แสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2012/2555

Page 1


ประวัติแสงธรรมปริทัศน์

1

* หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร*

ประวัติแสงธรรมปริทัศน์ นายวธัญญู หนูสมแก้ว

“LUX MUNDI” นามชื่ อ ในภาษา ละตินของสถาบันแสงธรรม มีความหมายใน ภาษาไทยว่า “แสงสว่างของโลก” แสงสว่างนี้ มีต้นกำเนิดมาจากองค์พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ ทรงเป็นแสงสว่างเที่ยงแท้ ดังพระดำรัสของ พระองค์ ที่ ว่ า “เราคื อ แสงสว่ า งส่ อ งโลก” (ยน 8:12) แสงสว่างที่พระองค์ทรงเป็น ไม่ ใช่แสงสว่างที่หมายถึงเรื่องของอารยธรรมทาง โลกเป็นสำคัญ หากแต่หมายถึงแสงสว่างทาง ธรรม อันเป็นแสงทีส่ อ่ งประกายเจิดจ้า นำมา ซึ่งความบรมสุขที่เที่ยงแท้ และดำรงอยู่เป็น นิตย์ ด้วยความสำนึกถึงความหมายที่เที่ยง แท้ ข องแสงสว่ า งแห่ ง องค์ พ ระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า นี้เอง ผลักดันให้สถาบันแสงธรรม มุ่งผลิต บุคลากรที่จะต้องมีคุณสมบัติแห่งการเป็นแสง

สว่ า งตามภาพลั ก ษณ์ ข องพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า เพื่อที่บุคลากรเหล่านี้จะได้สร้างประโยชน์ให้ กับพระศาสนจักรตลอดจนสังคมและประเทศ ชาติ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “สถาบันแสงธรรม เป็นแหล่งความรู้ที่ให้แสงสว่างส่องทางชีวิต ของมนุษย์ และจรรโลงคุณงามความดีของ สังคมตามหลักธรรมของคริสตศาสนา” และ นี่ เ องที่ ท ำให้ ส ถาบั น แสงธรรม แตกต่ า งไป จากสถาบันอื่นๆ เพราะแสงธรรมไม่ได้สร้าง แสงสีท่เี ฉิดฉาย แต่สร้างแสงธรรมอันเรืองรอง เพื่อส่องโลกา สถาบั น แสงธรรมตั้ ง แต่ ร ะยะแรกเริ่ ม (ค.ศ.1972/พ.ศ.2515) ได้ มุ่ ง เน้ น อบรม นักศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายคือ การเรียนรู้เรื่อง ราวของพระเยซูคริสตเจ้า ผ่านทางการศึกษา วิชาปรัชญา และวิชาเทววิทยา วิชาปรัชญา

นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยแสงธรรม


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555

ทำให้นักศึกษามีสมรรถนะทางความคิด คิด อย่างเป็นระบบระเบียบ มีความสมเหตุสมผล เพื่อนำไปต่อยอดในการศึกษาวิชาเทววิทยา ที่ว่าด้วยเรื่องของพระเจ้า พระคัมภีร์ ตลอด จนข้อความเชื่อต่างๆของพระศาสนจักร ซึ่ง จากการศึกษาในทั้งสองศาสตร์นี้เอง ทำให้ นักศึกษาของสถาบันแสงธรรมมีความรู้ในด้าน ปรัชญา และเทววิทยาที่โดดเด่น ตลอดจน สามารถถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวนี้ไปยังบุคคล อื่นๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสศึกษาในศาสตร์ทั้งสองนี้ อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องคริสต ศาสนิกชนทั่วฟ้าเมืองไทย หลังจากการก่อตั้งสถาบันแสงธรรมได้ 5 ปี ค.ศ.1977/พ.ศ.2520 ประกายฝันเล็กๆ ของบาทหลวง คณาจารย์ และนั ก ศึ ก ษา สถาบันแสงธรรมในช่วงแรกๆ ที่ประสงค์จะ ถ่ายทอดความรู้ทางปรัชญา และเทววิทยาแก่ บุคคลอื่นๆ ก็ได้เปล่งประกายขึ้นมา ภายใต้ วารสารสีขาวดำ ความหนาประมาณ 200 หน้ า ห่ อ หุ้ ม ด้ ว ยปกสี เ หลื อ งอร่ า ม พร้ อ ม กั บ ประทั บ นามอย่ า งงามสง่ า ที่ ห น้ า ปกว่ า “แสงธรรมปริทัศน์” วารสารราย 4 เดือน ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ค.ศ.1977/พ.ศ.2520 โดยมีบาทหลวงสำราญ วงศ์เสงี่ยม เป็นบรรณาการ พร้อมด้วยกอง บรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ บาทหลวง ทัศไนย์ คมกฤส (ฝ่ายพระคัมภีร)์ , บาทหลวง วงศ์ ส วั ส ดิ์ แก้ ว เสนี ย์ (ฝ่ า ยชี วิ ต ภายใน), บาทหลวงสำราญ วงศ์เสงีย่ ม (ฝ่ายพิธกี รรม),

บาทหลวงจำเนียร กิจเจริญ (ฝ่ายพระสัจธรรม), บาทหลวงชุ ม ภา คู รั ต น์ (ฝ่ า ยจริ ย ธรรม), บาทหลวงสมบูรณ์ แสงประสิทธิ์ (ฝ่ายการ แพร่ธรรมคำสอน), บาทหลวงยัง ดังโตแนล บาทหลวงเสรี พงษ์พษิ ณุ์ (ฝ่ายปรัชญา) และ นายไพรัช นามวงศ์ (ฝ่ายศิลป์) โดยมีเจ้าของ คือ บาทหลวงบุญเลิศ ธาราฉัตร (ในนาม องค์ ก ารสื่ อ มวลชนคาทอลิ ก แผนกการพิ ม พ์ แห่งประเทศไทย ภายใต้การดูแลของพระคุณ เจ้าอาร์เลง วังงาแวร์ ประธานคณะกรรมการ สื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย) และ ผู้จัดการคือ นายสมนึก ตรีถาวร นอกจาก นัน้ ยังมีสปอนเซอร์ได้แก่ นมสดบริสทุ ธิห์ ลายรส “เพี ย ว” คอยให้ ก ารสนั บ สนุ น สำหรั บ ค่ า สมาชิก 1 ปี ราคาอยูท่ ่ี 50 บาท เป็นพิเศษ สำหรั บ นั ก เรี ย น และนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ราคา เพียง 40 บาท


ประวัติแสงธรรมปริทัศน์ แสงธรรมปริทัศน์ฉบับปฐมฤกษ์นี้ แม้ ว่าจะถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก ซึ่งคงจะ ต้องมีปัญหา หรืออุปสรรคในหลายๆ ด้าน แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ความตั้งใจดีของบรรดา บาทหลวง คณาจารย์ และนักศึกษาสถาบัน แสงธรรมในช่ ว งเวลานั้ น ที่ ต้ อ งการจะถ่ า ย ทอดเนื้ อ หาสาระที่ มี คุ ณ ค่ า แก่ พี่ น้ อ งคริ ส ต ศาสนิ ก ชน ดั ง บทบรรณาธิ ก ารตอนหนึ่ ง ที่ กล่าวว่า “คณะผูจ้ ดั ทำเคยปรารภกันมานานปี แล้วว่า อยากจะเห็นพระศาสนจักรในเมืองไทย เรา มีวารสารประเภทความรู้ทางพระศาสนา ที่มีสาระ (แน่นๆ) สักหน่อย เพื่อประโยชน์ ของคริ ส ตชนโดยทั่ ว ไป อั น เป็ น สิ่ ง ที่ จ ำเป็ น อย่างยิ่ง ไม่แพ้วิทยาการด้านอื่นๆ ฝ่ายโลก เพราะหากว่าเรามีความรู้ฝ่ายโลกมาก แต่ขาด ความรู้ทางพระศาสนา หรือมีเพียงเล็กน้อย ไม่สมดุลกันแล้วไซร้ ก็จะประสบปัญหา และ เป็นอันตรายในการดำเนินชีวิตเป็นคริสตชน ที่ดีได้” แสงธรรมปริทัศน์ฉบับปฐมฤกษ์นี้จึง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่น่าสนใจเป็นอย่าง ยิ่ง อันได้แก่ เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ, เยเรมี ย์ - กวี นิ พ นธ์ , ชี วิ ต ภายในยุ ค ปั จ จุ บั น , คริสตชนยังสวดค่ำพร้อมกันหรือ, ศีลอภัยบาป, พระศาสนจักรเป็นธรรมทูต, คำสอนของพระ ศาสนจักรเกี่ยวกับความหมายของครอบครัว คริสตชนกับสังคมในอดีตและปัจจุบัน, การ ประกาศพระวาจาของพระเจ้า, ประวัติการ สอนคำสอนในยุคต่างๆ, ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การประชุมสมัชชาของคณะนักบวช, ความรัก,

3

ประวัตพิ ระศาสนจักร, The First Missionary Endeavor in Thailand, กระบวนการศาสน สัมพันธ์, ปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพและสังคม, ศาสนา-ไสยศาสตร์-วิทยาศาสตร์, รูปเคารพ ในศาสนา, สตรีจะบวชเป็นพระสงฆ์ได้ไหม, สงฆ์ เ ก่ า VSสงฆ์ ใ หม่ ใ นสายตาสั ต บุ รุ ษ , โลก อย่ า งที่ เราเห็ น -มนุ ษ ย์ อ ย่ า งที่ เราเป็ น , มารู้ คอมมูนิสต์กันหน่อย และการตอบปัญหาที่ สั ต บุ รุ ษ มี ค วามสงสั ย เกี่ ย วกั บ ศาสนา การ ปฏิบัติศาสนา รวมถึงความรู้ต่างๆทางศาสนา จากเนื้อหาทั้งหลายเหล่านี้เอง คงจะทำให้เรา ได้เห็นถึงความเอาใจใส่ และความเสียสละ ของคณะผู้จัดทำในสมัยนั้น ที่ได้ท่มุ เทแรงกาย แรงใจให้กับวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ทำให้ วารสารนี้ เ กิ ด คุ ณ ประโยชน์ ม ากมายต่ อ พระ ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย และเป็น ดังย่างก้าวแรกที่ส่งผลให้งานพิมพ์ทางวิชาการ อื่นๆของสถาบันแสงธรรม ได้ย่างก้าวตามกัน มาอย่างต่อเนื่อง วารสารแสงธรรมปริ ทั ศ น์ ได้ อ อกสู่ สายตาของท่ า นผู้ อ่ า นอย่ า งซื่ อ สั ต ย์ ใ นทุ ก ๆ 4 เดือน นั่นคือ 3 ฉบับต่อปี แต่ละฉบับ ที่ออกมาจะมีสีสัน และความน่าสนใจที่แตก ต่างกันออกไป มีการปรับปรุงในส่วนที่ยังไม่ สมบูรณ์แบบให้ดียิ่งขึ้นเสมอตามคำติชมของ ท่ า นผู้ อ่ า น เวลาที่ ผ่ า นไปยิ่ ง ทำให้ ว ารสาร แสงธรรมปริทัศน์มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น และได้รับเสียงตอบรับจากท่านผู้อ่านเป็นอย่าง ดี ในส่วนของคณะผูจ้ ดั ทำและผูเ้ ขียนบทความ


