โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1
วารสารแสงธรรมปริทัศน
วารสาร ราย 4 เดือน ปที่ 35 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554 เจ้าของ คณะที่ปรึกษา คณะผูทรงคุณวุฒิ
วิทยาลัยแสงธรรม อธิการบดี รองอธิการบดีฝายวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำสอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสุจิต เพชรแก้ว นางสาวปนัดดา ชัยพระคุณ นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ นางสาวนภาดา ตะเพียนทอง นางสาวจามจุรี ฮวดสุนทร จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเปนสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำหนดออก ปละ 3 ฉบับ ประจำเดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำรุงสมาชิก สมาชิกรายป 300 บาท จำหน่ายปลีก ฉบับละ 120 บาท สำหรับสมาชิกรายป สามารถส่งเงินค่าบำรุงสมาชิก เปนเงินสด, ตัว๋ แลกเงิน, ไปรษณีย,์ เช็คขีดคร่อมสัง่ จ่าย “แสงธรรมปริทศั น์”, ธนาณัติ สั่งจ่าย “บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล” ปณ.อ้อมใหญ่ 73160 หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี อ้อมใหญ่ ชื่อบัญชี วารสารแสงธรรมปริทัศน์ฺ เลขที่บัญชี 366-261387-3
2
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553
º·ºÃóҸԡÒÃ
ก่อนอื่น ทางกองบรรณาธิการขอภัยต่อท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่วารสารแสงธรรมปริทศั น์ของเราออกสูส่ ายตาของท่านล่าช้าไปกว่าทีค่ วรจะเปน อันเนือ่ งจากเหตุปจ จัย หลายๆ ประการ ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของประเทศไทยต่างประสบมหาอุทกภัย หรือ “น้องน้ำ” คำฮิตติดปากในหมู่สังคมออนไลน์ น้ำได้เข้าท่วมหลายพื้นที่ อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกฐานะหรือชนชั้น จนส่งผลอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของ ประชาชน ทัง้ เรือ่ งการเดินทาง การประกอบอาชีพ ฯลฯ ส่งผลต่อสภาพจิตใจทัง้ ก่อน น้ำท่วม ขณะท่วมและภายหลังน้ำลด บางคนเริ่มพูดถึงปหน้าด้วยความกังวลใจว่า น้ำจะกลับมาท่วมอีกหรือไม่ ช่วงท้ายปจึงนับว่า เปนช่วงเวลาแห่งความเศร้าใจของ ใครหลายๆ คน ถึงกระนั้น ในท่ามกลางความทุกข์ เราต่างได้เห็นน้ำใจของพี่น้องคนไทย ที่หลั่งไหลออกมาอย่างไม่ ขาดสาย จนอาจกล่าวได้วา่ แม้สถานการณ์จะเลวร้ายเพียงใด แต่นำ้ ใจของคนไทยไม่เคยเลือนหายไปตาม สถานการณ์ น้ำอาจจะทำลายทรัพย์สินสิ่งของได้ แต่ไม่อาจทำลายจิตใจแห่งความรัก เมตตา เอื้ออาทร ระหว่างกันได้ โอกาสคริสต์มาสและปใหม่น ้ี กองบรรณิการขอเปนกำลังใจให้กบั ทุกๆ ท่าน และขอพระพรของพระ กุมารเยซูโปรยปรายมายังท่านและครอบครัว ให้ประสบแต่ความสุข สวัสดิ์พิพัฒน์มงคลตลอดปใหม่นี้และ ตลอดไป
บรรณาธิการสร้างสรรค์
ข่าวประชาพันธ์… ขอเชิญชวนส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ฉบับต่อไปเดือน มกราคม - เมษายน 2555 ในหัวข้อ “กระแสเรียก” ส่งต้นฉบับได้ที่อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ E-mail : pi_santo@yahoo.com หรือ คุณสุกานดา วงศ์เพ็ญ E-mail : sukanda_w.pnt44@hotmail.com ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2555 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกบทความที่ส่งมาร่วมแบ่งปน
บทความทีต่ พี มิ พ์ในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ ขอสงวนสิทธิต์ ามกฎหมาย ในกรณีทต่ี อ้ งการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเปนทางการ
โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3
Content 20
32
75
1 : 20 : 32 : 45 : 52 : 61 : 75 :
Saengtham Journal ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2011/2554
บทบรรณาธิการ ศาสนากับความเชื่อ บาทหลวงวสันต์ พิรุฬวงศ์ ผู้ใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจ้าหรือนักบุญเปาโล บาทหลวงดร.ฟรังซิส ไก้ส์ ความรักยังจำเป็นหรือไม่ในสังคมบริโภคนิยม ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์ ศาสนากับวิทยาศาสตร์ : ความขัดแย้งจากมิติที่แตกต่าง อ.พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ ศาสนากับคุณค่าและความหมายของชีวิต จากการเรียนรู้แรงงานก่อสร้างชาวพม่า เชิงทะเล อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต บร.ปฏิพัฒน์ กิจเต่ง แนะนำสรุปพระสมณลิขิตเตือน พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า Verbum Domini บาทหลวงทัศไนย์ คมกฤส การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษา เพื่อความอยู่รอดของสังคมไทย อ.ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต
4
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553
87
93
93
120
87 : 93 : 98 : 103 : 120 :
ศาสนาในทัศนะของข้าพเจ้า รศ.สมประสงค์ น่วมบุญลือ ประสบการณ์น้ำท่วม บาทหลวงธรรมรัตน์ เรือนงาม ไตร่ตรองจิตอาสา บร.ยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ คณะภราดาลาซาล “คณะภราดาแห่งโรงเรียนคริสตังค์” บทบาทเรื่องการศึกษา อภิบาล และเผยแผ่ศาสนา ในมิสซังสยาม ทศวรรษแรกแห่งการบุกเบิก (ปี ค.ศ. 1951-1961) บร.พรชัย สิงห์สา แนะนำหนังสือ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร
1
ศาสนา กับ ความเชื่อ
หมวดพระสัจธรรม
ศาสนา กับ ความเช�่อ ºÒ·ËÅǧÇÊѹµ ¾ÔÃØÌË Ç§È
คำนำ ความเชื่อหมายถึงอะไร? หากพิ จ ารณาความหมายใน ตั ว มั น เองแล้ ว คำตอบของคำถามนี้ มี หลากหลายและแตกต่ า งกั น ไป ขึ้ น อยู่ กั บ แต่ ล ะช่ ว งเวลาในการดำเนิ น ชี วิ ต ที่ แตกต่างกัน เด็กเล็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะ ต อ น แ ร ก ก็ ใ ช้ วั ส ดุ ช่ ว ย ผ ะ ยุ ง ตั ว ใ น การเดิ น แต่ ยิ่ ง เดิ น ไปเขาก็ ยิ่ ง มี ทั ก ษะ มี ก ารเรี ย นรู้ มี ค วามตื่ น เต้ น ยิ น ดี แ ละมี
ความเชื่ อ มั่ น ในตั ว เอง จนในที่ สุ ด ก็ เ ดิ น ได้ เ องโดยไม่ ต้ อ งใช้ เ ครื่ อ งมื อ อะไรช่ ว ยอี ก ต่ อ ไป เช่ น เดี ย วกั บ เด็ ก ทั่ ว ไปที่ ไ ม่ ไ ด้ เกิ ด มาก็ เ ป็ น นั ก กี ฬ าเลย แต่ เ มื่ อ เขาได้ เริ่มเข้าเรียนในโรงเรียน เขาก็เริ่มเรียนรู้ ทักษะการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ นานเขาก็ ส ามารถเล่ น กี ฬ าได้ แม้ ไ ม่ ใช่ทุกคนจะสามารถเล่นได้อย่างโดดเด่น แต่อย่างน้อยทุกคนก็มั่นใจว่าตัวเขาสามารถเล่นเป็นทีมกันได้ เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อย
อธิการเจ้าคณะแขวงคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (สติกมาติน), อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
2
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
เริ่มเป็นวัยรุ่น ความชำนาญในการเล่นกีฬา ของเขาก็มีมากขึ้น รวมถึงทักษะในด้านอื่นๆ ก็พัฒนาเติบโตขึ้นด้วย จนสามารถเล่นกีฬาได้หลายอย่างอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งแน่นอนว่าความเชื่อมั่นในด้านนี้ของเขาก็มาก ขึ้นด้วย เมื่ อ เริ่ ม เข้ า เรี ย นในมหาวิ ท ยาลัย เขาก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมใหม่ที่แตกต่างไปจากบ้านของเขา ได้ เริ่มมีเพื่อนใหม่และเริ่มมีหน้าที่รับผิดชอ บมากขึ้น จนสามารถทำอะไรหลายๆ อย่าง ได้ ด้ ว ยตั ว เองโดยไม่ ต้ อ งพึ่ ง พาใครอี ก ต่อไป ชายและหญิงที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ต่างได้เริ่มเรียนรู้และพบว่าความอดทน การทำงานอย่างจริงจังและการมีความรู้สึกที่ ไวต่อสิ่งต่างๆ รอบกายจะสามารถทำ ให้ข้อผูกมัดในการใช้ชีวิตร่วมกันดำเนินไป สู่เป้าหมายอย่างสำเร็จได้ มนุษ ย์ ในทุกยุคทุกสมัยที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ การงาน หลังจากที่ได้ฟันฝ่าความทุกข์ยาก ลำบาก ความท้อแท้ผิดหวัง และศัตรูต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในจิตใจมาได้ ต่างยืนยันเหมือนกันว่า ในการเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตของเขานั้น เขาได้ค้น พบพลังอย่างหนึ่งในตัวของเขา นี่ทำให้ พวกเขามีความเชื่อมั่นในตัวของพวกเขา
เอง คือ เชื่อมั่นหรือมั่นใจในตัวเองว่าเขา สามารถทำได้ มนุษ ย์เราไม่ ได้ดำเนินอยู่อย่างโดด เดี่ยวในโลก แม้แต่คนที่ชอบกักตัวเองให้ อยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง แต่เขาก็ต้อง การความช่วยเหลือจากคนอื่นในบางครั้งด้วยเหมือนกัน เรามนุษ ย์พึ่งพาอาศัยพ่อ แม่ พี่ น้ อ ง ญาติ แ ละเพื่ อ นๆ ของเรามากกว่าไปพึ่งพาพวกเสมียนบริษั ท หรือ พนั ก งานขายของตามห้ า งร้ า นต่ า งๆ จึ ง ถื อ เป็ น เรื่ อ งสำคั ญ ที่ เ ราจะต้ อ งเชื่ อ และ มั่นใจว่า ผู้ที่เป็นพ่อแม่ย่อมจะต้องสอน สิ่งที่มีคุณค่า สิ่งที่สำคัญและจำเป็นแก่ลูกๆ ของพวกเขาอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับช่าง ตัดผมที่ต้องเอาใจใส่ ในการตัดผมลูกค้า ของเขาอย่างเต็มที่ พูดได้ว่าลูกค้าคือหัวใจ ของอาชีพของเขาเลยทีเดียว หากเรามนุษย์พบว่าเราเป็นคนที่ ไม่สามารถเชื่อและ วางใจในคนอื่นได้ เราก็เป็นคนที่ไม่สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในแบบธรรม ดาด้วยเหมือนกัน มนุษ ย์ทุกวันนี้ดำเนินชีวิตอยู่ในโลก ที่ถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยเทคโนโลยี ชั้นสูง แพทย์ในทุกวันนี้สามารถรักษาโรค ภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้หายได้ เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ที่ก่อนหน้านี้ไม่อาจรักษาให้หายได้ การศึก-
ศาสนา กับ ความเชื่อ
ษาทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ อย่างรอบด้าน เราสามารถรู้ ได้แม้ในสิ่งที่เราไม่เคยได้เห็น และสัมผัสมาก่อน ยิ่งทีก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ และแตกต่างจากมนุษย์ในอดีตมากมายนัก หากเราต้องการจะมีชีวิตอย่างปกติสุขและ มีความเจริญก้าวหน้า ก็จำเป็นที่เราจะต้อง เชื่อและไว้ใจหมอในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ของเราเราจำเป็นต้องเชื่อและไว้ใจช่างคอม พิวเตอร์ว่าสามารถซ่อมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของเราได้ และเราจำเป็นต้องเชื่อใน ครูบาอาจารย์ของเรา ว่ามีความรู้ความสามารถมากกว่าเรา และสามารถถ่ายทอดความรู้นั้นให้กับเราได้ ในบริบทของศาสนา การมีความเชื่อ และไว้ ว างใจในพระเจ้า ก็เป็นสิ่งที่จ ำเป็น และไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้เหมือนกัน 1.ความเชื่อทางศาสนาคืออะไร? ค ว า ม เ ชื่ อ ท า ง ศ า ส น า เ ป็ น “การเลือก” ส่วนตัวของมนุษย์ คือมนุษย์ เลือกที่จะเชื่อใน “พระเจ้า” และดำเนินชีวิต ในความสัมพันธ์กับพระเจ้า ส่วนพระเจ้านั้น ในฐานะเป็นมารดาและบิดาที่ไม่สามารถไร้ ซึ่งความอ่อนโยนต่อบรรดาบุตรของพระองค์ ได้ ดังคำพูดของประกาศกอิสยาห์ที่ว่า “ หญิ ง คนหนึ่ ง จะลื ม บุ ต รที่ ยั ง กิ น นม
3
และจะไม่ ส งสารบุ ต รที่ เ กิ ด จากครรภ์ ของนางได้ ห รื อ ? ” (อสย.49:15) ทั้ ง ยั ง เป็ น ผู้ จั ด หาอาหารประจำวั น แก่ บ รรดาบุตร “โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้” (ดู มธ.6:11) ก็ ได้ รั บ การยอมรั บ และนั บ ถื อ ในฐานะเป็ น แหล่งของชีวิต เป็นผู้สร้างทุกสิ่งที่ดำรงอยู่ และเป็นผู้รักษาคำสัญญาต่างๆ อย่างเคร่ง ครัด บรรดาผู้มีความเชื่อยังรู้จัก “พระเยซู เ จ้ า ” ด้ ว ยว่ า เป็ น ผู้ ที่ มี ค วามเป็ น อยู่ เดียวกับพระเจ้าเป็นผู้เปดเผยพระบุคคล และคุ ณ ลั ก ษณะของพระเจ้ า ที่ ส มบู ร ณ์ ที่ สุดและมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น พระเยซูเจ้ า องค์ นี้ ยั ง ทรงถู ก รู้ จั ก ในฐานะเป็ น อาจารย์ที่ดีที่สุด (par excellence) ทั้งใน เรื่ อ งทั ศ นคติ แ ละการประพฤติ ป ฏิ บั ติ ที่ ถื อ ว่ า เป็ น ลั ก ษณะเฉพาะที่ ผู้ มี ค วามเชื่ อ พึงมี แต่การดำเนินชีวิตติดตามพระเยซูเจ้า คือการดำเนินชีวิตเหมือนหรือเลียน แบบอย่างพระเยซูเจ้า ทั้งในเรื่องความซื่อสัตย์ การเป็นคนเปดเผย ไม่เห็นแก่ตัว เปียมด้วยความรัก รู้จักให้อภัย ใจกว้าง มี ใ จเมตตาและไม่ ตั ด สิ น คนอื่ น นั้ น ดู เหมื อ นเป็ น หน้ า ที่ ที่ ไ ม่ น่ า จะทำได้ แ ละดู เหมื อ นจะเป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ อ าจเกิ ด ขึ้ นได้ เ ลย
4
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หาก “พระจิตเจ้า” ไม่ได้เสด็จลงมาและ ประทับอยู่เพื่อช่วยเหลือบรรดาผู้มีความ เชื่อเหล่านั้น ความช่วยเหลือของพระจิตนี้ เราอาจเปรี ย บได้ กั บ คำพู ด ของประกาศกเอเศเคียลที่ว่า “เราจะนำใจหินออกไป จากร่างของท่าน และจะให้ใจเนื้อแก่ท่าน” (อสค.36:26) เนื่ อ งจากความเชื่ อ เป็ น สิ่ ง ที่ จั บ ต้องไม่ ได้ เป็นนามธรรม และเป็นสิ่งพิเศษเดียว (unique) ที่อยู่ในดวงใจของผู้มี ที่ความเชื่อ จึงเป็นเรื่องยากที่จะกำหนด คำจำกัดความที่มีรูปร่างหรือรูปแบบที่ชัดเจนได้ว่าความเชื่อคืออะไร สำหรับบางคน ความเชื่ อ อาจเป็ น พลั ง ที่ มี อ ำนาจเหนื อ การดำเนินชีวิตมนุษ ย์ แต่สำหรับบางคน ความเชื่ อ อาจเป็ น แค่ ถ่ า นไฟที่ ลุ ก วู บ วาบ เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น บางคนเข้าใจความเชื่อและใช้ความเชื่อไปในทางที่ผิด แต่ ก็ มีบ างคนด้วยที่ยังมีความสับสนระหว่างความเชื่อกับการละทิ้งความรับผิดชอบส่วนตัวของเขา ความเชื่อจึงไม่ใช่เป็น แค่ปรากฎการณ์ธรรมดาทั่วไป แต่นี่ไม่ได้ หมายความว่าความเชื่อเป็นความเป็นจริง ที่เราไม่อาจล่วงรู้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะใดๆ ได้เลย
ในที่นี้ ขอนำเสนอคุณลักษณะที่ สำคัญๆ ของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ ดังนี้ (1) ความเชื่อเป็นของประทาน มนุษ ย์ที่เชื่อในพระเจ้ารู้ว่าความ เชื่อเป็นของประทานจากพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้ประทานพระคุณแห่งความเชื่อให้ และผู้มีความเชื่อก็มีอิสระที่จะ “รับ” หรือ “ปฏิเสธ” ของประทานนี้ ความจริ ง ที่ ว่ า ความเชื่ อ เป็ น ของ ประทานจากพระเจ้า นำมาซึ่งคำถามที่สำคัญ 2 ประการด้วยกัน ก.พระเจ้ า ประทานความเชื่ อ ให้ เมื่อไร? และเรามนุษย์รับความเชื่อนี้มาเมื่อ ไร? ข. พระเจ้าประทานความเชื่อให้กับ บางคน และไม่ประทานให้กับบางคนหรือไม่? ในการตอบคำถามแรก เราพบว่า บทบาทของผู้ที่เป็นบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้องชายและหญิง ครู พระสงฆ์ ศาสนบริ ก รและบุ ค คลต่ า งๆ นั้ น เป็ น เพียงผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่นำไปสู่การเติบโต ในความเชื่อเท่านั้น เพราะไม่ มี ใ ครสามารถถ่ า ยทอดความ
ศาสนา กับ ความเชื่อ
เชื่ อ จากบุ ค คลหนึ่ ง ไปสู่ อี ก บุ ค คลหนึ่ ง ได้ ไ ม่ มี ม ารดาคนใดสามารถบั ง คั บ ลู ก ของนางให้มีความเชื่อได้ และไม่มีครูคนใดที่จะสามารถจัดโปรแกรมการสอนเพื่อ ให้นักเรียนของตนกลายเป็นผู้มีความเชื่อ ได้ ความจริงก็คือ เมื่อ “เวลาที่เหมาะสม” มาถึง แต่ละคนจะต้องเป็นผู้ “ตัดสินใจ” สำหรั บ ตั ว เองว่ า จะเชื่ อ ในพระเจ้ า และ ยอมรับพระคุณที่พระเจ้าประทานให้หรือ ไม่ เพราะการกลายเป็นผู้มีความเชื่อเป็น ตัวกำหนดเงื่อนไขในการรับพระคุณส่วนตัวแห่งความเชื่อของเขา และความเชื่อนัน้ ก็ จะเติบโตไปด้วยพร้อมกับการบรรลุวุฒิภาวะ และการตัดสินใจของเขา ส่ ว นคำถามที่ ส องที่ ว่ า พระเจ้ า ประทานความเชื่ อ ให้ กั บ บางคน และไม่ ประทานให้กับบางคนหรือไม่นั้น คำถามนี้ ทำให้ เ ราต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ สถานการณ์ ที่ น่ า ฉงนอยู่ เ หมื อ นกั น เพราะความเชื่ อ เป็ น ส่ ว นที่ จ ำเป็ น และสำคั ญ ที่ สุ ด ส่ ว นหนึ่งของชีวิตของเรา และเพราะเรามักจะ คิดว่าพระเจ้าเป็นผู้ที่ยุติธรรม เราจึงมีแนวโน้ ม ให้ เ หตุ ผ ลว่ า พระเจ้ า จะต้ อ งเป็ น ผู้ ที่ ประทานโอกาสในการมารับความเชื่อให้กับ แต่ละคนและทุกคนเท่ากัน อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลหลักอื่นๆ อีกที่ทำให้ผู้ที่ไม่นับ-
5
ถือพระเจ้า (atheists) ปฏิเสธไม่ยอมเชื่อใน พระเจ้า ยังมีคนที่จงรักภักดีต่อเหตุผลนิยมและปฏิเสธไม่ยอมรับความเชื่อเกี่ยวกับ พระเจ้า และยังมีข้อเรียกร้องต่างๆ ในการ ดำเนินชีวิตอีกหลายประการที่ทำให้คนอีก จำนวนหนึ่งเมินเฉยต่อเรื่องพระเจ้า ด้วย จำนวนผู้ที่ไม่มีความเชื่อที่มีอยู่จำนวนมาก ในโลกของเรา จึงทำให้เรารู้สึกยากเหมือน กันที่จะเข้าใจว่า พระเจ้าจะทรงสว่างจิตใจ ของพวกเขาด้วยความเข้าใจที่เป็นพื้นฐาน ก่อนมารับความเชื่ออย่างไร คาร์ล ราห์เนอร์ (Karl Rahner) พระสงฆ์คณะเยสุอิต หนึ่งในนักเทววิทยาที่ มีชื่อเสียงในยุคศตวรรษที่ 20 ของเรา ได้ใช้วิธีการวิเคราะห์การส่องสว่างภายใน ของพระเจ้าในจิตใจของผู้ที่ ไม่มีความเชื่อ (enlightening analysis) ราห์เนอร์กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปว่า คนที่ไม่ ต้องการเป็นผู้ที่มีความเชื่อนั้นเขาสามารถ เลือกที่จะไม่เชื่อได้ โดยพระเจ้าได้ทรงเสนอหรือประทานความเชื่อให้แก่เขา และ เขาก็ ต อบสนองพระเจ้ า ด้ ว ยการปฏิ เสธที่จะยอมรับการเสนอของพระเจ้านัั้น ราห์เนอร์อธิบายต่อไปว่า พระเจ้าทรงประทานความเข้าใจภายในให้กับแต่ละคน เพื่อ ให้เขาสามารถที่จะรู้ ได้ว่ามีพระเจ้าอยู่ และ
6
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
เพื่ อ ให้ เ ขาสามารถที่ จ ะตอบสนองความ รู้ ความเข้าใจของเขานี้ โดยเลือกว่าจะเชื่อ หรือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่ ที่สุด ราห์เนอร์ก็สรุปว่า พระเจ้าทรงติดต่อกับมนุษ ย์ทุกคนและแต่ละคน แต่มนุษย์บางคนไม่สามารถสัมผัสหรือเข้า ไม่ถึงความจริงที่ว่าพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพและพระผู้สร้างสรรพสิ่งกำลังพูดกับ เขาอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้คนเหล่านี้ไม่สามารถเข้ า ใจความจริ ง เกี่ ย วกั บ ความเป็ น อยู่ ของพระเจ้าได้ แต่พวกเขาก็มีความเข้าใจ ว่ามี “ ความดี ” บางอย่างที่กำลังเรียกร้องตัวเขาอยู่ และเขาก็รู้ตัวว่าเขาจะต้อง ดำเนิ น ชี วิ ต ตอบสนองความดี นั้ น ด้ ว ยชี วิตทั้งครบของเขาเอง ราห์เนอร์จึงมองว่า แท้ที่จริงแล้ว การตอบสนองแรงจูงใจของ ความดีของคนเหล่านั้น ก็ถือเป็นการตอบ สนองพระเจ้ า ด้ ว ยเหมื อ นกั น โดยราห์ เนอร์เรียกคนเหล่านั้นว่าเป็นพวก “คริสต-
1
ชนลับๆ ” ซึ่งอาจจะหมายถึงพวกมุสลิม พุทธ หรือชาวยิวก็ได้ เพราะธรรมประเพณี ความเชื่อของพวกเขาไม่ได้เชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า1 (2) ความเชื่ออาจคลุมเครือได้ ในพระวรสารของนักบุญมาระโก มี เ รื่ อ งเล่ า เกี่ ย วกั บ การสนทนาระหว่ า ง พระเยซูเจ้ากับหนุ่มคนหนึ่งที่เข้ามาความ ช่วยเหลือจากพระองค์ คือ ขอให้พระองค์ รักษาลูกชายของเขาที่ถูกปีศาจสิง การสนทนาโต้ตอบดำเนินไปในทำนองว่า บิดาของ เด็กคนนั้นกล่าวกับพระเยซูเจ้าว่า“ถ้าพระองค์ทรงทำสิ่งใดได้ ก็ทรงกรุณาช่วยเรา ด้วยเถิด” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ถ้าทำ ได้นะหรือ? ทุกสิ่งเป็นไปได้ทั้งนั้นสำหรับผู้ มีความเชื่อ” บิดาของเด็กคนนั้นก็เริ่มรู้ตัว ถึงการขาดความเชื่อของตน จึงกล่าวต่อ พระเยซูเจ้าว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ โปรดช่วย ความเชื่ออันเล็กน้อยของข้าพเจ้าด้วยเถิด”
คำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความคิดของคาร์ล ราห์เนอร์ เรื่องการเป็น “คริสตชนลับๆ” นี้ พบได้ใน Gerald McCool, SJ., ed. A Rahner Reader, New York: Seabury, 1975, p. 211 และ Anita Roper, The Anonymous Christian, New York: Sheed & Ward, 1966.
ศาสนา กับ ความเชื่อ
(ดู มก. 9:17-29) ความคลุ ม เครื อ (obscurity) ในความเชื่อทางศาสนา ถูกจัดว่าเป็นเรื่อง ความเป็นจริงทางจิตของความเป็นมนุษ ย์ ไม่ใช่อยู่ที่เป้าหมายของความเชื่อ (objectof faith) คือ พระเจ้า ซึ่งบ่อยครั้งที่ถูก มองว่าทรงอยู่ห่างไกลจากมนุษ ย์ ความ ไม่แน่นอนของอารมณ์ของมนุษ ย์ดูเหมือน จะเป็ น กฎควบคุ ม ตั ว มนุ ษ ย์ ม ากกว่ า เป็ น การยกเว้นเสียอีก ตัวอย่างเช่น ยามใดที่ เรารู้สึกว่าเรามีความรู้ค่อนข้างสมบูรณ์ เรา ก็คิดว่าเรารู้เรื่องของตัวเราและเรื่องของ พระเจ้า แต่ก็มีบางวันที่เรารู้สึกหดหู่ใจ สับ สน ล้มเหลวในชีวิต และเราก็รู้สึกว่าเราไม่ สามารถที่จะมองเห็นคุณค่าใดๆ ในสิ่งที่เรา เคยมั่นใจและข้อผูกมัดต่างๆ ของเราได้เลย นี่ีคือความเป็นจริงของเงื่อนไขการเป็นมนุษย์ และนี่คือคำอธิบายว่าทำไมบางครั้งเรา ถึงมีความรู้สึกว่า ความเชื่อของเราที่มีต่อ พระเจ้านั้นคลุมเครือ (3) ความเชื่อถูกทำให้ปรากฏชัด โดยความมั่นใจ การกล่ า วถึ ง ความเชื่ อ ทางศาสนาว่ า อาจคลุ ม เครื อ ได้ บ้ า งในบางครั้ ง นั้น ทำให้เราต้องกล่าวต่อไปว่า ความมั่นใจ (certitude) เป็นคุณลักษณะหนึ่งของความ
7
เชื่อทางศาสนา กล่าวคือ เป็นอะไรที่เหมือนกั บ การที่ บุ ค คลตั้ ง ใจจะละทิ้ ง รู ป แบบ การดำเนินชีวิตของตนเพื่อความเชื่อของ พวกเขา และพร้อมจะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ พวกเขาเชื่อ เรื่องนี้ เราเห็นตัวอย่างได้ชัดเจน จากบรรดาพระสงฆ์ แ ละนั ก บวชที่ เ ป็ น มิชชันนารี่ ที่ ได้ตัดสินใจมอบชีวิตทั้งครบ ของตนแด่พระเยซูเจ้า แม้ขณะยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวอยู่ก็ตาม ที่พวกเขาทำเช่นนี้เพราะพวกเขามี ค วามมั่ น ใจในการดำรงอยู่ ของพระเจ้า และเชื่อว่าเป็นพระเจ้านี้ที่ได้ ทรงเรียกพวกเขาให้ละทิ้งทุกสิ่ง และไปดำเนินชีวิตในที่แห่งใหม่ที่เขาไม่เคยรู้จักมา ก่อน เพื่อให้พวกเขาสั่งสอนพระวรสารแก่ คนในที่แห่งนั้น พวกนักบุณมรณสักขีก็เช่น กัน พวกเขาแสดงชีวิตเป็นตัวอย่างให้เห็น ถึ ง ความเชื่ อ มั่ น นี้ ไ ด้ อ ย่ า งชั ด เจนที เ ดี ย ว เรื่องนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่ยุคการเริ่มต้นของ กลุ่มคริสตชนที่ผมู้ ีความเชื่อบางคนถูกข่มขู่ บังคับให้เลือกว่าจะละทั้งความเชื่อของตน หรือการถูกเบียดเบียน แต่ด้วยเหตุที่พวก เขามีความมั่นคงในความเชื่อและในความ สัมพันธ์ที่พวกเขามีต่อพระเจ้า พวกเขาจึง ปฏิเสธไม่ยอมละทิ้งความเชื่อ และยอมรับ การเบียดเบียนจนกระทั่งตายเป็นนักบุญ-
8
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
มรณสักขีในที่สุด นี่แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและ มั่ น คงในความเชื่ อ ของพวกคริ ส ตชนผู้ มี ความเชื่อ เป็นความมั่นคงจนถึงขนาดตั้งใจจะยอมตายเพื่อรักษาความเชื่อนั้นเลยที เดียว นี่แหละคือมรณสักขี (4) ความเชื่อนำมาซึ่งความเสี่ยง แต่ความเชื่อก็มักจะนำมาซึ่งความ เสี่ยงแก่ผู้ที่มีความเชื่อเสมอ ทั้งนี้ เพราะพระเจ้าที่ผู้มีความเชื่อ มอบความวางใจให้นั้น เป็นผู้ที่พวกเขาไม่ เคยเห็นหรือไม่เคยได้สัมผัสแตะต้องเลย นี่หมายความว่า ผู้มีความเชื่ออาจผิดก็ได้ คือ อาจผิดที่หลงคิดว่าพระเจ้ามีอยู่จริง แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระเจ้าอาจไม่มี ตัวตนจริงอยู่ก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั่นจริง ก็ แสดงว่าบรรดาผู้ที่มีความเชื่อเหล่านั้นถูก หลอกลวง คือถูกหลอกให้นมัสการพระเจ้า ที่ไม่มีตัวตน และนี่คือความเสี่ยงของคริสตชนผู้มีความเชื่อ ยิ่งในยามที่ผู้มีความเชื่อ ตกอยู่ในความสงสัยเมื่อใด เขาก็ยิ่งรู้สึกได้ ถึงความเสี่ยงประการนี้ แต่ในทางกลับกัน ด้ ว ยเหตุ ที่ ว่ า ความเชื่ อ มี ร ากฐานที่ ลึ ก ซึ้ ง และแน่นอน ดังนั้นแทนที่จะเป็นเรื่องความ เสี่ยง แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้มีความเชื่อได้ บางคนที่ ยั ง ไม่ มั่ น ใจที่ จ ะเชื่ อ ใน
พระเจ้ า แต่ ก็ ไ ม่ อ ยากจะเสี่ ย งเท่ า ไรนั ก เขาจึ ง ไปร่ ว มกิ จ กรรมที่ วั ด ใส่ ถุ ง ทาน สวดภาวนาและประพฤติตัวตามหลักศีลธรรมเท่ า ที่ จ ะทำได้ เหตุ ผ ลที่ ท ำเช่ น นี้ ก็ คือเป็นการทำตามข้อเรียกร้องในระดับที่ น้อยที่สุดของความเชื่อ เพราะว่าหากมี พระเจ้าจริงและมีชีวิตหน้าจริง ก็ถือได้ว่า เขาได้ปฏิบัติตัวตามข้อกำหนดที่พอจะเข้า สวรรค์ ได้ คนพวกนี้ให้เหตุผลที่ทำเช่นนี้ว่า เพราะเขาไม่มีอะไรที่ต้องสูญเสีย และบาง ทีก็ไม่ได้หวังอะไรมากด้วยเช่นกัน การคิด เช่นนี้จึงถือว่ายังอยู่ห่างไกลจากการมีความ เชื่อที่แท้จริงนัก (5) ความเชื่อต้องมีรากฐานที่ลึก และมั่นคง เพื่อผู้มีความเชื่อจะสามารถเผชิญ หน้าและต้านทานการล่อลวงของพระเท็จ เทียมต่างๆ ได้ จำเป็นที่เขาจะต้องมีรากฐานความเชื่อที่ลึกซึ้งและมั่นคง เทพเจ้ า หรื อ พระเท็ จ เที ย มต่ า งๆ ล่อลวงอะไรหรือ? คำตอบนั้นสามารถขยายได้ยืดยาวทีเดียว เช่น ล่อลวงให้ติดใจ หลงใหลในเงินทอง ทรัพย์สมบัติ สถานภาพ อำนาจ ฐานะและความพึงพอใจ การ เป็นคนที่มีความเชื่อหมายถึงคนที่ประพฤติ ปฏิ บั ติ ต นสอดคล้ อ งกั บ พระบั ญ ญั ติ ข อง
ศาสนา กับ ความเชื่อ
พระเจ้า และปฏิเสธการยั่วยวนต่างๆ ของ พระเท็จเทียม ผู้มีความเชื่อจะพึงพอใจใน คุณค่าตามที่พบอยู่ในพระวรสาร ยิ่งหากผู้ มีความเชื่อเป็นคนที่มีเกียรติและเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป รากฐานความเชื่อ ของเขาก็ยิ่งต้องลึกตามไปด้วย เพื่อจะช่วย ป้องกันเขาไม่ให้หลงใหลไปในที่สุด 2. ความเชื่อทางศาสนาและการเลือกขั้นพื้นฐานของมนุษย การเลื อ กที่ จ ะเชื่ อ หรื อ ไม่ เ ชื่ อ ใน พระเจ้าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก ในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน คนที่มีความเชื่อมักจะพบกับความประหลาดใจเสมอใน สิ่งที่เขาเชื่อ ประหลาดใจต่อการเริ่มต้นความเชื่อของเขาว่าเกิดขึ้นเมื่อไร และประหลาดใจในเหตุผลว่าทำไมเขาถึงมีความเชื่อได้ จริงอยู่ว่า ความเชื่ออาจจะคลุมเครือบ้างและไม่อาจบรรยายถึงอย่างชัดเจนได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ ไม่ ได้สึกหนักใจอะไรนักที่จะประกาศตัวว่า “ฉันเป็น คนที่มีความเชื่อ” หรือ “ฉันเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อ” โดยทัั่วๆ ไป หลังผ่านพ้นวัยเด็กหรือวัยรุ่นไปแล้ว มนุษย์สามารถเลือก เวลาได้ว่าเขาจะตัดสินใจและรับเอาคุณค่าของการเป็นคนมีความเชื่อเข้ามาในชีวิต
9
ของเขาเมื่อไหร่ มนุษย์ยังสามารถพูดถึงได้ ด้วยว่าอะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจเขาให้เข้ามาสู่ ข่าวประเสริฐของพระเยซูเจ้า ปรากฏการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า การเลื อ กที่ ถื อ ว่าเป็นพื้นฐานที่สุดอย่างหนึ่ง และมีผลต่อ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็คือ “การเลือก ที่จะเชื่อในพระเจ้า” และพร้อมกับการตัดสินใจเลือกนี้ เขายังได้สร้างรูปแบบความ สัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของเขาขึ้นมา และตั้ง ไว้เป็นบรรทัดฐานเพื่อถือปฏิบัติในชีวิตของ เขาด้วย คริสตชนก็คือผู้ที่เลือกที่จะเชื่อใน พระเจ้านี้ ในการเลือกที่จะเชื่อในพระเจ้า คริสตชนยังได้ตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตของตนด้วยว่าเขาจะดำเนินชีวิต ติดตามใคร (พระเยซูเจ้า) จะดำเนินชีวิต อย่างไร (ด้วยความรัก) และจะประค่า ความเชื่อของเขาด้วยอะไร (ความเมตตา และการรับใช้ผู้อื่น) การเลือกขั้นพื้นฐาน หรือการการตัดสินใจขั้นพื้นฐานที่จะเชื่อใน พระเจ้านี้ แม้จะเริ่มต้นด้วยการตัดสินใจที่ เปราะบาง แต่ก็จะค่อยๆ เติบโตเป็นความ มั่นใจที่เข้มแข็งขึ้นในที่สุด จนสามารถให้ ความหมายและโครงสร้างแก่ชีวิตทั้งหมด เขาได้ แต่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งด้วยที่เลือก ที่จะไม่เชื่อในพระเจ้า
10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
3.การเลือกที่จะไม่เชื่อในศาสนา ความเชื่อทางศาสนามีความหมาย ต่อชีวิตมนุษย์หรือไม่? เราอาจจะตอบคำถามนี้โดยกล่าว ว่า “มี” หรือ “ไม่มี” ก็ได้ หรืออาจจะตอบ แบบให้ผ่านๆ ไป พร้อมกับยกไหล่ข้างหนึ่ง ก็ได้ ซึ่งลักษณะการตอบของคนประเภท หลังนี้ ดูเหมือนจะมาจากพวกที่มองคำถาม เรื่องความเชื่อนี้ว่าไม่ ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ ชีวิตมนุษย์นัก ซึ่งได้แก่พวกไม่เชื่อในศาสนาหรือไม่เชื่อในพระเจ้านั่นเอง พวกอเทวและพวกอจินไตย2 ปฏิเสธหรื อ สงสั ย การมี อ ยู่ จ ริ ง ของสิ่ ง ที่ เ ป็ น เป้าหมายของความเชื่อ (พระเจ้า) พวกเขา กล่าวว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง (อเทวนิยม) หรือมนุษย์ ไม่มีทางรู้ ได้เลยว่าพระเจ้ามีอยู่ หรือไม่ (อจินไตยนิยม) พวกอเทวนิยมอ้าง ว่าจักรวาลนั้นถูกกำหนดโปรแกรมไว้ด้วย ตัวของมันเองและอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง 2
ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ผลมาจากการสร้ า งของผู้ ที่ มี อำนาจสู ง สุ ด แต่ อ ย่ า งใด พวกที่ ไ ม่ มี ความเชื่อมักจะอ้างบ่อยๆ ถึงเรื่องความทุกข์ยากลำบากและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ของมนุษย์และสรุปว่า หากมีพระเจ้าจริง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับมนุษ ย์ แน่ ด้วยอิทธิพลความคิดของนักคิดอย่างฟรอยด์ (Freud) และมาร์กซ์ (Marx) พว กที่ ไม่มีความเชื่อจึงคอยโต้แย้งและพยาย ามลดความน่าเชื่อถือในเหตุผลของผู้ที่มีความเชื่ออยู่เสมอ พวกเขายืนยันว่าความเชื่อของคนที่มีความเชื่อนั้นตั้งอยู่บนรากฐานที่สั่นคลอนยิ่ง (1) การวิพากษความเชื่อทางศาสนาของคารล มารกซ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx, 1818-1883) เป็น นั ก ปรั ช ญาสั ง คมชาวเยอรมั น และเป็ น ผู้ น ำทฤษฎี
ลัทธิอจินไตยนิยม หรือ Agnosticism นี้ เป็น T.H. Huxley (1825-2895) ที่เป็นผู้บัญญัติใช้คำนี้เป็นคนแรก ทั้งนี้ เพื่อแยกตัวออกจาก วิชาเมตาฟสิกส์ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยความจริงเหนือผัสสะ ลั ทธิอจินไตยนิยมเป็นแขนงหนึ่งของลั ทธิวิมตินิยม (Skepticism) พวกวิมตินิยม เป็นพวกที่ชอบสงสัยไม่ยอมรับว่ามนุษย์เราสามารถรู้ความจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในระดับใดก็ตาม ส่วนพวกอจินไตยนิยมมีทัศนะคล้ายๆ กัน ต่างกันตรงที่ว่า ไม่สงสัยไปทุกเรื่อง แต่สงสัยเฉพาะเรื่องที่เป็นจริงเหนือผัสสะเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจริงเกี่ยวกับพระเจ้า นั้น พวกเขาถือว่ามนุษย์เราไม่สามารถศึกษาให้รู้จริงได้ ปัจจุบันลัทธิอจินไตยนิยมแฝงมาในรูปลัทธิต่างๆ เช่น ลัทธิปฏิฐานนิยม (Positivism) ลัทธิปฏิบัตินิยม (Pragmatism) และลัทธิวัตถุนิยม (Materialism) เป็นต้น
ศาสนา กับ ความเชื่อ
คอมมูนิซึม (Communism) มาร์กซ์เป็นคน ที่ไม่มีความเชื่อในศาสนาและได้รับอิทธิพล ทางความคิดมาจากเพื่อนร่วมสมัยของเขา คือ ลุดวิค อันเดรอัส ฟูเออร์บัค (Ludwig Andreas Feuerbach) ผู้ซึ่งเข้าใจความรู้สึ ก ทางศาสนาว่ า เป็ น เพี ย งผลผลิ ต ของ ความปรารถนาอยากของมนุ ษ ย์ เ ท่ า นั้ น และไม่ ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสิ่งที่อยู่เหนือ ผัสสะหรืออยู่เบื้องบน มาร์กซ์เป็นนักคิดที่มีชื่อเสียงมาก คนหนึ่ง ด้วยเหตุที่ทฤษฎีการวิเคราห์เรื่อง การต่อสู้ดิ้นรนในชนชั้นของมนุษย์ (class struggle)และการบรรยายว่าศาสนาทำหน้า ที่อย่างไรในการรักษาระบบชนชั้นไว้ของเขา นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง วิธีการ ทางปรัชญาของมาร์กซ์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ วัตถุนิยมตรรกะ3 คือ เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วย เรื่องการตัดสินทางเศรษฐกิจว่าเป็นสิ่งที่ มีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการทำให้
3
11
เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ และการจัดการต่าง ๆ ทางการเมืองในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ในฐานะที่มาร์กซ์ ได้ศึกษาด้านประวัติศาสตร์มาอย่างดี เขาจึงมั่นใจว่าสิ่งที่เกิด ขึ้นในยุคต่างๆ แต่ละยุคที่ผ่านมานั้น ล้วน เป็นเรื่องของการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างชนชั้น ต่างๆ ในสังคม โดยประชาชนในชนชั้นผู้ผลิตได้ลุกขึ้นมาและเปลี่ยนสถานะเป็นชน ชั้นผู้ปกครองแทน เมื่อชนชั้นปกครองสูญเสียอำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจไป เขา ก็จะต้องตกไปในที่สุด โดยคนชนชั้นผู้ผลิต ขึ้นมามีอำนาจทางเศรษฐกิจแทน ในช่วงเวลาที่มาร์กซ์สร้างทฤษฎีของเขาขึ้นมานั้น โลกอยู่ในยุคอุตสาหกรรมกลาง ซึ่งเป็นยุค ที่พวกชนชั้นกลางเป็นพวกที่มีบทบาทโดดเด่นมากที่สุด มาร์ ก ซ์ ม องว่ า การหาประโยชน์ส่วนตัวทางเศรษฐกิจจากพวกกรรมกร โดยพวกชนชั้ น กลางนั้ น เป็ น ความเป็ น
Dialectical Materialism เป็นแนวคิดที่เสนอว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นวัตถ และการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ผ่านทางการต่อสู้ดิ้นรน ของสิ่งตรงข้าม โดยผ่านทางการทำงานตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้แล้วอย่างแน่นอน การต่อสู้ของอำนาจที่คัดค้านจะนำไปสู่การเติบโต การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา สำหรับมาร์กซ์ นี่หมายความว่า การปฏิรูปของชนชั้นแรงงานเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการก่อตั้งสังคม คอมมูนิสต์ ซึ่งเป็นสังคมที่จะไม่มีความแตกต่างและไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นอีกต่อไป
12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
จริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น และรุ น แรงมากในสมั ย ของ เขา พวกชนชั้นกลางหรือพวกชนชั้นนายทุนเป็นพวกที่มีอำนาจและมีรูปแบบชีวิต การเป็นอยู่ที่ดี ขณะที่พวกชนชั้นกรรมกร หรือพวกใช้แรงงานกลับตกอยู่ในความทุกข์ ยากลำบาก และถูกบีบคั้นด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำรงชีพ มาร์กซ์ยังรู้สึกทึ่งในความ อดทนอดกลั้นของพวกชนชั้นกรรมกรเหล่า นั้น และอดไม่ ได้ที่จะหาคำอธิบายถึงสาเหตุของปรากฎการณ์เช่นนั้น มาร์กซ์จึงตั้ง คำถามว่า ทั้งๆที่ประชาชนกรรมกรเหล่านี้ ถูกปฏิเสธไม่ให้ ได้รับผลตอบแทนอย่างยุติธรรม แต่ทำไมพวกเขายังคงอดทนทำงานอย่างหนักอยู่ต่อไปได้? มาร์กซ์พบคำตอบสำหรับตัวเขา เองว่า ความร่ำรวยของพวกชนชั้นกลาง และความยากจนของพวกชนชั้นกรรมกร ต่างอ้างเหตุที่อิทธิพลของศาสนาเหมือน กัน ตามความเห็นของมาร์กซ์ ผู้นำทางศาสนาเทศน์สอนให้เชื่อแต่เรื่องโชคชะตา4
4
และให้ประชาชนชั้นกรรมกรยอมรับสภาพ เช่นนั้นอย่างอดทน การเทศน์สอนเช่นนี้มี แต่ทำให้ประชาชนเหล่านั้นต้องตกอยู่ ใน สภาพจำยอมตลอดเวลา มาร์กซ์จึงมองระบบโครงสร้ า งทางศาสนาว่ า เป็ น เครื่ อ งมือ ของพวกชนชั้นกลางที่มีเป้าหมายเพื่อ ค้ำจุนให้พวกชนชั้นกลางมีอำนาจปกครอง อยู่ต่อไป มาร์กซ์จึงโจมตีศาสนาว่าเป็นเหมือน “ฝน” ของประชาชนและเขาก็ต่อสู้ เพื่ อ ให้ ป ระโยชน์ ข องศาสนาในลั ก ษณะ เช่นนี้หมดไป เมื่อระบบทางสังคมเศรษฐกิจ ใหม่ได้รับการสถาปนาขึ้น
Fatalism เป็นทัศนคติความเชื่อของบุคคลที่ว่า เงื่อนไขต่างๆทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมเป็น สิ่งที่ถูกกำหนดไวให้แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับด้วยความอดทน
ศาสนา กับ ความเชื่อ
แต่ ก ารโจมตี ค วามเชื่ อ ทางศาสนาของมาร์ ก ซ์ นี้ เป็ น การโจมตี ใ นผล ทางลบที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมและเศรษฐกิ จ มาร์กซ์ ไม่ ได้พิจารณามิติอื่นๆ ที่เป็นบวก ของความเชื่อทางศาสนาที่ผู้มีความเชื่อได้ รับเลย มาร์กซ์มุ่งเน้นไปที่สาเหตุและผล เดี ย วที่ เ ขาอ้ า งว่ า เป็ น อิ ท ธิ ม าจากศาสนา มาร์กซ์ต่อต้านผู้นำทางศาสนาที่เทศน์สอน แต่สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (status quo) ปลอบใจผู้มีความเชื่อให้อดทนต่อ ความทุกข์ยากลำบาก และแนะนำพวกเขา ให้มีความหวังว่าจะได้รับรางวัลในวาระสุด ท้าย ตามความคิดของมาร์กซ์ การเทศน์สอนในลักษณะนีเ้ ป็นทีจ่ บั ใจแก่ผทู้ มี่ คี วามเชื่อ ซึ่งเป็นพวกทำงานหนักเพื่อผลประโยชน์ของพวกนายทุน แต่กลับได้รับค่าตอบ แทนต่ำ มาร์กซ์จึงสรุปว่า หากไม่มีความ แตกต่างกันทางชนชั้นก็คงไม่มีการหาประโยชน์ส่วนตัวเกิดขึ้น และนั่นหมายความว่า
13
ไม่จำเป็นต้องมีศาสนาด้วย สำหรับคาร์ล มาร์กซ์ ศาสนามีบทบาทเพียงรับใช้เป้าหมายที่หลอกลวงของ สังคมเศรษฐกิจเท่านั้น เขาจึงไม่สนใจเรื่อง ความเชื่อทางศาสนาที่อาจแสดงให้เห็นได้ ชัดในความสัมพันธ์ที่เป็นพลวัตระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มาร์กซ์ ไม่เคยยอมรับรู้ว่า ศาสนาสามารถทำงานช่วยเสริมสร้างความ ยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกกดขี่ได้ พวกอเทวนิยมที่เชื่อในความถูกต้องของทษฤฎีของมาร์กซ์จึงต่างคัดค้าน ความเชื่อในพระเจ้า โดยมองว่าเป็นเรื่อง เหลวไหลน่าหัวเราะเพราะไม่มีพระเจ้าอยู่ จริง มากกว่านั้น พวกคนเหล่านี้ยังดูเหมือนจะถือต่อไปด้วยว่า คนที่อ้างตัวว่าเชื่อใน พระเจ้ า นั้ น เขาเชื่ อ เพราะถู ก ทำให้ เ ข้ า ใจผิ ด โดยคำสอนและคำสั ญ ญาต่ า งๆ ของพวกผู้นำทางศาสนา
14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
(2) การประเมินความเชื่อทางศาสนาของฟรอยด์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856-1939) เป็นนักคิ ด อี ก คนหนึ่ ง ที่ ส นั บ สนุ น แนวคิดวนการต่อต้านศาสนา ของพวกไม่นับถือพระเจ้า ฟรอยด์เป็นแพทย์ชาวออสเตรียที่ ได้พัฒนาทฎษฎีเกี่ยว กับจิตใต้สำนึก5 ว่าทำงานอย่างไร และยัง เป็ น คนจั ด หาคำอธิ บ ายเกี่ ย วกั บ อิ ท ธิ พ ล ของพลังของจิตสำนึกที่มีต่อพฤติกรรมของ มนุษย์ ฟรอยด์ยังเป็นนักบำบัดโรคทางจิต ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง และด้วยอาชี พ และความสามารถพิ เ ศษของเขาใน ด้านนี้ ฟรอย์จึงเริ่มเข้ามาวิพากษ์และวิเคราะห์ ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเชื่อ ในศาสนา โดยฟรอยด์แบ่งหน้าที่ของบรรดาเทพเจ้าต่างๆ ว่ามีอยู่ 3 ประการด้วยกัน โดยกล่าวว่า
5
“เทพเจาตางๆ รักษาภาระหนาที่ 3 ประการของพวกตนไว คือ พวกทานตอง คอยขับไลความโหดรายตางๆ ของธรรม ชาติออกไป พวกทานตองคอยประนีประ นอมมนุ ษ ย เ ข า กั บ ความโหดร า ยอำมหิ ต ของชะตากรรม เฉพาะอยางยิ่งชะตากรรม ที่นำไปสูความตาย และประการสุดทาย คือ พวกทานจะตองคอยใหรางวัลตอบแทนมนุษ ยสำหรับความทุกขทรมานและความ ขาดแคลนตางๆ”6 ฟรอยด์สร้างทฤษฎีขึ้นมาว่า คนที่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องการมีพระเจ้าหรือ เทพเจ้าต่างๆเอาไว้เพื่อให้คอยปกป้องตัว เขา ฟรอยด์กล่าวต่อไปว่า คนที่เป็นผู้ใหญ่ มักจะหวนนึกถึงบิดาของเขาว่าได้ปกป้องดู แลเขาอย่างไรเมื่อตอนที่เขายังเป็นเด็กอยู่ ซึ่งโดยไม่รู้ตัว เขาก็ปรารถนาจะได้ภาพของ บิดาอีกคนหนึ่งที่จะเป็นผู้คอยปัดเป่าความ โหดร้ายต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันให้หมดไป
คำว่า จิตใต้สำนึก (Subconscious) นี้ ฟรอยด์อธิบายว่าเป็นความคิดที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก แต่ถูกระงับไว้ เหมือนกับยังจมอยู่ใต้น้ำ เป็นเหมือนการไม่รู้ตัว (Unconscious) นั่นเอง 6 Sigmund Freud, The Future of an Illusion, James Strachey, trans. And ed., New York: W.W.Norton & Co., Inc., 1961, p. 18.
