วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2015/2558

Page 1


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ  อาจารย์ชวนชม อาจณรงค์ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี 300 บาท จำ�หน่ายปลีก ฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสด, ตัว๋ แลกเงินไปรษณีย,์ ธนาณัติ สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ” ปณ.อ้อมใหญ่ 73160 หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

หลายปีทผี่ า่ นมา  นับตัง้ แต่มนุษย์ให้ความส�ำคัญกับรายได้  ตลอดจนตัวชีว้ ดั ทางเศรษฐกิจอื่นๆ  โดยน�ำมาเป็นปัจจัยส�ำคัญ  ที่แสดงถึงความส�ำเร็จในชีวิต  ท�ำให้ส่งผลอย่างมากต่อ วิถีชีวิตของมนุษย์และสังคมในภาพรวม จากเดิมที่พ่อแม่และลูกๆ  ท�ำงานร่วมกัน  กลายเป็นต่างคนต่างท�ำ  แม่ที่เคยมีหน้าที่ หลักในการเลี้ยงดูลูก  กลับต้องออกไปท�ำงานนอกบ้าน  เพียงเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น  เรา ต่างทุม่ เทท�ำงานเพือ่ ให้มผี ลงานทีด่  ี มีรายได้ทดี่  ี จนกระทัง่   เราอาจลืมหลายสิง่ หลายอย่าง  ที่ มีความส�ำคัญต่อชีวติ ของเรา  และสิง่ หนึง่ ทีเ่ รามักจะละเลยความส�ำคัญ  นัน่ คือ  การรักษาสมดุล ของชีวิต แสงธรรมปริทศั น์ฉบับนี ้ จึงอยากจะเชิญชวนทุกท่านได้หนั กลับมาทบทวนตนเอง  และ จัดล�ำดับความส�ำคัญต่างๆ  ในชีวติ   ให้สอดคล้องกับธรรมชาติความเป็นบุคคลของเรา  เพราะ ว่า  การท�ำงานไม่ใช่เป็นแค่อาชีพ  ทีช่ ว่ ยให้เรามีรายได้เท่านัน้   แต่ยงั เป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ   ที่ ช่วยให้เรารู้ว่า  เราเป็นใคร  เรามีพระพรของพระเจ้าประการใดบ้าง  และจะใช้พระพรเหล่านั้น ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและตนเองได้อย่างไร บางที  เราอาจจะต้องถามตนเองว่า  เราท�ำงานไปท�ำไม  งานมีความหมายต่อชีวิตของ เราหรือไม่  และเราจะท�ำงานอย่างมีความสุขได้อย่างไร  ฯลฯ  เพราะบางทีค�ำถามบางค�ำถาม ก็ช่วยให้เรามองในมุมที่แตกต่าง  และเห็นถึงวิถีชีวิตที่เราพึงเดิน

บรรณาธิการสร้างสรรค์

ข่าวประชาพันธ์...  ขอเชิญชวนส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ฉบับต่อไป เดือนกันยายน-ธันวาคม  2558  ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์” ส่งต้นฉบับได้ท่ี อาจารย์พรี พัฒน์ ถวิลรัตน์ E-mail : pi_santo@yahoo.com หรือคุณสุกานดา วงศ์เพ็ญ E-mail : sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2558  และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความที่ส่งมาร่วมแบ่งปัน

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ


Content 5

โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3

SaengthamJournal ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

5

พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญยอนห์ปอลที่ 2 ว่าด้วยการทำ�งาน บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์ S.D.B.

18

18

31

31

40

40

การทำ�งานกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศ.กีรติ บุญเจือ

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาจากการทำ�งาน บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม

51

การใช้ชีวิตด้วยปัญญา นักปราชญ์สรรเสริญว่าประเสริฐสุด

51

วีณา โกวิทวานิชย์

งานกับความสุข

ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์


4

61

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

61

การทำ�งานและศักดิ์ศรีมนุษย์ ในความสัมพันธ์กับครอบครัว

63

63

65

65

72

72

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพิธีกรรม บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช

เงินตะลันต์ พรสวรรค์และแรงจูงใจในการทำ�งาน ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

80

บาทหลวง เฉลิม กิจมงคล

งานแห่งชีวิต คำ�ถามและการไตร่ตรองเชิงจริยศาสตร์

80

นฤพนธ์ แก้วหาวงษ์

แนะนำ�หนังสือ

บาทหลวง สมชัย พิทยาพงศ์พร


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา

“การท�ำงาน”

บาทหลวง ผศ.ดร. ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน  S.D.B.,  อาจารย์สาขาเทววิทยา  คณะศาสนศาสตร์  วิทยาลัยแสงธรรม

[  หมวดพระสัจธรรม  ]

นักบุญยอห์น  ปอล  ที่  2  ว่าด้วย


6

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญ ยอห์น  ปอล  ที่  2  ยังทรงพระเยาว์ก็ทรง เป็ น กรรมกรผู ้ รู ้ จั ก ความเหน็ ด เหนื่ อ ยและ ความงดงามของการท�ำงาน  จึงไม่เป็นเรื่อง แปลกว่า  ในรัชสมัยแรกๆ  ของการปกครอง พระองค์ทรงมุ่งเน้นประเด็นที่ส�ำคัญส�ำหรับ ชีวิตมนุษย์คือการท�ำงาน  โดยประกาศพระ สมณสาสน์  ”Laborem  Exercens”  (14 กั น ยายน  1981)  โดยแท้ จ ริ ง แล้ ว   การ ท�ำงานเป็นคุณสมบัตยิ งิ่ ใหญ่ประการหนึง่ ของ มนุษยชาติที่เริ่มต้นตั้งแต่เขาปรากฏบนแผ่น ดินและจะไม่สิ้นสุดจนกว่าสิ้นพิภพ ในที่ นี้   เราจะพิ จ ารณากิ จ การของ มนุษย์  ค้นหาความหมายของการท�ำงานและ คุ ณ ค่ า ต่ า งๆ  ที่ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ ม าจากกิ จ การที่ กระท�ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  จะค้นหาจุดยืน ที่ ค ริ ส ตชนต้ อ งค�ำนึ ง ถึ ง เพื่ อ เข้ า ใจ  และ ด�ำเนินชีวิตการท�ำงานด้วยความเชื่อ  ความ หวังและความรัก 1.  บริบททางสังคมของพระสมณสาสน์วา่ ด้วย  “การท�ำงาน”  (Laborem  Exercens) แม้ เ รามุ ่ ง เน้ น ความสนใจในพระ สมณสาสน์ ว ่ า ด้ ว ยการท�ำงาน  แต่ ก็ เ ป็ น ประโยชน์ที่จะสรุปการเดินทางของค�ำสอน พระศาสนจักรด้านสังคมตัง้ แต่ปลายศตวรรษ ที่   19  จนถึ ง รั ช สมั ย ของสมเด็ จ พระ

สั น ตะปาปา  นั ก บุ ญ ยอห์ น   ปอล  ที่   2 การเปิดเผยจากพระเจ้าเป็นจุดเริม่ ต้นค�ำสอน ของพระศาสนจักรอยู่เสมอ  อย่างไรก็ตาม นอกจากพระวาจาของพระเจ้าแล้ว  เรายัง ต้องค�ำนึงถึงค�ำสั่งสอนอย่างเป็นทางการของ สมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์อื่นๆ  ใ น ป ี ค . ศ . 1 8 9 1   ส ม เ ด็ จ พ ร ะ สั น ตะปาปา  เลโอ  ที่   13  ทรงประกาศ พระสมณสาสน์ ด ้ า นสั ง คมฉบั บ แรกชื่ อ “สิ่ ง ใหม่ ๆ ”  (Rerum  Novarum) พระองค์ ท รงสั ง เกตสถานการณ์ ท างสั ง คม ในสมั ย นั้ น   ซึ่ ง มี ลั ก ษณะโดดเด่ น ในการ ต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน  ทรงพิจารณาปัญหานี้ โดยเสนอ  “ปรั ช ญาของคริ ส ตชน”  ที่ มี พื้นฐานในพระวรสารและในกฏธรรมชาติเพื่อ ต่อต้านคตินิยมเสรีและสังคมนิยม  ต่อมาปี ค.ศ.1931  สมเด็จพระสันตะปาปา  ปีโอ  ที่ 11  ทรงพิจารณาปัญหาด้านสังคมในพระ สมณสาสน์   “โอกาสครบรอบ  40  ปี ” (Quadragesimo  Anno)  และในปีค.ศ. 1941  สมเด็จพระสันตะปาปา  ปีโอที่  12 ทรงหยิ บ ยกปั ญ หาการมี ร ะเบี ย บระหว่ า ง ประเทศมาพิจารณา  โดยออกอากาศเป็น ข้ อ ความทางวิ ท ยุ   (Radiomessaggio) ในปีค.ศ.  1961  พระสมณสาสน์  “มารดา และอาจารย์ ”   (Mater  et  Magistra) และในปี ค .ศ.1963  พระสมณสาสน์ “สันติภาพบนแผ่นดิน”  (Pacem  in  Ter-


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “การท�ำงาน”

ris)  ได้ รั บ การไตร่ ต รองโดยสมเด็ จ พระ สั น ตะปาปา  นั ก บุ ญ ยอห์ น   ที่   23  ใน ประเด็ น ความยุ ติ ธ รรมและสั น ติ ภ าพ ค�ำปราศรัยเหล่านี้ถูกน�ำมาใช้ในเอกสารของ สภาสั ง คายนาวาติ กั น   ที่   2  โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง  ในพระธรรมนูญด้านการอภิบาล “พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้”  (Gaudium et  Spes,1965)  ที่ สุ ด   ในปี ค .ศ.1967 พระสมณสาสน์   “การพั ฒ นาประชาชาติ ” (Populorum  Progressio)  และในปีค.ศ. 1971  พระสมณสาสน์   “โอกาสใกล้ ค รบ รอบ  80  ปี”  (Octogesima  adveniens) โดยสมเด็จพระสันตะปาปา  ปอล  ที ่ 6  ให้ ความสว่ า งในประเด็ น ของการพั ฒ นาและ อารยธรรมใหม่ ลักษณะเฉพาะของทศวรรษที ่ 19701980  คือการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็น ค่อยไปของโลกการท�ำงาน  สังคมแห่งยุคที่ เลิกเน้นอุตสาหกรรมหนัก  ผ่านจากการผลิต สินค้าไปสูเ่ ศรษฐกิจของการให้บริการ  ความ เป็นเยี่ยมของมืออาชีพและช่างเทคนิค  รวม ทั้ ง ความส�ำคั ญ ของความรู ้ ท างทฤษฎี แ ละ เทคโนโลยี  ไซเบอร์เนติกส์คือ  ศาสตร์ว่า ด้ ว ยการติ ด ต่ อ สื่ อ สารและระบบควบคุ ม อัตโนมัติของเครื่องจักรและสิ่งมีชีวิต  ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่  เพราะไม่ตั้ง ค�ำถามเกี่ยวกับลักษณะใดลักษณะหนึ่งของ มนุษย์หรือสังคม  แต่เกี่ยวข้องกับแก่นแท้

ของความเป็ น มนุ ษ ย์   อาจเป็ น ไปได้ ห รื อ ไม่  “เครื่องจักรยอดเยี่ยมอิเล็กทรอนิกส์” ใหม่นี้  ที่ควบคุมการท�ำงานโดยระบบไฟฟ้า จะบดขยี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถ้ า ในอดี ต การต่ อ สู ้ เ คยอยู ่ ร ะหว่ า ง พนักงานกับนายทุน  บัดนี ้ การปะทะกันอยู่ ระหว่างผู้ได้รับการศึกษาสูงกับผู้ด้อยโอกาส ทางการศึกษา  เพราะก่อให้เกิดการกีดกัน และการอยู่ชายขอบสังคม  ในสถานการณ์ ใหม่ เ ช่ น นี้   มี ผู ้ ตั้ ง ค�ำถามว่ า   การเน้ น อุ ต สาหกรรมหนั ก น�ำไปสู ่ ก ารเจริ ญ เติ บ โต ของมนุษย์หรือไม่  เคยคิดกันว่า  เครือ่ งจักร จะท�ำให้ ค นงานพ้ น จากงานที่ น ่ า เบื่ อ และ ซ�ำ้ ซาก  แล้วจะเพิม่ คุณสมบัตคิ วามเชีย่ วชาญ ด้านอาชีพ  โดยแท้จริงแล้ว  เทคโนโลยีช่วย มนุษย์ให้พ้นจากการออกแรงเกินก�ำลังทาง กายภาพและอาจเพิ่มเวลาว่างของเขา  แต่มี แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอื่นๆ  ใน เชิ ง ลบทางสุ ข ภาพกายและจิ ต   เช่ น   การ เคลื่อนไหวของบุคลากรในที่ท�ำงาน  สร้าง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสียงาน ด้วยความกดดันที่ต้องค้นหางานใหม่  ขาด คุณค่าทางศาสนาและศีลธรรม  มีแนวโน้มที่ จะท�ำให้วิธีการท�ำงานกลับเป็นจุดประสงค์ ของงาน ในพระสมณสาสน์ ว ่ า ด้ ว ย  “การ ท�ำงาน”  (LE)  สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา นักบุญยอห์น  ปอล  ที่  2  ตรัสกับมนุษย์

7


8

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

แต่ละคน  ทรงชี้แจงว่าการท�ำงานเป็นแหล่ง ที่ ม าของศั ก ดิ์ ศ รี   ทรงเสนอให้ เขาปฏิ บั ติ ความยากจนตามแนวพระวรสารด้วยจิตตา รมณ์การรับใช้  ดังที่พระเยซูเจ้าทรงประกาศ เมือ่ สองพันปีมาก่อน  เพือ่ มนุษย์แต่ละคนจะ ไถ่กู้จิตวิญญาณของตนและรับความรอดพ้น เอกลักษณ์และความใหม่ของพระสมณสาสน์ ฉบับนี้คือ  การน�ำแนวความคิดและคุณค่า ของการท�ำงานมาจัดหลักค�ำสอนด้านสังคม ของพระศาสนจักรให้เป็นระเบียบ  โดยเน้น บทบาทของคนงานเป็นพิเศษ 2.  ความคิดหลักของพระสมณสาสน์ว่า ด้วย  “การท�ำงาน”  (LE) พระสมณสาสน์ว่าด้วย  “การท�ำงาน” แบ่งดังนี้คือ 1.  อารัมภบท 2.  การท�ำงานและมนุษย์ 3.  ความขัดแย้งระหว่างแรงงานกับทุน ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน 4.  สิทธิของคนงาน 5.  องค์ประกอบชีวิตฝ่ายจิตของการ ท�ำงาน มนุ ษ ย์ เ ป็ น ความคิ ด หลั ก ของพระ สมณสาสน์ฉบับนี้  ซึ่งเน้นว่ามนุษย์เป็นทั้ง ผู้สร้างสรรค์  บ่อเกิด  และจุดประสงค์ของ การท�ำงาน  งานเป็นจึงทั้งหน้าที่  สิทธิและ ความดีของมนุษย์  พระสมณสาสน์เกริ่นน�ำ ความแตกต่างส�ำคัญระหว่างมิตวิ ตั ถุวสิ ยั และ อัตวิสัยของการท�ำงาน

การท�ำงานในมิติวัตถุวิสัย  มนุษย์ ปกครองแผ่นดินโดยท�ำให้สัตว์เชื่อง  และน�ำ มาเลี้ยง  เพื่อจะได้มีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ส�ำหรับตน  รวมทั้งหาทรัพยากรธรรมชาติ จากแผ่นดินและทะเล  ยิ่งกว่านั้น  มนุษย์ “ปกครองแผ่นดิน”  (ปฐก  1:28)  เมื่อเขา เริ่ ม เ พ า ะ ป ลู ก แ ล ะ ไ ด ้ ม า ซึ่ ง ผ ล ผ ลิ ต (การเกษตร)  น�ำความมั่ ง คั่ ง ของแผ่ น ดิ น มารวมกับการงานของมนุษย์  ไม่ว่าทางด้าน กายภาพหรือด้านสติปัญญา  (อุตสาหกรรม รวมทั้ ง ในด้ า นการให้ บ ริ ก ารและการวิ จั ย ค้นคว้าทั้งบริสุทธิ์หรือประยุกต์) เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับถ้อยค�ำ ในหนังสือปฐมกาลอีกด้วย  เพราะเป็น  “ผล งานจากสติปัญญาของมนุษย์  และเป็นการ ยื น ยั น ว่ า มนุ ษ ย์ เ ป็ น นายเหนื อ ธรรมชาติ ” (LE  5)  พระสมณสาสน์เน้นทัง้ ผลประโยชน์ และข้อเสียของเทคโนโลยี  ซึง่ ในแง่หนึง่ แสดง การพัฒนาของมนุษย์  อีกแง่หนึ่งบางครั้ง กลับเป็นศัตรูกบั มนุษย์  เมือ่ น�ำเครือ่ งจักรกล มาท�ำงานแทนเขา การท�ำงานในมิติอัตวิสัย  “มนุษย์จะ ต้องครอบครองและปกครองแผ่นดิน  เพราะ ในฐานะ  “ภาพลักษณ์ของพระเจ้า”  เขาเป็น บุคคลคือเป็นสิง่ สร้างอัตวิสยั ทีส่ ามารถกระท�ำ อย่างมีแบบแผนและเหตุผล  สามารถตัดสิน ใจด้วยตนเองและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง อย่างสมบูรณ์  ในฐานะบุคคล  มนุษย์จึงเป็น


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “การท�ำงาน”