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555

ต่างๆ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ส่วนเรื่องของราคาก็ได้เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงไป (ราคาขายปลีกฉบับแรกคือ 20 บาท ฉบับปัจจุบันราคา 120 บาท) ในฉบับที่ 2 ของปีแรกมีการเพิ่มเติม คอลัมน์ “แนะนำหนังสือ” ซึ่งคอลัมน์น้ยี ังคง ดำรงอยู่คู่แสงธรรมปริทัศน์มาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงปีที่ 4 ค.ศ.1980/พ.ศ.2523 วารสาร แสงธรรมปริทัศน์เริ่มมีปัญหาการขาดทุน ซึ่ง เกิดขึ้นจากต้นทุนในการดำเนินการจัดพิมพ์ที่ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการลดจำนวน หน้ า ลงบ้ า ง เพื่ อ จะได้ ไ ม่ ต้ อ งขึ้ น ราคา แต่ อย่างไรก็ตามแสงธรรมปริทัศน์ก็ยังคงอัดแน่น ไว้ซึ่งคุณภาพ ในช่ ว งปี ที่ 5-6 ค.ศ.1981-1982/ พ.ศ.2524-2525 พระศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทยกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษกับ “วีรชนไทยคาทอลิก” หรือมรณสักขีทั้ง 7 แห่งบ้านสองคอน (ได้รับการสถาปนาเป็นบุญ ราศีเมื่อปี ค.ศ.1989/พ.ศ.2532 โดยสมเด็จ พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2) วารสาร แสงธรรมปริทัศน์จึงได้นำเสนอประวัติความ เป็นมาของทั้ง 7 ท่าน ลงในวารสารฯถึง 3 ฉบับ และเป็นพิเศษสำหรับการนำเสนอรูป ภาพของบรรดามรณสั ก ขี เ ป็ น แห่ ง แรก ซึ่ ง บรรณาธิ ก ารได้ พ ยายามเสาะหา ทั้ ง จาก บรรดาญาติพี่น้องของมรณสักขี ทั้งจากการ ให้ ช่ า งฝี มื อ วาดภาพจากภาพถ่ า ยหมู่ ข อง นักเรียนคำสอนบ้านสองคอนในอดีตที่มีมรณ

สั ก ขี ร วมอยู่ ด้ ว ย หรื อ แม้ ก ระทั่ ง การให้ ช่ า ง ฝีมือวาดภาพตามใบหน้าของชาวบ้านที่มีหน้า ตาคล้ายคลึงกับมรณสักขี ซึ่งนับว่าเป็นความ พากเพียรอย่างสูงส่ง และเป็นประโยชน์อย่าง มากสำหรับพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศ ไทย ในช่วงปีที่ 7 ค.ศ.1983/พ.ศ.2526 เป็นช่วงที่วารสารแสงธรรมปริทัศน์อยู่ในช่วง “ไข้หนัก” จนจำเป็นต้อง ควบฉบับ มกราคมเมษายนและพฤษภาคม-สิ ง หาคมไว้ ด้ ว ยกั น สาเหตุเกิดจากวิกฤตการณ์ในการขาดทุน ถึง กับว่าอาจจะต้องปิดตัว แต่ในทีส่ ดุ พระเจ้าก็ได้ ทรงพยุงไว้ด้วยความช่วยเหลือของพระสมณ ทูต เรนาโต มาร์ตโิ น เอกอัครสมณทูตวาติกนั ประจำประเทศไทยในขณะนั้น พระคุณเจ้า

พระสมณทูต เรนาโต มาร์ติโน


ประวัติแสงธรรมปริทัศน์ ได้ รั บ ทราบและให้ ค วามอนุ เ คราะห์ ทำให้ วารสารแสงธรรมปริทัศน์มีโอกาสได้กลับมา ฉายแววอี ก ครั้ ง ในปี เ ดี ย วกั น นี้ เ องได้ มี ก าร เปลี่ยนแปลงเจ้าของ ผู้จัดการและสำนักงาน กองจั ด การวารสาร ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม ได้ รั บ ความ อนุเคราะห์จากบาทหลวงบุญเลิศ ธาราฉัตร (ในนามองค์การสื่อมวลชนคาทอลิกแผนกการ พิมพ์แห่งประเทศไทย) เป็นเจ้าของ นายสมนึก ตรีถาวร เป็นผู้จัดการ และมีสำนักงานกอง จัดการอยู่ที่อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม บางรัก เนือ่ งจากวิทยาลัยแสงธรรมมีการจัดการในเรือ่ ง ของฝ่ายงานต่างๆที่เป็นระบบระเบียบมากขึ้น และสามารถประคั บ ประคองตั ว เองได้ พ อ สมควรแล้ว ดังนั้นการดำเนินการในเรื่องของ วารสารแสงธรรมปริ ทั ศ น์ จึ ง ได้ ขึ้ น อยู่ กั บ วิทยาลัยแสงธรรมอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เวลา นั้นเป็นต้นมา ในช่วงปีที่ 12 ค.ศ.1988/พ.ศ.2531 วารสารแสงธรรมปริ ทั ศ น์ ไ ด้ มี บ รรณาธิ ก าร สร้างสรรค์ คือ บาทหลวงวิชา หิรัญญการ เข้ า มาช่ ว ยสร้ า งสรรค์ แ สงธรรมปริ ทั ศ น์ ใ ห้ พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ร่วมกับบาทหลวง สำราญ วงศ์เสงี่ยม บรรณาธิการ ตลอดจน กองบรรณาธิการท่านอื่นๆ โดยในปีนี้เองได้ มี ก ารใช้ “คอมพิ ว เตอร์ ” ในการพิ ม พ์ เ ป็ น ครั้งแรก ทำให้ตัวพิมพ์มีความสวยงาม และ น่าอ่านมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ในฉบับที่ 2 ของปีที่ 12 นี้เอง แสงธรรมปริทัศน์ได้มีปก สวยสดงดงามเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ด้วย

5

บาทหลวงวิชา หิรัญญการ ภาพพระรูปของพระนางมารีย์ตั้งตระหง่านอยู่ ด้านหน้าโบสถ์ประจำสถาบันแสงธรรม เนื่องใน โอกาสปิดปีแม่พระในปี ค.ศ.1988 ซึ่งได้รับ การออกแบบโดย นาย(ปัจจุบนั เป็นบาทหลวง) พงศ์เทพ ประมวลพร้อม นักศึกษาชั้นเทว วิทยา วิทยาลัยแสงธรรมในขณะนั้น ในช่วงปีที่ 16 ค.ศ.1992/พ.ศ.2535 บาทหลวงวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช อธิการบดี วิทยาลัยแสงธรรมในขณะนั้น ได้เข้ามาดำรง ตำแหน่งบรรณาธิการสร้างสรรค์แทนบาทหลวง วิชา หิรัญญการ ในช่วงปีที่ 17 ค.ศ.1993/พ.ศ.2536 บาทหลวงบรรจง สันติสุขนิรันดร์ ได้เข้ามา ดำรงตำแหน่ ง บรรณาธิ ก ารสร้ า งสรรค์ แ ทน บาทหลวงวีรศักดิ์ วนาโรจน์สวุ ชิ ซึง่ กำลังดำรง ตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม ในปีนี้


6

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555

บาทหลวงวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช

บาทหลวงวิทยา คู่วิรัตน์

เองศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่ง เป็นหน่วยงานหนึ่งของสภาประมุขบาทหลวง โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ถูกโอนให้ เข้ามาสังกัดในวิทยาลัยแสงธรรม ทำให้วารสาร แสงธรรมปริทัศน์มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศาสนา และวัฒนธรรมเพิ่มพูนขึ้น ตลอดจนมีแนวโน้ม ที่จะเปิดกว้างไปสู่โลกภายนอกมากยิ่งขึ้น ในช่วงปีที่ 20 ค.ศ.1996/พ.ศ.2539 บาทหลวงประยูร พงศ์พิษณุ์ ได้เข้ามาดำรง ตำแหน่งบรรณาธิการสร้างสรรค์แทนบาทหลวง บรรจง สันติสขุ นิรนั ดร์ ในปีนเ้ี องสามเณราลัย แสงธรรมมีอายุครบรอบ 25 ปี วารสารแสง ธรรมปริทัศน์ได้วอนขอให้พี่น้องทุกท่านร่วม กันขอบพระคุณพระเจ้า ที่โปรดให้พระศาสน จักรในประเทศไทยได้มีสามเณราลัยแสงธรรม สำหรับผลิตบาทหลวงออกมารับใช้สังคม

ในช่วงปีที่ 22 ค.ศ.1998/พ.ศ.2541 บาทหลวงวิทยา คู่วิรัตน์ อธิการบดีวิทยาลัย แสงธรรมในขณะนั้นได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง บรรณาธิ ก ารสร้ า งสรรค์ แทนบาทหลวง ประยูร พงศ์พิษณุ์ ในช่วงปีที่ 23 ค.ศ.1999/พ.ศ.2542 บาทหลวงประชาชาติ ปรี ช าวุ ฒิ ได้ เข้ า มา ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการสร้างสรรค์ แทน บาทหลวงวิทยา คูว่ ริ ตั น์ ซึง่ กำลังดำรงตำแหน่ง อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม ในฉบับแรกของ ปีนี้ ได้มีการจัดทำ “ดรรชนี” เพื่อเป็นการ รวบรวมรายนามของบทความต่างๆ ตัง้ แต่ฉบับ ปฐมฤกษ์ เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาค้น คว้าของท่านผู้อ่าน ในช่วงปีที่ 25 ค.ศ.2001/พ.ศ.2544 ถือว่าเป็นปีแห่งพระพรของวิทยาลัยแสงธรรม


ประวัติแสงธรรมปริทัศน์

7

บาทหลวงชูศักดิ์ สิริสุทธิ์

บาทหลวงวุฒิชัย อ่องนาวา

รวมทั้งวารสารแสงธรรมปริทัศน์ เพราะในปีนี้ เองวิทยาลัยแสงธรรมและวารสารแสงธรรม ปริ ทั ศ น์ มี อ ายุ ค รบรอบ 25 ปี โอกาสนี้ วารสารแสงธรรมปริ ทั ศ น์ ข อขอบพระคุ ณ บรรดาบาทหลวง คณาจารย์ ผูเ้ ขียนบทความ ตลอดจนท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่ได้ร่วมมือร่วม ใจและให้ ก ารสนั บ สนุ น อย่ า งดี ต ลอดมา นอกจากนี้ในปีที่ 25 ของวารสารแสงธรรม ปริทศั น์ คณะผูจ้ ดั ทำได้มกี ารกำหนดวัตถุประสงค์ ของวรสารฯอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งใช้มาจนถึง ปัจจุบนั ได้แก่ 1)เพือ่ ส่งเสริมความรูท้ างวิชาการ ในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2)เพื่อเป็นสื่อ กลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้าน ศาสนา 3)เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทางด้านศาสนา คุณธรรม และ จริยธรรม

ในช่วงปีที่ 29 ค.ศ.2005/พ.ศ.2548 บาทหลวง(ปั จ จุ บั น ดำรงตำแหน่ ง มุ ข นายก) ชูศกั ดิ์ สิรสิ ทุ ธิ์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการ สร้างสรรค์ของวารสารแสงธรรมปริทัศน์ แทน บาทหลวงประชาชาติ ปรีชาวุฒิ ในช่วงปีที่ 31 ค.ศ.2007/พ.ศ.2550 บาทหลวงวุฒิชัย อ่องนาวา ได้เข้ามาดำรง ตำแหน่งบรรณาธิการสร้างสรรค์ของวารสาร แสงธรรมปริทศั น์ แทนบาทหลวงชูศกั ดิ์ สิรสิ ทุ ธิ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ให้ดำรงตำแหน่งมุขนายก มิสซังโรมันคาทอลิกเขตนครราชสีมา บาทหลวง วุฒิชัย ได้พยายามพัฒนาวารสารแสงธรรม ปริ ทั ศ น์ ใ ห้ ส มบู ร ณ์ แ บบมากยิ่ ง ขึ้ น มี ก าร จัดสรรบุคลากรอย่างเป็นระบบระเบียบ โดย จัดให้มีคณะที่ปรึกษา คณะผู้ทรงคุณวุฒิ


