วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

Page 1


วารสารวิ ชาการ วิทยาลัยSaแสงธรรม e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2013/2556

วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งใน และนอกวิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวง เดชา อาภรณ์รัตน์ ในนามประธานสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย บรรณาธิการ บาทหลวง ดร.อภิ​ิสิทธิ์ กฤษเจริญ ในนามรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล รศ.ดร.สมเจตน์ ไวยาการณ์ โรงเรียนเซนต์เทเรซา ผศ.ประเสริฐ วิเศษกิจ ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา มูลนิธิเซนต์คาเบรียล ดร.ยุพิน ยืนยง โรงเรียนบอสโกพิทักษ์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ อาจารย์ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อาจารย์ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต นางสุจิต เพชรแก้ว นางสาวจิตรา กิจเจริญ นางสาวปนัดดา ชัยพระคุณ นางสาวศรุตา พรประสิทธิ์ นายศรัญญู พงษ์ประเสริฐสิน กำ�หนดเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.- มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.- ธ.ค.)

สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก & รูปเล่ม : โดย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ / จิรายุทธ ไหลงาม พิสูจน์อักษร : โดย นางสุจิต เพชรแก้ว / นางสาวศรุตา พรประสิทธิ์

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และ บทความปริทัศน์ ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ โดยส่ง บทความมาที่ ผู้อำ�นวยการศูนย์ วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการเพื่อประเมิน คุณภาพบทความว่าเหมาะสมสำ�หรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการส่งต้น ฉบับได้ที่ www.saengtham.ac.th/journal


รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

(Editorial Advisory Board)

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น้ำ�เพชร, S.J. Sophia University, Japan 2. ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต 3. ศ.ปรีชา ช้างขวัญยืน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. ศ.ดร.เดือน คำ�ดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5. ศ.ดร.สมภาร พรมทา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชลอ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 7. ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพาณิชย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 8. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 2. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 4. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ ลิขสิทธิ์

ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยแสงธรรม ห้ามน�ำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ�้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของ ผูเ้ ขียนเท่านัน้


รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ

(Peer Review) ประจำ � ฉบั บ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. ศ.กีรติ บุญเจือ 2. ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ 3. ศ.ดร.สมภาร พรมทา 4. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชลอ 5. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน 6. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน

ราชบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

1. บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ 2. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย 3. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา


บทบรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ

Saengtham College Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2013/2556 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2013/2556 ฉบับนี้ ทางกองบรรณาธิการขอน�ำเสนอบทความวิจยั จ�ำนวนรวม 7 บทความประกอบไปด้วย บทความวิจยั พิเศษ เรือ่ ง “ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรม คุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน” ซึง่ ได้รบั ความกรุณาจาก ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต ท่านได้กรุณาส่งบทความให้อย่างต่อเนือ่ ง ตามด้วยบทความวิจยั ซึง่ เป็นผลงานจากรายวิชา กอ. 791 การค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษาระดับ ปริญญาโท สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม จ�ำนวน 3 บทความ และอีก 3 บทความสุดท้ายเป็นบทความวิจยั จากภายนอก อันเป็นผลงานสืบเนือ่ งจากการศึกษาระดับปริญญา เอก จากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 1) บทความวิจยั เรือ่ ง “Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study” โดย อ.ประวีร์ ศรีพกุ กานนท์ สถาบันการบิน พลเรือน 2) บทความวิจยั เรือ่ ง “กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน” โดยคุณพัชนี พงษ์เพียรสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทชัยมงคลมอเตอร์ จ�ำกัด และ 3) บทความวิจยั เรือ่ ง “รูปแบบการพัฒนาครูค�ำสอนในโรงเรียนคาทอลิก” โดย อ.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ วิทยาลัยแสงธรรม โดยบทความวิจยั ดังกล่าวนีไ้ ด้รบั การประเมิน จากผูท้ รงคุณวุฒแิ ล้วทัง้ สิน้ ทัง้ นีก้ องบรรณาธิการขอขอบคุณคณาจารย์ นักวิชาการ ผูเ้ ขียนบทความ ทุกท่านทีไ่ ด้ให้ความร่วมมือส่งผลงานเพือ่ ลงตีพมิ พ์ ขอพระเจ้าตอบแทนนำ�้ ใจดีของท่านทีไ่ ด้กรุณา มอบบทความนีเ้ พือ่ ตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม กองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ กรุณาให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ อันส่งผลให้วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปี ที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถนุ ายน 2013/2556 สำ�เร็จและผลิตออกเผยแพร่องค์ความรูด้ า้ น ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา สุดท้ายนีห้ วังเป็นอย่างยิง่ ว่า วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม โดยความร่วมมือระหว่าง ฝ่ายวิจยั และพัฒนา สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย และศูนย์วจิ ยั ค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม จะเป็นอีกช่องทางหนึง่ ในการส่งมอบความรูส้ แู้ วดวงวิชาการ บรรณาธิการ เมษายน 2013


ส่ วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม (รวมศีลธรรม)

P

ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

roblems and Solutions Concerning Education of Virtues and Ethic (Including Religious Morality) in Thailand : A Study from Samuel Huntington’s Perspective ศ.กีรติ บุญเจือ * ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต * ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา * ประธานบรรณาธิการจัดทำ�สารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน

Professor Kirti Bunchua * Professor and Member of Royal Institute. * Chairman of the Ph.D. Program in Philosophy and Ethics, Suan Sunandha Rajabhat University. * Editor in Chief of the Encyclopedia of Philosophy, Royal Institute.


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

2

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ต้องการตอบคำ�ถามว่า “ทำ�อย่างไรคุณธรรมจึงจะกลับ มาสู่ปวงชนชาวไทยด้วยวิธีใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในสังคมไทย เพื่อเสริมวิธี ต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน” และพบคำ�ตอบว่ามีวิธีหนึ่งที่น่าจะทดลอง ใช้ดู คือวิธีอบรมบ่ ม นิ สั ย ให้ แ สวงหาความสุ ข แท้ ตามสั ญ ชาตญาณ ปัญญา อันเป็นธาตุแท้แห่งความเป็นจริงของมนุษย์ ผู้จุดประกายความ คิดแนวนี้คือนักรัฐศาสตร์แซมมวล ฮันทิงทัน ผู้เขียนบทความและขยาย เนื้อหาออกเป็นหนังสือชื่อ The Clash of Civilizations การอบรมบ่มนิสัยพึงปลุกจิตสำ�นึกในประเด็นต่อไปนี้คือ อบรม ให้ รู้ จั ก เปรี ย บเที ย บว่ า การมี ค วามสุ ข จากการทำ � ให้ ผู้ อื่ น มี ค วามสุ ข เป็นความสุขที่สุด การสำ�นึกได้เช่นนี้เป็นการใช้ปัญญาอย่างพื้นฐานที่ สุดจากข้อเท็จจริงว่ามนุษย์ทุกคนต้องการความสุขแท้ตามความเป็น จริง ให้อบรมการฝึกใช้ปัญญาต่อไปเปรียบเทียบคุณภาพของความสุข ระดับต่างๆ ที่ใช้ปัญญาเกื้อหนุนสัญชาตญาณก้อนหิน สัญชาตญาณพืช สัญชาตญาณอารักขายีน และสัญชาตญาณปัญญาซึ่งให้ความสุขที่ลึก ซึ้งมากกว่าระดับอื่นๆ แต่ความลึกซึ้งก็ยังมีวิวัฒนาการเป็นขั้นตอนมา กับการพัฒนาคุณภาพการใช้ปัญญาซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ หรือ กระบวนทรรศน์ เฉพาะกระบวนทรรศน์ไม่ยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นที่เอื้อต่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ท�ำ ความสุขแท้ด้วยการสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือและแสวงหาได้อย่างเสรี เพราะไม่มีเงื่อนไขจากการยึดมั่นถือมั่น ซึ่งจำ�กัดความสุขไม่มากก็น้อย เมื่อปลุกจิตสำ�นึกให้ตื่นและเริ่มรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการ ทำ�ดีแล้ว จำ�เป็นต้องทะนุบ�ำ รุงให้ยั่งยืนต่อไป ซึ่งเรียกว่าปลูกจิตสำ�นึก ด้ ว ยการอบรมบ่ ม นิ สั ย ซึ่ ง ผู้ วิ จั ย เสนอให้ ทำ � ในลั ก ษณะเครื อ ข่ า ยที่ มี ผู้ รั บ ผิ ด ชอบให้ ดู แ ลกั น และพั ฒ นาการอบรมบ่ ม นิ สั ย กั น อย่ า งไม่ หยุดยั้ง ทั้งนี้จึงต้องมีบางคนในเครือข่ายทำ�การวิจัยหาคำ�อธิบายใหม่ ๆ มาเสริมการปลูกจิตสำ�นึกอยู่เสมอ เช่น กลไกมโนธรรม คุณธรรมแม่บท 4 สังคมอารยะ การดูแล การสร้างสรรค์ การปรับตัว การร่วมมือ

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

การแสวงหา เป็นต้น อีกด้านหนึ่งก็คือ วิจัยวิธีใช้ความรู้ใหม่ ๆ ที่วิจัยได้ อย่างมีประสิทธิผลทั้งด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และประวัติศาสตร์

คำ�สำ�คัญ :

Abstract

1) คุณธรรมจริยธรรม 2) ศีลธรรม 3) แซมมวล ฮันทิงทัน

This research aims at answering the question: “To bring the people of Thailand back to virtuous life, is there any means unused so far in the Thai context, but supplementary to all other means in current?” An answer comes up ready for testing. It is the Character Education that tempts to search for the authentic happiness according to the instinct of the intellect, which is the authentic element of human reality. The idea is a spark from the trend of thought of Samuel Huntington, an expert in Political Science and writer of an article extended into a book The Clash of Civilization. The Character Education would nurture the mind to be conscious that the happiness from rendering a neighbor happy is the happiest of the happiness. Such a consciousness is the produce of the intellect at the most basic level of human nature that humans need the Authentic Happiness According to Reality. Continue the education by training further on the comparison among the various levels of happiness proposed by the instinct of stone, of plant, of caring gene, of intellect, the lattest of which gives profounder happiness than those of the lower instincts. Its profundity, however, has evolution in accordance with the 5 steps of the intellectual developปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

3


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

ment into 5 paradigms. Only the Paradigm of Detachment allows the quality of life improvement that brings the Authentic Happiness According to Reality through Creativity, Adaptivity, Cooperativity and Requisitivity, with attitude of freedom, because there cannot be any hope from the attachment that limits happiness somehow. Once the consciousness of doing good has been awaken and the awaken persons start to feel happiness and to enjoy doing so, it needs to be sustained to go on. Such process in called Cultivating Heart or Cultivating Consciousness. The researcher would like to propose the working plan through a network of Working Team accounted for the sufficiency of the responsible promotors for the mutual caring of each other and of the progressive development of Character Education. For such a purpose, there need somebodies within the Working Team to do research to find new discourses for forming the conscience, on the basis of the Four Cardinal Virtues, Civilized Society, Caring for, Creativity, Adaptivity, Cooperativity, Requisitivity, etc. On the other hand, we need also researches on the technique of using our materials for effective education by combining the domains of psychology, sociology and history. Keywords : 1) Virtues and Ethic 2) Religious Morality 3) Samuel Huntington

4

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา เหตุ ก ารณ์ ที่ ส ร้ า งความระทึ ก ใจแก่ คนทั้งโลกไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการถล่มเมืองฮิโร ชิมาด้วยระเบิดปรมาณู เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945) ก็คือการที่กำ�แพง เบอร์ลินถูกเจาะทะลุโดยไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อ วันที่ 9 พ.ย. 2532 (ค.ศ.1989) คือ 44 ปี ต่อมา อันถือได้ว่าเป็นวันสิ้นสุดสงครามเย็นที่ สร้างความหวาดผวาแก่คนทั้งโลกที่มีอารมณ์ ค้างแขวนอยู่บนเส้นด้ายว่าสงครามโลกครั้ง ที่ 3 จะระเบิดขึ้น ณ วินาทีใดก็ได้ เพราะถ้า สงครามดังกล่าวเกิดขึ้นจริงวันนั้นก็จะเป็นจุด จบของมนุษยชาติ เพราะผู้ที่อยู่ในข่ายของ ความขัดแย้ง รู้สึกมั่นใจว่า ตนจะต้องสูญเสีย ชี วิ ต ไปพร้ อ มกั บ คนดี แ ละสิ่ ง ดี ทั้ ง หลายที่ อารยธรรมของมนุษยชาติได้สะสมมา การที่ ต้องรอความตายฉับพลันโดยไม่รู้วันและเวลา อย่างนี้ ย่อมสร้างความเครียดแก่คนทั่วโลกไม่ มากก็น้อย มีการจัดปาฐกถากันบ่อย ๆ เพื่อ เตือนความจำ�ว่า ไม่มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ข่าวกำ�แพงเบอร์ลินทะลุและทั้ง 2 ฝ่ายเดินทางไปมาหาสู่กันได้โดยไม่มีใคร ขัดขวาง เป็นข่าวดีที่ปลดเปลื้องจากความ เครี ย ดที่ ส ร้ า งบรรยากาศอึ ม ครึ ม ครอบงำ � มนุ ษ ยชาติ ใ นรู ป ของสงครามเย็ น มาเป็ น เวลาถึง 44 ปี หลังจากที่สงครามร้อนได้

ผลาญชีวิตมนุษย์ไปถึงประมาณ 100 ล้านคน ชั่วระยะเวลา 5 ปี หรือ 1,480 วันแห่งการสู้รบ คิดถัวเฉลี่ยวันละประมาณ 60,000 คน ไม่มีใคร อยากให้ชาติของตนต้องเข้าสู่ภาวะสงคราม อีก เพราะเข็ดขยาดต่อความเสียหายทั้งทรัพย์ สินและชีวิต ยังไม่รวมความสูญเสียที่คำ�นวณ เป็นตัวเลขไม่ได้คือ คุณภาพชีวิตและสุขภาพ จิตของมนุษย์ที่สูญเสียไป ผู ้ กั ง วลด้ ว ยเหตุ ผ ลดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ย่อมอดไม่ได้ที่จะดีใจเมื่อได้ข่าวดีว่าก�ำแพง เบอร์ ลิ น ทะลุ ม ่ า นเหล็ ก สลายตั ว ม่ า นไม้ ไผ่ เ ผยอตั ว ทุ ก อย่ า งเป็ น ไปตามครรลอง เหมือนน�้ำไหล ไม่มีใครบังคับให้เป็นไป มัน เป็นไปโดยอัตโนมัติ ดังที่แซมมวล ฮันทิงทัน ได้เก็บข้อมูลไว้ว่า - 3 มกราคม 1992 นักวิชาการ รัสเซีย และอเมริกันนัดพบกันในห้องประชุม ของรัฐบาลในกรุงมอสโคว์อย่างมั่นใจในความ ปลอดภัย ในเวลาไล่เลี่ยกันสหภาพโซเวียต รัสเซียแตกสลายเป็น 16 ประเทศใหญ่ - 18 เมษายน 1994 ชาวมุสลิมเดิน ขบวนกลางกรุงซาราเจโว ประเทศยูโกสลาเวีย ถื อ ธงตุ ร กี แ ทนธงชาติ ยู โ กสลาเวี ย ของตน - 16 ตุลาคม 1994 ในนครลอสแอนจิ ลิ ส ชาวแมกซิ กั น พลั ด ถิ่ น 70,000 คน เดิ น ขบวนถื อ ธงชาติ แ มกซิ โ กเพื่ อ เรี ย ก

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

5


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

ร้ อ งให้ รั ฐ บาลอเมริ กั น ให้ ก ารศึ ก ษาแก่ บุ ต ร ของผู้ เข้ า เมื อ งผิ ด กฎหมายเพราะเห็ น แก่ มนุษยธรรม ซึ่งรัฐสภาแห่งแคลิฟอร์เนียก็รับ เข้าวาระการประชุมและลงมติอนุมัติด้วยเสียง 59% นั ก วิ จ ารณ์ ไ ม่ วิ จ ารณ์ ใ นแง่ ที่ ว่ า ผู้ เ ดิ น ขบวนมิได้ถือสัญชาติอเมริกัน แต่กลับวิจารณ์ ว่ า มาเดิ น ขบวนถือธงต่างชาติข่มขู่รัฐบาล อเมริกันอย่างนี้ ไม่น่าจะยอมให้เดิน วันต่อมา ชาวแมกซิกันกลุ่มเดิมนัดเดินขบวนขอบคุณ รั ฐ สภาอเมริ กั น ที่ ล งมติ ด้ ว ยจิ ต เมตตาธรรม เป็นหลัก คราวนี้ถือธงชาติอเมริกันโดยกลับ บนลงล่างทุกผืน แสดงความจงใจที่มิได้มีค�ำ ชี้แจงใด ๆ ถึงความหมายของมัน แต่ฮันทิงทัน ตั้ ง ใจยกเรื่ อ งธงขึ้ น มาในบทนำ � ของหนั ง สื อ อย่างมีนัยยะ และให้ความหมายตามนัยยะ ของตนที่จะเป็นทิศทางของมนุษยชาติต่อไป ในอนาคต เขาให้ความหมายของธงกลับหัว ไว้ว่า “ธงกลับหัวเป็นเครื่องหมายของหัวโค้ง แห่ ง การเปลี่ ย นแปลง และธงก็ จ ะมี ค วาม สำ�คัญมากยิ่งๆ ขึ้น” วารสาร Foreign Affairs ฉบับฤดูร้อน ค.ศ. 1993 ได้พิมพ์ เผยแพร่บทความ “The Clash of Civilization” ของฮันทิงทันเพื่อออกความเห็นกรณี กำ�แพงเบอร์ลินทะลุ นักวิชาการของสหรัฐฯ ได้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ได้มีการ อัดสำ�เนาแจกและจัดสัมมนาออกความเห็น

6

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

กันต่าง ๆ นานา ผู้วิจัย ได้รับเชิญไปสัมมนาจัด โดยสมาคม Civil Society ที่ Prof.Dr. George Mclean อาจารย์สอนวิชาปรัชญาเป็นประธาน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่ฮันทิงทันได้ กล่าวถึงในบทความดังกล่าว 3 ปีต่อมา (ค.ศ. 1996) ฮันทิงทันได้ขยายเนื้อหาบทความเป็น หนังสือ บทความซึ่งเป็นความคิดใหม่จริงถูก บรรจุอยู่ในบทนำ�และบทสรุป เนื้อหาที่ขยาย เพิ่มอยู่ในส่วนกลางของหนังสือ ซึ่งส่วนมาก เป็นข้อมูลการเมืองในอดีตที่รวบรวมมาสนับ สนุนทฤษฎีใหม่ของตน เสริมด้วยการคาด คะเนสู่อนาคตในครรลองสืบเนื่องจากปัจจุบัน และอดีต ส่วนสำ�คัญของหนังสือเล่มนี้จึงอยู่ ที่ความคิดเห็นที่แสดงไว้ในบทนำ�และบทสรุป ของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ซึ่ ง นั ก ปรั ช ญานำ � เอาไป อภิปรายกันอย่างกว้างขวางจนทุกวันนี้เพื่อ หาแนวทางใหม่แก้ปัญหาของโลก ส่วนกลาง ของหนั ง สื อ เป็ น เนื้ อ หาที่ นั ก รั ฐ ศาสตร์ แ ละ นั ก การเมื อ งได้ เ อาไปศึ ก ษากั น อย่ า งกว้ า ง ขวางเช่ น กั น แต่ ส่ ว นมากจะเน้ น วิ จ ารณ์ ว่ า ที่ ฮั น ทิ ง ทั น ได้ พ ยากรณ์ ไ ว้ ตั้ ง แต่ ปี ค.ศ. 1996 นั้น มีส่วนผิดพลาดประการใดบ้าง แม่นยำ�เพราะอะไร และผิดพลาดเพราะอะไร งานวิจัยนี้จะวิเคราะห์เฉพาะความคิดเห็นที่ นำ� ไปสู่ ก ารปรั บปรุ ง วิ ธีอ บรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมเท่านั้น


กีรติ บุญเจือ

ฮั น ทิ ง ทั น กั บ การอบรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม แผนใหม่ เมื่ อ ฮั น ทิ ง ทั น กล่ า วถึ ง ความหมาย ของธงกลับหัวแล้ว ก็ได้ทิ้งข้อที่เป็นปริศนาไว้ ว่า “ประชาชนในโลกปัจจุบันก�ำลังพบอัตลั ก ษณ์ ใ หม่ ใ นอั ต ลั ก ษณ์ เ ดิ ม เป็ น ส่ ว นมาก พวกเขาก�ำลังเดินภายใต้ธงใหม่ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ คือธงเดิม (กลับหัว) เป็นส่วนมาก ธงเหล่านี้ แหละที่น�ำพวกเขาเข้าห�้ำหั่นศัตรูใหม่ ซึ่งแท้ จริงก็คือศัตรูคนเดิมในโฉมหน้าใหม่” ข้ อ ความข้ า งต้ น นี้ ป ระกอบกั บ เหตุ การณ์ที่คาดไม่ถึงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจาก กำ�แพงเบอร์ลินทะลุ ทำ�ให้นักปรัชญาหลัง นวยุคประสบโอกาสขยายผลแนวคิดปรัชญา ของตนซึ่ ง เดิ ม เป็ น ข้ อ คิ ด กระจั ด กระจาย กลายเป็ น ขบวนการที่ มี เ ป้ า หมายชั ด เจน ยิ่ง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เป็น ทั้ ง คำ � สอนและแนวปฏิ บั ติ ใ นขณะเดี ย วกั น ตามรูปแบบของศาสนา แต่เป็นศาสนาที่ไม่ กำ�หนดข้อเชื่อเรื่องโลกหน้า จึงสามารถใช้ เป็นฐานเสริมได้สำ�หรับทุกศาสนาที่ต้องการ พั ฒ นาวิ ธี ก ารอบรมสั่ ง สอนศาสนาของตน ให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้น จากข้อความปริศนาที่อ้างอิงไว้ข้าง ต้น ชาวหลังนวยุคจึงตีความว่าตามที่แฟรงสิส

ฟูกิยามา(Francis Fukiyama) ได้ชี้ช่องให้ว่า “เราน่าจะมาถึงจุดจบของประวัติศาสตร์ตาม ความหมายเดิมได้แล้ว กล่าวคือถึงจุดสุดท้าย ของวิวัฒนาการคติการเมือง จัดเป็นประชาธิปไตยเสรีที่ถือได้ว่าเป็นการบริหารประเทศ รูปแบบสุดท้ายของมนุษย์” ซึ่งหมายความ ตามคติปรัชญาหลังนวยุคว่า คนรุ่นใหม่บาง คนเกิ ด มากั บ กระบวนทรรศน์ ไร้ พ รมแดน มองอะไรเป็นระดับโลกาภิวัตน์ไปหมด คือ เป็นคนของโลก และอยากให้ทุกคนหวังดีต่อ กั น ทั่ ว โลกเหมื อ นในครอบครั ว เดี ย วกั น มี ปัญหาอะไรตกลงกันเองได้ด้วยจิตสำ�นึกแห่ง คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมร่ ว มของมนุ ษ ยชาติ ซึ่ ง ฮันทิงทันเองมิได้ระบุไว้ชัดเจน แต่มีหลายตอน ที่ชูนโยบายดังกล่าวไว้เป็นทางแก้ปัญหาของ มนุษยชาติ เช่น แนะนำ�ให้ชาวตะวันตกแสดงตัวเป็น ชาวตะวันตกจริง ๆ ไม่พึงพยายามยัดเยียด หรือชักชวนให้เชื่อว่าวัฒนธรรมตะวันตกเป็น วั ฒ นธรรมสากล เพราะจะทำ � ให้ เ กิ ด การ ต่ อ ต้ า นและความขั ด แย้ ง จนถึ ง สงครามได้ “สงครามโลกระหว่างอารยธรรมเป็นสิ่งที่หลีก เลี่ยงได้ หากผู้น�ำ ของโลกยอมรับว่าการเมือง ของโลกต้ อ งมี ลั ก ษณะเป็ น พหุ อ ารยธรรม และช่วยกันป้องกันจุดยืนนี้ไว้” หากรั บ นโยบายนี้ ข องฮั น ทิ ง ทั น ก็

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

7


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

หมายความว่า ฮันทิงทันขอร้องให้ผู้รับผิดชอบ การอบรมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งนัก การศาสนาของทุกศาสนาที่มีหน้าที่อบรมสั่ง สอนธรรมะแก่สมาชิกของศาสนาทุกคน จะ ต้ อ งตระหนั ก รู ้ ใ ห้ ชั ด เจนว่ า ตนมี ห น้ า ที่ อบรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมแบบใด ก็ ใ ห้ มุ ่ ง อบรมสั่งสอนให้ดีที่สุดในทิศทางของตน ไม่ ต้องดูแคลนฝ่ายอื่น คือต้องไม่สอนให้เหลื่อม ล�้ำกันและต้องไม่โจมตีกัน เพื่อป้องกันมิให้ เกิดความกระทบกระทั่งต่อกัน ครั้นฮันทิงทัน ได้สาธยายทุกแง่ทุกมุมเพื่อสนับสนุนทางแก้ ปั ญ หาของตนอย่ า งละเอี ย ดและยื ด ยาวพอ สมควรแล้ว ในที่สุดก็อดสรุปด้วยความเป็น ห่วงไม่ได้ว่า หากได้จัดระเบียบโลกใหม่ (The World New Order) ตามคติพหุอารยธรรม กั น อย่ า งดี แ ล้ ว ก็ เชื่ อ ได้ ว ่ า “สงครามโลก ระหว่างขั้วอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกไม่น่า อย่างยิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ (highly improbable) แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ (but not impossible)” แน่นอนข้อแม้หรือข้อยกเว้นที่ เปิดเผยในวรรคสุดท้ายนี้ แม้แต่จะมีแค่เสี้ยว ของเปอร์เซ็นต์ก็ไม่น่าจะมองข้าม นักปรัชญา จึงพยายามคิดค้นทางแก้ปัญหาที่สร้างความ มั่นใจได้มากกว่านั้น วิจักษ์กติกา 5 ข้อของฮันทิงทัน ในฐานะนั ก ปรั ช ญาหลั ง นวยุ ค สาย

8

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

กลาง ผู้วิจัยเห็นด้วยกับฮันทิงทันเฉพาะใน ส่วนที่เห็นปัญหาว่า มนุษยชาติอยู่ในอันตราย ของสงครามโลกและสงครามท้องที่เกิดจาก ความขัดแย้งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ ขั ด แย้ ง ทางอารยธรรมซึ่ ง รวมถึ ง ความขั ด แย้งทางศรัทธา ศาสนา และอุดมคติทางการ เมืองการปกครอง แต่ไม่อาจเห็นด้วยกับทาง แก้ปัญหาด้วยกติกา 5 ข้อของระเบียบสังคม ใหม่ ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องช่วยกันอบรมพลโลก ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของกติกา 5 ข้อ ซึ่ง เป็นยูโทเปีย มีอุปสรรคมากมายจนไม่สามารถ เอาชนะได้หมด เริ่มตั้งแต่ 1) การระดม ปั ญ ญาชนให้ ม าเห็ น ด้ ว ยและมี ศ รั ท ธาต่ อ กติกา 5 ข้อเพื่อเป็นวิทยากร 2) ระดมงบ ประมาณเป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับวิทยากรให้ท�ำ งานได้ทั่วถึง 3) แม้ท�ำได้ส�ำเร็จตามข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่มีอะไรค�้ำประกัน ได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น และวิธีการ แก้ความขัดแย้งของฮันทิงทันคือ อาศัยน�้ำใจดี ของชาติผู้น�ำกลุ่มอารยธรรมซึ่งเปราะบางมาก กติกาทั้ง 5 ข้อจึงเหมือนกับแขวนอยู่กับเส้น ด้าย เปอร์เซ็นต์แห่งความล้มเหลวค่อนข้างสูง ตัวฮันทิงทันเองก็ได้แสดงความลังเลใจไว้ใน ตอนท้ายของหนังสือซึ่งจะอ้างไว้ในหัวข้อถัด จากนี้ ซึ่งผิดกับความรู้สึกในตอนต้นที่เขียน ด้วยความรู้สึกกระตือรือร้นมาก ว่า


กีรติ บุญเจือ

เมื่อฤดูร้อน ค.ศ.1993 นิตยสาร Foreign Affairs ได้พิมพ์บทความ ของข้าพเจ้าชื่อ The Clash of Civilization? คณะบรรณาธิการของ นิตยสารฉบับนั้นแถลงว่าได้ปลุกให้มีการอภิปรายกันมากมายภายในช่วง 3 ปี ยิ่งกว่าบทความใด ๆ ที่นิตยสารนี้ได้เคยตีพิมพ์มาตั้งแต่ ค.ศ.1940 แน่นอนว่า มีการอภิปรายปัญหาจากบทความนี้ของข้าพเจ้าภายใน 3 ปีมากกว่าบทความ ใด ๆ ที่ข้าพเจ้าเคยเขียนมา มีทั้งการขานรับและบทวิจารณ์จากทุกทวีปเป็น จำ�นวนหลายสิบประเทศ ผู้อ่านมีปฏิกิริยาต่าง ๆ กัน ที่ข้องใจก็มีที่เคืองแค้น ก็มี ที่ตื่นตระหนกก็มี ที่สับสนกับข้ออ้างต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้ายกมาก็มีที่อ้างว่ามี อันตรายร้ายแรงที่สุดรวมศูนย์อยู่ที่การเมืองระดับโลกที่กำ�ลังเผยโฉมให้เห็น อั น เป็ น ผลจากความขั ด แย้ ง กั น ระหว่ า งกลุ่ ม ที่ แ ตกต่ า งกั น ทางอารยธรรม จะอย่ า งไรก็ ต ามสิ่ ง หนึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ก็ คื อ มั น ตรึ ง ประสาท (struck the nerve) เนื่องจากสังเกตได้ว่าบทความนั้นได้สร้างความสนใจรวมทั้งความเข้าใจผิด และข้อถกเถียงกันมากมาย ข้าพเจ้าจึงใคร่จะได้ขยายความในประเด็นที่เป็น ปั ญ หาถกเถี ย งกั น อยู่ . ..มี ป ระเด็ น สำ � คั ญ ที่ บ ทความไม่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ข้ า พเจ้ า จึ ง ถื อ โอกาสนำ � มาเสริ ม ไว้ เ ป็ น ชื่ อ เสริ ม ของหนั ง สื อ (คื อ การสร้ า งระเบี ย บ โลกใหม่ ) และสรุ ป ไว้ เ ป็ น ประโยคสุ ด ท้ า ยของหนั ง สื อ คื อ “การปะทะ ของอารยธรรมเป็ น ประเด็ น คุ ก คามที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ต่ อ สั น ติ ภ าพและระเบี ย บ การนานาชาติ บ นฐานของอารยธรรมเป็ น ทางป้ อ งกั น ที่ แ น่ น อนที่ สุ ด มิ ใ ห้ สงครามโลกเกิดขึ้น” คำ�รับรองของฮันทิงทันรู้สึกว่าหนัก แน่นมาก แสดงถึงความมั่นใจในวิธีการของตน ว่าจะนำ�พาโลกให้พ้นจากวิกฤติของสงคราม ล้างโลกได้อย่างมีประสิทธิผลที่สุด ซึ่งวิธีการ

ดั ง กล่ า วนี้ ฮั น ทิ ง ทั น ได้ จ าระไนใน 4 หน้ า สุดท้ายของหนังสือภายใต้หัวข้อ “สมบัติร่วม ของอารยธรรม”

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

9


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

สมบัติร่วมของอารยธรรม หัวข้อนี้ค่อนข้างเข้าใจยากและอาจ ตี ค วามได้ ห ลายหลากทำ � ให้ สั น นิ ษ ฐาน ได้ ว่ า คงเป็ น ความคิ ด ใหม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง จากได้ขยายความประเด็นต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ ทฤษฎีแก้ปัญหาความขัดแย้งการเมืองระดับ โลกที่ ค าดว่ า จะเกิ ด ขึ้ น หลั ง สงครามเย็ น เป็นความคิดใหม่ ไม่มีเวลานานพอให้ความคิด สุกจนตัวเองเข้าใจชัดเจน แต่ก็เห็นว่าจำ�เป็น จะต้องเขียนเสริมทฤษฎีเดิม คือ ทฤษฎีพหุ อารยธรรมที่คุมกันอย่างดีด้วยกฎการไม่ก้าว ก่ายกัน (abstention rule) กับกฎการเจรจา กัน (joint mediation rule) ซึ่งเมื่อถามถึง ความจริงใจของผู้นำ�แต่ละอารยธรรมแล้ว ก็ รู้สึกเป็นจุดอ่อนสำ�คัญที่สุดเพราะความจริงใจ เป็นเรื่องของคุณธรรมประจำ�ใจ บังคับกันไม่ได้ ทดสอบกันก็ยาก ก็คงสันนิษฐานไว้ไม่ยากว่า เพื่ อ ไม่ ใ ห้ ง านที่ ต นมุ่ ง หน้ า เขี ย นขึ้ น มาอย่ า ง เร่งรีบเป็นเนื้อหาสามร้อยกว่าหน้าเต็มไปด้วย ข้อมูลอ้างอิงมากมายใช้เวลา 3 ปีมาแล้วนั้น ต้องล้มเหลว จำ�เป็นต้องหาอะไรมาเสริมจุด อ่อนดังกล่าว จึงได้เขียนเติมต่อท้ายบทสรุป และจบลงแค่นั้น ความคิ ด ที่ ต้ อ งการเน้ น ก็ คื อ คุ ณ สมบัติร่วม (commonality) ในส่วนที่แล้ว ๆ มาฮันทิงทันเน้นความต่างเป็นคุณสมบัติของ

10

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อารยธรรมต่าง ๆ เพื่อเตือนสติชาวตะวันตก ให้เคารพความต่างของอารยธรรมอื่น ๆ การ เน้นความต่างเช่นนั้นย่อมหลีกไม่พ้นที่จะต้อง แก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตามทฤษฎีพหุอารยธรรมจะต้องพึ่งความเชื่อใจกันในลักษณะถ้อย ทีถ้อยอาศัยกัน โดยหวังว่าเขาจะต้องช่วยเรา เพราะถึงทีเรา เราก็จะช่วยเขาแน่นอน ที่สุดก็ ต้องนึกได้ว่าหากสันติภาพของโลกและถ้าการ เลี่ยงสงครามโลกต้องพึ่งความหวังอันเลื่อน ลอยอย่างนี้ก็คงไม่น่าจะสบายใจนัก ในทฤษฎีสมบัติร่วมนี้ ฮันทิงทันนึก ได้ ว ่ า ในความแตกต่ า งของอารยธรรมยั ง มี ความเหมือนร่วมระหว่างอารยธรรมและแม้ ท่ามกลางนานาอารยธรรมก็ย่อมมีจุดร่วมกัน อยู่บ้างจนได้ หากส่งเสริมให้ทุกอารยธรรม ร่วมใจกันศึกษาเพื่อแสวงหาจุดร่วมสงวนจุด ต่างได้ จุดร่วมที่สงวนกันไว้นั้นแหละย่อมเป็น ตัวค�้ำประกันการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดี ที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวฮันทิงทันยก ฐานะสงวนจุ ด ต่ า งขึ้ น สู ่ ร ะดั บ จริ ย ธรรม (morality) และแถลงว่า “วัฒนธรรมเป็นเรื่อง สัมพัทธ์ ส่วนจริยธรรมอสัมพัทธ์” และเมื่อตั้ง ใจเรี ย กสมบั ติ ร ่ ว มนั้ น ว่ า จริ ย ธรรมก็ ห มาย ความว่าจ�ำเป็นต้องมีการอบรมกันอย่างสม�่ำ เสมอ จะเพียงแต่สอนกันให้รู้และเข้าใจครั้ง เดียวตลอดชีพเหมือนส่วนที่เป็นวัฒนธรรมนั้น


กีรติ บุญเจือ

ไม่ได้ (วัฒนธรรมในความหมายของฮันทิงทัน ก็คือ ส่วนหนึ่งของอารยธรรมนั่นเอง) ทางปฏิ บั ติ สู่ ค วามสำ � เร็ จ ของการ รักษาสันติภาพโลกก็คือ “ประชาชนของทุก อารยธรรมพึงวิจัยค้นคว้าและพยายามขยาย การรับรู้คุณค่า สถาบัน และการปฏิบัติที่พวก เขามี ร่ ว มกั บ ประชาชนทั้ ง หลายของอารยธรรมอื่น ๆ” คุ ณ ค่ า รวมนี้ เรี ย กได้ ว่ า องค์ อ ารยธรรม (Civilization ใช้อักษรตัวใหญ่น�ำ และ ในรูปเอกพจน์เท่านัน้ ) ซึง่ หาได้จากความรูแ้ ละ เข้ า ใจร่ ว มกั น ในระดั บ สู ง ของวิ ช าจริ ย ธรรม ศาสนา อักษรศาสตร์ ศิลปะ ปรัชญา เทคโนโลยี และการมีชีวิตที่ดี” งานวิจัยนี้ตั้งใจแสวงหาพลังร่วมใน ธรรมชาติของมนุษย์ที่กระตุ้นให้คนอยากทำ�ดี ใช้ได้ในการปลุกจิตสำ�นึกของคนหลับใหลใน ทุกศาสนาให้อยากตื่นและลุกขึ้นทำ�ความดีใน ศาสนาของตน ทั้งยังสามารถปลุกจิตสำ�นึก ของผู้อ้างว่าไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ได้ด้วย ให้ ทุ ก คนลุ ก ขึ้ น อยากทำ � ดี เ พราะมี ค วามสุ ข กับการทำ�ดี ต่อจากนั้นเขาอาจจะนึกชอบ (ปิ๊ง) ศาสนาใดศาสนาหนึ่งก็ได้ที่เขาเองเห็นว่าน่า จะส่งเสริมให้เขามีความพอใจกับตัวเขาเอง มากขึ้น เขาจะมีความสุขมากขึ้นด้วยหรือไม่ ต้องยกให้เป็นเรื่องส่วนตัวของเขากับศาสนาที่

เขาเลือกนับถือ แนวคิ ด ของฮั น ทิ ง ทั น กั บ ปั ญ หาคุ ณ ธรรม ของสังคมไทย อนุ ส นธิ จ ากคำ � ปรารภของท่ า น จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ประธานอนุกรรมาธิการ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมของวุฒิสภาว่า “ขณะนี้ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ชาติ ของเรากำ�ลังอยู่ในระยะศีลธรรมเสื่อมสุด ๆ จะทำ�อย่างไรให้ศีลธรรมกลับคืนมาได้ เราใช้ กันหลายวิธีแล้ว ยังไม่พบวิธีที่น่าพอใจ” ผู้ วิจัยในฐานะผู้สอนปรัชญาจึงเสนอทางออก ตามวิ สั ย ทรรศน์ ข องนั ก ปรั ช ญาทั่ ว โลกว่ า มี ทางเป็นไปได้หากได้ดำ�เนินการกันอย่างจริง จังตามทฤษฎีกระบวนทรรศน์ กระบวนทรรศน์ คื อ แนวคิ ด ของ ปัญญาซึ่งไม่ยอมจำ�นนต่อปัญหาเหมือนสิ่งไร้ ปัญญา ครั้งใดที่มีปัญหาซึ่งดูเหมือนจะแก้ไม่ ตกด้วยกระบวนทรรศน์เดิม ก็จะปรับเปลี่ยน กระบวนทรรศน์ให้สามารถแก้ปัญหาและเริ่ม ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ เรารู้จากหลักฐานประ วั ติ ศ าสตร์ ว่ า มนุ ษ ย์ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ ย นกระบวน ทรรศน์มาแล้ว 3 ครั้ง หากจะปรับเปลี่ยนอีก คร้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 4 เพื่อแก้ปัญหาที่ดูเหมือน จะสิ้ น หวั ง ให้ ต กไป ก็ ไ ม่ น่ า จะแปลกอะไร และเราก็จะได้เริ่มหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ใน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

11


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

ศตวรรษที่ ที่ 21 นี้ การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ครั้ง แรกเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ดึกดำ�บรรพ์รู้สึกว่ากระ บวนทรรศน์แบบดึกดำ�บรรพ์ (หวังพึ่งเบื้องบน แก้ปัญหาทุกอย่าง) ไม่พอแก้ปัญหา เพราะผู้ คนมีมากจนต้องรวมกลุ่มกันอยู่เป็นสังคมที่ นับวันแต่จะใหญ่ขึ้น พวกเขาจำ�เป็นต้องพึ่งตัว เองที่รวมตัวกันเป็นสังคม จำ�เป็นต้องใช้กฎ เกณฑ์เป็นหลักและให้เบื้องบนช่วยเสริมกำ�ลัง เท่านั้น ที่ใดปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ได้ สำ � เร็ จ ก็ ส ามารถรวมตั ว กั น เป็ น นครรั ฐ ทรง อำ�นาจและอิทธิพลได้ แต่ต่อมาก็สำ�เร็จเกินตัว จนเดือดร้อนกันทั่วหน้า การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ครั้ง ที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์โบราณสร้างมหาอาณาจั ก ร โดยมี จั ก รพรรดิ ที่ ห ลงใหลในอำ � นาจ พยายามธำ�รงอำ�นาจและขยายอำ�นาจโดยใช้ อำ�นาจบังคับผู้คนเสียสละทุก ๆ อย่าง รวมทั้ง ฆ่าฟันทุกคนที่อยากจะฆ่าและริบทุกอย่างที่ อยากจะริบ ครั้นมีศาสดาประกาศว่าเป้าหมาย ถาวรของมนุษย์อยู่ที่โลกหน้า หากได้ปฏิบัติ ตามกฎของโลกหน้าหรือธรรมะก็จะบรรลุถึง ผู้ ค นก็ พ ากั น เลื่ อ มใสเพื่ อ ให้ ธ รรมะหรื อ กฎ เกณฑ์เพื่อโลกหน้าช่วยคุ้มครองทุเลาการกด ขี่จากผู้มีอำ�นาจลงมาบ้าง ผู้คนพอใจกับวิถี ชีวิตแห่งกระบวนทรรศน์ยุคกลางเพราะอ้าง

12

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธรรมะหรือคำ�สอนของศาสดาเพื่อคลายความ เดือดร้อนลงได้มาก แต่ต่อมาก็เดือดร้อนอีก เพราะมีผู้ฉลาดรู้จักจูงใจให้คนไปรบในนาม ของศาสนา อันเป็นวิธีก่อสงครามศาสนาครั้ง ใหญ่ ๆ ในยุโรป การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ครั้ง ที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อนิวตันเสนอวิธีวิทยาศาสตร์ อย่างน่าเชื่อว่า จะแก้ปัญหาความทุกข์ในโลก นี้ ไ ด้ โ ดยไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งพึ่ ง ศาสนาเพี ย งอย่ า ง เดียว และไม่ต้องพ้นทุกข์ด้วยวิธีเสี่ยงตายเพื่อ ศาสนาก็ได้ ผู้คนพอใจกับกระบวนทรรศน์ ใหม่นี้เรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 กระ บวนทรรศน์ที่น่าจะปลดทุกข์กลับเพิ่มทุกข์ให้ หนักกว่าเดิม การปรับเปลี่นกระบวนทรรศน์ครั้ง ที่ 4 ล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสงครามโลก 2 ครั้ง ที่น�ำการสูญเสียทุกอย่างมาสู่มนุษยชาติ ใน ขณะเดี ย วกั น สงครามท�ำให้ เ ทคโนโลยี ก ้ า ว หน้าไปมาก โดยต่างฝ่ายต่างคิดค้นหาอาวุธให้ ร้ายแรงกว่ากันได้ หลังสงครามเทคโนโลยีเหล่า นั้นกลายเป็นประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าและ การโฆษณาสินค้าจนท�ำให้ผู้บริโภคสินค้าอยู่ ในโลกแห่งความเกินจริง (hyperreality) ผู้ คนก้มหน้าแข่งขันกันเพิ่มจ�ำนวนเงินในธนาคารเพื่ อ ค�้ ำ ประกั น โลกแห่ ง ความเป็ น เกิ น จริ ง ไว้ กั บ ตนจนตาย ในสถานการณ์ เช่ น นี้


กีรติ บุญเจือ

คนเราย่ อ มจะเคลิ บ เคลิ้ ม อยู ่ ใ นโลกเกิ น จริ ง และลืมหรือมองข้ามโลกแห่งความเป็นจริง เสียสิ้น เขาเพลิดเพลินอยู่กับความสุขตาม สัญชาตญาณแห่งวัตถุ (อยากอยู่เฉย ๆ ไม่ต้อง รั บ ผิ ด ชอบอะไรทั้ ง สิ้ น ) ความสุ ข ตามสั ญ ชาตญาณแห่งพืช (เอาเปรียบทุกคนและทุก อย่างอย่างไร้ยางอาย) ความสุขตามสัญชาตญาณอารักขายีน (ดูแลเผ่าพันธุ์ของตนเท่านั้น) พวกริเริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ครั้งล่า สุดนี้รุ่นแรกเป็นพวกสุดขั้ว ไม่สนใจระเบียบ แบบแผนเดิมแต่ประการใดทั้งสิ้น พวกเขา หลุดออกจากโลกแห่งความเป็นจริง อยากจะ ท�ำอะไรก็ท�ำด้วยความสะใจ มันเป็นผลจาก โลกาภิวัตน์ มีนักเขียนที่จับประเด็นได้และ เขียนออกมาเป็นทฤษฎีเรียกว่า ความคิดหลัง นวยุค (สุดขั้ว) พวกเขาเป็นผู้ท�ำให้ก�ำแพง เบอร์ลินทะลุ ท�ำให้ม่านเหล็กเปิดและม่าน ไม้ไผ่แง้ม จากการสารภาพความในใจ พวก เขามิได้มีความสุขแท้ตามความเป็นจริง พวก เขาหงุดหงิดสับสน ต้องท�ำอะไรแปลก ๆ เพื่อ ความสะใจอยู่ร�่ำไป กลายเป็นปัญหาสังคม แบบใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ฮันทิงทันกล่าวถึงการปรับเปลี่ยน กระบวนทรรศน์ก็คงจะหมายถึงพวกนี้ ซึ่ง ฮั น ทิ ง ทั น หวั ง ว่ า จะเป็ น พวกระงั บ สงคราม แบ่งขั้ว เพราะพวกนี้ไม่สนใจการแบ่งขั้ว พวก

เขาต้องการอยู่ในโลกที่ไม่มีการแบ่งเขตด้วย ประการใด ฮันทิงทันมิได้คิดถึงเรื่องศีลธรรม เสื่อม นักปรัชญาและนักการศึกษาที่ทดลอง ให้การศึกษาตามรูปแบบของกระบวนทรรศน์ ใหม่สุดขั้วมาแล้ว จึงรู้ว่าทำ�ให้คุณภาพของสัง คมแย่ลงไปอีก แต่ก็ไม่คิดว่าควรกลับไปสู่กระ บวนทรรศน์ก่อนหน้าที่ผ่านมาแล้ว เพราะรู้ อยู่ แ ก่ ใ จแล้ ว ว่ า ล้ า สมั ย ใช้ ไ ม่ ไ ด้ กั บ สั ง คม โลกาภิวัตน์ จึงใช้วิธีพบกันครึ่งทาง การอบรมบ่มนิสัยที่กำ�ลังทดลองทำ� กันอยู่อย่างหวังผลยังไม่มีสูตรสำ�เร็จรูป คง มีแต่เป้าหมายร่วมกันอยู่ว่า ทำ�อย่างไรให้ มนุษย์ในยุคโลกาภิวตั น์ สนใจทำ�ดีอย่างมีความ สุ ข แท้ ต ามความเป็ น จริ ง แห่ ง ธรรมชาติ ข อง มนุษย์ (Authentic Happiness According to Reality or AHAR) ใครมีปัญญาคิดก็ให้ คิดออกมาเองตามความเหมาะสมของแต่ละ บริบท งานวิจัยนี้จึงเป็นการเสนอโครงสร้าง หนึ่งที่หวังว่าจะใช้ได้ดีในบรรยากาศของประ เทศไทย ขณะเดียวกันก็ชี้แนะให้ผู้มีปัญญาคิด ช่วยกันคิดต่อไปได้เรื่อย ๆ ขอให้บรรลุเป้า หมายที่วางไว้ก็นับว่าใช้ได้ งานวิ จั ย ครั้ ง นี้ ส รุ ป โครงสร้ า งที่ ห วั ง ว่าจะนำ�ไปใช้อบรมอย่างได้ผลตามเป้าหมาย โดยเน้นการจัดประกายใน 6 ประเด็น 1. เริ่ ม จากเน้ น ให้ ศึ ก ษาธรรมชาติ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

13


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

ของมนุษย์ซึ่งมีเหมือนกันทุกคน อันได้แก่ สัญชาตญาณ (instinct, life power) 4 ระดับ

ให้เลือกสัญชาตญาณระดับปัญญามาปฏิบัติ เพื่อความสุขแท้ตามความเป็นจริง

สัญชาตญาณ 4 ระดับของมนุษย์ได้แก่ 1. สัญชาตญาณเฉื่อยเหมือนก้อนวัตถุ 2. สัญชาตญาณโลภเหมือนพืช 3. สัญชาตญาณอารักขายีนเหมือนเดรัจฉาน 4. สัญชาตญาณปัญญาเหมือนเทพ 2. เน้นให้รู้ความเป็นจริงของสัญชาตญาณปั ญ ญาว่ า พั ฒ นามาตามลำ � ดั บ 5 กระบวนทรรศน์ (Paradigm) เลือกกระ บวนทรรศน์สุดท้ายคือ ลัทธิหลังนวยุคสาย

กลาง คือไม่ยึดมั่นถือมั่น มีหลักยึดเหนี่ยว แต่ไม่ยึดติด ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสุดท้าย ของกระบวนทรรศน์ของมนุษยชาติมาถึง ขณะนี้

กระบวนทรรศน์ 5 ของมนุษยชาติได้แก่ 1. กระบวนทรรศน์ดึกด�ำบรรพ์ : ท�ำตามน�้ำพระทัยของเบื้องบน 2. กระบวนทรรศน์โบราณ : ทำ�ตามกฎของเจ้าสำ�นัก 3. กระบวนทรรศน์ยุคกลาง : ทำ�ตามบัญญัติของศาสดา 4. กระบวนทรรศน์นวยุค : ทำ�ตามระบบเครือข่ายสากลของความรู้ 5. กระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง (Moderate Postmodernism) : แต่ละคนมีระบบเครือข่ายของตนเองเพื่อ : 1) เก็บสิ่งสนใจเข้าระบบเครือ ข่ายส่วนตัว 2) เพื่อจำ� 3) เพื่ออธิบายได้น่าฟัง 4) เพื่อเก็บความรู้ใหม่อย่าง น่าสนใจเพื่อจำ�ได้นานๆ

14

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ

3. หลักยึดเหนี่ยวแต่ไม่ยึดติด (Detachment) ได้แก่การพัฒนาคุณภาพชีวิต

อลีนะ อนาลีนะ การยึดมั่นถือมั่น การไม่ยึดมั่นถือมั่น แบ่งพวก แบ่งกลุ่ม แข่งขัน ช่วยกัน ไม่ไว้ใจกัน เชื่อใจกัน ทำ�ลายกัน ส่งเสริมกัน วิวาทะ สันติภาพ 4. มีความสุขแท้ (AHAR) กับการ พัฒนาคุณภาพชีวิต (Enhancing the qua lity of life) เพราะเดินตามความเป็นจริงแห่ง ธรรมชาติของมนุษย์ 5. พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ด้ ว ยการ ดูแล (Caring) ตนเองและสรรพสิ่งให้มีความ สุขตามความเป็นจริงของแต่ละสิ่ง จงทำ�ด้วย ความสุขแท้ตามความเป็นจริง 6. การดูแลแสดงออกด้วยการสร้าง สรรค์ (Creativity) ปรับตัว (Adaptivity) แสวงหา (Requisitivity) และร่วมมือ (Co llaborativity) จงทำ�ทุกขั้นตอนด้วยความสุข แท้ตามความเป็นจริง ขอบเขตของการวิจัย ทำ�อย่างไรให้มีความสุขแท้ตามความ เป็นจริงแห่งชีวิตในการทำ�ดีตามสาขาวิชาชีพ ของแต่ละคน

วิจัยธรรมชาติมนุษย์ด้วยวิถีทางปรัชญาเพื่อ แก้ปัญหา ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจของการปรับ เปลี่ยนกระบวนทรรศน์แต่ละครั้ง จะมีคน จ�ำนวนหนึ่งที่เกิดมาพร้อมกับกระบวนทรรศน์ ใหม่ คนจ�ำนวนนี้จะกระจายตัวกันเกิดใน สังคมต่าง ๆ ทั่วโลกที่รู้สึกว่ามีปัญหาทางตัน กับการใช้กระบวนทรรศน์เก่า จ�ำนวนเปอร์ เซ็นต์อาจจะต�่ำในช่วงแรก ๆ แต่จะค่อย ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติ คนพวก นี้ ไ ด้ ฟ ั ง นิ ด เดี ย วจะเข้ า ใจทะลุ ป รุ โ ปร่ ง และ พร้ อ มจะเป็ น แนวร่ ว มให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เป็นแกนน�ำ พวกเขาจะเป็นผู้น�ำอบรมคนอื่น ในท้องถิ่นของเขาต่อไป มีอีกจ�ำนวนหนึ่งที่ไม่ มีกระบวนทรรศน์ใหม่ล่วงหน้า แต่มีความ พร้อมที่จะเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ พวกนี้จะ สนใจฟั ง จนเข้ า ใจแล้ ว จะอยากเป็ น แกนน�ำ เพื่อสืบสานต่อ บางคนต้องฟังหลาย ๆ ครั้ง

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

15


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

จึงซาบซึ้งและยินดีร่วมมือ อีกจ�ำนวนหนึ่ง เข้าใจแล้วก็เห็นดีเห็นชอบ ไม่สนใจช่วย แต่ก็ ไม่ขัดขวาง จ�ำนวนหนึ่งปักจิตปักใจกับกระ บวนทรรศน์เดิม ยิ่งฟังยิ่งต่อต้าน งานของเราจึงควรมุ่งหาแนวร่วมและ เริ่มทำ�งานกับแนวร่วม โดยไม่ต้องกังวลกับผู้ ไม่เห็นด้วย ประยุกต์สู่การอบรม เมื่อมีแนวร่วมและแกนนำ�แล้ว ต้อง ดูแลให้ทุกคนมีบทบาท ซึ่งอาจจะฝึกให้เป็น วิทยากรระดับต่าง ๆ ตามความรู้ความสามารถ หรือเป็นแนวร่วมสนับสนุนด้วยกาย วาจา ใจ หรื อ อาจจะเป็ น นั ก วิ ช าการช่ ว ยวิ จั ย ขยาย เนื้อหาทั้งด้านปรัชญา จิตวิทยา และสังคม วิทยา ทำ�อุปกรณ์การสอน ทำ�การประชา สัมพันธ์ ฯลฯ ขยายผลสู่การสร้างเครือข่าย พยายามขอความร่ ว มมื อ จากฝ่ า ย รัฐบาล สถาบันศึกษา องค์การศาสนา องค์การเอกชน เพื่อรับเป็นเจ้าภาพดำ�เนิน การให้ ก ว้ า งขวางออกไปจนครอบคลุ ม ทั่ ว ประเทศเหมือน Character Education Movement ในสหรัฐอเมริกา

16

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สรุปงานวิจัย นโยบายของเรากลับตาลปัตรกับนโย บายของศาสนา คือศาสนามุ่งสอนคนให้มี ศรัทธาต่อศาสนาเพื่อเป็นคนดี ส่วนวิธีของเรา มุ่งแนะนำ�วิธีเป็นคนดีอย่างมีความสุขก่อนเข้า ถึงศาสนา วิธีอบรมของเราจึงใช้ได้ดีส�ำ หรับ ทุกศาสนาและกับผู้ยังไม่นับถือศาสนา ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดอยู่ก่อนหรือ ไม่ เมื่อผ่านการอบรมแบบของเราแล้ว ก็จะต่อ ยอดได้ทุกศาสนา หรือถ้ายังไม่พร้อมจะสนใจ ศาสนาใด เราก็ไม่ว่า ปล่อยให้เขามีความสุขกับ การทำ�ดีแบบของเขาไป จนกว่าจะอยากนับถือ ศาสนาใดขึ้นมาด้วยความสนใจส่วนตัว อภิปรายผลสู่งานวิจัยต่อไป อาจจะวิ จั ย ขยายความเชิ ง ปรั ช ญา สำ�หรับแต่ละประเด็นที่ยกขึ้นแถลงไว้ในงาน วิจัยนี้ในฐานะงานวิจัยนำ�ร่อง นอกจากนั้นยัง อาจจะวิจัยเชิงจิตวิทยาหรือเชิงสังคมวิทยา สำ�หรับแต่ละเรื่องที่ยกขึ้นอ้างในเชิงปรัชญา ยังอาจจะวิจัยออกมาเป็นบทเรียนสำ�หรับชั้น เรี ย นต่ า งๆตั้ ง แต่ ร ะดั บ อนุ บ าลถึ ง ปริ ญ ญา เอกบทเรียนสำ�หรับสังคมประเภทต่าง ๆ และ ระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ข้าราชการ การเมือง ข้าราชการประจำ� และนักวิชาการ สาขาต่าง ๆ


กีรติ บุญเจือ

ผลจากการทดลองใช้ ค ณ ะ อ นุ ก ร ร ม า ธิ ก า ร ศี ล ธ ร ร ม คุณธรรม และจริยธรรมของวุฒิสภา ได้จัด การสั ม มนาให้ ผู้ วิ จั ย เสนอผลงานวิ จั ย นี้ มีผู้ลงทะเบียนประมาณ 300 ท่าน การประ เมินผลปรากฏว่า มีผู้สนับสนุนให้ด�ำ เนินการ ร้อยละ 95 อีก ร้อยละ 5 ไม่แน่ใจว่าจะได้ผล มีผู้แสดงความจำ�นงเข้าร่วมโครงการในฐานะ ศูนย์ย่อยของเครือข่าย ถึงขณะนี้ 18 ศูนย์ย่อย ทำ�ให้คาดหวังได้ว่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งใน การแก้ปัญหาคุณธรรมในสังคมไทยต่อไป หมายเหตุ โครงการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต จิ ต ดี มีสุขดังกล่าวข้างต้น ได้กลายเป็นนโยบาย ของคณะอนุ ก รรมการศี ล ธรรมคุ ณ ธรรม จริยธรรมของวุฒิสภาชุดปัจจุบัน สถาบันใด หรือสถานศึกษาใดต้องการความกระจ่างใน เรื่ อ งนี้ โปรดติ ด ต่ อ ผู้ เขี ย นได้ ท างเฟสบุ ค kirti.bunchua หรือโทรศัพท์ 086-0455299 ซึ่ ง ได้ รั บ มอบหมายให้ เ ผยแพร่ ใ นนามของ วุฒิสภา

บรรณานุกรม กีรติ บุญเจือ. 2551. จริยศาสตร์ตามหลัก วิชาการสากล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่ง เสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิง คุณธรรม, พิมพ์แจกอันดับที่ 59. Bauman, Zygmund. 1996. Postmo- dern Ethics. Oxford : Blackwell. Devine, Tony, ed. in chief. 2000. Cultivating Heart and Charac ter: Educating for Life’s Most Essential Goals. Chapel Hill, NC : Character Develop- ment. Dickens, David. 1994. Postmodern ism and Social Inquiry. New York: Guilford. Featherstone, Mike. 1991. Con sumer Culture and Postmo- dernism. London: Sage. Fukiyama, Francis. 1989. The End of History The National Interest. Summer.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

17


ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

Huntington, Samuel P.. 1996. The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order. New York: Simon and Schuster. Kellner, Douglas. 1994. Baudrillard: A Critical Reader. Oxford: Blackwell. Morrow, Raymond A.. 1994. Critical Theory and Methodology. London: Sage. Murphy, Nancey. 1997. Anglo-Amer ican Postmodernity. Oxford: Westview. Nucci, L.P. 2008. Handbook of Moral and Character Educa tion. New York: Routledge. Russell, William B.. 2010. Reel Char acter Education. Charlotte, NC: Information Age. Salls, Holly Shepard. 2006. Charac ter Education: Transforming Values into Virtue. New York: University Press of America. Scheurich, James J.. 1994. Research Method in Postmodernism. London: Sage.

