วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2015/2558

Page 1


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย  อาจารย์พิเชษฐ รุ้งลาวัลย์ อาจารย์ชวนชม อาจณรงค์  นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี 300 บาท จำ�หน่ายปลีก ฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสด, ตัว๋ แลกเงินไปรษณีย,์ ธนาณัติ สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ” ปณ.อ้อมใหญ่ 73160 หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

หลายปีทผี่ า่ นมา  นับตัง้ แต่มนุษย์ให้ความส�ำคัญกับรายได้  ตลอดจนตัวชีว้ ดั ทางเศรษฐกิจอื่นๆ  โดยน�ำมาเป็นปัจจัยส�ำคัญ  ที่แสดงถึงความส�ำเร็จในชีวิต  ท�ำให้ส่งผลอย่างมากต่อ วิถีชีวิตของมนุษย์และสังคมในภาพรวม จากเดิมที่พ่อแม่และลูกๆ  ท�ำงานร่วมกัน  กลายเป็นต่างคนต่างท�ำ  แม่ที่เคยมีหน้าที่ หลักในการเลี้ยงดูลูก  กลับต้องออกไปท�ำงานนอกบ้าน  เพียงเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น  เรา ต่างทุม่ เทท�ำงานเพือ่ ให้มผี ลงานทีด่  ี มีรายได้ทดี่  ี จนกระทัง่   เราอาจลืมหลายสิง่ หลายอย่าง  ที่ มีความส�ำคัญต่อชีวติ ของเรา  และสิง่ หนึง่ ทีเ่ รามักจะละเลยความส�ำคัญ  นัน่ คือ  การรักษาสมดุล ของชีวิต แสงธรรมปริทศั น์ฉบับนี ้ จึงอยากจะเชิญชวนทุกท่านได้หนั กลับมาทบทวนตนเอง  และ จัดล�ำดับความส�ำคัญต่างๆ  ในชีวติ   ให้สอดคล้องกับธรรมชาติความเป็นบุคคลของเรา  เพราะ ว่า  การท�ำงานไม่ใช่เป็นแค่อาชีพ  ทีช่ ว่ ยให้เรามีรายได้เท่านัน้   แต่ยงั เป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ   ที่ ช่วยให้เรารู้ว่า  เราเป็นใคร  เรามีพระพรของพระเจ้าประการใดบ้าง  และจะใช้พระพรเหล่านั้น ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและตนเองได้อย่างไร บางที  เราอาจจะต้องถามตนเองว่า  เราท�ำงานไปท�ำไม  งานมีความหมายต่อชีวิตของ เราหรือไม่  และเราจะท�ำงานอย่างมีความสุขได้อย่างไร  ฯลฯ  เพราะบางทีค�ำถามบางค�ำถาม ก็ช่วยให้เรามองในมุมที่แตกต่าง  และเห็นถึงวิถีชีวิตที่เราพึงเดิน

บรรณาธิการสร้างสรรค์

ข่าวประชาพันธ์...  ขอเชิญชวนส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ฉบับต่อไป เดื อ นมกราคม-เมษายน  2559  ในหั ว ข้ อ “ครู ” ส่ ง ต้ น ฉบั บ ได้ ท่ี อาจารย์ พีร พั ฒ น์ ถวิ ล รั ต น์ E-mail : pi_santo@yahoo.com หรือคุณสุกานดา วงศ์เพ็ญ E-mail : sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559  และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความที่ส่งมาร่วมแบ่งปัน

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ


Content 5

โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3

SaengthamJournal ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

5

วิทยาศาสตร์กับความเชื่อเรื่องการสร้าง บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์ C.S.S.

23

23

33

33

39

39

เทววิทยาและวิทยาศาสตร์

บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์ S.D.B.

มุมมองของนักปรัชญาต่อโลกแห่งวิทยาศาสตร์ บาทหลวง วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์ ศ.กีรติ บุญเจือ

53

Room for Religion in a Scientific world.? Fr.Patrick A. Connaughton

53


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

64

64

68

68

พระสงฆ์  ความเชื่อ  และวิทยาศาสตร์ บร.รติ พรหมเด่น (ผู้สัมภาษณ์)

การบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างมีจริยธรรม ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

78

วิทยาศาสตร์กับจริยธรรม ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์

78

92

จิตวิทยา: ศาสตร์แห่งความเข้าใจและช่วยเหลือมนุษย์ อ.พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

92

107

116

ว่าด้วยเรื่องของการสอนวิทยาศาสตร์ ในวิทยาลัยแสงธณรม

116

อ.พิเชษฐ์ รุ้งลาวัลย์

แนะนำ�หนังสือ

บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร


บาทหลวง ผศ.ดร. ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

วั น ที่   30  มิ ถุ น ายน  2011  ที่ รั ฐ วาติกัน  ในโอกาสครบรอบ  60  ปีการบวช เป็นพระสงฆ์  สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิ ก ต์ ที่   16  ทรงมอบ  “รางวั ล   โยเซฟ  รัตซิงเกอร์”  เป็นครั้งแรกแก่นักเทววิทยา  3  คน  ในค�ำปราศรัย  พระองค์ทรงมีโอกาส ไตร่ตรองปัญหาพื้นฐานที่ส�ำคัญว่า  “เทว-  วิทยาคืออะไร”  พระองค์ตรัสว่า “ธรรมประเพณี ส อนว่ า   เทววิ ท ยา  เป็นศาสตร์แห่งความเชื่อ  เมื่อพูดเช่นนี้ก ็ เกิดค�ำถามขึ้นทันทีว่าจะเป็นไปได้อย่างไร  ดูเหมือนขัดแย้งในตัวเองมิใช่หรือ  วิทยาศาสตร์ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับความเชื่อ มิ ใช่ ห รื อ   เมื่ อ ความเชื่ อ กลายเป็ น ศาสตร์  ก็ไม่เป็นความเชือ่ อีกต่อไปมิใช่หรือ  และเมือ่ วิทยาศาสตร์มุ่งไปสู่ความเชื่อ  หรือขึ้นอยู่  กับความเชื่อก็เลิกที่จะเป็นศาสตร์มิใช่หรือ”

พระองค์ ยั ง ทรงอธิ บ ายต่ อ ไปว่ า  ค�ำถามเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่นักเทววิทยา สมัยกลางโต้เถียงกันอยู่แล้ว  และในสมัยนี้ เมื่ อ วิ ท ยาศาสตร์ เจริ ญ ก้ า วหน้ า มากยิ่ ง ขึ้ น  ก็กลายเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ดูเหมือนว่าแก้  ไม่ตก  ดังนั้น  เราจึงเข้าใจว่า  เหตุใดหลาย แขนงวิชาในหมวดเทววิทยาจึงหันไปศึกษา ด้านประวัติศาสตร์เพื่อพิสูจน์ว่าวิชาของตน เป็ น ศาสตร์ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง   เราต้ อ งยอมรั บ ว่าการศึกษาเทววิทยาในด้านประวัติศาสตร์  ได้ประสบความส�ำเร็จเพราะมีผลงานยิ่งใหญ่ และค�ำสอนของคริสต์ศาสนาได้รับแสงสว่าง ใหม่  ที่ท�ำให้มองเห็นความมั่งคั่งภายในได้ ชัดเจน  อย่างไรก็ตาม  ถ้าเทววิทยาทั้งหมด ย้อนกลับไปศึกษาเฉพาะอดีตมุมมองเดียว  ก็จะท�ำให้ความเชื่อปัจจุบันอยู่ในความมืด

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน  S.D.B.,  อาจารย์สาขาเทววิทยา  คณะศาสนศาสตร์  วิทยาลัยแสงธรรม

[  หมวดพระสัจธรรม  ]

เทววิทยาและวิทยาศาสตร์


24

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ต่อมานักเทววิทยาได้มุ่งเน้นด้านการ ปฏิบัติเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทววิทยาในการ เชื่ อ มโยงกั บ จิ ต วิ ท ยาและสั ง คมวิ ท ยาเป็ น ศาสตร์ ที่ มี ป ระโยชน์   เพราะเสนอแนะวิ ธี ด�ำเนินชีวติ อย่างเป็นรูปธรรม  การศึกษาเช่น นี้ก็ยังมีความส�ำคัญอีกด้วย  แต่ถ้าความเชื่อ ซึง่ เป็นรากฐานของเทววิทยาไม่กลับเป็นวัตถุ ของความคิด  ถ้าการปฏิบัติมุ่งไปสู่เฉพาะ ตนเองหรื อ มี อ ยู ่ เ พราะได้ รั บ ข้ อ มู ล จาก วิทยาศาสตร์มนุษย์เท่านั้น  การปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะไม่มีพื้นฐานที่มาจากความเชื่อ  วิธีการ ศึกษาเทววิทยาเหล่านีจ้ งึ ไม่เพียงพอ  แม้เป็น ความรู ้ ที่ มี ป ระโยชน์ แ ละส� ำ คั ญ   แต่ ยั ง ไม่ เป็นการตอบค�ำถามแท้จริงซึ่งมีอยู่ว่า  สิ่งที่ เราเชื่อเป็นความจริงหรือไม่  เทววิทยาต้อง ค� ำ นึ ง ถึ ง เรื่ อ งความจริ ง   ซึ่ ง เป็ น รากฐาน สุดท้ายและส�ำคัญที่สุดของเทววิทยา 1.  เทววิทยาเป็นศาสตร์หรือไม่ “ศาสตร์ ”   หรื อ   “วิ ท ยาศาสตร์ ”  หมายถึงความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและกฎที่ จัดไว้อย่างเป็นระบบ  เป็นกิจกรรมของมนุษย์ ที่ท�ำให้ได้ความรู้ที่สามารถทดสอบได้  ซึ่ง กระบวนการที่กล่าวประกอบไปด้วย »» 1) การสั ง เกตปรากฏการณ์ ใ น ธรรมชาติแล้วก�ำหนดปัญหา »» 2)  การตั้งสมมุติฐาน »» 3)  การเก็บรวบรวมข้อมูล »» 4)  การวิเคราะห์ »» 5)  การสรุปผล

วิทยาศาสตร์แบ่งเป็น  3  กลุ่มใหญ่  คือ »» 1)  วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  (Natural  science)  ศึกษาปรากฏการณ์ ธรรมชาติในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสิ่ง ต่างๆ  ยกเว้นเรือ่ งปรากฏการณ์ทเี่ ป็น พฤติกรรมของมนุษย์ »» 2)  สังคมศาสตร์  (Social  science)  ศึ ก ษาปรากฏการณ์ ที่ เ กี่ ย ว  ข้องกับพฤติกรรมระหว่างมนุษย์กับ มนุ ษ ย์   หรื อ ศึ ก ษาปรากฏการณ์  ที่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ »» 3)  มนุ ษ ยศาสตร์   (Humanities)  ศึกษาปรากฏการณ์ของมนุษย์  ในส่วนที่เป็นปัจเจกบุคคล คาร์ล  บารธ์  ไม่สงสัยเลยว่าเทววิทยา เป็ น ศาสตร์   เช่ น เดี ย วกั บ ศาสตร์ อื่ น ๆ เทววิทยาเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะ แสวงหาความรู้ของวัตถุใดวัตถุหนึ่ง  มีวิธี การที่เป็นขั้นตอนและแสดงเหตุผลให้ทุกคน มองเห็ น ได้   วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องความรู ้ ใ น เทววิ ท ยาคื อ พระเจ้ า หรื อ ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ พระเจ้า  ดังที่ความหมายของค�ำว่า  “เทววิ ท ยา”  เสนอแนะ  ความจริ ง ที่ ว ่ า เราไม่ สามารถตรวจสอบพระเจ้า  ไม่ทำ� ให้เทววิทยา สูญเสียคุณลักษณะในด้านวิชาการ  โลกแห่ง มโนภาพตามความคิดของเพลโตก็ไม่สามารถ ทดสอบได้  แต่ไม่มีผู้ใดตัดสินว่าต้องขจัด


เทววิทยาและวิทยาศาสตร์

ปรัชญาของเพลโตออกจากหลักสูตรการเรียน การสอนในมหาวิทยาลัย  กระบวนการความ รู้ใดๆ  ถือว่าเป็นวิชาการหรือศาสตร์  ถ้า ผ่านการวิพากษ์คือวิเคราะห์คุณสมบัติหรือ ประเมิ น คุ ณ ค่ า โดยเปรี ย บเที ย บ  รวมทั้ ง สืบค้นแหล่งข้อมูล  ประวัตแิ ละรูปแบบดัง้ เดิม เทววิทยาพยายามเข้าใจพระวาจาของ พระเจ้ า โดยอาศั ย แสงสว่ า งแห่ ง ความเชื่ อ พยายามอธิบายการเชื่อมโยงภายในของพระ วาจานี ้ และชีแ้ จงความหมายตามแบบนัยยะ ที่ แฝงอยู ่   เมื่ อท�ำเช่น นี้  เทววิทยามัก พบ แหล่งความรู้อื่นๆ  จึงต้องค�ำนึงถึงเนื้อหา ของข้อมูลดังกล่าว  แม้นกั เทววิทยาใช้  “วิถี ลง”  จากการเปิดเผยในพระคัมภีร์มาสู่สิ่ง สร้ า ง  เขาจะมองข้ า มความจ� ำ เป็ น ที่ จ ะใช้  “วิถีขึ้น”  ไม่ได้  คือจากความรู้ด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ไปสูค่ วามรูท้ มี่ าจากพระวาจา ของพระเจ้า  เพือ่ จะได้มคี วามรู ้ ความเข้าใจ ถึงพระวาจาดียิ่งขึ้น  ความจ�ำเป็นที่ใช้การ เคลื่อนไหวทั้งสองรูปแบบนี้เป็นที่เข้าใจของ นักบุญอันเซลม์ถงึ เทววิทยาว่า  เป็น  “fides  quaerens  intellectum”  คือความเชื่อที่  แสวงหาความเข้าใจ  ค�ำนิยามนีย้ งั คงมีคณ ุ ค่า ในทุกวันนี้  เพราะความจริงที่เทววิทยาต้อง เข้าใจเป็นสิ่งที่ต้อง  “แสวงหา”  และสิ่งที่ ความเชือ่ เรียกร้องและรัก  ตามความหมายที่ แตกต่างกันของค�ำกริยาภาษาละติน  “quaerere”