8

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ฉบั​ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555

อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล

บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการสร้างสรรค์ และกองบรรณาธิการ โดยท่านดำรงตำแหน่ง เป็ น บรรณาธิ ก ารบริ ห าร และมี อ าจารย์ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ ดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการ สร้างสรรค์ นอกจากนัน้ ยังได้มกี ารพัฒนาในด้าน ภาพลักษณ์ใหม่ๆ ทั้งจากปกหน้าและปกหลัง รวมถึงเนื้อหาสาระภายในเล่ม ซึ่งคณะผู้จัดทำ พยายามพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ท่านผู้ อ่านทุกท่านได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ในช่วงปีที่ 33 ค.ศ.2009/พ.ศ.2552 วิทยาลัยแสงธรรมได้เปิดตัววารสารน้องใหม่ คือ “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” โดย เนื้อหาภายในเล่มจะนำเสนอบทความวิจัยและ บทความวิ ช าการ ด้ า นปรั ช ญา ศาสนา เทววิทยาและการศึกษา

ในช่วงปีที่ 34 ค.ศ.2010/พ.ศ.2553 บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล ได้เข้ามา ดำรงตำแหน่ ง บรรณาธิ ก ารบริ ห ารแทน บาทหลวงวุฒชิ ยั อ่องนาวา โดยมีบรรณาธิการ สร้ า งสรรค์ คื อ อาจารย์ พี ร พั ฒ น์ ถวิ ล รั ต น์ พร้อมด้วยกองบรรณาธิการ ตลอดจนทีมงาน ทุกท่านทีเ่ ปีย่ มด้วยคุณภาพ ร่วมกันสร้างสรรค์ วารสารที่มีคุณภาพออกสู่สังคม และในที่สุด ปี ค.ศ.2012/พ.ศ.2555 นี้ วารสารแสงธรรมปริทศั น์มอี ายุครบ 36 ปี หรือครบ 3 รอบแห่งการรับใช้สงั คม ด้วยการ นำเสนอสาระความรูท้ างปรัชญา และเทววิทยา รวมถึงบทความอืน่ ๆทีเ่ กีย่ วกับศาสนา จริยศาสตร์ ตลอดจนเรื่องราวอันทรงคุณค่าทั้งหลาย ถ้า เปรียบวารสารแสงธรรมปริทัศน์กับชีวิตของ


ประวัติแสงธรรมปริทัศน์ มนุษย์ ถือได้ว่าเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ แบบ มี ค วามพร้ อ มทั้ ง ในด้ า นวั ย วุ ฒิ และ คุณวุฒิ สามารถนำพาชีวิตของตน และชีวิต ของบุ ค คลมากมายไปสู่ วิ ถี แ ห่ ง ความเจริ ญ รุ่งเรืองได้อย่างเต็มภาคภูมิ ท้ายที่สุดการนำเสนอประวัติความเป็น มาของวารสารแสงธรรมปริทัศน์นี้ เป็นเพียง เสี้ยวหนึ่งของประวัติทั้งครบ ซึ่งเชื่อมั่นเหลือ เกินว่าคณะผู้จัดทำในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน บรรดาผู้ท่เี กี่ยวข้อง และท่านผู้อ่านทุกท่านคง จะมีความผูกพันและความคิดในอีกหลากหลาย แง่มุมเกี่ยวกับวารสารแสงธรรมปริทัศน์ อย่าง

9

ไรก็ตามการนำเสนอประวัติในครั้งนี้ คงจะทำ ให้ทุกท่านได้เห็นถึงความตั้งใจอันดีของคณะ ผู้จัดทำตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันที่อยากจะ ส่งมอบสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคมส่วนรวม โอกาสนี้ ข อพระเจ้ า โปรดประทาน พระพรสำหรับคณะผู้จัดทำในอดีตจนกระทั่ง ปัจจุบัน ตลอดจนบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ให้เต็มเปี่ยมด้วยแสงสว่าง ของพระเยซูคริสตเจ้าในการดำเนินชีวิต และ ขอให้ ว ารสารแสงธรรมปริ ทั ศ น์ ส่ อ งสว่ า ง ปั ญ ญาให้ กั บ ท่ า นผู้ อ่ า นในสั ง คมไทยของเรา ตราบนานเท่านาน


ทัศน์ 10 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์. “พระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่อง โลก” ใน พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่. หน้า 312. กรุงเทพฯ : 2550. คณะกรรมการจัดงานเฉลิมฉลอง การสถาปนาเป็นบุญราศีแห่งประเทศไทย. บุญราศีทั้ง 7 แห่ง ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 : 2532. ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 29(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2548. บรรจง สันติสุขนิรันดร์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 17(1) : ก – ข : มกราคม – เมษายน 2536. ประชาชาติ ปรีชาวุฒิ. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 23(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2542. ประชาชาติ ปรีชาวุฒิ. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 25(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2544. ประยูร พงษ์พิษณุ์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 20(2) : ก – ข : พฤษภาคม – สิงหาคม 2539. พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 33(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2552. พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 34(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2553. พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 36(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2555. วิชา หิรัญญการ. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 12(2) : 1 : พฤษภาคม – สิงหาคม 2531. วิทยา คู่วิรัตน์. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 22(1) : ก : มกราคม – เมษายน 2541.


ประวัติแสงธรรมปริทัศน์

11

วิทยาลัยแสงธรรม. วิสัยทัศน์วิทยาลัยแสงธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http ://www.saengtham.ac.th/th/2008-08-04-01-40-45/2008-08-04-01-55-09 (วันที่ค้นข้อมูล : 5 ตุลาคม 2555). วิทยาลัยแสงธรรม. อนุสรณ์ 25 ปีวิทยาลัยแสงธรรม. กรุงเทพฯ : เอส.เอ็ม.ซี. คอร์เนอร์ จำกัด, 2544. วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 16(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2535. วุฒิชัย อ่องนาวา. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 31(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2550. สำราญ วงศ์เสงี่ยม. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 1(1) : 1 – 2 : มกราคม – เมษายน 2520. สำราญ วงศ์เสงี่ยม. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 1(2) : 1 – 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม 2520. สำราญ วงศ์เสงี่ยม. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 4(1) : 1 – 2 : มกราคม – เมษายน 2523. สำราญ วงศ์เสงี่ยม. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 6(1) : 1 : มกราคม – เมษายน 2525. สำราญ วงศ์เสงี่ยม. “บทบรรณาธิการ” แสงธรรมปริทัศน์. 7(1 - 2) : 1 – 2 : มกราคม – สิงหาคม 2526.


ทัศน์ 12 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 * หมวดประวัติศาสตร์ *

“ท่านบรรจง กับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง” น้อมรำลึกถึงพระคุณ พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค อธิการสถาบันแสงธรรม องค์แรก พรชัย สิงห์สา บทนำ “ทีใ่ ดมีรกั ทีน่ น่ั มีพระเจ้า” ตัวหนังสือ สีดำ หนา เอียง และขีดเส้นใต้ ซึ่งต้องการ แสดงว่าเรื่องนั้น “สำคัญ” อันเป็นคติพจน์ ของพระสังฆราชท่านหนึ่งที่เรากำลังน้อมรำลึก พระคุณของท่านอยูใ่ นขณะนี้ มากกว่าคำโปรย

สวยหรู ใ นบรรทั ด แรกของบทความ ซึ่ ง ทำ หน้ า ที่ เ ป็ น คำขึ้ น ต้ น ของบทนำนั้ น ... ยั ง ทำ หน้ า ที่ ป ระดุ จ การสรุ ป ชี วิ ต ของท่ า น ซึ่ ง ทั้ ง ชีวิตของท่านเป็นบทเรียน และคำสอนแห่ง “ความรัก” อย่างแท้จริง

สามเณรใหญ่สังกัดสังฆมณฑลนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 6 นักศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาเทววิทยา และ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทววิทยาจริยธรรม


ท่านบรรจงกับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง เรากำลั ง น้ อ มรำลึ ก ถึ ง พระคุ ณ ของ พระสั ง ฆราชยอแซฟ บรรจง อารี พ รรค พระคุณเจ้าผู้เกิดและเติบโตในชุมชนคริสตชน อาสนวิ ห ารแม่ พ ระปฏิ ส นธิ นิ ร มล จั น ทบุ รี จากนัน้ ได้สมัครเข้าบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา ศึ ก ษาภาษาลาติ น กั บ คุ ณ พ่ อ มิ เ ชล อ่ อ น ประคองจิต ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิการบ้านเณร (ภายหลังเป็นพระสังฆราช) และได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นครูเณรด้วยจากนัน้ ก็ไปศึกษาต่อทีก่ รุงโรม จนจบปรัชญาและเทวศาสตร์ที่นั่น แล้วก็ได้ บวชเป็นพระสงฆ์ กลับเมืองไทยก็เป็นปลัด วั ด นั ก บุ ญ ฟิ ลิ ป และยากอบ หั ว ไผ่ ดู แ ล โรงเรียนบราเดอร์ คณะฟรังซิสฯ (เพื่อให้เป็น คณะบราเดอร์ที่ทำงานในสังฆมณฑลจันบุรี) ไปศึกษาต่ออีกครั้งที่ออสเตรเลีย เมื่อกลับมา ก็มาเป็นอธิการบ้านเณรเล็ก ศรีราชา เป็น เจ้ า อาวาสอาสนวิ ห ารแม่ พ ระปฏิ ส นธิ นิ ร มล จั น ทบุ รี เป็ น อาจารย์ บ้ า นเณรใหญ่ ที่ ปี นั ง จากนั้นก็ได้เป็นผู้ร่วมบุกเบิกบ้านเณรใหญ่ของ ประเทศไทย ร่วมกับ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ขณะนั้นเป็นอธิการบ้านเณร เล็กยอแซฟ สามพราน ที่สุดก็ได้ทำการเปิด

13

บ้านเณรใหญ่ และเป็นอธิการองค์แรกของ สถาบันแสงธรรม และสุดท้ายพระเจ้าก็เลือก สรรท่านให้เป็นพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑล นครสวรรค์ (พระสังฆราชไทยองค์แรกของ มิสซัง)…. พระคุณเจ้าทำหน้าที่นายชุมพาบาล ด้วยความรักที่มีพระเจ้า และเพื่อน พี่ น้อง เป็นเวลาถึง ๒๒ ปี จึงขอลาเกษียร จาก นั้ น ท่ า นจึ ง ประจำที่ ส ามเณราลั ย เล็ ก จอห์ น ปอล นครสวรรค์ ทำหน้ า เป็ น จิ ต ตาธิ ก าร และวิญญาณรักษ์ประจำสามเณราลัย.... และ ที่สุดการเดินทางครั้งสุดท้ายของพระคุณเจ้า คือเดินทางกลับไปอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ท่านจากเราไปเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๒๐๑๒ ณ บ้ า นพั ก บริ เ วณอาสนวิ ห าร นักบุญอันนา นครสวรรค์ หากเรามองช่วงชีวิตในการเดินทางของ พระสั ง ฆราชยอแซฟ บรรจง อารี พ รรค... เราเห็นช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของท่าน กับ พระศาสนจักรในประเทศไทย ยุคแห่งความ เปลี่ยนแปลง ริเริ่ม และวางรากฐานเพื่อสร้าง บุคลากรของพระศาสนจักรในประเทศไทย บทความพิเศษนี้จึงอยากสะท้อนเรื่อง