18

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Schwartz, Merle J, ed. 2008. Effec tive Character Education. New York: Me Graw-Hill. Seuk, Joon Ho, and Bitinas, Bronislav, ed. 2002. My Journey in Life: A Student Text Book for Character Education. New York: International Educational Foundation. Smagorinsky, Peter, and Taxel, Joel. 2005. The Discourse of Char acter Education. New Jersey: Lawrence Erlbaum. Spring, Joel. 2010. Political Agendas for Education. New York: Routledge. White, Stephen. 1991. Political Theory and Postmodernism. Cambridge: Cambridge University Press.


คุ ณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสารตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว

M

กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

oral Value of Christ’s Doctrine on “The New Standards” in Matthew and its Implement to Today Living

มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย

* ประมุขแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี * อาจารย์ประจำ�หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะคามิลเลียน * อาจารย์ประจำ�หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ * อาจารย์ประจำ�คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงนุพันธ์ ทัศมาลี

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี

Bishop Dr.LueChai Thatwisai

* Bishop of Udonthani Diocese. * Lacturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Dr.Cherdchai Lertjitlekha, M.I.

* Reverend in Roman Catholic Church, Camillian. * Lacturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Somkiat Trinikorn

* Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese. * Lecturer at Saengtham College.

Rev.Nuphan Thasmalee

* Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College. * Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese.


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังด้านประวัติศาสตร์ รูปแบบวรรณกรรม การตีความด้านพระคัมภีร์ คุณค่าทางจริยธรรม และการประยุ ก ต์ ใ ช้ คำ � สอนเรื่ อ ง 1) พระบั ญ ญั ติ สิ บ ประการ 2) มาตรฐานใหม่ ของพระเยซูคริสตเจ้า คือ 1) เอกสาร การวิจัยนี้ศึกษาจากเอกสารวิชาการต่างๆ วิชาการด้านประวัติศาสตร์ อันเป็นภูมิหลังของการเขียน “พระบัญญัติ สิบประการ” และ “มาตรฐานใหม่” 2) เอกสารวิชาการด้านการ ตีความพระคัมภีร์ 3) พระคัมภีร์ภาคภาษาไทยของ คณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์ 4) เอกสารวิชาการเกี่ยวกับหลักจริยศาสตร์ สากลตามแนวทางที่พระศาสนจักรคาทอลิกรับรอง และ 5) เอกสาร วิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การนำ�หลักคำ�สอนของพระเยซูคริสตเจ้าเรื่อง “มาตรฐานใหม่ คือ กฎแห่งความรัก” ไปเป็นพื้นฐานสำ�คัญที่สุดในการประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำ�วัน เป็นมาตรการสำ�คัญในการประพฤติทางด้านจริยธรรม และศีลธรรม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ความคิด การตัดสินใจ และการกระทำ�จน บรรลุวัตถุประสงค์อันสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงความถูกต้องและความดีใน การเลือกการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ การนำ�หลักการนี้ “บัญญัติแห่งความรัก” ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน มีประเด็นที่ควรพิจารณาที่สำ�คัญ คือ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นปัจจัย เอื้ออำ�นวยทำ�ให้เกิดกระบวนการกระทำ�ทางด้านจริยธรรม ซึ่งมีความ แตกต่างกันในแต่ละบุคคล แต่ละสถานที่ และแต่ละสถานการณ์ จึง เป็นการยากที่จะให้คำ�ตอบได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่า การกระทำ�หรือ ความประพฤติใดๆ เป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม การให้ คำ � ตอบทางจริ ย ธรรมและศี ล ธรรมต่ อ การกระทำ � หรื อ ความประพฤติใดๆ จึงต้องเป็นไปด้วยความชัดเจน รอบคอบ เหมาะ สม และต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง บนพื้นฐานของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบรรทัดฐานทางสังคมด้านอื่นๆ และเหนือสิ่งอื่น บทคัดย่อ

20

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

ใดต้องอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงที่สุดของ “บัญญัติแห่งความรัก” ซึ่ง เป็นบัญญัติและมาตรฐานของพระเยซูเจ้าที่พบได้ในพระวรสารนักบุญ มัทธิว 5:20-48 ใหม่นั่นเอง ภาพลักษณ์สรุปของบัญญัติใหม่นี้คือ “ความรัก ซึ่งต้องอยู่บน บัลลังก์แห่งความจริง สวมมงกุฏแห่งความหวัง และถือคฑาแห่งความ เที่ยงธรรม” ทั้งหมดพบได้ใน “พระเจ้าทรงเป็นองค์ความรัก” (Deus Caritas Est) (1ยน 4:16) และ “ความรักในความจริง” (Caritas in Veritate) (Benedict XVI) คำ�สำ�คัญ :

Abstract

1) พระบัญญัติ 10 ประการ 2) มาตรฐานใหม่ 3) จริยศาสตร์

The purposes of this research were to find the background, literary forms, exegesis, moral value and implementation of the doctrine 1) Decalogue and 2) on the new stardard. This research is based on the documentary studies of the following : 1) Academic documents on the Historical Background of the “Decalogue” and “the New Standard”. 2) Academic documents on the Biblical Exegesis. 3) The Thai Bible by the Catholic Commission for Christian Bible. 4) Academic documents on Moral Principles in general approved by the Catholic Church and 5) other Academic documents.The outcome of the study to know how to use Jesus Christ’s doctrine on the New Standard as the Law of Love to be the most important foundation of daily living ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

21


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

to be the important code of conduct of ethic and morality starting from thinking process, making decision and bringing out the final action which leading to perfect objectives of righteousness and goodness in selection of the right acts and purposes. Applying the commandment of love to the ethical and moral of today way of life needs to be aware of any kind of circumstances of the moral acts: person, place and environment in order to firmly say “right” or “wrong” in any moral acts especially for those in difficult situations. To give standards of Ethical and Moral acts needs to evaluate by accuracy, prudence, fitness and basing on righteousness, on the relevent laws and social norms as well. Most of all they must base on the true and firm foundation namely “the Law of Love”, the new Standard given by the Lord Jesus Christ. (Mat 5:20-48)The conclusive analogy of this new standard: “Love siting on the Throne of Truth, crowned with Hope and holding in hand the Scepter of Righteousness”. Since “God is Love” (Deus Caritas Est) (1Jn 4:16) and “Love in Truth” (Caritas in Veritate) (Benedict the XVI, Apostolic Letter) Keywords : 1) Decalogue 2) The New Standard 3) Ethics

22

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา ผู้ เขี ย นวิ ท ยานิ พ นธ์ นี้ กำ � ลั ง ศึ ก ษา เทววิทยาจริยธรรม ระดับปริญญาโท ซึ่งใน รายวิ ช าส่ ว นใหญ่ เ น้ น หนั ก ไปทางด้ า นศี ล ธรรมและจริยธรรม อันเป็นแรงจูงให้ผู้เขียน ได้หันมามองถึงหลักศีลธรรมและจริยธรรมที่ ถูกกล่าวถึงไว้ในพระคัมภีร์ เอกสารที่สำ�คัญ ที่ สุ ด ของศาสนาคริ ส ต์ ในเนื้ อ หาทั้ ง หมด ผู้ เขี ย นสนใจพระบั ญ ญั ติ 10 ประการใน หนังสืออพยพ (อพย 20:1-17) และการมอบ มาตรฐานใหม่ ข องพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า บนพื้ น ฐานของพระบัญญัติ 10 ประการ (มธ 5:17-48) เป็นพิเศษ มาตรฐานใหม่ที่ถูกมอบโดยพระเยซู คริสตเจ้า อยู่ในบทเทศนาบนภูเขา (มธ 5-7) หลังจากคำ�สอนเรื่องความสุขแท้ 8 ประการ เป็นบทเทศนาที่ยาว และถือเป็นปฐมเทศนา ที่สำ�คัญบนพื้นฐานพระบัญญัติ 10 ประการ แต่พระองค์ทรงบอกว่า พระองค์ทรงทำ�ให้ พระบัญญัติ 10 ประการนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้น เป็นประเด็น ที่ท้าทายสำ�หรับผู้เขียนวิทยานิพนธ์นี้ในสภาพ แวดล้ อ มปั จ จุ บั น ปั ญ หาทางด้ า นศี ล ธรรม และจริ ย ธรรมนั้ น มี ค วามละเอี ย ดซั บ ซ้ อ น มี ป ระเด็ น หลายประการที่ ทำ � ให้ เ กิ ด ปั ญ หา ทางจริยธรรมและยากที่จะตัดสิน

ความท้าทายสำ�หรับผู้เขียนวิทยานิพนธ์นี้อยู่ที่ ว่า “พระบัญญัติ 10 ประการ และ มาตรฐาน ใหม่ จะสามารถเป็ น แนวทางสำ � หรั บ ศี ล ธรรมและจริยธรรมในโลกยุคปัจจุบันได้หรือ ไม่ และอย่างไร” การศึกษาพื้นฐานทางด้าน ศีลธรรมและจริยธรรม เป็นพื้นฐานของการ ศึกษาศีลธรรมและจริยธรรมในมุมมองของ คาทอลิก ผู้เขียนวิทยานิพนธ์นี้มีความคิดเห็น ว่า การศึกษาศีลธรรมและจริยธรรมนั้นต้อง หยั่ ง รากลึ ก ในข้ อ ความเชื่ อ ในศาสนาคริ ส ต์ อันจะนำ�ความชัดเจนด้านคำ�สอนที่แท้จริงบน พื้นฐานของพระคัมภีร์ อันเป็นขุมทรัพย์ของ พระศาสนจักร ที่สมควรทำ�ความเข้าใจอย่าง ถูกต้องเพื่อนำ�มาใช้ในการบูรณาการเข้ากับ งานอภิบาลในอนาคตของผู้เขียน ตลอดจน ผู้ที่สนใจใคร่รู้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันจะนำ� ประโยชน์อย่างมากมาสู่พระศาสนจักรต่อไป ทั้ ง นี้ ผู้ เขี ย นจะทำ � การเปรี ย บเที ย บ กั บ หลั ก การจริ ย ศาสตร์ ส ากลว่ า หลั ก คำ � สอนของศาสนาคริ ส ต์ มี ค วามสอดคล้ อ ง สัมพันธ์อย่างไร สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์จริงได้หรือไม่ ในการตัดสินความ ถูกผิดดีชั่วของปัญหาทางศีลธรรมในปัจจุบัน เป็นต้นว่าการอภิบาลศีลอภัยบาป

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

23


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่ อ ศึ ก ษาภู มิ ห ลั ง ด้ า นประวั ติ ศาสตร์ รูปแบบวรรณกรรม การตีความด้าน พระคัมภีร์ คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอน เรื่อง “พระบัญญัติสิบประการ” จากหนังสือ อพยพ บทที่ 20 ข้อที่ 1 - 17 2. เพื่ อ ศึ ก ษาภู มิ ห ลั ง ด้ า นประวั ติ ศาสตร์ รูปแบบวรรณกรรม การตีความด้าน พระคัมภีร์ คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอน เรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสารตามคำ � บอกเล่ า ของนั ก บุ ญ มัทธิว บทที่ 5 ข้อที่ 17 – 48 และ บทที่ 7 ข้อ ที่ 12 3. เพื่ อ วิ เ คราะห์ คุ ณ ค่ า ทางด้ า น จริ ย ธรรมของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า จากเรื่ อ ง “มาตรฐานใหม่” ในการนำ�มาใช้เป็นแนวทาง การดำ�เนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน ขอบเขตของการศึกษา 1. เอกสารวิ ช าการด้ า นประวั ติ ศาสตร์ อันเป็นภูมิหลังของ “พระบัญญัติสิบ ประการ” (อพย 20:1-17) และ “มาตรฐาน ใหม่” (มธ 5:17-48; 7:12) ตลอดจนสภาพ แวดล้อมของผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ อันเป็นพื้น ฐานสำ�คัญของแนวคิดดังกล่าว 2. เอกสารวิชาการ อรรถาธิบาย

24

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

พระคัมภีร์(Commentary) World Biblical Commentary (WBC), The New Interpreter’s Bible (NIB), และ Sacra Pagina 3. พระคั ม ภี ร์ ภ าคภาษาไทยของ คณะกรรมการคาทอลิ ก เพื่ อ พระคั ม ภี ร์ (ค.พ.พ.) 4. เอกสารวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา คำ�ว่า “พระบัญญัติ 10 ประการ” หรือ “The Decalogue” มาจากคำ�ศัพท์ ภาษากรีก 2 คำ� คือ “deka” แปลว่า สิบ และ “logos” แปลว่า คำ�หรือกฎ รวมกันแล้วแปล ว่า “คำ�ศัพท์ 10 คำ� หรือกฎ 10 ข้อ” นั่นหมาย ถึง คำ�สำ�คัญหลัก 10 คำ� ที่ปรากฏอยู่ในพระ บัญญัติ 10 ประการ หรือหลักปฏิบัติที่ส�ำ คัญ 10 ข้อคำ�สำ�คัญทั้งสิบคำ�นี้ ถือเป็นคำ�ย่อของ พระบัญญัติ 10 ประการที่จารึกบนแผ่นศิลา 2 แผ่น โดยพระเจ้าและมอบให้กับโมเสสบน ภูเขาซีนาย เป็นคำ�แนะนำ�และข้อห้ามสำ�หรับ การดำ�เนินชีวิตในหมู่คณะของชาวอิสราเอล ดังที่ได้ปรากฏในหนังสืออพยพบทที่ 20 ข้อ 1 – 17 และปรากฏอีกครั้งหนึ่งในหนังสือเฉลย ธรรมบัญญัติบทที่ 5 ข้อ 6 - 21 การแบ่งพระ บัญญัติออกเป็น 10 ประการ ดังที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันนี้ ถูกกำ�หนดขึ้นครั้งแรกโดยนักบุญ


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

ออกัสติน (Augustine) และต่อมา ออริเจน (Origenes) ได้เผยแพร่ออกไป จนทำ�ให้คริสตชนทุกนิกายทั่วโลกต่างก็ยอมรับในการแบ่ง พระบัญญัติออกเป็น 10 ประการดังต่อไปนี้ คือ 1 จงนมั ส การองค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า พระเจ้ า พระองค์เดียวของท่าน 2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ 3. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ 4. จงนับถือบิดามารดา 5. อย่าฆ่าคน 6. อย่าผิดประเวณี 7. อย่าลักขโมย 8. อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น 9. อย่าปลงใจผิดประเวณี 10. อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น โครงสร้ า งของพระบั ญ ญั ติ 10 ประการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนสำ�คัญ คือ ส่วนแรก พระบัญญัติประการที่ 1 – 3 เป็นพระบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ระหว่างประชากรชาวอิสราเอลกับองค์พระผู้ เป็นเจ้า ส่วนที่สอง คือ พระบัญญัติประการ ที่ 4 – 10 เป็นพระบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน

ข้ อ ควรพิ จารณาเกี่ ย วกั บ พระบั ญญั ติ 10 ประการ 1. การแบ่งแยกบทบัญญัติออกเป็น 10 ประการ และคำ � ที่ ใช้ ใ นแต่ ล ะประโยค ปรากฏเช่ น เดี ย วกั บ กฎหมายของพวกฮิ ต ไทต์ (Hittite) ซึ่งประกอบไปด้วยคำ�สาปแช่ง หากไม่ ป ระพฤติ ต าม อั น ทำ � ให้ เ กิ ด ความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ออกกฎหมายและประชากร ที่เกี่ยวข้องและเพื่อให้ง่ายในการจดจำ�และ การนำ�ไปใช้ 2. เมื่อถูกนำ�ไปใช้ในการดำ�เนินชีวิต จริง การขยายความในรายละเอียดต่างๆ ได้ ถูกเพิ่มเติมขึ้นในภายหลังโดยผู้มีอำ�นาจ หรือ โดยสมณะผู้ ทำ � หน้ า ที่ ใ นการปกครองและ ประกอบพิธีกรรมสำ�หรับชนชาติอิสราเอลใน พระวิหาร 3. การกล่ า วถึ ง พระบั ญ ญั ติ 1 0 ประการในพั น ธสั ญ ญาเดิ ม ได้ เ กิ ด ขึ้ น อี ก หลายครั้งใน อยพ 34:14-26; ฉธบ 5:6-21 และ ฉธบ 27:15-26 โดยมีรูปแบบวรรณกรรม และคำ � อธิ บ ายแตกต่ า งกั น บ้ า งเล็ ก น้ อ ยใน แต่ละแห่ง 4. เหตุ ก ารณ์ ณ ภู เ ขาซี น าย ถือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระเป็นเจ้ากับ ประชากรชาวอิสราเอล เป็นความสัมพันธ์ แบบต่างฝ่ายต่างจะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนกัน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

25


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

พันธสัญญารูปแบบนี้เป็นการเกริ่นนำ�ล่วงหน้า ถึงพันธสัญญาทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต คือ “พันธสัญญานิรันดร” ที่จะเกิดขึ้นในพันธสัญญา ใหม่ สำ�เร็จไปโดยองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นผู้ กระทำ�ให้สำ�เร็จไป 5. สำ � หรั บ ระยะเวลาในการเขี ย น พระบัญญัติ 10 ประการนี้ อาจถูกเขียนขึ้น หลายช่วงระยะเวลาด้วยกัน กล่าวคือ ในสมัย ของโมเสส หลังสมัยของโมเสส ช่วงเวลาแห่ง การเนรเทศที่ ก รุ ง บาบิ โ ลน หรื อ แม้ ก ระทั่ ง หลังจากถูกเนรเทศ ความหมายของตั ว บทพระคั ม ภี ร์ “พระ บัญญัติ 10 ประการ” อาจแบ่ ง เป็ น หั ว ข้ อ บรรยายได้ เ ป็ น 17 ข้อ กับข้อโต้แย้งเพื่อเติมเต็มโดยพระเยซู เจ้า 6 ข้อ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 “พระเจ้าตรัสถ้อยคำ�ทั้งสิ้น ต่อไปนี้ว่า” (บทนำ�ของพระบัญญัติ 10 ประการ) ชาวอิสราเอลได้ถูกเตรียมตัวเป็น อย่างดี ในการเข้าเฝ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าใน ครั้งนี้โดยการนำ�ของโมเสส ณ บริเวณเชิง เขาซีนาย ท่ามกลางเสียงและแสงสว่างบน ภูเขาซีนายในการเสด็จมาขององค์พระผู้เป็น เจ้า เสียงเครื่องดนตรีที่เป่าจากเขาแกะได้ถูก บรรเลงให้ดังขึ้นเป็นลำ�ดับจนถึงดังที่สุด องค์

26

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

พระผู้เป็นเจ้าได้เสด็จมาตรัสแก่ที่ประชุม ณ เวลานั้น ข้อ 2 “เราคือพระยาห์เวห์ พระเจ้า ของท่ า น เป็ น ผู้ นำ � ท่ า นออกจากแผ่ น ดิ น อียิปต์ ให้พ้นจากการเป็นทาส” (บทนำ�ของ พระบัญญัติ 10 ประการ) ได้มีคำ�สอนเกิด ขึ้นมาทันทีเมื่อมีคำ�ว่า “เราคือพระยาห์เวห์” ทำ � ให้ ช าวอิ ส ราเอลทราบว่ า พระยาห์ เวห์ คือผู้ที่ช่วยให้พวกเขาผ่านพ้นจากสถานะแห่ง ความเป็นทาสสู่สถานะของการเป็นประชากร ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ข้อ 3 “ท่านต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากเรา” (พระบัญญัติประการที่ 1) พระบัญญัติประการแรกเป็นพื้นฐานของพระ บัญญัติอีก 9 ประการที่จะตามมา ในความ สัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ในลักษณะที่เป็นจุด มุ่งหมายของพระบัญญัติทั้ง 9 ประการที่เหลือ ซึ่งจะต้องมุ่งไปสู่พระบัญญัติประการแรก เป็น คำ�สั่งอย่างชัดเจน จะต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใด อีกเลยที่สมาชิกแต่ละคนของชุมชนแห่งพันธสัญญาจะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย และไม่มีพระ อื่นใดที่จะช่วยพวกเขาให้รอดพ้น ข้อ 4 “ท่านต้องไม่ท�ำรูปเคารพ ส�ำหรับตน ไม่วา่ จะเป็นรูปสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่ง อยู่ในท้องฟ้าเบื้องบน หรือซึ่งอยู่ในแผ่นดิน เบื้องล่าง หรือซึ่งอยู่ในน�้ำใต้แผ่นดิน” (พระ


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

บัญญัติประการที่ 1) การนมัสการองค์พระผู้ เป็นเจ้าอย่างถูกต้อง ซึ่งประกอบไปด้วยข้อ ห้าม 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ห้ามใช้รูปปั้น รูปเคารพใดๆ ใน การนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า 2. ห้ามเอ่ยนามของพระเจ้าอย่างไม่ สมเหตุ (ดูพระบัญญัติประการที่ 2, ข้อ 5) 3. ระเบียบการถือวันสับบาโต (ดูพระ บัญญัติประการที่ 3, ข้อ 6) ข้อ 5 “ท่านต้องไม่กราบไหว้รูป เคารพหรือนมัสการรูปเหล่านั้น เพราะเราคือ พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน เป็นพระเจ้า ที่ ไ ม่ ย อมให้ มีคู่แข่ง เป็นพระเจ้าที่ลงโทษ ความผิดของบิดาที่เกลียดชังเรา ไปถึงลูก หลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน” (พระบัญญัติ ประการที่ 1) พันธสัญญานี้เรียกร้อง การ ยอมมอบตนเองทั้งครบให้แด่พระองค์ รวม ทั้งครอบครัว และหมู่คณะทั้งหมดของชุมชน ชาวอิสราเอล หากไม่ปฏิบัติตาม ผลที่ตามมา คือ การลงโทษไปสี่ชั่วอายุคน ข้อ 6 “แต่เราแสดงความรักมั่นคง ต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของ เรา จนถึงพันชั่วอายุคน” (พระบัญญัติ ประการที่ 1) ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่รักษา พันธสัญญาของพระองค์ไว้ในอันดับแรก จะได้ รับการตอบแทนถึงพันชั่วอายุคน คือ การเป็น

ทายาทแห่งความซื่อสัตย์และทรงความดีอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุดขององค์พระผู้เป็นเจ้า ข้อ 7 “ท่านต้องไม่กล่าวพระนาม พระยาห์ เ วห์ พระเจ้ า ของท่ า นอย่ า งไม่ เหมาะสม เพราะพระยาห์ เวห์ จ ะไม่ ท รง ละเว้นโทษผู้ที่กล่าวพระนามของพระองค์ อย่างไม่เหมาะสม” (พระบัญญัติประการ ที่ 2) การพู ด ถึ ง ชื่ อ ขององค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ในบริ บ ทของพระบั ญ ญั ติ ป ระการที่ ส องนี้ หมายถึง การหยิบยกขึ้นมาพูด การเรียกร้อง การอ้างถึง การโกหก การจารึกชื่อไว้อย่างไม่มี เหตุผลอันสมควร การทดลองหรือทดสอบ หรือสาบานอย่างไร้ความหมาย ไร้วตั ถุประสงค์ คลุมเครือในความหมาย มีผลดังต่อไปนี้ คือ 1. มีค่าเท่ากับการโกหก และมีค่า เหมือนกับการสาบานเท็จหรือการให้พยาน เท็จ 2. เป็ น ข้ อ ห้ า มในการตั้ ง ชื่ อ พระ ยาห์เวห์เป็นชื่ออื่นๆ ดังเช่นเทพเจ้าอื่นๆ ที่มี การตั้งสมญานามต่างๆ ข้อ 8 “จงระลึกถึงวันสับบาโต ว่า เป็นวันศักดิส์ ทิ ธิ์ ข้อ 9 “ท่านจะต้องออกแรง ทำ�งานทั้งหมดในหกวัน” ข้อ 10 “แต่วันที่ เจ็ดเป็นวันพักผ่อนที่ถวายแด่พระยาห์เวห์ พระเจ้ า ของท่ า น ในวั น นั้ น ท่ า นต้ อ งไม่ ทำ�งานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าน บุตรชายบุตร

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

27


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

หญิง บ่าวไพร่ชายหญิง สัตว์ใช้งานหรือคน ต่ า งถิ่ น ที่ อ าศั ย อยู่ กั บ ท่ า น” (พระบั ญ ญั ติ ประการที่ 3) พระบัญญัติประการที่สาม เป็น พระบัญญัติที่ยาวที่สุดในบรรดาพระบัญญัติ 10 ประการ เพราะเป็นส่วนที่ขยายความออก มามากที่สุดของพระบัญญัติทั้งหมด ในส่วนที่ จะถูกขยายความออกมานี้ ไม่ได้เป็นการเพิ่ม เติมคำ�สั่ง หรือให้คำ�จำ�กัดความ แต่มีนัยยะถึง ประชากรที่ตะกละหรือมีความโลภในเชิงการ ค้า มีความกระวนกระวายสำ�หรับการให้วัน สับบาโตผ่านพ้นไป การถื อ วั น สั บ บาโตนี้ น อกจากจะ พบในชุมชนชาวอิสราเอลยุคโบราณแล้ว ยัง ปรากฏในชุมชนอื่นๆ อีกด้วย หมายถึง “การ พั ก ” “การยุ ติ ” ซึ่ ง ในพั น ธสั ญ ญาเดิ ม ได้ ปรากฏอย่างเด่นชัด ถึงคำ�ที่ใช้ในการเป็นวัน แห่งการหยุดพัก สำ�หรับเหตุผลทางด้านศาสนา การ หยุดพักจากกิจวัตรประจำ�วัน หมายถึง ไม่ ต้องทำ�อะไรเลย คือการหยุดพัก หรือการพัก ผ่อน ซึ่งบางชนชาตินั้นอาจจะหยุดเดือนละ 1 วันแทนสัปดาห์ละ 1 วัน หรือบางแห่งอาจจะ ไม่กำ�หนดวันที่แน่นอน วั น สั บ บาโตถื อ ว่ า เป็ น วั น พิ เ ศษใน สัปดาห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ และรั ก ษาความอิ ส ระจากการทำ � งานตาม

28

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธรรมประเพณีของการเลี้ยงชีพในหกวันโดย เฉพาะ เพราะว่าวันนี้เป็นวันขององค์พระผู้ เป็นเจ้า วันทั้งหกวันได้ถูกมอบให้ “ธุรกิจการ งานประจำ�โดยทั่วไป” ของชีวิตซึ่งเป็นการ เพียงพอแล้ว ข้อ 11 “เพราะในหกวัน พระ ยาห์เวห์ทรงสร้างฟ้า แผ่นดิน ทะเล และ สรรพสิ่งที่มีอยู่ในที่เหล่านี้ แต่ในวันที่เจ็ด พระองค์ทรงพักผ่อน เพราะฉะนั้น พระ ยาห์เวห์ทรงอวยพระพรวันสับบาโต และ ทรงทำ�ให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์” (พระบัญญัติ ประการที่ 3) การปฏิบัติตามพระบัญญัติ ประการนี้ อ้างอิงถึงการทำ�งานขององค์พระผู้ เป็นเจ้าในการสร้างโลกซึ่งสำ�เร็จใน 6 วัน ส่วน วันที่ 7 นั้น พระองค์ทรงหยุดงานของพระองค์ และการช่ ว ยชาวอิ ส ราเอลให้ ร อดพ้ น จาก การเป็นทาสของชาวอียิปต์ (ฉธบ 5:15) ก็มี ความหมายถึงการเป็นอิสระจากการกดขี่ของ ชาวอียิปต์เท่านั้น แต่ยังเป็นอิสระจากอำ�นาจ ทางการเมืองของชนชาติอื่นอีกด้วย ข้อ 12 “จงนับถือบิดามารดา เพื่ อ ท่ า นจะได้ มี อ ายุ ยื น อยู่ ใ นแผ่ น ดิ น ที่ พระยาห์ เวห์ พ ระเจ้ า ของท่ า นประทานให้ ท่าน” (พระบัญญัติประการที่ 4) นี่คือ บัญญัติที่ถูกตั้งขึ้นเป็นกฎสำ�หรับความสัมพันธ์ กั บ บิ ด าและมารดาดั ง เช่ น ความสั ม พั น ธ์ กั บ


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเริ่มต้นพันธสัญญา ผู้ ซึ่งดำ�เนินชีวิตตามพันธสัญญานี้จะต้องเริ่มต้น ด้วยการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบิดามารดา เป็น ช่องทางของพระหรรษทานแห่งชีวิต อันมา จากพระยาห์เวห์ไม่ได้มาจากมนุษย์ คำ�ว่า “นับถือ” นั้น มีความหมาย ว่า บิดามารดาพึงได้รับการแสดงความเคารพ นับถือจากบุตร และในทางตรงกันข้าม บุตรก็ ควรจะแสดงความเคารพนับถือต่อบิดามารดา ด้วยเช่นเดียวกัน บิดามารดาในที่นี้ “เป็น ตัวแทนของพระเจ้า” ในการทำ�หน้าที่เป็นผู้ เทศน์ ผู้แนะนำ� ครู และสมณะ เมื่ อ การให้ เ กี ย รติ เ กิ ด ขึ้ น กั บ บิ ด า มารดา ก็ทำ�ให้วันเวลาของเขาในแผ่นดินพันธสัญญายืนยาว และเมื่อขาดการเคารพเชื่อ ฟังบิดามารดา ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์พระผู้ เป็นเจ้าแล้ว ก็เป็นการยุติวันเวลาของพวกเขา เหล่านั้นในแผ่นดินพันธสัญญาด้วย ข้อที่ 13 “อย่าฆ่าคน” (พระ บัญญัติประการที่ 5) ความหมายของคำ� ว่า “ฆ่า, สังหาร, ทำ�ลาย” หมายถึง การฆ่า ที่ทำ�ให้มีเลือดไหลพุ่งออกมาด้วยความโกรธ หรือเพราะการแก้แค้น เกิดขึ้นจากความรู้สึก เกลียดชังส่วนตัวและความมุ่งร้าย ซึ่งไม่รวม ถึงการฆ่าสัตว์ การฆ่าในทำ�ศึกสงคราม และ การประหารชีวิตตามกฎหมาย แต่เป็นการฆ่า

บุคคลโดยได้ไตร่ตรองล่วงหน้ามาแล้ว ข้อ 14 “อย่าล่วงประเวณี” (พระ บัญญัติประการที่ 6) การล่วงประเวณี ถือ เป็นบาปหนักในชนชาติอิสราเอลสำ�หรับทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นผู้กระทำ� แม้ว่าจะดู เหมือนจะเกิดขึ้นกับผู้ชายบ่อยครั้งกว่าก็ตาม ซึ่งจะต้องได้รับการลงโทษจนถึงแก่ความตาย และโดยการเปรียบเทียบ การเป็นชู้โดยการ นมัสการพระเจ้าของต่างชาติก็เป็นความผิด หนักเช่นเดียวกัน ข้อ 15 “อย่าลักขโมย” (พระบัญญัติประการที่ 7) การตั้งพระบัญญัติประการ นี้ แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างพระบัญญัติ ประการที่ 7 (อย่าลักขโมย) และประการที่ 10 (อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น) ทั้งนี้เพื่อที่จะ ป้องกันสิทธิขั้นพื้นฐานที่พระเจ้าได้ประทาน ให้กับชาวอิสราเอลแต่ละคน นั่นก็คือ ชีวิต (ข้อ 13) การแต่งงาน (ข้อ 14) เสรีภาพ (ข้อ 15) ชื่อเสียง (ข้อ 16) รวมถึงการลักพาตัว (ข้อ 17) รากศัพท์ของคำ�ว่า “ขโมย” หมายถึง “ขโมยแบบลับๆ” “ขโมยในความมืดมิด” (โยบ 27:20) หรื อ การสร้ า งความสั บ สน ระหว่างการขโมย (2พกษ11:2) หรือแม้ กระทั่งความเชื่อถือ (ปฐก 31:19, 32) เช่น เดียวกับความรู้สึกของการหลอกลวงและการ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

29


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

ฉ้อฉล การขโมยที่ปรากฎสามในสี่ของพันธสัญญาเดิม “เป็นการกระทำ�ของความอิจฉา” เราต้องมองดูไกลกว่าประสบการณ์ ของตั ว เราแต่ ล ะคนเองที่ จ ะเรี ย นรู้ ว่ า ความ แตกแยกของความสัมพันธ์เกิดขึ้นอย่างไรถ้า หากว่ามีการขโมยเกิดขึ้น ข้อ16 “อย่าเป็นพยานเท็จใส่รา้ ย เพื่อนบ้าน” (พระบัญญัติประการที่ 8) พระบัญญัติประการที่ 8 นี้ เกี่ยวข้องกับ กระบวนการพิจารณาคดีในชุมชนพันธสัญญา เดิม หมายถึง “การโกหก การหลอกลวง การ กล่าวเท็จ การฉ้อโกง” ที่เกิดขึ้นในพันธสัญญา เดิมนั้น มีความหมายถึง การเป็นพยานเท็จ หลบเลี่ยงหรือเป็นพยานอย่างไร้ความหมาย ในมุ ม มองของหนั ง สื อ อพยพที่ มี ต่ อ พระบัญญัติประการนี้ อ้างอิงถึงความสัมพันธ์ ของการเป็นพยานต่อเพื่อนบ้าน โดยการต่อ ต้าน “การรายงานเท็จ” ข้อ 17 “อย่าโลภมักได้บา้ นเรือน ของเพื่อนบ้าน อย่าโลภมักได้ภรรยาของ เพื่อนบ้าน หรือบ่าวไพร่ชายหญิง โค ลา หรือ ทรั พ ย์ สิ น ใดที่ เ ป็ น ของเพื่ อ นบ้ า น” (พระ บัญญัติประการที่ 9 และ 10) พระบัญญัติ ประการที่ 9 และ 10 นี้ กำ�หนดความหมาย ที่แน่นอนของคำ�กิริยาที่ใช้ คือ “ปรารถนา แสวงหา อยากได้ของผู้อื่น ตัณหา” หมายถึง

30

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การกระทำ � ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการถู ก โน้ ม น้ า วให้ กระทำ� โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถูกโน้มน้าวให้ กระทำ�ที่เป็นข้อห้าม อันเกิดมาจาก “ความ ปรารถนาที่จะได้มาเป็นเจ้าของ” เป็นพิเศษ เพื่อต้องการตักเตือนบางคน “ในการใช้ตำ� แหน่ ง เพื่ อ การแสวงหาผลประโยชน์ แ ละ อำ�นาจ” หรือการให้สินบนต่อเจ้าหน้าที่อัน เกิดมาจาก“ความปรารถนาที่มากเกินไป” ความโลภอย่ า งมากเกิ น ไปนี้ เ อง เป็นต้นเหตุที่น�ำไปสู่ความรุนแรงและการล่วง ละเมิดพระบัญญัติประการอื่นได้ การวางพระ บัญญัตินี้ไว้สุดท้าย จึงเป็นการย�้ำเตือนหรือให้ ความส�ำคัญพระบัญญัติประการที่ 10 นี้ เป็น เสมือนพื้นฐานส�ำคัญของพระบัญญัติทั้งหมด คำ�ว่า “บ้านของเพื่อนบ้าน” ใน บริบทนี้หมายความถึง ทรัพย์สินของเพื่อน บ้าน ซึ่งหมายถึง ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง วัว และ ลา (อยพ 20:17) บทนำ�ของข้อโต้แย้ง 6 ประการ พระเยซูเจ้าทรงเน้นย�้ำถึงพระบัญญัติ 10 ประการนี้อีกครั้งหนึ่ง ในบทเทศน์บน ภูเขาของพระองค์ (มธ 5-7) บนพื้นฐานของ ความรักและความเมตตา ทั้งต่อพระเจ้าและ ต่อเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นดังพระบัญญัติใหม่ที่ พระองค์ทรงตั้งขึ้น (มธ 19) โดยการชี้แจงและ


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

การตีความหมายใหม่ให้มีความสมบูรณ์มาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสาระส�ำคัญที่ควรจะมีในการ ถือพระบัญญัติ ข้ อ โต้ แ ย้ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น หั ว ใจสำ � คั ญ ของบทเทศน์บนภูเขา ได้ท�ำ ให้ผู้อ่านมีความ มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าคำ�สอนของพระเยซูเจ้าทั้ง ครบนั้น ไม่ได้เป็นการยกเลิกพระบัญญัติ 10 ประการของเดิม แต่ได้น�ำ เสนอถึงเป้าหมาย และการเติมเต็มในความหมายที่สมบูรณ์มาก ขึ้น ข้ อ โต้ แ ย้ ง ประการที่ 1 “อย่ า ฆ่ า คน” (มธ5:21-26) “ผู้ใดฆ่าคน” มีผลทำ�ให้ ต้องทำ�การตัดสินคดีในศาล ซึ่งมีล�ำ ดับขั้น ตอน คือ 1) ศาลท้องถิ่น 2) ศาลสูง และ 3) ศาลของพระเจ้า โดยมีความเกี่ยวข้องกับการ ลงโทษใน “ไฟนรก” ซึ่งเป็นการลงโทษขั้น สูงสุดในนิรันดรภาพ สำ�หรับบุคคลที่โต้เถียง กัน เขาจะต้องผ่านกระบวนการตัดสินทั้ง 3 ศาลนี้ จนในที่สุดเขาจะต้องถูกตัดสินลงโทษ ด้วยการประหารชีวิต หากเขาไม่ยุติการโต้ เถียงกัน พระเยซู เจ้ า กล่ า วว่ า “ความโกรธ เคื อ ง” เป็ น เหมื อ นการฆ่ า พี่ น้ อ งของท่ า น ในจิตใจ ถือเป็นการละเมิดกฎของพระเจ้า ประการหนึ่งและเป็นเหตุให้บุคคลนั้นจะต้อง ได้รับการตัดสินลงโทษ สำ�หรับพระเยซูเจ้า

นั้นทัศนคติภายในเป็นสิ่งที่ส�ำ คัญที่สุด ซึ่งถูก แสดงออกมาเป็ น การกระทำ � ที่ ไ ม่ เ หมาะสม ภายนอก ภาพแรก เป็ น ภาพของการถวาย เครื่องบูชา ดังที่กระทำ�กันทั่วไปในพระวิหาร ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำ �คัญมากสำ�หรับความขุ่น เคืองใจและความกระตือรือร้นที่ต้องการการ คืนดีก่อนที่เขาจะถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า เพื่ อ ให้ พ ระองค์ ย อมรั บ สิ่ ง ที่ ค นคนนั้ น นำ � มา ถวาย “จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าพระแท่น” และทันทีให้แสวงหาการคืนดี “ขณะที่กำ�ลัง เดินทาง” ได้ทำ�ให้เห็นภาพของความจำ�เป็น ที่จะต้องมีการคืนดีอย่างเร่งด่วนและชัดเจน ซึ่งตามธรรมประเพณีของชาวยิวจะไม่ตัดสิน ลงโทษใครโดยปราศจากการไตร่ ส วนอย่ า ง รอบคอบและมีพยานบุคคลอย่างเพียงพอ ข้อโต้แย้งประการที่ 2 “อย่าผิด ประเวณี” “บาปชู้สาว” มีต้นเหตุจากความ คิดภายในของคน การมองผู้หญิงด้วยความ ใคร่ ความปรารถนา การจินตนาการความ สัมพันธ์ทางเพศกับเธอนั้น เป็นการมองที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ ตั ณ หา เป็ น ความรู้ สึ ก ทั่วไปของผู้ชายที่คิดอุลามกกับผู้หญิง ถือว่า ได้กระทำ�การล่วงประเวณีแล้ว คำ�ว่า “ตาขวา” และ “มือขวา” ใน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

31


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

ที่นี้หมายถึง การใช้ด้วยความถนัด มีคุณค่า มากกว่าตาซ้าย คำ�ว่า “จงควักมัน (ดวงตา) ทิ้งเสีย” หรือ “จงตัดมัน (มือขวา) ทิ้งเสีย” เป็นภาษาเปรียบเทียบที่รุนแรง เราไม่จำ�เป็น ที่จะต้องตัดอวัยวะต่างๆ ทิ้งจริงๆ ซึ่งจะเกิด ปัญหาอื่นตามมา แต่ให้หยุดหรือยุติที่ความคิด ภายในมากกว่า ข้อโต้แย้งประการที่ 3 “อย่าหย่า ร้าง” พระเยซูเจ้าได้ใช้ค�ำ ที่รุนแรงในการต่อ ต้านการหย่าร้าง ส่วนแรกของข้อความนี้มี แนวความคิดที่ว่า ผู้ชายที่เป็นชู้กับผู้หญิงอื่น ที่หย่าร้างมาแล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามีการปฏิบัติ แบบนี้ในยุคนั้นเช่นเดียวกับยุคปัจจุบัน ข้อโต้ แย้งนี้มีความตรงกันข้ามกับแนวความคิดของ บรรดาฟาริสีใน 19:3-12 ที่บอกว่าโมเสส อนุญาตให้หย่าร้างได้ แต่พระเยซูเจ้าไม่อนุญาตให้ ก ระทำ � (เช่ น เดี ย วกั บ ที่ ก ล่ า วใน มก 10:9 และ 1 คร 7:10) สามีที่หย่าร้างกับภรรยาของเขาเป็น เหตุให้เธอต้องเป็นชู้ เพราะในวัฒนธรรมขณะ นั้น ไม่เหมือนกับวัฒนธรรมของเราในปัจจุบัน บรรดาหญิ ง หม้ า ยยากที่ จ ะดำ � เนิ น ชี วิ ต ตาม ลำ�พัง ยกเว้นว่าเธอจะเป็นโสเภณี หรือไม่เธอ ก็จะต้องไปหาสามีใหม่และดังนั้นเอง ทำ�ให้ เธอได้กระทำ�ผิดในข้อหาการมีชู้ และผู้ชาย ที่แต่งงานแล้ว ได้หย่าร้างกับภรรยาของเขา

32

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เองและมี ภ รรยาใหม่ ก็ เ ป็ น การมี ชู้ ด้ ว ยเช่ น เดียวกัน ข้ อ โต้ แ ย้ งประการที่ 4 “อย่ า สาบาน” พันธสัญญาเดิมได้กล่าวชัดเจน ถึงการ สาบานอั น เป็ น การกระทำ � ที่ ผู ก มั ด ผู้ ที่ ก ล่ า ว สาบาน “การสาบานเท็จ” ยังหมายถึง “การ ผิดสาบาน” อีกด้วย พระเยซูเจ้าปฏิเสธด้วย เหมือนกับที่ก ล่า วคำ �สาบาน “อย่า สาบาน เลย” แต่ควรที่จะพูดความจริงมากกว่า ซึ่ง ควรจะกล่าวว่า “ใช่ หรือ ไม่ใช่” ด้วยความ จริงใจเท่านั้น การกล่าวคำ�สาบานอย่างฟุ่มเฟือยใน ความเป็นจริงถือเป็นการโกหก ซึ่งในยุคนั้น การสาบานเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าการพูดความ จริ ง ในกระบวนการตั ด สิ น ตามกฎหมายที่ ต้องการข้อมูล ข้อโต้แย้งประการที่ 5 “อย่าโต้ ตอบ” กฎหมาย “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็น รูปแบบของการแก้แค้นของบุคคลชนิดหนึ่งที่ เรียกว่า “Lex Talionis” ที่มีกฎการปรับโทษ เท่ากับความผิดหรือเท่ากับความเสียหายที่ได้ รับ (ดู ลนต 24:17-20; ฉธบ 19:21) ซึ่งพบได้ใน ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบีและกฎหมาย ของชาวอัสซีเรียเช่นเดียวกัน หลักการนี้ใช้ ในการลงโทษผู้ ก ระทำ � ผิ ด ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ บั ง คั บ ว่ า จะต้ อ งกระทำ � ตามสิ่ ง ที่ ก ฎหมายกำ � หนด


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

เท่านั้น แต่มีจุดประสงค์ที่จะจำ�กัดขอบเขต การแก้แค้นมิให้เลยเถิดไป ภาพแรกที่อ้างถึงคนที่ “โจมตีหรือ ทำ�ร้าย” ด้วยการตบแก้มขวา ซึ่งปกติจะตาม ด้วยการตบแก้มซ้าย การยอมให้อีกฝ่ายหนึ่ง ตบแก้มอีกครั้งหนึ่งนี้หมายถึง การไม่แก้แค้น บุคคลที่ล่วงละเมิดหรือกระทำ�ผิดต่อเรา ภาพที่ ส องเกี่ ย วข้ อ งกั บ การกระทำ � ตามกฎหมายที่ว่า “อย่ายอมขึ้นศาล” แต่ยอม ความกันเสียแต่โดยดี คือใครอยากเอาเปรียบ อะไรจากเราก็ให้เขาไปเสียให้มากกว่าที่เขา อยากได้ คือการให้ “เสื้อตัวนอก” หรือ “เสื้อ คลุม” หรือ “เชือกรัดเอว” เพิ่มให้กับเขาอีก ด้วย ภาพที่สามแสดงให้เราเห็นภาพเมื่อ บุคคลหนึ่งได้ปฏิบัติหรือการบริการแก่ทหาร ตามสิ ท ธิ ที่ ท หารจะเรี ย กร้ อ งให้ ผู้ ห นึ่ ง ผู้ ใ ด ปฏิบัติตามได้ เช่น ให้เราช่วยแบกสิ่งของเป็น ระยะทางหนึ่งหลัก บุคคลที่ถูกเรียกร้องให้ กระทำ�ตามนั้น ไม่ควรจะกระทำ�ตามเฉพาะ ระยะทางที่ทหารได้เรียกร้องให้กระทำ�เท่านั้น แต่ ค วรกระทำ�อีก เท่าหนึ่งจากสิ่งที่เขาเรียก ร้องอีกด้วย ซึ่งแตกต่างไปจากการกระทำ�ของ ชาวโลกทั่วไป คำ�ว่า “ให้ยืม” เป็นการให้ยืมโดยไม่ หวังอะไรกลับคืนมา คำ�สอนนี้มีความเกี่ยวโยง

