วารสารวิชาการ
วิทยาลัยแสงธรรม
Saengtham College Journal
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
วัตถุประสงค์ 1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งในและนอก วิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น เจ้าของ บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ บาทหลวง เดชา อาภรณ์รัตน์ บรรณาธิการ บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช รศ.ดร.สมเจตน์ ไวยาการณ์ ผศ.ประเสริฐ วิเศษกิจ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ อาจารย์พรี พัฒน์ ถวิลรัตน์ อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ
ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม ในนามเลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย ในนามผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนา และวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล วิทยาลัยเซนต์เทเรซา ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มูลนิธิเซนต์คาเบรียล ดร.ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต อาจารย์ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน นางสาวจิตรา กิจเจริญ
ก�ำหนดเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก/รูปเล่ม : นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ พิสูจน์อักษร : อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม
วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม
ได้ผ่านการประเมินคุณภาพวารสาร จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) รอบที่ 3 (ปีพ.ศ.2558-2562)
โดยจัดอยู่ในกลุ่ม 1
เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป
รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ
Editorial Advisory Board
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น�ำ้ เพชร, S.J. 2. ศ.กีรติ บุญเจือ 3. ศ.ดร.เดือน ค�ำดี 4. ศ.ดร.สมภาร พรมทา 5. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 6. รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช 7. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน 8. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล
Sophia University, Japan ราชบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 9. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
2. บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ 4. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์
ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นกรรมสิทธิข์ องวิทยาลัย แสงธรรม ห้ามน�ำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ �้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบ ของผูเ้ ขียนเท่านัน้
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ
(Peer Review) ประจำ�ฉบับ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. ศ.กีรติ บุญเจือ 2. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 3. รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช 4. ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทรักษ์ 5. ผศ.ดร.ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม 6. ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์ 7. ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์ 8. ดร.อุบลวรรณ ส่งเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ 2. บาทหลวง ผศ.ดร.วุฒิชัย อ่องนาวา 3. บาทหลวง เจริญ ว่องประชานุกูล 4. บาทหลวง ดร.ธวัช สิงห์สา 5. บาทหลวง เคลาดิโอ แบร์ตุชอ 6. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ 7. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ 8. อาจารย์พรี พัฒน์ ถวิลรัตน์
ราชบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษาคาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ โดยส่งบทความมาที่ ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและ วัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 ม.6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผทู้ รงคุณวุฒทิ าง วิชาการเพือ่ ประเมินคุณภาพบทความว่าเหมาะสมส�ำหรับการตีพมิ พ์หรือไม่ หากท่านสนใจกรุณา ดูรายละเอียดรูปแบบการส่งต้นฉบับได้ท่ี www.saengtham.ac.th/journal
บทบรรณาธิ ก าร Saengtham college Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
ในนามกองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอส่งความสุขและพระพรของพระเป็นเจ้ามาสู่ ผูอ้ า่ นทุกท่าน เนือ่ งในโอกาสคริสตมาสและปีใหมทีม่ าเยือนอีกครัง้ ส่วนเนือ้ หาในฉบับด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ประกอบไปด้วย บทความวิชาการจ�ำนวน 1 เรือ่ งได้แก่ เรือ่ ง “ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015” โดย บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บทความวิจยั จ�ำนวน 10 เรือ่ ง จากบุคคลภายนอกจ�ำนวน 7 เรือ่ งได้แก่ “การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก” โดย สุขสกล วลัญตะกุล เรื่อง “การพัฒนา รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดย ปิยะนาถ ด่านกุล เรื่อง “การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของ คณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน” โดย นัยนา จินจิระสกุล เรือ่ ง “การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษา ไทย และความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL” โดย กชกร เสมาทอง เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยฝ่ายวิญญาณกับ ความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษา ในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ กรณีศึกษาวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์” โดย สกุณ ี เกรียงชัยพรและสาณุรกั ษ์ ฟ่องวาริน เรือ่ ง “ภควันตภาพ วิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” โดย จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ เรื่อง “แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพัน ต่อองค์การของครูโรงเรียน ในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย” โดย คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล จาก บุคคลากรภายในจ�ำนวน 3 เรือ่ งได้แก่ เรือ่ ง “ข้าแต่พระบิดา รากฐานแห่งการอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน โดย วิทวัฒน์ แก้วแหวน เรื่อง “แนวทางการอภิบาลเพื่อการพัฒนาคุณธรรม ที่โดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียน คาทอลิก สั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ฝ่ า ยการศึก ษาอบรม กลุ ่ ม คลั ส เตอร์ ก รุ ง เทพฯ” โดย อานุ ภ าพ วงษ์ แ ก้ ว เรื่อง “วิถีชีวิตเมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศึกษา: แขวงหัวไผ่” โดย อิทธิพล หางสลัด สุดท้ายนี ้ กองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ขอขอบพระคุณผูท้ รงคุณวุฒทิ กุ ท่าน ทีก่ รุณา ให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ เพื่อให้วารสารของเรามีคุณภาพ เหมาะสมต่อการเผยแพร่และเป็นแหล่ง ข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยาและการศึกษาคาทอลิกต่อไป บรรณาธิการ ธันวาคม 2560
ศีลกำ�ลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์
ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทย ค.ศ. 2015
C onfirmation and the Role of Christ’s Disciples According to Decree of the Plenary Council of the Catholic Church in Thailand A.D. 2015.
บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลราชบุรี * คณบดีคณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม Rev.Charoen Vongprachanukul * Reverend in Roman Catholic Church, Ratchaburi Diocese. * Dean, Faculty of Religious, Saengtham College.
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
บทคัดย่อ
2
ศีลก�ำลังเป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิป์ ระการหนึง่ ในศีลศักดิส์ ทิ ธิ ์ 7 ประการ ของคริสตศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ พิธีกรรมนี้มีความสลับซับซ้อน บาทหลวงและบรรดานักเทววิทยาด้าน อภิบาลยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ และแนวทางการปฏิบตั ยิ งั มีความแตกต่างกันไปในแต่ละชุมชนแห่งความ เชื่อ สนามของความคิดเห็นที่โต้แย้งกันแยกเป็น 2 ฝ่าย แนวคิดแรก ถือว่าศีลก�ำลังเป็นส่วนหนึง่ ของศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการเริม่ ต้นชีวติ คริสตชน จึงควรให้รบั ศีลนีใ้ นเวลาเดียวกันกับทีร่ บั ศีลล้างบาป หรือมิฉะนัน้ ก็พร้อม กับการรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ดังที่เคยเป็นประเพณีทั่วไปที่ปฏิบัติกัน เป็นเวลาหลายปีของคริสตชนคาทอลิกยุคแรกเริม่ แนวคิดทีส่ อง มีความ คิดเห็นว่าศีลก�ำลังเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของการบรรลุวุฒิภาวะ เป็นการก้าว ผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงเชื่อว่าการรับศีลนี้ในภายหลังมาก เท่าใดยิง่ เป็นประโยชน์สำ� หรับผูร้ บั ศีล เนือ่ งจากจะมีความพร้อมในด้าน วุฒิภาวะ ความรับผิดชอบ พร้อมส�ำหรับการเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของ พระศาสนจักร และยังเป็นโอกาสมอบพันธกิจให้กา้ วออกไปสูโ่ ลก ความ เข้าใจที่สับสนเกี่ยวกับศีลก�ำลังทุกวันนี้คือ ยังไม่มีสิ่งบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้จะมีพัฒนาการต่อไปอย่างไรในอนาคต จุดมุ่งหมายของบทความนี้มิใช่เพื่อสนับสนุนแนวคิดด้านใดด้าน หนึ่ง แต่เป็นความพยายามเชิญชวนให้ไตร่ตรองถึงสถานการณ์เกี่ยวกับ การอภิบาลศีลก�ำลังในปัจจุบัน เพื่อให้บิดามารดา ผู้เตรียมตัวรับศีล ผู้อภิบาลและผู้เกี่ยวข้อง มีโอกาสคิดพิจารณาเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ ประการนี้ พร้อมกับถามตนเองไปในเวลาเดียวกันว่า ศีลก�ำลังมีความ หมายอะไรส�ำหรับพวกเขาในเวลานี้ และจะมีอิทธิพลต่อวิถีการด�ำเนิน ชีวิตของพวกเขาอย่างไร และศีลก�ำลังจะบังเกิดผลจริงในชีวิตของแต่ ละคนได้อย่างไรในฐานะทีเ่ ป็น “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศข่าวดี ใหม่ ” ตามกฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ใน ประเทศไทย ค.ศ. 2015 หัวใจของการประกาศข่าวดีนั้นเป็นเรื่องที่
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
เกี่ ย วข้ อ งกั บ พั น ธกิ จ ของศี ล ก� ำ ลั ง โดยตรง เนื่ อ งจากศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ เป็น “ศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อการประกาศข่าวดีใหม่” การรับอัตลักษณ์ของ ตนเองผ่านประสบการณ์บุตรสุดที่รักของพระบิดาในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่ง การเริ่มต้นชีวิตคริสตชน การค้นพบและซึมซับด้วยความรักที่สองคือ พระศาสนจักรสากล น�ำไปสู่การผูกมัดตนเองของคริสตชนที่เป็นผู้ใหญ่ อาศัยการกลับใจอย่างต่อเนือ่ ง ศีลก�ำลังจึงเป็นพลังผลักดันทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ เพื่อเป็นศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่ ตามกระแสเรียก ของตน อาศัยการน�ำทางของพระจิตเจ้า ค�ำส�ำคัญ:
1) ศีลศักดิ์สิทธิ์ 2) ศีลก�ำลัง 3) ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน 4) การประกาศข่าวดีใหม่ 5) ศิษย์พระคริสต์
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
3
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
Abstract
4
Confirmation is one of the seven sacraments in the Roman Catholic Church. The history of this ritual is a particularly tortuous one. Individual priests and pastoral theologians have different opinions about this sacrament, and the practice varies from one parish to another. The field of discussion is divided into two primary camps: those who consider Confirmation as a sacrament of initiation, and therefore hold that it should be conferred either at Baptism or together with one’s First Communion; indeed, this was the general custom among Catholics for many years in early Church. The second argument considers Confirmation as a sacrament of maturity: the sacrament marking the threshold between childhood and adulthood, of development as a mature Christian, of responsibility, of acceptance as a full member of the Church, and as a kind of commission for entry in to the world, and therefore they believe that the later the sacrament is administered, the better. Adding to the confusion surrounding confirmation today is the fact that there is no clear indication of how this sacrament will evolve in the immediate future. My intention in this article is not to support any side of arguments, but an invitation to reflect on the situation of pastoral ministry for confirmation nowadays. The parents, candidates, priests, religious and the people involved have opportunity to think about this sacrament, and to ask themselves at the same time: what confirmation means for them today. And how confirmation might influence the
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
way in which ones lives, and how it might become a beneficial reality in their lives as Christ’s disciples living the New Evangelization according to the Decree of the Plenary Council of the Catholic Church in Thailand A.D. 2015. The heart of the evangelization is implicitly about the mission of Confirmation as a sacrament for the new evangelization. By the Sacrament of Christian Initiation, one receives the identity as a beloved son of the Father. Growing up in catholic background, one discovers and absorbs the second love which is the universal Church, and achieves Christian maturity by continual conversion. Confirmation is the most powerful force to be Christ’s disciples living the new evangelization according to the Call under the guidance of the Holy Spirit. Keywords:
1) Sacrament 2) Confirmation 3) Sacrament of Christian Initiation 4) New Evangelization 5) Christ’s Disciples
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
5
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกภาคที่ 2 เรื่องการเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกของพระคริสตเจ้า1 ตอนที่ 2 กล่าวถึงศีลศักดิ์สิทธิ์2 7 ประการของพระศาสนจักร ส�ำหรับบทความนี้ จะมุ่งพิจารณาเฉพาะเรื่องศีลก�ำลังซึ่งเป็นหนึ่ง ในศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ ในด้านความเข้าใจ ของนักวิชาการในปัจจุบัน และพระพรของศีล ศักดิ์สิทธิ์นี้ที่ส่งผลต่อการด�ำเนินชีวิตในฐานะ ของการเป็น “ศิษย์ของพระคริสต์ที่เจริญชีวิต ประกาศข่าวดีใหม่” 3 อย่างแท้จริง ส�ำหรับ ศีลศักดิ์สิทธิ์อีก 6 ประการ ได้แก่ ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท ศีลอภัยบาปและการคืนดี ศีลเจิม ผู ้ ป ่ ว ย ศี ล บรรพชา และศี ล สมรส เป็ น ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ พ ระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ให้ ก าร
รับรอง คริสตชนนิกายอื่นๆ ไม่ได้นับรวมศีล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ก ล่ า วมานี้ ทั้ ง หมดว่ า มี ที่ ม าจาก เจตนารมณ์ ข องพระเยซู เจ้ า โดยตรง ด้ ว ย เหตุผลว่าไม่ปรากฎหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจน ในพระคัมภีร์ ส่วนใหญ่จึงให้การยอมรับเพียง ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท ทั้งนี้ยังมีการใช้ ชื่อและขั้นตอนของพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป จากการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของคริสตชนในยุคแรกของนักวิชาการคาทอลิกพบว่า ใน กระบวนการของการรับเข้าเป็นคริสตชนนั้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่ส�ำคัญคือ ภายหลัง จากผ่านการเตรียมตัวด้วยระยะเวลายาวนาน 2 – 3 ปีแล้ว ผู้ที่สมัครเข้าเป็นคริสตชนจะได้ รับพิธีล้างด้วยน�้ำ ต่อด้วยการเจิมด้วยน�้ำมัน
ค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาค ภาคที่ 1 การประกาศยืนยันความเชื่อ (ข้อ 1-1065) ภาคที่ 2 การเฉลิมฉลองธรรมล�ำ้ ลึกของพระคริสตเจ้า (ข้อ 1066-1690) ภาคที ่ 3 ชีวติ ในพระคริสตเจ้า (ข้อ 1691-2557) ภาคที ่ 4 การภาวนา ของคริสตชน (ข้อ 2558-2865) อักษรย่อส�ำหรับอ้างอิงในภาษาอังกฤษ คือ CCC. 2 ศีลศักดิ์สิทธิ์ แปลจากภาษาอังกฤษว่า Sacrament ค�ำว่า “ศีล” ในที่นี้จึงมีความหมายเฉพาะในศาสนคริสต์โรมันคาทอลิกว่า ด้วยพิธีกรรม 7 อย่าง (จึงมิได้มีความหมายว่า “ข้อห้าม” ของค�ำว่า “ศีล” ในพุทธศาสนา) ค�ำว่า “ศีลศักดิ์สิทธิ์” ของคาทอลิก หมายถึง การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ อันเป็นเครื่องหมายภายนอกเพื่อแสดงออกถึงความสัมพันธ์ของศาสนิกชนกับ พระเจ้า เป็นเครือ่ งหมายถึงการประทานพระพรของพระเจ้า ในศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิก มีศลี ศักดิส์ ทิ ธิ ์ 7 ประการ ได้แก่ ศี ล ล้ า งบาป (Baptism) ศี ล ก� ำ ลั ง (Confirmation) ศี ล มหาสนิ ท (Eucharist) ศี ล อภั ย บาปและการคื น ดี (Confession) ศีลสมรส (Matrimony) ศีลบรรพชา (Oder) และศีลเจิมคนป่วย (Anointing of the Sick) แต่ละศีลศักดิ์สิทธิ์ ท�ำให้ผู้รับศีลได้ รับพระพรเฉพาะของศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนั้น 3 การประกาศข่าวดี (Evangelization) เป็นพันธกิจของพระศาสนจักร (หรือประชากรของพระเจ้า) ซึง่ รวมทัง้ การอภิบาล การเผย แผ่ธรรมและการน�ำข่าวดีไปสู่ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระคริสต์ ผู้ที่เคยได้รับข่าวดีแล้วก็ยังต้องได้รับการประกาศอยู่เสมอ (re-evangelization) เพือ่ มารู้จักและเจริญชีวิตเป็นศิษย์พระคริสต์เด่นชัดยิง่ ขึน้ ....ข่าวดีของพระคริสตเจ้าทีพ่ ระศาสนจักรประกาศ มีความใหม่อยู่ เสมอ ไม่เคยเป็นอดีต ดังนั้น “การประกาศข่าวดีใหม่” จึงมิใช่น�ำสิ่งใหม่มาประกาศ แต่เป็นการทุ่มเทสรรพก�ำลัง “ฟื้นฟู” การ ประกาศข่าวดี “ขึ้นใหม่” ส�ำหรับสังคมโลกในปัจจุบัน การประกาศข่าวดีใหม่นี้จึงต้องท�ำด้วยความใหม่ในความกระตือรือร้น (new ardor) ด้วยความใหม่ในวิธีการ (new method) และด้วยความใหม่ในวิธีการแสดงออก (new expression) 1
6
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
หลังจากนัน้ จึงเข้าร่วมกับหมูค่ ณะของคริสตชน ในพิธีการบิปังหรือศีลมหาสนิท และพิธีการนี้ เรียกว่า “ศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการเริม่ ต้นชีวติ คริสตชน” (Christian Initiation) ต่อมาพิธกี รรมดังกล่าว ได้พฒ ั นาจากพิธที เี่ รียบง่ายสูพ่ ธิ กี ารทีม่ ขี นั้ ตอน สลับซับซ้อนมากขึน้ ในระหว่างศตวรรษที ่ 2 –5 ต่อมาเนื่องจากสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์และเทววิทยาที่มีความเปลี่ยน แปลงไป ท�ำให้พิธีการเจิมรับเข้าเป็นคริสตชน ค่อยๆ แยกออกจากพิธีล้างด้วยน�้ำ และการ เฉลิมฉลองศีลมหาสนิท จนเป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิอ์ กี ประการหนึ่งถึงปัจจุบันนี้ซึ่งคริสตชนคาทอลิก เรียกว่า “ศีลก�ำลัง” 1. ศีลก�ำลังในเทววิทยาสมัยปัจจุบัน ค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกให้ ความส�ำคัญกับศีลก�ำลังเป็นอันมาก 4 แต่ใน ความเป็นจริงทีป่ ระสบอยูใ่ นปัจจุบนั นี ้ คริสตชน ส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจความหมายและผลทาง ด้านจิตวิญญาณที่บังเกิดขึ้นจากศีลศักดิ์สิทธ์ ประการนี้มากนัก “บรรดาพระสงฆ์ นักบวช และครูคำ� สอนคาทอลิกจ�ำนวนมากมีความยาก ล�ำบากในการอธิบายให้เยาวชนที่เตรียมตัวรับ ศีลนี้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน ทั้งในด้าน ความหมาย และผลจากรั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์
ประการนี”้ 5 ผูเ้ รียนค�ำสอนจึงมักจะไม่ทราบว่า เขาจะต้องด�ำเนินชีวติ คริสตชนของตนเองต่อไป อย่างไรภายหลังจากรับศีลก�ำลัง ซึง่ แตกต่างไป จากในเวลาที่พวกเขารับศีลมหาสนิท ผู้เรียน ค�ำสอนสามารถเข้าใจความหมายได้ง่ายกว่า และยังน�ำไปสูก่ ารประยุกต์ใช้ในการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันได้ดว้ ย เช่น พวกเขาจะต้องเป็นหนึง่ เดียวกับพระเยซูในศีลมหาสนิทด้วยความรัก การอุทิศตนเองเพื่อรับใช้ผู้อื่นอย่างที่พระเยซู เจ้าผู้ประทับอยู่กับเขาในศีลมหาสนิทได้วาง แบบฉบับไว้ ต่างจากเวลาที่รับศีลก�ำลังแล้ว พวกเขาไม่ค่อยเกิดประสบการณ์รวมถึงความ ทรงจ�ำที่เด่นชัด และแนวทางที่จะน�ำพระพรที่ ได้รบั จากศีลศักดิส์ ทิ ธิป์ ระการนีไ้ ปใช้ในด�ำเนิน ชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปมากเท่าที่ควร จากการที่ศีลก�ำลังมีประวัติศาสตร์อัน สลับซับซ้อนเป็นพิเศษตามที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงท�ำให้มีแนวความคิดทางเทววิทยาแยกออก เป็น 2 กลุ่ม โดยแนวทางแรก อธิบายว่าศีล ก�ำลังคือศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการเริม่ ต้นชีวติ คริสตชน กลุ่มผู้ที่แนวคิดนี้เห็นว่าศีลก�ำลังควรประกอบ ในเวลาเดียวกันกับศีลล้างบาป หรือพร้อมไป กั บ การรั บ ศี ล มหาสนิ ท ครั้ ง แรกดั ง ที่ พ ระ ศาสนจั ก รยุ ค เริ่ ม แรกเคยกระท� ำ มา ส่ ว น แนวทางที่สอง คือผู้ที่มีความคิดว่าศีลก�ำลัง
CCC. 1285, 1302-1305 Anselm Grün, The Seven Sacraments, p. 90.
4 5
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
7
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
คือศีลศักดิส์ ทิ ธิเ์ พือ่ การบรรลุวฒ ุ ภิ าวะของการ เป็นคริสตชน ด้วยเหตุผลนี้ นักเทววิทยากลุ่ม นีจ้ งึ มีความเชือ่ ว่า ยิง่ สามารถชะลอเวลาการรับ ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ออกไปนานเท่าใด ก็ยิ่ง เป็นประโยชน์ส�ำหรับผู้รับมากเท่านั้น อนาคต ของศีลก�ำลังจึงยังไม่มีค�ำตอบที่ชัดเจนว่าจะมี พัฒนาการไปในทิศทางใด พระศาสนจักรยังคง มอบให้ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องบรรดาพระสั ง ฆราช ผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับช่วง เวลา และอายุทเี่ หมาะสมของผูร้ บั ศีลให้เป็นไป ตามบริบทของสังคม และสภาพแวดล้อมของ แต่ละท้องถิ่น ส� ำ หรั บ คริ ส ตชนคาทอลิ ก ที่ มี อ ายุ พ อ สมควรคงพอจดจ�ำได้วา ่ พวกเขาได้รบั ศีลก�ำลัง ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 4 บทเรียน ค� ำ สอนเตรี ย มรั บ ศี ล ก� ำ ลั ง ที่ ยั ง จดจ� ำ ได้ คื อ ศีลก�ำลังเป็นช่วงเวลาที่อัตลักษณ์ของเขาได้รับ การเปลี่ยนแปลง “พวกเขาได้รับพระจิตเจ้า” พร้อมกับพระพร 7 ประการ6 ของพระจิตเจ้า ทีต่ อ้ งพยายามท่องจ�ำให้ได้ และยังเป็น “ทหาร ของพระคริสตเจ้า” มีสญ ั ญลักษณ์แสดงออกถึง ความเข้มแข็งโดยพระสังฆราชผูป้ ระกอบพิธตี บ เบาๆ ที่แก้ม ซึ่งไม่ปรากฎอยู่ในจารีตศีลก�ำลัง
ในปัจจุบันแล้ว ค�ำสอนคาทอลิกในปัจจุบันมัก มุ่งเน้นว่าศีลก�ำลังเป็น “ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการ คริสตชนที่มีวุฒิภาวะในการอุทิศตนเอง” เป็น โอกาสให้เยาวชนที่ได้รับศีลล้างบาปเมื่อเป็น ทารกได้ “ลงลายมือชื่อของตนเอง” ยืนยันใน สิ่งที่บิดามารดาได้ตัดสินใจส�ำหรับตนเมื่อยัง เป็ น เด็ ก ทารกอยู ่ “เพื่ อ สามารถรั บ ผิ ด ชอบ หน้าที่ด้านการแพร่ธรรม”7 ให้มากขึ้น การที่ ใ ห้ เ ด็ ก ได้ รั บ ศี ล ก� ำ ลั ง เมื่ อ ยั ง ไม่ บรรลุ วุ ฒิ ภ าวะตามที่ ป ฏิ บั ติ กั น ในหลาย ประเทศรวมทั้งพระศาสนจักรในประเทศไทย ด้ ว ย อาจเกิ ด ค� ำ ถามว่ า พวกเขาได้ บ รรลุ ถึ ง ความเป็นผู้ใหญ่ได้มากน้อยเพียงใด หรือควร จะน�ำค�ำเตือนใจของนักบุญโทมัส อไควนัส8 ทีก่ ล่าวว่า “อายุทางกายภาพไม่เป็นเงือ่ นไขต่อ อายุทางวิญญาณ แม้ว่า เขายังอยู่ในวัยเด็ก ก็ตาม แต่ก็สามารถรับความสมบูรณ์ด้านชีวิต ฝ่ายจิตได้ หนังสือปรีชาญาณกล่าวว่า ชีวิตดี ไม่ ใช่ อ ยู ่ ที่ เ ดื อ นปี ม าก หรื อ จ� ำ นวนปี เด็ ก จ�ำนวนมากได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญ จนถึงหลั่ง เลือดเพื่อพระคริสตเจ้า โดยได้รับพละก�ำลัง ของพระจิตเจ้า”9 มาใช้อธิบายเรื่องนี้ย่อมเป็น สิ่งจ�ำเป็นที่ต้องพิจารณาในเทววิทยาของศีล ก�ำลังในปัจจุบันต่อไป
CCC. 1299 CCC. 1309 8 นักบุญโทมัส อไควนัส (Thomas Aquinas) บาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิก สังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาว อิตาลี พระศาสนจักรคาทอลิกยกย่องให้เป็นนักบุญและนักปราชญ์คนส�ำคัญในด้านเทววิทยาและปรัชญาของพระศาสนจักร ท่าน สนใจศึกษาสิ่งต่างๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง ได้พัฒนาแนวความคิดโดยได้รับอิทธิพลจากอริสโตเติ้ล 9 CCC. 1308 6 7
8
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
2. ศีลก�ำลัง ศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อการเริ่มต้นชีวิต คริสตชน ในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรยุค เริม่ แรกยังไม่มกี ารแยกศีลก�ำลังออกจากศีลล้าง บาป บรรดาอัครสาวกท�ำพิธีล้างด้วยน�้ำให้กับ คริสตชนกลุ่มเล็กๆ เพื่อรับสมาชิกเข้าสู่ชุมชน คริสตชนและเจิมพวกเขาด้วยน�้ำมัน จากนั้น ก็น�ำพวกเขาเข้าสู่พิธีศีลมหาสนิทเป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งหมดนี้กระท�ำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน เมื่อจ�ำนวนคริสตชนมีจ�ำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ได้รับมอบอ�ำนาจต่อจากอัครสาวกคือบรรดา พระสังฆราชไม่สามารถประกอบพิธลี า้ งด้วยน�ำ้ เพื่อรับคริสตชนใหม่ได้ เนื่องจากมีผู้สมัครเข้า เป็ น คริ ส ตชนเป็ น จ� ำ นวนมากและการเดิ น ทางในเวลานั้นเต็มไปด้วยความยากล�ำบาก พวกท่านจึงมอบอ�ำนาจในการประกอบพิธีนี้ ให้กับบรรดาพระสงฆ์ ในเวลาเดียวกันบรรดา พระสังฆราชก็ยงั คงหาโอกาสเดินทางเยีย่ มกลุม่ คริสตชนที่อยู่ห่างไกลอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อท�ำ พิธีเจิมด้วยน�้ำมันให้กับผู้ที่ได้รับพิธีล้างบาป
จากพระสงฆ์ แ ล้ วเป็ นครั้ ง ที่ ส อง ด้ วยเหตุ นี้ พิธีการเจิมซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นศีลก�ำลังในพระ ศาสนจักรโรมันคาทอลิก จึงค่อยๆ แยกออก จากกระบวนการรับเข้าเป็นคริสตชนและถูก หลงลืมไปจากประวัติศาสตร์ของคริสตชนเป็น เวลายาวนาน ก่อนสภาสังคายนาวาติกันที่ ครั้งที่ 210 บรรดานักวิชาการเริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจัง เกี่ยวกับพิธีการรับเข้าเป็นคริสตชน ซึ่งท�ำให้ เกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ และแนวทางการปฏิบัติในการ รับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนของพระศาสนจักร สมั ย แรกเริ่ ม ดั ง นั้ น ภายหลั ง สภาสั ง คายนา วาติกัน ครั้งที่ 2 เป็นต้นมา พระศาสนจักร คาทอลิกจึงได้ฟน้ื ฟูพธิ เี ข้าเป็นคริสตชนส�ำหรับ ผูใ้ หญ่11 ขึน้ มาอีกครัง้ หนึง่ “อาศัยศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ สามประการที่ท�ำให้เราเป็นคริสตชน มนุษย์ ชายหญิง ที่หลุดพ้นจากอ�ำนาจแห่งความมืด ตายพร้อมกับพระคริสตเจ้า ถูกฝังพร้อมกับ พระองค์และกลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์แล้ว
การประชุมสังคายนาครั้งล่าสุดของศาสนคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก จัดขึ้นที่นครรัฐวาติกัน ระหว่างปี ค.ศ. 1962-1965 โดย พระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 เป็นผู้เรียกประชุมมุขนายกทั่วโลกกว่า 3,000 องค์ รวมทั้งผู้แทนบาทหลวง นักบวช ฆราวาสและ ผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาและผู้สังเกตการณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิรูปค�ำสอนและวิถีปฏิบัติของศาสนาคริสต์ โรมันคาทอลิกให้ทันยุคสมัยปัจจุบัน หลังการจัดสังคายนานี้ มีการจัดท�ำเอกสารเพื่อส่งเสริมให้น�ำมติที่ประชุมไปด�ำเนินการ 11 สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 ได้ปรับปรุงใหม่ส�ำหรับพระศาสนจักรลาตินว่า “การเรียนค�ำสอนของผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งเป็นหลายขั้น” (พิธกี รรมศักดิ ์ ข้อ 64) พิธเี หล่านีพ้ บได้ในหนังสือพิธรี บั ผูใ้ หญ่เข้าเป็นคริสตชน (Rite of Christian Initiation of Adults (RCIA): 1972) นอกเหนือจากนี ้ สภาฯ ยังอนุญาติให้ “ประเทศมิสซัง ซึง่ มีบางชาติทมี่ พี ธิ เี ข้าศาสนาของตนอยูแ่ ล้ว รับเอาบางส่วนในจารีต ทีมีใช้อยู่ในแต่ละชาติ มารวมกับจารีตเตรียมตัวผู้รับศีลล้างบาปที่มีอยู่แล้วในพระเพณีคริสตชนได้ (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 65) 10
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
9
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
ก็ได้รับพระจิตที่รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม และ ประกอบพิธีร�ำลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการ กลับคืนพระชนม์ของพระคริสตเจ้า ร่วมกับ ประชากรทัง้ มวลของพระเป็นเจ้า”12 พระศาสนจักรคาทอลิกในยุคปัจจุบนั ยังคงให้ความส�ำคัญ กับเอกภาพของศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และ ศีลก�ำลัง ดังที่ปรากฎในหนังสือค�ำสอนของ พระศาสนจักรคาทอลิกว่า “ศีลก�ำลัง ศีลล้าง บาปและศีลมหาสนิท เป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการ เริม่ ต้นชีวติ คริสตชน ทัง้ สามศีลมีความสัมพันธ์ หนึ่งเดียวกันที่ต้องได้รับการรักษาไว้”13 นอก จากนั้นในจารีตพิธีของศีลก�ำลังเองที่ประกอบ แยกต่างหากจากศีลล้างบาป ยังมีการรวมเอา “การรื้อฟื้นค�ำสัญญาแห่งศีลล้างบาป”14 ไว้ เป็นจุดส�ำคัญ เตือนให้ระลึกถึงความเชื่อมโยง กันระหว่างศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองนี้ด้วย ดังนั้น แม้ว่าเยาวชนคาทอลิกจะไม่ได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ นี้ ใ นเวลาเดี ย วกั น ดั ง เช่ น ในอดี ต การอบรม เตรียมตัวผูร้ บั ศีลก็ยงั คงมีความจ�ำเป็นต้องชีใ้ ห้ เห็นถึงความสัมพันธ์กันของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ประการนี้อย่างชัดเจนด้วย
สมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 14 CCC. 1285 14 คณะกรรมการพิธีกรรมแห่งประเทศไทย, จารีตศีลก�ำลัง หน้า 11 15 CCC. 1303 12 13
10
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ค� ำ สอนของพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก อธิ บ ายว่ า “ศี ล ก� ำ ลั ง ก่ อ ให้ เ กิ ด การเจริ ญ งอกงามและความลึกซึ้งของพระหรรษทาน แห่งศีลล้างบาป กล่าวคือ ท�ำให้เราลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ ในความเป็นบุตรของพระเจ้า ซึ่งเรากล่าวว่า อับบา พระบิดา (รม 8:15)...รวมเราเป็นหนึง่ เดียวกับพระคริสตเจ้าอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น...เพิ่ม พระพรของพระจิตเจ้าในตัวเรา...ท�ำให้ความ สัมพันธ์กบั พระศาสนจักรสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ ...ท�ำให้ เราได้พลังพิเศษของพระจิตเจ้าเพื่อแผ่ขยาย และป้องกันความเชื่อด้วยวาจา และกิจการ เสมื อ นเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานแท้ จ ริ ง ของพระ คริสตเจ้า เพื่อประกาศพระนามพระคริสตเจ้า อย่ า งกล้ า หาญ และเพื่ อ จะไม่ อ ายในเรื่ อ ง กางเขนของพระองค์”15 ภาพเปรียบเทียบทีช่ ว่ ยให้เข้าใจถึงความ สัมพันธ์กันระหว่างศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลก�ำลัง โดยเน้นที่แง่มุมอันแตกต่างกัน ของชีวติ ฝ่ายร่างกายและวิญญาณของคริสตชน คือ การเกิด การหายใจ และการบ�ำรุงเลี้ยงให้ เจริญเติบโต “ศีลล้างบาปคือการเกิดใหม่ใน
เจริญ ว่องประชานุกูล
ครอบครัวของพระศาสนจักร ในบ่อน�้ำแห่งศีล ล้างบาปเราตายและกลับคืนชีพสู่ชีวิตใหม่ใน พระคริสตเจ้า บิดามารดาน�ำทารกมาล้างบาป เพราะพวกเขาต้ อ งการมากกว่ า ชี วิ ต ฝ่ า ย ร่ า งกายของเด็ ก พวกเขามาเพื่ อ ขอรั บ ชี วิ ต ที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมซึ่งมีเพียงพระคริสตเจ้า เท่านัน้ ทีส่ ามารถประทานให้ได้”16 ชุมชนคริสตชน บางแห่ ง ประกอบพิ ธี ศี ล ล้ า งบาปโดยใช้ สัญลักษณ์ทเี่ ด่นชัดในเรือ่ งนี ้ คือแทนทีจ่ ะใช้นำ�้ เทที่ศีรษะของเด็กทารกดังที่ชุมชนคริสตชน ส่วนใหญ่กระท�ำกัน พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีใช้ การจุ่มเด็กทั้งตัวลงในน�้ำ (ต้องกระท�ำอย่าง ระมัดระวังและรูว้ ธิ กี ารไม่ให้เด็กได้รบั อันตราย) การที่เด็กจมลงในน�้ำเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ของการผ่านความตายพร้อมกับพระเยซู และ ได้รบั ชีวติ ใหม่อกี ครัง้ ในฐานะบุตรของพระบิดา อาศัยการสิน้ พระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ ของพระเยซูคริสตเจ้า เพื่อรับชีวิตนิรันดรโดย ทางศีลล้างบาป
โดยธรรมชาติแล้วลมหายใจที่เข้าออก หมายถึงการมีชวี ติ อยู ่ และสิง่ แรกทีแ่ พทย์หรือ พยาบาลผู้ท�ำคลอดต้องกระท�ำคือการช่วยให้ ทารกหายใจ “การหายใจของชีวิตคริสตชน คือพระจิตเจ้า เป็นพระจิตเจ้าผูท้ รงด�ำรงอยูใ่ น ตัวเรา ครั้งแรกเราได้รับเมื่อรับศีลล้างบาป พระพรของพระจิตได้รับการเฉลิมฉลองอย่าง สมบูรณ์ในศีลก�ำลัง”17 การหายใจรับอากาศ เข้ า ไปในปอดช่ ว ยให้ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ด� ำ รงอยู ่ ไ ด้ ในท�ำนองเดียวกันการรับศีลก�ำลังก็ท�ำให้ชีวิต ฝ่ายจิตวิญญาณของมนุษย์ด�ำรงอยู่ได้ “ศีล ก�ำลังหมายถึงการเจริญเติบโต และเป็นการ ท้ า ทายอย่ า งต่ อ เนื่ อ งให้ ผู ้ รั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ เสริ ม สร้ า งการเจริ ญ เติ บ โต ชี วิ ต เรี ย กร้ อ ง การเจริ ญ เติ บ โตนี้ และผู ้ รั บ ศี ล ต้ อ งอยู ่ ใ น สถานะของ “พระหรรษทาน”18 การเจริญเติบโต ดังกล่าวนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยทันทีทันใดที่ได้รับ ศีลศักดิส์ ทิ ธิน์ ี้ แต่เป็นกระบวนการเริม่ ต้นและมี การพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งชีวิตของ
Carol Luebering, Confirmation: A Deepening of Our Christian Identity., p. 2. Ibid. 18 ความโปรดปราน ความช่วยเหลือที่ไม่จ�ำกัดและให้เปล่าซึ่งพระเจ้าทรงประทานให้เพื่อตอบสนองการเรียกให้มาเป็นบุตรของ พระองค์ มีส่วนร่วมในพระธรรมชาติของพระเจ้าและชีวิตนิรันดร/การมีส่วนในชีวิตของพระเจ้า ดูใน CCC. 1996-1997 16 17
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
11
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
ผู้รับ ศีลก�ำลังจึงเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่รับได้ครั้ง เดียวในชีวิตและมีผลตลอดไป “ผู้ที่ทรงตั้งเรา และท่านทัง้ หลายในพระคริสตเจ้า และทรงเจิม เรานัน้ คือพระเจ้า พระองค์ทรงประทับตราเรา ทรงประทานพระจิตเจ้าไว้ในดวงใจของเราเป็น เครื่องประกันด้วย” (2 คร 1:21-22) นอกจากธรรมชาติของมนุษย์จะมีชีวิต ฝ่ายกายอยู่ได้ด้วยการหายใจแล้ว ทารกยัง ต้ อ งการอาหารบ� ำ รุ ง เลี้ ย งร่ า งกายให้ เจริ ญ เติบโต ซึ่งทารกได้รับจากมารดาของตนเมื่อ อยูใ่ นครรภ์ และเมือ่ คลอดออกมาก็ตอ้ งการนม ซึง่ เป็นอาหารบ�ำรุงเลีย้ งร่างกายให้เจริญเติบโต และแข็งแรงต่อไป การมีชวี ติ อยูแ่ ละการหายใจ อาจจะเป็นสิง่ ทีเ่ ราไม่ตระหนักรูม้ ากนัก แต่การ ได้รับอาหารเป็นเรื่องที่มนุษย์ให้ความส�ำคัญ และเอาใจใส่อยู่เสมอ “อาหารเป็นสิ่งที่เสริม สร้างร่างกายของเรา ปราศจากอาหารทารกไม่ สามารถเจริญเติบโตและมีสุขภาพที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกัน เราจ�ำเป็นต้องได้รบั การบ�ำรุงเลีย้ ง ด้วยศีลมหาสนิทอย่างสม�่ำเสมอ เราได้เป็น สมาชิกในพระกายของพระเยซูเจ้าเมื่อรับศีล ล้างบาป แต่ในศีลมหาสนิทคริสตชนได้รับการ บ�ำรุงเลี้ยงให้เจริญเติบโตและช่วยให้เราเป็น สมาชิกที่ดีในพระกายของพระคริสตเจ้า”19
Carol Luebering, Ibid., p. 2.
19
12
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ศี ล ก� ำ ลั ง เป็ น ของขวั ญ ของพระเยซู คริ ส ตเจ้ า ที่ ม อบให้ กั บ พระศาสนจั ก รของ พระองค์ ท�ำให้สมาชิกของพระศาสนจักรใน ช่วงวัยต่างๆ ได้รบั ประสบการณ์ของพระจิตเจ้า ที่เกิดขึ้นกับพระศาสนจักรยุคแรก ศีลก�ำลังจึง ควรเป็นการร�ำลึกถึงวันทีพ่ ระจิตเสด็จมาเหนือ อัครสาวก (กจ 2:1-13) คริสตชนได้รับมอบ พระจิตมาเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองที่เรียก ว่ า “ชี วิ ต ฝ่ า ยจิ ต ” อั น เป็ น วิ ถี ท างของการ ด�ำเนินชีวิตโดยมีพระจิตเจ้าทรงเป็นพลังขับ เคลื่อนและน�ำทาง โดยทางศีลล้างบาปคริสตชนได้เกิดใหม่อาศัยน�ำ้ และพระจิตเจ้า ผ่านทาง ศีลก�ำลังคริสตชนได้รับความเข้มแข็งในชีวิต ใหม่นี้ เพื่อให้พวกเขาอยู่ภายใต้การน�ำของ พระจิตเจ้าซึ่งไม่ใช่จิตของโลกนี้ พวกเขาได้รับ พลั ง ของพระจิ ต ให้ ส ามารถปฏิ เ สธโลกและ อ� ำ นาจที่ ค รอบง� ำ ใดๆ และได้ รั บ ความช่ ว ย เหลือเพื่อปรับเปลี่ยนโลกให้เป็นไปตามแผน การณ์ของพระเจ้าในฐานะบุตรของพระองค์ การเป็นบุตรของพระเจ้าโดยศีลล้างบาป หรือศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน เป็นค�ำตอบต่อค�ำถามพืน้ ฐานข้อแรกของมนุษย์ ทุกคนที่แสวงหาความจริงของที่มาของชีวิตว่า ตนเองคือใคร เกิดมาเพือ่ อะไร และเป้าหมาย
เจริญ ว่องประชานุกูล
ของชีวิตนี้คืออะไร ความรู้เพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะอธิบายค�ำตอบทั้ง 3 ข้อนี้ ได้ เป็นต้นส�ำหรับมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน เรา ต้องการประสบการณ์อย่างลึกซึ้งของ “การ เป็นบุตรสุดที่รักของพระบิดา” (มธ 3:17,12: 8,17:5; มก 1:11; ลก 3:22; อฟ 1:6; คส 1:13; ฮบ 5:5) ดั ง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงมี ประสบการณ์และทรงสอนเราให้เรียกพระเจ้า ว่ า “พระบิ ด า” และประสบการณ์ ค วาม สัมพันธ์อย่างลึกซึ้งต่อพระบิดาในฐานะบุตร สุดที่รักของพระองค์นี้เองจะท�ำให้คริสตชน สามารถน�ำข่าวดีแห่งความรักนีไ้ ปแบ่งปันให้กบั ผู้อื่นได้ “ข่าวสารอันยิ่งใหญ่ที่เราต้องน�ำไป ประกาศในฐานะของศาสนบริกรแห่งพระวาจา และผู้เดินตามพระเยซูเจ้า คือพระเจ้าทรงรัก เราไม่ใช่สิ่งที่เรากระท�ำ แต่เพราะพระเจ้าทรง สร้างและไถ่กู้ด้วยความรัก และทรงเลือกสรร เราให้ประกาศถึงความรักนัน้ อันเป็นแหล่งทีม่ า ของชีวิตของมนุษย์ทุกคน”20 หากอัตลักษณ์นี้
ไม่ ไ ด้ ถู ก รั บ รู ้ ด ้ ว ยประสบการณ์ ข องตนเอง คริสตชมย่อมไม่อาจต้านทานต่อกระแสอัน รุนแรงของโลก และสังคมไทยในปัจจุบันซึ่ง กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระศาสนจั ก ร คาทอลิกแห่งประเทศไทย เรียกสิง่ นีว้ า ่ “โลกีย์ นิยม”21 และ “สัมพัทธ์นิยมเชิงจริยธรรม”22 ซึง่ ก�ำลังคุกคามสังคมโลกและพระศาสนจักรได้ การไม่ ส ามารถค้ นพบค� ำ ตอบ และมี ประสบการณ์ถึงอัตลักษณ์ท่ีแท้จริงของตนเอง ท�ำให้ชว่ งระยะเวลาตัง้ แต่เริม่ ต้นชีวติ จนกระทัง่ จากโลกนี้ไป เสียเปล่าไปกับการสนองตอบ อัตลักษณ์อนั หลอกลวงทีต่ นเองและสังคมรอบ ข้ า งสร้ า งขึ้ น อย่ า งน้ อ ย 3 ประการ ได้ แ ก่ 1) ฉั น คื อ สิ่ ง ที่ ฉั น มี ผู ้ ที่ คิ ด เช่ น นี้ ก็ จ ะเสาะ แสวงหาให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง เงิ น ทอง ทรั พ ย์ ส มบั ติ อ�ำนาจและใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นตัวก�ำหนดการ ตัดสินใจ โดยไม่ค�ำนึงถึงจริยธรรมหรือความ รู ้ สึ ก ผิ ด ชอบชั่ ว ดี 2) ฉั น คื อ สิ่ ง ที่ ฉั น ท� ำ ผู ้ ที่ เข้าใจในอัตลักษณ์ของตนเช่นนี ้ วางคุณค่าของ
Henri J.M. Nouwen, In the Name of Jesus, p.30. โลกีย์นิยม/โลกานุวัตรนิยม (Secularism) เกิดจากแนวคิดที่ว่า ศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็น สิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย ส่งผลให้เกิดเป็นลัทธิหรือแนวคิดในการด�ำเนินชีวิตที่ให้ความส�ำคัญกับเรื่อง “ทางโลก” หรือกิเลสตัณหา เหนือคุณค่าอื่นใด 22 สัมพัทธ์นิยมเชิงจริยธรรม (Ethical Relativism) ทฤษฎีที่ถือว่าศีลธรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับแนวปฏิบัติวัฒนธรรม ของคนเรา กล่าวคือพฤติกรรมของคนจะผิดหรือจะถูกขึน้ อยูก่ บั กฎจริยธรรมของสังคมทีย่ ดึ ถือกันอยู ่ พฤติกรรมเดียวกันอาจมีความ ชอบธรรมในสังคมหนึ่งแต่ไม่ชอบธรรมในอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ส�ำหรับผู้ที่เป็นสัมพัทธ์นิยมเชิงจริยธรรมแล้วจะไม่มีคุณธรรมที่เป็น มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ได้กับมนุษย์ทุกคนในทุกยุคทุกสมัย มาตรฐานเชิงจริยธรรมแต่ประการเดียวที่การปฏิบัติของ สังคมจะวัดหรือถูกพิพากษาก็คอื พฤติกรรมของตนเอง หากทฤษฎีสมั พัทธ์นยิ มเชิงจริยธรรมเป็นความถูกต้อง เราจะไม่มกี รอบส�ำหรับ การแก้ข้อโต้แย้งเรื่องคุณธรรม หรือเพื่อหาข้อยุติตกลงกันในเรื่องที่เกี่ยวกับจริยธรรมได้เลยส�ำหรับสมาชิกของสังคมที่แตกต่างกัน 20
21
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
13
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
มนุ ษ ย์ อ ยู ่ ที่ ผ ลงานหรื อ การกระท� ำ เหนื อ สิ่ ง อื่นใด และบ่อยครั้งเมื่อไม่สามารถท�ำอะไรได้ ต่อไปก็ตัดสินว่าชีวิตของตนเองและผู้อื่นไม่มี คุ ณ ค่ า อี ก ต่ อ ไป 3) ฉั น คื อ สิ่ ง ที่ ค นอื่ น พู ด ถึ ง ตัวฉัน คุณค่าของชีวิตเขาจะอยู่ที่การยอมรับ ของผู้อื่น รวมทั้งความสุขหรือทุกข์ทั้งสิ้นถูก แขวนไว้กับค�ำพูด และการตัดสินของบุคคล รอบข้าง ท�ำให้พวกเขาขาดอิสรภาพที่ยืนหยัด อยู่ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งนี้ปรากฎใน ความห่วงใยของกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ต่อสังคม ไทยในปัจจุบันดังข้อความตอนหนึ่งว่า “ความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารท�ำให้ คนรุ่นใหม่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโลกออนไลน์ หลงเข้าไปในโลกเสมือนจริง แทนที่จะใช้เวลา กับคนจริงๆ”23 หลายคนวางคุณค่าของชีวิต และการกระท�ำไว้ทกี่ ารชืน่ ชอบและการติดตาม ของบุคคลที่พวกเขาแทบไม่เคยพบตัวตนที่แท้ จริงด้วยซ�้ำ โดยสรุปแล้ว การรับศีลล้างบาป ศีลก�ำลัง และศี ล มหาสนิ ท มี ผ ลให้ ค ริ ส ตชนได้ รั บ อั ต ลั ก ษณ์ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด เพื่ อ เป็ น ศิ ษ ย์ ข อง พระคริสต์ผู้ด�ำเนินชีวิตประกาศข่าวดีใหม่ คือ การเป็นบุตรสุดที่รักของพระบิดา พวกเขาได้ รับการฟื้นฟูให้เข้มแข็งขึ้นด้วยพลังของพระ จิตเจ้า และด�ำเนินชีวิตโดยมีพระจิตเจ้าเป็น ผู้น�ำในศีลก�ำลัง และได้รับการหล่อเลี้ยงด้วย
พระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าใน ศีลมหาสนิท สายสัมพันธ์กับพระตรีเอกภาพนี้ เองเป็นอัตลักษณ์ของคริสตชน ท�ำให้พวกเขา พร้อมที่จะเจริญชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีในฐานะ บุตรของพระเจ้า และค้นพบพันธกิจของชีวิต ทีพ่ ระบิดาจะทรงมอบหมายให้ อันเป็นค�ำตอบ ต่อค�ำถามที่ว่า ฉันเกิดมาเพื่ออะไร ผู้ที่ได้รับ ศีลล้างบาปและศีลก�ำลังแล้วทุกคน จึงเป็นผู้ที่ ได้รับกระแสเรียกใหม่ เป็นกระแสเรียกเพื่อ ประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้าให้กบั ผูอ้ นื่ ด้วยการกระท�ำพันธกิจแห่งความรัก และการ รับใช้ตามพระประสงค์ของพระเจ้าและสภาพ ชีวิตของแต่ละคน 3. ศีลก�ำลัง ศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อการค้นพบและ ซึมซับอัตลักษณ์ของการเป็นคริสตชน ในขณะที่ ผู ้ ใ หญ่ รู ้ จั ก ตนเองในหลาย บทบาทและฐานะ เราเข้าใจตนเองโดยอาศัย ความสั ม พั น ธ์ ม ากมายที่ เรามี ต ่ อ บุ ค คลหรื อ บทบาทของเราในสังคม อาชีพ การงาน ความ สนใจเฉพาะด้านที่เรามี แต่ส�ำหรับเด็กต้อง อาศัยระยะเวลาและการเรียนรู้ที่ละเล็กที่ละ น้อย ผ่านทางประสบการณ์ชวี ติ เรือ่ งราวความ ทรงจ�ำต่างๆ ทีบ่ อกเล่าต่อๆ กันมาจากสมาชิก ในครอบครั ว และบุ ค คลที่ พ บปะ ส� ำ นึ ก สถานภาพความเป็นคนไทย การเป็นสมาชิก
กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ข้อ 2
23
14
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
ของสังคม ชุมชนวัด ครอบครัวใดครอบครัว หนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากของเพื่อนคนอื่นต้อง อาศั ย ระยะเวลาอั น ยาวนาน เด็ ก ที่ เ กิ ด ใน พระศาสนจั ก รก็ ต ้ อ งผ่ า นการเรี ย นรู ้ ด ้ ว ย กระบวนการทีค่ ล้ายคลึงกัน “เด็กมีการค้นพบ อย่างช้าๆ ถึงความหมายของการเป็นคริสตชน คาทอลิ ก ผ่ า นทางเรื่ อ งเล่ า และธรรมเนี ย ม ปฏิบตั ติ า่ งๆ ถ�ำ้ พระกุมาร และกางเขนทีอ่ ยูบ่ น ผนังของห้องนอน การภาวนาในครอบครัวและ มิสซาวันอาทิตย์ การเล่าเรือ่ งพระเยซูจากปาก ของพ่ อ แม่ แ ละการเรี ย นค� ำ สอนอย่ า งเป็ น ทางการมากขึ้นในชั้นเรียน”24 เด็กๆ เรียนรู้ว่า เขาเป็นใครในสายพระเนตรของพระเจ้า และ ในฐานะสมาชิ ก คนหนึ่ ง ในครอบครั ว ของ พระองค์จากเรือ่ งราวและประสบการณ์เหล่านี้ ในชีวิตของพวกเขา การอบรมลูกๆ ในครอบครัวของคริสตชน และการเตรียมผู้รับศีลก�ำลังจึงเป็นโอกาส ส�ำคัญที่จะอธิบายถึงความหมายของการเป็น คริสตชนคาทอลิก ความเชือ่ ทีผ่ รู้ บั ศีลประกาศ ทั้งในบทยืนยันความเชื่อของอัครสาวกและ ในวิถีการด�ำเนินชีวิตของพวกเขา การยืดเวลา ของการรับศีลก�ำลังออกไปให้อยู่ในช่วงวัยรุ่น จะช่วยให้ผู้รับศีลมีความเข้าใจถึงความเป็น สากลของพระศาสนจักรมากขึ้น “พระศาสน-
จักรที่บิดามารดาน�ำทารกไปขอรับศีลล้างบาป นั้นกว้างใหญ่กว่าสิ่งเขาพบในประสบการณ์ ชี วิ ต อย่ า งแน่ น อน มั น ใหญ่ ก ว่ า แวดวงของ เพื่อนพี่น้องที่มีความเชื่อของเขา กว้างขวาง กว่าชุมชนวัดทีเ่ ขาเจริญเติบโตขึน้ มา มีขอบเขต ไปถึ ง ที่ ไ ม่ เ พี ย งแต่ แ ค่ ก รุ ง โรมเท่ า นั้ น แต่ ยั ง ไปถึงแอฟริกา หมู่เกาะที่กระจัดกระจายของ ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล ของอเมริกากลาง”25 ในขณะที่ธรรมเนียมปฏิบัติในการเจิม น�้ำมันของศีลล้างบาป และศีลก�ำลังของพระ ศาสนจักรตะวันออกยังรักษาสองศีลศักดิ์สิทธิ์ ให้รวมอยูใ่ นพิธเี ดียว พระศาสนจักรตะวันตกมี การชะลอเวลาการรับศีลก�ำลังส�ำหรับเด็กออก ไปโดยใช้นำ�้ มันทีไ่ ด้รบั การเสกโดยพระสังฆราช การใช้น�้ำมันที่พระสังฆราชเป็นผู้เสกนี้ช่วย ให้ผู้รับศีลสัมผัสได้ถึงการเป็นส่วนหนึ่งของ พระศาสนจักรของพระเยซูคริสตเจ้าอันเป็น สากล “การปฏิบัติของคริสตจักรตะวันออก นั้ น เน้ น เป็ น พิ เ ศษในการรั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ 3 ประการอันเป็นความหนึ่งเดียวในการเริ่มชีวิต คริสตชน การปฏิบตั ขิ องคริสตจักรลาตินแสดง ให้เห็นชัดเจนของการมีส่วนร่วมของคริสตชน ใหม่กับพระสังฆราชของตน ในฐานะเป็นผู้รับ รองและผู้รับใช้ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความ
Carol Luebering, Ibid., pp. 3-4. Ibid.
24 25
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
15
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
เป็นสากล และการสืบต่อจากอัครสาวกของ พระศาสนจักร และผลทีต่ ามมาคือ ความเชือ่ ม โยงกั บ ต้ น ก� ำ เนิ ด จากอั ค รสาวกในพระ ศาสนจักรของพระคริสตเจ้า”26 จุดประสงค์อกี ประการหนึ่งของการรับศีลก�ำลังคือ ต้องการ ให้ผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้มองออกไปไกล กว่าชุมชนของพวกเขา และเพื่อให้พวกเขา เข้าใจว่า พวกเขาเป็นสมาชิกไม่เพียงแต่ชุมชน ความเชือ่ ของตน ไม่วา่ จะใหญ่หรือเล็ก ในเมือง หรือชนบท แต่เป็นสมาชิกของพระกายของ พระคริสตเจ้าบนโลกนี้ “การสอนค�ำสอนเรื่อง ศีลก�ำลังควรพยายามปลุกเร้าให้เกิดความรู้สึก ว่ า เป็ น เจ้ า ของพระศาสนจัก รของพระเยซูคริสตเจ้า ไม่วา่ จะเป็นพระศาสนจักรสากลหรือ ชุมชนวัด ความรับผิดชอบเฉพาะในการเตรียม ผู้รับศีลก�ำลังตกอยู่กับชุมชนประเภทหลังนี้”27 การเตรียมตัวผู้รับศีลหรือการสอนค�ำสอนจึง ควรพู ด ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของหน้ า ที่ ข องพระ สังฆราช พร้อมกับสิ่งที่พระศาสนจักรสอนใน เรื่องเกี่ยวกับการสืบต่อจากอัครสาวก ความ เป็นเอกภาพ และความเป็นสากล ตลอดจน ประวัติศาสตร์ของการประกาศพระวรสารที่มี อย่างยาวนานในพระศาสนจักรทีพ่ วกเขาสังกัด อยู่ CCC. 1292 CCC. 1309
26 27
16
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ผู้เตรียมตัวรับศีลก�ำลังทุกวันนี้ แม้แต่ เด็กเล็กๆ อาจจะมีความส�ำนึกถึงอัตลักษณ์ ของคริสตชนคาทอลิกได้มากกว่ายุคสมัยที่เพิ่ง ผ่านมา เยาวชนมีโอกาสที่จะยืนอยู่ต่อหน้า ตัวแทนของพระศาสนจักรที่ใหญ่กว่าอันได้แก่ พระสังฆราชหรือตัวแทนของท่าน และได้รับ การเจิมด้วยน�้ำมันที่เสกโดยพระสังฆราชในวัน พฤหัสศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาสามารถกล่าวด้วย ความรู้ในสิ่งที่พวกเขายังขาดไปเมื่อรับศีลล้าง บาปเวลาเด็กว่า “นี้คือพระศาสนจักรของฉัน ฉันยอมรับความเชื่อของพระศาสนจักรนี้เพื่อ เป็นความเชื่อของฉัน นี้คือผู้ที่ฉันเป็น” ฉัน สามารถตอบรับด้วยตัวของฉันเองว่า ฉันคือ ใครในวันนีด้ ว้ ยความรูแ้ ละเข้าใจอย่างเต็มเปีย่ ม ดังนั้นภายหลังจากได้รับศีลล้างบาปแล้ว บิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้อภิบาล ชุมชนแห่งความ เชื่ อ มี ห น้ า ที่ ส� ำ คั ญ ในการสร้ า งบรรยากาศ ความเชื่ อ ที่ ดี แ ละเตรี ย มตั ว บรรดาเยาชน คาทอลิกให้ซึมซับถึงความเป็นคาทอลิกที่แท้ จริง การมีใจกว้างเปิดสู่พระศาสนจักรสากล หน้าที่ของการเป็นธรรมทูตซึ่งเป็นความรับผิด ชอบที่ส�ำคัญของพวกเขา ความเข้าใจของผู้รับ ศีลก�ำลังทีไ่ ด้รบั การเตรียมอย่างดีนเี้ อง ย่อมส่ง ผลให้พวกเขาเปิดใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อรับ
เจริญ ว่องประชานุกูล
พระพรของพระจิตเจ้าในศีลศักดิ์สิทธิ์ประการ นี้ และพร้อมที่จะก้าวข้ามเขตแดนอันจ�ำกัด ของตนเองสู่งานการประกาศข่าวดีใหม่ของ พระศาสนจักรสากลด้วยความกระตือรือร้น และชื่นชมยินดี 4. ศีลก�ำลัง ศีลศักดิส์ ทิ ธิเ์ พือ่ การผูกมัดตนเอง ของคริสตชนที่เป็นผู้ใหญ่ ในวั ฒ นธรรมของชนชาติ ต ่ า งๆ มี ประเพณีการก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ของบรรดา เยาวชนทีน่ า่ สนใจ เช่น มีการแยกเด็กออกจาก มารดา โดยการน�ำเด็กนั้นไปวางไว้ในป่าตาม ล� ำ พั ง ชนพื้ น เมื อ งบางเผ่ า ของออสเตรเลี ย ถอนฟั น ซี่ ห นึ่ ง ออกจากปากของเด็ ก ผู ้ ช าย เพื่อเป็นการแสดงว่าพวกเขาตายจากวัยเด็ก เพื่อเกิดใหม่ในฐานะของการเป็นผู้ใหญ่อย่าง สมบู ร ณ์ บางครั้งเด็ก ๆ จะถูก ทาด้วยโคลน ทัง้ ตัวเพือ่ ให้แลดูเหมือนผี บางเผ่ามีการใช้ของ มีคมกรีดที่ร่างของเด็กผู้ชายเพื่อให้มีเลือดไหล มีการน�ำเด็กไปวางไว้ทกี่ ระท่อมในป่าโดยให้อด อาหารสองสามวั น แต่ เ ดิ ม กระท่ อ มเป็ น สัญลักษณ์ของมังกรหรืองูซึ่งกินเด็กเข้าไปเพื่อ ให้ตายและเกิดใหม่อีกครั้ง บางเผ่ามีความเชื่อ ว่าการแยกเด็กไปไว้ในกระท่อมตามล�ำพังเป็น สัญลักษณ์ของการกลับคืนสู่ครรภ์ของมารดา เพื่อการเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง28
ความหมายของศีลก�ำลัง (Confirmation) สั ม พั น ธ์ กั บ ค� ำ กริ ย าในภาษาลาติ น firmare ซึง่ หมายถึง ท�ำให้มนั่ คงหรือเหนียวแน่น ท�ำให้เข้มแข็ง สนับสนุน ให้ก�ำลังใจ หล่อเลี้ยง เด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ ปลอดภัย ช่วยให้ยืน อย่างมั่นคง ดังนั้นศีลก�ำลังจึงมุ่งเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กบั เยาวชนในชีวติ คริสตชนของ พวกเขา และค�้ำจุนพวกเขาโดยอาศัยพระจิต เจ้า เพือ่ ให้พวกเขาสามารถยืนหยัดด้วยตนเอง ในโลกนี้ เพื่อให้พวกเขาค้นพบจุดยืนในชีวิต ของตนเอง และเจริญชีวิตโดยที่มีพระจิตเจ้า เป็นศูนย์กลางในโลกที่หลายครั้งไม่ได้ยึดมั่น เรือ่ งของจิตวิญญาณหรือปราศจากจิตวิญญาณ ของคริสตชน ค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกได้ ให้แนวทางในการเตรียมตัวผู้รับศีลก�ำลังไว้ อย่ า งดี กล่ า วคื อ “ควรมุ ่ ง น� ำ คริ ส ตชนไปสู ่ ความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึง่ เดียวกับพระคริสตเจ้า และสร้างความคุ้นเคยพระจิตเจ้าอย่างมี ชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านกิจการ พระพร และการน�ำทางของพระองค์ ทั้งนี้เพื่อจะได้ สามารถรับผิดชอบด้านงานประกาศข่าวดีของ ชีวิตคริสตชนได้ดียิ่งขึ้น”29
Anselm Grun, Ibid., p. 92. CCC. 1309
28 29
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
17
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
เนื่องจากศีลก�ำลังมีแนวทางการปฏิบัติ ทีแ่ ตกต่างกันเรือ่ ยมาในประวัตศิ าสตร์ของพระ ศาสนจักรจวบจนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีบางช่วงเวลาที่ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ถูก ละเลยไปด้ ว ย จึ ง อาจเกิ ด ค� ำ ถามว่ า เหตุ ใ ด พระศาสนจักรจึงไม่ยกเลิกการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ประการนี้เสีย ค�ำตอบที่ว่าศีลก�ำลังเป็นส่วน หนึ่งของประเพณีท่ีพระศาสนจักรเคยกระท�ำ มาเท่านั้นคงยังไม่เพียงพอ เหตุผลที่ส�ำคัญคือ ศีลก�ำลังสามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้น อย่างไรในชีวิตของเยาวชนหรือผู้รับศีลนี้ เป็น โอกาสให้คดิ ถึงศีลล้างบาปและความหมายของ การเป็นคริสตชนคาทอลิกซึ่งส่วนใหญ่รับศีล ศักดิส์ ทิ ธิน์ ใี้ นขณะทีย่ งั ไร้เดียงสาโดยทีไ่ ม่ทราบ ว่ า ได้ เ กิ ด อะไรขึ้ น กั บ ตนเองในเวลานั้ น แต่ ปัจจุบนั นีผ้ รู้ บั มีโอกาสยืนยันถึงการเป็นสมาชิก ของพระศาสนจักรด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่งใน ค�ำสัญญาของศีลล้างบาป ความแตกต่างที่เกิด ขึ้นได้ในชีวิตของผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ อาจเป็ น เรื่ อ งของการตื่ น ขึ้ น ทางฝ่ า ยจิ ต วิญญาณ การฟื้นฟูความเชื่อ ความศรัทธาที่ ร้อนรนยิ่งขึ้น หรืออาจเตือนผู้รับให้ระลึกถึง การผูกมัดตนเองต่อพระศาสนจักรและพระคริสตเจ้า ความกระตือรือร้นในการประกาศ ข่าวดีใหม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับตัวของผู้รับศีลเอง
และสภาพแวดล้อมของการเตรียมตัวของพวก เขา “พระเจ้าทรงประทานพระหรรษทานเพื่อ เจริญชีวติ ค�ำสัญญาแห่งศีลล้างบาป และผูกมัด ตนต่อค�ำสัญญาที่บิดาของท่านได้กระท�ำแทน ท่านอยู่เสมอ ดังนั้นค�ำถามส�ำคัญจึงอยู่ที่ว่า อะไรคือความแตกต่างที่ท่านยอมให้ศีลก�ำลัง บังเกิดผลในชีวติ ของท่าน ถ้าศีลก�ำลังดูเหมือน จะไม่มีผลดังคาดหวังหรือปรารถนา คงไม่ใช่ พระเจ้าทรงเป็นสาเหตุในความล้มเหลวของ ท่าน”30 ดังนั้นถ้าคริสตชนผู้ยึดมั่นต่อค�ำสัญญา ของศีลล้างบาป และมีรื้อฟื้นค�ำสัญญาที่ให้ไว้ อีกครั้งในเวลารับศีลก�ำลังอย่างจริงจัง ย่อมจะ เกิดผลทีแ่ ตกต่างอย่างเด่นชัดในการด�ำเนินชีวติ ของพวกเขา ค�ำสัญญาที่จะเชื่อมั่นในพระเจ้า ปฏิบตั ติ ามค�ำสอนของพระศาสนจักร หลีกหนี บาปและเจริญชีวิตอย่างมีศีลธรรม การปฏิบัติ ตามค�ำสัญญาเหล่านีท้ ำ� ให้ผรู้ บั ศีลก�ำลังจะต้อง ผูกมัดตนเอง และถูกเรียกร้องให้ลงมือกระท�ำ ไม่ใช่เพียงด้วยค�ำพูดเท่านัน้ “การผูกมัดตนเอง ของมนุ ษ ย์ เ ป็ น การเซ็ น เช็ ค เปล่ า เสมอ ค�ำสัญญาที่ให้ไว้ในวันแต่งงานเป็นสิ่งที่ต้อง คิดและกระท�ำใหม่หลายๆ ครั้ง ภายหลังผ่าน ระยะเวลาไปหลายปี การผูกมัดตนเองต่อความ เชื่ อ ของเราก็ ต ้ อ งผ่ า นอุ ป สรรคและการ
Joseph Martos, What difference does Confirmation Make?, p. 1.