ผูก้ ระท�ำการงาน  และในฐานะบุคคลผูท้ �ำงาน เขาประกอบกิ จ กรรมต่ า งๆ  ที่ เ ป็ น ของ กระบวนการท�ำงาน  กิจการเหล่านี้  แม้ไม่ ค�ำนึงถึงเนื้อหาทางวัตถุวิสัย  ก็ต้องช่วยเขา ให้บรรลุความเป็นมนุษย์มากยิง่ ขึน้   ท�ำให้เขา เป็นบุคคลสมบูรณ์ตามกระแสเรียกของตนใน ฐานะมนุษย์  (LE  6) ความแตกต่างดังกล่าวเป็นความคิด หลักของเอกสารนี้ทั้งหมด  เป็นศูนย์กลาง ค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  เพราะ ตัง้ มนุษย์เป็นศูนย์กลาง  นีค่ อื มาตรการทีต่ อ้ ง เข้าใจและยอมรับเพื่อเป็นบรรทัดฐานส�ำหรับ แก้ปัญหาทั้งหมด  “อ�ำนาจการปกครองนี้ หมายถึงมิติอัตวิสัยมากกว่าวัตถุวิสัย  มิตินี้ ก่ อ ให้ เกิ ด ธรรมชาติทางจริยธรรมของการ ท�ำงาน  ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการท�ำงานของ มนุษย์มีคุณค่าทางจริยธรรมในตัวเอง  ซึ่ง เชื่อมโยงอย่างชัดเจนและโดยตรงกับความ จริงที่ว่า  ผู้ที่ท�ำงานนั้นเป็นบุคคล  เป็นผู้มี จิตส�ำนึกและมีอิสระ  คือเป็นผู้ตัดสินชีวิต ของตนเอง”  (LE  6) 3.  การท�ำงานในพระคัมภีร์ ภาคที่   2  ของ  พระสมณสาสน์ พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการท�ำงานกับ มนุ ษ ย์   เน้ น ว่ า ความสั ม พั น ธ์ นี้ มี อ ยู ่ เสมอ  “พระศาสนจักรตระหนักดีว่า  การ ท�ำงานเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานในการ

ด�ำรงชีวิตของมนุษย์บนแผ่นดิน  วิทยาการ สาขาต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ได้กล่าวไว้ เช่ น   มานุ ษ ยวิ ท ยา  โบราณชี ว วิ ท ยา ประวัติศาสตร์  สังคมวิทยา  จิตวิทยา  ฯลฯ เป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ความตระหนักนีม้ บี อ่ เกิดมาจากพระวาจา ของพระเจ้า  และดังนี้ความตระหนักในสติ ปั ญ ญาก็ เ ป็ น ความตระหนั ก ในความเชื่ อ ” (LE  4) 3.1  หน้ า ที่ เ พาะปลู ก และดู แ ล แผ่นดิน พันธสัญญาเดิมน�ำเสนอภาพพระเจ้า เป็นพระผู้สร้าง  ทรงสรรพานุภาพ  ทรงปั้น มนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์  ทรงเชิญ ชวนเขาให้ท�ำงานบนผืนดิน  (เทียบ  ปฐก 2:5-6)  และดูแลสวนเอเดนที่พระองค์ทรง น�ำมาไว้  (เทียบ  ปฐก  2:15)  พระเจ้าทรง มอบหน้ า ที่ ป กครองแผ่ น ดิ น และมี อ�ำนาจ เป็ น นายเหนื อ สิ่ ง มี ชี วิ ต ทั้ ง หลาย  (เที ย บ ปฐก  1:28)  แต่เป็นการปกครองโดยไม่ใช้ อ�ำนาจเผด็จการ  มนุษย์ได้รบั เรียกให้  “เพาะ ปลูกและดูแล”  ทรัพย์สมบัติที่พระเจ้าทรง สร้าง  และเขาได้รบั เป็นของประทานประเสริฐ จากพระองค์  เขาจึงต้องเอาใจใส่ดแู ลแผ่นดิน ด้วยความรับผิดชอบ  การเพาะปลูกบนผืน ดินหมายความว่า  ไม่ทงิ้ แผ่นดินไว้โดยล�ำพัง อ�ำนาจปกครองเหนือแผ่นดินหมายถึง  การ เอาใจใส่ดแู ลเปรียบเสมือนกษัตริยผ์ ทู้ รงปรีชา

9


10

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

ฉลาดทีเ่ อาพระทัยประชากรของพระองค์หรือ ผู้เลี้ยงแกะที่ดูแลฝูงแกะของตน ในแผนการของพระผู้สร้าง  สรรพสิ่ง ทัง้ หลายมีความดีอยูใ่ นตัวและมีไว้เพือ่ มนุษย์ การท�ำงานเป็น  “สกรรมกริยา”  คือกิจกรรม ที่ผู้กระท�ำเป็นมนุษย์และมุ่งไปสู่สิ่งภายนอก แสดงให้ เ ห็ น อ�ำนาจพิ เ ศษที่ ม นุ ษ ย์ มี เ หนื อ “แผ่นดิน”  และในเวลาเดียวกัน  เป็นการ ยืนยันและพัฒนาอ�ำนาจนี้  พระสมณสาสน์ เข้าใจค�ำว่า  “แผ่นดิน”  ที่พระคัมภีร์กล่าว ถึ ง ว่ าเป็ น ส่ วนที่มองเห็น ได้ของจัก รวาลที่ มนุษย์อาศัยอยู ่ และยังหมายถึงโลกทีเ่ ห็นได้ ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ภายใต้อิทธิพลของมนุษย์ ผู้แสวงหาวิธีตอบสนองความต้องการของ ตน  “ค�ำว่า  ‘จงปกครองแผ่นดิน’  มีความ หมายกว้างมาก  เพราะหมายถึงทรัพยากร ทั้งหมดที่ซ่อนอยู่ในแผ่นดิน  และมนุษย์ค้น พบได้โดยกิจการที่รู้ตัว  เพื่อน�ำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ของตน”  (LE  4)  ดังนัน้   ถ้อยค�ำ เหล่ า นี้ ข องพระคั ม ภี ร ์ จึ ง ไม่ มี วั น ล้ า สมั ย เพราะรวมทุกยุคของอารยธรรมและเศรษฐกิจ ทั้งในอดีต  ปัจจุบันและอนาคต  ในทุกกรณี และทุกขั้นตอน  มนุษย์ยัง  “อยู่ในแผนการ ของพระผู้สร้าง  และแผนการนี้ผูกพันอย่าง แน่นแฟ้นกับ  ความจริงทีว่ า่   มนุษย์ถกู สร้าง ขึ้นมาให้เป็นชายและหญิง  ‘ตามภาพลักษณ์ ของพระเจ้า’”  (LE  4)  ในเวลาเดียวกัน กระบวนการนี้เป็นสากลคือ  รวมมนุษย์ทุก

คนและเป็นความจริงกับมนุษย์แต่ละคน  คือ ในทุกคนที่กระท�ำโดยมีจิตส�ำนึก  “อ�ำนาจ ปกครองแผ่นดินด�ำเนินไปในการท�ำงานและ โดยอาศัยการท�ำงาน”  (LE  5) แม้ก่อนที่มนุษย์ท�ำบาป  การท�ำงานก็ เป็นสภาพดัง้ เดิมของเขาอยูแ่ ล้ว  ดังนัน้   การ ท�ำงานจึงไม่ใช่การลงโทษหรือการถูกสาปแช่ง แต่กลับเป็นความยากล�ำบากและความเจ็บ ปวดเพราะบาปของอาดัมและนางเอวา  ซึ่ง ท�ำลายความสัมพันธ์ที่แสดงความไว้วางใจ และความประสานกลมกลื น กั บ พระเจ้ า (เที ย บ  ปฐก  3:6-8)  มนุ ษ ย์ พ ยายามมี อ�ำนาจสมบูรณ์เหนือทุกสิ่ง  จนลืมไปว่าตน เป็นเพียงสิ่งสร้างไม่ใช่พระผู้สร้าง  อย่างไร ก็ตาม  ทัง้ แผนการของพระเจ้า  ความหมาย ของสิ่งสร้าง  รวมทั้งของมนุษย์ที่รับเรียกให้ เป็นผู้เพาะปลูกและดูแลรักษาสิ่งสร้างก็ยังคง อยู่ดังเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง “มีทรัพย์น้อยแต่มีความย�ำเกรงพระ ยาห์เวห์  ย่อมดีกว่ามีทรัพย์สมบัติมาก  แต่ มี ค วามกั ง วลใจ”  (สภษ  15:16)  การ ท�ำงานเป็นสิง่ จ�ำเป็น  แต่พระเจ้าไม่ใช่การงาน ทรงเป็นแหล่งที่มาของชีวิตและจุดมุ่งหมาย ของมนุษย์  กิจกรรมของมนุษย์ต้องได้รับ เกียรติในฐานะแหล่งทีม่ าของความมัง่ คัง่ หรือ อย่างน้อยสภาพชีวิตที่เหมาะสม  เป็นเครื่อง มือทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพือ่ ต่อสูก้ บั ความยากจน แต่ไม่ควรเคารพบูชาเพราะไม่เป็นความหมาย สูงสุดและถาวรของชีวิต


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “การท�ำงาน”

บทบัญญัตเิ กีย่ วกับการหยุดพักงานใน วันสับบาโตเป็นค�ำสอนสูงสุดของพระคัมภีร์ เรื่องการท�ำงาน  ค�ำสอนนี้ท�ำให้เรามู่งไปสู่ อิสรภาพที่เต็มเปี่ยมในวันสับบาโตนิรันดร (เที ย บ  ฮบ  4:9-10)  การพั ก ผ่ อ นเปิ ด โอกาสให้มนุษย์ระลึกถึง  และมีประสบการณ์ กับพระราชกิจของพระเจ้าตัง้ แต่ทรงสร้างโลก และทรงช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น  เพื่อเขาจะ ยอมรั บ ว่ า ตนเป็ น ผลงานของพระองค์ ขอบคุณพระองค์ส�ำหรับชีวติ และความเป็นอยู่ ที่มาจากพระองค์  “การเข้าไปในที่พักผ่อน ของพระเจ้า”  ช่วยเราให้พ้นจากความไม่เชื่อ ฟังที่ท�ำให้เราอยู่ห่างจากพระองค์  จึงช่วยเรา ให้บรรลุความหมายแท้จริงของชีวิต  เรารู้ว่า ทุ ก คนถู ก ผจญอย่ า งรุ น แรงที่ จ ะท�ำให้ ก าร ท�ำงานเป็นรูปเคารพ  แต่เรายังตระหนักดีว่า การกราบไหว้รูปเคารพเช่นนี้จะน�ำเราไปสู่ ความหายนะ 3.2  พระเยซูเจ้าทรงเป็นคนงาน พระสมณสาสน์ว่าด้วย  “การท�ำงาน” (LE)  ชี้แจงว่า  “แม้พระเยซูเจ้าเป็นพระเจ้า แต่ทรงรับธรรมชาติมนุษย์เหมือนเราในทุกสิง่ ทุ ก อย่ า งและทรงอุ ทิ ศ พระชนมชี พ เกื อ บ ทั้ ง หมดในแผ่ น ดิ น นี้ ใ ห้ กั บ การท�ำงานเป็ น ช่างไม้  สถานการณ์ดังกล่าวนี้เป็นลักษณะ เด่นของ  ‘พระวรสารว่าด้วยการท�ำงาน’” (LE  6)

ในการเทศน์สอน  พระเยซูเจ้าทรงสั่ง เราให้เห็นคุณค่าของการท�ำงาน  ทรงบรรยาย ภารกิจของพระองค์ว่าเป็นการท�ำงาน  “พระ บิดาของเราทรงท�ำงานอยู่เสมอ  เราก็ท�ำงาน ด้วยเช่นเดียวกัน  ฉันยังท�ำหน้าทีน่ แี้ ละฉันท�ำ หน้ า ที่ ”   (ยน  5:17)  พระเยซู เ จ้ า ทรง บรรยายภารกิจของบรรดาศิษย์กับงานเก็บ เกี่ยวในนาของพระเจ้าโดยตรัสว่า  “ข้าวที่จะ เก็บเกีย่ วมีมาก  แต่คนงานมีนอ้ ย  จงวอนขอ เจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของ พระองค์เถิด”  (มธ  9:37-38) พระเยซู เจ้ า ยั ง ทรงสั่ ง สอนเราไม่ ใ ห้ ปล่อยตัวเป็นทาสของงาน  เรื่องจิตวิญญาณ ต้องเป็นเอกเพราะ  “มนุษย์จะได้ประโยชน์ใด ในการที่จะได้โลกทั้งโลกเป็นก�ำไร  แต่ต้อง เสียชีวิต”  (มก  8:36)  การท�ำงานต้องไม่ สร้างความวิตกกังวล  มนุษย์ทกี่ งั วลถึงหลาย สิ่งหลายอย่างก็จะละเลยพระอาณาจักรของ พระเจ้ า และความชอบธรรมของพระองค์ (เทียบ  มธ  6:25-34)  ใจของเขาตีหา่ งจาก ทรัพย์สมบัติแท้ที่อยู่ในสวรรค์ซึ่งจะไม่มีวัน เสื่อมสลาย  ตลอดศาสนบริการบนแผ่นดิน พระเยซู เ จ้ า ทรงท�ำงานอย่ า งไม่ รู ้ จั ก เหน็ ด เหนื่ อ ย  ทรงประกอบเครื่ อ งหมาย อัศจรรย์เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นจากโรคภัยไข้ เจ็บ  ความทุกข์ทรมานและความตาย

11


12

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

วันสับบาโต  ซึ่งพันธสัญญาเดิมเคย เสนอให้เป็นวันแห่งการปลดปล่อยได้รับการ ยืนยันอีกครัง้ หนึง่ จากพระเยซูเจ้าผูท้ รงรับรอง คุณค่าดัง้ เดิมว่า  “วันสับบาโตมีไว้เพือ่ มนุษย์ มิใช่มนุษย์มไี ว้เพือ่ วันสับบาโต”  (มก  2:27) การช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความชั่วร้าย  การ ปฏิบตั ติ อ่ กันในฐานะเพือ่ นพีน่ อ้ งและการแบ่ง ปันซึ่งกันและกัน  ท�ำให้การท�ำงานมีความ หมายสูงส่งยิ่งขึ้น  ซึ่งช่วยมนุษย์ให้เดินทาง ไปสู่วันสับบาโตนิรันดร  ณ  ที่นั่น  การพัก ผ่อนกลับเป็นงานฉลองที่ใจมนุษย์ปรารถนา ดังนั้น  การท�ำงานจึงก่อให้เกิดการสร้างใหม่ บนแผ่ น ดิ น   เพราะชี้ ท างให้ ม นุ ษ ย์ มี ประสบการณ์กบั วันนสับบาโตของพระเจ้าและ ชีวิตที่มีความสุขร่วมกัน กิ จ การของมนุ ษ ย์ ที่ ท�ำให้ จั ก รวาล เปลี่ยนแปลงและมั่งคั่งขึ้น  สามารถและต้อง ท�ำให้ความสมบูรณ์ท่ีซ่อนอยู่ในโลกปรากฏ แจ้ง  เป็นคุณลักษณะที่มีแหล่งที่มาและแบบ อย่างในพระวจนาตถ์  การท�ำงานไม่เพียงช่วย เราให้มีส่วนร่วมในการสร้าง  แต่ท�ำให้เรามี ส่วนร่วมในการไถ่มนุษย์อกี ด้วย  ผูท้ ยี่ อมทน ความยากล�ำบากของงานร่วมกับพระคริสต เจ้า  ในแง่หนึง่   เขามีสว่ นร่วมกับพระองค์ใน งานไถ่มนุษย์ให้รอดพ้น  เขาจะด�ำเนินชีวติ ใน ฐานะศิษย์ของพระองค์  เพราะทุกวันเขาแบก กางเขนของตนโดยกิจการงานทีเ่ ขาได้รบั เรียก ให้ท�ำ  (เทียบ  LE  6)

3.3  หน้าที่การงาน แม้  “โลกดังทีเ่ ป็นอยูก่ �ำลังจะผ่านไป” (1  คร  7:31)  มนุษย์ไม่ได้รบั การยกเว้นให้ ปฏิบตั หิ น้าทีต่ า่ งๆ  บนแผ่นดินรวมทัง้ หน้าที่ การงาน  นักบุญเปาโลชวนคริสตชนให้ระลึก ถึงความจริงนี้ในจดหมายฉบับที่  2  ถึงชาว เธสะโลนิกา  เมือ่ วางตนเป็นตัวอย่างของการ ท�ำงานเพื่อไม่เป็นภาระแก่ผู้ใด  และเพื่อช่วย เหลือผู้ที่อยู่ในความต้องการ  คริสตชนถูก เรียกให้ท�ำงานไม่เพียงเพื่อมีอาหารกิน  แต่ เพือ่ เอาใจใส่ดแู ลเพือ่ นมนุษย์ทยี่ ากจนกว่าอีก ด้วย  เพราะพระเยซูเจ้าทรงพระบัญชาให้ ปฏิบัติดังต่อไปนี้คือ  ให้อาหาร  เครื่องดื่ม เครื่ อ งนุ ่ ง ห่ ม   การต้ อ นรั บ   การดู แ ลและ มิตรภาพ  (เทียบ  มธ  25) นักบุญอัมโบรสยืนยันว่า  คนงานแต่ละ คนเป็นพระหัตถ์ของพระเยซูเจ้าผู้ทรงสร้าง และทรงกระท�ำความดีอย่างต่อเนื่อง  มนุษย์ ที่ท�ำงานด้วยความขยันขันแข็งมีส่วนร่วมใน ศิลปะและปรีชาญาณของพระเจ้า  ท�ำให้สิ่ง สร้างทั้งหลายที่พระบิดาทรงจัดเป็นระเบียบ แล้วงดงามขึ้น  ก่อให้เกิดพลังทางสังคมและ ชุ ม ชนที่ ส นั บ สนุ น ความดี ส ่ ว นรวม  โดย เฉพาะอย่างยิ่ง  เพื่อเป็นประโยชน์ส�ำหรับ ผู้ยากจน  การท�ำงานที่เต็มไปด้วยความรัก และมุ่งไปสู่ความรักกลับเป็นโอกาสส�ำหรับ การพิ ศ เพ่ ง ภาวนา  เป็ น การเปิ ด เผยพั น ธ สั ญ ญาที่ ซ ่ อ นเร้ น แต่ เ ป็ น จริ ง ระหว่ า งการ


