แสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

Page 1


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

* หมวดพระสัจธรรม *

กลับมารื้อฟนความเชื่อ ในพระจิตเจากันใหมเถิด

บาทหลวงวสันต์ พิรุฬห์วงศ์

บาทหลวงสังกัดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (สติกมาติน), อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

1


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

โอกาสที่เดือนตุลาคม ค.ศ.2012 จะ ครบรอบ 50 ปีแห่งการเปิดประชุมสังคายนา วาติกัน ที่ 2 และสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ก็ได้ประกาศให้เป็น “ปีแห่งความเชื่อ” ด้ ว ย เพื่ อ เรี ย กร้ อ งให้ ค าทอลิ ก ทุ ก คนรื้ อ ฟื้ น ความเชื่อ มีความเข้าใจในความเชื่ออย่างลึกซึ้ง มากขึ้ น และแบ่ ง ปั น ความเชื่ อ นั้ น ให้ กั บ ผู้ อื่ น ต่อไป “พระจิตเจ้า” เป็นหนึ่งในข้อความเชื่อ และเป็ น ผู้ ที่ มี บ ทบาทอย่ า งสำคั ญ ยิ่ ง ในการ ประชุมพระสังคายนาวาติกัน ที่ 2 นอกจาก ทรงเป็นผู้นำให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนและ เป็ น ผู้ ที่ ท ำให้ พ ระสั ง คายนาวาติ กั น ที่ 2 สำเร็จไปแล้ว ทุกวันนี้ พระจิตเจ้าก็ยังทรงมี บทบาทสำคัญในการนำทางพระศาสนจักรให้ รักษาความเชื่อและถ่ายทอดความเชื่อต่อๆไป โอกาสปีแห่งความเชื่อนี้ ผมจึงเห็นว่าสมควรที่ เราจะกลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากัน ใหม่ด้วย

1. การประทับอยู่ของพระจิตเจ้า ในธรรมประเพณีความเชื่อของคริสตชน พระจิตเจ้าได้รับการจัดวางอย่างชัดเจนในฐานะ เป็น “ผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์” (Sanctifier) เพราะหลังกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เป็นพระจิตนี้เองที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการ นำโลกกลับไปสูพ่ ระบิดา แม้แต่คำว่า “ชีวติ จิต” (Spirituality) ที่ เราใช้ กั น อยู่ ใ นทุ ก วั น นี้ ก็ สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง พระจิ ต ในฐานะเป็ น ศู น ย์ กลางในการนำทั้ ง ปั จ เจกชนและโลกทั้ ง ครบ กลับไปอยู่ภายใต้พระอาณาจักรของพระบิดา พระสังคายนาวาติกัน ที่ 2 นอกจากจะยืนยัน ถึงธรรมเนียมความเชื่อเก่าแก่ของคริสตชนนี้แล้ว ยังยืนถึงพระจิตเจ้าเป็นอันดับแรกว่าเป็น “ผู้ บั น ดาลความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ ห้ แ ก่ พ ระศาสนจั ก ร” “เมื่อเสร็จสิ้นพระภารกิจที่พระบิดาได้ ทรงมอบหมายให้พระบุตรปฏิบตั ใิ นโลก นี้แล้ว ก็มีการส่งพระจิตเจ้ามาในวัน เปนเตกอสเต เพื่ อ ให้ พ ระองค์ ท รง บั น ดาลให้ พ ระศาสนจั ก รศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อยู่ เ สมอ ทั้ ง เพื่ อ ให้ บ รรดาผู้ มี ค วาม เชื่ อ มี ท างเข้ า ชิ ด พระบิ ด า โดยผ่ า น ทางพระคริ ส ตเจ้ า ในพระจิ ต องค์ เดียวกัน พระจิตเจ้าทรงเป็นจิตแห่ง ชีวิต หรือเรียกอีกนัยว่าเป็นธารน้ำที่ ไหลสู่ ชี วิ ต นิ รั น ดร อาศั ย พระจิ ต บรรดามนุษย์ที่ตายไปแล้วเพราะบาป พระบิ ด าก็ ท รงชุ บ ให้ มี ชี วิ ต ขึ้ น จน


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

ก ว่ า ร่ า ง ก า ย ข อ ง เข า ที่ รู้ ต า ย นั้ น พระองค์ จ ะทรงปลุ ก ให้ คื น ชี พ ใน พระคริสตเจ้า” (LG 4)

มากกว่ า นั้ น พระศาสนจั ก รยั ง ได้ ยื น ยั น ถึ ง พระจิตเจ้าว่า เป็น “ผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ ของโลก” ด้วย “ที่ ก ล่ า วมานี้ ไ ม่ ใช่ ส ำหรั บ ผู้ ที่ เชื่ อ ถึ ง พระคริสตเจ้าเท่านัน้ แต่สำหรับมนุษย์ ทุ ก คนที่ มี น้ ำ ใจดี แ ละพระหรรษทาน ทำงานอยู่ในใจของเขาโดยที่เราแลไม่ เห็น ทั้งนี้เพราะพระคริสตเจ้าได้สิ้น พระชนม์เพือ่ มนุษย์ทกุ คน และเพราะ กระแสเรี ย กสุ ด ท้ า ยของมนุ ษ ย์ มี แ ต่ ประการเดี ย วอย่ า งแท้ จ ริ ง คื อ มา จากพระเป็นเจ้า ดังนั้นเราต้องถือว่า พระจิ ต เจ้ า โปรดให้ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนมี โอกาสที่ จ ะมี ส่ ว นร่ ว มในธรรมล้ ำ ลึ ก ปัสกา โดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่พระเป็นเจ้า ทรงทราบ” (GS 22)

3

พูดสั้นๆ ก็คือ ที่ใดก็ตามที่ประชากร ของพระเจ้ า ดำเนิ น งานเพื่ อ ความดี ข องโลก ทั้งในและนอกพระศาสนจักร พระจิตเจ้าก็ทรง “ประทั บ อยู่ ” ในที่ แ ห่ ง นั้ น พระคั ม ภี ร์ พั น ธ สัญญาใหม่ให้ภาพการทำงานของพระจิตท่าม กลางโลกไว้หลายประการ ที่ผมเห็นว่าโดดเด่น เป็นพิเศษมีอยู่ 3 บทบาทสำคัญด้วยกัน คือ บทบาทของพระจิตเจ้าในฐานะเป็น “ผู้สร้าง เอกภาพ” (Unifier) “ผูส้ อ่ งสว่าง” (Enlightener) และ “ผู้ประทานพลัง” (Enabler) บทบาททั้ง สามประการนี้สอดแทรกอยู่ในทุกเหตุการณ์ที่มี บันทึกในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ผมจึงเชื่อ ว่า จากการเข้าใจบทบาทหลักทั้งสามประการ ของพระจิตเจ้านี้ จะช่วยให้เราคริสตชนเข้าใจ และมั่นใจในการประทับอยู่ของพระจิตเจ้าใน “ทุกมิติ” ของชีวิตของเรา และการประทับอยู่ ของพระจิตนี้เองที่เป็นเป้าหมายสุดท้ายของการ กลับคืนชีพ และแหล่งของการ “สร้างใหม่” ของเราในพระคริสตเจ้า 2. ปัญหาการรู้จักพระจิตเจ้า หากมี ข้ อ ความจริ ง บางประการของ คริสตชนถูกหลงลืมหรือสูญหายไปอย่างไม่ตั้งใจ ก็คงจะเป็นเรือ่ ง “การประทับอยูข่ องพระจิตเจ้า ในกิจการงานของเรานี่เอง ที่จริง ความจริง เรื่ อ งการประทั บ อยู่ ข องพระจิ ต นี้ เ ป็ น เรื่ อ งที่ มีความชัดเจนและได้รับการยืนยันแล้ว มีการ ประกาศเป็ น ข้ อ คำสอนและข้ อ ความเชื่ อ มา ช้ า นานแล้ ว แต่ ปั ญ หาอยู่ ที่ ว่ า เป็ น เราเองที่


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

“ยังไม่รู้จัก” พระองค์ หรืออาจ “เคยรู้จัก” แต่ ต อนนี้ “ลื ม ไปแล้ ว ” ทั้ ง นี้ มี ส าเหตุ อ ยู่ หลายประการด้วยกัน ผมเชื่อว่า สาเหตุหลักคงเป็นเพราะเรา ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมฝ่ายโลกที่อธิบายความ จริงทุกอย่าง รวมทั้งเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ด้วย “ภาษาของโลก” และดูเหมือนจะเป็นความจริง ด้วยที่นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ อย่างมาสโลว์ (Abraham Maslow) และฟรอยด์ (Sigmund Freud) ล้วนต่างเป็นผู้ไม่มีความเชื่อ พวกเขาจึ ง นำเสนอหลั ก การต่ า งๆเกี่ ย วกั บ พฤติกรรมมนุษย์ด้วย “ภาษามนุษย์” ซึ่งถ้า มองในมุ ม มองของศาสตร์ ธ รรมชาติ นี่ ถื อ ว่ า ถูกต้อง แต่สำหรับเราคริสตชนเรายังถือว่าคำ อธิบายเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ ควรจะมีการเสริม “มิติของความเชื่อ” เข้าในการอธิบายเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ด้วย แต่เราก็ไม่ได้ทำ เรา ตกอยู่ ภ ายใต้ เ งื่ อ นไขของสั ง คม ไม่ ไ ด้ คิ ด ให้ เหนือทฤษฎีธรรมชาติฝ่ายมนุษย์ แม้บ่อยครั้งที่ พระจิ ต เจ้ า ผู้ ป ระทั บ อยู่ ใ นส่ ว นลึ ก ของจิ ต ใจ มนุ ษ ย์ แ สดงตนติ เ ตี ย นความรู้ ใ นฝ่ า ยโลกของ เรา แต่เราก็ไม่ได้สนใจฟังเสียงของพระองค์เท่าไร นัก เราละเลย หลงลืม และบางครั้ง ถึงกับ ต่อต้านพระองค์ด้วยซ้ำไป สาเหตุ อี ก ประการหนึ่ ง ที่ ท ำให้ เราไม่ รู้จักพระจิตเจ้าในกิจการประจำวันของเราคือ ชี วิ ต จิ ต ของเราถู ก ครอบงำด้ ว ยรู ป แบบของ “ตั ว ตนนอกพระเจ้ า ” ที่ ม องว่ า พระเจ้ า ทรง

ประทับอยู่ในสวรรค์ ส่วนเราอยู่บนโลกมนุษย์ เราจึ ง มองตั ว เราเองเหมื อ นเป็ น ผู้ น ำและผู้ มี อำนาจแต่เพียงลำพังบนโลก เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง กิจการดีทั้งหมด ถ้าพระเจ้าจะมีบทบาทอะไร ต่อโลกก็เพียงแต่เป็นผู้ประทานรางวัลแก่มนุษย์ ในกิ จ การดี ต่ า งๆที่ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ ก ระทำไปเท่ า นั้ น ความคิ ด เช่ น นี้ น่ า จะเป็ น อิ ท ธิ พ ลครอบงำจาก รู ป แบบชี วิ ต จิ ต ของฝ่ า ยตะวั น ตก ซึ่ ง ผลของ ความคิดและความเข้าใจดังกล่าว พระจิตเจ้าจึง “ถูกผลัก” ออกไปจากการรับรู้ใดๆของมนุษย์ ไม่ได้มีบทบาทอะไรต่อพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ ของมนุษย์อีกต่อไป ในอดีต ลัทธิ “Pelagianism” เคย สอนเช่นนี้เมื่อราวศตวรรษที่ 5 แต่พระศาสน จักรนับแต่สมัยนั้นก็ได้คัดค้านว่า กิจการดีงาม ทั้งหมดที่เรามนุษย์กระทำไม่ใช่เป็นแต่เพียงการ ตอบสนองพลังชี้นำของพระจิตเจ้าที่ประทับอยู่ ภายในตัวเราเท่านั้น แต่ความปรารถนาที่มุ่งสู่ การกระทำความดีที่เกิดขึ้นในส่วนลึกของจิตใจ มนุษย์มาจากการประทับอยูข่ องพระจิตเจ้านีด้ ว้ ย ดังนั้น ไม่ว่าเมื่อไรหรือที่ไหนก็ตามที่เรามีความ ปรารถนาและมุ่งมั่นสู่ความดีงาม ก็จงรู้ไว้เถิดว่า พระจิตเจ้าทรงประทับอยู่ในจิตใจของเรา หลัก ฐานที่เราพบในพันธสัญญาใหม่ได้แสดงให้เรา เห็นอย่างชัดเจนว่า เทววิทยาแห่งการไถ่กู้ โดย อาศัยพระหรรษทานของพระคริสตเจ้า ก็มีจุด สรุปอยู่ที่ความจริงข้อนี้ หากเป็นเราเองเพียง ลำพั ง ที่ เ ป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบริ เริ่ ม กิ จ การดี ต่ า งๆ โดยไม่ต้องอาศัยพลังช่วยเหลือจากการประทับ


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

อยู่ของพระจิตเจ้า ความรอดของเราก็ไม่ใช่เป็น “พระคุณให้เปล่า” จากพระเป็นเจ้าอีกต่อไป แต่เป็นอะไรบางอย่างที่เราได้มาเพราะกิจการ ดี ข องเรา พระคริ ส ตเจ้ า ก็ อ าจ “ไม่ มี ค วาม จำเป็ น ” อะไรอี ก ต่ อ ไป ผมจึ ง เห็ น ว่ า ทั้ ง ค ว า ม คิ ด ฝ่ า ย โ ล ก ที่ ไ ม่ ต้ อ ง ก า ร ศ า ส น า (Secularism) และลัทธิ Pelagianism ทำ ให้เราถอยห่างจากการยอมรับรู้ถึงการประทับ อยู่ ข องพระจิ ต เจ้ า ในชี วิ ต ประจำวั น ของเรา ผมขอพูดเพิ่มเติมในเรื่องนี้อีกว่า จาก ความเชื่อพื้นฐานของเราในฐานะเป็นคริสตชน เราเชื่อว่า ในการสร้างมนุษย์นั้น พระจิตของ พระเจ้าได้เข้ามาร่วมสัมพันธ์กับจิตของเรามนุษย์ พระจิต “ไม่ได้” เข้ามาทดแทนจิตแห่งความ เป็นมนุษย์ของเรา ดังนั้น กิจการดีต่างๆที่เรา ทำจึ ง เป็ น กิ จ การของเราแน่ น อน ไม่ ใช่ เ ป็ น กิจการของพระจิตเจ้าล้วนๆที่อยู่ในตัวเราโดยที่ เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ส่วนลึกที่สุดของตัวตน ของเราเป็นมิติของจิต เสรีภาพและความรักก็ ออกมาจากศูนย์กลางของจิตนี้ ในระดับนี้ เรา ยังคงมีอิสระที่จะเลือกว่าจะเดินหรือไม่เดินไป พร้ อ มกั บ พระจิ ต เจ้ า ที่ จ ริ ง พระจิ ต เจ้ า ทรง ดำเนิ น งานของพระองค์ ใ นตั ว เราตลอดเวลา เพื่อนำเราไปสู่ความรักและรับใช้พระเจ้าและ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ใ ห้ ม ากที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะทำได้ แต่ พระจิ ต เจ้ า จะไม่ ค วบคุ ม การตอบสนองที่ อ อก มาจากเสรี ภ าพในการเลื อ กของเรา ดั ง นั้ น กิจการใดที่ดีจึงเป็นกิจการของเราเองเพราะเป็น เราเองที่เลือก เป็นเราเองที่ทำ ธรรมประเพณี ของเราคริ ส ตชนก็ ไ ด้ ส อนเช่ น นี้ ม าตลอดว่ า

5

การที่เราจะได้รับรางวัลหรือโทษนิรันดรนั้นขึ้น อยู่กับว่าเราได้ใช้ “เสรีภาพ” ของเราอย่างไร แต่เราก็ควรเสริมในที่นี้ด้วยว่า มารร้ายก็ไม่ได้ บังคับเราให้ทำความชั่วหรือกิจการที่ช่วั ถ้าเรารู้ สึกผิดต่อพระเจ้าเพราะเราได้ทำกิจการที่ไม่ดี ก็ เป็นเพียงความผิดที่เราเลือกอย่างอิสระที่จะทำ กิจการที่ไม่ดีนั้น เรื่องนี้เราจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น หากนำไปเปรียบเทียบกับเรื่องมิตรภาพระหว่าง เรากับเพื่อน กล่าวคือ ปกติท่วั ไปเรามีแนวโน้ม ที่จะรู้สึกและกระทำต่อเพื่อนของเราด้วยความ รัก แต่แน่นอนว่าในบางกรณีหรือในบางครั้ง อาจจะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่มีอยู่มากมาย เราก็อาจรู้สึกหรือกระทำกับเพื่อนของเราโดย ปราศจากความรักก็เป็นได้ ความรู้สึกและการ กระทำของเราต่ อ พระเจ้ า ก็ เ ป็ น ในลั ก ษณะ เดียวกัน