30
18
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
เปลีย่ นแปลงทีค่ ล้ายคลึงกัน ทุกครัง้ ทีเ่ ราสัมผัส กับ “ธรรมล�ำ้ ลึก”31 ความมหัศจรรย์ของทารก ที่เกิดใหม่ ความเจ็บปวดต่อการสูญเสีย ความ ผิดหวังในชีวติ เป็นต้น ภาพลักษณ์ของพระเจ้า ส�ำหรับเราเปลีย่ นแปลงไปทีล่ ะน้อย เราจึงต้อง ตัดสินใจในการเลือกที่จะยืนหยัดในความเชื่อ อีกครั้งหนึ่ง”32 การกล่ า วถึ ง ศี ล ก� ำ ลั ง ว่ า เป็ น ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง การผู ก มั ด ตนเองของผู ้ ที่ เ ป็ น ผู้ใหญ่จึงไม่อาจเป็นจริงได้อย่างสมบูรณ์แบบ เนื่ องจากการปฏิญาณความเชื่อต่อพระเจ้า เป็นการออกแรงพยายามตลอดทัง้ ชีวติ มากกว่า กิจการที่มนุษย์กระท�ำเพียงครั้งเดียวแล้วมีผล ตลอดไป การละเมิดต่อค�ำสัญญาที่เคยให้ไว้ เป็นเรื่องที่เด็กทุกคนเคยมีประสบการณ์ และ ผู้ใหญ่ก็ต้องยอมรับอย่างน่าเศร้าในท�ำนอง เดียวกัน แต่การทีเ่ ราต่างยังคงให้คำ� สัญญาและ ยอมรับค�ำสัญญาของผูอ้ นื่ ได้นนั้ เพราะเราเชือ่ อย่างมัน่ ใจว่าการผูกมัดตนเองนัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ป็น ไปได้ และความเชื่ อ นี้ มี พื้ น ฐานส� ำ คั ญ อยู ่ ที่ ค�ำสัญญาของบุคคลผู้หนึ่งซึ่งไม่มีวันละเมิดต่อ ค�ำสัญญาเลย คือ พระเจ้าผูท้ รงผูกมัดพระองค์ เองต่อเรา ศีลก�ำลังเป็นเสมือนตราประทับของ
พระสัญญาของพระเจ้า “กฎหมายของพระศาสนจั ก รเรี ย กร้ อ งให้ รั บ ศี ล ก� ำ ลั ง ก่ อ นศี ล ศักดิ์สิทธิ์แห่งการผูกมัดตนเอง อันได้แก่ศีล สมรส และศีลบรรพชา ทั้งนี้เพราะเราเชื่อใน พระเจ้าผูท้ รงรักษาสัญญา มิใช่เชือ่ ว่ามนุษย์จะ สามารถรักษาค�ำสัญญาของตนเองไว้ได้ตลอด ไปด้ ว ยความความสามารถของตน ดั ง นั้ น แม้ ตามค�ำสอนของพระศาสนจั กรคาทอลิ ก ศี ล ก� ำ ลั ง จะเป็ น ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง การผู ก มั ด ตนเอง แต่การผูกมัดตนเองทีว่ า่ นี ้ ก่อนอืน่ หมด เป็นของพระเจ้า ถ้าจะพิจารณาในมุมว่าศีล ก�ำลังเป็นศีลแห่งการผูกมัดตนเองของคริสตชน ผูม้ วี ฒ ุ ภิ าวะนัน้ ต้องไม่ลมื ความจริงว่า ศีลก�ำลัง เป็ น ศี ล แห่ ง ความเชื่ อ ในความซื่ อ สั ต ย์ ข อง พระเจ้าต่อเรามนุษย์เป็นล�ำดับแรก ถัดมาจึง เป็นเรือ่ งของการผูกมัดตนเองของมนุษย์อาศัย พระพรและพระหรรษทานของพระเจ้า 5. ศีลก�ำลัง ศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อการประกาศ ข่าวดีใหม่ ส ภ า พ ร ะ สั ง ฆ ร า ช ค า ท อ ลิ ก แ ห ่ ง ประเทศไทย ประกาศกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย
ธรรมล�้ำลึก (Mystery) หมายถึง สัจธรรมที่พระเจ้าเผยแสดงแก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เข้าใจความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าได้บ้าง มนุษย์ต้องน้อมรับด้วยความเชื่อศรัทธาในสิ่งพระองค์เผยแสดง แม้จะไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด 32 Carol Luebering, Ibid., pp. 3-4. 31
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
19
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
ปีคริสตศักราช 2015 เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560 โดยมี ป ระเด็ น หลั ก คื อ “ศิ ษ ย์ พระคริ ส ต์ เ จริ ญ ชี วิ ต ประกาศข่ า วดี ใ หม่ ” เป้าหมายของสมัชชาใหญ่ครั้งนี้อยู่ที่การปรับ พันธกิจด้านการอภิบาลและการประกาศข่าวดี ให้เหมาะกับการเปลีย่ นแปลงทางสังคม เพือ่ ให้ ตอบรับกับความต้องการของบรรดาคริสตชน ตลอดจนเพื่ อ นพี่ น ้ อ งต่ า งความเชื่ อ อย่ า งมี ประสิทธิผล สอดคล้องกับความส�ำคัญรีบด่วน ด้านการประกาศข่าวดีใหม่ในภูมิภาคเอเชีย33 จากสถานการณ์ความเป็นจริงในด้านความเชือ่ ของคริ ส ตชนทั่ ว โลก ที่ ป รากฎว่ า มี จ� ำ นวน คริสตชนทีถ่ อื ปฏิบตั คิ วามเชือ่ ลดน้อยลงเรือ่ ยๆ ประกอบกับทีส่ งั คมมีแนวโน้มไปทางฝ่ายโลกที่ สมัชชาใหญ่ฉบับนีเ้ รียกว่า “กระแสโลกียน์ ยิ ม” เพิ่มขึ้นจนน�ำไปสู่ปัญหามากมายที่เกิดขึ้นใน สังคมและพระศาสนจักร พระศาสนจั ก รสากลเริ่ ม ตระหนั ก ถึ ง ความจ� ำ เป็ น เร่ ง ด่ ว นของการฟื ้ น ฟู พ ระศาสนจั ก รทุ ก ระดั บ มาเป็ น เวลานานแล้ ว พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเรียก ร้องหลายครัง้ ให้มกี ารประกาศพระวรสารใหม่ ส�ำหรับบุคคลทีเ่ ป็นเป้าหมาย 3 กลุม่ คือ ผูท้ ยี่ งั
ไม่มีโอกาสรู้จักข่าวดีของพระคริสตเจ้า ต่อมา คือผู้ที่รู้จักและพยายามด�ำเนินชีวิตตามข่าวดี อยู่แล้ว และสุดท้ายคือผู้ทรี่ จู้ ักข่าวดีแต่ดำ� เนิน ชีวติ เหินห่างไปจากข่าวดีหรือแม้แต่ละทิง้ ความ เชือ่ ไปแล้ว “มีสภาพการณ์ ระหว่างกลาง โดย เฉพาะในประเทศที่นับถือคริสตศาสนาเป็น ขนบประเพณีมาแต่โบราณสมัย แต่ก็ยังมีอยู่ บ้างเช่นกันในพระศาสนจักรที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา ซึ่ ง กลุ ่ ม ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ศี ล ล้า งบาปแล้ ว ทั้ ง กลุ ่ ม ได้ สูญเสียส�ำนึกในความเชื่อที่ทรงชีวิต หรือไป ไกลขนาดไม่ยอมรับแล้วว่า ตนเป็นสมาชิกของ พระศาสนจักร และด�ำเนินชีวิตอยู่อย่างห่าง ไกลจากพระคริ ส ต์ และพระวรสารของ พระองค์ ในกรณีน ี้ ก็จำ� เป็นต้องแพร่พระวรสาร กันใหม่ หรือ แพร่พระวรสารอีกครั้งหนึ่ง”34 การประกาศข่ า วดี จึง ถื อ เป็ นบทบาท หน้ า ที่ ข องพระศาสนจั ก ร ซึ่ ง เป็ น ศิ ษ ย์ ข อง พระคริ ส ต์ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ดั ง ที่ ค� ำ สอนของ พระศาสนจักรคาทอลิกเองที่กล่าวอย่างหนัก แน่นว่า “ธรรมชาติของพระศาสนจักรคือการ เป็นธรรมทูต”35 พระศาสนจักรในประเทศไทย วิเคราะห์ถึงความเป็นจริงของสังคมไทยที่ถูก ครอบง�ำและได้รับผลกระทบจากกระแสโลกีย์
กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 ข้อ 2 พระสมณสาสน์ “พระพันธกิจของพระผู้ไถ่” ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ข้อ 33 35 CCC. 767. 33 34
20
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
นิยม อันเป็นสาเหตุแห่งความผิดพลาดและ ล้มเหลวในชีวติ ความเชือ่ และการประกาศข่าวดี ด้วยเหตุน ี้ จึงมุง่ ให้กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ในครัง้ นี้น�ำทางไปสู่การฟื้นฟูชีวิตความเชื่อ และการ ประกาศข่าวดีใหม่อกี ครัง้ หนึง่ ในสังคมและพระ ศาสนจักรไทย ดังเห็นได้จากข้อความตอนหนึง่ ของเอกสารของกฤษฎีกาว่า โดยทางศีลล้าง บาป คริ ส ตชนแต่ ล ะคนเป็ น ศิ ษ ย์ ธ รรมทู ต (Missionary Disciple) คือเป็นทั้งศิษย์และ ธรรมทูตด้วยชีวิตความเป็นอยู่ของตนทั้งครบ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใดในพระศาสนจักร หรือมีความรูค้ วามเข้าใจเรือ่ งความเชือ่ ในระดับ ใด ดังนั้นทุกคนจ�ำเป็นต้องได้รับการอภิบาล ช่วยเหลือให้เจริญชีวิตในอารยธรรมแห่งความ รักด้วยวิถชี วี ติ ”ชุมชนคริสตชนย่อย”36 อันเป็น วิ ถี ท างหลั ก ที่ พ ระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ใน ประเทศไทยเลือกใช้เป็นแนวทางการด�ำเนิน ชีวิตใหม่ของคริสตชนคาทอลิกไทย เป็นทั้ง แนวทางหลักในการฟื้นฟูชีวิตและการอบรม ปลู ก ฝั ง ความเชื่ อ คริ ส ตชน รวมทั้ ง ยั ง เป็ น
แนวทางหลักในการน�ำคริสตชนทุกคนผูเ้ ป็นทัง้ ศิษย์และธรรมทูต ก้าวออกไปสู่การประกาศ ข่าวดีแรกเริ่ม (kerygma) และการฟื้นฟูการ ประกาศข่าวดีสู่ปวงชน (ad Gentes) ขึ้นอีก ครั้งหนึ่ง37 สมัชชาใหญ่ฯ ในครั้งนี้ยังได้กล่าวถึง พลังแห่งการฟืน้ ฟูการประกาศข่าวดีขนึ้ ใหม่วา่ เป็นการประทับอยู่ของพระจิตเจ้า “ทันใดนั้น มี เ สี ย งจากฟ้ า เหมื อ นเสี ย งลมพั ด แรงกล้ า ทุ ก คนที่ อ ยู ่ ใ นบ้ า นได้ ยิ น เขาเห็ น เปลวไฟ ลักษณะเหมือนลิ้น แยกไปอยู่เหนือศีรษะของ เขาแต่ละคน” (กจ 2:2-3) โดยชี้ให้เห็นต่อไป ว่า เหตุการณ์ในวันที่พระจิตเจ้าเสด็จมาเหนือ บรรดาศิ ษ ย์ ข องพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า นี้ เ องคื อ การประกาศข่าวดีครั้งแรก เมื่อบรรดาอัครสาวกมารวมตัวกันภาวนาร่วมกับพระมารดา ของพระคริสตเจ้า พระจิตยังเป็นผู้ปลุกจิตใจ ของสาวกให้มีความร้อนรนเพื่อการประกาศ ข่าวดีใหม่ “การประกาศข่าวดีใหม่หมายถึง การปลุกไฟของพระจิตเจ้า ไฟแห่งการประกาศ
ชุมชนคริสตชนย่อย (Basic Ecclesial Communities หรือ BEC) เป็นการรวมตัวของคริสตชนบ้านใกล้เรือนเคียงในบรรยากาศของอารยธรรมแห่งความรัก เพือ่ การมีชวี ติ ชุมชนหรือหมูค่ ณะอย่างเป็นรูปธรรม การมีปฏิสมั พันธ์ของสมาชิกในชุมชนคริสตชน ย่อยๆ อาทิ การพบปะกัน รวมกันเพือ่ แบ่งปันพระวาจา ภาวนา เฉลิมฉลองโอกาสส�ำคัญของสมาชิกในกลุม่ ชุมชน ตลอดจนให้การ ช่วยเหลือต่อกัน หรือต่อเพือ่ นพีน่ อ้ งต่างความเชือ่ ในละแวกบ้านเดียวกัน ตามวิถชี วี ติ คริสตชนแห่งการเป็นประจักษ์พยานพระคริสต เจ้าและความรักของพระเจ้า “วิถชี มุ ชน” เช่นนีจ้ งึ เป็นฐานส�ำคัญของความสัมพันธ์ในระดับชุมชนวัด และต่างจากการรวมกลุม่ เพือ่ ท�ำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันแต่มิได้เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ด้านชีวิตร่วมกัน ธรรมชาติของ BEC จึงเป็นมากกว่า “กลุ่ม” (Group) เพราะเน้น “ชุมชน หรือหมู่คณะ” (Community) เป็นส�ำคัญ 37 กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 ข้อ 13 36
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
21
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
ข่าวดีในบรรดาสมาชิกของพระศาสนจักรให้ ลุกร้อนขึ้น จนกระทั่งความรักของพระคริสตเจ้าผลักดันให้ออกไปประกาศข่าวดีอย่างหลีก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ ” 38 ดังที่นัก บุญเปาโลกล่าวไว้ว่า “หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้ รับความวิบัติ” (1คร 9:16) ศีลก�ำลังเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่มอบพระพร ของพระจิตเจ้าให้กับพระศาสนจักรในทุกเวลา และสถานที่ ซึ่งเป็นพระพรเดียวกันกับที่มอบ ให้ กั บ อั ค รสาวกในวั น ที่ พ ระจิ ต เจ้ า เสด็ จ มา พระจิตเจ้าเป็นดังของขวัญของพระคริสตเจ้าที่ มอบให้กับผู้รับแต่ละคนในวันที่รับศีลก�ำลัง “เราจะวอนขอพระบิ ด า แล้ ว พระองค์ จ ะ ประทานผูช้ ว่ ยเหลืออีกองค์หนึง่ ให้ทา่ น เพือ่ จะ อยู ่ กั บ ท่ า นตลอดไป คื อ พระจิ ต แห่ ง ความ จริ ง .....แต่ พ ระผู ้ ช ่ ว ยเหลื อ คื อ พระจิ ต เจ้ า ที่ พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะ สอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึง ทุกสิง่ ทีเ่ ราเคยบอกท่าน.....เมือ่ พระผูช้ ว่ ยเหลือ ซึ่ ง เราจะส่ ง มาจากพระบิ ด า จะเสด็ จ มา คือพระจิตแห่งความจริง ผู้ทรงเนื่องมาจาก พระบิดา พระองค์จะเป็นพยานให้เราด้วย” (ยน 14:16-17,26; 15:26)
เรื่องเดียวกัน ข้อ 41 CCC. 1302
38 39
22
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เหตุการณ์ในวันที่พระจิตเจ้าเสด็จมา เหนือบรรดาศิษย์ของพระเยซูคริสตเจ้ายังเป็น กรอบแนวคิดส�ำคัญเพือ่ ความเข้าใจถึงศีลก�ำลัง ดังที่ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกกล่าวไว้ ว่า “ผลของการรับศีลก�ำลังคือ การรับพระจิตเจ้าอย่างพิเศษ เหมือนที่บรรดาอัครสาวก เคยได้รับในวันสมโภชพระจิตเจ้า”39 จึงกล่าว ได้ว่า ศีลก�ำลังมอบพระพรของพระจิตเจ้าเพื่อ ให้พระศาสนจักรสามารถท�ำพันธกิจของตนเอง ได้ส�ำเร็จ อันได้แก่การประกาศและท�ำให้งาน ช่วยให้รอดของพระคริสตเจ้าด�ำเนินอยู่ในโลก ชื่อของศีลก�ำลังบ่งบอกในตัวเองว่าเป็นการ ท�ำให้เข้มแข็งหรือยืนยันพระพรแห่งศีลล้างบาป เป็นการเริ่มต้นของการเป็น “ศิษย์ของพระ คริสตเจ้า” ดังทีส่ มัชชาใหญ่ฯ ได้กล่าวไว้ ขณะ ที่ศีลล้างบาปท�ำให้ผู้รับศีลเป็นสมาชิกในพระศาสนจักร ศีลก�ำลังให้พลังและความสามารถ แก่ผรู้ บั ศีลเพือ่ ท�ำพันธกิจของพระศาสนจักรจน ตลอดชีวติ “ดังนัน้ ศีลก�ำลังคือศีลศักดิส์ ทิ ธิด์ ว้ ย วิธีการที่บรรดาอัครสาวกและผู้รับมอบอ�ำนาจ ต่อจากพวกท่านวางมือและเจิมด้วยน�ำ้ มันหอม (คริสมา) เพื่อมอบพระพรของพระจิตเจ้าที่ได้ รับในวันที่พระจิตเสด็จมาให้แก่พระศาสนจักร
เจริญ ว่องประชานุกูล
ทั้งหมดและสมาชิกของพระศาสนจักรทุกคน ท�ำให้การเสด็จมาของพระจิตเจ้าแผ่ขยายออก ไปทั่วโลก ท�ำให้คงอยู่ตลอดไปและยังคงเป็น ปัจจุบนั ในพระศาสนจักร เป็นเสียงเรียกเพือ่ แผ่ ขยายอาณาจั ก รของพระคริ ส ตเจ้ า เพื่ อ แผ่ ขยายข่าวสารแห่งความรอดพ้น”40 พระจิตเจ้า ในศีลก�ำลังจึงเป็นพลังที่ท�ำให้เราเปล่งเสียงใน การเป็นประจักษ์พยานถึงข่าวดีที่ได้รับมา ในพระศาสนจักรสมัยเริ่มแรกการเป็น พยานมักหมายถึงการยอมตายเพือ่ ยืนยันความ เชือ่ ในพระคริสตเจ้า ปัจจุบนั ก็ยงั คงมีคริสตชน ที่ตายเพื่อยืนความเชื่อของพวกเขาอยู่ แต่โดย ส่วนใหญ่การเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบัน หมายถึงการยืนยันความเชื่อด้วยค�ำพูด และ ความร้อนรนในการประกาศพระวรสาร ความ หมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นคือความกระตือรือร้นใน การเป็นพยานต่อสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระท�ำใน ชีวิตของแต่ละคน “การเป็นพยานแต่เดิมเป็น ศัพท์ทางกฎหมาย (ซึ่งยังคงใช้อยู่) หมายถึง บุคคลซึง่ เป็นพยานในสิง่ ทีเ่ ขารับรูจ้ ากประสบการณ์ ส ่ ว นตั ว ของตน และเป็ น ความจริ ง เดียวกันกับการเป็นพยานของคริสตชนในทุก ยุคสมัย ไม่วา่ จะแสดงออกมาด้วยการยอมตาย เพือ่ ยืนยันความเชือ่ ในการประกาศด้วยค�ำพูด
อย่างร้อนรน หรือในความเงียบ ความห่วงใย ต่อความขาดแคลนของผูอ้ นื่ การเป็นประจักษ์ พยานของคริสตชนคือการยืนยันของผู้มีความ เชือ่ ต่อสิง่ ทีพ่ วกเขารูจ้ กั นัน่ ก็คอื พระเยซูคริสต เจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์และกลับคืน พระชนมชี พ ผู ้ ท รงเป็ น ชี วิ ต และความหวั ง ส�ำหรับทุกคนในโลก”41 กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทย มีความเชื่อมั่นเช่น เดียวกันว่า การน�ำเสนอประจักษ์พยานชีวิต ความรัก ความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่าง คริสตชนในสมัยเริ่มแรก และประสบการณ์ การพบกั บ พระเจ้ า องค์ ค วามรั ก ในวิ ถี ชี วิ ต คริสตชนรูปแบบใหม่ การปลูกฝังความเชื่อ และความเข้าใจพระธรรมล�้ำลึกแห่งไม้กางเขน จะน�ำคริสตชนสู่ความเป็นศิษย์พระคริสต์ได้ อย่างแท้จริง กิจการอีกหลายอย่างซึ่งสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศ ไทยได้กล่าวถึงนั้น ล้วนเป็นผลที่เกิดจากการ ด�ำเนินชีวิตของผู้ที่ได้รับศีลก�ำลังที่เต็มไปด้วย พระพรของพระจิตเจ้า แต่สงิ่ เหล่านีม้ ไิ ด้เกิดขึน้ อย่างอัตโนมัติในทันทีทันได แต่เป็นผลจาก การเตรี ย มตั ว อย่ า งดี ข องผู ้ รั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ประการนี ้ ไม่วา่ ในด้านความรูค้ วามเข้าใจ การ
Donald Wuerl, New Evangelization: Passing on the Catholic Faith Today, p.52. Carol Lubering, Ibid, p. 11.
40 41
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
23
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
ยอมรับในอัตลักษณ์ของตนเองในฐานะบุตรสุด ที่รักของพระบิดา การมีโอกาสเรียนรู้ และ ซึมซับในอัตลักษณ์ของตนจนกระทัง่ สามารถที่ จะผูกมัดตนเองในฐานะที่เป็นคริสตชนผู้ใหญ่ พร้อมทีจ่ ะก้าวออกไปเป็นศิษย์พระคริสต์เจริญ ชีวิตเพื่อประกาศข่าวดีใหม่ในสังคมไทยที่ถูก ครอบง�ำ และได้รับผลกระทบจากกระแสของ โลกีย์นิยม อันเป็นเหตุแห่งความผิดพลาดและ ล้มเหลวในชีวติ ความเชือ่ และการประกาศข่าวดี สรุป แม้ว่าศีลก�ำลังจะไม่ถูกกล่าวถึงโดยตรง แม้แต่ครั้งเดียวในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 แต่ถา้ พิจารณาเนือ้ หาสาระของกฤษฎีกา ฉบับนี้อย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า การเจริญชีวิต ตามกฤษฎีกาก็คือการเจริญชีวิตด้วยพลังของ พระจิตเจ้าในศีลก�ำลังนั่นเอง ดังนั้นการฟื้นฟู และให้ความส�ำคัญกับผูเ้ ตรียมตัวรับศีลก�ำลังให้ สามารถหยั่งรากลึกในพระพรของศีลศักดิ์สิทธิ์ ทีพ่ วกเขาได้รบั นี ้ ย่อมเป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจมองข้าม ไปได้ เยาวชนซึง่ เป็นอนาคตของพระศาสนจักร คาทอลิกจะไม่สามารถเป็นพลังส�ำคัญในการ ประกาศข่าวดีใหม่ได้ ถ้าพวกเขาขาดประสบการณ์ ร ่ ว มกั บ พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ในฐานะ พระบุตรสุดที่รักของพระบิดา เพราะพวกเขา
จะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และซึมซับในอัตลักษณ์ การเป็นคริสตชนที่แท้จริง ในฐานะสมาชิกคน หนึ่งของพระศาสนจักรสากลที่มีขอบเขตอัน กว้างไกลจนสามารถก้าวข้ามโลกแคบๆ ของ ปัจเจกนิยม ประสบการณ์ส�ำคัญนี้เป็นกุญแจ ไขไปสู่การผูกมัดตนในฐานะคริสตชนที่เป็น ผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบไม่เพียงตนเอง แต่ เหนือสิง่ อืน่ ใดคือพระประสงค์และพันธกิจของ พระเจ้าที่จะส่งพวกเขาไป สอดคล้องกับสิ่งที่ กฤษฎีกากล่าวไว้ว่า “ชีวิตสนิทสัมพันธ์เป็น หนึง่ เดียวกับพระคริสตเจ้า จุดเริม่ ต้นทีส่ ำ� คัญ เปรียบดังประตูที่เปิดสู่การเป็นศิษย์พระคริสต์ และการประกาศข่าวดีใหม่คอื “การพบปะส่วน บุคคล (แบบตัวต่อตัว) กับพระเยซูคริสตเจ้า (Personal encounter with Christ) นี้เป็น เงื่อนไขส�ำคัญอันจะขาดมิได้ในชีวิตความเชื่อ คริสตชน จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสนับสนุนส่งเสริมช่วย ให้บุคคลเป้าหมายของการประกาศข่าวดีทั้ง 3 กลุ ่ ม ...มี โ อกาสได้ พ บปะส่ ว นบุ ค คลแบบ ตัวต่อตัวกับพระเยซูคริสตเจ้า”42 พระศาสนจักรร�่ำรวยไปด้วยวิถีทางการด�ำเนินชีวิตซึ่งน�ำ ผูม้ คี วามเชือ่ เข้าสูป่ ระสบการณ์ของชีวติ ทีส่ นิท สัมพันธ์กับพระเจ้า ตามจิตตารมณ์ของคณะ นักบวช ผู้น�ำทางด้านจิตวิญญาณมากมายที่ สามารถเรียนรูแ้ ละลงมือปฏิบตั ใิ ห้เหมาะสมกับ พระพรที่แต่ละคนได้รับมา
กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 ข้อ 10
42
24
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เจริญ ว่องประชานุกูล
บรรณานุกรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2560). กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 “ศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” พิมพ์ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนทานต์ การพิมพ์. หน่ ว ยงานสามเณราลั ย สภาพระสั ง ฆราช คาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย. (2534). พระสมณสาสน์ “พระพันธกิจขององค์ พระผูไ้ ถ่” ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที ่ 2 เรือ่ งคุณค่าถาวรของ บทบัญญัติการแพร่ธรรม. นครปฐม: ฝ่ายการพิมพ์วิทยาลัยแสงธรรม. ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูตอัครสังฆมณฑล กรุ ง เทพฯ. (2542). ค� ำ สอนพระ ศาสนจักรคาทอลิก ภาค 2: การเฉลิม ฉลองธรรมล�้ำลึกของพระคริสตเจ้า. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 4 กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ์ อัสสัมชัญ. Second Vatican Council. (1992). Ad Gentes Divinius: Decree on the Church’s Missionary Activity. In The Documents of Vatican II. Edited by Austin Flannery, O.P., America: The Liturgical Press.
Baldovin, S.J., John F., & Turnbloom, David Farina, Eds., (2015). Catho lic Sacraments: A Rich Source of Blessings. New Jersey: Paulist Press. Grun, Anselm. (2007). The Seven Sacraments. 2nd ed. Mumbai Saint Paul Press. Martos, Joseph. (2001). Doors to the Sacred: A historical introduc tion to sacraments in the Catholic Church. Revised and updated edition. America: Liguori Publication. Selman, Francis. (2015). The Sacra ments and the Mystery of Christ. 1st ed. United Kingdom: Gracewing Publishing. Osborne, O.F.M., Kenan B., (1987). The Christian sacraments of initiation: Baptism, Confirma tion, Eucharist. New York: Paulist Press. Wuerl, Donald. (2013). New Evangeli zation: Passing on the Catholic Faith today. America: Our Sunday Publishing.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
25
ศีลก�ำลังกับบทบาทของศิษย์พระคริสต์ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015
Martos, Joseph. What difference does confirmation make? [Online]. Available: http://www. catholicfidelity.com/what-differ ence-does-confirmation-make-by joseph-martos/. (Access date: November 8, 2017).
26
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Luebering, Carol. Confirmation: A Deepening of Our Christian Identity. [Online]. Available: http://www.catholicfidelity.com/ confirmation-a-deepening-of-or christian-identity-by-carol-lueber ing/. (Access date: November 8, 2017).
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก
D evelopment of Undergraduate Student Activity Promotion System of Small Private Higher Education Institutions.
สุขสกล วลัญตะกุล * นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผู้น�ำ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ศ.ดร.ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผูน้ ำ � มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผูน้ ำ � มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น Sookkhasakon Valantagul * Ph.D. student at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
Prof. Dr.Samnao Kajornsin * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
Prof. Dr.Boonreang Kajornsin * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
บทคัดย่อ
28
การวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น การวิ จั ย และพั ฒ นา (Research and Development: R&D) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการส่ง เสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก 2) เพือ่ ทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้ระบบการส่ง เสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก และ 3) เพื่อปรับปรุงระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก ประชากรทีใ่ ช้ ในวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหาร คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา อาจารย์ทปี่ รึกษากิจกรรมนักศึกษา บุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกับการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาและนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยเซนต์ เทเรซา กลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 348 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้น ภูมิแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรม นักศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา จ�ำนวน 48 คน และกลุม่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที ่ 1 ปีการศึกษา 2557 จ�ำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม ข้อมูลคือแบบตรวจสอบรายการและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ขอ้ มูล โดยสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็กมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) ด้ า นปั จ จั ย น� ำ เข้ า ประกอบด้ ว ยองค์ ป ระกอบทั้ ง หมด 14 ประการ (2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบทัง้ หมด 4 ประการ (3) ด้านผลผลิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก มี คุ ณ ลั ก ษณะของบั ณ ฑิ ต ที่ พึ ง ประสงค์ สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทั้ง 5 ด้าน และ (4) ด้านการป้อนกลับ ซึ่งเป็นการน�ำเอา ผลจากการประเมินด้านผลผลิตไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการ ปรับปรุงด้านปัจจัยน�ำเข้าและด้านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
2) ผลการทดลองใช้ ร ะบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาที่ วิทยาลัยเซนต์เทเรซาทัง้ 4 องค์ประกอบพบว่า มีผลการประเมินผ่าน เกณฑ์การประเมิน 3) คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์เทเรซา มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ระบบการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสม ถูกต้องและเป็นประโยชน์ ค�ำส�ำคัญ: Abstract
1) ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา 2) ระดับปริญญาตรี 3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
The objectives of this research were 1) to develop an undergraduate student activity promotion system for small private higher education institutions 2) to implement and assesses of the undergraduate student activity promotion system and 3) to improve the undergraduate student activity promotion system. The population of this research were boards, student activity committee, student activity’s advisers, personnel related in student activity promotion system and undergraduate students at St.Theresa college. 348 samples were divided into two groups by stratified random sampling method. 48 samples were administrators, student activity committee, student activity advisers, personal related in student activity promotion system and 300 samples were undergraduate students in first semester of the year 2014. The instrument used for data collection were checklist and question-
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
29
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
naire. The statistical procedures used in analyzing data was percentage. The research results showed that 1) The undergraduate student activity promotion system for small private higher education institutions composed of 4 factors: (1) Input had 14 items.(2) Process had 4 items.(3) Output indicated that the undergraduate students for small private higher education institutions were qualified to the standard of Thai National Qualification Framework for Higher Education: 2009 and (4) Feedback was the outcome of the output assessment for considering the development of input and process for higher quality output. 2) The undergraduate student activity promotion system assessment at St.Theresa college all 4 factors met the evaluation criteria. 3) The student activity committee at St.Theresa college agreed that the undergraduate student activity promotion system was developed by the researcher were suitable, accurate and useful. Keyword:
30
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) Student Activity Promotion System 2) Undergraduate 3) Small Private Higher Education Institutions
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่ ง สั ง คมโลกมี ก ารเปลี่ ย นแปลง อย่ า งรวดเร็ ว ทางด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง วั ฒ นธรรม วิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม ท�ำให้ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ไทยทีม่ กี ารปรับตัวเข้าสูส่ งั คมวัตถุนยิ มมากขึน้ ประเทศไทยจึงตระหนักและให้ความส�ำคัญต่อ การพัฒนาคุณภาพคนไทย เนื่องจากคนเป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่ส�ำคัญที่สุดต่อการพัฒนา ประเทศทุกด้าน โดยด�ำเนินนโยบายตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพคนไทยทุ ก กลุ ่ ม วั ย ให้ มี ค วามพร้ อ มทั้ ง กาย ใจ สติ ป ั ญ ญา มี จิ ต ส� ำ นึ ก วั ฒ นธรรมที่ ดี ง ามและรู ้ คุ ณ ค่ า ของความเป็นไทย มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นพลัง ทางสังคมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ (ส�ำนักนายกรัฐมนตรี, 2555: 8) การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญใน การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพคนไทยโดย การศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นแหล่งผลิต และพัฒนาคุณภาพคนให้มีความสมบูรณ์ทั้ง ทางด้ า นวิ ช าชี พ ชั้ น สู ง สติ ป ั ญ ญา สั ง คม อารมณ์ ร่างกายและจิตใจ มีคุณภาพระดับ
สูง และน�ำไปสู่คุณลักษณะของคนไทยที่พึง ประสงค์ในฐานะพลเมืองโลกคือ“คนไทยเป็น คนเก่ง คนดีและมีความสุข” (ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา, 2547: 1) ทั้งนี้ พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงได้ก�ำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ขึน้ เพือ่ เป็ น แนวทางแก่ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในการ จัดการเรียนการสอนโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือระดับต�่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับมหาบัณฑิต ส�ำหรับประเทศไทยมี การจัดการการเรียนการสอนในระดับปริญญา ตรีมากที่สุด เนื่องจากเป็นการจัดการเรียน การสอนที่ ต ่ อ เนื่ อ งจากชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาซึ่ ง ประชากรทุกกลุ่มอายุมีความต้องการได้รับ โอกาสทางการศึ ก ษาอย่ า งเท่ า เที ย มกั น (ส�ำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, 2550: 11) สถาบันอุดมศึกษาจึงเป็นระบบหนึ่งของ สั ง คมที่ มี อ งค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ 3 ประการ ได้แก่ ปัจจัยน�ำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) ซึ่งจะ ต้องด�ำเนินการอย่างเป็นระบบและมีกลไกการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาทีช่ ดั เจน จริงจังและ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมทั้งมีความสอดคล้อง กับความต้องการของนักศึกษาร่วมด้วย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
31
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
การจัดกิจกรรมนักศึกษาของสถาบัน อุดมศึกษามีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพบั ณ ฑิ ต เนื่ อ งจากกิ จ กรรม นักศึกษานั้นเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดย แบ่งการจัดกิจกรรมนักศึกษาเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนทีส่ ถาบันอุดมศึกษาเป็นผูด้ ำ� เนินการจัดท�ำ ขึ้นเอง โดยพิจารณาตามความต้องการของ นักศึกษาเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้รับ การพั ฒ นาร่ า งกาย อารมณ์ สั ง คม สติ ปัญญา ตลอดจนคุณลักษณะของบัณฑิตที่ พึ ง ประสงค์ ส อดคล้ อ งกั บ กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ทั้ง 5 ด้านคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะปัญญา ด้านความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสือ่ สาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2553: 66) มีงานวิจัยหลายโครงการที่เกี่ยวข้องกับ ความส�ำคัญของการจัดกิจกรรมนักศึกษาเช่น ผลการวิจัยของวรนัฐ ถ�้ำทองถวิล (2551:1) พบว่า กิจกรรมนักศึกษาเป็นกิจกรรมที่ช่วย พัฒนานักศึกษาให้เกิดการผ่อนคลาย มีความ รับผิดชอบ ความสามัคคี จิตอาสาเสียสละ และมีคณ ุ ธรรม จริยธรรมและผลการวิจยั ของ จตุ พ ร จั น ทร์ เ พชร (2555:1) พบว่ า ประโยชน์ ท่ี ไ ด้ รั บ จากการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม
32
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
นักศึกษาคือ การเสริมสร้างบุคลิกภาพความ เป็นผูน้ ำ� ได้มโี อกาสแลกเปลีย่ นเรียนรู ้ ความ คิ ด เห็ น และทั ศ นคติ ใ นด้ า นต่ า งๆ รวมทั้ ง เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของ สถาบันอุดมศึกษาอีกทางหนึง่ ด้วย ดังนัน้ การ จัดกิจกรรมนักศึกษาเป็นการพัฒนาเพื่อสร้าง ต้ น ทุ น ชี วิ ต ในอนาคตให้ กั บ นั ก ศึ ก ษา โดย นักศึกษาจ�ำเป็นจะต้องมีทงั้ ความรู ้ สมรรถนะ และทักษะชีวติ ทีเ่ หมาะสมกับการเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็วของสังคมโลก หรืออีกนัยหนึง่ คือ การพัฒนาสู่ความเป็นพลเมืองโลก (จิรวัฒน์ วีรังกร, 2557: 26) ถึ ง แม้ ว ่ า การจั ด กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาจะ เป็นการช่วยพัฒนานักศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพก็ตาม แต่สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ประสบปัญหา เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนักศึกษาเช่นเดียวกัน โดยปัญหาทีเ่ กิดขึน้ อาจแตกต่างกันทัง้ ลักษณะ และความรุนแรงของปัญหา ส�ำหรับปัญหา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็กนั้นมี สาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้านเช่น ปัญหางบ ประมาณ ท� ำ ให้ ก ารด� ำ เนิ น งานมี ข ้ อ จ� ำ กั ด ปั ญ หาการขาดแคลนบุ ค ลากรที่ มี ค วามรู ้ ความช� ำ นาญและประสบการณ์ เ กี่ ย วกั บ กิจกรรมนักศึกษา เนือ่ งจากบุคลากรมีจำ� นวน จ�ำกัด ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจากนักศึกษานั้น ได้แก่ ปัญหาการขาดประสบการณ์ในการ ท�ำงานทางด้านกิจกรรมนักศึกษา ปัญหาขาด
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
ความร่วมมือและการให้ความสนใจจากเพื่อน ปัญหาเวลาว่างไม่ตรงกัน ปัญหากลุ่มท�ำงาน และชมรมกิจกรรมนักศึกษา มีจำ� นวนน้อยไม่ เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษาหรือไม่ สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของนั ก ศึ ก ษา ปั ญ หาขาดแคลนสถานที่ ส� ำ หรั บ การเป็ น ศู น ย์ ก ลางประสานงานกิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา ปั ญ หาขาดการวั ด และประเมิ น ผลหลั ง จาก การเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา รวมทั้งปัญหา ขาดการสรุปผลการประเมินเพือ่ น�ำไปปรับปรุง และพั ฒ นาการจั ด กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาให้ มี ประสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น (โสภณ อรุ ณ รั ต น์ , 2542; จิ ร วั ฒ น์ วี รั ง กร, 2549; วิ ชิ ต ประสมปลื้ม, 2550; วรนัฐ ถ�้ำทองถวิล, 2551; จตุ พ ร จั น ทร์ เ พชร, 2555 และ จารวี โกมลดิษฐ์, 2556) จากสภาพปัญหาต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว นั้นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของการจัด กิจกรรมนักศึกษาขึ้นมาเป็นแนวทางในการ พัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพ ซึ่งน�ำไปสู่ชื่อ เสียงและความอยู่รอดของสถาบันอุดมศึกษา เอกชนขนาดเล็ ก ด้ ว ยเหตุ ผ ลดั ง กล่ า วนี้ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก มี ค วาม จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องสร้างระบบการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาขึน้ มาใหม่ เพือ่ เป็นแนวทาง ในการพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ มี คุ ณ ภาพและ สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (Thai Qua-
lifications Framework for Higher Education: TQF) ซึ่ ง น� ำ ไปสู ่ ร ะบบและ กลไกขั บ เคลื่ อ นที่ ถู ก ต้ อ ง เหมาะสมและ ชัดเจนต่อไป (ส�ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา, 2553: 1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อ พั ฒ นาระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก 2. เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการ ทดลองใช้ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก 3. เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้ า นประชากร มี ร าย ละเอียด ดังนี้ 1.1 ประชากรที่ ใช้ ใ นการส� ำ รวจ สภาพและปัญหาการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็กคือ หัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก ทั่ ว ประเทศทัง้ หมด 53 แห่ง จ�ำนวน 53 คน
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
33
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
1.2 ประชากรที่ใช้ในการพิจารณา ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กคือ ผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านระบบการส่งเสริม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาเพื่ อ ท� ำ การสนทนากลุ ่ ม (Focus Group Discussion) จ� ำ นวน 6 คน 1.3 ประชากรทีใ่ ช้ในการประเมินผล การทดลองใช้ ร ะบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรม นักศึกษาได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการส่ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา กิจกรรมนักศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาจ�ำนวน 55 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัย เซนต์เทเรซา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จ�ำนวน 1,367 คน (ฝ่ายบุคลากร และงานทะเบียน: 20 สิงหาคม 2557) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จากการ ค�ำนวณตามตารางส�ำเร็จรูปของ R.V. Krejcie และ D.W. Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จ�ำนวน 348 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ ่ ม ได้ แ ก่ กลุ ่ ม ผู ้ บ ริ ห าร อาจารย์ ที่ ปรึ ก ษากิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาและบุ ค ลากรที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา จ�ำนวน 48 คน และกลุม่ นักศึกษา จ�ำนวน 300 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง ชั้ น (Stratified Sampling) (บุ ญ รี ย ง
34
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ขจรศิ ล ป์ , 2553: 53-59 และ ธนิ น ทร์ ศิลป์จารุ, 2555: 48-61) 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยคือ ระบบ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา โดยผูว้ จิ ยั ได้นำ� เอาทฤษฎี ร ะบบของ Katz & Kahn (1978: 20) มาประยุกต์กบั ระบบการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษา ซึง่ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้ แ ก่ องค์ ป ระกอบด้ า นปั จ จั ย น� ำ เข้ า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้าน ผลผลิต (Output) และด้านการป้อนกลับ (Feedback) ทฤษฎี แ ละแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การพัฒนานักศึกษาของส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ (2538: 20-35) และวัลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2530: 20) การบริหารงานตาม หลั ก ธรรมาภิ บ าลของสถาบั น พระปกเกล้ า (2550: 156-163) รูปแบบการประเมินแบบ ซิ ปป์ (CIPP Model) ของ Daneil L. Stufflebeam (2003 )และการประกั น คุณภาพกิจกรรมนักศึกษาของส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2553: 116-119) 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา การวิจยั ครัง้ นีด้ ำ� เนินการวิจยั ตัง้ แต่เดือน มีนาคม พ.ศ.2557 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 รวมเป็นระยะเวลา 1 ปี
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
วิธีการด�ำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ประกอบด้วยวิธีการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาระบบการส่ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา เป็ น การวิ เ คราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เกี่ยวกับระบบการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษา แล้วท�ำการส�ำรวจสภาพ และปัญหาของการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข องสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชน ขนาดเล็ ก จากหั ว หน้ า กลุ ่ ม งาน กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาทั่ ว ประเทศทั้ ง หมด 53 แห่ ง และน� ำ ผลที่ ไ ด้ จ ากการส� ำ รวจสภาพ และปัญหาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ดั ง กล่ า วมาร่ า งระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรม นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข องสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก เพื่ อ ใช้ ใ นการ สนทนากลุ ่ ม ซึ่ ง การสนทนากลุ ่ ม เป็ น การ พิ จ ารณาร่ า งระบบและปรั บ ปรุ ง ระบบการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาโดยการยืนยันฉันทา มติจากผูท้ รงคุณวุฒทิ างด้านกิจกรรมนักศึกษา จ�ำนวน 6 คนและเป็นการตรวจสอบคุณภาพ ของแบบการสนทนากลุ่มด้วย เมื่อท�ำการ ปรับปรุงระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ตามผลของการสนทนากลุม่ แล้ว จึงน�ำเอาร่าง ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาไปศึกษา
ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยการยืนยัน ฉั น ทามติ ด ้ ว ยการส่ ง ร่ า งระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาไปยังผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายกิจการ นั ก ศึ ก ษาหรื อ หั ว หน้ า กลุ ่ ม งานกิ จ กรรม นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กทั่วประเทศทั้งหมด 53 แห่ง โดยเลือก ประเด็นที่ผู้ตอบเห็นด้วยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึน้ ไปน�ำมาสร้างเป็นระบบการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้และการ ประเมินผลการทดลองใช้ระบบ ซึง่ เป็นการน�ำ เอาระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาไป ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างของวิทยาลัยเซ็นต์ เทเรซา เป็นระยะเวลา 4 เดือน (ระหว่าง เดื อ นกั น ยายน – ธั น วาคม พ.ศ.2557) พร้อมทั้งด�ำเนินการประเมินผลการทดลองใช้ ด้วยการใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ส่ ว นการประเมิ น ผลการทดลองใช้ ระบบผู้วิจัยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ซึ่งมีการประเมินทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยน�ำเข้า ด้านกระบวน การและด้ า นผลผลิ ต เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งหมด 3 แบบได้แก่ 1. แบบตรวจสอบรายการ (Check List) 2. แบบสอบถามระบบการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาส�ำหรับผู้บริหาร คณะกรรมการส่ง เสริมกิจกรรมนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
35
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาและ 3. แบบสอบถาม ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาส�ำหรับ นักศึกษาที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความ ตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและค�ำนวณค่า ดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีค่า ตั้งแต่ 0.6-1.00 ทั้ง 3 ชุด ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุงระบบการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก เป็นการ น�ำเอาผลทีไ่ ด้รบั จากการประเมินการทดลองใช้ ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาของ วิทยาลัยเซนต์เทเรซามาปรับปรุงระบบการส่ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาให้ มี ค วามสมบู ร ณ์ โดยผู ้ บ ริ ห ารและคณะกรรมการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาของวิทยาลัยเซนต์เทเรซามี การประชุ ม ร่ ว มกั บ ผู ้ วิ จั ย เพื่ อ สรุ ป ผลการ ปรับปรุงระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ของวิทยาลัยเซนต์เทเรซาให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ผลการวิจัย ผลการวิจัยซึ่งสรุปตามกรอบแนวคิด ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กจากการน�ำเอาทฤษฎีระบบของ Katz& Kahn (1978: 20) มาประยุกต์ใช้ สามารถ สรุปประเด็น ดังนี้
36
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1. ผลการพั ฒ นาระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก ควรประกอบด้วย วัตถุประสงค์ และองค์ ป ระกอบของระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมของนักศึกษาทัง้ 4 ด้านได้แก่ ด้าน ปัจจัยน�ำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านการป้อนกลับ ดังนี้ 1.1 วัตถุประสงค์ของระบบการส่ง เสริมกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก เพือ่ ให้การจัดกิจกรรมนักศึกษาของ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก เป็ น กระบวนการพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ ส อดคล้ อ ง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2552 1.2 องค์ประกอบของระบบการส่ง เสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก ควรมีองค์ ประกอบ ดังนี้ 1.2.1 ด้ า นปั จ จั ย น� ำ เข้ า มี 14 ประการ ประกอบด้ ว ย1)นโยบายการจั ด กิจกรรมนักศึกษา 2) แผนการจัดกิจกรรม นั ก ศึ ก ษา 3) กฎ ระเบี ย บและข้ อ บั ง คั บ ต่ า งๆ ที่ ว ่ า ด้ ว ยการจั ด กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา 4) ผู ้ บ ริ ห ารและบุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา 5) อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา 6) องค์ ก ร/สโมสร นั ก ศึ ก ษา 7) นั ก ศึ ก ษา 8) สมุ ด บั น ทึ ก กิจกรรมนักศึกษา 9)ปฏิทินการจัดกิจกรรม นั ก ศึ ก ษา 10) งบประมาณ 11) วั ส ดุ อุ ป กรณ์ 1 2)สถานที่ จั ด กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา 13) เครือข่ายทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจกรรมนักศึกษา ทั้ ง ภายในและภายนอกสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา และ 14) การก� ำ หนดช่ ว งเวลาในการจั ด กิจกรรมนักศึกษา 1.2.2 ด้ า นกระบวนการ มี 4 ประการ ประกอบด้วย 1) การปฏิบตั หิ น้าที่ ของอธิ ก าร/อธิ ก ารบดี เ กี่ ย วกั บ ระบบการ ส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาจ� ำ นวน 4 ข้ อ 2) การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องคณะกรรมการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาจ�ำนวน 21 ข้อ 3) การปฏิบัติหน้าที่ของคณบดีจ�ำนวน 4 ข้ อ 4) การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องอาจารย์ ที่ ปรึ ก ษากิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาจ� ำ นวน 8 ข้ อ และ 5) การจัดกิจกรรมของนักศึกษาให้เพียง พอกับความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมของ นักศึกษาครบถ้วนทั้ง 6 ประเภท 1.2.3 ด้านผลผลิต ซึ่งเป็นผลที่เกิด ขึ้ น จากกระบวนการพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ทัง้ 5 ด้าน ได้ แ ก่ 1) ด้ า นคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม
นั ก ศึ ก ษาท� ำ งานโดยยึ ด หลั ก ธรรมาภิ บ าล 2) ด้ า นความรู ้ นั ก ศึ ก ษามี ค วามสามารถ ปฏิบตั กิ ารในสาขาวิชาทีศ่ กึ ษา 3) ด้านทักษะ ทางปัญญา นักศึกษามีความสามารถศึกษา ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมนักศึกษาได้ 4) ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิด ชอบ นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบทัง้ การกระท�ำของตนเอง ภาระหน้าทีใ่ นการท�ำงานและความรับผิดชอบ ต่อสังคมและ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิง ตั ว เลข การสื่ อ สารและการใช้ เ ทคโนโลยี สารสนเทศ นักศึกษามีความสามารถประเมิน ผลการจั ด กิ จ กรรมโดยการรวบรวมข้ อ มู ล ประมวลผลและน�ำเสนอข้อมูลสารสนเทศได้ อย่างเป็นระบบ 1.2.4 ด้านการป้อนกลับ ซึง่ เป็นการ น� ำ เอาผลจากการประเมิ น ด้ า นผลผลิ ต ไป ประกอบการพิ จ ารณาตั ด สิ น ใจเพื่ อ การ ปรับปรุงปัจจัยน�ำเข้าและกระบวนการของ ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาให้ ไ ด้ ผลผลิตที่ดีขึ้น 2. ผลการประเมินการทดลองใช้ระบบ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ผูว้ จิ ยั ได้ใช้รปู แบบการประเมินแบบซิปป์ สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
37
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
2.1 ด้ า นบริ บ ท ปรากฏผลว่ า ผู ้ บ ริ ห ารมี ก ารก� ำ หนดนโยบายให้ ทุ ก คณะ วิชามีส่วนร่วมกับระบบการส่งเสริมกิจกรรม นั ก ศึ ก ษา โดยมอบหมายให้ ฝ ่ า ยกิ จ การ นั ก ศึ ก ษาเป็ น ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบหลั ก และท� ำ เป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร มี ก ารก� ำ หนดภาระงาน ส� ำ หรั บ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษากิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา ไว้ในเอกสารภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมนักศึกษา รวมทั้งน�ำมาใช้เป็นการ ประเมินผลการปฏิบตั งิ านร่วมด้วย และมีการ บรรจุ ร ะบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา ไว้ เ ป็ น ดั ช นี ป ระกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาที่ สอดคล้ อ งกั บ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา แสดงถึงการให้ความส�ำคัญของ ผูบ้ ริหารต่อระบบการส่งเสริมกิจกรรมครบถ้วน ทุกตัวบ่งชี้ 2.2 ด้านปัจจัยน�ำเข้า ปรากฏผลว่า ผู ้ บ ริ ห ารมี ค� ำ สั่ ง แต่ ง ตั้ ง อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา กิจกรรมนักศึกษาครบทุกคณะ พร้อมทัง้ มีการ แต่งตัง้ คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา โดยมีตัวแทนจากทุกคณะร่วมเป็นกรรมการ มีแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาครบถ้วนทัง้ 6 ประเภท ซึง่ อยูใ่ นระดับมาก มีการก�ำหนดกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่ว่าด้วยการจัด กิจกรรมนักศึกษา เช่น นักศึกษาจะต้องเข้า ร่วมกิจกรรมนักศึกษาการเรียนรูท้ วี่ ทิ ยาลัยเป็น ผู ้ ด� ำ เนิ น การได้ แ ก่ การฝึ ก อบรม การจั ด
38
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สัมมนาและการปฐมนิเทศเท่ากับหรือมากกว่า 15 ชั่วโมง/คน/ปี มีการจัดท�ำสมุดบันทึก กิจกรรมนักศึกษาให้กบั นักศึกษาทุกคน มีการ จัดท�ำปฏิทนิ การจัดกิจกรรมประจ�ำปี ส่วนงบ ประมาณเพือ่ ใช้ในการจัดกิจกรรมนักศึกษาอยู่ ในระดับไม่เพียงพอ (ร้อยละ 63.30) วัสดุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมนักศึกษาอยู่ ในระดับไม่เพียงพอ (ร้อยละ 64.30) สถาน ที่เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมนักศึกษามีความ เหมาะสม มีการก�ำหนดนโยบายให้ทุกคณะ วิชาสร้างเครือข่ายทีเ่ กีย่ วกับกิจกรรมนักศึกษา ทั้ ง ภายในและภายนอกวิ ท ยาลั ย และมี ก าร ก�ำหนดช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมนักศึกษาคือ ทุ ก วั น พุ ธ ของสั ป ดาห์ เวลา 13.00 น.16.00 น. โดยไม่มีการจัดการเรียนการสอน ในช่วงเวลาดังกล่าว 2.3 ด้านกระบวนการ ปรากฏผลว่า การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องอธิการ/อธิการบดี คณะ กรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา คณบดี และอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษาอยู่ใน ระดับมากครบถ้วนทุกรายการ 2.4 ด้ า นผลผลิ ต ปรากฏผลว่ า นั ก ศึ ก ษาของวิ ท ยาลั ย เซนต์ เ ทเรซามี คุ ณ ลั ก ษณะสอดคล้ อ งตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 มากกว่าร้อยละ 80 อยู่ในระดับปานกลาง ถึงมากครบถ้วนทุกรายการทั้ง 5 ด้านได้แก่
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม นักศึกษาท�ำงาน โดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล 2) ด้านความรู้ นั ก ศึ ก ษาสามารถปฏิ บั ติ ก ารในสาขาวิ ช าที่ ศึกษา 3) ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษามี ความสามารถศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนักศึกษาได้ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ นักศึกษามีปฏิสมั พันธ์ทดี่ กี บั ผู้ร่วมงานและมีความรับผิดชอบทั้งการกระท�ำ ของตนเอง ภาระหน้าที่ในการท�ำงานและ ความรับผิดชอบต่อสังคม 5) ด้านทักษะการ วิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้ เทคโนโลยี ส ารสนเทศ นั ก ศึ ก ษามี ค วาม สามารถประเมินผลการจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปรความ หมายและน�ำเสนอข้อมูลสารสนเทศได้อย่าง เป็นระบบ 3. ผลการปรับปรุงระบบการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก จากผลการประเมินการทดลองใช้ระบบ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของวิทยาลัยเซนต์เทเรซา ซึง่ เป็นการประเมิน ผลทัง้ 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัย น�ำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต พบ ว่า การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาผ่านเกณฑ์ ประเมินทุกตัวบ่งชีอ้ ยูใ่ นระดับปานกลางถึงมาก
ดังนั้นมติประชุมของคณะกรรมการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์เทเรซาจึงมี ความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าระบบการส่งเสริม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาที่ ผู ้ วิ จั ย ได้ พั ฒ นาขึ้ น นั้ น มี ความเหมาะสมกับบริบทของวิทยาลัยเซนต์เทเรซาจึงไม่มีการปรับปรุง แสดงให้เห็นว่า ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษามีความ ถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับบริบท และเป็นประโยชน์ต่อวิทยาลัยเซนต์เทเรซา อย่างแท้จริง อภิปรายผล จากผลการวิจัยมีประเด็นการอภิปราย ผล ดังนี้ 1. การพั ฒ นาระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก พบว่า (1) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมนักศึกษา เพื่ อ เป็ น กระบวนการพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ สอดคล้ อ งตามมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ.2552 ทั้ ง นี้ อ าจ เป็ น เพราะกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ.2552 ก� ำ หนด วั ต ถุ ป ระสงค์ ร ะบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรม นักศึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กไว้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
39
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของจารวี โกมลดิษฐ์ (2556) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการด�ำเนิน การจัดกิจกรรมนักศึกษาจะต้องสอดคล้องกับ ปรัชญาของวิทยาลัยชุมชนและกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (2) องค์ ป ระกอบของระบบการ ส่ ง เสริ มกิ จ กรรมนัก ศึก ษาระดับปริญญาตรี ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก มี องค์ประกอบ 4 ด้านคือ ด้านปัจจัยน�ำเข้า ด้ า นกระบวนการ ด้ า นผลผลิ ต และด้ า น การป้ อ นกลั บ ตามทฤษฎี ร ะบบของ Katz &Kahn (1978:20) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะองค์ ประกอบตามทฤษฎี ร ะบบของ Katz& Kahn (1978:20) ครอบคลุมการด�ำเนินงาน ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของพนิ ต นาฎ ช�ำนาญเสือ (2555) กล่าวว่า ระบบการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาวิ ช าการที่ เ หมาะสมควรมี อ งค์ ประกอบส�ำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านปัจจัย น�ำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและ ด้านการป้อนกลับ 2. ผลการประเมินการทดลองใช้ระบบ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของวิทยาลัยเซนต์เทเรซา พบว่า 2.1 ด้านบริบท ผู้บริหารให้ความ ส�ำคัญต่อระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ครบถ้วนทุกตัวบ่งชี ้ ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะระบบ
40
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเป็นเครื่องมือ ที่ส�ำคัญในการพัฒนานักศึกษา ซึ่งสอดคล้อง กั บ งานวิ จั ย ของสุ ก ขะสะหวาด วงหาจั ก (2555) กล่าวว่า ผูบ้ ริหารสถานศึกษาจะต้อง ให้ ค วามส� ำ คั ญ ในการจั ด กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา อย่างจริงจังและต่อเนือ่ ง การพัฒนานักศึกษา จึงจะมีประสิทธิภาพ 2.2 ด้านปัจจัยน�ำเข้า ผูบ้ ริหารมีการ ด�ำเนินงานเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาครบถ้วนทุกตัวบ่งชี้ ทั้งนี้อาจเป็น เพราะผูบ้ ริหารสถาบันอุดมศึกษาจะต้องพัฒนา นั ก ศึ ก ษาให้ ส อดคล้ อ งตามตั ว บ่ ง ชี้ ที่ 3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Rachel (2552) กล่าวว่าการเตรียมความพร้อมในการ จัดกิจกรรมนักศึกษาของสถาบันการศึกษามี ความส�ำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางด้าน ความคิด การปรับตัว การเข้าใจตนเองและ บุ ค ลิ ก ภาพในอนาคต ส� ำ หรั บ ปั ญ หาที่ พ บ ในการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาอยู่ในระดับ ปานกลางถึ ง มาก โดยปั ญ หาที่ มี ค วามถี่ สู ง สุ ด ได้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาไม่ ส นใจในการเป็ น ผู ้ จั ด กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา (ร้ อ ยละ 61.70) อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษากิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา วั ส ดุ อุ ป กรณ์ แ ละเครื่ อ งมื อ ต่ า งๆ ส� ำ หรั บ จั ด กิ จ กรรมมี ไ ม่ เ พี ย งพอ (ร้ อ ยละ 55.31)
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
และงบประมาณในการจัดกิจกรรมนักศึกษา ไม่ เ พี ย งพอ (ร้ อ ยละ 53.19) ตามล� ำ ดั บ จากปั ญ หาทั้ ง หมดจึ ง ส่ ง ผลให้ นั ก ศึ ก ษาไม่ สนใจเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา (ร้ อ ยละ 57.44) และนั ก ศึ ก ษาขาดทั ก ษะการเป็ น ผู ้ น� ำ ในการจั ด กิ จ กรรม (ร้ อ ยละ 51.08) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะงบประมาณมีความส�ำคัญ ต่ อ การสนั บ สนุ น การเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมของ นั ก ศึ ก ษาให้ บ รรลุ ต ามวั ต ถุ ป ระสงค์ ต ามที่ ก� ำ หนดไว้ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ สุภาพ ปาทะรัตน์ (2547) กล่าวว่า องค์ ประกอบหลั ก ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การจั ด กิ จ กรรม นักศึกษาคือ งบประมาณ การอ�ำนวยความ สะดวกและการประสานงานด้านอื่นๆ 2.3 ด้ า นกระบวนการ ผู ้ บ ริ ห าร คณะกรรมการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษา คณบดีและอาจารย์ทปี่ รึกษากิจกรรมนักศึกษา ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ ระบบการส่ ง เสริ ม กิจกรรมนักศึกษาครบถ้วนทุกตัวบ่งชี้ ทั้งนี้ อาจเป็ น เพราะผู ้ บ ริ ห ารและบุ ค ลากรที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรม นั ก ศึ ก ษาจะต้ อ งปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ ห้ บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการพั ฒ นานั ก ศึ ก ษาให้ มี ประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Barbatis (2553) กล่าวว่าการจัดกิจกรรม นั ก ศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาจะสนั บ สนุ น พัฒนาการด้านการเรียนรู้และประสบการณ์ ในการด�ำเนินชีวิตให้กับนักศึกษา
2.4 ด้ า นผลผลิ ต นั ก ศึ ก ษาของ วิทยาลัยเซนต์เทเรซามีคุณลักษณะสอดคล้อง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552 ครบถ้วนทัง้ 5 ด้าน ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะวิทยาลัยเซนต์เทเรซามีการ ด�ำเนินงานด้านปัจจัยน�ำเข้าและด้านกระบวน การของระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ครบถ้ ว นทุ ก ตั ว บ่ ง ชี้ จึ ง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ผลผลิ ต ดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศิริพร พรหมนา (2553) กล่าวว่าการให้ค�ำปรึกษา วิชาการมีผลต่อการพัฒนานักศึกษาจะต้อง มี ป ั จ จั ย น� ำ เข้ า ได้ แ ก่ การเข้ า ใจหลั ก สู ต ร ลักษณะรายวิชาที่เรียน การเลือกวิชาที่เรียน การลงทะเบียน วิธีการเรียนและการวัดผล ซึ่ ง จะต้ อ งผ่ า นกระบวนการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร ระหว่างอาจารย์และมีความพึงพอใจต่อระบบ การให้ค�ำปรึกษาวิชาการ 2.5 ด้ า นการป้ อ นกลั บ วิ ท ยาลั ย เซนต์เทเรซามีการน�ำเอาผลจากการประเมิน ด้านผลผลิตไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพือ่ ปรับปรุงปัจจัยน�ำเข้าและกระบวนการของ ระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาให้ ไ ด้ ผลผลิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระบบการ ส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษามี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของจ�ำเป็น เอี่ยม อักษร (2553) กล่าวว่าการสะท้อนข้อมูลจาก ผลผลิตเพื่อน�ำไปใช้ปรับปรุงปัจจัยน�ำเข้าและ กระบวนการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาจะท�ำให้ เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
41
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
3. การตรวจสอบระบบการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก พบว่าระบบการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มามี ค วามเหมาะสมกั บ บริ บ ทของวิ ท ยาลั ย เซนต์เทเรซาจึงไม่มีการปรับปรุงระบบ ทั้งนี้ อาจเป็ น เพราะระบบการส่ ง เสริ ม กิ จ กรรม นักศึกษามีการพัฒนาตามขัน้ ตอนของการวิจยั ท�ำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งสอดคล้อง กั บ งานวิ จั ย ของณั ฎ ฐ์ ช ยธร ศรุ ด าธิ ติ พั ท ธ์ (2553) กล่าวว่าการพัฒนาระบบการให้ค�ำ ปรึ ก ษาวิ ช าการในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาของ รัฐบาลผ่านเกณฑ์ประเมินที่ก�ำหนดในระดับ ปานกลางถึ ง มากจึงไม่มีก ารปรับปรุงระบบ แสดงให้ ท ราบว่ า ระบบการให้ ค� ำ ปรึ ก ษา วิชาการมีความเหมาะสมกับบริบทของสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐบาล ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1.1 ส�ำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก มีดังนี้ (1) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กควรมีการแต่งตัง้ อาจารย์ทปี่ รึกษากิจกรรม นั ก ศึ ก ษาเพิ่ ม ขึ้ น ให้ เ พี ย งพอต่ อ การให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแก่ นั ก ศึ ก ษา โดยก� ำ หนดบทบาท หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา เพิ่มเติมให้กับอาจารย์ประจ�ำในแต่ละสาขา 42
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วิชาเพื่อการพัฒนานักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ (2) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็กควรที่จะแสวงหาขอรับการสนับสนุนทุน จากแหล่งทุนภายนอก เช่น ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เครือข่ายทีเ่ กีย่ วข้อง กับกิจกรรมนักศึกษาทั้งภายในและภายนอก สถาบันอุดมศึกษา และการบริจาคจากหน่วย งานภาคธุรกิจ 1.2 ข้อเสนอแนะส�ำหรับส�ำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีดังนี้ (1) ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาควรที่จะมีการจัดประชุมสัมมนา เรื่อง “ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ก” ให้กับรองอธิการบดีฝ่ายกิจการ นักศึกษาหรือหัวหน้างานกิจกรรมนักศึกษา ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก ทั่ ว ประเทศทั้งหมด 53 แห่ง เพื่อเสริมสร้าง ความรู ้ ความเข้าใจเกีย่ วกับระบบการส่งเสริม กิจกรรมนักศึกษาและสามารถน�ำไปใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ (2) ควรจั ด พิ ม พ์ คู ่ มื อ เรื่ อ ง “การ ส่ ง เสริ ม กิ จกรรมนั ก ศึ ก ษาระดั บปริ ญ ญาตรี ของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนขนาดเล็ ก ” เอาไว้แจกจ่ายแก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็ ก เพื่ อ ใช้ เ ป็ น แนวทางในการปฏิ บั ติ งานการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
สุขสกล วลัญตะกุล, ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ และ บุญเรียง ขจรศิลป์
1.3 ข้ อ เสนอแนะส� ำ หรั บ การน� ำ ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาไปประยุกต์ ใช้ ดังนี้ (1) รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษาควรที่จะศึกษาระบบการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็กให้เข้าใจ อย่างชัดเจน (2) รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษาน�ำเสนอเพื่อพิจารณาการ ใช้ระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาด เล็ ก ต่ อ อธิ ก าร/อธิ ก ารบดี แ ละสภาสถาบั น สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก (3) เมือ่ สภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็กตามข้อ (2) ลงมติเห็นชอบให้ทุก คณะน�ำระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขนาดเล็กไปใช้ได้แล้ว รองอธิการบดี/ผู้ช่วย อธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเสนอแต่งตั้ง คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับ สถาบันเอกชนขนาดเล็กต่ออธิการ/อธิการบดี (4) คณบดีทกุ คณะเสนอแต่งตัง้ คณะ กรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับคณะ ต่ออธิการ/อธิการบดี (5) คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาระดับคณะร่วมประชุมภาคการศึกษา
ละ 1-2 ครั้ง เพื่อการพัฒนาระบบการส่ง เสริมกิจกรรมนักศึกษา (6) คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาแต่ละคณะวิชาควรมีการประชุมเดือน ละ 1 ครั้ง เพื่อการแลกเปลี่ยนแนวทางใน การแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษา เช่น ปัญหาผล การเรียนตกต�่ำและปัญหาอื่นๆ (7) มีการจัดสัมมนาอาจารย์ทปี่ รึกษา กิจกรรมนักศึกษาของคณะในเรื่องที่เกี่ยวกับ ความรู ้ บทบาทหน้ า ที่ แ ละเทคนิ ค การให้ ค�ำปรึกษา เพื่อสามารถที่จะพัฒนานักศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ก�ำหนดไว้ได้ (8) คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรม นักศึกษาระดับสถาบัน ควรเสนอให้สถาบัน อุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็กก�ำหนดค่าน�้ำหนัก ภาระงาน (Work Load) ในการท�ำหน้าที่ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษากิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริญญาตรีไว้ในแบบภาระงานขั้นต�่ำส�ำหรับ อาจารย์ (9) ภายหลั ง จากการใช้ ร ะบบการ ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็กครบ 3 ปี ควรทีจ่ ะปรับเกณฑ์การประเมินจากระดับปาน กลางถึงมากเป็นระดับมาก (10) ความส�ำเร็จของการน�ำระบบ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็กไปใช้
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
43
การพัฒนาระบบการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก
ขึ้นอยู่กับการให้ความส�ำคัญและการสนับสนุน อย่างจริงจังและต่อเนื่องจากผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเล็กคือ อธิการ/ อธิการบดี รองอธิการบดีฝา่ ยกิจการนักศึกษา และคณบดี (11) ควรมีการจัดพิมพ์คู่มือระบบ การส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาให้กับอาจารย์ที่ ปรึกษากิจกรรมนักศึกษาทุกคณะวิชา เพื่อ เป็นแนวทางในการให้ค�ำปรึกษาแก่นักศึกษา
2. ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจยั ครัง้ ต่อไป จากผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาไม่ สนใจในการเป็นผู้จัดกิจกรรมนักศึกษาและ นักศึกษาไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา ดังนั้นส�ำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปควรที่จะ ท� ำ การวิ จั ย เกี่ ย วกั บ ปั ญ หาและสาเหตุ ที่ แ ท้ จริงที่ท�ำให้นักศึกษาไม่สนใจในการเป็นผู้จัด กิจกรรมนักศึกษาและไม่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม นักศึกษาต่อไป
เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แผนพัฒนา การศึกษา (ฉบับที่11) พ.ศ.2555 2559. เข้าถึงได้จ ากhttp://www. thailibrary.in.th/ คณะกรรมการการอุดมศึกษา.2554. คูม่ อื การ ประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาน ศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: หจก.ภาคพิมพ์. บุญเรียง ขจรศิลป์. 2553. วิธีวิจัยทางการ ศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ หจก. พี.เอ็น.การพิมพ์. วั ล ลภา เทพหั ส ดิ น ณ อยุ ธ ยา.2530. กิ จ การนั ก ศึ ก ษายุ ค โลกาภิ วั ต น์ . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ส� ำ เนาว์ ขจรศิ ล ป์ . 2538. มิ ติ ใ หม่ ข อง กิ จ การนั ก ศึ ก ษา2: การพั ฒ นา นั ก ศึ ก ษา. กรุ ง เทพฯ: ส� ำ นั ก พิ ม พ์ เกษมบัณฑิต. ศิริพร พรหมมา. 2553. การพัฒนาระบบ การให้ ค� ำ ปรึ ก ษาวิ ช าการระดั บ ปริ ญ ญาตรี ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชน. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา บริ ห ารการศึ ก ษาและภาวะผู ้ น� ำ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. Katz and Kahn, R.L.1978. The social psychology of organization. New York : McGraw –Hill. Stufflebeam, D.L.2003. The CIPP Model for Evaluation. International handbooks of education evalua tion. Retrieved from http://www. credoreference.com.
