วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
1
[ หมวดพระสัจธรรม ]
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับ
“สันติภาพ”
บาทหลวง ผศ. ดร. ฟรังซิส ไก้ส์ S.D.B.
สันติภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ แสวงหา แต่ดูเหมือนมีคนจำ�นวนน้อยที่พบ สันติภาพได้ สันติภาพคืออะไร อาจหมายถึง ความสงบสุข ความสามัคคีปรองดอง หรือ
ความปลอดภัย ในบางสถานการณ์อาจหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองหรือความเป็นอยู่ที่ดี หนังสือพันธสัญญาเดิมฉบับภาษาฮีบรู ใช้ คำ � ว่ า “ชาโลม” (Shalom) เป็ น คำ � หลั ก
บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารย์สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
2
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
หมายถึง “สันติภาพ” ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับบุคคล (เทียบ ปฐก 34:21) ประเทศกั บ ประเทศ (เที ย บ 1 พกษ 5:12) พระเจ้ากับมนุษย์ (เทียบ สดด 85:8) สันติภาพ เป็นสภาพที่น่าปรารถนาในเรื่องเหล่านี้ และ บ่อยครั้งผูกพันกับการปฏิบัติพันธสัญญาหรือ คำ�สัญญา คำ�ว่า “เพื่อนสนิท” แปลตามตัว อักษรว่า “เพือ่ นสันติภาพของฉัน” (สดด 41:9) เป็นบุคคลที่เราอยู่กับเขาด้วยความสบายใจ เป็นเพือ่ นร่วมชีวติ ทีไ่ ว้ใจได้ น่าสังเกตว่า “ชาโลม” เป็นคำ�อวยพรที่ชาวอิสราเอลใช้กันตลอดมา (เที ย บ 1 ซมอ 25:6) และยั ง คงใช้ อ ยู่ ใ น วัฒนธรรมหลายชนชาติจนถึงทุกวันนี้ วิสัยทัศน์ของชาวยิวในพันธสัญญาเดิม ไม่ ม องสั น ติ ภ าพเป็ น เพี ย งการไม่ มี ส งคราม หรือไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเท่านั้น แต่ ยังหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุอีกด้วย ดังนั้น คำ�ว่า “สันติภาพ” มีความหมายในแง่ บวก เมื่อชาวยิวคนหนึ่งพูดว่า “ชาโลม” เพื่อ ทักทายหรืออำ�ลา เขาไม่หมายความว่า “ฉัน ปรารถนาให้ท่านจะไม่พบกับอุปสรรคใดๆ” แต่หมายความว่า “ฉันปรารถนาให้ทา่ นพบกับ สิ่งดีที่สุด” คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจสันติภาพใน แนวคิดด้านบวก มักจะมองในด้านลบ ในแง่ ความสงบปราศจากปั ญ หาอุ ป สรรคใดๆ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามคำ� “สันติภาพ” ว่า “ความสงบ เช่น โลกต้ อ งการสั น ติ ภ าพ จงร่ ว มมื อ กั น รั ก ษา สันติภาพของโลก”
ส่วนวิสัยทัศน์ของคริสตชนกลุ่มเล็กๆ ในพันธสัญญาใหม่เน้นสันติภาพในด้านชีวิต จิตมากกว่า เราจึงควรพิจารณาความหมาย ทั้งหมดของคำ�ในพันธสัญญาเดิมภาษาฮีบรูว่า “ชาโลม” (Shalom) และคำ�ในพันธสัญญาใหม่ ภาษากรีกว่า “ไอเรเน” (Eirene) เพื่อเข้าใจ วิ สั ย ทั ศ น์ พ ระคั ม ภี ร์ เ กี่ ย วกั บ สั น ติ ภ าพอย่ า ง ชัดเจน 1. สันติภาพ คือ ความสุขสมบูรณ์แบบ 1.1 สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง คำ�ภาษาฮีบรู “ชาโลม” มาจากรากศัพท์ ที่มีความหมายพื้นฐานเสนอแนะ “ความครบ ครัน การไม่ขาดเหลือ ความบริบรู ณ์” แล้วแต่ บริ บทและมุ ม มองต่ า งกั น (เที ย บ โยบ 9:4) เช่น สร้างบ้านให้สำ�เร็จ “กษัตริย์ซาโลมอน ทรงสร้างพระวิหารสำ�เร็จ” (1 พกษ 9:25) หรือ การกระทำ�ที่ฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมอย่างครบ บริบูรณ์ เช่น ชดใช้ค่าเสียหาย “เจ้าของบ่อ จะต้องจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของสัตว์ ส่วนสัตว์ทตี่ ายจะตกเป็นของเจ้าของบ่อ” (อพย 21:34) หรือการแก้บน “จงถวายเครื่องบูชา สรรเสริญแด่พระเจ้า จงแก้บนตามทีไ่ ด้สญ ั ญา ไว้กับพระผู้สูงสุด” (สดด 50:14) ดังนั้น “ชาโลม” หรือ “สันติภาพ” ใน พระคัมภีรไ์ ม่หมายถึงเพียง “ข้อตกลงร่วมกัน” เพือ่ มีชวี ติ สงบสุข และไม่หมายถึงเพียง “เวลา ที่มีสันติภาพ” ในแง่ตรงกันข้ามกับ “เวลาที่มี
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
3
สงคราม” (เทียบ ปญจ 3:8) แต่หมายถึงความ เจริญรุง่ เรืองในชีวติ ประจำ�วันคือ สภาพมนุษย์ ผูด้ �ำ เนินชีวติ อย่างประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตนเอง มีความ สามัคคีปรองดองกับผูอ้ นื่ และกับพระเจ้า สรุป แล้ว ในชีวิตจริงสันติภาพ คือ พระพร การ พักผ่อน ความรุ่งเรือง ความมั่งคั่ง ความ รอดพ้น และชีวิต 1.2 สันติภาพและความสุข ในภาษาฮีบรูคำ�ว่า “มีสุขภาพดี” และ “มีสันติภาพ” เป็นวลีที่มีความหมายเดียวกัน (เที ย บ สดด 38:3) เมื่ อ ชาวยิ ว ต้ อ งทั ก ทาย บุ ค คลหนึ่ ง ว่ า “สบายดี ห รื อ ” เขาพู ด ว่ า “สันติภาพอยู่กับท่านหรือ” เช่น เมื่อกษัตริย์
4
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ดาวิ ด ตรั ส ถามทหารชาวคู ช ว่ า พระโอรส อั บ ซาโลมสบายดี ห รื อ ไม่ ทรงใช้ ว ลี ที่ ว่ า “สั น ติ ภ าพอยู่ กั บ หนุ่ ม อั บ ซาโลมหรื อ ไม่ ” (2 ซมอ 18:32) อับราฮัมผู้ “สิ้นชีวิตในวัยชรา อันยาวนาน” (ปฐก 25:8) ไปรวมอยูก่ บั บรรดา บรรพบุรุษอย่างผาสุก (เทียบ ปฐก 15:15) ใน ความหมายกว้ า งๆ สั น ติ ภ าพคื อ การรั ก ษา ความปลอดภัย เช่น กิเดโอนไม่ต้องกลัวตาย เมื่ อ เห็ น พระเจ้ า ทรงสำ � แดงองค์ แ ก่ ต น “พระยาห์เวห์ตรัสแก่เขาว่า ‘สันติสุขจงมีแก่ ท่าน อย่ากลัวไปเลย ท่านจะไม่ตายหรอก” (วนฉ 6:23, เทียบ ดนล 10:19) ชาวอิสราเอลไม่ต้องกลัวศัตรูอีกต่อไป เพราะชัยชนะของโยชูวา (เทียบ ยชว 21:44; 23:1) ของกษัตริยด์ าวิด “พระยาห์เวห์ประทาน ความสงบจากการสู้รบ” (2 ซมอ 7:1) และ ของกษั ต ริ ย์ ซ าโลมอน (เที ย บ 1 พกษ 5:4; 1 พศด 22:9; บสร 47:13) ในที่สุด สันติภาพ หมายถึงความสามัคคีปรองดองในชีวติ ฉันพีน่ อ้ ง เช่น ญาติและเพื่อนสนิทได้ชื่อว่า “บุรุษแห่ง สั น ติ ภ าพ” (เที ย บ สดด 41:9, เที ย บ ยรม 20:10) สันติภาพยังหมายถึงความไว้วางใจซึ่ง กันและกัน ซึ่งบ่อยครั้งได้รับการรับรองจาก การกระทำ�พันธสัญญา เช่น “จงบอกเขาเถิดว่า เราทำ�พันธสัญญาแห่งสันติกบั เขา” (กดว 25:12; เทียบ บสร 45:24) หรือได้รับการรับรองจาก ข้อตกลงระหว่างเพื่อนบ้าน (เทียบ ยชว 9:15; วนฉ 4:17; 1 พกษ 5:26; ยดธ 14:32; กจ 12:20)
1.3 สันติภาพและความรอดพ้น เราควรทั ก ทายผู้ ใดผู้ ห นึ่ ง โดยอวยพร เขาให้มีสันติภาพ และควรพิจารณาดูว่าผู้มา เยีย่ มเยียนมีเจตนาร้ายหรือมาด้วยสันติ (เทียบ 2 พกษ 9:18) ก็เพราะสันติภาพเป็นสถานการณ์ ทีจ่ ะต้องพิชติ และป้องกันไว้ เป็นชัยชนะเหนือ ศัตรูคนใดคนหนึง่ เช่น กิเดโอนหวังว่าจะกลับ มาด้วยความสันติ คือ จะมีชยั ชนะในสงคราม (เทียบ วนฉ 8:9) ในทำ�นองเดียวกัน การอวยพร ให้มีสันติภาพยังแสดงความปรารถนาที่จะให้ ภารกิจประสบความสำ�เร็จ เช่น ชายฉกรรจ์ ห้าคนที่ชนเผ่าดานเลือกให้ไปสอดแนมและ สำ�รวจแผ่นดินพูดว่า “จงทูลถามพระเจ้าด้วย เถิ ด ว่ า การเดิ น ทางของเราจะได้ รั บ ความ สำ�เร็จหรือไม่” (วนฉ 18:5) หรือแสดงความ หวังทีจ่ ะมีบตุ รโดยชนะความเป็นหมัน สมณะ เอลี พู ด กั บ ฮั น นาว่ า “จงไปเป็ น สุ ข เถิ ด ขอ พระเจ้าแห่งอิสราเอลประทานให้ตามที่เธอทูล ขอจากพระองค์” (1 ซมอ 1:17) การอวยพร ให้มีสันติภาพยังหมายถึงการรักษาบาดแผล ให้หาย (เทียบ ยรม 6:14; อสย 57:18ฯ) และ ในที่สุด ชาวยิวยังใช้คำ�สันติภาพหมายถึงการ ถวายศานติบูชา คือ การถวายบูชาที่แสดง ความสนิทสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (เทียบ ลนต 3:1) 1.4 สันติภาพและความยุติธรรม สันติภาพหมายถึงความดีซงึ่ ตรงกันข้าม กับความชัว่ ร้าย เช่น “ความหลอกลวงอยูใ่ นใจ
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
ของผู้คิดแผนการชั่วร้าย ความชื่นชมยินดีอยู่ ในใจของผู้แนะนำ�สันติภาพ” (สภษ 12:20; เที ย บ สดด 28:3; 34:15) ดั ง ที่ ป ระกาศก อิสยาห์เขียนไว้ว่า “พระยาห์เวห์ตรัสว่า ‘ไม่มี สันติสุขสำ�หรับคนอธรรม’” (อสย 48:22) ใน ทำ � นองกลั บ กั น “จงจั บ ตามองผู้ ช อบธรรม และสังเกตดูผู้สุจริต มนุษย์ผู้รักสันติย่อมมี อนาคต” (สดด 37:37) และ “คนยากจนจะได้ รับแผ่นดินเป็นมรดก เขาจะอยูเ่ ป็นสุขอย่างมาก” (สดด 37:11; เทียบ สภษ 3:2) สันติภาพคือ ผลรวมของพระพรทีพ่ ระเจ้าประทานแก่ผชู้ อบ ธรรมคือ แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ มีอาหารกินจน อิม่ หนำ� มีทพี่ กั อาศัยปลอดภัย นอนหลับโดย ไม่ตอ้ งกลัว มีชยั ชนะเหนือศัตรู มีลกู หลานทวี จำ�นวนมาก และมีทงั้ หมดนีอ้ ย่างถาวร เพราะ พระเจ้ า สถิ ต กั บ เรา (เที ย บ ลนต 26:1-13) ดั ง นั้ น สั น ติ ภ าพไม่ ห มายถึ ง เพี ย งการไม่ มี สงครามเท่านั้น แต่หมายถึงความสุขอย่าง เต็มเปี่ยม 2. ความเชื่อและการเลือกทำ�สงคราม หนังสือพันธสัญญาเดิมเต็มไปด้วยความ รุนแรงและสงครามที่ไม่เพียงมนุษย์เป็นผู้ทำ� แต่ยงั เป็นการกระทำ�ของพระเจ้าอีกด้วย เพราะ พระองค์ในฐานะนักรบทรงเป็นผูช้ ว่ ยประชากร ของพระองค์ ใ ห้ ร อดพ้ น ผู้ ท รงทำ � ลายล้ า ง ชนชาติอื่นๆ บ่อยครั้ง แม้คำ�อธิษฐานภาวนา ในเพลงสดุ ดี เป็ นการวอนขอพระเจ้าให้ท รง
5
ทำ�ลายศัตรู ขอให้พระองค์ทรงหลั่งโลหิตของ ศั ต รู เ พื่ อ แก้ แ ค้ น เขา คำ � ทำ � นายของบรรดา ประกาศกรับรองว่าพระเจ้าจะทรงทำ�ลายล้าง ชนทั้งชาติในอนาคต หนังสือโยชูวาเล่าเรื่อง สงครามดั ง กล่ า วหลายเรื่ อ ง และหนั ง สื อ วรรณกรรมวิ ว รณ์ มุ่ ง สู่ ก ารทำ � สงครามครั้ ง สุ ด ท้ า ย ซึ่ ง ศั ต รู ทั้ ง หลายจะพ่ า ยแพ้ อ ย่ า ง กระเจิดกระเจิง นั ก วิ ช าการปั จ จุ บั น คิ ด ว่ า หนั ง สื อ ปัญจบรรพเรียบเรียบขึ้นจากธรรมประเพณี 4 สายคือ ธรรมประเพณียาห์วิสต์ (Yahwist) เอโลอิสต์ (Eloist) เฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomic) และธรรมประเพณีสงฆ์ (Priestly) ธรรมประเพณี ย าห์ วิ ส ต์ เ ป็ น ธรรมประเพณี โบราณทีส่ ดุ เล่าเรือ่ งตัง้ แต่การสร้างโลกจนถึง สมั ย ที่ มี ส ถาบั น กษั ต ริ ย์ ป กครอง บั น ทึ ก เหตุการณ์สงครามต่างๆ เป็นเรือ่ งธรรมดาปกติ เรื่องสงคราม และสันติภาพยังไม่ได้รับการ ไตร่ตรองอย่างชัดเจน ธรรมประเพณีเฉลยธรรมบัญญัติ คือ หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ โยชูวา ผู้วินิจฉัย ซามูเอลฉบับที่ 1-2 และ พงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1-2 ได้ไตร่ตรองถึงเรื่องสงคราม โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สงครามศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงเวลาที่ชาว อิสราเอลเข้ายึดครองดินแดนแห่งพระสัญญา ไว้ พระยาห์เวห์ทรงทำ�สงครามเพื่ออิสราเอล พระองค์ทรงเป็นผูต้ อ่ สูแ้ ละมีชยั ชนะ สำ�นวนที่ ว่า “พระเจ้าจอมโยธา” ปรากฏถึง 284 ครั้ง
6
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
แม้คำ�ว่า “โยธา” ในที่นี้หมายถึงดาวดาราที่ เรียงรายเป็นแถวเหมือนกองทัพ วลี “พระเจ้า จอมโยธา” จึงแปลได้วา่ “พระเจ้าจอมจักรวาล” พระองค์ ท รงสมควรได้ รั บเกี ย รติ ที่ มี ชั ย ชนะ และได้ รั บ ทรั พ ย์ ส มบั ติ ทั้ ง หมดของเชลย ดั ง นั้ น ชาวยิ ว มั ก จะฆ่ า คนและสั ต ว์ เ ป็ น พิ ธี ถวายบูชาแด่พระเจ้า สำ � นั ก เฉลยธรรมบั ญ ญั ติ มี ทั ศ นะว่ า เป็นการถูกต้องที่จะทำ�สงครามศักดิ์สิทธิ์ด้วย เหตุผลดังต่อไปนี้ แผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ พระเจ้า พระองค์ทรงกำ�หนดผืนดินแก่ชนชาติ ต่ า งๆ ทรงมอบแผ่ น ดิ น คานาอั น แก่ ช าว อิสราเอล ดังนั้น อิสราเอลมีสิทธิ์โดยชอบ
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
ธรรมที่ จ ะยึ ด ครองแผ่ น ดิ น นั้ น แม้ จ ะต้ อ งใช้ ความรุนแรง เขาจึงแสดงความเชื่อโดยสู้รบ อย่างกล้าหาญเพือ่ ยึดครองแผ่นดิน ปัญหาของ พันธสัญญาเดิมไม่อยู่ที่ว่า ไม่ประณามการใช้ ความรุนแรง แต่อยูใ่ นการให้เหตุผลทีพ่ สิ จู น์วา่ ชาวยิวจำ�เป็นต้องทำ�สงครามเพื่อปกป้องสิทธิ ของพระเจ้า ความเชือ่ เรียกร้องการทำ�สงคราม การตีความทางเทววิทยาเช่นนีเ้ กิดขึน้ ในรัชสมัย ของกษัตริย์โยสิยาห์ ปี 648 ก่อนคริสตศักราช พระองค์ทรงริเริม่ การปฏิรปู ยิง่ ใหญ่ทางศาสนา เพื่อทำ�ลายล้างการกราบไหว้รูปเคารพ ทรง ทำ�ให้พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลาง คารวกิจ และทรงต่อต้านอำ�นาจ ของชาว อัสซีเรียที่เข้ายึดภาคเหนือของอิสราเอล
7
ธรรมประเพณีสงฆ์เริ่มต้นในช่วงเวลาที่ ชาวอิสราเอลอยู่ระหว่างและหลังจากการถูก เนรเทศที่กรุงบาบิโลน ผู้เขียนตีความหมาย ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลโดยใช้แสงสว่าง ของสถานการณ์ ใ หม่ เขาไม่ ต้ อ งการรื้ อ ฟื้ น สถาบันที่มีกษัตริย์ปกครอง แต่เสนอภาพใหม่ ของอิสราเอล ประวัติศาสตร์ทั้งหมดตั้งแต่ พระเจ้ า ทรงสร้ า งโลกมี ลั ก ษณะรุ น แรงและ วุ่นวาย จำ�เป็นต้องมีชัยชนะเหนือสภาพเช่น นี้ บาปแรกเริ่มของมนุษยชาติคือความรุนแรง ทีน่ �ำ ไปสูน่ าํ้ วินาศ พันธสัญญาระหว่างพระเจ้า กับโนอาห์มีไว้เพื่อกำ�จัดความรุนแรง ผู้เขียน เล่ า เรื่ อ งชาวยิ ว ข้ า มทะเลแดงเข้ า ยึ ด ครอง แผ่นดินโดยไม่ใช้วธิ รี นุ แรง ทัศนะโดยรวมของ ผู้เขียนคือ สงครามถูกลบล้างต่อหน้าแผ่นดิน สังคมมนุษย์จะมีชวี ติ สงบสุข เป็นรูปแบบล่วงหน้า ของมนุษยชาติทอี่ ยูใ่ นสันติภาพ เขาอนุญาตให้ ใช้ความรุนแรงเพียงต่อสัตว์ที่จำ�เป็นต้องถวาย เป็นบูชาเท่านั้น หนังสือพันธสัญญาใหม่ได้เลือกใช้ทศั นะ ของธรรมประเพณีสงฆ์มากกว่าธรรมประเพณี เฉลยธรรมบัญญัติ เพราะต้องการเน้นภาพ ลักษณ์ของพระเจ้าผู้ทรงทำ�ลายสงคราม และ ยังใช้ความคิดของบรรดาประกาศก ผูก้ ล่าวถึง สภาพแผ่นดินในอนาคต เมือ่ ความรุนแรงจะถูก กำ�จัดให้หมดสิน้ และมนุษยชาติจะคืนดีกนั และ อยู่ในสันติภาพ พระเจ้าจะทรงหักคันธนูและ ดาบ จะทรงกำ�จัดสงครามจากแผ่นดิน (เทียบ ฮชย 2:20) ชนทุกชาติจะ “ตีดาบให้เป็นผาล
8
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ไถนา ตีหอกให้เป็นเคียว” (อสย 2:4) “สุนัข ป่าจะอยูก่ บั ลูกแกะ” (อสย 11:6) บทบาทของ กษัตริย์คือทรงนำ�สันติภาพ 3. สันติภาพเป็นของประทานจากพระเจ้า ถ้ า สั น ติ ภ าพเป็ น ผลและเครื่ อ งหมาย ของความชอบธรรม ทำ�ไมคนอธรรมจึงอยู่ใน สันติภาพ “ข้าพเจ้านึกอิจฉาคนหยิ่งยโส เมื่อ เห็นความเจริญรุ่งเรืองของคนชั่ว (สดด 73:3) ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นเป็นคำ�ตอบ ของคำ�ถามที่นำ�ความกังวลใจนี้ ในตอนแรก สันติภาพมีลักษณะเป็นความสุขทางวัตถุ แต่ ต่ อ มาจะค่ อ ยๆ ปรากฏเป็ น พระพรฝ่ า ยจิ ต เพราะมีแหล่งที่มาจากสวรรค์ 3.1 พระเจ้าแห่งสันติภาพ ตั้ ง แต่ ต อนแรกๆ ของประวั ติ ศ าสตร์ ที่เล่าในพระคัมภีร์ เราเห็น “กิเดโอนสร้าง แท่นบูชาถวายแด่พระยาห์เวห์ทนี่ นั่ แล้วตัง้ ชือ่ ให้ว่าพระยาห์เวห์แห่งสันติสุข” (วนฉ 6:24) “พระเจ้าทรงอำ�นาจปกครองและน่าเกรงขาม พระองค์ทรงบันดาลให้เกิดสันติภาพในสวรรค์ ชั้นสูงสุด” (โยบ 25:2) จึงทรงสร้างสันติภาพ ได้ (เที ย บ อสย 45:7) มนุ ษ ย์ จึ ง รอคอย พระพรนี้จากพระองค์ “พระยาห์เวห์ทรงยิ่ง ใหญ่ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ให้ผรู้ บั ใช้ของ พระองค์อยู่เป็นสุข” (สดด 35:27) พระองค์ ทรงอวยพระพรอิสราเอล ตามที่ทรงบัญชา อาโรนให้อวยพรประชาชนว่า “ขอพระยาห์เวห์
ทรงผินพระพักตร์มายังท่านและประทานสันติ แก่ ท่ า นด้ ว ยเทอญ” (กดว 6:26) พระองค์ “ทรงอวยพรให้ประชากรของพระองค์ประสบ สันติสขุ ” (สดด 29:11) ทรงอวยพระพรราชวงศ์ ของกษัตริย์ดาวิด (เทียบ 1 พกษ 2:33) และ บรรดาสมณะ (เทียบ มลค 2:5) ผู้มีความไว้ วางใจในพระองค์จึงนอนหลับอย่างสันติภาพ “เมื่อข้าพเจ้านอนก็จะหลับทันทีอย่างสงบ” (สดด 4:8, เที ย บ อสย 26:3) “จงวอนขอ สันติภาพเพื่อกรุงเยรูซาเล็มเถิด ขอให้ผู้ที่รัก เจ้า ประสบความเจริญรุง่ เรือง” (สดด 122:6, เทียบ 125:5; 128:6) 3.2 ข้ า แต่ พ ระเจ้ า โปรดประทาน สันติภาพเถิด มนุษย์ได้รับของประทานนี้จากพระเจ้า โดยอาศัยคำ�อธิษฐานภาวนาทีไ่ ว้วางใจและโดย “ปฏิบัติความชอบธรรม” เพราะตามแผนการ ของพระเจ้ า มนุ ษ ย์ ต้ อ งร่ ว มมื อ ในการสร้ า ง สันติภาพบนแผ่นดิน การร่วมมือนี้เปิดเผย แรงจูงใจมนุษย์ว่าเป็นสิ่งดีหรือไม่ เพราะบาป ยังคงอยู่เสมอ ประวัติศาสตร์ของอิสราเอล ในสมัยของบรรดาผู้วินิจฉัย แสดงว่าพระเจ้า ทรงบันดาลให้ผู้ปลดปล่อยประชากรเกิดขึ้นใน อิสราเอลเพือ่ ฟืน้ ฟูสนั ติภาพทีอ่ สิ ราเอลสูญเสีย เพราะความผิดของตน กษัตริย์ดาวิดทรงคิด ว่าพระองค์ทรงปฏิบัติภารกิจสำ�เร็จแล้ว เมื่อ ทรงปลดปล่อยแผ่นดินจากศัตรู (เทียบ 2 ซมอ 7:1) กษัตริยซ์ าโลมอนเป็นกษัตริยต์ ามอุดมคติ