ศาสนา กับ ความเชื่อ
และพวกเขาก็ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะเปลี่ ย นรู ป ความปรารถนาที่อยากจะมีบิดาที่คอยปกป้องคุ้มครองเขานี้ ไปสู่ผู้ที่เป็นเป้าหมาย ของความเชื่อของเขา คือ พระเจ้า ดังนั้น ฟรอยด์จึงสรุปว่า พระเจ้าจึงเป็นเพียงภาพ ลวงตาเท่านั้น เป็นความเข้าใจผิดของคน ประเภทนั้น ไม่ได้มีอยู่จริง ด้ ว ยความคิ ด เช่ น นี้ ฟรอยด์ จึ ง ดูหมิ่นความจำเป็นในการเชื่อถึงพระเจ้า โดยกล่ า วถึ ง คนที่ เ ชื่ อ ในพระเจ้ า ว่ า เป็ น เครื่องหมายของความไม่มีวุฒิภาวะ เขา คิดว่าผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์ที่มั่นคงสามารถที่ จะรั บ มื อ หรื อ จั ด การกั บ ปั ญ หาอุ ป สรรค ต่างๆ ในชีวิตได้ด้วยตัวเขาเอง หากมนุษย์มีวุฒิภาวะและสามารถเอาใจใส่ชีวิตของ ตนเองได้ พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องมีศาสนา และไม่จำเป็นต้องมีความคิดถึงพระเจ้าใน ฐานะเป็นบิดาด้วย แม้พวกไม่นับถือพระเจ้าจะโต้แย้ง ความเป็นจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้า แต่พวกเขาก็ยอมรับว่าความเชื่อใน ศาสนานั้นมีพลังอย่างมากในชีวิตของผู้มี ความเชื่อ กระนั้นก็ดี พวกเขาก็ปฏิเสธไม่ ยอมรั บ ความเชื่ อ ของผู้ มี ค วามเชื่ อ ที่ ว่ า พระเจ้ามีอยู่ โดยมองเหตุผลของผู้มีความ เชื่อว่าเป็นเหมือนเหตุผลของของพวกเด็ก ๆที่ยังไร้เดียงสา
15
แต่อย่างไรก็ต าม พวกอเทวนิยมอย่ า งมาร์ ก ซ์ แ ละฟรอยด์ ก็ ไ ด้ ใ ห้ มุ ม มองที่ดีบางประการไว้เหมือนกัน กล่าวคือ หากพวกผู้นำทางศาสนาเทศน์สอนเรื่อง ชะตากรรมและ/หรื อ ปฏิ บั ติ ตั ว สมรู้ ร่ ว ม คิดกับคนร่ำรวยและมีอำนาจ พวกเขาก็ สมควรจะถู ก ตี แ ผ่ แ ละลดความน่ า เชื่ อ ถือลง ทำนองเดียวกับความเชื่อในศาสนา หากก่อให้เกิดการยึดครองหรือการครอบงำในทางที่ผิด ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้ กับศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ กระนั้นก็ดี เป้าหมายของศาสนาไม่ใช่เพื่อเคารพบูชา สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และความเชื่อในศาสนาก็ ไม่ ได้เป็นการถ่วงความ เจริญหรือถ่วงการพัฒนาบุคคล อารมณ์ และสติปัญญาของมนุษย์แต่อย่างใด (3) โลกทัศนของพวกอจินไตยนิยม นอกจากพวกไม่นับถือพระเจ้าหรือ ที่เรียกว่าพวกอเทวนิยมแล้ว ยังมีพวกที่ไม่ มีความเชื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างออก ไปพวกนี้รู้จักกันในชื่อว่าพวกอจินไตยนิยม พวกอจินไตยนิยมอ้างเหตุผลว่า พระเจ้า อาจจะมีอยู่ หรืออาจจะไม่มีอยู่จริงก็ได้ แต่ ไม่มีทางใดที่จะแก้ปัญหาหรือเฉลยปัญหา ในเรื่องนี้ ได้ เนื่องจากเรื่องการมีอยู่ของ
16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
พระเจ้ า ไม่ อ าจพิ สู จ น์ ไ ด้ ด้ ว ยวิ ธี ก ารใดๆ ได้ พวกอจินไตยจึงมีโลกทัศน์ที่ปราศจาก พระเจ้า คือ ไม่มีที่สำหรับพระเจ้าในความ คิดของพวกเขา พวกเขาดำเนินชีวิตเหมือน กับว่าไม่มีพระเจ้าอยู่ ดังนี้ พวกเขาจึงไม่ ต้องสวดภาวนา ไม่ต้องกราบไหว้เคารพบูชา และไม่ต้องมองสิ่งต่างๆ ในโลกด้วย ความคิดว่าเป็นผลงานจากฝีพระหัตถ์ของ พระเจ้า พวกเขาไม่เชื่อด้วยว่ามีสิ่งใดที่มี อำนาจเหนือกว่าพวกเขา พวกเขาจึงเป็น คนประเภททุ่มเทตัวเฉพาะในสิ่งที่พวกเขา สามารถรู้ ได้ด้วยความมั่นใจเท่านั้น (4) ความไม่แยแสในเรื่องศาสนา ทั้งพวกอเทวนิยมและพวกอจินไตยนิ ย มต่ า งใช้ เ วลาและความพยายาม ส่วนใหญ่เพื่อพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง ความมีอยู่ของพระเจ้า แต่ยังมีคนที่ไม่มีความเชื่ออยู่อีกจำนวนหนึ่งซึ่งพูดได้ว่าเป็น คนกลุ่มใหญ่และมีจำนวนมากกว่าสองพวก แรกที่ ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวนี้ และเห็นว่าเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ด้วย คนกลุ่มนี้เรียกว่าพวกไม่แยแสหรือไม่ใส่ใจ ใดๆ เลย (Indifferent) เกี่ยวกับความเชื่อใน ศาสนา คนพวกนี้ถือว่าชีวิตในปัจจุบันนี้ สับสน ซับซ้อนและน่าตื่นเต้นมากกว่าที่ เคยมีมาก่อน และประชาชนก็พบตัวเองว่า มีความวิตกกังวล ยุ่ง วุ่นวายและเต็มไป
ด้วยภาระหน้าที่ต่างๆมากมายในการดำเนินชีวิต ผลที่ตามมาคือ พวกเขาจึงไม่ ขวนขวายที่ จ ะไปพิ จ ารณาและคิ ด ถึ ง ใน เรื่องความเชื่อในพระเจ้า อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากเหมือน กั น ที่ จ ะเผชิ ญ หน้ า กั บ ชี วิ ตโดยไม่ รู้ เ ป้ า หมายสุดท้ายว่าจะเป็นอย่างไร คำถามที่มี มานานนับแต่โบราณกาล อย่างเช่น เสียง ร้องถามของคนไม่รู้กี่ยุคกี่สมัยมาแล้วว่า ความตายเป็นการสิ้นสุดของความเป็นอยู่ หรือ? มนุษย์เป็นอมตะหรือ? พระเจ้าผู้ทรงสร้ า งโลกจั ก รวาลทรงมี ค วามห่ ว งใยมนุษ ย์อยู่หรือ? ในเรื่องของความรัก, เพศและการแต่งงาน จำเป็นที่จะต้องทำสิ่ง เหล่านี้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางศาสนาด้วยหรือ? หรือว่าแต่ละคนสามารถตัด สินใจและเลือกทำได้ตามใจตัวเอง? นี่ เ ป็ น คำถามที่ ม นุ ษ ย์ ต้ อ งเผชิ ญ หน้าอยู่ทุกวัน การไม่สนใจเลยจึงดูเป็น เรื่องที่ไม่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ (5) ความเหินห่างจากศาสนา ยั ง มี อ ดี ต สมาชิ ก ของศาสนาอี ก ส่วนหนึ่งซึ่งยังคงมีความเชื่อในพระเจ้าอยู่ แต่สูญเสียความเชื่อและความไว้วางใจใน องค์กรหรือสังคมที่เคยร่วมอยู่ด้วย จึงได้ แยกตัวออกไปต่างหาก การแยกตัวออกไป
ศาสนา กับ ความเชื่อ
เช่นนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เจ็บปวดยิ่งนัก เพราะเป็นการเหินห่างไปจากหมู่คณะแห่ง ความเชื่อ ที่ว่าเป็นปรากฎการณ์ที่เจ็บปวด ก็เพราะคนเหล่านี้ได้แยกตัวออกไปจากหมู่ หรือกลุ่มที่ตัวเองเคยอยู่มาก่อน พวกเขา จึงทุกข์ทรมานกับความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น และเจ็บปวดกับความรู้สึกโดดเดี่ยวที่ต้อง แยกตัวออกไปเช่นนั้น สาเหตุของการแยก ตัวออกไปนี้ เราไม่อาจพูดในแบบรวมๆได้ เพราะแต่ ล ะกรณี ที่ เ กิ ด ขึ้ น ก็ มี ส าเหตุ เ ฉพาะของตัวเอง การแก้ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่ใช่ เรื่องง่ายๆอย่างที่หลายคนคิด บางคนยื น ยั น ว่ า ปรากฏการณ์ การแยกตั ว ออกไปของคนบางกลุ่ ม นั้ น ไม่ ใช่ความผิดของพระศาสนจักร แต่ก็มี คนอี ก บางกลุ่ ม ที่ เ รี ย กว่ า เป็ น พวกชอบ เยาะเย้ยถากถาง (Cynicism) ซึ่งเป็นพวกที่ เชื่ อ ว่ า การกระทำทุ ก อย่ า งของมนุ ษ ย์ เกิด จากความเห็นแก่ตัว พวกเขาจึงต้อนรับ และยกย่ อ งกลุ่ ม คนที่ แ ยกตั ว ออกไปจาก พระศาสนจักร พร้อมกับประฌามว่าเป็น ความผิดของพระศาสนจักร อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเหตุผล ของทั้งสองฝ่ายดูไม่ค่อยสมดุลเท่าไร นัก เพราะไม่ มี ฝ่ า ยใดคำนึ ง ถึ ง ว่ า อะไรเป็ น เหตุ ให้เกิดการแยกตัวออกไปเช่นนั้น ขณะ
17
เดียวกัน แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่ ใคร คนใดคนหนึ่งจะยังคงมั่นคงในความเชื่อใน พระเจ้าของตน โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกของ หมู่คณะแห่งความเชื่อ แต่คนที่แยกตัวออก ไปจากหมู่ ค ณะเหล่ า นั้ น ก็ ไ ด้ เ ป็ น พยาน ถึงเรื่องนี้ว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกันที่จะ รักษาและค้ำจุนความเชื่อของตนให้มั่นคง ไว้โดยปราศจากการสนับสนุนจากบรรดาผู้ มีความเชื่อที่ค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึง ต่างแสวงหาความเช้าใจและการเยียวยา สาเหตุของการแยกตัวออกไปนี้ (6) ความไม่ พ อใจต่ อ การแสดง ออกบางประการของความเชื่อ ยังมีคนที่มีความเชื่อในพระเจ้าอีก บางคนที่ มี ค วามรู้ สึ ก ไม่ ส บายใจต่ อ การแสดงออกที่มากเกินไปของคนบางคน ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีศาสนา ตัวอย่างของคน กลุ่ ม นี้ เ ช่ น พวกที่ ถื อ ความเชื่ อ นิ ย มแบบ ดั้งเดิม (Fundamentalism) และเป็นสมาชิกของพิธีกรรมทางศาสนาที่ถืออย่างเคร่งครัด คนพวกนี้มีความฝังใจในความเชื่อ และศาสนาในทางลบมากกว่าทางบวก เช่น พวกความเชื่อนิยมแบบดั้งเดิมที่สอนให้ตี ความพระคัมภีร์ตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด สนับสนุนปรัชญาสังคมในเรื่องสิทธิ และไม่เคยยอมผ่อนปรนให้กับความเห็น
18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ของคนที่ไม่เห็นคล้อยตามพวกเขา พวกที่ ถือปฏิบัติพิธีกรรมบางอย่างอย่างเคร่งครัด ก็เช่นกัน ดูเหมือนพวกเขาต่างพร้อมที่จะ ยอมมอบอุทิศตนให้กับผู้ที่เป็นผู้นำในการ ประกอบพิธีกรรม พูดง่ายๆ คือ พวกเขาปฏิบัติตามอย่างคนตาบอด ผู้นำให้ทำอะไรก็ ทำตามอย่างนั้น บางกรณีถึงกับถูกล้างสมองก็มี ตัวอย่างเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1978 ที่มีชาย หญิงและเด็ก พร้อมใจ กันฆ่าตัวตายหรือทำฆาตกรรมที่ชายป่าใน เมืองโจนส์ทาวน์ ประเทศกิอานา ตามคำ แนะนำหรือการบงการของผู้นำในการประกอบพิธีกรรมลึกลับนั้น คือ บาทหลวง จิม โจนส์ อย่างไรก็ดี เป็นสิ่งสำคัญที่เราควร จะระลึกไว้เสมอว่า เรื่องความเชื่อทางศาสนานั้น ไม่ใช่มีเพียงการแสดงออกในแบบ ของพวกที่ ถื อ ความเชื่ อ นิ ย มแบบดั้ ง เดิ ม และพวกที่ถือพิธีกรรมลึกลับเท่านั้น ยังมีวิธี การและทางอื่นๆ อีกมากมายในการแสดง
ออกของการมีความเชื่อในพระเจ้า 4. บทสรุป ทั้งหมดนี้คือท่าทีของมนุษย์ที่มีต่อ ศาสนา ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกของมนุษย์เอง ซึ่งพบว่าหากมนุษย์ ไม่เชื่อในตัวเอง และไม่เชื่อในผู้อื่น เขาก็มีแนวโน้มที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน แม้พระเจ้าจะทรงเป็นธรรมล้ำลึก ที่ ไม่อาจพูดถึงได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นความ จริงที่ว่าพระเจ้าในธรรมประเพณีของคริสตชนชาวยิวนั้นเป็นผู้ที่มีเสน่ห์และดึงดูด ใจผู้มีความเชื่อให้เข้ามาอยู่ใกล้ชิดพระองค์ ใครที่มีชีวิตสัมพันธ์กับพระเจ้าผู้ทรงชีวิตนี้ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ ได้รับพระคุณแห่งความเชื่อ จากพระองค์ พระคุณนี้แม้จะเป็นอะไรบาง อย่างที่พวกเขาเข้าใจได้เพียงเสี้ยวหนึ่งเท่า นั้น แต่ก็เป็นอะไรบางอย่างที่พวกเขาสามารถสะสมไว้ ได้ด้วยเหมือนกัน +++
ศาสนา กับ ความเชื่อ
19
Flynn, Eileen. Why Believe?: Foundations of Catholic Theology. Wisconsin: Sheed & Ward, 2000. Baum, Gregory. Faith and Doctrine: A Contemporary View. New York: Newman Press, 1969. Kung, Hans. Does God Exist? An Answer for Today. New York: Doubleday, 1980. Rahner, Karl. Foundations of Christian Faith. New York: Seabury Press, 1978. Otto, Rudolf. The Idea of the Holy, trans. John W. Harvey, London: Oxford, 1923. Freud, Sigmund. The Future of an Illusion. James Strachey, trans. And ed., New York: W.W.Norton & Co., Inc., 1961.
20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หมวดพระสัจธรรม
ผูใดกอตั้งศาสนาคริสต
พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล ºÒ·ËÅǧ´Ã.¿Ãѧ«ÔÊ ä¡ŒÊ 1. เบื้องหลังคำถาม ผู้อ่านอาจรู้สึกว่าคำถามนี้ฟังดูแปลก ๆ เพราะเขามั่นใจว่าพระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ ตั้งศาสนาคริสต์ โดยแท้จริงแล้ว ตลอดหลายศตวรรษ คริสตชนทั่วไปเคยคิดว่า นักบุญเปาโลเป็นอัครสาวกของพระคริสตเจ้า มีคำสอนที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับการเทศน์สอนของ พระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ อาจต่างกันบ้างในเรื่องภาษาที่ใช้ แต่ในวงการนักพระคัมภีร์ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 8 มีหลายคนที่ศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของศาสนาคริสต์ ความคิดเห็นของนักพระคัมภีร์ในเรื่องนี้ไม่ตรงกัน บางคนคิดว่า คำสอนของนักบุญเปาโลมีความต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์กับคำสอนของพระเยซูเจ้าผู้ทรงตั้งศาสนาคริสต์ แต่บางคนคิดว่าคำสอนของนักบุญเปาโลแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการเทศน์สอนของพระ- เยซูเจ้า เขาจึงยืนยันว่านักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์ กระนั้นก็ดี ในระหว่างสองกลุ่ม
บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารยประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร วิทยาลัยแสงธรรม
ผูใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล
21
ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ยังมีผู้คิดว่า คำสอนของนักบุญเปาโลต่อเนื่องกับการเทศน์สอน ของพระเยซูเจ้า แต่เขาพัฒนาคำสอนของพระเยซูเจ้ามากยิ่งขึ้น เราจึงพบว่า คำสอนของ นักบุญเปาโลทั้งต่อเนื่องและแตกต่างจากคำสอนของพระเยซูเจ้า ในปี ค.ศ. 1831 นายเฟอร์ดินันด์ คริสเตียน บาอูร (Ferdinand Christian Baur) นักเทววิทยาชาวเยอรมันเป็นคนแรกที่ได้เขียนข้อความเรื่องนี้ เขาต้องการแยกคำสอนของ นักบุญเปาโลออกจากคำสอนของพระเยซูเจ้า เพื่อแสดงว่าคำสอนของนักบุญเปาโลเป็น สัญลักษณ์ของพระศาสนจักรในแง่สถาบันที่มองเห็นได้และมีฐานานุกรม ส่วนพระเยซูเจ้า ทรงเป็นเพียงพระอาจารย์สอนจริยธรรม ไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะตั้งศาสนาเลย ข้อความนี้ มีจุดประสงค์ที่จะสรุปความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ตั้งศาสนาคริสต์ และเสนอเหตุผลที่แสดงว่าพระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์ 2. ความคิดที่ว่า นักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์ ในปี ค.ศ. 1904 นายวิลเลี่ยม เรเด (William Wrede) ได้เขียนข้อความที่เสนอว่า คำสอนของนักบุญเปาโลแตกต่างจากคำเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าอย่างสิ้นเชิง เพราะนัก- บุญเปาโลให้ความคิดใหม่และปฏิบัติภารกิจงานธรรมทูตแบบใหม กิจการนี้ทำลายเจตนา ดั้งเดิมที่พระเยซูเจ้าทรงมีต่อบรรดาศิษย์ ในทำนองเดียวกัน นายโยเซฟ เคลาส์เนอร์ (Joseph Klausner) นักพระคัมภีร์ชาว ยิวพยายามแสดงว่า คำสอนของพระเยซูเจ้ายังเข้าใจได้ในบริบทของศาสนายูดาย ส่วนนักบุญเปาโลมีความคิดตามแนวปรัชญากรีกและเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์ ความคิดดังกล่าวเผย แผ่ในประเทศทางแถบตะวันตก จนเป็นทรรศนะของนักเขียนและสื่อมวลชนหลายกระแส นางยูดิธ เฮซ (Judith Hayes) นักอเทวนิยมชาวรัฐแคลิฟอร์เนีย เขาต่อสู้ กับผู้มีความเชื่อในทุกศาสนา โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ เขาเขียนไว้ว่า “จนถึงวันนี้ นักวิชาการยังโต้เถียงกันว่า พระเยซูเจ้าทรงเคยเป็นบุรุษแท้จริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเช่นไร ผู้ตั้งศาสนาคริสต์ต้องเป็นนักบุญเปาโลอย่างแน่นอน เพราะนัก บุญเปาโลเกือบไม่พูดถึงพระเยซูเจ้าในประวัติศาสตร์และไม่เคยอ้างถึงครอบครัวของพระองค์เลย”
22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ถ้าเราพิจารณาเอกสารดั้งเดิม น่าจะสรุป ได้ว่าคำยืนยันนี้ ไม่มีหลักฐานเป็นเพียง ความคิดที่นางยูดิธ เฮซได้อ้างมาจากผลงานของนักเขียนข้างต้น โดยแท้จริงแล้ว ในสมัย นี้ไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดที่คิดว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงเป็นบุรุษแท้จริงในประวัติศาสตร์ แม้นายโยเซฟ เคลาส์เนอร์ผู้ ไม่เชื่อว่าพระเยซูเจ้าเป็นพระเมสสิยาห์ ก็ยังพิสูจน์ว่า พระเยซูเจ้าทรงมีพระชนมชีพในศตวรรษที่ 1 อย่างแน่นอน และทรงมีอิทธิพลเหนือมนุษย์ในศตวรรษต่อ ๆ มา ดังนั้น ศาสนาคริสต์ ไม่ได้เริ่มจากนักบุญเปาโล แต่เริ่มในวัน เปนเตกอสเตคือห้าสิบ-วันหลังจากพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ (เทียบ กจ. 2:1) ในวันนั้นชาวยิว 3,000 คน ได้กลับใจ (เทียบ กจ. 2:41) จากนั้นไม่นาน ผู้มีความเชื่อเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 5,000 คน (เทียบ กจ. 4:4) ต่อมา “ผู้มีความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้าเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งชายและหญิง” (กจ 5:14) เพราะบรรดาอัครสาวกสั่งสอนและประ กาศข่าวดีอย่างต่อเนื่องทุก ๆ วัน (เทียบ กจ. 5:42) จน “ศิษย์มีจำนวนมากขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม บรรดาสมณะหลายคนยอมรับความเชือ่ ด้วย” (กจ. 6:7) พระศาสนจั ก รได้ แ ผ่ ข ยายไปทั่ ว แคว้ น ยู เ ดี ย และสะมา เรีย (เทียบ กจ. 8:1) และเมื่อ ฟิลิปล้างบาปให้ขันทีชาวเอธิโอเปีย (เทียบ กจ. 8:26-40) ก็มีคริสตชนในทวีปอัฟริกาอีกด้วย ศาสนาคริสต์ ได้เผยแผ่ไปทางเหนือของปาเลสไตน์จน ถึงกรุงดามัสกัสในแคว้นซีเรีย เวลานั้น นักบุญเปาโลผู้เบียดเบียนบรรดาศิษย์ของพระเยซู เจ้า ก็ตัดสินใจไปกรุงดามัส-กัสเพื่อจับกุมคริสตชนที่นั่น แต่ระหว่างทางพระเยซูเจ้าทรง สำแดงองค์แก่เขา เขาจึง-กลับใจมาเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า พระศาสนจักรตั้งขึ้นและข ยายเขตอย่างน้อย 4-5 ปี ก่อนที่นักบุญเปาโลจะกลับใจ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปว่า นักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้ง-ศาสนาคริสต์ 3. ความแตกต่างระหว่างคำสอนของนักบุญเปาโลกับคำสอนของพระเยซูเจ้า นักพระคัมภีร์อีกหลายคนคิดว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์แต่ ในเว-
ผูใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล
23
ลาเดียวกัน เขายอมรับว่าคำสอนของนักบุญเปาโลแตกต่างจากการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าหลายเรื่อง เราจะพิจารณาเหตุผลเพื่อตัดสินว่า ความคิดนี้มีหลักฐานน่าเชื่อถือมาก น้อยเพียงใด และจะศึกษาอัตลักษณ์ของนักบุญเปาโล เพื่อวิจารณ์หนังสือของนายโยเซฟ บาร์บาญอ (Giuseppe Barbaglio) นักบุญเปาโลเป็นใคร นักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์หรือเป็นผู้ที่เข้าใจและอธิบายคำสอนของพระเยซูเจ้าได้ดกี ว่าผูอ้ นื่ เขามีอายุใกล้เคียงกับพระเยซูเจ้า แต่มคี วามแตกต่างในด้านวัฒนธรรม สังคมและเทววิทยาพอสมควร พระเยซูเจ้าทรงพระชนมชีพตามหมู่บ้านต่างๆในแคว้นกาลิลี ส่วนนักบุญเปาโลดำเนินชีวิตในเมืองใหญ่ที่จักรวรรดิโรมัน พระเยซูเจ้าทรงเทศนาโดยใช้ภาษาอาราเมอิค นักบุญเปาโลใช้ภาษากรีกในการเทศน์สอน พระเยซูเจ้าทรงสอน แบบปากเปล่าไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนนักบุญเปาโลเป็นผู้ริเริ่มสอนบรรดา ศิษย์ เขาอธิบายและตอบปัญหาต่าง ๆ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในวัยเด็กที่เมืองทาร์ซัส นักบุญเปาโลคงได้รับการศึกษาพื้นฐานจากวัฒนธรรมกรีก อิทธิพลนี้เห็นได้ชัดเจนทั้งจากวิธีการคิดและวิธีการเขียนของเขา แต่ดูเหมือนว่า บิดามารดาของนักบุญเปาโลเป็นชาวฟาริสี ส่งลูกชายตั้งแต่วัยเยาว์ ไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อศึกษาพันธ สัญญาเดิม นักบุญเปาโลจึงคุ้นเคยกับธรรมประเพณีและวิธีคิดของพันธสัญญาเดิมอย่างดี เขาเคยเป็นศิษย์ของธรรมาจารย์กามาลิเอล (เทียบ กจ. 22:2) จึงเรียนรู้วิธีโต้เถียงโดยอ้าง พระคัมภีร์ตามหลักการของธรรมาจารย์ชาวยิว หนังสือของโยเซฟ บาร์บาญอ โยเซฟ บาร์บาญอ นักพระคัมภีร์เรืองนามชาวอิตาเลียน เขาได้ศึกษาทั้งคำสอน ของพระเยซูเจ้าและความคิดของนักบุญเปาโลอย่างลึกซึ้ง แล้วสรุปว่าคำสอนทั้ง 2 มีความ ต่อเนื่องแต่แตกต่างกันมากกว่า ความแตกต่างกันนี้ไม่เป็นเหตุผลที่จะยืนยันว่า นักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์ เพราะสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ของพระเยซูเจ้าแตกต่างกันกับสถานการณ์ของนักบุญเปาโล เนื้อหาการประกาศของพระเยซูเจ้าคือพระอา-
24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ณาจักรของพระเจ้า ส่วนคำสอนของนักบุญเปาโลมีประเด็นสำคัญคือพระเยซูเจ้าเป็นพระเมสสิยาห์ ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนและทรงกลับคืนพระชนมชีพ ในจดหมายถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 นักบุญเปาโลบรรยายเหตุการณ์ที่ทำให้เขาไม่สงสัยเลยว่า พระเยซูเจ้าเป็นพระบุตรของพระเจ้า เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าในพระสิริรุ่งโรจน์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ กับนักบุญเปาโลชาวทาร์ซัส โยเซฟ บาร์บาญอ สรุปว่า • ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในคำสอนของพระเยซูเจ้าและ ของนักบุญเปาโลมีชอ่ื ต่างกัน แต่มเี นือ้ หาเดียวกันพระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนความจริงเกีย่ วกับพระเจ้าในขอบ เขตจำกัดของชาวยิวในปาเลสไตน์ ทีน่ น่ั ผู้ใดไม่ปฏิบตั ิ ตามธรรมบัญญัตขิ องโมเสส ก็จะถูกผูอ้ น่ื ประณามและ ปฏิบัติต่อเขาว่าอยู่ชายขอบสังคม เขาจะถูกตัดออก จากพระพรตามพันธสัญญาที่ภูเขาซีนาย แต่พระเยซู- เจ้าทรงต้อนรับคนเหล่านัน้ ในฐานะเพือ่ นและผูร้ ว่ มงาน เลี้ยง เพื่อแสดงพระทัยเมตตาของพระเจ้า • นักบุญเปาโลได้พัฒนาภาพพจน์ของพระเจ้า พระองค์ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนได้กลับคืนพระชนมชีพ พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ต่อพระสัญญาที่แสดงพระเมตตากรุณา เพราะทรงบันดาลให้ผู้วางใจในพระองค์ด้วย ความเชื่อได้รับความชอบธรรม • ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในฐานะกษัตริย์และบิดาประทับอยู่ ในจิตวิญญาณของ พระเยซูเจ้าตลอดพระชนมชีพของพระองค์ พระเจ้าเสด็จมาพบมนุษ ย์ทุกวัน และประทับอยู่กับเราเสมอ • ประสบการณ์ชีวิตของนักบุญเปาโลและการไตร่ตรองทางเทววิทยาของเขาแสดง ความจริงที่ว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนนอก กำแพงนครศักดิ์สิทธิ์ทรงกลับคืนพระชนมชีพ พระเยซูเจ้าจึงทรงถูกชาวยิวปฏิเสธ ไม่ยอมรับ นักบุญเปาโลประกาศข่าวดีแก่คนต่างชาติที่ชาวยิวปฏิเสธไม่ยอมรับเช่น
ผูใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล
25
กัน ทั้งชาวยิวและคนต่างชาติจึงร่วมเป็นชุมชนเดียวของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์และคน ชอบธรรม ชุมชนนี้มุ่งเดินทางไปสู่ความรอดพ้นนิรันดร 4. ความต่อเนื่องระหว่างคำสอนของนักบุญเปาโลกับคำสอนของพระเยซูเจ้า นั ก พระคั ม ภี ร์ อี ก หลายคนคิ ด ว่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงเป็ น ผู้ ตั้ ง ศาสนาคริ ส ต์ เพราะคำสอนของนักบุญเปาโลสอดคล้องกับการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าในทุกเรื่อง เราจะพิจารณาเหตุผลเพื่อตัดสินว่า ความคิดนี้มีหลักฐานน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด โดยวิจารณ์หนังสือของนายเดวิด เวนแฮม (David Wenham) นักเทววิทยาชาวอังกฤษ และจะแสดงว่าลักษณะความเป็นยิวของนักบุญเปาโลไม่แตกต่างกับความเป็นยิวพระเยซูเจ้า 4.1 หนังสือของนายเดวิด เวนแฮม นายเดวิด เวนแฮมศึกษาการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าก่อน แล้วจึงศึกษาจดหมายของนั ก บุ ญ เปาโล เขาเปรี ย บเที ย บคำสอนเหล่ า นี้ ใ นเรื่ อ งพระอาณาจั ก ร ของพระเจ้า พระบุคคลและการรับทรมานของพระเยซูเจ้า พระศาสนจักร จริยธรรม การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า พระชนมชีพและศาสนบริการของพระเยซูเจ้า เขาจึงสรุปว่า นักบุญเปาโลอ้างถึงคำสอนของพระเยซูเจ้าบ่อย ๆ และพัฒนาคำสอนของ พระองค์อย่างต่อเนื่องโดยไม่ขัดแย้งกัน นักบุญเปาโลจึงเป็น “ผู้ติดตามพระเยซูเจ้า” ไม่ใช่ “ผู้ตั้งศาสนาคริสต์” แม้ ค ำพู ด ที่ นั ก บุ ญ เปาโลใช้ ไม่ เ หมื อ นที เ ดี ย วกั บ พระวาจาของพระเยซู เ จ้ า แต่คำสอนเหมือนกันคือ • พระเยซูเจ้าเป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ เพื่อริเริ่มการประ- ทับอยู่ของพระเจ้าในพระอาณาจักรบนแผ่นดิน ดังที่พันธสัญญาเดิมเคยสัญญาไว้ พระอาณาจักรนี้จะบรรลุความสมบูรณ์เมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ • พระเยซู เ จ้ า เป็ น ทั้ ง พระบุ ต รของพระเจ้ า และกษั ต ริ ย์ ใ นราชวงศ์ ด าวิ ด ดังที่ชาวยิวรอคอย พระองค์ทรงรับทรมานและสิ้นพระชนม์เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอด พ้น
26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ภารกิจของพระเยซูเจ้าในฐานะพระเมสสิยาห์ รวมไปถึงพระพรสำหรับคนต่างศาสนาอีกด้วย เดวิด เวนแฮม พิสจู น์วา่ นักบุญเปาโลรูถ้ งึ พระชนมชีพของพระเยซูเจ้า และรูธ้ รรม ประเพณีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพระเยซูเจ้าทรงรับทรมานและทรงกลับคืนพระชนมชีพ ในจดหมายนักบุญเปาโลแสดงว่าเขารู้ธรรมประเพณีเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า และได้ เขียนจดหมายเพื่อทำให้เรื่องที่คลุมเครือหรือโต้เถียงกันชัดเจนยิ่งขึ้น ดูเหมือนว่า ความคิดของนายเดวิด เวนแฮม โดยทั่วไปสมเหตุสมผล แต่เขามีแนว โน้มที่จะเน้นความต่อเนื่องในรายละเอียดบางอย่างมากเกินไป 4.2 การเป็นยิวของนักบุญเปาโล ในปัจจุบัน นักพระคัมภีร์ชาวยิวหลายคนพยายามแสดงว่า คำสอนของพระเยซูเจ้าเข้าใจได้ในหมู่ผู้นับถือลัทธิยูดาย แม้พระองค์ทรงสอนผิดในบางเรื่องก็ยังเป็นชาวยิวคนหนึ่งที่ไม่ต้องการตั้งศาสนาใหม่ ส่วนนักบุญเปาโลได้ทรยศต่อความเป็นยิวของตนเพื่อ ตั้งศาสนาใหม่ ซึ่งยกย่องพระเยซูเจ้าว่าเป็นทั้งพระเมสสิยาห์และพระบุตรของพระเจ้า แต่ถ้าเราพิจารณาข้อเขียนของนักบุญเปาโลอย่างละเอียด รวมทั้งคำบอกเล่าขอ งนักบุญลูกาผู้ร่วมเดินทางกับเขา เราจะเห็นว่า นัก บุญเปาโลแสดงความเป็นยิวอย่างชัดเจนตลอดชีวิต “ข้าพเจ้าเป็นชาวยิว เกิดที่เมืองทาร์ซัสในแคว้นซิลีเซี ย แต่เติบโตในเมืองนี้ กามาลิเอลเป็น อาจารย์ส อนข้าพเจ้าให้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของบรรพบุรุษ อย่างเคร่งครัด ข้าพเจ้ารับใช้พระเจ้าด้วย ความกระ ตือรือร้นอยูเ่ สมอเช่นเดียวกับทีท่ า่ นทัง้ หลายปฏิบัติอยู่ในวันนี้” (กจ 22:3) นักบุญเปาโลภูมิ ใจที่ ได้รับการอบรมให้ปฏิบัติตามศาสนายูดายว่า “ข้าพเจ้าได้รับพิธีสุหนัตเมื่อเกิดมาได้แปดวัน เป็นเชื้อสายชนชาติอิสราเอลจากตระกูลเบนยามิน เป็นชาวฮีบรูเกิดจากชาวฮีบรู ในด้านธรรมบัญญัติ เป็นชาวฟาริสี ในด้านความกระตือรือร้น เป็ น ผู้ เ บี ย ดเบี ย นพระศาสนจั ก ร ในด้ า นความชอบธรรมตามธรรมบั ญ ญั ติ
ผูใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล
27
ไม่มีสิ่งใดจะตำหนิข้าพเจ้าได้” (ฟป 3:5-6) แต่เมื่อนักบุญเปาโลเดินทางไปเมืองดามัสกัส เขาพบกับผู้ที่อ้างตนว่าเป็นพระเมสสิยาห์คือ ผู้ที่สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ ตามคำทำนายในพระคัมภีร์ ประสบการณ์นี้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาอย่างสิ้นเชิง “เวลาประมาณเที่ยงวัน ขณะที่ ข้ า พเจ้ า กำลั ง เดิ น ทางใกล้ จ ะถึ ง เมื อ งดามั ส กั ส ทั น ใดนั้ น มี แ สงสว่ า งจ้ า จาก ท้องฟาล้อมรอบตัวข้าพเจ้าไว้ ข้าพเจ้าล้มลงที่พื้นดินและได้ยินเสียงพูดกับข้าพเจ้าว่า “เซาโล เซาโล เจ้าเบียดเบียนเราทำไม ข้าพเจ้าจึงถามว่า “พระเจ้าข้า พระองค์คือใคร” พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า “เราคือเยซูชาวนาซาเร็ธ ซึ่งเจ้ากำลังเบียดเบียนอยู่” (กจ 22:6-8) เมื่อนักบุญเปาโลถึงเมืองดามัสกัส อานาเนียผู้ร่วมชาติของเขาแจ้งแผนการ ของพระเจ้าให้เขาทราบว่า “ท่านจะเป็นพยานของพระองค์ยืนยันสิ่งที่ท่านได้เห็นและได้ยิ นแก่มนุษย์ทุกคน” (กจ 22:15) ต่อมานักบุญเปาโลปฏิบัติตามพระประสงค์ เขาไปประกาศข่าวดีแก่คนต่างชาติเป็นเวลาราว 30 ปี เขายังพูดว่า ตนเป็นชาวยิวอยู่เสมอ “ข้าพเจ้าเป็นชาวอิสราเอลเชื้อสายของอับราฮัมจากตระกูลเบนยามิน” (รม 11:1) ทุกครั้งที่นักบุญเปาโลเข้าไปในเมืองใหม่ สถานที่แรกที่เขาไปเยี่ยมเยียนคือศาลาธรรมของชาวยิว ตาม พระฉบับของพระเยซูเจ้าผูท้ รงประกาศข่าวดีแก่ชนชาติอสิ ราเอลเป็นชาติแรก กอ่ นทีจ่ ะประ กาศข่าวดีแก่ชนชาติอื่น พระองค์ตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่าน และท่านจะรับอานุภาพเพื่อจะเป็นพยาน ถึงเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรียจนถึงสุดปลายแผ่นดิน” (กจ 1:8) นักบุญเปาโลจึงประกาศข่าวดี “ให้แก่ชาวยิวก่อน และให้แก่คนต่างชาติด้วยเช่นกัน” (รม 1:16) การที่ นั ก บุ ญ เปาโลประกาศข่ า วดี แ ก่ ช าวยิ ว ก่ อ นไม่ เ ป็ น เพี ย งการปฏิ บั ติ ต ามพระประสงค์เท่านั้น แต่ยังแสดงว่าเขารักและห่วงใยชนชาติยิวอย่างต่อเนื่อง “ข้าพเจ้ามี ความปรารถนาสูงสุดและภาวนาต่อพระเจ้า เพื่อชาวอิสราเอลจะได้รอดพ้น” (รม 10:1) ชาวยิวส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่ยอมรับข่าวดีที่ประกาศ ทำให้นักบุญเปาโลมีความทุกข์ใจ “ข้าพเจ้ามีความเศร้าโศกใหญ่หลวงและมีความทุกข์ ใจอยู่ตลอดเวลา ข้าพเจ้ายินดีถูกสาปแช่ง
28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
เมื่อชนต่างชาติที่กลับใจมีจำนวนมากกว่าชาวยิวที่เชื่อในพระเยซูเจ้า นักบุญเปาโล กลัวว่าคริสตชนที่ไม่ใช่ยิวจะลืมแหล่งที่มาของความเชื่อและจะดูหมิ่นชาวยิวที่ไม่เป็นคริสตชน นักบุญเปาโลจึงเตือนคริสตชนที่ไม่ใช่ยิวว่า “อย่าหยิ่ง ลำพองแต่จงมีความยำเกรง เพราะถ้าพระเจ้าไม่ทรงผ่อนปรนให้กิ่งมะกอกบ้าน พระองค์ก็จะไม่ทรงผ่อนปรนให้ท่าน ด้วยเช่นเดียวกัน …แต่ถ้าชาวอิสราเอลเลิกดื้อรั้นแล้วหันมาเชื่อ พวกเขาจะถูกนำมาทาบกิ่ง อีกเพราะพระเจ้าทรงพระอานุภาพที่จะทรงทำเช่นนั้นได้” (รม 11:20-21, 23) บ่อยครั้ง นักบุญเปาโลถูกกล่าวหาว่าได้เปลี่ยนแปลงคำสอนแบบยิวของพระเยซูเจ้าให้เป็นศาสนาใหม่ที่แยกออกจากแหล่งที่มา ถ้าไม่มีกิจการของนักบุญเปาโลศาสนา คริสต์จะเป็นเพียงนิกายหนึ่งในลั ทธิยูดาย ความคิดนี้พยายามแยกคำสอนของพระเยซููเจ้าจากคำสอนของนักบุญเปาโล เพราะถือว่าคำสอนของพระองค์เป็นแบบยิวอย่างแท้จริง ส่วนคำสอนของนักบุญเปาโลเป็นแบบกรีกโดยสิ้นเชิง ถ้าพิจารณาเอกสารที่เรามี ก็จะพบ- ว่าข้อเขียนของนักบุญเปาโลมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคำสอนของพระเยซูเจ้า “ธรรมบัญญัติ จึงเป็นเหมือนครูพี่เลี้ยง นำเราไปพบพระคริสตเจ้า เพื่อเราจะได้เป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัย ความเชื่อ” (กท 3:24) 5. พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์ ผู้ที่คิดว่านักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์มองข้ามความจริงที่ว่า พระศาสนจักรมีอยู่แล้วก่อนที่นักบุญเปาโลกลับใจ และยังแผ่ขยายในสถานที่อื่นๆ ซึ่งนักบุญเปาโลไม่เคยเดินทางไปประกาศข่าวดี เช่น นักบุญเปาโลไม่ ได้ตั้งกลุ่มคริสตชนในสถาน ที่ที่จะเป็นศูนย์กลางสำคัญของผู้มีความเชื่อคือ กรุงโรม กรุงเยรูซาเล็ม กรุงอันทิโอก และกรุงอเล็กซานเดรีย บุคคลแรกที่ ได้ประกาศข่าวดีแก่คนต่างชาติ ไม่ ใช่นักบุญเปาโล แต่เป็นนักบุญ เปโตรดังที่บันทึกไว้ ในหนังสือกิจการอัครสาวก (เทียบ กจ 10) ยิ่งกว่านั้น ข้อเขียน ของบรรดาปิตาจารย์ในศตวรรษที่ 2 ก็แสดงว่า เขาทั้งหลายยังไม่ค่อยเข้าใจคำสอน ของนักบุญเปาโลเรื่องความรอดพ้น ทั้งๆ ที่ยอมรับจดหมายของนักบุญเปาโลด้วยความ เคารพ ถ้านักบุญเปาโลเป็นผู้ตั้งศาสนาคริสต์อย่างแท้จริง เราคงจะต้องพบหลักฐานว่า
29
ผูใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล
พระศาสนจักรในศตวรรษที่ 2 ใช้ถ้อยคำและคำสอนของนักบุญเปาโลเป็นแหล่งข้อมูลมาก กว่าข้อเขียนของผู้อื่น แต่โดยแท้จริงแล้ว พระศาสนจักรสมัยนั้นได้รับอิทธิพลจากข้อเขียน อื่น ๆ โดยเฉพาะของนักบุญยอห์น และนักบุญเปโตร เมื่อนักบุญเปาโลเขียนจดหมายถึงชาวโครินธ์ราวปี ค.ศ. 55 คือยี่สิบห้าปีหลังจาก การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เขายืนยันว่า “ข้าพเจ้ามอบธรรมประเพณีสำคัญที่ สุดให้กับท่าน เป็นธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกทอดหนึ่ง คือพระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา ตามที่มีเขียนไว้ ในพระคัมภีร และทรงถูกฝังไว้ พระองค์ทรง กลับคืนพระชนมชีพในวันที่สามตามความในพระคัมภีร์ และทรงแสดงพระองค์แก่เคฟาส แล้ ว จึ ง ทรงแสดงพระองค์ แ ก่ อั ค รสาวกสิ บ สองคน หลั ง จากนั้ น ทรงแสดงองค์ แก่ พี่ น้ อ งมากกว่ า ห้ า ร้ อ ยคนในคราวเดี ย ว คนส่ ว นมากในจำนวนนี้ ยั ง มี ชี วิ ต อยู่ แม้ว่าบางคนล่วงหลับไปแล้ว ต่อมาพระองค์ทรงแสดงพระองค์แก่ยากอบ แล้วจึงทรงแสดงพระองค์แก่อัครสาวกทุกคน ในที่สุด ทรงแสดงพระองค์กับข้าพเจ้า ผู้เป็นเสมือนเด็ก ที่คลอดก่อนกำหนดด้วย” (1คร 15:3-8)
ข้อความนี้แสดงว่า เนื้อหาของข่าวดีที่นักบุญเปาโลประกาศมาจากธรรมประเพณีที่คริสตชนถ่ายทอดกันทางปากเปล่าราวห้าปีก่อนนักบุญเปาโลกลับใจ เขายืนยันว่าตน ไม่เป็นผู้เขียนบทแสดงความเชื่อนี้ แต่ได้รับจากผู้ที่เป็นคริสตชนแล้ว ข่าวดีของนักบุญเปาโลจึงสอดคล้องกับบทแสดงความเชื่อนี้คือ พระเยซูเจ้าเป็นพระเมสสิยาห์ พระองค์ ทรงทำให้คำทำนายในพันธสัญญาเดิมเป็นจริง พระองค์สิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา พระองค์ทรงถูกฝังไว้และทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม ทรงสำแดงองค์แก่ผู้มีความ เชื่อและแก่ตนขณะที่เขายังไม่มีความเชื่อ พระเยซูเจ้าจึงไม่เป็นเพียงผู้ที่คริสตชนกล่าวถึง แต่ทรงเป็นผู้ตั้งศาสนาใหม่ โดยอาศัยคำสอนและกิจการของพระองค์เมื่อทรงพระชนมชีพ บนแผ่นดินนี้ 6. ข้อสรุป นักบุญเปาโลเป็นบุคคลสำคัญมากในการประกาศข่าวดีแก่ชนต่างชาติในอดีต ถ้า ผู้ใดเรียกเขาว่าเป็นผู้ตั้งศาสนาใหม่ เขาคงจะค้านอย่างรุนแรง คำสอนของเขาต่อเนื่อง จากเหตุการณ์ในพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า นักบุญเปาโลมีความกระตือรือร้นที่จะนำเหตุ
30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
การณ์นี้ไปประกาศให้แก่มนุษย์ทุกคน เขามั่นใจว่าพระคริสตเจ้าเป็นพระบุตรของพระเจ้า สำหรับมนุษย์ทุกคน “ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ข้างเรา ใครจะสู้เราได้ พระองค์มิได้ทรงหวงแหน พระบุตรของพระองค์…เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าความตายหรือชีวิต ไม่ว่าทูตสวรรค์ หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคต ไม่ว่าฤทธิ์อำนาจใดหรือความสูง ความลึก ไม่มีสรรพสิ่งใดๆ จะพรากเราได้จากความรักของพระเจ้า ซึ่งปรากฏในพระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา (รม 8:31, 38-39)
ผูใดตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูเจาหรือนักบุญเปาโล
31
Allen, Steve. Steve Allen on the Bible, Religion, & Morality. Buffalo, NY: Prometheus Books, 1990. Barbaglio, Giuseppe. Gesu di Nazaret e Paolo di Tarso. Confronto storico, Bologna: EDB, 2006. Chouraqui, Andre. Gesu e Paolo. Figli di Israele. Magnano BI: Qiqajon, 2000. Hayes, Judith L. In God We Trust: But Which One? Madison, WI: Freedom From Religion Foundation, 1996. Klausner, Joseph. Jesus of Nazareth. New York, NY: Bloch Publishing Co., 1989. Wenham, David. Paul : Follower of Jesus or Founder of Christianity? Grand Rapids: Eerdmans, 1995.