44
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
T he Development of Human Resource Management Process for General Education Private Schools Northeastern Region.
ปิยะนาถ ด่านกุล * รองผู้อ�ำนวยการโรงเรียนประสารวิทยา ศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผูน้ ำ � มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ศ.ดร.ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผูน้ ำ � มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น Piyanad Dankul * Assistant Director, Prasarnwittaya School. Prof. Dr.Boonreang Kajornsin * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
Prof. Dr.Samnao Kajornsin * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทคัดย่อ
46
การวิจยั ครัง้ นี ้ มีวตั ถุประสงค์หลักเพือ่ พัฒนากระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อสร้าง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ ศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพือ่ ศึกษาความเป็นไปได้ใน ทางปฏิบัติและหาความตรงเชิ ง โครงสร้ า งของกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนื อ และ 3) เพื่ อ ประเมินความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในทางปฏิบตั ขิ องโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือการด�ำเนินการวิจยั แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างกระบวนการ บริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ในโรงเรี ย นเอกชนประเภทสามั ญ ศึ ก ษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ใน ทางปฏิบัติและหาความตรงเชิ ง โครงสร้ า งของกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในทางปฏิบตั ขิ องโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิ จั ย พบว่ า กระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ น โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์งาน 2) การวางแผนบุคลากร 3) การสรรหาบุคลากร 4) การคัดเลือกบุคลากร 5) การปฐมนิเทศ 6) การพัฒนาบุคลากร
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
7) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 8) การบริหารค่าตอบแทน และ 9) การบริหารผลประโยชน์ตอบแทน การศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ใ นทางปฏิ บั ติ แ ละหาความตรงเชิ ง โครงสร้างของกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ผู้อ�ำนวย การโรงเรียนทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ส่วน ใหญ่เห็นด้วยทุกประเด็นมากกว่าร้อยละ 80 และน�ำมาตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างของกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันพบว่ากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การประเมินความเหมาะสมของกระบวนการบริหารทรัพยากร มนุษย์ในทางปฏิบตั ขิ องโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 9 องค์ประกอบ พบว่ากระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ในระดับ มากถึงมากที่สุดทุกประเด็น ในทุกองค์ประกอบ ค�ำส�ำคัญ:
1) การพัฒนากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) โรงเรียนเอกชน
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
47
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Abstract
48
The main purpose of this research was to Develop of Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region. The objectives of this study were to 1) create the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region 2) study the feasibility in practice and find Construct Validity of the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region 3) evaluat the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region. There were 3 main steps of the research in this study. The first step was to create the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region. The second step was to study the feasibility in practice and find Construct Validity of the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region. The last step was to evaluate the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region. According to the study, the Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region composed of 9 components as follows : 1) Job Analysis 2) Planning 3) Recruitment 4) Selection 5) Orientation
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
6) Personal Development 7) Performance Appraisal 8) Compensation and 9) Benefits The results of the evaluation revealed that all 9 components of Human Resource Management Model for General Education Private Schools Northeastern Region were classified in ‘good’ level and “excellent” level. Keywords:
1) The development of human resource management 2) Private schools
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
49
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทน�ำ การพัฒนา “คน” ทีอ่ ยูใ่ นประเทศนัน้ เป็ น เป้ า หมายที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ในการพั ฒ นา ประเทศ หากประเทศใดสามารถท� ำ ให้ ประชากรหรือทรัพยากรมนุษย์ในประเทศของ ตนมี คุ ณ ภาพ คื อ มี ส ติ ป ั ญ ญา ความรู ้ ความสามารถ มี ทั ก ษะความเชี่ ย วชาญมี สุขอนามัยดี มีระเบียบวินยั มีคณ ุ ธรรม และ จริยธรรม ประเทศนั้นก็ย่อมเจริญรุดหน้าไป ได้ แ ละผู ้ ค นก็ จ ะอยู ่ ร ่ ว มกั น อย่ า งมี ค วามสุ ข การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประชากรที่ มี คุ ณ ภาพกระท� ำ ได้ โ ดยผ่ า นกระบวนการ ให้ ก ารศึ ก ษา จึงอาจกล่าวได้ว่าการศึก ษา เป็ น หั ว ใจส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นาประเทศ ประเทศไทยได้ ต ระหนั ก ความจริ ง ในข้ อ นี้ จึงได้บัญญัติไว้ชัดเจน ในพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่ม เติ ม (ฉบั บ ที่ 2) พ.ศ.2545 ว่ า “การ จั ด การศึ ก ษาต้ อ งเป็ น ไปเพื่ อ พั ฒ นาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต” (ส�ำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, 2551ข) แม้ว่ารัฐจะมีนโยบายส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของเอกชนในการจัดการศึกษาแต่ยังพบ ว่าการมีส่วนร่วมของเอกชนยังมิได้มีการขยาย ตัวมากเท่าที่ควร แต่ในทางปฏิบัติรัฐยังจัด
50
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
บริการการศึกษาที่แข่งขันกับภาคเอกชนมาก ขึ้น นอกจากนี้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของเอกชนในการจัดการศึกษายังพบปัญหาอีก หลายประการ คือ 1) นโยบายขยายโอกาส ทางการศึกษาของรัฐมีผลกระทบต่อการรับ นักเรียนของโรงเรียนเอกชน 2) การจัดสรร เงินอุดหนุนรายหัวยังไม่สอดคล้องกับค่าใช้จา่ ย ที่ เ ป็ นจริ ง ของโรงเรี ย นเอกชน 3) การลด หย่ อ นหรื อ ยกเว้ น ภาษี แ ละการให้ สิ ท ธิ ประโยชน์โรงเรียนเอกชนมีปัญหาถูกเรียกเก็บ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ท�ำให้เกิดความไม่เป็น ธรรม 4) ความล่าช้าในการปรับปรุงแก้ไขกฏ หมายรวมทั้ ง กฎระเบี ย บไม่ เ อื้ อ และเป็ น อุ ป สรรคต่ อ การส่ ง เสริ ม การจั ด การศึ ก ษา เอกชน 5) ครู แ ละบุ ค ลากรของโรงเรี ย น เอกชนยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาอย่ า งทั่ ว ถึ ง 6) การเรียกบรรจุครูภาครัฐกระทบต่อการ เรี ย นการสอนของโรงเรี ย นเอกชน และ 7) การจ้างครูต่างชาติมีกระบวนการยุ่งยาก ล่าช้า (ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2551ก) ปัจจุบันภาวะการขาดแคลนครู เป็น ส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบอย่างส�ำคัญต่อการ จั ด การศึ ก ษาทั้ ง ด้ า นปริ ม าณและคุ ณ ภาพ การขาดแคลนครูในด้านคุณภาพก็เป็นปัญหา ส�ำคัญคนเก่งๆ สนใจมาเป็นครูอาจารย์ลดลง เพราะมีงานอื่นที่ดีกว่า ครูไม่ได้พอใจหรือ
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
มีความสุขในความเป็นครูมากนักเพราะมักเป็น งานที่ ห นั ก ซ�้ ำ ซาก และได้ ค ่ า ตอบแทนต�่ ำ (ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552) ครู โ รงเรี ย นเอกชนโดยทั่ ว ไปมั ก มองเห็ น โรงเรียนเอกชนเป็นเพียงศาลาพักร้อน เมือ่ ได้ งานที่ดีกว่าก็จะลาออก ก่อให้เกิดปัญหาครู ลาออกกลางภาคเรียนบ่อยๆ ซึ่งสาเหตุหลัก ก็คือ ครูขาดความมั่นในในการท�ำงาน ขาด โอกาสที่จะก้าวหน้า ขาดสวัสดิการที่เหมาะ สมและไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู ขาดความพึ ง พอใจในการท� ำ งาน ท� ำ ให้ โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาการ ขาดแคลนครูและครูลาออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (ณั ฎ ฐพั น ธ์ เขจรนั น ทน์ , 2548) ในภาค ตะวั น ออกเฉี ยงเหนือยังประสบปัญหาเรื่อง ครูมีการบรรจุแต่งตั้งและถอดถอนบ่อย สอน ไม่ตรงกับวุฒแิ ละสาขา ขาดขวัญและก�ำลังใจ ในการท� ำ งาน ได้ รั บ เงิ น เดื อ นต�่ ำ กว่ า วุ ฒิ ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีภาระ หนี้สิน ปัจจัยเหล่านี้ท�ำให้เกิดความเครียด ในการท�ำงานสูง ขาดความกระตือรือร้นใน การท�ำงาน ครูจึงมีความตั้งใจลาออกเพื่อไป ประกอบอาชีพรับราชการหรืออาชีพที่มีความ ก้าวหน้าและมั่นคงกว่า (ปราชญา กล้าผจญ และพอตา บุตรสุทธิวงศ์, 2550: 282) จากความเป็นมาของสภาพการณ์ทเี่ ป็น ปัญหาการบริหารสถานศึกษาด้านการบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมา ผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจในการพัฒนากระบวนการ บริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นโรงเรี ย นเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือ เพื่อน�ำกระบวนการบริหารทรัพยากร มนุษย์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ ศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อ สร้ า งกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. เพื่ อ ศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ใ นทาง ปฏิ บั ติ แ ละหาความตรงเชิ ง โครงสร้ า งของ กระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ น โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. เพื่ อ ประเมิ นความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทาง ปฏิบตั ขิ องโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีด�ำเนินการและขั้นตอนวิจัย ตอนที่ 1 สร้างกระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
51
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยการการศึ ก ษาเอกสารและงานวิ จั ย ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ วิเคราะห์ผลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหา ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แล้วน�ำข้อมูล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษาเอกสาร งานวิ จั ย ที่ เกี่ ย วข้ อ ง และการศึ ก ษาสภาพปั ญ หามา ยกร่างกระบวนฯ และท�ำการตรวจสอบความ เหมาะสมของร่ า งกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์จากผู้ทรงคุณวุฒิโดยการจัด สนทนากลุ่มกับผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาและ ปรับปรุงกระบวนฯ ตามข้อเสนอแนะจากการ วิพากย์ ตอนที ่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ในทาง ปฏิ บั ติ แ ละหาความตรงเชิ ง โครงสร้ า งของ กระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ น โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้แบบสอบถาม ความคิ ด เห็ น ของผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นต่ อ กระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ น โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาคตะวั น ออกเฉียงเหนือจากผู้อ�ำนวยการ โรงเรี ย นและหาค่ า ความเที่ ย ง พบว่ า แบบสอบถามมี ค ่ า ความเที่ ย งในแต่ ล ะองค์ ประกอบ ตัง้ แต่ .622 - .946 หาค่าความ เที่ ย งตรงเชิ ง โครงสร้ า ง ของกระบวนการ บริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นโรงเรี ย นเอกชน
52
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตอนที ่ 3 ประเมินความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทาง ปฏิบัติของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญ ศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยผูว้ จิ ยั ได้ ท� ำ การทดลองใช้ ก ระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนประสารวิทยา อ�ำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลา 4 เดื อ น และประเมิ น การทดลองใช้ กระบวนการโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ของบุคลากรโรงเรียนประสารวิทยาที่มีผลต่อ ประเด็ น การทดลองใช้ ก ระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการวิจัย 1. การสร้ า งกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึ ก ษาสภาพและปั ญ หาของการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชนประเภท สามั ญ ศึ ก ษาเขตภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ผลการวิจัย พบว่า 1.1 น� ำ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษา เอกสาร และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ บริหารทรัพยากรมนุษย์มาประมวลผลเข้าด้วย
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
กัน พบว่า กระบวนการบริหารทรัพยากร มนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบคือ 1) การวิเคราะห์งาน 2) การวางแผนบุคลากร 3) การสรรหาบุคลากร 4) การคัดเลือกบุคลากร 5) การปฐมนิเทศ 6) การพัฒนาบุคลากร 7) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 8) การบริหารค่าตอบแทน และ 9) การบริหารผลประโยชน์ตอบแทน 1.2 จากการแจกแบบสอบถามสภาพ และปัญหาของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ�ำแนกตามขนาด ของโรงเรียนทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ ก จ� ำ นวน 286 โรงเรี ย นโดย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเป็นการตอบแบบสอบ ถามผลการวิจัยในรายองค์ประกอบ พบว่า 1.2.1 ด้านการวิเคราะห์งาน ในภาพ รวมโรงเรียนมีสภาพการปฏิบตั งิ านอยูใ่ นระดับ มากถึงมากที่สุดทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาด กลาง และขนาดใหญ่ และมีปัญหาของการ ปฏิบตั งิ านในด้านการวิเคราะห์งานมีปญ ั หาอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนทัง้ 3 ขนาด ปัญหาในการปฏิบตั งิ าน
อยูใ่ นระดับมากเกือบทัง้ หมด ยกเว้นเรือ่ งการ บรรยายลั ก ษณะงานของแต่ ล ะต� ำ แหน่ ง ไม่ ชัดเจน ในโรงเรียนขนาดใหญ่มปี ญ ั หาในระดับ น้อย 1.2.2 ด้ า นการวางแผนบุ ค ลากร มีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากถึงมาก ทีส่ ดุ ในโรงเรียนทัง้ 3 ขนาด และมีปญ ั หา ของการปฏิบตั งิ านในด้านการวางแผนบุคลากร ในระดับมาก ยกเว้นปัญหาเรื่องนโยบายของ รัฐในการเรียกบรรจุครูมีผล กระทบต่อการ วางแผนบุคลากรของโรงเรียน มีปัญหาอยู่ใน ระดับมากที่สุด ทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาด กลาง และขนาดใหญ่ ส่วนปัญหาด้านการลา ออกของบุ ค ลากรอย่ า งกระทั น หั น ท� ำ ให้ การด� ำ เนิ น งานไม่ เ ป็ น ไปตามแผนที่ ว างไว้ ในโรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดกลางมีปญ ั หา อยู่ในระดับมากที่สุด ในโรงเรียนขนาดใหญ่มี ปัญหาอยู่ในระดับมาก 1.2.3 ด้ า นการสรรหาบุ ค ลากร มี ส ภาพการปฏิ บั ติ ง านอยู ่ ใ นระดั บ มากถึ ง มากที่สุดทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และมีปัญหาของการปฏิบัติ งานในด้ า นการสรรหาบุ ค ลากรระดั บ มาก ยกเว้นเรื่องโรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์ การสรรหาบุคลากรใหม่อย่างทัว่ ถึงในสือ่ ต่างๆ เช่ น การติ ด ป้ า ยประกาศ วิ ท ยุ ชุ ม ชน อินเทอร์เน็ต ในโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหา ในระดับน้อย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
53
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.2.4 ด้ า นการคั ด เลื อ กบุ ค ลากร มีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากถึงมาก ที่สุดทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ ยกเว้ น ประเด็ น เรื่ อ งโรงเรี ย นมี การตรวจสอบประวั ติ สุ ข ภาพของผู ้ ส มั ค ร ในโรงเรี ย นขนาดเล็ ก และขนาดกลางมี ก าร ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย และมีปัญหาของการ ปฏิบัติงานในด้านการคัดเลือกบุคลากรระดับ มาก ทั้ง 3 ขนาด ยกเว้นเรื่องบุคลากรที่ เข้ า มาท� ำ การคั ด เลื อ กส่ ว นใหญ่ มี คุ ณ สมบั ติ ไม่ตรงตามที่ก�ำหนดไว้ โรงเรียนไม่มีโอกาสได้ คัดเลือกบุคลากรได้ตามคุณสมบัตทิ ตี่ อ้ งการใน ภาวะขาดแคลนบุ ค ลากรอย่ า งเร่ ง ด่ ว นใน โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางมีปัญหาอยู่ ในระดับมากที่สุด 1.2.5 ด้านการปฐมนิเทศ มีสภาพ การปฏิ บั ติ ง านอยู ่ ใ นระดั บ มากถึ ง มากที่ สุ ด ทัง้ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด ใหญ่ และมีปัญหาของการปฏิบัติงานในด้าน การปฐมนิเทศในระดับมากในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาด 1.2.6 ด้ า นการฝึ ก อบรมและการ พัฒนาบุคลากร มีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ใน ระดับมากถึงมากที่สุด ทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ยกเว้นประเด็น เรือ่ งโรงเรียนให้ทนุ การศึกษาต่อให้กบั บุคลากร ได้ศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ในโรงเรียนขนาด
54
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กลางและขนาดใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ น้อย และปัญหาของการปฏิบัติงานในด้าน การคัดเลือกบุคลากรมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ทัง้ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด ใหญ่ ยกเว้นเรือ่ งโรงเรียนไม่มกี ารส�ำรวจความ ต้องการในการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาด ใหญ่มปี ญ ั หาอยูใ่ นระดับน้อย และมีปญ ั หาอยู่ ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดเรื่องบุคลากรไม่ให้ ความร่วมมือในการฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง อย่างเต็มที่ 1.2.7 ด้านการประเมินผลการปฏิบตั ิ งาน มีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุดทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่และปัญหาของการปฏิบัติงาน ในด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานมีปัญหา อยูใ่ นระดับมาก ทัง้ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาด กลาง และขนาดใหญ่ ยกเว้นเรือ่ งผูบ้ ริหารไม่ เห็นความส�ำคัญของการประเมินผลการปฏิบตั ิ งานในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่มี ปัญหาอยู่ในระดับน้อย บุคลากรไม่เห็นความ ส�ำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงานใน โรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 1.2.8 ด้านค่าตอบแทน มีสภาพการ ปฏิ บั ติ ง านอยู ่ ใ นระดั บ มากถึ ง มากที่ สุ ด ทั้ ง โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และปั ญ หาของการปฏิ บั ติ ง านในด้ า นค่ า ตอบแทนมีปญ ั หาอยูใ่ นระดับมาก ทัง้ โรงเรียน
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ยกเว้นเรื่องนโยบาย ของรัฐบาลในการปรับฐานเงินเดือน มีผลกระ ทบต่อการบริหารจัดการเงินเดือนบุคลากรของ โรงเรียน และโรงเรียนไม่มีงบประมาณเพียง พอในการจ่ายเงินเดือนตามวุฒิที่รัฐก�ำหนดได้ มี ก ารปั ญ หาอยู ่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด ส่ ว น โรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ที่สุด ยกเว้นเรื่องนโยบายของรัฐบาลในการ ปรับฐานเงินเดือน มีผลกระทบต่อการบริหาร จัดการเงินดือนบุคลากรของโรงเรียน ในระดับ มากที่สุด และเรื่องโรงเรียนไม่มีงบประมาณ เพี ย งพอในการจ่ า ยเงิ น เดื อ นตามวุ ฒิ ที่ รั ฐ ก�ำหนดได้ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก 1.2.9 ด้านผลประโยชน์ตอบแทน มีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากถึงมาก ที่ สุ ด ทั้ ง โรงเรี ย นขนาดเล็ ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ยกเว้นเรื่องโรงเรียนจัดบ้านพัก ส�ำหรับครูที่มีความต้องการโรงเรียนขนาดเล็ก มี ก ารปฏิ บั ติ อ ยู ่ ใ นระดั บ น้ อ ยที่ สุ ด ส่ ว น โรงเรียนขนาดกลางมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ น้ อ ยและปั ญ หาของการปฏิ บั ติ ง านในด้ า น ค่ า ตอบแทน มี ป ั ญ หาอยู ่ ใ นระดั บ มาก ทัง้ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ยกเว้นเรือ่ งโรงเรียนไม่ได้จดั ท�ำประกันอุบตั เิ หตุ ให้กบั บุคลากร เนือ่ งจากมีงบประมาณในการ บริ ห ารผลประโยชน์ ต อบแทนอย่ า งจ� ำ กั ด ในโรงเรี ย นขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มี ปัญหาในระดับน้อยที่สุด
1.3 ผลการน�ำข้อมูลที่ได้จากตอนที่ 1.1 และ 1.2 มาร่างกระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ า มี อ งค์ ป ระกอบ จ� ำ นวน 9 องค์ ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์งาน 2) การวางแผนบุคลากร 3) การสรรหาบุคลากร 4) การคัดเลือกบุคลากร 5) การปฐมนิเทศ 6) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร 7) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 8) ค่าตอบแทน 9) ผลประโยชน์ตอบแทน 1.4 ผลวิพากย์กระบวน เพื่อตรวจ สอบความเหมาะสมของร่ า งกระบวนการ บริหารทรัพยากรมนุษย์จากผู้ทรงคุณวุฒิโดย การจัดสนทนากลุ่มกับผู้อ�ำนวยการโรงเรียน เอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ผลที่ได้จาก การสนทนากลุม่ พบว่า ผูเ้ ชีย่ วชาญให้ดำ� เนิน การปรับแก้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้ประโยค ถ้อยค�ำภาษาให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับ การบริหารโรงเรียนให้มากยิ่งขึ้น และให้ข้อ เสนอแนะให้ปรับปรุงบางรายการเพื่อให้ร่าง กระบวนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
55
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.5 ผลปรับปรุงกระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชนประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามข้อเสนอแนะที่ได้ในตอนที่ 1.4 ผลการปรับปรุงกระบวนหลังจากการ สนทนากลุ่มร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อเสนอ แนะที่ ไ ด้ จึ ง ได้ ร ่ า งกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ ของโรงเรียนเอกชนประเภท สามั ญ ศึ ก ษา เขตภาคตะวันออกฉียงเหนือ จ�ำนวน 9 องค์ประกอบ ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้ 1. ด้ า นการวิ เ คราะห์ ง าน มี ร าย ละเอียดดังนีค้ อื 1) แต่งตัง้ คณะท�ำงานในการ วิเคราะห์งาน 2) วางแผนองค์การ ก�ำหนด กระบวนโครงสร้างองค์การแยกฝ่าย แผนก งานต่างๆ 3) จัดท�ำค�ำบรรยายลักษณะงาน ในแต่ละต�ำแหน่ง 4) ก�ำหนดคุณสมบัติของ บุคลากรแต่ละต�ำแหน่งงาน 2. ด้ า นการวางแผนบุ ค ลากรมี ร าย ละเอียดดังนี้คือ 1) ฝ่ายบุคลากรประมาณ การจ�ำนวนบุคลากรและคุณสมบัติท่ีต้องการ 2) ตรวจสอบจ�ำนวนบุคลากรและคุณสมบัตทิ ี่ มี อ ยู ่ 3) เปรี ย บเที ย บความต้ อ งการกั บ จ�ำนวนบุคลากรที่มีอยู่ 3. ด้ า นการสรรหาบุ ค ลากรมี ร าย ละเอียดดังนี้คือ 1) การสรรหาบุคลากรจาก ภายในโรงเรียน 2) การสรรหาบุคลากรจาก
56
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
แหล่งภายนอกโรงเรียนซึ่งสามารถหาได้จาก แหล่งต่างๆ ดังนี ้ การลงโฆษณาตามสือ่ ต่างๆ ติดต่อกับองค์กรจัดหางาน ส�ำนักงานจัดหา งานจังหวัดติดประกาศในสถาบันอุดมศึกษา ติดประกาศหน้าโรงเรียน ชุมชน และสถานที่ ราชการ 4. ด้านการคัดเลือกบุคลากร มีราย ละเอียดดังนี ้ คือ1) การคัดเลือกจากใบสมัคร 2) การทดสอบ 3) การสัมภาษณ์ 4) การ ตรวจสอบภูมิหลัง 5) การตรวจสอบประวัติ ด้านสุขภาพ 6) การตัดสินใจจ้าง 5. ด้านการปฐมนิเทศ มีรายละเอียด ดังนี้ คือ 1) แต่งตั้งคณะด�ำเนินงานปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ 2) ก�ำหนดวันปฐมนิเทศ บุคลากรใหม่ 3) ด�ำเนินการปฐมนิเทศอย่าง เป็นทางการ 6. ด้ า นการพั ฒ นาบุ ค ลากร มี ร าย ละเอียดดังนี้คือ 1) การวิเคราะห์ คือ การ พิจารณาความจ�ำเป็นในการพัฒนาบุคลากร หรือการส�ำรวจความต้องการในการพัฒนาให้ แก่บคุ ลากรแต่ละคน 2) การวางแผนพัฒนา บุคลากร คือ การน�ำผลจากการวิเคราะห์ การส�ำรวจมาวางแผนว่าบุคลากรควรได้รบั การ พัฒนาในเรื่องใด เรื่องใดควรท�ำอย่างเร่งด่วน และวางแผนการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล โดยค�ำนึงถึงงบประมาณของโรงเรียน 3) การ ด�ำเนินการพัฒนาบุคลากร โดยการพัฒนา
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ขณะท� ำ งานแบบไม่ เ ป็ น ทางการ และการ พัฒนาขณะท�ำงานแบบทางการและการฝึก อบรม 4) การติดตามประเมินผลการพัฒนา บุคลากร 7. ด้ า นการประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ งานมี ร ายละเอี ย ดดั ง นี้ คื อ 1) แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง าน 2) ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทุกฝ่ายทราบ เกณฑ์ในการประเมินผล 3) ก�ำหนดระยะ เวลาในการประเมิน 4) รวบรวมข้อมูลที่ใช้ ในการประเมินจากเครือ่ งมือทีก่ ำ� หนด โดยให้ สอดคล้ อ งกั บ ภาระงานที่ ก� ำ หนดในแต่ ล ะ ต�ำแหน่ง 5) เปรียบเทียบผลการประเมินกับ เกณฑ์ที่ตัดสิน 6) ให้ข้อมูลย้อนกลับผลการ ประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบ 8. ด้านการบริหารค่าตอบแทน มีราย ละเอียดดังนี้ คือ 1) แต่งตั้งคณะท�ำงาน บริหารค่าตอบแทน 2) ก�ำหนดค่าตอบแทน เริ่มต้นของวุฒิการศึกษา ต�ำแหน่งงานและ ประสบการณ์ 3) ก� ำ หนดค่ า ตอบแทนใน ต�ำแหน่งงานต่างๆ 4) ก�ำหนดค่าตอบแทน พิ เ ศษ 5) น� ำ ผลจากการประเมิ น ผลการ ปฏิบัติงานมาพิจารณาค่าตอบแทน 9. ด้ า นการบริ ห ารผลประโยชน์ ตอบแทน มีรายละเอียดดังนี้ คือ 1) การ ให้ บ ริ การทางด้ า นสุ ข ภาพเช่ น น�้ ำ ดื่ ม ชา กาแฟ อาหารกลางวัน ค่ารักษาพยาบาล
2) การให้บริการประกันต่างๆ 3) การให้ บริการทางด้านการเงิน 4) การให้บริการใน ด้านค�ำปรึกษา 5) การให้บริการทางด้านการ พักผ่อน 6) การให้ทุนการศึกษาแก่บุตร 2. ศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และหาความตรงเชิงโครงสร้างของกระบวนการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือ จากการศึ ก ษาความเป็ นไปได้ ในทาง ปฏิบตั ขิ องกระบวนโดยการศึกษาความคิดเห็น ของผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเพื่อพิจารณาความ เหมาะสมในการน�ำไปใช้ปฏิบตั จิ ริงกับโรงเรียน เอกชน การพิจารณาความเหมาะสมเนื้อหา ของกระบวนฯ จะพิ จารณาจากประเด็ นที่ ผู้ตอบเห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่ง ตั้งแต่ ร้อยละ 80 ขึ้นผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบ ว่าผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียน ส่วนใหญ่เห็นด้วยทุก ประเด็น และน�ำมาตรวจสอบความตรงเชิง โครงสร้างของกระบวนการบริหารทรัพยากร มนุ ษ ย์ โดยการวิ เ คราะห์ อ งค์ ประกอบเชิ ง ยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่ากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ใน โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้ จากค่าไคว์-สแควร์ ที่แตกต่างจากศูนย์อย่าง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
57
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ไม่ มี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ (Chi-square = 8.199, df = 15,p = 0.911) ค่าดัชนีวัดความ กลมกลืน (GFI) มีคา่ เท่ากับ 0.994 ค่าดัชนี วั ด ระดั บ ความกลมกลื น ที่ ป รั บ แก้ แ ล้ ว (AGFI) มีค่า 0.981 และค่าดัชนีรากของ ค่ า เฉลี่ ย ก� ำ ลั ง สองของส่ ว นเหลื อ (RMR) มีคา่ เท่ากับ 0.0025 เมือ่ พิจารณาค่าน�ำ้ หนัก องค์ ป ระกอบของตั ว แปรพบว่ า ค่ า น�้ ำ หนั ก องค์ ป ระกอบของตั ว แปรที่ สั ง เกตได้ ทุ ก ตั ว มีค่าเป็นบวกขนาดใกล้เคียงกัน มีค่าตั้งแต่ 0.267 ถึ ง 0.403 โดยค่ า น�้ ำ หนั ก องค์ ประกอบมี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 ทุกตัว 3. ประเมิ น ความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในทาง ปฏิบัติของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญ ศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการประเมินความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในทาง ปฏิบัติของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญ ศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการ ศึ ก ษาความคิ ด เห็ น ของบุ ค ลากรโรงเรี ย น ป ร ะ ส า ร วิ ท ย า อ� ำ เ ภ อ สี คิ้ ว จั ง ห วั ด นครราชสี ม าที่ มี ต ่ อ ประเด็ น การทดลองใช้ กระบวนฯ ซึง่ พิจารณาประเด็นความเหมาะสม ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกระบวน จะพิจารณาจากประเด็นทีผ่ ตู้ อบเหมาะสมมาก
58
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ที่สุด และเหมาะสมมาก ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ผลกาวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบุคลากร โรงเรียนประสารวิทยา อ�ำเภอสีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา ส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อ ประเด็ น การทดลองใช้ ก ระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน ระดับเหมาะสมมากถึงเหมาะสมมากที่สุดทุก ประเด็น การอภิปรายผล จากผลการวิ จั ย เรื่ อ งการพั ฒ นา กระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ น โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ผู ้ วิ จั ย ได้ ส รุ ป ประเด็น การอภิปรายผลดังนี้ 1. การสร้ า งกระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ ในโรงเรียนเอกชน ประเภท สามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ในการศึกษาเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการ บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนที่ทาง กระทรวงศึกษา (2546) ได้ก�ำหนดขอบข่าย และภารกิจการบริหารและการจัดการสถาน ศึกษาด้านการบริหารงานบุคคลมีกระบวนการ 5 องค์ประกอบ คือ การวางแผนอัตราก�ำลัง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง การเสริม สร้างประสิทธิภาพในการปฏิบตั ริ าชการ วินยั
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
และการรักษาวินัย และการออกจากราชการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวไม่ครอบคลุมและไม่มี รายละเอียดที่ชัดเจนต่อการน�ำไปปฏิบัติของ โรงเรียนเอกชน ดังนั้นกระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชนประเภท สามั ญ ศึ ก ษา ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ จึงรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้การ ด�ำเนินการบริหารทรัพยากรมนุษย์เกิดความ คล่ อ งตั ว ชั ด เจน ซึ่ ง กระบวนการบริ ห าร ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ป ระกอบด้ ว ย 9 องค์ ประกอบ คื อ การวิ เ คราะห์ ง าน การ วางแผนบุคลากร การสรรหาบุคลากร การ คัดเลือกบุคลากร การปฐมนิเทศ การพัฒนา บุคลากร การประเมินผลการปฏิบตั งิ าน การ บริ ห ารค่ า ตอบแทน และการบริ ห าร ผล ประโยชน์ตอบแทน สอดคล้องกับความคิด ของ สมาน อัศวภูมิ (2551) ที่กล่าวว่า การบริ ห ารงานบุ ค คล หรื อ การบริ ห าร ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ เ ป็ น กระบวนการในการ ก� ำ หนดแผนก� ำ ลั ง ขององค์ ก ร การสรรหา การคัดเลือก การแต่งตั้ง และทดลองงาน การฝึ ก อบรมและพั ฒ นา การดู แ ลและให้ สวั ส ดิ ก าร การประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง าน และสอดคล้องกับแนวคิดของสันติ บุญภิรมย์ (2552) ที่ว่าการด�ำเนินการของหน่วยงานให้ ได้ บุ ค ลากรเข้ า มาปฎิ บั ติ ง านในต� ำ แหน่ ง ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการตาม
ขั้นตอนต่างๆ เน้นการวางแผน การบรรจุ แต่งตั้ง การพัฒนา การบ�ำรุงขวัญและให้ ก�ำลังใจ 2. ผลจากการประเมินความเหมาะสม ของกระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ในทางปฏิบัติของโรงเรียนเอกชน ในโรงเรียน ประสารวิ ท ยา 9 องค์ ป ระกอบ พบว่ า องค์ ป ระกอบด้ า นการวิ เ คราะห์ ง าน การ วางแผนบุคลากร การสรรหาบุคลากร การ คัดเลือกบุคลากร การปฐมนิเทศ การพัฒนา บุคลากร การประเมินผลการปฏิบตั งิ าน การ บริ ห ารค่ า ตอบแทน และการบริ ห ารผล ประโยชน์ตอบแทน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน ใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 คิดว่ากระบวนการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวมีความเหมาะ สมมากและเหมาะสมมากที่สุดในทุกประเด็น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ความคิ ด ของ Kreitner (2007) ที่ ว ่ า บริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ คื อ กระบวนการด�ำเนินการเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ในการวางแผนก� ำ ลั ง คน การบรรจุ แ ต่ ง ตั้ ง การพัฒนาให้ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับ ผิ ด ชอบตามโครงสร้ า งขององค์ ก ร และ สอดคล้องกับแนวคิดของจอมพงศ์ มงคลวนิช (2554: 80) ทีว่ า่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการทีผ่ บู้ ริหาร ผูม้ หี น้าทีเ่ กีย่ วกับ บุคลากรขององค์กร ร่วมกันใช้ความรู ้ ทักษะ และประสบการณ์ในการสรรหา การคัดเลือก
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
59
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้า ปฏิบตั งิ านในองค์กร พร้อมทัง้ ด�ำรงรักษาและ พัฒนาให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี Meier (2001) ได้ท�ำการศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของโรงเรียน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตอนเหนื อ พบว่ า การบริ ห ารงานบุ ค คล ผู้บริหารควรก�ำหนดบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับ ผิ ด ชอบเป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร การพั ฒ นา บุ ค ลากรต้ อ งจั ด อบรมให้ ค วามรู ้ หลั ก การ และวิธีท�ำงานให้ทันกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า อย่างสม�่ำเสมอ และพัฒนาระบบการท�ำงาน ปรับปรุงการท�ำงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขององค์กร นอกจากนีก้ ารวิจยั พบว่า ในด้านการ คัดเลือกบุคลากรผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนส่วนใหญ่ เห็ น ด้ ว ยกั บ กระบวนการด้ า นการคั ด เลื อ ก บุคลากร ซึง่ ประกอบไปด้วยการคัดเลือกจาก ใบสมัคร การทดสอบ การสัมภาษณ์ การ ตรวจสอบภู มิ ห ลั ง การตรวจสอบประวั ติ สุขภาพ และการตัดสินใจจ้าง ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของ Rebore (1995) และสาคร สุ ข ศรี ว งศ์ (2550) ที่ ว ่ า การคั ด เลื อ ก บุ ค ลากรเป็ น กระบวนการต่ อ เนื่ อ งจากการ สรรหาบุคลากรทีม่ าสมัครในต�ำแหน่งทีอ่ งค์กร ต้องการ แล้วน�ำมาคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ เพื่ อ จ้ า งบุ ค คลที่มีความรู้ความสามารถตรง ความต้องการขององค์กรมากที่สุด และใน
60
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ด้ า นการบริ ห ารค่ า ตอบแทน พบว่ า การ ก�ำหนดค่าตอบแทนเริ่มต้นของวุฒิการศึกษา ต� ำ แหน่ ง งาน และประสบการณ์ มี ค วาม ส�ำคัญอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับความ คิดของ Seyfarth (1996) ทีว่ า ่ การจัดท�ำ แผนการจ่ายผลตอบแทนทีด่ จี ะช่วยให้โรงเรียน สามารถดึงดูด และรักษาบุคลากรไว้ได้ และ เมื่อการจ่ายผลตอบแทนมีความเหมาะสมก็จะ ท�ำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อองค์กร ส่งผลให้ บุคลากรมีแรงจูงใจในการท�ำงาน นอกจากนี้ การก�ำหนดค่าตอบแทนพิเศษ และการน�ำผล การประเมินผลการปฏิบัติงานมาพิจารณาค่า ตอบแทน ก็มีความส�ำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ เสน่ ห ์ จุ ้ ย โต (2554) ทีว่ า ่ รางวัล ค่าตอบแทนของบุคคล ในการปฏิบตั งิ านขององค์กรในกระบวนค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส คอมมิชชัน่ จะท�ำให้องค์กร สามารถดึ ง ดู ด และรั ก ษาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ มี คุ ณ ภาพให้ อ ยู ่ ใ นองค์ ก รได้ ใ นระยะยาว ส�ำหรับด้านการบริหารผลประโยชน์ตอบแทน การให้ บ ริ ก ารด้ า นการพั ก ผ่ อ น เช่ น การ ทั ศ นศึ ก ษา การให้ บ ริ ก ารด้ า นค� ำ ปรึ ก ษา และการให้ทุนการศึกษาบุตร ก็มีความส�ำคัญ อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ แนวความคิดของ สุ ธ รรม พงศ์ ส� ำ ราญ (2549) ที่ ว ่ า ผล ประโยชน์ตอบแทนถือว่าเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญ
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ของความผูกพันกันระหว่างบุคลากรกับองค์กร จะมี ส ่ ว นท� ำ ให้ บุ ค ลากรมี ค วามพอใจ และ ท� ำ งานด้ ว ยความพึ ง พอใจ อั น จะน� ำ มาซึ่ ง ประสิทธิภาพในการท�ำงาน 3. การประเมิ น ความเหมาะสมของ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทาง ปฏิบตั ขิ องโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการทดลอง ใช้กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ณ โรงเรียนประสารวิทยา จ.นครราชสีมา พบว่า บุคลากรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า กระบวนการบริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นทุ ก ประเด็นมีความเหมาะสมมาก ทั้งนี้อาจเป็น เพราะกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ดัง กล่ า วมี ค วามชั ด เจนมี ค วามเหมาะสมและ สามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง โดยท�ำให้บุคลากร เกิดขวัญและก�ำลังใจในการท�ำงาน ซึ่งสอด คล้องกับแนวคิดของ เสน่ห์ จุ้ยโต (2554) ที่ว่า รางวัล ค่าตอบแทนของบุคคลในการ ปฏิบัติงานขององค์กรในกระบวนค่าจ้าง เงิน เดื อ น โบนั ส คอมมิ ช ชั่ น จะท� ำ ให้ อ งค์ ก ร สามารถดึงดูดและรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณภาพให้อยู่ในองค์กรได้ในระยะยาว และ สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของเทวี บุ ญ จั บ (2551) ที่พบว่า ผู้บริหารที่มีนโยบายการ บริหารทีช่ ดั เจน และผูบ้ ริหารมีการด�ำเนินงาน เรื่ อ งเงิ น เดื อ น และค่ า ตอบแทนที่ มี ค วาม
เหมาะสมและเพียงพอในการด�ำรงชีพแก่ครูจะ ส่ ง ผลต่ อ การธ� ำ รงรั ก ษาครู สุ ธ รรม พงศ์ ส�ำราญ (2549) ทีว่ า ่ ผลประโยชน์ตอบแทน ถือว่าเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญของความผูกพันกัน ระหว่ า งบุ ค ลากรกั บ องค์ ก รจะมี ส ่ ว นท� ำ ให้ บุคลากรมีความพอใจ และท�ำงานด้วยความ พึงพอใจ อันจะน�ำมาซึ่งประสิทธิภาพในการ ท�ำงาน ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย จากผลการวิจยั การพัฒนากระบวนการ บริ ห ารทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นโรงเรี ย นเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ผูว้ จิ ยั มีขอ้ เสนอแนะต่อโรงเรียนเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อน�ำกระบวน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ไปใช้ ดังนี้ 1. ควรให้ความส�ำคัญในการบริหาร ค่าตอบแทนและบริหารผลประโยชน์ตอบแทน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและเหมาะ สมกับบริบทของโรงเรียนเพื่อให้บุคลากรเกิด ขวัญและก�ำลังใจในการปฏิบัติงาน สามารถ ดึงดูดและรักษาทรัพยากรมนุษย์ทมี่ คี ณ ุ ภาพให้ อยู่กับโรงเรียนได้ 2. ก่ อ นการน� ำ กระบวนการบริ ห าร ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภท สามัญควรศึกษาให้เข้าใจอย่างชัดเจน และ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
61
การพัฒนากระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ผู ้ อ� ำ นวยการควรสร้ า งความ ตระหนัก และประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความ เข้าใจร่วมกันในกระบวนการและรายละเอียด ในกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษน์ให้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบก่อนการน�ำไปใช้
ข้อเสนอแนะส�ำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลา ออกของครู โรงเรี ย นเอกชนประเภทสามั ญ ศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ผ ลน� ำ มาปรั บ กระบวนการ บริหารทรัพยากรมนุษย์
บรรณานุกรม กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร. 2546. พระราช บั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร พ.ศ.2546 และกฎกระทรวงแบ่ง ส่ว นราชการ. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์. จอมพงศ์ มงคลวนิช (2554). การบริหาร องค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยี สยาม. ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. 2548. การจัดการ ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น. เทวี บุญจับ. 2551. การพัฒนารูปแบบการ บริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษา เพื่อการธ�ำรงรักษาครูโรงเรียนเอกชน ประเภทสามั ญ ศึ ก ษา ในกรุ ง เทพ มหานคร. ดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ป รั ช ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต . สาขาวิ ช าการบริ ห ารการ
ศึกษาและภาวะผู้น�ำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. ปราชญา กล้าผจัญ และพอตา บุตรสุทธิวงศ์. 2550. การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง. สมาน อั ศ วภู มิ . 2551. การบริ ห ารการ ศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎีและ การปฏิบัติ. อุบลราชธานี: อุบลกิจ ออฟเซทการพิมพ์. สันติ บุญภิรมย์. 2552. หลักการบริหาร การศึ ก ษา. กรุ ง เทพมหานคร: บุ ๊ ค พอยท์. สาคร สุขศรีวงศ์. 2550. การจัดการ: จาก มุมมองนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: จีพีไซเบอร์พรินท์. สุธรรม พงศ์ส�ำราญ. 2549. การจัดการ ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต.
62
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ปิยะนาถ ด่านกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
เสน่ห์ จุ้ยโต. 2554. กระบวนทัศน์ใหม่ การบริ ห ารทุ น มนุ ษ ย์ . นนทบุ รี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2551ก. กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาใน ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที ่ 10 (พ.ศ. 2550 2554) ทีส่ อดคล้องกับแผนการศึกษา แห่ ง ชาติ (พ.ศ.2545-2559). กรุ ง เทพมหานคร:ส� ำ นั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. _________. 2551ข. รายงานการศึกษา สภาพปัจจุบนั ปัญหา และแนวโน้ม บริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกและ สังคมไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ด้ า นประชากร. กรุ ง เทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค. _________. 2552. สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 ปัญหาความเสมอ ภาค และคุณภาพของการศึกษาไทย. (พิ มพ์ ค รั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
Kreitner, R. 2007. Management. (10th ed.). Boston: Houghton Mifflin. Meier, S. E. 2001. Northern California School superintendent’s percep tion regarding conflicts with board members in the area of human resource administration. Thesis (Ed.D.)University of La Vern. Rebore, R. W. 1995. Personnel Admin istration in Education: A Manage ment Approach. (4th ed.). Boston: Ally and Bacon. Seyfarth, J. T. 1996. Personnel Manage ment for Effective Schools. (2nd ed.). Boston:Preason Education.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
63
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออก ของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
DModel evelopment of Causal Relationship of Factors Affecting Turnover
Intention of Faculties in Private Higher Education Institutions. นัยนา จันจิระสกุล * ผู้อ�ำนวยการส�ำนักอธิการบดี วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผูน้ ำ � มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ศ.ดร.ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาบริหารการศึกษาและภาวะผูน้ ำ � มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น Naiyana Janjirasakul * Director of the President’s Bureau, Saint Louis College. Prof. Dr.Boonreang Kajornsin * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
Prof. Dr.Samnao Kajornsin * Lecturer at Educational Administration and Leadership - Faculty of Education, Saint John’s University.