กับคำ�สั่งที่ว่า “จงรักศัตรู” ซึ่งจะเกิดขึ้นในข้อ โต้แย้งต่อไป สำ�นวนนี้ไม่ได้สอนเฉพาะการให้ และการให้ยืมธรรมดาเท่านั้น แต่สอดคล้อง กันกับทั้งข้อโต้แย้งข้อถัดมาและข้อถัดไปอีก ด้วย คือเรื่องการสาบานและการรักศัตรู ข้ อ โต้ แ ย้ ง ประการที่ 6 “อย่ า ถื อ ใครเป็นศัตรู” ข้อโต้แย้งนี้ได้นำ�เรากลับไปสู่ หนังสือเลวีนิติ 19:18 ที่ว่า “ท่านจะต้องไม่ แก้แค้น หรืออาฆาตชนชาติเดียวกับท่าน แต่ จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เราคือพระ ยาห์เวห์” ซึ่งได้ถูกกล่าวอย่างเต็มรูปแบบใน 22:39 “บทบัญญัติประการที่สองก็เช่นเดียว กั น คื อ ท่ า นต้ อ งรั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ เ หมื อ นรั ก ตนเอง” จากคำ�ว่า “เหมือนรักตนเอง” ซึ่ง อาจจะละเว้นไว้ในที่นี้เพื่อที่จะทำ�ให้เกิดรูป แบบในเชิงเปรียบเทียบอย่างแท้จริง กับคำ�ที่ สอง “จงเกลียดศัตรู” สิ่งที่ตามมาแม้ว่าจะไม่ อยู่ในพันธสัญญาเดิม แต่เป็นการอ้างถึงความ รู้สึกทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพื้นฐานของแนวความคิด นี้ รวมทั้งชาวคุมรานที่มีแนวความคิดนี้เช่น เดียวกัน คำ�ว่า “เพื่อนบ้าน” หมายถึงชาวยิว ด้วยกันเอง ส่วนคำ�ว่า “ศัตรู” ก็คือ “คนต่าง ชาติ” นั่นเอง ค�ำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงรัก ศั ต รู ” และ “อธิ ษ ฐานภาวนาให้ กั บ ผู ้ ที่

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

33


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

เบียดเบียนท่าน” ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติหรือ กล่าวถึงสิ่งใหม่ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในธรรม ประเพณีของชาวยิว ทัศนคติแห่งความรัก ที่มุ่งไปสู่ทุกสิ่งทุกอย่าง “การรักศัตรู” เป็น สิ่ ง ส�ำคั ญ ที่ สุ ด ส�ำหรั บ คุ ณ ลั ก ษณะที่ แ ท้ จ ริ ง ของการเป็นศิษย์ ที่พระเยซูเจ้าทรงเน้นย�้ำถึง ความรักที่ไม่มีขอบเขตจ�ำกัดก็ “เพื่อท่าน” จะ ได้เป็น “บุตร” ของพระบิดา เป็นความจริงที่พระเจ้าได้ประทาน พระหรรษทานของพระองค์ คือ แสงแดดและ น�้ำฝน แก่คนดีและคนเลว ค�ำที่แตกต่างกัน ระหว่าง “ดี” กับ “เลว” ซึ่ง ค�ำว่า “เลว” ใน บริบทนี้ เป็นการเปรียบเทียบหมายถึง “ศัตรู” ของพระเจ้า การรักศัตรูนี้ เป็นดังการกระท�ำ ของพระเจ้าที่ปฏิบัติต่อผู้ที่ต่อต้านหรือกบฏ ต่อพระองค์ ข้ อ ความนี้ ไ ด้ ทำ � ให้ เราได้ ไ ตร่ ต รอง ถึงการโต้ตอบความดีด้วยความดี ซึ่งคนโดย ทั่วไปได้ปฏิบัติอยู่แล้ว บรรดา “คนเก็บภาษี” และ “คนต่างชาติ” ก็ปฏิบัติกัน แต่ก็ยังไม่ ได้ เป็ น ความรัก ที่สมบูร ณ์ดังเช่นการรัก ศัตรู หรือผู้ที่ทำ�ให้เราขุ่นเคืองใจ การทักทายศัตรู จึงหมายถึง การปรารถนาให้สันติสุข ความ ชื่นชมยินดี และคำ�อวยพรเกิดขึ้นกับเขา “บำ�เหน็จรางวัล” เป็นสิ่งที่จะได้รับ เมื่อกระทำ�ความดี เป็นสิ่งที่สมควรจะได้รับ

34

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

จากพระเจ้าเมื่อกระทำ�ความดี มิใช่เรียกร้อง บำ�เหน็จรางวัลหรือคำ�ชมเชยจากมนุษย์ด้วย กัน เพราะเมื่อมือขวาทำ�ความดี ไม่ควรให้มือ ซ้ายรู้ และเมื่อสวดภาวนาก็ให้เข้าไปในห้อง ชั้นใน ปิดประตู และสวดภาวนา ทำ�ดังนี้ก็จะ ได้รับบำ�เหน็จรางวัลจากองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่ อ กระทำ � ดั ง นี้ บ รรดาศิ ษ ย์ ก็ จ ะได้ ชื่อว่าเป็น “คนสมบูรณ์” ดังที่พระบิดาเจ้าผู้ สถิตในสวรรค์ทรงมีความสมบูรณ์ คือ ทรง ประกอบไปด้วยคุณธรรมความรักและความ เมตตาเป็นหลักสำ�คัญ คำ�ว่า “สมบูรณ์” พบบ่อยครั้งในพันธสัญญาเดิม เป็นการอ้างถึงความสมบูรณ์ ใน บริบทของความชอบธรรมทางด้านจริยธรรม เช่น ปฐก 6:9 โนอาห์เป็นคนดี ปฐก 17:1 อับราฮัม และโยบ สำ�หรับมัทธิวการเป็น “ผู้ สมบูรณ์” หมายถึงการเติมเต็มบทบัญญัติด้วย ความรักอย่างไม่มีขีดจำ�กัด กฎทองคำ� (Golden Rule) “ท่านอยากให้เขาทำ�กับท่านอย่างไร ก็จงทำ�กับเขาอย่างนั้นเถิด นี่คือธรรมบัญญัติ และคำ�สอนของบรรดาประกาศก” (มธ 7:12) เป็นการกล่าว “สรุป” ของกฎต่างๆ ในพระ วรสาร พระเยซูเจ้าได้หยิบยกข้อความจาก ฉธบ 6:5 และ ลนต 19:18 ขึ้นมาดังเช่นการ


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

สรุปกฎทั้งหมดและข้อคำ�สอนของบรรดาประ กาศกต่างๆ “รักเพื่อนบ้านของท่านดังเช่น ตัวท่านเอง” เป็นการยุติธรรมที่จะกระทำ�กับ คนอื่นในสิ่งที่เราต้องการให้คนอื่นทำ �กับเรา ซึ่งนักบุญเปาโลยังใช้ในคำ�อธิบายคำ�สอนของ ท่านใน โรม 13:8-10; กท 5:14 ด้วยการอ้างถึง กฎและบรรดาประกาศก ผู้นิพนธ์พระวรสาร นำ�ส่วนสำ�คัญของบทเทศน์บนภูเขา ที่ถูกปิด ด้ ว ยข้ อ ความที่ ไ ด้ เริ่ ม ต้ น ก่ อ นบทเทศน์ ใ น มธ 5:17 อันเป็นการเชิญชวนหรือเปิดประเด็น บทเทศน์บนภูเขา “จงอย่าคิดว่าเรามาเพื่อ ลบล้างธรรมบัญญัติหรือคำ�สอนของบรรดา ประกาศก เรามิได้มาเพื่อลบล้าง แต่มาเพื่อ ปรับปรุงให้สมบูรณ์” (มธ 5:17) สรุปผลการศึกษา “พระบัญญัติ 10 ประการ” เป็น กฎหมายดั้งเดิมของชนชาติอิสราเอล เหมือน กับชนชาติอื่นๆ ในโลกยุคโบราณ ที่จะต้อง มีกฎระเบียบไว้เพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิด ขึ้นในชาติ ซึ่งสาระสำ�คัญของ “พระบัญญัติ 10 ประการ” นี้ คือ การสร้างความสัมพันธ์ 2 ระดับ กล่าวคือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้า และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล “พระบัญญัติ 10 ประการ” นี้ ได้กล่าว ถึ ง ข้ อ ห้ า มต่ า งๆ อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมชั ด เจน

สำ � หรั บ การปฏิ บั ติ ทำ � ให้ เ กิ ด การพิ จ ารณา มาตรฐานของจริยศาสตร์ในสังคมของคนใน ชาติ เ พี ย งแค่ ก ารปฏิ บั ติ แ ต่ เ พี ย งภายนอก เท่านั้น ในส่วนที่เป็นจิตตารมณ์ หรือพันธะ ภายในระหว่างสมาชิกในชุมชน ได้ถูกละเลย ในเวลาต่อมา เมื่ อ มาถึ ง สมั ย พระเยซู เจ้ า บรรดา ธรรมจารย์และฟาริสี ผู้มีบทบาทในการบัญญัติกฎหมาย ตลอดจนข้อบังคับต่างๆ ได้ บัญญัติกฎข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้อง กับวิถีการดำ�เนินชีวิตของบุคคลในช่วงเวลา นั้น จิตตารมณ์ที่แท้จริงของตัวบทบัญญัติคือ ความรักและความเมตตา ได้ถูกละเลยไป พระเยซู เจ้ า จึ ง ต้ อ งสอนพวกเขาให้ พิจารณาการกระทำ�ด้านจริยธรรมต่างๆ อย่าง ละเอียด โดยเฉพาะการเริ่มต้นกระทำ�ผิดด้าน จริ ย ธรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความคิ ด ของมนุ ษ ย์ ก่อนการกระทำ�ภายนอก ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ของแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรม ดังนั้น พระเยซูเจ้า จึงไม่ได้เป็นผู้ออก บทบัญญัติใดๆ เพิ่มเติม แต่สิ่งที่พระองค์ทรง สั่งสอนในบทเทศน์บนภูเขา ได้มีอยู่ก่อนแล้ว ในหนังสือพระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม คือ บทบัญญัติที่ได้รับมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ณ ภูเขาซีนาย และคำ�สอนเพิ่มเติมของบรรดา ประกาศก โดยพระองค์ทรงสรุปคำ�สอนด้าน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

35


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

จริยธรรมของพระองค์ว่า “ท่านอยากให้เขา ทำ � กั บ ท่ า นอย่ า งไร ก็ จ งทำ � กั บ เขาอย่ า งนั้ น เถิด” (มธ 7:12) อภิปรายผล จากการศึกษาเรื่อง “พระบัญญัติ 10 ประการ” ในพันธสัญญาเดิม และ “มาตรฐาน ใหม่ ข องพระเยซู เจ้ า ” ในพั น ธสั ญ ญาใหม่ อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านรูปแบบวรรณกรรม การตีความด้านพระคัมภีร์ และคุณค่า ทางจริยธรรม ท�ำให้ทราบว่า แนวทางการ ด�ำเนิ น ชี วิ ต ด้ า นจริ ย ธรรมของทั้ ง สองแหล่ ง ข้อมูล มีความสอดคล้องกัน และมุ่งประเด็น ไปในเรื่องเดียวกัน คือ ความรัก ความเมตตา และความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันกับทุกๆ คน ในสังคม ซึ่งเป็นหลักค�ำสอนสากล สามารถน�ำ ไปประยุกต์เป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิตได้ กับทุกคนและกับทุกสังคม และสามารถพบ หลักค�ำสอนนี้ในทุกๆ ชนชาติ ทุกๆ ศาสนา โดยธรรมชาติมนุษย์มีเหตุผลในการ ไตร่ตรองความประพฤติหรือการปฏิบัติต่างๆ ว่ า มี ค วามสมเหตุ ส มผลหรื อ ไม่ ใ นแต่ ล ะการ กระทำ� ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับหลักคำ�สอนใน ศาสนา ธรรมเนียมปฏิบัติในสังคม กฎหมาย บ้ า นเมื อ ง อั น เป็ น ที่ ย อมรั บ โดยทั่ ว ไปของ บุคคลในสังคม

36

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

แต่ ก ารปฏิ บั ติ ต ามตั ว บทกฎหมาย ต่างๆ อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ และไม่อาจ นำ�ความสมบูรณ์ หรือความถูกต้องมาใช้ใน การตั ด สิ น ด้ า นความประพฤติ ห รื อ ด้ า นศี ล ธรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ โดยเฉพาะใน สถานการณ์ที่มีความสลับซับซ้อนของตัวแปร ของการกระทำ� ตลอดจนลักษณะนิสัยหรือสิ่ง ที่อยู่ภายในของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่าง กันอย่างสิ้นเชิง ทำ�ให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือ การตัดสินใจทางด้านมโนธรรมที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การกระ ทำ�ความดี การตัดสินใจในการกระทำ�แต่ละครั้ง จึงต้องอาศัยเหตุผลและความสมเหตุสมผล ซึ่งศาสนาคริสต์ใช้ค�ำ ว่า “จิตตารมณ์แห่งความ รัก” หรือ “กฎแห่งความรัก” เป็นพื้นฐานที่ มั่นและสำ�คัญที่สุด เพราะศาสนาคริสต์เชื่อใน พระเจ้าซึ่งเป็น “องค์ความรัก” (Deus Caritas Est = พระเจ้าเป็นความรัก) การกระทำ� หรือการตัดสินใจเลือกเพื่อปฏิบัติในแต่ละครั้ง จึงจะมีความสมบูรณ์ ถูกต้องแท้จริง และเป็น ความดีเสมอ เพราะมีรากฐานมั่นคงอยู่ในกฎ แห่งความรัก สิ่งนี้เองเป็น “มาตรฐานใหม่” ที่ พระเยซูเจ้าได้เพิ่มเติมลงไปในข้อโต้แย้งทั้ง 6 ประการของพระองค์ในบทเทศน์บนภูเขา


ลือชัย ธาตุวิสัย เชิดชัย เลิศจิตรเลขา สมเกียรติ ตรีนิกร และนุพันธ์ ทัศมาลี

อั น มี พื้ น ฐานมาจากคุ ณ ธรรมหลั ก ทางด้ า น เทววิทยา 3 ประการ คือ ความเชื่อ ความหวัง และความรัก โดยที่ “ความรัก” ถือเป็น คุณธรรมที่สำ�คัญที่สุดของการกระทำ�ทางด้าน ศีลธรรม และเห็นได้ชัดว่า “ความรัก” คือ พื้นฐานและมาตรการของบัญญัติ การปฏิบัติ จริยธรรมและศีลธรรมทั้งมวล ข้อเสนอแนะ การนำ�หลักคำ�สอนของพระเยซูเจ้า เรื่อง “มาตรฐานใหม่” ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำ�วัน เป็นเครื่องมือช่วยในการประพฤติ ทางด้านจริยธรรม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ความคิด การ ตัดสินใจ และการกระทำ�จนผลของการกระ ทำ�นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ เป็นความสมบูรณ์ ในการกระทำ�ทางด้านจริยธรรมอย่างแท้จริง การนำ�หลักการนี้ไปใช้ในชีวิตประจำ� วัน มีประเด็นที่ควรพิจารณาที่สำ�คัญ คือ สิ่ง แวดล้อมต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเอื้ออำ�นวยทำ�ให้ เกิดกระบวนการกระทำ�ทางด้านจริยธรรม ซึ่ง มี ค วามแตกต่ า งกั น ในแต่ ล ะบุ ค คล แต่ ล ะ สถานที่ และแต่ละสถานการณ์ จึงไม่สามารถ มีคำ�ตอบได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่า การกระ ทำ�ทางด้านจริยธรรมใด เป็นการกระทำ�ที่ถูก หรือผิด เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม

การให้คำ�ตอบกับการกระทำ�ทางด้าน จริยธรรม จึงควรเป็นไปด้วยความรอบคอบ อันอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง กฎหมาย ของสังคมนั้นๆ และบรรทัดฐานทางสังคมด้าน อื่นๆ ด้วย บรรณานุกรม ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. 2545. จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำ�นัก พิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, บาทหลวง. 2548. คริสตจริยศาสตร์พื้นฐาน. พิมพ์ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แผนกการ พิมพ์โรงเรียนดอนบอสโก. สมาคมพระคริสตธรรมไทย. 2543. พระ คริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญา เดิมและพันธสัญญาใหม่ (ฉบับเรียง พิมพ์ใหม่ 1998). พิมพ์ครั้งที่ 5. เกาหลีใต้ : ม.ม.พ. Anderson Bernhard W. 1973. The Living World of the Old Tes tament. 2nd ed. Hong Kong : The Continental Printing.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

37


คุณค่าทางจริยธรรมของคำ�สอนเรื่อง “มาตรฐานใหม่” ของพระเยซูคริสตเจ้า จากพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการนำ�มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบัน

Anderson Bernhard W. 1966. Under stand the Old Testament. 2nd ed. New Jersey : Prentic Hall. Bergant Dianne, CSA. 2001. People of the Covenant. 1st ed. Ohio : Sheed & Ward. Bourke Myles M. 1968. The Book of Exodus. Volumn 2. 1st ed. New York : The Liturgical. Brown Raymond E. 1997. An In troduction to the New Testa ment. U.S.A. : Princeton University. Craghan John F.. 1985. Exodus. Vol umn 3. Minnesota, U.S.A. : The Liturgical.

38

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Darton, Longman and Todd. 1985. The New Jerusalem Bible (Standard Edition). 2th ed. Great Britain : Oxford University. Ellis Peter F. 1962. The Men and the Message of the Old Tes tament. 1st ed. New York : The North Central. Flanagam Neal M. O.S.M. 1978. Mark Matthew, Luke. 1st ed. Minesota : The Liturgical. Robertson David. 1977. The Old Tes tament and the Literary Critic. 1st ed. Philadelphia : Fortress.


E

การศึกและปั ษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาต ญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

uthanasia : A Study of Development of the Meaning and Its Ethical Dilemma

บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะคามิลเลียน * อาจารย์ประจำ�หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, S.J.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะเยสุอิต * อาจารย์ประจำ�หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงนันทพล สุขสำ�ราญ

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี

Rev.Dr.Cherdchai Lertjitlekha, M.I.

* Reverend in Roman Catholic Church, Camillian. * Lecturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Dr.Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J.

* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lecturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Nantapon Suksamran

* Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College. * Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese.


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ

การวิจยั นีม้ จี ดุ ประสงค์เพือ่ ทราบ 1) เพือ่ ศึกษาพัฒนาการความ หมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง 2) เพือ่ ใช้เป็นแนวทาง ในการแก้ปัญหาศีลธรรมเรื่องการุณยฆาตต่อไปในอนาคต โดยอาศัย แนวทางจากคำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาต เห็นถึงพัฒนาการทางด้านความหมายจากอดีตจนถึงปัจจุบนั พบ ว่ามีความแตกต่างในสาระส�ำคัญของความหมายและการน�ำไปใช้ สาเหตุ ส�ำคัญทีม่ ผี ลต่อพัฒนาการทางด้านความหมายทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปจากอดีต จนถึงปัจจุบนั 2) พบปัญหาศีลธรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งการุณยฆาต คือ ปัญหาความเป็นเอกเทศ (Absolute Autonomy) ปัญหาการเร่งความ ตายให้มาถึงเร็วกว่าความตายตามธรรมชาติและการยืดสภาพชีวิตพืช ออกไปอย่างไม่มกี �ำหนด ปัญหาการบิดเบือนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ กับผูป้ ว่ ยระยะสุดท้าย 3) พบแนวทางการแก้ปญ ั หาศีลธรรมเรือ่ งการุณยฆาต ตามแนวทางค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก คือ พระศาสนจักร คาทอลิกส่งเสริมสิทธิทจี่ ะมีชวี ติ อยูแ่ ละสิน้ ใจอย่างสมศักดิศ์ รีของผูป้ ว่ ยที่ ก�ำลังจะสิน้ ใจ พระศาสนจักรคาทอลิกยำ�้ ว่าเราไม่เป็นเจ้าของชีวติ เราเป็น แต่เพียงผู้ดูแลชีวิต และพระศาสนจักรคาทอลิกส่งเสริมการมีคุณภาพ ชีวติ คำ�สำ�คัญ :

Abstract

40

1) การุณยฆาต 2) คำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิก

The purposes of this research were to find: 1) The development of euthanasia’s meaning and of its related problems. 2) A practical solution to the dilemma thereof. The results of the study were: 1) from the past up to the present, the meaning and the application of euthanasia have

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

been varied. 2) There are ethical problems of euthanasia as the absolute autonomy of the person who wants to quicken death, or sustain the vegetarian state indeterminately, and also the problems of distortion of the relationship between the doctor and the patient. 3) The Catholic Church promotes the right to life and an honorable death of the dying patients, however the Church insists that we are just the stewards of life, and do not own it ourselves, so we have to promote the quality of life. Keywords : 1) Euthanasia 2) Catechism of the Catholic Church

ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยา ศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี มี ก ารพั ฒ นาไปอย่ า ง รวดเร็ว มนุษย์ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาเพื่อความ สุขสบายของตน แต่ละคนใช้วัตถุเหล่านี้อย่าง เสรีภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขตามต้องการ จนลืมความจริงประการหนึ่งในชีวิต คือความ ทุกข์ทรมานและความตายยังอยู่ในช่วงชีวิต เสมอ ความก้าวหน้าทางการแพทย์จึงเป็น เครื่องมืออีกประการหนึ่งที่มนุษย์ใช้เพื่อต่อสู้ กับความตาย เพื่อยืดอายุ หรือใช้เพื่อหลีกหนี ความทุกข์ทรมานที่ไม่พึงประสงค์ คำ�ว่า “การุณยฆาต” ตรงกับคำ�ใน ภาษาอังกฤษว่า “Euthanasia” ซึ่งมีรากศัพท์

มาจากคำ�ในภาษากรีก 2 คำ� คือ คำ�ว่า “eu” แปลว่า good และคำ�ว่า “thanatos” แปล ว่า death ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงคำ�ว่า การุณยฆาตตามความหมายของรากศัพท์จึงหมายถึง การตายอย่างดีหรือการตายอย่างมีความสุข เชิดชัย เลิศจิตรเลขา (2545: 83) นิยามความ หมายดั้งเดิมของคำ�การุณยฆาตว่า หมายถึง “การปฏิบัติต่อผู้ป่วยให้สิ้นใจอย่างดีเมื่อความ ตายตามธรรมชาติมาถึง เป็นการตายที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติอย่างสมศักดิ์ศรี” ปัจจุบันมีความเข้าใจในความหมาย ของการุณยฆาตที่แตกต่างออกไปจากความ หมายดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง ดังที่พระสมณสาสน์

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

41


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

“พระวรสารแห่งชีวิต” (Evangelium Vitae) ของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1993 นิยามคำ�ว่าการุณยฆาต ในปัจจุบันไว้ว่า หมายถึง “การกระทำ� หรือ การละเว้นที่จะกระทำ� ซึ่งโดยตัวมันเองและ โดยเจตนาแล้ว เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการตาย ของบุคคลมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัด ความทุกข์ทรมานให้สิ้น” นิยามของการุณยฆาตดั้งเดิมคือให้ผู้ป่วยสิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรี เมื่อความตายตามธรรมชาติมาถึง แตกต่าง อย่างสิ้นเชิงกับความเข้าใจในปัจจุบันที่มนุษย์ สามารถเข้าไปมีส่วนกำ�หนดเวลาตายสำ�หรับ ตัวเองและผู้อื่น ก่อให้เกิดปัญหาศีลธรรมเรื่อง การุณยฆาตเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในหลายประเทศ จะเห็ น ว่ า ในปั จ จุ บั น มี ค วามเข้ า ใจ คำ�ว่าการุณยฆาตในอีกความหมายหนึ่ง ซึ่ง เป็นเรื่องการตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรสิ้นใจเวลา ใด เป็นการกระทำ�เพื่อเร่งความตายให้เกิดขึ้น เร็วกว่าความตายตามธรรมชาติโดยการกระ ทำ�หรือการละเว้น ซึ่งโดยธรรมชาติของการก ระทำ�ดังกล่าวเป็นการเร่งความตายให้มาถึง ก่ อนความตายตามธรรมชาติ โดยมีเจตนา หรื อ จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ เป็ น การหลี ก หนี ค วาม เจ็บปวดทนทุกข์ทรมาน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง การุณยฆาตในความหมายดั้งเดิมจะหมายถึง

42

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การปฎิบัติต่อผู้ป่วยให้สิ้นใจอย่างไร (how to treat the dying) มากกว่าจะเป็นการตัดสิน ใจว่าผู้ป่วยนั้นควรจะสิ้นใจเวลาใด (when to decide to die) จากสถานการณ์และปัญหาดังกล่าว นี้ สรุปได้ว่าการปฏิบัติการุณยฆาตในปัจจุบัน ไม่ตรงกับความหมายและความเข้าใจการุณยฆาตในความหมายดั้งเดิม เป็นที่สังเกตว่าการ นิ ย ามความหมายของคำ � ว่ า การุ ณ ยฆาตที่ แตกต่างกันมีผลต่อการปฏิบัติ มีความสับสน และซั บ ซ้ อ นในความหมายอยู่ ม ากในหลาย ประเทศ การุณยฆาตในความหมายดั้งเดิมที่ รอให้ความตายตามธรรมชาติอย่างสมศักดิ์ศรี ของผู้ป่วย ถูกแทนที่ด้วยความเข้าใจในความ หมายใหม่ มนุษย์เริ่มเข้ามามีบทบาทในการ ตั ด สิ น ใจว่ า ผู้ ป่ ว ยหนั ก ควรสิ้ น ใจเมื่ อ ใด มากกว่าให้สิ้นใจอย่างไร วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการความหมาย การุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่ อ ใช้ เ ป็ น แนวทางปฏิ บั ติ ต าม ศี ล ธรรมเรื่ อ งการุ ณ ยฆาตต่ อ ไปในอนาคต โดยอาศัยแนวทางจากคำ�สอของพระศาสนจักรคาทอลิก


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

นิยามศัพท์เฉพาะ การุณยฆาต (Euthanasia) การ กระทำ�หรือการละเว้นซึ่งโดยธรรมชาติของ การกระทำ�ดังกล่าว เป็นการเร่งความตาย ให้มาถึงก่อนความตายตามธรรมชาติ โดยมี เจตนาหรือจุดประสงค์เพื่อเป็นการหลีกหนี ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมาน สมณสาสน์ (Encyclical Letter) เป็นจดหมายอภิบาลที่พระสันตะปาปาเขียน เป็ น ทางการถึ ง สมาชิ ก ของพระศาสนจั ก ร เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพระสัจธรรมและศีลธรรม วินัยข้อบังคับบางอย่าง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ข้อมูลและความรู้เรื่องการุณยฆาต สามารถการนำ � ไปประยุ ก ต์ ใช้ ใ นงาน อภิบาลต่อไปในอนาคต 2. มีแนวทางในการตอบปัญหาศีลธรรมเรื่องการุณยฆาตในอนาคต 3. เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการ ปฏิบัติการุณยฆาต วิธีการศึกษา งานวิ จั ย นี้ เ ป็ น งานวิ จั ย เอกสาร (Documentary Research) ในเรื่องการ ศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและ

ปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการศึกษา ค้นคว้าจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ 1) ศึกษาข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ จากการรวบรวมข้อมูล และเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ งทั้ ง หมด 2) เขี ย น รายงานการวิจัย 3) รวบรวมข้อเสนอแนะ จากอาจารย์ที่ปรึกษา แก้ไขให้ถูกต้อง และ 4) สรุปและนำ�เสนอผลการวิจัย ผลการวิจัย 1 . มี พั ฒ น า ก า ร ค ว า ม ห ม า ย การุณยฆาต การศึกษาพัฒนาการความหมายของ คำ�ว่า “การุณยฆาต” สามารถทำ�การศึกษา ย้อนหลังตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการมีมนุษยชาติ เพราะการุณยฆาตเกี่ยวกับความตาย และ ความตายเป็ นสิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนบนโลกนี้ ไ ม่ อาจหลีกเลี่ยง ความตายเป็นสถานะสิ้นสุด การมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต สาเหตุของความตาย มีได้หลากหลาย เช่น โรคระบาด อุบัติเหตุ สงคราม การประหารชีวิตหรือแม้แต่การฆ่า ตัวตาย แม้จะยังไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ว่ามีการทำ�การุณยฆาตครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใด แต่ จ ากหลั ก ฐานที่ มี เรารู้ แ น่ ว่ า ชาวเอสกิ โ ม ซึ่งตั้งรกรากอยู่ทางทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

43


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

2,000 ปีก่อนคริสตกาลนั้น มีการฆ่าสมาชิก ในครอบครัวที่สุขภาพไม่แข็งแรง แม้ว่าขณะ นั้นจะยังไม่มีการนำ� คำ�ว่า “การุณยฆาต” มา ใช้ แต่เป็นที่ชัดเจนว่ามีการเร่งให้ความตาย มาถึงเร็วกว่าความตายตามธรรมชาติมาตั้งแต่ ก่อนที่มนุษย์จะเริ่มต้นสร้างอารยธรรม เพราะ ความเชื่ อ ที่ ว่ า การตายด้ ว ยความกล้ า หาญ นั้นจะได้ขึ้นสวรรค์ ชีวิตในโลกนี้จึงไม่สู้จะมี คุณค่ามากนักเท่ากับชีวิตในพระเจ้า ในอารยธรรมกรี ก ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น ยุ ค เฟื่องฟูด้านสติปัญญา เราไม่อาจเรียกได้อย่าง เต็ ม ปากนั ก ว่ า มี ก ารทำ � การุ ณ ยฆาตในสมั ย นั้น โสกราตีสเป็นบุคคลที่อุทิศชีวิตเพื่อการ แสวงหาความรู้ทางปรัชญา นิยมการอภิปราย หรือสนทนาประเด็นปัญหาทางปรัชญา และ ในที่สุดต้องยอมสละชีวิตเพื่อยืนยันอุดมการณ์ ทางปรัชญาของตน เป็นที่น่าสังเกตว่าคำ�ว่า “Euthanasia” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกนี้ เอง ต่ อ มา สมั ย อารยธรรมโรมั น ซึ่ ง รั บ อิ ท ธิ พ ลทางความคิ ด หลายประการมาจาก อารยธรรมกรีก มีพัฒนาการสำ�คัญประการ หนึ่งคือ ยอมให้มีการฆ่าตัวตายเพื่อหลีกหนี ความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย ชีวิตที่ ยากลำ � บาก จะเห็ น ว่ า สมั ย โรมั น นี้ เ องที่ รั บ เอาเงื่อนไขทางด้านร่างกาย ชีวิตมาเป็นองค์

44

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ประกอบสำ�คัญในการตัดสินใจยุติชีวิตตนเอง บนโลกนี้ จากนั้ น เมื่ อ คริ ส ต์ ศ าสนาเข้ า มามี บทบาทในชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น มีการกล่าว ถึงข้อความในหนังสือพระคัมภีร์ โดยเฉพาะ ในหนังสือปฐมกาล ตั้งแต่บทที่ 1 ว่า “เราจง สร้างมนุษย์ขึ้นตามภาพลักษณ์ของเรา”(ปฐก 1:26) ยืนยันว่าคริสตชนเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้าง ขึ้นตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า ชีวิตมนุษย์จึง มีความศักดิ์สิทธิ์และไม่อาจละเมิดได้ หนังสือดีดาเค (Didache) ยืนยันคำ� สอนที่เป็นธรรมประเพณีของคริสตชนอย่าง หนักแน่นอีกครั้งหนึ่งว่า “อย่าฆ่าคน จะไม่มี การฆ่าทารกในครรภ์มารดา และจะไม่มีการก ระทำ�การใดๆ ให้เด็กที่เกิดมาต้องเสียชีวิต” แต่อย่างไรก็ดีขณะที่อารยธรรมของคริสตชน กำ�ลังเบ่งบานนั้น พวกสอนผิด (Donatists) ได้สอนให้คริสตชนสมัยนั้นหลั่งเลือดด้วยการ ฆ่าตัวตายเป็นมรณสักขีเพื่อจะได้รับความรอด ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่พระศาสนจักรในสมัย นั้นสอนอย่างสิ้นเชิง จนกระทั่งศตวรรษที่ 6 พระศาสนจักรจึงได้ประกาศอย่างเป็นทางการ ว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาป และผู้ที่ฆ่าตัวตาย จะไม่ได้รับความรอดพ้น หลักศีลธรรมในการ ดำ�เนินของคริสตชนในยุคนี้เป็นเรื่องเดียวกัน กับคำ�สอนทางศาสนา กล่าวคือมีลักษณะที่


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

มีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง (Christocentrism) กล่าวคือ ยึดคำ�สอนและแบบอย่างชีวิต ของพระคริสตเจ้ามาเป็นหลักในการดำ �เนิน ชีวิต เราไม่ มี ห ลั ก ฐานเพิ่ ม เติ ม ในเรื่ อ ง นี้อีก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ยุค ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ” (Renaissance) คือ ในระหว่างศตวรรษที่ 15-17 (ปี ค.ศ. 14001600) ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทาง วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและ การเมือง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รับพลัง มาจากแนวคิ ด ปั จ เจกนิ ย มที่ กำ � ลั ง เบ่ ง บาน ความคิ ด ที่ สำ � คั ญ ในยุ ค นี้ คื อ การเน้ น เรื่ อ ง ปัจเจกนิยม มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้า เท่านั้น ดังนั้นเขาจึงสามารถแสวงหาความสุข ตั้งแต่อยู่บนโลกนี้ได้ เราพบหลักฐานเกี่ยวกับ “การุณยฆาต” ครั้งแรก ท่ามกลางบรรยากาศ ของแนวคิ ด มนุ ษ ยนิ ย ม โดยนั ก ปรั ช ญา ฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นคน แรกที่ นำ � ความคิ ด เกี่ ย วกั บ การการุ ณ ยฆาต (Mercy Killing) มาประยุ ก ต์ ใช้ สำ � หรั บ ผู้ ป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้หายเท่านั้น โดยคำ�ว่า การุ ณ ยฆาตในที่ นี้ จ ะหมายถึ ง “วิ ธี ก าร ปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ ป่ ว ยที่ ไ ม่ มี ท างรั ก ษาให้ ห ายให้ ตายอย่างดี เพื่อให้เขาสิ้นใจอย่างสงบซึ่งเป็น ความตายตามธรรมชาติ” เขายืนยันว่าแพทย์

ควรช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำ�ลังจะสิ้นใจด้วยการ เคารพต่อชีวิต เป็ น ที่ น่ า สั ง เกตว่ า ความคิ ด ที่ นั ก ปรัชญาฟรังซิส เบคอน ซึ่งมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561-1626 นำ�มาใช้นั้น มีเงื่อนไขซึ่งเป็น สาระสำ�คัญอยู่สองประการ คือ 1) สามารถ ประยุกต์ใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้ หายเท่านั้น 2) และเมื่อผู้ป่วยกำ�ลังประสบกับ ความตายตามธรรมชาติ ยุคเรืองปัญญา (Enlightenment) หรือ ยุคแห่งเหตุผล มีนักปรัชญา 2 คนสำ�คัญ ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของผู้คนในสมัยนั้น คือ เดวิด ฮิวม์ (David Hume) และอิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) ทั้งสองยึดหนทาง แสวงหาความจริงด้วยการใช้เหตุผลเท่านั้น จนที่สุดมีการแยกเหตุผล (Reason) ออกจาก ความเชื่อ (Faith) เป็นที่มาของความคิดที่ว่า มนุษย์เป็นเจ้าของชีวิตตนอย่างสิ้นเชิง เริ่มมี แนวคิดเรื่องการทำ�การุณยฆาตเกิดขึ้น ซึ่งจะ ได้รับการพัฒนาและเรียกร้องอย่างแพร่หลาย มากขึ้นโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรป พัฒนาการทางความคิด เหตุผล และ ปั จ เจกบุ ค คลเบ่ ง บานและแสดงออกอย่ า ง สุดโต่งในศตวรรษที่ 20 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่ง พั ฒ นาการทางความหมายของการุ ณ ยฆาต อย่างแท้จริง กล่าวคือมีการนิยามความหมาย

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

45


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

การุณยฆาตอย่างเป็นทางการ หลายองค์กร ทางการแพทย์ เรี ย กร้ อ ง “สิ ท ธิ ที่ จ ะตาย” (right to die) โดยอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ ชี วิ ต ตนเอง มี ก ารปฏิ บั ติ ก ารุ ณ ยฆาตกั บ ผู้ ป่ ว ยที่ รั ก ษาไม่ ห ายที่ กำ � ลั ง ทุ ก ข์ ท รมานและ เป็นภาระแก่ผู้ดูแล มีการพยายามนำ�เสนอ กฎหมายให้ ก ารทำ � การุ ณ ยฆาตเป็ น สิ่ ง ที่ ถู ก ต้องทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีการก่อ ตั้งกลุ่มองค์กรเพื่อเรียกร้องสิทธิที่จะยุติชีวิต มีความคิดเรื่องหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วย บางประเทศในยุโรปเริ่มมีการยอมรับการตาย ก่อนที่ความตายตามธรรมชาติจะมาถึงแม้ยัง ไม่มีการออกกฎหมายอย่างเป็นทางการ ใน ที่สุดจึงมีการออกกฎหมายอย่างเป็นทางการ มีการปฏิบัติการุณยฆาตมากกว่า 11,800 ราย ทั้งหมดนี้ เราพบว่ากว่า 400 ปีหลัง จากที่นักปรัชญาฟรังซิส เบคอนเริ่มนำ�แนวคิด เรื่อง การุณยฆาตมาประยุกต์ใช้ มีพัฒนาการ ทางความหมายของการุ ณ ยฆาต กล่ า วคื อ เงื่อนไขที่เป็นสาระสำ�คัญ 2 ประการสำ�หรับ ประยุกต์ใช้ที่นักปรัชญาฟรังซิส เบคอนนำ� เสนอนั้ น ถู ก บิ ด เบื อ นและตี ค วามด้ ว ยความ หมายใหม่ ประการแรกในเรื่องของการประยุกต์ ใช้ ใ นผู้ ป่ ว ยที่ ไ ม่ มี ท างรั ก ษาให้ ห ายเท่ า นั้ น ปัจจุบันถูกบิดเบือน ด้วยการที่แพทย์ฉีดยา

46

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ให้ ผู้ ป่ ว ยที่ ท รมานให้ ต ายเร็ ว ขึ้ น เพื่ อ หลี ก เลี่ยงความเจ็บปวดทรมาน การช่วยให้ผู้ป่วย ฆาตกรรมตนเองของแพทย์ โดยแพทย์เป็นผู้ เตรียมเครื่องมือต่างๆให้ หรือบุคคลอื่นเข้ามา เกี่ยวข้องในการช่วยเร่งให้ผู้ป่วยตายเร็วขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อความตายตามธรรมชาติมาถึง ซึ่งเป็นการตายที่เกิดขึ้นอย่างสมศักดิ์ศรีของผู้ ป่วย ตัวอย่างที่ชัดเจนและก้าวหน้าในเรื่องนี้ มากคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ แพทย์สามารถ กระทำ � การุ ณ ยฆาต โดยอ้ า งหลั ก ปฏิ บั ติ ทางการแพทย์ที่กฎหมายรับรองแล้ว ซึ่งตาม กฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์นี้ได้นิยาม ความหมายของการุณยฆาตไว้ว่า “เป็นการ กระทำ�ที่ทำ�ให้ชีวิตสิ้นสุดลงโดยการกระทำ� ของแพทย์ จ ากความปรารถนาของผู้ ป่ ว ย เอง ซึ่งคำ�ขอของผู้ป่วยต้องกระทำ�ด้วยความ สมัครใจ ชัดเจนแน่นอน และได้ไตร่ตรองอย่าง ดีแล้ว” จะเห็นว่า การุณยฆาตในปัจจุบันถูก ใช้ในความหมายใหม่ที่ขาดเงื่อนไขที่เป็นสาระ สำ�คัญคือ การใช้กับผู้ป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้ หายเท่านั้น ประการที่ ส องเมื่ อ ความตายตาม ธรรมชาติ ม าถึ ง ตามกฎหมายประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ “การุณยฆาต” หมายถึง “การ ช่วยผู้อื่นให้ตายด้วยความเมตตาสงสาร หรือ เพื่อให้หลุดพ้นจากความเจ็บป่วย ทนทุกข์


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

ทรมานจากโรค หรือภาวะหมดหวังที่จะรักษา ให้ ห ายขาด” ซึ่ ง การกระทำ � การุ ณ ยฆาตมี หลายรูปแบบ ตั้งแต่ปลดสายออกซิเจน ปิด เครื่องช่วยหายใจ ฉีดสารพิษ หรือให้มอร์ฟีน เกินขนาดแก่ผู้ป่วยหนักซึ่งไม่มีทางรอด เพื่อ ไม่ ใ ห้ ต้ อ งทนเจ็ บ ปวดทรมานจะเห็ น ว่ า การุ ณ ยฆาตในปั จ จุ บั น ถู ก ใช้ ใ นความหมาย ใหม่ ที่ ข าดเงื่ อ นไขที่ เ ป็ น สาระสำ � คั ญ อี ก ประการหนึ่ง คือ ไม่ได้รอให้ความตายตาม ธรรมชาติมาถึง เพราะฉะนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่า คำ�ว่า “การุณยฆาต” ใน ปัจจุบันนั้นหมายถึง “การกระทำ �หรือการ ละเว้นไม่กระทำ�ซึ่งโดยธรรมชาติของการกระ ทำ�ดังกล่าวก่อให้เกิดความตาย โดยมีเจตนา หรื อ จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ เป็ น การขจั ด ความเจ็ บ ปวดหรือความทุกข์ทรมานให้สิ้นไป ซึ่งแตก ต่างจากความหมายตามรากศัพท์ในภาษากรีก อย่างสิ้นเชิง ดั ง นั้ น จะเห็ น ว่ า สาระส�ำคั ญ ของ การุ ณ ยฆาตในความหมายดั้ ง เดิ ม ตามราก ศัพท์นั้นเปลี่ยนแปลงไปชนิดหน้ามือเป็นหลัง มือเลยทีเดียว กล่าวคือ แทนที่จะรอให้ความ ตายอย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ต ามธรรมชาติ ม าถึ ง มนุษย์กลับรุกล�้ำธรรมชาติของชีวิตด้วยการ ก�ำหนดวันตายเฉพาะของตน เพราะฉะนั้น

เมื่อเอ่ยถึงการุณยฆาตในความหมายดั้งเดิม จะหมายถึ ง การปฏิ บั ติ ต ่ อ ผู ้ ป ่ ว ยให้ สิ้ น ใจ อย่างไร (how to treat the dying) มากกว่า จะเป็นการตัดสินใจว่าผู้ป่วยนั้นควรจะสิ้นใจ เวลาใด (when to decide to die) 2. ปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง ตามการนิยามความหมายของคำ�ว่า การกระทำ � การุ ณ ยฆาตของสมณกระทรวง ความเชื่ อ คริ ส ตชน การุ ณ ยฆาต หมายถึ ง “การกระทำ�หรือการละเว้นไม่กระทำ�ซึ่งโดย ธรรมชาติของการกระทำ�ดังกล่าวก่อให้เกิด ความตาย โดยมีเจตนาหรือจุดประสงค์เพื่อ เป็ น การขจั ด ความเจ็ บ ปวดหรื อ ความทุ ก ข์ ทรมานให้สิ้นไป การปฏิบัติการุณยฆาตใน ความหมายที่กล่าวถึงนี้อาจรวมหมายถึงทั้ง เจตนาและวิธีการด้วย” การกระทำ � ซึ่ ง โดยธรรมชาติ ข อง การกระทำ�ดังกล่าวก่อให้เกิดความตาย โดยมี เจตนาเพื่อขจัดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ ทรมานให้ สิ้ น ไป ทำ � ให้ เ กิ ด ปั ญ หาศี ล ธรรม เพราะเป็นการเร่งความตายให้มาถึงเร็วกว่า ความตายตามธรรมชาติ ส่วนการละเว้นไม่ กระทำ�ทำ�ให้เกิดปัญหาศีลธรรมเช่นกัน เพราะ เป็ น การยื ด สภาพชี วิ ต พื ช ออกไปอย่ า งไม่ มี กำ�หนด

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

47


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

3. มี ปั ญ หาความเป็ น เอกเทศ (Absolute Autonomy) เป็นปัญหาศีลธรรมที่นักจริยศาสตร์ ในปัจจุบันต้องเผชิญ แนวคิดเรื่องความเป็น เอกเทศเป็นสาเหตุของปัญหาศีลธรรมเรื่อง การุณยฆาต กล่าวคือ มนุษย์อ้างความเป็น เจ้ า ของตนเองโดยไม่ ต้ อ งพึ่ ง พาอาศั ย ผู้ อื่ น มาจากแนวคิ ด ที่ ว่ า มนุ ษ ย์ ทุ ก คนมี สิ ท ธิ แ ละ อิสรภาพในการตัดสินใจกระทำ�ในสิ่งที่เกี่ยว กับชีวิตของตนในทุกเรื่อง มนุษย์ทุกคนเป็น เจ้าของชีวิตตนแม้กระทั่งสิทธิในการกำ�หนด วันตายของตนเอง ความเป็นเอกเทศนี้เอง ทำ � ให้ ม นุ ษ ย์ อ้ า งสิ ท ธิ ที่ จ ะตั ด สิ น ใจเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ของตนเองในการเร่ ง ให้ ต ายมาถึ ง ก่ อ น กำ�หนด หรือยืดความตายออกไปซึ่งเป็นสิ่ง ที่ผิดศีลธรรม เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่ ยอมรับหลักการเรื่องสิทธิที่จะตาย (Right to Die) หรือแม้แต่ประเทศที่มีกฎหมายอนุญาต ให้มีการทำ�การุณยฆาตแล้ว เช่น ประเทศ เนเธอร์ แ ลนด์ นั้ น อ้ า งสิ ท ธิ เรื่ อ งความเป็ น เอกเทศของชีวิตของตนแทบทั้งสิ้น ฝ่ายสนับ สนุนให้มีการทำ�การุณยฆาตก็ยึดแนวคิดนี้มา สนับสนุนแนวคิดของตน พระศาสนจักรคาทอลิก ยอมรับเรื่อง การแสดงเจตนาที่จะสิ้นชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี

48

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เมื่ อ ความตายตามธรรมชาติ ม าถึ ง ดั ง ที่ คำ � สอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อที่ 2278 กล่าวว่า “การขัดขวางวิธีดำ�เนินการทางการ แพทย์ ซึ่งเป็นภาระยุ่งยากอันตรายเป็นพิเศษ หรือไม่แน่ใจในผลที่คาดหวังว่าอาจจะเป็นสิ่ง ที่ถูกต้อง ในกรณีเช่นนี้เป็นการปฏิบัติที่เกิน เลย คนหนึ่งที่ไม่มีเจตนาจะเป็นเหตุให้เกิด ความตาย เขาไม่สามารถจะขัดขวางได้จึงจะ เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ คนไข้ควรเป็นผู้ที่ตัดสิน ใจเองหากเขาสามารถ แต่ถ้าไม่สามารถผู้ที่มี สิทธิตัดสินแทนคนไข้ตามกฎหมายจะเป็นผู้ ตัดสินใจแทน โดยต้องพิจารณาเคารพเจตนา ที่มีเหตุผล และผลประโยชน์ตามกฎหมาย เสมอ” ดังนั้น แพทย์จึงต้องเคารพการตัดสิน ใจของผู้ป่วย ที่ได้ตัดสินใจกำ�หนดชีวิตของ ตนเอง เพราะก่อนอื่นใดเป็นสิทธิของผู้ป่วย ที่จะเป็นผู้เลือกที่จะตายหรือดำ�เนินชีวิตต่อ ไป สำ�หรับผู้ป่วยที่กำ�ลังสิ้นชีวิตที่สูญเสียการ ตัดสินใจเลือก ญาติพี่น้องควรตัดสินใจแทน หลังจากที่ได้ฟังคำ�แนะนำ�ของแพทย์แล้ว หรือ อาจเป็นบุคคลที่ผู้ป่วยมอบหมายให้ตัดสินใจ แทนก็ ไ ด้ โดยทั้ ง หมดต้ อ งไม่ ขั ด ต่ อ ความมี คุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่จะสิ้นใจอย่าง สงบเมื่อความตายตามธรรมชาติมาถึง


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

4. มีปัญหาการเร่งความตายให้มา ถึงเร็วกว่าความตายตามธรรมชาติ และการ ยืดสภาพชีวิตพืชออกไปอย่างไม่มีกำ�หนด ความตายตามธรรมชาตินั้นเป็นเรื่อง เดี ย วกั น กั บ การสิ้ น ใจอย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี อยู่ บนพื้นฐานความคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ ที่ จ ะสิ้ น ชี วิ ต อย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ซึ่ ง เป็ น การสิ้ น ชีวิตตามธรรมชาติ การเร่งความตายให้มา ถึงเร็วกว่าความตายตามธรรมชาติ และการ ยื ด สภาพชี วิ ต พื ช ออกไปอย่ า งไม่ มี กำ � หนด เป็นปัญหาศีลธรรมประการหนึ่ง ปัญหาศีลธรรมในเรื่ อ งนี้ เ กิ ด จากความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางการแพทย์ ที่สามารถเร่งความตายหรือ ยืดชีวิตของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายออกไปอย่าง เกินขอบเขต ซึ่งแทนที่แพทย์จะเป็นผู้ที่รับใช้ ชีวิตมนุษย์ (Service of Life) ซึ่งเป็นคุณค่า ที่สูงที่สุดโดยคำ�นึงถึงคุณภาพของชีวิตมนุษย์ (Quality of Life) แต่ตรงกันข้ามมีการนำ� เครื่ อ งมื อ เหล่ า นี้ ม าใช้ เ พื่ อ ยื ด เวลาของชี วิ ต มนุษย์ออกไป ซึ่งเป็นการยืดชีวิตมนุษย์ที่อยู่ ในสภาพชีวิตพืชเท่านั้น หรือเป็นการเร่งให้ ความตายมาเร็วกว่าความตายตามธรรมชาติ โดยปราศจากความเป็นสัดส่วนที่สมเหตุสม ผล (the principle of proportionality of treatment) แพทย์ไม่สามารถเร่งความตาย หรือ

ยืดชีวิตของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายออกไปอย่าง เกินขอบเขต ดังคำ�ประกาศของแพทยสมาคม โลกเกี่ยวกับ “การเจ็บป่วยในระยะสุดท้าย ของชีวิต” กล่าวว่า “หน้าที่ของแพทย์คือการ เยียวยาเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ ป่วยเท่าที่จะทำ�ได้ และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ สูงสุดของผู้ป่วย และจะต้องช่วยให้ผู้ป่วยตาย อย่างสงบและสมศักดิ์ศรี” แพทย์ไม่สามารถ กระทำ � ตามที่ ผู้ ป่ ว ยร้ อ งขอเพราะต้ อ งการ สิ้นใจเร็วขึ้น เพราะเป็นการผิดจรรยาบรรณ แพทย์ ในการพิจารณาว่าเป็นสัดส่วนที่สม เหตุสมผลนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความ เข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตมนุษย์ นั้ น ต้ อ งตั้ ง อยู่ บ นพื้ น ฐานของความเข้ า ใจ ชีวิตในฐานะที่เป็นบุคคล (Personal Life) เป็นการเข้าใจชีวิตทั้งครบของผู้ป่วยจากความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเงื่ อ นไขของสถานภาพของ ผู้ป่วย (Patient’s Medical Condition) และความสามารถที่จะบรรลุถึงคุณค่าต่างๆ ของตน (Patient’s Ability to Pursue of Values) กล่าวคือเป็นการเข้าใจคุณภาพชีวิต ของผู้ ป่ ว ย ที่ ตั้ ง อยู่ บ นพื้ น ฐานความเป็ น สัดส่วนที่สมเหตุสมผลระหว่างผลประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ (Benefits) กั บ ภาระที่ ต้ อ งยอม ทน (Burdens) ซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