32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หมวดปรัชญา
ความรักยังจำเปนหรือไม่ ในสังคมบริโภคน�ยม
´Ã.ÊØÀÒÇ´Õ ¹ÑÁ¤³ÔÊó บทนำ ในปัจจุบันเราคงจะปฏิเสธไม่ ได้ว่า ประเทศทั่วโลกกำลังตกอยู่ภายใต้อิทธิพล การครอบงำของระบบทุนนิยม การทีเ่ ราเข้า มาสู่ระบบทุนนิยมนั้น สิ่งที่จะต้องติดตาม ควบคู่กันมาก็คือ บริโภคนิยม ทั้งนี้ก็เพราะ ว่าระบบทุนนิยมนั้นจะเติบโตได้ ก็จะต้องมี การกระตุ้นให้มีการบริโภคมากๆเพราะฉะนัน้ เมือ่ เรารับระบบทุนนิยมเข้ามา สิง่ ทีต่ อ้ ง มาควบคูก่ บั ระบบทุนนิยมก็คอื เราต้องยอม รับเรื่องการบริโภคนิยมเข้ามาด้วย
การที่โลกของเราพัฒนาเข้ามาสู่ยุค ของทุนนิยม บริโภคนิยม ก็แปลว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็จะต้องถูกเปลีย่ น สถานะให้กลายเป็นผู้บริโภค และเมื่อเรา ต้องเป็นผู้บริโภค เราก็จะมีสถานะอยู่สอง อย่างทีเ่ ราจะต้องเลือก นัน่ ก็คอื สถานะแรก เป็นสถานะของการเป็นผู้บริโภคที่เข้มแข็ง และสามารถทีจ่ ะเป็นผูก้ ำหนดการบริโภคได้ และสถานะที่สองก็คือ สถานะของผู้บริโภค ที่ตกเป็นเหยื่อของระบบ ซึง่ ทุกวันนีเ้ ราก็คง จะได้เห็นแล้วว่า ประชาชนชาวไทยนัน้ ล้วน ตกเป็นเหยื่อของระบบบริ โภคนิยมกันเป็น ส่วนมาก
อาจารย์ประจำคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร
ความรักยังจำเปนหรือไมในสังคมบริโภคนิยม
ผู้กำหนดการบริโภค หรือ ผู้ตกเปนเหยื่อ ของการบริโภค? ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านนิทานเรื่องหนึง่ จากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งซึ่งกล่าวถึง พ่อ ที่มาจากต่างจังหวัดและมีการศึกษาน้อย จึงไม่มีโอกาสเลือกงาน พ่อคนนี้เริ่มต้นอาชีพแรกของเขาที่เมืองหลวง ด้วยการเป็น ภารโรงในโรงเรียนแห่งหนึ่ง แต่ด้วยความ ขยันและตั้งใจเรียนรู้ ทำให้พ่อหัดขับรถยนต์จนเป็นและได้เลื่อนขั้นเป็นพนักงาน ขับรถรับส่งนักเรียนในที่สุด พ่อมีเงินเดือน แค่หนึ่งพันบาทต่อเดือน แต่พ่อรู้จักเก็บ หอมรอมริบ พ่อจึงมีเงินค่าสินสอดไปขอแม่ แต่งงาน หลังจากนั้นอีกไม่นาน พ่อกับแม่ ก็มีลูกสองคน และด้วยเงินที่เก็บออม บวก กับเงินกู้บางส่วน พ่อได้ ไปดาวน์แท็กซี่ส่วน บุคคล และลาออกจากงานมาขับรถแท็กซี่
33
หาเลี้ยงครอบครัว ในขณะที่แม่ก็ยังคงขยัน ทำงานจนได้ เ งิ น เดื อ นเพิ่ ม ขึ้ น เป็ น ห้ า พั น บาท เมื่อพ่อสอนแม่ให้ขับรถยนต์เป็น แม่ จึงลาออกจากการเป็นภารโรงมาผลัดกันขับ รถแท็กซีก่ บั พ่อคนละกะ พ่อและแม่ชว่ ยกัน ขับรถแท็กซี่หาเงินส่งลูกจนจบปริญญาตรี และมีงานทำทั้งคู่ พ่อขายรถแท็กซี่คันเก่า เพื่อไปซื้อรถรุ่นใหม่และพ่อกับแม่ก็ใช้เวลา ในการขับรถแท็กซีน่ อ้ ยลง พ่อกับแม่ซอ้ื บ้าน ทาวน์เฮ้าส์อยู่แถบชานเมืองด้วยระบบเงิน ผ่อน และในช่วงที่ลูกๆมีงานทำแล้ว ทาวน์ เฮ้าส์ของพ่อกับแม่ก็เหลือเวลาผ่อนส่งอีก ไม่กี่ปี ในเวลาที่พ่อกับแม่ออกไปขับแท็กซี่ พ่อกับแม่จะหุงข้าวจากบ้านใส่กล่องและ กรอกน้ำใส่ขวดไว้ดื่มทั้งขณะที่อยู่กับบ้าน และเมื่อออกไปขับรถ ส่วนลูกทั้งสองคนเมื่อได้ทำงานก็ ได้ เงินเดือนคนละสองหมื่นบาท ทั้งสองคน บอกกับพ่อกับแม่ว่าไม่สามารถที่จะทนตื่น แต่เช้าเพื่อเดินทางไกลไปทำงานได้ จึงแยก ย้ายกันไปเช่าคอนโดมิเนียมในเมืองด้วยอัตรา เดือนละสีพ่ นั บาทต่อห้อง และลูกๆเกิดเป็น คนยุคใหม่ ไม่สามารถทนกลิ่นน้ำปะปาได้ จึงต้องเสียเงินไปซื้อเครื่องดื่มชนิดต่างๆที่ มีราคาแพงมาดื่ม
34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
วันพักผ่อนหย่อนใจของพ่อกับแม่กค็ อื การได้หยุดอยู่บ้านเก็บกวาด เช็ดถู ปลูก ต้นไม้ เลีย้ งนก เลีย้ งปลา ดูทวี ี หรือบาง ครั้ ง ก็ ขั บ รถไปต่ า งจั ง หวั ด เพื่ อ ไปเยี่ ย ม ญาติพี่น้อง แต่วันพักผ่อนของลูกๆคือการ ไปดูภาพยนตร์ตามโรงหนังที่ทันสมัยซึ่งตั๋ว ที่เข้าชมก็มีราคาแพง และถ้าลูกๆมีวันหยุด ยาวก็จะไปเที่ยวชายทะเลกับเพื่อนๆหรือถ้า ได้โบนัสก็จะไปเที่ยวต่างประเทศ พ่อแม่ทม่ี รี ายได้ ไม่สงู มากแต่สามารถ ส่งเสียเลี้ยงดูให้ลูกๆได้มีโอกาสเรียนในระดับสูงและยังมีบา้ นเป็นทรัพย์สนิ ของตนเอง และเอาไว้เป็นมรดกให้กับลูกได้ในยามที่ พ่อแม่จากไป รายได้ที่ไม่มากนักของพ่อแ ม่อีกเช่นกันแต่สามารถหาเลี้ยงครอบครัว ได้อย่างมั่นคงและเป็นสุข ในขณะที่รายได้ ของลูกแต่ละคนนั้นมากกว่าที่พ่อกับแม่หา ได้รวมกัน แต่ทุกสิ้นเดือนลูกๆกับไม่สามารถมีเงินเก็บออมไว้เพื่ออนาคตของตนเอง ได้ รายได้ที่สูงกว่าพ่อแม่ของลูกๆจึงไม่สามารถทำให้ลูกมีความสุขกับชีวิตอนาคตได้ ข้อคิดที่ผู้เขียนได้จากนิทานเรื่องนี้ ก็คือ พ่อกับแม่ในนิทานเรื่องนี้ เป็นตัวแทน ของผูบ้ ริโภคทีเ่ ข้มแข็งและสามารถทีจ่ ะกำหนดการบริโภคของตนเองได้ เพราะพ่อกับ แม่นน้ั ใช้ชวี ติ อย่างมีสติและตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน
แห่งความพอเพียงในปัจจัยสี่ โดยไม่ยอม ปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามกระแสแห่งสังคม พ่อกับแม่ไม่ดน้ิ รนทำตามค่านิยมทีผ่ ดิ ๆ เพื่อที่จะได้เป็นคนร่วมสมัยตามแบบคนอื่น พ่อกับแม่จึงสามารถสร้างความสุขที่ยั่งยืน ให้กับชีวิตของตนเองได้ ลูกๆนั้นเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ อยู่ในสังคมบริโภค ที่การบริโภคส่วนใหญ่ นั้นมิ ได้เป็นการบริ โภคสิ่งที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้ง นี้ก็เพราะว่าธุรกิจทั้งหลายต่างก็ร่วมมือกัน ใช้การตลาดและการโฆษณาเป็นตัวกระตุ้น ความโลภและสร้างค่านิยมให้คนในสังคม คิดว่า คุณภาพชีวิตของคนขึ้นอยู่กับอำนาจในการจับจ่ายและซื้อสินค้าที่ โฆษณา ทางสื่อต่างๆ
ความรักยังจำเปนหรือไมในสังคมบริโภคนิยม
บริโภคนิยม : ศาสนาใหม่ของโลก หลายท่านถึงกับกล่าวตรงกันว่า กระบริ โภคนิยมนั้นได้กลายมาเป็นศาสนาใหม่ ที่แพร่หลายและมีผู้ยึดถือปฎิบัติตามกัน อย่างมากมาย โดยศาสนาใหม่นี้จะมีศูนย์ การค้า ร้านอาหาร เป็นศาสนสถาน มีรายการคอนเสิร์ตที่หลอมรวมจิตใจให้ผู้คนมา เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา มีสื่อต่างๆเป็น นักเทศน์ สื่อต่างๆในปัจจุบันนี้ได้ถูกใช้เป็นสื่อ ต่างๆในปัจจุบนั นี้ได้ถกู ใช้เป็นเครือ่ งมือของ ศาสนาใหม่นี้ และคนที่อยู่ภายใต้ศาสนา ใหม่นี้จะมีความรู้สึกไม่พอเพียงอยู่ตลอด เวลา ชีวิตจึงต้องพยายามดิ้นรนอยู่ตลอด เพื่อที่จะได้เป็นเหมือนคนอื่นแทนที่จะเป็น ตัวเอง
35
เคยมีการสอบถามความคิดเห็นของนักเ รียน นักศึกษา ถึงการเลือกใช้สินค้า คำตอบของพวกเขา เกือบร้อยละ 90 ทีต่ อบ ว่า ชอบสินค้ายี่ห้อดังด้วยเหตุผลที่ว่า “ใช้ แล้วเกิดความมั่นใจ เกิดความรู้สึกเชื่อมั่น ในตัวเองด้วย” จากคำตอบดังกล่าวมานี้ สะท้อนให้เห็นว่า ความภูมิใจในตนเองนั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่าได้ทำอะไร แต่อยู่ที่ว่าได้มีอะไร มากกว่า เพราะว่า “การมี” ได้ทำให้เขาได้ “เป็น” อะไรบางอย่าง ยีห่ อ้ จึงมีความสำคัญกับคนในศาสนา ใหม่นี้ทั้งนี้ ก็เพราะว่ายี่ห้อได้ถูกสร้างขึ้นมา ให้เป็นสัญลักษณ์แทนคุณสมบัตบิ างอย่างที่ ผูค้ นอยากมี อยากเป็น เช่น เป็นสัญลักษณ์ แทนความทันสมัย ความมีรสนิยม ความ ฉลาดปราดเปรียว หรือถูกนำมาเชื่อมโยง อย่างแนบแน่นกับความเก่ง ความเป็นผูช้ นะ ทัง้ นี้โดยอาศัยการโฆษณาเป็นเครือ่ งมือ โฆษณาที่ประสบความสำเร็จก็คือโฆษณาที่ทำ ให้ผู้คนมีความรู้สึกในส่วนลึกทันทีว่าตนได้ เป็นอะไรบางอย่างทีพ่ งึ ปรารถนา เมือ่ ได้บริโภคสินค้าทีม่ ยี ห่ี อ้ ดังกล่าว ความหมายของ ชีวติ จึงอยูท่ ก่ี ารซือ้ ถ้าเราต้องการเป็นทีย่ อม รับในสังคม เราก็ต้องจับจ่ายและซื้อสินค้า รุ่นใหม่ล่าสุด หรือซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมาย การค้าที่โฆษณาอยู่ตลอดเวลา
36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
การประหยัด การเก็บออม ถูกลดความ สำคัญลงไป การแข่งขันกันบริโภคและการ แสวงหาวัตถุมาครอบครองให้ ได้มากที่สุด และการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยกลายเป็นค่า นิยมที่แพร่หลายเพราะแม้แต่รัฐบาลเองก็ ยั ง สนั บ สนุ น ด้ ว ยการออกนโยบายต่ า งๆ เพือ่ กระตุน้ ผูค้ นให้บริโภคมากเกินความจำเป็น การแสวงหาเงินตราและการได้ครอบครองวัตถุให้ ได้มากที่สุดจึงเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดของคนในศาสนาใหม่นี้ การดำรงชีวิต ความสัมพันธ์ของมนุษย์ ต้นไม้ สัตว์และระบบความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ได้กลาย เป็นสินค้าและถูกวัดด้วยคุณค่าทางการตลาด โลกธรรมชาติจึงถูกทำลายลงเพราะความ โลภในการผลิต และการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ของมนุษย์
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : ผลของการบริโภค ที่เกินพอดี เหตุการณ์ภยั พิบตั ทิ างธรรมชาติตา่ งๆ ทีก่ ำลังเกิดขึน้ อยูท่ ว่ั โลก เช่น ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) หรือภาวะโลกร้อน (Global Warming), น้ำแข็งขัว้ โลก (Glaciers) เริ่มละลายเร็วขึ้น, แผ่นดินไหว, คลื่นยักษ์ สึนามิ (Tsunami), พายุเฮอริเคน พายุเทอร์นาโด ที่มีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ/ลานีญา ที่ทำให้ธรรมชาติวิปริต เกิดฝนตกหนักมากกว่าปกติ (น้ำมาก) หรือเกิดภาวะฝนแล้งนานกว่าปกติ (น้ำน้อย) หรือแม้แต่มหาวิกฤติน้ำท่วม ปี 2554 ทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทย ส่วนหนึง่ นัน้ ก็มาจากสาเหตุของการบริ โภคที่เกินพอดี และความโลภของมนุษย์นั่นเอง
ความรักยังจำเปนหรือไมในสังคมบริโภคนิยม
ข้อมูลของความเสียหายที่เกิดจาก มหาวิกฤติน้ำท่วมปี 2544 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ. วั น ที่ ผู้ เ ขี ย นกำลั ง เขี ย นบทความอยู่นี้ ซึ่งหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ได้สรุป ไว้ มีดังนี้คือ “......สถานการณ์ น้ำท่วมในครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งรุนแรงสุด ในรอบ 50 ปีของประเทศไทย คาดว่าจะมี ความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาผลกระทบ ต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ เ กิ ด ภั ย พิ บั ติ น้ ำ ท่ ว มมาตั้ ง แต่เดือนกรกฎาคมไล่มาตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง รวมขณะ นี้มีจังหวัดได้รับผลกระทบแล้ว 36 จังหวัด โดยข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ขณะนี้มีลูกจ้างได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 663,218 คน และสถานประกอบการได้รับ ผลกระทบแล้ว 14,172 แห่ง ขณะที่ข้อมูล จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (บี โอไอ) ระบุว่านิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่น้ำท่วมเสียหาย 7 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร,บางกะดี จ.ปทุมธานี และนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, ไฮเทค, สหรัตนนคร, แฟคตอรี่แลนด์ และโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีนิคมที่มี ความเสี่ยง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปู, บางพลี จ. สมุทรปราการ นิคมอุตสาหกรรม
37
บางชัน, อัญธานี และลาดกระบัง ในกรุงเทพมหานคร นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา และหมวดนิคมอุตสาหกรรม สมุทรสาคร ซึ่งทั้ง 13 นิคมมีจำนวน ผู้ประกอบการรวม 7 หมวดอุตสาหกรรม ที่ให้การส่งเสริมและมีมูลค่าการลงทุนกว่า 360,499 ล้านบาท .........” ข้อมูลที่กล่าว มานี้เป็นเพียงความเสียหายเบื้องต้นซึ่งยัง ไม่รวมถึงความเสียหายที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง มหาศาลและอย่างต่อเนื่อง มหาวิกฤตินำ้ ท่วมนีม้ าจากหลายสาเหตุ แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทย ยังมีป่าไม้ ถึง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ของประเทศ แต่ในปัจจุบนั นี้ ประเทศไทยเหลือพืน้ ทีป่ า่ ไม้อยู่ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น ทั้งนี้ก็ เพราะว่ามีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่ากว่า ปีละหนึง่ ล้านไร่ ทัง้ ๆทีเ่ รามีโครงการปลูกต้น ไม้ทดแทนมากมายแต่ก็ยังไม่สามารถทด แทนป่าไม้ที่ถูกลักลอบตัดทำลายได้ ต้นไม้และป่าไม้นั้น เป็นเครื่องมือที่ดี ที่สุดของธรรมชาติ ในการช่วยเก็บน้ำและ ยึดที่ดินและช่วยยับยั้งการเกิดน้ำท่วมเมื่อ มีฝนตกลงในป่า ทั้งนี้ก็เพราะว่าใบไม้ที่ร่วง หล่นกับจุลชีพบางชนิดที่ทับถมอยู่ใต้ต้นไม้
38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
จะสามารถดูดน้ำไว้ ได้เป็นหลายร้อยเท่าของ น้ำหนักของมันเอง ด้วยเหตุนเ้ี อง เวลาทีฝ่ น ตกน้ำฝนก็จะถูกดูดไว้อย่างรวดเร็วก่อนที่ จะมีการไหลกลับสูพ่ น้ื ดินอีกในภายหลังและ จะเกิดน้ำพุและลำธารสายต่างๆ ต้นไม้จึงมี ส่วนช่วยในการควบคุมไม่ให้กระแสน้ำไหล แรงและเร็วจนเป็นเหตุให้น้ำท่วมท้นจนทำ ลายบ้านเรือน ไร่นาและชีวิตมนุษย์ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังช่วยยึดดินให้แน่น ทั้งนี้ก็เพราะว่าในยามที่เกิดน้ำท่วมนั้นไม่ใช่ แค่นำ้ เท่านัน้ ทีจ่ ะทำให้เกิดความเสียหาย แต่ ยังมีเนื้อดินจำนวนมากที่น้ำจะพัดพาไปเป็น จำนวนเท่ากับน้ำที่จะทำให้มวลน้ำเพิ่มขึ้น เป็นสองเท่า เมื่อป่าไม้ยึดดินไว้ ป่าไม้จึงมี ส่วนช่วยอย่างใหญ่หลวงในการตัดทอนกำลังของน้ำที่จะท่วมให้บรรเทาลง ดังนั้นการป้องกันรักษาป่าไม้ ไว้จึงเป็น หนทางที่ จ ะช่ ว ยบรรเทาอั น ตรายที่ เ กิ ด จากน้ำท่วมเพราะ ต้นไม้จะทำหน้าที่ในการ ป้ อ งกั น กระแสน้ ำ ที่ แ รงและรั ก ษาดิ น ใน ทุกที่ ไม่ให้ถล่มลงมาทำอันตรายบ้านเรือน พืชสวนไร่นา ผู้คนและสัตว์เลี้ยง ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติทเ่ี กิดขึน้ ทัว่ โลก รวมถึงประเทศไทยด้วยนั้นเป็นตัวอย่างที่ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การบริโภคให้ ได้มากที่สุดเพื่อให้บรรลุถึงชี-
วิตที่มั่งคั่ง ตามอุดมการณ์ของลัทธิบริโภค นิยมนั้นมิ ได้ทำให้มนุษ ย์พบกับความสุขที่ แท้จริงในชีวติ แต่กลับทำให้มนุษย์ตอ้ งประสบ กับความทุกข์ยากลำบากแสนสาหัส เมื่อลั ทธิบริโภคนิยมได้พิสูจน์ตนเอง แล้วว่าไม่สามารถที่จะบรรเทาความทุกข์ ของมนุษ ย์ ได้อย่างแท้จริงและยังเพิ่มพูน ความทุกข์ให้มากยิง่ ขึน้ ดังนัน้ จึงจำเป็นอย่าง ยิ่งที่ศาสนาจะต้องเข้ามาเป็นทางเลือกให้ แก่มนุษย์
คริสต์ศาสนากับคำสอนเรื่องความรัก ความรัก เป็นหัวใจและพืน้ ฐานคำสอน ของคริสต์ศาสนา พระวรสารที่บันทึกโดย นักบุญมัทธิวได้บันทึกเอาไว้ว่า บัณฑิตทาง กฎหมายได้ทลู ถามพระเยซูเจ้าว่า “พระอาจารย์ บทบัญญัตขิ อ้ ใดเป็นเอกในธรรมบัญญัต”ิ พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านจะต้อง รักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุด
ความรักยังจำเปนหรือไมในสังคมบริโภคนิยม
จิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน นี่คือบทบัญญัติเอกและเป็นบทบัญญัติแรก บทบัญญัตปิ ระการทีส่ องก็เช่นเดียวกัน คือ ท่านต้องรักเพื่อนมนุษ ย์เหมือนรักตนเอง .......” (มัทธิว 22:36-40) เพื่อนมนุษย์คือใคร เพื่อนมนุษย์นั้น มิได้หมายถึงแค่เพียงคนในชาติเดียวกับเรา หรือเฉพาะคนที่เรารัก แต่หมายถึงมนุษย์ ทุกคน ผู้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราและ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซึ่งต้องการความช่วยเหลือและความรักจากเรา ดังอุปมาเรือ่ งชาว สะมาเรียผู้ใจดี (ลูกา 10:29-37) นอกจาก นี้พระเยซูเจ้าได้ทรงวางรากฐานให้บรรดา ศิษย์ของพระองค์ให้เจริญชีวิตตามบทบัญญัติแห่งความรักด้วยมาตรฐานใหม่ที่สูง กว่าเดิม “......ท่านทัง้ หลายได้ยนิ คำกล่าวว่า จงรักเพือ่ นบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรากล่าว แก่ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ ผูท้ เ่ี บียดเบียนท่าน เพือ่ ท่านจะได้เป็นบุตร ของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและ คนชั่ว โปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรม และคนอธรรม ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน ท่านจะได้บำเหน็จรางวัลอะไรเล่า บรรดาคน เก็บภาษีมิได้ทำเช่นนัน้ ดอกหรือ ถ้าท่านทักทายแต่พี่น้องของท่านเท่านั้น ท่านทำอะไร
39
พิเศษเล่า คนต่างศาสนามิได้ทำเช่นนี้ดอก หรือ ฉะนั้น ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาสวรรค์ของท่าน ทรงความดี อย่างสมบูรณ์เถิด” (มัทธิว5:43-48) ในพระวรสารยังได้ยนื ยันถึง การประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในมนุษ ย์ทุกคนใน อุปมาเรื่อง การพิพากษาครั้งสุดท้ายไว้ว่า “......แล้วพระมหากษัตริย์จะตรัสแก่ผู้ที่อยู่ เบือ้ งขวาว่า “เชิญมาเถิด ท่านทัง้ หลายที่ได้ รับพระพรจากพระบิดาของเรา เชิญมารับ อาณาจักรเป็นมรดกที่เตรียมไว้ให้ท่านแล้ว ตัง้ แต่สร้างโลก เพราะว่า เมือ่ เราหิว ท่านให้ เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็น แขกแปลกหน้า ท่านก็ตอ้ นรับ เราไม่มเี สือ้ ผ้า ท่านก็ให้เสือ้ ผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วย ท่านก็มา เยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา” บรรดาผู้ ชอบธรรมจะทูลถามว่า “พระเจ้าข้า เมื่อไร เล่าข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นพระองค์ทรงหิว แล้วถวายพระกระยาหาร หรือทรงกระหาย แล้วถวายให้ทรงดื่ม เมื่อใดเล่าข้าพเจ้าทั้ง หลายเห็นพระองค์ทรงเป็นแขกแปลกหน้า แล้วต้อนรับ หรือทรงไม่มีเสื้อผ้า แล้วถวาย ให้ เมือ่ ใดเล่าข้าพเจ้าทัง้ หลายเห็นพระองค์ ประชวรหรือทรงอยูใ่ นคุกแล้วไปเยีย่ ม” พระมหากษัตริย์จะตรัสตอบว่า “เราบอกความ จริงกับท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่
40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
น้องผูต้ ำ่ ต้อยทีส่ ดุ ของเราคนหนึง่ ท่านก็ทำ สิง่ นัน้ ต่อเรา แล้วพวกนีก้ จ็ ะไปรับโทษนิรนั ดร ส่วนผู้ชอบธรรมจะไปรับชีวิตนิรันดร” (มัทธิว 25:31-46) ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการ ตัดสินการเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า ก็คือ การปฏิบัติความรักต่อเพื่อนมนุษย์
แนวทางในการดำเนิ น ชี วิ ต แห่ ง ความรั ก ตามคำสอนของพระเยซูเจ้า ความรักทีก่ ล่าวไว้ในพระวรสารนัน้ ตรง กับคำว่า “อากาเป” (agape) ซึ่งเป็นพืน้ ฐานของความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับ มนุษย์ มนุษย์กบั พระเจ้าและมนุษย์กบั มนุมนุษย์ ความรักในลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็น ความรักแบบสร้างสรรค์ เป็นความรักทีเป็น การอุทิศตัว มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ ใกล้ชดิ สนิทสนม และรับผิดชอบต่อกันและ กัน ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางในการปฏิบัติดังต่อไปนี้คือ
1. เราต้องรักมนุษย์ทกุ คน ทัง้ นีก้ เ็ พราะ ว่าพระเยซูเจ้าทรงประทับอยู่ในมนุษย์ทกุ คน (มัทธิว 25:31-46)และพระเยซูเจ้าก็ยังทรง สอนเราอีกด้วยว่า พระบิดาเจ้าทรงเป็นบิดาของมนุษย์ทุกคนและ “ทุกคนเป็นพี่น้อง กัน” (มัทธิว 23:8-9) นอกจากนี้เรายังต้อง รักและดูแลโลกธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะเป็น สิง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงสร้างขึน้ มาและพระเจ้าทรง สร้างทุกสิ่งด้วยความรัก 2. เราต้องรักผูอ้ น่ื เหมือนรักตัวเราเอง (มั ทธิว 22:34-40) นั่นก็คือเราต้องเอาใจ เขามาใส่ใจเราและต้องเป็นหนึง่ เดียวกับผูอ้ น่ื ดังทีท่ า่ นนักบุญเปาโลกล่าวว่า “จงร่วมยินดีกับผู้ที่ยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้” (โรม 12:15) การเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นหมายถึง การมีจิตใจที่เปิดกว้างพร้อมที่จะรับฟังปัญหาและความต้องการของผูอ้ น่ื และพยายาม ช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มความสามารถ 3. รักกันและกันเหมือนกับที่พระเยซู ทรงรักเรา ดังที่พระเยซูทรงสอนและปฏิบัติ ให้เราดูเป็นแบบอย่าง “.....เราให้บทบัญญัติ ใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน เรารัก ท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่าง นั้นเถิด ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะ รูว้ า่ ท่านเป็นศิษย์ของเรา..... (ยอห์น 13:34 35) นัน่ ก็คอื เราต้องสามารถรักและเสียสละ
ความรักยังจำเปนหรือไมในสังคมบริโภคนิยม
ให้กับผู้อื่นและสามารถที่จะอุทิศตนเพี่อรับ ใช้ผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่ยากจนและคนที่มี ความทุกข์ยากและเดือดร้อน จุดมุง่ หมายพืน้ ฐานของทุกศาสนาก็คอื สอนให้ทุกคนเป็นคนดี แต่จุดมุ่งหมายสูงสุดของแต่ละศาสนาอาจจะมีความแตกต่าง กันไปบ้าง เช่น พุทธศาสนามีจุดมุ่งหมาย สูงสุดคือนิพพาน ส่วนคริสตศาสนาคือการ เข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้า และเงื่อนไขที่ สำคัญประการหนึ่งของการเข้าสู่อาณาจักร ของพระเจ้าก็คอื การปฏิบตั คิ วามรักต่อเพือ่ น มนุษย์ ซึง่ ในอันดับต่อไปผูเ้ ขียนก็จะนำเสนอ บทบาทของความรักที่ยังคงดำรงอยู่ ได้ใน สังคมบริโภคนิยม
41
ความรัก : ทางเลือกของบริโภคนิยม ดังทีท่ ราบกันแล้วว่าจุดมุง่ หมายสูงสุด ของบริโภคนิยม ก็คือ การบรรลุถึงชีวิตที่ มั่งคั่งทางวัตถุและเพื่อที่จะบรรลุถึงจุดมุ่ง หมายสูงสุดนี้ก็คือการพยายามแสวงหาสิ่ง เสพมาบริโภคให้ ได้มากที่สุด มนุษย์ ได้เรียนรู้แล้วว่าความรุนแรง ของภัยทางธรรมชาติทเ่ี กิดขึน้ ทัว่ โลกนัน้ เป็น ตัวอย่างของ การบริโภคทีเ่ ต็มไปด้วยความ เห็นแก่ตัว ความโลภและการขาดความรัก ต่อโลกธรรมชาติ และเมือ่ เกิดภัยพิบตั ทิ าง ธรรมชาติ แ ต่ ล ะครั้ ง มั นได้ น ำมาซึ่ ง ความ สูญเสียและความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส แก่ผู้ที่ประสบภัยนั้นๆแต่สิ่งที่ช่วยบรรเทา ความทุกข์ ให้เบาบางลงไปก็คือ ความรัก และความเห็นอกเห็นใจที่มีให้แก่กันและกัน ประเทศที่ไม่ได้ประสบกับภัยธรรมชาติหรือ แม้ประเทศของตนเองก็กำลังประสบกับภัย ธรรมชาติเหมือนกัน แต่มคี วามรุนแรงน้อย กว่าก็จะส่งความช่วยเหลือมาให้กบั ประเทศ ทีเ่ ดือดร้อนมากกว่าแม้วา่ จะเป็นคนต่างชาติ ต่างภาษากัน ในเหตุการณ์มหาวิกฤตินำ้ ท่วมปี 2554 ในประเทศไทยก็เช่นกัน เราได้เห็นภาพของ มวลน้ำมหึมาที่เมื่อไหลผ่านมาที่ ใดก็ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าจนพังทลาย
42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ราบคาบเป็นหน้ากลอง เราได้เห็นภาพของ ชาวบ้านเป็นจำนวนมากทีต่ อ้ งหลัง่ น้ำตาต่อ ความสูญเสียที่เกิดขึ้น เราได้เห็นภาพของ พี่น้องชาวไทย องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่พยายามจะให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำ ได้ เช่น การบริจาคเงิน อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ท่ีจำเป็นและออกแรงเพื่อช่วย เหลือผู้ที่กำลังประสบภัย ได้เห็นภาพของ คนทีบ่ า้ นถูกน้ำท่วมแต่กย็ งั ออกมาช่วยผูป้ ระสบภัยคนอื่น ได้ยินข่าวของคนบางชุมชนที่ ยินดีเสียสละยอมให้ปล่อยน้ำเข้าท่วมชุมชน ของตนเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ชุ ม ชนอื่ น ที่ เ ป็ น ที่ ตั้งของสถานที่ที่สำคัญของส่วนรวม ภาพ ของเหล่าทหารที่ต้องเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจมาช่วยสร้างแนวกั้นน้ำ มาช่วยอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัย ทหารบางคนบ้านของตนเองก็ประสบภัยเช่น กัน แต่ก็ไม่สามารถไปช่วยเหลือครอบครัว หรือไปช่วยอพยพข้าวของได้ เพราะต้องเสีย สละความสุขและประโยชน์ส่วนตัวเพื่อมา ทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านให้พ้นภัย มีนักข่าวไปสัมภาษณ์ความรู้สึกของ ทหารที่ต้องทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน เพือ่ ช่วยกันทำคันกัน้ น้ำเพือ่ ป้องกันไม่ให้นำ้ หลากเข้ามาท่วมบ้านเรือนของราษฎรว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ทหารตอบว่า หลายครัง้ รู้-
สึกเหนื่อยและอ่อนล้าที่ต้องต่อสู้กับน้ำที่ ไหลมาเป็นจำนวนมาก พยายามลงแรงกั้น กระสอบมากเท่าไรก็พังทลายอย่างต่อเนื่อง กัน้ ไม่อยู่ ต้องทำงานทัง้ วัน จนรูส้ กึ ท้อและ ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะต่อสู้ต่อไป แต่เมื่อเห็น ชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อน และทหารก็มี ความรู้สึกว่าชาวบ้านนั้นเปรียบเสมือนญาติ พี่น้องของพวกเขาและทหารก็มีหน้าที่รับ ใช้ประชาชน เมื่อเห็นชาวบ้านมีความทุกข์ พวกเขาจึงลุกขึ้นมาสู้ต่อไป ในขณะเดียวกันเราก็ ได้ยินข่าวว่ามี ประชาชนบางกลุม่ ที่ไปทำลายคันกัน้ น้ำเพราะ ไม่ต้องการให้น้ำเข้าท่วมชุมชนหรือบ้านของ ตน หรือข่าวที่ขโมยเข้าไปขโมยของในบ้าน ของชาวบ้านที่กำลังประสบภัย หรือการที่ พ่อค้าแม่ค้าที่เห็นแก่ตัวถือโอกาสขึ้นราคา สินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคจนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนซึ่งก็เท่ากับเป็น การซ้ำเติมความทุกข์ของผู้ที่มีความทุกข์ อยู่แล้วให้มีความทุกข์มากขึ้นไปอีก สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นตัวอย่าง ที่ผ้เู ขียนต้องการจะชี้ให้เห็นว่าในสังคมบริโภคนิยมนั้นก็มีทั้งคนที่มีความรักในหัวใจ และมองทุกคนที่อยู่รอบตัวว่าเป็นเพื่อนเป็น พี่น้องที่ตนเองต้องคอยดูแลและให้ความ ช่วยเหลือเมื่อพวกเขากำลังมีความทุกข์คน
ความรักยังจำเปนหรือไมในสังคมบริโภคนิยม
ทีม่ องข้ามความสุขส่วนตัวและของพวกพ้อง และกระทำเพื่อความสุขส่วนรวม คนที่มี ความรักและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและพร้อม ที่จะอุทิศตนรับใช้ผู้อื่นด้วยความเสียสละ ในขณะเดียวกันเราก็จะพบคนที่เห็นแก่ตัว ขาดความรักและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและไม่ ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสังคมต้อง การคนที่มีคุณสมบัติแบบพวกแรกมากกว่า คนที่มีคุณสมบัติแบบพวกที่สอง คำถามก็ คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้างคนที่มีคุณสมบัติ แบบพวกแรก ผูเ้ ขียนคิดว่าศาสนามีบทบาท สำคัญที่จะช่วยหล่อหลอมให้บุคคลมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ บทสรุป ศาสนาจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าบริโภค นิยมได้ก็ต่อเมื่อศาสนาเองจะต้องหลุดพ้น จากการครอบงำของบริโภคนิยม นั่นก็คือ แทนที่ ศ าสนาจะเน้ น การสร้ า งถาวรวั ต ถุ ก็ควรที่จะมาเน้นการสร้างคน เพื่อให้คน เข้าถึงหัวใจของศาสนาอย่างแท้จริง และ นำหลักคำสอนมาเป็นเครือ่ งชีน้ ำในการดำเนินชีวิตและช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนมนุษ ย์ที่ประสบ ความทุกข์ยากลำบาก นอกจากนี้ศาสนา
43
จะต้องเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนให้มากยิง่ ขึน้ ดังทีส่ ถาบันศาสนายอมให้ ใช้วัดเป็นสถานที่สำหรับให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้พกั พิงนัน้ เป็นสิง่ ทีค่ วรทำและเป็นสิง่ ทีแ่ สดงออกถึงความรักและความเมตตาที่มี ต่อเพือ่ นมนุษย์ทก่ี ำลังได้รบั ความเดือดร้อน ซึ่งก็เท่ากับว่า ศาสนานั้นสามารถเป็นที่พึ่ง ของมนุษย์ ได้แบบองค์รวม คือทั้งมิติของ ร่างกาย จิตใจและสังคม
44 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์, คณะกรรมการ. พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์,2006 เดือน คำดี. ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,2531. ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศีลธรรมกับศาสนาของโลก. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2523. Attfield, Robin. Environmental ethics: an overview for the twenty-first century. Malden,MA: Blackwell,c2002. Knitter, Paul F. Introducing theologies of religions. Maryknoll, NY : Orbis Book, c2003. www.komchadluek.net
45
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ : ความขัดแยงจากมิติที่แตกตาง
หมวดทั่วไป
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ ความขัดแยงจากมิติที่แตกตาง
¾ÔàªÉ° ÃØŒ§ÅÒÇÑÅ ในอดีตนั้น ศาสนาจะขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการ การพิจาณาการพิพากษาจำคุก Galileo เมื่อเขาเชื่อว่าโลกมิได้อยู่นิ่ง แต่เคลื่อนที่ไปรอบ ดวงอาทิตย์ และต่อมาเมื่อหนังสือ The Origin of Species ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือที่ทรงพลังมากที่สุดในโลกวิทยาศาสตร์ เขียนโดย ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นผู้นำเสนอ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต” (Theory of Evolution) และก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่เรียกกัน ว่า “การทำสงครามของวิทยาศาสตร์กับเทววิทยา” เพราะเหตุใดทั้ง 2 ศาสตร์นี้จึงขัดแย้งกันได้ถึงเพียงนี้ อาจต้องวิเคราะห์ถึงนิยาม ความหมายของศาสตร์ทั้งสองนี้กันก่อน ศาสนา (Religion) มาจากคำภาษาละตินว่า “Religio” (Ligo + ligare) หมายถึง “ข้อผูกมัด/พันธสัญญา” (Bond) ที่เป็นหลักให้มนุษย์สู่ความเป็นจริงสูงสุดอาศัยจารีตพิธี
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม และอาจารย์ผู้สอนราย วิชา วท. 100 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
