การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
1
หมวดทั่วไป
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
วีณา โกวิทวานิชย์
วั น ที่ 11 กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.2013 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาเบเนดิ ก ต์ ที่ 16 ทรงประกาศแก่ ค ณะพระคาร์ ดิ นั ล ว่ า พระองค์ทรงประสงค์จะลาออกจากตำแหน่ง ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อการตัดสินพระทัยในเรื่องสำคัญๆ และนำ ความเสียหายมาสู่พระศาสนจักร พระองค์ ทรงดำริ จ ะทรงอยู่ ใ นตำแหน่ ง ถึ ง วั น ที่ 28
กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 เวลาท้องถิ่นกรุงโรม 20.00 น. จึ ง เป็ น เวลาที่ “ตำแหน่ ง พระสันตะปาปาว่างลง” (Sede Vacante) กระแสข่ า วดั ง กล่ า วนำความหวั่ น ไหวสู่ ประชาชนทั่ ว โลก โดยเฉพาะคริ ส ตชน คาทอลิกที่มีอยู่ประมาณ 1.2 พันล้านคน คณะพระคาร์ดนิ ลั (Sacred College of Cardinals) องค์กรพระศาสนจักรที่มี
สัตบุรุษอาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก สำเร็จการศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปลข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์อุดมสาร และ UCAN แปลหนังสือ “พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 บุคคลธรรมดาที่ ไม่ธรรมดา” และ “ท่านคือศิลา : จากนักบุญเปโตรถึงพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2”
2 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
หน้าที่เลือกตั้ง และถวายคำปรึกษาแด่สมเด็จ พระสันตะปาปาในเรือ่ งเกีย่ วกับพระศาสนจักร มี พ ระคาร์ ดิ นั ล อั น เยโล โซดาโน ผู้ อ าวุ โ ส สูงสุดเป็นหัวหน้าคณะพระคาร์ดินัล จึงจัด เตรี ย มการเลื อ กตั้ ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา พระองค์ใหม่ ระหว่างนี้ คณะพระคาร์ดินัลจะดูแล พระศาสนจั ก รเฉพาะในเรื่ อ งเล็ ก น้ อ ยซึ่ ง ไม่ อาจรอเวลาได้ งานหลั ก จึ ง เป็ น การเตรี ย ม การเลือกตั้ง โดยแต่งตั้งพระคาร์ดินัลแคเมอร์ เลงโก (Camerlengo) ได้แก่ พระคาร์ดินัล ทาร์ ชี ซี โ อ แบร์ โ ตเน ผู้ ด ำรงตำแหน่ ง เลขาธิการรัฐวาติกัน คอยดูแลความเรียบร้อย ของสำนั ก วาติ กั น และมี พ ระคาร์ ดิ นั ล ที่ ไ ด้ คัดเลือกไว้แล้วจำนวนหนึ่งผลัดเปลี่ยนมาช่วย งานจำนวน 3 องค์ ในทุก 3 วัน เพือ่ กำหนด
วัน เวลา ที่เหมาะสมของการประชุมใหญ่ สามัญ (General Congregation) ของคณะ พระคาร์ดินัลจากทั่วโลกที่ทยอยกันเดินทาง มายังกรุงโรม ร่วมพิจารณาปัญหาต่างๆ และ กำหนดคุณลักษณะของผู้ที่เหมาะสมจะดำรง ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา ตามสภาพ แวดล้อมและปัญหาของยุคสมัย พระคาร์ดนิ ลั โซดาโน อายุ 85 ปี เป็น ผู้ น ำการประชุ ม หั ว ใจของการประชุ ม เพื่ อ พิ จ ารณาปั ญ หาต่ า งๆ และกำหนดวั น เปิ ด ประชุมคอนเคลฟ (conclave) เพื่อเลือกตั้ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ซึ่ ง จั ด ขึ้ น ภายใน วัดน้อยซิสติน (Sistin Chapel) ประจำมหา วิหารนักบุญเปโตร (St.Peter Basilica) การประชุมใหญ่สามัญวันแรก เริ่มต้น ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.2013 มีพระคาร์ดินัล
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
142 องค์ จาก 207 องค์ ที่ เ ดิ น ทางมาถึ ง กรุงโรมแล้ว เข้าร่วมประชุม ส่วนที่เหลือจะ ทยอยเดินทางมาจนครบ จึงค่อยเปิดประชุม คอนเคลฟ ความเป็นมาของการเลือกตั้ง คอนเคลฟ คือ การประชุมลับของคณะ พระคาร์ดนิ ลั เพือ่ เลือกตัง้ สมเด็จพระสันตะปาปา หรื อ พระสั ง ฆราชแห่งกรุงโรม ผู้นำด้านจิต วิญญาณของคริสตชนคาทอลิก ตามธรรมเนียม ปฏิบตั ขิ องพระศาสนจักรในยุคต้น การเลือกตัง้ ดำเนินการเหมือนการเลือกพระสังฆราชท้องถิน่ โดยพระสงฆ์ ช าวโรมเป็ น คณะผู้ เ ลื อ กตั้ ง มี พระสั ง ฆราชจากสั ง ฆมณฑลใกล้ เ คี ย งเป็ น ประธานและตั ด สิ น การเลื อ กตั้ ง จากนั้ น ฆราวาสจะให้ความเห็นชอบ หากมีความเห็น แตกต่างก็ใช้อำนาจรัฐเข้ามาดูแลความสงบ ทัง้ นีผ้ ไู้ ด้รบั เลือกตัง้ ให้เป็นสมเด็จพระสันตะปาปา จะยังไม่ได้รับการสถาปนาจนกว่าจักรพรรดิ จะทรงเห็นชอบ หลายครั้งจักรพรรดิทรงทำ หน้าที่ประธานการเลือกตั้ง และบางครั้งทรง กำหนดบุคคลผูเ้ ข้ารับการเลือกตัง้ ด้วยพระองค์ เอง ระบบดั ง กล่ า วสิ้ น สุ ด ในยุ ค กลางราว ศตวรรษ ที่ 11 โดยใน ค.ศ.1059 สมเด็จ พระสั น ตะปาปานิ โ คลั ส ที่ 2 (ค.ศ.10591061) ทรงออกโองการปฏิรูปวิธีการเลือกตั้ง สมเด็จพระสันตะปาปา ให้พระคาร์ดนิ ลั สังฆราช
3
(Cardinal Bishop) จัดการเลือกตั้ง ต่อมา สภาสังคายนาลาเตรัน ครั้งที่ 3 ค.ศ.1179 กำหนดให้พระคาร์ดนิ ลั ทุกองค์มสี ทิ ธิล์ งคะแนน เลือกตั้งได้ โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงถึงสอง ในสามจะได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา ค.ศ.1268 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ 4 (ค.ศ.1265-1268) สิน้ พระชนม์ คณะพระคาร์ ดิ นั ล 17 องค์ เปิ ด ประชุ ม คอนเคลฟที่เมืองวิแตร์โบ (Viterbo) เลือกตั้ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาพระองค์ ใ หม่ เวลา ผ่ า นไป 1006 วั น นานจนมี พ ระคาร์ ดิ นั ล 2 องค์ มรณภาพระหว่างการเลือกตั้ง ก็ยัง ไม่ ส ามารถตกลงกั น ได้ เพราะมี ค วามเห็ น ขั ด แย้ ง กั น ฝ่ า ยหนึ่ ง สนั บ สนุ น พระคาร์ นั ล ชาวฝรัง่ เศส และอีกฝ่ายสนับสนุนพระคาร์ดนิ ลั ชาวเยอรมัน จึงเป็นที่มาของคำ conclave หรือ cum clave คือ “คล้องด้วยกุญแจ” คณะพระคาร์ดนิ ลั ถูก “จำกัดบริเวณ” ไว้ภายใน สำนักพระสังฆราช กดดันด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ลดปริมาณอาหาร เหลือเพียงขนมปังและ น้ำ จนกว่าจะเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา ได้ ที่สุด วันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1721 คณะ พระคาร์ดินัล ลงมติเลือก ขุนนางเทดัลโด วิ ส คอนติ (Tedaldo Visconti) ชาวอิ ต าลี จากเมื อ งเปี ย เชนซา (Piacenza) ซึ่ ง เป็ น สังฆานุกรเอกแห่งเมืองลีเอช (liege) ขณะ กำลั ง ทำสงครามครู เ สดที่ เ มื อ งท่ า อั ค เคอร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิสราเอล ให้ดำรง
4 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรี ที่ 10 (ค.ศ.1272–1276) พระองค์ทรงได้รบั สถาปนา เป็นบุญราศี วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1898 ค.ศ.1274 สภาสั ง คายนาแห่ ง ลี ญ ง สมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรี ที่ 10 ทรง ประกาศสมณธรรมนูญ (Apostolic Constitution) ใช้ในการเลือกตัง้ สมเด็จพระสันตะปาปา อย่างเป็นทางการ มีกฎระเบียบและขั้นตอน การเลือกตั้งเป็นระบบที่เคร่งครัดขึ้น การปรั บ เปลี่ ย นขั้ น ตอนการเลื อ กตั้ ง ในเรื่องปลีกย่อยมีต่อเนื่องนานกว่า 600 ปี จนเป็นที่พอใจ สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 10 (ค.ศ.1903–1914) ทรงออกสมณ ธรรมนูญการเลือกตั้งและประกาศใช้อย่างเป็น ทางการ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1904
ใช้แทนข้อกำหนดอืน่ ๆ ของการเลือกตัง้ ในอดีต ทั้งหมด ในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 12 (ค.ศ.1939–1954) ทรงดำริให้ เพิ่มเติมข้อความว่า “ให้พระคาร์ดินัลผู้ได้รับ เลือกตั้งเป็นสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งเดิม กำหนดว่าต้องได้รับคะแนนเสียงสองในสาม จำเป็ น ต้ อ งได้ ค ะแนนเสี ย งเพิ่ ม ขึ้ น อี ก 1 เสียง เพื่อเป็นการชี้ขาด” สมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 (ค.ศ.1963–1978) ทรงดำริปรับข้อกำหนด การเลือกตั้งบางประการให้เหมาะสมกับยุค สมั ย เช่ น กำหนดให้ พ ระคาร์ ดิ นั ล ที่ มี อ ายุ ครบ 80 ปี ก่อนวันเปิดประชุมคอนเคลฟ ไม่ ไ ด้ รั บ สิ ท ธิ์ ก ารลงคะแนนเสี ย งเลื อ กตั้ ง และให้จำนวนพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิ์ลงคะแนน
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
ไม่ เ กิ น 120 องค์ ในเวลาต่ อ มาสมเด็ จ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 (ค.ศ. 1978 –2005) ทรงระบุในสมณธรรมนูญ Universi Dominici Gregis ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1996 ให้พระคาร์ดินัลที่มีอายุครบ 80ปี ก่ อ นวั น ที่ ต ำแหน่ ง พระสั น ตะปาปาว่ า งลง ไม่ได้รับสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้ง และระหว่าง การเลือกตั้งให้คณะพระคาร์ดินัลพัก ณ บ้าน เซนต์มาร์ธา (Domus Sanctae Marthae)* แทนการกัน้ ปะรำเป็นสัดส่วน ภายในห้องต่างๆ ที่อยู่ติดกับวัดน้อยซิสตินสำหรับพระคาร์นัล แต่ละองค์เหมือนในอดีต ซึ่งบางห้องไม่มีห้อง อาบน้ำ จึงขาดความเป็นส่วนตัว ไม่เหมาะสม ใช้เป็นที่พัก บ้านเซนต์มาร์ธา แม้ไม่ได้อยู่ติด กับวัดน้อยซิสตินที่ใช้เป็นห้องประชุมลับ แต่ ไม่ มี ผู้ ใ ดสามารถติ ด ต่ อ กั บ พระคาร์ ดิ นั ล ได้ เพราะมีรถโดยสารรับส่งจากสถานที่พักตรงไป ยังห้องประชุม ทั้งนี้ระหว่างการประชุมคอน เคลฟคณะพระคาร์ดินัลไม่ได้รับอนุญาตให้นำ เครื่องมือสื่อสารติดตัว (*Domus Sanctae Marthae หรือ St.Martha’s House บ้านเซนต์มาร์ธา ตั้ง อยู่ใกล้มหาวิหารนักบุญเปโตร สมเด็จพระ สั น ตะปาปายอห์ น ปอล ที่ 2 ทรงดำริ ใ ห้ สร้างใน ค.ศ.1996) สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 (19 เมษายน ค.ศ.2005 - วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ.2013) ทรงเพิ่มเติมเนื้อหาในอัตตาณัติ
5
(Motu Proprio) หรือคำสั่งสมเด็จพระสันตะ ปาปา Normas Nonnullas ลงวั น ที่ 22 กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.2013 ทรงดำริ เ ห็ น ชอบใน ทุกรายละเอียดทีส่ มเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงกำหนด และทรงเพิ่มเติมให้ บังคับใช้อัตตาณัตินั้นในกรณีที่สมเด็จพระ สันตะปาปาทรงลาออกจากตำแหน่งด้วย พิธีการเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ พระคาร์ ดิ นั ล แคเมอร์ เ ลงโก ผู้ แ ทนคณะ พระคาร์ดนิ ลั ในงานบริหารทัว่ ไปของพระศาสนจักร จะย้ า ยเข้ า มาพั ก ภายในพระราชวั ง วาติ กั น ทุกเช้าตั้งแต่วันที่สมเด็จพระสันตะปาปาสิ้น พระชนม์ จนถึ ง วั น เปิ ด ประชุ ม คอนเคลฟ พระคาร์ดินัลทุกองค์จะร่วมการประชุมใหญ่ สามั ญ พิ จ ารณาถึ ง ปั ญ หาในสภาวการณ์ ปัจจุบันก่อนกำหนดวันเปิดประชุมคอนเคลฟ การประชุ ม คอนเคลฟจั ด ขึ้ น ภายใน วั ด น้ อ ยซิ ส ติ น เป็ น ครั้ ง แรกใน ค.ศ.1492 นอกจากพระคาร์ดนิ ลั ทีม่ หี น้าทีล่ งคะแนนเสียง เลือกตั้ง ยังมีนายจารีตพิธีกรรม แพทย์ 2 ท่ า น และพยาบาล ที่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตให้ พั ก ณ บ้านเซนต์มาร์ธา ส่วนภายในวัดน้อยซิสติน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะตรวจให้แน่ใจว่าไม่มี เครื่องสื่อสารใดๆ ติดตั้งเพื่อบันทึกการเลือก ตัง้ ให้สามารถรับส่งข้อมูลแก่บคุ คลภายนอกได้
6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ในอดีตการลงคะแนนลับกระทำวันละ 2 ครั้ง ปัจจุบันเพิ่มเป็น 4 ครั้ง ภาคเช้า 2 ครั้ ง และภาคบ่ า ย 2 ครั้ ง หลั ง การนั บ คะแนนเสียงเลือกตั้ง จะเผาบัตรลงคะแนน วันละ 2 ครั้ง ในภาคเช้าและบ่าย เพื่อสื่อ สารให้ประชาชนที่เฝ้าติดตามอยู่หน้าลานมหา วิ ห ารนั ก บุ ญ เปโตรได้ ท ราบผลการเลื อ กตั้ ง “ควันสีขาว” หรือ “ควันสีดำ” ควั น สี ข าวและควั น สี ด ำ สั ญ ลั ก ษณ์ สื่อให้ชาวโลกได้ทราบว่า ที่ประชุมคอนเคลฟ เลือกตั้งได้สมเด็จพระสันตะปาปาแล้วหรือยัง หากในการลงคะแนนยั ง ไม่ มี พ ระคาร์ ดิ นั ล หนึ่ ง ในสามองค์ ที่ ม ติ ค ณะพระคาร์ ดิ นั ล ลง ความเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมได้รับ เลื อ กตั้ ง เป็ น สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาและได้ คะแนนเสียงสองในสามบวกอีกหนึ่งสียงตาม เกณฑ์ เจ้าหน้าที่จะเผาบัตรลงคะแนนพร้อม
