50 ให้กับผู้ปกครอง SD. 1.79 1.67 1.69 12. การจัดการศึกษาสามารถสร้างความภาคภูมิใจ Mean 7.50 7.76 7.54 ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน SD. 1.61 1.55 1.67

ผลการศึ ก ษาประสิ ท ธิ ผ ลโรงเรี ย น คาทอลิกตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยแยก ตัวแปรให้อิสระออกจากกัน พบว่าในภาพรวม โรงเรียนคาทอลิกจะได้รับการประเมินในเรื่อง โรงเรี ย นมี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ที่ ย อมรั บ ของชุ ม ชน (Mean = 8.11) ส่วนข้อที่ได้รับการประเมิน ต่ำสุดได้แก่ อัตราการลาออกของครูในแต่ละ ปีมีแนวโน้มลดลง (Mean = 6.55) ผลดัง กล่าวมีความสอดคล้องกันกับโรงเรียนคาทอลิกที่บริหารโดยนักบวช และฆราวาส แต่จะ แตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับโรงเรียนอัครสังฆมณฑล และเมื่อนำตัวแปรทั้ง 12 ข้อ มาเทียบ คะแนนกั น ระหว่ า งโรงเรี ย นทั้ ง สามประ เภท จะพบว่า โรงเรียนคณะนักบวชจะได้รับ การประเมินในคะแนนที่สูงจำนวน 10 ข้อ

รวม 671 7.40 1.69 6.55 2.17 7.48 1.73 7.60 1.60

ส่วนโรงเรียนอัครสังฆมณฑลจะได้คะแนนสูง เพียงข้อเดียวคือ คนในชุมชนส่วนใหญ่เคยเป็น ศิษย์เก่าของโรงเรียน ส่วนโรงเรียนฆราวาส จะได้คะแนนสูงในเรื่อง นักเรียนทุกคนมีความ สุขเมื่อมาโรงเรียนเสมอ ในลำดั บ ถั ด ไปจะทำการวิ เ คราะห์ โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิ ง ยื น ยั น ลำดั บ ที่ ส อง ซึ่ ง จะแยกวิ เ คราะห์ ปัจจัยย่อย ซึ่งเป็นตัวแปรสังเกตได้ (Observed Variables) ออกจากปัจจัยหลัก ซึ่งถือเป็นตัวแปรแฝง (Latent Variables) โดยผู้วิจัยกำหนดชื่อตัวแปรไว้ดังต่อไปนี้

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

79


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

0.8

5 0.9 Catholic

0.93

0.9 5

EFFCOM

EFFSTK

0.78 0.6 0.7 3 7

0.84 0.4 2

0.26

Eff02

0.36

Eff03

0.38

7 5 0.9

Archdiocese

0.97 0.9

EFFCOM

7

0.81 0.6 0.8 9 0

Eff04

0.36

Eff05

0.46

Eff06

0.39

0.84 0.4 8

Eff07

0.60

5 0.8 0.86

Eff08

0.40

Eff09

0.30

Eff10

0.83

Eff11

0.29

Eff12

0.26

Chi-Square=75.39, df=34, P-value=0.00006, RMSEA=0.043

ภาพที่ 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิกในภาพรวม

ประสิ ท ธิ ผ ลของโรงเรี ย นคาทอลิ ก ตามทั ศ นะของผู้ ป กครองในภาพรวม จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านนักเรียน ( y1= 0.95) และด้ า นการยอมรั บ ของผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง ( y3=0.95) โดยประเด็นที่ได้รับค่าการ ประเมินสูงสุดได้แก่เรื่อง การจัดการศึกษา 80

EFFSTU

5 0.8 0.79 0.82 0.80

8 0.8 0.85

EFFSTU

0 0.8 0.79 0.80 0.73

Eff01

สามารถสร้ า งความภาคภู มิ ใจให้ กั บ ทุ ก ฝ่ า ย ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ( y34=0.86) ส่วน ลำดับถัดมาได้แก่ โรงเรียนประสบความสำเร็จ ในการจัดการศึกษาแบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข ( y11=0.85) และผลการบริหาร สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปกครอง ( y33=0.85) 0.8

โรงเรียนคาทอลิก โรงเรียนอัครสังฆมณฑล โรงเรียนคณะนักบวช โรงเรียนฆราวาส ประสิทธิผลด้านนักเรียน ประสิทธิผลด้านการยอมรับ ของชุมชน ประสิทธิผลด้านการยอมรับ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5