3. พระจิตเจ้ากับมนุษย์ ในการไตร่ตรองถึงพระจิตเจ้าตามหลัก ฐานที่ มี ใ นพั น ธสั ญ ญาใหม่ ว่ า พระองค์ ท รง กระทำสิ่งใดบ้างในมนุษย์ นับเป็นสิ่งที่ดีที่เรา


6

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

ได้กลับมาพิจารณาการทำงานขององค์พระจิต นี้ใหม่ เพื่อจะได้เป็นแรงกระตุ้นต่อการเลือก ครั้งต่อไปของเรา ที่จะเลือกกระทำตามการนำ ทางของพระจิตเจ้า และการนำทางของพระจิต นี้ก็ไม่ได้นำไปในทางที่แตกต่างอะไรไปจากทาง แห่งมิตรภาพของมนุษย์เรามากนัก

ในแบบเดี ย วกั บ ที่ พ ระองค์ ท รงทำงาน “ใน” (within) พระตรีเอกภาพ พร้อมทั้งยังสรุปอีก ว่า ผลประการแรกของการทำงานของพระจิต ในมนุษย์ก็คือ “ความรัก” เป็นความรักที่มีต่อ พระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน บทภาวนา ต่ อ พระจิ ต เจ้ า ที่ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ทั่ ว ไปของเรา คริสตชนได้สะท้อนให้เห็นข้อสรุปนี้อย่างชัดเจน “เชิญเสด็จมา ข้าแต่พระจิตเจ้า เชิญ มาสถิตในดวงใจสัตบุรุษ และบันดาล ให้ลุกร้อน ด้วยความรักของพระองค์”

3.1 ผู้สร้างเอกภาพ ในพระคั ม ภี ร์ พั น ธสั ญ ญาใหม่ แ ละใน ธรรมประเพณี ข องคริ ส ตชนได้ พู ด ถึ ง ผลใน ลำดับแรกๆของการประทับอยู่ของพระจิตเจ้า ในมนุ ษ ย์ ว่ า เป็ น การประทั บ อยู่ เ พื่ อ “สร้ า ง เอกภาพและความรัก” ความรักนี้เป็นเหมือน เป้าหมายของพระเจ้าและของมนุษย์ทุกคน ใน เทววิทยาของคริสตชนก็มีการพูดถึงบทบาทของ พระจิตเจ้าในพระตรีเอกภาพอยู่บ่อยๆว่าเป็น เหมือนสายใยแห่งความรักระหว่างพระบิดากับ พระบุตร จากมิติการมองเช่นนี้ นักเทววิทยา ยังได้ก้าวต่อไปด้วยการยืนยันว่า พระจิตเจ้า ทรงทำงาน “นอก” (outside) พระตรีเอกภาพ

ข้อความในพันธสัญญาใหม่ที่เป็นที่รู้จัก กั น ทั่ ว ไปที่ พู ด ถึ ง พระจิ ต เจ้ า และความรั ก ของ มนุษย์ ดูเหมือนจะเป็นข้อความที่มาจากนักบุญ ยอห์น และเป็นข้อความหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบ


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

อย่างมากของบรรดาคริสตชน เพราะเป็นการ ทำให้ พ ระเจ้ า ประทั บ อยู่ ใ นทุ ก ที่ ที่ มี ค วามรั ก อยู่ และความรักเองก็เป็นอารมณ์ที่อยู่ส่วนลึก ภายในและเป็ น สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ มุ่ ง หวั ง อยากจะได้ ข้อความดังกล่าวของยอห์นมีว่า “ท่ า นที่ รั ก ทั้ ง หลาย เราจงรั ก กั น เพราะความรักมาจากพระเจ้า และ ทุ ก คนที่ มี ค วามรั ก ย่ อ มบั ง เกิ ด จาก พระเจ้ า และรู้ จั ก พระองค์ ผู้ ไ ม่ มี ความรัก ย่อมไม่รู้จักพระเจ้า เพราะ พระเจ้าทรงเป็นความรัก ... ไม่มีผู้ใด เคยเห็ น พระเจ้ า แต่ ถ้ า เรารั ก กั น พระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเรา และ ความรักของพระองค์ในเราก็จะสมบูรณ์ เรารู้ว่าเราดำรงอยู่ในพระองค์ และ พระองค์ ท รงดำรงอยู่ ใ นเรา เพราะ พระองค์ประทานพระพรของพระจิต เจ้าให้เรานั่นเอง” (1 ยน.4:7-8, 12-13) ข้ อ ความตอนนี้ เ ปรี ย บพระเจ้ า ว่ า เป็ น แหล่งของความรัก หากเรามีส่วนร่วมในความ รักที่พระองค์มีให้ประชากรของพระองค์ ความ รักนี้ก็จะผูกเราเข้ากับชีวิตของพระเจ้า ข้อความตอนนี้ถือว่าสำคัญมากสำหรับ เรา เพราะคำว่ารักที่ใช้ในที่นี้ สามารถนำไป ใช้ได้ทั้งในสังคมคริสตชนเราและกับคนอื่นๆ ที่ ถือต่างความเชื่อด้วย ด้วยเหตุว่า “ที่ใดมีรัก ที่ นั้ น พระเจ้ า ทรงประทั บ อยู่ ” นั ก บุ ญ ยอห์ น

7

เองก็ได้เน้นย้ำเรื่องนี้ด้วยเช่นกันถึงได้ยืนยันว่า ใครก็ตามที่กล่าวว่ารักพระเจ้า แต่กลับเกลียด ชังพี่น้องที่อยู่รอบข้าง ก็ถือว่าเขาโกหก การ เกี่ ย วเชื่ อ มกั น ระหว่ า งความรั ก พระเจ้ า และ ความรักเพื่อนพี่น้องจึงเป็นสิ่งที่ถูกเน้นถึงในที่นี้ และหากเราจำได้ พระเยซูเจ้าเองก็เคยเน้นถึง เรื่ อ งนี้ เช่ น กั น เมื่ อ ครั้ ง ที่ พ ระองค์ ท รงตรั ส ถึ ง บัญญัติประการแรกว่า “จงรักพระเจ้าสุดดวงใจ สติปัญญา และพละกำลัง” จากนั้นพระองค์ ก็ ต รั ส ถึ ง บั ญ ญั ติ ป ระการที่ ส องในทั น ที ว่ า “จงรั ก กั น และกั น ” เอกภาพภายในระหว่ า ง ความรั ก ทั้ ง สองประการนี้ เราสามารถเห็ น ได้ อย่างชัดเจนในบทบาทของพระจิตเจ้า ในฐานะ ที่ พ ระองค์ ท รงเป็ น แหล่ ง ของความรั ก ทั้ ง สอง นักบุญเปาโลสะท้อนคำยืนยันของยอห์น ด้วยการกล่าวว่า ความรักทั้งหมดล้วนมาจาก พระเจ้า “...พระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าได้ทรงประทาน ให้เรา ได้หลั่งความรักของพระเจ้า ลงในดวงใจ ของเรา” (รม.5:5) และเช่นเดียวกับนักบุญยอห์น เปาโลกล่ า วถึ ง พระจิ ต ในฐานะเป็ น แหล่ ง ของ ความรักทั้งมวล แต่ขณะที่ยอห์นเน้นถึงพันธะ ผู ก พั น ที่ พ ระจิ ต สร้ า งขึ้ น ในหมู่ ป ระชากร เปาโลจะเน้นถึง “พันธะใหม่” ที่พระจิตสร้าง ขึ้ น ระหว่ า งผู้ มี ค วามเชื่ อ กั บ พระเจ้ า นั่ น คื อ พันธะระหว่างบุตรกับบิดาของตน เปาโลเทียบ เคียงสัมพันธภาพใหม่นี้กับสัมพันธภาพเดิมของ ชาวยิ ว คื อ การเป็ น ทาสของกฎบั ญ ญั ติ ใ น พันธสัญญาเดิม เปาโลกล่าวว่า


8

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

“ทุ ก คนที่ มี พ ระจิ ต ของพระเจ้ า เป็ น ผู้นำ ย่อมเป็นบุตรของพระเจ้า ท่าน ทั้งหลายไม่ได้รับจิตการเป็นทาสซึ่งมี แต่ ค วามหวาดกลั ว อี ก แต่ ไ ด้ รั บ จิ ต การเป็ น บุ ต รบุ ญ ธรรม ซึ่ ง ทำให้ เรา ร้ อ งออกมาว่ า “อั บ บา พ่ อ จ๋ า ” พระจิ ต เจ้ า ทรงเป็ น พยานยื น ยั น ร่วมกับจิตของเราว่า เราเป็นบุตรของ พระเจ้า” (รม.8:14-16)

จิ ต ใจทรงทราบความปรารถนาของ พระจิ ต เจ้ า เพราะพระจิ ต เจ้ า ทรง อธิ ษ ฐานเพื่ อ บรรดาผู้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต าม พระประสงค์ของพระเจ้า” (รม.8:2627)

พ ร ะ จิ ต เจ้ า ไ ม่ ไ ด้ เ พี ย ง ท ำ ใ ห้ เ กิ ด สั ม พั น ธภาพใหม่ กั บ พระบิ ด าเท่ า นั้ น แต่ มี เพี ย งผ่ า นทางพระจิ ต เท่ า นั้ น ที่ ท ำให้ เ รา สามารถแสดงความสัมพันธ์นี้ออกมาได้ นอกจากการนำเสนอพระจิ ต เจ้ า ใน ฐานะเป็นแหล่งแห่งเอกภาพระหว่างผู้มีความ เชื่อกับพระเจ้าแล้ว บ่อยครั้งทีเดียวที่เปาโลนำ เสนอพระจิ ต เจ้ า ในฐานะเป็ น ข้ อ ผู ก มั ด แห่ ง เอกภาพระหว่างคริสตชนด้วยกัน พวกเราคง คุ้นเคยกับการเปรียบเทียบที่เปาโลใช้ระหว่าง หมู่คณะคริสตชนกับร่างกายมนุษย์ “ในทำนองเดียวกัน พระจิตเจ้าเสด็จ มาช่วยเหลือเราผู้อ่อนแอ เพราะเราไม่ รู้ว่าจะต้องอธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่ เหมาะสม แต่พระจิตเจ้าทรงอธิษฐาน ภาวนาวอนของแทนเราด้ ว ยคำที่ ไ ม่ อาจบรรยาย และพระผู้ ท รงสำรวจ

“จงถ่ อ มตนอยู่ เ สมอ จงมี ค วาม อ่ อ นโยน พากเพี ย รอดทนต่ อ กั น ด้วยความรัก พยายามรักษาเอกภาพ แห่งพระจิตเจ้าด้วยสายสัมพันธ์แห่ง สันติ มีกายเดียวและจิตเดียว ดังที่ พระเจ้ า ทรงเรี ย กท่ า นให้ มี ค วามหวั ง


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

ประการเดี ย ว มี อ งค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า องค์ เ ดี ย ว ความเชื่ อ หนึ่ ง เดี ย ว ศี ล ล้างบาปหนึ่งเดียว พระเจ้าหนึ่งเดียว” (อฟ.4:2-5) และทีส่ ดุ ในคำพูดเกีย่ วกับเรือ่ งความรัก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโปของเปาโล พระจิตเจ้าก็ถูกนำเสนอเสมือนเป็นแหล่งของ ความรักทั้งปวงของมนุษย์ เปาโลได้ชี้ให้เห็นว่า พระจิ ต เจ้ า ทรงหลั่ ง พระคุ ณ ที่ แ ตกต่ า งกั น ใน แต่ละคน แต่พระคุณที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งใด คือความรัก และความสามารถที่จะดำรงชีวิต ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรัก “แม้ ข้ า พเจ้ า จะแจกจ่ า ยทรั พ ย์ สิ น ทั้งปวงให้แก่คนยากจนหรือยอมมอบ ตนเองให้ น ำไปเผาไฟเสี ย ถ้ า ไม่ มี ความรัก ข้าพเจ้าก็มิได้รับประโยชน์ใด ความรั ก ย่ อ มอดทน มี ใ จเอื้ อ เฟื้ อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวดตนเอง ไม่จองหอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรัก ไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิดที่ได้รับ ไม่ ยิ น ดี ใ นความชั่ ว แต่ ร่ ว มยิ น ดี ใ น ความถูกต้อง ความรักให้อภัยทุกอย่าง เชื่อทุกอย่าง หวังทุกอย่าง อดทนทุก อย่าง” (1 คร.13:3-7) ในที่นี้ จะเห็นว่าเปาโลได้นำเสนออย่าง ชัดเจนว่าพระจิตเจ้าทรงเป็นแหล่งของความรัก

9

และเอกภาพระหว่างผู้มีความเชื่อกับพระบิดา ระหว่างผู้มีความเชื่อด้วยกันเอง และท้ายที่สุด พระจิ ต เจ้ า ทรงเป็ น แหล่ ง ของความรั ก ใน ท่ า มกลางประชาชน ทั้ ง ในหมู่ ค ณะคริ ส ตชน และนอกหมู่คณะคริสตชน ข้อความจากพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ที่นำเสนอเรื่องความรักและการประทับอยู่ของ พระจิตเจ้าเป็นการนำเสนอแบบเรียบง่ายด้วย ประโยคที่ว่า “ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีพระเจ้า” แต่ปัญหาหลักของพวกเราคริสตชนไม่ใช่อยู่ที่ การไม่เข้าใจความหมายของข้อความดังกล่าว แต่ อ ยู่ ที่ “การนำไปใช้ ” ในชี วิ ต ของเราเอง กล่าวคือ

- เรารู้หรือไม่ว่า ทุกครั้งที่เราเข้าไปหา พระเจ้าหรือเพื่อนมนุษย์ด้วยความรัก พระจิต เจ้าทรงประทับอยู่และทำงานในตัวเรา? - เราคิดหรือไม่ว่า การกระทำดังกล่าว เป็นการโน้มนำของพระจิตเจ้า หรือเราคิดว่า เกิดจากการริเริ่มของเราเอง? - เรารูห้ รือไม่วา่ ในการเรียน การเขียน การทำงานและการทำกิจการอื่นๆด้วยความรัก


ทัศน์ 10 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 และเพื่ อ รั บ ใช้ พ ระเจ้ า นั้ น มี พ ระจิ ต เจ้ า ทรง ประทับอยู่? - เรารู้ ห รื อ ไม่ ว่ า เมื่ อ ใดที่ ป ราศจาก พระจิ ต เจ้ า กิ จ การต่ า งๆของเราก็ จ ะดำเนิ น ไปด้วยความเห็นแก่ตัว?

