แสงธรรมปริทัศน์ ฉบับเดือนกันยายน - ธันวาคม 2010

Page 1



การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

11

หมวดพระสัจธรรม

การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์ 1 บาทหลวงวสันต์ พิรุฬห์วงศ์

1

“ท่านทัง้ หลายได้ยนิ คำกล่าวว่าจงรักเพือ่ นบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่ เรากล่าวแก่ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียน ท่านเพื่อท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรด ให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว โปรดให้ฝนตก เหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน ท่าน จะได้บำเหน็จรางวัลอะไรเล่า บรรดาคนเก็บภาษีมิได้ทำเช่นนี้ดอก หรือ ถ้าท่านทักทายแต่พี่น้องของท่านเท่านั้น ท่านทำอะไรพิเศษ เล่า คนต่างศาสนามิได้ทำเช่นนี้ดอกหรือ ฉะนั้น ท่านจงเป็นคนดี อย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่าง สมบูรณ์เถิด” (มธ 5: 43-48)

อธิการเจ้าคณะแขวงคณะรอยแผลศักดิส์ ทิ ธิ์ (สติกมาติน), อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

นีค่ อื สิง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าของเรา ทรงเทศน์สอนแก่ทกุ คน และเป็น พิเศษแก่ศิษ ย์แต่ละคนของพระองค์ โดยทรงแสดงให้พวกเขาเข้าใจว่าการเป็นคนดีอย่าง สมบูรณ์เป็นเหมือน “เงื่อนไข” สำหรับการเป็นศิษย์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้เข้า ร่วมประชุมสภาพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 จึงได้บรรลุถึงข้อสรุปในเรื่องนี้ว่า “ฉะนั้ น จึ ง เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ แ จ้ ง ชั ด แก่ ส ายตาทั่ ว ไปว่ า สั ต บุ รุ ษ คริสตชนทุกๆ คน ไม่ว่าอยู่ในฐานะอันใด หรืออยู่ในชั้นวรรณะใด เขาทุกคนได้รบั การเชือ้ เชิญให้มาสูค่ วามสมบูรณ์ของชีวติ คริสตชน และความดีอย่างสมบูรณ์ด้านความรักเมตตาจิต”2 การเรียกมาสู่ “ความดีอย่างสมบูรณ์” ก็คอื การเรียกมาสู่ “ความศักดิส์ ทิ ธิ”์ นัน่ เอง ความศักดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นของพระเจ้าและมีอยู่ในพระเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านี้มี อยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นและได้รับการประกาศสอนโดยพระเยซูเจ้าในฐานะเป็น “กระแส เรียกสากล” ด้วย กล่าวคือ เป็นกระแสเรียกสำหรับทุกคนข้อสังเกตในเรื่องนี้คือ นี่เป็นเรื่อง ของ “ความศักดิ์สิทธิ์เดียว” ที่พระเยซูเจ้าได้ดำเนินชีวิตไว้เป็นแบบอย่างให้เห็นและทำให้ เกิดความเป็นไปได้ใน “หลายรูปแบบ” โดยอาศัยการดำเนินงานของพระจิตศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสภาพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 จึงได้มีความเห็น ร่วมกันว่า

เราจึงพูดได้ในอีกแบบหนึ่งว่า การเป็นพระเจ้า ซึ่งเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ (สามครั้งสามครา) ก็คือ การเป็น “ความรัก” นั่นเอง

2

Lumen Gentium, 40


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

13

“แม้ทำนองการบำเพ็ญชีพและหน้าที่การงานจะแตกต่างกัน แต่ ทุกๆ คนก็ปลูกฝังเลี้ยงดูความศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่งเดียวกัน เขาทุกคน ได้รบั การกระตุน้ จากพระจิตของพระเจ้า ทัง้ พวกเขาก็นอบน้อมเชือ่ ฟังพระสุรเสียงของพระบิดาในจิตใจตามความเป็นจริง เขาสะกด รอยเดินตามพระคริสตเจ้าผู้ยากจน ผู้ถ่อมตน และผู้แบกกางเขน เพื่อให้ตัวเขาสมควรมีส่วนในพระเกียรติของพระองค์ท่าน ใครได้ รับพระคุณเฉพาะตัวและโภคทรัพย์เท่าไร เขาก็ต้องใช้พระคุณ ทั้งหมดนั้นเดินหน้าไปโดยไม่ชักช้า ตามความเชื่ออันชุ่มชื่นมีชีวิต ซึ่งกระตุ้นให้เกิดมีความหวังและผลิตผลงานโดยอาศัยความรัก”2 คำสอนที่เที่ยงแท้และทรงอำนาจนี้จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความศักดิ์สิทธิ์ เดียวนั้นคือ “ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า” โดยพระบิดาเจ้าทรงเป็นแหล่งกำเนิดหรือบ่อเกิด ของความศักดิส์ ทิ ธิท์ กุ ประการพระเยซูเจ้าเป็นเหตุให้เกิดรูปแบบต่างๆ คือ ทรงเป็นทัง้ อาจารย์ และต้นแบบของความศักดิ์สิทธิ์ และองค์พระจิตศักดิ์สิทธิ์เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ผลสำเร็จ3 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักคำสอนดังกล่าว จึงขอแบ่งเนื้อหาการไตร่ตรองเรื่องนี้ ออกเป็น 3 ประการด้วยกัน ดังนี้ 1) ความศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวของพระเจ้า: บ่อเกิดของความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ 2) พระเยซูคริสตเจ้า: ต้นแบบและอาจารย์ของความศักดิ์สิทธิ์ 3) พระจิตศักดิ์สิทธิ์: ผู้บันดาลให้รูปแบบต่างๆ ของความศักดิ์สิทธิ์ ในพระศาสนจักรสำเร็จไป

3 4

Lumen Gentium, 41

Cf. P. Bonifacio Honings, OCD., “Il Volto di Cristo e la Chiamata Universale alla Santità: Le molte Forme dell’unica Santità”, in Il Volto dei Volti, (Istituto Internazionale di Ricerca sul Volto di Cristo), Anno VIII, Numero 1 - Gennaio-Giugno 2005, pp. 21-30


14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

เรื่องที่เรากำลังไตร่ตรองร่วมกันนี้จึงเกี่ยวกับ “โฉมพระพักตร์” ของพระเยซูเจ้าที่ ปรากฏอยูบ่ นใบหน้าของมนุษย์ทกุ คน และเรียกร้องทุกคนให้มงุ่ สูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระเจ้า โดยอาศัยการทำงานของพระหรรษทาน ทั้งของพระเยซูคริสตเจ้าและของพระจิตศักดิ์สิทธิ์ 1. ความศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวของพระเจ้า “โอ คนอิสราเอลเอ๋ยจงฟังเถิด พระยาเวห์พระเจ้าของเราทั้งหลายเป็นพระเจ้า เดียว พวกเจ้าจงรักพระยาเวห์พระเจ้าของท่านด้วยสิ้นสุดจิตใจ และสิ้นสุดกำลังของท่าน” (ฉธบ 6: 4-5) นี่เป็นสิ่งที่พระยาเวห์ พระเจ้าของเรา ทรงเปิดเผยแก่ชาวอิสราเอล ประชากร ของพระองค์ เพื่อให้พวกเขาได้รู้ว่าพระองค์ทรงเป็น “หนึ่งเดียว” ทรงเป็น “พระเจ้าเดียว” ที่เหมาะสมและสมควรที่จะได้รับความรักจากพวกเขาและจากมนุษย์ทุกคน จนหมดความ เป็นอยูข่ องเขา หมดจิตใจและร่างกายของเขา และจนหมดพลังทัง้ หมดทีพ่ วกเขามีอยู่ ในเวลา เดียวกัน ผลที่ตามมาจากการเปิดเผยนี้ คือ พระองค์ทรงเชื้อเชิญชาวอิสราเอลและมนุษย์ ทุกคน ทุกเชื้อชาติและภาษา ผ่านทางการเทศน์สอนของบรรดาประกาศกต่างๆ ให้หันมา หาพระองค์ ทั้งนี้ เพราะพระองค์ ไม่เพียงแต่เป็นผู้เดียวที่สามารถช่วยพวกเขาให้รอดได้ เท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงปรารถนาที่จะ “บันดาลความศักดิ์สิทธิ์” ให้พวกเขาแต่ละคนด้วย ดังคำเทศน์สอนของประกาศกอิสยาห์ที่ว่า “มวลมนุษย์ทั่วแผ่นดินโลกเอ๋ย จงหันมาหาเรา และรับการช่วยเหลือให้รอด เพราะเราเป็นพระเจ้า และไม่มีอื่นใดอีก... ทุกเข่าจะกราบลง ทุกลิ้นจะปฏิญาณต่อเรา เขาจะพูดถึงเราได้ว่า ในพระเจ้าเท่านั้น มีความชอบธรรมและ อานุภาพ” (อสย 45: 22-24)


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

15

ประกาศกอิสยาห์ ได้เผยให้ทราบว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านั้นไม่ใช่เป็นใน ลักษณะ “นามธรรม” ที่กล่าวกันลอยๆ ไม่มีตัวตน หรือเป็นเพียงจินตนาการเหมือนใน ศาสนาของคนต่างชาติ แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าเป็นความเป็นจริงที่มีอยู่ใน “พระ บุคคลจริง” ของพระเจ้าเอง ดังนี้ ในบริบทเรื่องกระแสเรียกของทุกคนที่ต้องเดินหน้าสู่ ความศักดิ์สิทธิ์ เราจึงอ่านพบต่อไปว่า “ในปีที่กษัตริย์อูสซียาห์สิ้นพระชนม์ ข้าพเจ้าเห็น องค์พระผู้เป็นเจ้าประทับ ณ พระที่นั่งสูงและเทิดทูนขึ้น และชายฉลองพระองค์ของพระองค์ เต็มพระวิหาร เหนือพระองค์มีเสราฟิมยืนอยู่ แต่ละคนมีปีกหกปีก ใช้สองปีกบังหน้า และ สองปีกคลุมเท้า และด้วยสองปีกบินไป ต่างก็ร้องต่อกันและกันว่า “ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าจอมโยธา แผ่นดินโลกทั้งสิ้นเต็มด้วยพระสิริของพระองค์”” (อสย 6: 1-3) สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษในที่นี้ คือ เหล่าเสราฟิมเหล่านั้นเป็นทูตสวรรค์ของ พระเจ้า เป็นผู้ที่บริสุทธิ์และผุดผ่อง แต่ก็ยังต้องปิดหน้าของตน เพราะไม่กล้ามองพระเจ้า จึงทำได้แค่กล่าวร้องว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ถึงสามครั้งสามครา” ด้วยกัน พระเยซูเจ้าเองก็ทรงยืนยันถึงความศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพระเจ้านี้ เมื่อพระองค์ทรงตรัส สั่งสอนว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของเรา ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์ เดียว ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจสุดวิญญาณ สุดสติปัญญา และสุดกำลังของท่าน” (มก 12: 29-30) ด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงสอนเรื่องนี้อย่างชัดเจนสืบต่อมาว่า พระเจ้าเที่ยงแท้ และศักดิ์สิทธิ์นั้น มีอยู่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น “เราเชื่ออย่างมั่นคงและประกาศยอมรับอย่างเปิดเผยว่า พระเจ้า เที่ยงแท้นั้นมีอยู่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์เป็นนิรันดร สถิตอยู่ทุกหนแห่ง ทรงสรรพานุภาพ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่อาจเข้า ใจได้หมด และอยู่เหนือคำพรรณนาใดๆ ของมนุษย์ ทรงเป็นพระ บิดา พระบุตร และพระจิตศักดิ์สิทธิ์ เป็นสามพระบุคคล แต่ดำรง อยู่ในสารัตถะและเนื้อแท้เดียวกัน นั่นคือ มีธรรมชาติเดียวกัน”5 5

คำสอนของพระสังคายนาแห่งลาเตรัน ครั้งที่ 4 (1215); DS 800


16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

1.1 บ่อเกิดของความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ องค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นพระเจ้าที่ไม่อาจจะเข้าใจได้และอยู่เหนือคำบรรยาย ใดๆ ของมนุษย์ พระองค์ทรงเป็น “อีกผู้หนึ่ง” ที่ไม่มีใครสามารถจะเปรียบเทียบกับพระองค์ ได้ (อสย 40: 25) คำปฏิญาณของพระองค์นั้นทรงอำนาจ เพราะพระองค์ทรงปฏิญาณจาก ความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์เอง (สดด 89: 34-35) ขณะเดียวกัน องค์พระผู้เป็นเจ้านี้ก็เป็น พระเจ้าที่ประทับอยู่ท่ามกลางมนุษ ย์เพื่อเปิดเผยพระนามของพระองค์ ให้มนุษ ย์รู้ พูดอีก อย่างคือ พระองค์ประทับอยู่เพื่อทำให้มนุษย์รู้จักพระองค์ และในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ ทรงสอนมนุษ ย์ ให้รู้จักพระองค์เองด้วย โดยทรงถ่อมพระองค์เองมาให้มนุษ ย์ ได้รู้จักและ ประทานความสามารถให้แก่มนุษย์ เพื่อมนุษย์จะได้สามารถรู้จักและเรียกขานพระนามของ พระองค์ ได้อย่างถูกต้อง6 ในการเปิดเผย “พระนาม” แก่มนุษย์นั้น พระเจ้าทรงปรารถนาจะเปิดเผยให้ มนุษย์รู้จักถึงสารัตถะ (แก่นแท้) ของพระองค์ เอกลักษณ์ของพระบุคคลของพระองค์ และ ความหมายของพระองค์ให้มนุษย์ ได้รู้ด้วย ในครั้งที่พระองค์ทรงเปิดเผยพระนาม “ยาเวห์” (YHWH) ของพระองค์แก่โมเสส พระเจ้าทรงต้องการบอกประชากรทุกคน ไม่เพียงเฉพาะ ประชากรที่ได้รับเลือกสรรเท่านั้นว่า พวกเขาทั้งหมดได้รับเรียกให้เข้ามามีสัมพันธ์ส่วนตัว กับพระองค์อย่างใกล้ชิด เรื่องนี้คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ว่า “ในการเปิดเผยพระนามอันลึกล้ำของพระองค์ว่า YHWH คือ “เรา เป็นผู้ที่เป็นอยู่” หรือ “เราเป็นผู้ที่ดำรงอยู่” หรือ “เราเป็นผู้ที่เรา เป็น” พระเจ้าทรงบอกว่าพระองค์คือใครและเราควรเรียกพระองค์ ด้วยนามใด... พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ซ่อนเร้น พระนามของ พระองค์นั้นเหลือที่จะพรรณนา และพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่ใกล้ ชิดมนุษย์”7 6

ดูเพิ่มเติมในคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 203

7

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 206


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

17

เมื่อพระเจ้าทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระองค์ทรงปรารถนาที่จะประทานความ ศักดิ์สิทธิ์นี้แก่ประชากรของพระองค์ พระองค์จึงเป็นบ่อเกิดของความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ ของมนุษย์ 1.2 คุณสมบัติเฉพาะของความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า คือ ความเมตตากรุณา พระหรรษทานและความซื่อสัตย์ เพือ่ ให้ ได้ความหมายทีค่ รบถ้วนเกีย่ วกับความศักดิส์ ทิ ธิห์ นึง่ เดียวของพระเจ้า ทั้งในมิติทางศาสนาและศีลธรรม จึงขอเสริมลักษณะที่ตรงกันข้าม (paradox) ของพระเจ้า เข้ามาในที่นี้ ซึ่งขอเรียกในที่นี้ว่าเป็น “คุณสมบัติเฉพาะ” ของพระเจ้า ในการเผชิญหน้ากับพระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณาและมีเสน่ห์ดึงดูดใจ มนุษย์ มักจะพบว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยเสมอ ไม่คู่ควร และไม่เหมาะสม - โมเสสเป็นตัวอย่างของผู้ที่มีความรู้สึกเช่นนี้ โดยเมื่อได้เข้าไปใกล้พุ่มไม้ที่ ไม่ไหม้ ไฟ ท่านก็ได้ถอดรองเท้าของท่านออก และขณะอยู่ต่อหน้าการประทับอยู่ของพระเจ้า ผู้ศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ก็ได้เผยแสดงพระองค์เองให้โมเสสรู้จัก (อพย 3: 5-6) - ประกาศกอิสยาห์ก็เช่นกัน ต่อหน้าความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ผู้ ได้รับการ ประกาศว่าเป็นผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์ถึง “สามครั้งสามครา” อิสยาห์ถึงกับร้องออกมาว่า “ข้าพเจ้า พินาศแล้ว เพราะข้าพเจ้าเป็นคนริมฝีปากไม่สะอาด” (อสย 6: 5) - เช่นเดียวกับเปโตร ต่อหน้าเครื่องหมายอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าได้กระทำให้ สำเร็จไป เปโตรถึงกับกราบลงต่อหน้าพระเยซูเจ้า ทูลว่า “โปรดไปจากข้าพเจ้าเสียเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบาป” (ลก 5: 8) ทั้งสามตัวอย่างนี้ แสดงถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่ตรงข้ามกันของ พระเจ้า กล่าวคือ แม้พระองค์จะทรง “ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด” เป็นผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์ถึง “สามครั้ง สามครา” และทรงอยู่เหนือคำพูดใดๆ แต่พระองค์ก็สามารถ “ให้อภัย” มนุษย์ที่อยู่ต่อหน้า พระองค์และยอมรับในบาปและความเป็นคนไม่เหมาะสมของตนเอง “เราจะไม่ลงอาชญา ตามที่เรากริ้วจัด ... เพราะเราเป็นพระเจ้า ไม่ใช่มนุษย์ เราเป็นผู้บริสุทธิ์ (ศักดิ์สิทธิ์) ท่าม กลางพวกเจ้า” (ฮชย 11: 9) แม้แต่ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรัก คือ นักบุญยอห์น ยังกล่าวว่า “เราจะมั่นใจเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ แม้ใจของเราอาจจะยังกล่าวโทษเราอยู่ก็ตาม เพราะพระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่าใจของเรา และทรงล่วงรู้ทุกสิ่ง” (1 ยน 3: 19-20)


18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

แต่ต่อหน้าความต่ำต้อยและการเป็นคนไม่ศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ พระเจ้าก็ ได้ทรงเผยแสดงให้มนุษ ย์เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะเฉพาะของความศักดิ์สิทธิ์ของ พระองค์ นั่นคือ พระองค์ทรงเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วย “ความเมตตา” และ “ความสงสาร” เรา มีตัวอย่างกรณีของชาวอิสราเอลที่ได้ทำบาป โดยหันไปจากพระเจ้าและไปเคารพกราบไหว้ รูปวัวทองคำ (อพย 32: 1-9) แต่พระเจ้าก็ฟังคำวิงวอนขอของโมเสส และยินยอมประทับ อยู่ท่ามกลางชาวอิสราเอล ชนชาติที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึง “ความรักของ พระองค์” ที่มีต่อพวกเขา (อพย 33: 12-17) และเมื่อโมเสสขอให้พระเจ้าสำแดงพระสิริ ของพระองค์แก่เขา พระเจ้าก็ตรัสตอบโมเสสว่า “เราจะให้คุณความดีของเราประจักษ์แจ้ง ต่อหน้าเจ้า และเราจะประกาศนามของเรา คือ ยาเวห์ (องค์พระผู้เป็นเจ้า - YHWH) ให้ ประจักษ์ต่อหน้าเจ้า” (อพย 33: 18-19) แล้วพระเจ้าก็เสด็จผ่านไปข้างหน้าโมเสส แล้ว ตรัสว่า “พระยาเวห์ พระยาเวห์ พระเจ้าผู้ทรงพระกรุณา ทรงกอปรด้วยพระคุณ ทรงกริ้ว ช้า และบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคงและความสัตย์จริง” (อพย 34: 5-6) ด้วยเหตุนี้ โมเสส จึงยอมรับอย่างหมดใจว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า คือ พระเจ้าที่ทรงให้อภัย โดยกราบทูลต่อ พระเจ้าว่า “ข้าแต่พระเจ้า ถ้าแม้ข้าพระองค์ ได้รับความโปรดปรานจากพระองค์ แม้ว่าชน ชาตินั้นหัวแข็ง ก็ขอพระองค์โปรดเสด็จไปท่ามกลางพวกข้าพระองค์ และขอทรงโปรดยก โทษ และบาปของพวกข้าพระองค์ และโปรดรับพวกข้าพระองค์เป็นมรดกของพระองค์ ด้วย” (อพย 34: 9;)8 พระนามพระยาเวห์จึงเป็นชื่อที่เปิดเผยว่า “ความศักดิ์สิทธิ์สามครั้งสามครา” ที่ ถูกป่าวประกาศโดยทูตสวรรค์นั้น เป็นพระนามที่เต็มเปี่ยมด้วย “ความเมตตา พระคุณ และ ความสัตย์จริง (ซื่อสัตย์)” คำต่างๆ เหล่านี้ “เป็นคำสรุปถึงลักษณะอันร่ำรวยมั่งคั่งของ พระนามของพระเจ้า ในผลงานทุกอย่างที่ทรงกระทำ พระเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความ เมตตากรุณาของพระองค์ น้ำพระทัยของพระองค์ พระคุณของพระองค์ และความรักของ พระองค์ แต่ในเวลาเดียวกัน พระเจ้าก็ได้เผยแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ที่ไว้ใจได้ ความ 8

เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 210


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

19

มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง และความซื่อสัตย์ และความจริงของพระองค์ด้วย”9 เราจึงพูดได้ใน อีกแบบหนึ่งว่า การเป็นพระเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์ (สามครั้งสามครา) ก็คือ การเป็น “ความรัก” นั่นเอง (1 ยน 4: 8) และดังนี้ ในฐานะเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียว ก็ไม่ได้หมายความ ว่าพระเจ้าทรงอยู่โดดเดี่ยวลำพัง แต่ทรงดำรงอยู่เป็นสามพระบุคคล แต่ “เราไม่ได้ประกาศ ความเชื่อในพระเจ้าว่ามีสามพระองค์ แต่มีพระเจ้าเดียวที่ดำรงอยู่เป็นสามพระบุคคล และ ทั้งสามพระบุคคลก็ดำรงอยู่ในสารัตถะเดียวกัน”10 กล่าวคือ “พระบุคคลของพระเจ้ามิได้ ถูกแบ่งแยกออกจากกัน แต่ละบุคคลยังคงมีสารัตถะ (ธรรมชาติ) ของความเป็นพระเจ้าอยู่ ทั้งครบเหมือนกัน ดังนั้น พระบุตรจึงไม่ใช่พระบิดา พระบิดาก็ไม่ใช่พระบุตร และพระจิต ศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่ใช่ทั้งพระบิดาหรือพระบุตร”11 ทั้งสามพระบุคคลแตกต่างจากกันอย่างแท้จริง ด้วยเหตุของความสัมพันธ์ดั้งเดิมที่มีต่อกัน กล่าวคือ “เป็นพระบิดาที่เป็นผู้ให้กำเนิด พระ บุตรถือกำเนิดมาจากพระบิดา และพระจิตศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ที่สืบเนื่องมา”12 2. พระเยซูคริสตเจ้าและความศักดิ์สิทธิ์ “ท่านที่รักทั้งหลาย เราจงรักกัน เพราะความรักมาจากพระเจ้า และทุกคนที่มี ความรัก ย่อมบังเกิดจากพระเจ้าและรู้จักพระองค์ ผู้ ไม่มีความรักย่อมไม่รู้จักพระเจ้า เพราะ พระเจ้าทรงเป็นความรัก” (1 ยน 4: 7-8) ยอห์น ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรักได้พูดไว้เช่นนี้เพื่อต้องการยืนยันว่า เหตุผล หลักของการมีส่วนร่วมในความศักดิ์สิทธิ์เดียวของพระเจ้าก็คือ “ความรัก” นั่นเอง ทั้งนี้ เพราะพระเจ้าเป็นความรัก ชาวอิสราเอลเองต่างตระหนักถึงความจริงประการนี้ ยิ่งเมื่อได้