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
เพราะเป็นกษัตริยแ์ ห่งสันติภาพ (เทียบ 1 พศด 22:9) ในรัชสมัยของพระองค์ ประชากรทาง เหนือและทางใต้รวมเป็นหนึ่งเดียวฉันพี่น้อง (เทียบ 1 พกษ 5) 3.3 การต่อสู้เพื่อสันติภาพ 3.3.1 การต่อสูข้ องบรรดาประกาศก ในไม่ ช้ า อุ ด มคติ นี้ จ ะก็ เ สื่ อ มสลาย อย่างรวดเร็ว บรรดากษัตริย์ทรงพยายามให้ มีสันติภาพ ไม่ใช่ในลักษณะเป็นผลของความ เที่ยงธรรมจากพระเจ้า แต่โดยทำ�สนธิสัญญา ทางการเมือง ซึง่ บ่อยครัง้ นำ�ไปสูก่ ารกราบไหว้ รูปเคารพ การกระทำ�เช่นนี้ได้รับอนุญาตจาก คำ�เทศน์ของผู้อ้างว่าเป็นประกาศก แต่โดย แท้จริงแล้ว เขาไม่ประกาศพระวาจาที่ได้ฟัง จากพระเจ้า แต่เป็นบุคคลที่ “ถ้ามีอาหารใน ปาก เขาก็ประกาศว่ามีสันติภาพ แต่ถ้าไม่มี อะไรใส่ปาก เขาก็จะประกาศว่าจะมีสงคราม” (มคา 3:5) ราวปี 850 ก่อนคริสตกาล ประกาศก มีคายาบุตรของอิมลาห์ กล้าโต้เถียงกับประกาศก ปลอมเหล่านั้น ซึ่งประกาศสันติภาพ (เทียบ 1 พกษ 22:13-28) การโต้เถียงกันนี้ดุเดือด มากยิ่งขึ้นเมื่อกรุงเยรูซาเล็มถูกศัตรูห้อมล้อม (เทียบ ยรม 23:9-40) พระพรแห่งสันติภาพ เรียกร้องการกำ�จัดบาป ดังนัน้ ประกาศกเยเรมีห์ กล่ า วหาคนเหล่ า นี้ ว่ า “เขาทั้ ง หลายรั ก ษา บาดแผลของประชากรของเราเพียงเล็กน้อย พูดว่า สันติภาพ สันติภาพ แต่โดยแท้จริง
9
แล้ว ไม่มสี นั ติภาพเลย” (ยรม 6:14) ประกาศก เอเสเคี ย ลประณามประกาศกจอมปลอมว่ า “กำ�แพงไม่อยูแ่ ล้ว ผูใ้ ช้ปนู ขาวฉาบก็ไม่อยูด่ ว้ ย” (อสค 13:15) และเมื่อกำ�แพงกรุงเยรูซาเล็ม พังทลายแล้ว พระเจ้าทรงแจ้งให้ผู้ถูกเนรเทศ ว่า “ใช่แล้ว เรารู้แผนการที่เราวางไว้สำ�หรับ ท่าน เป็นแผนการทีน่ �ำ ความเจริญรุง่ เรือง ไม่ใช่ นำ�เหตุรา้ ย เพือ่ ให้อนาคตของท่านมีความหวัง เต็มเปีย่ ม” (ยรม 29:11; เทียบ 33:9) พระเจ้า จะทรงทำ�พันธสัญญาสันติภาพนิรันดรกับเขา เป็นพันธสัญญาที่นำ�ความปลอดภัยและกำ�จัด สัตว์ป่า รับรองและนำ�พระพร (เทียบ อสค 34:25-30) เพราะพระเจ้าตรัสว่า “เราจะอยูก่ บั เขาตลอดไป” (อสค 37:26) 3.3.2 สันติภาพเชิงอันตวิทยา การโต้ เ ถี ย งกั น นี้ เ กี่ ย วกั บ สั น ติ ภ าพ เป็นประเด็นสำ�คัญข่าวสารของบรรดาประกาศก ในภาพรวม สันติภาพแท้จริงเป็นอิสระพ้นจาก ข้อจำ�กัดของโลกและความจอมปลอมของบาป กลายเป็นองค์ประกอบสำ �คัญของการเทศน์ สอนเรือ่ งอันตวิทยา โดยปกติแล้ว วาจาคุกคาม ของบรรดาประกาศกลงท้ายด้วยการประกาศ ว่า อิสราเอลจะได้รับการบูรณะอย่างสมบูรณ์ (เทียบ ฮชย 2:20; อมส 9:13 ฯลฯ) ประกาศก อิสยาห์ฝนั ถึง “เจ้าสันติภาพ” (อสย 9:5; เทียบ ศคย 9:9 ฯ) ผู้ทำ�ให้ “สันติภาพจะไม่สิ้นสุด” (อสย 9:6) และจะเปิดโลกใหม่เพราะ “เขาผู้นี้ จะเป็นสันติสุข” (มคา 5:4) ธรรมชาติจะยอม
1010
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ขึ้ น กั บ มนุ ษ ย์ อาณาจั ก รทั้ ง สองที่ เ คยแยก จากกันจะคืนดีกนั นานาชาติจะดำ�เนินชีวติ ใน สันติภาพ (เทียบ อสย 2:2; 11:2; 32:15-20; 65, 25) และผูช้ อบธรรมจะเจริญรุง่ เรือง (เทียบ สดด 72:7) นี่คือข่าวดีเรื่องสันติภาพ (เทียบ นฮม 2:1) และการปลดปล่ อ ยให้ เ ป็ น อิ ส ระจาก กรุงบาบิโลน (เทียบ อสย 52:7) ผู้รับใช้ที่ทุกข์ ทรมานผู้ ห นึ่ ง จะทำ�ให้ข่าวดีนี้เ ป็นความจริง (เทียบ อสย 53:5) การเสียสละของเขาประกาศ ว่ า สั น ติ ภ าพมี มู ล ค่ า สู ง ตั้ ง แต่ เ วลานั้ น พระยาห์เวห์ทรงสัญญาว่า “สันติภาพ สันติภาพ แก่คนอยู่ห่างไกล และแก่คนอยู่ใกล้ เราจะ รักษาเขาให้หาย” (อสย 57:19) “เราจะทำ�ให้ สันติภาพเป็นผูป้ กครองของเจ้า” (อสย 60:17) “เราจะบันดาลให้สันติสุขหลั่งไหลมาสู่กลุ่มนี้ เหมือนแม่นํ้า จะนำ�ความมั่งคั่งของนานาชาติ มายังกลุม่ นีเ้ หมือนสายน้ำ�ทีก่ �ำ ลังล้นฝัง่ ” (อสย 66:12) 3.3.3 สันติภาพที่แท้จริง ในทีส่ ดุ วรรณกรรมประเภทปรีชาญาณ ไตร่ตรองเรื่องสันติภาพที่แท้จริง ความเชื่อ ยื น ยั น ว่ า “ผู้ ที่ รั ก ธรรมบั ญ ญั ติ ข องพระองค์ มีสันติสุขเต็มเปี่ยม ไม่มีสิ่งใดทำ�ให้เขาสะดุด ล้ม” (สดด 119:165) แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดู เหมือนขัดแย้งกับความเชื่อนี้ เขาจึงตั้งปัญหา เรือ่ งการตอบแทนจากพระเจ้า “เพราะข้าพเจ้า นึ ก อิ จ ฉาคนหยิ่ ง ยโส เมื่ อ เห็ น ความเจริ ญ
รุ่งเรืองของคนชั่ว” (สดด 73:3) ปัญหานี้ได้รับ คำ�ตอบอย่างสมบูรณ์เพียงจากความเชื่อที่ว่า วิ ญ ญาณมนุ ษ ย์ จ ะคงอยู่ ห ลั ง จากความตาย “วิ ญ ญาณของผู้ ช อบธรรมอยู่ ใ นพระหั ต ถ์ พระเจ้า... ในสายตาของคนโฉดเขลา ความ ตายของผู้ชอบธรรมดูเหมือนเป็นการสิ้นสุด... แต่แท้จริงแล้ว เขาอยูใ่ นสันติสขุ ” (ปชญ 3:1ฯ) หมายความว่ามีความพร้อมสรรพ และมีความ สุขอย่างสมบูรณ์ 4. สันติภาพของพระคริสตเจ้า ความหวั ง ของบรรดาประกาศกและ ผู้ เขี ย นวรรณกรรมประเภทปรี ช าญาณกลั บ เป็นความจริงในพระคริสตเจ้า เพราะทรงชนะ บาปในตัวพระองค์ แต่บาปยังไม่ตายในมนุษย์ ทุกคนจนกว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาใน วันสุดท้าย สันติภาพยังเป็นพระพรอนาคต ข่าวสารของบรรดาประกาศกยังมีคุณค่า “ผู้ที่ สร้างสันติย่อมเป็นผู้หว่านในสันติ และจะเก็บ เกีย่ วผลเป็นความชอบธรรม” (ยก 3:18, เทียบ อสย 32:17) นี่ คื อ ข่ า วดี ที่ พั น ธสั ญ ญาใหม่ ประกาศตั้งแต่นักบุญลูกาจนถึงนักบุญยอห์น โดยผ่านทางนักบุญเปาโล 4.1 นักบุญลูกา พระวรสารตามคำ�บอกเล่าของนักบุญลูกา วาดภาพเป็นพิเศษของกษัตริย์ผู้นำ�สันติภาพ เมื่อพระคริสตเจ้าประสูติ ทูตสวรรค์ประกาศ ว่า “พระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระเจ้าในสวรรค์
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
สูงสุด และบนแผ่นดิน สันติจงมีแก่มนุษย์ ที่พระองค์โปรดปราน” (ลก 2:14) ชาวกรุง เยรูซาเล็มไม่ยอมรับข่าวดีนี้ ดังที่พระเยซูเจ้า ตรัสว่า “ถ้าในวันนี้เจ้าเพียงแต่รู้จักทางนำ�ไป สูส่ นั ติกจ็ ะเป็นการดี แต่ทางนัน้ ถูกซ่อนไว้จาก ดวงตาของเจ้าเสียแล้ว” (ลก 19:42) เวลานั้น พระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มเหมือนกษัตริย์ พร้อมกับบรรดาศิษย์ที่โห่ร้องด้วยความยินดี ว่า “ขอถวายพระพรแด่กษัตริย์ผู้เสด็จมาใน พระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า สันติจงมีใน สวรรค์ และพระสิรริ งุ่ โรจน์จงมีในทีส่ งู สุด (ลก 19:38) ในพระโอษฐ์ของกษัตริย์ผู้นำ�สันติภาพ คำ � ทั ก ทายอวยพรสั น ติ ภ าพกลายเป็ น การ ประกาศความรอดพ้น พระเยซูเจ้าในฐานะ
11
ชาวยิ ว ที่ ดี ผู้ ห นึ่ ง ตรั ส กั บ หญิ ง ตกเลื อ ดว่ า “ลูกเอ๋ย ความเชื่อของเจ้าช่วยเจ้าให้รอดพ้น แล้ว จงไปเป็นสุขเถิด” (ลก 8:48) และประทาน อภัยแก่หญิงคนบาปที่สำ�นึกผิดว่า “ความเชื่อ ของเจ้าช่วยเจ้าให้รอดพ้นแล้ว จงไปเป็นสุข เถิด” (ลก 7:50) เหตุการณ์ดงั กล่าวนี ้ พระเยซู เจ้าทรงสำ�แดงชัยชนะเหนืออำ�นาจของโรคภัย ไข้เจ็บและบาป ในทำ�นองเดียวกัน เมื่อบรรดาศิษย์เข้า เมืองต่างๆ เขาทักทายผู้อาศัยโดยอวยพรว่า “สันติภาพสถิตกับท่าน” เพือ่ มอบความรอดพ้น ในพระเยซูเจ้าแก่เขา (เทียบ ลก 10:5-9) แต่ ความรอดพ้นนี้ทำ�ให้สันติภาพของโลกวุ่นวาย “‘ท่านคิดว่าเรามาเพื่อนำ�สันติภาพมาสู่โลก หรือมิได้ เราบอกท่านทัง้ หลายว่า เรานำ�ความ แตกแยกมาต่างหาก” (ลก 12:51) พระเยซูเจ้า จึงไม่เพียงตรัสซา้ํ วาจาข่มขูข่ องบรรดาประกาศก ที่กล่าวโทษผู้คิดว่าตนมีความปลอดภัยจอม ปลอมเท่านัน้ (เทียบ ลก 17:26-36) แต่ยงั ทรง แยกสมาชิกของครอบครัวเดียวกัน นักบุญ ลูกาคิดว่า พระเยซูเจ้าไม่เสด็จมาเพื่อทำ�ลาย สงคราม แต่เพื่อทรงส่งเสริมสันติภาพ เป็น สั น ติ ภ าพของธรรมลํ้ า ลึ ก ปั ส กา ซึ่ ง เป็ น ผล ตามมาของการมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดถาวร “สันติสขุ จงดำ�รงอยูก่ บั ท่านทัง้ หลายเถิด” (ลก 24:36) บรรดาศิษย์จะเผยแผ่สนั ติภาพแบบยิว ไปสุดปลายแผ่นดิน (เทียบ กจ 7:26; 9:31; 15:23) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสันติภาพแบบ
12
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
โรมันทางการเมืองให้เป็นสันติภาพทางศาสนา (เทียบ กจ 24:2) เพราะพระเจ้าทรงประกาศ สันติภาพโดยอาศัยพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรง เปิดเผยพระองค์ “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของ ทุกคน” (กจ 10:36) 4.2 นักบุญเปาโล นักบุญเปาโลมักจะขึ้นต้นจดหมายโดย อวยพรคริสตชนว่า “ขอพระหรรษทานและ สั น ติ สุ ข จากพระเจ้ า สถิ ต กั บ ท่ า นทั้ ง หลาย เถิด” วลีนี้ยืนยันแหล่งที่มาและความมั่นคง
ของสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิง่ แสดงความ สัมพันธ์ทส่ี นั ติภาพมีกบั การไก่กขู้ องพระคริสตเจ้า “พระองค์คือสันติของเรา” (อฟ 2:14) ทรงนำ� สันติภาพ ทรงทำ�ให้ชาวยิวและคนต่างชาติ “กลับคืนดีกบั พระเจ้า รวมเป็นกายเดียว” (อฟ 2:16) ดังนั้น พระเจ้า “โปรดให้ทุกสิ่งมีสันติ ด้วยพระโลหิตที่พระคริสตเจ้าทรงหลั่งบนไม้ กางเขน ทั้งสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ใน สวรรค์” (คส 1:20) พระเจ้าจึงทรงเรียกเรา ทั้งหลาย “ให้รวมเป็นกายเดียวกันก็เพื่อจะได้ บรรลุถงึ สันติสขุ ” ของพระคริสตเจ้า (คส 3:15) เดชะพระจิตเจ้าผู้ทรงสร้างเอกภาพ “ด้วยสาย สั ม พั นธ์ แ ห่ ง สั นติ ” (อฟ 4:3) เดชะพระเยซู คริสตเจ้า ผู้มีความเชื่อแต่ละคนได้รับความ ชอบธรรมและมีสนั ติกบั พระเจ้า (เทียบ รม 5:1) ผู้เป็น “พระเจ้าแห่งความรักและสันติ” (2 คร 13:11) และทรงบันดาลให้ผมู้ คี วามเชือ่ “เป็นผู้ ศักดิส์ ทิ ธิอ์ ย่างสมบูรณ์” (1 ธส 5:23) เช่นเดียว กับความรักและความชื่นชม สันติภาพเป็นผล ของพระจิตเจ้า (เทียบ กท 5:22; รม 14:17) ทำ�ให้เรารับชีวิตนิรันดรล่วงหน้าตั้งแต่อยู่ใน โลกนี ้ (เทียบ รม 8:6) “เกินสติปญ ั ญาจะเข้าใจ ได้” (ฟป. 4:7) ดำ�รงอยู่แม้ในความทุกข์ยาก ลำ�บาก (เทียบ รม 5:1-5) แสดงออกในความ สัมพันธ์กับผู้อื่น (เทียบ 1 คร 7:15) จนถึงวัน ที่พระเจ้าแห่งสันติ ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซู เจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย (เที ย บ ฮบ 13:20) และทรงทำ � ลายซาตาน
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
(เทียบ รม 16:20) จะฟืน้ ฟูทกุ สิง่ ให้กลับสูค่ วาม สมบูรณ์ดั้งเดิม 4.3 นักบุญยอห์น นั ก บุ ญ ยอห์ น ทำ � ให้ ก ารเปิ ด เผยของ พระเจ้าชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับนักบุญ เปาโล เขาคิดว่า สันติภาพเป็นผลการถวาย บูชาของพระเยซูเจ้า (เทียบ ยน 16:33) เช่น เดี ย วกั บ ธรรมประเพณี ข องพระวรสาร สหทรรศน์ สันติภาพที่พระเยซูเจ้าประทาน ให้ตา่ งกับสันติภาพในโลกนี ้ หนังสือพันธสัญญา เดิมสอนว่า ความดีสงู สุดแห่งสันติภาพคือการ ประทั บ อยู่ ข องพระเจ้ า ในหมู่ ป ระชากรของ พระองค์ฉนั ใด (เช่น ลนต 26:12, อสค 37:26) นักบุญยอห์นแสดงให้เห็นว่าบ่อเกิดและความ เป็นจริงของสันติภาพอยูใ่ นการประทับของพระ
13
เยซูเจ้าในหมู่มนุษย์ฉันนั้น ทัศนะของนักบุญ ยอห์นมีลกั ษณะเฉพาะดังกล่าวเป็นพิเศษ เมือ่ ความเศร้าโศกครอบงำ�จิตใจของบรรดาศิษย์ที่ กำ�ลังจะต้องแยกจากพระอาจารย์ พระเยซูเจ้า ทรงให้กำ�ลังใจแก่เขาว่า “เรามอบสันติสขุ ไว้ให้ ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเรากับท่าน เราให้สันติสุขกับท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ ใจ ของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย” (ยน 14:27) สันติสุขนี้ไม่ผูกพันกับการประทับ ของพระเยซูเจ้าในพระชนมชีพบนแผ่นดิน แต่ ผูกพันกับชัยชนะของพระองค์เหนือโลก พระ เยซูเจ้าผูท้ รงมีชยั ชนะเหนือความตาย ประทาน สั น ติ ภ าพของพระองค์ พ ร้ อ มกั บ พระจิ ต เจ้ า และอำ�นาจเหนือบาป (เทียบ ยน 20:19-23 ) 4.4 “ความสุข วิสยั ทัศน์แห่งสันติภาพ” คริ ส ตชนยึ ด มั่ นในความหวั ง ที่ จะเห็ น “นครเยรู ซ าเล็ ม ใหม่ ล งมาจากสวรรค์ ” (วว 21:2) จึงมุง่ ทีจ่ ะบรรลุความสุขแท้จริง “ผูส้ ร้าง สันติ ย่อมเป็นสุข” (มธ 5:9) เพราะสันติสุข หมายถึ ง การดำ � เนิ น ชี วิ ต เหมื อ นพระเจ้ า คื อ เป็ น บุ ต รของพระเจ้ า ในพระเยซู พระบุ ต ร เพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า คริสตชนจึงมุง่ สุดกำ�ลังที่จะสร้างความสามัคคีและปรองดอง และความสงบในโลกนี ้ บัดนี ้ วิธกี ารสร้างสันติ ภาพของคริสตชนในโลกนี้ก็จะเกิดผลเพราะ ไม่มพี นื้ ฐานในจินตนาการ แต่มหี ลักเกณฑ์สาม ประการทีน่ �ำ การแสวงหาสันติภาพอย่างไม่รจู้ กั เหน็ดเหนื่อย คือ
14
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ก) เพียงเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จมา อย่างรุ่งโรจน์เท่านั้น มนุษย์ทุกคนจะยอมรับ ว่า พระองค์เป็น “องค์พระผู้เป็นเจ้า” ผู้ทรง ปกครองจักรวาล และพระองค์จะทรงสถาปนา สันติภาพสากลและถาวร ข) เพียงพระศาสนจักรเท่านั้น ซึ่งไม่มี ความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ ชนชั้นวรรณะ และเพศ (เทียบ กท 3:28) บนแผ่นดินนี้เป็น สถานที ่ เครือ่ งหมายและบ่อเกิดแห่งสันติภาพ ระหว่างนานาชาติ เพราะเป็นพระกายทิพย์ ของพระคริสตเจ้า และผู้แจกจ่ายพระจิตเจ้า ค) เพียงความชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์ พระเจ้าและในหมู่มนุษย์เท่านั้น เป็นพื้นฐาน ของสันติภาพ เพราะสันติภาพกำ�จัดบาปซึ่ง เป็นบ่อเกิดของความแตกแยกทุกประการ
สรุปแล้ว คริสตชนจะมุ่งมั่นเพื่อบรรลุ สั น ติ ภ าพนี้ โดยฟั ง พระวาจาที่ พ ระเจ้ า ผู้ ประทานสันติภาพตรัสในเพลงสดุดีซึ่งรวบรวม คุณลักษณะของพระเจ้าในประวัติศาสตร์ว่า “ข้าพเจ้ากำ�ลังฟังอยู่ว่าพระองค์จะตรัสอะไร พระยาห์ เ วห์ จ ะทรงประกาศสั น ติ ภ าพแก่ ประชากรของพระองค์และแก่ผู้จงรักภักดีต่อ พระองค์...ความรักมั่นคงและความซื่อสัตย์จะ พบกัน ความเที่ยงธรรมและสันติจะสวมกอด กัน ความซื่อสัตย์จะปรากฏขึ้นจากแผ่นดิน ความเที่ ย งธรรมจะเยี่ ย มหน้ า จากสวรรค์ ใช่แล้ว พระยาห์เวห์จะประทานฝนเป็นพระพร และแผ่นดินของเราก็จะให้ผลเก็บเกีย่ วมากมาย ความเที่ ย งธรรมจะเดิ น นำ � หน้ า พระองค์ เบิกทางให้ทรงพระดำ�เนิน” (สดด 85:9-14 )
วิสัยทัศน์พระคัมภีร์เกี่ยวกับสันติภาพ
15
Barbaglio, Giuseppe. Pace e violenza nella Bibbia. Bologna: EDB, 2010. Leon-Dufour, Xavier. Dictionary of Biblical Theology. New York: Desclee Company, 1967. McKenzie, John L., S.J., Dictionary of the Bible. London: Geoffrey Chapman, 1976. Vitali, Alberto . Gesù il messia della pace. Milano: Paoline Editoriale Libri, 2012.
28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556 [ หมวดปรัชญา ]
สันติภาพแบบฮันทิงทัน ศ.กีรติ บุญเจือ
ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต อดีต สนช. อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประธานบรรณาธิการจัดทำ�สารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน บรรณาธิการการจัดทำ�สารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน อนุกรรมาธิการศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรมวุฒิสภา ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร กรรมการคุณธรรมจริยธรรมสำ�นักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกิติมศักดิ์องค์การศาสาเพื่อสันติภาพแห่งเอเชีย สอบถามเรื่องปรัชญา โทร.086-045-299.