49


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพชีวิตเฉพาะมิติทางร่างกาย (Physical Life) ที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาศีลธรรมอื่นๆ ตามมา เช่น หากนิยามคุณภาพชีวิตด้วยความ หมายที่คับแคบว่าคุณภาพชีวิต คือความเป็น เลิศทางร่างกายเท่านั้น จะทำ�ให้แพทย์ระงับ การรักษากับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพชีวิตพืช หรือ เด็กทารกที่พิการ ซึ่งเท่ากับเป็นการปฏิบัติ การุณยฆาต การพิจารณาว่าการรักษาใดมีความ เป็นสัดส่วนที่สมเหตุสมผล (The Principle of Proportionality of Treatment) นั้นมี ความซับซ้อนอยู่มาก เพราะขึ้นอยู่กับองค์ ประกอบหลายประการ เช่น การพิจารณาว่า เป็นเครื่องมือธรรมดา (Ordinary Means) หรือเครื่องมือพิเศษ (Extraordinary Means) ซึ่งยังมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) การ พิ จ ารณาว่ า การรั ก ษาเป็ น เพี ย งแค่ ก ารยื ด ชีวิตพืชออกไป การรักษาที่ไม่สามารถทำ�ให้ หายจากโรคมีแต่เพิ่มความทุกข์ทรมาน การ พิจารณาความเป็นสัดส่วนที่สมเหตุสมผลนี้มี ความสำ�คัญซึ่งแตกต่างกัน โดยคำ�นึงถึง สภาพ แวดล้อม ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม ซึ่งต้อง พิจารณาในแต่ละกรณี โดยการพิจารณานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่กำ�ลัง จะสิ้นใจว่าเมื่อใดควรดำ�เนินการรักษา เมื่อใด ควรระงับการรักษา

50

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คนป่ วยที่ ก�ำลั ง สิ้ นใจทุ ก คนมี สิ ท ธิ ที่ จะได้รับการรักษาที่มีลักษณะเป็นเครื่องมือ ธรรมดา (Ordinary Means) กล่าวคือเป็นการ รั ก ษาพยาบาลที่ จ�ำเป็ น ส�ำหรั บ การด�ำเนิ น ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างสมศักดิ์ศรี เช่น เครื่อง ช่วยหายใจ การให้อาหารทางสายยาง การ ให้น�้ำเกลือ เป็นต้น การให้การรักษาผู้ป่วยที่ ก�ำลังจะสิ้นใจโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือ ผู้ป่วยทุกวิถีทาง โดยการใช้เครื่องมือต่างๆ จนกลายเป็นเครื่องมือที่ท�ำงานแทน เพราะผู้ ป่วยไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง (NonAutonomy) เป็นการยืดชีวิตพืชของคนป่วย หนัก (Prolong Life) การกระท�ำดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิของคนป่วยที่จะสิ้นชีวิต อย่างสมศักดิ์ศรี และยังเป็นการแสดงออกถึง ความพยายามของมนุษย์ที่จะเป็นเจ้าของชีวิต (Lord of Life) โดยสรุปหลักการสำ�คัญของการแก้ ปัญหาศีลธรรมประการนี้อยู่ที่ การเคารพสิทธิ ของผู้ป่วยที่กำ�ลังจะสิ้นใจทุกคนให้สิ้นใจตาม ธรรมชาติอย่างสมศักดิ์ศรี การเร่งความตายให้ มาถึงเร็วกว่าความตายตามธรรมชาติและการ ยืดสภาพชีวิตพืชออกไปอย่างไม่มีกำ�หนด จึง เป็นการกระทำ�ที่ผิดศีลธรรมรูปแบบหนึ่งซึ่งไม่ อาจยอมรับได้ ผู้ป่วยที่กำ�ลังสิ้นใจทุกคนมีสิทธิ ที่จะได้รับการรักษาที่มีลักษณะเป็นเครื่องมือ


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

ธรรมดา เช่น การให้อาหารทางสายยาง ฯลฯ แพทย์ต้องพิจารณาความเป็นสัดส่วนที่สมเหตุ สมผลอย่างรอบคอบ โดยปรึกษาอย่างใกล้ชิด กับผู้ป่วยเองหรือญาติของผู้ป่วย เลือกวิธีการ รักษาที่เคารพคุณภาพชีวิตมนุษย์ในฐานะที่ เป็นบุคคล 5. มี ปั ญ หาการบิ ด เบื อ นความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งแพทย์ กั บ ผู้ ป่ ว ยระยะ สุดท้าย คำ � ประกาศของแพทยสมาคมโลก เกี่ยวกับ “ความเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายของ ชีวิต” (World Medical Association Decalration on Terminal Illness) ให้หลักการไว้ ว่า “ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความรับ ผิดชอบสำ�คัญของแพทย์คือ การช่วยเหลือผู้ ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดด้วยการควบคุม อาการต่างๆ และคำ�นึงถึงความต้องการทาง จิตใจและสังคม และจะต้องช่วยให้ผู้ป่วยตาย อย่างสงบและมีศักดิ์ศรี แพทย์ควรแจ้งให้ผู้ ป่วยทราบถึงความเป็นไป ประโยชน์และผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดูแลแบบประคับประคอง” แนวทางความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วย โดยเฉพาะกับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เราอาจแบ่งได้ดังนี้คือ หน้าที่ของแพทย์ที่มี ต่อผู้ป่วยที่กำ�ลังสิ้นใจในระยะสุดท้าย และ ขอบเขตของการให้การรักษาหรือการระงับ

การรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นที่ทราบแล้วว่า หน้าที่ของแพทย์ ที่มีต่อผู้ป่วยที่กำ�ลังสิ้นใจนั้นโดยทั่วไปแพทย์ ต้ อ งช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป่ ว ยอย่ า งสุ ด ความสามารถ ให้ ผู้ ป่ ว ยที่ กำ � ลั ง จะสิ้ น ใจได้ สิ้ น ใจอย่ า งสม ศั ก ดิ์ ศ รี ปั ญ หาศี ล ธรรมเรื่ อ งการบิ ด เบื อ น ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยระยะ สุดท้าย เกิดจากการพยายามเข้าไปมีส่วนใน การกำ �หนดชะตาชีวิตทำ �ให้ผู้ป่วยมิได้สิ้นใจ ตามธรรมชาติ อ ย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี โดยทั่ ว ไป แล้วปัญหาศีลธรรมประการนี้ควรค่าแก่การ วิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่างการทำ�การุณยฆาต (Active Euthanasia) และการอยู่เคียงข้างผู้ป่วยให้สิ้นใจ อย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี (Accompanying the Dying) ความแตกต่างระหว่างการยืดชีวิตของ ผู้ป่วย (Prolong Life) กับการปฏิเสธการ รักษา (Refusal of Treatment) การท�ำการุณยฆาต (Active Euthanasia) เป็นการละเมิดการสิ้นใจอย่างสม ศั ก ดิ์ ศ รี ข องมนุ ษ ย์ อ ย่ า งสิ้ น เชิ ง เพราะ เป็นการท�ำให้ผู้ป่วยสิ้นชีวิตก่อนที่ความตาย ตามธรรมชาติ จ ะมาถึ ง การสิ้ น ใจอย่ า งสม ศักดิ์ศรีเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคน แพทย์และ ญาติ พี่ น ้ อ งควรอยู ่ เ คี ย งข้ า งผู ้ ป ่ ว ยให้ สิ้ น ใจ อย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ผู ้ ป ่ ว ยมี สิ ท ธิ ที่ จ ะได้ รั บ การ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

51


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

รักษาพยาบาลที่จ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำเนินชีวิต ที่เหลืออยู่อย่างสมศักดิ์ศรี หรือที่เราเรียกว่า “เครื่องมือธรรมดา” อย่างเช่น เครื่องช่วย หายใจ การให้อาหารทางสายยาง การให้น�้ำ เกลือ เป็นต้น ความแตกต่ า งระหว่ า งการยื ด ชี วิ ต ของผู้ป่วยกับการปฏิเสธการรักษา ในการ พิจารณาความแตกต่างระหว่างการยืดชีวิต ของผู้ ป่ ว กั บ การปฏิ เ สธการรั ก ษานั้ น มี พื้ น ฐานอยู่ ที่ ก ารสิ้ น ใจอย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ต าม ธรรมชาติมนุษย์ กล่าวคือเมื่อความตายตาม ธรรมชาติมาถึง การพยายามช่วยเหลือผู้ป่วย ทุกวิถีทางโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ จนผู้ ป่ ว ยไม่ ส ามารถมี ชี วิ ต อยู่ ไ ด้ ด้ ว ยตนเอง แต่ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ต่ า งๆที่ ทำ � งานแทน การ กระทำ�ลักษณะนี้เรียกว่า “การยืดชีวิตของผู้ ป่วย” แต่การปฏิเสธการรักษานั้นมิได้เป็นการ ปฏิ เ สธเครื่ อ งมื อ ที่ จ ะมาทำ � ให้ ม นุ ษ ย์ มี ชี วิ ต อยู่ได้ แต่เป็นปฏิเสธการรักษาหรือระงับการ รั ก ษา เมื่ อ ได้ พิ จ ารณาอย่ า งรอบคอบแล้ ว ว่าการกระทำ�ดังกล่าวเป็นการยืดชีวิตที่อยู่ใน สภาพชีวิตพืชออกไป และการรักษาดังกล่าว ทำ�ให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บป่วยทรมานอย่าง สาหัส โดยที่ไม่มีโอกาสหายจากโรคเลย การ ระงับการรักษานี้มิได้หมายความว่าระงับการ รักษาทุกชนิดโดยปล่อยให้ผู้ป่วยสิ้นใจ แพทย์

52

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ยั ง ต้ อ งช่ ว ยเหลื อ เท่ า ที่ จำ � เป็ น ในบางกรณี อาจมีการแสดงเจตจำ�นงไว้ล่วงหน้าในหนังสือ แสดงเจตนาแล้ ว แพทย์ ก็ ค วรปฏิ บั ติ ต าม หนังสือแสดงเจตนาดังกล่าว การพิ จ ารณาว่ า เมื่ อ ใดควรดำ � เนิ น การรักษาหรือระงับการรักษา เมื่อใดควร ให้ยาระงับความเจ็บปวดนั้น เราใช้หลักการ แห่งความเป็นสัดส่วน (The Principle of Proportionality) โดยอาศัยมโนธรรมของ เราในการตัดสินใจที่จะระงับการรักษา ถ้า มโนธรรมเล็งเห็นว่าการรักษาเป็นเพียงการยืด ชีวิตออกไปอย่างเปล่าประโยชน์ กรณีการ ให้ยาบรรเทาความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยที่มาถึง วาระสุดท้ายของชีวิตที่มีผลทำ�ให้ชีวิตสั้นลง ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล เพราะผู้ ป่ ว ยมี สิ ท ธิ ที่ จ ะดำ � รงชี วิ ต ในเวลาที่ เหลืออยู่อย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นมนุษย์ สรุปได้ว่าหน้าที่ของแพทย์คือ ช่วย ให้ ผู้ ป่ ว ยมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ให้ สิ้ น ใจอย่ า ง สมศักดิ์ศรีเมื่อความตายตามธรรมชาติมาถึง แพทย์ไม่สามารถกระทำ�การุณยฆาตโดยการ เร่งให้ความตายมาเร็ว หรือยืดชีวิตพืชของผู้ ป่วยหนักออกไป 6. มีความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนา การความหมายการุณยฆาตกับปัญหาสิทธิ ของผู้ป่วยที่จะสิ้นชีวิตในระยะสุดท้าย: กรณี


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

ศึกษาครูจูหลิง ปงกันมูล ครูจูหลิง ปงกันมูล เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2522 เป็นบุตรคนเดียวของ นายสุน นางค�ำมี ปงกันมูล มีภูมิล�ำเนาอยู่ที่ ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย บรรจุเข้า รับราชการโดยการสอบแข่งขันได้ในต�ำแหน่ง ครู ผู ้ ช ่ ว ยโรงเรี ย นบ้ า นกู จิ ง ลื อ ปะ อ�ำเภอ ระแงะ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2548 วันที่ 19 พฤษภาคม 2549 เวลาประมาณ 12.30 น. ชาวบ้านได้ปิดล้อมจับตัว ครูจูหลิง ปงกันมูล พร้อมครูสินีนาฏ ถาวรสุข เป็นตัวประกันและ ท�ำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส หลัง จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปช่วยเหลือน�ำตัวครู ทั้งสองคนส่งโรงพยาบาลระแงะ และได้ส่งตัว ต่อไปยังโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อ�ำเภอเมืองนราธิวาส แต่เนื่องจากครูจูหลิง ปงกันมูล มีอาการบาดเจ็บอย่างสาหัส จึงได้ น�ำตัวส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 แพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า “ครู จูหลิง ปงกันมูล มีบาดแผลขนาดใหญ่โดยรอบ ศีรษะและล�ำคอ มีรอยช�้ำขนาดใหญ่ที่คอและ ด้านหลัง ตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มี

การแตกร้าว และยุบตัวของกะโหลกศีรษะ สมองบวมมาก มีรอยช�้ำและเลือดออกที่ก้าน สมอง ได้ท�ำแผลและแก้ไขภาวะเกล็ดเลือด ต�่ำ และพยุงสัญญาณชีพซึ่งยังไม่ปกติ ต้องใช้ ยากระตุ้นหัวใจให้ท�ำงาน ใช้เครื่องช่วยหายใจ ตลอดเวลา เนื่ อ งจากไม่ ส ามารถหายใจได้ ม่านตาขยายมากไม่ตอบสนองต่อแสงซึ่งเป็น สัญญาณบ่งว่าสมองไม่ท�ำงาน” โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ระดม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาที่เกี่ยวข้องรักษา ครูจูหลิงอย่างเต็มความสามารถ โดยเฉพาะ สมองที่ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างมาก สมองบวมมีรอยช�้ำและเลือดออกที่ก้านสมอง แต่อย่างไรก็ดีจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้พยายาม สืบค้นนั้นไม่มีหลักฐานใดทางการแพทย์ที่ระบุ ว่าหลังเกิดเหตุแพทย์ได้วินิจฉัยว่าครูจูหลิงได้ เสียชีวิตแล้ว เพราะได้รับการวินิจฉัยว่าสมอง ตาย ซึ่งในทางการแพทย์แล้วนั้นบุคคลที่ได้รับ การวินิจฉัยว่าสมองตาย หมายถึง การที่แกน สมองถูกท�ำลายจนสิ้นสุดการท�ำงานโดยสิ้น เชิงตลอดไปถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ตามประกาศของแพทยสภา ลงวัน ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2532 เรื่อง “เกณฑ์การ วินิจฉัยสมองตาย” เมื่อใดจึงจะถือว่าผู้ป่วย มีอาการสมองตาย เช่น ต้องไม่รู้สึกตัวและ อยู่ในเครื่องช่วยหายใจ จะต้องมีข้อวินิจฉัย

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

53


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

ถึงสาเหตุของการไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจใน ผู้ป่วยนั้น โดยที่ให้รู้แน่ชัดโดยปราศจากข้อ สงสัยเลยว่า สภาวะของผู้ป่วยนี้เกิดขึ้นจาก การที่สมองเสียหายโดยไม่มีหนทางเยียวยาได้ อีกแล้ว ถ้าผู้ป่วยอยู่ในสภาวะครบตามเงื่อนไข ที่ กำ � หนดแล้ ว จะต้ อ งทำ � การตรวจสอบเพื่ อ ยืนยันสมองตายคือต้องไม่มีการเคลื่อนไหว ใด ๆ ได้เอง ต้องไม่มีรีเฟลกซ์ของแกนสมอง และต้องทำ�การตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่ กำ�หนดอีกว่า จะไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงเป็น เวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง จึงจะถือได้ว่าสมอง ตาย ส่วนวิธีการปฏิบัติในการวินิจฉัยสมอง ตายนั้ น ต้ อ งกระทำ � โดยคณะแพทย์ ไ ม่ น้ อ ย กว่า 3 คน โดยคนหนึ่งเป็นแพทย์เจ้าของผู้ ป่วยและอีก 1 ใน 2 คนที่เหลือควรเป็นแพทย์ สาขาประสาทวิทยาหรือแพทย์สาขาประสาท ศัลยศาสตร์ (ถ้ามี) และต่อมา แพทยสภาได้ ออกประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2539 กำ�หนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในเรื่องการ วินิจฉัยและการทดสอบว่าผู้ใดสมองตายอย่าง แท้จริง รวมทั้งลดระยะเวลาการตรวจสอบ จาก 12 ชั่วโมงเป็น 6 ชั่วโมงจึงจะถือว่าสมอง ตาย หน้ า ที่ ข องแพทย์ คื อ ต้ อ งช่ ว ยเหลื อ ผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถ กรณีครูจูหลิง แพทย์ได้ท�ำการเยียวยารักษาอย่างสุดความ

54

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สามารถ ได้พยายามพยุงสัญญาณชีพ (Vital Sign) ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิต ของมนุษย์ ได้แก่ อุณหภูมิร่างกาย การ หายใจ ชีพจร ความดันโลหิต แม้ว่าครูจูหลิงไม่ ได้สติตั้งแต่นั้นมา โดยร่างกายไม่มีการอาการ ตอบสนองใดๆ มีเพียงสัญญาณชีพเท่านั้นที่ บ่งบอกว่าครูจูหลิงยังไม่เสียชีวิต โรงพยาบาล ได้จัดทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องแต่ละ สาขาจ�ำนวน 16 คน ท�ำการรักษาครูจูหลิง แต่ เ นื่ อ งจากอาการของครู จู ห ลิ ง สาหั ส มาก ร่างกายบอบช�้ำโดยเฉพาะสมองที่มีเลือดคั่ง จ�ำนวนมากและขาดเลือดไปเลี้ยงสมองเป็น เวลานาน ท�ำให้สมองและก้านสมองไม่ตอบ สนองต่อการกระตุ้น การพิ จ ารณาวิ ธี ก ารรั ก ษาในผู ้ ป ่ ว ย ที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น เป็น เรื่องที่มีความซับซ้อนมาก แพทย์พิจารณา โดยเคารพความมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ในฐานะที่ เป็ น บุ ค คลของผู ้ ป ่ ว ย คุ ณ ภาพชี วิ ต จะเป็ น มาตรการในการพิจารณาว่าเมื่อใดควรด�ำเนิน การรั ก ษาต่ อ ไป และเมื่ อ ใดควรระงั บ การ รักษาซึ่งอาศัยหลักการแห่งความเป็นสัดส่วน การรั ก ษาที่ ส มเหตุ ส มผลโดยมองเห็ นความ หวั ง ที่ มี ต ่ อ ผู ้ ป ่ ว ยเป็ น สิ่ ง ที่ ต ้ อ งกระท�ำการ รั ก ษาที่ ไ ม่ ส มเหตุ ส มผลเป็ น สิ่ ง ที่ ต ้ อ งระงั บ การระงั บ การรั ก ษามิ ไ ด้ ห มายความว่ า หยุ ด


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

การช่วยเหลือทุกชนิด โดยรอให้ผู้ป่วยสิ้นใจ ไปเอง ผู้ป่วยยังมีสิทธิที่จะได้รับการรักษา ที่มีลักษณะเป็นเครื่องมือธรรมดา กล่าวคือ เป็นเครื่องมือในการรักษาพยาบาลที่จ�ำเป็น ส�ำหรั บ การด�ำเนิ น ชี วิ ต ที่ เ หลื อ อยู ่ อ ย่ า งสม ศั ก ดิ์ ศ รี เช่ น เครื่ อ งช่ ว ยหายใจ การให้ น�้ ำ เกลือ เป็นต้น ครูจูหลิงได้รับการรักษาตามอาการ คณะแพทย์ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด อาการของ ครู จู ห ลิ ง ได้ ท รุ ด หนั ก ลงเรื่ อ ยๆ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 และมาทรุดหนัก ในช่วงเช้าของวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2550 และสิ้นใจอย่างสงบเมื่อเวลา 16.15 น. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุเมธ พีรวุฒ ผู้ อำ � นวยการโรงพยาบาลสงขลานคริ น ทร์ พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลที่ทำ�การรักษา ได้ แ ถลงถึ ง การเสี ย ชี วิ ต ของครู จู ห ลิ ง อย่ า ง เป็นทางการโดยเผยว่า “การเสียชีวิตจองครู จูหลิง เป็นผลมาจากอวัยวะภายในล้มเหลว เฉียบพลัน จากภาวะติดต่อของระบบต่างๆ ใน ร่างกายทั้งระบบสมอง และภาวะปอดติดเชื้อ อย่างรุนแรง แม้ว่าแพทย์จะให้ยาเพิ่มความ ดันก็ไม่เป็นผลเพราะร่างกายไม่ตอบสนองต่อ การรักษา” กรณีศึกษาของครูจูหลิงนั้น แพทย์ ได้ให้การรักษาอย่างสุดความสามารถ โดย

แสดงออกถึ ง ความเคารพในคุ ณ ค่ า และ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ครูจูหลิงอยู่ได้ ด้วยเครื่องช่วยหายใจซึ่งได้รับการพิจารณาว่า เป็นเครื่องมือธรรมดาที่ผู้ป่วยมีสิทธิพึงจะได้ รับตลอดเวลา 7 เดือน กับอีก 19 วัน และได้ สิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรีในที่สุด 7. มี แ นวทางแก้ ปั ญ หาศี ล ธรรม เรื่องการุณยฆาตตามแนวทางคำ�สอนของ พระศาสนจักร พระศาสนจั ก รตระหนั ก ถึ ง ปั ญ หา คุ ก คามศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ เ สมอมา พระสังคายนาวาติกัน ที่ 2 กล่าวประณาม อย่างรุนแรงต่อการทำ�ลายศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เปิดทางให้เกิดการคุกคามศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา ก่อให้ เกิดวัฒนธรรมแห่งความตาย (The Culture of Death) และที่น่าสลดใจยิ่งกว่าคือ ความ มืดบอดของมโนธรรมของมนุษย์ เป็นการยาก ลำ � บากยิ่ ง ขึ้ น ที่ จ ะแยกแยะความดี กั บ ความ ชั่วในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าพื้นฐานของชีวิต มนุษย์ ปัญหาศีลธรรมเรื่องการุณยฆาต ซึ่ง ถือว่าเป็นการทำ�ลายคุณค่าและศักดิ์ศรีของ มนุ ษ ย์ โ ดยตรงนั้ น เป็ น ปั ญ หาหนึ่ ง ที่ พ ระ ศาสนจั ก รให้ ค วามสำ � คั ญ พระศาสนจั ก ร

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

55


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

ประณามการทำ� การุณ ยฆาตเสมอมา และ พยายามแก้ปัญหาโดยการกลับไปที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุของปัญหาคือการส่งเสริมให้มนุษย์ เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิกได้กล่าว อย่างชัดเจน ถึงสิทธิของมนุษย์ที่จะดำ�รงชีวิต อยู่ แ ละสิ ท ธิ ที่ จ ะสิ้ น ชี วิ ต อย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ใ น ฐานะที่เป็นมนุษย์ และในฐานะที่เป็นคริสตชนของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ส่ ง เสริ ม สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่และสิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรี ของผู้ป่วยที่กำ�ลังจะสิ้นใจ ในปัจจุบัน แนวโน้มเรื่องการให้คุณ ค่ า และศั ก ดิ์ ศ รี ใ นชี วิ ต มนุ ษ ย์ นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ ความสำ � เร็ จ ในชี วิ ต มี ห น้ า ที่ ก ารงานที่ ดี สุขภาพดี สามารถทำ�ประโยชน์ได้ แท้ที่จริง แล้ ว มนุ ษ ย์ ทุ ก คนตั้ ง แต่ อ ยู่ ใ นครรภ์ ม ารดา จนถึงเวลาตายมีคุณค่าและศักดิ์ศรี เพราะ ศักดิ์ศรีนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับตัวมนุษย์เอง แต่สิ่งที่ ทำ�ให้มนุษย์มีคุณค่าและศักดิ์ศรีคือพระเป็น เจ้า ผู้ทรงเป็นทั้งบ่อเกิดและเป้าหมายของ ชีวิตมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนจึงต้อง ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง และ ผู้อื่น ส่งเสริมและสนับสนุนแม้ในผู้ที่ใกล้จะสิ้น ชีวิตแล้วก็ตาม การอยู่เคียงข้างผู้ป่วยให้สิ้นใจอย่าง

56

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สมศักดิ์ศรี เกี่ยวข้องกับปัญหาศีลธรรมเรื่อง การุณยฆาตโดยตรง เพราะการทำ�การุณยฆาตเป็นการไม่เคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์ พระศาสนจักรส่งเสริมและ สนับสนุนให้เคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของทุก ชีวิตในโลกนี้ ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่และ สิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรีของผู้ป่วยที่กำ�ลังจะสิ้น ชีวิตด้วย เห็นได้จากคำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิก (Catechism of The Catholic Church) ข้อที่ 2299 กล่าวอย่างชัดเจนถึง เรื่ อ งนี้ ไว้ ว่ า “ผู้ ใ กล้ จ ะตายควรได้ รั บ ความ สนใจและเอาใจใส่ เพื่อช่วยเหลือเขาให้ด�ำ เนิน ชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างมีศักดิ์ศรีและมีสันติ” พระศาสนจักรคาทอลิก เรียกร้องให้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคนอยู่เคียงข้างผู้ป่วย ให้สิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรี ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล ญาติ พี่ น้ อ ง หรื อ แม้ แ ต่ บ รรดาผู้ อภิบาล กล่าวคือ แพทย์ พยาบาล ญาติพี่น้อง ถูกเรียกร้องให้กระทำ�สิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับผู้ใกล้ จะสิ้นชีวิต ให้การช่วยเหลือทางการแพทย์ หลังจากที่ได้พิจารณาอย่างเป็นสัดส่วนที่สม เหตุสมผลแล้วว่า ควรได้รับการรักษาแบบใด หรือรักษาด้วยวิธีการใดหรือเมื่อใดควรระงับ การรั ก ษา โดยคำ � นึ ง ถึ ง ความมี คุ ณ ค่ า และ ศั ก ดิ์ ศ รี ข องชี วิ ต มนุ ษ ย์ ที่ มิ อ าจถู ก ละเมิ ด ได้ และในฐานะคริสตชนที่ยอมรับว่าชีวิตคือของ


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

ขวัญจากพระเจ้า พระศาสนจักรยืนยันความ คิดนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ในเอกสารที่มีชื่อว่า “Declaration on Euthanasia” ว่า “ชีวิต เป็นของขวัญจากพระเจ้า เวลาเดียวกันความ ตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เรา จึงต้องยอมรับและควรได้รับการส่งเสริมให้ สิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความ ตายเป็นการสิ้นสุดชีวิตในโลกนี้เพื่อเปิดประตู สู่ชีวิตนิรันดร เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนจึง ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมอาศัยแสงสว่างแห่ง คุณค่าชีวิตมนุษย์ และแสงสว่างแห่งความเชื่อ ในชีวิตคริสตชน” ผู้อภิบาล โดยอาศัยแบบอย่างของ พระคริสตเจ้า มีหน้าที่ท�ำ ให้ผู้ป่วยที่กำ�ลังจะ สิ้นใจรับรู้ความหมายชีวิตและความตาย อยู่ เคียงข้างเพื่อเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือ ที่จะนำ�ผู้ป่วยให้ได้พบความบรรเทาใจ พบ ความสงบและสันติในจิตใจ ยืนยันถึงคุณค่า และศั ก ดิ์ ศ รี ข องชี วิ ต มนุ ษ ย์ ใ นฐานะที่ เ ป็ น ภาพลักษณ์ที่มีชีวิตและเป็นบุตรของพระเจ้า ให้ ผู้ ป่ ว ยสิ้ น ใจอย่ า งดี ส มศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุษย์ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อที่ 2299 กล่าวถึงหน้าที่ของผู้อภิบาลต่อผู้ป่วยที่ กำ�ลังจะสิ้นใจว่า “ผู้อภิบาลต้องเอาใจใส่ดูแล เพื่อคนเจ็บป่วยได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ในเวลาอัน เหมาะสม เพื่อเตรียมให้เขาพบกับพระเจ้า

ผู้ทรงชีวิต” พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก สอนว่ า เราไม่เป็นเจ้าของชีวิต เราเป็นแต่เพียงผู้ ดูแลชีวิต (We are Stewards and not Owners) ผู้ที่ทำ�การุณยฆาตด้วยความสมัครใจ (Voluntary Euthanasia) มักอ้างสิทธิในการ เป็นเจ้าของชีวิตของตน พวกเขาอ้างว่ามนุษย์ เป็นเจ้าของชีวิตและสามารถกระทำ�ทุกสิ่งกับ ชีวิตตนเอง ซึ่งรวมทั้งสามารถกำ�หนดวันตาย ของตนได้ตามต้องการ คำ�ว่า “สิทธิที่จะตาย” เป็นคำ�ที่เสี่ยงต่อการเข้าใจผิด บางคนเข้าใจ ผิ ด คิ ด ว่ า สิ ท ธิ ที่ จ ะตายเป็ น สิ ท ธิ ที่ แ ต่ ล ะคน สามารถยุติชีวิตของตน โดยการปฏิบัติหรือ การละเว้นการรักษา โดยแท้จริงแล้ว สิทธิที่จะตายนี้ มิได้ หมายความว่าเป็นการยุติชีวิตก่อนความตาย ตามธรรมชาติ จ ะมาถึ ง แต่ เ ป็ น สิ ท ธิ ที่ จ ะ สามารถยุติการรักษาที่ไร้ประโยชน์เมื่อความ ตายตามธรรมชาติ ม าถึ ง แล้ ว เท่ า นั้ น พระ ศาสนจักรปฏิเสธการอ้างแนวคิดเรื่องสิทธิที่ จะตายอย่างสุดโต่งนี้ โดยพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้กล่าวอย่างชัดเจนในพระ สมณสาสน์พระวรสารแห่งชีวิต (Evangelium Vitae) ข้อที่ 52 ว่า “อย่างไรก็ตาม การเป็น เจ้านายของมนุษย์ก็มิใช่อำ�นาจเบ็ดเสร็จเด็ด

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

57


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

ขาด แต่เป็นเรื่องของการดำ�เนินการ นั่นคือ เป็ น ภาพสะท้ อ นแท้ จ ริ ง ถึ ง การเป็ น เจ้ า นาย โดยเฉพาะและไม่มีขอบเขตขององค์พระเจ้า ฉะนั้นมนุษย์จึงต้องใช้ความเป็นเจ้านายนี้ด้วย ความปรีชาฉลาดและความรักโดยร่วมส่วนใน พระปรีชาญาณและความรักของพระเจ้า” โดยแท้จริงแล้ว ชีวิตของมนุษย์ต้อง ถู ก เข้ า ใจบนพื้ น ฐานของการส่ อ งสว่ า งแห่ ง ความจริงที่ว่า “เราทุกคนเป็นของพระเจ้า” ไม่มีใครที่มีสิทธิที่จะยุติชีวิตของตน เพราะว่า ทุกชีวิตเป็นของพระเจ้า พระศาสนจักรคาทอลิกส่งเสริมการ มีคุณภาพชีวิต (Quality of Life) พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึงความเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ความเข้าใจผิดเรื่องคุณภาพชีวิตนี้เป็นสาเหตุ ประการหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดการทำ�การุณยฆาต มี ความเข้าใจผิดระหว่างคำ� 2 คำ� คือ “human beings” และ “human persons” ซึ่งโดย ทั่วไปแล้วคำ� 2 คำ�นี้มีความหมายเดียวกัน แต่นักวิชาการบางคนพยายามแยกความเป็น “บุคคลมนุษย์” (human persons) ออกจาก “ชีวิตมนุษย์” (human beings) กล่าวคือ มิใช่ ชีวิตมนุษย์ทุกชีวิต จะมีความเป็นบุคคลมนุษย์ เพื่อจะเป็นบุคคลมนุษย์ (human persons) จำ�เป็นต้องพัฒนาความสามารถทางจิตวิทยา

58

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เช่น การควบคุมตนเอง (self consciousness) ความสามารถ ในการใช้เหตุผล (the ability to reason clearly) ความสามารถใน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (the ability to form relationships) หากปราศจากความสามารถ เหล่านี้จะไม่ถือว่าเป็นบุคคลมนุษย์ (human persons) ที่ ต้ อ งได้ รั บ การเคารพและให้ คุณค่า ซึ่งการยึดตามหลักการดังกล่าวนี้ จะ ถือว่า ตัวอ่อน(zygote) ทารก (embryo) เด็ก เล็กๆ (babies) หรือผู้ป่วยทางจิต (mentally disabled) มิได้เป็นบุคคลมนุษย์ (human persons) ซึ่งไม่มีคุณค่าและศักดิ์ศรีตามที่ มนุษย์ทุกชีวิตสมควรจะได้รับ พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ประณาม หลั ก การและแนวคิ ด ดั ง กล่ า วนี้ แ ละยื น ยั น ว่า “มนุษย์ทุกคนเป็นบุคคลที่มีคุณค่าและ ศักดิ์ศรี” ในพระสมณสาสน์เรื่องพระวรสาร แห่งชีวิต (Evangelium Vitae) ข้อที่ 60 ก็ได้ กล่าวย�้ำว่าชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ “มนุษย์ต้องได้รับการเคารพให้เกียรติ และได้ รับการปฏิบัติเช่นบุคคลมนุษย์นับตั้งแต่แรก เริ่มที่เขาปฏิสนธินั้น และนับแต่จุดนั้นแล้วที่ สิทธิการเป็นมนุษย์ของเขาจะต้องได้รับการ ยอมรับ ซึ่งสิทธิแรกสุดก็คือ สิทธิอันมิอาจถูก ละเมิดได้ของบุคคลมนุษย์ผู้บริสุทธิ์ที่จะมีชีวิต อยู่”


เชิดชัย เลิศจิตรเลขา ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และนันทพล สุขสำ�ราญ

ข้อเสนอแนะ ด้านพัฒนาการความหมาย 1. ส่ ง เสริ ม ให้ ม องปั ญ หาของพั ฒ นาการทางความหมายและปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ของการบิ ด เบื อ นความหมายดั ง กล่ า ว ให้ ตระหนั ก ถึ ง จุ ด ประสงค์ ที่ แ ท้ จ ริ ง ของการ พยายามประยุกต์ใช้ค�ำ นี้ตั้งแต่เริ่มต้น 2. ส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กั บ ประเด็ น ปั ญ หาดั ง กล่ า ว ปรั บ ปรุ ง การ ทำ�งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจเรื่อง การมี สิ ท ธิ ที่ จ ะสิ้ น ใจอย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ข องผู้ ป่วย 3. ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารรณรงค์ เ รื่ อ ง สิทธิที่จะสิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรีของผู้ป่วย โดย เฉพาะในโรงพยาบาล ด้านปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง 1. จัดฝึกอบรม สัมมนาให้บุคลากร ทางการแพทย์รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ ก ารทำ � การุ ณ ยฆาตที่ เ กิ ด ขึ้ น ในโลก ปัจจุบัน การแก้ปัญหา และแนวทางสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย 2. จัดฝึกอบรม สัมมนาให้บุคลากร ทางการแพทย์เข้าใจพื้นฐานเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ของชีวิตมนุษย์ และเคารพต่อความเชื่อของ บุคคล

3. ให้ บุ ค ลากรทางการแพทย์ เ ห็ น ความสำ�คัญของการช่วยป้องกันศีลธรรมเรื่อง การุณยฆาต ด้านการแก้ปัญหาตามแนวทางคำ� สอนของพระศาสนจักรคาทอลิก จากการศึกษาการปรับศีลธรรม เรื่อง การุณยฆาตตามแนวทางค�ำสอนของ พระ ศานจักรคาทอลิก พบว่า มีแนวทางปรับความ เข้าใจดังนี้ คือ พระศาสนจักรคาทอลิกส่งเสริม สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่และสิ้นใจอย่างสมศักดิ์ศรี ของผู ้ ป ่ ว ยที่ ก�ำลั ง จะสิ้ น ใจ พระศาสนจั ก ร คาทอลิก ย�้ำว่าเราไม่เป็นเจ้าของชีวิต เราเป็น แต่เพียงผู้ดูแลชีวิต พระศาสนจักรคาทอลิกส่ง เสริมการมีคุณภาพชีวิต ดังนั้นขอเสนอแนะ ดังนี้ 1. ส่ ง เสริ ม สิ ท ธิ ที่ จ ะมี ชี วิ ต อยู่ แ ละ สิ้ น ใจอย่ า งสมศั ก ดิ์ ศ รี ข องผู้ ป่ ว ยที่ กำ � ลั ง จะ สิ้นใจในสังคมทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับ ครอบครัว ชุมชน จังหวัด และประเทศ 2. ส่งเสริมแนวคิดที่ว่ามนุษย์ไม่เป็น เจ้าของชีวิตในสังคมทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ระดับครอบครัว ชุมชน จังหวัด และประเทศ 3. ส่ ง เสริ ม แนวคิ ด เรื่ อ งการมี คุ ณ ภาพชีวิตที่ดี ในสังคมทุกระดับไม่ว่าจะเป็น ระดับครอบครัว ชุมชน จังหวัด และประเทศ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

59


การศึกษาพัฒนาการความหมายการุณยฆาตและปัญหาศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง

บรรณานุกรม คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก. 1996. ภาค 3: ชีวิตในพระคริสตเจ้า. 4 เล่ม. แปลโดย ปราโมทย์ ครองบุญศรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. เชิดชัย เลิศจิตรเลขา. 2545. จริยศาสตร์ เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ : วิทยาลัย เซนต์หลุยส์. . 2548. คริสตจริยศาสตร์พื้น ฐาน. กรุงเทพฯ : แผนกการพิมพ์ โรงเรียนดอนบอสโก. สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2. 1993. พระวรสารแห่งชีวิต (Evangelium Vitae). กรุงเทพฯ : ศูนย์วรรณกรรมซาเลเซียน.

60

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Devine, Richard J. C.M. 2004. Good Care, Painful Choices. Medi cal Ethics for Ordinary People. New York : Paulist. Gula, Richard M. S.S., ed. 1994. The Sacred Congregatio for the Doctrine of the Faith, “Declaration on Euthanasia.” In EUTHANASIA Moral and Pastoral Perspective. New York : Paulist. Haring, Bernard. 1995. Medical Ethics. Notre Dame : Fides Publishers, Paternoster.


การศึกษาจริยธรรมครูในโรงเรี ตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ยนคาทอลิก

A

Study of Teacher’s Morality According to the Mentality of Saint John Bosco in Catholic Schools

บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, S.J.

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก คณะเยสุอิต * อาจารย์ประจำ�หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ

* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี * อธิการบดี วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงศราวิน พัดศรีเรือง

* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลราชบุรี

Rev.Dr.Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J.

* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lecturer of The Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College.

Rev.Dr.Chatchai Phogsiri

* Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * President of Saengtham College.

Rev.Sarawin Patsriruang

* Master of Arts Programe in Moral Theology, Saengtham College. * Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese.


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวความคิดพื้นฐาน เกี่ยวกับวิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก 2) จริยธรรมครูตาม จิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก และ 3) การนำ�แนวคิดเกี่ยวกับ วิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก ไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนคาทอลิก ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นฐานแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการอบรมของ นักบุญยอห์น บอสโก ได้รบั อิทธิพลจากการอบรมเลีย้ งดูของมารดาในวัย เด็ก ประกอบกับสถานการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และศาสนา ของนักเรียนในสมัยของท่าน โดยถือเอาตัวเด็กนักเรียนเป็นหลักและ เป้าหมายของแนวคิดด้านการศึกษาอบรมของท่าน 2) จริยธรรมครู ของนักบุญยอห์น บอสโก คือระบบป้องกันที่มีองค์ประกอบพื้นฐาน สามประการ คือ เหตุผล ศาสนา และความรัก และ 3) การนำ�แนวคิด เกี่ยวกับวิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโกไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน คาทอลิกเกิดผลดีก็ต่อเมื่อผู้บริหารได้จัดให้มีการปฐมนิเทศครูทุกคนให้ ทราบถึงแนวทางการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก รวมถึงวิธีการนำ� ไปใช้ในการเรียนการสอนและอบรมนักเรียน เมือ่ ครูได้รบั การปฐมนิเทศ และเข้ า ใจถึ ง แนวทางและวิ ธี ก ารดั ง กล่ า วแล้ ว ก็ ใ ห้ นำ � ไปปฏิ บั ติ จ ริ ง โดยเฉพาะองค์ประกอบพื้นฐานสามประการ คือ เหตุผล ศาสนา และ ความรัก คำ�สำ�คัญ :

Abstract

62

1) จริยธรรม 3) โรงเรียนคาทอลิก

2) ครู 4) นักบุญยอห์น บอสโก

The objectives of this research are to find : 1) the basic ideas of education according to Saint John Bosco 2) the teacher’s morality according to the mentality of Saint John Bosco and 3) the application of such ideas of education in catholic schools. The results of the study are as follows :

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

1) Saint John Bosco’s basic ideas of education is influenced by the education from his mother in his childhood, supplemented by the social, cultural, and moral environments : the student is the subject and the goal of Saint John Bosco’ idea of education. 2) The teacher’s morality according to the mentality of Saint John Bosco is preventive system consisting of three basic factors : reason, religion, and compassionate love. and 3) The application of teacher’s morality according to the mentality of Saint John Bosco in catholic schools depends on orienting the teachers to the basic idea of education according to the mentality of Saint John Bosco, the menthod of educating specially through the three basic factors : reason, religion, and compassionate love. Keywords : 1) Morality 2) Teacher 3) Catholic School 4) Saint John Bosco

ที่มาและความสำ�คัญของปัญหา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง มีพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ครู ไ ว้ ว่ า “...คำ � ว่ า ครู นั้ น เป็ น คำ � ที่ สู ง ยิ่ ง เพราะถื อ ว่ า เป็ น ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การเคารพบู ช าได้ ฉะนั้ น ได้ ชื่ อ หรื อ เรี ย กตั ว ว่ า เป็ น ครู ก็ จ ะต้ อ ง บำ�เพ็ญตนให้ดี บำ�เพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำ � เพ็ ญ ตนให้ เ ป็ น ที่ นั บ ถื อ เพราะว่ า ผู้ ใ ด เป็ น ครู แ ล้ ว ไม่ บำ � เพ็ ญ ตนให้ เ ป็ น ที่ นั บ ถื อ ได้ ก็เท่ากับบกพร่อง...” (อุดมพร อมรธรรม,

2549 : 102) และพระองค์ยังทรงมีพระราช ดำ�ริว่า “ครูผู้กระทำ�แต่ความดี คือ ครูที่แท้” ดังที่ได้ทรงพระราชดำ�รัสพระราชทานแก่ครู อาวุโสประจำ�ปี 2522 ว่า “...ครูที่แท้นั้นต้อง เป็ น ผู้ ทำ � แต่ ค วามดี ต้ อ งขยั น หมั่ น เพี ย รและ อุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และ เสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สำ�รวม ระวังความประพฤติ ของตนให้ อ ยู่ ใ นระเบี ย บแบบแผนอั น ดี ง าม

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

63


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

ต้ อ งปลี ก ตั ว ปลี ก ใจจากความสะดวกสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภู มิ ข องตน ต้ อ งตั้ ง ใจมั่ น คงและแน่ ว แน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องมีเมตตา หวังดี ต้องวางใจเป็นกลางไม่ปล่อยไปตาม อำ � นาจอคติ ต้ อ งอบรมปั ญ ญาให้ เ พิ่ ม พู น สมบูรณ์ขึ้น ทั้งด้านวิทยาการและความฉลาด รอบรู้ในเหตุและผล...” (ยนต์ ชุ่มจิต, 2542: 68) จะเห็นได้ว่าผู้ที่จะเป็นครูที่แท้ตามแนว พระราชดำ � ริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัวนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่ท�ำ แต่ความดี ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง มีความเมตตาและเสีย สละในการทำ�หน้าที่ครู ทั้งนี้โดยไม่เลือกว่า เป็นครูชาติใด ภาษาใด ดังพระราชดำ�รัสที่ว่า “...ครูนั้นจะเป็นครูจีน ครูไทย ครูฝรั่ง ครูแขก ชาติใดก็ตาม ผู้ที่เป็นครูนั้นจะต้องมีจิตใจที่สูง ถ้าครูมีจิตใจสูง ก็จะทำ�งานของตัวเองด้วย ความสำ�เร็จ จะเป็นที่นับถือของลูกศิษย์ และ เป็นที่เคารพของผู้ที่เป็นประชาชนทั่วๆ ไป...” (วิไล ตั้งจิตสมคิด, 2544 : 143) งานของครูเป็นงานทีย่ ากยิง่ เพราะครู ทำ�งานกับสิ่งที่ซับซ้อนที่สุด คือ “คน” และ การสอนเป็นศิลปะที่ยากที่สุดในกระบวนการ ศิลปะทั้งมวล และทั้งเป็นศาสตร์ที่ลึกซึ้งใน กระบวนศาสตร์ ทั้ ง หลาย งานของครู จ ะ ประสบความสำ�เร็จเมื่อสามารถทำ�ให้บุคคล

64

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่ต้องการ ในขณะที่ ต้ อ งประพฤติ ต นอยู่ ใ นกรอบของ ศีลธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชน และสังคม การที่ครูจะทำ�หน้าที่ได้โดยสมบูรณ์ นั้น ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความ สามารถทางวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาค ปฏิ บั ติ โดยมี ค วามเพี ย บพร้ อ มทางด้ า น คุ ณ ธรรมและความประพฤติ การที่ ค รู จ ะ ปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นครู ได้เต็มกำ�ลัง ความสามารถและมีประสิทธิภาพ จึงต้องมี จิตสำ�นึกระลึกถึงความเป็นครูของตน ตระ หนักถึงบทบาทหน้าที่ และภารกิจทีต่ อ้ งปฏิบตั ิ มีความตั้งใจทำ�งานในการทำ�งานด้วยความ รับผิดชอบต่อผลงานเต็มกำ�ลังสติปัญญาความ สามารถ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด (สำ � นั ก งานคณะกรรมการข้ า ราชการครู , 2544: 13-14) ซึ่ ง จะเห็ น ว่ า สภาพสั ง คมปั จ จุ บั น มี ข่ า วที่ ส ร้ า งความเสี ย หายให้ กั บ วงการครู บ่อยๆ ครูที่มีหน้าที่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้มี คุณธรรมจริยธรรม กลับมาเป็นผู้กระท�ำผิด ตกเป็นข่าวเสียเอง เช่น ครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว ครูลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ ครูหลอกลวง ข่มขืนศิษย์ ครูขายยาเสพติด เป็นต้น สาเหตุ ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ อ าจเป็ น เพราะสภาพสั ง คมที่ วุ่นวาย สับสน ขาดจิตส�ำนึกด้านคุณธรรม


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

จริยธรรม สภาพเศรษฐกิจที่รัดตัว เทคโนโลยี ที่มีความทันสมัย ก้าวไกลล�้ำยุคมากขึ้น ครูจึง มีภาระและความต้องการมากขึ้น ทั้งภาระ ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่องานในหน้าที่ ภาระ ความรับผิดชอบเหล่านี้ท�ำให้ครูต้องหาอาชีพ เสริม หางานพิเศษท�ำเพื่อให้มีรายได้พอกับ การใช้จ่าย จึงให้ความสนใจด้านการเรียนการ สอน การพัฒนาผู้เรียนน้อยลง ทั้งๆ ที่เป็นงาน ในหน้าที่ กลายเป็นคนที่อ่อนด้อยในเรื่อง คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมในวิ ช าชี พ ซึ่ ง เป็ น คุ ณ ลั ก ษณะที่ ต ้ อ งเกิ ด ขึ้ น และฝั ง อยู ่ ใ นจิ ต ใจ ในจิ ต วิ ญ ญาณของครู ทุ ก คน (การปลู ก ฝั ง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณครู, 2544 : 167) แนวคิ ด ด้ า นการศึ ก ษาของนั ก บุ ญ ยอห์น บอสโก ได้รับอิทธิพลจากกระแสความ คิดในช่วงเวลาของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องธรรมชาติมนุษย์ ชะตาชีวิต และหน้าที่ ของการศึกษาในการขัดเกลามนุษย์ ในฐานะ ที่ ท ่ า นเป็ น บาทหลวงคาทอลิ ก ซึ่ ง ได้ ศึ ก ษา ปรัชญาและเทววิทยาในบ้านเณร ท่านได้รับ อิ ท ธิ พ ลจากความคิ ด ของพระศาสนจั ก รใน เรื่องธรรมชาติมนุษย์และการศึกษา นักบุญ ยอห์น บอสโก มีมโนภาพของมนุษย์ในแบบ ของอริสโตเติล คือเป็นปัจเจกบุคคลที่ประ กอบด้ ว ยร่ า งกายและวิ ญ ญาณ แต่ ส�ำหรั บ

ท่ า นมนุ ษ ย์ มี ช ะตาชี วิต ที่ เ หนื อ ไปกว่ า ความ คิดของลัทธิธรรมชาตินิยมบริสุทธิ์ เนื่องจาก มนุ ษ ย์ ไ ด้ ถู ก เรี ย กให้ มี ส ่ วนร่ วมในธรรมชาติ ของพระเจ้ า ในกิ จ กรรมด้ า นการศึ ก ษาของ ท่าน นักบุญยอห์น บอสโก ได้ตระหนักอย่าง เต็มที่ถึงสิ่งที่นักบุญลูกาได้กล่าวถึงพระเยซู เจ้าในวัยเด็กว่า “เมื่อพระเยซูเติบโตขึ้น พระ องค์ทรงก้าวหน้าในปรีชาญาณ และในความ ชื่ น ชมของพระเจ้ า และมนุ ษ ย์ ” การศึ ก ษา แบบคริ ส ตชนมุ ่ ง ที่ จ ะส่ ง เสริ ม การเติ บ โตที่ เหมื อ นกั น ในด้ า นปรี ช าญาณ การศึ ก ษาที่ เหมาะสมจึ ง ควรจะเป็ น กระบวนการเพื่ อ พัฒนาร่างกาย จิตใจ และวิญญาณของเด็ก วลี ที่ รู ้ จั ก กั น ดี แ ละนั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโก กล่าวซ�้ำบ่อยๆ ที่แสดงถึงผลของการศึกษา ที่ดีคือ “sanitas, sapientia, sanctitas” (สุขภาพ ปรีชาญาณ และความศักดิ์สิทธิ์) ความรั ก ของพระเจ้ า เป็ น จุ ด ศู น ย์ กลางของระบบการศึกษาของนักบุญยอห์น บอสโก นั่นคือ “พระเจ้าที่เราจะต้องรักเหนือ สิง่ อืน่ ใดและในทุกสิง่ ด้วยความรักนี้ ในความ รักนี้ และโดยอาศัยความรักนี้ เราจึงต้อง รักทุกสิ่ง” ความรักต่อพระเจ้าหรือศาสนา เป็นจุดศูนย์กลางของการศึกษาที่เหมาะสม ส�ำหรับนักบุญยอห์น บอสโก จุดมุ่งหมายของ การศึกษาและของชีวิตทุกอย่างในตัวของมัน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

