แสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

Page 1



โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1

วารสารแสงธรรมปริทัศน

วารสาร ราย 4 เดือน ปที่ 35 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554 เจ้าของ คณะที่ปรึกษา คณะผูทรงคุณวุฒิ

วิทยาลัยแสงธรรม อธิการบดี รองอธิการบดีฝายวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำสอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสุจิต เพชรแก้ว นางสาวปนัดดา ชัยพระคุณ นางสาววรัญญา สมตัว นางสาวธชวรรณ สุทธาธาร นางสาวนภาดา ตะเพียนทอง จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเปนสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำหนดออก ปละ 3 ฉบับ ประจำเดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำรุงสมาชิก สมาชิกรายป 300 บาท จำหน่ายปลีก ฉบับละ 120 บาท สำหรับสมาชิกรายป สามารถส่งเงินค่าบำรุงสมาชิก เปนเงินสด, ตัว๋ แลกเงิน, ไปรษณีย,์ เช็คขีดคร่อมสัง่ จ่าย “แสงธรรมปริทศั น์”, ธนาณัติ สั่งจ่าย “บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล” ปณ.อ้อมใหญ่ 73160 หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี อ้อมใหญ่ ชื่อบัญชี วารสารแสงธรรมปริทัศน์ฺ เลขที่บัญชี 366-261387-3


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

º·ºÃóҸԡÒÃ

ในโลกยุคปจจุบนั หลายสิง่ เกิดขึน้ และเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว จนส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ระบบทุนนิยมคืบคลานเข้า ครอบงำโลกของเรา จนก่อเกิดเปนกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่ส่งผลทั้งในแง่ดีและแง่ลบต่อ พลเมืองของแต่ละประเทศ จนยากเกินบรรยาย หลายท่านอาจจะเคยสงสัยว่า พระศาสนจักรคาทอลิกกล่าวถึงประเด็นนี้ ไว้ อย่างไรบ้าง? และเราควรมีท่าทีอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม? คำถามที่ น่าสนใจเหล่านี้ เรามีเรื่องราวให้ทุกท่านได้แสวงหาคำตอบจากมุมมองของนักเขียน หลากหลาย ทั้งจากมุมมองของนักเทววิทยาอย่างบาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์ในบทความ เรื่อง “คนจนและคนรวยในข้อเขียนของนักบุญลูกา” บทความเรื่อง “พระเยซูเจ้า อบรมบรรดาศิ ษ ย์ อ ย่ า งไร เรื่ อ งทรั พ ย์ ส มบั ติ วิ เ คราะห์ ตี ค วามและไตร่ ต รอง มาระโก 10: 17-31” โดยบาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร อาจารย์ผู้สอนพระคัมภีร์ ซึ่งเปนที่รู้จักกันดีในสังคมไทย ส่วนมุมมองทางด้านปรัชญา นำทีมโดยศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือในบทความเรื่อง “แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค บาทหลวงวุฒิชัย อ่องนาวา นักเขียนประจำอีกท่านที่ส่งบทความเรื่อง “มนุษย์ตาม แนวคิดระบบทุนนิยม” เข้าร่วมแบ่งปนความคิด ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์จากบทความเรื่อง “บทเรียนจาก วิกฤติทุนนิยม” ตามด้วยบทความพิเศษจากบาทหลวง Patrick A. Connaughton ในเรื่อง “The man who put people before profit” นอกจากนี้แล้ว ยังมีบทความดีๆ เปยมด้วยสาระจากคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมแบ่งปนความคิด ในฉบับ เพื่อให้แสงธรรมปริทัศน์ก้าวสู่ปที่ 35 อย่างมีส่วนร่วมกับสังคมยุคปจจุบัน ตอบสนองต่อการหล่อเลี้ยง ชีวิตด้านในของเรามนุษย์ ที่ยังคงต้องการอาหารฝายจิตใจอย่างต่อเนื่อง ในโลกที่กำลังขาดแคลนทั้งอาหาร ฝายกายและฝายจิตใจ บางที เราอาจจะต้องย้อนกลับมาถามตนเองว่า เรายังคงเปนเกลือดองแผ่นดิน เปนแสงสว่างส่องโลก อยู่หรือไม่ บางทีอาจถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันยื่นมือเล็กๆของเรา ร่วมกันฟนฟูรากฐานของความจริง ความยุติธรรมและความรักให้กับโลกใบนี้ ก่อนที่มวลมนุษย์จะลืมว่า ความจริง ความยุติธรรมและความรัก คืออะไร?

บรรณาธิการสร้างสรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์… ขอเชิญชวนส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ฉบับต่อไปเดือน พฤษภาคม - สิ ง หาคม 2554 ในหั ว ข้ อ “ศาสนา” ส่ ง ต้ น ฉบั บ ได้ ที่ คุ ณ ปนั ด ดา ชั ย พระคุ ณ E-mail: panadda_mai@yahoo.com หรือ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย E-mail:chantra3008@gmail.com ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2554 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกบทความที่ส่งมาร่วมแบ่งปน บทความทีต่ พี มิ พ์ในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ ขอสงวนสิทธิต์ ามกฎหมาย ในกรณีทต่ี อ้ งการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเปนทางการ


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3

Content 9

22

29

Saengtham Journal ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2011/2554

บทบรรณาธิการ 1 : พระเยซูเจ้าอบรมบรรดาศิษย์อย่างไรเรื่องทรัพย์สมบัติ วิเคราะห์ ตีความและไตร่ตรอง มาระโก 10: 17-31 บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร 9 : คนจนและคนรวยในข้อเขียนของนักบุญลูกา บาทหลวงฟรังซิส ไกส์ 22 : มนุษย์ตามแนวความคิดระบบทุนนิยม บาทหลวงวุฒิชัย อ่องนาวา 29 : The man who put people before profit Fr. Pritick A. Connaughton 40 : รู้จักตน รู้จักพอ อิสระแห่งชีวิตในยุคทุนนิยม พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ 49 : แมกซ์ เวเบอร์กับทุนนิยมหลังนวยุค ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ 60 : บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์ 73 : มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 บาทหลวงเชิดชัย เลิศจิตรเลขา


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

40

49

60

73

93 : 105 : 119 :

พระเยซูเจ้า “ผู้สื่อสาร ที่สมบูรณ์ บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์ พิษณุโลก : ดินแดนแห่งการแพร่ธรรมสู่ภาคเหนือ พรชัย สิงห์สา แนะนำหนังสือ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร


พระเยซูเจาอบรมบรรดาศิษย์อยางไรเรื่องทรัพย์สมบัติ วิเคราะห์ ตีความ และไตรตรอง มาระโก 10:17-31

1

หมวดพระคัมภีร

พระเยซูเจาอบรมบรรดาศิษยอยางไร ทรัพยสมบัติ วิเคราะห ตีความ และไตรตรอง มาระโก 10:17:31 ºÒ·ËÅǧÊÁà¡ÕÂÃµÔ µÃÕ¹Ô¡Ã

คำถามเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องทุนนิยม เรื่องเศรษศาสตร์ การเงิน ในพระคัมภีร์ เราพบ คำสอนที่เป็นแนวทางสำคัญของพระเยซูเจ้าในพระวรสารนั้นมีบางประเด็นที่อยากจะเน้นใน เรือ่ งนีจ้ ากคำสอนในการอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้าพระวรสารโดยนักบุญมาระโก บทที่ 8:27 ถึงบทที่ 10:52 ซึ่งพระวรสารช่วงนี้เป็นเรื่องราวการเดินทางจากกาลิลีสู่กรุงเยรูซาเล็มของ พระเยซูเจ้าพร้อมกับบรรดาศิษย์ ในระหว่างการเดินทางบนถนนมุ่งสู่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับ ทรมาน และสิ้นพระชนม์ขณะเดินทางนักบุญมาระโกเน้นเรื่องการอบรมสั่งสอนบรรดาศิษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนสำหรับอัครสาวกทั้งสิบสองคน (The Twelve ภาษากรีกใช้คำว่า dodeka) อย่างมากเป็นพิเศษ เป็นที่ยอมรับกันในนักวิชาการพระคัมภีร์โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญพระวรสารนักบุญ มาระโกชีใ้ ห้เห็นชัดเจนว่า การอบรมระหว่างการเดินทางไปสูเ่ ยรูซาเล็มนีเ้ ป็นการอบรมเข้มข้น

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

เพื่อเป็นศิษย์ใกลัชิดติดตามพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงอย่างไม่ต้องสงสัยและในการเดินทาง เมื่อมาใกล้เยรูซาเล็มนี้ได้มีเศรษฐีหนุ่มคนหนึ่งปรารถนาจะได้ชีวิตนิรันดรเขาได้เข้ามา นมัสการพระองค์และได้สนทนากับพระองค์ถึงหนทางแห่งชีวิตนิรันดรมาระโกได้บันทึก พระคัมภีร์ตอนนี้โดยได้แทรกคำสอนที่สำคัญอย่างยิ่งเรื่องเกี่ยวกับการเป็นศิษย์ติดตาม พระคริสตเจ้าในพระวาจาของพระองค์ ซึ่งชวนให้พิจารณาและติดตาม เราจะเริ่มกับที่การตรวจสอบตัวบทพระคัมภีร์ พระวรสารตอนนี้กัน โดยศึกษา ตี ค วามโดยสรุ ป และพยายามเปรี ย บเที ย บกั บ คำแปลโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ต้ น ฉบั บ ใน พันธสัญญาเดิมในเรื่องธรรมบัญญัติดังต่อไปนี้ ฉบับคำแปลคาทอลิก 17 ขณะที่พระองค์กำลังทรงพระดำเนินอยู่ระหว่างทาง ชายคนหนึ่งรีบเข้ามาคุกเข่าลง ทูลถามว่า “พระอาจารย์ผทู้ รงความดี ข้าพเจ้าต้องทำอะไรเพือ่ จะได้ชวี ติ นิรนั ดร” 18พระเยซูเจ้า ตรัสกับเขาว่า “ทำไมเรียกเราว่า ผู้ทรงความดีไม่มีใครทรงความดีนอกจากพระเจ้าเท่านั้น 19 ท่านรู้จักบทบัญญัติแล้วคือ อย่าฆ่าคน อย่าล่วงประเวณี อย่าลักขโมย อย่าเป็นพยานเท็จ อย่าฉ้อโกง จงนับถือบิดามารดา” 20ชายผู้นั้นทูลว่า “พระอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติเหล่านี้ทุกข้อมาตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว” 21พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเขาด้วยพระทัย เอ็นดู ตรัสกับเขาว่า “ท่านยังขาดสิ่งหนึ่ง จงไปขายทุกสิ่งที่มี มอบเงินให้คนยากจน และ ท่านจะมีขุมทรัพย์ในสวรรค์ แล้วจงติดตามเรามาเถิด” 22เมื่อได้ฟังพระวาจานี้ ชายผู้นั้น หน้าสลดลงเพราะเขามีทรัพย์สมบัติมากมาย จึงจากไปด้วยความทุกข์ บุคคล: พระเยซูเจ้า พร้อมกับบรรดาศิษย์ เศรษฐีหนุ่ม อาจมีประชาชนอยู่ด้วย สถานที่: บนถนนหนทางจากกาลิลีสูกรุงเยรูซาเล็ม เป็นการเดินทางจากภาคเหนือลง ภาคใต้ เวลา: มาระโกเน้นว่า “ขณะกำลังเดินทาง” (ภาษากรีกต้นฉบับเน้นว่ “อยู่บนถนน”) ประเด็นสำคัญ: • กำลังทรงพระดำเนินอยู่ระหว่างทาง พระวรสารเน้นอยู่ที่การเดินทางของ พระเยซูเจ้ากับบรรดาศิษย์ เรื่องนี้ช่วยให้เห็นว่ามีชายหนุ่มผู้ร้อนรนคนหนึ่ง วิ่งเข้ามาและแสดงความปรารถนาจะติดตามพระองค์ เขาต้องการเป็นศิษย์


พระเยซูเจาอบรมบรรดาศิษย์อยางไรเรื่องทรัพย์สมบัติ วิเคราะห์ ตีความ และไตรตรอง มาระโก 10:17-31

• •

3

ของพระองค์เช่นอัครสาวกคนอืน่ ๆ ด้วยสังเกตจากคำทักทายของเขา “พระอาจารย์ ผู้ทรงความดี” (Didaskale agathe/ didaskalos) ชายคนหนึ่งรีบเข้ามาคุกเข่าลง การคุกเข่าลงแสดงออกซึ่งการให้ความเคารพ ภาษากรีก “prosdramon” หมายถึงการวิ่งเข้ามาหาและหมอบลงแทบเท้า “พระอาจารย์ผู้ทรงความดี” มาระโกเปดเผยโดยทางอ้อมอาศัยการทักทาย ของชายหนุ่มคนนั้นว่าพระเยซูเจ้าทรงเปนพระเจ้า “ทำไมเรียกเราว่าผู้ทรง ความดี ไม่มีใครทรงความดีนอกจากพระเจ้าเท่านั้น” ถ้าพระองค์ถูกเรียกว่า ผู้ทรงความดี ก็เป็นการยืนยันว่าพระองค์คือพระเจ้านั่นเอง ในความคิดของ มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสารนี้ คำถามที่ชายหนุ่มคนนี้ถามพระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าต้องทำอะไรเพื่อจะได้ชีวิต นิรันดร คำถามที่ต้องการคำตอบสำหรับอวสานกาล ชีวิตนิรันดรอันเป็นผล มาจากการเจริญชีวิต และคำตอบที่มาจากพระเยซูเจ้านั้นเรียบง่าย และตรง ไปตรงมามากที เ ดี ย วในการพิ จ ารณาความดี พ ร้ อ มเพื่ อ ได้ รั บ ชี วิ ต นิ รั น ดร พระเยซูเจ้าเรียกร้องให้พิจารณาพื้นฐานสำคัญคือการถือบัญญัติที่ครบครัน พระองค์ทรงเรียกร้องเขาให้ทบทวนสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผู้ศรัทธาใน พระเจ้า คือ การถือบัญญัติของโมเสส หรือบัญญัติสิบประการอย่างเคร่งครัด พระวรสารบันทึกโดยอ้างอิงบัญญัติสิบประการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความ สัมพันธ์กับมนุษย์ นั่นคือ - “อย่าฆ่าคน อย่าล่วงประเวณี อย่าลักขโมย อย่าเป็นพยานเท็จ อย่าฉ้อโกง จงนับถือบิดามารดา” (มก 10:19) แน่นอนทีส่ ดุ การอ้างอิงพระคัมภีรน์ ี้ นักบุญมาระโกบันทึกโดยอ้างอิงถึงหนังสือ ของโมเสส หรือที่เรียกว่า กฎหมายหรือโตราห์ของชาวยิวที่ถือได้ว่าสำคัญที่สุด และบัญญัตินี้อ้างอิงอยู่ในหนังสือทั้งสองฉบับที่จะขอยกมาให้เห็นชัดต่อไปนี้ - จงนับถือบิดามารดา เพื่อท่านจะได้มีอายุยืนอยู่ในแผ่นดินที่พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านประทานให้ท่าน อย่าฆ่าคน อย่าล่วงประเวณี อย่าลักขโมย อย่าเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน ... ” (อพย 20:13-16)


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

- “จงนับถือบิดามารดา ดังที่พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านทรงบัญชา เพื่อท่านจะได้มีอายุยืน อยู่เย็นเป็นสุขในแผ่นดินที่พระยาห์เวห์ พระเจ้า ของท่านประทานให้ท่าน อย่าฆ่าคน อย่าล่วงประเวณี อย่าลักขโมย อย่า เป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน...” (ฉทบ 5:17-20) เมื่อเปรียบเทียบตัวบทของมาระโกในคำสอนของพระเยซูเจ้า เมื่อทรงอ้างอิง ถึงธรรมบัญญัติหรือบัญญัติสิบประการบางประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ กับเพื่อนพี่น้องตามที่ยกมานี้จะเห็นว่า มีข้อความที่เพิ่มเติมเข้ามาในมาระโก ซึ่งไม่พบในตัวบทของพันธสัญญาเดิมทั้งจากหนังสืออพยพหรือจากหนังสือ เฉลยธรรมบัญญัติเลย จุดนี้คือประเด่นที่สุดของบทความนี้ และคำ ๆ นั้นที่ ปรากฎคือ คำว่า “อย่าฉ้อโกง” • ชวนให้คิดได้ว่า เป็นการบังอาจอย่างยิ่งสำหรับท่านนักบุญมาระโกในพระสาร ของท่านที่ได้เพิ่มเติมหรือปรับปรุงบัญญัติของโมเสสหรือบัญญัติสิบประการ โดยการเพิ่มข้อความนี้ลงไปในตัวบทพระวรสาร หรือกล่าวได้ว่า พระเยซูเจ้า ทรงกล้าหาญอย่างยิ่งในการเพิ่มบัญญัติเช่นนี้ • อันที่จริงในรูปแบบวรรณกรรม ถ้าเป็นเช่นนี้ ต้องให้เครดิตอย่างยิ่งกับข้อความ “อย่าฉ้อโกง”ต้องหาเหตุผลหรือสาเหตุหรือภาษาของการตีความพระคัมภีร์ เรียกว่า “เจตนา” ของผู้นิพนธ์พระวรสาร หรือเรียกได้ว่าเป็นพระประสงค์ ของพระเจ้าในการดลใจท่านนักบุญมาระโกให้บันทึกเช่นนี้ - มาระโกต้องการสื่ออะไร คำสอนของพระเยซูเจ้าตอนนี้ต้องการสื่อเน้น อะไรหนอ - แน่นอนที่สุด คำตอบที่น่าจะดีที่สุดคือ เรื่องนี้อยู่ในบริบทของการอบรม ศิษย์ โดยเฉพาะศิษย์ใกล้ชิดสิบสองคน The Twelve ตามที่ได้กล่าว ข้างต้นแล้ว - ดั้งนั้น ความคิดและความอาจหาญที่เพิ่มเติมบัญญัติเช่นนี้ ต้องสำคัญ ที่สุดที่กล่าวได้ว่า เป็นทัศนะคติของพระเยซูเจ้าในเรื่องชีวิตด้านเศรษฐกิจ การเงิน ซึง่ ต้องแฝงไว้ซง่ึ คำสอนสำหรับบรรดาศิษย์ของพระองค์อย่างแน่นอน


พระเยซูเจาอบรมบรรดาศิษย์อยางไรเรื่องทรัพย์สมบัติ วิเคราะห์ ตีความ และไตรตรอง มาระโก 10:17-31

5

• กล่าวได้ว่า ทัศนคติของพระเยซูเจ้าในเรื่องทุน เรื่องการเงิน เรื่องเศรษฐกิจ คือ “อย่าฉ้อโกง” นัยหนึ่งอาจหมายถึงความเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้านั้น ต้องปราศจากซึ่งการฉ้อโกง หรือกล่าวได้ว่า คนดีๆ ที่เหมาะสมกับพระอาณาจักรสวรรค์หรือชีวิตนิรันดรนั้น ต้องเน้นการไม่เป็นคนฉ้อโกง เรากลับ ไปที่คำถามของเศรษฐีหนุ่มคนนั้น เขาเป็นเศรษฐีและเขาต้องการชีวิตนิรันดร คำตอบคือบัญญัติของโมเสสที่เขาต้องถือรวมถึงประเด็นสำคัญคือการไม่ ฉ้อโกง เพราะการฉ้อโกงนั้น บ่อยครั้งเป็นเรื่องของการเงินและความร่ำรวย เป็นหลัก ซึง่ เขาสามารถจะรวย และสามารถจะได้ชวี ติ นิรนั ดรแต่ตอ้ งไม่ฉอ้ โกง • ทัศนคติ หรือคำสอนของพระเยซูเจ้าในประเด็นที่ทรงสอนสอนเศรษฐีหนุ่มให้ พิจารณาบัญญัติเช่นนี้ เราสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ทันทีว่า คำสอนของ พระเยซูเจ้าเรื่องเศรษฐกิจ การเงิน หรือความร่ำรวยนั้นคือ “ความซื่อตรง” นั่นเอง ความซื่อตรงไม่คดโกงน่าจะเป็นเจตนาอย่างแน่นอนของคำสอนของ พระเยซูเจ้าทีท่ รงสอนในมาระโกตอนนี้ และในบรรยากาศของการอบรมบรรดา ศิษย์ของพระองค์บนถนนไปเยรูซาเล็ม • เราดู ท่ า ที ข องชายหนุ่ ม คนนี้ ต่ อ ไปอี ก หน่ อ ย เขาตอบพระเยซู เ จ้ า ทั น ที ว่ า “พระอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติเหล่านี้ทุกข้อมาตั้งแต่เป็นเด็ก แล้ว” เป็นความจริงทีช่ ายหนุม่ คนนีม้ พี นื้ ฐานตามบัญญัตขิ องพระเจ้า ถืออย่าง เคร่งครัดมาตั้งแต่เด็ก และดูเหมือนน่าทึ่งจริงๆ กับความดีของเขาที่ถือ บัญญัติ และเขาไม่ใช่คนฉ้อโกงด้วย เขาเป็นเศรษฐีที่ดีและซื่อตรงเปี่ยมด้วย การถือบัญญัตอิ ย่างดีแน่ๆ เพราะฉนัน้ พระเยซูเจ้าจึงทรงตอบรับความครบครัน ของเขาในการถือบัญญัติ “พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเขาด้วยพระทัยเอ็นดู” ต้นฉบับภาษากรีกจะดีกว่าคำแปลภาษาไทยตรงนี้ ทำให้เห็นว่าเพราะการถือ บัญญัติอย่างดีและซื่อตรงนั้น ทำให้พระเยซูเจ้าทรงประทับใจอย่างยิ่ง และ ตรงนี้เองทำให้เราเห็นลักษณะความอ่อนโยนและสภาพมนุษย์ของพระองค์ อีกครั้งอาศัยสายพระเนตรของพระองค์ตามที่มาระโกเสนอ ให้เราตรวจสอบ ภาษาต้นฉบับและคำแปละภาษาอังกฤษฉบับ RSV (Revised Standard Version) ดังนี้


6

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

- ภาษากรีกต้นฉบับ o` de. VIhsou/j evmble,yaj auvtw/| hvga,phsen auvto.n - คำแปล RSV And Jesus looking upon him loved him, and said to him, - ในภาษากรีกต้นฉบับมีคำกริยาที่ชัดเจนว่า พระองค์ทอดพระเนตรเขา ทรง รักเขา โดยที่ภาษากรีกใช้คำสำคัญคือคำว่า Egapesen ที่มีรากมาจากคำว่า Agape แปลว่ารัก ซึ่งเป็นคำที่นักศึกษาทางเทววิทยารู้จักกันเป็นอย่างดี • นี่คือคำตอบของการทอดพระเนตรชายหนุ่มที่ร่ำรวย สายพระเนตรและ ความรักที่ทรงรักเขา เพราะเขาร่ำรวยก็จริง แต่ทว่าเขาถือบัญญัติและแน่นอน เขาร่ำรวยขณะที่ “ซื่อตรง” และ “ไม่ฉ้อโกง” นั่นเอง • เพราะเขาดีเช่นนี้ เหมาะที่จะเข้าสู่พระอาณาจักรสวรรค์และได้รับชีวิตนิรันดร ดังนั้น พระองค์เรียกร้องเขามากขึ้น ในมาเป็นศิษย์ติดตามพระองค์เหมือน บรรดาอัครสาวกทั้งสิบสิง พระองค์จึงตรัสว่า “ท่านยังขาดสิ่งหนึ่ง จงไปขาย ทุกสิ่งที่มี มอบเงินให้คนยากจน และท่านจะมีขุมทรัพย์ในสวรรค์ แล้วจง ติดตามเรามาเถิด” แน่นอนที่สุดการเป็นคนบริบูรณ์นั้นเรียกร้องให้ถือบัญญัติ ก็ถูกต้องแล้ว แต่การที่จะมาเป็นศิษย์ติดตามใกล้ชิดของพระองค์นั้นเรียกร้อง การสละทุกสิ่ง ซึ่งทำให้เราย้อนกลับไปที่ความคิดเดิมที่สำคัญคือการละทิ้ง ทุกสิ่งเพื่อติดตามพระองค์ (ดู มก. 8: 34) เงื่อนไขคือ การเลิกนึกถึงตนเอง แบบกางเขน และตามพระองค์ ผู้ที่จะติดตามพระองค์ต้องมีใจยากจน ซึ่ง หมายความว่าการติดตามพระองค์นน้ั เรียกร้องวางใจในพระองค์อย่างครบครัน • ชายผู้นั้นหน้าสลดลงเพราะเขามีทรัพย์สมบัติมากมาย จึงจากไปด้วยความ ทุกข์ เขาเป็นคนดี ครบครัน ไม่ฉ้อโกง และถือบัญญัติทุกข้ออย่างดีด้วย และพระเยซูเจ้าก็เห็นเช่นนั้น แต่ที่เขาต้องจากไป ติดตาม (เป็นศิษย์) พระองค์ ไม่ได้นั้น ไม่ใช่เพราะเขาไม่ดี แต่เพราะเขาไม่สามารถละจากความมั่นคงและ มั่งคั่ง เขาอาจลืมไปว่า พระองค์เท่านั้นคือความมั่นคงของชีวิต


พระเยซูเจาอบรมบรรดาศิษย์อยางไรเรื่องทรัพย์สมบัติ วิเคราะห์ ตีความ และไตรตรอง มาระโก 10:17-31

7

ข้อคิดเพื่อการไตร่ตรอง บรรทัดฐานเรื่องทุนนิยม เรื่องการแสวงกำไร เรื่องการทำธุรกิจการค้า ในรูปแบบ ต่างๆ นั้น ถ้าพิจารณาคำสอนของพระเยซูเจ้าที่เราได้พบในเรื่องเศรษฐีหนุ่มคนนี้ ตาม พระวรสารนักบุญมาระโกน่าจะสรุปได้ว่า เรื่องเหล่านี้ต้องมีพื้นฐานอยู่บนความจริงที่ว่า “อย่าฉ้อโกง” ซึ่งเป็นเจตนาตรงๆ ของมาระโก และพระวรสารตอนนี้ ที่ย้ำเรื่อง “ความ ซื่อตรง” และอันที่จริงหลักการทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องเรียกร้องความยุติธรรมในการทาง การค้า การสร้างกำไรที่เหมาะสมและยุติธรรม แต่ความจริงในสังคมทุนนิยมปัจจุบันอาจ ต้องการการกลับสู่รากเหง้าที่แท้จริง คือ พื้นฐานที่สามารถเรียกได้ว่าถูกต้อง ยุติธรรม เที่ยงตรง ไม่ฉ้อโกง ซึ่งดูเหมือนเป็นเจตนาและอันที่จริงเป็นธรรมชาติแห่งคำสอนของ พระเยซูคริสตเจ้าอย่างชัดแจ้ง ทุนนิยมที่ยุติธรรมและไม่ฉ้อโกง คือ ความจริงที่ลึกซึ้งที่กำลังต้องจมอยู่ภายใต้ซาก ปรักหักพังของความเท็จและการขาดธรรมภิบาลในทางธุระกิจของยุคปัจจุบัน ท่านผู้อ่านคิด อย่างไรกับความร่ำรวย กับคนรวยจำนวนมากมายในปัจจุบัน จากการไตร่ตรองคำสอนของ พระเยซูเจ้าทำให้เราต้องเอาความจริงของสังคมทุนนิยมแบบปัจจุบันมาวางต่อหน้าเพื่อ พิจารณา ถ้าพระเยซูเจ้าทรงพบผู้คนที่ร่ำรวยในปัจจุบัน พระองค์จะเป็นอย่างไร จะทรงทอด พระเนตรทุกๆคนได้อย่างที่ว่าทรงรักพวกเขาดังชายคนนั้นในพระวรสารได้หรือไม่ ทุกคน จะสามารถยืนยันกับพระองค์ดังชายหนุ่มคนนั้นหรือไม่ “บัญญัติทุกข้อโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อย่าฉ้อโกง” ข้าพเจ้าได้ถืออย่างดีมาตั้งแต่เด็ก” อยากเชิญชวนให้ผู้อ่านแสงธรรมปริทัศน์ฉบับนี้ได้เป็นพยานถึงแสงสว่าง คำสอนของ พระคริสตเจ้า เพื่อส่งเสียงร้องตะโกนให้สังคมทุนนิยมได้แสวงหาความจริงของทุนนิยมที่ เปี่ยมด้วยความซื่อสัตย์และปราศจากซึ่งความฉ้อโกงจะได้ไหม แสงธรรมต้องเป็นแสงแห่ง ความจริง ความสัตย์ซื่อ ความดี และธรรมาภิบาลแห่งชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับนักศึกษาสถาบันแสงธรรม สถานที่ผลิตศิษย์ของพระเยซูเจ้า เราเป็นศิษย์ติดตามพระองค์ ในฐานะพระสงฆ์ นักบวช หรือฆราวาสจิตตาภิบาล พึงสำนึก จริง ๆ ว่า ประชาชนเขาทราบดีว่าเราเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า หลายคนเข้ามาหาเรา เขาวางใจในการติดตามพระเจ้าของเรา ดังนั้น


8

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

• หันกลับไปมองพื้นฐานสำคัญของการถือบัญญัติ ก่อนที่จะพูดเรื่องการสละ ทุกสิ่งติดตามพระองค์ เราถือบัญญัติของพระเจ้าอย่างครบครันเพียงใด โดยเฉพาะบัญญัติแห่งความรัก • แต่บางทีการเน้นบัญญัติแห่งความรักมากไปอาจเป็นอะไรที่ไกลหรือเป็นอุดมคติ หรือเป็นนามธรรมมากไปสักหน่อย เราศิษย์พระคริสต์ก่อนจะพูดเรื่อง บัญญัติแห่งความรักและการติดตามพระคริสตเจ้านั้น พวกเราได้ถือบัญญัติ พื้นฐานในความสัมพันธ์กับเพื่อนพี่น้องอย่างดีแล้วใช่ไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความซือ่ สัตย์คือ “อย่าฉ้อโกง” ดูเหมือนเป็นบรรทัดฐานสำคัญของชีวติ พืน้ ฐาน ในเรื่องการจัดการ การเงิน เศรษฐกิจ ฯลฯ • พระเยซูเจ้าทรงทอดพระเนตรชายหนุ่มคนนั้นด้วยความรัก เพราะเขาถือ บัญญัติอย่างครบครัน เราทุกคนที่เป็นศิษย์พระคริสตเจ้าเราเป็นเช่นนั้นด้วย ไหม • ถ้าแสงธรรมจะเป็นแสงในท่ามกลางความมืดจริง ๆ โลกปัจจุบัน ประเทศไทย ของเราเองในปัจจุบันอาจต้องการแสงธรรมแห่งความซื่อตรง ธรรมาภิบาล และต้นแบบชีวิตและคำสอนที่ไม่มีความไม่ซื่อตรง หรือการฉ้อโกงแฝงอยู่อย่าง แน่นอน • “ท่านทั้งหลายเกลือดองแผ่นดิน... ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลก... เพื่อ คนทั้งหลายเห็นกิจการดีของท่านจะได้สรรเสริญพระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน” (เทียบ มธ. 5: 13ff) สรุปได้ว่า ทุนนิยม หรือเศรษฐศาสตร์การเงินที่แท้จริงในคำสอนของพระเยซูเจ้า จากพระวรสารโดยนักบุญมาระโกตอนที่นำเสนอนี้ คือ เศรษฐศาสตร์การเงินที่ซื่อตรง ปราศจากซึ่งการฉ้อโกง และอันที่จริงผู้เขียนบทความนี้เชื่อว่า นี่คือแบบอย่างและรากลึก ของความจริงของเศรษฐศาตร์ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูให้โดดเด่นและเปี่ยมด้วยธรรมาภิบาล ชัดเจน จนกระทั่งสามารถเป็นแสงสว่าง เป็นแสงธรรมสำหรับทุนนิยมที่ต้องเริ่มต้นด้วยการ นิยมความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง และไม่ฉ้อโกง เป็นทุนนิยมที่มีรากฐานในความ จริงของบัญญัติแห่งความรักและความยุติธรรม


9

คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

หมวดพระสัจธรรม

คนจนและคนรวยในขอเขียน ของนักบุญลูกา ºÒ·ËÅǧ ´Ã. ¿Ãѧ«ÔÊ ä¡Ê แม้ ท ฤษฎี เ กี่ ย วกั บ ทุ น นิ ย มถู ก พั ฒ นา ขึ้นในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18-20 แต่ระบบ เศรษฐกิจที่มีคนรวยเพียงบางกลุ่ม และคน จนเป็นจำนวนมากมีอยู่ตั้งแต่ก่อนสมัยของ พระเยซูเจ้าแล้ว ในบทความนีเ้ ราจะพิจารณา ปฏิกิริยา และคำสอนของพระเยซูเจ้าเกี่ยว กับคนจนและคนรวย ดังที่ บันทึกไว้ในข้อ เขียนของนักบุญลูกา

1. การวิ นิ จ ฉั ย ของพระวรสารเรื่ อ ง การใช้ทรัพย์สมบัติ ผู้คิดว่าอุดมคติของคริสตชนสมัย แรกๆ คือ การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างใหญ่ หลวง เพือ่ ช่วยเหลือคนจนและผูถ้ กู ตัดสิทธิ ในกองมรดก ก็มีเหตุผลสนับสนุนความคิด ของตนพอสมควรในข้อเขียนของนักบุญลูกา โดยแท้จริงแล้ว พระวรสารตามคำบอกเล่า

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ของนักบุญลูกาได้รับคำนิยามว่าเป็นพระวรสารสังคมนิยม เพราะนักบุญลูกาเน้นการ ตัดสินลงโทษคนรวยและส่งเสริมสิทธิของ คนจน นักบุญลูกาเสนออุดมคติของกลุ่ม คริสตชนในบทแรกๆ ของหนังสือกิจการ อัครสาวกว่า ผูม้ คี วามเชือ่ ทุกคนดำเนินชีวติ ร่วมกันและมีทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม “ใน กลุ่มของเขาไม่มีใครขัดสน ผู้ใดมีที่ดินหรือ บ้านก็ขายและมอบเงินที่ได้ให้บรรดาอัครสาวก เพือ่ แจกจ่ายให้ผมู้ คี วามเชือ่ แต่ละคน ตามความต้องการ” (กจ. 4: 34-35) เราควรตั้งคำถามว่า การให้อภิสิทธิ์แก่ คนจนเป็ น ความคิ ด ของพระเยซู เ จ้ า หรื อ เป็ น เพี ย งความคิ ด ที่ ส ะท้ อ นสถานการณ์ ของกลุ่มคริสตชนในสมัยของนักบุญลูกา แม้เราจะตัดสินว่า ความคิดที่ให้สิทธิพิเศษ แก่คนจนและตัดสินลงโทษคนรวยมาจาก พระวาจาของพระเยซูเจ้า เราก็ยงั ตัง้ คำถาม อีกว่า คำสอนเช่นนี้ยังใช้ ได้ในสมัยของเรา หรือไม่ พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนเช่นนี้เพียง ในสถานการณ์ทางวัฒนธรรม สังคมและ เศรษฐกิจในปาเลสไตน์ซึ่งแตกต่างกันมาก กับสถานการณ์ ในสมัยของเรา หรือ ทรง สั่งสอนว่า อุดมคตินี้เป็นแผนการถาวรของ พระองค์สำหรับพระอาณาจักรของพระเจ้า

ดังนั้น เราจะพิจารณาว่า คำสอนของพระเยซูเจ้าในพระวรสารตามคำบอกเล่าของ นักบุญลูกาและในกิจการอัครสาวกสะท้อน ความคิ ด ของพระเยซู เ จ้ า ที่ จ ำกั ดในสมั ย ของพระองค์เท่านัน้ หรือเป็นคำสอนถาวรที่ คริสตชนทุกสมัย ทุกสถานภาพไม่เพียง สังคมกสิกรรมอย่างเดียวที่ต้องคำนึงถึง 2. สถานการณ์ของแคว้นปาเลสไตน์ ในสมัยพระเยซูเจ้า ในช่ ว งครึ่ ง แรกของศตวรรษที่ 1 สภาพทางสั ง คมและเศรษฐกิ จ ในแคว้ น ปาเลสไตน์สมัยพระเยซูเจ้าเป็นผลมาจาก ปั จ จั ย 2 ประการร่ ว มกั น ประการแรก เศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากกสิกรรม ซึ่งขึ้น กับภูมิศาสตร์และภูมิอากาศในปาเลสไตน์ ประการที่ 2 สถานการณ์ทางการเมืองและ การปกครองเป็นตัวกำหนดสภาพเฉพาะ ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ แคว้นปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่ชาวโรมันเข้ายึดปกครอง และรวมเป็นแคว้นหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน กษัตริยเ์ ฮโรดมหาราชผูส้ น้ิ พระชนม์ ในปี 4 ก่อนคริสตกาล ทรงเป็นพันธมิตรกับ รัฐบาลโรมัน เพราะพระองค์ทรงได้รับการ แต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น กษั ต ริ ย์ จ ากรั ฐ บาลโรมั น พระองค์ทรงโดดเด่นในด้านการเมืองและ การสร้างตึกอาคารทีห่ รูหราและงดงาม เช่น


คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

ทรงสร้างวิหารถวายเกียรติแด่จักรพรรดิ โรงละคร สนามม้า โรมยิมฯ อาคารที่มีบ่อ อาบน้ำ ป้อมปราการและเมืองสะมาเรีย เมืองซีซารียาชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองพานิอัส ในกรุ ง เยรู ซ าเล็ ม กษั ต ริ ย์ เ ฮโรด ทรงสร้างโรงละครและโรงละครกลางแจ้ง อีกแห่งหนึง่ ทรงสร้างสวนสาธารณะ สวน ดอกไม้ บ่อน้ำพุ ราชวังและป้อมปราการ อันโตเนีย ในเมืองเยริ โคซึ่งเป็นที่พำนัก โปรดปรานมากที่ สุ ด ของกษั ต ริ ย์ เ ฮโรด พระองค์ทรงขยายเมืองโดยมีอาคารและ สิง่ อำนวยความสะดวกสบายมากมาก ต่อมา ปีที่ 18 ในรัชสมัยของกษัตริยเ์ ฮโรด พระองค์ ทรงเริ่มสร้างบริเวณใหม่ของพระวิหาร ซึ่ง สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 63 แม้งานก่อสร้าง มากมายเช่นนีช้ ว่ ยประชาชนให้มงี านทำ แต่ ก็เรียกร้องเงินทองและทรัพย์สมบัติมหาศาล กษัตริย์เฮโรดจึงทรงบังคับให้พลเมือง ต้ อ งจ่ า ยภาษี อ ย่ า งไร้ ค วามเมตตากรุ ณา ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับประชาชน เมื่อกษัตริย์เฮโรดสิ้นพระชนม์ ราชอาณาจั ก รก็ ถู ก แบ่ ง ระหว่ า งพระโอรส กษัตริย์เฮโรด อันทิปาส ทรงปกครองแคว้น กาลิลีและแคว้นเปอเรียจนถึง ค.ศ. 39 พระองค์ทรงปฏิบัติตามพระราชบิดาในการ

11

ก่อสร้าง แม้จะมีทรัพย์สมบัติน้อยลง แต่ก็ ทรงสร้ า งเมื อ งเบธไซดาใหม่ ทรงขยาย เมืองปานีอัส และทรงสร้างเมืองทิเบเรียส บริ เ วณด้ า นตะวั น ตกของฝั่ ง ทะเลสาบ กาลิลี พระองค์ทรงตัง้ ชือ่ เมือ่ นัน้ ว่าทิเบเรียส เพือ่ เป็นเกียรติแด่จักรพรรดิไทบีเรีย ซีซาร์ ทางใต้ ก ษั ต ริ ย์ อ าร์ เ คลาอั ส ทรง ปกครองแคว้นยูเดีย สะมาเรีย และอิดเู มอา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 4 จนถึง ค.ศ. 6 พระองค์ทรง ใช้ความรุนแรงและมีความทะเยอทะยาน เหมื อ นราชบิ ด า ทรงถู ก ปลดออกจาก


12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ตำแหน่ ง ดิ น แดนในการปกครองของ พระองค์ถูกโอนให้อยู่ในความดูแลของผู้ว่า ราชการโรมันโดยตรง ผูว้ า่ ราชการโรมันเป็น ผู้ บ ริ ห ารทั้ ง ด้ า นการเงิ น และการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระองค์ทรงต้องหา วิธีเก็บภาษีเพื่อถวายแด่จักรพรรดิและดูแล ความสงบสุขของประชาชน การเสียภาษีเป็นภาระหนักสำหรับ ประชาชนในปาเลสไตน์ มีการเก็บภาษี 2 รูปแบบ คือ ภาษีโดยตรง หมายถึงภาษี รายบุคคลและภาษีที่ดิน และภาษีทางอ้อม หมายถึงธรรมเนียมหรือพิกัดอัตราค่าผ่าน ด่านต่างๆ ทุกคนรู้ดีว่า เจ้าหน้าที่ชาวยิว ที่รับจ้างเก็บภาษี ให้แก่รัฐบาลโรมันมักเก็บ ภาษีเกินพิกัดยักยอกเงินเข้ากระเป๋าตนเอง ชาวยิ ว รั ง เกี ย จคนพวกนี้ ที่ ร่ ว มมื อ กั บ รัฐบาลโรมันผู้เข้ามาปกครองประเทศของ ตน ประณามว่าเป็นคนบาป เป็นคนขาย ชาติ ฟีโลชาวอเล็กซานเดรีย นักปราชญ์ กรี ก เชื้ อ ชาติ ยิ ว บรรยายลั ก ษณะการ ปกครองของปีลาตผู้ว่าราชการโรมัน ในปี ค.ศ. 26-36 ว่า “ในแคว้นยูเดีย ไม่มีใคร จะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเขาไม่คอร์รัปชั่น มีแต่ความหยิง่ ยโส ความก้าวร้าวการดูหมิน่ บ้านเมืองเต็มไปด้วยการลักขโมย การกดขี่

ข่มเหง การเหยียดหยามทุกรูปแบบ” ในบริบททางการเมืองเช่นนี้ ทำให้ เราเข้าใจสถานการณ์ทางสังคมแลเศรษฐกิ จ ของปาเลสไตน์ ส มั ย ของพระเยซู เ จ้ า เยเรมีอัส นักพระคัมภีร์ผู้ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมที่กรุงเยรูซาเล็มสมัยนั้น ได้แยกประชาชนเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคน รวย กลุ่ ม คนชั้ น กลาง และกลุ่ ม คนจน การแยกกลุ่มเช่นนี้ยังใช้ ได้กับสภาพสังคม ทั่ ว ในปาเลสไตน์ คนรวยมี จ ำนวนน้ อ ย ส่วนใหญ่มักจะเป็นข้าราชการชั้นสูง ซึ่งมี รายได้จากกษัตริย์หรือรัฐบาลโรมัน รวมทั้ง พ่อค้าที่มีธุรกิจใหญ่ ควบคุมการค้าส่งวัสดุ จากเมืองต่างๆ ยังมีเจ้าของที่ดินมากมาย ที่ใช้คนจนเป็นกรรมกร ที่ดินส่วนมากอยู่ บริเวณที่ราบอุดมสมบูรณ์ ในแคว้นกาลิลี เอสเดรโลน เขตทีร่ าบชายฝัง่ ทะเลเมดิเตอร์ เรเนียนและฝัง่ ตะวันออกของแม่นำ้ จอร์แดน ยังมีกลุม่ สมณะชัน้ ผูใ้ หญ่ ซึง่ มีหน้าทีบ่ ริหาร คลังของพระวิหาร คือ เงินที่ได้มาทั้งจาก ชาวยิวทีอ่ ยู่ในปาเลสไตน์ แต่มาจากชาวยิว ที่มีความศรั ทธาซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่ว โลก ทุกคนส่งบรรณาการ เสียภาษีพระวิหาร และหนึ่งในสิบของผลผลิต คนรวยจะแยก ตัวออกจากคนอื่น สังเกตได้ชัดจากวิถีชีวิต ที่หรูหรา ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน การ


13

คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

อาชีพชาวประมง กลุ่มชนชั้นกลางมีจำนวน คนน้อยกว่าคนจน ดั ง นั้ น ตลอดศาสนบริ ก ารของ พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงมีสถานภาพทาง สังคมเยี่ยงธรรมาจารย์ ผู้ครองชีพโดยรับ บริ จ าคจากบรรดาศิ ษ ย์ แ ละผู้ ส นั บ สนุ น นักบุญลูกาเขียนไว้ว่า “ผู้ที่ติดตามพระเยซูเจ้านอกจากบรรดาอัครสาวกสิบสอง คน ก็ยังมีบรรดาสตรีที่มีเงิน มีฐานะดี เขา จัดการความต้องการของกลุ่มโดยใช้ทรัพย์ สมบัติของตน” (ลก. 8: 1-3) นี่คือภูมิหลัง ทางสังคมที่ควรคำนึงถึงเพื่อเข้าใจภารกิจ ของพระเยซูเจ้าในการประกาศข่าวดีแก่คน จน 3. พระอาณาจักรของพระเจ้าสำหรับ คนจน ผู้ที่เรียกพระวรสารของนักบุญลูกา เป็น “พระวรสารสำหรับคนจน” ก็ไม่ได้พูด เกินความจริง เพราะข่าวดีของพระเจ้ามีไว้ สำหรั บ ผู้ ขั ด สน ผู้ ไ ม่ มี แ ม้ สิ่ ง จำเป็ น เพื่ อ ครองชีพ คำว่า “ยากจน” ที่นักบุญลูกา

แต่งกาย การใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่าย การจัดงาน เลี้ยง งานฉลองในโอกาสต่างๆ สมัยนั้น คนรวยไม่ใช้เงินเพื่อลงทุนให้เกิดประโยชน์ ส่วนรวม กลุม่ คนจนมากมายในสังคม คือ คน รับจ้างรายวัน ทาส คนรับใช้ ขอทาน บุคคล เหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับสังคมสงเคราะห์ หรือ ความใจดีของปัจเจกบุคคล เขามีรายได้ เพี ย งวั น ละ 1 เหรี ย ญ และไม่ ส ามารถ ทำงานได้ทุกวัน แล้วแต่ฤดูกาลและอากาศ ระหว่างกลุ่มคนรวยกับคนจนมีอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า กลุ่มชนชั้นกลางหมายถึง กลุ่ม ช่างต่างๆ ที่มีโรงงานขนาดเล็ก ผู้ค้าขาย เล็กๆ น้อยๆ เพราะมีเงินทุนไม่มาก กลุ่ม ข้าราชการชัน้ ผูน้ อ้ ย บรรดาสมณะตามเมือง ต่างๆ เขาจะมารับใช้ในพระวิหารทีก่ รุงเยรูซาเล็มเพียงปีละหนึ่งสัปดาห์ พระเยซูเจ้า ก็ ท รงพระชนมชีพแบบคนชั้นกลางทั้งใน ด้านสังคมและวิถีชีวิต พระวรสารบันทึกว่า ประชนชนเรียกพระเยซูเจ้าเป็นบุตรของ ช่างไม้ และบรรดาอัครสาวกกลุ่มแรกๆ มี

คนรวยจะแยกตัวออกจากคนอื่น สังเกตไดชัดจาก ว�ถีช�ว�ตที่หรูหรา สมัยนั�น คนรวยไมใชเง�นเพ��อลงทุนให เกิดประโยชนสวนรวม