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “การท�ำงาน”

กระท�ำของมนุษย์กับพระญาณเอื้ออาทรของ พระเจ้า 4.  บุ ค คลเป็ นมาตรฐานวัด ศัก ดิ์ศรีข อง แรงงาน หลั ก การนี้ มี เ หตุ ผ ลสนั บ สนุ น   2 ประการ  คือ 1. มนุษย์เป็น  “ภาพลักษณ์”  ของ พระเจ้ าพระผู้ส ร้าง  และมี  “ความ คล้ายคลึง”  กับพระองค์  ผู้ประทาน พระบัญชาเจาะจงแก่เขา  (เทียบ  ปฐก 1:28)  เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามก็แสดง ความคล้ายคลึงนีแ้ ละมีสว่ นร่วมในการ ท�ำงานของพระเจ้า 2. ในอดี ต   มนุ ษ ย์ ทั่ ว ไปมองการ ท�ำงานที่ต้องใช้แรงกายว่าไม่คู่ควรกับ ผูเ้ ป็นอิสระ  เพราะเป็นงานทีเ่ หมาะสม ส�ำหรับทาส  คริสตศาสนาขยายความ หมายของการท�ำงานในบางแง่บางมุม ที่มีอยู่ในพันธสัญญาเดิม  ท�ำให้ความ คิ ด หลั ก เกี่ ย วกั บ การท�ำงานเปลี่ ย น แปลงอย่ า งสิ้ น เชิ ง   โดยน�ำเนื้ อ หา ทั้งหมดของข่าวดีที่พระเยซูเจ้าทรง ประกาศมาใช้เป็นจุดเริ่มต้น  และโดย เฉพาะอย่างยิ่ง  เพราะเห็นแก่ความ จริงที่ว่า  “แม้พระเยซูเจ้าเป็นพระเจ้า แต่ทรงรับธรรมชาติมนุษย์เหมือนเราใน ทุกสิ่งทุกอย่างและทรงอุทิศพระชนม

ชี พ เกื อ บทั้ ง หมดในแผ่ นดิ นนี้ ใ ห้ กั บ การท�ำงานเป็นช่างไม้  สถานการณ์ ดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นของ  ‘พระ วรสารว่าด้วยการท�ำงาน’  ที่แสดงให้ เห็นว่า  พื้นฐานในการตัดสินคุณค่า ของงานมิ ไ ด้ อ ยู ่ ที่ ลั ก ษณะของการ ท�ำงานแต่อยู่ที่ว่าผู้ที่ท�ำงานนั้นเป็น บุ ค คล  ดั ง นั้ น   ศั ก ดิ์ ศ รี ข องการ ท�ำงานจึงอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงานในมิติอัต วิสัย  เป็นอันดับแรก  ไม่ใช่อยู่ในมิติ วัตถุวิสัย”  (LE  6) พระสมณสาสน์ว่าด้วย  “การท�ำงาน” (LE)  กล่าวต่อไปว่า  “ทัศนะนีไ้ ม่หมายความ ว่ า   เราจะวั ด คุ ณ ค่ า ของการท�ำงานทาง วัตถุวิสัยไม่ได้  แต่เพียงหมายความว่า  พื้น ฐานอันดับแรกของคุณค่าของการท�ำงานอยูท่ ี่ มนุษย์  ผู้เป็นคนกระท�ำ  เราจึงสรุปได้ว่า การท�ำงานมีลักษณะส�ำคัญทางศีลธรรมคือ แม้ ม นุ ษ ย์ ถู ก สร้ า งขึ้ น มาและได้ รั บ เรี ย กให้ ท�ำงานก็ จ ริ ง   แต่ ก ่ อ นอื่ น หมด  งานมี ไว้  “เพื่อมนุษย์”  ไม่ใช่มนุษย์มีไว้  “เพื่อ งาน”  (LE  6) เราจึ ง ต้ อ งยอมรั บ ว่ า มิ ติ อั ต วิ สัย ของ ท�ำงานอยู่เหนือมิติวัตถุวิสัย  ถ้าเราลืมความ จริงนี้ก็หมายความว่า  เราอาจจะสับเปลี่ยน ล�ำดับถูกต้องของคุณค่าการท�ำงาน  (เทียบ LE  7)  ดังทีป่ ระวัตศิ าสตร์ได้แสดงหลายครัง้ ว่าเกิดขึ้นแล้วและทุกวันนี้ยังเกิดขึ้น  เช่น

13


14

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

ในกรณีระบบทุนนิยมใช้มนุษย์เหมือนเป็น วัตถุในการผลิต  เป็นเพียงเครือ่ งมือ  ไม่เป็น จุ ด มุ ่ ง หมายแท้ จ ริ ง ของกระบวนการผลิ ต ทั้งหมดตามศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จากแนวความคิ ด นี้ พ ระสมณสาสน์ (LE)  อธิ บ ายเรื่ อ งอื่ น ๆ  คื อ ความความ ขัดแย้งระหว่างแรงงานกับทุน  (บทที่  III) โดยเน้นเป็นพิเศษ  ความเป็นเอกของบุคคล เหนือสิ่งทั้งหลาย  แม้เหนือทุนในแง่ที่เป็น ปั จ จั ย การผลิ ต โดยรวม  ความหมายถู ก ต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สนิ   การมีสว่ นร่วม งานกั บ ผู ้ อื่ น   หรื อ การท�ำงานเพื่ อ ตนเอง พระสมณสาสน์ไม่ตอ้ งการให้  “คนงานรูส้ กึ ว่า ตนเป็นเพียงเฟืองตัวหนึ่งในเครื่องจักร  มีผู้ สั่งการจากเบื้องบน  และเป็นเพียงเครื่องมือ การผลิตอย่างหนึง่ มากกว่าทีจ่ ะเป็นผูท้ ที่ �ำงาน โดยใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ ข องตนเอง” (LE  15) ถ้ามนุษย์  “มีส่วนร่วมในการรับผิด ชอบและสร้างสรรค์ในสถานที่ท�ำงาน”  เขาก็ มีสิทธิบางประการสอดคล้องกับหน้าที่การ ท�ำงาน  พระสมณสาสน์บทที่  4  บรรยาย ประเด็นต่างๆ  เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างกับคนงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่  กลไกใหญ่ๆ  ที่มีอิทธิพลต่อนโยบาย แรงงาน  ปัญหาการจ้างงาน  ค่าแรงงานและ การแสวงหาผลประโยชน์อื่นๆ  ทางสังคม ความส�ำคัญของสหภาพแรงงาน  ศักดิศ์ รีของ

งานเกษตร  คนพิการในโลกการท�ำงานและ ปัญหาการอพยพย้ายถิ่น  แม้พระสมณสาสน์ พิจารณาการท�ำงานในแง่มุมต่างๆ  แต่เน้น บุคคลเป็นศูนย์กลางอยู่เสมอ 5.  ผู้ท�ำงานคือมนุษย์ พระสมณสาสน์ในบทที่  5  อธิบาย องค์ประกอบส�ำคัญๆ  ของชีวติ จิตทีผ่ ทู้ �ำงาน ควรค�ำนึงถึง  ทัง้ นี ้ “เนือ่ งจากการท�ำงานใน แง่ผู้กระท�ำคือกิจกรรมของบุคคล  ดังนั้น ผลที่ตามมาคือมนุษย์ทั้งครบ  หมายถึงทั้ง กายและจิตใจมีส่วนในการท�ำงาน  ไม่ว่างาน นั้ น จะเป็ น การใช้ แรงงานหรื อ งานทางสติ ปัญญา”  (LE  24)  ความจริงนีม้ ผี ลเป็นรูป ธรรมอะไรบ้างส�ำหรับมนุษย์ สมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอล  ที่  2  ทรงคิดว่าเราจะมีความคิดที่ถูก ต้องเกี่ยวกับการท�ำงานไม่ได้  ถ้าปราศจาก แนวความคิดถูกต้องเกี่ยวกับมนุษย์  ยิ่งกว่า นัน้   แม้จติ วิทยาสอนว่าเป็นมนุษย์ทที่ �ำให้การ งานมีคณ ุ ภาพและความหมาย  ดังนัน้   การที่ มนุษย์เป็นผู้กระท�ำงานอย่างแท้จริงเรียกร้อง ให้เขามุง่ มัน่ เจริญก้าวหน้าทัง้ ตามทางไปสูว่ ฒ ุ ิ ภาวะการเป็นมนุษย์และความเชื่อ  มนุษย์ ต้องระลึกได้ว่า  การท�ำงานไม่เป็นมาตรการ เดียวทีว่ ดั ความเป็นอยูข่ องตน  แม้มบี ทบาท ในการให้ ค วามหมายแก่ ต น  แต่ ยั ง ไม่ จ บ สมบู ร ณ์   จ�ำเป็ น ต้ อ งมองการท�ำงานด้ ว ย ความสมดุล  ดังต่อไปนี้


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “การท�ำงาน”

5.1  มนุ ษ ย์ ที่ ท�ำงานส่ ง เสริ ม เอกลักษณ์ในการเป็นมนุษย์  โดยมี ศักดิ์ศรีของตน  “อาศัยการท�ำงานนี้ เอง  มนุ ษ ย์ ไ ม่ เ พี ย งเปลี่ ย นแปลง ธรรมชาติ ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ ความ ต้องการของตนเท่านั้น  แต่มนุษย์ยัง ได้รบั การพัฒนาให้เป็น  “คนทีส่ มบูรณ์ ยิง่ ขึน้ ”  หรืออีกนัยหนึง่   ‘เขากลับเป็น คนมากยิ่ ง ขึ้ น ’”  (LE  9)  เขารั บ รู ้ ตนเองว่าเป็น  “ผู้มีความสามารถใน การท�ำงานที่มีแบบแผนและมีเหตุผล สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง  มีแนว โน้มทีจ่ ะท�ำให้ตนเองสมบูรณ์”  LE  6) และมี จิ ต ส�ำนึ ก ถึ ง เสรี ภ าพของตน “เมื่ อ มนุ ษ ย์ ท�ำงาน  เขาไม่ เ พี ย ง เปลี่ ย นแปลงทรั พ ยากรและสั ง คม เท่ า นั้ น   แต่ ยั ง พั ฒ นาตนเองอี ก ด้วย”(LE  26) 5.2  มนุษย์ที่ท�ำงานเจริญเติบโตใน การปฏิบตั คิ ณ ุ ธรรม  “คุณธรรมในแง่ ที่ เ ป็ น ท่ า ที ด ้ า นศี ล ธรรม  เป็ น สิ่ ง ที่ ท�ำให้มนุษย์เป็นคนดี  (LE  9)  การ ท�ำงานท�ำให้บคุ คลพัฒนาคุณธรรมทาง ศีลธรรม  และคุณลักษณะอื่นๆ  เช่น ความสามารถที่ จ ะอดทนต่ อ ความ เหนื่ อ ยล้ า   ความพากเพี ย ร  ความ ขยั น ขั น แข็ ง   การมี ม านะบากบั่ น ความส�ำนึกต่อหน้าที่และความรับผิด ชอบ

5.3  มนุษย์ที่ท�ำงานเปิดตนต้อนรับ ผู้อื่น  นอกจากคนงานสนับสนุนและ ท�ำให้ตนเองสมบูรณ์แล้ว  เขาก็อุทิศ ตนเพื่อสร้างและค�้ำจุนครอบครัวของ ตน  ซึ่ ง อั น ดั บ แรก  ต้ อ งได้ รั บ การ สนับสนุนจากการท�ำงาน  คนงานเป็น ส่ ว นส�ำคั ญ ของกลุ ่ ม สั ง คม  และใน ฐานะสมาชิกของกลุ่มเขาอุทิศตนเพื่อ ความดีส่วนรวม  อีกทั้งพยายามส่ง เสริมเอกภาพในนามของศักดิ์ศรีของ แต่ ล ะคนและความสมานฉั น ท์ ข อง บรรดาคนงาน 5.4  มนุษย์ที่ท�ำงานเปิดตนต้อนรับ พระเจ้า  ผูท้ รงแตกต่างกันเราอย่างสิน้ เชิ ง และค้ น พบว่ า ตนเป็ น คริ ส ตชน โดยอาศัยการกระท�ำของตน  มนุษย์ ค้นพบว่าตนมีความสัมพันธ์กบั พระเจ้า เพราะเป็ น ภาพลั ก ษณ์ ข องพระองค์ เป็นผู้ร่วมมือกับงานเนรมิตสร้างและ มีส่วนร่วมในการไถ่กู้มนุษยชาติ  โดย ด�ำเนินชีวติ ทีย่ อมรับความเหน็ดเหนือ่ ย เมื่ อ ยล้ า ของการท�ำงานร่ ว มกั บ พระ คริสตเจ้า  ในการพักผ่อนเขาค้นพบ ความงดงามทีจ่ ะส่งเสริมความสัมพันธ์ กับพระเจ้า  เมื่อเขาท�ำงานเขาก็ร่วม เดินทางติดตามพระคริสตเจ้า  ผู้ทรง พระชนมชีพในบ้านช่างไม้แห่งนาซา เร็ธเป็นเวลา  30  ปี  ทรงได้อาหาร

15


16

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

จากหยาดเหงื่อที่ไหลลงมาจากหน้า ผาก  ในที่สุด  มนุษย์ที่ท�ำงานก็ค้น พบว่าตนมีสว่ นร่วมในแผนการยิง่ ใหญ่ แห่งความรักดั้งเดิมของพระบิดาเจ้า ผูท้ รงใฝ่ฝนั ให้มนุษย์มอี �ำนาจปกครอง และดูแลสิง่ สร้างทัง้ มวลทีก่ �ำลังเดินทาง มุ่งไปสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า 6.  สรุป พระสมณสาสน์  “Laborem  Exercens”  สอนว่า  การท�ำงานจะเหมาะสมกับ มนุษย์ก็ต่อเมื่อ  “ท�ำเพื่อมนุษย์”  แล้วการ ท�ำงานจะเป็นเช่นนี้ถ้าเป็น -  งานที่เลือกได้อย่างอิสระ -  งานที่รวมผู้ใช้แรงงานเข้าด้วยกัน อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาชุมชน -  งานที่มีวิธีช่วยส่งเสริมคนงานให้ได้ รับความเคารพโดยปราศจากการกีด กันใดๆ -  งานที่ช่วยตอบสนองความต้องการ ของครอบครั ว   และเปิ ด โอกาสให้ บรรดาบุตรของคนงานได้รบั การศึกษา โดยเด็กไม่ถูกบังคับให้ท�ำงาน

-  งานที่ อ นุ ญ าตให้ ค นงานบริ ห าร จัดการตนเองอย่างอิสระ  และมีสิทธิ์ ให้ผู้อื่นรับฟังความคิดเห็นของตน -  งานที่ให้โอกาสแก่คนงานจะได้ค้น พ บ ภู มิ ห ลั ง ข อ ง ต น   ทั้ ง ร ะ ดั บ ครอบครัวและฝ่ายจิต -  งานทีร่ บั ประกันว่า  เมือ่ เกษียณอายุ งานแล้ว  ผูท้ �ำงานจะมีสภาพการด�ำรง ชีวิตที่เหมาะสม คริสตชนต้องมองการท�ำงานด้วยแสง สว่างทีม่ าจากความเชือ่   ความหวังและความ รัก  คุณธรรมดังกล่าวนีเ้ ป็นของประทานจาก พระเจ้า  ผูท้ รงใฝ่ฝนั ให้มนุษย์มคี วามสุข  เรา จึงถูกท้าทายให้ประกาศความจริงนีแ้ ก่คนงาน ทั้ ง หลาย  เพื่ อ เขาจะมี ค วามหวั ง ในทุ ก สถานการณ์ของชีวิต  เราต้องเป็นพยานด้วย วาจาและกิ จ การว่ า   มนุ ษ ย์ เ ป็ น บุ ค คลเป้ า หมายของความรั ก ของพระเจ้ า   แม้ ง านที่ เหน็ดเหนื่อยเป็นอุปสรรคให้เขาเดินทางด้วย ความยากล�ำบากเพื่อมุ่งสู่ชีวิตที่สมบูรณ์


พระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ว่าด้วย “การท�ำงาน”

17

Baum,  Gregory.  The  Priority  of  Labor.  New  York:  Paulist  Press,  1982. Donahue,  Thomas  R.  “From  Rerum  novarum  to  Laborem  exercens”. Toward  the  Year  2000,  ed.  Jan  Schotte,  266-293.  Roma  : Pontificia  Commissio  Iustitia  et  Pax,  1982. John  Paul  II,  Pope.  Centesimus  Annus.  Vatican  City  :  Libreria Editrice  Vaticana,  1991. ------------------------  Laborem  Exercens.  Vatican  City  :  Libreria  Editrice Vaticana,  1981. Leon-Dufour,  Xavier.  Dictionary  of  Biblical  Theology.  New  York  : Desclee  Company,  1967. McKenzie,  John  L.,  S.J.,  Dictionary  of  the  Bible.  London  :  Geoffrey Chapman,  1976. Pontifical  Council  for  Justice  and  Peace.  Compendium  of  the Social  Doctrine  of  the  Church.  Vatican  City  :  Libreria  Editrice Vaticana,  2004. Schotte,  Jan  P.  Reflections  on  Laborem  exercens.  The  Social teaching  of  John  Paul  II  Series.  Vatican  City  :  Pontifical Commission  Iustitia  et  Pax,  1980. Sorge,  Bartolome.  “Laborem  Exercens:  Toward  a  New  Solidarity.”  in Official  Catholic  Social  Teaching  :  Readings  in  Moral  Theology. Edited  by  Charles  Curran  and  Richard  McCormick.  Vol.  5. New  York  :  Paulist  Press,  1986,  241-246. Volf,  Miroslav.  “On  Human  Work  :  An  Evaluation  of  the  Key  Ideas  of the  Encyclical  Laborem  Exercens.”  Scottish  Journal  of  Theology 37.  (1984)  :  65-79.