3.2 ผู้ส่องสว่าง ในธรรมประเพณี ข องคริ ส ตชน หาก พูดถึงบทบาทของพระจิตเจ้า ดูเหมือนไม่มีมิติ ไหนที่ได้รับการเน้นเท่ามิติของการเป็น “ผู้ส่อง สว่างและผู้นำทาง” มิตินี้เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด กับบทบาทของพระองค์ในฐานะผู้สร้างเอกภาพ กล่าวคือ เมื่อพระจิตทรงรวมเราเข้าเป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้าและผู้อื่นในความรักแล้ว บัดนี้ พระองค์กท็ รงนำทางเราให้สามารถแสดงความรัก นั้นออกมาได้อย่างดีที่สุด (ความสำคัญของมิติ การทำงานของพระจิตเจ้าประการนี้ ถูกสะท้อน ให้เห็นในคำสอนเรื่องพระคุณพระจิต 7 ประการ โดยมี 4 ประการที่ถือว่าสำคัญเด่นกว่าพระคุณ ประการอื่ น ๆ คื อ พระคุ ณ แห่ ง ปรี ช าญาณ ความเข้ า ใจ การปรึ ก ษาหารื อ และความรู้ ) ในระหว่างอาหารค่ำมือ้ สุดท้าย พระเยซูเจ้า

ทรงเรี ย กพระจิ ต ที่ พ ระองค์ ท รงสั ญ ญาว่ า จะ ประทานให้ แ ก่ บ รรดาศิ ษ ย์ ข องพระองค์ ว่ า “พระจิตแห่งความจริง” (Spirit of truth) “และเราจะวอนขอพระบิ ด า แล้ ว พระองค์ จ ะประทานผู้ ช่ ว ยเหลื อ อีกองค์หนึ่งให้ท่าน เพื่อจะอยู่กับท่าน ตลอดไป คือพระจิตแห่งความจริง ซึ่ งโลกรับไว้ไม่ได้ เพราะมองพระองค์ ไม่เห็น และไม่รู้จักพระองค์ แต่ท่าน ทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ ทรงดำรงอยู่กับท่าน และอยู่ในท่าน” (ยน.14:16-17) จากนัน้ พระองค์กท็ รงอธิบายว่า บรรดา ศิษย์ของพระองค์จะสามารถคาดหวังอะไรได้ บ้าง จากการประทับอยู่ของพระจิตนี้ภายในตัว พวกเขา “เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ขณะที่ เรายังอยู่กับท่าน แต่พระผู้ช่วยเหลือ คือพระจิตเจ้าที่พระบิดาจะทรงส่งมา ในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่าน ทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุก สิ่งที่เราเคยบอกท่าน” (ยน.14:25-26) พระวาจาตอนนี้ของพระเยซูเจ้าเผยให้ เห็นมิติ 2 ประการของบทบาทของพระจิตเจ้า ในเรา คือ “การส่องสว่างภายใน” และ “การ นำทาง”


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

(ก) การส่องสว่าง เป็นท่านนักบุญเปาโลทีน่ ำเสนอพระจิตเจ้า ในฐานะเป็นผู้ส่องสว่างภายในของมนุษย์ ท่าน พูดถึงบทบาทดังกล่าวนี้ใน 2 ทางด้วยกัน - ในทางแรก พระจิตเจ้าทรงส่องสว่าง ผู้มีความเชื่อเพื่อให้พวกเขาสามารถจำพระเจ้า ในฐานะเป็นพระบิดาได้ และจำพระเยซูในฐานะ เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาได้ ดังที่เรา ได้เห็นแล้วว่า มีเพียงหลังจากทีเ่ ราได้รบั พระจิตเจ้า แล้ ว เท่ า นั้ น เราถึ ง ร้ อ งออกมาได้ ว่ า “อั บ บา พ่ อ จ๋ า ” ฉั น ใดฉั น นั้ น ผ่ า นทางพระจิ ต เจ้ า เท่านัน้ เราถึงจะสามารถจดจำพระเยซูเจ้าในฐานะ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้ “ข้ า พเจ้ า ขอยื น ยั น ให้ ท่ า นรู้ ว่ า ไม่ มี ผู้ ใ ดพู ด โดยพระจิ ต เจ้ า ทรงดลใจว่ า “พระเยซูจงถูกสาปแช่ง” และหาก พระจิตเจ้ามิได้ทรงดลใจก็ไม่มีผู้ใดพูด ได้ว่า “พระเยซูคือองค์พระผู้เป็นเจ้า”” (1 คร.12:3)

11

- ในทางทีส่ อง พระจิตเจ้าทรงส่องสว่าง ภายในเราโดยทรงบันดาลให้เราสามารถรับและ เข้าใจคำสอนทุกข้อที่เกี่ยวข้องกับพระคุณแห่ง ความเชื่อในพระบิดาและในพระเยซูเจ้า เปาโล ได้ยืนยันเรื่องนี้โดยกล่าวว่า ความสามารถใน การเทศน์ ส อนของท่ า นและความสามารถใน การเข้าใจของผู้ฟัง ล้วนพวยพุ่งออกมาจากการ ประทับอยู่ของพระจิตเจ้า “เมื่อข้าพเจ้ามาพบท่าน ข้าพเจ้ามิได้ มาประกาศธรรมล้ ำ ลึ ก เรื่ อ งพระเจ้ า โดยใช้ ส ำนวนโวหารหรื อ โดยใช้ ห ลั ก เหตุผลอันชาญฉลาดปราดเปรื่อง ... ข้าพเจ้ายังอยูก่ บั ท่านด้วยความอ่อนแอ มีความกลัวและหวาดหวั่นมาก วาจา และคำเทศน์ ข องข้ า พเจ้ า มิ ใช่ ค ำพู ด ชวนเชื่ออย่างชาญฉลาด แต่เป็นถ้อย คำแสดงพระอานุภาพของพระจิตเจ้า เพื่ อ มิ ใ ห้ ค วามเชื่ อ ของท่ า นเป็ น ผล จากปรี ช าญาณของมนุ ษ ย์ แต่ เ ป็ น ผลจากพระอานุ ภ าพของพระเจ้ า เราพูดถึงปรีชาญาณในหมูผ่ ทู้ เ่ี ป็นผูใ้ หญ่ แล้ ว แต่ มิ ใช่ ป รี ช าญาณของโลกนี้ หรื อ ของผู้ ป กครองโลกนี้ ซึ่ ง กำลั ง จะ สู ญ สิ้ น ไป แต่ เรากล่ า วถึ ง พระปรี ช า ญาณของพระเจ้ า เป็ น ธรรมล้ ำ ลึ ก อั น ซ่ อ นเร้ น ซึ่ ง พระเจ้ า ทรงกำหนด ล่ ว งหน้ า ไว้ ก่ อ นปฐมกาลสำหรั บ สิ ริ รุ่ ง โรจน์ ข องเรา ไม่ มี ผู้ ป กครอง


ทัศน์ 12 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 โลกนี้ ผู้ ใ ดล่ ว งรู้ พ ระปรี ช าญาณนี้ เพราะถ้าเขารู้ เขาคงไม่ตรึงกางเขน องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ แต่ ต ามที่ มี เขี ย นไว้ ใ นพระคั ม ภี ร์ ว่ า “สิง่ ทีต่ าไม่เคยเห็น และหูไม่เคยได้ยนิ และจิตใจของมนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่ง ที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำหรับผู้ที่รัก พระองค์ นี่เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงเปิด เผยให้เรารู้โดยทางพระจิตเจ้า เพราะ พระจิตเจ้าทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งแม้กระทั่ง สิ่งที่ลึกลับของพระเจ้า ใครเล่าล่วงรู้ ความคิ ด ของมนุ ษ ย์ ถ้ า มิ ใ ช่ จิ ต ของ มนุ ษ ย์ ที่ อ ยู่ ใ นตั ว มนุ ษ ย์ ค นนั้ น เช่ น เดียวกัน ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ความคิดของ พระเจ้า นอกจากพระจิตของพระเจ้า เรามิได้รับจิตของโลก แต่รับพระจิต ซึ่งมาจากพระเจ้า เพื่อให้รู้ถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งพระเจ้าประทานแก่เรา เราพูดถึง สิ่งเหล่านี้มิใช่ด้วยวาจาซึ่งปรีชาญาณ ของมนุษย์สอนให้ แต่พูดด้วยถ้อยคำ ที่พระจิตเจ้าทรงสอน เราจึงอธิบาย เรือ่ งฝ่ายจิตโดยใช้ถอ้ ยคำของพระจิตเจ้า มนุษย์ที่ดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ รับ สิ่งที่เป็นของพระจิตของพระเจ้าไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องโง่เขลาสำหรับเขา เขา ไม่ อ าจเข้ า ใจได้ เพราะต้ อ งใช้ จิ ต พิจารณา อาศัยพระจิตเจ้าเท่านั้น” (1 คร.2:1-14)

(ข) การนำทาง การนำทางเป็นมิติอีกประการหนึ่งของ บทบาทของพระจิ ต เจ้ า ในตั ว มนุ ษ ย์ เรื่ อ งนี้ ก็ เช่นกัน พระจิตเจ้าทรงนำทางมนุษย์ใน 2 ทาง ด้วยกัน - ในทางแรก เปาโลนำเสนอบทบาท ของพระจิ ต เจ้ า ในการเป็ น ผู้ ใ ห้ ค ำแนะนำแก่ มโนธรรมของผู้มีความเชื่อ

“บัดนี้ ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้งหลายว่า จงดำเนิ น ตามพระจิ ต เจ้ า และอย่ า ตอบสนองความปรารถนาตามธรรมชาติ เพราะธรรมชาติมนุษย์มคี วามปรารถนา ตรงกั น ข้ า มกั บ พระจิ ต เจ้ า และ พระจิตเจ้าก็ทรงปรารถนาตรงกันข้าม กับธรรมชาติมนุษย์ สองสิ่งนี้ขัดแย้งกัน ท่ า นทำสิ่ ง ที่ ท่ า นอยากทำไม่ ไ ด้ ” (กท.5:16-17)


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

จากนั้น เปาโลก็เทียบเคียงผลของการทำตาม อำเภอใจของเรา กั บ ผลของการนำทางของ พระจิตเจ้าว่า “กิ จ การของธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ นั้ น ปรากฏชัดแจ้ง คือ การผิดประเวณี ความลามกโสมม การปล่อยตัวตาม ราคะตัณหา การกราบไหว้รูปเคารพ การใช้เวทมนตร์คาถา การเป็นศัตรูกนั การทะเลาะวิวาท ความอิจฉาริษยา ความโกรธเคี ย ง การแก่ ง แย่ ง ชิ ง ดี การแตกแยก การแบ่งพรรคแบ่งพวก ... ส่วนผลของพระจิตเจ้าก็คือความรัก ความชื่นชม ความสงบ ความอดทน ความเมตตา ความใจดี ความซือ่ สัตย์ ความอ่อนโยน และการรู้จักควบคุม ตนเอง ... ผู้ที่เป็นของพระคริสตเยซู ก็ตรึงธรรมชาติของตนพร้อมกับกิเลส ตัณหาไว้กับไม้กางเขนแล้ว” (กท.5: 19-20, 22, 24) แล้วเปาโลก็สรุปการเทียบเคียงดังกล่าวอย่างเรียบ ง่ า ยว่ า “ถ้ า เรามี ชี วิ ต เดชะพระจิ ต เจ้ า แล้ ว เราจงดำเนินชีวติ ตามพระจิตเจ้าด้วย” (กท.5:25) สำหรับเปาโล การยินยอมให้พระจิตเจ้า นำมโนธรรมของท่านไปสู่ความดีเป็นหลักการ ใหม่ทางศีลธรรม ก่อนทีท่ า่ นจะได้รบั พระจิตเจ้า ท่ า นก็ เ คยดำเนิ น ชี วิ ต ภายใต้ ก ารนำของกฎ

13

บัญญัติภายนอก ตอนนี้ท่านได้แนะนำให้ผู้ฟัง ของท่านปฏิบัติรับใช้พระเจ้าด้วยวิธีการใหม่ คือ ปฏิ บั ติ ต ามกฎบั ญ ญั ติ ที่ จ ารึ ก ไว้ ใ นดวงใจของ พวกเขา ไม่ใช่ตามกฎบัญญัตทิ ม่ี เี ขียนไว้ภายนอก “บั ด นี้ เราพ้ น จากธรรมบั ญ ญั ติ แ ล้ ว เพราะตายจากสิ่งที่พันธนาการเราไว้ เพื่อเรา จะได้ รั บ ใช้ ใ นแบบใหม่ ต ามพระจิ ต เจ้ า ไม่ ใช่ แบบเก่าตามตัวอักษรของบทบัญญัติ” (รม.7:6) เราควรเน้นในทีน่ ด้ี ว้ ยว่า เปาโลไม่ได้กล่าว ว่าพระจิตเจ้าจะขจัดความโน้มเอียงในการทำ กิจการต่างๆตามอำเภอใจของเรามนุษย์ให้หมด ไป ท่านกล่าวแต่เพียงว่า จำเป็นที่เราจะต้อง ไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของความโน้มเอียง เหล่ า นั้ น เพราะเรามี พ ลั ง อำนาจใหม่ ข อง พระจิตเจ้าทีป่ ระทับอยูภ่ ายในเราแล้ว พระคริสตเจ้า ได้ ท รงไถ่ กู้ เราให้ ร อดพ้ น จากอำนาจของบาป แล้ว เปาโลรู้จากประสบการณ์ของท่านเองถึง ความแตกต่ า งระหว่ า งการตกอยู่ ใ ต้ ธ รรม บั ญ ญั ติ กั บ การอยู่ ใ ต้ ก ารนำของพระจิ ต เจ้ า ท่านพบว่ากฎบัญญัติภายนอกไม่มีพลังอำนาจ อะไรที่ จ ะช่ ว ยให้ ห ลุ ด พ้ น จากความเห็ น แก่ ตั ว และบาปได้ มีเพียงพระจิตเจ้าเท่านั้นที่สามารถ ทำได้ - บทบาทในทางที่สองของพระจิตเจ้าก็ คือ การให้คำแนะนำ ในบางครั้ง พันธสัญญา ใหม่นำเสนอพระจิตเจ้าในฐานะเป็นผู้ส่องสว่าง ภายในมนุษย์แต่ละคน เพือ่ ช่วยมนุษย์ให้สามารถ


ทัศน์ 14 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 ตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สอดคล้อง ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ตัวอย่างบทบาท ของพระจิตเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้สามารถค้น พบพระประสงค์ ข องพระเจ้ า ก็ คื อ การนำทาง หมู่คณะคริสตชนสมัยแรกๆไม่ให้ตกอยู่ภายใต้ การครอบงำของกฎบั ญ ญั ติ ข องชาวยิ ว เช่ น กฎการอดอาหารอย่างเคร่งครัด บรรดาอัครสาวก และบรรดาผู้ ใ หญ่ ใ นเยรู ซ าเล็ ม ก็ ไ ด้ ส นั บ สนุ น การตั ด สิ น ใจเช่ น นั้ น และประกาศโดยอาศั ย อำนาจของพระจิตเจ้าให้คริสตชนที่ไม่ใช่ชาวยิว ถือปฏิบัติตาม “พระจิ ต เจ้ า และพวกเราตกลงที่ จ ะ ไม่บังคับให้พวกท่านแบกภาระอื่นอีก นอกจากสิ่งที่จำเป็นต่อไปนี้ คือ งด การกิ น เนื้ อ สั ต ว์ ที่ ถ วายให้ รู ป เคารพ แล้ว งดเว้นการกินเลือดและเนื้อสัตว์ ทีถ่ กู รัดคอตาย และงดเว้นการแต่งงาน ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ... “(กจ. 15:28-29)

ในพั น ธสั ญ ญาใหม่ ยั ง มี ค ำบ่ ง ชี้ อี ก ว่ า ในการตั ด สิ น ใจเรื่ อ งใดที่ ส ำคั ญ หมู่ ค ณะ คริสตชนในสมัยแรกจะสวดภาวนาต่อพระจิตเจ้า เพื่อขอคำแนะนำและการนำทางเสมอ ทั้งยัง มองผลของการตั ด สิ น ใจว่ า มาจากการนำทาง ของพระจิตเจ้าที่ประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา ตัวอย่างเรื่องนี้พบได้จากการตัดสินใจของเปาโล ทีจ่ ะเดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เพือ่ แก้ไขความ ผิ ด ใจกั น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในพระศาสนจั ก รเยรู ซ าเล็ ม “บั ด นี้ ข้ า พเจ้ า กำลั ง จะไปยั ง กรุ ง เยรูซาเล็มตามพระบัญชาของพระจิตเจ้า ไม่ รู้ ว่ า สิ่ ง ใดจะเกิ ด ขึ้ น กั บ ข้ า พเจ้ า ข้าพเจ้ารู้เพียงว่า พระจิตทรงเตือน ข้าพเจ้าในทุกๆเมืองว่า โซ่ตรวนและ ความยากลำบากกำลังรอข้าพเจ้าอยู่” (กจ.20:22-23) ที่ น่ า สนใจและควรจะกล่ า วถึ ง ด้ ว ยคื อ ในเรื่ อ งการเดิ น ทางของเปาโลนี้ ดู เ หมื อ นว่ า พระจิตเจ้าทรงกระตุ้นเตือนบรรดาเพื่อนๆของ เปาโลให้มีความเห็นไปในทางตรงกันข้าม “เราไปเยี่ยมบรรดาศิษย์ พักอยู่ที่นั่น เป็นเวลาเจ็ดวัน พระจิตเจ้าทรงดลใจเขาเหล่า นั้นให้บอกเปาโลมิให้ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม” (กจ.21:4) แต่แม้จะมีความเห็นแตกต่างกัน ข้อความ ทั้งสองตอนจากพระคัมภีร์ก็เป็นประจักษ์พยาน