Catholic Archdiocese Priest Laity EffStu EffCom EffStk

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

EFFSTK

Eff01

0.24

Eff02

0.28

Eff03

0.38

Eff04

0.32

Eff05

0.36

Eff06

0.34

Eff07

0.52

Eff08

0.36

Eff09

0.29

Eff10

0.77

Eff11

0.22

Eff12

0.28

Chi-Square=58.07, df=40, P-value=0.03218, RMSEA=0.039

ภาพที่ 2. ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิกอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ประสิ ท ธิ ผ ลของโรงเรี ย นคาทอลิ ก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามทัศนะของผู้ ปกครอง จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการยอมรับ ของชุมชน ( y2=0.97) และด้านการยอม รับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ( y3=0.97) โดย ประเด็ น ที่ ไ ด้ รั บ ค่ า การประเมิ น สู ง สุ ด ได้ แ ก่ เรื่อง ผลการบริหารสามารถสร้างความพึง พอใจให้กับผู้ปกครอง ( y33=0.88) ส่วน


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

0.8

EFFSTU 9 0.9

Laity

0.86 0.8

EFFCOM

8

EFFSTK

1 0.8 0.76 0.83 0.51

0.78 0.5 0.6 2 9

0.80 0.3 8

5 0.8 3 0.7 0.78 EFFSTU 0.9

7

0.74 0.73

Eff01

0.27

Eff02

0.47

Eff03

0.39

Eff04

0.45

Eff05

0.47

Eff06

0.54

Eff07

0.63

Eff08

0.52

Eff09

0.24

Eff10

0.89

8 0.8 0.89

Eff01

0.22

Eff02

0.35

Eff03

0.42

Eff04

0.31

Eff05

0.73

0.87 0.3 3

Eff06

0.40

8 0.7 0.84

9

ลำดับถัดมาได้แก่ โรงเรียนประสบความสำเร็จ ในการจัดการศึกษาแบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข ( y11=0.87)

Eff07

0.73

Eff11

0.39

Eff08

0.52

Eff12

0.29

Eff09

0.36

Eff10

0.86

Eff11

0.23

Eff12

0.21

Priest

1.00 0.9

EFFCOM

7

EFFSTK

0.68 0.6 0.6 1 9

Chi-Square=54.18, df=38, P-value=0.04298, RMSEA=0.043

ภาพที่ 4. ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิกที่บริหาร โดยคณะนักบวช

Chi-Square=39.75, df=41, P-value=0.52635, RMSEA=0.000

ภาพที่ 3. ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิกที่บริหาร โดยฆราวาส

ประสิ ท ธิ ผ ลของโรงเรี ย นคาทอลิ ก ที่ บ ริ ห ารโดยฆราวาสตามทั ศ นะของผู้ ป กครอง จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านนักเรียน ( y1=0.99) โดยประเด็นที่ได้รับค่าการประเมินสูงสุดได้ แก่เรื่อง โรงเรียนประสบความสำเร็จในการ จัดการศึกษาแบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความ สุข( y11=0.89) และการจัดการศึกษา สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ( y34=0.89) ส่วน ลำดับถัดมาได้แก่ ผลการบริหารสามารถสร้าง ความพึงพอใจให้กับผู้ปกครอง ( y33= 0.88)

ประสิ ท ธิ ผ ลของโรงเรี ย นคาทอลิ ก ที่บริหารโดยคณะนักบวช ตามทัศนะของ ผู้ปกครอง จะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการยอมรับ ของชุมชน ( y2=1.00) โดยประเด็นที่ได้ รั บ ค่ า การประเมิ น สู ง สุ ด ได้ แ ก่ เรื่ อ ง ผลการ บริหารสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับครู ( y31=0.87) ส่วนลำดับถัดมาได้แก่ โรงเรียน ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบบ คุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข ( y11= 0.85) ผลจากการศึกษาประสิทธิผลของโรง เรียนคาทอลิกจะพบว่ามีความแตกต่างกันใน บางองค์ประกอบ