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความ สั ม พั น ธ์ เชิ ง สาเหตุ ข องปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความตั้ ง ใจลาออกของ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพือ่ ตรวจสอบความตรงของ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ ลาออกของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 3) เพือ่ ศึกษา ขนาดอิทธิพลของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เอกชน กลุ่มประชากร คือ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 71 แห่ง จ�ำนวน 14,096 คน งานวิจยั นีก้ ำ� หนดขนาดกลุม่ ตัวอย่าง ไว้ท ี่ 13 หน่วยต่อ 1 พารามิเตอร์ มีจำ� นวนพารามิเตอร์ในการวิจยั 38 พารามิเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการสุ่ม ตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ชนิดที่เป็นสัดส่วน ท�ำให้ได้คณาจารย์ จ�ำนวน 514 คนจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 9 แห่ง ส�ำหรับตัวแปรที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) ตัวแปรแฝงภายใน คือ ความตั้งใจลาออก 2) ตัวแปรส่งผ่าน จ�ำนวน 3 ตัวแปร คือ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันกับองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกทีด่ ขี ององค์การ และ 3) ตัวแปรแฝงภายนอก คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วมมี อิทธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมือ่ ส่งผ่านตัวแปรความพึงพอใจในงาน ตัวแปรความผูกพันกับองค์การ และตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกทีด่ ขี ององค์การ ผลการตรวจสอบ ความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตัง้ ใจลาออกของ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 = 54.50, df = 39, p = .05, GFI = .981, AGFI = .956, RMR = .006) โดยตัวแปรในรูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจลาออกได้ร้อยละ 31 ทั้งนี้ ตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีอิทธิพลทางตรงด้านบวกต่อ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
65
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ตัวแปรความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์การ โดยมีขนาด อิทธิพลเท่ากับ 0.62 และ 0.43 ตามล�ำดับ และพบว่าอิทธิพลทาง อ้อมของตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความตั้งใจลาออกของ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมือ่ ส่งผ่านตัวแปรความพึงพอใจ ในงาน ตัวแปรความผูกพันกับองค์การ และตัวแปรพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ -.18 ค�ำส�ำคัญ: Abstract
66
1) การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออก 3) คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
The objectives of this research were 1) to develop a causal relationship model of factors affecting turnover intention of faculties in private higher education institutions; 2) to validate the causal relationship model of factors affecting turnover intention of faculties in private higher education institutions; and 3) to examine the effect size of factors affecting turnover intention of faculties in private higher education institutions. The population of this research was 14,096 faculties in 71 private higher education institutions. The sample size consisted 13 units per parameter (38 parameters). The sample group was 514 faculties in 9 private higher education institutions come from proportionate stratified sampling. There were 3 types of variables in this research 1) Endogenous variable which was turnover intention; 2) Mediating variables which were job satisfaction, organizational commitment, and organiza-
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
tional citizenship behavior; and 3) Exogenous variable which was participative management. Research findings indicated that participative management effected turnover intention via job satisfaction, organizational commitment, and organizational citizenship behavior. The validity assessment of the causal relationship model, conformed to the empirical evidence (χ 2 = 54.50, df = 39, p = .05, GFI = .981, AGFI = .956, RMR = .006). In addition, the variables in this model explained 31% of the variance in turnover intention, in as much as the variable of participative management had direct effect to job satisfaction and organizational commitment in a positively correlated manner, with effect size of .62, and .43 respectively. The causal relationship model conformed to the empirical evidence. Participative management had indirect effect size of -.18 to turnover intention of faculties in private higher education institutions via job satisfaction, organizational commitment and organizational citizenship behavior. Keywords:
1) Development of causal relationship model; 2) Factors affecting turnover intention; and 3) Faculties in private higher education insti tutions
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
67
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
บทน�ำ คณาจารย์เป็นบุคลากรสายวิชาการที่มี คุณค่าต่อสถาบันอุดมศึกษา เป็นหัวใจของการ สร้างองค์ความรู้ให้แก่สังคม จึงเป็นสินทรัพย์ ทีป่ ระเมินค่ามิได้ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง ต้องใช้ความพยายามและใช้วิธีการสรรหาเพื่อ ให้ได้มาซึง่ คณาจารย์ทมี่ คี ณ ุ ภาพตามเป้าหมาย ดังนั้น การรักษาทรัพยากรบุคคลให้คงอยู่กับ องค์การ จึงได้กลายมาเป็นความท้าทายหลัก ที่ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้อง เผชิญ (Luna-Arocas and Camps, 2007) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ ต้องอาศัยหลักการบริหารที่ท�ำให้ทรัพยากร บุคคลคงอยู่กับองค์การด้วยการสร้างความพึง พอใจในการท�ำงานและความผูกพันกับองค์การ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องใช้ความพยายาม อย่ า งมากเพื่ อ ลดความสู ญ เสี ย ด้ ว ยการวาง ระบบและกลไกในการบริหารเพื่อพัฒนาและ ธ�ำรงรักษาคณาจารย์ไว้เพือ่ ให้การจัดการศึกษา เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากการลาออก ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น ย่อมจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา การที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะธ�ำรง รักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้ดี จึงจ�ำเป็นต้องทราบถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลัก ของความไม่พึงพอใจในการท�ำงานและเหตุที่ ท� ำ ให้ บุ ค ลากรไม่ มี ค วามผู ก พั น กั บ องค์ ก าร
68
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
และแสดงพฤติ ก รรมการเป็ น สมาชิ ก ที่ ไ ม่ ดี ขององค์การ ด้วยเหตุทคี่ วามพึงพอใจและการ ลาออกจากงานมีความสัมพันธ์กันในทางลบ (ศิรวิ รรณ เสรีรตั น์ และคณะ, 2541: 103) ตามแนวคิดทฤษฎีการบริหารและงานวิจยั ส่วน ใหญ่พบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผล ทางบวกต่อความพึงพอใจในงาน ความผูกพัน ต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ ดีขององค์การ แต่ส่งผลในทางลบต่อความ ตั้ ง ใจลาออกจากงาน ดั ง นั้ น การรั ก ษา บุ ค ลากรให้ ค งอยู ่ กั บ องค์ ก าร (Retaining employees) จึงมีความส�ำคัญ เนื่องจาก การลาออกนั้น หมายถึงการสูญเสียแรงงาน และค่าใช้จ่ายที่ได้ใช้ในการสรรหา การฝึก อบรม และการพัฒนาแรงงาน ซึง่ นับเป็นต้น ทุ น ที่ มี ร าคาแพง และตั ว แปรส� ำ คั ญ ที่ ช ่ ว ย รักษาให้พนักงานอยู่กับองค์การ คือ ความ พึงพอใจในการท�ำงาน (วิภาดา คุปตานนท์, 2551: 107) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพือ่ พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิง สาเหตุ ข องปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความตั้ ง ใจ ลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุ ดมศึกษา เอกชน 2) เพือ่ ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพล
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ต่อความตั้งใจลาออกของคณาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน 3) เพือ่ ศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยที่ มีอทิ ธิพลต่อความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน วิธีด�ำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกีย่ วข้องแล้วสรุปสาระเพือ่ สร้างกรอบแนวคิด ในการวิจัย อันประกอบด้วย ตัวแปรแฝง ภายนอก คือ ตัวแปรการบริหารแบบมีส่วน ร่ ว ม ที่ มี อิ ท ธิ พ ลทางตรงกั บ ตั ว แปรความ พึ ง พอใจในงาน ตั ว แปรความผู ก พั น กั บ องค์การ และมีอิทธิพลทางอ้อมกับตัวแปร พฤติ ก รรมการเป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข ององค์ ก าร และความตั้งใจลาออกจากงาน ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ คณาจารย์ประจ�ำในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จ� ำ นวน 71 แห่ ง ซึ่ ง ครอบคลุ ม สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนทุ ก ประเภทตามที่ บั ญ ญั ติ ไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม (ฉบั บ ที่ 2) พ.ศ.2550 รวมจ� ำ นวนประชากรทั้ ง สิ้ น 14,096 คน ผูว้ จิ ยั เลือกใช้ขนาดกลุม่ ตัวอย่าง 13 หน่ ว ยต่ อ พารามิ เ ตอร์ จ� ำ นวนพารามิเตอร์รวม 38 พารามิเตอร์ ส�ำหรับขัน้ ตอน
การเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้น ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบชัน้ ภูม ิ ชนิดทีเ่ ป็นสัดส่วน (Proportionate Stratified Sampling) ดังนี้ ขั้นตอนแรกเป็นการแบ่งกลุ่มประชากร ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัย 2) สถาบัน และ 3) วิทยาลัย ขั้นตอนที่สองเป็นการก�ำหนดสัดส่วน จากแต่ละประเภท จึงได้สถาบันอุดมศึกษา เอกชนที่ เ ป็ น กลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง ประเภท มหาวิ ท ยาลั ย จ� ำ นวน 5 แห่ ง ประเภท สถาบั น จ� ำ นวน 1 แห่ ง และประเภท วิทยาลัย จ�ำนวน 3 แห่ง รวมเป็น 9 แห่ง ขั้นตอนที่สามเป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยก�ำหนดสัดส่วนให้แต่ละแห่งเท่ากับ ท�ำให้ ได้จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง คือคณาจารย์ประจ�ำ จากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน 9 แห่ ง จ�ำนวน 514 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบ ด้วยตัวแปรแฝงทัง้ หมด 5 ตัวแปร แบ่งเป็น 3 ประเภท ดั ง นี้ ประเภทตั ว แปรแฝง ภายนอก คื อ การบริ ห ารแบบมี ส ่ ว นร่ ว ม วัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวแปร ได้แก่ ขอบเขตของการตัดสินใจ ระดับของการมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ โครงสร้างของการ มี ส ่ ว นร่ ว ม และสาเหตุ ข องการมี ส ่ ว นร่ ว ม
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
69
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ประเภทตัวแปรแฝงส่งผ่าน มี 3 ตัวแปร 1) ความพึงพอใจในงาน วัดได้จากตัวแปร สังเกตได้ 2 ตัวแปร คือ ความพึงพอใจใน งานด้านบริบท และความพึงพอใจในลักษณะ งาน 2) ความผูกพันกับองค์การ วัดได้จาก ตั ว แปรสั ง เกตได้ 3 ตั ว แปร คื อ ความ ผูกพันกับองค์การด้านความรูส้ กึ ความผูกพัน กับองค์การด้านการคงอยู่ และความผูกพัน กั บ องค์ ก ารด้ า นมาตรฐานสั ง คม และ 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ วัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัวแปร คือ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต่อ องค์ ก ร พฤติ ก รรมการเป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข อง องค์การต่อเพื่อนร่วมงาน และพฤติกรรมการ เป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข ององค์ ก ารต่ อ นั ก ศึ ก ษา ประเภทตัวแปรแฝงภายใน คือ ความตั้งใจ ลาออกจากงาน วัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 1 ตัวแปร คือ ความตั้งใจลาออก เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย เป็ น แบบ ส อ บ ถ า ม เ กี่ ย ว กั บ ภู มิ ห ลั ง ข อ ง ผู ้ ต อ บ แบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบวัดเกี่ยวกับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ทัง้ 5 ตัวแปร ชนิดมาตรวัดแบบประเมินค่า 5 ระดับ จ�ำนวน 80 ข้อ โดยผูว้ จิ ยั พัฒนา แบบสอบถาม สร้างข้อค�ำถาม และดัดแปลง แบบสอบถามที่ได้จากงานวิจัยในต่างประเทศ และน�ำไปทดลองใช้กับคณาจารย์ในสถาบัน
70
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อุดมศึกษาเอกชนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่มี คุณลักษณะใกล้เคียงกับกลุม่ ตัวอย่าง จ�ำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านความ เที่ ย ง (Reliability) ด้ ว ยวิ ธี ป ระมาณค่ า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) พบว่า ความ เที่ยงของแบบสอบถามส�ำหรับตัวแปรทุกตัว มีค่าอยู่ระหว่าง .913 ถึง .964 แสดงว่า แบบวัดมีคุณภาพด้านความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ ที่สามารถน�ำไปใช้ได้ อีกทั้งยังได้ท�ำการตรวจ สอบความตรงเชิ ง โครงสร้ า ง (Construct Validity) ของเครือ่ งมือ โดยใช้การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์พบว่า ตั ว แปรแฝงทุ ก ตั ว มี ค วามตรงเชิ ง โครงสร้ า ง ซึ่งหมายถึง ตัวแปรแฝงสามารถวัดได้ด้วย ตั ว แปรสั ง เกตได้ ใ นแต่ ล ะรู ป แบบการวั ด (Measurement Model) ผู้วิจัยจึงด�ำเนิน การรวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามไปยัง กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้รับแบบสอบถามกลับคืน มา 449 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับ ร้อยละ 87.35 การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ในการวิ จัย ครั้ ง นี้ ได้ แ ก่ วิ เ คราะห์ ค ่ า สถิ ติ พื้ น ฐานของกลุ ่ ม ตัวอย่าง เพื่อให้ทราบลักษณะการแจกแจง ของกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งด้ ว ยสถิ ติ บ รรยายโดยใช้ โปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์เพื่อ ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติวิเคราะห์
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ได้แก่ การตรวจสอบข้อมูลสุดโต่ง ด้วยวิธี Box Plot การตรวจสอบลักษณะการแจก แจงของตั ว แปรว่ า เป็ น โค้ ง ปกติ โ ดยใช้ ก าร ทดสอบ Kolmogorov-Smirnov Test เมื่อท�ำการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบข้อตกลง เบื้องต้นของสถิติวิเคราะห์ พบค่าต�่ำสุดของ ข้อมูลที่ต�่ำผิดปกติ จึงต้องท�ำการตัดค่าของ ข้อมูลเหล่านัน้ ออก เป็นเหตุให้ขนาดของกลุม่ ตัวอย่างที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลลดลง เหลือเพียง 414 หน่วย และยังพบตัวแปร สังเกตได้มีการแจกแจงไม่เป็นโค้งปกติ ดังนั้น ผู ้ วิ จั ย จึ ง ท� ำ การเปลี่ ย นรู ป (Transform) ตัวแปร โดยใช้วิธีใส่ลอการิทึม เพื่อปรับให้ ตัวแปรมีการแจกแจงใกล้เคียงกับการแจกแจง แบบปกติ จากนั้นจึงท�ำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่ อ ตอบวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารวิ จั ย ด้ ว ยการ วิ เ คราะห์ ค ่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ และ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพือ่ ตรวจสอบ ความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรมส�ำเร็จรูปทางสถิติ สรุปผลการวิจัย 1. ผลการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ ลาออกของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เอกชน พบว่า ตัวแปรการบริหารแบบมีสว่ น
ร่วม (PM) มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจ ลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุ ดมศึกษา เอกชน โดยส่งผ่าน ตัวแปรความพึงพอใจใน งาน (JS) ตัวแปรความผูกพันกับองค์การ (OC) และตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ ดีขององค์การ (OCB) อีกทั้ง ตัวแปรความ พึงพอใจในงาน (JS) มีอิทธิพลทางตรงต่อ ความตั้งใจลาออกของคณาจารย์ในสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาเอกชน แต่ ทั้ ง นี้ ตั ว แปรความ ผู ก พั น กั บ องค์ ก าร (OC) และตั ว แปร พฤติ ก รรมการเป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข ององค์ ก าร (OCB) มี อิ ท ธิ พ ลทางตรงต่ อ ความตั้ ง ใจ ลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุ ดมศึกษา เอกชน อย่างไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2. ผลการตรวจสอบความตรงของ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตัง้ ใจ ลาออก ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และตัวแปร ส่งผ่าน คือ ความพึงพอใจในงาน ความ ผูกพันกับองค์การ และพฤติกรรมการเป็น สมาชิกทีด่ ขี ององค์การ พบว่า ค่าไค-สแควร์ มีคา่ เท่ากับ 54.50 ทีอ่ งศาอิสระ 39 ระดับ ความมีนัยส�ำคัญทางสถิติ .05 ค่าดัชนีวัด ระดั บ ความกลมกลื น (GFI) มี ค ่ า เท่ า กั บ .981 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
71
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
แก้แล้ว (AGFI) มีค่า .956 และค่าดัชนี รากของค่ า เฉลี่ ย ก� ำ ลั ง สองของส่ ว นเหลื อ (RMR) มี ค ่ า เท่ า กั บ 0.006 แสดงว่ า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตัง้ ใจ ลาออกมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ ตัวแปรในรูปแบบความสัมพันธ์เชิง
72
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สาเหตุอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความ ตั้งใจลาออกจากงานได้ร้อยละ 31 3. ผลการศึ ก ษาขนาดอิ ท ธิ พ ลของ ตัวแปรแฝงทีเ่ ป็นสาเหตุของตัวแปรความตัง้ ใจ ลาออก (TO) สรุปจากภาพได้ดังนี้
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ตัวแปรทีม่ อี ทิ ธิพลทางตรงต่อความตัง้ ใจ ลาออก (TO) ได้แก่ 1) ตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วม (PM) มี อิ ท ธิ พ ลทางตรงต่ อ ความพึ ง พอใจ ในงาน (JS) โดยมี ข นาดอิ ท ธิ พ ลทางตรง เท่ากับ .62 และมีอิทธิพลทางตรงต่อความ ผูกพันกับองค์การ (OC) โดยมีขนาดอิทธิพล ทางตรงเท่ากับ .43 แต่ไม่มีอิทธิพลทางตรง ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (OCB) และความตั้งใจลาออก (TO) ของ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึง่ เป็น ไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 2) ตัวแปรความพึงพอใจในงาน (JS) มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันกับองค์การ (OC) โดยมี ข นาดอิ ท ธิ พ ลทางตรงเท่ า กั บ .50 และมี อิ ท ธิ พ ลทางตรงต่ อ ความตั้ ง ใจ ลาออก (TO) ของคณาจารย์ในสถาบันอุดม ศึ ก ษาเอกชน โดยมี ข นาดอิ ท ธิ พ ลทางตรง เท่ากับ -.77 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการ วิจัยข้อที่ 2 3) ตั ว แปรความผู ก พั น กั บ องค์ ก าร (OC) มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ (OCB) โดยมีขนาด อิทธิพลทางตรงเท่ากับ .86 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 แต่อิทธิพลทาง ตรงต่อความตัง้ ใจลาออก (TO) ไม่มนี ยั ส�ำคัญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.5 ซึ่ ง ไม่ เ ป็ น ไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
4) ตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ ดีขององค์การ (OCB) มีอิทธิพลทางตรงต่อ ความตั้งใจลาออก (TO) ของคณาจารย์ใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน อย่างไม่มนี ยั ส�ำคัญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.5 ซึ่ ง ไม่ เ ป็ น ไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 ตั ว แปรที่ มี อิ ท ธิ พ ลทางอ้ อ มต่ อ ความ ตั้งใจลาออก (TO) ได้แก่ 1) ตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วม (PM) มี อิ ท ธิ พ ลทางอ้ อ มต่ อ ความตั้ ง ใจลา ออก (TO) ของคณาจารย์ในสถาบันอุดม ศึกษาเอกชน เมือ่ ส่งผ่านตัวแปรความพึงพอใจ ในงาน (JS) ตัวแปรความผูกพันกับองค์การ (OC) และตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ ดีขององค์การ (OCB) โดยมีขนาดอิทธิพล ทางอ้ อ มเท่ า กั บ -.18 ซึ่ ง เป็ น ไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5 2) อิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรความ พึงพอใจในงาน (JS) ต่อความตั้งใจลาออก (TO) ของคณาจารย์ ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา เอกชน เมื่อส่งผ่านความผูกพันกับองค์การ (OC) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ (OCB) ไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.5 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานการ วิจัยข้อที่ 6 3) อิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรความ ผู ก พั น กั บ องค์ ก าร (OC) ต่ อ ความตั้ ง ใจ ลาออก (TO) ของคณาจารย์ในสถาบันอุดม
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
73
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ศึกษาเอกชน เมื่อส่งผ่านพฤติกรรมการเป็น สมาชิกทีด่ ขี ององค์การ (OCB) ไม่มนี ยั ส�ำคัญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.5 ซึ่ ง ไม่ เ ป็ น ไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 7 4) ตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ ดีขององค์การ (OCB) ไม่มีอิทธิพลทางอ้อม ต่อความตั้งใจลาออก (TO) ของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานการวิจัยข้อที่ 8 การอภิปรายผล จากผลการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความตั้งใจลาออกของคณาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแสดงให้เห็นว่า การบริหาร แบบมีส่วนร่วม (PM) มีอิทธิพลทางตรงด้าน บวกต่อความพึงพอใจในงาน (JS) หมายความ ว่า เมื่อคณาจารย์รับรู้และมีโอกาสในการมี ส่วนร่วมทางการบริหารจะส่งผลให้คณาจารย์ เกิดความพึงพอใจในงาน อีกทั้ง การบริหาร แบบมีส่วนร่วม (PM) ยังมีอิทธิพลทางอ้อม ด้านลบต่อความตั้งใจลาออก (TO) เมื่อส่ง ผ่านตัวแปรความพึงพอใจในงาน (JS) ความ ผูกพันกับองค์การ (OC) และพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (OCB) หมาย ความว่า เมื่อคณาจารย์รับรู้และได้รับโอกาส ให้มสี ว่ นร่วมในการบริหารจะส่งผลให้เกิดความ พึ ง พอใจในงาน มี ค วามผู ก พั น กั บ องค์ ก าร 74
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
และแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ และส่งผลให้คณาจารย์มีความตั้งใจ ลาออกจากงานลดลง ซึ่งสอดคล้องกับงาน วิจัยของ Chen and Chang (2011) ที่ พบว่า การกระจายอ�ำนาจโดยการสนับสนุน ให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อความพึงพอใจใน การท�ำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นไปในท�ำนอง เดี ย วกั น กั บ งานวิ จั ย ของ Kenari et al. (2012) ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการ บริหารแบบมีสว่ นร่วมกับความพึงพอใจในงาน ของพนักงาน โดยพบว่าการบริหารแบบมีสว่ น ร่วมมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความพึง พอใจในงาน และเมื่อรูปแบบของการบริหาร แบบมีสว่ นร่วมได้ถกู แสดงออกมามากขึน้ ก็จะ ส่งผลให้พนักงานมีความพึงพอใจในงานเพิม่ สูง ขึ้นด้วย และจากการทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้อง ยังพบงานวิจัยอีกหลายเรื่องที่บ่งชี้ ว่า การที่พนักงานมีความพึงพอใจในงานจะ ช่วยลดอัตราการขาดงานและการลาออกของ พนักงาน (Tett and Meyer, 1993; Eby et al., 1999; Kim, 2002; Scott, Bishop and Chen, 2003; Light, 2004; Rutner, Hardgrave and McKnight, 2008; McKnight, Philips and Hardgrave, 2009; Rooney, Gottlieb and Newby-Clark, 2009; Zahra et al., 2013) โดยเฉพาะ งานวิจัยของ Zahra et al. (2013) ที่ท�ำ
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
การศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในงานต่อ ความตั้งใจลาออกของคณาจารย์มหาวิทยาลัย ในประเทศปากี ส ถาน และพบว่ า ความพึ ง พอใจในงานของคณาจารย์มอี ทิ ธิพลในด้านลบ อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตติ อ่ ความตัง้ ใจลาออก จากงาน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยครั้งนี้ ทีผ่ วู้ จิ ยั ศึกษาพบว่า ตัวแปรการบริหารแบบมี ส่วนร่วม (PM) มีอิทธิพลทางตรงด้านบวก ต่อตัวแปรความพึงพอใจในงาน (JS) และ ตัวแปรความผูกพันกับองค์การ (OC) และ ตัวแปรการบริหารแบบมีส่วนร่วม (PM) มี อิทธิพลทางอ้อมด้านลบต่อความตั้งใจลาออก (TO) ของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอก ชน เมื่อส่งอิทธิพลผ่านตัวแปรความพึงพอใจ ในงาน (JS) ความผู ก พั น กั บ องค์ ก าร (OC) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การ (OCB) งานวิจัยครั้งนี้มีข้อค้นพบอีกว่า การ บริหารแบบมีส่วนร่วม (PM) มีอิทธิพลทาง ตรงด้ า นบวกต่ อ ความผู ก พั น กั บ องค์ ก าร (OC) หมายความว่า เมื่อคณาจารย์รับรู้และ ได้รบั โอกาสให้มสี ว่ นร่วมในการบริหาร จะส่ง ผลให้คณาจารย์เกิดความผูกพันกับองค์การ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพล ทางตรงของความผูกพันกับองค์การ (OC) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (OCB) ที่มีต่อความตั้งใจลาออก (TO) ของ
คณาจารย์ ใ นสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนนั้ น ไม่มนี ยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.5 ซึง่ ต่างไป จากงานวิจัยของ Adenguga, Adenuga and Ayodele (2013) ที่ ท� ำ การศึ ก ษา ความสัมพันธ์ของความผูกพันกับองค์การกับ ความตั้ ง ใจลาออกของคณาจารย์ ส ถาบั น อุดมศึกษาเอกชนในประเทศไนจีเรีย จ�ำนวน 6 สถาบัน ทีพ่ บว่า เมือ่ คณาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนมีความผูกพันกับองค์การมาก ขึ้น จะท�ำให้มีแนวโน้มของความตั้งใจลาออก ลดลง จึงแสดงให้เห็นได้ว่า ในบริบทของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย แม้ คณาจารย์ยังคงมีความผูกพันกับองค์การและ แสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกทีด่ ขี ององค์การ ก็ตาม คณาจารย์อาจจะมีความตั้งใจที่จะลา ออกจากงาน ซึ่งเป็นไปได้ว่า คณาจารย์ซึ่ง เป็นปัญญาชน เป็นผู้ที่ต้องวางตนเป็นแบบ อย่ า งที่ ดี ใ ห้ แ ก่ ศิ ษ ย์ คณาจารย์ จึ ง แสดง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกทีด่ ขี ององค์การเสมอ ไม่วา่ คณาจารย์จะมีความตัง้ ใจลาออกจากงาน หรื อ ไม่ ก็ ต าม กอปรกั บ ความผู ก พั น กั บ องค์การของคณาจารย์นั้นเป็นความผูกพันที่มี ต่ อ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา มิ ใช่ ค วามผู ก พั น ต่ อ ผู ้ บ ริ ห ารสถาบั น แต่ อ ย่ า งไรก็ ดี การที่ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีความ ตั้ ง ใจลาออกทั้ ง ที่ มี ค วามผู ก พั น กั บ องค์ ก าร และมี พ ฤติ ก รรมการเป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข อง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
75
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
องค์ ก าร อาจจะมี ส าเหตุ ม าจากปั จ จั ย อื่ น อาทิ ความพอใจในสภาพแวดล้อมการท�ำงาน ค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึง ได้รบั ซึง่ สอดคล้องกับศุภริณ ี อาภรณ์ และ สนั่น ประจงจิตร (2555: 185-197) ที่ให้ ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรจะเพิ่มความ ผูกพันต่อองค์กรให้กับครูโดยการส่งเสริมสิ่ง แวดล้อมของการท�ำงานในโรงเรียน ไม่ว่าจะ เป็ น ลั ก ษณะทางกายภาพของโรงเรี ย นที่ สวยงาม มีวฒ ั นธรรมองค์กรทีก่ อ่ ให้เกิดความ ผู ก พั น ต่ อ โรงเรี ย น และพบว่ า ปั จ จั ย ค่ า ตอบแทนเป็นตัวบ่งชี้ที่ส�ำคัญของปัจจัยความ พึงพอใจในการท�ำงาน ผู้บริหารจึงควรค�ำนึง ถึงการจ่ายค่าตอบแทนให้เพียงพอ เมือ่ เปรียบ เที ย บกั บ งานที่ รั บ ผิ ด ชอบ ความรู ้ หรื อ ประสบการณ์ ใ นการท� ำ งาน ซึ่ ง เป็ น ไปใน แนวทางเดียวกันกับแนวคิดของเสน่ห์ จุ้ยโต (2554) ทีว่ า ่ รางวัล ค่าตอบแทนของบุคคล ในการปฏิบตั งิ านขององค์กรในกระบวนค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส คอมมิชชัน่ จะท�ำให้องค์กร สามารถดึงดูดและรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว และ ผลประโยชน์ตอบแทนถือว่าเป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญ ของความผูกพันกันระหว่างบุคลากรกับองค์กร (สุธรรม พงศ์ส�ำราญ, 2549)
76
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากผลการศึกษาวิจัยท�ำให้ได้ข้อมูลเชิง ประจักษ์ทแี่ สดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทงั้ ทาง ตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรการบริหาร แบบมี ส ่ ว นร่ ว มกั บ ความตั้ ง ใจลาออกของ คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังนัน้ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะ ดังนี้ 1. ผู้ท่ีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับคณะวิชา ควรก� ำ หนดนโยบายและรู ป แบบที่ เ ปิ ด ให้ คณาจารย์ในสังกัดรับรูแ้ ละมีโอกาสเข้าร่วมการ บริหารงาน เพื่อสร้างความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ อันเป็นการธ�ำรง รักษาคณาจารย์ไว้ 2. สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนควร ก�ำหนดโครงสร้างของการมีสว่ นร่วม ขอบเขต ของการตัดสินใจ สาเหตุของการมีส่วนร่วม และระดับของการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ให้ ชัดเจน เพื่อสร้างความพึงพอใจในงาน และ ความผูกพันกับองค์การให้แก่คณาจารย์ และ ลดความตั้ ง ใจลาออกจากงานและลดความ สูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่ สถาบันได้ลงทุนพัฒนา
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะ ให้มีการการศึกษาเพิ่มเติม ดังนี้ 1. การวิจัยครั้งนี้พบว่า ตัวแปรในรูป แบบความสั ม พั น ธ์ เชิ ง สาเหตุ อ ธิ บ ายความ แปรปรวนในตัวแปรความตัง้ ใจลาออกจากงาน ได้รอ้ ยละ 31 จึงควรศึกษาตัวแปรเชิงสาเหตุ อืน่ เข้าไปในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ บรรณานุกรม วิภาดา คุปตานนท์ (2551). การจัดการ และพฤติกรรมองค์การ: เทคนิคการ จั ด การสมั ย ใหม่ (พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 3): ส.เจริญการพิมพ์. ศิ ริ ว รรณ เสรี รั ต น์ และคณะ (2541). พฤติ ก รรมองค์ ก าร: ธี ร ะฟิ ล ์ ม และ ไซเท็กซ์. ศุ ภ ริ ณี อาภรณ์ และ สนั่ น ประจงจิ ต ร (2555). ปั จ จั ย เชิ ง สาเหตุ ด ้ า นการ บริหารที่ส่งผลต่อการลาออกจากงาน ของครูโรงเรียนเอกชน. วารสารสุทธิ ปริทศั น์. ปีท ี่ 26 ฉบับที ่ 79 เดือน พฤษภาคม - สิ ง หาคม 2555, 185-197. เสน่ห์ จุ้ยโต (2554). กระบวนทัศน์ใหม่ การบริ ห ารทุ น มนุ ษ ย์ . นนทบุ รี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ความตั้งใจลาออก เพื่อที่จะได้รูปแบบความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจลาออกที่มีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 2. ศึกษาอิทธิพลการบริหารแบบมีสว่ น ร่ วมต่ อ ความตั้ ง ใจลาออกของบุ คลากรสาย สนับสนุนวิชาการ เพือ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ การ บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยรวม
สุธรรม พงศ์ส�ำราญ. (2549). การจัดการ ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต. Adenguga, R. A., Adenuga, F. T., and Ayodele, K. O. (2013). Organizational commitment and turnover inten tion among private universities’ employees in Ogun State, Nigeria. Open Journal of Education. 1(2), 31-36. Chen, C-H. V., & Chang, W-Ch. (2011). Effects of psychological empower ment on employee involvement and work attitudes: The modera tion of psychological climate. International Conference on
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
77
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความตัง้ ใจลาออกของคณาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Innovation and Management, Kuala Lumpur, Malaysia, July 12 15, 20. Cronbach, L.J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.), New York, Harper & Row. Eby, L.T., Freeman, D. M., Rush, M. C., & Lance, Ch. E. (1999). Motivational bases of affective organizational commitment: A partial test of an integrative theoretical model. Journal of Occupational and Organizational Psychology. 72(4), 463-483. Kenari, B. A., Alavijeh, M. K., Hamidi, M., & Sajjadi, S. N. (2012). The relation ship between participative man agement and job attitudes of employees of national Olympics and paralympics academy of Iran. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 2(2), 123-129. Kim, S. (2002). Participative management and job satisfaction: Lessons for management leadership. Public Administration Review, 62 (2), 231 241. 78
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Light, J. N. ( 2004). The relationships and effects of employee involvement, employee empowerment, and employee satisfaction by job-type in a large manufacturing environ ment. Dissertation for Doctor of philosophy. Capella University, 20. Luna-Arocas, R.,& Camps, J. ( 2007). A model of high performance work practices and turnover intentions. Personnel Review. 37 (1), 26-46. McKnight, D.H., Philips, B.,& Hardgrave, B.C. (2009). Which reduces IT turn over intention the most: Work place characteristics or job char acteristics?. Information & Manage ment, Vol. 46 No. 3, 167-174. Rutner, P.S., Hardgrave, B.C.,& McKnight, D.H. (2008). Emotional dissonance and the information technology professional. MIS Quarterly, Vol. 32 No. 3, 635-652. Rooney, J. A., Gottlieb, B. H., & Newby Clark, I. R. (2009). How support related managerial behaviors in fluence employees: An integrated
นัยนา จันจิระสกุล, บุญเรียง ขจรศิลป์ และ ส�ำเนาว์ ขจรศิลป์
model. Journal of Managerial Psychology, Vol. 24 Iss: 5, 410 – 427. Scott, D., Bishop, J. W.,& Chen, X. (2003). An examination of the relation ship of employee involvement with job satisfaction, employee cooperation, and intention to quit in U.S. invested enterprise in China. The International Journal of Organizational Analysis 11(1), 3 - 19.
Tett, R. P., and Meyer, J. P. (1993). Job satisfaction, organizational com mitment, Turnover intention, and turnover: Path analyses based on meta-analytic findings. Personnel Psychology, 46(2), 259 293. Zahra, S., Irum, A, Mir, S.,& Chishti, A. (2013). Job Satisfaction and Faculty Turnover Intention: A Case of Pakistani Universities. IOSR Journal of Business and Management. 9(2), 83-89.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
79
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL
ACreative Writing Ability Study of Learning Achevement and of Grade 4
Students Who Learned Thai Language Through Creative Writing Exercises Including KWDL Technique. กชกร เสมาทอง * นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
ผศ.ดร.สุวรรณา จุ้ยทอง * อาจารย์ประจ�ำสาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
ผศ.ดร.อุษา คงทอง * คณบดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี Kodchakorn Sematong * Master of Education (Curriculum and Instruction), Graduate school
Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage Pathum Thani.
Asst.Prof.Dr.Suwana Juithong * Assistant Professor, Curriculum and Instruction, Education of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage Pathum Thani.
Asst.Prof.Dr.Usa Kongthong * Assistant Professor, Deans (Education), Education of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage Pathum Thani.
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ เรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดย ใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL กับที่เรียนโดยการสอนปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL กับทีเ่ รียน โดยการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จ�ำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ซึ่งได้จากการ สุ่มแบบกลุ่มหลายขั้น ตอน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรูว้ ชิ าภาษา ไทย ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL จ�ำนวน 15 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง 2) แผน การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยที่เรียนโดยการสอนปกติ 3) แบบฝึก ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยที่ผู้วิจัยได้จัดท�ำขึ้นเพื่อใช้ ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิค KWDL 4) แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทย จ�ำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบ ปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จ�ำนวน 30 ข้อ ทีม่ คี า่ ความเชือ่ มัน่ เท่ากับ 0.86 5) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย จ�ำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบอัตนัย จ�ำนวน 2 ข้อ ที่มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลีย่ ค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุม่ เดียวและ แบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
81
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
1) ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชัน้ ประถม ศึกษาปีท ี่ 4 ทีเ่ รียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์รอ้ ยละ 70 อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชัน้ ประถม ศึกษาปีท ี่ 4 ทีเ่ รียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าที่เรียนโดยการสอนปกติ อย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิง สร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าที่เรียนโดยการสอน ปกติ อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค�ำส�ำคัญ:
82
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 2) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 3) แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 4) เทคนิค KWDL
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
Abstract
The purposes of this research were to 1) compare the Thai language learning achievement of grade 4 students who learned Thai language through creative writing exercises including KWDL technique with the criterion of 70% 2) compare the Thai language learning achievement of grade 4 students who learned Thai language through creative writing exercises including KWDL technique with those who learned through traditional teaching 3) to compare the creative writing ability of grade 4 students who learned Thai language through creative writing exercises including KWDL technique with those who learned through traditional teaching. The samples used in the study were two groups of grade 4 students consisted of 30 students in each group from Joseph School Ayutthaya, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. They were selected by multistage cluster random sampling. The research tools were 1) 15 lesson plans for learning Thai language through creative writing exercises including KWDL technique lasted for 30 hours 2) 15 lesson plans for learning Thai language through traditional teaching lasted for 30 hours 3) Thai creative writing exercises designed to be used with KWDL technique 4) a multiple choice test of Thai language learning achievement with a reliability value of 0.86 5) a subjective test of creative writing ability with a reliability value of 0.85. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t – test for one sample and t – test for independent samples. The findings were as follows:
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
83
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
1) The Thai language learning achievement of grade 4 students who learned through creative writing exercises with KWDL technique was higher than 70% at the 0.05 level of significance. 2) The Thai language learning achievement of grade 4 students who learned through creative writing exercises with KWDL technique was statistically higher than those who learned through traditional teaching at the 0.05 level of significance. 3) The creative writing ability of grade 4 students who learned through creative writing exercises with KWDL technique was higher than those who learned through traditional teaching at the 0.05 level of significance. Keywords:
84
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) Thai language learning achievement 2) Creative writing ability 3) Creative writing exercises 4) KWDL technique
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 24 ได้ ระบุว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถาน ศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด�ำเนินการ ดังต่อไปนี ้ มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การ จัดการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ ความรู ้ ม าใช้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น และแก้ ไขปั ญ หา จ�ำเป็นต้องเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยสมอง ด้วยกายและด้วยใจ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง โดยให้ มีการเชือ่ มโยงกับธรรมชาติ จินตนาการ ท�ำให้ บุคลากรทางการศึกษาต้องตระหนักรู้ และ ท�ำความเข้าใจบทบาทของตนเองให้กระจ่างชัด จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) และจากการ รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2558 ค่า สถิตจิ �ำแนกตามสาระการเรียนรูว้ ิชาภาษาไทย ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 6 มีคา่ คะแนนเฉลีย่ ระดับประเทศ 44.88 ปีการศึกษา 2557 มีคา่ คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 49.33 ซึ่งสาระที่ 2 การเขียน มาตรฐาน ท.21 มีสดั ส่วนจ�ำนวน ข้อสอบร้อยละ 20 รองจากสาระที ่ 1 การอ่าน และสาระ ที ่ 4 หลักการใช้ภาษา ซึง่ ถือว่าเป็น คะแนนเฉลี่ ย ที่ น ้ อ ยมาก และปี ก ารศึ ก ษา
2559 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขนั้ พืน้ ฐาน (O-NET) ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 6 วิชาภาษาไทย ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัยเป็น ครั้ ง แรก เพื่ อ วั ด ความรู ้ ค วามสามารถของ ผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551 ด้ ว ยรู ป แบบ ข้อสอบอัตนัยร้อยละ 20 และข้อสอบแบบ ปรนัย ร้อยละ 80 ของจ�ำนวนข้อสอบทั้งหมด และเนื้ อ หาของข้ อ สอบอั ต นั ย วั ด ตรงตาม หลักสูตรในสาระที่ 2 การเขียน โดยมีสาระ ส�ำคัญ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่ว่า คุณภาพ ผูเ้ รียนมีทกั ษะในการคัดลายมือ ตัวบรรจงเต็ม บรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนสะกดค�ำ แต่ง ประโยค และเขียนข้อความ ตลอดจน เขียน สื่ อ สาร โดยใช้ ถ ้ อ ยค� ำ ชั ด เจนเหมาะสม ใช้ แผนภาพความคิดเพื่อพัฒนางานเขียน เขียน เรียงความ ย่อความ จดหมายส่วนตัว กรอก แบบรายการต่างๆ เขียนแสดงความรู้สึกและ ความคิดเห็น เขียนเรือ่ ง ตามจินตนาการอย่าง สร้างสรรค์และมีมารยาทในการเขียน (สถาบัน ทดสอบทางการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ องค์ ก าร มหาชน, 2559) และตามที่กระทรวงศึกษาธิการขับเคลือ่ นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในบริบท การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ง หัวใจส�ำคัญของประเทศไทยในยุคนี้ คือการ ปรับเปลีย่ นโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู ่ “Value – Based Economy” หรือเศรษฐกิจทีข่ บั เคลือ่ น
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
85
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
ด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรมหรือเปลี่ยน จากการขับเคลือ่ นประเทศด้วยอุตสาหกรรมไป สู ่ ก ารขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยเทคโนโลยี ความคิ ด สร้างสรรค์และนวัตกรรม การศึกษาจึงต้องมุ่ง สู่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ ในศตวรรษ ที่ 21 ซึ่งจะเห็นได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็น ทักษะหนึง่ ทีต่ อ้ งให้ความส�ำคัญอย่างยิง่ ผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจที่เชื่อมโยงสู่การจัดการเรียนรู้ และศึกษาหาวิธี การเรียนการสอนที่จะช่วย พัฒนาทักษะดังกล่าวให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผู ้ วิ จั ย ตระหนั ก ดี ว ่ า การเขี ย นเชิ ง สร้างสรรค์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ใน ตัวผู้เรียน จึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะต้อง จัดการเรียนการสอน และจัดหาสื่อการสอนที่ เหมาะสม เพื่อเป็นสิ่งเร้าและสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความรู้ ความสามารถโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้าน การเขียน และดังที่ (อัจฉรา ชีวพันธ์, 2557) ได้กล่าวไว้วา่ หลายคนมักคิดกันว่าผูท้ เี่ ขียนเป็น นั้นเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ที่จะท�ำให้ผู้อ่านมีความ ชื่นชมต่อผลงานของตน แต่เท่าที่มีประสบการณ์มานั้น พบว่าผู้ที่ไม่มีพรสวรรค์ ในการ เขียนก็สามารถแสวงหาความส�ำเร็จที่จะเขียน ได้ ถ้าผู้นั้นมีแนวทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องที่ จะน�ำเอาหลักเกณฑ์ตา่ งๆ ในการเขียนมาใช้ให้ ถูกทาง ตลอดจนถึงการหมั่นฝึกฝนตนเองให้
86
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เกิดความช�ำนิช�ำนาญ ทั้งนี้เนื่องจากการเขียน เป็นทักษะของการส่งภาษา ซึ่งจะต้องอาศัย การฝึกฝนบ่อยๆ พยายามปรับปรุงแก้ไขข้อ บกพร่องให้ดีขึ้นก็จะช่วยให้ผู้นั้นพัฒนาทักษะ นั้นได้ จากแนวคิดและเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ข้ า งต้ น ผู ้ วิ จั ย จึ ง ได้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า เกี่ ย วกั บ เทคนิคการสอนรูปแบบต่างๆ รวมทั้งแบบฝึก ทักษะทีจ่ ะช่วยให้ผเู้ รียนมีความสามารถในการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ และในการวิจยั ครัง้ นีผ้ วู้ จิ ยั มีความสนใจทีจ่ ะศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียน วิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียน เชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีท ี่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิง สร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL เพือ่ น�ำไปใช้ ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และวิชาอื่นๆ และในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น รวมทั้งน�ำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันได้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL กับ เกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL กับ ที่เรียนโดยการสอนปกติ
3. เพือ่ เปรียบเทียบความสามารถในการ เขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ที่ เรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL กับที่เรียนโดยการสอนปกติ
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม
การจัดการเรียนรู้มี 2 วิธี ได้แก่
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
1. การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL 2. การสอนปกติ
ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
สมมติฐานของการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษา ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้าง สรรค์ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL สู ง กว่ า เกณฑ์ ร้อยละ 70 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษา ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ เรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าที่ เรียนโดยการสอนปกติ
3. ความสามารถในการเขี ย นเชิ ง สร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 ที่ เรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าที่ เรียนโดยการสอนปกติ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
87
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ เขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL หมายถึ ง วิ ธี ก ารที่ เ กิ ด จากผู ้ วิ จั ย ได้ จั ด ท� ำ แผนการจัดการเรียนรู้ที่น�ำแบบฝึกทักษะการ เขียนเชิงสร้างสรรค์และเทคนิค KWDL มาใช้ ในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นฝึกให้ ผู ้ เ รี ย นได้ ต ระหนั ก ในกระบวนการคิ ด สร้างสรรค์ ท�ำความเข้าใจตนเอง การวางแผน การ การตั้งจุดมุ่งหมายการตรวจสอบความ เข้าใจ การจัดระบบข้อมูลเพื่อดึงมาใช้ในภาย หลัง และลงมือฝึกปฏิบัติการเขียนเชิงสร้าง สรรค์ ซึ่งแต่ละแบบฝึกจะเน้นทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความคิดละเอียดลออ สลับสับเปลีย่ นไปใน แต่ละแบบฝึก โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ดังนี้ 1.1 ขั้นน�ำเข้าสู่บทเรียน ทบทวนความ รู้เดิม แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และ ดึงผู้เรียนสู่เนื้อหาใหม่ โดยใช้วิธีการที่ หลากหลาย 1.2 ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน การ เสนอเนื้อหาการเรียนให้กับผู้เรียนตาม แนวทางการจัดการเรียนรู้หลักสูตรการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้าง 88
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL มี 4 ขั้น มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอน ดังนี้ • ขั้นที่ 1 กิจกรรมก่อนการเขียนเชิง สร้างสรรค์ เรียกว่า ขั้น K : What we know คือ นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ เรื่องที่จะเขียน โดยครูใช้แบบฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ทผี่ วู้ จิ ยั สร้างขึน้ ให้ นั ก เรี ย นพิ จ ารณาดู ตั้ ง แต่ ค� ำ ชี้ แจง ตั ว อย่ า ง และค� ำ อธิ บ ายเกณฑ์ ก าร ประเมิน พร้อมทั้งตั้งค�ำถามกระตุ้นให้ นักเรียนระดมความรู้ถึงสิ่งที่นักเรียนรู้ มาแล้ว • ขั้นที่ 2 กิจกรรมระหว่างการเขียน เรียกว่า ขั้น W : What we want to know คือ นักเรียนต้องการรูอ้ ะไรเกีย่ ว กั บ เรื่ อ งที่ จ ะเขี ย น โดยให้ นั ก เรี ย น ก� ำ หนดค� ำ ถามร่ ว มกั บ ครู ใช้ ค� ำ ถาม น� ำ ให้ เ กิ ด ค� ำ ตอบหลายๆ อย่ า ง โดย พิจารณาจากแบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ในแต่ละแบบฝึกที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ซึ่งแต่ละแบบฝึกจะเน้นการ ฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ 4 ด้าน สลับสับเปลีย่ นไปในแต่ละแบบฝึก • ขั้นที่ 3 กิจกรรมปฏิบัติตามค�ำสั่ง ของแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้าง สรรค์ เรียกว่า ขั้น D : What we do
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
to find out คือ นักเรียนจะต้องท�ำ อะไรบ้าง ในสิ่งที่ตนเองต้องการรู้ เป็น ขัน้ ทีน่ กั เรียนท�ำแบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่ง ระหว่ า งการท� ำ แบบฝึ ก ครู ผู ้ ส อนจะ สังเกตพฤติกรรมแต่ละคน เพื่อเข้าไป กระตุ ้ น ส่ ง เสริ ม ให้ นั ก เรี ย น เกิ ด พัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น • ขั้นที่ 4 กิจกรรมหลังการเขียนเชิง สร้ า งสรรค์ เรี ย กว่ า L : What we learned นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ นักเรียนจะได้นำ� เสนอแบบฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่นักเรียนได้ฝึก ปฏิบัติหน้าชั้นเรียน โดยครูจะประเมิน ผลการท� ำ แบบฝึ ก ทั ก ษะตามเกณฑ์ ในแต่ ล ะแบบฝึ ก เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ นักเรียนแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่าน ผลงานด้วยตัวของเขาเอง 1.3 ขั้นสรุปบทเรียน ครูและนักเรียน ร่วมกันสรุปเนือ้ หาด้วยการซักถาม หรือ ตรวจเฉลยแบบฝึกทักษะร่วมกัน 2. การสอนปกติ หมายถึ ง การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้โดยการบรรยาย อภิปราย ซักถามและการใช้สื่อประกอบ ตามแนวทาง การจัดการเรียนรูห้ ลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีขั้นตอน การการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
2.1 ขั้นน�ำเข้าสู่บทเรียน ครูกระตุ้นให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ความพร้ อ ม และความ สนใจในการเรียนด้วยการสนทนาซัก ถาม หรือใช้เกม รูปภาพ เพลง นิทาน และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.2 ขั้ น กิ จ กรรมการสอน ครู เ สนอ เนื้อหาให้นักเรียน ด้วยวิธีการบรรยาย อภิ ป ราย สนทนาซั ก ถาม โดยมี สื่ อ ประกอบการเรี ย นการสอน เช่ น ใบ ความรู ้ ใบงาน หรือหนังสือแบบเรียนที่ นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม 2.3 ขั้ น สรุ ป ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุปเนื้อหาด้วยการซักถาม หรือตรวจ เฉลยใบงาน หรือแบบฝึกทักษะร่วมกัน 3. แบบฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้ า ง สรรค์ หมายถึง การน�ำแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้าง ขึ้ น มาใช้ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL โดยอยู ่ ใ น ขั้ น กิ จ กรรมการเรี ย นการสอน โดยแยก ประเภทตามขอบเขตเนื้ อ หาของแผนการ จั ด การเรี ย นรู ้ แ ต่ ล ะแผน จ� ำ นวน 15 แบบ ฝึกทักษะ ครอบคลุมการฝึกทักษะ การเขียน เชิงสร้างสรรค์ 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความคิดละเอียดลออ สลับสับเปลี่ยนใน แต่ละแบบฝึก โดยมีรายละเอียดเกณฑ์การให้ คะแนนประกอบด้ ว ยประเด็ น ประเมิ น ที่ แจกแจงระดับการปฏิบัติด้วยรูบิค (Rubric)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
89
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
คะแนนได้จากน�้ำหนักคูณระดับคะแนนแต่ละ ประเด็น 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษา ไทย หมายถึง คะแนนความรู้และความเข้าใจ ทีจ่ ำ� เป็นในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้จากการท�ำแบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ การ เขียนประโยคจากค�ำหรือภาพ การเขียนเรื่อง เกี่ยวกับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง และการเขียนเรื่องตาม ล�ำดับเหตุการณ์จากภาพที่ก�ำหนดที่ผู้วิจัยเป็น ผู้สร้างขึ้น 5. ความสามารถในการเขี ย นเชิ ง สร้างสรรค์ หมายถึง คะแนนความสามารถของ แต่ละบุคคลในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ โดยผ่านทางการเขียนด้วยถ้อยค�ำ ที่สละสลวย มีแนวคิดแปลกใหม่น่าสนใจใน ทางสร้างสรรค์ ทีไ่ ด้จากการท�ำแบบทดสอบวัด ความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดย พิจารณา 4 ด้าน ได้แก่ 5.1 ความคิดริเริม่ (Originality) หมายถึง ความสามารถในการคิ ด ที่ แ ปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิด ริเริม่ เกิดจากการน�ำเอาความรูเ้ ดิมมาคิด ดัดแปลง และประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่ง ใหม่ขึ้น 5.2 ความคล่องในการคิด (Fluency) หมายถึง ความสามารถในการคิดหา 90
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ค� ำ ตอบได้ อ ย่ า งคล่ อ งแคล่ ว รวดเร็ ว และมีค�ำตอบในปริมาณที่มากในเวลา จ�ำกัด หรือการคิดหาค�ำตอบที่เด่นชัด หรื อ ตรงประเด็ น ที่ สุ ด ซึ่ ง จะนั บ เป็ น ปริมาณความคิดทีไ่ ม่ซำ�้ กันในเวลาจ�ำกัด 5.3 ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการคิด หาค�ำตอบได้หลายประเภทและหลาย ทิศทาง ความยืดหยุน่ ในการกคิดจึงเป็น ตั ว เสริ ม และเพิ่ ม คุ ณ ภาพของความ คล่องในการคิดให้มากขึ้น 5.4 ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความสามารถในการคิด รายละเอียดเพือ่ ตกแต่งหรือขยายความ คิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ และ ยังรวมถึงการเชื่อมโยงสัมพันธ์ของสิ่ง ต่างๆ อย่างมีความหมาย โดยมีรายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบด้วยประเด็นประเมินทีแ่ จกแจงระดับ การปฏิบตั ดิ ว้ ยรูบคิ (Rubric) คะแนนความคิด สร้างสรรค์ของนักเรียนหาได้จากผลบวกของ คะแนนความคิดริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความคิดละเอียด ลออ น� ำ มารวมกั น เป็ น ผลบวกของคะแนน ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนแต่ละคนที่ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะสามารถช่วยพัฒนานักเรียนได้ดีทั้งด้าน ความรู้ กระบวนการแสวงหาความรู้ นักเรียน เห็นคุณค่าของการเขียนและการฝึกฝนการ เขียนอย่างสม�่ำเสมอ 2. นั ก เรี ย นมี พื้ น ฐานที่ ส� ำ คั ญ ในการ เขียน สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำ วัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และการ ด�ำรงชีวิตต่อไป ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย เป็ น นักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 ในกลุม่ โรงเรียน เอกชน จ�ำนวน 32 โรงเรียน ของส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอยุธยา โรงเรียนในกลุ่มของส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จ�ำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบ กลุ่มหลายขั้นตอน (Multi stage Cluster Random Sampling) เป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 30 ชั่วโมง 3. ขอบเขตเนื้อหา ผู ้ วิ จั ย ใช้ เ นื้ อ หาที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ ได้จากหลักสูตรแกนการกลางศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ไทย ดังนี้ สาระที่ 2 การเขียน มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และ เขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงาน ข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้า อย่างมีประสิทธิภาพ สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของ ภาษาและหลักภาษาไทย การเปลีย่ นแปลงของ ภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ขอบเขตเนื้ อ หาที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ การเขียนประโยคจากค�ำหรือภาพ การเขียน เรื่องเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเขียนเรื่องตาม ล�ำดับเหตุการณ์จากภาพที่ก�ำหนด วิธีการด�ำเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ด�ำเนินการ วิจัย ดังนี้
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
91
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
1. แบบแผนการวิจยั ผูว้ จิ ยั ใช้แบบแผน การทดลองแบบ Randomized Two Group Pretest – Posttest Design 2. วิธีด�ำเนินการทดลอง 2.1 ขั้นเตรียมการ 1) ท�ำหนังสือขอความร่วมมือในการท�ำ วิ จั ย จากมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ไป ยั ง โรงเรี ย นยอแซฟอยุ ธ ยา จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา เพื่ อ ขอความ อนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) ผู้วิจัยสุ่มเลือกห้องเรียน 2 ห้อง ใน การจัดการเรียนรู้ที่เรียนโดยใช้แบบฝึก ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วชิ าภาษา ไทยร่วมกับเทคนิค KWDL จ�ำนวน 1 ห้องเรียน และจัดการเรียนรู ้ ทีเ่ รียนโดย การสอนปกติ จ�ำนวน 1 ห้องเรียน 2.2 ขัน้ ด�ำเนินการทดลอง ผูว้ จิ ยั ท�ำการ ทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1) ทดสอบโดยใช้ แ บบทดสอบวั ด ผล สัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและ แบบทดสอบวัดความสามารถในการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ทั้ง 2 กลุ่ม ก่อน เรียนแล้วเก็บคะแนนไว้
92
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2) ด� ำ เนิ น การทดลองโดยผู ้ วิ จั ย เป็ น ผู ้ ด� ำ เนิ น การสอนเอง โดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะ การเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ วิ ช า ภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWDL จ�ำนวน 1 ห้องเรียน และจัดการเรียนรู้โดยการ สอนปกติ 1 ห้องเรียน 2.4 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 1) ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการ เรี ย นวิ ช าภาษาไทย ทั้ ง 2 กลุ ่ ม หลั ง เรียน 2) ใช้แบบทดสอบวัดความสามารถใน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ทัง้ 2 กลุม่ หลัง เรียน 3) น�ำคะแนนที่ได้มาตรวจให้คะแนน ตามเกณฑ์ทกี่ ำ� หนด แล้วน�ำมาวิเคราะห์
สรุปอภิปรายผล 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษา ไทย ของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ เรี ย นโดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะการเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL สู ง กว่ า เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 เป็นไปตามสมติฐาน ทั้งนี้อาจเป็น เพราะการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ที่เรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับเทคนิค KWDL มีกระบวนการจัดการ เรี ย นรู ้ ที่ ใช้ ส อนและฝึ ก ทั ก ษะ ซึ่ ง ผู ้ วิ จั ย ได้
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
พั ฒ นาให้ มี ค วามสมบู ร ณ์ น� ำ มาใช้ ใ นขั้ น กิจกรรมการเรียนการสอนทีเ่ น้นฝึกให้นกั เรียน ได้ ต ระหนั ก ในกระบวนการคิ ด สร้ า งสรรค์ ท�ำความเข้าใจตนเอง การวางแผนการ การตัง้ จุดมุ่งหมายการตรวจสอบความเข้าใจ การจัด ระบบข้อมูลเพือ่ ดึงมาใช้ในภายหลัง และลงมือ ฝึกปฏิบัติการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ จะเน้นทักษะการเขียนเชิง สร้างสรรค์ 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริม่ ความ คล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และ ความคิดละเอียดลออ จึงท�ำให้นักเรียนมีผล สั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นวิ ช าภาษาไทยสู ง กว่ า เกณฑ์ ร ้ อ ยละ 70 สอดคล้ อ งกั บ จั ก รเพชร สุริยะกมล (2551) ได้ศึกษาความสามารถใน การคิดและเขียนสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ด ้ ว ยวิ ธี ก ารเรี ย นรู ้ แ บบ KWL และวิธกี ารเรียนรูแ้ บบ SYNECTICS พบ ว่านักเรียนทีไ่ ด้รบั การจัดการเรียนรูด้ ว้ ยวิธกี าร เรียนรู้แบบ KWL กับวิธีการเรียนรู้แบบ SYNECTICS มีความสามารถในการคิดและการ เขียนเชิงสร้างสรรค์วชิ าภาษาไทยหลังเรียนเพิม่ ขึ้ น อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.05 สอดคล้องกับผลการวิจัยของ อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์ (2550) ได้ศึกษาการพัฒนาความ สามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วย เทคนิ ค KWL Plus พบว่ า นั ก เรี ย นต้ อ งใช้ ประสบการณ์เดิมของตนเองเป็นพื้นฐานเพื่อ เชื่ อ มโยงเข้ า สู ่ เรื่ อ งใหม่ ๆ ต่ อ ไปจึ ง กล่ า วได้ ว่าการสอนโดยวิธี KWL PLUS นับเป็นจุด เริ่มต้นที่ดีในการอ่าน การคิดเพื่อน�ำไปสู่การ เขียนในที่สุด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษา ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลัง เรียนระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึก ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL กับที่เรียนโดยการสอนปกติ แตกต่าง กั น อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ 0.05 โดยนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ เขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ร ่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการเรียนโดย การสอนปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการจัดการ เรียนรูท้ เี่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การเขียนเชิง สร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL เป็นการจัด การเรียนรู้ที่กระตุ้นความคิด เพื่อให้ น�ำข้อมูล หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ มารวมกันได้อย่าง เป็นระบบชัดเจนในลักษณะความคิดหลัก และ ความคิดรอง อธิบายความสัมพันธ์ โดยเน้น ทักษะการคิดท�ำให้เข้าใจง่าย จดจ�ำได้ง่ายและ แม่นย�ำขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ฝกึ ปฏิบตั ิ ได้ฝกึ คิดอย่างเป็นขัน้ ตอนต่อเนือ่ ง และน�ำความคิดเหล่านัน้ มาจัดระบบให้มคี วาม
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
93
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
สัมพันธ์กันอย่างแจ่มชัด จึงเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สูงกว่าการเรียนโดยการสอนปกติ สอดคล้อง กับคาร์และโอเกิล (Carr and Ogle, 1987) ได้ศึกษาวิธีการใช้เทคนิค KWL PLUS เพื่อ พั ฒ นาความสามารถในการเข้ า ใจและการ สรุปความ โดยทดลองกับนักเรียนระดับชั้น มั ธ ยมศึ ก ษา ซึ่ ง เป็ น นั ก เรี ย นที่ มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนต�่ำและนักเรียนที่อยู่ในโครงการ สอนซ่ อ มเสริ ม โดยใช้ วิ ธี ก ารสั ง เกตและ สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ผลการวิจัยพบ ว่ า นั ก เรี ย นสามารถถ่ า ยโอนความรู ้ ไ ปสู ่ สถานการณ์การอ่านเรือ่ งใหม่ได้ รวมทัง้ มีความ เข้ า ใจในการอ่ า นตลอดจนมี ทั ก ษะในการ ย่อความดีขึ้น สอดคล้องกับ Petty (1975) กล่าวไว้ว่าแบบฝึกทักษะเป็นส่วนที่เพิ่มหรือ เสริม เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระครู ผู้สอนได้มาก เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดท�ำขึ้น อย่างเป็นระบบระเบียบที่ช่วยให้ผู้เรียนฝึก ทักษะการใช้ภาษาได้ดี แต่ก็ต้องอาศัยการส่ง เสริมและความเอาใจใส่จากครูผสู้ อน และแบบ ฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทนและต้อง ฝีกทันทีหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องนั้นๆ ฝึ ก ซ�้ ำ หลายๆ ครั้ ง และเน้ น เฉพาะเรื่ อ งที่ ต้องการฝึก นอกจากนั้นแบบฝึกที่จัดพิมพ์ขึ้น นอกเหนือจากทีอ่ ยูใ่ นหนังสือแบบเรียน จะช่วย ให้เด็กได้ฝึกฝนอย่างเต็มที่
94
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
3. ความสามารถในการเขี ย นเชิ ง สร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 หลังเรียนระหว่างนักเรียนทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึก ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL กับที่เรียนโดยการสอนปกติ แตกต่าง กันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 โดย นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL มีความ สามารถในการเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ สู ง กว่ า การเรียนโดยการสอนปกติ ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะ การจัดการเรียนรู้ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีการน�ำแบบฝึกทักษะ การเขียน เชิงสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจน เกิดความช�ำนาญ มีขั้นตอนในแต่ละขั้นที่ช่วย ให้ นั ก เรี ย นได้ ล� ำ ดั บ ความคิ ด ที่ ชั ด เจน เป็ น เทคนิคที่จะช่วยท�ำให้ผู้เรียนมีแรงเสริมในการ คิดสร้างสรรค์สามารถถ่ายทอดความคิดผ่าน การเขียน และได้รบั การฝึกทักษะการเขียนเชิง สร้ า งสรรค์ ด ้ า นต่ า งๆ จากแบบฝึ ก ทั ก ษะที่ แต่ละแบบฝึกมีจุดประสงค์ในการเน้นทักษะ การเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ แ ต่ ล ะด้ า น ได้ แ ก่ ความคิ ด ริ เริ่ ม ความคล่ อ งในการคิ ด ความ ยืดหยุ่นในการคิด และความคิดละเอียดลออ สลั บ สั บ เปลี่ ย นกั น ไปแต่ ล ะแบบฝึ ก จึ ง เป็ น ปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ผู้เรียนมีความสามารถใน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านการทดสอบวัด
กชกร เสมาทอง, สุวรรณา จุ้ยทอง และ อุษา คงทอง
ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ ดุ สิ ต า แดงประเสริ ฐ (2549) ได้ ศึ ก ษาการ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการ เขียนสรุปความของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธี KWL PLUS เพื่อ เปรี ย บเที ย บทั ก ษะการคิ ด วิ เ คราะห์ ข อง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี KWL PLUS ผลการวิจัยพบว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี KWL PLUS แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 สอดคล้องกับวรรณรัตน์ ศรีรงั (2550) ได้ศกึ ษาค้นคว้าเพือ่ สร้างหนังสือ ส่งเสริมการอ่านและแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อ พัฒนาการอ่านและเขียน กลุม่ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย พบว่าแบบฝึกทักษะและหนังสือส่ง เสริมการอ่านและเขียน มีทักษะการอ่านและ เขียนแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01
ข้อเสนอแนะ 1. ความสามารถในการเขี ย นเชิ ง สร้ า งสรรค์ ต ้ อ งอาศั ย การฝึ ก ฝนเพื่ อ ให้ เ กิ ด ทักษะความสามารถ ดังนั้นการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับ เทคนิค KWDL ครูผู้สอนจึงควรล�ำดับขั้นตอน จนครบถ้วนสมบูรณ์ เพือ่ ช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และความสามารถกับผู้เรียนได้อย่างแท้จริง 2. ควรศึกษาผลการจัดการเรียนรูท้ เี่ รียน โดยใช้แบบฝึกทักษะด้านการฟัง ทักษะการ อ่ า น ร่ ว มกั บ เทคนิ ค KWDL และศึ ก ษาวิ ธี สอนในรูปแบบอืน่ ๆ เพือ่ วัดผลสัมฤทธิท์ างการ เรียนวิชาภาษาไทยและวัดความสามารถในการ เขียนเชิงสร้างสรรค์
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
95
การศึกษาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ทีเ่ รียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์รว่ มกับเทคนิค KWDL
บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการ จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึ ก ษา ขั้ น พื้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ. จักรเพชร สุริยะกมล. (2551). การเปรียบ เที ย บความสามารถในการคิ ด และ เขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ ได้รบั การจัดกิจกรรมการเรียนรูด้ ว้ ยวิธี การเรียนรูแ้ บบ KWL และวิธกี ารเรียน รู้แบบ Synectics. ปริญญาการศึกษา มหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าการวิ จั ย การ ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. ดุ สิ ต า แดงประเสริ ฐ . (2549). การพั ฒ นา ทั ก ษะการการคิด วิเคราะห์แ ละการ เขี ย นสรุ ป ความ ของนั ก เรี ย นชั้ น มัธยมศึกษาปีท ี่ 2 ทีจ่ ดั การเรียนรูด้ ว้ ย เทคนิ ค KWL Plus. วิ ท ยานิ พ นธ์ ปริ ญ ญาศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต สาขา หลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศิลปากร. สถาบั น ทดสอบทางการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ . (2559). คูม่ อื การจัดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ชั้น
96
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 และชั้ น มั ธ ยม ศึ ก ษาปี ที่ 3 ปี ก ารศึ ก ษา 2559. กรุ ง เทพฯ: สถาบั น ทดสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). อัจฉรา ชีวพันธ์. (2557). กิจกรรมการเขียน สร้ า งสรรค์ ใ นชั้ น ประถมศึ ก ษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ.์ (2550). การพัฒนา ความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ จั ด การเรี ย นรู ้ ด ้ ว ยเทคนิ ค KWL Plus. วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาศึ ก ษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร และการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธี สอน บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร. Carr, Eileen, and Donna Ogle. (1987). KWL – PLUS : A Strategies for Comprehension and Summari zation. Journal of Reading, New York: David Mc Kay Company. Petty, D.K. (1975). Language Work books and Practice Materials. In Developing Language Skills in elementary Schools. New York: Allyn and Bacon, Inc
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพื่อการอบรมต่อเนื่อง คุณธรรมของชีวิตคริสตชน
"TOngoing he Our Father" As A Foundation For Formation Of Christian Virtue. วิทวัฒน์ แก้วแหวน
* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย
* ประมุขแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง สมเกียรติ ตรีนิกร
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม
Wittawat Kaewwaen * Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College. Most Rev. Luechai Thatwisai, S.T.D. * Bishop of Udonthani Diocese.
* Lecturer of The Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College. Rev. Somkiat Trinikorn * Reverend in Roman Catholic Church, Bangkok Archdiocese. Asst.Prof.Laddawan Prasutsaengchan, Ph.D. * Lecturer, Christian Studies Faculty of Religious, Saengtham College.
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
บทคัดย่อ
98
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและความ หมายของบทภาวนาข้าแต่พระบิดา และ (2) ศึกษาการน�ำบทข้าแต่พระ บิดาไปใช้เป็นหลักพื้นฐานในการเสริมสร้างคุณธรรมในชีวิตคริสตชน เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ เพื่อให้ทราบถึง คุณค่าและความหมายทีแ่ ท้จริงในบทภาวนาข้าแต่พระบิดา ซึง่ เป็นหลัก จริยธรรมแนวทางในการด�ำเนินชีวิต ผลการวิจยั พบว่า บทภาวนาข้าแต่พระบิดา มีหวั ใจอยูท่ คี่ วามรัก ซึง่ เป็นรากฐานส�ำคัญทีส่ ดุ และเป็นแนวทางส�ำคัญในการด�ำเนินชีวติ ตาม หลักจริยธรรมและหลักธรรมในการด�ำเนินชีวิตเพื่อให้บุคคลและสังคม ได้เจริญชีวิตอย่างดีและเป็นหนทางในการสร้างรากฐานการอบรม คุณธรรมให้แก่คริสตชนได้อย่างต่อเนื่อง เพราะว่าพระเยซูเจ้าทรงสอน ให้เรามีคุณธรรมความรัก ที่เรียกร้องให้เราเติบโต โดยการรับการอบรม ฝึกฝนเพือ่ แสดงออกอย่างต่อเนือ่ ง หรือการแสดงออกซ�ำ้ ๆ จนกลายเป็น นิสัย ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นแม่แบบแห่งการเรียนรู้กล่าวคือ เรียน รู้ที่จะแสดงคุณธรรมความรักตามบทภาวนาข้าแต่พระบิดา พบว่าหลัก การที่ควรปฏิบัติมีดังนี้ 1. คริสตชนปรารถนาให้ผู้อื่นบรรลุความดีสูงสุด 2. คริสตชนเคารพย�ำเกรงพระเจ้า โดย ต้องเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่ จึงต้องรู้ว่าพระองค์ เป็นอย่างไร ต้องตระหนักรู้ถึงพระองค์ และต้องมี ความนบนอบ 3. คริสตชนท�ำตามพระประสงค์ของพระเจ้าด้วยความรักและ ความไว้ใจ 4. คริสตชนรู้จักเพียงพอในแต่ละวันของชีวิตและรู้จักแบ่งปันให้ กับผู้อื่น 5. คริสตชนแสดงความรัก ด้วยการคืนดีซึ่งกันและกัน ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ระดับความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ต้องท�ำตาม บัญญัติด้วยความเต็มใจ และระดับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนพี่น้อง ต้องเข้าใจและไม่จดจ�ำการกระท�ำของเพื่อนพี่น้อง
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
6. แนวทางการต่อสูก้ บั การผจญ เรียกร้องให้คริสตชนแสดงความ รัก โดยให้คดิ ดี ท�ำดี ในทุกสถานการณ์ และให้ตระหนักว่าตนเองอยูต่ อ่ หน้าพระเจ้าเสมอ ค�ำส�ำคัญ:
บทภาวนาข้าแต่พระบิดา การอบรมต่อเนื่อง การด�ำเนินชีวิตคริสตชน
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560
99
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
Abstract
The purpose of this research was to examine: (1) The history and meaning of the Our Father, and (2) How to use the Our Father as a guideline for ongoing formation of Christian virtue. This is a documentary research. All this involved studying as much as possible the documents to find the value and the real meaning of the Our Father as a prayer. What follows is the result of this private study of mine on the prayer Our Father. Its very heart is Love and the best foundation for living is to follow the ethic and the morality in order to be good personally and socially. That way is the foundation for the ongoing formation of Christian virtue. Because Jesus taught us to have the virtue of love by training in order to practice love. Again we can develop a habit which will help our ongoing formation. This is a process of Repetitio mater studiorum est; repetition is a mother of learning. So the prayer Our Father prayer is learning to practice the Christian virtue of love. It was found that the principles are as follow: 1. Christians who desire people to attain the highest good. 2. Christians to revere God must believe that God exists, must know Him, must be aware of Him and must have regard Him 3. Christians to do the will of God with love and trust. 4. Christians to know enough touch on the life and share with others.