25

2.  การใช้วิทยาศาสตร์ธรรมชาติในงาน เทววิทยา นักประวัตศิ าสตร์มกั ถือว่า  แม้นกั บุญ โทมัส  อาไควนัส  (1224-1274)  ไม่ได้ พัฒนาวิทยาศาสตร์การทดลองโดยตรง  แต่ เขาก็ มี ส ่ ว นสร้ า งความสนใจในการศึ ก ษา ธรรมชาติ  โดยท�ำให้อริสโตเติลเป็นที่รู้จักใน มหาวิทยาลัยคริสตชนตะวันตก  และส่งเสริม การใช้ความรูท้ างวิทยาศาสตร์ในสมัยของท่าน เข้ามาในความคิดเทววิทยา  พระสมณสาสน์  Aeterni  Patris  (1879)  และ  Fides  et  Ratio  (1998)  ได้เสนอให้นกั บุญ โทมัสเป็นแบบอย่างส�ำหรับนักวิชาการและ  ผูเ้ ชีย่ วชาญในด้านความรูท้ างวิทยาศาสตร์ใน สมัยของตนให้มวี จิ ารณญาณเช่นเดียวกันท่าน เพื่อจะเริ่มการเสวนาที่สร้างสรรค์และเกิดผล กับนักเทววิทยา สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอลที่  2  ทรงเขียนอย่างชัดเจนว่า  “การ พั ฒ นาร่ ว มสมั ย ของวิ ท ยาศาสตร์ ท ้ า ทาย เทววิทยาอย่างลึกซึ้งยิ่งกว่าการน�ำเสนอผล งานของอริสโตเติลในยุโรปตะวันตกได้ทา้ ทาย นั ก เทววิ ท ยาในศตวรรษที่   13  แต่ ก าร พั ฒ นาดั ง กล่ า วยั ง เป็ น โอกาสท� ำ ให้ เ กิ ด ทรัพยากรส�ำคัญแก่เทววิทยาอีกด้วย  ปรัชญา อริ สโตเติ ลโดยอาศั ย การไตร่ ต รองของนั ก วิ ช าการยิ่ ง ใหญ่ เช่ น เดี ย วกั บ นั ก บุ ญ โทมั ส  อาไควนั ส   ก็ ไ ด้ รั บ รู ป แบบใหม่ เ พื่ อ แสดง  ค�ำสอนทางเทววิทยาฉันใด  เราหวังได้หรือไม่


26

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ว่า  ศาสตร์ต่างๆ  ในปัจจุบัน  รวมทั้งความ รู้ทุกรูปแบบของมนุษย์  จะส่งเสริมพลังและ สร้ างรู ป แบบใหม่ให้ก ารศึก ษาค้น คว้าทาง เทววิ ท ยา  ซึ่ ง แสดงความสั ม พั น ธ์ ข อง ธรรมชาติ   มนุ ษ ย์ แ ละพระเจ้ า ฉั น นั้ น ”  (จดหมายถึงผู้อ�ำนวยการหอดูดาวของรัฐ วาติกัน  วันที่  1  มิถุนายน  1988) เราพบความคิดเดียวกันนีใ้ นสมณสาสน์  Fides  et  Ratio  ซึ่ ง เสนอนั ก บุ ญ โทมั ส  อาไควนัส  เป็น  “ผู้แสวงหาความจริง”  ซึ่ง ต้องศึกษาและสอน  ไม่ว่าความจริงที่พบนั้น จากทีใ่ ดและจากผูใ้ ด  สมเด็จพระสันตะปาปา  นั ก บุ ญ ยอห์ น   ปอล  ที่   2  ทรงเขี ย นว่ า  “นักบุญโทมัส  อาไควนัส  มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวในการยืนยันความจริง  มีจิตเสรีใน การเผชิญหน้ากับปัญหาใหม่ๆ  รวมทัง้ ความ สุจริตทางปัญญา  เช่นเดียวกับบรรดาผู้ไม่ ยอมให้คริสตศาสนาต้องเปื้อนหมอง  ไม่ว่า โดยปรัชญาฝ่ายโลก  หรือโดยการไม่ยอมรับ ปรัชญาเนื่องจากมีอคติภายในพระศาสนจักร ดังนัน้   นักบุญโทมัส  อาไควนัส  จึงได้กลาย เป็นนักปราชญ์ส�ำคัญในประวัติความคิดของ คริ ส ตชน  ในฐานะที่ ท ่ า นเป็ น ผู ้ บุ ก เบิ ก แนวทางใหม่ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ ปรั ช ญาและ วัฒนธรรมสากล  ประเด็นหลักในเรื่องนี้จะ เรียกว่าแก่นแท้ของทางออกก็เป็นได้  ซึง่ ท่าน นั ก บุ ญ ได้ ว างไว้ เ ป็ น แบบแผนส� ำ หรั บ การ เผชิ ญ หน้ า ครั้ ง ใหม่ ร ะหว่ า งความเชื่ อ กั บ เหตุผล  พร้อมกับการหยั่งรู้เชิงพยากรณ์ที่

ชัดเจน  ประเด็นนั้นก็คือ  ต้องสร้างความ สมานฉันท์ขึ้นมาให้ได้ระหว่างวิถีแห่งโลก  ไร้ศาสนาของปรัชญากับการเรียกร้องสุดขีด ของพระวรสาร  นั ก บุ ญ โทมั ส   อาไควนั ส เสนอความพยายามหลีกเลี่ยงวิธีปฏิเสธวิถี ของโลกพร้อมคุณค่าที่โลกมีอยู่  พยายาม หลีกเลี่ยงความโน้มเอียงแบบไม่ยอมอ่อนข้อ ต่ อ ธรรมชาติ ดั ง ที่ เ คยมี ก ารปฏิ บั ติ ม าก่ อ น  แต่ในขณะเดียวกันท่านนักบุญก็ยังคงรักษา ความเชื่อไว้โดยไม่ยอมให้ข้อเรียกร้องสูงสุด และลดหย่อนไม่ได้ของระบบความจริงเหนือ ธรรมชาติ”  (Fides  et  Ratio  43) สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอล  ที ่ 2  ยังทรงยืนยันว่า  “นักบุญโทมัส อาไควนัส  มีความมั่นใจแน่วแน่ว่า  ‘ความ จริงไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ล้วนมาจากการ ชี้แนะของพระจิตเจ้า’  ท่านนักบุญรักความ จริงด้วยใจเทีย่ งธรรมไม่ยอมให้ความรูส้ กึ ส่วน ตัวเข้ามาหักเห  ท่านจึงแสวงหาความจริงจาก ทุกแหล่งที่หวังว่าจะมีโอกาสพบและติดตาม ผลจนพิ สู จ น์ ไ ด้ ว ่ า เป็ น ความจริ ง สากล”  (Fides  et  Ratio  44)  จุดมุ่งหมายของ  การชี้ แ นะดั ง กล่ า วไม่ ต ้ อ งการเฉลิ ม ฉลอง ความคิดของนักบุญโทมัส  แต่ต้องการเชิญ ชวนนักเทววิทยาสมัยปัจจุบันให้ปฏิบัติตาม สิ่งที่นักบุญโทมัสเคยท�ำในชีวิตของตน ต่ อ จากนั ก บุ ญ โทมั ส   อาไควนั ส  นักเขียนที่สมควรกล่าวถึง  เพราะมีความคิด เห็นลึกซึ้งเกี่ยวกับบทบาทของวิทยาศาสตร์


เทววิทยาและวิทยาศาสตร์

ธรรมชาติ ใ นผลงานของนั ก เทววิ ท ยาคื อ  โทมัส  กัมปาเนลลา  (Tommaso  Campanella,  1568-1639)  ซึง่ เป็นนักปรัชญา ร่วมสมัยเดียวกันกับกาลิเลโอ  กัมปาเนลลา เขียนบทความยอดเยี่ยมเพื่อปกป้องระบบ สุรยิ ะจักรวาล  ทีก่ าลิเลโอนักวิทยาศาสตร์ชาว อิ ต าเลี ย นสนั บ สนุ น   บทความนี้ เ ป็ น การ ทดสอบว่า  ทรรศนะทางปรัชญาที่กาลิเลโอ สนับสนุนสอดคล้องหรือต่อต้านพระคัมภีร์  เขาใช้อุปมาเปรียบเทียบธรรมชาติกับหนังสือ ที่ พ ระเจ้ า ทรงเขี ย น  และอภิ ป รายปั ญ หา  ดังกล่าวในบริบทที่กว้างมากกว่าการโต้เถียง ระหว่างระบบจักรวาล  2  ระบบในสมัยนั้น กั ม ปาเนลลาเตื อ นความทรงจ� ำ บรรดา  นั ก เทววิ ท ยาว่ า   มีธ รรมประเพณีทางพระ คัมภีร์  บรรดาปิตาจารย์  และเทววิทยาซึ่ง มองสิ่งสร้างเป็นการเปิดเผยพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระเจ้า  กัมปาเนลลาจึงคิดว่า  ถ้าผู้ใด ห้ามนักคิดคริสตชนไม่ให้ศึกษาธรรมชาติ  ก็เท่ากับว่า  ผูน้ นั้ ห้ามนักคิดไม่ให้เป็นคริสตชน  ค�ำ สอนคริ ส ตศาสนาแนะน� ำให้ ศึ ก ษา ปรากฏการณ์ธรรมชาติเพราะไม่กลัวความจริง เขาเชื่อว่าความจริงเป็นของพระเจ้าพระองค์ เดียว  ผู้ทรงสร้างฟ้าและดิน สภาสังคายนาวาติท ี่ 2  มีจดุ มุง่ หมาย ที่จะเสนอค�ำสอนของพระวรสารในรูปแบบ ใหม่ที่คนสมัยนี้เข้าใจได้ดีกว่าเพราะมั่นใจ ว่า  “ประสบการณ์ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และขุมทรัพย์

27

ที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ  ซึ่งล้วนเอื้อ อ�ำนวยให้รู้จักธรรมชาติของมนุษย์ชัดเจนยิ่ง ขึ้น  และเปิดหนทางใหม่ๆ  ไปสู่ความจริง  ก็ย่อมเป็นประโยชน์แก่พระศาสนจักรด้วย”  (Gaudium  et  spes  44)  ข้ อ ความนี ้ และอื่นๆ  ที่อ้างถึงศาสตร์ต่างๆ  ไม่อธิบาย เพิ่มเติมว่าวิชาความรู้นี้มีส่วนช่วยส่งเสริม เทววิทยาได้อย่างไร สภาสั ง คายนาฯ  ชื่ น ชมความรู ้ ท าง วิทยาศาสตร์ทเี่ ชิญชวนนักเทววิทยาให้เสวนา กั บ โลกอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ผ ลว่ า   “สิ่ ง ที่ วิทยาศาสตร์  ประวัติศาสตร์  และปรัชญา ค้นคว้าและค้นพบเมื่อเร็วๆ  นี้  ท�ำให้เกิด ปัญหาใหม่ๆ  ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนถึง ชีวติ ท�ำให้นกั เทววิทยาต้องท�ำการค้นคว้าใหม่ อีกต่อไป  นอกจากนัน้   แม้นกั เทววิทยาต้อง ใช้วิธีการเฉพาะวิชาของตน  เขาก็ยังได้รับ เชิ ญ ให้ แ สวงหาวิ ธี ที่ เ หมาะยิ่ ง ขึ้ น ส� ำ หรั บ ถ่ายทอดค�ำสอนแก่มนุษย์ทุกสมัย  เพราะ คลังแห่งความเชื่อหรือข้อความจริงเป็นอย่าง หนึ่ง  ส่วนวิธีอธิบายข้อความจริงให้มีความ หมายและใจความอย่างเดียวกันเป็นอีกอย่าง หนึ่ง  “  (Gaudium  et  spes  62) สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอล  ที่  2  ยังทรงอธิบายในจดหมายถึง  ผู้อ�ำนวยการหอดูดาวของรัฐวาติกันอีกว่า  “ถ้าจักรวาลวิทยาของโลกโบราณตะวันออก  ใกล้ ไ ด้ รั บ การช� ำ ระให้ บ ริ สุ ท ธิ์   และถู ก ซึ ม ทราบในบทแรกๆ  ของหนั ง สื อ ปฐมกาล


28

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

จักรวาลวิทยาร่วมสมัยอาจมีสิ่งบางอย่างที่จะ เสนอให้เราไตร่ตรองถึงการสร้างก็ได้  เช่น  มุมมองวิวฒ ั นาการน�ำแสงสว่างมาสูเ่ ทววิทยา ด้านมานุษยวิทยา  ความหมายของมนุษย์ใน ฐานะภาพลักษณ์ของพระเจ้า  ปัญหาคริสตวิ ท ยา  และแม้ ก ารพั ฒ นาค�ำ สอนเรื่ อ งการ สร้ า งได้ ห รื อ ไม่   จั ก รวาลวิ ท ยาร่ ว มสมั ย มี ความหมายที่ แ ฝงอยู ่ อ ะไรบ้ า งส� ำ หรั บ เทววิทยาเรื่องอันตวิทยา  (eschatology)  โดยเฉพาะเมื่อค�ำนึงถึงอนาคตที่กว้างใหญ่ ของจั ก รวาล  ค� ำ ถามเช่ น นี้ มี ม ากมาย  ค�ำตอบเรียกร้องให้มีการเสวนาอย่างจริงจัง  กับวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย  ซึ่งโดยทั่วไปยังไม่ เคยมี ใ นหมู ่ นั ก เทววิ ท ยาผู ้ ท� ำ การวิ จั ย และ  สัง่ สอน”  (จดหมายถึงผูอ้ ำ� นวยการหอดูดาว ของรัฐวาติกัน  วันที่  1  มิถุนายน  1988) วั น ที่   10  พฤศจิ ก ายน  2003  สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น  ปอล  ที่  2  ประทานค�ำปราศรัยแก่สมาชิกสมณะ บั ณ ฑิ ต ยสถานวิ ท ยาศาสตร์   (Pontifical  Academy  of  Sciences)  ทรงยืนยันอีก  ครัง้ หนึง่ ถึงเอกลักษณ์ของความเป็นจริง  และ ทรงเห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ว่ า   การค้ น คว้ า ทาง วิทยาศาสตร์อาจช่วยเทววิทยาให้เข้าใจเนือ้ หา การเปิดเผยของพระเจ้าดียิ่งขึ้นว่า  “เราร่วม เป็นหนึ่งเดียวในความปรารถนาที่จะแก้ไข ความเข้าใจผิด  รับแสงสว่างจากพระเจ้าผูท้ รง เป็นความจริงหนึง่ เดียวทีป่ กครองโลกและน�ำ ชีวติ มนุษย์ทกุ คน  เรามัน่ ใจแน่วแน่วา่   ความ