กับฟางเปียก (wet straw) ควันจะเป็นสีดำ หากเลื อ กตั้ ง ได้ ส มเด็ จ พระสั น ตะปาปาแล้ ว บัตรลงคะแนนจะถูกเผาพร้อมกับฟางแห้ง (dry straw) ควันจะเป็นสีขาว ความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ทำให้ในการประชุมคอนเคลฟ ค.ศ.2005 เริ่มนำสารเคมีเป็นส่วนผสมใน การเผาบัตรลงคะแนนแทนการใช้ฟาง บัตร ลงคะแนนที่เผาโดยใส่สารเคมี Potasium, Perchlorate, Anthracene และ Sulphur จะให้ควันสีดำ ส่วนควันสีขาว จะเผาบัตร ลงคะแนนด้วยสารเคมี Potassium Chlorate, Lactose, และ Rosin หากภายใน 3 วัน คณะพระคาร์ดินัล ยังไม่สามารถเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา ได้ ให้หยุดลงคะแนนเลือกตั้ง 1 วัน คณะ พระคาร์ดนิ ลั จะสวดภาวนา แลกเปลีย่ นความ คิดเห็น ร่วมหาทางออก และรับฟังข้อเตือนใจ
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
ด้านจิตวิญญาณสั้นๆ ก่อนจะเข้าประชุมคอน เคลฟอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ ที่ 266 การเลื อ กตั้ ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ผู้ สื บ ทอดตำแหน่ ง องค์ ที่ 266 ต่ อ จาก นักบุญเปโตร สมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ แรก หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 1 6 ท ร ง ล า อ อ ก มี ผ ล ณ วั น ที่ 2 8 กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.2013 คณะพระคาร์ ดิ นั ล จากทัว่ โลก จำนวน 207 องค์ ประกอบด้วย พระคาร์ดินัลสังฆราช (Cardinal Bishop) 10 องค์ พระคาร์ดนิ ลั สงฆ์ (Cardinal Priest) 153 องค์ และพระคาร์ ดิ นั ล สั ง ฆานุ ก ร (Cardinal Deacon) 44 องค์ เดิ น ทางสู่ กรุงโรมร่วมประชุมใหญ่สามัญ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและพิจารณาสภาพแวดล้อมและ ปัญหาของยุคสมัยและของพระศาสนจักรใน เรื่องต่างๆ เช่น การเสวนาระหว่างศาสนา, วัฒนธรรมแห่งยุคสมัย, ความก้าวหน้าด้าน ชีววิทยาเกี่ยวกับคำถามด้านศีลธรรม, ความ ยุติธรรมในสังคมโลก, ความสำคัญของพระ ศาสนจั ก รในการประกาศสารแห่ ง ความรั ก และความเมตตา เป็นต้น ก่อนร่วมพิจารณา กำหนดวันเปิดประชุมคอนเคลฟเพื่อเลือกตั้ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา มติ ที่ ป ระชุ ม คณะ พระคาร์ ดิ นั ล กำหนดเปิ ด ประชุ ม คอนเคลฟ
7
ครั้ ง แรกในค่ ำ วั น อั ง คาร ที่ 12 มี น าคม ค.ศ.2013 และเสนอรายนามพระคาร์ดินัล 3 องค์ (Cardinal Contenders) ผู้ได้รับการ พิ จ ารณาแล้ ว ว่ า มี คุ ณ สมบั ติ เ หมาะสมได้ รั บ เลือกตั้งเป็นสมเด็จพระสันตะปาปา ได้แก่ 1. พระคาร์ ดิ นั ล อั น เยโล สโกลา พระอัครสังฆราชแห่งมิลาน อิตาลี อายุ 71 ปี ชาวอิตาลี 2. พระคาร์ดนิ ลั มาร์ก อูลเล่ต์ ประธาน สมณกระทรวงเพื่อพระสังฆราช อายุ 68 ปี ชาวแคนาดา ซึ่ ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงแต่งตั้งให้เป็นประธาน งานชุ ม นุ ม เคารพศี ล มหาสนิ ท นานาชาติ ครั้ ง ที่ 50 th ณ กรุ ง ดั บ ลิ น ไอร์ แ ลนด์ ใน เดือนมิถุนายน ค.ศ.2012 3. พระคาร์ดินัล โอดิโล เปโดร ชีเลอร์ พระอั ค รสั ง ฆราชแห่ ง เซา เปาโล บราซิ ล อายุ 63 ปี ชาวบราซิล การประชุ ม คอนเคลฟครั้ ง นี้ มี พ ระ คาร์ ดิ นั ล 117 องค์ ซึ่ ง อายุ ไ ม่ เ กิ น 80 ปี ได้ รั บ สิ ท ธิ์ ล งคะแนนเลื อ กตั้ ง สมเด็ จ พระ สั น ตะปาปา (Cardinal Electors) เป็ น พระคาร์ดินัลที่บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์ น ปอล ที่ 2 ทรงสถาปนา 50 องค์ และสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงสถาปนาอีก 67 องค์ ทัง้ นี้ มีพระคาร์ดนิ ลั 2 องค์ ขอลาประชุมเพราะปัญหาด้านสุขภาพ และเหตุ ผ ลส่ ว นตั ว ได้ แ ก่ พระคาร์ ดิ นั ล
8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
กิ ต ติ คุ ณ ยู ลิ อุ ส แห่ ง จาการ์ ต า, อิ น โดนี เซี ย และพระคาร์ดินัลคีธ โอ’ไบรอัน อดีตพระ อั ค รสั ง ฆราชแห่ ง เอดิ น เบิ ร์ ก , สก๊ อ ตแลนด์ จึ ง ทำให้ จ ำนวนพระคาร์ ดิ นั ล ที่ เข้ า ประชุ ม คอนเคลฟ เหลือ 115 องค์ เมื่อข้อกำหนด ระบุให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา องค์ที่ 266 จำเป็นต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ขององค์ประชุม และบวกอีก 1 เสียง คะแนนเสียงที่ต้องได้รับจึงอยู่ที่ 77 เสียง เปิดประชุมคอนเคลฟ วั น ที่ 12 มี น าคม ค.ศ.2013 คณะ พระคาร์ดินัล 115 องค์ ร่วมพิธีเปิดประชุม คอนเคลฟ มีกำหนดการตามเวลาท้องถิ่นที่ กรุงโรม ดังนี้
ภาคเช้า - พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ภายในมหา วิหารนักบุญเปโตร 16.30 น. - คณะพระคาร์ ดิ นั ล ตั้ ง แถวเดิ น เข้ า สู่ วัดน้อยซิสติน เรียงตามลำดับอาวุโส โดยอาวุโสน้อยนำหน้าขบวน ระหว่าง นั้ น ร่ ว มขั บ บทอั ญ เชิ ญ พระจิ ต เจ้ า (Veni Creator Spiritus) สำนักข่าว CNN ยั ง ให้ ข้ อ มู ล ว่ า ตามด้ ว ยบท ร่ ำ วิ ง วอนนั ก บุ ญ ทั้ ง หลาย (Litany of the Saints) ในภาษาละติ น ขณะที่พระคาร์ดินัลแต่ละองค์เข้านั่ง ประจำที่
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
- จากนั้ น เป็ น พิ ธี ก ล่ า วปฏิ ญ าณตน พระคาร์ดินัลแต่ละองค์เดินมาที่แท่น พระคัมภีร์ วางมือขวาบนพระคัมภีร์ พร้ อ มกั บ กล่ า วชื่ อ ของท่ า น และ ปฏิญาณว่าจะถือการเลือกตั้งนี้เป็น ความลับ 1.35 น. - เมื่อพระคาร์ดินัลทุกองค์ปฏิญาณตน แล้ว ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเดินออก นอกห้องประชุม ปิดประตูลั่นดาล และเริ่มการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 19.41 น. - ควันสีดำพวยพลุ่งจากปล่องไฟเหนือ วัดน้อยซิสติน สื่อให้ประชาชนที่เฝ้า ติดตามการเลือกตั้งบริเวณลานหน้า มหาวิ ห ารนั ก บุ ญ เปโตรทราบว่ า การลงคะแนนครั้ ง แรกนี้ ยั ง ไม่ มี พระคาร์ดินัลองค์ใดได้คะแนนถึง 77 เสียง ตามเกณฑ์ รุง่ ขึน้ ในวันพุธที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2013 คณะพระคาร์ ดิ นั ล จึ ง กำหนดให้ มี ก ารลง คะแนนเลือกตั้งต่อไป คือ ภาคเช้า 2 ครั้ง และภาคบ่ายอีก 2 ครั้ง แต่จะส่งสัญญาณ ควั น เพี ย ง วั น ละ 2 ครั้ ง ในภาคเช้ า และ ภาคบ่าย ในการเลือกตั้งครั้งที่ 4 ของวันที่ 13 หรือครัง้ ที่ 5 ของการเลือกตัง้ พระคาร์ดนิ ลั ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ ได้รับเลือกตั้งให้ เป็ น พระสั น ตะปาปา เวลา 19.06 น.
9
ควั น สี ข าวจึ ง พวยพลุ่ ง จากปล่ อ งไฟเหนื อ วัดน้อยซิสติน เครื่องหมายที่บอกให้โลกได้รู้ ว่า HABEMUS PAPAM หรือ “เรามีพระ สันตะปาปาแล้ว” พิ ธี ก ารภายในวั ด น้ อ ยซิ ส ติ น ยั ง คง ดำเนินต่อไป พระคาร์ดินัลที่ได้รับเลือกตั้งให้ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 ของพระศาสนจักร จะถูกตั้งคำถามว่า “ท่านยินดีรบั ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปา ผู้นำจิตวิญญาณของพระศาสนจักรหรือไม่?” ถ้าตอบรับ คำถามต่อมาก็คือ “ท่านจะเลือก ใช้ชื่อใดในการดำรงตำแหน่ง?” แล้วจึงเสด็จ ไปยั ง “ห้ อ งแห่ ง หยาดน้ ำ ตา” (Room of Tears) เพื่อสวมอาภรณ์สีขาวประจำตำแหน่ง ซึ่ ง เตรี ย มไว้ 3 ขนาด เพื่ อ ให้ เ หมาะสมกั บ สรี ร ะของพระคาร์ ดิ นั ล ที่ ไ ด้ รั บ เลื อ กตั้ ง ที่ เปรี ย บเที ย บว่ า เป็ น ห้ อ งแห่ ง หยาดน้ ำ ตานี้ เพราะขณะสมเด็ จ พระสั น ตะปาปาทรงอยู่ ตามลำพัง เมื่อพระองค์ทรงตระหนักถึงภาระ อันหนักหน่วงของพระศาสนจักรที่รอคอยอยู่ เบือ้ งหน้า อาจทำให้ทรงรูส้ กึ หนักพระทัยมาก จากนั้นพระองค์จะกลับมาสวดภาวนา พร้อมกับคณะพระคาร์ดนิ ลั แล้วพระคาร์ดนิ ลั จะเข้าแถวเพื่อคำนับ, กล่าวแสดงความยินดี กับสมเด็จพระสันตะปาปา และให้คำสัญญา ว่าจะเชือ่ ฟังพระองค์ในการร่วมงานพระศาสน จักรสากล
10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
สิ่งที่สมเด็จพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 ทรงกระทำ ซึ่งไม่เคยปรากฏว่าสมเด็จพระ สันตะปาปาองค์ใดก่อนหน้านี้ได้กระทำ คือ พระองค์ทรงใช้เวลาสั้นๆ ภาวนาส่วนพระองค์ ภายในวัดน้อยพอลลีน (Pauline Chapel) ก่อนปรากฏพระองค์แก่ประชาชนที่มารอเฝ้า เพื่ อ ประทานพรแก่ ช าวโรมและชาวโลก Urbi et Orbi “อูร์บี แอ๊ต ออร์บี” ลำดั บ เหตุ ก ารณ์ ห น้ า ลานมหาวิ ห ารฯหลั ง ควันสีขาว ประมาณ 19.06 น. - ทันทีที่ควันสีขาวปรากฏ เสียงระฆัง ประจำมหาวิหารฯ ย่ำต่อเนื่อง เพื่อ ยืนยันว่า คณะพระคาร์ดินัลเลือกตั้ง สมเด็จพระสันตะปาปาได้แล้ว - ทหารรักษาพระองค์ชาวสวิส เดิน สวนสนามบริเวณลานใต้ระเบียง มหา วิ ห ารฯ ขณะที่ ว งดุ ริ ย างค์ บ รรเลง บทเพลงประจำชาติวาติกัน (Vatican National Anthem) ประชาชนเฝ้ า คอยการปรากฏพระองค์ ข องสมเด็ จ พระสันตะปาปา - ธงประจำชาติต่างๆ โบกสะบัดไปมา พร้อมเปล่งเสียงอวยชัยถวายพระพรว่า “VIVA PAPA…VIVA PAPA” แปลว่า “ขอองค์สมเด็จพระสันตะปาปาทรงมี พระชนมายุยืนนาน”
20.12 น. - พระคาร์ ดิ นั ล ฌอง หลุ ย ส์ โตร็ อ ง ชาวฝรัง่ เศสปรากฏบริเวณระเบียงชัน้ 2 ประกาศในภาษาละติ น ว่ า “ข้ า พเจ้ า ประกาศแก่ท่านทั้งหลาย ด้วยความ ชื่นชมยินดีอย่างยิ่งว่า เรามีพระสันตะ ปาปาแล้ว ได้แก่ พระคาร์ดนิ ลั ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ พระอัครสังฆราช แห่งบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ผู้ ท รงเลื อ กใช้ พ ระนามสมเด็ จ พระ สันตะปาปาฟรานซิส (Pope Francis)” 20.22 น. - สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรานซิ ส ปรากฏพระองค์บริเวณระเบียง ตรัส แก่ประชาชนที่มาเฝ้าว่า “สวัสดี พี่น้อง ที่ รั ก คณะพระคาร์ ดิ นั ล ที่ ท ำหน้ า ที่ ประชุ ม ลั บ เพื่ อ เลื อ กตั้ ง พระสั ง ฆราช แห่ ง กรุ ง โรม ได้ เ ลื อ กข้ า พเจ้ า จาก ดิ น แดนห่ า งไกล แต่ ข้ า พเจ้ า ก็ อ ยู่ ณ ที่นี้แล้ว ให้เราร่วมใจภาวนาพร้อมกัน บทข้าแต่พระบิดา, บทวันทามารีย์และ บทพระสิริรุ่งโรจน์ ขอให้เราร่วมก้าว ไปพร้อมๆ กัน ด้วยความวางใจและ ความศรัทธาในพระเป็นเจ้า” ในการ ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชนเป็นครั้ง แรกนี้ ก่อนที่สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิสจะประทานพรแก่ชาวโรมและ ชาวโลก พระองค์ทรงขอให้ประชาชน
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
ณ ที่ นั้ น ร่วมกันวอนขอพระพรจาก พระเป็นเจ้าเพือ่ พระองค์ ขณะทรงโน้ม พระเศียรในอาการสงบเพื่อรับพระพร แล้วตรัสว่า “พรุ่งนี้ข้าพเจ้าจะถวายคำ ภาวนาแด่ พ ระแม่ ม ารี ย์ ราตรี ส วั ส ดิ์ ขอขอบใจทุกๆ คน และขอให้พักผ่อน ให้สบาย”
พิธีสถาปนาเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็น ทางการ จั ด ในวั น อั ง คาร ที่ 19 มี น าคม ค.ศ.2013 ตรงกั บ วั น สมโภชนั ก บุ ญ โยเซฟ ภั ส ดาของพระแม่ ม ารี ย์ พ รหมจารี ย์ องค์ อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรสากล สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส สำนั ก ข่ า วต่ า งประเทศที่ มี ชื่ อ เสี ย ง หลายสำนักรายงานอย่างต่อเนื่องว่า สมเด็จ
11
พระสันตะปาปาฟรานซิส ผู้ซึ่งในอดีตได้นำ พระศาสนจั ก รอาร์ เจนติ น าสู่ ค วามทั น สมั ย พระองค์ทรงได้รับเลือกตั้งในการลงคะแนน ครั้ ง ที่ 5 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปากิ ต ติ คุ ณ เบเนดิ ก ต์ ที่ 16 ได้ รั บ เลื อ กตั้ ง ในการลง คะแนน ครั้ ง ที่ 4 และบุ ญ ราศี ส มเด็ จ พระ สันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้รับเลือกตั้ง ในการลงคะแนน ครั้ ง ที่ 8 โดยที่ ส มเด็ จ พระสั น ตะปาปาทั้ ง สามพระองค์ ล้ ว นได้ รั บ การเลือกตั้งในการลงคะแนนวันที่สองของ การประชุมคอนเคลฟทุกพระองค์ สำนักข่าว ดังกล่าวยกย่องสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ในหลายเรื่อง ได้แก่ 1. เป็นสมาชิกคณะเยสุอิตองค์แรกที่ได้ รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปา 2 . เ ป็ น ส ม เ ด็ จ พ ร ะ สั น ต ะ ป า ป า พระองค์ แ รกจากทวี ป ลาติ น อเมริ ก าซึ่ ง มี