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

ยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หมู่คณะคริสตชน สมัยแรกให้ความสำคัญต่อการนำทางของพระจิตเจ้า ในการตัดสินใจกระทำกิจการใดๆ เพื่อให้สอด คล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า 3.3 ผู้ประทานพลัง บทบาทอีกประการหนึ่งที่ธรรมประเพณี คริสตชนกล่าวถึงว่าเป็นบทบาทของพระจิตเจ้า คื อ ผู้ บั น ดาลความสามารถ ความเป็ น ไปได และแหล่งพลังแห่งการรับใช้พระเจ้าและผู้อื่น บทบาทของพระจิ ต เจ้ า ประการนี้ เป็นความสมบูรณ์ของบทบาทสองประการแรก กล่าวคือ ในประการแรก พระจิตเจ้าทรงเชื่อม เราให้เข้าเป็นหนึ่งกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ จากนั้น ในประการที่สอง พระองค์ก็ทรงนำ ทางเราว่า เราควรจะทำอย่างไรถึงจะทำให้เรา สามารถรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ได้ดีที่สุด และที่สุด ในประการที่สามนี้ พระจิตเจ้าก็ทรง ทำให้ ง านของพระองค์ ส ำเร็ จ ไปโดยประทาน พลังในการปรนนิบัติรับใช้ให้กับเรา เรื่ อ งการประทานพลั ง ของพระจิ ต เจ้ า นี้เราเห็นได้ชัดเจนในคำสอนเรื่องศีลกำลังของ พระศาสนจักร ศีลกำลังเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่หลั่ง พละกำลังให้กับคริสตชนที่มาขอรับ เพื่อเขาจะ ได้บรรลุวุฒิภาวะและสามารถรับหน้าที่ในหมู่ คณะในฐานะเป็นผูใ้ หญ่แล้วได้ นัน่ คือ ความรับ ผิดชอบในการแสดงออกถึงความเชื่อด้วยวิธีการ ใหม่ ด้วยการเป็นประจักษ์พยานต่อพระวรสาร ด้วยชีวิตของตนเอง หรือพูดตามภาษาที่รู้จักกัน ทั่วไปคือเป็น “ทหารของพระคริสต์”

15

พันธสัญญาใหม่ให้ภาพค่อนข้างชัดเจน เกี่ ย วกั บ บทบาทการเป็ น ผู้ ป ระทานพลั ง ของ พระจิตเจ้า ประการแรก เป็ น พระจิ ต เจ้ า ที่ ท รง ประทานพลังแก่คริสตชนในสมัยแรกในการเป็น ประจักษ์พยานถึงพระวรสาร แม้จะต้องแลก ด้ ว ยชี วิ ต ก็ ต าม เหตุ ก ารณ์ ใ นวั น ที่ พ ระจิ ต เจ้ า เสด็จลงมาได้แสดงให้เห็นถึงพลังใหม่ที่บรรดา ศิษย์ของพระเยซูเจ้าได้รับ (หนังสือกิจการอัคร สาวกตลอดทั้งเล่มล้วนกล่าวถึงพลังอำนาจและ บทบาทของพระจิตเจ้านี้) เราคงจำได้ว่า การ สิ้ น พระชนม์ ข องพระเยซู เจ้ า ได้ ท ำให้ บ รรดา สาวกของพระองค์ถึงกับอึ้งไป คืนหนึ่ง พวกเขา ได้ ม ารวมตั ว กั น ในห้ อ งๆหนึ่ ง และปิ ด ประตู ใ ส่ กลอนอย่างแน่นหนา เพราะกลัวว่าสิ่งที่เกิดขึ้น กับพระเยซูเจ้าจะเกิดขึ้นกับพวกตน จากนั้น ก็ มีเสียงลมพัดและมีเปลวไฟลักษณะเหมือนลิ้น ลอยอยู่เหนือพวกเขา และพวกเขา “ทุกคนได้ รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม และเริ่มพูดภาษาอื่นๆ ตามที่ พ ระจิ ต เจ้ า ประทานให้ พู ด ” (กจ.2:4) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังใหม่ ที่พวกเขาได้รับ เพื่อจะได้ออกไปเทศนาสั่งสอน และเป็นประจักษ์พยานถึงข่าวดีแห่งพระวรสาร แม้ในท่ามกลางการเบียดเบียน และพระจิตที่ กล่ า วถึ ง ในที่ นี้ ก็ ไ ม่ ใช่ เ ป็ น เพี ย งผู้ ป ระทานพลั ง เท่านั้น แต่พระองค์ยังประทานเนื้อหาของข่าว ประเสริ ฐ ที่ พ วกเขาจะออกไปเทศน์ ส อนด้ ว ย “เปโตรเปีย่ มด้วยพระจิตเจ้า กล่าวแก่เขาว่า ...” (กจ.4:8)


ทัศน์ 16 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 ก่อนการสิ้นพระชนม์ พระเยซูเจ้าก็ทรง ให้ ค วามมั่ น ใจแก่ บ รรดาศิ ษ ย์ ข องพระองค์ ว่ า พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือพิเศษนี้ในยามที่ ตกอยู่ในความยากลำบาก “เมื่อเขาจะมอบท่านที่ศาลนั้น อย่า วิ ต กกั ง วลว่ า จะพู ด อย่ า งไรหรื อ พู ด อะไร สิ่งที่ท่านจะพูดนั้นจะได้รับการ ดลใจในเวลานั้ น เอง เพราะท่ า นจะ มิ ไ ด้ พู ด ด้ ว ยตนเอง แต่ พ ระจิ ต ของ พระบิ ด าของท่ า นจะตรั ส ในท่ า น” (มธ.10:19-20) - ประการที่สอง พันธสัญญาใหม่นำ เสนอพระจิตเจ้าว่าเป็นผูป้ ระทานพลังแก่คริสตชน ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ พิ เ ศษภายในหมู่ ค ณะของ พวกเขา นั่นคือ หน้าที่ของการสร้างหมู่คณะ พระคุณหรือพระพรพิเศษประการนี้จะเปลี่ยน รู ป ความสามารถตามธรรมชาติ ข องคริ ส ตชน และบันดาลให้พวกเขาสามารถใช้ความสามารถ นั้นเพื่อความดีของหมู่คณะทั้งมวล สมาชิกแต่ ละคนในฐานะเป็นสมาชิกของพระวรกายเดียว กั น ของพระคริ ส ตเจ้ า จะมี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบ เฉพาะแตกต่างกันไป เพื่อก่อให้เกิดความดีแก่ ร่ า งกาย โดยพระจิ ต เจ้ า ทรงประทั บ อยู่ ใ น สมาชิกแต่ละคน และประทานพลังให้แต่ละคน ทำหน้าที่ของตนได้อย่างดีที่สุด “พระพรพิเศษมีหลายประการ แต่มี

พระจิตเจ้าองค์เดียวกัน มีหน้าทีห่ ลาย อย่างต่างกัน แต่มีองค์พระผู้เป็นเจ้า เพียงองค์เดียว กิจการมีหลายอย่าง แต่มีพระเจ้าองค์เดียวผู้ทรงกระทำทุก อย่างในทุกคน พระจิตเจ้าทรงแสดง พระองค์ ใ นแต่ ล ะคนเพื่ อ ประโยชน์ ส่วนรวม พระจิตเจ้าประทานถ้อยคำ ทีป่ รีชาแก่คนหนึง่ พระจิตเจ้าประทาน ถ้อยคำที่รอบรู้แก่อีกคนหนึ่ง พระจิต เจ้ า พระองค์ เ ดี ย วกั น ประทานความ เชื่อแก่อีกคนหนึ่ง พระจิตเจ้าพระองค์ เดียวกันประทานพระพรบำบัดรักษา โรค ประทานอำนาจทำอั ศ จรรย์ ใ ห้ อี ก คนหนึ่ ง ประทานให้ อี ก คนหนึ่ ง ประกาศพระวาจา ให้อีกคนหนึ่งรู้จัก จำแนกจิ ต ต่ า งๆ ให้ อี ก คนหนึ่ ง พู ด ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ และให้อีกคน หนึ่ ง ตี ค วามอธิ บ ายความหมายของ ภาษานั้นได้ พระพรพิเศษทั้งมวลเป็น ผลงานจากพระจิตเจ้าพระองค์เดียว ผู้ ท รงแจกจ่ า ยพระพรพิ เ ศษต่ า งๆ ให้แต่ละคนตามที่พอพระทัย” (1 คร. 12:4-11) และประการสุดท้าย พระจิตเจ้ายังถูก นำเสนอในฐานะเป็ น ผู้ มี บ ทบาทพิ เ ศษในการ กระตุ้ น ผู้ มี ค วามเชื่ อ ให้ ท ำงานเพื่ อ คนจนที่ “อยู่นอก” หมู่คณะคริสตชน พระวรสารให้ ภาพตัวอย่างของเรื่องนี้ไว้อย่างน่าทึ่ง พระแมส


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

ซียาห์ได้ทรงสัญญาไว้ว่าพวกยิวจะเต็มเปี่ยมไป ด้วยพระจิตของพระเจ้า ซึง่ ผลทีต่ ามมาคือ พวก เขาจะทำงานเพื่อทุกคนอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย เฉพาะอย่างยิง่ กับพวกทีถ่ กู ทอดทิง้ พระเยซูเจ้า ทรงรับพันธะกิจของพระแมสซียาห์นี้เสมือนเป็น พันธะกิจของพระองค์เอง เมื่อพระองค์ตรัสว่า “พระจิ ต ของพระเจ้ า ทรงอยู่ เ หนื อ ข้ า พเจ้ า เพราะพระองค์ ท รงเจิ ม ข้ า พเจ้ า ไว้ ให้ ป ระกาศข่ า วดี แ ก่ ค น ยากจน ทรงส่ ง ข้ า พเจ้ า ไปประกาศ การปลดปล่ อ ยแก่ ผู้ ถู ก จองจำ คื น สายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อย ผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่ง ความโปรดปรานจากพระเจ้ า ” (ลก.4:18-19) พระจิตองค์เดียวกับที่ทำให้พระเยซูเจ้า กระตือรือร้นทีจ่ ะทำงานเพือ่ คนยากจนนัน้ บัดนี้ ทรงประทับอยูท่ า่ มกลางหมูค่ ณะคริสตชนของเรา แล้ว ทรงนำทางพวกเรา ประทานพลังให้พวกเรา เพื่อพวกเราจะได้สามารถทำงานเพื่อคนยากจน และผู้ถูกทอดทิ้งได้อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย 4. พระจิตเจ้าคือพระจิตของพระเยซู บางคนมีความเห็นว่า การแบ่งบทบาท การทำงานของพระจิตในตัวเราเป็น 3 ประการ ดังที่กล่าวถึงมาข้างต้นเป็นการบิดเบือนรูปแบบ การทำงานของพระจิตเจ้า เพราะการทำงาน

17

ของพระจิตทั้ง 3 แบบในตัวเรานั้น จริงๆแล้ว มีความเกี่ยวพันและเป็นความสมบูรณ์ของกัน และกั น ดั ง นั้ น ถ้ า จะเปลี่ ย นคำพู ด ใหม่ ใ ห้ ดู เรียบง่าย แต่ความหมายยังคงเหมือนเดิม เราก็ อาจกล่าวได้ว่า “พระจิตเจ้าทรงทำงานในตัวเรา เหมือนกับที่ทรงทำงานในองค์พระเยซูเจ้า”

พวกเราคงรู้กันดีแล้วว่า พระวรสารนำ เสนอภาพของพระเยซูเจ้าว่าทรงถูกทำให้ครบ ครันบริบูรณ์โดยพระจิตเจ้า นับตั้งแต่พระองค์ ทรงบังเกิด พระองค์ทรงบังเกิดด้วยเดชะฤทธิ์ อำนาจของพระจิตเจ้า ทรงรับการล้างด้วยพระจิต และตลอดชีวิตของพระองค์ก็ทรงดำเนินภายใต้ การนำของพระจิตเจ้า เรารู้ว่าในระหว่างอาหาร ค่ำมือ้ สุดท้าย พระเยซูเจ้าทรงสัญญาจะส่งพระจิต ของพระองค์มายังบรรดาศิษย์ของพระองค์ และ ทำให้พวกเขามั่นใจว่าจะเป็นการดีสำหรับพวก เขาที่ พ ระองค์ จ ะต้ อ งจากไป เพราะนั่ น เป็ น เงื่อนไขจำเป็นสำหรับการเสด็จมาของพระจิตเจ้า เรารู้ว่าคำสัญญานี้ได้สำเร็จเป็นจริงเมื่อพระจิต ของพระเยซูได้เสด็จลงมาเหนือพวกศิษย์ของ


ทัศน์ 18 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 พระองค์ในวันเปนเตกอสเต และหลังจากได้รับ พระจิตเจ้าแล้ว พวกศิษย์ของพระเยซูก็ได้กลาย เป็ น บุ ต รของพระบิ ด าเป็ น ครั้ ง แรก และร่ ว ม แบ่งปันสัมพันธภาพในพระเยซูเจ้ากับพระบิดา นับจากนั้นเป็นต้นมา ชีวิตจิตของคริสตชนก็ได้ ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง กล่าวคือ บัด นี้ พระจิตของพระเยซูเจ้าทรงทำงานในบรรดา ผู้มีความเชื่อ เพื่อทำให้พวกเขาละม้ายคล้าย คลึงพระเยซูเจ้า และเช่นเดียวกัน ความเข้าใจ เช่นนี้ทำให้เราพบเกณฑ์ประการสุดท้ายในการ รู้จักพระจิตเจ้าในตัวเราและตัวผู้อื่น คือ เรารู้ ว่าพระจิตเจ้าทรงทำงานในตัวเรา เพื่อทำให้เรา เป็น “เหมือนพระคริสตเจ้า” ในการพูดถึงบทบาทของพระจิตเจ้า ใน การช่วยเหลือเราให้เป็นเหมือนพระคริสตเจ้า นั้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงความ “ไม่ใช่” ก่อนว่า - ประการแรก การเป็นเหมือนพระ คริสตเจ้าไม่ได้หมายความว่า ความโน้มเอียง และการล่อลวงให้ตกในบาปได้ถูกขจัดออกไป จากเราจดหมดสิ้น พระคริสตเจ้าเองก็ทรงถูก ล่อลวง เราเป็นเหมือนพระคริสตเจ้าในการถูก ล่อลวง แต่เราต้องตอบโต้การล่อลวงนั้นเหมือน ที่พระคริสตเจ้าทำ เรามีพลังที่จะเอาชนะการ ล่อลวงนั้นได้ เพราะเรามีพระจิตของพระองค์ ประทับอยู่ในตัวเรา - ประการที่สอง การเป็นเหมือนพระ คริสตเจ้าไม่ได้หมายความว่า เราต้องปฏิเสธ บุ ค ลิ ก ลั ก ษณะความเป็ น ตั ว ตนที่ แ ท้ จ ริ ง ของ

เราทั้งหมด แล้วรับเอาการกระทำบางอย่างที่ คนอื่นเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์เข้ามาในตัวของเราแทน (เสแสร้ง) แต่หมายถึงว่า เราต้องยินยอมให้ บุคลิกลักษณะซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเรา อยู่ ภ ายใต้ ก ารนำของพระจิ ต เหมื อ นอย่ า งที่ พระคริสตเจ้าทรงกระทำ และปล่อยให้พระจิต นั้นนำทางเราเสมอเพื่อมุ่งไปสู่ความรักและการ รับใช้ - ประการที่สาม การเป็นเหมือน พระคริสตเจ้าไม่ได้หมายความว่า เราต้องถอน ตัวจากการดำเนินชีวติ ประจำวันตามกระแสเรียก ของเราแล้วไปดำเนินชีวิตใหม่ในที่ท่มี ีบรรยากาศ มีสภาพแวดล้อมทีส่ ง่ เสริมให้เราสามารถสรรเสริญ พระเจ้าได้ตลอดเวลา แต่หมายถึงว่า เราต้อง ทำหน้าที่ตามกระแสเรียกที่เราได้รับมาภายใต้ การนำทางของพระจิตเจ้า พูดสั้นๆก็คือ เรา สามารถกลายเป็นเหมือนพระคริสตเจ้าได้โดย ที่เรายังคง “เป็นเหมือนอย่างที่เราเป็น” และ “อยู่ในที่ที่เราอยู่” นี่เอง


กลับมารื้อฟื้นความเชื่อในพระจิตเจ้ากันใหม่เถิด!