46 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
(Rites) หลักความเชื่อ (Beliefs) และบรรทัดฐาน (Norm) (Ubanee, 2004) ศาสนา เป็นปรากฏการณ์ในสังคมมนุษย์ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญอย่างน้อ ยสามประการ คือ มโนภาพเรื่องเหนือธรรมชาติ ระบบศีลธรรม และพิธีกรรม (กีรติ บุญเจือ, 2522) ศาสนา คือ วิถีชีวิต (Way of life) (เดือน คำดี,2545) ที่ประกอบด้วยความเชื่อ และเหตุผลที่มุ่งสู่ความจริงเพื่อความรอดพ้น จึงมีลักษณะ “ เน้นวิถีสู่ความรอดพ้น ” วิทยาศาสตร์ (science) มาจากภาษาละตินว่า scientia ซึ่งหมายความว่า “ความรู้” เป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐาน และเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542,2546) จากนิยามของคำทั้งสองคำนี้ พอจะสรุปให้เห็นชัดได้ว่า ศาสนา เป็นระบบความ เชื่อที่พัฒนาให้มีเหตุผลมากขึ้น (สมภาร พรมทา, 2546) ในขณะที่วิทยาศาสตร์เป็นระบบ เหตุผลที่พัฒนาจากความเชื่อหรือสมมติฐาน ถึงแม้แนวทางจะดูเหมือนสวนทางกัน แต่ ทั้งสองศาสตร์นี้ก็สนับสนุนซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างด เพราะอันที่จริงทั้งสองศาสตร์นั้น ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การแสวงหาความจริง แต่เป็นการมุ่งสู่ความจริงในมิติที่ต่างกั น กล่าวคือ ศาสนาเน้นความจริงเพื่อมุ่งสู่ความรอดพ้น โดยมีพื้นฐานบนความเชื่อศรัทธา ส่วนวิทยาศาสตร์เน้นความจริงด้านปริมาณ/คุณลักษณะ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตปร ะจำวัน โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บนประสบการณ์ในระดับประสาทสัมผัส (วุฒิชัย อ่องนาวา, 2551) วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสืบค้นธรรมชาติ แห่งจักรวาลและทำให้เกิดการรู้แจ้ง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองและชีวิตของมนุษย์ แต่ความสำเร็จที่เกิดจากแนวทางวิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์หวังจะขยายผลการ ศึกษาไปสูเ่ รือ่ งราวทางอภิปรัชญา ซึง่ ยังไม่เคยปรากฏหลักฐานทีม่ าจากการทดลอง ใดๆเลย แ ละนี่คือจุดเริ่มต้นของการล่วงล้ำการแสวงหาความจริงจนเกินมิติในกรอบของวิทยาศาสตร์ จึ ง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของความขั ด แย้ ง ดั ง คำกล่ า วของบาทหลวงยั ง มารี
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ : ความขัดแยงจากมิติที่แตกตาง
47
ดังโตแนล (2551) ที่ว่า “วิทยาศาสตร์และศาสนามีบทบาท และวิธีการที่แตกต่างกัน ถ้ายอมรับความแตกต่างนั้นได้ ก็ ไม่มีปญหาที่จะทำให้ความรู้หรือความคิดทั้งสองอย่างนี้ เข้ากันได้ แต่เริม่ มีปญ หาและการขัดแย้งกัน เมือ่ ใช้วธิ กี ารของระดับหนึง่ เพือ่ จะอธิบายหรือ ตอบคำถามของอีกระดับหนึ่ง” ความจริง อันเป็นเป้าหมายสูงสุดที่มุ่งแสวงหานั้น มีมิติที่แตกต่างกันซึ่งสามารถ แยกแยะความแตกต่างได้ดังต่อไปนี้ ความจริงในศาสนา เป็นความจริงที่ประจักษ์ ได้ด้วยใจ (IntuitiveTruth) พิสูจน์ ไม่ได้ ทั้งหมดด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส หรือตามหลักเหตุผลทางตรรกวิทยา ความจริงในวิทยาศาสตร เป็นความรู้ที่เป็นสากล ทุกคนสามารถรับรู้และตรวจสอบได้ ซึ่งอยู่ใน 2 รูปแบบด้วยกันคือ 1) ความรู้ในรูปแบบของกฎ (Law) ซึ่งเป็นการทำนายอนาคต เป็นความรู้ที่สามารถพิสูจน์ ได้ด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส เช่น กาลิเลโอ พบว่า “เมื่อปล่อยวัตถุ 2 ชิ้นที่มีน้ำหนักต่างกัน บนที่สูงพร้อมกัน จะตกถึงพื้นพร้อมกัน” ข้อค้นพบนี้สามารถรับรู้ ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมด สามารถวัดได้ เห็นได้ รับรู้ ได้ในเชิงประจักษ์ และเป็นการทำ นายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กล่าวคือ ทุกครั้งที่ปล่อยวัตถุจากที่สูงพร้อมกัน ผลก็คือจะตก ลงสู่พื้นพร้อมกันเสมอ 2) ความรู้ในรูปแบบของทฤษฎี (Theories) เป็นการพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นใน อดีต เป็นความรู้ที่อาจไม่สามารถรับรู้ ได้ด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทั้งหมด เพราะต้องอาศัยหลักเหตุและผลในการเข้าถึงความจริงนั้น เช่น ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ว่าด้วยเรื่องของการคัดสรรโดยธรรมชาติ (Natural Selection) กล่าวคือ สิ่งมีชีวิต ในปจจุบันมีความแตกต่างจากบรรพบุรุษในอดีต อันเกิดจากการปรับตัวเพื่อความอยู่ รอดตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ภาวะการแปรผัน (Variation) เกิดขึ้นผ่านระยะเวลายาวนานหลายชั่วอายุของสิ่งมีชีวิต แต่สิ่งที่สามารถยืนยันทฤษฎีนี้ได้คือเศษซากของสิ่ง ต่างๆในอดีตที่หลงเหลือมาจนถึงปจจุบัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตั้งสมมติต่างๆนานา เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้ หากแต่ทฤษฎีต่างๆเหล่านี้อาจมีความผิดพลาด หาก มีการค้นพบหลักฐานใหม่ๆที่สามารถยืนยันหักล้าง ดังนั้นความรู้ในรูปแบบทฤษฎีนี้จึงอาจมี
48 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หลายทฤษฎีในเรื่องเดียวกัน ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าทฤษฎีใดถูกต้องมากที่สุด ความจริงในศาสนากับความจริงในวิทยาศาสตร์จงึ อยูก่ นั คนละมิติ เข้าถึงได้ดว้ ยวิธกี ารทีแ่ ตกต่างกันอย่างไรก็ตาม วิทยาศาสตร์และศาสนาเริม่ เป็นมิตรกันมากขึน้ เมือ่ ทัง้ 2 เริม่ เรียนรูแ้ ละทำความเข้าใจซึง่ กันและกัน ในด้านศาสนา มีการ จัดตั้งสภาวิทยา-ศาสตร์แห่งองค์พระสันตะปาปา (Pontifical Academy of Sciences) ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1936 ในสมัยของพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 (Pope PiusXI,1857-1939) เพื่อถวาย Pope Pius XI (1857-1939) คำแนะนำใน เรื่องที่เกี่ยวกับปญหาและคำตอบที่เกิดจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Pope_Pius_XI ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และดำเนินการต่อเนื่องมาจน ถึงปจจุบัน ส่วนทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น สถาบัน National Academy of Science มีโครงการสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์หลายโครงการ ทัง้ มห่วทิ ยาลัย Cambridge ของอังกฤษ และมหาวิทยาลัย Princeton ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้มี การจั ด ตั้ ง ตำแหน่ ง ศาสตราจารย์ ผู้ มี ห น้ า ที่ ผ สมผสานความคิ ด ของศาสนากั บ วิ ท ยาศาสตร์ให้กลมกลืนกัน ดังนั้นในทุกวันนี้โลกศาสนากับโลกวิทยาศาสตร์ซึ่ง เคยสวนทางกัน เริ่มเปลี่ยนไป เพราะ Pontifical Academy of Sciences ได้พิสูจน์แล้วว่า โลกทั้งสองโลกสามารถอยู่ร่วม กันและทำให้โลกมนุษย์ดีขึ้นได้ ดังอมตะวาจาของอัลเบิร์ต ไอน์ ไสตน์ ที่ว่า “วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาย่อมง่อย เปลี้ย และศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์ย่อมมืดบอด” “Science without religion is lame, religion without science is blind” (Albert Einstein, 1941) และดังที่สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์อัจฉริยะผู้โด่งดังที่ สุดใน คริสต์ศตวรรษที่ 21 ผู้ค้นคว้าเรื่องหลุมดำ (Black Stephen Hawking http://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Hawking Hole) ได้กล่าวไว้ว่า
49
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ : ความขัดแยงจากมิติที่แตกตาง
“อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราค้นพบทฤษฎีเอกภาพที่สมบูรณ์ จะ ต้ อ งขยายความถ่ า ยทอดออกไปในวงกว้ า ง เพื่ อ ให้ ทุ ก ฝ่ า ยทุ ก คน ไม่ว่าไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา หรือสามัญชน สามารถ มีส่วนร่วมในการค้นหาคำตอบว่า ทำไมมนุษ ย์และเอกภพจึงเกิดขึ้นมา และถ้าหากเราค้นพบคำตอบ นั่นคือจุดสุดยอดของสติปญญามนุษย์ เพราะนับจากนั้นเราจะล่วงรู้ถึงพระจิตของพระเจ้า” “However, if we discover a complete theory, it should in time be understandable by everyone, not just by a few scientists. Then we shall all, philosophers, scientists and just ordinary people, be able to take part in the discussion of the question of why it is that we and the universe exist. If we find the answer to that, it would be the ultimate triumph of human reason -- for then we should know the mind of God.” (Stephen Hawking, 1988) จากคำกล่าวนี้ อาจสรุปได้วา่ การศึกษากำเนิด ของจักรวาลจะทำให้มนุษย์ร้แู ละเข้าใจพระทัยของพระเจ้ามากขึ้นก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้จึงอาจยืนยันฟนธงได้ ว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์มิได้ขัดแย้งกันอีกต่อไป อัน เป็นผลสืบเนือ่ งมาจากบทเรียนแห่งความขัดแย้งในอดีต ทำให้ทราบว่า ความขัดแย้งนี้ไม่ได้กอ่ ประโยชน์อนั ใดเลย และเมื่อทั้ง 2 ศาสตร์ต่างทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน การเกือ้ กูลกันจึงเกิดขึน้ ดังทีอ่ งค์สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่2 ทรงกล่าวไว้ว่า
Pope John II (1920-2005) http://en.wikipedia.org/wiki/pope_John_Paul II
50 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
“วิทยาศาสตร์สามารถชำระศาสนาให้สะอาดขึ้นจากความผิดพลาดและความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ ศาสนาก็สามารถชำระวิทยาศาสาตร์ให้สะอาดจากความเชื่อในบางสิ่งจนเกินไป และความสัมบูรณ์ที่ผิดพลาด ทั้งสองสามารถนำพาไปสู่โลกที่กว้างขึ้น โลกซึ่งทั้งสองจะจำเริญไป ด้วยกัน” “Science can purify religion from error and superstition. Religion can purify science from idolatry and false absolutes Each can draw the other into a wider world, a world in which both can flourish.”1 ในโลกทุกวันนี้ ยังมีความขัดแย้งจากมิติที่แตกต่างอีกมากมาย อันเป็นผลทำให้ เกิดการก่อการร้าย เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ส่งผลดีต่อคนในสังคมเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น จึงควรนำบทเรียนของความขัดแย้งจากมิติที่แตกต่างด้านศาสนากับวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องเตือนใจ ให้ทุกฝ่ายเปิดใจยอมรับความแตกต่างของกันและกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” อันจะส่งผลให้ทุกชีวิตสงบสุขได้ในโลก แห่งความแตกต่างนี้
1
Letter to the Rev. George V. Coyne, S.J., Director of the Vatican Observatory, 1 June 1988
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ : ความขัดแยงจากมิติที่แตกตาง
51
กีรติ บุญเจือ. สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2522. เดือน คำดี. ศาสนศาสตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545. ดังโตแนล, ยัง มารี, บาทหลวง. ปรัชญา…สะพานเชื่อมวิทยาศาสตรกับศาสนา. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม, 2551. วุฒิชัย อ่องนาวา, บาทหลวง. ปรัชญาศาสนา นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม, 2551. สมภาร พรมทา. มนุษยกับศาสนา. กรุงเทพฯ: ศยาม, 2546. สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ. ทรรปณะประวัติศาสตรยุโรปในคริสตศตวรรษ ที่ 19. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2554. Einstein, Albert. Science. Philosophy and Religion: a Symposium, n.p., 1941. Hawking, Stephen. A Brief History of Time. New York: Bantam, 1988. Ubanee, Peter. Philosophy of Religion. Nakhonpathom: Saengtham College, 2004.
52 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หมวดปรัชญา
ศาสนากับคุณคาและความหมายของชีวิต จากการเรียนรูแรงงานกอสรางชาวพมา เชิงทะเล อ.กระทู จ.ภูเก็ต
»¯Ô¾Ñ²¹ ¡Ô¨àµ‹§ ศาสนา ศาสนา คือ วิถีชีวิตที่มุ่งสู่ความ เป็นจริงสูงสุด หรือความรอดพ้น เป็นการ เน้นประสบการณ์การดำรงอยู่ของมนุษย์ใน ฐานะที่มนุษย์มีอยู่ (Being) เพื่อแสวงหา ความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต โดยที่มนุษย์ ยังคงสำนึกตนว่า ความสมบูรณ์ของชีวิต หาได้ อ ยู่ ใ นสภาพที่ เ ป็ น อยู่ ใ นปั จ จุ บั น แต่ อย่างใดไม่ มนุษย์มอิ าจบรรลุความสมบูรณ์ ในตนเอง และได้ด้วยศักยภาพของตน
เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์จึงต้องแสวง หาความสมบู ร ณ์ นั้ น ด้ ว ยการสร้ า งความ สัมพันธ์กับความเป็นจริงสูงสุด (Absolute Being) ในรายละเอียดที่แตกต่างกันไปของ แต่ละศาสนา (วุฒิชัย อ่องนาวา. 2553:19) ยัง ดังโตเนล กล่าวว่า “มนุษย์ทุก คนต่างมุ่งหน้าไปสู่ความสมบูรณ์ครบครัน แต่เขาจะบรรลุความสำเร็จไม่ได้เลยหากไม่ ยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่น” (2550:68) ได้มีการเปรียบว่าการที่มนุษย์ต้องพึ่งปัจจัย
นักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรม กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นป 4 สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
ศาสนากับคุณคาและความหมายของชีวิต
หรือเหตุผลบางอย่างที่ช่วยให้เขาสามารถ บรรลุความครบครันตามจุดประสงค์ของ ตนนั้น เปรียบเสมือนการที่เขาสามารถดับ กระหายและความต้องการต่างๆนานาด้วย อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และอื่นๆสิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็นว่า มนุษย์มิ อาจบรรลุตามตามความปรารถนา และจุด ประสงค์ ข องตนได้ ด้ ว ยศั ก ยภาพของตน แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้น ความสมบูรณ์ครบครันที่มนุษย์แสวงหาจึง ต้องอาศัยปัจจัยหรือเหตุผลประการหนึ่งที่ จะช่วยให้เขาได้บรรลุ เหตุผลประการนั้น คือ ศาสนา คุณค่าและความหมายของชีวิต หากเราจะหาคำนิยามให้กับคุณค่า และความหมายของชีวติ ว่าคืออะไร คงเป็น การยากที่เราจะสรุปความได้อย่างตายตัว เพราะต่างแนวคิด ต่างกลุม่ ลัทธิ ต่างบุคคล ก็ล้วนแล้วแต่มีคำตอบเฉพาะของตน อาจ เหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง สุดแล้ว แต่ บุ ค คลเหล่ า นั้ น มี พื้ น ฐานอย่ า งไร มา ผู้ ที่ นั บ ศาสนากั บ ผู้ ไ ม่ นั บ ถื อ ศาสนา ก็ อ าจมี คุ ณ ค่ า และความหมายของชี วิ ต แตกต่างกัน เช่น คนที่นับถือคริสต์ศาสนา คุณค่าและความหมายของชีวิตคือ การได้
53
กลับไปอยู่กับพระเจ้าในสรวงสวรรค์ ผู้นับ ถือศาสนาพุทธ คุณค่าและความหมายของ ชีวิต หมายถึงการได้บรรลุสู่นิพพาน ส่วน ผู้ ไม่นับถือศาสนา คุณค่าและความหมาย ของชีวิตอาจอยู่ที่การมีครอบครัวที่อบอุ่น การประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต หรืออะไรก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะ นั บ ถื อ ศาสนาหรื อ ไม่ นั บ ถื อ ทุ ก คนต่ า ง แสวงหาคุ ณ ค่ า และความหมายของชี วิ ต ด้วยกันทั้งนั้น เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้มีชีวิต ดังที่ Royce กล่าวว่า “มนุษย์ทุกคนแสวง หาความหมายของชีวิตไม่ว่าเขาจะสำนึก หรือไม่ก็ตาม ความหมายของชีวิตเป็นเหตุ ผลหรือแรงจูงใจทีท่ ำให้บคุ คลสามารถดำเนิน ชีวติ อยู่ได้” (เชิดชัย จิตรเลขา, 2553:70) นอกจากนี้ คุณค่าและความหมาย ของชีวิตก็มิ ได้จำกัดขอบเขตในกรอบของ ศาสนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์แต่ ละบุคคลและในแต่ละวัย มีความหมายของ การดำเนินชีวติ ทีแ่ ตกต่างกันด้วย แม้วา่ มนุษย์ ในบุคคลเดียวกัน ในช่วงวัยที่ีเปลี่ยนแปลง ไปนั้น ก็มีความหมายในการดำเนินชีวิตที่ ไม่เหมือนกัน เช่น บุคคลเดียวกันในวัยเด็ก และวัยรุ่น อาจมีความหมายในการดำเนิน ชีวติ คือ การศึกษาเพือ่ อนาคตของตน และ เมือ่ บุคคลนัน้ เข้าสูว่ ยั หนุม่ สาว อาจมีความ
54 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หมายของชีวิตเพื่ออาชีพการงาน และเมื่อ ก้าวย่างสูว่ ยั ผูใ้ หญ่ ความหมายของชีวติ อาจ หมายถึง การสร้างครอบครัวและความ มั่นคงของครอบครัว และเมื่อบุคคลเข้าสู่ วัยชราซึ่งมีความมั่นคงในครอบครัว แล้ว ชีวิตหน้าหรือชีวิตอมตะตามความเชื่อของ ศาสนาที่ตนนับถืออยู่ ก็อาจกลายเป็นคุณ ค่าและความหมายประการสุดท้ายของชีวิต (เชิดชัย จิตรเลขา, 2553 : 71) ศาสนากับคุณค่าและความหมายของชีวิต ในทางศาสนา ได้นำเสนอว่า คุณค่าและความหมายที่แท้จริงของชีวิตก็คือ ความรอดพ้นหรือความสมบูรณ์ครบครัน ที่จะได้รับเมื่อมนุษ ย์ผูกตนเองกับความจริงสูงสุด และศาสนาก็เป็นวิถีชีวิตที่นำ พาให้มนุษย์ก้าวไปสู่จุดนั้น ศาสนาสอนว่า ชีวิตของมนุษย์ ไม่ได้มีค่าในตนเอง แต่ชีวิต จะมีคุณค่าและมีความหมายก็ต่อเมื่อไป เชื่อมโยงกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตน สิ่งที่ยิ่ง ใหญ่กว่าตนนั้นที่แต่ละศาสนาสอนอาจไม่ เหมือนกัน บางศาสนาสอนว่า สิ่งนั้นคือ พระเจ้า บางศาสนาอาจสอนว่าเป็นนิพพาน หรืออะไรก็ตามที่ทำให้มนุษ ย์เมื่อได้สัมผัส แล้วก็สามารถที่จะหลุดพ้นออกมาจากชีวิต ที่คับแคบ ชีวิตที่มีขีดจำกัดดังเช่นที่เป็น
อยู่ แล้วมุ่งสู่ความสมบูรณครบครัน (สมภาร พรมทา, 2546 : 29) แต่ทว่าความสมบู ร ณ์ ค รบครั น ที่ ก ล่ า วถึ ง นี้ ต ามที่ ศ าสนา ส่วนใหญ่ ได้สอนนั้น มิอาจพบได้ในชีวิต ของมนุษยบนโลกนี้ แต่จะพบได้หลังจากที่ ชีวติ ผ่านพ้นผ่านพ้นจากโลกนี้ไปแล้ว เพราะ ฉะนั้นจึงอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ศาสนากับคุณค่าและความหมายที่แท้จริง ของชีวิตเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตใน โลกนี้ ซึ่งในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้น ไม่ เนื่องจากศาสนาสำหรับมนุษ ย์บนโลก นีเ้ ป็นผูท้ ำให้ชวี ติ ของเขามีคณ ุ ค่าและมีความ หมาย ศาสนาเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ชมิ ลาง ความสมบูรณ์ครบครัน (ความรอดพ้น) ที่ จะมาถึงในขณะทีเ่ ขาได้รว่ มกันปฏิบตั ศิ าสนกิจ และดำรงตนอยู่ในศาสนาที่เขานับถือ ครั้งหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสไปเรียน รู้และร่วมชีวิตกับแรงงานก่อสร้างชาวพม่า ที่เชิงทะเล ในอำเภอเมืองของจังหวัดภูเก็ต ชีวิตทางด้านศาสนาของแรงงานชาวพม่า ทีน่ น่ั ได้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า ศาสนาช่วย ให้ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ เ ข้ า ใกล้ คุ ณ ค่ า และความหมายที่แท้จริงของชีวิต (ความรอดพ้น/ ความสมบูรณ์ครบครัน) มากขึ้น กล่าวคือ เมื่อถึงเทศกาลสำคัญของพุทธศาสนา (ซึ่ง โอกาสที่ผู้เขียนไปอยู่เป็นช่วงออกพรรษา
ศาสนากับคุณคาและความหมายของชีวิต
พอดี) แรงงานชาวพม่า ซึ่งนับถือศาสนา พุ ท ธก็ จ ะร่ ว มกั น จั ด งานบุ ญ ขึ้ น ในเขต สถานที่พักหรือที่รู้จักว่า แค้มป (Camp)1 โดยที่ ในวันก่อนวันออกพรรษา แรงงาน ชาวพม่าส่วนใหญ่จะหยุดทำงาน และร่วม กันจัดทอดกฐิน พวกเขาร่วมกันบริจาคเงิน และวัตถุปจั จัยต่างๆให้แก่ทางวัดตาม อัตภาพ ของตน มีการจัดเตรียมสถานที่โดยบรรดา ผูช้ ายหรือพ่อบ้าน ส่วนบรรดาแม่บา้ นและ ผูห้ ญิงก็รว่ มกันจัดเตรียมอาหาร มีการเสริม สร้างบรรยากาศด้วยการ เปิดเพลงและบท สวดของพุทธศาสนาตลอดทัง้ วัน เมือ่ วันงาน มาถึง พวกเขาจะมารวมกันทีส่ ถานประกอบ
1
55
พิธีที่ได้จัดเตรียมขึ้นเป็นการชั่วคราว มีการ เชิญพระภิกษุมาประประกอบพิธที างศาสนา แม้พระภิกษุที่มาจะเป็นคนไทย และแรงงาน พม่าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาไทย แต่เมื่อใด ที่พระกล่าวขึ้นด้วยคำว่า “นะโม ตัสสะ…” ภาษาก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบพิธี อีกต่อไป หลังจากที่พิธีกรรมเสร็จสิ้นแล้ว พวกเขาก็ร่วมกันรับประทานอาหาร ในวัน นั้นทุกครอบครัวจะงดทำอาหารที่บ้านของ ตนและมา รับประทานอาหารร่วมกันที่ส่วน กลาง ส่วนในภาคบ่ายก็มีการแห่ต้นกฐินที่ พวกเขาได้รว่ มกันบริจาคเงินและวัตถุปจั จัย ต่างๆไปยังวัดเพือ่ ถวายให้แก่เจ้าอาวาส และ
เขตที่อยู่อาศัยชั่วคราวของแรงงานก่อสร้าง หรืออาจเรียกว่า หมู่บ้านเล็กๆซึ่งในหนึ่งแคมปจะมีจำนวน ที่พักอาศัยที่มีลักษณะคล้ายบ้านหลายๆหลัง และโดยทั่วไปที่พักนั้นสร้างด้วยสังกะสีทั้งหมด
56 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวชีวิตทางด้านศาสนา ของแรงงานชาวพม่าที่จะชวนให้เราได้พบ กับคุณค่าและความหมายของชีวติ มนุษย์ได้ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง ศาสนาทำให้มนุษย์ แตกต่างจากสัตว์และมีจิตใจสูงส่ง จะว่าไปแล้วมนุษย์กม็ ลี กั ษณะหลาย อย่างทีค่ ล้ายคลึงกับสัตว์ ตัง้ แต่เริม่ ต้นชีวิต จนกระทั่งตาย มนุษย์และสัตว์ต่างก็มีการ สืบเผ่าพันธุ์ มีการดำรงอยู่ มีการออกล่าหา อาหาร มีการตอบสนองต่อความต้องการ พื้นฐานของชีวิต กระทำตามสัญชาตญาณ ฯลฯ เพียงแต่ทั้งหมดนี้มนุษย์มีการวิวัฒนา การและการพัฒนาที่สูงกว่าสัตว์ มนุษย์เรา นั้นจึงมักได้รับสมญานามว่า สัตว์ประเสริฐ ซึ่งหมายความว่า สูงส่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย บนโลกนี้ สิง่ สำคัญประการหนึง่ ในความคล้าย คลึงกับสัตว์ที่มนุษย์มี คือ สัญชาตญาณ ดังที่กล่าวไว้ ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่าหรือชาติิ ใดก็ตาม เมื่อได้ขึ้นชื่อว่า มนุษย์ ต่างมีสัญชาตญาณของการรวมตัวกันเป็นฝูงคล้ายกับ สัตว์ อาริสโตเติ้ลนักปรัชญากรีก กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง และวิชาสังคมวิทยา สมั ยปั จจุ บั น ก็ยังกล่า วว่า มนุษ ย์เป็นสัตว์ สังคม สัญชาตญาณในการอยู่ร่วมกันเป็น
สังคมหรืออยู่ในสังคมการเมืองนี้ได้เป็นภาพ สะท้อนของการอยู่รวมกันเป็นฝูงของสัตว์ แต่มีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากกันคือ การอยู่ ร่วมกันมนุษย์กอ่ ให้เกิดอารยธรรม และอารยธรรมหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต ของมนุษย์ตง้ั แต่อดีตจนกระทัง่ ณ เวลานี้ ก็คือ ศาสนา ศาสนาเป็นอารยธรรมทาง ความคิด (สมภาร พรมทา 2546:30) ศาสนา เป็นความเจริญงอกงามที่มนุษย์สร้าง ขึ้น มนุษย์มีแต่สัตว์ ไม่มี เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ เกิดความกลัวหรือความทุกข์ใจก็มี ศาสนา เป็นทีพ่ ง่ึ ส่วนสัตว์ไม่รจู้ กั ศาสนา เมือ่ เกิด ความกลั ว หรื อ ความทุ ก ข์ มั น ก็ ไ ม่ มี ที่ ไ ป เหตุนี้เองมนุษย์จึงต่างจากสัตว์ ในส่วนที่ได้มีการกล่าวถึงมนุษย์ใน ฐานะทีเ่ ป็นสัตว์สงั คม ศาสนาก็เข้ามามีบทบาทและทำให้เห็นเป็นเช่นนัน้ จริงๆ กล่าวคือ มนุษ ย์ที่อยู่ในชุมชุนต่างๆสามารถเป็นน้ำ หนึง่ ใจเดียวกันเมือ่ มาร่วมกันปฏิบตั กิ จิ กรรม ทางศาสนาของพวกเขา หากเราย้อนกลับ ไปพิจารณาถึงชุมชนของแรงงานชาวพม่าก็ จะเห็นว่า พวกเขาก็เป็นเช่นนั้นจริง ศาสนา ช่ ว ยให้ สั ง คมที่ นั่ น เกิ ด ความสมั ค รสมาน สามัคคี พวกเขาใช้ภาษาเดียวกันในการสวด มนต์ภาวนา ร่วมกันทำบุญตักบาตร และ ร่วมกันจัดทอดกฐิน นอกเหนือจากนี้ พวก
ศาสนากับคุณคาและความหมายของชีวิต
57
เขายังร่วมรับประทานอาหารบนโตะเดียว กันราวกับว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน และ แบ่งปันประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนให้ อีกคนหนึ่งฟังดังเพื่อนรู้ใจ นอกจากนี้ การที่แรงงานชาวพม่า รู้จักที่จะบริจาคข้าวของและทรัพย์สินเงิน ทองของตนในการร่วมจัดทอดกฐิน ได้สะท้อน ให้เห็นว่า ศาสนาช่วยให้มนุษย์ ได้เข้าใจว่า ชีวิตของตนควรมีอะไรที่มากกว่าการเกิด แก่ เจ็บ และตาย เหมือนที่สัตว์มีชีวิตเกิด มาทัง้ ทีตอ้ งมีอะไรทีส่ งู ส่งกว่านัน้ อะไรทีว่ า่ นั้นก็คือ จิตใจ ศาสนาสอนว่ามนุษย์เกิด มาแล้วต้องมีใจที่สูงส่งจึงจะสมกับที่เกิดมา เป็นมนุษย์ ดังคำประพันธ์ของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า “ เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่เพียงคน ใจสะอาดใจสว่างใจสงบ เพราะทำถูกพูดถูกทุกเวลา ใจสกปรกมืดมัวและร้อนเร่า เพราะพูดผิดทำผิดจิตประวิง คิดดูเถิดถ้าใครไม่อยากตก ให้ใจสูงเสียได้ก่อนตัวตาย
เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา ถ้ามีครบควรเรียกมนุสสา เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์จริง ใครมีเข้าควรเรียกว่าผีสิง แต่ในสิ่งนำตัวกลั้วอุบาย จงรับยกใจตนรับขวนขวาย ก็สมหมายที่เกิดมาอย่าเชือนเอย ฯ (2548 : 59)
58 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ด้วยเหตุนี้ ศาสนาจึงทำให้มนุษย์ ต่างจากสัตว์ ศาสนาทำให้เราได้ตระหนักว่า มนุษย์คือ สิ่งประเสริฐที่สุดบนโลกนี้ พระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า มนุษ ย์คือสิ่ง สร้างที่ล้ำเลิศของพระเจ้า เพราะพระองค์ ทรงสร้างมนุษย์ขน้ึ ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ (ดู ปฐม 1 : 26-27) และชีวติ ของมนุษย์ มีคุณค่าและความหมายก็เพราะเป็นของ ประทานจากพระเจ้านั่นเอง ประการที่สอง ศาสนาทำให้มนุษย์ แตกต่างจากเครื่องจักร แรงงานชาวพม่า (รวมถึงมนุษย์ ทุกคน) ในฐานะเป็นผู้ทำงาน บางครั้ง บางคราวก็อาจไม่ต่างอะไรไปจากเครื่องจัก รพวกเขาตื่นแต่เช้าไปทำงาน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขน้ึ จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน จากนัน้ ก็กลับมาบ้านเพื่อพักผ่อน ในเมื่อชีวิตเป็น เช่นที่ว่านี้วันแล้ววันเล่า มันจะต่างอะไรกับ เครือ่ งจักรทีม่ เี วลาเปิดสวิตช์ทำงาน และปิด สวิตช์เพื่อพักเครื่อง เราเชื่อแน่ว่าน้อยคนหรือบางทีก็ อาจไม่มี ใครเลยที่กล่าวว่าการทำงานเป็น สิ่งที่ผิด แต่กลับจะบอกว่าเป็นการถูกต้อง และเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษ ย์จะทำงาน เพราะมนุษย์ ได้พบว่าตนมีคุณค่าเมื่อได้ทำ งาน แรงงานชาวพม่าที่อยู่ในประเทศไทย
อพยพเข้ามาก็เพื่อหางานทำ พวก เขามักบอกว่า “การมีงานทำมีความสุขกว่า การไม่มี” ซึ่งในความเป็นจริงคงเป็นเช่น นั้น เพราะหากไม่แล้วพวกเขาคงไม่อพยพ กันเข้ามาทำงานในบ้านเมืองของเราเป็นแน่ การทำงานทำให้พวกเขามีกินและมีชีวิตอยู่ ได้ นีเ่ องจึงเป็นความหมายพืน้ ฐานของการ ทำงาน แต่การทำงานในความหมายทาง ศาสนาบางศาสนากลับมีสิ่งที่เหนือกว่าและ มีคุณค่ายิ่งไปกว่านั้น กล่าวคือ ในคริสต์ศาสนา การทำงาน หมายถึง การต่องาน สร้างสรรค์ของพระเจ้า เป็นการทีม่ นุษย์รว่ ม มือกับพระเจ้าในการสร้างสรรค์งานของพระองค์บนโลกใบนี้ ในฐานะทีม่ นุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า มีส่วนในความเป็นผู้ สร้างสรรค์และดูแล เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ ได้ออกแรงทำงานก็เท่ากับว่าเป็นการบรรลุ ถึงธรรมชาติของตนเองด้วย เพราะฉะนั้น การทำงานจึงเป็นสิ่งที่งดงาม แต่การที่แรงงานพม่าได้เลือกที่จะ หยุดงานเพือ่ มาปฏิบตั ศิ าสนกิจก็ไม่ได้หมาย ความว่าเป็นการปฏิเสธต่อสิ่งที่นำเสนอใน ข้างต้น แต่การหยุดงานที่ว่านั้นเป็นการที่ พวกเขาได้กำลังก้าวพ้นออกจากวงจรการ ทำงานแบบเครื่องจักร แล้วเดินหน้าเข้าหา อาหารทางจิตใจทีเ่ ครือ่ งจักรไม่มวี นั ได้ลม้ิ รส
ศาสนากับคุณคาและความหมายของชีวิต
เราทราบดีว่า สิ่งที่ทำให้เครื่องจักรดำเนิน เครื่องได้ คือ พลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นน้ำ น้ำมัน หรือฟาไฟ ฯลฯ ทั้งหมดนี้มิอาจมี คุณค่าเทียบเท่ากับพระธรรมคำสอนซึ่งเป็น อาหารฝายจิตวิญญาณที่จะหล่อเลี้ยงชีวิต ให้มนุษย์ดำรงอยู่ได้ แบบอย่างของชาวพม่าที่พร้อมใจ กันหยุดงานเพื่อมาปฏิบัติศาสนกิจ แสดง ให้เราเห็นว่า มนุษย์ ไม่ได้มีไว้เพื่องาน แต่ งานมีไว้เพื่อมนุษย์ ไม่เหมือนกับครื่องจักร ทีม่ ีไว้เพือ่ การทำงาน วันใดทีม่ นั ไม่สามารถ ทำงานได้วนั นัน้ มันก็หมดคุณค่าหมดความหมาย แต่สำหรับมนุษย์วนั ใดทีเ่ ขาไม่สามารถ ทำงานได้นั้น คุณค่าและความหมายของ เขาจะยังคงอยู่ต่อไป ตราบเท่าที่เขาได้ชื่อ ว่าเป็นมนุษย์
59
ศาสนาพร้อมกับคุณค่าและความหมายของชีวิตเป็นสิ่งคู่กัน จากแนวคิดทั้ง สองประการที่กล่าวในข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น การทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์และการ ทำให้มนุษย์แตกต่างจากเครื่องจักร เป็น ความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงมิติของ ความสมบูรณ์ครบครันแห่งชีวติ ซึง่ เป็นคุณค่าและความหมายทีศ่ าสนาเป็นผูท้ ำให้ปรากฏ ขึน้ ผ่านทางศาสนา มนุษย์เรานัน้ จึงมีโอกาส สัมผัสรสชาติของความสมบูรณ์แบบทางจิต วิญญาณที่ไม่ได้มอี ยู่ในโลกนี้ แต่อยู่ในโลก หน้า เนือ่ งจากร่างกายอันเป็นสิง่ ชัว่ คราว ไม่ สามารถเสวยสุขอันเป็นอมตะได้ ศาสนา จึงพยายามทำให้จิตใจซึ่งเป็นอมตะนั้นสูง ส่ง หรืออาจกล่าวว่าได้ศาสนาเป็น ผูต้ ดิ ปก ให้จติ ใจนัน้ ขึน้ ไปหาสิง่ สูงสุดและได้รบั ความ สมบูรณ์ครบครันนั้น
60 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
เชิดชัย จิตรเลขา. (2553 : กันยายน-ธันวาคม) “มนุษย์ บุคคลที่แสวงหาความแห่งชีวิต.” แสงธรรมปริทัศน์. 34 : 61-83. วุฒิชัย อ่องนาวา. (2553). ปรัชญาศาสนา. กรุงเทพ ฯ : ปิติพานิช. พุทธทาสภิกขุ. (2548). คู่มือมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์. ดังโตเเนล,ยัง มารี, บาทหลวง (2550). คุณค่าและความหมายของชีวิต. นครปฐม : วิทยาลัยแสงธรรม. สมภาร พรมทา. (2546). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพฯ : ศยาม.