9

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 214; เทียบ สดด. 138: 2 คำสอนของพระสังคายนาเมืองคอนสแตนติโนเปิล ครั้งที่ 2 (553); เทียบ DS 421 11 คำสอนของพระสังคายนาแห่งโตเรโด ครั้งที่ 11 (675); เทียบ DS 530 12 คำสอนพระสังคายนาแห่งลาเตรัน ครั้งที่ 4 (1215); เทียบ DS 804; คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 253-255 10


20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ย้อนดูประวัติศาสตร์ของตนเองก็ยิ่งได้ค้นพบและมีความมั่นใจว่า เหตุผลหลักและเหตุผล เดียวที่พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองให้พวกเขาได้รู้จัก และได้ทรงเลือกพวกเขาจากท่าม กลางนานาชาติ ให้มาเป็นประชากรของพระองค์นั้น ก็เพราะ “พระเจ้าทรงรักพวกเขา” (ฉธบ 4: 37; 7: 8; 10: 15) โดยผ่านทางบรรดาประกาศกต่างๆ ชาวอิสราเอลได้เข้าใจอย่าง ดีว่า พระเจ้าไม่เคยหยุดที่ช่วยเหลือพวกเขาให้ ได้รับความรอดเลย (อสย 43: 1-7) ทั้งยัง ทรงยกโทษความไม่ซื่อสัตย์และบาปต่างๆ ของพวกเขาด้วย (ฮชย 2) แต่ที่ชัดเจนกว่านั้น คือ ความมั่นใจในเรื่องนี้มาจาก “การเปิดเผยของพระเยซูเจ้า” เอง ที่ได้ประกาศอย่างชัดเจน และเด็ดขาดว่า พระเจ้าทรงรักประชากรของพระองค์มากกว่าเจ้าบ่าวเสียอีก 2.1 พระเยซูคริสตเจ้า อาจารย์ของความศักดิ์สิทธิ์ ในการอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติของความรัก ยอห์นไม่ได้ใช้ ความคิดในเชิงนามธรรมหรือถ้อยคำในเชิงปรัชญาแต่อย่างใด แต่ยอห์นได้ยืนยันในฐานะ เป็นความจริงที่ได้เกิดขึ้นแล้วในองค์พระเยซูคริสตเจ้า คือ ยืนยันว่า “ความรักของพระเจ้า ปรากฏให้เราเห็นดังนี้ คือ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรพระองค์เดียวมาในโลก เพื่อเราจะได้มีชีวิต โดยทางพระบุตรนั้น” (1 ยน 4: 9) นี่แสดงให้เห็นว่า ความรักของ “ผู้ศักดิ์สิทธิ์สามครั้ง สามครา” ตามที่ถูกกล่าวถึงก่อนหน้านี้ ได้แสดงออกให้เห็นด้วยรูปแบบที่ชัดเจนที่สุดผ่าน ทางการส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ลงมา โดยมีเป้าหมายเพียงประการเดียว คือ เพื่อให้ทุกคนได้ “มีส่วนร่วม” ในชีวิตขององค์พระบุตรนั้น และเพื่อให้พวกเขาเข้าใจว่า พวกเขาทุกคนได้รับเชิญให้เข้าสู่ชีวิตความเป็นหนึ่งเดียวและ “ความศักดิ์สิทธิ์” กับพระองค์ นอกจากนี้ เพื่อจะเผยให้เห็นถึงความรักของพระเจ้าว่าเป็นความรักที่ ให้เปล่าอย่างที่สุด ยอห์นยังกล่าวต่อไปว่า “ความรักอยู่ที่ว่าพระเจ้าทรงรักเรา และทรงส่งพระบุตรของ พระองค์มาเพื่อชดเชยบาปของเรา มิใช่อยู่ที่เรารักพระเจ้า ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเจ้า ทรงรักเราเช่นนี้ เราก็ควรจะรักกันด้วย” (1 ยน 4: 10-11) จากคำพูดของยอห์นทั้งหมดที่ยกมาเป็นตัวอย่าง เราคงเห็นอย่างชัดเจน ว่า การมีสว่ นร่วมในความศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระเจ้าของคริสตชนเรานัน้ จะกลายเป็นจริงได้ก็โดย ผ่านทาง “การเป็นหนึ่งเดียวในความรักกับพระบิดาและพระบุตรเยซู” เพราะเหตุว่า “แต่ ถ้าเรารักกัน พระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเรา และความรักของพระองค์ในเราก็จะสมบูรณ์


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

21

เรารู้ว่าเราดำรงอยู่ในพระองค์ และพระองค์ทรงดำรงอยู่ในเรา เพราะพระองค์ประทาน พระพรของพระจิตเจ้าให้เรานั่นเอง” (1 ยน 4: 12-13) อย่างไรก็ตาม เพือ่ ให้เรามัน่ ใจยิง่ ขึน้ ว่าเรามีชวี ติ เป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้าจริง การอ่านคำอารัมภบทในจดหมายฉบับที่หนึ่งยอห์นต่อไปนี้ ก็ช่วยให้เรามีความมั่นใจนี้แล้ว โดยยอห์นเริ่มต้นจดหมายของท่านด้วยการยืนยันดังนี้ “เราประกาศเรื่องราวเกี่ยวกับพระวจนาตถ์แห่งชีวิต ซึ่งเป็นอยู่แล้วตั้งแต่แรกเริ่ม เราได้ฟัง เราได้เห็นด้วยตาของเรา เราได้ เฝ้ามอง และเราได้สัมผัสด้วยมือของเรา ชีวิตนั้นได้ปรากฏ เราได้เห็นและเราได้เป็นพยาน เราประกาศให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงชีวิตนิรันดร ซึ่งอยู่กับพระบิดา และปรากฏให้เราเห็น สิ่งที่ เราได้เห็นและได้ฟังนี้ เราประกาศให้ท่านทั้งหลายรู้ด้วย เพื่อท่านจะได้สนิทสัมพันธ์กับเรา ความสนิทสัมพันธ์นี้ คือ ความสนิทสัมพันธ์กบั พระบิดา และกับพระบุตรของพระองค์ คือ พระเยซูคริสตเจ้า เราเขียนเรื่องนี้ถึงท่าน เพื่อความปีติยินดีของเราจะได้สมบูรณ์” (1 ยน 1: 1-4) ในเรื่องความสนิทสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาและพระบุตรของพระองค์ คือ พระเยซูเจ้านี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า การที่พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยแก่ยอห์น พระองค์ ไม่เพียงเพื่อแสดงให้เห็นถึงชีวิตของพระองค์ว่ามีความสนิทสัมพันธ์กับพระบิดาเท่านั้น แต่ พระองค์ยังทรงต้องการยืนยันด้วยว่า มนุษ ย์ทุกคนมีความสนิทสัมพันธ์กับพระบิดาด้วย เหมือนกัน โดยผ่านทางพระบุตรและในพระจิตเจ้า ดังนี้ นอกจากยอห์นจะต้องเป็นพยาน โดยป่าวประกาศถึงความสัมพันธ์ในชีวิตระหว่างพระบิดาและพระบุตรแล้ว ยอห์นเองยังได้ ประกาศยืนยันอีกด้วยว่า เราทุกคนก็มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์กับชีวิตของพระเจ้าด้วย ดังนี้ ยอห์นจึงเป็นพยานยืนยันและป่าวประกาศว่า “จงดูเถิดว่า ความรักที่พระบิดาประทาน ให้เรานั้นยิ่งใหญ่เพียงใด เพื่อทำให้เราได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า และเราก็เป็นเช่นนั้น จริง ท่านที่รักทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว แต่เราจะเป็นอย่างไรในอนาคตนั้น ยังไม่ปรากฏแจ้ง เราตระหนักดีว่า เมื่อพระองค์ทรงปรากฏ เราจะเป็นเหมือนพระองค์ เพราะเราจะเห็นพระองค์อย่างที่พระองค์ทรงเป็น” (1 ยน 3: 1-2) จึงเป็นที่ชัดเจนว่า บรรดาคริสตชน ศิษย์ผู้ติดตามพระเยซูคริสตเจ้า และ ทุกคนที่ได้กลายเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว จะต้องดำเนินชีวิตในความรักและในความศักดิ์-


22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

สิทธิ์ ตามแบบอย่างของพระเยซูคริสตเจ้า และนี่เป็นสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงวิงวอนขออย่าง มากจากพระบิดาของพระองค์ เมือ่ พระองค์ทลู ภาวนาว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้วอนขอจากพระองค์ ให้ทรงยกเขาออกจากโลก แต่วอนขอให้ทรงรักษาเขาให้พ้นจากมารร้าย เขาไม่เป็นของโลก เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าไม่เป็นของโลก โปรดบันดาลให้เขาศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยความจริง พระวาจาของพระองค์คือความจริง พระองค์ทรงส่งข้าพเจ้ามาในโลกฉันใด ข้าพเจ้าก็ส่ง เขาเข้าไปในโลกฉันนั้น ข้าพเจ้าถวายตนเป็นบูชาสำหรับเขา เพื่อเขาจะได้รับความศักดิ์สิทธิ์ อย่างแท้จริงด้วย” (ยน 17: 15-19) พระเยซูเจ้าทรงภาวนาต่อพระบิดา เพือ่ วอนขอให้พระบิดาทรงดูแลบรรดา ศิษย์ของพระองค์ ที่รับหน้าที่ทำงานในโลกสืบทอดต่อจากพระองค์ พันธกิจของพระเยซูเจ้า ในโลก คือ การเป็นพยานถึงสิ่งที่พระองค์ ได้เห็นและได้ยินมาจากพระบิดา พันธกิจของ บรรดาศิษย์ของพระองค์ (รวมถึงพวกเราด้วย) ก็จะต้องเป็นในแบบเดียวกัน คือ เป็นพยาน ถึงสิ่งที่พวกเขาได้ยินและได้เห็นมาจากพระองค์ (ยน 3: 32; 8: 26) บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสภาพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 จึงไม่มี ข้อสงสัยใดๆ อีกต่อไปที่สอนว่า บรรดาผู้ที่ติดตามพระเยซูเจ้าเป็นผู้มีส่วนร่วมสัมพันธ์กับ ธรรมล้ำลึกต่างๆ ของพระองค์ด้วย “ความร่ำรวยทั้งหมดของพระคริสตเจ้า เป็นสิ่งที่ถูก กำหนดมาให้มนุษย์ทุกคนและเพื่อนำความดีมาสู่มนุษย์ทุกคน”13 พระเยซูคริสตเจ้าไม่ได้ดำเนินชีวิตของพระองค์เพื่อตัวพระองค์เอง แต่ “เพื่อเรา” นับตั้งแต่ทรงถือกำเนิดมาในโลก พระองค์ทรงบังเกิดมาเพื่อเราทุกคนและเพื่อ ความรอดของเรา จนถึงการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ก็ทรงกระทำ “เพราะบาป ของเรา” (1 คร 15: 3) ที่สุด ในการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์นั้น ก็เป็นไป “เพื่อ ทำให้เราเป็นคนชอบธรรม” (รม 4: 25) นั่นเอง แม้แต่ในเวลานี้ พระองค์ยังทรงเป็น “ทนาย แก้ต่าง” (ผู้เสนอวิงวอน) เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าให้เรา (1 ยน 2: 1) และทรงดำรงชีพอยู่ เสมอท่ามกลางเราเพื่อ “ทูลขอพระกรุณา” ให้พวกเราทั้งหลาย (ฮบ 7: 25) เครื่องหมาย 13

พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2, จดหมายเวียน Redemptor hominis, 11

<?>


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

23

การอัศจรรย์ และพระวาจาของพระองค์ ล้วนต่างเปิดเผยให้เรารู้ว่า “ในองค์พระคริสตเจ้า นั้น พระเทวภาพบริบูรณ์สถิตอยู่ในสภาพมนุษย์ที่สัมผัสได้” (คส 2: 9) ด้วยเหตุนี้ ความ เป็นมนุษย์ของพระองค์จึงเป็นเหมือน “ศีลศักดิ์สิทธิ์” กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายหรือเครื่อง มือสำหรับการแสดงออกซึ่งความเป็นพระเจ้าของพระองค์ และยังเป็นเครื่องหมายของ ความรอดที่พระองค์ทรงนำมาให้ ดังนี้ ทุกสิ่งที่เรามองเห็นในชีวิตของพระองค์ ล้วนนำไปสู่ธรรมล้ำลึกที่ แลไม่เห็นของการเป็นพระบุตรของพระเจ้า และการพันธกิจแห่งการไถ่กู้ให้รอด14 2.2 พระเยซูคริสตเจ้า ต้นแบบของความศักดิ์สิทธิ์ “เนื่องจากพระวจนาตถ์ ได้มาบังเกิดในเนื้อหนัง และรับสถานะ เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง พระกายของพระคริสตเจ้าจึงต้องอยู่ใน สถานะมีข้อจำกัด”15

ขณะที่ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่นั้น พระเยซูเจ้าได้ ทรงเปิดเผยพระองค์เองอยู่ตลอดเวลาในฐานะเป็น “ต้นแบบ” (Model) ของเรา

คำสอนของพระสังคายนานี้แสดงให้เห็นถึงมิติความเป็นมนุษย์ของพระคริสตเจ้าว่าเป็น “ภาพ” (กท 3: 1) ที่แท้จริงของพระเยซูคริสตเจ้า กล่าวคือ โดยแท้ ที่จริงนั้น คุณลักษณะส่วนตัวของพระวรกายของพระเยซูคริสตเจ้านี้ ได้แสดงให้เห็นถึง “พระบุคคลพระเจ้าของพระบุตร” ภาพร่างกายมนุษย์ของพระเยซูคริสตเจ้าจึงได้รับการตก แต่งด้วยภาพของความศักดิ์สิทธิ์ที่เหมาะสมและสมควรได้รับการเคารพสักการะ เพราะผู้ 14

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 515

15

พระสังคายนาแห่งลาเตรัน (649); DS 556-559


24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

มีความเชื่อที่เคารพสักการะ “ภาพ” นี้ ก็เท่ากับได้เคารพสักการะผู้ที่ภาพนี้สื่อถึงคือองค์ พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรแต่องค์เดียวของพระเจ้านั่นเอง16 เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นไปได้ว่าขณะที่ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่นั้น พระเยซูเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระองค์เองอยู่ตลอดเวลาในฐานะเป็น “ต้นแบบ” (Model) ของเรา นักบุญเปาโลได้ให้ตัวอย่างที่งดงามยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความ ศักดิ์สิทธิ์ไม่ใช่เป็นอะไรในแบบนามธรรม และไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแก่สายตา หรือเป็น เรื่องที่ต้องอาศัยอัศจรรย์อะไรทั้งนั้น เปาโลจึงเขียนเตือนชาวโรมในเรื่องนี้ว่า “จงยอมรับผู้ ที่ความเชื่อยังไม่มั่นคง อย่าตัดสินเขาเพราะความลังเลใจของเขา คนหนึ่งเชื่อว่ากินทุกอย่าง ได้ แต่อีกคนหนึ่งยังมีความเชื่อไม่มั่นคง กินแต่ผักเท่านั้น ผู้ที่กินทุกอย่าง อย่าดูถูกผู้ที่ไม่ กิน และผู้ที่ไม่กินก็อย่าตัดสินประณามผู้ที่กิน เพราะพระเจ้าทรงยอมรับเขาแล้ว ท่านเป็น ใครกันที่จะตัดสินคนรับใช้ของผู้อื่น เขาจะยืนอยู่หรือล้มลงก็เป็นเรื่องของนายของเขา แต่ เขาจะยืนอยู่ได้เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้เขายืนอยู่ได้” (รม 14: 1-4) พระเยซูเจ้าได้แสดงให้ศิษย์ของพระองค์เห็นในที่นี้ว่า พวกเขาแต่ละคน จะต้องเป็นคนมีใจอดทนและใจกว้างเยี่ยงคริสตชน ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากความสุขุมรอบ คอบและมีสติที่ดี เพราะใครที่กินทุกอย่าง เขาทำเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า และถวาย นมัสการโมทนาคุณพระเจ้าเท่ากับคนที่ไม่กินทุกอย่าง ซึ่งเขายอมอดไม่กินทุกอย่างก็เพราะ เห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้าเหมือนกัน ซึ่งแน่นอน เขาก็ต้องถวายนมัสการโมทนาคุณพระเจ้า เหมือนกันด้วย ตั ว อย่ า งอี ก ประการหนึ่ ง ที่ ฉ ายแสงสว่ า งอย่ า งดี แ ก่ ลั ก ษณะการเป็ น ต้นแบบความศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสตเจ้าแก่เรา ก็คือ เรื่องการกระทำเพื่อความชอบของ คนอื่น ไม่ใช่ทำตามที่ตนเองชอบ ตัวอย่างเรื่องนี้เราพบในจดหมายของเปาโลอีกเช่นกัน โดยเปาโลเขียนบอกแก่ชาวโรมว่า “พวกเราที่เข้มแข็ง ต้องอดทนต่อความพลาดพลั้งของ คนที่อ่อนแอ และไม่ทำตามใจชอบของเราเอง พวกเราแต่ละคนต้องเอาใจพี่น้องเพื่อความ 16

พระสังคายนาแห่งนีเชีย ครั้งที่ 2 (787), DS 601; เทียบ คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 476-477


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

25

ดีและค้ำจุนกัน เพราะพระคริสตเจ้าไม่ได้ทรงถือพระทัยของพระองค์เองเป็นใหญ่ แต่ทรง อดทน ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า คำสบประมาทของผู้ที่เหยียดหยามพระองค์ตกอยู่ กับข้าพเจ้า สิ่งที่เขียนไว้ก่อนนั้น ก็เขียนไว้สำหรับสั่งสอนเรา เพื่อเราจะมีความหวังอาศัย ความอดทนพากเพียร และการปลอบใจที่มาจากพระคัมภีร์” (รม 15: 1-4) ศิษย์ติดตามพระเยซูเจ้าจะต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยหยุดที่จะนำเสนอพระเยซูคริสตเจ้าในฐานะเป็น “ต้นแบบ” ของผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ทุกคน และ ประกาศสอนเรื่องนี้เสมือนเป็น “รากฐาน” ของความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการและต้องทำอย่าง จริงจังด้วย นั่นคือ ไม่ใช่กระทำเพียงแค่เฉพาะในตอนอธิษฐานภาวนาเท่านั้น แต่ก่อนอื่น ใดหมด ศิษย์ของพระเยซูเจ้าจะต้องสอนทุกคนว่า การติดตามพระเยซูเจ้าในฐานะเป็น “ต้นแบบ” ของความศักดิ์สิทธิ์นั้น หมายถึง การต้องยึดถือภาษิตหรือคำสอนของพระองค์ ที่ว่า “ไม่มีพวกเราคนใดที่มีชีวิตอยู่เพื่อตนเอง และไม่มีผู้ใดตายเพื่อตนเองเช่นเดียวกัน ถ้าเรามีชีวิตอยู่ ก็มีชีวิตอยู่เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเราตาย เราก็ตายเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น ไม่ว่าเรามีชีวิตอยู่หรือตาย เราก็เป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเหตุนี้เอง พระคริสตเจ้าจึงทรงสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อจะเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าทั้งของ ผู้ตายและของผู้เป็น” (รม 14: 7-9) ดังนี้เอง ศิษย์ผู้ติดตามพระเยซูคริสตเจ้าจึงได้เปิดเผยเรื่อง “กระแสเรียก สากล-สำหรับทุกคน-สู่ความศักดิ์สิทธิ์” นี้แก่ทุกคนที่มีน้ำใจดี ไม่ว่าจะเป็นชาวยิว หรือคน ต่างศาสนา หรือคริสตชนเองก็ตาม เพราะ “พระเจ้าผู้ประทานความพากเพียรและการ ปลอบใจ โปรดให้ท่านเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตามแบบฉบับของพระคริสตเยซู เพื่อท่านจะ ได้พร้อมใจกันและเปล่งวาจาเป็นเสียงเดียวกัน ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า ผู้ทรงเป็นบิดา ของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ดังนั้น ท่านจงยอมรับกันและกัน เช่นเดียว กับที่พระคริสตเจ้าทรงยอมรับท่าน เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า พระคริสตเจ้าทรงยอมเป็นผู้รับใช้พวกที่เข้าสุหนัต เพราะทรงเห็นแก่ความสัตย์จริงของ พระเจ้า เพื่อยืนยันพระสัญญาที่ประทานไว้กับบรรพบุรุษ ส่วนคนต่างชาตินั้นถวายเกียรติ แด่พระเจ้า เพราะพระเมตตาของพระองค์” (รม 15: 5-9)


26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกได้ยืนยันถึงเรื่องชีวิตการเป็น “แบบ อย่าง” ของพระเยซูคริสตเจ้านี้ไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน โดยกล่าวว่า “ตลอดชีวิตของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์ในฐานะ เป็นแบบฉบับของเรา พระองค์ทรงเป็น “มนุษย์ผู้สมบูรณ์พร้อม” (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 38 เทียบ รม 15: 5; ฟป 2: 5) ผูเ้ ชิญชวนเราให้มาเป็นสานุศษิ ย์ของพระองค์ และติดตามพระองค์ โดยการถ่อมพระองค์ลงมา พระองค์ ได้ประทานแบบอย่างให้เรา กระทำตาม อาศัยการภาวนาของพระองค์ พระองค์ก็ทรงดึงดูดเรา เข้าสู่การภาวนา อาศัยความยากจนของพระองค์ พระองค์ก็ทรง เรียกให้ยอมรับความเปล่าเปลือยและการถูกเบียดเบียนอย่างอิสระ เสรี (เทียบ ยน 13: 15; ลก 11: 1; มธ 5: 11-12)17 ในธรรมล้ำลึกแห่งการบังเกิดเป็นมนุษ ย์ เราจึงสามารถมองเห็นมิติที่ ชัดเจนเกี่ยวกับโฉมพระพักตร์แท้จริงของพระเยซูเจ้า นั่นคือ การได้รับขนานนามว่าเป็นต้ นแบบของความศักดิ์สิทธิ์ ทุกสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตและมีประสบการณ์ พระองค์ จึงทรงกระทำเพื่อให้เราสามารถดำเนินชีวิตในพระองค์ และเพื่อให้พระองค์สามารถดำเนิน ชีวิตในเราได้ พร้อมกับการบังเกิดเป็นมนุษย์ องค์พระบุตรของพระเจ้าจึงได้เข้าสนิทเป็น หนึ่งเดียวอย่างแนบแน่นกับมนุษ ย์ทุกคน ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสตเจ้า จึงเป็น ความศักดิ์สิทธิ์เที่ยงแท้และมั่นคง และเชื้อเชิญเรามนุษย์ทุกคนให้ก่อสร้างรูปแบบเดียวกัน กับของพระองค์ พระองค์ทรงเผยให้เรารู้ว่าเราต่างเป็นสมาชิกในพระวรกายของพระองค์ เป็นพระวรกายที่พระองค์ทรงใช้ดำเนินชีวิตเพื่อเราและเพื่อให้เป็นต้นแบบของเรา ดังนั้น องค์พระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของเรา จึงทรงเป็นทั้งต้นแบบและ อาจารย์ของความศักดิ์สิทธิ์ (ความดีสมบูรณ์) ทุกอย่างที่แท้จริงของเรา พระองค์ทรงเทศน์ สอนแก่ทุกคนและแก่ศิษย์แต่ละคนของพระองค์ถึงเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ว่า “ฉะนั้น ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่าง สมบูรณ์เถิด” (มธ 5: 48) 17

เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 520-521


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

27

อย่างไรก็ตาม การไตร่ตรองถึงความศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระเยซูเจ้าในฐานะเป็น ต้นแบบและอาจารย์ของความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการนั้น ยังเรียกร้องเราให้ ไตร่ตรองต่อไปถึง พันธกิจของพระจิตศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนั้นสำเร็จไปด้วย 3. พระจิตศักดิ์สิทธิ์ ผู้บันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์ทุกประการสำเร็จไป “พระคริสตเจ้าได้ทรงปฏิบัติพระพันธกิจของพระองค์บนโลก จนสำเร็จไป และตอนนี้ก็ถึงเวลาของเราแล้ว ที่จะเข้าเป็นหนึ่ง เดียวกับธรรมชาติขององค์พระวจนาตถ์ นั่นคือ ผ่านจากชีวิต ตามธรรมชาติของเราไปสู่ชีวิตเหนือธรรมชาติแห่งการเป็นบุตร ของพระเจ้า ซึ่งเป็นชีวิตที่อยู่เหนือชีวิตธรรมชาติการเป็นมนุษย์ ของเรา แต่เราไม่สามารถบรรลุถงึ ชีวติ นี้ได้เลย หากองค์พระจิต ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย”18 บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมสภาพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ก็ได้กล่าวไว้ถึง บทบาทประการนี้ของพระจิตเจ้าไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า “พระคริสตเจ้า “ซึ่งพระบิดาบันดาลให้ศักดิ์สิทธิ์และทรงส่งมาใน โลก” (ยน 10: 36) ได้ทรงตรัสถึงพระองค์เองว่า “พระจิตของ พระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน และทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลด ปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูก กดขี่ให้เป็นอิสระ” (ลก 4: 18) และยังได้ตรัสต่อไปอีกว่า “บุตร แห่งมนุษย์เสด็จมาเพื่อแสวงหา และเพื่อช่วยผู้ที่เสียไปให้รอดพ้น” (ลก 19: 10)”19 18

Cyril of Alexandria, “Commento sul Vangelo di Giovanni”, Lib. 10: PG 74, 434

19

Ad Gentes, 3


28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

3.1 การส่งพระจิตผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ลงมา องค์พระบิดาเจ้าได้ทรงมอบหมายพันธกิจให้พระบุตรของพระองค์ เพื่อ ให้ทำให้สำเร็จไปบนแผ่นดินโลก (ยน 17: 4) เมื่อพันธกิจดังกล่าวได้สำเร็จลงจนครบถ้วน แล้ว ก็ถึงเวลาของการเสด็จลงมาของพระจิตเจ้า โดยในวันนั้น พระจิตศักดิ์สิทธิ์ก็ถูกส่งลง มาให้ปฏิบัติพันธกิจแห่งการบันดาลให้พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ไป เพื่อว่า บรรดาผู้มีความ เชื่อจะได้สามารถเข้าไปเฝ้าพระบิดาเจ้าได้ในพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน (อฟ 2: 18) ความจริง นั้น หลังจากที่พันธกิจแห่งการช่วยมนุษย์ทุกคนให้รอดพ้นได้สำเร็จลงแล้ว พระเยซูเจ้าก็ได้ ทรงทรงพระจิตศักดิ์สิทธิ์จากพระบิดาลงมา เพื่อให้องค์พระจิตเจ้านั้นปฏิบัติงานภายใน จิตใจของทุกคน และชักนำพวกเขาให้มารักพระเจ้า ด้วยสิ้นสุดจิตใจ สิ้นสุดวิญญาณ สิ้นสุด ความคิด และสิ้นสุดกำลังของเขา (มก 12: 30) และให้พวกเขารักกันและกันเหมือนดังที่ พระคริสตเจ้าทรงรักพวกเขาทุกคน (ยน. 13: 34; 15: 12)20 บัดนี้ เวลาที่กำหนดไว้สำหรับปฏิบัติพันธกิจของพระจิตเจ้า และเวลาแห่ง การเสด็จมาของพระองค์ในท่ามกลางมนุษย์ ได้มาถึงแล้ว คือ หลังการเสด็จสู่สวรรค์ของ องค์พระเยซูคริสตเจ้า ที่จริง องค์พระเยซูคริสตเจ้ายังทรงประทับอยู่ท่ามกลางบรรดาผู้มี ความเชื่อและแจกจ่ายพระคุณความดีทุกอย่างแก่พวกเขา แต่เมื่อเวลาที่กำหนดไว้มาถึง คือ เวลาที่พระเยซูเจ้าจะต้องเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อไปเฝ้าพระบิดา จึงจำเป็นที่พระองค์จะ ต้องแนะนำองค์พระจิตศักดิ์สิทธิ์ให้พวกศิษย์ติดตามพระองค์ ได้รู้จัก เพื่อว่า โดยผ่านทาง องค์พระจิตศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์จะได้สามารถติดต่อกับพวกเขาและประทับอยู่ท่ามกลาง ผู้มีความเชื่อ คือ พำนักอยู่ในจิตใจของพวกเขาได้ เพื่อพวกเขาเหล่านั้นจะได้สามารถเรียก พระเจ้าด้วยความไว้วางใจว่า “อับบา–พระบิดา” ได้ และสามารถปฏิบัติฤทธิ์กุศล-คุณธรรม ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อาศัยพลังของพระจิตเจ้าที่ประทับอยู่ในจิตใจของพวกเขา การที่องค์พระจิตศักดิ์สิทธิ์ทรงเปลี่ยนแปลงจิตใจของผู้ที่พระองค์ทรง ประทับอยู่ และฟื้นฟูชีวิตของพวกเขาใหม่นั้น เป็นความจริงที่เราสามารถยืนยันได้ ทั้งด้วย หลักฐานในพันธสัญญาเดิมและในพันธสัญญาใหม่ 20

Ad Gentes, 4


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

29

ในพันธสัญญาเดิม เราพบพยานเรื่องนี้ได้จากหนังสือของซามูแอล ฉบับ ที่หนึ่ง ที่บันทึกไว้ว่า “แล้วพระวิญญาณของพระเจ้าจะมา สถิตกับท่านอย่างมาก และท่าน จะเผยพระวจนะกับคนเหล่านั้น เปลี่ยนเป็นคนละคน” (1 ซมอ 10: 6) ส่วนในพันธสัญญา ใหม่ เราพบในจดหมายของเปาโลที่กล่าวแก่ชาวโครินธ์ว่า “เราทุกคนไม่มีผ้าคลุมใบหน้า จึงสะท้อนแสงสว่างรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าเหมือนกระจกเงา เปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ เดียวกับพระองค์ ทวีความรุ่งโรจน์ยิ่งๆ ขึ้น เดชะองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเป็นพระจิต” (2 คร 3: 18) นี่คือพระจิตผู้ประทานชีวิต หรือเป็นแหล่งน้ำพุสำหรับชีวิตนิรันดร (ยน 4: 14; 7: 38-39) ผ่านทางพระจิตเจ้า องค์พระบิดาเจ้าจะทรงประทานชีวิตใหม่ให้แก่มนุษย์ที่ตาย ไปเพราะบาป เพื่อว่าพวกเขาจะได้สามารถกลับคืนชีพขึ้นใหม่ในพระคริสตเจ้า พร้อมกับ กายที่ตายได้ของเขา (รม 8: 10-11) พระจิตเจ้าทรงประทับอยู่ในพระศาสนจักรและในจิตใจของบรรดาผู้มี ความเชื่อ เหมือนประทับอยู่ในพระวิหาร และพระองค์ทรงอธิษฐานภาวนาและเป็นพยาน ยืนยันในตัวของพวกเขาเหล่านั้นว่า พวกเขาคือ “บุตรบุญธรรมของพระเจ้า”21 ทั้งนี้ เพราะ ทุกคนที่มีความเชื่อต่างได้รับเชิญและได้รับเรียกให้มาสู่ความศักดิ์สิทธิ์และมีสถานะของ ความครบสมบูรณ์ ทุกคนจึงต้องพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้น โดยใช้สิ่งต่างๆ ของโลกที่มีในทางที่ถูกต้อง และตัดตัวเองจากความร่ำรวยต่างๆ ที่ตรง ข้ามกับจิตตารมณ์ความยากจนที่เป็นคำแนะนำของพระวรสาร และเป็นอุปสรรคขัดขวาง การมุ่งสู่การมีความรักที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ ท่านอัครสาวกเปาโลจึงได้กล่าวเตือนไว้ว่า “ผูท้ ่ีใช้ของของโลกนี้ จงเป็นเสมือนผูท้ ม่ี ิได้ใช้ เพราะโลกดังทีเ่ ป็นอยูก่ ำลังจะผ่านไป” (1 คร 7:3 1)

21

4 Lumen Gentium, 3.2 ความศั กดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรและในพระศาสนจักร


30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ในคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ได้พูดถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของ พระศาสนจักรว่า “เราเชือ่ ว่าพระศาสนจักรศักดิส์ ทิ ธิ์ไร้มลทิน ทีจ่ ริงองค์พระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า พร้อมกับพระบิดาและพระจิตศักดิ์สิทธิ์ ผู้ ได้รับการประกาศว่าเป็นผู้ที่ “ศักดิ์สิทธิ์แต่ผู้เดียว” ได้ทรงรักพระ ศาสนจักรเหมือนเป็นเจ้าสาวของพระองค์ และทรงมอบพระองค์ เองแก่พระศาสนจักร ท้ายที่สุด พระองค์ยังได้บันดาลความศักดิ์ สิทธิ์ ให้พระศาสนจักรและนำพระศาสนจักรเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว กับพระวรกายของพระองค์ และทรงเติมเต็มพระศาสจักรด้วย พระคุณของพระจิตเจ้า เพื่อเกียรติรุ่งโรจน์ของพระเจ้า”22 พระศาสนจักรจึงเป็น “ประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า”23 และสมาชิก ทุกคนของพระศาสนจักรต่างถูกเรียกว่าเป็น “คนศักดิ์สิทธิ์” (กจ 9: 13; 1คร 6: 1; 16: 1) ดังนั้น เป้าหมายของการปฏิบัติกิจการทุกอย่างของพระศาสนจักรจึงมุ่งมาบรรจบกันเพื่อ “การบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ ให้กับมนุษ ย์ทุกคน” และเพื่อเป็นการถวายเกียรติมงคลแด่ พระเจ้าในพระคริสตเจ้า ด้วยเหตุที่พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ เราจึงพบว่าในพระศาสนจักรมี “หน ทาง” หรือ “เครื่องมือทุกอย่างที่สมบูรณ์ยิ่งของความรอด” นี่หมายความว่า โดยผ่านทาง พระหรรษทานของพระเจ้า เราสามารถบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ได้ในพระศาสนจักรนั่นเอง24 พระศาสนจักรบนโลกจึงประกอบด้วยความศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริงแล้ว เพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์ นักเท่านั้น สมาชิกแต่ละคนในพระศาสนจักรจึงยังต้องพยายามบรรลุให้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ที่สมบูรณ์ครบครัน

22

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 823 Lumen Gentium, 12 24 คำสอนพระศาสนจั บทสรุปกรคาทอลิก ข้อ 824 23


การอภิบาลสู่ความศักดิ์สิทธิ์

31

ผู้มีความเชื่อทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะและชั้นวรรณะใด องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเรียกร้องให้ต่างคนต่างเดินตามทางเฉพาะของตนไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์อันสมบูรณ์ อย่าง ที่พระบิดาเจ้าเองเป็นผู้ดีบริบูรณ์ ดังนี้ พระศาสนจักรจึงเป็นหมู่คณะที่สมาชิกทุกคนได้ รับเรียกในพระคริสตเจ้า เพื่อ “ให้ ได้มา” ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยพระหรรษทานของ พระเจ้าคอยช่วยเหลือ คำว่า “ให้ ได้มา” ในที่นี้สื่อความหมายว่า ความศักดิ์สิทธิ์จะไม่ สามารถบรรลุถึงเป้าหมายหรือความสมบูรณ์ ได้เลย หากไม่ใช่ในพระเกียรติรุ่งโรจน์ของ พระเจ้าในสวรรค์ เมื่อเวลาแห่งการฟื้นฟูสรรพสิ่งในโลกมาถึง และเมื่อมนุษย์ทุกคนในโลก ได้เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ในพระคริสตเจ้า เมื่อมนุษย์ทุกคนเข้าสนิทเป็น หนึง่ เดียวกับพระคริสตเจ้าในพระศาสนจักร และได้รับการประทับตราโดย พระจิตเจ้า มนุษย์ก็จะได้รับหลัก ประกันที่จะได้รับมรดก (อฟ 1: 14) คือ การได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า ซึ่งเราก็เป็นเช่นนั้นจริง (1 ยน 3: 1) ด้วย ที่จริง ตราบจนถึงวาระ สุดท้าย ความบาดหมางอัน เนื่ อ งมาจากบาปยั ง คงผสม ปนอยู่กับข้าวพันธุ์ดีตามเรื่อง เล่ า ที่ เ ราพบในพระวรสาร (มธ. 13: 24-30)


32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ดังนั้น พระศาสนจักรจึงรวบรวมคนบาปทุกคนเหล่านี้ เพื่อนำทางไปสู่ความรอดในพระคริสตเจ้า โดยอาศัยวิธีการของ “การบันดาลความศักดิ์สิทธิ์” เพื่อว่า โฉมพระพักตร์ของ พระเยซูคริสตเจ้าจะได้ฉายแสงอยู่ในมนุษ ย์ทุกคน แม้จะมากน้อยแตกต่างกันไปก็ตาม การที่พระศาสนจักรสถาปนานักบุญคนใดคนหนึ่ง ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า พระศาสนจักร ยอมรับรู้ถึงพลังในการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ของพระจิตเจ้าว่า ทรงประทับอยู่ในเขาและ ดำเนินงานของพระองค์ในตัวเขาอย่างเกิดผล โดยทรงค้ำจุนความหวังให้เขา ให้มอบอุทิศ ตัวในความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละเป็นแบบอย่างสำหรับคนอืน่ พระศาสนจักรเอง โดยผ่านทางบรรดา ผู้ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น จึงได้พร่ำภาวนาวิงวอนขอคำเสนอวิงวอนจากพวกเขาเหล่านั้นอย่าง เสมอมิได้หยุดหย่อน เพื่อหวังให้สมาชิกที่เหลืออยู่ในพระศาสนจักรจะได้สามารถบรรลุถึง ความศักดิ์สิทธิ์เดียวกันนั้นด้วยเช่นกัน


งานอภิบาล คือ สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์

33

หมวดพระสัจธรรม

งานอภิบาล คือ

สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์ 1 บาทหลวงปรีชา ธรรมนิยม

พระเจ้าทรงรักพวกเรา พระองค์มี พระประสงค์ตลอดเวลาทีจ่ ะแบ่งปันความรัก ของพระองค์ พระเจ้าพระบิดาได้ทรงส่ง พระบุตรมาอยูท่ า่ มกลางมวลมนุษย์ยอมรับรู้ และน้อมรับความรักนี้ องค์พระคริสต์ทรง ถื อ และเรี ย กศิ ษ ย์ ช องพระองค์ ว่ า เพื่ อ น เปรียบเสมือนพระองค์ทรงเชื้อเชิญพวกเรา ให้รักตามแบบอย่างพระองค์

1

บาทหลวงคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (O.M.I.)

ในความเชือ่ ของพวกเรา สัจธรรม ก็คือ ความรักนำทางการเรียกเสมอ ไม่ว่า การเรียกนั้นจะทำให้เรากระตือรือร้น หรือ รบกวนพวกเรา หรือทำให้พวกเรากลัวเสีย ก่อนด้วยซ้ำไป แต่การเรียกนัน้ มีพระพรแห่ง ความรั ก ของพระเจ้ า ควบคู่ อ ยู่ ด้ ว ยเสมอ น้อมรับการเรียกนี้ คือ น้อมรับพระพรของ พระเจ้า ทุกการเรียกจึงพาพวกเราไปสู่การ ขอบพระคุณเสมอ


34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ผู้เรียบเรียงบทความนี้ใคร่ขอเขียน ในมุมมองนีข้ องงานอภิบาล โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งงานอภิบาลของพระสงฆ์ เราต้องตระหนักรู้ก่อนอื่นหมดว่า คริ ส ตศาสนิ ก ชนต้ อ งยุ่ ง เกี่ ย วไม่ ท างใดก็ ทางหนึ่งกับการเรียกให้รักนี้ และต้องพยายามถ่ายทอดความรักของพระเจ้าแก่ทุกคน ความสาละวนในการสร้ า งบรรยากาศที่ เอื้ อ ต่ อ การแบ่ ง ปั น พระพรแห่ ง ความรั ก แบ่งปันความเอื้ออาทร จะสร้างความเป็น หนึ่งเดียวระหว่างบรรดาผู้เชื่อในองค์พระคริสต์ นี่คือข่าวดี นี่คืองานอภิบาล สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์ คือ การ ประกาศข่าวดี การนำเสนอหรือถ่ายทอดข่าวดีใน โลกปั จ จุ บั น หรื อ การสานต่ อ ภารกิ จ ของ องค์พระคริสต์ เรียกร้องผู้นำเสนอ ผู้ถ่าย ทอดหรือผู้สานต่อฯ ให้ต้องรู้จักอย่างน้อย พระวรสารอย่างดีเสียก่อน เพือ่ จะได้สามารถ ส่งต่อข่าวดีนั้นได้อย่างมีประสิทธิผลไปยัง กลุ่มชนที่ตนกำลังทำงานอยู่ แน่นอนที่ว่า การรู้จักกลุ่มชนและบรรยากาศสภาพแวดล้ อ มของกลุ่ ม ชนเป็ น สิ่ ง สำคั ญ ยิ่ ง ในการ สื่อสารข่าวดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลก ปั จ จุ บั น ที่ ค รอบคลุ ม ด้ ว ยเทคโนโลยี ข อง

การสื่อสารหลากหลายรูปแบบ อันนำมา ซึ่งวิธีการมากมายของการถ่ายทอด สานต่อ ภารกิจขององค์พระคริสต์ สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้เน้นว่า ภารกิจการประกาศข่าวดีเริ่มจากการเพ่ง พิจารณา มองโลกปัจจุบันให้ถ่องแท้ก่อน “ความยินดีและความหวัง ความ เศร้าโศกและความกังวลต่างๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนยากไร้ที่ต้องทน ทุกข์กต็ อ้ งเป็นความยินดีและความหวัง เป็น ความโศกเศร้าและความกังวลของสานุศิษย์ขององค์พระคริสต์ด้วย ” ดั ง นี้ ในฐานะผู้ ป ระกาศข่ า วดี บรรดานายชุมพา/ผู้อภิบาลต้องพยายาม มองให้เห็น” เครื่องหมายแห่งกาลเวลา” ที่ บ่งบอกว่าเมล็ดพันธ์แห่งพระวาจาขององค์ พระเยซู แ ละแสงสว่ า งขององค์ พ ระจิ ต กำลั ง ทำงานในมวลมนุ ษ ย์ อ ยู่ แ ล้ ว การ ประกาศข่าวดีจึงมิ ใช่การประกาศหรือถ่าย ทอดพระวรสารแบบไหนหรือจากไหนก็ ได้ แต่ต้องเป็น” การยอมรับรู้และส่งเสริมแรง บั น ดาลใจของพระเจ้ า ที่ มี อ ยู่ ใ นประวั ติ ศาสตร์ของมนุษยชาติและพยายามเปลี่ยน แปรพัฒนาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ด้วย” การถ่ายทอดนี้จึงเป็นการเผย (แง้ม) แสดง ในเวลาเดียวกัน


งานอภิบาล คือ สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์

ด้วยเหตุน้ี สังคายนาวาติกนั ที่ 2 จึง ได้ส่งเสริมการทุ่มเทตนของบรรดาคริสตศาสนิ ก ชนในทุ ก กิ จ การของสั ง คม โดย แทรกเจตนารมณ์ แ ห่ ง พระวรสารลงใน กิจการต่างๆ เหล่านั้น เพื่อให้การถ่ายทอด พระวรสาร/การสานต่ อ ภารกิ จ ขององค์ พระคริสต์เป็นจริงในทุกเครือข่ายของชีวิต มนุษย์ ศาสนบริกรในทุกระดับ (นายชุมพา ผู้อภิบาล) ควรตระหนักในแนวความคิด และการปฏิบัตินี้อย่างเคร่งคัด ทุ ก ๆ วั น พวกเราเสพย์ ข่ า วสาร นานาชนิดที่ทันต่อเหตุการณ์ บางข่าวล้ำยุค ด้วยซ้ำไป แต่ทว่าทุกเหตุการณ์หาใช่ข่าวดี ไม่ ถ้าพวกเราลองถามคนทั่วๆ ไป ว่าข่าว ดีสำหรับพวกเขาคืออะไร พวกเราไม่ต้อง แปลกใจเท่าใดนักถ้าพบว่าหลากหลายของ คำตอบนั้นหาได้เกี่ยวโยงกับพระเจ้าหรือ เกี่ยวพันกับพระวรสารเลย เพราะส่วนมาก (รวมทั้งผู้ที่พวกเราเห็นว่าเป็นคนศรัทธาแก่ กล้า...) ข่าวดีของพวกเขา คือ การอยู่ดีกินดี ถูกหวยรวยทรัพย์ มีสุขภาพแข็งแรง มี งานทำ มีเพื่อนเยอะ และอะไรในทำนองนี้ ข่าวดี คือ องค์พระยซู พวกเราไม่มีวันขอบพระคุณพระเจ้าได้เท่าที่ควรและรู้คุณพระเจ้าได้อย่าง

35

จุใจ เมื่อเข้าใจว่าข่าวดีที่พระบิดาเจ้าทรง มอบให้พวกเรานั้น คือ ข่าวดีแห่งองค์พระเยซูคริสต์ บุตรพระเจ้าผู้ ได้สิ้นพระชนม์ และกลั บ คื น พระชนมชี พ เพื่ อ พวกเราได้ เป็นอิสระ เป็นที่ยอมรับว่าพวกเราไม่สามารถ สัมผัสองค์พระเยซูได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ พยานยืนยันเป็นข้อเขียนของพระวรสารทำ ให้พวกเราเข้าถึงองค์พระเยซูคริสต์ ได้ และ ความเชื่อที่พวกเราได้รับเผยแสดงให้พวก เรารู้ว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า ที่เสด็จลงมาทำตามพระประสงค์ของพระ บิดาเจ้าเพื่อคุณประโยชน์ของมวลมนุษ ย์ พระองค์เป็น “พระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้” เป็น “องค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง” แต่บางทีอาจเป็นไปได้วา่ พวกเรากล่าวอย่าง อัตโนมัติจนลืมเข้าถึงธรรมล้ำลึก พระวรสารบรรจงเขียนอย่างดีว่า ตลอดพระชนมชีพ องค์พระเยซูได้ทรงชีห้ น ทางแห่งความรักเมตตาและการให้อภัยเพือ่ กลับคืนดี (กับพระเจ้า) อันเป็นพระพรแสน ล้ำเลิศ พระพรแห่งการให้อภัยเพื่อได้กลับ คืนดีนี้ ทำให้พวกเราได้กลับมาเป็นปวงธิดา และบุตรของพระเจ้า และหลายต่อหลายคน ได้กลายเป็นพยานที่แท้จริงแห่งความรัก นี้


36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

คริสตศาสนิกชนร่วมสมัยไม่ใช่นอ้ ย ที่หันหลังให้วัด เบือนหน้าหนีจากความเชื่อ ของคริสต์ศาสนา ก็เพราะพวกเขาเข้าใจผิด และบิดเบือนภาพลักษณ์ของพระเจ้า โดย เชื่อว่าถ้าพระเจ้ามีจริง ความเลวร้าย ความ ทุกข์เวทนา ความอยุติธรรมและความตาย คงไม่ปรากฏตัวแน่ๆ เมื่อเผชิญกับความชั่ว ร้ายพวกเขาจึงถอยห่าง อาจเป็นได้เช่นกัน ที่พวกเขาสับสนจากได้รับข่าวดี ไม่ว่าจะมา จากครูสอนหลักความเชื่อหรือจากการฟัง เทศน์ โดยท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ในการถ่าย ทอดข่าวดีสับสนเสียเองในการสื่อคำสอน อันน่าอัศจรรย์ ใจและนำความรอดพ้นเป็น ไทมาให้ กับคำสอนทีเ่ ข้มงวดและแนวความ คิ ด ทางจริ ย ธรรมที่ บิ ด เบื อ นความ หมายอันลุ่มลึกของข่าวดี นั้น อาจเป็นเพราะ ยังไม่ได้เพ่งรำพึง พระวรสารอย่าง ลุ่มลึกเพียงพอ ผู้ประกาศ ข่ า วดี ผู้ ถ่ า ย ทอดพระวรสาร ผูอ้ ภิบาลต้องตระหนั ก ในความเป็ น จริ ง ข้อนี้