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
เหตุการณ์ที่สร้างความระทึกใจแก่คน ทัง้ โลกไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าการถล่มเมืองฮิโรชิมา ด้วยระเบิดปรมาณู เมือ่ วันที ่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945) ก็คือการที่กำ�แพงเบอร์ลิน ถูกเจาะทะลุโดยไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) คือ 44 ปี ต่อมา อันถือได้ว่า เป็นวันสิ้นสุดสงครามเย็น ทีส่ ร้างความหวาดผวาแก่คนทัง้ โลกทีม่ อี ารมณ์ ค้างแขวนอยู่บนเส้นด้ายว่าสงครามโลกครั้ง ที่ 3 จะระเบิดขึ้น ณ วินาทีใดก็ได้ เพราะถ้า สงครามดั ง กล่ า วเกิ ด ขึ้ น จริ ง วั น นั้ น ก็ จ ะเป็ น จุ ด จบของมนุ ษ ยชาติ เพราะผู้ ที่ อ ยู่ ใ นข่ า ย ของความขัดแย้ง รู้สึกมั่นใจว่า ตนจะต้อง
29
สู ญ เสี ย ชี วิ ต ไปพร้ อ มกั บ คนดี และสิ่ ง ดี ทั้ ง หลายที่อารยธรรมของมนุษยชาติได้สะสมมา การที่ต้องรอความตายฉับพลันโดยไม่รู้วันและ เวลาอย่างนี้ ย่อมสร้างความเครียดแก่คนทั่ว โลกไม่มากก็น้อย มีการจัดปาฐกถากันบ่อย ๆ เพื่ อ เตื อ นความจำ � ว่ า ไม่ มี ค วามปลอดภั ย ใน ชีวติ ทรัพย์สนิ และแม้แต่โลกทัง้ ใบ ข่าวกำ�แพง เบอร์ ลิ น ทะลุ แ ละทั้ ง 2 ฝ่ า ยเดิ น ทางไปมา หาสู่กันได้โดยไม่มีใครขัดขวาง เป็นข่าวดีที่ ปลดเปลื้องจากความเครียดที่สร้างบรรยากาศ อึมครึมครอบงำ�มนุษยชาติในรูปของสงคราม เย็นมาเป็นเวลาถึง 44 ปี หลังจากที่สงคราม ร้อนได้ผลาญชีวิตมนุษย์ไปถึงประมาณ 100
30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ล้านคน ชั่วระยะเวลา 5 ปี หรือ 1,480 วัน แห่ ง การสู้ ร บ คิ ด ถั ว เฉลี่ ย วั น ละประมาณ 60,000 คน ไม่มีใครอยากให้ชาติของตนต้อง เข้ า สู่ ภ าวะสงครามอีก เพราะเข็ดขยาดต่อ ความเสี ย หายย่ อ ยยั บ ทั้ ง ทรั พ ย์ สิ น และชี วิ ต ยั ง ไม่ ร วมความสู ญ เสี ย ที่ คำ � นวณเป็ น ตั ว เลข ไม่ ไ ด้ คื อ คุ ณ ภาพชี วิ ต และสุ ข ภาพจิ ต ของ มนุษย์ที่สูญเสียไป ผูก้ งั วลด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ย่อม อดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะดี ใ จเมื่ อ ได้ ข่ า วดี ว่ า กำ � แพง เบอร์ลินทะลุ ม่านเหล็กสลายตัว ม่านไม้ไผ่ เผยอตัว ทุกอย่างเป็นไปตามครรลองเหมือน น้ำ � ไหล ไม่ มี ใ ครบั ง คั บ ให้ เ ป็ น ไป มั น เป็ น ไปโดยอั ต โนมั ติ ดั ง ที่ แซมมวล ฮั น ทิ ง ทั น (Samuel Huntington) ได้เก็บข้อมูลไว้ว่า 3 มกราคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) นักวิชาการรัสเซียและอเมริกนั นัดพบกันในห้อง ประชุมของรัฐบาลในกรุงมอสโคว์อย่างมั่นใจ ในความปลอดภัย ในเวลาไล่เลี่ยกันสหภาพ โซเวียต รัสเซียแตกสลายเป็น 16 ประเทศใหญ่ 18 เมษายน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ชาวมุสลิมเดินขบวนกลางกรุงซาราเจโว ประเทศยู โ กสลาเวี ย ถื อ ธงตุ ร กี แ ทนธงชาติ ยูโกสลาเวียของตน 16 ตุ ล าคม ปี เ ดี ย วกั น ในนครลอส แอนจิลิส ชาวแมกซิกันพลัดถิ่น 70,000 คน เดินขบวนถือธงชาติแมกซิโกเพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลอเมริกันให้การศึกษาแก่บุตรของผู้เข้า
เมืองผิดกฎหมายเพราะเห็นแก่ม นุษ ยธรรม ซึ่งรัฐสภาแห่งแคลิฟอร์เนียก็รับเข้าวาระการ ประชุ ม และลงมติ อ นุ มั ติ ด้ ว ยเสี ย ง 59% นั ก วิ จ ารณ์ ไ ม่ วิ จ ารณ์ ใ นแง่ ที่ ว่ า ผู้ เ ดิ น ขบวน มิได้ถือธงสัญชาติอเมริกัน แต่กลับวิจารณ์ว่า มาเดินขบวนถือธงต่างชาติขม่ ขูร่ ฐั บาลอเมริกนั อย่ า งนี้ ไม่ น่ า จะยอมให้ เ ดิ น วั น ต่ อ มาชาว แมกซิกนั กลุม่ เดิมนัดเดินขบวนขอบคุณรัฐสภา อเมริกันที่ลงมติด้วยจิตเมตตาธรรมเป็นหลัก คราวนี้ถือธงชาติอเมริกัน โดยกลับบนลงล่าง ทุกผืน แสดงความจงใจที่มิได้มีคำ�ชี้แจงใดๆ ถึงความหมายของมัน แต่ฮันทิงทันตั้งใจยก เรื่ อ งธงขึ้ น มาอภิ ป รายในบทนำ � ของหนั ง สื อ อย่างมีนัยยะ และให้ความหมายตามนัยยะ ของตนทีจ่ ะเป็นทิศทางของมนุษยชาติตอ่ ไปใน อนาคต เขาให้ความหมายของธงกลับหัวไว้ว่า “ธงกลับหัวเป็นเครือ่ งหมายของหัวโค้งแห่งการ เปลีย่ นแปลง และธงก็จะมีความสำ�คัญมากยิง่ ๆ ขึ้น” (Thomas Huntington, 1996, p.19.) วารสาร Foreign Affairs ฉบับฤดูร้อน ค.ศ.1993 ได้ พิ ม พ์ เ ผยแพร่ บทความ “The Clash of Civilization” ของฮันทิงทันเพื่อ ออกความเห็ น กรณี กำ � แพงเบอร์ ลิ น ทะลุ นั ก วิ ช าการของสหรั ฐ อเมริ ก า ได้ วิ พ ากษ์ วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ได้มีการอัดสำ�เนา แจกและจั ด สั ม มนาออกความเห็ น กั น ต่ า งๆ นานา ผูว้ จิ ยั ได้รบั เชิญไปสัมมนาจัดโดยสมาคม Civil Society ที่ Prof.Dr.George Mclean
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
อาจารย์สอนวิชาปรัชญาเป็นประธานเพือ่ ศึกษา ความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ฮันทิงทันได้กล่าวถึงใน บทความดังกล่าว 3 ปีต่อมา (พ.ศ. 2539, ค.ศ. 1996) ฮันทิงทันได้ขยายเนื้อหาบทความเป็น หนังสือ บทความซึ่งเป็นความคิดใหม่จริงถูก บรรจุอยู่ในบทนำ�และบทสรุป เนื้อหาที่ขยาย เพิ่มอยู่ในส่วนกลางของหนังสือ ซึ่งส่วนมาก เป็นข้อมูลการเมืองในอดีตทีร่ วบรวมมาสนับสนุน ทฤษฎีใหม่ของตน เสริมด้วยการคาดคะเนสู่ อนาคตในครรลองสืบเนื่องจากปัจจุบันและ อดีต ส่วนสำ�คัญของหนังสือเล่มนีจ้ งึ อยูท่ คี่ วาม คิ ด เห็ น ที่ แ สดงไว้ ใ นบทนำ � และบทสรุ ป ของ หนังสือเล่มนี ้ ซึง่ นักปรัชญานำ�เอาไปอภิปราย กันอย่างกว้างขวางจนทุกวันนี้เพื่อหาแนวทาง ใหม่แก้ปัญหาของโลก ส่วนกลางของหนังสือ เป็นเนื้อหาที่นักรัฐศาสตร์และนักการเมืองได้ เอาไปศึกษากันอย่างกว้างขวางเช่นกัน แต่สว่ น มากจะเน้นวิจารณ์ว่าที่ฮันทิงทันได้พยากรณ์ ไว้ ตั้ ง แต่ ปี ค.ศ.1996 นั้ น มี ส่ ว นผิ ด พลาด ประการใดบ้ า ง แม่ น ยำ � เพราะอะไร และ ผิดพลาดเพราะอะไร งานวิจัยนี้จะวิเคราะห์ เฉพาะความคิดเห็นที่นำ�ไปสู่การปรับปรุงวิธี อบรมเพื่อให้เกิดสันติภาพเท่านั้น ฮั น ทิ ง ทั น กั บ การอบรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม แผนใหม่ เมื่อฮันทิงทันกล่าวถึงความหมายของ ธงกลับหัวแล้ว ก็ได้ทิ้งข้อความที่เป็นปริศนา
31
ไว้ ว่ า “ประชาชนในโลกปั จ จุ บั น กำ � ลั ง พบ อัตลักษณ์ใหม่ในอัตลักษณ์เดิมเป็นส่วนมาก พวกเขากำ�ลังเดินภายใต้ธงใหม่ซึ่งจริงๆ แล้วก็ คือธงเดิม (กลับหัว) เป็นส่วนมาก ธงเหล่านี้ แหละทีน่ �ำ พวกเขาเข้าหาํ้ หัน่ ศัตรูใหม่ซงึ่ แท้จริง ก็คือศัตรูคนเดิมในโฉมหน้าใหม่” (Thomas Huntington, 1996, p.20.) ข้อความข้างต้นนีป้ ระกอบกับเหตุการณ์ ที่ ค าดไม่ ถึ ง ต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง จากกำ � แพง เบอร์ ลิ น ทะลุ ทำ � ให้ นั ก ปรั ช ญาหลั ง นวยุ ค ประสบโอกาสขยายผลแนวคิดปรัชญาของตน ซึ่ ง เดิ ม เป็ น ข้ อ คิ ด กระจั ด กระจายกลายเป็ น ขบวนการที่มีเป้าหมายชัดเจนยิ่งๆ ขึ้น โดย เฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นทั้งคำ�สอนและ แนวปฏิบัติในขณะเดียวกันตามรูปแบบของ ศาสนา แต่เป็นศาสนาทีไ่ ม่ก�ำ หนดข้อเชือ่ เรือ่ ง โลกหน้า จึงสามารถใช้เป็นฐานเสริมได้ส�ำ หรับ ทุกศาสนาทีต่ อ้ งการพัฒนาวิธกี ารอบรมสัง่ สอน ศาสนาของตนให้ มี ก ารพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งๆ ขึ้น จากข้อความปริศนาที่อ้างอิงไว้ข้างต้น ชาวหลังนวยุคจึงตีความว่าตามที่แฟรงสิส ฟูกิ ยามา (Francis Fukiyama) ได้ ชี้ ช่ อ งให้ ว่ า “เราน่าจะมาถึงจุดจบของประวัติศาสตร์ตาม ความหมายเดิมได้แล้ว กล่าวคือถึงจุดสุดท้าย ของวิ วั ฒ นาการคติ ก ารเมื อ ง ซึ่ ง จั ด เป็ น ประชาธิ ปไตยเสรีที่ ถื อได้ ว่า เป็ นการบริ ห าร ประเทศรูปแบบสุดท้ายของมนุษย์” (Francis
32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
Fukiyama, 1992, p.4) ซึ่งหมายความตาม คติปรัชญาหลังนวยุคว่า คนรุ่นใหม่บางคน เกิดมากับกระบวนทรรศน์ไร้พรมแดน มอง อะไรเป็นระดับโลกาภิวัตน์ไปหมด คือเป็น คนของโลก และอยากให้ทุกคนหวังดีต่อกัน ทั่วโลกเหมือนในครอบครัวเดียวกัน มีปัญหา อะไรตกลงกันเองได้ดว้ ยจิตสำ�นึกแห่งคุณธรรม จริยธรรมร่วมของมนุษยชาติ ซึ่งฮันทิงทันเอง มิได้ระบุไว้ชัดเจน แต่มีหลายตอนที่ชูนโยบาย ดังกล่าวไว้เป็นทางแก้ปัญหาของมนุษยชาติ เช่ น แนะนำ � ให้ ช าวตะวั น ตกแสดงตั ว เป็ น ชาวตะวั น ตกจริงๆ ไม่พึงพยายามยัดเยียด หรือชักชวนให้เชื่อว่าวัฒนธรรมตะวันตกเป็น วั ฒ นธรรมสากล เพราะจะทำ � ให้ เ กิ ด การ ต่ อ ต้ า นและความขั ด แย้ ง จนถึ ง สงครามได้ “สงครามโลกระหว่ า งอารยธรรมเป็ น สิ่ ง ที่
หลีกเลี่ยงได้ หากผู้นำ�ของโลกยอมรับว่าการ เมืองของโลกต้องมีลักษณะเป็นพหุอารยธรรม และช่ ว ยกั น ป้ อ งกั น จุ ด ยื น นี้ ไว้ ” (Thomas Huntington, 1996, p.21.) หากรั บ นโยบายนี้ ข องฮั น ทิ ง ทั น ก็ หมายความว่า ฮันทิงทันขอร้องให้ผรู้ บั ผิดชอบ การอบรมคุ ณ ภาพชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ รวมทั้ ง นักการศาสนาของทุกศาสนาที่มีหน้าที่อบรม สั่ ง สอนธรรมะแก่ ส มาชิ ก ของศาสนาทุ ก คน จะต้องตระหนักรูใ้ ห้ชดั เจนว่าตนมีหน้าทีอ่ บรม คุณธรรมจริยธรรมแบบใด ก็ให้มุ่งอบรมสั่ง สอนให้ดที สี่ ดุ ในทิศทางของตน ไม่ตอ้ งดูแคลน ฝ่ายอื่น คือต้องไม่สอนให้เหลื่อมลํ้ากันและ ต้ อ งไม่ โจมตี กั น เพื่ อ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ เ กิ ด ความ กระทบกระทัง่ ต่อกัน ครัน้ ฮันทิงทันได้สาธยาย ทุกแง่ทกุ มุมเพือ่ สนับสนุนทางแก้ปญ ั หาของตน อย่างละเอียดและยืดยาวพอสมควรแล้ว ใน ที่สุดก็อดสรุปด้วยความเป็นห่วงไม่ได้ว่า หาก ได้ จั ด ระเบี ย บโลกใหม่ (The World New Order) ตามคติพหุอารยธรรมกันอย่างดีแล้ว ก็เชือ่ ได้วา่ “สงครามโลกระหว่างขัว้ อารยธรรม ใหญ่ๆ ของโลกไม่น่าอย่ างยิ่งที่จะเกิ ดขึ้นได้ (highly improbable) แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไป ไม่ ไ ด้ (but not impossible)” (Thomas Huntington, 1996, p.312.) แน่นอนข้อแม้ หรื อ ข้ อ ยกเว้ น ที่ เ ปิ ด เผยในวรรคสุ ด ท้ า ยนี้ แม้แต่จะมีแค่เสี้ยวของเปอร์เซ็นต์ก็ไม่น่าจะ มองข้าม
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
ทฤษฎีพหุอารยธรรม (Multicivilizational Theory) ของฮันทิงทัน ฮันทิงทันได้วเิ คราะห์เชิงเปรียบเทียบให้ เห็นว่า การเมืองของโลกได้พัฒนาตัวเองมา เป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เรียกว่าการเมืองแบบไร้ขั้ว (apolar polities) คือผู้ทรงอธิปไตยของแต่ ละกลุม่ ชนดำ�เนินนโยบายอย่างเป็นอิสระต่อกัน หากจะสัมพันธ์กันก็คือรบกัน แพ้คือตายหรือ ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชา ชนะคือขยายอำ�นาจ มนุษย์ใช้การปกครองไร้ขั้วอย่างนี้มาตั้งแต่เริ่ม ต้นรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และมีหัวหน้ากลุ่มที่ใช้ อำ�นาจเด็ดขาดจนถึงขนาดตั้งนครรัฐได้ (สรุป ได้ว่า แพ้คือตาย ชนะคือขยายอำ�นาจ) ขัน้ ตอนที ่ 2 เรียกว่าการเมืองแบบหลาย ขั้ว (multipolar polities) ในยุโรปเริ่มในราว ค.ศ.1500 เมือ่ เริม่ เกิดชาติรฐั ขึน้ มา แต่ละชาติ รัฐทีม่ อี ธิปไตยในตัวสามารถจับกลุม่ กันโดยสนธิ สัญญาช่วยเหลือกันระหว่างชาติรฐั ในฐานะภาคี เสมอกัน ชาติทเี่ ป็นอาณานิคมทุกชนิดไม่ถอื ว่า เป็นชาติรฐั เพราะไม่มอี ธิปไตยในตัว ชาติรฐั ทีม่ ี เมืองขึน้ มีจ�ำ นวนมากกว่า 2 จึงได้ถอื ว่ามีหลาย ขั้ว (สรุปได้ว่า ชนะคือแบ่งอำ�นาจกันลงตัว เพื่อถัวเฉลี่ยผลประโยชน์) ขั้นตอนที่ 3 เรียกว่าการเมืองแบบสอง ขั้ว (bipolar polities) เป็นการเมืองที่เกิด ขึ้ น จริ ง ในช่ ว งสงครามเย็ น ชาติ รั ฐ จำ � นวน หนึ่งจับขั้วกันเล่นการเมืองแบบโลกเสรี อีก
33
จำ �นวนหนึ่ ง จั บขั้ วกั นเล่ นการเมื อ งแบบโลก คอมมิวนิสต์ ชาติรัฐที่เหลือเรียกว่าโลกที่ 3 ไม่มีขั้ว เพราะไม่มีการเล่นการเมืองระหว่าง กัน แต่ทว่าแต่ละประเทศเล่นการเมืองอย่าง อิสระ รวมหัวกันเป็นโลกที่ 3 อย่างหลวมๆ ไม่มีพันธะผูกพัน การเมื อ งที่ เ ล่ น แต่ ล ะแบบมี น โยบาย ที่แถลงชัดเจน ตามด้วยนโยบายการอบรม คุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับนโยบายที่แถลง ไว้ ผลที่ได้คือความขัดแย้งโดยจำ�เป็น ซึ่งผู้ รู้พากันเป็นห่วงเพราะเป็นชนวนให้เกิดความ เกลียดชังกัน และพร้อมที่จะถูกยุให้ทำ�ลาย กัน ด้วยคติวา่ จงทำ�ลายเขาก่อนทีเ่ ขาจะทำ�ลาย เรา (สรุปได้วา่ คานอำ�นาจกันไว้ให้ด ี มิฉะนัน้ โลกแตกแท้แน่เทียว) ขั้นตอนที่ 4 หลังจากกำ�แพงเบอร์ลิน ทะลุ อันมีผลให้สงครามเย็นยุตลิ งโดยอัตโนมัติ คนจำ�นวนมากทั่วโลกอยากเห็นโลกและมวล มนุษย์หมดปัญหาขัดแย้งกันเสียที แต่ฮันทิง ทั น กลั บ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ปั ญ หาหาหมดไม่ แต่ การเมื อ งผั น เข้ า เฟส 4 เรี ย กว่ า การเมื อ ง พหุอารยธรรม (multiciviizational polities) โดยผู้ นำ � ศาสนาซึ่ ง เป็ น แกนนำ � อารยธรรม ของคนส่ ว นใหญ่ ใ นชาติ จะจั บ ขั้ ว กั น เป็ น อารยธรรมชั้ น นำ � ของโลก ซึ่ ง ฮั น ทิ ง ทั น สั น นิ ษ ฐานเอาว่ า จะมี 9 ขั้ ว สำ � คั ญ คื อ 1.ตะวั น ตก 2.ละติ น อเมริ กั น 3.แอฟริ กั น 4.อิ ส ลาม 5.จี น (ขงจื้ อ และเล่ า จื้ อ ) 6.ฮิ น ดู
34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
7.ออร์ โ ธดอกซ์ 8.พุ ท ธ 9.ญี่ ปุ่ น (Thomas Huntington, 1996, p.21.) ฮั น ทิ ง ทั น คิ ด ว่ า ก า ร แ บ่ ง ขั้ ว ต า ม อารยธรรม มีศาสนาเป็นแกนนำ �จะเป็นไป ตามครรลองของมนุ ษ ย์ อ ย่ า งยากที่ จ ะเลี่ ย ง ได้ ที่ แ บ่ ง เป็ น 9 ขั้ ว นั้ น เป็ น การสั น นิ ษ ฐาน ขั้นต้น อาจจะมีมากกว่าหรือน้อยกว่า 9 ก็ได้ ในเมื่อการเมืองพหุอารยธรรมหรือการแบ่ง หลายขั้วศาสนาเป็นสิ่งต้องเกิด ฮันทิงทันจึง เสนอแนะกติกาไว้เพือ่ มิให้เกิดสงครามระหว่าง ขั้วศาสนา ดังต่อไปนี้ 1. ให้แยกการทำ�ให้ทนั สมัย (modernization) ออกจากการทำ�ให้กลายเป็นตะวันตก (westernization) เพราะความทั น สมั ย ไม่ จำ�เป็นต้องเป็นแบบตะวันตกและนับถือศาสนา ตะวั น ตก แต่ ล ะชาติ ส ามารถสร้ า งความ ทันสมัยของตนเองได้ 2. การถ่ ว งดุ ล (the balance of power) ย่อมเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของมันไปต ามกลไกของสังคม ไม่จำ�เป็นต้องอยู่ในภาค ตะวันตกเสมอไป 3. อารยธรรมศาสนาเป็นคุณค่าตายตัว เปลี่ ย นได้ ย าก จึ ง ไม่ ค วรมี ค วามพยายาม ยัดเยียดศาสนาให้แก่กัน หรือเปลี่ยนศาสนา ของกันและกัน 4. ชาติ ผู้ นำ � ของอารยธรรมศาสนา นอกจากจะต้องร่วมมือกันระวังและแก้ปัญหา ความขัดแย้งมิให้ลุกลามแล้ว ยังต้องพยายาม