12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ประชากรคาทอลิกมากที่สุดถึง 501 ล้านคน รองมาคือทวีปอเมริกาใต้ 85 ล้านคน และ อั น ดั บ ที่ ส าม ได้ แ ก่ ประเทศอิ ต าลี 55.8 ล้ า นคน รายงานยั ง ให้ ข้ อ มู ล ว่ า คณะพระ คาร์ดินัลที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นชาว อิตาลี 28 องค์ ชาวยุโรปอื่นๆ 32 องค์ ชาว อเมริ ก าเหนื อ 20 องค์ ชาวอเมริ ก าใต้ 13 องค์ ชาวแอฟริกา 11 องค์ และชาวเอเชีย และโอเชีย 11 องค์ 3. เป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรก ที่ทรงเลือกใช้พระนามสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิสด้วยแรงบันดาลใจจากนักบุญฟรังซิส แห่ ง อั ส ซี ซี ซึ่งคุณพ่อเจมส์ มาร์ติน คณะ เยสุอิต แสดงความเห็นว่า การทรงเลือกใช้ พระนามฟรานซิ ส สื่ อ ถึ ง ความยากจน ความเรียบง่าย และการทำงานเพื่อผู้ยากไร้ 4. เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ท่ี 9 ในรอบเกื อ บ 100 ปี (ค.ศ.1914–2013) ดังนี้ 4.1 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 15 (ค.ศ.1914–1922) ชาวอิ ต าลี ทรง ริเริม่ การเจรจาให้เกิดสันติภาพระหว่างสงคราม โลกครั้ ง ที่ 1 (ค.ศ.1914–1918) เมื่ อ วั น ที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1917 4.2 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 (ค.ศ.1922-1939) ชาวอิ ต าลี ทรงทำสนธิ สั ญ ญาทางไมตรี กั บ รั ฐ บาลประเทศต่ า งๆ ช่วยคริสตชนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม
โลกครั้ ง ที่ 1 ให้ มี ก ำลั ง ใจเข้ ม แข็ ง ได้ แ ก่ ลั ต เวี ย (ค.ศ.1922) โปแลนด์ (ค.ศ.1925) โร ม า เ นี ย แ ล ะ ลิ ธั ว เ นี ย ( ค . ศ . 1 9 2 7 ) ปรัสเซีย (ค.ศ.1929) ออสเตรียและเยอรมัน (ค.ศ.1933) 4.3 พระสั น ตะปาปาปี โ อ ที่ 12 (ค.ศ.1939-1958) ชาวอิ ต าลี ทรงนำ พระศาสนจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945) 4.4 บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 (ค.ศ.1958-1963) ชาวอิตาลี ทรงมีชื่อเสียงโดดเด่นพระองค์หนึ่ง พระองค์ ทรงเปิ ด สภาสั ง คายนาวาติ กั น ที่ 2 (ค.ศ. 1962-1965) เมื่ อ วั น ที่ 11 ตุ ล าคม ค.ศ. 1962 นำพระศาสนจักรสู่ความทันสมัย 4.5 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาเปาโล ที่ 6 (ค.ศ.1963-1978) ชาวอิตาลี ทรงสาน ต่อสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 และทำพิธีปิด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1965 4.6 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปายอห์ น ปอล ที่ 1 (26 สิงหาคม–28 กันยายน ค.ศ. 1978) ชาวอิ ต าลี เป็ น พระองค์ แรกที่ ท รง เลือกใช้ 2 พระนามซ้อน เพือ่ ระลึกถึงบุญราศี สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 และ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาเปาโล ที่ 6 ผู้ ท รง ปกครองก่อนสมณสมัยของพระองค์ 4.7 บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์ น ปอล ที่ 2 (ค.ศ.1978-2005) ชาว
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
13
14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
โปแลนด์ ทรงมีพระสมณสมัยนานเป็นอันดับ ที่ 3 คือ 26 ปี 5 เดือน รองจากนักบุญเปโตร คือ 34 หรือ 37 ปี และบุญราศีสมเด็จพระ สันตะปาปาปีโอ ที่ 9 คือ 31 ปี 7 เดือน 4.8 สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 ชาวเยอรมัน (19 เมษายน ค.ศ.2005 และทรงประกาศลาออกจาก ตำแหน่ ง สิ้ น สุ ด วั น ที่ 28 กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ. 2013) 4.9 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (วั น ที่ 13 มี น าคม ค.ศ.2013–ปั จ จุ บั น ) ชาวอาร์เจนตินา 5. เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ ชาวอิตาลี ต่อเนื่องกัน 3 สมณสมัย ได้แก่ บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ชาวโปแลนด์, สมเด็จพระสันตะปาปากิตติ คุณเบเนดิกต์ ที่ 16 ชาวเยอรมัน, และสมเด็จ พระสันตะปาปาฟรานซิส ชาวอาร์เจนตินา 6. สำนั ก ข่ า วที่ น่ า เชื่ อ ถื อ รายงานว่ า การประชุมคอนเคลฟ ใน ค.ศ.2005 พระ คาร์ดินัลแบร์โกลิโอได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นอันดับที่ 2 รองจากพระคาร์ดินัลโจเซฟ รัตซิงเกอร์ ผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตะ ปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 7. ก่อนได้รบั เลือกตัง้ เป็นพระสันตะปาปา พระคุ ณ เจ้ า อภิ บ าลงานในอาร์ เจนติ น าโดย ตลอด จึ ง เชี่ ย วชาญงานอภิ บ าลอย่ า งมาก ชาวอาร์เจนตินา 97% เป็นคาทอลิก ขณะ
เป็นผู้นำพระศาสนจักรท้องถิ่น พระคุณเจ้า เรี ย กร้ อ งรั ฐ บาลในเรื่ อ งความยุ ติ ธ รรมทาง สังคมเพื่อผู้ยากไร้ คัดค้านการแต่งงานของ เพศเดียวกัน และต่อต้านอย่างหนักในนโยบาย ส่งเสริมการคุมกำเนิดของรัฐบาล 8. สำนักข่าวบางสำนักให้ข้อมูลไม่ตรง กั น ว่ า สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรานซิ ส ทรงเป็นผูส้ บื ทอดตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร องค์ที่ 266 หรือ 267 ในเรื่องนี้ นายเจมส์ ฮิตค๊อก ผู้ประพันธ์ “หนังสือประวัติศาสตร์ พระศาสนจักรคาทอลิก” อธิบายว่า “เป็นที่ ทราบดีวา่ นักบุญเปโตรเป็นสมเด็จพระสันตะ ปาปาพระองค์แรก มีสมเด็จพระสันตะปาปา ลิ นุ ส (ค.ศ.67-76) เป็ น ผู้ สื บ ตำแหน่ ง ต่ อ พระองค์ แรก ส่ ว นสมเด็ จ พระสั น ตะปาปา สเตเฟน ที่ 2 ได้รับเลือกตั้งวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.752 และสิ้นพระชนม์เพียง 3 วันหลัง การเลือกตั้ง โดยยังไม่ได้เข้าพิธีสถาปนา จึง ไม่อยู่ในรายนามสมเด็จพระสันตะปาปาของ พระศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จึงเป็นผู้สืบตำแหน่งองค์ที่ 266 คุณลักษณะที่โดดเด่นของสมเด็จพระสันตะ ปาปาฟรานซิส คุ ณ พ่ อ เฟเดริ โ ก ลอมบาร์ ดิ คณะ เยสุ อิ ต ผู้ อ ำนวยการสำนั ก ข่ า ววาติ กั น กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของสมเด็จพระสันตะ ปาปาฟรานซิสไว้ดังนี้
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
1. ความเรี ย บง่ า ย (Simplicity) ขณะเป็ น พระสั ง ฆราช พระคุ ณ เจ้ า ดำเนิ น ชี วิ ต ประจำวั น เหมื อ นสามั ญ ชน เมื่ อ ได้ รั บ เลื อ กตั้ ง เป็ น พระสั น ตะปาปา ทรงสวดบท ภาวนาธรรมดาๆ ได้แก่ บทข้าแต่พระบิดา, บทวั น ทามารี ย์ และ บทพระสิ ริ รุ่ ง โรจน์ คุณพ่อลอมบาร์ดิ เสริมว่า “พ่อตื่นเต้นมาก เมื่อทราบผลการเลือกตั้ง เป็นความปีติยินดี ของพระศาสนจักร พระคาร์ดินัลแบร์โกลิโอ ตอบรับพันธกิจใหม่ด้วยจิตตารมณ์ของการ เป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย” 2. ความถ่อมตน (humility) พระองค์ ทรงโน้มศีรษะลงเบือ้ งหน้า เมือ่ ขอให้ประชาชน ที่มาเฝ้าหน้าลานมหาวิหารฯ วอนขอพระพร จากพระเป็นเจ้าเพือ่ พระองค์ ก่อนทรงประทาน พรแก่ชาวโรมและชาวโลก ในฐานะผู้สืบทอด ตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร และเมื่อคณะ พระคาร์ดินัลเฝ้าคำนับพระองค์หลังการเลือก ตัง้ พระองค์ประทับยืนเบือ้ งหน้าพระคาร์ดนิ ลั แทนการประทับยืนบนแท่นรับความเคารพ หลังจากได้ตรัสขอบใจคณะพระคาร์ดนิ ลั ทีเ่ ลือก พระองค์ ทรงกล่าวติดตลกว่า “ขอพระเป็น เจ้าโปรดทรงยกโทษท่านทั้งหลายที่ได้เลือก ข้าพเจ้าเป็นพระสันตะปาปา” เมื่อเสร็จพิธี การ พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะใช้รถพระที่นั่ง ประจำตำแหน่งเสด็จกลับที่พัก แต่ประทับ นัง่ รถโดยสารพร้อมกับคณะพระคาร์ดนิ ลั แทน
15
3. ความยากจน (poverty) พระ คาร์ดินัลแบร์โกลิโอมีชื่อเสียงโดดเด่นในการ ปกป้องผู้ยากไร้ พระคุณเจ้าดำเนินชีวิตเป็น แบบอย่างการประหยัดอดออม ตลอดระยะ 15 ปี ของการอภิบาลงาน พระคุณเจ้าเดิน ทางเยี่ ย มคริ ส ตชนทั่ ว ทุ ก พื้ น ที่ ด้ ว ยรถใต้ ดิ น และรถโดยสารประจำทาง พระคุ ณ เจ้ า กล่ า วว่ า “คริ ส ตชนในความดู แ ลของพ่ อ ยากจน และพ่ออีกคนหนึ่งก็จนเหมือนพวก เขา” เหตุนี้พระคุณเจ้าจึงตัดสินใจพักห้องชุด ให้เช่าและทำอาหารเย็นทานเอง ทัง้ ยังแนะนำ ให้พระสงฆ์ของท่านต้อนรับพี่น้องทุกคนด้วย ใจเมตตาและเป็นกำลังใจแก่พวกเขา
16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
พระคาร์ดินัล ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ พระคาร์ดินัล แบร์โกลิโอ อายุ 76 ปี เกิ ด วั น ที่ 17 ธั น วาคม ค.ศ.1936 ที่ เ มื อ ง บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา บิดา มารดาเป็ น ชาวอิ ต าลี ที่ อ พยพครอบครั ว ไป อาศัยในอาร์เจนตินา เชี่ยวชาญภาษาสเปน อิตาเลียน เยอรมัน โปรตุเกส และภาษาอังกฤษ วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1969 รับศีล บวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1992 ได้รับ แต่ ง ตั้ ง เป็ น พระสังฆราชผู้ช่วย แห่งบัวโนส ไอเรส และพระสังฆราชเกียรตินามแห่งออก้า (Titular Bishop of Auca) รับพิธีบวชเป็น พระสังฆราช วันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ.1992 วั น ที่ 3 มิ ถุ น ายน ค.ศ.1997 ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เป็ น พระสั ง ฆราชรอง (Coadjutor Bishop) ผู้มีสิทธิ์สืบตำแหน่งพระอัครสังฆราช แห่งบัวโนส ไอเรส ทันทีที่พระอัครสังฆราช เกษียณอายุ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 วั น ที่ 21 กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ.2001 บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงสถาปนาพระอัครสังฆราช แบร์โกลิโอ เป็นพระคาร์ดินัล วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2013 สำนัก วาติกันให้ข้อมูลว่า สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิ ส อดี ตพระคาร์ดินัลฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักดีทั่ว
ทวีปลาติน อเมริกา พระคุณเจ้าดำเนินชีวิต เป็นแบบอย่างผู้อภิบาลที่เรียบง่าย เป็นที่รัก ของพระสงฆ์และคริสตชนในอัครสังฆมณฑล พระคุณเจ้าพูดว่า “สิ่งเลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้น ในพระศาสนจักร ซึ่ง เดอ ลูบัค (De Lubac) เรียกว่า spiritual worldliness คือ “การ ดำเนินชีวติ ยึดน้ำใจตนเองเป็นใหญ่” (being self-centred)” เรื่องความยุติธรรมทางสังคม พระคุณ เจ้าเชิญชวนคริสตชนให้ปฏิบัติตามข้อคำสอน พืน้ ฐานของพระศาสนจักร ได้แก่ พระบัญญัติ 10 ประการ และมหาบุญลาภ 8 ประการ เป็นบทเทศน์บนภูเขาเรือ่ งความสุขแท้จริง (มธ 5:3-12) พระคุณเจ้าให้เหตุผลว่า “ผู้ท่ตี ิดตาม พระเยซูคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิดจะเข้าใจว่า การเหยียบย่ำศักดิศ์ รีของมนุษย์เป็นบาปหนัก ประการหนึ่ง” บทสัมภาษณ์หน้าลานมหาวิหารฯ คุ ณ พ่ อ โทมั ส โรซิ ก า ผู้ อ ำนวยการ สถานีโทรทัศน์ Salt and Light จากแคนาดา รั บ หน้ า ที่ ร องโฆษกสำนั ก วาติ กั น กล่ า วว่ า “พ่อรู้สึกประทับใจ เมื่อเห็นชาวอาร์เจนตินา ที่ติดตามการเลือกตั้งพระสันตะปาปาพระองค์ ใหม่ ผ่ า นทางโทรทั ศ น์ ใ นร้ า นกาแฟและร้ า น อาหาร พร้อมใจกันคุกเข่าลงแสดงความเคารพ ทันทีที่ทราบว่าพระอัครสังฆราชแห่งบัวโนส ไอเรส ได้ รั บ เลื อ กตั้ ง เป็ น พระสั น ตะปาปา
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
