มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
1
หมวดพระสัจธรรม
ม ารีย์ มารดาพระเจ้ า มารดาแห่ ง ความเชื่ อ บาทหลวงวสันต์ พิรุฬห์วงศ์
พระนางพรหมจารี ม ารี ย์ เ ป็ น ผู้ ที่ มี บทบาทอย่างมากในชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน ในพระศาสนจักรคาทอลิกเอง ในตลอดทุกยุค ทุกสมัยทีผ่ า่ นมา ได้แสดงความเชือ่ และศรัทธา ต่อพระนางพรหมจารีมารีย์ผ่านทางการถวาย คารวะกิจด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆ ตาม รู ป แบบและวั ฒ นธรรมของแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น ที่ แตกต่ า งกั น ในทั่ ว ทุ ก มุ ม ของโลก และมี
การภาวนาและวิงวอนขอความช่วยเหลือจาก พระนางอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบนั ภาพของพระนางมารียจ์ งึ เป็นเหมือน ภาพที่ ฝั ง แน่ น อยู่ ใ นส่ ว นลึ ก ของจิ ต ใจของ คริสตชนทุกคน ซึ่งสาเหตุหรือเหตุผลหลักที่ ทำให้พระนางได้รับเกียรติอย่างสูงส่งนี้ มา จากความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นที่พระนางมี ต่อพระบุตรเยซู นั่นคือ การที่พระนางได้รับ
บาทหลวงสังกัดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (สติกมาติน) อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
2 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
เกียรติอย่างสูงส่งและสูงสุดเหนือมนุษย์คนใด จากพระเจ้า เลือกสรรพระนางให้เป็นมารดา ของพระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผูไ้ ถ่กโู้ ลก และ ตลอดชีวิตของพระนาง นับแต่วาระแรกของ การปฏิสนธิพระคริสตเจ้าในครรภ์อันบริสุทธิ์ ของพระนางไปจนถึ ง การสิ้ น พระชนม์ ข อง พระองค์ พระนางได้ เ ป็ น “คนแรก” ที่ มี ความเชื่อในพระคริสตเจ้าและอุทิศถวายความ เป็นอยู่ทั้งหมดของพระนางเพื่อพระคริสตเจ้า พระศาสนจั ก รจึ ง ให้ เ กี ย รติ ย กย่ อ งพระนาง ในฐานะเป็ น “มารดาแห่ ง ความเชื่ อ ” ของ คริสตชนทุกคน ความเป็น “มารดาของพระเจ้า” ของ พระนางพรหมจารีมารีย์ เป็นความเชื่อและ ศรัทธาทีพ่ ระศาสนจักรคาทอลิกยึดถือเสมอมา เช่นกัน เพราะในเมื่อพระเยซูเจ้า พระบุตร ของพระนาง นอกจากจะเป็ น มนุ ษ ย์ แ ท้ ที่ บังเกิดจากครรภ์ของพระนางเองแล้ว พระองค์ ยังทรงเป็นพระเป็นเจ้าแท้จริงด้วย ในฐานะที่ พระนางเป็นมารดาของพระบุตรเยซู พระนาง จึงทรงเป็นมารดาของพระเป็นเจ้าด้วย นี่เป็น หลั ก ความเชื่ อ ที่ ส ำคั ญ ประการหนึ่ ง ของ พระศาสนจักรคาทอลิกที่มีต่อพระนางพรหม จารีมารีย์ แต่ใช่ว่าความเชื่อเรื่องนี้จะได้รับ การยอมรับด้วยดีตลอดโดยปราศจากการโต้แย้ง
1
หมายถึงพวก Fundamentalists
เพราะแม้จนทุกวันนี้ คริสตชนที่ยึดถือหลัก ความเชื่อดั้งเดิม 1 ยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับว่า พระนางพรหมจารีมารียเ์ ป็นมารดาของพระเจ้า การปฏิเสธดังกล่าวนี้ สาเหตุไม่ใช่เพียงเพราะ พวกเขาไม่เข้าใจความหมายของ “คำเฉพาะ” ที่พระศาสนจักรคาทอลิกใช้เพื่อเรียกพระนาง พรหมจารี ม ารี ย์ นี้ เ ท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น เพราะ พวกเขาไม่เข้าใจสถานภาพของพระเยซูเจ้า ด้วยว่า พระองค์เป็นใครและได้ทรงทำอะไร ไว้เพื่อมนุษย์บ้าง 1. มารดาของพระเจ้า ผู้ ห ญิ ง ที่ ใ ห้ ชี วิ ต และเลื อ ดเนื้ อ มนุ ษ ย์ ในครรภ์และอุม้ ครรภ์ดว้ ยความรัก ทะนุถนอม และเอาใจใส่ จ นบุ ต รในครรภ์ ส ามารถ เกิ ด ลื ม ตาดู โ ลกได้ ถื อ เป็ น ผู้ ที่ เ หมาะสมและ คู่ ค วรกั บ การได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น “แม่ ” พระนาง พรหมจารี ม ารี ย์ ไ ด้ ก ระทำสิ่ ง ดั ง กล่ า วนี้ กั บ พระบุตรของพระนาง โดยพระนางได้ร่วมมือ กั บ “พระจิ ต ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ” ปฏิ ส นธิ ชี วิ ต และ เลื อ ดเนื้ อ มนุ ษ ย์ แ ก่ พ ระบุ ต รของพระเจ้ า ใน ครรภ์ของพระนาง และทรงทะนุถนอมดูแล ด้ ว ยความรั ก และเอาใจใส่ จ นพระบุ ต รเยซู ได้บังเกิดลืมตาดูโลก ร่างกายหรือธรรมชาติ มนุษย์ของพระบุตรเยซูจงึ มีทม่ี าจากพระมารดา
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
มารียน์ ้ี ไม่ใช่จากนักบุญโยเซฟ ส่วนธรรมชาติ พระเจ้าของพระบุตรเยซูนั้นมีต้นกำเนิดจาก องค์พระจิตศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นองค์พระจิต ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ ที่ บั น ดาลให้ พ ระนางปฏิ ส นธิ องค์พระบุตรในครรภ์ พระบุตรเยซูจึงทรงมี ทั้ ง สองธรรมชาติ คื อ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ แ ท้ และธรรมชาติพระเจ้าแท้ และในเมื่อพระนาง มารี ย์ ท รงเป็ น มารดาแท้ ข องพระบุ ต รเยซู เราจึงไม่สามารถสรุปเป็นอื่นได้ นอกจากการ ยอมรับและยกย่องว่าพระนางพรหมจารีมารีย์ ทรงเป็น “มารดาของพระเจ้า” ด้วย แม้ พ ระนางมารี ย์ จ ะเป็ น มารดาของ พระเจ้ า แต่ พ ระนางก็ มิ ไ ด้ เ ป็ น มารดาของ พระองค์ ใ นความหมายที่ว่าพระนางแก่กว่า
3
(มี อ ยู่ ก่ อ น) พระเจ้ า หรื อ เป็ น แหล่ ง กำเนิ ด ความเป็นพระเจ้าของพระบุตรเยซู พระนาง ไม่ได้เป็นในทั้งสองความหมายนี้ แต่พระนาง เป็ น มารดาของพระเจ้ า ในความหมายที่ ว่ า พระนางเป็นผู้ท่ไี ด้ “อุ้ม” บุคคลที่เป็นพระเจ้า หรือ “อุม้ ” พระเจ้าที่ “ทรงรับธรรมชาติมนุษย์” (ยน1:14;2ยน7) ไว้ ใ นครรภ์ ข องพระนาง และเป็นพระนางที่เป็น “ผู้ให้” ธรรมชาติหรือ ร่างกายมนุษย์แก่พระเจ้าที่เสด็จมาบังเกิดเป็น มนุษย์ในบุคคลที่ชื่อ “เยซูคริสตเจ้า” 1.1 การโต้แย้ง เพือ่ จะหลีกเลีย่ งการได้ขอ้ สรุปดังกล่าวนี้ คริ ส ตชนที่ ถื อ หลั ก ความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม จึ ง ได้ พยายามยืนยันว่าพระนางมารีย์ไม่ได้อุ้มครรภ์ พระเจ้าไว้ เป็นแต่เพียงผูอ้ มุ้ “ธรรมชาติมนุษย์” ของพระคริสตเจ้าไว้เท่านั้น การยืนยันเช่นนี้ เป็ น การนำคำสอนนอกรี ต เดิ ม ที่ มี อ ยู่ ใ นราว ศตวรรษที่ 5 กลับมาดัดแปลงใหม่ โดยในสมัย นั้น พวกถือลัทธินิยมของเนสโตรีอุสสอนว่า พระนางมารียไ์ ม่ได้เป็นผูอ้ มุ้ “ธรรมชาติมนุษย์” ของบุตรของพระนางไว้ในครรภ์ แต่พระนาง ทรงอุ้ ม “บุ ค คล” ของบุ ต รของพระนางไว้ เพราะตามความเชื่ อ ของลั ท ธิ นี้ ผู้ ห ญิ ง ไม่ สามารถให้กำเนิดธรรมชาติมนุษย์ได้ สิ่งที่ให้ กำเนิ ด ได้ คื อ “บุ ค คล” มากกว่ า ดั ง นั้ น พระนางมารีย์จึงเป็นผู้อุ้มครรภ์และให้กำเนิด “บุคคล” ของพระเยซูคริสตเจ้า และ “บุคคล” ทีพ่ ระนางให้กำเนิดนัน้ คือ “พระเจ้า” การอ้าง
4 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
เช่นนี้ของเนสโตรีอุส เป็นการนำไปสู่การแยก ธรรมชาติพระเจ้าของพระเยซูคริสตเจ้าออก จากธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ในเวลาต่อมา ซึ่ ง เท่ า กั บ เป็ น การทำให้ พ ระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า มี สองบุคคลที่แตกต่างกันและแยกออกจากกัน คือ พระบุคคลพระเจ้ากับบุคคลมนุษย์ ดั ง นี้ เราจึ ง พอมองเห็ น ว่ า ปั ญ หา การยอมรั บ ความเป็ น มารดาพระเจ้ า ของ พระนางมารี ย์ เ ป็ น ปั ญ หาทางคริ ส ตศาสตร์ มากกว่า ซึ่งพวกปฏิรูปโปรเตสแตนต์ในสมัย ต่อมาอย่างมาร์ตนิ ลูเธอร์ และจอห์น คาลวิน ต่างก็ยอมรับในความเป็นมารดาของพระเจ้า ของพระนางมารีย์ และแม้แต่พวกถือลัทธินยิ ม ของเนสโตรีอุสที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ก็ยอมรับ ในความเป็นมารดาพระเจ้าของพระนางมารีย์ เหมือนกับคริสตชนในนิกายอืน่ ๆ ความพยายาม ของคริ ส ตชนที่ ถื อ หลั ก ความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม จึ ง ดู เหมือนจะไม่คอ่ ยได้รบั การตอบรับจากคริสตชน ส่วนใหญ่เท่าไรนัก 1.2 การยื น ยั น ของปิ ต าจารย์ แ ละ คำสอนของพระศาสนจักร เนื่องจากการปฏิเสธความเป็นมารดา พระเจ้าของพระนางพรหมจารีมารีย์มีสาเหตุ มาจากความสงสัยในความเป็นพระเจ้าแท้ของ พระเยซูคริสตเจ้า ไม่ใช่มสี าเหตุมาจากพระนาง มารีย์เอง จึงมีความชัดเจนนับแต่สมัยแรกๆ 2
Irenaeus, Against Heresies, 5:19:1 (A.D. 189).
และเรื่ อ ยมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น ว่ า ทำไมบรรดา คริ ส ตชนจึ ง พร้ อ มเพี ย งกั น ประกาศยกย่ อ ง พระนางพรหมจารี ม ารี ย์ ว่ า เป็ น มารดาของ พระเจ้า ซึง่ แน่นอนว่า บรรดาปิตาจารย์ตา่ งๆ ของพระศาสนจักรต่างเห็นด้วยและได้แสดง ท่าทีสนับสนุนความเชื่อนี้อย่างชัดเจน และ มองเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ว่าเป็นพระคุณยิ่งใหญ่ ทีพ่ ระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ผา่ นทางพระนาง พรหมจารีมารีย์ ข้ารับใช้ผตู้ ำ่ ต้อยของพระเจ้า ตัวอย่างเช่น นักบุญอีเรเนอุส ได้เขียนตอบโต้ คำสอนนอกรีตว่า “พระนางพรหมจารีมารีย์ ในความนบนอบเชื่ อ ฟั ง ต่ อ พระวจนาตถ์ พระนางได้ น้ อ มรั บ สารจากทู ต สวรรค์ ที่ ใ ห้ พระนางเป็ น ผู้ ใ ห้ ก ำเนิ ด พระเจ้ า ” 2 ในการ
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
บรรยายหลักคำสอนของพระศาสนจักร นักบุญ ซีรีลแห่งเยรูซาเล็มก็ได้กล่าวถึงประจักษ์พยาน ความเชื่ อ ในเรื่ อ งนี้ ว่ า “พระบิ ด าทรงเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานจากสวรรค์ ใ ห้ พ ระบุ ต รของ พระองค์ พระจิตศักดิ์สิทธิ์ทรงเป็นประจักษ์ พยานผ่านทางการเสด็จลงมาในรูปนกพิราบ อัครทูตสวรรค์คาเบรียลก็เป็นประจักษ์พยาน โดยนำสารมาแจ้ ง แก่ พ ระนางมารี ย์ และ พระนางพรหมจารี ม ารดาพระเจ้ า ก็ ไ ด้ เ ป็ น ประจักษ์พยานด้วย”3 ในคำอธิบายเรื่องการ บังเกิดขององค์พระวจนาตถ์ นักบุญอาทานาซีอสุ กล่าวว่า “องค์พระวจนาตถ์ทรงบังเกิดจาก พระบิดาจากเบื้องบน ในลักษณะที่อยู่เหนือ ถ้อยคำใดๆ เหนือคำอธิบายใดๆ เหนือความ เข้าใจใดๆ และอย่างนิรันดร พระองค์คือผู้ที่ ได้ทรงบังเกิดในกาลเวลาของโลกนี้ จากพระนาง พรหมจารีมารีย์ พระมารดาของพระเจ้า”4 และในจดหมายทีน่ กั บุญเกรโกรีแห่งนาซีอนั ซุส เขียนถึงเครโดนีอสุ ท่านก็ได้แสดงถึงความเชือ่ อันมั่นคงของท่านในเรื่องนี้จนถึงกับกล่าวว่า “ใครที่ไม่เห็นด้วยว่าพระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นพระมารดาของพระเจ้า ให้ถือว่าเป็น ผู้ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายพระเจ้า”5
สำหรับนักบุญซีรีลแห่งอเล็กซานเดรีย ในจดหมายที่เขียนถึงบรรดานักพรตในอียิปต์ ท่านได้แสดงความประหลาดใจอย่างมากที่ยัง มีคนสงสัยในเรื่องนี้ ท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้า แปลกใจมากที่ บ างคนยั ง สงสั ย ในความเป็ น มารดาพระเจ้าของพระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าหากพระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า ของเรา ทรงเป็นพระเจ้า แล้วพระนางพรหมจารี ผู้ศักดิ์สิทธิ์ผ้ใู ห้กำเนิดพระองค์จะไม่เป็นมารดา ของพระเจ้าได้อย่างไร?”6 และในจดหมายที่ เขียนถึงเนสโตริอุส ท่านก็กล่าวยืนยันถึงเรื่อง นี้ ด้ ว ยว่ า “เนื่ อ งจากพระนางพรหมจารี ผู้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ท รงให้ ก ำเนิ ด พระเจ้ า ในร่ า งกาย มนุษย์ ดังนี้ เราจึงเรียกพระนางว่าพระมารดา พ ร ะ เจ้ า . . . แ ล ะ ใ ค ร ที่ ไ ม่ ป ร ะ ก า ศ ว่ า องค์เอมมานูเอลทรงเป็นพระเจ้าแท้จริง และ ดังนี้ พระนางพรหมจารีผู้ศักดิ์สิทธิ์จึงทรงเป็น พระมารดาของพระเจ้า เช่นเดียวกับใครที่ไม่ ประกาศว่ า พระนางทรงให้ ก ำเนิ ด องค์ พระวจนาถต์ ข องพระเจ้ า ในร่ า งกายมนุ ษ ย์ (ยน1:14) ผู้ นั้ น จะต้ อ งถู ก ขั บ ออกจาก พระศาสนจักร”7
Cyril of Jerusalem, Catechetical Lectures 10:19 (A.D. 350). Athanasius, The Incarnation of the Word of God 8 (A.D. 365). 5 Gregory of Nazianzus, Letter to Cledonius the Priest 101 (A.D. 382). 6 Cyril of Alexandria, Letter to the Monks of Egypt 1 (A.D. 427). 3 4
7
Cyril of Alexandria, Third Letter to Nestorius (A.D. 430).