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

81


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

ตารางที่ 4. สรุปผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง ตัวแปรแฝง สังฆมณฑล นักบวช ฆราวาส คาทอลิก ตัวแปรสังเกตได้ y y y y 1. ประสิทธิผลด้านนักเรียน 0.95 0.97 0.99 0.95 1. โรงเรียนประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา แบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข 0.87 0.85 0.89 0.85 2. นักเรียนทุกคนมีความสุขเมื่อมาโรงเรียนเสมอ 0.85 0.73 0.81 0.80 3. นักเรียนทุกคนมีความรัก ความผูกพันและภูมิใจ ในสถานศึกษาที่เรียน 0.79 0.78 0.76 0.79 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับ ที่น่าพึงพอใจ 0.82 0.74 0.83 0.80 5. ศิษย์เก่าที่จบออกไปสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน 0.80 0.73 0.51 0.73 2. ประสิทธิผลด้านการยอมรับของชุมชน 0.97 1.00 0.86 0.93 1. โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชุมชน 0.81 0.68 0.78 0.78 2. คนในชุมชนส่วนใหญ่เคยเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน 0.69 0.61 0.52 0.63 3. มีโรงเรียนหรือสถาบันทางการศึกษาเข้ามาขอชม กิจการโรงเรียน 0.80 0.69 0.69 0.77 3. ประสิทธิผลด้านการยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 0.97 0.97 0.88 0.95 1. ผลการบริหารสามารถสร้างความพึงพอใจ ให้กับครู 0.84 0.87 0.80 0.84 2. อัตราการลาออกของครูในแต่ละปีมีแนวโน้ม ลดลง 0.48 0.33 0.38 0.42 3. ผลการบริหารสามารถสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้ปกครอง 0.88 0.78 0.88 0.85 4. การจัดการศึกษาสามารถสร้างความภาคภูมิใจ ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน 0.85 0.84 0.89 0.86

82

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

ผลการวิ จั ย เมื่ อ พิ จ ารณาแยกตาม องค์ ป ระกอบลำดั บ ที่ ห นึ่ ง พบว่ า ด้ า นประ สิทธิผลของนักเรียน โรงเรียนของฆราวาสจะ ได้รับการประเมินจากผู้ปกครองสูงกว่าโรง เรี ย นคาทอลิ ก ประเภทอื่ น ในขณะที่ ห าก พิจารณาจาก ประสิทธิผลด้านการยอมรับ ของชุมชน โรงเรียนของคณะนักบวชจะได้รับ การประเมินสูงสุด และเมื่อพิจารณาจาก ประสิทธิผล ด้านการยอมรับของผู้มีส่วนเกี่ยว ข้อง โรงเรียนของคณะนักบวชและโรงเรียน ของอัครสังฆมณฑลจะได้รับการประเมินใน ลำดับสูงสุด โดยที่โรงเรียนคาทอลิกทั้งสาม ประเภท ได้ ป ระสบปั ญ หาที่ เ หมื อ นกั น ได้แก่ เรื่องของอัตราการลาออกของครูในแต่ ละปี ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย 1. โรงเรี ย นคาทอลิ ก มี เ อกลั ก ษณ์ ที่สำคัญในทัศนะของผู้ปกครอง ได้แก่เป็น โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการ ศึกษาแบบคุณธรรม นำความรู้ คู่ความสุข เพื่อรักษาเอกลักษณ์ดังกล่าวไว้ โรงเรียนจำ เป็นต้องมีการทบทวนวิสัยทัศน์ และพันธกิจ อยู่เสมอ และปรับให้สอดคล้องกับภาวการณ์ ที่ปรับเปลี่ยนไป โดยทำการสำรวจทัศนะของ ผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ

2. จุ ด ที่ แ ตกต่ า งกั น ในส่ ว นประ สิ ท ธิ ผ ล ข อ ง นั ก เรี ย น จ า ก ทั ศ น ะ ข อ ง ผู้ ปกครอง ได้ แ ก่ โรงเรี ย นอั ค รสั ง ฆมณฑล มี จุ ด เด่ น ที่ ท ำให้ นั ก เรี ย นมี ค วามสุ ข เมื่ อ มา โรงเรี ย น ในส่ ว นของโรงเรี ย นนั ก บวชเป็ น โรงเรียนที่สามารถสร้างความรัก ความผูกพัน และความภู มิ ใจในสถาบั น ขณะที่ โรงเรี ย น ฆราวาส ได้แก่ การสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียน นอกจากนี้ยังมีความแตก ต่างที่เป็นจุดเด่นทางด้านประสิทธิผลรวม ดัง ผลที่ได้รายงานจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ ความแตกต่างดังกล่าวทำให้โรงเรียนคาทอลิก ทั้งสามประเภท จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยน ช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้จุดแข็งโดดเด่นยิ่งขึ้น อาทิ การดู ง านระหว่ า งโรงเรี ย นหรื อ การ แบ่ ง ปั น ความรู้ (Knowledge Sharing) ระหว่างกัน 3. ปัญหาร่วมกันของโรงเรียนคาทอลิก ได้แก่ เรื่องของอัตราการลาออกของครู เนื่ อ งจากปั จ จั ย ดั ง กล่ า วได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจาก ปัจจัยภายนอกค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงเป็นหน้า ที่ของผู้บริหารที่จะต้องบริหารเพื่อสร้างความ ผูกพัน (Commitment) และบรรยากาศที่ดี ในองค์การให้เกิดขึ้น ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. งานวิ จั ย ดั ง กล่ า วเป็ น งานวิ จั ย แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study)