จริงทางวิทยาศาสตร์ซงึ่ มีสว่ นร่วมในความจริง ของพระเจ้ า   อาจจะช่ ว ยทั้ ง ปรั ช ญาและ เทววิทยาให้เข้าใจมนุษย์และการเปิดเผยของ พระเจ้าเกี่ยวกับมนุษย์อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นการเปิดเผยที่สมบูรณ์และส�ำเร็จในพระ  คริสตเจ้า” การใช้ผลการค้นหาทางวิทยาศาสตร์ อย่างถูกต้อง  เรียกร้องความรับผิดชอบใน การเปลี่ยนความสนใจ  จากการยอมรับเพียง ว่าเทววิทยาและวิทยาศาสตร์ไม่ขัดแย้งกัน เป็นการยอมรับความท้าทายว่าเทววิทยาและ วิทยาศาสตร์อาจก่อให้เกิดสติปัญญาซึ่งกัน และกัน  โดยแท้จริงแล้ว  ผลการค้นหาทาง วิทยาศาสตร์ไม่เพียงช่วยให้เข้าใจการเปิดเผย ของพระเจ้าอย่างลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ เท่านัน้   แต่อาจ จะเรียกร้องให้อ่านพระวาจาของพระเจ้าแบบ ใหม่  วิทยาศาสตร์เรียกร้องให้อ่านพระวาจา ในแสงสว่างใหม่  และบางทีในกรอบความคิด ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา ใหม่ แ ละเรี ย กร้ อ งการวิ เ คราะห์ ที่ ลึ ก ซึ้ ง มากกว่า เรื่ อ งชั ด เจนที่ สุ ด ของการไตร่ ต รอง ระหว่างเทววิทยากับวิทยาศาสตร์คือ  การ ตีความหมายของความเป็นจริง  เพราะเรื่อง นี้เป็นปัญหาขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นระหว่างการ ตีความหมายของโลกทางวิทยาศาสตร์กบั ทาง ศาสนา  เป็นที่ยอมรับว่า  ถ้าใช้วิธีตีความ หมายอย่างถูกต้อง  เป็นไปได้ที่จะตีความ หมายของความเป็นจริงหลายรูปแบบพร้อมๆ


เทววิทยาและวิทยาศาสตร์

กัน  ซึ่งไม่ขัดแย้งกัน  นักวิชาการก็อาจจะ ชี้แจงข้อผิดพลาดในอดีตและวางรากฐานไว้ ส�ำหรับการท�ำงานร่วมกันในอนาคตอย่างสงบ สุข การพัฒนาการเสวนาระหว่างเทววิทยา กั บ วิ ท ยาศาสตร์ จึ ง เกิ ด ขึ้ น ได้   เมื่ อ ยอม รับ  “การท้าทายทางปัญญา”  ซึ่งกันและกัน ไม่ด�ำเนินการท้าทายจากความขัดแย้ง  แต่ เป็นโอกาสส่งผลการค้นหาของฝ่ายหนึง่ ให้อกี ฝ่ายหนึ่งพิจารณา  “การเสวนาต้องด�ำเนิน การต่ อ ไปและเพิ่ ม พู น ความลึ ก ซึ้ ง และมี ขอบเขตมากยิง่ ขึน้ ในกระบวนการนี ้ เราต้อง เอาชนะแนวโน้มต่างๆ  ที่ถอยหลังไปสู่การ ลดทอนข้ อ มู ล ของฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง   ไปสู ่ ความกลัวและแยกตัวออกจากการเสวนา  สิง่ ส� ำ คั ญ ที่ จ� ำ เป็ น คื อ   แต่ ล ะสาขาวิ ช าต้ อ ง ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูน  บ�ำรุง และท้าทายอีกสาขาหนึ่ง  เพื่อเป็นสิ่งที่ควร เป็นอย่างเต็มเปี่ยม  และมีส่วนร่วมน�ำไปสู่ วิสัยทัศน์ที่ว่า  เราเป็นผู้ใดและจะกลายเป็น  ผู้ใด”  (จดหมายถึงผู้อ�ำนวยการหอดูดาว ของรัฐวาติกัน  วันที่  1  มิถุนายน  1988) ความเป็นไปได้ทนี่ ำ� ผลการค้นคว้าทาง วิ ท ยาศาสตร์ เข้ า ร่ ว มกั บ การไตร่ ต รองทาง เทววิ ท ยามี พื้ น ฐานในพระสั จ ธรรมที่ ว ่ า เทววิทยายอมรับว่า  พระวาจาทีส่ ร้างโลกเป็น สิง่ เดียวกันกับพระวาจาทีต่ คี วามหมายและน�ำ ทิศทางของประวัตศิ าสตร์มนุษย์  คือพระเจ้า ผูท้ รงส�ำแดงพระองค์ในพระราชกิจทีท่ รงสร้าง

29

เป็ น พระเจ้ า องค์ เ ดี ย วกั น ผู ้ ท รงเปิ ด เผย พระองค์ในเหตุการณ์ที่พระวจนาตถ์ทรงรับ สภาพมนุษย์  สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญ ยอห์น  ปอล  ที ่ 2  ทรงเชิญชวนนักวิชาการ  อย่ามองข้ามความจริงนี้ว่า  “เอกภาพของ ความจริง  เป็นข้อตั้งพื้นฐานของการอ้าง เหตุผลของมนุษย์  เช่น  หลักการแห่งการ  ไม่ขัดแย้งกันเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจน  การเปิดเผยของพระเจ้ายิ่งแสดงให้ เห็นเอกภาพได้ดยี งิ่ ขึน้   เพราะชีใ้ ห้เห็นว่าพระ ผู้สร้างเป็นพระเจ้าแห่งความรอดพ้นและแห่ง ประวัติศาสตร์ด้วย  พระเจ้าองค์เดียวและ พระองค์เดียวกันนีเ้ องทรงวางกรอบ  และทรง รับรองให้มนุษย์สามารถเข้าใจและอ้างเหตุผล ถึงระเบียบตามธรรมชาติของสิ่งต่างๆ  ซึ่ง  นักวิทยาศาสตร์อ้างถึงอย่างสนใจ  พระเจ้า พระองค์เองทีไ่ ด้ทรงเปิดเผยองค์เป็นพระบิดา ของพระเยซูคริสตเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าของ เรา”  (Fides  et  Ratio  34) 3.  นักเทววิทยามองวิทยาศาสตร์อย่างไร ตั้งแต่อดีตจนถึง  ค.ศ.1980  ต�ำรา เกี่ยวกับการสร้างหรือเทววิทยาด้านมานุษยวิ ท ยาไม่ ค ่ อ ยเชื่ อ มโยงกั บ วิ ท ยาศาสตร์ ธรรมชาติ เ ท่ า ใดนั ก   โดยปกติ แ ล้ ว   นั ก เทววิ ท ยาพิ จ ารณาปั ญ หาความสั ม พั น ธ์ ระหว่างเทววิทยากับวิทยาศาสตร์อย่างรวดเร็ว คร่าวๆ  และไม่ชัดเจน  เพราะกลัวจะเกิด ผลกระทบอย่ า งรุ น แรง  ผลตามมาก็ คื อ


30

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ค�ำสอนเรื่องพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า  ซึ่ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งมองธรรมชาติ ดั ง ที่ เ ป็ น อยู ่  ดูเหมือนถูกบดบังและไม่ได้รับการพิจารณา ต่อไป  ความสนใจในประเด็นนี้เกิดขึ้นเมื่อ ปลายศตวรรษที ่ 20  เพราะได้รบั แรงกระตุน้ จากการไตร่ตรองเรื่องวิกฤตการณ์ของระบบ นิเวศ  และจากการรื้อฟื้นปัญหาเกี่ยวกับต้น ก� ำ เนิ ด ของโลก  มนุ ษ ย์ แ ละชี วิ ต ร่ ว มกั บ ปัญหาเกี่ยวกับอนาคตของมนุษยชาติและ จักรวาล  อย่างไรก็ตาม  นักเทววิทยามักได้ ไตร่ ต รองเพี ย งประเด็ น ทางปรั ช ญาที่ นั ก วิทยาศาสตร์มีผลกระทบกับวัฒนธรรมและ มติมหาชนเท่านั้น  เพราะเป็นประเด็นที่ไม่ สามารถละเลยได้ อย่างไรก็ตาม  ในบรรดานักเทววิทยา ร่ ว มสมั ย   ผลงานของคาร์ ล   ราห์ เ นอร์ (Karl  Rahner  1904-1984)  โวล์ฟาร์ท  ปันเบนแบร์ก  (Wolfhart  Pannenberg  1928-2014)  และ  ยื ร เกน  มอลท์ ม าน  (Jürgen  Moltmann  1926-)  ควรจะ  จดจ�ำเป็นตัวอย่างของเทววิทยาทีด่ เู หมือนให้ ความส�ำคัญแก่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติอย่าง แท้จริง  ราห์เนอร์พยายามแก้ไขปัญหานี้โดย เขี ย นเรื่ อ งสั้ น ๆ  ปราศจากข้ อ เสนอใดๆ  ที่ เ ป็ น ระบบเกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารที่ ต ้ อ งน� ำ ไปใช้  เขาให้ ค วามสนใจเป็ น พิ เ ศษแก่ ภ าษาทาง วิทยาศาสตร์เพื่อน�ำมาใช้ในเทววิทยา  และ ปั ญ หาต้ น ก� ำ เนิ ด ของมนุ ษ ย์ ใ นบริ บ ท วิ วั ฒ นาการของโลก  รวมทั้ ง ปั ญ หาของ

เอกปฐมพงศ์นิยม  (monogenism)  และ  บทบาทของพระคริสตเจ้าในจักรวาล ปันเบนแบร์ก  ได้พัฒนาการไตร่ตรอง ทางปรั ช ญาที่ ส� ำ คั ญ ในการเสาวนากั บ วิทยาศาสตร์  เขาเขียนหนังสือในเรื่องนี้โดย เฉพาะ  รวมทั้ ง ข้ อ ความจ� ำ นวนมากใน นิตยสารต่างๆ  มอลท์มานได้เขียนต�ำราเรือ่ ง การสร้างที่มีจุดสนใจเกี่ยวกับการเสวนากับ วิทยาศาสตร์  และได้รวบรวมข้อความหลาย บทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทววิทยา กั บ วิ ทย า ศา สต ร ์ ใ นห นั ง สื อ ที่ มี ชื่ อ ว ่ า  “วิทยาศาสตร์และพระปรีชาญาณ”  อย่างไร ก็ ต าม  เขาไม่ ค ่ อ ยให้ ค วามสนใจกั บ การ พิจารณาอิทธิพลของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เหนือเทววิทยา  แต่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ กับการส่งเสริมพันธะระหว่างวิทยาศาสตร์กบั ศาสนาในการช่วยโลกให้พ้นอันตรายที่จะถูก ท�ำลายในอนาคต ปิ แ อร์   เทยาร์ ด   เดอ  ซาร์ แ ดง (Pierre  Teilhard  de  Chardin,  18811955)  นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรัง่ เศส  พระสงฆ์  คณะเยซูอิต  เป็นกรณีพิเศษที่น่าสนใจ  เขา ไม่เป็นนักเทววิทยาและไม่ได้ใช้วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติภายในโครงการทางเทววิทยาทีเ่ ป็น ระบบ  อย่างไรก็ตาม  แม้ความคิดของเขา  ไม่แน่นอนและคลุมเครือบ้าง  ก็ยังมีอิทธิพล มากเหนือเทววิทยาทั้งในอดีตและปัจจุบัน  เขาเป็ น คนแรกที่ พ ยายามพิ จ ารณาผลการ ค้ น หาทางวิ ท ยาศาสตร์   โดยเฉพาะ


เทววิทยาและวิทยาศาสตร์

วิ วั ฒ นาการของจั ก รวาลและชี วิ ต   ในแสง สว่างของการเปิดเผยทางพระคัมภีร์  และ เสนอการตีความหมายแบบใหม่ทไ่ี ม่เคยมีใคร ท�ำมาก่อน  ซึ่งมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง เขาได้รบั แรงบันดาลใจจากการสังเกตในฐานะ ผูเ้ ชีย่ วชาญวิชาบรรพชีวนิ วิทยา  และจากการ ไตร่ตรองลึกซึง้ ในฐานะผูม้ คี วามเชือ่   ตีความ หมายของความสัมพันธ์ระหว่างพระวจนาตถ์ ผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์กับมนุษยชาติและ จักรวาล  ทรรศนะของเขากลายเป็นกรอบรูป ตั ว อย่ า งที่ นั ก เทววิ ท ยาบางคนใช้ ใ นการ พิจารณาประเด็นส�ำคัญ  เช่น  ความสัมพันธ์ ระหว่างธรรมชาติกับพระหรรษทาน  หรือ ระหว่างการสร้างกับการไถ่กู้  อย่างไรก็ตาม เมือ่ ตัดสินโครงการของเทยาร์ดในมุมมองของ เทววิทยา  ความคิดของเขาไม่นำ� เสนอวิธกี าร ทีน่ า่ เชือ่ ถือในการแก้ปญ ั หาส�ำคัญของค�ำสอน  คริสตชน  เช่น  ความเข้าใจเรื่องบาปก�ำเนิด หรือหนทางที่พระเจ้าประทับอยู่ในจักรวาล เพราะเหตุนี้  ลักษณะบางอย่างในความคิด ของเขาอาจน�ำไปสู่ข้อสรุปที่ต่างจากค�ำสอน  ที่พระเจ้าทรงเปิดเผย 4.  สรุป ภาพรวมโดยทั่ ว ไปของเทววิ ท ยาใน ศตวรรษที่  20  อาจน�ำเราให้สรุปว่า  นอก เหนื อ ข้ อ ยกเว้ น บางประการ  ไม่ เ กิ ด การ เสวนาทีม่ ปี ระสิทธิผลเลยระหว่างวิทยาศาสตร์

31

กับเทววิทยา  เป็นการเสวนาที่ไม่เพียงจ�ำกัด ในการแบ่งขอบเขตหรือชี้แจงข้อผิดพลาด  แต่เป็นการเสวนาที่พยายามใช้ผลการค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์อย่างระมัดระวังเพื่อจะเกิด ผลในเทววิทยา สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอล  ที่  2  ทรงแนะน�ำว่า  “ถ้าจะเจาะจง มากกว่านี ้ ทัง้ เทววิทยาและวิทยาศาสตร์ตอ้ ง รักษาอัตลักษณ์และความแตกต่างของตน  เทววิทยาไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ก็ไม่เป็นการขยายสาขาของ เทววิ ท ยา  แต่ ล ะวิ ช ามี ห ลั ก การ  รู ป แบบ กระบวนการ  ความแตกต่างในการตีความ หมาย  และข้อสรุปเป็นของตน  คริสตศาสนา มีแหล่งที่มาซึ่งให้เหตุผลสนับสนุนในตัววิชา เอง  และไม่ตอ้ งการให้วทิ ยาศาสตร์ให้เหตุผล สนับสนุนเชิงแก้  วิทยาศาสตร์ตอ้ งเป็นพยาน ยืนยันคุณค่าในวิชาของตน  วิชาหนึ่งต้อง สนับสนุนอีกวิชาหนึ่งในฐานะมิติต่างกันของ ความรูส้ ากลของมนุษย์  และวิชาหนึง่ ไม่ตอ้ ง รับอีกวิชาหนึ่งให้เป็นข้อตั้งที่จ�ำเป็นของตน วั น นี้ เรามี โ อกาสที่ ไ ม่ เ คยปรากฏมาก่ อ น ส�ำหรับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  ซึ่งแต่ละวิชา ยังคงความสมบูรณ์  และในเวลาเดียวกันโดย หลักการยังเปิดรับการค้นคว้าและการหยัง่ เห็น ของอีกวิชาหนึ่ง”  (จดหมายถึงผู้อ�ำนวยการ หอดูดาวของรัฐวาติกัน  วันที่  1  มิถุนายน  1988)


ยอห์น ปอล ที่ 2, สมเด็จพระสันตะปาปา. (2557). พระสมณสาสน์ศรัทธากับเหตุผล (Faith and Reason).  (แปลโดย ศ.กีรติ บุญเจือ). นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. Barbour, Ian Graeme. (2000). When Science Meets Religion. San Francico:  Harper & Row. Flannery, Austin O.P. (1992). Vatican Council II. The Conciliar and Post Conciliar Documents. (New Revised Edition). Collegeville, MN: Liturgical  Press. Haught, John F. (1995). Science and Religion. From Conflict to Conversation.  New York: Paulist Press. John Paul II, Pope. (1988). Letter to the Rev. George V. Coyne, S.J., Direc tor of the Vatican Observatory. in Physics, Philosophy and Theology: a  Common Quest for Understanding. Città del Vaticano: Libreria Editrice  Vaticana. Latourelle, Rene. S.J. (1970). Theology: Science of Salvation. London: St  Paul’s Publishing. Pannenberg, Wolfhart. (1993). Toward a Theology of Nature: Essays on Science and Faith. Louisville: John Knox Press/Westminster. Polkinghorne, John. (1986). One World: The Interaction of Science and Theology. Princeton: Princeton University Press. Russell, Robert J. Stoeger, William R. Coyne, George V., eds. (1988). Physics, Philosophy, and Theology: A Common Quest for Understanding. Città  del Vaticano: Libreria Editrice Vaticana. Tanzella-Nitti, Giuseppe. (1992). Questions in Science and Religious Belief. Tucson: Pachart. Torrance, Thomas F. (1969). Theological Science. London: Oxford University  Press. Wiles, Maurice. (1976). What is theology?. London: Oxford University Press.