มาจากการท�ำงาน

บาทหลวงปรีชา  ธรรมนิยม

ใคร่ขอออกตัวก่อน  ว่าบทถอดความ นี้ขอกล่าวในแง่มุมมองทางบวกแบบกว้างๆ ของ  “การท�ำงาน”  ในลักษณะเอียงๆ  ไป ทางธรรมะธัมโมนิดๆ  จะกล่าวเพียงเล็กน้อย ในแง่มุมมองทางลบของ  “การท�ำงาน”  ขอ ให้ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องผู ้ เชี่ ย วชาญได้ ท�ำหน้ า ที่ วิเคราะห์มุมมองในแง่ลบของ  “การท�ำงาน” ตามความรู ้ ความสามารถของพวกท่านจะดี กว่า

บาทหลวงสังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล  (O.M.I.)

ความหมายของการท�ำงานในพระคัมภีร์ ผู้ร่วมงาน จากหนังสือปฐมกาล  พันธสัญญาเดิม ได้กล่าวถึงคุณค่าของการท�ำงาน  ไปในทาง บวก  “เมือ่ พระเจ้าทรงเนรมิตฟ้าและดิน  บน แผ่นดินยังไม่มีพุ่มไม้  และตามทุ่งนา  หญ้า ยังไม่ได้งอกขึน้ เลย  เพราะพระเจ้ายังมิได้ทรง ท�ำให้ฝนตกบนแผ่นดิน  และยังไม่มมี นุษย์ใช้ แผ่นดินเป็นทีเ่ พาะปลูก  [...]  พระเจ้าทรงน�ำ มนุษย์มาไว้ในสวนเอเดน  เพือ่ เพาะปลูกและ ดูแลสวน”  (ปฐก  2:  4,  5,15)

[  หมวดชีวิตด้านจิตใจ ]

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาจากการท�ำงาน

ดังนี้  มนุษย์ผู้ที่พระเจ้าทรงสร้างมา ตามภาพลักษณ์ของพระองค์  ได้ผลิตผลการ ท�ำงานเทียบเคียงคู่ไปกับการสร้างโลกของ พระเจ้า  เหมือนต้องการบอกว่าพระเจ้ามีพระ ประสงค์ดึงมนุษย์เข้าร่วมผลงานสร้างโลก กับ/ของพระองค์  มนุษย์กลายเป็นผู้ร่วม งานสร้างโลก  การทีพ่ ระเจ้าทรงให้มนุษย์อยู่ ในสวนเอเดน  คงเป็นเพราะพระองค์มีพระ ประสงค์ ใ ห้ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ พ บตนเองในความ กลมกลืนกับผืนแผ่นดินที่พวกเขาได้ถูก สร้างขึ้นมา/ถูกดึงออกมา ในมุมมองนี้  พระคัมภีร์ได้ให้ความ หมายของการงาน/การท�ำงานไปในทางบวก นั่นคือ  การท�ำงานเป็นการมีส่วนร่วมใน กิจการเนรมิตสร้างสรรของพระเจ้า  เป็น ภาพสะท้อนให้เห็นกิจการของพระผู้สร้าง ดูเหมือนพระคัมภีร ์ ต้องการบอกว่ากิจกรรม ทุกกิจกรรม  (รวมถึงการพักผ่อน)  ในชีวิต มนุษย์  คือ  การท�ำงาน  การท�ำงานจึงมิใช่ ผลพวงของบาป(การท�ำบาป)ของมนุษย์คแู่ รก แต่ผลพวงของการลืมตัวครัง้ แรกของ มนุษย์  คือ  ความปั่นป่วนวุ่นวายในวิธีการ ท�ำงาน  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั แผ่น ดินผิดเพี้ยนไป  ไม่มีความกลมกลืนเหมือน เดิม  ไม่มีกัลยาณมิตรกันต่อไป  การท�ำงาน ได้กลายเป็นภาระอันหนักอึง้   “...เพราะเจ้าได้ กินผลจากต้นไม้ที่เราห้ามมิให้กิน  แผ่นดิน จะถูกสาบแช่งเพราะเจ้า  เจ้าจะต้องหากินจาก

31

แผ่นดินอย่างทุกข์ยากทุกวันตลอดชีวติ   [...] เจ้าจะมีอาหารกินก็ดว้ ยหยาดเหงือ่ บนใบหน้า จนกว่าเจ้าจะกลับเป็นดินอีก  เพราะเจ้าถูก ปั้นมาจากดิน...”  (ปฐม  3:  17-19) การท�ำงานเป็นส่วนหนึ่งของสภาพ มนุษย์ หนั ง สื อ ปฐมกาลบรรยายว่ า พระเจ้ า ทรงมอบหมายงานให้แก่มนุษย์ตั้งแต่เริ่มทรง สร้างโลก  “พระเจ้าทรงอวยพรเขาทั้งสอง  และตรัสว่า  ‘จงมีลูกให้มาก  และทวีจ�ำนวน ขึ้นจนเต็มแผ่นดิน  จงเป็นนายเหนือปลาใน ทะเล  นกในอากาศ  และสั ต ว์ ทุ ก ชนิ ด ที่ เคลื่ อ นไหวอยู ่ บ นแผ่ น ดิ น ’”  (ปฐมกาล 1:28) เราจึงกล้าสรุปได้วา่   ความมุง่ หวังของ มนุษย์  คือ  ท�ำงานตั้งแต่สมัยสร้างโลกมา แล้ว  การกล่าวถึงงานต่างๆ  ที่พระเจ้าทรง ให้ท�ำตั้งแต่สมัยสร้างโลกบ่งบอกว่าการงาน เป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติของมนุษย์ บทเพลงสดุดีที่104  สรรเสริญอย่าง สวยงามถึงภารกิจของพระผูเ้ นรมิต  สรรพสิง่ และของมนุษย์  “ส่วนมนุษย์กอ็ อกไปท�ำงาน  มุ่งมั่นท�ำงานจนถึงเย็น” อย่างไรก็ตาม  การงานของมนุษย์แตก ต่ า งจากการกระท�ำของสั ต ว์ ซึ่ ง ท�ำไปตาม สั ญ ชาตญาณ  มนุ ษ ย์ ส ามารถเปลี่ ย นแปร ทรัพยากรธรรมชาติและน�ำมาใช้ให้เกิดคุณ


ประโยชน์ได้  ให้สอดรับกับเป้าประสงค์อันดี ที่ได้ตั้งไว้ก่อนตามความสามารถของตนเป็น เสมือนต้องการบอกให้รู้ว่าผลงานของพวก เขาสานต่อผลงานของพระเจ้า การท�ำงาน  คือ  งานบริการพระเจ้า หลั ง การลื ม ตั ว ครั้ ง แรกของมนุ ษ ย์ การท�ำงานดูเหมือนยากล�ำบากขึ้น  แต่ใน ความเป็นจริง  หนังสือปฐมกาลต้องการบอก ว่า  การท�ำงานหาใช่การถูกสาบแช่งในตัวเอง ไม่  แต่เป็นเงื่อนไขในเวลาต่อมาของการ ปฏิบตั งิ านมากกว่า  เงือ่ นไขของความล�ำบาก เหน็ดเหนือ่ ย  การท�ำงานไม่ใช่สงิ่ เลวร้าย  แต่ ดูเป็นสิ่งยากล�ำบากมากกว่า พระคัมภีร์กล่าวเช่นกันว่าการท�ำงาน คือ  วิธีหนึ่งของการท�ำมาหาเลี้ยงชีพ  ด้วย การท�ำงาน  มนุษย์สามารถเลี้ยงตนเองและ ตอบสนองความจ�ำเป็นในชีวิตได้  อัครธรรม ทูตเปาโลได้ปลุกเร้าชาวโครินธ์ให้หวังในการ ท�ำงาน  “...  ทัง้ ผูป้ ลูกและผูร้ ดน�ำ้ ก็ไม่สำ� คัญ เท่ า พระเจ้ า ผู ้ ท รงบั น ดาลให้ เ ติ บ โตขึ้ น  ผู้ปลูกและผู้รดน�้ำส�ำคัญเท่ากัน  แต่ละคนได้ รับค่าจ้างของตนตามส่วนของงานที่ตนท�ำ เพราะเราเป็นผู้ร่วมงานกับพระเจ้า(คนงาน ของพระเจ้า)”  (1  โครินธ์  3:7–9) พระคัมภีร์ยังกล่าวอีกว่า  การท�ำงาน ก็คือ  การรับใช้บริการ  นั่นคือการพยายาม ท�ำความดี  หาทุกวิธที างให้เกิดคุณประโยชน์

แก่ผอู้ นื่   (ไม่เป็นกาฝาก  คอยเกาะคนอืน่ อยู่ ร�่ำไป)  “เมื่อเราอยู่กับท่าน  เราได้ก�ำชับท่าน ว่า  ถ้าผู้ใดไม่อยากท�ำงานก็อย่ากิน  แต่เรา ได้ ยิ น ว่ า   บางท่ า นด� ำ เนิ น ชี วิ ต อย่ า งเกี ย จ  คร้าน  ไม่ท�ำงานเลย  แต่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับ ธุระของผู้อื่น  เราก�ำชับและเตือนคนเช่นนี้  ในพระเยซู ค ริ ส ต์   องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า   ให้ ท�ำงานอย่างสงบ  และหาเลี้ยงชีพด้วยน�้ำพัก น�้ ำ แรงของตนเอง  พี่ น ้ อ งทั้ ง หลาย  อย่ า ท้อถอยในการท�ำความดี”  (เทียบ  2  เธสะ โลนิกา  3:10-12) วิธรี บั ใช้พระเจ้าแท้จริงแล้วควรเป็นการ ท�ำให้พระองค์รสู้ กึ สบาย  เป็นกันเอง  เราต้อง ท�ำเช่นนัน้   มิใช่เพือ่ เป็นทีส่ งั เกตเห็นเด่นกว่า คนอื่น  แต่เพื่อท�ำให้  พระองค์พอพระทัย เพื่อเป็นผู้รับใช้พระอาณาจักรของพระองค์ ผู้ทรงเรียกเราให้ท�ำ  “หลายสิ่งหลายอย่าง” เพือ่ คุณประโยชน์แก่ผอู้ นื่   และพระบิดาก็ทรง ปลื้ ม ปี ติ เ สมอเมื่ อ ทรงทอดพระเนตรเห็ น เรา  “บังเกิดผลมาก”  (เทียบ  ยอห์น  15:8) มี แ นวความคิ ด ของระเบี ย บบั ง คั บ ความเป็ น น�้ ำ หนึ่ ง ใจเดี ย วกั น   การท�ำสิ่ ง ดี การรับใช้บริการแฝงอยู่ในการท�ำงาน  การ ท�ำงานจริงจึงอยูเ่ สมอภายใต้  ”กฎแห่งความ รัก”  ที่องค์พระเยซูคริสต์ได้ทรงมอบไว้ให้ ถ้าพวกเรารักกัน  พวกเราต้องรับใช้กันและ กัน


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาจากการท�ำงาน

การรับใช้ต้องเป็นบาทฐานของชีวิต คริสตชนบนโลกนี้  เป็นการเรียกร้อง  การ ทุ่มเทอย่างถาวรในการท�ำงาน  (24  ช.ม.) ไม่ว่างานนั้นจะอยู่ในลักษณะใด  พระคัมภีร์ ในมุมมองนีจ้ งึ ไม่แยกแยะงานในบ้านและงาน นอกบ้าน  “ท่านผู้ใดที่มีผู้รับใช้ออกไปไถนา หรือไปเลี้ยงแกะ  เมื่อผู้รับใช้กลับมาจากทุ่ง นา  ผู้นั้นจะพูดกับผู้รับใช้หรือว่า  ‘เร็วเข้า  มานั่งโต๊ะเถิด’  แต่จะพูดมิใช่หรือว่า  ‘จง เตรียมอาหารมาให้ฉนั กิน  จงคาดสะเอวคอย รับใช้ฉันขณะที่ฉันกินและดื่ม  หลังจากนั้น  เจ้าจึงจะกินและดืม่ ’  นายย่อมไม่ขอบใจผูร้ บั ใช้ที่ปฏิบัติตามค�ำสั่งมิใช่หรือ  ท่านทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกัน  เมื่อท่านได้ท�ำตามค�ำสั่งทุก ประการแล้ว  จงพูดว่า  ‘ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ ประโยชน์  เพราะฉันท�ำตามหน้าที่ที่ต้องท�ำ เท่านั้น’”  (ลูกา  17:7-10) ทุกอย่างมีเวลาของมัน องค์ ป ระกอบอี ก อย่ า งที่ เราอาจลื ม พิจารณาไป  คือ  พระคัมภีรด์ เู หมือนกล่าวใน เวลาเดียวกันว่า  เมื่อพระเจ้า  พระผู้สร้าง ได้ทรงมอบการท�ำงานให้มนุษย์  พระองค์ได้ ทรงสั่งให้มีวันหยุด  (พัก)  เพื่อมีเวลาให้ พระเจ้า  อยู่กับพระเจ้า  แต่มนุษย์ก็สามารถ เป็นอิสระในการท�ำกิจกรรมดีได้  “วันสับบา โตวันหนึง่   องค์พระเยซูเสด็จผ่านนาข้าวสาลี บรรดาศิษย์ที่เดินทางมาด้วยได้เด็ดรวงข้าว

33

ชาวฟาริสไี ด้ถามพระองค์วา่   ‘ท�ำไมศิษย์ของ ท่านท�ำสิ่งต้องห้ามในวันสับบาโต’  พระองค์ ได้ตรัสตอบว่า  ‘ท่านไม่ได้อ่านพระคัมภีร์  หรือว่า  กษัตริย์ทรงท�ำสิ่งใดในยามที่มีความ จ�ำเป็นและความหิวโหย  กษัตริย์ดาวิดได้ เสด็ จ เข้ า ไปในพระนิ เวศของพระเจ้ า เสวย ขนมปั ง ที่ ตั้ ง ถวาย  ซึ่ ง ใครจะกิ น ไม่ ไ ด้ นอกจากบรรดาสมณะเท่านั้น  พระองค์ยัง ทรงให้ผู้ติดตามกินอีกด้วย’  แล้วพระองค์ ทรงเสริ ม ว่ า   ‘วั น สั บ บาโตมี ไว้ เ พื่ อ มนุ ษ ย์  มิใช่มนุษย์มีไว้เพื่อวันสับบาโต’  (มาระโก 2:23-27) องค์ พ ระเยซู มิ ไ ด้ ต�ำหนิ ก ารท�ำงาน ของมารธา  ผู้รู้สึกว่า  ในฐานะเจ้าบ้าน  ตน มีหน้าที่รับรองแขกคนส�ำคัญให้ดีที่สุด  แต่ เธอได้ปล่อยให้งานกดดันเธอและมีอ�ำนาจ เหนือเธอ  แต่พระองค์ทรงติงให้ทั้งมารีและ มารธา  ได้รู้จักใช้เวลาอย่างถูกต้อง  สอดรับ กลมกลืนกับสภาพการณ์และสถานการณ์ คริสตศาสนิกชนจึงควรพยายามเข้าใจ ให้ดวี า่   การท�ำงานในมุมมองการรับใช้บริการ ตลอด  มิได้หมายความว่าเราต้องบากบั่น ท�ำงานอย่างหามรุง่ หามค�ำ  ่ แต่การท�ำงานรับ ใช้พระเจ้า  (และเพื่อนมนุษย์)  มีเวลาในทุก องค์ประกอบของแต่ละองค์ประกอบ  การอยู่ กับพระเจ้า  (หรือการพักผ่อน)  เป็นองค์ ประกอบหนึง่ ของการท�ำงานรับใช้น ี้ และการ ท�ำงานนี้ควรเป็นบริการที่สรรสร้างสังคม  จึง


ไม่มีค�ำว่าแก่เกินท�ำงาน  -  นอกจากปัจจัย การขาดแรงไม่มคี �ำว่า  -  หยุดความพยายาม ส�ำหรับนักค้นคว้า  ฯลฯ  (จะไม่ขอกล่าวถึง การท�ำงานที่หวังแต่ค่าจ้าง  หรือการฉกฉวย โอกาสเอาเปรียบผู้อื่น......) ค�ำสอนของพระศาสนจักร พระสมณสาส์น  Rerum  novarum (1891/2334)  พระสั น ตะปาปา  Leon XIII  ทรงห่ ว งใยสภาพและเงื่อนไขในการ ท�ำงานอันไม่เป็นธรรมในเวลานัน้   ได้ทรงพระ อักษรในสมณสาส์น  ถึงศักดิ์ศรีของมนุษย์ และการท�ำงานทีต่ อ้ งมีคา่ บริการอันเหมาะและ เที่ ย งธรรม  ถึ ง เงื่ อ นไขที่ ต ้ อ งเคารพให้ เกียรติศักดิ์ศรีของมนุษย์  ถึงสิทธิของการ ต้องมีเวลาพักผ่อน  พระองค์ยังตรัสว่าการ ท�ำงานของทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นของชั้นใด ของสังคม  ไม่ว่าจะเป็นการงานใหญ่  หรือ การงานเล็ก  เป็นผลงานทีม่ ศี กั ดิศ์ รีเท่าเทียม กัน พระสั น ตะปาปา  ปี โ อที่   IX  ใน สมณสาส์ น   Quadragesimo  Anno (1931)  และนักบุญ  ยอห์น  ปอล  ที่  2 พระสันตะปาปา  ในสมณสาส์น  Cen-tesimus  Annus  (1991)  ทั้งสองพระองค์ ได้ ท รงเน้ น ย�้ ำ หลั ก การส�ำคั ญ อั น เป็ น ฐาน มั่นคงของหลักความเชื่อทางสังคมของพระ ศาสนจักร  คือ  การทีต่ อ้ งรูถ้ งึ สิทธิและความ