การริเริ่มก่อตั้งสามเณราลัยใหญ่ในประเทศไทย เป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเป็นศาสนบริกร รับใช้พระศาสนจักรท้องถิ่นในประเทศของตน และนอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองเจตนารมณ์ของสภาพระสังคายนาวาติกันที่ ๒


ทัศน์ 14 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 ราวความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจากชีวิตของ พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค กับ ช่วงเวลาก่อนการสร้างสถาบันแสงธรรม การ ถูกวางตัวให้เป็นผูน้ ำของสถาบัน และช่วงเวลา ที่ท่านเป็นอธิการสถาบันแสงธรรม เรื่องราว เหล่านีส้ ะท้อน “คำสอน” แห่ง “ชีวติ ” ของ ท่านทีไ่ ม่ถอยห่างออกจาก “ความรัก”.... และ พลังแห่งความรักอันเนื่องมาจากคำสอนของ ท่านก็ยงั คงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนือ่ งในภารกิจ การเป็ น พระสั ง ฆราชของท่ า นในดิ น แดน พันธสัญญา สังฆมณฑลนครสวรรค์ ตัวหนังสือที่ถักถ้อย เรียงร้อยข้อความ เพียงไม่กห่ี น้าเหล่านี้ ก็เพือ่ น้อมรำลึกในพระคุณ ของพระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค ที่มีต่อสถาบันแสงธรรม...และสิ่งที่สำคัญกว่า หมดคื อ ความรั ก ....เพราะเป็ น คำสอนจาก พระคุ ณ เจ้ า ที่ สื บ ทอดคำสอนจากพระเยซู คริสตเจ้า ผู้เป็นรูปแบบชีวิตของท่านเสมอ... และแม้ ท่ า นจากเราไปแล้ ว แต่ ค ำสอนของ ท่านยังอยู่กับเราเสมอ... ความรักยังดำเนิน ต่อไปไม่สิ้นสุด พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค ยั ง อยู่ กั บ เราเสมอ ตราบเท่ า ที่ ค ำสอนเรื่ อ ง ความรักของท่านยังคงอยู่ท่ามกลางพวกเรา เสมอ บางอย่ า งในความละเอี ย ดมากยิ่ ง ขึ้ น เกี่ ย วกั บ ประวั ติ ส่ ว นตั ว ของพระสั ง ฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เราสามารถพบ เรื่องราวเหล่านี้ได้จากการพูดคุยกันฉันท์พ่อลูก

ในวารสารแสงธรรม ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ ปี ค.ศ.๑๙๗๖ ซึ่งเราพบรายละเอียดเกี่ย วกับ ช่วงชีวิตของพระคุณเจ้าที่ละเอียดลงไป ยิ่ง ทำให้มองเห็นชีวิตที่แท้จริงของท่าน ที่มีความ ยากลำบาก ต้ อ งสู้ อ ดทน และเห็ น คำสอน อันเป็นพืน้ ฐานในการดำเนินชีวติ ของพระคุณเจ้า ในบทความนี้ จึ ง นำเสนอบางประเด็ น ที่ เ ป็ น ความประทับใจจากช่วงชีวิตของท่าน ถ้าเรา อ่านเพียงประวัติแบบพอสังเขป คงไม่ได้รับรู้ ข้อมูลอะไรมาก แต่ถ้าอ่านจากสิ่งที่ท่านพูดไว้ ย่อมมีน้ำหนักและชัดเจนกว่า เมือ่ มีคนถามพระคุณเจ้า ถึงแรงบันดาล ใจที่ทำให้ท่านเข้าบ้านเณรเพื่อเป็นพระสงฆ์ และเรื่องราวของการเข้าบ้านเณร...พระคุณเจ้า ตอบด้วยในเรื่องนั้นว่า “อันที่จริงพ่อก็ไม่ได้เคยตั้งใจอยากจะ ไปเป็นเณร หมายความว่าเวลาเล็กๆ ก็ไป เรียนทีโ่ รงเรียนของวัด จบ ป.๔ ก็ไปโรงเรียน รัฐบาล เรียนจบแล้ว ก็อยากไปเรียนเกษตร นะ เพราะใจมันชอบมานานแล้ว ชอบจริงๆ เรื่ อ งปลู ก ต้ น ไม้ ทำไร่ ทำสวน เลี้ ย งเป็ ด เลี้ยงไก่ ตอนนั้นถ้าจะเรียนเกษตรก็ต้องไป เรียนที่เชียงใหม่ รู้สึกว่าเป็นที่แม่โจ้.....มันไกล ไป ทางบ้านเขาเป็นห่วง เพราะตอนนั้นไม่มี พ่อนะ พ่อเสียชีวิตตั้งแต่ ๙ ขวบ เหลือแต่ แม่ท่เี ลี้ยงดู จึงไม่อยากไปไหนไกลๆ อีกอย่าง ฐานะทางบ้านก็ไม่ดีพอด้วย จึงไปเรียนเหมือน พี่ชายที่ เอซีซี (อัสสัมชัญพานิชย์) เรียนอยู่ ไม่ น านเท่ า ไร เหตุ ก ารณ์ บ้ า นเมื อ งไม่ ป กติ


ท่านบรรจงกับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง เพราะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยังไม่สงบดี จึง ต้องกลับไปบ้าน คิดว่าจะหางานทำสักพักหนึง่ ก็หาไม่ได้” “พอดี ว่ า ช่ ว งนั้ น มี ก ารแยกมิ ส ซั ง ใหม่ คือ แยกจันทบุรีออกจากกรุงเทพฯ มีพระ สังฆราช ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นคน ดู แ ล มี ก ารเปิ ด โรงเรี ย นใหม่ คุ ณ พ่ อ บุ ญ ชู ระงั บ พิ ษ จึ ง ชวนพ่ อ ไปสอนเรี ย น พ่ อ ก็ ไ ป สอน....พ่ อ บุ ญ ชู เขาชวนพ่ อ ให้ เข้ า บ้ า นเณร เขาชวนยั ง ไงไม่ ไ ด้ ตั ด สิ น ใจ เพราะไม่ ไ ด้ คิ ด ตั้งใจเช่นนั้น.... ที่สุดก็ตัดสินใจเข้าบ้านเณร เข้าไปไม่ได้มีรุ่นอะไรหลอก......”1 และเมือ่ มีคนถามพระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารี พ รรค ถึ ง เรื่ อ งชี วิ ต การเป็ น สามเณรเพื่อเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ ผู้รับใช้ ของพระเจ้า ไว้ว่า “พ่ อ ต้ อ งเรี ย นกั บ คุ ณ พ่ อ มิ เชลอ่ อ น ประคองจิ ต (ต่ อ มาเป็ น พระสั ง ฆราช) ซึ่ ง ขณะนั้ น เป็ น อธิ ก าร ท่ า นอ่ อ น เป็ น ลุ ง ของ คุณพ่อชุมพา เรียนภาษาลาตินบ้าง ภาษา ฝรั่งเศสบ้าง พ่อจึงเป็นลูกศิษย์คนเดียวของ ท่าน จะว่าเป็นลูกศิษย์หัวแก้วหัวแหวนหรือ เปล่าไม่รู้นะ เพราะถูกดุอยู่ตลอดเวลา การ เรียนอันที่จริงต้องเรียนถึง ๔ ปี แต่พ่อเรียน

1 2

15

ราวๆ ๒ ปี นอกจากนั้นยังช่วยทำงานกับ การสอนเรี ย นตอนค่ ำ ๆ พอดี ช่ ว งนั้ น มี ก าร สร้างวัดที่ศรีราชา จึงไปช่วย เป็นช่างไม้ โดย มีพ่อของพระคุณเจ้ามิเชล อ่อนเป็นคนดูแล” และเมื่อมีคนถามพระคุณเจ้าต่อจากนั้น ซึง่ พระคุณเจ้าไปศึกษาต่อทีก่ รุงโรมประเทศอิตาลี รับการศึกษาและอบรมที่ นั่น ถึง ๗ ปี มี คนถามว่ า เมื่ อ บวชเป็ น พระสงฆ์ แ ล้ ว อยาก ลาออกจากการเป็นพระสงฆ์ไหม.... พระคุณเจ้า ตอบอย่างน่าฟังว่า “เท่ า ที่ จ ำได้ ไ ม่ มี ช่ ว งไหนที่ อ ยากสึ ก แต่ ว่ า ไปความเบื่ อ หน่ า ย ความลำบากใจ ความยุ่งยากมี แต่คิดสึกไม่เคยมี”2 เมื่ อ มี ค นถามถึ ง หน้ า ที่ ใ นการทำงาน อภิบาลของท่าน เรามองเห็นความสวยงาม ที่ควบคู่กับหน้าที่สงฆ์ของท่าน ท่านเล่าอย่าง เป็นกันเองว่า “พอกลับจากโรมก็ได้พักสองสามเดือน หลังจากนั้นเป็นปลัดวัดจันท์ ต่อมาก็ไปดูแล และริ เริ่ ม คณะบราเดอร์ ที่ หั ว ใผ่ หลั ง จากที ่ดูแลคณะบราเดอร์ที่หัวไผ่ได้ ๖-๗ ปี เห็น ว่ า ความรู้ ไ ม่ พ อก็ เข้ า ไปเรี ย นต่ อ หาความรู้ เพิ่ ม เติ ม ขอที แรกเขาไม่ อ นุ ญ าต จึ ง รอไว้ ๑ ปี แล้ ว ขอใหม่ ค ราวนี้ ส ำเร็ จ พ่ อ จึ ง ไป เรี ย นต่ อ ที่ อ อสเตรเลี ย วิ ช าที่ เ รี ย นก็ เ ป็ น

วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 9. วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 10-12.