บาทหลวงวีรศักดิ์  ยงศรีปณิธาน บทน�ำ โลกในปั จ จุ บั น   ความก้ า วหน้ า ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบนั กลายเป็นตัวบ่งชี้ ว่า  สังคมหรือประเทศใดก้าวหน้ามากกว่ากัน เพราะว่า  โลกแห่งวิทยาศาสตร์ได้น�ำมาซึ่ง ความสะดวกสบายให้ กั บ ชี วิ ต ของมนุ ษ ย์  และตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของ มนุษย์  อีกทัง้ วิทยาศาสตร์เองได้ให้คำ� ตอบที่ ชัดเจนได้ในระดับหนึ่ง  ซึ่งสมัยก่อนมนุษย์  ไม่สามารถหาค�ำตอบได้จึงท�ำให้มนุษย์เอง  ตกอยู่ในสภาวะที่หวาดกลัว  แต่เมื่อมีความ เจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์  มนุษย์  ก็สามารถค้นพบความจริงทีว่ า่   สิง่ ต่างๆ  หรือ  เหตุการณ์ต่างๆ  ที่มนุษย์ได้ประสบนั้น  เริ่ม ต้นตรงไหน  อย่างไร  และมีสาเหตุเกิดจาก อะไร  แต่มนุษย์ก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี ้

มนุษย์เองได้แสวงหาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  จนพบความจริงส่วนหนึ่ง  และดูเหมือนว่า  การแสวงหานี้จะไม่มีวันสิ้นสุด  ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงได้เข้าใกล้กับความจริงในระดับหนึ่ง ของชีวติ โดยอาศัยทางด้านวิทยาศาสตร์  เมือ่ ยิ่งค้นพบ  ยิ่งอยากแสวงหาอีกเรื่อยๆ  จน มนุษย์หลงคิดว่า  วิทยาศาสตร์คือค�ำตอบ ส�ำหรับทุกอย่าง ยุคแห่งการแสวงหาของมนุษย์ บทความนี้   จะมาพิ จ ารณาวิ ท ยาศาสตร์ในมุมมองของนักปรัชญา  ซึง่ ปรัชญา เองได้มองวิทยาศาสตร์มิใช่ใครอื่น  หากเป็น ส่วนหนึง่ ของตนเอง  เราทราบว่า  วิทยาการ ทุกแขนงล้วนก่อเกิดมาจากปรัชญา  ถามว่า

บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลเชียงใหม่,  อาจารย์สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา  คณะมนุษยศาสตร์  วิทยาลัยแสงธรรม

[  หมวดปรัชญา  ]

มุมมองของนักปรัชญา ต่อโลกแห่ง “วิทยาศาสตร์”


34

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ท�ำไมจึงเกิดจากปรัชญา  ก็เพราะปรัชญาเกิด จากความทึง่ และความประหลาดใจของมนุษย์ ต่ อ สิ่ ง ที่ พ บเห็ น รอบๆ  ตั ว เอง  นั่ น คื อ ธรรมชาติ  อริสโตเติลกล่าวว่า  มนุษย์อยาก รูจ้ กั ความจริง  แม้ความจริงนัน้ จะได้มาอย่าง ยากยิ่ ง หรื อ ง่ า ยดายก็ ต าม  (O  Lorella  Congiunti,  Lineamenti  di  filosofia  dellanatura,  p.20)  เพราะเหตุ นี้  มนุษย์จงึ เกิดค�ำถามว่า  นีค่ อื อะไร  สิง่ ทีม่ อี ยู่ เพราะเหตุใดและอริสโตเติลได้อธิบายให้เรา เข้าใจว่า »» “การแสวงหาความจริงนั้น  ด้าน หนึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ย าก  ในขณะเดี ย วกั น  ก็มีอีกด้านหนึ่งที่ง่าย  แต่ความจริง อย่างหนึ่งที่เคียงคู่เสมอกับมนุษย์คือ มนุษย์สามารถพบกับความจริงได้สว่ น หนึง่   และในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถ ค้นพบความจริงได้ทั้งหมด”  (Citato  da  Lorella  Congiunti  a  Aristotele,  Metafisica,  I,  1,  980a  20-25) จากความพิศวงของมนุษย์ในธรรมชาติ เหล่านี้  5-6  ปีก่อนคริสตศักราช  ได้มีนัก ปรัชญาชาวกรีกตั้งค�ำถามว่า  โลกเกิดขึ้นได้ อย่ า งไรเช่ น   Thales  (640  ปี ก ่ อ น  คริสตศักราช)  เขาเชือ่ ว่า  โลกเกิดขึน้ มาจาก น�้ ำ   เพราะสั ง เกตเห็ น ว่ า   น�้ ำ เป็ น ส่ ว น

ประกอบของทุกสิ่ง  จากนั่นพวกเขาก็แสวง เหตุ ผ ลมาอธิ บ ายต่ า งๆ  นานา  จนเกิ ด เนื้อหามากเพียงพอที่จะแยกออกเป็นศาสตร์ ต่างๆ  ต่อไป  ต่อมา  Pythagoras  (580570  ก่อนคริสตศักราช)  ได้รับฉายาว่าเป็น ผู ้ ท รงอิ ท ธิ พ ลมากที่ สุ ด โดยเฉพาะได้ ด ้ า น วิ ท ยาศาสตร์ แ ละคณิ ต ศาสตร์   เพราะเขา  เชื่อว่า  ทุกสิ่งล้วนเกิดมาพร้อมกับกฎของ คณิตศาสตร์  เขาจึงอธิบายสิ่งต่างๆ  โดย  ใช้หลักการของคณิตศาสตร์  และจากจุดนีเ่ อง มนุษย์เริ่มมองออกไปและอธิบายสิ่งต่างๆ  โดยอาศัยกฎคณิตศาสตร์  แม้กระทั่งดนตรี และศีลธรรม  มนุษย์จึงเริ่มมั่นใจในวิธีการ แบบนี้  ช่วงเวลานี้เอง  ที่มนุษย์แสวงหาและ อธิบายสิ่งต่างๆ  โดยใช้เหตุและผลเพื่อไปสู่ ความจริง สมัยต่อมา  มนุษย์เริ่มพิจารณาว่าสิ่ง ต่ า งๆ  เกิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ า งไรนั้ น   ไม่ ส� ำ คั ญ เท่ากับการพิจารณาว่า  เรามนุษย์ควรจะเจริญ ชีวิตอย่างไร  โสคราตีส  (469-399  ก่อน  คริสตศักราช)  กล่าวไว้ว่า  ชีวิตที่ขาดการ แสวงหาก็ไม่คคู่ วรกับการมีชวี ติ อยู ่ จากจุดนี้ เองมนุษย์ยงิ่ ตะเกียกตะกายหาความรูเ้ พือ่ ดับ ความกระหายของตัวเองในการแสวงหาความ จริงที่มีอยู่ภายในจิตใจ  และในขณะเดียวกัน ก็ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ค้นพบนี้เพื่ออ�ำนวย ประโยชน์ให้กับชีวิตของตน  แต่ถึงกระนั้น มนุษย์ก็หาได้รู้สึกพอใจไม่กับความเป็นอยู่  ณ  ปั จ จุ บั น เท่ า ใดนั ก   มนุ ษ ย์ ยั ง คงมุ ่ ง


มุมมองของนักปรัชญาต่อโลกแห่งวิทยาศาสตร์

แสวงหาความจริ ง ของสิ่ ง ต่ า งๆ  นี้ ต ่ อ ไป  ไม่วา่ จะเป็นความจริงด้านอภิปรัชญาหรือด้าน ฟิสิกส์ก็ตาม ปรัชญาสมัยกลาง  โดยมีนักปรัชญาที่ ส�ำคัญคือ  นักบุญออกัสติน  (ค.ศ.  4)  และ นักบุญโทมัส  อไควนัส  (ค.ศ.  12)  ได้น�ำ ปรัชญาในแนวความคิดของปลาโต้  (427347  ก่อนค.ศ.)  และอริสโตเติล  (384-322  ก่อนค.ศ.)  มาผสมผสานกับความเชื่อได้ อย่างลงตัวในระดับหนึ่ง  โดยมนุษย์ได้มอบ ความเชื่อ  ความศรัทธา  ไว้กับพระเป็นเจ้า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั พระเจ้านีอ้ ยูท่ ี่ เหตุผลและศรัทธาของมนุษย์  แต่มาถึงปลาย ศตวรรษที่  15  เมื่อ  Nicholaus  Cupernicus  (ค.ศ.1473-1543)  นักดาราศาสตร์  ชาวโปแลนด์ได้ค้นพบว่า  โลกหมุนรอบดวง อาทิตย์  มนุษย์จึงเกิดความสงสัยต่อความ เชื่ อ ของตั ว เองที่ ผ ่ า นมา  จนนั ก ปรั ช ญา  René  Descartes  (ค.ศ.1596-1650)  ได้นำ�   เสนอความคิ ด สู ่ ส มั ย ใหม่   ด้ ว ยค� ำ กล่ า ว  ‘Cogito  Ergo  Sum’  หรือ  “I  think,  therefore  I  am”  มนุ ษ ย์ เริ่ ม สงสั ย ใน  ความเชื่ อ   แต่ สิ่ ง หนึ่ ง ไม่ มี ใ ครสงสั ย   คื อ  ผูค้ ดิ ส่งผลให้การแสวงหาความรูข้ องมนุษย์มี ความแม่นย�ำมากขึ้น  และความเจริญทาง ด้านวิทยาศาสตร์ล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก แนวความคิดนี ้ ความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ได้น�ำความมั่นใจให้กับมนุษย์  จนถึงกับให้ ความส�ำคัญกับวิทยาศาสตร์มาก  นีค่ อื การน�ำ ไปสูแ่ นวความคิดปฏิฐานนิยม  (positivism)

35

Auguste  Comte  (1798-1857)  ชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวความคิดที่ส�ำคัญยิ่ง เกี่ยวกับวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าของ มนุษย์ว่าเป็นไปตามล�ำดับ  3  ขั้น  คือ »» 1)  ขั้นเทววิทยา  (Theological  Stage)  มนุษย์เชื่อในอ�ำนาจของสิ่ง  เหนื อ ธรรมชาติ ว ่า   เป็ นสาเหตุ ข อง ปรากฏการณ์ต่างๆ »» 2)  ขั้นอภิปรัชญา  (Metaphysical  Stage)  เป็นการพัฒนาสูงขึ้นมา อีกระดับหนึง่   มนุษย์เปลีย่ นจากความ เชื่อจากสิ่งเหนือธรรมชาติมาสู่ความ เชือ่ ในสาระบางอย่างว่า  เป็นทีม่ าของ ปรากฏการณ์ต่างๆ »» 3)  ขัน้ ปฏิฐาน  (Positive  Stage)  มนุษย์จะแสวงหากฎธรรม  กฎสูงสุด ของจักรวาล  มนุษย์จะตระหนักเกี่ยว กับกฎธรรมชาติ  และรูว้ า่ สิง่ ต่างๆ  มี ความสั ม พั น ธ์ กั น โดยมี ก ฎควบคุ ม ความสั ม พั น ธ์ เ หล่ า นั้ น   และนี่ คื อ โครงสร้างที่แท้จริงของจักรวาล  และ วิ ท ยาศาสตร์ จ ะเปิ ด เผยให้ เ รารู ้ จ ริ ง  ข้อนี้  (ประทุม  อังกูรโรหิต  ปรัชญา ปฏิ บั ติ นิ ย ม  รากฐานปรั ช ญาการ ศึกษาในสังคมประชาธิปไตย  ส�ำนัก พิ ม พ์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย กรุงเทพฯ  2556)  นีค่ อื ภาพทีม่ าทีไ่ ป ของวิทยาศาสตร์เข้ามาให้ความสนใจ กับมนุษย์  สิง่ ทีม่ นุษย์เห็น  ก็นำ� มาคิด