รับผิดชอบของทุกคนทีต่ ้องมีต่อสังคม  โดย ต้ อ งเคารพศั ก ดิ์ ศ รี ข องความเป็ น มนุ ษ ย์ ภาพลั ก ษณ์ ข องพระเจ้ า ในทุ ก ตั ว บุ ค คล นักบุญ  ยอห์น  ปอล  ที่  II  ไม่ทรงลังเล เลยในการตรัสว่า  การท�ำงานไม่ใช่การเป็น ทาสเหมือนเครื่องจักร  แต่การท�ำงานเป็น สิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ทุกคนในการช่วย สร้ า งคุ ณ ประโยชน์ ส ่ ว นรวม  (common good)  จึ ง จ�ำเป็ น ที่ ต ้ อ งพยายามช่ ว ยให้ ทุกคนมีงานท�ำ ตั้งแต่สมณสาส์น  Laborem  exercens  (1981)  มาแล้ ว   นั ก บุ ญ   ยอห์ น ปอล  ที่   2  พระสั น ตะปาปาทรงถื อ ว่ า ศักดิศ์ รีของการท�ำงานต้องเป็นแก่นกลางของ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม  นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงเตือนให้ทุกคนดูความส�ำคัญ แรกที่ตัวบุคคลก่อน  เพื่อจะได้ไม่หลงน�ำ บุ ค คลลงไปจมในขบวนการของการผลิ ต หลากหลาย  นั่นก็หมายความอีกเช่นกันว่า มนุษย์ต้องประพฤติตนให้สอดรับกับความ เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า  ผูท้ รงปฏิบตั งิ าน ตลอดเวลา  และมนุษย์ต้องสานต่อภารกิจ แห่งสร้างสรรนี้  ทั้งในการท�ำงานทั้งในการมี เวลาเพือ่ พระเจ้า  (ในการพักผ่อน)  และนีค่ อื คุณค่าของการท�ำงาน ในสมณสาส์น  Caritas  in  veritate (2009)  พระสันตะปาปาเบเนดิกต์  ที่  16 ได้ทรงพระอักษรเน้นตามรอยสมณสาส์นของ


นักบุญ  ยอห์น  ปอลที ่ 2  พระสันตะปาปา ถึงศักดิ์ศรีของการท�ำงาน  พระองค์ทรงเน้น ว่า  บ่อยครัง้ ทีเดียว  ความยากจนเป็นผลมา จากการล่วงละเมิดศักดิศ์ รีของการท�ำงาน  จึง เป็นการล่วงละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์ไปด้วย โดยปริ ย าย  พระองค์ ไ ด้ ท รงพระอั ก ษรว่ า ความรักคือพลังที่ผลักดันให้กล้าและใจกว้าง ทุ ่ ม เทตนในเรื่ องความยุติธ รรม  และสัน ติ ความรักเผือ่ แผ่  (charity)  จึงต้องเป็นหัวใจ ของหลั ก ความเชื่ อ ทางสั ง คมของพระ ศาสนจักร การท�ำงานให้ศักดิ์ศรีแก่ความเป็นมนุษย์ ศักยภาพในการช่วยสร้าง พระสันตะปาปาฟรานซิสได้เทศน์ใน วันที่  1  พฤษภาคม  2013  ว่า  วันฉลอง นักบุญโยเซฟกรรมกร  เตือนให้พวกเราย้อน ร�ำลึกถึงพระเจ้าผู้ทรงท�ำงานถึงองค์พระเยซู  ผู ้ เ ป็ น คนท� ำ งาน  ดั ง นี้   การท� ำ งานจึ ง น� ำ ความมีศกั ดิศ์ รีมาให้พวกเรา  พระองค์ยงั ตรัส อี ก ว่ า   การท�ำงาน  คื อ   “ศั ก ดิ์ ศ รี ข อง มนุษย์”  จนสามารถกล่าวได้ว่าสังคมใดที่ไม่ สามารถแจกจ่ายการท�ำงานให้ทกุ คนได้ทวั่ ถึง เป็นสังคมที่ไม่เป็นธรรม ในความคิดของพระองค์  ‘การท�ำงาน เป็ น อะไรที่ ม ากกว่ า การท�ำมาหาเลี้ ย งชี พ ’ ผู้ที่ท�ำงานต้องมีความภูมิใจในการมีศักดิ์ศรี ของความเป็นคน  ศักดิศ์ รีนมี้ ไิ ด้อยูใ่ นอ�ำนาจ

วาสนา  มิ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นเงิ น ตรา  มิ ไ ด้ อ ยู ่ ใ น วัฒธรรมความเป็นอยู่ใดใด  ศักดิ์ศรีนี้อยู่ใน การท�ำงานอั น เป็ น กิ จ การที่ ส วยงามที่ สุ ด ทีพ่ ระเจ้าได้ทรงให้แก่มนุษย์  นัน่ คือศักยภาพ ในการสร้ า ง  ในการท� ำ งาน  เพื่ อ ให้ ส ม ศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์  ภาพลักษณ์ของ พระองค์   เสี ย งของพระเจ้ า ที่ ไ ด้ ต รั ส กับกาอิน  “น้องของเจ้าอยู่ไหน?”  สะท้อน ให้พวกเราในโลกปัจจุบันได้ยินว่า  “เพื่อน  พี่ น ้ อ งของท่ า นที่ ไ มมี ง านท� ำ อยู ่ ที่ ไ หน?” (สถานการณ์เช่นนี้น่าเป็นเรื่องจูงใจให้เราได้ ตระหนักถึงมโนธรรมของพวกเรา  เพราะมี คนมากมายทีต่ อ้ งการท�ำงาน  แต่ไม่มงี านให้ พวกเขา  หรือไม่ก็ถูกกีดกันไม่ให้ท�ำงานใน หลากหลายกลวิธีที่แยบยลสุดคาดเดาได้.....) องค์ พ ระสั น ตะปาปาได้ ท รงยกค�ำ วิจารณ์ของรับบีในสมัยกลางท่านหนึ่ง  เกี่ยว กับหอบาแบลว่า  :  เมื่อมีอิฐก่อนหนึ่งหล่น ลงไป  ก็กลายเป็นเรือ่ งใหญ่โตมโหฬาร  พวก เขาท�ำอะไรกัน  แต่เมื่อมีคนงานคนหนึ่งตก จากหอ  พวกเขากลับกล่าวว่า  ‘ขอให้เขาไป สู่สุคติเถิด!’  ก้อนอิฐช่างส�ำคัญกว่าตัวคน จริงๆ พระเมตตาของพระเจ้า การท�ำงานด้วยมือและน�้ำพักน�้ำแรง ของตนเองเป็นกิจกรรมที่น่ายกย่อง  มนุษย์ ณ  สภาพเริม่ แรก  ซือ่ ไร้เดียงสา  ต้องท�ำงาน


36

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

และท�ำในสิ่งที่ดี  นี่คือสภาพธรรมดาแท้ๆ ของมนุษย์ทตี่ อ้ งท�ำความดีให้สอดรับกับพระ เมตตาของพระเจ้า  ผู้ทรงมีต่อคนที่อยู่ใน ความต้องการ แม้หลังจากการลืมตัวครั้งแรก  ไม่มี มนุษย์ผู้ใด  ไม่ว่าคนรวยเปี่ยมด้วยอ�ำนาจ หรื อ คนจน  สามารถหลุ ด จากฎของการ ท�ำงาน  ที่ได้กลายเป็นอะไรที่ต้องท�ำอย่าง ล�ำบากยากเย็น  ทีต่ อ้ งท�ำตลอดเวลา  ทีต่ อ้ ง ผ่านความทุกข์  ความเจ็บปวดบ้าง  ที่ต้อง ทนจนถึงวันสิน้ ชีวติ   และดูเหมือนการท�ำงาน ด้วยความล�ำบาก  ถูกมองว่าเป็นการลงโทษ ของพระเจ้าก็จริง  แต่ในความเมตตาของ พระเจ้า  พระองค์ได้ทรงให้มนุษย์ตอ้ งท�ำดังนี้ ก็เพื่อคุณประโยชน์ของมนุษย์เอง  บ่อย ครัง้   การท�ำงานช่วยมนุษย์ให้พฒ ั นาการหยุด ยั้ง  ที่ท�ำให้ตนเองหลวมตัว  ตกในความชั่ว ร้าย  ตกในความเพ้อฝัน ดังนี้  อาจพูดได้ว่า  หนีการท�ำงาน หรื อ ไม่ ส นใจท�ำงานเป็ น การไม่ น อบน้ อ ม พระเจ้า  เพราะพระเมตตาอันคงเส้นคงวา ของพระเจ้า  คือผูเ้ ลีย้ งดูพวกเรา  การท�ำงาน เป็ น วิ ธี / เครื่ อ งมื อ ที่ พ ระองค์ ท รงใช้ เ พื่ อ ประทานสิ่งที่พวกเราต้องการ นักบุญเปาโล  อัครธรรมทูตได้กล่าวค�ำ อ�ำลาแก่ บ รรดาผู ้ อ าวุ โ สแห่ ง เมื อ งเอเฟซั ส ด้วยถ้อยค�ำเหล่านี้  “ข้าพเจ้าไม่เคยอยากได้ เงินทองหรือเสื้อผ้าของผู้ใด  ท่านก็รู้อยู่แล้ว

ว่าข้าพเจ้าท�ำงานด้วยมือทัง้ สองนี ้ เพือ่ สนอง ความต้องการของข้าพเจ้า  และของผู้ที่อยู่ ด้วย  ข้าพเจ้าได้แสดงให้ท่านเสมอมาว่าเรา ต้องท�ำงานเช่นนี้  เพื่อช่วยเหลือผู้อ่อนแอ โดยระลึกถึงวาจาของพระเยซูองค์พระผู้เป็น เจ้าทีว่ า่   ‘การให้ยอ่ มเป็นสุขมากกว่าการรับ’”  (กิจการ  20:33–35) ปราศจากการท�ำงานมนุ ษ ย์ ป ล่ อ ยให้ ศักดิ์ศรีหลุดลอยไป ขออนุญาตอีกครั้ง  ณ  ที่นี้  น�ำสรุป บทเทศน์ของพระสันตะปาปาฟรานซิส  ที่ ตรัสกับผู้ใช้แรงงานเมื่อวันที่  22  กันยายน 2013/2556 องค์พระสันตะปาปาทรงมีประสบการณ์ พอสมควรในเรื่ อ งการท�ำงานในประเทศ อาร์เจนตินา  พระองค์ทรงปรารถนาให้ผู้ใช้ แรงงาน  ผู้มาชุมนุมกันในวันนั้นได้ทราบว่า พระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิดพวกเขา  ทรงห่วงใย สภาพการณ์และสถานการณ์หลากหลาย  ทั้ง ในด้านบวกและในด้านลบของการท�ำงานใน โลกปัจจุบัน  โดยเฉพาะอย่างพระองค์ทรงมี ความห่ ว งใยเป็ น พิ เ ศษต่ อ สภาพการณ์ ท�ำงานที่เป็นเหมือนความเป็นทาส  รวมถึง ต่อผู้ตกงานทุกคน พระองค์ตรัสว่า  ทีทรรศน์แรกทีท่ กุ คน ควรมี  คือ  “ความกล้าหาญ”  พระองค์ไม่ ทรงปรารถนาให้ค�ำนี้เป็นเพียงค�ำลอยลมสวย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาจากการท�ำงาน

หรู  รืน่ หู  แต่ไร้กจิ การ  หรือเป็นเพียงรอยยิม้ เพือ่ หมายจะบอกว่า  “จงกล้าหาญนะ  เอาใจ ช่ ว ยๆ”  และพระองค์เ องก็ทรงท�ำให้ค�ำนี้ ปรากฏเป็ น กิ จ การจริ ง ๆ  พระองค์ จึ ง ทรง ปรารถนาให้ทุกคนกระท�ำเช่นกัน  เพราะทุก คนต้ อ งเผชิ ญ กั บ ปั ญ หานี้ อ ย่ า งมี ส ติ ด ้ ว ย ความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในการเสด็จเยือนเกาะนี้  (Sardinia) พระองค์ทรงเห็นความทุกข์ยาก  ล�ำบากของ หลายชุมชน  แต่กม็ กี ารตอบโต้สภาพการณ์นี้ ด้วย  คือ  การต้อนรับกันและช่วยเหลือกัน พระองค์ได้ตรัสถึงทีทรรศน์ที่สองว่า ทีใ่ ดไม่มกี ารท�ำงานทีน่ นั้ ขาดศักดิศ์ รี  (ของ ความเป็นมนุษย์  =  ผู้ถอดความ)  พระเจ้า มีพระประสงค์ให้มนุษย์ทงั้ สตรี  และบุรษุ เป็น ศู น ย์ ก ลางของโลก  และพาโลกให้ พั ฒ นา อาศัยการท�ำงาน  ไม่งอมืองอเท้า  พยายาม สร้ า งสรรเพื่ อ ให้ พ รแสวงกลมกลื น ไปกั บ พรสวรรค์  และเพื่อสามารถปฏิเสธได้ว่าเงิน มิใช่พระเจ้า  (ขอสงวนไม่กล่าวถึงการเอารัด เอาเปรียบกันในการท�ำงานในธุรกิจต่างๆอัน เป็นความเป็นจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้)  ดังนี้จึง จ�ำเป็นต้องถอดความเป็นศูนย์กลางจากกฎ ของการท�ำ/เก็งก�ำไร  ให้ได้มากเสมอ  มาใส่ ไว้ที่ตัวคนและที่สาธารณะประโยชน์  เพราะ องค์ประกอบที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งของศักดิ์ศรี (ของความเป็นมนุษย์  =  ผูถ้ อดความ)  คือ การท�ำงาน

เมื่อเป็นการส่งเสริมอย่างแท้จริงต่อ ความเป็นมนุษย์  การท�ำงานจึงเป็น  หลัก ประกันที่ดีที่สุดในชีวิต องค์พระสันตะปาปาตรัสต่อในทีทรรศน์ ที่สามว่า  “อย่าให้ความหวังถูกริบไปจาก ตัวท่าน”  ทุกคนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อาจต้องช่วยกันเป่ากองไฟ  ที่ก�ำลังมอดให้ ลุ ก โชติ ช ่ ว งขึ้ น อี ก ครั้ ง   เราทุ ก คนสามารถ สร้างและจรรโลงความหวังไว้ใจของแต่ละคน และแก่ กั น และกั น   เพราะเราทุ ก คนเป็ น เจ้าของความหวัง องค์พระสันตะปาปาเบเนดิก๊ ท์  ที ่ 16 เมื่อพระองค์เสด็จเยือนเกาะนี้ในปี  2008/ 2551  ได้ตรัสว่า  “เราต้องสามารถประกาศ ข่าวดีของการท�ำงาน  เศรษฐกิจและการเมือง ทีต่ อ้ งการเลือดใหม่  ทีท่ มุ่ เทตนอย่างหมดใจ เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งพัฒนาการของโลก”  ค�ำ ตอบที่ตรงเป้าจึงหมายถึงการมองโลกตาม เป็นจริง  พยายามเรียนรู้และเข้าใจให้ถี่ถ้วน ช่วยกันหาวิธี/ข้อสรุปในความร่วมมือร่วมใจ ในการพูดคุยเสวนา  เจริญชีวิตให้ใกล้กันไว้ เพือ่ สามารถน�ำความหวังมาให้กนั ได้  จงอย่า ให้เมฆมาปกคลุมความหวังของเรา  และจง อย่าสับสนระหว่าง  ความหวังกับการมองโลก ในแง่ดีเสมอ  ความหวังเป็นสิ่งสร้างสรรและ สามารถสร้างอนาคตที่ดีได้ องค์พระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสต่อ ไปในทีทรรศน์ที่สี่อีกว่า  สิ่งสร้างทั้งหลาย

37


38

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

เป็ น   “ของขวั ญ ”  จากพระเจ้ า และของ พระเจ้า  สังคมที่เปิดใจรับความหวัง  ไม่ปิด ตนเองเพื่อหวังประโยชน์มากๆ  ส�ำหรับชน กลุ่มน้อยๆ  เพียงไม่กี่กลุ่ม  แต่มุ่งไปที่ผล ประโยชน์ส่วนรวม  จ�ำเป็นต้องมีการท�ำงาน ที่กลมกลืนกับการรักษาสิ่งสร้างอย่างรับผิด ชอบ  เพือ่ ว่าการท�ำงานนีจ้ ะเป็นคุณประโยชน์ แก่คนรุ่นต่อไป  มนุษย์ต้องพยายามคอยเฝ้า ดูแลของขวัญชิน้ นี ้ โดยการท�ำให้การงานทุก ชนิดมีเกียรติศักดิ์ศรี  และต้องให้เป็นภารกิจ ร่วมของทุกคน พระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสต่อไปว่า นักบุญ  ยอห์น  ปอล  ที่  2  ได้  ทรงเน้น ว่า  องค์พระเยซู  “ทรงท�ำงานด้วยพระหัตถ์ ของพระองค์  อ่านกันจริงๆ  องค์พระเยซู ทรงใช้เวลาเกือบทัง้ พระชนม์ชพี ของพระองค์ บนโลกนี้  ในการท�ำงาน  (ด้วยพระวรกาย ของพระองค์)  และดังนี้พระองค์ได้ทรงก้าว เข้าในการท�ำงานแห่งความรอดพ้นของมนุษย์ และของโลก”  (19  มีนาคม  1981/2524) ในมุมมองแบบคริสตศาสนิกชน ใ น ก า ร ท�ำ ง า น บ น โ ล ก นี้   ค ริ ส ต ศาสนิกชนควรให้กิจการนี้เป็นพยานชีวิต การท�ำงานเป็นสิ่งดี  น่าชื่นชม  แต่เราต้อง พยายามเรียนรู้และยอมรับ  ว่าความขยันมั่น เพียรในการท�ำงานเป็นสิ่งจ�ำเป็น  เราจึงควร