5
6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ในทีส่ ดุ พระสังคายนาแห่งเอเฟซัสก็ได้ ประกาศเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า “เราประกาศ ยืนยันว่า พระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ของเรา พระบุ ต รองค์ เ ดี ย วของพระเจ้ า พระเจ้ า แท้ แ ละมนุ ษ ย์ แ ท้ ประกอบด้ ว ย วิญญาณและร่างกาย ทรงบังเกิดจากพระเจ้า พระบิดาก่อนกาลเวลา และในที่สุด เพื่อเรา และเพือ่ ความรอดของเรา พระองค์ทรงบังเกิด เป็นมนุษย์จากพระนางพรหมจารีมารีย์ แต่ ยังทรงมีพระสาระความเป็นพระเจ้าเดียวกับ พระเจ้าพระบิดา และทรงมีธรรมชาติมนุษย์ เหมือนเรา ในพระองค์จึงมีสองธรรมชาติที่ เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงประกาศ ว่ า พระนางพรหมจารี ผู้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ท รงเป็ น พระมารดาของพระเจ้ า เพราะพระเจ้ า พระวจนาตถ์ ทรงมารับธรรมชาติเนื้อหนัง และเป็ น มนุ ษ ย์ เ หมื อ นเรา” 8 ดั ง นี้ คำสอน ของพระศาสนจักรคาทอลิกในปัจจุบันจึงได้ ประกาศอย่างมัน่ ใจว่า พระนางพรหมจารีมารีย์ “เป็นที่ยอมรับและเป็นที่เคารพในฐานะเป็น พระมารดาที่แท้จริงของพระเจ้าและพระผู้ไถ่9 เหตุเพราะว่า “ในเชื้อสายของเอวา พระเจ้า ได้ทรงเลือกพระนางพรหมจารีมารีย์ เพื่อให้ เป็นพระมารดาของพระบุตรของพระองค์”10
ดังนี้ “ผู้ที่พระนางเป็นผู้ให้กำเนิดเป็นมนุษย์ ด้วยพระอานุภาพของพระจิต และได้กลาย มาเป็นบุตรของพระนางอย่างแท้จริงทางเลือด เนือ้ เชือ้ ไขนัน้ จึงมิใช่ใครอืน่ นอกจากพระบุตร นิรันดรแห่งพระบิดา พระบุคคลที่สองแห่ง พระตรีเอกภาพ พระศาสนจักรจึงยืนยันว่า พระนางมารี ย์ คื อ มารดาของพระเจ้ า อย่ า ง แท้จริง”11 2. มารดาแห่งความเชื่อ ความเชือ่ เป็นทัศนคติพน้ื ฐานของคริสตชน ทุ ก คน เมื่ อ พระคริ ส ตเจ้ า ทรงเรี ย กบางคน ให้มาเป็นศิษย์ติดตามพระองค์ พระองค์ทรง เรียกร้องความเชื่อจากพวกเขาในการยอมรับ ความเสี่ยงทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นจากการติดตาม พระองค์ ด้ ว ยความเต็ ม ใจด้ ว ย ในฐานะที่ คริ ส ตชนเป็ น ศิ ษ ย์ ติ ด ตามพระคริ ส ตเจ้ า คริสตชนจึงต้องหล่อเลี้ยงความเชื่อของตัวเอง ทุ ก ๆ วั น เพื่ อ ความเชื่ อ นั้ น จะได้ เ ติ บ โต ก้าวหน้าและเป็นแสงสว่างนำทางชีวิตของตน ให้ติดตามพระคริสตเจ้าได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ เ พื่ อ จะดำเนิ น ชี วิ ต ในความเชื่ อ และสามารถพัฒนาความเชื่อนี้ได้ คริสตชน ไม่ ส ามารถละเลยหรื อ มองข้ า มการหั น กลั บ
Council of Ephesus, Formula of Union (A.D. 431). คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 1: การประกาศยืนยันความเชื่อ, แผนกคำสอนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 1997, ข้อ 963. 10 อ้างซ้ำ, ข้อ 508. 11 อ้างซ้ำ, ข้อ 495. 8 9
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
ไปมองผู้ ห นึ่ ง ซึ่ ง ถื อ ได้ ว่ า เป็ น “คนแรก” ที่ มี ค วามเชื่ อ ในพระคริ ส ตเจ้ า และอุ ทิ ศ ถวาย ความเป็นอยู่ทั้งหมดของตนเพื่อพระคริสตเจ้า ได้ คนผู้ นั้ น คื อ “พระนางพรหมจารี ม ารี ย์ พระมารดาของพระเจ้ า ” เพราะความเชื่ อ ของพระนางไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มีการ พัฒนาและเติบโตอยู่ตลอดเวลา การกลับไป พิจารณาและไตร่ตรองความเชื่อในชีวิตของ พระนางพรหมจารีมารีย์ จึงเป็นสิ่งที่ให้คุณค่า อย่างยิง่ ต่อการรูจ้ กั การพัฒนาและการเติบโต ก้าวหน้าของความเชื่อของเราคริสตชน 2.1 ความเชือ่ และการพัฒนาความเชือ่ 2.1.1 ความเชื่อที่บริสุทธิ์ใจ ในเหตุ ก ารณ์ ค รั้ ง ที่ ทู ต สวรรค์ น ำสาร มาแจ้งแก่พระนางพรหมจารีมารีย์ พระนาง ทู ล ถามทู ต สวรรค์ ว่ า “เหตุ ก ารณ์ นี้ จ ะเป็ น ไปได้อย่างไร เพราะข้าพเจ้าต้องการจะเป็น พรหมจารี” (ลก1:34) จากคำถามนี้ แสดง ว่าพระนางมารีย์ “ตัง้ ใจ” ทีจ่ ะดำเนินชีวติ เป็น พรหมจารี แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับการ ตีความเช่นนี้ แม้แต่นักเทววิทยาพระคัมภีร์ เองบางคนยั ง คงลั ง เลใจที่ จ ะยื น ยั น ถึ ง ความ ตัง้ ใจเช่นนีข้ องพระนาง เพราะในความเป็นจริง แล้ว สังคมชาวยิวในสมัยนั้นยังไม่มีความคิด เรื่องการเป็นพรหมจารี ในกรณีของพระนาง มารียซ์ ง่ึ ถือเป็นกรณีเดียวทีเ่ กิดขึน้ จึงเป็นสิง่ ที่ น่าพิศวงอย่างมากที่พระนางแสดงความตั้งใจ ออกมาเช่นนั้น ทั้งๆ ที่พระนางเองก็ได้หมั้น
7
กับชายคนหนึ่งไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ตาม การเล่าของนักบุญลูกานี้ พระนางมารีย์ก็ได้ แสดงความตัง้ ใจนีอ้ อกมาว่าพระนางต้องการจะ ดำเนินชีวติ เป็นพรหมจารี แม้พระนางจะกล่าว ด้วยคำพูดสั้นๆ ว่า “ข้าพเจ้าต้องการจะเป็น พรหมจารี” แต่เราก็พอจะเข้าใจได้ถึงสถานะ ที่เป็นอยู่ในขณะนั้นว่า พระนางคงตั้งใจและ มุ่งมั่นที่จะเดินไปในทางนั้นจริงๆ พระนางจึง มองว่านี่เป็นอุปสรรคประการหนึ่งสำหรับการ รับเป็นมารดาของพระบุตรของพระเจ้า ในกรณี ข องพระนางมารี ย์ นี้ คงไม่ มี ใครกล้าปฏิเสธว่า ความตั้งใจเป็นพรหมจารี ของพระนางมาจากพระหรรษทานพิ เ ศษที่ พระเจ้าประทานให้แก่พระนางก่อนหน้านี้แล้ว เพราะศาสนาของชาวยิวในยุคนั้นยังไม่ได้ให้
8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ความสนใจรูปแบบชีวิตพรหมจารี ด้วยเหตุนี้ พระนางจึงมุ่งมั่นที่จะเดินตามอุดมคติการเป็น พรหมจารี แต่ในเวลาเดียวกัน การดลใจของ พระเจ้าก็ได้ผลักดันพระนางให้เดินในหนทาง สู่การวิวาห์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมทางให้ พระเยซูเจ้าเกิดในบรรยากาศของครอบครัว เพื่อจะได้สามารถตระเตรียมและพัฒนาชีวิต วัยเด็กของพระองค์ให้เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป ในการที่พระนางตัดสินใจที่จะดำเนินชีวิตถือ พรหมจารีนั้น การตัดสินใจนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ แน่ หากไม่ใช่ดว้ ยจิตใจที่ “ร้อนรนในความเชือ่ ” และการมี “ความเชื่ อ ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ใ จ” ของ พระนาง เพราะการเป็ น พรหมจารี เ ท่ า กั บ เป็ น การละทิ้ ง ชีวิตครอบครัวที่สวยงามและ
เป็นความหวังของหญิงสาวชาวยิวทุกคน แต่ พระนางก็ได้ตัดสินใจเลือกพระเจ้าด้วยความ ไว้วางใจอย่างยิ่งเพื่อหวังจะได้สิ่งอื่นที่สวยงาม กว่ า ชี วิ ต ครอบครั ว ตามแบบของโลก การ ตั ด สิ น ใจของพระนางจึ ง แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง “ความกล้าหาญ” อย่างยิ่งที่จะเดินในทางที่ ชาวอิสราเอลไม่ได้ให้ความสนใจหรือให้คุณค่า อะไรนัก ความกล้าหาญนี้เป็นเหมือน “แสง” ที่ส่องสว่างจากเบื้องบน เป็นพระหรรษทาน ของพระเจ้าทีห่ ลัง่ ลงมายังเธอ พระนางจึงรูว้ า่ จะต้ อ งตอบคำเชื้ อ เชิ ญ ของพระเจ้ า อย่ า งไร และพระนางก็รอ้ นรนแสดงให้ทตู สวรรค์เห็นถึง สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อแผนการของพระเจ้านี้ พระนางมารีย์จึงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด สำหรั บ เราคริ ส ตชนที่ เ ป็ น ศิ ษ ย์ ติ ด ตาม พระคริสตเจ้า ตามสถานะและรูปแบบชีวิตที่ เราเป็นอยูใ่ นปัจจุบนั การกระทำของพระนาง แสดงให้เห็นถึงการมี “ความเชื่อที่บริสุทธิ์ใจ” อย่างแท้จริง ไม่ได้มสี ง่ิ อืน่ เจือปนเลย พระนาง เดินตามเส้นทางที่พระเจ้าเสนอให้ด้วยความรู้ ตัวและเต็มใจ ไม่เคยยกตนข่มใคร และไม่ เคยอวดอ้างตนว่าอยูเ่ หนือคนอืน่ เลย พระนาง ได้ยอมสละละทิ้งชีวิตความมั่นคงฝ่ายโลกทั้ง หมดไว้ข้างหลัง และมอบสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตไว้ในพระหัตถ์พระเจ้าด้วยความเชื่อ อย่างสุภาพและบริสุทธิ์ใจ และพระนางมารีย์ ก็เชิญชวนเราคริสตชนทุกคนด้วย ไม่ว่าจะ เป็นใครก็ตาม มีสถานภาพหรือมีอาชีพอะไร
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
ก็ตาม ให้มีความเชื่ออย่างสุภาพและบริสุทธิ์ ใจในพระเจ้ า เหมื อ นอย่ า งพระนาง เพราะ ความเชื่อเช่นนี้จะช่วยเราคริสตชนให้มั่นคงอยู่ ในหนทางที่เรากำลังเดินอยู่ได้ เพราะลำพัง เพียงพละกำลังของเรามนุษย์นน้ั เราไม่สามารถ บรรลุถึงอุดมคติของชีวิตการเป็นคริสตชนของ เราได้เลย 2.1.2 ความเชื่ อ ในพระวาจาของ พระเจ้า พระวรสารของนักบุญลูกาเล่าต่อไปว่า หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ได้รีบออก เดิ น ทางไปเยี่ ย มนางเอลี ซ าเบธ ญาติ ข อง พระนาง ซึ่งได้ตั้งครรภ์ได้หกเดือนแล้ว และ ทั น ที ที่ ไ ด้ ยิ น คำทั ก ทายจากพระนางมารี ย์ นางเอลีซาเบธก็ร้องเสียงดังว่า “เธอเป็นสุขที่ เชื่อว่าพระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็น จริง” (ลก1:45) ถ้อยคำของนางเอลีซาเบธ นี้ ดึ ง ดู ด ความสนใจของเราอย่ า งยิ่ ง เกี่ ย วกั บ “ความสำคั ญ ของความเชื่ อ ” ของพระนาง มารีย์ ในเหตุการณ์ขณะที่ทูตสวรรค์แจ้งสาร นั้น พระนางมารีย์ “ได้เชื่อ” ในพระวาจา ของพระเจ้ า ที่ ต รั ส ผ่ า นทางทู ต สวรรค์ ทั น ที และเป็นความเชื่อนี้เองที่ทำให้พระวาจาของ พระเจ้านั้นสำเร็จเป็นจริง ตามการเล่าของ นักบุญลูกา นางเอลีซาเบธรู้สึกชื่นชมอย่าง มากในความเชื่ อ ของพระนางมารี ย์ ทั้ ง นี้ เพราะนางได้เห็นแล้วถึงผลของการขาดความ
9
เชื่อของเศคาริยาห์ สามีของนาง ที่ไม่เชื่อ ในสิ่งที่ทูตสวรรค์แจ้งให้ทราบ โดยมีเหตุมา จากการอ้างถึงข้อจำกัดของมนุษย์ คือ เรื่อง อายุที่ชรามากแล้วของตนเองและของภรรยา แต่ พ ระนางมารี ย์ ส ามารถเอาชนะอุ ป สรรค ฝ่ายมนุษย์ของพระนางเองได้ คือ ความตัง้ ใจ ที่ จ ะเป็ น พรหมจารี ซึ่ ง เป็ น อุ ป สรรคที่ ใ หญ่ กว่าอุปสรรคของเศคาริยาห์เสียอีก เพราะ ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่ามีตัวอย่างให้เห็น หลายกรณีทพ่ี ระเจ้าทรงเข้ามาในประวัตศิ าสตร์ มนุษย์และทำให้หญิงที่เป็นหมันกลับมีบุตรได้ เศคาริ ย าห์ น่ า จะรู้ แ ละเข้ า ใจเรื่ อ งนี้ แต่ เขา กลับไม่เชื่อ ตรงกันข้ามกับกรณีของพระนาง มารีย์ ในพันธสัญญาเก่าไม่เคยมีตัวอย่างให้ เห็ น เลยว่ า หญิ ง ที่ ยั ง เป็ น พรหมจารี อ ยู่ จ ะ กลายเป็นมารดาได้โดยยังคงรักษาความเป็น พรหมจารี อ ยู่ แต่ พ ระนางมารี ย์ “ไม่ ไ ด้ ” ลั ง เลใจที่ จ ะเชื่ อ เหตุ ก ารณ์ ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น นี้ เ ลย พระนางไม่ได้ลังเลใจหรือสงสัยเลยที่จะรับเป็น มารดาภายใต้การดลบันดาลของพระจิตเจ้า โดยที่ยังคงรักษาความเป็นพรหมจารีของตน ไว้ ไ ด้ อ ยู่ พระนางมารี ย์ ไ ด้ เชื่ อ แม้ ใ นสิ่ ง ที่ ดู เหมือน “เป็นไปไม่ได้” ทั้งนี้ เพราะพระนาง เชื่อมั่นและวางใจในคำยืนยันของทูตสวรรค์ที่ ว่ า “ไม่ มี สิ่ ง ใดที่ พ ระเจ้ า ทรงกระทำไม่ ไ ด้ ” (ลก1:37) ปัญหาของเศคาริยาห์อยูท่ ก่ี ารปักใจ เชื่อแต่ในข้อจำกัดของมนุษย์ ส่วนพระนาง มารี ย์ ม องผ่ า นข้ อ จำกั ด นี้ ไ ป โดยวางใจใน
10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ฤทธานุภาพและพระประสงค์ของพระเจ้าที่ ทรงเปิดเผยแก่พระนางผ่านทางสารทีท่ ตู สวรรค์ นำมาแจ้ง กล่าวคือ พระนางเชื่อว่าองค์พระ ผู้เป็นเจ้าทรงกระทำได้ทุกสิ่งตามที่พระองค์ ตรัสไว้ ความกล้าหาญของพระนางมารีย์ที่ ยอมเชื่อเช่นนี้ ซึ่งได้เคยแสดงออกมาแล้วใน ความตั้งใจที่จะดำเนินชีวิตเป็นพรหมจารี จึง เป็นการยืนยันถึงตัวพระนางเองว่า พระนาง พร้อมทีจ่ ะน้อมรับแผนการทุกอย่างของพระเจ้า ที่ได้เปิดเผยให้เธอรู้ ความเชื่ อ จึ ง เป็ น ความร่ ว มมื อ ที่ มี ประสิ ท ธิ ผ ลที่ จ ะทำให้ แ ผนการของพระเจ้ า กลายเป็นจริงได้ จริงอยู่ว่า พระเจ้านั้นทรง สรรพานุ ภ าพ พระองค์ ส ามารถทำในสิ่ ง ที่ พระองค์ ต รั ส ได้ ด้ ว ยพระองค์ เ พี ย งลำพั ง แต่พระองค์ไม่ประสงค์ทำเช่นนั้น พระองค์ ต้องการให้มนุษย์ “ร่วมมือ” กับพระองค์ด้วย เพื่อทำให้แผนการของพระองค์สำเร็จไป และ ความร่วมมือแรกที่พระองค์เรียกร้องจากเรา ก็คือการมี “ความเชื่อที่มั่นคง” นั่นเอง ด้วย เพราะเชื่ อ ในสารที่ ทู ต สวรรค์ แจ้ ง ให้ ท ราบ พระนางมารีย์ก็ได้ให้ความร่วมมือกับแผนการ ของพระเจ้าทันที นัน่ คือ รับปฏิสนธิพระบุตร พระเจ้ า ในครรภ์ ข องพระนาง จากนั้ น พระนางก็ ร่ ว มในแผนการทุ ก อย่ า งเกี่ ย วกั บ ชะตากรรมของพระแมสซียาห์ พระบุตรของ พระนาง รวมถึงพันธกิจการไถ่กู้ขององค์พระ ผู้ช่วยให้รอดพ้นด้วย
ในเวลาเดียวกัน ความเชือ่ ของพระนาง มารีย์ที่มีต่อพระวาจาของพระเจ้าซึ่งมีมาถึง พระนางผ่ า นทางทู ต สวรรค์ นั้ น ก็ เ ป็ น “ความเชื่ อ ในพระวาจา” ที่ ม าบั ง เกิ ด เป็ น มนุษย์ด้วย ซึ่งก็คือ “ความเชื่อในองค์พระ คริสตเจ้า” เพราะพระคริสตเจ้าคือองค์พระ วจนาตถ์ ข องพระเจ้ า ที่ ม าเกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ ดั ง นั้ น ความเชื่ อ ในพระวาจาของพระเจ้ า ก็คือความเชื่อในพระคริสตเจ้า นั่นเอง พระนางพรหมจารีมารียจ์ งึ เป็น “คนแรก” ทีไ่ ด้เชือ่ ในพระคริสตเจ้า พระผูช้ ว่ ยให้รอดพ้น ของมนุ ษ ยโลก และพระนางก็ เชิ ญ ชวนเรา คริสตชนให้ตอบรับการเรียกของพระคริสตเจ้า ด้วยความเชื่อด้วยเช่นกัน โดยให้สายตาเรา จับจ้องอยู่ที่ฤทธานุภาพและพระประสงค์ของ
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
พระองค์ ตัวอย่างของเศคาริยาห์ได้แสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การจับจ้องสายตา มองแค่ตัวเองและอุปสรรคต่างๆ ฝ่ายมนุษย์ นำไปสู่ความผิดพลาดอย่างไร แต่การกระทำ ของพระนางมารีย์นั้นตรงกันข้าม สายตาของ พระนางจั บ จ้ อ งอยู่ ที่ ฤ ทธานุ ภ าพและ พระประสงค์ของพระเจ้า พระนางจึงเชื่อใน สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในสายตาของมนุษย์ แบบ อย่างของพระนางมารีย์นี้ จึงให้กำลังใจอย่าง มากแก่คนที่พระเจ้าทรงเรียกมาให้เชื่อในสิ่งที่ เรามองว่ า ไม่ อ าจเป็ น ไปได้ และพระนางก็ พร้ อ มจะช่ ว ยเหลื อ เขาให้ ส ามารถเอาชนะ อุปสรรคและความหวาดกลัวต่างๆ ฝ่ายมนุษย์ เพื่ อ ให้ เ ขาจะได้ มี ค วามเชื่ อ ที่ มั่ น คงใน พระคริสตเจ้า 2.1.3 ความเชื่อต้องมีการพัฒนา บางคนอาจคิดว่า พระนางมารีย์ได้รับ การส่ อ งสว่ า งภายในจนเข้ า ใจเรื่ อ งของ พระเยซู เจ้ า ทั้ ง หมด โดยที่ พ ระนางไม่ ต้ อ ง ออกแรงอะไรจากส่วนธรรมชาติการเป็นมนุษย์ ของพระนางเลย ถ้าหากเป็นเช่นนีจ้ ริง แสดง ว่าตลอดชีวิตของพระนางมารีย์ พระนางไม่ เคยมีประสบการณ์ความมืดมนในเรื่องความ เชื่อเลย แต่พระวรสารได้ให้ข้อมูลพอสมควร ที่แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อของพระนางมารีย์ นั้นก็เหมือนกับของเรามนุษย์ทุกคน กล่าวคือ ในบางครั้ ง ความเชื่ อ ของพระนางก็ พ บกั บ ความมืดมนด้วยเหมือนกัน เพียงแต่พระนาง
11
“ไม่เคย” หยุดนิง่ อยูก่ บั ที่ แต่ได้พยายามอย่าง สุดกำลังเพื่อ “แสวงหา” ความเข้าใจในสิ่งที่ พระนางเชื่ออยู่แล้วเสมอ นักบุญลูกาได้ให้ ข้อมูลทีเ่ หมาะสมอย่างยิง่ แก่เราในการไตร่ตรอง ถึงเรื่องนี้ว่า ทั้งพระนางมารีย์และนักบุญโยเซฟ “ไม่ ไ ด้ ” เข้ า ใจเรื่ อ งราวทั้ ง หมดว่ า การที่ พระกุมารประกาศในพระวิหารถึงความจำเป็น ในการประกอบพระพั น ธกิ จ ของพระองค์ ขณะเมื่ อ พระองค์ ท รงมี อ ายุ แ ค่ สิ บ สองปี นั้ น หมายความว่าอย่างไร (ลก2:42-50) พร้อม กับการยืนยันว่าพระองค์ต้องอยู่ในบ้านของ พระบิ ด าของพระองค์ นั้ น พระเยซู เจ้ า ทรง ต้ อ งการเผยความเร้ น ลั บ ที่ ซ่ อ นเร้ น อยู่ ใ น พระบุคคลของพระองค์ให้มารดาของพระองค์ ได้รู้ เป็นความเร้นลับที่มารดาของพระองค์ ไม่เคยรู้มาก่อน ทูตสวรรค์เองก็ไม่ได้เปิดเผย ให้เธอรู้ในครั้งเมื่อนำสารมาแจ้งแก่พระนาง พระเยซูเจ้าจึงใช้โอกาสนี้เปิดเผยให้พระนางรู้ ความเร้นลับนี้ว่าพระองค์คือพระบุตรพระเจ้า แห่งสวรรค์ ในเหตุการณ์ครั้งที่ทูตสวรรค์แจ้งสาร ให้พระนางมารียร์ บั เป็นมารดาของพระเยซูเจ้า นั้น ทูตสวรรค์ไม่ได้เปิดเผยให้พระนางรู้ทุก เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ของพระกุ ม ารเยซู ซึ่ ง ไม่ เพียงแต่ไม่ได้เปิดเผยให้รู้เกี่ยวกับการพลีชีพ บู ช าขององค์ พ ระผู้ ช่ ว ยให้ ร อดพ้ น นี้ เ ท่ า นั้ น แม้แต่อตั ลักษณ์สว่ นพระบุคคลของพระเยซูเจ้า เองทู ต สวรรค์ ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ปิ ด เผยให้ พ ระนางรู้