สอดส่องดูแลปัญหาของชาติเล็กๆ ที่อยู่ตาม ตะเข็บอารยธรรม เพราะอาจจะบานปลายได้ ง่ายๆ 5. สหรัฐอเมริกาจะต้องเป็นประเทศนำ� ของอารยธรรมตะวันตกอย่างชัดเจน และต้อง แสดงให้ชัดเจนด้วยว่าไม่มีเจตนาที่จะยัดเยียด อารยธรรมตะวันตกให้เป็นอารยธรรมสากล (Thomas Huntington, 1996, p.20.) หนังสือ The Clash of Civilization พยายามหาตัวอย่างข้อมูล และการสันนิษฐาน ตามหลั ก วิ ช ารั ฐ ศาสตร์ เพื่ อ จู ง ใจผู้ อ่ า นให้ เข้าใจความหมายของกติกาสันติภาพ 5 ข้อ ของตน ให้เห็นด้วยและนำ�ไปใช้เป็นแนวทาง อบรมคุ ณ ภาพชี วิต ของคนทั้ ง โลก โดยหวั ง ว่ า จะพบทางหลี ก เลี่ ย งสงครามโลกอั น ไม่ พึงประสงค์ได้ดีที่สุด
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
วิจักษ์กติกา 5 ข้อของฮันทิงทัน ในฐานะนักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผู้ วิ จั ย เห็ น ด้ ว ยกั บ ฮั น ทิ ง ทั น เฉพาะในส่ ว นที่ เห็นปัญหาว่า มนุษยชาติอยู่ในอันตรายของ สงครามโลกและสงครามท้ อ งที่ อั น เกิ ด จาก ความขัดแย้งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ ขัดแย้งทางอารยธรรมซึ่งรวมถึงความขัดแย้ง ทางศรัทธา ศาสนาและอุดมคติทางการเมือง การปกครอง แต่ไม่อาจเห็นด้วยกับทางแก้ ปัญหาด้วยกติกา 5 ข้อของระเบียบสังคมใหม่ ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องช่วยกันอบรมพลโลกให้ มีคุณภาพตามมาตรฐานของกติกา 5 ข้อ ซึ่ง เป็นยูโทเปีย มีอปุ สรรคมากมายจนไม่สามารถ เอาชนะได้หมด เริ่มตั้งแต่ 1.การระดมปัญญา ชนให้มาเห็นด้วยและมีศรัทธาต่อกติกา 5 ข้อ เพื่ อ เป็ น วิ ท ยากร 2.ระดมงบประมาณเป็ น ค่าใช้จ่ายสำ�หรับวิทยากรให้ทำ�งานได้ทั่วถึง 3. แม้ทำ�ได้สำ�เร็จตามข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น แล้ว ก็ยงั ไม่มอี ะไรคํา้ ประกันได้วา่ จะไม่มคี วาม ขัดแย้งเกิดขึน้ และวิธกี ารแก้ความขัดแย้งของ ฮันทิงทันคือ อาศัยนํ้ำ�ใจดีของชาติผู้นำ�กลุ่ม อารยธรรมซึ่งเปราะบางมาก กติกาทั้ง 5 ข้อ จึงเหมือนกับแขวนอยู่กับเส้นด้าย เปอร์เซ็นต์ แห่งความล้มเหลวค่อนข้างสูง ตัวฮันทิงทัน เองก็ได้แสดงความลังเลใจไว้ในตอนท้ายของ หนังสือ ซึ่งผิดกับความรู้สึกในตอนต้นที่เขียน ด้วยความรู้สึกกระตือรือร้นมากว่า
35
เมื่ อ ฤดู ร้ อ น ค.ศ.1993 นิ ต ยสาร Foreign Affairs ได้ พิ ม พ์ บ ทความของ ข้าพเจ้าชื่อ “The Clash of Civilization?” คณะบรรณาธิการของนิตยสารฉบับนั้นแถลง ว่า ได้ปลุกให้มกี ารอภิปรายกันมากมายภายใน ช่วง 3 ปียิ่งกว่าบทความใดๆ ที่นิตยสารนี้ได้ เคยตี พิ ม พ์ ม าตั้ ง แต่ ค.ศ.1940 แน่ น อนว่ า มี ก ารอภิ ป รายปั ญ หาจากบทความนี้ ข อง ข้าพเจ้าภายใน 3 ปี มากกว่าบทความใดๆ ที่ ข้าพเจ้าเคยเขียนมา มีทงั้ การขานรับและเขียน บทวิจารณ์จากทุกทวีปเป็นจำ�นวนหลายสิบ ประเทศ ผู้อ่านมีปฏิกิริยาต่างๆ กัน ที่ข้องใจ ก็ มี ที่ เ คื อ งแค้ น ก็ มี ที่ ตื่ น ตระหนกก็ มี ที่ สับสนกับข้ออ้างต่างๆ ที่ข้าพเจ้ายกขึ้นมาเป็น อุ ท าหรณ์ ก็ มี ที่ อ้ า งว่ า มี อั น ตรายร้ า ยแรง ที่สุดรวมศูนย์อยู่ที่การเมืองระดับโลกที่กำ�ลัง เผยโฉมให้เห็น อันเป็นผลจากความขัดแย้ง กันระหว่างกลุ่มที่แตกต่างกันทางอารยธรรม จะอย่ า งไรก็ ตาม สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ กิ ดขึ้ นแล้ วก็ คือ มันตรึงประสาท (struck the nerve) เนือ่ งจาก สังเกตได้ว่าบทความนั้นได้สร้างความสนใจ รวมทั้ ง ความเข้ า ใจผิ ด และข้ อ ถกเถี ย ง กันมากมาย ข้าพเจ้าจึงใคร่จะได้ขยายความ ในประเด็ น ที่ เ ป็ น ปั ญ หาถกเถี ย งกั น อยู่ . ... มี ป ระเด็ น สำ � คั ญ ที่ บ ทความไม่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสนำ�มาเสริมไว้เป็นชื่อเสริม ของหนังสือ (คือการสร้างระเบียบโลกใหม่) และสรุ ป ไว้ เ ป็ น ประโยคสุ ด ท้ า ยของหนั ง สื อ
36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
คือ “การปะทะของอารยธรรมเป็นประเด็น คุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อสันติภาพ และระเบียบ การนานาชาติบนฐานของอารยธรรม เป็นทาง ป้องกันทีแ่ น่นอนทีส่ ดุ มิให้สงครามโลกเกิดขึน้ ” (Thomas Huntington, 1996, p.13.) คำ�รับรองของฮันทิงทันรูส้ กึ ว่าหนักแน่น มาก แสดงถึงความมั่นใจในวิธีการของตนว่า จะนำ�พาโลกให้พ้นจากวิกฤติของสงครามล้าง โลกได้อย่างมีประสิทธิผลที่สุด ซึ่งวิธีการดัง กล่าวนี้ฮันทิงทันได้จาระไนใน 4 หน้าสุดท้าย ของหนั ง สื อ ภายใต้ หั ว ข้ อ “สมบั ติ ร่ ว มของ อารยธรรม” (Thomas Huntington, 1996, p.318-21.) สมบัติร่วมของอารยธรรม หั ว ข้ อ นี้ ค่ อ นข้ า งเข้ า ใจยากและอาจ ตีความได้หลากหลาย ทำ�ให้สันนิษฐานได้ว่า คงเป็นความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ขยาย ความประเด็ น ต่ า งๆ เพื่ อ พิ สู จ น์ ท ฤษฎี แ ก้ ปัญหาความขัดแย้งการเมืองระดับโลกทีค่ าดว่า จะเกิดขึ้นหลังสงครามเย็น เป็นความคิดใหม่ ไม่มเี วลานานพอให้ความคิดสุกจนตัวเองเข้าใจ ชัดเจน แต่ก็เห็นว่าจำ�เป็นจะต้องเขียนเสริม ทฤษฎีเดิม คือ ทฤษฎีพหุอารยธรรมที่คุมกัน อย่างดีดว้ ยกฎการไม่กา้ วก่ายกัน (abstention rule) กั บ กฎการเจรจากั น (joint mediation rule) (Thomas Huntington, 1996, p.316.) ซึ่งเมื่อถามถึงเรื่องความจริงใจของ
ผู้นำ�แต่ละอารยธรรมแล้ว ก็รู้สึกเป็นจุดอ่อน สำ � คั ญ ที่ สุ ด เพราะความจริ ง ใจเป็ น เรื่ อ งของ คุณธรรมประจำ�ใจ บังคับกันไม่ได้ ทดสอบ กันก็ยาก ก็คงสันนิษฐานได้ไม่ยากว่า เพื่อ ไม่ให้งานที่ตนมุ่งหน้าเขียนขึ้นมาอย่างเร่งรีบ เป็นเนื้อหาสามร้อยกว่าหน้าเต็มไปด้วยข้อมูล อ้างอิงมากมายใช้เวลา 3 ปีมาแล้วนั้น ต้อง ล้มเหลว จำ�เป็นต้องหาอะไรมาเสริมจุดอ่อน ดังกล่าว จึงได้เขียนเติมต่อท้ายบทสรุปและ จบลงแค่นั้น ความคิดที่ต้องการเน้นก็คือคุณสมบัติ ร่วม (commonality) ในส่วนทีแ่ ล้วๆ มาฮันทิงทัน เน้นความต่างเป็นคุณสมบัตขิ องอารยธรรมต่างๆ เพื่อเตือนสติชาวตะวันตกให้เคารพความต่าง ของอารยธรรมอืน่ ๆ การเน้นความต่างเช่นนัน้ ย่อมหลีกไม่พน้ ทีจ่ ะต้องแก้ปญ ั หาความขัดแย้ง ซึ่งตามทฤษฎีพหุอารยธรรมจะต้องพึ่งความ เชื่อใจกันในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน โดย หวังว่าเขาจะต้องช่วยเราเพราะถึงทีเรา เรา ก็จะช่วยเขา แน่นอนที่สุดก็ต้องนึกได้ว่าหาก สันติภาพของโลกต้องเสี่ยงสงครามโลก และ ถ้าการเลี่ยงสงครามโลกต้องพึ่งความหวังอัน เลื่อนลอยอย่างนี้ก็คงไม่น่าจะสบายใจนัก ในทฤษฎี ส มบั ติ ร่ ว มนี้ ฮั น ทิ ง ทั น นึ ก ได้ ว่ า ในความแตกต่ า งของอารยธรรมยั ง มี ความเหมือนร่วมระหว่างอารยธรรมและแม้ ท่ามกลางนานาอารยธรรมก็ย่อมมีจุดร่วมกัน อยู่บ้างจนได้ หากส่งเสริมให้ทุกอารยธรรม
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
ร่ ว มใจกั น ศึ ก ษาเพื่ อ แสวงหาจุ ด ร่ ว มสงวน จุดต่างได้ จุดร่วมที่สงวนกันไว้นั้นแหละย่อม เป็นตัวค�ํ้ำ ประกันการแก้ปญ ั หาความขัดแย้งได้ ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวฮันทิงทัน ยกฐานะสงวนจุ ด ต่ า งขึ้ น สู่ ร ะดั บ จริ ย ธรรม (morality) และแถลงว่ า “วั ฒ นธรรมเป็ น เรื่ อ งสั ม พั ท ธ์ ส่ ว นจริ ย ธรรมอสั ม พั ท ธ์ ” (Thomas Huntington, 1996, p.318.) และ เมื่ อ ตั้ ง ใจเรี ย กสมบั ติ ร่ ว มนั้ น ว่ า จริ ย ธรรมก็ หมายความว่าจำ�เป็นต้องมีการอบรมกันอย่าง สมํ่ำ�เสมอ จะเพียงแต่สอนกันให้รู้และเข้าใจ ครัง้ เดียวตลอดชีพเหมือนส่วนทีเ่ ป็นวัฒนธรรม นัน้ ไม่ได้ (วัฒนธรรมในความหมายของฮันทิงทัน ก็คอื ส่วนหนึง่ ของอารยธรรมนัน่ เอง คือส่วน ย่อยในอารยธรรมหนึ่งๆ) ทางปฏิบัติสู่ความสำ�เร็จของการรักษา สั น ติ ภ าพโลกก็ คื อ “ประชาชนของทุ ก อารยธรรมพึงวิจัยค้นคว้า และพยายามขยาย การรั บ รู้ คุ ณ ค่ า สถาบั น และการปฏิ บั ติ ที่ พ วกเขามี ร่ ว มกั บ ประชาชนทั้ ง หลายของ อารยธรรมอื่นๆ” (Thomas Huntington, 1996, p.320.) คุณค่าร่วมนี้เรียกได้ว่าองค์อารยธรรม (Civilization ใช้อักษรตัวใหญ่นำ�และในรูป เอกพจน์เท่านัน้ ) ซึง่ หาได้จากความรูแ้ ละเข้าใจ ร่วมกันในระดับสูงของวิชาจริยธรรม ศาสนา อักษรศาสตร์ ศิลปะ ปรัชญา เทคโนโลยี และการมีชีวิตที่ดี” (Thomas Huntington, 1996, p.320.)
37
ปัญหาที่ฮันทิงทันทิ้งไว้ให้คิดต่อ ผู้ วิ จั ย เห็ น ด้ ว ยกั บ ฮั น ทิ ง ทั น ว่ า เรื่ อ ง “ปะทะทางอารยธรรม” ทั้ ง บทความและ หนังสือ ออกเผยแพร่ตรงเวลาและโดนความ สนใจคนทั้งโลกที่อยากจะเข้าใจสถานการณ์ โลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงฉับไว และฉับพลัน จนตั้งตัวไม่ติด จึงมีผู้อยากออกความเห็นกัน มากในทุ ก วงการก็ ว่ า ได้ ความคิ ด เห็ น จึ ง มี หลากหลายทั้งที่มีประโยชน์และไร้ประโยชน์ ผูว้ จิ ยั โชคดีได้มโี อกาสเข้าร่วมการศึกษาความคิด ของฮันทิงทันเชิงปรัชญาในปี ค.ศ.1994 (1 ปี หลังการเผยแพร่บทความ) และอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ.1998 (2 ปีหลังการเผยแพร่หนังสือ) ในเชิ ง ปรั ช ญาเราถื อ ว่ า เจตนาของฮั น ทิ ง ทั น ในการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง และการแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงอย่าง มีประสิทธิผลเป็นประเด็นที่ควรจับเอามาหา ทางต่อยอด อาจจะมีนักวิชาการหลายสายที่ คิดต่อยอดในเรือ่ งเดียวกับเรา เช่น รัฐศาสตร์ คงคิดถึงการพัฒนาการดำ�เนินงานด้านการทูต นักกฎหมายคงคิดถึงการขจัดกฎหมายที่ล่วง ละเมิดสิทธิของคนต่างวัฒนธรรม นักบริหาร คงคิดถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยจากการ ก่อการร้ายข้ามชาติ ฯลฯ สำ�หรับนักปรัชญา ประเด็นที่ท้าทายที่สุดจากข้อคิดต่างๆ ของ ฮันทิงทันก็คือ จะใช้เนื้อหาปรัชญาใดที่มีอยู่ แล้ว หรือจะคิดสร้างเนื้อหาใหม่ทางปรัชญา อย่างไร เพื่อใช้อบรมสั่งสอนพลโลกทุกระดับ
38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
และทุกระบบความเชื่อ ให้มีจิตอาสา เต็มใจ ทำ�ตัวให้เป็นแม่แบบการอบรมแผนใหม่ และ สอนคนอื่นๆ ทุกคนให้อยากทำ�ตัวเป็นแม่แบบ จิตอาสาเช่นกัน ทีจ่ ริงความคิดดังกล่าวข้างต้น คุกรุน่ อยู่ ในใจของผู้เขียนตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้ไปรับ การอบรม 2 ครัง้ ดังกล่าวจากสหรัฐอเมริกา แต่ หาเวทีปฏิบัติไม่ได้ ในขณะเป็นสนช. (สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) อยู่ 1 ปี ก็พยายาม จะสร้างเวทีทดลองโดยใช้วิธีการปรัชญาตาม เจตนาของฮันทิงทันซึ่งไม่ใช่นักปรัชญา จึง ได้ แ ต่ ชี้ แ นะแนวทางได้ แต่ ต่ อ ยอดในราย ละเอียดไม่ได้ นักปรัชญาแต่ละคนต้องคิดหา แนวทางอย่างเป็นระบบ ครัน้ วุฒสิ ภาให้เกียรติ เชิญไปร่วมงาน ก็อยากจะวิจัยออกมาให้เป็น เรื่องเป็นราวเพื่อนำ�มาใช้ดู งานวิจัยนี้จึงได้ เริ่มขึ้นอย่างจริงจังตามเป้าหมายของประธาน อนุ ก รรมาธิ ก ารที่ เ สนอไว้ ว่ า “ทำ � อย่ า งไร ศีลธรรมจึงจะกลับมาสู่พลเมืองไทย” ปั ญ หาของฮั น ทิ ง ทั น ต้ อ งแก้ ด้ ว ยปรั ช ญา ศาสนา ปรัชญาศาสนาตั้งคำ�ถามว่าสิ่งสูงสุดใน ศาสนาต่างๆที่ชี้แจงด้วยคำ�พูดที่มีความหมาย ตรงกันบ้างต่างกันบ้างนั้น หมายถึงความเป็น จริงเดียวกันหรือไม่ สามคำ�ตอบที่เป็น 3 เส้า ดังกล่าวได้แก่
1. หมายถึ ง ความเป็ น จริ ง เดี ย วและ เพราะฉะนั้ น ศาสนาทุ ก ศาสนาจึ ง เป็ น การ แสดงออกศาสนาละส่วนของศาสนาเดียวกัน นิยมเรียกความคิดเช่นนี้ ว่าลัทธิรวมศาสนา (inclusivism) 2. หมายถึ ง ความเป็ น จริ ง ต่ า งๆ กั น ซึ่งคำ �อธิบายต่างๆ ที่ใช้นิยามความเป็นจริง สูงสุดต่างๆ นั้น มีคำ�ที่ระบุชัดเจนว่ามีความ หมายขัดแย้งกัน จึงหมายถึงความเป็นจริง สู ง สุ ด ต่ า งๆ กั น ซึ่ ง ตามเหตุ ผ ลจะจริ ง ด้ ว ย กันไม่ได้ หากความเป็นจริงสูงสุดของศาสนา หนึ่ ง จริ ง ความเป็ น จริ ง ของศาสนาอื่ น ๆ ที่ ระบุชัดเจนว่าขัดแย้งกัน ย่อมเป็นเท็จทั้งหมด นิยมเรียกความคิดเช่นนี้ว่า ลัทธิแยกศาสนา (exclusivism) 3. หมายถึงความเป็นจริงเดียว และ ศาสนาต่างๆ มิใช่เป็นการแสดงออกศาสนา ละส่วนของความเป็นจริงเดียว แต่ทว่าแต่ละ ศาสนาแสดงความเป็นจริงสูงสุดครบถ้วนโดย ความพยายามเข้าถึงกันคนละแบบ นิยมเรียก ความคิ ด เช่ น นี้ ว่ า ลั ท ธิ พ หุ นิ ย มทางศาสนา (religious pluralism) ลัทธิแยกศาสนา ผู้ถือลัทธินี้ไม่สนใจว่าในความเป็นจริง จะมีศาสนาอยู่กี่ศาสนา แต่เชื่อว่าศาสนาแท้ หรือศาสนาที่สอนเรื่องโลกหน้าอย่างถูกต้อง ตรงกั บ ความเป็ น จริ ง ตามตั ว อั ก ษรของโลก
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
หน้าอย่างมากที่สุดโดยไม่มีส่วนผิดพลาดเลยมี เพียงศาสนาเดียว นัน่ คือ ศาสนาของผูย้ นื ยัน ถื อ ลั ท ธิ นี้ ซึ่ ง โดยปรกติ จ ะมี ข้ อ อ้ า งประกั น คำ�สอนเรื่องโลกหน้าที่ตนเชื่ออยู่นั้นว่ามีความ เป็ น มาพิ เ ศษเฉพาะศาสนาของตนเท่ า นั้ น ดั ง นั้ น ข้ อคำ�สอนที่รับรองอย่างเป็นทางการ ของศาสนาของตนจึงตรงกับความเป็นจริงของ โลกหน้าทุกประการ แม้ไม่ครบบริบูรณ์ก็ไม่มี อะไรขัดแย้งกันเองและไม่มีอะไรขัดแย้งกับ ข้อที่ยังไม่รู้ ซึ่งจะรู้ได้หลังความตายของตน ผู้ ถื อ ลั ท ธิ ดั ง กล่ า วจึ ง นิ ย มเรี ย กศาสนา อื่ น นอกจากศาสนาของตนว่ า ศาสนาเท็ จ (paganism หรือ heathenism) และเรียก ผู้นับถือศาสนาอื่นว่าคนนอกศาสนา (pagan, heathen หรือ infidel) ให้ต่างกับผู้นับถือ ศาสนาเดียวกันกับตนว่าเป็นผู้เชื่อ (believer, faithful) ซึง่ หากมีขอ้ ผิดเพีย้ นไปแม้แต่ขอ้ เดียว ก็ จ ะได้ ชื่ อ ว่ า ผู้ ถื อ นอกรี ต (heretic) และ คำ�สอนของพวกเขาว่าลัทธินอกรีต (heresy) อย่ า งเช่ น ศาสนาคริ ส ต์ ถื อ ลั ท ธิ แ ยก ศาสนามาตั้ ง แต่ต้น โดยอ้างพระดำ�รัสของ พระเยซูเจ้าว่า “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต” โดยตีความเสริมว่า “มีแต่หนทาง
เดียว ความจริงเดียว และชีวิตแบบเดียว” ซึ่ ง ต่ อ มาก็ ส ร้ า งเป็ น สู ต รยึ ด ถื อ กั น มานาน ว่า “นอกพระศาสนจักรคาทอลิกไม่มีความ รอด”1 ควินน์วิเคราะห์ว่าในปัจจุบันชาวคริสต์ จำ�นวนหนึ่งชักชวนให้เลิกลัทธิรังเกียจศาสนา ของกันและกันด้วยเหตุผลต่อไปนี ้ คือ 1. ได้เห็นตัวอย่างขันติธรรมจากศาสนา อื่นๆ 2. เห็นโทษของการทำ�สงครามศาสนา 3. เห็นโทษของการรังเกียจและข่มเหง ชาวยิวจนนำ�ไปสู่การล้างเผ่ายิวโดยลัทธินาซี (แม้ชาวคริสต์บางคนจะได้แสดงวีรกรรมช่วย ซ่อนชาวยิวได้ แต่ก็เป็นส่วนน้อย) 4. ได้ ศึ ก ษาศาสนาอื่ น ๆ ตามหลั ก วิชาการนอกเหนือไปจากข่าวลือ ได้ซาบซึ้ง การทำ�ดีในศาสนาอื่นๆ อย่างมีหลักฐาน 5. ได้มโี อกาสร่วมทำ�ดีกบั ผูน้ บั ถือศาสนา 2 อื่นๆ อ้างถึงรายงานประสบการณ์ตรงของ Wilfred Cantwell Smith และ John Hick ในช่วงทศวรรษ 1960 โดยสมิทมีประสบการณ์ เป็นครูสอนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองละโฮร์ เมืองหลวงของปากีสถานซึ่งผู้เรียนมีทั้งมุสลิม
อ้างอิงใน Philip Quinn, “Religious Pluralism”, in REP, vol 8, p. 260. ดู Philip Quinn, ibid., pp. 260-1.