ให้ความสุขเที่ยงแท้อยู่ที่การท�ำงาน  มิใช่อยู่ ที่ ผ ลลั พ ธ์ อ ย่ า งเดี ย ว  ไม่ ใช่ มุ ่ ง เพื่ อ ให้ ก าร ท�ำงานเป็นเป้าสูงสุดของชีวิตเรา ถ้าการท�ำงานนัน้ มุง่ เพือ่ จะเป็นคนมัง่ มี เท่ า นั้ น   คุ ณ ลั ก ษณะของความเป็ น คริ ส ต ศาสนิกชนก็จางไป  เพราะมิได้ตามรอยองค์ พระคริสต์  “...แม้ทรงร�่ำรวย  พระองค์ก็ยัง ทรงยอมกลายเป็นคนจนเพราะเห็นแก่พวก ท่าน  เพื่อพวกท่านจะได้ร�่ำรวยเพราะความ ยากจนของพระองค์”  (2  โครินธ์  8:9)  แต่ จะหลวมตัวตกในความโลภและความอยากได้ ไม่ สิ้ น สุ ด โดยไม่ รู ้ ตั ว   ความโลภ  ความ กระวนกระวาย  ความมัง่ มี  ความรักสนุกใน ชี วิ ต   อาจเป็ น เหมื อ นกอหนามที่ ป กคลุ ม เมล็ดพืช  มิให้เจริญเติบโต  “เมล็ดที่ตกใน กอหนาม  หมายถึ ง บุ ค คลที่ ฟ ั ง พระวาจา  แล้วปล่อยให้ความกังวลถึงทรัพย์และความ สนุกของชีวติ มาบีบรัด  จึงไม่เกิดผล”  (ลูกา 8:14) คริ ส ตศาสนิ ก ชนควรฝึ ก ตนในการ ท�ำงาน  ให้มอบทุกสิง่ ทุกอย่างไว้ในพระหัตถ์ พระเจ้า  “อย่ากระวนกระวายใจถึงสิ่งใด  จง ทูลพระเจ้าถึงความปรารถนาทุกอย่างของ ท่านโดยค�ำอธิฐาน  การวอนขอพร้อมกับการ ขอบพระคุณ”  (ฟิลิปปี  4:6)  ควรท�ำงาน


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาจากการท�ำงาน

ด้วยความใส่ใจและเต็มใจเพือ่ องค์เจ้าเหนือหัว เยซูคริสต์  และเพือ่ สามารถมีอะไรน�ำไปให้แก่ ผู้มีความต้องการ ในความเชื่อของเราคริสตศาสนิกชน เราต้องมีความเชื่อมั่นใจว่า  องค์พระคริสต์ คือเป้าประสงค์ของการท�ำงานของเราไม่วา่ งานนั้นจะต�่ำต้อยหรือสูงส่งเพียงใดในสายตา ของมนุษย์  นี่คือตัวแปรส�ำคัญของศักดิ์ศรี ความเป็นคริสตศาสนิกชน  ถ้าเรารู้ว่าการ ท�ำงานของเราเป็นการปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ ของพระเจ้า  เราจะท�ำด้วยใจยินดีทุ่มเททั้ง กายใจ  ไม่วา่ สุดท้ายการท�ำงานจะได้รบั   การ สรรเสริญเยินยอหรือถูกสบประมาทก็ตาม  การได้รับพรแท้จริงนั้น  เราคริสตศาสนิกชน ต้องถือว่า  การท�ำให้เป็นทีพ่ อพระทัยพระเจ้า ในบริการงานที่พระเจ้าได้ทรงมอบให้  ท�ำให้ ได้ในทุกกรณี  เป็นพระเมตตาของพระเจ้าที่ จะตัดสินการงานของเรา ในทุกงานบริการ  ไม่ว่าจะเป็นอะไร ก็ตาม  คริสตศาสนิกชนควรพยายามเตือน สติตนอยูเ่ สมอว่า  เราก�ำลังรับใช้พระเจ้า  ถ้า เราละสายตาไปจากความจริงนี้  เราอาจผิด หวังหรือท้อแท้ได้  เพราะเราจะไม่พบการ ตอบรับที่ดีได้ตลอดเวลา  แต่จะไม่มีความ ท้อแท้เกิดขึน้ ส�ำหรับผูท้ รี่ ตู้ วั เองว่าก�ำลังรับ ใช้พระเจ้าอยู่

สรุป ขออนุ ญ าตจบบทถอดความนี้ ด ้ ว ย วาทะของท่านพุทธทาสภิกขุ  ท่านพุทธทาส ได้เขียนไว้ว่า  “การท�ำงาน  คือ  การปฏิบัติ ธรรม  ไม่มงี านไหนต�ำ  ่ ถ้าท�ำด้วยใจสูง”  […] ท่านเขียนต่อว่า  “หากมองเพียงความสุขตรง หน้า  อยากสบาย  ไม่อยากเหนื่อย  อยาก รีบๆ  ท�ำเพือ่ ให้ได้คา่ ตอบแทนไปกินไปใช้ให้ หายเหนื่อย  รับรองว่าคิดแบบนี้มีเรื่องให้บ่น ได้ทกุ วัน  เราจะเป็นคนทีท่ �ำงานแต่ละวันด้วย ความรู้สึกโหยหาการเลิกงาน  เพื่อไปเสพสุข แต่ส�ำหรับคนท�ำงานที่อยากท�ำเพื่อความสุข ที่ยั่งยืนแล้ว  สิ่งส�ำคัญจะอยู่ที่สิ่งที่เราคิดต่อ งาน  ถ้าคิดถึงความหมายที่งานมีต่อเราว่า “การท�ำงาน  คือ  การมีส่วนร่วมที่จะท�ำให้ ชีวิตใครซักคนดีขึ้น”  ไม่ว่าเราจะเป็นฟัน เฟืองเล็กแค่ไหน  ถ้าเราคิดได้แบบนี้เราจะมี ความหมาย  ถ้ า เรามี ค วามรู ้ สึ ก ดี กั บ งาน ถึงท�ำแล้วจะเหนื่อยจนสายตัวแทบขาด  แต่ เรา จะไม่ทกุ ข์เพราะเหนือ่ ยกับทุกข์  เราท�ำให้ มันเป็นคนละเรือ่ งกันได้  […]  ฉะนัน้   แม้จะ เลือกงานที่ดูเล็กกระจ้อยร่อยในสายตาใครๆ แต่หากเราท�ำมันด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่  เราจะ พบความสุขทั้งในชั่วขณะนั้นและตลอดไป” (จากหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ)

39


นักปราชญ์สรรเสริญว่าประเสริฐสุด วีณา  โกวิทวานิชย์ นายมิโรสลาฟ  วูฟ  (Miroslav  Volf) นักเทววิทยาชาวโครเอเชียของสมัยปัจจุบัน และนายกอร์ดอน  พรีซ  (Gordon  Preece) นั ก เ ท ว วิ ท ย า ช า ว อ อ ส เ ต ร เ ลี ย   แ ล ะ ศาสนาจารย์ของศาสนาคริสต์นกิ ายแองกลิกนั ได้ให้ทศั นะเรือ่ งการท�ำงานว่า  “ในการท�ำงาน จะต้ อ งมี เ ป้ า หมายที่ ชั ด เจน  ความส�ำคั ญ อันดับแรก  งานเป็นเครือ่ งมือประกอบคารวกิจ ที่มนุษย์ถวายแด่พระเจ้าผู้ทรงสร้างสรรพสิ่ง ซึ่งน�ำคุณค่าและความหมายต่อสังคม  และ

ต่อตนเอง  ในฐานะที่งานเป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญในชีวติ มนุษย์  ความหมายทีก่ ว้างทีส่ ดุ งานคือกิจการทีม่ อี ยูค่ วบคูก่ บั การด�ำเนินชีวติ ตามแนวความคิดคริสตชน” ในหนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญา เดิม  งานชิ้นแรกที่เราพบ  คือการรังสรรค์ สรรพสิง่ สร้างของพระเจ้า  และความพึงพอใจ ที่จะได้รับการพักผ่อนหลังการตรากตร�ำงาน ดังรายละเอียดในหนังสือปฐมกาลบทที่  1 และ  บทที่  2  “เรื่องการสร้างโลก  สอนว่า

สัตบุรุษอาสนวิหารอัสสัมชัญ  บางรัก,  ส�ำเร็จการศึกษาคณะครุศาสตร์  สาขาอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปลข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์อุดมสาร  และ  UCAN  แปลหนังสือ  “พระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล  ที่  2 บุคคลธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”  และ  “ท่านคือศิลา : จากนักบุญเปโตรถึงพระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล  ที่  2”

[  หมวดปรัชญา  ]

การใช้ชีวิตด้วยปัญญา


พระเจ้าทรงสร้างทุกสิง่ อย่างมีระเบียบ  ภายใน กรอบเวลาท�ำงานหนึ่งสัปดาห์  โดยมีวันสับ บาโตเป็นวันหยุดพัก  สิ่งสร้างทั้งหลายอุบัติ ขึ้นตามพระบัญชาของพระเจ้า  ตามล�ำดับ จากต�่ำไปสูง  มนุษย์ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของ พระเจ้า  และเป็นราชาของสิ่งสร้างมาเป็น อันดับสุดท้าย”  (ปฐก  1a)  “อย่างไรก็ตาม พระเจ้ า ทรงหยุ ด งานเนรมิ ต สร้ า งในวั น สับบาโต  เพื่อเป็นแบบฉบับให้ปฏิบัติตาม” (ปฐก  2a)  “จงระลึกถึงวันสับบาโตว่าเป็น วั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   ท่ า นจะต้ อ งออกแรงท�ำงาน ทัง้ หมดในหกวัน  แต่วนั ทีเ่ จ็ดเป็นวันพักผ่อน ที่ถวายแด่พระเจ้าของท่าน  ในวันนั้นท่าน ต้องไม่ท�ำงานใดๆ  เพราะในหกวัน  พระ ยาห์เวห์ทรงสร้างฟ้า  แผ่นดิน  ทะเล  และ สรรพสิ่งที่มีอยู่ในที่เหล่านี้  แต่ในวันที่เจ็ด พระองค์ทรงพักผ่อน  เพราะฉะนั้น  พระ ยาห์เวห์ทรงอวยพระพรวันสับบาโต  และทรง ท�ำให้ เ ป็ น วั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ”   (อพย  20:11) วันสับบาโต  จากรากศัพท์ที่แปลว่า  “หยุด งาน”  เป็นวันหยุดประจ�ำสัปดาห์ที่ถวายแด่ พระยาห์เวห์  ผู้ทรงหยุดเนรมิตสร้างในวันที่ เจ็ด  การหยุดงานในวันสับบาโตนี้  ขณะที่ เป็ น การถวายเกี ย รติ แ ด่ พ ระเจ้ า   ก็ ยั ง เป็ น ประโยชน์ตอ่ มนุษย์ดว้ ย  ส่วนงานของมนุษย์ เกิดขึ้นจากพระพรและหน้าที่ที่พระเจ้าทรง มอบหมายมนุ ษ ย์ ใ ห้ ป กครองโลกและให้ ก�ำเนิดลูกหลานสืบเนื่องต่อไป  หนังสือปฐม

กาลแตกต่างจากโลกในอดีต  ทีไ่ ม่ได้แยกการ พักผ่อนและการท�ำงานระหว่างพระเจ้าและ มนุษย์  หรือแยกอิสรภาพจากการเป็นทาส มนุษย์ชายหญิงเป็นผูร้ ว่ มงานกันซึง่ ตามภาพ ลักษณ์ของพระเจ้า  มีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่กัน และกัน  และร่วมใส่ใจในสรรพสิ่งสร้างของ พระเจ้า  บ�ำรุงรักษาให้เจริญเติบโตและทวี จ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น หนั ง สื อ สุ ภ าษิ ต   กล่ า วชื่ น ชมความ ขยั น หมั่ น เพี ย รในการท�ำงาน  โดยเปรี ย บ เทียบมดกับความเกียจคร้านซึ่งเป็นสาเหตุ ของความยากจน  “คนเกียจคร้านเอ๋ยจงไปดู มดเถิด  จงพิจารณาดูวิถีชีวิตของมดแล้ว ท่ า นจะมี ป รี ช า  มดไม่ มี หั ว หน้ า   ไม่ มี ผู ้ ควบคุมหรือผู้ปกครอง  แต่ในฤดูร้อนมันก็ เตรียมอาหารไว้  ในฤดูเก็บเกี่ยวมันก็สะสม เสบียง  คนเกียจคร้านเอ๋ย  ท่านจะนอนอีก นานเท่าใด  เมือ่ ใดท่านจะตืน่ ขึน้ จากหลับบ้าง เคลิ้มบ้าง  กอดอกบ้างเพื่อพักผ่อน  แล้ว ความยากจนจะมาถึ ง ท่ า นอย่ า งคนจรจั ด ความขัดสนจะมาถึงท่านอย่างคนขอทาน” (สภษ  6:6-11)  “มื อ ที่ เ กี ย จคร้ า นท�ำให้ ยากจน  มื อ ที่ ข ยั น ท�ำให้ ร�่ ำ รวย”  (สภษ 10:4)  “คนเกียจคร้านอยากกินแต่ไม่มีอะไร กิ น   ส่ ว นคนขยั น จะมี กิ น จนอิ่ ม ”  (สภษ 13:4)  ในขณะที่หนังสือปัญญาจารย์  เตือน ให้พึงระวัง  “จรรณยาบรรณในการท�ำงาน” ของผูท้ ที่ ะนงตน  โดยค�ำนึงถึงความไม่เทีย่ ง


42

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

แท้ ข องชี วิ ต มนุ ษ ย์   ทั้ ง ยั ง ไม่ ส นั บ สนุ น “จรรยาบรรณของผู้เลี่ยงงาน”  แต่ให้ความ หมายต่อความพึงพอใจในการมีผลงานร่วม กัน  และมิตรภาพในระหว่างผู้ร่วมงาน  ดัง ตัวอย่างเรื่อง  สังคมมนุษย์  “ข้าพเจ้าเห็นว่า ความล�ำบากตรากตร�ำทั้งหลาย  และความ ช�ำนาญในการงานทั้งหมดมาจากความอิจฉา ที่ ม นุ ษ ย์ มี ต ่ อ กั น   นี่ ก็ ไ ม่ เ ที่ ย งแท้ ด ้ ว ย เป็นการวิ่งไล่ตามลม  ผู้โง่เขลามีแต่กอดอก และกินเนื้อของตน  ความสงบสุขก�ำมือหนึ่ง ดีกว่าความล�ำบากตรากตร�ำสองก�ำมือ  และ การวิ่งไล่ตามลม  ข้าพเจ้าเห็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ อีกภายใต้ดวงอาทิตย์  คือ  คนหนึ่งอยู่โดด เดี่ยว  ไม่มีบุตรหรือพี่น้อง  แต่ไม่ยอมหยุด ท�ำงานอย่างล�ำบากตรากตร�ำ  นัยน์ตาของเขา ไม่ เ คยอิ่ ม ทรั พ ย์ ส มบั ติ   เขาถามตนเอง ว่า  ‘ฉันตรากตร�ำท�ำงานและยอมขาดความ สุขเพือ่ ผูใ้ ด’  นีก่ ไ็ ม่เทีย่ งแท้ดว้ ยและเป็นงาน ยากล�ำบากที่เลวร้าย  สองคนย่อมดีกว่าคน เดียว  เพราะทั้งสองคนจะได้รับผลตอบแทน ดีกว่า  ส�ำหรับความล�ำบากตรากตร�ำของตน เพราะถ้าคนหนึง่ ล้มลง  อีกคนหนึง่ จะได้ชว่ ย พยุงเขาให้ลกุ ขึน้   วิบตั จิ งมีแก่ผทู้ อี่ ยูค่ นเดียว ถ้าเขาล้มลงก็จะไม่มีผู้ใดพยุงเขาให้ลุกขึ้น” (ปญจ  4:4-10). ในพระคั ม ภี ร ์ ภ าคพั น ธสั ญ ญาใหม่ ภาพลั ก ษณ์ ข องการเป็ น เพี ย งช่ า งฝี มื อ ธรรมดาๆ  คนหนึ่งของพระเยซูเจ้า  ขัดต่อ