ทัศน์ 16 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 จิ ต วิ ท ยา เพราะเห็ น ว่ า จำเป็ น สำหรั บ ดู แ ล เณร... พอกลับมาก็ทำงานกับพวกบราเดอร์ แต่ผู้ใหญ่ก็ให้ไปเป็นอธิการที่บ้านเณรศรีราชา พออยู่ได้ ๓ ปี เขาก็ย้ายพ่อไปเป็นเจ้าวัดที่ จันทบุรี อยู่ได้ ๖ เดือนก็มีคำสั่งให้ไปสอน เรียนที่บ้านเณรปีนัง สอนได้ปีหนึ่ง พอดีมี โครงการบ้านเณรใหญ่.... มาอยู่ท่บี ้านเณรเล็ก สามพรานร่วมปี ระหว่างนั้นก็ไปดูงานบ้าน เณรใหญ่ ที่ อิ น โดนิ เซี ย ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ และที่ อิ น เดี ย โดยมี คุ ณ พ่ อ สมศั ก ดิ์ ไ ปด้ ว ย หลั ง จากนั้นเราก็เริ่มงานบ้านเณรใหญ่”3 ท่านบรรจงกับแสงธรรม... สถาบันแสงธรรม ซึ่งก็คือสามเณราลัย ใหญ่ แ สงธรรม และวิ ทยาลัย แสงธรรม ซึ่ง แต่เดิมนั้นไม่ได้แยกออกจากกัน หรือบางที อาจเรี ย กว่ า บ้ า นเณรใหญ่ แ สงธรรม บ้ า น เณรใหญ่ “ลุกซ์มนุ ดี” ซึง่ เป็นองค์กรคาทอลิก สำหรับเตรียมบุคลากรในการเผยแผ่พระธรรม คำสอนของพระคริสตเจ้า... โครงการริเริ่มใน การสร้างสถาบันแสงธรรมมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๙ ซึ่งเราพบได้จากรายงานประจำปีของ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่เขียนเอกสารเหล่านั้นส่งกลับไปยังศูนย์กลาง คณะที่ประเทศฝรั่งเศส

“ในช่ ว งรายงานปี เ ดี ย วกั น นี้ สภา พระสังฆราชมอบหมายให้ พระคุณเจ้า เกี้ยน เสมอพิทักษ์ อัครสังฆราชแห่งท่าแร่ เตรียม การที่จำเป็นต่างๆ เพื่อสร้างบ้านเณรใหญ่ใน ประเทศไทย โครงการนี้กำลังดำเนินงาน ที่ ดินผืนหนึ่งที่ได้จัดซื้อไว้แล้ว เวลานี้ยังไม่ทราบ ว่า ใครจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในบรรดาคณาจารย์ ปัจจุบันประเทศไทยมีเณรใหญ่กว่า ๖๐ คน ที่ปีนัง”4 และนี่ เ ป็ น เรื่ อ งราวแรกเริ่ ม ที่ ริ เริ่ ม ก่อตั้งสามเณราลัยใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งแต่ เดิ ม นั้ น ประเทศไทยต้ อ งส่ ง สามเณรใหญ่ ไ ป ศึ ก ษาต่ อ ที่ ก รุ ง โรม ประเทศอิ ต าลี หรื อ ที่ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย การเปลี่ยนแปลงนี้จึง เป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเป็น ศาสนบริ ก รรั บ ใช้ พ ระศาสนจั ก รท้ อ งถิ่ น ใน ประเทศของตน และนอกจากนีย้ งั เป็นการตอบ สนองเจตนารมณ์ของสภาพระสังคายนาวาติกนั ที่ ๒ ที่ต้องการให้แต่ละสังฆมณฑลหรือ ทุก สังฆมณฑลร่วมมือกันตั้งบ้านเณรเพื่อให้สอด คล้องกับสถานการณ์และวัฒนธรรมของแต่ละ ชาติแต่ละท้องถิ่น5

วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 13. รายงานประจำปีมิสซังสยาม และมิสซังกรุงเทพฯ ถึงศูนย์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเล่ม 4 ตั้งแต่ ค.ศ.19641982, แปลโดย บาทหลวงวิกเตอร์ ลาเก, หน้า 392. (เอกสารตีพิมพ์ไม่เผยแพร่) 5 เทียบ พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยการอบรมพระสงฆ์ ข้อที่ 1 และ 7 3 4


ท่านบรรจงกับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง

17

การอบรมศึกษาภายใต้สมัยของคุณพ่อบรรจง อารีพรรค เต็มไปด้วยบรรยากาศแบบพ่อลูก

ที่สุดการก่อสร้างบ้านเณรใหญ่ประจำ ประเทศไทยก็เริ่มต้นขึ้น จากรายงานประจำปีฯ ปี ค.ศ.๑๙๗๐ กล่าวถึงเรื่องราวของความ ยุ่ ง ยากในการขอวี ซ่ า เพื่ อ เข้ า ประเทศ ซึ่ ง สามเณรใหญ่ จ ากประเทศไทยต้ อ งดำเนิ น การ ประกอบกับเหตุผลจากการตอบสนอง เจตนารมณ์ ข องสภาพระสังคายนาวาติกันที่ ๒ ที่กล่าวไว้ข้างต้น ที่สุดสภาพระสังฆราชฯ จึ ง มี ม ติ ใ ห้ เ ปิ ด บ้ า นเณรใหญ่ ซึ่ ง จะเริ่ ม งาน ก่อสร้างในปลายปี ค.ศ.๑๙๗๒ และในเดือน พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๗๒ จะรับสามเณรใหญ่ กลุ่ ม แรกเพื่ อ รั บ การอบรมในบ้ า นเณรใหญ่ หลั ง ใหม่ นี้ ส่ ว นบรรดาสามเณรที่ ข ณะนั้ น เรียนที่บ้านเณรใหญ่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ก็ยังคงเรียนต่อไป ปัญหาที่พบและสำคัญคือ การหาบุคลากร และอาจารย์สำหรับมาสอน ที่ บ้ า นเณรหลั ง นี้ ซึ่ ง บรรดาพระสั ง ฆราชก็ ตระหนั ก ดี จึ ง ส่ ง พระสงฆ์ ๒ องค์ ไ ปที่ บ้ า นเณรปี นั ง 6 ซึ่ ง บุ ค คลที่ ถู ก ส่ ง ไปนั้ น ก็ คื อ คุณพ่อบรรจง อารีพรรค นั่นเอง

สอดคล้ อ งกั บ เอกสารการประชุ ม จั ด ตั้ ง สามเณราลัยใหญ่ครัง้ ที่ ๑ ณ บ้านพักพระสงฆ์ วั ด อั ส สั ม ชั ญ เมื่ อ วั น ที่ ๑๗ กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.๑๙๗๐ ซึ่งมีพระสังฆราชมิเชล เกี้ยน เสมอพิ ทั ก ษ์ เป็ น ผู้ แ ทนสภาพระสั ง ฆราช และ ประธานการประชุม นอกจากนั้นยังมี ตัวแทนจากสังฆมณฑล และคณะนักบวชต่างๆ ในการประชุ ม ครั้ ง นั้ น ได้ ก ล่ า วถึ ง หลายเรื่ อ ง ได้แก่ สถานทีต่ ง้ั (คือทีอ่ ยูป่ จั จุบนั ) หลักสูตร ต่ า งๆ ที่ จ ะสอน นั ก ศึ ก ษาที่ จ ะเข้ า รั บ การ ศึ ก ษา เรื่ อ งค่ า เล่ า เรี ย น เรื่ อ งการเตรี ย ม อาจารย์ และการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ได้แก่ การศึกษา อบรม การเงิน การก่อสร้าง ในส่วนของการ เตรียมอาจารย์นั้นได้กล่าวไว้ว่า “อาจารย์ ที่ เ ตรี ย มไว้ มี ๑.คุ ณ พ่ อ บรรจง อารีพรรค เวลานี้สอนที่ปีนัง คงจะ นำหลักการของปีนังมาใช้ด้วย.....”7 และแล้ ว การสร้ า งสามเณราลั ย ใหญ่ แห่งประเทศไทยก็ได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๑๗

รายงานประจำปีมิสซังสยาม และมิสซังกรุงเทพฯ ถึงศูนย์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเล่ม 4 ตั้งแต่ ค.ศ.19641982, แปลโดย บาทหลวงวิกเตอร์ ลาเก, หน้า 402-403. (เอกสารตีพิมพ์ไม่เผยแพร่) 7 ห้องเอกสารสามเณราลัยใหญ่แสงธรรม เอกสารตามสมัยอธิการ พระสังฆราชยอแซฟบรรจง อารีพรรค แฟ้ม 1 เลขที่ 1 “การประชุมจัดตั้งสามเณราลัยใหญ่ครั้งที่ 1 ปี ค.ส.1970” 6


ทัศน์ 18 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 มกราคม ค.ศ.๑๙๗๒ อาคารที่ ก่ อ สร้ า ง ชุดแรกคือ อาคารสำหรับพักอาศัย ๒ หลัง อาคารเรียน (วิทยาลัย) ๑ หลัง โรงอาหาร โรงครัว บ้านพักสำหรับภคินี และคนงาน แต่ เ นื่ อ งจากการก่ อ สร้ า งอาคารดั ง ที่ กล่ า วมานั้ น ยั ง ไม่ แ ล้ ว เสร็ จ และมี ก ารรั บ สามเณรใหญ่ รุ่นแรกเพื่อรับการอบรมแล้ว สภาพระสั ง ฆราชจึ ง ได้ ข อยื ม สถานที่ ข อง “หัวหินวิทยาลัย” อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ ซึ่ ง อยู่ ภ ายใต้ ก ารดู แ ลของคณะซาเลเซี ย น เพื่ อ ใช้ เ ป็ น สถานที่ อ บรม เรี ย นรู้ และพั ก อาศั ย เป็ น การชั่ ว คราว จนกว่ า จะสร้ า ง สามเณราลัยใหญ่ท่นี ครปฐมเสร็จ8 จากกอนุทิน ของสามเณราลัยแสงธรรม เล่มแรก ทำให้เรา มองเห็ น ภาพช่ ว งเวลาอั น ต่ อ เนื่ อ งของชี วิ ต สามเณรรุ่นแรก และคณะผู้ให้การอบรมคณะ แรกซึ่งมี คุณพ่อยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นอธิการองค์แรก คุณพ่อสมศักดิ์ นามกร เป็ น รองอธิ ก าร และมี คุ ณ พ่ อ นริ น ทร์ ศิริวิริยานันท์ เป็นอาจารย์ประจำ ซึ่งคณะ ผู้ให้การอบรมคณะนี้ได้เข้ารับตำแหน่งในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๗๒ และต่ อ มา สามเณรรุน่ ที่ ๑ ของสามเณราลัย “ลุกซ์มนุ ดี” จำนวน ๓๑ คน ได้เดินทางเข้ารับการอบรม

ทีส่ ามเณราลัย ต่อมา “ลุกซ์มนุ ดี” ณ หัวหิน นี้ จึ ง ได้ รั บ การเปิ ด เป็ น การภายในขึ้ น ใน วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๗๒ โดยมี พระสมณทูต โจวันนี โมร๊อตติ เป็นประธาน ร่วมกับบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษมากมายพอสมควร และต่อมาใน วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๗๒ จึงเริ่ม เรียนเป็นวันแรก9 การอบรมศึกษา ภายใต้สมัยของคุณพ่อ บรรจง อารีพรรค เต็มไปด้วยบรรยากาศแบบ พ่อลูก เพราะเรื่องของจำนวนที่ไม่มาก ก็ร้จู ัก กั น ทั้ ง หมด มี ก ารเรี ย นภาษาอั ง กฤษจาก อาจารย์ชาวอเมริกัน สามเณรไปร่วมฉลองวัด ต่ า งๆ ส่ ว นเรื่ อ งกี ฬ า ก็ เ ด่ น ไม่ น้ อ ย มี ก าร แข่ ง ขั น ฟุ ต บอลกั น ระหว่ า งที ม ตะวั น ออก (กรุงเทพฯ,จันทบุรี,ราชบุรี) และทีมตะวันตก (ท่าแร่,นครราชสีมา,อุบลฯ) มีการเข้าเงียบ การพักผ่อนร่วมกัน มีการแบ่งกลุม่ ต่างๆ เพือ่ ทำหน้าที่รับใช้กันและกัน ได้แก่ กลุ่มศึกษา, กลุ่ ม ความศรั ท ธา,กลุ่ ม สั ง คมและข่ า วสาร กลุ่มกีฬาและบันเทิง10 และที่สุดการเดินทางจากหัวหินเพื่อไป สู่บ้านอบรมที่แท้จริงที่ถูกเตรียมไว้แล้วก็มาถึง ในวันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๗๒ มีบนั ทึกไว้วา่

ห้องเอกสารสามเณราลัยใหญ่แสงธรรม เอกสารตามสมัยอธิการ พระสังฆราชยอแซฟบรรจง อารีพรรค แฟ้ม 1 เลขที่ 2 “ชีวประวัติสามเณราลัยใหญ่แสงธรรม” 9 อนุทิน สามเณราลัยใหญ่แสงธรรม รวมเล่ม (ลอกใหม่), หน้า 3. 10 ประมวลจาก อนุทิน สามเณราลัยใหญ่แสงธรรม เล่มที่ 1 ปี ค.ศ.1972-1980, หน้า 1-7. 8