พระองค์ ท รงมี ค วามรอบรู้ ต ามคุ ณ ลั ก ษณะ ของสงฆ์คณะเยสุอิต ทรงให้บทสอนว่าจะ เป็นผู้นำชุมชนคริสตชนและนายชุมพาบาล ที่ ดี ไ ด้ อ ย่ า งไร? โลกปั จ จุ บั น กำลั ง ประสบ ปั ญ หามากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น การข่ ม ขื น การฉ้อราษฎร์บังหลวง วิกฤตเศรษกิจ และ วิกฤตในเรือ่ งความศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระสงฆ์นกั บวช ในทุกวิกฤตพระศาสนจักรได้รับเรียกให้กลับ สู่รากเหง้าเสมอ” เวลาท้องถิ่นกรุงโรม 22.40 น. ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่ง สหรัฐอเมริกา ให้สมั ภาษณ์ผา่ นสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็นว่า “สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงปกป้องคนจนเป็นเลิศ (Champion of the Poor) พระองค์จะทรงนำสารแห่งความ รักและความเมตตาสู่มวลมนุษยโลก” นั ก ท่ อ งเที่ ย ว “ดี ใจที่ ไ ด้ อ ยู่ ณ ลาน หน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร ได้เห็นควันสีขาว พร้ อ มกั บ ประชาชนจากทั่ ว โลก เพื่ อ รอฟั ง พระดำรั ส สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาองค์ ใ หม่ ได้ร่วมเป็นประจักษ์พยานการก้าวต่อไปของ พระศาสนจักร” สตรีชาวโคลอมเบีย ประเทศในลาติน อเมริ ก า กล่ า วว่ า “ดิ ฉั น ตื่ น เต้ น มาก ไม่ คาดว่ า พระอั ค รสั ง ฆราชแห่ ง บั ว โนส ไอเรส จะได้ รั บ เลื อ กตั้ ง ให้ เ ป็ น พระสั น ตะปาปา พระองค์ทรงมีบคุ ลิกทีเ่ รียบง่าย เชือ่ ว่าพระองค์ จะทรงเป็ น ผู้ น ำจิ ต วิ ญ ญาณที่ ช่ ว ยให้ พ ระ
17
ศาสนจักรเข้มแข็งขึ้นอย่างแน่นอน” สามเณรจากอาร์เจนตินา มาศึกษาที่ กรุ ง โรม “ผมดี ใจมาก สมเด็ จ พระสั น ตะ ปาปาฟรานซิสทรงรักและห่วงใยชาวอาร์เจน ตินาโดยเฉพาะผู้ยากไร้และผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทรงเป็นนักเทศน์ที่ให้บทสอนน่าประทับใจ และเป็นนักบวชที่ให้ความสำคัญต่อชีวิตการ ภาวนาอย่างลึกซึ้งที่เด่นชัด” นักบุญฟรังซิส อัสซีซี (ค.ศ.1182-1226) นักบุญฟรังซิส อัสซีซี เดิมชือ่ โจวานนี ดิ แบร์นาร์โดเน เกิดในแคว้นอุมเบรีย เป็น
18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
พระสงฆ์ แ ละนั ก เทศน์ ช าวอิ ต าลี ที่ มี ค วาม สามารถโดดเด่ น ซึ่ ง ได้ รั บ ยกย่ อ งว่ า เป็ น ผู้ กอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรมที่น่าเคารพใน ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิก นักบุญฟรังซิส เป็นบุตรชายของพ่อค้า ผ้าที่ร่ำรวยในเมืองอัสซีซี ดำเนินชีวิตวัยหนุ่ม อย่างมั่งคั่งบริบูรณ์ ค.ศ.1204 ท่านเดินทาง ไปทำสงครามครูเสด และเห็นภาพนิมิตให้ กลับไปยังอัสซีซี หลังจากนั้นท่านเปลี่ยนวิถี การดำเนินชีวิต ละสิ่งของฝ่ายโลกอย่างสิ้นเชิง ครั้ ง หนึ่ ง ท่ า นแสวงบุ ญ ไปยั ง กรุ ง โรม ใช้ชวี ติ กับกลุม่ ขอทานหน้าลานมหาวิหารนักบุญ เปโตร ประสบการณ์ครั้งนั้นที่ส่งผลให้ท่าน ดำเนินชีวิตถือความยากจน เมื่อกลับบ้านเกิด ท่านเริม่ เทศน์สอนตามท้องถนน และรวบรวม ผู้เชื่อศรัทธาในท่าน ตั้งคณะนักพรตชาย คือ คณะฟรั ง ซิ ส กั น ภราดาน้ อ ย (Order of Friars Minor) ซึ่ ง สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา อิ น โนเซนต์ ที่ 3 (ค.ศ.1198-1216) ทรง ประกาศรับรองคณะใน ค.ศ.1210 ในเวลา ต่ อ มาท่ า นได้ ตั้ ง คณะนั ก พรตหญิ ง กลาลิ ส กาปูชิน (Order of the Poor Clares) ค.ศ.1219 ท่ า นเดิ น ทางไปอี ยิ ป ต์ พยายามเปลี่ยนพระทัยสุลต่านให้ยุติการทำ สงครามครูเสด และเดินทางกลับกรุงโรมเพื่อ ปฏิรูปคณะที่เติบโตขึ้นมาก
ค . ศ . 1 2 2 3 ท่ า น ริ เริ่ ม ก า ร จั ด ถ้ ำ พระกุมาร (Nativity Scene) โอกาสเทศกาล พระคริสตสมภพ ค.ศ.1224 นั ก บุ ญ ฟรั ง ซิ ส เป็ น บุ ค คล แรกที่มีรอยแผลเหมือนบาดแผลศักดิ์สิทธิ์ของ พระเยซูเจ้าปรากฏบนร่างกาย ท่านมรณภาพ วันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1226 ขณะกำลังฟังบท สดุดีที่ 141* ที่ท่านขอให้อ่านให้ท่านฟัง ค.ศ.1228 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา เกรโกรี ที่ 9 (ค.ศ.1227-1241) ทรงสถาปนา ท่านเป็นนักบุญ ท่านยังได้รับยกย่องเป็นองค์ อุปถัมภ์ของสภาพแวดล้อม, บรรดาสัตว์, และ เป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศอิตาลี ร่วมกับ นักบุญแคธรีนแห่งซีเอนา (ค.ศ.1347-1380) พระศาสนจักรคาทอลิกและพระศาสน จักรแองกลิกันจัดพิธีอวยพรสัตว์เลี้ยงในวันที่ 4 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันสมโภชท่านนักบุญ ฟรังซิสแห่งอัสซีซี (*เพลงสดุดีที่ 141 คำวอนขออย่าให้ แพ้การประจญ ผู้ประพันธ์วอนขอพระเป็น เจ้ า ให้ ป ระทานกำลั ง และทรงคุ้ ม ครองไม่ ใ ห้ เขาต้องพ่ายแพ้ต่อการประจญ คริสตชนจะ ต้ อ งประสบกั บ สถานการณ์ ก ล้ า ยกั น นี้ ด้ ว ย พระเยซู เจ้ า ทรงสอนให้ เราเฝ้ า ระวั ง และ อธิ ษ ฐานภาวนาเพื่ อ จะไม่ ต้ อ งพ่ า ยแพ้ แ ก่ การประจญ (เทียบ มธ6:13;26:41”)
การประชุมลับเพื่อเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา Conclave on Pope Francis
19
ใน ค.ศ.1767 เป็นการปิดฉากภารกิจของคณะ ต่อมาใน ค.ศ.1954 พระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง พระสังฆราชผู้ปกครองมิสซังกรุงเทพฯ ได้เชิญ คณะฯเข้ า มาช่ ว ยงานอภิ บ าลนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา พระสงฆ์ และนักบวชจนในปัจจุบัน
คณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต) The Society of Jesus (JESUITS) S.J. นักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา ได้ตั้ง คณะเยสุ อิ ต ใน ค.ศ.1540 คณะได้เติบโต อย่างรวดเร็วและเริ่มมีบทบาทสำคัญในการ ฟื้ น ฟู พ ระศาสนจั ก ร พระสงฆ์ ค ณะเยสุ อิ ต ทำหน้ า ที่ เ ป็ น อาจารย์ นั ก วิ ช าการ และ ผู้ประกาศข่าวดี จิตตารมณ์ของคณะ ตามแนวคิดของ นั ก บุ ญ อิ ก ญาซี โ อ กล่ า วคื อ พระเป็ น เจ้ า ทรงสร้างมนุษย์เพือ่ สรรเสริญและรับใช้พระองค์ เราจึ ง ควรทำทุ ก สิ่ ง เพื่ อ “เทิ ด พระเกี ย รติ มงคลพระเป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น” (Ad Majorem Dei Gloriam) ค.ศ.1607 คณะเยสุ อิ ต เริ่ ม ประกาศ ข่าวดีครั้งแรกสมัยกรุงสยาม ณ หมู่บ้านชาว โปรตุเกส ในกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงแก่พม่า
ประเทศอาร์เจนตินา ชือ่ ทางการ คือ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา หนึ่ ง ในประเทศในทวี ป อเมริ ก าใต้ (ลาติ น อเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทาง ทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกทาง ทิศตะวันออกและทิศใต้ ทิศเหนือติดประเทศ ปารากวัยและประเทศโบลิเวีย ทิศตะวันออก เฉี ย งเหนื อ ติ ด ประเทศอุ รุ ก วั ย และประเทศ บราซิล ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับประเทศ ชิลี อาร์ เจนติ น ามี พื้ น ที่ ใ หญ่ เ ป็ น อั น ดั บ ที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และ มี พื้ น ที่ ใ หญ่ เ ป็ น อั น ดั บ ที่ 8 ของโลก มี บัวโนส ไอเรส เมืองทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งใน ลาตินอเมริกา เป็นเมืองหลวง, เมืองใหญ่ ที่ สุ ด , เมื อ งท่ า , และศู น ย์ ก ลางสำคั ญ ทาง วัฒนธรรม เนือ่ งจากได้รบั “วัฒนธรรมยุโรป” อย่างเข้มข้น บางครั้งบัวโนสไอเรสจึงถูกเรียก ว่า “ปารีสใต้” หรือ “ปารีสแห่งอเมริกาใต้” *****
20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
MaHenry, Robert. The New Encyclopaedia Britannica Vol.1. 15 th ed. Chicago : Encyclopeadia Britanica, Inc., 1993 MaHenry, Robert. The New Encyclopaedia Britannica Vol.3. 15 th ed. Chicago : Encyclopeadia Britanica, Inc., 1993 MaHenry, Robert. The New Encyclopaedia Britannica Vol.4. 12 th ed. Chicago : Encyclopeadia Britanica, Inc., 1993 Maxwell-Stuart, P.G. Chronicle of the Popes. London : Thames & Hudson, 2006 สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย. นักบวชหญิงและชายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย, 2012. วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช. ประวัตินักบุญตลอดปี. กรุงเทพฯ : บริษัท สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด. 2007.
เปโตร : ต้นกำเนิดตำแหน่งพระสันตะปาปา
หมวดพระสัจธรรม
35
...เปโตร...
ต้นกำเนิดตำแหน่งพระสันตะปาปา บาทหลวงวสันต์ พิรุฬห์วงศ์ C.S.S.
หลั ง จากสำนั ก วาติ กั น แถลงข่ า ว อย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศสละตำแหน่ง อย่ า งเป็ น ทางการด้ ว ยเหตุ ผ ลทางสุ ข ภาพ ซึ่งส่งผลให้ต้องมีการเลือกตั้งพระสันตะปาปา องค์ ใ หม่ นั้ น เรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ สมเด็ จ พระ
สันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 และ “ตำแหน่ง พระสั น ตะปาปา” ก็ ไ ด้ ก ลายเป็ น ข่ า วใหญ่ ของทุ ก สำนั ก ข่ า ว ยิ่ ง เมื่ อ การเลื อ กตั้ ง พระ สันตะปาปาองค์ใหม่ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันพุธ ที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2013 โดยพระคาร์ดินัล ฮอร์ เ ก้ เบร์ โจโญ่ ประมุ ข อั ค รสั ง ฆมณฑล
บาทหลวงสังกัดรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ (สติกมาติน) อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
“ ข่าวการเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่โด่งดังไปทั่วโลก จึงมีคนตั้งคำถามสงสัยถึงตำแหน่งพระสันตะปาปาในทำนองว่า พระองค์จะมีความศักดิ์สิทธิ์มากกว่ามนุษย์คนอื่นได้อย่างไร ? ” บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนติน่า ได้รับ เลือกเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 ของ พระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก โดยใช้ ชื่ อ “ฟรานซิส ที่ 1” ก็ยง่ิ สร้างความประหลาดใจ ให้แก่เหล่าผู้คนที่เฝ้าติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด เพราะพระสันตะปาปาองค์ใหม่พระองค์นี้เป็น ผู้ ที่ ไ ม่ ค่ อ ยได้ ถู ก เอ่ ย ถึ ง ก่ อ นหน้ า นี้ เ ท่ า ไรนั ก ไม่ ค่ อ ยเป็ น ที่ รู้ จั ก ของนั ก ข่ า ว และไม่ ค่ อ ย เป็นที่คุ้นเคยของผู้ที่อยู่ในแวดวงของวาติกัน เท่าไรนักด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็น พระสั น ตะปาปาองค์ ที่ ส ามติ ด ต่ อ กั น ที่ ไ ม่ ใช่ ชาวอิตาเลียน เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ และเป็นพระสันตะ ปาปาองค์แรกในรอบราว 1,300 ปีที่ไม่ได้มา จากทวี ป ยุ โรป ทันทีที่ได้รับเลือกตั้ง เรื่อง ราวเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ในเกือบทุกแง่ ทุ ก มุ ม จึ ง เป็ น ที่ ส นใจจากนั ก ข่ า วและผู้ ค นที่ ติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิด และเรื่องต่างๆ ของพระองค์ก็ค่อยๆ ได้รับการเปิดเผยเรื่อย มาจนถึงปัจจุบัน 1
เพราะข่าวการเลือกตั้งพระสันตะปาปา องค์ใหม่โด่งดังไปทั่วโลก ผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิกจึง ตั้งคำถามสงสัยถึงตำแหน่งพระสันตะปาปาใน ทำนองว่า พระสันตะปาปาก็เป็นมนุษย์คน หนึ่ ง ที่ อ ยู่ บ นโลกเหมื อ นกั บ มนุ ษ ย์ ค นอื่ น ๆ ทั่วไป แล้วพระองค์จะมีความศักดิ์สิทธิ์มาก กว่ามนุษย์คนอื่นได้อย่างไร? หรือว่า ใครที่ ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา ก็จะกลาย เป็นผู้ที่ไม่มีบาปอีกต่อไปแล้ว? สมเด็จพระสันตะปาปา พระสังฆราช แห่งกรุงโรม เป็นผู้ที่สืบทอดตำแหน่งมาจาก นักบุญเปโตร ผูซ้ ง่ึ ใช้เวลาหลายปีในตอนปลาย ของชีวิตเป็นผู้นำกลุ่มคริสตชนในกรุงโรม แม้ ว่า ที่จริงแล้ว “เป็นพระคริสตเจ้าเองที่เป็น ต้นกำเนิดแห่งศาสนบริการทั้งหลายในพระ ศาสนจักร พระองค์ทรงตั้งพระศาสนจักรขึ้น และทรงมอบอำนาจหน้าที่และพันธกิจให้แก่ พระศาสนจักร”1 และ “เพื่อให้ประชากรของ พระเจ้าได้มน่ั ใจว่ามีผอู้ ภิบาล และมีวธิ ที เ่ี จริญ
คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ภาค 1 การประกาศยืนยันความเชื่อ, จัดพิมพ์โดยแผนกคำสอนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 1997, ข้อ 874.