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

83


ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก ตามทัศนะของผู้ปกครอง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง

ซึ่งทำการเก็บในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่สนใจ จะนำตัวแบบดังกล่าวไปศึกษาในลักษณะของ การวิจัยในระยะยาว(Longitudina Studies) ก็สามารถจะทำให้เห็นภาพของการวิจัยที่ชัด เจนยิ่งขึ้น 2. ผู้ที่สนใจอาจจะศึกษาตัวแบบที่ ไม่ จ ำกั ด เฉพาะกลุ่ ม ผู้ ป กครองเท่ า นั้ น โดยขยายเขตแดนการศึ ก ษาในภาพรวม ให้ครบถ้วน โดยเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยว ข้ อ งกั บ โรงเรี ย นคาทอลิ ก ในส่ ว นอื่ น อาทิ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ซึ่งจะทำให้มองเห็น ภาพในองค์รวม (Holistic) ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น บรรณานุกรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. ภารดี อนันต์นาวี. 2546. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรม การการประถมศึกษาแห่งชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิ.ย.-ต.ค. ภรณี กีร์ติบุตร. 2529. การพัฒนา ประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.

84

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

มาร์ติน ประทีป โกมลมาศ. 2544. การฉลองครบรอบ 336 ปี ของการ ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2544, http://336edu.sg.ac.th. มิเกล กาไรซาบาล. 2544. การศึกษา คาทอลิกสู่สหัสวรรษที่สาม. แปล โดย สุมิตรา พงศ์ธร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. รุ่ง แก้วแดง และชัยณรงค์สุวรรณสาร. 2536. แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผล และประสิทธิภาพองค์การ. ในแนว การศึกษาชุดวิชาทฤษฎีและแนว ปฏิบัติในการบริหารการศึกษา (หน่วยที่ 11). นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิวัฒน์ แพร่สิริ. 2542. ปรัชญาการศึกษา คาทอลิก : แนวคิดและการ ประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : ฝ่ายการ ศึกษาในโรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ. . 2543. วิวัฒนาการและ อนาคตภาพการศึกษาคาทอลิกกับ การพัฒนาสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต พัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย

วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์. ม.ป.ป. ผู้นำทาง การศึกษาของสถาบันการศึกษา คาทอลิก. กรุงเทพฯ : ฝ่ายการ ศึกษาคาทอลิกในโรงเรียนอัครสังฆ มณฑลกรุงเทพฯ. สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก. 2532. มิติด้านศาสนาของ การศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก : แนวทางเพื่อการพิจารณา ใคร่ครวญ และฟื้นฟูขึ้นใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. สำเริง บุญเรืองรัตน์. 2543. บทปริทัศน์ บทความเรื่อง ธรรมชาติของศาสตร์ ทางการศึกษาและวิธีวิทยาการวิจัย การศึกษา. วารสารวิธีวิทยา การวิจัย. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2543. หน้า 60-69. สิปปนนท์ เกตุทัต. 2541. การวิจัยใน อนาคต : สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อ พัฒนาประเทศ. ในหนังสือ รวมบทความทางวิธีการวิจัย. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์(บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพจน์ ทรายแก้ว. 2545. การวัดผลการ ปฏิบัติงาน. เอกสารประกอบการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนกล ยุทธ์และการบริหารงานมุ่งผลงาน. เชียงราย : สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฎ เชียงราย. สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. 2552. สถิติวิเคราะห์ สำหรับการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เจริญดี มั่งคงการพิมพ์. อรุณ รักธรรม. 2532. การพัฒนาองค์การ แนวคิดและการประยุกต์ใช้ระบบ สังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. Belsley, D. 1991. Conditional diagnostics: collinearity and weak data in regression. Wiley Series in Probability. John Wiley, New York. Hair. Jr., J.L, Anderson, R.E, Tatham, R.L, Black, W.C. 1998. Multivariate data analysis with Readings. (5th ed). London : Prentice Hall International.