65


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

เอง เป็นการมุ่งไปสู่จุดหมายสูงสุดประการ เดียว นั่นคือ ความรอดของวิญญาณตนเอง ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ สองในระบบป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโก ระบบป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโกพัฒนา ขึ้นมาจากปฏิกิริยาต่อระบบที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่ ง ท่ า นเห็ น ว่ า เป็ น ระบบลงโทษ นั ก บุ ญ ยอห์น บอสโกไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกัระบบลง โทษซึ่ ง นิ ย มใช้ กั น ในโรงเรี ย นและวิ ท ยาลั ย ในสมัยของท่าน เพราะระบบลงโทษมุ่งเน้น การลงโทษผู้กระท�ำผิดมากกว่าจะป้องกันไม่ ให้ ก ระท�ำผิ ด ระบบนี้ ง ่ า ย มี ป ั ญ หาน้ อ ย ส�ำหรับครู หรือผู้มีอ�ำนาจ แล้วดูเหมือนว่า เป็ น ระบบที่ ต ้ อ งท�ำเนื่ อ งจากสถานการณ์ บังคับ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ มีนกั เรียนจ�ำนวน มากในโรงเรียนและวิทยาลัย มันจ�ำเป็นเพราะ เป็นการยากที่จะหาเวลาให้เพียงพอส�ำหรับ การท�ำความรู ้ จั ก เด็ ก นั ก เรี ย นแต่ ล ะคน การกวดขันเป็นเรื่องที่ดีกว่าความไร้ระเบียบ ระบบลงโทษไม่ ไ ด้ ใช้ อ ยู ่ ใ นโรงเรี ย นหรื อ วิทยาลัยเท่านั้น แต่ใช้ในทุกที่ที่มีผู้ใหญ่ หรือ “นาย” ซึ่งมีลูกน้อง ในไร่นา ในโรงงาน ร้านค้า หรือที่ท�ำงาน ในสมัยนั้นทุกคนเชื่อว่าผู้ใหญ่ มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้น้อยโดยใช้การท�ำโทษ เมื่ อ จ�ำเป็ น และเห็ น ว่ า วิ ธี ก ารนี้ เ ป็ น วิ ธี ที่ เหมาะสม และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากกว่ า วิ ธี

66

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

แบบประชาธิปไตย ความอ่อนโยน ความใจดี และการเชิญชวน (อัษฎางค์ ดุษฎีอิสริยวงศ์, 2006 : 35-37, 55-57) การอบรมศึกษาในปัจจุบันก็ได้แสดง ให้เห็นถึงแนวทางการเป็นครูตามแบบอย่างที่ นักบุญยอห์น บอสโก ได้น�ำ ใช้ในสถาบันการ ศึกษาในคณะของท่าน เป็นแบบอย่างแห่งการ อบรมสั่ ง สอนนั ก เรี ย นและเยาวชน และมี สถาบั นการศึ ก ษามากมายในคณะของท่ า น ได้ก�ำ เนิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ เพื่อรับใช้ งานสั่งสอนและอบรมนักเรียนเยาวชน รวมทั้ง ในประเทศไทยด้วย ในปัจจุบันสถาบันการ ศึกษาคาทอลิกในประเทศไทยที่ดำ �เนินการ โดยคณะนั ก บวชซาเลเซี ย นได้ มี ก ารใช้ แ นว ทางของนักบุญยอห์น บอสโกผู้เป็นแบบอย่าง ของครู ใ นการอบรมเยาวชนและการสอน นักเรียนมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และ มี นั ก เรี ย นที่ สำ � เร็ จ การศึ ก ษาออกไปและ ประสบความสำ � เร็ จ ในชี วิ ต เป็ น บุ ค คลที่ มี จริยธรรมในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการอบรม สั่งสอนของครูที่ใช้แนวทางของนักบุญยอห์น บอสโก ซึ่ ง เห็ น ได้ ว่ า มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิ ท ธิ ผ ลที่ เ ห็ น ได้ ชั ด จึ ง น่ า สนใจศึ ก ษา ค้ น คว้ า ว่ า แบบอย่ า งจริ ย ธรรมของนั ก บุ ญ ยอห์น บอสโก ด้านใดบ้างที่สามารถประยุกต์ ใช้กับอาชีพครูปัจจุบันในประเทศไทยเพื่อการ


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

พัฒนาให้ครูมีจริยธรรม มีคุณภาพ เพื่อที่จะ สามารถอบรมสั่งสอนนักเรียนและเยาวชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อการ พัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคงได้มากที่สุด วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาแนวความคิดพื้นฐาน เกี่ยวกับวิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก 2. เพื่อศึกษาเรื่องจริยธรรมครูตาม เจตนารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก 3. เพื่อศึกษาการนำ�แนวคิดเกี่ยวกับ วิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก ไปประ ยุกต์ใช้ในโรงเรียนคาทอลิก นิยามศัพท์เฉพาะ จริ ย ธรรม (Morality) หมายถึ ง ประมวลคุณธรรม คุณธรรม (Virtue) หมายถึง ความ ประพฤติดีจนเป็นนิสัย ครู หมายถึง คือผู้อบรมสั่งสอนและ ถ่ายทอดวิชาความรู้ ความสามารถให้แก่ศิษย์ เป็นบุคลากรวิชาชีพ เป็นผูช้ ี้แนะแนวทางและ จั ด ประสบการณ์ ใ ห้ แ ก่ ผู ้ เรี ย นเพื่ อ สามารถ ศึกษาค้นควาด้วยตนเองได อีกทั้งอบรมสั่ง สอนด้วยวิธีการต่างๆ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเพื่อพัฒนาศิษย์ให้เป็นคนดีของสังคม

โรงเรียนคาทอลิก หมายถึง โรงเรียน เอกชนที่จัดการศึกษาโดยมีแนวคิดเกี่ยวกับ การจั ด การศึ ก ษาตามกรอบแนวคิ ด ของ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่เน้นพระ เจ้า (God) เป็นสัจธรรมหรือความเป็นอยู่สูงสุด (Ultimate Being) โดยให้คุณค่าและความ หมายแก่ ม นุ ษ ย์ ใ นฐานะสิ่ ง สร้ า งที่ เ ป็ น ภาพ ลักษณ์ของพระเจ้า ทั้งนี้โดยอาศัยพื้นฐานของ ศาสนาเป็นแหล่งของแนวคิด ซึ่งในการศึกษา ครั้งนี้เน้นโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ซึ่งเป็น โรงเรียนในเครือมูลนิธิซาเลเซียนของนักบุญ ยอห์น บอสโก นักบุญยอห์น บอสโก หมายถึง บาท หลวงคาทอลิ ก ชาวอิ ต าเลี ย นผู้ ก่ อ ตั้ ง คณะ ซาเลเซียน (คณะนักบุญฟรังซิสเดอซาล) ผู้ ริเริ่มทฤษฎีแนวคิดระบบป้องกันในการอบรม เยาวชน อันเป็นรากฐานของจริยธรรมของ ผู้ให้การอบรมหรือครูในคณะของท่าน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยว กับวิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก 2. เข้าใจเรื่องจริยธรรมครูตามเจตนารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก 3. เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ วิ จั ย อื่ น ที่ จ ะ ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการอบรมและจริย-

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

67


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

ธรรมครูของนักบุญยอห์น บอสโก ต่อไป ขอบเขตและวิธีการศึกษา การศึกษาเรื่อง “จริยธรรมครูของ นักบุญยอห์น บอสโก” เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) ถึงแนวความคิด แนวปฏิบัติของนักบุญยอห์น บอสโกในการ อบรมเยาวชนที่ท่านได้แสดง โดยได้บรรยาย ไว้ในงานด้านการศึกษา วรรณกรรม และ ชี ว ประวั ติ ข องท่ า น ใช้ ก ระบวนการศึ ก ษา และวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ทบทวนแนว ความคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กับแนวความคิดเรื่องจริยธรรมครูของนักบุญ ยอห์น บอสโก โดยเริ่มต้นจากการศึกษา เอกสารทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ ข้อความคิดเบือ้ งต้น เกี่ยวกับนัยของแนวความคิดในทางปรัชญา ความหมาย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ จริยธรรม จริยธรรมครูเทียบกับแนวคิดของ นักบุญยอห์น บอสโก และศึกษาข้อมูลเชิง ปฏิ บั ติ เ พิ่ ม เติ ม จากการสั ม ภาษณ์ ก ลุ่ ม ตั ว อย่างที่เป็นผู้บริหาร ครู และนักเรียน ในโรง เรี ย นคาทอลิ ก ที่ ใช้ วิ ธี ก ารอบรมของนั ก บุ ญ ยอห์น บอสโก เครื่องมือที่ใช้ 1. หนังสือตำ�รา และเอกสาร ที่เกี่ยว

68

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ข้องกับจริยธรรม 2. หนังสือตำ�รา และเอกสาร ที่เกี่ยว ข้องกับครู ปริญญานิพนธ์ และวารสารงาน วิ ช าการต่ า งๆ ของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร สำ � นั ก งานคณะกรรมการข้ า ราชการครู สำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำ � นั ก งานคณะกรรมการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ สำ � นั ก งานคณะกรรมการส่ ง เสริ ม การศึ ก ษา เอกชน และสำ�นักงานเลขาธิการคุรุสภา 3. หนังสือตำ�รา และเอกสาร ที่เกี่ยว ข้องกับครูคาทอลิก จากปริญญานิพนธ์ หนังสือ คำ�สอน เอกสารของพระศาสนจักร หนังสือ ประมวลกฎหมายพระศาสจั ก ร (บรรพ 3 หน้าที่การสอนของพระศาสนจักร) วารสาร จากสภาการศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย สมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย (เพื่อรู้ เอกลักษณ์ครูโรงเรียนคาทอลิก) และสภาการ ศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย (เพื่อรู้อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก) 4. หนังสือตำ�รา และเอกสาร ที่เกี่ยว ข้ อ งกั บ แนวความคิ ด แนวปฏิ บั ติ ข องนั ก บุ ญ ยอห์น บอสโกในการอบรมเยาวชน สิ่งทีท่ ่านได้ บรรยายไว้ในงานด้านการศึกษา วรรณกรรม และชีวประวัติของท่าน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง จริยธรรมครู เช่น Don Bosco’s Education Method โดย Fr.Abraham Panampara,


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

S.D.B. มือพ่อบอสโกเพื่อพัฒนาเยาวชน ยอห์น บอสโกบิดาเยาวชน ตามรอยเท้าพ่อ เป็นต้น 5. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่จะใช้สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ของโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย เพื่อนำ�มาเป็น ข้อมูลประกอบ สรุปผลการวิจัย 1. การอบรมในวั ย เด็ ก ที่ นั ก บุ ญ ยอห์น บอสโกได้รับจากมารดาของท่าน (คุณ แม่มาร์เกริตา) เป็นพื้นฐานที่นักบุญยอห์น บอสโกใช้อบรมนักเรียนของท่าน ท่ามกลาง สถานการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และศาสนา โดยทั่วไปของนักเรียนในสมัยนั้น ตัวนักเรียนเป็นเป้าหมายหลักของการตัดสิน ใจ และเป้าหมายเอกในภารกิจด้านการศึกษา อบรมของนักบุญยอห์น บอสโก นักบุญยอห์น บอสโกพยายามที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้วย วิธีการเฉพาะของท่านเอง ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ การฟื้นฟูสังคมมนุษย์และคริสตชน ด้วยการ ฟื้ น ฟู ชี วิ ต มนุ ษ ย์ แ ละคริ ส ตชนของนั ก เรี ย น ท่าทีอันเป็นลักษณะเฉพาะของนักบุญยอห์น บอสโกคือ การเข้าไปหานักเรียน ไม่รอให้ นักเรียนเข้ามาหาท่าน นักบุญยอห์น บอสโก รู้ สึ ก ว่ า หากผู้ ใ หญ่ ไ ม่ ริ เริ่ ม เข้ า ไปหานั ก เรี ย น ก่อน โอกาสที่นักเรียนจะเข้ามาหาผู้ใหญ่เป็น

ไปได้น้อยมาก นักบุญยอห์น บอสโกอุทิศชีวิต ของท่านเองเพื่อนักเรียนอย่างจริงจัง ท่าน เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ด้วยการมองโลกในแง่ดี ด้วยความมั่นใจที่มั่นคง บนพื้นฐานของความ เชื่อมั่นที่ว่า ในตัวนักเรียนทุกคนมีศักยภาพ พื้นฐานซึ่งจะสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ด้วย การสนทนากั น แบบจริ ง ใจ ด้ ว ยความเชื่ อ และความมุ่งมั่นเหล่านี้ การศึกษาอบรมแบบ ของนั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโกก็ ไ ด้ ถื อ กำ � เนิ ด ขึ้ น มาอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งกลายเป็น นโยบายป้องกันที่ใช้จนถึงปัจจุบัน เป้าหมาย สูงสุดของการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก คือ การพัฒนาชีวิตมนุษย์และชีวิตคริสตชน ของบุคคล ความรักของมนุษย์มีจุดหมายที่ การพบปะกั บ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ และการพบปะ สูงสุดกับพระเจ้า ซึ่งท่านได้มุ่งมั่นเพื่อทำ�ให้ ชีวิตของนักเรียนแต่ละคนได้เข้าใจและสัมผัส กับความรักนี้ในพระศาสนจักร ในสังคม และ ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม 2. ระบบป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโกนั้นละเว้นการลงโทษ ใช้องค์ประกอบ หลักก็คือความรัก เป็นความรักที่ใช้เหตุผล อย่างใกล้ชิด และเชื่อมโยงกับศาสนาซึ่งเป็น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์และคริสตชน อย่างแยกออกจากกันไม่ออก องค์ประกอบ พื้นฐานมีสามประการคือ เหตุผล ศาสนา

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

69


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

และความรัก แสดงให้เห็นถึงกระบวนการ ระหว่างบุคคลในรูปแบบของ มิตรภาพ การ ขจั ด ระยะห่ า งระหว่ า งครู กั บ นั ก เรี ย น การ ทำ�ให้ระเบียบวินัยปฏิบัติได้ง่าย เต็มไปด้วย ความเข้าอกเข้าใจ ความไว้วางใจ ความจริงใจ การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์อย่างไม่เป็น ทางการ การใช้ชีวิตหมู่คณะ และการปฏิสัมพันธ์กันในระดับสูงขึ้นไป 3. ผลวิเคราะห์การสัมภาษณ์ท�ำให้ ทราบได้ว่า แนวทางของนักบุญยอห์น บอสโก นั้นครูสามารถน�ำไปใช้ในโรงเรียนคาทอลิกได้ ดี เมื่อมีการร่วมมือกันระหว่างผู้บริหาร ครู และนักเรียนอย่างดี หากผู้บริหารได้จัดให้มี การปฐมนิ เ ทศครู ทุ ก คนให้ ท ราบถึ ง วิ ธี ก าร อบรมของนักบุญยอห์น บอสโก รวมถึงแนวทาง และวิธีการน�ำไปใช้ในการเรียนการสอนและ อบรมนักเรียน เมื่อครูได้รับการปฐมนิเทศ และเข้าใจถึงแนวทางและวิธีการดังกล่าวแล้ว ก็น�ำมาปฏิบัติกับนักเรียนโดยเฉพาะในองค์ ประกอบหลักสามประการ คือ เหตุผล ศาสนา และความรัก ในด้านเหตุผล ครูใช้เหตุผล ในการอธิ บ ายให้ นั ก เรี ย นเข้ า ใจถึ ง ความถู ก ความผิด ในการปฏิบัติตนต่อส่วนรวมและ ตนเอง รวมถึงมีแนวทางในการรับผิดชอบใน กรณีที่ต้องมีการลงโทษ ซึ่งนักเรียนเข้าใจและ ให้ความยอมรับอย่างเต็มใจและตระหนักถึง

70

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คุณค่าที่ได้รับจากการลงโทษ ในด้านศาสนา ครูให้ข้อคิดกับนักเรียนโดยยกตัวอย่างจาก นักบุญยอห์น บอสโก หรือนักบุญโดมินิก ซาวี โอ เพื่อเป็นแบบอย่าง และมีการเน้นย�้ำคุณค่า ความดี ข องศาสนาท่ า มกลางสถานการณ์ สังคมปัจจุบันอยู่บ่อยๆ ด้านความรัก ครู พยายามใช้ ค วามรั ก ในการแสวงหาเหตุ ผ ล ในการอบรมสั่งสอนนักเรียนและพร้อมที่จะ พบปะนักเรียนตลอดเวลา อภิปรายผล 1. พื้ น ฐานแนวความคิ ด เกี่ ย ว กั บ วิ ธี ก ารอบรมของนั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโก เกิ ด ขึ้ น ท่ า มกลางสถานการณ์ และสภาพ แวดล้อมต่างๆ ทางสังคมในสมัยของท่านที่ไม่ ค่อยจะดีนัก ซึ่งท่านเองมีความปรารถนาที่จะ แก้ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นให้ดีขึ้น โดยที่ท่าน ได้ เ ริ่ ม ต้ น ที่ ตั ว เด็ ก นั ก เรี ย นในฐานะที่ เ ป็ น บุคคลทั้งครบตามที่ Abraham Panampara (2006 : 35) ได้กล่าวไว้ว่านักบุญยอห์น บอสโก มีมุมมองมนุษย์แบบอริสโตเติล ที่มีทั้งร่างกาย และจิ ต วิ ญ ญาณ และมี เ ป้ า หมายของการ อบรมอยู่ที่ส่วนลึกในจิตใจของตัวเด็กนักเรียน เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูและเปลี่ยนแปลง สังคมที่ยั่งยืน ท่านจึงได้มองไปที่สาเหตุหลัก คือตัวบุคคล ทั้งนี้ประกอบกับอาศัยทัศนคติ


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

ที่ดีและการมองโลกในแง่บวกของท่านทำ�ให้ นักบุญยอห์น บอสโก สามารถสร้างความ เชื่อมั่นในตัวเด็กนักเรียนว่าเขาสามารถรับการ อบรมสั่งสอน เติบโตขึ้น และสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้ เพื่อที่ตัวเด็กนักเรียน เองเมื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ในสังคม ก็จะสามารถ เปลี่ยนแปลงสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ทางสั ง คมให้ ดี ขึ้ น ได้ ด้ ว ย ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ที่ ส ภาการศึ ก ษาคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย (2551 : 31-32) ได้กล่าวไว้ว่า “โรงเรียน คาทอลิกมีพันธกิจในการพัฒนาบุคคลให้ครบ ครัน” 2. ระบบป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโก ถือได้ว่าเป็นจริยธรรมในการเป็นครู ของท่าน ประกอบด้วยเหตุผล ศาสนา และ ความรัก นักบุญยอห์น บอสโกเน้นความรักทีจ่ ะ ต้องมีต่อนักเรียนเป็นอันดับแรก ซึ่งสอดคล้อง กั บ เกณฑ์ ม าตรฐานครู แ ห่ ง ชาติ ที่ ยึ ด ตาม จรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 ที่ส�ำ นักงานคณะ กรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ทำ�การศึกษา ไว้ว่า (2542 : 225-226) ครูต้องมีความรัก เมตตาเป็นอันดับแรกก่อนจึงจะเริ่มการอบรม สั่ ง สอนนั ก เรี ยน และสอดคล้องกับสมาคม สภาการศึ ก ษาคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย (2544 : 96-97) ที่ได้กล่าวไว้ว่า ครูต้องมีความ เมตตา ใจเย็น และเอือ้ เฟือ้ ต่อเด็กนักเรียนเสมอ

นักบุญยอห์น บอสโก ยังให้องค์ประกอบที่ สำ�คัญอีกสองประการคือ เหตุผล และศาสนา ซึ่งเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับความรัก ครูจำ�เป็น ต้องมีเหตุผลในฐานะที่ความรักก่อให้เกิดการ แสวงหาเหตุผลเพื่อเข้าใจเด็กนักเรียน และ ความรักเป็นกระบวนการมุ่งสู่ศาสนา หรือ ความดีที่พระเจ้าทรงเป็นความเป็นสูงสุด องค์ ความดี สู ง สุ ด และบ่ อ เกิ ด แห่ ง ความรั ก เอง ด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของธีรศักดิ์ อัครบวร (2542:45-48) ที่ ไ ด้ ทำ � การวิ จั ย เรื่ อ ง ลั ก ษณะของครู ที่ ดี ว่ า ครู ต้ อ งมี เจตคติ ที่ ดี และความเข้าใจต่อนักเรียน และสอดคล้องกับ เอกสารเรือ่ ง เอกลักษณ์ครูในโรงเรียนคาทอลิก ของคณะกรรมการสมาคมครู โรงเรี ย นคาทอลิ ก ในด้ า นมิ ติ ก ารพั ฒ นาตนเองของครู ในโรงเรียนคาทอลิกว่าครูต้องทำ�งานในวัฒนธรรมที่ยึดหลักการ ความเชื่อของศาสนาเป็น ที่ตั้ง และประพฤติตนให้สอดคล้องกับศาสนา 3. การประยุ ก ต์ วิ ธี ก ารอบรมของ นั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโก เพื่ อ ใช้ ใ นโรงเรี ย น คาทอลิ ก นั้ น จะได้ ผ ลดี ก็ ต่ อ เมื่ อ ผู้ บ ริ ห ารรู้ จักวิธีการอบรมของนักบุยอห์น บอสโกอย่างดี และจัดให้มีการอบรมแนะนำ�ให้ครูได้ทราบ และเข้าใจถึงวิธีการอบรมของนักบุญยอห์น บอสโก รวมถึงแนวทางและวิธีการนำ�ไปใช้ ในการเรี ย นการสอนและอบรมนั ก เรี ย น

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

71


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

ดั ง ที่ เ อกสารเรื่ อ งเอกลั ก ษณ์ ค รู ใ นโรงเรี ย น คาทอลิ ก ของคณะกรรมการสมาคมครู โรง เรี ย นคาทอลิ ก ที่ ก ล่ า วไว้ ใ นมิ ติ ก ารพั ฒ นา ตนเองว่า ครูต้องรู้และเข้าใจเอกลักษณ์การ จั ด การศึ ก ษาของโรงเรี ย นคาทอลิ ก และมิ ติ ด้านการพัฒนาวิชาชีพว่าครูต้องรู้ว่าโรงเรียน คาทอลิกสอนอะไร และสอนอย่างไร กล่าวคือ การนำ�เอาความเชื่อมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอน และในมิติด้านการ พัฒนานักเรียนว่า การที่จะพัฒนานักเรียน ให้บรรลุเป้าหมาย ครูต้องเริ่มจากการพัฒนา ตนเองให้ มี ค วามพร้ อ มด้ า นจิ ต ใจ ทั ศ นคติ เข้าใจพื้นฐานการศึกษาคาทอลิก จนเกิดความ ชัดเจนในแนวทางการทำ�งาน ซึ่งสอดคล้อง กับที่ วรพร ทัศนา (อ้างถึงใน สมาคมสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย, 2545: 7-8) กล่าวว่า ครูผู้สอนจะต้อง “มี” สิ่งที่ จะสอนเสี ย ก่ อ น จึ ง จะทำ � ให้ ก ารสอนนั้ น ประสบผลสำ�เร็จตามที่ตั้งไว้ นั่นคือมีคุณค่า ชีวิตในด้านที่ตนกำ�ลังสอน โดยนักเรียนจะ ต้องสามารถมองเห็นคุณสมบัติแบบมนุษย์ที่ ถูกต้องถ่องแท้ในตัวครู ดังนั้น จึงมีความจำ� เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ค รู ผู้ ส อนจะต้ อ งเป็ น ผู้ มี คุ ณ ธรรมจริยธรรม และสามารถนำ�ไปฝึกปฏิบัติให้ กับลูกศิษย์ได้ด้วยความเข้าใจ จึงจะก่อให้เกิด ประโยชน์ในชีวิตอย่างแท้จริงได้ นั่นคือ เกิด

72

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ความตระหนักในคุณค่าของความเป็นคน และ ปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณค่า ซึ่งจะทำ�ให้มนุษย์คน นั้นมีชีวิตอยู่สมศักดิ์ศรีของความเป็นคนอย่าง แท้จริง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งสั้นๆ ดังที่ อำ�ไพ สุจริตกุล (2533 : 23-26) ได้สรุปงาน วิ จั ย คุ ณ ลั ก ษณะของครู ที่ ดี พึ ง ปรารถนาไว้ ว่า “ครูต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู” และสิ่งสำ�คัญอีกประการหนึ่งคือ ครูต้องมี ความสัมพันธ์กบั ผูป้ กครอง สามารถติดต่อแลก เปลี่ยนข้อมูลของเด็กนักเรียนกับผู้ปกครอง อย่างเป็นกันเองได้ เพื่อที่จะได้เกิดการพัฒนา ต่อเนื่องไม่ว่าเด็กนักเรียนจะอยู่ที่โรงเรียนหรือ ที่บ้าน ดังที่สมาคมสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย (2542 : 12) ได้กล่าวถึง คุ ณ ภาพของครู ที่ จ ะต้ อ งมี ค วามเพี ย รทนใน การเป็นสื่อบอกผู้ปกครองว่าเกิดอะไรขึ้นกับ ลูกของตนที่โรงเรียน จะแก้ไขอย่างไร เพราะ พฤติกรรมของเด็กนักเรียนบางครั้งที่บ้านกับ ที่โรงเรียนเป็นคนละเรื่องกัน นั่นคือความรักที่ ครูสามารถให้กับเด็กนักเรียนและสามารถให้ กับผู้ปกครอง เป็นการแสดงความรักและการ รับใช้ที่แท้จริงของครู และสอดคล้องกับเอกสารของพระศาสนจักร Gravissimum Educationis (1965 : 13) ที่กล่าวไว้ว่า “ครูต้องทำ� งานเป็นดังเพื่อนของผู้ปกครองเด็กนักเรียน” ทั้งนี้เพื่อการติดต่อสัมพันธ์ในการอบรมพัฒนา


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

เด็กนักเรียนให้เติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ว่าเด็ก นักเรียนจะอยู่ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน และใน ขณะเดียวกันยังได้แนะนำ�ให้ผู้ปกครอง “ไว้ วางใจ สนั บสนุน และร่วมมือกับโรงเรียน คาทอลิกอย่างเต็มความสามารถทั้งนี้เพื่อการ ศึกษา และการอบรมพัฒนาของเด็กนักเรียนที่ สมควรจะได้รับอย่างเต็มที่” ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย 1. ผู้ บ ริ ห ารในโรงเรี ย นคาทอลิ ก สามารถนำ � จริ ย ธรรมครู ข องนั ก บุ ญ ยอห์ น บอสโกไปใช้ ไ ด้ แ ต่ ต้ อ งทำ � การศึ ก ษาให้ เ กิ ด ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน หลังจากนั้น จึงจัดการปฐมนิเทศให้แก่ครูในโรงเรียนได้เข้า ใจถึงจริยธรรมครูของนักบุญยอห์น บอสโก ซึ่ง อาจจะต้ อ งมี ก ารไปศึ ก ษางานจากโรงเรี ย น ของคณะซาเลเซียน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญโดย ตรงคื อ จากคณะซาเลเซี ย นมาเป็ น วิ ท ยากร อบรมให้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งระบบ ป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโก และองค์ประ กอบที่สำ�คัญสามอย่างคือ เหตุผล ศาสนา และความรัก 2. ครูในโรงเรียนคาทอลิก หรือครู ทั่ ว ไป สามารถนำ � จริ ย ธรรมครู ข องนั ก บุ ญ ยอห์น บอสโก ไปใช้ได้ถ้าได้ท�ำ การศึกษาให้

เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน อย่างเพียง พอจากเอกสารและงานวิ จัย ต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย ว ข้องกับนักบุญยอห์น บอสโก ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรทำ�การศึกษาเฉพาะในเรื่อง ปรัชญาการศึกษาของนักบุญยอห์น บอสโก เพื่ อ เป็ น แนวทางในการประยุ ก ต์ ใช้ ใ นการ บริหารการศึกษาแบบคาทอลิกในประเทศไทย 2. ควรทำ�การศึกษาอย่างละเอียด ในเรื่องระบบป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโก เพื่อเป็นแนวทางในการนำ�ไปใช้ในการอบรม สั่งสอนนักเรียนโรงเรียนคาทอลิกในประเทศ ไทย 3. ควรทำ�การประเมินผลจากการใช้ ระบบป้องกันของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรง เรียนของมูลนิธิซาเลเซียนในประเทศไทย เพื่อ วิเคราะห์ดูจุดเด่นและจุดด้อย และปรับพัฒนา ระบบป้องกันให้เหมาะสมกับยุคสมัย และ บรรยากาศแวดล้อม 4. ควรทำ�คู่มือจริยธรรมครูของนัก บุญยอห์น บอสโก เพื่อการศึกษา และการนำ�ไป ใช้ในประเทศไทยโดยเฉพาะ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

73


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

บรรณานุกรม คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พระศาสนจักร ภายใต้สภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2543. ประมวลกฎหมาย พระศาสจักร บรรพ 3 หน้าที่การสอนของพระศาสนจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย. 2529. พระวินัยและระเบียบการซาเลเซียน. กรุงเทพฯ : สำ�นักงานซาเลเซียน. เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, บาทหลวง. 2548. คริสตจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงเรียนยอห์นบอสโก. ซาเลเซียนภราดา. 2544. มือพ่อบอสโก เพื่อพัฒนาเยาวชน. กรุงเทพฯ : บอสโก อ๊อฟเช็ท. เทเรซิโอ บอสโก. 2531. ยอห์นบอสโก บิดาเยาวชน. แปลโดย ประพนธ์ ชัยเจริญ. กรุงเทพฯ : ยอห์นบอสโก การพิมพ์. บรรจง สันติสุขนิรันดร์, บาทหลวง. 2554. ระบบป้องกันของคุณพ่อบอสโก ในบริบทไทยปัจจุบัน 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์วรรณกรรมซาเลเซียน.

74

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

. 2554. ระบบป้องกันของ คุณพ่อบอสโกในบริบทไทยปัจจุบัน 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์วรรณกรรม ซาเลเซียน. นาตัล มาเน, ผู้แปล. 2527. ยอห์น บอสโก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดำ�รงธรรม. มีนา อดุลย์เกษม. 2534. ทัศนะคติของผู้ บริหารและครูในโรงเรียนของมูลนิธิ ภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของ พระแม่มารีย์ต่อปรัชญาการศึกษา ของยอห์น บอสโก. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์. ยนต์ ชุ่มจิต. 2542. การพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์โอเดียรสโตร์. ไพยง มนิราช, บาทหลวง. 2550ก. การศึกษาคาทอลิก. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. . 2550ข. คุณธรรมในสถาน ศึกษาคาทอลิก. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์.


ออกัสติน สุกิโย ปิโตโย, ชาติชาย พงษ์ศิริ และศราวิน พัดศรีเรือง

ไพศาล เลาหะโชติ. 2546. การปฏิบัติและ ความคาดหวังตามองค์ประกอบ ความสำ�เร็จของการบริหารโรงเรียน เป็นฐานของผู้บริหารและครูโรง เรียน ในมูลนิธิซาเลเซียนแห่ง ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ศิลปากร. รุ่งเรือง สารสุข, บาทหลวง. 2553. ปัจจัย คุรุธรรมนิยมต่อการปฏิบัติตนตาม มาตรฐานวิชาชีพครูของครูใน โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม. ศูนย์คริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ. 2550. ประมวลคำ�สอน พระศาสนจักรคาทอลิก. กรุงเทพฯ: จูน พับลิชชิ่ง. สมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2550. เอกลักษณ์ครูโรงเรียนคาทอลิก. กรุงเทพฯ : BKK. ART AND PRINTING.

สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย. 2551ก. อัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิก. กรุงเทพฯ : สภาการ ศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย). . 2551ข. อัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิก เรื่องการอบรมตามหลัก พระคริสตธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. อับราฮัม ปานัมปารา, บาทหลวง. 2549. วิธีการอบรมของคุณพ่อบอสโก. แปลโดย อัษฎางค์ ดุษฎีอิสริยวงศ์. กรุงเทพฯ : สตาร์บูมอินเตอร์พรินท์. Aulsebrook, Michael. 2011. The Salesian School in Australian Society. Doctoral Thesis in Education Monash University, [Online]. Accessed 19 Sep tember 2011. Available from http : //www.aare.edu. au/docthes/35docth.html Bosco, John. 1925. The “Preven tive System” in the Educa tion of the Young. In Consti tution of the Society of St.Francis of Sales. Battersea, London : The Salesian Press.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

75


การศึกษาจริยธรรมครูตามจิตตารมณ์ของนักบุญยอห์น บอสโก ในโรงเรียนคาทอลิก

Lent , Arthur J. 2007. Don Bosco History and Spirit : Vol.1 Don Bosco’s Formative Years in Historical Context. Roma : Libreria Ateneo Salesiano. _____. 2007. Don Bosco history and spirit : Vol.2 Birth and early development of Don Bosco’s oratory. Roma : Li breria Ateneo Salesiano. _____. 2007. Don Bosco History and Spirit : Vol.3 Don Bosco’s Educator Spirtual Master Writer and Founder of the Salesian Society. Roma : Libreria Ateneo Salesiano.

76

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

_____. 2008. Don Bosco History and Spirit : Vol.4 Beginnings of the Salesian Society and Its Constitutions. Roma : Libreria Ateneo Salesiano. _____. 2009. Don Bosco History and Spirit : Vol.5 Institution Expansion. Roma : Libreria Ateneo Salesiano. Paul VI. 1965. Declaration on Chris tian Education : Gravissimum Educationis. Boston : St.Paul Books & Media.


การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องคุณธรรมของความเห็นแก่ตัวของแอน แรนด์

A

yn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล

* คณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ประวีร์ ศรีพุกกานนท์

* สถาบันการบินพลเรือน จตุจักร

Asst.Prof.Dr.Warayuth Sriwarakuel

* Dean of Graduate School of Philosophy and Religion, Assumption University

Prawee Sripukkanont

* Civil Aviation Training Center, Jatujak


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

บทคัดย่อ

บทความนี้เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการตัดสินทางจริยธรรมจาก การกระท�ำของมนุษย์ ประเด็นส�ำคัญของการโต้แย้งคือความคิดของ แอน แรนด์ เรื่องคุณธรรมของความเห็นแก่ตัว ที่ได้ประกาศว่าเป้า หมายสูงสุดของการเป็นอยู่ของมนุษย์คือการเป็นอยู่เพื่อการแสวงหา เพื่อความสุข เพื่อการเป็นอยู่ที่ดี และเพื่อการมีชีวิตรอดของตนเอง มนุษย์เป็นความสิ้นสุดในตัวเอง และชีวิตของมนุษย์เป็นรางวัลของ คุณธรรม บทความนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งเกี่ยวกับมาตรฐาน การตัดสินทางจริยธรรมที่หลากหลาย เช่น หลักจริยธรรมที่กระท�ำทุก อย่างเพื่อตัวเองทั้งสิ้น หลักจริยธรรมที่กระท�ำทุกอย่างเพื่อเห็นแก่ ประโยชน์และความดีของส่วนรวม และหลักจริยธรรมที่การกระท�ำทุก อย่างเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างปัจเจกบุคคลกับระบบทางสังคม ท้ายที่สุดแล้ว หลักจริยธรรมใดหรือหลักจริยธรรมสากลใดที่ถูกต้อง เหมาะส�ำหรับใช้ตัดสินการกระท�ำของมนุษย์ แน่นอนว่าด้วยน�ำ้ ใจอิสระ มนุษย์จะเลือกกระท�ำอะไรที่เขาต้องการโดยผ่านทางสถานการณ์ที่แท้ จริง ด้วยความรู้ที่ถูกต้องและใจที่เปิดกว้าง คำ�สำ�คัญ :

Abstract

78

1) คุณธรรมของความเห็นแก่ตัว 2) การมีชีวิตอยู่เพื่อตนเอง 3) การมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่น 4) การเสียสละตนเอง

This paper is concerned with the ethical criterion of judgment on the virtue of a man’s performing actions. The main issue of discussion is basing on Ayn Rand’s virtue of selfishness which declared that the ultimate goal of a man’s life is to live for one’s own sake. Man is an end in himself and a man’s

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

life is the reward of virtue. This paper also has shown the contradiction on the ethical criteria of judgment from ethical egoism, ethical altruism, and ethical relativism which tried to declare their standpoints on this issue. But, finally, the conclusion is ending with ethical relativism holding that there is no universal criterion of ethical judgment for a man’s performing actions because moral judgments have been drawn on the ethical principles that guide the behaviors and mold the value systems of different peoples. A man is the measure of all things and he will choose to do what he wants in the real situation with free-will, true knowledge, and open-mindness. Keywords :

Introduction Nowadays, there are various kinds of problems which concern and effect directly the nations of the world. Meanwhile, all human beings are taught to be brothers and sisters who live in the same family and the same world. And man also is considered as rational being, rational animal, and of the highest species of all living be-

1) The Virtue of Selfishness 2) Living for one’s own sake 3) Living for others 4) Self-sacrifice ings which member needs to live the life of happiness and well-being. With freedom of choice, man needs to live happily through and each one wants to choose to do or to be everything he wants. However, basing on the ultimate goal of one’s own life such as happiness, well-being, or personal free choice, it is undeniable that there is

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

79


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

something that attracts the nations to good virtue and morality. Then, thinking of one’s own self, happiness, and well-being become the causes of moral crisis day-to-day. As for the moral crisis, the questions usually asked are: Does man need an ethical principle? Is there a universal ethical principle? What is the best criterion of ethical judgment? Or what is the proper ethical judgment? And, how a man’s performing action is evaluated? Etc. However, the criterion of ethical judgment is simply difficult to be defined as a universal principle because the backgrounds of men’s life are both different and similar, especially in the cultural, traditional, social system, and religious doctrine. Therefore, in order to discuss on the criterion of ethical judgment, it would be better to make a scope of the study on the conflicts among the ethical theories as follows: Ethical Egoism, Ethical Altruism, Ethical Relativism, and Ayn Rand the thinker who declared the virtue of

80

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

selfishness as a new concept of Egoism which claimed that “man is an end in himself and man is a living for one’s own sake. Man is a living being for fulfilling his own desire by focusing on happiness, well-being and survival as the ultimate goal of life. Furthermore, Ayn Rand’s concept is incompatible with self-sacrifice and the development to the perfect life, and the means to a moral life of the nations. However, in order to argue against the virtue of Selfishness, the questions usually found are such as: does a man need the moral principle? Is there a universal criterion of ethical judgment? How men’s actions are evaluated? Etc. Therefore, the scope of studying is focused on: ethical egoism, ethical altruism, ethical relativism, and Ayn Rand’s objectivism. 1. Ethical Egoism Ethical egoism is the normative ethical position holding that moral agents ought to do what are in their


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

own self-interest, (Sanders, 1988, p.2) promote one’s own good, and that possibly the pursuit of morality is the same as the pursuit of self-interest in that what is good for the agent is also the agent’s interest. Ethical egoism is the theory that does not require the moral agents to harm the interests and well-being of others when making moral deliberation; e.g. what is in an agent’s self-interest may be incidentally detrimental, beneficial, or neutral in its effect on others. Thus, a man is only living for fulfilling one’s own sake and desires, and the highest aim of men’s life is happiness, well-being and survival. Ethical egoism holds that man has no needs moral principle because man is to be free and to be both one’s own “creature” (in the sense of ‘creation’) and one’s own “creator” (Stirner, 1845, p. 38) Such a concept is used to fulfill the egoistic behavior in a man’s nature in the sense that every man is selfish by nature. Moreover, the ethical egoism had argued on ethical altruistic for-

mula about ‘living for others’ that this doctrine was damaging a man’s selfesteem and self-expectation, because “people may appear to be acting for the well being of others but at bottom they are only masking their selfish desire, pretending to the world or to themselves that they are generous and high minded.” Example like A parent will often give up money he could spend on himself in order to give his child a good college education, and he would not take the money back even if he could do so secretly. Surely such a parent is being genuinely unselfish here. No, he isn’t, the egoist will reply, because the parent is proud of his child’s accomplishments and derives satisfaction from the success of his offspring; it reflects favorably on himself. He is far more gratified by people knowing his child is attending college than he would be by spending the tuition fees on a car or a trip.” (Porter, 1988, p. 30-32)

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

81


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

1.1 Ethical principle of Egoism Ethical egoism is the normative ethic whose basic premise is focusing on the objective of a man’s action as servicing and benefiting of his own selfinterest and happiness. It is incompatible with the ethical principle of altruism which holds that the consequence of a man’s action is unnecessary to be ended at one’s own happiness, but at the universal happiness of the society or the world. Furthermore, the ethical egoist had stressed that one should not sacrifice one’s own interests to help other’s interests because self-sacrificing is nothing greater than “Dog eats dog.” (Rand, 1964, p. 30) And, a person who sacrificed his own interest for other’s interest is damaging his own selfinterest and self-love. Thus, the ethical principle of egoism did not require moral agents to harm the interests and well-being of others people in the same way as of one’s own sacrificing interest for other’s because “Ethical egoism

82

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

[…] endorses selfishness, but it doesn’t endorse foolishness.” (Rachels, 2008, p. 534) Therefore, according to ethical egoism, the ethical doctrine which taught a man to be foolish, and lacking of self-esteem and self-love should be rejected. Furthermore, in order to understand clearly about the principle of ethical egoism; it is found out that there are three different formulations of the ethical principle which can be identified: individual, personal and universal. Firstly the individual holds that “all people should whatever benefits them”; the second formulation holds that “he or she should act in his or her own self-interest, but would make no claims about what anyone else ought to do”; and the last is a universal ethical egoist would argue that everyone should act in ways that are in their own interest.” (Catholic Encyclopedia, 1913) Therefore, the code of the ethical principle of egoism is holding that the virtue of a man’s performing action is self-interest and the objective of a


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

man’s life is ending at one’s own sake and happiness. 1.2 Ethical Egoism on Selfsacrifice As ethical egoism is the theory focusing on the consequence from any of a man’s action; and denied others ethical theory as the criterion of judgment on a man’s action. Meanwhile, ethical egoism had declared that a man is free to act concerning what he wanted and he is the standard of his own morality; at the same time they had denied the ethical of altruism by saying that ““[i]f a man accepts the ethic of altruism, his first concern is not how to live his life but how to sacrifice it.” (Rachels, 2008, p. 535) The concept desires for more explanation on the question what self-sacrifice is: “Who is to be sacrificed to whom?” Which means that the process of sacrificing is covered on the relationship between one and others; between the giver and the receivers, therefore, self-sacrifice is one must sacrifice his own interest for

the interest of others; or others need to be sacrificed for one. But, finally, who should to do that? Moreover, the ethical egoist had argue on self-sacrifice that “people may appear to be acting for the well being of others but at bottom they are only masking their selfish desire, pretending to the world or to themselves that they are generous and high minded.” (Porter, 1988, p. 30) Then, self-sacrifice is representing to an act of involuntary, unnatural and unethical behavior because “human good does not require human sacrifices and cannot be achieved by the sacrifice of anyone to anyone.” (Rand, 1964, p. 27) Therefore, the moral principle and self-sacrifice is unnecessary and useless because i) a man will choose to do what he wanted through the process of reasoning; ii) a man must choose his actions and values by the standard of that which is proper to man—for the purpose of preserving, fulfilling and enjoying the irreplaceable value which is his life. (Rand, 1957, p. 771)

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

83


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

2. Ethical Altruism Altruism also is called the ethic of altruism, and ethical altruism; this ethical doctrine holds that individuals have a moral obligation to help, serve, and benefit others, if necessary at the sacrifice of self-interest. Altruism in the world derived from French philosopher, Auguste Comte who is the founder of Positivist philosophy. The fundamental doctrine of ethical altruism is based on Auguste Comte’s formula: “living for the sake of others,” which doctrine covers all the need of other people and the whole happiness of the society by aiming at developing the perfect life. This doctrine is an understanding on the various characteristics of man in the society which “contributes to the social bond by making each individual dependent on others—the baker, the candlestick maker—none could survive without the other.” (Comte, 1896, II, p. 292) No one can live happily without the other, like a man who lives in the

84

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

desert island alone could not be happy; or the giver could not be happy if there is no receiver because humans naturally are relative and they are brothers and sisters who live in the same world. Thus, Auguste Comte had supported his further ideas that individuals has a consciousness of self-sacrifice in order to live for others which he wrote in his Catéchisme Positiviste:” [The] social point of view cannot tolerate the notion of rights, for such notion rests on individualism. We are born under a load of obligations of every kind, to our predecessors, to our successors, to our contemporaries. After our birth these obligations increase or accumulate, for it sometime before we can return any service… (Comte, 1858, p. 332) If selfishness behavior means that a man always interests in himself, for his own sake, happiness and well-being, and denies the interest of the others, therefore, the ethical altruist would argue that it is immoral and non-virtue because it cannot serve


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

a man moral life and self-development. 2.1 Ethical principle of Altruism Altruism is the doctrine that practices placing for the interest of others before one’s own. Ethical altruism is the further from Jesus Christ’s doctrine on “loving your neighbor as you love yourself,” (Luke 10:27) which August Comte had declared his altruistic formula as “[“to live for others”], the definitive formula of human morality, gives a direct sanction exclusively to our instincts of benevolence, the common source of happiness and duty. [Man must serve] Humanity, whose we are entirely.” (Comte, 1858, p. 332) Altruism is the doctrine that implies a man to have altruistic behavior by which one would be willing to sacrifice one’s own self and things—such as money, time, effort, or life, in order to help others who need with the right reason. Altruism, at its essence, is a morality of self-sacrifice and selfless-

ness which is considered commonly as a virtue and in order to develop to the prefect life. The good altruistic example is mentioned in the story of the Good Samaritan who had sacrificed his life, time, and money for the robbed man on the street. This example is best to support ethical altruism whose morality aims at life, peace, and universal happiness above individual interest. Sometimes, a man needs to be like the Good Samaritan. Moreover, this ethical principle is holding that self-sacrificing and willing to act for the good of others are morality and the reward of ethical altruism is not happiness, but altruistically action; or giving and helping others without any expectation on what will come out. With the ethical altruistic formula, the questions would be asked such as: Does man need to live for others? Does man need to sacrifice for others? Or, who is to sacrifice to whom? Etc. The ethical altruist like Auguste Comte thought that as a man

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

85


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

was born under the load of obligations which motivated him to renounce his self-interest and live for the sake of others, a man’s life is like a piece of jigsaw puzzles which needs to lay down and combine with others in order to produce the beautiful picture. Therefore, the goodness and happiness of the whole social system is greater than those of the individual, like the happiness of the robbed and injured person is greater than that of the Samaritan; and the happiness of the children is greater than that of the parents, etc. 2.2 Altruism in Self-Sacrifice Since French philosopher Auguste Comte had coined the term “altruisme,” in 1851, which means that the meaning of self-sacrifice included the benefit of others, animals, and plants. The meaning of this term was rooted in the teaching of Jesus on “loving one’s neighbors,” which needs a man’s proper practical selfsacrifice and expressing the power of love in the positive form of giving,

86

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

sharing, and helping other people with altruistic action without the expectation on award or reward. Thus, ethical altruism is the ethical theory holding that the standard of good and morality, virtue and value of the whole picture of the society is greater than that of individual. Furthermore, this ethical doctrine was challenging for a decision making in order to over cross the fence of a selfish person who is only interested in himself, wants everything for himself, is unable to give but to receive, and lack interest for the others. The ethical principle included a man’s altruistic behavior which L. Stephen had mentioned: “a man is altruistic who loves his neighbors as himself; who gives money to the poor that might have spent in luxury; who leaves house and home to covert savages; who sacrifices health to comfort prisoners or sufferers in a plague stricken city.” (Stephen, 1882, p. 220) Then, self-sacrificing, giving, sharing, and helping other people are necessary for ev-


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

ery man in order to live a moral life. Conversely to ethical principle of egoism which holds that sacrificing is incompatible with living for one’s own sake whose ultimate aim is to live happily, the ethical altruist teaches that self-sacrifice is representing a man’s nature as a dissatisfied being, as J.S. Mill’s famous words: “it is better to be a human being dissatisfied than a pig satisfies; better to be Socrates dissatisfied than a fool satisfy.” (Mill, 1863, p. 260) This means that if the objective of a man’s life is happiness, then, the altruistic actions is the reward or happiness of altruism because through this action, a man can make the true happiness to the social system and can develop to the perfect life. Concerning self-sacrifice, Ayn Rand had argued: “altruism declared that any action taken for the benefit of others is good, and any action taken for one’s own benefit is evil.” And, also, questioned on the standard of value she stated: why must man

live for the sake of others? Why must man be sacrificial animal? And why is man’s sacrificing the good morality? (Rand, 1961, p. 61, 142) Such concept has been argued by the ethical altruist as the highest specie in this world, “man were exempt from the necessity of living on the earth, and were free to pass at will from one planet to another, the very notion of society would be rendered impossible by the licence which each individual would have to give way to whatever unsettling and distracting impulses his nature might incline him.”(Comte, 1957, p. 1836) The good example to be mentioned here is Sir Robin Hood of Locksley, the defender of downtrodden Saxons. He runs afoul on Norman authority and is forced to turn outlaw. With his band of Merry Men, he robs from the rich, give to the poor, and foil the cruel Sir Guy of Gisbourne, and keep the nefarious Prince John off the throne. The story has shown to the good willing of Sir Robin Hood in order to risk

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

87


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

his life for the poor people with the altruistically action. Thus, according to ethical altruism, man is the highest specie of all being, they are brothers and sisters who live together in the same society and in the same world therefore no one can be happy and survive without the other. No one can live a moral life without the properly ethical principle. 3. Ethical Relativism Ethical relativism is the view that there is no universal moral rule; truth is different for different people, which does not simply mean that different people believe different things to be true. Ethical relativism holds also that for the same person what is morally good in one context may be morally bad in another. The term “relativism” in general is referring to the different ideas, cultures, traditions, the standard of truth, and also, “our sensations are fundamentally different from those who live in different con-

88

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ceptual schemes.” (Fay, 1996, p. 79) In moral philosophy, relativism is usually mentioned in the empirical sense as the basic criterion of ethical judgment which ends at the individual or the agent himself. Hugh LaFollette had mentioned the main characteristic of ethical relativism thus: “ethical relativism is the theory that holds that morality is relative to the norms of one’s culture. That is, whether an action is right or wrong depends on the moral norms of the society in which it is practiced. The same action may be morally right in one society but be morally wrong in another. For the ethical relativist, there are no universal moral standards -- standards that can be universally applied to all peoples at all times. The only moral standards against which a society’s practices can be judged are its own.” (LaFollette, 1991, p. 146) For example the Eskimos practice euthanasia, pushing their old people under the ice if they cannot keep up with the hunting party, whereas in Japan the


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

old are supremely venerated; even after death one’s ancestors continue to command a respect bordering on worship. The argument always concern with the question: What is the ethical criterion of judgment? What is the divide line between good and which one is evil? One might say that what may be good to you but it is not good for me; it’s all matter of opinion or what gives you the right to judge? Or who is to say? Therefore, this explanation is to the standpoint of ethical relativism which holding at individual standard of truth and as the criterion of his action as same as B.R. Hergenhahm had mentioned that “Man is the measure of all things, and therefore there is no universal truth or code of ethical or anything else.” (Hergenhahm, 2009, p. 42) Or, Plato, the greatest philosopher once said: “Music is good to a person who is melancholy, bad to one who is mourning, while to a deaf man it is neither good nor bad.” (Plato, 1889, p. 50) Therefore, there is no universal

criterion of ethical judgment because “different people have different values because of the beliefs that prevail in their particular social environments and to escape into a realm of objective understanding is utterly impossible”. (Porter, 1988, p. 8) 3.1 On Ethical criterion of Judgment Concerning the ethical egoism which holds that a man’s desires are driving from self-interest which aim at one’s own sake, meanwhile, ethical altruism holds in different way that individual have a moral obligation to help, serve, and benefit others; which ethical principle is the best criterion of judgment? The argumentation on this question might be solved by the means of epistemological relativism that “in the case of epistemological relativism the content, meaning, truth, rightness, and reasonableness of cognitive, ethical, or aesthetic beliefs, claims, experiences, or actions can only determined from within a particular concep-

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

89


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

tual scheme. According to epistemological relativism no cross-framework judgment are permissible.” (Fay, 1996, p. 77) Then, for the two men who desire the same thing it is impossible for them all to enjoy and succeed in their desire, in the same way as the desire of ethical egoism and ethical altruism has a big fighting between ‘living for one’s own sake’ and ‘living for the sake of others.’ On the ethical criterion of judgment, it is true that a man’s desires on the same thing is simply different and similar, therefore the ethical relativist has no need to make a specific decision on this issue, but to focuses on the method of performing actions. Together with this issue, the ethical relativist had focused on the quality of being a moral person which John Rawls had mentioned that the quality of being a moral person is a sufficient condition for being entitles to equal justice. (Rawls, 1971, p. 22) Therefore, the quality on the criterion of a moral

90

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

person and the quality of the justice of ethical judgment are relating with the conditions of several cultures, traditions, faiths and religious doctrines, and social systems. Furthermore, this emphasis includes the worth of many ways of life, which finally, the “judgments are based on experience, and experience is interpreted by each individual in term of his own enculturation.” (Herskovits, 1972, p. 11) And, in order to avoid the conflicting nations, the ethical relativists had declared their fundamental positive principle that ‘man is the measure of all things,’ which seems to be the good motivation for a man’s moral life. On the other hand, in order to serve a man’s need for happiness, well-being, survival, and moral life, it is proper to say that the good ethical criterion of judgment is do not judging because “for the principle of judgment would themselves be internal to one scheme or another, and thus any such exercise would merely beg the question at issue.” (Fay, 1996, p. 79)


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

4. Ethical Objectivism of Ayn Rand Ayn Rand (1905-19820) is a Russian-American novelist, philosopher, play-writer, and screenwriter. She is known for her two best-selling novels, The Fountainhead and Atlas Shrugged, and for developing a philosophical system she called Objectivism. Born and educated in Russian, Rand moved to the United States in 1926. She worked as a screenwriter in Hollywood and had a play produced on Broadway in 1935-1936. After two early novels that were initially less successful, she achieved fame with her 1943 novel The Fountainhead. In 1957, she published her best-known work, the novel Atlas Shrugged. Afterward she turned to nonfiction to promote her philosophy, publishing her own magazines and releasing several collections of essays until her death in 1982. Throughout Ayn Rand’s Objectivism ethics, she thought that since a man was born into the world, the nature does not provide him with an

automatic form of survival, like plants and animals. A man has to find what is necessary for his own self for survival. He has to support his own life by his own effort, welfare and benefit his own life with happiness and wellbeing. At the beginning period of the nations, man had to grow plants and hunt animals for his own survival which is a naturally good. But, the highest value of acting for one’s own welfare has been destroyed by ethical altruism doctrine which declared that “man’s desire to live is evil—that man’s life, as such, is evil.” (Rand, 1964, p. 6) This doctrine is an evil and there no doctrine could be more evil than this and it is the theory which men need to reject because this doctrine destroys human right, freedom, good will, value of human life and is the cause of lack of human self-esteem, self-love, selfpreservation, and respect for others. Thus, Ayn Rand had declared her objectivist ethics whose basic principle is: “just as life is an end in itself, so every

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

91


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

living human being is an end in himself, not the means to the ends or the welfare of others—and, therefore, that man must live for his own sake, neither sacrificing himself to others nor sacrificing others to himself. To live for his own sake means that the achievement of his own happiness is man’s highest moral purpose.” (Rand, 1964, p. 23) Since Ayn Rand had declared the ethical principle of Objectivist, she explained the meaning of objectivism ethics throughout John Galt’s speech: “the ethics of objectivism is basing on Man’s mind is his basic tool of survival. Life is given to him, survival is not. His body is given to him, its sustenance is not. His mind is given to him, its content is not. To remain alive, he must act, and before he can act he must know the nature and purpose of his action. He cannot obtain his food without knowledge of food and of the way to obtain it. He cannot dig a ditch—or build a cyclotron—without a knowledge of his aim and of the means to

92

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

achieve it. To remain alive, he must think.” (Rand, 1957, p. 770) Basing on this speech, Ayn Rand argued that a man life is not the gift from God and the ethical principle is not the gift from God, but set by God’s whim. Then, a man’s expectation for the greatest happiness and well-being could not come from God; but a man himself, as actually a man must live his own life as a man; as A is A. Not as the slave of the God’s whims. 4.1 Ayn Rand on the virtue of Selfishness Since Ayn Rand declared her new concept of egoism on the virtue of selfishness, which attacked the doctrine of many ethical principles like Utilitarianism, Heroism, and Altruism which holds that sacrificing and benefiting others is good and virtue. According to Ayn Rand, what does she mean by the virtue of selfishness? In Rand’s view, she defined that virtue is the means of a personal desire in order to acquire self-benefiting. She had


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

mentioned various views of virtue, as follows: a) The virtue of rational which recognizes and accepts the reason as the source of knowledge and judgment on the value of a man’s actions. b) The virtue of integrity which means that one must never sacrifice one’s convictions to the opinions or wishes of others, or the virtue of justice which means that one must never desire effects without causes, and that one must never enact a cause without assuming full responsibility for its effects—that one must never act like a zombie, i.e., for example. c) The virtue of Pride is the recognition of the fact “that as man must produce the physical values he needs to sustain his life, so he must acquire the values of character that make his life worth sustaining—that as man is a being of self-made wealth, so he is a being of self-made soul.”(Rand, 1957, p. 1020) Meanwhile, there are many

conceptions on the definition of virtue, but, according to Ayn Rand, the virtue of selfishness is focusing on the premise that a man must earn the right in order to hold himself as the highest value by achieving one’s own moral perfection. Or, in other words, it is refusing any irrational code of virtue and value which is unpractical. And, above all, it is challenging a man to reject the role of being a sacrificial animal and the doctrine that preaches self-immolation as the code of morality. However, concerning with the virtue of selfishness, Ayn Rand had denied other code of morality as the standard of the good by declaring the basic social principle of the Objectivist ethics as a new concept of Egoism which holds that “life is an end in itself, and the achievement of his own happiness is man’s highest moral purpose.’ (Rand, 1964, p. 22-23) 4.2 Ayn Rand’s argument on Self-sacrifice Concerning the ethical principle of altruism, Ayn Rand had denied this

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

93


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

doctrine, especially on self-sacrifice by arguing the standpoint that for sacrificing: “of who is to be sacrificed for whom.” (Rand, 1964, p. 44) And, also with the question: Does man need to risk his life and sacrifice himself for others? What will man gain from sacrifice? The example would be mentioned here is “the lifeboat which can carry for one more people.” During the shipwrecking, the passengers have been saved on the lifeboats available, and on the last lifeboat, there is only one seat available for one more people. If you are one from the last two people and the other is a stranger or your enemy; and your family already is in that lifeboat, the questions are: Will you sacrifice yourself for the other? Or, will you ask the other to sacrifice for you? Or, what will you gain or receive from sacrificing? And, what is the true value of self-sacrifice? Etc. There have been found that this example was challenged to a man’s making decision, especially for the people who believe in

94

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

the ethical altruism. Ayn Rand thought that the evaluation on a man’s performing action concerning the degree of an important such as saving one’s own wife’s life and the stranger from the shipwrecked of which the wife has a priority because the degree of importance for the wife is higher than for the stranger. This means, for ethical objectivism, finally, a man will choose to do everything for his own desire and he has no need of the moral principle to justify his action because the ultimate goal of the action is only for his own happiness. Therefore, a man who decided to save his wife’s life from the shipwrecked is a virtuous person because his wife is his happiness, and an act of self-sacrifice would assume that he prefers to live as a slave. The selfishness of a man who is willing to die, if necessary, fighting for his freedom, lies in the fact that he is willing to go on living in a world where he is no longer able to act on his judgment. Then, “the selfishness or unselfishness


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

of a man’s action is to be determined objectively: it is not determined by the feelings of a person who act, which is not the criterion in ethics.” (Branden, 1962, p. 54-55) Therefore, the virtue of selfishness for performing sacrifice is to live, not to die because to live is harder than to die. Then, death is not sacrifice. It is immoral, but the torture is.