14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ใช้หมายถึง ผู้ ไม่มีทรัพย์สิน เขาต้องขึ้นกับ ความช่วยเหลือจากสังคมสงเคราะห์ หรือ จากการให้ทานของปัจเจกบุคคล ข่าวดีของ พระเจ้าจึงเป็นข่าวดีเกี่ยวกับความรอดพ้น สำหรับเขา นักบุญลูกาเน้นความคิดนี้ ใน คำปราศรั ยของพระเยซูเจ้า ที่ศ าลาธรรม หมู่บ้านนาซาเร็ธ พระเยซูเจ้าทรงประกาศ โครงการล่วงหน้าของพระองค์ว่า “พระจิต ของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะ พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าว ดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศ การปลดปล่อยแก่ผถู้ กู จองจำ คืนสายตาให้ แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็น อิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจาก พระเจ้า” (ลก. 4: 18-19) บุคคลเป้าหมายในการประกาศข่าว ดีของพระเยซูเจ้า คือ คนจน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ผู้เคราะห์ร้าย เช่น เชลย ทาส คนพิการ พระเยซูเจ้าทรงประกาศว่า คนจน ที่รอคอยพระเจ้าให้ทรงปฏิบัติตามพระสัญญาก็ประสบความสำเร็จแล้ว พระองค์ สถิตอยู่ที่นั่นเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา เมื่อนักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้างส่งศิษย์ 2 คน ไปทูลถามพระเยซูเจ้าว่า ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ใช่หรือไม่ พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวน ให้เขาดูกิจการของพระองค์เพื่อคนจน ดัง

ที่ประกาศกอิสยาห์เคยทำนายไว้ “จงไป บอกยอห์ น ถึ ง สิ่ ง ที่ ท่ า นได้ เ ห็ น และได้ ยิ น คนตาบอดกลั บ แลเห็ น คนง่ อ ยเดิ น ได้ คนโรคเรื้อนหายจากโรค คนหูหนวกได้ยิน คนตายกลั บ คื น ชี พ คนจนได้ ฟั ง ข่ า วดี ” (ลก. 7: 22) คนจนได้รับข่าวดีเพราะเขาถูกปลด ปล่อยจากสถานการณ์ความขัดสน การ ขาดบางสิ่งบางอย่างไม่ว่าทางกายหรือทาง สังคม น่าสังเกตว่า ในกลุ่มคนจนมีทั้งคน ตาบอด คนง่อย คนโรคเรื้อน คนหูหนวก รวมอยูด่ ว้ ย เพราะสมัยโบราณโรคภัยไข้เจ็บ และความยากจนมั ก จะอยู่ ด้ ว ยกั น เสมอ ผู้ ป่ ว ยคนพิ ก ารและผู้ ไ ม่ ส ามารถทำมา หากิน มักจะเป็นขอทาน คนเหล่านี้นับว่า เป็นผู้เคราะห์ร้าย เพราะคนส่วนใหญ่ ไม่ สงสารเขาและบังคับให้อยู่ชายขอบสังคม เขาถูกลบหลู่ ถูกมองว่าไร้ประโยชน์และเป็น อันตรายสำหรับผู้อื่น พระเยซูเจ้าตรัสว่า


คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า เป็ น ของคน เหล่านี้ หมายความว่า ความรักซื่อสัตย์ที่ ช่วยมนุษ ย์ ให้รอดพ้นของพระเจ้าเอาใจใส่ ดูแลคนเหล่านี้ ช่วยเหลือเขาเพื่อจะได้รับ การปลดปล่อย พระเยซูเจ้าทรงเรียกคน เหล่านี้ว่า “ท่านทั้งหลายที่ยากจนย่อมเป็น สุข เพราะพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็น ของท่าน ท่านที่หิวในเวลานี้ย่อมเป็นสุข เพราะท่านจะอิ่ม” (ลก. 6: 20-21) คำว่า “คนจน” ยังหมายถึง ผู้ที่ถูก คนอื่นลบหลู่ คนต่ำต้อย ผู้ ไม่ได้รับการ ศึกษา อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น พระเยซูเจ้า ทรงเป ด เผยแผนการแห่ ง ความรอดพ้ น แก่คนเหล่านี้ ไม่ใช่แก่ผู้มีปรีชา “ข้าแต่ พระบิดาเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าสรรเสริญ พระองค์ ที่พระองค์ทรงปดบังเรื่องเหล่านี้ จากบรรดาผู้ปรีชาและรอบรู้ แต่ทรงเปด เผยแก่บรรดาผู้ต่ำต้อย ถูกแล้ว พระบิดา เจ้าข้า พระองค์พอพระทัยเช่นนั้น” (ลก. 10: 21) ข้อความทั้งหมดนี้มาจากการเทศน์ ของกลุ่มคริสตชนสมัยแรกๆ และสะท้อน คำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าอย่างแน่นอน ไม่ เป็นเพียงความคิดของนักบุญลูกาเท่านั้น เพราะเรายังพบความคิดเดียวกันในพระวรสารตามคำบอกเล่ า ของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว

15

เพราะทั้ ง นั ก บุ ญ ลู ก าและนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว มี แหล่งข้อมูลเดียวกัน และเป็นแหล่งข้อมูล ที่เขียนก่อนบันทึกพระวรสาร ดังนั้น การ เลือกคนจนจึงสะท้อนอย่างแท้จริงถึงพระวาจาและกิจการของพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ 4. การวิ นิ จ ฉั ย ของพระวรสารเรื่ อ ง ทรัพย์สมบัติ ถ้ามองพระวรสารตามคำบอกเล่า ของนักบุญลูกาในแง่สถานการณ์ทางสังคม และเศรษฐกิจ ยังมีอีกลักษณะหนึ่งคือ การ ตัดสินลงโทษผู้ร่ำรวย การเรียกเงินตราว่า “อธรรม” เป็นสิ่งเลวร้าย และพระเยซูเจ้า ทรงเชิ ญ ชวนบรรดาศิ ษ ย์ ใ ห้ ล ะทิ้ ง ทุ ก สิ่ ง ทุกอย่างที่มีพระวรสารตามคำบอกเล่าของ นั ก บุ ญ ลู ก าเท่ า นั้ น บั น ทึ ก ข้ อ ความเรื่ อ ง “วิบัติ” 4 ประการ ที่พระองค์ตรัสกับคน ร่ ำ รวย ผู้ มี ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง ผู้ ที่ แ สวงหา ความสนุกสนานว่า “วิบัติจงเกิดกับท่านที่ ร่ำรวย เพราะท่านได้รับความเบิกบานใจ แล้ว วิบัติจงเกิดกับท่านที่อิ่มเวลานี้ เพราะ ท่ า นจะหิ ว วิ บั ติ จ งเกิ ด กั บ ท่ า นที่ หั ว เราะ เวลานี้ เพราะท่านจะเป็นทุกข์และร้องไห้” (ลก. 6: 24-25) นักบุญลูกาเท่านั้นใช้สำนวน “เงิน ทองของโลกอธรรมนี้” (ลก. 16: 9) และเมื่อ


16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

เล่าเรื่องของผู้ที่ติดตามพระองค์ เขาเน้น เป็นพิเศษมากกว่าพระวรสารฉบับอื่นๆ ว่า ผู้ ต้ อ งการเป็ น ศิ ษ ย์ ข องพระเยซู เ จ้ า ก็ จ ะ ต้องละทิ้งทุกอย่าง เช่น ในโอกาสที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกเลวี “เลวีก็ลุกขึ้น ละทิ้ง ทุกสิ่ง แล้วตามพระองค์ ไป” (ลก. 5: 28) และเมื่ อ ศิ ษ ย์ สี่ ค นแรกที่ จั บ ปลาได้ น่ า อัศจรรย์ “เขานำเรือกลับถึงฝั่ง แล้วละทิ้ง ทุกสิ่งติดตามพระองค์” (ลก. 5: 11) พระเยซูเจ้ายังทรงตักเตือนทุกคนว่า “ทุกท่าน ที่ ไ ม่ ย อมสละทุ ก สิ่ ง ที่ ต นมี อ ยู่ ก็ เ ป็ น ศิ ษ ย์ ของเราไม่ได้” (ลก. 14: 33) หรือเรื่อง เศรษฐี ห นุ่ ม ที่ ทู ล ถามพระองค์ ว่ า ต้ อ งทำ อะไรเพื่ อ จะได้ รั บ ชี วิ ต นิ รั น ดร พระองค์ ตรัสตอบว่า ‘ท่านยังขาดสิ่งหนึ่ง จงไปขาย ทุกสิ่งที่มี แจกจ่ายเงินให้คนจน และท่าน จะมีขุมทรัพย์ในสวรรค์ แล้วจงติดตามเรา มาเถิด’ (ลก. 18: 22) นั ก บุ ญ ลู ก าเท่ า นั้ น ที่ บั น ทึ ก อุ ป มา เกีย่ วกับอันตรายของการสะสมทรัพย์สมบัติ เช่น อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (เทียบ ลก. 16: 19-31) เศรษฐีไม่ช่วยเหลือคนจน จึงพินาศไป โดยยังไม่คำนึงถึงความผิดอืน่ ๆ หรืออุปมาเรื่องเศรษฐีคนหนึ่งมีที่ดินที่เกิด ผลดีอย่างมาก (เทียบ ลก. 12: 16-21) เขาคิดว่าทรัพย์สมบัตินั้นจะอยู่กับตนอย่าง

ถาวร จึงได้ชื่อว่าเป็นคนโง่ เพราะในคืนนั้น เขาจะต้องตาย ยังมีอุปมาเรื่องความฉลาด ของผู้จัดการ (เทียบ ลก. 16: 1-9) เมื่อเขา จะถูกไล่ออกจากตำแหน่ง ก็ใช้ทรัพย์สิน เพื่อชนะใจของลูกหนี้ การเน้ น ท่ า ที โ จมตี แ ละตั ด สิ น ลง โทษคนรวยเช่นนี้ เป็นความคิดของพระเยซูเจ้า หรือเพียงสะท้อนความคิดเห็นของ นักบุญลูกาเท่านั้น ในหนังสือกิจการอัครสาวกนักบุญลูกาแสดงจุดประสงค์ ในการ สอนบุคคลเป้าหมาย เขาเสนอกลุม่ คริสตชน ให้เป็นเหมือนกลุ่มแรกที่กรุงเยรูซาเล็ม มี อุดมคติดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวและ มีภราดรภาพ (เทียบ กจ. 4: 32, 34-45) นักบุญลูกาเน้นเป็นพิเศษความช่วยเหลือ ฉั น พี่ น้ อ งที่ ค ริ ส ตชนชาวอั น ทิ โ อกให้ แ ก่ คริสตชนกรุงเยรูซาเล็มผู้มีความต้องการ เพราะขาดแคลนอาหาร เพื่อเป็นตัวอย่าง แก่กลุ่มคริสตชนอื่นๆ นักบุญลูกาต้องการ เน้ น ตั ว อย่ า งนี้ เ พื่ อ คริ ส ตชนชาวกรี ก มี ใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น เพราะเขามีฐานะ ดีกว่าคริสตชนทีป่ าเลสไตน์ และมักจะดูถกู คนจน นี่ เ ป็ น เหตุ ผ ลที่ นั ก บุ ญ ลู ก าเน้ น ปัญหาของผู้มีทรัพย์สินแต่เขาไม่รู้จักใช้อย่ างถูกต้อง (เทียบ กจ. 11: 28-30) กระนั้ น ก็ ดี คำสอนเช่ น นี้ ม าจาก


17

มนุษยตองเปนอิสระจากทรัพยสินของโลกนี้ เพ��อเตร�ยมรับ พระอาณาจักรของพระเจา “จงแสวงหาพระอาณาจักรของ พระองคเถิด แลวพระองคจะทรงเพ��มเติมทุกสิ�งให (ลก. 12 :13)

พระเยซูเจ้าอย่างแน่นอน เพราะเป็นความ คิดทีพ่ ฒ ั นาจากพันธสัญญาเดิม โดยเฉพาะ ทางธรรมประเพณีของหนังสือปรีชาญาณ และธรรมประเพณี ข องบรรดาประกาศก ตามธรรมประเพณีของนักปราชญ์ ทรัพย์สนิ เป็นของประทานจากพระเจ้าเช่นเดียวกับ การมี สุ ข ภาพดีแ ละชีวิ ต ยื น นาน แต่ เ ป็ น พระพรที่ไม่ถาวร อาจสร้างความรู้สึกปลอด ภัยแต่ไม่จีรังยั่งยืน ทรัพย์สมบัติอาจครอบ งำจิตใจมนุษย์ จนแยกตนออกจากพระเจ้า ธรรมประเพณี อี ก สายหนึ่ ง คื อ คำสอนของบรรดาประกาศกที่เน้นว่า คน รวยและคนจนต้ อ งติ ด ต่ อ กั น อย่ า งไร สำหรั บ บรรดาประกาศกและเพลงสดุ ดี หลายบท คนรวยก็เป็นผู้ ไม่ยำเกรงพระเจ้า เป็นคนอธรรม เป็นคนบาป เขาเสี่ยงที่จะ พินาศถ้าไม่กลับใจ การสะสมทรัพย์สินไม่ เป็นเพียงอันตรายที่จะยกย่องตัวเองว่ามี ความปลอดภัยที่ไม่เที่ยงแท้ แต่เป็นเครื่อง หมายของคนบาปและความอยุ ติ ธ รรม

คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

พระเยซูเจ้าทรงพัฒนาความคิดนี้อย่างเข้ม งวดมากยิ่งขึ้น ทรงสอนว่า ทรัพย์สมบัติที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พระอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งเป็นปัจจุบันในพระบุคคลและในกิจการ ของพระเยซูเจ้า มนุษ ย์ทุกคนได้รับเชิญ ให้ตัดสินใจว่า จะเลือกพระอาณาจักรของ พระเจ้าหรือไม่ มนุษ ย์ต้องเป็นอิสระจาก ทรัพย์สินของโลกนี้ เพื่อเตรียมรับพระอาณาจักรของพระเจ้า “จงแสวงหาพระอาณาจักรของพระองค์เถิด แล้วพระองค์ จะทรงเพิ่มเติมทุกสิ่งให้” (ลก. 12: 31) พระวาจาของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับ การละทิ้งทรัพย์สมบัติ ไม่มุ่งสอนเพียงให้ เป็นคนประหยัดหรือมัธยัสถ์ตน แต่ต้อง การสอนมนุษย์ให้เป็นอิสระพร้อมที่จะร่วม แผนการของพระเจ้าโดยติดตามพระเยซูเจ้า ผูท้ รงเป็นมนุษย์ทอี่ สิ ระและพร้อมรับใช้ ผู้อื่นแม้จะต้องตาย พระวรสารตามคำบอก เล่าของนักบุญลูกาไม่สอนว่า คนจนจะได้ รับความรอดพ้นอย่างแน่นอนและคนรวย


18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

จะต้ อ งพิ นาศ เพราะพระเจ้ า ไม่ ท รงรั บ ประกันว่า ผู้ขัดสนทรัพย์สมบัติเป็นผู้ ได้รับ การเลือกสรร หรือ ผู้ครอบครองทรัพย์ สมบั ติ ไ ด้ รั บ พระพรจากพระเจ้ า ความ รอดพ้ น หมายถึ ง พระเยซู เ จ้ า และพระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว เราจึง ต้องตัดสินใจว่า สิ่งใดเป็นทรัพย์สมบัติที่ สำคัญที่สุดที่ต้องเลือกระหว่างพระอาณาจักรหรือทรัพย์สมบัติ ผู้ปรารถนาเป็นศิษย์ ของพระเยซู เ จ้ า ต้ อ งรู้ จั กใช้ ท รั พ ย์ ส มบั ติ อย่างถูกต้อง 5. การใช้ ท รั พ ย์ ส มบั ติ ใ นพระวรสาร ตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา พระวรสารตามคำบอกเล่ า ของ นั ก บุ ญ ลู ก าไม่ เ พี ย งเสนอให้ ส ละทรั พ ย์ สมบัติเพื่อจะปฏิบัติ โดยอิสระและมีจิตใจ สงบ แต่ยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ สอนให้รู้จักให้ทานแก่คนจนเน้นเสมอ ว่าเราจะต้องให้ผู้ขัดสนด้วยใจเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่ ในคำเทศน์สอนของนักบุญยอห์นผู้ทำ พิธีล้างมีความคิดที่ว่า การกลับใจที่แท้จริง เพื่อเตรียมรับพระอาณาจักรของพระเจ้า คือการแบ่งปันสิ่งที่มี “ใครมีเสื้อสองตัว จง แบ่งตัวหนึ่งให้กับคนที่ ไม่มี คนที่มีอาหาร ก็จงทำเช่นเดียวกัน” (ลก. 3: 11)

ในคำปราศรั ย ของพระเยซู เ จ้ า แก่ บรรดาศิษ ย์ พระองค์ทรงเชิญชวนเขาให้ รูจ้ กั แบ่งปันโดยไม่หวังการตอบแทน เพราะ การกระทำเช่นนี้พิสูจน์ว่า เขารักผู้อื่นตาม พระฉบับของพระเจ้า “จงให้แก่ทุกคนที่ขอ ท่าน และอย่าทวงของของท่านคืนจากผู้ที่ ได้แย่งไป...ถ้าท่านให้ยืมเงินโดยหวังจะได้ คื น ท่ า นจะเป็ น ที่ พ อพระทั ย พระเจ้ า ได้ อย่ า งไร คนบาปก็ ใ ห้ ค นบาปด้ ว ยกั น ยื ม โดยหวังจะได้เงินคืนจำนวนเท่ากัน แต่ ท่านจงให้ยืมโดยไม่หวังอะไรกลับคืน แล้ว บำเหน็จรางวัลของท่านจะใหญ่ยิ่ง ท่านจะ เป็นบุตรของพระผู้สูงสุด เพราะพระองค์ ทรงพระกรุณาต่อคนอกตัญญูและต่อคน ชั่วร้ายจงให้ แล้วพระเจ้าจะประทานแก่ท่าน ท่านจะได้รับเต็มสัดเต็มทะนานอัดแน่นจน ล้น เพราะว่าท่านใช้ทะนานใดตวงให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวงตอบแทน ให้ท่านด้วย” (ลก. 6: 30, 34, 35, 38) บรรดา ศิษ ย์จึงต้องใช้ทรัพย์สมบัติเพื่อแบ่งปันกับ คนจน ‘จงขายทรัพย์สินของท่านและให้ ทาน จงหาถุงเงินทีไ่ ม่มวี นั ชำรุด จงหาทรัพย์ สมบั ติ ที่ ไ ม่ มี วั น หมดสิ้ น ในสวรรค์ ที่ นั่ น ขโมยเข้าไม่ถึงและแมลงขมวนไม่ทำลาย” (ลก. 12: 33)


ดังนั้น คนจนจะได้เป็นเพื่อนเดิน ทางผู้วอนขอพระเจ้าแทนคนที่ช่วยเหลือ เขา “จงใช้เงินทองของโลกอธรรมนี้เพื่อ สร้างมิตรให้ตนเอง เพื่อว่าเมื่อเงินทองนั้น หมดสิ้นแล้ว ท่านจะได้รับการต้อนรับสู่ที่ พำนักนิรันดร” (ลก. 16: 9) ดังนั้น วิธีปฏิบัติ ตามพระประสงค์ ข องพระเจ้ า ด้ ว ยความ ยุติธรรมและความรัก คือ การให้ทานแก่คน จน ไม่ใช่เพียงการประกอบพิธีกรรมอย่าง เคร่งครัด “ถ้าจะให้ดีแล้ว จงให้สิ่งที่อยู่ภาย ในเป็ น ทานเถิ ด แล้ ว ทุ ก สิ่ ง ก็ จ ะสะอาด สำหรับท่าน” (ลก. 11: 41) ไม่ใช่พิธีกรรม ทีท่ ำให้มนุษย์สะอาดหมดจด แต่เป็นการให้ ทาน แก่คนจน ความคิดนี้สอดคล้องกับ คำสั่ ง สอนในพั น ธสั ญ ญาเดิ ม ซึ่ ง เน้ น ว่ า มนุษย์ตอ้ งมีความสมานฉันท์กบั ทุกคน เพือ่ ปฏิ บั ติ ต ามพระฉบั บ ของพระเจ้ า ผู้ ท รง พระเมตตากรุณา “จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดั ง ที่ พ ระบิ ด าของท่ า นทรงพระเมตตา กรุณาเถิด” (ลก. 6: 36)

19

ความคิดใหม่ที่เราพบในพระวรสาร จึงไม่ ใช่คำตักเตือนเรื่องการให้ทาน การ แบ่งปันทรัพย์สมบัติแก่คนจน แต่เป็นแรง บันดาลใจที่จะทำเช่นนี้ เพราะความรักต่อ เพื่อมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงเล่าอุปมาต่างๆ เพื่อเน้นว่าเราต้องรักเพื่อนพี่น้อง ไม่เป็น ความรักที่จำกัดเฉพาะในตระกูล ในศาสนา และในชนชาติเดียวกัน แต่เป็นความรักที่ ไม่มีข้อจำกัด ดังที่เราเข้าใจในอุปมาเรื่อง ชาวสะมาเรียใจดี (เทียบ ลก. 10: 29-37) ดั ง นั้ น วิ ธี ดี ที่ สุ ด เพื่ อ ปฏิ บั ติ ค วามรั ก ต่ อ เพื่อนพี่น้อง คือ การช่วยทุกคนที่มีความ ต้องการโดยไม่หวังผลตอบแทน แต่เป็นการ ให้อยู่เสมอเท่าที่ทำได้ การใช้ทรัพย์สมบัติตามคำสอนของ พระวรสารจึงไม่หมายความว่า เราต้องไม่มี ทรั พ ย์ ส มบั ติ แ ต่ ห มายความว่ า เราต้ อ งมี ความรัก เราต้องใช้ทรัพย์สมบัติเพื่อช่วย ผู้อื่นไม่ให้ขาดแคลน ในสมัยของพระเยซูเจ้า สังคมส่วนใหญ่เป็นกสิกรรม การให้

คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

การใช ท รั พ ย ส มบั ติ ต ามคำสอนของพระวรสารจ� ง ไม ห มายความว า เราตองไมมีทรัพยสมบัติ แตหมายความวาเราตองมีความรัก เราตองใช ทรัพยสมบัติเพ��อชวยผูอื่นไมใหขาดแคลน


20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ทานเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยผู้อื่นด้วยความรัก แต่ยงั เน้นว่าผูท้ เ่ี ราควรช่วยเหลือไม่สามารถ ตอบแทน “เมือ่ ท่านจัดเลีย้ งอาหารกลางวัน หรืออาหารค่ำ อย่าเชิญมิตรสหาย พี่น้อง หรือเพื่อนบ้านที่มั่งมี เพราะเขาจะเชิญท่าน และท่านจะได้รับการตอบแทน แต่เมื่อท่าน จัดงานเลี้ยง จงเชิญคนยากจน คนพิการ คนง่อย คนตาบอด แล้วท่านจะเป็นสุข เพราะคนเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดตอบแทนท่าน ได้ ท่านจะได้รับการตอบแทนจากพระเจ้า เมื่อผู้ชอบธรรมกลับคืนชีวิต” (ลก. 14: 1214) เมื่อคำนึงถึงบริบทนี้ เราจึงเข้าใจว่า เหตุใดนักบุญลูกาเน้นท่าทีการให้โดยไม่หวัง ผลตอบแทน ผู้ที่ต้องประพฤติเช่นนี้อันดับ แรก คือ กลุ่มคริสตชนและผู้ดูแลทรัพย์ สมบัติของหมู่คณะ รวมทั้งผู้มีหน้าที่แจก จ่ายทรัพย์สมบัติ “ผู้ที่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็ก น้อย ก็จะซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ด้วย ผู้ที่ไม่ ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย ก็จะไม่ซื่อสัตย์ใน เรื่องใหญ่ด้วย เพราะฉะนั้นถ้าท่านไม่ซื่อ สัตย์ในเรื่องเงินทองของโลกอธรรมแล้ว ผู้ ใดจะวางใจมอบสมบัติแท้จริงให้ท่านดูแล

เล่า ถ้าท่านไม่ซื่อสัตย์ ในการดูแลทรัพย์ สมบั ติ ข องผู้ อื่ น ผู้ ใ ดจะให้ ท รั พ ย์ ส มบั ติ ของท่านแก่ท่าน” (ลก. 16: 10-12) อุปมา เรื่ อ งการเตรี ย มพร้ อ มเมื่ อ นายกลั บ มา (เทียบ ลก. 12: 41-48) ก็เชิญชวนทุกคน ให้เป็นผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์และรับผิดชอบเช่น กัน พระวรสารจึงไม่เป็นเครื่องมือเพื่อ วิ เ คราะห์ ส ถานการณ์ แ ละเศรษฐกิ จ เชิ ง วิชาการ แต่เป็นคำสอนใหม่เรือ่ งจุดมุง่ หมาย การใช้ทรัพย์สมบัติ คือ มนุษย์ที่ติดตาม พระคริ ส ตเจ้ า เป็ น อิ ส ระจากอำนาจการ ครอบครองของเงินทอง และจากการไว้ใจ ในความมั่นคงที่ไม่เที่ยงแท้ เขาจะใช้ควา มคิดสร้างสรรค์และความกล้าหาญเพื่อค้ นพบวิธีช่วยให้พระอาณาจักรของพระเจ้า ปรากฏชัดในความสัมพันธ์ของสังคมและ เศรษฐกิจ การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นงานอดิเรก แต่เราต้องทำด้วยความจริงจัง ทรัพย์สมบัติ จะเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือเพื่อสร้าง ชุมชนที่มีความสมานฉันท์ และประกาศ พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า ซึ่ ง เป็ น จุ มุ่ ง หมายสุดท้ายของประวัติศาสตร์มนุษย์


คนจนและคนรวยในขอเขียนของนักบุญลูกา

21

คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์, คณะกรรมการ. พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. นครปฐม: 2545. Barbaglio, Giuseppe., Fabris, Rinaldo., and Maggioni, Bruno. I Vangeli. Assisi: Cittadella Editrice, 1978. Batey, Richard A. Jesus and the poor. The Poverty Program of the First Christians. San Francisco: Harper & Row, 1972. Fitzmyer, Joseph A. The Gospel According to Luke. Anchor Bible 28-28A, 2 vol. Garden City, NY: Doubleday, 1981-1985. Jeremias, Joachim. Jerusalem in the Time of Jesus. Minneapolis: Fortress Press, 1975. LaVerdiere, Eugene. Luke. New Testament Message 5. Wilmington: Michael Glazier, 1980. Moloney, Francis J. The Living Voice of the Gospel. Mulgrave Vic: John Garratt Publishing, 2006. Schweizer, Eduard. The Good News According to Luke. Atlanta: John Knox Press, 1984. Senior, Donald. The Passion of Jesus in the Gospel of Luke. Wilmington: Michael Glazier, 1989. Talbert, Charles H. Reading Luke: A Literary and Theological Commentary on the Third Gospel. New York: Crossroad, 1982.


22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

หมวดปรัชญา

Á¹ØÉ µÒÁá¹Ç¤Ô´Ãкº·Ø¹¹ÔÂÁ ºÒ·ËÅǧÇزԪÑ ͋ͧ¹ÒÇÒ อุดมการณ์เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ถือ กำเนิดที่ประเทศอังกฤษ โดยได้รับอิทธิพล จากแนวคิดมนุษยนิยม (Humanism) ที่ เน้นความสำคัญของมนุษ ย์ว่ามีเหตุผลที่ สามารถเข้าถึงความจริงได้ โลกที่มนุษย์อยู่ เป็นโลกที่มีกฎเกณฑ์ มีระเบียบที่มนุษ ย์ เข้าใจได้ “มนุษย์อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องมี

การบังคับทุกฝก้าว” (ฉัตรทิพย์, 2546: 35) จึงไม่ควรบังคับหรือจำกัดขอบเขตมนุษ ย์ แต่ควรปล่อยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างเสรี โดยเฉพาะด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ส่ง เสริ ม ให้ สิ ท ธิ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบแก่ ปัจเจกชน นักคิดที่สำคัญคือ จอห์น ล็อค (John Lock ค.ศ. 1632 – 1704) อดัม สมิธ

บาทหลวงสังกัดมิสซังคาทอลิกเขตราชบุร,ี อาจารย์ประจำสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม, อาจารย์พเิ ศษ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน


มนุษย์ตามแนวคิดระบบทุนนิยม

(Adam Smith ค.ศ. 1723 – 1790) โรเบิรต์ มัลทัส (Robert Malthus ค.ศ. 1776 – 1834) และเดวิด ริดคาร์โด (David Ricardo ค.ศ. 1772 – 1823) มีการนำเสนอ “ระบบเศรษฐกิจในแบบที่เน้นให้เอกชนมี กรรมสิทธิ์ ในปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพใน การผลิตและการประกอบการทางเศรษฐกิจ” (ราชบัณฑิตสถาน, 2543: 14) “รัฐมีหน้าที่ เพียงคอยควบคุมการก้าวก่ายผลประโยชน์ ซึ่งกันและกัน” (กีรติ, 2522: 124) “โดยมี พื้นฐานอยู่ที่สิทธิของปัจเจกชนทุกคนว่ามี สิทธิที่จะพัฒนากรรมสิทธิ์และธุรกิจของตน ตามที่กฎหมายบ้านเมืองอนุญาต” (Dantonel, 2002: 23) ทุกคนจึงต้องแข่งขันกัน ตามกติกาของสังคม (กฎหมาย) โดยมีเป้า หมายเพื่อให้ตนเองมีรายได้มากที่สุด เพื่อ จะได้มีกำไรให้มากที่สุด ดังการอธิบายใน รายละเอียดต่อไปนี้ 1. มนุษ ย์เป็นผู้มีเหตุผลและมีความ รับผิดชอบต่อชีวิตของตน อุดมการณ์เศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานการมองโลก ในแง่ ดี มนุ ษ ย์ แ ต่ ล ะคนมี ธ รรมชาติ ที่ มี เหตุผล มเี สรีภาพ มคี วามรับผิดชอบ มนุษย์ ทุกคนเท่าเทียมกันและสามารถจัดการชีวิต ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุม กล่าวคือ

23

1.1 มนุษย์มีเหตุผล “รู้ว่าอะไรดี หรือไม่ดีต่อตัวเอง” ทุนนิยมคิดว่ามนุษย์มสี ติปญ ั ญา รู้จักใช้เหตุผล มนุษย์สามารถรู้ว่าอะไรเป็น ประโยชน์ ข องตน อะไรที่ ท ำให้ ต นไม่ ไ ด้ ประโยชน์ตอ่ ชีวติ ตน มนุษย์สามารถร่วมมือ กันทำงานเพือ่ ความสุขส่วนรวม โดยไม่ตอ้ ง มี ค นอื่ น มาตั ด สิ น ใจให้ ดั ง นั้ น จึ ง ควร “ปล่อยให้แต่ละคนประกอบกิจการต่างๆ และใช้ชีวิตอย่างเสรีปราศจากการแทรก แซง” (ชัยอนันต์, 2520: 26) จึงจะทำให้ มนุ ษ ย์ ด ำเนิ น ชี วิ ต อย่ า งมี ค วามสุ ข และ พัฒนาตัวเองได้ดีที่สุด 1.2 มนุษย์มีเสรีภาพ สามารถที่จะ เลือกและรับผิดชอบชีวิตของตน จากประวัติศาสตร์โลก มนุษย์ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติคัดสรรให้สามารถดำรง ชีวติ อยูใ่ นโลกได้อย่างดี ซึง่ เป็นเครือ่ งหมาย แสดงให้เห็นว่ามนุษ ย์มีความสามารถที่จะ


24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

มีชีวิตและพัฒนาชีวิตของตนโดยไม่ต้อง มี ใครมากำหนดควบคุม มนุษ ย์เป็นอิสระ มีเสรีภาพที่จะเลือกใช้ชีวิต กระทำการหรือ ไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ด้วยตน เอง โดยไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจบงการของ บุคคลอื่น เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีความ สามารถที่จะใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือก และมนุษย์มีความผูกพันที่จะรับผิดชอบใน สิ่ ง ที่ ต นเลื อ กและกระทำลงไปด้ ว ย โดย มนุษ ย์สามารถดำเนินชีวิตได้กลมกลืนกัน (Harmony) ในสังคมและมีความสมดุลใน ตัวมนุษย์เอง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะร่วม กันคิดแก้ ไขกันเอง เพราะ “มนุษย์มีความ สามารถปรั บ ตั ว ให้ ก ลั บ สู่ ส ภาวะสมดุ ล (Equilibrium) อยู่เสมอ” (ชัยอนันต์, 2520: 27) แต่ละคนมีความสามารถและมีความ รับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ที่จะปรับตัวและ พั ฒ นาตนเองในการอยู่ ร่ ว มกั บ คนอื่ นได้ แม้ว่าแต่ละคนจะมุ่งแสวงหาผลประโยชน์

ส่ ว นตั ว แต่ สั ง คมก็ จ ะไม่ วุ่ น วาย เพราะ สังคมสามารถจัดระเบียบความสมดุลตัว ของมันเองได้โดยอัตโนมัติโดยอาศัย “มือ ที่มองไม่เห็น” (Invisible hand) คอยกำกับ นัน่ ก็คอื “ธรรมชาติของการแลกเปลีย่ นและ ผสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกันของมนุษย์ นี่เป็นหลักสำคัญที่ก่อให้เกิดสภาวะสมดุล กันในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม” (Galbraith, 1952: 118) 2. มนุษ ย์ทุกคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ทุนนิยมยอมรับความเท่าเทียมกัน ของมนุษย์ แม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตก ต่างกันด้านสติปญ ั ญาหรือทางกายภาพ แต่ ทุ ก คนมี ค วามเสมอภาคในฐานะที่ มี สิ ท ธิ เท่ า เที ย มกั น ตามกฎหมายและการเมื อ ง ดังนั้น 2.1 ทุกคนต้องได้รับความคุ้มครอง และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน อุดมการณ์ของระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมมีแนวคิดว่า “ทุกคนจะได้รับ ความคุ้ ม ครองจากกฎหมายและได้ รั บ โอกาสต่างๆ ที่จะใช้ชีวิตในสังคมอย่างเท่า เทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก” (ชัยอนันต์, 2520: 9) ทุกคนควรมีสิทธิเสรีภาพทางการ เมืองและโอกาสต่างๆ ที่จะใช้ชีวิตในสังคม


มนุษย์ตามแนวคิดระบบทุนนิยม

อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ กำเนิด เพศหรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม และความเสมอภาคนี้ ห มายถึ ง การได้ รั บ โอกาสในการแสวงหาการศึกษา การทำงาน ที่เท่าเทียมกันด้วย 2.2 ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมให้ ความสำคัญต่อกฎหมาย มีการใช้กฎหมาย เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคม “รัฐธรรมนูญเป็นฉันทานุมัติหรือความยินยอม พร้อมใจ อุดมคติหรือความเข้าใจว่ารัฐบาล กับประชาชนใครควรจะมีบทบาทอย่างไร ..ทุกฝายพร้อมที่จะรับข้อกำหนดและกติกา ซึง่ เป็นการจำกัดอำนาจหรือเสรีภาพของตน เพื่อเป็นหลักประกันให้ความสัมพันธ์ซึ่งตั้ง อยูบ่ นรากฐานของอุดมคติรว่ มกันนัน้ ราบรืน่ ยั่งยืนนานเป็นประโยชน์สุขแก่ส่วนร่วม” (ปราโมทย์, ม.ป.ป. อ้างถึงใน ชัยอนันต์, 2520: 10) ทุกคนดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายเดียวกันและสามารถทำอะไรก็ ได้ถ้า ไม่ผิดกฎหมาย 3. มนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ (Economic being) ในฐานะที่มนุษย์ต้องทำงานหาเลี้ยง ชีวิต “มนุษย์ย่อมมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ตนหามา

25

ได้ สังคมและรัฐบาลเกิดขึ้นเพื่อเป้าหมาย สำคัญอย่างเดียวคือ การปกป้องคุ้มครอง สิทธิเหล่านั้น” (Gough, 1960 อ้างถึงใน ชัยอนันต์, 2520: 11) ในฐานะที่มนุษย์เป็น สัตว์เศรษฐกิจที่แสวงหาผลประโยชน์ เพื่อ ให้ ชี วิ ต ของตนมี ค วามสุ ข ซึ่ ง อธิ บ ายใน รายละเอียดได้ดังนี้ 3.1 มนุษย์ คือ ผู้ผลิตและผู้แลก เปลี่ยน “ลั ก ษณะสำคั ญ ที่ สุ ด ที่ ท ำให้ มนุษย์ต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไป คือ มนุษย์มี กิจกรรมการแลกเปลี่ยน” (ฉัตรทิพย์, 2546: 35) ซึ่งมีพื้นฐานจากการแสวงหาผลประโยชน์สว่ นตัวและการรักตนเอง ทำให้มนุษย์ สามารถมี สิ่ ง ที่ ต นเองต้ อ งการหลาย ประเภทโดยไม่ต้องลงมือทำเองทุกอย่าง ทุกสิ่งที่มนุษ ย์มีต้องสามารถตีเป็นมูลค่า เพื่อสามารถทำการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ซึ่งอธิบายในรายละเอียดได้ดังนี้


26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

3.1.1 พื้นฐานของการผลิตและ การแลกเปลี่ยนมาจากสัญชาตญาณการ รักตนเอง ล็ อ ค มี ค ว า ม คิ ด ว่ า “ลักษณะพื้นฐานของมนุษ ย์คือความเห็น แก่ตัว” (Stumpf, 1989: 271) กิจกรรมการ ผลิ ต และการแลกเปลี่ ย นของมนุ ษ ย์ จึ ง ดำเนินไปตามสัญชาตญาณความรักตนเอง และเห็นแก่ตวั เป็นหลัก “มนุษย์แลกเปลี่ยน ก็เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง” (ฉัตรทิพย์, 2546: 37) เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการ แต่ ไม่สามารถทำการผลิตเองทั้งหมด จึง ต้องมีการตกลงแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองมี กับคนอื่น โดยยึดประโยชน์ของตนเองเป็น หลัก อะไรที่ ไม่สามารถทำให้ตนเองได้ผล ประโยชน์จะไม่มีการดำเนินการผลิตหรือ การแลกเปลี่ ย นเด็ ด ขาด “หลั ก เกณฑ์ ที่ สั ง คมใช้ เ ป็ น เครื่ อ งตั ด สิ น ว่ า ควรเข้ า ไป เกี่ยวข้องกับชีวิตทางสังคมหรือไม่น้ันก็คือ หลักของผลประโยชน์” (Bentham, 1960 อ้างถึงใน ชัยอนันต์, 2520: 8) 3.1.2 มนุษ ย์มีการกระทำเพื่อ ผลกำไรและสะสมทุน การผลิ ต และการแลก เปลี่ยนตั้งอยู่บนฐานของการคำนวณราคา และต้นทุน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ตน

เองจะได้ รั บ จากการดำเนิ น การเป็ น หลั ก “โดยมีเป้าหมายสองประการคือ แสวงหา กำไรสู ง สุ ด และสะสมทุ น ให้ ม ากที่ สุ ด ” (ขวัญสุดา, 2524: 97) จึงต้องมีการปรับปรุง และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการเร่ง ระดมการค้นคว้าทางด้านเทคนิคการผลิต แบบใหม่ๆ เพือ่ จะได้กำไรและสะสมทุนมาก ยิ่งขึ้น 3.2 มนุษย์ ในฐานะเป็นผู้แข่งขัน ทุนนิยมส่งเสริมให้ทุกคนทำกิจ การเพื่อหารายได้ให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ ทุกคนจึงต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันต่อ รองกั บ คู่ แ ข่ ง ขั น ของตน “โดยถื อ ว่ า การ แข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญทีท่ ำให้ภาวะเศรษฐ- กิจในระบบนี้เคลื่อนไหวเสมอ” (ปัญญา, 2521: 31) “การแข่งขันเป็นหัวใจของระบบ ทุนนิยม” (ชัยอนันต์, 2520: 36) เนื่องจาก


มนุษย์ตามแนวคิดระบบทุนนิยม

3.2.1 มนุษย์มีความสัมพันธ์กับ คนอื่น เพื่อผลประโยชน์ ก า ร ที่ ม นุ ษ ย์ มี ค ว า ม สัมพันธ์กับคนอื่นในสังคม เป็นการดำเนิน ตามหลั ก ปั จ จั ย การผลิ ต พู ด ง่ า ยๆ คื อ “ถ้าสมาชิกสังคมทำงาน เขาย่อมต้องได้ผล ประโยชน์หรือค่าจ้างตอบแทน และผลที่ได้ ของค่าจ้างนั้น ต้องเท่ากับความสบายที่เขา เสียไป” (ปัญญา, 2521: 39) 3.2.2 คุณค่ามนุษย์ คือ การ แสวงหากำไร ทุ ก คนในสั ง คม ต้ อ งมี ทัศนคติของการแสวงหากำไรของตนเอง รวมกลุ่มกับคนอื่นก็เพื่อแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและกลุ่ม ทำให้เกิดการ สะสมกำไร สะสมทุน เก็งกำไร “เพื่อจะได้ เพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจ ไม่มีการเห็นอก เห็นใจคู่แข่งขัน” (ปัญญา, 2521: 50) สิ่งที่ ต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ ผลกำไรที่ต้องได้ ให้มากที่สุด

27

4. สรุป แม้ว่าทุนนิยม จะมีความเข้าใจเกี่ยว กับมนุษย์ในแง่ดี กล่าวคือ มนุษย์แต่ละคน มีธรรมชาติที่มีเหตุผล มีเสรีภาพ มีความ รับผิดชอบ มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันและ สามารถจั ด การชี วิ ตได้ โ ดยไม่ ต้ อ งมี ก าร ควบคุม แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่ทุนนิยมให้ความ สำคัญมากที่สุด คือ “ผลประโยชน์ของ ปัจเจกบุคคล โดยถือว่าสิทธิส่วนบุคคลมา ก่อนและอยู่เหนือทุกสิ่ง” (Dantonel, 2002: 23) จึงกล่าวได้ แนวคิดมนุษย์ตามอุดมการณ์เศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีพนื้ ฐานแนว คิ ด ว่ า มนุ ษ ย์ มี สั ญ ชาตญาณที่ เ ห็ น แก่ ตั ว มนุษ ย์ ใช้สติปัญญาและทุ่มเทชีวิตเพื่อหา ผลประโยชน์ใส่ตน สนใจคนอืน่ เฉพาะทีเ่ ป็น ประโยชน์ต่อตนเองเท่านั้น ชีวิตมนุษย์จึง มีอยู่และทำเพื่อตนเองอย่างแท้จริง


28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

กีรติ บุญเจือ. สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2522. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2520. ปัญญา อุดมระติ. ระบบเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2521. ปรีชา ช้างขวัญยืน. ปรัชญาแห่งอุดมการณ์ทางการเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533. Bentham, Jeremy. A Fragment on Government. Oxford: Basil Black Well, 1960. Copleston, Frederick. Contemporary Philosophy. London: Newman Press, 1973. Dantonel, Jean Mary. Contemporary Western Philosophy. Nakhonpathom: Saengtham College, 2001. . Social and Political Philosophy. Nakhonpathom: Saengtham College, 2002. Galbraith, John Kenneth. American Capitalism. Boston: Houghton Mifflin, 1952. Stumpf, Samuel Enoch. (Ed.). Philosophy, History & Problems. Singapore: McGraw-Hill, Inc. 1989.


29

The man who put people before profit

หมวดปรัชญา

The Man Who put People Before Profit The year 2011 is the 100th Anniversary of the birth of E.F. Schumacher

Fr.Patrick A. Connaughton A prophetic twentieth-centuryVoice August 2011 is the 100th anniversary of the birth of E.F. Schumacher, best remembered for his book Small is Beautiful which sold over a million copies. Schumacher’s original title, which became a subtitle was ‘Economics as if People Really Mattered.’ The implication is that there are influential economic systems in practice that have little respect for the dignity of the person. That was one of Schumacher’s fundamental convictions.

E.F.Schumacher 1911 – 1977

Fr.Patrick Connaughton SSC Lectures in Saengtham College


30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

Ernst Friedrich Schumacher was born in Bonn, Germany in 1911. He followed his father’s profession and studied economics in Oxford University. England, and then in Columbia University in the USA where he became an assistant professor in banking. He returned home but left Germany again as Hitler rose to power. During World War II he was interned for a while in England and then worked as a farm labourer. In his later life he worked as an academic, a businessman, a financial adviser and researcher, a government adviser, and a journalist. From 1950-1970 he was Chief Economic Adviser to England’s National Coal Board which employed 800,000 people. Old illusions and new definitions When Schumacher died in 1977 the renowned British economist Barbara Ward wrote in the London Times: ‘To very few people it is given to begin to change, drastically and creatively, the direction of human thought. Dr.Schumacher belongs to this intensely creative minority and his death is an incalculable loss to the whole international community.” This article will summarize just a few of the ways in which Schumacher contributed to the change in direction of human thought. I will quote his own words extensively as they need no interpretation. He was firmly convinced of the exploitative and unsustainable nature of much of what today is called economic growth or ‘progress.’. In 1975 Schumacher wrote that ‘the party is over.’ The ‘party’ he was talking about was the good life enjoyed by a small minority of wealthy people inside a small number of rich countries of the world. This small elite had been living with three illusions. First, there was the illusion of an inexhaustible supply of cheap fuels and raw materials. Secondly there was the illusion of an almost equally inexhaustible supply of workers willing to do boring, repetitive, soul-destroying work for very modest rewards.