เปโตร : ต้นกำเนิดตำแหน่งพระสันตะปาปา
พระสันตะปาปา พระสังฆราชแห่งกรุงโรมและ ทายาทสืบต่อจากนักบุญเปโตร เป็นบ่อเกิดตลอดกาล และรากฐานแห่งเอกภาพ ซึ่งเชื่อมโยงทั้งพระสังฆราช ทั้งหลายและสัตบุรุษเข้าด้วยกัน ชีวิตเติบโตก้าวหน้าต่อไปได้ พระคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า จึงได้ทรงก่อตั้งตำแหน่ง หน้ า ที่ ศ าสนบริ ก ารหลากหลายขึ้ น ในพระ ศาสนจั ก รของพระองค์ ซึ่ ง แต่ ล ะตำแหน่ ง หน้าที่ต่างก็มุ่งไปสู่การสร้างคุณประโยชน์ให้ แก่พระกายอย่างครบครัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว บรรดาศาสนบริกรซึง่ กอปรด้วยอำนาจศักดิส์ ทิ ธิ์ เหล่ า นั้น ล้ วนมีไว้เพื่อรับใช้พี่น้องทั้งหลาย ทั้ ง สิ้ น เพื่ อ ให้ ทุ ก คนที่ เ ป็ น ประชากรของ พระเจ้ า ... จะได้ รั บ ความรอดโดยทั่ ว กั น ”2 แต่ ใ นการแต่ ง ตั้ ง สานุ ศิ ษ ย์ 12 คนให้ เ ป็ น อัครสาวกของพระองค์ เพือ่ ให้พวกเขาสืบสาน
2 3
37
ต่ อ พั น ธกิ จ แห่ ง การประกาศข่ า วดี แ ห่ ง พระ อาณาจักรของพระเจ้านั้น พระคริสตเจ้าก็ได้ “ทรงแต่งตั้งเปโตร ซึ่งเลือกขึ้นมาจากบรรดา สานุศษิ ย์เหล่านัน้ ให้เป็นหัวหน้าของพวกเขา”3 ด้วยเหตุนี้ เปโตรจึงเป็น “ศิลา” แห่ง พระศาสนจักรของพระคริสตเจ้า4 เป็นผู้ได้รับ แต่งตั้งจากพระคริสตเจ้าให้เป็นนายชุมพาบาล ดูแลฝูงชุมพาทั้งฝูงของพระคริสตเจ้า และ อำนาจหน้าที่ของเปโตรนี้ก็ได้รับการส่งมอบ ต่อมาผ่านทางตำแหน่งพระสันตะปาปา5 ดังนี้ พระสันตะปาปา พระสังฆราชแห่งกรุงโรม และทายาทสืบต่อจากนักบุญเปโตร จึงเป็น บ่อเกิดตลอดกาลและรากฐานแห่งเอกภาพซึ่ง เชื่ อ มโยงทั้ ง พระสั ง ฆราชทั้ ง หลายและมวล สัตบุรุษเข้าด้วยกัน6 อย่ า งไรก็ ต าม มี ข้ อ เท็ จ จริ ง จากพระ คัมภีร์เกี่ยวกับนักบุญเปโตรที่น่าสนใจอย่าง มากว่ า ในพระวรสารทั้ ง สี่ ฉ บั บ ของพั น ธ สั ญ ญาใหม่ นั้ น ไม่ มี พ ระวรสารฉบั บ ใดที่ พยายามปกปิดความจริงที่ว่าเปโตรก็เป็นคน ที่มี “ความอ่อนแอ” เหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป และเปโตรยังสามารถตกในบาปเหมือนคนอืน่ ๆ
LG 18. LG 19. 4 Paul Haffner, Mystery of the Church, Leominster: Gracewing, 2007, p. 164. 5 Ibid, p. 165. 6 LG 23; คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 882.
38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ได้ เ หมื อ นกั น ทั้ ง ๆ ที่ ใ นความเป็ น จริ ง แล้ ว หากบรรดาผู้ น ำพระศาสนจั ก รในสมั ย แรก ต้องการจะปกปิดเรื่องดังกล่าว เพื่อสร้างภาพ ให้เปโตร ผู้นำของพระศาสนจักร เป็นผู้ที่ บริสุทธิ์และปราศจากตำหนิด่างพร้อยใดๆ ก็ สามารถทำได้ แต่พวกท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำ ดังนั้น แม้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างยอม รั บ และเห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ว่ า เปโตรเป็ น มี ความอ่อนแอเหมือนกับคนอื่นๆ และสามารถ ทำบาปได้เหมือนคนทั่วไป แต่ทุกฝ่ายต่างก็ ยอมรั บ ความจริ ง อื่ น ๆ ด้ ว ยเช่ น กั น ว่ า ใน บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้านั้น มีเพียงเปโตร “เท่านั้น” ที่ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบ ที่ ไ ม่ มี ใ ครเหมื อน มีเพียงเปโตร “เท่านั้น” ที่พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนชื่อให้ (จากซีโมนเป็น “เปโตร” ซึ่งมีความหมายว่า “ศิลา”) มีเพียง เปโตร “เท่านั้น” ที่พระเยซูเจ้าทรงตรัสกับ
ท่านในคืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ว่า “เราอธิษฐาน อ้อนวอนเพื่อท่าน ให้ความเชื่อของท่านมั่นคง ตลอดไป และเมื่อท่านกลับใจแล้ว จงช่วย ค้ำจุนพี่น้องของท่านเถิด” (ลก.22:32) และ หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ แล้ว ครั้งที่พระองค์ทรงสำแดงพระองค์แก่ บรรดาศิษย์ที่ฝั่งทะเลสาบทีเบเรียส และทำ อัศจรรย์ให้บรรดาศิษย์จับปลาได้เป็นจำนวน มาก ขณะที่น่งั รับประทานอาหารร่วมกับพวก ศิ ษ ย์ เ หล่ า นั้ น (ยน.21:1-18) มี เ พี ย งเปโตร “เท่ า นั้ น ” ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงถามท่ า นว่ า “ท่านรักเราไหม” ทำไมพระเยซู เจ้ า จึ ง ถามเปโตรด้ ว ย คำถามเดียวกันถึงสามครั้ง? อาจเป็นเพราะว่า เปโตรต้องการชดเชย การปฏิเสธพระเยซูเจ้าถึงสามครั้งก่อนหน้านี้ ของท่าน จึงประกาศยืนยันความรักของท่าน
เปโตร : ต้นกำเนิดตำแหน่งพระสันตะปาปา
ที่มีต่อพระเยซูเจ้าสามครั้งด้วยกัน หรือบางที อาจเป็ น เพราะว่ า พระเยซู เจ้ า ต้ อ งการจะ บอกกับเปโตรว่า “เปโตร วิ ธี ที่ จ ะแสดงการเป็ น ทุ ก ข์ กลับใจจากบาปของท่าน และวิธีที่จะแสดง ความรั ก ของท่ า นที่ มี ต่ อ เราก็ คื อ จงเลี้ ย งดู ฝู ง แกะของเรา จงจำไว้ ว่ า พวกเขาไม่ ใช่ ฝูงแกะของท่าน แต่เป็นฝูงแกะของเรา จง ดูแลพวกเขาแทนเรา จงทำกับพวกเขาเหมือน กับที่เราทำกับพวกเขา อย่าทำเพียงแค่เลี้ยง ดูพวกเขาเท่านัน้ แต่จงปกป้องคุม้ ครองพวกเขา ด้วย และเมื่อถึงคราวจำเป็น จงมอบชีวิต ของท่านเพื่อพวกเขาด้วย” เปโตรจึ ง ไม่ ใช่ ม นุ ษ ย์ ที่ พิ เ ศษแตกต่ า ง จากมนุ ษ ย์ ค นอื่ น ๆ แต่ เ ป็ น คนธรรมดาๆ เหมือนกับศิษย์คนอื่นๆ ของพระเยซูเจ้าและ เหมือนกับเราทุกคน มีความอ่อนแอ มีความ บกพร่อง และทำบาปได้เหมือนกับเรา แต่ พระเยซูเจ้าก็ทรงเมตตาเลือกและแต่งตั้งคน ธรรมดาๆ อย่ างเปโตรนี้ให้เป็นหัวหน้าของ อัครสาวก เป็นผู้นำของพระศาสนจักร และ ฝากฝังฝูงชุมพาทั้งฝูงของพระองค์ไว้กับท่าน ด้วยเหตุนี้ คำสอนของพระศาสนจักรโรมัน
คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 880. คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 890-891. 9 LG 25. 7 8
39
คาทอลิ ก เกี่ ย วกั บ พระสั น ตะปาปา ซึ่ ง เป็ น ผู้สืบทอดอำนาจหน้าที่ต่อจากนักบุญเปโตร จึงสอนว่า 1) เป็ น พระคริ ส ตเจ้ า ที่ ท รงแต่ ง ตั้ ง นักบุญเปโตรให้เป็นผู้นำของบรรดาอัครสาวก และพระศาสนจั ก ร 7 นั ก บุ ญ มั ท ธิ ว ได้ บั น ทึ ก เหตุการณ์ครั้งนั้น โดยเล่าว่า พระเยซูเจ้า ทรงตรัสว่า “เราบอกท่านว่า ท่านคือศิลา และบนศิลานี้ เราจะตั้งพระศาสนจักรของ เรา ประตูนรกจะไม่มีวันชนะพระศาสนจักร ได้ เราจะมอบกุ ญ แจอาณาจั ก รสวรรค์ ใ ห้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดินนี้ จะผูกไว้ใน สวรรค์ ด้ ว ย ทุ ก สิ่ ง ที่ ท่ า นจะแก้ ใ นแผ่ น ดิ น นี้ ก็ จ ะแก้ ใ นสวรรค์ ด้ ว ย” (มธ.16:18-19) และในการมอบ “กุญแจอาณาจักรสวรรค์” ให้กับเปโตรนั้น พระคริสตเจ้าไม่ได้เพียงแค่ ทำให้เปโตรเป็นหัวหน้าเท่านั้น แต่พระองค์ ยังได้ประทาน “พระพรพิเศษ” เพื่อให้ท่าน ได้มีส่วนในความผิดพลาดไม่ได้ของพระองค์ ด้ ว ย 8 ดั ง นั้ น ในขณะที่ เ ปโตรทำหน้ า ที่ ใ น ฐานะเป็ น ตั ว แทนของพระคริ ส ตเจ้ า ในการ ป่าวประกาศความเชื่อ9 การพูดหรือสอนตาม ตำแหน่ ง หน้ า ที่ ข องท่ า น (ex cathedra) จึงไม่อาจผิดพลาดได้ และการปฏิบัติหน้าที่
40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ในนามของพระคริสตเจ้าโดยไม่อาจผิดพลาด ได้ เ มื่ อ พู ด หรื อ สอนจากตำแหน่ ง หน้ า ที่ ข อง ท่านนี้ ยังได้มอบต่อมายังผู้สืบตำแหน่งต่อ จากท่ า น (พระสั น ตะปาปา) ด้ ว ย นั่ น คื อ เป็นการมอบความผิดพลาดไม่ได้ในการนำทาง ให้แก่พระศาสนจักรนั่นเอง จุดมุ่งหมายของ ตำแหน่งพระสันตะปาปาจึงเพื่อนำทางพระ ศาสนจักรให้ไปในทางที่ไม่อาจผิดพลาดได้นี้ 2) ในเวลาต่ อ มา เปโตรยั ง ได้ เ ป็ น พระสั ง ฆราชแห่ ง กรุ ง โรมด้ ว ย โดยอาศั ย อำนาจหน้ า ที่ ก ารเป็ น ผู้ แ ทนพระคริ ส ตเจ้ า และนายชุ ม พาบาลของพระศาสนจั ก ร ทั้งมวล เปโตรและผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่าน (พระสันตะปาปา) จึงมีอำนาจปกครองเหนือ พระสังฆราชอืน่ ๆ และบรรดาผูน้ ำพระศาสนจักร อืน่ ๆ ด้วย คำสอนของพระสังฆราชแห่งกรุงโรม มีอำนาจเหนือคำสอนของพระสังฆราชอื่นๆ ทุกคน เป็นอำนาจเต็มเหนือพระศาสนจักร เป็นอำนาจสูงสุด และครอบคลุมไปทั่วสากล โลก และยังสามารถใช้อำนาจนี้ได้อย่างอิสระ เสมอด้วย10 3) เปโตรได้มอบอำนาจของอัครสาวก ต่อมายังพระสังฆราชแห่งกรุงโรมองค์ต่อมา บรรดาอัครสาวกคนอืน่ ๆ ก็กระทำเช่นเดียวกัน
โดยมอบอำนาจของอัครสาวกต่อมายังบรรดา พระสังฆราชที่พวกท่านได้อภิเษกให้ และใน ทำนองเดี ย วกั น บรรดาพระสั ง ฆราชใหม่ เหล่านี้ก็ได้มอบอำนาจของอัครสาวกนี้สืบต่อ มายังพระสังฆราชองค์ต่อๆ มาและกระทำ เช่นนี้สืบทอดต่อกันมา11 การส่งต่ออำนาจของ อัครสาวกนี้ถูกกล่าวถึงในฐานะเป็น “การสืบ ทอดอำนาจหน้าที่ของอัครสาวก”12 4) จากพื้นฐานการยึดถือที่ว่า โซ่ของ พระสั ง ฆราชแห่ ง กรุ ง โรมไม่ เ คยขาดตอน พระศาสนจักรจึงสอนว่าพระศาสนจักรโรมัน คาทอลิ ก นี้ เ ป็ น พระศาสนจั ก รที่ เ ที่ ย งแท้ พระศาสนจักรอื่นๆ ที่ไม่ยอมรับความเป็นเอก ของพระสันตะปาปา ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ได้แยก ออกไปจากพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเป็น ต้ น กำเนิ ด และพระศาสนจั ก รเที่ ย งแท้ เ พี ย ง พระศาสนจักรเดียว13 ทัง้ หมดนี้ เราจึงพอมองเห็นว่า บทบาท ของนั ก บุ ญ เปโตรมี ลั ก ษณะเฉพาะของการ เป็นนายชุมพาบาลที่ไม่เหมือนกับศิษย์คนอื่นๆ เพราะท่านเป็นนายชุมพาบาลของคนทั้งโลก แม้ท่านจะเป็นคนที่มีความอ่อนแอเหมือนคน อืน่ ๆ ทัว่ ไป แต่ดว้ ยพระเมตตาของพระเยซูเจ้า
LG 22; คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 882. คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 881. 12 อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ ใน Paul Haffner, Mystery of the Church, หน้า 143-184. 13 คำสอนพระศาสนจักร ข้อ 813-822. 10 11
เปโตร : ต้นกำเนิดตำแหน่งพระสันตะปาปา
ท่ า นก็ ไ ด้ รั บ มอบหมายหน้ า ที่ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ ดู แ ล พระศาสนจั ก รทุ ก หนแห่ ง ของพระเยซู เจ้ า และยังได้รับพระพรพิเศษจากพระเยซูเจ้าให้มี ส่วนร่วมในความผิดพลาดไม่ได้ในขณะทำหน้าที่ ในฐานะเป็นตัวแทนของพระองค์ในการป่าว ประกาศความเชื่ อ อี ก ด้ ว ย นอกจากนี้ แ ล้ ว หากเราพิ จ าณาพระดำรั ส ของพระเยซู เจ้ า กับเปโตร ใน ลก.22:32 อย่างจริงจัง เรายัง จะพบด้วยว่า เปโตรได้รับมอบหมายหน้าที่ ให้เป็นนายชุมพาบาลของชุมพาบาลทั้งหลาย ด้วย นี่เป็นภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งที่ จริ ง แล้ ว ถื อ เป็ น ภาระหน้ า ที่ ที่ ห นั ก มากที่ เปโตรไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ดว้ ยพลังอำนาจ ของตัวเอง นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราคริสตชน จึงอธิษฐานภาวนาในทุกๆ มิสซาพร้อมกันทั่ว โลกเพื่อองค์สมเด็จพระสันตะปาปาของเรา เพราะพระสันตะปาปายังต้องการพระหรรษทาน ของพระจิตเจ้า เพื่อช่วยเหลือให้ภารกิจของ ท่านสำเร็จไปนั่นเอง *****
41
64 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ชีวิตด้านจิตใจ
สมเด็จพระสันตะปาปา ผู้รับใช้ของผู้รับใช้
ดร. สุภาวดี นัมคณิสรณ์
บทนำ
ยากอบและยอห์ น บุ ต รของเศเบดี เข้ามาทูลพระองค์ว่า “พระอาจารย์ ข้าพเจ้า ทั้งสองปรารถนาให้พระองค์ทรงกระทำตาม ทีข่ า้ พเจ้าจะขอนี”้ พระองค์ตรัสถามว่า “ท่าน ปรารถนาให้เราทำสิ่งใด” ทั้งสองทูลตอบว่า
“ขอโปรดให้ข้าพเจ้าคนหนึ่งนั่งข้างขวา อีก คนหนึ่ ง นั่ ง ข้ า งซ้ า ยของพระองค์ ใ นพระสิ ริ รุ่งโรจน์เถิด” .......... (มก 10:35-37) .......... เมื่อได้ยินดังนั้น อัครสาวกอีก สิบคนรูส้ กึ โกรธยากอบและยอห์น พระเยซูเจ้า