12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ทั้งหมด การที่ทูตสวรรค์กล่าวถึงพระกุมาร ในฐานะเป็ น ผู้ ที่ ถู ก กำหนดไว้ ว่ า จะได้ ชื่ อ ว่ า “บุตรของพระเจ้าสูงสุด” ซึ่งเป็นชื่อสำหรับ ผู้ที่จะมาครอบครองบัลลังก์ของกษัตริย์ดาวิด ซึ่ ง หมายถึ ง พระแมสซี ย าห์ นั้ น และการที่ พระกุ ม ารจะต้ อ งได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น “พระบุ ต ร พระเจ้า”12 เพราะพระองค์ทรงปฏิสนธิดว้ ยเดชะ พระจิ ต เจ้ า (ลก1:32-35) รวมถึ ง เรื่ อ งการ กำเนิ ด แต่ นิ รั น ดรของพระบุ ต รของพระเจ้ า ซึ่งกำลังจะมาบังเกิดเป็นมนุษย์ในครรภ์ของ พระนางด้วยนั้น ซึ่งต่างๆ เหล่านี้ทูตสวรรค์ ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดให้พระนางมารีย์ได้รู้ เลย ดั ง นั้ น สิ่ ง ที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรงต้ อ งการ เปิดเผยให้พระมารดาของพระองค์รู้ผ่านทาง เหตุการณ์ครั้งนี้ก็คือ เรื่องการเป็นพระบุตร พระเจ้านับแต่นิรันดรแล้วของพระองค์นี่เอง คำพูดของพระกุมารขณะอายุเพียงสิบสองปีนี้ จึงเป็นการเชือ้ เชิญให้พระนางมารียต์ อ้ งไตร่ตรอง อย่างมากเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกการเป็นพระบุตร พระเจ้าของพระกุมาร นักบุญลูกาบอกเราว่า “พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ใน พระทัย” (ลก2:51) แต่ก็เล่าต่อไปว่า “พระ กุมารเยซูก็ทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทานเฉพาะ
พระพั ก ตร์ ข องพระเจ้ า และต่ อ หน้ า มนุ ษ ย์ ” (ลก2:52) นี่แสดงให้เห็นว่า การเติบโตขึ้น ของพระกุมารเยซูนั้นจะต้องสอดคล้องและ สอดรับกับการค่อยๆ เข้าใจของผู้เป็นมารดา ในเรื่ อ งราวต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ พระองค์ ด้ ว ย เพราะพระนางมารีย์คงไม่ได้เก็บเรื่องราวต่างๆ เหล่ า นั้ น ไว้ ใ นใจเฉยๆ แน่ แต่ พ ระนางได้ “รำพึง” ถึงอยู่เสมอด้วย ดังที่ลูกาได้ยืนยัน เรื่องนี้ไว้แต่แรกแล้ว “ส่วนพระนางมารีย์ทรง เก็ บ เรื่ อ งทั้ ง หมดเหล่ า นี้ ไว้ ใ นพระทั ย และยั ง ทรงคำนึงถึงอยู่” (ลก2:19) ดังนั้น พระนาง จึงต้องพากเพียรอย่างเต็มที่ท่จี ะหาความเข้าใจ ความหมายของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระนาง แต่เราต้องไม่ลืมด้วยว่า พระนางมารีย์ และพระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตด้วยกันอย่าง ใกล้ชดิ ในเมืองนาซาเร็ธในฐานะมารดากับบุตร เป็นเวลานานถึงสามสิบปี และนี่แหละที่เป็น ช่ ว งเวลาของ “การพั ฒ นาความเชื่ อ ” ของ พระนาง พระนางได้ใคร่ครวญและรำพึงถึง พระเยซูเจ้าและค่อยๆ เข้าใจสถานภาพความ เป็นมนุษย์และความเป็นพระเจ้าของพระองค์ แต่เพื่อจะได้ความเข้าใจนี้ จำเป็นต้องอาศัย พลังพิเศษเพื่อค้นพบสถานภาพแท้จริงที่อยู่ เหนือกว่ามนุษย์ของพระองค์ ความเป็นพระเจ้า
เราต้องจำไว้ด้วยว่า คำว่า “บุตรพระเจ้า” (ลก 1:32-35) เป็นคำที่มีใช้บ่อยครั้งและมีความหมายกว้างมากในพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่า เพื่อหมายถึงบุคคลที่แตกต่างกัน และความคิดเกี่ยวกับการเป็นบุตรเองก็สามารถมีความหมายได้หลายอย่างเช่นกัน 12
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
ของพระเยซู จึ ง ไม่ ไ ด้ ถู ก เปิ ด เผยแก่ พ ระนาง โดยตรง แต่ค่อยๆ เผยให้พระนางรู้ผ่านทาง คำพูดและเครื่องหมายต่างๆ ของพระเยซูเจ้า เรื่องนี้เราพบตัวอย่างได้ชัดเจนจากท่าทีของ ชาวบ้านทั่วๆ ไปที่อาศัยอยู่ในเมืองนาซาเร็ธ ที่ไม่มีใครเลยในพวกเขาที่สังเกตพบลักษณะ พิ เ ศษที่ ซ่ อ นเร้ น อยู่ ใ นตั ว พระเยซู เจ้ า ดั ง นี้ เมื่อพวกเขาเห็นพระองค์ทรงอ่านและอธิบาย พระคั ม ภี ร์ ใ นศาลาธรรมในครั้ ง ที่ พ ระองค์ กำลังเริ่มต้นปฏิบัติภารกิจของพระองค์ พวก จึงต่างตกตะลึงและพากันประหลาดใจในตัว พระองค์เป็นอย่างยิ่ง (ลก4:16-22) นี่รวมถึง บรรดาพี่น้องและญาติๆ ของพระเยซูเจ้าเอง ด้วยที่ไม่มีใครค้นพบสถานะเหนือธรรมชาติที่ ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของพระองค์เลย นี่แสดงให้ เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะค้นพบอัตลักษณ์ หรื อ สถานภาพที่ แ ท้ จ ริ ง ของพระเยซู เจ้ า ได้ แต่ ด้ ว ยความพากเพี ย รอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จึ ง มี เพียงพระนางมารียเ์ ท่านัน้ ทีไ่ ด้คน้ พบสถานภาพ นี้ของพระเยซูเจ้า ด้วยความเชื่อที่ฝังลึกใน จิตใจของพระนางมารีย์ พระนางจึงแสวงหา ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกของพระบุตร ของพระนาง ซึ่งทีละเล็กทีละน้อย ในที่สุด พระนางก็ได้เข้าใจถึงสิ่งที่พระเยซูเจ้าตรัสใน พระวิหารขณะทีพ่ ระองค์ทรงมีอายุเพียงสิบสองปี นั่นคือ พระองค์คือพระบุตรพระเจ้า ผู้ทรง ครอบครองทุกสิ่งของพระบิดาไว้ในพระองค์ เอง
13
เราจึงเห็นว่า ความเชื่อของพระนาง มารีย์ “ไม่เคย” เป็นความเชือ่ ทีอ่ ยูน่ ง่ิ เย็นชา หรือแสวงหาแต่สิ่งที่ตนเองพอใจเลย แต่เป็น ความเชื่อที่ร้อนรนที่จะแสวงหาความเร้นลับ ของพระเยซูเจ้าให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ ค่อยๆ พัฒนา และเติบโตอย่างต่อเนื่องเสมอ ตามเวลาที่ ผ่ า นไป การกระทำเช่ น นี้ ข อง พระนางมารีย์จึงมีความหมายอย่างยิ่งต่อเรา คริ ส ตชนทุ ก คน เพราะเป็ น การชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง
14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
“ความจำเป็น” ที่คริสตชนจะต้อง “พัฒนา” ความเชือ่ ของตนทีไ่ ด้รบั มาให้เติบโตและก้าวหน้า อยู่เสมอด้วย นั่นคือ ประการแรก ความเชื่อเรียกร้องพลัง ของสติ ปั ญ ญา กล่ า วคื อ ใครก็ ต ามที่ ไ ด้ สมั ค รใจเป็ น ศิ ษ ย์ ติ ด ตามพระคริ ส ตเจ้ า แล้ ว เขาก็ ถู ก เรี ย กร้ อ งให้ ใช้ พ ลั ง ทั้ ง หมดที่ มี เ พื่ อ “รูจ้ กั ” พระองค์ดว้ ย ในอดีตทีผ่ า่ นมา พบว่า ความเอาใจใส่ในการพัฒนาชีวิตแห่งความเชื่อ ด้วยการศึกษาพระวรสารอย่างทุม่ เทและลึกซึง้ นั้ น ถื อ ว่ า มี อ ยู่ น้ อ ยมาก ด้ ว ยเหตุ นี้ เ อง คริสตชนจำนวนมากจึงไม่คอ่ ยมีความรูเ้ กีย่ วกับ ความเป็นมาของข้อความเชื่อที่สำคัญเกี่ยวกับ พระเยซูเจ้าเท่าไรนัก บัดนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่ คริสตชนจะต้องหันมาให้ความสนใจและเอาใจ ใส่อ่านและศึกษาพระคัมภีร์ให้มากขึ้น เพราะ แบบอย่างของพระนางมารียไ์ ด้ชใ้ี ห้เราคริสตชน ทุกวันนี้มองเห็นแล้วว่า เราไม่สามารถหยุดที่ จะทำความรูจ้ กั พระเยซูให้ยง่ิ ทียง่ิ มากขึน้ ได้เลย การอ่านและศึกษาพระวรสารอย่างลึกซึ้งเป็น เครื่องหมายหนึ่งที่แสดงว่า เราได้อยู่ใกล้ชิด กั บ พระองค์ ผู้ ท รงเปิ ด เผยพระองค์ เ องแก่ มนุษยโลก ประการที่สอง ความเชื่อยังจำเป็นต้อง มี “การแสดงออก” ผ่านทางการดำเนินชีวิต อย่ า งร้ อ นรนและจริงจังด้วย นี่เป็นมิติการ ดำรงอยูข่ องความเชือ่ ของเรา กล่าวคือ ไม่วา่ เราจะอยู่ในสถานการณ์หรือในสภาพแวดล้อม
เช่ น ใด เราคริ ส ตชนจะต้ อ งหั น เข้ า หา พระเยซู เจ้ า และมองพระองค์ ใ นฐานะเป็ น ศูนย์กลางของความคิดและศูนย์กลางของชีวิต ของเราเสมอ คริสตชนจะต้องมองทะลุสิ่งต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ ให้เห็นการประทับอยูข่ องพระเยซูเจ้า ในท่ามกลางธรรมชาติและในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และยังจะต้องพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะค้นหาพระประสงค์ของพระคริสตเจ้าที่ ซ่อนเร้นอยู่ในธรรมชาติและในเหตุการณ์ต่างๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ด้ ว ย ด้ ว ยเหตุ นี้ ความเชื่ อ ของ คริสตชนจึงต้องได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับ การพัฒนาชีวติ ของตนเอง กล่าวคือ ความเชือ่ จะต้องเป็นเบื้องหลังของทัศนคติทุกอย่างใน ชีวิตของคริสตชน 2.2 ความเชื่ อ และพั น ธกิ จ การไถ่ กู้ ให้รอดของพระคริสตเจ้า 2.2.1 ความเชื่ อ ที่ ร้ อ นรนเป็ น การ ส่งเสริมพันธกิจการไถ่กู้ให้รอด การที่พระนางมารีย์ได้ร้องขอเหล้าองุ่น จากพระเยซูเจ้า (ยน2:1-12) ในเหตุการณ์งาน เลี้ยงมงคลสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี แสดงให้เห็นถึงความเชือ่ ทีร่ อ้ นรนและกล้าหาญ อย่างยิ่งของพระนาง เพราะตลอดเวลาของ การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันที่นาซาเร็ธ พระนาง มารียไ์ ม่เคยร้องขอเพือ่ ได้ประโยชน์จากอัศจรรย์ ของพระเยซู เจ้ า เลย และพระเยซู เจ้ า เอง ขณะกำลังประกอบพระภารกิจของพระองค์ กั บ ประชาชนทั่ ว ไปนั้ น ก็ ยั ง ไม่ เ คยแสดง
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
พระพลานุภาพทำการอัศจรรย์ใดๆ มาก่อนเลย แต่แม้จะยังไม่เคยเห็นพระเยซูเจ้าทำอัศจรรย์ พระนางมารี ย์ ก็ เชื่ อ ในฤทธานุ ภ าพของบุ ต ร ของพระนางแล้ ว ว่ า ทรงสามารถทำในสิ่ ง ที่ พระนางร้องขอได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้ง นี้ เราจึงสามารถนำความสุขแท้จริง (บุญลาภ) ที่ พ ระเยซู เจ้ า จะทรงประกาศ หลั ง จากที่ พระองค์กลับคืนพระชนมชีพแล้วมาประยุกต์ เข้ากับพระนางได้โดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ ใดๆ เลยว่า “ท่านเชื่อเพราะได้เห็นเรา ผู้ที่ เชื่อแม้ไม่ได้เห็น ก็เป็นสุข” (ยน20:29) ต่ อ คำร้ อ งขอของพระนางมารี ย์ ใ น เหตุการณ์ที่หมู่บ้านคานานี้ ดูเหมือนคำตอบ
15
ของพระเยซู เจ้ า น่ า จะทำให้ พ ระมารดาของ พระองค์รู้สึกท้อถอยเหมือนกัน แต่พระนาง กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น พระนางมองคำตอบของ พระเยซูเจ้าเหมือนเป็นแรงกระตุ้นให้พระนาง มี ค วามกล้ า หาญที่ จ ะเชื่ อ มากยิ่ ง ขึ้ น ดั ง นี้ พระนางจึงบอกแก่บรรดาคนใช้ว่า “เขาบอก ให้ ท่ า นทำอะไร ก็ จ งทำเถิ ด ” (ยน2:5) นี่ แสดงว่าพระนางมั่นใจในฤทธานุภาพของบุตร ของพระนางและกำลั ง รอคอยการอั ศ จรรย์ ที่กำลังจะเกิดขึ้น และเมื่อพระเยซูเจ้าได้ทรง ทำอัศจรรย์สำเร็จไปแล้ว ก็เป็นการอัศจรรย์ นีเ้ องทีใ่ ห้ “เหตุผล” แก่ความเชือ่ ของพระนาง ซึ่ ง ในเวลาต่ อ มา เหตุ ผ ลนี้ ก็ ไ ด้ ก ลายเป็ น
16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
จุดเริ่มต้นของความเชื่อของบรรดาศิษย์ของ พระเยซูเจ้า “พระเยซูเจ้าทรงทำเครื่องหมาย อัศจรรย์ครัง้ แรกนีท้ ห่ี มูบ่ า้ นคานา แคว้นกาลิลี พระองค์ทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ และบรรดาศิษย์ก็เชื่อในพระองค์” (ยน2:11) จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สิ่งที่ปรากฏ แจ้ ง แก่ ส ายตาเราคื อ พระนางมารี ย์ ไ ด้ รั บ ใน สิ่งที่พระนางปรารถนาจะได้รับ นั่นคือ การ เปิดเผยพระองค์เองของพระบุตรของพระนาง แต่การได้รับสมปรารถนาครั้งนี้ไม่ใช่ด้วยเหตุ ของสิ ท ธิ ก าร เป็ น มารดาของพระนาง คำพูดที่พระเยซูเจ้าตรัสกับมารดาว่า “คุณแม่ คุ ณ แม่ ต้ อ งการสิ่ ง ใดจากลู ก ” 13 ยื น ยั น ว่ า สายสั ม พั น ธ์ ที่ พ ระองค์ มี ต่ อ พระมารดานั้ น ไม่ใช่เป็นเหตุเพียงพอที่จะยกอ้างขึ้นมาเพื่อ ขอการอัศจรรย์ได้ แต่ดว้ ยความเชือ่ พระนาง มารีย์ก็สามารถข้ามพ้นอุปสรรคนี้ไปได้ การ
กระทำของพระนางจึ ง ถื อ เป็ น การช่ ว ย “ส่ ง เสริ ม ” พั น ธกิ จ การไถ่ กู้ ใ ห้ ร อดของ พระคริสตเจ้า เหตุ ก ารณ์ ที่ ห มู่ บ้ า นคานานี้ จึ ง เป็ น เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ ง ที่ เ น้ น ให้ เ ห็ น ถึ ง ประสิ ท ธิ ผ ล ของการให้ความร่วมมือกับแผนการของพระเจ้า กล่าวคือ ดังที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสแก่พระมารดา ของพระองค์ว่า ตามแผนการของพระบิดา นัน้ เวลาของพระองค์ยงั มาไม่ถงึ 14 แต่พระนาง มารี ย์ ม องว่ า เวลานั้ น น่ า จะมาถึ ง แล้ ว ใน แผนการของพระบิ ด านั้ น พระองค์ ไ ม่ เ คย กำหนดที่จะลดคุณค่ามนุษย์ให้ตกอยู่ภายใต้ การควบคุมและต้องยอมรับทุกสิง่ แต่พระองค์ ทรงยินดีรบั ฟังการริเริม่ ต่างๆ ทีเ่ ป็นการส่งเสริม ความเชือ่ ของมนุษย์เสมอ มนุษย์จงึ มีพลังและ สามารถสอดแทรกเข้าในแผนการของพระเจ้า เพื่อทำให้แผนการนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ ดังนี้
คำว่า “คุณแม่” นี้แปลตามตัวอักษรได้ว่า “สตรีเอ๋ย” การเรียกเช่นนี้พบอีกใน ยน19:26 การที่ลูกคนหนึ่งใช้คำว่า “สตรีเอ๋ย” เรียกมารดาของตน ไม่ใช่วิธีพูดของชาวยิว เราไม่พบตัวอย่างเช่นนี้อีกเลยในพระคัมภีร์ แม้ว่าสำนวนนี้จะเป็นการทักทายอย่างสุภาพ ต่อสตรีอื่นๆ ทั่วไป ยอนห์ใช้วลีนี้โดยเจตนาจะให้เป็นสัญลักษณ์ถึงนางเอวา (เทียบ ปฐก3:15,20) ในฐานะที่พระนางมารีย์คือนางเอวา คนใหม่ มารดาของผู้ท่มี ีชีวิตทุกคน ส่วนคำพูด “คุณแม่ต้องการสิ่งใดจากลูก” แปลตามตัวอักษรว่า “ธุระอะไรของข้าพเจ้าและของท่าน” เป็นสำนวนภาษาฮีบรูทพ่ี บบ่อยๆ ในพันธสัญญาเก่า (วนฉ11:12;2 ซมอ16:10;19:23;1พกษ17:18;ฯลฯ) และในพันธสัญญาใหม่ (มธ8:29; มก1:24;5:7;ลก4:34;8:28) เป็นวลีที่ใช้เพื่อแสดงความไม่พอใจเมื่อบุคคลอื่นเข้ามาแทรกแซงในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของเขา หรือเพื่อปฏิเสธ การเสนอความคิดเห็นของผู้อื่น บางครั้งมีความหมายเพียงว่า “เรามีความคิดเห็นไม่ตรงกัน” หรือกำลังคิดคนละอย่าง บริบทเท่านั้น จะบอกว่าวลีนี้มีความหมายอย่างไร ในที่นี้พระเยซูเจ้าทรงต้องการบอกพระมารดาให้รู้ว่ายังไม่ถึงเวลาของพระองค์เท่านั้น ความคิดของ พระองค์จึงไม่เหมือนกับความคิดของพระนางมารีย์ เกี่ยวกับคำอธิบายนี้ ดูใน พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่, คณะกรรมการคาทอลิก เพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ, 2007, หน้า 287, อ้างอิง c และ d. 14 ความหมายของคำว่า “เวลาของลูกยังมาไม่ถึง” นี้ อ่านเพิ่มเติมได้ใน J. Galot, Maria nel Vangelo, Milano, Áncora, 1964, p. 151-162; G. Ferraro, L’ora di Cristo nel quarto Vangelo, Roma, 1974, p. 112-116. 13
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
อัศจรรย์แรกของพระเยซูเจ้าซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ที่อื่นหรือในสถานการณ์อื่นก็ได้ จึงได้สำเร็จ ไปที่หมู่บ้านคานาแห่งนี้ ซึ่งเราต้องขอบคุณ ความเพียรทนในความเชื่อของพระนางมารีย์ ในครั้งนี้ แบบอย่างของพระนางมารีย์ที่หมู่บ้าน คานานี้ เรี ย กร้ อ งเราคริ ส ตชนทุ ก คนให้ มี ความกล้าที่จะริเริ่มให้ความร่วมมือกับแผนการ แห่งความรอดของพระเจ้า ไม่วา่ จะในรูปแบบ ใดก็ตาม คริสตชนทุกคนเป็นผู้ที่ถูกเรียกมา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกับอัครสาวก นั่นคือ การติดตามพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชดิ คริสตชน จึงมีหน้าทีใ่ นการส่งเสริมและสนับสนุนแผนการ ของพระเจ้าในการแผ่ขยายพระอาณาจักรของ พระองค์ ผ่ า นทางการประกาศพระวรสาร และการเผยแผ่ความศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชน เพื่อนำความรอดของพระคริสตเจ้าไปสู่มนุษย์ ทุ ก คน แต่ เ พื่ อ การพั ฒ นาพั น ธกิ จ แห่ ง การ เผยแพร่ ค วามเชื่ อ นี้ คริ ส ตชนจะต้ อ งได้ รั บ การกระตุ้นส่งเสริมจากความเชื่อนั้นเองด้วย การกระทำของพระนางมารีย์ที่หมู่บ้านคานา จึงเป็นแบบอย่างที่เราน่าปฏิบัติตามอย่างยิ่ง กล่าวคือ เราคริสตชนจะต้องไม่ลงั เลใจเหมือน พระนางมารีย์ที่จะพัฒนาความเชื่อของตนให้ ก้าวหน้าขึ้น รู้จักใช้โอกาสที่มีเพื่อแสดงความ กล้าหาญยืนยันความเชื่อของตน และส่งเสริม พันธกิจแห่งการไถ่กู้ให้รอดของพระคริสตเจ้า
17
แต่กระนั้นก็ดี คริสตชนก็ต้องมีความ วางใจในพระคริสตเจ้าเหมือนพระนางมารีย์ ด้ ว ย คื อ มี ค วามสำนึ ก อยู่ เ สมอว่ า เป็ น พระคริสตเจ้าเองที่จะทรงพิจารณาประทาน ให้ในสิ่งที่เราร้องขอ 2.2.2 การทดลองความเชื่อ พระทรมานของพระเยซู เจ้ า เป็ น สิ่ ง ที่ สร้ า งความทุ ก ข์ ร ะทมอย่ า งยิ่ ง แก่ ค วามรั ก ที่ พระนางมารีย์มีต่อบุตรของพระนาง แต่ใน เวลาเดี ย วกั น สิ่ ง นี้ ก็ ถื อ เป็ น “การทดลอง ความเชื่อ” ของพระนางด้วย ในการติดตาม พระบุตรเยซูประกอบภารกิจต่างๆ ท่ามกลาง ฝูงชน พระนางมารีย์มองการทดลองว่าเป็น สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวพระนางเสมอและพระนางจะ ต้องเอาชนะความทุกข์ระทมนี้ให้ได้ การที่ บรรดาผู้นำชาวยิวซึ่งกำลังรอคอยการเสด็จมา ของพระแมสซียาห์ต่างพากันผลักไสบุตรของ พระนาง การที่พวกเขาตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับ บุ ต รของพระนางอย่ า งเปิ ด เผยในหลายต่ อ หลายครัง้ ทำให้พระนางต้องกลับมาใคร่ครวญ และถามตัวเองว่าบุตรของพระนางนีจ้ ะสามารถ นำพาภารกิจของพระองค์ไปสู่จุดหมายปลาย ทางได้อย่างไร เพราะแม้แต่ทห่ี มูบ่ า้ นนาซาเร็ธ บ้านเกิดเมืองนอนของพระองค์เอง พระนาง มารีย์ยังต้องเข้าช่วยเหลือพระเยซูเจ้าให้รอด พ้นจากพวกศัตรูที่ต้องการจะผลักพระองค์ให้ ตกจากหน้ า ผาของเนิ น เขา (ลก4:28-30)
18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
หรื อ แม้ เ มื่ อ พระองค์ เ สด็ จ ผ่ า นพระวิ ห าร พวกปุ โรหิ ต และพวกฟาริ สี ก็ ต้ อ งการจะฆ่ า พระองค์ เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เรียกร้องให้ พระนางมารี ย์ ต้ อ งใช้ ค วามอดทนอย่ า งมาก ขณะเดี ย วกั น พระนางก็ ยั ง ต้ อ งมั่ น คงใน ความเชื่อต่อไปว่า เป็นพระบุตรของพระนาง ผู้นี้เองที่เป็นผู้ที่จะต้องเสด็จมาเพื่อนำความ รอดมาสู่มนุษย์ทุกคน แต่ เ หตุ ก ารณ์ ที่ ดู เ หมื อ นจะเป็ น การ ทดลองความเชื่อที่หนักที่สุดของพระนางมารีย์ คือ เหตุการณ์ “บนเนินเขากัลวารีโอ” การ พิพากษาตัดสินให้พระเยซูเจ้ารับโทษถึงตายนัน้ ดูเหมือนเป็นการประกาศชัยชนะของความ อยุตธิ รรม แม้แต่คำพูดของผูป้ กครองชาวโรมัน เองทีแ่ ม้จะยืนยันในความบริสทุ ธิข์ องพระเยซูเจ้า แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงเหมือนกับเป็น