36

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ไตร่ตรองว่า  เป็นอยู่ได้อย่างไรและเรา จะเข้าถึงได้อย่างไร  เมือ่ มนุษย์อธิบาย สิ่งต่างๆ  ได้  มนุษย์ก็มีความพอใจ และเริ่มแสวงหาต่อไป วิทยาศาสตร์พาสู่ความจริงระดับหนึ่ง มนุษย์ปฏิเสธไม่ได้ว่า  ตัวมนุษย์เอง เป็นผู้ก่อให้เกิดวิทยาศาสตร์จากความพิศวง ของตนเอง  จากความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทาง วิทยาศาสตร์นเี่ องด้วย  มนุษย์ได้รบั ประโยชน์ มากมาย  เช่ น   ตอบสนองความกระหาย หาความรู้ของตนเอง  ใช้เพื่ออ�ำนวยความ สะดวกให้ กั บ ตนเองในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต  เป็นต้น  วิทยาศาสตร์น�ำไปสู่ความจริง  คือ ท�ำให้มนุษย์ได้สัมผัสสิ่งต่างๆ  ด้วยประสาท สัมผัสของตนเอง  และมนุษย์ก็ชื่นชมยินดี  กับสิง่ ต่างๆ  เหล่านัน้ ทีต่ นเองได้ประดิษฐ์ขนึ้ มาด้วยปัญญาและความสามารถของตนเอง ความจริงอีกประการหนึ่ง  คือ  สิ่งต่างๆ  ที่ มนุ ษ ย์ ป ระดิ ษ ฐ์ ขึ้ น นี้   ล้ ว นท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์  อดคิดไม่ได้ว่า  แล้วอะไรคือวัตถุดิบที่มนุษย์ น�ำมาสร้างสรรค์ให้มาเป็นอุปกรณ์ใช้สอยเหล่า นีไ้ ด้อย่างน่ามหัศจรรย์วทิ ยาศาสตร์ไม่ควรลืม ทีม่ าของตนเอง  และควรระลึกถึงความจริงที่ ตนเองเป็ น วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ รั บ ใช้ ม นุ ษ ย์ ม า ยาวนาน  และมีประวัติแห่งวิวัฒนาการมา ยาวนาน  และดูเหมือนจะไม่หยุดเพียงเท่านี้ ยังคงมุง่ หน้าต่อไป  ด้วยคติพจน์ทวี่ า่   พรุง่ นี้ ต้องดีกว่าวันนี้

ปรั ช ญามองหาความหมายของทุ ก สิ่ ง (วิทยาศาสตร์) จากความทึ่ ง และประหลาดใจในสิ่ ง ต่างๆ  ที่มนุษย์พบเห็น  มนุษย์ได้พัฒนา กระบวนการแสวงหาความจริงไม่ว่าจะเป็น ด้านร่างกายหรือจิตวิญญาณ  วิทยาศาสตร์ ได้ ค ้ น หาความจริ ง ของวั ต ถุ ต ่ า งๆ  โดยมี ค�ำถามอยูว่ า่   มันคืออะไรและประกอบด้วย อะไร  แต่ ป รั ชญาค้ นหาความหมายหรื อ  เป้ า หมายของวั ต ถุ นั้ น ว่ า   เป็ น อยู ่ เ พื่ อ จุ ด หมายใด  นั่ น แสดงว่ า   ปรั ช ญามอง วิทยาศาสตร์ด้วยความทึ่ง  และประหลาดใจ ทีจ่ ะน�ำไปสูค่ วามหมายของสิง่ ๆ  นัน้ ว่า  มัน มีอยู่หรือเป็นอยู่ด้วยเหตุใด  นี่คือ  การมอง ด้ ว ยตาที่ เ ห็ น ในสิ่ ง ต่ า งๆ  และตั้ ง ค� ำ ถาม  มิใช่รู้เพียงว่ามันคืออะไรเท่านั้น  แต่ไปไกล กว่านั้นคือ  มันอยู่ด้วยเหตุผลใด  แสดงว่า ก่อนที่จะค้นหาความหมายในมุมมองของ ปรัชญา  จะต้องมีวัตถุให้เห็นก่อน  ฉะนั้น  ยิ่งมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น เท่ า ใด  ความสะดวกสบายของมนุ ษ ย์ ก็ ดี  ยิ่งขึ้น  ยิ่งมนุษย์มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น มนุ ษ ย์ ยิ่ ง ค้ น พบความหมายของสิ่ ง ต่ า งๆ  ที่ท�ำให้มนุษย์ได้เห็นคุณค่าและความหมาย ของตัวเองเพิม่ มากขึน้ เท่านัน้   นีค่ อื เหตุผลที่ ว่า  ไม่มีความก้าวหน้าใดที่เป็นอุปสรรคต่อ มนุษย์  แต่อปุ สรรคมาจากตัวมนุษย์เองทีป่ ดิ กั้นตนเองที่จะรับรู้ความหมายของสิ่งต่างๆ  ทีอ่ ยูร่ อบตนเอง  มาถึงตรงนีแ้ ล้ว  เราควรจะ มองวิทยาศาสตร์อย่างไร


มุมมองของนักปรัชญาต่อโลกแห่งวิทยาศาสตร์

การเสวนาและก้าวเดินไปด้วยกัน เมื่อพบว่า  วิทยาศาสตร์เป็นผลพวง แห่งความก้าวหน้าของมนุษย์  ก็ตอ้ งยอมรับ ว่า  วิทยาศาสตร์ได้อยู่เคียงข้างกับมนุษย์มา ตลอด  แต่ทงั้ นี ้ มนุษย์ตอ้ งไม่คดิ ว่า  ทุกสิง่ ทุกอย่างอยูเ่ พียงในวิทยาศาสตร์เท่านัน้ มนุษย์ มิได้ประกอบด้วยเพียงร่างกายเท่านั้น  หาก มนุษย์ยงั มีจติ วิญญาณด้วย  ถามว่า  อธิบาย ความหมายของชี วิ ต มนุ ษ ย์ ไ ด้ อ ย่ า งไรว่ า มนุษย์ไม่ต้องการเพียงวัตถุเท่านั้น  ในความ เป็นจริงของชีวิต  มนุษย์ต้องการอีกมิติหนึ่ง เช่น  ความรัก  ความเมตตา  ความดี  ความ สัมพันธ์  ความมีน�้ำใจ  การให้อภัย  ความ สุขใจ  เป็นต้น  สิ่งต่างๆ  เหล่านี้  วิทยาศาสตร์ไม่มีวันค้นพบได้เลย  เพราะเป็นอีก ระดับการแสวงหาของจิตวิญญาณ  ดังนั้น การเสวนาและการก้าวเดินไปด้วยกัน  จึงเป็น หนทางที่มนุษย์ควรพิจารณาเพื่อพัฒนาชีวิต ของตนทั้งครบ อนาคตของวิทยาศาสตร์ หากคิ ด ต่ อ ไปอี ก ก้ า วหนึ่ ง ถึ ง วิ ท ยาศาสตร์  แม้เวลานี ้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะเป็นแบบวันต่อวัน  แล้วอย่างนี้จะ ยังคงพัฒนาต่อไปอีกประมาณไหน  ค�ำตอบ น่าจะมีความตอบเดียว  คือ  วิทยาศาสตร์  จะเฉิดฉายมากกว่านี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  และจะเป็นแบบนี้ตลอดไป  ตราบใดโลกนี้  ยั ง มี ม นุ ษ ย์ อ ยู ่   แต่ ส่ิ ง หนึ่ ง ที่ ไ ม่ ค วรลื ม คื อ วิทยาศาสตร์เอง  ก็ต้องค้นหาความหมายให้

กับตนเองซึ่งที่จริง  วิทยาศาสตร์ได้ให้ความ หมายแก่มนุษย์อยูแ่ ล้วในความเจริญก้าวหน้า ของตนเอง  เมื่ อ มองแบบนี้   มนุ ษ ย์ ต ้ อ ง ตระหนักว่า  ต้องพัฒนาตนเองและให้ความ ส�ำคัญกับชีวติ ของมนุษย์  หากวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ให้ความเคารพแก่มนุษย์วิทยาศาสตร์ ก็ไม่มีความหมายในตัวมันเองอีกต่อไป สรุป ปรัชญามีววิ ฒ ั นาการเรือ่ ยมาและอยูก่ บั ทุกขณะชีวิตของมนุษย์  ความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ได้เผยแสดงความก้าวหน้าของ มนุษยชาติดว้ ย  ทัง้ นี ้ ยิง่ มนุษย์กา้ วหน้ามาก ขึ้นเท่าใด  มนุษย์ยิ่งเห็นคุณค่าของตนเอง มากเท่านั้น  โดยไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่ตนเอง สร้างเพราะวิทยาศาสตร์  ด้านหนึง่ บ่งบอกถึง ความก้ า วหน้ า ทางความคิ ด ในการพั ฒ นา ตนเองให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น   อี ก ด้ า นหนึ่ ง ก็ ส ะท้ อ น ความลุม่ ลึกของจิตใจมนุษย์ทยี่ งิ่ ท�ำให้เข้าใกล้ ความจริ ง   แม้ จ ะไม่ ไ ด้ ค รอบครองอย่ า ง เบ็ดเสร็จก็ตาม  การก้าวเดินไปด้วยกันของ วิ ท ยาศาสตร์ กั บ ศาสตร์ ต ่ า งๆ  ยั ง คงต้ อ ง ไตร่ ต รองกั น เสมอ  เพราะหากมนุ ษ ย์ ยึ ด วิทยาศาสตร์เป็นเหมือนความก้าวหน้าเพียง กายภาพอย่างเดียว  มนุษย์กเ็ สีย่ งทีจ่ ะยึดเป็น แก่นสารของตนได้  แต่การแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอย่างใจกว้างและเข้าใจรอบ ด้าน  น�ำมาซึ่งความสุขให้กับชีวิตมนุษย์ได้ อย่างลงตัว

37


ยัง ดังโตแนล, บาทหลวง. (2551). ปรัชญาสะพานเชื่อมวิทยาศาสตร์กับศาสนา. นครปฐม: วิทยาลัยแสงธรรม. ประทุม  อังกูรโรหิต. (2556). ปรัชญาปฏิบัตินิยม รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคม ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฟื้น ดอกบัว. (2555). ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพมหานคร: ศยาม. Congiunti, Lorella. (2010). Lineamenti difilosofia  della  natura. Roma:  Urbaniana  University  Press. Lavine, T.Z. (1984). From Socrates to Sartre: The Philosophic Quest. New  York: Bantam  Book. King, Peter J. (2013). 100 Philosophers: A guide to the World’s Greatest Thinkers. New York: Chartwell Books. Rooney, Anne. (2014). The Story of Philosophy: From Ancient Greeks to Great Thinkers of Modern Times. London: Arcturus Publishing. Magee, Bryan. (2010). The Story of Philosophy. London: Dorling Kindersley. Trombley, Stephen. (2013). A History of Western Thought. London: Atlantic  Books.


ศ.กีรติ  บุญเจือ

วิทยาศาสตร์คืออะไร “วิ ท ยา”  เห็ น ได้ ชั ด ว่ า เป็ น ภาษา สันสกฤต  เพราะตัวสะกดตัวตามไม่เดินตาม กฎ  แปลว่าความรู้ทั่วๆ  ไป  (ตรงกับภาษา ละติ น ว่ า   scientia  ภาษากรี ก ว่ า   gnosis)  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  knowledge

และ  notion  สมาสกั บ ค� ำ   “ศาสฺ ตฺ ร ” ภาษาสั น สกฤตเพราะมี พ ยั ญ ชนะ  ศ  ซึ่ ง แปลว่า  องค์ความรู้ที่มีศาสดาหรือเจ้าส�ำนัก รับรอง  วิทยาศาสตร์จึงแปลว่าความรู้ที่มี ส�ำนักการศึกษารับรอง  ตรงกับภาษาละติน ว่ า   studium  และตรงกั บ ภาษาบาลี ว ่ า

ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต  อดีต  สนช.  อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญาและศาสนา  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประธานบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน บรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน อนุกรรมาธิการศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรมวุฒิสภา ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร กรรมการคุณธรรมจริยธรรมส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกิติมศักดิ์องค์การศาสนาเพื่อสันติภาพแห่งเอเชีย  สอบถามเรื่องปรัชญา  โทร.086-045-5299

[  หมวดปรัชญา ]

วิกับทความเชื ยาศาสตร์ ่อคริสต์


40

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

วิชชฺ า  แต่พระพุทธศาสนาใช้เจาะจงให้หมาย ถึงความจริงที่รู้  อวิชชาจึงหมายถึงความรู้ที่ ไม่ตรงกับความจริงท�ำให้เกิดทุกข์ซึ่งแก้ได้ ด้วยการให้วชิ ชาคือรูจ้ ริงตรงกับความเป็นจริง ภาษาไทยแผลงเป็น  วิชาเพื่อหมายถึงความ รู้ส่วนหนึ่งๆของสถาบันที่มีการสอนอบรม จนกว่าผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถตาม เกณฑ์ก�ำหนดขั้นต�่ำและออกใบรับรอง  ใน ปั จ จุ บั น หมายถึ ง ความรู ้ ที่ มี ห ลั ก สู ต รของ สถาบันการศึกษาทั่วโลกรับรองและก�ำหนด กรอบให้ตามความหมายของภาษาอังกฤษว่า  subject ครั้นเอาค�ำวิทยาสมาสกับค�ำศาสตร์ได้ ค� ำ วิ ท ยาศาสตร์จึงจะมีความหมายตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า  science  คือวิชาที่ใช้วิธ ี การวิทยาศาสตร์  (scientific  method) อันเป็นวิชาที่แบ่งเนื้อหาออกเป็น  3  สาขา คือ  ฟิสิกส์  เคมี  และ  ชีววิทยา  จึงไม่ใช่ ความรู้อะไรก็ได้ตามรากศัพท์ภาษาละติน แต่เป็นความรูท้ ไี่ ด้ผา่ นการรับรองของวิธกี าร วิทยาศาสตร์มาอย่างดีแล้วเท่านั้น  ความ หมายจึ ง แคบกว่ า ความหมายเดิ ม ของค� ำ ละติน  scientia,  และต่างจากความหมาย  เดิ ม ของค� ำ   วิ ทฺ ย า,  วิ ชฺ ช า  และศาสฺ ตฺ ร  อย่างมาก มีคำ� ทีต่ อ้ งท�ำความเข้าใจในเบือ้ งต้นอยู ่ 5  ค�ำ  คือ  วิธกี ารวิทยาศาสตร์  (scientific  method),  วิ ช าฟิ สิ ก ส์   (physics),  วิชาเคมี  (chemistry),  วิชาชีววิทยา  (bi-

ology),  ข้อเชื่อของชาวคริสต์  (Christian  Articles  of  Faith) วิธีการวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าวิธีการ วิทยาศาสตร์ประกอบด้วยการหาความรู้ครบ  5  ขั้นตอน  คือ 1. รวบรวมข้อมูล  เครื่องมือที่ใช้คือ ประสาทสัมผัสทั้ง  5  (5  senses)  มนุ ษ ย์ มี ป ระสาทตาก็ ส ามารถเก็ บ ข้อมูลจากการได้เห็นและรวบรวมไว้ เป็นข้อมูลในความจ�ำ  ถ้าไม่มคี วามจ�ำ ความรู้คงไม่เกิดขึ้นได้  มีประสาทหูก็ สามารถเก็บข้อมูลจากการได้ยินและ รวบรวมไว้เป็นข้อมูลในความจ�ำ  มี ประสาทจมูกก็สามารถเก็บข้อมูลจาก กลิน่ และรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในความ จ�ำ  มีประสาทลิ้นก็สามารถเก็บข้อมูล จากรสและรวบรวมไว้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ใน ความจ�ำ  มีประสาทผิวกายก็สามารถ เก็ บ ข้ อ มู ล จากความรู ้ สึ ก สบาย  ไม่ สบายและรวบรวมไว้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ใน ความจ� ำ สมองมนุ ษ ย์ มี ส มรรถภาพ อ ย ่ า ง ห นึ่ ง เรี ย กว่ า   common sense  (สามัญส�ำนึก) โดยเก็บข้อมูล จาก  5  ทางมาประเมินผลเป็นหน่วย ประสบการณ์เก็บไว้เป็นข้อมูลในความ จ�ำ  นับเป็นความจ�ำเฉพาะหน่วยหรือ จินตภาพแต่ละจินตภาพ  สะสมเป็น


วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์

ข้อมูลดิบให้ไอคิวของแต่ละคนท�ำการ ต่อไปตามอัธยาศัย 2. ตั้ ง สมมุ ติ ฐ าน  สมองมนุ ษ ย์ มี สมรรถนะที่จะน�ำเอาข้อมูลที่ความจ�ำ เก็บสะสมไว้  น�ำมาปะติดปะต่อตัดสิน ดูวา่   ข้อมูลใดเป็นสาเหตุของข้อมูลใด เรียกว่าตั้งสมมุติฐาน  เช่น  นิวตันได้ เคยเห็ น แม่ เ หล็ ก ดู ด โลหะเข้ า หาตน  และเห็นลูกแอปเปิลเคลื่อนจากกิ่งลงสู่ พืน้ โลก  จึงตัง้ สมมุตฐิ านได้วา่ โลกดูด ลูกแอปเปิล 3. ทดสอบสมมุติฐาน  เช่น  กาลิเลโอเอาหินก้อนใหญ่และก้อนเล็กขึ้น ไปบนหอปิซาทิ้งลงดินพร้อมกัน  ให้ คนข้างล่างประเมินผลได้ว่าถึงพื้นดิน พร้อมกัน  จึงตั้งเป็นสูตรความโน้ม ถ่วงเบือ้ งต้นได้วา่ วัตถุทกุ ชิน้ ถูกดูดลง สู่พื้นโลกด้วยแรงดึงดูดในอัตราเดียว  กั น   ไม่ เ กี่ ย วกั บ ความเล็ ก ใหญ่ ข อง วัตถุ 4. ตั้ ง ทฤษฎี   เช่ น   นิ ว ตั น สรุ ป ว่ า  “กฎความโน้มถ่วงเป็นกฎสากลอธิบาย ปรากฏการณ์ทงั้ หลายในท้องฟ้าให้เป็น ระบบ”  (กีรติ  บุญเจือ,2546:102) 5. ประยุกต์  เช่น  นิวตันประยุกต์กฎ ความโน้มถ่วงว่า  “อวกาศว่างมีอยูใ่ น ฐานะเป็นที่ประทับของพระเจ้า  และ ในเมื่อพระองค์ไม่มีขอบเขต  อวกาศ ว่างจึงไม่มีขอบเขตเช่นกัน”  (Ibid.)

41

ซึ่งแย้งความคิดของแอร์เริสทาทเถิล (Aristotle)  ว่ า อวกาศว่ า งไม่ มี  เพราะอวกาศ  (space)  เป็นคุณสมบัต ิ ของสสาร  มีสสารถึงไหนก็มอี วกาศถึง นั่น  ไม่มีสสารก็ไม่มีอวกาศ  แอร์เริส ทาทเถิลจึงฟันธงว่า  “สสารเป็นสิ่งกิน ที ่ เป็นไปไม่ได้”  ขัดแย้งตัวเอง  เพราะ  สมมุตวิ า่ มีทวี่ า่ งก่อนมีสสารให้ไปกินที่ ว่าง  แต่นวิ ตันบอกว่าไม่ขดั แย้งตัวเอง เพราะที่ว่างคือความไม่มีขอบเขตของ พระเป็นเจ้า  จึงมีอยูใ่ นนิรนั ดรร่วมกับ พระเจ้าก่อนการสร้างโลก  และพระเจ้า ทรงสร้างโลกและเอกภพขึ้นมาในส่วน หนึ่งของช่องว่างดังกล่าว  นักบุญโท มั ส   อไควนั ส   (Saint  Thomas  Aquinas)  เห็นด้วยกับแอร์เริสทาทเถิลด้วยเหตุผลว่าความไม่มีขอบเขต ของพระเจ้าเป็นคนละส่วนกับช่องว่าง ไม่วา่ จะมีขอบเขตหรือไม่  พระเป็นเจ้า ทรงไม่มีขอบเขตมาแต่นิรันดร  และ ทรงสร้างอวกาศมาให้เป็นคุณสมบัติ ของสสารและจะหายไปกับสสารหาก สสารถูกท�ำลายลงไม่ว่าด้วยวิธีใด วิธีการวิทยาศาสตร์หากประยุกต์แล้ว เกิดติดขัดไม่วา่ ตรงไหน  ก็ให้เริม่ ต้นไล่ตงั้ แต่ ข้อ  1  มาใหม่จนถึงข้อ  5  เช่นนี้เรื่อยไป อย่างนีจ้ งึ ได้ความจริงวิทยาศาสตร์  ความจริง วิทยาศาสตร์จึงเป็นความจริงชั่วคราวคือมี


42

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

เงื่ อ นไขว่ าให้ เชื่อไปตราบใดที่ยังไม่พบข้อ ติดขัด  หากพบข้อติดขัดเมื่อใดก็ต้องคิด ใหม่ท�ำใหม่ทันที  เช่นก่อนไอน์สไตน์เคยเชื่อ กันว่ามวลของสสารเป็นสิง่ คงตัวอย่างเด็จขาด ตามกฎความถาวรของสสาร  (law  of  conservation  of  matter)  ไม่มีใครจะ  เพิ่มหรือลดได้อย่างเด็ดขาด  แต่ไอน์สไตน์ สังเกตว่าไม่ตรงกับความเป็นไปของเอกภพ  จึงเชื่อกันใหม่ว่าสสารมีมวลเป็นปฏิภาคส่วน กลับกับความเร็วและปฏิภาคส่วนตรงกับการ ล่วงเวลา  ท�ำให้ต้องเปลี่ยนความเชื่อทั้งกะบิ จากอสัมพัทธ์  (absolute)  มาเป็นสัมพัทธ์  (relative)  ก็หมายความว่าวิธกี ารวิทยาศาสตร์  เชื่ อ ได้ แ บบปฏิ บั ติ นิ ย มคื อ ตราบใดที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ มวลมนุ ษ ย์ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด ก็ เชื่ อ ไป เถอะ  ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วจะดีขึ้นก็เปลี่ยนไป เถอะ  ไม่ต้องไปยึดติดอย่างโอกุสต์  กงต์ (Auguste  Comte)  ที่คิดว่าทุกศาสนาคือ  ความงมงายของผู้ยังไม่รู้วิทยาศาสตร์  ผู้รู้ วิทยาศาสตร์เป็นผูท้ นั สมัยของโลกจึงควรเลิก นับถือศาสนาทุกรูปแบบ  มิฉะนัน้ ไม่ทนั สมัย แต่ก็มองได้อีกมุมหนึ่งว่า  “เพราะฉันรู้ความ ตื้นลึกหนาบางของวิทยาศาสตร์  ฉันจึงต้อง นับถือศาสนา” ฟิสิกส์ ทั บ ศั พ ท์ ภ าษาอั ง กฤษว่ า   physics  อาจมี ผู ้ ส งสั ย ว่ า ท� ำ ไมต้ อ งเป็ น รู ป พหู พ จน์  ทั้งๆ  ที่ภาษาอื่นๆ  เป็นเอกพจน์กันทั้งนั้น

physique  (ฝรัง่ เศส),  physika  (เยอรมัน),  phisica  (สเปน),  fisica  (อิ ต าเลี ย น),  physica  (ละติน),  physikè  (กรีก)  ต้นตอ  มาจากภาษากรีกที่เรียกจิตว่า  theos  เรียก  สสารว่า  physis  และเรียกจิตที่ร่วมชีวิตกับ สสารว่า  psyche  ซึ่งแบ่งออกเป็น  bios,  zoôn,  และ  nous วิชาว่าด้วยสสารเรียกให้เต็มในภาษา กรีกว่า  Peri  Physikes  ซึ่งแปลเป็นภาษา  ละติ น ว่ า   De  Natura  แปลเป็ น ภาษา  อั ง กฤษว่ า   On  Nature  ก็ ห มายความ  ว่า  Natura  หรือ  Nature  หรือธรรมชาติ  เดิมทีเดียวหมายถึงสสาร  ในวัฒนธรรมกรีก  Peri  Physikes  เดิ ม จึ ง หมายถึ ง วิ ช าว่ า  ด้ ว ยสสาร  ต่ อ มามี ค นเรี ย กสั้ น ๆ  ว่ า  Physikes  ภาษาอังกฤษย่อเป็น  Physics  เช่นเดียวกับวิชา  Mathematics,  Linguistics,  Ethics,  Economics,  Poetics,  Hermeneutics,  etc.  ยกเว้น  Arithmetic,  Logic,  Music,  Rhetoric  ในสมัยกรีก  โบราณยังไม่มีวิชาเคมีซึ่งเริ่มโดยชาวอาหรับ ในยุ ค กลาง  มาจากภาษากรี ก   kemeia  แปลว่าการแปรธาตุ  ซึ่งนักปราชญ์อาหรับ  เอาไปใส่  al  เข้าข้างหน้าเพื่อให้เป็นภาษา  อาหรับ  เดิมหมายถึงการเล่นแร่แปรธาตุกอ่ น จะใช้วิธีการวิทยาศาสตร์จนได้รับการยอมรับ ว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชาว่าด้วยสสาร ในยุคกรีกโบราณ  natura  ธรรมชาติ  หมายถึงสสาร  หรือธรรมชาติทไี่ ร้ชวี ติ เท่านัน้


วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์

ชี วิ ต ไม่ ใ ช่ ธ รรมชาติ   แต่ เ ป็ น สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติในฐานทีอ่ ธิบายด้วยกฎฟิสกิ ส์ไม่ได้ สัญชาติญาณของสัตว์อยูเ่ หนือธรรมชาติมาก ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง  ปัญญาของมนุษย์ยิ่งอยู่ เหนือธรรมชาติขนึ้ ไปอีกจนบางคนเชือ่ ว่าเป็น เทพที่ถูกลงโทษให้มาเกิดในร่างที่เป็นสสาร วิชาที่กล่าวถึงพลังเหนือธรรมชาติท�ำการใน ธรรมชาติ เช่ น นี้ เรี ย กว่ า   Peri  Psyches  แปลเป็นละตินว่า  De  Anima  แปลเป็น  อังกฤษว่า  On  the  Soul  แปลเป็นไทย  ว่าจิตวิทยา  โดยแบ่งจิตออกเป็น  3  ระดับ คื อ   จิ ต พื ช   (Vegetative  Soul),  จิ ต  ผัสสะ(Sensitive  Soul),  และจิตปัญญา  (Intellective  Soul) ในยุ ค กลาง  natura  นอกจากจะ  หมายความว่าสสารตามภาษากรีกโบราณแล้ว ยังเพิม่ ให้อกี   1  ความหมาย  คือ  หมายถึง สารัตถะใช้แทน  essence  ได้  เช่น  The  Nature  of  God  พระธรรมชาติ ข อง  พระเป็นเจ้า  ก็คือ  สารัตถะของพระองค์ นั่นเอง ในยุคใหม่  หมายถึงแนวคิดที่อธิบาย ทุกอย่างโดยไม่อา้ งถึงศาสนาใด  เรียกลัทธิวา่ ลัทธิธรรมชาตินิยม  (naturalism)  เพื่อให้  ตรงข้ามกับลัทธิเทวนิยม  (Theism)  ซึ่ง  ตัง้ ใจอธิบายทุกอย่างให้มพี ระเป็นเจ้าแทรกอยู่ ด้วยเสมอ  ลัทธิธรรมชาตินิยมต่างกับลัทธิ สสารนิยมตรงที่เชื่อว่ามนุษย์มีวิญญาณตั้งแต่ เกิ ด จนตาย  วิ ญ ญาณจึ ง เป็ น เพี ย งอนุ

43

ปรากฏการณ์  (epiphenomenon)  หรือผล พลอยได้อันเกิดจากการผสมของธาตุพอดิบ พอดี ไ ด้ อั ต ราส่ ว นให้ ท� ำ งานได้ ใ นระดั บ องคาพยพของมนุษย์คนหนึ่งๆ  เวลาตาย วิญญาณก็หายไปเฉยๆเพราะร่างกายขาดองค์ ประกอบจ�ำเป็นของมนุษย์คนหนึง่   วิญญาณ จึงกล่าวไม่ได้ว่ารู้ตายหรือไม่รู้ตาย  เพราะ ไม่มีความเป็นอยู่หรือตัวตนของตนเอง เมื่อฟิสิกส์เป็นปรัชญา ตัวนิวตัน  (Isaac  Newton)  เองแม้ จะได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิธีการวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธคี น้ พบกฎความโน้มถ่วงและเขียนเผย แพร่กฎฟิสิกส์ไว้มากมาย  แต่จนแล้วจนรอด จนตลอดชีวิตไม่รู้จักค�ำว่า  “science”  ใน ความหมายว่าวิทยาศาสตร์  แต่ใช้คำ�   Natural  Philosophy  แทนวิทยาศาสตร์สาขา  ฟิสิกส์  เช่น  ชื่อหนังสือเล่มหนึ่งว่า  Philosolphiae  Naturalis  Principia  Mathematica,  1687  ซึ่ ง แปลเป็ น ไทยได้ ว ่ า  หลักการคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ  ซึ่ ง ก็ คื อ วิ ช ากลศาสตร์ ใ นปั จ จุ บั น นั่ น เอง  จอห์น  เอโทว์  (John  Ayto)  ยืนยันว่า  ค�ำว่าวิทยาศาสตร์และฟิสกิ ส์เปลีย่ นสังกัดจาก ปรั ช ญามาสั ง กั ด วิ ท ยาศาสตร์ ตั้ ง แต่ ป ี ค.ศ. 1840  เมื่ อ วิ ล เลี ย ม  วี เวล  (Whewell)  แถลงว่ า   “เรามี ค วามจ� ำ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะ ต้องหาค�ำมาเรียกผู้ค้นคว้าวิทยาศาสตร์โดย ทั่วไป  (science  in  general)  ข้าพเจ้า