จึ ง จำเป็ น ที่ ผู้ ส านต่ อ ภารกิ จ ของ องค์พระคริสต์ ผูอ้ ภิบาลทัง้ หลายต้องพยายามประกาศพระวรสารแท้ที่เผยแสดงภาพ ลักษณ์แท้ของพระเจ้า และพยายามถ่าย ทอดให้ทกุ คนได้ยอมรับรูว้ า่ ข่าวดีนน้ั เป็นขุม ทรัพย์อันประเสริฐที่สามารถทำให้พวกเรา เจริญชีวติ ด้วยความปิตยิ นิ ดีในฐานะลูกของ พระเจ้า กี่ ค รั้ ง กี่ ห นที่ อ งค์ พ ระเยซู ไ ด้ ต รั ส สอนบรรดาศิ ษ ย์ แ ละผู้ ที่ ฟั ง พระองค์ ถึ ง ความสัมพันธ์ที่พระองค์ทรงปรารถนาสร้าง กับพวกเขา พระองค์ทรงค่อยๆ ทำโดยเริ่ม จากการตรัสกับพวกเขาในฐานะเพื่อนของ พระองค์ ต่อไปพระองค์ตรัสว่าสองหรือสาม คนร่ ว มใจกั น ภาวนาในนามของพระองค์ พระองค์ก็จะอยู่กับพวกเขา จนในที่สุดพระองค์ทรง เผยธรรมอั น ล้ ำ ลึ ก ว่า “ใครกินเนื้อเรา และดื่ ม โลหิ ต เรา จะมีชีวิตในเรา” นี่คือ ข่าวสุด ประเสริ ฐ ในองค์ พระบุตร พระเจ้าทรง ปรารถนาสนิ ท แนบแน่ น กับพวกเรามนุษย์ คำกล่าวของ


งานอภิบาล คือ สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์

นักบุญเปาโล “ท่านเป็นร่างกายขององค์ พระคริสต์” คงช่วยพวกเราให้รำพึงถึงข่าว ดีนี้ได้อย่างลุ่มลึกขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของเรา ทุกคนที่จะต้องให้ข่าวดีนี้มีบทบาทสำคัญ ในชีวิตของเราให้เป็นจริงให้มากที่สุด ผู้ ส านต่ อ ภารกิ จ ขององค์ พ ระเยซู ค ริ ส ต์ พิเศษ ปีพระสงฆ์เพิง่ ผ่านไป คงไม่ลา้ สมัย เกินไปที่จะเชิญให้มองดูความเป็นสงฆ์ของ เราให้ลุ่มลึกขึ้น ในฐานะผู้สานต่อภารกิจ ขององค์พระเยซูคริสต์พิเศษและในฐานะ เป็นผูอ้ ภิบาลพิเศษ (พิเศษในบทความนีม้ ิได้ หมายความดีกว่า) พระวรสารตามคำเล่าของนักบุญ ยอห์นเล่าเหตุการณ์ที่ องค์พระเยซูทรงล้าง เท้าบรรดาอัครธรรมทูต ในการทานอาหาร มื้อสุดท้ายของพระองค์กับพวกเขา (ยน. 13: 1-13 เที ย บประกาศกอิ ส ยาห์ ผู้ ไ ด้ บรรยายถึงผู้รับใช้ของพระเจ้า ไว้หลายแห่ง ( อสย. 42: 1-3; 49: 1-6; 50: 4-11; 52: 13; 53: 12 ) การล้างเท้า เป็นการกระทำของ ทาส คงต้องรับสภาพความจริงในเวลานั้น ว่ า การกระทำนี้ เ ป็ น ของผู้ ที่ ไ ม่ มี อิ ส รภาพ ไม่มีพื้นเพ ไม่มีชาติตระกูล ยกเว้นในกรณี

37

ของผู้ ที่ ตั อ งการแสดงความเคารพรู้ คุ ณ เช่น ในกรณีของลูกที่ปรารถนาแสดงสิ่งนี้ ต่อผู้เป็นบิดา จะให้เราเข้าใจได้ถ่องแท้อย่างไรใน เมื่อสิ่งที่องค์พระเยซุทรงกระทำคว่ำแนว ความคิดของคนทั่วไป ๐ พระเจ้าคุกเข่าตรงหน้ามนุษ ย์ องค์พระเยซูทรงคุกเข่าตรงหน้าอัครธรรมทูต เหมือนที่พระองค์จะทรงกระทำอีก ณ สวนเกทเสมานี ตรงหน้าพระบิดาเจ้า ๐ พระเจ้ามีพระประสงค์แสดงให้ รู้ว่าพระองค์ทรงให้เกียรติมนุษ ย์มากแค่ ไหน ทรงยกย่องสถานภาพมนุษย์มากเพียง ไร พระเจ้าเชื่อและหวังในมนุษย์เสมอ มาก กว่ามนุษ ย์เชื่อพระเจ้าหรือแม้กระทั่งเชื่อ


38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ตัวเอง อัครธรรมทูตเปาโลได้รำพึงไตร่ตรองอย่างลุ่มลึกและเข้าถึงการเผยแสดง ธรรมล้ำลึกของความเป็นพระเจ้านี้ได้ ท่าน นั ก บุ ญ ได้ ป ล่อยให้พระผู้รับ “สภาพผู้รับ ใช้” กำหัวใจท่าน ทำให้ท่านเข้าในความรู้ ธรรมล้ำลึกของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึง วอนขอให้ ค ริ ส ตศาสนิ ก ชนเดิ น ตามองค์ พระเยซูในหนทางของการรับใช้ในหนทาง แห่งกางเขน “จงมีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับ ที่ พ ระคริ ส ตเยซู ท รงมี เ ถิ ด ” (ฟบ.2: 5) “เช่นเดียวกับพระคริสต์” ก็แปลว่าต้องมี พฤติกรรมเยี่ยงองค์พระคริสต์ พฤติกรรม แบบผู้ รั บ ใช้ ที่ ไ ม่ มี ใ ครคาดคิ ด และที่ จ ะ อธิบายด้วยเหตุผลของมนุษย์ ได้ “แม้ ว่ า พระองค์ ท รงมี ธ รรมชาติ พระเจ้า พระองค์มิได้ทรงถือว่าศักดิศ์ รีเสมอ พระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่ต้องหวงแหน แต่ทรงสละ (เปลื้อง) พระองค์จน หมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส มาเป็นมนุษย์ ดุจเรา ทรงยอมถ่อมองค์จนถึงกับทรงยอม รับแม้ความตาย และเป็นความตาย ณ ไม้ กางเขน” (ฟิลิปปี 2: 6- 8) สังฆภาพจึงหาใช่สิทธิไม่ หมาย ความว่าชีวิตสงฆ์/ชีวิตผู้อภิบาลพิเศษหา

ใช่เอกสิทธิ์หรืออภิสิทธิ์อันเป็นความคิดที่ หลายต่ อ หลายครั้ ง อยู่ ใ นหรื อ เบื้ อ งหลั ง สมองของพวกเรา จนทำให้ เ ราเทิ ด ทู น พระสงฆ์ สู ง เกิ น กว่ า สถานภาพ/ฐานะที่ ควรจะเป็น ต้องยอมรับว่าพระสงฆ์ ได้รับ เรียกก่อน - ไม่ใช่เขาเสนอตัวเองก่อน แม้ใน สภาพความเป็นจริงบางกรณีเป็นเช่นนั้น แต่เป็นพระเจ้าที่เรียกเขาก่อนถ้าเขาตอบ รับ ดังนี้ พระสงฆ์ (หรือแม้แต่ใครก็ตาม) ไม่มีสิทธิ์โอ้อวดตนเองด้วยความหยิ่งผยอง เลย (อาจอนุญาตให้มีความภูมิใจนิดๆ ได้ รู้ว่าตนเองอาจเก่งกว่าคนอื่นไม่ผิดอะไร แต่ อวดตัวว่าเก่งกว่าคนอืน่ คงไม่สวยเท่าใดนัก) แต่เป็นพระพร หมายความว่า เป็น ของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ - น่าจะไตร่ ตรองบทภาวนาที่พระสังฆราชสวดในพิธี บวชพระสงฆ์- เราไม่ควรลืมว่าสังฆภาพเป็น พระพร/ของขวัญที่จำเป็นและสำคัญจาก พระเจ้าอันทำให้ทุกคนทั้งสัตบุรุษและบรรดาพระสงฆ์ได้รบั เกียรติและศักดิศ์ รี เกียรติ และศั ก ดิ์ ศ รี นี้ ไ ม่ ไ ด้ ม าจากมนุ ษ ย์ แ ต่ เ ป็ น พระพร/พระหรรษทานที่ ไม่มี ใครสามารถ จะทวงว่าเป็นสิทธิ์ของตนได้ ดังนี้ศักดิ์ศรี ของชีวิตสงฆ์ที่ได้รับจากพระเจ้าต้องได้รับ การถ่ายทอดให้เห็นชัดในชีวิตของพระสงฆ์ ในความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นั่ น คื อ มี ชี วิ ต สนิ ท กั บ


งานอภิบาล คือ สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์

พระเจ้า ในบุคลิกของการต้อนรับ คือ พยายามมีมิตรไมตรีต่อทุกคน ในความสุภาพ ถ่อมตน รู้สภาพฐานะของตน รู้ว่าตนเอง ทำอะไรในความรักเผื่อแผ่ เมตตาอารี เอื้อ อาทร ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ดำเนินไปภาย ใต้ความสัตย์ซื่อต่อพระวรสารและต่อหลัก ความเชื่อของพระศาสนจักร พระสงฆ์ผเู้ ป็นนายชุมพา/ผูอ้ ภิบาล พิเศษควรเตือนตนเองเสมอว่าตนเองได้รับ พระพรแห่งชีวิตสงฆ์นี้นี้มาจากพระเจ้า แม้ ตนเองไม่ เ หมาะสมหรื อ สมควรได้ รั บ แต่ พระพรนี้ต้องสะท้อนให้เห็นการประทับอยู่ ของพระผู้สูงสุดเพื่อความรอดพ้นของมวล มนุษย์ พระสงฆ์ผเู้ ป็นนายชุมพา/ผูอ้ ภิบาล พิเศษจึงไม่ควรเพียงปฏิบัติศาสนบริการใน ขอบข่ายของจริยธรรมที่เข้มงวดเท่านั้น แต่ ควรให้ศาสนบริการของตนมุ่งไปสู่การชีวิต คริสตชนโดยแท้ สัตย์ซื่อจริงจังต่อพระวรสารโดยคำนึ ง ถึ ง สภาพแวดล้ อ มและ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ เขาจะเชื่อว่าเราเป็นสงฆ์แท้ นาย ชุมพาแท้ ผูอ้ ภิบาลแท้กเ็ พราะเราได้สะท้อน ภาพขององค์พระคริสต์ผู้เป็นนายชุมพาสูง สุดให้เห็น

39

จึ ง จำเป็ น ต้ อ งเน้ น ศาสนบริ ก าร อภิบาลในสามลักษณะ หนึง่ ก็คอื ต้องไม่ถอื ว่าศาสนบริการ นี้ เป็นภาระหนักที่ต้องแบก หรือทำเพียง เพื่อหน้าที่ หรือจำเป็นต้องทำเพราะได้รับ การบวชมา แต่ควรปฏิบัติศาสนบริการด้วย สมัครใจ ตามแบบของพระเยซูที่สัตย์ซื่อ พระบิดาเจ้าจนถึงกับยอมรับความตาย หนึ่ง ก็คือการปฏิบัติศาสนบริการ นี้ มิใช่เพื่อหวังผลประโยชน์ แต่ด้วยใจ เอื้ออาทร ตรงนี้เองที่บ่งบอกความแตกต่าง คนรับจ้างเลีย้ งแกะกับนายชุมพาทีด่ ี (ยอห์น 10: 11-14) หนึ่ง ก็คือการไม่ปฎิบัติศาสนบริการนี้ประดุจหัวหน้าของบรรดาสัตบุรุษ ชี้ นิ้วสั่งการแม้ในหลายกรณีคำสุดท้ายอาจ จะเป็นของตน แต่ต้องปฏิบัติศาสนบริการ นี้ประดุจตัวเองเป็นแม่แบบ เพราะว่าสัตบุรุษไม่ใช่ของตัวเองแต่เป็นของพระเจ้า จึง ต้องพยายามเดินไปกับพวกเขามุ่งสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์ ปฏิบตั ศิ าสนบริการในรูปแบบนี ้ อาจ เป็นการจุดประกายความหวังว่าจะมีแสง เรืองๆเกิดขึ้นในความมืดของสังคม/วัฒนธรรมที่ไม่ต้องการพระเจ้า ( เทียบ. Msgr. Mauro PIACENZA)


40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ไม่ควรละเลยไตรมิติ/ไตรภารกิจ ของความเป็นสงฆ์ ในวันที่เราได้รับศีลบวช พระสงฆ์ ไ ด้ รั บ การเจิ ม และเสกจากองค์ พระจิ ตให้ น้ อ มรั บ ศาสนบริ ก ารแห่ ง สงฆ์ ขององค์พระคริสต์พระองค์ทรงเป็นประกาศกของพระเจ้า (พระวาจาของพระเจ้า) เป็นพระสงฆ์สูงสุด (ผู้ประสาทความศักดิ์สิทธิ์) เป็นนายชุมพาและผู้นำมนุษยชาติ พระสงฆ์ผเู้ ป็นนายชุมพา/ผูอ้ ภิบาล พิเศษควรส่งเสริมและเอื้ออำนวยให้ประชา สัตบุรุษ ฟัง น้อมรับ รักพระวาจาของพระเจ้าอันเป็นท่อธารแห่งความเชือ่ และให้พวก เขาเจริญชีวิตด้วยพระวาจานั้น ตรงนี้จึง ควรหมายถึงการเทศน์ที่ดีอันนำไปสู่การ อบรมและเสริมสร้างความเชื่อของประชา สั ต บุ รุ ษ (มิ ใช่เทศน์เพื่อสนุกโดยหวังให้ ประชาสัตบุรุษ จำได้เท่านั้น) พระสงฆ์ผเู้ ป็นนายชุมพา/ผูอ้ ภิบาล พิ เ ศษไม่ ค วรถอยหรื อ กลั ว ที่ ต้ อ งปกป้ อ ง ความเชื่อของประชาสัตบุรุษให้อยู่ในคำสั่ง สอนของพระศาสนจักร แต่พวกเขาหาใช่ ผู้เทศน์สอนสัจธรรม/ความเชื่อของพวก เขาไม่ พวกเขาเป็นเพียงศาสนบริกร/ข้าช่วง ใช้ผู้ประกาศสัจธรรมของพระเจ้าและของ พระศาสนจักร (เราต้องสอนด้วย มิใช่ตาม ใจสัตบุรษุ ลูกเดียว แต่สอนด้วยความปรานี .....)

พระสงฆ์ผเู้ ป็นนายชุมพา/ผูอ้ ภิบาล พิเศษได้รับเรียกให้เป็น “ศาสนบริกรของ สงฆภาพขององค์ พ ระคริ ส ต์ เพื่ อ สร้ า ง ความศักดิ์สิทธิ์ให้ประชาสัตบุรุษ ผ่านทาง ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ “บู ช าขอบพระคุ ณ และศี ล แห่ ง การคื น ดี จึ ง ต้ อ งเป็ น การเฉลิ ม ฉลอง ที่ให้ความหมายยิ่งแก่ชีวิตคริสตชน (ขอ ฝากไว้คิดสำหรับนักเทวศาสตร์ ก็คือ เรา อาจลืมไปหรือเปล่าว่าบูชาขอบพระคุณนั้น มีมิติสากล (Universal/Catholic) อยู่ในนั้น เพราะพวกเราเฉลิมฉลองทุกบูชาขอบพระคุณพร้อมกับพระศาสนจักรทั้งครบ ดังนี้จึง ไม่มีบูชาขอบพระคุณใดเลยที่เป็นส่วนตัว) สุดท้าย ก็คือ สงฆ์ถูกขอร้องให้เป็น “นายชุมพาที่ดี ที่ใจดีของปวงประชา” ตาม แบบอย่างขององค์พระคริสต์ นายชุมพา เลิศ ผู้ใจปรานี พระสงฆ์ ไม่ควรละเลยและ เป็นห่วงชีวิตธรรมจิตของคริสตศาสนิกชน ไม่ควรใช้กจิ กรรมหลากหลายทางสังคมเป็น ข้ อ อ้ า งเพื่ อ เลี่ ย งความดู แ ลวิ ญ ญาณของ ประชาสัตบุรุษ ผู้หวังก่อนอื่นหมดว่าพวก เขาจะได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากศาสนบริกรของพระเจ้า (เทียบ Cardinal Odilo Scherer, l’archbishop of San Paulo)


งานอภิบาล คือ สานต่อภารกิจขององค์พระคริสต์

สรุป แม้อาจไม่เป็นความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เราคงพูดได้ว่าโลกปัจจุบันกำลังลืม/ ไม่ต้องการองค์พระคริสต์ เป็นหน้าที่ของ พระสงฆ์ผู้เป็นนายชุมพา/ผู้อภิบาลพิเศษ แม้จะยากลำบากเพียงใด - ที่ต้องทำให้โลก รู้จักองค์พระคริสต์ให้มากขึ้นให้จงได้ เพื่อ ทุกคนจะได้สัมผัสความรักของพระเจ้าที่มี อย่างเหลือล้นต่อมวลมนุษ ย์ผ่านทางองค์ พระเยซูคริสต์ ผู้ ได้ทรงเรียกพวกเขาให้มา รับใช้พระศาสนจักรและมวลมนุษย์ อัครธรรมทูตเปาโลเปรียบศาสนบริกร(ข้ารับใช้)ของพระศาสนจักร ประดุจ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” “ขอให้คนทั้งหลายยอมยึดถือว่า เราเป็นผู้รับใช้ขององค์พระคริสต์เป็นผู้จัด การดูแลธรรมล้ำลึกของพระเจ้า คุณสมบัติ ที่เขาหาในตัว ผู้จัดการ ก็คือ ต้องเป็นผู้ ที่วางใจได้” ( เทียบ 1 โครินธ์ 4: 1-2 ) พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้ ทรงให้ขอ้ คิดไว้วา่ ผูจ้ ดั การดูแลผลประโยชน์ ต้องเป็นผู้คอยจัดการดูแลทรัพย์สินของ เจ้าของ แต่เขาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินพระสงฆ์ผู้เป็นนายชุมพา/ผู้อภิบาลพิเศษได้รับ

41

ทรั ย ากรแห่ ง ความรอดพ้ น มากมายจาก องค์พระคริสต์ เพื่อนำไปแจกจ่าย แบ่งปัน ดังเห็นสมควรแก่ผทู้ ต่ี นถูกส่งไปทำงานด้วย เป็นทรัพย์สมบัติทางความเชื่อ พวกเขาจึง เป็ น ” คนของพระธรรมล้ ำ ลึ ก แห่ ง ความ เชือ่ ” และไม่ควรอวดอ้างว่าตนเป็นเจ้าของ “ทรัพยากรแห่งความรอดพ้น” นี้ เพราะ ทุกคนเป็นผู้ ได้รบั ผลประโยชน์ดว้ ยกันทัง้ นัน้ พวกเขาเป็ น ของพระเจ้ า ต้ อ งสานต่ อ ภารกิจขององค์พระคริสต์ พระผู้ช่วยให้ รอดพ้นและองค์พระเมตตาต่อคนบาป (เรา คงจำเนื้อความของพระวรสารได้ดี ที่องค์ พระเยซูตรัสกับสตรีคนนั้นว่า “เราก็ไม่ลง โทษเธอ ไปเถิด แล้วอย่าทำบาปอีก”) ต้อง มุ่งให้มนุษย์/สัตบุรุษได้พบความสุขแท้ พบ สันติแท้ พบความยินดีแท้ตั้งแต่บัดนี้เป็น ต้นไป ภารกิจนี้เชิญให้พระสงฆ์ต้องเป็น ชุมพาบาลที่ดีเพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของ องค์พระคริสต์ อำนาจหน้าที่ที่พวกเขามี คือ อำนาจหน้าที่ของผู้รับใช้ด้วยความรัก ต้องทุ่มเทตน/มอบชีวิตของตนก่อนเพื่อ ทุกคนจะสามารถมอบตนเองพร้อมกับพวก เขาแด่พระเจ้าได้

การมอบถวายร่วมกัน ก็คือ การรู้คุณและขอบคุณพระเจ้านั่นเอง


42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

หมวดปรัชญา

ปรัชญากับงานอภิบาล 1 กีรติ บุญเจือ

ปรัชญาคืออะไร ปรัชญา คือ วิชาว่าด้วยความคิด ของมนุษย์ มนุษ ย์เราอยากรู้อะไรก็จะมีผู้หา ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสอน เช่น อยาก รูเ้ รือ่ งดินก็มวี ชิ าธรณีวทิ ยาสอน อยากรูเ้ รือ่ ง น้ำก็มีอุทกศาสตร์สอน อยากรู้เรื่องลมก็มี วิชาอุตุนิยมวิทยาสอน อยากรู้เรื่องไฟก็มี

1

วิชาไฟฟ้าสอน อยากรูเ้ รือ่ งฟ้าก็มวี ชิ าดาราศาสตร์สอน อยากรู้เรื่องหัวใจก็มีวิชากายวิภาคสอน อยากรู้เรื่องการย่อยอาหารก็มี วิชาสรีรวิทยาสอน อยากรู้เรื่องพระเป็นเจ้า ก็มีวิชาเทววิทยาสอน อยากรู้เรื่องชีวิตหลัง ความตายก็มีวิชาอันตวิทยาสอน และที่สุด อยากรู้เรื่องความคิดของมนุษ ย์ว่ามนุษ ย์ คิดอย่างไร คิดอะไรบ้าง คิดแล้วได้ความรู้

กีรติ บุญเจือ ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต อดีต สนช. อนุกรรมการคุณธรรมและจริยธรรมของ ปปช. อดีต หัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา ประธานโครงการอบรมวิทยากรเพื่อจริยศาสตร์ของ ปปช. อมรมให้ฟรีเพื่อเป็นวิทยากร ทั่วประเทศ โทร. 08-6045-5299


ปรัชญากับงานอภิบาล

อะไรบ้าง ได้ความจริงอะไรบ้าง เชื่อได้ แค่ไหน เหล่านี้ก็มีวิชาปรัชญาสอน งานอภิบาลต้องรู้ปรัชญาไหม งานอภิบาล คือ การที่ผู้รู้มากกว่า หรือสามารถมากกว่า (อาจจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช หรือฆราวาส) ดูแลช่วยเหลือผูร้ หู้ รือ สามารถน้อยกว่า เพื่อให้ทำหน้าที่คริสตชน ได้อย่างเหมาะสมที่สุดเท่าที่จะทำได้ พูด ง่ายๆ ก็คือ คริสตชนช่วยกันดูแลให้ดำเนิน ชีวิตคริสตชนได้ดีที่สุด สัตบุรุษ จึงต้องการ พระสงฆ์และซิสเตอร์ช่วยอภิบาล พระสงฆ์ และซิสเตอร์ก็ต้องการสังฆราชและผู้อาวุโส กว่ า ช่ ว ยอภิ บ าล พระสั ง ฆราชก็ ต้ อ งการ วิ ญ ญาณารั ก ษ์ แ ละพระสั น ตะปาปาช่ ว ย อภิบาล พระสันตะปาปาก็ต้องการวิญญาณารักษ์ชว่ ยอภิบาล รวมความว่าทุกคนต้องการให้มีผู้รู้และสามารถมากกว่าตน อย่าง น้อยในบางด้านช่วยแนะนำการอภิบาล วน เวียนกันไปวนเวียนกันมาในพระศาสนจักร ที่กำลังเดินทางในโลกนี้ อภิบาลเรื่องอะไร อภิบาล คือ ช่วยดูแลเรื่องที่จะช่วย ป้องกันมิ ให้เสื่อมถอยจากความศักดิ์สิทธิ์ แห่งชีวิตคริสตชน และส่งเสริมให้ก้าวหน้า ในความศักดิ์สิทธิ์แห่งชีวิตคริสตชน