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

85


การศึกในการส่ ษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย : บทบาทของการศึกษาคาทอลิก งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติแบบประชาธิปไตย

C

atholic Education and Democracy: The Role of Catholic Education in Promoting Democratic Values and Practices. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะเยสุอิต * อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

Rev.Dr.Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J. * Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lacturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.


ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย

บทนำ

“(เด็กๆ และผู้เยาว์) ควรได้รับการฝึกฝนเพื่อการมีส่วนร่วมต่อ การใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งต้องได้รับการสอนให้มีความชำนาญที่จำเป็นและ เหมาะสมอย่างถูกต้อง ให้พวกเขาสามารถเข้าสู่องค์กรทางสังคมที่ หลากหลายอย่างคล่องแคล่ว สามารถเริ่มการสนทนากับบุคคลอื่น ๆ และเต็มใจที่จะทำดีที่สุดเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของส่วนรวม” (Paul VI, 1965) จากข้อความข้างต้นแสดงให้เราเห็นถึงความเกี่ยวพันของพระ ศาสนจักรคาทอลิกกับการส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติแบบประชาธิปไตย ความเป็นประชาธิปไตยเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ การเมืองระดับโลกในศตวรรษที่ 20 อย่างไม่ต้องสงสัย และได้กลายเป็น ประเด็นสำคัญในทัศนะทางการศึกษา ความพยายามของเราในเรื่อง การศึกษาคาทอลิกควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรเพื่อการส่งเสริม คุณค่าและแนวปฏิบัติแบบประชาธิปไตย มีข้อเรียกร้องมากมายให้ การศึกษาคาทอลิกสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่เพื่อเตรียมตัวสำหรับความรับ ผิดชอบหน้าที่ในอนาคตของพวกเขา ในการสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตยให้มากขึ้น ยกระดับความเท่าเทียม การมีส่วนร่วม และความ เป็นประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) ที่เข้มแข็งมากขึ้น ความตั้งใจ คือ เพียงต้องการยกประเด็นในด้านความคิดทางการ ศึกษาและเพื่อย้ำเตือนพวกเขาว่ามีหน้าที่หนึ่งที่ต้องตอบสนองตาม มโนธรรมของเรา เพราะฉะนั้น บทความนี้จะเป็นการนำเสนอต่อผู้อ่าน เป็ น ครั้ ง แรกด้ ว ยจุ ด ประสงค์ ส ำหรั บ การศึ ก ษาคาทอลิ ก โดยทั่ ว ไป นอกจากนี้ ยังเป็นการจุดประเด็นสำคัญในแวดวงการศึกษา ความ ยุติธรรมในสังคม และประชาธิปไตย สุดท้ายนี้ เป็นความพยายามที่จะ เสนอแนะความคิดบางประการเพื่อทะนุบำรุงคุณค่าและแนวปฏิบัติ แบบประชาธิปไตย

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

87


การศึกษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย: บทบาทของการศึกษาคาทอลิกในการส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติ แบบประชาธิปไตย

88

Introduction

“(Children and young people) should be so trained to take their part in social life that properly instructed in the necessary and opportune skills they can become actively involved in various community organizations, open to discourse with others and willing to do their best to promote the common good.” (Paul VI, 1965) The above quotation obviously shows us the concern of the Catholic Church in promoting democratic values and practices. Democratization has undoubtedly been the great transformation of world politics in the twentieth century and it has become one of the significant issues in educational landscape. Our efforts in Catholic education should be important for the resources it provides to promote democratic values and practices. There is an enormous demand for Catholic education to assist young generations to be prepared for their future responsibility in building a more democratic society which enhances greater equality, participation and healthier deliberative democracy. My intention is simply to raise this issue in educations’ minds and to remind them that they have a duty to respond to it in accord with our consciences. Therefore, this article will first seek to present the readers with the purpose of Catholic education in general. In addition, it will address the key issues in the field of education, social justice and democracy. Finally, it will attempt to suggest some ideas to foster democratic values and practices.