Furthermore, in order to argue against the concept on self-sacrifice, Ayn Rand had clarified that a sacrificing activity must produce the highest happiness and satisfaction for both the agent and the receiver. Therefore, what is the virtue of sacrifice? Ayn Rand had mentioned to John Galt’s speech who had defined the ideas of sacrifice and non-sacrifice thus:

“If you exchange a penny for a dollar, it is not a sacrifice; if you exchange a dollar for a penny, it is. If you achieve the career you wanted, after years of struggle, it is not a sacrifice; if you then renounce it for the sake of a rival, it is. If you own a bottle of milk and give it to your starving child, it is not a sacrifice; if you give it to your neighbor’s child and let your own die, it is.” (Rand, 1957, p. 781) Then, the altruists who believe that death is the greatest action of sacrifice are foolish. They are the victims who try to follow the teaching of Jesus Christ who had accepted the death on the cross which is only the torture. And concerning the degree of importance, it is unreasonable for Jesus Christ, the

Son of God who has the highest degree of being to sacrifice himself for the lower degree, like human beings. Therefore, the death of Jesus Christ on the cross is nothing else, but the symbol of the torture which Ayn Rand had said:

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

95


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

“I do regard the cross as the symbol of the sacrifice of the ideal to the non-ideal. Isn’t that what it does mean? Christ, in terms of the Christian philosophy, is the human ideal. He personifies that which men should strive to emulate. Yet, according to the Christian mythology, he died on the cross not for his own sin but for the sins of the non-ideal people. In other words, a man of perfect virtue was sacrificed for men who are vicious and who are expected or supposed to accept that sacrifice. If I were a Christian, nothing could make me more indignant than that: the notion of sacrificing the ideal to the non-ideal, or virtue to vice. And it is in the name of that symbol that men are asked to sacrifice themselves for their inferiors. That is precisely how the symbolism is used. That is torture.” (Rand, 1964b, p. 42) Undoubtedly the death of Jesus Christ is justly an action following the basic premise from His plan which Ayn Rand had argued: “death is the goal of His actions in practice—and you (men) are the last of His victims.” (Rand, 1957, p. 797) Furthermore, His performing action was determined by His Father’s whims which could not be considered as the means of virtue and value. But, conversely, it is damaging the value of self-esteem, self-love, and

96

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

self-preservation. Therefore, the death of Jesus Christ is immoral because its objective is not proper purposes for living and surviving. Criticism on Any Rand’s the virtue of Selfishness Ayn Rand had started her concept by the virtue of selfishness with a man’s basic need for happiness, wellbeing, and survival as the ultimate goal of life. The argument mostly focused


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

on the failure of this doctrine which can be considered as the cause of moral crisis day-to-day. Furthermore, the criticism of the virtue of selfishness is showing the disaster of nations such as the economic crisis and the war,

including the conflicts among men in the same society. The example which best represents the effect of the virtue of selfishness is: “Baby farming in Nigeria.” BBC News, on June 1, 2011 reported thus:

“Nigerian police have raided a hospital in the south-eastern city of Aba, rescuing 32 pregnant girls allegedly held by a human-trafficking ring. Aged between 15 and 17 years, the girls were locked up and used to produce babies, said Abia state’s police chief. These were then allegedly sold for ritual witchcraft purposes or adoption. But the hospital’s owner denied running a “baby farm”, saying it was a foundation to help teenagers with unwanted pregnancies. The National Agency for the Prohibition of Trafficking in Persons (Naptip), the organization charged with fighting human-trafficking in Nigeria, says their investigations show that babies are sold for up to $6,400 each, depending on the sex of the baby. Male babies are more prized, our correspondent says.” (Andrew Walker, BBC News) From the report, the question should be asked is: What is the objective of a man’s life? What is the virtue and value of selfishness? And, what is ethical objectivism explanation? Etc. Therefore, this paper will criticize on

the failure of this ethical doctrine on the following topics: 1. ‘Man is naturally a selfish being.’ The Bible says: “God created man in his image and gave to man a free-will,” (Gen. 1:31) So, it is right to

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

97


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

say that of with free-will, a man can choose to be selfish or unselfish. And, as the meaning of selfishness is accepted in general as an evil, thus, it is impossible that the selfishness behavior of a man is given from God. But, selfishness is an action of personal selfinterest in order to protect a man’s right, as Ayn Rand says. Therefore, Ayn Rand’s opinion cannot be accepted. 2. ‘Man has no ‘automatically form of living.’ Ayn Rand mentioned this idea for solving the question: Does man need ethical principle? Ayn Rand tried to say that a man has no need of the code of morality and the ethical principle, because a man is an end in himself. Without the automatically form of living, each man can do the bad thing easily. However, Ayn Rand’s idea contradicted the freedom of will to choose to do good or evil. But, the issue for her criticism analysis is seems to lack a clear and distinct knowledge that a conscious man is supposes of having. On other hand, a

98

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

man is defined as a man is a rational being who is willing to do everything he wants; therefore, with clear and distinct knowledge, a man must choose basically on the good than the bad. With the example from “Baby farming in Nigeria,’ where the Nigerian girls had sold their babies for benefiting themselves, it would better to argue that the cause of this selfish behavior is lacking of the true knowledge, not the automatically form of living. However, if and only if, Ayn Rand still believed that the end justifies the means and used it to be the ultimate goal of objectivism ethics; it would be the cause of moral crisis day-to- day. Therefore, the virtue of selfishness theory fails and should be rejected. 3. ‘Man is a living for his own sake.’ Unlike ethical altruistism, ethical objectivism holds that the objective of a man’s life is living for one’s own sake, happiness, and survival. Sacrificing, giving, and helping others are acts of self-interest, and not the proper


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

purpose of living. Self-sacrifice is not the ethical principle, because actually, a man has no need of the ethical principle, but he is an end in himself and his life is a reward of this virtue. However, the criticism analysis should begin with the reality of a man life, in which no one desires to live alone as a man alone in the desert island and no one can be happy without the other. If a man’s living is fulfilling one’s own sake and desire, living happily together with the other would be one of these objectives. And, in order to achieve this objective, a man could not make the wall of self-protection, but, on the other hand, he should break down this wall and overcome it, and live for the sake and the good of the others with the right reasons. On the other hand, the argumentation of the virtue of selfishness would recall the one basic doctrine of the ancient time about “eyes for eyes and teeth for teeth,” which doctrine taught a man to be an enemy. Howev-

er, this doctrine had been replaced by Jesus Christ’s doctrine on love, which means that the idea of selfishness and selfish behavior become immoral and unethical, vicious and invaluable for a long time. The mentioning of the virtue of selfishness as the ethical principle is turning back to the ancient time again. Furthermore, a man’s nature was defined as a dissatisfied being; then, it is right to say that man has no need to be happy while others are suffering, and man is not satisfied simple by the happiness but the greatest and longest happiness of the whole society considered as greater than that of individual. Therefore, Ayn Rand’s virtue of selfishness is fails and should be rejected. Criticism on Ayn Rand’s Self-sacrifice Concerning Ayn Rand’s view on self-sacrifice which she stated: “the others people might occasionally sacrifice themselves for their benefit, as he grudgingly sacrifice himself

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

99


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

for theirs.” (Rand, 1964, p. 6) She also mentioned: “the act which someone chooses to act in order to demand rewards for your virtue is selfish and immoral.” (Rand, 1957, p. 785) Example like the person who gives the money to the bagger or the poor, or helps others people according to the religious doctrine and God’s promise. Anyway, Ayn Rand’s on self-sacrifice argued by many fields of the ethical principles, especially from those who believed in Jesus Christ’s doctrine that “there is no greater love than this: that a person would lay down his life for the sake of his friends.” (John 15:13), whose doctrine has challenged any man to sacrifice himself for the sake of other like the Good Samaritan. On the other, the influence of this doctrine was applied further into the extreme teaching that “by killing one innocent person, I can save 100 innocent people who would otherwise die. Am I allowed to kill the innocent person? Some utilitarian have had the courage of their convictions to

100 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

answer “yes.” Loss of life is bad, but loss of 100 lives is a hundred times as bad.” (Earle, 1992, p. 190-191) Thus, self-sacrifice for the sake of others is virtuous and valuable for living the moral life of the nations. The good example can represent the proper purpose in practical of self-sacrifice is the performing action of the martyr who sacrifices the great value especially his life for the sake of principle, for the good of others and nations. The example of the martyr contributed to Plato’s explanation of sacrificing one’s own life with the right reasons is not an evil because “no evil can happen to a good man, either in life or after death. And, a man who is good for anything ought not to calculate the chance of living or dying, he ought only to consider whether in doing anything he is doing right or wrong –acting the part of a good man or bad.” (Plato, 1889, 28b-d, 41c) On the other hand, the Bible once mentions the story of Jesus and


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

a rich young ruler who had asked Jesus: “what must I do to inherit eternal life?” Which Jesus answered: “Do not murder, do not commit adultery, do not steal, do not give false testimony, do not defraud, honor your father and mother.” He declared: “all these I have kept since I was a boy.” Jesus looked at him and loved him. “One thing you lack,’ he said, ‘Go and sell everything you have and give to the poor, and you will have treasure in heaven. Then come follow me.’ At this the man’s face fell. He went away sad, because he had great wealth.” (Mark 10:17-22) The example is representing the failure of selfish behavior, for those who keep everything as their own; they will lose the greatest treasure; and for those who keep the life, they will lose the greatest life. Thus, the way to the greatest life and the perfect life is selflessness and living for the sake of others and the society with right reasons.

Criticism on the Ethical Criterion of Judgment Concerning the standard of the ethical judgment, it was found out that the background of discussion came from the different and similarity. The questions which asked about the proper ethical principle for evaluating a man’s performing action about right or wrong, good or evil can bring the various number of the answer from various societies. Thus, the definition of selfishness was described together with a man’s behavior, which B.F. Porter defined: “the selfishness person is only interested in himself, wants everything for himself, is unable to give with any pleasure but is only anxious to take; the world outside himself is conceived only from the standpoint of what he can get out of it; he lack interest in the needs of others, or respect for their dignity. He see only himself, judges everyone and everything from the standpoint of its usefulness to him, is basically unable to love. … Selfish-

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

101


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

ness and self-love far from being identical actually are opposites. … The selfish person is always anxiously concerned with himself, he is never satisfied, is always restless, always driven by the fear of not getting enough, of missing something, of being deprived of something. He is filled with burning envy of everyone who might have more.” (Porter, 1988, p. 62-63) Throughout the definition, selfish behavior is used in the negative meaning and practicing. Selfishness, sometimes, is an evil and the bad behavior which should be corrected or rejected. Before making decision on the ethical judgment, it would be best to be open-mined and accepted that a man’s nature is different and similar, “different people have different values because of the beliefs that prevail in their particular social environments and to escape into a realm of objective understanding is utterly impossible.” (Porter, 1988, p. 8) and, also as Plato had said: “music is good to who is melancholy, bad to one who

102 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

is mourning, while to a deaf man it is neither good nor bad.” (Plato, 1889, p. 50) This means that the ethical judgment could be done by the region of the same culture and the social system of the agents. It could be done by the ethical theories or the feeling of others who live in different culture and society, because “there can be no such things as ‘sin’ in any absolute sense; what one man calls ‘sin’ another may call ‘virtue, and though they may dislike each other on account of this difference, neither can convict the other of intellectual error.” (Russell, 1935, p. 230-231) The Eskimos practice euthanasia, pushing their old people under the ice if they cannot keep up with the hunting party, whereas in Japan the old are supremely venerated; even after death one’s ancestors continue to command a respect bordering on worship. Sir Robin Hood robbed from the rich and gave to the poor; Nigerian girls who sold their babies in order to benefit their own lives: theses cases


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

would be judged in different criterions, but which one is proper. Therefore, the ethical relativism is the proper way and would be suggested for exiting from the ethical criterion of judgment because this theory holds that “morality is relative to the norm of one’s culture. That is, whether an action is right or wrong depends on the moral norms of the society in which it is practiced. The same action may be morally right in one society but be morally wrong in another.” (LaFollette, 1991, p. 146) This ethical doctrine is far from the objective ethics because its fundamental ethical principle is ‘man is the measure of all things’ and there is no universal moral standard because “all people form judgments about ways of life differently from their own. “Moral judgments have been drawn regarding the ethic principles that guide the behavior and mold the value systems of different people.” (Herskovits, 1972, p. 18) Meanwhile, the fundament of objective ethic is ‘there is no ethical

principle but man is an end in himself. Conclusion This paper found that the argumentation on the criterion of ethical judgment and the universal principle of morality depends on human freedom and the conditions culture, tradition, social system, and religious doctrine. Obviously most of the ethical theories had been started with the various forms of the real nature of a man’s life such as rational being, social being, and highest species of all livings, a dissatisfied being, and willing to choose to do everything he wants. Thus, a man’s freedom seems to be the main cause of the difference and similarity among nations. Therefore, studying on the proper ethical criterion of judgment on a man’s performing action is better to turn back to Socrates’ motto: “know thyself” and “knowledge is virtue,” (Socrates, 1967, p. 131) because, with true knowledge, the judgment will be fail. Furthermore,

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

103


Ayn Rand on the Virtue of Selfishness : A Critical Study

what is greater in finding out the real reason for the question is, “Why does God give to man a free-will?”

พลาด ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าก็คือการค้น พบค�ำตอบที่แท้จริงส�ำหรับค�ำถามที่ว่า “ท�ำไม พระเจ้าจึงมอบน�้ำใจอิสระแก่มนุษย์?”

บทสรุป บทความนี้ ได้พบว่าการโต้แย้งเกี่ยว กับบรรทัดฐานของการตัดสินทางจริยธรรม และหลั ก ศี ล ธรรมสากลขึ้ น อยู ่ กั บ เสรี ภ าพ ของมนุษย์ วัฒนธรรม ประเพณีระบบสังคม และค� ำ สองทางศาสนา เป็นที่น่าสังเกตุว่า ทฤษฎีความคิดตามหลักจริยธรรมส่วนมาก เริ่มต้นความคิดจากรูปแบบที่หลากหลายของ ธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ในฐานะของการ เป็นอยู่ที่มีเหตุผล การเป็นอยู่แบบเป็นสังคม เป็ น เผ่ า พั น ธุ ์ ที่ สู ง ที่ สุ ด การเป็ น ผู ้ ที่ ไ ม่ เ คย พึงพอใจ และเป็นผู้ที่มีน�้ำใจอิสระในการเลือก ที่จะกระท�ำอะไรตามความปรารถนาของตน เอง ด้วยเหตุนี้ เสรีภาพของมนุษย์จึงเป็น เหมื อ นสาเหตุ ห ลั ก ของความขั ด แย้ ง ของ มนุษยชาติผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความแตกต่าง และหลากหลาย เพราะฉะนั้น การศึกษาเกี่ยว กับความต้องการของหลักจริยธรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมส�ำหรับตัดสินการกระท�ำของมนุษย์ ควรจะกลับไปสู่คติพจน์ของโซคราเตส เกี่ยว กับการรู้ตัวเองและความรู้คือคุณธรรม เพราะ ว่าความรู้ที่ถูกต้องจะท�ำให้การตัดสินไม่ผิด

References Ayer, A.J. 1936. Language, Truth and Logic. Cambridge : Dover Publications. Branden, Nathaniel. 1964. Who Is Ayn Rand?. New York : Paperback Library. Earle, William James. 1992. Intro duction to Philosophy. Singapore : McGraw-Hill. Fay, Brian. 1996. Contemporary Philosophy of Social Science: A Multicultural Approach. Oxford : Blackwell Publishers. Porter, Burton F. 1988. Reason for living : A basic ethics. New York : Macmillan. Rand, Ayn. 1957. Atlas Shrugged. New York : Random House.

104 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


วรยุทธ ศรีวรกุล และประวีร์ ศรีพุกกานนท์

________. 1961. For the New In tellectual : The Philosophy of Ayn Rand. New York : New American Library. _________. 1964. The Virtue of Selfishness: A New Concept of Egoism. USA : A Signet book. _________. 1964b. Alvin Toffler: Interview with Ayn Rand. Play boy Magazine (March 1964), Vol. 3. USA : Playboy Press.

Rawls, John. 1971. A Theory of Justuce. Cambridge : Belknap. Mill, John Stuart. 1882. Auguste Comte and Positivism. London : George Routledge & Sons. Peikoff, Leonard. 1991. Objectivism: the Philosophy of Ayn Rand. USA : A Meridian Book. Plato. 1874. The Republic : Book II, in the Dialogues of Plato. trans, Benjamin Jowett, New York : Armstrong Scribner.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

105


ก ระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์:

D

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

rucker’s Paradigm Judged From Inside Drucker’s Brain by Jeffrey A. Krames: An Analytic, Appreciative and Applicative Study

ศ.กีรติ บุญเจือ

* ศาสตราจารย์ และราชบัณฑิต * ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

พัชนี พงษ์เพียรสกุล

* กรรมการผู้จัดการ บริษัทชัยมงคลมอเตอร์ จำ�กัด

Professor Kirti Bunchua

* Professor and Member of Royal Institute. * Chairman of the Ph.D. Program in Philosophy and Ethics, Suan Sunandha Rajabhat University.

Patchanee Pongpianskul

* Managing Director of Chaimongkolmotor Company Limited


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

บทคัดย่อ

เนื่องจากผู้วิจัยได้เกิดในครอบครัวนักธุรกิจ และได้ทำ�ธุรกิจกับ คุณพ่อ ต่อมาได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาปรัชญาหลังนวยุค จึงได้พบ หนังสือ Inside Drucker’s Brain เป็นความคิดทางบริหารธุรกิจล่าสุด ของเดรอคเคอร์ ที่เจฟฟรีย์ เอ เครมส์ เป็นผู้รวบรวมขึ้นและตีพิมพ์ใน ปี 2551 เดรอคเคอร์ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Father of Modern Management) และเป็นคนแรกที่เขียนหนังสือ เกี่ยวกับการบริหารจัดการขึ้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์จับประเด็นดูก็พบ ว่า แม้ว่าเดรอคเคอร์จะเกิดในสมัยนวยุค จึงมีความคิดที่เป็นนวยุคอยู่ ก็ตาม แต่ความคิดของเขาบางส่วนก็ล�้ำเข้ามาเป็นหลังนวยุคโดยที่เขา ไม่รู้ตัว ถ้าบริหารธุรกิจแบบลัทธิหลังนวยุคจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม อยู่ในตัว เพราะจะมีจริยธรรมแห่งการดูแล (Ethic of Care) ไม่ยึด มั่นถือมั่นในอัตตา เคารพและรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่แตก ต่างหลากหลาย ส่งเสริมการเสวนาเพื่อน�ำความคิดเห็นที่แตกต่างมา บูรณาการ เพื่อให้ได้ทางสายกลางหรือความคิดที่เป็นประโยชน์ที่สุด โดยถือหลักพหุนิยมที่นิยมความแตกต่างที่สัมพันธ์กันได้ ทั้งนี้เพื่อ แสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง จุดร่วมเพื่อจะร่วมมือกันท�ำงาน จุดต่าง ถือเป็นพรสวรรค์ที่จะน�ำมารับใช้สังคมต่อไป เนื่องจากลัทธิหลังนวยุค เห็นความส�ำคัญของมนุษย์ทุกปัจเจก จึงส่งเสริมทุกมาตรการความดีที่ พัฒนาศักยภาพของมนุษย์ เป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วม กันในสังคมอย่างสันติสุข คำ�สำ�คัญ :

1) บริหารธุรกิจ 2) การจัดการ 3) ปรัชญาหลังนวยุค

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

107


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

Abstract

Being born in a business family, having assisted my father in his business, and after having an opportunity to study Postmodern Philosophy, I found one of the most interesting books by chance, Inside Drucker’s Brain. Drucker’s latest ideas of business theories had been lively interviewed by Jeffrey A. Krames and were published in 2008. Drucker has been named “Father of Modern Management and is the first to write how to manage an organization. I found, since he was born in the modern age, some of his ideas were certainly in the modernity. Nevertheless, without being aware, some of his ideas were also progressively to be postmodern. Once business management has been implemented, one would be named automatically a moral person, as one would have an ethic of care, would be a self-detached, would welcome diverse human ideas, etc.: that is, he would be a pluralist who loves the differences that are compatible in the model of “unity in diversity”. The main point is to find the common standpoint for working together in teamwork. Any difference should be counted as a gift ready to serve society. For postmodernists, every individual has human dignity to be encouraged to develop his own potential by every means, aiming at enhancing quality of life and living together in a happy and peaceful society. Keywords: 1) Business Administration 2) Management 3) Postmodern Philosophy

108 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

บทนำ� ผู้วิจัยได้มีประสบการณ์ในด้านธุรกิจ โดยการรับจ้าง 14 ปี และมาทำ�ธุรกิจส่วน ตัวของคุณพ่อประมาณ 20 ปี ภายหลัง ไม่ มี คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ใ ห้ ดู แ ลแล้ ว จึ ง ได้ มี โ อกาส เข้ า มาศึ ก ษาปรั ช ญาหลั ง นวยุ ค และได้ พ บ หนังสือ Inside Drucker’s Brain ซึ่งเจฟฟรีย์ เอเครมส์ (Jeffrey A. Krames) เป็นผู้รวบรวม ความคิดทางธุรกิจครั้งล่าสุดของ เดรอคเคอร์ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน ปี ค.ศ.2008 แม้ว่าเดรอคเคอร์ได้เกิดในสมัย นวยุคภาพ (Modernity) และมีความคิดแบบ นวยุคอยู่หลายประเด็นก็ตาม แต่ความคิดของ เดรอคเคอร์ได้ล่วงเข้าสู่ความเป็นหลังนวยุค ภาพ (Postmodernity) หลายประเด็นด้วย โดยที่เดรอคเคอร์ไม่รู้เลยว่าความคิดและการ ปฏิบัตินั้นเป็นลักษณะหลังนวยุค หรือเรียกกัน ว่าหลังนวยุคภาพ ผู้วิจัยจึงใคร่ที่จะวิเคราะห์ดู ว่าความคิดของเดรอคเคอร์ส่วนไหนบ้างที่เป็น นวยุคและส่วนไหนที่เป็นหลังนวยุค เดรอคเคอร์เริ่มเขียนหนังสือเล่มแรก ในปี ค.ศ.1939 ชื่อ The End of Economic Man เป็นหนังสือประเภทต่อต้านลัทธิฟาสซิสม์ และได้รับคำ�ชมเชยอย่างมากจากนายก รัฐมนตรีอังกฤษ วินสทัน เชอร์ชิล และเป็น ผู้ที่ประธานาธิบดีสหรัฐให้การต้อนรับอย่าง

อบอุ่น อาทิ ประธานาธิบดีนิกสัน ฯลฯ ปี ค.ศ. 2002 ได้รับเหรียญรางวัลแห่งอิสรภาพจาก ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) นั ก แต่ ง หนั ง สื อ บริ ห ารธุ ร กิ จ และ การจัดการหลายคนได้ยอมรับว่า สิ่งที่อยู่ใน หนังสือของพวกเขาล้วนแต่มีพื้นฐานมาจาก ความคิดของเดรอคเคอร์ทั้งสิ้น เดรอคเคอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหาร จัดการสมัยใหม่ (Father of Modern Management) ในปี ค.ศ. 1946 เดรอคเคอร์ได้แต่ง หนังสือ Concept of the Corporation ขึ้น เป็ น การศึ ก ษาการบริ ห ารจั ด การขั้ น สู ง ของ บริษัทขนาดใหญ่เจเนอรัลมอเตอร์และกลาย เป็ น หนั ง สื อ ที่ ข ายดี ที่ สุ ด ในทั น ที ทั น ใดใน ประเทศสหรัฐและญี่ปุ่น นอกจากนี้ เดรอคเคอร์ยังมีวิทยาลัยการบริหารจัดการของตนเองชื่อ The Peter F. Drucker Graduate School of Management ที่มหาวิทยาลัยแคลมองต์ด้วย ปีเตอร์ เอฟ เดรอคเคอร์ (Peter F. Drucker) เป็นคนแรกที่เขียนหนังสือการ บริหารจัดการขึ้น ชื่อว่า Practice of Management ในต้นทศวรรษ 1950 ไม่มีใครมี คู่มือในการบริหารจัดการองค์กรที่ยุ่งยากซับ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

109


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ซ้อนมาก่อน ทอม พีเทอรส์ (Tom Peters) ผู้ แต่งเรื่อง In Search of Excellence กล่าวว่า เดรอคเคอร์ เ ป็ น คนแรกที่ ทำ � คู่ มื อ ให้ กั บ เรา พีเทอรส์ยอมรับว่าทุกอย่างที่ได้เขียนใน In Search of Excellence สามารถหาได้จาก มุมใดมุมหนึ่งของเรื่อง The Practice of Management ได้ทั้งสิ้น ชาลส์ แฮนดี (Charles Handy) ผู้ เชี่ยวชาญเรื่องบริหารการจัดการและพฤติกรรมองค์ ก รที่ มี ชื่ อ เสี ย งได้ ก ล่ า วว่ า ทุ ก สิ่ ง สามารถสืบสาวไปถึงเดรอคเคอร์ได้ทั้งนั้น จิม คอลลินส์ (Jim Collins) ผู้แต่ง หนังสือธุรกิจชื่อดัง Good to Great เรียก เดรอคเคอร์ว่าผู้นำ�ในการก่อตั้งสาขาการบริหารจัดการ ไมเคิล แฮมเมอร์ (Michael Hammer) ผู้แต่ง Reengineering The Corporation ที่ขายดีที่สุดทั่วโลกได้ยกย่อง เดรอคเคอร์ว่าเป็นวีรบุรุษ เคลย์ทัน คริสเทนเซน (Clayton Christensen) ผู้แต่ง The Innovator’s Dilemma ฯลฯ ผู้น�ำ ธุรกิจ เช่น ไมเคิล เดล (Michael Dell), แอนดี้ โกรฟ (Andy Grove) ผู้ก่อตั้ง Intel, และบิล เกทส์ (Bill Gates) ผู้ก่อตั้ง Microsoft ต่างก็ยก ย่องเดรอคเคอร์กันมาก เมื่อถูกสัมภาษณ์ว่า หนังสือของใครที่เขาอ่าน บิล เกทส์ ตอบว่า อ๋อ ก็ต้องเดรอคเคอร์แน่นอน

110 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คำ�ถามของการวิจัย ผู้วิจัยได้ตั้งคำ�ถามในการวิจัยครั้งนี้ว่า ความคิดของ Drucker เป็นปรัชญาหลังนวยุค หรือไม่ วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่ อ วิ เ คราะห์ ค วามคิ ด ของ Drucker ว่าเป็นปรัชญาหลังนวยุคหรือไม่ 2. เพื่อวิจักษ์และวิธานผลจากการ วิเคราะห์ของข้อ 1 คำ�ตอบสมมติฐาน การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ผู้ วิ จั ย คาดว่ า ความ คิดของ Drucker มีทั้งส่วนที่เป็นนวยุคนิยม (Modernism) และมีบางส่วนที่เป็นหลังนวยุคนิยม (Postmodernism) ซึ่งคาดว่าจะต้อง มีความขัดแย้งกันในระบบเพราะฉะนั้นผู้วิจัย ก็จะพยายามนำ�เอาส่วนที่เป็นหลังนวยุคนิยม มาตอบปัญหาค้างคาใจส่วนที่เป็นนวยุคนิยม (Modernism) ซึ่งเป็นกระแสหลักในขณะที่ Drucker เขียนหนังสือ ซึ่งติดค้างมาเป็นความ คิดของ Drucker โดยไม่คิดจะแก้ หรือยังหา ทางแก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจะพยายาม ช่วยแก้ให้สมบูรณ์แบบให้มากที่สุดเท่าที่จะแก้ ได้ เพราะหากจะนำ�มาใช้ในการบริหารธุรกิจ


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

จำ � เป็ น ต้ อ งเสริ ม ให้ เ ป็ น หลั ง นวยุ ค สมบู ร ณ์ แบบ จึงจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่าง สมบูรณ์ วิธีการวิจัย ทางปรัชญาใช้วิธีวิภาษวิธี (Dialectic) และการถกปัญหา (Discussion) 1. วิภาษวิธี คือ การตั้งคำ�ถามที่ สามารถมีหลายคำ�ตอบที่เป็นไปได้ 2. การถกปัญหา คือ การสมมติว่า แต่ละฝ่ายต่างมีเหตุผลเสนอขึ้นมาอ้าง และ เปรียบเทียบกันเพื่อจะหาข้อสรุป วิธีเสนอเนื้อหาวิจัย เนื้อหาที่เสนอจะต้องประกอบด้วย 3 ระเบียบวิธี คือ วิเคราะห์ (Analysis) วิจักษ์ (Appreciation) และวิธาน (Application)

บริหารธุรกิจ 3. ใช้ แ นวความคิ ด ของนวยุ ค ภาพ และหลังนวยุคภาพเฉพาะกับที่เกี่ยวข้องกับ ข้อ 1 และข้อ 2 เท่านั้น 4. นอกเหนือจากข้อ 1-3 ข้างต้น จะ ใช้เท่าที่จำ�เป็นเพื่อประกอบงานวิจัยนี้เท่านั้น

ขอบเขตของการวิจัย 1. วิเคราะห์ความคิดของ Drucker ที่สรุปไว้ล่าสุดในขณะทำ�การวิจัย คือ หนังสือ Inside Drucker’s Brain ที่พิมพ์เผยแพร่ผล สรุปจากการสัมภาษณ์ของ Krames และ พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ. 2551 2. เลือกศึกษาข้อ 1 เฉพาะที่ตีความ ได้ จ ากประสบการณ์ จ ริ ง ของผู้ วิ จั ย ในด้ า น

ผลการวิจัย 1. ความคิดของเดรอคเคอร์ที่เป็น นวยุคภาพ เดรอคเคอร์มีความเป็นนักนวยุคนิยม ในแบบฉบับของนักธุรกิจเป็นฐาน คือ 1.1. มีความยึดมั่นถือมั่น (attachment)เดรอคเคอร์ เ ป็ น ผู้ ที่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ใน ตนเอง (Self-attachment) กล่าวคือ เมื่อ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. ได้ทราบความคิดของ Drucker ว่า เป็นปรัชญาหลังนวยุคหรือไม่ 2. หากผลการวิจัยเป็นไปตามคำ�ตอบ สมมุติฐาน จะได้น�ำ ความคิดของ Drucker ใน ส่วนที่เป็นหลังนวยุคมาใช้ให้กลมกลืนกับยุค โลกาภิวัตน์ ในการบริหารธุรกิจ การบริหาร การศึกษา การบริหารราชการท้องถิ่น และ การบริ ห ารทรั พ ยากรธรรมชาติ เพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิผลขององค์กร และคุณภาพชีวิต

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

111


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

พอล เกเรท (Paul Garett) ติดต่อเดรอคเคอร์ มาว่า ทางผู้บริหารจีเอ็ม (GM) เห็นด้วยที่จะ ให้เดรอคเคอร์ทำ�การศึกษาเกี่ยวกับการจัด การชั้ น สู ง ของบริ ษั ท ขึ้ น มา เดรอคเคอร์ ไ ด้ บอกกับทางจีเอ็มว่า “ฉันจะไม่ยอมให้ท่าน เซนเซอร์ นอกจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง” (Krames, 2008, p.25) 1.2 มุ่ ง ประโยชน์ สู ง สุ ด และกำ � ไร สูงสุด (To Maximize Profit) ตามลักษณะ ของนักทุนนิยมที่ขาดจริยธรรมแห่งการดูแล เดรอคเคอร์กล่าวว่า “เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ที่ จ ะว่ า จ้ า งหรื อ ถอดถอนบุ ค คลออกไป โดยไม่ มี ค วามสะทกสะท้ า นทางอารมณ์ ” (Krames, 2008, p.77) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ จัดการที่ล้มเหลวอยู่เสมอ เพื่อจะปฏิบัติงาน ด้วยความดีเด่นอย่างสูง เป็นการมุ่งประโยชน์ สูงสุดของลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitarianism) อันเป็นลักษณะหนึ่งของลัทธินวยุค ในข้อนี้ ถื อ ว่ า เดรอคเคอร์ ไ ม่ มี จ ริ ย ธรรมในการดู แ ล (Ethic of Care) ซึ่งควรที่จะให้โอกาสแก่พวก เขา การที่เดรอคเคอร์สอนว่า ให้ “ดูแล ลู ก ค้ า ทั้ ง หลายแล้ ว กำ �ไรก็ จ ะตามมา” (Krames, 2008, p.63) แสดงถึงความเป็นนัก ทุนนิยมของลัทธินวยุคที่มุ่งกำ�ไรสูงสุด ตามที่ นักเศรษฐศาสตร์อดัม สมิธ (Adam Smith)

112 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ได้ ป ระกาศลั ท ธิ ทุ น นิ ย มนี้ เ มื่ อ ค.ศ.1776 (พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา, 2546, หน้า 7) 1.3. มุ่งแข่งขันเพื่อแสวงหาความได้ เปรียบ (Competitive Advantage) เดรอคเคอร์ได้แนะนำ�ให้ผู้บริหาร ผู้จัดการ ใช้เวลา 2 - 4 ชั่วโมงทุกสัปดาห์ในเว็บไซต์ของคู่แข่งขัน ในร้านต่างๆ และในที่ๆ บรรดาคู่แข่งขันอยู่ (Krames, 2008, p.66) 2. ความคิดของเดรอคเคอร์ที่เป็น หลังนวยุค 2.1 ใช้หลัก 3 กล้าเดรอคเคอร์ได้ สอนว่า “จงเสี่ยงที่จะทำ�กำ�ไรในวันพรุ่งนี้” (Krames, 2008, p.174) เดรอคเคอร์กล่าวว่า “แน่นอน นวัตกรรมเป็นความเสี่ยง กิจกรรม ทางเศรษฐกิจเป็นความเสี่ยง” หมายความว่า เดรอคเคอร์ส่งเสริมปัจเจกให้มีความกล้าหาญ กล้ า ที่ จ ะตั ด สิ น ใจอย่ า งมี เ หตุ ผ ลด้ ว ยข้ อ มู ล เดรอคเคอร์เตือนว่าจะต้องเป็นการตัดสินใจ ที่มีความสมดุลย์ระหว่างโอกาสกับความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงต่างๆทางการเงิน การที่เดรอคเคอร์กล่าวว่าคุณสมบัติ ขั้นพื้นฐานที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับผู้นำ�ก็คือความ กล้าหาญ แล้วยังจะต้องรู้จักวิเคราะห์อย่างมี วิจารณญาณ หาความสมดุลย์ระหว่างโอกาส และความเสี่ ย งที่ จ ะทำ � กำ � ไรแสดงให้ เ ห็ น ว่า เดรอคเคอร์เป็นนักหลังนวยุคสายกลาง


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

(Moderate Postmodernist) เนื่องจาก ลัทธิหลังนวยุคนิยมสายกลาง (Moderate Postmodernism) คือลัทธิที่ต่อยอดความ คิดของลัทธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism) โดยเฉพาะการส่งเสริมหลัก ปฏิบัติของหลัก 3 กล้า ซึ่งประกอบด้วย - กล้าเผชิญกับปัญหา - กล้าประเมินวิธีปฏิบัติ - กล้าลงมือกระทำ�ด้วยความรับผิด ชอบ (กีรติ บุญเจือ. 2551, หน้า 201) 2.2 ย้ อ นอ่ า นโดยไม่ ทิ้ ง สิ่ ง ใดเลย (Reread All, Reject None) การย้อนอ่าน ใหม่เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้กระทำ�ไปแล้ว เพื่อ หาดูว่ายังจะมีสิ่งใดที่อาจจะปรับปรุงแก้ไขให้ ดีขึ้น เพื่อนำ�เอามาใช้ใหม่โดยปรับให้เข้ากับ ยุคสมัย เดรอคเคอร์เป็นผู้ที่สนใจในการตั้ง คำ�ถามอยู่เสมอว่า “ทำ�ไม” ที่อยู่เบื้องหลัง ความล้มเหลว หรือความสำ�เร็จของธุรกิจ ดั ง นั้ น เมื่ อ เดรอคเคอร์ ไ ด้ เ ป็ น ที่ ปรึกษาของแจค เวลซ์ ซีอีโอของบริษัทจีอี เดรอคเคอร์ จึงได้แนะนำ �ให้แจค เวลซ์มอง ย้ อ นกลั บ ไปในอดี ต ที่ ผ่ า นมาเพื่ อ ทบทวนดู การปฏิบัติงานและธุรกิจต่างๆ ที่ได้ผ่านมา ว่า ได้ทำ�อะไรมาบ้างและมีผลอย่างไร ทำ�ให้ แจค เวลซ์ มองย้อนกลับไปในอดีต พิจารณา การปฏิบัติงานและผลลัพธ์จากหลักการเดิม ๆ

ซึ่งกิจการหลายแห่งไม่ได้เกิดผลประโยชน์แต่ อย่างใด กลับเป็นตัวถ่วงความสมดุลย์ของ ธุรกิจในเครือ และเป็นภาระแก่บริษัทแม่ มี ผลให้เวลซ์ยุบกิจการต่างๆ จำ�นวน 117 แห่ง ที่ไม่มีผลกำ�ไร และไม่สามารถมีพลังปรับตัวใน การอยู่รอดได้ 2.3 พลังแสวงหา (Capacity of Searching) เมื่อเดรอคเคอร์ศึกษาต่อจนจบ ขั้นปริญญาเอกแล้ว ได้เดินทางเข้าประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก าก็ เ พื่ อ แสวงหาโอกาสที่ ดี ก ว่ า และก็ได้บรรลุวัตถุประสงค์ดังปรารถนา ในช่วงที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุโรปและอเมริกาประมาณศตวรรษที่ 1819 ชาวยุโรปและทุกชาติทุกภาษาต่างดิ้นรน ไปทำ�งานในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเปรียบ เหมือนหม้อหลอม (Melting Pot) ทั้งนี้เป็น เพราะพลั ง แสวงหาของมนุ ษ ย์ ใ นการที่ จ ะ แสวงหาโอกาสที่ดีกว่าเพื่อคุณภาพชีวิต นอกจากนั้นพลังแสวงหายังทำ�ให้เกิด การสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำ�มาซึ่งความ พอใจของมนุษย์ 2.4. พลังร่วมมือ (Capacity of Cooperation) โดยเหตุ ที่ เ ดรอคเคอร์ ต ระหนั ก ถึ ง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการคมนาคมขนส่ ง ระหว่ า งประเทศที่

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

113


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ อั น เป็ น สภาพของโลกาภิ วัตน์ เดรอคเคอร์จึงสามารถวางยุทธศาสตร์ การสร้างพันธมิตรได้ ก่อให้เกิดพลังร่วมมือ เดรอคเคอร์แนะนำ�ว่า “องค์การต่างๆที่ต้อง การเข้าไปในตลาดแหล่งใหม่ๆหรือเทคโนโลยี ต่ า งๆควรมองหาพั น ธมิ ต รทั้ ง หลายเพื่ อ ลด ต้นทุนและลดความเสี่ยง โดยวิธีการเป็นหุ้น ส่วน การร่วมทุน” (Krames. 2008, p.175) และใช้ เ ทคโนโลยี ร่ ว มกั น แทนการเข้ า ซื้ อ กิจการในทันที ความคิ ด ของเดรอคเคอร์ นี้ ถื อ เป็ น กระบวนการทำ � ธุ ร กิ จ แบบยุ ค โลกาภิ วั ต น์ (Globalization) ที่แสวงหาพลังแห่งความ ร่วมมือ (Capacity of Cooperation) จาก พันธมิตร เบโซส (Jef Bezos) ได้นำ�เอาความ คิ ด นี้ ข องเดรอคเคอร์ ไ ปใช้ เขาได้ ล งทุ น ใน บริษัทต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดคือ ZShops ที่เทียบ เท่ า กั บ ศู น ย์ ก ารค้ า ออนไลน์ ช อปปิ้ ง มอลล์ (Online Shopping Mall) ทำ�ให้ลูกค้าของ แอมเมอสัน (Amazon) จำ�นวนหลายล้านคน ได้มี พ่ อ ค้ า หลายพั น คนเข้ า ถึ ง และได้ จ่ า ยค่ า ดำ�เนินการรายเดือนให้แก่บริษัทแอมเมอสัน (เวปไซต์ของเบโซส) นี้ นี่คือยุทธศาสตร์กุญแจ ดอกหนึ่งของเบโซสที่ได้เรียนรู้จากเดรอคเคอร์ ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ก็เป็น

114 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธุรกิจข้ามชาติธุรกิจหนึ่งที่อาศัยพันธมิตรใน การขยายการเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ไป พร้ อ มๆกั บ การสร้ า งโอกาสให้ กั บ ปั จ เจกทั่ ว โลก เพื่อที่จะได้มีธุรกิจที่มีงานทำ�และมีโอกาส ที่จะบริโภค นี่คือมโนคติในการสร้างพันธมิตร ในขบวนการของโลกาภิวัตน์ การเลือกพันธมิตรสำ�หรับบริษัทข้าม ชาติจะไม่คำ�นึงถึงเรื่องความแตกต่างของเชื้อ ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แต่จะนำ�ศักยภาพ และความเชี่ ย วชาญของแต่ ล ะฝ่ า ยมาร่ ว ม มือกันในการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยน เทคโนโลยี แ ละลดต้ น ทุ น การผลิ ต ดั ง เช่ น เชฟโรเลทและอีซูซุ มาสดาและฟอร์ด โซนี่และ ซัมซุง ฯลฯ 2.5 จริยธรรมแห่งการดูแล (Ethic of Care) เดรอคเคอร์เป็นผู้ที่มีความรู้สึกทาง ด้านมนุษยธรรมอย่างลึกซึ้ง เขาห่วงใยและให้ ความสำ�คัญกับสถานภาพของบรรดาคนงาน ในทุ ก ระดั บว่ า ได้ อ ยู่ กั นอย่ า งมี คุณ ภาพหรื อ ไม่ การที่เดรอคเคอร์ให้ความสำ�คัญกับสภาพ ความเป็นอยู่และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของปัจเจก ได้สะท้อนถึงความคิดจิตใจที่ตรง กับหลักการของลัทธิอัตถิภาวนิยม ซึ่งลัทธิ หลังนวยุคได้เอาความคิดมาขยายผล เดรอคเคอร์ ยั ง ตอบโต้ ป้ อ งกั น เพื่ อ ความเหมาะสมสำ�หรับความเป็นมนุษย์ให้แก่


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

พวกคนงานด้วย เนื่องจากผลจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมทำ�ให้บรรดาลูกจ้างถูกลดคุณค่า ความเป็นมนุษย์ลงมาเหมือนกับเป็นฟันเฟือง ถูกมองว่าเป็นต้นทุนของบริษัทที่บริษัทต้อง แบกภาระ เดรอคเคอร์ ไ ด้ ต อบโต้ แ ข็ ง ขั น ให้ “มีการสร้างชุมชนโรงงานที่ปกครองตนเอง” (Krames. 2008, p.26) ในการส่งเสริม และการสนองความพอใจในคุ ณ ค่ า ของคน งานที่มีความรู้นั้น สำ�หรับเดรอคเคอร์ การ ยกย่ อ งคุ ณ ค่ า ทางจิ ต ใจมี ค วามสำ � คั ญ พอๆ กับผลตอบแทนในด้านการเงิน ซึ่งต้องไปคู่กัน เดรอคเคอร์จึงให้ความคิดเห็นว่าเงินไม่ใช่คำ� ตอบ การสนองโลภจริตแก่บรรดาคนงานที่มี ความรู้นั้น จะต้องเป็นโดยวิธีสนองความพอใจ ในคุณค่าของพวกเขา และโดยให้พวกเขาเป็น ที่ยอมรับของสังคมและมีความหมายต่อสังคม 2.6 การสานเสวนา (Dialogue) การสานเสวนาเป็นสิ่งสำ�คัญ เนื่องจากมีความ หลากหลายในความคิดของมนุษย์ เพื่อให้เกิด การเดินสายกลางและเกิดความคิดที่เหมาะ สมที่สุด เดรอคเคอร์ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีสิ่ง ใดที่ จ ะมาทดแทนการเสวนาโดยตรงได้ ” (Krames. 2008, p.65) ดังนั้นเดรอคเคอร์ จึ ง ได้ แ นะนำ � ให้ ผู้ บ ริ ห ารหรื อ ผู้ จั ด การ

“เชื้อเชิญบรรดาลูกค้าของท่านให้มาพบปะ กับบรรดาคนของท่าน” (Krames. 2008, p.65) เทสโกได้นำ�ความคิดของเดรอคเคอร์ ไปใช้ โดยจัดให้มีสัปดาห์ในร้านเทสโกด้วย กัน (Tesco Week Together) คือ ผู้บริหาร ต่าง ๆ จะใช้เวลาตลอดสัปดาห์ เพื่อพบปะ เสวนากับบรรดาลูกค้าที่เข้าร้านมาในแต่ละ วัน การที่เดรอคเคอร์ส่งเสริมการสานเสวนา ก็เพื่อให้ทราบถึงความต้องการ รสนิยมในการ บริโภค ความคิดเห็น ตลอดจนคำ�ติชมต่าง ๆ จากลูกค้าทั้งหลาย เพื่อจะได้น�ำ ไปปรับปรุง และสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ให้มากที่สุด และยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพ ความคุ้นเคยระหว่างกัน อันเป็นเรื่องสำ�คัญไม่ น้อยสำ�หรับธุรกิจ นอกจากนั้นการสานเสวนายังทำ�ให้ เกิดคุณธรรม นั่นคือการสร้างความเป็นธรรม (Righteousness, Fairness) ให้ เ กิ ด ขึ้ น (กีรติ บุญเจือ. 2551, หน้า 109) การที่ เดรอคเคอร์ นิ ย มใช้ ก ารสานเสวนานี้ เ ป็ น วิ ธี หนึ่งที่ลัทธิหลังนวยุคสายกลาง (Moderate Postmodernism) ส่งเสริม ซึ่งมีวิธีการสาน เสวนาที่ถูกต้องที่ กีรติ บุญเจือ ได้ให้ข้อสังเกต ไว้ 2.7 พลั ง สร้ า งสรรค์ (Capacity of Creativity) พลังสร้างสรรค์ มีแนวคิด