ท่านบรรจงกับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง “ขบวนราชรถของพวกเณร ย้ายสัมภาระ กลั บ สามพราน แต่ เ กิ ด ขั ด ข้ อ ง รถติ ด หล่ ม ทำการแก้ไขเสร็จก็เป็นเวลา ๑๘.๐๐น. จึง ทานข้าวที่ตลาด... ๒๑.๐๐น. ออกเดินทาง จากหัวหิน ถึงสามพราน ตี ๑ พอดี”11 ที่สุดแล้วสามเณรรุ่นที่ ๑ ภายใต้การ ดูแลของคุณพ่ออธิการ คุณพ่อบรรจง อารีพรรค ก็ได้เข้ารับการอบรม ที่สามเณราลัยใหญ่ ณ สามพราน ดังความตั้งใจของพระศาสนจักร ในประเทศไทย การอบรมศึกษาในสมัยที่คุณพ่อบรรจง อารีพรรค เป็นอธิการนัน้ เต็มไปด้วยบรรยากาศ ทีท่ ำให้เกิดความประทับใจ เพราะเป็นบรรยากาศ แบบครอบครัว จึงมีความสนิทสนม ระหว่าง พระสงฆ์ผู้ให้การอบรม กับบรรดาสามเณร ซึ่งก็เต็มไปด้วยความเป็นกันเอง จากคณะผู้ให้ การอบรม ก็ คื อ คุ ณ พ่ อ บรรจง อารี พ รรค ในช่ ว ง ๔ ปี แรกที่ คุ ณ พ่ อ ได้ อ ยู่ ที่ ส ถาบั น แสงธรรม คุ ณ พ่ อ สอนด้ ว ยคำพู ด และแบบ อย่างเสมอ คุณพ่อเน้นหลัก “ให้มคี วามจริงใจ และจริงจัง” ถ้าเราจริงใจกับพระและจริงใจ กั บ ตนเอง ความจริ ง จั ง นั้ น ก็ จ ะตามมาโดย อัตโนมัติ การเป็นสามเณรจึงต้องมุ่งมั่นเสมอ ว่า “ฉันต้องการเป็นพระสงฆ์ เพื่อทำงานใน พระศาสนจั ก รของพระเจ้ า เพื่ อ ช่ ว ยมนุ ษ ย์

11 12

19

ให้รอดและพบความสุขแท้จริง” และพยายาม “เป็นพระสงฆ์เพื่อทุกคน” เป็นแสงสว่างของ โลก12 สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับบทความ ๓๑ ปี แ ห่ ง ความหลั ง ที่ คุ ณ พ่ อ บรรจง อารี พ รรค ได้เขียนลง “แสงธรรม” ก่อนที่ท่านจะเดิน ทางไปรั บ ตำแหน่ ง พระสั ง ฆราชสั ง ฆมณฑล นครสวรรค์ ท่านได้เขียนเรื่องราวที่สอดคล้อง กัน แต่สิ่งที่ท่านเขียนนั้นทำให้เราเห็นบุคลิก ของท่านที่เป็นนักบันทึก ท่านบันทึกสิ่งที่เป็น ข้อตั้งใจ ข้อเตือนใจ ตั้งแต่ท่านเข้าบ้านเณร เล็กที่ศรีราชา “บันทึกตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๔๖ ท่านนำกลับมาพิจารณาถึงสิ่งที่ท่านตั้งใจ และ ท่ า นเขี ย นเรื่ อ งราวที่ ท่ า นตั้ ง ใจในการเป็ น พระสงฆ์ เพื่อสอนบรรดาสามเณรในสมัยนั้น ว่า “ฉันต้องการเป็นพระสงฆ์ เพื่อทำงานใน พระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า เพือ่ ช่วยมนุษย์ ให้รอดและพบความสุขแท้” และท่านยังบอก อี ก ว่ า ถ้ า ใครไม่ มี แ นวทางนี้ ก็ ไ ม่ ค วรเป็ น สามเณรต่อไป เพราะนีไ่ ม่ใช่ทางของเขา จะอยู่ ในสภาพจิตใจที่ว่า “เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้” และจะใช้ชวี ติ แบบเรือ่ ยๆ ท่านยังเน้นเรือ่ งของ ความจริ ง ใจและจริ ง จั ง (ดั ง ที่ ก ล่ า วไว้ แ ล้ ว ) ท่ า นยั ง กล่ า วถึ ง สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ ประการหนึ่ ง คื อ “ความรัก” ท่านบันทึกไว้ว่า

อนุทิน สามเณราลัยใหญ่แสงธรรม เล่มที่ 1 ปี ค.ศ.1972-1980, หน้า 8. อนุสรณ์ สามเณราลัยแสงธรรม ครบรอบ 25 ปี “แสงธรรม ณ ปีที่ 25” หน้า 42.


ทัศน์ 20 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 “คำว่า “รัก” ครอบงำชีวติ พ่อตลอดมา แม้ ว่ า มั น ไม่ เ ป็ น จริ ง ในชี วิ ต เสมอไปมี ค วาม บกพร่องตลอดเวลา มีความไม่ไพบูลย์อยูเ่ สมอ แต่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องแก้ ต้องพยายาม ให้เติบโตก้าวหน้า ความต้องการรักและเข้าใจ และพยายามเข้าใจผู้อื่นมีมาแต่เมื่อเป็นเณร เล็ก โดยเฉพาะเมื่อเป็นเณรใหญ่ ฉะนั้นการ ดำเนิ น ชี วิ ต ของพ่ อ ที่ แ สงธรรม จึ ง เป็ น ผล สะท้อนของวิวัฒนาการ และพัฒนาการของ ชีวิตเณรของพ่อ (อ่านบันทึกแล้วเห็นว่าเป็น เช่ น นั้ น แม้ จ ะรู้ สึ ก อายตั ว เองอยู่ บ้ า งที่ มิ ไ ด้ เป็นอย่างที่คิดจะเป็นในหลายๆ อย่าง บาง อย่างก็พยายามเป็นมาตลอด ๓๑ ปี แต่ก็ ยังไม่สำเร็จ..... อะไรที่พ่อี ยากฝากน้องๆ ก่อน ไปเลย แต่ไม่ลับ ก่อนอื่นน้องต้องมุ่งมั่นว่า “ฉันจะเป็นพระสงฆ์” น้องต้องมีอุดมการณ์ ของชีวิตและพยายามเดินตามอุดมการณ์นั้น อย่างกล้าหาญ ไม่ท้อถอยแม้มีอุปสรรค ยืน อยู่ บ นชี วิ ต ภายในที่ ใ ครๆ ก็ เ น้ น และพ่ อ ก็ อยากเน้น และขอจบด้วยความหมายของชีวิต ภายใน “ชีวิตภายในคือ สภาพแห่งกิจกรรม แห่ ง จิ ต ใจ ที่ มุ่ ง ต่ อ สู้ ค วามโน้ ม เอี ย งของ ธรรมชาติ แ ละจั ด ให้ มั น อยู่ ใ นลู่ ท าง และ พยายามให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง นิ สั ย ที่ จ ะคิ ด ตั ด สิ น ใจ และลงมื อ ทำทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง ตามแสงสว่ า ง

13 14

แห่งพระวรสาร และตามแบบอย่างของพระ คริสตเจ้า”13 เรายังพบแนวความคิดหลายๆ เรื่องที่ เกิ ด ขึ้ น ภายในช่ ว งเวลาที่ เ ป็ น อธิ ก ารสถาบั น แสงธรรม ซึง่ ในภายหลังทีท่ า่ นเป็นพระสังฆราช สังฆมณฑลนครสวรรค์แล้ว ท่านเป็นหนึ่งใน สภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย มีสทิ ธิม์ เี สียงในการเสนอต่างๆ เราพบว่า “คณะ ธรรมทูตไทย” ก็เป็นหนึ่งในความคิดที่เกิดขึ้น ขณะที่อยู่ที่สถาบันแสงธรรม “...พ่อจำได้ว่า เคยพูดเวลาสอนเรียน เรื่องกระแสเรียกว่า เราน่าจะมีเณรที่ไม่สังกัด มิสซังไหน เตรียมไว้เพื่อมิสซังไหนต้องการก็ ส่งไปได้ จะรอให้เหลือเสียก่อนแล้วจึงส่งไป ช่วยมิสซังอื่น แบบนี้ทำไม่ได้แน่ๆ เพราะคง ไม่มีมิสซังไหนเหลือ”14 ความทรงจำมิเคยจาง... ยุคสมัยที่พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นอธิการสถาบันแสงธรรม มี เรื่ อ งราวอั น เป็ น ความประทั บ ใจยั ง บรรดา ลูกศิษย์ ที่ได้รับการอบรมศึกษา จากสถาบัน แสงธรรม และจากพระคุณเจ้าเอง นอกจาก การเป็นอธิการสถาบันแสงธรรมแล้ว ท่านยัง มี ห น้ า ที่ ใ นการสอนเรี ย นในวิ ช าจิ ต วิ ท ยาอี ก

วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 5-7. วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 16.


ท่านบรรจงกับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง ด้ ว ย ท่ า นจึ ง นำวิ ธี ก ารทางจิ ต วิ ท ยา เพื่ อ เข้าใจความเป็นบุคคลของแต่ละคน มาเป็น รูปแบบในการอบรมสามเณร เพราะถ้าเข้าใจ ความเป็ น “คน” ของคนนั้ น โดยอาศั ย การศึ ก ษาภู มิ ห ลั ง ชี วิ ต ของคนนั้ น ยิ่ ง เข้ า ใจ มาก ก็ ยิ่ ง จะรั ก มากขึ้ น และก็ จ ะยิ่ ง อภั ย ให้เขาง่ายขึ้น ความทรงจำมิรู้จาง ... ผู้บุกเบิก ต้ อ งยอมรั บ ประการหนึ่ ง ว่ า การเริ่ ม ต้นอะไรใหม่ หรือเป็นผู้ก่อตั้ง ริเริ่มสิ่งใหม่ ต้องประสบปัญหาและอุปสรรคไม่น้อย ต้อง มีความอดทนสูง ต้องรับผิดชอบ และยิ่งเป็น สถาบั น ด้ า นการอบรมศึ ก ษา สิ่ ง ที่ ต้ อ งเน้ น คื อ เรื่ อ งของแบบอย่ า งในการดำเนิ น ชี วิ ต พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็น แบบอย่ า งที่ ดี ส ำหรั บ พวกเรา ท่ า นอดทน และร่วมทุกข์สุข กับพวกเณรในสมัยแรกอย่าง เป็นกันเอง และเต็มไปด้วยความรัก กระบวนการที่ท่านใช้คือ “ความรัก” ในงานบุกเบิกของท่าน ความรักที่ท่านมักพูด เสมอในทุกโอกาส ครั้งหนึ่งมีเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในขณะที่ประชุมร่วมกันทั้งสถาบัน (บรรดา ผู้ ใ ห้ ก ารอบรมและสามเณร) ในครั้ ง นั้ น มี เรื่ อ งที่ ต้ อ งพู ด กั น ยาวชนิ ด ที่ จ ะจบได้ ล ำบาก แต่ มั น ก็ จ บลงด้ ว ยดี ด้ ว ยคำพู ด สั้ น ๆ แต่ มั น

15 16

21

ท้าทายและกินใจพวกสามเณรมากๆ “สำหรับ ตัวพ่อกับพวกเณร ก็ไม่ทราบว่า ใครจะรัก ใครมากกว่ากัน”15 ความทรงจำมิรู้จาง.... บทบาทอธิการสถาบันแสงธรรม พระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค ก่อนที่ท่านจะเป็นอธิการ ท่านไปศึกษาดูงาน ในประเทศต่างๆ ด้านการอบรมศึกษาผูเ้ ตรียม เป็ น บาทหลวง และการมาอยู่ ที่ แ สงธรรม ท่ า นก็ อ ยู่ อ ย่ า งที่ มี ใจรั ก เณรจริ ง ๆ และทำ หน้าที่น้อยใหญ่ของการเป็นอธิการด้วยความ เสียสละ เอาใจใส่ รับผิดชอบทุกอย่าง และ กอร์ปด้วยคุณธรรมความดีงามต่างๆ ในตัว ของท่าน ท่านสามารถเป็นผู้นำ ผู้ให้ความ ช่วยเหลือ แนะนำสั่งสอน จัดการ ประสาน งาน สร้างความผูกพัน ความรักใคร่จนเป็นที่ รวมจิตใจของบรรดาเณรได้เป็นอย่างดี และนี่ เป็นความเหมาะสมที่สุดในการทำหน้าที่ผู้ให้ การอบรม และอธิการสถาบันแสงธรรม16 ความทรงจำมิรู้จาง....จากบรรดาลูกศิษย์ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ค.ศ.๒๐๑๒.... สามเณราลัยแสงธรรม ได้จัดเสวนา “ย้อน อดีต ท่านจง” เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณ ที่ ท่ า นมี ต่ อ สถาบั น แสงธรรม และทำให้

วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 25. วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1976, หน้า 26.