43

ความศักดิ์สิทธิ์แห่งชีวิตคริสตชน เริ่มจากความรอบรู้เรื่องความศักดิ์สิทธิ์แห่ง ชีวิตคริสตชน รู้แล้วต้องการกำลังใจที่จะ เดินตาม ซึ่งถ้ารู้เทคนิคการจูงใจด้วยกาย (ตัวอย่างอันดีงาม) วาจา (คำพูดหว่านล้อม อย่ า งชาญฉลาด) ใจ (ความหวั ง ดี อ ย่ า ง บริสุทธิ์ใจ) ก็ถือว่าเป็นพระพรที่เป็นเครื่อง มื อ สร้ า งความพร้ อ มให้ พ ระหรรษทาน ทำงานได้อย่างคล่องสะดวกมากขึ้น ผู้เป็น นักบุญโดยสถานภาพ (คือ ไม่จำเป็นต้อง มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ) มักจะเริ่ม จากการได้พบผู้อภิบาลที่มีความรอบรู้ มี ความชาญฉลาด และมีน้ำใจดีเสียสละ รวมความว่าการอภิบาล คือ การ ช่ ว ยเหลื อ กั น ระหว่ า งใจต่ อ ใจเป็ น สำคั ญ


44 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

อย่างอื่นเป็นเรื่องประกอบภายนอก พระหรรษทานเป็ น ปั จ จั ย เอก ใจที่ พ ร้ อ มเป็ น ปัจจัยเสริมมีความสำคัญยิง่ ยวดในส่วนของ มนุษย์ผู้เป็นเครื่องมือของพระหรรษทาน ใจคนมี 2 ห้อง (เฉพาะหัวใจจึงมี 4 ห้อง สำหรับสูบฉีดโลหิต) ใจห้องขวา บรรจุความคิด ห้องซ้ายบรรจุอารมณ์ ห้อง ขวาจึ ง เป็ น เรื่ อ งของปรั ช ญาโดยเฉพาะ เพราะปรัชญาคือวิชาว่าด้วยความคิดของ มนุษย์ จะรู้หรือไม่รู้ปรัชญา ใจห้องขวาก็มี ความคิดเต็มเปี่ยมอยู่วันยังค่ำ ไม่รู้เรื่อง ปรัชญาก็ไม่เป็นไร ใช้ความคิดได้อยู่แต่ใช้ อย่างสะเปะสะปะไม่มีเทคนิค รู้อย่างผิดๆ ก็ยิ่งแย่ใหญ่ ไม่รู้เสียยังจะดีกว่า เพราะแค่ สะเปะสะปะยังไม่หลงทาง เดินจ้ำอ้าวๆแต่ หลงทาง ปล่อยให้สะเปะสะปะอยู่ตามเดิม ยังจะดีกว่า หลงทางบ้างก็ไปไม่ไกล เมือ่ ก่อนเณรใหญ่ตอ้ งเรียนปรัชญา เพือ่ รูเ้ รือ่ งเทววิทยา และเรียนเทววิทยาเพือ่ ให้สอบผ่าน มิฉะนั้นไม่จบ งานอภิบาลไม่ เห็นต้องใช้ปรัชญาและเทววิทยา เพราะเป็น คนละเรื่องกัน เป็น 3 เรื่อง เรื่องของใคร เรื่องของมัน ใครเก่งปรัชญาจะไม่เก่งเทววิทยาเพราะจำไม่แม่น ใครเก่งเทววิทยาไม่ ต้องอภิบาล เพราะจำพระคัมภีร์มาท่องให้ ฟังไม่ช่วยแก้ปัญหาอภิบาล ใครเก่งอภิบาล

ต้องใช้พรแสวงหาเอาเอง เพราะเป็นเทคนิค ที่สอนกันไม่ได้ ปรัชญา เทววิทยา และการ อภิบาลจึงอยูก่ นั คนละโลก ปรัชญาอย่างนัน้ เขาเรียกว่าปรัชญานวยุคนิยม (Modernism) เดี๋ยวนี้มีปรัชญาแผนใหม่ เรียกว่า หลังนวยุคนิยมแบบสายกลาง (In Medio stat Virtus) ซึ่งเมื่อรู้อย่างถ่องแท้ (ซึ่งไม่ ยาก) จะพบว่า ปรัชญา เทววิทยา และ อภิบาล เป็นเรื่องเดียวกัน ตามกฎมีดโกน ของอาคเขิม (Occam’s Razor) ประหยัด เวลา เรียนเรื่องเดียวอย่างง่ายใช้ ได้ทั้ง 3 ด้าน จะเรียน 3 เรื่องแยกกันไปทำไม ปรัชญาหลังนวยุคแบบสายกลาง เป็นปรัชญาอ่านใจคนด้วยทฤษฎีกระบวน ทรรศน์ 5 เป็นปรัชญาที่พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยอัตโนมัติ เป็นคุณธรรมจริยธรรมในตัว เรียนรู้ปรัชญานี้แล้ว (ซึ่งไม่ยากใครๆ ก็ เรียนได้และใช้ประโยชน์ ได้) จะรู้น้ำพระทัย ของพระเป็นเจ้าว่าให้เราพัฒนาคุณภาพ ชีวิตไปทางไหน เทววิทยาจะมีอะไรสำคัญ มากกว่านี้ ไม่ตอ้ งอ่านคัมภีรท์ งั้ เล่มก็พฒ ั นา คุณภาพชีวิตได้แล้ว จะเลือกอ่านตรงไหนก็ มีแต่การพัฒนาคุณภาพชีวติ ทัง้ นัน้ สุดยอด ของเทววิทยาอยู่ตรงนี้แหละ และเมื่อรู้จัก คิ ด ปรั ช ญาและอ่ า นพระคั ม ภี ร์ เ พื่ อ การ พัฒนาคุณภาพชีวิต อภิบาลก็สมบูรณ์แบบ


ปรัชญากับงานอภิบาล

ลองคิดปรัชญากันดูสักหน่อยจะดี ไหม จะได้เห็นจริงใครอยากทดลองทำอภิบาลด้ ว ยปรั ช ญา ยิ น ดี เ ป็ น วิ ท ยาการให้ สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน การอภิบาลตามกระบวนทรรศน์ คนกระบวนทรรศน์ที่ 1 เป็นพวก ถือหลักการ “Without God you can do nothing. (ท่านทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าพระเป็นเจ้าไม่ทรงช่วย) จึงมีแนวโน้มที่จะขอ เบื้องบนชี้ทางให้ก่อนที่จะใช้ความพยายาม ของตนเอง และจะออกแรงทำการก็ต่อเมื่อ ได้เห็นชัดเสียก่อนว่าพระเป็นเจ้าทรงชี้แนะ ให้ทำ การชี้แนะของพระเป็นเจ้าอาจจะมา จากความรู้ สึ ก ว่ า มี เ สี ย งของพระเป็ น เจ้ า บอกในใจลึกๆ หรือผู้แทนของพระเป็นเจ้า บอกว่าพระเป็นเจ้าต้องการให้ทำอะไร ถ้า ได้รับการประจักษ์มาบอกชัดๆ ก็ยิ่งชอบ เพราะมั่นใจดีและในส่วนลึกๆ ของคนกลุ่ม นี้ก็มักจะหวังอยากให้พระองค์เมตตาเรา เป็นพิเศษกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เราไม่ชอบหน้า

45

จริ ต ของพวกนี้ ก็ คื อ แข่ ง ขั น กั น เอาใจพระเป็นเจ้า และชอบโอ้อวดว่าตนได้ รับพรพิเศษอย่างโน้นอย่างนี้ เพื่อข่มคน อื่นรอบข้าง ทั้งนี้ไม่รวมคนที่ได้รับพรจริงๆ ซึ่งจะสงบเสงี่ยมเจียมตน คนกระบวนทรรศน์ที่ 2 เป็นพวก ถือหลักการ “God helps only those who help themselves พระเป็นเจ้าทรงช่วย เฉพาะผู้ที่ช่วยตนเองก่อน” พวกนี้เชื่อว่าใน เมื่ อ พระเป็ น เจ้ า ทรงสร้ า งมนุ ษ ย์ ม าให้ มี ปัญญารู้คิด รวมทั้งความสามารถและสิ่ง อำนวยความสะดวกให้ต่างๆ มากมาย ก็ ทำไมจะต้องรอให้พระองค์มาจ้ำจี้จ้ำไชชี้ แนะและกระตุ้ น เตื อ นอยู่ ต ลอดเวลาเล่ า ควรจะเกรงใจพระองค์บ้าง เราตั้งใจจะทำ ทุกอย่างเพื่อพระองค์แล้วคิดว่าทำอย่างไร ดี ที่ สุ ด ตามความรู้ ค วามสามารถของเรา พระองค์นา่ จะเอ็นดูเรามากกว่า จะบกพร่อง ผิดพลาดบ้าง พระองค์กน็ า่ จะเมตตาสงสาร และส่งกำลังมาช่วยโดยไม่จำเป็นต้องให้เรา รู้ก็ ได้ พระองค์น่าจะพอพระทัยที่เห็นเรา พยายามทำตามพรสวรรค์ที่ได้รับอย่างเต็ม ที่ แ ละพอใจใช้ พ รสวรรค์ เ ท่ า ที่ พ ระองค์ ประทานให้ หากพระองค์ ไม่ทรงคิดจะให้ ความช่วยเหลือเพิ่มเราก็ยินดีและพอใจกับ ผลงานแค่นั้น หากพระองค์เห็นควรก็จะ


46 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ประทานให้เองตามอัธยาศัยของพระองค์ โดยไม่ตอ้ งไปต่อรองอะไรให้เป็นการรบกวน พระองค์ ได้ผลแค่ไหนพอใจแค่นั้น จริตของคนพวกนี้ ก็คือ เคร่งกฎ นิยมชมชอบผู้ถือกฎเคร่งครัด และตนเอง ก็ พ ยายามเอาอย่ า งคนถื อ กฎเคร่ ง ครั ด เพราะเชื่อว่าเพราะพระเป็นเจ้า คือ กฎยิ่ง ถือกฎมากยิ่งพอพระทัย ถือกฎ แล้วก็ยึด มั่นกับกฎอย่างหัวชนฝา ไม่ยอมฟังเสียงใคร และไม่ยอมปรึกษาใคร คนกระบวนทรรศน์ที่ 3 เป็นพวกที่ ถือหลักการว่า “มีประโยชน์อะไรที่ได้ทุกสิ่ง แต่เสียวิญญาณ” เห็นความอนิจจังของโลก นี้ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง และกลั ว จะพลาดสวรรค์ อย่างกังวล ต้องการความแน่ใจว่าฉันต้อง ได้ ไปสวรรค์ให้แน่ๆ ไว้ และในความรู้สึก ลึกๆ ก็จะไม่แน่ใจ 100% อยู่ดี จึงอยากจะ ทุ่มเททำอะไรก็ ได้ที่แน่ใจว่าจะได้ ไปสวรรค์ แน่ ๆ จึ ง คอยเงี่ ย หู ฟั ง อยู่ ต ลอดเวลา ว่าที่ไหนมีเคล็ดลับอะไรดีๆ ที่จะทำให้แน่ใจ ในเรื่องนี้ ก็จะสนใจทำทันที หวังว่าหากได้ พบนักบุญที่ยังไม่ตาย ให้ท่านช่วยแนะนำ และรับรองว่าได้ ไปสวรรค์แน่ๆ ก็จะสบาย ใจ แต่ก็ไม่มีวันจะสบายใจได้สักทีจนกว่า จะหมดลมหายใจหากมี โ อกาสตายเพื่ อ พระเป็นเจ้าได้พวกนี้คงรีบสมัครก่อนคน

อื่น แต่เอาจริงเข้าแล้วก็ไม่แน่เหมือนกันว่า จะสู้ ได้ถงึ ทีส่ ุดหรือไม่ เพราะปรกติแล้วคน กลุ่มนี้จิตใจอ่อนไหวพลิกแพลงง่าย จริตของพวกนี้ ก็คือ ขอให้รับรอง ว่าได้บุญใช้ค้ำประกันสวรรค์ ได้จะทำทั้งนั้น กระบวนทรรศน์ที่ 4 พวกนี้ถือหลัก เกณฑ์ว่า “ฉันไม่ยอมให้ใครหลอกง่ายๆ ทุกอย่างต้องมีเหตุผลตามหลักวิชาการจึง จะเชื่อ และจะยอมทำอะไรก็ต่อเมื่อมีเหตุ ผลเพียงพอว่าควรกระทำ” คนประเภทนี้ มีความยึดมั่นถือมั่นในจุดยืนของตนและ ความรู้ของตน ซึ่งเชื่อว่าทุกอย่างพิสูจน์ ได้ ด้วยเหตุผลซึ่ง ก็คือ เหตุผลตามระบบของ ตนที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ที่ นับว่ายึดมั่นถือมั่น ก็คือ มักจะคิดว่าระบบ ความคิ ด ของตนหรื อ ของกลุ่ ม ของตนที่ คิดว่าเชื่อระบบเดียวกัน (ซึ่งความจริงอาจ จะไม่สู้เข้าระบบเดียวกันนัก เพียงแต่ยังไม่ ปรากฏความขัดแย้งให้รู้สึกได้ชัดๆ เท่านั้น) ภูมิใจนักว่าระบบความคิดของพวกของตน เลิศที่สุดไม่มีใครเหมือนของคนอื่นๆ อาจ จะมีดีอยู่บ้างในเรื่องผิวเผิน แต่ลึกๆ แล้ว ไม่ดีอย่างของเรา ผลก็คือ


ปรัชญากับงานอภิบาล

การยึดมั่นถือมั่น การแบ่งพวก การแข่งขันกันหาพวก ความไม่ไว้ใจกัน การทำลายกัน

จริตของพวกนี้ ก็คอื ถ้าเชือ่ แล้วทุม่ ให้สุดตัว ถ้าไม่เชื่อแล้วอย่าเกลี้ยกล่อมให้ เสียเวลา คนกระบวนทรรศน์ที่ 5 ก คนพวก นี้ถือหลักเกณฑ์ว่า “ไม่เชื่ออะไรเลยแหละดี ที่สุด จะได้ ไม่มีโอกาสยึดมั่นถือมั่น และจะ ได้ ไม่ต้องทะเลาะกับใคร” พวกนี้จะชอบทำ อะไรตามใจชอบ ชอบทำอะไรก็ทำและแก้ ตัวว่า “ฉันอยากจะทำอย่างนี้ใครจะทำไม ฉันไม่แคร์ว่าจะได้บุญหรือไม่ ฉันไม่แคร์ว่า ใครจะว่าอย่างไร อะไรดีก็ได้บุญเอง ไม่ขึ้น กับใคร” ครั้นไม่อยากทำอะไรก็จะแก้ตัวว่า “ฉันไม่อยากจะแข่งกับใคร หรือเอาหน้ากับ ใคร ใครอยากได้หน้าก็ทำไปเถิด” พวกนี้ ไม่ยึดถือกฎใดๆ ทั้งสิ้น เอาตัวรอดไปได้วัน ละวันก็พอใจแล้ว คนกระบวนทรรศน์ที่ 5 ข คนพวก นี้ถือหลักเกณฑ์ว่า “ตั้งใจพัฒนาคุณภาพ ชีวิตไว้ แล้วทุกอย่างจะดีเอง มนุษย์โดย สั ญ ชาตญาณของความเป็ น มนุ ษ ย์ ผู้ มี

นำไปสู่ นำไปสู่ นำไปสู่ นำไปสู่ นำไปสู่

47

การแบ่งพวก การแข่งขันกันหาพวก ความไม่ไว้ใจกัน การทำลายกัน วิวาทะ

ปัญญาย่อมจะ 1) สร้างสรรค์ 2) ปรับตัว 3) แสวงหา 4) ร่วมมือ เพียงแต่ปล่อยชีวิต ไปตามครรลองของมัน ทุกอย่างจะดีขึ้น ตามลำดับ จะมีช่วงผิดพลั้งบ้าง พลังปรับ ตัวจะเข้ามาช่วยทำการทันที ผิดจะกลาย เป็นครูให้ปรับตัวดีขึ้น ที่สำคัญ ก็คือ อย่า กีดกันการทำงานของพลังทั้ง 4 ที่พระเป็นเจ้าประทานมาให้เป็น 4, 8, 12, 16 ทาเลนท์ (Talent) ตามลำดับ ใครได้มากจะพัฒนา มาก ใครได้น้อยก็พัฒนาน้อย และทุกคน มีสิทธิ์ได้รับคำชมเชยจากพระเป็นเจ้าเท่าๆ กัน จริตของพวกนี้ ก็คือ ชอบหาอะไร ใหม่ๆมาเสริมของเดิมเพื่อพัฒนาของเดิม ให้ดีมีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นเรื่อยไป ไม่ว่าของ ใหม่ นั้ น จะมาจากแหล่ ง ใด ขอให้ พั ฒ นา คุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นได้ ถือว่าพระเป็นเจ้า ทรงพอพระทัยทั้งสิ้น เพราะพระเป็นเจ้า คือ องค์ความดี อะไรที่พัฒนาความดีย่อม ทำให้เข้าใกล้พระเป็นเจ้ามากขึ้นทั้งสิ้น


48 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

กระบวนทรรศน์ล่าสุดนี้ ได้ชื่อว่ากระบวน ทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง คือ ไม่ตึงเกิน ไปเหมือนกระบวนทรรศน์ที่ 1-4 และไม่ หย่อนเกินไปเหมือนกระบวนทรรศน์ที่ 5 ก คนกระบวนทรรศน์นี้จึงมีหลักยึดเหนี่ยวแต่ ไม่ยึดติด นั่นคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ฉันคิดว่า ของฉันดี ของคนอื่นก็ดีได้โดยไม่ต้องทำ เหมือนฉัน ฉันคิดว่าของฉันจริง ของคนอื่น ก็จริงได้ในอีกมุมมองหนึ่ง โดยไม่จำเป็น ต้องคิดเหมือนฉัน จึงพร้อมที่จะร่วมมือกับ ทุกคนได้โดยไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน หรือเก่งเหมือนกัน เพราะถือว่าส่วนทีเ่ หมือน

การไม่ยึดมั่นถือมั่น การแบ่งกลุ่มกันรับผิดชอบ ความเอื้ออาทรต่อกัน ความไว้ใจกัน ความสามัคคี

เมื่อตระหนักได้เช่นนี้คนกระบวนทรรศน์นี้ จะชอบแลกเปลี่ยนความคิดกันเพื่อแสวง จุดร่วมสงวนจุดต่าง แสวงจุดร่วมเพื่อทำ การร่วมกันคนละไม้คนละมือ สงวนจุดต่างๆ เพื่อเอาไว้แสดงฝีมือให้เพื่อนๆได้ชื่นชมพร สวรรค์และความสามารถของแต่ละบุคคล งานอภิบาลที่ดีจะเกิดขึ้นก็โดยที่ผู้อภิบาล

กันคือส่วนที่พระเป็นเจ้าประทานมาเพื่อให้ ร่วมมือกันได้อย่างสะดวก เพื่อได้ผลงาน แบบ 1+1= มากกว่า 2 ส่วนที่ไม่เหมือนกัน คือพรสวรรค์ของแต่ละคน ที่ควรถือว่าของ ใครของมัน พระเป็นเจ้าประทานให้ต่างๆ กันเพื่อความงดงามของหมู่คณะ ดังนั้นใคร มีพรสวรรค์ประการใดพึงใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อทุกคนในกลุ่มและมีสิทธิ์ ได้รับความชื่น ชมจากกลุม่ ส่วนผู้ ไม่มกี พ็ งึ ชืน่ ชมพรสวรรค์ ของพระเป็นเจ้าในตัวผู้อื่น และสรรเสริญ พระองค์ในตัวของผู้มีพรพิเศษ เมื่อเป็น เช่นนี้ ทำให้เกิด ทำให้เกิด ทำให้เกิด ทำให้เกิด ทำให้เกิด

การแบ่งกลุ่มกันรับผิดชอบ ความเอื้ออาทรต่อกัน ความไว้ใจกัน ความสามัคคี สันติภาพและสันติสุข

จะต้องกำหนดรู้จริตของผู้ร่วมอภิบาลและ ผู้รับอภิบาล เมื่อกำหนดรู้แล้วให้เริ่มจาก จริตที่เป็นจริงของผู้ร่วมอภิบาลและผู้รับ อภิบาล ทั้งนี้เพื่อให้งานอภิบาลมีจุดเริ่มต้น เมือ่ เริม่ แล้วผูอ้ ภิบาลจะต้องใช้ความสามารถ และพรสวรรค์ทั้งหมดที่ตนมีอยู่เพื่อค่อยๆ พัฒนากระบวนทรรศน์ของผู้ร่วมอภิบาล


ปรัชญากับงานอภิบาล

และผู้รับอภิบาล ให้พัฒนาตามลำดับขั้นตอนจากกระบวนทรรศน์ที่เป็นจริงของแต่ ละคนขึ้นสู่กระบวนทรรศน์อันเป็นคุณภาพ ของศาสนิกที่ดีทั้งหลาย คือ กระบวนทรรศน์ที่ 5 ข (สายกลาง) การแก้จริตของคนกระบวนทรรศน์ใดก็ตาม ไม่ควรบอกให้เขาแก้จุดอ่อนของกระบวน ทรรศน์นั้นๆ อย่างตรงๆ ซึ่งจะเป็นการทำลายความรู้สึกดีๆของผู้นั้นอย่างน่าเสียดาย แต่ควรแสดงน้ำใจและวิสัยผู้นำโดยยอมรับ และรับรู้ความอ่อนแอของกระบวนทรรศน์ นั้น และใช้ยุทธวิธีแทรกเป้าหมายพัฒนา คุณภาพชีวิต สร้างสรรค์ ปรับตัว แสวงหา และร่วมมือลงขันในความอ่อนแอนั้น ความ อ่อนแอจะค่อยๆ หายไปเอง โดยไม่รู้ตัวและ คุณภาพชีวติ จะเข้าไปแทนทีแ่ ละได้กระบวน ทรรศน์ที่ 5 ข มาโดยไม่ต้องเสียความรู้สึก ดีๆ ต่อกัน ดังจะขอชี้แจงดังต่อไปนี้ สำหรั บ แก้ จ ริ ต ของคนกระบวน ทรรศน์ที่ 1 ที่ชอบปาฏิหาริย์และอยากเด่น อยากดังและขณะเดียวกันก็หวังผลประโยชน์ในโลกนี้ใส่ตน ทำบุญน้อยแต่อยาก รวยมากๆ เสียสละน้อยๆ แต่อยากได้บุญ มากๆ ไม่ต้องขัดคอกัน อยากทำอะไรทำไป อยากได้อะไรขอไป ตามใจทุกอย่าง แต่ แทรกจิตตารมณ์ว่าให้พัฒนาคุณภาพชีวิต

49

ตามไปด้วยกัน เช่น เรามาศึกษาพระวาจา หรือคำสอนของพระศาสนจักร เพื่อจะได้ เข้าถึงน้ำพระทัยอันแท้จริงของพระเป็นเจ้า มากขึ้น เราจะได้ทำตามพระประสงค์ของ พระองค์อย่างถูกต้องมากขึ้น ให้เรามาสวด สายประคำเพื่อขอแม่พระดลใจให้เรารู้จัก เสียสละและยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็น ครั้งคราวตามแบบอย่างของแม่พระ ขอให้ การร่วมใจกันสวดครั้งนี้เป็นทางนำไปสู่การ รู้จักร่วมมือกันทำงานอื่นๆ เพื่อถวายเกียรติ แด่แม่พระให้สมบูรณ์แบบยิ่งๆขึ้น พระเยซูเจ้าเองได้ทรงแก้จริตของ พวกกระบวนทรรศน์ที่ 1 โดยตำหนิตรงๆ ว่า อย่าทำบุญเอาหน้าภาวนาโกหก เพราะ จะไม่ได้ดังที่หวัง ทำบุญมือขวาอย่าให้มือ ซ้ายรู้ (มัทธิว 4: 3 – 4) สำหรั บ แก้ จ ริ ต ของกระบวน ทรรศน์ที่ 2 ที่เน้นการถือกฎอย่างไม่ลืมหู ลืมตา จริงอยู่พระเยซูเจ้าได้ทรงยืนยันว่า มิ ไ ด้ ม าลบล้ า งกฎแม้ แ ต่ จุ ด เดี ย วหรื อ ขี ด เดียวของตัวอักษร (มัทธิว 5: 18) แต่นักบุญ เปาโลก็ชี้แจงแทนพระเยซูเจ้าว่า “บัญญัติ ทีเ่ ป็นลายลักษณ์อกั ษรนัน้ นำไปสูค่ วามตาย อยากได้ชีวิตต้องทำตามพระจิตเจ้า” (2 โครินธ์ 3: 6) พระเยซูเจ้าเองก็ทรงปรับ ความเข้าใจของบรรดาสาวกด้วยข้อความว่า