The man who put people before profit

31

Third there was the illusion that Science and Technology would soon, very soon indeed, make everybody so rich that no problems remained except what on earth to do with all our leisure and wealthi

Illusion is one pillar which supports many modern ideas of growth; but at a deeper level there is something much more destructive. He believed that economics had become the new religion which gives a new definition of what it is to be a human being– one which suited its own priorities better. In this new ‘religion:’ Man is there seen primarily and essentially as a consumption machine; the criterion of his worth is his so-called standard of life, meaning the amount of stuff he is managing to consume in a year. And since, collectively, his consumption depends upon his production, he is simultaneously seen as a producing machine; the criterion of his worth being his production, his productivity.ii

When those who have political and economic power today use the words ‘better’ or ‘worse’ when talking about the state of their countries they mean just one thing. Schumacher quotes J.K Galbraith, his most famous contemporary critical economist when he asks “What does it mean when economists announce that this was the second-best year ever for the country.” No one would be so eccentric as to suppose that the second-best meant secondbest in the progress of the arts or the sciences. No one would assume that it referred to health or education, or the battle against juvenile delinquency … Second best could only mean one thing – that the production of goods was the second highest in history.iii

Schumacher insisted that the science of economics does not stand independently on its own feet: it is based on a particular set of assumptions about the human person, such as that he is primarily ‘a consumer.’ ‘It is interesting to note’ he says, ‘ that modern man is being told, in the name of science, that he is really i

Resurgence Magazine Vol 6 No 4 Set/Oct 1975

ii iii

Resurgence Vol 2 No 5 Jan/Feb 1969 ibid


32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

There are three things healthy people need to do–to be creatively productive, to render service, and to act in accordance with their moral impulses.

nothing but a naked ape or even an accidental collection of atoms.’ Schumacher confesses ‘There are moments when the idea that we are nothing but naked apes, the product of mindless evolution, appeals to me. To have no obligations, to be able just to drift along, following one’s instinctive promptings, just to take things easy and make oneself comfortable – if necessary even at the expense of others. Why on earth not?’ We will see later why not. Economics, Science and Philosophy Capitalism has no doubt brought benefits to the world but Schumacher called attention to the ways in which it brings about the gradual dehumanization of many people especially at the lower economic levels. Writing in the 1970’s he said that the fact that the system had failed to provide any meaningful work for 15 million Europeans raises serious questions. (In 2011 the figure is 23 million) There is a general unsubstantiated belief that ‘bigger is better’ whether one is talking about countries, industries or farming. He gives an example ‘Suppose Denmark and Belgium had been taken over by Germany and France 150 years ago. If today they now wanted to break away from the bigger countries and assert their own independence the big argument against them would be ‘unsustainability.’ They remained small and they are thriving countries. Becoming part of a bigger country probably would have drained their vital resources and in fact made them unsustainable. Today there is an unquestioned assumption also that the big organization is better. Members of these organizations and businesses will often have to say to a


33

The man who put people before profit

critic ‘I am sorry, I know what I am doing is not quite right but these are my instructions, this is what I am paid to do.” ‘Bigness’ produce deep frustrations and ethical tensions in these cases. For Schumacher ‘There are three things healthy people need to do– to be creatively productive, to render service, and to act in accordance with their moral impulses. In all three respects modern society frustrates most of the people most of the time. Frustration makes people unhappy and often unhealthy. It can make Small is Beautiful is considered to be one of them violent or completely listless.iv the 100 most uential books of the Schumacher responds to the question ‘But how infl 20 century can a society be more immoral than the sum of the individuals of which it is composed? His answer is that ‘It becomes structurally immoral if its structure is such that moral individuals cannot act in accordance with their moral impulses.’ A bad socio/economic system is like a car with a bad engine; it will still pollute the air even if an angel is driving. Perhaps after the financial turmoil of recent years less people will readily accept that economics provides scientific certainties. But some of the old assumptions prevail. Many people still demand ‘scientific’ proof before they will believe something. Schumacher traces this attitude all the way back to Descartes. But science, including economics cannot provide reasons or answer some of life’s deepest questions. th

iv

Resurgence Vol 6 No 3 July Aug 1975


34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

‘No one can prove scientifically that it is right to love anybody, or to care for anything, or to have respect for anything. No one can prove that it is right to care for the future. If somebody says to me “You must not exploit your fellow man,” I can always answer “Why not?”; “You shalt not kill” – why not? There is no conclusion to it in logic. We see intuitively – call it what you like that there are values that do not have to be argued, with regard to not exploiting of killing fellow men.’v

There are of course scientific questions and answers, but they must not be confused with philosophical ones. He gives an example: If I have a car, a man-made thing, I might quite legitimately argue that the best way to use it is never to bother about maintenance and simply run it to ruin. I may indeed have calculated that this is the most economical method of use. If the calculation is correct, nobody can criticize me for acting accordingly, for there is nothing sacred about a man-made thing like a car. But if I have an animal – be it only a calf or a hen – a living sensitive creature, am I allowed to treat it as nothing but a utility? Am I allowed to run it to ruin?vi It is no use trying to answer such questions scientifically. They are metaphysical, not scientific questions. It is a metaphysical error, likely to produce the gravest practical consequences to equate ‘car’ and ‘animal’ on account of their utility, while failing to recognize the most fundamental difference between them at the level of being. An irreligious age looks with amused contempt upon the hallowed state ments by which religion helped our forbears to appreciate metaphysical truths …vii

Many things in the world cannot be ‘used’ just for economic or ‘product’ ends; among them are human beings, animals and land. Before everything else they are ends-in-themselves, they are meta-economic, and it is therefore rationally justifiable to say, as a statement of fact; that they are in a certain sense sacred. Man has not made them and cannot make and cannot recreate once he has v

Resurgence Vol 2 no 7 may-June 1969

vi vii

ibid Small is Beautiful pp 96ff


The man who put people before profit

35

spoilt them, in the same manner and spirit he is entitled to treat things of his own making. Asian Influences on Schumacher Schumacher was greatly influenced by a UN assignment to Burma in 1955’ and his contact with Buddhist philosophy. The Burmese government of the time had an interest in developing a state for the welfare of the common people. He came from a western world where there was now one predominant understanding of work. In this model work is an item of cost in production. If the work can be done more cheaply by automating a plant then the sooner the better. For the industrial worker in a mass-production plant the work can be a soul-destroying activity. The process of production is divided up in to tiny parts. In a production line each worker contributes a small part to the end result. It may be simply tightening one nut all day. There is no sense of satisfaction in the production of the overall product. But this is what works, what produces profits and this, in the end, it is considered more important than the life of the worker. Schumacher compared this attitude to that of the Buddhist philosophy at its best. According to this Philosophy work has a threefold function: ‘to give a man the chance to utilize and develop his faculties; to enable him to overcome his ego-centredness by joining with other people in a common task; and to bring forth the goods with other people in a common task; and to bring forth the goods and services needed for a becoming existence. Again, the consequences that flow from this view are endless.’ To organize work in such a manner that it becomes meaningless, boring, stultifying, or nerve-racking for the worker would be little short of criminal; it would indicate a greater concern with goods than with people, an evil lack of compassion and a soul-destroying degree of attachment to the most primitive side of worldly existence.viii viii

ibid


36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

If I have an animal, be it only as calf or a hen, a living sensitive creature, am I allowed to treat it as nothing but a utility?

What kind of development is appropriate? A key idea repeatedly developed by Schumacher was that of ‘inappropriate’ development and technology. He gives an example of a very modern Dutch-owned factory that he visited in a poor town in Africa. The manager told him that the government of the country had made them build here because of the high unemployment. He said they now employed 500 workers but hoped to reduce that number with further automation to improve profits. Outside the factory gates were hundreds of people hoping that a job might become available. The point of the story is obvious. If employment is the top priority then more jobs is what is needed. Automation may produce growth – jobless economic growth – and increase profits. Annual statistics may disguise many important facts about the desperate lives of the citizens, Who cannot find employment. Ordinary, unemployed workers cannot afford the kind of infrastructure needed for modern hi-tech production. In his later years Schumacher was very much involved with an effort to provide ‘intermediate technology’ which tried to promote the production of suitable instruments which would enable ‘small’ people to create


The man who put people before profit

37

their own employment. He was one of the great pioneers of sustainable development. Speaking in 1976 he said: We all have to realize that we need a different attitude to nature and we must practice a different attitude to nature in our gardening, our horticultural and agricultural activities. This is a very deep matter, not just a utilitarian matter. What has grown up, particularly over the past 30 years, is no longer a friendly co-operation with nature, but a battle against our nature, a battle which, if by chance we win it, we will find ourselves on the losing side. The much-praised modern agriculture has no long-term future, and there are material facts to support such a view. It has been worked out repeatedly now, but also in Britain by Gerald Leach. The modern system of food production is so dependent on fossil fuels, primarily natural gas and oil, that if we thought we could feed the whole of humankind, some 4,000 million people with this system of Green Revolution agriculture, we would find that all known resources would be absorbed by agriculture alone within less than 30 years.ix

A local example of what he is talking about is the frequency with which one sees articles in print media insisting that the problem with Thai agriculture is the smallness of farms. There are many credible studies from around the world to show that they are both more sustainable and more efficient. The evolution of Schumacher’s thought. Like that of many other thinkers, Schumacher’s thought developed with time. In his early life Marxism had a big influence; later on it was Buddhism and in the last seven years it was Catholicism. Diana Schumacher writing an introduction to This I Believe says of him: “Until 1951 he remained a dedicated atheist, lecturing that religion and morality were mere products of history; they did not stand up to scientific examination and could be altered if inappropriate. He was an idealist with a restless mind whose ix

Resurgence. Vol 7 No 5 Dec 1976 Talk to Iona Community


38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

earliest values had been very modern based on the speed, measurement, efficiency and logic of the Western world which he inhabited. It was only much later that he understood that such criteria were too inflexible, and totally incompatible with the more subtle ‘unconscious’ rhythms of the natural world. Schumacher himself had this to say:

It is not an easy thing for me to speak about my beliefs, because I can so well remember the many years of my life when the kind of belief I hold now seemed to be a sign of intellectual underdevelopment or senility … that people who adhered to pre-scientific faiths or beliefs were simply behind the times, to be pitied rather than despised.’x

His personal reading and reflection were one factor in his conversion; his contact with Asian religions and the writings of Gandhi were another. According to himself the big change happened when he began to do meditation for 15 minutes a day. Texts which made no sense in the past became full of meaning. The practice of creating inner stillness, even for a short time, brought him into contact with what he recognized as the Spirit of Truth dwelling within. It is interesting that many of those who write about Schumacher today are silent on this faith dimension of his life which greatly influenced his thought. They seem a bit embarrassed by this turn of events. Perhaps they find it hard to deal with what he says happens when he is tempted to go along with idea that humans are little more than naked apes with few obligations. ‘The inward spirit of Truth keeps saying something different. We have been born nor simply from our mother’s womb, but of the Spirit and from above.’ Three years after the death of Schumacher another 20th century prophet, Archbishop Oscar Romero of El Salvador, a voice of the voiceless, was murdered. x

Resurgence Vol 7 No 1 Mar/Apr 1976


The man who put people before profit

39

He had been accused of many things including being a Marxist and an atheist. (Schumacher readily admitted to having been both) Romero’s reply was “There is an ‘atheism’ closer and more dangerous to our Church: the atheism of capitalism when material goods are set up as idols and take the place of God.” That statement would have found an echo in the thought of E.F. Schumacher in the last years of his life. As this edition goes to print, an article by UN economist Jeffrey Sachs, shows that his ideas are still very relevant. A calamity is inevitable unless we change. And here is where Gandhi comes in. If our societies are run according to the greed principle, with the rich doing everything to get richer, the growing resource crisis will lead to a widening divide between rich and poor– and quite possiblly to an increasingly violent struggle for survival.

That calamity might still be avoidable if those in power were prepared to give some attention to the kind of things E.F Schumacher was saying.xi

The small farmers of the world, who treated Earth as a mother, not just a resource, are the ones who have taken care of her up to now.

xi

Bangkok Post 2 March 2011


40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

หมวดจิตวิทยา

รูจักตน รูจักพอ

อิสระแหงช�ว�ตในยุคทุนนิยม ¾ÕþѲ¹ ¶ÇÔÅÃѵ¹

“เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย” (มัทธิว 6: 21) นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ระบบทุนนิยมได้กลายมาเป็นระบบเศรษฐกิจ หลักของหลายๆประเทศ และดูเหมือนว่า ทุกประเทศ ทุกค่ายการเมืองต่างปรับตัวให้ ระบบเศรษฐกิจในประเทศของตน มีลกั ษณะ

ที่ใกล้เคียงหรือสอดคล้องกับระบบทุนนิยม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากประเทศที่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ใช้ระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม อกี ทัง้ ระบบนีม้ คี วาม สอดคล้องและตอบสนองต่อธรรมชาติของ

นักจิตวิทยาการปรึกษา, รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, อาจารย์พิเศษด้านจิตวิทยาในสถาบันอุดมศึกษา


รูจักตน รูจักพอ อิสระแหงชีวิตในยุคทุนนิยม

มนุษย์ ที่ยึดผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง และปรารถนาเสรีภาพในการดำรงชีวิตได้ดี ที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ระบบทุนนิยมจะเอื้อ ประโยชน์ ให้ปัจเจกบุคคล มีอิสระในการ ดำเนินชีวิต ในการเลือกอาชีพ และการ สะสมทรัพย์สนิ ซึง่ ได้มาจากการทำงาน ทว่า ระบบเดี ย วกั น นี้ ที่ เ อื้ อ ประโยชน์ ต่ อ มวล มนุษย์ ก็ทำให้มนุษย์ ได้รับความทุกข์ จาก การติ ด กั บ ดั ก ของความอยากมี อ ยากได้ อยากเป็นเจ้าของทรัพย์สินเช่นกัน จากข้อมูลของ Global Issues ณ วันที่ 2 มกราคม ค.ศ.2011 พบว่า เกือบครึ่งหนึ่ง ของประชากรทั่วโลก ประมาณ 3 พันกว่า ล้านคนมีรายได้น้อยกว่า 75 บาทต่อวัน ประชากรเกือบหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกไม่ สามารถอ่านหนังสือหรือแม้แต่เซ็นชื่อของ ตนเอง และหากนำงบประมาณเพียง 1 เปอร์ เ ซ็ น ต์ ข องการจั ด ซื้ อ อาวุ ธ ของทุ ก ประเทศทั่วโลกมารวมกัน จะมีจำนวนมาก เพียงพอที่จะทำให้บรรดาเด็กๆ เข้าเรียนใน โรงเรียนได้ นอกจากนี้ ประชากรที่ยากจน ที่ สุ ด ยั งไม่ อ าจเข้ า ถึ ง บริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพ การศึกษาและบริการอื่นๆ ที่ประชาชนพึง ได้รบั ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนเพิม่ มากขึ้นทุกปี

41

ขณะทีป่ ระชาชนบางคนมีสว่ นเกีย่ วข้อง กับการค้ามนุษย์ ทั้งที่เป็นผู้ค้าและผู้ถูกค้า จากข้อมูลของสารานุกรมอิสระ Wikipedia การค้ า มนุ ษ ย์ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมที่ ร่ ำ รวย เฟืองฟู มีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดใน โลก รายได้ต่อปีของการค้ามนุษย์ประมาณ ห้ า พั น ล้ า นถึ ง เก้ า พั น ล้ า นดอลล่ า ร์ ส หรั ฐ และมีประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่อง นี้ประมาณ 2.5 ล้านคนจาก 127 ประเทศ ทั่วโลก ในหลายประเทศ พ่อแม่หลายคน ยอมขายลูกเพือ่ ชำระหนี ้ หรือเพือ่ เป็นรายได้ สำหรับครอบครัวของตน ด้วยหวังว่าจ ำนวน เงินที่ ได้จากการขายเด็กจะทำให้ชีวิตของ พวกเขาดีขึ้น นอกจากปัญหาต่างๆที่กล่าวมานี้ ยังมี ประเด็นทางสังคมอื่นๆ อีกหลายประเด็น อันเป็นผลที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน อาทิเช่น ปัญหาเรื่อง พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปัญหาอาชญา-


42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

กรรม ปญ ั หาการว่างงาน ปญ ั หาด้านสุขภาพ ที่เกิดจากความเครียด ฯลฯ หากเราสั ง เกตอย่ า งใส่ ใจต่ อ สั ง คม ปัจจุบัน เราจะพบว่า การดำเนินชีวิตของ มนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 มีความเพียบ พร้ อ มด้ ว ยสิ่ ง อำนวยความสะดวกต่ า งๆ มากมาย ที่เกื้อหนุนให้มนุษย์สามารถดำรง ชี วิ ตได้ อ ย่ า งสุ ข สบายมากกว่ า มนุ ษ ย์ ใ น ยุคก่อนหน้า แต่ชวี ติ ภายใต้สงิ่ อำนวยความ สะดวกกลั บ ไม่ ช่ ว ยให้ ม นุ ษ ย์ มี ค วามสุ ข ชีวิตมีแต่ความเร่งรีบแข่งขัน พาหนะใน การเดินทาง เช่น รถยนต์ต้องเร็ว ต้องแรง คอมพิวเตอร์ที่ ใช้ท่องอินเตอร์เน็ตต้องมี ความเร็วสูง รองรับโปรแกรมใหม่ๆ ที่ถูก พัฒนาออกมาอย่างไม่หยุดยัง้ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี ช่ ว ยให้ ม นุ ษ ย์ ท ำอะไรได้ ดังใจมากขึน้ เร็วขึน้ จ นลืมหันมามองตนเอง ลืมใส่ใจต่อธรรมชาติของชีวิต ที่ต้องการ การพักผ่อน ความสงบ และการดูแลฝ่าย จิตใจ สิง่ ต่างๆ เหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นว่า มนุษย์ หลายคนในยุคทุนนิยมกำลังมองข้ามคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ อีกทั้งยึด ผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง จนลืม ความเป็นเพื่อนพี่น้องระหว่างมวลมนุษ ย์ ด้วยกัน

นั บ ตั้ ง แต่ เ กิ ด วิ ก ฤติ ก ารเงิ น ในสหรั ฐ อเมริกาในปี 2008 จนลุกลามเป็นวิกฤติ เศรษฐกิจโลก และวิกฤติหนี้ของประเทศ กรีซทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเวลาไล่เลีย่ กัน ส่งผลให้ นั ก วิ ช าการและผู้ เ ชี่ ย วชาญหลายคนตั้ ง คำถามว่า ทุนนิยมมีต้นทุนที่สูงกว่าประ- โยชน์ทเี่ ราได้รบั หรือไม่ บางคนมองว่า ระบบ ทุนนิยมจะฉุดให้อารยธรรมมนุษย์ล่มสลาย เพราะเป็ น ระบบที่ ก ระตุ้ น ให้ บุ ค คลเห็ น - แก่ตวั มากขึน้ และบริโภคอย่างไม่ยงั้ คิด จน ธรรมชาติ มิ อ าจรองรั บ ความต้ อ งการอั น ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ ได้ เอ็ ด เกลเซอร์ ศาสตราจารย์ ด้ า น เศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ทอบ- แมนศึกษารัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า โลกนี้มี ความล้มเหลว 2 ข้อ ข้อแรก ทุนนิยมเสรีไม่ เคยแก้ ไ ขความเหลื่ อ มล้ ำ ทางสั ง คมได้ ดี เพราะบริ ษั ท เอกชนปกติ มี แ รงจู ง ใจที่ จ ะ ให้บริการคนรวยมากกว่าคนจน ข้อสอง รัฐบาลส่วนใหญ่ในโลกล้มเหลว โดยเฉพาะ ในด้านการส่งมอบบริการ สาธารณสุข และ การศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน และ แม้แต่รฐั บาลทีค่ อ่ นข้างมีความสามารถ และ ตั้งใจดีของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ก็ไม่มี ความเฉลี ย วฉลาดและแรงจู ง ใจที่ จ ะแก้ ปัญหาที่ยากที่สุด (คินสลีย์, 2553)


รูจักตน รูจักพอ อิสระแหงชีวิตในยุคทุนนิยม

อย่ า งไรก็ ดี เมื่ อ ถึ ง จุ ด วิ ก ฤติ ที่ ม าก เพียงพอ มนุษ ย์ก็เริ่มหันมามองปัญหาที่ เกิดขึ้น และเริ่มคิดหาทางออกเพื่อช่วยกัน เยียวยาปัญหา หนึ่งในจำนวนนั้น คือ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานกรรมการ บริษัทไมโครซอฟท์ มหาเศรษฐีหมื่นล้าน ที่ปัจจุบันผันตัวมาทุ่มเทให้กับการทำมูลนิธิ บิลและเมลินดา เกตส์ บิล เกตส์มีความเชื่อว่า ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีจะสามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆ ได้ และอันที่จริงมันก็กำลังช่วยคนหลาย พันล้านคนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาก็เห็นว่า ความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงชีวิตคนเฉพาะ ในกรณีที่ผู้นั้นมีกำลังซื้อ เฉพาะในดินแดน ที่มีอุปสงค์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งอุปสงค์ทาง เศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับความจำเป็น ทางเศรษฐกิจ (คินสลีย์, 2553) เขาจึงคิด ค้นแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “ทุนนิยมสร้างสรรค์” (Creative Capitalism) ซึ่งจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ ที่แรงจูงใจจะสร้างทั้งกำไร และความเป็นทีย่ อมรับ ผลักดันทัง้ ประโยชน์ ส่วนตนและความห่วงใยผู้อื่น นั่นคือ ต้อง สร้างทั้งกำไรและช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้ ด้อยโอกาส เปดโอกาสให้มนุษย์ ได้ใช้พลัง แห่งความห่วงใยผู้อื่นมาร่วมกันช่วยเหลือ สังคม เป็นการนำเอาพลังสมองที่ปรับปรุง

43

ชีวติ ของคนรวยมาทุม่ แทให้กบั การปรับปรุง ชีวิตของทุกคนที่เหลือ (Gates, 2008) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้มหาเศรษฐีทร่ี ำ่ รวย และได้รับผลประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยม จะเริ่มตระหนักถึงการแบ่งปันเพื่อ การอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสั น ติ แ ละเป็ น ธรรม ซึง่ เป็นนิมติ หมายทีด่ ี แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่า โลกของทุนนิยมจะเอื้อต่อการพัฒนา บุคคลอย่างเท่าเทียมกัน ตราบใดที่ยังมี เรื่องของผลประโยชน์เป็นแรงจูงใจสำคัญ และผลประโยชน์นี้เองที่ทำให้มนุษย์หลงสู่ กับดักของความอยากมีอยากได้ อยากเป็น เจ้าของ จนพร้อมที่จะละทิ้งอิสรภาพและ คุณค่าอันดีงามของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในชีวิตของ บุคคลไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการเฝารอคอย ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นเพียงอย่าง เดียว แต่การเปลีย่ นแปลงในชีวติ ของบุคคล ใดบุคคลหนึ่ง ต้องเริ่มต้นจากความตั้งใจ อยากจะเปลีย่ นแปลงของบุคคลนัน้ และลง มือกระทำบางสิ่งบางอย่างที่ต่างไปจากเดิม Epictetus นักปรัชญาชาวกรีกกล่าวว่า ไม่มอี สิ ระชนคนใดทีจ่ ะเป็นอิสระโดยไม่เป็น นายของตนเอง (Svoboda, 2008) คำถาม สำคัญ คือ เราจะเป็นนายของตนเองได้ อย่ า งไร หรื อ เราจะเป็ น อิ ส ระจากความ


44 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

อยากเป็นเจ้าของที่ดึงดูดจิตใจของเราได้ อย่างไร ในประเด็นนี้ เราพอจะเทียบเคียงกับ คำพู ด ของพระเยซู เ จ้ า ที่ ต รั ส ว่ า “ทรั พ ย์ สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ ที่นั่นด้วย” (มัทธิว 6: 21) หากมองในมุม ของจิตวิทยา คำพูดของพระเยซูเจ้าสะท้อน ให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ ที่ให้ความ สำคัญกับสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมมีคุณค่าเหนือ ตนเอง ธรรมชาติของมนุษ ย์ด้านนี้สนอง ตอบต่อระบบทุนนิยมเป็นอย่างดี จนทำให้ มนุษ ย์หลายคนแสวงหาการครอบครองที่ มากเกินความจำเป็น และลืมไปว่า จุดแห่ง ความสมดุลของความต้องการอยู่ที่ใด ความสมดุลหรือความพอเพียงในชีวิต ของเราเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ เราควรตระหนักและแสวงหาอย่างต่อเนื่อง หากเราต้องการมีชีวิตที่ไม่หลงสู่กระแสทุน นิยมและบริโภคนิยม ด้วยเหตุว่า ในสังคม กระแสหลักปัจจุบัน มนุษย์มองเห็นความ สุขจากการครอบครองและการบริโภค มี การกินการใช้อย่างเกินพอดี อันเกิดจากการ หลงคิดว่า นี่คือ การให้รางวัลชีวิต การดูแล ตนเองและคนที่เรารัก โดยไม่ทันสังเกตว่า ความสุ ข จากการซื้ อ หาสิ่ ง ใหม่ ๆ หายไป อย่างรวดเร็วเหลือเกิน ทำให้เราต้องจับจ่าย

อยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาความสุขอันฉาบ ฉวยให้คงอยู่เนิ่นนานออกไปอีกสักระยะ เมื่อกลับมาคิดใคร่ครวญถึงข้อสังเกต ที่พบเห็นได้ในสังคมปัจจุบัน จึงน่าจะถึง เวลาแล้ว ทีเ่ ราจะพึงถามตนเองถึงความคิด ความรู้สึกที่เรามีต่อกระแสสังคมปัจจุบัน ที่ มุ่ ง เน้ น การแสวงหา ครอบครองและ ความสุขอันฉาบฉวย บางทีหากเราอยาก จะมีชวี ติ ทีก่ ลับคืนสูค่ วามสมดุล กลับคืนสู ่ ทางสายกลางระหว่างความขาดแคลนกับ ความมั่งคั่ง กลับคืนสู่ความสุขสบายที่ ไม่ ฟุ่ม เฟือย เราคงต้องกลับมาถามตนเอง เสียทีว่า เราพร้อมหรือยังที่จะจัดสมดุลให้ กับชีวิตของเราเอง เพราฉะนั้น วิถีแห่งความพอเพียงจึง น่าจะเป็นคำตอบให้กับใครหลายๆ คน ที่ อยากจะกลั บ มาทบทวนการดำเนิ น ชี วิ ต และจัดสมดุลให้ชีวิตเกิดความสอดคล้อง


รูจักตน รูจักพอ อิสระแหงชีวิตในยุคทุนนิยม

กลมกลืนมากขึน้ วิถแี ห่งความพอเพียงเป็น วิถที เี่ น้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เน้นความ สมถะแต่ไม่ตระหนี่ เน้นจิตใจมากกว่าวัตถุ เหตุว่า ความพอเพียงหรือความพอดี ไม่ สุดขั้วไปทางด้านใดด้านหนึ่งจะช่วยให้เรา คิด มอง พูดและกระทำในสิ่งที่เหมาะสม กับชีวิต เมือ่ พูดถึงวิถแี ห่งความพอเพียง บุคคล หนึ่งที่ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ อย่ า งน่ า สนใจ และเป็ น บุ ค คลที่ มี ค วาม สำคั ญ ยิ่ ง ต่ อ ประเทศไทยในยุ ค ปั จ จุ บั น นั่ น คื อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระองค์ท่านได้ตรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอ เพียง” ในปี พ.ศ.2541 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วง ที่ประเทศไทยและอีกหลายประเทศกำลัง เผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจ พระองค์มี พระราชดำรัสบางตอน เนื่องในวันเฉลิม พระชนมพรรษา พุทธศักราช 2541 ดังนี้

45

“... . คนเราถ้า พอในความต้องการ ก็ มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็ เบี ย ดเบี ย นคนอื่ น น้ อ ย ถ้ า ทุ ก ประเทศมี ความคิ ด -อั น นี้ ไ ม่ ใ ช่ เ ศรษฐกิ จ -มี ค วาม คิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ ได้ แต่ว่าต้องไม่ ไป เบียดเบียนผู้อื่น ต้องให้พอประมาณตาม อัตภาพ... พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอ เพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง... . ความพอเพียง นี้ ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมี เหตุผล... ” (บัณฑิต เอื้ออาภรณ์, 2553) หากพิ จ ารณาจากพระราชดำรั ส ดั ง กล่าว เราจะพบว่า วิถีแห่งความพอเพียง มุ่ ง เน้ น การสร้ า งความเจริ ญ มั่ น คง เป็ น ปรกติ สุ ข ร่ ว มกั น ของบุ ค คลในสั ง คม ไม่ แสวงหาผลประโยชน์ที่มากเกินพอดี จน ก่อเกิดการเบียดเบียนผู้อื่น เน้นความคิด แบบองค์รวม ที่ทุกคน ทุกสิ่งอยู่ร่วมกันได้ อย่างสมดุล รวมถึงให้ความสำคัญกับการ พัฒนาปัญญา ที่จะนำไปสู่การคิดอย่างมี เหตุมีผล นั่นคือ รู้เท่าทันว่า ทำอะไรแล้ว จะได้ผลอย่างไร หรือเหตุอะไรจะนำไปสูผ่ ล อะไร และการจะรู้เท่าทันถึงเหตุและผล เราจำเป็นต้องรู้จักตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุ หนึ่งของผลต่างๆ ที่ตามมา


46 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

คาร์ล โรเจอร์ (ค.ศ.1902-1985) นัก จิตวิทยาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีจิตบำบัดแบบ บุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Therapy) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ ตัวตนของ บุคคล (Self) ไว้ว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ (ศรีเรือน แก้วกังวาน, 2539) ได้แก่ 1) ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) 2) ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) 3) ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตนที่ตนมองเห็น คือ ภาพของตนที่ บุคคลเห็นเองว่า ตนเองเป็นคนอย่างไร มี ลักษณะเฉพาะตนอย่างไร ซึง่ อาจจะไม่ตรง กั บ ความเป็ น จริ ง หรื อ ภาพที่ ค นอื่ น เห็ น ก็ เป็นได้ ส่วนตนตามที่เป็นจริง คือ ลักษณะ ตัวตนตามความเป็นจริง ซึ่งบุคคลอาจจะ มองเห็น หรือมองไม่เห็นตามความเป็นจริง ก็ได้ สุดท้าย ตนตามอุดมคติ คือ ตัวตนที่ บุคคลอยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็น ในสภาวะปัจจุบนั เช่น นางสาวเรยา เกลียด การเรียนหนังสือ จนมักจะหาข้ออ้างไม่ไป เรียนอยูเ่ นืองๆ แต่นกึ ฝันอยากจะเป็นแอร์- โฮสเตส มอี าชีพทีส่ ะดวกสบายและรายได้ดี เป็นต้น หากพิจารณาตามทฤษฎีจติ บำบัดแบบ บุคคลเป็นศูนย์กลาง มนุษย์จำนวนมาก

มีความไม่สอดคล้องกลมกลืนในความเป็น ตัวตน 3 แบบคือ มีความขัดแย้งระหว่างตน ที่เป็นจริง กับตนที่ตนมองเห็นและตนตาม อุดมคติ ความสลับซับซ้อนของความขัดแย้ง นี้ ทำให้กลไกทางจิตมีความซับซ้อน มีปม จนส่ ง ผลให้ บุ ค คลมี ปั ญ หาทางอารมณ์ จิตใจและบุคลิกภาพ เช่นเดียวกับอาร์เธอ โชเปนฮาวเออร์ นักปรัชญาชาวเยอรมันที่กล่าวไว้ว่า “การ ต่อสู้ทุกอย่างเกิดจากความต้องการหรือ ความขาดแคลนเกิดจากความไม่พอใจกับ สภาพของตน ผู้คนจึงทุกข์ทรมานตราบ เท่าที่เขายังไม่ได้รับความพอใจ...” (ริการ์, 2552) ดังนั้น การที่เราจะเป็นนายของตนเอง หรือเป็นอิสระจากความอยากเป็นเจ้าของ ทีด่ งึ ดูดจิตใจของเรานัน้ เราจึงควรเริม่ ต้นที ่ การทำความรู้จักตนเองเสียก่อนเป็นลำดับ แรก รับรู้ถึงความอยากมีอยากได้ภายใน จิตใจ และให้เวลากับคำถามที่เกิดขึ้นจาก ส่วนลึกภายใน “จริงๆ แล้ว ฉนั อยากได้สงิ่ ใด จากชีวิต หรือจากพระผู้สร้าง” ความเข้ า ใจที่ เ กิ ด ขึ้ น จะช่ ว ยให้ เ รา เข้าใจตนเองมากขึ้น เข้าใจถึงความดีงาม ความปรารถนาที่แท้จริง ความไม่สมบูรณ์ ครบครั น ความอ่ อ นแอ ความอยากมี


รูจักตน รูจักพอ อิสระแหงชีวิตในยุคทุนนิยม

อยากได้ อยากให้ผอู้ นื่ รักและยอมรับ อยาก มีทรัพย์สินเงินทอง ฯลฯ ความเข้าใจเหล่านี้ จะช่วยให้เราเห็นคุณค่าใหม่ๆ ในชีวิต จน เกิดความอยากจะปรับเปลี่ยนตนเอง อยาก จะปล่ อ ยวางจากการครอบครองที่ เ กิ น จำเป็น การปล่อยวาง จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ จะช่วยให้บุคคลมีอิสระในชีวิต มีนักปราชญ์ ผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า “คนที่แบกของหนักเดิน ไปในโลกของความทุกข์ จะเบาสบายเพียง ใด เมื่อได้วางของหนักไร้ประโยชน์ลงจาก บ่ า ” การปล่ อ ยวางเป็ น การละทิ้ ง สิ่ ง ที่ เป็นต้นเหตุของความเหน็ดเหนื่อย ความ ทุกข์ ใจอันไม่หยุดหย่อน การปล่อยวางจึง ไม่ใช่การวางทุกสิ่งโดยไม่ทำอะไรเลย แต่ เป็นการเลือกกระทำสิ่งต่างๆ อย่างสมดุล พอเพียง ตามที่เราพึงจะกระทำได้ ณ ปัจจุบันขณะ เมือ่ เรารูจ้ กั ตนเอง เรียนรูก้ ารปล่อยวาง เราควรเรียนรู้ที่จะมีความรักความเมตตา ต่อผู้อื่นด้วย เหตุว่า เราจะมีความสุขได้ อย่างไร ถ้าผูอ้ นื่ ยังมีความทุกข์อยู ่ อิสรภาพ จะดีได้อย่างไร ถา้ มีเพียงตัวเราที่ได้ประโยชน์

47

ด้วยเหตุนี้ น่าจะถึงเวลาแล้ว ที่เรา ควรหันกลับมามองตนเอง เพื่อค้นหาจุด สมดุลของชีวิต ในโลกที่เต็ม ไปด้วยการ แข่งขัน การแสวงหาผลประโยชน์ การละทิง้ ค่ า นิ ย มอั น ดี ง ามรวมถึ ง หลั ก คำสอนของ ศาสนา เพียงเพื่อให้ ได้มาในสิ่งที่ตนมุ่งหวัง เท่านั้น โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะ เกิดกับผู้อื่น และจุดสมดุลของความพอเพี ยงของตนว่าอยู่ที่ใด ถ้าเรารู้จักตนเองอย่างดีพอ ถอยห่าง จากความคิดที่สับสนวกวนและนำเราไปสู่ ความอยากมีอยากได้จนเกินพอดี เราจะ เห็นธรรมชาติที่เป็นอิสระจากพันธนาการ ทางความคิดและวัตถุปรุงแต่งต่างๆ แล้ว เราจะเห็นเปาหมายที่แท้จริงในชีวิตของเรา อิสระแห่งชีวิตเกิดขึ้นได้ถ้าเรารู้จักตน รู้จักพอ และเริ่มเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน เป็นบุคคลแรก อิสรภาพแห่งชีวติ จึงไม่ใช่สงิ่ ที่ยากเกินเอื้อมสำหรับเรามนุษ ย์ ในยุคทุน นิยม


48 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

คินสลีย์, ไมเคิล. บรรณาธิการ. (2553). ทุนนิยมสร้างสรรค. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลด์ส. บัณฑิต เอิ้ออาภรณ์. บรรณาธิการ. (2553). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลำดับที่ 1 พอเพียง โลกเย็น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ริการ์, มาติเยอ. (2551). ความสุข. แปลโดย สดใส ขันติวรพงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สวนเงินมา. ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2539). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ รู้เขา รู้เรา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน. Gates, B. A new approach to capitalism in the 21st century [Online] Available from: http://www.microsoft.com/presspass/exec/billg/speeches/2008/ 01-24wefdavos.mspx[2011, April 21] Human trafficking [Online] Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Human_ trafficking [2011, April 21] Shah, A. Causes of poverty [Online] Available from: http://www.globalissues.org/ issue/2/causes-of-poverty [2011, April 21] Snyder, C., & Lopez, S. (2007). Positive psychology. CA: Sage. Svoboda, M. (2008). Traits of a healthy spirituality. 7th ed. New London: Twenty-Third.


49

แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค

หมวดปรัชญา

แมกซ เวเบอร

กับทุนนิยมหลังนวยุค ¡ÕÃµÔ ºØÞà¨×Í

ความนำ จะทำอะไรก็ต้องมีการลงทุนไปก่อน แบบ “หว่าน (เมล็ด) พืช (เพราะ) หวัง ผล” จะลงทุนก่อนก็ต้องมีทุนอยู่ในมือ ไม่มี ทุนจะคิดทำการใดก็ไร้ผล “ทุนนิยม” แปลจากภาษอังกฤษว่า Capitalism มาจากภาษาละติน Capital

แปลว่ า สิ่ ง ที่ มี ค วามสำคั ญ เท่ า กั บ ศี ร ษะ เพราะมาจากคำ Caput, Capitis แปลว่า ศีรษะ ทุนนิยมจึงหมายถึงแนวคิดที่เชื่อว่า ทุ น มี ค วามสำคั ญ ในการทำธุ ร กิ จ เท่ า กั บ ศีรษะมีความสำคัญในการธำรงชีพ ซึ่งก็ ตรงกั บ ภู มิ ปั ญ ญาไทยที่ ส ร้ า งคำพั ง เพย ขึ้นมาว่า “หว่านพืชเพราะหวังผล… ต้อง

กีรติ บุญเจือ ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต อดีต สนช. อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประธานบรรณา ธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน สอบถามเรื่องปรัชญา โทร.086-0455299.


50 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ลงทุนจึงมีโอกาสได้กำไร” ซึง่ เป็นความจริง สำหรับการหวังผลทุกชนิด จึงทำให้เกิด การเมื อ งแบบเล่ น คื อ เล่ น การเมื อ ง เหมือนเล่นการพนันการพนันก็เป็นธุรกิจ อย่างหนึ่ง ต้องลงทุนจึงจะมีหวังโชคดี ได้ กำไรบนการขาดทุนของผู้อื่น แต่กฎของ การพนันระบุวา่ ขาดทุนมากกว่ากำไร เพราะ มีการชักกำไรจากทุกคนไปเป็นค่าดำเนินการ ผิดกับธุรกิจการค้าซึ่งมี โอกาสกำไร มากกว่าขาดทุน เพราะมีความพอใจของ ลูกค้าเป็นกำไรที่ไม่ต้องชักทุน ธุรกิจการค้า ที่ สุ จ ริ ต จึ ง น่ า เล่ น มากกว่ า เล่ น การพนั น ส่วนการค้าที่ทุจริตก็เหมือนเล่นการพนัน คือ ไม่มีความพอใจของลูกค้าร่วมเป็นกำไร จึงขาดทุนมากกว่ากำไร เล่นการเมืองเล่าก็ เหมือนธุรกิจ หากเล่นอย่างสุจริตก็มีความ พอใจของผู้รับบริการช่วยเพิ่มกำไร แต้ถ้า เล่นทุจริต ก็มคี วามไม่พอใจของผูร้ บั บริการ ช่วยลดกำไรจนกลายเป็นขาดทุน ไม่คุ้ม เมื่ อ เกิดมีเศรษฐกิจ การเมือ งแบบ สังคมนิยม (Socialism) ขึ้นมา เราก็แปลให้ ล้อภาษาอังกฤษว่า “สังคมนิยม” ซึ่งมักจะ เข้าใจผิดว่าเป็นระเบียบเศรษฐกิจการเมือง ที่ตรงข้ามกับทุนนิยม เลยสรุปเอาง่ายๆว่า หากทุนนิยมดี สังคมนิยมต้องไม่ดี และ ตรงกันข้าม ถ้าสังคมนิยมดี ทุนนิยมต้อง

ไม่ดี อันที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะทุน นิยมอาจจะดีหรือไม่ดีได้ สังคมนิยม ก็อาจ จะดีหรือไม่ดีได้ เพราะจริงๆแล้วทัง้ ทุนนิยม และสังคมนิยมต่างก็ต้องมีทุน และต้อง ลงทุนจึงมีสิทธิ์หวังผล ผิดกันที่ว่าทุนเป็น ของบุคคลหรือเป็นของกลุม่ บุคคล ถ้าเช่นนี้ เศรษฐกิจการเมืองที่ดีหรือไม่ดีย่อมขึ้นอยู่ กับเป้าหมายของการใช้ทุนใช่หรือไม่ เรามา ลองพิจารณากันดู รีชเฉิร์ด ราบเบิทส์ (Richard Roberts) ไม่ยอมนิยามทุนนิยม โดยอ้างว่า นิยามยาก เพราะนักทฤษฎีสำคัญๆ แต่ละ ท่านชอบนิยามตามที่ตนอยากจะเข้าใจมัน แต่ก็ยอมนิยามอย่างหลวมๆ เพื่อให้เริ่ม ถกปัญหาเชิงปรัชญากันได้ว่า คือ “ระบบ เศรษฐกิจที่ยอมให้แต่ละบุคคลมีสิทธิเป็น เจ้ า ของและจั ด การทรั พ ย์ สิ น เพื่ อ ใช้ เ ป็ น อุปกรณ์สร้างงานให้ผู้อื่นทำแทนและแบ่ง ผลกำไรกัน ความเป็นมาของปัญหา คนแรกที่เสนอเศรษฐกิจการเมือง ทุนนิยมขึ้นเป็นทฤษฎีให้ศึกษาเป็นวิชาการ คือ แอดเดิม สมิธ (Adam Smith 1723-90) ชาวสก๊อตโดยเผยแพร่ในหนังสือ Wealth of the Nations สมิธใช้หลักคณิตศาสตร์ คำนวณง่ายๆ ว่าหากคน 2 คนต่างก็ทำ


แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค

เข็มกลัดขายเป็นอาชีพ วันหนึ่งๆ อาจจะทำ และขายได้คนละ 100 ตัว 2 คนขายได้ 200 ตัว ต่างก็พอกินกันวันต่อวัน ถ้าหากอยู่ใน หมู่บ้านเดียวกันและต้องแข่งขันกันเอาใจ ลูกค้า อาจจะลดราคาตัดหน้ากันจนเกือบ จะไม่มีกำไร ทำให้ชีวิตพออยู่ได้อย่างทุลัก ทุเล แต่ถ้าได้ร่วมมือกัน 10 คนโดยแบ่งงาน กันทำ อาจจะทำและขายได้วันละ 1 ล้านตัว ต่างคนต่างมีรายได้สูง ชีวิตความเป็นอยู่ ของทุกคนจะดีขึ้น 10 คนดังกล่าวนี้ หมายถึงว่า มีคนหนึง่ มีทนุ ทำโรงงานทำเข็ม กลัด เขาไม่ต้องทำงานเพียงแต่เอาเงินมา ลงทุนสร้างโรงงาน คนที่ 2 ไม่มีเงินลงทุน แต่ บ ริ ห ารงานเก่ ง ก็ ใ ห้ ท ำหน้ า ที่ บ ริ ห าร โรงงาน คนที่ 3 มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้ทำ หน้าที่หาลูกค้า คนที่ 4 จัดการส่งสินค้าให้ ลูกค้า คนที5่ ทำหน้าทีจ่ ดั หาวัสดุทำเข็มกลัด คนที่ 6 คุมเครื่องตัดลวดเป็นท่อนๆได้ ขนาดทำเข็มกลัดแต่ละตัวๆ คนที่ 7 คุม เครื่องเสี้ยมปลายเข็มทุกตัวให้แหลม คนที่ 8 คุมเครื่องทำแป้นหัวกลัด คนที่ 9 คุม เครื่ อ งแปะแป้ น หั ว กลั ด เข้ า กั บ เข็ ม กลั ด คนที่ 10 คุมเครื่องบรรจุเข็มกลัดเข้ากล่อง เล็ ก จนถึ ง บรรจุ เ ข้ า กล่ อ งใหญ่ จั ด ส่ ง ถึ ง ลู ก ค้ า แค่ นี้ แ หละ 10 คนจะสามารถทำ เข็มกลัดไม่ใช่ 1000 ตัวต่อวัน แต่อาจจะ

51

1 ล้านตัวต่อวัน โดยแต่ละคนทำงานอย่าง เดียวจนเชี่ยวชาญ งานสบาย กำไรมาก สามารถแบ่งส่วนกันได้มากกว่าที่แยกกัน ทำหลายเท่า จึงเห็นได้ว่า หากรู้จักร่วมมือ กันอย่างนี้ ทุกคนจะได้ประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ ลงทุนและผู้ลงแรง หากรัฐบาลใดเข้าใจหลักการนี้ ก็จะ ส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาชนรู้ จั ก ร่ ว มทุ น กั น เพื่ อ สามารถทำโรงงานให้ใหญ่ขึ้น และเมื่อคน ในชาติ ส ามารถสร้ า งโรงงานได้ ห ลาย โรงงานใหญ่ๆก็ ไม่ควรปล่อยให้แข่งขันกัน จนตั ด ราคากั น แต่ ค วรตกลงกั น ผลิ ต โรงงานละอย่าง เพื่อผลิตให้ ได้มากขึ้นจน สามารถส่งขายให้ต่างประเทศจนถึงทั่วโลก โดยแบ่งหน้าที่ให้แต่ละโรงงานทำส่วนเดียว เช่น โรงงานที่ 1 ผลิตลวดทำเข็มกลัด โรงงานที่ 2 ตัดลวดเป็นเข็มกลัด โรงงาน ที่ 3 เหลาปลายเข็มกลัดให้มันแหลม ฯลฯ และมี โรงงานหนึ่งผลิตเครื่องจักรใช้ผลิต เข็มกลัด และอีกโรงงานหนึ่งทำหน้าที่ซ่อม เครื่องชำรุดให้ใช้การได้ตามเดิม หากทำได้ เช่นนี้ชาตินั้นก็จะมั่งคั่ง พลเมืองทุกคนจะ อยู่ดีมีสุข คาร์ล มากซ์ (Karl Marx 18181883) เห็นว่า สมิธมองมนุษย์ในแง่ดีเกินไป เพราะไม่ใช่นักปรัชญา จึงไม่รู้ว่า ธรรมชาติ


52 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

แท้ของมนุษย์นั้นต้องการการต่อสู้ ไม่ใช่ ต่อสู้กันตัวต่อตัวอย่างที่ ชาลส์ ดาร์วิน (Cherles Darwin 1808-82) เห็น แต่เป็น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ซึ่งร้ายกว่าที่ดาร์วิน จะเข้าใจได้ ทั้งนี้ก็คือว่า หากปล่อยให้คิด และทำกันอย่างเสรี นายทุนจะรวมหัวกัน เอาเปรียบคนขายแรงงานซึ่งรวมตัวกันต่อ สู้ ได้ยากกว่า แต่ถ้ารวมตัวกันมากๆก็จะสู้ ได้อยู่เหมือนกันและสู้ ได้แข็งแกร่งกว่ากลุ่ม นายทุน อย่างไรก็ตามไม่ว่ากลุ่มใดแพ้หรือ ชนะ ชาติก็ล่มจม จึงต้องแก้ปัญหานี้โดย สอนให้กรรมกร ยึดอำนาจรัฐและให้รัฐเป็น นายทุ น เสี ย เองโดยริ บ ทรั พ ย์ สิ น ทั้ ง หมด เป็นของรัฐ ก็จะไม่มีใครเป็นนายทุน ก็จะไม่ มีความขัดแย้งหรือการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ชาติก็จะมั่งคั่งและประชาชนทุกคนก็จะอยู่ ดีมีสุขตามที่สมิธต้องการ ชีวิตและงาน แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber 1864 1920) เกิดที่เมืองเอร์ฟูร์ท (Erfurt) แคว้น .. ธือรีนเกน (Thuringen) บิดาเป็นนักธุรกิจ และนักการเมืองพรรคเสรีนิยม มารดาเป็น ผู้ มี ศ รั ท ธาแก่ ก ล้ า ในศาสนาคริ ส ต์ นิ ก าย แคลวินสิ ม์ ซึง่ ถือว่าสมาชิกแต่ละคนจะต้อง ขยั น ขั น แข็ ง ใช้ ค วามรู้ ค วามสามารถ ทุกอย่างที่พระเจ้าทรงประทานให้อย่างเต็ม

ที่ตามฐานะและตำแหน่งในสังคม ในขณะ เดี ย วกั น ก็ จ ะต้ อ งเคร่ ง ครั ด ต่ อ ตั ว เองใน การประหยัดใช้ทรัพย์สินอย่างระมัดระวัง เพื่อมีส่วนเหลือไว้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษ ย์ ที่ เ ดื อ ดร้ อ นและพั ฒ นาสั ง คม บ้ า นของ ครอบครั ว จึ ง เป็ น ที่ นั ด พบของผู้ ต้ อ งการ ความช่วยเหลือด้านต่างๆของนักการเมือง และการศาสนาเพื่อถามและถกปัญหาที่มี ค้างคาอยู่ในใจ ซึ่งทุกคนในครอบครัวยินดี ต้อนรับและให้ความร่วมมือและตอบสนอง ความต้องการอย่างดี เวเบอร์ชินกับสภาพ ชีวิตอย่างนี้มาแต่เยาว์วัย ปีค.ศ. 1882 เข้า มหาวิทยาลัยฮายเดนเบิร์ก (Heidenberg) เนื่องจากครอบครัวมีฐานะดี จึงย้ายมหาวิทยาลัยไปเรื่อยๆ คือ สทราสบูร์ก เกิททีนเกน และเบอร์ลิน เพื่อติดตามการบรรยาย ของอาจารย์ที่ชื่นชอบ โดยเน้นการศึกษา วิชาสายกฎหมายและประวัติศาสตร์ ที่สุด ก็ ได้ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน จากการวิจัยบริษัทการค้ายุคกลาง ทดลอง เปิดสำนักทนายความ แต่ไม่ชอบ ปี ค.ศ. 1894 ได้งานสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เยอรมัน ที่มหาวิทยาลัยฟรายบวร์ก ปีค.ศ. 1897 สอนวิชาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยฮายเดนเบิร์ก ปีค.ศ. 1902 เกษียณอายุตัวเองเพื่อ เขียนเรื่องที่อยากจะเขียน ได้งานที่สำคัญ


แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค

คือ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, 1905; Economy and Society, 1922; บทความต่างๆ ว่า ด้วยวิธี คิด (Methodological Essays) วิธีคิด ค.ศ. 1904 เผยแพร่บทความ ‘Objectivity in Social Science and Social Policy’ (วัตถุวิสัยภาพในสังคมศาสตร์และ นโยบายสังคม) ผู้แสวงหาความจริงในการ ศึกษาสังคม ย่อมอยากได้อะไรทีส่ ามารถค้ำ ประกั นได้ เ หมื อ นอย่ า งความจริ ง วิ ท ยาศาสตร์ และสิ่งนั้นคงไม่พ้นความเป็นวัตถุ วิสยั หรือวัตถุวสิ ยั ภาพ ให้เหมือนกับทีว่ ธิ กี าร วิทยาศาสตร์ค้ำประกันความจริงวัตถุวิสัย นั่นเทียว โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า จะ อธิบายอะไรในด้านสังคม ย่อมมีวตั ถุประสงค์ ให้เป็นเรื่องน่าสนใจรู้ในวัฒนธรรมของตน และในสายวิชาของตนโดยเฉพาะ ไม่ยอม ให้ อ อกนอกกรอบดั ง กล่ า ว การกระทำ เช่นนั้น ย่อมได้ความจริงในกรอบของช่วง ประวัติศาสตร์แห่งวัฒนธรรม และเกณฑ์ ความจริงของวิชาตามที่ประวัติศาสตร์ช่วง นัน้ รับรู้ จึงไม่พน้ ทีจ่ ะเป็นความจริงสัมพัทธ์ กับช่วงประวัติศาสตร์ช่วงนั้น และมันก็คือ ความจริงอัตวิสยั นัน่ เอง ไม่อาจจะรับรองให้ เป็นความจริงวัตถุวิสัยตามที่ตั้งปณิธานไว้ ได้

53

จากการประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นของ 2 ด้านดังกล่าวข้างต้น คือ ด้านนักสังคมศาสตร์ที่มุ่งมั่นอยากได้ความจริงวัตถุวิสัย เหมือนความจริงวิทยาศาสตร์ที่เชื่อกันใน สมัยนั้นว่า วิธีการวิทยาศาสตร์รับรองได้ว่า เข้าถึงความจริงวัตถุวิสัย และด้านประวัติ ศาสตร์ ซึง่ นักประวัตศิ าสตร์รตู้ วั ดีวา่ วิธกี าร ของประวั ติ ศ าสตร์ ไ ม่ มี ท างได้ ค วามจริ ง วัตถุวิสัย ได้แต่ความจริงอัตวิสัยโดยขึ้นกับ หลักฐานเท่าทีห่ าได้ในแต่ละวัฒนธรรม และ แต่ละเรือ่ งทีศ่ กึ ษาในแต่ละช่วงของประวัต-ิ ศาสตร์ ในเมื่อนักสังคมศาสตร์จำเป็นต้อง พึ่งวิธีคิดของประวัติศาสตร์ แต่อยากได้ ความจริงให้ทัดเทียมกับวิทยาศาสตร์ จึง เป็นเพียงความใฝ่ฝันที่เป็นไปไม่ได้ ทีเ่ ป็นเช่นนีก้ เ็ พราะในโลกของวิทยาศาสตร์นั้น จะหยิบชิ้นส่วนใดของสสารขึ้น มาเป็ น ตั ว อย่ า งศึ ก ษา มั น สามารถเป็ น ตัวแทนของทุกส่วนของสสารได้ เพราะนัก วิ ท ยาศาสตร์ ส นใจศึ ก ษาเฉพาะกฎแห่ ง ความเป็นสาเหตุ (Principle of Causality) เท่านัน้ นักสังคมศาสตร์อาจจะหยิบชิน้ ส่วน สสารชิ้นเดียวกันนั้นขึ้นมาศึกษา เขามิได้ มองด้านความเป็นสาเหตุ แต่เขามองด้าน ความเป็นเหตุเป็นผล (Reasonableness or Logicity) ของมัน มันจึงบอกว่ามันมีความ


54 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

เป็นเหตุผลเฉพาะตัว ชิ้นอื่นๆ ล้วนแต่มี ความเป็ น เหตุ ผ ลซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งของจิ ต ใจ (Psychology) ของผู้ที่ทำให้มันเป็นชิ้นส่วน ของประวัติศาสตร์ มันจึงเป็นตัวแทนของ ส่วนใดไม่ได้ทั้งสิ้นแม้ตัวมันเองก็ยังไม่รู้เลย ว่า นักประวัติศาสตร์ให้มันมีบทบาทอะไร บ้าง อยากรู้ต้องไปถามนักประวัติศาสตร์ เอาเอง และเชื่อเถิดว่านักประวัติศาสตร์ ต่างๆ ก็มิได้ให้บทบาทเดียวกันสำหรับแต่ละ ชิ้นส่วนจึงช่วยอะไรไม่ได้ มีผู้ถามเจาะลึกลงไปอีกว่า “ถ้าเช่น นั้นให้เอากฎแห่งความเป็นสาเหตุมาศึกษา ประวัติศาสตร์ ซึ่งก็คือทำประวัติศาสตร์ให้ เป็นวิทยาศาสตร์เสีย จะได้ศึกษาประวัติศาสตร์แบบใหม่แข่งกับนักประวัติศาสตร์ ที่ ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ด้ ว ยกฎเหตุ ผ ล กลายเป็น 2 ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบกัน ดู ก็ ค งจะได้ ค วามรู้ วั ต ถุ วิ สั ย ในประวั ติ ศาสตร์ บ้ า งหรอกน่ า ” เวเบอร์ ต อบด้ ว ย บทความ ‘The Logic of the Cultural Sciences, 1907’ (ตรรกวิทยาหรือการใช้ เหตุผลในศาสตร์วัฒนธรรม) ว่าหากทำ เช่นนั้น กฎความเป็นสาเหตุก็จะอ่อนตัวลง เหลือแค่ Probabilistic Causality (อาจเป็น สาเหตุ ไ ด้ ) เหมื อ นอย่ า งที่ นั ก กฎหมาย ต้องการให้กฎหมายมีประกาศิตอย่างกฎ

ศีลธรรมของศาสนา จึงยืมเอาคำ “ความ รับผิดชอบ” ของศาสนามาใช้ สำหรับผู้มี ศรัทธาต่อศาสนา ความรับผิดชอบในมโนธรรมเป็นเรื่องเด็ดขาด ไม่มีเงื่อนไข ตัวใคร ตัวมัน ต้องรับผิดชอบมโนธรรมของตนเอง ใครช่วยใครไม่ได้ นักกฎหมายเห็นว่าเด็ด ขาดดี เอามาใช้คู่กับการบังคับกฎหมาย ความรั บ ผิ ด ชอบซึ่ ง มี ค วามเด็ ด ขาดใน ศาสนาเพราะมีมโนธรรมบังคับ ก็กลายเป็น อ่อนปวกเปียกเพราะมีแต่บทลงโทษบังคับ ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่ามีช่องโหว่ให้หลีกเลี่ยงได้ทั้งนี้ ก็เพราะว่าวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ อยู่กันคนละค่าย (Different Categories) ใช้เครื่องมือเดียวกันไม่ได้ เช่นเดียวกับศีลธรรมของศาสนากับกฎหมายอยู่กันคนละ ค่าย เวเบอร์จงึ ฟันธงว่า กฎการเป็นสาเหตุ ให้ความจริงวัตถุวิสัย ส่วนกฎเหตุผลให้ เพียงความจริงอัตวิสัย บ่อเกิดของความ จริงวิทยาศาสตร์มาจากประสบการณ์ ส่วน บ่อเกิดของสังคมศาสตร์มาจากมโนคติซึ่ง มีได้ 3 รูปแบบ (3 Ideal Types) คือ 1. รูปแบบตามขนบ (Traditional Type) อัน ได้แก่เชือ่ ตามกระแสความคิดทีเ่ ชือ่ สืบทอด กันมา 2. รูปแบบเหตุผล/กฎเกณฑ์ (Rational-legal type) เชื่อเพราะเป็นกฎที่สังคม


แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค

วางไว้ ต ามความต้ อ งการเฉพาะหน้ า 3. รูปแบบหยั่งรู้เองเป็นกรณีพิเศษ (Charismatic Type) เชื่อเพราะตนเองคิดได้และรู้ สึกว่าวิเศษมาก ปี ค.ศ. 1913 เผยแพร่บทความ ‘Some Categories of Interpretive Sociology’ (บางแง่คิดจากการใช้ทฤษฎีตีความ ในสังคมวิทยา) เก็บข้อมูลทางสังคมมารวบ รวมและจัดเป็นหมวดหมู่ ไว้พอจะเรียกได้ ว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับสังคม ข้อมูลเหล่านั้น ยังเป็นความรู้ดิบอยู่ ยังไม่สุกพอให้เรียก ได้ว่าเข้าใจสังคม จะเรียกว่าเข้าใจ (Verstehen) ก็ต้องมีการตีความ ซึ่งจะต้องตีความ ตามรูปแบบใดใน 3 รูปแบบดังได้กล่าวไว้ ข้างต้น แต่ละรูปแบบย่อมมีกระบวนการตี ความที่เหมาะสมของตน มโนภาพทั้งหมด ของแต่ ล ะกระบวนการเรี ย กว่ า มโนภาพ รูปแบบ (Type-Concepts) ใครใช้รูปแบบใด ก็ต้องทำความเข้าใจกับกระบวนการและ มโนคติ ต่ า งๆในกระบวนการนั้ น ๆอย่ า ง ถ่องแท้ ก็จะได้ความเข้าใจอันเป็นความเชือ่ (Beliefs) ตรงตามความคาดหมาย (Expectation) ของตน หรือเรียกตามสำนวน ปัจจุบันว่า “ความเชื่อตามปฐมบทของตน”

55

วิชาเศรษฐศาสตร์ เวเบอร์ ได้เผยแพร่หนังสือ Economy and Society, 1922 เพื่อรวบรวมความ คิดต่างๆ ที่ได้เผยแพร่เป็นตอนๆ เกี่ยวกับ ความเข้ า ใจสั ง คม เพื่ อ จั ดให้ เ ป็ น ระบบ ระเบียบให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายขึ้นและครบ ถ้วนขึ้น ลงท้ายก็สรุปว่า เมื่อได้ความเข้าใจ แล้วก็จะยังเป็นเพียงวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ เข้าใจในสมอง หากไม่นำเอาปฏิบัติก็จะยัง ไม่ ใช่ ‘เศรษฐกิจ’ ขั้นตอนสำคัญในการ ผ่านจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สู่การปฏิบัติ เศรษฐกิจก็คือ “ความตั้งใจ” (Intention) ซึง่ อาจจะแสดงออกให้เห็นโดยตรง (Direct) หรือแฝงไว้ในใจ (Indirect) ก็ได้ เวเบอร์ ยกตัวอย่างว่า เราอาจจะศึกษาชีวิตของ ซีเสอร์ (Caesar) จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ สักเท่าใด มันก็เป็นเพียงความเข้าใจ จะ ต้องลงมือปฏิบัติตามจึงจะเห็นผล แต่ก่อน จะลงมื อ ปฏิ บั ติ ต้ อ งให้ เ จตจำนง (The Will) ตกลงใจเสียก่อนว่า จะเอาหรือไม่เอา ถ้าตัดสินใจว่า “เอา” ก็จะตั้งใจใช้สมรรถภาพภายในและทรั พ ยากรภายนอก ประกอบกั น ลงมื อ ทำการ จึ ง จะเกิ ด การ เลียนแบบซีเสอร์ขึ้น ถึงขั้นนี้จึงเห็นได้ว่า


56 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ต้องตัดสินใจและตั้งใจ “ลงทุน” จะลงทุน แบบไหนก็ต้องตั้งใจอีกจะลงทุนแบบทุนนิยม (Capitalism) หรือลงทุนแบบสังคมนิยม (Socialism) ก็ต้องเข้าใจและตั้งใจ ทุนนิยมและสังคมนิยมจึงจะเกิดขึ้น เป็น รูปแบบของเศรษฐกิจและสังคม ทุนนิยมของเวเบอร์ ทุนนิยมเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ จึงสังกัดสังคมศาสตร์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ต้องใช้วิธีเข้าใจแบบสังคมศาสตร์ที่ขึ้นกับ รูปแบบมโนคติ (Ideal Type) และถกปัญหา กันด้วยมโนภาพรูปแบบ (Type Concepts) โดยมีความตั้งใจปฏิบัติให้เห็นผล ในกรอบ ของวัฒนธรรมหนึ่งและช่วงประวัติศาสตร์ ช่วงหนึ่ง ทุกกรอบเหล่านี้ต้องมีพร้อมครบถ้ ว นในทุ น นิ ย มของเวเบอร์ ขณะอยู่ ใ น ครอบครัว เวเบอร์คงได้ฟังการถกปัญหา เรื่องศาสนากับการลงทุนเป็นประจำ และ ในมหาวิ ท ยาลั ย ก็ ค งได้ มี ก ารถกเถี ย งกั น อย่างมากเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของทุนนิยม ของแอดเดิม สมิธ เปรียบเทียบกับสังคม นิยมของ คาร์ล มากซ์ เมื่อตกผลึกใน สมองของตนแล้วจึงแสดงความเห็นส่วนตัว ในหนังสือ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, 1905 (จริยธรรม โปรเตสแตนต์กับจิตารมณ์แห่งทุนนิยม)

เวเบอร์มิ ได้ตั้งใจเขียนจริยศาสตร์ จึงไม่ใช้คำว่า “Ethics” แต่ใช้คำ “Ethic” ซึ่งหมายถึงจริยธรรม คือ ประมวลคุณธรรม ชุดหนึ่งที่ทำใช้ชาวคริสต์โปรแตสแตนต์คน หนึ่งเป็นคนดีได้ เวเบอร์วิเคราะห์ดูอย่างดีแล้ว เห็น ว่าลั ทธิทุนนิยมที่ ไม่มีจริยธรรมศาสนาเป็น พื้นฐาน ไม่น่าจะไปรอด เพราะไม่มีอะไร จู ง ใจให้ นายทุ น ยอมเสี ย สละโอกาสที่ จ ะ กอบโกย (หากมีโอกาส) สมิธมองคนในแง่ ดีเกินไปเหมือนเพลโทว์ผู้เป็นเจ้าของคติว่า Virtue is Knowledge (คุณธรรม คือความรู)้ ใครก็ตามที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่อง แท้แล้วย่อมจะไม่ประพฤติผดิ คนเลวคนชัว่ ทั้งหลายล้วนแต่เป็นพวกไม่รู้หรือรู้ ไม่ถ่อง แท้ สมิธจึงคิดว่าหากพลเมืองทุกคนได้มี โอกาสได้รับการอบรมด้วยสมาการง่ายๆ ว่า การที่ต่างคนต่างทำได้สมาการ 1+1 = 2 หากร่วมมือกันสมาการจะกลายเป็น 1+1 > 2 จนถึ ง เท่ า ใดก็ ไ ด้ แต่ ถ้ า แข่ ง ขั น กั น จะได้ สมาการ 1+1 < 2 จนถึงล่มจมกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็ ได้ สมิธจึงคิดว่าง่ายมากที่จะสอนให้คน ลงทุนโดยร่วมมือกันอย่างซือ่ สัตย์สจุ ริต แต่ เวเบอร์ ได้รับการอบรมมาตั้งแต่เยาว์วัยว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับใจเอียงข้างบาป รู้ ทั้งรู้ก็ยังทำบาป เพราะพลังแห่งความเห็น-


แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค

แก่ ตั ว มั น แก่ ก ล้ า เกิ น พลั ง เหตุ ผ ล ต้ อ ง ฝกฝนจนเป็นคุณธรรมแข็งแรง ก็ยังไว้ใจ ไม่สู้จะได้อยู่ดี Virtue Cannot Be Taught, Can Only Be Trained คุณธรรมสอนกัน ไม่ได้ ต้องฝกจึงจะได้ ฝกขนาดไหนจึงจะ แข็งแรงจนมั่นใจได้ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มากซ์ปรับความคิดของสมิธ โดยให้ สังคมเป็นผูร้ บั ผิดชอบและดูแลทุน ซึง่ ก็เป็น ประเด็นถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการอย่าง ไม่รู้จบสิ้นว่า สังคมนิยมก็ต้องมีผู้มีอำนาจ ชี้ขาด มิฉะนั้นก็ไม่อาจรวมตัวกันติด ผู้มี อำนาจชี้ขาดก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนคน อื่นๆ จะมีวิธีใดควบคุมเขามิให้ลุแก่อำนาจ และฉวยโอกาส มีจุดอ่อนเช่นเดียวกับจุด อ่อนของสมิธ คำตอบสุดท้ายของเวเบอร์ ก็คอื ต้อง ให้ทุกคนนับถือศาสนาและนับถือจริงๆ คือ ต้องได้รับการฝกอบรมในศาสนาของตน จนเป็นศาสนิกแท้ ไม่ใช่นับถือศาสนาแต่ ปาก ผู้นับถือศาสนาด้วยจริงใจจะมีความรับผิดชอบในมโนธรรมที่จะปฏิบัติคุณธรรม ทุ ก ข้ อ ของจริ ย ธรรมศาสนาโดยไม่ ต้ อ งมี การสอดส่องควบคุมจากภายนอก เขาจะ เป็นนายทุนที่มีคุณภาพตามที่ศาสนาสอน เวเบอร์จึงยกตัวอย่างบรรยากาศการลงทุ นของชาวโปรเตสแตนต์ที่บิดาและเพื่อนๆ

57

กระทำกันอยู่ว่า เป็นทุนนิยมที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุดควรถือเป็นแบบ อย่างได้ โปรเตสแตนต์ในขณะนัน้ แยกได้เป็น 3 กรอบวัฒนธรรม คือ กรอบของลูเธอร์ (Lutheran) กรอบของแองกลิกัน (Anglican) และกรอบของแคลวิน (Calvinist) ซึ่ง นิยมเรียกด้วยว่า The Reformed Church (คริสตจักรปฏิรปู แล้ว) ซึง่ เป็นกรอบทีเ่ วเบอร์ สังกัด คริ ส ตจั ก รลู เ ธอแรนถื อ คติ ชี วิ ต ว่ า ศรั ทธาต่อการไถ่บาปของพระเยซูเท่านั้น (By Faith Alone) ก็พอแล้ว สมาชิกจึงไม่รู้ จะค้าขายให้ร่ำรวยไปทำไม พระเยซูกล่าว กำชับไว้ด้วยว่า ยิ่งรวยยิ่งขึ้นสวรรค์ยาก เวเบอร์จึงรู้สึกว่า คริสตชนกลุ่มนี้ ใจไม่ถึง พอที่จะเป็นนายทุนบนเวทีสังคมของทุนนิยม คริสตจักรแองกลิกัน แยกตัวจาก คริสตจักรคาทอลิกก็เพียงไม่ขึ้นกับสำนัก วาติกันเท่านั้น คติชีวิตจึงเหมือนคาทอลิก คื อ ต้ อ งรั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ โ ดยเสี ย สละได้ แม้กระทัง่ ชีวติ เหมือนพระเยซู พวกนีค้ า้ ขาย ได้แต่รวยยากและแข่งขันบนเวทีทุนนิยม ไม่ได้ เพราะไม่กล้าฉวยโอกาส ไม่กล้าเอา กำไรมากๆ ดูเรื่องเวนิสวานิชเป็นตัวอย่าง


58 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ในเมืองเวนิสขณะนั้นมีเศรษฐีคาทอลิกไม่ น้อย แต่ ไม่มี ใครยอมให้บัสสานิ โยกู้เงิน เพราะไม่กล้าคิดดอกเบีย้ เมือ่ ไม่ได้ดอกเบีย้ ให้คุ้มกับการเสี่ยง ก็เลยไม่ให้กู้เสียดีกว่า บัสสานิโยก็เลยต้องขอกู้จากไชล้อกซึ่งเป็น ยิ ว ฉวยโอกาสคิ ด ดอกเบี้ ย ตามใจชอบ บัสสานิ โยคาทอลิกก็เลยต้องตกเป็นเหยื่อ ความโหดร้ายของนายทุนยิวเกือบเอาชีวิต ไม่รอด โดยที่ชาวคาทอลิกเกลื่อนกรุงเวนิส ไม่มีใครคิดจะช่วยเหลือ นอกจากนางสาว ปอร์เชียคู่หมั้นเพียงคนเดียว ทั้งคาทอลิก และแองกลิกันจึงอยู่นอกสเป๊กของเวเบอร์ สำหรับทำหน้าที่นายทุนในอุดมคติ ก็คงมีแต่โปรเตสแตนต์แห่งคริสตจักรปฏิรูปหรือแคลวีนิสต์เท่านั้นที่พอจะ หวังพึ่งได้ เพราะคริสตจักรนี้เน้นให้สมาชิก แต่ละคนเดินตามกระแสเรียก (Vocation) ทีพ่ ระเจ้าประทานไว้ให้ในชีวติ แต่ละคนอย่าง เต็ ม ที่ ศรั ท ธาอย่ า งเดี ย วไม่ พ อต้ อ งทำ กิ จ กรรมตามที่ พ ระเป็ น เจ้ า ได้ ก ำหนด บทบาทไว้ให้ ดังนั้นคริสตชนคนใดที่มีทุน และมีความสามารถเป็นนายทุน ต้องใช้ทั้ งความสามารถและโอกาสเพื่อสร้างผลงาน ให้เต็มที่ นั่นคือ ต้องใช้ยุทธวิธีทุกอย่างที่ วงการธุ ร กิ จใช้ กั น ให้ ป ระสบความสำเร็ จ และได้กำไรให้เต็มที่ จะได้มี โอกาสขยาย

ธุรกิจออกไปเป็นการกันที่ไว้มิให้คนเลวเข้า มาใช้เวทีอย่างไม่เหมาะสม เมื่อมีโอกาสได้ กำไรเท่าไรก็ต้องรับไว้ให้เต็มที่ เพื่อมีทุน ขยายกิ จ การ มี ส่ ว นแบ่ ง ช่ ว ยขยายงาน คริสตจักร และมีส่วนแบ่งช่วยบรรเทาทุกข์ ผู้เดือดร้อน อย่างกรณีของบัสสานิ โยใน เรื่องเวนิสวานิช อย่างไรก็ตามนายทุนแคล วีนิสต์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างไม่ด้อยหรือ เสียเปรียบนายทุนอื่นๆ เช่นนี้ ย่อมจะต้อง มีความแตกต่างจากนายทุนอื่นๆ ตรงที่เขา มีคุณภาพชีวิตสูงกว่านายทุนคนอื่นๆ เนื่อง จากเขานั บ ถื อ ศาสนาและปฏิ บั ติ ต นตาม อุดมคติของศาสนาเขาได้กำไรมามากๆก็เพือ่ สนับสนุนกิจกรรมแห่งคุณธรรมทั้งหลาย เขามีเงินมากเพื่อมี โอกาสขยายงานและ สงเคราะห์ ได้มาก ส่วนตัวเขาเองนั้นเขาใช้ เงินอย่างประหยัด ตามอุดมคติที่พระเยซู ได้วางไว้ว่า “เป็นคนยากจนฝ่ายจิตใจ” เขา ประพฤติอย่างคนมีจริยธรรมตามศีลธรรม ทุกข้อของศาสนา นายทุนอย่างนี้แหละที่ เป็นผู้จรรโลงโลก เป็นผู้ค้ำจุนสังคม เป็นผู้ แก้ปัญหาสังคม และเป็นที่พึ่งของผู้ด้อย โอกาสทั้งหลาย สรุป เศรษฐกิจแบบนีแ้ หละทีต่ อ่ มา สำนัก แฟรงค์เฝิร์ทแห่งสังคมวิทยา ณ มหา-


แมกซ์ เวเบอร์ กับทุนนิยมหลังนวยุค

วิทยาลัยแฟรงค์เฝิร์ท (The Frankfurt School of Sociology of Frankfurt Uni.. versity) อันมีแฮบเบอร์เมิส (Jurgen Habermas 1929 -) เป็นผู้นำทางความคิด จะเอาไปเป็นแม่แบบสร้างระเบียบสังคม ใหม่ ให้ผู้ด้อยโอกาสทั้งหลายได้รับความ ดู แ ลจากนายทุ น ทุ ก คน โดยให้ นายทุ น ทั้ ง หลายยอมเสี ย สละด้ ว ยความเต็ ม ใจ

59

อย่างเดียวกับผู้นับถือศาสนา หมายความ ว่า ผู้นับถือศาสนาก็ให้เสียสละด้วยศรัทธา ต่อไป สำหรับนายทุนอื่นๆจะต้องพยายาม หาอะไรอื่ น มาจู ง ใจได้ เ หมื อ นศาสนาแต่ ไม่ใช่ศาสนา เวเบอร์บอกว่าไม่มี แต่สำนัก แฟรงเฝิร์ทยืนยันว่าต้องมีและต้องหาให้ ได้ จะได้เอาสิ่งนั้นมาแทนศาสนา

Craig, Edward. Routledge Encyclopedia of Philosophy. London: Routledge, 1998. Borchert, Donald M. Encyclopedia of Philosophy. 2nd ed. London: Macmillan, 2006. Weber, Max. The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism. New York: Charles Scribner’s Sons, 1958. Weber, Max. The Methodology of the Social Science. New York: Free Press, 1949. Weber, Max. The Economy and Society. Berkeley, CA: University of California Press, 1978.


60 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

หมวดปรัชญา

บทเรียน จากวิกฤตทุนนิยม

´Ã.ÊØÀÒÇ´Õ ¹ÑÁ¤³ÔÊó

บทนำ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านยังคงจำกัน ได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2540 นั้น ได้เกิดวิกฤต เศรษฐกิจขึ้นในเมืองไทย หรือ ที่พวกเรา เรียกกันว่า วิกฤตต้มยำกุง้ ซึง่ วิกฤตดังกล่าว นี้ เป็นผลมาจากภาวะที่นักเศรษศาสตร์ ขนานนามว่า ภาวะฟองสบู่ (Bubble) โดย ทั่วไปแล้วภาวะฟองสบู่ หมายถึง ภาวะ ที่ราคาสินค้าปรับตัวขึ้นไปสูงมาก จนไร้ เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ ทีเ่ ราคุน้ เคยกันดี ก็ได้แก่ ฟองสบู่ในตลาดหุ้น หรือในตลาด อสังหาริมทรัพย์ สำหรับ วิกฤตต้มยำกุ้งที่ เกิ ด ขึ้ น ในประเทศไทยนั้ น เกิ ด จากภาวะ

ฟองสบูจากการเก็ ่ งกำไร ในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นไทยที่แตกตัวลง หลัง จากที่ นั ก เลงทุ น ต่ า งชาติ ไ ม่ มี ค วามเชื่ อ มั่ น ต่ อ ความสามารถในการชำระหนี้ ต่ า ง ประเทศของประเทศไทยและความไม่เชื่อ มั่นดังกล่าวนี้ ได้นำมาสู่การไหลออกของ เงินทุน ทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้าน จั ด สรร อุ ต สาหกรรมผลิ ต วั ส ดุ ก่ อ สร้ า ง สถาบันการเงิน การธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์ การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรงจนหลาย แห่งต้องปดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน นักธุรกิจหลายคนฆ่าครอบครัวของตนเอง

อาจารย์ประจำคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร


บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม

แล้วฆ่าตัวตายตาม วิกฤตเศรษฐกิจนี้ยัง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด วิ ก ฤตเศรษฐกิ จในประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลย์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟลิปปนส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ มากบ้าง น้อยบ้าง และเมื่อไม่นานมานี้เองในปี พ.ศ. 2551 ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ขึ้นอีก โดยจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ ม -Subprime) ในประเทศสหรั ฐ อเมริกา ที่ได้แผ่ขยายลุกลามไปยังสินเชื่อ อื่ น ๆและส่ ง ผลกระทบต่ อ ฐานะในการ ดำเนินงานของสถาบันการเงิน จนกระทั่ง นำมาสู่ ก ารขาดความเชื่ อ มั่ น ต่ อ สถาบั น การเงิน รวมทั้งปัญหา สภาพคล่องในระบบ การเงินทั่วโลก การดิ่งลงของดัชนีหุ้นไทย และการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นก็ล้วนเป็น ผลมาจากการที่นักลงทุนต่างชาติพยายาม ทีจ่ ะขายสินทรัพย์ของตน เพือ่ ทีจ่ ะหาสภาพ คล่องในรูปเงินดอลลาร์ฯ ปรากฏการณ์ที่ ได้กล่าวมานี้ก็ ได้เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นอื่นๆ เช่นเดียวกัน จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งก่อน หน้าวิกฤตต้มยำกุง้ ปีพ.ศ.2540 และวิกฤต เศรษฐกิจโลก ปี พ.ศ. 2551 ดังที่ได้ ยกตัวอย่างมาแล้วนั้น ทำให้ผู้สันทัดกรณี

61

หลายฝ่าย ได้ตั้งข้อสังเกตกันว่า ระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น ยังคงเป็นระบบ เศรษฐกิจทีเ่ หมาะสมและเป็นทีพ่ งึ ปรารถนา ของสั ง คมปั จ จุ บั น รวมถึ ง สั ง คมไทยด้ ว ย หรื อ ไม่ ในการหาคำตอบจากประเด็ น ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนคิดว่าเราควรจะเริ่มต้นที่ การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจ ระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นอันดับแรก ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalistic Economic or Capitalism) ระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย มหรื อ บางแห่งเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (Free Enterprise Economic System) หรือระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economic System) ซึ่งปรัชญาพื้นฐานที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ แนวความคิ ด ของเศรษฐกิ จ ระบบนี้มาจาก อาดัม สมิธ (Adam Smith) ผู้ ซึ่ ง เป็ น บิ ด าของเศรษฐศาสตร์ ร ะบบนี้ เขาได้วางหลักการไว้ว่า หากไม่มีการเข้าไป แทรกแซงในแบบแผนทีเ่ ชือ่ แล้ว พฤติกรรม การแข่งขันของมนุษย์จะทำให้เกิดการจัดสรร ทรัพยากรทีเ่ ป็นประโยชน์แก่ทกุ คนในสังคม ความพยายามของปัจเจก ชนในสิ่งซึ่งจะให้ ประโยชน์ แ ก่ ต นเอง จะนำผลประโยชน์ สูงสุดมาสู่สังคมโดยรวมและนำมาสู่บุคคล อื่นๆด้วยเช่นกัน


62 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ลักษณะหรือกลไกในการทำงานของระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ 1. กรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นั้ น ทุ ก คนมี สิ ท ธิ์ เ ป็ น เจ้ า ของทรั พ ย์ สิ น ต่างๆตามกฎหมาย บุคคลที่มีกรรมสิทธิ์ หรื อ เป็ น เจ้ า ของทรั พ ย์ สิ น ใดย่ อ มมี สิ ท ธิ และเสรีภาพที่จะใช้หรือแจกจ่ายทรัพย์นั้น ไปในลักษณะใดๆก็ได้ ตราบใดทีก่ ารกระทำ นั้ น ไม่ ขั ด ต่ อ กฎหมายหรื อ ระเบี ย บแบบ แผน ตลอดจนศีลธรรมอันดี หรือกระทบ ถึงบุคคลอื่น การมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน ของเอกชนย่ อ มส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค คลนั้ น ๆมี แรงจูงใจที่จะลงทุน เพื่อพัฒนาทรัพยากร ที่ตนมีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และก็ จ ะส่ ง ผลให้ เ กิ ด แก่ ผู้ อื่ น ไปด้ ว ยใน

เวลาเดียวกัน เช่น ถ้าชาวนามีที่ดินเป็น กรรมสิทธิ์ของตนเอง ชาวนาผู้นั้นย่อมจะ พยายามที่จะปรับปรุงที่ดินผืนนั้น เพื่อให้ มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีผลทำให้ ได้ผลิต ผลเพิม่ ขึน้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าชาวนาผูน้ นั้ ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คือ ที่ดินนั้น เขา เช่ามาจากบุคคลอืน่ เขาอาจคิดว่า การปรับ ปรุงที่ดินเพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์อาจได้ รับผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุน และยัง ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนว่า เจ้าของที่ ดินอาจยกเลิกสัญญาเช่าก่อนที่จะได้รับผล ตอบแทนจากการปรับปรุงที่ดินนั้น ดังนั้น ชาวนาผู้น้นั จึงไม่คิดที่จะลงทุนเพื่อปรับปรุง ที่ดิน ผลก็คือ ผลิตผลที่ได้รับก็จะลดลง 2. เสรีภาพ การประกอบอาชีพหรือการเลือก ประกอบกิจการต่างๆ มักกระทำโดยเอกชน (Private Enterprise) ยกเว้น ธุรกิจบาง ประเภทที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สวั ส ดิ ก ารของ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการ สาธารณูปโภค ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจ แบบนี้ ประชาชนจึงมีเสรีภาพอย่างกว้าง ขวางในการประกอบอาชีพ หรือเลือกอาชีพ ตามความถนัด เพื่อที่จะให้ผลตอบแทนแก่ ตนมากที่สุด


บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม

3. การดำเนินการ กลไกราคา (Price Mechanism) หรือ ระบบตลาด (Market System) จะเป็น ตัวควบคุมให้การดำเนินการทุกส่วนของ ระบบเศรษฐกิจเป็นไปโดยถูกต้อง หรือก่อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพหรื อ ความต้ อ งการ ของคนส่ ว นใหญ่ กลไกราคาจะเป็ น ตั ว กำหนดว่าควรจะผลิตสินค้าอะไร โดยอาศัย หลั ก ความจริ ง ว่ า ถ้ า สิ น ค้ า ชนิ ดใดมี ค น ต้องการมากที่สุด เมื่อผลิตแล้วจะขายได้ และได้ราคาดีที่สุด ผู้ผลิตก็จะเลือกผลิต สิ น ค้ า ชนิ ด นั้ น ส่ ว นที่ จ ะเลื อ กผลิ ต ด้ ว ย กรรมวิธี ใด กลไกราคาก็จะเป็นตัวช่วยใน การตัดสินใจ โดยถือหลักว่าวิธี ใดที่ผลิต แล้วเสียต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ก็ควรจะ เลือกใช้กรรมวิธนี นั้ และการทีจ่ ะตัดสินใจว่า เมื่ อ ผลิ ต สิ น ค้า และบริการแล้วจะขายให้ แก่ผู้ใด กลไกราคาก็เป็นตัวกำหนดอีกว่าผู้ ที่ ใ ห้ ร าคาดี ที่ สุ ดในหมู่ ผู้ บ ริ โ ภคก็ ค วรจะ ได้รับสินค้านั้น กลไกราคายังช่วยให้การ จัดสรรทรัพยากรเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ

63

เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีการผลิตมากเกิน ความต้องการของตลาด ทำให้ขายไม่หมด ผู้ขายก็ต้องลดราคา ทำให้ขาดทุน ผู้ผลิต บางราย อาจต้องลดปริมาณการผลิตหรือ เลิ ก การผลิ ต ทำให้ ท รั พ ยากรที่ เ คยใช้ สามารถได้รับการจัดสรรให้ ไปผลิตสินค้า อืน่ ทีย่ งั มีคนต้องการมาก หรือใช้ผลิตสินค้า โดยผู้ ผ ลิ ต ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดี ก ว่ า ทำให้ ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าเมื่อใดสินค้าเกิดขาดตลาด ราคาของ สินค้านัน้ จะสูงขึน้ ทำให้มผี ผู้ ลิตสินค้าเพิม่ ขึน้ เนื่องจากราคาสูงขึ้น ซึ่งในที่สุดก็จะขจัด ความขาดแคลนนั้น 4. การแขงขัน ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม การแข่งขันถือเป็นปัจจัยสำคัญของระบบ ในการที่ จ ะป้ อ งกั น การแสวงหากำไรเกิ น ควร เนื่องจากทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่จะเข้า หรือออกจากระบบเศรษฐกิจ ดังนัน้ ถ้าเมือ่ ใดที่ มี ผู้ ผ ลิ ต รายใดหรื อ กลุ่ ม ใดคิ ด จะผู ก ขาดหรือรวมตัวกันขึ้นราคาสินค้าเพื่อหวัง กำไรเกินปกติ ผู้ผลิตรายใหม่ก็จะเข้ามาตั้ง กิจการเพือ่ ผลิตแข่งขัน เพราะเห็นว่า สินค้า นัน้ ขายได้ราคาดี ผลทีส่ ดุ เมือ่ จำนวนผูผ้ ลิต ของสิ น ค้ า นั้ น มี ม ากขึ้ น ปริ ม าณสิ น ค้ า ที่ เสนอขายในตลาดก็มีมากขึ้น จึงเกิดการ


64 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

แข่งกันขาย แข่งกันลดราคา ด้วยเหตุนี้ แทนที่ราคาสินค้าจะสูงขึ้นก็กลับลดลง แ ละแทนที่ผู้ผลิตจะได้กำไร ก็อาจจะต้อง ขาดทุนหรือได้กำไรน้อยลง ซึ่งเหตุการณ์ เช่ น นี้ อ าจไม่ เ กิ ด ขึ้ น ถ้ า ไม่ มี ก ารแข่ ง ขั น ระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายในระบบเศรษฐกิจ แบบอื่น 5. บทบาทของรัฐบาล ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาลจะมิ ได้เข้ามาควบคุมกิจการต่างๆ มากนัก รัฐบาลจะมีหน้าที่ 3 ประการคือ 5.1 ป้องกันประเทศจากการรุก รานภายนอก 5.2 รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม 5.3 สร้างและรักษางานสาธารณะ และสถาบันสาธารณะบางอย่างซึ่งปัจเจกชนหรือกลุ่มคน ไม่สามารถจะจัดให้มี ได้ เนื่องจากไม่มีกำไรพอ (ชูศรี มณีพฤกษ์, 2534:59-61) จากลั ก ษณะที่ ส ำคั ญ ของระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมดังที่กล่าวมาข้างต้น นี้จะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นั้ น จะมี แ บบแผนการคิ ด ที่ มี ลั ก ษณะเด่ น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้คือ 1. ได้มีการยอมรับว่าคนเศรษฐกิจ (The Economic Man) นั้นเป็นคนมีเหตุผล

(Rational Man) และจากรากฐานของความ มี เ หตุ ผ ลนี้ คนเศรษฐกิ จ จะเลื อ กวิ ธี ก าร (Means) ที่ดีที่สุด เพื่อให้ ได้ซึ่งจุดหมาย (Ends) คนเศรษฐกิจจะเป็นคนทีแ่ สวงหาให้ ได้มากที่สุด (Maximizer) และจากฐาน อันนี้เอง อาจสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คนเศรษฐกิจเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ตัว เอง (Self-Interest) และจากความเห็นแก่ ผลประโยชน์ของตัวเองนี้เองก็จะเป็นพลัง ผลั ก ดั น หรื อ แรงดลใจ (Motive) ให้ แ ก่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบชุมชน หรือ สังคมขนาดต่างๆ 2. ระบบตลาดและสัญญาณราคา เป็นจักรกลในการจัดสรรทรัพยากรและการ กระจายผลผลิ ต โดยอิ ท ธิ พ ลของการ แข่งขันและโดยพื้นฐานของความเป็นคน เศรษฐกิจที่มีเหตุผล ประสิทธิภาพของกา รใช้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจจะเกิดขึ้น และระบบตลาดจะมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะ สมดุลตลอดเวลา


บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม

3. บทบาทของรัฐบาลในฐานะเป็น ตัวจักรกล กำหนดการใช้ทรัพยากรในระบบ เศรษฐกิจเป็นรองจากระบบตลาดและสัญญาณราคา และเกิดขึ้นเฉพาะในสภาวะที่ พิ สู จ น์ แ ล้ ว ว่ า ระบบตลาดประสบความ ล้มเหลวในการจัดสรรทรัพยากรของระบบ เศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการ ผลิตสินค้าน้อยไป มากไป หรือไม่มีการ ผลิตเลย ทำให้เกิดมีการว่างงานโดยไม่สมัคร ใจ และทำให้ระบบเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพ 4. การค้าแบบเสรีและการแข่งขัน กันอย่างเต็มที่ (โดยที่รัฐบาลมีบทบาทเท่า ที่จำเป็น) เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนและจรรโลงให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ (ไกรยุทธ ธีรตยานันท์, 2532:134-135) จากแนวคิดดังกล่าวมานี้ จะเห็นได้ ว่ า ระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย มนี้ จะมี จุดหมายหลักอยูท่ ค่ี วามมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ และให้ความสำคัญแก่ตลาดเสรี โดยปล่อย ให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจได้อย่าง เต็มที่ โดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจและมีระบบ ตลาดเป็นเครื่องมือในการกระจายผลผลิต ตลาดสมบูรณ์ : สถานการณ์อุดมคติ ใน ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การแข่งขัน ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้นจะช่วย

65

ให้ เ กิ ด การจั ด สรรทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ อ ย่ า ง จำกัดนั้นให้มีประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุด โดยมีกลไกราคาและการทำงานของระบบ ตลาดเป็นตัวควบคุม ซึ่งตามทฤษฎีของ อดัม สมิธ นั้น กลไกราคา (Price Mechanism) หรือ “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand) จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิ ท ธิ ภ าพที่ สุ ด ก็ ต่ อ เมื่ อ อยู่ ภ ายใต้ ส ถานการณ์ที่เรียกว่า “ตลาดสมบูรณ์” (Perfect Market) และสถานการณ์ ข อง “ตลาด สมบูรณ์” จะมีอยู่ได้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 5 ประการดังนี้คือ 1. ผู้ซื้อผู้ขายมีจำนวนมาก (Large Number of Buyers and Sellers) โดยที่ การซื้อขายสินค้าแต่ละรายมีจำนวนเล็ก น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนซื้อขายของ ทัง้ อุตสาหกรรมหรือทัง้ ตลาด ด้วยเหตุนเี้ อง การเปลี่ยนแปลงระดับของการซื้อขายของ ผู้ซื้อและผู้ขายรายใดรายหนึ่ง จึงไม่กระทบ กระเทือนราคาตลาดแต่อย่างใด 2. สินค้าและบริการมีลกั ษณะเหมือน กันทุกประการ (Homogeneous Product) คื อ มี ลั ก ษณะคุ ณ ภาพมาตรฐานใกล้ เ คี ย กัน หมายความว่า สินค้าอย่างเดียวกันของ ผู้ขายแต่ละรายจะต้องไม่แตกต่างกันในแง่ ของสินค้าหรือตัวผู้ขาย เช่น ข้าว ไม่ว่าจะ


66 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ซื้อจากที่ไหนจะไม่แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้ผู้ ขายหรือปัจจัยอื่นๆเข้ามามีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของผู้ซื้อ 3. ผู้ ซื้ อ ผู้ ข ายมี ค วามรู้ เ รื่ อ งราคา ตลาดเป็นอย่างดี (Perfect Knowledge) กล่าวคือ ผู้ซื้อทุกคนและผู้ขาย (ผู้ผลิต) ทุ ก คนรู้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ สถานการณ์ ข อง ตลาดอย่างสมบูรณ์ ใม่ว่าจะเป็นเรื่องราคา คุณภาพฯลฯ ของสินค้า วัตถุดิบ ฯลฯ 4. การเข้าหรือออกจากกิจการเป็น ไปได้อย่างเสรี (Free Exit and Free Entry) ถ้าธุรกิจใดมีกำไรสูง ผูผ้ ลิตรายใหม่กม็ สี ทิ ธิ์ จะเข้ามาดำเนินการผลิตแข่งขันเมื่อใดก็ได้ โดยเสรี ป ราศจากการกี ด ขวางและขณะ เดียวกัน ถ้าขาดทุน ผู้ผลิตก็สามารถออก จากกิจการนั้นหรือเลิกล้มไป 5. สินค้าสามารถโยกย้ายได้เต็มที่ (Free Mobility) หมายความว่า สินค้า สามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆได้อย่าง เสรี สะดวก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก จนกระทบกระเทือนต่อราคาสินค้า เป็นต้น (Todaro, 1977:16-17) เงื่อนไข ทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมานี้ ใน สถานการณ์จริงมักจะมีไม่ครบ นั่นคือ เป็น การยากหรื อ แทบจะเป็ น ไปไม่ ไ ด้ ที่ จ ะมี สถานการณ์แบบ “ตลาดสมบูรณ์” หรือ

“การแข่งขันแบบสมบูรณ์” (Perfect Competition) ในโลก แต่สถานการณ์นี้ก็ถือว่า เป็นสถานการณ์อุดมคติ ในระบบการแข่ง ขันเสรี ถ้าประเทศใดหรือสังคมใด สามารถ เข้าใกล้สถานการณ์นี้มากที่สุด ก็จะยังผล ให้เกิดประสิทธิภาพขึ้น (Efficiency) โดยที่ ผู้ผลิตใดก็ตามที่ ใช้ต้นทุนการผลิตสูงกว่า ผู้อื่น ก็จะต้องเลิกกิจการไป และผู้ผลิตใด ทีส่ ามารถอยูร่ อดได้ ก็จะสามารถทำกำไรได้ พอสมควรและไม่ ม ากเกิ นไป เหมื อ นใน สังคมที่มีการผูกขาด ผลที่ตามมาในสังคม ก็คือ จะมีการแจกจ่ายทรัพยากร (Allocation of Resources) อย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่เปนจริงในระบบทุนนิยม จากการศึ ก ษาทฤษฎี เ ศรษฐกิ จ ระบบทุนนิยมของ อดัม สมิธ จะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนัน้ เป็นระบบที่ ให้เกียรติกับความเป็นบุคคลและอิสรภาพ ในการตัดสินใจของทุกฝ่าย ทั้งนี้ก็เพราะว่า


บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม

ทั้งผู้บริ โภคและผู้ผลิตจะเข้าร่วมกิจกรรม การแลกเปลี่ ย นโดยความสมั ค รใจ โดย ไม่มีรัฐเข้ามาควบคุมว่าจะต้องผลิตอะไร จำนวนเท่าไร ขายในราคาเท่าไร ขายให้ใคร ใครซื้อได้ และใครซื้อไม่ได้ฯลฯ นอกจากนี้ กฎการตลาดที่เกี่ยวกับอุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) จะเป็นหลักประกัน ได้วา่ ในการแสวงหากำไร ผูผ้ ลิตจะพยายาม ผลิตสินค้าและบริการซึง่ คนในตลาดต้องการ แต่ในทางปฏิบัติเราจะพบว่า ถ้าผู้ซื้อหรือ ผูข้ าย คาดหมายว่า ราคาจะสูงขึน้ ในอนาคต อันใกล้ การคาดหมายนั้นย่อมเปลี่ยนความ เต็มใจของผู้ซื้อหรือผู้ขาย ในปริมาณที่ต่าง ออกไปจากจุดสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ตามที่ทฤษฎี ได้อธิบายไว้ เราได้พบกรณี เช่ น นี้ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว ในสภาพความเป็ น จริ ง ที่เกิดขึ้นในตลาดซื้อขายเงินตรา หุ้น และ สินค้าโภคภัณฑ์ และก็เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประเภททีม่ กี ารพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็วด้วย การทีร่ าคาสินค้าสามารถถูกกำหนด โดยปัจจัยการเก็งกำไรของผู้ลงทุนนั้น เป็น เครื่องพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทฤษฎีดุลยภาพ ของอุ ป สงค์ แ ละอุ ป ทานนั้ น ไม่ ส มบู ร ณ์ เพียงพอที่จะอธิบายความเป็นจริงของการ ตัดสินใจทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ได้