ทัศน์ 22 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 บรรดาศิ ษ ย์ ปั จ จุ บั น ได้ รู้ จั ก ชี วิ ต และแบบ อย่างจากคำสอนของท่าน โดยมีพระสงฆ์ที่ เป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ รุ่ น ที่ ๑-๓ ที่ อ ยู่ ร่ ว มสมั ย ขอ การเป็นอธิการของท่าน โดยได้รับเกียรติจาก คุ ณ พ่ อ วุ ฒิ เ ลิ ศ แห่ ล้ อ ม, คุ ณ พ่ อ ไพฑู ร ย์ หอมจิ น ดา, คุ ณ พ่ อ ประยู ร พงศ์ พิ ศ , คุ ณ พ่อ วรยุ ท ธ กิจบำรุง และคุณพ่อชีวิน สุวดินทร์กุล.... กล่าวโดยสรุปจากการเสวนา คื อ บรรดาศิ ษ ย์ เ ก่ า โดยเฉพาะที่ เ คยอบรม ศึ ก ษาโดยพระสั ง ฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค ในช่วงสมัยทีท่ า่ นเป็นอธิการสถาบัน ต่างมีความประทับใจในบทเรียนต่างๆ ที่ท่าน สอน มากกว่านั้นอีกคือประทับใจในการเป็น ผู้นำที่ยึดคติธรรมแบบองค์พระคริสตเจ้าคือ “ความรัก” อันเป็นคำสอนที่นำพาความสุข ความมั่นคงในกระแสเรียก และความจริงใจ และจริงจังในภาระหน้าที่ของการเป็นพระสงฆ์ พระคุณเจ้าใช้รูปแบบการอบรมแบบ พ่อลูก ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงพระคุณเจ้าได้ ง่าย พระคุณเจ้ายังใช้วิธีการเล่นกีฬาเป็นการ เชื่ อ มความสั ม พั น ธ์ กั บ บรรดาสามเณร สิ่ ง เหล่านี้ทำให้บรรดาสามเณรรู้สึกอบอุ่น และ รู้ สึ ก วางใจและเชื่ อ มั่ น ในความเป็ น อธิ ก าร ของท่าน แบบ “พ่อ” ของท่าน พระคุณเจ้า สอนด้ ว ยการกระทำ ทั้ ง ด้ ว ยการทำงาน เกษตรกรรม ถ้าสังเกตมือท่านจะใหญ่ นั่น หมายความว่า เป็นชาวสวน ท่านขยัน และ ไม่ย่อท้อต่องานที่ยากลำบาก มีความอดทน อดกลั้น เข้าใจ และเข้าถึง พระคุณเจ้าเป็น

ผู้ ที่ ฟั ง ด้ ว ยหั ว ใจ ไม่ ไ ด้ ฟั ง ด้ ว ยเหตุ ผ ลเพี ย ง อย่างเดียวท่านให้ใจกับบรรดาสามเณร นอก จากนั้น การเป็นผู้บุกเบิกสถาบันแสงธรรม ก็ ค วบคู่ กั บ ความรั ก ความผู ก พั น ธ์ ที่ มี ใ ห้ ด้ ว ย ไม่ แ ปลกอะไรที่ พ ระคุ ณ เจ้ า จะรั ก สถาบั น แสงธรรม รั ก บรรดาพระสงฆ์ ที่ จ บจาก สถาบั น นี้ คำสอนที่ เ ราพบได้ จ ากชี วิ ต ข อ ง ท่ า น คื อ “ เร า มี บ้ า น ” ( บ้ า น แ ส ง ธรรม) และเมื่ อ ไรที่ เ ราประสบปั ญ หา ความไม่เข้าใจ ความสับสน วุน่ วายต่างๆ ขอ ให้ ก ลั บ มาบ้ า นของเรา อี ก ประการหนึ่ ง ที่ สำคัญคือ ต้องออกจากกรอบของสังฆมณฑล ของต่างๆ เพื่อจะสร้างสัมพันธ์กับเพื่อน มิตร สหาย เพราะเราต้องดูแลกัน ช่วยเหลือ เอา ใจใส่ และ “รั ก ” กั น ... พระคุ ณ เจ้ า เป็ น แบบอย่างของคนที่เอาจริงเอาจัง มุ่งมั่น ยุค สมัยทีท่ า่ นเป็นอธิการนัน้ ท่านสอนให้สามเณร “จริ ง จั ง และจริ ง ใจ” ที่ จ ริ ง ก็ ไ ม่ ใช่ ก ารเล่ น คำอย่ า งสวยหรู เ ท่ า นั้ น แต่ ที่ จ ริ ง ท่ า นอยาก ให้ เ ราเป็ น แบบนั้ น จริ ง ๆ และซื่ อ สั ต ย์ . .. พระคุณเจ้าเป็นแบบอย่างแห่งความเรียบง่าย สมถะ ไม่ ว่ า จะเรื่ อ งการทานอาหาร เรื่ อ ง เสื้อผ้าที่มีไม่กี่ชุด... พระคุณเจ้าสอนสามเณร ด้วยคำถาม ให้สามเณรคิดเองว่าอยากจะทำ อะไร.... ไม่ว่าจะเรื่อง ห้องสมุด การทำงาน อภิบาล งานวารสาร งานบอร์ดโรจนสาร ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มาจากความสนใจของบรรดาเณร เอง พระคุณเจ้าสนับสนุน ให้ไปเรียนรู้ศึกษา ในสิ่งที่ตนเองอยากทำ และให้นำกลับมาทำ


ท่านบรรจงกับแสงธรรม...ความทรงจำมิเคยจาง จริงด้วย... พระคุณเจ้าอยากให้บรรดาสามเณร มี ห นั ง สื อ ในดวงใจคนละเล่ ม เพราะการมี ความรู้ จ ะเชื่ อ มโยงสิ่งต่างๆ เข้าหากัน ทุก อย่ า งเกี่ ย วข้ อ งกั น อย่ า งเป็ น ระบบ และจะ ขยายออกไปเรื่อยๆ บทสรุป.... “ความรัก” เป็นคำสั้น....แต่มากด้วย ความหมายและการอธิบาย เราพบสิ่งที่ยืนยัน จากงานเขียนของท่านว่า “..“รัก” ข้าพเจ้าชอบคำนี้ ข้าพเจ้า รักคำนี้มาก เพราะรักคือทุกสิ่งของชีวิต”17 “ความรัก” เป็นคำสั้น....แต่มากด้วย ความหมายและการอธิ บ าย... เรามองเห็ น ช่วงเวลา แห่งการเดินทางของบุคคลท่านหนึ่ง ที่ใช้ทั้งชีวิตเพื่ออธิบายเพียงคำเดียวคำนี้ ที่มี ความหมายมากๆ ท่านอุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อ สอนคำสอนเรื่ อ งนี้ และยั ง เป็ น แบบอย่ า ง สำหรับในการดำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยาน ต่อทุกคน “ความรัก” เป็นคำสั้น....แต่มากด้วย ความหมายและการอธิ บ าย... เพราะเป็ น วิธีการเดียวที่องค์พระคริสตเจ้าทำให้เราเห็น เป็ น ตั ว อย่ า ง ในการไถ่ กู้ พ วกเราจากบาป

17

23

และความตาย และพระคุณเจ้าได้เลียนแบบ ชีวิตจากพระองค์ ในความรักที่เป็นภาคปฏิบัติ ในชีวิตของพระคุณเจ้า “ความรัก” เป็นคำสั้น....แต่มากด้วย ความหมาและการอธิบาย... ทรงพลังมหาศาล เราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งในพระศาสนจักรสากล และพระศาสนจักร ในประเทศไทย และนี่ เ ป็ น ประจั ก ษ์ พ ยาน ที่ ส ำคั ญ ที่ ท ำให้ เราเชื่ อ มั่ น ว่ า เหนื อ สิ่ ง อื่ น ใด ความรั ก สำคั ญ ที่ สุ ด จริ ง ๆ.... เราเห็ น ความ เปลี่ ย นแปลงจากจิ ต ตารมณ์ แ ห่ ง ความรั ก ทั้งในหน้าที่ผู้อภิบาล ผู้แพร่ธรรม นักอบรม จากความรักในชีวิตของพระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค “ความรั ก ” เป็ น คำสั้ น จริ ง ๆ ครั บ แต่ยังคงอยู่เสมอ เพราะแม้ร่างกายของผู้สอน เรื่ อ งราวแห่ ง ความรั ก อย่ า งพระสั ง ฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค จากเราไป แต่ คำสอนของท่านยังอยู่ คำสอนที่อยากให้เรา ปฏิบัติความรักที่มีพระเจ้า และเพื่อนพี่น้อง และสิ่งนี้ยืนยันเสมอว่า “ความรัก” คำสั้น แต่ ส ำคั ญ และยื น ยั น ว่ า “ที่ ใ ดมี รั ก ที่ นั่ น มีพระเจ้า”

อนุสรณ์ 25 ปี แห่งการเป็นพระสงฆ์ ของพระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค, หน้า 5.


ทัศน์ 68 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 **หมวดคำสอน หมวด *

*

พระคุณการุญสำหรับปีแห่งความเชื่อ พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์

แปลสรุปจาก L’Osservatore Romano (10 ตุลาคม 2012) เล่มที่ 41, หน้า 4.