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

115


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ของความเป็นพหุนิยม (Pluralism) อยู่ในตัว ทำ�ให้เกิดนวัตกรรมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ แก่บรรดาปัจเจก และเป็นการพัฒนาศักยภาพ ของมนุษย์ เดรอคเคอร์คิดว่าธุรกิจจำ�เป็นต้อง สร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอเพื่อให้ เหมาะสมกับยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อสนองความพึงพอใจ ของลูกค้า เพราะเมื่อใดที่มีนวัตกรรมใหม่เกิด ขึ้น ประชาชนจะรู้เห็นกันทั่วโลก เนื่องจาก เป็นระบบของโลกาภิวัตน์ “หากธุรกิจใดยัง ยึดติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ตัวทำ�เงินของอดีตหรือ ปัจจุบัน ธุรกิจนั้นจะถูกเบียดให้หลุดไปจาก วงจร โดยคู่แข่งขัน” (Krames. 2008, p.101) 2.8 ความแตกต่างหลากหลาย (Diversity) กลยุทธ์หนึ่งในการสร้างลูกค้าของ เดรอคเคอร์คือการสร้างความแตกต่างหลาก หลาย (Diversification) เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ (Freedom) ในการตัดสินใจเลือกของลูกค้า นอกจากจะเป็ น แก่ น แท้ ข องลั ท ธิ อั ต ถิ ภ าวนิยมแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ลัทธิหลังนวยุคภาพต้อน รับ ซึ่งเป็นลักษณะสำ�คัญประการหนึ่งของ พหุนิยมและโลกาภิวัตน์ ความแตกต่างมีลักษณะแตกต่างจาก พหุนิยม (Pluralism) ตรงที่ว่า ความแตก ต่างหลากหลายเป็นเรื่องของธรรมชาติ ของ สรรพสิ่ ง ทั้ ง หลายในโลกนี้ ส่ ว นพหุ นิ ย ม

116 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คื อ ความแตกต่ า งหลากหลายที่ สั ม พั น ธ์ กั น ได้ (กีรติ บุญเจือ. 2545, หน้า 73) แม้ว่า มนุษย์จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป แต่ ก็สามารถที่จะหาจุดยืนที่ร่วมกันได้ ตามหลัก การที่ว่า แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง สำ�หรับ จุ ด ต่ า งนั้ น สงวนไว้ ใช้ ใ นเป้ า หมายอื่ น ที่ เ ป็ น พรสวรรค์เฉพาะตัวของแต่ละคน พหุ นิ ย มคื อ ความแตกต่ า งหลาก หลายที่มีเอกภาพ (Diversity in Unity) คือ การนำ�เอาส่วนดีทั้งหลายของความแตกต่าง หลากหลายมาบูรณาการเพื่อให้เกิดทางเลือก ที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตรงกัน การที่เดรอคเคอร์ได้กำ�หนดกลยุทธ์ หนึ่งในการสร้างลูกค้า คือ การสร้างความแตก ต่างหลากหลาย (Diversity) และนวัตกรรม (Innovation) ก็เพื่อสนองความพอใจของ ปัจเจกที่หลากหลาย แสดงลักษณะของความ เป็นพหุนิยมของเดรอคเคอร์ ซึ่งเป็นลักษณะ หนึ่งของลัทธิหลังนวยุค ในด้านธุรกิจได้แก่ การเสนอสินค้าและการบริการหลายอย่างให้ แก่ลูกค้าได้ครบตามต้องการ และอีกประการ หนึ่งคือให้มีทางเลือกสินค้าด้วยยี่ห้อ (Brand) ที่หลากหลายเพื่อสนองกำ�ลังซื้อและรสนิยม ของลูกค้าได้มากที่สุด 2.9 พหุนิยม (Pluralism) พหุนิยม


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

เป็นกระแสที่นำ�มาซึ่งความคิดที่หลากหลาย ซึ่ ง ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งมี ค วามคิ ด เดี ย ว อั น เป็ น ลักษณะหนึ่งของลัทธิหลังนวยุค เพื่อให้ได้ ความคิดที่ดีที่สุด การยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ของมนุ ษ ย์ ฯลฯ การไม่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น และ มัชฌิมาปฏิปทาของพระพุทธเจ้าเป็นปรัชญา ที่สำ�คัญของลัทธิหลังนวยุคสายกลาง (Moderate Postmodernism) และลัทธิพหุนิยม (Pluralism) รวมทั้งลัทธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่สนับสนุนในศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของทุกปัจเจก และนำ�ไปสู่กระบวนการ วางแผนพัฒนาที่ สำ � คั ญ ตามกระแสพหุ นิ ย ม อยู่ขณะนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมที่ สมานฉันท์ คือ ทุกปัจเจกจะต้องมีสถานภาพ ทางสั ง คมที่ ทั ด เที ย มกั น ที่ สำ � คั ญ คื อ มี สิ ท ธิ เสรีภาพที่เสมอภาคและทัดเทียมกันในการ ตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งเป็นหัวใจในการปฏิบัติ ตามปรัชญาพหุนิยม การตัดสินใจร่วมกันจะ นำ � ไปสู่ ค วามสำ � เร็ จ และการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ ชีวิต 2.10 การบริหารจัดการหลังนวยุค (Postmodern Management) การบริหาร จั ด การจะต้ อ งสร้ า งอุ ด มการณ์ (Ideal) ที่หลากหลายในการกำ�หนดวัตถุประสงค์เป้า หมายของการพัฒนาธุรกิจปัจจุบัน

ปัจจุบันในขบวนการวางแผนก่อนอื่น จะต้องเสียสละทิ้งการยึดติดกับมโนคติเดิมๆ หรือระบบเดิมๆของการรวบอำ�นาจไว้ที่ส่วน กลาง (Centralization) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ระบบกระจายอำ�นาจแทน ปัจจุบันอาชีพทั้งหมดเปลี่ยนจากการ วางแผนสำ�หรับพวกเขามาเป็นการวางแผน กับพวกเขา เป็นสิ่งจำ�เป็นและเป็นกระบวน การที่ จำ � เป็ น สำ � หรั บ องค์ ก รใหญ่ ที่ จ ะต้ อ ง กระทำ�คือการกระจายอำ�นาจ (Decentralization) การแบ่งการบริหารออกเป็นหน่วย งานย่อยและมอบอำ�นาจในการเสนอความคิด เห็นและการมีส่วนร่วม (Participation) ของ สมาชิกภายในหน่วยงานและระหว่างสายงาน เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่เป็นเอกภาพ (Unity of Decision) คือการนำ�ความคิดหลายๆ ความคิดมาบูรณาการเพื่อให้แต่ละความคิด นี้ได้ประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติ นี่คือความ เป็นพหุนิยม อันเป็นพื้นฐานให้เกิดการบริหาร จัดการหลังนวยุค เนื่องจากความคิดแบบพหุนิยมและ อั ต ถิ ภ าวนิ ย มที่ เ ห็ น ความสำ � คั ญ และคุ ณ ค่ า ของปั จ เจก ทำ � ให้ เ ดรอคเคอร์ ก ระตุ้ น ให้ องค์การต่างๆดำ�เนินการกระจายอำ�นาจบริ หารออกไปจากส่วนกลาง มีผลบันดาลใจให้ ธุรกิจจำ�นวนมากกว่า 3 ใน 4 ของบริษัท 500

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

117


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

แห่งเปลี่ยนแปลงไปสู่การกระจายอำ�นาจใน ประเทศสหรัฐอเมริกา 2.11 การกระจายอำ�นาจ (Decentralization)การกระจายอำ�นาจเป็นระบบที่ นำ�มาใช้ในการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ การที่ เดรอคเคอร์ได้ส่งเสริมการกระจายอำ�นาจใน หนั ง สื อ การบริ ห ารจั ด การของเขาเกื อ บทุ ก เล่มนี้เป็นความคิดแบบหลังนวยุค ต่างจาก นวยุคนิยม (Modernism) ที่มีแนวโน้มที่จะ รวบอำ�นาจไว้ที่ศูนย์กลาง เนื่องจากลัทธิหลัง นวยุคสนับสนุนความสามารถของทุกปัจเจก เพื่ อ นำ � ความสามารถเหล่ า นั้ น มาใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือองค์กร การกระ จายอำ�นาจมีผลดีคือ มีการกระจายความรับ ผิ ด ชอบให้ แ ก่ ผู้ ที่ มี ค วามชำ � นาญการปฏิ บั ติ งานต่างๆ เพื่อจะได้พิจารณาร่วมตัดสินใจเพื่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำ�งาน ยิ่งกว่าการใช้การตัดสินใจและรับผิดชอบโดย คนคนเดียว อย่ า งไรก็ ดี เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ป็ น ไปใน ลักษณะที่แบ่งพวกแบ่งฝ่ายจนถึงกับแข่งขัน กันหรือต่างคนต่างทำ� จึงควรสร้างความรู้สึก เป็นเจ้าของร่วมกัน (Sense of Belonging) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน เดรอคเคอร์ได้เรียกร้องในเรื่องมนุษย-

118 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ธรรมให้แก่บรรดาคนงาน (Humanization of the Workers) และกล่าวว่า พวกคนงานควร จะได้รับการมอบอำ�นาจให้ตัดสินใจต่างๆมาก ขึ้น (Bottom Up) (Krames. 2008, p.37) นอกจากนี้ เดรอคเคอร์ได้ส่งเสริม ให้มีการกระจายธุรกิจออกไปจากศูนย์ใหญ่ โดยสร้ า งศู น ย์ ร อง (Sub-center) ในย่ า น ต่ า งๆ ที่ เ หมาะสมเพื่ อ รองรั บ ลู ก ค้ า เพิ่ ม ขึ้ น อี ก ประการหนึ่ ง ยั ง ทำ � ให้ ปั จ เจกผู้ เ ป็ น ลูกค้าสามารถที่จะเข้าถึงธุรกิจได้โดยสะดวก ด้วย (Accessibility) เนื่องจากเดรอคเคอร์ ให้ความสำ�คัญกับเสรีภาพในการตัดสินใจ ใน การเลือกซื้อสินค้า สถานที่ซื้อและบริการของ ปัจเจก ทั้งนี้เพื่อสนองความพอใจ และความ สะดวก อันเป็นคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน อภิปรายผลการวิจัย เดรอคเคอร์ มี ค วามเป็ น นั ก หลั ง นวยุคนิยม ลัทธิหลังนวยุคนิยมนี้เป็นกระบวน ทรรศน์ที่ 5 (The Fifth Paradigm) ของ มนุษยชาติ ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ต่ อ ยอดเจตนารมณ์ ข องลั ท ธิ อัตถิภาวนิยม (Existentialism) เช่น ให้ ความสำ�คัญกับสภาพความเป็นอยู่ของปัจเจก ส่ ง เสริ ม เสรี ภ าพและศั ก ดิ์ ศ รี ข องความเป็ น มนุษย์ โต้แย้งเพื่อการกระจายอำ�นาจ (De-


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

centralization) สนับสนุนการบริหารแบบให้ คนงานมีสิทธิออกความคิดเห็น (Bottom up) ฯลฯ 2. ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ (Capacity of Creativity) นวัตกรรมใหม่ๆ พลัง แสวงหา พลังปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัตน์ แนะนำ�ให้แสวงหาพลังร่วมมือจากพันธมิตร ซึ่งลัทธิหลังนวยุคส่งเสริม 3. สนใจทบทวนผลงานและการ ดำ�เนินงานธุรกิจของบริษัทต่างๆ ว่า ที่แล้ว มาได้มีอะไรบกพร่องบ้างเพื่อหาทางหลีกเลี่ยง สำ�หรับส่วนที่ดีอยู่แล้วก็หาทางปรับปรุงให้ดี ยิ่งขึ้น ตรงกับหลักการย้อนอ่านใหม่หมด ไม่ ทิ้งขว้างสิ่งใด (Reread All, Reject None) ของลัทธิหลังนวยุค 4. ส่งเสริมให้มีการเสี่ยงด้วยวิจารณญาณที่ ร อบคอบ ส่ ง เสริ ม หลั ก 3 กล้ า ซึ่งเป็นหลักการสำ�คัญของลัทธิอัตถิภาวนิยม ซึ่งลัทธิหลังนวยุคนิยมนำ�มาขยายผล 5. ส่ ง เสริ ม ความแตกต่ า งหลาก หลาย (Diversity) เนื่ อ งจากตระหนั ก ถึ ง เสรีภาพในการเลือกของปัจเจก 6. มีความเป็นพหุนิยม (Pluralism) ให้ความสำ�คัญแก่การสานเสวนา (Dialogue) 7. เป็ น ผู้ มี จ ริ ย ธรรมแห่ ง การดู แ ล (Ethic of Care) ตรงกับที่นักจริยศาสตร์หลัง

นวยุค ซีกมันท์ บอเมิน (Zygmunt Bauman) ได้เริ่มต้นไว้ (กีรติ บุญเจือ. 2551, หน้า 8) และกีรติ บุญเจือ (2551, หน้า 197) เห็นว่า เป็นอุดมการณ์ที่สูงส่ง ประโยชน์ ที่ สั ง คมคาดว่ า จะได้ รั บ ก็ คือ หากนักธุรกิจได้ปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของ เดรอคเคอร์ในส่วนที่เป็นหลังนวยุค นักธุรกิจ ก็จะมีคุณธรรมโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคุณธรรมในการดูแล (Caring for Others) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การวิ ธ านความคิ ด หลั ง นวยุ ค ของ Drucker ไปใช้ในการบริหารธุรกิจ ผู้วิจัยจะ อภิปรายใน 5 ประเด็น คือ ความเป็นพหุนิยม โลกาภิวัตน์ การเสวนาเพื่อสร้างพลังร่วมมือ และการแสวงหาพันธมิตรทางการค้า ความ กล้าอย่างมีวิจารณญาณ การไม่ยึดมั่นถือมั่น เพื่ อ สร้ า งพลั ง แสวงหาและพลั ง สร้ า งสรรค์ และการให้ ค วามสำ � คั ญ และการสร้ า งความ พึงพอใจแกปัจเจกลูกค้าด้วยยุทธศาสตร์การ สร้างความแตกต่างหลากหลาย ดังนี้ 1. ความเป็ น พหุ นิ ย มโลกาภิ วั ต น์ ผู้วิจัยเห็นว่าความเป็นพหุนิยม (Pluralism) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์ทั้งหลายต่างก็มีความ คิ ด และความเชื่ อ บนพื้ น ฐานของกระบวน ทรรศน์ ที่ ต นยึ ด ถื อ ทว่ า ก็ ยั ง สามารถสร้ า ง

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

119


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

เอกภาพท่ามกลางความหลากหลายได้ ซึ่ง เป็นสิ่งสำ�คัญโดยหาจุดร่วมและรักษาจุดต่าง ไว้ใช้ในยามต้องการ โดยเฉพาะในปัจจุบัน สมั ย ของการบริ ห ารธุ ร กิ จ ยุ ค โลกาภิ วั ต น์ เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ล้วนประกอบ ไปด้วยพนักงาน (Staff) ที่มากหน้าหลาย ตา หลากหลายในวิชาชีพ สติปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ และวิชาการ ทั้งแตกต่างกันใน ศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่า บรรทัดฐาน อุดมการณ์ ฯลฯ เป็นธรรมดาที่ ความเชื่อและความคิดเห็นย่อมแตกต่างกันไป จึงไม่ใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญคนใดคนหนึ่งจะสามารถ ให้ความจริงวัตถุวิสัย (Objective Truth) ได้ คือสิ่งที่ถูกต้องอย่างแท้จริง อันเป็นประโยชน์ แก่บริษัท เพราะฉะนั้นนักธุรกิจควรนำ�ความ เป็ น นั ก หลั ง นวยุ ค สายกลาง หรื อ พหุ นิ ย ม โลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นการเดินสายกลางระหว่าง อิทเมวนิยม (Attachment) กับวิมัตินิยม (Skepticism) ทั้งมีความเป็นอัตถิภาวนิยม อยู่ในตัว มาใช้ในการบริหารธุรกิจ เพราะ ว่าการให้ความสำ�คัญแก่ทุกปัจเจกในองค์กร เป็นสิ่งที่สำ�คัญ 2. การเสวนาเพื่อสร้างพลังร่วมมือ และการแสวงหาพันธมิตรทางการค้า ในเมื่อ สภาพของสังคมพหุนิยมโลกาภิวัตน์ประกอบ ด้วยความหลายหลากของมนุษย์ เพราะฉะนั้น

120 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ความคิดเห็นจึงต้องแตกต่างและหลากหลาย ไปด้วย การเสวนาจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับ ธุ ร กิ จ ผู้ วิ จั ย ขอแนะนำ � ว่ า ผู้ บ ริ ห ารจั ด การ ควรจั ด ให้ พ นั ก งานขององค์ ก รมี โ อกาสได้ พบปะเสวนากั บ บรรดาลู ก ค้ า หรื อ ผู้ ที่ จ ะ เป็ น ลู ก ค้ า ในอนาคตในโอกาสและรู ป แบบ ต่าง ๆ เช่น จัดให้มีพนักงานระดับหัวหน้า หรื อ ผู้ บ ริ ห ารผลั ด เปลี่ ย นกั น มาประจำ � ใน ห้ า งร้ า นศู น ย์ ก ารค้ า ศู น ย์ ธุ ร กิ จ หรื อ อาจ จัดงานพบปะสังสรรค์เป็นครั้งคราว มีของ ว่ า งและเครื่ อ งดื่ ม ไว้ ค อยบริ ก าร เพื่ อ ให้ ลูกค้ารู้สึกได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ซึ่ง ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าที่ต้องการได้ในราคา พิเศษ คือถูกกว่าปกติ โดยมีพนักงานและผู้ บริหารคอยต้อนรับและให้คำ�แนะนำ� ด้วย บรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง เป็นการสร้าง ความสั ม พั น ธ์ อั น ดี การได้ ใ กล้ ชิ ด กั บ ลู ก ค้ า และได้ เ สวนาโดยตรงจะทำ � ให้ ผู้ บ ริ ห ารได้ ภาพที่แท้จริงของลูกค้า คือได้ทราบปัญหา ความต้องการและความคิดเห็นต่าง ๆ ของ ลูกค้าได้โดยตรงเพื่อจะได้นำ�ไปปรับปรุงแก้ไข ในการสนองความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าต่อไป นอกจากนั้น ในเชิงธุรกิจการแสวงหา ความคิ ด เห็ น หรื อ จุ ด ยื น ที่ จ ะทำ � งานร่ ว มกั น ได้ ควรใช้วิธีการเสวนาเป็นเครื่องมือในการ ระดมความคิดเห็น ทำ�ให้เกิดการตัดสินใจร่วม


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

กัน ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะทำ�ให้ เกิดเอกภาพและความรับผิดชอบร่วมกัน ผู้ วิ จั ย เห็ น ว่ า เป็ น สิ่ ง สำ � คั ญ โดยเฉพาะธุ ร กิ จ ที่ ต้ อ งการจะแสวงหาพั น ธมิ ต รทางการค้ า ต้องการพลังร่วมมือ การสร้างเอกภาพขึ้นโดย หาจุดยืนที่จะทำ�ให้ทุกฝ่ายร่วมงานกันได้ โดย ใช้วิธีเสวนาหาทางเลือกหรือมติที่เหมาะสม ที่สุดด้วยกัน และยังทำ�ให้สร้างวิสัยทัศน์ของ องค์กรร่วมกันได้อย่างชัดเจน การสร้ า งพลั ง ร่ ว มมื อ โดยแสวงหา พันธมิตรทางการค้า เป็นที่ทราบกันดีว่ายุค โลกาภิวัตน์ทุกวันนี้ไม่มีพรมแดนใด ๆ ที่จะ มาขวางกั้นชาติ ศาสนา และระยะทางได้ จึง เป็นโอกาสทองขององค์กรธุรกิจที่จะแสวงหา พันธมิตรทางการค้า นอกจากการนำ�ศักยภาพ และความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายมาดำ�เนิน ธุรกิจร่วมกันแล้ว ผู้วิจัยยังเห็นว่าองค์กรธุรกิจ สามารถที่จะแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อ ผนึกพลังในการร่วมมือด้วยวิธีอื่น ๆ ได้อีก ดังต่อไปนี้ บริษัท A เป็นบริษัทใหญ่ ทำ�ธุรกิจ ผลิตเหล็กกล้าในประเทศไทย ต้องการที่จะ ขยายธุรกิจโรงงานการผลิตเหล็กกล้าในต่าง ประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ย้ายไป ผลิตในประเทศอื่น ๆ ที่มีทรัพยากรในการผลิต และเทคโนโยลีในการผลิต เช่น ออสเตรเลีย

ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และอินเดีย เป็นต้น โดยทำ� ในรูปของบริษัทที่ร่วมทุนกัน และแบ่งกำ�ไร หรือผลประโยชน์กัน หรือประเด็นที่ 2 ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีอัตราค่าแรงงานสูงกว่าประเทศไทย แต่ ประเทศออสเตรเลี มี เ ทคโนโลยี แ ละทรั พ ยากร ก็ ส ามารถสร้ า งพั น ธมิ ต รร่ ว มทุ น กั บ ประเทศไทยในการผลิต โดยประเทศไทยได้ ผลผลิ ต เหล็ ก ในราคายุ ติ ธ รรม และน�ำมา ใช้ท�ำอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องซื้อ เหล็กในราคาแพง และหากมีจ�ำนวนเหลือ ก็ยังสามารถที่จะน�ำไปขายได้ ทั้งยังเป็นการ สร้ า งงานให้ แ ก่ ก�ำลั ง แรงงานที่ มี อ ยู ่ ส่ ว น ประเทศออสเตรเลียก็จะได้ผลประโยชน์คือ มี ฐ านผลิ ต ที่ มี ค ่ า แรงงานต�่ ำ ได้ ข ายวั ต ถุ ดิ บ และได้ส่วนแบ่งของเหล็กซึ่งเป็นผลผลิตแล้ว กากของเสีย (Waste) ประเทศไทยก็ยังน�ำไป ใช้เป็นประโยชน์อื่น ๆ ได้ เช่น ใช้ส�ำหรับถม ที่ดินหรือเป็นรองพื้น (Sub-base) ของการท�ำ ถนนได้ เป็นต้น องค์กรธุรกิจจะต้องวางนโยบายการ ติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ ด้วยระบบเทคโนโลยี ที่ทันสมัยที่สุด เพื่อความสะดวกคล่องตัว และ ฉับพลันสำ�หรับยุคโลกาภิวัตน์เช่นปัจจุบัน จึง ไม่ควรประหยัดงบประมาณในการปรับปรุง ให้องค์กรของตนมีระบบการติดต่อสื่อสารที่

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

121


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ทันสมัยและมีประสิทธิภาพที่สุด ได้แก่ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT, Information Technology) ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการ โฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ การจั ด งานแสดง สินค้า บัญชีรายการสินค้า การรับคำ�สั่งซื้อ การจ่ายเงิน การสื่อสาร การจัดเก็บตรวจ สินค้าคงคลัง และการควบคุมสต๊อค (Inventory and Stock Controlling) การประชุม ภายในองค์กร การประชุมข้ามประเทศหรือ ทวีป การตรวจสอบได้ทุกเรื่อง ฯลฯ e-mail, e-commerce, e-conference ทุกรูปแบบ ที่ใช้ระบบไอทีหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ไฮเทค (HiTech) ครบวงจรช่วยให้ประหยัดเงินประหยัด การเดินทางโดยเฉพาะประหยัดเวลาซึ่งเป็น เรื่องที่สำ�คัญสำ�หรับธุรกิจ 3. ความกล้าอย่างมีวิจารณญาณใน การบริหาร หรือดำ�เนินธุรกิจ ความกล้าที่จะ เสี่ยงในการทำ�กำ�ไรนั้น ผู้วิจัยขอเสริมว่า ควร ต้องมีวิจารณาญาณ (Critical Mind) ด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าในวงการธุรกิจ ผู้ประกอบ การหรือผู้บริหารมักจะต้องเผชิญกับการเสี่ยง อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ถ้ามีข้อมูลที่ถูก ต้องเพียงพอ และความคิดที่รอบคอบอย่าง มีวิจารณญาณ ก็จะช่วยในการบริหารความ เสี่ยงนั้นได้ เช่น มีที่ดินผืนหนึ่งที่องค์กรธุรกิจ ต้ อ งตั ด สิ น ใจเลื อ กลงทุ น อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง

122 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เช่น สร้างบ้านเดี่ยว หรือคอนโดมีเนียม หรือ ทาวน์เฮาส์ หรืออาคารพาณิชย์ ธุรกิจควรจะ เลือกลงทุนในโครงการใดจึงจะมีรายได้มาก ที่สุด ก่อนอื่น นอกจากจะต้องศึกษาความเป็น ไปได้ของแต่ละโครงการ ต้องหาข้อมูลให้ครบ ถ้วนในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่งบประมาณในการ ลงทุน ศักยภาพของทำ�เลที่ตั้ง ความต้องการ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ของประชากร สภาพเศรษฐกิ จ ของประชากร ฯลฯ เปรียบเทียบงบประมาณ อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาของจุดคุ้มทุน ของแต่ละโครงการ อัตราผลตอบแทนที่จะได้ รับก็คือกำ�ไร เปรียบเทียบกันแต่ละโครงการ ก็เรียกว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงหรือเสี่ยง อย่างมีวิจารณาญาณได้วิธีหนึ่ง หรือแม้แต่การ ที่ศูนย์ใหญ่ของธุรกิจลดภาระค่าใช้จ่ายของตน โดยวิธีการสร้างตัวแทนจำ�หน่าย (Dealers) หรื อ ความเป็ น เจ้ า ของธุ ร กิ จ ให้ แ ก่ บ รรดาเอ เย่นต์ (Agents) ไปบริหารงานและรับผิดชอบ เอง โดยรายได้จะเป็นไปตามศักยภาพในการ บริหารจัดการของตัวแทนหรือเอเย่นต์เอง ก็ เป็นการกระจายความเสี่ยงเช่นกัน 4. การไม่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น เพื่ อ สร้ า ง พลังแสวงหาและพลังสร้างสรรค์ ผู้วิจัยเห็น ว่ า นั ก ธุ ร กิ จ หรื อ นั ก บริ ห ารจั ด การที่ มี ป ระ สิ ท ธิ ภ าพและต้ อ งการประสิ ท ธิ ผ ล จะต้ อ ง กระทำ�ตนให้เป็นผู้ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ควรปรับ


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

ตัวและความคิดให้ก้าวทันสมกับเป็นผู้บริหาร ยุคโลกาภิวัตน์ ในการบริหารจัดการภายในองค์กร ของตนให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ ง การก�ำหนดวิ สั ย ทั ศ น์ ข องผู ้ บ ริ ห ารหรื อ องค์กร ผู้บริหารจะต้องเลิกยึดมั่นถือมั่นกับ วิ สั ย ทั ศ น์ เ ดิ ม และแนวทางปฏิ บั ติ ที่ แ ล้ ว ๆ มา นอกจากต้องตระหนักถึงสภาพแวดล้อม ขององค์กร ได้แก่ ทรัพยากรที่มีอยู่ รวมทั้ง งบประมาณการตลาด การแข่งขัน สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจและสังคม และท�ำการวางแผน ส�ำหรับอนาคตขององค์กรของตนแล้ว ผู้บริหารจะต้องมีความตื่นตัว คอยติดตามข่าว คราว วิธีการ และการสร้างสรรค์ของธุรกิจ อื่น ๆ ตลอดเวลา เพื่อน�ำมาปรับปรุงวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของ ตนให้ล�้ำหน้า ทั้งให้แตกต่างและหลากหลาย กว่าของธุรกิจอื่น ๆ อยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ยุค โลกาภิวัตน์ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทุกอย่าง สามารถลอกเลียนแบบกันได้อย่างว่องไว ผู้ วิจัยเห็นว่า ในที่สุดแล้วความเป็นผู้น�ำทาง ตลาดอย่างแท้จริงหรือในระยะยาวไม่มี เป็นได้ ก็แค่ระยะสั้น ๆ คือระยะแรก ๆ เท่านั้น ความ ต้องการของตลาด รสนิยมของผู้บริโภค รายได้ ก�ำไรของธุรกิจจึงมีแนวโน้มสูงที่จะผันแปรไป กับความต้องการประสบการณ์ใหม่ ๆ และ

ความพึงพอใจใหม่ ๆ ของผู้บริโภคอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจ�ำเป็นที่จะต้องเติมพลังให้แก่ การแสวงหาการสร้างสรรค์นวัตกรรมออกมา เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงัก เพื่อธุรกิจจะสามารถท�ำรายได้และก�ำไรเป็น กอบเป็นก�ำได้ในช่วงที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จากนวั ต กรรมนั้ น เป็ น ที่ นิ ย มของตลาดผู ้ บริโภค เพื่อให้ธุรกิจของตนสามารถด�ำรงอยู่ ได้อย่างองอาจโดยไม่ล้าหลังหรือหลุดไปจาก วงจรของการแข่งขัน อี ก ประการหนึ่ ง ผู้ วิ จั ย มองว่ า การ พัฒนาพลังต่าง ๆ ในตัวมนุษย์ให้ก้าวหน้ายิ่ง ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหา การสร้างสรรค์ การปรับตัว ตลอดจนการร่วมมือ หากทำ�ได้ ครบก็ ถื อ ว่ า ได้ พั ฒ นาสมรรถภาพของความ เป็ น มนุ ษ ย์ เพราะจะต้ อ งอาศั ย สติ ปั ญ ญา ความอดทน อดกลั้น (ขันติโสรัจจะ) ความ ขยันหมั่นเพียร (วิริยะอุตสาหะ) อยู่เป็นนิจสิน จนกลายเป็นบุคลิกภายใน หรือเป็นคุณสมบัติ ของตน ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า เท่ากับเป็นการฝึกฝน และพัฒนาคุณธรรมไปในตัวด้วยหลายข้อ จะ เรียกว่าป็นจริยธรรมชุดหนึ่งก็ได้ 5. การให้ ค วามสำ � คั ญ และการ สร้ า งความพึ ง พอใจแก่ ปั จ เจกลู ก ค้ า ด้ ว ย ยุ ท ธศาสตร์ ก ารสร้ า งความแตกต่ า งหลาก หลาย ในการกำ�หนดวิสัยทัศน์ขององค์กร เช่น

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

123


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ต้องการให้องค์กรเป็นผู้นำ�การตลาด ด้วยการ ออกสายผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ แ ตกต่ า งหลากหลาย เพื่อสนองตอบความแตกต่างหลายหลากของ ปัจเจก อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยใคร่เสนอว่า นักธุรกิจ ไม่ ค วรใช้ วิ ธี ทำ�กำ�ไรสูงสุดโดยขาดคุณ ธรรม ควรมีกำ�ไร และขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมด้วย กำ�ไรสูงสุดไม่จำ�เป็นต้องเกิดจากการเอารัด เอาเปรียบผู้บริโภคและ/หรือผู้ใช้แรงงาน ควร จะมีความยุติธรรม คือการให้รายได้ที่เหมาะ สม เพื่ อ ช่ ว ยพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของพวก เขา แต่ตัวอย่างที่ได้เกิดขึ้นคือ สมาคมทั้ง 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมอุตสาหกรรม สมาคม ธนาคาร และหอการค้าได้จับมือกัน ร่วมกัน สร้างพันธมิตรในทางที่ขาดคุณธรรม นั่นคือ ไม่ยอมให้ความสำ�คัญแก่กลุ่มปัจเจกคนงาน โดยการคัดค้านค่าแรง 300 บาท แทนที่จะ เห็นใจผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า และยังเป็นผู้ที่สร้าง ผลประโยชน์ให้แก่ตน ประเด็ น สำ � คั ญ สำ � หรั บ ธุ ร กิ จ คื อ มุ่งการสร้างลูกค้า และสร้างความพึงพอใจ ให้แก่ปัจเจกลูกค้าทุกบุคคล การสร้างลูกค้า ผู้วิจัยถือว่าเป็นสิ่งสำ�คัญอย่างยิ่งสำ�หรับธุรกิจ เพราะลูกค้าเป็นผู้เต็มใจที่จะจ่ายให้แก่สิ่งที่ พวกเขาเห็นว่ามีคุณค่า ลูกค้าทำ�ให้เกิดการ จ้างงาน ลูกค้าทำ�ให้ธุรกิจสามารถดำ�เนินอยู่ ได้ ธุรกิจจึงควรทราบว่าปัจเจกลูกค้าคือใคร

124 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

มาจากไหนกันบ้าง เพื่อจะได้หาวิธีดึงดูดลูกค้า จากทุกกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ผู้วิจัยได้ เคยกล่าวไว้ในบทก่อน ๆ ถึงเรื่องกระบวน ทรรศน์ ข องมนุ ษ ย์ ที่ เริ่ ม จากดึ ก ดำ � บรรพ์ โบราณ ยุคกลาง นวยุค และล่าสุดปัจจุบัน คือหลังนวยุค แต่กระนั้น สังคมทุกวันนี้ก็ยัง เต็มไปด้วยบุคคลในกระบวนทรรศน์ต่าง ๆ อยู่ร่วมกัน ในทำ�นองเดียวกัน กระแสนิยม ของมนุษยชาติแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม โดย เริ่ ม จากเกษตรกรรมนิ ย ม (Agrarianism) อุตสาหกรรมนิยม (Industrialism) จนถึง โลกาภิวัตน์ ปัจจุบันอันเป็นยุคของเทคโนโลยี สารสนเทศ และอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) ไปแล้ว คนที่อยู่ในกระแสต่าง ๆ ที่ว่านี้ แท้จริง มิได้หายไปไหน แต่ยังคงอยู่ร่วมกันในสังคม ปัจจุบันเช่นกัน มนุษย์ทั้ง 3 กลุ่มมีดังนี้ กลุ่มที่ 1 มนุษย์ที่ยังมีวิถีชีวิตหรือ ยังอยู่ในกระแสของเกษตรนิยม พวกเขามี ปรัชญาว่า เราเป็นเผ่าพันธุ์เกษตรกรเกษตร กรรมของเราสามารถตักตวงกอบโกยโดยไม่มี ขอบเขตจ�ำกัด ดังนั้นทุกอย่างจึงเพียบพร้อม ไปด้ ว ยความสมบู ร ณ์ พู น สุ ข ของธรรมชาติ มนุ ษ ย์ ก ลุ ่ ม นี้ จ ะเห็ น คุ ณ ค่ า ของการอนุ รั ก ษ์ ธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้องค์กรธุรกิจจะต้อง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ เช่น ไม่สร้าง ศูนย์การค้า หรือโรงงานผลิตสินค้าในพื้นที่ที่


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

จะท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ไม่สร้างมลพิษมลภาวะให้เกิดขึ้น ในพื้นที่ ๆ อยู่อาศัย หรือบริเวณใกล้เคียงของ พวกปัจเจกเหล่านี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะว่า ไม่ ควรกระท�ำการใด ๆ ที่จะท�ำให้กลุ่มลูกค้าที่ ยังมีการด�ำเนินชีวิตอยู่ในกระแสเกษตรนิยม เกิดความรู้สึกไม่พอใจ หรือเกิดความรู้สึกที่ต่อ ต้านองค์กรธุรกิจนั้น ๆ ขึ้นมา กลุ่มที่ 2 ลูกค้ากลุ่มที่มีวิถีชีวิตอยู่ใน กระแสของอุตสาหกรรมนิยม ลูกค้ากลุ่มนี้จะ ให้ความส�ำคัญแก่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ให้ความสะดวกสบายเป็นหลัก คือ กลุ่มนี้ ยังยึดติดอยู่กับทุนนิยมที่มุ่งก�ำไรสูงสุด (To Optimize Profit) หรือประโยชน์สูงสุดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกาหรือลูกจ้างเพราะ ฉะนั้นปัจเจกบุคคลกลุ่มนี้จะนิยมสินค้าที่เกิด จากการผลิตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ มี ร าคาถู ก แต่ ส วยงามหรื อ คุ ณ ภาพดี ห รื อ สินค้าประเภทเดียวกันราคาเท่ากันแต่ว่าจะ ต้องมีคุณภาพที่เหนือกว่า ธุรกิจที่จะแข่งขัน กั น จะต้ อ งทราบถึ ง ปรั ช ญาของบุ ค คลกลุ ่ ม ทุนนิยมนี้ที่มีปรัชญาที่ว่า เพื่อให้ได้ประโยชน์ สูงสุด หรือก�ำไรสูงสุด ในขณะที่ต้นทุนต้องต�่ำ สุดส�ำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ประกอบการ ส่วนผู้ที่เป็นปัจเจกลูกค้าทั้งหลาย ปรัชญาของ เขาก็คือ ความพอใจสูงสุดเมื่อสินค้ามีคุณภาพ

ดีที่สุด ในขณะที่ราคาต�่ำสุด กลุ่มที่ 3 พวกที่อยู่ในกระแสความ นิยมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะฉะนั้น ในการด�ำเนินชีวิต ทุกอย่างที่เป็นไปได้จะ ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร ตั้งแต่การ ซื้อขาย การจ่ายเงิน การประชุม การติดต่อ การสื่อสารต่าง ๆ จะใช้ email, e-shopping, video-conference และ e-commerce เพราะฉะนั้นองค์กรธุรกิจจะต้องไม่ ลืมให้ความส�ำคัญแก่คนกลุ่มนี้ โดยพัฒนาการ บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนับวันก็จะยิ่งมีความ ส�ำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ยิ่งขึ้น ซึ่งผู้วิจัย เห็นว่า เหมาะกับยุคปัจจุบันที่ทรัพยากรก�ำลัง ร่อยหรอขาดแคลนลงไปทุกวัน เนื่องจากระ บบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นระบบที่รวดเร็ว ประหยัดแรงงาน ประหยัดทรัพยากรพลังงาน (น�้ำมัน แก๊ส) ประหยัดการเดินทาง ประหยัด เวลา ซึ่งอันที่จริงระบบนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ใน อดีต เช่น การซื้อขายสินค้ากันทางแคตตาลอค (Catalogue) และได้ปรับปรุงให้ก้าวหน้าขึ้น ตามความเจริ ญ ของเทคโนโลยี เช่ น ทุ ก วั น นี้ ซึ่งในต่างประเทศได้ให้ความส�ำคัญแก่ระบบ การสื่อสารทางอิเลคทรอนิคส์กันอย่างมาก คือ บางหน่วยงานที่พนักงานไม่มีหน้าที่ที่จะ ต้องติดต่อกับประชาชนโดยตรง ก็สามารถ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

125


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

ท�ำงานอยู่ที่บ้านได้โดยผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนั้ น ผู้ วิ จั ย ยั ง เห็ น ว่ า กลุ่ ม ปั จ เจกลู ก ค้ า ที่ มี ค วามคิ ด หรื อ ความเชื่ อ พื้ น ฐาน (ตามกระบวนทรรศน์) ต่าง ๆ ย่อมมีผล ต่อพฤติกรรมการซื้อ (Buying Behavior) สินค้าที่แตกต่างกันด้วย เช่น ผู้ที่อยู่ในกระ บวนทรรศน์ ดึ ก ดำ � บรรพ์ ซึ่ ง ยึ ด ถื อ โชคลาง หรือไสยศาสตร์ จะนิยมสินค้าที่มีสีสันหรือ ความหมายที่เป็นมงคล ให้โชคลาภ พวกที่อยู่ ในกระบวนทรรศน์โบราณจะนิยมสินค้าที่โก้ หรู ห รา พวกที่ ยึ ด ถื อ ยุ ค กลางจะประหยั ด สมถะ และซื้อสินค้าที่ตนเห็นว่าจำ�เป็น (มุ่ง ความสุขโลกหน้ามากกว่า) ผู้ที่นิยมนวยุคจะ นิยมสินค้าที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ ทันสมัย ให้ความสะดวกสบาย ส่วนพวกหลัง นวยุคจะนิยมสินค้าหรือวัสดุที่คิดว่าจะต้องไม่ สร้างมลภาวะ วัสดุที่ใช้แล้วสามารถแปรรูป นำ�มาใช้ใหม่ได้ (Recycle) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดต้องไม่ได้มาจากการทำ�ลายทรัพยากร ธรรมชาติ และต่อต้านผลิตภัณฑ์ที่ท�ำ มาจาก ขนสัตว์ ซึ่งในอดีตเคยนิยมว่าเป็นสิ่งหรูหราที่ นิยมกันในหมู่ชนชั้นสูงหรือผู้มีฐานะ เช่น เสื้อ ขนมิ้งค์ (อนุรักษ์พันธุ์สัตว์) ไม่ทำ�ให้โลกร้อน (พลาสติก เคมี) นิยมการอนุรักษ์บ�ำ รุงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ดี และสิ่งต่าง ๆ ที่พัฒนา

126 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คุณภาพชีวิตของปัจเจก อย่าลืมว่าปัจเจกลูกค้าทั้งหลายยังมี ความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ รายได้ เพศ อายุ และรสนิยมในการบริโภคอีกด้วย ในเมื่อ ลูกค้ามีความหลากหลายเช่นนี้ และความจริง ที่ว่า ปัจเจกมนุษย์ย่อมมีเสรีภาพในการเลือก ผู้วิจัยจึงเห็นว่าธุรกิจจำ�เป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ ที่แตกต่างหลากหลายด้วยเช่นกัน ในการที่จะ สามารถดึงดูดและสร้างลูกค้าจากมนุษย์ใน ทุกกระแสนิยม และจากมนุษย์ในทุกกระบวน ทรรศน์ได้ และสามารถที่จะสนองความพึง พอใจแก่พวกเขาได้ นอกจากการใช้กลยุทธ์ ที่แตกต่างหลากหลายสำ�หรับสินค้าและการ บริการ ในการเสนอและสนองปัจเจก เมื่ อ ตอบสนองความพึ ง พอใจแก่ บุคคลได้ทุกประเภทแล้ว การสร้างศูนย์ธุรกิจ หรื อ ศู น ย์ ก ารบริ ก าร หรื อ ศู น ย์ ร องในย่ า น ต่ า ง ๆ ก็ เ ป็ น การส่ ง เสริ ม เสรี ภ าพในการ เลื อ กซื้ อ และเข้ า ถึ ง สิ น ค้ า และบริ ก ารของ ปัจเจกด้วย ทำ�ให้ประหยัดเวลา ประหยัดค่า ใช้จ่ายในการเดินทาง ประหยัดพลังงาน และ ลดมลภาวะ เป็ น การอำ � นวยความสะดวก ให้แก่ปัจเจก เนื่องจากมีศูนย์ธุรกิจใกล้ที่อยู่ อาศัย ใกล้สถานที่ทำ�งาน หรืออยู่ในเส้นทาง ที่สะดวก ผู้วิจัยเห็นว่า เป็นการช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตของปัจเจกเช่นกัน ทำ�ให้สามารถ


กีรติ บุญเจือ และพัชนี พงษ์เพียรสกุล

ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับครอบครัว กับการ พักผ่อน และกับสังคมได้มากขึ้น นอกจากนั้นผู้วิจัยเห็นว่า การมีศูนย์ รองใกล้ที่อยู่อาศัย ใกล้แหล่งงาน ใกล้เส้น ทางคมนาคมที่สะดวกนั้น เป็นการกระตุ้นให้ เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ช่วยให้การเงินไหล เวียนได้สะพัด ทำ�ให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยให้ประชาชนได้มีงานทำ� มีรายได้ เป็นการ สร้ า งเศรษฐกิ จ ให้ แ ก่ ปั จ เจกบุ ค คล องค์ ก ร ธุรกิจ สังคม และประเทศชาติอีกด้วย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. งานเขียนอื่น ๆ ของ Drucker มีลักษณะเป็นหลังนวยุคหรือไม่อย่างไร 2. จะขจัดเผด็จการและความยึดมั่น ในอัตตาของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน ด้วยเหตุผลใดได้บ้าง 3. การเสวนาจะช่ ว ยลดความขั ด แย้งได้ทุกระดับจริงหรือไม่อย่างไร 4. จำ � เป็ น หรื อ ไม่ ที่ นั ก ธุ ร กิ จ ที่ มุ่ ง กำ�ไรสูงสุดจะต้องเป็นนักธุรกิจที่ไร้คุณธรรม เพราะเหตุใด 5. จะสร้ า งความสามั ค คี แ ละเอกภาพในการบริหารได้หรือไม่ ในองค์กรที่มี พนักงานหลายชาติ และหลายศาสนา ด้วย เหตุผลใดจึงจะเหมาะกับยุคโลกาภิวัตน์ที่สุด

บรรณานุกรม กีรติ บุญเจือ. 2545. ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ : ดวงกมล. __________. 2551. คู่มือจริยศาสตร์ ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม. __________. 2554. ปรัชญาอเนกประสงค์ มีอยู่ในพระไตรปิฎกจริงหรือ. วารสารปรัชญาอเนกประสงค์. 1(1), หน้า 16-33. พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา. 2546. มรดก อันล�้ำค่าทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส.ไพบูลย์. วิเศษ แสงกาญจนวนิช. 2549. ปรัชญา หลันวยุค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Bauman, Z. 1996. Postmodern ethics. Oxford : Blackwell. Drucker, P. F. 1954. The practice of management. New York : Harper & Row. Edersheim, E. H. 2007. The defini tive Drucker. New York : McGraw-Hill.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

127


กระบวนทรรศน์ของเดรอคเคอร์ ตัดสินจากหนังสือ Inside Drucker’s Brain เรียบเรียงโดยเจฟเฟรย์ เอ เครมส์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

Kotler, P. 1991. Marketing manage ment analysis, planning, implementation, and con trol. 9 th ed. New Jersey : Prentice Hall International. Krames, J. A. 2008. Inside Drucker’s brain. New York : portfolio. Lyotard, J. 1984. The postmodern condition. Manchester : Man chester University. Oaklander, L. N. 1992. Existentialist philosophy: An Introduction. New Jersey : Prentice Hall.

128 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Rorty, A. 1966. Pragmatic philosophy: An anthology. New York : Doubleday. Stahl, M. J., & Grigsby, D. W. 1997. Stategic management: Total quality and global competition. Massachusettes : Blackwell. Taylor, V. E., & Winquist, Ch. E., Eds.. (n.d.). Encyclopedia of postmodernism. New York : Routledge.