67

สมมติฐานที่ว่าถ้าปล่อยให้ทุกคนมี เสรีภาพในการดูแลผลประโยชน์ของตนเอง โดยที่รัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงหรือคอย กำกับดูแลแล้ว กลไกตลาดเสรีก็จะสามารถ ปรับตัวเองได้ ทุกคนก็จะทำในสิง่ ทีม่ เี หตุผล ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจส่วนรวม นัน้ ก็ไม่ได้เป็นความจริงในเชิงปฏิบตั ิ เพราะ การมุง่ แสวงหาประโยชน์สว่ นตัวของเอกชน ไม่ ได้นำไปสู่ดุลยภาพและความสุขความ เจริญของสังคมส่วนรวม ในทางตรงกัน ข้ า มกลั บ นำไปสู่ ก ารพั ฒ นาที่ ข าดความ สมดุล เกิดการกระจายรายได้และทรัพย์สินที่ไม่มีความเป็นธรรม เกิดภาวะการไร้ เสถียรภาพของระบบการเงิน การตลาด และระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด วิกฤต ต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ. 2540 และวิกฤต เศรษฐกิจโลก ปี พ.ศ.2551 เป็นตัวอย่างที่ยืนยัน ได้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะเกิดวิกฤตต้ม ยำกุ้ง การ บริ โภคและการลงทุนในภาคเอกชนนั้นมี ความเจริญเติบโตสูงมาก ซึ่งสาเหตุก็มา จากการไหลเข้ามาของเงินทุนต่างประเทศ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวของการลงทุน ในประเทศสู ง มาก การลงทุ น ได้ ส ร้ า ง ตำแหน่งงานให้เกิดขึน้ อย่างมากมาย พร้อม กับค่าจ้างที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การ


68 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

บริโภคของภาคเอกชนขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น การลงทุนในภาคเอกชน ในเวลานั้นก็เป็นการลงทุนเพื่อการเก็งกำไร โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เป็ น การเก็ ง กำไรใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ฟองสบู่ ในเวลานั้น และเมื่อฟองสบู่แตก รั ฐ บาลก็ พ ยายามแก้ ไขวิ ก ฤตที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย พยุงค่า เงินบาทเอาไว้ ในการพยายามพยุงค่าเงิน บาทนี้ ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ หมดคลัง จนต้องขอกู้เงินจากกองทุนการ เงินระหว่างประเทศ เป็นจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพยุงฐานะทางการ เงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้อง ยอมรั บ เงื่ อ นไขต่ า งๆที่ ก องทุ น ระหว่ า ง ประเทศกำหนดขึ้น เช่น จะต้องเพิ่มภาษี มูลค่าเพิ่ม จาก ร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 จะต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น สำหรับ วิกฤตเศรษฐกิจโลก ปี พ.ศ. 2551 ก็มีสาเหตุหลักมาจาก ภาวะฟองสบู่ แตกเช่นกันและในการแก้วิกฤตดังกล่าวนี้ ธนาคารกลางของอเมริ ก าและกระทรวง การคลังก็ต้องใช้เงิน มากกว่า 2 ล้านล้าน ดอลลาร์ เพื่อแก้ ไขปัญหาสภาพคล่อง เพื่อ ให้ระบบอยู่ได้

จะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกตลาด และ ความโลภของมนุษ ย์นั้น ได้ส่งผลให้เกิด ปัญหาอย่างมากมาย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มันไม่ ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสถาบันการเงิน เท่านั้น แต่ทำให้เศรษฐกิจส่วนรวมมีปัญหา เป็นภาระของประชาชนผู้เสียภาษี เพราะ รัฐบาลต้องยื่นมือไปโอบอุ้มสถาบันการเงิน เมื่อสถาบันการเงินมีปัญหา ก็ ไม่สามารถ ปล่อยเงินกู้ ได้ การผลิต การลงทุน และ การบริโภค ก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ปัญหาการว่างงานก็เกิดขึ้นตามมา ผู้ สั น ทั ด กรณี ต่ า งลงความเห็ น ว่ า การที่รัฐบาลและกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ เข้าไปอุ้มธนาคารและสถาบันการ เงินนั้น เป็นการคิดในกรอบของการพัฒนา แบบทุนนิยมที่อาจจะสามารถช่วยบรรเทา ปั ญ หาธนาคารขาดสภาพคล่ อ งและ เศรษฐกิจถดถอยได้ชั่วคราวเท่านั้น แต่ไม่ สามารถแก้ ไขปํญหาที่รากเหง้าได้อย่างแท้ จริง หลายฝ่ายเริ่มมองเห็นแล้วว่าระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ ไร้การกำกับดูแล อาจจะไม่ ใช่ความปรารถนาของสังคมอีก ต่อไปแล้ว ดังนัน้ คำถามทีส่ ามารถถามต่อไป ก็คือ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ระบบเศรษฐกิจแบบ ใดที่เป็นที่ปรารถนาของสังคม


บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม

ความมั่งคั่งกับความสุข เมื่อไม่นานมานี้เอง นิตยสารฟอร์บส์ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านบทความ ออนไลน์ โ ดยถามว่ า ยอดปรารถนาของ เรานั้นคืออะไร ผลสำรวจออกมาว่า คน อยากรวยมีน้อยกว่า คนอยากมีความสุข คนอยากรวยมีเพียง 20% ส่วนคนอยากมี ความสุขมีเกินกว่า 40% ส่วนคนอยากมี ชื่อเสียงมีเพียง 4-5% เท่านั้น นอกจากนี้ ยั ง ได้ มี ก ารจั ด อั น ดั บ ประเทศที่ มี ค วามสุ ข ที่ สุ ด ในโลกผลที่ ออกมาในช่วงสอง สามปี หลังนี้ พบว่า ประเทศที่ ป ระชาชนส่ ว นใหญ่ มี ค วามสุ ข นั้ น จะมิ ใ ช่ เ ป็ น ประเทศใหญ่ ๆ ที่ มี ค วาม เจริญทางเศรษฐกิจสูง อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น แต่กลับเป็น ประเทศที่มีขนาดเล็ก อย่างเช่น ประเทศ คอสตาริกา (Costa Rica) ซึ่งเป็นประเทศ

69

เล็ ก ๆที่ อ ยู่ ใ นแถบอเมริ ก ากลาง ซึ่ ง เป็ น ประเทศที่ มี สิ่ ง แวดล้ อ มที่ ส ะอาดที่ สุ ดใน โลก และเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่า มีการใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรต่อโลกด้วย จากผลสำรวจความคิดเห็นของคน ในสังคมและผลของการจัดอันดับประเทศ ที่มีความสุขมากที่สุดในโลกนี้เป็นสิ่งที่ช่วย ทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การ พั ฒ นาที่ มุ่ ง แต่ เ ฉพาะความเจริ ญ เติ บ โต ทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมให้เกิดการ แข่ ง ขั น กั น หาเงิ น แบบตั ว ใครตั ว มั น นั้ น ทำให้ ค นมี ค วามพอใจและความสุ ข ใน ระยะสั้น และมีความเครียด ความเบื่อ หน่ายและความทุกข์มากขึ้น ผู้คนมีความ เห็นแก่ตัวมากขึ้นมีการเอารัดเอาเปรียบ มากขึ้น ทำให้ชุมชนอ่อนแอลง สังคมเกิด ความขัดแย้งมากขึ้น และเกิดปัญหาทางจิต มากขึ้น ระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย มที่ มุ่ ง เน้ น แต่ เ พี ย งผลตอบแทนของการลงทุ น และการสร้างกำไรสูงสุด ทำให้นักลงทุน ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ชุมชน และสิ่ ง แวดล้ อ ม จึ งได้ ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หา มลพิษ จากโรงงานอุตสาหกรรม โดยการ ปล่อยน้ำเสีย สารเคมี สารระเหยอันตราย ออกสู่ภายนอก หรือบริเวณใกล้เคียง โดย


70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ขาดการลงทุ น ด้ า นการบำบั ด ก่ อ นการ ปล่อยออกสู่ภายนอก การมุ่งเน้นแต่การตอบสนอง การ บริโภคอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้มนุษย์ทำร้าย ธรรมชาติ ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกอัน เนื่องมาจากการปล่อยอากาศพิษ แก๊สพิษ ขึ้นสู่บรรยากาศ ทำให้ชั้นของบรรยากาศ ถูกทำลาย ก่อให้เกิดผลกระทบให้ฤดูกาล เปลี่ยนแปลง กระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็น ในมหาสมุทรเปลี่ยนทิศทาง ก่อให้เกิดลม พายุอย่างรุนแรงและบ้าคลัง่ ทำลายสิง่ ของ ชีวิตทั้งคนและสัตว์ที่อยู่ในรัศมีของพายุนั้น เมื่อสภาพสมดุลของธรรมชาติถูกทำลาย ลง ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขา ไฟระเบิด ลมพายุก็จะเกิดบ่อยขึ้นและมี ความรุนแรงมากขึน้ ดังทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ ไม่นาน นี้ ทั้งในประเทศไทยและในประเทศเพื่อน บ้ า นของเรา เช่ น ประเทศนิ ว ซี แ ลนด์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเป็นจำนวนมากต้องได้รับความทุกข์ ยากลำบากจนถึงทุกวันนี้ ระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย มนั้ น มี จุดหมายหลักอยูท่ ค่ี วามมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ และให้ความสำคัญแก่ตลาดเสรี โดยปล่อย ให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจได้อย่าง เต็มที่ โดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจและมีระบบ

ตลาดเป็นเครื่องมือในการกระจายผลผลิต การเน้นให้ทุกคนพยายามแสวงหากำไรสูง สุดให้แก่ตนเองให้ ได้มากที่สุดนั้นได้ส่งผล ให้คนในสังคมระบบทุนนิยม ละเลยต่อการ คิดคำนึงถึงคุณค่าในด้านอื่นๆของชีวิตและ สั ง คมซึ่ ง เป็ น คุ ณ ค่ า ที่ ส ำคั ญ และมี ค วาม จำเป็นและเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และทำให้สังคมพัฒนาได้อย่างยั่งยืน มาก กว่าคุณค่าในการแสวงหากำไรของเอกชน แต่ละคน ถึงแม้ว่าจะช้าไปแล้วแต่ก็คงจะ ยั งไม่ ส ายเกิ นไปที่ ค นในสั ง คมจะเปลี่ ย น กรอบวิธีคิดจากการพัฒนาที่เน้นผลผลิต สูงสุด และกำไรสูงสุด มาเป็นการพัฒนา เพือ่ คุณภาพชีวติ ทีด่ งี ามและเพือ่ การอนุรกั ษ์ สิ่งแวดล้อมอันจะนำมาซึ่งความสุขที่ยั่งยืน อย่างแท้จริง บทสรุป หากเรามองย้ อ นไปในอดี ต เมื่ อ หลายสิบปีก่อน เราคงจะยังจำกันได้ว่า มี ผู้นำประเทศของเราหลายท่านได้พยายาม นำประเทศไทยเพื่ อ ไปสู่ ค วามเป็ น เลิ ศ ทางด้านอุตสาหกรรมเหมือนกับประเทศ ที่พัฒนาแล้ว โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หลายฉบับได้มุ่งเน้นไป ที่การพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยลื ม นึ ก ถึ ง ศั ก ยภาพและจุ ด เด่ น ของ


บทเรียนจากวิกฤตทุนนิยม

ประเทศไทยว่า ลักษณะภูมิประเทศของเรา นั้นมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะที่จะทำ การเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรม ใน ขณะที่ ป ระเทศที่ เ ราพยายามที่ จ ะเป็ น เหมื อ นอย่ า งเขานั้ น มี ส ภาพภู มิ ศ าสตร์ ที่ ต่างจากประเทศไทย เช่น ประเทศแถบยุโรป มีอากาศค่อนข้างหนาวถึงหนาวมาก ไม่ สามารถประกอบอาชีพทางด้า นเกษตรกรรมได้ หรือถ้าทำได้แต่กม็ ขี อ้ จำกัดในด้าน ของช่วงเวลาในการเพาะปลูก ประเทศญี่ปุ่น ก็มีพื้นที่ราบน้อย เขาจึงต้องมุ่งเน้นด้าน อุตสาหกรรมเพือ่ เพิม่ รายได้เข้าประเทศและ มุ่งพัฒนา เราได้เรียนรู้แล้วว่า ระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมที่เน้น การตอบสนองความ ต้องการสูงสุดของมนุษย์นั้น ทำให้เราต้อง สูญเสียป่าไม้ แหล่งน้ำบริสุทธิ์ และที่ดิน ให้แก่นายทุน สูญเสียแรงงานภาคเกษตร เพราะคนชนบทเข้ามาขายแรงงานในภาค อุตสาหกรรม และผลทีส่ ดุ ก็เกิดปัญหาอืน่ ๆ ตามมา เช่น ปัญหาหนี้สิน การลักขโมย ชิงทรัพย์ ยาเสพติด การทารุณกรรม และ ปัญหาอื่นๆอีกมากมาย สั ง คมโลกกำลั ง เผชิ ญ กั บ สภาพ แวดล้อมที่เลวร้าย อาหารและน้ำมีสารพิษ เจื อ ปน สิ น ค้ า เกษตรที่ มี คุ ณ ภาพดี แ ละ

71

ปลอดสารพิษ จึงเป็นสิ่งที่ต้องการของทุก ประเทศ วันนี้คนไทยไม่ต้องกลัวแล้วว่าจะ มีใครมาดูถูกว่าอาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่ล้า หลังและไม่เจริญก้าวหน้า เราต้องพยายาม ส่งเสริมให้ภาคเกษตรที่แม้ว่าจะยังคงเหลือ อยู่ ไ ม่ ม ากนั ก ให้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง และมี คุณภาพมากยิ่งขึ้น พัฒนาผลผลิตต่อไร่ให้ สูงขึ้น ลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่สูญเปล่า ที่ ไม่จำเป็นและพยายามใช้ทรัพยากรที่มี อยู่ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด หั น มาพึ่ ง พา ตนเองให้ ม ากที่ สุ ด และนี่ คื อ ทางออก สำหรับสังคมไทยในยุควิกฤตทุนนิยม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่9 (พ.ศ. 2545-2549) จึง ได้อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็น ที่รักยิ่งของพวกเรา มาเป็นแนวทางในการ พั ฒ นาและบริ ห ารประเทศควบคู่ ไ ปกั บ กระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการ พัฒนา” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่10 (พ.ศ. 2550-2554) ซึ่งเป็นฉบับ ปัจจุบัน ก็ ได้เน้นการเตรียมความพร้อม ของคนและระบบให้ ส ามารถปรั บ ตั ว ให้


72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและ แสวงหาประโยชน์อย่างรูเ้ ท่าทันโลกาภิวฒ ั น์ และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระบบเศรษฐกิจที่สังคมพึงปรารถนา จึงไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วย

ความโลภที่ไม่มีวันสิ้นสุดของมนุษย์แต่เป็น ระบบเศรษฐกิ จ ที่ ส่ ง เสริ ม ให้ ค นในสั ง คม รู้จักพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด มีความเพียง พอ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เป็นระบบ เศรษฐกิจที่มีจริยธรรมคอยกำกับดูแลนั่น เอง

กอบศักดิ์ ภูตระกูล และคณะ. วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นบุ๊คส์, 2552. ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. แกนสารของเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. ชูศรี มณีพฤกษ์. ประวัติและลัทธิเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัย, 2534. Todaro, Michael P. Economic for a Developing World. London: Longman Group Limited, 1977.


73

มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

หมวดจริยธรรม

ºÒ·ËÅǧàªÔ´ªÑ àÅÔȨԵÃàÅ¢Ò M.I. สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเป็นนักเทววิทยาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง แห่งศตวรรษที่ 21 ข้อความดังกล่าวคง ไม่มีใครปฏิเสธ โดยเฉพาะอิทธิพลความคิด ของพระองค์ที่มีต่อพระศาสนจักรคาทอลิก ที่ ท รงแสดงออกมาทางพระสมณสาสน์ สมณลิขิต จดหมายเวียน และคำเทศน์ คำ 1

ปราศรัยของพระองค์ ตลอดระยะเวลาที่ ทรงดำรงเป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นเวลา 27 ปี (ค.ศ. 19782005) สำหรับผูท้ อี่ ยูใ่ นแวดวงเทววิทยาศีลธรรมหรือคริสตจริยศาสตร์ คงตระหนักถึง ความสำคั ญ หรื อ อิ ท ธิ พ ลความคิ ด ด้ า น เทววิทยาของพระองค์ นอกจากนั้น ยังเป็น

นักบวชสังกัดคณะคามิลเลียน, อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม ชื่อเดิม Karol Josef Wojtyla เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่เมือง Wadowice ห่างจากกรุง Krakow เมืองหลวงเก่าประมาณ 50 กม. เป็นบุตรคนเล็กในพี่น้อง 3 คน ในสมัยนาซียึดครองโปแลนด์ Wojtyla ต้องทำงานเป็นพนักงานในเหมืองถ่านหินเป็นเวลา 4 ปี (1940-1944) ในปี ค.ศ. 1942 มีความสนใจที่จะเป็น พระสงฆ์ที่บ้านเณรกรุง Krakow หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง Wojtyla ก็เรียนเทววิทยาจนจบ ณ Krakow เข้ารับ ศีลบวชเป็นพระสงฆ์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1946 หลังจากนั้นไม่นานถูกส่งไปศึกษาที่กรุงโรม จบปริญญาเอก เทววิทยา ณ มหาวิทยาลัย Angelicumในปี ค.ศ. 1948 วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความเชื่อในงานเขียนของนักบุญยอห์นแห่ง ไม้กางเขน (Doctrina de fide apud Sanctum Ioannem a Cruce) หลังจากประสบการณ์งานอภิบาล ในปี ค.ศ. 1951 Wojtyla ได้กลับมาศึกษาปรัชญาและเทววิทยาอีกครั้งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1953 ได้ปองกันวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ “Evaluation of the possibility of founding a Catholic ethic on the ethical system of Max Scheler” ณ มหาวิทยาลัย คาทอลิก Lublin หลังจากนั้น เป็นอาจารย์สอนเทววิทยาศีลธรรม และจริยศาสตร์ด้านสังคม ที่บ้านเณรใหญ่ที่ Krakow ในปี ค.ศ. 1964 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอัครสังฆราชแห่งเมือง Krakow และในปี ค.ศ. 1967 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระคาร์ดินัลโดยพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 และพระองค์ ได้เข้าร่วมในพระสังคายนา วาติกันที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการร่างพระสมณสาสน์ Gaudium et spes ต่อมา พระคาร์ดินัล Wojtyla ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 โดยใช้พระนามว่าพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 พระองค์สิ้นพระชมน์เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2005 เป็นผู้สืบตำแห่งจากนักบุญเปโตรลำดับที่ 263 เป็นระยะเวลา 27 ปี 1


74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

หนึ่งในบรรดาพระสันตะปาปาไม่กี่พระองค์ ที่ทรงครองราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์ ของพระศาสนจักรคาทอลิก หลังจากพิธีปลงศพพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ณ มหาวิหารนักบุญ เปโตร ที่เป็นพิธีที่จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย แต่ เป็นพิธปี ลงศพทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ เพราะจำนวน ฝูงชนทีม่ าร่วมในพิธี และบุคคลสำคัญต่างๆ ของแต่ละประเทศที่มาร่วมงาน ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2005 ประชาชนที่มาร่วมใน พิ ธี ไ ด้ เ รี ยกร้ องให้แต่งตั้งเป็นนักบุญโดย ทันที (santo subito) ซึ่งต่อมาพระสันตะปาปา เบเนติ๊กต์ที่ 16 ผู้ที่สืบทอดตำแหน่ง ประมุ ข สู ง สุ ด ต่ อ มา ได้ ท รงประกาศว่ า กระบวนการแต่งตั้งเป็นบุญราศีและนักบุญ นั้น ใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปีตามธรรมเนียม ปฏิบัติทั่วไป กาลเวลาผ่านไปจนกระทั้งระยะเวลา ได้มาถึงเมื่อ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนติ๊กต์ที่ 16 ได้ประกาศว่าพิธีแต่งตั้งสมเด็จ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เป็น บุญราศีนั้น จะมีขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร ใน วันอาทิตย์แรกหลังจากวันสมโภชปัสกา ซึ่ง เป็ น วั น แห่ ง การกลั บ คื น พระชนมชี พ ของ

พระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งสำหรับคริสตชนเป็น การนำความปิติยินดีมาสู่ชาวเราเป็นอย่าง มาก บทความนีเ้ ขียนขึน้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่ง ในการระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ในฐานะ ที่ทรงเป็นนักเทววิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิพลของความคิดที่ทรงมีต่อคริสตจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง การแต่งตั้งเป็นบุญราศีดังกล่าว ผู้เขียนไม่ สามารถนำเสนอความคิดของพระองค์ท่าน ได้อย่างครบถ้วน อันเนื่องมาจากข้อจำกัด ของความรู้และเนื้อที่ แต่ในที่นี้ผู้เขียนขอ นำเสนอความคิดพื้นฐานด้านเทววิทยาของ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เพียงบางส่วน เพื่อเป็นการจุดประกายไฟ แนวความคิดของพระองค์ทา่ น เพือ่ เป็นแรง บันดาลใจ และเป็นบันไดให้ผู้ที่สนใจศึกษา คริสตจริยศาสตร์ จะได้ ไฝ่แสวงหาความรู้ ความเข้าใจเพิ่มเติมต่อไป โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ การเข้าใจมนุษย์จากมุมมองของพระองค์ ที่สามารถใช้เป็นพื้นฐานประยุกต์ใช้สำหรับ จริยศาสตร์เรื่องชีวิต จริยศาสตร์ชีวภาพ หรือจริยศาสตร์ด้านเพศต่อไป


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

เบื้องหลังความคิดปรัชญาและเทววิทยา ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 “ไม่มี ใครเกิดมาจากผ้าขาวโดยไม่มี ภูมิหลัง” สัจพจน์ดังกล่าวเป็นจริง และไม่มี ข้อยกเว้นสำหรับ Karol Wojtyla หรือ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 เนื่องจาก ความคิดปรัชญาและเทววิทยาของพระองค์ ถูกหล่อหลอมจากปัจจัยต่างๆที่เราสามารถ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1) ปัจจัยภาย นอก (As Extra) ซึ่งได้แก่กระแสของอิทธิพล สภาพแวดล้ อ มและความคิ ด ปรั ช ญาที่ มี ผลกระทบต่อสังคมในยุโรปในศตวรรษที่ 19 และ 20 และ 2) ปัจจัยภายใน (Ad Intra) ซึ่งได้แก่การศึกษาอบรมทั้งด้านเทววิทยา และปรั ช ญาที่พระองค์ทรงได้รับ ในการ เตรียมตัวเป็นนายชุมภาบาลหรือพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง จากนั ก ปรั ช ญาพวก อัตถิภาวะและปรากฏการณ์นิยม (Existentialist-Phenomenologist) และปรัชญา อัสมาจารย์ (Thomism) และเทววิทยาของ นักบุญโทมัส อไควนัส เป็นต้น สำหรั บ อิ ท ธิ พ ลประการแรกซึ่ ง เป็ น ปัจจัยภายนอกอันได้แก่ อิทธิพลของสภาพ แวดล้อมและความคิดปรัชญาของสภาพ แวดล้ อ มในยุ โ รปที่ มี ต่ อ ความคิ ด ของ Wojtyla สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ

75

อิทธิพลด้านลบ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 เช่น แนวความคิดวัตถุนิยม (Materialism) ที่ครอบงำยุโรปในศตวรรษที่ 20 ซึ่งสามารถ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทแรก วัตถุนิยมที่มาจากความ ก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ (ModernScience and Technology) ที่ชักจูงมนุษย์ให้เชื่อว่า วิ ธี ห าความจริ ง ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ ที่ มี ก าร ทดลองเท่านั้น ที่นำไปสู่ความจริง (Truth) สิง่ ทีเ่ ป็นวัตถุเท่านัน้ ทีม่ อี ยูจ่ ริง วิทยาศาสตร์ กลายเป็นศาสตร์แห่งอุดมคติ (Science of Ieal) ในการแสวงหาความจริง มนุษย์ยกย่องวิทยาศาสตร์ที่เป็นศาสตร์ที่สามารถ สัมผัสและพิสูจน์ ได้ โดยการสร้างทฤษฎี ใหม่ๆ สิ่งที่ตามมาคือทำให้ความเชื่อที่มา จากศาสนาได้ถูกปฏิเสธ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ เช่น ศาสนาเคยสอน ว่าโลกแบนและเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในขณะที่วิทยาศาสตร์ค้นพบว่าโลกกลม


76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

และหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึง่ เป็นศูนย์กลาง ของจักรวาล วิทยาศาตร์นำเสนอทฤษฎี วิ วั ฒ นาการของสิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ เ สนอโดย Charles Dawin ที่นำเสนอว่า คนมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งเป็น การลดอิทธิพลความเชื่อของศาสนาลง ซึ่ง นำไปสูก่ ารเหยียดหยามมิตดิ า้ นจิตวิญญาณ ในมนุษย์ลง ประเภทที่สอง อิทธิพลปรัชญาวัตถุนิยมของ Marxist ที่ทำให้มนุษย์กลายเป็น ทรราชต่อมนุษ ย์ด้วยกันเอง ที่มนุษ ย์มี ไว้ เพื่อสังคม ความขัดแย้งของชนชั้นในสังคม ที่นำไปสู่การลบหลู่ศักดิ์ศรีของบุคคลการ ฆ่ า ล้ า งเผ่ า พั น ธุ์ และค่ า ยกั ก กั น เชลยที่ เกิดขึน้ นำหายนะมาสูม่ นุษยชาติ และทำให้ มนุษย์กลับกลายเป็นเครื่องมือ ที่ถูกใช้เพื่อ บรรลุวตั ถุประสงค์ของสังคม ซึง่ เป็นการลด ศักดิ์ศรีและคุณค่าของบุคคลลงมาในระดับ เดียวกับวัตถุ ประเภททีส่ าม แนวความคิดนักปฏิบตั ิ วัตถุนิยมแบบตะวันตก (Practical Materialism of the West) ที่เน้นความร่ำรวย ความสะดวกสบาย การบริโภค การกินดี อยูด่ ดี า้ นวัตถุเป็นหลัก เป็นความคิดทีท่ ำให้ มนุษย์เน้นความสำคัญของผลผลิต (Production) ประสิทธิผลของผลงาน (Effi-

ciency) เป็นหลัก เป็นการประยุกต์หลัก เศรษฐกิจเป็นกลไกลขับเคลื่อนสังคม โดย เฉพาะอย่างยิ่งกลไกของตลาด เป็นระบบ ที่ ค รอบงำสั ง คม และเป็ น ตั ว ขั บ เคลื่ อ น สังคมมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการ แข่งขันอย่างเสรีด้านการตลาด (Free Market) ในสภาพแวดล้อมของสังคมดังกล่าว ที่ทำให้ Wojtyla ปรารถนาที่จะสร้างหรือ ฟื้นฟูความคิดเกี่ยวกับมนุษ ย์จากมุมมอง คริสตชน (Christian Anthropology) ที่มี ลักษณะความเป็นบูรณาการแห่งการเข้าใจ ความเป็นบุคคล ในฐานะที่มนุษย์ผู้ที่เป็นสิ่ง สร้างของพระเจ้า ที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ (Imago Dei) และมนุ ษ ย์ เ ป็ น ผู้ ที่ ป กครองดู แ ลสิ่ ง สร้ า ง ทั้งหลายของพระเจ้า ศักดิ์ศรีและคุณค่า ของมนุษ ย์มีอยู่เพราะมนุษ ย์ถูกสร้างตาม ภาพลักษณ์ของพระเจ้า และเนือ่ งจากมนุษย์ เป็ น สิ่ ง สร้ า งที่ แ สดงถึ ง ภาพลั ก ษณ์ ข อง พระเจ้า ดังนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถถูกใช้ให้ เป็นเครื่องมือ (Means) เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อื่นได้ มนุษย์จากมุมมองคริสตชน เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเทววิทยาและ คริสตจริยศาสตร์ ต่อไป


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

นอกเหนือจากปัจจัยภายนอกที่กล่าว มาแล้ว ปัจจัยภายใน (Ad Intra) ก็มีบทบาท ที่ ส ำคั ญที่ ทำให้พระองค์พัฒนาความคิด ในการเข้าใจมนุษ ย์ตามมุมมองคริสตชน ปัจจัยภายในที่สำคัญเป็นสิ่งที่มาจากการ ศึกษาอบรมที่พระองค์ทรงได้รับทั้งในแง่ ของปรัชญาและเทววิทยา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มี อิทธิพลต่อความคิดของพระสันตะปาปา ยอห์ น ปอลที่ 2 ที่ ท ำให้ ค วามคิ ด ของ พระองค์สุกงอม ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็น อิทธิพลเบื้องหลังเหล่านี้ได้ เช่น ในหนังสือ Crossing the Threshold of Hope พระองค์

2

77

ได้ทรงกล่าวถึงนักปรัชญาชาวยิวทีม่ อี ทิ ธิพล ต่อความคิดของพระองค์ 2 ท่านที่มีความ สำคัญคือ Martin Buber (1878-1965)2 และ Emmanuel L�vinas (1906-1995)3 ซึ่งนักปรัชญาทั้ง 2 เป็นพวกอัตถิภาวะและ ปรากฏการณ์นิยม (Existentialist-Phenomenologist) ที่มีอิทธิพลความคิดพื้นฐาน การเข้าใจมนุษย์แบบบุคคล (Personalist Approach) หรือบุคคลนิยม ซึ่งทั้ง 2 เป็น นักปรัชญาในบริบทศาสนายิว ซึง่ สำหรับเรา คริสตชนเป็นนักปรัชญาในบริบทของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม

Martin Buber นักปรัชญาชาวยิวที่ให้ความสำคัญความสัมพันธ์แบบฉัน-เธอ (I-Thou relationship) ที่เป็นความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลต่อบุคคลทีเ่ ป็นความสัมพันธ์ทมี่ นุษย์ควรมีตอ่ กันและกัน ทีเ่ ราไม่สามารถลดคุณค่าหรือศักดิศ์ รีของมนุษย์ เป็นเพียงสิ่งของ (I-It Relationship) ที่มนุษย์ใช้บุคคลอื่นเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของตนเอง Martin Buber อธิบายว่าความสัมพันธ์แบบฉัน-เธอ (I-Thou Relationship) สามารถมีได้ทั้ง 3 ระดับ คือ 1) ความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลในตนเอง 2) ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และ 3) ความสัมพันธ์กับพระเจ้า 3 Lévinas เป็นนักปรัชญาชาวยิวที่นำเสนอความคิดบนพื้นฐาน จริยศาสตร์และบุคคลอื่น (Ethics and the Other) ซึ่ง Lévinas จะให้ความสำคัญต่อเรื่องจริยศาสตร์เป็นเอก (Ethics as First Philosophy) ส่วนบุคคลอื่นในที่นี้เป็นความ ความจริง (Ontology) ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ Lévinas เน้นว่าจริยศาสตร์เป็นสิ่งที่มาจากประสบการณ์ส่วนบุคคล (Subjective Experience) ที่มนุษย์มีต่อพระเจ้า โดยนำเสนอความคิดว่าพระเจ้าเป็นพระบุคคล (Otherness) มากกว่า ที่จะเป็นองค์แห่งความเป็นจริง (Ontology)


78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

นอกนั้น นักปรัชญาคริสตชน เช่น Gabriel Marcel (1889-1973)4 Jacques Maritain (1882-1973)5 และ Emmanuel Mounier (1905-1950)6 ก็เป็นผู้ที่มีบทบาท ที่สำคัญ เพราะทั้ง 3 เป็นนักปรัชญาอัตถิภาวะและปรากฏการณ์นิยม (Existentialist-Phenomenologist) ในบริ บ ทของ คริ ส ตศาสนาที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความคิ ด ปรัชญาของ Karol Wojtyla และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งนักปรัชญา Max Scheler7 (18741928) ที่พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ศึกษาเป็นพิเศษเกี่ยวกับปรัชญาของท่าน ที่เป็นนักปรัชญาปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologist) นักปรัชญาบุคคลนิยมและปรากฏการณ์ นิ ย ม เป็ น นั ก ปรั ช ญาที่ ไ ม่ ไ ด้ ส ร้ า ง 4

ระบบความคิ ด ด้ า นปรั ช ญาที่ ส มบู ร ณ์ ใ น ตนเอง แต่เป็นเพียงการนำเสนอแนวทาง (Approach) ที่ในปัจจุบันมีความเหมาะสม ในการอธิบายความเชื่อของคริสตศาสนา ความเชื่อที่ ได้รับมาจากการไขแสดงของ พระเจ้า แนวทางนีส้ ามารถเข้าใจความเป็น มนุษย์ตามมุมมองของคริสตชน (Christian Anthropology) ได้ลึกซึ้งมากกว่า ตัวอย่าง เช่น พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรง กล่าวว่า “เราไม่สามารถพิจารณาความเป็น มนุษย์อย่างครบถ้วน โดยปราศจาคความ สัมพันธ์กบั พระเจ้าได้” นักบุญโทมัส อไควนั ส เรี ย กสิ่ ง นี้ โ ดยใช้ ภ าษาทางปรั ช ญาว่ า Actus Essendi หรือ กิจการพื้นฐานของ มนุษย์ (Essential Act) ซึ่งหมายถึงการ ดำรงอยู่ของมนุษย์ (Existence) และรวมถึง

Gabriel Marcel เป็นนักอัตถิภาวะนิยมในบริบทของคริสตศาสนา เป็นผู้ที่นำเสนอความคิดที่แยกแยะ (Distinction) ระหว่าง “การมี” (Having) และ “การเป็น” (Being) Gabriel Marcel ปฏิเสธที่จะถูกเรียกว่าเป็นนักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมใหม่ (Neo-Existentialist) ท่านชอบที่ถูกเรียกว่า โซคราติศใหม่ (Neo-Socratic) มากกว่า 5 Jacques Maritain เป็นนักปรัชญาและนักการเมืองในบริบทคริสตศาสนา เป็นผู้ที่นำความคิดของนักบุญโทมัส อโควนัส โดยเฉพาะความคิดปรัชญาของ Thomis กลับเข้ามาใหม่ในการอธิบายธรรมชาติ วิทยาศาตร์ สังคมและการเมือง ในปัจจุบัน 6 Emmanuel Mounier เป็นนักปรัชญาบุคคลนิยม (Personalist) ที่อธิบายความหมายของการเป็นบุคคลที่เป็นอัตนัย ที7 ่เราไม่สามารถเข้าใจบุคคลในลักษณะเดียวกับกับสิ่งของได้ Max Scheler เป็นนักปรัชญาปรากฏการณ์นิยมชาวเยอรมัน สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกในด้านปรัชญา (วิทยานิพนธ์ฉบับแรกทรงทำในขณะที่ทรงศึกษาเทววิทยาที่ มหาวิทยาลัย Agelicum ณ กรุงโรม ในปี 1948) ฉบับที่ 2 ในปี 1954 เกี่ยวกับความคิดแนวบุคคลนิยม (Personalism) และคุณค่า (Values) ต่างๆ ของ Max Scheler พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ “Evaluation of the Possibility of Founding a Catholic Ethic on the Ethical System of Max Scheler” ณ มหาวิทยาลัยคาทอลิก Lublin ที่สามารถประยุกต์เข้ากันได้กับคำสอน ของพระศาสนจักรคาทอลิก


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

ประสบการณ์ของมนุษ ย์ด้วย บรรดานัก ปรั ช ญาบุ ค คลนิ ย มมี ส่ ว นดี ที่ ไ ด้ ช่ ว ยการ อธิ บ ายความสั ม พั น ธ์ แ บบบุ ค คล-บุ ค คล (I-Thou Relationship) ซึ่งวิธีการเข้าใจ มนุษย์ดงั กล่าว สามารถสรุปได้วา่ คล้ายคลึง กั บ ปรั ช ญาอั ส มาจารย์ ข องนั ก บุ ญ โทมั ส อไควนัส ซึง่ เน้นพืน้ ฐานทีส่ ำคัญของมิตกิ าร ดำรงอยูข่ องมนุษย์ ทีแ่ สดงออกมาในรูปแบบ ความสัมพันธ์แบบบุคคล-บุคคล มานุษยเทววิทยาในพระสังคายนา วาติกัน ที่ 2 ก่อนทีจ่ ะเข้าใจความคิดด้านเทววิทยา ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 เป็น การสมควรที่จะรับทราบอิทธิพลที่พระองค์ มี ต่ อ พระศาสนจั ก ร โดยเฉพาะอย่า งยิ่ ง อิ ท ธิ พ ลที่ มี ต่ อ สั ง คายนาวาติ กั น ที่ 2 ตัวอย่างที่เด่นชัด เช่น พระสมณสาสน์เรื่อง การอภิ บ าลของพระศาสนจั ก รในโลก ปัจจุบัน (Gaudium et spes: 1965) ที่ใน ปัจจุบันเป็นพื้นฐานด้านเทววิทยาที่สำคัญ ในการเข้าใจมนุษย์ (Anthropology) นอกนัน้

8

79

ยังมีงานเขียน8ของพระองค์อื่นๆอีก และ พระสมณสาสน์ ต่ า งๆที่ ส ำคั ญ ที่ พ ระองค์ ทรงมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ในช่วงรัฐสมัยของพระองค์ ซึง่ ในทีน่ จ้ี ะกล่าว เฉพาะพระสมณสาสน์บางฉบับ เช่น พระกฤษฎีกาเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา (Dignitatis Humanea: 1965) พระสมณสาสน์ เ รื่ อ งความรุ่ ง โรจน์ แ ห่ ง ความจริ ง (Veritatis Splendor: 1993) พระสมณสาสน์ข่าวดีเรื่องชีวิต (Evangelium Vitae: 1995) เป็นต้น พระสมณสาสน์เรื่องการอภิบาลของ พระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (Gaudium et Spes) เป็นคำสอนของพระศาสนจักรทีเ่ กีย่ ว กับความหมายของมนุษ ย์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่ ง คำสอนเรื่ อ งความหมายของมนุ ษ ย์ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ คำสอนที่ เกี่ยวกับศักดิ์ศรีของมนุษย์ (ข้อที่ 12-22) คำสอนที่เกี่ยวกับชีวิตหมู่คณะของมนุษยชาติ (ข้อที่ 23-32) คำสอนเกี่ยวกับกิจการ ของมนุษย์ในโลกจักรวาล (ข้อที่ 33-39)

งานเขียนที่โดดเด่นเช่น Wojtyla, Karol, Love and Responsibility, Colins, London, 1981; Wojtyla, Karol, The Acting Person, Reidel Publishing Company, London, 1979; Wojtyla, Karol, Person and Community, selected essays, tr. by Theresa Sandok, OSM, Peter Lang, New York, 1993; John Paul II, Crossing the Threshod of Hope, London, 1994.


80 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

และคำสอนที่ เ กี่ ย วกั บ บทบาทของพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (ข้อที่ 40-45) ซึ่ง เป็ น สิ่ ง ที่ น่ า สนใจเพราะโดยอาศั ย การ กระตุ้นของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 หรือ พระคาร์ดินัล Wojityla ในขณะนั้น ที่ พ ระองค์ เ ป็ น ผู้ ร่ า งคำสอนดั ง กล่ า วใน บทที่ 4 ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับ บทบาทของพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (ข้อที่ 40-45) มี ความสำคัญอย่างมาก และพระคาร์ดินัล Garrone ซึ่งเป็นผู้ที่รวบรวมเนื้อหาทั้งสิ้น ของเอกสารทั้งหมดเข้าด้วยกัน ยอมรับว่า บทที่ 4 นี้ เ ป็ น ผลงานของพระคาร์ ดิ นั ล Wojityla ทั้งสิ้น พระสมณสาสน์เรื่องการอภิบาลของ พระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (Gaudium et Spes) ในบทที่ 1 เป็นการวิเคราะห์ศกั ดิ-์ ศรี ข องความเป็ น มนุ ษ ย์ ใ นบริ บ ทแห่ ง สิ่ ง สร้างของพระเจ้า โดยพิจารณาว่ามนุษ ย์ เป็นสิ่งสร้างที่ถูกสร้างตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้า และข้อที่ 12 ซึ่งเป็นการบรรยาย กระแสเรียกของมนุษย์ ในข้อที่ 15 อธิบาย คุณลักษณะต่างๆของมนุษย์ที่ทำให้มนุษ ย์ สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และ อธิบายเหตุผลที่ทำให้มนุษ ย์เป็นสิ่งสร้าง ที่ประเสริฐกว่าสิ่งสร้างทั้งมวลของพระเจ้า และในข้อที่ 16 กล่าวถึงมโนธรรมและศักดิ์-

ศรีของมโนธรรม ที่มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) ที่มโนธรรมเป็นผู้ที่ตัดสินเลือก กระทำที่สำคัญ และมโนธรรมซึ่งเป็นส่วนที่ ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ เป็นสักการะสถานที่ มนุษ ย์พบปะกับพระเจ้า มโนธรรมทำงาน ระหว่างการแสวงหาความจริง (Truth) และ เสรีภาพ (Freedom) ซึง่ เป็นขัว้ 2 ขัว้ ทีส่ ำคัญ ของมโนธรรม คำสอนเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์จาก มุมมองคริสตชน (Christian Anthropology) สรุปได้ใน GS ข้อที่ 22 ซึ่งเป็นจุดอ้างอิง ของคำสอนด้ ว ยอำนาจสอนของพระศาสนจักร (Magisterium) ในสมัยต่อๆมา คือ คำสอนที่กล่าวเกี่ยวกับมนุษย์ว่า “...ใน ความเป็นจริง โดยอาศัยธรรมล้ำลึกของการ ประสูติขององค์พระคริสตเจ้าที่มาบังเกิด เป็นมนุษย์เท่านั้น ที่ทำให้ความหมายของ ธรรมล้ำลึกของการเป็นมนุษ ย์ชัดเจนขึ้น พระคริสตเจ้าอาดัมคนใหม่ เป็นผูท้ ี่ไขแสดง ธรรมล้ำลึกของพระบิดาและความรักของ พระองค์อย่างดีเลิศ พระคริสตเจ้าทรงไข แสดงความหมายของมนุษ ย์ที่มีต่อตนเอง อย่างสมบูรณ์ และทรงนำมนุษย์ไปสูก่ ระแส เรียกที่สูงสุด... ในพระคริสตเจ้าพระองค์ ทรงรับธรรมชาติมนุษ ย์ (Assumed) แต่ ไม่ได้หลอมละลาย (Absorbed) ธรรมชาติ


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

พระเจ้ากับธรรมชาติของมนุษย์ แต่ทำให้ ธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ การเชิ ด ชู ใ ห้ มี ศั ก ดิ์ ศ รี ขึ้ น กว่ า สิ่ ง สร้ า งอื่ น ๆ เพราะโดย อาศัยการบังเกิดเป็นมนุษย์ องค์พระบุตร ของพระเจ้าได้เป็นหนึง่ เดียวกับมนุษย์ทกุ คน ในวิถีทางเฉพาะตน” ความหมายของมนุษ ย์ที่สมบูรณ์ ได้ ถูกทำลายลงโดยบาปกำเนิด หรือ การที่ มนุ ษ ย์ อ ยากเป็ น พระเจ้ า เสี ย เอง ที่ เ รา สามารถพบผลของบาปได้ในประวัตศิ าสตร์ ความรอดของมนุษย์ แม้ว่ามนุษย์ ไม่ได้ถูก ทำลายอย่างสิน้ เชิงก็ตาม เราสามารถทราบ ผลที่ตามมาของบาปได้ เช่น ความสัมพันธ์ ทีบ่ ดิ เบือนระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ทีม่ นุษย์ แสดงออกมาในรูปแบบที่หลบซ่อนและไม่ เชื่อฟัง ความสัมพันธ์ที่บิดเบือนดังกล่าวได้ รับการแก้ ไขเยียวยาโดยทางองค์พระเยซูคริสตเจ้ามนุษย์ผู้สมบูรณ์ครบครัน ดังนั้น โดยปราศจากการไขแสดงของพระคริสตเจ้า จึงเป็นไปไม่ ได้ที่จะเข้าใจความเป็นมนุษ ย์ ที่สมบูรณ์ แต่โดยอาศัยการไขแสดงของ พระคริสตเจ้าเท่านัน้ ทีพ่ ระองค์ทรงเป็นบ่อ เกิดแห่งปรีชาญาณของธรรมชาติของมนุษย์ และทรงเป็นจุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์และลึกซึ้งที่สุด

81

พระสมณสาสน์เรื่องการอภิบาลของ พระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (Gaudium et Spes) ในบทที่ 2 อธิบายเกี่ยวกับความเป็น จริงทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ของมนุษย์ “ถ้ามนุษย์เป็น สิ่งสร้างเดียวที่พระเจ้าทรงสร้างมาเพื่อจุด ประสงค์ของมนุษย์เอง มนุษย์สามารถค้น พบความจริ ง ของตนเอง ในการมอบให้ ตนเองแก่ผู้อื่นด้วยความจริงใจ” ( GS ข้อที่ 24) ความสามารถในการมอบตนเองทัง้ ครบ (Total Self-Giving) แด่พระเจ้าและต่อ ผู้อื่นนี้ เป็นการสะท้อนชีวิตความสัมพันธ์ ภายในที่รวมเป็นหนึ่งขององค์พระตรีเอกานุภาพ (Trinitarian Communion) ดังนั้น ความสามารถในการมอบตนเองทั้ ง ครบ ของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญพื้นฐานที่จะ เข้าใจกระแสเรียกส่วนบุคคลที่ม่งุ ไปสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ทุกคน และเป็นจุดมุ่งหมายของการเผยแผ่พระวรสารของพระศาสนจักร มานุษยวิทยาจากมุมมองของ Karol Wojtyla เราคงคุ้ น เคยกั บ ชี ว ะประวั ติ ข อง พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 โดย เริ่มต้นในขณะที่พระองค์ยังเป็นนักศึกษา สามเณร กรรมกรเหมืองถ่านหิน พระสงฆ์ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย พระสังฆราช และ


82 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

พระคาร์ดินัล ความเอาใจใส่ ในด้านการ อภิบาลและความสนใจด้านปรัชญา ทำให้ พระองค์ทรงเขียนหนังสือเล่มแรก ความรัก และความรับผิดชอบ (Love and Responsibility) ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งเป็นการแสดง จุ ด ยื น แนวทางด้ า นการเข้ า ใจความเป็ น มนุ ษ ย์ ข องพระองค์ (Anthropology) พระองค์ทรงเขียนหนังสือเล่มนี้ ในขณะที่ ทรงเป็ น พระสั ง ฆราชที่ เ มื อ ง Krakow ประเทศโปแลนด์ ซึ่งนับเป็นความพยายาม ครั้ ง แรก ที่ จ ะเชื่ อ มความหมายของเพศ สัมพันธ์ในมนุษย์ (Human Sexuality) ให้ เข้ากับความหมายของความรัก (Love) และ การแต่งงาน (Marriage) ในหนังสือเล่มนี้ ทั ศ นะคติ ด้ า นปรั ช ญาและเทววิ ท ยาของ พระองค์ผนวกเข้าด้วยกับ ในความพยายาม ที่จะอภิบาลเยาวชนในด้านความบริสุทธิ์ (Chastity) และเตรียมเยาวชนให้พร้อม สำหรับการแต่งงาน ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรง กำหนดแนวทางการเข้าใจปัญหาด้านเพศ (Sexuality) โดยการประยุกต์แนวทางเชิง บุคคลนิยม (Personalist Approach) ซึง่ เป็น พื้นฐานที่สำคัญในการเข้าความเป็นบุคคล ของมนุ ษ ย์ ข องพระองค์ และแนวทาง ดังกล่าวนี้ ได้ปรากฏมาอย่างต่อเนื่อง ใน