1 2
39
40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ฮินดู ซิกข์ และคริสต์ที่ล้วนแต่เคร่งศาสนา ของตน ส่ ว นฮิ ก มี ป ระสบการณ์ ทำ � ศาสน สั ม พั น ธ์ ใ นเมื อ งเบอร์ มิ ง แฮมระหว่ า งชาว คริ ส ต์ มุ ส ลิ ม ยิ ว ฮิ น ดู และซิ ก ข์ ต่ อ มา ใน ค.ศ.1981 สมิทได้เผยแพร่หนังสือ Toward a World Theology เสนอวิธศี กึ ษาศาสนาเพือ่ ลัทธิพหุนยิ มทางศาสนา โดยเรียกวิธขี องตนว่า Comparative Theology อันเป็นชือ่ วิธศี กึ ษา ศาสนาเปรียบเทียบและปรัชญาศาสนา ลัทธิรวมศาสนา ผู้ถือลัทธินี้เชื่อว่าในความเป็นจริงที่มี อยู่ ห ลายศาสนานั้ น เป็ น เพี ย งปรากฏการณ์ ภายนอกของศาสนาเดียวของมนุษยชาติ การ ใช้พหูพจน์กบั คำ� Religion จึงเป็นความสำ�คัญ ผิด ไม่เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาซึ่งมีอยู่หนึ่ง เดียว แต่กระจายอยู่ในศาสนาต่างๆ ซึ่งล้วน แต่เป็นการแสดงภายนอกของศาสนาเดียวกัน เหมือนสาวสวยคนเดียวกันย่อมมีความสวย หนึ่ ง เดี ย วที่ เ ป็ น ของเธอ แต่ ท ว่ า ความสวย ของเธอย่ อ มปรากฏต่ า งกั น ในชุ ด อาภรณ์ ต่างๆ ที่เธอสวมใส่ แต่ทุกคนก็รู้สึกว่าความ สวยในชุดอาภรณ์ตา่ งๆ กันนัน้ รวมกันคือความ สวยของเธอคนเดียว ผู้ถือลัทธินี้มักจะชอบ นโยบายรวมศาสนาและบางคนก็ดำ�เนินการ รวมทุกศาสนาเข้าเป็นศาสนาเดียวกัน ซึ่งใน ทางปฏิ บั ติ ไ ด้ เ คยดำ � เนิ น การกั น มาแล้ ว เป็ น ๒ แบบ คือ ตั้งชื่อศาสนาใหม่โดยประกาศ
รวมทุกศาสนาเข้าด้วยกันภายใต้การนำ�ของ ศาสดาองค์ใหม่ หรือประกาศศาสนาของตน เป็นศูนย์รวมโดยให้ศาสนาอื่นเข้ามารวมใน ฐานะเสมอกัน สังเกตได้ว่า ผู้ถือลัทธิแยกศาสนากับ ผู้ถือลัทธิรวมศาสนามีแนวโน้มเหมือนกัน คือ เรียกร้องให้ศาสนาของตนเป็นศูนย์รวมศาสนา ของมนุษยชาติ แต่เหตุผลในการเรียกร้องและ ชักชวนนั้นต่างกัน คือลัทธิแยกศาสนาอ้างว่า ทุกคนต้องเลือกนับถือศาสนาที่ถูกต้อง และ ศาสนาของตนศาสนาเดียวเป็นศาสนาที่ถูก ต้อง ส่วนลัทธิรวมศาสนาอ้างว่าทุกศาสนา ล้วนแต่ดเี สมอกันจึงควรรวมตัวกันเพือ่ เป็นพลัง และกำ�ลังใจแก่กัน และชูศาสนาของตนว่ามี ความพร้อมทีส่ ดุ สำ�หรับพันธกิจดังกล่าว จนถึง ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดหรือองค์การใดทำ�ได้สำ�เร็จ ลัทธิพหุนิยมทางศาสนา ผู้ถือลัทธินี้เดินสายกลางระหว่างลัทธิ แยกศาสนากั บ ลั ท ธิ ร วมศาสนา คื อ ไม่ มี เจตนาที่จะประกาศให้ศาสนาของตนศาสนา เดียวมีความจริงทุกข้อ และไร้ขอ้ ผิดพลาดจาก ความเป็นจริงของโลกหน้า และไม่มีเจตนาที่ จะพยายามให้มีเพียงศาสนาเดียวในโลก แต่ ยอมรับว่าทุกศาสนาทีม่ ีอยูใ่ นอดีตและปัจจุบัน (ตามเกณฑ์และนิยามของศาสนา) ล้วนแต่ดี แต่ทว่าดีต่างกัน คือต่างก็สอนความจริงเกี่ยว กับโลกหน้าและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
ได้ในระดับหนึ่ง ไม่มีศาสนาใดเพียงศาสนา เดียวที่สอนความจริงได้ครบสมบูรณ์แบบและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทุกคนให้เป็น คนดีครบถ้วนโดยลำ�พังศาสนาเดียว แต่ทว่า มี ศั ก ยภาพในตั ว เองและโดยตั ว เองที่ จ ะทำ � หน้าที่ได้ดีขึ้นเรื่อยไป และถ้าได้ร่วมมือกับ ศาสนาอื่นก็จะช่วยให้ทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันต่าง ทำ�หน้าที่ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ไม่ขัดข้องที่จะเชื่อว่า คัมภีร์ของทุกศาสนามีศักยภาพที่จะพัฒนาคน ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ทว่าในความเป็นจริง นั้น คัมภีร์ทุกคัมภีร์ในปัจจุบันต้องการการ ตีความ และการตีความนี่แหละที่เอื้อให้ช่วย กั น และกั น ได้ เพื่อให้บรรลุเ ป้าหมายของทุก ฝ่ายได้เร็วขึ้น ปัญหาที่สำ�คัญที่สุดที่มักจะมีผู้ข้องใจ ถามลัทธินี้ก็คือว่า เนื่องจากลัทธินี้ส่งเสริมให้ ศาสนาต่างๆ เสวนากันเพื่อความเข้าใจความ เป็นจริงของโลกหน้า และเพื่อความร่วมมือ กันในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต บน ฐานแห่งความเคารพในความต่างของกันและ กัน จึงน่าจะถามได้ว่าในโลกหน้าจริงๆ นั้น ความเป็ น จริ ง ตามคำ � สอนของศาสนาต่ า งๆ จะมีส่วนร่วมมือกันต่อไปหรือไม่และอย่างไร ซึ่งคำ�ตอบก็คือ ความเป็นจริงแห่งโลกหน้า ตามที่แต่ละศาสนาสอน เป็นเรื่องของแต่ละ ศาสนาโดยเฉพาะไม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น แต่ ก็ พ อ จะสรุปได้อย่างรวมๆ ตามคำ�บอกเล่าของผู้มี ประสบการณ์ตรงถึงความเป็นจริงของโลกหน้า
41
ในขณะเข้าฌานว่า เป็นภาวะของจิตทีใ่ ห้ความ สุขสงบที่สุด ชนิดอธิบายเป็นคำ�พูดไม่ได้แต่ก็ น่าพอใจทีส่ ดุ รายละเอียดอืน่ ทีบ่ รรยายได้กม็ กั จะมาจากจินตนาการของกวีของแต่ละศาสนาที่ บรรยายในกรอบของศาสนาของตน มิฉะนัน้ ก็ จะไม่ได้รับการรับรองจากผู้นำ�ศาสนาของตน จึงถือว่าเป็นเรื่องประกอบปลีกย่อยที่ไม่ควร ยึดถือ ส่วนตัวบทคัมภีรท์ กี่ ล่าวถึงเรือ่ งนีก้ เ็ ป็น ส่วนทีต่ อ้ งตีความโดยการรับรองของผูม้ อี �ำ นาจ ในศาสนาเพือ่ ป้องกันการฉวยโอกาสแทรกแซง ทำ�ให้สมาชิกทีร่ เู้ ท่าไม่ถงึ การณ์ไขว้เขว อย่างไร ก็ตาม จุดอ่อนในเรือ่ งนีไ้ ม่ถอื ว่าลบล้างจุดแข็ง ทีล่ ทั ธินมี้ เี หนือลัทธิอนื่ ๆ ในการศึกษาความน่า เชื่อถือของศาสนาต่างๆ ของมนุษยชาติ ลัทธิพหุนิยมทางศาสนา มิใช่ลัทธิสัม พัทธนิยมทางศาสนา (religious relativism) อย่างทีบ่ างคนกล่าวหาเพราะลัทธิสมั พัทธนิยม เป็นคติที่มองความเป็นจริงของโลกหน้าว่ามิได้ มีจริงเป็นวัตถุวิสัย แต่เป็นคำ�สอนอัตวิสัยที่ สืบเนื่องจากกระบวนทรรศน์ จึงเกิดขึ้นและ เปลี่ยนไปพร้อมกับกระบวนทรรศน์ น่าจะนับ เป็นลัทธิรวมศาสนา ส่วนลัทธิพหุนิยมเชื่อว่า ความจริงเรือ่ งโลกหน้ามีจริงตามทีแ่ ต่ละศาสนา สอน ซึ่งผู้นับถือศาสนารู้ได้คนละส่วนๆ รวม กันทั้งหมดก็ยังรู้ไม่ครบถ้วน ยกเว้นให้ศาสดา ว่าแม้รคู้ รบถ้วนก็จริงแต่สอนไม่หมด และผูร้ บั ถ่ายทอดมาก็เข้าใจไม่หมดที่ศาสดาสอน หรือ หากเข้าใจได้หมดเป็นกรณีพิเศษ แต่ก็สอน ต่อๆ มาไม่ได้หมด
42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
คำ�ตอบสามเส้าทางศาสนากับสานเสวนา หลั ง จากที่ ก ารเมื อ งตามระบอบ คอมมิวนิสต์ได้กวาดล้างศาสนาทุกศาสนาด้วย คติว่า “ศาสนา (ทุกศาสนา) เป็นฝิ่นมอมเมา ประชาชน” พร้ อ มทั้ ง ใช้ น โยบายการเมื อ ง กีดกันและห้ามนับถือศาสนาต่างๆ เป็นเวลา กว่าศตวรรษ และยังมีผลต่อเนื่องมาจนทุก วั น นี้ โดยสร้ า งบรรยากาศให้ รู้ สึ ก ในสั ง คม ว่ า ศาสนาเป็ น สิ่ ง ให้ โ ทษหรื อ อย่ า งน้ อ ยก็ ไม่จำ�เป็นสำ�หรับสังคมทุกระดับ ยิ่งกว่านั้น จอห์น ฮิก (John Hick) นักเขียนสารานุกรม ปรั ช ญายั ง ได้ ใ ห้ ข้ อ สั ง เกตไว้ ว่ า ข้ อ คิ ด เชิ ง ปรั ช ญาของเบอร์ ท รั น ด์ อาร์ เ ธอร์ วิ ล เลี ย ม รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell, ค.ศ.๑๘๗๒-๑๙๗๐) มี ผ ลกระทบต่ อ ความ เชื่อเรื่องโลกหน้าไม่ยิ่งหย่อนกว่าผลงานของ การเมืองระบอบคอมมิวนิสต์ ด้วยข้อความ เพี ย งสั้ น ๆ ว่ า “จากมุ ม มองของเหตุ ผ ลเชิ ง
3 4
ตรรกะ ก็เห็นได้ชดั ว่า เนือ่ งจากศาสนาใหญ่ๆ สอนขัดแย้งกันในประเด็นหลัก หากจะมีความ จริงได้ก็ไม่เกิน ๑ ศาสนา”3 และจริงๆ แล้ว รัสเซลล์ก็ไม่นับถือศาสนาใดเลยเพราะไม่เชื่อ ว่ามีโลกหน้าจริงไม่ว่าตามคำ�สอนของศาสนา ใดทั้งสิ้น ซึ่งฮิกผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาเปรียบ เที ย บและปรั ช ญาศาสนาประเมิ น ว่ า ทุ ก ศาสนาได้รับผลกระทบหนักอย่างเสมอหน้า กัน คืออะไรๆ ที่ศาสนาใดสอนในที่สุดก็เปิดหู เปิดตาให้ชาวโลกรู้ว่าเป็นเรื่องเห็นผิดเป็นถูก (delusion) กั น ทุ ก ศาสนา 4 และที่ เ ห็ น ถู ก สำ�หรับรัสเซลล์ และลัทธิสสารนิยมก็คือทุก ศาสนางมงายเท่ากันหมด จึงเป็นเรื่องที่แต่ละ ศาสนาไม่อาจจะแก้ปัญหาโดยลำ�พัง ฮิกจึง ชั ก ชวนให้ นั ก ปรั ช ญาศาสนาช่ ว ยกั น หาทาง แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยใช้คติพหุนิยมทาง ศาสนาเป็นฐานร่วมสำ�หรับการสานเสวนา
Russell, Bertrand. Why I am not a Christian. London : Allen and Unwin, 1957. Hick, John. “Religious Pluralism”, in MEP, vol. 8, p. 419.
สันติภาพแบบฮันทิงทัน
43
Fukuyama, Francis. The End of History and the Last Man. New York : Free Press, 1992. Hick, John. “Religious Pluralism”, in Borchert, Donald, ed. Ency clopedia of Philosophy. New York : Macmillan, 2nd ed., 2006. Huntington, Samuel P. The Clash of Civilization. New York: Simon and Schuster, 1996. Quinn, Philip. “Religious Phuralism”, in Craig, Edward. Routledge’s Encyclopedia of Philosophy. London Routledge, 1998. Russell, Bertrand. Why I Am Hot a Christian. London : Allen and Unwin, 1957. Smith, Wilfred Cantwell. Toward a World Theology. Philadelphia, PA : The Westminster Press, 1981.
68 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556 [ หมวดจิตวิทยา ]
สันติภาพกับความขัดแย้ง พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์
“เพราะพระเจ้ามิทรงปรารถนาความวุ่นวาย แต่ทรงปรารถนาสันติ” (1 โครินธ์ 14:33) เมื่ อ 74 ปี ก่ อ น โลกได้ เ ผชิ ญ กั บ ความขั ด แย้ ง ครั้ ง ใหญ่ ที่ พ วกเราขนานนาม
ว่า “สงครามโลกครั้งที่ 2” (ค.ศ.1939-1945) มีการประมาณการว่า มีผเู้ สียชีวติ จากสงคราม ครัง้ นีเ้ ป็นจำ�นวนมากกว่า 60 ล้านคน ประกอบ ด้วยทหารอย่างน้อย 22 ล้านคนและพลเรือน อย่างน้อย 40 ล้านคน
นักจิตวิทยาการปรึกษา, รองผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, อาจารย์พิเศษด้านจิตวิทยาในสถาบันอุดมศึกษา, วิทยากรฝึกอบรมและบรรยายด้าน Counseling Psychology, Family Counseling และ Self-empowerment
สันติภาพกับความขัดแย้ง
ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 เวลา 8.15 น. ระเบิดปรมาณู “Little Boy” ถูก จุ ด ระเบิ ด ณ ตำ � แหน่ ง ความสู ง 580 เมตร เหนือเมืองฮิโรชิมา ส่งผลให้ประชาชนล้มตาย ในครั้งนั้นรวมทั้งสิ้นกว่า 240,000 คน และ ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ระเบิดปรมาณู ถู ก ทิ้ ง ที่ เ มื อ งนางาซากิ โดยจุ ด ระเบิ ด ที่ ตำ � แหน่ ง 500 เมตร เหนื อ พื้ น ดิ น ณ เวลา 11.02 น. มีประชาชนล้มตายกว่า 74,000 คน ผลจากมหาสงครามโลกครัง้ ที่ 2 มนุษย์ ได้ประสบกับความรุนแรงหฤโหดแห่งความ ป่าเถื่อน ที่มนุษย์กระทำ�ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อนมนุษย์จำ�นวนมากสูญเสียชีวิตจากการ เข่นฆ่าทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพียงเพราะ อยู่ กั น คนละฝ่ า ยที่ แ บ่ ง แยกมนุ ษ ย์ อ อกจาก กัน ด้วยคำ�ว่า “มิตร” และ “ศัตรู” ผลจาก มหาสงครามในครั้งนี้ มนุษย์มีความพยายาม เพิ่มมากขึ้นในการผดุงสันติภาพให้คงอยู่อย่าง ยั่งยืนถาวร แม้ในความพยายามนั้นจะยังไม่ อาจกล่าวได้ว่า เราบรรลุผลสำ�เร็จแล้ว ในโลกทุกวันนี้ เรายังคงพบเห็นความ ขัดแย้ง การใช้ความรุนแรง สงครามย่อยๆ ที่คอยกัดกร่อนชีวิตความเป็นอยู่ และสังคม อันสงบสุขของมวลมนุษย์ สันติภาพดูเหมือน จะยังคงเป็นสภาวะที่มนุษย์หวังจะให้เกิดขึ้น โดยทั่วไปในโลกของเรา คำ � ว่ า “สั น ติ ภ าพ” ความหมายตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
69
หมายถึง ความสงบ ขณะที่ในภาษาอังกฤษ ใช้ คำ � ว่ า Peace หมายถึ ง สถานการณ์ ห รื อ ช่วงเวลาทีไ่ ม่มสี งครามหรือการต่อสู ้ (Longman, 2003) สะท้อนให้เห็นถึงการที่มนุษย์ให้ความ สำ� คัญกั บความสงบสุขภายนอก ที่พวกเรา ต่างแลเห็นหรือสัมผัสได้โดยทั่วไป อย่างไรก็ดี ความสงบสุขหรือสันติภาพ มิใช่แค่เป็นสภาวะแวดล้อมภายนอก ที่ไม่มี สงคราม ไม่มีการเข่นฆ่าทำ�ร้ายซึ่งกันและกัน เท่ า นั้ น แต่ ยั ง แบ่ ง ออกได้ ห ลายระดั บ จาก ภายในสู่ภายนอก สภาหลั ก สู ต รและการสอนของโลก (World Council of Curriculum and Instruction) ได้ วิ เ คราะห์ ม โนทั ศ น์ ข อง สันติภาพไว้ในการประชุมวิชาการโลกทีป่ ระเทศ อังกฤษ ในปี ค.ศ.1975 ว่า สันติภาพสามารถ แบ่งออกเป็น 9 ระดับได้ดังนี้ 1. สันติภาพภายในบุคคล (Intrapersonal peace) คือ สภาพที่ไม่มีความขัดแย้งในตัว บุคคล คือผู้ที่มีใจสงบสุข 2. สั น ติ ภ าพระหว่ า งบุ ค คล (Inter personal peace) คื อ สภาพที่ ไ ม่ มี ค วาม ขัดแย้งระหว่างบุคคล 3. สันติภาพภายในหมูค่ ณะ (Intragroup peace) คือ สภาพที่ไม่มีความขัดแย้งภายใน หมู่คณะ 4. สั น ติ ภ าพระหว่ า งหมู่ ค ณะต่ า งๆ (Intergroup peace) คือ สภาพที่ไม่มีความ ขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ
70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
5. สันติภาพภายในเผ่าพันธุ ์ (Intraracial peace) คือ สภาพที่ไม่มีความขัดแย้งภายใน แต่ละเผ่าพันธุ์ 6. สันติภาพระหว่างเผ่าพันธุ ์ (Interracial peace) คือ สภาพที่ไม่มีความขัดแย้งระหว่าง เผ่าพันธุ์ต่างๆ ต่อกันและกัน 7. สั น ติ ภ าพภายในประเทศชาติ (Intranational peace) คื อ สภาพที่ ไ ม่ มี ความขัดแย้งกันภายในชาติหนึ่งๆ 8. สันติภาพระหว่างประเทศ (International peace) คื อ สภาพที่ ไ ม่ มี ค วาม ขัดแย้งกันระหว่างประเทศชาติต่างๆ 9. สันติภาพของโลก (World peace) คือ สภาพของโลกทัง้ โลกเป็นปกติสขุ ปราศจาก สงคราม ความขัดแย้งและมีความยุติธรรม (ประชุมสุข อาชวอำ�รุง, 2530) จากมโนทัศน์ของสันติภาพตามที่สภา หลักสูตรและการสอนของโลกได้ให้ไว้ เราจะ พบว่า สันติภาพมีหลายระดับ และทุกระดับ มี ค วามสั ม พั น ธ์ เชื่ อ มโยงต่ อ กั น จนกระทั่ ง กลายเป็นสันติภาพในระดับโลกขึ้นมา ด้ ว ยเหตุ ที่ เรามนุ ษ ย์ เ ป็ น สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ มี อัตลักษณ์และความเป็นสังคมสูง เรามักจะ อยู่รวมกันและยากที่จะหลีกเลี่ยงการอยู่รวม กั น เป็ น กลุ่ ม เป็ น หมู่ ค ณะ เพื่ อ ตอบสนอง ความจำ�เป็นพืน้ ฐาน คือ การมีชวี ติ รอด ดังนัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงมีความสำ�คัญ อย่างมาก ต่อสันติภาพและสันติสุขภายใน จิตใจ
ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี เ ป็ น สิ่ ง จำ � เป็ น อย่ า ง ยิ่งสำ�หรับเรามนุษย์ทุกคน ทั้งนี้เพราะ เรา ต้องการเป็นที่รัก ต้องการการยอมรับ และ เราต้ อ งการที่ จ ะมี ค นที่ เรารั ก ที่ เราวางใจ เรามนุ ษ ย์ ค งจะไม่ อ าจจะมี ชี วิ ต อยู่ ไ ด้ ถ้ า ปราศจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จนอาจกล่าวได้ว่า การมีชีวิตคือการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคล อื่น ชีวิตที่ขาดเพื่อนหรือมิตรภาพนับว่า เป็น ชีวิตที่ไม่สมบูรณ์มากนัก (Johnson, 1997) ความสั ม พั น ธ์ ยั ง มี ค วามสำ � คั ญ ต่ อ พัฒนาการต่างๆ ของมนุษย์อีกด้วย เนื่องจาก ตั้งแต่วัยเด็ก เราเรียนรู้การพูด การสื่อสาร การแสดงออกต่ า งๆ ตลอดจนวั ฒ นธรรม ประเพณี จ ากบุ ค คลในครอบครั ว เพื่ อ นๆ ครูบาอาจารย์ เพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพและ การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี จึ ง เป็ น กุ ญ แจสำ � คั ญ ที่ จ ะนำ � เราไปสู่ ก ารพั ฒ นาบุ ค ลิ ก ภาพและ เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตน ความสำ � เร็ จ ในด้ า น อาชีพ สุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี การจัดการ กั บ ความเครี ย ด การมี ชี วิ ต ที่ มี ค วามหมาย คุณภาพชีวิตที่ดี ฯลฯ อย่ า งไรก็ ต าม แม้ ค วามสั ม พั น ธ์ เ ป็ น สิ่งสำ�คัญอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา ก็ จ ริ ง แต่ เราก็ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ด มาพร้ อ มกั บ ทั ก ษะ การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การสร้างความ สัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ เพื่อให้ เกิ ด สั น ติ สุ ข ภายในใจและสั น ติ สุ ข ในการอยู่ ร่วมกับบุคคลอื่น
สันติภาพกับความขัดแย้ง
ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับ บุคคลอื่นมีวิธีการอยู่ 3 วิธีที่มนุษย์มักนิยมใช้ กัน คือ 1. การรอให้มีใครสักคนที่อยากจะเป็น เพื่อนกับเรา เดินเข้ามาหาและขอเป็นเพื่อน วิธีนี้ง่ายที่สุด 2. การไปขอใครสักคนเป็นเพื่อน วิธีนี้ ยากขึ้นและอาจจะถูกปฏิเสธ 3. การให้ ค วามเป็ น เพื่ อ นกั บ บุ ค คล อื่น วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสร้าง มิตรภาพกับบุคคลอื่นในระยะยาว เนื่องจาก โดยธรรมชาติแล้ว เราปลูกต้นไม้อะไรย่อม ได้ผลอย่างนั้น เราให้อะไรออกไปก็จะได้รับ อย่างนั้นกลับคืน (Johnson, 1997) ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ มิ ต รภาพหรื อ ความ สัมพันธ์เชิงบวกเกิดขึ้นและดำ�รงอยู่ในระยะ ยาว ประการแรก เราควรเรียนรู้วิธีการเปิด เผยตนเองและสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน ในประเด็นนี้ นับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยากมาก ขึ้ น ในสั ง คมยุ ค ปั จ จุ บั น ที่ เราไม่ อ าจรู้ ไ ด้ ว่ า ใครจริงใจกับเราหรือไม่ ใครเป็นพวกมิจฉาชีพ ที่ แ อบแฝงเข้ า มาแสร้ ง เป็ น มิ ต ร ถึ ง แม้ จ ะมี คนหลอกลวงเข้ามาปะปนในสังคม แต่ก็ใช่ว่า มนุษย์ทุกคนจะไว้ใจไม่ได้ การเปิดเผยตนเอง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจึงยังคงเป็น สิ่งที่พึงกระทำ� โดยเราควรจะค่อยๆ เปิดเผย ตนเองทีละเล็กทีละน้อย ด้วยท่าทีจริงใจและ อยากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจริงๆ มิตรภาพ ที่แท้จึงจะสามารถสานตัวเติบโตงอกงามขึ้น มาได้
71