การดำเนินชีวิตภายใต้การนำของพระจิต ของพระคริสตเจ้าและการเป็นเหมือนพระคริสตเจ้า จึงหมายถึง การเป็นผูท้ ม่ี คี วามห่วงใยและกระตือ รือร้นที่จะส่งเสริมพระอาณาจักรของพระเจ้าบน โลกมนุษย์ จากการอ่านพระวรสาร บางคนอาจรูส้ กึ ประทับใจในองค์พระคริสตเจ้า ทีพ่ ระองค์ไม่เคย หยุดนิ่งที่จะประกาศข่าวดีแห่งพระอาณาจักร พระเจ้า พระองค์ทำงานตลอดทั้งวัน พักผ่อน แต่ในตอนกลางคืน บางคนอาจรู้สึกประทับใจ ในหมู่คณะคริสตชนสมัยแรกที่ทำงานกันอย่าง หนักและต่อเนื่องในการประกาศพระวรสารของ พระคริ ส ตเจ้ า นี่ เ ป็ น เพราะพระจิ ต เจ้ า ที่ ท รง ประทับอยูใ่ นพระคริสตเจ้าและในหมูค่ ณะคริสตชน สมัยแรก และทรงกระตุ้นพวกท่านเหล่านั้นให้ ออกไปป่ า วประกาศข่ า วดี นี้ บางครั้ ง การ ประทับอยูข่ องพระจิตเจ้านีไ้ ด้รบั การเปรียบเทียบ ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของพักผ่อนอย่างสันติในองค์ พระผู้เป็นเจ้า เป็นการถอนตัวออกจากสิ่งกังวล ใจในชีวติ ประจำวัน พระเยซูเจ้ากับคริสตชนกลุม่ แรกต่างมีประสบการณ์ในสันติสุข ความยินดี และความรักนี้ แต่สันติสุขและความยินดีนี้เกิด ขึ้ น จากการทำงานเพื่ อ พระบิ ด าเจ้ า “ไม่ ไ ด้ ” เกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง 5. บทสรุป สิ่งที่พันธสัญญาใหม่ให้กำลังใจเราอย่าง มากในเรื่ อ งการประทั บ อยู่ ข องพระจิ ต เจ้ า คื อ การยื น ยั น ว่ า พระจิ ต เจ้ า ทรงทำงานร่ ว มกั บ

19

เรา “ตลอดเวลา” เพียงแต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง หลายครั้งในประสบการณ์ของเรา เฉพาะอย่าง ยิ่ ง ในเหตุ ก ารณ์ ที่ มี ค่ า และมี ค วามสำคั ญ อย่ า ง มากต่อชีวิตของเรา เราพบว่าพระจิตเจ้าทรง ประทับอยู่ในเหตุการณ์นั้น เพราะดูเหมือนว่า สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ไม่ น่ า จะเป็ น ไปตามธรรมชาติ ไ ด้ แต่เป็นพระจิตของพระคริสตเจ้าที่เข้าร่วมกับ จิตของเราและทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน เหตุการณ์นั้นจึงเกิดขึ้น ในปีแห่งความเชื่อนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดี อีกครั้งหนึ่งที่เราคริสตชนจะได้รื้อฟื้นความเชื่อ ของเราต่อพระจิตเจ้าว่า พระจิตของพระคริสต เจ้าทรงประทับอยู่ในเราเสมอ ทรงกำลังดำเนิน งานร่วมกับทุกมิติของความเป็นอยู่ของเรา และ ทรงสานต่องานที่พระคริสตเจ้าได้ทรงเริ่มต้นไว้ ขณะที่พระองค์ทรงพระชนมชีพอยู่บนโลก ดังนั้น หากเราเติบโตและก้าวหน้าใน ความเชื่ อ และรั บ รู้ ถึ ง การดำเนิ น งานของ พระจิ ต เจ้ า ในตั ว เรา เราก็ จ ะพบว่ า ท่ า น นั ก บุ ญ เปาโลไม่ ไ ด้ พู ด เกิ น จริ ง เลย เมื่ อ ท่ า น กล่ า วว่ า “เรามี ชี วิ ต เคลื่ อ นไหว และมี ความเป็นอยู่ในพระองค์” (กจ.17:28)


ทัศน์ 20 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

คาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์, คณะกรรมการ. พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์, 2007. Murphy-O’Connor, Jerome. Becoming Human Together: The Pastoral Anthropology of St. Paul. Good News Studies 2. Wilmington, Del.: Michael Glazier, 1982. Fitzmyer, Joseph A. Pauline Theology. A Brief Sketch. Englewood-Cliffs, NJ: Prentice Hall, 1967. Hauser, Richard J. In His Spirit: A Guide to Today’s Spirituality. New York : Paulist Press, 1982. Bultmann, Rudolf . The Theology of the New Testament. 2 vols. New York : Scribner’s, 1951, 1955. Tobin, Thomas H. The Spirituality of Paul. Wilmington, Delaware: Michael Glazier, 1987. Abbott, Walter. The Documents of Vatican II. New York: Guild, 1966. “Dogmatic Constitution on the Church,” n.4; “Pastoral Constitution on the Church in the Modern World,” n.22.


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

21

* หมวดพระสัจธรรม *

ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

ความเชื่อในพระคริสตเจ้าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับนักบุญเปาโล

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารย์สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


ทัศน์ 22 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 ความเชื่อในพระคริสตเจ้าเป็นทุกสิ่งทุก อย่างสำหรับนักบุญเปาโล “ชีวิตที่ข้าพเจ้ากำลัง ดำเนินอยู่ในร่างกายขณะนี้ ข้าพเจ้าดำเนินชีวิต ในความเชื่ อ ถึ ง พระบุ ต รของพระเจ้ า ผู้ ท รงรั ก ข้ า พเจ้ า และทรงมอบพระองค์ เ พื่ อ ข้ า พเจ้ า ” (กท 2:20) เมื่ อ นั ก บุ ญ เปาโลพบพระเยซู เจ้ า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ขณะที่เดินทางไปยัง เมืองดามัสกัส เขาเป็นผูป้ ระสบความสำเร็จ ดัง ที่ยืนยันว่า “ในด้านความชอบธรรมตามธรรม บัญญัติ ไม่มสี ง่ิ ใดจะตำหนิขา้ พเจ้าได้” (ฟป 3:6 นักบุญเปาโลมีความกระตือรือร้นในการ ปฏิบัติธรรมบัญญัติโมเสสอย่างเคร่งครัดมากกว่า ผู้อ่นื “ข้าพเจ้าก้าวหน้าในลัทธิยิวมากกว่าเพื่อน ชาวยิวรุ่นเดียวกันหลายคน และมีจิตใจร้อนรน อย่างยิ่งในการรักษาประเพณีของบรรพบุรุษ” (กท 1:14) แสงสว่างทีน่ กั บุญเปาโลได้รบั ในการ เดินทางไปยังเมืองดามัสกัสได้เปลี่ยนแปลงชีวิต โดยสิ้นเชิง เขาเริ่มคิดว่าบุญกุศลทุกอย่างที่ได้ มาโดยปฏิบัติตามกฎศาสนาอย่างเคร่งครัดนั้น กลายเป็นสิ่งปฏิกูล “ข้าพเจ้าเห็นว่าทุกสิ่งไม่มี ประโยชน์อีกเมื่อเปรียบกับประโยชน์ล้ำค่าคือ การรู้จักพระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงยอมสูญเสียทุกสิ่ง ข้าพเจ้า เห็นว่าทุกสิง่ เป็นปฏิกลู เพือ่ จะได้องค์พระคริสตเจ้า มาเป็นกำไร” (ฟป 3:8) จดหมายถึ ง ชาวฟิ ลิ ป ปี เ ป็ น พยานถึ ง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในนักบุญเปาโล เขา ผ่านจากความคิดที่ว่า ความชอบธรรมเป็นผล ของการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติไปสู่ความชอบ

ธรรมที่มาจากความเชื่อในพระคริสตเจ้า “แต่ สิ่งที่เคยเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้า ละทิ้งเพราะพระคริสตเจ้า” (ฟป 3:7) ความ สัมพันธ์ระหว่างนักบุญเปาโลกับพระเยซูเจ้าผู้ ทรงกลับคืนพระชนมชีพ แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งนักบุญเปาโลยอมรับว่าพระคริสตเจ้า ทรงเป็นชีวิตของตน “ข้าพเจ้าคิดว่าการมีชีวิต อยู่ก็คือพระคริสตเจ้า และการตายก็เป็นกำไร” (ฟป 1:21) ข้ อ ความนี้ ไ ม่ ห มายความว่ า นั ก บุ ญ เปาโลดูหมิ่นชีวิต แต่เขาเข้าใจว่าชีวิตจะไร้ความ หมาย ถ้าหากไม่บรรลุถึงพระคริสตเจ้า เปรียบ เหมื อ นนั ก กี ฬ าที่ ต้ อ งวิ่ ง เพื่ อ จะได้ ร างวั ล และพระเยซู เจ้ า ทรงเป็ น รางวั ล ทรงเป็ น ทุ ก อย่างในชีวิตของตน เพราะความรักต่อพระเยซู เจ้าจึงทำให้นักบุญเปาโลเป็นห่วงกลุ่มคริสตชน ต่างๆ “ข้าพเจ้ายังถูกบีบคั้นทุกวัน นั่นคือเป็น ห่ ว งพระศาสนจั ก รทุ ก แห่ ง ” (2 คร 11:28) ความห่วงใยนี้ทำให้การวิ่งไปพบพระคริสตเจ้า นั้นชราลง “ข้าพเจ้ายังไม่บรรลุเป้าหมายหรือ ยังทำไม่สำเร็จ ข้าพเจ้ายังมุ่งหน้าวิ่งต่อไป เพื่อ จะช่วงชิงรางวัลให้ได้ดังที่พระคริสตเยซูทรงช่วง ชิงข้าพเจ้าไว้ได้แล้ว” (ฟป 3:12) 1. มนุษย์เป็นผู้ชอบธรรมจากความเชื่อในพระ คริสตเยซู เมือ่ พูดถึงความเชือ่ ในจดหมายของนักบุญ เปาโล นักเทววิทยามักจะคิดทันทีถึงเรื่องการที่ มนุษย์ได้เป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อไม่


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

ใช่กิจการ ปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยปฏิรูปของ ลูเธอร์ เกิดความขัดแย้งในคำสอนที่เขาคิดว่า พระศาสนจักรเวลานั้นเน้นการกระทำมากกว่า ความเชื่อ ในที่น้เี ราจะไม่หาเหตุผลมาโต้แย้งกัน ในปัญหานี้ แต่จะพยายามเพียงยืนยันความหมาย ของข่าวดีที่นักบุญเปาโลประกาศ ในปี ค.ศ. 2007 ผู้แทนสหพันธ์คริสต จักรลูเธอร์ลนั และพระศาสนจักคาทอลิกมีคำแถลง ร่วมเกี่ยวกับคำสอนเรื่องขบวนการที่มนุษย์จะได้ เป็นผู้ชอบธรรม ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่ามนุษย์ ต้องมีทง้ั ความเชือ่ และกิจการ ส่วนนักบุญเปาโล เน้นที่จะต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเท่า นัน้ เขาอธิบายว่ามนุษย์ทกุ คนเป็นบาป การผ่าน จากสภาพคนบาปเข้าสู่สภาพเป็นผู้ชอบธรรมก็ ไม่ใช่โดยกิจการตามธรรมบัญญัติ แต่เป็นพระ หรรษทานที่มาจากความเชื่อในพระคริสตเจ้า นั ก บุ ญ เปาโลเขี ย นชั ด เจนในจดหมายถึ ง ชาว กาลาเทียว่า “เราเกิดเป็นชาวยิว ไม่ใช่เป็นคนบาป ต่างศาสนา แต่เรารู้ว่า มนุษย์มิได้เป็นผู้ชอบ ธรรมจากการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ แต่เป็นผู้ ชอบธรรมจากความเชื่อในพระคริสตเยซูเท่านั้น เรามีความเชื่อในพระคริสตเยซูเพื่อจะได้เป็นผู้ ชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อในพระคริสตเจ้า มิใช่จากการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ เพราะไม่มี มนุษย์คนใดเป็นผู้ชอบธรรมจากการปฏิบัติตาม ธรรมบัญญัติ” (กท 2:15-16) เขายังได้อธิบาย อย่างชัดเจนมากขึ้นแก่คริสตชนชาวโรมว่า “ทุก คนกระทำบาปและขาดพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระเจ้า

23

แล้วทุกคนก็ได้รบั ความชอบธรรมเป็นของประทาน โดยทางพระหรรษทาน อาศั ย การไถ่ กู้ เราให้ เป็นอิสระในพระคริสตเยซู พระเจ้าทรงสถาปนา พระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาชดเชยบาปโดยอาศัย ความเชื่อและโดยอาศัยการหลั่งโลหิต เพื่อจะ ได้สำแดงความเที่ยงธรรมของพระองค์ โดยอด กลั้นไม่ลงโทษบาปในอดีตในเวลาแห่งความพาก เพียรของพระองค์ พระองค์ทรงสำแดงความ เทีย่ งธรรมในปัจจุบนั เพือ่ ทรงเป็นผูท้ เ่ี ทีย่ งธรรม และเพือ่ ทรงบันดาลให้ผมู้ คี วามเชือ่ ในพระเยซูเจ้า กลับเป็นผู้ชอบธรรม” (รม 3:23-26)

อย่างไรก็ตาม เมือ่ นักบุญเปาโลยืนยันว่า กิจการของธรรมบัญญัติช่วยมนุษย์ให้ผ่านจาก สภาพคนบาปเป็นผู้ชอบธรรมไม่ได้ สำหรับเขา สำนวน “กิจการของธรรมบัญญัติ” หมายถึง อะไรสำหรับนักบุญเปาโลและชาวยิวร่วมสมัย


ทัศน์ 24 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 ธรรมบัญญัติหมายถึงหนังสือ 5 เล่มแรกของ พระคั ม ภี ร์ ที่ ถื อ ว่ า โมเสสเป็ น ผู้ เขี ย น หรื อ ที่ เรียกว่าปัญจบรรพ ตามความคิดของชาวฟาริสี ซึ่งนักบุญเปาโลเคยเป็นสมาชิกในขบวนการนี้ ธรรมบัญญัตริ วมกฎเกณฑ์ตา่ งๆทางศีลธรรมและ ทางพิธีกรรมที่ต้องปฏิบัติเพื่อแสดงว่าเป็นชาวยิว อย่ า งแท้ จ ริ ง และมี อั ต ลั ก ษณ์ ข องตน ดั ง นั้ น กิ จ การของธรรมบั ญ ญั ติ ร วมทั้ ง การเข้ า สุ ห นั ต การแยกอาหารว่าอะไรเป็นมลทินและอะไรไม่เป็น มลทิน เรื่องการปฏิบัติวันสับบาโต ฯลฯ ชาวยิว โดยทั่วไปปฏิบัติเช่นนี้แสดงว่าเขาเป็นชาติที่แตก ต่างจากชาติผู้อื่น มีวัฒนธรรมของตนต่างจาก วัฒนธรรมของชนชาติอื่นโดยรอบ

ในช่วงแรกของชีวิต นักบุญเปาโลคิดว่า ต้ อ ง เ ป็ น เช่ น นี้ แ ต่ ต่ อ ม า เ มื่ อ ไ ด้ พ บ กั บ พระคริสตเจ้าเขาก็เข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องแยกตน ออกจากชนชาติอื่น เพราะพระเจ้าทรงทำลาย กำแพงที่ขวางกั้นชาวยิวกับคนต่างชาติ เพราะ

มีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว นักบุญเปาโลจึง เขียนจดหมายถึงชาวเอเฟซัสว่า พระองค์ทรง เป็ น ประกั น ว่ า มนุ ษ ย์ ทุ ก คน ทุ ก ชาติ ทุ ก วั ฒ นธรรม จะได้ รั บ ความรอดพ้ น โดยทาง พระคริ ส ตเจ้ า ไม่ ใช่ โ ดยวั ฒ นธรรมของตน ความเชื่อในพระคริสตเจ้าคือ การมอบตนเอง ด้วยความไว้ใจ เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์และ ดำเนินชีวิตละม้ายคล้ายกับพระองค์ เป็นการ ดำเนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยความรั ก ดั ง ที่ นั ก บุ ญ เปาโล เขี ย นชั ด เจนถึ ง กาลาเที ย ว่ า “เพราะธรรม บั ญ ญั ติ ทั้ ง หมดสรุ ป ได้ เ ป็ น ข้ อ เดี ย วว่ า จงรั ก เพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (กท 5:14 2. ความเที่ยงธรรมของพระเจ้า นั ก บุ ญ เปาโลมี ค วามกล้ า หาญที่ จ ะ ประกาศว่า สภาพของมนุษยชาติที่เป็นคนบาป และสมควรจะพิ น าศนั้ น ได้ เ ปลี่ ย นแปลงโดย สิ้นเชิง ไม่ว่าเป็นยิวหรือชาวกรีก “อาศัยการ ไถ่กู้เราให้เป็นอิสระในพระคริสตเยซู” (รม 3:24) “เพราะความเชื่อฟังของมนุษย์คนเดียว” (รม 5:19) เพื่อเข้าใจคำยืนยันนี้ต้องเข้าใจอย่างถูก ต้องว่า นักบุญเปาโลหมายถึงอะไรเมื่อพูดถึง พระเยซูเจ้า “ทรงสำแดงความเที่ยงธรรมของ พระเจ้า” แน่นอน สำนวนนี้ไม่หมายความว่า พระเจ้าทรงยุติธรรม ทรงตัดสินลงโทษ ทรง แก้ แ ค้ น ความผิ ด ของมนุ ษ ย์ ตรงข้ า ม หมาย ความว่า พระเยซูเจ้าทรงแสดงการกระทำของ พระเจ้าที่ทรงบันดาลให้คนบาปกลับเป็นผู้ชอบ ธรรม