61
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
หมวดพระคัมภีร
แนะนำสรุปพระสมณลิขิตเตือน พระวาจาขององคพระผูเปนเจา Verbum Domini ºÒ·ËÅǧ·ÑÈä¹Â ¤Á¡ÄÊ พระสมณลิขิตเตือน “VERBUM DOMINI” (พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า) เป็น พระสมณลิขติ เตือนของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ที่ให้ ไว้กบั บรรดาพระสังฆราช คณะสงฆ์ ผู้ถวายตนและฆราวาสชายหญิง เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2010 ในเรื่องพระวาจาของพระเจ้าในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร หลังสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 12 พระสมณลิขิตฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ภาค ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นหัวข้อ สำคัญดังนี้ * อารัมภบท 1. ภาคที่หนึ่ง - พระวาจาของพระเจ้า 1.1 พระเจ้าผู้ตรัส 1.2 มนุษย์ตอบสนองพระดำรัส
บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลกรุงเทพฯ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
62 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
1.3 การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร 2. ภาคที่สอง - พระวาจาในพระศาสนจักร 2.1 พระวาจาของพระเจ้าและพระศาสนจักร 2.2 พิธีกรรมเป็นกรอบเฉพาะของพระวาจา 2.3 พระวาจาของพระเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักร 3. ภาคที่สาม - พระวาจาสำหรับโลก 3.1 พันธกิจของพระศาสนจักรคือการประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้โลกรู้ 3.2 พระวาจาของพระเจ้าและการมีบทบาทในโลก 3.3 พระวาจาของพระเจ้าและวัฒนธรรม 3.4 พระวาจาและการเสวนาระหว่างศาสนาต่าง ๆ * บทสรุป เนื้ อ หาโดยสรุ ป ของพระสมณะลิ ขิ ต เตื อ นพระวาจาขององค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า แต่ละส่วน มีดังนี้ * อารัมภบท พระวาจาคื อ ข่ า วดี ( 1) ทำให้ เ รายิ น ดี ( 2) เราจึ ง ต้ อ งแบ่ ง ปั น ความยิ น ดี นี้ แ ก่ ทุ ก คนในสมั ย ของเราด้ ว ยสั ง ฆธรรมนู ญ เรื่ อ ง “การเผยความจริ ง ของพระเจ้ า ” (DEI VERBUM) ทำให้มีเราความกระตือรือร้น ต่อพระวาจามากขึ้นในพระศาสนจักร(3) ปีนักบุญเปาโลต้องช่วยให้เรากระตือรือร้นมากขึ้นในการประกาศพระวาจาอย่างท่าน(4) เพื่อบอกให้มนุษย์ทุกคนทราบว่า “พระวจนาตถ์” (พระวาจา) มาประทับอยู่กับเรา ให้เรา อยากอยู่ใกล้ชิดกับพระวาจาของพระองค์ และมีความรักต่อพระวาจามากขึ้น(5) 1. ภาคที่หนึ่ง - พระวาจาของพระเจ้า 1.1 พระเจ้าผู้ตรัส พระเจ้าทรงสนทนากับมนุษย์(6) ตรัสเป็นภาษามนุษย์(7) จึงมีวิธีพูดหลายแบบ พระเจ้าทรงใช้ “พระวาจา” (พระวจนาตถ์) เนรมิตสร้างทุกสิ่ง - พระวาจาจึง
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
63
ครอบคลุมสิ่งสร้างทั้งหมด(8) ทรงเนรมิตสร้างมนุษย์(9) พระวาจาอยู่ในใจมนุษย์เป็นกฎธรรมชาติ ทำให้เรารู้สึกชั่วดี - ดูแลเราอยู่เสมอ(10) คริสตวิทยาเรื่องพระวาจา o พระเจ้าทรงถ่อมองค์ลงมาประทับอยู่กับมนุษย์ o มาเป็นมนุษย์เหมือนเรา ตรัสด้วยถ้อยคำมนุษย์(11) o ย่อพระองค์ลงเป็นทารกในรางหญ้า o ยอมดำเนินชีวิตอย่างยากจน ทำตามพระประสงค์ของพระบิดายอมแม้ กระทั่ง “เงียบ” ในความตายบนไม้กางเขน(12) o การหลั่งพระโลหิตเป็น “พันธสัญญาใหม่นิรันดร” ทำให้มนุษย์พ้นจากการเป็นทาส พบกับพระเจ้าได้อีก การกลับคืนชีพ แสดงว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองทุกสิ่ง (Pantocrator) เป็นแสงสว่างส่องโลก(12) o “ถ้อยคำของพระคัมภีร์” สำเร็จบริบูรณ์ในธรรมล้ำลึกปัสกา ซึ่งนำความหวัง ความยินดี และความรอดพ้นมาให้มนุษยชาติ(13) o ธรรมล้ำลึกต่างๆ ที่ทรงเปิดเผยมีเอกภาพ “เอกภาพที่ลึกซึ้งระหว่างการเนรมิตสร้างกับการไถ่กู้ซึ่งเป็นเสมือนการ เนรมิตสร้างขึ้นใหม่” ดั ง ตั ว อย่ า งที่ ก าลิ เ ลโอ (Galileo) เคยใช้ เ ปรี ย บเที ย บสิ่ ง สร้ า ง เหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง หรือเป็นบทเพลง “ซิมโฟนี” บทหนึ่ง มีพระเยซูเจ้าเป็นผู้บรรเลง “เดี่ยว” (solo) - แต่ทำนองอื่นๆ ก็ประสาน กันอย่างไพเราะมีระเบียบไม่สับสน(13) มิติอันตกาลแห่งพระวาจาของพระเจ้า - การเปิดเผยสำเร็จสมบูรณ์ ในพระคริสตเจ้า ไม่มีอะไรจะต้องเปิดเผยเป็นทางการอีกเพื่อบรรลุถึงความรอดพ้นนิรันดร (ต้องแยกแยะการเปิดเผยส่วนตัว - ซึ่งไม่มีอะไรใหม่ - แต่อาจช่วยให้เข้าใจ การเปิดเผยทางการได้ดีขึ้น) (14) พระจิตเจ้ายังคงสอนเราต่อมาในพระศาสนจักร ในการเทศน์สอน เช่นเดียวกับที่ได้
64 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ดลใจผู้เขียนพระคัมภีร์(15-16) พระจิตเจ้าทรงทำงานเป็นพิเศษในพระศาสนจักรผู้มีอำนาจสอน หรือ Magisterium (17-18) การดลใจ คือความคิดหลักเพื่อเข้าใจว่าข้อความในพระคัมภีร์เป็นพระวาจาของ พระเจ้าในคำพูดของมนุษย์ การศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงขั้นตอนของการดลใจย่อมจะนำเราให้เข้าใจความจริงที่อยู่ในหนังสือต่างๆ ของพระคัมภีร์ ได้ดีขึ้น การค้นคว้าทางเทววิทยาได้คิดคำนึงอยู่เสมอว่า การดลใจและความจริงเป็นความ คิดสองประการที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายความหมายของพระคัมภีร์ ในพระศาสน จักร(19) พระบิดา บ่อเกิดของพระวาจา - ทรงเปิดเผยแผนการของพระองค์ในพระบุตร พระจิต เจ้าทรงนำเราไปสู่ความจริง(20) ความเงียบแห่งไม้กางเขนก็ตรัสกับเราด้วย(21) 1.2 มนุษย์ตอบสนองพระดำรัส มนุษ ย์ ได้รับเรียกให้มารับพันธสัญญากับพระวาจา(22) พันธสัญญากับพระเจ้าไม่ใช่คู่สัญญา “เท่ากันทั้งสองฝ่าย” แต่เป็นพันธสัญญา “แห่งความรัก” เราตอบสนองความรักนี้อย่างอิสระ พระเจ้าทรงฟังและตอบคำถามของมนุษย์ - เราจึงต้องเปิดใจฟัง และสนทนากับ พระองค์(23-24) “ความเชื่อ” คือการฟังพระวาจาด้วยความนอบน้อม(25) “บาป” คือการไม่ยอมฟังพระวาจาของพระเจ้า(26) พระมารดามารีย์เป็นแบบอย่างการฟังพระวาจา และทรงเป็น “มารดาแห่งความเชื่อ”(27) มารียวิทยาและเทววิทยาเรื่องพระวาจาจึงสัมพันธ์กัน - บท Magnificat สะท้อนท่าทีของพระนางมารีย์ต่อพระวาจา(28)
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
65
1.3 การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ ในพระศาสนจักร พระศาสนจักรคือภูมิหลังดั้งเดิมของการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ - เราจึงต้อง คำนึงถึงความเชื่อของบรรดาปิตาจารย์ และของพระศาสนจักรส่วนรวม การฟัง วาจาของพระเจ้าทำให้เรามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในพระศาสนจักร และกับทุก คนที่ดำเนินชีวิตในความเชื่อ(29-30) การศึกษาพระคัมภีร์ต้องเป็นเสมือนวิญญาณของเทววิทยา จำเป็นต้องมองสภาพ ปัจจุบันของการศึกษาพระคัมภีร์ และความสำคัญของการศึกษานี้ ในการศึกษา เทววิทยาอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่างานอภิบาลของพระศาสนจักรและชีวิตจิตของบรรดาผู้มีความเชื่อจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่อย่างมากว่าการอธิบาย ความหมายพระคัมภีร์มีความสัมพันธ์กับเทววิทยาอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด (31) พระศาสนจักรยินดีรับการศึกษาค้นคว้าพระคัมภีร์ในการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ - พระสมณสาสน์ Providentissimus Deus (1893); Divino afflante Spiritu (1943) สอนว่าพระคัมภีร์ ไม่ขัดกับความรู้ด้านวิชาการ(32-33) เราต้องยึดถือหลักการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ของสภาสังคายนา 1. Analogia fidei (เอกภาพของความเชื่อ) ความเข้าใจพระคัมภีร์ต้องไม่ ขัดกับข้อความเชื่อ(34) 2. ต้องไม่แยกการศึกษาเป็น 2 ระดับ - ระดับวิเคราะห์เทววิทยา และระดับวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ (ทางโลก) แต่ต้องควบคู่กันไป(35) 3. ต้องใช้ความเชื่อและเหตุผลเข้าสัมผัสกับพระคัมภีร์ (เทียบพระสมณสาสน์ Fides et ratio) ของพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 2, 1988) (36) 4. ต้องให้ความสำคัญแก่วิธีอธิบายของบรรดาปิตาจารย์ด้วย (ความหมายต่างๆ ของพระคัมภีร์ : ได้แก่ความหมายตามตัวอักษร ความหมายทางจิตใจ - ความหมายเกี่ยวกับความประพฤติ(37) 5. จำเป็นต้องข้ามพ้น “ตัวอักษร”(38) 6. ต้องคำนึงถึงเอกภาพของพระคัมภีร์ - แม้ใช้เวลามากกว่า 1,000 ปีขึ้น
66 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
(39) 7. ความสัมพันธ์ระหว่าง พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ - “ พันธสัญญาใหม่ซ่อนอยู่ในพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาเดิมปรากฏชัดในพันธสัญญาใหม่ ”(40-41) ต้องจำไว้ว่าข้อความบางตอนในพระคัมภีร์ยังคลุมเครือ เข้าใจได้ยาก ไม่ชัดเจน เพราะการเปิดเผยมีขั้นตอน - พันธสัญญาเดิมสมบูรณ์ขึ้นในพันธสัญญาใหม่(42) คริสตชน - ชาวยิว - พระคัมภีร์ - ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน(43) การอธิบายพระคัมภีร์ตรงตามตัวอักษรแบบมูลฐานนิยม (Fundamentalism) มีอันตราย - ต้องคำนึงถึงหลักการอธิบายพระคัมภีร์สมัยใหม่ด้วย(44) ผู้อภิบาล - นักเทววิทยาและผู้อธิบายความหมายพระคัมภีร์ต้องเสวนากัน(45) พระคัมภีร์และงานคริสตศาสนิกสัมพันธ์ - ต้องพยายามขจัดอคติต่อกัน(46) การแปลพระคัมภีร์ร่วมกัน(46) การศึกษาเทววิทยา ต้องมีฐานจากพระคัมภีร์ และช่วยส่งเสริมชีวิตจิต (47) ชีวิตของผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นการอธิบายพระคัมภีร์อย่างดี เช่น นักบุญเทเรซาแห่งพระมารเยซู (ความรัก) - นักบุญอันตนแห่งอียิปต์,น.ฟรังซิสแห่งอัสซีซี (ความยากจน) ฯลฯ (48) พระวาจามีความสัมพันธ์กับความศักดิ์สิทธิ์ ในพระศาสนจักร - ขอให้เราเป็นเช่น ดินดีที่จะทำให้พระวาจาบังเกิดผลเต็มที่(49)
พันธสัญญากับพระเจ้าไม่ใช่คู่สัญญา “เท่ากันทั้งสองฝ่าย“แต่เป็นพันธสัญญา “แห่งความรัก“
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
67
2. ภาคที่สอง - พระวาจาในพระศาสนจักร 2.1 พระวาจาของพระเจ้าและพระศาสนจักร พระวาจา (พระวจนาตถ์) ประทับในพระศาสนจักรเหมือน “Shekinah” (การประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในกระโจมที่ประทับ) ในพันธสัญญาเดิม(50) พระคริสตเจ้าประทับอยู่ตลอดเวลาในชีวิตของพระศาสนจักร(51) 2.2 พิธีกรรม เปนกรอบเฉพาะของพระวาจา พิธีกรรมเป็นโอกาสที่จะทำให้พระวาจามีความหมาย(52) พระคัมภีร์และศีลศักดิ์สิทธิ์ จารีตพิธีแสดงความหมายของพระวาจา(53) พระวาจาในพิธีบูชาขอบพระคุณ พระเยซูเจ้า – องค์พระวจนาตถ์ (หรือพระวาจา) คือปังจากสวรรค์ เป็นอาหาร “เพื่อให้โลกมีชีวิต”(54-55) พระคัมภีร์และหนังสือบทอ่าน บทอ่านที่จัดใหม่หลังสภาสังคายนาช่วยให้เราเข้าถึง พระคัมภีร์ทั้งหมดในช่วงเวลา 3 ปี(57) การประกาศพระวาจาและศาสนบริการของผู้อ่าน - จำเป็นต้องจัดเตรียมบทอ่านและผู้อ่านอย่างดี(58) การเทศน์อธิบายพระคัมภีร์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ผู้เทศน์ต้องเป็นคนแรกที่ฟัง พระวาจา(59) ควรมีคู่มือแนะนำบทเทศน์(60) ศีลอภัยบาป และศีลเจิมคนไข้ ควรมีการอ่านพระคัมภีร์เตรียมจิตใจ(61) การสวดทำวัตร - เราสนทนากับพระเจ้า - ฟังและพูดกับพระองค์(62) พระวาจาในหนังสือบทอวยพรสิ่งต่างๆ การเสกหรืออวยพรควรจะเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์แท้จริงที่รับความหมาย และประสิทธิภาพมาจากการประกาศพระวาจา(63) ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อปลุกการมีส่วนร่วมมากขึ้นในพิธีกรรม(64) ก.การเฉลิมฉลองพระวาจา โดยเฉพาะเพื่อเตรียมเทศกาลสำคัญทางพิธีกรรม หรือในชุมชนที่ไม่อาจมีพิธีบูชาขอบพระคุณได้ในวันฉลองบังคับ(65) ข.พระวาจาและความเงียบ - ในพิธีกรรมต้องมีเวลาเงียบเพื่อไตร่ตรอง
68 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
พระวาจาด้วย(66) ค.การประกาศพระวาจาอย่างสง่า โดยเฉพาะการแห่พระวรสารมายังบรรณ ฐาน(67) ง.บรรณฐานคือตำแหน่งมีเกียรติสำหรับพระวาจาภายในวัด ควบคู่กับพระ แท่นบูชา(68) จ.ในพิธีกรรมต้องใช้ตัวบทพระคัมภีร์เท่านั้น(69) ฉ.บทเพลงต้องได้แรงบันดาลใจจากพระคัมภีร์(70) ช.ต้องเอาใจใส่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาและการฟังมีโอกาสสัมผัสกับพระวาจาด้วย(71) 2.3 พระวาจาของพระเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักร การพบกับพระวาจาในพระคัมภีร์ โดยอ่านบ่อย ๆ ทุกวันช่วยส่งเสริมชีวิตคริสตชน (72) พระคัมภีร์ต้องเป็นพลังบันดาลใจในงานอภิบาล(73) พระคัมภีร์ต้องเป็นพลังบันดาลใจและเนื้อหาในการสอนคำสอน(74) ต้องอบรมคริสตชนให้มีความรู้และความสนใจพระคัมภีร์มากยิ่งขึ้น(75) พระคัมภีร์ต้องมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมสำคัญของพระศาสนจักรในทุกระดับ (76) พระคัมภีร์และกระแสเรียก(77) ในพระคัมภีร์เราพบว่าพระเจ้าทรงเปิดเผยกระแสเรียกของเราทุกคนให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ก. ศาสนบริกรที่ ได้รับศีลบวช : พระสังฆราช - พระสงฆ์ - สังฆานุกร ต้องตั้งใจแน่วแน่และรื้อฟื้นความตั้งใจที่จะทำตนให้ศักดิ์สิทธิ์ โดยเสาหลัก ประการหนึ่ ง ของความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ คื อ การสั ม ผั ส กั บ พระวาจาของพระ เจ้า(78) 1) พระสังฆราช - ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเสมอแก่การอ่านและรำพึงพระวาจาของพระเจ้า และเอาใจใส่ศกึ ษาพระ-
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
69
คัมภีร์เป็นการส่วนตัวอยู่เสมอ(79) 2) พระสงฆ์ - ต้องพยายามให้มีความคุ้นเคยและความรู้พระวาจาของพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นทุกวัน ต้องเข้าหาพระวาจาของพระเจ้าด้วยจิตใจที่ว่านอนสอนง่ายและรู้จักภาวนา เพื่อพระวาจาจะได้ซึมซาบเข้าถึงความคิดและความรู้สึก ของพระสงฆ์อย่างลึกซึ้ง และทำให้เขามีมุมมองใหม่ ที่เป็น ‘ความคิดขององค์พระผู้เป็นเจ้า’ (1 คร. 2:16) (80) 3) สังฆานุกร - ต้องหล่อเลี้ยงชีวิตของตนด้วยการอ่านพระคัมภีร์ด้วยความเชื่อควบคู่กับการศึกษาและการภาวนา(81) ข. ผู้สมัครรับศีลบวช - ต้องศึกษาพระคัมภีร์ด้านวิชาการและทำให้พระ คัมภีร์มีบทบาทในชีวิตการภาวนา(82) ค. ผู้ถวายตน - ชีวิตของผู้ถวายตนเกิดขึ้นจากพระวาจาและรับพระวรสาร เป็นกฎเกณฑ์ของชีวิต ให้มีการฝกอบรมอย่างมีหลักการเรื่องการอ่านพระคัมภีร์ด้วยความเชื่อในทุกชุมชนของผู้ดำเนินชีวิตถวายตนแด่พระ เจ้า(83) ง. พระวาจาช่วยให้ฆราวาสเติบโตขึ้นในการดำเนินชีวิตคริสตชน(84) จ. พระวาจาต้องช่วยให้เราเข้าใจความหมายของการแต่งงานและครอบครัว สมัชชาปรารถนาให้ทุกบ้านมีพระคัมภีร์(85) ฉ. การอ่านและภาวนาโดยใช้พระคัมภีร์ หรือ LECTIO DIVINA ช่วยให้เรา สัมผัสกับพระวาจาและใกล้ชิดกับพระเจ้ามากยิ่งขึ้น(86-87) ควรส่งเสริมการสวดภาวนาต่อพระแม่มารีย์ในหมู่ผู้มีความเชื่อ โดยเฉพาะในชีวิต ครอบครัว เป็นการช่วยให้รำพึงถึงพระธรรมล้ำลึกที่มีกล่าวไว้ใรพระคัมภีร์(88) แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เป็นแผ่นดินที่พระธรรมล้ำลึกการไถ่กู้ชาวเราได้สำเร็จไป และ เป็นจุดเริ่มให้พระวาจาของพระเจ้าแผ่ไปจนสุดปลายแผ่นดิน(89)
70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
3. ภาคที่สาม – พระวาจาสำหรับโลก 3.1 พันธกิจของพระศาสนจักรคือการประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้โลกรู้ พระวาจามาจากพระบิดา - มุ่งไปหาพระบิดา - จะต้องบังเกิดผลตามพระประสงค์ (90) พระวาจา (LOGOS) เป็นความหวังของโลก เราแต่ละคนจึงมีหน้าที่ประกาศพระวาจานี้(91) การแพร่ธรมของพระศาสนจักรมาจากพระวาจาของพระเจ้า - การแพร่ธรรม = การประกาศพระวาจา(92) การประกาศพระวาจาเป็นกิจการที่งดงามและต้องรีบทำ เพื่อให้พระอาณาจักรของ พระเจ้าที่พระคริสตเจ้าทรงประกาศไว้ ได้มาถึง(93) ผู้รับศีลล้างบาปทุกคน มีหน้าที่ประกาศพระวาจา(94) ก. พระสังฆราชและพระสงฆ์ - ต้องดำเนินชีวิตเพื่อรับใช้พระวาจาเพื่อประ กาศพระวรสาร ประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ และอบรมสั่งสอนสัตบุรุษให้มีความรู้แท้จริงเกี่ยวกับพระคัมภีร์ ข. สังฆานุกร - ต้องร่วมมือในหน้าที่ประกาศข่าวดีนี้ด้วย ค. ผู้ถวายตนแด่พระเจ้า - ต้องประกาศพระวาจาและเทศน์สอนพระวาจานี้ อย่างดี ในพันธกิจที่ยากลำบากแก่นานาชาติ ง. ฆราวาส - ต้องเป็นพยานถึงพระวรสารในชีวิตประจำวัน จ. ขบวนการของพระศาสนจักรและกลุ่มชนใหม่ต่างๆในพระศาสนจักรเป็น พลังสำคัญในการประกาศข่าวดี และปลุกให้เกิดมีรูปแบบใหม่ๆ ของการประกาศพระวรสาร จำเป็นจะต้องปฏิบัติงานธรรมทูตแก่นานาชาติในสมัยของเราด้วย - พระวาจาของ พระเจ้าคือความจริงที่ช่วยให้รอดพ้น ที่มนุษย์แต่ละคนในทุกสมัยต้องการ ดังนั้น จึงต้องประกาศพระวาจาอย่างเปิดเผย(95) ประชากรของพระเจ้าจำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆ ในงานธรรมทูตสมัยใหม่ เมื่อเริ่ม สหัสวรรษที่สามนี้ยังมีประชากรมากมายที่ยังไม่รู้จักข่าวดี และยังมีคริสตชนจำ-
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
71
นวนมากที่ต้องการให้มีการประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ตนอีกอย่างมีประสิทธิภาพ(96) พระวาจาของพระเจ้าต้องมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตเป็นพยานของคริสตชนด้วย - ความน่าเชื่อถือของการประกาศพระวาจาขึ้นอยู่กับการเป็นพยานเช่นนี้ (97) การประกาศพระวาจาของพระเจ้าที่เรียกร้องให้มีการดำเนินชีวิตเป็นพยาน ด้วยนั้นมีอยู่ตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว(98) 3.2 พระวาจาของพระเจ้าและการมีบทบาทในโลก พระวาจาของพระเจ้าย้ำถึงหน้าที่ของเราในโลก และความรับผิดชอบที่เราจำเป็น ต้องมี - สิ่งที่เราทำหรือไม่ทำต่อ “พี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุด” ของพระองค์ (มธ. 25:3536) เป็นการทำหรือไม่ทำต่อพระองค์ด้วย(99) พระวาจาของพระเจ้าผลักดันมนุษ ย์ ให้สร้างความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความดีและ ยุติธรรม ที่จะทำให้โลกนี้มีความยุติธรรมและน่าอยู่ยิ่งขึ้น การปฏิบัติงานด้านสังคมและการเมืองโดยตรงเป็นบทบาทเฉพาะของบรรดาฆราวาสผู้มีความเชื่อที่ ได้ รับการอบรมสั่งสอนจากพระวรสาร(100) พระวาจาของพระเจ้าที่ได้รับการเผยแผ่ จึงต้องยืนยันและเคารพสิทธิและ ศักดิ์ศรีของมนุษย์แต่ละคนอย่างมั่นคงอยู่เสมอ (101) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะค้นพบพระวาจาของพระเจ้าในฐานะบ่อเกิดของการคืนดีและ สันติ เพราะในพระวาจานี้เองพระเจ้าทรงทำให้ทุกสิ่งคืนดีกับพระองค์(102) ต้องเปลี่ยนพระวาจาที่ได้ฟังให้เป็นกิจการแสดงความรัก เพราะด้วยวิธีนี้เท่านั้น การประกาศพระวรสารจึงน่าเชื่อถือ - ความรักเป็นความสมบูรณ์และจุดหมายของ ธรรมบัญญัติและของพระคัมภีร์(103) ต้องช่วยเยาวชนให้มีความมั่นใจและความคุ้นเคยกับพระคัมภีร์ เพื่อให้พระคัมภีร์ เป็นประดุจเข็มทิศชี้ทิศทางชีวิตให้ดำเนินตาม และนำเขาให้รักพระวรสารและถ่ายทอดต่อไป โดยเฉพาะกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน พระวาจาของพระเจ้ายังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระแสเรียกของแต่ละคนด้วย(104)
72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
บรรดาผู้ย้ายถิ่นฐานมีสิทธิที่จะรับฟังการประกาศข่าวดี (kerygma) ที่เสนอให้เขา ไม่ใช่เขาถูกบังคับให้รับฟัง ถ้าเป็นคริสตชน เขาย่อมต้องการความช่วยเหลือด้าน การอภิบาลที่เหมาะสมเพื่อความเชื่อจะได้มั่นคงขึ้น(105) จำเป็นที่จะต้องประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ผู้ที่กำลังทนทุกข์ทั้งทางร่างกาย ทางจิต หรือทางจิตวิญญาณ(106) พระคัมภีร์แสดงให้เห็นความรักเป็นพิเศษของพระเจ้าต่อคนยากจนและขัดสน จำเป็นต้องนำการประกาศพระวรสาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อภิบาลและชุมชนต่างๆ ไ ปให้พี่น้องเหล่านี้ของเรา(107) พวกเราที่มีความเชื่อและเป็นผู้ประกาศข่าวดีย่อมมีความรับผิดชอบต่อสิ่งสร้าง ด้วย(108) 3.3 พระวาจาของพระเจ้าและวัฒนธรรม ตลอดเวลาหลายศตวรรษ พระวาจาของพระเจ้าได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมหลากหลาย ได้สร้างคุณค่าพื้นฐานทางศีลธรรม งานยิ่งใหญ่ทางศิลปะ และวิถีชีวิตที่ดีเลิศ (109) จะต้องส่งเสริมความรู้เรื่องพระคัมภีร์ในหมู่ผู้ที่มีบทบาทในด้านวัฒนธรรม รวมทั้ง ในกลุ่มผู้ที่สนใจแต่เพียงพฤติกรรมทางโลก และในหมู่ผู้ ไม่มีความเชื่อด้วย(110) ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย บรรดาผู้อภิบาลต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อส่งเสริม ความรู้พระคัมภีร์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจว่าพระคัมภีร์มีความหมายในด้าน วัฒนธรรมแม้ในปัจจุบันนี้ และครูผู้สอนเรื่องนี้ต้องได้รับการเตรียมตัวอย่างดีด้วย (111) ความสัมพันธ์ของพระวาจาของพระเจ้ากับวัฒนธรรมก่อให้เกิดผลงานมากมายใน วงการทางศิลปะ(112) จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ ใช้อุปกรณ์สื่อสารมวลชนทั้งเก่าและใหม่อย่างถูกต้อง และชาญฉลาดด้วย เพื่อประกาศพระวาจา(113) พระวาจาของพระเจ้ามีพลังภายในที่จะเข้าถึงมนุษย์ทุกคนในบริบททางวัฒนธรรม
สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini
73
ที่เขาดำเนินชีวิตอยู่ (114) ขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการนำพระวาจาของพระเจ้าเข้าสู่วัฒนธรรม ก็คือ การแปลและการเผยแผ่พระคัมภีร์(115) พระวาจาของพระเจ้าอยู่เหนือขอบเขตของวัฒนธรรม(116) 3.4 พระวาจาและการเสวนาระหว่างศาสนาต่าง ๆ พระศาสนจักรยอมรับว่าองค์ประกอบสำคัญยิ่งของการประกาศพระวาจาก็คือการ เสวนากับมนุษย์ผู้มีน้ำใจดีทุกคน(117) ในธรรมประเพณีของชาวยิว-คริสตชน เราพบหลักฐานยืนยันถึงความรักของพระเจ้าต่อชนทุกชาติแล้วในพันธสัญญากับโนอาห์(117) กับชาวมุสลิม - สมัชชาขอร้องให้สภาพระสังฆราชต่างๆ - ถ้าทำได้และเห็นว่าจะ เป็นประโยชน์ - ได้สนับสนุนให้คริสตชนและชาวมุสลิมได้พบปะประชุมกันเพื่อจะ ได้รู้จักกันดีขึ้น และส่งเสริมคุณค่าที่สังคมต้องการเพื่ออยู่ร่วมกันโดยสันติและมิตรภาพ (118) กับศาสนาต่างๆ - พระศาสนจักรให้ความเคารพต่อศาสนาและธรรมประเพณีทาง จิตวิญญาณเก่าแก่ในทวีปต่าง ๆ ซึ่งยังคงรักษาคุณค่าที่อาจช่วยส่งเสริมความเข้า ใจกันระหว่างผู้คนและชนชาติต่างๆ ไว้(119) การเสวนาจะเกิดผลไม่ได้ถ้าไม่มีความเคารพแท้จริงต่อแต่ละบุคคล และเปิดโอกาสให้เขาได้ปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างอิสระเสรี(120)
“จงออกไปทั�วโลกประกาศข่าวดีให้กับมนุษยทั้งปวง”
74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
* บทสรุป รากฐานของชีวิตจิตที่แท้จริงและเข้มแข็งก็คือพระวาจาของพระเจ้าที่ ได้ประกาศ รับฟัง เฉลิมฉลอง และไตร่ตรองในพระศาสนจักร(121) พระวาจาของพระเจ้าจะทรงพลังมากขึ้น ถ้าเราจะสำนึกมากยิ่งขึ้นว่าเราอยู่ต่อหน้ าพระวาจาสุดท้าย ที่ยังคงตรัสแก่พวกเราแต่ละคนว่า “จงออกไปทั่วโลกประกาศ ข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก. 16:15) (121) ยุคสมัยของเราจึงเป็นสมัยที่ต้องฟังวาจาของพระเจ้า และประกาศข่าวดี ในแบบ ใหม่ยิ่งๆ ขึ้น(122) การประกาศพระวาจาก่อให้เกิดความสนิทสัมพันธ์และนำความยินดีมาให้ เป็น ความยินดีที่ลึกซึ้งในส่วนลึกของชีวิตพระตรีเอกภาพ(123) ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างพระวาจาของพระเจ้ากับความยินดีปรากฏอย่างชัดเจนในพระมารดาของพระเจ้า - พระนางมารีย์เป็นสุขเพราะมีความเชื่อ และเพราะความเชื่อนี้พระนางก็ได้รับพระวาจา (พระวจนาตถ์) ของพระเจ้าไว้ในพระครรภ์ เพื่อมอบต่อไปให้แก่โลก(124) พระเยซูเจ้าทรงชี้ ให้ทุกคนเห็นความยิ่งใหญ่ของพระแม่มารีย์ และดังนี้ทรงเปิด โอกาสให้เราแต่ละคนเข้าถึงความสุขที่เกิดจากพระวาจาที่เรารับและปฏิบัติตามได้ (124) ความสนิทสนมของเรากับพระเจ้าทั้งส่วนตัวและส่วนรวมขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยที่ เรามีกับพระวาจา - แต่ละวันของเราจึงต้องถูกจัดระเบียบจากการพบเป็นประจำ กับพระคริสตเจ้า พระวาจา (พระวจนาตถ์) ของพระบิดาเจ้า(124)
การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
75
หมวดการศึกษา
การพัฒนาจริยธรรม ของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
·Ô¾Í¹§¤ ÃѪ¹ÕÅÑ´´Ò¨Ôµ
การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมดูเหมือนว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ในสังคมปัจจุบันมากกว่าการพัฒนาด้านอื่นๆ ในทุกประเทศทั่วโลกแม้ในขณะที่บาง ประเทศประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ บางประเทศประสบภัยธรรมชาติ บางประเทศเผชิญ กับความยากจน ขาดแคลนและปัญหาหนี้สินแต่สิ่งที่ทุกประเทศเห็นความสำคัญและเห็น พ้องตรงกันก็ยังคงเป็นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมในสังคมมนุษย์ ประเทศต่างๆทั่ว โลกจึงจัดให้มีหน่วยงาน หรือ องค์กรทั้งภาคเอกชน และรัฐบาลเพื่อรับผิดชอบหน้าที่นี้ นอกนั้นกลุ่มทรัพยากรมนุษย์ที่ทุกองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ เห็นว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วนที่สุด ก็คือ เด็กและเยาวชน ดังนั้นจึงทำให้สถาบันการศึกษาเป็น หน่วยงานที่จำเป็นต้องรับผิดชอบหน้าที่อันสำคัญนี้และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนต้อง แสวงหากลยุทธ์และวิธีการเพื่อให้การพัฒนานี้เกิดผลยืนนานในสังคม
นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์และนักวิจัย ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม
76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ความสำคัญในเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนจากการที่มีองค์กรระดับโลกพยายามจัดทำรูปแบบ การประเมินและสรุปประเด็นคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ไว้ดังนี้ คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญๆ ที่ประเทศส่วนใหญ่ต้องการให้ประชากรของตนมี ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อเป็นฐานที่จะอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างสันติ ร่วมกันพัฒนาความเจริญและความมัน่ คงของประเทศชาติได้ ได้แก่ ความ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีวินัย เคร่งในระเบียบ ความรับผิดชอบ รู้หน้าที่และประหยัด อย่าง ไรก็ตามคุณลักษณะเด่นของคนเอเชีย คือความกตัญญู ความรักชาติ ความอ่อนน้อม ขณะ ที่คุณลักษณะเด่นของคนในยุโรป อเมริกาเหนือและ แปซิฟิคใต้ มีจุดเด่นเรื่องการยอมรับ ในความแตกต่างและความหลากหลาย รายละเอียดดังแสดงในตารางดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงคุณลักษณะเด่นร่วม/เฉพาะด้านคุณธรรมจริยธรรมของคนในประเทศต่างๆ คน/ประเทศ
คุณลักษณะ ความขยัน อดทน รักการศึกษา ขยันหาความรู้ กตัญญู ความรักชาติ อ่อนน้อม ประหยัด ซื่อตรง ซื่อสัตย์ มีวินัย เคร่งในระเบียบ รู้จักหน้าที่ รับผิดชอบในงาน จิตสำนึกเรื่องเวลาสูง/ตรงเวลา ตื่นตัวทางการเมือง กล้าให้ กล้าบริจาค เชื่อในโชคชะตา มุ่งทำกรรมดี ละอายต่อการกระทำผิด ยอมรับความแตกต่าง/ ความหลากหลาย เคารพคุณค่าความเป็นคน/ให้เกียรติเพื่อนมนุษย์
รักการผจญภัย ใส่ใจในรายละเอียด ทำงานเป็นทีม
เอเชีย เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม อินเดีย เกาหลี เวียดนาม ศรีลังกา ญี่ปุ่น เกาหลีและเวียดนาม ญี่ปุ่น ไต้หวันและศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวันและอินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวันและศรีลังกา ญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีและอินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไต้หวัน อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ยุโรป-อเมริกาเหนือ-แปซิฟิก เยอรมัน แคนาดา นิวซีแลนด์ แคนาดา นิวซีแลนด์ เยอรมัน แคนาดา เยอรมัน สวิส อังกฤษ สวิส เยอรมัน นิวซีแลนด์ สวิส เยอรมัน ฟินแลนด์ แคนาดา อังกฤษ สวิส เยอรมัน สวิส เยอรมัน ฟินแลนด์ แคนาดา อังกฤษ
แคนาดา นิวซีแลนด์ แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษ สวิส
การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
77
ดังได้กล่าวข้างต้นแล้ว สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันทางสังคมทีส่ ำคัญในการหล่อหลอม คุณธรรมจริยธรรม หลายประเทศได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการหล่อหลอมเด็กตั้งแต่ปฐมวัยในระดับอนุบาล เนื่องจากเห็นว่าเป็นการวางรากฐานที่สำคัญ และดำเนินการมาอย่าง ต่อเนื่องในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมโดยสถานศึกษาในหลาย ประเทศที่ได้ผลดี ไม่ได้เน้นเพียงการจัดเป็นรายวิชา แต่สอนผ่านกระบวนการกิจกรรมที่ เชือ่ มโยงชีวติ จริงกับสิง่ รอบข้างและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนในหลายวิชามีเป้าหมาย หมายสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วย โดยเฉพาะในวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น Civic Education ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา ลูกเสือ กีฬา ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ 1.คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในประเทศแถบยุโรป อเมริกาเหนือและ แปซิฟิคใต้ใกล้เคียงกัน ปัญหาการเลือกสถานศึกษามีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเข้าเรียนใน สถานศึกษาที่อยู่ไม่ไกลจากบ้าน มีครูเพียงพอที่จะดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด อาชีพครูเป็น อาชีพที่มีเกียรติ ได้รับเงินเดือนสูง ขณะที่ประเทศไทยยังมีปัญหาขาดแคลนครู รวมถึงปัจจัยต่างๆ ทำให้คุณภาพของสถานศึกษามีความแตกต่างกันมาก และส่วนใหญ่ยังไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ 2.ระบบการศึกษาของหลายประเทศ สร้างลักษณะนิสยั การกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้า ถาม จนทำให้เด็กมีความสามรถในการคิดวิเคราะห์มานาน จนเป็นจุดแข็งของระบบการศึกษาที่ช่วยเสริมสร้างการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมได้วิธีหนึ่ง เช่น การใช้วิชาปรัชญาในการเรียนการสอนให้เด็กได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ในเรื่องคุณธรรมความดีที่นำไปสู่การประพฤติปฏิบัติ ขณะที่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวยังเป็นจุดอ่อนของ เยาวชนไทย จึงควรเร่งปรับประบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น จนมีระบบคิดว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ และแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม 3.การเรียนการสอนของหลายประเทศได้สืบทอดอุดมการณ์ แนวคิด แนวปฏิบัติของ ผู้นำหรือบุคคลที่เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธากันอย่างจริงจังและต่อเนื่องจนเห็นผลดีที่เกิดขึ้น เช่น มีคำสอนของประธานาธิบดีโฮจิมินห์ 5 ข้อของประเทศเวียดนาม การพัฒนาชนบทแนว ใหม่ตามโครงการแซมาอึลวุนดงของประธานาธิบดีปาร์คจองฮีแห่งประเทศเกาหลี การสร้าง
78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
คุณธรรมตามแนวของภิกษุซิงหวิน รัฐได้สร้างระบบการถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลังอย่าง ต่อเนื่องจนทำให้ประชากรของประเทศประพฤติปฏิบัติซึ่งแสดงถึงความเป็นพลเมืองที่ดีเป็น ปกติอยู่ในวิถีชีวิตหรือเป็นวัฒนธรรมของชาติ (แหล่งข้อมูลมีหรือไม่) 4.การจัดการเรียนการสอนเพือ่ ส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความสมานฉันท์ ของประเทศต่างๆ นอกจากการสอนวิชาเฉพาะในเรื่องศาสนา ความเป็นพลเมืองดีแล้ว พบ ว่าการสอนในวิชาอื่นๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ กีฬา ดนตรี ศิลปะ หรืออื่นๆ ล้วนผูกโยงให้เกิดความรักชาติ ความสามัคคี มีคุณธรรม การยอมรับความแตก ต่างหลากหลายมิใช่เพียงเรียนประวัติศาสตร์เพื่อให้ความเป็นมาของชาติเรียนรู้ภูมิศาสตร์ เพื่อให้รู้จักพื้นที่ภูมิประเทศ เล่นกีฬาเพื่อออกกำลังและปลูกฝังกันตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กโดย ตอกย้ำอย่างต่อเนื่องในระยะต่อมา เมื่อวิเคราะห์ประเทศไทย พบว่ามีบุคคลที่เป็นผู้นำหรือศูนย์รวมแห่งศรัทธามากมาย ไม่แพ้ประเทศใด เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ด้านศาสนามีพระพุทธทาสภิกขุ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ฯลฯ ซึ่งได้รับการยกย่อง จากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก แต่การสืบทอดเจตนารมณ์ดังกล่าวยังไม่ เป็นระบบเหมือนหลายประเทศที่กำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ อย่างไรก็ดี จากการสังเคราะห์งานวิจัยของศูนย์คุณธรรมฯ เรื่องสถานภาพการจัดฝึก อบรมและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของคนไทย (2548:หน้า 45-61) พบว่า หลักสูตรการจัดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ มีความโดดเด่นต่างกัน เช่น ในเรือ่ งรูปแบบ เทคนิค วิธกี ารหรือกิจกรรม เนือ้ หาที่ใช้ในการฝึกอบรม ศักยภาพในด้านของ ปัจจัยเอือ้ ต่อความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ ไขทีเ่ กิดขึน้ ในการจัดฝึกอบรม จาก นั้นได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงาน / องค์กรที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) ในการจัดฝึกอบรมและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 20 แห่ง สามารถ จำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้ ผ่าน การปฏิบตั ธิ รรม และการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมผ่านกระบวนการทักษะชีวติ เมือ่ พิจารณา วัตถุประสงค์จะคล้ายคลึงกันคือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพิม่ พูนความรูค้ วามเข้าใจในหลัก ศาสนา ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมากเป็นนักเรียน นับได้ว่าเป็นบุคคลเป้าหมายที่องค์กรภาค-
การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
79
รัฐและเอกชนประสงค์จะพัฒนา เทคนิควิธีการฝึกอบรมจะมีทั้งการบรรยายธรรม สื่อประกอบ เช่น วิดที ศั น์ การสนทนา อภิปรายแลกเปลีย่ นความคิดเห็นและการฝึกปฏิบตั ิ ส่วนมาก ใช้เวลา 3 วัน สถานที่ส่วนใหญ่เป็นสถานที่ทางศาสนา เช่น วัด โบสถ์ มัสยิด นอกจากนี้เป็น สถานที่ขององค์กรนั้นๆ หรือหน่วยราชการ ดังนี้ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาจึงอาจเหมาะสมกว่า และอาจทำได้ทง้ั วิธกี ารสอนคุณธรรมจริยธรรมโดยตรงและการสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการเรียนการสอนวิชาการ โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction) โดยที่การเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาของไทยมีรายวิชาที่เกี่ยวกับ หน้าทีพ่ ลเมืองและศีลธรรมอยูส่ ว่ นหนึง่ ซึง่ เป็นการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรมโดยตรง แต่จำนวนหน่วยกิตในวิชาดังกล่าวน้อยมาก นักวิชาการจึงสนับสนุนให้มีการเรียนการสอน คุณธรรมจริยธรรมโดยการสอนสอดแทรกหรือบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น วิธีการเรียนการสอน แบบบูรณาการเป็นวิธีการเรียนการสอนที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิชาการ ซึ่งวิธีการทำได้ตั้ง แต่การบูรณาการในระดับหลักสูตร การบูรณาการในระดับแผนการสอน การบูรณาการใน ระดับกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ใช้ในการบูรณาการยังไม่ พบว่ามีข้อจำกัดที่ไม่สามารถบูรณาการรายวิชาใดไม่ได้ (ศูนย์คุณธรรม, 2551:หน้า 2) ประเด็นเหล่านีจ้ งึ ทำให้หนั กลับไปพิจารณาถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ของประเทศไทยว่ามีเป้าหมายอย่างไร มีจุดประสงค์เพื่อให้จดจำและเข้าใจในเนื้อหาสาระ เท่านั้นหรือไม่ กรณีที่พบว่าไม่ใช่ทิศทางของการก่อให้เกิดคุณธรรมนำความรู้ ควรมีการปรับ เปลี่ยนให้ถูกต้องเหมาะสม ต่อการจัดการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรมของระบบการ ศึกษาไทยดังที่รศ.ดร.สุรศักดิ์ หลาบมาลาและคณะ (2549:หน้า 18) ได้สรุปไว้ดังนี้ 1. มุ่งผลิตคนเก่งมากกว่าคนดี 2. ไม่ได้มุ่งสอนการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม 3. การสอนเป็นลักษณะยัดเยียดความรู้ 4. การขาดการบูรณาการสอนคุณธรรมจริยธรรมในวิชาอื่นๆ 5. การขาดความร่วมมือจากภาคีอื่น 6. การสอนขาดความน่าสนใจ
80 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
7. เนื้อหาการสอนขาดความร่วมสมัย 8. ผู้สอนมีคุณสมบัติที่จำเป็นไม่เพียงพอสำหรับการสอนคุณธรรมจริยธรรม - ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการสอนมากพอ - ไม่มีเทคนิคหรือทักษะในการสอน - ขาดความเข้าใจในการประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรม - ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี 9. เครื่องมือหรือสื่อสารการสอนไม่มีความพร้อม 10.การจัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาไม่เอื้ออำนวย การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษานัน้ จะเกิดประสิทธิผลได้จำเป็นต้องกำหนด กรอบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสทธิภาพเป็นรูปธรรม เป็นไปในทิศทางเดียวกันและ สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษา บริบทสังคมไทยและบริบทโลก สรุปเป็น 6 องค์ประกอบดังนี้ กระแสโลกาภิวัตน์ ประสิทธิภาพการสอน
บริบทชุมชน
การพัฒนาจริยธรรมของ ผู้เรียนในสถานศึกษา กระบวนทัศน์การจัด การศึกษาสมัยใหม่
ตัวแบบการพัฒนาจริยธรรม การจัดการเรียนการสอน
ภาพประกอบที่ 1 กรอบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา
การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
81
จากสภาพการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาของประเทศไทยและต่างประเทศที่วิเคราะห์มาทั้งหมด สามารถสรุปเป็นแนวทางและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อการอยู่รอดของสังคมไทยได้ดังนี้ 1.กำหนดเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนที่เป็นมาตรฐานทั้งประเทศ โดยกระทรวงศึกษาธิการ แยกมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ละช่วงชั้นอย่างชัดเจนสอดคล้องตามพัฒนาการของช่วงวัย และต่อเนื่องสู่ช่วงชั้นที่สูงขึ้น (มิได้เป็นการกำหนดอย่างแยกส่วน/กระจายไปในแต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้) 2.กำหนดเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนในประเด็นที่ชุมชนต้องการหรือที่เป็นปัญหาคือ การที่ แต่ละสถานศึกษาต้องมีการสำรวจสถานะปัญหาคุณธรรมจริยธรรมในพืน้ ทีร่ ว่ มด้วย เพือ่ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจริยธรรมตามความต้องการของพื้นที่ 3.วิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการศึกษาสถานะและคุณสมบัตสิ ภาพแวดล้อมในภาพรวม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสอนจริยธรรมให้แก่นักเรียน แบ่งเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - ปัจจัยภายใน เป็นการศึกษาและประเมินสถานะและคุณสมบัตขิ องปัจจัยภายในสถาน ศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการสอนจริยธรรมว่ามีความพร้อมหรือปัญหาใดบ้าง แบ่งเป็น การวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของปัจจัยภายในสถานศึกษา - ปัจจัยภายนอก เป็นการศึกษาสถานะและคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมภายนอก สถานศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อการสอนจริยธรรมแบ่งเป็นการวิเคราะห์โอกาสและความ เสี่ยงของปัจจัยภายนอกสถานศึกษา 4.การจัดกิจกรรมเสริมที่หลากหลาย การสอนให้ห้องเรียนจะมีประสิทธิภาพควรควบคู่ ไปกับการจัดกิจกรรมเสริมอืน่ ร่วมด้วยโดยใช้ศกั ยภาพและทรัพยากรของสถานศึกษาและชุมชนอย่างคุ้มค่าโดยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามความถนัด เช่น กิจกรรมสาธารณะ หรือกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแต่มีการสอดแทรกร่วมด้วย เช่น ตัวแทนครู ผูป้ กครอง คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นทีป่ รึกษาชมรมหรือโครงการต่างๆ เพือ่ มีบทบาทในการสอดแทรกเนื้อหาและแนวคิดต่างๆเข้าในไปกิจกรรมต่างๆนั้นด้วย
82 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
5.การเชื่อมต่อการพัฒนาจริยธรรมจากปฐมวัยถึงอุดมศึกษา ซึ่งต้องพัฒนาทั้งสามช่วง วัยอย่างสอดคล้องกันให้ชัดเจนและมีคุณภาพ กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาโดยมี คะแนนคุณธรรมจริยธรรมร่วมด้วย ที่สำคัญ งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรการปลูกฝังปัญญาพัฒนาสันติ” ของ ปริญญา เห็นสุข. (2549) ดังผังมโนทัศน์ที่ผู้เขียนนำจะเสนอต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการสอ นเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรที่มีอยู่แล้วโดยใช้การเล่า นิ-ทานตามแนวคิดของ Vitz (1990:709-720) ที่เชื่อว่าวรรณกรรมเป็นหัวใจของการสอนค่า นิยมพืน้ ฐานและเป็นยุทธศาสตร์ทค่ี รูคณ ุ ธรรมในโลกชอบใช้ วิธสี อนมี 2 ลักษณะคือ การสอน ให้สัมผัสรู้อย่างตั้งใจและการสอนกฎแห่งผลที่ตามมา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอน
วิธีสอน 2 ลักษณะ
สอนกฎแห่งผลที่ตามมา
สอนให้สัมผัสรู้อย่างตั้งใจ
เป็นยุทธศาสตร์ครูคุณธรรมของโลกชอบใช้ สอนโดยการชักจูงใจมากกว่าการบังคับใจ เสริมมโนภาพและสัมผัสหัวใจของผู้รับฟัง สอนหลักการของค่านิยมพื้นฐานว่าใช้อย่างไร ทำไมจึงสำคัญ ไม่สอนเฉพาะหลักการแต่ส่งเสริมการบังคับใช้และทำเป็นตัวแบบ เหตุและผล ผลที่ตามมามีผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจ การปฏิบัติ และทัศนคติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ อุบัติเหตุเกิดจากความไม่รอบคอบ
วรรณกรรมเป็นหัวใจของการสอนค่านิยมพื้นฐาน Vitz (1990)
สอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว ให้ความรู้และโน้มนำเข้ากับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น
(Moral Behavior)
1.ความรู้ความเข้าใจจริยธรรม (Moral Knowing) 2.ความรู้สึกจริยธรรม (Moral Feeling) 3.พฤติกรรมจริยธรรม
ภาพประกอบที่ 2 ผังมโนทัศน์ของหลักสูตรปลูกฝังปัญญาพัฒนาสันติ
พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้หลายทาง ตรวจพิจารณาผลที่น่าจะตามมาของทางเลือกทุกทาง เต็มใจที่จะรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมาจากการตัดสินใจที่ทำลงไปแล้วในเรื่องใด
หลักสูตร “ปลูกฝังปัญญาพัฒนาสันติ”
ค่านิยมพื้นฐาน 3 ประการ
ค่านิยมพื้นฐาน 8 ประการ (C.S.Lewis,1943)
1.ความซื่สัตย์และความจริง 2.ความเมตตากรุณา 3.ความเห็นใจและเอื้ออาทรผู้อื่น 4.ความเห็นอกเห็นใจ 5.ความเชื่อฟัง 6.ความรับผิดชอบ 7.ความเคารพนับถือ 8.หน้าที่
การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
83
84 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
“หลักสูตรปลูกฝังปัญญาพัฒนาสันติ”ดังกล่าว มีองค์ประกอบดังนี้ 1. ค่านิยมพื้นฐาน 8 ประการ (C.S.Lewis, 1943) ได้แก่ - ความซื่อสัตย์และความจริง - ความเมตตากรุณา - ความเห็นใจและเอื้ออาทรผู้อื่น - ความเชื่อฟัง - ความรับผิดชอบ - ความเคารพนับถือ - หน้าที่ 2. ค่านิยมพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ - ความรู้ความเข้าใจจริยธรรม ( Moral Knowing) - ความรู้สึกจริยธรรม ( ภาษาอังกฤษ) - พฤติกรรมจริยธรรม 3.ขั้นตอนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 3.1 การพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้หลายทาง 3.2 ตรวจพิจารณาผลที่น่าจะตามมาของทางเลือกทุกทาง 3.3 เต็มใจที่จะรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมาจากการตัดสินใจที่ทำลงไปแล้วใน เรื่องใด 4.วิธีสอน 2 ลักษณะ คือ 4.1สอนให้สัมผัสรู้อย่างตั้งใจ โดยสอนหลักการของค่านิยมพื้นฐานว่าสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร เหตุใดค่านิยมพื้นฐานจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนในสังคม นอกจากนีก้ ารสอนไม่ควรสอนเฉพาะหลักการแต่สง่ เสริมการบังคับใช้และทำเป็นตัวแบบ จากครูก่อน คือเริ่มต้นจากห้องเรียนแล้วค่อยขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชมต่อไป
การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาเพื่อความอยูรอดของสังคมไทย
85
4.2 สอนกฎแห่งผลที่ตามมา การสอนเหตุและผลควรชีแ้ จงให้นกั เรียนเห็นถึงผลทีต่ ามมาว่ามีความเกีย่ วข้อง โดยตรงกับการตัดสินใจของบุคคล ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ เพราะแม้แต่อุบัติเหตุก็ เกิดจากความไม่รอบคอบเช่นกัน และเนื่องด้วย” หลักสูตรปลูกฝังปัญญาพัฒนาสันติ” มีความโดดเด่น เพราะเกิดขึ้น จากความเชื่อบนทฤษฎีของ Vitz ที่ว่า วรรณกรรมหรือนิทานเป็นหัวใจของการสอนค่านิยม พื้นฐานเปนยุทธศาสตรที่ครูคุณธรรมของโลกชอบใช้สอนโดยการชักจูงใจมากกว่าการบังคับใจ สามารถเสริมมโนภาพและสัมผัสหัวใจของผู้รับฟง รวมทั้งใช้สอดแทรกเข้าไปในหลัก สูตรที่มีอยู่แล้วให้ความรู้และโน้มนำเข้ากับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้ ที่สุด ผู้เขียนหวังว่า”หลักสูตรปลูกฝังปัญญาพัฒนาสันติ”ที่ ปริญญา เห็นสุข. (2549) นำแนวคิดการเล่านิทานของ Vitz มาใช้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถาบัน การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรครูในสถาบันการศึกษาทุกแห่งในประเทศไทยได้นำมาใช้ เพราะพื้นฐานของสังคมไทยที่ร่ำรวยด้วยวรรณกรรม และประเพณีการเล่านิทานเพือ่ สอนคุณธรรมก็สบื ทอดเป็นมรดกในสังคมไทยของเรานีม้ าช้า ไทยของเรานี้มาช้านานแล้ว การจุดประกายเรื่องนี้ซึ่งดูเหมือนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ทีเดียว แต่การนำมรดกของไทยที่เรามีอยู่แล้ว มาเจียระไนให้เกิดผลเปล่งประกายเป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนไทยในปัจจุบันอย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมและความเป็นไทย จึงอาจเกิดผลเป็นคุณค่าทางคุณธรรมจริยธรรมทีเ่ ป็นมรดกแก่เยาวชนไทย ทำให้คณ ุ ค่าทาง คุณธรรมจริยธรรมที่ขาดหายไปจากสังคมไทยได้กลับคืนมาก็เป็นไปได้
86 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ปริญญา เห็นสุข. (2549). การสื่อสารและขัดเกลาทางสังคมด้านคุณธรรมจริยธรรมของ นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน สาขาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). (2548). สถานภาพการ จัดฝกอบรมและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของคนไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม. . (2550). รายงานการสังเคราะหงานวิจยั คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝง คุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่างๆ. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม. . (2551). การวิจยั นำร่องการใช้ตวั บ่งชีค้ ณ ุ ธรรมจริยธรรมเพือ่ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม. สุรศักดิ์ หลาบมาลา และคณะ. (2549). รูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม. Vitz, P.C. (1990). The use of stories in moral development: new psychological reasons for an old education method. American Psychologist, 45,.
87
ศาสนาในทัศนะของขาพเจา
หมวดปรัชญา
ศาสนาในทัศนะของข้าพเจ้า
www.thaigoodview.com
ÃÈ.ÊÁ»ÃÐʧ¤ ¹‹ÇÁºØÞÅ×Í
ศาสนา คือ อะไร ความหมายของศาสนาในแต่และกลุ่ม ชน น่าจะมีความรู้สึกนึกคิดในศรัทธายึดมัน่ ทีแ่ ตกต่างกันไป ผทู้ นี่ บั ถือพุทธศาสนาใน ประเทศไทย ลาว พม่า เขมร ยึดคำว่าศาสนา คือ คำสั่งสอนของศาสดา ศาสนาพุทธ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ศาสนาคริสต์ คือ คำสอนของพระคริสต์ ศาสนาอิสลาม คือ คำสอนพระนบี โมฮัมหมัด เป็นต้น แต่ในชนอีกกลุ่มหนึ่ง ยึดถือว่า ศาสนา คือ
ความผูกพันและการปฏิบัติต่อพระเจ้า ซึ่ง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า religion ซึ่งมาจาก รากศัพท์ลาติน religare ผูกพันต่อ กับ religere การปฏิบัติต่อ และความศรัทธา ยึดมัน่ บางลักษณะก็ไม่ยดึ ถือว่าเป็น ศาสนา เช่น คำสอนของเหลาจื้อ คำสอนของขงจื้อ แต่เราเรียกว่าลัทธิ (ism) ซึ่งถ้าพิจารณา ตามความหมายแรก คำสอนเหล่านี้ก็น่าจะ นับเข้าเป็นศาสนาด้วย ปัญหาอยู่ว่าเรากำหนดเงือ่ นไขใดเป็นตัวชีว้ า่ เป็นศาสนาหรือไม่
อาจารย์พิเศษสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
88 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
อะไรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเป็นศาสนาที่แท้ องค์ประกอบของศาสนาเท่าที่ยึดถือ ปฏิบัติกันมามี ๕ ประการ คือ ศาสดา คำ- สอนที่นำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต ผู้นับถือ (อาจมีนกั บวชหรือไม่มกี ็ได้) พิธกี รรม และศาสนสถาน จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบ ที่ขาดไม่ได้ คือ ศาสดา คำสอนที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ผู้นับถือ ส่วนพิธีกรรม และศาสนสถาน ถ้าไม่มีก็ยังมีการสืบทอด ศาสนาได้ พิธีกรรมเป็นการแสดงออกทาง กายเพื่อแสดงความศรั ทธาต่อคำสอนและ เป็นสื่อกลางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย การนับ ถือศาสนาที่แท้อยู่ที่จิตที่ศรั ทธายึดมั่นต่อ คำสอนของศาสดา (รวมทั้งการตีความของ ปราชญ์ทางศาสนาเพื่อความกระจ่างทาง ความคิด) สมมุติว่าเรามีเพียงแค่สิ่งจำเป็น ต่อการยังชีพ ไม่ทำพิธีกรรม ไม่มีศาสนส- ถาน ไม่มีสิ่งใดแสดงให้เห็นว่าเป็นคนนับถือศาสนาใด ถ้าจิตยังยึดมัน่ ในศรัทธาความ เชื่อและคำสอนของศาสนาที่ตนยอมรับนับ ถือ ก็ยังเป็นศาสนิกชนของศาสนานั้นอยู่ ในกรณีปญ ั หา คำสอนทีเ่ ป็นเป้าหมาย สูงสุด คือ อะไร เรามักมองว่าเป้าหมายสูง สุด(ของสังคมหนึ่ง ในสภาพแวดล้อมหนึ่ง) คือ สิง่ ทีเ่ ชือ่ ว่ามีอยูแ่ ต่สมั ผัสไม่ได้ เช่น ปรมาตมัน นิพพาน สวรรค์ อาณาจักรพระเจ้า
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสได้ในขณะ ที่ยังมีชีวิตอยู่ และในข้อเท็จจริงเราไม่รู้ว่า ภาวะเหล่านั้นมีอยู่จริงหรือไม่เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้ว คำสอนของปรัชญาเมธีบางท่าน ที่ไม่ ได้ตอบคำถามปรัชญาทั่วไปว่า อะไรจริงแท้ มีวิธีรู้ ได้อย่างไร และให้คุณค่ากับชีวิตอย่าง ไร แต่มงุ่ ตอบคำถามว่าครอบครัวจะมีความสุขได้อย่างไร เพื่อนจะสร้างมิตรภาพอย่าง ไร ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองควรปฏิ- บัตติ อ่ กันอย่างไร ของขงจือ้ หรือ คำสอนที่ ชี้ทางว่าในการดำรงชีวิตปัจจุบันที่มีปัญหา น้อยทีส่ ดุ คือ การทำตัวให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่าฝืนธรรมชาติ ของเหลาจื้อ การ สอนชี้แนวทางเหล่านี้ มองได้ว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของการดำรงชีวติ ของสังคมหนึง่ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติแล้วได้รับผลทันทีในขณะที่ มีชีวิตอยู่ และเงื่อนไขหลัก คือ เพื่อให้เกิด ความสงบสุขต่อตนเองและสังคมที่ตนเป็น สมาชิก ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นศรัทธาต่อคำสอนของผู้กำหนดหลักการคิดและปฏิบัติ เพื่อสู่เป้าหมายสุดท้ายของชีวิตและสังคม (ไม่วา่ จะยังมีชวี ติ อยูห่ รือตายไป) ดังนัน้ ศา- สนาในที่น้จี ึงครอบคลุมไปถึงลัทธิความเชื่อ ด้วย
ศาสนาในทัศนะของขาพเจา
องค์ประกอบของศาสนาที่แท้ คือ อะไร องค์ประกอบของศาสนาที่เป็นหลัก เริม่ ต้นทีศ่ รัทธาและความเชือ่ ในคำสอนของ ผู้เข้าใจโลกทัศน์ รองลงมา คือ ประสบ- การณ์เฉพาะตัวที่เกี่ยวข้องกับศรั ทธาและ ความเชื่อ และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ศรัทธาและความเชือ่ ศรัทธา คือ ความ เชื่อมั่นของบุคคลอันเกิดจากการรับรู้และ ประสบการณ์ที่ฝังติดอยู่ในจิต ส่วนความ- เชื่อเป็นลักษณะการไว้วางใจในบุคคลหรือ ปรากฏการณ์ ศรัทธามีความเข้มในความ เชื่อมากกว่าความเชื่อปกติทั่วไป ในทางศาสนาความศรั ทธาเริ่มต้นที่ความประพฤติ ของบุคคล บุคคลทีป่ ระพฤติเพือ่ ส่วนรวมจะ ได้รบั ความศรัทธายกย่องจากประชาชนจำนวนมาก ศาสดาทุกพระองค์ต่างเป็นผู้เสีย สละความสุขส่วนตัว ทนทุกข์ยากเพื่อผู้อื่น ในขณะเดียวกันได้ทรงมีเมตตา กรุณา ให้ อภัยต่อทุกคน แม้คนนั้นจะเป็นศัตรู ทั้งยัง ทรงสัง่ สอนในสิง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ ชีวิตและสังคมในวงกว้าง แม้ราชอาณาจักร หรือจักรวรรดิที่ทรงอำนาจก็ ไม่อาจต้านคว ามศรัทธาต่อศาสนาได้ กล่าวได้ว่า มหาราชทุกพระองค์ทย่ี กย่องกันทัว่ โลก ไม่มพี ระองค์ใดเทียบเท่ากับศาสดาได้
89
ประสบการณ์เฉพาะตน หรือ ประสบการณ์ทางศาสนา (religious experiences) เป็นประสบการณ์ที่สอดคล้องกับคำสอนใน การรับรู้สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ หรือความ เข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่ง เช่น เราได้ยิน คำกล่าวว่า ทรัพย์สมบัติเมื่อตายไปแล้วก็ เอาไปไม่ได้ เราเข้าใจความหมาย แต่จิตไม่ ได้น้อมนำไปสู่ความเข้าใจกระจ่างแจ้งอย่า งแท้จริง มนุษย์จึงยังไขว่คว้าหาทรัพย์สิน ทัง้ ๆทีร่ คู้ ำสอนว่า ตายแล้วเอาไปไม่ได้ เพราะ ยังไม่มปี ระสบการณ์ตาย แต่บางคนทีม่ ปี ระสบการณ์เคยตาย หรืออยู่ในภาวะเฉียดตาย และเกิดภาวะหยั่งรู้ความจริงนี้ในจิต ก็จะ เข้าใจและปรับพฤติกรรมลด ละ เลิกสะสม ทรัพย์สมบัติ เพราะจิตกระจ่างในสภาพ ความเป็นจริงว่าเกิดมาตัวเปล่า ตายไปก็ ตัวเปล่า ในทุกศาสนามีบุคคลที่มีประสบ- การณ์เหล่านี้ เมื่อนำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นซึ่ง ไม่มีประสบการณ์ดังกล่าวก็ยากที่จะคล้อย ตาม นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่ประสพที่เหนือ ไปจากสภาพการรับรู้ทั่วไป เช่น การหยั่งรู้ เหตุการณ์ทจ่ี ะเกิดในอนาคต หรือสิง่ ทีเ่ รียก ว่าอภินหิ าร ตัวอย่าง ในศาสนาคริสต์มปี รากฏการณ์เกิดขึ้นเมื่อองค์พระเยซูเจ้ายังมี พระชนม์อยู่ ดังเช่น
90 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
In the fourth watch of the night, {The night was equally divided into four watches, so the fourth watch is approximately 3:00 A. M. to sunrise.} Jesus came to them, walking on the sea. When the disciples saw him walking on the sea, they were troubled, saying, “It’s a ghost!” and they cried out for fear. But immediately Jesus spoke to them, saying “Cheer up! I AM! {see Exodus 3:14.} Don’t be afraid.” จาก http://www.bcbsr.com/survey/ jcm3.html retrived 4 November 2011 ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ เกีย่ วกับพระองค์ ในสมัยปัจจุบันที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุ ได้ เช่น ภาพพระพักตร์พระคริสต์ที่ปรากฏ ทีต่ น้ ไม้และโซฟา (ดังภาพ) และปรากฏการณ์ อืน่ ๆ (ถ้าสนใจต้องการดูมากว่านี ้ เปิดดูได้ จากเวบไซด์ข้างล่าง)
http://www.youtube.com/watch?v= VTlaI6-EgKs retrived 4 November 2011 ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นความเชื่อ เฉพาะบุคคลทีม่ ปี ระสบการณ์ตรง ผูท้ ม่ี ปี ระสบการณ์จะเข้าใจถึงการเกิดขึน้ ผูท้ ่ไี ม่มปี ระสบการณ์อาจไม่เชื่อ และเป็นสิ่งที่อาจดูเป็น เรือ่ งไร้สาระ ยิง่ ในสมัยนีม้ เี ทคโนโลยีในการ ตัดแต่งแปลงสื่อได้แนบเนียน ความเชื่อใน ปรากฏการณ์ทางศาสนาก็ยิ่งลดลง ในทาง พุทธศาสนาผูก้ ล่าวถึงบุคคลผูม้ ปี ระสบการณ์ เฉพาะตนเหล่านี้บางกลุ่ม ไม่ควรเล่าให้ผู้ที่ ไม่มีประสบการณ์ฟัง เช่น พระภิกษุที่สามารถรับรู้สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ มีข้อบัญญัติ ไม่ให้เล่าให้ผู้อื่นฟัง ถือว่าผิดวินัย ผลจากการปฏิบัติ จากคำสอนศาสนา ผูป้ ฏิบตั ติ ามที่ได้รบั ความสุข ย่อมเพิม่ ความ ศรัทธา สำหรับผู้มีความทุกข์ เมื่ออธิษฐาน สวดมนต์ ภาวนา ทำให้จติ ในสงบ และเยือก เย็น จิตอิ่มเอิบ คลายทุกข์ กลายเป็นส่วน
ศาสนาในทัศนะของขาพเจา
เสริมสร้างศรัทธา หรือผู้ที่ทุกข์หนัก ไม่มี ทางออก เมือ่ ได้รบั ฟัง เรียนรูจ้ ากหลักธรรม ในการอธิบายที่มาของทุกข์ ทำให้มองเห็น เงื่อนไขต่างๆในธรรมชาติการดำรงชีพของ มนุษย์ ปฏิบตั ติ ามหลักธรรมคำสอน สามารถยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ได้ เหล่านี้เป็นสิ่ง ที่ส่งเสริมให้มนุษย์ศรัทธาในหลักธรรมของ ศาสนา ศาสนาจำเป็นต่อชีวิตและสังคมหรือไม่ ศาสนาเป็นสถาบันเดียวในสังคมทีย่ อม ให้มนุษย์ยึดมั่นในสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ใน ทางวิทยาศาสตร์ ได้ บางศาสนาสอนเรื่อง อำนาจของกรรม บางศาสนาสอนอำนาจ ของเทพหรือพระเจ้า และศาสนาเกือบทั้ง หมดจะกล่าวถึงสภาพของทุกข์และวิธีการ ขจัดทุกข์และสร้างความสุขทั้งในขณะที่มี ชีวิตอยู่ และเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว ในขณะที่มี ชีวิตอยู่ ศาสนาพุทธสอนเรื่องมนุษยธรรม คือ ศีลหรือข้อห้าม ๕ ประการ และธรรม หรือข้อปฏิบัติ ๕ ประการ เป็นพื้นฐานการ ดำรงชีวิต ศาสนาคริสต์ ถือบัญญัติ ๑๐ ประการ ศาสนาอิสลามถือปฏิบัติ ๕ ศรัทธา ๖ เป็นพื้นฐาน หลักคำสอนเหล่านี้เป็นมาตรฐานควบคุมความประพฤติของมนุษย์ใน สังคม และยังสอนต่อไปอีกว่า หลักการปฏิบัติเหล่านี้ส่งผลถึงจิตวิญญาณหลังจากสิ้น
91
ชีวติ ไปแล้วอีกด้วย ไม่วา่ จะไปสูส่ รวงสวรรค์ อาณาจักรพระเจ้า หรือภูมทิ อ่ี ดุ มไปด้วยความ สุขตามระดับขัน้ แห่งการกระทำความดี ส่วน ผู้ใดที่ ไม่ทำตามจะต้องไปอยู่ในอบายภูมิ หรือนรก ศาสนายังมีสิ่งที่เชื่อว่ามีพลังอัน ศักดิสิทธิ์ เมื่อยามมนุษย์เกิดความทุกข์ใน ยามคับขัน ไม่มีใครช่วยได้ มนุษย์ ได้นึกถึง ยึดมัน่ พลังศักดิส์ ทิ ธิเ์ หล่านีข้ อให้ชว่ ยปัดเปา ยามทุกข์และอันตรายที่กำลังประสบ เป็น การสร้างกำลังใจในการต่อสู้ รอคอยอย่าง มีความหวัง ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์รอคอยได้ ดังนั้นศาสนาจึงเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิต และผลจากการยึดเหนี่ยวทางจิตเพียงใดก็ จะแสดงออกมาเป็นความประพฤติ ความ ศรัทธาเชื่อมั่นในศาสนาแน่นแฟ้น ย่อมส่ง ผลให้ความประพฤติที่เอื้อประโยชน์ต่อตน เองและสังคม ส่งเสริมให้สังคมเกิดความ สงบสุข ศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคม
92 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
สรุป ศาสนาในทัศนะของข้าพเจ้า คือ ศรัทธา ต่อคำสอนของผูก้ ำหนดหลักการคิดและปฏิบตั เิ พือ่ สูเ่ ป้าหมายสุดท้ายของชีวติ และสังคม และมีผศู้ รัทธายึดมัน่ ต่อคำสอนดังกล่าว ความศรัทธาในศาสนาเกิดขึน้ จากความเชือ่ มั่นในผู้กำหนดหลักคำสอน ส่วนที่ส่งเสริม คือ การปฏิบตั แิ ละประสบการณ์ทส่ี อดคล้อง กับคำสอน อย่างไรก็ตาม ศาสนาเป็นสถาบันที่ยอมให้มนุษ ย์จินตนาการและอธิบาย ในสิง่ ที่ไม่สามารถพิสจู น์ทางวิทยาศาสตร์ได้ จากศรัทธาของศาสนิกที่มีต่อศาสนา และ ปฏิบตั ติ ามคำสอนของศาสนา ศาสนาจึงอยู่ ในฐานะเป็นสถาบันที่สร้างมาตรฐานความ ประพฤติให้กับสมาชิกของสังคม และเป็น สถาบันที่ให้มนุษย์ยึดเหนี่ยวเมื่อเกิดทุกข์ ศาสนาจึงเป็นความคิดที่นำโลกไปสู่ สันติ ถ้ามนุษย์ยึดมั่นในหลักธรรมศาสนา อย่างเคร่งครัด
**********
93
ประสบการณ์น้ำทวม
หมวดทั่วไป
ประสบการณ์น้ำท่วม ºÒ·ËÅǧ¸ÃÃÁÃѵ¹ àÃ×͹§ÒÁ
ในช่วงวิกฤตการณ์มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายพื้นที่เป็นวงอย่างกว้างขวาง ตง้ั แต่ภาคเหนือของประเทศจรดภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ทำให้ประชาชนทุกระดับ ไม่วา่ จะเป็นเศรษฐีมเี งินเป็นพันล้าน ตลอดจนคนยากจนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ต้องประสบกับ ความยากลำบาก และความสูญเสียไม่แพ้กัน หลายคนก็ต้องไปพึ่งพาศูนย์พักพิง และศูนย์ อพยพตามที่ต่างๆที่ทางหน่วยงานและกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจัดสรรให้ หรือย้าย สถานทีพ่ กั ไปอยูท่ บ่ี า้ นของตนเอง หรือของญาติพน่ี อ้ งทีอ่ ยูต่ า่ งจังหวัดในทีป่ ลอดภัยจากอุทกภัยครั้งนี้ ทางวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จึงได้จัดกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยขึ้นในสถานที่ต่างๆตั้งแต่วันที่ 7-21 พฤศจิกายน ดังนี้
บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี, รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา, อาจารย์ประจำสาขาวิชา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
94 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
1.อาสนวิหารนักบุญอันนา จ.นครสวรรค์ โดยนักศึกษาได้ช่วยทำความสะอาด และ ปรับภูมิทัศน์โดยรอบ หลังน้ำลดแล้ว 2.วัดนักบุญลูกา บางขาม จ.ลพบุรี โดยนักศึกษาได้ช่วยเหลือผู้กำลังประสบอุทกภัย ตามหมู่บ้านโดยรอบ ทั้งนี้ได้ ไปให้กำลังใจ มอบถุงยังชีพ และทำความสะอาดทั้งใน และ รอบบริเวณวัด 3.พืน้ ทีศ่ นู ย์พกั พิง ทุง่ เขาหลวง จ.ราชบุร ี โดยนักศึกษาได้มีโอกาสไปใช้ชวี ติ ให้กำลังใจ พูดคุย จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวก บริการด้านอาหาร และอยูร่ ว่ มกับบุคคลทีอ่ พยพมา ที่ศูนย์นี้ 4.พื้นที่ศูนย์พักพิง เขตโรงเรียนดรุณา จ.กาญจนบุรี โดยได้รับการประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียน นักศึกษาได้มปี ระสบการณ์จติ อาสาทีศ่ นู ย์พกั พิงโรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม และศูนย์พักพิงใกล้เคียงอื่นๆ ทั้งนี้ นักศึกษาได้ทำกิจกรรมนันทนาการกับเด็ก และผูใ้ หญ่ พูดคุยให้กำลังใจ ช่วยเหลือและบริการด้านอาหารกับผูอ้ พยพในศูนย์ต่างๆเหล่านี้ ด้วย 5.พื้นที่ศูนย์เด็ก และศูนย์พักพิง เขตวัดพระแม่มหาการุณย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุร ี โดยนักศึกษาได้มีโอกาสทำจิตอาสาตามกลุ่มพื้นที่ต่างๆโดยรอบเขตวัด ได้เข้าไปพบปะ พูด คุย ให้กำลังใจกับประชาชนที่ประสบอุทกภัยทั้งที่อยู่ในศูนย์ และตามบ้านเรือนโดยรอบ ได้ มีโอกาสติดต่อกับหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อขอความช่วยเหลือกับผู้พิการที่อยู่ในศูนย์และ นอกศูนย์พักพิง และยังได้นำกิจกรรมให้กับเด็กๆและเยาวชนอีกด้วย 6.โรงพยาบาลซานคามิลโล บ้านโป่ง จ.ราชบุร ี โดยผูอ้ พยพเป็นผูส้ งู อายุจากศูนย์คามิล- เลียน โซเชียล เซนเตอร์ อ.สามพราน จำนวนประมาณ 130 ท่าน นักศึกษาได้เริ่มงานจิตอาสาตั้งแต่เวลาเช้ามืด (4.30 น.) จนถึงเวลาเย็น โดยอาบน้ำ เช็ดตัวให้กับผู้สูงอายุ ป้อนข้าว อ่านหนังสือธรรมศรัทธา ร่วมประกอบกิจทางศาสนา พูดคุยให้กำลังใจคลายเครียดและความ เหงา ตลอดจนทำกิจกรรมนันทนาการ
ประสบการณ์น้ำทวม
95
นอกจากนัน้ โดยผ่านทางฝ่ายกิจการนักศึกษา และเจ้าหน้าทีข่ องวิทยาลัยได้รว่ มมือกับ องค์กร คาริตสั ไทยแลนด์ ซึง่ เป็นองค์กรทางคริสตศาสนา ได้มอบถุงยังชีพให้กบั ผูป้ ระสพ- อุทกภัยในสถานทีต่ า่ งๆ เช่น เขตวัดนักบุญอันเดร บางภาษี อ.บางเลน จ.นครปฐม เขตวัดธรรมาสน์นกั บุญเปโตร ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ และบ้านของคุณนภาดา ตะเพียนทอง เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยแสงธรรม เป็นต้น จากคำที่กล่าวว่า “เปลี่ยนวิกฤติใหเปนโอกาส” ทำให้พ่อเห็นและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างชัดเจน ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือวิกฤติอุทกภัยที่ทำลายทั้งชีวิตและทรัพย์สินคนเป็น จำนวนมาก มีหลายคนที่แทบต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ เพราะสิ่งที่เคยมี ก็มลายหายไปกับสายน้ำ สิ่งที่เคยเป็นก็ต้องจบสิ้น งานการที่เคยทำก็ต้องค้นหาและเริ่มต้นใหม่ สิ่งเหล่านี้ดูเหมือน เป็นภัยพิบัติที่ไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น พ่อมีโอกาสพบปะพูดคุยกับแม่เฒ่าผู้หนึ่งที่ต้อง อพยพย้ายศูนย์พักพิงถึงสองครั้งสองคราด้วยคราบน้ำตาว่า “ตั้งแต่ยายเกิดมา ยายไม่เคย พบกับความเลวร้ายในชีวิตเท่านี้มาก่อน ยายต้องสูญเสียทั้งบ้านและทรัพย์สินทั้งหมด ยาย ต้องทิ้งคนอีกหลายคนเอาไว้ข้างหลัง เพราะต่างคนต่างหนีเอาตัวรอด” แม้ว่ายายยังทำใจ ยอมรับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ยายก็เล่าให้พ่อฟังต่อว่า “ยายยังคงต้องดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป ไม่ ใช่ว่ายายจะอยู่คนเดียว แต่ยังมีลูกหลานที่หนีมาพักในศูนย์พักพิงเดียวกันนี้ และที่ต่างๆ ยายยังสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ ยายยังสู้ ยังไม่ถอย” สิ่งเหล่านี้เองทำให้พ่อสำนึกว่า การเปลี่ยนวิกฤติ ซึ่งแม้ว่าจะใหญ่หลวงและไม่อาจยอม รับได้ ให้เป็นโอกาสที่จะมองถึงชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปแบบใหม่ที่ต้องปรับตัว ปรับใจ ที่ ต้องเข้าใจและทำใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ต้องยอมรับและต่อสู้ เพื่อชีวิตในวันข้างหน้า ชีวิตที่เป็นต้นแบบให้กับชนรุ่งหลังอีกหลาย ๆ คนที่ต้องประสบปัญหาอันหนักอึ้งที่รอการแก้ ไขได้เลียนแบบ ชีวิตที่วางไว้ให้ ได้ศึกษา ชีวิตที่แม้แต่ผู้ที่ไม่ประสบปัญหาอุทกภัยก็ต้องกลับ มาฉุกคิด และบอกกับตนเองว่า นี่แหละตัวจริง ทำให้เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อจะได้เป็น ฐานแห่งชีวิตของตนเองและผู้อื่นสืบต่อไป
96 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