50 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

“วันสับบาโตมีไว้เพื่อมนุษย์มิใช่มนุษย์มีไว้ เพื่อวันสับบาโต (มาระโก 2: 27) สำหรั บ แก้ จ ริ ต ของคนกระบวน ทรรศน์ที่ 3 ที่เน้นการเป็นวีรบุรุษ วีรสตรี และมักจะมองข้ามกิจเมตตาเล็กน้อยที่มี โอกาสทำอยู่ตลอดเวลา ส่วนวีรกรรมนั้นรอ ไปเถอะ จนตลอดชีวิตก็อาจจะไม่มีโอกาส และครั้นมีโอกาสจริงๆ เข้าก็อาจจะไม่กล้า เพราะพระหรรษทานไม่เพียงพอ พระเยซูเจ้าเองได้ทรงแก้จริตของคนพวกนีว้ า่ “ท่าน ทำสิ่งเล็กๆน้อยๆ (ให้อาหาร น้ำดื่ม และ เสื้อผ้า) แก่พี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุด ท่านทำต่อ เราเอง” (มัทธิว 25: 40) สำหรั บ แก้ จ ริ ต ของคนกระบวน ทรรศน์ที่ 4 ที่ภูมิใจในความรู้วิชาการด้วย เหตุผลวิทยาศาสตร์ ในสมัยพระเยซูเจ้ายัง ไม่มีท่าทีแบบนี้ พระเยซูเจ้าจึงมิได้ตรัสไว้ หรือตรัสไว้ก็คงไม่มี ใครเข้าใจและมิ ได้ถูก เก็บไว้ แนวคิดแบบกระบวนทรรศน์ที่ 4 มี บ่อเกิดมาจากการค้นพบวิธกี ารวิทยาศาสตร์ โดยนีวทัน (Newton) ซึ่งจำแนกวิธีการ วิทยาศาตร์ออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) เก็บ รวบรวมข้อมูล 2) ตั้งสมมติฐานจากข้อมูล ที่รวบรวมได้ 3) ทดสอบสมมติฐาน 4) กำหนดทฤษฎีหรือกฎวิชาการ 5) ประยุกต์ ใช้ หากใช้แล้วไม่มีอะไรขัดข้องให้ถือเป็น

ความรู้ส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ หากขัดข้อง ก็ให้เริ่มจากข้อ 1 ใหม่ จนกว่าจะหายขัด ข้อง เมื่อค้นพบวิธีการวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ได้มนี กั วิชาการนำเอาไปใช้แสวงหากฎวิชา การได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ นักวิชา การลงความเห็นว่าหากรู้เป็นกฎๆ แยกกัน ย่อมไม่แตกฉานและลืมง่าย จึงใช้เทคนิค ตรรกวิทยาของแอร์เริสทาเถิลและหลักการ คณิตศาสตร์โยงใยกฎต่างๆ เข้าด้วยกันเป็น ระบบเครือข่าย นอกจากจะช่วยความจำ แล้ ว ยั ง จะช่ ว ยสนั บ สนุ น กั น ให้ มี ค วามน่ า เชื่อแข็งแกร่งขึ้นด้วย ผู้เห็นความสำคัญ ของเรื่องนี้จึงรวมกำลังเป็นขบวนการเรียก ว่าขบวนการประเทืองปัญญา (Enlightenment Movement) โดยหวังว่าจะช่วยกัน สร้างระบบเครือข่ายของความรูข้ องมนุษยชาติ ขึ้ น ให้ ยิ่ ง ใหญ่ และสมบู ร ณ์ ที่ สุ ด จน ครอบคลุมทุกเรือ่ งทีม่ นุษย์พงึ รู้ได้ให้โยงใยถึง กันทั้งหมดเพื่อสะดวกในการใช้แก้ปัญหา ทุกอย่างในชีวติ ของมนุษย์ได้ จนถึงขัน้ ทีพ่ งึ หวังได้ว่าจะแก้ความเจ็บป่วยของมนุษย์ ได้ ทัง้ หมด แก้ความชราภาพของทุกคนได้ และ ป้องกันอุบัติภัยได้อย่างชะงัดทุกกรณี เมื่อ ถึงขั้นนั้นก็จะค้ำประกันได้ว่ามนุษ ย์จะไม่ ต้องตาย จะสร้างสวรรค์ในโลกนี้ด้วยความ


ปรัชญากับงานอภิบาล

สามารถของมนุษย์ และมนุษย์ก็ไม่ต้องง้อ ชีวิตนิรันดรจากการนับถือศาสนาอีกต่อไป ผู้ที่มีความเชื่อในพระเป็นเจ้า แทนที่จะรอ คอยให้พระเป็นเจ้าเชิญวิญญาณขึน้ สูส่ วรรค์ ก็จะเชิญพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาเป็นประธาน ของมนุษ ย์ผู้ ไม่รู้ตาย เพื่อสถาปนาสวรรค์ ในโลกนี้โดยไม่มีความตายเป็นเงื่อนไข นักเทววิทยาคริสต์บางคนเข้าร่วม ขบวนการนี้ และพยายามจะสร้างเทววิทยา ในรูปแบบใหม่ ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ เครือข่ายความรู้โดยไม่ต้องอาศัยวิวรณ์ ซึ่ง พิสูจน์ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ พระศาสนจักรได้เฝ้าดูการเคลื่อน ไหวของขบวนการนี้ด้วยความเป็นห่วง ว่า ความห้าวหาญคิดการใหญ่ชนิดสร้างหอ บาเบลกำลังจะเกิดขึ้นจนเป็นอันตรายต่อ ความเชื่อและความอยู่รอดเองของมนุษยชาติ กำลังจะเกิดซ้ำรอยขึ้นอีกหรือเปล่า ครั้นได้ศึกษาและเฝ้าดูจนจับประเด็นได้ชัด เจนแล้ว จึงได้ประกาศทักท้วงเป็นชุดๆ เริ่ม จาก Decretum Sancti Officii “Lamentabili” ลงวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 ว่าด้วย Errors of the Modernists จำนวน 66 ข้อ (DZ. 3401-3466) ต่อมาวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1907 ก็ได้ออกสมณสาสน์ “Pascendi Dominici

51

Gregis” ชี้ให้เห็น Errors of the Modernists on the Philosophical Principles ว่าด้วย ความหลงผิดของนักนวยุคนิยมในหลักการ ปรัชญา จำนวน 9 ข้อ (DZ. 3475-3483) และ ชี้ให้เห็นว่าการนำเอาปรัชญานวยุคนิยมมา ใช้ ใ นเทววิ ท ยาทำให้ เ กิ ด ความไขว้ เ ขวใน คำสอนคาทอลิกจำนวน 17 ข้อ (DZ. 34843500) ต่อมาวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1910 สันตะสำนักได้ออกคำสัง่ ไปยังสถาบันอบรม พระสงฆ์ทุกแห่ง ให้จัดพิธีสาบานตนให้แก่ ผู้จะเริ่มเรียนเทววิทยาทุกคน ว่าจะไม่ยึด ถือหลักคำสอนของลัทธินวยุคนิยม (Confessions Against the Errors of the Modernism) เป็นจำนวน 13 ข้อ (DZ 3537-49) คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้จนถึงสังคายนาวาติกันที่ 2 ผล ก็คือ สถาบันสอนปรัชญาคาทอลิกทั้งหลายงดการสอนปรัชญาและความ คิดต่างๆ ที่อยู่ในข่ายลัทธินวยุค และเพื่อ ให้แน่ใจว่าจะไม่มกี ารล้ำแดน จึงสอนปรัชญา และเทววิทยาเป็นภาษาละติน โดยใช้ศัพท์ สำนวนและหนังสือของนักบุญโธมัส อไควนัส เป็นหลักทำให้ ไม่รวู้ า่ วงการปรัชญาระดับ โลกนั้ น พั ฒ นาจนเลยนวยุ ค นิ ย มไปแล้ ว ตั้งแต่เมื่อใด เพราะความคิดเลยนวยุคหรือ หลังนวยุคโดยไม่มีชื่อเรียกมีมาตั้งแต่สิ้น


52 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

สงครามโลกครั้งที่ 1 นักปราชญ์คาทอลิก บางคนแอบไปเรี ย นรู้ ค วามเคลื่ อ นไหว ดังกล่าว (โดยขออนุญาตจากผูบ้ งั คับบัญชา เป็นรายบุคคลตามระเบียบการของสมัย นั้น) ดังนั้น เมื่อพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ประกาศประชุมพระสังคายนาวาติกันที่ 2 จึงมีทมี งานทีร่ ปู้ รัชญาหลังนวยุคโดยยังไม่มี ชือ่ เรียก และได้ใช้ปรัชญาทีท่ นั สมัยดังกล่าว ตามมาตรฐานขณะทำสังคายนา ทำให้พระศาสนจักรได้แนวทางที่ทันสมัยมาวางทิศ ทางใหม่ ใ ห้ กั บ การปรั บ ปรุ ง นโยบายและ การดำเนินงานใหม่แบบหลังนวยุคทั้งๆ ที่ ยั งไม่ รู้ จั กใช้ คำคำนี้เรียก ทำให้ประกาศ ต่างๆ ของพระสังคายนาวาติกันที่ 2 อบอวนไปด้วยกลิ่นอายของกระแสความคิด ใหม่ โ ดยยั งไม่ มี ชื่ อ เรี ย ก หลั ง ปิ ด ประชุ ม สังคายนาในปี ค.ศ. 1965 ต่อมาเป็นเวลา 7 ปี จึ งได้ เ กิดเหตุการณ์ที่ถือกันว่าเป็น ศุ ภ ฤกษ์ ก ำเนิ ด ของขบวนการหลั ง นวยุ ค จากเหตุ ก ารณ์ ที่ รั ฐ บาลอเมริ กั น ถล่ ม รื้ อ อาคารประชาสงเคราะห์พรุตอายโกว์ (Pluttlgo Department) ในรัฐเซนต์หลุยส์ ทำให้ สังคายนาวาติกันที่ 2 กลายเป็นผู้บุกเบิก แนวคิดและปฏิบัติหลังนวยุคสายกลางไป โดยปริยาย ต่อจากนัน้ มหาวิทยาลัยคาทอลิก แห่งอเมริกาก็ออกหน้าเป็นแหล่งพัฒนาและ

เผยแพร่กระแสความคิดหลังนวยุคอย่าง สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยพยายามเลี่ยง ความสุดขั้วของลั ทธิหลังโครงสร้างนิยมใน ประเทศฝรั่งเศส และพยายามไม่หวนกลับ ไปหาลั ทธินวยุคนิยมที่พระศาสนจักรได้ชี้ ให้เห็นจุดเสียต่างๆ ไปแล้ว สิ่ ง ที่ นั ก ปรั ช ญาหลั ง นวยุ ค สาย กลางพบว่าเป็นจุดอ่อนหรือจุดเสียของลัทธิ นวยุคนิยมเสริมจากอันตรายต่อศาสนา พอ จะสรุปได้เป็นข้อๆว่า 1) นวยุคภาพเชื่อว่าด้วยความก้าว หน้าของวิทยาศาสตร์ มนุษ ย์เราจะอยู่ใน โลกนี้อย่างสุขสบายมากขึ้นตามลำดับ จน อาจจะถึงขั้นสร้างสวรรค์ในโลกนี้ แต่คนรุ่น ใหม่กลับมองว่าความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์กำลังเพิ่มขีดความเดือดร้อนให้กับ มนุษย์ เช่น อันตรายจากสงครามนิวเคลียร์ อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ อาวุธคอมพิวเตอร์ ดินจะแห้งแล้งเพราะไร้ป่า น้ำจะท่วมโลก เพราะน้ ำ แข็ ง ขั้ ว โลกละลายเนื่ อ งจากชั้ น โอโซนถูกทำลาย พืน้ ดินจะทรุดเพราะสูบน้ำ และน้ำมันขึ้นมาใช้ในปริมาณมหาศาล โลก จะร้ อ นขึ้ น ด้ ว ยสาเหตุ ม ากมายจากการ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ ฯลฯ 2) นวยุคภาพเชือ่ ว่ามนุษย์สามารถ ควบคุ ม ธรรมชาติ ใ ห้ รั บ ใช้ ม นุ ษ ย์ ต ามคติ


ปรัชญากับงานอภิบาล

ของเบขัน (Francis Bacon) ว่า “ความรู้ (วิทยาศาสตร์) คือพลัง แต่คนรุ่นใหม่เชื่อ ว่า ยิ่งควบคุมธรรมชาติ ธรรมชาติยิ่งจะ ตอบโต้ จึงควรเปลี่ยนท่าทีมาเป็นผูกมิตร กับธรรมชาติบำรุงรักษาธรรมชาติ รักธรรมชาติ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด เพื่อ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ควรเปลี่ยนคติ ของเบขันมาเป็น “การรู้จักเอื้ออาทรต่อกัน คือพลัง” และจากคติที่ว่า Si vis pacem, para bellum” (แม้นหวังตั้งสงบ จงเตรียม รบให้พร้อมสรรพ) มาเป็น “แม้นหวังตัง้ สงบ จงคบทุกระบบ” 3) นวยุคภาพเชื่อว่าเหตุผลวิทยาศาสตร์ (ตรรกวิทยาอุปนัย-นิรนัย) คือ วิธี เข้าถึงความจริงแต่วิธีเดียว คนรุ่นใหม่เชื่อ ว่าเหตุผลวิทยาศาสตร์เป็นเพียงศิลปะแห่ง การชวนเชื่อ (art of persuasion) มีความ จริงอีกมากมายที่มีคุณค่าอย่างยิ่งที่มนุษ ย์ เรารู้ด้วยสามัญสำนึกหรือการหยั่งรู้ที่ลึกซึ้ง ซึ่งภาษา (ไม่ว่าภาษาอุดมการณ์หรือภาษา สามัญ) ไม่สามารถอธิบายได้ จำเป็นต้อง ใช้การตีความเป็นเครื่องมือ คนรุ่นใหม่จึง หันมาสนใจเทคนิคการตีความ หรือ อรรถ ปริวรรตอย่างเป็นล่ำเป็นสัน 4) นวยุคภาพเชื่อในอัจฉริยภาพ ของคนบางคนที่สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์

53

ของระบบเอกภพได้ดีกว่าคนอื่น เขาควร เป็นครู ส่วนคนอืน่ ควรฟังและเรียนรูจ้ ากเขา คนรุ่นใหม่เชื่อว่าทุกคนเป็นครูของทุกคน และทุกคนเป็นนักเรียนของทุกคน เราต้อง เรียนรู้จากกันและกัน ใครจะเก่งสักปานใด ก็รู้ ได้เพียงส่วนเดียว แม้คนมีการศึกษา น้ อ ยก็ อ าจจะมี ป ระสบการณ์ ที่ ใ ห้ ค วามรู้ ชนิดทีห่ าจากทีอ่ นื่ ไม่ได้ และอาจจะมีคณ ุ ค่า พลิกกระบวนทรรศน์ ได้ เราจึงควรเสวนา กันยิ่งกว่าจะถกเถียงกัน เราควรจะแบ่งปัน ความรู้แก่กันยิ่งกว่าแข่งขันหาความรู้ เรา ควรจะเรียนรู้จากกันและกันยิ่งกว่าจะสอน หรือเรียนถ่ายเดียว 5) นวยุคภาพสร้างระบบความรู้ก็ จริง แต่ในการสร้างระบบความรู้นั้นเอง มี ความพยายามแยกแยะออกละเอี ย ดยิ บ และกีดกันออกจากกัน เช่น แยกความรู้/ ความคิดเห็น ความคิด/ความรูส้ กึ /อารมณ์ ความจริง/ความเชื่อ เหตุผล/ศรัทธา การ พิ สู จ น์ / การหยั่ ง รู้ มนุ ษ ยศาสตร์ / สั ง คม ศาสตร์/วิทยาศาสตร์ ฯลฯ คนรุ่นใหม่คิดว่า การแยกเป็นเพียงวิเคราะห์เพื่อสังเคราะห์ ความรู้จริงๆอยู่ที่องค์รวม ไม่ใช่องค์แยก จึงเรียกร้องให้มีการศึกษาสหวิชา เรียกร้อง ให้มีการศึกษาศรัทธาของศาสนาต่างๆ แม้ จะไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ ใครที่เชื่อก็ต้องเอา


54 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ศรัทธาเป็นส่วนหนึ่งขององค์รวมแห่งความ รู้ด้วย 6) นวยุคภาพเชื่อว่าความจริงเป็น อเทโส อกาลิโก ความจริงคือความรู้ที่ตรง กับความเป็นจริงซึ่งมีอยู่ระบบเดียว เป็น วัตถุวิสัย ใครที่รู้คลาดเคลื่อนไปจากนี้เป็น ความเท็จ เป็นความคิดเห็นอัตวิสัย ความ รู้จึงวัดกันที่ว่าพิสูจน์ ได้ว่าตรงกับความรู้ วัตถุวิสัยมากน้อยเพียงใด คนรุ่นใหม่เชื่อ ว่าไม่มคี วามจริงวัตถุวสิ ยั บริสทุ ธิห์ รืออัตวิสยั บริสุทธิ์ ความจริงทุกอย่างเป็นความรู้แสวง วัตถุ (intentional) คือ มีทั้งวัตถุวิสัยและ อัตวิสัยปนกันอย่างแยกไม่ออก เพราะเป็น เงื่อนไขของกันและกัน 7) นวยุคภาพเชื่อว่าความเป็นจริง อันติมะ (ultimate reality) มีสภาวะตายตัว ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนที่ ไม่เป็น อันติมะ กล่าวคือ อนุภาคสุดท้ายมีสถาน ภาพคงตัวนิรันดร์ มีจำนวนและปริมาณ จำกัด ไม่อาจเพิ่มหรือลดได้ การเปลี่ยน แปลงเป็นปรากฏการณ์ของการรวม/แยก เคลื่อนที่/อยู่นิ่ง ซึ่งมีกฎตายตัวควบคุม เรา เรียนวิทยาศาสตร์เพื่อรู้กฎดังกล่าว เมื่อรู้ อย่างดีแล้วเราก็ควบคุมธรรมชาติ ได้อย่าง มั่นใจเหมือนพระเป็นเจ้าครอบครองโลก

คนรุ่นใหม่เชื่อว่า เราไม่มีวันจะรู้ความเป็น จริงอันติมะได้ เพราะมันแปรเปลี่ยนสภาพ อยู่เสมอ อาจจะดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้ ไม่มี กฎตายตัวควบคุมความเป็นจริงอันติมะ เรา รู้เพียงเท่าที่ปรากฏ กฎเกณฑ์ต่างๆ เป็น เพียงสถิติ ยกเว้นและผิดพลาดได้เสมอ ไม่ มี ใ ครเก่ ง กว่ า ใครในเรื่ อ งของความจริ ง เพียงแต่ โอกาสมี ไม่เท่ากันและไม่เหมือน กันเท่านั้น แต่ละคนย่อมมีประสบการณ์ที่ ไม่มีใครอืน่ อาจจะมีได้ คนหนึง่ อาจจะโง่กว่า คนอื่นในบางเรื่อง แต่ก็ฉลาดกว่าคนอื่น ทุกคนในบางเรื่องเช่นกัน เพราะเขามีประสบการณ์ เ ฉพาะตั ว ที่ ไ ม่ มี ใ ครอื่ น มี ไ ด้ เหมือนเขา ในความเป็นจริงเช่นนี้ เราพึงพึง่ พาอาศัยกันและกัน และแบ่งปันความรูแ้ ละ ประสบการณ์แก่กันและกันด้วยการเสวนา ที่เมตตาและเคารพกันและกัน 8) นวยุคภาพถือว่าความจริงต้อง มีหนึ่งเดียวและระบบเดียว ใครเก่งที่สุดก็ จะรู้ความจริงระบบแท้นี้ได้ดีกว่าผู้อื่น จึง ควรเป็นครูสอนผู้อื่น แต่คนรุ่นใหม่เห็นว่า ความจริงที่แท้เป็นความจริงของหมู่คณะ ไม่มีใครคนเดียว ไม่ว่าจะเก่งสักปานใด จะ เป็นมาตรฐานความจริง อาจจะมีได้หลาย คำตอบ ในลักษณะของพหุนิยม (Pluralism) นักหลังนวยุคนิยมบางคนไปไกลถึง


ปรัชญากับงานอภิบาล

สั ม พั ท ธ์ นิ ย ม (Relativism) เหมือนพวก ซาฟฟิสท์ (Sophist) ในยุคกรีกโบราณ 9) ในทางศิ ล ปะนั้ น นวยุ ค ภาพ เคร่ ง ในเรื่ อ งของจำกั ด วงของสไตล์ ห รื อ ลีลาต่างๆ เชิงศิลปะ รสนิยมจะปะปนกัน ไม่ได้ ผิดระเบียบผิดการแบ่งประเภทไม่ได้ จะเอารสนิยมตะวันตก/ตะวันออกมาปะปน กันไม่ได้ ถือว่าขาดรสนิยมอันดีงาม/ถูกต้อง คนรุ่นใหม่ถือว่า รสนิยมไม่มีพรมแดน การ ผสมระหว่ า งลี ล าทำให้ ไ ด้ ร สชาติ ใ หม่ ๆ แปลกๆ ทำไมจะต้องหวงห้ามกีดกัน เรื่อง รสนิยมเป็นเรื่องที่มนุษย์ตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมา ถือเอง ก็ควรจะแก้ ไขหรือยกเลิกเองได้ 10) นวยุคภาพถือว่าความถูกต้อง ดี/ชัว่ เป็นผลสรุปจากกฎเกณฑ์วทิ ยาศาสตร์ ต้ อ งให้ ผู้ ฉ ลาดที่ สุ ดในสั ง คมเป็ น ผู้ ชี้ ข าด เพราะถือว่ารู้กฎดีกว่าผู้อื่น คนรุ่นใหม่ถือว่า ความต้องการของสังคมต่างหากเป็นตัวชี้ ขาด หากความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป ความถูกต้องดีชั่วก็พึงเปลี่ยนไปให้รับกัน กับความต้องการอันพึงประสงค์ (Need) ของสังคม 11) นวยุคภาพเชื่อว่า ความเจริญ ก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์จะสร้างวัฒนธรรม ใหม่และวัฒนธรรมเดียวให้กับมนุษ ยชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่นจะค่อยๆ สูญหายไปจน

55

หมดสิ้นพร้อมกับกระบวนทรรศน์เก่าๆ ที่ ทำให้มันเกิดมีขึ้น คนรุ่นใหม่รักและหวง แหนวัฒนธรรมท้องถิ่น พยายามรื้อฟื้นและ ธำรงไว้ในฐานะเป็นความเป็นจริงที่มีความ หมายของมนุษยชาติ เพราะถือหลักว่า ไม่ มีอะไรที่เกี่ยวกับมนุษ ย์จะไม่มีค่าสำหรับ มนุษย์ 12) ในทางการเมืองการปกครอง นั้น นวยุคภาพมีแนวโน้มที่จะรวบอำนาจ ไว้ที่ศูนย์กลาง เพราะสะดวกในการสร้าง ระบบและจัดระบบให้มีเอกภาพ คนรุ่นใหม่ เรียกร้องให้กระจายอำนาจ ให้มีเอกภาพ อย่างหลวมๆ ให้มีเอกภาพในความหลาก หลาย (Unity in Diversity) หรือดีกว่านั้น ให้มีความหลากหลายในเอกภาพ (Diversity in Unity) 13) นักนวยุคนิยมชอบพิสูจน์การ ตีความ นักหลังนวยุคนิยมชอบตีความข้อ พิสูจน์ 14) นักนวยุคนิยมอ้างว่าทุกอย่าง ต้องเดินตามเหตุผล เพือ่ สร้างระบบบริสทุ ธิ์ ด้วยเหตุผล นักหลังนวยุคนิยมอ้างว่าต้อง ใช้ความสามารถคิดของมนุษ ย์เพื่อครอบ คลุมความหลากหลายในเอกภาพให้ ได้ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า เมือ่ อาคารที่พักอาศัยของโครงการพรุทอาย-