100 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
5. To express love by reconciliation with each other, by two levels for the relationship: between God and man by following the commandments willingly, between brothers and friends by remembering the bad their actions. 6. To resist temptations and to show love giving good idea in any situation, recognizing themselves in the presence of God. Key Words: “The Our Father Ongoing Formation Christian Virtue
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 101
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา บทเทศน์ทมี่ คี วามส�ำคัญมากต่อคริสตชน คื อ บทเทศน์ บ นภู เขา Sermon on the Mount ที่พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอน และต้น แบบของชีวิตคริสตชนที่ดีที่สุด ก็คือ พระเยซู เจ้า พระองค์ทรงสอนบทภาวนาที่บรรจุหลัก ธรรมและจริยธรรมที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ บทภาวนาที่มีความส�ำคัญยิ่งของศาสนาคริสต์ คือ “ข้าแต่พระบิดา” “พระเยซูคริสตเจ้าเองทรงเป็นผู้แต่ง และทรงสอนเราให้ภาวนา” (มัทธิว 5:5-13) สาวกทัง้ สิบสองคนต่างเป็นชาวยิวทีด่ ี พวกเขา สวดภาวนาตามธรรมเนียมของบรรพบุรษุ ทัง้ ที่ บ้านและที่ศาลาธรรม (synagogue) แต่เมื่อ มาอยูก่ บั พระเยซูคริสต์พวกเขาได้เห็นพระเยซูคริสตเจ้าภาวนาตามล�ำพังเวลาค�ำ่ คืนเป็นประจ�ำ พวกเขาได้ เ ห็ น พระพั ก ตร์ อั น แจ่ ม ใสของ พระองค์ ใ นยามเช้ า ที่ เ สด็ จ กลั บ มาจากการ ภาวนา เมื่อมีโอกาส คนหนึ่งในพวกเขาจึงขอ พระองค์ โปรดสอนพวกเขาให้ภาวนาอย่างที่ พระองค์ภาวนา บทข้ า แต่ พ ระบิ ด า มี ที่ ม าจากวิ ธี อธิษฐานภาวนาจากบทภาวนาของพระเยซูเจ้า เป็นบทภาวนาพิเศษซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรง สอนและมอบไว้ให้ ถือเป็นบทภาวนาที่ส�ำคัญ และ บ่งบอกให้รู้ว่า “คริสตชนเป็นใคร” ซึ่ง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการภาวนาของพวก
102 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ฟารีสแี ละคนต่างศาสนาทีเ่ น้นการพูดจายืดยาว และซ�ำ้ ซาก เชือ่ การนมัสการพระบาอัล ดังนัน้ พระศาสนจักรจึงให้ความส�ำคัญกับการสวด ภาวนาโดยเฉพาะ “บทข้าแต่พระบิดา” สาเหตุ เพราะบทภาวนาบทนีเ้ ป็นบทภาวนาทีพ่ ระเยซู คริสตเจ้าทรงสอนให้ศิษย์ภาวนาด้วยพระองค์ เอง ในช่วงเวลา ปี ค.ศ. 2015 ได้มกี ฤษฏีกา สมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ศิษย์พระคริสต์ เจริ ญ ชี วิ ต ประกาศข่ า วดี ใ หม่ ” ได้ ก ล่ า วถึ ง สภาพความเป็นจริงในโลกปัจจุบันและสังคม ไทย ที่มีการรุดหน้าพัฒนาด้านวัตถุที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้วิถีชีวิต หลักธรรม และ จริยธรรมเสื่อม แสดงถึงสภาพในปัจจุบัน คือ เศรษฐกิจก้าวหน้าแต่กลับไม่สง่ เสริมคุณค่าและ ความดีส่วนรวม เป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่ง ขึ้น มีประเด็นหลายประการทีท่ �ำให้เกิดปัญหา ทางจริยธรรม และยากทีจ่ ะตัดสินเหล่านี ้ อาจ ถือเป็นความท้าทายของคริสตชนในการด�ำเนิน ชี วิตตามหลั ก ค� ำ สอนของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า และเป็นความท้าทายของพระศาสนจักรในการ ที่จะหาแนวทางในการสร้างเสริมให้คริสตชน ด�ำเนินชีวิตตามคุณธรรมและหลักค�ำสอนของ พระศาสนจักร ท�ำอย่างไรถึงจะท�ำให้ “บท ภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงสอนจะสามารถเป็น แนวทางส�ำหรับหลักธรรมและจริยธรรมส�ำหรับ
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
คริสตชนในยุคปัจจุบนั ผูว้ จิ ยั มีความคิดเห็นว่า การศึกษาบทภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงสอน ด้านหลักธรรมและจริยธรรม ต้องหยั่งรากลึก ในข้อความเชือ่ ของศาสนา และน�ำความชัดเจน ด้านค�ำสอนทีแ่ ท้จริงบนพืน้ ฐานของพระคัมภีร์ เป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตที่ดีของคริสตชน และเป็นหนทางในการสร้างรากฐานการอบรม คุ ณ ธรรมให้ แ ก่ ค ริ ส ตชนได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ซึ่งหากคริสตชนมีใจรักในการภาวนาและน�ำ คุณค่าค�ำสอนที่ได้รับจากบทภาวนานั้น มาใช้ ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต แล้ ว ครอบครั ว คริ ส ตชน จะสามารถด�ำเนินไปได้อย่างดี มีความรักและ เชื่ อ ในพระเจ้ า พระบิ ด าอั น เป็ น ที่ สั ก การะ รั ก และให้ อ ภั ย เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ไม่ พ ่ า ยแพ้ ต ่ อ การผจญของความชั่วร้ายและกระแสโลกียะ มากเกินไป ดั่งค�ำภาวนาในบทข้าแต่พระบิดา นั่นเอง วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาความเป็ น มาและความ หมายของบทภาวนาข้าแต่พระบิดา 2. เพื่อศึกษาการน�ำบทข้าแต่พระบิดา ไปใช้เป็นหลักพืน้ ฐานในการด�ำเนินชีวติ คริสตชน นิยามศัพท์เฉพาะ 1. บทภาวนาข้าแต่พระบิดา หมายถึง บทภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงสอนแก่ “บรรดา
ศิษย์” (ลก 11:1) ที่เน้นว่าพระประสงค์ของ พระเจ้ า ต้ อ งมาก่ อ นความต้ อ งการของเรา แต่ละคน 2. การอบรมต่ อ เนื่ อ ง หมายถึ ง กระบวนการให้ความรู้ ความเชื่อ การด�ำเนิน ชี วิ ต และการปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ เพื่ อ ให้ มี ประสบการณ์กับพระเจ้ากระทั่งพร้อมในการ ประกาศข่ า วดี (กฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข อง พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย, 2015) ซึ่งในทางปฎิบัติ เริ่มจากการภาวนา เพราะการภาวนาเป็ น ประตู ใ หญ่ ที่ น� ำ ไปสู ่ ความเชื่อ ผู้ที่ภาวนาไม่ได้มีชีวิตเพื่อตนเอง หรือด้วยพละก�ำลังของตนเองอีกต่อไป แต่เขา ตระหนักว่ามีพระเจ้าผู้ซึ่งเขาสนทนาด้วยได้ ผู้ภาวนาจะวางใจในพระเจ้านับวันแต่จะมาก ขึน้ และตัง้ แต่บดั นีแ้ ล้วทีเ่ ขาแสวงหาความเป็น หนึ่งเดียวกับพระเจ้า ผู้ที่สักวันหนึ่งเขาจะได้ พบเฉพาะพระพักตร์ “(คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม ประเทศไทย และ คณะภคิ นี เซนต์ ป อล เดอ ชาร์ ต ร, แปล. 2013 : 54) จนกระทัง่ การอบรมอย่างต่อเนือ่ ง ได้อบรมความรักจนปรับเปลี่ยนบุคคลนั้นเป็น บุคคลแห่งความรัก 3. คุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะหรือ สภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทาง ที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งเป็นภาวะนามธรรมอยู่ใน จิตใจ (รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี,
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 103
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
2546) คุ ณ ธรรมในงานวิ จั ย นี้ หมายถึ ง คุณธรรมความรักที่มีเป้าหมายอยู่ที่ทั้งพระเจ้า และมนุษย์ โดยพระเจ้าเป็นอันดับแรกและ มนุษย์เป็นอันดับสอง (มธ 22:39; ลก 10:27) 4. การด�ำเนินชีวิตคริสตชน หมายถึง การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละวันของบุคคล ทีน่ บั ถือศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิก โดย น�ำค�ำสอนของพระเยซูเจ้ามาเป็นหลักในการใช้ ชีวติ โดยเฉพาะคุณธรรมค�ำสอนจากบทภาวนา ข้าแต่พระบิดา ประโยชน์ที่จะได้รับ 1. ได้ทราบถึงความเป็นมาและความ หมายของบทภาวนาข้าแต่พระบิดา 2. ได้ทราบถึงการน�ำบทข้าแต่พระบิดา ไปใช้เป็นหลักในการด�ำเนินชีวิตคริสตชน วิธีการด�ำเนินวิจัย 1. ประเภทของการวิจัย เป็นการวิจัย เชิงเอกสาร (Documentary Research) 2. ขั้นตอนการด�ำเนินการวิจัย 2.1 ขั้นตอนที่ 1 การจัดเตรียมโครง ร่างการวิจัย ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนการเตรียม โครงร่างการวิจยั ตามระเบียบวิธวี จิ ยั โดยผูว้ จิ ยั ท�ำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากเอกสารพระศาสนจั ก ร ต� ำ รา หนั ง สื อ เอกสารวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อน�ำมา จัดท�ำโครงร่างการวิจัย 104 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
2.2 ขั้นตอนที่ 2 การด�ำเนินการวิจัย ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนของ 1) ศึกษาวิเคราะห์ ตี ค วามเอกสารและงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง 2) สังเคราะห์ขอ้ มูล และ 3) สรุปผลการศึกษา 2.3 การรายงานผลการวิจัย ขั้นตอน นี้เป็นขั้นตอนการสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการ วิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือ ที่ ใช้ ใ นการศึ ก ษา ได้ แ ก่ เอกสารของพระศาสนจักรคาทอลิก เช่น พระคัมภีร์ สมณสาสน์ และเอกสารของนั ก วิ ช าการ เช่ น เอกสารวิ ช าการทางประวั ติ ศ าสตร์ อั น เป็ น ภูมหิ ลังของ “บทภาวนาข้าแต่พระบิดา” (มธ 6:7-15) เอกสารวิ ช าการ “อรรถาธิ บ าย พระคัมภีร์” (Commentary) และเอกสาร วิชาการตามแนวคิดของนักวิชาการต่างๆ รวม ไปถึ ง บทความเชิ ง วิ ช าการและงานวิ จั ย ที่ เกี่ยวข้อง 4. การวิเคราะห์ขอ้ มูล แปลและตีความ (Exegesis) ข้ อ มู ล จากเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยอาศั ย การศึ ก ษาจากค� ำ แปลของตั ว บท พระคัมภีร์ (Word) ศึกษาโครงสร้าง (Structure) บริบทในสมัยนั้น (Context) โดยเน้น ความสาคัญทางภาษาวรรณกรรม (Syntax) และแบบวรรณกรรม (Genre) รวมทั้งอาศัย การไตร่ตรอง (Reflection)
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ผลการวิจัย 1. ความเป็นมาและความหมายของ บทภาวนาข้าแต่พระบิดา จากการตีความพระคัมภีร์จากเอกสาร วิชาการ “อรรถาธิบายพระคัมภีร์” (Commentary) พบว่าบทภาวนาข้าแต่พระบิดา เป็ น บทภาวนาที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรงสอนตาม ค� ำ วอนขอของบรรดาศิ ษ ย์ วอนขอเพื่ อ ท� ำ ตามพระประสงค์ของพระเจ้ามากกว่าที่จะท�ำ ตามใจเรา ให้มนุษย์วางใจในพระบิดามากกว่า ติดอยู่ที่ค�ำวอนขอของตนเอง บทภาวนาข้าแต่พระบิดาเป็นการวอน ขอต่อพระเจ้า ผู้ซึ่งเป็นบุคคลความรัก การให้ อภัย และแนะแนวทางให้คริสตชนเดินในทาง แห่งความรัก รักพระองค์ รักเพื่อนพี่น้อง รัก ตนเอง และรักสิ่งสร้างของพระองค์ ซึ่งการ แสดงความสั ม พั น ธ์ ค วามรั ก ที่ ชั ด เจนคื อ เคารพย�ำเกรงพระเจ้า เชื่อ รู้ ตระหนักรู้ และ นบนอบเชื่อฟังพระองค์ ด้วยความไว้วางใจ อย่ า งเต็ ม เปี ่ ย ม การแสดงความรั ก อี ก แบบ คือ การแบ่งปัน การเอาใจใส่ต่อตัวเอง และ สิ่งรอบข้าง และการเอาใจใส่ที่ส�ำคัญที่สุด คือ การให้อภัย และในช่วงสุดท้ายของบทภาวนา ข้าแต่พระบิดา คือ ให้แนวทางในการต่อสู้เมื่อ ยามเผชิญกับการผจญ คือการแสดงความรัก ยื น ยั น ความรั ก เคารพศั ก ดิ์ ศ รี กั น และกั น และให้ตระหนักว่าอยู่ต่อหน้าพระเจ้าในทุก กิจการ เพื่อจะท�ำให้คริสตชนคิดดีและท�ำดี เสมอ
2. แนวทางการน�ำบทข้าแต่พระบิดาไป ใช้เป็นหลักพืน้ ฐานในการด�ำเนินชีวติ คริสตชน 2.1 ควรสอนให้สวดในภาษาท้องถิ่น เพื่อให้คนที่สวดสามารถเข้าใจได้ลึกซึ้ง เพื่อ เป็นการอบรมตนเองอย่างต่อเนื่อง หรืออาจ กล่าวได้ว่าภาวนาซ�้ำๆ เป็นแม่แบบการเรียนรู้ (Repetitio mater studiorum est) เพราะ ว่ า การสวดบทภาวนานี้ เป็ น การยื น ยั น ว่ า คริสตชนเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ต้องเชือ่ และ อุทศิ ตนเองเพือ่ พระองค์กอ่ น ซึง่ จะน�ำไปสูก่ าร เข้าใจพระประสงค์ของพระเจ้า จึงสรุปได้ว่า พระเยซูเจ้าสอนให้ทุกคนเชื่อไว้วางใจต่อผู้ที่ วอนขอมากกว่าติดอยู่กับค�ำอ้อนวอน 2.2 จากการศึ ก ษา ตั ว บทข้ า แต่ พระบิดา ที่สอนเรื่องคุณธรรมความรักเพื่อใช้ เป็นหลักพื้นฐานในการด�ำเนินชีวิตคริสตชน จุดเริม่ ต้นของความรักมาจากพระบิดา พระเจ้า ซึ่งเป็นที่รัก ให้อภัย และรู้จักวิถีทางน�ำสิ่งดีๆ มาให้บตุ รของพระองค์ ซึง่ พระเยซูเจ้าทรงสอน ให้คริสตชนมีคุณธรรมความรัก ที่เรียกร้องให้ เราเติมโต โดยการรับการอบรม ฝึกฝนเพื่อ แสดงออกอย่างต่อเนื่อง (ongoing formation) หรือ การภาวนาบทข้าแต่พระบิดาซ�้ำๆ จนกลายเป็นนิสัย ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เป็ น แม่ แ บบแห่ ง การเรี ย นรู ้ (Repetitio mater studiorum est) เรียนรู้ที่จะอบรม คุณธรรมความรักตามบทภาวนาข้าแต่พระบิดา พบว่าหลักการที่ควรปฏิบัติดังนี้
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 105
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
2.2.1 แสดงออกโดยการปราถนาให้ ผูอ้ นื่ บรรลุความดีสงู สุด แบบไม่เลือกทีร่ กั มักที่ ชัง กล่าวคือ รักทั้งพระเจ้า รักเพือ่ นพีน่ ้อง รัก ตนเอง และรักสิ่งสร้างทั้งมวลที่พระองค์ทรง สร้างเพื่อเรา 2.2.2 แสดงออกถึ ง ความเคารพ ย�ำเกรงพระเจ้า ต้องเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่ ต้องรู้ ว่ า พระองค์ เ ป็ น อย่ า งไร ต้ อ งตระหนั ก รู ้ ถึ ง พระองค์ และต้องมีความนบนอบ 2.2.3 มอบน�้ ำ ใจเราท� ำ ตามพระ ประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งท่าทีนี้ต้องเต็มไปด้วย ความรัก ความไว้วางใจพระเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม 2.2.4 การแสดงออกถึงความรัก ที่ รู้จักความพอเพียงในแต่ะวันของชีวิต และที่ ส�ำคัญที่สุดคือ เป็นการแสดงออกถึงความรัก ต่อสิ่งรอบข้าง การคิดถึงแบ่งปันให้กับผู้อื่น 2.2.5 การแสดงความรั ก ด้ ว ยการ คืนดีซงึ่ กันและกัน ซึง่ มี 2 ระดับ คือส�ำหรับใน ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือต้อง ท�ำตามบัญญัตดิ ว้ ยความเต็มใจ และส�ำหรับใน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนพี่น้อง เรียกร้องให้ เข้าใจการกระท�ำของเพื่อนพี่น้อง เรียกร้องให้ เราไม่จดจ�ำความผิด เพือ่ จุดหมายเดียวคือ การ รักเขาในรูปแบบไม่มีเงื่อนไข 2.2.6 แนวทางการต่อสู้กับการผจญ เรียกร้องให้คริสตชนแสดงความรัก โดยการ เคารพตนเอง บรรพบุรษุ สถาบัน ประเทศชาติ
106 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
กล่าวคือ ให้คดิ ดี ท�ำดี ในทุกสถานการณ์ และ ให้ตระหนักว่าตนเองอยู่ต่อหน้าพระเจ้าเสมอ อภิปรายผล 1. ความเป็นมาและความหมายของ บทภาวนาข้าแต่พระบิดา ข้ อ ความที่ 1 “ข้ า แต่ พ ระบิ ด าของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย” (มธ 6:9) พระเยซูเจ้าเรียกพระเจ้าว่าพระบิดา เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวเรากับ พระเจ้า ส�ำหรับพระเยซูเจ้า “พระบิดา” จึง หมายถึง ผู้มีฐานะเป็นพ่ออันเป็นบุคคลแห่ง ความรักให้อภัย และรู้จักวิถีทางน�ำสิ่งดีๆ มา ให้บุตรของเขา (7:11; Luke 15:11:32) (NIB v.8. 1995 : 202-203) การภาวนานี้เป็นการภาวนาวอนขอต่อ พระเจ้า ในฐานะพ่อกับลูก เป็นการแสดงถึงว่า คริสตชนเองมีสายสัมพันธ์ระหว่างตัวคริสตชน เองกั บ พระเจ้ า และยั ง เป็ น สายสั ม พั น ธ์ กั บ เพื่อนพี่น้องด้วย ซึ่งสอดคล้องกับที่ Donald A. Hangner. (1993: 147) เป็นการภาวนาใน รูปแบบชองชาวยิว ซึ่งการภาวนาค�ำดังกล่าว จะท�ำให้นึกถึง อับราฮัม (Abrahams) และ การเรี ย ก “บิ ด า” เป็ น การเลี ย นแบบสาย สัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับลูกๆ พระเยซูเจ้า ใช้ค�ำว่า “อับบา” (ABBA) และสอดคล้องกับ พระวรสารนักบุญลูกา บทที ่ 11 ข้อ 1-4 เรือ่ ง
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนา บาทหลวงสม เกียรติ ตรีนิกร ได้อรรถาธิบายและไตร่ตรอง สัปดาห์ที่ยี่สิบเจ็ด เทศกาลธรรมดา ปี 2015 สรุปได้วา ่ ส�ำหรับชาวยิว อาจารย์ รับบี ไม่เคย มีใครสอนให้เรียกพระเจ้าว่าพระบิดา มีแต่เน้น ความยิง่ ใหญ่ไกลห่างเอือ้ มไม่ถงึ แต่พระเยซูเจ้า พลิกโฉมประวัตศิ าสตร์ของการภาวนาของชาว ยิว คือ ความใกล้ชดิ การร้องหาแบบเด็กเล็กๆ เรี ย กบิ ด าของตน “พระบิ ด า พ่ อ อั บ บา” แสดงถึงความหมาย ของค�ำว่า “บิดา” นั่น หมายถึง ความรัก การปกป้อง การเลีย้ งดู การ เอาใจใส่ และการช่วยเหลือให้พน้ อันตรายใดๆ ซึง่ ทัง้ หมดนีเ้ ราพบได้ในบทภาวนา “ข้าแต่พระ บิดา” ที่พระเยซูเจ้าสอนเราจริงๆ ข้อความที ่ 2 “พระองค์สถิตในสวรรค์” เน้นถึงพระบิดาทรงเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ ์ เป็น พ่อที่ศักดิ์สิทธิ์ของเรา ทุกคน “พระองค์สถิตย์ ในสวรรค์” เป็นการแสดงถึงความจริงทีย่ งิ่ ใหญ่ 2 ประการ คือ ให้เราระลึกถึง ความศักดิ์สิทธิ์ ของพระเจ้า และพลังของพระเจ้า พระองค์ เป็นผู้ที่รักเรา เอาใจใส่กับความต้องการของ บรรดาลูก ซึ่งพระองค์เป็นผู้ยิ่งใหญ่สุด และมี อ�ำนาจล้นสุดในสวรรค์ ดังนั้น คริสตชนจึงไม่ต้องมีความกังวล ว่า ความรักของพระองค์จะไม่รกั และความรัก ของพระองค์มาไม่ถงึ เรา เพราะพระองค์สถิตใน สวรรค์ จึงเป็นการย�้ำว่าพระองค์ทรงความ
ศักดิ์สิทธิ์ และทรงอานุภาพ ท�ำให้เห็นถึงภาพ ของครอบครัว บิดาที่จัดเตรียมสิ่งต่างๆ ตาม กาลเวลาให้ลูกเสมอด้วยความรักและความ ห่วงใย สอดคล้องกับที่คณะกรรมการเพื่อการ ส่ ง เสริ ม ครอบครั ว (2537: 24) สรุ ป ไว้ ว ่ า ความเชื่ อ ความไว้ ใ จ และความรั ก เป็ น เครื่ อ งหมายและภาพลั ก ษณ์ ข องการมี ชี วิ ต ร่วมกันของพระบิดาและพระบุตรในพระจิตเจ้า การให้ก�ำเนิดและให้การศึกษาอบรมแก่บุตร เป็นภาพสะท้อนผลงานแห่งการสร้างสรรค์ของ พระบิดา ข้อความที่ 3 “พระนามพระองค์จง เป็นที่สักการะ” ตามมุ ม มองของ William Barclay. 1975: (205-209) เน้นย�้ำแสดงออกถึงความ เคารพย�ำเกรงของคริสตชนต่อพระเจ้า โดยต้อง เชื่ อ ว่ า พระเจ้ า มี อ ยู ่ ต้ อ งรู ้ ว ่ า พระองค์ เ ป็ น อย่างไร ต้องตระหนักรู้ถึงพระองค์ และต้องมี ความนบนอบ ดังนั้น คริสตชนสักการะพระนามพระ บิดาโดยการเคารพย�ำเกรงพระเจ้าเป็นการ แสดงถึงความเคารพ ในฐานะที่พระเจ้าพระ บิดาที่สมควรจะได้รับจากพวกเรา การเคารพ พระเจ้ามีแก่นแท้อยู่ 4 ประการ คือ ต้องเชื่อ ว่ า พระเจ้ า มี อ ยู ่ ต้ อ งรู ้ ด ้ ว ยว่ า พระองค์ เ ป็ น อย่างไร ต้องตระหนักรู้ถึงพระองค์ และต้องมี ความนบนอบสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยเชิง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 107
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
เอกสารของบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง เรื่องพระเยซู เจ้าบนกางเขน: รากฐานแห่งความเชื่อและ คุณค่าต่อชีวิตคริสตชน (2553:65-66) สรุป ผลการวิจัยได้ว่า การท�ำตามพระประสงค์ของ พระเจ้า คือ การมอบตนเองทัง้ ครบแด่พระองค์ และติดตามเสียงของพระองค์ ข้อความที ่ 4 “พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงส�ำเร็จในแผ่นดินเหมือนใน สวรรค์” (มธ 6:10) หนังสือปฐมกาล บทที ่ 1 ข้อ 26 กล่าว ว่า “จงสร้างมนุษย์ขนึ้ ตามภาพลักษณ์ของเรา” เพื่ อ จะได้ “คิ ด เหมื อ นพระเจ้ า ปรารถนา เหมื อ นพระเจ้ า และด� ำ เนิ น ชี วิ ต เหมื อ น พระเจ้ า ” ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ส อดคล้ อ งกั บ พระ ประสงค์ของพระเจ้าผูท้ รงสร้างเรามาตามภาพ ลักษณ์ของพระองค์และให้เป็นเหมือนพระองค์ ดังนัน้ การมอบน�ำ้ ใจอิสระของคริสตชน ที่ท�ำตามน�้ำพระประสงค์ของพระเจ้า ส�ำหรับ ด�ำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของ พระเจ้าเท่านั้นยังไม่เพียงพอ การแสดงออก ของคริสตชนถึงการท�ำตามพระประสงค์ ต้อง มิใช่มาจากความกลัว แต่ต้องเต็มเปี่ยมไปด้วย ความรัก ความไว้วางใจในพระเจ้า สอดคล้อง กับ การศึกษาวิจัยเชิงเอกสารของบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง เรือ่ ง พระเยซูเจ้าบนกางเขน: รากฐาน แห่ ง ความเชื่ อ และคุ ณ ค่ า ต่ อ ชี วิ ต คริ ส ตชน (2553: 65-66) สรุปผลการวิจัยไว้ว่า “ถ้าผู้ใด
108 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อยากติดตามเรา ก็ให้เขาเลิกนึกถึงตนเอง ให้ แบกไม้กางเขนของตน และติดตามเรา” (มก 8:34) การท�ำตามพระประสงค์ของพระเจ้า คือ การมอบตนเองทั้งครบแด่พระองค์ ข้อความที่ 5 “โปรดประทานอาหาร ประจ�ำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้” (มธ 6:11) นักบุญมัทธิวได้ประดิษฐ์คำ� ว่า epiousios หมายถึ ง สิ่ ง ของที่ จ� ำ เป็ น “ส� ำ หรั บ วั น นี้ ” ดังนั้นความหมายของค�ำภาวนาประการนี้จึง อธิบายได้ง่ายๆ ว่า โปรดประทาน ทุกสิ่งที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ ชี วิ ต วั น นี้ (คณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. ออนไลน์) ดั ง นั้ น บทภาวนาท่ อ นนี้ ดู เ หมื อ น เป็นการขอส�ำหรับความเพียงพอในวันนีเ้ ท่านัน้ แต่ทว่า เพื่อคริสตชนทั้งหลาย ไม่ใช่คริสตชน คนใดคนหนึง่ ซึง่ เป็นบทภาวนาทีแ่ สนอ่อนโยน ที่สุด เป็นบทภาวนาที่คิดถึงผู้อื่นอย่างที่สุด บนพื้นฐานที่พระองค์ทรงเป็น “พระบิดาของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย” ไม่ใช่พระบิดาของฉันคน เดียวเท่านัน้ อาหารทีพ่ ระองค์ทรงประทานให้ นั้ น คื อ พระวาจาของพระองค์ และศี ล มหาสนิทที่ท�ำให้เราเติบโตทุกวัน สอดคล้อง กั บ เอกสารกฤษฎี ก าสมั ช ชาใหญ่ ข องพระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย (ร่ า ง) คริ ส ตศั ก ราช 2015 เรื่ อ งพระวาจา ศี ล ศักดิ์สิทธิ์ และการอธิษฐานภาวนา เสริมสร้าง
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
และหล่อเลีย้ งชีวติ คริสตชน ในข้อ 10 กล่าวว่า พระธรรมล�้ ำ ลึก แห่งความรัก สามารถตอบ สนองด้วยการเจริญชีวิตในความรักและความ เป็นหนึง่ เดียวกับองค์พระคริสตเจ้า กับเพือ่ นพี่ น้องรอบข้าง โดยการเริ่มจากการรับฟังพระ วาจา อธิษฐานภาวนา และร่วมพิธศี ลี ศักดิส์ ทิ ธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉลองวันพระเจ้า และ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพันธกิจความรัก รับใช้ และ แบ่งปันซึ่งกันและกัน ข้อความที่ 6 “โปรดประทานอภัยแก่ ข้าพเจ้า” (มธ 6:12) การให้อภัยจึงเป็นการขอคืนดี ขอรับ ความรักอีกครั้ง การภาวนาในข้อนี้เป็นการขอ ความรักในระดับความสัมพันธ์คริสตชนกับพระ บิดาผู้ทรงเป็นองค์ความรัก โดยการท�ำตาม พระประสงค์ ข องพระเจ้ า ซึ่ ง ก็ คื อ ท� ำ ตาม บั ญ ญั ติ ด ้ ว ยความเต็ ม ใจ รั ก พระองค์ ว างใจ ในพระองค์ ดังนั้น ระหว่างพระเจ้ากับคริสตชน บทภาวนานี้ได้น�ำเสนอความรักของพระบิดา ต่อบุตร แม้ว่าบุตรจะท�ำผิดซ�้ำๆ แต่พร้อมให้ อภัย และคืนความรักให้เสมอ สอดคล้องกับ Misericordiae Vultus (พระพั ก ตร์ แ ห่ ง เมตตาธรรม) ซึง่ พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รตั น์ เป็นผูแ้ ปลสรุป สรุปความได้วา ่ พระเมตตาของ พระเจ้ามิได้เป็นเพียงความคิดลอยๆ แต่เป็น
จริงเพราะพระองค์ทรงเปิดเผยความรักมั่นคง ของพระองค์ เหมือนพ่อแม่ที่รักลูก เปี่ยมด้วย ความอ่ อ นโยนและเมตตาธรรม “ความรั ก มั่นคงของพระองค์ด�ำรงอยู่เป็นนิตย์” ข้อความที ่ 7 “เหมือนข้าพเจ้าให้อภัย แก่ผู้อื่น” ข้ อ ความดั ง กล่ า วชั ดเจน ความรั ก ใน ระดับความสัมพันธ์กบั เพือ่ นพีน่ อ้ ง คือ การให้ อภัย สอนให้คริสตชนเรียนรู้จักเข้าใจ ยอมรับ ข้อบกพร่อง และรักอย่างที่เขาเป็น เหมือน พระเจ้ารักอย่างที่เป็นคริสตชนเช่นเดียวกัน ดังนัน้ การให้อภัยแบบคริสตชน คือ ต้อง พยายาม “เข้าใจ” การกระท�ำของเขา เพราะ เขายอมมีเหตุผลในการกระท�ำนั้น คริสตชน ต้องพยายาม “ลืม” ไม่จดจ�ำความผิด โดย การมองไปที่ไม้กางเขนเพื่อเลียนแบบพระเยซู เจ้า ที่ไม่ทรงจดจ�ำความผิด และคริสตชนต้อง พยายาม “รั ก ” แบบ Agape รั ก แบบไม่ มี เงือ่ นไข สอดคล้องกับการศึกษาวิจยั เชิงเอกสาร ของศศิน โหม่โพ เรื่องค�ำสอนเรื่องรักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์และรักตนเองในมุมมองของ คริสตศาสนา (2553: 60-65) สรุปผลการวิจัย ไว้ว่าแนวทางการปฏิบัติความรักแท้ มองการ กระท�ำของเขาในหลายแง่มุม อดทนกับความ ผิดพลาดและความบกพร่องของผู้อื่น เรียนรู้ ที่จะรักศัตรูไม่ละโอกาสที่จะช่วยเหลือ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 109
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
ข้อความที ่ 8 “โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้ แพ้การผจญ แต่โปรดช่วยให้พน้ จากความชัว่ ร้ายเทอญ” (มธ 6:13) พระเจ้าไม่ได้น�ำมาซึ่งการผจญ แต่ก็ อนุญาตให้มนุษย์ได้รับการทดลอง การผจญ คือ การโน้นเอียงไปในทางบาป ซึ่งเป็นการ ทดลอง ในสภาพความยากล�ำบากต่อการถือ ความซื่อสัตย์ ส�ำหรับ “ช่วยให้พ้นจากความ ชัว่ ร้าย” สอดคล้องกับ Misericordiae Vultus เพราะพระเจ้าเป็นพระบิดาย่อมไม่น�ำสิ่งเลว ร้ายมาสู่บุตร แต่เตรียมให้บุตรในทุกสถานการณ์ ดังนั้น แนวทางเพื่อต่อสู้กับการผจญ ของคริสตชน คือ การแสดงความรัก โดยการ เคารพตนเอง เคารพศักดิ์ศรีของบรรพบุรุษ วัด สถาบัน ประเทศชาติ และคิดถึงคนทีเ่ รารัก และรักเรา และที่ส�ำคัญที่สุด คือ ทุกกิจการ ทุกการผจญ ให้คริสตชนคิดว่าเราก�ำลังอยู่ต่อ หน้าพระเยซูเจ้าเสมอ จะท�ำให้เราตระหนักถึง การคิดดีและท�ำดีเสมอ แนวทางการต่อสู้กับ การผจญ เรียกร้องให้คริสตชนแสดงความรัก โดยการเคารพตนเอง บรรพบุ รุ ษ สถาบั น ประเทศชาติ กล่ า วคื อ ให้ คิ ด ดี ท� ำ ดี ใ นทุ ก สถานการณ์ และให้เราตระหนักว่าเราอยู่ต่อ หน้า พระเจ้าเสมอ สอดคล้องกับการศึกษา วิ จั ย เอกสารของพนม ลื อ ประสิ ท ธิ์ เรื่ อ ง แนวทางสู ่ ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องคริ ส ตชนไทย
110 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ในปัจจุบัน ตามแบบอย่างบุญราศีมรณสักขี ทั้ง 7 แห่งสองคอน (2553: 63) สรุปผลการ วิจัยไว้ว่า การประยุกต์ใช้คุณธรรมความรัก โดยการตอบสนอง ความรักของพระเจ้า โดย การภาวนา การถือตามบทบัญญัตขิ องพระเจ้า ด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ ท� ำ ให้ บ รรดามรณสั ก ขี เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต 2. การน�ำบทข้าแต่พระบิดามาใช้เป็น หลักพื้นฐานในการด�ำเนินชีวิตคริสตชน 2.1 คริสตชนควรเรียนรู้ที่จะภาวนา ต่อผู้ที่คริสตชนขออย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการ เรียนรู้คนที่เรารักจ�ำเป็นต้องให้เกิดความสนิท สัมพันธ์ในความรัก คือ การพูดคุยกันและกัน ซึ่งในที่นี้ โดยผ่านทางการภาวนา ซึ่งเป็นบ่อ เกิดแห่งความเชือ่ จนกระทัง่ พร้อมทีไ่ ว้วางใจใน การท�ำตามพระประสงค์ของพระเจ้ามากกว่า วางใจตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ (ร่าง) เอกสาร กฤษีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิก แห่งประเทศไทย คริสตศักราช 2015 กล่าวถึง การอธิฐานภาวนา เสริมสร้างและหล่อเลี้ยง ชีวิตคริสตชน ในข้อ 10 กล่าวสรุปว่า การ เจริญชีวติ ในความรักพระเจ้าและกับพีน่ อ้ งรอบ ข้างโดยจากการอธิษฐานภาวนา เป็นจุดเริม่ ต้น แห่งพันธกิจแห่งความรัก รับใช้ และแบ่งปันแก่ กันและกัน และสอดคล้องกับ บทอรรถาธิบาย ของบาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร ในเรื่องพระ เยซู เจ้ า ทรงอธิ ษ ฐานภาวนา เป็ น การแสดง
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ความรัก การปกป้อง การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ และการช่ ว ยเหลื อ ให้ พ ้ น อั น ตรายใดๆ ซึ่ ง ทั้งหมดนี้เราพบได้ในบทภาวนา “ข้าแต่พระ บิดา” ที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเราจริงๆ 2.2. พระเยซู เจ้ า ทรงสอนให้ เรามี คุ ณ ธรรมความรั ก ที่ เรี ย กร้ อ งให้ เราเติ ม โต โดยการรั บ การอบรม ฝึก ฝนเพื่อแสดงออก อย่างต่อเนื่อง (ongoing formation) หรือ การแสดงออกซ�้ ำ ๆ จนกลายเป็ น นิ สั ย ซึ่ ง กระบวนการดั ง กล่ า วเป็ น แม่ แ บบแห่ ง การ เรียนรู้ (Repetitio mater studiorum est) เรี ย นรู ้ ที่ จ ะแสดงคุ ณ ธรรมความรั ก ตามบท ภาวนา ข้าแต่พระบิดา พบว่าหลักการที่ควร ปฏิบัติ มีดังนี้ 2.2.1 คริสตชนต้องรักผู้อื่นแบบไม่มี เงื่ อ นไข ไม่ มี ข อบเขต เพราะว่ า ต้ อ งรั ก ทั้ ง พระเจ้า รักเพื่อนพี่น้อง รักตนเอง และรักสิ่ง สร้างทัง้ มวลทีพ่ ระองค์ทรงสร้างเพือ่ เรา ซึง่ ตรง กับพระสมณสาสน์ “ขอสรรเสริญองค์พระผู้ เป็นเจ้า” (Encyclical Laudato si’) ซึง่ แผนก คริ ส ตศาสนธรรมอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ เผยแพร่ อ อนไลน์ เมื่ อ ปี 2558 สรุ ป ได้ ว ่ า สมณสาสน์น ี้ กระตุน้ ให้เราตระหนักในการปรับ ชีวิตในแง่ความสัมพันธ์กับพระเจ้า และต้อง เป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นรวมทั้งตนเองและรวม ทั้ ง สิ่ ง สร้ า งทั้ ง มวลด้ ว ย และสอดคล้ อ งกั บ งานวิจัยเชิงเอกสารของนุพันธ์ ทัศมาลี เรื่อง
คุณค่าทรงจริยธรรมของค�ำสอน เรือ่ งมาตรฐาน ใหม่ ข องพระเยซู เจ้ า จากพระวรสารตาม ค�ำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวกับการน�ำไปใช้ เป็ น แนวทางในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในปั จ จุ บั น (2554: 90) สรุปผลการวิจัยว่า จิตตารมณ์ ความรั ก เป็ น พื้ น ฐานที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด เพราะ ศาสนาคริสต์เชือ่ ในพระเจ้าซึง่ เป็นองค์ความรัก ความรัก คือ พืน้ ฐานและมาตรการของบัญญัติ การปฏิบัติจริยธรรมและหลักธรรมทั้งมวล 2.2.2 คริสตชนต้องแสดงออกถึงความ เคารพย�ำเกรงพระเจ้า ต้องเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่ ต้องรู้ว่าพระองค์เป็นอย่างไร ต้องตระหนักรู้ ถึงพระองค์ และต้องมีความนบนอบเพื่อมอบ น�้ำใจเราท�ำตามน�้ำพระประสงค์ของพระเจ้า ซึง่ ท่าทีนตี้ อ้ งเต็มไปด้วยความรัก ความไว้วางใจ พระเจ้าอย่างเต็มเปีย่ ม สอดคล้องกับการศึกษา วิจัยเชิงเอกสารของบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง เรื่อง พระเยซูเจ้าบนกางเขน: รากฐานแห่งความเชือ่ และคุณค่าต่อชีวิตคริสตชน (2553: 65-66) สรุปผลการวิจัยได้ว่า การท�ำตามพระประสงค์ ของพระเจ้า คือ การมอบตนเองทั้งครบแด่ พระองค์ และติดตามเสียงของพระองค์ 2.2.3 คริสตชนต้องมอบน�้ำใจตนเอง ท�ำตามน�้ำพระประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งท่าทีนี้ ต้องเต็มไปด้วยความรัก ความไว้วางใจพระเจ้า อย่างเต็มเปี่ยม สอดคล้องกับ การศึกษาวิจัย เชิงเอกสารของบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง เรื่องพระ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 111
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
เยซูเจ้าบนกางเขน: รากฐานแห่งความเชือ่ และ คุณค่าต่อชีวิตคริสตชน (2553: 65-66) สรุป ผลการวิจัยไว้ว่าการท�ำตามพระประสงค์ของ พระเจ้ า ก็ คื อ การมอบตนเองทั้ ง ครบแด่ พระองค์ และติดตามเสียงของพระองค์ซงึ่ พระ เยซูเจ้าก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “ถ้าผูใ้ ดอยาก ติดตามเรา ก็ให้เขาเลิกนึกถึงตนเองให้แบก ไม้กางเขนของตน และติดตามเรา” (มก 8:34) 2.2.4 คริสตชนต้องแสดงออกถึงความ รัก ที่รู้จักความเพียงพอในแต่ละวันของชีวิต และที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ เป็ น การแสดงออกถึ ง ความรักต่อสิง่ รอบข้าง การคิดถึงแบ่งปันให้กบั ผู้อื่น สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร ของพนมกร สง่าวงศ์ เรื่องสิ่งสร้างในมุมมอง ของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซ ี (2552: 91) สรุป ผลการวิจัย คือ การด�ำเนินชีวิตในปัจจุบันใน ความเรียบง่าย สมถะ รู้จักใช้สิ่งต่างๆ เท่าที่ จ�ำเป็น 2.2.5 คริสตชนแสดงความรักด้วยการ คืนดีตอ่ กันและกัน ซึง่ มี 2 ระดับ คือส�ำหรับใน ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับตนเอง ต้องท�ำ ตามบัญญัติด้วยความเต็มใจ และส�ำหรับใน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนพี่น้อง เรียกร้องให้ เข้าใจการกระท�ำของผูอ้ นื่ เรียกร้องให้ไม่จดจ�ำ ความผิด เพื่อจุดหมายเดียวคือ การรักพี่น้อง ในรู ป แบบที่ ไ ม่ มี เ งื่ อ นไข สอดคล้ อ งกั บ การ ศึกษาวิจัยเชิงเอกสารของศศิน โหม่โพ เรื่อง
112 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ค�ำสอนเรือ่ งรักพระเจ้า รักเพือ่ นมนุษย์ และรัก ตนเองในมุมมองของคริสตศาสนา (2553: 6065) สรุปผลการวิจัยว่า แนวทางการปฏิบัติรัก แท้ คือ ละเว้นการมองคนในแง่ร้าย อดทนต่อ ความผิดพลาด ตอบแทนความชั่วด้วยความดี และละเว้นการอิจฉาผู้อื่น 2.2.6 แนวทางการต่อสู้กับการผจญ เรียกร้องให้คริสตชนแสดงความรัก โดยการ เคารพตนเอง บรรพบุรษุ สถาบัน ประเทศชาติ กล่าวคือ ให้คิดดี ท�ำดีในทุกสถานการณ์ และ ให้ ต ระหนั ก ว่ า เราอยู ่ ต ่ อ หน้ า พระเจ้ า เสมอ สอดคล้องกันการศึกษาวิจัยเอกสารของพนม ลือประสิทธิ ์ เรือ่ งแนวทางสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิข์ อง คริสตชนไทยในปัจจุบันตามแบบอย่างบุญราศี มรณสักขีทั้ง 7 แห่งสองคอน (2553:63) สรุป ผลการวิจัยไว้ว่าการประยุกต์ใช้คุณธรรมความ รัก โดยการตอบสนองความรักของพระเจ้า โดยการภาวนา การถื อ ตามบทบั ญ ญั ติ ข อง พระเจ้าด้วยความซื่อสัตย์ ท�ำให้บรรดามรณสักขี เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต ข้อเสนอแนะส�ำหรับการน�ำผลวิจัยไปใช้ 1. บุคคลและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ควร สอนให้คริสตชนเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูก ต้ อ งครบถ้ ว นเกี่ ย วกั บ การภาวนาและโดย เฉพาะอย่างยิ่งบทภาวนาข้าแต่พระบิดาโดย การเข้ามาดูแลอภิบาล แนะน�ำให้แนวทางการ
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ปฏิบัติที่สอดคล้อง มีการจัดกิจกรรม/อบรม อย่างต่อเนื่อง เพราะการท�ำซ�้ำๆ เป็นแม่แบบ แห่งการเรียนรู้ (Repetitio mater studiorum est) 2. บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร น�ำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกีย่ วกับการภาวนาโดยเฉพาะบทภาวนาข้าแต่ พระบิดาและใช้เป็นสื่อในการเชิญชวนให้ร่วม กันสวดภาวนามากขึ้น ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. บทภาวนาข้าแต่พระบิดาที่พระเยซู เจ้าทรงสอน นัน้ คุณค่าและความหมายมากต่อ การด�ำเนินชีวิตของคริสตชน ซึ่งในการค้นคว้า อิสระฉบับนี้เพียงแต่ได้น�ำเสนอรายละเอียด เฉพาะ บทภาวนาข้าแต่พระบิดา แต่ยังมีอีก หลายบทภาวนาทีน่ า่ สนใจและควรค้นคว้า เช่น บทภาวนาสัญลักษณ์อัครสาวก, บทภาวนา วันทามารี, บทภาวนาสิริรุ่งโรจน์ ฯลฯ เป็น รากฐานการอบรมต่อเนื่องคุณธรรมของคริสต ชน เพราะทุกบทภาวนาเพือ่ การเติบโตต่อเนือ่ ง ความเป็นคริสตชน 2. แม้วา่ การค้นคว้าฉบับนีไ้ ด้นำ� เสนอถึง แนวทางในการด�ำเนินชีวติ ให้กบั คริสตชนผูเ้ ชือ่
ในองค์พระเยซูเจ้า อย่างไรก็ตามส�ำหรับผู้ที่ ไม่มีความเชื่อในพระเจ้า ค�ำสอนนี้ถือว่าเป็น ความล�ำบากเพราะจะเป็นการง่ายกว่าหากมอง ด้วยมุมมองของคริสตชน อย่างไรก็ตามหาก บุคคลนัน้ เปิดใจต่อความจริงอันเป็นสัจธรรมไม่ ว่าสิ่งนั้นจะได้รับการเรียกว่าอะไรก็ตาม เขา สามารถที่จะค้นพบแนวทางการพบความจริง ได้เช่นกันดังที ่ พระเยซูเจ้าทรงสอน จึงเสนอให้ ศึกษา แนวทางการน�ำคุณธรรมของคริสตชน ไปประยุกต์ใช้กับคนต่างศาสนา โดยการใช้ เปรียบเทียบแนวทางที่ได้จากงานวิจัยนี้ 3. ส�ำหรับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ค� ำ สอนมากมายที่ ลึ ก ซึ้ ง ในพระคั ม ภี ร ์ ใน ประเทศไทยนั้นยังมีผู้สนใจน้อยอยู่ สิ่งจ�ำเป็น ก็คือการเข้าใจในพระคัมภีร์อย่างแท้จริง ไม่ว่า จะเป็นแบบวรรณกรรม เจตนาของผู้นิพนธ์ พระวรสาร ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมที่ จะสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าอย่าง ยิ่ ง ต่ อ สั ง คมปั จ จุ บั น อย่ า งมากต่ อ ไปอย่ า ง แน่นอน จึงเสนอให้ ศึกษาคุณธรรมความรัก ของพระเจ้าที่ในรายละเอียดมากขึ้นว่าในของ พระวรสารนักบุญมัทธิว และพระวรสารนักบุญ ลูกา คือ พระวรสารนักบุญยอห์น ซึ่งท่านได้ เปรียบเทียบสายสัมพันธ์ไว้อย่างชัดเจนที่สุด สายสัมพันธ์บิดากับบุตร
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 113
“ข้าแต่พระบิดา” รากฐานเพือ่ การอบรมต่อเนือ่ งคุณธรรมของชีวติ คริสตชน
บรรณานุกรม คณะกรรมคาทอลิ ก เพื่ อ คริ ส ตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ (2557). พระคัมภีร์ คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. มปท., นุ พั น ธุ ์ ทั ศ มาลี . (2554). “คุ ณ ค่ า ทาง จริยธรรมของค�ำสอนเรือ่ ง ‘มาตรฐาน ใหม่’ ของพระเยชูคริสตเจ้าจากพระ วรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว กับการน�ำมาใช้เป็นแนวทางในการ ด�ำเนินชีวิตในปัจจุบัน.” การค้นคว้า อิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัย แสงธรรม. บุญชรัสมิ ์ สุขสว่าง. (2553). “พระเยซูเจ้าบน กางเขน: รากฐานแห่งความเชื่อและ คุณค่าต่อชีวิต คริสตชน.” สารนิพนธ์ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทววิทยา วิทยาลัยแสงธรรม. ฝ่ า ยอภิ บ าลและธรรมทู ต อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุ ง เทพฯ. ค� ำ สอนพระศาสนจั ก ร คาทอลิกภาค 2 การเฉลิมฉลองธรรม ล�้ำลึกของพระคริสตเจ้า. กรุงเทพฯ, 2542. พนม ลือประสิทธิ.์ “แนวทางสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิ์ ของคริสตชนไทยในปัจจุบนั ตามแบบ อย่างบุญราศีมรณสักขีทั้ง 7 แห่งสอง คอน.” สารนิพนธ์ ปริญญาศาสนศาสตร
114 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
บัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา วิทยาลัย แสงธรรม, 2553. พนมกร สง่าวงศ์. “สิ่งสร้างในมุมมองของ นักบุญฟรังซิส แห่ง อัสซีซ.ี ” สารนิพนธ์ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทววิทยา วิทยาลัยแสงธรรม, 2552. วุ ฒิ เ ลิ ศ แห่ ล ้ อ ม, บาทหลวง. หลั ก ธรรม ค�ำสอนคาทอลิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2011. ศศิน โหม่โพ. “ค�ำสอนเรื่องรักพระเจ้า รัก เพื่อนมนุษย์และรักตนเองในมุมมอง ของคริสตศาสนา.” สารนิพนธ์ ปริญญา ศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา วิทยาลัยแสงธรรม, 2553. สมเกียรติ ตรีนิกร. (มปป.). เอกสารประกอบ การบรรยายเรือ่ ง “ความรักของพระเจ้า ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น” ม.ป.ท. ม.ป.ป. Barclay, William. (1975). The Gospel of Matthew: Volume 1 Chapters 1–10. Edinburgh:Saint Andrew Press. Daniel J. Harrington, S.J. (1991). Sacra pagina the Gospel of Matthew. The Liturgical Press.
วิทวัฒน์ แก้วแหวน ลือชัย ธาตุวิสัย สมเกียรติ ตรีนิกร และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
William Barclay. (1975). The Daily Study Bible The Gospel of Matthew volume chapters 1-10. The Saint Andrew Press. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. “บท ภาวนาข้าแต่พระบิดา”. สืบค้นเมือ่ วัน ที่ 30 ตุ ล าคม 2558. สื บ ค้ น ได้ จ าก http://www.oknation.net/blog/ bible/2007/04/18/entry- 1 สมเกียรติ ตรีนกิ ร, บาทหลวง. วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2015 สัปดาห์ที่สิบสอง เทศกาลธรรมดา. วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2015 สัปดาห์ที่สามสิบ สองเทศกาลธรรมดา วั น พุ ธ ที่ 7 ตุ ล าคม 2015 สั ป ดาห์ ที่ ยี่ สิ บ เจ็ ด เทศกาลธรรมดา. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558. สืบค้นได้จากhttp:// www.thaicatholicbible.com/main/ index.php/ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส. “สรุปพระพระ สมณสาสน์ “ขอสรรเสริญองค์พระผู้ เป็นเจ้า” (Encyclical Laudato si'). สื บ ค้ น เมื่ อ วั น ที่ 30 ตุ ล าคม 2558. สืบค้นได้จากhttp://www.kamson bkk.com/index.php/2012-04-25 09-26-34/6118
อุ ด มสารรายสั ป ดาห์ “คุ ณ ธรรมทางเทว วิทยา”. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558. สื บค้ นได้ จาก http://www. kamsonbkk.com/index.php/catho lic-catechism/2012-03-28-04-12 17/68-2012-02-22-04-23-19. บทภาวนาข้าแต่พระบิดาภาษาต่างๆ. สืบค้น เมือ่ วันที ่ 23 พฤศจิกายน 2558. สืบค้น ได้จากhttp://www.krassotkin.ru/ sites/prayer.su/english/roman catholic-mass/ http://www.kras sotkin.ru/sites/prayer.su/thai/ common/ http://www.krassotkin. ru/sites/prayer.su/greek/com mon/ http://www.krassotkin.ru/ sites/prayer.su/greek/common transliterated/ http://www.kras sotkin.ru/sites/prayer.su/thai/ common/
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 115
ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยฝ่ายวิญญาณกับ
ความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศึกษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
The Relationship between Spiritual Discipline and Spiritual Intelligence of Students in Theological Institute: Case Study of McGilvary College of Divinity and Bangkok Institute of Theology.
ดร.สกุณี เกรียงชัยพร
* หัวหน้าสาขาวิชาคริสต์ศาสนศาสตร์ (บัณฑิตศึกษา) วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ
สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
* อาจารย์ประจ�ำ คณะกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
Sakunee Kriangchaiporn, Ph.D.
* Head of Christian Theology (Graduate Studies), McGilvary College of Divinity, Payap University.
Sanurak Fongvarin, M.Ed.
* Lecturer, Bangkok Institute of Theology, Christian University of Thailand.
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ 1) ศึกษาวินยั ฝ่ายวิญญาณของ นักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ 2) ศึกษาความฉลาดทางจิต วิญญาณของนักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ และ 3) วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยฝ่ายวิญญาณและความฉลาดทางจิตวิญญาณ ของนักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้คือ นักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ที่สังกัดมูลนิธิแห่งสภา คริสตจักรในประเทศไทยสองแห่งคือ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิล วารี มหาวิ ท ยาลั ย พายั พ และสถาบั น กรุ ง เทพคริ ส ตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จ�ำนวนทั้งหมด 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามวินัยฝ่ายวิญญาณ และแบบวัดความฉลาด ทางจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) นักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์มีวินัยฝ่ายวิญญาณอยู่ ในระดับมาก (μ = 4.14) 2) ด้านความฉลาดทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (μ = 3.78) 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยฝ่ายวิญญาณและ ความฉลาดทางจิตวิญญาณ มีตัวแปรจ�ำนวน 3 คู่ที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ตัง้ แต่ .188 - .204 ได้แก่ การเฝ้าเดีย่ วในแต่ละสัปดาห์กบั การเผชิญกับ ความทุกข์ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ค่าเท่ากับ .189 การเฝ้าเดี่ยวใน แต่ละสัปดาห์กับการยอมรับสิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก มีค่า เท่ากับ .188 ส่วนด้านการอธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์กับการมี สติสัมปชัญญะ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม มีค่าเท่ากับ .204 ค�ำส�ำคัญ:
1) วินัยฝ่ายวิญญาณ 2) ความฉลาดทางจิตวิญญาณ 3) สถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 117
ความสัมพันธ์ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศกึ ษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
Abstract
The purposes of this research were 1) to study spiritual discipline of theological students 2) to study spiritual intelligence of theological students 3) to analyze the relationship between spiritual discipline and spiritual intelligence of theological students. The research population in this study is the students in McGilvary College of Divinity and Bangkok Institute of Theology in amount of 122 subjects. The instruments of the data collecting were Spiritual Discipline Questionnaire and Integrated Spiritual Intelligence Scale. The data obtained from questionnaires were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient. The research results were as follows: 1) Theological students have a high level of spiritual discipline ( μ = 4.14) 2) Theological students have a high level of spiritual intelligence ( μ = 3.78) 3) There are 3-pair of variables that are statistically significant at the level of .05, and correlation coefficient ranging from .188 to .204. Those are 1) quiet time and overcoming the suffering with positive relationship of .189 2) quiet time and accepting the reality with positive relationship of .188 and 3) group prayer and consciousness with opposite direction of .204. Keyword:
118 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) Spiritual Discipline 2) Spiritual Intelligence 3) Theological Institute
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา การเตรียมผู้ที่จะออกไปท�ำพันธกิจใน บริบทคริสต์ศาสนาเป็นการฝึกฝนชีวิตในทุก ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ อารมณ์ บุคลิก ลักษณะ กิจกรรมและแผนงานต่างๆ ถูกสร้าง ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยนักศึกษาให้สามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ด้วย เหตุที่สถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์เกิดขึ้นและ ด�ำรงอยู่ก็เพื่อเตรียมผู้ที่จะออกไปท�ำพันธกิจ และต้องมีคุณลักษณะของการเป็นผู้น�ำฝ่าย จิตวิญญาณ ดังนั้น การมีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง ด้านจิตวิญญาณจึงจ�ำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งปกติส�ำหรับสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ทกุ แห่งทีม่ งุ่ พัฒนาชีวติ จิตวิญญาณ ของนักศึกษาผ่านทางกิจกรรมฝ่ายวิญญาณ เช่น อ่านพระคัมภีร์ อธิษฐาน เข้าร่วมกลุ่ม สามัคคีธรรม การนมัสการร่วมกันในชุมชน เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นวินัยฝ่าย วิญญาณ อย่างไรก็ด ี ขณะทีก่ ารวัดผลด้านความรู้ และทักษะการท�ำพันธกิจสามารถท�ำได้โดยการ ทดสอบ การสังเกต และการประเมินอย่างเป็น อัตวิสยั โดยมีการด�ำเนินการเป็นปกติทกุ ระยะ แต่การวัดผลในมิติฝ่ายวิญญาณของนักศึกษา ในสถาบันพระคริสต์ธรรมเป็นสิ่งที่มิได้มีการ ด�ำเนินการมากนักอันเนือ่ งมาจากขาดความคุน้ เคยในการวัดผลซึ่งเป็นนามธรรม การศึกษา
ครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการวัดผลวินัยฝ่าย วิญญาณและความฉลาดทางจิตวิญญาณ นอกจากนี้ ในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิต วิญญาณของนักศึกษาในครั้งนี้จะช่วยสะท้อน ถึ ง ระบบการด� ำ เนิ น งานของสถาบั น คริ ส ต์ ศาสนศาสตร์ว่า การก�ำหนดกิจกรรมวินัยฝ่าย วิญญาณได้ช่วยให้นักศึกษามีคุณลักษณะฝ่าย วิญญาณหรือไม่อย่างไร ดังนั้นวิจัยฉบับนี้จึงต้องการศึกษาและ วัดผลในมิติฝ่ายวิญญาณของนักศึกษาที่ผ่าน การฝึ ก ฝนและพั ฒ นาจิ ต วิ ญ ญาณด้ ว ยการ ปฏิบัติกิจกรรมฝ่ายวิญญาณตามที่สถาบันฯ ระบุไว้ คือ การเฝ้าเดี่ยว (ประกอบด้วยการ อ่ า นและใคร่ ค รวญพระคั ม ภี ร ์ และการ อธิษฐานส่วนตัว) การอธิษฐานกลุ่ม และการ เข้านมัสการ โดยศึกษาว่ามีความสัมพันธ์กับ คุณลักษณะฝ่ายวิญญาณของนักศึกษาหรือไม่ และอย่างไร โดยใช้เครื่องมือ “การวัดความ ฉลาดทางจิตวิญญาณตามโมเดลบูรณาการ” วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาวิ นั ย ฝ่ า ยวิ ญ ญาณของ นักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ 2. เพือ่ ศึกษาความฉลาดทางจิตวิญญาณ ของนักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 119
ความสัมพันธ์ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศกึ ษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
3. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวินัย ฝ่ายวิญญาณและความฉลาดทางจิตวิญญาณ ของนักศึกษา ค�ำถามการวิจัย 1. วินัยฝ่ายวิญญาณของนักศึกษาใน สถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์เป็นอย่างไร 2. ความฉลาดทางจิ ต วิ ญ ญาณของ นั ก ศึ ก ษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์เ ป็น อย่างไร 3. วินยั ฝ่ายวิญญาณและความฉลาดทาง จิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ขอบเขตการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับชัน้ ปริญญาตรีสาขาคริสต์ศาสน ศาสตร์ของวิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย วินัยฝ่ายวิญญาณ ประกอบด้วย 1) การเฝ้าเดี่ยวในแต่ละสัปดาห์ 2) การอธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ 3) การนมัสการร่วมกันในช่วงเช้า และ 4) การนมัสการประจ�ำสัปดาห์
120 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์ในตัวตน 2) การยอมรับสิ่งต่างๆ 3) การมีสติสัมปชัญญะ 4) การก�ำหนดเป้าหมายชีวิตและเข้าใจ คุณค่าของสรรพสิ่ง 5) การอยู่ร่วมกันในสังคม 6) การเผชิญกับความทุกข์ 7) และการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับชีวิต ข้อตกลงเบื้องต้น 1. องค์ ป ระกอบที่ ใช้ ใ นการวั ด ความ ฉลาดทางจิตวิญญาณมีจ�ำนวน 84 ข้อ งาน วิ จั ย ฉบั บ นี้ อ นุ ม านว่ า ความฉลาดทางจิ ต วิ ญ ญาณเป็ น ส่ ว นขยายของคุ ณ ลั ก ษณะที่ พึงประสงค์ของคริสเตียน เช่น ลักษณะผู้ใหญ่ ฝ่ายวิญญาณ ผลของพระวิญญาณ ชีวิตแบบ พระเยซูคริสต์ เป็นต้น 2. ความฉลาดทางจิตวิญญาณมีหลาย มิตแิ ละมีองค์ประกอบอืน่ ๆ มากมายนอกเหนือ จากการมีวินัยฝ่ายวิญญาณ เช่น บทบาทของ พระวิญญาณบริสุทธิ์ อิทธิพลของคณาจารย์ ในสถาบันฯ ระบบการศึกษา อิทธิพลของกลุม่ ฯลฯ อย่างไรก็ดี งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการมีวินัยฝ่าย วิญญาณและความฉลาดทางจิตวิญญาณ โดย
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า การมีวินัย ฝ่ายวิญญาณอย่างเดียวมิได้เป็นตัวก�ำหนดว่า จะท�ำให้บุคคลมีความฉลาดทางจิตวิญญาณ แต่เป็นการมุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ทั้งสองชุด นิยามศัพท์ 1) วินยั ฝ่ายวิญญาณ (Spiritual Discipline) การปฏิบตั ทิ สี่ ง่ เสริมการเจริญเติบโต ฝ่ายจิตวิญญาณของคริสตชน เช่น การศึกษา พระคัมภีร์ การอธิษฐาน การถือสันโดษ การ อดอาหาร และอืน่ ๆ งานวิจยั ฉบับนีเ้ ลือกศึกษา วินัยฝ่ายวิญญาณ 4 ประการคือ การเฝ้าเดี่ยว ในแต่ละสัปดาห์ (อ่านและใคร่ครวญพระคัมภีร์ และอธิ ษ ฐานส่ ว นตั ว ) การอธิ ษ ฐานกลุ ่ ม ใน แต่ละสัปดาห์ การนมัสการร่วมกันในช่วงเช้า และ 4) การนมัสการประจ�ำสัปดาห์ ซึง่ ปฏิบตั ิ เป็นประจ�ำในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์
กรอบแนวคิดการวิจัย วินัยฝ่ายวิญญาณ การเฝ้าเดี่ยวในแต่ละสัปดาห์ การอธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ การนมัสการร่วมกันในช่วงเช้า การนมัสการประจ�ำสัปดาห์
2) ความฉลาดทางจิตวิญญาณ (Spiritual intelligence) ความสามารถในการ เข้าใจถึงความหมายในชีวิต ความมุ่งหมายใน ชีวิต ความสามารถในการมองเห็นการกระท�ำ และการด�ำเนินชีวิตของตนในมุมที่กว้างขึ้น ลึกซึ้งขึ้นอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย รวม ทั้งความสามารถในการประเมินการกระท�ำ หรือวิถีการด�ำเนินชีวิตของตนได้ลึกซึ้งกว่าคน ทั่วไป (Zohar and Marshall, 2001) 3) สถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ (Theological Institute) สถาบันระดับอุดมศึกษา ที่ให้การศึกษาในด้านคริสต์ศาสนศาสตร์ ซึ่ง เกี่ยวข้องกับความรู้และจุดมุ่งหมายขององค์ พระผู้เป็นเจ้าในบริบทของคริสตชน จุดมุ่ง หมายหลั ก ของสถาบั น คริ ส ต์ ศ าสนศาสตร์ คือเพื่อฝึกฝนและอบรมนักศึกษาให้ออกไปท�ำ พันธกิจด้านต่างๆ ในคริสตจักรและองค์กร คริสเตียน
ความฉลาดทางจิตวิญญาณ อัตลักษณ์ในตัวตน การยอมรับสิ่งต่างๆ การมีสติสัมปชัญญะ การก�ำหนดเป้าหมายชีวิตและเข้าใจ คุณค่าของสรรพสิ่ง การอยู่ร่วมกันในสังคม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 121
ความสัมพันธ์ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศกึ ษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) ประชากรได้ แ ก่ นักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ที่สังกัด มูลนิธแิ ห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยทัง้ สอง สถาบัน ได้แก่ วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิล วารี มหาวิทยาลัยพายัพ และสถาบันกรุงเทพ คริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จ�ำนวน ทั้งหมด 122 คน เนื่องจากประชากร มีขนาดเล็ก คณะผู้วิจัยจึงเลือกเก็บข้อมูลจาก ประชากรทั้งหมด เครื่องมือวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบ ถามวินัยฝ่ายวิญญาณ ประกอบด้วย 4 องค์ ประกอบ ได้แก่ การเฝ้าเดี่ยวในแต่ละสัปดาห์ อธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ การนมัสการ ร่วมกันในช่วงเช้า และการนมัสการประจ�ำ สัปดาห์โดยสร้างจากการทบทวนวรรณกรรม อย่างเป็นระบบ (systematic review) และ เลือกใช้แบบวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณ ตามโมเดลบูรณาการ ซึ่งเป็นแบบวัดที่สร้าง ส�ำเร็จแล้วในงานวิจัยของ ณัฐภรณ์ นรพงษ์ (2553) ซึ่ ง มี อ งค์ ป ระกอบ 7 ด้ า น ได้ แ ก่ อัตลักษณ์ในตัวตน การยอมรับสิ่งต่างๆ การมี สติสัมปชัญญะ การก�ำหนดเป้าหมายชีวิตและ เข้าใจคุณค่าของสรรพสิ่ง การอยู่ร่วมกันใน สังคม การเผชิญกับความทุกข์ และการคิด วิเคราะห์เกี่ยวกับชีวิต 122 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) เฉพาะแบบสอบถามวินัยฝ่าย วิญญาณกับผูเ้ ชีย่ วชาญจ�ำนวน 5 ท่าน จากนัน้ ปรั บ ปรุ ง ตามข้ อ เสนอแนะจากผู ้ เชี่ ย วชาญ แล้วจึงหาความเทีย่ งของเครือ่ งมือ (reliability) โดยการน�ำแบบสอบถามวินยั ฝ่ายวิญญาณและ แบบวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณไปทดสอบ กับกลุม่ ทีใ่ กล้เคียงกับตัวอย่างวิจยั ก่อนน�ำไปใช้ (tryout) ได้คา่ ความเทีย่ งทัง้ ฉบับด้วยสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .97 ตามล�ำดับ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผูว้ จิ ยั ได้ประสานงานเก็บรวบรวมข้อมูล กับสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ทส่ี งั กัดมูลนิธแิ ห่ง สภาคริสตจักรในประเทศไทยทั้ง 2 แห่ง เพื่อ แจ้งวัตถุประสงค์ของการวิจยั และขอความร่วม มือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยได้ขอ้ มูลกลับ คืนมาจ�ำนวน 122 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล พื้ น ฐานของภู มิ ห ลั ง ประชากรวิ จั ย โดยใช้ ส ถิ ติ บ รรยาย เช่ น ค่ า ความถี ่ ร้อยละ และท�ำการวิเคราะห์ขอ้ มูลเพือ่ ตอบวัตถุประสงค์การวิจยั มีดงั นี ้ 1) วิเคราะห์ สภาพวินยั ฝ่ายวิญญาณ โดยใช้สถิตเิ ชิงบรรยาย เช่ น ค่ า ความถี่ ร้ อ ยละ และส่ วนเบี่ ย งเบน มาตรฐาน 2) วิเคราะห์สภาพความฉลาดทาง
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
จิ ต วิ ญ ญาณ โดยใช้ ส ถิ ติ เชิ ง บรรยาย เช่ น ค่าความถี ่ ร้อยละ ค่าเฉลีย่ และส่วนเบีย่ งเบน มาตรฐาน 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง วิ นั ย ฝ่ า ยวิ ญ ญาณกั บ ความฉลาดทางจิ ต วิ ญ ญาณโดยวิ เ คราะห์ ค ่ า สหสั ม พั น ธ์ แ บบ เพียร์สนั (Pearson’s correlation coefficient) ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาด้านวินยั ฝ่ายวิญญาณ ของนักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ ผลการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ด้ า นวิ นั ย ฝ่ า ย วิญญาณพบว่า ในภาพรวมอยูร่ ะดับมาก (μ = 4.14) และเมือ่ พิจารณารายด้าน การนมัสการ ประจ�ำสัปดาห์และการนมัสการร่วมกันในช่วง เช้าอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ โดยมีคา่ เฉลีย่ μ=4.73 และ 4.68 ส่วนด้านที่จัดอยู่ในระดับมาก คือ การอธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ (μ=3.75) และการเฝ้าเดี่ยวในแต่ละสัปดาห์ (μ=3.41) ตามล�ำดับ 2. ผลการศึกษาด้านความฉลาดทาง จิ ต วิ ญ ญาณของนั ก ศึ ก ษาในสถาบั น การ ศึกษาด้านคริสต์ศาสนศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความฉลาด ทางจิตวิญญาณตามโมเดลบูรณาการ พบว่า
ภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก (μ=3.78) เมือ่ พิจารณา รายด้านพบว่ามีเพียง การก�ำหนดเป้าหมาย และเข้าใจในคุณค่าของสรรพสิง่ และการอยูร่ ว่ ม กั น ในสั ง คม มี ค ่ า เฉลี่ ย ที่ เ ท่ า กั น (μ=3.43) ซึง่ จัดอยูใ่ นระดับปานกลาง นอกนัน้ อยูใ่ นระดับ มากโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.54 – 4.28 3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง วิ นั ย ฝ่ า ยวิ ญ ญาณและความฉลาดทางจิ ต วิญญาณ ข้อมูลทีป่ รากฏในตารางที ่ 3 เป็นผลการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรวินยั ฝ่าย วิญญาณและตัวแปรความฉลาดทางจิตวิญญาณ พบว่า มีตวั แปรจ�ำนวน 3 คูท่ มี่ คี วามสัมพันธ์กนั อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 และมีคา่ สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ตงั้ แต่ .188 - .204 ได้แก่ การเฝ้าเดีย่ วในแต่ละสัปดาห์กบั การเผชิญกับความ ทุกข์ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ค่าเท่ากับ .189 การเฝ้าเดีย่ วในแต่ละสัปดาห์กบั การยอมรับสิง่ ต่างๆ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก มีคา่ เท่ากับ .188 ส่วนด้านการอธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์กับ การมีสติสมั ปชัญญะ มีความสัมพันธ์ในทิศทาง ตรงกันข้าม มีคา่ เท่ากับ .204
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 123
ความสัมพันธ์ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศกึ ษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
ตารางที่ 1 วินัยฝ่ายวิญญาณของตัวอย่างวิจัย วินัยฝ่ายวิญญาณ การเฝ้าเดี่ยวในแต่ละสัปดาห์ อธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ การนมัสการร่วมกันในช่วงเช้า การนมัสการประจ�ำสัปดาห์ รวม
N 122 122 122 122 122
Min 1 1 3 3 3
Max 5 5 5 5 5
Mean 3.41 3.75 4.68 4.73 4.14
SD 1.00 1.22 0.59 0.59 0.60
เกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ย 4.50 –5.00 = มากที่สุด, 3.50– 4.49 = มาก, 2.50–3.49 = ปานกลาง, 1.50–2.49 = น้อย, 1.00–1.49 = น้อยที่สุด ตารางที่ 2 ความฉลาดทางจิตวิญญาณตามโมเดลบูรณาการของตัวอย่างวิจัย ความฉลาดทางจิตวิญญาณตามโมเดลบูรณาการ อัตลักษณ์ในตน การยอมรับสิ่งต่างๆ การมีสติสัมปชัญญะ การก�ำหนดเป้าหมายชีวิตและเข้าใจในคุณค่าของสรรพสิ่ง การอยู่ร่วมกันในสังคม การเผชิญกับความทุกข์ การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับชีวิต รวม
N Min Max Mean 122 1 5 4.28 122 2 5 4.17 122 2 5 3.54 122 2 5 3.43 122 2 5 3.43 122 3 5 4.00 122 2 5 3.61 122 2 5 3.78
เกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ย 4.50 –5.00 = มากที่สุด, 3.50– 4.49 = มาก, 2.50–3.49 = ปานกลาง, 1.50–2.49 = น้อย, 1.00–1.49 = น้อยที่สุด
124 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
SD 0.50 0.49 0.47 0.52 0.52 0.48 0.70 0.39
1 2 3 4 1. การเฝ้าเดี่ยวในแต่ละสัปดาห์ 1.000 2. อธิษฐานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ .468** 1.000 3. การนมัสการร่วมกันในช่วงเช้า .125 .187* 1.000 4. การนมัสการประจ�ำสัปดาห์ .147 .205* .649** 1.000 5. อัตลักษณ์ในตน .151 -.031 .030 .000 6. การยอมรับสิ่งต่างๆ .188* .048 .034 .089 7. การมีสติสัมปชัญญะ .002 -.204* -.007 .079 8. การก�ำหนดเป้าหมายชีวิตและ เข้าใจในคุณค่าของสรรพสิ่ง .134 -.005 -.074 .037 9. การอยู่ร่วมกันในสังคม .134 -.005 -.074 .037 10. การเผชิญกับความทุกข์ .189* .056 -.064 -.023 11. การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับชีวิต .002 -.076 .001 -.043 Mean 3.41 3.75 4.68 4.73 SD 1.00 1.22 0.59 0.59 * p < .05 , ** p < .01
8
9
10
11
.331** .486** .474** 1.000 .331** .486** .474** 1.000** 1.000 .449** .578** .519** .521** .521** 1.000 .300** .323** .430** .314** .314** .494** 1.000 4.28 4.17 3.54 3.43 3.43 4.00 3.61 0.50 0.49 0.47 0.52 0.52 0.48 0.70
5 6 7 1.000 .656** 1.000 .502** .614** 1.000
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยฝ่ายวิญญาณและความฉลาดทางจิตวิญญาณ
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 125
ความสัมพันธ์ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศกึ ษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
อภิปรายผลการวิจัย งานวิจัยฉบับนี้จะอภิปรายผลการวิจัย เฉพาะในประเด็นแรก คือความสัมพันธ์ของ วินัยฝ่ายวิญญาณด้านการเฝ้าเดี่ยวกับความ ฉลาดทางจิตวิญญาณด้านการเผชิญกับความ ทุกข์ซงึ่ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระดับสูงสุด เนื่องจากความจ�ำกัดในพื้นที่การน�ำเสนอใน รายงานฉบับนี้ ประกอบกับประเด็นดังกล่าว เป็ น เนื้ อ หาและหั ว ใจส� ำ คั ญ ในสาขาคริ ส ต์ ศาสนศาสตร์ จากผลการวิ จั ย พบว่ า นั ก ศึ ก ษาใน สถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ที่มีความถี่ในการ เฝ้าเดี่ยวแต่ละสัปดาห์มาก จะสามารถเผชิญ กับความทุกข์ได้มากกว่านักศึกษาที่เฝ้าเดี่ยว ประจ�ำสัปดาห์น้อยกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ นักศึกษาที่รักษาวินัยฝ่ายวิญญาณในการเฝ้า เดี่ยวมาก จะส่งผลให้สามารถเผชิญกับความ ทุกข์ได้มากด้วย โดยทัง้ การเฝ้าเดีย่ วและความ สามารถในการทนทุกข์เป็นหัวใจแห่งหลักค�ำสอน ของคริสตชน และยังเป็นลักษณะของผู้มีวุฒิ ภาวะฝ่ายวิญญาณ ในรายงายวิจัยฉบับนี้จะอธิบายความ สัมพันธ์ของการเฝ้าเดี่ยวที่ส่งผลต่อการเผชิญ กับความทุกข์ใน 2 ด้านคือ ด้านเนื้อหาและ ด้านกระบวนการในการเฝ้าเดีย่ ว ประการแรก ด้านเนือ้ หา เนือ้ หาทีใ่ ช้เป็นหลักในการเฝ้าเดีย่ ว คื อ พระคริ ส ต์ ธ รรมคั ม ภี ร ์ ที่ มี เ นื้ อ หาและ
126 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
แนวคิดที่เกี่ยวกับการทนทุกข์ปรากฏอยู่ ซึ่ง สอดคล้องกับที่ ดี เอ คาร์สัน (2007) เขียนไว้ ในหัวข้อเสาหลักหกประการแห่งความมัน่ คงใน การเผชิญกับความทุกข์ ได้นำ� เสนอแง่มมุ ต่างๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ การทนทุ ก ข์ จ ากพระคริ ส ต์ ธ รรม คัมภีร์ดังต่อไปนี้ 1. บาปและการไม่เชื่อฟังเป็นจุดเริ่มต้น ของเรื่องราวการทนทุกข์ในโลก 2. การทนทุกข์มีจุดสิ้นสุดเมื่อมองด้วย มุมมองจากนิรันดร์กาล 3. ปลายทางของผูบ้ ริสทุ ธิท์ ตี่ อ้ งทนทุกข์ ในโลก 4. การจัดเตรียมของพระเจ้าที่อยู่เบื้อง หลังการทนทุกข์ 5. เป้าหมายสูงสุดของการมาบังเกิด เป็นมนุษย์และการถูกตรึงบนไม้กางเขนของ พระเยซูต่อการทุกข์ยากของมนุษย์ 6. การร่วมทนทุกข์กับพระเยซูคริสต์ ของเหล่าผู้เชื่อ แนวคิ ด เรื่ อ งเสาหลั ก หกประการนี้ ประกอบขึ้นจากเนื้อหาของพระคัมภีร ์ จึงเป็น มุมมองที่คริสตชนมีต่อการทนทุกข์ คาร์สัน ยังกล่าวในหนังสือเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เสาหลัก หกประการนี้ไม่ควรใช้เพื่อป้อนเป็นข้อมูลแก่ ผูก้ ำ� ลังอยูท่ า่ มกลางความทุกข์ แต่ควรเป็นสิง่ ที่ น�ำมาขบคิดพิจารณาก่อนที่ความทุกข์ยากจะ มาถึง อันเป็นการเตรียมรับมือในการเผชิญกับ
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
ความทุกข์ยาก ซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับผล การวิจัยในที่ว่า การเฝ้าเดี่ยวเป็นประจ�ำส่งผล ต่อความสามารถในการเผชิญกับความทุกข์ของ นักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์ นอกจากเนื้อหาของพระคัมภีร์ที่เป็น องค์ประกอบในการเฝ้าเดี่ยว ในประการสอง คือด้านกระบวนการการเฝ้าเดีย่ ว อันประกอบ ด้วยการอ่านพร้อมกับการพิจารณาไตร่ตรอง เนือ้ หาพระคริสตธรรมคัมภีร ์ และการอธิษฐาน ส่วนตัว นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในการ ใคร่ครวญไตร่ตรอง อันเป็นการท�ำให้ความจริง เชิงหลักการ (Propositional Truth) แปรเป็น ความจริงแบบตระหนักรู้ (Internalization และ Personalization และน�ำไปสู่ความจริง ผ่ า นประสบการณ์ (Experiential Truth) ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังเมื่อพบเจอกับสถานการณ์ ที่สอดคล้องกับความจริงนั้นๆ (Kriangchaiporn, 2015) หากปราศจากการใคร่ครวญ ภาวนา เนื้อหาพระคัมภีร์จะเป็นเพียงข้อมูล (informational truth) มากกว่าเป็นความ จริงที่หล่อหลอมชีวิต (formational truth) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ระหว่างกระบวนการเฝ้าเดีย่ วกับการเผชิญทุกข์ แนวคิดเรื่องธรรมชาติที่สองของผู้เชื่อโดย เอ็น ที ไรท์ (2012) สามารถน�ำมาใช้อธิบายได้ดงั นี้ คุณลักษณะของบุคคลเกิดขึ้นเมื่อบุคคลผู้นั้น ท�ำในสิ่งที่ดีและถูกต้องซ�้ำหลายครั้ง ซึ่งการ
กระท� ำ ดั ง กล่ า วมิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น โดยธรรมชาติ แต่เป็นความพยายามและการมุ่งมั่นตั้งใจทุก ครัง้ เมือ่ เวลาผ่านไป บุคคลผูน้ นั้ จะสามารถท�ำ สิ่ ง ดี แ ละถู ก ต้ อ งได้ โ ดยอั ต โนมั ติ เ พราะเป็ น ธรรมชาติที่ถูกหล่อหลอมขึ้นก่อนหน้านี้จาก การท�ำซ�ำ้ กล่าวคือ คุณลักษณะคือการทีบ่ คุ คล หนึ่งๆ ตัดสินใจท�ำสิ่งที่ดี ถูกต้อง และชาญฉลาดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งคุณลักษณะ ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยเจตนาด้วย การท�ำซ�้ำจนเป็นธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่าธรรมชาติที่สอง ในเรือ่ งการอ่านพระคัมภีร ์ ไรท์ (2012) กล่าวว่า “การอ่านพระคัมภีร์เป็นกิจวัตรที่บ่ม เพาะลั ก ษณะนิ สั ย ของผู ้ เชื่ อ จนกลายเป็ น ธรรมชาติที่สอง ไม่เพียงแต่ด้วยเหตุผลที่ว่า ยิ่งท�ำมากขึ้น ก็ยิ่งต้องการท�ำมากขึ้น แต่ยัง เป็ น เรื่ อ งของเหตุ ผ ลที่ ว ่ า ยิ่ ง เราท� ำ มากขึ้ น กิ จ วั ต รแห่ ง ความคิ ด จิ ต ใจ จิ ต วิ ญ ญาณ และร่างกายก็จะได้รบั การก่อเป็นรูปร่างมากขึน้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็จะก่อรูปขึ้นเป็นบุคลิกลักษณะของเราที่เหมือนกับพระเยซูคริสต์” (Wrigth, 2012, หน้า 262) ในท�ำนองเดียวกัน การเผชิญความทุกข์ควรเป็นธรรมชาติที่สอง ของคริ ส ตชน อั น เป็ น กิ จ วั ต รของความคิ ด จิตใจ และจิตวิญญาณทีไ่ ด้รบั การก่อรูปขึน้ จาก การอ่านพระวจนะและใคร่ครวญพระวจนะ อั น เป็ น การเตรี ย มพร้ อ มเพื่ อ จะมี มุ ม มองที่
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 127
ความสัมพันธ์ระหว่างวินยั ฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์: กรณีศกึ ษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรมแมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์
ถูกต้องต่อการทนทุกข์และสามารถเผชิญกับ ความทุกข์ได้ ในเรือ่ งการอธิษฐาน ไรท์ (2012) กล่าว ว่า “เราเข้าสูก่ ารอธิษฐานโดยรูว้ า่ เป็นการตอกย�ำ้ กิจวัตรของจิตใจทีจ่ ะท�ำให้เราเป็นตัวเราตาม ธรรมชาติที่สอง และเราออกจากการอธิษฐาน ด้วยจิตใจที่ถูกก่อเป็นรูปร่างอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นธรรมชาติแห่งความไว้วางใจและความเชื่อ ฟัง” (Wrigth, 2012, หน้า 282) ด้วยความไว้ วางใจและความเชื่ อ ฟั ง ซึ่ ง เป็ น ผลจากการ อธิษฐานนี่เองที่ท�ำให้คริสตชนสามารถเผชิญ กับความทุกข์ที่จะมาถึงได้ จากแนวคิ ด และหลั ก การดั ง กล่ า ว สามารถน� ำ มาใช้ อ ธิ บ ายปรากฏการณ์ ข อง ผลวิจัยที่เกิดขึ้นเมื่อนักศึกษาในสถาบันพระคริสต์ธรรมที่ใช้เวลาในการเฝ้าเดี่ยวบ่อยครั้ง กว่า จะสามารถเผชิญกับความทุกข์ได้มากกว่า นักศึกษาที่มีการปฏิบัติเฝ้าเดี่ยวน้อยกว่า การ ปฏิบัติซ�้ำท�ำให้เกิดการก่อรูปของคุณลักษณะ ในการทนทุกข์ เมื่ออ่านพระคัมภีร์พร้อมทั้ง ใคร่ครวญในเนื้อหาเรื่องการทนทุกข์มากขึ้น รวมทั้งอธิษฐานด้วยความเข้าใจในเรื่องการ เผชิญทุกข์มากขึ้น นักศึกษาจะสามารถมีมุม มองและตอบสนองต่อการทนทุกข์ได้อย่างเป็น ธรรมชาติที่สอง อันเป็นคุณลักษณะที่เหมือน กับพระเยซูคริสต์
128 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ข้อเสนอแนะ จากภาพรวมของผลวิจัยในเรื่องความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งวิ นั ย ฝ่ า ยวิ ญ ญาณกั บ ความ ฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบัน คริสต์ศาสนศาสตร์สามารถน�ำไปสูข่ อ้ เสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1. เนื่องจากการเฝ้าเดี่ยวสัมพันธ์กับ ความฉลาดทางจิ ต วิ ญ ญาณ สถาบั น คริ ส ต์ ศาสนศาสตร์ จึ ง ควรให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การ เฝ้ า เดี่ ย ว ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยการอ่ า น การ พิ จ ารณาใคร่ ค รวญพระคริ ส ต์ ธ รรมคั ม ภี ร ์ และการอธิษฐาน 2. ควรมี ก ารพั ฒ นาเครื่ อ งมื อ ในการ วั ด มิ ติ ด ้ า นจิ ต วิ ญ ญาณ ซึ่ ง เป็ น การประเมิ น สภาพจิตวิญญาณในคริสตชนกลุ่มต่างๆ นอก เหนื อ จากนั ก ศึ ก ษาในสถาบั น คริ ส ต์ ศ าสนศาสตร์ 3. ควรมีการศึกษาเพิม่ เติมเพือ่ วัดความ สัมพันธ์มิติด้านจิตวิญญาณกับด้านอื่นๆ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางปัญญา ฯลฯ
สกุณี เกรียงชัยพร และ สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน
บรรณานุกรม ณั ฐ ภรณ์ นรพงษ์ . (2553). การวิ เ คราะห์ เปรียบเทียบโมเดลประยุกต์และโมเดล บูรณาการการวัดความฉลาดทางจิต วิญญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ปลายในบริบทสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ ปริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ไม่ ไ ด้ ตี พิ ม พ์ ) . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ Carson, D. A. (2007). How long, O Lord?: Reflections on suffering and evil. Grand Rapids, MI: Baker Academic.