ประการที่ สอง เราควรเรียนรู้การสื่อ สารด้วยใจจริงกับบุคคลอื่น ในประสบการณ์ ชีวิตของหลายๆ ท่านคงจะพอบอกได้ว่า การ สื่ อ สารหรื อ คำ � พู ด ของเรามี ผ ลอย่ า งยิ่ ง ต่ อ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บางคนยิ่งสนิท มากยิ่ ง พู ด โดยไม่ คิ ด คำ � นึ ง ถึ ง จิ ต ใจผู้ ฟั ง ว่ า จะรับได้หรือไม่ ด้วยคิดไปเองว่า สนิทกัน แล้ ว พู ด ได้ โ ดยไม่ ต้ อ งเกรงใจ พร้ อ มทั้ ง คาดหวังว่า ผู้ฟังจะรับได้ทุกคำ�พูด ทุกการ แสดงออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตรงกัน ข้ามอย่างสิ้นเชิง ยิ่งสนิทมาก ยิ่งรักมาก ยิ่ง ต้องทะนุถนอมความสัมพันธ์ เพราะบุคคลยิ่ง ใกล้ชิด ยิ่งมีโอกาสขัดแย้งบาดหมาง นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยพบว่า โดย ทั่วไปในการสื่อสารเราใช้คำ�พูด 7% นํ้าเสียง 38% ภาษาท่ า ทาง 55% (Mehrabian, 1971) นั่นหมายความว่า ในการสื่อสารกับ บุคคลใด เราควรจะสื่อสารด้วยใจจริง ที่มี ความสอดคล้องระหว่างคำ�พูด นํ้าเสียงและ ภาษาท่าทาง เพื่อให้บุคคลที่เราติดต่อสื่อสาร ด้ ว ย เกิ ด ความมั่ น ใจ ไว้ ว างใจต่ อ สิ่ ง ที่ เรา สื่อสารออกไป และเพื่อให้การสื่อสารของเรา มีความสอดคล้องและไม่ทำ�ร้ายจิตใจใคร เรา จึงควรเริ่มต้นจากการฝึกให้ตนเองมีความคิด ในเชิงบวกอยูเ่ สมอ เพราะคำ�พูดและการกระทำ� ต่างๆ ล้วนเป็นผลผลิตของความคิด จิตใจ ภายในตนของเรา ประการทีส่ าม เราควรเรียนรูก้ ารจัดการ กับความขัดแย้ง เมื่อมีความสัมพันธ์ก็ย่อมมี
72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ความขั ด แย้ ง เมื่ อ มี ค วามขั ด แย้ ง เกิ ด ขึ้ น ไม่ ว่ า จะมากน้ อ ยเพี ย งใด ย่ อ มกระทบต่ อ สั น ติ สุ ข ภายในใจของเราและความสั ม พั น ธ์ ระหว่างบุคคลเสมอ ทักษะในการจัดการกับ ความขัดแย้งจึงมีความสำ�คัญและจำ�เป็นอย่าง ยิ่ง ต่อการส่งเสริมและสานต่อความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ประการสุ ด ท้ า ย เราควรเรี ย นรู้ ก าร ชื่นชมความแตกต่าง เราควรระลึกอยู่เสมอ ว่ า ความแตกต่ า งเป็ น เรื่ อ งธรรมชาติ เรา มนุษย์ต่างเติบโตมาในครอบครัวที่แตกต่างกัน (แม้ กำ � เนิ ด มาในครอบครั ว เดี ย วกั น ก็ ยั ง มี พั ฒ นาการในด้ า นต่ า งๆ ที่ แ ตกต่ า งกั น ) ใน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำ�งาน ฯลฯ ซึ่ง ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความเป็น ตัวตนของบุคคลทั้งสิ้น ความแตกต่างจึงไม่ ควรเป็ น เรื่ อ งที่ น่ า หงุ ด หงิ ด ใจ ตรงกั น ข้ า ม ควรเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจ เพื่อช่วยให้มิตรภาพดำ�รงอยู่ได้ในท่ามกลาง ความแตกต่าง ดั ง ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ว่ า เมื่ อ มี ค วาม สัมพันธ์ยอ่ มมีความขัดแย้ง เมือ่ มีความขัดแย้ง เกิ ด ขึ้ น ไม่ ว่ า จะมากน้ อ ยเพี ย งใด ย่ อ ม กระทบต่ อ สั น ติ สุ ข ภายในใจของเรา และ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบุ ค คลเสมอ อาจจะ ด้วยเหตุนี้ เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้ง เรามัก จะมีทัศนคติไปในทางที่ไม่ดี เรามักจะนึกถึง การใช้ความรุนแรง ต่อสู้ ทำ�ร้ายซึ่งกันและ กัน ทว่า ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ จำ�เป็นต้องเป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป
ทั้งนี้เพราะ ความขัดแย้งมักจะส่งผล กระทบต่ อ บุ ค คลและสั ง คมในสองลั ก ษณะ คื อ ในทางลบมั ก จะจำ � ไปสู่ ก ารทะเลาะ เบาะแว้ง การทำ�ลายความสัมพันธ์หรือการ สงคราม เช่น การทะเลาะกันของคู่รักที่อาจ จะรุนแรงถึงขั้นหย่าร้างหรือฆาตกรรม ความ ขั ด แย้ ง ระหว่ า งชนชาติ ที่ นำ � ไปส่ ง การสู้ ร บ เช่ น สงครามโลก สงครามจี น -เวี ย ดนาม เป็นต้น ในทางบวก ความขัดแย้งเป็นต้นเหตุ ที่นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ หรือพัฒนา ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งเรื่อง การมีทาสในอดีตที่นำ�ไปสู่การเลิกทาส เรื่อง สิทธิความเท่าเทียมระหว่างบุรุษสตรี เรื่อง ช่ อ งว่ า งความเหลื่ อ มล้ำ � ทางเศรษฐกิ จ ฯลฯ ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นเหตุให้คนหัน มาไตร่ ต รองทบทวน และหาหนทางแก้ ไข จนนำ�ไปสู่การพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุข ต่อบุคคลในสังคม สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เราพึ ง ระลึ ก ถึ ง อยู่ เ สมอคื อ ความขัดแย้งจะมีอยู่ไม่ได้ ถ้าเราไม่ให้ความ ร่วมมือหล่อเลี้ยงความรู้สึกนี้ไว้ ดังนั้น เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น สิ่งที่ เราพึงกระทำ�คือ 1. ตั้งสติ การมีสติในท่ามกลางความ ขัดแย้ง เป็นเรื่องสำ�คัญและจำ�เป็นอย่างยิ่ง ต่อการยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์บานปลายหรือ วุ่นวายยิ่งขึ้น
สันติภาพกับความขัดแย้ง
2. กล้ า เผชิ ญ หน้ า กั บ ความจริ ง พึ ง ระลึ ก ไว้ เ สมอว่ า ความขั ด แย้ ง เป็ น เรื่ อ ง ธรรมชาติของความสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ได้เสมอ การเผชิญหน้ากับความจริง ไม่หลีก หนีปัญหาจะนำ�ไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เหมาะ สม แต่ที่สำ�คัญ อย่าใช้ความรุนแรงใดๆ ใน การเผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิด ขึ้ น เพราะนอกจากจะไม่ ช่ ว ยให้ อ ะไรดี ขึ้ น แล้ว ยังอาจจะนำ�ไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มมาก ขึ้น 3. พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส นั่นคือ ใช้ ความขัดแย้งนี้นำ�ไปสู่ความร่วมมือ เพื่อแก้ไข ปัญหาร่วมกัน เหตุว่า ไม่มีใครแก้ไขปัญหา ได้ดีไปกว่าคู่กรณี ที่จะต้องช่วยกันแก้ไขความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้น 4. ใส่ใจที่ประเด็นปัญหา ไม่ใช่ที่บุคคล ว่าใครเป็นฝ่ายผิดฝ่ายถูก เมื่อมีความขัดแย้ง เกิดขึ้น บุคคลที่กำ�ลังเผชิญกับความขัดแย้ง มักจะมีความรู้สึกไม่พอใจ โกรธ หงุดหงิด และมักจะกล่าวโทษระหว่างกัน ซึ่งนอกจาก จะหาข้อยุติไม่ได้แล้ว ยังเป็นตัวการทำ�ลาย ความสัมพันธ์ที่ยากจะเยียวยาอีกด้วย 5. รู้จักเสียสละและให้อภัย ในหลาย ครั้ ง ความขั ด แย้ ง มั ก เกิ ด จากความต้ อ งการ หรือผลประโยชน์ที่ขัดกัน หรือความคิดเห็นที่ ขัดแย้งกัน การเสียสละและให้อภัยต่อกันจะ เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราพบทางออกที่ เหมาะสม และรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง กันต่อไปได้
73
อย่างไรก็ดี สันติภาพที่แท้จริงต้องเริ่ม จากจิตใจที่มีสันติและรักในสันติ สันติภาพจะ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าเรายังไม่เชื่อมั่นในวิถีทาง แห่ ง สั น ติ และยั ง คงยึ ด ติ ด กั บ ความขั ด แย้ ง ในทางจิตวิทยาแล้ว ความเชื่อนับเป็นปัจจัย พื้ น ฐานที่ สุ ด และเป็ น แกนกลางของความ ขั ด แย้ ง กั บ สั น ติ ภ าพ (ธี ร ะพร อุ ว รรณโณ, 2546 ) สำ�หรับผู้เขียนแล้ว ความเชื่อที่จะช่วย ให้เรามีสันติภายในใจและสามารถอยู่ร่วมกับ บุ ค คลอื่ น ได้ อ ย่ า งดี ก็ คื อ ความเชื่ อ ที่ ว่ า บุคคลอื่นและตัวเราเองล้วนมีคุณค่าและความ สำ�คัญ พระเยซูเจ้า ศาสดาของศาสนาคริสต์ สอนว่า “ท่านต้องรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง” (มาระโก 12:31) และนักบุญเปาโลได้ขยาย ความเพิ่มเติมว่า “จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือน รั ก ตนเอง ความรั ก ไม่ ทำ � ความเสี ย หายแก่ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ เพราะฉะนั้ น ความรั ก จึ ง เป็นการปฏิบัติอย่างครบถ้วน” (โรม 13:8-10) แน่ น อนว่ า ถ้ า เรารั ก ผู้ อื่ น เหมื อ นรั ก ตนเอง เราย่ อ มไม่ รั ง เกี ย จ เบี ย ดเบี ย น ทำ�ร้ายผู้อื่น ตรงกันข้าม เราจะรัก เมตตา เกื้อกูล และรู้สึกเป็นพี่น้องกับทุกคน ด้วย ความรั ก และความรู้ สึ ก เป็ น พี่ น้ อ งกั บ เพื่ อ น มนุ ษ ย์ นี่ แ หละ ที่ จ ะทำ � ให้ สั น ติ ภ าพเกิ ด ขึ้ น อย่างยั่งยืน
74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
คณะกรรมการคาทอลิ ก เพื่ อ พระคั ม ภี ร์ . (2545). พระคั ม ภี ร์ ภ าคพั น ธสั ญ ญาใหม่ . กรุงเทพมหานคร : องค์การอมตธรรมเพื่อชีวิต. ธีระพร อุวรรณโณ. (2546). “จิตวิทยากับการสร้างเสริมสันติภาพ” ใน มนุษย์กับสันติภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประชุมสุข อาชวอำ�รุง. (2530). “การวิจัยสันติภาพ” ใน ประมวลความรู้เรื่องสันติภาพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Diener, E., & Seligman, M.E.P. (2003). Very happy people. Psychological Science, 13, 81-84. Johnson, D. (1997). Reaching out : Interpersonal effectiveness and self-actualization. 6th ed. Needham Heights, MA : Allyn & Bacon. Longman. (2003). Longman Dictionary of Contemporary English. New ed. China : Pearson Education. Mehrabian, Albert. (1971). Silent Messages. Belmont, CA : Wadsworth. http://th.wikipedia.org/wiki/
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 95
*สกู๊ปพิเศษ*
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4
96 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556 [ หมวดประวัติศาสตร์ ]
พรชัย สิงห์สา
บทนำ� .. “ แ ส ง ธ ร ร ม ” ส ถ า บั น ฝึ ก อ บ ร ม บุ ค ลากรของพระศาสนจั ก รในประเทศไทย ซึง่ เป็นสถาบันทีฝ่ กึ อบรมบุคคลเพือ่ เป็นพระสงฆ์ นักบวช ผู้นำ�คริสตชน ครูสอนคริสตศาสน ธรรม และฆราวาสคาทอลิ ก .. แสงธรรม จึงเปรียบประดุจเรือนเพาะชำ�ยิ่งใหญ่ เพื่อ ช่ ว ยให้ พ ระศาสนจั ก รประเทศไทยเติ บ โต
เข้มแข็ง จากวันแรกเริ่มต้น (ปี ค.ศ.๑๙๗๒) จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า ๔๐ ปี... “แสงธรรม” ยั ง ทำ � หน้ า ที่ ข องตนชั ด เจน ต่ อ เนื่ อ ง ที่ จ ะ ผลิ ต บุ ค คลากรของพระศาสนจั ก ร เปรี ย บ ประดุจแสงเทียนที่ส่องสว่างสังคมไทย .. เมื่อ มองย้อนหลังเราพบเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้น ในบ้านหลังนี้
สังฆานุกร (สามเณรใหญ่ ชั้นปี ๗) สังกัดสังฆมณฑลนครสวรรค์, นักศึกษาคณะศาสนศาสตร์ สาขาเทววิทยาจริยธรรม
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 97
แสงธรรมปริทัศน์ เคยนำ�เสนอประวัติ สามเณราลัยแสงธรรม ในช่วงสิบปีแรกไปแล้ว ในฉบับนี้จึงเป็นการนำ�เสนอในทศวรรษที่ 2-4 ทศวรรษทีส่ อง บ้านแสงธรรม (ค.ศ.๑๙๘๓ ๑๙๙๒) สมัยพระสังฆราชยอห์น บอสโก มนัส จวบสมัย ค.ศ.๑๙๘๔ - ๑๙๘๗ สมัยคุณพ่อวงษ์สวัสดิ ์ แก้วเสนีย ์ เป็น อธิการ ค.ศ.๑๙๘๘ - ๑๙๙๑ การอบรมศึกษาเพื่อเป็นพระสงฆ์ในยุค ต่อมาก็ยังคงรูปแบบและวิธีการของสมัยแรก ไว้ มีสองสิ่งที่สำ�คัญคือการศึกษา และการ อบรม ... เรื่องราวการอบรมตั้งแต่ยุคแรกยังได้
รับการสืบสานอย่างต่อเนือ่ ง สิง่ ทีเ่ พิม่ ขึน้ มาคง เป็นเรื่องของการจัดระเบียบต่างๆ อย่างเป็น ระบบมากขึ้น เพราะจำ�นวนสมาชิกของบ้าน มากยิง่ ขึน้ นอกจากนัน้ จำ�นวนนักศึกษาทีเ่ ป็น สามเณรคณะนักบวชก็มีจำ�นวนมากขึ้นไปด้วย เราพอทราบแนวคิดเกี่ยวกับการอบรม อยู่บ้างในสมัยที่คุณพ่อวงษ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ ได้ รั บ ตำ � แหน่ ง อธิ ก ารสถาบั น จากการ สั ม ภาษณ์ ใ นอุ ด มสาร ค.ศ.๑๙๘๖ เกี่ ย วกั บ จำ�นวนศิษย์เก่าที่บวชเป็นพระสงฆ์ซึ่งตอนนั้น มีจ�ำ นวน ๑๒๕ องค์แล้ว และทีย่ งั เป็นสามเณร ประมาณ ๑๕๐ คน เกี่ยวกับการอบรมศึกษา ในบ้ า นเณร คุ ณ พ่ อ มี ทั ศ นะว่ า “เกี่ ย วกั บ การศึ ก ษาในฐานะที่ เขาเป็ น นั ก ศึ ก ษา ก็ มี วิชาการต่างๆ ที่เขาต้องศึกษาตามหลักสูตร
98 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ของวิทยาลัย เขาเองก็มีโอกาสในการสัมผัส กั บ อาจารย์ ต่ า งๆ หลายคน หลายสถาบั น ในระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อนมีโอกาสไปดู งานตามที่ต่างๆ เรียกว่าไปฝึกงานภาคสนาม (ถ้ า เป็ น วิ ท ยาลั ย ครู ก็ จ ะเรี ย กว่ า ฝึ ก สอน) มี โ อกาสบ่ อ ยครั้ ง ตั้ ง แต่ ปี ๑ - ๗ และในปี สุดท้ายปี ๖ - ๗ เขามีโอกาสใกล้ชิด ในวัน เสาร์อาทิตย์ตลอดปี หรือไปศึกษาดูงานหน่วย งานต่างๆ ที่เขาสนใจ แนะนำ�มา เช่น งาน สั ง คมสงเคราะห์ งานพั ฒ นา งานด้ า น สื่อมวลชน ฯลฯ เรียกได้ว่า ได้สัมผัสงานจริง ควบคู่กันไปด้วยอย่างเต็มที่”1 เหตุการณ์สำ�คัญในช่วงทศวรรษที่สอง ๑๕ ส.ค. ๘๓ วันแรกของปีการศึกษา ใหม่ ปี ที่ ๑๒ มี นั ก ศึ ก ษาทั้ ง หมด ๒๒๔ คน เณรสังฆมณฑล ๑๒๕ คน เณรนักบวช ๙๙ คน ๑๕ ส.ค. ๘๓ พิ ธี บ วชสั ง ฆานุ ก ร ๑๕ ท่าน พิธีแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม ๒๕ คน และ ผู้ อ่ า นพระคั ม ภี ร์ ๒๘ คน พระสั ง ฆราช ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เป็นประธาน ๑ ต.ค. ๘๓ คนงานชาย คำ�กอง ผลขาว จากหมู่ บ้ า นสั น ติ สุ ข ถู ก รถยนต์ BMW ชน เสียชีวิตที่ทางเข้าซอยหมอศรี ทางบ้านเณร ได้จัดงานศพและเรื่องคดีอย่างเรียบร้อย
1
๑๑ พ.ย. ๘๓ นักศึกษาไปร่วมวันปิดการ แข่งขันกีฬาวิทยาลัยเอกชนครั้งที่ ๕ แสงธรรม ได้ ๒ เหรียญทอง ๕ เหรียญเงิน ๒ เหรียญ ทองแดง บาสเก็ ต บอลได้ ที่ ๓ ฟุ ต บอลได้ รางวัลรองชนะเลิศ ๑๐ พ.ค. ๘๔ พวกเณรได้ร่วมต้อนรับ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา จอห์ น ปอล ที่ ๒ ทีไ่ ด้เสด็จเยือนประเทศไทยทรงเป็นประธานใน พิธีบูชามิสซาสำ�หรับคริสตศาสนิกชนชาวไทย ที่สนามศุภชลาศัย ๑๑ พ.ค. ๘๔ พวกเณรได้ร่วมพิธีบวช พระสงฆ์ใหม่ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ เป็ น ประธาน พิ ธี บ วชพระสงฆ์ ใหม่ ๒๓ องค์ ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน ๔ มิ . ย. ๘๔ วั น แรกของปี ก ารศึ ก ษา ใหม่ปที ี่ ๑๓ มีนกั ศึกษาทัง้ หมด ๒๕๔ คน เณร สังฆมณฑล ๑๔๒ คน เณรนักบวช ๑๑๒ คน ๑๒ ก.ค. ๘๔ ไปเทีย่ วทัศนาจรประจำ�ปี ทีว่ งั แก้ว จังหวัดระยอง และศรีราชา สวนสน วังแก้ว แล้วกลับถึงสามพรานเวลาค่�ำ ๑๕ ส.ค. ๘๔ พิธบี วชสังฆานุกร ๒๔ องค์ พิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ ช่ ว ยพิ ธี ก รรม ๒๔ คน ผู้ อ่ า น พระคั ม ภี ร์ ๑๙ คน พระสั ง ราชยออากิ ม พเยาว์ มณีทรัพย์ เป็นประธาน
บทความ “อธิการใหม่ แสงธรรม” สัมภาษณ์คุณพ่อวงษ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์, อุดมสารปีที่ ๖๖ ฉบับที่ ๔ เมษายน ค.ศ.๑๙๘๖
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 99
๑๑ พ.ย. ๘๔ พวกเณรไปร่วมฉลองวัด และเสกวั ด ใหม่ วั ด นั ก บุ ญ อั น นา ท่ า จี น ร่วมขับร้องในมิสซา แสดงดนตรี และแข่ง บาสเก็ตบอล ๑๖ ก.พ. ๘๕ พวกเณรไปร่ ว มมิ ส ซา ปลงศพ พระสังฆราช ยอแซฟ เอก ทับปิง ที่อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก ๓ มิ . ย. ๘๕ วั น แรกของปี ก ารศึ ก ษา ใหม่ ปี ที่ ๑๔ มี นั ก ศึ ก ษาทั้ ง หมด ๒๖๔ คน เณรสังฆมณฑล ๑๕๒ คน คณะนักบวช ๑๑๒ คน ๖ มิ.ย. ๘๕ คณะสงฆ์และพวกสามเณร ไปร่ ว มพิ ธี มิ ส ซาปลงศพ คุ ณ พ่ อ ประเวศ พันธุมจินดา ที่วัดพระวิสุทธิวงศ์ ลำ�ไทร .. (เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะเดินทางไปร่วมเสก วัดใหม่ที่บางขาม ลพบุรี) ๑ ก.ย. ๘๕ พิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอล แสงธรรมคัพ ครั้งที่ ๑ ทีมแสงธรรมชนะทีม สุขาภิบาลอ้อมใหญ่ ๗ ธ.ค. ๘๕ โอกาสฉลอง ๗๕ ปี อาสนวิ ห ารแม่ พ ระปฏิ ส นธิ นิ ร มล จั น ทบุ รี พระสมณะทู ต ได้ ป ระกาศว่ า “คุ ณ พ่ อ มนั ส จวบสมั ย เป็ น พระสั ง ฆราชสั ง ฆมณฑล ราชบุรี” ๒๒ ก.พ. ๘๖ สภาพระสังฆราชประกาศ ให้คุณพ่อวงศ์สวัสดิ์ แก้วเสนีย์ เป็นอธิการ สามเณราลัยแสงธรรม
๒ มิ.ย. ๘๖ วันแรกของการศึกษาใหม่ ปี ที่ ๑๕ จำ � นวนทั้ ง หมด ๒๗๒ คน เป็ น สามเณรสังฆมณฑล ๑๖๓ คน สามเณรคณะ นักบวช ๑๐๙ คน ๑๕ ส.ค. ๘๖ พิ ธี บ วชสั ง ฆานุ ก ร ๑๔ ท่ า น พิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ ช่ ว ยพิ ธี ก รรม ๑๔ คน ผูอ้ า่ นพระคัมภีร ์ ๘ คน .. พระสังฆราชมีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ เป็นประธาน ๑ มิ.ย. ๘๗ วันแรกของการศึกษาใหม่ ปี ที่ ๑๖ จำ � นวนทั้ ง หมด ๒๗๘ คน เป็ น สามเณรสังฆมณฑล ๑๖๖ คน สามเณรคณะ นักบวช ๑๑๒ คน ๑๕ ส.ค. ๘๗ พิธบี วชสังฆานุกร ๑๑ ท่าน แต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม ๘ คน ผู้อ่านพระคัมภีร์ ๒๓ คน ... พระสังฆราชยอห์น บอสโก มนัส จวบสมัย เป็นประธาน ๒๘ ก.ย. ๘๗ เริ่มการก่อสร้างอาคาร มารดาพระผู้ไถ่ ๑๑ ธ.ค. ๘๗ บรรดาสามเณรร่วมงาน มหกรรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์ วันเฉลิมพระชนม พรรษา ๖๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ณ สนามศุภชลาศัย คริสตชน ทั้ ง คาทอลิ ก และโปรเตสแตนต์ ม าร่ ว มงาน จำ�นวนมาก ... สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จเป็นองค์ประธาน ๑ มิ.ย. ๘๘ วันแรกของการศึกษาใหม่ ปี ที่ ๑๗ จำ � นวนสามเณรทั้ ง หมด ๒๙๘ คน เป็นสามเณรสังฆมณฑล ๑๗๐ คน สามเณร คณะนักบวช ๑๒๘ คน
100 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
๑๓ ก.ค. ๘๘ อธิการประกาศว่า “คุณพ่อ ประพนธ์ ชัยเจริญ ได้รบั การแต่งตัง้ จากพระ สันตะปาปาให้เป็นพระสังฆราชสังฆมณฑล สุราษฎร์ธานี ๑๔ ส.ค. ๘๘ โอกาสปิดปีแม่พระ มีพธิ ี บวชสังฆานุกร ๔ ท่าน ผูช้ ว่ ยพิธกี รรม ๑๙ คน ผู้ อ่ า นพระคั ม ภี ร์ ๓๑ คน ... พระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน ๕ มี.ค. ๘๘ อธิการประกาศว่า “สภาพ ระสั ง ฆราชแห่ ง ประเทศไทยได้ ป ระกาศตั้ ง คณะธรรมทูตไทย โดยมีพระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นผู้รับผิดชอบ” ๓ มิ . ย. ๘๙ พระสั ง ฆราชยอแซฟ บรรจง อารี พ รรค เป็ น ประธานมิ ส ซา ขอบพระคุ ณ โอกาสเปิ ด ปี ก ารศึ ก ษา ปี นี้ มี นั ก ศึ ก ษาร่ ว ม ๓๐๐ คน หลั ง มิ ส ซามี ก าร ต้อนรับคุณพ่อสมชัย พิทยาพงศ์พร และคุณ พ่อนิเวศน์ อินธิเสน ซึ่งเข้ามาเป็นอาจารย์ใหม่ ๗ มิ . ย. ๘๙ พิ ธี อำ � ลาคุ ณ พ่ อ สมศั ก ดิ์ นามกร (ประจำ�ทีแ่ สงธรรม ๑๗ ปี) และคุณพ่อ สำ�ราญ วงษ์เสงีย่ ม (ประจำ�ทีแ่ สงธรรม ๑๒ ปี) ๑ ก.พ. ๙๐ งานชุมนุมศิษย์เก่าแสงธรรม .. มีบนั ทึกว่า “ตัง้ แต่เช้าบรรดาศิษย์เก่าแสงธรรม ได้เริ่มเดินทางมาถึงบ้านเณร และได้เริ่มลง ทะเบี ย น และในตอนบ่ า ยก็ ไ ด้ แข่ ง กี ฬ ากั บ สามเณรใหญ่ ... พิธีมิสซาฉลองบ้านเณรมีพระ สงฆ์กว่า ๗๐ องค์ พระสังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นประธาน .. หลังมิสซาศิษย์เก่า