การตอกย้ำซ้ำถึงชัยชนะของความอยุติธรรมนี้ นั่ น คื อ คนบริ สุ ท ธิ์ ถู ก พิ พ ากษาให้ รั บ ความ ทุกข์ทรมานและรับความตาย แม้ในขณะที่ พระเยซูเจ้ากำลังสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์กไ็ ด้สน้ิ พระชนม์ทา่ มกลางผูท้ เ่ี กลียดชัง พระองค์ ไม่มเี พือ่ นคนใดทีย่ นื หยัดอยูเ่ คียงข้าง พระองค์เลย การสิ้นพระชนม์ของพระองค์จึง ดูเหมือนเป็นจุดจบชีวติ ฝ่ายมนุษย์ของพระองค์ อย่างสิน้ เชิง คำถามจึงมีวา่ ทำไมผูท้ พ่ี ระเยซูเจ้า เรียกว่าพระบิดาจึงอดทนต่อความอยุติธรรม เช่นนี้อยู่ได้? เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ที่ได้สร้าง ความหวังใหม่ให้กับผู้คนจำนวนมาก แต่กลับ ต้องมาจบชีวิตลงด้วยสภาพน่าอดสูเช่นนี้? พระนางมารียเ์ องก็คงไม่สามารถปฏิเสธ สภาพเช่นนีไ้ ด้ แม้แต่พระเยซูเจ้าเอง หากเป็น ความจริงที่ว่า ขณะอยู่บนกางเขน พระองค์ ทรงร้ อ งออกมาว่ า “ข้ า แต่ พ ระเจ้ า ข้ า แต่ พระเจ้า ทำไมพระองค์จึงทรงทอดทิ้งข้าพเจ้า เล่า?” (มก15:34) คำถามที่ว่า “ทำไม?” นี้ ก็ต้องเป็นคำถามที่ติดอยู่ในจิตใจของพระนาง มารีย์ขณะกำลังอยู่เคียงข้างบุตรของพระนาง ด้วยอย่างแน่นอน ดังนี้ จึงไม่ผิดหากเราจะ เรี ย กพระนางว่ า เป็ น “มารดาแห่ ง ความ ทุกข์โศก” แต่แม้จะถูกแวดล้อมด้วยสถานการณ์ที่ โศกเศร้าเพียงไร พระนางมารียก์ ย็ งั คงเข้มแข็ง และมั่นคงในความเชื่อของเธอเสมอ พระนาง มองเห็นองค์พระผู้ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นอยู่ใน
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
ตัวของบุตรของพระนางเสมอ แม้ในขณะที่ พระองค์กำลังรับทรมานหรือในการสิน้ พระชนม์ ก็ตาม ตรงกันข้ามกับพวกศิษย์ของพระเยซูเจ้า ขณะทีพ่ วกเขาต้องพบกับความสูญเสียครัง้ ใหญ่ ที่สุดในชีวิต (สูญเสียความเชื่อ) แต่พระนาง มารีย์กลับสามารถรักษาความมั่นคงของความ เชือ่ ไว้ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ในเหตุการณ์ ทีด่ มู ดื มนต่อความเข้าใจอย่างยิง่ นี้ พระมารดา มารีย์กลับก็ยังมั่นคงในความเชื่อที่มีต่อบุตร ของพระนาง พระนางสามารถชนะและ “ผ่านการทดลอง” ความเชื่อครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ของพระนางได้ บางคนกล่าวว่า ในเหตุการณ์บนเขา กัลวารีโอนัน้ พระนางมารียเ์ ป็นเหมือนตัวแทน ประกาศความเชื่อของพระศาสนจักร ซึ่งเป็น ความเชื่อที่ไม่มีสิ่งใดสามารถลบล้างให้สูญสิ้น ไปได้ การยืนยันของนักบุญยอห์นในพระวรสาร ของท่ า นดู เ หมื อ นจะให้ ค วามหมายที่ ดี ใ น เรือ่ งนีเ้ มือ่ กล่าวว่า “พระมารดาของพระเยซูเจ้า ทรงยื น อยู่ ข้ า งไม้ ก างเขนของพระองค์ ” (ยน19:25) พระนางทรงยืนอยู่ตรงนั้นอย่าง กล้าหาญและไม่ได้รู้สึกเกรงกลัวสิ่งใดเลย นี่ เป็นเพราะความเชือ่ ของพระนางเอง ประกอบ รวมเข้ากับความรักที่พระนางมีต่อบุตร จึงได้ ผลักดันและเสริมกำลังให้พระนางกล้าหาญ ร่ ว มในความเจ็ บ ปวดขององค์ พ ระบุ ต ร ยิ่ ง พระเยซูเจ้าทรงถูกดูถกู และเยาะเย้ยเหยียดหยัน จากศัตรูของพระองค์มากเท่าไร พระมารดา
19
ของพระองค์ก็ยิ่งเพิ่มพูนในความเชื่อที่มีต่อ บุตรของพระนางมากขึ้นเท่านั้น ก่ อ นสิ้ น พระชนม์ องค์ พ ระบุ ต รเจ้ า ทรงมอบหมายพันธกิจใหม่ให้พระนางมารีย์ ซึ่งเป็นการเสริมพลังความเชื่อของพระนางให้ เข้มแข็งขึ้นไปอีก การกล่าวว่า “แม่ นี่คือลูก ของแม่ ” (ยน19:26) เท่ า กั บ พระเยซู เจ้ า ทรงนำความเจ็ บ ปวดครั้ ง สุ ด ท้ า ยมาให้ กั บ พระมารดาของพระองค์ เพราะนัน่ หมายความ ว่าพระองค์กำลังจะจากพระนางไปแล้ว แต่ ในเวลาเดียวกัน พระองค์ก็ได้ให้หน้าที่การ เป็นมารดาแบบใหม่ให้แก่มารดาของพระองค์ คื อ “การเป็ น มารดาของพระศาสนจั ก ร” ด้ ว ยเหตุ นี้ จิ ต ใจที่ มั่ น คงในความเชื่ อ ต่ อ พระคริ ส ตเจ้ า ของพระนางมารี ย์ จึ ง ได้ แ ผ่ ขยายและพั ฒ นาเติ บ โตเป็ น ความเชื่ อ ของ
20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
พระศาสนจั ก ร และพระศาสนจั ก รก็ ม อง พระมารดามารีย์ในฐานะเป็นต้นแบบ เป็น “มารดาแห่งความเชื่อ” ของพระศาสนจักร และของคริสตชนทุกคน ประสบการณ์ชวี ติ อันขมขืน่ ของพระนาง มารีย์นี้ชี้ให้เห็นว่า การติดตามพระคริสตเจ้า ยิ่งใกล้ชิดมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้เรามีส่วนร่วมใน พระทรมานของพระองค์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด มาก เท่านั้น ดังนั้น คริสตชนจึงไม่สามารถวิ่งหนี การทดลองได้ แต่หากมีความวางใจในความ ช่วยเหลือฉันมารดาจากพระนางพรหมจารีมารีย์ พระนางก็จะช่วยเราให้สามารถอดทนต่อการ ประจญต่ า งๆ ที่ อ าจทำให้ รู้ สึ ก ท้ อ ถอยได้ คนที่กำลังทุกข์ทรมานจำเป็นต้องได้รับการ ค้ ำ จุ น เฉพาะอย่ า งยิ่ ง ความเจ็ บ ปวดจาก ปัญหาทางศีลธรรม ความอยุติธรรม ความ ล้มเหลวในชีวิตและความเกลียดชัง แต่หาก เราเข้าสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระมารดามารีย์ มารดาแห่งความเชื่อของเรา เราก็จะสามารถ ยืนหยัดมั่นคงอยู่ได้และมองการทดลองที่เกิด ขึ้นว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ความเชื่อของเรา ร้อนรนยิง่ ขึน้ ดังนัน้ แทนทีจ่ ะร้องไห้คร่ำครวญ ในความทุ ก ข์ เจ็ บ ปวดและการถู ก เกลี ย ดชั ง ข่มเหง คริสตชนควรจะต้องมีความเชือ่ ทีร่ อ้ นรน ยิ่งขึ้นเหมือนพระมารดามารีย์ และมองการ พัฒนาและความก้าวหน้าเติบโตของพระศาสนจักร ว่า จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยการเสียสละเช่นนี้ ของพวกเราคริสตชนทุกคนนั่นเอง
บทสรุป บนเนิ น เขากั ล วารี โ อ พระมารดา พรหมจารีมารีย์ได้เรียนรู้การทดลองในหลายๆ รูปแบบ ทั้งการร่วมในความทุกข์ทรมานของ พระบุ ต รเยซู แ ละการร่ ว มในความรู้ สึ ก ของ พระบุตรที่ถูกพระบิดาทอดทิ้ง แต่พระนางก็ สามารถรักษาความเชื่อของพระนางไว้อย่าง มัน่ คงได้ พระนางเป็นเหมือนแสงสว่างดวงเดียว ที่ ส ามารถยื น หยั ด อยู่ ท่ า มกลางความมื ด ได้ ดังนี้ พระนางมารีย์จึงสามารถช่วยเหลือเรา คริสตชนให้รักษาความเชื่อของเราให้มั่นคงอยู่ ตลอดได้ หากเราหันมาพึ่งพาความเชื่อเหลือ จากพระนาง
มารีย์ : มารดาพระเจ้า มารดาแห่งความเชื่อ
นอกจากนี้ การนึ ก ถึ ง ประสบการณ์ ความทุกข์ทรมานของพระเยซูเจ้ายังเป็นการ ให้ ห ลั ก ประกั น แก่ เ ราว่ า “การทดลอง ความเชื่อ” เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความใกล้ชิด สนิมสนมกับพระคริสตเจ้ามากขึ้นเสมอ ใน การประจักษ์มาของพระคริสตเจ้า หลังจากที่ พระองค์กลับคืนพระชนมชีพแล้ว นอกจาก เป็นการยืนยันถึงความเชื่อที่พระนางมารีย์มี ต่อพระบุตรของพระนางแล้ว ยังเป็นเหตุการณ์ ที่ชวนเราให้คิดด้วยว่า ทุกคนที่กำลังเจ็บปวด กับการเผชิญหน้ากับการทดลอง การประจญ หรือการท้าทายความเชื่อของตนอยู่นั้น แท้ จริงแล้ว เหตุการณ์เหล่านีเ้ ป็นเพียง “ทางผ่าน” ไปสู่ อี ก สถานะหนึ่ ง เท่ า นั้ น กล่ า วคื อ เป็ น สถานะทีพ่ ระเยซูคริสตเจ้าทรงประทับอยูอ่ ย่าง มั่นคง สุกใส รุ่งโรจน์ และเปี่ยมด้วยความ ปีติยินดี
21
การไตร่ตรองถึงชีวติ ของพระมารดามารีย์ นี้ จึงเป็นการช่วยให้คริสตชนสามารถค้นพบ ความสำคัญของการมีความเชื่อที่มั่นคงในชีวิต การเป็ น ศิ ษ ย์ ติ ด ตามพระคริ ส ตเจ้ า ของตน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การทำให้คริสตชนตระหนัก ได้ว่า การมีความเชื่อที่มั่นคงนั้นเป็น “ความ ร่วมมือแรก” ของตนต่อแผนการแห่งความ รอดของพระเจ้า การวิงวอนขอความช่วยเหลือ จากพระนางมารีย์ ในฐานะผู้ที่มีความมั่นคง อย่างยิ่งในความเชื่อ เป็นผู้นำหน้าความเชื่อ ของพระศาสนจักร และเป็น “มารดาแห่ง ความเชื่อ” ของคริสตชน จะทำให้เราได้รับ การค้ ำ จุ น ให้ มี ค วามเชื่ อ ที่ ก ล้ า หาญ ที่ จ ะ เผชิ ญ หน้ า กั บ การทดลองต่ า งๆ ในชี วิ ต ของ การเป็นศิษย์ติดตามพระคริสตเจ้าของเรา
J. Galot. La fede di Maria e la nostra. Assisi: Cittadella, 1973. J. Galot. Maria, la donna nell’opera di salvezza. Roma: Ed. Gregoriana, 1984. J. Galot. Vivere con Maria nella vita consacrata. Milano: Editrice Áncora, 1987. Bastero, Juan Luis. Mary, Mother of the Redeemer. Dublin: Four Courts Press, 2006. Haffner, Paul. The Mystery of Mary. Chicago, Illinois: Liturgy Training Publications, 2004.
70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร
*สกู๊ปพิเศษ*
ทศวรรษแรกบ้ า นแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
พรชัย สิงห์สา
สามเณรใหญ่สังกัดสังฆมณฑลนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 6 ศิษย์แสงธรรม รุ่นที่ 35 นักศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาเทววิทยา และศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทววิทยาจริยธรรม
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
71
บทนำ .. “แสงธรรม” สถาบันฝึกอบรมบุคลากรของ พระศาสนจักรในประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบัน ที่ ฝึ ก อบรมบุ ค คลเพื่ อ เป็ น พระสงฆ์ นั ก บวช ผู้นำคริสตชน ครูสอนคริสตศาสนธรรม และ ฆราวาสคาทอลิก .. แสงธรรมจึงเปรียบประดุจ เรือนเพาะชำยิ่งใหญ่ เพื่อช่วยให้พระศาสนจักร ประเทศไทยให้เติบโต เข้มแข็ง จากวันแรกเริ่ม ต้น (ปี ค.ศ.1972) จนถึงวันนี้เป็นเวลาถึง 40 ปี (ณ ปี ค.ศ.2012) ... “แสงธรรม” ยังทำหน้าที่ ของตนชัดเจนและต่อเนื่อง ที่จะผลิตบุคลากร ของพระศาสนจักร เปรียบประดุจแสงเทียนที่ ส่องสว่างสังคมไทย .. เมือ่ มองย้อนหลังเราจึงพบ เรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นในบ้านหลังนี้ ก่อนทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม (ก่อนปี ค.ศ.1972) สถาบั น แสงธรรม ซึ่ ง ก็ คื อ สามเณราลั ย ใหญ่ แ สงธรรม และวิ ท ยาลั ย แสงธรรม ซึ่ ง แต่เดิมนั้นไม่ได้แยกออกจากกัน หรือบางทีอาจเรียกว่า บ้านเณรใหญ่แสงธรรม, บ้านเณรใหญ่ “ลุกซ์มุนดี” และบางครั้งก็เรียกว่า สามเณรวิทยาลัยแสงธรรม ซึ่งเป็นองค์กรคาทอลิกสำหรับ เตรียมบุคลากรในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระคริสตเจ้า ... โครงการริเริ่มในการสร้าง สถาบันแสงธรรมมีมาตัง้ แต่ปี ค.ศ.1969 ซึง่ เราพบได้จากรายงานประจำปีของพระสงฆ์คณะมิสซัง ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่เขียนเอกสารเหล่านั้นส่งกลับไปยังศูนย์กลางคณะที่ประเทศฝรั่งเศส “ในช่วงรายงานปีเดียวกันนี้ สภาพระสังฆราชมอบหมายให้พระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ อัครสังฆราชแห่งท่าแร่ เตรียมการทีจ่ ำเป็นต่างๆ เพือ่ สร้างบ้านเณรใหญ่ในประเทศไทย โครงการ นี้กำลังดำเนินงาน ในที่ดินผืนหนึ่งที่ได้จัดไว้แล้ว เวลานี้ยังไม่ทราบว่า ใครจะเป็นผู้มีส่วนร่วม ในบรรดาคณาจารย์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเณรใหญ่กว่า 60 คน ที่ปีนัง”1 รายงานประจำปีมิสซังสยาม และมิสซังกรุงเทพฯ ถึงศูนย์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเล่ม 4 ตั้งแต่ ค.ศ.1964-1982, แปลโดย บาทหลวงวิกตอร์ ลาเก, หน้า 392. (เอกสารตีพิมพ์ไม่เผยแพร่) 1
72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
และนี่เป็นเรื่องราวแรกเริ่ม ที่ริเริ่มก่อตั้งสามเณราลัยใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมนั้น ประเทศไทยต้องส่งสามเณรใหญ่ไปศึกษาต่อทีก่ รุงโรม ประเทศอิตาลี หรือทีป่ นี งั ประเทศมาเลเซีย การเปลีย่ นแปลงนีจ้ งึ เป็นการวางรากฐานทีส่ ำคัญสำหรับผูท้ จ่ี ะเป็นศาสนบริกรรับใช้พระศาสนจักร ท้องถิน่ ในประเทศของตน และนอกจากนีย้ งั เป็นการตอบสนองเจตนารมณ์ของสภาพระสังคายนา วาติกันที่ 2 ที่ต้องการให้แต่ละสังฆมณฑลหรือ ทุกสังฆมณฑลร่วมมือกันตั้งบ้านเณรเพื่อให้สอด คล้องกับสถานการณ์และวัฒนธรรมของแต่ละชาติแต่ละท้องถิ่น2 ทีส่ ดุ การก่อสร้างบ้านเณรใหญ่ประจำประเทศไทยก็เริม่ ต้นขึน้ สอดคล้องกับรายงานประจำปีฯ ปี ค.ศ.1970 กล่าวถึงเรื่องราวของความยุ่งยากในการขอวีซ่า เพื่อเข้าประเทศมาเลเซีย ซึ่ง สามเณรใหญ่จากประเทศไทยต้องดำเนินการ ประกอบกับเหตุผลจากการตอบสนองเจตนารมณ์ ของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ที่กล่าวไว้ข้างต้น ในที่สุดสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย จึงมีมติให้เปิดบ้านเณรใหญ่ ซึ่งจะเริ่มงานก่อสร้างในปี ค.ศ.1972 และเดือน พฤษภาคมปีเดียวกัน จะรับสามเณรใหญ่กลุ่มแรกเพื่อรับการอบรมในบ้านเณรใหญ่แห่งนี้ ส่วน บรรดาสามเณรที่ขณะนั้นยังเรียนที่บ้านเณรใหญ่ปีนังประเทศมาเลเซีย ก็ยังคงให้เรียนที่เดิมต่อไป ปัญหาที่พบและสำคัญในการเปิดบ้านเณรใหญ่ก็คือ การสรรหาบุคลากร และอาจารย์สำหรับ มาสอนที่บ้านเณร ซึ่งบรรดาพระสังฆราชเองก็ตระหนักดี จึงได้ส่งพระสงฆ์ 2 องค์ไปที่บ้านเณร ปีนัง3 หนึ่งในบุคคลที่ถูกส่งไปนั่นก็คือ คุณพ่อบรรจง อารีพรรค เทียบ สมณกฤษฎีกาว่าด้วยการอบรมเพื่อเป็นพระสงฆ์ ข้อที่ 1 และ 7 รายงานประจำปีมิสซังสยาม และมิสซังกรุงเทพฯ ถึงศูนย์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเล่ม 4 ตั้งแต่ ค.ศ.1964-1982, แปลโดย บาทหลวงวิกตอร์ ลาเก, หน้า 402-403. (เอกสารตีพิมพ์ไม่เผยแพร่) 2 3
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
73
สอดคล้องกับเอกสารการประชุมจัดตั้งสามเณราลัยใหญ่ครั้งที่ 1 ณ บ้านพักพระสงฆ์ วัดอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1970 ซึ่งมีบันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ทำให้เรามองเห็นถึงความร่วมมือของพระศาสนจักรท้องถิ่น ตั้งแต่สภาพระสังฆราชฯ พระสงฆ์ แต่ละสังฆมณฑล พระสงฆ์คณะนักบวชและจากฆราวาส ซึ่งมีบันทึกผู้เข้าร่วมประชุมดังนี้ “พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เป็นผู้แทนสภาพระสังฆราชฯ และ ประธานการประชุม มีผู้แทนจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คือ มงซินญอร์วิลเลี่ยม ตัน และ คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ ผู้แทนจากคณะซาเลเซียนและสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี คือ คุณพ่อ โกลอมมินี จากคณะเรแดมตอริสต์ (คณะพระมหาไถ่) คือคุณพ่อเคน ผู้แทนจากคณะมิสซัง ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส คือ คุณพ่อเลออง ผู้แทนจากคณะเยสุอิต คือคุณพ่อแลส์เช็นสกี้ ผู้แทนจากสังฆมณฑลจันทบุรี คือ คุณพ่อบุญชู ระงับพิษ ผู้แทนจากสังฆมณฑลอุบลราชธานี คือคุณพ่อสมชาย สลับเชือ้ ผูแ้ ทนจากสังฆมณฑลอุดรธานี คือคุณพ่อทีล ผูแ้ ทนจากสังฆมณฑล เชียงใหม่ คือ คุณพ่อแซงต์กีลี ผู้แทนจากสังฆมณฑลนครราชสีมา คือ คุณพ่อเบรย์ และ ผู้แทนจากฆราวาส คือ คุณประเวช วิชชุประภา ในการประชุมครั้งนั้น คุณพ่อสุเมธ ซึ่งเป็น ผู้แทนจากสังฆมณฑลราชบุรีติดภารกิจ และผู้แทนจากสังฆมณฑลนครสวรรค์ยังไม่ได้เสนอมา” และเมื่อพร้อมแล้ว พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้นำภาวนาก่อน การประชุม จากนั้นได้กล่าวแถลงการณ์ย่อๆ ถึงความก้าวหน้าในการจัดตั้งสามเณราลัยใหญ่ว่า .. ได้รับคำแนะนำจากอธิบดีกรมศาสนาว่าควรตั้งเป็นวิทยาลัยที่รับนักศึกษาต่างประเทศด้วย และถ้าเป็นวิทยาลัย ควรให้ชื่อว่า “วิทยาลัยคริสตศาสตร์” พระคุณเจ้าเกี้ยน ยังกล่าวถึง เรื่องเร่งด่วน ซึ่งทางบ้านเณรปีนังก็เร่งมา และทางเราได้ตอบเขาไปว่าจะพยายามเปิดให้ทัน ปี ค.ศ.1972 ส่วนสามเณรที่กำลังศึกษาอยู่ที่ปีนังก็ให้เรียนต่อไป ในวันทีม่ กี ารประชุมครัง้ แรกนัน้ มีการกล่าวถึงสถานทีต่ ง้ั คือทีด่ นิ ทีอ่ คั รสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เอือ้ เฟือ้ ให้ อันเป็นสถานทีต่ ง้ั ในปัจจุบนั ซึง่ มีเนือ้ ที่ 60 ไร่ บริเวณกิโลเมตรที่ 29 ถนนเพชรเกษม ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก จากเอกสารยังระบุอีกว่า “ในอีกไม่กป่ี คี งกลายเป็นเมืองไปแล้ว ทางด้านการคมนาคม รัฐบาลก็มแี ผนการตัดเส้นทาง ไปมาอีกสองสาย คงสะดวกสำหรับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ หรือนครปฐมที่จะ มาช่วยสอน”
74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
... นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมอีกว่า “ปัญหาที่สมาชิกบางท่านอยากได้ที่ในกรุงเทพฯ จึงเป็น อันว่าพับไป” (.. ในที่ประชุมอาจมีการเสนอสถานที่ที่เหมาะสมอาจเป็นใจกลางกรุงเทพฯ) สำหรับเรื่องหลักสูตร ที่มีการพูดคุยกันครั้งแรกในที่ประชุมนั้น ที่ประชุมเสนอให้มีการ สอนปรัชญาทั้งตะวันออกและตะวันตก วิชาที่จำเป็นสำหรับชีวิตพระสงฆ์ และยังเพิ่มเติมในเรื่อง ข้อเสนอเรื่องหลักสูตรว่า “ .. และวิชาทางฝ่ายคดีโลกซึ่งอาจช่วยพระสงฆ์ทำงานเป็นประโยชน์แก่พระศาสนจักร และสังคมมากที่สุด” ในเรื่องของนักศึกษา คือตั้งใจเปิดแผนกประจำ ซึ่งสำหรับสามเณรของสังฆมณฑล และ แผนกไปกลับได้แก่ ผู้ที่สนใจทั่วๆ ไป ไม่ว่าชายหรือหญิง แม้กระทั่งศาสนาอื่นด้วย สำหรับเรื่องค่าเล่าเรียน ... จะให้คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินพิจารณา ในเรื่องของการเตรียมอาจารย์ ... อาจารย์ที่เตรียมไว้มี 1.คุณพ่อบรรจง อารีพรรค เวลา นัน้ สอนทีป่ นี งั คงจะนำหลักการของปีนงั มาใช้ดว้ ย .... 2.คุณพ่อเอก ทับปิง จะไปเรียนเทวศาสตร์ กับพระพุทธศาสนา 3.พระสงฆ์อีกองค์หนึ่ง จะเรียนปรัชญาตะวันออก และตะวันตกที่ปูนา อินเดีย 4.พระสงฆ์และบุคคลอื่นๆ ที่สันทัดอาจถูกเชิญมาช่วยด้วย ที่ประชุมมีข้อเสนอเรื่องการดำเนินชีวิตกลุ่มของสามเณร ซึ่งบางท่านอยากให้สร้างเป็นตึก เล็กๆ หลายหลัง สามเณรจะแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มมีอาจารย์ (ผู้ให้การอบรม) คนหนึ่ง อยู่ด้วย จะได้ช่วยให้ร้จู ักชีวิต สังคม และส่งเสริมความสามัคคีมากขึ้น แต่เรื่องนี้จะได้พิจารณา ดูความเหมาะสมกันต่อไป อย่างไรก็ตามยังจะถือหลักที่ว่า สามเณรแต่ละคนควรมีห้องของตน คนละห้อง ในการประชุมครั้งนั้นมีการพิจารณาเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่างๆ ดังนี้ 1). คณะกรรมการที่ปรึกษา (Board of Councilors) ได้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมและ ผู้แทนสังฆมณฑลต่างๆ พร้อมด้วยสภาพระสังฆราชฯ 2). อนุกรรมการการศึกษาและอบรม (Formation and Curriculum) มี ฯพณฯ เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เป็นประธาน คุณพ่อแลสเช็นสกี้, คุณพ่อบรรจง, คุณพ่อทัศไนย์, คุณพ่อเลออง, คุณพ่อยัง จักแมง, คุณพ่อสมชาย และคุณพ่อสมศักดิ์ .. ทั้งนี้อาจเพิ่มเติมภายหลัง
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
75
3). อนุกรรมการฝ่ายการเงิน (Finance) มีมงชินญอร์วิลเลี่ยม เป็นประธาน คุณพ่อ ฮั่วเซี้ยง (พระคุณเจ้ามีชัย) คุณพ่อบัณฑิต, คุณพ่อทีล, คุณพ่อเบรย์, คุณพ่อเคน, คุณพ่อ แซงต์กีลี, คุณพ่อสุเมธ, คุณพ่อพิจิตร (จันทบุรี), คุณประเวช วิชชุประภา, คุณประกิจ และ คุณสุนันท์ .. อาจจะเพิ่มเติมตามความจำเป็น 4). อนุกรรมการฝ่ายก่อสร้าง (Construction) มีคุณพ่อบุญชู เป็นประธาน มงชินญอร์ วิลเลี่ยม, คุณพ่อเยลีชี, คุณพ่อฮั่วเซี้ยง, คุณวีระชัย, วงศ์พานิชย์ และ คุณปรีชา สุริยมงคล.. อาจเพิ่มเติมอีก แล้วแต่กรณี สุดท้าย ในการประชุมครั้งนั้น พระคุณเจ้าได้กล่าวสรุป พร้อมกับขอบคุณทุกท่านใน ความร่วมมือ คิดว่าคงเป็นนิมิตหมายอันดีแห่งการเริ่มงานนี้ ซึ่งจะเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ มาสู่พระศาสนจักรท้องถิ่นอย่างแน่นอน หลังจากนั้นพระคุณเจ้า ได้สวดปิดการประชุมในเวลา 16.00 น.4 นอกจากนั้นยังพบเรื่องราวในการขอใช้อาคารของคณะซาเลเซียน ที่หัวหิน เพื่อเป็น บ้านเณรชัว่ คราว จากแถลงการณ์สภาพระสังฆราชฯ เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1972 ในหัวข้อที่ 4 “เรือ่ งสามเณราลัยใหญ่” มีบนั ทึกเรือ่ งราวต่างๆ เกีย่ วกับบ้านเณรใหญ่ทข่ี อใช้อาคารสามเณราลัย ของคณะซาเลเซียน ที่หัวหิน ทางคณะอนุญาตให้ใช้ โดยไม่คิดค่าเช่า แต่ให้ช่วยค่าใช้จ่ายบาง อย่างในบ้านเท่านั้น และได้กล่าวขอบคุณคณะซาเลเซียน... นอกจากนั้นยังกล่าวถึง คุ ณ พ่ อ ดั ง โตแนล ที่คณะผู้ใหญ่ของคณะมิสซังต่างประเทศฯ อนุมัติให้คุณพ่อมายังประเทศไทย และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์บ้านเณรใหญ่ ที่สุดได้มี บันทึกเพื่อเชิญชวนว่า “วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 1972 บรรดาพระสังฆราชจะไปที่สามเณราลัยที่หัวหิน ทำพิธีเริ่มการศึกษา ในเวลา 11.00 น.”5
ห้ อ งเอกสารสามเณราลั ย ใหญ่ แ สงธรรม เอกสารตามสมั ย อธิ ก าร พระสั ง ฆราชยอแซฟบรรจง อารี พ รรค แฟ้ ม 1 เลขที่ 1 “การประชุมจัดตั้งสามเณราลัยใหญ่ครั้งที่ 1 ปี ค.ศ.1970” 5 แถลงการณ์สภาพระสังฆราชฯ ..อุดมสาร ฉบับที่ 3 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1972, หน้า 6-7 4
76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ทศวรรษแรก บ้านแสงธรรม (ค.ศ.1972-1982) สมัยพระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นอธิการ ค.ศ.1972-1975 บรรยากาศเรื่องราวในวันแรกแห่งแสงธรรม มีเรื่องราวที่บันทึกในอุดมสาร ปี ค.ศ.1972 ถึงเรื่องราวในวันนั้นว่า “วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรในประเทศไทยพลิกไปอีก หน้าหนึ่ง ... วันประวัติศาสตร์ที่บรรดาพระสังฆราชพร้อมด้วยพระสมณทูตยอห์น มอเร็ตตี และพระสงฆ์อีก 50 องค์ บรรดานักบวชชาย หญิง และสัตบุรุษ ร่วมขอบคุณพระเจ้าสำหรับ การเปิดบ้านเณรลุกซ์มุนดี ที่วัดนักบุญเทเรซา หัวหิน” และเหล่านี้เป็นเรื่องราวในวันนั้น ... พระอัครสังฆราชยวง นิตโย เทศน์เชิญชวนให้ ขอบคุณพระเจ้าสำหรับสถาบันแห่งนี้ ขอพรพระเจ้าสำหรับอาจารย์ และสามเณร สำหรับ อาจารย์ขอให้เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับศิษย์ ... หน้ากระดาษในอุดมสาร บันทึกบทเทศน์เตือนใจ บรรดาสามเณรว่า “..ส่วนสามเณรจงตั้งหน้าใฝ่หาความศักดิ์สิทธิ์สำหรับตนหากทำผิดพลาดเพราะใจอ่อน ความโง่เขลา และน้ำใจไม่ดี ก็จงวอนขอพระตรีเอกภาพช่วยเหลือ” ส่วนพระสังฆราชเกี้ยน เสมอพิทักษ์ ผู้รับผิดชอบบ้านเณรใหญ่ ในนามสภาพระสังฆราช กล่าวไว้อย่างชื่นใจว่า “... บ้านเณรนี้อุบัติขึ้นอย่างเงียบๆ ทำนองพระกุมารเจ้าที่ทรงบังเกิดที่เบธเลเฮม บ้านเณรตกลงชื่อ “ลุกซ์มุนดี” (แสงธรรม) นับเป็นมงคลนามที่เหมาะมาก ขอสามเณร จงบำเพ็ญตนให้มีใจร้อนรน มีความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะนำความดีครบครันนั้นแผ่ไปยังผู้อื่น” นอกจากนั้ น ยั ง มี คุ ณ พ่ อ บุ ญ เลิ ศ ธาราฉั ต ร กล่ า วในนามของคณะสงฆ์ ที่ ยื น ยั น ว่ า “บ้านเณรคือหัวใจของพระศาสนจักร”
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
77
และนี่คือวาทะของอธิการองค์แรก คุณพ่อบรรจง อารีพรรค “.. คณะอาจารย์รุ่นแรกทั้งสาม (คณะผู้ให้การอบรม) จะพยายามร่วมมือกับสามเณร ในการศึกษาอบรมอย่างเต็มที่ ขอฝากสามเณรไว้กับคณะพระสังฆราช พระสงฆ์ สัตบุรุษ โปรดช่วยกันทุกวิถที างให้เขาเป็นอย่างทีต่ อ้ งการเป็น แต่ทเ่ี ขาเป็นนัน้ อาจไม่เหมือนกับทีค่ นอืน่ ต้องการให้เป็นก็ได้” ยังมีบันทึกคณะผู้ให้การอบรมสามท่าน .. คุณพ่อบรรจง อารีพรรค, คุณพ่อสมศักดิ์ นามกร, คุณพ่อนรินทร์ ศิริวิริยานันท์ และบันทึกรายชื่อของสามเณรใหญ่ รุ่นที่ 1 ของ บ้านเณรแสงธรรม ทั้ง 31 คน และนี่คือเรื่องราวก่อนหน้านั้น กับเรื่องราวที่เป็นจริง เรื่องการเปิดบ้านเณรใหญ่ที่หัวหิน เป็นการชั่วคราว เพราะที่สามพรานยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ... เราเห็นการเดินทางไกลจากวันนัน้ ถึงวันนี้ เราเห็นเรือ่ งราวคำสอนของพระสังฆราชในวันนัน้ เห็นภาพคำสัญญาของคณะผู้ให้การอบรม ... ยืนยันเรื่องราวเหล่านั้นจนถึงวันนี้ได้อย่างมั่นใจว่า “บ้านเณรใหญ่ หัวใจของพระศาสนจักร” อย่างแท้จริง6 และที่สุดการเดินทางจากหัวหินเพื่อไปสู่บ้านอบรมที่แท้จริงที่ถูกเตรียมไว้แล้วก็มาถึง ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1972 มีบันทึกไว้ว่า 6
ประมวลจากอุดมสาร ปี ค.ศ.1972
78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
“ขบวนราชรถของพวกเณร ย้ายสัมภาระกลับสามพราน แต่เกิดขัดข้อง รถติดหล่ม ทำการแก้ไขเสร็จก็เป็นเวลา 18.00 น. จึงทานข้าวที่ตลาด ... 21.00 น. ออกเดินทางจาก หัวหิน ถึงสามพราน ตี 1 พอดี”7 และวันเวลาแห่งการเปิดสามเณราลัยอย่างเป็นทางการก็มาถึง ขอให้เป็นเวลาที่เรา ร่วมจิตใจ เป็นหนึ่งเดียวกันในพระศาสนจักรประเทศไทย เพื่อเปิดสามเณราลัยใหญ่แสงธรรม อย่ า งเป็ น ทางการ ในวั น ที่ 2 กุ ม ภาพั น ธ์ 1975 .. วั น เดี ย วกั น นั้ น มี ก ารวางศิ ล าฤกษ์ วั ด หอประชุม และหอสมุด ... งานในวันนั้นมีการออกอุดมสารฉบับพิเศษที่เปรียบประดุจหนังสือ อนุ ส รณ์ ข องงานในวั น นั้ น .. ทำให้ เราได้ พ บคำขวั ญ ของบรรดาพระสั ง ฆราช บทความจาก อธิการบ้านเณร บรรดาผู้ให้การอบรม และบรรดาสามเณร ... หนึ่งในนั้น เราพบคำขวัญที่ ถูกเขียนอย่างน่าประทับใจโดยพระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู... “บ้านเณรได้รับยกย่องว่าเป็นแก้วตา เป็นหัวใจของพระศาสนจักร ... บ้านเณรแห่งนี้ ยังจะเป็นขุมพลังที่มีประสิทธิภาพ ความหวังอันแจ่มใส และแสงสว่างที่โชติช่วงสมชื่อ ของ พระศาสนจักรในประเทศไทย ... และสักวันหนึ่งในไม่ช้า สามเณราลัยแสงธรรม จะสามารถ ผลิดอกออกผล นั่นคือ “พระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้า” ซึ่งเป็นยอดปรารถนาอัน แรงกล้าของเราทุกคน”8 บรรยากาศช่วงสี่ปีแรก (ค.ศ.1972-1975) บรรยากาศที่ประทับใจของบรรดาสามเณรใหญ่ รุ่นแรกๆ คือ บรรยากาศแบบครอบครัว เนื่องจากจำนวนสามเณรยังมีไม่มาก ความสัมพันธ์ ใกล้ ชิ ด สนิ ท สนมระหว่ า งพระสงฆ์ ผู้ ใ ห้ ก ารอบรมกั บ สามเณร และสามเณรด้ ว ยกั น มี สู ง มาก พระสงฆ์ผใู้ ห้การอบรมในสมัยแรก คุณพ่อบรรจง อารีพรรค เป็นอธิการ (ต่อมาเป็นพระสังฆราช สั ง ฆมณฑลนครสวรรค์ . . ท่ า นจากเราไปหาพระบิ ด าเจ้ า เมื่ อ วั น ที่ 1 กั น ยายน ค.ศ.2012) อนุทิน สามเณราลัยใหญ่แสงธรรม เล่มที่ 1 ปี ค.ศ.1972-1980, หน้า 8. คำขวัญของพระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู โอกาสเปิดบ้านเณรใหญ่แสงธรรม อย่างเป็นทางการ, อุดมสารฉบับ พิเศษ ปีที่ 55 ฉบับที่ 3, 1 ก.พ. 1975 7 8
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
79
คุณพ่อสมศักดิ์ นามกร เป็นรองอธิการ คุณพ่อนรินทร์ ศิริวิริยานันท์ เป็นอาจารย์ประจำ ปีที่สองมี คุณพ่อเอก ทับปิง (ต่อมาเป็นพระสังฆราชสังฆมณฑลราชบุรี .. ท่านจากเราไปหา พระบิดาเจ้า และมีพิธีปลงศพเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 1985) คุณพ่อดังโตแนล มาเพิ่ม (ท่านจาก เราไปหาพระบิดาเจ้า เมือ่ วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.2010) ส่วนคุณพ่อนรินทร์ ได้ยา้ ยไปทำงานทีอ่ นื่ ปีที่สาม คุณพ่อชุมภา คูรัตน์ มาสมทบ และปีที่สี่มีคุณพ่อสำราญ วงศ์เสงี่ยม มาประจำที่ บ้ า นเณร ... ยุ ค สมั ย แรกภายใต้ ก ารนำด้ ว ยจิ ต ตารมณ์ ค วามรั ก “ที่ ใ ดมี รั ก ที่ นั่ น มี พ ระเจ้ า ” และเน้นให้สามเณรมีความจริงใจ และจริงจัง ต้องมุ่งมั่นที่จะเป็นพระสงฆ์ ... “ฉันต้องการ เป็นพระสงฆ์เพื่อทำงานในพระศาสนจักรของพระเจ้า เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดและพบความสุขแท้ จริง” และพยายาม “เป็นพระสงฆ์ เพื่อทุกคน” (เทียบ 1คร9:19) “เป็นแสงสว่างส่องโลก” (มธ 5:14) การเป็นสามเณรเพื่อเตรียมตัวเองเพื่อเป็นพระสงฆ์ ชีวิตการเป็นสามเณรต้องมี อุดมการณ์และพยายามเดินตามอุดมการณ์นั้นอย่างกล้าหาญโดยไม่ย่อท้อแม้พบอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต ปีเดียวกันนั้นเองที่เราร่วมยินดีกับการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ของศิษย์แสงธรรม รุ่นแรก โดยพระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธี .. เรื่องน่ายินดีในปี 1976 อธิการแสงธรรมองค์แรก ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช .. พระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค พระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์ .. เรื่องราวแห่ง ความรัก ถูกสานต่ออย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุดจริงๆ “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีพระเจ้า” คำสอนเรื่อง ความรักยังติดตราตรึงใจผู้รับการอบรมรุ่นแรกๆ เสมอ ... พระคุณเจ้าได้รับการอภิเษกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 1976 ที่นครสวรรค์ เราพบเรื่องราวการเดินทางไปร่วมยินดีกับพ่อผู้เป็นที่รัก ของบรรดาสามเณร .. ก่อนหน้านั้นเราพบเรื่องราวที่เป็นบทความที่ถูกเขียนจากใจของพระคุณเจ้า ก่อนที่จะไปเป็นพระสังฆราชนครสวรรค์ เราพบเรื่องราวอันเป็นต้นกำเหนิดของแนวความคิด ในการก่อตั้งกลุ่มพระสงฆ์ที่ไม่สังกัดมิสซังไหน ซึ่งพร้อมไปช่วยงานในทุกที่ ต่อมากลายเป็น “คณะธรรมทูตไทย” .. เรายังพบเรื่องราวคำเตือนบรรดาศิษย์ที่ทิ้งท้ายไว้ว่า “..เคยพูดเวลาที่สอนเรื่องกระแสเรียกว่า เราน่าจะมีเณรที่ไม่สังกัดมิสซังไหน เตรียมไว้ เพื่อมิสซังไหนต้องการก็ส่งไปได้ จะรอเหลือเสียก่อน แล้วจึงส่งไปช่วยมิสซังอื่น แบบนี้ทำไม่ได้ แน่ๆ เพราะคงไม่มีมิสวังไหนเหลือ”9 9
“คุยกันฉันพ่อลูก”, วารสารแสงธรรม ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, กรกฎาคม 1976, หน้า 16
80 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
การอบรมในด้านต่างๆ ของบ้านเณรใหญ่ในยุคแรกๆ มิติความเป็นมนุษย์ (ความเป็นผู้ใหญ่) บ้านเณรใหญ่สมัยแรกเน้นการให้อิสรภาพ เพื่อ ช่วยให้สามเณรได้รับผิดชอบตนเอง ระเบียบวินัย ตารางเวลา มีไว้เพื่อฝึกให้รู้จักบังคับตนเอง มีการฝึกฝนการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ฝึกจิตตารมณ์ความรัก การเสียสละ ให้อภัย และรู้จัก รับผิดชอบร่วมกัน มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบเรื่องต่างๆ ในบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ฝ่ายคือ การศึกษา กีฬา บันเทิง พิธีกรรม และประชาสัมพันธ์ มีเวลาทำงานทั้งเวลาที่กำหนด และ เวลาอาสาสมั ค รเพื่ อ ช่ ว ยกั น ทำงาน โดยเฉพาะการปลู ก ต้ น ไม้ เพราะบ้ า นเณรสมั ย แรกๆ ประกอบไปด้วยอาคาร 6 หลัง (ตึกพักอาศัย 2 หลัง อาคารเรียน ห้องอาหาร บ้านพักซิสเตอร์ บ้านพักพนักงาน และโรงครัว) ตั้งอยู่กลางทุ่งนา เกือบจะไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย ทั้งพระสงฆ์และ สามเณรได้ช่วยกันปลูกต้นไม้รอบๆ บ้านเณร .... ชีวิตเณรเป็นการอยู่ร่วมกันที่มีทั้งความจริงจัง สนุกสนาน มีการเล่นกีฬา สังสรรค์ บันเทิง และการพักผ่อนร่วมกัน มิติด้านชีวิตฝ่ายจิต ... บ้านเณรให้เวลาและโอกาสสำหรับสามเณรในการพัฒนาชีวิต ฝ่ายจิต โดยปฏิบัติศาสนกิจ การรำพึง การภาวนา การร่วมพิธีมิสซา การเข้าเงียบ ทั้ง ส่ ว นรวม และในกลุ่ ม ย่ อ ย ... ในช่ ว งนั้ น คุ ณ พ่ อ อธิ ก ารได้ ใ ห้ ค วามหมายของชี วิ ต ฝ่ า ยจิ ต ว่ า “เป็นการเสริมสร้างสภาพจิตใจให้ความโน้มเอียงตามธรรมชาติอยู่ในลู่ทางที่จะทำตามการ ตัดสินใจกระทำทุกอย่างตามแสงสว่างแห่งพระวรสาร และตามแบบอย่างของพระคริสตเจ้า จนเป็นนิสัย หรือคุณธรรม” มิ ติ ด้ า นการศึ ก ษา ... บ้ า นเณรใหญ่ ใ นสามปี แรก ปี ห นึ่ ง ปี ส ามภาคการศึ ก ษา และ นักศึกษา 3 ปีแรกเป็นรุ่นบุกเบิกเรียนโดยไม่ได้รับปริญญา บรรดาสามเณรต่างเรียกตนเองว่า “นักศึกษาอุดมการณ์” แต่บรรดาสามเณรยุคนั้นก็ทุ่มเทชีวิตในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมาก เพื่ อ ให้ มี ค วามรู้ เ ที ย บเท่ า พระสงฆ์ ที่ เรี ย นจบจากบ้ า นเณรใหญ่ ใ นต่ า งประเทศ อาจารย์ จ าก ภายนอกหลายๆ ท่านต่างรู้สึกแปลกใจ และชมเชยในความกระตือรือร้นในการศึกษาเล่าเรียน ของสามเณรในยุคแรกๆ มิติด้านงานอภิบาลและแพร่ธรรม ... ระหว่างปีการศึกษาทางบ้านเณรจัดให้สามเณรได้ ออกไปฝึกงานอภิบาลตามวัด โดยสามเณรได้ไปช่วยพิธีกรรม สอนคำสอน ทำงานด้านสังคม พัฒนา การเยี่ยมผู้ต้องขัง การเข้าร่วมกิจกรรมกับศูนย์นิสิตนักศึกษาคาทอลิก ฯลฯ กิจกรรม เหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ สัมผัสชีวิต รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม อีกทั้งเป็นการ เสริมสร้างชีวิตในมิติการอบรมด้านงานอภิบาลและแพร่ธรรม
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
81