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย

I. The Purpose of Catholic Education It is true that education has been viewed by many as an effort to accumulate knowledge and at the same time as a means to obtain a desired job. It is also true that a worthy purpose of education is to put knowledge and wisdom in service to the world in order to better oneself and to better the human condition. Education plays a central role as a means either to prepare individuals to put their knowledge and skills in service to the state, nation, or world, or as a means to understand oneself and the world. It is worth noting that the Catholic school is receiving more and more attention in the Church since the Second Vatican Council. The Catholic Church believes that among all educational instruments the school has a special importance. It is designed not only to develop with special care the intellectual faculties but also to form the ability to judge rightly, to hand on the

cultural legacy of previous generations, to foster a sense of values, and to prepare for professional life. (Paul VI, 1965) Pope Paul VI stated very clearly that “a true education aims at the formation of the human person in the pursuit of his ultimate end and of the good of the societies of which, as man, he is a member, and in whose obligations, as an adult, he will share. Education should promote for all peoples the complete perfection of the human person, the good of earthly society and the building of a world that is more human.” Thus, Catholic education could and should be distinguished by a commitment to an education for justice and peace. Justice demands that social institutions be ordered in a way that guarantees all persons the ability to participate actively in the economic, political and cultural life of society. Catholic social teaching spells out the basic demands of justice in the human rights of every person. These fundamental rights are prerequisites

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

89


การศึกษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย: บทบาทของการศึกษาคาทอลิกในการส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติ แบบประชาธิปไตย

for a dignified life in community. Catholic education has been put in the center of attention in promoting the dignity of human person and building a more humane world. It is also viewed as an instrument to promote the common good which includes the rights to fulfillment of material needs, a guarantee of fundamental freedoms, and the protection of relationships that are essential to participation in the life of society. In addition, the Church expects that “the students of Catholic schools are molded into persons truly outstanding in their training, ready to undertake weighty responsibilities in society and witness to the faith in the world.” II. Catholic Education, Social Justice and Democracy The Catholic Church has in fact made education one of her highest priorities. Education is integral to the mission of the Church to proclaim the Good news and should become

90

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

a powerful instrument of hope for all people in the world. Pope John Paul II encouraged the Catholics to deepen their Catholic identity, formed by Church doctrine; commitment to the equal dignity and value of all human beings. With his deep love for the world and human beings, Pope John Paul II stated that “We need to act in order to build the civilization of love and peace, in a world in which human rights are defended and the goods of the earth are everywhere distributed with justice.” (John Paul II, 2003) This statement keeps reminding us that social justice and democracy are important themes that need to be engaged within today’s educational landscape. The contemporary Church has consistently called upon Catholics and all people of good will to practice social responsibility for building the civilization of love and peace through education. Cultural pluralism leads the Church to reaffirm her mission of edu-


ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย

cation to insure the strong character formation of young generations who live in society which is intrinsically related to the essential plurality of human beings and to their living in a common world. It is a real challenge to keep unity in diversity and create a harmonious society. A good education that enhances social justice and democracy is very important to prepare the young generations to take responsibility for the future of the world. Every generation should take the responsibility to transform the public space in a context in which multiplicity, heterogeneity and differences are accepted as they live in a pluralistic world. Human plurality conditions them in the sense that their very individuality only takes shape through their recognition that they share the world with others. Thinking in the presence of others enables citizens to develop an “enlarged mentality”, going beyond mere self-interest and a limited point

of view, to reflect on the general interest or on their common good. As Parekh puts it: “The political way of life requires not merely a willingness to participate in the conduct of public affairs, but also such political virtues as courage, moderation, insight, impartiality and a willingness to place communal well being above one’s own. (Bhikhu Parekh, 1981) Public realm exists wherever those who gather to discuss an event or a problem see and hear from different positions. Humanity comes to be defined as an assembly of attributes which befits them for a common life in the common realm which they share with other fellows. If they would be fully human, their humanity requires that they adopt this standpoint when they are engaged in common deliberation with our fellow human beings. (Michael G. Gottsegen, 1994) The first flowering of democracy was among the ancient Greeks where Athenian political life was a politics

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

91


การศึกษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย: บทบาทของการศึกษาคาทอลิกในการส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติ แบบประชาธิปไตย

of talk and opinion, one which gave a central place to human plurality and the equality between citizens. Public life is not just an occasion for choice but also an opportunity for different human beings to make a world in common. At the bottom of politics there is a notion of freedom as public action in deed and speech between citizens. The public realm in which politics takes place is above all else a space between people, created by their discourse and mutual recognition. The common world they share as public and political agents exists only as the result of the differences they reveal in our interactions. With words and deeds they insert ourselves into the human world, making it a better place for human beings. Our action in the public realm should be related to a human capacity to build, preserve, and care for the world. The relationship between education and democracy is complex, and education for democracy is much more