พระคาร์ดนิ ลั มานูแอล มอนเตอีโร เด กัสโตร ประธานศาลของสมเด็จพระสันตะปาปา เพือ่ ชีวติ จิต (Apostolic Penitentiary) และ มองซิ ญ อร์ ค ริ ส ตอฟ นี คี แ อล ได้ประกาศ กฤษฎีกา (Decree) เมือ่ วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2012 ฉลองเทิดทูนกางเขน จากกรุงโรม เรื่องพระคุณการุญสำหรับปีแห่งความเชื่อ ประมุขอัครสงฆมณฑลเชียงใหม่, ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสภามุขนายกแห่งประเทศไทย แผนกคริสตศาสนธรรมและแผนกพระคัมภีร์


พระคุณการุญสำหรับปีแห่งความเชื่อ โอกาสฉลอง 50 ปี ของการเปิดสภา สังคายนาวาติกนั ที่ 2 และ 20 ปี ของการ พิมพ์หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ ประกาศปี แ ห่ ง ความเชื่ อ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ถึง 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ในระหว่ า งปี แ ห่ ง ความเชื่ อ นี้ สัตบุรุษผู้ทำกิจการพิเศษใช้โทษบาปจะได้รับ พระคุณการุญ ในปี ค.ศ.1967 เพื่อระลึกถึง 1,900 ปี แห่งการเป็นมรณสักขีของนักบุญเปโตรและ เปาโลอัครสาวก สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ได้ประกาศปีแห่งความเชือ่ “เพือ่ แสดง สาระสำคัญแห่งความเชื่อที่บรรดาสัตบุรุษได้ รับเป็นมรดกจะได้รับการยืนยัน เข้าใจ และ ประกาศใหม่ ด้วยการเป็นพยานมัน่ คงในสภาพ แวดล้อมปัจจุบันที่แตกต่างมาจากอดีต” ในการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในสมัย ของเรา สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศปีแห่งความเชื่อ ครั้งที่ 2 เพือ่ เชิญประชากรของพระเจ้า บรรดาพระสังฆราช ทัว่ โลกร่วมมือกันกับ “ผูส้ บื ตำแหน่งของนักบุญ เปโตร ในช่วงเวลาแห่งพระหรรษทานทางจิต วิญญาณ ที่พระเจ้าทรงมอบให้เรา โดยระลึก ถึงพระพรล้ำค่าแห่งความเชื่อ” สัตบุรษุ ทุกคนได้รบั “โอกาสทีจ่ ะประกาศ ความเชือ่ ของเราในองค์พระเยซูผกู้ ลับคืนพระชนม์ ...ในอาสนวิ ห าร และในวั ด ต่ า งๆ ทั่ ว โลก ในบ้าน ในครอบครัว เพื่อทุกคนจะรู้สึกถึง

69

ความต้องการแรงกล้าทีจ่ ะรูด้ ขี น้ึ และถ่ายทอด ความเชือ่ นิรนั ดร์สคู่ นรุน่ ต่างๆ หมูค่ ณะนักบวช ชุมชนในเขตวัด สมาชิกของพระศาสนจักรทั้ง เก่าและใหม่ ต้องค้นพบหนทางประกาศยืนยัน ความเชื่อ (Credo) ในระหว่างปีนี้ นอกจากนี้ สัตบุรุษทุกคนทั้งส่วนตัว และชุมชน ให้พยายามดำเนินชีวิตประจักษ์ พยานความเชื่ออย่างเปิดเผยต่อหน้าคนอื่นใน สภาพแวดล้อมพิเศษในชีวิตประจำวัน เรื่ อ งสำคั ญ อั น ดั บ แรก คื อ เราต้ อ ง พัฒนาชีวิตให้ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้วิญญาณบริสุทธิ์ พระคุ ณ การุ ญ ซึ่ ง พระศาสนจั ก รได้ รั บ มอบ อำนาจจากพระคริสตเจ้า ให้ประทานพระคุณ การุญแก่ทกุ คน ทีอ่ ยูใ่ นสถานะเหมาะสม และ ปฏิบัติตามคำสั่งพิเศษเพื่อได้รับพระคุณการุญ ศาลของสมเด็ จ พระสั น ตะปาปาเพื่ อ ชีวิตจิต มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตและการ ใช้พระคุณการุญ เพือ่ สนับสนุนสัตบุรษุ ให้เข้าใจ ถูกต้องเกี่ยวกับพระคุณการุญ และส่งเสริม ความตั้งใจศรัทธาเพื่อรับพระคุณการุญ หลัง จากได้ ป รึ ก ษากั บ สมณสภาเพื่ อ การส่ ง เสริ ม การประกาศพระวรสารแบบใหม่ ได้พิจารณา ข้อแนะนำด้านอภิบาลสำหรับปีแห่งความเชือ่ ของสมณกระทรวงเพื่อพระสัจธรรม ในเรื่อง การรับพระคุณการุญในปีแห่งความเชื่อ จึง ได้กำหนดแนวปฏิบัติต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับ เจตนาของสมเด็จพระสันตะปาปา เพื่อสนับ สนุ น ให้ สั ต บุ รุ ษ รู้ จั ก และรั ก ข้ อ ความเชื่ อ ของ พระศาสนจักรคาทอลิก และได้รบั ผลด้านชีวติ


ทัศน์ 70 ฉบัวารสารแสงธรรมปริ ับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2012/2555 จิตอย่างอุดม ตลอดปี แ ห่ ง ความเชื่ อ (11 ตุ ล าคม 2012 – 24 พฤศจิกายน 2013) สัตบุรุษ ทุกคนที่เป็นทุกข์จริงใจ โดยรับศีลอภัยบาป และศีลมหาสนิท อธิษฐานภาวนาตามเจตนา ของสมเด็จพระสันตะปาปา จะได้รับพระคุณ การุญครบบริบูรณ์ (Plenary Indulgence) เพื่อการชดเชยใช้โทษบาปของตนเอง อาศัย พระเมตตาของพระเจ้าและอุทิศแด่วิญญาณ ของผู้ล่วงลับ ก. ทุกครั้งที่ท่านฟังบทเทศน์อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือร่วมฟังการบรรยายอย่างน้อย 3 ครั้ง เกี่ยวกับการปฏิบัติตามสภาสังคายนาวา ติกันที่ 2 และเกี่ยวกับหนังสือคำสอนพระ ศาสนจักรคาทอลิก ในวัดหรือในสถานทีเ่ หมาะสม ข. ทุกครัง้ ทีท่ า่ นไปจาริกแสวงบุญมหา วิหารของสมเด็จพระสันตะปาปา กาตากอม คริสตชน (สุสานใต้ดิน) อาสนวิหาร สถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ พ ระสั ง ฆราชท้ อ งถิ่ น ได้ ก ำหนด สำหรับปีแห่งความเชือ่ (ตัวอย่างเช่น มหาวิหาร สักการสถานของพระนางพรหมจารีมารีย์ ของ อั ค รสาวก หรื อ นั ก บุ ญ องค์ อุ ป ถั ม ภ์ ) ร่ ว ม พิธีกรรม หรืออย่างน้อยมีช่วงเวลาไตร่ตรอง รำพึงนานพอสมควร และสวดบทข้าแต่พระ บิดาของข้าพเจ้าทัง้ หลาย บทยืนยันความเชือ่ วอนขอต่อพระนางพรหมจารีมารีย์ หรือแล้ว แต่ ก รณี ภาวนาต่ อ อั ค รสาวก หรื อ นั ก บุ ญ องค์อุปถัมภ์ ค. ทุกครั้งในวันที่พระสังฆราชท้องถิ่น

กำหนดสำหรับปีแห่งความเชื่อ (ตัวอย่างเช่น สมโภชพระเยซูเจ้า พระนางพรหมจารีมารีย์ วันฉลองอัครสาวก นักบุญองค์อุปถัมภ์ และ วันฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร) ในสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อท่านร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ อย่างสง่า หรือพิธีทำวัตร รวมทั้งประกาศ ยืนยันความเชื่อในบททางการแบบใดแบบหนึ่ง ง. วันใดวันหนึ่งในระหว่างปีแห่งความ เชื่อ ท่านเลือกอย่างเสรีไปเยี่ยมสถานที่โปรด ศี ล ล้ า งบาป หรื อ สถานที่ อื่ น ๆ ที่ ท่ า นได้ รับศีลล้างบาป ถ้าท่านรื้อฟื้นคำสัญญาแห่ง ศีลล้างบาปในบททางการแบบใดแบบหนึ่ง บรรดาพระสังฆราชประมุขของสังฆมณฑล ในวันที่เหมาะสมที่สุดในช่วงเวลานี้ ในโอกาส ฉลองสำคัญ (เช่น วันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ.2013 สมโภชพระเยซู เจ้ า กษั ต ริ ย์ แ ห่ ง สากลจั ก รวาล สิ้ น สุ ด ปี แ ห่ ง ความเชื่ อ ) จะ สามารถประทานพรของสมเด็จพระสันตะปาปา พร้อมกับพระคุณการุญครบบริบรู ณ์ แก่สตั บุรษุ ทุกคนที่ตั้งใจรับอย่างศรัทธา สัตบุรุษผู้เป็นทุกข์เสียใจในบาป แต่ไม่ สามารถร่วมฉลองได้เพราะเหตุผลต่างๆ (เช่น ชี ลั บ นั ก โทษ คนชรา ผู้ ป่ ว ย ผู้ อ ยู่ ใ น โรงพยาบาล หรือป่วยนาน) จะได้รบั พระคุณ การุ ญ ครบบริ บู ร ณ์ โ ดยปฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไข เดียวกัน หากร่วมใจกับสัตบุรุษอื่นในช่วงเวลา นั้นเป็นพิเศษ ฟังโอวาทของสมเด็จพระสันตะ ปาปา หรือ พระสังฆราช ทีถ่ า่ ยทอดทางโทรทัศน์ หรือวิทยุ ท่านสวดที่บ้าน หรือสถานที่ที่ท่าน


พระคุณการุญสำหรับปีแห่งความเชื่อ อยู่ (เช่น วัดน้อยในอาราม ในโรงพยาบาล ในทัณฑสถาน...) สวดบทข้าแต่พระบิดาของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย บทยืนยันความเชื่อ และ บทภาวนาอื่นๆ ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ ของปีแห่งความเชือ่ พร้อมกับถวายความทุกข์ หรือความยากลำบากในชีวิตของท่าน เพื่ อ รั บ ศี ล อภั ย บาป พระสั ง ฆราช ท้องถิ่นสามารถมอบอำนาจแก่บรรดาพระสงฆ์ ฟังสารภาพบาปในอาสนวิหาร หรือในวัดที่ กำหนดสำหรับปีแห่งความเชื่อ (CIC 508.1) พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปต้องสอนเตือนใจ สัตบุรุษถึงบาปหนักที่สงวน และกำหนดกิจใช้ โทษบาปที่เหมาะสม เพื่อช่วยสัตบุรุษเท่าที่ สามารถให้กลับใจจริง และตามธรรมชาติของ กรณี พระสงฆ์กำหนดกิจการใช้โทษของบาป ที่เสียหายและเป็นที่สะดุด

71

ที่สุด ศาลด้านชีวิตจิตขอร้องบรรดา พระสังฆราช เพราะท่านมีหน้าที่รับผิดชอบ 3 ประการ คือ เรื่องการสอน การอภิบาล และการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ให้เอาใจใส่อธิบาย หลักการและแนวปฏิบัติที่ได้เสนอมานี้อย่าง ชัดเจน เพื่อช่วยให้สัตบุรุษศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ในสภาพแวดล้ อ มของสถานที่ วั ฒ นธรรม และประเพณี การสอนคำสอนที่เหมาะสมแก่ ประชาชนแต่ละแห่ง จะช่วยสัตบุรุษให้เข้าใจ วิธีการชัดเจนและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น หยั่งรากลึก มั่นคงในหัวใจ ช่วยให้พวกเขาปรารถนารับ พระพร และได้ รั บ พระพรโดยอาศั ย การ ไตร่ตรองของพระศาสนจักร กฤษฎี ก านี้ มี ผ ลเฉพาะสำหรั บ ปี แ ห่ ง ความเชื่อเท่านั้น



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.