56 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

โกว์ (Prutt-Igo Housing Project) ของ เมืองเซนต์หลุยส์แห่งมลรัฐมิสซูรีถูกถล่ม ในปี ค.ศ. 1972/พ.ศ.2515นั้น กระแสหลัง นวยุคได้ซึมซาบเข้าไปในรสนิยมของประชาชนแถบนั้นอย่างอิ่มตัวพอสมควรแล้ว เหตุ ก ารณ์ นั้ น ถื อ ได้ ว่ า เป็ น แถลงการณ์ (Manifesto) ของลัทธิหลังนวยุคนิยมก็ว่า ได้ เมือ่ เป็นเช่นนัน้ ก็หมายความว่า ลัทธิ นี้ได้กอ่ หวอดมานานพอสมควรแล้ว เมือ่ คิด ถึงว่าจะต้องมีเวลาฟักไข่จนเป็นตัว และมี เวลาเจริญเติบโตอย่างเชื่องช้าในช่วงแรกๆ อีกเป็นเวลาพอสมควร ก็ควรสันนิษฐานได้ ว่ า ตั้ง แต่ วัน ก่ อ กำเนิ ด จนถึ ง วั น นั้ น แห่ ง เซนต์หลุยส์ มีช่วงเวลาเติบโตที่น่าสนใจอยู่ พอสมควร แต่ก็น่าเสียดายว่า ไม่มีใครอาจ รู้ ได้แน่นอนว่าใครเป็นคนแรกที่ริเริ่มใช้คำๆ นี้เรียกกระแสความคิดแบบนี้ จุดดีจากลัทธิหลังนวยุคที่งานอภิบาลของพระศาสนจั ก รควรนำไปใช้ โ ดย อ่านได้จากเอกสารของสังคายนาวาติกันที่ 2 ก็คือ 1. การไม่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น อย่ า งสาย กลาง คือ มีหลักยึดเหนี่ยวแต่ไม่ยึดติด นั่น คือเมื่อเราเชื่อว่าอะไรเป็นสัจธรรมของเรา แล้ว เราก็เต็มใจเคารพเสรีภาพของผู้อื่น

ในการเลือกเชื่อสัจธรรมตามศรัทธาของแต่ ละคน ซึ่งอาจจะนับถือศาสนาและนิกาย ต่างจากศรั ทธาของเราเองได้โดยไม่ตะขิด ตะขวงใจ ดังคำสอนของพระสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องความสัมพันธ์กับศาสนาอื่น ข้อ 2 ว่า “พระศาสนจักรคาทอลิกไม่ปัดทิ้ง สิ่งใดที่จริงและศักดิ์สิทธิ์ ในศาสนาเหล่านี้ พระศาสนจักรพิจารณาด้วยความเคารพ อย่ า งจริ ง ใจ ซึ่ ง วิ ธี ป ฏิ บั ติ แ ละดำรงชี วิ ต ตลอดจนกฎและพระธรรมคำสอนเหล่านี้ ซึ่ ง แม้ จ ะผิ ด กั บ ที่ ต นเองถื อ และสอนอยู่ หลายประการ แต่บอ่ ยครัง้ ก็นำแสงจากองค์ ความจริงมาให้ ซึ่งฉายส่องความสว่างแก่ มนุษย์ทุกคน” ซึ่งแสดงว่าพระสังคายนา ประกาศจุ ด ยื น ว่ า ต้ อ งการให้ ส มาชิ ก ของ พระศาสนจั ก รเป็ น คนไม่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น (Detachment) แต่ก็กลัวว่าจะเลยเถิดไป กลายเป็นพวกหลังนวยุคสุดขั้ว คือ ไม่ต้อง มีหลักยึดเหนี่ยวอะไรเลย “ยังไงก็ได้” ลม เพลมพัดเลื่อนไหลไปเรื่อยๆ ตัดสินใจไป ตามความพอใจของแต่ละครั้ง โดยไม่ต้อง คำนึงว่าที่แล้วๆ มาตัดสินใจอย่างไร เพราะ อะไรก็ เ ปลี่ ย นแปลงได้ แ ละจะเปลี่ ย นไป อย่างไรก็ได้ อย่างทีน่ กั ปรัชญาฝรัง่ เศสเรียก Differance ซึ่งไม่ใช่ Difference (ความแตก ต่าง) เพราะความแตกต่างยังมีตัวเทียบ


ปรัชญากับงานอภิบาล

แต่การเลื่อนไหลไม่มีตัวให้เทียบเพราะทุก ตัวก็เลื่อนไหลหมด พระสังคายนาได้ระวัง ความเลยเถิดนี้ไว้แล้ว จึงได้กล่าวต่อไปใน เอกสารเดียวกันนั้นว่า “อย่างไรก็ตามพระศาสนจักรประกาศและมีพันธะที่จะไม่หยุด ยั้งประกาศองค์พระคริสตเจ้าซึ่งทรงเป็น หนทาง ความจริงและชีวิต” (ยอห์น 14: 6) ซึ่งหมายความว่าความยึดมั่นของชาวคาทอลิกนั้น จะต้องมีหลักยึดเหนี่ยวแต่ไม่ยึด ติด ซึ่งหมายความว่าเราเคารพจุดยืนของ ผู้อื่น แต่เราเองก็ต้องมีจุดยืนของเราซึ่งเรา ก็ต้องการให้ผู้อื่นเคารพ และต่างฝ่ายต่าง พร้อมที่จะเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อ “แสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง” และ เพื่อ “พัฒนาความรู้ความเข้าใจให้แก่กัน และกัน เพือ่ ขยายจุดร่วมให้มากขึน้ เท่าทีจ่ ะ เป็นไปได้” แหละนี่ความประเสริฐของการ เสวนา ซึ่งงานอภิบาลทั้งหลายควรตั้งเป็น เป้าหมายแห่งการฝึกอบรม เพื่อให้สมาชิก ของพระศาสนจักรรู้จักเสวนาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ระหว่างกันเอง ระหว่างผูน้ อ้ ย กับผู้ใหญ่ และระหว่างบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกาย ต่างความเชื่อทางปรัชญา และ ต่างกระบวนทรรศน์ 2. จิ ต ตารมณ์ แ ห่ ง การทำเสวนา แนวคิ ด หลั ง นวยุ ค สายกลางถื อ ว่ า การ

57

เสวนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษ ย์ทุกคน เพราะเชื่อว่ามนุษ ย์แต่ละคนย่อมมีระบบ เครือข่ายแห่งความรู้ของตนเองโดยเฉพาะ ตามประสบการณ์ แ ละโอกาสการเรี ย นรู้ ของแต่ละคน ซึ่งไม่มีใครเหมือนใครในทุก แง่ทุกมุม ดังนั้นระบบเครือข่ายแห่งความ รู้ ใ นสมองของคนเราจึ ง เป็ น เรื่ อ งส่ ว นตั ว และลับเฉพาะของแต่ละคน หากหวงแหน เก็ บ ไว้ เ ป็ น เรื่ อ งส่ ว นตั ว จนเกิ นไปก็ มี แ นว โน้มที่จะหวาดระแวงว่าจะเสียเปรียบคนอื่น ทำให้ ช อบคิ ด ว่ า ตนไม่ เ หมื อ นคนอื่ น และ คนอื่นไม่เหมือนตน กลายเป็นว่า “คนอื่น” น่ากลัว เป็นอันตรายเป็นศัตรู ซึ่งต้องระมัด ระวัง ยิ่งปิดตัวเท่าใดก็ยิ่งรู้สึกว่าคนอื่นเป็น ศัตรูมากเท่านั้น แต่หากกล้ายอมเปิดตัว เปิดความคิด รู้จักแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึก คิดแก่กันและกันในลักษณะของการเสวนา จะค่อยๆ รู้สึกได้ว่า “คนอื่น” มิได้น่ากลัว อย่างทีค่ ดิ มิได้เป็นอันตรายอย่างทีค่ ดิ มิได้ เป็นศัตรูอย่างที่คิด แต่จะพบลักษณะตรง ข้ า มกั บ ที่ คิ ด มากมาย เช่ น ความน่ า รั ก ความเป็นคุณ และมิตรภาพที่น่าชื่นใจ แม้ ในบรรดาคนต่างศาสนาและต่างนิกาย 3. ประโยชน์ของการมีระบบเครือ ข่ายส่วนตัวตามปรกติ โดยสัญชาตญาณ ของปัญญา มนุษย์เรารู้จักทำระบบเครือ


58 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ข่ายใช้เป็นส่วนตัวแล้วโดยอัตโนมัติ แต่ถ้า ไม่ตระหนักเครื่องมืออันมีค่าที่พระเป็นเจ้า ประทานมาให้นี้ก็ ไม่พัฒนาให้ดีอย่างที่ควร หากได้ เ รี ย นรู้ แ ละตระหนั ก ถึ ง กลไกและ คุณค่าของมันสักนิดหนึ่ง มันก็จะพัฒนาได้ เต็ ม ศั ก ยภาพทั้ ง ทำประโยชน์ แ ก่ เ ราและ เป็นคุณแก่พระศาสนจักรอย่างมหาศาล เรามีความจำด้อยกว่าสัตว์หลาย ชนิดในหลายเรื่อง หลายอย่าง เราจึงลืม ง่ายกว่าสัตว์ แต่เราได้เปรียบสัตว์ตรงที่เรา มีปัญญา และปัญญาของเรามีกลไกช่วย ความจำ คือ เมื่อรับรู้อะไรหรือเข้าใจอะไร ใหม่ ก็จะมีกลไกด่านแรกกลั่นกรองว่า “สน ใจหรือไม่” ถ้าไม่สนใจก็เก็บไว้ในความจำ ชั่วระยะสั้นแล้วก็ลบออกจากหน่วยความ จำเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับของใหม่ แต่ถ้ากล ไกด่านแรกรู้สึกว่า “น่าสนใจ” ก็จะพยายาม เชื่อมโยงกับเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ ให้เป็น

ระบบเครือข่าย เหมือนกับเป็นหน่วยความ จำถาวร เพื่อป้องกันมิให้ลืมง่าย หรือถ้าลืม ไป ให้สงบจิตทบทวนส่วนเกี่ยวโยงกับเรื่อง อื่นๆที่ยังจำได้ในระบบเครือข่าย ก็มีโอกาส จะฟื้นขึ้นมาได้ เพราะมันไม่ได้หายไปไหน เมื่อไม่ได้ใช้นานๆ ก็มีกลไกแยกเอาไปเก็บ ไว้ในหน่วยความจำพิเศษระดับรีเสิร์พ (Reserve) กลไกนี้วิเศษสุดๆ สำหรับมนุษย์ หากไม่มีกลไกนี้มนุษย์คงมิอาจสร้างอารยธรรมได้ ดังนั้นการอภิบาลหากได้เน้นการ รู้จักใช้และพัฒนาระบบเครือข่ายส่วนตัว ก็จะสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพให้กับ สมาชิกอย่างมาก วิธีอบรมก็คือ 1) บอกให้ รู้ ว่ า ในปั ญ ญาของ มนุษย์ที่พระเป็นเจ้าประทานมาให้ มีกลไก หนึ่งที่เรียกว่าระบบเครือข่าย อันประกอบ ด้วยความรู้ 3 ส่วน ดังนี้

ปมข่าย ใยข่าย ตาข่าย

ระบบเครือข่าย


ปรัชญากับงานอภิบาล

ปมข่าย ได้แก่กฎเกณฑ์และทฤษฎี ทั้ ง หลายที่ เ ราเชื่ อและสนใจสะสมไว้เ ป็น ความรู้ ใยข่าย ได้แก่เหตุผลที่เชื่อมโยงกฎ ทั้งหลายให้สัมพันธ์กันและกันทั้งระบบรวม กันเป็นองค์ความรู้ที่เราเชื่อว่าเป็นเหตุผล ของเรา เป็นจุดยืนของเรา ตาข่าย เป็นส่วนที่เรียกว่าสามัญ สำนึก การวาบ การปิ๊ง การบันดาลใจ การ ดลใจจากพระเป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวม ถึ ง การตรั ส รู้ ส ำหรั บ ผู้ ที่ เ ชื่ อ ว่ า มี ไ ด้ จ ริ ง ส่วนนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะต้องผ่านด่านกลั่น กรองว่าชอบไหมและสนใจไหม ถ้าไม่ชอบ และไม่สนใจก็ทิ้งไป หากชอบและสนใจก็ พยายามหาที่ในปมข่ายและใยข่ายให้ เพื่อ เป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ ถ้ายังหาที่ ลงไม่ได้ก็ให้อยู่ลอยๆ ในตาข่ายไปพลางๆ ก่อน (หรืออาจจะตลอดไป) 2) บอกให้รู้ว่า อะไรที่จัดที่ให้อยู่ใน ระบบเครือข่ายได้แล้ว ก็สบายใจได้ว่าไม่ ต้องกลัวว่าจะลืมง่ายๆ ไม่ต้องกังวลใจใน เรื่องความจำ แม้จะพยายามลืมก็ยังไม่ยอม ลืมเลย 3) เมื่ อ รั บ รู้ อ ะไรเข้ า มาใหม่ ห าก ประสานกั บ ระบบเครื อ ข่ า ยได้ ดี นั่ น คื อ ความเข้าใจลึกซึ้งสำหรับตัวเราเอง คนอื่น

59

ไม่เกีย่ ว จะรูส้ กึ มีความภูมิใจและปลืม้ ปิติใน ปัญญา เกิดความสุขทางปัญญาซึง่ จะหาซือ้ ด้วยเงินทองไม่ได้ ต้องดำเนินการเองจนได้ มาเองด้วยวิธีนี้ 4) เมื่อมี โอกาสจะอธิบายเรื่องใด หากได้ ชี้ แ จงตามระบบเครื อ ข่ า ยของเรา ที่เรียกว่า “จากความเชื่อมั่นเฉพาะตัว” ผู้ ฟังจะรู้สึก “สนุกและน่าสนใจ” มากกว่าพูด ไปเรื่อยๆ อย่างไร้ทิศทาง 5) การทำอะไรจากความเชือ่ มัน่ แห่ง ระบบเครือข่ายของเราเอง เป็นการกระทำ ด้วยจุดยืนของเรา มีความสนุกลึกๆ เป็น รางวัล หากบางครั้งเพื่อประโยชน์แห่งการ เสวนา การเสียสละเพื่อความร่วมมือการ ยอมถ่อมตน (Kenosis) หรือ การนบนอบ ตัวแทนของพระเป็นเจ้า โดยตระหนักเช่นนี้ และเสียสละเช่นนี้ เราตระหนักดีวา่ เสียสละ เพื่ออะไร (ไม่ใช่เสียสละหรือนบนอบอย่าง ตาบอด) เป็นการนบนอบเหมือนทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงนบนอบพระบิดา เป็นความสุขลึกๆ อีกแบบหนึ่งที่ผู้เคยปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้ซึ้ง เรื่องนี้ ไม่มีบทสรุป มีแต่การอ่าน ให้เข้าใจและนำไปฝึกฝนหรืออบรมกันและ กัน ผู้ใดสนใจมากกว่านี้ โปรดโทรศัพท์มา สนทนากันได้ 086-045-5299


60 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

รรณานุกรม

กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 2545. Drolet, Michael. The Postmodernism Reader. London : Routledge, 2004. Varghese, Manimala. Faith and Reason Today in a Post-Modern Era. Washington D.C. : The Council for Reasearch in Values and Philosophy, 2008.


พระเยซูเจ้า “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี

1

หมวดพระสัจธรรม

พระเยซูเจ้า

“ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี 1 บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์

ทำไม..ผู้อธิษฐานภาวนาใน เพลงสดุ ดี เ รี ย กพระเจ้ า ว่ า ทรง เป็นผู้เลี้ยงแกะ เพราะไม่มีสภาพ ใดของมนุ ษ ย์ ใ นโลกที่ ถู ก ลบหลู่ เท่ากับอาชีพเลี้ยงแกะ

1

คำว่า “ผู้อภิบาล” และ “งาน อภิบาล” เป็นคำทางศาสนาที่ ใช้แปลคำ ภาษาอังกฤษว่า Pastor และ Pastoral แต่ กระนั้นก็ดี คำภาษาไทยไม่ชวนให้คิดว่า คำ เหล่านี้เป็นคำเปรียบเทียบที่มาจากอาชีพ เลี้ยงแกะ ดังที่คำในภาษาอังกฤษเสนอแนะ ตามภาษาในพระคัมภีร์ คำภาษาฮีบรูและ ภาษากรี กในต้ น ฉบั บ พระคั ม ภี ร์ ตรงกั บ คำว่า “ผู้เลี้ยงแกะ” คำภาษาอังกฤษยังคง รักษารากศัพท์ของคำแปลภาษาละตินว่า

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


2 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

“Pastor” และ “Postoralis” คริสตชน คาทอลิกนิยมใช้คำว่า “นายชุมพาบาล” ซึ่ง ควรเลิกใช้ เพราะคำนี้ไม่มีบันทึกในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และผู้ที่ไม่ เป็นคาทอลิกก็ ไม่เข้าใจความหมายของคำ นี้ ภาพผู้เลี้ยงแกะและฝูงแกะ มีแหล่งที่มา และพืน้ ฐานในพระคัมภีร์ เราพบภาพเปรียบ เทียบนี้บ่อยๆ ที่ความหมายหลากหลาย ทั้ ง ในหนั ง สื อ พั น ธสั ญ ญาเดิ ม และพั น ธสัญญาใหม่ เป็นการเปรียบเทียบความเอา พระทัยใส่ของพระเจ้าต่อประชากรอิสราเอล เหมือนกับความเอาใจใส่ของ “ผู้เลี้ยง แกะที่ดี” ต่อฝูงแกะของตน 1. ภาพผู้เลี้ยงแกะและฝูงแกะใน การเปิดเผยของพระเจ้า ตั้งแต่ตำนานโบราณที่สุดในพระ คัมภีร์ เราพบภาพผู้เลี้ยงแกะและฝูงแกะ ซึ่งแสดงว่า พระเจ้าทรงมีความสัมพันธ์กับ บุคคลที่ ได้รับเลือกสรรและกับประชากร

ของพระองค์ ในบั้นปลายของชีวิต ยาโคบ อวยพรโยเซฟว่า “พระเจ้า ซึ่งอับราฮัมและ อิสอัค บิดาของข้าพเจ้าได้รับใช้อยู่เสมอ พระเจ้าผู้ทรงนำข้าพเจ้า อย่างผู้เลี้ยงแกะ ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดจนถึงวันนี้...ขอพระองค์ ทรงอวยพร” (ปฐก 48: 15, 6) เราพบภาพเปรียบนี้หลายครั้ง โดย เฉพาะในคำอธิษฐานภาวนาของชาวยิว ดัง ที่บันทึกไว้ในหนังสือเพลงสดุดี เช่น “พระยาเวห์ ท รงเลี้ ย งดู ข้ า พเจ้ า อย่างผู้เลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจึงไม่ขาดสิ่งใด” (สดด 23: 1) “เหตุใดพระพิโรธจึงลุกเป็นไฟ เผา ฝูงแกะแห่งทุ่งหญ้าของพระองค์” (สดด 74: 1) “พระองค์ทรงนำประชากรของพระองค์ดุจ ทรงนำฝูงแกะ ทรงให้โมเสสและอาโรนเป็น ผู้นำแทนพระองค์” (สดด 77: 20)


พระเยซูเจ้า “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี

“ทรงนำประชากรของพระองค์ออกมาดัง ฝูงแกะ ทรงนำทางเขาเหมือนทรงนำฝูงแกะ ในถิ่นทุรกันดาร” (สดด 78: 52) “ส่ ว นข้ า พเจ้ า ทั้ ง หลายผู้ เ ป็ น ประชากรของพระองค์ และเป็นฝูงแกะที่ ทรงเลี้ยงดู จะขอบพระคุณพระองค์ตลอด ไป จะประกาศสรรเสริญพระองค์ตลอดทุก ยุคทุกสมัย” (สดด 79: 13) “ข้าแต่ผู้เลี้ยงแกะแห่งอิสราเอล โปรดทรงฟังเถิด พระองค์ทรงนำโยเซฟไป ประดุจฝูงแกะ” (สดด 80: 1) “เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ของเรา และเราเป็นประชากรที่ทรงเลี้ยงดู ดุจฝูงแกะ เป็นฝูงแกะที่พระองค์ทรงนำ” (สดด 95: 7) “จงรู้ ไ ว้ ว่ า พระยาห์ เ วห์ ท รงเป็ น พระเจ้า พระองค์ทรงสร้างเรา เราเป็นของ พระองค์ เป็นประชากรของพระองค์ เป็น ฝูงแกะที่ทรงเลี้ยงดู” (สดด 100: 3) บรรดาประกาศกใช้ภาพผูเ้ ลีย้ งแกะ และฝูงแกะทำนายถึงเหตุการณ์ ในอนาคต เมื่อพระเจ้าจะทรงนำประชากรอิสราเอล กลับจากดินแดนเนรเทศ เพื่อรื้อฟื้นความ ไว้วางใจว่าพระองค์จะทรงรวบรวมบรรดา แกะที่พลัดฝูงและทรงนำไปอยู่ในคอกของ พระองค์ เช่น

3

“เราจะรวบรวมแกะที่รอดชีวิตของ เราจากแผ่นดินทุกแห่งที่เราเคยขับไล่ ให้ เขาไปอาศัยอยู่ เราจะนำเขาทั้งหลายกลับ มายังทุง่ หญ้าของเขาอีก เขาจะมีลกู ดกและ ทวีจำนวนมากมาย” (ยรม 23: 3) “พระยาเวห์ อ งค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ตรัสดังนีว้ า่ ดูซิ เราจะตามหาและจะแสวงหา ฝูงแกะของเราเอง ผูเ้ ลีย้ งแกะอยูก่ บั ฝูงแกะ และรวบรวมแกะที่กระจัดกระจายไปฉันใด เราก็จะรวบรวมแกะของเราฉันนั้น เราจะ ช่วยแกะให้พ้นจากสถานที่ที่แกะได้กระจัด กระจายไปอยู่ ใ นวั น ที่ มี เ มฆและมี ค วาม มืดทึบ เราจะนำแกะของเราออกมาจากชน ชาติต่างๆ จะรวบรวมแกะมาจากแผ่นดิน ทั้งหลาย และจะนำมาไว้ในแผ่นดินของเขา เราจะเลี้ยงดูเขาบนภูเขาแห่งอิสราเอล ใน หุบเขาและในที่ที่มีคนอาศัยของแผ่นดิน เราจะเลี้ยงดูเขาในทุ่งหญ้าดีๆ ทุ่งหญ้าของ เขาจะอยู่บนภูเขาสูงต่างๆ แห่งอิสราเอล ที่ นั่นเขาจะนอนลงบนทุ่งหญ้าที่ดี และเขาจะ เล็มหญ้าอยู่ตามทุ่งหญ้าอุดมบนภูเขาแห่ง อิสราเอล” (อสค 34: 11-14) “พระองค์ทรงเลี้ยงดูฝูงแกะของ พระองค์เช่นคนเลี้ยงแกะ ทรงรวบรวมลูก แกะไว้ในอ้อมพระกรทรงอุ้มไว้แนบพระอุระ และทรงนำแม่แกะอย่างทะนุถนอม” (อสย 40: 11)