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

ในจดหมายถึงทิตสั นักบุญเปาโลอธิบาย อย่างชัดเจนว่า “แต่เมื่อพระเจ้าพระผู้ไถ่ของ เราทรงแสดงพระทั ย ดี แ ละความรั ก ต่ อ มนุ ษ ย์ พระองค์ทรงช่วยเราให้รอดพ้นมิใช่เพราะกิจการ ชอบธรรมใดๆที่เรากระทำ แต่เพราะความรัก มั่นคงของพระองค์ ทรงใช้น้ำชำระเราให้สะอาด เราจึงเกิดใหม่และได้รบั การฟืน้ ฟูโดยพระจิตเจ้า” (ทต 3:4-5) “พระองค์ทรงสำแดงความเที่ยง ธรรมของพระองค์” (รม 3:25) หมายความว่า พระเจ้ า ทรงสำแดงความรั ก และความเมตตา กรุ ณ า ไม่ ใช่ ม นุ ษ ย์ เ ปลี่ ย นวิ ถี ชี วิ ต และเริ่ ม ทำ ความดีโดยตนเอง คำสอนใหม่ของพระเยซูเจ้า คือ พระเจ้าทรงเป็นผู้กระทำ พระองค์เสด็จ มาช่ ว ยมนุ ษ ย์ ที่ เ ป็ น คนบาป นี่ คื อ ความใหม่ ของคริ ส ตศาสนา ไม่ เ ป็ น เพี ย งคำสอนที่ ชี้ ใ ห้ มนุษย์รู้ว่า หนทางไปสู่ความรอดพ้นเป็นอย่าง ไร ต้องปฏิบตั อิ ะไร ต้องมีคำสอนใดจึงจะบรรลุ ความสุ ข ตลอดไป แต่ เ ป็ น การกระทำของ พระเจ้าไม่ใช่กิจการของมนุษย์ คำสอนเรื่องความเที่ยงธรรมของพระเจ้า ซึ่งทำให้เราเป็นผู้ชอบธรรมเป็นพระหรรษทาน คื อ ของประทานที่ พ ระเจ้ า ทรงให้ เ ปล่ า เป็ น คำสอนที่มาจากพระเยซูเจ้าอยู่แล้ว พระองค์ ทรงใช้สำนวนว่า “เวลาที่กำหนดไว้มาถึงแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้าอยูใ่ กล้แล้ว จงกลับใจ และเชื่อข่าวดีเถิด” (มก 1:15) การกลับใจใน ความหมายของพระเยซู เจ้ า มี ค วามหมายไม่ เหมือนความคิดของชาวยิวสมัยก่อน สำหรับ ชาวยิ ว การกลั บ ใจคื อ ถ้ า มนุ ษ ย์ ล ะเมิ ด ธรรม

25

บัญญัติก็ต้องกลับมาปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วก็จะ ได้รับการอภัยจากพระเจ้า ดังนั้น การกลับใจ จึงเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อจะได้รับความรอดพ้น ในความหมายนี้ ไ ม่ ใช่ ค วามคิ ด อั น ดั บ แรกของ พระเยซูเจ้า แต่เป็นเพียงอันดับรอง พระองค์ ทรงให้ความหมายใหม่ของการกลับใจ มนุษย์ กลับใจไม่ใช่โดยหันมาปฏิบัติธรรมบัญญัติเดิม ตามบทบัญญัติ แต่โดยมีความสัมพันธ์ใหม่กับ พระเจ้า เข้าในพระอาณาจักรของพระองค์ที่ พระเยซูเจ้าทรงนำมาให้ มนุษย์เข้าพระอาณา จักรด้วยความเชื่อ “จงกลับใจและเชื่อข่าวดี” ไม่หมายถึงกิจการสองประการคือต้องกลับใจแล้ว จึงจะมีความเชื่อ แต่การกลับใจเป็นกิจการหนึ่ง เดียวคือ จงกลับใจหมายถึงจงเชื่อ สมมุติพระเยซูเจ้าตรัสว่า ประตูเข้าพระ อาณาจักรเพือ่ รับความรอดพ้นคือ ความบริสทุ ธิ์ ใจ การปฏิบัติบทบัญญัติอย่างเคร่งครัด หรือ การปฏิบตั คิ ณ ุ ธรรมใดคุณธรรมหนึง่ อย่างสมบูรณ์ ผู้ใดเล่าจะมีความหวังที่จะได้รับความรอดพ้น แต่พระเยซูเจ้าตรัสว่า ประตูนั้นคือความเชื่อ และความเชือ่ เป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ กล้มนุษย์ ไม่เป็นอะไร ที่เกินความสามารถของเรา เพราะความเชื่ออยู่ ทั้งในปากและในจิตใจ ดังที่นักบุญเปาโลเขียน ในจดหมายถึงชาวโรมว่า “พระวาจาอยูใ่ กล้ทา่ น อยู่ในปากและในใจของท่าน คือพระวาจาที่นำ ความเชื่อที่เราประกาศไว้” (รม 10:8) 3. รูปแบบของความเชื่อ เมื่อนักบุญเปาโลพูดถึงความเชื่อที่ทำให้


ทัศน์ 26 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 มนุษย์เป็นผู้ชอบธรรมหมายถึงความเชื่อแบบใด ในแง่ที่เป็นการกระทำของมนุษย์ ความเชื่อมี รูปแบบต่างๆ เช่น การนอบน้อมต่อพระเจ้า การยอมรับและเห็นด้วยกับความจริงที่พระเจ้า ทรงเปิดเผย การยอมมอบตนเองต่อพระองค์ อย่ า งอิ ส ระเสรี โ ดยสิ้ น เชิ ง ความไว้ ว างใจใน ความรักของพระเจ้า หรือการแสดงคารวะต่อ พระเจ้า

ในแง่ ที่ เ ป็ น การกระทำของพระเจ้ า ความเชื่อเป็นพระหรรษทานหรือของประทาน จากพระเจ้า นักบุญเปาโลเน้นลักษณะดังกล่าว นี้เป็นพิเศษ ในแง่ที่เป็นการกระทำของมนุษย์

ความเชื่อเป็นการยอมรับพระคุณที่เป็นของ ประทานจากพระเจ้าให้เป็นของตนเอง ...

นักบุญเบอร์นาดได้เข้าใจอย่างถูกต้องเมือ่ ได้เขียนว่า “สิ่งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถจะได้มาโดยตนเอง ก็ นำมาเป็ น ของตนด้ ว ยความไว้ ใจจากด้ า นข้ า ง พระวรกายที่ ถู ก แทงขององค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า เพราะพระองค์ทรงพระเมตตาอย่างเต็มเปี่ยม บุญกุศลของข้าพเจ้าคือพระเมตตากรุณาของ พระเจ้ า ตราบใดที่ พ ระเจ้ า ทรงมี พ ระเมตตา อย่างเต็มเปี่ยม ข้าพเจ้าก็ไม่ขาดบุญกุศลอะไร เลย ถ้าพระเมตตาของพระเจ้ายิ่งใหญ่ ฉันก็มี บุญกุศลมากมายเช่นกัน ความชอบธรรมของ ข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าจะจำเพียงแต่ความ เที่ยงธรรมของพระองค์ เพราะความเที่ยงธรรม ของพระองค์เป็นความชอบธรรมของข้าพเจ้า” นั ก บุ ญ เปาโลก็ เ ขี ย นเช่ น เดี ย วกั น ว่ า “เดชะพระองค์ ท่านจึงมีความเป็นอยู่ในพระ คริสตเยซูผู้ที่พระเจ้าทรงตั้งให้เป็นปรีชาญาณ สำหรับเรา ทั้งยังทรงเป็นผู้บันดาลความชอบ ธรรม ความศักดิ์สิทธิ์และการไถ่กู้อีกด้วย” (1 คร 1:30) มนุ ษ ย์ทุ ก คนไม่ เป็ น ของตนเองแต่ เป็นของพระคริสตเจ้า “ท่านจึงไม่เป็นเจ้าของ ของตนเอง พระเจ้ า ทรงซื้ อ ท่ า นไว้ ด้ ว ยราคา แพง ดั ง นั้ น จงใช้ ร่ า งกายของท่ า นถวาย พระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด” (1 คร 6:20) สิ่ง ที่ เ ป็ น ของพระคริ ส ตเจ้ า ก็ เ ป็ น ของเราเช่ น กั น นั ก บุ ญ ซี ริ ล แห่ ง เยรู ซ าเล็ ม ก็ แ สดงความมั่ น ใจ เช่นเดียวกันเมื่อกล่าวว่า “ความพระทัยดีของ พระเจ้าต่อมนุษย์ช่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน ผู้ชอบ ธรรมตามพั น ธสั ญ ญาเดิ ม เป็ น ที่ พ อพระทั ย พระเจ้า เมื่อเขาได้ตรากตรำรับใช้พระองค์เป็น


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

เวลาหลายปี แต่ สิ่ ง ที่ เขาได้ ม าโดยการรั บ ใช้ พระเยซูเจ้าประทานแก่เราเพียงชั่วโมงเดียว ถ้า ท่านเชือ่ ว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าทรง กลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย ท่านจะ รอดพ้นและจะเข้าสวรรค์จากผูท้ เ่ี ชิญชวนให้ผรู้ า้ ย เข้าสวรรค์เช่นกัน”

ความเชื่อจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อแสดงออกใน ความรัก

4. ความเชื่อที่แสดงออกเป็นการกระทำอาศัย ความรัก นักบุญเปาโลจึงสอนว่า มนุษย์ไม่สามารถ ทำให้ตนเองเป็นผู้ชอบธรรมโดยกิจการของตน แต่จะเป็นเช่นนั้นเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า ถ้าพระองค์ประทานความเทีย่ งธรรมของพระองค์ แก่ เขา ทรงบั น ดาลให้ เขาเป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ พระคริสตเจ้าพระบุตรของพระองค์ มนุษย์ได้ รับความสนิทสัมพันธ์นี้โดยอาศัยความเชื่อ ไม่ ใช่โดยกิจการของตน แต่ความเชื่อนี้ไม่ใช่เป็น ความคิด คำสอน หรือความคิดเห็น เป็นความ สนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าที่พระเจ้าประทาน แก่เรา ซึ่งกลายเป็นชีวิต ทำให้เราดำเนินชีวิต ละม้ายคล้ายกับพระคริสตเจ้า พูดอีกนัยหนึ่ง ความเชื่อจะเป็นจริงก็ต่อ เมื่อแสดงออกในความรัก ความเชื่อปราศจาก ความรักก็ไม่เป็นความเชื่อแท้จริง เป็นความเชื่อ

27

ที่ตายไปแล้ว พระองค์ทรงแยกแยะกิจการของ เรา เป็นสองระดับ ระดับแรกคือกิจการของ เราจะไร้ความหมายในการบรรลุความรอดพ้น เพราะผ่านจากสภาพคนบาปไปสู่สภาพผู้ชอบ ธรรมในขั้นตอนแรกเป็นกระทำของพระจิตเจ้า เท่านั้น การยอมรับการกระทำของพระจิตเจ้า หมายถึงความเชื่อ แต่อีกระดับหนึ่งคือ เมื่อเรา เป็ น ผู้ ช อบธรรมแล้ ว โดยการกระทำของ พระจิตเจ้า เราต้องทำให้ความเชื่อแสดงออกใน กิจการอาศัยความรัก ดังนั้น ในแง่นี้ความเชื่อแสดงออกด้วย กิจการ ดังที่เราอ่านในจดหมายนักบุญเปาโล ว่า “เพราะในพระคริสตเยซูนั้น การเข้าสุหนัต หรือไม่เข้าสุหนัตนั้นไม่สำคัญ เรื่องที่สำคัญก็คือ มี ค วามเชื่ อ ที่ แ สดงออกเป็ น การกระทำอาศั ย ความรัก” (กท 5:6) ตามความคิดของนักบุญ เปาโลมี ทั้ ง กิ จ การที่ พ ระเจ้ า ทรงกระทำใน มนุ ษ ย์ แ ละกิ จ การที่ ม นุ ษ ย์ ท ำตามธรรมชาติ กิจการที่มนุษย์ทำตามธรรมชาติคือ “การผิด ประเวณี ความลามกโสมม การปล่อยตัวตาม ราคะตัณหา การกราบไหว้รูปเคารพ การใช้ เวทมนตร์คาถา การเป็นศัตรูกัน การทะเลาะ วิวาท ความอิจฉาริษยา ความโกรธเคือง การ แก่ ง แย่ ง ชิ ง ดี การแตกแยก การแบ่ ง พรรค แบ่งพวก” (กท 5:19-20) กิจการเหล่านีต้ อ่ ต้าน ความเชื่อ ส่วนกิจการของพระจิตเจ้าซึ่งหล่อ เลี้ยงชีวิตคริสตชนได้แก่ “ผลของพระจิตเจ้า” คือ “ความรัก ความชื่นชม ความสงบ ความ อดทน ความเมตตา ความใจดี ความซื่อสัตย์


ทัศน์ 28 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 ความอ่ อ นโยน และการรู้ จั ก ควบคุ ม ตนเอง” (กท 5:22-23) น่าสังเกตว่า ความรักเป็นผลอันดับแรก ของพระจิต ส่วนผลสุดท้ายคือการรู้จักควบคุม ตนเอง เพราะ “พระจิตเจ้าซึง่ พระเจ้าประทาน ให้เรา ได้หลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจ ของเรา” (รม 5:5) แต่ ค วามรั ก นี้ จ ะแสดง ออกอย่ า งเต็ ม ที่ ก็ ต่ อ เมื่ อ รู้ จั ก ประมาณตนเอง ผู้มีความเชื่อทุกคนยอมรับว่า ความรักกันขึ้น อยู่กับความรักและการมีส่วนร่วมในความรักของ พระเจ้าและพระคริสตเจ้าโดยอาศัยพระจิตเจ้า “จงแบ่งเบาภาระของกันและกัน แล้วท่านก็จะ ปฏิ บั ติ ต ามกฎบั ญ ญั ติ ข องพระคริ ส ตเจ้ า อย่ า ง สมบูรณ์” (กท 6:2)

เมื่อเรากลายเป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัย พระหรรษทานแห่งความเชื่อในพระคริสตเจ้า แล้ว เราได้รับเรียกให้ดำเนินชีวิตในความรัก ของพระคริสตเจ้าต่อเพือ่ นมนุษย์ นีค่ อื มาตรฐาน ที่ เราจะต้ อ งถู ก พิ พ ากษาในตอนสุ ด ท้ า ยของ ชีวิต นักบุญเปาโลสรรเสริญการกระทำความรัก ต่อเพื่อนมนุษย์ดังต่อไปนี้ “แม้ข้าพเจ้าพูดภาษา

ของมนุษย์และของทูตสวรรค์ได้ ถ้าไม่มคี วามรัก ข้ า พเจ้ า ก็ เ ป็ น แต่ เ พี ย งฉาบหรื อ ฉิ่ ง ที่ ส่ ง เสี ย ง อึกทึก...ความรักย่อมอดทน มีใจเอื้อเฟื้อ ไม่ อิ จ ฉา ไม่ โ อ้ อ วดตนเอง ไม่ จ องหอง ไม่ หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิดที่ได้รับ” (1 คร 13:1, 4-5) ความรั ก ของคริ ส ตชนเรี ย กร้ อ งความเสี ย สละ เพราะมาจากความรักโดยสิน้ เชิงของพระคริสตเจ้า ต่อเรา เป็นความรักที่ต้อนรับเรา ควบคุมและ ค้ ำ จุ น เรา ทำให้ เราจะกั ง วลใจ ถ้ า ไม่ ด ำเนิ น ชีวิตเพื่อผู้อื่น ทำให้เราไม่สบายใจถ้าปิดตนเอง อยู่ในความเห็นแก่ตัว “พระองค์สิ้นพระชนม์ แทนทุกคน เพื่อผู้ที่มีชีวิตจะได้ไม่มีชีวิตเพื่อตน เองอี ก ต่ อ ไป แต่ มี ชี วิ ต เพื่ อ พระองค์ ผู้ ไ ด้ สิ้ น พระชนม์ และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพือ่ เขา” (2 คร 5:15) ความรักของพระคริสตเจ้าทำให้ เราเป็นสิ่งสร้างใหม่ “ถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสตเจ้า ผู้ นั้ น ก็ เ ป็ น สิ่ ง สร้ า งใหม่ สภาพเก่ า ผ่ า นพ้ น ไป สภาพใหม่เกิดขึน้ แล้ว” (2 คร 5:17) เราจึงเป็น สมาชิกของพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าคือ พระศาสนจักร ในแง่นี้ ความชอบธรรมที่มาจากความ เชื่อไม่ขัดแย้งกับกิจการของมนุษย์ เพราะเป็น ความเชื่อที่แสดงออกในการกระทำด้วยความรัก ไม่ ใช่ เ พี ย งกิ จ การของธรรมบั ญ ญั ติ ดั ง ที่ เ ป็ น ประเด็ น สำคั ญ ในการเทศน์ ข องนั ก บุ ญ เปาโล ความชอบธรรมเรียกร้องทั้งความเชื่อและกิจการ ทีท่ ำด้วยความรัก บางคนนำข้อความจากนักบุญ เปาโลมาเปรียบเทียบกับข้อความจากจดหมาย