ทุ ก ท่ า นรั บ ประทานอาหารที่ อ าคารมารดา พระผูไ้ ถ่ .... การจัดครัง้ นีเ้ ป็นการจัดครัง้ แรก” ๒ มิ.ย. ๙๐ สามเณรใหญ่กลับเข้าบ้าน เณร เวลาคํ่ำ�มีการกล่าวคำ�นับผู้ใหญ่มีพระ สังฆราชยอแซฟ บรรจง อารีพรรค กล่าวให้ โอวาท ท่านเน้นให้สามเณรร่วมมือกับผูใ้ ห้การ อบรม ๓ มิ.ย. ๙๐ สามเณรใหญ่เดินทางไปร่วม ฉลองบ้านเณรเล็กยอแซฟ และ ๒๕ ปีการเป็น อัครสังฆมณฑลฯ ๔ มิ.ย. ๙๐ มิสซาเปิดปีการศึกษา โดย พระสังฆราชไมเกิล ประพนธ์ ชัยเจริญ ท่านให้ ข้อคิดเรื่องกระแสเรียกเจริญเติบโตจากภายใน ๒๕ พ.ย. ๙๐ ฉลอง ๒๕ ปี อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ สามเณรใหญ่ไปร่วมงานตั้งแต่เช้า และมีการแสดงของสามเณรด้วย ๕ ม.ค. ๙๑ งานวันแรกของการฉลอง พระฐานานุกรมพระศาสนจักรประเทศไทย มี นิ ท รรศการ การให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร มีพิธีมิสซา แห่ แม่พระ และอวยพรศีลปิดพิธี ๖ ม.ค. ๙๑ ฉลองครบรอบ ๒๕ ปี พระฐานานุกรมพระศาสนจักรประเทศไทย พิธีเปิดทศวรรษแห่งการประกาศพระวรสาร สูป่ วงชน เพือ่ เฉลิมฉลองปี ๒๐๐๐ และบวช พระสงฆ์ใหม่ ๑๓ องค์ (พระสงฆ์แสงธรรม รุ่น ๑๓)
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 101
๗ มิ.ย. ๙๒ วันแรกของการเรียนในปี การศึกษาใหม่ ๑๕ ส.ค. ๙๒ พิธบี วชสังฆานุกร ๑๘ ท่าน แต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม ๒๐ คน แต่งตั้งผู้อ่าน พระคัมภีร์ ๒๒ คน ... พระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นประธาน ในตอนกลางคืน มีงานศิษย์เก่าแสงธรรม ซึ่งเริ่มขึ้นแล้วในเวลา บ่ายที่มีลงทะเบียน จากนั้นมีการแข่งขันกีฬา ข้อน่าสังเกตปีนี้มีศิษย์เก่ามาร่วมงานน้อยกว่า ทุกปี อาจเป็นเพราะติดธุระจึงรีบกลับ ทศวรรษที่สาม บ้านแสงธรรม (ค.ศ.๑๙๙๓๒๐๐๒)
สมัยพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรี ย งศั ก ดิ์ โกวิ ท วาณิ ช เป็ น อธิ ก าร ค.ศ. ๑๙๙๒ - ๑๙๙๙ บรรยากาศการอบรมสามเณรในยุ ค ทศวรรษที่ ส าม สถาบั น แสงธรรมให้ ก าร อบรมแบบผู้ใหญ่ เน้นการให้สามเณรสำ�นึก ถึงบทบาทของตนเอง มีความสำ�นึกรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น สร้างสรรค์ บรรยากาศ แบบครอบครัว แบบพี่น้อง ส่งเสริมเสรีภาพ ความไว้วางใจต่อกัน สร้างบรรยากาศแบบเป็น ธรรมชาติ ที่ สุ ด เพื่ อ จะเอื้ อ อำ � นวยต่ อ การ พัฒนาตนเองของสามเณร นอกจากเสริ ม สร้ า งบรรยากาศที่ เ อื้ อ อำ�นวยต่อการอบรมแล้ว วิธีการอบรมก็นับ ว่าเป็นส่วนสำ�คัญยิ่งในการช่วยให้สามเณรได้ พัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายของการเป็นนาย ชุมพาบาลที่ดี ๓ ด้าน ๑. การอบรมตนเอง (Self Formation) เป็นตัวของสามเณรเองที่ต้องอบรมตนเองเป็น อันดับแรก เป็นความสำ�นึกในหน้าที่การเป็น สามเณรของตน โดยร่วมมือกับพระหรรษทาน ของพระเจ้า ในการพัฒนาตนเองให้มีความ สมบูรณ์ มีวุฒิภาวะ มีความก้าวหน้าทางสติ ปัญญา การมีหัวใจเป็นผู้อภิบาล พร้อมทั้งมี ชีวิตที่สนิทสัมพันธ์กับพระเจ้ามากขึ้น ดำ�เนิน ชี วิ ต สอดคล้ อ งกั บ พระวาจา และการมี ประสบการณ์เกีย่ วกับพระเจ้าในชีวติ ประจำ�วัน
102 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
๒. การอบรมโดยหมูค่ ณะ (Community) เป็นการพัฒนาตนเองโดยการช่วยเหลือกันและ กันในกลุม่ เป็นการอบรมกันและกันช่วยเหลือ เกื้อกูลในการก้าวไปสู่วุฒิภาวะ ในการอบรม โดยอาศั ย กลุ่ ม นี้ แ ต่ ล ะคนจะมี บ ทบาทสอง บทบาท คือ บทบาทในการรับผิดชอบต่อการ อบรมตนเอง และบทบาทในการรับผิดชอบ ต่อการอบรมซึง่ กันและกัน และโดยอาศัยความ เป็ น พี่ เ ป็ น น้ อ ง และความเป็ น เพื่ อ นใน บรรยากาศครอบครัว อย่างไรก็ตามการอบรม โดยอาศัยหมู่คณะนี้ มิใช่เป็นการอบรมแบบที่ ว่า “หมู่มากลากไป” ๓. การอบรมโดยการหล่ อ เลี้ ย ง (Animation) เป็นการอบรมที่ผู้ให้การอบรม เป็นเพื่อนร่วมทาง เป็นผู้คอยชี้นำ� แนะแนว ทาง โดยอาศับแบบอย่างทีด่ ี ความรักแบบพ่อ ลูก ในบรรยากาศแบบครอบครัว การยอมรับ กันและกัน จะทำ�ให้สามเณรพัฒนาตนเองไป สู่เป้าหมายที่วางไว้ เพือ่ เป็นนายชุมพาบาลทีด่ ี ยุคนีจ้ งึ แบ่ง การอบรมออกเป็น ๖ ด้าน ๑. ด้ า นความเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ ส มบู ร ณ์ (Human) คือการพัฒนาสามเณรให้เป็นบุคคล ที่ มีค วามสามารถบรรลุวุฒิภาวะทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เป็นการอบรมสามเณรให้ เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบ เสียสละ มี จิตใจร่าเริงแจ่มใส เบิกบาน มีอารมณ์มั่นคง ไม่หวั่นไหวง่ายต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
พร้อมทั้งการรู้จักสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับ คนรอบข้าง ๒. การอบรมด้ า นสติ ปั ญ ญา (Intellectual) เป็นการพัฒนาสามเณรในการใช้สต ปั ญ ญา รู้ จั ก การใช้ เ หตุ ผ ล รู้ จั ก แยกแยะ วิ เ คราะห์ สิ่ ง ต่ า งๆ อย่ า งมี ห ลั ก เกณฑ์ แ ละ ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง การอบรม ด้านสติปัญญามีสองระดับ ได้แก่ระดับความ รู้ความเข้าใจ การใช้เหตุผลทั่วไป และความ รู้ที่มาจากประสบการณ์ความเชื่อนอกจากนี้ ยังเรียนรู้ถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของตนเองที่ ไม่ใช่เพียงทฤษฎีเท่านัน้ แต่เป็นการเรียนรูจ้ าก ประสบการณ์ชีวิตจริง ๓. การอบรมด้านชีวิตจิต (Spiritual) เป็นการพัฒนาด้านความเชื่อของสามเณรให้ มั่นคง เข้มแข็ง โดยการเจริญชีวิตตามคุณค่า แห่ ง พระวรสาร ที่ แ สดงออกมาในรู ป ของ พิธีกรรม การสวดภาวนา รำ�พึง พิจารณา มโนธรรม และกิ จ ศรั ท ธาอื่ น ๆ พร้ อ มกั น นี้ สามเณรยังสามารถเจริญชีวิตตามคุณค่าแห่ง พระวรสารในการดำ�เนินชีวติ ประจำ�วัน ทีน่ อก เหนือจากพิธีกรรมและกิจศรัทธาอื่นๆ เช่น ในการทำ�งาน การเรียน การเล่น ... ก็เป็น การสัมผัสกับรหัสธรรมปัสกา ๔. การอบรมด้านชีวิตกลุ่ม (Communial) ในฐานะที่สามเณรเป็นผู้จะสร้าง และ เป็ น ผู้ นำ � กลุ่ ม คริ ส ตชนในด้ า นความเชื่ อ จึ ง จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะให้สามเณรมีประสบการณ์ ด้านชีวิตหมู่คณะเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 103
๕. การอบรมด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) เป็นการอบรมสามเณรให้รู้ซึ้งถึง คุ ณ ค่ า ทางวั ฒ นธรรมของตนเองโดยมี ก าร ส่งเสริมถึงรากเหง้าของวัฒนธรรม และเตรียม พร้อมเพือ่ กลับไปสูร่ ากเหง้าของวัฒนธรรมของ ตน (Inculturation) ๖. การอบรมด้านการอภิบาลและแพร่ ธรรม (Pastoral and Mission) เป็นการอบรม สามเณรให้ เ ป็ น ผู้ มี จิ ต ตารมณ์ แ ห่ ง ความรั ก ของผู้อภิบาล เป็นผู้ที่มีหัวใจในงานอภิบาล (Pastoral Charity) การเป็นผู้ประกาศข่าวดี ของพระเจ้าด้วยการเป็นประจักษ์พยานชีวิต โดยการให้สามเณรได้สัมผัส และทำ�งานกับ กลุ่มคริสตชนและพี่น้องที่ไม่ใช่คริสตชน ในด้านของการศึกษาอบรมที่วิทยาลัย แสงธรรม ในปี ค.ศ.๒๐๐๐ ได้มีการเปิดสาขา คริ ส ตศาสนธรรมขึ้ น สำ � หรั บ ผู้ ส นใจทั่ ว ไป วิทยาลัยแสงธรรม จึงทำ�การเปิดหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา ในคณะศาสนศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรครู ในสาขาวิชาด้านศาสนา ทบวงมหาวิทยาลัย อนุมตั ใิ ห้ด�ำ เนินการได้ จนกระทัง่ วันที ่ ๑ มิ.ย. ๒๐๐๒ ทบวงมหาวิทยาลัยรับรองมาตรฐาน การศึ ก ษา หลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต สาขาคริสตศาสนศึกษา
เหตุ ก ารณ์ สำ � คั ญ ในทศวรรษที่ ส ามบ้ า น แสงธรรม ๓๐ มิ.ย. ๙๓ คุณพ่อพิบลู ย์ วิสฐิ นนทชัย (ปัจจุบันเป็นพระสังฆราชนครสวรรค์) และ คุ ณ พ่ อ วี ร ะ อาภรณ์ รั ต น์ (ปั จ จุ บั น เป็ น พระสังฆราชสังฆมณฑลเชียงใหม่) มาสนทนา กับสามเณรในชั้นปรัชญาปี ๓ - ๔ ที่ทำ�งาน อภิ บ าลกลุ่ ม คริ ส ตชนรอบบ้ า นแสงธรรม เป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ กำ � ลั ง ใจ ให้ คำ � แนะนำ � ในการประกาศพระวรสาร ๑๒ ส.ค. ๙๓ ปิ ด เรี ย นเพื่ อ เตรี ย มพิ ธี บวชสังฆานุกร แต่งตัง้ เป็นผูช้ ว่ ยพิธกี รรม และ แต่งตั้งเป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ มีน้องๆ ปรัชญา เป็นหัวแรงใหญ่ ซึ่งแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ มีรุ่นพี่ ปี ๕-๖ มาช่วยด้วย ส่วนปี ๗ ที่เตรียม ตัวบวชสังฆานุกร เข้าเงียบทีต่ กึ ๓ โคยคุณพ่อ สมกิจ นันทวิสุทธิ์ ๑๕ ส.ค. ๙๓ สมโภชแม่พระรับเกียรติ ยกขึ้ น สวรรค์ พิ ธี บ วชสั ง ฆานุ ก ร แต่ ง ตั้ ง ผู้ ช่ ว ยพิ ธี ก รรม และผู้ อ่ า นพระคั ม ภี ร โดย พระสังฆราช ยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์ ... ก่อนพิธีมีการแสดงชุด “คืนแผ่นดิน ผืนยิ่ง ใหญ่ ให้ผนื โลก” ณ บริเวณหน้าอาคารมารดา พระผู้ ไ ถ่ เพื่ อ การร่ ว มเตรี ย มจิ ต ใจก่ อ นพิ ธี มิสซาขอบพระคุณ ๑๒ ต.ค. ๙๓ วันสอบวันสุดท้ายประจำ�ปี การศึกษาเทอมต้น
104 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ภาคบ่าย เป็นการทำ�ความสะอาดบ้าน และเตรี ย มงาน family night ๑๗.๓๐ น. มิ ส ซาปิ ด ภาคการศึ ก ษา สำ � หรั บ เณรบ้ า น แสงธรรม เป็ น มิ ส ซาอำ � ลา คุ ณ พ่ อ วิ ท ยา งามวงศ์ ซึ่งจะกลับไปรับหน้าที่อธิการบ้าน เณรเล็ ก ประจำ � สั ง ฆมณฑลอุ บ ลราชธานี และต้อนรับ คุณพ่อไชโย กิจสกุล, คุณพ่อ ไพศาล อานามวัฒน์, คุณพ่อชาติชาย พงษ์ศริ ิ ผู้จะมาเข้าร่วมในคณะผู้ให้การอบรมของบ้าน ในเทอมต่อไป ๓ พ.ย. ๙๓ วันแรกของการศึกษาทาง วิ ท ยาลั ย ในเทอมสอง ๑๑.๓๐ น. มี ก าร ปฐมนิเทศนักศึกษา โดยคุณพ่อวิทยา คูว่ ริ ตั น์ คุณพ่อบรรจง สันติสุขนิรันดร์ และอาจารย์ ไพรัช สุภาษิต ได้มาชี้แนะระเบียบการปฏิบัติ ต่างๆ ของทางวิทยาลัย ให้นักศึกษาทราบ ภาคบ่าย เป็นการทำ�ความสะอาดบ้าน อาคารต่างๆ สถานที่ส่วนรวม อาทิเช่น วัด ห้ อ งประชุ ม ฯลฯ เพื่ อ ให้ บ้ า นอยู่ ใ นสภาพ พร้ อ มสำ � หรั บ การดำ � เนิ น กิ จ กรรมต่ า งๆ ได้ ในเทอมนี้ ๒ ก.พ. ๙๔ มิสซาขอบพระคุณโอกาส ฉลองบ้ า นแสงธรรม เวลา ๐๙.๐๐ น. พระสังฆราช ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน เป็นประธาน ๒๒ ก.พ. ๙๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. คุณพ่อ ลอเรนซ์ ฟรีแมน พระสงฆ์คณะเบเนดิกติน มาแบ่ ง ปั น เรื่ อ งการภานา (Christian
meditation) ณ ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม (ซี.ซี.) แก่ผสู้ นใจในการภาวนาทุกท่าน สมาชิก บ้ า นแสงธรรม ก็ ร่ ว มในการแบ่ ง ปั น นี้ ด้ ว ย นำ�ทีมโดย คุณพ่อสมชัย พิทยาพงศ์พร ๑๓ ส.ค. ๙๔ พิธบี วชสังฆานุกร พิธแี ต่งตัง้ ผู้ ช่ ว ยพิ ธี ก รรม พิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ อ่ า นพระคั ม ภี ร์ มีสัตบุรุษมาร่วมงานมากเกินความคาดหมาย ก่อนเริ่มพิธีมีการแสดงละครเรื่อง ครอบครัว ใหม่ ได้รับคำ�ชมนับไม่ถ้วน เป็นปีที่สัตบุรุษ ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นปีที่ ๓ แล้ว บรรยากาศทั่วไปสดชื่น ลมพัดตลอดทั้งวัน ฟ้าโปร่ง พิธีต่างๆ ดำ�เนินไปอย่างเรียบร้อย หลั ง พิ ธี ส ามเณรช่ ว ยกั น เก็ บ อุ ป กรณ์ ต่ า งๆ ด้วยความขมีขมัน ๑๗ พ.ย. ๙๔ ปีนี้คณะผู้ใหญ่ตกลงให้มี การจัดงานลอยกระทง ภายในบ้านโดยกลุ่ม บั น เทิ ง เป็ น ผู้ ดำ � เนิ น งานที่ ห น้ า ห้ อ งอาหาร มีการประกวดนพมาศ (นาย) และแต่ละชั้นปี ทำ�กระทงเข้าร่วม ๑๕ ม.ค. ๙๕ มหกรรมดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ครั้งที่ ๑ ๒๙ ม.ค. ๙๕ งานวันนักเขียนแสงธรรม โดย อาจารย์ ป ระคิ น ชุ ม สาย ณ อยุ ธ ยา และ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ คุ ณ พ่ อ วรยุ ท ธ กิ จ บำ � รุ ง เป็ น วิ ท ยากร มี นักศึกษาแสงธรรมประมาณ ๔๐ คน เข้าร่วม กิจกรรมในครั้งนี้
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 105
๒๗ พ.ค. ๙๕ สามเณรใหญ่กลุ่มหนึ่งไป ร่วมเปิดอาคาร “บ้านผู้หว่าน” ๒๕ พ.ย. ๙๕ วั น นั ด พบศิ ษ ย์ เ ก่ า แสงธรรม มี มิ ส ซาร่ ว มกั น และปรึ ก ษา หารือ รื้อฟื้นความหลัง งานรื่นเริงในตอนคํ่า บรรยากาศเป็นแบบพี่กับน้องครับ ๒๙ - ๓๑ พ.ค. ๙๖ มีการประชุมเกี่ยว กับการอบรมในสามเณราลัยแสงธรรม (SAIDI) แบ่งกลุ่มไตร่ตรอง Vision & Mission แต่ละ กลุม่ สรุป ประชุมไตร่ตรองเกีย่ วกับ ๔ มิตขิ อง การอบรม คือ ด้านวุฒิภาวะความเป็นมนุษย์ ด้านชีวิตจิต ด้านการศึกษา ด้านอภิบาล ช่วงบ่ายหลังประชุม มีการทำ�งานเป็นกลุม่ ชัน้ ปี ประชุมเกีย่ วกับการเตรียมฉลองครบรอบ ๒๕ ปี ของบ้านเณรแสงธรรม ๑๖ ส.ค. ๙๖ เวลาบ่าย คณะนักขับร้อง ซ้ อ มใหญ่ เวลา ๑๔.๐๐ น. เริ่ ม งานวั น ผู้ปกครอง ซึ่งเพิ่งจัดเป็นครั้งแรกในรอบ ๒๕ ปี มีผู้ปกครองมาร่วมงานประมาณ ๖๐ คน ช่วงเย็น เวลา ๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหาร ร่วมกัน ทั้งคณะผู้ใหญ่ คณะสามเณรและ บรรดาผู้ปกครอง บรรยากาศดำ�เนินไปอย่าง ราบรื่น มีการแสดงดนตรีของวงสามเณรชั้น ปี ๑ ในขณะรับประทานอาหาร หลังจากรับ ประทานอาหารกันเสร็จเรียบร้อย มีกิจกรรม สำ�หรับผู้ปกครองเล็กน้อย เช่น เกมส์ และ พิธบี ายศรีสขู่ วัญ ซึง่ สร้างความประทับใจให้แก่ บรรดาผูป้ กครองเป็นอย่างมาก เวลา ๒๐.๐๐ น.
มีพิธีแห่โคมแม่พระ เริ่มและจบที่ลานหน้าวัด โดยมีพระสังฆราช ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ เป็นประธาน ๑๗ ส.ค. ๙๖ เป็นวันฉลองเปิดปีที่ ๒๕ ของบ้านเณรใหญ่แสงธรรม บรรดาสัตบุรุษ ตามทีต่ า่ งๆ ทยอยกันมาเรือ่ ยๆ มากหน้าหลาย ตา โดยได้รับการต้อนรับจากแฟนซีสามเณร ปิ่นโต ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้นได้ อย่ า งดี เวลา ๙.๐๐ น. มี ก ารแสดงละคร (ชีวิตจริง ร่วมสมัย) ณ ห้องประชุมใต้วัด ซึ่ง ก็ได้รบั ความสนใจจากบรรดาสัตบุรษุ เป็นอย่าง มาก เวลา ๑๐.๐๐ น. เริ่มพิธีมิสซา เปิดปี การฉลองครบ ๒๕ ปี ณ อาคารมารดาพระ ผู้ไถ่ โดยพระคุณเจ้าไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธี ร่วมกับพระสังฆราชทุก สังฆมณฑล และบรรดาพระสงฆ์ ระหว่าง มิสซามีการแต่งตัง้ สามเณรผูส้ มัครบวชในหน้าที่ ต่างๆ ๙ ธ.ค. ๙๖ วั น คื น สู่ เ หย้ า ศิ ษ ย์ เ ก่ า แสงธรรม ในวโรกาสหิรัญสมโภชแสงธรรม เวลา ๑๖.๐๐ น. มีการแข่งขันกีฬาสามัคคี ๒ ประเภทคือ บาสเกตบอล ศิษย์เก่าฆราวาส พบกับศิษย์เก่าพระสงฆ์ และฟุตบอล ศิษย์ เก่ า พบกั บ ศิ ษ ย์ ปั จ จุ บั น เวลา ๑๘.๓๐ น. มี ว จนพิ ธี ก รรมเทิ ด เกี ย รติ แ ม่ พ ระผู้ ป ฏิ ส นธิ นิรมล โดยพระสังฆราชยอห์น บอสโก มนัส จวบสมั ย เป็ น ประธาน ช่ ว งคํ่ า – ร่ ว ม รั บ ประทานอาหารสั ง สรรค์ กั น ทั้ ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า
106 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
และศิษย์ปัจจุบัน มีการแสดงดนตรีของศิษย์ ปัจจุบันและศิษย์เก่า มีการแนะนำ�ศิษย์เก่า ของแต่ละรุน่ ตัง้ แต่รนุ่ ที ่ ๑ - ๑๘ ซึง่ รวมศิษย์ เก่ า ที่ ม าเข้ า ร่ ว มงานนี้ ป ระมาณ ๑๐๘ คน และยังมีพิธีกตัญญุตาคณาจารย์ ผู้ซึ่งได้เคย สอนในวิ ท ยาลั ย แสงธรรม หลั ง จากนั้ น จึ ง สังสรรค์กันเองแบบสบายๆ ด้วยบรรยากาศ อบอุน่ โดยการแสดงดนตรีของบรรดาศิษย์เก่า ๑๐ ธ.ค. ๙๖ เวลา ๐๗.๐๐ น. มีการ ทำ � วั ต รร่ ว มกั น ทั้ ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า และศิ ษ ย์ ปั จ จุ บั น หลังจากนั้นจึงรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน เวลา ๐๘.๔๕ น. มีการเสวนากันของศิษย์เก่า ในหั ว ข้ อ เรื่ อง “ศิ ษ ย์ แ สงธรรมกั บ งานพระ ศาสนจักร” โดยคุณปอล - แมรีส่ วุ ชิ สุวรุจพิ ร ซึ่งได้รับความสนใจมากทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ ปัจจุบัน เวลา ๑๑.๐๐ น. มิสซาขอบพระคุณ โดยพระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นประธาน เวลา ๑๒.๐๐ น. รับประทาน อาหารเที่ ย งร่ ว มกั น แบบโต๊ ะ จี น ณ อาคาร มารดาพระผูไ้ ถ่ มีการแสดงดนตรีของสามเณร ๔ ม.ค. ๙๗ การแข่งขันแรลลีแ่ สวงบุญ เพื่อกองทุนแสงธรรม เปิดการแข่งขันเวลา ๐๘.๐๐ น. โดยพระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิจบุญชู มีการปล่อยลูกโป่ง เริ่มการแข่งขัน เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ช่วงเย็น เวลา ๑๘.๐๐ น. มี ว จนพิ ธี ก รรมและอวยพรศี ล มหาสนิ ท สำ � หรั บ ทุ ก คนที่ เข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น โดย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ณ วัดบ้าน ผู้หว่าน
๑ ก.พ. ๙๗ วันสมโภชแม่พระถวาย พระกุ ม ารในพระวิ ห าร องค์ อุ ป ถั ม ภ์ ข อง สถาบั น แสงธรรม ในโอกาสฉลอง ๒๕ ปี เวลา ๑๐.๐๐ น. เริ่มงานชุมนุมสามเณรทั่ว ประเทศ และเยาวชนผูส้ นใจชีวติ พระสงฆ์ ซึง่ ผู้มาร่วมเป็นสามเณรเล็กตามบ้านเณรต่างๆ รวมแล้วประมาณ ๗๐๐ คน เวลา ๑๗.๐๐ น. เริ่มพิธีมิสซาขอบพระคุณ ในพิธีบวชพระสงฆ์ ๑๖ ท่าน โดยพระคาร์ดนิ ลั ไมเกิล้ มีชยั กิจบูญชู เป็นประธานในพิธี มีสตั บุรษุ มาร่วมพิธปี ระมาณ ๕,๐๐๐ กว่าคน หลังพิธีมิสซาบวชพระสงฆ์ มีการแสดง แสง - สี - เสียง เกี่ยวกับประวัติ ของบ้านเณรในประเทศไทย ซึ่งใช้นักแสดง จากนักเรียนโรงเรียนต่างๆ จำ�นวนนับร้อยคน ซึ่ ง ได้ รั บ ความสนใจพอสมควร มี ก ารเฉลิ ม ฉลองด้ วยการจุ ดพลุ ดอกไม้ ไ ฟ เสร็ จงาน ประมาณ ๒๑.๓๐ น. ๔ พ.ค. ๙๗ วั น ปิ ด งานหิ รั ญ สมโภช บ้ า นเณรแสงธรรม พิ ธี มิ ส ซาขอบพระคุ ณ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยมีพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มี ชั ย กิ จ บุ ญ ชู เป็ น ประธานพิ ธี บ วชเป็ น สั ง ฆานุ ก ร พิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ ช่ ว ยพิ ธี ก รรม และ ผู้ อ่ า นพระคั ม ภี ร์ หลั ง พิ ธี มี ก ารแห่ ชุ ม นุ ม เคารพศีลมหาสนิท จากอาคารมารดาพระผูไ้ ถ่ มาถึงหน้าวัดใหญ่
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 107
ทศวรรษที่สี่ บ้านแสงธรรม (ค.ศ.๒๐๐๒๒๐๑๒) สมัยคุณพ่อสมพร อุปพงษ์ เป็นอธิการ ค.ศ.๒๐๐๐ - ๒๐๐๗ สมัยคุณพ่ออดิศกั ดิ ์ พรงาม เป็นอธิการ ค.ศ.๒๐๐๗ - ปัจจุบัน ระบบการอบรมศึกษาคล้ายกับสมัยก่อน หน้านั้น การอบรมที่เน้นมิติต่างๆ แบ่งออก เป็น ๔ มิติ คือมิติด้านความเป็นมนุษย์ ที่ เน้นความเป็นผูใ้ หญ่ การตัดสินใจถูกต้อง มิติ ด้ า นสติ ปั ญ ญาที่ มี ก ารเรี ย กร้ อ งเพื่ อ เป็ น พระสงฆ์ ใ นโลกปั จ จุ บั น ต้ อ งทั น โลก ทั น สถานการณ์ ทันสังคม มิติด้านชีวิตฝ่ายจิต เป็นมิติที่มีความสำ�คัญ และเป็นข้อเรียกร้อง สำ�หรับปัจจุบัน เพื่อจะสามารถตอบปัญหา