4 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

จากข้ อ ความดั ง กล่ า วเราเห็ น ว่ า เกือบทุกครั้งพระคัมภีร์ ใช้ภาพของผู้เลี้ยง แกะและฝูงแกะ เพือ่ แสดงความสัมพันธ์กบั พระเจ้า พระยาห์เวห์ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะ แท้จริงเพียงผู้เดียวของอิสราเอล พระองค์ ทรงนำประชากรออกจากการเป็นทาสใน แผ่นดินอียิปต์ ไปสู่แผ่นดินแห่งพระสัญญา และพระองค์ยังทรงนำเขาต่อไปตามทางที่ คดเคี้ยวในประวัติศาสตร์ของเขา 2. ความหมายของภาพผู้เลี้ยงแกะ และฝูงแกะ เมื่อพิจารณาข้อความเหล่านี้อย่าง ละเอียด เราพบว่าภาพของผู้เลี้ยงแกะและ ฝู ง แกะเคยปลุ ก ความทรงจำขึ้ น มาทั น ที อย่ า งชั ด เจนในจิ ต ใจของชาวอิ ส ราเอล เพราะในสมัยแรกเริ่มเขาเคยเป็นชนเผ่าเร่ ร่อนและคนสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ ของเขามีอาชีพเลี้ยงแกะ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ โมเสส ดาวิด แม้ในสมัย ของเรา ก็ไม่ยากทีจ่ ะเข้าใจความหมายนัย ๆ ของภาพนี้ เราอาจสรุปลักษณะสองประการ ที่ภาพของผู้เลี้ยงแกะและฝูงแกะชวนให้คิด เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระยาเวห์ กับประชากรของพระองค์ คือ ก) ผู้เลี้ยงแกะเป็นผู้ที่นำหน้า ชี้

ทาง เลือกหนทาง ดูแลเอาใจใส่ เรื่อง อาหาร น้ำและความปลอดภัย เป็นหัวหน้า และนักรบ ในมุมมองนี้ ภาพของผู้เลี้ยง แกะและฝูงแกะแสดงสังคมของยิวที่ยึดว่า พระเจ้าทรงมีอำนาจปกครองเขาในทุกเหตุ การณ์ของชีวิต พระองค์จึงทรงเป็นกษัตริย์ ทรงเป็นแม่ทัพ ทรงเป็นผู้ออกกฎหมาย ผู้ พิพากษาและผู้ลงโทษศัตรู ข) ผู้ เ ลี้ ย งแกะเป็ น ผู้ ร่ ว มชี วิ ต กั บ ฝูงแกะอย่างเต็มเปี่ยม อยู่กับแกะตลอด เวลา ไม่มีชีวิตตามลำพัง พระยาเวห์เป็น พระเจ้าผู้ทรงตั้งกระโจมในหมู่กระโจมของ ชาวอิสราเอล ทรงเป็นผู้ที่ ไม่ปลีกตัวออก จากผู้อื่นหรือไม่มีผู้ใดจะขับไล่พระองค์ ให้ ออกไปได้ แต่พระองค์ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุข กับประชากรในทุกเหตุการณ์อยู่เสมอ ลักษณะทัง้ สองประการนี้ ดูเหมือน ขัดแย้งกันในประสบการณ์มนุษ ย์ เพราะ โดยปกติ ผู้ปกครองมักจะอยู่ห่างเหินจาก อยู่ ใต้ปกครองของตนและเป็นผู้ที่เข้าหา ได้ยาก ส่วนผูท้ อ่ี ยู่ใกล้ชดิ และเป็นกันเองกับ เรามักจะไม่มีอำนาจ แต่ลักษณะทั้งสอง นี้อยู่ด้วยกันในกิจการของพระเจ้า ผู้ทรง เป็ น ทั้ ง ผู้ สู ง สุ ด และผู้ ใ กล้ ชิ ด มากที่ สุ ดใน เวลาเดียวกัน พระองค์ทรงดำรงอยู่นิรันดร และในเวลาเดียวกันทรงเป็นอิมมานูเอล


พระเยซูเจ้า “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี

“พระเจ้าสถิตกับเรา” พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ ประกาศกอิสยาห์เรียกว่า “ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของ อิสราเอล” หมายถึงผู้ทรงแตกต่างจากโลก นี้โดยสิ้นเชิง แต่ในเวลาเดียวกันเสด็จเข้า แทรกแซงกับเหตุการณ์ต่างๆ ของชนชาติ หนึ่งจนกระทั่งประชากรนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ ของพระองค์ 3. ผู้ เ ลี้ ย งแกะในสมั ย ของพระเยซูเจ้า ในสมัยของพระเยซูเจ้าและสมัย ต่อๆ มา บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสี มั ก จะไม่ ใ ห้ เ กี ย รติ แ ก่ ผู้ มี อ าชี พ เลี้ ย งแกะ และดูหมิ่นเขา เพราะบรรดาผู้นำคิดว่าเขา เป็นคนบาปเหมือนคนเก็บภาษี โดยสันนิษฐานว่าเป็นขโมยและเป็นคนคดโกง บรรดาธรรมาจารย์บางคนเคยตั้ง คำถามด้วยความสนเท่หว์ า่ ทำไมผูอ้ ธิษฐาน ภาวนาในเพลงสดุดีเรียกพระเจ้าว่า ทรง เป็นผู้เลี้ยงแกะ เพราะไม่มีสภาพใดของ มนุษย์ในโลกที่ถูกลบหลู่เท่ากับอาชีพเลี้ยง แกะ 4. ท่าทีของพระเยซูเจ้า พระคริ ส ตเจ้ า ทรงมี ท่ า ที ใ หม่ ไ ม่ เหมือนใครต่อผู้เลี้ยงแกะ เป็นท่าทีทวน กระแสสังคม ต่างจากท่าทีของบรรดาธรรมาจารย์ แ ละชาวฟาริสี เราอาจพูดได้ว่า

5

พระองค์ทรงบังเกิดในหมู่ผู้เลี้ยงแกะ และ ผู้เลี้ยงแกะกลุ่มหนึ่งเป็นผู้แทนของมนุษ ย์ ทุกคนในการต้อนรับพระบุตรของพระเจ้า ดังที่นักบุญลูกาเล่าว่า “ในบริเวณนั้นมีคนเลี้ยงแกะกลุ่ม หนึ่งอยู่กลางแจ้งกำลังเฝ้าฝูงแกะในยาม กลางคืน ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้า ปรากฏองค์ ต่ อ หน้ า เขา และพระสิ ริ ข อง พระเจ้าก็ส่องแสงรอบตัวเขา คนเลี้ยงแกะ มีความกลัวอย่างยิ่ง แต่ทูตสวรรค์กล่าวแก่ เขาว่า “อย่ากลัวเลย เพราะเรานำข่าวดีมา บอกท่ า นทั้ ง หลาย เป็ น ข่ า วดี ที่ จ ะทำให้ ประชาชนทุกคนยินดีอย่างยิ่ง วันนี้ในเมือง ของกษัตริย์ดาวิด พระผู้ ไถ่ประสูติเพื่อท่าน แล้ว พระองค์ คือ พระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า ท่านจะรู้จักพระองค์ ได้จากเครื่อง หมายนี้ ท่านจะพบกุมารคนหนึ่ง มีผ้าพัน กายนอนอยู่ในรางหญ้า” …คนเลี้ยงแกะ เหล่านัน้ จึงพูดกันว่า “เราจงไปเมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้เห็นเหตุการณ์นี้ที่พระเจ้า ทรงแจ้งให้เรารู้” (ลก 2: 8-11, 15) พระเยซูเจ้าทรงรื้อฟื้นคำสอนใน พันธสัญ ญาเดิมที่ ใ ช้ภาพของผู้เลี้ยงแกะ และฝู ง แกะแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง พระยาห์ เ วห์ กั บ ประชากรของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาพนี้อธิบายวิสัยทัศน์


6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

สูงส่งของพระองค์เรื่องพระบิดาในอุปมา แกะที่พลัดหลง (เทียบ ลก 15: 4-7; มธ 18: 12-14) เรื่องเล่านี้น่าประทับใจมาก เพราะมีเนื้อหาเพียงไม่กี่บรรทัด แต่อธิบาย พระประสงค์แน่วแน่ของพระบิดาเจ้าที่ทรง ปรารถนาให้มนุษ ย์ทุกคนได้รับความรอด พ้น “พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์... ไม่ทรงปรารถนาให้คนธรรมดาๆ เหล่านี้ แม้เพียงผู้เดียวต้องพินาศไป” (มธ 18: 14) พระบิดาทรงห่วงใยแสวงหามนุษย์ “ออกไป ตามหาแกะที่พลัดหลงจนพบ” (ลก 15: 4) พระองค์ทรงมีความยินดีสุดซึ้งหาที่เปรียบ มิได้ “ในสวรรค์จะมีความยินดีเพราะคน บาปคนหนึ่ ง กลั บ ใจ มากกว่ า ความยิ น ดี เพราะคนชอบธรรม” (ลก 15: 7) ความรักที่ พระผู้สร้างทรงมีกับมนุษย์ที่หลงผิดในสาย ตาของมนุ ษ ย์ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ “เมื่อพบแล้ว เขาจะยกมันใส่บ่าด้วยความ ยินดี” (ลก 15: 5) 5. การมีสว่ นร่วมในงานอภิบาลของ พระเจ้า ความแปลกใหม่ใหญ่ทส่ี ดุ ทีค่ ำสอน ของพระเยซูเจ้านำมา คือ ตำแหน่งผู้เลี้ยง แกะไม่สงวนไว้สำหรับพระเจ้าแห่งอิสราเอล เท่านั้น แต่ถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้ พระบิดายัง ทรงเป็นเจ้าของแกะทั้งหลาย แต่พระองค์

ทรงมอบภารกิจที่จะทรงดูแลเอาใจใส่แก่ พระเยซูเจ้า ชาวนาซาเร็ธ ในแผนการความรอดพ้นของพระบิดา พระบุตรเพียงพระองค์ของพระบิดา ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และทรงเป็นมนุษย์ คนหนึ่งในบรรดาพี่น้อง พระบิดาจึงทรง แต่งตั้งพระคริสตเจ้าให้เป็นผู้เลี้ยงแกะแท้ จริงเพียงพระองค์เดียว การเรียกพระคริสตเจ้าว่า “ผู้เลี้ยง แกะ” มีหลักฐานตั้งแต่สมัยบรรดาอัครสาวก ซึ่งบันทึกพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ ทรงสั่งสอน พระองค์ตรัสกับหญิงชาวคานาอันว่า “เราถูกส่งมาเพื่อแกะที่พลัดหลง ของวงศ์วานอิสราเอลเท่านั้น” (มธ 15: 24) เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเสวยพระกระยาหาร มื้อสุดท้าย พระองค์ทรงใช้ข้อความจาก


พระเยซูเจ้า “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี

ประกาศกเศคาริยาห์เพื่อประกาศล่วงหน้า ถึ ง การรั บ ทรมานของพระองค์ แ ละการที่ บรรดาศิษ ย์จะละทิ้งพระองค์ ไปพระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “ท่านทุกคนจะทอดทิ้ง เรา เพราะมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าเราจะ ตีผู้เลี้ยงแกะและแกะจะกระจัดกระจายไป” (มก 14: 27) ในคำปราศรัยเรื่องการพิพาก ษาประมวลพร้อม พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาพ “ผูเ้ ลีย้ งแกะ” อธิบายว่า “บรรดาประชาชาติ จะมาชุมนุมกันเฉพาะพระพักตร์ พระองค์ จะทรงแยกเขาออกเป็ น สองพวกดั ง คน เลี้ยงแกะแยกแกะออกจากแพะ ให้แกะอยู่ เบื้องขวา ส่วนแพะอยู่เบื้องซ้าย” (มธ 25: 32-33) หลักฐานดังกล่าวมาจากธรรมประเพณีของพระวรสารสหทรรศน์ แต่บอ่ ยครัง้ กลุ่มคริสตชนสมัยแรกเน้นว่าพระเยซูเจ้า ทรงมีตำแหน่งนี ้ เขาเรียกพระองค์วา่ “องค์ ผู้เลี้ยงแกะผู้ยิ่งใหญ่” (ฮบ 13: 20) “พระผู้ เลี้ยงสูงสุด” (1 ปต 5: 4) นักบุญเปโตร เขียนถึงคริสตชนว่า “ท่านเคยเป็นเหมือน แกะที่พลัดหลงจากฝูง แต่บัดนี้กลับมาหา ผู้เลี้ยงและผู้ดูแลวิญญาณของท่านแล้ว” (1 ปต 2: 25) ผู้เขียนหนังสือวิวรณ์คิดว่า ภาพ ของผู้เลี้ยงแกะไม่ขัดแย้งกับภาพของลูก-

7

แกะที่ถวายเป็นเครื่องบูชา เขาจึงรวมภาพ ทั้งสองนี้ในพระเยซูเจ้า “ลูกแกะที่ประทับ ยืนอยู่กลางพระบัลลังก์ จะทรงเลี้ยงดูเขา จะทรงนำเขาไปยังธารน้ำพุแห่งชีวิต” (วว 7: 17) 6. พระวรสารตามคำบอกเล่าของ นักบุญยอห์น เราควรให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ ภาพผู้เลี้ยงแกะและฝูงแกะ ในบทที่ 10 ของ พระวรสารตามคำบอกเล่ า ของนั ก บุ ญ ยอห์ น น่ า สั ง เกตบริ บ ทสำคั ญ ที่ นั ก บุ ญ ยอห์ น ยื น ยั น ความจริ ง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรง เป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี คือ ทรงแทรกคำสอน เรื่องนี้ระหว่างเรื่องการรักษาคนตาบอดแต่ กำเนิด (บทที่ 9) กับการกลับคืนชีพของ ลาซารัส (บทที่ 11) บททั้งสามนี้เป็นคำสอน สำคัญเรื่องพระคริสตเจ้า ที่นักบุญยอห์น เขียนไว้เพื่อเตรียมการเล่าเรื่องเหตุการณ์ ปัสกา ซึ่งเป็นหัวใจ ของประวั ติ ศาสตร์ แ ห่ ง ความรอดพ้น


8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

ในบทที่ 10 นี้พระเยซูเจ้าทรงเปิด เผยว่า พระองค์มีความสนิทสัมพันธ์เป็น หนึ่งเดียวกับพระบิดา “เรากับพระบิดาเป็น หนึ่งเดียวกัน” (ยน 10: 30) ทรงเป็นศูนย์ กลางของจักรวาล ทรงมีพระอานุภาพที่จะ ช่ ว ยมนุ ษ ย์ ใ ห้ ร อดพ้ น พระองค์ ท รงใช้ สำนวน “เราเป็น” ซึ่งชวนให้คิดถึงพระนาม ของพระยาเวห์ เช่น “เราเป็นประตูคอก แกะ” (ยน 10: 7, 9) “เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ ดี” (ยน 10: 11, 14) เมื่ อ เราพิ จ ารณาเบื้ อ งหลั ง ของ อุปมาเรื่องผู้เลี้ยงแกะ เราอาจจะรู้สึกแปลก ใจพระเยซูเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่า “เรา เป็นประตูคอกแกะ” ผู้เลี้ยงเท่านั้นมีสิทธิ เข้าไปพบกับฝูงแกะของตน ไม่เป็นการพบ ปะโดยบังเอิญ หรือระหว่างคนแปลกหน้า ผู้เลี้ยงรู้จักแกะของตนและเรียกแกะตาม ชื่อของมัน เขานำแกะออกไปและมันตาม เขาเพราะรั บ รู้ จ ากเสี ย งของ เขา การอ้างถึงประตูเป็น การเกริ่นนำเรื่อง ศัตรูและ ภยั น ตรายที่ จ ะขยายความ ในภายหลัง “ผู้ที่ไม่เข้า คอกแกะทางประตู แต่ปีนเข้าทางอื่น ก็ เป็นขโมยและโจร” (ยน 10: 1)

ข้อความที่กล่าวว่าผู้เลี้ยงเพียงผู้ เดียวมีสิทธิที่จะเข้าไปในคอกแกะ ได้รับการ สนับสนุนจากความคิดใหม่ ที่ไม่คาดคิดมา ก่อน คือ ผู้เลี้ยงแกะเป็นประตูในเวลา เดียวกัน “เราเป็นประตู ผู้ที่เข้ามาทางเรา ก็จะรอดพ้น” (ยน 10: 9) ภาพประตูค่อน ข้างแปลก แต่มีความหมายชัดเจนแสดงว่า พระเยซูเจ้าทรงนำเราไปเข้าเฝ้าพระบิดาซึ่ง เป็นความหมายของความรอดพ้น พระองค์ จะอธิบายความหมายนีอ้ กี ครัง้ ในคำปราศรัย เมื่อทรงเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้ายว่า “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มี ใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา” (ยน 14: 6) 7. “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี พระวรสารตามคำบอกเล่ า ของ นั ก บุ ญ ยอห์ น ยั ง สอนความจริ ง สำคั ญ อี ก ประการหนึ่ง คือ พระเยซูเจ้าไม่ทรงเป็น เพียงผู้เลี้ยงแกะที่มีสิทธิจะเข้าไปในคอก แกะ แต่ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะ “ที่ดี” อีกด้วย เราอาจสรุปความหมายของวลี “ผูเ้ ลีย้ งแกะ ที่ดี” ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ เมื่อทรงอ้างถึง พระองค์เองได้สี่ประการ 7.1) พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยง แกะที่ดี เพราะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ แกะ ไม่เป็นเพียงเจ้าของเท่านั้น แต่เป็นผู้


พระเยซูเจ้า “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดี

เขาจะต้องช่วยผู้อื่นให้ ไปไกลเกินตัว เพื่อ ผู้ อื่ น จะได้ พ บอิ ส รภาพของตนอย่ า งเต็ ม เปี่ยม ดังนั้น เขาจะต้องออกจากตนเอง เพือ่ เข้าสูค่ วามเป็นหนึง่ เดียวกับพระเยซูเจ้า และกับพระตรีเอกภาพ 7.2) พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยง แกะที่ดี เพราะพระองค์เสด็จมา “เพื่อให้ แกะมีชีวิต และมีชีวิตอย่างสมบูรณ์” (ยน 10:10) นี่เป็นคำสัญญายิ่งใหญ่ของพระเยซูเจ้า มนุษย์ทุกคนต้องการชีวิตสมบูรณ์ แต่ไม่รู้ว่าชีวิตสมบูรณ์นี้เป็นอย่างไร มนุษย์ดำเนินชีวติ อยูด่ ว้ ยความจริง และความรักและโดยรับความรักจากความ จริง มนุษย์ต้องการพระเจ้า พระเจ้าผู้ทรง เข้ามาใกล้ชิดมนุษย์ ทรงแปลความหมาย ของชีวิตแก่มนุษย์ และทรงชี้ให้มนุษย์เห็น หนทางชีวิต แน่นอนสิ่งที่มนุษ ย์ต้องการ มากที่สุด คือ พระวาจา ความรัก และ พระเจ้า ผู้ที่ ให้สิ่งนี้ก็เท่ากับว่าได้ให้ชีวิต สมบูรณ์”

“รู้จักแกะ” ของตน (ยน 10: 14) คำว่า “รู้ จัก” เป็นความสนิมสัมพันธ์ที่พื้นฐานใน ความรักและในความเป็นอยู่ ซึ่งก่อให้เกิด ปฏิกริยาอย่างเป็นกันเอง “แกะของเราก็ รู้จักเรา” (ยน 10: 14) บรรดาแกะ “รู้จัก” พระองค์ คือ ทรงยึดมั่นในพระองค์ ทำตน ให้เหมือนพระองค์ ตักตวงชีวิตอย่างเต็ม เปี่ยมจากพระองค์ การ “รู้จักกัน” ที่น่า พิศวงนี้มีพระฉบับจากความสนิมสัมพันธ์ ระหว่างพระบุคคลของพระเจ้า “เรารู้จัก แกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา พระบิดาทรงรู้จักเราฉันใด เราก็รู้จักพระบิดา ฉันนั้น” (ยน 10: 14-15) มนุ ษ ย์ รู้ จั ก ตนเองก็ ต่ อ เมื่ อ เขา เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนโดยคำนึงถึงแสงสว่าง จากพระเจ้า เขารู้จักผู้อื่นได้ก็ต่อเมื่อเห็น พระธรรมล้ำลึกของพระเจ้าในผู้อื่น ความ จริงนี้หมายความว่า ผู้อภิบาลที่รับใช้พระเยซูเจ้าไม่มสี ทิ ธิท์ จ่ี ะผูกมัดผูอ้ น่ื ไว้กบั ตนเอง

9

พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพือ่ ให้แกะมีชวี ติ และมีชวี ติ อย่างสมบูรณ์


10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2010/2553

7.3) พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยง แกะที่ดี เพราะพระองค์ทรงมีพระทัยกว้าง “ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน” (ยน 10: 11) ต่างจากผู้เลี้ยงแกะที่เป็น “ลูก จ้าง” ซึ่ง “ไม่มีความห่วงใยฝูงแกะเลย” และเมือ่ สุนขั ป่าเข้ามาเพือ่ “แย่งชิงแกะและ ฝูงแกะก็กระจัดกระจายไป” ลูกจ้าง “ก็ ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป” (เทียบ ยน 10: 12-13) คำเปรียบเทียบนี้เป็นการอ้างถึง พลังความชั่วช้าที่ต่อสู้กับแผนการช่วยให้ รอดพ้นของพระเจ้า นักบุญยอห์นเรียกพลัง ชั่วร้ายนี้ว่า “โลก” ไม้กางเขนอยู่ในศูนย์ กลางของเรื่องผู้เลี้ยงแกะ ไม้กางเขนไม่มา จากความรุนแรงที่เข้ามาจู่โจมพระเยซูเจ้า อย่างไม่รู้ตัว แต่แสดงความสมัครใจที่จะ มอบตนโดยรู้ตัวและเต็มใจ 7.4) พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยง แกะทีด่ ี เพราะความรักทีช่ ว่ ยให้รอดพ้นของ พระองค์ แ ผ่ ข ยายไปถึ ง บรรดาแกะที่ อ ยู่ นอกคอกของพระองค์ “เรายังมีแกะอื่นๆ ซึ่งไม่อยู่ในคอกนี้ เราต้องนำหน้าแกะเหล่า นีด้ ว้ ย แกะจะฟังเสียงของเราจะมีแกะเพียง ฝูงเดียว และผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว” (ยน 10: 16) แกะเหล่านี้ไม่เป็นของพระองค์และ เป็นของพระองค์ในเวลาเดียวกัน เป็นของ พระองค์อยูแ่ ล้ว เพราะตัง้ แต่นริ นั ดรพระเจ้า

ทรงคิ ด ที่ จ ะสร้ า งและทรงสร้ า งในพระคริสตเจ้า แต่ในเวลาเดียวกันยังไม่เป็นของ พระองค์ เพราะยังไม่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับ พระองค์โดยทางศีลล้างบาป และยังไม่เป็น สมาชิ ก ในพระศาสนจั ก รของพระองค์ พระองค์ จึ ง ทรงเชิ ญ ชวนบรรดาศิ ษ ย์ ใ ห้ ปฏิบัติภารกิจการประกาศข่าวดีแก่ผู้ที่ยังไม่ รู้จักพระองค์ 8. อำนาจของผู้เลี้ยงแกะ พระบิดาทรงมอบอำนาจแด่พระเยซู เ จ้ า อย่ า งสุ ด พรรณนาและเกิ น ความ คาดคะเน เป็นอำนาจที่เทียบมิได้เพราะมี พลังที่จะชนะ แม้ความตายซึ่งอำนาจที่ดู เหมือนไม่มีสิ่งใดชนะได้ “พระบิดาทรงรัก เรา เพราะเราสละชีวิตของเรา เพื่อจะเอา ชีวิตนั้นคืนมาอีก ไม่มีใครเอาชีวิตไปจาก เราได้ แต่เราเองสมัครใจ สละชีวิตนั้น เรา มีอำนาจที่จะสละชีวิตของเรา และมีอำนาจ ที่จะเอาชีวิตนั้นคืนมาอีก นี่คือ พระบัญชา ที่เราได้รับจากพระบิดาของเรา” (ยน 10: 17-18) พระวาจานี้เป็นกำลังใจสำหรับเรา และเป็ น พื้ น ฐานของความไว้ ว างใจและ ความหวังของเรา




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.