Kriangchaiporn, S. (2015). The role of meditation in spiritual learning for Christian discipleship in Thailand. La Mirada, CA: Biola University. Wright, N. T. (2012). After you believe: Why Christian character matters. New York: HarperCollins. Zohar, D., & Marshall, I. N. (2001). SQ: Connecting with our spiritual intelligence. New York: Bloom sbury.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 129
แนวทางการอภิบาลเพื่อการพัฒนาคุณธรรม
ที่โดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ
PThe Distinguishing Virtues of Teachers in astopal Guidelines for Development of The Catholic Schools of Chanthaburi Diocese: Bangkok Cluster.
บาทหลวง อานุภาพ วงษ์แก้ว
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี
บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดคณะเยสุอิต * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี * อธิการบดี วิทยาลัยแสงธรรม
Rev. Arnuphap Wongkaew
* Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. Rev. Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J.,Ph.D. * Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lecturer of The Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College. Rev. Asst. Prof Chartchai Phongsiri, Ph.D. * Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * President of Saengtham College.
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
บทคัดย่อ
การวิ จั ย นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษา 1) พฤติ ก รรมที่ ส ะท้ อ น คุณธรรมโดดเด่นของบุคลากรครู โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพ ฯ และ 2) แนวทางการ อภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครู โรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลจันทบุร ี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์ กรุงเทพฯ ตาม ความคิดเห็นของผูท้ รงคุณวุฒ ิ เครือ่ งมือทีใ่ ช้ คือ แบบสอบถามความคิด เห็น และแบบสัมภาษณ์ สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรครูโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษา อบรม: กลุ่มคลัสเตอร์ กรุงเทพฯ มีพฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมที่ โดดเด่น ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน เรียงตามล�ำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านความซื่อตรง (μ =4.76, σ = .317) ด้านความรักฉันพี่น้อง (μ = 4.69, σ = .332) ด้านความเมตตา (μ = 4.58, σ = .398) และด้านรับใช้ (μ = 4.53, σ = .454) ส�ำหรับด้านความเรียบง่าย พอเพียง อยู่ในระดับมาก (μ = 4.50, σ = .468) 2. แนวทางการอภิบาลเพื่อการพัฒนาคุณธรรมที่โดดเด่นของ บุคลากรครูมีดังนี้ 2.1 คุณธรรมด้านความซื่อตรง ควรด�ำเนินการดังนี้ 1) ให้ก�ำลังใจครูที่โดดเด่นเรื่องการตรงต่อเวลา และ 2) ผู้บริหารยุติธรรมกับครูเท่าเทียมกัน 2.2 คุณธรรมด้านความรักฉันพี่น้อง ควรด�ำเนินการดังนี้ 1) ขยายเวลาการฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี 2) ส่งเสริมโครงการการใช้ชีวิตร่วมกันของครู 3) เน้นการลงท�ำงานมือ และ 4) ให้แนวคิดจิตตารมณ์พระวรสาร เรื่องความรัก
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 131
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
2.3 คุณธรรมด้านเมตตา ควรด�ำเนินการดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ครูชว่ ยเหลือเพือ่ นครู นักเรียน ทีล่ ำ� บาก และ 2) ไม่แบ่งแยกครูและคนงานเป็นชนชัน้ ทุกคนเท่าเทียมกัน 2.4 คุณธรรมด้านรับใช้ ควรส่งเสริมการท�ำงานร่วมกันแบบ ครอบครัว พี่น้อง 2.5 คุณธรรมด้านความเรียบง่าย พอเพียง ควรด�ำเนินการดังนี้ 1) ท�ำสวนเศรษฐกิจพอเพียง 2) ก�ำหนดชุดเครื่องแบบครูทุกวัน 3) ส่งเสริมความเข้าใจความหมายค�ำว่า “เรียบง่าย” “พอเพียง” ในพระคัมภีร์ 4) ผู้บริหารเป็นตัวอย่างในการถือความยากจน 5) วางแผนใช้จ่ายเงิน 6) ใช้หลักเศรษฐศาสตร์การเงินในชีวิตประจ�ำวัน 7) ท�ำให้ครูเกิดกระบวนการความคิดอยากจะพัฒนาความ พอเพียง และ 8) ส่งเสริมให้ประหยัดน�้ำ ไฟฟ้า ในโรงเรียน ค�ำส�ำคัญ:
132 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) การอภิบาล 2) คุณธรรม 3) ครู 4) โรงเรียนคาทอลิก/สังฆมณฑลจันทบุรี
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
Abstract
This research aims were 1) to identify the distinguishing virtues of teachers which are reflected in the Catholic schools of Chanthaburi Diocese: Bangkok Cluster and 2) to give some pastoral guidelines for the further development of these distinguishing virtues of the teachers of the abovementioned schools. The data collected by using the opinionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis. The results show that: 1. The behavior of teachers in the Catholic schools of Chanthaburi Diocese, Bangkok Cluster reflects a highest level. They were as follows in descending order Honesty (μ =4.76, σ = .317) Fraternal love (μ = 4.69, σ = .332) Compassion (μ = 4.58, σ .398) Service (μ =4.53, σ =.454) respectively. For the Simplicity, Sustainable living was a high level (μ = 4.50, σ.=.468). 2. The following were some pastoral guidelines for the further development of these distinguishing virtues of the teacher. 2.1 Development of honesty : 1) Encourage teachers to be punctual. And 2) The manager should treat each individual with fairness and honesty. 2.2 For the development of fraternal love : 1) Extend time for retreats. 2) Offer support for activities which would help working or living together.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 133
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
3) Emphasize the importance of conscientious work. 4) Gospel study on fraternity. 2.3 Development of compassion : 1) Encourage teachers to support fellow teachers and students who are facing difficulty and 2) Treat people equally. 2.4 Support of a spirit of service: Support for the family. 2.5 Support for simplicity and sustainable living : 1) Encourage gardening as part of a sustainable lifestyle. 2) Keep a uniform dress code for teachers. 3) Get a good understanding of the words ‘simplicity’ and ‘sustainability. 4) The manager should be a model for this kind of life. 5) Money should be spent with a plan. 6) Offer support for home economics. 7) Give input to teachers on the topic of simplicity and sustainability and 8) Do the simple things like turning off lights and water taps. Key Word:
134 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) Pastoral. 2) The Distinguishing Virtues. 3) Teacher. 4) The Catholic Schools. 5) Chanthaburi Diocese.
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา ในช่ ว งสองทศวรรษที่ ผ ่ า นมา ทุ ก ประเทศทั่ ว โลกรวมถึ ง ประเทศไทย ได้ ใ ห้ ความส� ำ คั ญ กั บ การปฏิ รู ป การศึ ก ษา โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถ ผลิตก�ำลังคนที่มีคุณภาพสู่สังคมแห่งการเรียน รู้ ในการปฏิรูปการศึกษานั้น ครูเป็นบุคลากร ที่ส�ำคัญยิ่ง เพราะว่าครูเป็นกลุ่ม บุคคลด่าน หน้าและเป็นกลไกส�ำคัญในการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ครูต้องพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ได้ทั้งใน ปัจจุบนั และอนาคต การพัฒนาครูให้เป็นบุคคล ทีม่ ศี กั ยภาพสูงสุดจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งกระท�ำ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง การพัฒนาครูไปสูค่ วามเป็นครูมอื อาชีพ ไม่เพียงแค่พัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ทั ก ษะในการถ่ า ยทอดความรู ้ หรื อ ความ สามารถกิจกรรมแต่ยังรวมไปถึงการพัฒนา คุ ณ ธรรมของครู ซึ่ ง มี ค วามส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง ระเบียบข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณ ของวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 ในหมวดที่ 3 ข้อที่ 9-12 ได้เรียกร้องให้ครูตอ้ งรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ และต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ตาม บทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วย ความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ครูจะต้องต้องประพฤติ
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์หรือขัด ขวางมิให้เกิดความก้าวหน้าทางกาย สติปญ ั ญา จิ ต ใจ อารมณ์ และสั ง คมของศิ ษ ย์ และ พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 7 มาตรา 52 ระบุว่า ให้ส่งเสริมการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นผูท้ มี่ คี ณ ุ ภาพ และมีมาตรฐานกับการเป็นวิชาชีพขั้นสูง และ เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับการศึกษาขึน้ พืน้ ฐาน ในตัวบ่งชีท้ ี่ 5 ระบุ ถึง คุณภาพครู/อาจารย์นั้น ต้องเป็นคนดี มี ความสามารถ กล่าวคือ ครูหรืออาจารย์ปฏิบตั ิ ตนตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด สม�่ำเสมอ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน สามารถจัดการ เรี ย นรู ้ ที่ เ น้ น ผู ้ เรี ย นเป็ น ส� ำ คั ญ และส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ เรี ย นรายบุ คคลพั ฒ นาตนเองอย่ า งเต็ ม ศักยภาพ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และค่านิยมในโลกปัจจุบันของคนที่มุ่ง ให้ความส�ำคัญกับทางด้านวัตถุ สิ่งของ เงิน ทองมากกว่าคุณงามความดี การมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งบุคคลที่เป็นครู หรือทีจ่ ะเป็นครู ในเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2556 มีข่าวการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อ บรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ ง เป็ น ข้ า ราชการครู แ ละ บุ ค ลากรทางการศึ ก ษา ต� ำ แหน่ ง ครู ผู ้ ช ่ ว ย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 135
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
ใน 119 เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา มี ผู ้ เข้ า สอบ 10,000 กว่าคน การทุจริตนี้ถือเป็นการตรวจ สอบพบการทุจริตครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี ของวงการศึกษาไทย ซึ่งผลจากการทุจริตครั้ง นี้ท�ำให้ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกและบุคคลที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตครั้งนี้ ไม่ได้รับการ บรรจุ ห รื อ ต้ อ งออกจากต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่ ไ ป คุณธรรมและจริยธรรมทีถ่ ดถอยลงของครูและ บุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่าย ต้องให้ความส�ำคัญอย่างเร่งด่วน ก่อนที่ปัญหา การขาดไร้ซึ่งคุณธรรมของครูจะส่งผลกระทบ ไปถึงบรรดานักเรียนและเยาวชนทีเ่ ป็นอนาคต ของชาติตอ่ ไป (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 2558: ออนไลน์) โรงเรียนคาทอลิก เป็นองค์ประกอบส่วน หนึ่งแห่งพันธกิจของพระศาสนจักรโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการประกาศข่าวดีแห่งความรักและ ความรอดแก่มนุษย์ทุกคน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ และบทบาทส�ำคัญของโรงเรียนคาทอลิกใน การพัฒนาจิตส�ำนึก มโนธรรม จริยธรรมของ บรรดาเด็ ก ๆ เยาวชน เพื่ อ เขาเหล่ า นั้ น จะ สามารถสัมผัสถึงคุณค่าพระวรสาร (Gosple Value) พบพระพรและพระหรรษทานของ พระเจ้า (เทียบ The Catholic School 1977 No. 9 ) โรงเรียนคาทอลิกจึงมิใช่เป็นเพียง สถานที่เพิ่มพูนความรู้ด้านสติปัญญา (Intellectual) เท่านัน้ แต่สำ� คัญกว่าสิง่ อืน่ ใด จักต้อง
136 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จัดการศึกษาตามพันธกิจดังกล่าว โดยอาศัย กระบวนการไตร่ ต รอง (Reflection) และ กระบวนการจัดการเรียนการสอนทีห่ ลากหลาย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตน เพื่อบรรดา เด็กๆ และเยาวชนเหล่านั้นจะสามารถด�ำเนิน ชีวิตตามคุณค่าพระวรสารท่ามกลางกระแส สั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลงอย่ า งสมดุ ล โรงเรี ย น คาทอลิ ก มุ ่ ง เน้ น ในด้ า นความมี คุ ณ ธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะคุณธรรมของครู ผู้ซึ่ง จะเป็นผู้หล่อหลอมคุณธรรมให้กับนักเรียน คุณธรรมที่โดดเด่นของครูในโรงเรียนคาทอลิก เป็ น คุ ณ ธรรมตามคุ ณ ค่ า พระวรสารตาม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ซึง่ พระศาสนจักร คาทอลิกโดยสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ให้ ความส�ำคัญแก่ผใู้ ห้การศึกษาอบรมในฐานะครู และถือว่าเป็นกระแสเรียกอย่างหนึ่ง มิใช่เป็น เพียงการประกอบอาชีพเท่านั้น (เทียบ Lay Catholics in School: Witness to Faith) โรงเรียนคาทอลิกจึงให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษ ในการพั ฒ นาครู ใ ห้ เข้ า ถึ ง ความหมายและ บทบาทของโรงเรียนคาทอลิก การประกาศ ข่าวดี คุณค่าพระวรสาร และบทบาทหน้าที่ ความรั บ ผิ ด ชอบของตนเองในฐานะเป็ น ครู ผู้เข้ามาร่วมรับบทบาทในการจัดการศึกษา อบรมร่วมกัน ส�ำหรับในส่วนของโรงเรียนคาทอลิกทีม่ ี อยู ่ ทั่ ว ประเทศนั้ น โรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง กั ด
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
สังฆมณฑลจันทบุรี กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ ซึง่ ประกอบด้วยโรงเรียนคาทอลิกจ�ำนวน 4 โรง ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดกรุงเทพฯ และนครนายก ก็เป็น องค์ ก ารที่ ต ระหนั ก ถึ ง ภาระหน้ า ที่ ที่ จ ะต้ อ ง จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางของการ ศึกษาและพัฒนาคนของประเทศ โดยมุ่งเน้น การพั ฒ นาคนให้ มี ศั ก ยภาพทุ ก มิ ติ ข องชี วิ ต (โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. 2542: 6) เห็นความส�ำคัญของการพัฒนาการ จั ด การศึ ก ษา โดยมี ก ารก� ำ หนด วิ สั ย ทั ศ น์ พันธกิจ เป้าหมาย มีการจัดแผนกลยุทธ์ในการ จัดการศึกษาและการพัฒนาครูและบุคลากรทุก ระดับเพื่อให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ผ่านทางสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้มีค่านิยมความรัก ซื่อสัตย์ รับใช้ เมตตา พอเพียง ครูเป็นบุคคลทีต่ อ้ งได้รบั การเอาใจใส่ และจ�ำเป็นต้องได้รับการศึกษาอบรมอย่างต่อ เนื่อง (Ongoing Formation) ควบคู่กันไปทั้ง ด้ า นสติ ป ั ญ ญา (Intellectual) ทั ก ษะการ สอนและการถ่ า ยทอดความรู ้ (Teaching Skill) และมิติด้านจิตวิญญาณครู (Spirituality) เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้ตระหนักและเห็น คุ ณ ค่ า การจั ด การศึ ก ษาตามอั ต ลั ก ษณ์ ก าร ศึกษาคาทอลิกอย่างแท้จริง เพือ่ น�ำคุณค่าทีไ่ ด้ รั บ นั้ น ไปใช้ ใ นการประกอบวิ ช าชี พ สร้ า ง คุ ณ ลั ก ษณะนิ สั ย ของตนและนั ก เรี ย นให้ มี คุณลักษณะตามคุณค่าพระวรสาร เพื่อเป็น
ขุ ม ทรั พ ย์ ที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ สั ง คมปั จ จุ บั น และ อนาคต ซึ่ ง หากมี ก ารศึ ก ษาถึ ง พฤติ ก รรมที่ สะท้อนคุณธรรมที่โดดเด่นของครูในโรงเรียน สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ ในปัจจุบนั และศึกษา แนวทางการอภิบาลเพื่อพัฒนาคุณธรรมที่โดด เด่นบุคลากรครูแล้ว ย่อมเป็นข้อมูล/วิธีการที่ จะช่วยส่งเสริมให้ครูเป็นผูม้ คี ณ ุ ธรรมทีโ่ ดดเด่น มากยิ่งขึ้น อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียน โรงเรียน สังคม และประเทศชาติต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาพฤติ ก รรมที่ ส ะท้ อ น คุณธรรมโดดเด่นบุคลากรครู โรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรมกลุ่ม คลัสเตอร์กรุงเทพฯ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการอภิบาลเพื่อ การพั ฒ นาคุ ณ ธรรมที่ โ ดดเด่ น บุ ค ลากรครู โรงเรี ย นสั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ฝ่ า ยการ ศึกษาอบรมกลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ ขอบเขตของการวิจัย กรอบแนวคิดของการวิจัย 1) แนวคิดการจัดการศึกษาคาทอลิก ของพระศาสนจักรคาทอลิก และ 2) แนวคิ ด การจั ด การศึ ก ษาตาม มาตรฐานการศึกษาไทย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 137
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล กลุ ่ ม ที่ 1 คื อ บุ ค ลากรครู โรงเรี ย น คาทอลิ ก สั ง กั ด สั ง ฆมณทลจั น ทบุ รี : กลุ ่ ม คลัสเตอร์กรุงเทพ จ�ำนวน 210 คน ประกอบ ด้วย โรงเรียนคริสตสงเคราะห์ จ�ำนวน 63 คน โรงเรียนอนุบาลคริสตสงเคราะห์ จ�ำนวน 21 คน โรงเรียนปัญจทรัพย์ ดินแดง จ�ำนวน 98 คน และโรงเรียนปัญจทรัพย์ มีนบุรี จ�ำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวน 24 คน ประกอบด้ ว ย ผู ้ อ� ำ นวยการ/ผู ้ บ ริ ห าร/ ผู ้ ช ่ ว ยผู ้ อ� ำ นวยการฝ่ า ย โรงเรี ย นละ 6 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบถึ ง พฤติ ก รรมที่ ส ะท้ อ น คุณธรรมโดดเด่นบุคลากรครู โรงเรียนสังกัด สังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรมกลุ่ม คลัสเตอร์กรุงเทพฯ 2. ทราบถึงแนวทางการอภิบาลเพือ่ การ พัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นบุคลากรครู โรงเรียน สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ นิยามศัพท์เฉพาะ การอภิบาลเพื่อการพัฒนาคุณธรรม หมายถึง การส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรเข้า
138 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ร่วมกิจกรรม/งาน/โครงการ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการ สนับสนุนคุณธรรมที่โดดเด่นที่โรงเรียนจัดขึ้น คุ ณ ธ ร ร ม ที่ โ ด ด เ ด ่ น ห ม า ย ถึ ง คุณลักษณะนิสัยที่โดดเด่นของครู 5 ด้าน คือ 1) ความซื่อสัตย์ 2) ความเรียบง่ายพอเพียง 3) ความรักฉันพี่น้อง 4) ความมีเมตตา และ 5) รับใช้ (จิตอาสา) บุคลากรครู หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติ หน้ า ที่ ก ารสอนและปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ส นั บ สนุ น ทางการศึกษาภายในโรงเรียนคาทอลิก โรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง กั ด สั ง ฆมณฑล จันทบุรี กลุ่ม Cluster กรุงเทพฯ หมายถึง โรงเรียนคาทอลิกที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ฝ่ายการศึกษาอบรมสังฆมณฑลจันทบุรี ใน กลุ่ม Cluster กรุงเทพฯ ได้แก่ 1) โรงเรียน ปัญจทรัพย์ ดินแดง 2) โรงเรียนปัญจทรัพย์ มี น บุ รี 3) โรงเรี ย นคริ ส ตสงเคราะห์ และ 4) โรงเรียนอนุบาลคริสตสงเคราะห์ วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง แนวทางการอภิบาลเพื่อ การพัฒนาคุณธรรมที่โดดเด่นของบุคลากรครู โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรฝี า่ ย การศึกษาอบรม: กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methodology research) โดยเก็บข้อมูลในเชิง ปริมาณ (quantitative data) และ การวิจัย
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
เชิงคุณภาพ (qualitative data) ด�ำเนินการ วิจัยตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขัน้ ตอนที่ 1 การจัดเตรียมโครงร่างการ วิจยั ขัน้ ตอนนี ้ เป็นขัน้ ตอนการเตรียมโครงร่าง การวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย โดยผู้วิจัยท�ำการ ศึกษา ที่มาและความส�ำคัญของปัญหาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หลักการ แนวคิดต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องจากต�ำรา หนังสือ เอกสารวิชาการ ข้ อ มู ล สารสนเทศ งานวิ จั ย ต่ า งๆ และสื่ อ อิเล็กทรอนิกส์ เพือ่ น�ำมาเป็นกรอบแนวคิดการ วิจัย จัดท�ำโครงร่างการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การด�ำเนินการวิจัย ขั้น ตอนนี ้ เป็นขัน้ ตอนของ 1) การศึกษาวิเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อน�ำไปใช้ใน การสร้างเครื่องมือ 2) การสร้างเครื่องมือ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์และน�ำเสนอ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบแล้วปรับปรุงแก้ไข ตามค� ำ แนะน� ำ ของผู ้ เชี่ ย วชาญ มี ค ่ า IOC ระหว่าง 0.33 – 1.00 จึงเลือกข้อค�ำถามใน แบบสอบถามที่ มี ค ่ า IOC ระหว่ า ง 0.661.00 ไปใช้ในการสอบถาม 3) น�ำแบบสอบถาม ไปทดลองใช้กบั ครูโรงเรียนคาทอลิกสังฆมณฑล จันทบุรี ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 30 คน แล้วน�ำ ข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความเชือ่ มัน่ (reliability) ของแบบสอบถามด้ ว ยการค� ำ นวณค่ า สัมประสิทธิ์แอลฟา (α-coefficient) ด้วย สูตรสัมประสิทธิแ์ อลฟาของครอนบาค (Cron-
bach’s alpha coefficient) ได้ ค ่ า ความ เชื่ อ มั่ น เท่ า กั บ .793 ซึ่ ง มากกว่ า 0.7 ตาม เกณฑ์การพิจารณาที่ก�ำหนดไว้ ได้เป็นแบบ สอบถามฉบับสมบูรณ์ 4) น�ำแบบสอบถามไป เก็บข้อมูลจากกลุ่มบุคลากรครูเป้าหมาย และ 4) การน�ำข้อมูลที่ได้มาตรวจทานความครบ ถ้วน แล้ววิเคราะห์ แปลผลข้อมูล และสรุปผล การศึกษา การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล จากบุ ค ลากรครู ใช้ ค ่ า ความถี่ ค่ า ร้ อ ยละ (%) ค่ า เฉลี่ ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ส�ำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสัมภาษณ์ใช้การ วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ขั้นตอนที่ 3 การรายงานการวิจัย ขั้น ตอนนี้ เป็นขั้นตอนการจัดท�ำรายงานการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติ ก รรมที่ ส ะท้ อ นคุ ณ ธรรม โดดเด่ น ของบุ ค ลากรครู โรงเรี ย นสั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ฝ่ า ยการศึ ก ษาอบรม กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ จากข้อมูลวิเคราะห์ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรครูโรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรมกลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ มี พ ฤติ ก รรมที่ ส ะท้ อ นคุ ณ ธรรมที่ โ ดดเด่ น ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน เรียงตามล�ำดับจาก มากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความซื่อตรง (μ =
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 139
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
4.76, σ = .317) ด้านความรักฉันพีน่ อ้ ง (μ = 4.69, σ = .332) ด้านความเมตตา (μ = 4.5 8, σ = .398) และ ด้านรับใช้ (μ = 4.53, σ = .454) ส� ำ หรั บ ด้ า นความเรี ย บง่ า ย พอเพียง อยู่ในระดับมาก (μ = 4.50, σ = .468) 2. แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนา คุณธรรมที่โดดเด่นของบุคลากรครู โรงเรียน สั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ฝ่ า ยการศึ ก ษา อบรมกลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ 2.1 คุณธรรมด้านความซื่อตรง 2.1.1 ให้ก�ำลังใจครูที่โดดเด่นเรื่อง การตรงต่อเวลา 2.1.2 ผู้บริหารยุติธรรมกับครูเท่า เทียมกัน 2.2 คุณธรรมด้านความรักฉันพี่น้อง 2.2.1 ขยายเวลาการฟื ้ น ฟู จิ ต ใจ ประจ�ำปี 2.2.2 ส่งเสริมโครงการการใช้ชีวิตร่วม กันของครู 2.2.3 เน้นการท�ำงานมือ 2.2.4 ให้แนวคิดจิตตารมณ์พระวรสาร เรื่องความรัก 2.3 คุณธรรมด้านความเมตตา 2.3.1 ส่งเสริมให้ครูช่วยเหลือเพื่อน ครู นักเรียนที่ล�ำบาก
140 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เพียง
2.3.2 ไม่แบ่งแยกครูและคนงานเป็น ชนชั้น ทุกคนเท่าเทียมกัน 2.4 คุณธรรมด้านความรับใช้ 2.4.1 ส่งเสริมการท�ำงานร่วมกัน 2.5 คุณธรรมด้านความเรียบง่าย พอ 2.5.1 ท�ำสวนเศรษฐกิจพอเพียง 2.5.2 ก�ำหนดชุดยูนิฟอร์มครูทุกวัน 2.5.3 ส่ ง เสริ ม ความเข้ า ใจความ หมายค�ำว่า “เรียบง่าย” “พอเพียง” ใน พระคัมภีร์ 2.5.4 ผู้บริหารเป็นตัวอย่างในการ ถือความยากจน 2.5.5 วางแผนใช้จ่ายเงิน 2.5.6 ใช้หลักเศรษฐศาสตร์การเงิน ในชีวิตประจ�ำวัน 2.5.7 ท� ำ ให้ ค รู เ กิ ด กระบวนการ ความคิดอยากจะพัฒนาความพอเพียง 2.5.8 ส่งเสริมให้ประหยัดน�้ำ ไฟฟ้า ในโรงเรียน
อภิปรายผล 1. พฤติ ก รรมที่ ส ะท้ อ นคุ ณ ธรรม โดดเด่ น ของบุ ค ลากรครู โรงเรี ย นสั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ฝ่ า ยการศึ ก ษาอบรม กลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
ผลการวิจยั พฤติกรรมทีส่ ะท้อนคุณธรรม ที่ โ ดดเด่ น บุ ค ลากรครู โรงเรี ย นสั ง กั ด สังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม กลุ่ม คลั ส เตอร์ ก รุ ง เทพฯ พบว่ า บุ ค ลากรครู มี พฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรรมที่โดดเด่นอยู่ใน ระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากคุณธรรมที่โดด เด่นทั้ง 5 ด้าน เป็นการด�ำเนินชีวิตของครูที่ สะท้อนคุณธรรมทีส่ ำ� คัญอันเป็นพืน้ ฐานมาจาก สิ่งที่พระเยซูเจ้าได้สั่งสอนและได้ปฏิบัติเป็น แบบอย่าง โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑล จันทบุรี กลุ่มคลัสเตอร์ กรุงเทพฯ ได้ก�ำหนด ให้เป็นมาตรฐานที่ส�ำคัญส�ำหรับการเจริญชีวิต อย่างมีคุณค่าของบุคลากรครู และสร้างให้ กลายเป็ น คุ ณ ลั ก ษณะนิ สั ย ของบุ ค ลากร ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนคาทอลิก เพราะ เป็นผลจากการตะหนักถึงการพัฒนาคุณภาพ บุ ค ลากรครู ทั้ ง ด้ า นความรู ้ ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติหน้าที่การจัดกิจกรรมใน ชั้นเรียน อีกทั้งยังให้ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาคุณลักษณะ “ครูเป็นคนดี” ซึ่ง เป็นคุณลักษณะส�ำคัญตามตัวบ่งชี้ที่ก�ำหนดไว้ ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพครู คุ ณ ธรรมด้ า นความซื่ อ ตรงจั ด อยู ่ ใ น ล�ำดับที่ 1 เมื่อเทียบกับคุณธรรมที่โดดเด่นอีก 4 ด้ า น ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจาก คุ ณ ธรรมด้ า นความ ซื่อตรงเป็นคุณธรรมที่เป็นระเบียบของคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 ได้กำ� หนด
จรรยาบรรณครู และสอดคล้องกับค่านิยม 12 ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการสร้างค่านิยมคนไทยใหม่โดยที่ ส�ำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานรับนโยบายมา ปฏิ บั ติ ใ ห้ เ กิ ด ผลประจั ก ษ์ อี ก ทั้ ง เป็ น การ สนับสนุนจิตตารมณ์แห่งความไว้วางใจและตรง ไปตรงมาร่ ว มกั น (สมณกระทรวงเพื่ อ การ ศึกษาคาทอลิก, 2531: ข้อ 40) และกอรปกับ ชีวิตของครูที่มีความโปร่งใสในทุกเรื่อง ทั้งต่อ ตนเองและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในวิชาชีพ กล่าว คือ ครูปฏิบัติงาน รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายจนส�ำเร็จลุล่วง (เทียบพระคัมภีร์ มธ 15:14-30, ลก 19:11-27) ดังในพระสมณสาสน์ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า (Laudato si’) ว่ า “เรามี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ผู ้ อื่ น และต่อโลก จึงสมควรที่เราต้องเป็นคนดีและ ซื่อสัตย์” (Laudato si’. ข้อ 229) และพบว่า บุคลากรครูมคี ณ ุ ธรรมด้านการด�ำเนินชีวติ เรียบ ง่ายและพอเพียง จัดอยู่ในล�ำดับที่ 5 ล�ำดับ สุดท้าย เมื่อเทียบกับคุณธรรมที่โดดเด่นอีก 4 ด้ า น ทั้ ง นี้ ส อดคล้ อ งกั บ การเผชิ ญ หน้ า กั บ การเปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว ในสั ง คมไทย และสังคมโลก การพัฒนาอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี และนวั ต กรรมด้ า นสื่ อ โฆษณา ชวนเชื่อต่างๆ ส่งผลให้สังคมเข้าสู่ยุคของการ บริ โ ภคนิ ย ม สุ ข นิ ย ม และสั ม พั ท ธนิ ย ม ซึง่ บุคลากรครูเป็นคนกลุม่ หนึง่ ในสังคมปัจจุบนั
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 141
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
ที่ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลนี้ และผลกระทบกั บ การ เปลีย่ นแปลงอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว บุคลากรครูกลุม่ โรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ มีพฤติกรรมทีส่ ะท้อน คุณธรรมที่โดดเด่นอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มบุคลากรครูดังกล่าวได้รับการ อบรมให้เรียนรูแ้ ละรูจ้ กั คุณธรรมทีโ่ ดดเด่นทีม่ า จากคุณค่าพระวรสาร ซึ่งเป็นคุณค่าที่ส่งผลให้ ครูสามารถน�ำกลับไปปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวัน และได้รับการส่งเสริมให้เอาคุณธรรมดังกล่าว ไปใช้ในการปฏิบัติงานและด�ำเนินชีวิตประจ�ำ วั น ในสถานศึ ก ษาและในครอบครั ว ตนเอง (โครงการสัมมนาเรื่อง “ความรู้และคุณค่าอัต ลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ปีการศึกษา 2556: ฝ่ายการศึกษาอบรมสังฆมณฑลจันทบุรี) 2. แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนา คุณธรรมที่โดดเด่นของบุคลากรครู โรงเรียน สั ง กั ด สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ฝ่ า ยการศึ ก ษา อบรมกลุ่มคลัสเตอร์กรุงเทพฯ แนวทางการอภิบาลเพื่อการพัฒนา คุ ณ ธรรมที่ โ ดดเด่ น ของบุ ค ลากรครู คุณธรรมด้านความซือ่ ตรง ควรด�ำเนิน การดังนี ้ 1) ให้กำ� ลังใจครูทโี่ ดดเด่นเรือ่ ง การตรงต่อเวลา 2) ผู้บริหารยุติธรรม กับครูเท่าเทียมกัน คุณธรรมด้านความ รั ก ฉั น พี่ น ้ อ ง ควรด� ำ เนิ น การดั ง นี้ 142 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
1) ขยายเวลาการฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี 2) ส่งเสริมโครงการการใช้ชีวิตร่วมกัน ของครู 3) เน้นการลงท�ำงานมือ 4) ให้ แนวคิ ด จิ ต ตารมณ์ พ ระวรสาร เรื่ อ ง ความรั ก คุ ณ ธรรมด้ า นเมตตา ควร ด�ำเนินการดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ครูช่วย เหลือเพือ่ นครู นักเรียน ทีล่ ำ� บาก 2) ไม่ แบ่ ง แยกครู แ ละคนงานเป็ น ชนชั้ น ทุกคนเท่าเทียมกัน คุณธรรมด้านรับใช้ ควรด� ำ เนิ น การดั ง นี้ 1) ส่ ง เสริ ม การ ท�ำงานร่วมกันแบบครอบครัว พี่น้อง คุณธรรมด้านความเรียบง่าย พอเพียง ควรด�ำเนินการดังนี ้ 1) ท�ำสวนเศรษฐกิจ พอเพียง 2)ก�ำหนดชุดเครื่องแบบครู ทุ ก วั น 3) ส่ ง เสริ ม ความเข้ า ใจความ หมายค�ำว่า “พอเพียง” ในพระคัมภีร์ 4) ผูบ้ ริหารเป็นตัวอย่างในการถือความ ยากจน 5) วางแผนใช้จ่ายเงิน 6) ใช้ หลักเศรษฐศาสตร์การเงินในชีวติ ประจ�ำ วัน 7) ท�ำให้ครูเกิดกระบวนการความ คิ ด อยากจะพั ฒ นาความพอเพี ย ง 8) ส่งเสริมให้ประหยัดน�้ำ ไฟฟ้า ใน โรงเรียน รายละเอียดที่ส�ำคัญดังนี้ 1. ขยายเวลาการฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี ตามโครงการมีจ�ำนวนวันที่จัดกิจกรรมฟื้นฟู จิตใจประจ�ำปีเพียงแค่ 1 วันไม่พอเพียงกับการ เรี ย นรู ้ แ ละการไตร่ ต รองชี วิ ต ที่ น� ำ ไปสู ่ ก าร
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
เปลี่ยนแปลงตนเอง อีกทั้งการฟื้นฟูจิตใจเป็น โอกาสให้บุคลากรครูได้พบปะ ร่วมมือ ร่วมใช้ ชีวติ ร่วมกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อนั ดีตอ่ กันในหมู่พี่น้องครู 2. เน้นการลงท�ำงานมือ เพื่อให้ครูได้ เกิดความรักและหวงแหนในสิง่ ทีไ่ ด้ลงมือลงแรง อี ก ทั้ ง เป็ น การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ จ ากการ ท�ำงานและจะเกิดความรักในองค์กร 3. ให้ แ นวคิ ด จิ ต ตารมณ์ พ ระวรสาร เรื่องความรักในพระคัมภีร์กล่าวว่า “ความรัก ย่อมอดทน มีใจเอื้อเฟื้อไม่อิจฉา ไม่โอ้อวด ตนเอง ไม่จองหอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจ�ำความผิดที่ได้รับ ไม่ยนิ ดีในความชัว่ แต่รว่ มยินดีในความถูกต้อง ความรักให้อภัยทุกอย่าง เชื่อทุกอย่าง หวังทุก อย่ า ง อดทนทุ ก อย่ า ง” (1 คร. 13: 4-6 ) การเข้าใจความรักในความหมายตามพระคัมภีร์ เป็นเรื่องส�ำคัญ หากไม่มีความเข้าใจก็จะไม่ สามารถเข้าสูค่ ณ ุ ธรรมทีล่ งสูภ่ าคปฏิบตั ไิ ด้อย่าง แน่นอน 4. ส่ ง เสริ ม ให้ ค รู ช ่ ว ยเหลื อ เพื่ อ นครู นักเรียน ที่ล�ำบาก โดยธรรมชาติที่ต้องการรับ ใช้ผู้อื่น อนึ่ง ผู้รับใช้นี้มีพื้นฐานมาจากพระ คัมภีรท์ ไี่ ด้กล่าวถึงพระเยซูเจ้า ผูท้ รงเปีย่ มด้วย ความสุภาพถ่อมตนและความรักที่มีต่อผู้อื่น พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นรูปแบบของผู้รับใช้ ที่แท้จริง ครูมีน�้ำใจช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการ
ความช่ ว ยเหลื อ ครู ค วรมี เ มตตาต่ อ ทุ ก คน เป็นต้นคนยากจน ครูควรบริจาคทรัพย์สนิ เพือ่ ช่วยเหลือคนจน พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่าน อยากเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์จงไปขายทุกสิง่ ทีม่ ี มอบเงินให้คนยากจน และท่านจะมีขุมทรัพย์ ในสวรรค์ แล้ ว จงติ ด ตามเรามาเถิ ด ” (มธ 19:21) พระศาสนจักรบอกให้เราควรยืนข้าง คนจน ช่ วยเหลื อ และแบ่ ง ปั น ทั้ ง ทรั พ ย์ สิ น เงินทอง เพือ่ ช่วยให้เขาเหล่านัน้ สามารถมีชวี ติ อย่างมีคุณภาพมากกว่าเดิม 5. ไม่แบ่งแยกครูและคนงานเป็นชนชัน้ ทุกคนเท่าเทียมกัน ฉะนั้นให้มีความเมตตาต่อ คนทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ความเมตตา กรุณาเป็นคุณธรรม เป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้สงั คมอยูร่ ว่ ม กั น อย่ า งสงบสุ ข เพราะการมี ค วามเมตตา กรุ ณ าต่ อ ทุ ก คนนั้ น ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเห็ น อก เห็นใจซึ่งกันและกันในโรงเรียนและในสังคม 6. ให้ก�ำลังใจครูที่โดดเด่นเรื่องการตรง ต่อเวลา เพื่อสนับสนุนจิตตารมณ์แห่งความ ไว้ ว างใจและตรงไปตรงมาร่ ว มกั น (สมณ กระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก, 2531: ข้อ 40) และกอรปกับชีวิตของครูที่มีความโปร่งใส ในทุกเรื่อง ทั้งต่อตนเองและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ในวิชาชีพ กล่าวคือ ครูปฏิบัติงาน รับผิดชอบ หน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมายจนส�ำเร็จลุลว่ ง (เทียบ พระคั ม ภี ร ์ มธ 15:14-30, ลก 19:11-27) ดั ง ในพระสมณสาสน์ ข อสรรเสริ ญ องค์ พ ระ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 143
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
ผู้เป็นเจ้า (Laudato si’) ว่า “เรามีความรับ ผิดชอบต่อผู้อื่นและต่อโลก จึงสมควรที่เรา ต้องเป็นคนดีและซื่อสัตย์” ( Laudato si’. ข้อ 229) อาจจะเป็นการกล่าวชมเชยในทีส่ ว่ น รวมและการให้ ร างวั ล เล็ ก น้ อ ย เพื่ อ ความ ซื่อสัตย์นี้จะได้เป็นแรงบัลดาลใจกับเพื่อนครู ต่อไป 7. ผู้บริหารมีความยุติธรรมกับครูเท่า เทียมกัน หลักการบริหารซึมซับด้านคุณธรรม จริยธรรม เต็มไปด้วยจิตตารมณ์แห่งเสรีภาพ และความรักที่แสดงออกโดยการเผยแพร่ค่า นิ ย มแบบคาทอลิ ก ในพฤติ ก รรมของบุ ค คล แต่ละคนและพร้อมทีจ่ ะท�ำตนให้เป็นประโยชน์ บรรยากาศแบบครอบครั ว ภายในโรงเรี ย น (อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ 2551: 167-169) จะรัก หรือสนใจครูคนใดคนหนึ่งหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงที่จะกระท�ำ 8. ส่งเสริมการท�ำงานร่วมกัน ครูอาสา สมั ค รช่ ว ยเหลื อ กิ จ กรรมต่ า งๆ ในโรงเรี ย น มี กิ จ กรรมมากมายที่ ส รรสร้ า งเกิ ด ขึ้ น ใน โรงเรียน บางกิจกรรมสามารถท�ำได้คนเดียว หลายกิ จ กรรมต้ อ งอาศั ย ความร่ ว มมื อ ของ ทุกคน ครูควรจะเอาใจใส่ในทุกกิจกรรมและ อาสาเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ เหล่ า นั้ น ผ่ า นไปตรงตามจุ ด ประสงค์ โดยมี จุดหมายระหว่างทางที่การแสดงออกของการ อาสาสมัครรับใช้กนั และกันของครู ชาวยิวบาง
144 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คนเห็นพ้องด้วยและสมัครใจใจเข้าร่วมกลุม่ กับ เปาโลและสิลาส ชาวกรีกจ�ำนวนมากทีเ่ ลือ่ มใส ในศาสนายิว รวมทั้งสตรีชั้นสูงหลายคนก็เข้า มาร่วมกลุม่ กับเขาทัง้ สองด้วย (กจ.17: 4) หาก ครูไม่มีการแสดงออกของการเป็นอาสาสมัคร ครูก็เพียงแต่ท�ำงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น (เทียบ 1คร 9:17) 9. ท�ำสวนเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้อง กั บ รายงานการพั ฒ นาคนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2550 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบรรจุไว้ ในหลักสูตรทุกระดับอย่างเป็นระบบ เพื่อสอน ให้นักเรียนทุกคนรู้จักพึ่งตนเอง และใช้ชีวิต แบบสมดุลทุกด้านตั้งแต่เล็กจนโต สามารถ สร้างคุณประโยชน์ให้สังคมและปรับตัวอยู่กับ โลกาภิ วั ฒ น์ ไ ด้ อ ย่ า งมี ผ ลกระทบน้ อ ยที่ สุ ด อย่ า งไรก็ ต ามครู ผู ้ ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ถ ่ า ยทอดหลั ก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเป็นแบบ อย่างในการด�ำเนินชีวิตด้วยการเป็นพยานถึง สิ่งนี้ มิเช่นนั้นการถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงจะเป็นเพียงทฤษฎีที่เป็นเสือกระดาษ เท่านั้น ดังนั้น ไม่มีใครสามารถเติบโตใหญ่ใน ชีวิตสมถะที่มีความสุข โดยไม่มีสันติกับตัวเอง (พระสมณสาสน์ขอสรรเสริญองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า (Laudato si’), สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ฟรังซิส, 2558 : ข้อ 225) 10. ก�ำหนดชุดยูนิฟอร์มครูทุกวันเพื่อ ป้องกันการแข่งขันการแต่งกายแฟชั่น ครูพึง
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
พอใจสิง่ ทีต่ นเองมี รูส้ กึ ไม่กระหายอยากได้ของ ใหม่ตลอดเวลา หรือแม้แต่การแข่งขันค่านิยม การมีกับผู้อื่น ท�ำให้ครูต้องเหนื่อยกับการใช้ ชีวิตแบบที่ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเอง ครูควรจะ เรียนรู้ที่จะพอใจในสภาพของตน (เทียบ ฟป 4:11) อย่ า งไรก็ ต าม ครู อ ย่ า ให้ ค วามโลภ ครอบง�ำชีวิต จงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี พระเจ้า ตรัสไว้ในพระคัมภีร์โดยให้สัญญาว่า พระองค์ จะไม่ละเลยหรือทอดทิ้ง (เทียบ ฮบ 13:5) 11. ส่ ง เสริ ม ความเข้ า ใจความหมาย ค�ำว่า “เรียบง่าย” “พอเพียง” ให้ชัดเจนใน พระคัมภีร์ ความเรียบง่ายหมายถึง วิถีการ ด�ำเนินชีวิตตามจิตตารมณ์พระวรสาร ชื่นชม ยินดีกับความเป็นอยู่แบบพออยู่ พอกิน พอใช้ แบ่งปันเกือ้ กูลกัน ไม่มกั ใหญ่ใฝ่สงู หรือฟุง้ เฟ้อ เห่อเหิม ไม่ท�ำลายธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม อันเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า (ส�ำนักงานสภา พระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย, 2000: 98) 12. ผู ้ บ ริ ห ารเป็ น ตั ว อย่ า งในการถื อ ความยากจน ชื่นชมยินดีกับความเป็นอยู่แบบ พออยู่ พอกิน พอใช้ แบ่งปันเกื้อกูลกัน ไม่มัก ใหญ่ ใ ฝ่ สู ง หรื อ ฟุ ้ ง เฟ้ อ เห่ อ เหิ ม ไม่ ท� ำ ลาย ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอันเป็นสิ่งสร้างของ พระเจ้า รักการท�ำงานอย่างสร้างสรรค์ วิถชี วี ติ เรี ย บง่ า ยนี้ จ ะมี คุ ณ ค่ า หรื อ คุ ณ ธรรมเป็ น ตั ว ก� ำ กั บ ซึ่ ง คุณ ค่าหรือคุณ ธรรมดังกล่าวนี้
สอดคล้องกับคุณค่าแห่งพระวรสาร (ส�ำนักงาน สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย, 2000: 98) 13. ใช้ ห ลั ก เศรษฐศาสตร์ ก ารเงิ น ใน ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ครู ป ระหยั ด และอดออม การประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ ทรั พ ย์ สิ นสิ่ ง ของแต่ ค วรพอประมาณให้ เ กิ ด ประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มี ความประหยัด คือ ผูท้ ดี่ ำ� เนินชีวติ ความเป็นอยู่ ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อน ใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิง่ ของอย่างคุม้ ค่า รูจ้ กั ท�ำบัญชีรายรับรายจ่าย รายออมของตนเองอยูเ่ สมอ พระคัมภีรก์ ล่าวไว้ ว่า “รูจ้ กั มีชวี ติ อยูอ่ ย่างอดออม และรูจ้ กั มีชวี ติ อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์” 14. ท�ำให้ครูเกิดกระบวนการความคิด อยากจะพัฒนาความพอเพียง ครูพงึ พอใจสิง่ ที่ ตนเองมี รูส้ กึ ไม่กระหายอยากได้ของใหม่ตลอด เวลา หรือแม้แต่การแข่งขันค่านิยมการมีกับ ผู้อื่น ท�ำให้ครูต้องเหนื่อยกับการใช้ชีวิตแบบที่ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเอง ครูควรจะเรียนรู้ที่จะ พอใจในสภาพของตน (เที ย บ ฟป 4:11) อย่างไรก็ตาม ครูอย่าให้ความโลภครอบง�ำชีวติ จงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี พระเจ้าตรัสไว้ในพระ คัมภีร์โดยให้สัญญาว่า พระองค์จะไม่ละเลย หรือทอดทิ้ง (เทียบ ฮบ 13:5)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 145
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
15. ส่งเสริมให้ประหยัดน�้ำ ไฟฟ้า ใน โรงเรียน ครูช่วยเหลือดูแลทรัพย์สินสาธารณะ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งของของโรงเรียนหรือของ ส่วนรวมสังคม ถือว่าเป็นการรับใช้พี่น้องใน สังคม ของสาธารณะไม่มีเจ้าของส่วนตัว แต่ ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน การดูแลและเอาใจ ใส่จึงเป็นเรื่องที่ต้องการการเสียสละในการรับ ใช้ กั น และกั น เพื่ อ ดู แ ล พระคั ม ภี ร ์ ก ล่ า วไว้ ว่า “ผู้รับใช้คนนั้นเป็นสุข ถ้านายกลับมาพบ เขาก� ำ ลั ง ท� ำ ดั ง นี้ เราบอกความจริ ง แก่ ท ่ า น ทัง้ หลายว่า นายจะแต่งตัง้ เขาให้ดแู ลทรัพย์สนิ ทัง้ หมดของตน” (ลก 12:43-44) อย่างไรก็ตาม การรับใช้ผู้อื่น ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ท�ำให้ ครูมีความสุขในการท�ำงาน ในการใช้ชีวิตอีก ด้วย ข้อเสนอแนะในการน�ำผลวิจัยไปใช้ โรงเรียนคาทอลิกควรอภิบาลส่งเสริม คุณธรรมในด้านต่างๆ ของบุคลากรครูคาทอลิก ดังนี้ คุณธรรมด้านความซื่อตรง โดย 1) ให้ ก� ำ ลั ง ใจครู ที่ โ ดดเด่ น เรื่ อ งการตรงต่ อ เวลา 2) ผู ้ บ ริ ห ารยุ ติ ธ รรมกั บ ครู เ ท่ า เที ย มกั น คุณธรรมด้านความรักฉันพี่น้อง โดย 1) ขยาย เวลาการฟื ้ น ฟู จิ ต ใจประจ� ำ ปี 2) ส่ ง เสริ ม โครงการการใช้ชวี ติ ร่วมกันของครู 3) เน้นการ
146 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ลงท� ำ งานมื อ 4) ให้ แ นวคิ ด จิ ต ตารมณ์ พ ระ วรสาร เรือ่ งความรัก คุณธรรมด้านเมตตา โดย 1) ส่งเสริมให้ครูช่วยเหลือเพื่อนครู นักเรียน ที่ล�ำบาก 2) ไม่แบ่งแยกครูและคนงานเป็น ชนชั้น ทุกคนเท่าเทียมกัน คุณธรรมด้านรับใช้ โดย 1) ส่ ง เสริ ม การท� ำ งานร่ ว มกั น แบบ ครอบครัว พีน่ อ้ ง คุณธรรมด้านความเรียบง่าย พอเพียง โดย 1) ท�ำสวนเศรษฐกิจพอเพียง 2) ก�ำหนดชุดเครื่องแบบครูทุกวัน 3) ส่งเสริม ความเข้าใจความหมายค�ำว่า “พอเพียง” ใน พระคัมภีร์ 4) ผู้บริหารเป็นตัวอย่างในการ ถือความยากจน 5) วางแผนใช้จ่ายเงิน 6) ใช้ หลักเศรษฐศาสตร์การเงินในชีวิตประจ�ำวัน 7) ท�ำให้ครูเกิดกระบวนการความคิดอยากจะ พัฒนาความพอเพียง 8) ส่งเสริมให้ประหยัดน�ำ้ ไฟฟ้า ในโรงเรียน ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาการน�ำแนวทางการอภิบาล ไปทดลองใช้ และมีการประเมินเพือ่ น�ำไปสูก่ าร ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. ควรมี ก ารศึ ก ษาคุ ณ ธรรมในด้ า น ต่างๆ เพิ่มเติมมากขึ้น ตามคุณค่าพระวรสาร ทั้ง 21 ประการ เพื่อได้แนวทางการพัฒนา คุณธรรมบุคลากรครูได้มากยิ่งขึ้น
อานุภาพ วงษ์แก้ว, ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย และ ชาติชาย พงษ์ศิริ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. “สพฐ. ยอมรับพบ ทุ จ ริ ต สอบครู ผู ้ ช ่ ว ย.” สื บ ค้ น เมื่ อ 5 สิงหาคม 2558, สืบค้นได้จาก http:// www.kruwandee.com/news-id 28047.html. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. พระ คัมภีร ์ ภาคพันธสัญญาใหม่. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุ ง เทพฯ: คณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์, 2549. คณะกรรมการบริ ห ารสั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี . แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี พ.ศ. 2551 – 2556. ม.ป.ท., ม.ป.ป. คณะกรรมการพัฒนาระบบกลไกการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังฆมณฑล จั น ทบุ รี , คู ่ มื อ การประเมิ น คุ ณ ภาพ ภายในกลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์โรงเรียน คาทอลิกสังกัด สังฆมณฑลจันทบุรี. ม.ป.ท., ม.ป.ป., (อัดส�ำเนา). ฝ่ายการศึกษาอบรมสังฆมณฑลจันทบุรี. แผน กลยุทธ์กลุ่มโรงเรียนคาทอลิกสังกัด สังฆมณฑลจันทบุร ี พ.ศ. 2551-2556. ม.ป.ท., ม.ป.ป. ฟรังซิส, พระสันตะปาปา. พระสมณสาสน์ ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า (Laudato Si’). แปลโดย เซอร์มารี หลุยส์ พรฤกษ์ งาม. กรุงเทพฯ: สภาประมุขบาทหลวง โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย, 2558.
สภาการศึ ก ษาคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย. ก้ า วไปข้ า งหน้ า ด้ ว ยอั ต ลั ก ษณ์ ก าร ศึกษาคาทอลิก ปี ค.ศ. 2012-2015. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 2555. ____. อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. พิมพ์ ครัง้ ที ่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อสั สัมชัญ, 2551. สมณกระทรวงเพื่ อ การศึ ก ษาคาทอลิ ก . โรงเรียนคาทอลิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2556. ____. มิ ติ ด ้ า นศาสนาของการศึ ก ษาใน โรงเรียนคาทอลิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2556. ____. โรงเรี ย นคาทอลิ ก ขณะก� ำ ลั ง เข้ า สู ่ สหัสวรรษที่สาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2556. อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ. “การพัฒนารูปแบบการ บริหารโรงเรียนเอกชนคาทอลิกสังกัด สังฆมณฑลในทศวรรษหน้า.” วิทยา นิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขา วิ ช าการบริ ห ารการศึ ก ษา บั ณ ฑิ ต วิทยาลัย มหาวิทยาบูรพา, 2551.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 147
แนวทางการอภิบาลเพือ่ การพัฒนาคุณธรรมทีโ่ ดดเด่นของบุคลากรครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายการศึกษาอบรม: กลุม่ คลัสเตอร์กรุงเทพฯ
Benedict XVI, Pope. “Address of His Holiness Benedict XVI to The Catholic Religion Teachers.” Ac cessed September 25, 2015. Available from http://www.vati can.va/content/benedict-xvi/en/ speeches/2009. Congregation for Catholic Education. Consecrated Persons and their Mission in Schools. Accessed September 25, 2015. Available from http://www.Vatican.va/ roman_ curia/congregagions/ ccatheduc/documents ____. The Religious Dimension of Education in a Catholic School. Accessed September 25, 2015. Available from http://www.vati can.va/roman_curia/ congrega gions/ccatheduc/documents
148 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
Francis, Pope. “Address of Pope Fran cis to Students and Teachers From Schools Across Italy.” Ac cessed September 25, 2015. Available from http://www.vati can.va/content/francescomobile/ en/speeches/2014. Paul VI, Pope. Declaration on Chris tian Education Gravissimum Educationis. Accessed Septem ber 24, 2011. Available from vatican_council Paul VI, Pope. Declaration on The Relation of The Church to Non Christian Religions Nostra Atate. Accessed September 29, 2011. Available from vatican_council
แรงจูงใจในการทำ�งานกับความผูกพันต่อองค์การ ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
TCommitment he Motivation to Work and Organizational of Teachers in Schools Under The St.Gabriel’s Foundation of Thailand.