อัศจรรย์ที่พระองค์ทรงกระท�ำในพันธกิจการ ประกาศข่าวดี  อ้างอิงในพระวรสารโดยนัก บุญมัทธิวว่า  “ครั้นถึงวันสับบาโต  พระเยซู เจ้าทรงเริม่ สัง่ สอนในศาลาธรรม  ผูฟ้ งั จ�ำนวน มากต่างประหลาดใจ  และพูดว่า  ‘เขาเอา เรือ่ งทัง้ หมดนีม้ าจากไหน  ปรีชาญาณทีเ่ ขาได้ รับมานีค้ อื อะไร  อะไรคืออัศจรรย์ทสี่ �ำเร็จด้วย มือของเขา  คนนี้เป็นช่างไม้  ลูกนางมารีย์ เป็นพี่น้องของยากอบและโยเสท  ยูดา  และ ซีโมน  ไม่ใช่หรือ  พีส่ าวน้องสาวของเขาก็อยู่ ที่นี่กับพวกเรามิใช่หรือ’  คนเหล่านั้นรู้สึก สะดุดใจและไม่ยอมรับพระองค์”  (มก  6:23)  พระองค์ทรงเรียกบรรดาสาวกทั้ง  12 องค์  ให้ละจากอาชีพชาวประมงธรรมดาๆ มาท�ำหน้ า ที่   “จั บ มนุ ษ ย์ ”   เพื่ อ พระ อาณาจั ก รของพระเจ้ า   แต่ เรี ย กคนอื่ น ๆ ให้ด�ำเนินชีวิตในแต่ละวันตามกระแสเรียก ของตน  พระเยซูเจ้าประทานอิสรภาพและ การพั ก ผ่ อ นส�ำหรั บ ผู ้ ติ ด ตามพระองค์ ซึ่ ง ด�ำเนิ น ชี วิ ต ตามบทบาทหน้ า ที่ ข องตนให้ สอดคล้ อ งกั บ บริ บ ทของสั ง คม  “ท่ า นทั้ ง หลายที่เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก  จง มาพบเราเถิ ด   เราจะให้ ท ่ า นได้ พั ก ผ่ อ น” (มธ  11:28) นั ก บุ ญ เปาโล  นั ก เทววิ ท ยา  เรื่ อ ง กางเขน  เรื่องประชาคม  และเรื่องสรรพสิ่ง สร้างใหม่  ยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในประเพณี, การท�ำงาน  และพระอาณาจักรของพระเจ้า


การใช้ชีวิตด้วยปัญญา  นักปราชญ์สรรเสริญว่าประเสริฐสุด

(เทียบ  1  คร  7)  หลักเศรษฐกิจครอบครัว ก็เป็นเรื่องส�ำคัญเช่นกัน  สอนให้เห็นถึงการ พลิกผันของบทบาทหน้าที่  เพราะไม่ว่าจะ เป็ น นายหรื อ ทาส  ก็จ ะต้องมีความรับผิด ชอบเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า  “จงยอมอยูใ่ ต้ อ�ำนาจของกั น และกั น ด้ ว ยความเคารพ ย�ำเกรงพระคริสตเจ้า”  (อฟ  5:21)  นักบุญ เปาโล  ซึง่ เป็นช่างท�ำกระโจมเป็นตัวอย่างอัน ดีในเรื่องนี้  “พักอยู่และท�ำงานร่วมกันเพราะ มีอาชีพเดียวกัน  คือช่างท�ำกระโจม”  (กจ 18:3)  “พี่น้องทั้งหลาย  ท่านคงจ�ำได้ถึง ความเหน็ดเหนื่อยและความยากล�ำบากของ เรา  ขณะที่ เราท�ำงานทั้งกลางวัน กลางคืน เพื่อไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้ใดในบรรดาท่านทั้ง หลาย  เราประกาศข่าวดีของพระเจ้าให้ทา่ น” (1  ธส  2:9)  งานประกาศข่าวดีเป็นงาน หลักของนักบุญเปาโล  ส่วนงานท�ำกระโจมก็ เป็นงานเลี้ยงชีพที่สามารถท�ำไปด้วยกันได้ อย่างสอดคล้อง  ท่านเชื่อมโยงความเข้าใจ ของชาวกรี ก ในเรื่ อ งความอ่ อ นแอ  และ “งานที่ ต รากตร�ำ”  ของท่ า น  กั บ ความ อ่ อ นแอของพระเยซู เ จ้ า บนไม้ ก างเขน “ข้ า พเจ้ า พู ด ด้ ว ยความอั บ อายว่ า เราช่ า ง อ่ อ นแอยิ่ ง นั ก ....ข้ า พเจ้ า ต้ อ งท�ำงาน เหน็ ด เหนื่ อ ยล�ำบากตรากตร�ำ  อดนอน บ่ อ ยๆ  ต้ อ งหิ ว กระหาย  ต้ อ งอดอาหาร หลายครั้ง  ต้องทนหนาว  ไม่มีเสื้อผ้าสวม ใส่”  (2  คร  11:21,27)  “เพราะความโง่

เขลาของพระเจ้ายังฉลาดยิ่งกว่าปรีชาญาณ ของมนุษย์  และความอ่อนแอของพระเจ้า ก็ยงั เข้มแข็งยิง่ กว่าพละก�ำลังของมนุษย์”  (1 คร  1:25)  งานประกาศข่าวดี  เป็นงานที่มี คุณค่าในฐานะการเป็นสาวกของพระเยซูเจ้า แต่จะต้องไม่ตีความอย่างผิดๆ  โดยเปรียบ เทียบกับแรงงานทาส  ชีวติ ใหม่ในองค์พระจิต เจ้าซึ่งเปี่ยมไปด้วยพระพรมากมาย  “พี่น้อง เพราะเห็ น แก่ พ ระกรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระเจ้ า ข้ า พเจ้ า อ้ อ นวอนท่ า นทั้ ง หลายให้ ถ วาย ร่ า งกายของท่ า นเป็ น เครื่ อ งบู ช าที่ มี ชี วิ ต ศักดิ์สิทธิ์  และเป็นที่พอพระทัยแด่พระเจ้า นีเ่ ป็นคารวกิจด้วยจิตใจของท่าน”  (รม  12) พระพรพิเศษจากพระจิตเจ้า  “พระพรพิเศษ เหล่านีพ้ ระจิตเจ้าประทานให้แก่กลุม่ คริสตชน เพื่อเป็นหลักฐานที่แลเห็นได้ว่าพระจิตเจ้า ประทับอยูด่ ว้ ย  และเพือ่ ช่วยเหลือกลุม่ คริสต ชนใหม่ๆ  ให้กา้ วหน้าในความเชือ่ ”  (1  คร 12)  พระพรก็จะหลัง่ ไหลจากชุมชนคริสตชน สู ่ สั ง คมภายนอกและกิ จ กรรมในสั ง คมนั้ น เพราะบทบาทของพระจิตเจ้าในสรรพสิ่งสร้าง ใหม่  “ข้าพเจ้าคิดว่า  ความทุกข์ทรมานใน ปัจจุบนั เปรียบไม่ได้เลยกับพระสิรริ งุ่ โรจน์ทจี่ ะ ทรงบันดาลให้ปรากฏแก่เรา  เพราะสรรพสิ่ง ต่างก�ำลังรอคอยอย่างกระวนกระวาย  เพื่อ พระเจ้าจะได้ทรงบันดาลให้บรรดาบุตรของ พระองค์ปรากฏในพระสิริรุ่งโรจน์  สรรพสิ่ง ต้องอยู่ใต้อ�ำนาจของความไม่เที่ยงแท้  มิใช่

43


44

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

โดยสมัครใจ  แต่ตามความประสงค์ของผู้ที่ บังคับให้สรรพสิ่งต้องอยู่ในสภาพดังกล่าว ถึงกระนั้นสรรพสิ่งยังมีความหวังว่าจะได้รับ การปลดปล่อยจากการเป็นทาสของความ เสือ่ มสลาย  เพือ่ ไปรับอิสรภาพอันรุง่ เรืองของ บรรดาบุตรของพระเจ้า  เรารูด้ วี า่   จนถึงเวลา นี้สรรพสิ่งก�ำลังร้องครวญครางด้วยความเจ็บ ปวดราวกั บ สตรี ค ลอดบุ ต ร  มิ ใช่ เ พี ย งแต่ สรรพสิง่ เท่านัน้   แม้แต่เราเองซึง่ ได้รบั ผลิตผล ครั้งแรกของพระจิตเจ้าแล้ว  ก็ยังคร�่ำครวญ อยู่ภายใน  ในเมื่อเรามีความกระตือรือร้นรอ คอยให้พระเจ้าทรงรับเราเป็นบุตรบุญธรรม ให้ร่างกายของเราได้รับการปลดปล่อยเป็น อิสระ  เพราะเราได้รอดพ้นเพียงในความหวัง แต่ความหวังที่มองเห็นได้ก็ไม่ใช่ความหวัง เพราะสิ่งที่มองเห็นแล้ว  เขาจะหวังอีกท�ำไม แต่ถ้าเราหวังสิ่งที่เรามองไม่เห็น  เราก็ย่อมมี ความมานะพากเพี ย รรอคอยสิ่ ง นั้ น ”  (รม 8:18-25)  คริ ส ตชนท�ำงานภายใต้ ค วาม กดดันระหว่างโลกปัจจุบนั ซึง่ งานมักจะก่อให้ เกิดความขัดแย้ง  เทียบกับงานของโลกใหม่ ตามพั น ธสั ญ ญาซึ่ ง สาเหตุ แ ห่ ง ความทุ ก ข์ ทรมานจะได้ รั บ การขจั ด ให้ ห มดไป  ดั ง ข้อความจากหนังสือวิวรณ์ว่า  “ข้าพเจ้าเห็น ทู ต สวรรค์ อ งค์ ห นึ่ ง ลงมาจากสวรรค์   ถื อ กุญแจแห่งบาดาลและโซ่ใหญ่เส้นหนึ่ง  เขา จับมังกรหรืองูดึกด�ำบรรพ์  คือ  ปีศาจและ ซาตาน  แล้วล่ามมันไว้เป็นเวลาหนึ่งพันปี

โยนมันลงไปในบาดาล  ปิดกุญแจทางเข้าและ ประทับตราไว้ขา้ งบน  เพือ่ มิให้มนั หลอกลวง นานาชาติ ใ ห้ ห ลงผิ ด ได้ อี ก จนกว่ า จะครบ ก�ำหนดหนึง่ พันปี  หลังจากนัน้ มันจะต้องถูก ปล่อยออกมาชัว่ ระยะเวลาสัน้ ๆ  ข้าพเจ้าเห็น บั ล ลั ง ก์ ห ลายองค์ แ ละบรรดาผู ้ ที่ นั่ ง อยู ่ บ น บั ล ลั ง ก์ นั้ น ได้ รั บ อ�ำนาจที่ จ ะพิ พ ากษา ข้ า พเจ้ า เห็ น วิ ญ ญาณของผู ้ ที่ ถู ก ตั ด ศี ร ษะ เพราะค�ำพยานถึงพระเยซูเจ้าและเพราะพระ วาจาของพระเจ้า  ข้าพเจ้ายังเห็นผู้ที่ไม่ได้ กราบนมั ส การสั ต ว์ ร ้ า ยและรู ป ปั ้ น ของมั น และไม่ยอมประทับตราไว้บนหน้าผากหรือที่ มือ  เขาเหล่านั้นกลับมีชีวิต  และเข้าครอง ราชย์พร้อมกับพระคริสตเจ้าเป็นเวลาหนึ่ง พันปี  ผูต้ ายคนอืน่ ไม่ได้กลับมีชวี ติ จนกว่าจะ ครบก�ำหนดหนึ่งพันปี  นี่คือการกลับคืนชีพ ครัง้ แรก  ผูท้ มี่ สี ว่ นในการกลับคืนชีพครัง้ แรก ย่อมเป็นสุข  และเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ ์ ความตาย ที่สองไม่มีอ�ำนาจเหนือเขาเหล่านี้เลย  แต่เขา จะเป็นสมณะของพระเจ้าและของพระคริสต เจ้า  และจะครองราชย์พร้อมกับพระองค์เป็น เวลาหนึ่งพันปี  เมื่อครบก�ำหนดหนึ่งพันปี แล้ว  ซาตานจะถูกปล่อยจากทีค่ มุ ขัง  มันจะ ออกไปหลอกลวงนานาชาติทั้งสี่มุมของแผ่น ดิ น ให้ ห ลงผิ ด ไป  มั น จะรวบรวมก�ำลั ง พล จ�ำนวนมากเหมือนเม็ดทรายชายทะเลเพือ่ ท�ำ สงคราม  ก�ำลั ง พลเหล่ า นี้ ก ระจายไปทั่ ว แผ่ นดิ น  ล้ อ มค่ า ยของบรรดาผู ้ ศัก ดิ์ สิท ธิ์


การใช้ชีวิตด้วยปัญญา  นักปราชญ์สรรเสริญว่าประเสริฐสุด

และนครซึง่ เป็นทีร่ กั ของพระเจ้าไว้  แต่ไฟตก จากสวรรค์เผาผลาญเขาเหล่านี ้ ส่วนปีศาจที่ หลอกลวงพวกเขาให้หลงผิดถูกโยนลงไปใน ทะเลไฟและก�ำมะถัน  ทีน่ นั่ มีทงั้ สัตว์รา้ ยและ ประกาศกเที ย มอยู ่ ด ้ ว ย  ปี ศ าจ  สั ต ว์ ร ้ า ย และประกาศกเทียมจะถูกทรมานทั้งกลางวัน กลางคืนตลอดนิรันดร”  (วว  20:1-10) ชาวกรีกยกระดับการภาวนาแบบฌาน ให้อยู่เหนือการท�ำงาน  ซึ่งพระคัมภีร์คริสต์ ศาสนาถือว่าเป็นการท้าทาย  ได้ถูกน�ำกลับ มาใช้อีกครั้งสมัยพระศาสนจักรในยุคต้นและ ยุคกลาง  หลังกษัตริย์คอนสแตนตินกลับใจ สิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นกระแสเรียกของคริสตชน ได้ ถู ก จ�ำกั ด ขอบเขตอยู ่ ที่ ก ารด�ำเนิ น ชี วิ ต สันโดษภายในอารามเพิ่มมากขึ้น  ข้อบังคับ และระเบียบปฏิบัติของนักพรตประจ�ำอาราม ผสมผสานกับข้อพระคัมภีร์และทัศนะของ ชาวกรีก  ในเรื่องของการรวม  การภาวนา การอ่าน  และการท�ำงานที่ต้องใช้แรงงานเข้า ไว้ดว้ ยกัน  กฎระเบียบของคณะนักพรตเบเน ดิกติน  แห่งศตวรรษ  ที ่ 6  มีชอื่ เสียงว่าจัด ดุลยภาพหรือความเสมอกันของการรวบรวม การภาวนา  การอ่าน  และการท�ำงาน  ได้ดี ทีส่ ดุ   โดยให้ทศั นะว่า  งาน  คือรูปแบบหนึง่ ของการภาวนา  แต่สิ่งที่ดีที่สุด  งานในยุค กลางส่วนใหญ่ถกู มองว่าเป็นหนทางน�ำมนุษย์ ให้เจริญวัฒนาด้านสติปญ ั ญาและจิตวิญญาณ เป็นส�ำคัญ

มนุษย์ท�ำงานเพราะพระเจ้าทรงสร้าง พวกเขาเพือ่ ทีจ่ ะท�ำงาน  เพือ่   “ครอบครอง” สรรพสิ่งสร้าง  และเพื่อ  “เพาะปลูกและเก็บ เกี่ยวพืชผล”  ด้วยเหตุนี้การท�ำงานจึงเป็น เรือ่ งปรกติของมนุษย์  และเราจะรูส้ กึ พึงพอใจ ในงานที่ช่วยให้ชีวิตมีคุณค่า  ในทางตรงกัน ข้าม  หากเราท�ำงานโดยปราศจากเป้าหมาย เราจะรู้สึกว่าชีวิตว่างเปล่าและไร้ความหมาย ประการที่สอง  เราท�ำงานเพราะพระเจ้าทรง ประทานพระพรที่เหมาะสมส�ำหรับลักษณะ งานที่หลายหลากซึ่งพระองค์ทรงเลือกสรรให้ แต่ ล ะคน  หากคริ ส ตชนด�ำเนิ น ชี วิ ต ตาม การน�ำทางขององค์พระจิตเจ้าแล้ว  ก็หลีก เลี่ยงการท�ำงานไม่ได้  ไม่ว่าจะเป็นงานของ พระศาสนจั ก รหรื อ งานของฆราวาส  งาน ทัง้ หมดของมนุษย์ไม่วา่ จะสลับซ้อนหรือเรียบ ง่าย  ต่างก็ได้รับพละก�ำลังที่องค์พระจิตเจ้า ประทานให้ทั้งสิ้น หากพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เพื่อการ ท�ำงาน  และประทานพระพรส�ำหรับลักษณะ งานทีห่ ลายหลาก  มนุษย์ควรค�ำนึงถึงเงือ่ นไข สองประการ  ได้แก่  ประการแรก  งานมิได้ มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความส�ำเร็จเท่านั้น  และ ไม่ได้เป็นเพียงเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ เพราะงานมีคุณค่าอันแท้จริงส�ำหรับมนุษย์ มนุษย์ทกุ คนจึงจ�ำเป็นต้องท�ำงาน  ประการที่ สอง  ไม่ว่าจะเป็น  “งานของสงฆ์”  หรือ “งานของฆราวาส”  ต่างก็ได้รับการยกย่อง