92

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

than educating young people on the merits of representative democracy, rather it is premised on the need to form civic and ethical values in order to become free, informed and critically minded citizens. Education for democracy involves developing the ability to think critically and independently, express views, and take part in constructive actions to strengthen communities. It involves learning to live with others in a diverse society. It is a must to emphasize in their Catholic education the importance of promoting democratic values and practices to establish a democratic culture and to teach new generations to commit themselves to those values and practices. It also reflects an integral vision of human development in which the social, economic, and political dimensions are interconnected. This vision recognizes the fight against poverty as essential for consolidation and strengthening democracy. Education can be a means of promot-


ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย

ing the development of one’s human potential in fostering greater understanding among peoples, as a means of ensuring the continuance of democratic values, including liberty and social justice and peace; and to teach the value of all creation. By including these values, the educational system of the Church contributes to society and social justice. III. Fostering Democratic Values in Catholic Education Catholic education can serve the world by teaching the virtues on which democracy rests. Education should lead the young into the sacred space of the human person and of every person, making them aware of the inalienable human rights of every individual and group. Education by its very nature is a transformation process, namely, changing human persons, and through them, society and its structures. Pope Benedict XVI suggests that “education is to assist young people to experience

the harmony between faith, life and culture.” (Pope Benedict XVI, 2008) They should help the young people by broadening their cultural perspectives and giving them the conceptual tools for socio- cultural analysis. In their social analysis assignment, young people are to incorporate an ethic recognizing a standard for justice for all, giving priority to respect for human life and the quality of that life, and respect for cultural values. It is important to provide an opportunity for the young people to engage in open discussion on the whole range related topics, such as on how to promote active citizen participation and how to help them learn and act on key concepts, such as justice, liberty, tolerance, respect for human rights and minorities, shared responsibility, gender equality, and peaceful conflict resolution. A fundamental educational ideal involves education’s generally recognized task of preparing the young generation for adulthood and their future

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

93


การศึกษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย: บทบาทของการศึกษาคาทอลิกในการส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติ แบบประชาธิปไตย

responsibility. It must be understood to involve their self-sufficiency and self-direction. It involves the place of careful analysis, good thinking, and reasoned deliberation in democratic life. To the extent that we value democracy, we must be committed to fostering the abilities and dispositions of critical thinking in our young generations. (Sharon Bailin and Harvey Siegel, 2005) The human condition is knowable and definable because it consists of the capacities and characteristics that human beings have cultivated together to create a truly humanized existence. The great thing about the Greek citizens’ living together in a polis is that they conducted public affairs by means of speech, persuasion, and not by means of violence. The vital condition of life in society is not a mass to dominate or to rule, but the equality that citizenship confers on human beings and the plurality of human beings themselves. They cannot escape from the responsibility for the world or the

94

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

duty to act together as citizens. The world is a world that they share with them fellow human beings which itself comes into tangible reality through care, responsibility and good deeds. Catholic social teaching is a vital resource for those who would learn how to take democratic values seriously, especially in the context of our struggle for building a “civilization of love and peace” and preserving the pluralistic character of the human world. This is the great idea that can enhance the tradition’s call for building a world that is worth living for every human being. They are the heirs of a long history of papal encyclical letters taking a very strong stand on issues of social justice and peace. They are powerful resources in themselves and they also demand further reflection and inquiry. Catholic social teaching is perhaps most helpful when they use it as a guide for advocating gradual changes in the existing system. It is a tool that allows them to expose and


ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย

correct injustices. People of faith can use the Church’s social teaching as a starting point for dialogue about how to build a more humane world so that it better reflects the values and principles of peace, justice, and compassion. (Thomas Massaro, 2000) Catholic social teaching gives them a hope, informing them how to deal with their world with care. If democracy is still valuable from the perspective of the Church teaching it is because of its concerns about the common good. Their efforts in creating policies, programs, and practices that promote democracy through education must consider that democratic citizenship formation requires an integral approach that encompasses all levels and subjects within the education system. Democracy is not falling from the sky. It is something to be cultivated through generations with care.

Bibliography Arendt, Hannah. 1998. The Human Condition. Chicago: University of Chicago Press. Benedict XVI, Pope. 2008. Address to Catholic Educators. (The Catholic University of America), April 17, 2008. Bhikhu Parekh. 1981. Hannah Arendt and the Search for A New Political Philosophy. London : The Macmillan Press. Blake, Nikel, and Others. 2005. The Blackwell Guide to the Philosophy of Education. Malden : Blackwell Publishing. Dunn, Sheila G. 2005. Philosophical Foundations of Education : Connecting Philosophy to Theory and Practice. New Jersey : Pearson Education. Gottsegen, Michael G. 1994. The Political Thought of Hannah Arendt. New York : State University of New York Press.