อาจารย์ประจำคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระสันตะปาปา : ผู้รับใช้ของผู้รับใช้
จึงทรงเรียกเขาทั้งหมดมาพบตรัสว่า “ท่านทั้ง หลายย่ อ มรู้ ว่ า คนต่ า งชาติ ที่ คิ ด ว่ า ตนเป็ น หั ว หน้ า ย่ อ มเป็ น เจ้ า นายเหนื อ ผู้ อื่ น และผู้ เป็ น ใหญ่ ย่ อ มใช้ อ ำนาจบั ง คั บ แต่ ท่ า นทั้ ง หลายไม่ควรเป็นเช่นนั้น ผู้ใดที่ปรารถนาจะ เป็นใหญ่ จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น และ ผู้ ใ ดที่ ป รารถนาจะเป็ น คนที่ ห นึ่ ง ในหมู่ ท่ า น ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้ทุกคน เพราะบุตร แห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้แต่มาเพื่อ รั บ ใช้ ผู้ อื่ น และมอบชี วิ ต ของตนเป็ น สิ น ไถ่ เพื่อมวลมนุษย์” (มก 10:41-45) การเป็นผู้นำคือการรับใช้ ผู้เขียนขอเริ่มต้นบทความของผู้เขียน จากเหตุการณ์ในพระวรสารที่เขียนโดยท่าน นั ก บุ ญ มาระโก เหตุ ก ารณ์ ข้ า งต้ น นี้ เ กิ ด ขึ้ น เมื่อพระเยซูคริสตเจ้ากำลังจะเดินทางไปยัง กรุงเยรูซาเล็ม พระองค์ทรงบอกล่วงหน้าถึง เหตุการณ์ทจ่ี ะเกิดขึน้ กับพระองค์วา่ พระองค์ จะถูกจับและถูกรับโทษถึงตาย แต่หลังจาก นั้นสามวัน พระองค์จะทรงกลับคืนชีพ แต่ ยากอบและยอห์ น ไม่ เข้ า ใจในสิ่ ง ที่ พ ระเยซู คริ ส ตเจ้ า พยายามอธิ บ าย พวกเขาคิ ด ว่ า พระองค์ไปที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อเป็นกษัตริย์ ปกครองแผ่ น ดิ น พวกเขาเป็ น ศิ ษ ย์ ข อง พระองค์ ก็ จ ะต้ อ งได้ รั บ ตำแหน่ ง เช่ น กั น ดังนั้นพวกเขาจึงขอตำแหน่งให้พวกเขาได้มี โอกาสนั่งข้างขวาและข้างซ้ายของพระองค์
65
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากเหตุการณ์ ตอนนี้ก็คือ ความเข้าใจในเรื่องของ “ความ เป็นผูน้ ำ” ของพระเยซูคริสตเจ้าและของสาวก ของพระองค์นน้ั แตกต่างกัน ความเข้าใจในเรือ่ ง ความเป็นผู้นำ ของสาวกของพระเยซูคริสต เจ้านั้นก็เหมือนกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไป ที่ว่า ผู้นำก็คือผู้ที่ต้องมีตำแหน่ง มีอำนาจ เหนือคนอื่น แต่สำหรับพระเยซูคริสตเจ้าแล้ว พระองค์ตอ้ งการสอนบรรดาสาวกของพระองค์ ให้เกิดความคิด ความเข้าใจ ความเป็นผูน้ ำบน “รากฐานใหม่ของพระองค์” ว่า หัวใจของ การเป็นผู้นำคือ “การรับใช้” และ รากฐาน ของการรั บ ใช้ นั้ น มาจาก ความสำนึ ก ที่ ว่ า พระเจ้ า ทรงเรี ย กเรา ดั ง นั้ น การรั บ ใช้ นั้ น จึงเป็นการรับใช้ตามพระประสงค์ของพระเจ้า การที่ พ ระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ไปที่ ก รุ ง เยรู ซ าเล็ ม พระองค์ก็ไปในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า ที่ ยอมเชื่ อ ฟั ง และปฏิ บั ติ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งตาม น้ำพระทัยของพระเจ้า ตลอดชี วิ ต ของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า บน โลก เราได้เห็นการปฏิบัติตนเป็นผู้รับใช้ของ พระองค์ ตั้งแต่ทรงบังกิดบนรางหญ้าจวบจน กระทั่ ง เวลาที่ พ ระองค์ จ ะเสด็ จ ไปสวรรค์ พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นพระอาจารย์ทำ ได้ แ ม้ ก ระทั่ ง ก้ ม ลงล้ า งเท้ า อั ค รสาวกผู้ เ ป็ น ศิษย์ “ท่านเข้าใจไหมว่าเราทำอะไรให้ท่าน ท่านทั้งหลายเรียกเราว่าอาจารย์และองค์พระ ผู้ เ ป็ น เจ้ า ก็ ถู ก แล้ ว เพราะเราเป็ น อย่ า งนั้ น
66 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
จริงๆ ในเมื่อเราซึ่งเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและ อาจารย์ยังล้างเท้าให้ท่าน ท่านก็ต้องล้างเท้า ให้แก่กันและกันด้วย เราวางแบบอย่างไว้ให้ ท่านแล้ว ท่านจะได้ทำเหมือนกับที่เราทำกับ ท่าน.......” (ยน 13:13-15) ดังนั้นผู้ที่เป็นศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซู คริสตเจ้าจึงต้องมีหวั ใจแบบบพระเยซูคริสตเจ้า นั่นก็คือ สมัครใจที่จะรับใช้ผู้อื่นด้วยความรัก ตามแบบอย่ า งชี วิ ต ของพระองค์ พระเยซู คริสตเจ้าทรงสมัครใจที่จะรับใช้ด้วยความ เต็มใจมิใช่ด้วยความจำยอม พระองค์ทรง
ปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ อื่ น ด้ ว ยความรั ก และทรงดำเนิ น ชีวิตแบบมนุษย์เพื่อผู้อื่น (man of others) ตลอดเวลา ภายในสวนเกทเสมนี ก่อนที่พระเยซู คริสตเจ้าจะทรงถูกจับกุม ในพระธรรมชาติ ของมนุ ษ ย์ พ ระองค์ ท รงรู้ สึ ก เศร้ า สลดและ เป็นทุกข์ใจอย่างแสนสาหัส ทรงซบพระพักตร์ ลงกั บ พื้ น ดิ น ทรงอธิ ษ ฐานและภาวนาว่ า “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ถ้วยนี้ ผ่านพ้นไปเถิด ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ขออย่าให้ เป็ น ไปตามใจข้ า พเจ้ า แต่ ใ ห้ เ ป็ น ไปตาม
สมเด็จพระสันตะปาปา : ผู้รับใช้ของผู้รับใช้
พระประสงค์ของพระองค์เถิด...” (มท 26:39) และเมื่ อ ยู ด าสศิ ษ ย์ ที่ ท รยศต่ อ พระองค์ น ำ ทหารมาจับกุมพระองค์นั้น พวกทหารไม่มี ใครรู้จักพระองค์ พระองค์สามารถเลือกที่จะ หลบหนีการจับกุมได้แต่พระองค์มิได้ทำเช่น นั้ น พระองค์ ย อมให้ พ วกเขาจั บ และนำไป ประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน การตรึงกับไม้กางเขน (Crucify) คิดค้น ขึ้นโดยชาวเปอร์เชีย ราว 300 ปี ก่อนค.ศ. และวิธีนี้ชาวโรมันได้นำมาใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล 100 ปี ก่อนค.ศ.การตรึงคนบนไม้กางเขนเป็น การตายที่เจ็บปวดที่สุดเท่าที่มนุษย์จะคิดค้น กันมาได้ และการประหารชีวิตด้วยวิธีนี้มีไว้ สำหรับผู้ร้ายเพศชายที่ทำผิดอุกฉกรรจ์เท่านั้น การตรึงพระเยซูคริสตเจ้ากับไม้กางเขน จึงเป็นความตายอย่างช้าๆ น่าหวาดกลัวและ มีความเจ็บปวดอย่างที่สุด เนื่องจากพระเยซู คริสตเจ้าถูกตะปูตอกตรึงกับไม้กางเขน ดังนั้น อวัยวะทางกายวิภาคของพระองค์จงึ ไม่สามารถ ที่ จ ะอยู่ ใ นลั ก ษณะที่ ถู ก ต้ อ งจึ ง มี ผ ลทำให้ พระองค์ ท รงได้ รั บ ความเจ็ บ ปวดอย่ า งแสน สาหัส การสิ้ น พระชนม์ บ นไม้ ก างเขนของ พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า จึ ง เป็ น การอุ ทิ ศ พระองค์ อย่ า งสมบู ร ณ์ ด้ ว ยความรั ก และเชื่ อ ฟั ง ที่ พระองค์ทรงมีต่อพระบิดา และเป็นการแสดง การรับใช้ของพระเยซูคริสตเจ้าให้ปรากฏเป็น จริงอย่างสูงสุดด้วย นักบุญเปาโลได้กล่าวถึง
67
พระเยซูคริสตเจ้าไว้ว่า “......แม้ว่าพระองค์ ทรงมีพระธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ ถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่ จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมด สิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ ทรง ถ่ อ มพระองค์ จ นถึ ง กั บ ทรงยอมรั บ แม้ ค วาม ตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน.....” (ฟป 2:6-8) ดั ง นั้ น สำหรั บ คริ ส ตชนเมื่ อ เรามอง กางเขนของพระเยซูคริสตเจ้าเราไม่ได้มองเห็น ความน่าเกลียดน่ากลัว และความตาย แต่ กางเขนเตือนเราให้เห็นชีวิตใหม่ เห็นความ งดงามของการเสียสละและความรักที่ละเอียด อ่อนลึกซึ้ง ความรักที่ยิ่งใหญ่และสูงสุด เมื่ อ พู ด ถึ ง ผู้ น ำ กรอบความคิ ด ที่ ค น ส่ ว นใหญ่ มั ก จะคิ ด ถึ ง ผู้ น ำก็ คื อ ผู้ ที่ ท รงไว้ ซึ่ ง อำนาจ ซึ่งผู้นำที่ทรงอำนาจในโลกนี้มากมาย ที่ได้อำนาจมาจากการทำสงคราม การฆ่าฟัน และความโหดร้าย ผูน้ ำเหล่านัน้ อาจจะปกครอง อาณาจักรได้แต่เขาไม่สามารถที่จะครอบครอง จิตใจของมนุษย์ได้ แต่ความรัก ความเมตตา และการเสียสละของพระเยซูคริสตเจ้าที่มีต่อ มนุษย์นั้นยังคงครอบครองจิตใจของมนุษย์จน ตราบเท่าทุกวันนี้ พระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงมอบพันธกิจ แห่ ง ความรั ก และความเมตตานี้ ไว้ กั บ นาย ชุมพาบาลแห่งพระศาสนจักรของพระองค์ซึ่ง
68 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
เป็ น พั น ธกิ จ ที่ พ ระสงฆ์ แ ละพระสั ง ฆราชทุ ก องค์ต้องน้อมรับและที่เป็นพิเศษไปกว่านั้นก็คือ พระสังฆราชแห่งโรม ผู้เป็นพระสันตะปาปา และเป็นนายชุมพาบาลของพระศาสนจักร สากล พันธกิจของสมเด็จพระสันตะปาปา พระเยซู เจ้า ตรัสกั บเปโตรว่ า “ซีโ มน บุตรของยอห์น ท่านรักเรามากกว่าคนเหล่า นี้ รั ก เราไหม” เปโตรทู ล ตอบว่ า “ใช่ แ ล้ ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่า ข้าพเจ้า รักพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จง เลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” พระองค์ตรัสถาม เขาอี ก เป็ น ครั้ ง ที่ ส องว่ า “ซี โ มน บุ ต รของ ยอห์น ท่านรักเราไหม” เขาทูลตอบว่า “ใช่ แล้ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้า รักพระองค์” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงดูแล
ลู ก แกะของเราเถิ ด ” พระองค์ ต รั ส ถามเป็ น ครั้งที่สามว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่าน รั ก เราไหม” เปโตรรู้ สึ ก เป็ น ทุ ก ข์ ที่ พ ระองค์ ตรัสถามตนถึงสามครั้งว่า “ท่านรักเราไหม” เขาทูลตอบว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบ ทุ ก สิ่ ง พระองค์ ท รงทราบว่ า ข้ า พเจ้ า รั ก พระองค์ ” พระเยซู เจ้ า ตรั ส กั บ เขาว่ า “จง เลี้ยงดูแกะของเราเถิด”....... (ยน 21:15-17) พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ทรงมอบอำนาจ หน้าที่ให้แก่เปโตรด้วยคำถามที่พระเยซูคริสต เจ้าทรงถามย้ำกับเปโตรถึงสามครั้ง คำถาม นั้นคือคำถามเกี่ยวกับ ความรัก “ท่านรักเรา ไหม” และตามด้วยคำสั่งที่ย้ำถึงสามครั้งอีก เช่นกันว่า “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด” เพราะ ฉะนั้น อำนาจที่แท้จริงที่พระเยซูคริสตเจ้า ทรงมอบให้แก่เปโตรก็คือ การรับใช้ ผู้ที่สืบ ตำแหน่ ง ต่ อ จากเปโตร ซึ่ ง ก็ คื อ สมเด็ จ พระ
สมเด็จพระสันตะปาปา : ผู้รับใช้ของผู้รับใช้
สันตะปาปาทุกพระองค์ก็ต้องทำหน้าที่รับใช้ เช่นกัน สมเด็จพระสันตะปาปาจึงต้องเลียน แบบอย่างความรักและความสุภาพถ่อมตนใน การรับใช้ตามแบบอย่างของพระเยซูคริสตเจ้า ดังนัน้ ทัศนคติพน้ื ฐานของนายชุมพาบาล ของพระศาสนจั ก รก็ คื อ ความรั ก “นี่ คื อ บท บัญญัติของเรา ให้ท่านทั้งหลายรักกันเหมือน ดังที่เรารักท่าน ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่กว่า การสละชีวติ ของตนเพือ่ มิตรสหาย“ (ยน 15:12) นายชุ ม พาบาลของพระศาสนจั ก รทุ ก คนจึ ง ต้องสามารถสละชีวิตเพื่อฝูงแกะของตน (ยน 10:11) ยิ่ ง ตำแหน่ ง งานอภิ บ าลสู ง และเป็ น สากลมากเท่าใด ความรักของนายชุมพาบาล ยิ่งจะต้องเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น สมเด็จพระสันตะปาปาจึงมีพันธกิจใน การดู แ ลปกป้ อ งประชากรของพระเจ้ า ด้ ว ย ความรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลปกป้อง ผู้ ที่ ย ากไร้ ที่ สุ ด ผู้ ที่ อ่ อ นแอที่ สุ ด และผู้ ที่ มี ความสำคั ญ น้ อ ยที่ สุ ด ดั ง ที่ นั ก บุ ญ มั ท ธิ ว ได้ ระบุไว้ในวันพิพากษาครัง้ สุดท้ายเกีย่ วกับความ รั ก ต่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ซึ่ ง ได้ แ ก่ ผู้ ที่ หิ ว กระหาย คนแปลกหน้า ผู้ที่ไร้เครื่องนุ่งห่ม ผู้ป่วยและ ผู้ที่ถูกจองจำ (มธ 25:31-46) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระสันตะ ปาปาพระองค์ใหม่ของพวกเรา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ประสูติ วันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936 พระองค์บวช เป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1969