สมัยคุณพ่อสมศักดิ์ นามกร เป็นอธิการ ค.ศ.1976-1983 คุณพ่อสมศักดิ์ นามกร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการบ้านเณร หลังจากที่คุณพ่อบรรจง อารีพรรค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์ จำนวนสามเณรได้เพิ่มขึ้น ตามลำดับ พระสงฆ์ผใู้ ห้การอบรมมีจำนวน 8 องค์ บรรยากาศของบ้านเณรจึงค่อยๆ เปลีย่ นแปลง ไปตามความเหมาะสม มีโครงสร้าง ระเบียบ และกฎเกณฑ์ตา่ งๆ เพือ่ ช่วยให้การอบรมสามเณร มีประสิทธิภาพมากขึ้น การอบรมในมิติต่างๆ มิติด้านความเป็นมนุษย์... เนื่องจากสามเณรมีจำนวนมากขึ้น จึงมีการจัดแบ่งสามเณร ในแต่ ล ะชั้ น ปี ใ ห้เป็นกลุ่มย่อยเล็กๆ เพื่อฝึกเจริ ญ ชี วิ ต หมู่ ค ณะหรื อ ชี วิ ต กลุ่ ม มี หั ว หน้ า กลุ่ ม และหัวหน้าชั้นปี รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการสามเณร (กกส.) และมีกลุ่มกิจกรรมที่แบ่งเป็น ชมรม 7 ชมรม ได้แก่ พิธีกรรม, การศึกษา, ประชาสัมพันธ์, บรรณารักษ์, กีฬา, บันเทิง และอนุรักษ์ธรรมชาติ มีหน่วยงานต่างๆ เช่น งานช่างประปา, ไฟฟ้า, ตัดผม, ขับรถ ฯลฯ มีงานพิเศษ เช่น ผู้ดูแลด้านอาหารที่เรียกว่า โภชนากร และกลุ่มสหกรณ์ร้านค้า เป็นต้น มีกลุ่มสังฆมณฑล กลุ่มอาสาสมัคร เช่น กลุ่มฝึกภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาปกาเกอะญอ ฯลฯ มิติด้านชีวิตฝ่ายจิต... คุณพ่อวงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ เป็นคุณพ่อจิตตาธิการผูด้ แู ลรับผิดชอบ การอบรมด้านชีวิตจิต จึงได้จัดการอบรมอย่างเป็นระบบมากขึ้น มิติด้านการศึกษา... วิทยาลัยแสงธรรมได้รับการอนุมัติให้เป็นวิทยาลัยเอกชน เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1976 และทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรศิลป ศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา และหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาเทววิทยา ... คุณพ่อ สมศักดิ์ นามกร เป็นอธิการ และผู้อำนวยการวิทยาลัยแสงธรรมในสองปีแรก ต่อมาคุณพ่อ จำเนียร กิจเจริญ เป็นผู้อำนวยการต่ออีก 4 ปี มิติด้านงานอภิบาลและแพร่ธรรม... ทางบ้านเณรจัดให้สามเณรได้ฝึกงานอภิบาลตามวัด ในชั้นปีที่ 5-6 จะมีโอกาสไปฝึกงานอภิบาลตามวัด ในเขตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และ สังฆมณฑลราชบุรี ซึ่งงานอภิบาลส่วนใหญ่ที่สามเณรทำก็คือ งานด้านพิธีกรรม สอนคำสอน การขับร้อง ฯลฯ เป้าหมายของการทำงานอภิบาลก็เพื่อให้สามเณรได้สัมผัส รับรู้สภาพงานจริง เรียนรู้การอยู่กับพระสงฆ์ และสัตบุรุษ เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้อภิบาล สามเณรสมัยนี้มีชื่อเสียง มากในเรื่องการจัดอบรม การสัมนา สามเณรมีความสามารถรอบตัว เป็นที่ประทับใจบรรดา
82 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
เด็กๆ และเยาวชน ... สมัยนั้นยังมีความเป็นเลิศในด้านดนตรี และการประพันธ์บทเพลง มี การส่งสามเณรไปเรียนดนตรีกับอาจารย์ข้างนอก ทำให้มีผลงานเพลงใหม่ๆ มากขึ้น จนถึง ขนาดทีว่ า่ ทุกวันพุธทีม่ กี ารซ้อมร้องเพลง มักจะมีการนำเสนอผลงานการประพันธ์บทเพลงใหม่ๆ เสมอ ต่อมา วันที่ 3 ก.พ. 1980 .. ที่เราร่วมใจกันในพระศาสนจักรประเทศไทย เพื่อร่วม เปิดและเสกวัดประจำบ้านเณร โดยพระอัครสังฆราชไมเกิล้ มีชยั กิจบุญชู ร่วมกับพระสมณทูต บรรดาพระสังฆราช และมีพี่น้องสัตบุรุษมาร่วมมากมาย และต่อ ช่วงเวลานี้ ขอให้เป็นช่วงเวลาในปี ค.ศ. 1982 .. มีการเปลี่ยนแปลงระบบ การอบรมจาก 6 ปี เป็น 7 ปี และเริ่มมีการบวชสังฆานุกรให้กับสามเณรใหญ่ที่จบชั้นปีที่ 7 ซึ่งเลื่อนจากเดิมในเดือนตุลาคม มาเป็นช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งตรงกับวันสมโภชแม่พระรับเกียรติ ยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ และในปีนั้นก็ตรงกับวันที่ 15 ส.ค. 1982 .. และขอให้เป็น ช่วงเวลาเดียวกับทีจ่ ะจบทศวรรษแรกของบ้านแสงธรรม .. ช่วงเวลาที่เราร่วมยินดีกบั พระคาร์ดนิ ลั ไทยองค์แรก .. พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู บรรดาสามเณรเดินทางไปร่วมแสดงความ ยินดีที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ ในวันที่ 27 ก.พ. 1973 … สรุปเหตุการณ์สำคัญในช่วงทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม 20 พ.ค. 72 พิธีเปิดสามเณราลัยใหญ่แสงธรรมเป็นการชั่วคราว ที่หัวหินวิทยาลัย มีสามเณรรุ่นแรก 31 คน คณะผู้ให้การอบรม 3 องค์ 1 ธ.ค. 72 ย้ายสถานที่การอบรมมาอยู่ที่สามพราน ถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 29 28 พ.ค. 73 วั น แรกของปี ก ารศึ ก ษาใหม่ ในปี ที่ 2 ของสามเณราลั ย แสงธรรม มีนกั ศึกษา 2 ชัน้ ปีจำนวน 44 คน และใช้อาคารเรียนของวิทยาลัยเป็นวันแรก 3 มิ.ย. 73 บรรดาสามเณรใหญ่ได้ไปร่วมพิธีอภิเษก พระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิ จ บุ ญ ชู ที่ บ้ า นเณรเล็ ก ยอแซฟ สามพราน มี บั น ทึ ก ไว้ ว่ า “..เป็ น พิ ธี ใหญ่โตมาก มีมหาชนร่วมพิธีอย่างล้นหลาม อาทิ บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง องค์กรคาทอลิกต่างๆ และ ประชาสั ต บุ รุ ษ มากมาย ตลอดถึงคณะพระภิกษุ (แทนสมเด็จพระวันรัต) และข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ต่างให้เกียรติมาร่วมพิธี นับว่าเป็นพิธีที่แสนจะสง่า อบอุ่น เป็น ที่ประทับใจ และน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก เสร็จพิธีทั้งท่านเก่า ท่านใหม่
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
4 มิ.ย. 73 30 พ.ค. 74 2 ก.พ. 75 10 มิ.ย. 75 26 ต.ค. 75 16 ธ.ค. 75 3 มิ.ย. 76 12 ก.ค. 76 18 ก.ย. 76 31 ต.ค. 76 6 มิ.ย. 77
83
กล่าวสุนทรพจน์ได้อย่างจับจิตจับใจจริงๆ ... ในตอนบ่ายมีแขกมากหน้า หลายตามาเยือนบ้านเณรของเรา” ... บรรดาสามเณรเดินทางไปคำนับแสดงความยินดีกับพระอัครสังฆราชใหม่ พระคุณเจ้าได้ตอบสุนทรพจน์ต่อบรรดาเณรอย่างซาบซึ้งตรึงใจด้วยข้อความ ที่ว่า... “เณรเป็นหัวใจของบรรดาพระสังฆราชและพระสงฆ์ เณรต้องมี ความเชื่ อ มั่ น ในฐานะของตน ต้ อ งยื น หยั ด ฟั น ฝ่ า อุ ป สรรค และเป็ น แสงสว่างของโลก” วันแรกของปีการศึกษาใหม่ปที ่ี 3 ของสามเณราลัย มีนกั ศึกษา 3 ชัน้ ปี จำนวน ทัง้ หมด 62 คน สามเณรสังฆมณฑล 52 คน สามเณรคณะนักบวช 10 คน พิธีเปิดสามเณราลัยใหญ่แสงธรรมอย่างเป็นทางการ มีการเสกอาคาร ต่างๆ พร้อมทัง้ มีการวางศิลาฤกษ์วดั หอประชุม และหอสมุด พระสังฆราช ทุกองค์มาร่วมในพิธี และมีการออกอุดมสารฉบับพิเศษ วันแรกของปีการศึกษาใหม่ปีที่ 4 มีนักศึกษา 4 ชั้นปี จำนวน 101 คน เป็นสามเณรสังฆมณฑล 84 คน และสามเณรคณะนักบวช 17 คน พิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ อ่ า นพระคั ม ภี ร์ (สามเณรรุ่ น 1) จำนวน 16 คน โดย พระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน สามเณรร่วมพิธีมิสซาปลงศพของสามเณรนิมิต รักมหาวิทย์ ที่วัดนักบุญ เปโตร สามพราน (ศิษย์แสงธรรมคนแรกที่เสียชีวิต) วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีที่ 5 มีนักศึกษา 5 ชั้นปี จำนวนทั้งหมด 131 คน เป็นสามเณรสังฆมณฑล 108 คน สามเณรคณะนักบวช 23 คน สามเณรเดิ น ทางไปร่ ว มพิ ธี อ ภิ เ ษก พระสั ง ฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค ที่นครสวรรค์ สามเณรจำนวนหนึ่งไปช่วยดับไฟที่ไหม้โรงงานรองเท้าพรินซ์ ที่อยู่ตรงข้าม กับบ้านเณร พิธีแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม (สามเณรรุ่น 1) และแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ (สามเณรรุ่ น ที่ 2) ... พระสั ง ฆราชยอแซฟ บรรจง อารี พ รรค เป็นประธาน วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีที่ 6 มีนักศึกษา 6 ชั้นปี จำนวนทั้งหมด
84 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
14 ต.ค. 77 4 ธ.ค. 77 19 มี.ค. 78 5 มิ.ย. 78 13 ต.ค. 78 5 มิ.ย. 79 3 ก.พ. 80 9 มิ.ย. 80 16 ก.ค. 80 7 มี.ค. 81 8 มิ.ย. 81 16 ส.ค. 81 2 ก.พ. 82
138 คน เป็นสามเณรสังฆมณฑล 114 คน สามเณรคณะนักบวช 24 คน พิธีแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม (สามเณรรุ่น 2) และแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ (สามเณรรุ่ น ที่ 3) ... พระสั ง ฆราชลอเรนซ์ เที ย นชั ย สมานจิ ต เป็น ประธาน สามเณรไปร่วมพิธีเคารพศีลมหาสนิทและแห่แม่พระฟาติมา ที่บ้านเณร ยอแซฟ อำลาคุณพ่อดังโตแนล กลับไปทำงานที่ฝรั่งเศส และอำลาสามเณรรุ่นที่ ๑ ที่จบการศึกษาอบรม วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีท่ี 7 มีนักศึกษา 6 ชั้นปี จำนวนทั้งหมด 161 คน เป็นสามเณรสังฆมณฑล 133 คน สามเณรคณะนักบวช 28 คน พิธีแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม 14 คน และแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ 36 คน ... พระสังฆราชยอแซฟ เอก ทับปิง เป็นประธาน วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีท่ี 8 มีนักศึกษา 6 ชั้นปี จำนวนทั้งหมด 185 คน เป็นสามเณรสังฆมณฑล 140 คน สามเณรคณะนักบวช 45 คน พิธีเปิดและเสกวัดใหม่ของสามเณราลัยแสงธรรม โดยพระอัครสังฆราช ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิ จ บุ ญ ชู เป็ น ประธาน พระสมณทู ต และพระสั ง ฆราช ทุกองค์ในประเทศไทยมาร่วมในงานนี้ มีการออกอุดมศานต์ฉบับพิเศษ วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีที่ 9 จำนวนทั้งหมด 177 คน เป็นสามเณร สังฆมณฑล 135 คน สามเณรคณะนักบวช 42 คน สามเณรสังกัดอัครสังฆมณฑลท่าแร่ฯ ไปร่วมพิธีอภิเษกพระอัครสังฆราช ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน สามเณรเดินทางไปร่วมพิธีต้อนรับพระสมณทูต เรนาโต้ ราฟาแอล มาร์ติโน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีที่ 10 จำนวนทั้งหมด 180 คน เป็นสามเณร สังฆมณฑล 127 คน สามเณรคณะนักบวช 55 คน พิธีแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์และผู้ช่วยพิธีกรรม โดยพระสังฆราชยอแซฟ เอก ทับปิง วันฉลองแสงธรรม ภาคเช้ามีพิธีมิสซา และเวลาบ่ายมีการแข่งขันกีฬา
ทศวรรษแรกบ้านแสงธรรม ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ค.ศ.1972-1983
7 มิ.ย. 82 15 ส.ค. 82 20-28 ต.ค. 82 3 ธ.ค. 82 27 ก.พ. 83
85
วันแรกของปีการศึกษาใหม่ ปีที่ 11 จำนวนทั้งหมด 219 คน เป็นสามเณร สังฆมณฑล 127 คน สามเณรคณะนักบวช 92 คน บ้านเณรเปลี่ยนแปลงระบบการอบรมศึกษาจาก 6 ปี เป็น 7 ปี เริ่มมีการบวชสังฆานุกรให้สามเณรใหญ่ชั้นปีที่ 7 โดยเลื่อนจากเดือน ตุ ล าคมมาเป็ น วั น สมโภชแม่ พ ระรั บ เกี ย รติ ย กขึ้ น สวรรค์ ทั้ ง กาย และ วิ ญ ญาณ ซึ่ ง ตรงกั บ วั น ที่ 15 สิ ง หาคม ของทุ ก ปี ... มี ผู้ รั บ ศี ล บวช เป็นสังฆานุกร 17 ท่าน แต่งตัง้ เป็นผูช้ ว่ ยพิธกี รรม 21 คน ผูอ้ า่ นพระคัมภีร์ 23 คน ... พระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน การประชุมสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเซีย (FABC) ที่บ้านเณรใหญ่ แสงธรรม การแข่งขันกีฬาวิทยาลัยเอกชน ครั้งที่ 4 “แสงธรรม” เข้าร่วมการแข่งขัน ทีส่ นามกีฬาไทย ญีป่ นุ่ เราได้เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง 2 ร่ ว มยิ น ดี กั บ พระคาร์ ดิ นั ล ไทยองค์ แรก ... พระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิจบุญชู .. สามเณรเดินทางไปร่วมแสดงความยินดีที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ
บทสรุป ... ก่อนที่จะมีบ้านเณรแสงธรรม ซึ่งเป็นบ้านเณรภายใต้ความดูแลของสภาพระสังฆราช แห่งประเทศไทย เรื่องราวของการดำเนินการเพื่อสร้างบ้านเณรใหญ่นั้น เป็นความร่วมมือ กันของพระศาสนจักรประเทศไทย เพราะจากเอกสารบันทึกการประชุมเพื่อเตรียมสร้างบ้านเณร นั้น มีรายชื่อของผู้ที่เป็นตัวแทนจากสภาพระสังฆราช พระสงฆ์ที่เป็นตัวแทนจากสังฆมณฑล และนักบวชคณะต่างๆ นอกจากนั้นยังมีตัวแทนจากฆราวาส เข้ามาร่วมประชุมเพื่อวางแผน อีกด้วย สมแล้วที่บ้านเณรใหญ่แสงธรรม เป็นบ้านของพระศาสนจักรประเทศไทยอย่างแท้จริง ที่สำคัญกว่านั้นอีกก็คือการตอบสนองเจตนารมณ์ของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ที่ประสงค์ จะให้ แ ต่ ล ะประเทศ หรื อ สั ง ฆมณฑล ตั้ ง บ้ า นเณรของตนเพื่ อ อบรมพระสงฆ์ ใ นบริ บ ทของ แต่ละท้องถิ่น เรื่องราวเก่าๆ ของทศวรรษแรกนี้ยังเป็นเรื่องราวที่พวกเราศิษย์แสงธรรมจะสำนึก และคิดถึงผู้มีพระคุณต่อพวกเรา ที่ได้บุกเบิกและวางรากฐานการอบรมเพื่อเป็นพระสงฆ์แก่ พระศาสนจักรประเทศไทย
86 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ขอบคุณสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ... เป็นพิเศษ พระอัครสังฆราช มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ พระสังฆราชผู้แทนของสภาพระสังฆราชที่ดำเนินงานในการสร้าง บ้านเณรใหญ่ บรรดาพระสังฆราชทุกองค์ ที่ร่วมสนับสนุน ช่วยเหลือ เป็นกำลังใจให้แก่ บรรดาสามเณร ... ขอบคุณสภาพระสังฆราชผ่านทางพระสังฆราชในยุคปัจจุบัน เป็นพิเศษ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พระคุณเจ้าอยู่คู่กับแสงธรรมตั้งแรกเริ่มการประชุมด้วย เหมือนกัน และทุกวันนี้ท่านก็ยังช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษา และดำเนินงานต่างๆ เพื่อแสงธรรม ต่อไป ... ที่สุดเราไม่ลืมที่จะคิดถึง พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค อดีตอธิการองค์แรก ของบ้านเณรใหญ่แสงธรรม พระคุณเจ้าผู้สอน “ความรัก” ตลอดทั้งชีวิตด้วยแบบอย่างและ คำพูด ... ขอบคุณบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ ... ผู้ให้การอบรมพวกเราทุกองค์ ที่อบรมและ เดินเคียงข้างพวกเราทุกคน ขอขอบคุณบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ ผู้เป็นอาจารย์ของเราทุกท่าน ขอบคุณ บรรดาอาจารย์ทุกคน ที่พร่ำสอนทั้งวิชาการ และสอนคุณธรรมให้เราเสมอมา ขอบคุ ณ พี่ น้ อ งสั ต บุ รุ ษ ทุ ก ท่ า น ที่ ส นั บ สนุ น พวกเรา “ศิ ษ ย์ แ สงธรรม” ด้ ว ยน้ ำ ใจดี อันเหลือล้น ขอบคุณกันและกัน เพราะเราทุกคนมีส่วนในบ้านหลังนี้เสมอ “บ้านของพระศาสนจักร ประเทศไทย”
110 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
หมวดคำสอน
พระแม่มาร์ีย์ : แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม
ทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ
แปลจากบทความ “Mary, the Model Catechist” By Father John A. Hardon, S.J.
ผู้ช่วยหัวหน้าสาขาวิชาฯและอาจารย์ประจำ สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม
พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม 111
ครูคริสตศาสนธรรมสอนบุคคลอื่น โดยการหล่อหลอมจิตใจเพื่อจุดประกายความสมัครใจ ครูคริสตศาสนธรรมไม่ใช่เพียงแต่สอนเพื่อสอนความคิด แต่หล่อหลอมจิตใจเพื่อจุดประกายความสมัครใจด้วย เราไม่ค่อยจะได้พูดคุยเกี่ยวกับพระนาง มารีย์ในฐานะครูคริสตศาสนธรรม และเราไม่ ค่ อ ยจะได้ คิ ด ถึ ง พระนางในฐานะแบบอย่ า ง สำหรับบุคคลผู้ซึ่งสอนคริสตศาสนธรรม แต่ พระนางพรหมจารีมารีย์ไม่ได้เป็นเพียงแบบ อย่างเท่านัน้ พระนางเป็นแบบอย่างทีส่ มบูรณ์ แบบซึง่ ครูคริสตศาสนธรรมทุกคนในพระศาสนจักร คาทอลิกควรจะเป็น ก่อนที่เราจะลงลึกในเรื่องของเรามาก ไปกว่านี้ คงจะเป็นการดีท่จี ะถามตัวเราเองว่า “ครู ค ริ ส ตศาสนธรรมคื อ ใคร” ครู ค ริ ส ต ศาสนธรรมคือคนที่ทำการสอนบุคคลอื่นใน เรื่องความเชื่อที่เที่ยงแท้หนึ่งเดียว สังเกตดู เรากำลังพูดถึงสองสิ่ง ครูคริสตศาสนธรรม สอนบุ ค คลอื่ น ซึ่ ง หมายถึ ง สอนผู้ อื่ น โดยการ หล่อหลอมจิตใจเพื่อจุดประกายความสมัครใจ ครูคริสตศาสนธรรมไม่ใช่เพียงแต่สอนเพื่อสอน ความคิด แต่หล่อหลอมจิตใจเพื่อจุดประกาย ความสมัครใจด้วย ยิ่งกว่านั้นครูคริสตศาสนธรรมคือบุคคล ผู้ซึ่งสอนคนอื่นในข้อความเชื่อที่เที่ยงแท้หนึ่ง
เดียว มีข้อความเชื่อหลายอย่าง ไม่มีผ้ใู ดเลย จริงๆ ที่เป็นผู้ที่ไม่มีความเชื่อ ทุกคนเชื่อแต่ ไม่ใช่ทุกคนที่เชื่อในความเชื่อเที่ยงแท้หนึ่งเดียว การสอนผู้อื่นในความเชื่อเที่ยงแท้หนึ่งเดียว หมายถึ ง ความเชื่ อ ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ โดย พระศาสนจักรซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งขึ้น เรากล่าวว่าพระนางมารียเ์ ป็นแบบอย่าง ทีส่ มบูรณ์แบบซึง่ ครูคริสตศาสนธรรมคาทอลิก ทุกคนควรจะเป็น เมื่อกล่าวดังนี้ เรายืนยัน สิ่งที่อาจจะไม่ชัดแจ้งว่าพระนางเป็นครูคริสต ศาสนธรรม พระนางได้สอนผู้อื่นในความเชื่อ เที่ ย งแท้ ห นึ่ ง เดี ย ว และพระนางได้ ท ำด้ ว ย ความเลือ่ มใสศรัทธาซึง่ เราอาจจะเรียกพระนาง อย่ า งถู ก ต้ อ งตามกฎหมายว่ า มารดาของครู คริสตศาสนธรรม สิ่งนี้นำเราสู่คำถามเบื้องต้นที่เราควร ถามว่า “พระนางมารียเ์ ป็นครูคริสตศาสนธรรม ที่สมบูรณ์แบบอย่างไร?” และ “เราสามารถ เรียนรูจ้ ากพระนางในการสอนศาสนาคาทอลิก แก่คนอื่นอย่างไร?” คำตอบอยู่ในความเข้าใจ สิ่งที่เป็นคุณสมบัติหลักของพระนางมารีย์ซึ่ง
112 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
เราควรพยายามเลี ย นแบบในชี วิ ต ครู ค ริ ส ต ศาสนธรรม โดยการปฏิ บั ติ ต ามแบบอย่ า ง ของพระนางมารีย์ เราสามารถเป็นเหมือน พระนาง ผู้ ซึ่ ง เป็ น ผู้ สื่ อ สารที่ ส มบู ร ณ์ แ บบ ในการเผยแสดงพระบุตรของพระนางซึ่งเป็น พระบุตรของพระเจ้ามากยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจะจำแนกคุณสมบัตเิ หล่านีอ้ ย่าง เจาะจงเป็น 3 ประเด็น • ความเชื่อของพระนางมารีย์ชัดเจน และสามารถเข้าใจได้ • ความเป็นหนึ่งเดียวกันในคำภาวนา กับพระหฤทัยของพระบุตร • การดำเนินชีวติ ทีส่ ภุ าพและกล้าหาญ ของพระนางมารี ย์ ต ามพระประสงค์ ข อง พระเจ้า การมอบคุณสมบัติเหล่านี้ในพระนาง พรหมจารี เราได้มีมูลเดิมของปัญหาเกี่ยวกับ คุณสมบัติของพระนางมารีย์ ในฐานะแบบ อย่างของครูคริสตศาสนธรรม เพราะเหตุใด? เพราะความสำคัญของการสอนคริสตศาสนธรรม ไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่ถูกพูดออกมา ความสำคัญอยู่ ในสิ่งที่ถูกสื่อสาร เพื่อที่จะสื่อสารความจริง บุคคลนั้นต้องมีความเชื่อที่ชัดเจน ความเป็น หนึ่ ง เดี ย วที่ ลึ ก ซึ้ ง กั บ พระเจ้ า ในการภาวนา และดำเนินชีวิตอย่างกล้าหาญสอดคล้องกับ พระประสงค์ของพระเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ไม่มบี คุ คลอืน่ เป็นครูคริสตศาสนธรรมทีส่ มบูรณ์ แบบ ไม่ มี ใ ครอื่ น ที่ เ ป็ น แม้ ก ระทั่ ง ครู ค ริ ส ต ศาสนธรรมที่แท้จริง