นอกจากโอกาสที่กล่าวข้างต้นนี้ พ่อยังเห็นโอกาสที่ทำให้อีกหลายๆ คนกล้าออกมาต่อสู้ ช่วยเหลือ แบ่งปัน ในสิง่ ทีต่ นมี และในสิง่ ทีต่ นเป็นให้กบั บุคคลทีป่ ระสบความยากลำบากกว่า ได้เห็นโอกาสการร่วมแรงร่วมใจ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสมัครสมานสามัคคีกัน การเรียนรูจ้ กั ซึง่ กันและกันท่ามกลางความปัน่ ป่วนวุน่ วายนีด้ ว้ ย แต่ทว่ามิใช่เฉพาะเป็นโอกาส ที่พบเห็นแต่ในแง่ดีเท่านั้น ยังคงเป็นโอกาสที่เห็นถึงความเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ การ เก็บเกี่ยวเอากำไรจากความทุกข์ของคนอื่นของคนบางคนอีกด้วย เช่นนี้เอง การที่บุคคลใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามเณรที่ไปร่วมกันทำจิตอาสา ตามสถานที่ต่าง ๆ และตัวของพ่อเอง เมื่อได้พบประสบ ได้เข้าร่วมและเข้าถึงวิกฤติอย่าง ถ่องแท้มากเท่าใด ก็จะเป็นโอกาสทำให้เกิดความเข้าใจชีวติ แห่งความเป็นจริงของตนเองและ ผู้อื่นมากขึ้นเท่านั้น และยังเป็นโอกาสไตร่ตรองถึงรูปแบบชีวิตของตนเองในฐานะผู้อภิบาล ที่ดี สงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งในปัจจุบันนี้และอนาคตอีกด้วย คำสอนและแนวทางปฏิบตั ขิ องทางศาสนาคริสต์เพือ่ การเผชิญหน้า การทำความเข้าใจ และช่วยแก้ ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อภัยพิบัติต่างๆไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ สถานการณ์ กลุ่มบุคคล หรือช่วงเวลาใดก็ตาม มีคำตอบอยู่ที่คำสอนของพระเป็นเจ้าที่มีต่อมนุษย์ที่พบ ได้จากพระคัมภีร์ไบเบิลในหลาย ๆ ตอน ซึง่ พ่อขอยกตัวอย่างบางตอนจากพระคัมภีร์ไบเบิล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากบทจดหมายของนักบุญยอห์น อัครสาวก ดังนี้ “จงดูเถิดว่า ความรักทีพ่ ระบิดาประทานให้เรานัน้ ยิง่ ใหญ่เพียงใด เพือ่ ทำให้เราได้ชอ่ื ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า และเราก็เป็นเช่นนั้นจริง” (1 ยอห์น 3:1) “นี่คือคำสอนที่ท่านทั้งหลายได้ฟังมาตั้งแต่แรกเริ่ม คือเราจงรักกัน ลูกที่รักทั้งหลาย เราอย่ารักกันแต่ปาก เพียงด้วยคำพูดเท่านัน้ แต่จงรักกันด้วยการกระทำและด้วยความจริง” (1 ยอห์น 3:18)
ประสบการณ์น้ำทวม
97
“นี่เป็นบทบัญญัติของพระองค์ คือ ให้เราเชื่อในพระนามของพระเยซูคริสตเจ้าพระ บุตรของพระองค์ และให้เรารักกัน ดังที่พระองค์ทรงบัญญัติให้เรา ผู้ที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ย่อมดำรงอยู่ในพระเจ้า และพระเจ้าทรงดำรงอยู่ในผู้นั้น เรารู้ว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่ในเรา จากพระจิตเจ้า ซึ่งพระองค์ประทานให้เรา” (1 ยอห์น 3:23) เช่นนี้เอง ทำให้เรารับรู้ว่า พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นอยู่ในเชื้อชาติ หรือศาสนาใดก็ตาม เพราะเราทุกคนเป็นลูกของพระเจ้า พระอ งค์ทรงเป็นองค์ความรักและความจริง ทรงเป็นองค์ชีวิตและผู้ประทานพระพรแก่มนุษยชาติ ทรงเป็นองค์ความหวังและความสุขให้แก่ทุกคน และผู้ใดก็ตามที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ พระเยซูคริสตเจ้า นัน่ คือบทบัญญัตแิ ห่งความรัก ก็ได้ชอ่ื ว่าเป็นศิษย์ และเป็นมิตรสหายของ พระองค์เช่นกัน ดังนั้น ในการปฏิบัติซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เราแต่ ละคนจึงต้องช่วยเหลือ แบ่งปัน เสียสละ อุทิศตน รักและรับใช้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ และด้วยแบบฉบับทีด่ ี ซึง่ ไม่ใช่แบบเจ้านายหรือข่มขู ่ ไม่ใช่แสวงหาผลประโยชน์เพือ่ ตนเองและ พวกพ้อง แต่ด้วยความเมตตากรุณา ดังเช่นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ที่ย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน (ยอห์น 10:11) ทางคริสตศาสนา มีองค์กรและหน่วยงานต่างๆมากมายที่ปฏิบัติตามจิตตารมณ์ และรูปแบบของพระเยซูคริสตเจ้า ดังเช่นที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น กรรมาธิการฝ่ายสังคม ภายใต้ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย โรงเรียนคาทอลิก ทั้งที่เป็นของแต่ละสังฆมณฑล และเอกชนอืน่ ๆ เป็นต้น ทัง้ นีก้ ารปฏิบตั งิ านกิจสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือ มิใช่เพือ่ แสวงหา ผลประโยชน์และกำไร แต่เป็นการแสดงออกถึงความรักตามแบบอย่างพระเยซูคริสตเจ้า เป็นการสร้างอาณาจักรแห่งความรักและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถ ดังนั้น เมื่อเราทุกคนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ในการร่วมมือกัน เพือ่ ช่วยเหลือ บรรเทาใจ กอบกู ้ เสริมสร้าง บ้านเมืองและสังคมไทยให้ดำรงอยู ่ และก้าวหน้า ต่อไป และเช่นนี้เองเมื่อเราคริสตชนได้แสดงออกซึ่งความรักกันและกัน ผู้ที่เห็นเราก็เห็น พระเจ้า และพบกับพระเจ้าท่ามกลางเพื่อนพี่น้องเสมอ
98 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
หมวดทั่วไป
ไตร่ตรองจิตอาสา
ÂØ·¸¹Ò ÇÔ·ÂÒ¹ØÅѡɳ
เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นับว่าเป็นครัง้ ใหญ่ทส่ี ดุ เท่าทีผ่ มเคยพบเห็น ในชีวิต บรรดาสื่อทั้งหลายประโคมข่าวนำ เสนอภาพผูป้ ระสบภัยน้ำท่วมอพยพขนย้าย ข้าวของไปยังสถานทีป่ ลอดภัย ช่างเป็นภาพ ที่สะเทือนใจอย่างมาก สื่อให้เข้าใจถึงชีวิต คนทีต่ อ้ งดิน้ รนเอาตัวรอด ทรัพย์สนิ ทีข่ วนขวายหามาได้ตลอดชีวิตไม่สามารถขนไป ได้ทั้งหมด เลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นที่สุด หรือบางคนก็อาจไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะ “คิด” ที่จะเลือก…
สภาพ “จิตใจ” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับมนุษย์ เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ว่า “หากปราศจากสภาพจิตใจทีด่ ี ความสุข ก็ไม่ปรากฏ” ผู้ประสบภัยหลายๆคนอยู่ใน สภาวะสภาพจิตใจที่ไม่คอ่ ยสูด้ ี อาจจะยังทำ ใจยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ บาง คนสามารถตั้งสติ ได้แต่ก็เป็นห่วงญาติพี่ น้องหรือเพื่อนบ้าน ทุกคนล้วนอยู่ในสภาพ จิตใจที่ไม่สมบูรณ์
นักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรม กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปที่ 2 สาขาวิชาเทววิทยา
ไตรตรองจิตอาสา
การช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยเป็นอีกหนึง่ ประเด็นทีเ่ ข้ามาปรากฏบนสือ่ ประเภทต่างๆ หลายหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างไม่หยุดนิง่ ทีจ่ ะช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย ซึ่งเป็นพี่น้องชาวไทยเช่นเดียวกัน มีการรับ และนำแจกของบริจาคเกิดขึ้นหลายจุดบริการ บางแห่งถึงกับต้องพายเรือเข้ายังจุดที่ ผู้ประสบภัยอาศัยอยู่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเกิดขึ้นมากมายหลายที่เพื่อคอยบริการพี่น้องผู้ประสบภัย สามารถเข้าไปรับ ความช่วยเหลือทั้งเรื่องสถานที่พักอาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อาหารและยา
ดูเหมือนว่าการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย นัน้ ทำได้ครบถ้วนทุกมิติ ทุกด้าน มีการคำนึงถึงชีวิตของผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วมว่าจะ ไปทำมาเลีย้ งชีพอะไร เพราะบางคนไม่เหลือ อะไรจริงๆ รอดมาได้แค่ชีวิต บางหน่วยงาน บางองค์กร จึงจัดฝกอาชีพใหแก่ผู้ประสบภัย ก็นับว่าเป็นการแก้ ไขปัญหาที่ดี
99
เมื่อการให้ความช่วยเหลือมีครบทุก ด้านแล้ว ตัวของผู้เขียนในฐานะเป็นผู้ฝก ชีวิตเพื่อเตรียมเป็นบาทหลวง “จะสามารถ ทำอะไรได้บ้าง” คำถามนี้เกิดขึ้นขณะที่ผม นั่งดูข่าวน้ำท่วมทุกๆเช้า ผมไม่สามารถใช้ ชีวิตอยู่อย่างสบายได้อีกต่อไป ควรจะทำ อะไรสักอย่างกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บาทหลวงมิชชันนารีทา่ นหนึง่ (คุณพ่อ อาเดรียอาโน คณะปเม) ได้ชวนผมให้ ไป ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ สถานที่ราชการที่ ถูกแปรสภาพชัว่ คราวเพือ่ เป็นศูนย์ชว่ ยเหลือ ผูป้ ระสบภัยน้ำท่วม มีผปู้ ระสบภัยพักอยู่ใน ขณะนั้นประมาณพันสี่ร้อยคน ห้องนอน ของพวกเขาคือห้องโถงติดแอร์ขนาดใหญ่ ที่ต้องนอนรวมกันเป็นร้อยๆคน แน่นอนว่า ความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวหาย ไปเป็นแน่ ผู้คนต้องอยู่รวมกันจำนวนมาก เหมือนมาเข้าค่าย มีกฎมีระเบียบทีต่ อ้ งปฏิบัติตาม สาธารณูปโภคทุกอย่างมีครบเพียง แต่อาจไม่เหมือนทีบ่ า้ น มีอาหารบริการครบ ทั้งสามมื้อ มีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ คอย มาจัดกิจกรรมไม่เว้นวัน สิง่ ทีค่ ณ ุ พ่อได้ชวนให้ผมไปทำ “จิตอาสา” หรือ “งานอภิบาล” ครั้งนี้ไม่ใช่งานที่ ทุกๆหน่วยงาน องค์กรต่างๆทำ แต่เป็น งานที่ยังไม่มีคนทำในศูนย์ฯ ณ เวลานั้น
100 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
งานนั้นคือการออกเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยตามที่พัก ไปพูดคุยกับเขา ไปอยู่กับเขา ไปเล่นกับเด็กๆ นำร้องเพลง นำเต้น นำเกมส์ ฯลฯ ทั้งหมดที่ทำนี้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อ ต้องการใช้เวลาอยูก่ บั เขาให้มากทีส่ ดุ ในช่วง ที่เขากำลังมีความทุกข์ พวกเขาได้รับความ ช่วยเหลือภายนอกอย่างเดียวไม่พอ คงมี อะไรภายในที่ต้องรับการเยียวยา เราจะไม่ สามารถรู้ ได้เลย หากไม่เริ่มที่จะพูดคุย
เมือ่ ได้พดู คุยกับผูป้ ระสบภัย ส่วนมาก มักจะอยู่ในความกังวล ห่วงทรัพย์สินที่จม อยู่ใต้น้ำ ห่วงชีวิตหลังจากน้ำลดว่าจะจัด การกับชีวิตอย่างไรต่อไป แต่เมื่อคุยกับเด็ก ก็ ได้พบปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ เขาอยาก กลับบ้าน อยากไปโรงเรียน อยากเจอเพือ่ น เราคงไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ได้ แต่ อย่างน้อยก็สามารถพูดคุยให้แนวคิดช่วยหา คำตอบ หรือให้กำลังใจแก่พวกเขาได้บ้าง สิ่งที่ทำนี้ไม่ใช่งานหนักอะไร ไม่ต้อง
ใช้กำลังกาย กำลังทรัพย์ เพียงแต่เรียกร้อง ความเสียสละและความกล้าออกจากตัวเอง ไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ที่จะเดินไปคุยกับ คนที่ไม่รจู้ กั เพือ่ ทำความรูจ้ กั ไปใช้ชวี ติ ประจำวันเป็นเพือ่ นเขา แต่สง่ิ นีเ้ ป็นสิง่ เดียวทีจ่ ะ ทดแทนหรือเติมเต็มสภาพจิตใจเขาที่ย่ำแย่ ให้ดีขึ้นมาได้ ผมยังมีโอกาสได้ ไปเป็นจิตอาสาอีก ระยะหนึ่งในช่วงที่มีการประกาศหยุดเรียน เขตที่ผมไปอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมี ศูนย์ชว่ ยเหลือผูป้ ระสบภัยอยูส่ องแห่ง ใหญ่ๆ คือ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม และวิทยาเกษตร ทัง้ สองศูนย์ฯมีความแตกต่างกันพอ สมควร ทัง้ ในระบบการจัดการภายในศูนย์ฯ ฐานะผู้ประสบภัย แต่สิ่งที่ไม่แตกต่างกัน คือ ต่างได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน สิง่ ทีพ่ วกเราจิตอาสาสามารถทำได้คอื การไปอยู่ร่วมกับเขา พูดคุย เยี่ยมเยียน ถามไถ่ทุกข์สุข พาพวกเขาทำกิจกรรมต่างๆ เพือ่ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ความกังวล จะได้ ไม่ต้องสาละวนคิดถึงแต่เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กๆที่ไม่น่าจะต้อง มาเจอเรื่องร้ายๆ แบบนี้ในวัยที่ยังเด็กเกิน กว่าจะรับได้
ไตรตรองจิตอาสา
ก่อนอืน่ ผมพยายามสร้างความไว้เนือ้ เชื่อใจกับบรรดาผู้ประสบภัย เพื่อพวกเขา จะได้ให้ความร่วมมือและกล้าเปดใจพูดคุยกับผม จากนั้นก็เริ่มถามไถ่สถานการณ์ ความวิตกกังวล ฯลฯ สุดท้ายก็คงทำอะไร ได้ ไม่มาก นอกเสียจากพูดให้กำลังใจและ อยู่เป็นเพื่อนเขา ระลึกถึงพวกเขาในคำภาวนา สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกประทับใจ คือ ภาย ในศูนย์ฯมีการจัดระบบเปลี่ยน “ผู้ประสบภัย” ให้เป็น “จิตอาสา” หมายความว่า มี การเลือกตั้งคณะกรรมการศูนย์ฯที่มาจาก ผู้ประสบภัยเอง เหมือนการจำลองสังคม หนึ่งขึ้นในศูนย์ฯพวกเขาจะแบ่งหน้าที่กัน ไป เช่น โรงครัว การทำความสะอาดห้องนอน ห้องน้ำ ห้องประชุม ฯลฯ บางคนที่มีความ สามารถในการสอน ก็มาอาสาเป็นครูสอน หนังสือแก่เด็กๆในศูนย์ฯสิ่งนี้ผมมองว่าน่า ชื่นชมอย่างยิ่ง ในยามที่มีปัญหาก็จะมีการ
101
เขียนข้อเสนอแนะเพือ่ นำมาประชุมกันในโอกาสที่มีการรวมตัวกันของสมาชิกในศูนย์ฯ ผมได้เรียนรูว้ า่ “การช่วยเหลือ” บาง ครั้งไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ หรือไม่ ต้องใช้เงินจำนวนมากๆ เพือ่ บริจาคให้แก่เขา ผูป้ ระสบภัยทีผ่ มได้พบบางท่านบอกว่า “กลับ ไปหนูเปดร้านขายของได้เลย” เพราะมีคน มาบริจาคของทุกวัน อาหารการกินไม่ลำบากแถมยังเหลือเฟออีกด้วย มีครบสามมื้อ ยังไม่รวมอาหารว่างทั้งช่วงสายและบ่ายอีก สิ่งนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าคนไทยยังรัก กัน ช่วยเหลือกันเสมอในยามทุกข์ยาก ดัง นั้นสิ่งที่ผมได้ทำคงไม่ไปซ้ำกับพวกเขา ผม ได้นำเขาผ่อนคลายผ่านทางกิจกรรมสันทนาการ สอนดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ เรียก เสียงหัวเราะ สร้างความสนุกสนานเท่าที่จะ ทำได้
102 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ทีจ่ ริงผมมีโอกาสจะทำจิตอาสาได้ทกุ วัน เพราะมีคนทีต่ กอยู่ในสภาวะยากลำบาก หลากหลายรูปแบบในสังคม เพียวแต่ผมจะ สนใจทีจ่ ะออกจากตัวเองไปหาเขาหรือเปล่า
การเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งนี้ เป็นเหมือน การจุดประกายความมีน้ำใจในตัวของทุกๆ คนออกมา ว่าเขาก็มีคุณค่า และหนึ่งแรง หนึง่ พลังนีส้ ามารถช่วยสร้างความสุขให้สงั คมได้มากมาย
*******************
103
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
หมวดประวัติศาสตร พระศาสนจักร
¤³ÐÀÃÒ´ÒÅÒ«ÒÅ “ ¤³ÐÀÃÒ´ÒáË‹§âçàÃÕ¹¤ÃÔʵѧ¤ ” º·ºÒ·àÃ×èͧ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ ÍÀÔºÒÅ áÅÐà¼ÂἋÈÒÊ¹Ò ã¹ÁÔʫѧÊÂÒÁ ·ÈÇÃÃÉáááË‹§¡ÒúءàºÔ¡ (»‚ ¤.È. 1951-1961)
¾ÃªÑ ÊÔ§Ë ÊÒ บทนำ การเดินทางเข้ามาสยามประเทศของ ภราดาลาซาล “ภราดาแห่งโรงเรียนคริสตังค์” เป็นเพียงกรอบข่าวเล็กๆ ของปี ค.ศ.1951 เรื่องเด่นจริงๆ ของปีนั้นเป็นเรื่องของการ ต้อนรับแม่พระฟาติมา ทีเ่ ดินทางมาจากโปรตุเกส ให้คนไทยได้เทิดเกียรติ แต่แม้วา่ การ เดินทางมาสยามของภราดาลาซาลเมื่อ 60 ปีทแ่ี ล้ว (ปัจจุบนั ปี ค.ศ.2011) จะไม่ใหญ่-
โตเท่าไรนัก มีเพียงพระสังฆราช และพระสงฆ์ 2-3 องค์ ไปต้อนรับที่สนามบิน พร้อม กับตัดพ้อเล็กน้อยว่า “เขาจะมาไหมหนอ” และนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างคณะภราดาลาซาลกับงานพระศาสนจักรไทย ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการศึกษา อย่างเดียว แต่ภราดาลาซาลก็ให้ความสนใจ และเอาใจใส่กับการช่วยเหลืองานอภิบาล และแพร่ธรรมของมิสซังสยามมาโดยตลอด
สามเณรใหญ่สังฆมณฑลนครสวรรค์ ชั้นเทววิทยาปีที่ 2
104 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ยุคแรกแห่งการเชื้อเชิญ การเชือ้ เชิญคณะภราดาลาซาลเข้ามาทำ งานด้านการศึกษาในประเทศไทย ครั้งแรก ในสมัยพระสังฆราช หลุยส์ เวย์1 เป็นประมุขปกครองมิสซังกรุงเทพฯ ได้เขียนจดหมาย ลงวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1898 ถึงภราดาหลุยส์ อิวาค ให้ส่งคณะภราดามาดูแลด้าน การศึกษาในโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก นอกจากนั้น คุณพ่อโกลมแบร์ต เจ้าอาวาส วัดอัสสัมชัญ และผูก้ อ่ ตัง้ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ได้เขียนจดหมายเชิญคณะภราดา ลาซาลเข้ามาทำการสอนในโรงเรียนอีกครั้ง ตามจดหมายลงวั น ที่ 21 พฤศจิ ก ายน ค.ศ.1899 ซึ่งทางคณะมิได้ตอบรับคำเชื้อเชิญดังกล่าว เพราะลำพังงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สิงคโปร์ มะละกา และเวียดนาม ก็มีมากจนล้นมือแล้ว
1
ยุคต่อมา ภราดา จะมาไหมหนอ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ.1951 คณะภราดาแห่งโรงเรียนคริสตังค์ 2 ท่าน คือ ภราดา อาเดรียง มาร์กีออง ผู้ช่วยอธิการใหญ่ ประจำกรุงโรม และ ภราดาคริสตอฟ ซัฟเฟร เจ้าคณะประจำประเทศเวียดนาม ได้เดินทางมาเมืองไทยเป็นเวลา 1 เดือน เพือ่ ศึกษาความเป็นไปได้ และสำรวจสถานะ ทางการศึกษาในประเทศไทยว่ามีลักษณะ เป็นอย่างไร เพื่อตรวจสอบว่าจะเป็นการ เหมาะสมไหมที่ จ ะนำภราดาเข้ า มาทำ ง า น ด้ า น ก า ร ศึ ก ษ า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ตามคำแนะนำของพระสั ง ฆราชหลุ ย ส์ โชแรง2 ผูใ้ หญ่ของพระศาสนจักรในขณะนัน้ 3 หลังจากนัน้ วันที่ 2 มิถนุ ายน ค.ศ. 1951 ซึ่งมีบันทึกเรื่องราวไว้ว่า วันชาติอติ าเลีย่ น อัครทูตอิตาเลีย่ น ประจำประเทศไทยได้เชิญพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ไปงานต้อนรับ ณ สถานทูต ......เป็นวันเดียวกันกับที่ “ท่านภราดา มาร-
ประมุขมิสซังสยามองค์แรก พระสังฆราชปกตรองมิสซังสยาม ปี 1947 - 1965 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 3 สารสาสน์ ปี 1951 หน้า 151 2
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
105
กีออง และซัฟเฟร แห่งคณะภราดาแห่งโรงเรียนคริสตังค์โดยสารเครื่องบินกลับไซ่ง่อน โดยแสดงความพอใจในสถานะการศึกษา ในประเทศไทยเป็นอย่างยิง่ เราหวังว่าคณะ ภราดานี้ซ่งึ มีสาขากระจายอยู่แทบทุกประเทศ และมีวธิ กี ารสอนทีด่ เี ลิศ จะได้นำคณะ มาบุกเบิกโรงเรียนขึ้นใหม่ในประเทศไทย เป็นการแบ่งเบาภาระของภราดาคณะอื่นใน การให้การศึกษาแก่นักเรียนไทยซึ่งในเวลา นี้ขาดสถานศึกษาโดยทั่วไป”4 แล้วที่สุด ฝันของบรรดาพระสังฆราช และคริสตชนชาวสยามที่จะได้คณะภราดา ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการศึกษามาประจำในประเทศของเราเพื่อสอนลูกหลานชาวไทยให้ เรียนรู้วิชาการต่างๆก็เป็นจริง “เขามาไหมหนอ!!!” และนีเ่ ป็นบางคำ ในหนังสือสารสาสน์5 หน้า 316 ฉบับปี1951 . ..ทีแ่ สดงถึงคำถามจากผูท้ ร่ี อคอย...แล้วภราดาก็มาตามที่สัญญาไว้
เมื่ อ พิ จ ารณาจากสารสาสน์ ฉ บั บ ดั ง กล่าว เราจะเห็นบรรยากาศในวันนั้น และ เรื่องราวความเป็นมาของบรรดาภราดาใน ยุคแรกทีเ่ ดินทางเข้ามาเมืองไทย และเหตุผลทีว่ า่ ทำไมเมือ่ 50 ปีทแ่ี ล้ว ทางคณะไม่ สามารถเดินทางมาได้ จากบทความ “คณะ ภราดา เดอ ลาซาล มาเมืองไทย” เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ศกนี้ เครื่องบินเครื่องหนึ่งได้มาร่อนลงที่สนามบินดอน เมือง พระสังฆราชโชแรง พร้อมด้วยคุณพ่อ โรเชอโร,คุณพ่อลาร์เกและคุณพ่ออาแมสตอย ได้ ไปคอยต้อนรับ ต่างพากันถามว่า “เขามาไหมหนอ?” เขาในที่นี้เป็นใครกัน ? ออ! เป็นภราดาเดอลาซาล ๕ องค์ ทีส่ ญ ั ญา ว่าจะมาเมืองไทย และเขาก็มาจริงๆ สวมเสือ้ หล่อสีดำ และปกคอสีขาว เขามาจากไหน? มาจากไซ่งอ่ น ประเวียดนาม โรงเรียนทีเ่ ขาเปิดขึน้ ที่ไซ่งอ่ นนัน้ บัดนี้เจริญและได้อบรมฝึกหัดภราดาชาว
4 5
สารสาสน์ปี 1951 หน้า 192 (รักษาการเขียนจากต้นฉบับ) นิตยาสารคาทอลิกรายเดือนในสมัยนั้น ซึ่งเปรียบเหมือนจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราว ข่าวที่เกิดขึ้นกับพระศาสนจักรท้องถิ่นไทย อีกทั้งยังมีบทความเสริมศรัทธา ซึ่งพัฒนาและกลายมาเป็น หนังสือพิมพ์อุดมสาร และนิตยาสารอุดมศานต์
106 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ญวณสำเร็จแล้วเป็นจำนวนมาก เช่นเดียว กับในมิสซังต่างๆเมื่อเห็นว่าพระสงฆ์พื้นเมืองเจริญและมีจำนวนเพียงพอแล้ว พระสังฆราชย่อมโอนกิจการของมิสซังให้แก่พระสงฆ์พื้นเมืองทีละคั่นๆ ฉันใด คณะภราดา เดอ ลาซาล เมื่อได้อบรมภราดาชาวญวณ เป็นจำนวนมากเพื่อรับช่วงกิจการของเขา ไปทำเพื่อศิริมงคลของพระผู้เป็นเจ้า และ ความเจริญแห่งประเทศของเขาแล้ว ก็เริ่ม ถอนจากประเทศเวียดนามทีละคั่น ฉันนั้น เขามาเมืองไทยทำไม? เขามาเพื่อเปิด โรงเรียน อนุชนคนไทยสมัยนี้ กระหายและ ชอบแสวงหาความรู้ ความต้องการโรงเรียน มีมากขึ้น เพราะฉะนั้นภราดาคณะนี้จึงได้ สนองคำเชิญของพระสังฆราชโชแรง ให้เปิด โรงเรียนในประเทศไทยอีก จริงอยู่ ในเวลา นี้ เรามีภราดาเซนต์คาเบรียล ซึง่ ทำการสอน อย่างสุดความสามารถ และเราต้องขอแสดง ความขอบคุณในที่นี้ แต่ภราดายังมีจำนวน ไม่พอกับความต้องการของประเทศ เพราะ ฉะนั้นจึงมีความปลาบปลื้มที่ได้เห็นภราดา อีกคณะหนึง่ มาเพือ่ จำนวนคนงานในเนือ้ นา
6
สารสาสน์ ปี ค.ศ. 1951 หน้า 316-317 (รักษาการเขียนจากต้นฉบับ)
ของพระผูเ้ ป็นเจ้า ขณะนีภ้ ราดาเดอลาซาลล์ ๕ องค์ ซึ่งมีท่านภราดาโดมิเช (ชัฟเฟร) ซึง่ เคยเป็นเจ้าคณะแขวงประเทศอินโดจีน เป็น เจ้าคณะแขวงประจำประเทศไทย กำลังก้ม หน้า ก้มตา ศึกษาภาษาไทยอย่างขมักเขม้น เพื่อทำการเปิดโรงเรียนได้โดยเร็ว เราขอต้อนรับคณะภราดาเดอลาซาลล์ดว้ ยความชืน่ ชมยินดี และขออวยพรให้ ภราดาคณะนี้ทำการได้ผลอย่างอุดมสมบูรณ์ด้วยเทอญ!!!6 และนี่ คื อ หลั ก ฐานแห่ ง การทำตาม สัญญาว่าจะมาสยามให้ ได้ และเหตุที่เมื่อ 50 ปีก่อนนั้นทางคณะภราดาลาซาลไม่สามารถเดินทางมาได้ ก็เป็นเรื่องของบุคลากร ที่งานทางสิงคโปร์ มะละกา และเวียดนาม ก็ต้องการบุคลากรเหมือนกัน การที่ทาง คณะลาซาล สามารถส่งภราดามาเมืองไทย ได้นั้น เป็นเพราะมีจำนวนกระแสเรียกการ เป็นนักบวชในคณะที่เพียงพอจนสามารถ ขยายงานทีอ่ น่ื ได้ และนีน่ บั เป็นความสำเร็จ อีกขัน้ หนึง่ เหมือนทีค่ ณะลาซาลในเมืองไทย กำลังเติบโต เพราะมีกระแสเรียกการเป็น นักบวชในคณะลาซาลมากขึ้น
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
107
ภราดาชุดแรกที่เดินทางเข้ามาเมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1951 ซึง่ ประกอบไป ด้วย ภราดาโดมิเช เจ้าคณะแขวง, ภราดาโยเซฟ อธิการ, ภราดาเอมิล, ภราดามาระโก และภราดาเรอโนลต์ ภราดาเหล่านี้เริ่มเรียนภาษาไทยอย่างขะเขม้ น ตามที่ห นั ง สื อ สารสาสน์ ไ ด้ ก ล่ า วไว้ ท่านเรียนภาษาไทยอยูห่ ลายเดือน สามเดือน
จากการเรียนภาษาแล้วบรรดาภราดาลาซาล ยังมีโอกาสในการได้ศึกษาวัฒนธรรม และ เรียนรู้วิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งน่าจะใช้เวลา ในช่วงนี้ประมาณ 1 ปี คือช่วงปี ค.ศ.1952 ยุคเดินทางไกลไปปากน้ำโพริเริ่มงานการ ศึกษา ช่วยเหลืองานอภิบาลและแพร่ธรรม ในมิสซังสยาม
แรกก็ยงั มีความลำบากในการพูดจา และใน การสือ่ สารอยูบ่ า้ ง แต่อาศัยความพากเพียร และความตั้งใจจริงก็สามารถสอบวิชาภาษาไทยจนสามารถมีสิทธิ์สอนเรียนได้ นอก
ก่อนการเดินทางมาดินแดนปากน้ำโพ นครสวรรค์ คณะภราดาลาซาล ได้ทำสัญญากับคณะกรรมการโรงเรียนจีน ฉบับหนึ่ง เพือ่ เช่าตัง้ โรงเรียน จากเอกสารสัญญาเช่า ตั้งโรงเรียน ซึ่งสัญญานี้ ทำให้เราทราบ สถานที่อยู่ของบรรดาภราดาในสมัยแรก คือตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 217/1 ถนนสาธร อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร เป็นสัญญาทีล่ งเดือนกันยายน ค.ศ.1952 เป็นสัญญาที่ทำขึ้นก่อนที่จะเดินทางมานครสวรรค์ และสัญญาที่เช่านั้นเป็นเวลา 3 ปี อัตราค่า เช่าเดือนละ 500 บาท อีกทัง้ ยังกล่าวถึงลัก-
108 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ษณะของการเช่า ได้มีการแบ่งโรงเรียนเป็น สองประเภทคือ ประเภทที่ 1 คือเจ้าของ ซึ่งเป็นผู้ให้ เช่าสถานทีี่ ก็คือคณะกรรมการโรงเรียนจีน ทำสัญญากับผู้เช่าก็คือฝ่ายของภราดาลาซาลโดยแยกให้การบริหารจัดการโรงเรียน เป็นหน้าทีข่ องภราดาลาซาล ในเรือ่ งของเงิน ทุนในการบริหาร เจ้าของซึ่งก็คือคณะกรรมการโรงเรียนจีนไม่มีสิทธิใดๆเลย ประเภทที่ 2 คือเป็นโรงเรียนพิเศษที่ ให้ภราดาลาซาลช่วยสอนภาษาอังกฤษอย่าง เดียว วันละสามชัว่ โมง ห้องหนึง่ มีนกั เรียน ไม่เกิน 40 คน สำหรับโรงเรียนนี้ เจ้าของ และกรรมการ (คณะกรรมการโรงเรียนจีน) เป็นผู้จัดสรรเงินทุนและค่าใช้จ่ายของโรงเรียน อีกทั้งเป็นผู้เสียค่าสอนให้บรรดาภราดา ตามทีค่ ณะภราดาเรียกร้อง โดยที่โรงเรียนประเภทที่สองจะปิดการดำเนินการต่อ เมือ่ มีการเปิดเป็นโรงเรียนพาณิชย์ภาษาอังกฤษแทน และต่อเมื่อนักเรียนชุดแรกของ โรงเรียนสอบไล่ได้ชั้น ม.6 เป็นที่เรียบร้อย สำหรับโรงเรียนประเภทที่ 1 คณะภราดา
7
จะปกครองโรงเรียนตามระเบียบการสอน และข้อบังคับของคณะภราดา เดอ ลาซาล และในขอบเขตของข้อบังคับของกระทรวง ศึกษาธิการ โดยสามารถจ้างครูมาช่วยเหลือ ในการสอนได้ คณะภราดายังสามารถสอนศีลธรรม ได้ด้วย ไม่เพียงเฉพาะด้านวิชาการเท่านั้น7 นอกจากนัน้ แล้วยังพบร่างหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการอำนวยการศึกษาของสถาน ศึกษาแห่งหนึ่งที่ปากน้ำโพ เป็นเอกสารที่ ทำขึ้นระหว่างภราดาลาซาลกับคณะกรรมการโรงเรียนจีนแห่งปากน้ำโพ ทำให้เราทราบ ถึงข้อตกลงระหว่างคณะภราดาเดอลาซาล ที่มีต่อคณะกรรมการโรงเรียนจีน ในข้อที่ หนึง่ นัน้ เป็นการรับการอำนวยการเรียนการ สอนโดยเริ่มในปี ค.ศ.1953 แต่ในเอกสาร ข้อที่ 1 กล่าวว่า คณะภราดาลาซาลมาถึง เมืองไทย และเริ่มภาษาตั้งแต่ ค.ศ.1951 เพราะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติ เกีย่ วกับการศึกษาในประเทศไทย ทีต่ อ้ งสอบ ไล่ได้ตามกำหนด8
สัญญาเช่าตั้งโรงเรียน, กล่องเอกสารคณะลาซาล.ห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
109
นอกจากนัน้ แล้วยังระบุความตัง้ ใจทีจ่ ะ ให้ชอ่ื สถานศึกษาว่า “เดอลาซาล วิทยาลัย” อีกทั้งภายในบริเวณโรงเรียนต้องจัดสถาน ทีต่ า่ งๆให้เรียบร้อยตามที่ได้เคยตกลงไว้กบั เจ้าคณะแขวงอินโดจีน ทีเ่ คยได้ปรึกษาและ ตกลงกันไว้ ในการจัดสถานที่ต้องประกอบ ไปด้วย ที่พักของบรรดาภราดา (ประกอบ ไปด้วย ห้อง, ครื่องตกแต่งห้อง, เครื่องชุด นอน (น่าจะเป็นทีน่ อน), ครัว, ห้องรับประทานอาหาร,ห้องน้ำสุขา,โรงสวด,ฯลฯ) ห้อง เรียน ห้องประชุม ลานเล่น ฯลฯ ลักษณะโรงเรียนในระยะแรก เมื่อพิจารณาจากเอกสารนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็น โรงเรียนเช้าไปเย็นกลับ ที่เก็บค่าเล่าเรียน อย่างไรก็ดีอาจรับนักเรียนที่ไม่ต้องเสียค่า เล่าเรียน หรือเสียเพียงครึ่งเดียวก็ได้ ทั้ง หมดนี้เป็นการพิจารณาจากคณะภราดาผู้จัดการ จำนวนนักเรียนรับได้ ไม่เกิน 200 คน ห้องเรียนหนึ่งจะไม่รับนักเรียนเกิน 40 คน
เปิดสอนเรียนในวิชาภาษาไทย ภาษา อังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้วจึงค่อยเปิดสอนภาษา จีน (กลาง) คณะภราดายังสามารถสอนวิชาที่เป็น เรือ่ งศีลธรรม และมารยาทให้แก่นกั เรียนทุก คน ซึ่งก็สุดแล้วแต่ความเชื่อถือตามศาสนาและความเชื่อของตน คณะภราดาจำเป็นต้องดำเนินชีวติ แบบ หมู่คณะนักบวช และมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการประกอบกิจ ที่เกี่ยวกับฐานะนักบวชและหน้าที่ของท่าน9 ที่กล่าวมาข้างต้นคงทำให้เห็นบรรยากาศในสมัยแรกหลังจากที่คณะภราดาลาซาลเดินทางมาเมืองไทย เรียนภาษาในระยะ หนึ่งแล้ว ก็เดินทางมานครสวรรค์ กับภารกิจแรกในการสอนลูกหลานชาวปากน้ำโพ ทั้งด้านวิชาการ และด้านศีลธรรม วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1953 โรงเรียน โชติรวี ได้ก่อตั้งขึ้น ตามสัญญาในข้อตกลง
ร่างของหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการอำนวยการของสถานศึกษาแห่งหนึ่งที่ปากน้ำโพ, กล่องเอกสารคณะลาซาล. ห้องเอกสารอัครสังฆมณ กรุงเทพฯ 9 ร่างของหนังสือสัญญาเกี่ยวกับการอำนวยการของสถานศึกษาแห่งหนึ่งที่ปากน้ำโพ, กล่องเอกสารคณะลาซาล. ห้องเอกสารอัครสังฆมณ กรุงเทพฯ 8
110 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ระหว่าง ภราดาคณะลาซาลและกลุ่มสมาคมโรงเรียนจีนการร่วมกันกับภราดาคณะลาซาลในด้านการศึกษาที่ปากน้ำโพ เพราะ ต้องการให้ภราดาสอนเรียนภาษาอังกฤษ เพือ่ จะได้ทำการค้ากับชาวสิงคโปร์และฮ่องกงได้อย่างกว้างขวางมากยิง่ ขึน้ อาคารทีท่ ำ สัญญาเช่าเป็นโรงเรียนโชติรวี คือ อาคาร เรียนของโรงเรียนตงฮั้ว จากมูลนิธิปากน้ำโพประชานุเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วยอาคารไม้สองชั้นหนึ่งหลังชั้นเดียวสองหลัง และได้ รั บ อนุ ญ าตให้ เ ปิ ด การเรี ย นการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ.1953 โดยมีภราดาโยเซฟ แมรตส์ เป็นอธิการ นายสุทธิ สุทธิพงษ์ เป็นผู้ถือใบอนุญาต โรงเรียนดำเนินการโดยอาศัยค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เปิดรับ เฉพาะนักเรียนชาย อาคารที่เช่านั้น ตั้งอยู่ เลขที่ 44 ถนนอรรถกวี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบัน ก็คือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ ประชารักษ์
10
วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 คุณพ่อวังกาแวร พระสงฆ์คณะมิสซังต่าง ประเทศแห่งกรุงปารีส10 ธรรมทูตซึ่งถูกให้ ออกจากประเทศจีน ท่านเป็นชาวฝรั่งเศส และต่อมาก็มีคำสั่งให้ทำหน้าที่พระสงฆ์ที่ ประจำคณะภราดาลาซาล ทีน่ ครสวรรค์ ทำ หน้าที่วิญญาณรักษ์ประจำโรงเรียน11 ซึ่งถือ ว่าเป็นคนแรกทีท่ ำหน้าทีน่ ้ี คุณพ่อวังกาแวร์ ต่อมาเป็นพระสังฆราชปกครองสังฆมณฑล นครราชสีมา12 ในขณะที่คณะภราดาลาซาล ทำงานด้านการศึกษาที่นครสวรรค์ เมื่อธรรมทูตผู้แผยแผ่ศาสนา จะขึ้นไปเชียงใหม่ ก็มักจะแวะเยี่ยม ภราดาลาซาลที่โรงเรียน โชติรวี ดังบทความ “จากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่โดยรถยนต์” ทีบ่ นั ทึกไว้วา่ ได้แวะเยีย่ ม ภราดาลาซาล13 ต่อมา คุณพ่อวังกาแวร์ ก็ยา้ ยไปเรียน ภาษาไทย และประจำที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน โดยมีคณ ุ พ่อบีญอล จากวัดเซนต์
คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เป็นคณะพระสงฆ์จากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในสยามเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ.1662 ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านฝ่ายจิต การประกบพิธีมิสซาขอบพระคุณ ศีลอภัยบาป ฯลฯ 12 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1953, ปฏิทินข่าวมิสซังกรุงเทพฯ 13 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1953, บทความ “จากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่โดยรถยนต์” หน้า 12 11
111
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
แอนโทนี ฉะเชิงเทรา มาประจำแทน14 วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 คณะลาซาลยินดีตอ้ นรับ ภราดาชาวจีน ทีม่ าจาก ไซ่ง่อน มาประจำที่โรงเรียนคณะลาซาลที่ นครสวรรค์ ท่านเป็นภราดาชาวแมนจูเรีย (จีนเหนือ) และทิง้ ท้ายด้วยคำพูดทีว่ า่ “หวัง ว่าท่านคงจะทำประโยชน์ให้กบั โรงเรียนมาก”15 ปลายปี 1954 มีการประกาศโยกย้าย พระสงฆ์ คุณพ่อบีญอล ย้ายไปประจำที่ เชียงใหม่ โดยให้คณ ุ พ่อลังฟังต์ จากวัดบ้านนา มาประจำที่โรงเรียนโชติรวีแทน16 จากบทความ “ทัศนาจร 4 จังหวัด ภาคเหนือ” ทำให้เราทราบถึงความต้องการ ทีจ่ ะให้บตุ รหลาน ชาวปากน้ำโพ ได้เข้าเรียน
ในสถานศึกษานั้น แต่ปัญหาเรื่องสถานที่ ก็เป็นปัญหาหลักที่ ไม่สามารถรับนักเรียน เพิ่มได้ การที่ไม่สามารถรับนักเรียนได้ทั้ง หมด จึงมีการสอบคัดเลือกเพือ่ เข้าเรียนอีก ทั้งยังมีการกล่าวถึงบทบาทของ คุณพ่อเทโอฟาน หลง มีเฟองศาสตร์ เจ้าอาวาสวัด นักบุญอันนา นครสวรรค์ ทีม่ บี ทบาทสำคัญ ในการชักนำ และดูแลสมาชิกคณะลาซาล ในระยะแรก “กลับจากลำปางข้าพเจ้าลงแวะปาก น้ำโพ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม (ค.ศ.1955) …คุณพ่อเทโอฟาน ท่านผู้นี้เป็นผู้ชำนาญใน การซือ้ ทีด่ นิ ได้กว้างขวาง และราคาถูก เพือ่ ให้ปากน้ำโพเจริญยิ่งขึ้น ท่านจึงเชิญชวน คณะนั ก บวชให้ ม าสร้ า งโรงเรี ย นใหญ่ โ ต โดยท่านยกที่ให้ คุณพ่ออีกองค์หนึ่งคือ คุณพ่อลังฟงก์ เป็นพระสงฆ์ใหม่ กำลังเรียน ภาษาไทยทีโ่ รงเรียนโชติรวี โรงเรียนนีต้ ง้ั อยู่ กลางเมืองปากน้ำโพ ....”17 “...โรงเรียนโชติรวีมีภราดาลาซาลเป็น ผู้ตั้งและดำเนินการสอน ปีนี้เปิดเป็นปีที่ 3 วันที่ 9 พฤษภาคม (ค.ศ.1955) เป็นวันทีส่ ำ-
สารสาสน์ ปี ค.ศ.1953, “ข่าวมิสซังในประเทศไทย” หน้า 87 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1953, “ข่าวมิสซังกรุงเทพฯ” 16 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1953, “ข่าวมิสซังกรุงเทพฯ” หน้า 546 17 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1955, บทความ “ทัศนาจร 4 จังหวัดภาคเหนือ” หน้า 239 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) 14 15
112 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
คัญทีส่ ดุ ของคนทีย่ นื อยูห่ น้าโรงเรียน18 และ ชาวปากน้ำโพอีกหลายคน เพราะเป็นวันสอบ คัดเลือกนักเรียนใหม่ มีคนมาสมัครมากมาย ต่างก็เตรียมตัวจะชิงกันเข้าเรียนให้จงได้ ทางบ้านส่งคนตามมาเพื่อช่วยเหลือพวก น้องๆเวลานี้กำลังปรึกษากันว่าทำอย่างไร จึงจะสอบได้” “...บรรดานักเรียนทีม่ าสมัครสอบคัดเลือกกำลังตัง้ หน้าตัง้ ตาสอบกันอย่างสุดฝีไม้ลายมือ พี่ๆคอยอยู่ข้างนอก แต่อนิจจา! คนทีจ่ ะสอบเข้าได้จริงๆคงมีแต่นอ้ ย เพราะที่ จำกัด มีหอ้ งเรียนทัง้ หมดเพียง 12 ห้องเท่า นั้น รับได้แค่ 550 คน เมื่อไรหนอโรงเรียน โชติรวีจึงจะเจริญจนกระทั่งรับนักเรียนได้ ทุกๆคน”19 สำหรับบทบาทต่อการช่วยเหลืองาน อภิบาล และแพร่ธรรม คณะภราดาลาซาล ถือได้ว่าได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของ
พระศาสนจักรอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มตั้ง คณะในประเทศไทย ภาพปัจจุบันของการ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนงานอภิบาลและแพร่ธรรมของพระศาสนจักรท้องถิ่นเสมอๆ วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 ฉลองวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ภราดาลาซาล 4 ท่าน ของโรงเรียนโชติรวี ก็เดินทางไปร่วมฉลองวัดครัง้ นีด้ ว้ ย20 ต่อมาในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.1956 คณะภราดาลาซาล 2 องค์ พร้อมด้วยคุณพ่อวิญญาณรักษ์ประจำโรงเรียน ซึ่งเป็นคุณพ่อแวร์ดิแอร์ เดินทางไปร่วมฉลองชุมชนความเชื่อวัดเซนต์นิโกลาส พิษณุโลก พร้อมกับคำพูดทิ้งท้าย จากสัตบุรุษพิษณุโลก “สัตบุรษุ ดีใจทีภ่ ราดา 2 องค์ จากโรงเรียนโชติรวี ไปร่วมฉลองด้วย และจะดีใจ มาก ถ้าสักวันหนึ่ง ภราดาคณะนี้ จะได้ ไป เปิดโรงเรียนที่พิษณุโลกบ้าง”21 คณะภราดาลาซาลที่ปากน้ำโพในเวล านั้น ก็คือปี ค.ศ. 1957 เป็นความภาคภูมิใจของคริสตังค์นครสวรรค์ เพราะเป็นโรง-
บทความที่นำมาอ้างอิงนี้เป็นการอธิบายภาพ ซึ่งเป็นการเขียนที่บรรยายจากภาพ สารสาสน์ ปี ค.ศ.1955, บทความ “ทัศนาจรสี่จังหวัดภาคเหนือ” หน้า 242-243 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) 20 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1956, “ข่าวมิสซังกรุงเทพฯ” หน้า 479 21 สารสาสน์ ปี ค.ศ.1955, “ข่าวมิสซัง” หน้า 700 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) 18 19
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
113
เรียนชายที่มีความก้าวหน้า และกำลังเจริญ ขึ้นเรื่อย ๆ “... ที่ปากน้ำโพ มีโรงเรียนมัธยมชาย ชื่อ โชติรวี ภายใต้การอำนวยการของภราดาเดอลาซาล และโรงเรียนมัธยมหญิง ชื่อ วันทามารีย์ ของคณะภคินีเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร ปากน้ำโพ กำลังเจริญขึ้นทุกวัน เพราะตั้งอยู่ในศูนย์กลางการค้า”22 อีกทั้งจากรายงานประจำปีที่เขียนส่ง ไปที่ศูนย์กลางคณะมิสซังต่างประเทศแห่ง กรุงปารีส ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1957 ยังมีการ กล่าวถึงกิจการของโรงเรียนต่างๆ ที่ดำเนิน การโดยคณะนักบวช ซึง่ รวมคณะภราลาซาล ด้วย “โรงเรียนต่างๆของภราดาเซนต์คาเบรียล ของคณะสงฆ์ซาเลเซียน ของคณะภราดาลาซาล ของคณะเซนต์ ปอลฯ ของคณะอุสุริน ของคณะพระหฤทัย เจริญเฟองฟูอยู่ เสมอ ในการให้การศึกษาแก่นักเรียนชาย หญิงกว่า 20,000 คน”23
ขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1957 เป็นปีที่ สัญญาหมดอายุ สมาคมจีนได้เปลีย่ นคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึง่ ขอขึน้ ค่าเช่าอาคารสถานที่ คณะภราดาลาซาลจึงตัดสินใจ เช่าต่อจนถึงปี ค.ศ.1960 .. ซึ่งในระหว่างนี้ ทางคณะภราดาลาซาล ได้เตรียมหาสถานที่ใหม่ ในการสร้างโรงเรียนเป็นของตนเอง ช่วงนั้นเอง บริษัทบอร์เนียว (East Asiatic) หมดสัมปทาน และขายที่ดินบริเวณใกล้ๆ วัดไทรใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ จึงเสนอ เรือ่ งนีแ้ ก่คณะภราดาลาซาล ทางคณะตกลง ซื้อในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1960 แล้วมอบให้ ภราดาพีเอเวต์ ไมเคิล อธิการโรงเรียน เป็น ผู้ควบคุม ดำเนินการสร้าง ด้านการช่วยงานอภิบาลและแพร่ธรรมของพระสงฆ์ ในปี ค.ศ.1957 คุณพ่อแวร์ดิแอร์ มีความคิดทีจ่ ะสร้างวัดทีม่ โนรมย์ ดัง ที่ท่านตั้งใจไว้ และได้ทำการเสกในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ.1958 ในวันที่มีการเปิด เสกวัด ตามบันทึกในสารสาสน์ ทำให้เราเห็น ความร่วมมือของบรรดาคริสตชนในสถานที่
22 23
สารสาสน์ ปี ค.ศ.1957, “ข่าวมิสซังกรุงเทพฯ” หน้า 402 (รักษาการเขียนจากต้นฉบับ) รายงานประจำปี เล่ม 3 ปี 1938-1963 มิสซังกรุงเทพฯ, ห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. หน้า 328 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ)
114 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ต่างๆและเห็นความร่วมมือในการช่วยเหลือ งานอภิบาลของพระสงฆ์ จากภราดาคณะลาซาล ที่มาร่วมพิธีกรรม และการแสดง ของเด็กๆมาร่วมแสดง ในงานชื่นชมยินดี ครั้งนี้ด้วย “.....มาถึงสมัยคุณพ่อคาเบรียล แวร์นิเอร์ มาเป็นวิญญาณรักษ์ประจำโรงเรียน โชติรวี คุณพ่อยือแบง เจ้าวัดบ้านแป้ง จึงขอร้องให้คุณพ่อแวร์นิเอร์ มาดูแลคริสตังค์ที่นี่ เพราะห่างจากปากน้ำโพราว 50 กิโลเมตร ทุกครัง้ ทีม่ าทำมิสซา สัตบุรษุ ต่างแสดงความ ปรารถนาอยากได้วดั ทีส่ ดุ คุณพ่อแวร์นเิ เอร์ ก็ตกลงใจสร้าง แต่หาที่บนบกไม่เหมาะ จึง สร้างเป็นแพ อย่างเดียวกับบ้านสัตบุรษุ ซึง่ มีจำนวนราว 100 เศษ24 หากินทางจับปลา และเลี้ยงปลา เป็นสำคัญ เมือ่ รับอนุญาตจากพระสังฆราช ล.โชแรง คุณพ่อได้ออกแบบ หน้าวัดกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร มีประตูเดียว หอระฆังอยูส่ ว่ น บน การสร้างกินเวลาบ้างเพราะไม่สู้มีเงิน และต้องการปรับปรุงให้ทกุ ส่วนกลมกลืนกัน
24
ประมาณ 100 คน (เนื่องจากเอกสารต้นฉบับ ไม่มีหน่วย)
หลังคาทาสีแดง รอบนอกทาน้ำมันชักเงา ภายในสีเขียวแก่และอ่อน เพดานขาว มีหน้าต่างข้างละห้า บนหน้าต่างประดับภาพกระจกสี ข้างขวาเป็นชีวประวัติ นักบุญเปโตร องค์อุปถัมภ์ของวัดลอยน้ำนี้ ข้างซ้ายเป็น ชีวประวัตแิ ม่พระ บนประตูเป็นภาพปลาสาม ตัว หมายถึงพระตรีเอกภาพ สัตบุรุษ ชาย สิบสองคนนับว่ามีส่วนสำคัญบันดาลให้วัด นี้บรรลุผลสำเร็จ วันเสกวัดเนื่องจากขณะนั้นพระสังฆราชยังไม่กลับจากต่างประเทศจึงได้เชิญพระสังฆราช ลากอสต์ เป็นผู้เสก ขั้นแรกกำหนดงานวันที่ 16 ตุลาคม แต่บงั เอิญสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 สวรรคต จึงเลือ่ น งานมาเป็นวันที่ 23 ตุลาคม เช้าวันนัน้ รถยนต์สค่ี นั บรร ทุกสัตบุรษุ ภราดาภคินี และนักเรียนจากปากน้ำโพ มา สูม่ โนรมย์ รถพระสังฆราชมาเป็นคันสุดท้าย วัดใหม่นี้อยู่ที่ท่าซุง เหนืออำเภอมโนรมย์ ราว 1 กิโลเมตร คณะสัตบุรุษได้ล่องแพวัด (วัดลอยน้ำ) มารับพระสังฆราช ตรงปากน้ำอุทัย (สะแกกรัง) ไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
115
เมื่อล่องไปถึงท่าซุงแล้ว พระสังฆราชก็เริ่ม พิธเี สก มีคณ ุ พ่อเมอนิเอร์เป็นผูช้ ว่ ย คุณพ่อ โกมัลเป็นดีอาโกโน คุณพ่อลังเยร์เป็นซุบดี อาโกโน เริ่มลงเรือเสกรอบวัดก่อน แล้วจึง เสกภายใน เสร็จแล้วเสกระฆัง คณะสงฆ์ราว 25 องค์ และนักเรียนโรงเรียนวันทามารี ขับ ประสานเสียงในพิธีระหว่างมิสซา คุณพ่อ ลาบอลี่ เทศน์อย่างจับอกจับใจ ผู้ฟังต่าง ดื่มด่ำในคำพูดอย่างซาบซึ้ง คณะนักเรียน พากันลงเรือไปเที่ยว จ.อุทัย ซึ่งห่างจากมโนรมย์ราว 8 กิโลเมตร บ่ายสองโมง เข้าวัด สวด อวยพร และขับเตเดอุม สมนาคุณพระเจ้า ต่อจาก นัน้ มาชุมนุมกันทีห่ น้าวัด ชมการแสดงของ โรงเรียนวันทามารีและโชติรวี เป็นเวทีลี อยน้ำผูช้ มอยู่ในเรือ ตอนแรกเป็นการแสดงของ โรงเรียนวันทามารี เริ่มด้วยเต้นบอลเล่ต์ ต่อไปเป็นกายกรรม รำต่างๆ และสุดท้าย เป็นบอลเล่ต์ดอกไม้ จบแล้วนำช่อดอกไม้ ถวายพระคุณเจ้า พร้อมกับผู้แทนสัตบุรุษ กล่าว คำนับพระสังฆราช และคุณพ่อเจ้าวัด ตลอดจนแขกทุกท่าน คุณพ่อแวร์นิเอร์
กล่าวตอบขอบคุณพระสังฆราช พระสงฆ์ และมิตรสหาย ที่มีส่วนช่วยสร้างวัดนี้เป็น ผลสำเร็จ ทีค่ วรกล่าวนามคือ ภราดาลาซาล ภราดาเซนต์คาเบรียล ซึ่งท่านเจ้าคณะกับ ภราดาอีก 4 องค์ มาร่วมงานนีด้ ว้ ย และโดย เฉพาะ ภคินีคณะเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ต แห่งโรงเรียนวันทามารี ที่สุดพระสังฆราช ได้อวยพรแก่ทุกคน และจากนั้นเป็นการ แสดงกีฬาของโรงเรียนโชติรวี เป็นที่ตื่นเต้น เรียบร้อยน่าชมมาก”25 บทเรียนในอดีตเรื่องบุคลากรที่เป็น นักบวชไม่เพียงพอ จนไม่สามารถส่งไปช่วย ที่อื่นได้ และเพื่อส่งเสริมกระแสเรียกการ เป็นนักบวชในคณะภราดาลาซาล จึงมีความคิ ด ในการเป ด บ้ า นเณรเล็ ก คณะลาซาล ขึ้นที่นครสวรรค์ เรียกว่า ยุวนิสเดอลาซาล เราค้นพบข้อมูลในสารสาสน์ ที่บ่งบอกวัน เวลา สถานที่ ในการเปิดบ้านเณรเล็กของ คณะลาซาลทีน่ ครสวรรค์ การเชิญชวนเยาวชนชายเพือ่ เป็นนักบวชในคณะลาซาล และ เรือ่ งราวแห่งกระแสเรียกคณะลาซาลทัว่ โลก
25
หนังสือสารสาสน์ ปี 1958 หน้า 623-626 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ)
116 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
“...ในเดือนพฤษภาคมนี้ (ค.ศ.1959) คณะภราดาลาซาลจะเปิดบ้านเณรภราดา (ยุวสถาน)ที่ปากน้ำโพ .... ท่านที่อยากทราบ ว่าภราดาคณะนี้ทำอะไรบ้างใน 72 ประเทศ ..... คณะภราดาเดอลาซาลมีภราดา 15,498 รูป ให้ความรู้แก่เด็ก 547,329 คน ใน 1,404 โรงเรียน”26
ที่ สุ ด แล้ ว ในท้ า ยบทความเพื่ อ เชิ ญ ชวน ให้เป็นสมาชิกคณะลาซาล ทีก่ ำลังเปิด บ้านเณรใหม่ ก็มีบันทึกไว้ว่า “ประเทศไทย คณะเดอลาซาลมาดำเนินกิจการได้ 6 ปีแล้ว (ภราดามาจากฝรั่งเศส,แคนาดา,อังกฤษ,และจีน) สอนนักเรียน จำนวน 1,200 คน ตัง้ แต่ประถมหนึง่ ถึงมัธยมหก ปีนค้ี ณะจะเปิดบ้านเณรภราดาทีป่ ากน้ำโพ ท่านผูอ้ า่ นอยากเป็นภราดาบ้างไหม”27 หนังสือสารสาสน์ ปี 1959 หน้า 120 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) หนังสือสารสาสน์ ปี 1959 หน้า 121 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) 28 หนังสือสารสาสน์ ปี 1959 หน้า 202-204 26 27
นอกจากนัน้ แล้วยังพบบทความทีเ่ ขียน เกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ที่จะสมัครเข้ายุวสถานของภราดาเดอลาซาล ในบทความนี้ บอกวันชัดเจนว่า จะเปิดยุวสถานเดอลาซาล วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1951 โดย แบ่งเนื้อหาเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้คือ เรือ่ งการปฏิบตั งิ าน เป็นด้านของวิชาการ คือรับมาเรียนในสถานศึกษา ต้องเรียน ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน ภาษาอื่นๆด้วย วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์ดว้ ย การเรียน ต้องเรียนจริงจัง สามเณรเหล่านีเ้ มือ่ จบแล้ว ทางคณะจะส่งไปเรียนต่อทีป่ นี งั ประเทศมาเลเซีย เรือ่ งการเล่น สามเณรต้องฝึกหัดการเล่น เพื่อสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้การ ศึกษาก้าวหน้า บางครั้งมีการท่องเที่ยวนอก สถานที่ เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และเพื่อความสนุกสนาน เรื่องการสวดภาวนา ต้องฟังมิสซาทุก ๆเช้า สวดภาวนา และฝึกหัดขับร้อง เป็น วิธีการเพื่อพาเราไปถึงพระเจ้า28
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
นอกจากเรื่องราวของการแนะนำคณะ ภราดา เดอ ลาซาล การเชิญชวนเพื่อให้ เข้าเป็นสามเณรในยุวสถานเดอลาซาลที่ กำลังจะเปิดแล้ว ยังมีบทความที่เขียนโดย “ภราดาเดอลาซาล ปากน้ำโพ” เรือ่ งฉันอยากเป็นพระสงฆ์ ซึง่ เป็นเรือ่ ง ราวประวัติของบุญราศี เทโอฟาน แวร์นาร์ด อยากเป็นพระสงฆ์ตง้ั แต่เป็นเด็ก เมือ่ ได้เป็น พระสงฆ์ถกู ส่งมาทีป่ ระเทศเวียดนาม ได้รบั การเบียดเบียน ที่สุดแล้วท่านก็สิ้นใจเยี่ยง มรณะสักขีของพระเจ้า29 และนี่เป็นความสามารถของภราดา เดอลาซาล ที่สามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆ เป็นลักษณะง่ายๆและมีภาพประกอบดึงดูด ความสนใจของเด็กๆ จากรายงานกลุม่ พระสงฆ์ผู้แพร่ธรรม ในมิสซังกรุงเทพฯ ปีค.ศ. 1959 มีบนั ทึกไว้วา่ “ในบรรดาสิง่ ตีพมิ พ์ทง้ั หลายในรอบปีน้ี ข้าพเจ้าต้องพูดถึงการพิมพ์ คูม่ อื คำสอน ซึง่ ทำให้หนังสือคำสอนน่าเรียน และเข้าใจง่าย เพราะมีรปู ภาพประกอบ และ เนื้อหาที่มีประโยชน์มาก คู่มือเหล่านี้เป็น
117
เกียรติแก่ คือ พวกภราดาคณะลาซาลทีป่ ากน้ำโพ และเป็นเกียรติแก่โรงพิมพ์ของมิสซังด้วย”30 ปี ค.ศ.1960 เหตุการณ์สำคัญอีกประการหนึ่งในยุคสมัยแรกของการเข้ามาตั้ง คณะภราดาลาซาลในประเทศไทย คือการ ย้ายอาคารทีเ่ ช่าจากสมาคมจีนมายังอาคาร ใหม่ที่ตั้งอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ตั้งเลขที่ 18 ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอาคารที่ตั้งบนที่ดิน ที่คณะซื้อจาก บริษัทเบอร์เนียว ที่กล่าวไว้ ข้างต้น รายงานประจำปี ค.ศ.1961 ที่รายงานเฉพาะในเขตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้กล่าวถึงการย้ายเข้ามาอยู่ในที่ ใหม่ของ ภราดาเดอลาซาล ปากน้ำโพ ดังนี้ “บราเดอร์ของคณะโรงเรียนคริสตัง ซึ่งเคยสอนในอาคารของคนจีนที่ปากน้ำ31 ตั้งแต่แรกมาเมืองไทย บัดนี้ได้ย้ายไปย้าย ไปในอาคารใหญ่ ซึ่งท่านได้สร้างไว้ในที่ดิน ของท่านเองริมแม่นำ้ เจ้าพระยา32 รับนักเรียน ได้ 1,500 คน”33
หนังสือสารสาสน์ ปี 1959 หน้า 294-296 รายงานประจำปี เล่ม 3 ปี 1938-1963 มิสซังกรุงเทพฯ, ห้องเอกสารสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. หน้า 331 31 น่าจะเป็นปากน้ำโพ ต้นฉบับน่าจะมีการพิมพ์ตก เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และลำดับเวลาแล้วน่าจะเกิดขึ้นที่ปากน้ำโพ ไม่ใช่ปากน้ำ 32 อันที่จริงคือแม่น้ำปิง 33 รายงานประจำปี เล่ม 3 ปี 1938-1963 มิสซังกรุงเทพฯ, ห้องเอกสารสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. หน้า 336 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) 29 30
118 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ทศวรรษแห่งการบุกเบิกอาจสรุปด้วย ความชื่นชมยินดีจากการเปิดอาคารเรียน ใหม่ ในที่ดินใหม่ ที่คณะภราดาลาซาลเป็น เจ้าของ ตามที่หนังสือสารสาสน์ ได้บันทึก เรือ่ งราววันแห่งความชืน่ ชมยินดีวนั นัน้ ไว้ดงั นี้ “วันที่ 28 มกราคม (ค.ศ.1961) ทาง โรงเรียนโชติรวี ปากน้ำโพ ซึ่งดำเนินการ โดยคณะลาซาล ได้จัดงานเปิดตึกอาคาร เรียนใหม่ ... เวลา 10.00 น. ครูใหญ่เสนอ รายงานกิจการ ต่อผูว้ า่ ราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธานในพิธี ประธานกล่าวตอบ ชมเชยคณะภราดา ผูเ้ สียสละนำความเจริญ ในด้านการศึกษามาสู่จังหวัดนี้ เสร็จแล้ว ประธานกดปุ่มปล่อยลูกโป่ง เปิดแพรคลุม ป้ายชื่อโรงเรียน ต่อจากนั้น ฯพณฯ พระสังฆราชลากอส์ต34 ประธานทางศาสนพิธี ประกอบจารีตเสกโรงเรียน ... ท่านอธิการ นำบรรดาแขกผู้มีเกียรติชมอาคารเปิดใหม่ และการแสดงแฟนซีงดงามของนักเรียน ตอนบ่ายมีแข่งขันจักรยานนักเรียน ตอนค่ำ มีบ๊อกซ์แดนส์ และปิดงานด้วยภาพยนตร์ เรื่องอภินิหารเสื้อคลุม35 34
นอกจากนั้นแล้วในบทความดังกล่าวยังมีประวัตสิ น้ั ๆของโรงเรียนทีเ่ ริม่ จาก การเช่าสถานที่ของสมาคมจีน (รร.ตงฮั้ว เดิมซึ่งถูกทางการสั่งปิด) จากปีแรกที่มีนักเรียน 250 คน โรงเรียนเติบโตขึ้นเรื่อยๆจน สถานทีค่ บั แคบเกินไป นำไปสูก่ ารขยายโรงเรียน ต้องปลูกสร้างอาคารใหม่ถงึ 3 หลัง... ที่สุดก็ย้ายมาตั้งโรงเรียนที่ใหม่ อย่างที่เคย กล่าวไปแล้ว อาคารเรียนตั้งอยู่ริมแม่น้ำ สูง 3 ชั้น ยาว 109 เมตร เป็นห้องเรียน 30 ห้อง...ในเวลานั้นมีนักเรียน 1,400 คน เป็น นักเรียนประจำ 100 คน เป็นเณรภราดา 20 คน36
พระสังฆราชปกครองสังฆมณฑลเชียงใหม่ ชื่อเต็มว่า พระสังฆราชแบร์นาร์ด ลูเซียน ลากอสต์ ปกครองสังฆมณฑลในปี ค.ศ. 1953-1975 หนังสือสารสาสน์ ปี 1961 หน้า 114-115 (รักษาการเขียนตามต้นฉบับ) 36 หนังสือสารสาสน์ ปี 1961 หน้า 115 35
คณะภราดาลาซาล...“คณะภราดาแหงโรงเรียนคริสตังค์”
119
บทสรุป ทศวรรษแรกแห่งการบุกเบิกนัน้ มีเรือ่ งราวมากมายที่ประวัติศาสตร์ ไม่ได้บันทึกไว้ อาจเป็นความทุกข์ยากของบรรดาภราดา ที่ต้องมารับวัฒนธรรมใหม่ๆที่ตนเองไม่เคย ชิน และต้องมาเริม่ งานใหม่ในมิสซังห่างไกล ที่ไม่ใช่บา้ นเกิดของตน ย่อมมีความยากลำบากอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่บรรดาภราดาเลือก ทีย่ นื หยัด ไม่หลบหนี ไม่หลีกเลีย่ ง ตามอุดมการณ์และจิตตารมณ์ที่ตนเองได้ตั้งไว้เมื่อ วันที่สมัครเข้าเป็นนักบวช จากกรอบเล็กๆของปี ค.ศ.1951 ภราดากลุม่ แรกเดินทางเข้ามา จากวันนัน้ ไม่ มีอะไรเลย ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด .. 10 ปี ผ่านไป สถาบันลาซาลมีโครงสร้างทีเ่ ข้มแข็ง มากในระดับหนึง่ และในวันนี้ 60 ปี สถาบัน
ลาซาลก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยัง้ เสมอ เครือ่ ง วัดความสำเร็จประการหนึ่งก็คือการมีนักบวชลาซาลที่เป็นคนพื้นเมือง และนี่เป็นผล มาจากความทุ่มเทตั้งแต่วันแรกของบรรดา ภราดาลาซาลยุคแรก ๆ และที่สำคัญคณะภราดาลาซาล ไม่ได้ โดดเด่นในการช่วยเหลืองานของมิสซังเฉพาะ เรือ่ งการศึกษาคาทอลิกเพียงอย่างเดียวเท่า นั้น ยังมีความชำนาญในการอธิบายคำสอน การผลิตสื่อสำหรับสอนคำสอน ซึ่งเป็นบท บาทที่เด่นชัดในการช่วยเหลืองานอภิบาล และแพร่ธรรม ซึ่งภาพแห่งการช่วยเหลือ ดังกล่าวนัน้ เป็นมาตัง้ แต่วนั แรกทีค่ ณะภราดาเดินทางเข้ามา จวบจนทุกวันนี้ภาพแห่ง การช่วยเหลืองานด้านต่างๆของมิสซังก็ยัง คงอยู่อย่างต่อเนื่อง Live Jesus in our hearts forever
120 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
ºÒ·ËÅǧÊÁªÑ ¾Ô·ÂÒ¾§È ¾Ã ชื่อหนังสือ
หัวใจของชีวิตคริสตชน:ข้อคิดเกี่ยวกับพิธีบูชาพระคุณศักดิ์สิทธิ์ (Heart of the Christian Life : Thoughts on Holy Mass) ผู้เขียน สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ผู้จัดพิมพ์ lgnatius Press พิมพ์ครั้งแรก 2010 จำนวนหน้า 117 หน้า สำนักพิมพ์อิกญาซีอุสได้รวบรวมบทเทศน์ที่ลึกซึ้ง ชัดเจน เข้มข้น เชื่อมโยงกัน ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่16 เกีย่ วกับความสำคัญของศีลมหาสนิท พระองค์เทศน์สอนแบบอาจารย์ ผูอ้ า่ นจะค้นพบ ความยินดีของชีวติ คริสตชน และความงดงามของการนมัสการพระเจ้าของคริสตชน คาทอลิกในรูปแบบใหม่ หนังสือนี้มี 17 บท ขอแบ่งเป็นสามภาค และมีเนือ้ หาสำคัญโดย สังเขปมีดังนี้
บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุร,ี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
แนะนำหนังสือ
ภาคหนึ่ง ศีลมหาสนิท:ปงแห่งชีวิต:หนทาง สู่ความศักดิ์สิทธิ์(บทที่ 1-6) ปงแห่งชีวิต บทเทศน์ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ในพิธีบูชาขอบพระคุณสมสมโภชพระคริสตกายา (Corpus Christi) และการแห่ศีลมหาสนิท ณ พระวิหารนักบุญยอห์น ลาเตลัน พระสันตะปาปาทรง เน้นว่าการแห่ศีลมหาสนิทเป็นการเดินทาง ในระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำครั้งสุดท้าย ของค่ำคืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้า ทรงตัง้ ศีลมหาสนิท และในค่ำคืนนัน้ เองพระองค์ ได้ทรงมอบพระองค์แก่ผู้ทรยศ และผู้ ที่จะทำลายพระองค์ การทำดังนี้ทำให้พระ- องค์ชนะความมืดของความชั่วร้าย ข้ามพ้น ความตายสูช่ วี ติ ใหม่ ศีลมหาสนิทคือ พระกายของพระองค์ซง่ึ ได้กลายเป็นปังที่ให้ชวี ติ ใหม่ เป็นชีวติ ทีด่ ำเนินสูค่ วามสัมพันธ์กบั พระเจ้าพระบิดา และสัมพันธ์เพือ่ นมนุษย์ทกุ คน ถ้าไม่รว่ มพิธบี ชู าขอบพระคุณวันอาทิตย์ เราไม่สามารถดำเนินชีวิตคริสตชนได้ บทเทศน์ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ในพิธี บูชาขอบพระคุณปิดการชุมนุมนมัสการศีล มหาสนิทระดับชาติ ของประเทศอิตาลีครั้ง ที่ 24 ที่เมืองบารี พระองค์ ได้เล่าเหตุการณ์ ประวั ติ ศ าสตร์ ใ นช่ ว งเบี ย ดเบี ย นคริ ส ตศาสนา ในป ค.ศ.304 คริสตชนจำนวน 49
121
คนในเมืองอาบีตนี (Abitene) ปัจจุบนั อยู่ใน ประเทศตูนิเซีย ได้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นการฝาฝนคำสั่งของ จักรพรรดิโรมัน ผู้แทนจักรพรรดิได้ถามว่า ทำไมจึงทำเช่นนี้ คริสตชนกลุ่มนี้ได้ตอบว่า “ถ้าไม่ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ เราไม่สามารถดำเนินชีวิตคริสตชนได้” ต่อ มาคริสตชนกลุ่มนี้ได้เป็นมรณสักขีเพื่อเป็น พยานยืนยันความเชือ่ และความรักต่อพระคริสตเจ้า และเป็นแบบอย่างสำหรับคริสตชนในสมัยต่อมา รวมทั้งในสมัยของเราด้วย พระนางมารีย์สตรีแห่งศีลมหาสนิท พระสันตะปาปาเบเนดิกต์กล่าวปราศัยโอกาสปิดเดือนแม่พระ พระองค์ ได้กล่าวถึง พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ในพระสมณสาสน์เรื่องพระศาสนจักรแห่งศีลมหาสนิท ได้กล่าวถึงชีวิตของพระนางมารีย์ ได้แสดงให้เห็นว่า พระนางคือ สตรีแห่งศีลมหาสนิท (E.E.53) ในชั่วโมงของพระเยซูเจ้า ในพิธีบูชา ขอบพระคุณในเวลาของพระเยซูเจ้าได้กลาย เป็นเวลาปัจจุบันของเรา พระเยซูเจ้ามิได้ สอนให้เราทำพิธีกรรมซ้ำๆกัน แต่พระองค์ ทรงสอนให้เราเข้าสูเ่ วลาของพระองค์ซง่ึ เป็น ปัจจุบันเสมอ อาศัยพระวาจาในบทภาวนา แห่งศีลมหาสนิทหรือบทขอบพระคุณ
122 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
เหล้าองุ่นของความรักแท้ พระคัมภีร์ ใช้ภาพลักษณ์ของน้ำและเหล้าองุน่ น้ำทำให้ ชีวติ ดำรงอยู่ได้ และเหล้าองุน่ ทำให้เกิดความ ยินดีในใจ อุปมาเรื่องคนเช่าสวนชั่วร้าย(มธ 21:33-40) แสดงให้เห็นถึงความโลภ ความ หยิง่ ความหลงของมนุษย์ ทีต่ อ้ งการครอบครองทุกอย่างเป็นของตนเอง โดยวิธีการ รุนแรง เวลาแห่งความยุติธรรมและการตัด สินจะมาถึง เวลาแห่งความหวังก็มาถึงด้วย “หินที่ช่างก่อสร้างทิ้งเสียนั้น ได้กลายเป็น ศิลาหัวมุม” (มธ 21:42) “เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ดำรงอยู่ในเรา และเราดำรงอยู่ในเขาจะเกิดผลมาก”(ยน1 5:5) ศีลมหาสนิทเป็นหนทางสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิ์ เป็นบ่อเกิดของความศักดิส์ ทิ ธิ ์ และการหล่อ เลี้ยงด้านจิตวิญญาณ เพื่อการปฏิบัติพันธกิจในโลก ทำให้เราสามารถปฏิบัติบัญญัติ ใหม่แห่งความรักได้สมบูรณ์ขน้ึ โดยการกลับ ใจ “ละทิ้งรูปเคารพมาสู่พระเจ้า เพื่อรับใช้ พระเจ้าแท้จริงผู้ทรงชีวิต” (1ธส1:9) ให้เรา เริ่มต้นจากพระคริสตเจ้า เหมือนศิษย์ของ พระเยซูเจ้าที่หมู่บ้านเอมมาอูสที่ใจเร่าร้อน เมือ่ ฟังพระองค์อธิบายพระคัมภีร ์ และจำพระองค์ ได้ เมื่อพระองค์ทรงบิขนมปัง แล้วรีบ เร่งออกเดินทางกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อ
แบ่งปันข่าวดีเกี่ยวกับประสบการณ์ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงกลับคืนชีพ แก่บรรดาศิษย์ คนอื่นๆ (ลก24:32-35) ภาคสอง พระศาสนจักรเป็นชุมชนแห่งศีล มหาสนิท (บทที่ 7-13) พระเยซูคริสตเจ้า:องค์ความรักที่บังเกิด เป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึง่ ของพระสมณสาสน์ ฉบับแรกของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท่ี 16 “พระเจ้าคือความรัก” (ข้อ 12-14) พระเจ้าคือความรัก (1ยน4:8) พระเยซูคริสตเจ้า ได้เผยแสดงความรักของพระเจ้า ด้วยคำสอนเรื่องอุปมา เมื่อผู้เลี้ยงแกะออกไปตาม หาแกะที่พลัดหลง หญิงที่ค้นหาเงินเหรียญ ที่หายไป บิดาที่ออกไปหาและสวมกอดลูก ล้างผลาญ และด้วยชีวิตการสิ้นพระชนม์ บนไม้กางเขนเพือ่ ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น พระ- องค์ยังคงมอบพระองค์เองแก่เราทางศีลมหาสนิท ทำให้เราเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้า และเพื่อนมนุษย์ มิตรสหายของพระเยซูเจ้า เป็นบทเทศน์ ในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ เป็นเวลาที่พระองค์ ทรงตัง้ ศีลมหาสนิทและแต่งตัง้ บรรดาอัครสาวกเป็นพระสงฆ์ เพื่อทำหน้าที่สงฆ์ของ พระองค์ต่อไป พระเยซูเจ้าทรงแต่งตั้งบาง คนให้เป็นพระสงฆ์ เพื่อรับใช้สืบสานพันธกิจของพระองค์ เป็นมิตรสหายของพระองค์
แนะนำหนังสือ
(ยน15:15) มีวถิ ชี วี ติ ทีส่ นิทสัมพันธ์กบั พระองค์ ในการภาวนา ฟังและปฏิบตั ติ ามพระวาจา รับใช้ จนสามารถยอมสละชีวิตเพื่อผู้ อื่นเหมือนพระเยซูเจ้า ความหวังของเมล็ดข้าวสาลี ปังเป็น ผลจากแผ่นดินและน้ำพักน้ำแรงของมนุษย์ คือ มาจากพระเจ้าพระผู้สร้างและจากมนุษย์ ธรรมล้ำลึกปัสกาการสิ้นพระชนม์และ การกลับคืนพระชนม์ชีพ ซ่อนอยู่ในปังที่ทำ จากเมล็ดข้าวสาลี พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้า เมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงในดินและตายไป มัน ก็จะเป็นเพียงเมล็ดเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามัน ตาย มันจะเกิดผลมากมาย” (ยน12:24) ชีวิตคริสตชนต้องผ่านธรรมล้ำลึกแห่งปัสกา ผ่านการเลิก ลด ละ การตายต่อความเห็น แก่ตัว การชำระให้บริสุทธิ์ และเติบโตสู่วุฒิ ภาวะแห่งความรัก พระศาสนจักรจึงเป็นชุมชนของศีลมหาสนิท พระเยซูเจ้าตรัสกับนักบุญเปโตร ว่า “ท่านคือศิลา และบนศิลานีเ้ ราจะตัง้ พระศาสนจักรของเรา” (มธ16:18) นักบุญเปโตร กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นผูอ้ าวุโสคนหนึง่ เป็น พยานถึงพระทรมานของพระคริสตเจ้า และ มีส่วนจะรับพระสิริรุ่งโรจน์ที่จะปรากฏในอนาคตด้วย (1ปต5:1) นักเปโตรถูกทดลอง ด้วย พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ซีโมน ซีโมน
123
จงฟังเถิด ซาตานได้ขอและพระเจ้าทรงอนุญาตให้ซาตานทดสอบท่าน… แต่เราอธิ- ษฐานอ้อนวอนเพือ่ ท่านให้ความเชือ่ ของท่าน มัน่ คงตลอดไป และเมือ่ ท่านกลับใจแล้ว จง ช่วยค้ำจุนพีน่ อ้ งของท่านเถิด” (ลก22:31-32) นักบุญเปโตรได้กลับใจ “เปโตรจึงออกไป ข้างนอก ร้องไห้อย่างขมขื่น” (ลก22:62) พระศาสนจักรตั้งขึ้นพร้อมกับการตั้งศีลมหาสนิท พระศาสนจักรจึงเป็นชุมชนของศีลมหาสนิท นักบุญเปโตรเป็นผูช้ ว่ ยรักษาความ เป็นหนึง่ เดียวกัน และพระคริสตเจ้าได้มอบ ให้นักบุญเปโตรดูแลพระศาสนจักรสืบสาน ต่อจากพระองค์ด้วย (ยน 21:15-19) พระเจ้ามิได้อยู่ห่างจากเรา คริสตชน พบพระคริสตเจ้าในพระวาจา และศีลมหาสนิท บิดามารดาต้องช่วยให้บุตรเติบโตใน ความเชื่อ ร่วมสนับสนุนในการรับศีลมหาสนิทครัง้ แรก พาไปวัดในวันอาทิตย์ ร่วมภาวนาในครอบครัว พระสงฆ์ต้องทำให้ชุมชน วัด เป็นชุมชนด้านจิตวิญญาณของบรรดา สัตบุรุษ ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนวัด ต้องมีการประสานและดำเนินตามวิถีชีวิต คริสตชนไปด้วยกัน ศีลมหาสนิทเป็นศีลแห่งชีวิตของพระ เจ้า จากพระสมณลิขิตเตือนหลังสมัชชาพระสังฆราช ศีลมหาสนิท (Sacramentum
124 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2011/2554
Caritaris) :ศีลแห่งความรัก:บ่อเกิดและจุด สูงสุดแห่งชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร ของ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท ี่ 16 (ข้อ 1,2,11,33,70-74,97.) ศีลมหาสนิท คือ ศีลแห่งความรักซึ่งพระคริสตเจ้ามอบ พระองค์เองแก่มนุษย์ “ไม่มีใครมีความรัก ยิ่งใหญ่กว่าการสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย”(ยน 15:13) “พระองค์ทรงรักเขาจนถึง ที่สุด” (ยน13:1) เป็นอาหารแห่งความจริง เป็นภาพล่วงหน้าเปิดทางสู่ความจริง ศีล- มหาสนิทกับพระนางพรหมจารีมารีย์ ศีลมหาสนิทเป็นรูปแบบชีวติ คริสตชน การถวาย คารวกิจด้วยจิตใจ ผลของพิธีบูชาถวายคารวกิจครอบคลุมทั้งชีวิต ให้ดำเนินชีวิตสอด คล้องกับวันพระเจ้า ดำเนินชีวติ ถือวันพระเจ้า ความหมายของการหยุดพักและการ ทำงาน และบทส่งท้าย ศีลมหาสนิทบ่อเกิดและแหล่งเรียนรู้ ความรัก เป็นบทเทศน์ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ในพิธีบูชาขอบพระคุณ กับบรรดาเยาวชนผู้ต้องโทษและถูกจองจำ ในเรือนจำในกรุงโรม พระสันตะปาปาทรง เสด็จไปเยี่ยมอธิบายพระวาจา เรื่องอุปมา เรื่องลูกล้างผลาญได้อย่างน่าฟัง เชิญชวน ท้าทาย ให้กำลังใจ และความหวัง
ภาคสาม พระทรมานของพระเยซูเจ้าและ การกลับคืนชีพใหม่ (บทที่ 14-17) พระทรมานของพระเยซูเจ้า บทเทศน์ ในพิธีบูชาขอบพระคุณค่ำวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ จากพระวรสารนักบุญยอห์นและจาก หลักฐานพระคัมภีรข์ องกุม่ ร่านได้พบว่า เว- ลาทีพ่ ระเยซูเจ้าสิน้ พระชนม์บนกางเขน เป็น เวลาเดียวกับการถวายลูกแกะปัสกาในพระ วิหาร พระเยซูเจ้าและบรรดาศิษย์ฉลองปัสกาโดยไม่มีลูกแกะตามทำเนียมและตามปฏิทินของชุมชนกุ่มร่าน การฉลองปัสกาของ พระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ ได้สละชีวิตของ พระองค์เองโดยสมัครใจ “ไม่มีใครเอาชีวิต ไปจากเราได้ แต่เราเองสมัครใจสละชีวติ นัน้ ” (ยน10:18) พระองค์ทรงเป็นลูกแกะ “นี่คือ ลูกแกะของพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของ โลก” (ยน1:29) และพระคริสตเจ้าทรงเป็น พระวิหารทีป่ ระทับของพระเจ้า คุณธรรมล้ำ ลึกปัสกาเกิดขึ้น และดำเนินต่อไปในพิธีบูชาขอบพระคุณในปัจจุบัน การมอบอุทิศตนของพระคริสตเจ้าแก่ มนุษย์ บทเทศน์ของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ในวันสมโภชพระคริสตกายาศีลมหาสนิทคือ การทีพ่ ระคริสตเจ้าทรงมอบพระองค์เองแก่มนุษย์ (s.c.1) เป็นธรรมล้ำลึกแห่ง ความเชื่อที่เข้าใจยาก ศิษย์บางคนไม่เข้าใจ
แนะนำหนังสือ
และไม่ตดิ ตามพระองค์ (ยน6:66) แต่นกั บุญเปโตรกล่าวว่า “พระเจ้าข้าพวกเราจะไปหา ใครเล่า พระองค์มพี ระวาจาทรงชีวติ ” (ยน 7:68) ศีลมหาสนิทคือ ปังที่ถูกบิออกเพื่อให้ โลกมีชีวิต (s.c.88) มนุษย์จึงสามารถตอบ สนองความรักได้ “เรากำลังยืนเคาะประตู ถ้ า ผู้ ใ ดได้ ยิ น เสี ย งของเราและเปิ ด ประตู เราจะเข้าไปกินอาหารร่วมกับเขา เขาจะกิน อาหารร่วมกับเรา”(วว3:20) จิตวิญญาณของวันอาทิตย์ การร่วม พิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ มิใช่เป็น การปฏิบัติตามพระบัญญัติเท่านั้น แต่เป็น ความจำเป็นภายใน ถ้าขาดการปฏิบัติจะทำ ให้ชวี ติ ว่างเปล่า ศิษย์ของพระคริสตเจ้าต้อง สละทุกสิ่งเพื่อจะสามารถรับใช้ทุกคน เช่น เดียวกับบรรดานักบุญในยุคต่างๆ การร่วม พิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ เป็นการ พบปะและรับพลังจากพระเยซูคริสตเจ้าผู้ กลับคืนพระชนมชีพ ในพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ยืนอยูเ่ บือ้ งหน้าพระพักตร์ของพระองค์ เพื่อรับใช้พระองค์ หน้าที่หลักของสงฆ์คือ “การยืนอยูแ่ ละปฏิบตั หิ น้าทีร่ บั ใช้ในพระนาม พระเจ้า” (ฉลบ18:5,7) จากบทขอบพระคุณ “ขอขอบพระคุณที่ ได้เลือกสรรข้าพเจ้าทั้ง หลาย ให้มารับใช้เฉพาะพระพักตร์พระองค์”
125
ศีลมหาสนิทจึงเป็นศูนย์กลางของชีวิตสงฆ์ การรับใช้เฉพาะพระพักตร์พระองค์หมายถึง การตอบสนองการเรียกของพระเจ้า ให้มา รับใช้พระเจ้า และเพื่อนพี่น้องเป็นการตอบ การเรียกของพระเจ้า “ข้าพเจ้าอยู่นี่ โปรด ส่งข้าพเจ้าไปเถิด”(อสย6:8) สรุปเนื้อหาสำคัญคือ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ทรงเน้นว่า การ ประทับอยู่อย่างแท้จริงของพระเยซูคริสตเจ้าในศีลมหาสนิท เป็นบ่อเกิดของชีวิต ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และทำให้เกิดผลดี ต่างๆ มากมาย เมื่อคริสตชนรับศีลมหาสนิท ทำให้เกิดบูรณาการ เป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อน พีน่ อ้ งในพระศาสนจักร ซึง่ เป็นพระกายของ พระคริสตเจ้า และบูรณาการเป็นหนึ่งเดียว กับชีวิตของพระเจ้าเองด้วย
โรงเรียนคาทอลิกเปนสนามประกาศขาวดี 1
วารสารแสงธรรมปริทัศน
ใบสมัครสมาชิก/ตออายุสมาชิก/ยกเลิกสมาชิก/เปลี่ยนที่อยู ขาพเจา บาทหลวง/ภคินี/นาย/นาง/นางสาว………………………………………………………………………………………………………………….. มีความจำนง ( ) 1.สมัครสมาชิกใหม ในนาม ( ) องคกร (โปรดระบุชื่อ)………………………………………………………………………………………… ( ) บุคคล (โปรดระบุชื่อ)………………………………………………………………………………………….. โดยเริ่มตั้งแต ป พ.ศ……………… (หรือ ปที่…………… ฉบับที่……………) (ปละ 3 ฉบับ อัตราคาสมาชิก ปละ 300 บาท) ที่อยูในการจัดสงวารสาร เลขที่……………………………………………………………วัด/โรงเรียน……………………………………………………… ถนน…………………………………………ซอย………………………………………………………แขวง/ตำบล……………………………………………………… เขต/อำเภอ……………………………………จังหวัด………………………………………………………………รหัสไปรษณีย………………………………….. โทรศัพท……………………………………………………มือถือ…………………………………………………….โทรสาร……………………………………………. ( ) 2.ตออายุสมาชิก หมายเลข……………………………………………………………ป พ.ศ. (หรือ ปที่)…………………………………………….. ( ) 3.ยกเลิกการเปนสมาชิก หมายเลข……………………………………………..ตั้งแตป พ.ศ. (หรือ ปที่)…………………………………… ( ) 4.เปลี่ยนที่อยูในการจัดสงวารสาร ของ……………………………………….สมาชิกเลขที่………………………………………………………. เปนดังนี้ เลขที่……………………………………………………………………………………..วัด/โรงเรียน……………………………………………………… ถนน…………………………………………ซอย………………………………………………………แขวง/ตำบล……………………………………………………… เขต/อำเภอ……………………………………จังหวัด………………………………………………………………รหัสไปรษณีย………………………………….. โทรศัพท……………………………………………………มือถือ…………………………………………………….โทรสาร……………………………………………. ( ) 5.สมทบทุนในการจัดพิมพวารสารแสงธรรมปริทัศน ปที่………………ฉบับที่…………………….(หากตองการระบุป/ฉบับ) พรอมกันนี้ ขอสงเงินคา ( ) สมาชิกใหม ( ) ตออายุสมาชิกใหม ( ) ยอดคางชำระคาสมาชิก ( ) สมทบทุน เปนจำนวนเงิน…………………………………………บาท (………………………………………………………………………………………) โดยชองทาง ( ) เงินสด ( ) ตั๋วแลกเงินไปรษณีย ( ) เช็คขีดครอม (สั่งจาย “แสงธรรมปริทัศน”) ( ) ธนาณัติ (สั่งจาย “บาทหลวงเจริญ วองประชานุกูล”) ปณ.ออมใหญ 73160 ( ) โอนเขาบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย จำกัด (มหาชน) สาขาสามพราน นครปฐม บัญชีเงินฝาก ออมทรัพย ชื่อบัญชี วารสารแสงธรรมปริทัศน เลขที่บัญชี 366-261387-3 โดยกรุณาสงสำเนาใบนำเขาบัญชี (Pay-in-Slip) พรอมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจงการนำเงินเขาบัญชีมาที่ ฝายจัดทำวารสารแสงธรรมปริทัศน ลงชื่อ…………………………………………………ผูสมัครสมาชิก วันที่…………………/…………………/……………… ฝายจัดทำวารสารแสงธรรมปริทัศน วิทยาลัยแสงธรรม 20 ม. 6 ต.ทาขาม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110