69
พระองค์ ไ ด้ รั บ การอภิ เ ษกเป็ น พระสั ง ฆราช เมื่อ วั น ที่ 28 กุ มภาพัน ธ์ ค.ศ.1998 ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น พระคาร์ ดิ นั ล เมื่ อ วั น ที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.200 และได้รับเลือกให้เป็น พระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013 พระองค์ ท รงเป็ น พระสั น ตะปาปา พระองค์ที่ 266 พิธีมิสซาฉลองการเริ่มศาสน บริการของอัครสาวกเปโตรของพระสังฆราช แห่งโรมจัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ.2013 วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ.2013 ทีห่ อประชุม เปาโลที่ 6 ที่นครวาติกัน สมเด็จพระสันตะ ปาปาฟรังซิสทรงเล่าให้นักหนังสือพิมพ์และ ผู้ ท ำงานด้ า นสื่ อ เกี่ ย วกั บ เหตุ ผ ลที่ พ ระองค์ ปรารถนาที่จะใช้พระนามว่า “ฟรังซิส” ว่า เมื่ อ พระองค์ ไ ด้ รั บ การเลื อ กตั้ ง ให้ เ ป็ น พระ สั น ตะปาปาพระองค์ ใ หม่ เพื่ อ นรั ก ของ พระองค์ซึ่งอยู่ในคณะนักบวชฟรังซิสกันชื่อ Cardinal Claudio Hummes [O.F.M.] ได้ เข้ า มาสวมกอดพระองค์ แ ละพู ด ว่ า “ขอ พระองค์อย่าลืมคนจนนะ” สมเด็จพระสันตะ ปาปาทรงประทับใจประโยคนี้มาก พระองค์ ทรงนึกถึงสัมพันธภาพกับคนจน และนึกถึง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีผู้เป็นบุรุษแห่งความ ยากจน บุ รุ ษ แห่ ง สั น ติ ภ าพ บุ รุ ษ ที่ รั ก และ ปกป้องสิ่งสร้างของพระเจ้า พระองค์จึงทรง เลือกใช้พระนามนีเ้ พราะพระองค์ทรงปรารถนา ที่จะให้พระศาสนจักรดำเนินชีวิตต่ำต้อยเพื่อ คนยากจน
70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
จวบจนถึงวันนี้ สมเด็จพระสันตะปาปา พระองค์ใหม่ของเราได้ทำให้โลกได้สัมผัสกับ พระสั น ตะปาปาผู้ ที่ เ ต็ ม เปี่ ย มไปด้ ว ยความ สุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนและมีความเมตตากรุณา ต่อทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต่อผูย้ ากไร้ ผูด้ อ้ ย โอกาส ผู้อ่อนแอ ผู้ที่มีความสำคัญน้อยใน สายตาของคนทั่วไป ในยุคแห่งบริโภคนิยมและความเจริญ ก้ า วหน้ า ทางวั ต ถุ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาต่ า งๆ อันได้แก่ การสร้างและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ความขัดแย้งระหว่างนานาชาติ การก่อการ ร้ายสากล สงครามกลางเมือง วิกฤตการณ์
ทางเศรษฐกิจ หายนะทางนิเวศวิทยา มลภาวะ เป็นพิษ สารพิษตกค้างในอาหาร น้ำ และ บรรยากาศของโลกถูกทำลาย อาชญากรรม ทุกรูปแบบและการเสื่อมถอยของคุณค่าทาง จิ ต ใจ สิ่ ง เหล่ า นี้ ก ำลั ง เป็ น วิ ก ฤตที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั่วโลก ณ.เวลานี้โลกจึงโหยหาความรัก ความ เมตตา และแบบอย่างที่ดี ดังนั้น ผู้ท่ไี ด้เห็น สิ่ ง ที่ ส มเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ทรง กระทำจึ ง เหมื อ นกั บ การจั บ ต้ อ งได้ จ ริ ง กั บ ความรักและความเมตตาของพระเจ้า ทุกวันนี้ ชาวโลกจึงให้ความสนใจและคอยติดตามข่าว
สมเด็จพระสันตะปาปา : ผู้รับใช้ของผู้รับใช้
การดำเนิ น ชี วิ ต กิ จ กรรมต่ า งๆ ตลอดจน บทเทศน์ และสุ น ทรพจน์ ที่ ส มเด็ จ พระ สันตะปาปาทรงเทศน์สอนหรือทรงกล่าวใน โอกาสต่างๆ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ หรือเทศน์สอนนั้นก่อให้เกิดแรงบันดาลใจกับ ผูค้ นทีไ่ ด้สมั ผัสอย่างมากมาย จึงไม่นา่ แปลกใจ เลยว่า ทั้งๆ ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้ไม่นาน พระองค์ก็ ทรงได้ รั บ การยกย่ อ งให้ เ ป็ น บุ ค คลแห่ ง ปี (Man of the Year) พวกเราขอขอบพระคุณพระผู้เป็นเจ้า ที่ ท รงประทานสมเด็ จ พระสั น ตะปาปาที่ เหมาะสมกับยุคสมัยของโลกและให้เราภาวนา เพื่อสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เพราะ พระองค์ทรงมีภารกิจอีกมากมายที่ต้องปฏิบัติ ยั ง มี ปั ญ หาอี ก มากมายที่ ร อให้ พ ระองค์ ท รง แก้ไขและชี้แนวทางเพื่อให้เป็นสังคมที่ถูกต้อง และมีความเที่ยงธรรม บทสรุป ในอดีต กรอบความคิดของความเป็น ผู้ น ำจะเน้ น ทางด้ า นกายภาพ บุ ค ลิ ก ภาพ ความรู้ ความสามารถ ความมั่งคั่ง บารมี แต่ สั ง คมโลกทุ ก วั น นี้ ต่ า งตระหนั ก ดี ว่ า คุณธรรม จริยธรรมเป็นคุณสมบัติที่จำเป็น และสำคั ญ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ในการเป็ น ผู้ น ำที่ ดี คำสอนและแบบอย่างของการเป็นผู้นำแบบ ผู้ รั บ ใช้ (Servant Leadership) ตามแบบ
71
อย่างของพระเยซูคริสตเจ้านั้นถูกนำไปใช้ใน องค์กร และหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น เพราะ คนที่มีจิตใจรับใช้ผู้อื่นก่อนที่จะคิดถึงตนเอง จะสามารถที่ จ ะเรี ย นรู้ แ ละพั ฒ นาตนเองให้ เป็นผู้นำที่ดีได้มากกว่าคนที่คิดถึงแต่ตนเอง หรือเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง ผู้เขียนขอจบบทความของผู้เขียนด้วย คำสอนของพระเยซู เจ้ า จากพระวรสารของ นักบุญลูกาดังนี้คือ “.....ท่านผู้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ที่ สุ ด จงทำตนเป็ น ผู้ น้ อ ยที่ สุ ด ผู้ ที่ เ ป็ น ผู้ น ำ จงเป็ น ผู้ รั บ ใช้ . ....” (ลก 24:26) ดั ง นั้ น อำนาจคือการรับใช้
72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. พระคัมภีร์ภาคพันธะสัญญาใหม่. นครปฐม : คณะ กรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์, 2002 ผู้นำที่เหมาะสมในยุคนี้ http://gunrapree.com/good_leader.html ผู้นำต้องเป็นผู้รับใช้ที่ดี http://leadership.exteen.com/ www.popereport
ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)
73
การศึกษา
ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)
พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์
บทความนี้ เขี ย นขึ้ น โดยได้ รั บ แรง บั น ดาลใจจากหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อโดนใจ ว่ า เมื่ อ ศาสนาต้ อ งเผชิ ญ กั บ สื่ อ สมั ย ใหม่ (When Religion Meets New Media)
โดย ไฮดิ แคมเบล (Campbell, 2010) ซึง่ ได้ กล่าวถึงชุมชนทางศาสนาในสภาพแวดล้อม ของสังคมออนไลน์ วิธีการที่ชุมชนแห่งความ เชื่อเลือกที่จะปรับใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสมัย
รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ผู้สอนรายวิชาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม ผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ผู้สอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ผู้สอนรายวิชาโปรแกรมประยุกต์ด้านการออกแบบ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
ในฟิลิปปินส์ ได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับการส่งข้อความสั้น (SMS) เกี่ยวกับพระเจ้าในมหานครมนิลา ...พบว่า... เยาวชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73) ยอมรับว่าทุกครั้งที่ได้รับข้อความสั้นเกี่ยวกับศาสนา ทำให้เขาได้ระลึกถึงพระเจ้า รู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับเทคโนโลยีเคลือ่ นที่ (Mobile Technologies) และอินเตอร์เน็ต จากสมมติฐานเดิมทีว่ า่ ศาสนาเป็นศัตรู กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงเกิดคำถามขึน้ หลาย ประการ ประการแรก เมื่อศาสนาต้องเผชิญ หน้ากับเทคโนโลยี อะไรจะเกิดขึ้น ประการ ที่สอง ชุมชนแห่งความเชื่อโดยเนื้อแท้แล้ว เป็ น ศั ต รู ห รื อ เป็ น แค่ ค วามหวาดระแวงต่ อ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และประการที่สาม เป็น การตอบรับตามธรรมชาติของชุมชนแห่งความ เชื่ อ ที่ จ ะปฏิ เ สธสื่ อ ในรู ป แบบใหม่ ห รื อ ไม่ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับยุคสมัยของ เทคโนโลยีกันก่อนครับ หากอ้างอิงถึงการแบ่งยุคสมัยของ Web ซึง่ ในยุคแรก Web 1.0 (ประมาณปี ค.ศ.1995 -2000) นั้ น ผู้ เข้าชมสามารถอ่านข้อมูลจาก เว็ บ ไซต์ ไ ด้ เ พี ย งอย่ า งเดี ย ว (Read-only) เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster)
เท่านัน้ ทีส่ ามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลีย่ นแปลง เพิ่ ม เติ ม ข้ อ มู ล ในเว็ บ ไซต์ ไ ด้ ผู้ เข้ า เยี่ ย มชม ไม่ มี ส่ ว นร่ ว มกั บ เว็ บ ไซต์ ไ ด้ เ ลย หากแต่ รั บ ข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว ถือเป็นรุ่นแรกของ เทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากใช้ภาษา html เป็นภาษาสำหรับการพัฒนามีลักษณะเดียว กันกับหนังสือทั่วไปที่ผ้อู ่านมีส่วนร่วมน้อยมาก ในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาในยุคของ Web 2.0 (ประมาณ ปี ค.ศ.2000-2010) ผูเ้ ข้าชมสามารถอ่านและ เขียนข้อมูลได้ด้วยตนเอง (Read-Write) เป็น เทคโนโลยี เว็ บ ไซต์ ที่ ส ามารถโต้ ต อบกั บ ผู้ ใช้ งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิกิพีเดีย เป็ น ต้ น ซึ่ ง จะใช้ ฐ านข้ อ มู ล มาเกี่ ย วข้ อ งกั บ เทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปก็สามารถสร้าง เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้ ในยุค ที่ 2 นี้ จึงเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ ซึ่ ง กั น และกั น โดยการสร้ า งเสริ ม เติ ม แต่ ง
ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)
ข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ ถูกต้องที่สุด ตัวอย่างที่ดีที่สุดน่าจะเป็น Wiki pedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดได้ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มี ที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูล ของแต่ละบุคคล ทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมาก ทีส่ ดุ และจะถูกมากขึน้ เมือ่ เรือ่ งนัน้ ถูกขัดเกลา อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ข้ อ มู ล จึ ง มี ค วามทั น สมั ย อยู่ ตลอดเวลาอีกด้วย และในยุค Web 3.0 (หลังปี ค.ศ.2010) เน้ น เรื่ อ งการจั ด การข้ อ มู ล ในเว็ บ มากขึ้ น แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มี คุณภาพซึ่ง WEB 2.0 ได้สร้างไว้ โดยข้อมูล เหล่านี้มีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่าง รวดเร็ว คำถามคือจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้เข้าถึง Content หรือข้อมูลทีต่ นเองต้องการได้งา่ ยและ ตรงตามความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ในยุ ค Web 3.0 จึ ง เป็ น ยุ ค ของเทคโนโลยี ออนไลน์และสื่อใหม่ ทำให้การสื่อสารเป็น เรือ่ งของการอ่าน+เขียน+ปฏิสมั พันธ์ (Read+ Write+Relate) ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูล ข่าวสารได้หลากหลาย และสามารถมีปฏิสมั พันธ์ ได้อย่างปัจจุบันทันที มีความเป็นมัลติมีเดีย แบ่งปันเรื่องราวได้ไม่รู้จบ ที่ไหนก็ได้ สร้าง ได้หลากหลายช่องทาง และส่งไปยังเครื่อง รับได้หลากหลายรูปแบบ (Any ware/Any media/Any device)
75