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล * ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์ * อาจารย์ประจ�ำภาควิชาการบริการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Khathawut Sittichoksakul * Master of Education Department of Management Studies Faculty of Education, Silpakorn University. Asst.Prof.Prasert Intarak, Ed.D. * Assistant Professor, Department of Education Administration, Faculty of Education, Silpakorn University.
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการ ท� ำ งานของครู โ รงเรี ย นในเครื อ มู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ ค าเบรี ย ลแห่ ง ประเทศไทย 2) ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน เครื อ มู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ ค าเบรี ย ลแห่ ง ประเทศไทยในการวิ จั ย ครั้ ง นี้ เป็ น การวิ จั ย เชิ ง พรรณนาโดยใช้ ค รู สั ง กั ด โรงเรี ย นเครื อ มู ล นิ ธิ ค ณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยวิเคราะห์ รวมทัง้ สิน้ 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ ในการท�ำงานของครู ตามแนวคิดของ เฮิร์ซเบิร์ก เมาส์เนอร์ และ สไนเดอร์แมน และความผูกพันต่อองค์กรของครู ตามแนวความคิด ของ คอลควิท ลีปายน์และเวสสัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการท�ำงานของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมี ค่าระดับในด้านความส�ำเร็จของงาน มีค่าระดับมากที่สุด รองลงมา คือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและ ลักษณะของงาน ส่วนด้านที่มี ค่าระดับน้อยที่สุด คือ เงินเดือน ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาแยกเป็นรายได้พบว่า ความผูกพันต่อองค์การ มีค่าอยู่ใน ระดับมากทัง้ 3 ด้าน โดยเรียงตามค่าระดับดังนี ้ คือความผูกพันทาง ด้านความรูส้ กึ ความผูกพันทีเ่ ป็นปทัสถาน และด้านทีม่ คี า่ ระดับน้อย ที่สุดคือ ความผูกพันแบบต่อเนื่อง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 171
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
3.แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูใน โรงเรียนเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค�ำส�ำคัญ: Abstract
1) แรงจูงใจในการท�ำงาน 2) ความผูกพันต่อองค์การ
The purposes of this research were to find 1) the teachers’ motivation to work in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand, 2) the teachers’ organizational commitment in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand, and 3) the relationship between the teachers’ motivation to work and organizational commitment in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand. The sample was 354 teachers in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand. The research instrument was a questionnaire based on the motivation to work of Frederick Herzberg, Bernard Mausner and Barbara B. Snyderman concept and on teachers’ organizational commitment based on Colquitt,Lepine and Wesson concept The statistics applied in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient.
172 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
The findings of this study were as follows: 1. The teachers’ motivation to work in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand as overall was at the high level. When considering each aspect found that most variables of each factors were at the high level except salary were at the middle level. 2. The teachers’ organizational commitment in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand as overall was at the high level. 3. The relationship between the teachers’ motivation to work and organizational commitment in schools under the St.Gabriel’s foundation of Thailand was found at .01 level of significant. Keyword:
1) Motivation to work 2) Organizational Commitment
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 173
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ครูเป็นบุคคลที่ส�ำคัญที่จะช่วยสร้างคน สร้างชาติ เพราะสังคมในยุคปัจจุบนั ผูป้ กครอง ท�ำงานหนักส่งผลให้ไม่มีเวลาดูแลลูก ครูจึง ต้องท�ำงานหนักหลายเท่า นอกจากต้องสอน หนังสือแล้วยังต้องคอยอบรมสั่งสอนประคับ ประคองให้เด็กเจริญเติบโตเป็นก�ำลังส�ำคัญ ของประเทศชาติต่อไป แต่ในปัจจุบันนี้ เกิด ปั ญ หาการขาดแคลนครู เ ป็ น จ� ำ นวนมาก ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น สภาวะวิก ฤติ ไม่เ ฉพาะแต่ใน ประเทศไทยเท่านั้น แต่ปัญหาการขาดแคลน ครูเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งสภาวะการ ขาดแคลนครูเป็นปัญหาส�ำคัญที่รัฐบาลต้อง ด� ำ เนิ น การแก้ ไขอย่ า งจริ ง จั ง และต่ อ เนื่ อ ง เพราะครูคือผู้น�ำนโยบายกี่ปฏิรูปการศึกษาไป สู่การปฏิวัติและยกระดับคุณภาพเยาวชนสู่ การเป็นทรัพยากรมนุษย์และเป็นอนาคตของ ชาติบ้านเมือง ซึ่งปัญหาการขาดแคลนครูใน ปัจจุบันนี้ หน่วยงานต่างๆ ต่างก็ช่วยกันคิด หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาในส่วน ของโรงเรียนเอกชนนั้นปัญหาเรื่องการลาออก ของครูโดยเฉพาะในระหว่างภาคปีการศึกษา เพื่อไปสอบบรรจุเป็นครูภาครัฐซึ่งเป็นปัญหา ส�ำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาของ เอกชน ซึ่งท�ำให้สถานศึกษาเอกชนเดือดร้อน มาก เนื่องจากบุคลากรครูเป็นจ�ำนวนมากลา ออกไปเป็นครูในสถานศึกษาภาครัฐ เมือ่ สอบ
174 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
บรรจุได้ในช่วงที่มีการเรียนการสอน (ส�ำนัก งานเลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษา กระทรวง ศึกษาธิการ, 2548) จากสถิ ติ ข องแผนกบุ ค คล ฝ่ า ยการ ศึ ก ษา มู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ ค าเบรี ย ลแห่ ง ประเทศไทย เกีย่ วกับการลาออกจากงานของ ครู โรงเรี ย นเครื อ มู ล นิ ธิค ณะเซนต์ คาเบรี ย ล แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปีการศึกษา 25512556 พบว่าในแต่ละโรงเรียนมีครูที่ลาออก จากโรงเรียนเป็นจ�ำนวนมากโดยระหว่างปีการ ศึกษา 2553 พบว่ามีครูลาออกจากโรงเรียน เป็นจ�ำนวนมากถึง 317 คน จากจ�ำนวน ทั้งหมด 3867 คน สถิติดังกล่าว แสดงให้ เห็นว่ามีบุคลากรครูในโรงเรียนจ�ำนวนหนึ่ง ขาดความผูกพันต่อองค์การ จากการศึกษาสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับ แรงจูงใจให้ครูท�ำงานอย่างเต็มที่และมีความ ผูกพันต่อโรงเรียน และจากการศึกษาแนวคิด ของนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการ ท�ำงานและความผูกพันต่อองค์การจ�ำนวนมาก แล้ว ผูว้ จิ ยั จึงสนใจทีจ่ ะศึกษาและท�ำการวิจยั เรื่อง “แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพัน องค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย” โดยเลือก ทฤษฎีแรงจูงใจในการท�ำงานของ เฮิร์ซเบิร์ก เมาสเนอร์ และ สไนเดอร์แมน เป็นกรอบ แนวคิดในการท�ำวิจยั ในครัง้ นี ้ ทฤษฎีดงั กล่าว
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
มี อ งค์ ป ระกอบในการศึ ก ษา 16 ด้ า น ครอบคลุมทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค�้ำจุนเช่น เดียวกับแนวคิดเรื่องความผูกพันองค์การของ คอลควิท ลีปายน์ และเวสสัน ซึง่ สอดคล้อง กับลักษณะการท�ำงานและวัฒนธรรมองค์การ ของโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย และมีแนวโน้มเป็นที่สนใจ ของนักวิจยั โดยทัว่ ไปเป็นอย่างมาก เนือ่ งจาก ได้รวบรวมสาเหตุของความผูกพันต่อองค์การ ที่เป็นประเด็นวิพากษ์กันทั้ง 3 สาเหตุมาไว้ ในแนวคิดเดียว จึงสามารถอธิบายปรากฎ การณ์ของความผูกพันต่อองค์การได้ ผลการ ศึกษาสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับแรงจูงใจใน การท�ำงาน และความผูกพันต่อองค์การของ ครูในโรงเรียนแล้ว ผู้วิจัยจะได้น�ำข้อมูลที่ได้ จากผลการศึกษาวิจัย เสนอผู้รับผิดชอบและ ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการ พิจารณา แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ครู โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลได้ รับแรงจูงใจในการท�ำงานทัง้ ในด้านปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค�้ำจุนที่เหมาะสม เพื่อจะได้เกิด ความพึงพอใจในการท�ำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ ดีและมีความผูกพันต่อองค์การต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการท�ำงาน ของครู โรงเรี ย นในเครื อ มู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ คาเบรียลแห่งประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาความผูกพันองค์การของ ครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย 3. เพือ่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรง จูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันองค์การของ ครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 175
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
กรอบแนวความคิดของการวิจัย แรงจูงใจในการท�ำงาน (Xtot) 1. ปัจจัยจูงใจ (X1) 1) ความส�ำเร็จของงาน 2) การได้รับการยอมรับนับถือ 3) ลักษณะของงาน 4) ความรับผิดชอบ 5) ความก้าวหน้าในต�ำแหน่งการงาน 6) โอกาสทีจ่ ะได้รบั ความก้าวหน้าในอนาคต 2. ปัจจัยค�้ำจุน (X2) 7) นโยบายและการบริหารงานขององค์กร 8) วิธีการปกครองบังคับบัญชา 9) สภาพการท�ำงาน 10) ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 11) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 12) ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา 13) ความเป็นอยู่ส่วนตัว 14) เงินเดือน 15) ฐานะของอาชีพ 16) ความมั่นคงในงาน
176 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ความผูกพันต่อองค์กร (Ytot)
1. ความผูกพันทางความรู้สึก (Y1) 2. ความผูกพันแบบต่อเนื่อง (Y2) 3. ความผูกพันที่เป็นปทัสถาน (Y3) นิยามศัพท์เฉพาะ
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
นิยามศัพท์เฉพาะ แรงจูงใจในการท�ำงาน หมายถึง แรง กระตุน้ ทีท่ ำ� ให้เกิดพฤติกรรมในการกระท�ำหรือ ด�ำเนินการอย่างมุง่ มัน่ เพือ่ ให้ได้มาซึง่ เป้าหมาย ตามที่ตั้งไว้เป็นความเต็มใจที่จะทุ่มเทความ พยายามอย่างเต็มทีจ่ นงานขององค์กรบรรลุผล ส�ำเร็จตามเป้าหมายประกอบด้วยปัจจัย 2 ด้ า น คื อ ด้ า นปั จ จั ย จู ง ใจและด้ า นปั จ จั ย ค�้ำจุน ความผูกพันต่อองค์กร หมายถึง การ ที่สมาชิกมีความต้องการที่จะอยู่เป็นสมาชิก ขององค์การต่อไป เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่ท�ำให้ สมาชิกไม่ประสงค์จะไปอยูใ่ นองค์การอืน่ เป็น ความสมัครใจของสมาชิกเองและรูส้ กึ ผูกพันกับ องค์การที่ตนปฏิบัติงานอยู่ ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) ความผูกพัน ทางความรู้สึก 2) ความผูกพันแบบต่อเนื่อง 3) ความผูกพันที่เป็นปทัสถาน ความผูกพันทางความรู้สึก หมายถึง ความผูกพันที่เกิดจากความรู้สึกตนมีส่วนร่วม ในองค์ ก ารมี ค วามผู ก พั น กั บ เพื่ อ นร่ ว มงาน ประทับใจในบรรยากาศของการท�ำงาน รู้สึก สนุกกับงานและมีค่าตอบแทนที่ดี ความผูกพันแบบต่อเนื่อง หมายถึง ความผูกพันที่เกิดจากการความคุ้มค่าที่ได้เป็น สมาชิ ก ขององค์ ก าร การได้ รั บ ต� ำ แหน่ ง ที่ สูงขึ้น การได้รับเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี จนเกิดความมั่นคงแก่ครอบครัว
ความผูกพันที่เป็นปทัสถาน หมายถึง ความรู้สึกผูกพันที่เกิดจากความส�ำนึกว่าเป็น หน้าที่ที่จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การต่อไป เพราะองค์การได้มีส่วนในการพัฒนาสมาชิก ให้มีความสามารถมากขึ้น องค์การให้โอกาส ในการท�ำงานที่ท้าทายและให้ความช่วยเหลือ เมื่อประสบกับปัญหาจนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ ที่ท�ำให้ควรอยู่ในองค์การต่อไป ครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย หมายถึง ผู้สอน ในโรงเรี ย นที่ อ ยู ่ ภ ายใต้ ก ารบริ ห ารงานของ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย จ�ำนวน 15 สถาบัน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียลแห่ง ประเทศไทย ที่ จั ด การศึ ก ษาหลั ก สู ต รการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมี จ�ำนวน 4,094 คน กลุม่ ตัวอย่างจากครูสงั กัดโรงเรียนมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ที่จัด หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึง่ มีจำ� นวนทัง้ สิน้ 4,094 คน ผูว้ จิ ยั ใช้ตารางประมาณขนาดตัวอย่างของเครจซีและ มอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุม่ ตัวอย่าง 354 คน แล้วจึงเลือกตัวอย่างโดย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 177
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
การสุม่ อย่างง่าย (Simple random sampling) ตามสัดส่วนของจ�ำนวนประชากรครู ในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม จ�ำนวน 1 ฉบับ สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว จ�ำนวน 5 ข้อแรงจูงใจในการท�ำงาน จ�ำนวน 41 ข้อ และความผูกพันต่อองค์การ จ�ำนวน 13 ข้อ รวมเป็นจ�ำนวน 59 ข้อ ซึ่งมีค่าความ ตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.8 - 1 และค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1. การวิเคราะห์สถานภาพส่วนตัวของ ผู้ให้ข้อมูลใช้ค่าความถี่ (frequency) และ ร้อยละ (percentage) 2. การวิเคราะห์แรงจูงใจในการท�ำงาน และความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน เ ค รื อ มู ล นิ ธิ ค ณ ะ เซ น ต ์ ค า เ บ รี ย ล แ ห ่ ง ประเทศไทยใช้สถิติค่ามัชฌิมเลขคณิต ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) แล้วน�ำ ค่าเฉลี่ย ( ) ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ตามแนวคิดของเบสท์ (Best)
178 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจในการท�ำงานของครูกับความผูกพัน ต่อองค์การของครูในโรงเรียนเครือมูลนิธิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยโดยพิจารณา ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์(RXY) ของเพียร์สนั (Pearson’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัย 1. แรงจู ง ใจในการท� ำ งานของครู โรงเรียนในเครือมูลนิคณะเซนต์คาเบรียลแห่ง ประเทศไทย มี ค ่ า อยู ่ ใ นระดั บ มาก เมื่ อ พิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า แรงจูงใจใน การท�ำงานของครู มีค่าอยู่ในระดับมากเกือบ ทุ ก ด้ า น ยกเว้ น ด้ า นเงิ น เดื อ น มี ค ่ า อยู ่ ใ น ระดับปานกลางโดยเรียงค่าจากระดับมากไปหา น้อยได้ดงั นี ้ คือ ความส�ำเร็จของงาน ความ สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ลักษณะของงาน ความสัมพันธ์กบั ผูบ้ งั คับบัญชา การได้รบั การ ยอมรั บ นั บ ถื อ ความรั บ ผิ ด ชอบ สภาพการ ท� ำ งาน ความสั ม พั น ธ์ กั บ ผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา ความมั่นคงในงาน ฐานะของอาชีพ ความ เป็นอยู่ส่วนตัว นโยบายและการบริหารงาน ขององค์ ก ร วิ ธี ก ารปกครองบั ง คั บ บั ญ ชา ความก้าวหน้าในต�ำแหน่งการงาน โอกาสทีจ่ ะ ได้รบั ความก้าวหน้าในอนาคต และด้านทีม่ คี า่ เฉลีย่ น้อยทีส่ ดุ คือ เงินเดือน ดังตารางที ่ 1
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
ตารางที่ 1 ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับและล�ำดับของแรงจูงใจในการท�ำงานของครู แรงจูงใจในการท�ำงานของครู
S.D.
ค่าระดับ
4.20 3.91 3.93 3.91 3.68 3.68
0.52 0.56 0.59 0.60 0.75 0.78
มาก มาก มาก มาก มาก มาก
3.88
0.47
มาก
3.83 3.81 3.91 3.92 4.11 3.90 3.84 3.49 3.86 3.89
0.75 0.70 0.64 0.70 0.65 0.69 0.70 0.87 0.72 0.83
มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก ปานกลาง มาก มาก
รวม ปัจจัยค�ำ้จุน (X2)
3.86
0.55
มาก
แรงจูงใจในการท�ำงานในภาพรวม (Xtot)
3.87
0.47
มาก
1. ความส�ำเร็จของงาน 2. การได้รับการยอมรับนับถือ 3. ลักษณะของงาน 4. ความรับผิดชอบ 5. ความก้าวหน้าในต�ำแหน่งการงาน 6. โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต รวม ปัจจัยจูงใจ (X1) 7. นโยบายและการบริหารงานขององค์การ 8. วิธีการปกครองบังคับบัญชา 9. สภาพการท�ำงาน 10. ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 11. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 12. ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา 13. ความเป็นอยู่ส่วนตัว 14. เงินเดือน 15. ฐานะของอาชีพ 16. ความมั่นคงในงาน
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 179
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
2. ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของครู 3. แรงจู ง ใจในการท� ำ งานกั บ ความ โรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียลแห่ง ผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิ ประเทศไทยโดยภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยโดยภาพ มาก เมื่ อ พิ จารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า รวมและรายด้ า นมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งมี ความผูกพันต่อองค์การ มีค่าอยู่ในระดับมาก นัยส�ำคัญทางสถิตอิ ยูท่ รี่ ะดับ 0.01 ดังตาราง ทั้ง 3 ด้าน คือความผูกพันทางด้านความ ที่ 3 รู้สึก ความผูกพันที่เป็นปทัสถาน และด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความผูกพันแบบ ต่อเนื่อง ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับและล�ำดับของความผูกพันต่อองค์การของครู ความผูกพันต่อองค์การของครู
S.D.
ค่าระดับ
ความผูกพันทางด้านความรู้สึก (Y1)
4.01
0.59
มาก
ความผูกพันแบบต่อเนื่อง (Y2)
3.71
0.78
มาก
ความผูกพันที่เป็นปทัสถาน(Y3)
3.93
0.66
มาก
3.88
0.60
มาก
ความผูกพันต่อองค์การในภาพรวม (Ytot)
ตารางที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครู ความผูกพัน ทางด้าน ความรู้สึก (Y1)
ความผูกพัน แบบ ต่อเนื่อง (Y2)
ความผูกพัน ที่เป็น ปทัสถาน (Y3)
ความผูกพัน ต่อองค์การ ในภาพรวม (Ytot)
ปัจจัยจูงใจ (X1)
0.552**
0.486**
0.597**
0.608**
ปัจจัยค�้ำจุน (X2)
0.742**
0.703**
0.721**
0.808**
แรงจูงใจในการท�ำงานในภาพรวม (Xtot)
0.710**
0.655**
0.721**
0.777**
ตัวแปร
180 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
อภิปรายผล 1. จากผลการวิจัยที่พบว่า แรงจูงใจ ในการท�ำงานของครูโรงเรียนในเครือมูลนิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีค่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบ ว่า แรงจูงใจในการท�ำงานของครู มีค่าอยู่ใน ระดับมากเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านเงินเดือน มีคา่ อยูใ่ นระดับปานกลางโดยเรียงค่าจากระดับ มากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ความส�ำเร็จของ งาน ความสัมพันธ์กบั เพือ่ นร่วมงาน ลักษณะ ของงาน ความสัมพันธ์กบั ผูบ้ งั คับบัญชา การ ได้ รั บ การยอมรั บ นั บ ถื อ ความรั บ ผิ ด ชอบ สภาพการท�ำงาน ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับ บัญชา ความมั่นคงในงาน ฐานะของอาชีพ ความเป็นอยูส่ ว่ นตัว นโยบายและการบริหาร งานขององค์กร วิธีการปกครองบังคับบัญชา ความก้าวหน้าในต�ำแหน่งการงาน โอกาสทีจ่ ะ ได้รบั ความก้าวหน้าในอนาคต และด้านทีม่ คี า่ เฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เงินเดือน ระดับแรงจูงใจ ในการท�ำงานของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยสูงกว่า สมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล ได้รับการเอาใจใส่และพัฒนาครูทั้งในด้านการ จัดการเรียนการสอนและโดยเฉพาะในด้าน คุณภาพของครูโดยจะเห็นได้จากนโยบายของ ฝ่ายการศึกษาคณะเซนต์คาเบรียลที่ได้มีการ ด�ำเนินงานตามแผนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง
และระยะยาวที่จะพัฒนาศักยภาพของครูและ บุคลากรในโรงเรียนในด้านการเพิ่มวิทยฐานะ การฝึกอบรมเสริมประสบการณ์วิชาชีพทั้งใน และต่างประเทศ เพือ่ สูค่ วามเป็นเลิศในระดับ นานาชาติที่ยั่งยืน และนอกจากแผนด�ำเนิน งานต่างๆ นั้นแล้ว ทางฝ่ายการศึกษาได้มี ระเบี ย บและเอกสารที่ ชั ด เจนในการให้ สวัสดิการ เงินเดือน และเงินพิเศษแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้ากับสภาพ สังคมยุคปัจจุบนั ซึง่ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ ศศิธร อารีรักษ์ (2549) ที่ได้ศึกษาปัจจัย จู ง ใจและปั จ จั ย ค�้ ำ จุ น ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความ ผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัย ราชภั ฎ สวนสุ นั น ทา ผลการวิ จั ย พบว่ า 1) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค�้ำจุนที่อยู่ในระดับ มากมี 3 ด้ า น คื อ ด้ า นความสั ม พั น ธ์ กั บ เพื่ อ นร่ ว มงาน ด้ า นความสั ม พั น ธ์ กั บ ผู้บังคับบัญชาและด้านความส�ำเร็จของงาน 2) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค�ำ้ จุนมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 3) และ ปัจจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยในการท�ำงาน ซึ่ ง สอดคลองกั บ งานวิ จั ย ของ มนต์ สิ ง ห์ ไกรสมสุข (2552) ทีไ่ ด้ศกึ ษาแรงจูงใจในการ ท�ำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของครู ในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ผลการวิจยั พบว่า โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 181
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
16 ด้าน พบว่า แรงจูงใจในการท�ำงานของ ครูทอี่ ยูใ่ นระดับมากมีจำ� นวน 15 ด้าน และ มีเพียง 1 ด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านเงินเดือน ถึงแม้ส�ำหรับบางคนแล้ว เงิน เดือนไม่ใช่สิ่งจูงใจที่มีผลต่อการท�ำงาน แต่ ความส� ำ เร็ จ ของงานเป็ น แรงจู ง ใจที่ ส� ำ คั ญ มากกว่า ซึ่งสอดคล้อง ในการวิจัยเกี่ยวกับ ความต้องการสัมฤทธิผล แมคคลีลแลนด์ พบ ว่า เงินไม่เป็นสิ่งจูงใจที่มีผลต่อคนที่มีความ ต้องการสูงด้านสัมฤทธิผล เพราะคนเหล่านี้ จะมีแรงจูงใจสูงอยู่แล้ว จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีความต้องการสูงด้านสัมฤทธิผลจะปฏิบัติ งานดีถงึ แม้จะมีหรือไม่มสี งิ่ จูงใจทีเ่ ป็นเงินก็ตาม ส่วนผู้ที่มีความต้องการต�่ำด้านสัมฤทธิผลจะ ปฏิบัติงานไม่ดีถ้าปราศจากสิ่งจูงใจที่เป็นเงิน และจะท�ำงานดีขึ้น เมื่อเสนอเงินให้ในการ ท�ำงาน ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเงินไม่ใช่สิ่ง ส�ำคัญส�ำหรับคนที่มีความต้องการสูงด้านสัมฤ ทธิ ผ ล แต่ ค นพวกนี้ เ ห็ น ว่ า เงิ น เป็ น ผล ตอบแทนและเป็นการยอมรับตนในการท�ำงาน เมื่อคนพวกนี้ประสบความส�ำเร็จเขาจะมอง รางวัลทีเ่ ป็นเสมือนเป็นสิง่ แสดงถึงความส�ำเร็จ ของคนเท่านั้น 2. ผลการวิจยั พบว่า ความผูกพันต่อ องค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยโดยภาพรวม มีค่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็น รายด้านพบว่า ความผูกพันต่อองค์การ มีคา่ 182 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือความผูกพัน ทางด้ า นความรู ้ สึ ก ความผู ก พั น ที่ เ ป็ น ปทั ส ถาน และด้ า นที่ มี ค ่ า เฉลี่ ย น้ อ ยที่ สุ ด คือ ความผูกพันแบบต่อเนื่อง ระดับความ ผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูล นิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยสูง กว่าสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ครูได้รับวัฒนธรรมองค์การที่มุ่งให้บุคลากร รักในสถาบันและมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล โดยมี ก ารจั ด กิ จ กรรมให้ กั บ ครู โรงเรี ย นใน เครืิอมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลได้ท�ำกิจกรรม ร่วมกับคณะภราดา คณะผู้บริหาร และการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูโรงเรียนในเครือ ร่วมกันอยูอ่ ย่างสม�ำ่ เสมอ อีกทัง้ ยังมีการจัดตัง้ สมาพั น ธ์ ส มาคมผู ้ ป กครองและครู โรงเรี ย น ในเครื อ มู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ ค าเบรี ย ลแห่ ง ประเทศไทยโดยมีครูแต่ละโรงเรียนเข้าร่วมใน สมาพันธ์แห่งนี้ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการ สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และมี กิจกรรมช่วยเหลือครูที่ประสบกับปัญหาต่างๆ ด้วย และด้วยความตระหนักของครูที่ได้ให้ ความส�ำคัญของโรงเรียนว่าเป็นสถาบันที่หล่อ หลอมและพัฒนาผูเ้ รียนให้เติบโตก้าวหน้าตาม ศักยภาพของแต่ละคน ครูจงึ รูส้ กึ ว่าเป็นความ รับผิดชอบที่จะต้องสอนและทุ่มเทอุทิศชีวิต ของตนร่ ว มมื อ กั บ โรงเรี ย นโดยพยายามท� ำ หน้าที่ให้ดีที่สุด ตามบทบาทที่ตนเองได้รับ
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
มอบหมาย ซึ่งเกิดความผูกพันต่อองค์การใน ทีส่ ดุ ดังงานวิจยั ของ คอลควิท ลีปายน์และ เวสสัน (2009) ที่กล่าวว่า ความผูกพันกับ องค์การด้านจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติ ก รรมการเป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข ององค์ ก ร ในระดับสูงกว่าความผูกพันด้านอื่นๆ เป็น พฤติกรรมที่นอกเหนือไปจากพฤติกรรมตาม บทบาทหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมายหรือการปฏิบตั ิ งานที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย พฤติก รรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กร ประกอบด้วย การให้ ความช่วยเหลือผูอ้ นื่ การค�ำนึงถึงผูอ้ น่ื การมี น�้ ำ ใจนั ก กี ฬ า และมี ค วามส� ำ นึ ก ในหน้ า ที่ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ อริ ย พร กาญจนวัฒน์ (2549) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก รของครู โ รงเรี ย น เซนต์หลุยส์ ผลการวิจัยพบว่าความผูกพัน ต่อองค์กรของครูโรงเรียนเซนต์หลุยส์โดยรวม อยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใน การท�ำงาน (Xtot) กับความผูกพันต่อองค์การ (Ytot) ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์ คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีความสัมพันธ์กนั อย่ า งมี นั ย ส� ำคัญทางสถิติอยู่ที่ร ะดับ 0.01 เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า แรงจูงใจใน การท� ำ งาน (X tot ) กั บ ความผู ก พั น ต่ อ องค์การ (Ytot) ของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีความ
สัมพันธ์กนั อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตอิ ยูท่ รี่ ะดับ 0.01 โดยมี ค วามสั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ เท่ากับ 0.777 (r = 0.777**) ซึ่งมีค่าเป็น บวก แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวก กล่าวคือ หากครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยมีแรงจูงใจใน การท�ำงานในระดับสูง ก็จะมีความผูกพันต่อ องค์การมากตามไปด้วย และในทางกลับกัน หากครู โรงเรี ย นในเครื อ มู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ คาเบรียลแห่งประเทศไทยมีแรงจูงใจในการ ท� ำ งานในระดั บ ต�่ ำ ก็ จ ะมี ค วามผู ก พั น ต่ อ องค์การน้อยตามไปด้วยเช่นกัน ซึง่ เป็นไปตาม สมมติฐานทีไ่ ด้ตงั้ ไว้ อาจเป็นเพราะว่า การที่ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลได้มีนโยบาย แผน งาน และจั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ ที่ ส นั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม ทางด้ า นแรงจู ง ใจให้ กั บ ครู แ ละ บุคลากรของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแล้ว คณะครูและบุคลากรต่างรู้สึกและตระหนักว่า ตนได้ เ ป็ นส่ วนหนึ่ ง ในองค์ ก ารแห่ ง นี้ จึง เกิ ด ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก าร ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ผลการวิ จั ย ของไอเซนเบิ ร ์ ก และคณะ (Eisenberger and others, 1990) ที่ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อาชีพต่างๆ 6 อาชีพ ได้แก่ ครูโรงเรียน มั ธ ยม เสมี ย น พนั ก งานผลิ ต รายชั่ ว โมง ตัวแทนประกัน อาจารย์มหาวิทยาลัยและ ต�ำรวจสายตรวจ ผลการศึกษาพบว่า การรับ รูค้ วามเกือ้ กูลสนับสนุนขององค์กรในด้านต่างๆ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 183
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
เช่ น รายได้ ความก้ า วหน้ า ความมั่ น คง และการยอมรั บ จากผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชามี ค วาม สัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กร และความ ผู ก พั น ต่ อ องค์ ก รมี ค วามสั ม พั น ธ์ เชิ ง บวก กับความอุตสาหะในการท�ำงาน การมีความ คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร โดยไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกับผลการวิจยั ของ ชุลีพร ชัยมา ที่ศึกษาวิจัยเรื่องความ ผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวติ ในการท�ำงาน ระหว่างเจ้าหน้าที่ส�ำนักทะเบียนและประมวล ผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีม่ รี ะดับแรงจูงใจ ในการท�ำงานแตกต่างกัน พบว่าแรงจูงใจใน การท�ำงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความ ผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวติ ในการท�ำงาน ข้อค้นพบในการวิจัยมีประเด็นส�ำคัญที่ ควรน� ำ มาอภิ ป รายผลอี ก ประเด็ น หนึ่ ง คื อ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ปั จ จั ย จู ง ใจ (X 1) กั บ ความผู ก พั น แบบต่ อ เนื่ อ ง (Y 2) ซึ่ ง มี ความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.486** ถึงแม้จะมีความสัมพันธ์กนั ในทางบวก แต่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ น้อยทีส่ ดุ ทัง้ นีอ้ าจเนือ่ งมาจาก ในเรือ่ งความ ส� ำ เร็ จ ของงาน การได้ ก ารยอมรั บ นั บ ถื อ ลั ก ษณะของงาน ความรั บ ผิ ด ชอบ ความ ก้าวหน้าในต�ำแหน่งของงาน และโอกาสที่จะ ได้รับความก้าวหน้าในอนาคต นั้นเป็นปัจจัย จูงใจที่ส�ำคัญในการก่อให้เกิดความผูกพันแบบ 184 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ต่อเนือ่ งโดยเฉพาะในเรือ่ งของ ความก้าวหน้า ในต�ำแหน่งของงาน และโอกาสที่จะได้รับ ความก้าวหน้าในอนาคต แต่ในสภาการณ์จริง เราจะพบว่ า ครู ส ่ ว นใหญ่ ใ นโรงเรี ย น ทัง้ โรงเรียนรัฐและเอกชน จะมีโอกาสก้าวหน้า ในต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงานค่อนข้างน้อยอยูแ่ ล้ว ด้วยต�ำแหน่งทางการบริหารในโรงเรียนจะมี ไม่มากนัก ส่วนใหญ่ก็จะมีเพียงผู้อ�ำนวยการ 1 คน รองผู้อ�ำนวยการ 2-5 คน หัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้หรือหัวหน้าหมวดวิชา 8 คน ที่ เ หลื อ ซึ่ ง เป็ น ครู จ� ำ นวนมากใน โรงเรียน ก็จะมีต�ำแหน่ง ครู เท่านั้น บาง คนปฏิบัติงานในต�ำแหน่งครูตั้งแต่เริ่มบรรจุ จนถึ ง เกษี ย ณอายุ เ ลยที เ ดี ย ว นอกจากนี้ โอกาสในการก้าวหน้าในต�ำแหน่งหน้าที่การ งานของครูโรงเรียนเอกชน จะมีค่อนข้างน้อย กว่าครูรฐั เช่น การได้รบั วิทยฐานะ และเงิน เดือน ดั้งนั้น ครูส่วนใหญ่จึงย่อมอาจมีความ รู้สึกหรือความคิดเห็นว่า ตนมีโอกาสได้รับ ความก้าวหน้าในต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงานไม่มาก เท่าที่ควร อันเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์เชื่อมโยง ท�ำให้เกิดความผูกพันแบบต่อเนื่องกับองค์การ ได้ ข้อเสนอแนะเพื่อการน�ำผลการวิจัยไปใช้ 1. เนื่ อ งจากผลการวิ จั ย ในข้ อ ที่ 3 พบว่า แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพัน ต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ
คฑาวุธ สิทธิโชคสกุล และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์
เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยโดยภาพรวม และรายด้ า นมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งมี นั ย ส�ำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.01 โดยมีความ สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ เ ท่ า กั บ 0.777 (r = 0.777**) ซึ่ ง มี ค ่ า เป็ น บวก ดั ง นั้ น ฝ่ายการศึกษามูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่ง ประเทศไทย ควรส่งเสริมพัฒนาการสร้างแรง จูงใจในการท�ำงานของครูในโรงเรียนมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยอย่างเป็น รูปธรรมให้มากขึ้นเพื่อให้ครูมีความผูกพันต่อ องค์การสูงขึ้น 2. เนื่องจากผลการวิจัยในข้อ ที่ 1 พบว่า ด้านทีม่ คี า่ เฉลีย่ น้อยทีส่ ดุ คือ เงินเดือน ดั ง นั้ น ฝ่ า ยการศึ ก ษามู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ คาเบรียลแห่งประเทศไทย ควรมีก�ำหนดค่า ตอบแทนหรื อ ผลประโยชน์ ที่ เ หมาะสมกั บ ความรู ้ ค วามสามารถและภาระงานของ บุคลากร มีการเลื่อนขั้นเงินเดือน อย่างเป็น ระบบ 3. เนื่องจากผลการวิจัยในข้อ ที่ 1 พบว่า ด้าน นโยบายและการบริหารงานของ องค์ ก ร ซึ่ ง มี ค ่ า ระดั บ อยู ่ ใ นล� ำ ดั บ ที่ 12 ดั ง นั้ น ฝ่ า ยการศึ ก ษามู ล นิ ธิ ค ณะเซนต์ คาเบรียลแห่งประเทศไทย ควรรักษาระดับ ระบบการบริหารจัดการและระบบงานที่ดีอยู่ แล้วและหาแนวทางพัฒนาให้สงู ขึน้ มีนโยบาย ในการจั ด สวั ส ดิ ก าร สิ ท ธิ ป ระโยชน์ แ ก่
บุ ค ลากรอย่ า งชั ด เจน และเปิ ด โอกาสให้ บุคลากรมีส่วนร่วมในการก�ำหนดนโยบายและ เป้าหมายขององค์การ 4. เนื่องจากผลการวิจัยในข้อ ที่ 2 พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความ ผู ก พั น แบบต่ อ เนื่ อ ง ดั ง นั้ น ฝ่ า ยการศึ ก ษา มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ควรมีการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้มโี อกาสได้ รับความก้าวหน้าในอนาคตโดยได้รับความ ก้าวหน้าในต�ำแหน่งหน้าที่การงาน การส่ง เสริมให้เข้ารับการอบรม สัมมนาหรือศึกษาต่อ เพื่อเพิ่มพูนทักษะในวิชาชีพให้สูงขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมี ก ารศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะ ห ว ่ า ง เจ ต น า ร ม ณ ์ ข อ ง มู ล นิ ธิ ค ณ ะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยกับแรงจูงใจ ในการท�ำงานและความผูกพันต่อองค์การของ ครูในโรงเรียนมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่ง ประเทศไทย 2. ควรศึกษาความสัมพันธ์ของระบบ การพัฒนาบุคลากรครู กับผลการปฎิบัติงาน ข อ ง ค รู โ ร ง เ รี ย น ใ น เ ค รื อ มู ล นิ ธิ ค ณ ะ เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เพือ่ ปรับและ วางรู ป แบบในการพั ฒ นาครู ใ ห้ ส อดคล้ อ ง กั บ ความต้ อ งการร่ ว มกั น ของครู แ ละมู ล นิ ธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 185
แรงจูงใจในการท�ำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนในเครือมูลนิธคิ ณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย
บรรณานุกรม Eisenberger, Robert; Fasolo, Peter; Davis-LaMastro, Valerie. “Per ceived organizational support and employee diligence, commitment, and innovation.” Journal of Applied Psychology. 75(1), (Feb 1990): 51-59. Frederick Herzberg, Bernard Mausner and Barbara B. Snyderman, The motivation to work, 2nded. (New York : John Wiley & Sons Inc. 1959), 59-83. Jason A.Colquitt, Jeffery A.Lepine and Michael J.Wesson, Organiza tional Behaviors Improving Per formance and Commitment in the workplace (New York:The McGraw Hill Companies, Inc., 2009),68-76 Robert V. Krejcie and Daryle W. Morgan. “Determining Sample Size for Research Activities”.Edu cational and Psychological Measurement 30,3 (1970) :607 610.
186 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ชุลีพร ชัยมา. “ความผูกพันต่อองค์กรและ คุณภาพชีวติ ในการท�ำงานระหว่างเจ้า หน้าทีส่ ำ� นักทะเบียน และประมวลผล มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ที่ มี ร ะดั บ แรงจูงใจในการท�ำงานแตกต่างกัน.” เชี ย งใหม่ : มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ , 2550. มนต์ สิ ง ห์ ไกรสมสุ ข . “แรงจู ง ใจในการ ท� ำ งานที่ ส ่ ง ผลต่ อ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก รของครู ใ นโรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ.” นครปฐม: มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร, 2552. ศศิธร อารีรักษ์. “ปัจจัยจูงใจและปัจจัย ค�้ำจุนที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อ องค์ ก รของบุ ค ลากรมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนสุ นั น ทา.” กรุ ง เทพฯ: มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง, 2549. ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ. สภาวะการขาดแคลนครู ในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานของ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิก, 2548. อริยพร กาญจนวัฒน์. “การศึ กษาความ ผู ก พั น ต่ อ องค์ ก รของครู โ รงเรี ย น เซนต์หลุยส์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริ ห ารการศึ ก ษา บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2549.
ภควันตภาพวิถี
สำ�หรับสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา
U biquitous Ways for the Educational Service Area Office. จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ * ดุษฎีบัณฑิตภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ. ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจ�ำภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Jularlak Subsoothi * Doctor of Philosophy, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Silpakorn University.
Asst.Prof.Maj.Nopadol Chenaksara, RTAR * Assistant Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Silpakorn University.
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภควันตภาพวิถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา 2) องค์ประกอบของภควันตภาพ วิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากความคิดเห็นของผู้ทรง คุณวุฒแิ ละผูเ้ ชีย่ วชาญ และ 3) ผลการยืนยันองค์ประกอบของภควัน ตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา วิธกี ารด�ำเนินการวิจยั 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กับภควันตภาพวิถี 2) การด�ำเนินการวิจัยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต ประชากรคือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทางภควันตภาพวิถี 17 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 3) การยืนยันองค์ประกอบของภควัน ตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา จากผูเ้ ชีย่ วชาญ 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการศึ ก ษาวรรณกรรม สถิ ติ ที่ ใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ได้ แ ก่ ค่ามัธยฐาน (median) ค่าฐานนิยม (mode) และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (interquartile range) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภควั น ตภาพวิ ถี ส� ำ หรั บ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประกอบด้วย การท�ำงานได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ทุกเวลาเพื่อให้มีการ ท�ำงานสนองกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้มากที่สุด บุคลากรใน องค์การสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการบริหารได้ตลอดเวลาและ ทุกหนทุกแห่ง พัฒนาตนเองได้ในทุกที่ทุกเวลา โดยมีพื้นฐานจาก กฎหมาย กฎระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ ที่ เ น้ น ให้ เ กิ ด ความรวดเร็ ว เกิ ด ประสิทธิภาพ มีการกระจายอ�ำนาจการตัดสินใจ การมีโครงสร้างการ บังคับบัญชาที่มีล�ำดับชั้นที่เหมาะสม ผ่านการวิเคราะห์กระบวนการ ท�ำงานที่มีการลดขั้นตอน การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางเทคนิคมา ช่วยให้บริการและอ�ำนวยความสะดวก บนพืน้ ฐานของแนวคิดทฤษฎีที่ เน้ น ให้ อ งค์ ก ารมี แ นวทางการบริ ห ารจั ด การเพื่ อ เป็ น องค์ ก ารที่ มี ประสิทธิภาพ
150 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
2. องค์ประกอบของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ประกอบ ด้วย 15 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการน�ำองค์การของผู้บริหาร 2) ด้านนโยบายและการวางแผน 3) ด้านการน�ำสู่การปฏิบัติ 4) ด้านการติดตามและประเมินผลลัพธ์ 5) ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ 6) ด้านโครงสร้างการบริหารงาน 7) ด้านงบประมาณ โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ 8) ด้านลักษณะงาน 9) ด้านข้อมูล 10) ด้านรูปแบบและกระบวนการให้บริการ 11) ด้านระยะเวลาและสถานที่ 12) ด้านการติดต่อสื่อสาร 13) ด้านการบริหารบุคลากร 14) ด้านพฤติกรรมของบุคลากร และ 15) ด้านวัฒนธรรมการท�ำงาน 3. องค์ประกอบของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และมี ความถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกับทฤษฎี หลักการ และแนวคิด ตามกรอบของการวิจัย ค�ำส�ำคัญ:
1) ภควันตภาพ 2) ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 151
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
Abstract
The research objectives were to identify 1) the components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office 2) the components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office from experts’ opinions and 3) the components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office. The three methodology findings were 1) identifying the components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office from document, literature and research 2) synthesizing the components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office by Ethnographic Delphi future research. The populations were seventeen specialists in Ubiquitous Ways by purposive sampling 3) verify the components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office by nine experts. The instrument were semistructured interview, questionnaires collected by document analysis. The data for analyzing were median, mode and interquartile range. The findings of this research were as follows: 1. The components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office from document analysis: the employee could work anywhere and anytime with the lives of human being as possibly as they could and recognize, manage information and develop themselves on the base of laws and regulations that emphasized the speed and effectiveness, decentralized decision, hierarchical structure of command that was appropriate through the analysis process with the shortened process.
152 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
The use of tools or technical equipment available to help and facilitate on the base of theory that focused an enterprise management for efficient organization. 2. The components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office consisted of 15 components namely: 1) Organization leadership 2) Policy and Planning 3) Implementation 4) Monitoring and evaluation 5) Legality and regulations 6) Organization structure 7) Budgets, infrastructure and tools 8) Job description 9) Data input 10) Formant and service processes 11) Time and location 12) Communication 13) Human resources 14) Human Resources behaviors and 15) Work culture 3. The components of Ubiquitous Ways for the Educational Service Area Office were found proper, feasible, utility and accurate in accordance with the theories Keywords:
1) Ubiquitous 2) the Educational Service Area Office
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 153
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นตาม พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2546 โดยยุบรวมกรม สามัญศึกษา กรมวิชาการ ส�ำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึ ก ษาแห่ ง ชาติ และ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในส่วนของ ส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและส�ำนักงาน ศึกษาธิการอ�ำเภอ มาจัดตั้งเป็นส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานและจัดแบ่ง ส่วนราชการเป็นราชการส่วนกลาง ราชการ เขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา โดยได้ จั ด ราชการส่ ว นกลางเป็ น ส� ำ นั ก หลั ก 10 ส�ำนัก 2 กลุ่ม เนื่องจากส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน่วยงานระดับเขตพื้นที่ และระดั บ สถานศึ ก ษา เพื่ อ ให้ มี ก ารแปลง นโยบายจากส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ ศึกษาขัน้ พืน้ ฐานไปสูห่ น่วยปฏิบตั ิ คือ สถาน ศึ ก ษา พระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 5 มาตรา 39 และ พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และทีแ่ ก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มาตรา 8
154 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
และ มาตรา 34 วรรคสอง ได้กําหนดให้มี การแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ กําหนดให้มี สํานั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา จํานวน 183 เขต และสํานักงานเขตพื้นที่ การศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษา จํานวน 42 เขต และได้ อ อกประกาศกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เรือ่ งการแบ่งส่วนราชการภายในสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยแบ่งส่วน ราชการภายในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเป็น 8 กลุม่ และออกประกาศ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เรื่ อ งการแบ่ ง ส่ ว น ราชการภายในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มั ธ ยมศึ ก ษาเป็ น 7 กลุ ่ ม เพื่ อ เป็ น หน่ ว ย ราชการส�ำหรับการน�ำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งหมายถึงสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้น ฐานอยู่ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งสิ้น 30,907 แห่ง ในระยะเริ่มต้นของการบริหารราชการ ตามโครงสร้ า งดั ง กล่ า ว ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานยังต้องปฏิบัติ งานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล งานการ เงิ น และงบประมาณ และงานอื่ น ๆ ของ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเอง รวมทั้งงาน เกี่ยวกับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ เพราะยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับ
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
ผิ ด ชอบเป็ น การเฉพาะ การจั ด โครงสร้ า ง องค์ ก ารและการด� ำ เนิ น งานดั ง กล่ า ว จึ ง มี ความเหมาะสมกับสถานการณ์ในระยะเริม่ แรก ต่อมาเมื่อได้มีกระจายอ�ำนาจและมอบหมาย อ�ำนาจการด�ำเนินงานให้เป็นไปตามโครงสร้าง องค์การของราชการส่วนกลางที่ก�ำหนดไว้ใน กฎกระทรวงมาได้ระยะหนึง่ ก็ได้พบอุปสรรค ของการด�ำเนินงานในระดับส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาทั้งในด้านการบริหารงานที่ส่งผลต่อ ภารกิจส�ำคัญหลายด้าน ท�ำให้คุณภาพของ การจัดการศึกษาไม่เป็นไปตามทิศทางทีก่ ำ� หนด ไว้ อีกทั้งการปฏิบัติงานยังไม่เน้นการท�ำงาน เชิงรุก ท�ำให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ เป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ด้ ว ยเหตุ ผ ล ดังกล่าว ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จึงได้มีการกระจายอํานาจการ บริหารและการจัดการศึกษาของส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานไปยั ง ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาให้ ค รอบคลุ ม ยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการบริหารและการจัดการ ศึกษาในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้าน การบริหารงานบุคคล และด้านการบริหาร ทั่วไป เพื่อให้ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มี ค วามเป็ น อิ ส ระ คล่ อ งตั ว และสามารถ รั บ ผิ ด ชอบในการดําเนิ น การได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ และสอดคล้ อ งกั บ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง (สุชาดา โทผล, 2550)
จ า ก ผ ล ก า ร วิ จั ย ข อ ง ก ร ะ ท ร ว ง ศึกษาธิการเกี่ยวกับวิธีการแบ่งส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา ซึ่งท�ำให้ส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง เป็นส�ำนักงานเขต พื้นที่ที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น มี ค วามเจริ ญ เติ บ โตสู ง เป็ น เขตเมื อ งใหญ่ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกครบถ้ ว น มี ก าร จั ด การศึ ก ษาหลายระดั บ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ชั้ น อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา/เทียบเท่า หรื อ อุ ด มศึ ก ษา ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ แ บบนี้ จะไม่มปี ญ ั หาเรือ่ งการปฏิบตั งิ านเพราะมีความ พร้อม แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องการติดต่อ สื่อสารและการบริหารจัดการข้อมูลที่ค่อนข้าง มาก เนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่ในส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาแบบนี้จะเป็นโรงเรียนที่มี การแข่งขันสูง แตกต่างกับส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาประเภทที่สอง คือ เป็นส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาที่ มี ป ระชากรกระจั ด กระจาย อยู ่ ใ นอ� ำ เภอรอบนอก ห่ า งไกล ความพร้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม ส�ำนักงาน เขตพื้นที่เหล่านี้จะขาดสิ่งอ�ำนวยความสะดวก พื้ น ฐาน เช่ น อาคาร สถานที่ จ� ำ นวน โรงเรี ย นระดั บ มั ธ ยมตอนปลาย/เที ย บเท่ า และอุดมศึกษามีไม่มาก ค่อนข้างเสียเปรียบ ในการได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ส่วนประเภทที่สาม คือ ส�ำนักงานเขตพื้นที่
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 155
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
การศึ ก ษาที่ มี ค วามเจริ ญ พอสมควร เป็ น จังหวัดขนาดเล็กซึง่ แบ่งเพียงหนึง่ ส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา ความพร้อมในการบริหาร จัดการระดับปานกลาง ส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึ ก ษาประเภทนี้ ส ่ ว นใหญ่ จ ะขาดความ พร้ อ มในการบริ ห ารจั ด การ ซึ่ ง แม้ ว ่ า เป็ น ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเล็กๆ แต่บางครั้งยังขาดการดูแลเอาใจใส่จากส่วน กลาง รวมทั้งไม่ได้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนที่มี การแข่งขั้นสูง ส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขัน้ พืน้ ฐานมีสำ� นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา ประเภทนี้เป็นจ�ำนวนมาก และเกิดปัญหาใน ลักษณะนี้คล้ายๆ กัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว การบริหารจัดการภายในส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจึงควรมีการบริหารจัดการทีแ่ ตกต่าง กันตามบริบทของส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา ที่แตกต่างกันด้วย (ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550) หลักในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่ ง ได้ ก� ำ หนดตามกรอบการปฏิ รู ป ระบบ ราชการที่ผ่านมาได้ก�ำหนดเป้าหมายหลักอยู่ 2 ประการ คือ 1) การจัดส่วนราชการใหม่ โดยค�ำนึงถึงยุทธศาสตร์ของชาติในแต่ละด้าน มีการบูรณาการภารกิจที่เคยกระจัดกระจาย หรือซ�้ำซ้อนเข้าไว้อยู่ในส่วนราชการเดียวกัน เพือ่ ให้สามารถก�ำหนดแผนการบริหารได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และก�ำหนดอ�ำนาจหน้าทีข่ อง
156 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ผู้บริหารในองค์การในระดับต่างๆ ให้ชัดเจน ทั้งในด้านนโยบาย ด้านการก�ำหนดแผนและ ก� ำ กั บ ราชการ และด้ า นการปฏิ บั ติ ง าน ซึ่ ง ปรากฏอยู ่ ใ นเนื้ อ หาสาระของพระราช บัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับ ที่ 5) พ.ศ.2545 ได้ ก ล่ า วถึ ง ในเรื่ อ งการ พัฒนาการจัดองค์การ การปฏิบตั ริ าชการและ การพั ฒ นาบุ ค ลากรให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ รองรับการปฏิรูประบบราชการในระยะต่อไป ซึ่งจะอยู่ในอ�ำนาจหน้าที่ของส�ำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาระบบราชการ (ส�ำนักงาน ก.พ.ร.) ที่ จ ะด� ำ เนิ น การเป็ น ระยะๆ และ 2) การก�ำหนดแบบแผนการปฏิบัติราชการ ที่จะท�ำให้เกิดการบริหารราชการที่ดี ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะก�ำหนดแนวทางการ ปฏิบัติราชการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่ อ ให้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ ข องงานที่ วั ด ผลได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรา 3/1 แห่งพระราช บัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับ ที่ 5) พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติไว้ ดังนี้ “มาตรา 3/1 การบริ ห ารราชการ ตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ต้ อ งเป็ น ไปเพื่ อ ประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความ คุม้ ค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขัน้ ตอนการ ปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วย งานที่ ไ ม่ จ� ำ เป็ น การกระจายภารกิ จ และ
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
ทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอ�ำนาจ ตัดสินใจ การอ�ำนวยความสะดวกและตอบ สนองความต้ อ งการของประชาชน ทั้ ง นี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุ และแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลเข้ า ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง หรื อ ปฏิบัติหน้าที่ต้องค�ำนึงถึงหลักการตามวรรค หนึ่ง ในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องส่วนราชการต้อง ใช้ วิ ธี ก ารบริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี โดย เฉพาะอย่างยิง่ ให้คำ� นึงถึงความรับผิดชอบของ ผูป้ ฏิบตั งิ าน การมีสว่ นร่วมของประชาชนการ เปิ ด เผยข้ อ มู ล การติ ด ตามตรวจสอบและ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความ เหมาะสมของภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการด�ำเนินการให้เป็น ไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎี ก า ก�ำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการปฏิบัติ ราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและ ข้าราชการปฏิบัติก็ได้” สอดคล้องกับการก�ำหนดหลักการตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธกี าร บริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ.2546 ประกอบด้วยบทบัญญัตติ า่ งๆ รวม 9 หมวด โดยสาระส�ำคัญในหมวด 5 การลดขั้นตอน การปฏิบตั งิ าน ซึง่ ก�ำหนดให้สว่ นราชการต้อง จัดให้มีหลักเกณฑ์การควบคุม ติดตาม และ
ก�ำกับดูแลการใช้อ�ำนาจและความรับผิดชอบ ของผูร้ บั มอบอ�ำนาจและผูม้ อบอ�ำนาจ เพือ่ ให้ เกิดความรับผิดชอบและเป็นกรอบการปฏิบัติ หน้าที่ แต่ต้องไม่เพิ่มขั้นตอนเกินจ�ำเป็นและ ให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคม ตามความเหมาะสม เพือ่ ให้เกิดการลดขัน้ ตอน ในการติดต่อราชการ เพิ่มประสิทธิภาพและ ประหยัด ค่าใช้จา่ ย โดยทีเ่ ทคโนโลยีปจั จุบนั ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือใน การเก็บข้อมูล ค้นข้อมูล และรับส่งข้อมูลได้ รวดเร็วกว่าระบบเอกสาร ส่วนราชการจึง มีหน้าทีท่ จี่ ะต้องน�ำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการ กระบวนทัศน์ใหม่ของการจัดการศึกษา ภายใต้สังคมแห่งโลกาภิวัตน์ จึงควรเป็นองค์ ประกอบหลักของรูปแบบการบริหารจัดการ ศึกษาและการเรียนรู้ที่จะก้าวเข้ามามีบทบาท ส� ำ คั ญ ต่ อ การบริ ห ารจั ด การศึ ก ษาในทุ ก ๆ ระบบและในทุ ก ๆ ระดั บ ของการบริ ห าร จั ด การศึ ก ษา เป็ น กระบวนทั ศ น์ ด ้ า นการ บริ ห ารจั ด การศึ ก ษาที่ ต อบสนองต่ อ ความ ต้ อ งการของผู ้ รั บ บริ ก ารได้ ทั น ที ทุ ก ที่ ทุกเวลา ท�ำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาที่เป็น รูปธรรม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการ บริหารจัดการศึกษาที่สะดวก คล่องตัว ง่าย ชัดเจน และมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้วิจัยจึงมี ความสนใจศึกษาวิถีการท�ำงานลักษณะนี้โดย
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 157
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
เรียกว่าภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษา โดยคาดหวังว่าผลการวิจยั จะ สามารถน�ำไปใช้เป็นข้อมูลเชิงนโยบายและ การกระบวนการบริหารจัดการที่จะท�ำให้เกิด การสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพ และการขยายองค์ความรู้ที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการ ศึกษาทั้งระดับขั้นพื้นฐาน ระดับที่เท่าเทียม หรือสูงกว่า รวมทั้งการบริหารจัดการหน่วย งานที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ส่งผลไปถึง การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพต่อเยาวชนของ ชาติ ใ ห้ เ กิ ด ความเจริ ญ งอกงามทั้ ง ในระดั บ
ตนเอง ระดับองค์การ และระดับประเทศใน ที่สุด วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อทราบภควันตภาพวิถีส�ำหรับ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2. เพือ่ ทราบองค์ประกอบของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3. เพื่ อ ทราบผลการยื น ยั น องค์ ประกอบของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา
กรอบแนวคิดของการวิจัย หลักภควันตภาพ (Ubiquitous) ตามมโนทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับปรุงโครงสร้าง - หน่วยงานย่อย (Substation) - ศูนย์บริการร่วม (Counter)
กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
การกระจายอ�ำนาจการตัดสินใจ และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การทบทวน ยกเลิก ปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย กฎระเบียบ ที่ล้าสมัย หรือหมดความจ�ำเป็น
ภควันตภาพวิถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา
ทฤษฎีและหลักการบริหารองค์การ - Luther Gulick และ Lyndall Urwick: "POSDCoRB" - Peters and Waterman: แนวคิดปัจจัย 7 ประการในการ ประเมินองค์การ (7-S Framework) - ส�ำนักงาน ก.พ.ร.: การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Management Quality Award) - ทฤษฎีองค์การหลังสมัยใหม่ (Postmodern Organization Theory)
158 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การบริหารราชการ แบบบูรณาการ การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) ระบบ (Lean) และการท�ำไคเซ็น (Kaizen)
การศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Deiphi Futures Research) จากผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวน 17 คน
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
นิยามศัพท์เฉพาะ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) หมายถึง หน่วยงานด้านการศึกษาที่อยู่ใน สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้ น ฐานตามประกาศกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เรื่อง การก�ำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขต พื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึ ก ษา และประกาศกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เรื่ อ ง การก� ำ หนดเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา มัธยมศึกษา ภควันตภาพ (Ubiquitous) หมายถึง การท� ำ งานได้ทุก หนทุก แห่ง ทุก ที่ทุก เวลา แพร่กระจายและท�ำให้ปรากฏอยูท่ กุ หนทุกแห่ง สามารถรับฟัง รับชม และรับรู้ได้ทุกเวลา เพื่อให้มีการท�ำงานสนองกับชีวิตความเป็นอยู่ ของมนุษย์ให้มากทีส่ ดุ โดยการท�ำให้บคุ ลากร ในองค์การสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการ บริหารได้ตลอดเวลาและทุกหนทุกแห่ง เพื่อ ให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ในทุกที่ทุก เวลา โดยมีพนื้ ฐานจากกฎหมาย กฎระเบียบ ข้ อ บั ง คั บ ที่ เ น้ น ให้ เ กิ ด ความรวดเร็ ว เกิ ด ประสิทธิภาพ การอ�ำนวยความสะดวกในการ ให้บริการที่สอดคล้องกับวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองทีด่ ี มีการกระจายอ�ำนาจการตัดสิน ใจ การมีโครงสร้างการบังคับบัญชาทีล่ ำ� ดับชัน้ ที่ เ หมาะสมหรื อ มี ห น่ ว ยงานเพื่ อ ท� ำ หน้ า ที่ ปฏิ บั ติ ง านโดยตรง ผ่ า นการวิ เ คราะห์
กระบวนการท�ำงานที่มีการลดขั้นตอนท�ำได้ โดยการตั ด กระบวนการที่ ไ ม่ จ� ำ เป็ น ออกไป การใช้เครือ่ งมือหรืออุปกรณ์ทางเทคนิคมาช่วย ให้ บ ริ ก ารและอ� ำ นวยความสะดวกให้ ผู ้ รั บ บริการรับทราบข้อมูลและการปฏิบตั เิ มือ่ มารับ บริการอย่างชัดเจน รวดเร็ว บนพื้นฐานของ แนวคิดทฤษฎีที่เน้นให้องค์การมีแนวบริหาร จัดการเพือ่ เป็นองค์การทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เน้น เรื่องการท�ำงานที่สร้างผลลัพธ์ผ่านทางการ วิ เ คราะห์ อ งค์ ก ารที่ ถู ก ต้ อ ง มี ร ะบบการ ประเมินผลที่แสดงให้เห็นที่จุดที่ควรปรับปรุง อย่างชัดเจน เหมาะสมกับแต่ละบริบทและ สถานการณ์เพื่อให้เกิดการท�ำงานที่ยืนหยุ่น วิถ ี หมายถึง แบบแผน วิธกี ารด�ำเนิน การประพฤติ รูปแบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึง ลักษณะของสิง่ นัน้ และเป็นค่านิยมทีผ่ ปู้ ฏิบตั ิ ตามวิถีมีความยินยอมและเต็มใจในการปฏิบัติ แบบนั้น แบบแผนการวิจัย การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ใ ช้ ร ะเบี ย บวิ ธี วิ จั ย เชิ ง พรรณนา (descriptive research) ที่มี แผนแบบการวิ จั ย แบบกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งเดี ย ว ตรวจสอบสภาวการณ์ ไม่ มี ก ารทดลอง (The one shot, non-experimental case study design)
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 159
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
ประชากร คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคลากรในส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษา และองค์การภาค รัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านภควันตภาพ จ�ำนวน 17 คน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่มี ความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์โดยตรง กับภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึ ก ษา ได้ จ ากการเลื อ กแบบเจาะจง (purposive sampling) ตามหลักเกณฑ์ที่ ตั้ ง ไว้ จ� ำ นวน 17 คน ตามแนวคิ ด ของ โทมัส ที แมคมิแลน (Thomas T. Macmillan) ได้ศึกษาและมีความเห็นว่าจ�ำนวน ตั้งแต่ 17 คนขึ้นไป จะเป็นปริมาณกลุ่ม ตัวอย่างที่ให้ผลความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุดหรือค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า หรื อ เท่ า กั บ 0.02 และน� ำ กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งที่ เลือกไว้ให้คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ พิจารณาอีกครั้ง ตัวแปรที่ศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ตัวแปรพื้นฐานและตัวแปรศึกษาดังนี้ 1. ตัวแปรพืน้ ฐาน คือ ตัวแปรทีเ่ กีย่ ว กับสถานภาพส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล 2. ตัวแปรศึกษา คือ ตัวแปรที่เกี่ยว ข้องกับภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขต
160 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ซึ่ ง ได้ จ ากการสรุ ป ผลการ วิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิค การวิ จั ย อนาคต (EDFR: Ethnographic Delphi Futures Research) และการยืนยัน ข้อมูลโดยใช้วธิ ยี นื ยันองค์ประกอบของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ใช้ แ บบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire) การสร้างและพัฒนาเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการ วิ จั ย โดยใช้ ใ นการวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ผู ้ วิ จั ย ด�ำเนินการดังนี้ 1. ศึกษาเอกสาร ต�ำรา และงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ท�ำการศึกษาเอกสาร ต�ำรา และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ภควั น ตภาพวิ ถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วยการ วิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) ท�ำให้ได้แนวทางในการสัมภาษณ์ ความคิด เห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ 2. สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ทรง คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคการวิจัย อนาคต (EDFR: Ethnographic Delphi Futures Research) น�ำมาจากการศึกษาในข้อ 1 และข้อ เสนอแนะของอาจารย์ทปี่ รึกษามาใช้เป็นข้อมูล