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2012/2555

95


การศึกษาคาทอลิกกับประชาธิปไตย: บทบาทของการศึกษาคาทอลิกในการส่งเสริมคุณค่าและแนวปฏิบัติ แบบประชาธิปไตย

Gutek, Geral L. 2004. Philosophical and Ideological Voices in Edu cation. Boston : Pearson Education. John Paul II, Pope. 2003. “The Lesson of 9/11 End Terrorism and Its Causes,” The Pope Speaks 48, no. 2 (March/April 2003) : 83. Johnson, David M. 1986. Justice and peace Education: Models for College and University Faculty. New York : Orbis Books. Massaro, Thomas. 2000. Living Justice: Catholic Social Teaching in Action. Wisconsin : Sheed and Ward.

96

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Michael G. Gottsegen. 1994. The Political Thought of Hannah Arendt. New York : State Univer sity of New York Press, p. 149. Parekh, Bhikhu. 1981. Hannah Arendt and the Search for A New Political Philosophy. London : The Macmillan. Sharon Bailin and Harvey Siegel. 2005. “Critical Thinking” in The Blackwell Guide to the Philoso phy of Education. Malden: Blackwell. p. 189. Thomas Massaro. 2000. Living Justice: Catholic Social Teaching in Action. Wisconsin : Sheed and Ward. p. 198.


วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Sa e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l

ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................... ที่อยู่ (สำหรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน.................................... แขวง/ตำบล...................................................เขต/อำเภอ.................................................. จังหวัด..................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... โทรศัพท์.....................................................................โทรสาร......................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท (สมัครสมาชิกหรือต่ออายุ 3 ปี รับกระเป๋าผ้าแสงธรรม...ฟรี 1 ใบ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556)

ชำระเงินโดยวิธี ธนาณัติ (สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ”) ปณ. อ้อมใหญ่ 73160 โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ Fax. 0-2429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม....................................................................................................... เลขที่.........................ถนน.............................แขวง/ตำบล..................................... เขต/อำเภอ............................จังหวัด...............................รหัสไปรษณีย์...................

.............................................(ลงนามผู้สมัคร) ........./............./.......... (วันที่)

สมัครสมาชิกหรือต่ออายุ 3 ปีขึ้นไป รับฟรีกระเป๋าผ้า 1 ใบ ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 มิถุนายน 2556 เท่านั้น ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่ โทรสาร 0 2 429 0819


รูปแบบการส่งต้นฉบับบทความ

www.saengtham.ac.th

1. การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows หรือซอฟต์แวร์อื่น ที่ใกล้เคียงกันพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 26 บรรทัด ต่อ 1 หน้า Angsana New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ยกเว้นหน้าแรก 2. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ชื่อบทความไม่ต้องอยู่ในวงเล็บ) 3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน Curriculum Vitae (CV) ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลของ ผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) E-mail หรือโทรศัพท์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 4. ทุกบทความจะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract มีความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 จะต้องพิมพ์คำสำคัญในบทคัดย่อภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ใน Abstract ของบทความ ด้วย 5. ความยาวทั้งหมด ประมาณ 14-20 หน้า 6. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 7. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำดับตัว อักษร) 8. บทความวิจัยควรมีหัวข้อดังนี้ ชื่อเรื่องบทความวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้เขียนพร้อมข้อมูลส่วนตัวของทุกคน (รายละเอียดตามข้อ 3) บทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract (รายละเอียดตามข้อ 4) ความสำคัญ ของเนื้อหา วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ ขอบเขตการวิจัย นิยามศัพท์ (ถ้ามี) วิธีการดำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรม/References 9. ฝ่ายวิชาการนำบทความที่ท่านส่งมาเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินคุณภาพความเหมาะสม ของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียนจะ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 15 วันนับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ หากท่านต้องการสอบถามกรุณาติดต่อกับกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ โทรศัพท์ (02) 4290100 โทรสาร (02) 4290819 หรือ E-mail: cheat_p@hotmail.com


ขั้นตอนการจัดทำ

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saesngtham College Journal

เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กอง บก. ตรวจรูปแบบทั่วไป

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข

ก้ไ อ้ งแ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

ไม่ผ่าน

ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ

แจ้งผู้เขียน

ไม่ต

แก้ไ

แจ้งผู้เขียน แก้ไข

จบ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.