ด้ า นจริ ย ธรรมต่ า งๆ และปั ญ หาด้ า นต่ า งๆ ของสังคมที่เปลี่ยนไป มิติงานอภิบาลและ แพร่ธรรม เป็นเป้าหมายของการอบรมที่มุ่ง สร้างเสริมคุณลักษณะต่างๆ ของตนเองเพื่อ มุ่ ง ไปยั ง งานอภิ บ าลและแพร่ ธ รรม เพื่ อ รั ก เข้าใจ อยู่และเป็นหนึ่งเดียวกับประชากรของ พระเจ้า ช่วงยุคนี้มีการปรับโครงการปีฝึกชีวิต ผู้อภิบาล (Pastoral year) ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยสามเณราลัยร่วมมือกับคณะธรรมทูตไทย จัดให้สามเณรที่อยู่ชั้นปีฝึกงานอภิบาล (เมื่อ จบปรั ช ญาปี ที่ ๔ แล้ ว ) ได้ รั บ การปลู ก ฝั ง จิตตารมณ์และชีวติ ธรรมทูต ตัง้ แต่ปกี ารอบรม ศึกษา ๒๐๐๙ เป็นต้นมา มีการส่งสามเณร ออกไปสัมผัสและฝึกงานในเขตทีค่ ณะธรรมทูต
108 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
ทำ�งานอยูท่ งั้ ในและต่างประเทศ เช่น กัมพูชา และลาว ในปีพระสงฆ์ ปี ค.ศ.๒๐๐๙ (Year of Priest) สามเณราลัยได้จัดให้มีการฟื้นฟูชีวิต ของสามเณร ด้วยการจัดสัมนาภายในเป็นการ ฟื้ น ฟู ชี วิ ต และพั น ธกิ จ การอบรมเพื่ อ เป็ น พระสงฆ์ ดังนั้น ระหว่างปี ๒๐๐๙ - ๒๐๑๒ การอบรมในแต่ละปีจะมีการเน้นยํ้าทำ�ความ เข้าใจ นำ�เสนอด้วยเอกสาร ทำ�กิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกบ้านแสงธรรม ตระหนักและ มี ส่ ว นในการอบรมตนเองในการเป็ น สงฆ์ แบบพระคริสตเจ้า หรือเป็น Alter Christus โดยสะท้ อ นหน้ า ที่ ห ลั ก ทั้ ง สามของพระสงฆ์ คือ ๑) การเป็นประกาศกแท้ (True Prophet) ๒) การเป็นนายชุมพาบาลทีด่ ี (Good Pastor) ๓) การเป็นพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ ์ (Holy Priest) เหตุการณ์ส�ำ คัญในทศวรรษทีส่ บี่ า้ นแสงธรรม ๑๑ ส.ค. ๐๑ วันฉลองแม่พระรับเกียรติ ยกขึ้นสวรรค์ พิธีบวชสังฆานุกร พิธีแต่งตั้ง ผูช้ ว่ ยพิธกี รรม และพิธแี ต่งตัง้ ผูอ้ า่ นพระคัมภีร์ มิสซา ๑๐.๐๐ น. โดยพระสังฆราช มีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ เป็นประธาน ๑๑ ธ.ค. ๐๑ วันวิชาการ และงานคืน สู่เหย้าของแสงธรรม ตอนเช้าเป็นกิจกรรม วันวิชาการ ตอนบ่ายเป็นงานคืนสู่เหย้าชาว แสงธรรม
๒๗ - ๒๘ ส.ค. ๐๒ สามเณรชั้นปี ๑, ปี ๔ เป็นตัวแทนของวิทยาลัยแสงธรรม ไป ร่วมกันขับร้องบทเพลงในพิธีบูชาขอบพระคุณ เปิดงานการศึกษาคาทอลิก ๓๓๖ ปี ที่มหา วิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ๗ พ.ย. ๐๒ เข้าเงียบประจำ�เดือน โดย คุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล (ต่อมาเป็นพระ สังฆราช สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี) ในหัวข้อ Lectio Divina ซึ่งเป็นการนำ�พระวาจามาใช้ ในการรำ�พึง เพือ่ การไตร่ตรองชีวติ อย่างลึกซึง้ ๑๓ - ๑๔ พ.ย. ๐๒ สั ม มนาเกี่ ย วกั บ ทิ ศ ทางงานอภิ บ าล ค.ศ.๒๐๐๐ เพื่ อ ให้ สามเณรมีความรู้ ความเข้าใจถึงทิศทางงาน อภิ บ าลของพระศาสนจั ก รในประเทศไทย โดยมี ค ณะกรรมการที่ จั ด เตรี ย มแผนงาน ทิศทางงานอภิบาลได้มาให้ความรู้แก่สามเณร ๑ ก.พ. ๐๓ ฉลองบ้ า นเณรใหญ่ พระสมณทู ต อาเดรี ย โน แบร์ น าร์ ดิ นี ให้ เกียรติมาเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ พร้อมกันนั้น ยังมีการเปิดปีสายประคำ�แห่ง ประเทศไทย โดยมีตวั แทนของ ๑๐ สังฆมณฑล และบรรดาแขกรั บ เชิ ญ ของคุ ณ พ่ อ ไพศาล อานามวัฒน์ มาร่วมในพิธี บรรดาพระสงฆ์ ที่มาร่วมงานประมาณ ๓๐ คน หลังจากพิธี บูชาขอบพระคุณ ก็เป็นการแข่งขันกีฬาสีของ วิทยาลัย ๒๕ พ.ค. ๐๓ พิธีปลงศพ พระสังฆราช ไมเกิล ประพนธ์ ชัยเจริญ ประมุขสังฆมณฑล
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 109
สุราษฎร์ธานี อายุ ๗๓ ปี มรณะด้วยโรคหัวใจ ทีโ่ รงพยาบาลทักษิณ เมือ่ คืนวันที ่ ๒๐ พ.ค. ๐๓ พระสังฆราชไมเกิล ประพนธ์ ชัยเจริญ เกิด เมื่ อ วั น ที่ ๗ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๓๐ ที่ วั ด หัวไผ่ จ.ชลบุรี ๘ มิ . ย. ๐๓ พิ ธี เ ปิ ด และเสกสั ก การ สถานบุ ญ ราศี คุ ณ พ่ อ นิ โ คลาส บุ ญ เกิ ด กฤษบำ�รุง และพิธีบวชพระสงฆ์ ๗ องค์ ๑๖ ส.ค. ๐๓ พิธบี วชสังฆานุกร จำ�นวน ทั้งสิ้น ๑๗ ท่าน การแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม ๑๘ คน และผู้อ่านพระคัมภีร์ ๑๒ คน โดยมี พระสังฆราชหลุยส์ จำ�เนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นประธานพิธี และมีบรรดาพระสังฆราช เข้าร่วมในพิธีทั้งหมดจำ�นวน ๙ องค์ พระสงฆ์ จำ�นวน ๑๘๐ องค์ สัตบุรษุ ประมาณ ๒,๐๐๐ คน ๑๑ - ๑๒ ธ.ค. ๐๓ เป็นวันคืนสู่เหย้า ศิษย์เก่าแสงธรรม โอกาสฉลองครบ ๓๐ ปี บ้านเณรแสงธรรม และฉลองครบ ๒๕ ปี บวชเป็นพระสงฆ์ของศิษย์เก่ารุ่นที่ ๑ ซึ่งมี คุ ณ พ่ อ ไพฑู ร ย์ หอมจิ น ดา, คุ ณ ประเสริ ฐ โลหะวิ ริ ย ะศิ ริ และคุ ณ พ่ อ สมพร อุ ป พงศ์ (อธิการบ้านเณรแสงธรรม) นอกนัน้ ยังมีเพือ่ น ร่วมรุ่นที่ 1 มาร่วมความยินดี และโมทนาคุณ พระเป็นเจ้าด้วย ๑๔ ส.ค. ๐๔ พิ ธี ศี ล บวชสั ง ฆานุ ก ร พิธแี ต่งตัง้ ผูช้ ว่ ยพิธกี รรม และผูอ้ า่ นพระคัมภีร์ โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็น ประธาน พร้อมด้วยบรรดาพระสังฆราชจาก สังฆมณฑลต่างๆ
๒๘ พ.ย. ๐๔ คุณพ่อสิริพงษ์ จรัสศรี (ต่อมาเป็นพระสังฆราช สังฆมณฑลจันทบุรี) และสามเณรชั้ น ปรั ช ญาร่ ว มพิ ธี อ ภิ เ ษก พระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี โดย ฯพณฯ Cardinal Crescenzio Sepe ๖ ธ.ค. ๐๔ งานชุ ม นุ ม ศิ ษ ย์ เ ก่ า ของ สถาบันแสงธรรม และฉลอง ๒๕ ปี การบวช เป็นพระสงฆ์ของศิษย์แสงธรรมรุ่นที่ ๒ ๑๐ ธ.ค. ๐๔ งานวันวิชาการ วิทยาลัย แสงธรรม และวันประสาทปริญญาบัตรของ นักศึกษา คริสตศาสนศึกษารุ่น ๑ และงาน ชุมนุมครูคำ�สอนครั้งที ่ ๓ ๖ - ๙ ม.ค. ๐๕ คุณพ่อสมพร อุปพงศ์ และสามเณรชั้นปี ๗ บางท่าน และสามเณร สั ง ฆมณฑลสุ ร าษฎร์ ธ านี เดิ น ทางลงพื้ น ที่ ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ถล่ม Tsunami อบต. คึกคัก, บ.เขาหลัก ฯลฯ ๒๘ พ.ค. ๐๕ คณะผูใ้ ห้การอบรม และ สามเณรใหญ่ แ สงธรรม ร่ ว มพิ ธี อ ภิ เ ษก พระสังฆราช ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นสังฆราชแห่งสังฆมณฑลราชบุรี ๒๓ - ๒๖ มิ.ย. ๐๕ สามเณรแสงธรรม ร่วมประชุม และช่วยงานเชอร์ร่าสากลครั้งที่ ๖๓ และงาน Vocation Congress for Asia ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล ลาดพร้าว ๒๖ พ.ย. ๐๕ แรลลี่ ก ารกุ ศ ลเพื่ อ กองทุนแสงธรรมครั้งที่ ๓ แสงธรรม + ราชบุรี
110 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
พระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิ จ บุ ญ ชู เป็ น ประธานเปิดการแข่งขัน ผู้เข้าร่วม ๑๒๐ ทีม มีพิธีมิสซา โดยพระสังฆราช ยอห์น บอสโก ปั ญ ญา กฤษเจริ ญ ณ บ้ า นเณรแสงธรรม งานเลี้ยงสังสรรค์ที่โรงยิม อาคารมารดาพระ ผูไ้ ถ่ มีการแสดงโปงลางของวิทยาลัยแสงธรรม ๑๐ ธ.ค. ๐๕ วั น วิ ช าการวิ ท ยาลั ย แสงธรรม พิธปี ราสาทปริญญาบัตร แก่บณ ั ฑิต คริสตศาสนศาสตร์ รุ่น ๒ จำ�นวน ๑๑ คน และพิธีแสดงมุทิตาจิตแก่ อ.ไพรัช สุภาษิต โอกาสเกษี ย ณอายุ (งานเลี้ ย งอำ � ลา) ... พระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิ จ บุ ญ ชู เป็ น ประธาน ๑ ก.พ. ๐๖ ฉลองบ้านเณรแสงธรรม พระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธานชุมนุมศิษย์เก่า และแสดงความ ยินดีโอกาส ๒๕ ปี ชีวติ สงฆ์ของศิษย์แสงธรรม รุ่นที่ ๓ ชมการแสดงและเลี้ยงโต๊ะจีนที่อาคาร มารดาพระผู้ ไ ถ่ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ขอบคุ ณ อ.ไพรั ช สุภาษิต มีการแสดงจากคณะพระหฤทัย คณะ ผูร้ บั ใช้ นักศึกษาคริสตศาสตร์แสงธรรม และ กลุ่มปกาเกอะญอ ๑๙ มิ . ย. ๐๖ พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ โอกาสฉลอง 25 ปี แห่ ง สงฆ์ ข องคุ ณ พ่ อ ยอแซฟ ไชโย กิจสกุล และอำ�ลา - ขอบคุณ คุณพ่อสิริพงษ์ จรัสศรี (รับหน้าที่อุปสังฆราช สังฆมณฑลราชบุรี) หลังพิธีมีการเลี้ยง “ยินดี และขอบคุณ” ณ ห้องอาหารบ้านเณร
๑๑ - ๑๒ ส.ค. ๐๖ สามเณรเข้าร่วม งานมหกรรมงานชุมนุมเพื่อการแพร่ธรรมใน ประเทศไทย และพิธีแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ พิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ ช่ ว ยพิ ธี ก รรม และพิ ธี บ วช สั ง ฆานุ ก ร โดยพระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิจบุญชู พระสมณทูต บรรดาพระสังฆราช และพระสงฆ์ ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน ๑๐ ก.พ. ๐๗ คณะผูใ้ ห้การอบรม และ สามเณร ร่ ว มพิ ธี มิ ส ซาบู ช าขอบพระคุ ณ โอกาสอภิ เ ษกพระสั ง ฆราชยอแซฟ ชู ศั ก ดิ์ สิ ริ สุ ท ธิ์ ประมุ ข สั ง ฆมณฑล นครราชสี ม า ณ อาสนวิ ห ารแม่ พ ระประจั ก ษ์ ที่ เ มื อ งลู ร์ ด นครราชสี ม า โดยพระสั ง ฆราช ยออากิ ม พเยาว์ มณี ท รั พ ย์ ร่ ว มกั บ พระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิ จ บุ ญ ชู พระสมณทู ต และ บรรดาพระสังฆราช (นับว่าเป็นพระสังฆราช ศิษย์เก่าแสงธรรมองค์แรก) ๒ มิ . ย . ๐ ๗ ร่ ว ม พิ ธี มิ ส ซ า บู ช า ขอบพระคุณโอกาสอภิเษกเป็นพระสังฆราช ... พระสั ง ฆราชฟรั ง ซิ ส เซเวี ย ร์ เกรี ย งศั ก ดิ์ โกวิทวาณิช เป็ น พระสั ง ฆราชสั ง ฆมณฑล นครสวรรค์ โดย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ณ สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ ๑๙ มิ . ย. ๐๗ สามเณรใหญ่ ร่ ว มเป็ น กำ�ลังใจให้คุณพ่อสมพร อุปพงศ์ .. คุณพ่อไป รักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ก่อนไป คุณพ่อกล่าวว่า “...พ่อไปรักษาตัวทีโ่ รงพยาบาล
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 111
แล้วเมือ่ หายแล้วจะกลับมารับใช้พวกเราต่อไป” ๒๑ มิ.ย. ๐๗ คุณพ่อสมพร อุปพงศ์ เข้ารับการรักษาในห้องไอซีย ู แพทย์ตดั ชิน้ เนือ้ ปอดไปวินิจฉัย ปรากฏว่าปอดติดเชื้ออย่าง รุนแรง ๗ ส.ค. ๐๗ คุ ณ พ่ อ สมพร อุ ป พงศ์ จากพวกเราไปอย่างสงบ นับเป็นความสูญเสีย ครั้ ง สำ � คั ญ ที่ นำ � ความโศกเศร้ า ต่ อ พวกเรา แสงธรรม ... ทางบ้านเณรเชิญร่างของคุณพ่อ มาไว้ที่วัดบ้านเณรใหญ่เพื่อภาวนาและคิดถึง ท่าน เป็นเวลา ๒ วัน ก่อนที่จะนำ�ร่างของ คุณพ่อไปฝังที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ นับเป็นความสูญเสียพระสงฆ์ผดู้ �ำ เนิน ชี วิ ต “รั ก เพื่ อ น รั ก พระ สั จ จะ ซื่ อ ตรง อุ ทิ ศ ตน รั บ ใช้ เรี ย บง่ า ย สมถะ” มี พิ ธี ฝั ง ศพคุ ณ พ่ อ ในวั น จั น ทร ์ ที่ ๑๓ สิ ง หาคม ๒๐๐๗ ณ สุ ส านของอาสนวิ ห ารฯ คณะ ผู้ให้การอบรม และสามเณรทุกคน เดินทาง ไปร่วมพิธีฝังคุณพ่อด้วย ๔ ก.ย. ๐๗ พระสั ง ฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล มาร่วมทำ�วัตรกับสามเณร เวลา ๑๘.๓๐ น. ณ วัดบ้านเณรใหญ่แสงธรรม พระสั ง ฆราชประกาศแต่ ง ตั้ ง อธิ ก ารคนใหม่ นั่นคือ คุณพ่ออดิศักดิ ์ พรงาม ๑๒ ก.ย. ๐๗ พระเจ้าได้รับ คุณพ่อ ไพศาล อานามวั ฒ น์ พระสงฆ์สังฆมณฑล จันทบุรี ศิษย์เก่าแสงธรรมและอดีตผู้ให้การ อบรมบ้านเณรแสงธรรม ไปอยู่กับพระองค์
หลังจากเข้ารับการรักษาทีโ่ รงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ตั้งแต่วันที ่ ๒๖ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ ๑๕ พ.ย. ๐๗ พิธบี ชู าขอบพระคุณระลึก ถึง ค.พ.สมพร อุปพงศ์ ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ วัน ตอนคาํ่ คณะโฟโคลาเร่ มาแบ่งปัน จิ ต ารมณ์ แ ละสะท้ อ นชี วิ ต ของคุ ณ พ่ อ สมพร อุปพงศ์ และมอบวุฒิบัตรให้กับผู้เข้า ร่วม English Camp ในช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ ผ่านมา ๑ พ.ค. ๐๙ พิ ธี อ ภิ เ ษกพระสั ง ฆราช ฟรังซิสเชเวียร์ วีระ อาภรณ์รตั น์ พระสังฆราช สังฆมณฑลเชียงใหม่ ที่อาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่ ๑๘ มิ . ย. ๐๙ พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ โอกาสเปิ ด ปี ก ารศึ ก ษา พิ ธี ไ หว้ ค รู โดย พระคาร์ ดินั ล ไมเกิ้ ล มี ชั ย กิ จ บุ ญชู เวลา ๑๒.๐๐ น. มีพิธีเสกห้องสารสนเทศและการ วิจัย “พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู” ๒๔ มิ . ย. ๐๙ โอกาสสมโภชนั ก บุ ญ ยอห์น บัปติสต์ เป็นวันเริ่มต้นแนวคิด “บ้าน เณรคือครรภ์มารดาของพระศาสนจักร” มารดา ทีใ่ ช้เวลา ๙ เดือนตัง้ ครรภ์ การอบรมพระสงฆ์ ใช้เวลา ๙ ปีเช่นกัน และเป็นการเริ่มต้นการ ฟื้นฟูชีวิตและพันธกิจการอบรมเป็นพระสงฆ์ บ้านเณรใหญ่แสงธรรม ๔ ก.ค. ๐๙ พิ ธี อ ภิ เ ษกพระสั ง ฆราช ซิ ล วี โ อ สิ ริ พ งษ์ จรั ส ศรี พระสั ง ฆราช สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ณ โรงเรี ย นดาราสมุ ท ร
112 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2013/2556
โดยพระสังฆราช ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เป็นประธาน ๑๒ ก.ย. ๐๙ สามเณรชั้นปี ๔,๕,๖,๗ เป็นตัวแทนร่วมไปร่วมพิธอี ภิเษกพระสังฆราช ยอแซฟ พิบลู ย์ วิสฐิ นนทชัย เป็นพระสังฆราช สั ง ฆมณฑลนครสวรรค์ โดยพระคาร์ ดิ นั ล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน ณ สนาม กีฬากลางนครสวรรค์ ๑๔ พ.ย. ๐๙ คุณพ่ออธิการประกาศ ว่า “คุณพ่อลือชัย ธาตุวิสัย ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี” ๑๐ ธ.ค. ๐๙ สามเณรสั ง ฆมณฑล นครสวรรค์ เดินทางไปร่วมมิสซาขอบพระคุณ โอกาสฉลองบ้ า นเณรเล็ ก จอห์ น ปอล นครสวรรค์ ครบรอบ ๑๐ ปี ... พระสังฆราช ยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นประธาน ๑๒ ธ.ค. ๐๙ สามเณรใหญ่อคั รสังฆมณฑล ท่าแร่ เดินทางกลับจากไปร่วมฉลอง ๑๒๕ ปี ชุมชนความเชื่อท่าแร่... สามเณรสังฆมณฑล จันทบุรี เดินทางไปฉลองชุมชนความเชื่อวัด จันทบุรี ครบรอบ ๓๐๐ ปี ๖ ก.พ. ๑๐ พิ ธี อ ภิ เ ษกพระสั ง ฆราช ยอแซฟ ลื อ ชั ย ธาตุ วิ สั ย เป็นพระสังฆราช สังฆมณฑลอุดรธานี โดยพระสังฆราช ยอร์ช ยอด พิมพิสาร เป็นประธาน ๑๔ ส.ค. ๑๐ พิธีบวชสังฆานุกร พิธี แต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม และพิธีแต่งตั้งผู้อ่าน พระคั ม ภี ร์ โดยพระอั ค รสั ง ฆราช ฟรั ง ซิ ส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน
๑๑ มิ . ย. ๑๑ พิ ธี มิ ส ซาขอบพระคุ ณ โอกาสฉลองบ้ า นเณรพระหฤทั ย ศรี ร าชา ครบรอบ ๗๕ ปี และมีพิธีบวชสังฆานุกร ๑๓ ส.ค. ๑๑ พิธีบวชสังฆานุกร พิธี แต่ ง ตั้ ง ช่ ว ยพิ ธี ก รรม และพิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ อ่ า น พระคัมภีร์ โดยพระสังฆราช ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เป็นประธาน ๒๕ ก.ย. ๑๑ พิ ธี มิ ส ซาขอบพระคุ ณ โอกาสฉลองครบรอบ ๒๕ ปี คุณพ่ออดิศักดิ์ พรงาม อธิการสถาบันแสงธรรม คุณพ่อชาติชาย พงษ์ ศิ ริ อธิ ก ารบดี วิ ท ยาลั ย แสงธรรม ที่ สังฆมณฑลจันทบุรี ๒ ๕ ต . ค . ๑ ๑ พิ ธี มิ ส ซ า ป ล ง ศ พ พระสังฆราช ยอห์น บอสโก มนัส จวบสมัย อดี ต ประมุ ข สั ง ฆมณฑลราชบุ รี และอดี ต อธิการสถาบันแสงธรรม ณ อาสนวิหารแม่พระ บังเกิด บางนกแขวก ๑ พ.ย. ๑๑ ชาวบ้านวัดท่าจีนและคุณพ่อ ธีรพล กอบวิทยากุล สนับสนุนทราย ๖ คันรถ เพือ่ เตรียมพร้อมรับมือมหาอุทกภัย ซึง่ นาํ้ ท่วม ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ๕ พ.ย. ๑๑ สามเณรใหญ่ ร่ ว มงาน อภิ บ าล ในการบรรเทาปั ญ หาอุ ท กภั ย ใน สถานที่ต่างๆ ๙ มิ.ย. ๑๒ ต้อนรับสามเณรใหม่ และ ต้ อ นรั บ ผู้ ใ ห้ ก ารอบรมใหม่ คุ ณ พ่ อ มิ เ กล กาไรซาบาล (เอส,เจ) คุณพ่อธวัช สิงห์สา (นครสวรรค์) คุณพ่อสลัน ว่องไว (ท่าแร่ฯ)
ประวัติสามเณราลัยแสงธรรม ทศวรรษที่ 2 - 4 113
๑๑ ส.ค. ๑๒ พิธีบวชสังฆานุกร พิธี แต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ และพิธีแต่งตั้งผู้ช่วย พิธีกรรม โดยพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธาน ๑ ก.ย. ๑๒ พระสั ง ฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค สิ้นใจอย่างสงบ ณ บ้านพัก บริเวณอาสนวิหารนักบุญอันนา นครสวรรค์ ๕ ก.ย. ๑๓ เสวนาระลึกถึงพระคุณเจ้า บรรจง “ย้อนอดีต ท่านจง” โดยศิษย์เก่ารุ่น ๑ - ๓ โดยมีคณ ุ พ่อไพฑูรย์ หอมจินดา, คุณพ่อ วุ ฒิ เ ลิ ศ แห่ ล้ อ ม, คุ ณ พ่ อ ชี วิ น สุ ว ดิ น ทร์ กุ ล และคุณพ่อวรยุทธ กิจบำ�รุง ร่วมเสวนา ๗ ก.ย. ๑๒ พิ ธี มิ ส ซาปลงศพ พระ สั ง ฆราชยอแซฟ บรรจง อารี พ รรค อดี ต อธิการสถาบันแสงธรรมองค์แรก .... โดยพระ สังฆราช ยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็น ประธาน พร้อมด้วยบรรดาพระสังฆราช มี พระสงฆ์ นักบวช และคริสตชนมากมายมา ร่วมส่งพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าผู้ดำ�เนินชีวิต เป็ น แบบอย่ า ง ผู้ ส อนเรื่ อ งความรั ก “รั ก ” คำ�สั้นๆ แต่อธิบายทั้งชีวิต ๒๕ - ๒๖ ม.ค. ๑๓ งานชุมนุมศิษย์เก่า บ้านเณรใหญ่แสงธรรม โอกาศครบรอบ ๔๐ ปี บ้านเณร
บทสรุป... การศึกษาเรื่องราวอันเป็นภูมิหลังทาง ประวัติศาสตร์ของสถาบันแสงธรรม เป็นสิ่ง ที่ยังศึกษาได้อย่างไม่สิ้นสุด เพราะมีเอกสาร ที่บันทึกเรื่องเด่นๆ ในแต่ละวันอย่างต่อเนื่อง ตัง้ แต่เริม่ ต้นก่อตัง้ บ้านเณร ซึง่ ในอนาคตคงจะ มีผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติม ... ความสำ�คัญแห่งเรื่อง ราวในอดีต ทำ�ให้เราเข้าใจเรื่องราวในปัจจุบัน อย่างดี และมองเห็นวิสัยทัศน์ในอนาคต ... เรื่องราวในอดีตจึงเป็นวิธีการเพื่อ “ขอบคุณ” สำ�หรับพระพรแห่งความรักของพระเจ้า ผู้อยู่ เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมด ขอบคุณพระเจ้า สำ�หรับพระพรที่ผ่านมายังผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทัง้ กับการก่อตัง้ บ้านเณร และขอบคุณสำ�หรับ ทุกคนที่ร่วมในการเดินทางของบ้านเณรใหญ่ ที่ผ่านมาได้ถึงทุกวันนี้สี่สิบปี ขอบคุณบรรดา ผู้ให้การอบรม ทั้งอดีตและปัจจุบันในนํ้าใจดี ทีม่ ตี อ่ บรรดาสามเณรทุกรุน่ ... ทีส่ ดุ แล้วก็เป็น โอกาสดีจริงๆที่เราจะคิดถึงกันและกัน เพราะ พวกเราทุ ก คนต่ า งมี ส่ ว นในบ้ า นเณรแห่ ง นี้ บ้านสำ�หรับพระศาสนจักรประเทศไทย