คำสอนอย่างเป็นทางการ (Magisterium) ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ในช่วงระยะเวลาการเตรียมประชุม สมัชชาพระสังคายนา วาติกันที่ 2 ในขณะ ที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆราช ที่เมือง Krakow พระองค์ ไ ด้ ท รงนำเสนอต่ อ ที่ ประชุมสมัชชาว่า การประชุมดังกล่าวเป็น โอกาสที่จะทำให้ความสำคัญ ต่อมิติด้าน จิตวิญญาณของมนุษย์ (Transcendental Spiritual Order) และความเป็นเอก (Uniqueness) และความไม่ทำซ้ำแบบ (Unrepeatable) ของมนุษย์ปรากฏชัดเจนมาก ยิง่ ขึน้ ในสภาพของสังคมทีม่ นุษย์ถกู คุกคาม ด้ ว ยวั ต ถุ นิ ย มในหลายรู ป แบบ หรื อ อาจ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พระสังคายนาวาติกัน ที่ 2 เป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะกำหนด แนวทางการเข้าใจปัญหาความเป็นบุคคล ของมนุษย์ แบบคริสตบุคคลนิยม (Christian Personalism) นอกนั้น ประสบการณ์อันเลวร้ายต่อ พวกนาซีที่ครอบงำยุโรป ในสมัยที่พระองค์ ยังทรงเป็นนักศึกษาและสามเณร และประสบการณ์ของคอมมูนิสที่เบียดเบียนประชาชนในขณะนั้น ทำให้ Karol Wojtyla พยายามค้นหาความจริงพื้นฐานเกี่ยวกับ มนุ ษ ย์ ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ พ ระศาสนจั ก รต้ อ ง


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

ประกาศและต่อสู้ปกปองไว้ ซึ่งความจริง พืน้ ฐานนี้ได้แก่ศกั ดิศ์ รีและคุณค่าของมนุษย์ ทุกคนที่ควรได้รับการเคารพและปกปอง โดยเริ่มต้นจากสิทธิของมนุษ ย์ที่จะกำเนิด มามี ชี วิ ต ตลอดจนสิ ท ธิ ก ารดำเนิ น ชี วิ ต อย่างมีศักด์ศรี ซึ่งเป็นความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีต่อมนุษย์ทุกคน ในช่วงระยะแรก แห่งการเป็นพระสงฆ์ในวันหนุ่ม และค่อยๆ เติบโตขึ้นเรื่อยมาอย่างเด่นชัด อิทธิพลอีกอย่างหนึ่งที่พระสังฆราช Karol Wojtyla ได้ทรงนำเสนอความคิดเห็น ต่ อ พระสมณสาสน์ เ กี่ ย วกั บ เสรี ภ าพแห่ ง การนับถือศาสนา (Dignitatis Humanae: 1965)9 โดยพระองค์ทรงอ้างประโยคจาก พระวรสารนักบุญยอห์น (8:32) ที่กล่าวว่า “ความจริงทำให้ทา่ นเป็นอิสระ” และทรงย้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างความจริง (Truth) และเสรีภาพ (Freedom) ที่ทั้งสองมีความ สั ม พั น ธ์ ที่ จ ำเป็ น ต่ อ กั น และกั น จนอาจ กล่าวได้วา่ “ไม่มเี สรีภาพถ้าปราศจากความ จริง” และ “ไม่มีความจริงที่ปราศจากเสรีภาพเช่นกัน” ซึ่งเราสามารถรับทราบความ สัมพันธ์ที่แน้นแฟนและจำเป็นระหว่างเสรี9

83

ภาพและความจริงได้ ในพระสมณสาสน์ ความรุ่ งโรจน์ แ ห่ ง ความจริ ง (Veritatis Splendor: 1993) นอกนั้น ในการปราศรัย ในที่ประชุมครั้งล่าสุดที่มีต่อพระกฤษฎีกา เกี่ ย วกั บ เสรี ภ าพแห่ ง การนั บ ถื อ ศาสนา (Dignitatis Humanae: 1965) พระองค์ ทรงเรี ย กร้ อ งให้ พ ระกฤษฎี ก าฉบั บ นี้ ใ ห้ ความสนใจต่ อ ความสำคั ญ ต่ อ ทั ศ นะคติ บุคคลนิยมจากมุมมองคริสตชน (Christian Personalism) ในเรื่ อ งเสรี ภ าพในการ นับถือศาสนา ซึ่งหมายถึงความรับผิดชอบ ของมนุษ ย์ที่มีต่อความจริง เพราะว่าถ้า หากเสรีภาพ (Freedom) และความรับผิดชอบ (Responsibility) ไม่ มี พ้ื น ฐานใน ความจริง (Truth) แล้ว มนุษย์อาจจะตกใน หลุมพลางของการเมินเฉยต่อคุณค่าของ ศาสนาได้ ภายหลั ง ที่ พ ระองค์ ไ ด้ ท รงรั บ เลื อ ก เป็นพระสันตะปาปา ในปี ค.ศ. 1978 พระองค์ ได้ทรงแสดงออกอย่างชัดเจนถึง ทัศนะคติบุคคลนิยมจากมุมมองคริสตชน (Christian Personalism) ซึ่งสามารถกล่าว ได้ว่าพระองค์ทรงได้รับอิทธิพลจากปรัชญา

ในเอกสาร Acta of the Council พระสังฆราช Karol Wojtyla ได้ทรงแสดงความคิดเห็น 5 ครั้งต่อพระสมณสาสน์ Dignitas Humanae และจากการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ พระสมณสาสน์ฉบับนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากทัศนะ คริสตบุคคลนิยม (Christian Personalism) ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2


84 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

อัสมาจารย์และเทววิทยาของนักบุญโทมัส อไควนัส (Thomistic) และวิธีการเข้าถึง ความจริงแบบปรากฏการณ์นิยม (Phenomenological Method) ในการเข้าถึงประสบการณ์ด้านชีวิตจิตของมนุษ ย์ ซึ่งเป็น จุดมุ่งหมายแห่งความครบครัน (Human Flourishing) ซึ่งเป็นความสุขเที่ยงแท้ของ มนุษย์ คำสอนหลั ก ของพระสั น ตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ทีเ่ กีย่ วกับบุคคลจากมุมมอง คริสตชน คือคำสอนเกี่ยวกับธรรมชาติของ มนุ ษ ย์ ในฐานะที่ ม นุ ษ ย์ คื อ สิ่ ง สร้ า งตาม ภาพลักษณ์ของพระเจ้า (Imago Dei) ซึ่ง เป็นสิ่งที่พระองค์ ได้ทรงย้ำเตือนครั้งแล้ว ครั้งเล่า ในผลงานเขียนต่างๆของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากในพระสมณสาสน์ ต่างๆ เช่น พระสมณสาสน์ครบรอบ 100 ปี (Centesimus Annus:1991) ของพระสมณสาสน์ Rerum Novarum พระสมณสาสน์ ความรุ่ งโรจน์ แ ห่ ง ความจริ ง (Veritatis Splendor: 1993) พระสมณสาสน์ข่าวดี แห่งชีวิต (Evangelium Vitae: 1995) และ วิธีการเข้าถึงความจริงแบบปรากฏการณ์นิยม (Phenomenological Method) เป็น วิ ธี ก ารที่ พ ระองค์ ท รงใช้ ในการเปิ ด เผย ธรรมล้ำลึกของความเป็นมนุษย์ เช่น เรื่องที่

เกี่ยวกับมโนธรรม การตัดสินด้านศีลธรรม ธรรมล้ำลึกของเสรีภาพและความรับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการเข้าใจแก่นแท้ ของความเป็นมนุษย์ วิธีการดังกล่าวนี้พบ ได้ในหนังสือ ความรักและความรับผิดชอบ (Love and Responsibility) ซึง่ เป็นงานเขียน ที่ยอดเยี่ยมในการในการเข้าใจธรรมชาติ ด้านเพศสัมพันธ์ของมนุษย์ เรื่องความรัก และการแต่งงาน ดังนั้น เราจึงอาจสรุปได้ว่าจุดยืนด้าน เทววิทยาของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เริ่ ม ต้ น ในขณะที่ พ ระองค์ ท รงเป็ น นั ก ศึ ก ษาและได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากปรั ช ญา อัสมาจารย์ (Thomism) เพราะพระองค์ ยอมรับคำจำกัดความหมายของบุคคล (Person) คือ ปัจเจกบุคคลที่คิดด้วยเหตุผลและ มีน้ำใจอิสระ และเป็นผู้ที่มีเสรีภาพในการ เลือกกระทำ ส่วนวิธีการปรากฏการณ์นิยม (Phenomenological Method) ที่พระองค์ ทรงใช้ เป็นโอกาสที่ทำให้สามารถพัฒนา ความเข้าใจมิติใหม่ๆของธรรมชาติมนุษย์ที่ ยังไม่ได้รบั การพิจารณา เช่น เรือ่ งความหมาย ของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษ ย์ ในฐานะ ที่เป็นบุคคลต่อบุคคล เป็นต้น มานุษ ยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

ในระยะเวลาเริ่มแรกแห่งรัชสมัยของ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 พระองค์ ได้ทรงประกาศสอนอย่างชัดเจนว่า ความ จริงเกี่ยวกับมนุษ ย์สามารถพบได้ในองค์ พระคริสตเจ้าเท่านัน้ และในขณะทีพ่ ระองค์ ทรงได้รับการสถาปณาเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ ได้กล่าวเชิญชวนให้โลกอย่ากลัว พระคริสตเจ้า เพราะว่าเฉพาะองค์พระคริสตเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบถึงแก่นแท้แห่ง การเป็นมนุษย์ พระองค์ทรงย้ำสิ่งที่พระสมณสาสน์เรื่องการอภิบาลของพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (Gaudium et spes) ข้อที่ 22 ที่กล่าวว่า “ในความเป็นจริง โดย อาศัยธรรมล้ำลึกของการประสูติขององค์ พระคริสตเจ้าที่มาบังเกิดเป็นมนุษย์เท่านั้น ที่ ท ำให้ ค วามหมายของธรรมล้ ำ ลึ ก ของ การเป็ น มนุ ษ ย์ ชั ด เจนขึ้ น ” นี่ นั บ เป็ น จุ ด เริ่มต้นที่สำคัญ เราสามารถกล่ า วได้ ว่ า มนุ ษ ย์ ต าม มุมมองของคริสตชน (Christian Anthropology) มีพื้นฐานตั้งอยู่บนธรรมล้ำลึก 2 ประการ คื อ ธรรมล้ ำ ลึ ก แห่ ง การสร้ า ง (Mystery of Creation) ที่มนุษย์ ได้ถูกสร้าง ตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า และธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่กู้ (Mystery of Redemption) ซึ่งในองค์พระเยซูคริสตเจ้ามนุษย์

85

ทุกคนสามารถค้นพบความหมายของชีวิต ดังนัน้ พระธรรมชาติอนั ลึกลับของพระเยซูคริสตเจ้า (The Mystery of Christ) จึงเป็น ทั้งจุดเริ่มต้นและจุดหมายปลายทาง แห่ง การเข้าใจธรรมชาติทสี่ มบูรณ์ของมนุษย์ ซึง่ ในระหว่างกลางของการสร้างและการไถ่กู้นี้ เป็นเรื่องประวัติศาสตร์แห่งความรอดของ มนุษย์ เช่น ความลึกลับของบาป เมื่อบาป ได้เข้ามาในโลก ตลอดจนผลลัพธ์ที่ตามมา ของบาปที่มนุษย์ประสบ ในการตอบสนอง ความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์ ใน ฐานะที่เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อ พระองค์ บุคคลนิยมจากมุมมองคริสตชน (Christian Personalism) อิ ท ธิ พ ลความคิ ด และความเข้ า ใจ มนุษย์จากมุมมองบุคคลนิยม (Personalism) นับเป็นพืน้ ฐานอ้างอิงในการเข้าใจการ กระทำด้านศีลธรรม (Moral Action) ของ มนุษย์ ที่จะต้องเข้าใจความจริงด้านศีลธรรม (Moral Truth) ซึ่งเป็นความจริงด้าน ความหมาย (Truth of Meaning) ใน บริบทของบุคคล (Personal Biography) ที่ แต่ละบุคคลที่เป็นผู้ที่มีลักษณะความเป็น หนึ่งเดียว (Uniqueness) และความไม่ซ้ำ แบบ (Unrepeatable) ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการ


86 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

เข้าถึงความจริงที่ดีที่สุด และครอบคลุม มากกว่าการประยุกต์ใช้กฎเกณฑ์ด้านศีลธรรม (EthicalNorms) ทีเ่ ป็นความพยายาม จะบัญญัตกิ ฎเกณฑ์ดา้ นศีลธรรมให้มลี กั ษณะ ความเป็นสากล (Universal) ที่สามารถ ครอบคลุมและประยุกต์ใช้ให้ ได้ในทุกกรณี (Absolute Norms) และปราศจากข้อยกเว้น โดยไม่ได้พิจารณาการกระทำด้านศีลธรรม ในบริ บ ทของบุ ค คล ในสภาพแวดล้ อ ม วัฒนธรรม และสังคมที่บุคคลนั้นดำเนิน ชีวิตอยู่ ซึ่งวิธีการประยุกต์ใช้เฉพาะกฎเกณฑ์ ด้ า นศี ล ธรรม เป็ น วิ ธี ก ารที่ เ ข้ า ถึ ง ความจริงเฉพาะบางส่วน (Reductionism) เท่านั้น วิธีบุคคลนิยม (Personalism) แตกต่างจากวิธีอสัมพันธ์นิยม (Relativism) ซึ่ง วิ ธี อ สั ม พั น ธ์ นิ ย มเป็ น ศั ต รู ที่ ร้ า ยกาจของ ศีลธรรมในสังคมปัจจุบัน เพราะเป็นการ ยึดถือว่าการตัดสินด้านศีลธรรม (Moral Judgement) ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัว (Opinion) ที่ แ ต่ ล ะคนมี ค วามคิ ด เห็ น ส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป และยังอ้างว่า ความคิดเห็นส่วนตัวนัน้ เป็นความจริงอีกด้วย การอ้างดังกล่าวทำให้มโนธรรม (Moral Conscience) ที่เป็นผู้ตัดสินด้านศีลธรรม ไม่มีบทบาท ในการตัดสินด้านศีลธรรมใน

การแสวงหาความจริง (Truth) อีกต่อไป วิธีอสัมพันธ์นิยมเป็นวิธีการที่มีพื้นฐานอยู่ บนเสรีภาพ (Freedom) ซึ่งเสรีภาพในที่นี้ หมายถึ ง การตั ด สิ น ใจทำตามสิ่ ง ที่ ค วาม ชอบตามความพึงพอใจ (Pleasure) เท่านั้น เป็นเสรีภาพแบบสุดโต่ง (Extreme) ที่ขาด ความเป็นปรนัยของความจริง (Objective Truth) และไม่ถูกกำกับด้วยเหตุผล (Reason) วิธีอสัมพันธ์นิยมนี้ทำให้เหตุผลอ่อน แอลง และทำให้ ข าดความรั บ ผิ ด ชอบ (Responsibility) ในการแสวงหาความจริง วิ ธี บุ ค คลนิ ย มที่ พ ระสั น ตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ทรงนำเสนอนั้นเป็นบุคคล นิยมจากมุมมองคริสตชน (Christian Personalism) เพราะพระองค์ทรงเข้าใจมนุษย์ ในความลึกลับในบริบทของคริสตศาสนา มนุษ ย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งสร้างที่ถูกสร้างให้ มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า กับตัวเอง กับ มนุษย์ด้วยกัน และกับสิ่งสร้างอื่นๆ ความ สัมพันธ์กับพระเจ้าเป็นมิติที่สำคัญ เพราะ เป็นพื้นฐานและเป็นความหมายของการ เป็นมนุษย์ ทีม่ นุษย์เป็นสิง่ สร้างทีพ่ ระเจ้าได้ ทรงสร้ า งมาโดยมี จุ ด ประสงค์ ใ นตนเอง (For Man Sake) มิได้มีจุดประสงค์เพื่อ สิ่งอื่น ดังนั้น ศักดิ์ศรี (Dignity) และคุณค่า (Values) ของความเป็นมนุษย์ จึงเป็นสิ่ง


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

ที่ไม่สามารถทำลายหรือถูกละเมิดได้ เพราะ มนุษย์ถูกสร้างให้มีภาพลักษณ์ของพระเจ้า (Imago Dei) เราจึงไม่สามารถใช้มนุษย์เป็น เครื่องมือ (Means) เพื่อที่จะบรรลุถึงจุด มุ่งหมายอื่นๆได้ ซึ่งแตกต่างจากแนวความ คิดแบบนาซี (Nazism) ที่ชนชาติหนึ่งสร้าง ความยิ่งใหญ่ให้กับตนโดยทำลายชนชาติ อื่น หรือแนวความคิดแบบวัตถุนิยม (Materialism) ที่มุ่งเน้นแสวงหาความร่ำรวย ความสะดวกสบาย การบริโภคด้านวัตถุ แต่อย่างเดียว ซึ่งเป็นเพียงส่วยหนึ่งของ ความเป็นมนุษย์เท่านั้น วิธกี ารบุคคลนิยมจากมุมมองคริสตชน เป็นความพยายามที่จะเข้าใจมนุษย์จากทุก มิติของชีวิตอย่างครบถ้วน (Integral) คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่ง มิติทั้งหลายนี้รวมกันเป็นหนึ่งและมีความ สั ม พั น ธ์ ที่ จ ำเป็ น ต่ อ กั น และกั น ซึ่ ง ไม่ สามารถตัดมิติ ใดมิติหนึ่งออกได้ เพราะ แต่ละมิติแม้ว่ามีความสำคัญแตกต่างกัน แต่ความสัมพันธ์ที่แตกต่างนั้นไม่สามารถ ทำให้คุณค่าของมันเองลดน้อยลง วิธีการนี้ แตกต่ า งจากความพยายามที่ จ ะเข้ า ใจ 10

87

มนุษย์แบบทวินิยม (Dualistic Anthropology) ที่ เ ป็ น อั น ตรายสำหรั บ สั ง คมใน ปัจจุบัน เช่น การเข้าใจมนุษย์ว่าเป็นผู้ที่มี เฉพาะด้านร่างกายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในเรื่องวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ถือว่าตัวอ่อน มนุษย์ (Embryo) เป็นเพียงเซลล์ที่เป็นส่วน หนึ่งของชีวิตเท่านั้น และสามารถทำลายได้ หรือในเรื่องเพศสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่ถือว่า การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนที่เป็นร่างกายหรือส่วนของอวัยวะเพศ เท่ า นั้ น โดยไม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มิ ติ อื่ น ๆของ มนุษ ย์ สิ่งเหล่านี้เป็นความพยายามที่จะ ลดคุ ณ ค่ า ความเป็ น บุ ค คลทั้ ง ครบของ มนุษย์ให้ลดลง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สำหรับสังคมของมนุษย์ในปัจจุบัน วิธีบุคคลนิยมจากมุมมองคริสตชน ไม่ใช่เป็นทฤษฎีของความหมายของบุคคล (Definitiopn of Person) เช่น ความหมาย ของคำนิยามความเป็นบุคคล คือปัจเจกทีม่ ี สารัตถะอันประกอบด้วยธรรมชาติของการ คิดด้วยเหตุผล10 และเป็นผู้ที่มีเสรีภาพใน การกระทำของตนเอง ซึ่ ง เป็ น คำนิ ย าม ความหมายของบุ ค คลเท่ า นั้ น แต่ วิ ธี

นักปรัชญา Boethius เป็นผู้ที่ให้คำนิยามว่าบุคคลหมายถึง “ปัจเจกที่มีสารัตถะอันประกอบด้วยธรรมชาติของการคิด ด้วยเหตุผล “ (Individual Substance of a Rational Nature) ซึ่งนักปรัชญาสมัยต่อมาได้ยอมรับคำจำกัดความนี้ และนักบุญโทมัส อไควนัสยังเพิ่มเติมว่า “เป็นผู้ที่มีความสามารถในการควบคุมการกระทำของตนเอง และไม่ถูกผลักดัน จากภายนอกอย่างง่ายดายเหมือนสิ่งอื่น” (ST. I, q.29. a.1)


88 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

บุ ค คลนิ ย มจากมุ ม มองคริ ส ตชนยอมรั บ ความหมายคำนิ ย ามของบุ ค คลดั ง กล่ า ว และเพิม่ เติมให้มคี วามหมายสมบูรณ์มากขึน้ เช่น เพิ่มเติมว่าบุคคลเป็นผู้ที่มีลักษณะเป็น อัตนัย (Subject) เป็นผู้ที่รู้ตระหนักตนเอง (Self-Consciousness) และเป็นผู้ที่มีเสรีภาพในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง (SelfDetermination) ซึ่ ง เป็ น ความสามารถ พื้นฐานของมนุษ ย์และเนื่องจากบุคคลนั้น ประกอบด้ ว ยร่ า งกายและจิ ต วิ ญ ญาณที่ รวมกันเป็นหนึ่ง ดังนั้น ร่างกายจึงเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของมนุษย์ทั้งครบ นอกนั้น เรา อาจกล่าวได้ว่าร่างกาย (Body) เป็นปรากฏการณ์ (Expression) ของความเป็นบุคคล และเราสามารถเข้ า ถึ ง ความลึ ก ลั บ ของ บุคคล (My-stery of the Person) โดยผ่าน ทางร่างกายและการกระทำต่างๆ ซึ่งเรา ไม่สามารถแบ่งแยกหรือตัดขาดออกจาก บริบทของบุคคลนั้นได้ ความหมายด้ า นเพศโดยอาศั ย ร่ า งกาย (Nuptial Meaning of the Body) การไตร่ ต รองความหมายของเพศ สัมพันธ์ จากมุมมองบุคคลนิยมจากมุมมอง 11

ของคริสตชน โดยเฉพาะเรื่องความบริสุทธิ์ การแต่งงาน และชีวิตถือโสด ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 นั้น สามารถ สรุปคำสอนดังกล่าวได้ จากความหมาย ด้ า นเพศโดยอาศั ย ร่ า งกาย 11 (Nuptial Meaning of the Body) ที่พระองค์ ได้ศึกษา และอ้างอิงความหมายด้านเพศโดยอาศัย ร่างกาย จากเรื่องการสร้างของพระเจ้าใน หนังสือปฐมกาล จากคำสอนของพระเยซูคริสตเจ้าเรื่องการแต่งงานและการถือโสด และจากจดหมายของนั ก บุ ญ เปาโล ที่ เกี่ยวข้องกับเนื้อหาดังกล่าว ในการตีความ หมายพระคั ม ภี ร์ ในบทที่ เ กี่ ย วข้ อ งนี้ พระองค์มิได้ทรงแปลความหมายพระคัมภีร์ ตามประเพณีปฏิบัติ (Traditional Christian Hermeneutics) เท่านั้น แต่พระองค์ ทรงใช้วิธีการเข้าถึงความจริงแบบบุคคล นิยม (Personalist Philosophy) ตามบริบท การเข้าใจมนุษ ย์ตามทัศนะคติของพระสังคายานา วาติกันที่ 2 การตี ค วามหมายพระคั ม ภี ร์ ต าม ประเพณีปฏิบัติ กล่าวกับเราว่ามนุษย์เป็น ภาพลักษณ์ของพระเจ้า เพราะมนุษย์เป็น

John Paul II, The Theology of the Body: Human Love in the Divine Plan. Pauline Book & Media: Boston, 1997, pp. 60-63.


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

ผู้ ที่ มี ทั้ ง สมรรถภาพด้ า นสติ ปั ญ ญาและ น้ ำ ใจอิ ส ระ ที่ มี ลั ก ษณะเป็ น นามธรรม (Abstract) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงแปล ความหมายเรื่องการสร้างมนุษย์ในหนังสือ ปฐมกาล โดยการอธิบายว่ามนุษย์ทถี่ กู สร้าง เป็นเพศชายและเพศหญิงที่ร่วมเป็นหนึ่ง (Original Unity of Man and Woman) ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน กล่าวคือ มนุษ ย์ถูกกำหนดโดยเพศให้เป็นชายหรือ หญิง คำสอนนี้เราสามารถสรุปได้จากเรื่อง เล่าเกีย่ วกับการสร้างมนุษย์ในหนังสือปฐมกาลทั้ง 2 เรื่อง12 การสร้างเรื่องแรกในปฐมกาลบทที่หนึ่ง กล่าวว่า “พระเจ้าทรงสร้าง มนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์” (ปฐก. 1:27) และภาพลักษณ์ของพระเจ้าในมนุษย์ หมายถึงมนุษย์เป็นผูท้ ม่ี ศี กั ดิศ์ รีและมีคณ ุ ค่า ซึ่ ง หมายถึ ง เราไม่ ส ามารถใช้ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น เครื่องมือเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อื่นได้

12

89

ในปฐมกาลบทที่สอง กล่าวว่าพระเจ้า ทรงสร้ า งมนุ ษ ย์ (‘Adam) มาจากดิ น (Adama) ซึ่งเป็นวิธีการสร้างที่มีลักษณะ เป็นรูปธรรมที่เปรียบเทียบการสร้างของ พระเจ้าคล้ายกับช่างปั้นหม้อ และเมื่อสร้าง มนุ ษ ย์ แ ล้ ว พระเจ้ า ตรั ส ว่ า “ไม่ เ ป็ น การ เหมาะสมที่มนุษย์อยู่เพียงตามลำพัง เรา จะสร้างผู้ที่ช่วยเหลือที่เหมาะสมเขาขึ้นมา (เทียบ ปฐก. 2:18) และตรงนี้เองที่เป็นการ กล่าวครั้งแรกว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษ ย์ ให้เป็นชาย (Ish) และหญิง (Ishshah) (เทียบ ปฐก. 2:24)โดยที่หญิงนั้นมาจาก ชายโดยหญิงนั้นมาจากสีข้างของชาย และ ชายนั้นก็กล่าวว่า “นี่คือกระดูกจากกระดูก ของเรา เนือ้ จากเนือ้ หนังของเราและหญิงนัน้ ถูกเรียกว่าหญิง (Ishshah) เพราะมาจาก ชาย (Ish) (ปฐก. 2:22-23) ดังนั้น ชายจึง ละจากบิดามารดาของตนและอยู่ร่วมกัน กับภรรยาของตน และทั้งสองเป็นเนื้อเดียว

เรื่องการสร้างในปฐมกาลบทที่ 1 ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่าการสร้างในปฐมกาลบทที่ 2 แต่ถูกจัดเรียงไว้ใน บทที่หนึ่ง ซึ่งมาจากแหล่งของพระสงฆ์ (Priestly Source) เนื่องจากเป็นการบรรยายการสร้างของพระเจ้าที่มีลักษณะ ครอบจักรวาล ส่วนการสร้างมนุษย์ในบทที่สองที่มาจากแห่งที่เก่ากว่า (Yahwist Source) รายละเอียดเพิ่มเติ่มสามารถ ดูได้จาก: John Paul II, The Theology of the Body: Human Love in the Divine Plan. Pauline Book & Media: Boston, 1997, pp. 25-32.


90 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

กัน (ปฐก. 2:24) ชายและภรรยาของตน เปลือยเปล่าอยู่แต่ทั้งสองไม่ละอายแก่กัน และกัน (ปฐก. 2:25) จากเรื่องการสร้างมนุษ ย์ที่เป็นชาย และหญิ ง ทำให้ เ ราสามารถสรุ ป ได้ ว่ า มนุ ษ ย์ ไม่ ไ ด้ ถู ก สร้ า งให้ อ ยู่ ต ามลำพั ง เพราะมนุษย์ดำเนินชีวิตตามลำพัง เมื่อ เปรียบเทียบตนเองกับสรรพสัตว์ที่เป็นสิ่ง สร้างอื่นๆของพระเจ้า มนุษย์สามารถรู้จัก ตนเองได้ โดยอาศัยเพื่อนมนุษย์ ในการ สร้ า งความสั ม พั น ธ์ แ บบบุ ค คล-บุ ค คล เท่านั้น ตรงนี้เองที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ ให้เป็นชาย (Ish) และหญิง (Ishshah) มนุษย์ถูกสร้างให้เป็นเพศ ไม่ใช่ให้มีเฉพาะ อวัยวะเพศ คือเป็นเพศชายและเพศหญิง เพราะเพศสัมพันธ์นั้นเป็นแก่นแท้ที่จำเป็น ของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังนั้น การ แสดงออกทางเพศสัมพันธ์ของมนุษย์ จึง หมายถึงการแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ ที่เป็นชาย-หญิงของบุคคลทั้งครบ ไม่ ใช่ เป็นการแสดงออกเฉพาะส่วนของอวัยวะ เพศทีเ่ ป็นเรือ่ งของร่างกาย เท่านัน้ ความคิด ว่ า เพศสั ม พั น ธ์ เ ป็ น การแสดงออกเฉพาะ ส่วนร่างกายที่เป็นอวัยวะเพศ เท่านั้น เป็น ความคิ ด ของมนุ ษ ย์ ใ นสั ง คมปั จ จุ บั น ที่ ลดระดั บ ความหมายของเพศสั ม พั น ธ์ ล ง

ว่าเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับความใคร่ ของเนื้ อ หนั ง แต่ เ พี ย งอย่ า งเดี ย วเท่ า นั้ น จึ ง เป็ น สาเหตุ ข องพฤติ ก รรมเบี่ ย งเบน ทางเพศต่างๆ เช่น พฤติกรรมสำส่อนทาง เพศ การผิดประเวณี การทดลองอยู่ด้วยกัน ของหนุ่มสาว ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาของสังคม ปัจจุบัน ความหมายด้ า นเพศโดยอาศั ย ร่างกาย (Nuptial Meaning of the Body) ที่มีพื้นฐานอยู่บนเรื่องการสร้างมนุษ ย์ ให้ เป็นชายและหญิง จึงเป็นคำสอนที่มีความ สำคัญ เพราะร่างกายเป็นการแสดงออกถึง ความลึกลับของมนุษย์ในมิตทิ งั้ ครบ มนุษย์ ที่เป็นรูปธรรมที่เป็นมนุษย์ที่เป็นชาย-หญิง ที่ถูกสร้างให้เป็นเนื้อเดียวกัน (เทียบ ปฐก. 2:24) ดังนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรงรวมเป็นหนึ่ง มนุ ษ ย์ จึ ง ไม่ ส ามาถแบ่ ง แยกได้ จึ ง เป็ น เหตุ ผ ลที่ อ ธิ บ ายว่ า ทำไมการหย่ า ร้ า งจึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ขั ด กั บ พระประสงค์ แ รกเริ่ ม ของ พระเจ้า และความหมายด้านเพศสัมพันธ์ แบบบุคคลต่อบุคคลจึงสามารถแสดงออก ด้านร่างกาย ในการมอบตนเองทั้งสิ้นแก่กัน และกัน (Total Self-Giving) ในความเป็น ชาย-หญิงในทุกมิตแิ ห่งชีวติ (ร่างกายจิตใจ และจิ ต วิ ญ ญาณ) ในความเป็ น บุ ค คล ทั้งครบ ซึ่งการมอบตนเองทั้งสิ้นแก่กันและ


มานุษยวิทยาจากมุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

กันทั้งครบ จึงเป็นพื้นฐานของความซื่อสัตย์ (Faithful) ในชีวิตครอบครัว สรุป มานุษ ยวิทยาจากมุมมองของ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 มีพื้นฐาน อยู่บนการเข้าใจความเป็นมนุษ ย์ ในฐานะ ที่ เ ป็ น คริ ส ตชนทั้ ง ครบทุ ก มิ ติ แ ห่ ง ชี วิ ต ในบริบท ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ กั บ ความคิ ด ของกระแสวั ต ถุ นิ ย ม หรื อ บริโภคนิยมในปัจจุบนั ทีล่ ดระดับความเป็น มนุษย์ให้ลดต่ำลง และพิจารณามนุษย์ เฉพาะบางมิติหรือเฉพาะบางส่วนเท่านั้น ซึ่งเป็นกระแสที่ทำลายศักดิ์ศรี และคุณค่า ต่างๆของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่พระศาสนจักรต้องการที่จะต่อสู้ แนวความคิดด้านปรัชญาบุคคลนิยม และปรากฏการณ์ นิ ย ม ก็ เ ป็ น วิ ธี ก ารที่ เหมาะสมในการอธิบาย ที่ในปัจจุบนั สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ ได้ดีกับความเชื่อที่ ได้รับ มาจากการไขแสดงจากพระเจ้า วิธกี ารบุคคล นิยมจากมุมมองคริสตชน (Christian Personalism) ที่ราสามารถค้นพบได้ในพระ-

91

สมณสาสน์ตา่ งๆ (Encyclicals) และคำสอน ด้วยอำนาจสอนของพระศาสนจักร (Magisterium) ในรัชสมัยของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เป็นวิธีการที่สามารถอธิบาย ความหมายการเป็นมนุษย์ ได้อย่างสมบูรณ์ ซึง่ หลักการบุคคลนิยมจากมุมมองคริสตชน สามารถสรุปได้ดังนี้คือ ประการแรก มนุษย์ เป็นสิ่งสร้างตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า ซึ่ง เป็ น พื้ น ฐานที่ ส ำคั ญ สำหรั บ การเข้ า ใจ ความเป็นบุคคลและเป็นจุดเริ่มต้นในการ เข้าใจความหมายของมนุษย์ ประการที่สอง พระคริสตเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษ ย์เข้าใจ ธรรมชาติความเป็นมนุษย์ทั้งครบ เพราะ พระองค์ทรงเป็น หนทาง ความจริง และ ชีวิต ประการที่สาม การร่วมส่วนในความ สัมพันธ์ของมนุษย์แบบบุคคลต่อบุคคล ซึ่ง ได้รับรูปแบบมาจากธรรมล้ำลึกของชีวิต พระตรีเอกานุภาพ และวิธีการบุคคลนิยม จากมุมมองคริสตชนนี้สามารถนำไปเป็น กฎเกณฑ์ ป ระยุ ก ต์ ใ ช้ อ ธิ บ ายจริ ย ศาสตร์ ด้านเพศได้อย่างสมบูรณ์


92 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

Bristow, Peter. Christian Ethics and the Human person: Truth and Relativism in Contemporary Moral Theology. Family Publications: Oxford, 2009. McGovern, Thomas, “The Christian Anthropology of John Paul II: An Overview”. http://www.christendom-awake.org/pages/mcgovern/chrisanthro.htm (accessed on the 12 February 2011), First published in: Josephinum Journal of Theology, 8 (2001) 1, pp 132-47. John Paul II, Pope. Crossing the Threshod of Hope, London : n.p., 1994. John Paul II, Pope. The Theology of the Body: Human Love in the Divine Plan. Boston : Pauline Book & Media:, 1997. Vatican Council II, Gaudium et Spes (The Church in the Modern World), 1965. Vatican Council II, Dignitatis Humanae (Decree on Religious Freedom), 1965. Wojtyla, Karol. Love and Responsibility. London : Colins, 1981. Wojtyla, Karol. The Acting Person. London : Reidel Publishing Company, 1979. Wojtyla, Karol, Person and Community, New York: Peter Lang, 1993.


93

พระเยซูเจาผูสื่อสารที่สมบูรณ์

หมวดพระสัจธรรม

¾ÃÐà«Ùà¨ŒÒ “¼ÙŒÊ×èÍÊÒÔ ·ÕèÊÁºÙó ºÒ·ËÅǧ´Ã. ¿Ãѧ«ÔÊ ä¡Ê ผู้ นิ พ นธิ์ พ ระวรสารทุ ก คนเล่ า ว่ า พระเยซูเจ้าประทานพระโอวาทสอนประชาชนเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งบางครั้ง ต้องเสด็จลงเรือเพื่อคนที่อยู่ริมทะเลสาป จะได้ฟงั พระองค์ บางครัง้ ประชาชนมากมาย มาห้ อ มล้ อ มเพื่ อ ขอความช่ ว ยเหลื อ จน พระองค์ ไม่ทรงมีเวลาเสวยพระกระยาหาร บางครั้งประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในบ้ า นที่ พ ระองค์ ป ระทั บ จนไม่ มี ที่ ว่ า งผู้

หามคนอัมพาตจึงต้องเปิดหลังคาบ้าน แล้ว หย่อนแคร่ที่คนอัมพาตนอนอยู่ลงมาทาง ช่องนัน้ เพือ่ ให้พระองค์ทรงรักษาเขาให้หาย ประชาชนมากมายมาฟั ง พระโอวาทของ พระเยซูเจ้าตลอดศาสนบริการ พระองค์ ทรงเอาพระทัยใส่สอนเขาด้วยความรัก และ ทรงเลี้ยงเขาที่หิวโหยเพราะไม่ได้กินอาหาร ทั้งวันโดยทรงทวีขนมปัง

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


94 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

กระนั้นก็ดี ดูเหมือนว่าพระเยซูเจ้า พอพระทัยทีจ่ ะสนทนากับประชาชนเป็นการ ส่วนตัวระหว่างบุคคลกับบุคคล พระองค์ ทรงสังเกตรายละเอียดการกระทำทุกอากัปกิรยิ าของแต่ละคน ทอดพระเนตรลึกเข้าไป ถึงจิตใจของเขา เช่น ทรงเห็นหญิงหม้าย ยากจนคนหนึ่งใส่เศษเงินลงในตู้ทานของ พระวิหาร (เทียบ ลก. 21: 2) 1 . วิ ธี ก ารสื่ อ สารของพระเยซู เ จ้ า ดังที่พบในพระวรสาร เราจะพิจารณารูปแบบการสื่อสาร 5 แบบ ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เมื่อยังทรงพระชนมชีพ ได้แก่ การทำอัศจรรย์ พระวาจา อากัปกิริยาที่แสดงความเป็นมิตร อากัปกิรยิ าทีแ่ สดงความสัมพันธ์กบั พระบิดา และ การสื่อสารโดยไม่ต้องใช้คำพูด 1.1 การทำอัศจรรย์ พระเยซูเจ้าทรงทำอัศจรรย์หลาย อย่ า งเพื่ อ ทำลายอุ ป สรรคที่ ขั ด ขวางการ สื่อสาร เราพบตัวอย่างชัดเจนในเรื่อง การ รักษาชาวเกราซาที่ถูกปีศาจสิง “ชายผู้นี้ ถูกปีศาจสิงเป็นเวลานาน ไม่สวมเสื้อผ้า ไม่อยู่ในบ้าน” (ลก. 8: 27) “อาศัยอยู่ตาม หลุมศพ ไม่มีใครล่ามเขาไว้ ได้ แม้จะใช้โซ่ ล่ามก็ตาม… เขาอยู่ตามหลุมศพและตาม ภูเขาตลอดวันตลอดคืน ส่งเสียงร้องเอ็ดอึง

และใช้หินทุบตีตนเอง” (มก. 5: 3, 5) พระอานุ ภ าพของพระเยซู เ จ้ า ทรงบั น ดาลให้ ชายผู้นี้ที่อยู่ในสังคมไม่ได้และปิดขังตัวเอง อยู่ในความบ้าคลั่งได้เปลี่ยนแปลงกลับเป็น คนนั่งอยู่ใกล้พระเยซูเจ้า “สวมเสื้อผ้า มี สติดี…ขออนุญาตตามเสด็จพระองค์ด้วย” (มก. 5: 15, 18) ในพระวรสาร เรายังพบเรื่อง อื่ น ๆ ในลั ก ษณะทำนองเดี ย วกั น นี้ เช่ น พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนใบ้หูหนวก (เทียบ มก. 7: 31-37) “ทรงขับไล่ปีศาจซึ่งทำให้คน เป็นใบ้” (ลก. 11: 14) และทรงรักษาคนตา บอดที่เมืองเบธไซดา (เทียบ มก. 8: 22) พระเจ้าเพียงพระองค์ทรงทำอัศจรรย์เพื่อ ทำลายอุปสรรคที่ขัดขวางการสื่อสาร 1.2 พระวาจาของพระเยซูเจ้า พระวาจาของพระเยซู เ จ้ า เปิดเผยเจตนาไม่ซื่อตรงของผู้ประสงค์ร้าย ที่มาติดต่อกับพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทำ ให้ผู้หวังจะได้บางสิ่งบางอย่างจากพระองค์ ต้องผิดหวัง เพราะไม่ทรงพระประสงค์จะให้ สิ่งนั้นแก่เขา “มนุษย์เอ๋ย ใครตั้งเราเป็นผู้ พิ พ ากษาหรื อ เป็ น ผู้ แ บ่ ง มรดกของท่ า น”


พระเยซูเจาผูสื่อสารที่สมบูรณ์

(ลก. 12: 14) บุคคลที่โอ้อวดว่า ตนพร้อมจะ ติดตามพระองค์ ไปทุกหนทุกแห่ง “พระอาจารย์ ข้าพเจ้าอยากติดตามไปทุกแห่ง ที่พระองค์จะเสด็จ” (มธ. 8: 19) พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ ไม่ มีที่จะวางศีรษะ” (มธ. 8: 20) หลายครั้ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง บุคคลผิวเผินและเปราะบาง เพราะเจตนา ของแต่ละคนนั้นคลุมเครือ และไม่คำนึงถึง ผลตามมา พระเยซูเจ้าจึงทรงย้ำเงื่อนไข อย่ า งชั ด เจนสำหรั บ ผู้ ต้ อ งการติ ด ตาม พระองค์วา่ “ถ้าผูใ้ ดติดตามเราโดยไม่รกั เรา มากกว่าบิดามารดา ภรรยา บุตร พี่น้อง ชายหญิง และแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง ผู้ นั้ น เป็ น ศิ ษ ย์ ข องเราไม่ ไ ด้ ผู้ ใ ดไม่ แ บก กางเขนของตนและติดตามเรา ผู้นั้นเป็น ศิษย์ของเราไม่ได้เช่นเดียวกัน” (ลก. 14: 26-27) พระเยซูเจ้าทรงใช้พระวาจาที่ตรงไป ตรงมาเช่นนี้ แม้จะทรงทราบว่า หลายคน อาจไม่ พ อใจและไม่ ย อมเป็ น ศิ ษ ย์ เ พราะ ทรงเรียกร้องมากเกินไป เศรษฐีหนุม่ ทูลถาม พระองค์ว่า “ข้าพเจ้าต้องทำอะไรเพื่อจะได้ ชีวิตนิรันดร” (มก. 10: 17) แต่แล้ว เมื่อได้ ฟังพระวาจาทีเ่ รียกร้องให้สละทุกสิง่ ทุกอย่าง

95

ที่มีใบหน้าของเขาก็สลดลง เพราะมีทรัพย์ สมบัติมากมาย เขาจึงเดินจากพระองค์ ไป ด้วยความทุกข์ พระเยซูเจ้ายังตรัสกับบรรดา อัครสาวกในช่วงวิกฤติของชีวิตว่า “ท่าน ทั้งหลายจะไปด้วยหรือ” (ยน. 6: 67) พระเยซูเจ้าทรงตำหนิผู้หน้าซื่อใจ คดและผู้ที่ไม่พยายามเข้าใจสถานการณ์ว่า “คนหน้ า ซื่ อ ใจคดเอ๋ ย ท่ า นรู้ จั ก วิ นิ จ ฉั ย ลักษณะดินฟ้าอากาศ แล้วทำไมจึงไม่วนิ จิ ฉัย เวลาปัจจุบนั นีเ้ ล่า” (ลก. 12 :56) พระเยซูเจ้า ตรัสกับบรรดาศิษ ย์ว่า “ทำไมท่านจึงถก เถียงกันเรื่องไม่มีขนมปัง ท่านยังไม่รู้ ไม่ เข้าใจอีกหรือ ท่านยังมี ใจแข็งกระด้างกัน อยู่อีกหรือ มีตา แต่ไม่เห็น มีหู แต่ไม่ได้ยิน หรือ” (มก. 8: 17-18) พระองค์ตรัสกับ หั ว หน้ า ชาวยิ ว ว่ า “วิ บั ติ จ งเกิ ด แก่ ท่ า น ทั้งหลายธรรมาจารย์และฟาริสีหน้าซื่อใจ คด ท่านปิดประตูอาณาจักรใส่หน้ามนุษย์ ท่านไม่เข้าไปและไม่ปล่อยคนที่อยากเข้า ให้ เข้าไปได้…วิบัติจงเกิดแก่ท่านผู้นำทางที่ตา บอด” (มธ. 23: 13, 16) ตรัสกับบรรดาศิษย์ ว่า “จงระวังเชื้อแป้งของบรรดาชาวฟาริสี คือความน่าซือ่ ใจคดของเขา ไม่มสี งิ่ ใดทีป่ ดิ บังไว้จะไม่ถูกเปิดเผย ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนเร้น จะไม่มีใครรู้ (ลก. 12: 1-2)


96 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

1.3 พระวาจากั บ อากั ป กิ ริ ย าที่ แสดงความเป็นมิตร พระเยซูเจ้าทรงใช้พระวาจา และอากัปกิริยาส่งเสริมการสื่อสาร ทรง แสดงความเป็นมิตรและการอยู่ด้วยกันฉัน พี่น้อง พระองค์ทรงเริ่มสั่งสอนประชาชน โดยเรียกบางคนให้ “อยู่กับพระองค์” (มก. 3: 14) และทรงติดต่อกับเขาในฐานะเพื่อน “เรากล่าวแก่ท่านที่เป็นมิตรของเราว่า...” (ลก. 12: 4) “เราเรียกท่านเป็นมิตรสหาย” (ยน. 15: 15) ผู้นิพนธ์พระวรสารเล่าเรื่อง ต่างๆ แสดงความสามารถของพระเยซูเจ้า ที่ทรงสนทนากับผู้อื่นฉันมิตร เช่น เรื่อง นิโคเดมัส (เทียบ ยน. 3: 1-14) เรื่องหญิง ชาวสะมาเรีย (เทียบ ยน. 4: 1-30) เล่าเรื่อง แสดงความอบอุ่นในการเข้าใจสภาพของ ผูอ้ นื่ และการเป็นมิตร เช่น เรือ่ งพระเยซูเจ้า เสด็จเข้าไปในบ้านของซีโมนชาวฟาริสี และ

ทรงยอมให้หญิงคนบาปจูบพระบาทและใช้ น้ำมันชโลมพระบาท (เทียบ ลก. 7: 36-50) เรื่ อ งเสด็ จ เข้ า ไปในบ้ า นของมารธาและ มารีย์ (เทียบ ลก. 10: 38-42) และเรื่องพระ เยซูเจ้าทรงบันดาลให้ลาซารัสกลับคืนชีพ (เทียบ ยน. 11: 1-44) 1.4 พระวาจากั บ อากั ป กิ ริ ย าที่ แสดงความสัมพันธ์กับพระบิดา พระเยซูเจ้าทรงใช้พระวาจา และอากัปกิริยาแสดงความสัมพันธ์พิเศษ ไม่เหมือนใครที่ทรงมีกับพระบิดา รวมทั้ง แสดงพระประสงค์ที่จะอยู่กับมนุษ ย์ เช่น หลังจากทรงพบกับประชาชนตลอดวันโดย เฉพาะผู้ป่วย “พระองค์ทรงลุกขึ้นตั้งแต่เช้า ตรู่ เสด็จออกจากบ้านไปยังที่สงัดและทรง อธิษฐานภาวนาที่นั่น” (มก. 1: 35) “ครั้งนั้น พระองค์เสด็จขึ้นไปบนภูเขา เพื่ออธิษฐาน ภาวนา และทรงอธิษฐานภาวนาต่อพระเจ้า ตลอดทั้งคืน ครั้นถึงรุ่งเช้า พระองค์ทรง เรียกบรรดาศิษย์เข้ามาแล้วทรงคัดเลือกไว้ สิบสอง” (ลก. 6: 12-13) 1.5 การสื่อสารโดยไม่ต้องใช้คำ พูด นอกเหนือกรณีที่พระเยซูเจ้า ทรงสื่อสารโดยใช้คำพูดแล้ว ยังมีสถานการณ์อื่นที่พระองค์ทรงสื่อสารโดยไม่ต้อง


พระเยซูเจาผูสื่อสารที่สมบูรณ์

ใช้คำพูด การประสูติเยี่ยงคนยากจนที่เมือง เบธเลเฮม การประทับอยู่อย่างเงียบๆ ที่ เมืองนาซาเร็ธเป็นเวลาสามสิบปี การรับ พระกระยาหารร่วมโตะกับคนบาป การอยู่ กับคนที่มี โรคภัยไข้เจ็บเป็นเวลานาน การ กันแสงเมื่อทอดพระเนตรกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อเสด็จไปยังคูหาของลาซารัส เป็น ตัวอย่างชัดเจนของสื่อสารโดยไม่ต้องใช้คำ พูด 2. การวิ เ คราะห์ วิ ธี สื่ อ สารบาง ประการที่ใช้คำพูด พระวาจาของพระเยซูเจ้า อุปมา การทำอัศจรรย์ คำโต้เถียงเป็นวิธกี ารสือ่ สาร ที่ควรได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียด 2.1 พระวาจาของพระเยซูเจ้า นักบุญลูกาเล่าว่า เมื่อพระเยซู เ จ้ า มี พ ระชนมายุ สิ บ สองพรรษา พระองค์เสด็จไปในพระวิหารและ “ประทับ นั่งอยู่ในหมู่อาจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถาม พวกเขา” (ลก. 2: 46) หลายปีต่อมา เมื่อ ทรงเริ่มปฏิบัติภารกิจ พระองค์เสด็จเข้าใน ศาลาธรรมที่เมืองนาซาเร็ธ ทรงอ่านและ อธิบายคำพยากรณ์ของประกาศกอิสยาห์ (เทียบ ลก. 4: 14-204) นักบุญมัทธิวเล่าว่า ตั้งแต่แรกเริ่มศาสนบริการของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเป็น “อาจารย์” (เทียบ มธ.