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

ของนักบุญยากอบและเห็นว่าขัดแย้งกัน เพราะ นักบุญยากอบเขียนว่า “ร่างกายที่ปราศจาก วิ ญ ญาณย่ อ มตายแล้ ว ฉั น ใด ความเชื่ อ ที่ ไ ม่ มี การกระทำก็ย่อมตายแล้วฉันนั้น” (ยก 2:26) โดยแท้จริงแล้ว นักบุญเปาโลพูดถึงความเชื่อที่ แสดงออกในตอนแรกคือ การผ่านจากสภาพคน บาปเข้าสู่สภาพผู้ชอบธรรมโดยปราศจากกิจการ ของตน ส่วนนักบุญยากอบเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างความเชื่อกับกิจการ ทั้งสองมุมมองต่าง กั น แต่ ไ ม่ ขั ด แย้ ง กั น เพราะนั ก บุ ญ เปาโลและ นักบุญยากอบกล่าวถึงความเชื่อที่แสดงออกใน กิจการ ความรอดพ้นที่ได้รับจากพระคริสตเจ้า ต้องรักษาไว้ ต้องแสดงออกดังที่นักบุญเปาโล เขียนว่า “ท่านจงออกแรงด้วยความเกรงกลัว จนตัวสั่นเพื่อให้รอดพ้นเถิด พระเจ้าทรงทำงาน ในท่ า นเพื่ อ ให้ ท่ า นมี ทั้ ง ความปรารถนาและ ความสามารถที่จะทำงานตามพระประสงค์ จง ทำทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งโดยไม่ บ่ น หรื อ โต้ เ ถี ย ง... จงยึดพระวาจาแห่งชีวิตมั่นไว้ เพื่อข้าพเจ้าจะ ได้ภาคภูมิใจในวันของพระคริสตเจ้า ว่าข้าพเจ้า มิได้วิ่งและตรากตรำทำงานโดยเปล่าประโยชน์” (ฟป 2:12-14, 16) จริยธรรมที่นักบุญเปาโล เสนอแก่ ผู้ มี ค วามเชื่ อ เริ่ ม จากความสั ม พั น ธ์ ที่ เรามีกับพระคริสตเจ้า ไม่ใช่จากการปฏิบัติตาม บทบัญญัติ บทบัญญัติเป็นผลตามมาจากมิตร ภาพกับพระคริสตเจ้า มิตรภาพนี้มีอิทธิพลต่อ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ แ ละแสดงออกเมื่ อ ปฏิ บั ติ ค วามรั ก ต่อเพื่อนพี่น้อง ดังนั้น เราต้องมีความสัมพันธ์

29

อันดีงามกับผู้อื่น เพราะความเชื่อเป็นความเชื่อ ส่วนรวมมิใช่ส่วนตัว เราต้องยอมให้ความรัก ของพระเจ้าสัมผัสชีวิตเพื่อการคืนดี ความรักที่ พระคริสตเจ้าทรงมีต่อเราเป็นความรักยิ่งใหญ่ “ไม่ว่าฤทธิ์อำนาจใดหรือความสูง ความลึก ไม่ มีสรรพสิ่งใดๆจะพรากเราได้จากความรักของ พระเจ้า ซึ่งปรากฏในพระคริสตเยซู องค์พระ ผูเ้ ป็นเจ้าของเรา” (รม 8:39) ความจริงนีท้ ำให้ เรามั่นใจว่า เราดำเนินชีวิตด้วยกิจการที่แสดง ความรักได้ 5. ความต้องการที่จะรู้จักพระคริสตเจ้า ความเข้าใจของนักบุญเปาโลเรื่องความ เชื่อมาจากประสบการณ์ของตนเอง เขาไม่ได้ เรี ย นรู้ จ ากผู้ อื่ น แต่ จ ากการเปิ ด เผยของ พระคริสตเจ้าในเหตุการณ์เมื่อกลับใจ นักบุญ เปาโลบรรยายเหตุ ก ารณ์ นี้ ใ นบทที่ 3 ของ จดหมายถึ ง ชาวฟิ ลิ ป ปี ซึ่ ง ชวนเราให้ คิ ด ถึ ง ภาพเปรี ย บเที ย บว่ า นั ก บุ ญ เปาโลเป็ น เหมื อ น ชายคนหนึ่งที่เคยเดินในป่าเวลากลางคืน ถือ คบเพลิงซึ่งเป็นแสงสว่างเดียวที่จะช่วยให้เห็น ทาง เขาตั้งใจระมัดระวังไม่ให้ไฟดับ แต่เมื่อ เดินต่อไปจนถึงเวลาฟ้าสางและพระอาทิตย์ขึ้น ไฟนัน้ ก็อบั แสง เขาเกือบไม่รตู้ วั ว่ายังถือคบเพลิง อยู่หรือทิ้งไปแล้ว สำหรับนักบุญเปาโล แสง ของคบเพลิ ง คื อ ความชอบธรรมที่ ไ ด้ ม าจาก กิ จ การหรื อ ศั ก ดิ์ ศ รี ข องตน ดั ง ที่ เขาเขี ย นว่ า “ข้าพเจ้าได้รับพิธีสุหนัตเมื่อเกิดมาได้แปดวัน เป็นเชือ้ สายชนชาติอสิ ราเอลจากตระกูลเบนยามิน


ทัศน์ 30 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 เป็ น ชาวฮี บ รู เ กิ ด จากชาวฮี บ รู ในด้ า นธรรม บัญญัติเป็นชาวฟาริสี มีความกระตือรือร้นที่ จะเบียดเบียนพระศาสนจักร ไม่มีข้อตำหนิใด ในด้านความชอบธรรมตามธรรมบัญญัติ” (ฟป 3:5-6)

แต่ วั น หนึ่ ง พระอาทิ ต ย์ ป รากฏขึ้ น พระอาทิ ต ย์ นั้ น คื อ พระเยซู เจ้ า บั ด นี้ ความ ชอบธรรมของตนไม่เป็นประโยชน์อีกแล้ว เขา เปรียบความชอบธรรมของตนกับสิ่งปฏิกูล เขา ไม่ต้องการพบความชอบธรรมของตน แต่ต้อง การได้รับความชอบธรรมจากความเชื่อ สำหรับ นั ก บุ ญ เปาโลสิ่ ง สำคั ญ ไม่ ใช่ ค ำสอนเรื่ อ งความ ชอบธรรมโดยอาศัยความเชือ่ แต่เป็นพระบุคคล ของพระคริสตเจ้า สิ่งเดียวที่เขาต้องการคือรู้จัก พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุคคลที่มีชีวิตจริง ไม่ใช่เป็นเพียงความคิดหรือคำสอน ความสัมพันธ์ กับพระคริสตเจ้าโดยอาศัยพระจิตเจ้าคือจุดมุง่ หมาย สุดท้ายของชีวิตคริสตชน ความชอบธรรมที่ได้ มาจากความเชื่อเป็นเพียงแต่การเริ่มต้น เป็น เพียงสื่อที่จะช่วยให้บรรลุความสนิทสัมพันธ์กับ พระคริสตเจ้า ในจดหมายฉบับเดียวกันนี้ เรา

ยั ง พบข้ อ ความที่ ว่ า “ข้ า พเจ้ า ยั ง ไม่ บ รรลุ เป้าหมายหรือยังทำไม่สำเร็จ ข้าพเจ้ายังมุ่งหน้า วิ่ ง ต่ อ ไป เพื่ อ จะช่ ว งชิ ง รางวั ล ให้ ไ ด้ ดั ง ที่ พระคริสตเยซูทรงช่วงชิงข้าพเจ้าไว้ได้แล้ว พี่ น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่คิดว่า ข้าพเจ้าชนะ แล้ว ข้าพเจ้าทำเพียงอย่างเดียวคือ ลืมสิ่งที่ อยู่ เ บื้ อ งหลั ง มุ่ ง สู่ เ บื้ อ งหน้ า อย่ า งสุ ด กำลั ง ข้าพเจ้ากำลังวิง่ เข้าสูเ่ ส้นชัยไปหารางวัลทีพ่ ระเจ้า ทรงเรี ย กจากสวรรค์ ใ ห้ ข้ า พเจ้ า เข้ า ไปรั บ ใน พระคริสตเยซู” (ฟป 3:12-14) อะไรเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังที่นักบุญเปาโล ได้ ลื ม อดี ต หรื อ อดี ต เมื่ อ ใด อดี ต ในช่ ว งที่ เป็นชาวฟาริสี หรืออดีตในช่วงที่เป็นอัครสาวก ของพระคริสตเจ้า น่าสังเกตว่า สำหรับนักบุญ เปาโลกทุกอย่างไม่มีประโยชน์เลย ผู้อื่นอาจ คิดว่า “ดูซิ นักบุญเปาโลก็แสดงความกล้าหาญ อย่ า งมาก ได้ ล ะทิ้ ง ตำแหน่ ง ธรรมาจารย์ ที่ มี ชื่อเสียงเพื่อมาร่วมกลุ่มกับชาวกาลิลีกลุ่มน้อย ทีไ่ ม่เป็นทีร่ จู้ กั ” บางคนอาจพูด “นักบุญเปาโล เขี ย นจดหมายน่ า ทึ่ ง แสดงความรู้ สู ง ส่ ง ได้ เดิ น ทางประกาศข่ า วดี ห ลายแห่ ง ได้ แ ต่ ง ตั้ ง กลุ่ ม คริ ส ตชนหลายเมื อ ง” โดยแท้ จ ริ ง แล้ ว นักบุญเปาโลไม่ได้คิดเช่นนั้น เขาไม่ย้อนหลัง เพื่อจะเห็นกิจการที่ประสบความสำเร็จ ตรง กันข้ามกลับเขียนว่า “ข้าพเจ้าลืมสิ่งที่อยู่เบื้อง หลัง มุ่งสู่เบื้องหน้าอย่างสุดกำลัง” นี่แหละ คื อ การกลั บ ใจที่ จ ำเป็ น สำหรั บ ทุ ก คน เพื่ อ ติ ด ตามพระคริ ส ตเจ้ า และดำเนิ น ชี วิ ต รั บ ใช้ พระศาสนจักร แต่เป็นการกลับใจพิเศษ ไม่ใช่


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

การกลับใจจากการละทิ้งความชั่วช้า แต่เป็น การตั ด ใจจากสิ่ ง ที่ เรากระทำ เพื่ อ พู ด ได้ ต าม คำแนะนำของพระคริสตเจ้าว่า “ฉันเป็นผู้รับใช้ ที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉันทำตามหน้าที่ที่ต้องทำ เท่านั้น” (ลก 17:10) 6. “ข้าพเจ้าต่อสู้มาอย่างดีแล้ว” เมื่อนักบุญเปาโลเขียนจดหมายถึงทิโมธี ฉบับที่ 2 เขาถูกจองจำอยู่ที่กรุงโรมและถูกเพื่อ นสนิ ท ทอดทิ้ ง เขาจึ ง เขี ย นขอร้ อ งทิ โ มธี ว่ า “จงรีบไปพบข้าพเจ้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้” (2 ทธ 4:9) “เหลือเพียงลูกาที่ยังอยู่กับข้าพเจ้า” (2 ทธ 4:11) ในสมัยจักรพรรดินิโรทรงครองราชย์และ ทรงเบี ย ดเบี ย นคริ ส ตชน การเป็ น พยานถึ ง พระคริ ส ตเจ้ า หมายความว่ า ต้ อ งพร้ อ มสละ ชีวติ เพือ่ พระองค์ และในไม่ชา้ นักบุญเปาโลจะถูก ประหารชีวติ ใจของนักบุญเปาโลไม่สงสารตนเอง เขาเปิดใจกับทิโมธีว่า “ข้าพเจ้าระลึกถึงท่าน อยู่เสมอในการอธิษฐานทั้งวันทั้งคืน ข้าพเจ้า ยังระลึกถึงน้ำตาของท่าน และปรารถนาที่จะ พบท่านเพื่อจะได้มีความยินดีเต็มเปี่ยม และยัง ระลึกถึงความเชื่อที่จริงใจของท่านเป็นความเชื่อ แต่เดิมของโลอิส ยายของท่าน เป็นความเชื่อ ของยูนิสมารดาของท่าน และข้าพเจ้ามั่นใจว่า เป็นความเชื่อของท่านด้วย” (2 ทธ 1:3-5) ความเชื่ อ ของนั ก บุ ญ เปาโลจึ ง เกี่ ย วกั บ ข้ อ งกั บ สภาพชี วิ ต และรวมคุ ณ ลั ก ษณะหลาย ประการ เช่ น ความปรารถนา การร้ อ งไห้ การระลึกถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ความ

31

ทุกข์ ความยินดี ความเชื่อคือการต่อสู้อย่างดี คื อ การวิ่ ง มาถึ ง เส้ น ชั ย เพื่ อ จะได้ ม งกุ ฎ แห่ ง ความชอบธรรม ความเชื่อจึงเป็นการต่อสู้กับ พลังของศัตรู เป็นการต่อสู้กับคู่อริที่แข็งแกร่ง ชนะยาก เหมือนกับเราเมื่อจะต้องวิ่งแข่ง ปัจจุบนั ศัตรูแท้จริงของความเชือ่ คือความ เมินเฉยต่อชีวิตจิต ต่อความจริงที่ลึกซึ้งที่เป็น คำถามเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ เราต้ อ งต่ อ สู้ กั บ วัตถุนิยม บริโภคนิยม สื่อมวลชนที่ประกาศ ความคิดเหล่านี้ นักบุญเปาโลจึงเตือนทิโมธีว่า จะถึ ง เวลาหนึ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ “จะไม่ ต้ อ งการฟั ง คำสอนที่ถูกต้อง แต่จะแสวงหาผู้สอนจำนวน มากมาอยู่ร่วมกัน เพื่อจะได้สอนสิ่งที่ตนอยาก ฟั ง พวกเขาจะไม่ ย อมฟั ง ความจริ ง แต่ จ ะ เปลี่ยนไปฟังเทพนิยาย” (2 ทธ 4:3-4) การ ยึ ด มั่ น ในความเชื่ อ จึ ง เป็ น กิ จ การยากลำบาก เพราะเราต้องทำสิ่งที่พระเจ้าเท่านั้นทรงทำได้ ต้ อ งยอมรั บ ความจริ ง ที่ เรามองไม่ เ ห็ น เช่ น การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย ฟ้าใหม่และ แผ่นดินใหม่ การพิพากษาประมวลพร้อม ดัง ที่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงย้ำ ในสมณสาสน์ว่าด้วยเรื่องความหวังของคริสตชน “รอดพ้นในความหวัง” (Spe Salvi) ว่าความ เชื่อเป็นการต่อสู้อย่างดี เป็นการรอคอยสิ่งที่จะ ต้องเกิดขึ้น แล้วทุกคนที่มีความเชื่อเช่นนี้จะได้ รับมงกุฎแห่งความชอบธรรม เพราะ “ทุกคน ที่ มี ค วามรั ก เฝ้ า รอคอยการแสดงพระองค์ ” (2 ทธ 4:8)


ทัศน์ 32 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555


ความเชื่อในจดหมายของนักบุญเปาโล

33

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. นครปฐม : คณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์, 2545. Barbaglio, Giuseppe. Le lettere di Paolo (traduzione e commento), voll. I-II. Roma : n.p., 1990. Dunn, James D. G. The theology of Paul the Apostle. Grand Rapids, Mich: W.B. Eerdmans Pub, 1998. Fabris, Rinaldo. Introduzione alla lettura di Paolo. Roma: Borla, 2006. --------------------. Paolo di Tarso, Milano: Paoline, 2008. Käsemann, Ernst. Commentary on Romans. London: SCM, 1980. Murphy-O’Connor , Jerome. Paul: His Story. Oxford: Oxford University Press, 2004. Penna, Romano. L’apostolo Paolo. Studi di esegesi e teologia. Cinisello Balsamo (Mi) : Edizioni San Paolo, 1991. Ridderbos, Herman N. Paul: An Outline of His Theology, Grand Rapids: Eerdmans, 1975 [1997]. Sanders, Ed Parish. Paul, the Law, and the Jewish People. Augsburg: Fortress Publishers, 1983.