จ า ก ยุ ค ส มั ย ข อ ง เ ว็ บ 1 . 0 2 . 0 แ ล ะ 3.0 ที่กล่าวมาแล้ว ในปัจจุบันประเทศไทย ยั ง อยู่ ใ นยุ ค ของเทคโนโลยี 3G (Third Generation) อันเป็นเทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สาร ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ อุ ป กรณ์ ด้ า นการสื่ อ สารที่ ใช้ เทคโนโลยี นี้ เช่ น โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ Smart Phone Tablet ฯลฯ สามารถรับ-ส่งข้อมูล ในระบบไร้ ส ายด้ ว ยอั ต ราความเร็ ว ที่ สู ง ขึ้ น ทำให้การรับส่งข้อมูลไม่ได้จำกัดรูปแบบอยู่ แค่เพียงข้อความเท่านั้น แต่ยังรองรับข้อมูล มัลติมีเดีย ทั้งภาพและเสียงได้อย่างลื่นไหล อีกด้วย ดังนั้น เมื่อเทคโนโลยีเว็บ 3.0 ผนวก รวมกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 3G ย่อม ส่ ง ผลกระทบต่ อ สิ่ ง ต่ า งๆ ไม่ เว้ น แม้ ก ระทั้ ง ศาสนา และเมื่ อ ศาสนาต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ เทคโนโลยีเหล่านี้ อะไรจะเกิดขึน้ อันดับแรก หากย้อนดูท่าทีของพระศาสนจักรคาทอลิกใน อดีต โดยองค์สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 (Pope Paul VI, 1975) ทรงกล่าวไว้ว่า “เพราะฉะนั้น พระวรสารและการ ประกาศข่าวดีไม่เหมือนกับวัฒนธรรม อย่ า งแน่ น อน ทั้ ง ยั ง เป็ น อิ ส ระจาก วัฒนธรรมทั้งมวล ถึงกระนั้นก็ตาม อาณาจักรซึ่งพระวรสารประกาศยัง คงมี ชี วิ ต ชี ว าด้ ว ยสื บ เนื่ อ งมาจาก
76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
มนุษย์ ผู้ซ่งึ ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง ก า ร ห ยิ บ ยื ม อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง วั ฒ นธรรมมนุ ษ ย์ ห รื อ องค์ ป ระกอบ ข อ ง วั ฒ น ธ ร ร ม ต่ า ง ๆ แ ม้ ว่ า มี อิสรภาพของวัฒนธรรม พระวรสาร และการประกาศข่าวดีไม่จำเป็นต้อง เข้ า กั น ไม่ ไ ด้ กั บ วั ฒ นธรรมเสมอไป ยิ่ ง กว่ า นั้ น ต้ อ งสามารถที่ จ ะแทรก ซึมโดยปราศจากการควบคุมใดๆ” “...พระศาสนจักรได้พบตัวตนหรือไม่ ในการจั ด หาสิ่ ง จำเป็ น ที่ ดี ก ว่ า เพื่ อ ประกาศพระวรสาร และใส่ ล งใน หั ว ใจของผู้ ค นด้ ว ยความเชื่ อ อย่ า ง แรงกล้ า พร้ อ มจิ ต ใจที่ มี อิ ส รภาพ และประสิทธิภาพ แล้ววิธีการใดควร จะนำมาใช้เพื่อให้พลังแห่งพระวรสาร เกิดผล” จะเห็ น ได้ ว่ า พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ยิ น ดี รั บ พั ฒ นาการต่ า งๆ อั น เกิ ด จากการ พัฒนาของคนในสังคมนั้นๆ เพื่อมิติด้านการ อภิ บ าล โดยการประกาศข่ า วดี ไ ด้ พั ฒ นา รูปแบบตามการดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป และสืบเนื่องต่อมา โดย องค์สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 (Pope John Paul II, 1990) ทรงกล่าวไว้ว่า
“...เพราะว่าการประกาศข่าวดีอย่าง แท้ จ ริ ง ของวั ฒ นธรรมสมั ย ใหม่ นั้ น ขึ้นอยู่กับการแพร่อิทธิพลของสื่อเป็น อย่างมาก การใช้สื่ออย่างง่ายๆ เพื่อ เผยแพร่ขา่ วสารคริสตชนและการสอน ที่ แ ท้ จ ริ ง ของพระศาสนจั ก รนั้ น ไม่ เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องผสมผสาน ด้วยข้อความเข้าไปในวัฒนธรรมแบบ ใหม่ โดยการสื่ อ สารสมั ย ใหม่ ด้ ว ย เช่นเดียวกัน นี่คือประเด็นที่ยุ่งยาก เพราะวั ฒ นธรรมแบบใหม่ ไ ม่ ไ ด้ แ ค่ เริ่ ม ต้ น ขึ้ น จากอะไรก็ ต ามที่ สุ ด ท้ า ย แล้ ว แสดงออกให้ เ ห็ น ได้ แต่ จ าก ข้อเท็จจริงที่ว่า หนทางแนวใหม่ของ การสื่ อ สารนั้ น มี อ ยู่ จ ริ ง ด้ ว ยภาษา ใหม่ เทคนิ ค ใหม่ และจิ ต วิ ท ยา ใหม่” ในฟิลิปปินส์ ได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับ การส่งข้อความสั้น (SMS) เกี่ยวกับพระเจ้า โดยศึกษาเยาวชนจำนวน 600 คนในมหานคร มนิลา (Anthony, 2010) พบว่า เยาวชน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73) ยอมรับว่าทุกครั้งที่ได้ รับข้อความสั้นเกี่ยวกับศาสนานั้น ทำให้เขา ได้ระลึกถึงพระเจ้า รู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ามาก ขึ้น นอกจากนั้นการได้รับข้อความสั้นเกี่ยวกับ ศาสนายั ง มี ส่ ว นกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การภาวนา
ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)
ส่วนตัว (ร้อยละ 36) กระตุ้นให้เข้าร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณ กระตุ้นให้อ่านพระคัมภีร์ ฯลฯ และเมื่อถามถึงปฏิกิริยาอื่นๆ หลังจาก ได้รบั ข้อความสัน้ เกีย่ วกับพระเจ้าแล้ว เยาวชน ส่วนหนึ่ง (ร้อยละ 26) จะเก็บข้อความนั้นไว้ เพื่อส่งต่อให้กับบุคคลอื่นในภายหลัง จากผล การวิ จั ย นี้ คงทำให้ เ ราทราบได้ ถึ ง ความ พยายามนำเทคโนโลยีการส่งข้อความสั้นผ่าน ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยี ในยุคที่ 2 (2G) ก็มีส่วนส่งเสริมกระตุ้นเตือน ให้ เ ยาวชนได้ มี โ อกาสระลึ ก ถึ ง และใกล้ ชิ ด พระเจ้ามากยิง่ ขึน้ ในชีวติ ประจำวันของพวกเขา เพราะหากมองถึ ง บริ บ ทของชาวฟิ ลิ ป ปิ น ส์ หลายล้านครอบครัวซึง่ ถูกแยกจากกัน อันเป็น ผลสื บ เนื่ อ งจากการทำงานในต่ า งประเทศ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในครอบครัวจึง
77
ต้องอาศัยโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งได้รับความ นิยมเป็นอย่างมากเพราะสามารถตอบสนอง ความต้องการของพวกเขา ผู้ซึ่งถูกทิ้งไว้ข้าง หลั ง ให้ ไ ด้ สั ม ผั ส กั บ คนอั น เป็ น ที่ รั ก ที่ อ ยู่ โ พ้ น ทะเล อย่ า งน้ อ ยก็ ด้ ว ยวิ ธี ดิ จิ ต อลผ่ า นทาง การสนทนาและการส่งข้อความ ซึง่ เทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่นี้ช่วยปูทางสำหรับการเจริญ เติ บ โตที่ ข นานนามกั น ว่ า เป็ น “ครอบครั ว ดิจิตอล” (Torres, 2005) หากมองดู ใ นบริ บ ทของสั ง คมไทย ปัจจุบนั จะเห็นได้ถงึ ความพร้อมทางด้านต่างๆ ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูล ซึ่งเด็กและเยาวชนไทย ส่วนใหญ่มีเพียบพร้อมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone ยี่ ห้ อ ต่ า งๆ นานา หากโต ขึ้นมาหน่อยเป็นนักศึกษาและคนวัยทำงาน อาจมีของเล่นเพิ่มเป็นพวก Tablet เพื่อการ
78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
เข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล อิ น เตอร์ เ น็ ต ได้ ทุ ก ที่ ทุ ก เวลา หากดู จ ากสถิ ติ ก ารใช้ ง านอิ น เตอร์ เ น็ ต ของ คนไทยในปี ค.ศ. 2013 คนไทยใช้ ง าน อินเตอร์เน็ตจำนวน 25 ล้านคน และมีการ ใช้ facebook อยู่ ใ นอั น ดั บ ที่ 16 ของโลก โดยมี จ ำนวน account อยู่ ที่ 16-17 ล้ า น user (ที่มา : http://wilas.chamlertwat. in.th) ข้อมูลเหล่านี้บอกถึงโอกาสในการรับส่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารผ่ า นทางเครื อ ข่ า ยสั ง คม ออนไลน์ ซึ่ ง มี ผู้ ใ ช้ ง านมากมาย การส่ ง ข้ อ ความสั้ น ด้ า นศาสนาผ่ า นระบบโทรศั พ ท์ เคลื่อนที่แบบเดิมได้พัฒนารูปแบบเป็นการส่ง ข้ อ ความ/การแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล โดยการแชร์ รู ป ภาพ เสี ย งเพลง ตลอดจนคลิ ป วิ ดี โ อ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook, Twister, Line, Youtube, Instragrame, Social Cam ฯลฯ สุ ด แท้ แ ต่ จ ะสรรหา (ซึง่ ส่วนใหญ่เยาวชนคนหนึง่ ๆ นัน้ จะใช้ทกุ อย่าง ที่ ก ล่ า วมานี้ ) การส่ ง ข้ อ มู ล จึ ง ไม่ ใช้ ก ารส่ ง ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับเพียง 1 ต่อ 1 อีกต่อไป แต่เป็นการส่งจาก 1 ไปสู่หลายๆ คน และ จากหลายๆ คนไปสู่ ม หาชนได้ ใ นพริ บ ตา และนี่เองที่เป็นพลังอำนาจอันมิอาจเพิกเฉยได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีทั้งหน่วยงาน องค์กร และบุคลากรด้านศาสนา พยายามใช้เทคโนโลยี เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ด้านการอภิบาลและ แพร่ ธ รรม ซึ่ ง ผู้ เขี ย นขอชื่ น ชม และขอยก ตัวอย่างองค์กรและบุคคลแวดล้อมผู้เขียนที่ได้
ใช้โอกาศอันดีจากเทคโนโลยีนใ้ี นการนำพระวาจา ข้ อ คิ ด และความรู้ ด้ า นศาสนามาเผยแพร่ ผ่าน Facebook เช่น อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำพระวาจาประจำวั น ให้ ไ ด้ ร ำพึ ง ภาวนา ฝ่ า ยพิ ธี ก รรมสั ง ฆมณฑลเชี ย งใหม่ ได้ น ำ ความรู้ ด้ า นพิ ธี ก รรมมาโพสต์ ไว้ เ ป็ น ประจำ สังฆมณฑลอุดรธานี นำพระวาจาและข้อคิด ยามเช้าให้ผู้ติดตามได้นำมาขบคิดทุกเช้าวัน ใหม่ และ Pope Report : เข้ า ถึ ง โป๊ ป ... เข้าถึงพระศาสนจักรที่ได้รายงานข่าว และ เรือ่ งราวขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส องค์ปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจ และรู้สึกใกล้ชิด พระองค์มากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ใน Facebook ส่วนตัวก็มี การนำเสนอบทความเกี่ยวกับศาสนาเช่นกัน ขอยกตั ว อย่ า งบุ ค คลที่ ผู้ เ ขี ย นรู้ จั ก ดั ง นี้ บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ได้นำเรื่อง เล่าสั้นๆ ที่มีข้อคิดดีๆ มาแบ่งบัน บาทหลวง สมเกี ย รติ ตรี นิ ก ร ได้ น ำความรู้ ด้ า นต่ า งๆ เช่นคำศัพท์ พระวาจา และการเปิดให้ขอ คำภาวนาในพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ประจำวั น ฯลฯ บาทหลวงวีระเทพ วาทนะเสรี ได้นำ ข้อคิดและพระวาจามาแบ่งปันอย่างสม่ำเสมอ คุณทิวา ไทยสนธิ ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ นักบุญตามวันฉลองขึ้นให้อยู่เสมอๆ เหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างบุคคลที่อุทิศ Facebook ส่วนตัวให้เป็นเวทีสำหรับการนำเสนอข้อความ ด้านศาสนา ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายองค์กร
ศาสนากับสื่อใหม่ : ศรัทธา 3.0 (Religion and New Media : Faith 3.0)
หลายบุคคลที่ได้ดำเนินตามวิถีนี้แต่มิได้กล่าว ถึงในที่นี้ จึงขอเป็นกำลังใจและขอชื่นชมมา ณ ที่ นี้ เพราะนี้ คื อ ศรั ท ธา 3.0 ยุ ค ที่ ศาสนาใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ชุมชนแห่งความเชื่อได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อม ทั้งมีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างปัจจุบันทันทีอีกด้วย ดังนัน้ สมมติฐานเดิมทีว่ า่ ศาสนาเป็น ศัตรูกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงไม่ส้จู ะเป็นจริง นัก เพราะพระศาสนจักร โดยองค์สมเด็จ
79
พระสั น ตะปาปา และบุ ค ลากรผู้ ท ำหน้ า ที่ อภิบาลหลายๆ ท่าน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ศาสนาสามารถนำเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ นี้ ม า เป็ น เครื่ อ งมื อ ชั้ น ดี ใ นการประกาศข่ า วดี แ ก่ พี่ น้ อ งชาวไทยจำนวนกว่ า 25 ล้ า นคนที่ มี โอกาสเข้ า ถึ ง อิ น เตอร์ เ น็ ต สุ ด ท้ า ยนี้ ข อให้ ทุกท่านช่วยกันทำให้ศรัทธา 3.0 เจริญเติบโต ต่อไปในสังคมไทยครับ
*****
80 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2013/2556
Campbell, Heidi A. 2010. When Religion Meets New Media. Abingdon : Routledeg. John Paul II, Pope. 1990. Redemptoris Missio, Encyclical on the Permanent Validity of the Church’s Missionary Mandate. Vatican : Holy See. Paul VI, Pope. 1975. EvangeliiNuntiandi, Apostolic Exhortation to the Episcopate, to the Clergy and to all the Faithful of the Entire World. Vatican : Holy See. Roman, Anthony G. Roman. 2010. “God Texting : Filipino Youth Response to Religious SMS”. Religion and Social Communivation 8,1-2 : 43-82. Torres, Jose. 2005. Digital Families. Philippine Center for Investigative Journalism (April 2005). Available : http://pcij.org/stories/digital-families/