97

5: 1-2) แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ พิเศษที่ไม่เหมือนใคร เพราะพระองค์ทรง เป็นชาวบ้านที่ไม่ได้จบการศึกษาจากสถาบัน ใด ทรงเดินทางไปสั่งสอนศิษย์ตามหมู่บ้าน และทรงประกาศข่าวดีแก่ทุกคน ต่างจาก บรรดาธรรมาจารย์ พ ำนั ก อยู่ ใ นสำนั ก บรรดาศิษ ย์มาหาอาจารย์ที่นั่นเพื่อศึกษา หาความรู้ ลักษณะบางประการที่แสดงว่า พระ เยซูเจ้าทรงใช้พระวาจาเพื่อสื่อสารอย่างแท้ จริงคือ • วิธีการสอน พระเยซูเจ้าทรงดำริ ว่า มนุษย์มีความจริงอยู่ในใจแล้ว พระองค์ เพียงทรงช่วยนำความจริงออกมาจากตัว เขา ปัญหาต่างๆ มีคำตอบอยู่ภายในใจ เช่นกัน อันดับแรก ผู้เป็นศิษ ย์ ไม่ต้องมา ศึกษาเล่าเรียน แต่มาเพื่อไตร่ตรองและ แสวงหาความจริง การที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ คำถามบ่อยๆ เป็นเครื่องหมายของความ มั่นใจนี้ คำถามของพระองค์ทำให้ผู้ฟังไม่ สบายใจ เพราะเขาหวังว่าจะได้รับคำตอบ ทันที แต่พระองค์ ไม่ทรงทำเช่นนี้ พระองค์ ตรั ส ถามประชดประชั น อย่ า งแนบเนี ย น เพือ่ ผูฟ้ งั ได้เห็นปัญหาในมิติใหม่ ทำให้ผฟู้ งั เปลี่ยนทรรศนะที่เคยมั่นใจว่า ผู้สอนจะให้


98 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

คำตอบเกี่ยวกับความจริงฉับไวและถูกต้อง • น้ำเสียง ที่พระองค์ ใช้เมื่อตรัส พระวาจาแสดงพระอานุ ภ าพและความ มั่นใจในการสั่งสอน บ่อยครั้งพระวาจาของ พระองค์ชัดเจน อธิบายความหมายตรงไป ตรงมา ไม่คลุมเครือ พระองค์ ไม่ทรงสอน เชิงทฤษฎีไม่ทรงสอนเทววิทยาแบบวิชาการ แต่ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ของพระองค์ เยี่ยงมนุษย์ จุดประสงค์ของพระองค์ คือ ให้ทุกคนเข้าใจคำสอน ไม่ทรงใช้ถ้อยคำที่ เพียงผู้ ได้รับการศึกษาสูงเท่านั้นเข้าใจ • เทคนิคการพูด พระเยซูเจ้าตรัส พระวาจาอย่างฉะฉาน กล้าหาญ เป็นภาษา เฉพาะของอาจารย์สอนปรีชาญาณ ทรงใช้ ปฏิทรรศน์ คือ คำพูดที่ดูเหมือนว่าไร้สาระ แต่มีแก่นสาร หรือดูเหมือนเท็จแต่เป็นจริง เช่น “ท่านทั้งหลายอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ เพราะวั น พรุ่ ง นี้ จ ะกั ง วลสำหรั บ ตนเอง” (มธ. 6: 34) “จงตามเรามา และปล่อยใ ห้คนตายฝังคนตายของตนเถิด” (มธ. 8: 22) “เอาดาบใส่ฝักเสีย เพราะทุกคนที่ใช้ ดาบ ก็จะต้องพินาศด้วยดาบ (มธ. 26: 52) พระเยซู เ จ้ า ทรงใช้ ภ าษาภาพคื อ ใช้ ค ำให้ เกิดภาพ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการเห็น

ภาพชั ด เจนมากขึ้ น ทรงใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ ภาพพจน์ คำอุปมาและคำอุปลักษณ์ ช่วย ขยายความสิ่งที่เป็นนามธรรมโดยเปรียบ เทียบกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เข้าใจง่าย ขึ้น พระองค์ทรงหาสิ่งที่เปรียบเทียบจาก ชีวิตประจำวันของผู้ฟัง เช่น อุปมาเรื่องแกะ ที่พลัดหลง เรื่องเงินเหรียญที่หายไป เรื่อง ชาวสะมาเรียผู้ใจดี ฯลฯ 2.2 อุปมาที่พระองค์ทรงเล่า พระเยซูเจ้าทรงสื่อสารโดย ใช้ภาษาภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่า อุปมา เราพบในพระวรสารราวห้าสิบเรื่อง เกี่ยวกับพระอาณาจักร พระเมตตากรุณา และการตื่นเฝ้าระวัง 2.2.1 เอกลักษณ์ของการสื่อ สารในการเล่าอุปมา เมือ่ เราวิเคราะห์อปุ มา ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ในการประกาศข่าวดี เราจะเห็นว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์ 4 ประการที่แสดงเอกลักษณ์ของการสื่อสาร 1) เพื่อสั่งสอน อุ ป มาเป็ น การเปรี ย บ เที ย บค่ อ นข้ า งยาว ช่ ว ยผู้ อ่ า นให้ เ ข้ า ใจ คำสอนทีเ่ ป็นนามธรรม เป็นวิธสี อนทีเ่ ราพบ


พระเยซูเจาผูสื่อสารที่สมบูรณ์

ในหนังสือประเภทปรีชาญาณ อุปมาเป็น การเล่าเรื่องสิ่งของที่ ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หญิงคนหนึ่งหาเงินเหรียญที่หายไป ผู้เลี้ยงแกะตามหาแกะที่พลัดหลง ผู้หว่าน ที่หว่านเมล็ดพืช ชาวประมงที่หาปลา ฯลฯ 2) เพือ่ อ้างถึงความจริงเหนือ ธรรมชาติ แน่นอน พระเยซูเจ้าไม่ ทรงสนพระทัยเรื่องวิธีการหว่านเมล็ดพืช หรือความหมายตามอักษรของภาพเปรียบ เทียบ แต่พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ความ จริงเหนือธรรมชาติทภ่ี าพเหล่านัน้ เสนอแนะ เช่น ความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าและอาณาจักรของพระองค์ ไม่มวี ธิ อี นื่ ใดทีพ่ ระเยซูเจ้า ทรงสื่ อ สารความจริ ง เกี่ ย วกั บ พระเจ้ า นอกจากทรงอ้างถึงสิ่งสร้างซึ่งเป็นเหมือน กระจกที่สะท้อนภาพลักษณ์ของพระเจ้าได้ บ้างบางส่วน สำหรับพระเยซูเจ้าแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเหมือนผู้หว่าน คนหนึ่ง หรือเป็นเหมือนเชื้อแป้ง 3) เพื่อเชิญชวนผู้ฟงให้ตอบ คำถาม อุปมาจึงบรรจุธรรมล้ำลึก ของพระเจ้า แต่ไม่เป็นภาพถ่ายของพระเจ้า เหมือนภาพถ่ายของวัตถุแปลกปลอมที่มา จากนอกพิภพ อุปมาเชิญชวนผู้ฟังให้ตอบ คำถามที่เกิดจากความแปลกของเรื่องเล่า

99

เกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ประจำวั น ที่ มี ค วามหมาย มากกว่าตามตัวอักษร เช่น ทำไมผู้หว่าน โปรยเมล็ดพืชตกบนหิน ตกในพงหนาม หรือบนทางเดิน ทำไมผู้เลี้ยงแกะทิ้งแกะ ทัง้ เก้าสิบเก้าตัวในถิน่ ทุรกันดาร เพือ่ ตามหา แกะตัวหนึ่งที่พลัดหลงโดยยอมเสี่ยงที่แกะ อื่นๆ จะหายไป ไข่มุกจะมีค่ามากได้อย่างไร จนผู้พบขายทุกสิ่งที่เขามี เพื่อมาซื้อไข่มุก นั้น เมื่อเทียบลูกคนโตกับน้องชายที่ล้าง ผลาญทรัพย์สมบัติทั้งหมด คำพูดของลูก คนโตมีเหตุผลบ้าง ลูกจ้างในสวนที่ทำงาน ตลอดวั น มี เ หตุ ผ ลที่ จ ะเรี ย กร้ อ งความ ยุติธรรมว่า ทำไมจึงได้รับค่าตอบแทนเท่า กั บ ลู ก จ้ า งที่ ท ำงานเพี ย งชั่ ว โมงเดี ย ว วิธีการสื่อสารของพระเยซูเจ้าดูเหมือนค่อน ข้างแปลก โดยปกติแล้ว คนทั่วไปเล่าอุปมา เพื่อแก้ปัญหาตอบคำถามและอธิบายความ หมาย แต่พระองค์ทรงเล่าอุปมาเพื่อเชิญ ชวนผู้ฟังให้ตั้งคำถามและสร้างปัญหามาก ขึ้น “ใครมีหูสำหรับฟัง ก็จงฟังเถิด” (มก. 4 : 9) 4) เพื่อผู้ฟงที่ ไม่มีความเชื่อ จะไม่เข้าใจความหมายของอุปมา พระเยซู เ จ้ า ยั ง ทรงเล่ า อุปมาซึ่งผู้ฟังจะเข้าใจความหมาย ก็ต่อเมื่อ เขามีความเชื่อเช่น นักบุญมาระโกเล่าเรื่อง พระเยซูเจ้าทรงอธิบายอุปมาเรื่องผู้หว่าน


100 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ว่า “เมือ่ ประชาชนจากไปแล้ว อัครสาวกสิบ สองคนกับผู้ที่อยู่รอบๆ พระองค์ ทูลถาม เรื่องอุปมา พระองค์ตรัสตอบว่า “พระเจ้า ประทานธรรมล้ำลึกเรื่องพระอาณาจักรของ พระเจ้าให้ท่านทั้งหลายรู้แต่สำหรับคนที่ อยู่ ภ ายนอก ทุ ก สิ่ ง แสดงออกเป็ น เพี ย ง อุปมา ดังที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ‘เพื่อเขา จะมองแล้วมองเล่า แต่ไม่เห็น ฟังแล้วฟังเล่า แต่ ไม่เข้าใจ มิฉะนั้นแล้วเขาคงได้กลับใจ และพระเจ้าคงจะทรงให้อภัยเขา (มก. 4: 10-12) ผู้ที่ดำเนินชีวิตผิวเผิน และมีความ คิ ด แบบวั ต ถุ นิ ย มรั บ การสื่ อ สารของ พระเยซูเจ้าไม่ได้ ส่วนบรรดาศิษย์ ผูท้ ลู ถาม พระองค์เรื่องอุปมา พระองค์ทรงอธิบาย เป็นการส่วนตัว “เพราะคนที่ขอย่อมได้รับ คนที่แสวงหาย่อมพบ คนที่เคาะประตูย่อม มีผู้เปิดประตูให้ (มธ. 7: 8) 2.2.2 ตั ว อย่ า งการสื่ อ สาร โดยใช้อุปมา ในคำปราศรั ย ของ พระเยซูเจ้าบนภูเขา นักบุญมัทธิวรวมอุปมา เรื่องเกลือดองแผ่นดินและเรื่องแสงสว่าง ส่องโลกเข้าด้วยกัน “ท่ า นทั้ ง หลายย่ อ ม เป็นสุข เมื่อถูกดูหมิ่น ข่มเหงและใส่ร้าย ต่างๆ นานาเพราะเรา จงชื่นชมยินดีเถิด เพราะบำเหน็จรางวัลของท่านในสวรรค์นั้น

ยิ่งใหญ่นัก เขาได้เบียดเบียนบรรดาประกาศกที่อยู่ก่อนท่านดังนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ท่ า นทั้ ง หลายเป็ น เกลื อ ดองแผ่ น ดิ น ถ้ า เกลือจืดไปแล้ว จะเอาอะไรมาทำให้เค็ม อีกเล่า เกลือนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อะไร นอกจากจะถูกทิ้งให้คนเหยียบย่ำ “ท่าน ทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลก เมืองที่ตั้ง อยู่ บ นภู เ ขาจะไม่ ถู ก ปิ ด บั ง ไม่ มี ใ ครจุ ด ตะเกียงแล้วเอามาวางไว้ใต้ถัง แต่ย่อมตั้ง ไว้บนเชิงตะเกียงจะได้ส่องสว่างแก่ทุกคน ในบ้าน ในทำนองเดียวกัน แสงสว่างของ ท่านต้องส่องแสงต่อหน้ามนุษ ย์ เพื่อคน ทั้งหลายจะได้เห็นกิจการดีของท่าน และ สรรเสริญพระบิดาของท่านผูส้ ถิตในสวรรค์” (มธ. 5: 11-16) พระเยซู เ จ้ า ทรงเล่ า อุปมานี้เพื่อบรรยายภารกิจของกลุ่มคริสตชนคือพระศาสนจักร เกลือมีประโยชน์ ไม่ใช่ เพื่อตัวเอง แต่มีไว้เพื่อถนอมอาหาร ทำให้ อาหารมีรสชาติดี แสงสว่างมีประโยชน์ไม่ใช่ เพื่อตัวเอง แต่มี ไว้เพื่อส่องสว่างทางเดิน พระศาสนจักรก็เช่นกัน คริสตชนไม่ดำรง ชีวติ เพือ่ ตนเอง แต่เพือ่ ผูอ้ น่ื และเพือ่ พระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนผู้ฟังให้ใช้ประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อเข้าใจคำสอนที่พระองค์ ทรงมีพระประสงค์สื่อสาร พระเยซูเจ้าทรง ต้องการให้แต่ละคนวิเคราะห์ประสบการณ์


พระเยซูเจาผูสื่อสารที่สมบูรณ์

ของตนเกี่ ย วกั บ เกลื อ และแสงสว่ า งเพื่ อ เข้าใจภารกิจของเขาในฐานะทีเ่ ป็นคริสตชน มี ใครบ้างที่ ไม่รู้เกลือและแสงสว่างว่าคือ อะไร พระเยซูเจ้าทรงใช้สองสิง่ นีท้ จี่ ำเป็นใน ชี วิ ต ประจำวั น เพื่ อ สื่ อ สารคำสอนของ พระองค์ 2.3 การทำอัศจรรย์ การทำอั ศ จรรย์ เ ป็ น อี ก วิ ธี หนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ในการสื่อสาร เป็น กิจการแสดงพระอานุภาพมากกว่าพระวาจาของพระองค์ พระวรสารทั้ ง สี่ ฉ บั บ บันทึกการทำอัศจรรย์ราวสี่สิบเรื่อง คำสอน ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงมี พ ระประสงค์ ที่ จ ะ สื่อสารโดยการกระทำอัศจรรย์ก็คือ บัดนี้ พระอาณาจักรของพระเจ้ามาถึงแล้ว พระเมตตากรุณาของพระองค์ชนะความชั่วช้า รักษามนุษ ย์ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตใจได้ แล้ว ดังที่เราพบในพระวรสารเรื่องพระเยซูเจ้าทรงรักษาคนอัมพาตให้หายและทรง อภัยบาป (เทียบ มก. 2: 1-12) เรื่องพระเยซูเจ้าทรงรักษาคนที่ถูกปีศาจสิงให้หาย และเป็นอิสระ (เทียบ มก. 5: 1-19) เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงรักษาบารทิเมอัสคนตาบอด ให้หายฝ่ายกาย (เทียบ มก. 10: 46-52) เรื่องทรงบันดาลให้ศักเคียสกลับใจ (เทียบ ลก. 19: 1-10) เรื่องพระเยซูเจ้าทรงบันดาล ให้ ล าซารั ส ผู้ ต ายฝ่ า ยกายให้ ก ลั บ คื น ชี พ

101

(เทียบ ยน. 11: 1-44) และเรื่องประทาน อภัยหญิงคนบาปผู้ตายฝ่ายจิตใจให้มีชีวิต ใหม่ การรักษาของพระเยซูเจ้าเป็น วิธีสื่อสารที่เรียกร้องให้ผู้ ได้รับอัศจรรย์ต้อง เปิดใจโดยสำนึกว่าการกระทำนีเ้ ป็นประทาน จากพระเจ้า ตัวอย่างเช่น เรื่องพระเยซูเจ้า ทรงรักษาบารทิเมอัสคนตาบอดให้หาย “พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ มาถึ ง เมืองเยรี โคพร้อมกับบรรดาศิษ ย์ ขณะที่ พระองค์เสด็จออกจากเมืองเยรี โคพร้อม กับบรรดาศิษ ย์และประชาชนจำนวนมาก บารทิ เ มอั ส บุ ต รของทิ เ มอั ส คนขอทาน ตาบอดนั่งอยู่ริมทาง เมื่อได้ยินว่าพระเยซู ชาวนาซาเร็ธกำลังเสด็จผ่านมา เขาเริ่มส่ง เสียงร้องตะโกนว่า “ข้าแต่พระเยซู โอรส ของกษั ต ริ ย์ ด าวิ ด เจ้ า ข้ า โปรดเมตตา ข้าพเจ้าเถิด” หลายคนดุเขาให้เงียบ แต่ เขากลับตะโกนดังยิ่งกว่าเดิมว่า “พระโอรส ของกษั ต ริ ย์ ด าวิ ด เจ้ า ข้ า โปรดเมตตา ข้าพเจ้าเถิด” พระเยซูเจ้าทรงหยุด ตรัสว่า “ไปเรียกเขามาซิ” เขาก็เรียกคนตาบอด พลางกล่าวว่า “ทำใจดีๆ ไว้ ลุกขึ้น พระองค์ กำลังเรียกเจ้าแล้ว” คนตาบอดสลัดเสื้อ คลุ ม ทิ้ ง กระโดดเข้ า ไปเฝ้ า พระเยซู เ จ้ า พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านอยากให้เราทำ อะไรให้” คนตาบอดทูลว่า “รับโบนี ให้


102 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ข้าพเจ้าแลเห็นเถิด” พระเยซูเจ้าตรัสกับ เขาว่า “ไปเถิด ความเชื่อของท่านได้ช่วย ท่านให้รอดพ้นแล้ว” ทันใดนั้น เขากลับ แลเห็ น และเดิ น ทางติ ด ตามพระองค์ ไ ป (มก. 10: 46-52) ถ้ า เราวิ เ คราะห์ เ หตุ ก ารณ์ ข้างต้น จะเห็นว่าสารสื่อนี้มีผู้แสดงสองคน คือ บารทิเมอัสและพระเยซูเจ้า บารทิเมอัส สื่ อ สารโดยร้ อ งตะโกนความต้ อ งการ ของตนว่า “ข้าแต่พระเยซู โอรสของกษัตริย์ ดาวิดเจ้าข้า โปรดเมตตาข้าพเจ้าเถิด” ส่วน พระเยซูเจ้าตรัสถามว่า “ท่านอยากให้เรา ทำอะไรให้” คนตาบอดตอบว่า “รับโบนี ให้ ข้าพเจ้าแลเห็นเถิด” คำพูดเช่นนี้แสดงว่า เขาต้องการพระเยซูเจ้าและไว้ในพระองค์

เขาต้องการให้พระเยซูเจ้าทรงทำอัศจรรย์ ดังที่พระองค์ทรงเห็นสมควร พระเยซูเจ้า ทรงมีพระประสงค์ ให้บารทิเมอัสหายจาก ตาบอดก็ จ ริ ง แต่ จ ากบริ บ ทเราเข้ า ใจว่ า พระเยซูเจ้ายังทรงพระประสงค์ ให้บารทิเมอั ส มี ค วามเชื่ อ ในพระองค์ คื อ จาก ประสบการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงทำอัศจรรย์ แก่เขาไปสู่ความเชื่อที่ว่า พระเยซูเจ้าเป็น พระบุ ต รของเจ้ า ผู้ ท รงทำอั ศ จรรย์ ด้ ว ย พระอานุภาพ พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “ไปเถิด ความเชื่อของท่านได้ช่วยท่านให้ รอดพ้นแล้ว” ทันใดนั้น เขากลับแลเห็น และเดินทางติดตามพระองค์ไป เป็นทางนำ ไปยังกรุงเยรูซาเล็ม คือ ไปสู่ธรรมล้ำลึก ปัสกา 2.4 คำโต้เถียง คำโต้ เ ถี ย งเป็ น อี ก วิ ธี ห นึ่ ง ที่ พระเยซูเจ้าทรงใช้ในการสื่อสาร หลายครั้ง พระเยซูเจ้าจำเป็น ต้องโต้เถียงกับศัตรูของ พระองค์ โดยเฉพาะบรรดาธรรมาจารย์และ ชาวฟาริสี ประชาชนเลียนแบบความประพฤติจากเขา เช่น พระเยซูเจ้าทรงโต้เถียง กับหัวหน้าชาวยิวในเรื่องบรรดาศิษ ย์เด็ด รวงข้าวในวันสับบาโต (เทียบ มก. 2: 2228) เรื่องพระเยซูเจ้าทรงรักษาชายมือลีบ ในวันสับบาโต (เทียบ มก. 3: 1-6) เราจะ พิจารณาเนื้อหาของการโต้เถียงเป็น 3


พระเยซูเจาผูสื่อสารที่สมบูรณ์

ประเด็นคือ • พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า การ ถื อ ขนบประเพณี แ ละจารี ต พิ ธี ก รรมไม่ สำคัญเท่ากับการปฏิบัติตามพระประสงค์ ของพระเจ้า เพื่อความดีของมนุษย์ ดังที่ พระองค์ตรัสว่า “วันสับบาโตมีไว้เพือ่ มนุษย์” (มก. 2: 27) • พระเยซูเจ้าทรงพระประสงค์ ที่จะให้ศาสนามีความบริสุทธิ์ ปราศจาก มลทิน พ้นจากอุปสรรคต่างๆ โดยทรงเปิด เผยขนบประเพณีที่มนุษย์สร้างด้วยใจแคบ และความหน้าซื่อใจคดของเขา พระองค์ ทรงยืนยันว่าเกี่ยวกับพระองค์เองว่า “บุตร แห่งมนุษ ย์จึงเป็นนายเหนือแม้กระทั่งวัน สับบาโตด้วย” (มก. 2: 28) • พระเยซูเจ้าทรงสอนเสมอ ว่า มนุษย์มีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด เช่น ลา หรือ “โคตกลงไปในบ่อ” (ลก. 14: 5) ผู้ ช่วยเหลือมนุษย์ก็ร่วมงานกับพระเจ้าผู้ทรง พระประสงค์ที่จะช่วยมนุษ ย์ผ่านทางการ อุทิศตนของมนุษย์ กิจการของพระเจ้าและ ของมนุ ษ ย์ ต้อ งประสานกันตามแผนการ ของพระเจ้า 3. สรุป พระเยซูเจ้าทรงเสนอการสื่อสาร ที่เป็นการถ่ายทอดความจริง ไม่ใช่ศิลปะ การทำให้เชื่อ โดยใช้วาทะศิลปเพื่อให้ผู้ฟัง

103

คล้อยตาม พระองค์ทรงใช้การสือ่ สารทีเ่ ชิญ ชวนผูฟ้ งั ให้ตอบสนอง คำตอบของผูฟ้ งั อาจ เป็นการกลับใจ เช่น “องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเหลียวมามองเปโตร เปโตรจึงระลึกถึง พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสกับ เขาว่า ‘วันนี้ ก่อนไก่ขัน ท่านจะปฏิเสธเรา สามครั้ง เปโตรจึงออกไปข้างนอก ร้องไห้ อย่างขมขื่น” (ลก. 22: 61-62) หรือคำตอบ อาจเป็นการต่อต้าน เช่น “ชาวฟาริสีจึงออก ไป และประชุมกับพรรคพวกของกษัตริย์ เฮโรดทันทีเพื่อปรึกษาว่าจะกำจัดพระองค์ ได้อย่างไร” (มก. 3: 6) การสื่ อ สารของพระเยซู เ จ้ า จึ ง ก่อให้เกิดปฏิกริยาอยู่เสมอ พระองค์ยังทรง เตือนบรรดาศิษ ย์ ให้ระมัดระวังผู้ที่สื่อสาร ที่ใช้สำนวนโวหารเพื่อหลอกลวงผู้ฟัง “จะ มี พ ระคริ ส ต์ เ ที ย ม และประกาศกเที ย ม หลายคนเกิดขึ้น จะทำเครื่องหมายและ ปาฏิหาริยย์ งิ่ ใหญ่ ถ้าเป็นไปได้จะหลอกลวง แม้แต่ผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรรไว้” (มธ. 24: 24) โดยแท้จริงแล้ว พระเยซูเจ้าไม่ ทรงเป็นเพียง “ผู้สื่อสารที่สมบูรณ์” และ อาจารย์ ส อนอย่ า งผู้ ท รงอำนาจ แต่ เ ป็ น พระวจนาตถ์ คือ พระบุคคลผู้ทรงรับสภา พมนุษ ย์เพื่อสื่อสารความจริงของพระเจ้า และของมนุษย์


104 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

Eilers, Franz-Josef. Communicating in Community. An Introduction to Social Communication. Third Edition. Manila: Logos, 2002. . Communicating in Ministry and Mission. An Introduction to Pastoral and Evangelizing Communication. 2nd ed. Manila: Logos, 2004. F., Lambiasi, and G., Tangorra. Gesu Cristo comunicatore. Cristologia e comunicazione., Milano: Paoline, 1997. Martini, Carlo. Ephata, Apriti. Lettera per il Programma Pastorale, Communicare. Milan: Centro Ambrosiano, 1990. English Edition: Communicating Christ to the World. Kansas City: Sheed & Ward, 1994. Palakeel, Joseph. (ed). Towards a Communication Theology. Bangalore: Asian Trading, 2003.


หมวดศาสนสัมพันธและคริสตสัมพันธ 105

พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

พิษณุโลก :

ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ ¾ÃªÑ ÊÔ§Ë ÊÒ

บทนำ พิษณุโลก เป็นเมืองที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์อย่างมาก ชาวต่างชาติ ในสมัยกรุงสุโขทัย และอยุธยาที่เข้ามาใน ประเทศสยาม มั ก จะเรี ย กพิ ษ ณุ โ ลกว่ า ปูร์เซอลุก (pourcelouc) อาจเป็นไปได้ที่ พวกเขาไม่สามารถออกเสียงไทยได้ชัดเจน แล้วเพี้ยนไปเป็นคำนี้ ชาวเมืองพิษณุโลก เป็นที่ชื่นชอบของพระสังฆราชลาโน เพราะ ท่านกล่าวชมว่า “เป็นคนซื่อๆ ว่านอนสอน ง่าย”1 การศึกษาความเป็นมาของคริสต-

ศาสนาในพิษณุโลก จึงมีความสำคัญมาก เพราะคริสตศาสนาได้เข้ามาในสยามแล้ว และพิษณุโลกก็เป็นเขตแดนที่มีผู้คนนับถือ คริ ส ตศาสนาแล้ ว อี ก ทั้ ง ยั ง มี เ อกสารที่ ยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองซึ่งสมัยนั้นมีทั้ง วัด โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงพยาบาล และที่สุดเมื่อเกิดภาวะสงคราม ระหว่างไทยกับพม่าจึงทำให้สิ่งที่เคยมีขึ้น เหล่านีก้ ระจัดกระจาย และก็หายไปในทีส่ ดุ ในสมัยหลังเมื่อ 90 ปีที่แล้วจึงมีการสร้าง วัดน้อย ในสมัยคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน2

สามเณรใหญ่สงั ฆมณฑลนครสวรรค์ สัตบุรษุ วัดนักบุญลูกา บางเขน ขณะนีอ้ ยู่ในช่วงปีฝก งานอภิบาล อาเดรียง โลเน,บาทหลวง,ประวัติมิสซังกรุงสยาม ค.ศ. 1662-1811,(อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ : 2003) หน้า 29 2 เกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน 1880 สัตบุรุษวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน บวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 19 ธันวาคม 1913 มรณะเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1971 ศพฝังที่สุสานอาสนวิหารนักบุญอันนา นครสวรรค์ 1


106 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

การศึกษาความเป็นมาของคริสตชน ในพิษณุโลกในตอนนีน้ น้ั เป็นการศึกษาชุมชน คริสตชนในพิษ ณุโลกตั้งแต่สมัยกรุงศรี- อยุ ธ ยา เรื่ อ ยมาจนถึ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ตอนต้น จึงเป็นการศึกษาชุมชนคริสตชน พิษ ณุโลกในฐานะที่เป็นศูนย์กลางในการ แพร่ธรรมและเตรียมสำหรับการขยายงาน แพร่ธรรมในเขตภาคเหนือ เพือ่ เป็นเส้นทาง ในการไปพม่า ลาว และจีน นอกจากนั้น พิษ ณุโลกยังเป็นศูนย์ ในการหยุดพักของ บรรดาผู้ แ พร่ ธ รรมเพื่ อ เดิ น ทางต่ อ ไป อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ศู น ย์ ข องการให้ ก ารศึ ก ษา เพื่อเตรียมมิชชันนารี เพื่อทำงานแพร่ธรรม ในเขตนี้ด้วย ชุมชนคริสตชนพิษ ณุโลกที่ค้นพบ ในเอกสารของบรรดามิ ช ชั น นารี ยั ง เป็ น สถานที่ปริศนาที่เรียกร้องนักประวัติศาสต ร์ในการค้นหาสถานที่ตั้งของกลุ่มคริสตชน ในอดีตทีเ่ คยรุง่ เรืองเมือ่ ครัง้ อดีตแต่ปจั จุบนั ได้สูญหายไปแล้ว

3

ความเป็นมาของชุมชนความเชื่อพิษณุโลก ในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง และการขยายงาน แพร่ธรรมในเขตภาคเหนือ ค.ศ. 1671 สยามได้รับสถาปนาให้ เป็นมิสซัง โดยมีคณะสงฆ์มสิ ซังต่างประเทศ แห่งกรุงปารีส (Missions Etrangeres de Paris)3 เป็นผู้ดูแล ดังนั้นจึงเห็นว่าควรที่จะ ทำงานแพร่ธรรมในเมืองต่างๆ ที่อยู่ห่างไกล จากกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นราชธานี ขณะนั้น พระสังฆราช ลังแบรต์ เดอ ม๊อต เดินทาง ไปเยี่ยมมิสซังโคชินจีน จึงได้ตกลงที่จะส่ง พระสงฆ์ผู้แพร่ธรรม(Missionary) องค์หนึ่ง พระสงฆ์ที่ได้รับเลือก ก็คือ คุณพ่อลาโน (ซึ่ ง ภายหลั ง ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น พระ- สังฆราชองค์แรกที่ดูแลมิสซังสยาม) ซึ่ง ท่านเป็นผู้ที่มีความรอบรู้เรื่องภาษาสยาม และภาษาบาลี (ซึ่ ง เป็ น ภาษาของพุ ท ธ- ศาสนา) จึงทำให้ท่านมีความเหมาะสมที่ จะได้รับงานนี้ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1671 คุณพ่อลาโน เลือกเดินทางไปเมือง

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เป็นคณะพระสงฆ์จากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในสยามเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1662


พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

พิษณุโลก เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยาไปทางเหนือประมาณ 300 กว่า กิโลเมตร คุณพ่อลาโนได้พักอาศัยอยู่ที่นั่น เพราะคุณพ่อเห็นว่าชาวเมืองทีน่ เ่ี ป็นคนซือ่ ๆ และว่ า นอนสอนง่า ย ซึ่ งทำให้ ท่า นได้รั บ ประสบการณ์มากมายจากการมาพิษณุโลก ในครั้งนั้น พิ ษ ณุ โ ลกจึ ง มี ค วามสำคั ญ เพราะ เป็ น การเปิ ด งานแพร่ ธ รรมแห่ ง ใหม่ น อก เมืองอยุธยา และคุณพ่อลาโน เมื่อท่านมา แพร่ ธ รรมที่ นี่ ท ำให้ ม องเห็ น โครงการใน อนาคตสำหรับมิสซังสยามมากมาย เราจะ ทราบในภายหลังว่า มีงานเขียนที่เกี่ยวกับ งานแพร่ธรรม และการจัดทำคู่มือในการ แนะนำมิชชันนารี รวมทั้งหนังสือคำสอน เกีย่ วกับพระศาสนจักรสำหรับคนไทยก็ลว้ น เกิดขึ้นมาจากการเดินทางมาพิษณุโลกของ คุณพ่อลาโน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านได้ เรียนรู้จักคนไทย และสังคมไทย เมื่ออยู่ที่พิษ ณุโลกนั้นคุณพ่อลาโน ได้รบั การต้อนรับอย่างดี จากบรรดาขุนนาง และประชาชนทัว่ ไป ซึง่ ส่วนมากเป็นคนลาว พวกเขามี ค วามเอาใจใส่ แ ละสนใจการ เทศน์สอนของมิชชันนารีกว่าผู้คนในกรุง ศรีอยุธยา แม้วา่ จะมีความสนใจในการเรียน ศาสนาและความเชื่ อ แบบคริ ส ตั ง แต่

107

คุณพ่อลาโน ก็ไม่ได้เร่งรีบในการโปรดศีล ล้างบาปให้ใครจนกว่าจะมั่นใจในความเชื่อ และความพากเพี ย รของเขาที่ จ ะเป็ น คริสตชนจริงๆ เพราะคุณพ่ออยากให้มั่นใจ ว่ า เขาได้ เ ชื่ อ จริ ง ๆ ประสบการณ์ เ หล่ า นี้ ทำให้ มี ค วามจำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งดำเนิ น การ รวบรวมและจัดทำหนังสือบทภาวนา และ หนังสือคำสอนเล่มเล็กๆ เป็นภาษาสยาม เพราะท่ า นพบปั ญ หาที่ ต้ อ งอธิ บ ายเรื่ อ ง ข้อความเชื่อเบื้องต้นให้กับชาวบ้านได้ฟัง และต้องใช้ภาษา หรือคำบางคำที่ต้องมี ศัพท์ศาสนาที่เหมาะสม แต่ถึงกระนั้นท่าน ก็ยังได้พิสูจน์ด้วยการสอนให้กับชาวบ้าน ด้วยวิธีการที่เข้าใจง่ายและเหมาะสำหรับ ชาวบ้านว่า “มีศาสนาทีเ่ ทีย่ งแท้เพียงศาสนา เดียวคือศาสนาคริสต์ นอกจากศาสนานี้ ไม่มีหวังจะได้รับความรอดนิรันดร์” นี่เป็น วิ ธี ก ารที่ จ ะทำให้ ผู้ ค นในสมั ย นั้ น ได้ รู้ จั ก ศาสนาคริสต์ (และในสมัยต่อมามิชชันนารี ก็ ได้ใช้กับการแพร่ธรรมให้กับคนพุทธใน สยาม) คุณพ่อลาโนสอนเรื่องข้อความเรื่อง การสร้าง พระตรีเอกภาพ และมังสาวตาร (การบั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ ข องพระเยซู เ จ้ า ) จากนั้นคุณพ่อลาโนก็ ได้อธิบายเรื่องศีลธรรม สัญลักษณ์แห่งความเชื่อ และศีล


108 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ก่อนที่ท่านจะเดินทางออก จากพิ ษ ณุ โ ลกเพื่ อ กลั บ มากรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา คุ ณ พ่ อ ได้ ใ ห้ ก ำลั ง ใจคนที่ ส นใจศาสนา คริสต์ ให้มีความพากเพียรในการปฏิบัติ ตามพระบั ญ ญั ติ แ ละท่ า นก็ สั ญ ญาว่ า จะ กลับมาอีก เมื่อท่านกลับมาถึงเมืองหลวง ท่าน คิดว่า จำเป็นต้องเรียนภาษาไทย (สยาม) และภาษาบาลีต่อไป โดยเฉพาะภาษาบาลี นั้นเป็น “ภาษาที่มีความจำเป็นที่ต้องเรียน เพื่ อ ให้ มี ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ ศาสนาของชาว สยามอย่ า งถ่อ งแท้ และท่า นก็ยังหวังว่า บรรดามิชชันนารีรุ่นหลังๆ (ที่เดินทางมา จากประเทศห่างไกล) จะได้รับพระบรม- ราชานุ ญ าติ ใ ห้ เ ทศน์ ส อนศาสนาอย่ า ง เสรีภาพได้ทั่วทั้งอาณาจักร และนี่อาจเป็น การคาดคะเนเหตุ ก ารณ์ ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ใน อนาคต เพราะมีการเบียดเบียนขึ้นในสมัย หลังๆ และด้วยความมุ่งหวังที่ท่านจะช่วย ธรรมทูตที่จะเข้ามาทำงานในสยาม คุณพ่อ ได้แต่งหนังสือไวยากรณ์ และพจนานุกรม ภาษาสยามและบาลี แปลบทภาวนา และ คำสอนคริสตังเป็นภาษาสยาม และเขียน 4

ด.,หน้า 125

ตำราเล่มเล็กๆ เป็นภาษาสยาม แบ่งอกเป็น 4 ภาค กล่าวถึงการมีอยู่ของพระเจ้า พระ- ตรีเอกภาพ และมังสาวตาร (การบังเกิดมา เป็นมนุษย์ของพระบุตร) นอกจากนั้นยังมี เรื่องเครื่องหมายแห่งพระศาสนาเที่ยงแท้ ท่านยังเขียนหนังสืออีกหนึ่งเล่มเกี่ยวกับ “วิ ธี โ ต้ แ ย้ ง ข้ อ ผิ ด พลาดที่ มี อ ยู่ ใ นศาสนา ของชาวสยาม” ซึ่งในขณะนั้น “กรุงศรีอยุธยา ละโว้ พิษณุโลก ตะนาวศรี มะริด.. เป็นชุมชน คริสตังที่เริ่มขยายตัวมากขึ้น”4 หลังจากที่คุณพ่อลาโนกลับไปแล้ว เมื อ งพิ ษ ณุ โ ลกก็ ไ ม่ มี พ ระสงฆ์ ดู แ ลจน ถึงปี 1673 เมื่อคุณพ่อลาโน ได้รับการ แต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น พระสั ง ฆราชองค์ แ รกของ มิสซังสยาม เป็นเวลาเดียวกันกับที่ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช (พระมหากษัตริย์ แห่งกรุงสยาม) แต่งตั้งเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึง่ เป็นชาวโปรตุเกส และเป็นเพือ่ นกับพระ- สังฆราช ลาโน เมื่อเป็นดังนี้ พระคุณเจ้า ลาโนจึงถือโอกาสส่งคุณพ่อลังกลัวส์ พร้อม กับสามเณรอีก 4 คน ไปที่พิษณุโลกเพื่อจัด ตั้งศูนย์แพร่ธรรมขึ้น


พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

ปี 1676 พระสังฆราชลาโน เดินทาง ไปแพร่ธรรมที่พิษณุโลกอีกครั้ง และส่ง พระสงฆ์ มิ ช ชั น นารี อี ก องค์ ห นึ่ ง ถู ก ส่ งไป สมทบที่ พิ ษ ณุ โ ลกเพราะที่ นั่ น มี ง านมาก คุ ณ พ่ อ ลั ง กลั ว ส์ เป็ น ผู้ ที่ ถู ก ส่ งไปประจำ ที่ นั่ น ท่ า นถื อ ว่ า พิ ษ ณุ โ ลกเป็ น เมื อ งที่ มี สภาพทางภูมิศาสตร์ดีมาก และเมืองนี้อาจ เป็นศูนย์กลางในการขยายงานแพร่ธรรม ไปยังประเทศลาว และพม่า (ซึ่งขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของมิสซังสยาม) นอกจากนี้ แล้วยังเป็นเมืองที่มีอากาศดีกว่ากรุงศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ห่างไกลกับราชสำนัก ไม่มี ชาวต่างชาติ ที่นี่จึงเป็นสถานที่เหมาะสม เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดที่จะตั้งบ้านเณรสำหรับ ชาวสยาม ชาวมอญ และชาวลาว ที่ต้อง แยกออกจากเวียดนาม ตามคำขอร้องของ มิชชันนารี่แห่งตังเกี๋ย บางทียังอาจจะสร้าง บ้ า นเข้ า เงี ย บสำหรั บ มิ ช ชั น นารี ที่ นี่ ด้ ว ย ขณะทีอ่ ยูพ่ ษิ ณุโลก คุณพ่อลังกลัวส์ได้สร้าง โรงพยาบาลขึ้น 2 แห่ง ต่อมาปี คุณพ่อโมแนสจีเยร์ ถูกส่ง ไปทำงานแทนคุณพ่อลังกลัวส์ ท่านได้ เพื่อนร่วมงาน 2 คน คือ คุณพ่ออังเยโล ( นั ก บวชคณะฟรั ง ซิ ส กั น ชาวอิ ต าเลี่ ย น) และคุณพ่อกรอส ทั้งสามได้ทำงานแพร่ ธรรมด้วยความกระตือรือร้น พวกท่านมี

109

ความตั้งใจที่จะเปิดเส้นทางไปสู่อาณาจักร ล้ า นช้ า ง แต่ มี ปั ญ หาระหว่ า งอาณาจั ก ร ล้านช้างซึ่งเป็นประเทศราชของพม่า กับ สยาม จึงบังคับให้คุณพ่อทั้งสามต้องหยุด และพำนักอยู่ที่เมืองสุโขทัย และที่เมืองนี้ เองตุณพ่อกรอสถูกผีปีศาจทุบตี เพราะ โกรธที่ทำให้มันเดือดร้อนในเมืองนี้ แต่เมื่อ ท่านได้สิ้นใจแล้ว ก็ ได้เกิดอัศจรรย์หลาย อย่างเมื่อสัมผัสสายประคำของท่าน ขณะที่ คุ ณ พ่ อ อั ง เยโลพั ก อยู่ ที่ สุโขทัยระยะหนึ่ง คุณพ่อโมแนสจีเยร์ ก่อ สร้างวัดใหญ่ 2 แห่งในเขตพิษณุโลกโดย ได้รับความช่วยเหลือจากคริสตังใหม่ แม้ว่า การแพร่ ธ รรมจะเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยความยาก ลำบาก แต่ก็มีผู้ที่กลับใจมากขึ้นเรื่อยๆ มี ผู้ที่เรียนคำสอนใน 5 หมู่บ้านและจำนวนผู้ รับศีลล้างบาปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นร้อย คน หมูบ่ า้ นเล็กๆ บางแห่งเป็นคริสตังเกือบ ทั้งหมู่บ้าน ในจำนวนนี้มีหมู่บ้านที่สำคัญ คือ บ้านวังแม่แดง มีวัดนักบุญมีคาแอล และบ้านน้ำเย็นมีวัดชื่อ วัดนักบุญเทเรซา ด้วย ... นอกจากนั้นแล้วที่พิษณุโลก คุณพ่อ ลังกลัวส์ ยังได้สร้างสถานสงเคราะห์เด็ก เล็กๆ บ้านพักพระสงฆ์ ถูกใช้เป็นโรงเรียน สำหรั บ สอนอ่ า นเขี ย น และเรี ย นภาษา ลาติน เพื่อเตรียมครูคำสอน และพระสงฆ์ ของมิสซังอีกด้วย


110 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ในช่วงนัน้ เกิดมีโรคระบาดขึน้ น้ำเสก ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเมื่อใช้น้ำเสกทุก อย่ า งก็ ก ลั บ เป็ น ปกติ เมื่ อ เห็ น ดั ง นี้ แ ล้ ว หมอผี ลูกเขยของเขา และบุคคลในครอบ- ครัวอีก 4 คน ก็ได้ขอ กลับใจเป็น คริสตชนด้วย6 เป็นที่น่าชื่นชมในผลงาน ของพระจิตเจ้ายิ่งนัก บรรดาพระสงฆ์ผู้แพร่ธรรม ไม่ได้ พบแต่ความสำเร็จอย่างเดียวเท่านั้น ท่าน ประสบกั บ ความผิ ด หวั ง ด้ ว ย ที่ น ครไทย (เส้นทางที่ไปลาว) การเทศน์สอนศาสนา ไม่ได้ผล การต้อนรับมิชชันนารีไม่ใช่เพราะ เขาอยากมีความเชื่อ ความศรัทธา แต่เขา ต้ อ งการน้ ำ เสก คุ ณ พ่ อ อั ง เยโล เล่ า ว่ า น้ำเสกสามารถรักษาวัว ควาย และช้างได้ .. ไม้กางเขนที่ปักลงบนที่นายังช่วยให้เกิด ความอุดมสมบูรณ์อีก การทำงานของพระคุ ณ เจ้ า ลาโน และมิ ช ชั น นารี ใ นสมั ย ช่ ว งนั้ น เป็ น การ ตระหนักถึงความเข้าใจต่อการศึกษาเพื่อ เรี ย นรู้ แ ละปรั บ ตั ว ให้ เ ข้ า กั บ วั ฒ นธรรม ท้องถิ่นเป็นอย่างดี

5

เบียดเบียนศาสนา–ถูกทำลายจนราบคาบ ค.ศ. 1688 เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ หลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรง สิ้นพระชนม์ พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชย์ แต่ น โยบายทางการศาสนาแตกต่ า งจาก สมเด็จพระนารายณ์อย่างสิ้นเชิง ทำให้เกิด การเบียดเบียนศาสนาขึ้น และนี่เป็นเพียง บางสิ่งที่เกิดขึ้นกับมิชชันนารี และคริสตัง พระสังฆราช ลาโน ถูกจับเป็นตัว ประกัน มีคนกระชากแหวนประจำตำแหน่ง กางเขน และหมวกของท่านไป ท่านถูกแตะ ต่อย ถูกลากลงไปในโคลนตม ถูกมัดมือ มัดเท้า ถูกใส่ขื่อ และต้องทรมานกับเครื่อง มือในการลงโทษนักโทษ จากนั้นก็ถูกขังใน คุก และภายหลังท่านก็ได้ถูกขังไว้ในบ้าน ของคุณพ่อคณะเยสุอติ ซึง่ ดูแลพระคุณเจ้า อย่างดี แต่ก็ถูกกักบริเวณ และมียามคอย เฝ้าตลอดเวลา .. ไม่เพียงแต่พระสังฆราช เท่านั้น พระสงฆ์ สามเณร และชาวฝรั่งเศส ก็ ถู ก ทำร้ า ยด้ ว ยเช่ น กั น ซึ่ ง มี ผู้ บ รรยาย เกี่ยวกับคุกในสมัยนั้นว่า

โรแบต์ โกสเต,บาทหลวง, ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2549), หน้า 119-123.


พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

“คุกเป็นสถานที่สกปรก ผู้ถูกจำจอง เรี ย กว่ า นรก เท้ า ต้ อ งแช่ อ ยู่ ใ นดิ น โคลน ต้องหายใจอากาศที่เหม็นมาก นักโทษต้อง หุงข้าวกินเองในคุก ทุกคนต้องถูกล่ามโซ่ และใส่ขื่อคา ถูกทุบตีและถูกทารุณกรรม เสมอ .. พวกนักโทษต้องทำงาน ล้างส้วม ขนดิ น ขนไม้ เนื่ อ งจากผู้ ดู แ ลไม่ ค่ อ ยให้ อาหาร พวกเขาจึ ง ต้ อ งไปขอรั บ บริ จ าค ผู้คนจึงถือโอกาสดึงหนวดเคราของมิชชันนารี” สภาพของคริสตังก็ถูกเบียดเบียน ไม่ต่างจากกลุ่มพระสงฆ์ สามเณร คริสตัง ถูกเฆี่ยนทารุณเพื่อให้ทิ้งศาสนา ถูกด่าว่า นับถือศาสนาของคนต่างชาติ แต่คำพูดของ คริสตังเหล่านี้กลับแสดงออกถึงความเชื่อ ของเขา เขากล่าวว่า “เราไม่ได้นบั ถือศาสนา ของคนต่ า งชาติ แต่ เ รานั บ ถื อ พระเจ้ า เที่ยงแท้ ผู้ทรงสร้างฟ้าและแผ่นดิน และ พวกเราไม่เคยละทิ้งประเพณีของบ้านเมือง และไม่ได้เลิกเป็นชาวสยาม”7

7

111

แล้ ว เหตุ ก ารณ์ ห ลั ง จากนี้ มี ก าร เบียดเบียนศาสนาเป็นระยะต่อเนื่อง จน ในที่สุดเมื่อพม่าได้เผากรุงศรีอยุธยา จน เกิดความเสียหายอย่างมากมายทั้งที่เป็น พระราชวัง อาคารบ้านเรือน นอกจากนั้นยัง เผาตำรา จนแทบไม่หลงเหลืออะไรเลย เห็นแต่เพียงร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองที่ เคยมี ไม่เว้นแม้กระทั่งวัดคาทอลิกก็ได้รับ ผลกระทบด้วย เหลือเพียงไม่กี่ที่เท่านั้น ที่ยังเหลืออยู่คือที่ จันทบุรี ภูเก็ต และ พิ ษ ณุ โ ลก เพราะที่ นี่ มี ข้ า หลวงจั ด กำลั ง ป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็ง8 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ ทรงมีนโยบายที่จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ เพื่ อ ทดแทนเมื อ งหลวงเก่ า ที่ ไ ด้ รั บ ความ สูญเสียหลังจากการเผาเมืองของพม่าเมื่อ ครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง จึงได้เกณฑ์ผู้คน จากเมืองต่าง ๆ เพื่อให้เข้ามาอยู่ที่กรุงธนบุรี เมืองหลวงใหม่ของพระองค์ และประชาชน

โรแบต์ โกสเต,บาทหลวง, ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2549), หน้า 189-192. 8

ด.,หน้า 259-261


112 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

จากเมืองพิษณุโลกก็ได้อพยพเข้ามาที่เมือง หลวงแห่งนี้ และมีรายงานว่า คุณพ่อกอร์ ได้โปรดศีลล้างบาปให้เด็กที่มาจากเมือง พิษณุโลก และนครราชสีมา ประมาณ 400 คน9 เรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ คริ ส ตั ง ที่ เ มื อ ง พิษณุโลกก็สูญหายไป แม้จะไม่มีการจด บันทึก แต่ก็เชื่อว่ามีความพยายามที่จะรวบ รวมคริสตัง และตั้งเป็นกลุ่มคริสตชนอยู่ หลายครั้งแต่ก็ยังไม่สำเร็จ ชุมชนความเชื่อพิษณุโลก ในนามนักบุญ นิโกลาส (ยุคฟื้นฟูชุมชนความเชื่อ) สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น – ปัจจุบัน ความพยายามของบรรดาพระสังฆ- ราชประมุ ข มิ ส ซั ง สยาม ที่ จ ะก่ อ ตั้ ง กลุ่ ม คริ ส ตชนที่ พิ ษ ณุ โ ลกขึ้ น ใหม่ มี ค วาม พยายามขึ้ น หลายครั้ ง จนในที่ สุ ด คุ ณ พ่ อ อังเดร พลอย โรจนเสน ซึ่งสมัยนั้นเป็นเจ้า อาวาสวัดนักบุญอันนา ปากน้ำโพ ได้รวบ รวมกลุ่มคริสตชนที่นี่และตั้งกลุ่มคริสตชน ขึ้นในปี 1920 9

ฟื้นฟู กลุ่มคริสตชนขึ้นใหม่ เมื่อปี 1838 สมัยพระสังฆราช กูร์เวอร์ซ10ี คุณพ่อแวร์แนท มาถึงสยามและได้ รับมอบหมายให้ดูแลวัดอยุธยา ซึ่งขณะนั้น มีคริสตังอยู่ 70 คน ท่านได้ออกเยี่ยม หมู่บ้านคนลาวต่างๆ จนถึงเมืองพิษณุโลก แต่ ไม่บังเกิดผล ด้วยความท้อแท้ใจท่าน จึงขอไปทำงานกับชาวจีน ทำให้สมัยนั้น มิชชันนารีคิดกันว่า คงมีแต่ชาวจีน และ เวียดนาม (ญวน) เท่านั้นที่สนใจศาสนา คริสต์ ชาวสยามและลาว คงจะไม่สนใจ เท่าไรนัก11 ในวันที่ 16 มกราคม 1834 คุณพ่อ ปัลเลกัวซ์12 ก่อนที่ท่านจะเป็นพระสังฆราช ท่านก็เคยเดินทางมาที่พิษณุโลก (4 ปี ต่ อ มาก็ ไ ด้ รั บ การอภิ เ ษกให้ เ ป็ น พระ- สังฆราช) พร้อมกับคุณพ่อดัต ตามบันทึก ของท่านเขียนว่า “วันที่ 16 มกราคม 1834 เดินทาง ไปลาวกั บ คุ ณ พ่ อ ดั ต เดิ น ทางขึ้ น ไปถึ ง พิษสิโลก (Pitsilok)”13

โรแบต์ โกสเต,บาทหลวง, ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2549), หน้า 269 10 พระสังฆราชประมุขมิสซังสยาม ระหว่างปี 1834-1841 ตรงกับสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 11 ด.,หน้า 340 12 ต่อมาท่านเป็นพระสังฆราช ระหว่างปี 1841 – 1862 ตรงกับสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 13 ซีมอนนา สมศรี บุญอรุณรักษา,ซิสเตอร์. พระสังฆาชปัลเลอกัวซ์ “มิตรที่ดี สนิทสนม และจริงใจ” ในรัชกาลที่ 4 นักพิมพ์และนักเขียน. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ,2550),หน้า 73


พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

วันที่ 5 ธันวาคม 1843 พระสังฆราช ปัลเลอกัวซ์ ส่งคุณพ่อกรางยัง กับคุณพ่อ วาซัล ไปสำรวจเมืองพรหม และเชียงใหม่ โดยมีความตั้งใจที่จะทำงานแพร่ธรรม14 ในสมัยพระสังฆราชดือปองค์15 ปี 1842 ได้มีความพยายามที่จะแพร่ธรรมกับ ชาวลาวอีก และได้พยายามติดต่อกับคน ลาว16 ที่อยู่แถบจังหวัดพิษณุโลก17 แม้ว่า มิ ช ชั น นารี จ ะลงความเห็ น กั น ว่ า เป็ น การ ยากที่ จ ะแพร่ ธ รรมที่ นี่ การเดิ น ทางมา ดิ น แดนนี้ ยั ง ยากลำบากมาก แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ทำให้พระสงฆ์มิชชันนารีย่อท้อที่จะเดินทาง มาแพร่ธรรมที่นี่ ในปี 1877 พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ ได้สงั เกตุเห็นว่า ทีจ่ ะไปเชียงใหม่คงเป็นการ ยากลำบากึงตัดสินใจจะตั้งกลุ่มเป็นระยะๆ 14

113

ขึ้นไป จึงจะสำเร็จ ท่านจึงสำรวจแม่น้ำ เจ้าพระยา .. 18 ซึ่งภายหลังมีการตั้งกลุ่ม คริสตังที่บ้านแป้ง ปากนำโพ และที่พิษณุโลก .. ทั้งนี้ก็มีเป้าหมายเพื่อขยายงานแพร่ธรรมไปยังเชียงใหม่ พิษณุโลกจึงมีความ สำคัญ เพราะเป็นทางผ่านที่บรรดามิชชันนารีผ่านขึ้นไปทำงานในภาคเหนือของไทย ในปี 1878 คุณพ่อลมบาร์ด เทศน์ สอนตั้งแต่อยุธยาจนถึงพิษณุโลก และมี ความตั้งใจที่จะฟนฟูการแพร่ธรรมในเขตนี้ อีกครั้ง การเทศน์สอนของท่านที่พิษณุโลก ทำให้มีคนกลุ่มใหญ่มาฟังสิ่งที่ท่านเทศน์ แต่กย็ งั ไม่มีใครเข้าเป็นคริสตังเลย ทีส่ ดุ แล้ว ท่านก็เดินทางกลับไปประจำที่วัดบ้านแป้ง สิงห์บุร19 ี

หนังสืออนุสรณ์ 125 ปี ชุมชนความเชื่อวัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง หน้า 26 พระสังฆราชปกครองมิสซังสยาม ระหว่างปี 1864 – 1872 ตรงกับสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 16 น่าจะหมายถึงภาคเหนือของไทยมากกว่า คือดินแดนอาณาจักรเชียงใหม่ มากกว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 โรแบต์ โกสเต,บาทหลวง, ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2549), หน้า 419 18 หนังสืออนุสรณ์ 125 ปี ชุมชนความเชื่อวัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง หน้า 26 19 โรแบต์ โกสเต,บาทหลวง, ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2549), หน้า 436 15


114 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ปี 1879 ในบันทึกของพระสังฆราช หลุยส์ เวย์20 ซึง่ แสดงออกถึงความตัง้ ใจของ พระสังฆราชในการตั้งกลุ่มคริสชนที่นี่ “...คงเป็นไปได้ ในไม่ชา้ เราจะสถาปนา กลุ่มคริสตังที่พิษณุโลก ซึ่งครั้งหนึ่งพระสังฆราชลาโน เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น เป็นเวลา เกือบหนึง่ ศตวรรษแล้ว ทีม่ กี ลุม่ คริสตชนขึน้ ทีน่ จ่ี นเมือ่ พม่าบุกรุกเข้ามาในอาณาจักรไทย ทำลายเมืองหลวง พวกคริสตังก็กระจัด กระจายกันไปบ้าง ทีถ่ กู จับเป็นเชลยก็มมี าก นี่แหละความพินาศของผลงานที่ ใช้เวลา ก่อตั้งถึง 100 ปี ในสวรรค์คงมีชาว พิษณุโลกจำนวนมาก ช่วยภาวนาอุทิศแก่ ลูกน้อง ซึ่งในปัจจุบันจำอยู่ในความมืด ขอ ให้คำภาวนาของพวกเขาเร่งเร้าให้ถึงเวลา ที่จะสถาปนากลุ่มคริสตังดั้งเดิมเสียทีเถิด ขอให้พระสงฆ์มิชชันนารี่ผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ล่วง ลั บ ไปแล้ ว โปรดคุ้ ม ครองช่ ว ยเหลื อ เรา เพื่อให้เราได้สามารถนำดินแดนนี้กลับคืน มาไว้ดั่งเดิมอันเป็นผลมาจากการตราก- ตรำทำงาน หยาดเหงื่อ และความเสียสละ 20 21

ชีวิตของพวกเขาในการพิชิตดินแดนของ ซาตาน”21 จากรายงานประจำปี 1888 ที่ส่งไป ยังคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระคุณเจ้าหลุยส์ เวย์ บันทึกไว้ว่า “เรามีความปรารถนาแรงกล้าที่ จะทำงานในเขตทางเหนือของประเทศไทย .. เราตั้งใจส่งพระสงฆ์มิชชันนารีของเราไป ทำงานตามแม่น้ำเจ้าพระยา หวังจะตั้งกลุ่ม คริสตชนทางเหนือ เพื่อจะใช้ที่นั่นเป็นที่มั่น เป็นเขตที่สามในบริเวณอันกว้างใหญ่ของ เรา เราปรารถนาจะตั้งหลักริมแม่น้ำสาย ที่ ขึ้ น ไปเชี ย งใหม่ หรื อ ไม่ ก็ ต ามลำน้ ำ ที่ พิษณุโลก น่าเสียดายที่เราขาดแคลนทาง การเงิน งานที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ใช้ทุกสิ่งที่ เรามีอยู่จนหมดแล้ว” ปี 1889 ในรายงานประจำปีกล่าวว่า เห็ น ความพยายามของคุ ณ พ่ อ แก็ น ตริ ก ซึ่งท่านร้อนรนมาก ท่านออกเยี่ยมคริสตัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนญวน และกระจัดกระจายตัง้ แต่วดั บ้านแป้ง จนถึงเมืองพิษณุโลก

ประมุขปกครองมิสซังสยาม ปี 1875 – 1909 ตรงกับสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ 5 รายงานประจำปีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1873-1960, หน้า 11


พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

ความเหน็ ด เหนื่ อ ยของคุ ณ พ่ อ ทำให้ เ กิ ด คุณค่าเพราะทำให้มีผู้ที่กลับใจพอสมควร นอกจากนัน้ ยังมีการบันทึกว่า “ถ้ามีพระสงฆ์ เพียงพอเราควรหันมาทำงานแพร่ธรรมที่นี่ โดยเฉพาะที่พิษณุโลก และระแหง (ตาก) ในเอกสารยังย้ำอีกว่า “เป็นเขตสำคัญที่ ถู ก วางแผนเพื่อ ตั้งเป็นศูน ย์ ใหม่ที่สำคัญ ยังขาดก็เพียงแต่อุปกรณ์ต่างๆ จนยังไม่ อาจดำเนินการตามโครงการได้” 22 แต่ในสมัย ของพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ก็ยังไม่ได้ตั้ง กลุ่มคริสตชนที่นี่ขึ้นใหม่เสียที ปี 1910 ในสมัย พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส23 ท่านคิดจะตั้งโรงเรียนที่วัดปากน้ำโพ นครสวรรค์ เพื่อทำหน้าที่ในการ ฝกหัดการสอนคำสอน ในสมัยที่คุณพ่อ การ์ตองเป็นเจ้าอาวาส พระคุณเจ้าเดินทาง ไปพิษณุโลก พร้อมกับคุณพ่อการ์ตอง และ คุณพ่อบรัวซาด์ ซึ่งสมัยพระสังฆราชหลุย์ เวย์ ท่านก็ต้องการจะตั้งกลุ่มคริสตชนที่นี่ เหมือนกัน24 เพราะมีคริสตังที่อยู่กระจัดกระจาย แต่สงครามโลกก็ทำให้ต้องเลิกล้ม 22

115

โครงการไป แล้ ว พระสั ง ฆราชแปร์ ร อส พร้อมเพื่อนพระสงฆ์อีกหลายองค์ก็ต้อง เดินทางไปเป็นทหารที่ฝรั่งเศส พิษณุโลก .. กลุ่มคริสชนในความฝันก็ได้รับ การสถาปนาขึ้น และที่ สุ ด ในสมั ย ที่ คุ ณ พ่ อ อั ง เดร พลอย โรจนเสน มาเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดปากน้ำโพ นครสวรรค์ ท่านได้รวบรวม กลุ่มคริสตชน และสร้างวัดน้อยหลังแรกขึ้น ที่นี่ในปี 1919 จากจดหมายของท่านเขียน ถึงพระสังฆราชเรอเน แปรอส แสดงถึงการ ว่าจ้าง และสั่งซื้อไม้ สำหรับสร้างวัด และ ยังมีการล้างบาป รวมถึงการสอนคำสอน ด้วย “ เรียนพระคุณเจ้า ด้วยเมื่อไม่นาน ที่ผมมาถึงค่ำ ได้พบกับช่างไม้ พูดจากับ เขาจะตกลงกันถึงเที่ยงคืน เช้าถึงได้ทำ สัญญากันเหมาเสร็จ 1,650 บาท เขาจะซื้อ ไม้สักที่กรุงเทพฯ ไม้ที่นี้ราคาเท่าที่ตกลงมา เขาไม่ยอมรับเพราะจะขาดทุน เสร็จแล้ว ผมนำเขาไปดูที่เห็นว่าไม่เหมาะไม่กล้าจะ

ด.,หน้า 45 ประมุขปกครองมิสซังสยาม ปี 1909 - 1947 ตรงกับสมัยที่ 5, 6, 7, 8และ 9 24 โรแบต์ โกสเต,บาทหลวง, ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ อัสสัมชัญ, 2549), หน้า 599 23


116 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ปลูกลงไปเพราะถ้าคนไทยจะแกล้งเอาคอก ควาย หรือคอกหมูมาปลูกหน้าวัดแล้วจะ อึ ด อั ด เต็ ม ที่ ผมตกลงจะซื้ อ ที่ ติ ด ต่ อ กั บ คลอง ถ้าสำเร็จจะดีทีเดียวขอรับ ในการที่ จะซื้ อ ที่ นี่ ผ มจะไม่ ท ำให้ เ ดื อ ดร้ อ นถึ ง พระคุณเจ้า .... เย็นนี้ผมจะล้างบาปยายแก่ ไทยอายุ 80 เศษ คนหนึ่ง แกจะตาย ลูกหลานแก จะเข้าเวลาผมแปลคำสอน ลูกหลานแกมานั่งรับฟังดูดีอกดีใจ”25 เอกสารอี ก ฉบั บ ที่ ถู ก เขี ย นในปี เดียวกันจากคุณพ่อพลอย ฉบับนี้เป็นการ บรรยายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ ศาสนภัณฑ์ ที่ มี อ ยู่ ใ นวั ด สิ่ ง ที่ มี ใ นวั ด น้ อ ยนั้ น เช่ น กาลิกซ์,กาซูลา,ปัลลา,อัลบา,หนังสือพิธีกร รมต่าง ๆ เป็นต้น และสิ่งที่ยังขาดอยู่เช่น ที่ตั้งหนังสือ ฯลฯ26 ก็แสดงว่าวัดนี้ต้องถูก สร้างขึ้นมาก่อนปี 1920 แต่ว่าจะเป็นปีอะไร ไม่ปรากฏชัด และที่สุดความพยายามของพระสั ง ฆราชเรอเน แปร์ ร อส ที่ จ ะตั้ ง กลุ่ ม 25

คริ ส ตชนที่ นี่ ก็ เ ป็ น ผลสำเร็ จ ในปี 1920 จากรายงานประจำปีที่รายงานว่า “ในปีนี้มี การสร้า งวัดน้อยหลังแรกขึ้นที่พิษ ณุโลก เป็นวัดไม่ไผ่ โดยคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน ที่เป็นเจ้าอาวาสเขตวัดปากน้ำโพ นครสวรรค์”27 ในรายงานฉบับดังกล่าวยัง กล่าวถึงระยะทางที่จากกรุงเทพฯ มาถึงวัด แห่งนี้ว่าประมาณ 400 กิโลเมตร และยัง กล่าวถึงวัดอีก 2 หลัง ที่สร้างขึ้นในปี เดียวกันคือ วัดบ้านโป่ง ที่สร้างโดยคุณพ่อ ริชาร์ด และ ... และนี่เป็นเอกสารที่สามารถ ยื น ยั น ถึ ง การสร้ า งวั ด พิ ษ ณุ โ ลกหลั ง แรก เมื่อ 90 ปีที่แล้ว (ณ ปัจจุบัน ปี 2010) จากคำบอกเล่ า ของคุ ณ พ่ อ ปิ แ อร์ ลาบอรี “คุณพ่ออังเดร พลอย มีญาติ (เป็น หลาน) อยู่พิษณุโลกชื่อว่า นางโนรี และ นายเจริญ ตรีสถาน นายเจริญผู้นี้ เป็นผู้ ดูแลทรัพย์สนิ ของวัด และเป็นข้าราชการใน ส่วนของสัสดีอำเภอ สอดคล้องกับเอกสาร ที่ เ ขี ย นโดยข้ า หลวงพิ ษ ณุ โ ลก ชื่ อ หลวง

จดหมายของคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน ถึงพระสังฆราชแปร์รอส เขียนที่พิษณุโลก ลงวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1919, ห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ.กล่องที่ 41 แฟ้ม 5 26 รายงานสิ่งของที่มี ในวัดพิษ ณุโลก และสิ่งที่ขาดในวัดพิษ ณุโลก ถึงพระสังฆราชแปร์รอส เขียนที่ พิษณุโลก ลงวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ.1919,ห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ.กล่องที่ 41 แฟ้ม 5 27 รายงานประจำปีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1873-1960,หน้า 187


117

พิษณุโลก : ดินแดนแหงการแพรธรรมสูภาคเหนือ

ยุทธสารประสิทธิ์ ก็ระบุว่า นายเจริญ ตรีสถาน เป็นผู้จัดการโรงเรียนด้วย และนี่เป็น หลักฐานได้ว่ามีการสร้างโรงเรียนขึ้นแล้ว ในสมัยคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน แต่ ยั ง ไม่ ใ ช่ โ รงเรี ย นที่ ส มบู ร ณ์ แ บบมากนั ก เป็นเพียงโรงเรียนเล็กๆ ที่อยู่กับบ้านพัก พระสงฆ์ ซึ่งในสมัยนั้นที่ใดมีวัดส่วนมากก็ จะมีโรงเรียนด้วย”28 และจากรายงานประจำปีของพระสังฆราชแปร์รอสระหว่างปี 1930 – 1931 พบว่าวัดพิษ ณุโลกเป็นงานเริ่มต้นของการ ก่อสร้างมิสซังเชียงใหม่ และเป็นประหนึ่ง ศูนย์การแพร่ธรรมของภาคเหนือของไทย เป็นเวลาถึง 13 ปี ก่อนที่จะสามารถซื้อ ที่ดินได้ “พฤติการณเดนๆ ในปนี้คือ เราได้ ตั้งกลุมคริสตชนที่เชียงใหม ซึ่งอยูเหนือ กรุงเทพฯ ขึ้นไป 750 กิโลเมตร นานมาแล้ว ที่ข้าพเจ้าอยากตั้งกลุมคริสตชนขึ้น เราเริ่ม ไปตั้งสำนักที่พิษณุโลกได้ 13 ปมาแล้ว อยูเหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป 400 กิโลเมตร สำนักนี้กำลังเจริญขึ้นทีละน้อย…”29 28 29

นับว่าพิษ ณุโลกเป็นเมืองที่มีความ สำคัญและเป็นศูนย์แห่งการแพร่ธรรมตั้ง แต่ปี 1917 ซึ่งตามเอกสารที่พบนี้ พิษณุโลกเป็นศูนย์แห่งการแพร่ธรรม มีพระสงฆ์ แวะเวียนมาที่นี่บ่อยๆ และเป็นพักระหว่าง ทางเพื่อไปทำงานที่เชียงใหม่เมื่อ 93 ปีที่ แล้ว (ณ ปัจจุบัน ปี2010) บทสรุป การแพร่ธรรมในเขตมิสซังเชียงใหม่ เฟองฟูและรุ่งเรืองอย่างมากมายเป็นผลมา จากการทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ของบรรดาผู้ แพร่ธรรมอย่างต่อเนือ่ งและยาวนาน ซึง่ กว่า ทีค่ ริสตศาสนาคาทอลิกจะเข้ามาถึงเชียงใหม่ ได้นั้นมีความพยายามอยู่หลายครั้ง แต่ดู เหมือนว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จ แต่พระพร ของพระเจ้าก็ ไม่เคยสูญหาย พระเมตตา ของพระเจ้ายังอยู่กับประชากรของพระองค์ เสมอ เพราะในที่สุดงานแพร่ธรรมในเขต ภาคเหนือก็ได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง และพิษณุโลกเองก็เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อการเริ่มต้นงานในมิสซัง เชียงใหม่ เพราะเป็นสถานที่บรรดาผู้แพร่-

สัมภาษณ์คุณพ่อปแอร์ ลาบอรี, วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.2010 ณ สำนักมิสซังนครสวรรค์ รายงานประจำปีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1873-1960,หน้า 249


118 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ธรรมได้ถอื โอกาสได้ใช้เป็นศูนย์ฯ เพือ่ ขยาย งานแพร่ธรรมขึ้นไปสู่ภาคเหนือ และยังมี เป้าหมายเพื่อขยายงานเข้าไปในประเทศ ลาว พม่า และจีนอีกด้วย แม้ ว่ า ปั จ จุ บั น พิ ษ ณุ โ ลกไม่ ใ ช่ ศู น ย์ กลางการแพร่ธรรมในเขตภาคเหนือแล้ว แต่ร่องรอยในอดีตที่ค้นพบกลับทำให้เห็น ความรุ่งเรืองในอดีต และสิ่งที่เหนือกว่า ความรุ่งเรืองนั้นเป็นความพยายามอย่าง

ต่อเนื่องของผู้แพร่ธรรมตั้งแต่อดีต “ผู้ทำ หน้าที่แพร่ธรรมในสมัยก่อนจะต้องบากบั่น และทำงานหนักเพื่อสร้างให้เป็นสถาบันที่ มัน่ คงสักเท่าไร” จึงเป็นคำถามให้คนรุน่ หลัง ได้รักษา และหวงแหนความเป็นสถาบันที่ ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งก่อนโน่น และยังเป็น โอกาสสำคั ญ ที่ ท ำให้ ม องเห็ น ความรั ก เมตตา ของพระเจ้ า ที่ โ ปรดประทานให้ บังเกิดขึ้นได้ และมั่นคงอยู่จนถึงปัจจุบัน


119

แนะนำหนังสือ

ºÒ·ËÅǧÊÁªÑ ¾Ô·ÂÒ¾§È ¾Ã ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ผู้จัดพิมพ พิมครั้งแรก จำนวนหน้า

ด้วยรักและรำลึกถึงบุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอหน ปอล ที่ 2 คุณพออนุชา ไชยเดช และคุณวัชรี กิจสวัสดิ์ สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย แผนกการพิมพ เมษายน 2554 207 หน้า คำถามที่ว่าในโอกาสการสถาปนา สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เป็นบุญราศีในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 นี้ พระศาสนจักรไทยทำอะไรบ้าง? คงเป็ น เรื่ อ งที่ ส ภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่งประเทศไทย ได้ตอบและได้จดั กิจกรรม ไปตามสมควร แต่สำหรับสือ่ มวลชนคาทอลิก ประเทศไทย แผนกการพิมพ์ เราได้ทำอะไร บ้างเพื่อมอบเป็นที่ระลึกในโอกาสอันสำคัญ นี้ ผมมองย้อนกลับไปยังหนังสือเล่ม หนึง่ ในฐานะทีเ่ คยเป็นผูม้ สี ว่ นในการจัดทำ

บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุร,ี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


120 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ในนามสภาพระสังฆราชฯ โอกาสครบ 25 ปี ที่องค์สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้เสด็จเยือนประเทศไทย เราได้จัดทำ หนังสือเล่มทางการที่ชื่อว่า “สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เส้นทางแห่ง รักและความทรงจำ (Pope John Paul II : Journey of Love and Remembrance)” ในวันนั้นผมจำได้ว่า เรามีความตั้งใจอย่าง เปี่ยมล้น ที่จะให้หนังสือออกมาดีที่สุดและ ยังเป็นหนังสือในแบบ 2 ภาษา แถมแผ่น วี ดี ทั ศ น์ เ หตุ ก ารณ์ ใ นช่ ว งที่ น่ า ประทั บ ใจ แห่งการเสด็จเยือนเมืองไทยของพระองค์ ท่านไว้ดา้ นหลัง และบทสุดท้ายของหนังสือ เล่ ม นั้ น เป็ น เรื่ อ งที่ ว่ า ด้ ว ยขั้ น ตอน การ เตรียมการ หรือความเข้าใจเกีย่ วกับเส้นทาง ต่ อ ไปขององค์ ส มเด็ จ พระสั น ตะปาปา นั่นก็คือเส้นทางสู่การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ บุญราศี และนักบุญ เป็นเส้นทางที่ผมคิดว่าเรา ทุกคนรอคอยด้วยความเชื่อและความหวัง ว่าอีกไม่นานข่าวดีนี้ คงเกิดขึ้นในยุคสมัย ของเราเป็นแน่ และการรอคอยได้สิ้นสุดลง เมื่อวัน อาทิตย์ที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2011 สมเด็จ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ลง พระนามอนุมัติการเป็นบุญราศีของสมเด็จ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 และให้มี พิธีสถาปนาในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม

ค.ศ. 2011 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 2 ของ เทศกาลปัสกา เป็นวันที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงกำหนดให้ ฉลองพระเมตตาของพระเยซู เ จ้ า และ พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ในวันเดียวกัน นี้ เอง “ด้ ว ยรั ก และรำลึ ก ถึ ง ” เป็ น ชื่ อ หนังสือเล่มที่ท่านกำลังถืออยู่ในมือนี้ ถูก รวบรวมจากหลายเรื่องราวแต่สอดประสาน รองรับเป็นเนื้อเดียวกันด้วยความรู้สึกรัก และรำลึกถึงพระองค์โดยเริ่มจาก บทนำ สรุปบทชีวติ ขององค์สมเด็จ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 นำเทียบ เคี ย งและประกอบเข้ า กั บ เรื่ อ งราวของ แผ่นดินไทยคราเมื่อพระองค์ทรงแต่งตั้ง บุญราศีทั้ง 7 แห่งสองคอน แต่งตั้งพระคาร์ดินัลองค์แรกของเมืองไทย เสด็จเยือน ประเทศไทยของเราแต่งตั้งบุญราศีคุณพ่อ นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง แต่งตั้งอัศวิน ที่เป็น ชาวไทย ฯลฯ ตอนที่ 1 บทสัมภาษณ์เส้นทางสู่ การเป็นบุญราศีของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 กับคุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ นักประวัติศาสตร์ และผู้ร่วมเดินทาง ไปในพิธีปลงพระศพของพระองค์ท่าน อยู่ ในเหตุ ก ารณ์ แ ละได้ ยิ น เสี ย งเรี ย กร้ อ งว่ า “ให้ดำเนินเรื่องการเป็นนักบุญราศี”


แนะนำหนังสือ

ตอนที่ 2 ด้วยรักและรำลึกถึงจาก หลากหลายนักคิด นักเขียน 6 ท่าน ซึ่งตี พิมพ์ในนิตยสารลิโกเรียน ในเดือนถัดมา หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นเรื่อง ราวทีก่ ลัน่ มาจากหลายมุมมอง แต่เพ่งไปยัง บุคคลเดียวผู้ ไร้คำนิยาม และไม่สามารถจะ จำกัดเรือ่ งราวของพระองค์ได้ นอกเสียจาก จะเรียกพระองค์ว่า John Paul the Great ตอนที่ 3 เมื่ อ ผมไปเยี่ ย มบ้ า น สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ประเทศโปแลนด์ เมืองวาโดวิเช คราคูฟ ประเทศโปแลนด์ ไม่ง่ายนักที่จะเดินทางไป ถึง และสำหรับคนไทยด้วยแล้วประเทศนี้ อาจจะดูไม่คุ้นเคย 4 วันที่ประเทศโปแลนด์ จากกรุงวอร์ซอ สู่เมืองแห่งแม่พระฉวีดำ วัดพระเมตตา และวัดบ้านเกิดเมืองนอน ของพระองค์ท่าน มีความเชื่อมโยงต่อกัน มั่นใจได้ว่า ต่อไปนี้คาทอลิกไทยจะอยากไป แสวงบุญที่ประเทศโปแลนด์มากขึ้น ตอนที่ 4 สื่อ : สมเด็จพระสันตะ ปาปายอห์น ปอลที่ 2 มีมากมายทั้งหนังสือ ที่ นิ พ นธ์ โ ดยพระองค์ ท่ า น ทั้ ง ที่ พู ด ถึ ง พระองค์ท่าน หลากหลาย และหาข้อใดมา จำกัดมิได้ แต่เมื่อได้ศึกษาและเรียนรู้กลับ พบว่า ที่แท้แล้ว ตัวพระองค์เองต่างหาก คื อ สื่ อ ที่ ท รงพลั ง สื่ อ และเป็ น พยานของ พระคริสตเจ้าบนโลกของเรา

121

งานพิมพ์หนังสือ ไม่ว่าจะเล่มใด ก็ได้ ในบรรณพิภพนี้ เมื่อถูกพิมพ์เผยแพร่ มันก็ตกเป็นสมบัติของโลกทันที ถ้าเราจะ มองไปยังองค์สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ผู้ได้รบั การสถาปนาให้เป็นบุญราศี ยิ่ ง เรารั ก และผู ก พั น กั บ ท่ า นมากเท่ า ไหร่ เรายิ่ ง เห็ น ความรั ก ของพระ ผ่ า นทาง พระองค์ท่าน เรายิ่งเห็นพระพรมากมาย ไหลบ่า และผ่านมายังท่านไม่สิ้นสุด ถ้า ยุคสมัยของเราจะคลาคล่ำไปด้วยภัยพิบัติ ทั้ ง จากธรรมชาติ แ ละมนุ ษ ย์ ด้ ว ยกั น เอง เสียงของพระองค์ท่านยังกังวานใสอยู่ ใน มโนสำนึกของเรา “อย่ากลัว” และเมื่อใด ก็ตามที่เราทำดี แล้วไม่ได้รับการตอบรับที่ดี คติพจน์ของท่านยังช่วยเราได้เมื่อเรามอบ “อุทศิ พระองค์อย่างสิน้ เชิงแด่พระแม่มารีย”์ (Totus Tuus) การรำลึกถึงท่านด้วยความรัก ในโอกาสนี้ และโอกาสต่อๆ ไปจึงช่วยเรา ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามเสมอ และหวัง ในความรักของพระอย่างไม่มีที่สิ้นสุด “ด้วยรักและรำลึกถึง” พระสันตะปาปาที่อยู่ ในยุคสมัยของเรา พระสันตะ ปาปาที่กุมหัวใจคนกว่าค่อนโลก พระสันตะปาปาของเราคริสตชน พระสันตะปาปาที่ ท ำให้ เ ราระลึ ก ถึ ง ด้ ว ยรั ก ในองค์ พระเยซูคริสตเจ้า


122 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ºÒ·ËÅǧÊÁªÑ ¾Ô·ÂÒ¾§È ¾Ã ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ผู้แปล ผู้จัดพิมพ พิมครั้งแรก จำนวนหน้า

ชุมชนคริสตชนเล็กๆ แบบอยางของการมีสวนรวมในพระศาสนจักร คุณพอโยเซฟ ดีอาส คุณพอนรินทร ศิริวิริยานันท อัครสังฆมณฑลทาแร-หนองแสง มกราคม 2554 207 หน้า ในแผนอภิบาล ค.ศ. 2011-2015 พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยได้ ให้ความสำคัญต่อการสร้างชุมชนคริสตชน เล็กๆ ทีเ่ ราเรียก “วิถชี มุ ชนวัด” หรือ ชุมชน คริสตชนพื้นฐาน หรือ “ชุมชนคริสตชน เล็กๆ” หนังสือ “ชุมชนคริสตชนเล็กๆ แบบ อย่างของการมีส่วนร่วมในพระศาสนจักร” เป็นปริญญานิพนธ์ที่ได้รวบรวมศาสตร์และ ศิลปชุมชนคริสตชนเล็กๆ ไว้ในเล่มเดียวกัน

บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุร,ี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


แนะนำหนังสือ

กล่าวถึงความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เทววิ ท ยา คำสอนของพระศาสนจั ก ร และ ประสบการณ์ จ ริ ง ของพระศาสนจั ก ร คาทอลิกจากภูมิภาคต่างๆในโลกที่ส่งเสริม และสร้ า งชุ ม ชนคริ ส ตชนเล็ ก ๆ หนั ง สื อ เล่มนี้จึงเป็นหนังสือคู่มือที่มีคุณค่า ที่ ให้ ความเข้าใจแก่นแท้ของการเป็นพระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม แนวทางการดำเนิน ชีวิตร่วมกัน กระบวนการการร่วมมีบทบาท ส่ ง เสริ ม ชุ ม ชนคริ ส ตชนเล็ ก ๆ ให้ เ ป็ น “ประชากรของพระเจ้าที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียว ในความรัก ดำเนินวิถีชีวิตใหม่ของการเป็น พระศาสนจักรในสหัสวรรษใหม่นี้” หนังสือเริ่มด้วยบทนำ และเนื้อหา ประกอบด้วย 3 บทคือ บทที่ 1 พระศาสนจักรที่สนิทสัมพันธ์มีส่วนร่วม บทที่ 2 ชุมชน คริสตชนเล็กๆ บทที่ 3 ชุมชนคริสตชนใน ฐานะการแสดงออกของพระศาสนจักรที่มี ส่วนร่วม และบทสรุป บทที่ 1 พระศาสนจักรที่สนิทสัมพันธ์และมีส่วนร่วม กล่าวถึงความหมาย และธรรมชาติ ข องพระศาสนจั ก รที่ เ ป็ น ประชากรของพระเจ้ า ที่ เ ป็ น ชุ ม ชนแห่ ง ความเชื่อ สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในชีวิต และพันธกิจของพระศาสนจักร พระพระคั ม ภี ร์ พั น ธสั ญ ญาเดิ ม ได้ บั น ทึ ก ความ

123

สัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและประชากรของ พระองค์ ในพันธสัญญาใหม่พระศาสนจักร แรกเริม่ เป็น ชุมชนของประชากรของพระเจ้า ที่มีชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า พระตรีเอกภาพ และมีความสนิทสัมพันธ์กัน พระวรสารนักบุญยอห์น พระวรสารสหทรรศน์ หนังสือกิจการอัครสาวก และงานเขียนของ นักบุญเปาโลได้กล่าวถึง พระศาสนจักรเป็น กลุ่มประชากรของพระเจ้าที่มีความสนิท สั ม พั น ธ์ กั บ พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ผู้ ท รงสิ้ น พระชนม์และกลับคืนชีพ และสมาชิกทุกคน มีส่วนร่วมในชีวิตและพันธกิจของพระองค์ ในชีวิตประจำวัน ในชีวิตการเป็นศิษย์และ การรับใช้ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมประชุม ร่วมฟังพระวาจา ร่วมพิธีบิปัง ร่วมอธิษฐานภาวนา ร่วมแบ่งปัน ร่วมเป็น พยานและประกาศข่าวดี ร่วมแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้น ฯลฯ บรรดาป ต าจารย์ ส อนว่ า พระศาสนจั ก รเป็ น ชุ ม ชนที่ มี มิ ติ ฝ่ า ยจิ ต เป็ น พระกายทิพย์และศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้า สะท้อนความสนิทสัมพันธ์ของ พระตรีเอกภาพ และมีมติ กิ ารเป็นประชากร ของพระเจ้ า ที่ สื บ สานพั น ธกิ จ ของพระคริสตเจ้า มีการเสริมสร้างความรักความ สนิทสัมพันธ์และการรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม


124 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

ต่ อ มาสมั ย การปฏิ รู ป และสภาสั ง คายนา เมืองเตรนท์มีมุมมองที่แตกต่างและมีการ มองแบบแยกส่ ว นสภาสั ง คายนาวาติ กั น ที่สอง มองพระศาสนจักรด้วยมุมมองแบบ องค์รวม มีมิติฝ่ายจิตและมิติด้านสังคม สมาชิ ก ทุ ก คนของพระศาสนจั ก รเป็ น ประชากรของพระเจ้า จึงมีส่วนร่วมในชีวิต และพันธกิจของพระศาสนจักร มีการศึกษา เอกสาร ของสภาสังคายนาวาติกันที่สอง เช่ น เรื่ อ งพิ ธี ก รรม เน้ น ให้ ทุ ก คนการ มี ส่ ว นร่ ว มอย่ า งรู้ ตั ว และกระตื อ รื อ ร้ น , เรื่องพระศาสนจักรที่มีความสำคัญได้ให้ ภาพลักษณ์ของพระศาสนจักรอย่างสมบูรณ์ ครบถ้ ว น, เรื่ อ งชี วิ ต และพั น ธกิ จ ของ พระสงฆ์ ให้ส่งเสริมให้ทุกคนมีความร่วม ในชี วิ ต ของพระศาสนจั ก ร, พระศาสนจักรในโลกปัจจุบันเน้นให้คริสตชนผู้เป็น ชุ ม ชนของประชากรของพระเจ้ า มี ค วาม เป็ น หนึ่ ง กั บ มนุ ษ ย์ ทุ ก คน ร่ ว มสื บ สาน พั น ธกิ จ ของคริ ส ตเจ้ า เสริ ม สร้ า งอาณาจักรพระเจ้าในโลก สมณสาสน์และเอกสาร ของสมัชชาสภาพระสังราชประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสมั ช ชาสภาพระสั ง ฆราชแห่ ง เอเซียได้แสดงให้เห็นว่า การทำให้พระศาสนจั ก รเป็ น พระศาสนจั ก รที่ ส มาชิ ก ทุกคนมีส่วนร่วม คือ การช่วยกันก่อตั้งและ ส่งเสริม “ชุมชนคริสตชนเล็กๆ”

บทที่ 2 ชุ ม ชนคริ ส ตชนเล็ ก ๆ (small Christian Communities) หรือ “ชุมชนวัดพืน้ ฐาน” (Basic Ecclesial Community-BEC) หรือ “ชุมชนคริสตชน พื้นฐาน” มีความหมายเดียวกัน ชุมชน คริ ส ตชนเล็ ก ๆ เป็ น วิ ถี ใ หม่ ข องการเป็ น พระศาสนจักรคือ พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาสต่ า งร่ ว มมื อ กั น ทำให้ พ ระศาสนจั ก ร เป็นพระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม ต้น กำเนิดและการพัฒนาของชุมชนคริสตชน เล็กๆ มีมาในชีวิตของพระศาสนจักรแรก เริ่มแล้ว (กจ 2: 42-47; กจ 4: 32-36; 12: 12; รม16: 5; 11; 14-15) ซึ่งสืบทอดจากกลุ่ม ของบรรดาอัครสาวกและศิษ ย์ของพระเยซูเจ้า ที่พระองค์ ได้ทรงรวบรวมให้เป็น กลุ่มและมอบอำนาจให้ ไปประกาศข่าวดี ต่ อ มาในสมั ย จั ก รพรรดิ ค อนสแตนติ น คริสตชนมีจำนวนมากเพิ่มขึ้น มีมิติด้าน ฐานันดรเข้ามาแทนที่ โครงสร้างของชุมชน คริ ส ตชนเล็ ก ๆที่ มี ชี วิ ต ชี ว าได้ เ ริ่ ม หายไป แต่ ก ลั บ มี อ ยู่ อ ย่ า งมี ชี วิ ต ชี ว าในชุ ม ชน นักพรตในอาราม และคณะนักบวชทีพ่ ยายาม ดำเนินชีวิต หมู่คณะตามแบบจิต ตารมณ์ ของกลุ่มคริสตชนสมัยแรกเริ่ม หลังสภาสังคายนาวาติกันที่สอง ได้มีการเรียกร้องให้พระศาสนจักรกลับไป


แนะนำหนังสือ

ดำเนินชีวิตหมู่คณะตามแบบกลุ่มคริสตชน สมัยแรกเริม่ พระศาสนจักรในลาตินอเมริกา ในประเทศบราซิลได้เริ่มแผนอภิบาลเสริม สร้าง “ชุมชนคริสตชนพื้นฐาน” ทำให้เกิด ผลดีมากมายและขยายไปสู่พระศาสนจักร ในประเทศต่างๆในประเทศลาตินอเมริกา ทั้งหมด ปัจจุบันมีชุมชนคริสตชนเล็กๆ จำนวนหนึ่ ง แสนแปดหมื่ น ถึ ง สองแสน ชุมชนฯ ต้นกำเนิดและการพัฒนาของชุมชน คริสตชนเล็กๆในแอฟริกามาจากแรงดลใจ และการสนับสนุนของบรรดาพระสังฆราช และความกระตือรือร้นของบรรดาคริสตชน เอง ทำให้ งานเสริมสร้าง “ชุมชนคริสตชน เล็กๆ” เกิดผลดี ต้นกำเนิดและการพัฒนา ของชุมชนคริสตชนเล็กๆในเอเซีย เริ่มจาก ประเทศฟ ลิ ป น ส์ ที่ มี ค ริ ส ตชนคาทอลิ ก จำนวนมาก ต่ อ มางานเสริ ม สร้ า งชุ ม ชน คริสตชนเล็กๆได้เกิดขึ้นในพระศาสนจักร คาทอลิกประเทศต่างๆในเอเซีย ด้วยการ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ของสหพั น ธ์ ส ภาพระสังฆราชแห่งเอเซีย (FABC) และเกิดผลดี มากมาย พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสร่วม มือกันทำให้พระศาสนจักรเป็นพระศาสนจักรที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมและมีความ สนิ ท สั ม พั น ธ์ กั น ในพระศาสนจั ก รใน ประเทศต่างๆในเอเซีย

125

บทที่ 3 ชุ ม ชนคริ ส ตชนในฐานะ การแสดงออกของพระศาสนจักรที่มีส่วน ร่วม สภาสังคายนาวาติกันที่สองได้เสนอ โครงสร้างที่ช่วยให้เกิดความสนิทสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในพระศาสนจักร คือ สภาอภิ บ าลระดั บ สั ง ฆมณฑลและสภาอภิบาลระดับวัด แต่การส่งเสริมและสนับ สนุนการสร้างชุมชนคริสตชนเล็กๆ เป็น วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ ท ำให้ ค วามใฝ่ ฝั น ของสภาสังคายนาวาติกันที่สอง ที่ต้องการให้พระศาสนจั ก รเป็ น พระศาสนจั ก รที่ ส มาชิ ก ทุ ก คนมี ส่ ว นร่ ว มในชี วิ ต และพั น ธกิ จ ของ พระศาสนจักรสำเร็จไป สมณสาสน์และ สารจากสหพั น ธ์ ส ภาพระสั ง ฆราชแห่ ง เอเซียได้ส่งเสริมสนับสนุนให้สร้างชุมชน คริสตชนเล็กๆ ทำให้เป็นวิถี ใหม่ของการ เป็ น พระศาสนจั ก ร สมาชิ ก ทุ ก คนได้ รั บ เรียกให้มาดำเนินชีวิตร่วมกันด้วยใจอิสระ มีการแบ่งปันกัน ใช้พระพรของตนเพือ่ รับใช้ ผู้อื่น แบ่งปันพระวาจา ร่วมกันแก้ปัญหาที่ เกิดขึน้ เป็นพระศาสนจักรทีท่ กุ คนมีสว่ นร่วม มี ก ารฝ ก ผู้ น ำที่ มี ส่ ว นร่ ว ม มี ก ารอบรม สามเณรให้ความสำคัญแก่ชุมชนคริสตชนฯ ชุมชนคริสตชนช่วยให้ พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสมีส่วนร่วมในการวางแผนและ ประสานงานกับกิจกรรมและโครงการด้าน อภิบาลต่างๆของวัด


126 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2011/2554

สรุปได้ว่า หนังสือ “ชุมชนคริสตชนเล็กๆ แบบอย่างของการมีส่วนร่วมในพระศาสนจักร” ได้ให้แนวทางและประสบการณ์การ ฟื้นฟูและเสริมสร้างพระศาสนจักรอย่างที่ ควรจะเป็น เป็นชุมชนแห่งความเชื่อ มีชีวิต จิ ต แห่ งการภาวนา มีความสนิทสัมพัน ธ์

เป็นหนึ่งเดียว สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมใน ชีวิตและพันธกิจพระศาสนจักร ร่วมเป็น พยานและร่ ว มประกาศข่ า วดี ข องพระคริสตเจ้า ดำเนินชีวิตตามแบบกลุ่มคริสตชนสมัยแรกเริ่มในสหัสวรรษใหม่นี้.




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.