ทัศน์ 34 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 * หมวดคำสอน *

การนมัสการ (เฝา) ศีลมหาสนิท พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์

การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท เปนการแสดงความเชื่อที่สำคัญของชุมชนต่อพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท

ประมุขอัครสังฆมณฑลเชียงใหม่, ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสภามุขนายกแห่งประเทศไทย แผนกคริสตศาสนธรรมและแผนกพระคัมภีร์


การนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท

สมัยปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยีมากมาย ว่องไว แต่ดูเหมือนเยาวชน และประชาชนค่อยๆห่างศาสนา ประสบปัญหา ในชีวิตและสังคม คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว มากกว่ า ประโยชน์ ส่ ว นรวม เรี ย กร้ อ งความ ยุติธรรม (จากคนอื่น) ขาดความซื่อสัตย์สุจริต (คอรัปชั่น) ค้ายาเสพติดมากขึ้น รุนแรงขึ้น ฯลฯ เราจะเริ่มแก้ปัญหาจากตรงไหน บางคนแนะนำ พ่อว่า ต้องหันมาเฝ้าศีลมหาสนิท จัดเฝ้าศีล มหาสนิท 24 ชั่วโมง สอนเด็ก - เยาวชนให้ ศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท เพราะ เขาสั ง เกตว่ า คริ ส ตชนหลายคนขาดความเชื่ อ ไม่อดอาหาร 1 ชั่วโมงก่อนรับศีลฯ ตามคำสอน ของพระศาสนจักร ไม่ค่อยรับศีลอภัยบาป แต่ ไปรั บ ศี ล มหาสนิ ท ออกจากวั ด ก็ แ ยกย้ า ยกั น กลับบ้าน จะเป็นวิถีชุมชนคริสตชนอย่างไร

หากท่ า นลองหั น มาค้ น ทางเว็ บ ไซท์ การนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท Eucharistic Adoration และ Visits to the Blessed Sacrament มีคำตอบมากมาย ทำให้ทราบ ว่ า หลายประเทศมี ก ารส่ ง เสริ ม ความศรั ท ธา

35

ต่ อ ศี ล มหาสนิ ท การเฝ้ า ศี ล มหาสนิ ท ทั้ ง วั น (Perpetual Eucharistic Adoration) สำหรั บ ในประเทศไทย พระสงฆ์ นั ก บวช ครูคำสอนส่วนใหญ่ ไม่ได้สอนเรื่องนี้ ละเลย เรื่ อ งนี้ จ ริ ง ๆ ฉะนั้ น ในปี แ ห่ ง ความเชื่ อ (11 ตุ ล าคม ค.ศ. 2012 ถึ ง 24 พฤศจิ ก ายน ค.ศ. 2013) เราน่ า จะทำอะไรง่ า ยๆ... สม่ำเสมอ... เพื่อฟื้นฟูชีวิตชุมชนของเราดีไหม ประวั ติ พั ฒ นาการของการเฝ้ า ศี ล มหาสนิท มีต้ังแต่สมัยศตวรรษที่ 13 ซิสเตอร์ บางคณะเริ่ ม แต่ ล ะวั น ด้ ว ยการไปเฝ้ า ศี ล มหาสนิ ท นั ก บุ ญ โทมั ส แบคเก็ ต (ค.ศ. 1118-1170) เคยเขี ย นจดหมายถึ ง เพื่ อ น ในเรือ่ งนี้ และในปลายศตวรรษที่ 14 ประชาชน ปฏิบัติเรื่องนี้เป็นประจำ ในกฎหมายพระศาสนจั ก รฉบั บ เดิ ม (27 พฤษภาคม ค.ศ. 1917) ส่งเสริมให้สัตบุรุษ ไปเฝ้าศีลมหาสนิทบ่อยๆ (ม.1273) ในฉบับ ปั จ จุ บั น (25 มี น าคม ค.ศ.1983) สอนว่ า “เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักขัดขวาง วัดซึ่งเก็บรักษา ศีลมหาสนิท ต้องเปิดอย่างน้อยสองสามชั่วโมง ทุกวัน เพื่อให้สัตบุรุษสามารถภาวนาต่อหน้า ศีลมหาสนิท” (CIC 937) นักพรตต้องร่วมถวายบูชามิสซาทุกวัน เท่าที่จะทำได้ ต้องรับศีลมหาสนิทและนมัสการ พระเจ้าองค์เดียวกัน ผูป้ ระทับอยูใ่ นศีลมหาสนิท (CIC 663 วรรค 2)


ทัศน์ 36 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555

การอวยพรศีลมหาสนิท พระศาสนจักร คาทอลิกมีวันสมโภชพระวรกายและพระโลหิต พระคริสตเจ้า (Corpus Christi) นักบุญโทมัส อไควนั ส (ค.ศ.1225-1274) ได้ แ ต่ ง เพลง O Salutaris Hostia และ Tantum Ergo สำหรับพิธีอวยพรศีลมหาสนิท ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนีและอังกฤษ ค่อยๆมีการแห่ศีลมหาสนิท การอวยพรผู้ป่วย ด้วยศีลมหาสนิท การมีความศรัทธาต่อแม่พระ เช่นทีเ่ มืองลูรด์ ประเทศฝรัง่ เศส ก็รวมการอวย พรศีลมหาสนิทกับความศรัทธาต่อแม่พระเช่นกัน

ก า ร ชุ ม นุ ม เ ค า ร พ ศี ล ม ห า ส นิ ท (Eucharistic Congress) สตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ มารี ย มาร์ ท ทามี ซี เ ยร์ (ค.ศ.1834-1910) เป็นผูร้ เิ ริม่ ทำให้เกิดการชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท นานาชาติ ครัง้ แรกทีเ่ มืองลีล์ ค.ศ.1881 ระยะ หลังจนถึงปัจจุบันมีการจัดชุมนุมทุก 4 ปี ครั้งที่ 50 ที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ (10-17 มิถุนายน ค.ศ.2012) หัวข้อ ศีลมหาสนิท : ความสัมพันธ์กบั พระคริสตเจ้าและกับกันและกัน

การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท เป็นการ แสดงความเชื่อที่สำคัญของชุมชนต่อพระเยซูเจ้า ในศีลมหาสนิท ว่าพระองค์ประทับกับเราในศีล ศักดิ์สิทธิ์ ทรงเดินทางกับเราในชีวิต เพื่อเรา จะสามารถขจัดปัญหาและความทุกข์ยากลำบาก ต่างๆ โดยอาศัยพละกำลังของพระองค์


การนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท

ผลของการภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท พระเยซูเจ้าประทับในศีลมหาสนิท มิใช่ให้เรา นมัสการเท่านั้น แต่อธิษฐานภาวนาขอพรได้ ด้ ว ย ในพระวรสาร เมื่ อ นั ก บุ ญ โทมั ส ได้ พ บ พระเยซู เ จ้ า ผู้ ท รงกลั บ คื น ชี พ ได้ ก ล่ า วว่ า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้า ของข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านเชื่อ เพราะได้เห็นเรา ผูท้ เ่ี ชือ่ แม้ไม่ได้เห็น ก็เป็นสุข” (ยน 20 : 28-29) พระองค์ ต รั ส ถามเราว่ า ต้ อ งการให้ พ ระองค์ ท ำสิ่ ง ใด เหมื อ นกั บ คน ตาบอดสองคนนั้น เขากล่าวว่า “พระเจ้าข้า ขอให้ ต าของเรามองเห็ น ได้ เ ถิ ด พระเยซู เจ้ า ทรงสงสาร ทรงสัมผัสนัยน์ตาของเขา ทันใด นั้น เขากลับมองเห็นและติดตามพระองค์ไป” (มธ 20 : 33-34) หรือหญิงตกเลือดมา 12 ปี แล้วทีค่ ดิ ว่า “ถ้าฉันเพียงได้สมั ผัสฉลองพระองค์ เท่านั้น ฉันก็จะหายจากโรค” (มก 5 : 28) มี ห ลายคนศรั ท ธาต่ อ ศี ล มหาสนิ ท เขาได้ รั บ พระพรตามความจำเป็น ดังที่พระเยซูเจ้าทรง สัญญาว่า จะอยู่กับเราทุกวันตลอดไป ตราบ จนสิ้นพิภพ (มธ 28 : 20) ประสบการณ์ชีวิตจิต เราได้รับกำลังใจ ที่พระเจ้าทรงช่วยแก้ปัญหา อุปสรรค ความ อ่อนแอตามธรรมชาติมนุษย์ ความทุกข์ การ ทดลอง ทำให้เราชนะอุปสรรคนั้นๆได้ นั ก บุ ญ ยอห์ น ฟิ ช เชอร์ (ค.ศ.1469 -1535) และนักบุญโทมัส โมร์ (ค.ศ.1478 -1535) มีความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท ท่าน ทั้งสองเป็นมรณสักขี ในประเทศอังกฤษสมัย

37

พระเจ้าเฮนรี่ ที่ 8 ในบทภาวนาของนักบุญ โทมัส โมร์ ได้รับการพิมพ์หลังมรณกรรมของ ท่าน กล่าวว่า “ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้าผู้อ่อน หวาน เมือ่ รำพึงถึงพระมหาทรมานแสนเจ็บปวด ที่สุดที่พระองค์ได้รับ ให้กำลังใจข้าพเจ้า โปรด ประทานพระหรรษทานให้อยู่ต่อหน้าพระองค์ ในศีลมหาสนิท เป็นพิเศษให้ชื่นชมเมื่อมีโอกาส อยู่ต่อหน้าพระองค์ในศีลมหาสนิทบนพระแท่น ลูกขอบคุณพระองค์ที่ประทับที่นี่”

นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ (ค.ศ.15061552) หลังจากเทศน์และโปรดศีลล้างบาปทั้ง วัน ท่านใช้เวลาตอนกลางคืนอธิษฐานภาวนา ต่อหน้าศีลมหาสนิท นั ก บุ ญ มารี ย์ มั ก ดาเลนา เด ปั ส ซี (ค.ศ.1566-1607) เป็นภคินีคาร์เมไลท์ตั้งแต่ อายุ 17 ปี ได้แนะนำสัตบุรุษที่มีธุระยุ่ง ให้


ทัศน์ 38 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 หาเวลาทุ ก วั น ภาวนาต่ อ หน้ า ศี ล มหาสนิ ท ท่านเขียนว่า “เพื่อนจะไปเยี่ยมเพื่อนทักทายกัน ทุกเช้า ในตอนเย็นก็จะหาโอกาสสนทนากันถึง สิ่งที่พบในวันนั้น และกล่าวราตรีสวัสดิ์ ฉันใด การไปเยี่ ย มพระเยซู เจ้ า ในศี ล มหาสนิ ท ถ้ า เราทำได้ มี เวลาไปที่ เชิ ง พระแท่ น ภาวนา อย่างดี ทุกครั้งที่ท่านไปเยี่ยมพระผู้ไถ่ คิดถึง พระองค์ผู้ถวายชีวิตแด่พระบิดา ท่านจะได้รับ พระพร ได้รับความรักจากพระองค์”

นักบุญมาร์การีตา มารีย์ อาลาก๊อก (ค.ศ.1647-1680) ภคินีคณะแม่พระเสด็จเยี่ยม รั ก การเฝ้ า ศี ล มหาสนิ ท ได้ รั บ พละกำลั ง จาก พระเจ้ า แม้ จ ะพบการดู ห มิ่ น การขั ด แย้ ง เหยี ย ดหยาม จากคนใกล้ เ คี ย ง แต่ เ ธอก็ ไ ม่ บ่น และภาวนาเพื่อเขาเหล่านั้นที่ประพฤติไม่ดี ต่อเธอ

นักบุญอัลฟองโซ มารีย์ เด ลีกวอรี (ค.ศ.1696-1787) ผู้ตั้งคณะสงฆ์พระมหาไถ่ และนั ก บุ ญ องค์ อุ ป ถั ม ภ์ ข องผู้ ฟั ง แก้ บ าป ได้ เขียนหนังสือ การเฝ้าศีลมหาสนิท นักบุญได้ แนะนำว่ า “จงถอนตั ว จากประชาชนและใช้ เวลาอย่ า งน้ อ ย 15 นาที หรื อ 30 นาที ในวัดอยู่ต่อหน้าศีลมหาสนิท จงลิ้มรสดูว่าองค์ พระผู้เป็นเจ้าทรงอ่อนหวานเพียงไร ท่านจะได้ เรี ย นรู้ ด้ ว ยประสบการณ์ ว่ า ท่ า นจะได้ รั บ พระ หรรษทานมากมายอย่างไร” นั ก บุ ญ ย อ ห์ น ม า รี ย์ เวี ย น เ น ย์ เจ้ า อาวาสแห่ ง อาร์ ส (ฝรั่ ง เศส ค.ศ.17861859) ได้สอนสัตบุรุษว่า “พระเยซูเจ้าทรงถูก ซ่อนอยู่ในตู้ศีลฯ รอคอยเราให้มาเยี่ยมพระองค์ และขอพรจากพระองค์... ในสวรรค์ที่เราจะรับ สิริรุ่งโรจน์และชัยชนะ เราจะเห็นพระองค์ใน พระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ ถ้ า พระเจ้ า ทรงแสดงองค์ ต่ อ


การนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท

พระหรรษทานมาถึ ง เราโดยอาศั ย พระเยซู เ จ้ า พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก สอน เรื่องศีลมหาสนิทว่า พระเยซูคริสตเจ้าประทับ อยู่ ใ นศี ล มหาสนิ ท แท้ จ ริ ง ภายใต้ รู ป ปรากฏ ของปังและเหล้าองุ่น เป็นพระคริสตเจ้าทั้งครบ คือทั้งพระเป็นเจ้าและมนุษย์ (ประมวลคำสอน พระศาสนจักรคาทอลิก 282)

ผลของการรั บ ศี ล มหาสนิ ท ทำให้ เราสนิ ท สั ม พั นธ์ กั บ พระคริ ส ตเจ้ า กั บ พระศาสนจั ก ร รักษาและฟื้นฟูชีวิตพระหรรษทานทำให้เรา เติบโตขึ้นในความรักต่อผู้อื่น ชำระบาปและ ปกปักษ์รกั ษาเราให้พน้ จากบาปหนักในอนาคต (ประมวล 292)

หน้าเราในสิริรุ่งโรจน์ บัดนี้เราจะไม่กล้าไปหา พระองค์หรือ” ท่านนักบุญใช้เวลาวันละหลาย ชั่วโมงภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท ในระหว่าง ที่ท่านเทศน์ บ่อยครั้งท่านจะหันไปทางตู้ศีลฯ กล่าวอย่างศรัทธาว่า “พระองค์ทรงอยู่ที่นั่น”

39

ดังที่เราอ่านในพระวรสาร พระเยซูเจ้า ทรงเปลี่ยนแปลงบุคคลที่สัมผัสพระองค์ เช่น พระแม่มารีย์ นักบุญยอห์น แบปติสต์ เวลาที่ เอลี ซ าเบ็ ธ ได้ ยิ น แม่ พ ระทั ก ทาย งานสมรสที่ หมู่ บ้ า นคานาในแคว้ น กาลิ ลี ทรงทำตามที่ แม่ พ ระขอร้ อ ง พระเยซู ต รั ส กั บ คนรั บ ใช้ ว่ า “จงตักน้ำใส่โอ่งให้เต็ม” เมื่อผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิม น้ำกลายเป็นเหล้าองุ่น


ทัศน์ 40 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2012/2555 พระเยซูเจ้าทรงเทศนาสั่งสอน ทรงให้ อภัยคนบาป ทรงรักษาคนตาบอด ทรงรักษา คนป่ ว ย ฯลฯ ตลอดชี วิ ต เปิ ด เผย พระองค์ ทรงให้ ค วามสว่ า งแก่ ผู้ ฟั ง ฟื้ น ฟู มิ ต รภาพ ทรงช่ ว ยนำสั น ติ สุ ข ถาวรมาสู่ ม วลมนุ ษ ย์ ดั ง อารัมภบทพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญ ยอห์น ที่ว่า “เพราะพระเจ้าได้ประทานธรรม บัญญัติผ่านทางโมเสส แต่พระหรรษทานและ ความจริงมาทางพระเยซูคริสตเจ้า” (ยน 1: 17) ทำไม... เพราะพระคริสตเจ้าเป็นพระบุตรเพียง

พระองค์ เ ดี ย วของพระเจ้ า ผู้ รั บ สภาพมนุ ษ ย์ และประทั บ ในศี ล มหาสนิ ท เพื่ อ ประทั บ ต่ อ เนือ่ งอยูท่ า่ มกลางเรา ใครทีม่ คี วามเชือ่ อธิษฐาน กับพระองค์ในศีลมหาสนิท จึงจะมีประสบการณ์ ที่พระศาสนจักรคาทอลิกสอน ตั้งแต่นี้ไป ให้เราพยายามไปนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท อธิษฐานภาวนาให้พระองค์ ประทานพละกำลัง และแรงบันดาลใจแก่เรา และแก่พี่น้องในชุมชนของเรา



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.