M

รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

odel of Catechists Development in Catholic Schools

ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์

* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ�ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

* อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

Asst.Prof.Dr.Prasert Intarak

* Assistant Professor at Education Administration Faculty of Education, Silpakorn University

Laddawan Prasootsaengchan

* Lecturer at Christian Studies Faculty of Theology, Saengtham College


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการ พัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก 2) รูปแบบการพัฒนาครูคำ� สอนในโรงเรี ย นคาทอลิ ก 3) ผลการยื น ยั น รู ป แบบการพั ฒ นาครู คำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก ประชากร คือ โรงเรียนคาทอลิกใน ประเทศไทย จำ�นวน 232 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนคาทอลิก ในประเทศไทย จำ�นวน 144 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร และครู คำ�สอน จำ�นวน 576 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิม เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำ�รวจ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก เป็น พหุองค์ประกอบ มี 9 องค์ประกอบ คือ 1) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ 2) ปัจจัยภายใน ตัวครูคำ�สอน 3) การจัดกิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา 4) ผู้บริหารโรงเรียน 5) การเสริมสร้างชีวิตจิต 6) การ จัดตั้งกลุ่มครูค�ำ สอน 7) การวางแผนพัฒนา 8) สถานที่ทำ�งาน และ 9) การกำ�หนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทางงานคำ�สอน 2. รูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก เป็นความ สัมพันธ์ของพหุองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ค่าตอบแทนและสวัสดิการ การจัดกิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา ผู้บริหารโรงเรียน การเสริมสร้างชีวิตจิต การวางแผน พัฒนา สถานที่ทำ�งาน และ การกำ�หนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง งานคำ�สอน มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านทักษะความสามารถ ของครูค�ำ สอน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยภายในตัวครูค�ำ สอนและการจัด ตั้งกลุ่มครูคำ�สอน 3. ผลการยื น ยั น รู ป แบบการพั ฒ นาครู คำ � สอนในโรงเรี ย น คาทอลิก ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการพัฒนาครูคำ�

130 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

สอนในโรงเรียนคาทอลิก มีความถูกต้องครอบคลุม เหมาะสม เป็นไป ได้ และเป็นประโยชน์

คำ�สำ�คัญ :

Abstract

1) การพัฒนาครูคำ�สอน 2) โรงเรียนคาทอลิก

The purposes of this research were to find : 1) The components of the catechists development in catholic schools, 2) the model of catechists development in catholic schools, and 3) the confirmation of model of catechists development in catholic schools. The population in this research were 232 catholic schools in Thailand. The samples were 144 catholic schools. The respondents were administrators and catechists with the total of 576 respondents. The data collected by using the opionnaires. The data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, canonical analysis, and content analysis. The findings were as follows : 1. The catechists development factors were 9 components namely : 1) compensations and benefits 2) relevant factors of catechists 3) activities, training, conferences, seminars 4) school administrators 5) strengthening spiritual life 6) catechists group formulating 7) development planning 8) workplace and 9) policy, target, direction of catechesis. 2. The model of catechists development in catholic school was a correlation between multiple components that

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

131


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

environment component which include compensations and benefits, activities, training, conferences, seminars, school administrators, strengthening spiritual life, development planning, workplace, and policy, target, direction of catechesis correlation with catechists’ skill component which include relevant factors of catechists and catechists group formulating. 3. The experts confirmed that the model was accuracy, propriety, feasibility, and utility standards. Keywords : 1) Catechists Development 2) Catholic Schools ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา ครูค�ำสอนหรือ ครูสอนคริสตศาสนธรรม (Catechist) มีภาระหน้าที่ในการสอน ค�ำสอน (Catechesis) ซึ่งเป็นการอบรมผู้ เรียน ทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ ให้เติบโตใน ความเชื่อ โดยการถ่ายทอดค�ำสอนส�ำหรับ คริ ส ตชนตามล�ำดั บ และท�ำอย่ า งเป็ น ระบบ เพื่ อ ให้ ผู ้ เรี ย นเติ บ โตในความเชื่ อ จนถึ ง ขั้ น สมบูรณ์ รวมไปถึงการอบรมผู้เรียนให้มีความ เลื่อมใสศรัทธาในสัจธรรมของศาสนาของตน การประกาศข่าวดี อันเป็นลักษณะเฉพาะของ การจัดการศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก พระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก ประเทศไทย ให้ ค วาม ส�ำคัญกับครูค�ำสอนและการสอนค�ำสอนใน

132 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

โรงเรี ย นเป็ น อย่ า งมาก จึ ง ก�ำหนดพั น ธกิ จ ส�ำคั ญ ประการหนึ่ ง ของโรงเรี ย นคาทอลิ ก ก็ คื อ ให้ มี ก ารสอนค�ำสอนในโรงเรี ย นอย่ า ง จริ ง จั ง เป็ น ระบบ และต่ อ เนื่ อ ง โดยรั บ ผิ ด ชอบจั ด ให้ มี ผู ้ มี ค วามสามารถสอนค�ำสอน นักเรียนคาทอลิกอย่างสม�่ำเสมอ (คณะกรรม การคาทอลิ ก เพื่ อ คริ ส ตศาสนธรรม แผนก คริสตศาสนธรรม, 2553 : 99) และก�ำหนดเป็น นโยบายปฏิบัติ ข้อ 6 ให้สถานศึกษาเป็นสนาม แพร่ธรรมมากขึ้นโดยให้การอบรมและฟื้นฟู ชีวิตนักเรียน เยาวชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการด�ำเนิ น ชี วิ ต ตามจิ ต ตารมณ์ ข องพระ คริสตเจ้า และข้อ 11 เร่งสรรหาและพัฒนา


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

บุคลากรทุกระดับอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้ อ มทั้ ง จั ด สวั ส ดิ ก ารให้ อ ย่ า งเหมาะสม และยุติธรรม (สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย, 2000: 20-21,28,42) ทั้ ง นี้ ให้มีการสรรหา พัฒนา บ�ำรุงรักษาบุคลากร ค�ำสอน และในแผนอภิ บ าลคริ ส ตศั ก ราช 2010-2015 ซึ่งมีลักษณะเป็นการติดตามและ สานต่อจากแผนอภิบาลคริสตศักราช 20002010 พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ได้ให้ความส�ำคัญของการสอนค�ำสอนและการ พัฒนาครูค�ำสอน โดยก�ำหนดให้การสอนค�ำ สอนไว้เป็นส่วนหนึ่งของงานอภิบาลหลักใน งานเสริ ม สร้ า งศิ ษ ย์ แ ละพั ฒ นาความเชื่ อ (สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย, 2010 : 16, 20) การสอนคำ � สอนในโรงเรี ย นจะเกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพประสิ ท ธิ ผ ลมากน้ อ ยเพี ย งใด ปัจจัยสำ�คัญอย่างหนึ่งก็คือ ตัวครูคำ�สอนที่ มีคุณภาพ หากครูค�ำ สอนมีข้อจำ�กัด ข้อขัด ข้องหรือปัญหาต่างๆ เข้ามากระทบ ย่อมส่งผล ต่ อ ตั ว ครู คำ � สอน และประสิ ท ธิ ภ าพในการ ปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นเดียวกัน สภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศ ไทย (2000 : 42) ระบุถึงปัญหาว่าคริสตชน ในชุ มชนมี จำ �นวนมาก แต่บุคลากรคำ�สอน ยังไม่เพียงพอ อีกทั้งแต่ละเขตพื้นที่มีความ

แตกต่างกันทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี และ ภาษา จึงจำ�เป็นต้องสร้างบุคลากรด้านคำ�สอน ในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่องโดย 1) จัดระบบ การบริหารและประสานงานของศูนย์คำ�สอน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ให้มีประสิทธิภาพ 2) สรรหา พัฒนา บำ�รุงรักษาบุคลากรคำ�สอน และผู้ นำ � ชุ ม ชนด้ า นคำ � สอนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง 3) จัดทีมงานคำ�สอนทั้งในระดับท้องถิ่นและ ในระดับชาติ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม (2553: 14-16) ระบุถึงปัญหาดังนี้ 1) การขาดแคลน ครูค�ำสอนที่ช�ำนาญการและเวลาที่เหมาะสม ส�ำหรับการเรียนค�ำสอน 2) การประสาน สั ม พั น ธ์ แ ละความเข้ ม แข็ ง ในการท�ำหน้ า ที่ ของแต่ละสถาบันที่เกี่ยวข้อง ยังเป็นไปไม่ดี เท่ า ที่ ค วร 3) การสอนค�ำสอนของพระ ศาสนจั ก รไทยเน้ น ความรู ้ ม ากกว่ า การมี ประสบการณ์ฝ่ายจิต 4) ผู้น�ำทางจิตวิญญาณ ยั ง มี จ�ำนวนน้ อ ยและจากการประชุ ม คณะ กรรมการคาทอลิ ก เพื่ อ คริ ส ตศาสนธรรม แผนกคริ ส ตศาสนธรรมสภาพระสั ง ฆราช คาทอลิกแห่งประเทศไทยในช่วงปี 25502554 พบว่ามีปัญหา ข้อควรพัฒนา และข้อ เสนอแนะเกี่ยวกับครูค�ำสอนในด้าน 1) วัสดุ อุปกรณ์ในการสอนมีไม่เพียงพอ 2) ขาดงบ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

133


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

ประมาณในการผลิ ต หรื อ จั ด หาสื่ อ อุ ป กรณ์ และการอบรม 3) บุคลากรน้อย 4) การติด ตามประสานงานล่าช้า ตอบสนองกับความ ต้องการไม่ทั่วถึง 5) ครูค�ำสอนสูงอายุส่วน ใหญ่มีขีดจ�ำกัดในการรับความรู้ การถ่ายทอด ตลอดจนเทคนิคในการสอนค�ำสอน 6) ขาด วัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ส�ำนักงานที่จ�ำเป็น 7) ขาดเยาวชนทีส่ นใจในงานค�ำสอน 8) จ�ำ นวนนั ก ศึ ก ษาที่ เข้ า รั บ การศึ ก ษาที่ วิ ท ยาลั ย แสงธรรม และจ�ำนวนผู้เข้ารับการอบรมที่ ศู น ย์ ค ริ ส ตศาสนธรรมระดั บ ชาติ มี จ�ำนวน น้อยและลดลงทุกปี 9) การโยกย้ายและ เปลี่ ย นแปลงผู ้ รั บ ผิ ด ชอบงานค�ำสอนของ สังฆมณฑล และ 10) ข้อจ�ำกัดเรื่องระยะทาง ในการติดตามเยี่ยมเยียนครูค�ำสอน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อทราบองค์ประกอบการพัฒนา ครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก 2. เพื่อทราบรูปแบบการพัฒนาครูคำ� สอนในโรงเรียนคาทอลิก 3. เพื่ อ ทราบผลการยื น ยั น รู ป แบบ การพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก

134 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สมมติฐานการวิจัย 1. องค์ ป ระกอบการพั ฒ นาครู คำ � สอนในโรงเรี ย นคาทาอลิ ก เป็ น พหุ อ งค์ ประกอบ 2. รู ป แบบการพั ฒ นาครู คำ � สอนใน โรงเรี ย นคาทอลิ ก เป็ น ความสั ม พั น ธ์ ข อง พหุองค์ประกอบ 3. รู ป แบบการพั ฒ นาครู คำ � สอนใน โรงเรี ย นคาทอลิ ก มี ค วามถู ก ต้ อ งครอบคลุ ม เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ กรอบแนวคิดการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัยเรื่อง รูปแบบ การพั ฒ นาครู คำ � สอนในโรงเรี ย นคาทอลิ ก ประกอบด้ ว ยแนวคิ ด ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ครู คำ � สอนและการพั ฒ นาทรั พ ยากรบุ ค คลต่ า งๆ รวมถึ ง การสั ม ภาษณ์ ผู้ เชี่ ย วชาญและผู้ ท รง คุณวุฒิด้านการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียน คาทอลิกมาประกอบเพิ่มเติม แสดงรายละ เอียดตามแผนภูมิที่ 1


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

แผนภูมิที่ 1. แสดงกรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ การพัฒนาครูค�ำ สอน หมายถึง การ ทำ � ให้ ค รู คำ � สอนได้ รั บ การยกระดั บ ในด้ า น คุณสมบัติคุณลักษณะทักษะ ความรู้ ชีวติ จิต การดำ�เนินชีวิตส่วนตน และชีวิตกลุ่มอย่าง สมดุล รูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรง เรียนคาทอลิก หมายถึง ความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียน คาทอลิก ประกอบด้วย กระบวนการ วิธีการ

และปั จ จั ย ต่ า งๆ ที่ นำ � มาใช้ ใ นการส่ ง เสริ ม เพิ่มพูนครูคำ�สอนให้มีศักยภาพ คุณภาพการ ทำ�งาน และการดำ�เนินชีวิตที่ดี มีชีวิตจิตที่ ลุ่มลึก สามารถพัฒนางานที่รับผิดชอบให้มี ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ครูค�ำ สอน (Catechist) หมายถึง ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การมอบหมายให้ ทำ � หน้ า ที่ ใ นการ สอนคำ�สอน อบรม ให้คำ�ปรึกษา และพัฒนา ผู้เรียนให้เติบโตในความเชื่อ โดยการถ่ายทอด

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

135


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

คำ�สอนของพระเยซูคริสตเจ้าสำ�หรับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาการดำ�เนินชีวิต พัฒนา ความเชื่อ ให้เติบโตจนถึงขั้นสมบูรณ์ ดำ�เนิน ชีวิตตาจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า ในงาน วิจัยนี้ ครูคำ�สอน หมายถึง บุคลากรที่ได้รับ การมอบหมายให้ทำ�หน้าที่ในการสอนวิชาคำ� สอนให้กับนักเรียนในโรงเรียนคาทอลิก โรงเรียนคาทอลิก หมายถึง โรงเรียน เอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตามเอกลัษณ์และปรัชญาการศึกษา คาทอลิก ซึ่งบริหารจัดการโดยสังฆมณฑล หรือคณะนักบวช หรือฆราวาส ในนิกายโรมัน คาทอลิก ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ในงาน วิจัยนี้ โรงเรียนคาทอลิก หมายถึง โรงเรียน เอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตามเอกลักษณ์และปรัชญาการศึกษา คาทอลิก ซึ่งบริหารจัดการโดยสังฆมณฑล หรือคณะนักบวชในนิกายโรมันคาทอลิก ที่มีที่ ตั้งอยู่ในประเทศไทย การดำ�เนินการวิจัย การดำ�เนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรเกี่ยว กับการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก 2. การพั ฒ นาเครื่ อ งมื อ และการ สร้างรูปแบบ

136 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

3. การยืนยันรูปแบบ โดยวิธีอ้างอิง ผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) เพื่อตรวจ สอบยืนยันความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy Standards) ความเหมาะสม (Propriety Standards) ความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) และความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) ของรูปแบบ (G.F. Madaus, M.S. Scrivien, and D.I. Stufflebeam, 1983 : 399-402) และข้อคิดเห็นอื่นๆ แล้ว ผู้วิจัยทำ�การรวบรวมข้อมูลและสรุปรายงาน ผลการวิจัย แผนแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีแผนแบบ การวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ศึกษาสภาวการณ์ไม่มีการทดลอง (the one shot, nonexperimental case study design) ประชากร คือ โรงเรียนคาทอลิกของ สังฆมณฑล หรือคณะนักบวช ใน 10 เขต การปกครองของพระศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทย รวม 232 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรี ย นคาทอลิ ก ของสังฆมณฑลหรือคณะนักบวช ใน 10 เขต การปกครองของพระศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทย รวม 144 โรงเรียน ตามตาราง


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 608 – 609) ได้มาโดยวิธีการ สุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) ในแต่ละเขตการปกครองตาม สัดส่วน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียนมี 4 คน คือ ผู้บริหาร 2 คน และครูคำ�สอน 2 คน รวม ทั้งสิ้น 576 คน ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตั ว แปรพื้ น ฐาน คื อ ตั ว แปร ที่ เ กี่ ย วกั บ สถานภาพส่ ว นตั ว ของผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำ�แหน่ง หน้าที่ในปัจจุบัน 2. ตัวแปรที่ศึกษา คือ ตัวแปรที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียน คาทอลิก ที่ได้จาการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาครูค�ำ สอน (Catechists) และการ พัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) และจากการสัมภาษณ์ผู้ เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ (Unstructured Interview) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม (Opinionnaire) โดยมีขั้นตอนการสร้างและพัฒนา

ดังนี้ 1. สั ง เคราะห์ ห ลั ก การ แนวคิ ด ทฤษฎี จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาครู คำ�สอน และการพัฒนา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ และสั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการสั ม ภาษณ์ ค วามคิ ด เห็ น ของผู้ เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วสร้างกระทง คำ�ถามของแบบสอบถาม 2. สร้างแบบสอบถาม โดยแบ่งออก เป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบ ถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำ � แหน่ ง หน้ า ที่ ซึ่ ง มี ลั ก ษณะเป็ น แบบ ตรวจสอบรายการ (Check List) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามจำ�นวน 170 ข้อ ซึ่งใช้การ ประเมินตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท (Rensis Likert, 1967: 179) 3. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิจัย โดยนำ�แบบสอบถามเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่ อ ตรวจสอบความเที่ ย งตรงเชิ ง เนื้ อ หา (Content Validity) ด้วยวิธีการหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.20-1.00 แล้ ว คั ด เลื อ กข้ อ คำ � ถามที่ มี ค่ า IOC มากกว่า 0.6 ตามเกณฑ์การพิจารณาที่

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

137


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

กำ�หนดไว้ ได้ข้อคำ�ถาม 140 ข้อ 4. ทดลองใช้ เ ครื่ อ งมื อ วิ จั ย โดยนำ � แบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try Out) กับ โรงเรียนคาทอลิกจำ�นวน 8 โรงเรียน ที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำ�มาวิเคราะห์หาค่าความ เชื่ อ มั่ น (Reliability) ของแบบสอบถาม ด้ ว ยการคำ � นวณค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟา ( -coefficient) ของครอนบาค (Cronbach, Lee J., 1984:126) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.937 5. นำ � แบบสอบถามฉบั บ สมบู ร ณ์ ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียน คาทอลิก จำ�นวน 144 โรงเรียน โดยมีจำ�นวน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน คือ ผู้บริหาร 2 คน และครูคำ�สอน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 576 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิ ติ ที่ ใช้ ป ระกอบด้ ว ย ค่ า ความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage : %) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean : ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง สำ�รวจ (Exploratory Factor Analysis) การ วิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation Analysis) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำ�หรับการยืนยันรูป

138 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

แบบใช้วิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) (Eisner, 1976: 192-193) ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ได้ข้อค้นพบ 3 ส่วน รายละเอียดดังนี้ 1. องค์ประกอบการพัฒนาครูคำ� สอนในโรงเรียนคาทอลิก องค์ประกอบการพัฒนาครูค�ำสอนใน โรงเรียนคาทอลิก ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ เรียงตามน�้ำหนักองค์ประกอบที่ได้จากมาก ไปน้อยคือ 1) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ 2) ปัจจัยภายในตัวครูค�ำสอน 3) การจัด กิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา 4) ผู้บริหาร โรงเรียน 5) การเสริมสร้างชีวิตจิต 6) การ จัดตั้งกลุ่มครูค�ำสอน 7) การวางแผนพัฒนา 8) สถานที่ ท�ำงาน และ 9) การก�ำหนด นโยบาย เป้าหมาย ทิศทางงาน ค�ำสอน องค์ประกอบการพัฒนาครูค�ำสอนในโรงเรียน คาทอลิ ก จึ ง เป็ น เป็ น พหุ อ งค์ ป ระกอบตาม สมมติฐานการวิจัย ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมี ตัวแปร และน�้ำหนักองค์ประกอบ ดังตาราง ที่ 1


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตารางที่ 1 องค์ประกอบที่ 1 ที ่ ตัวแปร น�้ำหนัก องค์ประกอบ 1 มีการมอบสวัสดิการพิเศษในกรณี ครูค�ำ สอนเจ็บป่วย / เสียชีวิต .887 2 มีการกำ�หนดสวัสดิการพื้นฐานที่เหมาะสม จำ�เป็นต่อการดำ�เนินชีวิต .880 ของครูค�ำ สอน 3 มีการมอบเงินบำ�เหน็จ เมื่อครูคำ�สอนเกษียณอายุ .864 4 มีการกำ�หนดค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เมื่อครูคำ�สอนผ่านการอบรมเพิ่มเติม .863 ตามเกณฑ์ที่ก�ำ หนด 5 มีระบบค่าตอบแทนที่ชัดเจน เหมาะสมกับภาระงานที่ครูคำ�สอนได้รับ .860 มอบหมาย 6 มีการพัฒนาระบบค่าตอบแทน สวัสดิการของครูคำ�สอน ที่เหมาะสม .858 ยุติธรรม เท่าเทียมกันทั่วประเทศ 7 มีกองทุนช่วยเหลือครูค�ำ สอนและครอบครัว .857 8 มีการสร้างแรงจูงใจ โดยการมอบผลประโยชน์อื่นๆ ทั้งด้านวัตถุและ .849 ด้านจิตใจ 9 มีการจัดสรรทุน / งบประมาณที่เพียงพอสำ�หรับการทำ�งานคำ�สอน .698 10 มีการพัฒนาสายอาชีพครูค�ำ สอนที่ชัดเจน .693 11 มีการกำ�หนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของครูค�ำ สอน .693 12 มีการจัดสรรทุน / งบประมาณ ที่เพียงพอสำ�หรับการศึกษาอบรมพัฒนา .690 ครูคำ�สอน 13 มีการสร้างระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง .586 14 มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครูค�ำ สอนให้สมดุล .576 15 มีครูพี่เลี้ยง / ที่ปรึกษา /วิญญาณรักษ์สำ�หรับครูคำ�สอน .572

จากตารางที่ 1 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 1 มีตัวแปรจ�ำนวน 15 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตั ว แปรในองค์ประกอบอยู่ร ะหว่าง .572.887 เมื่ อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมดในองค์

ประกอบที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับค่า ตอบแทน สวัสดิการ และแรงจูงใจต่างๆ ผู้วิจัย จึงตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า “ค่าตอบแทนและ สวัสดิการ”

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

139


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

ตารางที่ 2 องค์ประกอบที่ 2 ที ่ ตัวแปร น�้ำหนัก องค์ประกอบ 1 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีความตั้งใจ เสียสละ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม .796 2 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีจิตวิญญาณของความเป็นครู .785 3 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า .782 4 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีความรัก ศรัทธาในอาชีพครูค�ำสอน .778 5 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีความรัก ความเชื่อ และวางใจในพระเจ้า .772 6 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีอุดมคติ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นครูค�ำสอนที่ดี .755 7 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีทัศนคติที่ดีต่องานค�ำสอน .751 8 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน .750 9 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีชีวิตจิต/จิตตารมณ์ที่ดี .741 10 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน/เพื่อนร่วมงาน /ทีมงาน .736 /ผู้บังคับบัญชา 11 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนด�ำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า .728 .723 12 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 13 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนรักพระศาสนจักร .703 14 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีกระแสเรียกที่มั่นคง .646 15 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนเป็นผู้น�ำและผู้ตามที่ดี .643 16 การเสริมสร้างให้ครูค�ำสอนมีบุคลิกภาพที่ดี .605 17 การส่งเสริมให้ครูค�ำสอนใช้ชีวิตอย่างสมดุล ทั้งด้านการท�ำงาน สุขภาพ และจิตใจ .589 18 การส่งเสริมให้ครูค�ำสอนศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านสติปัญญา .566 และชีวิตจิต 19 การเสริมสร้างให้ครูค�ำ สอนมีวิจารณญาณ การไตร่ตรองและปรับตัว .566

จากตารางที่ 2 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 2 มีตัวแปรจ�ำนวน 19 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .566-.796 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับปัจจัยภายใน

140 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ต่ า งๆ ของตั ว ครู ค�ำสอนทั้ ง ด้ า นสติ ป ั ญ ญา จิตใจ ทัศนคติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ผู้วิจัยจึง ตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า “ปัจจัยภายในตัวครู ค�ำสอน”


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตารางที่ 3 องค์ประกอบที่ 3 ที ่ ตัวแปร น�้ำหนัก องค์ประกอบ 1 มีการจัดอบรมระยะสั้น / ระยะยาว ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติ .753 และลักษณะนิสัย เพิ่มเติมให้ครูค�ำสอน 2 มีการจัดอบรมระยะสั้น / ระยะยาว ด้านวิชาครู เพิ่มเติมให้ครูค�ำสอน .748 3 มีการจัดอบรมระยะสั้น / ระยะยาว ให้ครูค�ำสอน รู้จักบุคคล วัฒนธรรม วิถีชีวิต .714 ข่าวสาร และบริบทของผู้เรียนในแต่กลุ่ม 4 มีการจัดอบรมระยะสั้น / ระยะยาว ด้านการจัดการ / การปฏิบัติการ .712 เทคนิควิธีการสอนค�ำสอนและการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม ให้ครูค�ำสอน 5 มีการจัดการอบรมระยะสั้น / ระยะยาว ด้านชีวิตจิต เพิ่มเติมให้ครูค�ำสอน .688 6 มีการจัดกิจกรรมการทัศนศึกษา / การศึกษาดูงาน ที่เป็นประโยชน์ต่อครูค�ำสอน .664 7 มีการจัดอบรมระยะสั้น / ระยะยาว ด้านการใช้และการผลิตสื่อเทคโนโลยี .663 สารสนเทศเพิ่มเติมให้ครูค�ำสอน 8 มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ครูค�ำสอนเพื่อกระตุ้น จูงใจ ให้มีพลังในการท�ำงาน .657 สร้างสรรค์งาน 9 มีการจัดประชุม / สัมมนาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อครูค�ำสอน .637 10 มีการจัดอบรมระยะสั้น / ระยะยาวด้านค�ำสอน พระคัมภีร์ข้อความเชื่อ .615 เพิ่มเติมให้ครูค�ำสอน

จากตารางที่ 3 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 3 มีตัวแปรจ�ำนวน 10 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .615-.753 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบ ที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับการจัด

กิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนาต่างๆ เพื่อ พั ฒ นาครู ค�ำสอน ผู ้ วิ จั ย จึ ง ตั้ ง ชื่ อ องค์ ป ระ กอบนี้ว่า “การจัดกิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา”

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

141


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

ตารางที่ 4 องค์ประกอบที่ 4 ที่ ตัวแปร น�้ำหนัก องค์ประกอบ 1 ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำ�คัญ ส่งเสริมสนับสนุน ครูคำ�สอน .728 / งานคำ�สอน 2 ผู้บริหารโรงเรียนมีความเข้าใจชีวิตครูค�ำ สอน .704 3 ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้น�ำ ที่ดี .661 4 ผู้บริหารโรงเรียนมีระบบการบริหารงานที่ดี .654 5 ผู้บริหารโรงเรียนมีจิตตารมณ์ด้านคำ�สอน .650 6 ผู้บริหารโรงเรียนเปิดโอกาสให้ครูค�ำ สอนมีส่วนร่วมในการ .632 กำ�หนดเป้าหมาย และการวางแผนงานคำ�สอน 7 ผู้บริหารโรงเรียนกระจายอำ�นาจความรับผิดชอบให้ครูคำ�สอน .609 8 ผู้บริหารโรงเรียนกำ�หนดภาระงานให้ครูค�ำ สอนอย่างสมดุล .600 สอดคล้องกับความรู้และความสามารถของครูคำ�สอน 9 ผู้บริหารโรงเรียนให้ความร่วมมือกับศูนย์ค�ำ สอนในการพัฒนาครูคำ�สอน .593 10 โรงเรียนมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี .554

จากตารางที่ 4 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 4 มีตัวแปรจ�ำนวน 10 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .554-.728 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบ

ที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับผู้บริหาร โรงเรียน และวัฒนธรรมองค์กร ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อ องค์ประกอบนี้ว่า “ผู้บริหารโรงเรียน”

ตารางที่ 5 องค์ประกอบที่ 5 ที ่ ตัวแปร 1 มีการส่งเสริมให้ครูค�ำสอนได้เพิ่มประสบการณ์กับพระเจ้า 2 มีการส่งเสริมให้ครูค�ำสอนได้พูดคุยกับพระเจ้าอย่างสม�่ำเสมอ 3 มีการเสริมสร้างชีวิตจิตให้ครูค�ำสอนอย่างต่อเนื่อง 4 มีการส่งเสริมให้ครูค�ำสอนได้เข้าเงียบ / ฟื้นฟูจิตใจ อย่างต่อเนื่อง

142 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .683 .676 .667 .658


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตารางที่ 5 (ต่อ) ที ่ ตัวแปร 5 มีการสร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ให้แก่ครูค�ำสอน 6 มีการส่งเสริมให้ครูค�ำสอนมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น 7 มีการส่งเสริมให้ครูค�ำสอนได้ไตร่ตรอง ร�ำพึง สวดภาวนาอย่างสม�่ำเสมอ

จากตารางที่ 5 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 5 มีตัวแปรจ�ำนวน 7 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .571-.683 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบ

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .594 .592 .571

ที่ 5 ที่ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับการเสริม สร้างชีวิตภายใน ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อองค์ประกอบ นี้ว่า “การเสริมสร้างชีวิตจิต”

ตารางที่ 6 องค์ประกอบที่ 6 ที ่ ตัวแปร 1 มีการจัดตั้งกลุ่มครูค�ำสอน ในระดับ เขตการปกครอง / สังฆมณฑล 2 มีการจัดตั้งกลุ่มครูค�ำสอน ในระดับโรงเรียน 3 มีการสร้างความตระหนักถึงคุณค่า / ประโยชน์ร่วมกันภายใน กลุ่มครูค�ำสอน 4 มีการจัดตั้งกลุ่มครูค�ำสอนในระดับชาติ / ประเทศ

จากตารางที่ 6 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 6 มีตัวแปรจ�ำนวน 4 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .563-.634 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบที่

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .634 .568 .566

.563

6 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่ม ครูค�ำสอนในระดับต่างๆ และความตระหนัก ถึงคุณค่าภายในกลุ่ม ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อองค์ประ กอบนี้ว่า “การจัดตั้งกลุ่มครูค�ำสอน”

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

143


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

ตารางที่ 7 องค์ประกอบที่ 7 ที ่ ตัวแปร น�้ำหนัก องค์ประกอบ 1 มีการวางแผนอัตราก�ำลังครูค�ำสอนอย่างเป็นระบบ .614 2 มีการพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการงานค�ำสอน .591 3 มีการวางแผนงานค�ำสอนอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง .590 4 มีการพัฒนาหลักสูตรการสอนค�ำสอนให้สอดคล้องกับความต้อง .562 การขององค์กรและครูค�ำสอน 5 มีการพัฒนาหลักสูตรการสอนค�ำสอนให้สอดคล้องกับการ .550 ด�ำเนินชีวิตในสังคมไทย

จากตารางที่ 7 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 7 มีตัวแปรจ�ำนวน 5 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .550-.614 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบที่

7 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับการวางแผน อัตราก�ำลังและวางแผนงาน การพัฒนาโครง สร้างและหลักสูตร ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อองค์ประ กอบนี้ว่า “การวางแผนพัฒนา”

ตารางที่ 8 องค์ประกอบที่ 8 ที ่ ตัวแปร 1 มีห้องท�ำงาน / ห้องศาสนา / ห้องค�ำสอน / ห้องจิตตาภิบาล ให้ครูค�ำสอนใช้ในการท�ำงานค�ำสอน 2 สถานที่ท�ำงานของครูค�ำสอน มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ 3 สถานที่ท�ำงานของครูค�ำสอน มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ 4 สถานที่ท�ำงานของครูค�ำสอน มีความสงบ และปลอดภัย

จากตารางที่ 8 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 8 มีตัวแปรจ�ำนวน 4 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .556-.858 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบที่ 144 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .858 .852 .728 .556

8 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับสถานที่ท�ำงาน สิ่งอ�ำนวยความสะดวก และสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า “สถานที่ท�ำงาน”


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ตารางที่ 9 องค์ประกอบที่ 9 ที่ ตัวแปร น�้ำหนัก องค์ประกอบ 1 ผู้บริหารระดับเขตการปกครอง / สังฆมณฑล ก�ำหนดนโยบาย เป้าหมาย .693 และทิศทาง งานค�ำสอน ที่ชัดเจน เป็นไปได้ สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหาร ระดับชาติ /พระศาสนจักรท้องถิ่น 2 ผู้บริหารระดับโรงเรียน ก�ำหนดนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางงานค�ำสอนที่ชัดเจน .666 เป็นไปได้ สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารระดับ เขตการปกครอง / สังฆมณฑล และนโยบายของผู้บริหารระดับชาติ / พระศาสนจักรท้องถิ่น 3 ผู้บริหารระดับชาติ / พระศานจักรท้องถิ่น ก�ำหนดนโยบาย เป้าหมาย และทิศทาง .660 งานค�ำสอนที่ชัดเจน เป็นไปได้ 4 ผู้บริหารทุกระดับ ประกาศนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางงานสอนค�ำสอนให้ .588 บุคลากรทุกคนรับทราบร่วมกัน

จากตารางที่ 9 พบว่า องค์ประกอบ ที่ 9 มีตัวแปรจ�ำนวน 4 ตัวแปร มีค่าน�้ำหนัก ตัวแปรในองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .588-.693 เมื่อพิจารณาตัวแปรทั้งหมดในองค์ประกอบ ที่ 9 ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับการก�ำหนด นโยบาย เป้าหมาย และทิศทางงานค�ำสอน ในระดับต่างๆ ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อองค์ประกอบ นี้ว่า “การก�ำหนดนโยบาย เป้าหมาย และ ทิศทางงานค�ำสอน”

2. รูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนใน โรงเรียนคาทอลิก รูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรง เรียนคาทอลิก ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน รูปแบบการ พัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก จึงเป็น ความสัมพันธ์ของพหุองค์ประกอบ ตามสมมติฐานการวิจัย แสดงดังแผนภูมิที่ 2

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

145


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

แผนภูมิที่ 2. แสดงรูปแบบความสัมพันธ์ของการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก จากแผนภูมิที่ 2 พบว่า รูปแบบการ พัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก เป็น ความสัมพันธ์ของพหุองค์ประกอบ กล่าวคือ องค์ประกอบด้านปัจจัยแวดล้อม ซึ่งประกอบ ด้วย 1) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ 2) การจัด กิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา 3) ผู้บริหาร โรงเรียน 4) การเสริมสร้างชีวิตจิต 5) การ วางแผนพัฒนา 6) สถานที่ทำ�งาน และ 7) การ กำ�หนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทางงานคำ�สอน มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ องค์ ป ระกอบด้ า นทั ก ษะ ความสามารถของครู คำ � สอน ซึ่ ง ประกอบ ด้วย 1) ปัจจัยภายในตัวครูค�ำ สอน 2) การจัด ตั้งกลุ่มครูคำ�สอนในระดับสูงและในทิศทาง

146 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เดียวกัน 3. ผลการยืนยันรูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก ผลการยืนยันรูปแบบการพัฒนาครู คำ � สอนในโรงเรี ย นคาทอลิ ก ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เห็ น สอดคล้ อ งกั น ว่ า รู ป แบบการพั ฒ นา ครู คำ � สอนในโรงเรี ย นคาทอลิ ก มี ค วามถู ก ต้ อ งครอบคลุ ม (Accuracy Standards) เหมาะสม (Propriety Standards) เป็นไปได้ (Feasibility Standards) และเป็ น ประ โยชน์ (Utility Standards) รูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก จึงมีความ


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ตามสมมติฐานการวิจัย นอกจากนี้ ผลการวิพากษ์รูปแบบ การพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก ใน งานชุมนุมครูค�ำ สอนระดับชาติ ครั้งที่ 4 โดย ครูคำ�สอนผู้เข้าร่วมการวิพากษ์ จำ�นวน 57 คน ครูค�ำ สอนเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการ พั ฒ นาครู คำ � สอนในโรงเรี ย นคาทอลิ ก มี ความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ สรุปผลการวิจัย 1. องค์ ป ระกอบการพั ฒ นาครู คำ � สอนในโรงเรี ย นคาทอลิ ก เป็ น พหุ อ งค์ ประกอบ มี 9 องค์ประกอบ คือ 1) ค่าตอบ แทนและสวัสดิการ 2) ปัจจัยภายในตัวครู คำ�สอน 3) การจัดกิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา 4) ผู้บริหารโรงเรียน 5) การเสริม สร้างชีวิตจิต 6) การจัดตั้งกลุ่มครูคำ�สอน 7) การวางแผนพัฒนา 8) สถานที่ทำ�งาน และ 9) การกำ�หนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง งานคำ�สอน 2. รู ป แบบการพั ฒ นาครู คำ � สอน ในโรงเรียนคาทอลิก เป็นความสัมพันธ์ของ พหุองค์ประกอบ โดย องค์ประกอบด้านปัจจัย แวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย 1) ค่าตอบแทนและ

สวัสดิการ 2) การจัดกิจกรรม อบรม ประชุม สัมมนา 3) ผู้บริหารโรงเรียน 4) การเสริม สร้างชีวิตจิต 5) การวางแผนพัฒนา 6) สถาน ที่ทำ�งาน 7) การกำ�หนดนโยบาย เป้าหมาย ทิศทางงานคำ�สอน มีความสัมพันธ์กับองค์ ประกอบด้านทักษะความสามารถของครูคำ� สอน ซึ่งประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายในตัวครู คำ�สอน 2) การจัดตั้งกลุ่มครูคำ�สอน ในระดับ สูงและในทิศทางเดียวกัน 3. ผลการยืนยันรูปแบบการพัฒนา ครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการพัฒนาครู คำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก มีความถูกต้อง ครอบคลุ ม เหมาะสมเป็ น ไปได้ และเป็ น ประโยชน์ อภิปรายผล ผลที่ ไ ด้ จ ากการวิ จั ย พบว่ า องค์ ประกอบการพั ฒ นาครู ค�ำสอนในโรงเรี ย น คาทอลิก ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบที่ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้เพราะในการพัฒนาครู ค�ำสอนในโรงเรียนคาทอลิกนั้น จ�ำเป็นที่จะ ต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกัน ทั้งในด้านกระบวนการ วิธีการ ปัจจัยภายในตัวครูค�ำสอน ปัจจัย

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

147


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

ภายในและภายนอกโรงเรี ย นคาทอลิ ก ซึ่ ง ความสอดคล้องกับ ขบวนการอบรมครูค�ำ สอนที่ ส มณกระทรวงเพื่ อ การประกาศพระ วรสารสู่ปวงชน (ส�ำนักงานค�ำสอนระดับชาติ และศู น ย์ ค�ำสอนอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ, 2537 : 48-73) ที่ก�ำหนดให้มีการศึกษาอบรม ไว้ว่า 1) การอบรมที่เหมาะสมทั้งการพัฒนา บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยทั้งครบ และการ อบรมให้เข้ากับงานเฉพาะ 2) การมีเอกภาพ และความกลมกลื น ในเรื่ อ งบุ ค ลิ ก ภาพ 3) การมีวุฒิภาวะแบบมนุษย์ในด้านความเป็น มนุษย์ ด้านวิชาชีพจิตตารมณ์แห่งการเสีย สละ ด้านความเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของครูค�ำ สอน การมีมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถที่จะ ติดต่อสื่อสาร ลักษณะเป็นผู้น�ำ สมดุลในเรื่อง วิจารณญาณ 4) การมีชีวิตจิตที่ลึกซึ้ง 5) การ อบรมด้านข้อความเชื่อ มานุษยวิทยา และการ อบรมวิธีการสอน 6) การเสริมสร้างจิตตารมณ์ ด้านการอภิบาล 7) ความกระตือรือร้นแบบผู้ แพร่ธรรม 8) การนอบน้อมต่อพระศาสนจักร 9) ผู้อบรม คือ ผู้อ�ำนวยการศูนย์ค�ำสอน พระ สังฆราชและพระสงฆ์ เป็นผู้อบรม ต้องสนใจ ครูค�ำสอน 10) การอบรมระยะเริ่มต้น/การ อบรมขั้นพื้นฐาน 11) การอบรมอย่างต่อเนื่อง 12) วิธีการและโครงสร้างของการอบรม การ สร้างและพัฒนาโรงเรียนฝึกอบรม ควรจัดหา

148 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ต�ำรับต�ำรา โสตทัศนะ วัสดุ และอุปกรณ์การ สอนต่างๆ มีการรวมตัวกันของครูค�ำสอนใน รูปแบบต่างๆ และสอดคล้องกับองค์ประกอบ การอภิบาลครูค�ำสอนของสมณกระทรวงว่า ด้วยเรื่องพระสงฆ์ (วีระ อาภรณ์รัตน์, 2549: 297-298) ที่ประกอบด้วย 1) การส่งเสริม กระแสเรียก 2) การจัดหาครูค�ำสอนมากขึ้น 3) การกระจายครูค�ำสอนให้สมดุลขึ้น 4) การ สนับสนุนให้มีจิตตาภิบาล (Animator) ในเขต ต่างๆ และวัด 5) การจัดระบบการอบรมอย่าง เหมาะสม 6) การใส่ใจเรื่องความต้องการ ของครูค�ำสอนและกลุ่มครูค�ำสอนทั้งด้านส่วน ตัวและจิตใจ 7) การประสานงานระหว่างครู ค�ำสอนกับผู้ท�ำงานอภิบาลด้านอื่นๆ ในชุมชน และสอดคล้องกับแนวคิดของณรงค์ แสงทอง (2554) ที่เห็นว่า องค์ประกอบในการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล ประกอบองค์ประกอบต่างๆ คือ 1) การพัฒนารายบุคคล (Individual Development) 2) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) 3) การบริหาร ผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) 4) การพัฒนาองค์การ (Organization Development) และสอดคล้องกับแนวคิด เกี่ยวกับปัจจัยในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของคิลเลียน(Killian) (มานิสงค์ ปฐมวิริยวงศ์, 2550 : 31-34) 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยน�ำ


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

เข้ า (Input) ทั้ ง ปั จ จั ย ภายในองค์ ก รและ ปัจจัยภายนอกองค์กร 2) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ทั้งการพัฒนาตนเอง การศึกษา การอบรม การหมุนเวียนงาน การออกแบบ งานใหม่ การพัฒนาองค์กร และ 3) ปัจจัย ออก (Output) ทั้งความเติบโตในสาขาอาชีพ และการเพิ่มผลิตภาพขององค์กร และปัจจัย ที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตาม แนวคิดของ วรารัตน์ เขียวไพรี (2551 : 19) ซึ่งประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมภายนอก องค์การ 2) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ โครงสร้างองค์การ ทรัพยากรบุคคล 3) ปัจจัยพื้นฐานของบุคคล ได้แก่ ค่านิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ การเรียนรู้ รวมถึง กระบวนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งประกอบด้วย 1) การอบรม (Training) เพิ่มความรู้ ทักษะ 2) การพัฒนา (Development) เป็นกระบวนการระยะยาว เพื่อเพิ่ม ศักยภาพ และประสิทธิผลของงาน 3) การ เรียนรู้ (Learning) 4) การให้การศึกษา (Education) ทัง้ ในระบบและนอกระบบ การพัฒนา ทรัพยากรบุคคล (HRD) เป็นวิธีการบูรณาการ เพื่ อ การเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรมการท�ำงาน โดยใช้เทคนิค กลยุทธ์ หรือวิธีการเรียนรู้หลาก หลาย และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มีสาระบัญญัติ

ที่ต้องการให้มีการสนับสนุนการท�ำงานของครู ในด้านปัจจัยต่างๆ ทั้งในด้านขวัญ ก�ำลังใจ ทรัพยากรทางการศึกษา และสื่อเทคโนโลยี ทางการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษามีครูและ สิ่งที่จะสนับสนุนครูให้ท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย มาตรา 55 ก�ำหนดให้มีกฎหมาย ว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการและ สิทธิประโยชน์เกื้อกูล มาตรา 58 ให้มีการระ ดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ และทรัพย์สิน และมาตรา 63 - 65 ให้มี การจัดสรร ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการผลิต การพัฒนา คลื่นความถี่ สื่อตัวน�ำ และการ สื่อสารในรูปแบบอื่น เพื่อการศึกษา มีแบบ เรียน ต�ำราหนังสือวิชาการ สิ่งพิมพ์อื่น วัสดุ อุ ป กรณ์ และเทคโนโลยี เ พื่ อ การศึ ก ษาอื่ น รวมทั้งให้พัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและ ผู้ใช้ให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ ปานจันทร์ สุริยะอัมพรกุล (2549 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาแนวทางการพัฒนา ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและหัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 246 คน พบว่า แนวทางในการพัฒนาบุคลากรครู คือ ผู้บริหาร โรงเรียนควรกระตุ้นให้บุคลากรครูในโรงเรียน มีความกระตือรือร้น มองเห็นความส�ำคัญ

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

149


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

และความจ�ำเป็ น ในการพั ฒ นาบุ ค ลากรครู รวมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรครูของโรงเรียน ได้เข้ารับการพัฒนาตามความต้องการของตน นอกจากนี้โรงเรียนควรมีการก�ำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนการด�ำเนิน การพัฒนาบุคลากรครูให้มีความชัดเจน และ สามารถน�ำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง และผลการ ศึกษาของ สิริลักษณ์ สามารถ (2554 : บทคัด ย่อ) เรื่องโปรแกรมพัฒนาครูเพื่อการปฏิรูป การเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ที่ พ บว่ า เงื่ อ นไขความส�ำเร็จ ในการด�ำเนิน งานได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีภาวะผู้น�ำ ทางวิ ช าการค�ำนึ ง ถึ ง หลั ก การเรี ย นรู ้ ผู ้ ใ หญ่ นิเทศก�ำกับติดตามสนับสนุนการปฏิบัติงาน เสริมพลังอ�ำนาจ และส่งเสริมประสิทธิภาพใน ตนอย่างอย่างเอาจริงเอาจัง สม�่ำเสมอและ ต่อเนื่อง และวีระ อรัญมงคล และรัชฎา ธิโสภา (2549 : 70) ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ พบว่า รูปแบบการพัฒนา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นสถาบั น เทคโนโลยี พ ระ จอมเกล้าพระนครเหนือ ควรมีนโยบายหลัก ของการพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ โ ดยพั ฒ นา บุคลากรอย่างต่อเนือ่ ง หาความจ�ำเป็นของการ พัฒนา การวางแผนพัฒนา ทั้งนี้ควรค�ำนึงถึง

150 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ความคิดเห็นของบุคลากรด้วย ข้อเสนอแนะเพื่อนำ�ผลวิจัยไปใช้ 1. ควรมีระบบค่าตอบแทนที่ชัดเจน เหมาะสม ยุติธรรม เท่าเทียมกันทั่วประเทศ มี การมอบสวัสดิการพื้นฐานที่เหมาะสมจำ�เป็น ต่อการดำ�เนินชีวิตและสวัสดิการพิเศษเมื่อครู คำ�สอนเจ็บป่วย/เสียชีวิต มีการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของครูคำ�สอนให้สมดุล มี กองทุนช่วยเหลือครูคำ�สอนและครอบครัว มี การสร้างแรงจูงใจ โดยการมอบผลประโยชน์ อื่นๆ ทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ มีการกำ�หนด เส้ น ทางความก้ า วหน้ า ในสายอาชี พ การ พั ฒ นาสายอาชี พ ครู คำ � สอนที่ ชั ด เจนมี ก าร จั ด สรรทุ น /งบประมาณที่ เ พี ย งพอสำ � หรั บ การฝึกอบรมพัฒนาครูคำ�สอน และการทำ�งาน คำ�สอน รวมถึงมีการสร้างระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่น น้อง และมีครูพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา/วิญญาณรักษ์ สำ�หรับครูคำ�สอน 2. ควรมี ก ารเสริ ม สร้ า งให้ ครู คำ � สอนมีความตั้งใจ เสียสละ อุทิศตนเพื่อส่วน รวม มีความรัก ความเชื่อ วางใจ และมีความ ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ดำ�เนินชีวิตตามแบบอย่าง ของพระเยซูเจ้า มคี วามรัก ศรัทธาในอาชีพและ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรับผิด ชอบในหน้าที่การงาน มีชีวิตจิต/จิตตารมณ์ที่


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

ดี มีทัศนคติที่ดี ตระหนักถึงความสำ�คัญของ การศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3. ควรมี ก ารจั ด กิ จ กรรม อบรม ประชุม สัมมนาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อครู คำ�สอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูคำ�สอนมีการ พัฒนาทั้งครบ ทั้งการประชุม อบรม สัมมนา ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านการปฏิบัติงาน การจั ด การ ด้ า นวิ ช าชี พ การสอนคำ � สอน การใช้ แ ละผลิ ต สื่ อ เทคโนโลยี ส ารสนเทศ ด้านพระคัมภีร์ ข้อความเชื่อ ชีวิตจิต การจัด กิจกรรม ทัศนศึกษาและกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็น ประโยชน์ และเพื่อกระตุ้นจูงใจครูคำ�สอนให้ มีพลังในการทำ�งาน สร้างสรรค์งาน บรรลุตาม เป้าหมาย และเป็นไปในทิศทางที่ผู้บริหาร และพระศาสนจักรคาทอลิกต้องการ 4. ผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย นควรให้ ค วาม สำ�คัญ ส่งเสริม สนับสนุนครูคำ�สอน/งานคำ� สอน มีความเข้าใจในชีวิตครูค�ำ สอน มีภาวะ ผู้นำ�และมีระบบการบริหารงานที่ดี มีจิตตารมณ์ด้านคำ�สอน เปิดโอกาสให้ ครูคำ�สอนมี ส่วนร่วมในการกำ�หนดเป้าหมายและการวาง แผนงานคำ�สอน กระจายอำ�นาจความรับผิด ชอบให้ครูคำ�สอน กำ�หนดภาระงานให้ครูคำ� สอนอย่างสมดุล สอดคล้องกับความรู้และ ความสามารถของ ครูค�ำ สอน ให้ความร่วม มื อ กั บ ศู น ย์ คำ � สอนในการพั ฒ นาครู คำ � สอน

และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 5. ควรมีการส่งเสริมให้ครูค�ำสอน ได้เพิ่มประสบการณ์กับพระเจ้า ได้ไตร่ตรอง ร�ำพึง สวดภาวนา และพูดคุยกับพระเจ้าอย่าง สม�่ำเสมอ มีการเสริมสร้างชีวิตจิตให้ครูค�ำ สอนอย่างต่อเนื่อง และให้ ครูค�ำสอนได้เข้า เงียบ/ฟื้นฟูจิตใจอย่างต่อเนื่อง 6. ควรมี ก ารจั ด ตั้ ง กลุ่ ม ครู คำ � สอน ในระดั บ โรงเรี ย น ระดั บ สั ง ฆมณฑล และ ระดับชาติ/ประเทศ รวมถึงควรมีการสร้าง ความตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ร่วมกัน ภายในกลุ่มครูคำ�สอน 7. ควรมีการวางแผนอัตรากำ�ลังครู คำ�สอน และการวางแผนงานคำ �สอนอย่าง เป็นระบบและต่อเนื่อง มีการพัฒนาโครงสร้าง การบริหารจัดการงานคำ�สอน รวมถึงมีการ พัฒนาหลักสูตรการสอนคำ�สอนให้สอดคล้อง กับความต้องการขององค์กร ครูคำ�สอน และ การดำ�เนินชีวิตในสังคมไทย 8. ควรมีสถานที่ทำ�งาน/ห้องทำ�งาน /ห้องศาสนา/ห้องคำ�สอน/ห้องจิตตาภิบาล ที่ มีความสงบเงียบ ปลอดภัย มีสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่ อ การปฏิ บั ติ ง าน และมี สิ่ ง อำ�นวยความสะดวกต่างๆ ให้ครูคำ�สอนใช้ใน การทำ�งานคำ�สอน 9. ผู้บริหารระดับชาติ/พระศาสน-

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

151


รูปแบบการพัฒนาครูค�ำ สอนในโรงเรียนคาทอลิก

จักรท้องถิ่น ผู้บริหารระดับเขตการปกครอง/ สังฆมณฑล และผู้บริหารระดับโรงเรียน ควรมี การกำ�หนดนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางงาน คำ�สอนที่ชัดเจน เป็นไปได้และสัมพันธ์สอด คล้ อ งกั น ในแต่ ล ะระดั บ รวมทั้ ง มี ก ารประ กาศนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางงานสอน คำ�สอนให้บุคลากรทุกคนทุกระดับรับทราบ ร่วมกัน ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึ ก ษา การทดลองใช้ รู ป แบบการพัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก กับโรงเรียนคาทอลิกของสังฆมณฑลและคณะ นักบวช เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป 2. ควรศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก ในประเด็ น ที่ เกี่ยวข้องกับผู้นำ�และภาวะผู้นำ�ที่ส่งผลต่อการ พัฒนาครูคำ�สอนในโรงเรียนคาทอลิก 3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบการพัฒนาครูคำ�สอนกับประสิทธิผล ของการจัดการศึกษาแบบคาทอลิก 4. ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาครู คำ�สอนของวัดคาทอลิก

152 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

บรรณานุกรม คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสน- ธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม. 2553. คู่มือแนะแนว การสอน คำ�สอนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. ณรงค์วิทย์ แสนทอง. 2554. องค์ประกอบ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เข้าถึงได้จาก http://www. peoplevalue.co.th/index. php?lay (23 พฤศจิกายน 2554). ปานจันทร์ สุริยะอัมพรกุล. 2549. การ พัฒนาบุคลากรครูในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานใกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการ ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. มานิสงค์ ปฐมวิริยวงศ์. 2550. กระบวนการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใน องค์กร. วารสารพัฒนาเทคนิค ศึกษา 19,62 (เมษายน-มิถุนายน 2550), 30.


ประเสริฐ อินทร์รักษ์ และลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

วรารัตน์ เขียวไพรี. 2551. การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎ ธนบุรี. วีระ อรัญมงคล และ รัชฎา ธิโสภา. 2549. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในสถาบันอุดมศึกษ : กรณี ศึกษาสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 2,1. วีระ อาภรณ์รัตน์ และคณะ. 2006. คู่มือ แนะแนวการสอนคำ�สอนใน ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. มปท. สภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย. 2000. ทิศทางงานอภิบาล คริสตศักราช 2000 ของพระ ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย สำ�หรับ ค.ศ. 2000-2010. มปท. ________. 2010. ทิศทางงานอภิบาล คริสตศักราช 2010-1015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. Cronbach, Lee J. 1984. Essentials of psychological Testing. 4 thed. New York: Harper & Row Publishers.

Eisner,E. 1976. Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in education evaluation. Journal of Aesthetic Education 39, 2. Killian, Roy A. 1965. Human Re source Management. New York: Mc Graw-Hill. Krejcie, R.V., and P.W. Morgan. 1970. Educational and Psy chological Measurement. New York: Harper & Row. Likert, Rensis. 1967. The Human Organization : Its Manage ment and Values. New York: McGraw – Hill. Madaws, G.F., M.S. Scriven, and D.I. Stufflebeam. 1983. Evalua tion Education Model View point on Education Human Service Evaluation. Boston: Kluwer Nighoff.

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2013/2556

153


วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Sa e n g th a m Co lle g e Jo u rn a l

ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................... ที่อยู่ (สำ�หรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน.................................... แขวง/ตำ�บล...................................................เขต/อำ�เภอ.................................................. จังหวัด..................................................................รหัสไปรษณีย์...................................... โทรศัพท์.....................................................................โทรสาร......................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท (สมัครสมาชิกหรือต่ออายุ 3 ปี รับกระเป๋าผ้าแสงธรรม...ฟรี 1 ใบ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556)

ชำ�ระเงินโดยวิธี ธนาณัติ (สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ”) ปณ. อ้อมใหญ่ 73160 โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ Fax. 0-2429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม....................................................................................................... เลขที่.........................ถนน.............................แขวง/ตำ�บล..................................... เขต/อำ�เภอ............................จังหวัด...............................รหัสไปรษณีย์...................

.............................................(ลงนามผู้สมัคร) ........./............./.......... (วันที่)

สมัครสมาชิกหรือต่ออายุ 3 ปีขึ้นไป รับฟรีกระเป๋าผ้า 1 ใบ ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2556 เท่านั้น ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่ โทรสาร 0 2 429 0819


รูปแบบและเงื่อนไขการส่งต้นฉบับบทความ

www.saengtham.ac.th/journal

1. การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows หรือซอฟท์แวร์อื่นที่ ใกล้เคียงกัน พิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 30 บรรทัด ต่อ 1 หน้า TH SarabunPSK ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ 2. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ตำ�แหน่ง ทางวิชาการ (ถ้ามี) E-mail หรือโทรศัพท์ หากเป็นวิทยานิพนธ์ ต้องมีชื่อและสังกัดของอาจารย์ที่ปรึกษา ด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. ทุกบทความจะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract จะต้องพิมพ์ค�ำ สำ�คัญในบทคัดย่อภาษาไทย และ พิมพ์ Keywords ใน Abstract ของบทความด้วย 5. บทความวิจัยความยาวไม่เกิน 12 หน้า บทความวิชาการความยาวไม่เกิน 8 หน้า (รวมบรรณานุกรมแล้ว) 6. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 7. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามลำ�ดับตัวอักษร) 8. บทความวิจัยควรมีหัวข้อดังนี้ ชื่อเรื่องบทความวิจัย(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้เขียนพร้อมข้อมูล ส่วนตัวของทุกคน(รายละเอียดตามข้อ 3) บทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract ความสำ�คัญของเนื้อหา วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ ขอบเขตการวิจัย นิยามศัพท์(ถ้ามี) วิธีการดำ�เนิน การ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรม/References 9. ค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมิน จำ�นวน 2,400 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขา สามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสาร การโอนมาที่ Fax. 0-2429-0819 หรือที่อีเมล cheat_p@hotmail.com) ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวผู้ส่ง บทความเป็นผู้รับผิดชอบ และจะไม่ได้รับคืนในทุกกรณี 10. กองบรรณาธิก ารนำ�บทความที่ท่านส่งมาเสนอต่ อ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ พื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพความเหมาะสม ของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียนจะต้อง ดำ�เนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 15 วันนับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ หากท่าน ต้องการสอบถามกรุณาติดต่อกับกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ โทรศัพท์ (02) 4290100 โทรสาร (02) 4290819 หรือ E-mail: cheat_p@hotmail.com


ขั้นตอนการจัดทำ�

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saesngtham College Journal

เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กอง บก. ตรวจรูปแบบทั่วไป

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข

ก้ไ อ้ งแ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

ไม่ผ่าน

ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ

แจ้งผู้เขียน

ไม่ต

แก้ไ

แจ้งผู้เขียน แก้ไข

จบ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.