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
พื้นฐาน แล้วน�ำมาสร้างเป็นเครื่องมือเพื่อ สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 17 คน โดยมีการตรวจ สอบคุ ณ ภาพของเครื่ อ งมื อ โดยอาจารย์ ที่ ปรึกษาในด้านความตรงเชิงเนือ้ หา (Content Validity) 3. การสอบถามความคิ ด เห็ น จาก ผู ้ เชี่ ย วชาญ จ� ำ นวน 9 คน เพื่ อ ยื น ยั น องค์ประกอบทีไ่ ด้จากการศึกษาภควันตภาพวิถี น�ำตัวแปรและองค์ประกอบตามข้อ 2 มาสร้างแบบสอบถาม โดยมีการตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ในด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ได้ข้อค้นพบ 3 ส่วน รายละเอียดดังนี้ ตอนที่ 1 การวิ เ คราะห์ เ พื่ อ ทราบ ภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา ภควั น ตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนัก งานเขต พื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย การท�ำงานได้ ทุ ก หนทุ ก แห่ ง ทุ ก ที่ ทุ ก เวลาเพื่ อ ให้ มี ก าร ท�ำงานสนองกับชีวติ ความเป็นอยูข่ องมนุษย์ให้ มากที่สุด บุคลากรในองค์การสามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวสารและการบริหารได้ตลอดเวลา
และทุกหนทุกแห่ง พัฒนาตนเองได้ในทุกที่ ทุ ก เวลา โดยมี พื้ น ฐานจากกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เน้นให้เกิดความรวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพ มีการกระจายอ�ำนาจการ ตัดสินใจ การมีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ ล� ำ ดั บ ชั้ น ที่ เ หมาะสม ผ่ า นการวิ เ คราะห์ กระบวนการท�ำงานทีม่ กี ารลดขัน้ ตอน การใช้ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางเทคนิคมาช่วยให้ บริการและอ�ำนวยความสะดวก บนพื้นฐาน ของแนวคิ ด ทฤษฎี ที่ เ น้ น ให้ อ งค์ ก ารมี แ นว บริหารจัดการเพือ่ เป็นองค์การทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ตอนที ่ 2 การวิเคราะห์เพือ่ ทราบองค์ ประกอบของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาจากความคิดเห็นของผู้ทรง คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ องค์ประกอบของภควันตภาพวิถสี ำ� หรับ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจากความคิดเห็น ของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ประกอบ ด้วย 15 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการน�ำองค์การของผู้บริหาร 2) ด้านนโยบายและการวางแผน 3) ด้านการน�ำสู่การปฏิบัติ 4) ด้านการติดตามและประเมินผลลัพธ์ 5) ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ 6) ด้านโครงสร้างการบริหารงาน
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 161
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
7) ด้านงบประมาณ โครงสร้างพืน้ ฐาน และอุปกรณ์ 8) ด้านลักษณะงาน 9) ด้านข้อมูล 10) ด้านรูปแบบและกระบวนการให้ บริการ
162 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
11) ด้านระยะเวลาและสถานที่ 12) ด้านการติดต่อสื่อสาร 13) ด้านการบริหารบุคลากร 14) ด้านพฤติกรรมของบุคลากร และ 15) ด้านวัฒนธรรมการท�ำงาน
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์เพื่อทราบผล การยืนยันองค์ประกอบของภควันตภาพวิถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา โดยการ ยืนยันความเหมาะสม (propriety standards) ความเป็นไปได้ (feasibility standards) ความเป็นประโยชน์ (utility standards) และความถูกต้องครอบคลุม (accuracy standards) ซึ่งเป็นวิธีการในเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ จากการสอบถาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน 9 ท่าน องค์ประกอบของภควันตภาพวิถสี ำ� หรับ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความเหมาะ สม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และมี ความถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกับทฤษฎี หลักการ และแนวคิดตามกรอบของการวิจัย อภิปรายผล จากผลการวิ จั ย ที่ ไ ด้ ก ล่ า วมาทั้ ง หมด ภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึ ก ษา จึ ง หมายถึ ง การน� ำ องค์ ก ารของ ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ในด้านภควันตภาพวิถี อันเป็นหัวใจส�ำคัญต่อการเกิดภควันตภาพวิถี ของส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา ประกอบกับ การกระจายอ�ำนาจจากผูบ้ ริหารไปยังบุคลากร แต่ละระดับ โดยผูบ้ ริหารต้องก�ำหนดนโยบาย และแผนเกี่ยวกับภควันตภาพวิถีในส�ำนักงาน เขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาตามบริบทหรือความเหมาะ
สมของแต่ละเขต และมีการน�ำสู่การปฏิบัติ โดยให้ อิ ส ระบุ ค ลากรในการเลื อ กวิ ธี ก ารที่ เหมาะสมกับองค์การและตนเอง ซึ่งอาจต้อง มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อ บังคับบางส่วนที่ ขัดต่อหลักภควันตภาพวิถี ให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับสภาวการณ์ใน ปัจจุบัน แต่ก็ต้องยังคงกฎหมายบางฉบับไว้ เพื่อใช้เป็นหลักในการท�ำงาน ภควันตภาพวิถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเหมาะสม กับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีโครงสร้าง การบริหารงานในทุกๆ แบบ ยิ่งโครงสร้าง หรือการแบ่งงานมีความซับซ้อนหรือมีบคุ ลากร และภารกิจงานมาก ยิง่ ต้องใช้การท�ำงานแบบ ภควันตภาพวิถี การท�ำให้เกิดภควันตภาพวิถี ได้ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์และ เครื อ ข่ า ยให้ มี ค วามพร้ อ ม ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและบุคลากรมี ความพร้อมของอุปกรณ์และเครือข่ายในระดับ หนึ่งแล้วตามสมัยนิยม และอาจอาศัยการมี ส่วนร่วมจากภาคเอกชนหรือภาครัฐอื่นๆ ใน การส่งเสริมเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ ภควันต ภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เหมาะสมกับงานทุกลักษณะโดยเฉพาะอย่างยิง่ งานทีต่ อ้ งมีการประสานหรือมีความร่วมมือกับ บุ ค คลอื่ น หรื อ งานที่ ต ้ อ งอาศั ย การติ ด ต่ อ สื่อสารแบบสองทาง (Two Ways Communication) ขึ้ น ไปยิ่ ง มี ค วามเหมาะสม
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 163
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
ประกอบกั บ การใช้ ศ าสตร์ แ ละศิ ล ป์ ใ นการ ท�ำงานวิชาการ และขัน้ ตอนหรือกระบวนงาน ที่ชัดเจนในการท�ำงานบริหารและการจัดการ เพื่อมุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็น หลัก ภควันตภาพวิถจี ำ� เป็นต้องมีฐานข้อมูลที่ ส�ำคัญเพื่อใช้ประกอบการท�ำงานในส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา เช่ น ข้ อ มู ล จ� ำ นวน นักเรียน จ�ำนวนบุคลากร ผลสัมฤทธิ์ต่างๆ ของเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาย้อนหลัง งบประมาณ ทีใ่ ช้ไปและทีเ่ หลืออยู ่ เป็นต้น โดยข้อมูลอาจ ก� ำ หนดสิ ท ธิ์ ใ นการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล (Level) ทีแ่ ตกต่างกันตามภารกิจงานของบุคลากรหรือ ระดับของบุคลากร เพือ่ ให้เกิดภควันตภาพวิถี ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ งาน อาจต้ อ งมี ก ารปรั บ ปรุ ง รู ป แบบหรื อ กระบวนการให้บริการบางงานผ่านเครื่องมือ หรื อ สื่ อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ต ามความเหมาะสม และความพร้อมตามบริบทของส�ำนักงานเขต พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ลดข้ อ จ� ำ กั ด ด้ า นลั ก ษณะ ภูมิประเทศ ระยะทาง สภาพสังคมชุมชน เป็ น ต้ น หั ว ใจส� ำ คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง คื อ บุคลากรที่ต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง กระบวนทั ศ น์ ก ารท� ำ งานแบบใหม่ ซึ่ ง ใน อนาคตควรก� ำ หนดให้ ภ ควั น ตภาพวิ ถี เ ป็ น สมรรถนะหลักอย่างหนึ่งของบุคลากรในการ สรรหา บรรจุ แต่งตัง้ และประเมินผล แม้ บุคลากรบางส่วนจะมีการต่อต้านในระยะแรก
164 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
แต่เมื่อบุคลากรส่วนใหญ่ปฏิบัติแบบภควันตภาพวิถ ี บุคลากรทีเ่ หลือก็มแี นวโน้มจะปฏิบตั ิ ตามด้ ว ย ภควั น ตภาพวิ ถี เ ป็ น เสมื อ น วัฒนธรรมการท�ำงานใหม่ที่ท�ำให้การท�ำงาน เกิดขึ้นทุกที่ ทุกเวลา แม้ในบางครั้งอาจก้าว ล�้ำความเป็นส่วนตัวในเรื่องเวลาหรือสถานที่ จึงอาจต้องก�ำหนดขอบเขตของการใช้งานให้ เหมาะสมและตามความยินยอมของบุคลากร ด้วย เช่น การจัดท�ำค�ำรับรองกับบุคลากรที่ เต็มใจจะปฏิบตั งิ านแบบภควันตภาพวิถ ี และ อาจน�ำมาเชื่อมโยงกับการจัดสรรสิ่งจูงใจหรือ การประเมินผลต่างๆ ในด้านการบริหารงาน บุคคล อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบันภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อาจเกิดขึ้นแล้วโดยที่บุคลากรไม่รู้ตัวว่าตนเอง ก� ำ ลั ง ปฏิ บัติแ บบภควั นตภาพวิ ถี อ ยู ่ แต่ ใน อนาคตทีโ่ ลกก�ำลังจะเชือ่ มโยงกันเป็นหนึง่ เดียว องค์การต่างๆ จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะ ปฏิบตั แิ บบภควันตภาพวิถไี ด้ ภควันตภาพวิถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงเป็น แนวทางในการบริหารงานขององค์การเพือ่ ช่วย ขับเคลื่อนให้องค์การเกิดการเรียนรู้เพื่อน�ำมา พั ฒ นาองค์ ก ารให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิ ท ธิ ผ ล โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในวงการ ศึ ก ษาที่ จ ะต้ อ งอาศั ย การเรี ย นรู ้ แ ละพั ฒ นา อย่างต่อเนื่องเพื่อให้องค์ความรู้เกิดขึ้นและ
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
ส่งต่อคุณภาพไปยังผู้เรียนให้ได้รับประโยชน์ อย่างสูงสุด ข้อเสนอแนะทั่วไป จากผลการวิจัยเรื่อง ภควันตภาพวิถี ส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สรุปผล ซึ่งเป็นข้อค้นพบการวิจัยครั้งนี้ที่เป็นองค์ความ รู้ เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อ การท�ำให้เกิดภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ผู ้ วิ จั ย มี ข ้ อ เสนอแนะ ดังนี้ 1. ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือ หน่วยงานที่ท�ำหน้าที่ด้านการศึกษาในระดับ ภูมภิ าคและระดับจังหวัด ควรน�ำองค์ประกอบ ของภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึ ก ษา ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย ด้ า นการน� ำ องค์การของผู้บริหาร ด้านนโยบายและการ วางแผน ด้านการน�ำสู่การปฏิบัติ ด้านการ ติดตามและประเมินผลลัพธ์ ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ด้านโครงสร้างการ บริ ห ารงาน ด้ า นงบประมาณ โครงสร้ า ง พื้ น ฐาน และอุ ป กรณ์ ด้ า นลั ก ษณะงาน ด้านข้อมูล ด้านรูปแบบและกระบวนการให้ บริการ ด้านระยะเวลาและสถานที ่ ด้านการ ติดต่อสื่อสาร ด้านการบริหารบุคลากร ด้าน พฤติกรรมของบุคลากร และด้านวัฒนธรรม การท� ำ งาน ไปประยุก ต์ใช้เ พื่อหาแนวทาง
การพัฒนาภควันตภาพวิถีภายในองค์การของ ตนเองตามบริ บ ทขององค์ ก ารเพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพ ประสิ ท ธิ ผ ล และคุ ณ ภาพ อย่างยั่งยืน 2. ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขต พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา เป็ น แนวคิ ด ที่ จ ะท� ำ ให้ ล ด ข้อจ�ำกัดในเรื่องของอุปสรรคที่ท�ำให้บุคลากร ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ แต่การท�ำให้เกิด ภควันตภาพวิถใี นส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา จะต้องขับเคลือ่ นให้เป็นไปทัว่ ทัง้ องค์การ การ มีส่วนร่วมมากของบุคลากรทุกระดับจึงเป็น ส่วนที่ส�ำคัญยิ่ง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ยุ ท ธศาสตร์ ข องส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ มีกลยุทธ์ ดังนี ้ 1) กระจายอ�ำนาจและความรับผิดชอบ 2) ส่งเสริมการมีสว่ นร่วม 3) ส่งเสริมการใช้ การวิจยั เป็นฐานในการพัฒนาการจัดการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา และ 4) ส่งเสริมให้สถานศึกษาและส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษา และองค์คณะบุคคลมีความรับ ผิดชอบต่อผลการด�ำเนินงาน สอดคล้องกับ อ�ำนาจหน้าทีข่ องส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา ในประเด็นเรื่องก�ำกับ ดูแล ติดตาม และ ประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขต
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 165
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
พืน้ ทีก่ ารศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ วิจยั และ รวบรวมข้ อ มู ล สารสนเทศด้ า นการศึ ก ษา ในเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประสานการระดม ทรัพยากรด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่ อ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น การจั ด และพั ฒ นา การศึ ก ษาในเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประสาน ส่ ง เสริ ม สนับสนุน การจัดการศึก ษาของ สถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่ น รวมทั้ ง บุคคล องค์ก รชุมชน องค์ก ร วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลาก หลายในเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งที่กล่าวมาข้าง ต้นล้วนเป็นรายละเอียดในองค์ประกอบของ ภควั น ตภาพวิ ถี ส� ำ หรั บ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ การศึกษาทั้งสิ้น ดังนั้น หากส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร มี ก ารก� ำ หนดเป็ น นโยบายที่ ชัดเจนให้ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหาร งานในแบบภควันตภาพวิถี ก็จะช่วยส่งเสริม ให้เกิดภควันตภาพวิถีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น 2. กระทรวงศึกษาธิการและส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ควรหารือ ร่ ว มกั บ ส� ำ นั ก งานรั ฐ บาลอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และส� ำ นั ก งานคณะกรรมการกฤษฎี ก า ในเรื่องของการพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ
166 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของ ภควันตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา เพื่อให้เป็นการปฏิบัติงานที่บุคลากร จะต้องปฏิบัติตามและไม่สามารถปฏิเสธได้ 3. ผู ้ บ ริ ห ารจะต้ อ งเป็ น ต้ น แบบ (Modeling) ในการปฏิบัติงานแบบภควันตภาพวิ ถี เ พื่ อ ให้ เ กิ ด การขั บ เคลื่ อ นเชิ ง ระบบ หมายรวมถึ ง การสั่ ง การและการติ ด ตาม ประเมินผลของผู้บริหารด้วย ภาวะผู้น�ำการ เปลีย่ นแปลง (Transformational Leadership) ของผู ้ บ ริ ห ารจึ ง ต้ อ งมี ทั ก ษะในการ ก� ำ หนดเป้ า หมายและนโยบาย ความ กระตือรือร้นในการท�ำงาน การสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ รวมทั้งทักษะในการโน้มน้าว การสร้ า งขวั ญ และก� ำ ลั ง ใจเพื่ อ ให้ บุ ค ลากร ปฏิบัติตามด้วยความตั้งใจ เกิดพลังในการ ท�ำงานอย่างเต็มใจ และท�ำให้บุคลากรเกิด ความผู ก พั น และความผาสุ ก ในการท� ำ งาน ก็จะท�ำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วย ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการต่อยอดวิจัยภควันตภาพ วิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเชิง การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การวิจัยเชิงวิจัย และพั ฒ นาพื้ น ฐาน (Basic Research and Development) เพื่ อ ทดลองหรื อ
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
ทดสอบหลักการของภควันตภาพวิถีส�ำหรับ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ ความรู้ใหม่ทางการศึกษา การวิจัยเชิงวิจัย และพั ฒ นาเพื่ อ น� ำ ไปประยุ ก ต์ (Applied Research and Development) เพื่อหา ค�ำตอบจากการทดลองหรือทดสอบหลักการ ภควั น ตภาพวิ ถี ส� ำ หรั บ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ การศึ ก ษาให้ ไ ด้ แ นวปฏิ บั ติ ที่ จ ะน� ำ ไปสู ่ ก าร ด� ำ เนิ น การที่ จ ะพั ฒ นาขึ้ น และการวิ จั ย เชิงวิจัยและพัฒนาเพื่อการทดลอง (Experimental Research and Development) เพื่ อ การออกแบบ พั ฒ นา และสร้ า งหรื อ ปรับปรุงให้เกิดเป็นนวัตกรรมและเครื่องมือ ทางการศึกษาใหม่ เพือ่ ให้ได้ชนิ้ งานนวัตกรรม (Innovative Prototype) ให้เกิดเป็นสาร สรุป ระเบียบ ระบบ กระบวนการ วิธกี าร และสิ่งประดิษฐ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาที่สูงขึ้น 2. ควรมีการน�ำผลการวิจัยไปทดลอง ใช้หรือปฏิบัติจริง โดยก�ำหนดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาน�ำร่อง และท�ำการวิจัยเชิง คุณภาพที่มีการเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยผู้วิจัย เข้าไปอยูใ่ นปรากฏการณ์นนั้ ๆ เอง หรือเป็น
ผู ้ ร ่ ว มปฏิ บั ติ ง านในส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก าร ศึกษาที่น�ำร่องอยู่ด้วย ให้เกิดการสังเกตเชิง พฤติ ก รรมการท� ำ งานเพื่ อ แก้ ไข ปรั บ ปรุ ง และน�ำผลทีไ่ ด้มาพัฒนาย่อยอดให้เกิดเป็นแนว ปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทของส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาแต่ละแห่งอย่างแท้จริง 3. ควรมีการวิจยั ภควันตภาพวิถใี นองค์ กรอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับส�ำนักงานเขต พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา กล่ า วคื อ เป็ น องค์ ก ารที่ ปฏิบตั งิ านในส่วนภูมภิ าค เป็นผูแ้ ปลงนโยบาย จากหน่ วยเหนื อ สู ่ ก ารปฏิ บัติข องหน่ วยล่ า ง และมี โ ครงสร้ า งการบริ ห ารงานที่ ชั ด เจน นอกจากนัน้ อาจท�ำการวิจยั ในองค์การระดับ นโยบาย และระดับปฏิบัติ เพื่อให้เห็นความ แตกต่างและน�ำมาเชื่อมโยงกับแนวทางภควัน ตภาพวิถีส�ำหรับส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นแนวเดียวกันตลอดทั้งองค์การต่อไป 4. ควรมีการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นพบว่าภควันตภาพวิถีส่งผลต่อคุณภาพใน การท�ำงานของส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือไม่ รวมถึงหากใช้ภควันตภาพวิถใี นสถาน ศึกษา จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาหรือไม่
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 167
ภควันตภาพวิถสี ำ� หรับส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา
บรรณานุกรม กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการ ศึ ก ษาและนวั ต กรรม. กรุ ง เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุมพล พูลภัทรชีวิต. (2548, กรกฎาคม – ธันวาคม). ปฏิบตั กิ ารวิจยั อนาคตด้วย EDFR. วารสารบริหารการศึกษามหา วิทยาลัยขอนแก่น, 4(2). จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2559). การศึกษา โครงสร้างองค์การของส่วนราชการ ภาครัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://libdoc.dpu.ac.th/research /103164.pdf (วันที่ 12 มกราคม 2559). ชนิ ด า รั ก ษ์ พ ลเมื อ ง อ้ า งถึ ง ใน อั จ ริ ย า วัชราวิวัฒน์. (2542). โครงการวิจัย สมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขหน่วย บริการปฐมภูมเิ ครือข่ายบริการสุขภาพ อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2557, พฤศจิกายน เมษายน). คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตกับ การศึ ก ษาภควั น ตภาพ. วารสาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 2. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). คู่มืออบรม ปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์ พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการ เรี ย นการสอน. กรุ ง เทพฯ: ส� ำ นั ก
168 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
เทคโนโลยี เ พื่ อ การเรี ย นการสอน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน. ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการ บริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. นพดล ผูม้ จี รรยา. (2557). ระบบการเรียน รูภ้ ควันตภาพแบบสร้างศักยภาพ โดย ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อส่งเสริมทักษะ การแก้ ป ั ญ หาและการรั บ รู ้ บ ริ บ ท. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขา วิ ช าเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการ สื่อสารเพื่อการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. นวพรรษ เพชรมณี และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553, มกราคม-เมษายน). Ubiqui tous Learning อัจฉริยะแห่งการ ล่ ว งรู ้ บ ริ บ ท. วารสารวิ ท ยบริ ก าร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ 21. สมาคมส่ ง เสริ ม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ ปุ ่ น ). (2545). ยูบิควิตัส (Ubiquitous) คีย์เวิร์ดของโลก IT แห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ สสวท. สุชาดา โทผล. 2550. การศึกษาความพอดี ของเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา รัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
จุฬาลักษณ์ ทรัพย์สุทธิ และ นพดล เจนอักษร
ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน. 2555. ความเหมาะสมและรูปแบบ การบริหารจัดการของส�ำนักงานเขต พืน้ ทีก่ ารศึกษา. วิจยั กลุม่ พัฒนาระบบ บริหาร ส�ำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน. Andrews, T.A.; Tynan, B. and Stewart, C.. (2012). Ubiquitous Learning: Issues in the Australian Higher Education Context” in Kidd, T.T. and Chen, I. ( Editors ). Ubiquitous Learning: Strategies for Pedagogy, Course Design and Technology. N.P.: Information Age Publishing, Inc.. Chao-Hsiu Chen, Gwo-Jen Hwang, Tzu-Chi Yang, Shih-Hsuan Chen and Shen-Yu Huang. (2009). Analy sis of a ubiquitous performance support system for teachers. Innovations in Education and Teaching International.
Huiyong, Xiao. (2006). Social Issues that Ubiquitous Computing brings. Ph.D dissertation, School of Information System, University of Illinois. Hwang, G.J.; Tsai, C.C. and Yang, S.J.H. . (2008). Criteria, Strategies and Research Issue of Context-Aware Ubiquitous Learning: Educational Technology & Society. N.P.. Hwang, G.J.. (2006). Criteria and Strate gies of Ubiquitous Learning. Proceedings of the IEEE Interna tional Conference on Sensor Networks, Ubiquitous, and Trust worthy Computing. Los Alamitos: IEEE Computer Society.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 169
วิถีชีวิตเมตตาธรรมของสมาคม
นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศึกษา
TSainthe Way of Life of Mercy in The Society of Vincent De Paul of Hua Phai Deanery, Chanthaburi Diocese.
อิทธิพล หางสลัด
* มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดคณะเยสุอิต * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศิริ
* บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี * อธิการบดี วิทยาลัยแสงธรรม ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ * อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม
Itthiphol Hangsalad * Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College. Rev. Agustinus Sugiyo Pitoyo, S.J.,Ph.D.
* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lecturer of The Master of Arts Program in Moral Theology, Saengtham College. Rev. Asst. Prof Chartchai Phongsiri, Ph.D. * Reverend in Roman Catholic Church, Chanthaburi Diocese. * President of Saengtham College. Asst.Prof.Laddawan Prasutsaengchan, Ph.D. * Lecturer, Christian Studies Faculty of Religious, Saengtham College.
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
บทคัดย่อ
การวิ จั ย นี้ มี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษา 1) การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตาม วิ ถี เ มตตาธรรมของสมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล แขวงหั ว ไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี 2) หลักการอภิบาลคริสตชนตามวิถีเมตตาธรรม ของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี กลุ่มผู้ให้ ข้อมูลมี 2 กลุ่ม คือ 1) สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ของ สังฆมณฑลจันทบุร ี แขวงหัวไผ่ จ�ำนวน 8 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษา คื อ แบบสั ม ภาษณ์ แ บบกึ่ ง โครงสร้ า ง และ 2) กลุ ่ ม ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ สังฆมณฑลจันทบุรี จ�ำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. สมาชิ ก สมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล แขวงหั ว ไผ่ สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี มี ก ารด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามวิ ถี ชี วิ ต เมตตาธรรม คื อ ด�ำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างดี ด้วยการรัก รับใช้ เสียสละ มีเมตตาต่อ คนยากจน คนพิการ คนป่วย คนขอทาน และคนที่มีความยากล�ำบาก ในการด�ำเนินชีวติ ช่วยเหลือและประคับประคองเพือ่ ให้พวกเขาสามารถ พัฒนาตนเองให้มชี วี ติ ทีด่ ตี อ่ ไปได้ เน้นการแบ่งปันและช่วยเหลือพวกเขา ให้มกี ารด�ำเนินชีวติ ทีด่ ขี นึ้ พร้อมทัง้ บรรเทาความเจ็บปวดให้กบั พวกเขา ทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ 2. หลักการอภิบาลคริสตชนตามวิถีเมตตาธรรมของสมาคม นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุร ี คือ การดูแลอภิบาลคริสต ชนตามจิตตารมณ์และพันธกิจของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล โดย ยึดหลักพระวาจาจากพระวรสารของท่านนักบุญมัทธิว บทที ่ 25 ข้อ 40 ที่ว่า “ท่านท�ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต�่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ท�ำสิ่ง นั้นต่อเรา” เน้นความรักและความเมตตาเป็นส�ำคัญ โดยไม่จ�ำกัดเชื้อ ชาติ ศาสนา ไม่ตดั สินว่า ใครดี ใครเลว แต่พร้อมทีจ่ ะรับใช้ มุง่ ให้ความ บรรเทาช่วยเหลือคนยากจนที่ขัดสนคนพิการ คนป่วย คนชรา และผู้ที่ ตกทุกข์ได้ยากทัง้ ด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมทัง้ ช่วยเหลือสนับสนุนให้
188 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
พวกเขาสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นมาได้ด้วยของตนเองและ สามารถช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้ และมุ่งเน้นด้านจิตวิญญาณของคริสต ชนด้วย ให้มีความเชื่อศรัทธา รักในพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ และความ ส�ำคัญของการสวดภาวนาอย่างสม�่ำเสมอ” ค�ำส�ำคัญ:
วิถีชีวิตเมตตาธรรม สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 189
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
Abstract
The objectives of this research are: 1) To study the way of life of Mercy in the Society of Saint Vincent de Paul in Hua Phai Deanery, Diocese of Chanthaburi. 2) To study the Principle of Pastoral Works for Christians according to the way of life of Mercy in the Diocese of Chanthaburi. Two groups of samples are: 1) 8 members of the Society of Saint Vincent de Paul in Hua Phai Deanery, Diocese of Chanthaburi. 2) A group of 5 professionals in the Diocese of Chanthaburi. Both groups were interviewed by using semi-structured interviews. The results of the research: 1. Members of the Society of Saint Vincent de Paul in Hua phai Deanery, Diocese of Chanthaburi, are living according to the way of life of Mercy i.e. they live their daily life with love, service, acts of mercy to the poor, the disabled, the sick, beggars and those who are living with difficulties in their lives. They help and support these people so that they can survive on their own, focusing on sharing with each other and through this getting a better physical and spiritual life. 2. The principle of Pastoral Works for Christians according to the way of life of Mercy of the Society of Saint Vincent de Paul in the Diocese of Chanthaburi is in accordance with the spirit and mission of the Society of Saint Vincent de Paul which puts into practice the Word of God in the Gospel of St. Matthew Chapter 25:40 ‘… as you did it to the least of these my brothers, you did it to me’, The
190 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
Society emphasizes love and compassion in practice without discrimination because of the difference of races and religions. There is no judgment of a person as good or bad but they are ready to serve and help the poor and the needy, the disabled, the aged and those who suffer in body or spirit. It also offers support to people to improve themselves so as to have a better of life and help others. Apart from this it offers an uplifting Christian spirituality based on faith, love of God and neighbors and prayers. Keywords:
The Way of Life of Mercy The Society of Saint Vincent De Paul The Diocese of Chanthaburi.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 191
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระสังฆราชแห่งกรุงโรม ทรงย�้ำว่า คาทอลิกต้อง อย่าชิงดีชิงเด่นและเห็นแก่ตัว เฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตวั ด และโรงเรี ย น เพราะนี่ คื อ หนอนที่ กั ด กิ น โครงสร้ า งพระศาสนจั ก รให้ อ ่ อ นแอ พระองค์ทรงชีว้ า ่ เราต้องถ่อมตนและมองว่าคน อื่นเหนือกว่าเรา อย่าโอ้อวดว่าตัวเองเก่งกว่า คนอื่ น ทรงสอนว่ า อย่ า ท� ำ ดี โ ดยหวั ง ผล ตอบแทนเด็ดขาด (พระสันตะปาปาฟรังซิส, 2014) และพระองค์ทรงตรัสว่า แทนที่เราจะ เป็นศัตรูกนั และชิงดีชงิ เด่นกัน นักบุญเปาโลได้ แนะน�ำเราว่าไว้วา ่ “แทนทีจ่ ะท�ำแบบนี ้ จงถ่อม ตนคิดว่าผูอ้ นื่ ส�ำคัญกว่าตัวท่าน” นักบุญเปาโล ก็ รู ้ สึ ก กั บ ตนเองแบบนี้ ท่ า นระบุ คุ ณ สมบั ติ ของตนว่า ไม่มีค่าพอที่จะถูกเรียกว่าเป็นอัครสาวก “ท่านเป็นผูต้ ำ�่ ต้อยทีส่ ดุ ท่ามกลางคนอืน่ ท่ า นถ่ อ มตนแบบสุ ด ๆ” นี่ คื อ ทั ศ นคติ ข อง ท่าน นั่นคือท่านคิดว่าคนอื่นเหนือกว่าตนเอง (พระสันตะปาปาฟรังซิส, 2014) นอกจากนี้ นักบุญเปาโลก็เรียกร้องเราทุกคนว่า “อย่ามอง ว่าเห็นแก่ผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่จง เห็นแก่ประโยชน์ของคนอืน่ ด้วย จงรับใช้ผอู้ นื่ ” เมื่อกล่าวถึงความยากจน คริสตชนมัก คิดถึง “นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล” ทีเ่ รียกขาน ท่านว่าเป็น “บิดาแห่งความยากจน” หรือ “บิดาแห่งนักสังคมสงเคราะห์” ท่านมีชีวิตอยู่
192 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ในศตวรรษที่ 17 หากแต่ในปัจจุบันเรื่องราว ของท่ า นก็ ยั ง คงเป็ น ที่ ส นใจของคนทั่ ว โลก และยั ง ถู ก กล่ า วขานอยู ่ เ สมอ ถึ ง งานสั ง คม สงเคราะห์คนยากจนและกิจเมตตาการช่วย เหลือคนยากจน ทุกคนจะกล่าวถึงท่านนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล เพราะความเป็นเอกลักษณ์ ในชีวิตของท่านเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ความคิดแต่ เริม่ แรกของท่านก็เป็นเหมือนพระสงฆ์ธรรมดา ในสมั ย ของท่ า น แต่ ที่ สุ ด ก็ มี สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ท ่ า น เปลี่ยนจิตใจของท่านมาด�ำเนินชีวิตและเข้ามา ช่ ว ยเหลื อ คนยากจน คนที่ ทุ ก ข์ ย ากในการ ด�ำเนินชีวิต ท�ำให้ท่านมองเห็นถึงชีวิตในความ ยากจนนั้นมีคุณค่า และเหตุนี้เอง ท่านได้พบ กับองค์พระเยซูคริสตเจ้าโดยผ่านทางบรรดา คนยากจนเหล่านั้น เมื่อท่านได้ท�ำงานกับคน ยากจนและช่วยเหลือเกื้อกูลคนยากจนในสมัย ของท่านแล้ว ท�ำให้ชวี ติ ของท่านเต็มเปีย่ มมาก ยิง่ ขึน้ ไปด้วยความสุข ความรักทีม่ ตี อ่ บรรดาคน ยากจน แม้ว่าท่านจะได้รับความยากล�ำบาก ก็ตาม แต่ทว่าท่านได้พบความจริงของชีวติ และ ได้พบองค์พระเยซูคริสตเจ้าอย่างแท้จริงโดย ผ่ า นทางคนยากจน (พ. กาสตอง กรู ตั ว ส์ . 1981) ชีวติ ของนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล เป็น ทีน่ า่ ประทับใจของทุกคน โดยเฉพาะคนยากจน และคนที่ทุกข์ยากล�ำบากในการด�ำเนินชีวิต ท่ า นได้ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามจิ ต ตารมณ์ แ ห่ ง พระ
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
วรสารเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคริสตชน โดยท่าน พยายามด�ำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระคริสตเจ้ า ในความเรี ย บง่ า ยและรั ก ทุ ก คนเสมอ ดังนั้น ด้วยการดลใจของพระจิตเจ้า จึงมีผู้คน มากมายติดตามแบบอย่างแห่งความยากจน ของท่ า น โดยมอบชี วิ ต ของตนแด่ พ ระเจ้ า แนวความคิดและแนวปฏิบตั ขิ องท่าน จึงได้รบั การถ่ายทอดต่อมาในชีวิตของผู้คนที่ติดตาม ท่าน เป็นต้น คณะนักบวชชาย คณะธรรมทูต นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล คณะนักบวชหญิง ธิดาแห่งเมตตาธรรม เป็นต้น โดยเฉพาะชีวิต ของท่านนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ได้สะท้อน ภาพแห่งชีวติ ความยากจนอย่างแท้จริงและเป็น แบบอย่างให้กบั ทุกคน เพราะชีวติ ท่านได้เลียน แบบมาจากพระฉบับแห่งความยากจนของ พระเยซูคริสตเจ้าอย่างแท้จริง ท่านเองพบพระ เยซูเจ้าในคนยากจนและคนทุกข์ยากล�ำบากใน การด�ำเนินชีวิต ท�ำให้ท่านเจริญชีวิตในความ ยากจนของท่านทั้งกายและใจ ท่านอุทิศชีวิต ของท่ า นเพื่ อ คนยากจนและคนที่ ทุ ก ข์ ย าก ล�ำบากในการด�ำเนินชีวิต คนป่วย คนพิการ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมอย่างมาก ในวั น ที่ 8 ธั น วาคม ค.ศ. 2015 พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ได้ อ อกสมณลิ ขิ ต ในสมณโองการที่ ชื่ อ ว่ า “Misericordiae Vultus” (พระพั ก ตร์ แ ห่ ง เมตตาธรรม) พระองค์ได้ประกาศให้เป็น “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่ง
เมตตาธรรม” ส� ำ หรั บ คริ ส ตชนทั่ ว โลก พระองค์ ต รั ส ว่ า “พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า คื อ พระพักตร์แห่งความเมตตาของพระบิดาเจ้า” ด้วยค�ำพูดนีเ้ อง สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส จึ ง เชื้ อ เชิ ญ เราทุ ก คนไม่ ใช่ เ พี ย งแต่ พ ระสงฆ์ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพี่น้องคริสตชนทุกคน ด้วย ให้มีส่วนร่วมในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรมอย่างแท้จริงในการที่จะรักผู้อื่น... “สมาคมนั ก บุ ญ วิ นเซนต์ เดอ ปอล” เป็นองค์กรคาทอลิกอีกองค์กรหนึ่ง เกิดขึ้น ครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส เป็นองค์กรสังคม สงเคราะห์ ข องฆราวาสคาทอลิ ก ชื่ อ ของ สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล น�ำมาจาก นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ผู้ที่อุทิศตนท�ำงาน ด้านสังคมสงเคราะห์คนยากจนที่ได้รับสมญา นามว่า “บิดาแห่งนักสังคมสงเคราะห์” แต่ ท่ า นนั ก บุ ญ มิ ไ ด้ เ ป็ น ผู ้ จั ด ตั้ ง สมาคมนั ก บุ ญ วินเซนต์ เดอ ปอล ผูท้ เี่ ป็นผูร้ เิ ริม่ จัดตัง้ สมาคม วิ น เซนต์ เดอ ปอล ขึ้ น คื อ “เฟรเดอริ ก โอซานั ม ” (Frederic Ozanam) เป็ น ชาว ฝรั่ ง เศส อยู ่ เ มื อ งลี อ อง อายุ 19 ปี เป็ น นั ก ศึ ก ษากฎหมาย มหาวิ ท ยาลั ย ซอร์ บ อน นครปารีส เป็นผูร้ วบรวมบรรดาเพือ่ นนักศึกษา กลุ่มหนึ่งและเริ่มจัดตั้งสมาคมขึ้น เมื่อเดือน พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1833 เป็นระยะเวลาเกือบ 183 ปีมาแล้ว และสมาชิกในสมาคมวินเซนต์ เดอ ปอล ทุกคนจะอุทิศตนท�ำงานด้านสังคม
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 193
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
สงเคราะห์ของฆราวาส ด�ำเนินงานโดยกลุ่ม สมาชิกฆราวาสเพื่อให้ความบรรเทาช่วยเหลือ คนยากจน และผู ้ ที่ ต กทุ ก ข์ ไ ด้ ย าก ทั้ ง ด้ า น ร่างกายและด้านจิตใจ พัฒนาให้คนยากจน สามารถช่วยตัวเองได้ในที่สุด โดยไม่จ�ำกัดเชื้อ ชาติและศาสนา และพร้อมที่จะรับใช้ทุกคน โดยค�ำนึงถึงหลักค�ำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า ในพระวรสารของท่านนักบุญมัทธิวทีว่ า ่ “ท่าน ได้ปฏิบตั ติ อ่ พีน่ อ้ งผูต้ ำ�่ ต้อยทีส่ ดุ ของเราคนหนึง่ ท่ า นก็ ท� ำ สิ่ ง นั้ น ต่ อ เรา” (มธ 25:40) โดย สมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล จะต้องยึด และปฏิ บั ติ สิ่ ง ส� ำ คั ญ คื อ ความรั ก ต่ อ เพื่ อ น มนุษย์ ความเมตตาต่อผูย้ ากไร้ ความสุภาพต่อ ทุกคน ความเสียสละ เวลา และทรัพย์สนิ ส่วน ตัว ตลอดจนการมีความอดทนต่อผู้ร่วมงาน (สมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอลแห่ ง ประเทศไทย, 2016) สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ก่อตัง้ ขึน้ เพือ่ กิจเมตตา เพือ่ ให้ความ บรรเทาช่วยเหลือคนยากจน ตลอดจนผู้ที่ตก ทุกข์ได้ยาก และมีความล�ำบากในการด�ำเนิน ชีวิตในสังคม ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตใจ อีกทั้ง ยังช่วยพัฒนาคนยากจนให้สามารถช่วยตัวเอง ได้ในที่สุด วิถีเมตตาธรรมของสมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล นี้ นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่า สามารถช่วยให้เพือ่ นมนุษย์และสังคมทุกระดับ อยูร่ ว่ มกันได้อย่างมีความสุข มีความรักเมตตา ให้แก่กันและกัน ซึ่งหากคริสตชนหรือบุคคล
194 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ทัว่ ไปสามารถน�ำเมตตาธรรมดังกล่าวมามาเป็น หลักในวิถีชีวิตแล้ว ด�ำเนินชีวิตด้วยความรัก รับใช้ เมตตา แบ่งปัน ให้อภัย ก็จะยิง่ ก่อให้เกิด ประโยชน์และคุณค่าต่อตนเองและสังคม ผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจทีจ่ ะศึกษาเรือ่ ง วิถเี มตตาธรรม ของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวง หัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามวิ ถี เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาหลักการอภิบาลคริสตชน ตามวิถเี มตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 1. กลุ ่ ม ผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ในการศึ ก ษาการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามวิ ถี เ มตตาธรรมของสมาชิ ก สมาคมนั ก บุ ญ เซนต์ เดอ ปอล แขวงหั ว ไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี จ�ำนวน 8 คน ได้มาโดยวิธกี ารเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. กลุม่ ผูท้ รงคุณวุฒ ิ ในการศึกษา หลักการอภิบาลคริสตชนตามวิถีเมตตาธรรม ของสมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
สังฆมณฑลจันทบุรี ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ได้แก่ พระสงฆ์และสมาชิกสมาคมนักบุญวิน เซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี จ�ำนวน 5 คน ได้ ม าโดยวิ ธี ก ารเลื อ กแบบเจาะจง ประกอบด้ ว ย พระสงฆ์จ�ำนวน 3 คน และ สมาชิ ก สมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล จ�ำนวน 2 คน นิยามศัพท์เฉพาะ วิถเี มตตาธรรม หมายถึง งานเมตตาจิต ด้านร่างกายและด้านจิตใจเป็นกิจการทีก่ ระท�ำ เพื่อความรักและพระเมตตาของพระเจ้าไปสู่ ผู้ที่ยากล�ำบากและต้องการความช่วยเหลือ (อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2016) - งานเมตตาจิตด้านร่างกาย หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมให้ความช่วยเหลือเพื่อนพี่ น้องที่ยากล�ำบากและต้องการความช่วยเหลือ ในด้านร่างกายและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ มี 7 ประการ ประกอบด้วย 1) การให้อาหารคน หิวโหย 2) การให้น�้ำดื่มแก่ผู้กระหาย 3) การ ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม 4) การให้ที่พักแก่ผู้ ไร้ที่อยู่ 5) การเยี่ยมผู้ป่วย 6) การเยี่ยมผู้ถูก จองจ�ำ และ 7) การฝังศพผู้ล่วงลับ - งานเมตตาจิ ต ด้ า นจิ ต ใจ หมายถึ ง การปฏิบัติกิจกรรมให้ความช่วยเหลือเพื่อนพี่ น้องที่ยากล�ำบากและต้องการความช่วยเหลือ ในด้านวิญญาณ จิตใจ อารมณ์และความรูส้ กึ มี
7 ประการ ประกอบด้วย 1) การสอนผู้ไม่รู้ 2) การให้คำ� ปรึกษาแก่ผสู้ งสัย 3) การบรรเทา ผูม้ คี วามทุกข์ 4) การตักเตือนคนบาป 5) การ อดทนผู้กระท�ำผิด 6) การให้อภัยแก่ทุกคนที่ ท�ำร้าย และ 7) การสวดภาวนาให้ทั้งผู้ที่ยังมี ชีวิตอยู่และผู้ที่สิ้นใจไปแล้ว สมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล (Society of Saint Vincent de Paul) หมายถึ ง หน่ ว ยงานของพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก ที่ อุ ทิ ศ ตนท� ำ งานด้ า นสั ง คม สงเคราะห์ของฆราวาส ด�ำเนินงานโดยกลุ่ม สมาชิกฆราวาสเพื่อให้ความบรรเทาช่วยเหลือ คนยากจน และผู ้ ที่ ต กทุ ก ข์ ไ ด้ ย าก ทั้ ง ด้ า น ร่างกายและด้านจิตใจ พัฒนาให้คนยากจน สามารถช่วยตัวเองได้ในที่สุด โดยไม่จ�ำกัดเชื้อ ชาติและศาสนา และพร้อมที่จะรับใช้ทุกคน โดยค�ำนึงถึงหลักค�ำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า ในพระวรสารของท่านนักบุญมัทธิวทีว่ า ่ “ท่าน ได้ปฏิบตั ติ อ่ พีน่ อ้ งผูต้ ำ�่ ต้อยทีส่ ดุ ของเราคนหนึง่ ท่านก็ทำ� สิง่ นัน้ ต่อเรา” (มธ 25:40) ในงานวิจยั นี้มุ่งศึกษาในส่วนขององค์กรคาทอลิกวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลจันทบุรี หมายถึง เขตการ ปกครองหนึ่งของศาสนาคริสต์ นิกายโรมัน คาทอลิกในประเทศไทย มีเขตพื้นที่การดูแล รวม 8 จังหวัด ได้แก่ 1) ตราด 2) จันทบุรี 3) ระยอง 4) ชลบุรี 5) ฉะเชิงเทรา (ยกเว้น
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 195
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
ฝั่งขวามือของแม่น�้ำบางปะกง) 6) นครนายก (ยกเว้ น อ� ำ เภอบ้านนา) 7) ปราจีนบุรี และ 8) สระแก้ว แขวงหัวไผ่ หมายถึง เขตการปกครอง ย่ อ ย ในระดั บ วั ด คาทอลิ ก ของสั ง ฆมณฑล จันทบุรมี พี นื้ ทีใ่ นเขต 6 วัด ได้แก่ 1) วัดนักบุญ ฟิ ลิ ป -ยากอบ หั ว ไผ่ 2) วั ด นั ก บุ ญ ยอแซฟ พนัสนิคม 3) วัดเซนต์ ปอล แปดริ้ว 4) วัดแม่ พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า 5) วัดนักบุญอัน ตน พนม สารคาม และ 6) วัดนักบุญอันนา สระไม้แดง ขั้นตอนการด�ำเนินการวิจัย การวิ จั ย นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ด� ำ เนิ น การวิ จั ย 3 ขั้ น ตอน คื อ 1) การจั ด เตรียมโครงร่างการวิจยั 2) การด�ำเนินการวิจยั โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง 3) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ การปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพเครื่ อ งมื อ คื อ แบบ สัมภาษณ์แบบกึง่ โครงสร้างจ�ำนวน 2 ฉบับ คือ (1) การน�ำเครื่องมือที่พัฒนาแล้วไปเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และ (2) การน� ำ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการสั ม ภาษณ์ ม า วิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ และการรายงานผลการวิจัย
196 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
สรุปผลการวิจัย 1. สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี มีการ ด�ำเนินชีวติ ตามวิถชี วี ติ เมตตาธรรม คือ ด�ำเนิน ชีวิตในแต่ละวันอย่างดี ด้วยการรัก รับใช้ เสีย สละ มีเมตตาต่อคนยากจน คนพิการ คนป่วย คนขอทานและคนที่มีความยากล�ำบากในการ ด�ำเนินชีวติ ช่วยเหลือและประคับประคองเพือ่ ให้พวกเขาสามารถพัฒนาตนเองให้มชี วี ติ ทีด่ ตี อ่ ไปได้ เน้นการแบ่งปันและช่วยเหลือพวกเขาให้ มีการด�ำเนินชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้งบรรเทาความ เจ็บปวดให้กบั พวกเขาทัง้ ด้านร่างกายและด้าน จิตใจ 2. หลั ก การอภิ บ าลคริ ส ตชนตามวิ ถี เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี คือ การดูแลอภิบาล คริสตชนตามจิตตามรมณ์และพันธกิจของสมา คมฯ โดยยึดหลักพระวาจาจากพระวรสารของ ท่านนักบุญมัทธิว บทที ่ 25 ข้อ 40 ทีว่ า ่ “ท่าน ท�ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต�่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำ� สิง่ นัน้ ต่อเรา” เน้นความรักและความ เมตตาเป็นส�ำคัญโดยไม่จ�ำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ไม่ตัดสินว่า ใครดี ใครเลว แต่พร้อมที่จะรับใช้ มุง่ ให้ความบรรเทาช่วยเหลือคนยากจนทีข่ ดั สน คนพิการ คนป่วย คนชรา และผู้ที่ตกทุกข์ได้ ยากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งช่วย เหลือและสนับสนุนให้พวกเขาสามารถพัฒนา
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นมาได้ด้วยของตนเองและ สามารถช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้ อภิปรายผล 1. สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี มีการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามวิ ถี ชี วิ ต เมตตาธรรม คื อ พยายามด�ำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างดี ด้วย การรัก รับใช้ มีเมตตาต่อคนยากจน คนพิการ คนป่วย คนขอทานและคนทีม่ คี วามยากล�ำบาก ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ช่ ว ยเหลื อ และประคั บ ประคองเพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาตนเอง ให้มีชีวิตที่ดีต่อไปได้ เน้นการแบ่งปันและช่วย เหลือพวกเขาให้มกี ารด�ำเนินชีวติ ทีด่ ขี นึ้ พร้อม ทั้งบรรเทาความเจ็บปวดให้กับพวกเขาทั้งด้าน ร่างกายและด้านจิตใจ ซึ่งเป็นการด�ำเนินชีวิต ตามพันธกิจของสมาคมฯ ที่มีความสอดคล้อง กับงานเมตตาด้านร่างกายและงานเมตตาด้าน จิ ต ใจที่ พ ระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ได้ ร ะบุ ใ นปี ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม (อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ, 2015 : 16-21) แต่อาจจะมีงาน เมตตาด้านร่างกายบางประการที่ไม่ปรากฏ ชัดเจนในการท�ำงานของสมาชิกสมาคมนักบุญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล เช่ น งานเมตตาด้ า น ร่างกายประการที่ 6 คือ การเยี่ยมผู้ถูกจองจ�ำ งานเมตตาด้านร่างกายทีส่ มาชิกสมาคม นั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล ได้ ป ฏิ บั ติ อ ย่ า ง
สม�่ ำ เสมอและมี ค วามโดนเด่ น อย่ า งมาก อันได้แก่ งานเมตตาด้านร่างกาย ประการที ่ 1 การให้อาหารคนหิวโหย ประการที่ 2 การให้ น�ำ้ ดืม่ แก่ผกู้ ระหาย ประการที ่ 3 การให้เสือ้ ผ้า แก่ ผู ้ ไ ม่ มี นุ ่ ง ห่ ม งานเมตตาด้ า นร่ า งกายทั้ ง 3 ประการข้างต้นนี้ ปรากฏชัดเจนในพันธกิจ ของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ประการ ที ่ 1 คือ การช่วยเหลือครอบครัวยากจนขัดสน ในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคที่มี ความจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ และงานเมตตาด้านร่างกายที่ปรากฏ ชัดเจนของสมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ได้แก่ ประการ 4 การให้ที่พักแก่ผู้ไร้ที่ อยู่และประการที่ 5 การเยี่ยมผู้ป่วย ผู้วิจัย พบว่างานเมตตาด้านร่างกายทั้ง 2 ประการนี้ มี ค วามสอดคล้ อ งอย่ า งชั ด เจนอย่ า งมากใน พันธกิจของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ประการที่ 2 การช่วยเลี้ยงคนชราที่ไร้ท่ีพึ่ง และประการที่ 3 การเยี่ ย มผู ้ ป ่ ว ยและการ สงเคราะห์คนชราที่ขาดที่พึ่ง และงานเมตตา ด้านร่างกาย ประการที่ 7 การฝังศพผู้ล่วงลับ ผู้วิจัยพบว่า งานเมตตาด้านร่างกายประการที่ 7 นี้ สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ ให้ความส�ำคัญในการช่วยเหลือแก่ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับที่มีฐานะที่ยากจนขัดสน และร่วมการฝังศพเพื่อเป็นการให้ก�ำลังใจแก่ ญาติพี่น้อง
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 197
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
งานเมตตาด้านจิตใจที่สมาชิกสมาคม นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ได้พยายามปฏิบัติ ด�ำเนินให้เป็นชีวิตของตน นับได้ว่าสมาชิกฯ ปฏิบตั ไิ ด้อย่างชัดเจนมาก อันได้แก่ ประการที่ 1 การสอนผู ้ ไ ม่ รู ้ ประการที่ 2 การให้ ค� ำ ปรึกษาแก่ผู้สงสัย ประการที่ 3 การบรรเทา ความทุกข์ ประการที่ 4 การตักเตือนคนบาป ผู ้ วิ จั ย พบว่ า งานเมตตาด้ า นจิ ต ใจทั้ ง 4 ประการข้ า งต้ น นี้ สมาชิ ก สมาคมนั ก บุ ญ วินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ ให้ความส�ำคัญ ในการแนะน�ำและพยายามสอนให้พวกเขารูจ้ กั ที่จะพัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีต่อไปได้ พร้อม ทั้ ง ให้ ก� ำ ลั ง ใจ สนั บ สนุ น ให้ พ วกเขามี ค วาม กระตือรือร้นที่จะมีความเชื่ออยู่เสมอด้วยการ สวดภาวนาและร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และ งานเมตตาด้านจิตใจประการที่ 5 การอดทน ผูก้ ระท�ำผิดและประการที ่ 6 การให้อภัยแก่ทกุ คนทีท่ ำ� ร้ายประการสุดท้าย ประการที ่ 7 การ สวดภาวนาให้ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่สิ้นใจ ไปแล้ว ทั้ง 3 ประการสุดท้ายนี้ ผู้วิจัยพบว่า สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ได้ให้ ความเอาใจใส่อย่างมากต่อการมีความอดทน ต่อผู้ที่ปฏิบัติไม่ดีต่อตนเอง และพร้อมเสมอที่ จะให้อภัยทุกคน และรักที่จะสวดภาวนาอยู่ เสมอส�ำหรับผู้อื่น ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เวลาที่ไป เยีย่ มการให้กำ� ลังใจ และคิดถึงผูท้ สี่ นิ้ ใจไปแล้ว ด้วยการสวดภาวนาเพื่อดวงวิญญาณที่จากไป แล้ว 198 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ อ าจด้ ว ยเพราะสมาชิ ก สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ได้เข้าใจถึง จิตตารมณ์แห่งการรักและรับใช้ผู้อื่นในสังคม อย่างแท้จริง ตามแบบอย่างชีวิตของพระเยซู เจ้าที่ได้ทรงกระท�ำในสมัยของพระองค์ ที่ไม่ เคยละทิง้ คนยากจน คนพิการ คนตาบอด และ คนบาป แต่พระองค์ทรงท�ำให้เห็นว่า ทุกคน ควรได้รับความรักและความเมตตาจากพระ บิดาเช่นเดียวกับเรา และสมาชิกสมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล เห็นถึงความส�ำคัญและ คุณค่าทีไ่ ด้ดำ� เนินกิจการในชีวติ ตามจิตตารมณ์ ของสมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล รวมถึงได้รับประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจาก การช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ สมณ โองการของพระสันตะปาปาฟรังซิสที่มีชื่อว่า “พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม” (Misericordiae Vultus) ข้อที่ 1 ระบุว่า “พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นพระพักตร์แห่งเมตตาของ พระบิดา เจ้า” ค�ำพูดเหล่านี้อาจแสดงให้เห็นถึงบทสรุป ธรรมล�้ำลึกแห่งความเชื่อคริสตชนได้เป็นอย่าง ดี พระเมตตาได้กลายเป็นชีวิตและเป็นสิ่งที่ มองเห็นได้ในองค์พระเยซูเจ้าแห่งนาซาเร็ธ และส�ำเร็จสมบูรณ์สูงสุดในพระองค์ พระบิดา ผูท้ รง “เปีย่ มด้วยพระเมตตา” (เทียบ อฟ 2:4) 2. หลั ก การอภิ บ าลคริ ส ตชนตามวิ ถี เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี คือ การดูแลอภิบาล
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
คริ ส ตชนตามจิ ต ตามรมณ์ แ ละพั น ธกิ จ ของ สมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล สังฆมณฑล จันทบุรี จากการวิเคราะห์พระวาจาจากพระ วรสารของท่านนักบุญมัทธิว บทที่ 25 ข้อ 40 ที่ว่า ท่านท�ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต�่ำต้อยที่สุดของ เราคนหนึ่ง ท่านก็ท�ำสิ่งนั้นต่อเราเน้นความรัก และความเมตตาเป็นส�ำคัญ โดยไม่จ�ำกัดเชื้อ ชาติ ศาสนา ไม่ตัดสินว่า ใครดี ใครเลว แต่ พร้อมที่จะรับใช้ มุ่งให้ความบรรเทาช่วยเหลือ คนยากจนที่ขัดสน คนพิการ คนป่วย คนชรา และผูท้ ตี่ กทุกข์ได้ยากทัง้ ด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งช่วยเหลือและสนับสนุนให้พวกเขา สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นมาได้ด้วย ของตนเอง และสามารถช่วยเหลือผูอ้ นื่ ต่อไปได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระศาสนจักรเรียกร้องให้ คริสตชนรู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักรัก รับใช้ ช่วยเหลือ แบ่งปันแก่ผู้ที่ขัดสน เคารพ และให้เกียรติในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ และการเป็นบุตรของพระเจ้าองค์ เดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของพระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ที่ ร ะบุ ว ่ า “เราต้ อ ง ตระหนักว่าเราต้องการซึง่ กันและกัน และเรามี ความรับผิดชอบต่อผู้อื่นและต่อโลกจึงสมควร ที่เราต้องเป็นคนดีและซื่อสัตย์” (พระสันตะปาปาฟรังซิส,2015: 229) ผู้วิจัยพบว่า การอภิบาลคริสตชนตาม วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์
เดอ ปอล นั้น เป็นสิ่งที่งดงาม เพราะมีจิตตา รมณ์ที่ชัดเจนในการช่วยเหลือคนยากจน คน พิการ คนป่วย คนชรา และผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังตัวอย่างผู้ทรง คุณวุฒิกล่าวว่า “สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ยึดหลักความรักและความเมตตาในการ ช่วยเหลือ แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ เน้นคน ยากจน คนป่วย คนพิการ คนชราขาดที่พึ่งไม่ จ�ำเป็นต้องเป็นคริสตชน” และผูท้ รงคุณวุฒยิ งั กล่าวเสริมว่า “สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล จะเน้นช่วยครอบครัวทีย่ ากจนและขัดสน จริงๆ ดูแลอภิบาลให้ความรักและความเอาใจ ใส่ บรรเทาความทุกข์ลำ� บากให้กบั พวกเขาเป็น ส�ำคัญ” ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความคิดเห็นที่คล้าย คลึ ง กั น ว่ า “สมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอลด�ำเนินชีวิตด้วยความรักและความเมตตา ช่วยเหลือทุกคนไม่จ�ำกัดเพียงเชื้อชาติเท่านั้น แต่ ช ่ ว ยทุ ก คนที่ มี ค วามยากล� ำ บากในการ ด�ำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจ” ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการน�ำผลงานวิจัยไปใช้ 1. สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ควรดูแลอภิบาลคริสตชนต่อไปโดยยึดมัน่ ในจิตตารมณ์และพันธกิจของสมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล ยึดหลักพระวาจาจากพระ
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 199
วิถชี วี ติ เมตตาธรรมของสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑลจันทบุรี กรณีศกึ ษา
วรสารของท่านนักบุญมัทธิว บทที่ 25 ข้อ 40 ทีว่ า ่ “ท่านท�ำสิง่ ใดต่อพีน่ อ้ งผูต้ ำ�่ ต้อยทีส่ ดุ ของ เราคนหนึ่ง ท่านก็ท�ำสิ่งนั้นต่อเรา” เน้นความ รักและความเมตตาเป็นส�ำคัญ โดยไม่จ�ำกัด เชือ้ ชาติ ศาสนา ไม่ตดั สินว่า ใครดี ใครเลว แต่ พร้อมที่จะรับใช้ มุ่งให้ความบรรเทาช่วยเหลือ คนยากจนที่ขัดสน คนพิการ คนป่วย คนชรา และผูท้ ตี่ กทุกข์ได้ยากทัง้ ด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมทัง้ ช่วยเหลือสนับสนุนให้พวกเขาสามารถ พัฒนาคุณภาพชีวติ ให้ดขี นึ้ มาได้ดว้ ยของตนเอง และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้ และมุ่ง เน้นด้านจิตวิญญาณของคริสตชนด้วย ให้มี ความเชือ่ ศรัทธา รักในพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ และความส� ำ คั ญ กั บ การสวดภาวนาอย่ า ง สม�่ำเสมอ 2. สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ควรด�ำเนินชีวิตและท�ำงานอภิบาลอย่าง ต่อเนือ่ งโดยยึดหลักการแพร่ธรรมด้วยชีวติ และ กิจการ ทัง้ งานเมตตาจิตด้านร่างกายและจิตใจ เพือ่ ให้สอดคล้องกับจิตตารมณ์และพันธกิจด้วย การอุทิศตน เสียสละ รักและรับใช้ผู้อื่นเสมอ 3. สมาชิ ก สมาคมนั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล ควรมีการส่งเสริมให้สมาชิกสมาคม นั ก บุ ญ วิ น เซนต์ เดอ ปอล แขวงหั ว ไผ่ สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี มี ก ารด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตาม วิถีชีวิตเมตตาธรรมที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดย การจัดกิจกรรมหรือส่งสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม
200 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
การอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในระหว่างกลุ่มสมาชิก ในระดับแขวง ระดั บ สั ง ฆมณฑล ระดั บ ชาติ และระดั บ นานาชาติ 4. สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ควรมีการส่งเสริมให้กลุ่มสมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล แขวงหัวไผ่ สังฆมณฑล จันทบุรี ได้พัฒนากลุ่มให้สามารถมีความเข้ม แข็งในการท�ำงานอภิบาลมากยิ่งขั้น โดยการ เสริมสร้างสมาชิกกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ป็นบุคคลใน ช่วงวัยหนุ่มสาวมากขึ้น และการท�ำงานแบบ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งของพระ ศาสนจักร และภาครัฐหรือเอกชนมากยิ่งขึ้น 5. สมาชิกสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ควรมีการวางแผนพัฒนาสร้างสรรค์รูป แบบงานอภิบาลตามวิถเี มตตาธรรมของสมาคม นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ให้สอดคล้องกับ สภาพสังคมในปัจจุบันและอนาคตมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการท�ำงานวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่ม สมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ด้วยการ ฟื้นฟูความเข้มแข็งทางด้านความเชื่อ ความ ศรัทธาเพื่อให้เติบโตและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีสมาชิกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลในช่วง วัยหนุม่ -สาว เพราะปัจจุบนั สมาชิกของสมาคม นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล มีจ�ำนวนน้อย และ
อิทธิพล หางสลัด ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย ชาติชาย พงษ์ศิริ และ ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์
ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้น เพราะ จุดเริ่มต้นของผู้ก่อตั้งสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล และจิตตารมณ์ของสมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล นัน้ มาจากกลุม่ เยาวชนช่วง วัยหนุ่ม-สาว โดยมี เฟรเดอริก โอซานัม เป็น ผู้ริเริ่ม และเพื่อน ๆ ที่มีจิตตารมณ์เดียวกัน ในการรัก รับใช้ อุทิศตน เสียสละและแบ่งปัน ด้วยใจกว้าง 2. ควรศึกษาวิจัย แนวทางการสร้าง สรรค์ ง านอภิ บ าลตามวิ ถี เ มตตาธรรมของ สมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล ทีส่ อดคล้อง กับสภาพสังคมในปัจจุบันและอนาคต 3. ควรศึ ก ษาวิ จั ย หลั ก การอภิ บ าล คริสตชนตามวิถเี มตตาธรรมของสมาคมนักบุญ วินเซนต์ เดอ ปอล ในระดับประเทศ เพื่อให้ ทราบหลักการอภิบาลในองค์รวม และสามารถ ใช้เป็นข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง สังฆมณฑลในประเทศไทย เอกสารอ้างอิง แผนกคริสตศาสนธรรมสังฆมณฑลจันทบุรี. (2059). “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิ”์ ค�ำสอนจันท์. 9, 25 (มกราคม – มีนาคม 2016/2559) : 9-14
พ. กาสตอง กรู ตั ว ส์ . (1981). ชี ว ประวั ติ นักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ด�ำรงธรรม. ฟรั ง ซิ ส , สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา. (2014). พระสมณสาสน์เตือนใจ ความชื่นชม ยินดีแห่งพระวรสาร. เซอร์มารี หลุยส์ พรฤกษ์งาม, ผูแ้ ปล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ. _____. (2015). สมณโองการ พระพักตร์แห่ง เมตตาธรรม. เซอร์มารี หลุยส์ พรฤกษ์ งาม, ผู ้ แ ปล. กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ์ อัสสัมชัญ. Benedict XVI, pope. (2006). Deus Caritas Est. The Incorporated Catholic Truth Society. Vatican. Francis, pope. (2014) Evangelii Gaudium. Vatican City : Libreria Editrice Vaticana. Francis, pope. (2014) The Church of Mercy. Edited by Giuliano Vigini. Benguluru: Brillaint Printers Pvt. Francis, pope. (2015). The Holy Year of Mercy. Edited by Susan Heuver. Bengaluru : Brillaint Printers Pvt.
ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2017/2560 201
วารสารวิชาการ
วิทยาลัยแสงธรรม
Saengtham College Journal
ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................................ ที่อยู่ (สำ�หรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน......................................... แขวง/ตำ�บล......................................เขต/อำ�เภอ......................................................................... จังหวัด..............................................................รหัสไปรษณีย์.................................................... โทรศัพท์........................................................................โทรสาร............................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท ชำ�ระเงินโดยวิธี โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ โทรสาร 02-429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม........................................................................................................... เลขที่.........................ถนน..............................................แขวง/ตำ�บล........................... เขต/อำ�เภอ.............................จังหวัด................................รหัสไปรษณีย์......................
.............................................(ลงนามผู้สมัคร) วันที่................................................
ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่โทรสาร 02-429-0819
รูปแบบและเงื่อนไขการส่งต้นฉบับบทความ
www.saengtham.ac.th/journal
1. เป็นบทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษาคาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ 2. การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows หรือซอฟท์แวร์ อื่นที่ใกล้เคียงกัน พิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียว ประมาณ 28 บรรทัด ต่อ 1 หน้า TH SarabunPSK ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ 3. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ต�ำแหน่ง ทางวิชาการ (ถ้ามี) E-mail หรือโทรศัพท์ หากเป็นวิทยานิพนธ์ ต้องมีชื่อและสังกัดของอาจารย์ ที่ปรึกษาด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 5. ทุ ก บทความจะต้ อ งมี บ ทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และ Abstract จะต้ อ งพิ ม พ์ ค� ำ ส� ำ คั ญ ในบทคั ด ย่ อ ภาษาไทย และพิมพ์ Keywords ใน Abstract ของบทความด้วย 6. บทความวิจัยความยาวไม่เกิน 12 หน้า บทความวิชาการความยาวไม่เกิน 8 หน้า (รวมบรรณานุกรม แล้ว) 7. เชิงอรรถอ้างอิง (ถ้ามี) 8. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน APA แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เรียงตามล�ำดับตัวอักษร) 9. บทความวิจัยควรมีหัวข้อดังนี้ ชื่อเรื่องบทความวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้เขียนพร้อม ข้อมูลส่วนตัวของทุกคน (รายละเอียดตามข้อ 4) บทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract ความส�ำคัญ ของเนื้อหา วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ ขอบเขตการวิจัย นิยามศัพท์ (ถ้ามี) วิธีการด�ำเนินการ ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และบรรณานุกรรม/References 10. ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการตรวจประเมิ น จ� ำ นวน 2,400 บาท โดยโอนเงิ น เข้ า บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์ ธนาคาร กรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ Fax. 02-429-0819) หรือที่ E-mail: rcrc.saengtham2016@ gmail.com) ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวผู้ส่งบทความเป็นผู้รับผิดชอบ และจะไม่ได้รับคืนในทุกกรณี 11. กองบรรณาธิ ก ารน� ำ บทความที่ ท ่ า นส่ ง มาเสนอต่ อ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ พื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพความ เหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์ ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข ผู้เขียน จะต้องด�ำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ หากท่ า นต้ อ งการสอบถามกรุ ณ าติ ด ต่ อ กั บ กองบรรณาธิ ก ารวารสารวิ ช าการ โทร. 02-429-0100 โทรสาร 02-429-0819 หรือ E-mail: rcrc.saengtham2016@gmail.com
ขั้นตอนการจัดทำ�
วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saengtham College Journal
เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กองบก. ตรวจรูปแบบทั่วไป
ไม่ผ่าน
แจ้งผู้เขียน
ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข
ก้ไ อ้ งแ
ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ
ไม่ผ่าน
แจ้งผู้เขียน
ไม่ต
แก้ไ
ข
แจ้งผู้เขียน แก้ไข
จบ