45


เช่นเดียวกันตามฐานะและบทบาทของตน เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า  งานของนักบวช เช่น  การเทศน์  การอบรมในสามเณราลัย หรืองานของฆราวาส  เช่นการท�ำครัว  งาน ก่ อ สร้ า ง  ต่ า งก็ มี คุ ณ ค่ า ในสายพระเนตร พระเจ้า  หากเป็นงานที่ท�ำตามพระพรและ กระแสเรียกของตน  อาศัยการน�ำขององค์ พระจิตเจ้า ลักษณะของงานที่เราท�ำจึงขึ้นอยู่กับ พระพรพิเศษที่พระเจ้าประทานและกระแส เรียกทีเ่ ราตอบรับพระองค์  ถ้าเช่นนัน้ อะไรเล่า คือเป้าหมายของงาน  ประการแรก  เพื่อเรา จะสามารถมีสงิ่ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับชีวติ   กล่าวอีก นั ย หนึ่ ง   “เพื่ อ หาเลี้ ย งชี พ ให้ เ พี ย งพอแก่ อาหารประจ�ำวั น และสิ่ ง จ�ำเป็ น ในชี วิ ต ” ประการทีส่ อง  เพือ่ มีเพียงพอทีจ่ ะแบ่งปันแก่ ผู ้ ขั ด สน  การแบ่ ง ปั น เงิ น รายได้ จ ากการ ท�ำงานด้วยความขยันหมัน่ เพียรเพือ่ ช่วยเหลือ ผู้ขัดสน  เป็นความชอบธรรมมากเสียกว่า เป็นเรื่องของความใจกว้าง  ดังที่ท่านนักบุญ เปาโลเขียนถึงชาวโครินธ์  ว่า  “เขาเอื้อเฟื้อ แจกจ่าย  เขาให้แก่คนยากจน  ความชอบ ธรรมของเขาด�ำรงอยูต่ ลอดนิรนั ดร”  (2  คร 9:9)  ประการที่สาม  เพื่อพัฒนาการด้าน วัฒนธรรมให้เหมาะสมตามกาลเวลา  เช่น ในอดีตกาล  วัฒนธรรมในบางชุมชนเห็นว่า งานคื อ การรั บ ใช้ พ ระเจ้ า   แท้ จ ริ ง แล้ ว การ ปฏิบัติศาสนกิจไม่ใช่งาน  แต่เป็นกิจกรรม ทางวัฒนธรรม  และประการสุดท้าย  เป็น

ความร่วมมือกันระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เพราะพระเจ้าและมนุษย์คอื ผูร้ ว่ มปกปักรักษา สรรพสิ่งสร้าง  และพระเจ้าจะทรงช�ำระให้ บริสุทธิ์,  เปลี่ยนแปลง  และน�ำผลงานที่ดี และงดงามจากฝีมอื มนุษย์เข้าสูพ่ ระอาณาจักร ที่ไม่เสื่อมสลายของพระองค์ อย่างไรก็ตาม  งานจ�ำนวนมากไม่เป็น ไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า  เช่นงานที่ ถูกลดคุณค่าเพียงเพื่อความอยู่รอด,  งานซึ่ง ถูกจ�ำกัดอิสรภาพ,  และงานที่เป็นอุปสรรค หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของมนุษย์เพราะมี ลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติเฉพาะ บุคคลของปัจเจกชน  อาจเป็นงานทีย่ ดึ มัน่ ใน อัตตา  หรืองานที่ขาดความชอบธรรมเพราะ ละเมิดความเป็นธรรมชาติของกลุม่ ชน  ยังมี กรณีของผูว้ า่ งงานจ�ำนวนมากทีอ่ าจถูกเข้าใจ ผิดว่าเป็นผู้เกียจคร้าน  และรักความสะดวก สบาย  แต่ ใ นความเป็ น จริ ง พวกเขายิ น ดี ท�ำงานใดก็ได้เพียงเพือ่ ให้ชวี ติ อยูร่ อด  ดังนัน้ สังคม  รัฐบาล  และบริษทั ฯ  จ�ำเป็นต้องร่วม รั บ ผิ ด ชอบจั ด หางานที่ เ หมาะสมส�ำหรั บ แรงงานคนเหล่านี้  ซึ่งล้วนเป็นแรงงานที่มี คุณค่ามากกว่าจะเป็นภาระต่อองค์กร  แม้ บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุเป้าหมายของ การกระจายงานให้ตรงตามทักษะและความรับ ผิ ด ชอบต่ อ งานนั้ น ๆ  เพื่ อ ให้ บ รรลุ ผ ลดั ง กล่าวจึงควรก�ำหนดแนวทางนีใ้ ห้เป็นนโยบาย หลักขององค์กร


เคล็ดลับในการท�ำงานของพระสันตะปาปา ลูกชาวนา ไม่ มี คุ ณสมบัติประการใดในภูมิห ลัง ครอบครัวรอนคาลลีที่ยากจน  ของอันเยโล แบตติสตา  ซึ่งบ่งชี้ว่าเขาจะเป็นผู้กอปรด้วย คุณลักษณะที่เหมาะสมอันน�ำชื่อเสียงมาสู่ไม่ เพียงต่อพระศาสนจักรในสมณสมัยปกครอง ของพระองค์  แต่ยังทรงเป็นผู้มีชื่อเสียงใน ระดั บ โลกผู ้ ท รงพลิ ก โฉมพระศาสนจั ก ร คาทอลิกสู่ความเป็นสากล  ด้วยการทางเปิด สภาสั ง คายนาวาติ กั น   ที่   2  เป็ น ไปได้ อย่างไรที่เด็กชายอันเยโล  จากครอบครัวลูก ชาวนาซึง่ ไม่มที นี่ าเป็นของตนเอง  ต้องเช่าที่ นาเพื่อท�ำกินในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ ของซ๊อตโต  อิล  มอนเต  ในแคว้นแบร์กาโม ประเทศอิตาลี  จะมีความสามารถโดดเด่น เป็ น ถึ ง เอกอั ค รสมณทู ต ประจ�ำประเทศ บัลแกเรีย  (ค.ศ.1925-1935),  ตุรกี  (ค.ศ. 1935-1944)  และฝรั่งเศส  (ค.ศ.19441953)  ต่อเนือ่ งยาวนานหลายสิบปี  ก่อนจะ ได้รับมอบหมายต�ำแหน่งพระอัยกาแห่งเมือง เวนิส  (ค.ศ.1953-1958)  บุคคลผูท้ ยี่ ากจน ที่สุดจากครอบครัวที่อยู่กัน  พ่อแม่  ลูกๆ คุณปู่คุณย่า  คุณตาคุณยาย  คุณลุง  คุณป้า ร่วมชายคาเดียวกันถึง  28  คน  จะด�ำเนิน ชีวิตนักบวชก้าวหน้าไกลถึงต�ำแหน่งสูงสุด ของพระศาสนจักรคาทอลิก  พระองค์ทรง ด�ำเนินชีวติ โดดเด่นด้วย  ปรีชาญาณ,  ความ

เรี ย บง่ า ย  และการเป็ น คนที่ เ ปิ ด เผย  ได้ ประทับใจมนุษยโลก  เหตุใดบุคคลธรรมดาๆ จึงสามารถท�ำ  “กิจการที่ไม่ธรรมดา”  ซึ่ง น้อยคนนักที่จะท�ำได้ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น  ที่  23 ทรงเปิดเผยถึงเคล็ดลับหลายประการที่อยู่ เบื้องหลังความส�ำเร็จที่ยิ่งใหญ่  ดังนี้ 1. “ไม้กางเขน  คือ  เคล็ดลับในการ อภิบาลงานตามต�ำแหน่งหน้าที่รับผิด ชอบของข้าพเจ้า....พระกรทั้งสองที่ พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ทรงเผยออก  คื อ แบบแผนของสมณสมัยปกครองของ ข้าพเจ้า  กล่าวกันว่า  พระเยซูคริสต เจ้าสิน้ พระชนม์เพือ่ มนุษย์ทกุ คน  ไม่มี ผู้ใดไม่ได้รับความรักและการให้อภัย จากพระองค์” 2. “เคล็ดลับของทุกสิ่งอยู่ที่การให้ตัว เราถูกแบกโดยพระเยซูเจ้า  ขณะที่เรา เองก็แบกพระองค์ไว้เช่นกัน”  (ทุกๆ คน  ต่างเรียกข้าพเจ้าว่า  “พระบิดา ผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ”์   (Holy  Father)  ดังนัน้ ข้ า พเจ้ า จะต้ อ งด�ำเนิ น ชี วิ ต เป็ น ผู ้ ศักดิ์สิทธิ์  ให้สมชื่อ) 3. “ธรรมล�้ำลึกของชีวิตข้าพเจ้า  อยู่ ที่ ก ารไม่ เ คยต้ อ งการค�ำอธิ บ ายใดๆ ในทุ ก กรณี ข องชี วิ ต   และตระหนั ก เสมอถึ ง ค�ำสอนของนั ก บุ ญ เกรโกรี แห่ง  Nazianzen  ที่ว่า  ‘สันติสุข


48

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

ของเรา  มิใช่อยูท่ กี่ ารท�ำตามใจตนเอง แต่ ค วรท�ำตามพระประสงค์ ข อง พระเจ้า’” 4. “งานประกาศข่ า วดี แ ละการน�ำ มนุษยชาติสู่ความรอดพ้น  เป็นงานที่ สูงส่ง  ศักดิ์สิทธิ์  และอุทิศถวายแด่ พระเจ้า  ซึ่งพระสันตะปาปาจะต้อง กระท�ำเพื่อพระศาสนจักร  เป็นงานที่ บรรดาพระสังฆราชแต่ละองค์ร่วมรับ ผิดชอบดูแลงานในสังฆมณฑลรับผิด ชอบของตน” 5. “เหนือสิ่งอื่นใด  ข้าพเจ้าปรารถนา ที่ จ ะตอบแทนความชั่ ว ด้ ว ยความดี และพยายามยึดมัน่ ในข้อความจริงแห่ง พระวรสาร  มากกว่าจะใส่ใจในเล่ห์กล ของมนุษย์” 6. “หลั ก ความจริ ง ประการหนึ่ ง ของ  ‘การรู้จัก ประมาณตน’  เพียง พอทีจ่ ะช่วยให้ได้พบกับความสงบด้าน จิตวิญญาณ  และท�ำให้ข้าพเจ้าเตรียม พร้อมเสมอ  สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความ ส�ำเร็ จ ของข้ า พเจ้ า   คื อ   การไม่ พึ ง ประสงค์ในสิง่ ทีเ่ กินก�ำลังความสามารถ ของข้าพเจ้า  ดังข้อค�ำสอนจากหนังสือ ปัญญาจารย์ว่า  “ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า ส�ำหรับมนุษย์  ไม่มีสิ่งใดดีกว่าการมี ความสุขในการงานของตน  เพราะนี่ เป็นชะตากรรมของเขา  ผู้ใดจะท�ำให้

มนุษย์เห็นว่าสิง่ ใดจะเกิดขึน้ หลังจากที่ เขาจากไปแล้ว”  (ปญจ  3:22)  การ มี   “จิ ต ใจที่ อ ่ อ นโยนและถ่ อ มตน” ช่ ว ยให้ เราเห็ นคุ ณ ค่ า ของ  การเป็ น ผูร้ บั ,  การพูดและการสือ่ สารกับผูอ้ นื่ , การรู้จักอดทน,  ความเห็นอกเห็นใจ ผู ้ อื่ น ,  การรู ้ จั ก เงี ย บและการพู ด ให้ ก�ำลั ง ใจต่ อ กั น ”  ดั ง พระวรสารโดย นักบุญมัทธิว  “จงรับแอกของเราแบก ไว้  และมาเป็นศิษย์ของเรา  เพราะเรา มีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน  จิตใจ ของท่านจะได้รับการพักผ่อน”  (มธ 11:29) เคล็ดลับของพระสันตะปาปายอห์น  ที่ 23  ผู ้ ด�ำเนิ น ชี วิ ต ยากจน  เปิ ด เผย  และ น่ า รั ก พระองค์ นี้   คื อ การกลั บ คื น สู ่ พ ระ วรสาร  ด้วยการด�ำเนินชีวิตตามข้อค�ำสอน พื้นฐานของคริสตชน  การวางใจในพระเจ้า และกระท�ำทุ ก สิ่ ง ตามพระประสงค์ ข อง พระองค์อย่างเคร่งครัดเสมอ  ท�ำให้ทรงเป็น ผู้มั่งคั่งฝ่ายจิตวิญญาณ  ด้วยคุณสมบัติของ ความถ่อมตน  ความเรียบง่าย  ความยากจน และความเมตตา  ส่งผลให้พระองค์  “ไม่ยึด ติดกับสิ่งของฝ่ายโลก”  ซึ่งช่วยให้พระองค์ “ไม่ทรงเรียกร้องสิ่งใด  ไม่ว่าจะเป็นต�ำแหน่ง หน้ า ที่   เงิ น ทอง  หรื อ สิ ท ธิ พิ เ ศษใดๆ” พระสันตะปาปายอห์น  ที่  23  ทรงเชื่อมั่น


การใช้ชีวิตด้วยปัญญา  นักปราชญ์สรรเสริญว่าประเสริฐสุด

ในพระหรรษทานที่ พ ระเจ้ า ประทานแก่ พระองค์  และทรงตระหนักเสมอว่า  “ความ รับผิดชอบในหน้าทีต่ ามต�ำแหน่ง  มิได้หมาย ถึงการใช้อ�ำนาจปกครอง  แต่เป็นเรื่องของ ความรักและการรับใช้” “พระหรรษทานของการด�ำเนินชีวิตที่ เรียบง่ายและชอบธรรมต่อพระพักตร์พระเจ้า อาศัยการดลใจขององค์พระจิตเจ้า  ด้วยการ ยอมจ�ำนนอย่างสิ้นเชิงเพื่อปฏิบัติตามพระ ประสงค์ของพระเจ้า”  ผูท้ สี่ ามารถกระท�ำเช่น นี้ได้  ย่อมเคลื่อนภูเขาได้เช่นกัน บทสอนด้วยแบบอย่างของนายชุมพาบาล การได้ใช้เวลาเรียนรูเ้ กีย่ วกับการด�ำเนิน ชีวิตของพระสันตะปาปายอห์น  ที่  23  แม้ จะเป็นเพียงผ่านทางบทเขียนของพระองค์ ก็จะได้พบกับความเบิกบานใจ  ช่วยให้มอง โลกในแง่ ดี ม ากขึ้ น   มี ค วามหวั ง มากขึ้ น หากเราเปิดใจให้องค์พระจิตเจ้าทรงน�ำทาง บทเรี ย นจากชี วิ ต จริ ง ตามแบบอย่ า งของ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น  ที ่ 23  ผูท้ รง ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็น  “พี่ชาย” ของเรา  และทรงได้รบั ฉายาว่า  “นายชุมพาบาล แห่งโลกสมัยใหม่”  (Shepherd  to  the modern  world)  ขอให้เราพิจารณาค�ำแนะ น�ำดังต่อไปนี้

1.  ท�ำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ด้วยสิ้นสุดจิตใจ 2.  จัดอันดับความส�ำคัญของงาน 3.  ให้ความส�ำคัญกับชีวิตการภาวนา 4.  ตั้งใจที่จะด�ำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์ 5.  ด�ำเนินชีวิตเรียบง่ายและถ่อมตน 6.  ด�ำเนิ น ชี วิ ต เป็ น แบบอย่ า ง  ให้ สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเทศน์สอน 7.  ด�ำเนินชีวิตเป็นคนดี  มีเมตตา 8.  ตระหนักถึงความจ�ำเป็นของการ ท�ำให้ พ ระศาสนจั ก รทั น สมั ย อยู ่ เสมอ 9.  ระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ในกรณีที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน 10.  มองโลกในแง่ดี 11.  ให้ความส�ำคัญต่อการเสาวนากับ ผู้มีความเชื่อแตกต่าง 12.  พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน 13.  ท�ำทุกสิง่ เพือ่ ความดีของส่วนรวม 14.  สร้างสรรค์สันติภาพที่แท้จริง 15.  ให้ฆราวาสได้มีส่วนร่วมในชีวิต พระศาสนจักรอย่างเต็มรูปแบบ

49


50

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2015/2558

สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น  ที่  23 คือ  บุคคลตัวอย่างส�ำหรับทุกๆ  คน  โดย เฉพาะผู้บริหารระดับสูง  ผู้น�ำพระศาสนจักร และผู้น�ำประเทศ  พระองค์ทรงสอนและทรง ปฏิบตั เิ ป็นแบบอย่างของการด�ำเนินชีวติ ตาม แนวปฏิบัติของพระเยซูเจ้า

“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  มิได้อยู่ที่ ความมั่ ง คั่ ง หรื อ โชคชะตา  หรื อ เกิ ด มาใน ตระกูลสูงศักดิ์  แต่อยู่ที่การด�ำเนินชีวิตให้มี คุณค่าและคุณธรรม  และศักดิ์ศรีของงานที่ ได้ท�ำ”....พระสันตะปาปายอห์น  ที่  23 จดหมายถึงอักเนสซึ่งเป็นญาติ.... ลงวันที่  4  พ.ค.  1946

(สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น  ที ่ 23  ชือ่ เดิม  คือ  อันเยโลยูเซปเป  รอนคาลลี ชาวอิตาเลียนเกิดวันที ่ 25  พฤศจิกายน  ค.ศ.1881  สิน้ พระชนม์  วันที ่ 3  มิถนุ ายน  ค.ศ. 1963  สมณสมัยปกครองระหว่างวันที่  28  ตุลาคม  ค.ศ.1958  ถึง  วันที่  3  มิถุนายน ค.ศ.1963  ประกาศบุญราศี  วันที่  3  กันยายน  ค.ศ.2000  โดยสมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญ  ยอห์น  ปอล  ที ่ 2  ณ  มหาวิหารนักบุญเปโตร  นครรัฐวาติกนั   สถาปนาเป็นนักบุญ วันที่  27  เมษายน  ค.ศ.2014  โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  พระศาสนจักรคาทอลิก สมโภชพระสันตะปาปานักบุญยอห์น  ที ่ 23  ในวันที ่ 11  ตุลาคม  ตรงกับวันเปิดสมัยประชุม แรกของสภาสังคายนาวาติกัน  ที่ 2)

Jean  Maalouf,  Pope  John  XXIII,  Essential  Writings  :  ORBIS  BOOKS, Marynoll,  New  York,  2008. Hastings  Mason  and  Hugh  Pyper,  The  Oxford  Companion  to  Christian Thought.  Oxford  University  Press,  2000. Anthony  F.  Chiffolo,  Pope  John  XXIII  (In  My  Own  Words),  Hodder& Stoughton  Ltd.,  1999.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.