ดังนั้นทั้งสามประเด็นนี้ไม่ใช่เป็นเพียง พื้นฐานของการสอนคริสตศาสนธรรมที่แท้จริง ในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นจิตวิญญาณของ การสอนคริสตศาสนธรรม หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ แล้ ว การสอนในเรื่ อ งศาสนาคาทอลิ ก ก็ เ ป็ น เพียงแต่การเรียนการสอนความรู้แต่ไม่มีชีวิต ชีวา ไม่ใช่ทุกคนที่พูดเกี่ยวกับศาสนาจะเป็น การสอนคริสตศาสนธรรม ความเชื่อของพระนางมารีย์ การพูดถึงพระนางมารีย์ในฐานะแบบ อย่ า งของครู ค ริ ส ตศาสนธรรม เราเริ่ ม จาก ชีวิตจิตของพระนาง เริ่มต้นพร้อมกับความ เชือ่ ทีล่ กึ ซึง้ และปราศจากข้อสงสัย คำคุณศัพท์ “ปราศจากข้อสงสัย” เป็นความสำคัญของ ความเชื่อเที่ยงแท้ เรารู้ว่าความเชื่อเป็นการ ยอมรับด้วยจิตใจในสิ่งที่พระเจ้าทรงเผยแสดง และหมายถึ ง การเชื่ อ โดยปราศจากเงาแห่ ง ความสงสัยในทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงบอกแก่เรา ว่ า เป็ น ความจริ ง เพราะเหตุ ใ ด? เพราะ พระองค์ ไ ม่ ท รงหลอกลวง และไม่ ท รงถู ก หลอกลวง พระนางมารี ย์ มี ค วามเชื่ อ แบบนี้ ใน การแจ้ ง สารพระนางเชื่ อ ว่ า สิ่ ง ที่ ทู ต สวรรค์ นำมาแจ้งว่า พระบุตรที่พระนางจะทรงครรภ์ เป็นพระบุตรของพระเจ้าพระผู้สูงสุด ความ เชื่ อ ของพระนางเป็ น ความเชื่ อ ที่ ช าญฉลาด หลั ง จากที่ พ ระนางถามว่ า สิ่ ง นี้ จ ะเป็ น ไปได้ อย่างไร เนือ่ งจากพระนางได้ถวายพรหมจรรย์
พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม 113
นักบุญออกัสตินไม่ลังเลที่จะเรียก
พระนางมารีย์ว่าเป็นหนังสือ คริสตศาสนธรรมชีวิต (Catechisms vivens)
เพราะว่านั่นคือสิ่งที่พระนางเป็น แด่ พ ระเจ้ า ทู ต สวรรค์ ไ ด้ ใ ห้ ค วามมั่ น ใจ พระนางว่าพระจิตเจ้าจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สำหรั บ มนุ ษ ย์ ใ ห้ เ ป็ น ไปได้ พระนางก็ เชื่ อ นั่ น คื อ ความเชื่ อ อะไรคื อ สิ่ ง ที่ เ ป็ น ไปไม่ ไ ด้ สำหรั บ มนุ ษ ย์ ซึ่ ง พระเจ้ า ทำให้ เ ป็ น ไปได้ นั่นคือหญิงพรหมจรรย์จะตั้งครรภ์ พระนางมารีย์ทรงรู้สิ่งที่ประกาศกได้ ทำนายล่วงหน้าเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานของ พระเมสสิยาห์ พระนางไม่มีภาพเกี่ยวกับการ เป็นมารดาของพระเมสสิยาห์ซึ่งจะเกิดความ เสียหายแก่พระนาง แต่พระนางไม่ได้ลังเลใจ พระนางแจ้งแก่ทูตสวรรค์ว่า “ขอให้เป็นไป กับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” คำบุพบท “กั บ ” เป็ น คำที่ ส ำคั ญ มากที่ สุ ด คำหนึ่ ง ใน พันธสัญญาใหม่ ความเชื่อเที่ยงแท้คือความพร้อมที่จะ เชื่อไม่ใช่เพียงในพระเจ้า ไม่เพียงแต่ในสิ่งที่ พระองค์สามารถทำเพือ่ เรา ความเชือ่ เทีย่ งแท้ รวมถึ ง สิ่ ง ที่ พ ระเจ้ า สามารถทำให้ เราด้ ว ย และพระองค์ ส ามารถทำสิ่ ง ต่ า งๆ มากมาย
มันอาจเป็นความเจ็บปวด และอย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า บุคคลผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเจ็บ ปวดทรงรักเรา การได้เห็นความสมัครใจของ พระเจ้าท่ามกลางการไต่สวนคดีถึงชีวิต เป็น ข้อพิสูจน์ของความเชื่อที่บริสุทธิ์และเข้าใจได้ การเผชิ ญ กั บ ปั ญ หาที่ ว่ า พระนางทรงครรภ์ ทำให้พระนางเป็นทุกข์, และการได้เห็นความ พยายามของของโยเซฟผู้รู้ว่าพระนางบริสุทธิ์, ความเชื่อของพระนางมารีย์ไม่ได้ลดน้อยลง พระนางยังคงเงียบ-เงียบภายใต้ความอัปยศ อดสู แล้วพระเจ้าทรงทำอัศจรรย์ โดยการ ส่ ง ทู ต สวรรค์ อ งค์ เ ดิ ม แจ้ ง แก่ โ ยเซฟให้ รั บ พระนางมารีย์เป็นภรรยาตามที่ได้หมั้นหมาย ไว้ พู ด ตามประสามนุ ษ ย์ พ วกเขารู้ สึ ก ไม่ มี ข้ อ มู ล เพราะเหตุ ใ ดพระเจ้ า ไม่ บ อกโยเซฟ ก่อน? ไม่ใช่พระเจ้า
114 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ความเชือ่ ของพระนางมารียค์ ำ้ จุนพระนาง ในระหว่างเวลา 30 ปีที่อยู่กับพระเยซูในเมือง นาซาเร็ธ และ 3 ปีในการเทศนาสั่งสอนของ พระองค์ แต่เป็นเพราะความเชื่อโดยเฉพาะ ของพระนาง จากกัลป์วารีส่วู ันอาทิตย์ปาสกา ซึ่ ง พระศาสนจั ก รได้ ฉ ลองวั น ที่ ร ะลึ ก ตั้ ง แต่ ศตวรรษที่ 1 ทุ ก วั น เสาร์ เ ป็ น วั น ที่ เรี ย กว่ า วันแห่งความเชื่อได้อย่างเหมาะสม พระนาง มารีย์เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ไม่มีความสงสัย ว่ า พระบุ ต รของพระนางแม้ จ ะถู ก ตรึ ง บน กางเขนและถู ก ฝั ง , จะกลั บ ฟื้ น คื น ชี พ จาก ความตาย พูดเกี่ยวกับความเชื่อในความเป็น มนุษย์ปุถุชนซึ่งเป็นไปไม่ได้ การพู ด ถึ ง ครู ค ริ ส ตศาสนธรรม ไม่ มี อะไรเป็นรากฐานสำคัญมากกว่า ไม่มีอะไร จำเป็นในงานมากกว่าการแบ่งปันเรื่องความ เชื่อซึ่งแน่นอนและเข้าใจได้ของพระนางมารีย์ เพียงแต่ผู้เชื่อสอนความเชื่อ ไม่มีใครอื่นทำได้ ผูไ้ ม่มคี วามเชือ่ ไม่ทำ ความเชือ่ เท่านัน้ ทีพ่ ระเจ้า ใช้ในการสื่อสารความเชื่อแก่ผู้อื่นทุกคนต้อง ยอมรับ “เหตุผลที่ข้าพเจ้าเชื่อก็เนื่องจากว่า บางคนที่มีความเชื่อได้แบ่งปันกับข้าพเจ้าเป็น ครั้งแรก” ไม่มีข้อยกเว้น ผู้ไม่มีความเชื่อ ไม่ว่าผู้ที่ได้เรียนรู้หรือ คงแก่เรียน ไม่สามารถให้แก่ผู้อื่นในสิ่งที่ตน ไม่มี ความรู้ทางวิชาการมีประโยชน์ ความ เชื่อเป็นสิ่งที่จำเป็น การเรียนการสอนเป็น ประโยชน์ ห ากมั น ถู ก สร้ า งขึ้ น จากความเชื่ อ
หากปราศจากความเชื่อ การเรียนการสอน ไม่เป็นเพียงความรับผิดชอบเท่านั้น มันกลาย เป็นการชักชวนไปในทางที่ผิด เช่นเดียวกับ พระนางมารีย์ ครูคริสตศาสนธรรมสอนโดย เกือบปราศจากวิธีการสอนคริสตศาสนธรรม พระแม่ของเราไม่ได้จัดห้องเรียนและจำนวน คำพูดของพระนางที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ มีน้อยมาก อย่างไรก็ตามนักบุญออกัสตินไม่ ลัง เลที่จ ะเรีย กพระนางมารีย์ว่า เป็น หนังสื อ คริสตศาสนธรรมทีม่ ชี วี ติ (Catechisms vivens) เพราะเหตุใด เพราะว่านั่นคือสิ่งที่พระนาง เป็ น หนั ง สื อ คริ ส ตศาสนธรรมไม่ ไ ด้ ถู ก พิ ม พ์ ออกมาทิ้งไว้ หนังสือคริสตศาสนธรรมมีชีวิต มนุษย์มีความเชื่อ ครูคริสตศาสนธรรมทุกคน ตั้ ง แต่ ส มั ย ของพระนางมารี ย์ ส อนแต่ เ พี ย ง -เหมือนพระแม่- สิง่ ทีพ่ วกเขาเชือ่ อย่างแท้จริง บทภาวนาของพระนางมารีย์ พระนางมารียผ์ ปู้ ฏิสนธินริ มลสวดภาวนา ธรรมประเพณีบอกเราว่าพระนางกำลังสวด ภาวนาอยู่ เมื่ อ ทู ต สวรรค์ ป รากฏมาแจ้ ง ว่ า พระนางได้รับการเลือกสรรให้เป็นมารดาของ พระเจ้า ในการเสด็จมาเยี่ยมพระนางกำลัง สวดภาวนา เราอาจกล่าวว่าพระนางร้องบท เพลงสดุดี (มักนีฟกี ตั ) ทีเ่ บธเลเฮม ไม่มคี ำพูด แม้แต่คำเดียวที่เป็นบทสนทนาของพระนาง มารีย์กับคนอื่นๆ ไม่มีแม้แต่พยางค์เดียวจาก ริมฝีปากของพระนางที่ถูกบันทึกไว้ เราได้รับ
พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม 115
การบอกเล่าเกี่ยวกับทารกนี้ และทุกคนที่ได้ ยินต่างรู้สึกประหลาดใจในสิ่งที่คนเลี้ยงแกะ ได้บอกแก่พวกเขาแต่ในส่วนของพระนางไม่มี คำพูดใดๆ “พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมด เหล่านี้ไว้ในพระทัย” สิ่งนี้ต้องการคำพูดว่า อย่ า งไร บทภาวนาหลักของพระนางมารีย์ เป็นบทสวดของหัวใจ การภาวนาในใจ การ ภาวนาด้วยใจ ในคำเดียว พระนางมารียส์ วด ภาวนาจากเบื้องลึกของพระนาง รวมตัวของ พระนางเองกับพระเยซู ผู้ซึ่งรู้ได้ทันทีว่าเป็น พระผู้สร้างและบุตรของพระนาง อีกครัง้ ในการถวายพระกุมารในพระวิหาร ไม่มีคำพูดแม้สักคำเดียวที่ถูกนำมาจากคำพูด ของพระนางมารีย์ในการสนทนากับพระสงฆ์
ในพระวิ ห ารหรื อ กั บ สิ เ มโอนหรื อ กั บ อั น นา สิ เ มโอนพู ด กั บ พระนางมารี ย์ เราไม่ ไ ด้ รั บ การบอกสิ่งที่พระนางได้พูดกับท่าน เรารู้ว่า พระนางปิ ติ ใ นการสวดภาวนา การพบใน พระวิหารหลังจากที่โยเซฟและพระนางมารีย์ พบพระเยซู พระนางถามพระเยซู ว่ า ทำไม พระองค์ จึ ง ทำกั บ เราเช่ น นี้ คำตอบของ พระองค์คือ พระองค์ต้องปฏิบัติภารกิจของ พระบิ ด าที่ แ ท้ จ ริ ง ดั ง นั้ น ครั้ ง ที่ ส องนั ก บุ ญ ลู ก าบอกกั บ เราว่ า พระมารดาทรงเก็ บ เรื่ อ ง เหล่ า นี้ ไว้ ใ นพระทั ย นี่ คื อ คำบอกเล่ า ที่ ถู ก บันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่พระนางมารีย์ได้ทำระหว่าง ช่ ว งเวลาหลายปี ที่ พ ระนางมี ชี วิ ต อยู่ ร่ ว มกั บ พระบุตรที่นาซาเร็ธ พระองค์อยู่ในความคิด ของพระนางเสมอ พระองค์อยู่ในหัวใจของ พระนางเสมอ ปัจจุบนั บทภาวนาของครูคริสตศาสนธรรม เช่ น เดี ย วกั บ ความเชื่ อ และการสวดภาวนา เป็ น ไปไม่ ไ ด้ เ ลยที่ จ ะสอนคริ ส ตศาสนธรรม นอกจากครูคริสตศาสนธรรมจะสวดภาวนา จริ ง ๆ เรี ย กว่ า การสวดภาวนาโดยใช้ เ สี ย ง หรือการรำพึง; เรียกว่าการสวดภาวนาในใจ หรือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่าคำภาวนาสั้นๆ จากใจ หรือช่วงเวลาสงบกับพระเจ้า จะใช้ ชื่ อ ใดๆ ก็ ต าม การภาวนาเป็ น จิ ต วิ ญ ญาณ ของการสอนเกีย่ วกับศาสนา บุคคลจะประสบ ความสำเร็ จ อย่ า งเหนื อ ธรรมชาติ เ หมื อ นครู คริสตศาสนธรรม ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเป็นชาย
116 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
หรื อ หญิ ง ที่ ส วดภาวนา จากประสบการณ์ เป็นพระสงฆ์ 40 ปี สอนให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ หลายสิ่งหลายอย่างที่ข้าพเจ้ายังไม่เคยพิมพ์ เปิดเผย คือ ใครสวดภาวนา ก็สื่อสารสิ่งที่ เขาได้เรียนรู้จากการสื่อสารกับพระเจ้า เราสั ม ผั ส หั ว ใจของการสอนคริ ส ต ศาสนธรรม เมือ่ เราพูดว่าครูคริสตศาสนธรรม ต้องสวดภาวนา มีเหตุผลหลายอย่างสำหรับ เรื่องนี้ แต่มีพิเศษ 2 เรื่อง : การสวดภาวนา เป็นบ่อเกิดธรรมดาของพระหรรษทานในการ ส่องสว่างจิตใจของเรา และการสวดภาวนา เป็นบ่อเกิดธรรมดาแห่งพระหรรษทาน ใน การขับเคลื่อนความตั้งใจของเรา
ในการพิจารณาไตร่ตรอง เราเห็นว่ามี สองจิตใจ และสองความตั้งใจเข้าอยู่ร่วมด้วย และทัง้ สองต้องการพระหรรษทานซึง่ พระญาณ เอื้ออาทรของพระเจ้าจะผ่านมาทางการสวด ภาวนา 1. ก่อนอื่นใดจิตใจของครูคริสตศาสน ธรรม ความรู้จากคำสอนของพระศาสนจักร หรือแม้แต่การศึกษาเทววิทยาไม่ได้ทำให้เกิด ความตระหนักเกี่ยวกับความจริงที่ได้รับการ เผยแสดงซึ่งพระหรรษทานของพระเจ้าเท่านั้น สามารถทำให้เกิดได้ “ข้าแต่พระเจ้า ขอให้ ข้าพเจ้าแลเห็นเถิด” ควรเป็นบทภาวนาของ ครูคริสตศาสนธรรมทุกคนที่มีความมุ่งมั่นใน การแบ่งปัน การหยั่งรู้ภายในที่ลึกซึ้งของตน เองเกีย่ วกับการเผยแสดงของพระเจ้าแก่คนอืน่ เราต้ อ งการพระหรรษทานและสิ่ ง แรกของ พระหรรษทานพืน้ ฐานทีส่ ดุ คือแสงสว่างสำหรับ จิตใจ 2. ในฐานะครูคริสตศาสนธรรม ข้าพเจ้า ก็ต้องการให้จิตใจของข้าพเจ้าได้รับการดลใจ จากพระหรรษทานของพระเจ้าเพือ่ ว่าพระองค์ จะได้ใช้ให้ข้าพเจ้าเป็นช่องทางในการดลใจ ผู้ที่ข้าพเจ้าสอน มีสิ่งที่เป็นเหมือนกับความ ต้องการสอนผูอ้ น่ื ถึงความเชือ่ นีไ่ ม่ใช่เป็นเพียง ความเต็มใจทีจ่ ะสอนผูอ้ น่ ื มันเป็นความปรารถนา ลึกๆ ที่จะนำผู้อื่นให้มาใกล้ชิดพระเจ้ามากยิ่ง ขึ้ น โดยสิ่ ง ที่ ข้ า พเจ้ า สอนแก่ พ วกเขา แต่ ข้าพเจ้าจะมีความปรารถนานี้เพียงเมื่อข้าพเจ้า ได้เป็นเป็นผู้ที่สวดภาวนา
พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม 117
ฑูตสวรรค์ไม่ได้แจ้งให้พระนางไปเยี่ยมเอลีซาเบธญาติของพระนาง แต่นักบุญลูกาบอกเราว่า “พระนางทรงรีบออกเดินทาง” คำแนะนำของพระเจ้าน้อยที่สุด และพระนางมารีย์ลงมือทำในสิ่งที่ พระเจ้าไม่ต้องบอกให้ทำ เพียงแต่รู้ว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า แต่ก็มีสิ่งที่ว่าการเป็นครูโดยไม่ได้เป็น อั ค รสาวก ในขณะที่ ค รู ค ริ ส ตศาสนธรรมที่ แท้จริงทุกคนควรเป็นครูแบบอัครสาวก ครู คริสตศาสนธรรมมีประสาทสัมผัสของภารกิจ ในฐานะที่ เ ป็ น ผู้ ถู ก ส่ ง มาโดยพระคริ ส ตเจ้ า ไม่เหมือนอย่างอัครสาวกในยุคแรกเริ่มที่ถูกส่ง มาโดยพระเจ้าเพื่อแบ่งปันความจริงที่ถูกเผย แสดงที่พวกเขาได้รับมาจากพระเจ้าก่อนหน้า นี้แก่ผู้อื่น การสอนคริสตศาสนธรรมไม่ใช่เป็นงาน รับจ้าง ไม่ใช่เป็นงานเหมา มันไม่ได้เป็นแม้ แต่เป็นคำพูดทีพ่ ดู กันในความรูส้ กึ ทีน่ ยิ มพูดกัน ว่าเป็นงานอาชีพ การสอนคริสตศาสนธรรม เป็นงานธรรมทูต สิ่งที่เราได้พูดกันมาจนถึง บัดนีเ้ ป็นเพียงครึง่ หนึง่ ของเหตุผลว่าเพราะเหตุ ใดครูคริสตศาสนธรรมต้องสวดภาวนา : เพื่อ รับพระหรรษทานของพระเจ้าสำหรับตัวเอง ผู้ซึ่งพวกเขาสอนคริสตศาสนธรรมต้องได้รับ พระหรรษทานเช่นกัน เช่นเดียวกันบทสวด ภาวนาของครู คริสตศาสนธรรมก็เป็นแหล่ง พระหรรษทานสำหรับบุคคลผูซ้ ง่ึ ได้รบั การสอน คริสตศาสนธรรม
พวกเขาต้ อ งการพระหรรษทานเพื่ อ เข้ า ใจสิ่ ง ที่ พ วกเขาได้ รั บ การสอน มั น ต้ อ ง “สมเหตุผล” สำหรับพวกเขา พวกเขาต้อง เข้าใจชัดเจนในสิ่งนี้ ความเชื่อของพวกเขา กำลังบอกแก่เขา และแน่นอนที่สุดสิ่งที่พวก เขาได้รับการบอกให้เชื่อเป็นจริง พวกเขาต้อง สามารถปกป้องความจริงที่ได้รับ แม้ว่าคนที่ อยู่รอบๆ ข้างพวกเขาไม่เชื่อ หรือเชื่ออย่าง เข้มแข็งเช่นกัน หรือแม้วา่ ต่อต้านผูม้ คี วามเชือ่ ที่เชื่อในสิ่งที่ผู้มีการศึกษาบางคนพูดว่ามันไม่ เป็นทีย่ อมรับ หรือก่อนกลับคืนดี หรือความจริง พื้นฐาน หรือไม่สอดคล้องกับยุคสมัย การเชื่ อ ในวิ ธี นี้ พวกเขาจะต้ อ งการ แสงสว่างที่พวกเขาสามารถได้รับจากพระเจ้า ครูคริสตศาสนธรรมจะได้รบั แสงสว่างนีส้ ำหรับ บุ ค คลผู้ ซึ่ ง พวกเขากำลั ง สอนโดยการสวด ภาวนาเพื่อพวกเขา บุคคลผู้ซึ่งกำลังได้รับการสอนในเรื่อง ความเชื่ อ ก็ ต้ อ งการพลั ง เหนื อ ธรรมชาติ สำหรับความสมัครใจของเขา พระธรรมล้ำลึก ของความเชื่อที่เราพูดถึงไม่สามารถเป็นไปได้ ตามเหตุผลของมนุษย์ แต่ก็ไม่สามารถเป็นไป
118 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
ได้อย่างธรรมชาติทจ่ี ะนำมาปฏิบตั ไิ ด้ดว้ ยความ ตั้งใจของมนุษย์ตามลำพัง หากปราศจากพระหรรษทานเหนื อ ธรรมชาติอันอุดมที่ได้รับจากการสวดภาวนา, ความเชื่อก็คงจะอยู่เช่นนั้น : ความคิดที่ดีเพื่อ ชื่นชม เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่รอด, ไม่ใช่ครั้งเดียว หรือเป็นครั้งคราว แต่เป็นตลอดชีวิต; ความ ช่ ว ยเหลื อ ของพระเจ้ า ตลอดชี วิ ต เป็ น สิ่ ง ที่ จำเป็ น บ่ อ เกิ ด หลั ก แห่ ง ความช่ ว ยเหลื อ ของ พระเจ้าคือพระหรรษทานของพระเจ้า และ วิธีการสำคัญในการที่จะได้รับพระหรรษทาน นี้ก็คือ อาศัยการสวดภาวนา - ในที่นี้คือการ สวดภาวนาของครูคริสตศาสนธรรมเพื่อบุคคล ที่อยู่ภายใต้การดูแลของพวกเขา ดังนั้นการเป็นครูคริสตศาสนธรรมที่สืบ จากอัครสาวกและมีประสิทธิภาพ เราต้องเป็น บุคคลที่สวดภาวนา เช่นเดียวกับราชินีแห่ง คณะอั ค รสาวก ข้ า พเจ้ า ไม่ ลั ง เลที่ จ ะพู ด ว่ า เราต้องไตร่ตรองด้วยการรำพึงภาวนาในจิตใจ ของเราเสมอ เช่นเดียวกับพระแม่มารีย์ แม้ กระทั่งในขณะที่เรากำลังพูดกับคนอื่น ชีวิตของพระนางมารีย์ หากข้าพเจ้าจะต้องบรรยายชีวิตของ พระพรหมจารีด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว ข้าพเจ้าควรกล่าวว่าพระนางมีชีวิตที่สอดคล้อง กับพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างมั่นคง
เรามาดู ก ารแจ้ ง ข่ า วการประสู ติ ข อง พระเยซูเจ้า นั่นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ทีต่ อ้ งการให้พระนางมารียย์ อมรับพระประสงค์ ของพระองค์ พระนางก็ยอมรับ ทูตสวรรค์ ไม่ได้แจ้งให้พระนางไปเยี่ยมเอลีซาเบธญาติ ของพระนาง อย่างมากที่สุดเขารู้ว่าพระนาง อาจทำเช่นนั้น แต่สิ่งที่พระนางทำคืออะไร พระนางระลึกได้ทันทีว่า สิ่งที่เราสรุปอาจจะ เรียกว่าพระประสงค์ของพระเจ้า พระนาง แสดงออกอย่างต่อเนื่อง นักบุญลูกาบอกเรา ว่า “พระนางทรงรีบออกเดินทาง” คำแนะนำ ของพระเจ้าน้อยที่สุด และพระนางมารีย์ลง มือทำในสิ่งที่พระเจ้าไม่ต้องบอกให้ทำ เพียง แต่รู้ว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า บทสดุ ดี ข องพระนางมารี ย์ เ ป็ น แหล่ ง ข้อมูลของสิง่ ทีห่ มายถึงการทำตามพระประสงค์ ของพระเจ้ า การทำตามพระประสงค์ ข อง พระเจ้าเป็นการแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของ พระเจ้า นั่นหมายถึงการสรรเสริญพระองค์ และไม่ใช่การมองหาคำสรรเสริญ หรือการ ยกย่องเพื่อตนเอง การทำตามพระประสงค์ ของพระเจ้าเป็นการแสดงความสุขในพระประสงค์ ของพระเจ้า ไม่ว่าเราจะลังเลตามธรรมชาติ แค่ไหน นี่เป็นสิ่งที่มีความสุขในการทำตาม พระประสงค์ ข องพระเจ้ า ในขณะที่ ข้ า พเจ้ า อยู่ในความทุกข์ การทำตามพระประสงค์ของ พระเจ้าเป็นการมองตนเองต่ำต้อยไม่ว่าสิ่งที่
พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม 119
พระเจ้าทำผ่านข้าพเจ้าจะยิ่งใหญ่เท่าใดก็ตาม ข้าพเจ้าต้องไม่ทำผิดพลาด, ไม่เคย, หรือคิด ว่าตนเองน่าเชือ่ ถือสำหรับสิง่ ใดก็ตามทีพ่ ระเจ้า ได้ทำผ่านข้าพเจ้า การทำตามพระประสงค์ ของพระเจ้าไม่ใช่เป็นการหวังอำนาจทางโลก หรือความร่ำรวย แต่เพื่อพึงพอใจกับสิ่งเล็กๆ และการเต็มใจที่จะเป็นคนยากจน หรือจะ กล่าวว่าการทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า เป็นการมองตนเองในฐานะเพียงผู้รับใช้ผู้ไม่ เรียกร้องสิทธิใดๆ จากพระเจ้า แต่ตระหนัก อยู่เสมอถึงหน้าที่ซึ่งผู้รับใช้ต้องทำให้สำเร็จ ขณะยืนอยูท่ เ่ี ชิงกางเขน พระนางมารีย์ ทรงทราบว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ พระนางต้องอยูท่ น่ี น่ั ทุกข์ทรมานในจิตใจเพือ่ ร่วมส่วนกับพระบุตรของพระนาง และหลัง
จากการเสด็จสู่สวรรค์ พระนางมารีย์ก็ทรง ทราบเช่นกันว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ทีพ่ ระนางต้องอยูก่ บั คณะอัครสาวกและบรรดา ศิษย์เพื่อรอการเสด็จมาของพระจิตเจ้า พระนางเห็นพระประสงค์ของพระเจ้า ในฐานะพระญาณเอื้ อ อาทรของพระเจ้ า ใน ชีวติ ของพระนางเสมอ สถานการณ์ทพ่ี ระนาง ได้ พ บตนเอง - พระนางเห็ น เป็ น ส่ ว นของ พระประสงค์ทง้ั หมดของพระองค์ - แผนการณ์ ทีช่ าญฉลาดในความดูแลของพระนาง พระนาง ตอบรับตามนั้น เช่นกันพระนางเห็นพระหัตถ์ ลึกลับของพระเจ้าในกิจการของมนุษย์ รวม ทั้งจักรพรรดิออกัสตัส ซีซาร์ ซึ่งสั่งให้สำรวจ ประชากร ซึ่ ง บั ง คั บ ให้ พ ระนางต้ อ งไปยั ง เบธเลเฮมเพือ่ ให้กำเนิดพระบุตร รวมถึงเฮโรด ผู้ซึ่งได้ผลักดันพระนางให้หลบหนีไปอียิปต์กับ พระบุตรพระองค์นั้นในอ้อมแขนของพระนาง และรวมถึงปีลาตผู้ซึ่งตัดสินให้ประหารชีวิต พระบุตรในฐานะนักโทษและเหล่าเพชฌฆาต ตอกตรึงพระองค์กับไม้กางเขน เช่นเดียวกับพระนางมารีย์ ชีวิตจิตครู คริสตศาสนธรรมเป็นตำราหลักซึง่ พวกเขาสอน เด็กๆ เยาวชน หรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใต้ความดูแล ของพวกเขา นี่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ พ ระนางมารี ย์ เ ป็ น มากกว่าแบบอย่างสำหรับพวกเราทีจ่ ะเลียนแบบ ในความรู้สึกลึกๆ พระนางเป็นผู้นำที่พระเจ้า เลือกสรร จำไว้ว่าพระนางมารีย์ไม่เหมือนกับ บุตรของพระเจ้า ต้องมีความเชื่อและความ
120 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
หวังในพระเจ้า ดังนั้นชีวิตของเธอต้องขึ้นอยู่ กับความดีพื้นฐาน 2 ประการ ซึ่งครูคริสต ศาสนธรรมคนอื่ น ๆ ทั้ ง หมดต้ อ งมี ในการ ประเมินในสิ่งที่ชีวิตของพวกเขาถูกสร้างขึ้น เหมือนชีวิตของพระนางมารีย์ ในความเชื่อ และความไว้วางใจในพระเจ้า พระเจ้าจะใช้ พวกเขาไม่เพียงแต่เพื่อสอนคริสตศาสนธรรม แต่เพื่อกลับใจ และไม่ใช่แค่เพียงเปลี่ยนจิต วิ ญ ญาณ, แต่ ข้ า พเจ้ า จะพู ด สิ่ ง นี้ อ ย่ า งไร เพื่ อ เห็ น มหั ศ จรรย์ แ ห่ ง การกลั บ ใจ ในโลก ปัจจุบันครูคริสตศาสนธรรมควรคาดหวังให้ พระเจ้ า ทำอั ศ จรรย์ แ ห่ ง พระหรรษทานเพื่ อ บุคคลผู้ซึ่งได้รับการสอนความเชื่อที่เที่ยงแท้ จำไว้ว่าคำสั่งที่พระนางมารีย์พูดกับคน รับใช้ท่คี านาเป็นคำสั่งที่พระนางให้แก่ครูคริสต ศาสนธรรมทุ ก คน พระคริ ส ตเจ้ า ตรั ส กั บ พระมารดาว่ า เวลาของพระองค์ ยั ง มาไม่ ถึ ง แต่เป็นเพราะพระมารดาของพระองค์ซึ่งขอ ร้องพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงได้ทำอัศจรรย์ เปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่น พระเจ้าจะทำสิ่ง มหั ศ จรรย์ เ หนื อ ธรรมชาติ ผ่ า นทางพวกเรา หากพวกเราทำตามคำสั่งของพระนางมารีย์ และทำทุกสิ่งซึ่งพระบุตรของพระองค์สั่งให้ เราทำ บทสรุป บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ยืนยันกับเราว่าพระนางมารีย์เป็น สานุศิษย์องค์แรกของพระคริสตเจ้า พระนาง
เป็นหนึ่งในช่วงเวลานั้น, เพราะว่าแม้ในขณะ ทีพ่ ระนางพบพระบุตรทีเ่ ป็นวัยรุน่ ในพระวิหาร, พระนางได้รับบทเรียนจากพระองค์ซ่งึ พระนาง เก็บไว้ในใจ ไม่เพียงแต่พระนางจะเป็นสานุศษิ ย์ องค์แรกของพระคริสตเจ้าเท่านั้น พระนาง เป็นสานุศิษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่มีใครอื่นที่ได้ รับการสอนจากพระองค์อย่างลึกซึ้งเหมือนกับ ที่พระมารดาผู้ซึ่งได้เจริญชีวิตอยู่กับพระองค์ ในช่วงชีวติ ส่วนใหญ่ทด่ี ำเนินอยูใ่ นโลก พระนาง เป็นทั้งพระมารดาและสานุศิษย์ และหากเรา จะกล้าพูดว่า “การเป็นสานุศิษย์ของพระนาง สำคัญมากกว่าการเป็นพระมารดา” นั่นเป็น เ ห ตุ ว่ า ท ำ ไ ม ผู้ แ ท น ข อ ง พ ร ะ ค ริ ส ต เจ้ า (พระสันตะปาปา) จึงไม่ลงั เลทีจ่ ะเรียกพระนาง มารี ย์ ว่ า “พระมารดาและแบบอย่ า งของ ครู ค ริ ส ตศาสนธรรม” พระนางเป็นมารดา และแบบอย่างของเราอย่างไร? ในการประเมิน ว่า พวกเราเป็นครูคริสตศาสนธรรมผู้ศรัทธา เช่นเดียวกับพระนาง ก็คอื ครูคริสตศาสนธรรม ผู้ ส วดภาวนา และ ครู ค ริ ส ตศาสนธรรม ผูด้ ำรงชีวติ ตามทีเ่ ราสวดภาวนาวอนขอและเชือ่
พระนางมารีย์ แบบอย่างครูคริสตศาสนธรรม 121
อ้างอิง แปลจากบทความ
“Mary, the Model Catechist” By Father John A. Hardon, S.J. http://www.mariancatechist.com/formation/mary/index.html International Office of the Marian Catechist Apostolate P.O. Box 637 La Crosse, Wisconsin 54602-0637 (608) 782-0011
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความนี้ คุ ณ พ่ อ ยอห์ น แอนโทนี ฮาร์ ด อน (Father John Anthony Hardon, S.J. เป็ น พระสงฆ์เยสุอิต ชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1914 เป็นนักเขียนและนักเทววิทยา มีผลงานเขียนหนังสือมากกว่า 40 เล่ม ท่านได้จดั คอร์สอบรมการสอนคริสตศาสนธรรม และคณะนักบวชของบุญราศีคณ ุ แม่เทเรซา แห่งกัลกัตตา และต่อมาก็ประยุกต์ให้สัตบุรุษ ใน ค.ศ.1985 คุณพ่อได้ก่อตั้งคณะ Marian Catechist Apostolate (ครูคริสตศาสนธรรมของพระนางมารีย์) ที่ใช้หลักสูตรดังกล่าวอบรม ครูคำสอน ปลายชีวิต คุณพ่อป่วยหลายโรคและสิ้นใจวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ.2000 รวมอายุ 85 ปี คุณพ่อได้ดำเนินเรื่องสู่ขั้นตอนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
122 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร
ประวัติพระสันตะปาปาฟรังซิส
พระคาร์ดินัลชาวอาร์เจนตินา ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ อายุ 76 ปี ได้รับเลือก เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และทรงเลือกใช้พระนาม “ฟรังซิส” การเลือกตัง้ สำเร็จลงเมือ่ วันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งเต็มวันวันแรก ในการลง คะแนนครัง้ ที่ 5 นับว่าการเลือกตัง้ พระสันตะปาปา ครั้งนี้จบลงรวดเร็วอย่างไม่คาด เพราะเมื่อ
บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ
เริ่มการเลือกตั้งดูเหมือนจะมีพระคาร์ดินัลที่ น่ า จะได้ รั บ เลื อ กหลายพระองค์ และไม่ มี พระองค์ใดได้รบั การสนับสนุนเป็นพิเศษชัดเจน พระสันตะปาปาลาตินอเมริกาพระองค์ นี้ทรงเป็นสมาชิกคณะเยสุอิต ทรงได้รับเลือก โดยคะแนนเสี ย ง อย่ า งน้ อ ย 2 ใน 3 ของ บรรดาพระคาร์ ดิ นั ล 115 องค์ จาก 48 ประเทศ ซึ่งลงคะแนนลับภายในโบสถ์ซิสติน
อาจารย์ประจำสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
ประวัติพระสันตะปาปาฟรังซิส 123
การเลือกตั้งพระองค์ได้รับการประกาศ เป็นภาษาละตินจากเฉลียงหน้ามหาวิหารนักบุญ เปโตร ต่อหน้าประชาชนจำนวนมากภายใน ลานมหาวิหารเบื้องล่าง และต่อหน้าคนอีก นับล้านคนที่คอยเฝ้าดูทางโทรทัศน์อยู่ทั่วโลก ควันสีขาวพลุง่ ขึน้ มาจากปล่องของโบสถ์ ซิสตินเมื่อเวลา 19.05 น. เป็นสัญญาณบอก ว่าบรรดาพระคาร์ดินัลเลือกผู้สืบตำแหน่งของ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ซึ่ง ทรงสละตำแหน่งได้แล้ว เมือ่ ถึงเวลา 19.07 น. ระฆังของมหาวิหารนักบุญเปโตรเริ่มดังติดต่อ กันนาน เป็นการรับรองว่าการเลือกตั้งสำเร็จ ลงแล้ว เมื่อเวลา 20.12 น. พระคาร์ดินัลยังหลุ ย ส์ โตรั ง ชาวฝรั่ ง เศส พระคาร์ ดิ นั ล อาวุโสในคณะพระคาร์ดินัล-สังฆานุกรปรากฏ
มาที่ เ ฉลี ย งพระมหาวิ ห ารและประกาศเป็ น ภาษาละตินว่า “ข้าพเจ้าแจ้งข่าวน่ายินดียิ่ง แก่ ท่ า นทั้ ง หลายว่ า ‘เรามี พ ระสั น ตะปาปา แล้ ว ’ คื อ พระคาร์ ดิ นั ล ของพระศาสนจั ก ร ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง กรุ ง โรม ฮอร์ เ ก (จอร์ จ ) แบร์ โ กลิ โ อ ซึ่ ง ทรงเลื อ กใช้ พ ระนามว่ า ‘ฟรังซิส’” ประชาชนในลานพระมหาวิ ห าร ตอบสนองโดยส่งเสียงโห่ร้องแสดงความยินดี ปรบมือ และโบกธงชาติต่างๆ นักหนังสือพิมพ์น่านับถือชาวอิตาเลียน คนหนึ่งกล่าวว่าพระสันตะปาปาองค์ใหม่เคย เป็นผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นที่สองใน การลงคะแนนเสียงแต่ละครั้งในการเลือกตั้ง พระสันตะปาปาเมื่อปี ค.ศ.2005
124 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
พระคาร์ดินัลแบร์โกลิโอได้รับคะแนน นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นผู้มีชีวิตจิต ลึกซึ้งมาก มีความสามารถในการเป็นผู้นำใน ด้านงานอภิบาลที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ท่มี ีจำนวน ชาวคาทอลิกมากที่สุดในโลก ท่ า น เ ป็ น พ ร ะ อั ค ร สั ง ฆ ร า ช ข อ ง กรุ ง บั ว โนส-ไอเรสตั้ ง แต่ ปี ค.ศ.1998 เป็ น ผู้ทำงานแบบเงียบๆ อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ท่ า นใช้ ร ถประจำทาง ไปเยี่ ย มเยี ย น คนยากจน ดำเนินชีวิตอยู่ในห้องชุดเรียบง่าย และทำอาหารรับประทานเอง ชาวบัวโนสไอเรสหลายคนรู้ จั ก ท่ า น เพี ย งในนามของ “คุณพ่อฮอร์เก” ท่านได้จัดตั้งเขตวัดใหม่ๆ หลายแห่ง ปรับปรุงสำนักงานบริหาร ริเริ่มงาน “เพื่อ ชีวิต” (ต่อต้านการทำแท้ง) และเริ่มโครงการ งานอภิ บ าลใหม่ ๆ หลายโครงการ เช่ น คณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือผู้หย่าร้าง ท่าน เป็นประธานร่วมของสมัชชาพระสังฆราชเมื่อ ปี ค.ศ.2001 และได้ รั บ เลื อ กเป็ น ที่ ป รึ ก ษา ของสภาสมั ช ชา ท่ า นจึ ง เป็ น ผู้ ที่ บ รรดา พระสังฆราชของโลกรู้จักดี พระคาร์ดินัลยังได้เขียนหนังสือหลาย เล่มเรื่องชีวิตจิตและการรำพึงภาวนา และ กล่าวอย่างชัดเจนต่อต้านการทำแท้งและการ แต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน เมือ่ ปี ค.ศ.2010 เมือ่ ประเทศอาร์เจนตินา เป็นประเทศแรกในทวีปลาตินอเมริกาที่รับรอง การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน พระคาร์ดนิ ลั
แบร์โกลิโอได้สนับสนุนคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ให้ ส่ ง เสริ ม ชาวคาทอลิ ก คั ด ค้ า นการออก กฎหมายนี้ เพราะ – ท่ า นกล่ า วว่ า - ถ้ า กฎหมายนี้มีผลใช้บังคับ “ก็จะเป็นการทำร้าย ครอบครัวอย่างรุนแรง” ยังกล่าวอีกว่า ถ้าคู่แต่งงานเพศเดียว กันรับอุปการะเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรม “ก็ จะมีผลทำให้ (เด็กเหล่านั้น) ไม่ได้รับพัฒนา การแบบมนุษย์ที่บิดามารดาต้องเป็นผู้มอบให้ ตามพระประสงค์ของพระเจ้า” ในปี ค.ศ. 2006 ท่ า นยั ง วิ พ ากษ์ วิจารณ์ข้อเสนอของรัฐบาลอาร์เจนตินาที่จะ รั บ รองให้ ท ำแท้ ง ได้ ใ นบางกรณี ใ นฐานะที่ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎหมาย อย่าง กว้างขวาง ท่านกล่าวหารัฐบาลว่าไม่ให้ความ เคารพ ต่ อ ค่ า นิ ย มที่ ช าวอาร์ เจนติ น าส่ ว น ใหญ่ยังคงยึดมั่นอยู่ และพยายามที่จะทำให้ พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก “หวั่ น ไหวในการ ปกป้องศักดิ์ศรีของบุคคล” บทบาทของท่านหลายครั้งผลักดันให้ ท่านต้องกล่าวชัดเจนอย่างเป็นทางการเกี่ยว กับปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ของประเทศ บทเทศน์และคำปราศรัยของ ท่านกล่าวพาดพิงตลอดเวลาถึงความจริงที่ว่า มนุ ษ ย์ ทุ ก คนเป็ น พี่ น้ อ งกั น พระศาสนจั ก ร และประเทศชาติจำเป็นต้องทำทุกอย่างที่ทำ ได้เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับ ได้ รับความเคารพนับถือและได้รับความเอาใจใส่ ดูแล
ประวัติพระสันตะปาปาฟรังซิส 125
แม้จะไม่เป็นนักการเมืองโดยเปิดเผย พระคาร์ดินัลแบร์โกลิโอก็ไม่ได้พยายามที่จะ ปิดบังผลกระทบด้านการเมืองและสังคมจาก คำสอนของพระวรสาร โดยเฉพาะในประเทศ ที่ยังจะต้องฟื้นขึ้นจากวิกฤติการณ์สาหัสด้าน เศรษฐกิจ นับตัง้ แต่รบั ตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราช ของกรุ ง บั ว โนส-ไอเรสในปี ค.ศ.1998 พระคาร์ดินัลแบร์โกลิโอได้จัดตั้งเขตวัดใหม่ๆ หลายแห่ง ได้ปรับโครงสร้างของสำนักงาน บริ ห าร ได้ เ อาใจใส่ เ ป็ น การส่ ว นตั ว ต่ อ สามเณราลัย และได้รเิ ริม่ โครงการด้านอภิบาล หลายโครงการ เช่น คณะกรรมการสำหรับ ผู้หย่าร้าง ท่านได้ช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ด้ า นสั ง คมหรื อ การเมืองแทบทุกครั้งภายใน
เมือง บรรดาพระสงฆ์บวชใหม่ ได้รับสมญา ว่าเป็น “พระสงฆ์ยุคแบร์โกลิโอ” และไม่มี นักการเมืองหรือผู้ทำงานด้านสังคมคนใดที่ไม่ พยายามหาโอกาสจะพบท่านเป็นการส่วนตัว ฮอร์เก แบร์โกลิโอ เกิดที่กรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1936 ท่านได้รับการศึกษาและปริญญาโทใน วิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยของกรุงบัวโนส-เอเรส แต่ต่อมาได้ตัดสินใจเป็นพระสงฆ์คณะเยสุอิต และเข้ า ศึ ก ษาที่ ส ามเณราลั ย เยสุ อิ ต ที่ วิ ล ลา เดโวโต ท่ า นได้ ศึ ก ษาคณะอั ก ษรศาสตร์ ที่ กรุ ง ซานติ อ าโก ประเทศชิ ลี และได้ รั บ ปริญญาวิชาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยคาทอลิก แห่ ง กรุ ง บั ว โนส-ไอเรส ช่ ว งเวลาระหว่ า งปี 1964 และ 1965 ท่านได้เป็นอาจารย์สอน วิ ช า ว ร ร ณ ค ดี แ ล ะ จิ ต วิ ท ย า ที่ วิ ท ย า ลั ย Immacolada ในแคว้นซานตา-เฟ และในปี 1966 ได้สอนวิชาเดียวกันที่ Colegio del Salvador ที่กรุงบัวโนส-ไอเรส ในปี ค.ศ.1967 ท่ า นกลั บ มาศึ ก ษา เทววิทยาต่อไปและได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1969 หลังจาก ได้ ป ฏิ ญ าณตนเป็ น เยสุ อิ ต ตลอดชี วิ ต ในปี ค.ศ.1973 แล้ ว ท่ า นได้ เ ป็ น นวกาจารย์ ที่ สามเณราลั ย Villa Barilari ที่ เ มื อ ง San Miguel ต่อมาในปีเดียวนั้นเอง ท่านก็ได้รับ
126 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2013/2556
เลื อ กเป็ น เจ้ า คณะแขวงเยสุอิตของประเทศ อาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. 1980 ท่านกลับมาที่เมือง San Miguel เป็ น อาจารย์ ส อนในโรงเรี ย น เยสุ อิ ต ซึ่ ง เป็ น งานที่ ผู้ ที่ เ คยเป็ น เจ้ า คณะ แขวงมาแล้วมักจะไม่ได้รับ ท่านได้รับแต่งตั้ง เป็นพระสังฆราชผู้ช่วยของสังฆมณฑลบัวโนสไอเรสเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1992 ท่าน เป็ น พระสั ง ฆราชผู้ช่วยหนึ่งในสามท่านของ สังฆมณฑล และปฏิบตั ติ นแบบเงียบๆ ธรรมดา ใช้เวลาเกือบทั้งหมดในการดูแลมหาวิทยาลัย คาทอลิก ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่พระสงฆ์ เทศน์ และโปรดศีลอภัยบาป ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครสังฆราช ผู้ มี สิ ท ธิ สื บ ตำแหน่ ง และเข้ า รั บ ตำแหน่ ง พระอั ค รสั ง ฆราชองค์ ใ หม่ ข องกรุ ง บั ว โนสอเรสเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1998 ได้มขี อ้ พิพาทเกีย่ วกับท่าทีของพระคาร์ดนิ ลั แบร์ โ กลิ โ อในช่ ว งเวลาที่ ท หารเข้ า ยึ ด ครอง อำนาจในอาร์เจนตินาระหว่างปี 1976-1983 ที่ได้ปราบปรามคู่ปรับทางการเมืองอย่างโหด ร้ า ย คาดกั น ว่ า ในช่ ว งนั้ น มี ผู้ เ สี ย ชี วิ ต หรื อ สู ญ หายไปเป็ น จำนวนตั้ ง แต่ 13,000 ถึ ง มากกว่า 30,000 คน ตัวอย่างเช่นกรณีของพระสงฆ์หนุ่มสอง องค์ท่ถี ูกคณะทหารจับตัวไว้ นักวิจารณ์กล่าว ว่าพระคาร์ดนิ ลั ซึง่ ขณะนัน้ เป็นเจ้าคณะแขวง เยสุอิต ไม่ได้ให้การสนับสนุนเพียงพอแก่ผู้
ปฏิบัติงานของพระศาสนจักรต่อต้านอำนาจ ปกครองของทหาร แต่ ก็ มี อี ก หลายคนที่ ก ล่ า วว่ า ท่ า นได้ พยายามเจรจาลับๆ เพื่อให้คณะทหารปล่อย ตั ว พระสงฆ์ ทั้ ง สององค์ และหนั ง สื อ พิ ม พ์ รายวัน “La Nacion” ได้ให้ข่าวว่าโฆษกของ พระคาร์ ดิ นั ล กล่ า วว่ า ข้ อ กล่ า วหานั้ น เป็ น “การใส่ความแบบเก่าๆ” สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ที่ 1 ทรงมีตำแหน่งในองค์การบริหารพระศาสนจักร ส่วนกลาง (Roman Curia) ดังนี้ - สมณกระทรวงพิ ธี ก รรม และศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ (Congregation for the Divine Worship and the Discipline of the Sacraments) - สมณกระทรวงสถาบันนักพรตและ องค์การแพร่ธรรม (The Congregation for Institutes of Consecrated Life and for Societies of Apostolic Life) และ - สมณสภาเพือ่ ครอบครัว (Pontifical Council for the Family)
*****