44

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

เองอยากจะเรียกว่านักวิทยาศาสตร์  (scientist)”  (John  Ayto,  1993:461) น่ า สั ง เกตว่ า ชื่ อ หนั ง สื อ ที่ วี เ วล  (William Whewell)  ใช้แถลงเรือ่ งนีม้ ชี อื่ ว่า  Philosophy  of  the  Inductive  Sciences  ก็ทำ� ให้อยากรู้ว่าวิชาฟิสิกส์อยู่ในวิชาปรัชญาได้ อย่างไร เมื่อความรู้ทุกอย่างเป็นปรัชญา ปรัชญาเริ่มถือก�ำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ ใดเป็นเรื่องยากที่จะก�ำหนดได้  แต่ก็ต้อง ยอมรับอยูว่ า่   ในขณะทีม่ นุษย์คนแรกอุบตั ขิ นึ้ ไม่ว่าจะชื่ออาดัมหรือไม่ก็ตามที  เขาจะต้อง มีปญ ั ญาเพราะเป็นมนุษย์  เมือ่ มีปญ ั ญาก็ตอ้ ง คิด  และไม่ว่าจะคิดอะไรก็ยังไม่มีหลักสูตร วิชาใดคอยรองรับ  ในเมือ่ ยังไม่มวี ชิ าให้สงั กัด จึงต้องจัดให้เป็นผลจากความอยากรู้อยาก เรียนอยากฉลาดของมนุษย์  ซึ่งภาษากรีก เรียกว่า  philosophia  และภาษาไทยแปล  ว่าปรัชญา  ในระหว่างนี้มนุษย์รู้อะไรก็เป็น ปรัชญาหมดจนกว่าจะมีการแยกเนื้อหาบาง ส่วนออกไปท�ำหลักสูตรสอน  ส่วนนั้นก็จะ เป็นวิชามีชื่อเรียกเพื่อสะดวกในการเรียนการ สอน  ในลั ก ษณะนี้ ศ าสนาหรื อ   religion  จึงเป็นวิชาแรกที่แยกออกไปจากปรัชญาเมื่อ เริ่มมีการสอนศาสนาเป็นครั้งแรกของโลกซึ่ง เราไม่รวู้ า่ ตัง้ แต่เมือ่ ใด  เพราะเมือ่ ปรากฏหลัก ฐานทีเ่ ก่าแก่ทสี่ ดุ ก็ปรากฏว่ามีการสอนศาสนา อย่างเป็นล�่ำเป็นสันมาระยะหนึ่งแล้ว  เช่น

คัมภีร์ฤคเวทของอินเดีย  คัมภีร์เพนทาทุค  (Pentateuch)  ของยิว,  คัมภีร์มหากาพย์  ของโฮเมอร์  (Homer),  คัมภีร์เทวก�ำเนิด  (Theogony)  ของเฮสเสี ย ด  (Hesiod)  วิชาคณิตศาสตร์แยกออกไปเมื่อยูคลิดเผย แพร่หนังสือ  Geometria  (การวัดพื้นดิน)  และวิทยาศาสตร์แยกตัวออกไปเมื่อนิวตัน  เผยแพร่ ห นั ง สื อ   Philosophiae  Naturalis  Principia  Mathematica  ในปีค.ศ.  1687  ซึง่   ณ  ขณะนัน้ มีเนือ้ หาวิทยาศาสตร์  มากพอสมควรแล้วทีไ่ ด้มาโดยไม่ได้เจาะจงใช้ วิธีการวิทยาศาสตร์  และต้องการการรับรอง โดยผ่านเกณฑ์ของวิธกี ารวิทยาศาสตร์เพือ่ จะ ถือได้วา่ เป็นเนือ้ หาของวิทยาศาสตร์อย่างเต็ม ภาคภู มิ   มิ ฉ ะนั้ น จะถู ก กั น ออกไปเป็ น ไสยศาสตร์อย่างเต็มภาคภูมิเช่นกัน  ก่อน หน้ า นั้ น ใครจะจั ด ว่ า เป็ น อะไรก็ ต ามใจใคร เพราะยังไม่มีเกณฑ์แน่นอนชี้วัด  เมื่อเข้า เกณฑ์ แ ล้ ว   ฟิ สิ ก ส์ ก็ เ ป็ น สาขาหนึ่ ง ของ วิทยาศาสตร์ที่อยู่ภายใต้วิธีการวิทยาศาสตร์ อย่างว่านอนสอนง่าย เมื่อฟิสิกส์เป็นวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์หรือธรรมชาติศึกษาซึ่งใน ความหมายของชาวกรีกโบราณนั้นหมายถึง การศึกษาสสารและพลังของสสารโดยเฉพาะ อันได้แก่พลังกล  พลังแสง  เสียงและความ ร้อน  แม้จะรู้เรื่องอะตอมก็ยังไม่รู้จักเล่นแร่ แปรธาตุ  จึงยังไม่มีวิชาเคมี


วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์

วิชาฟิสกิ ส์เมือ่ รับหน้าทีศ่ กึ ษาพลังของ สสารเพียงอย่างเดียวจนได้สัมปทานชื่อว่า ธรรมชาติศึกษา  (กร.Peri  Phuseos,  ลต. De  Natura,  อก.On  Nature)  แต่เพียง  ผู ้ เ ดี ย ว  แต่ พ ลั ง ของสสารก็ แ สดงบทบาท  อย่างน่าสนใจในหลายท้องที่  จึงแบ่งเนื้อหา ออกได้เป็นธรณีวิทยา  สมุทรศาสตร์  ฤดู วิ ท ยา  และที่ น ่ า ทึ่ ง ที่ สุ ด คื อ ดาราศาสตร์ ที่ ศึกษาทางกว้างจนรู้ว่ามีกาแลกซี่ไม่น้อยกว่า  1  แสนกาแลกซี  แต่ละกาแลกซีมีดาวฤกษ์ ไม่น้อยกว่า  10  ล้านดวง  ยิ่งใหญ่กว่าที ่ ปัสกาลแสดงความทึ่งไว้มากมายนัก  ส่วน ทางด้านเวลาวิชาดาราศาสตร์ก็สามารถวิจัย ค้ น คว้ า   ณ  เวลาเริ่ ม ต้ น ของเอกภพว่ า ประมาณ  15,000  ล้านปีมาแล้วโดยมีสสาร ก้อนหนึ่ง  ณ  ศูนย์กลางของเอกภพระเบิด กระจายขยายตัวออกรอบตัวแต่ก็ไม่สามารถ ให้ค�ำตอบได้ว่าสสารก้อนดั้งเดิมที่สุดมาจาก ไหน  เปิดโอกาสให้สมมุติและเชื่อกันต่างๆ นานารวมทั้ ง เชื่ อ ว่ า ต้ อ งมี พ ระผู ้ ส ร้ า งหรื อ  มิฉะนัน้ ก็เชือ่ ว่าสสารมีมาเองแต่นริ นั ดร  หรือ มิฉะนั้นก็เชื่อว่ามีพระเจ้าไม่สร้างและสสารไม่ ถูกสร้างคู่เคียงกันมาแต่นิรันดร เมื่อวิชาเคมีแยกออกจากวิชาฟิสิกส์ การเล่นแร่แปรธาตุนิยมกันในยุคกลาง ได้ชื่อว่าศาสตร์ด�ำหรืออัลเคมี  แต่เนื่องจาก ใช้คาถาอาคมร่วมอยูม่ าก  จึงถูกมองงว่าเป็น ไสยศาสตร์  คือไม่นับว่าเป็นธรรมชาติศึกษา ของปรัชญา  และไม่นับเป็นวิชาความรู้  ต่อ

45

เมื่อได้ผ่านเกณฑ์วิธีการวิทยาศาสตร์แล้วจึง ได้ชอื่ ว่าวิชาเคมี  (chemistry)  ซึง่ เป็นเรือ่ ง ของสสารระดับเดียวกับวิชาฟิสิกส์  ท�ำให้ ต้องหาชื่อรวมให้เรียก  2  วิชารวมกันว่า วิทยาศาสตร์กายภาพ  (physical  science)  โดยให้ฟสิ กิ ส์กล่าวถึงบทบาทของพลังในสสาร และเคมีกล่าวถึงบทบาทของการแยกธาตุและ รวมธาตุโดยมีวิธีการวิทยาศาสตร์ค�้ำประกัน วิชาจิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  psychology  ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า  psychè  แปลเป็น  ภาษาอังกฤษว่า  soul  วิญญาณ  ซึ่งแอร์เริสทาทเถิลแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  คือ 1.  ชี วิ ต พื ช   vegetative  soul  2.  ชี วิ ต สั ต ว์   sensitive  soul  3.  ชีวิตปัญญา  noetic  soul แบ่งการศึกษาออกเป็น  3  วิชา  คือ  1.  ชีววิทยา  biology 2.  สัตววิทยา  zoology 3.  มนุษยวิทยา  nousology วิชาชีววิทยา วิ ธี ก ารวิ ท ยาศาสตร์ ช ่ ว ยให้ รู ้ ค วาม ลึ ก ลั บ มากมายของชี วิ ต   แต่ ก็ ยั ง ไปจนที่ ค�ำถามว่า  ชีวิตแรกสุดมาจากไหน  จะว่ามี มาเรื่อยๆโดยไม่มีการเริ่มต้นจะได้ไหม  ค�ำ ตอบนีห้ ากใช้ตอบว่าสสารมีมาเรือ่ ยๆยังจะน่า เชื่อมากกว่าตอบว่าชีวิตมีมาเรื่อยๆ  เพราะ


46

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

สสารอาจจะเชื่ อ ว่ า มี ก ารเปลี่ ย นแปลงเป็ น วัฏจักรหมุนเวียนนิรันดรได้  เช่น  ร้อนๆ เย็นๆ  ขยายๆ  หดๆ  เรื่อยมาและเรื่อยไป แต่ชวี ติ ในโลกนีเ้ รารูแ้ น่นอนว่า  มีสมัยหนึง่ ที่ ไม่มีชีวิตเลยในโลก  เพราะบรรยากาศของ โลกไม่เอื้อให้ชีวิตอยู่รอด  ดังนั้นต้องมีชีวิต แรกเสียก่อนซึ่งเป็นชีวิตที่ไม่มาจากชีวิตอื่น หากจะเชือ่ ว่าชีวติ แรกมาจากนอกโลกก็ตอ้ งมี หลักฐานให้นา่ เชือ่ ได้วา่ มีทนี่ อกโลกให้ชวี ติ อยู่ ได้  แต่จนแล้วจนรอดก็ยังหาหลักฐานไม่ได้ หากจะเชื่อว่าชีวิตอาจเกิดขึ้นเองได้ในโลก ของเรานี้ เ อง  โดยบั ง เอิ ญ แร่ ธ าตุ ต ่ า งๆ  บังเอิญโคจรมาผสมกันอย่างเหมาะเจาะที่จะ เป็ น เซลชี วิ ต แรก  (ตามข้ อ เสนอของลั ท ธิ ธรรมชาตินิยม)  และเซลชีวิตแรกนั้นพัฒนา ตัวเองตามกฎวิวัฒนาการของชาลส์  ดาร์วิน มาตามล�ำดับ  แต่ก็แย้งได้ว่าความบังเอิญ  ดั ง กล่ า วไม่ น ่ า จะสร้ า งชี วิ ต ขึ้ น มาได้ จ ริ ง  เพราะเซลชีวิตเซลหนึ่งๆ  จะต้องประกอบ ด้ ว ยอะตอมที่ เ ป็ น ธาตุ ชี วิ ต ไม่ น ้ อ ยกว่ า  5,000  ตัวที่สัมพันธ์กันทางวาเลนซีอย่าง เป็นระเบียบ  และเมื่อโชคดีได้เป็นเซลชีวิต แล้วก็สลายตัวง่ายมากๆ  หากไม่อยู่ในสิ่ง แวดล้อมที่เอื้อต่อการด�ำรงชีวิตแล้ว  ก็จะ สลายตัวตายภายในไม่ถึงนาที  จึงยากเหลือ เกินที่จะตอบสนองทฤษฎีวิวัฒนาการของ  ชาลส์  ดาร์วนิ ได้ทนั เวลา  แต่ขอ้ เท็จจริงกลับ ยืนยันว่า  ครัน้ โลกของเรามีอณ ุ หภูมลิ ดลงถึง ระดับให้ชีวิตอยู่ได้  ก็ดูเหมือนว่าธรรมชาติ

จะเต็มใจเร่งเร้าให้เกิดชีวติ อย่างรวดเร็วราวกับ บ้าคลั่งให้มีชีวิตเต็มพื้นผิวโลกโดยเร็วที่สุด  ซึ่ ง สวนทางกั น กั บ ทฤษฎี ชี วิ ต ของลั ท ธิ ธรรมชาตินยิ ม  วิชาชีววิทยาต้องยอมรับว่ามี อ�ำนาจแอบแฝงลุ้นให้มีชีวิต  ท�ำให้มีวาระ ซ่อนเร้นให้เป็นข้อพิสูจน์ส�ำคัญข้อหนึ่งของ ฝ่ายเทวนิยมว่าต้องมีผู้สร้างชีวิตอย่างจงใจ วิชาสัตวศาสตร์ วิธีการวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักค้นคว้า วิ จั ย สามารถเข้ า ใจการท� ำ งานของระบบ ประสาทรู้สึกซึ่งจะต้องมีระบบส่วนกลางคือ มันสมองซึ่งมีสายโยงใยพุ่งออกไปเก็บข้อมูล ส่งเข้าสู่ส่วนกลางให้ประเมินผลและสั่งการ  กลับออกไปให้ทกุ อวัยวะของร่างกายเดียวกัน ร่วมมือกันท�ำงานเพื่อความอยู่รอดขององ คาพยพหนึง่ ๆ  เมือ่ รูพ้ อสมควรแล้วมนุษย์เรา ก็พยายามเลียนแบบสร้างเครือข่ายเทียมซึ่ง ท�ำได้ยากมากและมีขนาดใหญ่โตก็ยังเข้าไม่ ถึ ง วาระซ่ อ นเร้ นอั นละเอี ย ดยิ บ ที่ ท� ำ ให้ มั น สมองท�ำงานได้แม้จะเป็นมันสมองเล็กๆของ สั ต ว์ ตั ว ที่ เ ล็ ก ที่ สุ ด   โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง สัญชาตญาณที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาท ของแมลงเล็กๆตัวหนึ่งอย่างสัญชาตญาณ เลี้ยงลูกของแมลงหมาล่า หมาล่ า เป็ น แมลงชนิ ด หนึ่ ง ประเภท แตน-ต่อ  มันชอบท�ำรังปะติดกับฝาบ้านไม้ กระดานไม่ ท าสี ข นาดเท่ า ฝั ก ถั่ ว ลิ ส งญี่ ปุ ่ น  เป็นดินเหนียวชั้นดีที่เมื่อแห้งแล้วจะแข็งมาก


วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์

ต้องทุบจึงจะแตก  หากทุบดูข้างในจะพบ หนอนตั ว เรี ย วยาวขนาดเท่ า ไม้ จิ้ ม ฟั น ประมาณ  10  ตัว  ซึ่งคลานยั้วเยี้ยเอาชีวิต รอด  นั่ น ไม่ ใช่ลูก ของมัน   แต่เ ป็น อาหาร ส�ำหรับลูกของมันที่จะต้องออกจากไข่มากิน ไปเรือ่ ยๆ  จนหมดก็พอดีมปี กี กล้าแข็งพอจะ บินออกไปหากินให้เติบโตจนสืบพันธุ์ได้และ ท�ำรังให้ลูกของมันอยู่เหมือนที่แม่ของมันได้ ท�ำไว้ให้มันโดยมันไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าพ่อ แม่ ข องมั น เลย  เพราะหมาล่ า เกิ ด มาเพื่ อ เติบโตจนมีลูกครั้งเดียวก็ตายทั้งตัวผู้และตัว เมีย  คือตัวผู้มีโอกาสผสมพันธุ์ทีเดียวแล้วก็ หมดแรงตาย  ไม่มโี อกาสได้ชว่ ยตัวเมียท�ำรัง วางไข่  ส่วนตัวเมียจะต้องรักษาชีวติ ลูกในไข่ ที่ค่อยๆ  เติบโตโดยมันต้องตายก่อนจะได้ เห็นหน้าลูกของมัน  ระหว่างอุม้ ท้องไข่ลกู อยู่ นัน้ มันต้องเจียดเวลาหากินมาหาท�ำเลสร้างรัง ไว้วางไข่ซงึ่ จ�ำเป็นต้องเป็นพืน้ ตัง้ ทีย่ อมให้ดนิ เหนียวเกาะติดแน่น  เมื่อได้ที่แล้วมันก็จะเร่ หาดินเหนียวเปียกที่มีคุณภาพ  กัดมาทีละ ก้อนเล็กๆ  เคี้ยวผสมน�้ำลายให้นิ่ม  คายลง ตรงที่ที่เลือกไว้  ก่อสร้างจากส่วนล่างสุดไล่ ขึ้นมาข้างบน  ครั้นได้ความยาวพอสมควร แล้วก็จะท�ำปากทางเข้าเป็นปากกลมเสริมสูง ขึน้ นิดหน่อย  มันไม่เข้าไปอาศัยอยู ่ แต่จะเร่ หาหนอนตามสเป๊กที่ลูกของมันจะชอบกิน  มันใช้เหล็กหมาดทีก่ น้ ของมันแทงบนหัวของ หนอนตรงศูนย์ควบคุมประสาทส่วนกลางของ หนอนทุกตัวอย่างแม่นย�ำ  ตรงส่วนกลางตรง

47

เป๊ะพอดีที่จะท�ำให้หนอนตัวนั้นสลบแต่ไม่ ตาย  มันคาบหนอนที่ส�ำเร็จโทษอย่างนี้มา หย่อนลงทางปากช่องส่วนบนทีละตัวๆจน เต็มรัง  มันจึงไข่ที่มีลูกก�ำลังฟักตัวอยู่ข้างใน หยอดลงไปทางปากช่ อ งบน  หวั ง ฝาก อนาคตไว้กับหนอนที่สลบแต่ไม่ตายเหล่านั้น ครั้นวางไข่หมดท้องแล้วมันก็จะบินไปหาดิน เหนียวมาอุดปิดปากรัง  แล้วมันก็จะบินไปหา ที่สงบอารมณ์นอนตาย  โดยไม่สนใจรู้ว่าลูก ของมันจะออกจากไข่หรือไม่และวันใด  ตัว ไหนออกจากไข่กอ่ นก็จะกินหนอนทีน่ อนสลบ เป็นเพื่อนในรังของมันนั้นแหละเป็นอาหาร โดยหนอนไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่ประการใดเลย ลูกทุกตัวแข่งกันออกจากไข่ในเวลาไล่เลี่ยกัน และกินกินกินจนเสบียงที่แม่เตรียมไว้ให้นั้น หมด  เริ่มรู้สึกหิว  มันจะช่วยกันแทะจนรัง ดินเหนียวทะลุ  มันไต่ออกมานอกรัง  รู้สึก อากาศสดชืน่ ภายนอก  มันหิว  พยายามขยับ ปีกแก้หิวก็รู้สึกตัวว่าบินได้  มันจึงลองบินดู และบินเรือ่ ยๆ  ไปจนเจออะไรทีร่ สู้ กึ อยากกัด กัดแล้วรู้สึกอยากเคี้ยว  เคี้ยวแล้วรู้สึกอร่อย กลืนเข้ากระเพาะก็อร่อย  จึงหากินจนอิ่มจึง หยุ ด กิ น   แล้ ว ก็ ถื อ โอกาสโผบิ น อย่ า ง สนุกสนาน  จนได้เวลาเลือกคู่  ฮอร์โมนจะ หลั่ ง ออกมาให้ มั น รู ้ สึ ก อยากมี คู ่   มั น ก็ จ ะ ปฏิบตั ซิ ำ�้ รอยพ่อแม่ของมันทุกประการ  ทัง้ ๆ ที่มันไม่เคยมีโอกาสเรียนรู้อะไรจากพ่อแม่  ของมันเลยแม้แต่น้อย  น่าสงสาร!  และน่า ทึ่ง!  มันท�ำได้อย่างไร  มันมีสัญชาตญาณ


48

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

น�ำทาง  สัญชาตญาณคืออะไร  ตอบอย่างไร ก็ไม่น่าพอใจจนกว่าจะได้ฟังนักเทววิทยา  สรุปว่าต้องมีพระผูส้ ร้าง  แต่กเ็ ป็นทางออกที ่ เคี ย ร์ เ คกอร์ ด เรี ย กว่ า   Leap  of  Faith  ก้าวกระโดดแห่งศรัทธา  ใครจะเชื่อหรือไม่ ก็ตามใจใคร วิชามนุษยวิทยา วิธีการวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึง การท�ำงานของปัญญา  จะเข้าถึงได้ตอ้ งใช้การ ตรึกตรอง  (speculation)  และอัชฌัติก-  ญาณ  (intuition)  เท่านัน้   แอร์เริสทาทเถิล  จึ ง เรี ย กวิ ช านี้ ว ่ า ปรั ช ญาต้ น   (the  first  philosophy)  แต่ลกู ศิษย์ของแอร์เริสทาทเถิล  ชื่อว่าแอลเลิกแซนเดอร์  แอฟเฝรอดีสเสียส (Alexander  Aphrodisias)  เรี ย กว่ า  Metaphysics  เพราะคิดว่าต้องเรียนต่อจาก  วิชา  Physics  และใช้วิธีการของ  Physics  ไม่ได้  วิธีการวิทยาศาสตร์เข้าถึงได้แค่ผลที่ เกิดจากการท�ำงานของปัญญา  อันได้แก่งาน สร้ า งสรรค์ ต ่ า งๆ  และแยกเป็ น   2  ส่ ว น  2  วิชา  คือ  ส่วนแรกได้แก่วชิ ามานุษยวิทยา  (anthropology)  ศึกษางานสร้างสรรค์ของ ปัญญาระดับดึกด�ำบรรพ์  ส่วนหลังศึกษางาน สร้ า งสรรค์ ข องทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย   อั น ได้ แ ก่ ศิลปกรรมทุกสาขา  ตรรกวิทยาและปรัชญา

ข้อเชื่อของชาวคริสต์ คือสูตรส�ำเร็จรูปที่ศาสนาคริสต์แต่ละ นิยายก�ำหนดขึ้นให้สมาชิกของตนต้องรู้และ เชื่อ  ซึ่งเพิ่มได้แต่ลดไม่ได้  ซึ่งส�ำหรับชาว คาทอลิ ก ได้ แ ก่ ข ้ อ เชื่ อ ไนซี น   (Nicene  Creed)  เพิ่มอีก  3  ข้อ  คือ  ความไม่ผิด พลั้งของพระสันตะปาปาเมื่อประกาศ  โดย อ้างต�ำแหน่งประมุขคริสตจักรคาทอลิก  ซึ่ง จนถึ ง ขณะนี้ ไ ด้ ก ระท� ำ เพี ย ง  2  ครั้ ง   คื อ ประกาศว่าพระแม่มารียท์ รงปฏิสนธินริ มลและ พระกายเสด็จสู่สวรรค์แล้ว  นอกจากนั้นเป็น ค�ำสอนขยายผลข้อเชื่อดังกล่าวข้างต้นทั้งสิ้น จึ ง อาจปรั บ ปรุ ง ได้ ต ามความต้ อ งการของ สถานการณ์ วิทยาศาสตร์กับพระศาสนจักร สังคายนาวาติกันที่  1  (ค.ศ.1870) ประณามลั ท ธิ นวยุ คนิ ย ม  (modernism)  คือประณามพวกนิยมใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ และข้อมูลจากวิทยาศาสตร์เท่าที่แต่ละคนรู้ ตีความพระคัมภีร์และโจมตีข้อความเชื่อของ พระศาสนจั ก ร  พวกที่ ไ ม่ เ กรงกลั ว พระ ศาสนจักรก็ยงิ่ วิจารณ์และโจมตีพระศาสนจักร หนั ก ข้ อ มากขึ้ น   เช่ น   ฮายน์ ริ ช   เพาลุ ส (Heinrich  Paulus  1760-1850)  เขียน  ว่ า พระเยซู เ ป็ น มนุ ษ ย์ ส ามั ญ คนหนึ่ ง ที่ ถู ก อุปโลกน์ขนึ้ โดยผูห้ ลงงมงาย  ดาวิด  สเทราส  (David  Friedrich  Strauss  180874)  เขียนว่าพระเยซูมไิ ด้มตี วั ตนจริงๆ  คน


วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์

อยากได้พระเมสสิยาห์ช่วยกันมโนขึ้นทั้งสิ้น เฟอร์ ดิ น องด์   บาวเออร์   (Ferdinand  Christian  Bauer  1792-1860))  เขียน  ว่าผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ที่แท้คือนักบุญเปาโล ที่ยกพระเยซูขึ้นเป็นหุ่นเชิด  อดอลฟ์  ฟอน ฮาร์ นั ค (Adolf  von  Harnack  18511930)  เขียนว่าศาสดาตัวจริงคือนักปฏิรูป การเมืองหัวรุนแรงที่ใช้พระเยซูเป็นเครื่องมือ วีลเลียม  รีด  (William  Wrede  18591906)  เขี ย นว่ า พระเยซู ถู ก ใช้ เ ป็ น เหยื่ อ การเมืองสมัยนัน้   ยูเลียส  เวลฮาวเสิน  (Julius  Welhausen  1844-1918)  เขียนว่า เรื่องราวของพระธรรมเดิมอาจอธิบายได้ด้วย หลักสังคมวิทยาทั้งสิ้น พระสันตปาปาลีโอที่13  ทรงตอบโต้ ด้วยสมณสาสน์  Aeterni  Patris,  1879  ทรงก� ำ ชั บ ให้ นั ก ปราชญ์ ค าทอลิ ก เดิ น ตาม ปรั ช ญาของนั ก บุ ญ ทอมั ส   อไควนั ส อย่ า ง เคร่งครัดโดยพยายามศีกษาวิชาการมาช่วย สนับสนุนอไควนัส  คศ.1883  ทรงเปิดหอ สมุดจดหมายเหตุวาติกนั เพือ่ ส่งเสริมการวิจยั สมณสาสน์  Providentissimus  Deus,  1893  เร่งเร้าให้นักปราชญ์คาทอลิกช่วยกัน เขียนตอบโต้พวกสอนขัดแย้งพระศาสนจักร คาทอลิก  ผลก็คือเกิดขัดแย้งกันเองในหมู่ นั ก ปราชญ์ ค าทอลิ ก ด้ ว ยกั น   นั ก ปราชญ์ โปรเตสแตนต์กลับเห็นว่าควรสนใจใช้วิธีการ ของลัทธินวยุคนิยมโดยไม่ต้องเสียความเชื่อ และชักชวนนักปราชญ์คาทอลิกให้ร่วมมือ

49

นั ก ปราชญ์ จ� ำ นวนหนึ่ ง รู ้ สึ ก ว่ า ทางฝ่ า ย ศาสนจักรคาทอลิกใช้อ�ำนาจเคร่งครัดเกินไป โดยไม่พยายามเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ก�ำลังจะ มีบทบาทส�ำคัญส�ำหรับมนุษย์นับวันแต่จะ มากขึ้ น   จึ ง เสนอทางออกให้ ใ ช้ วิ ธี ก าร วิทยาศาสตร์ในเรื่องที่ใช้ได้  ในเรื่องที่ใช้วิธี การวิทยาศาสตร์ไม่ได้จึงยอมรับว่าเป็นเรื่อง ของศรัทธา  ผู้ที่พยายามท�ำเช่นนี้ในช่วงนั้น ได้ชอื่ ว่านวยุคนิยมคาทอลิก  (the  Catholic  modernism)  ที่ ส� ำ คั ญ ได้ แ ก่ อั ล เฟรด  ลั ว ซี   (Alfred  Loisy  1857-1940),  หลุ ย   ดื อ เชสเนอ  (Louis  Duchesne  1843-1922),  โมรีส  บลงเดล  (Maurice  Blondel  1861-1949),  ลาแบร์ทอนนีแอร์  (Labertonnière  1860-1932),  เอดัวร์  เลอ  รั ว   (Éduard  le  Roi),  เตยารด์  เดอ  ชาร์แดง  (Teilhard  de  Chardin),  โรโมโล  มูร์รี  (Romolo  Murri  18701944),  อันโตนีโอ  ฟากัซซาโร  (Antonio  Fagazzaro  1842-1911),  เอร์ เ นสโต  บวน  อายู โ ต  (Ernesto  Buonaiuto  1881-1946),  จอร์ จ   ที ร ์ เรล  (George  Tyrrell  1861-1909),  ฟรี ด รี ช   ฟอน  ฮือเกล  (Friedrich  von  Hügel  18521925) พระสันตะปาปาพายเอิสที ่ 10  (Pius  10)  ออกสมณสาสน์  Pascendi  Domini  Gregis  1907  ประนามลัวซี  พระสงฆ์ชาว ฝรั่ ง เศสที่ เ ป็ น อาจารย์ ส อนที่ ม หาวิ ท ยาลั ย


50

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ปารีสว่าตกขอบแล้ว  เป็นการปรามคนอื่นที่ ใช้ ลั ท ธิ น วยุ ค ตี ค วามค� ำ สอนของพระ ศาสนจั ก รล�้ ำ ยุ ค เกิ น ไป  ผลกลายเป็ น ว่ า  นักปราชญ์คาทอลิกอื่นๆ  จ�ำนวนมากขยาด เกินไปที่จะขัดขืน  ปล่อยให้ฝ่ายสสารนิยม  รุกไล่ท�ำลายความเชื่อกันตามสบาย  ตั้งแต่ กระแนะกระแหนอย่างนีทเช่  (Nietzshe) จนถึงย�ำเละอย่างเองเกล  (Engel) พระสั น ตะปาปาเบเนดิ ก ต์ ที่   15  (Benedict  XV)  ออกสมณสาสน์  Spiritus  Paraclitus  1920  เน้นย�้ำให้นักปราชญ์  คาทอลิกระวังตัวอย่าออกนอกกรอบค�ำสอน ของพระศาสนจักรเป็นอันขาด พระสันตะปาปาพายเอิสที ่ 12  (Pius  XII)  ออกสมณสาสน์ระหว่างสงครามโลก  ครั้ ง ที่   2  Divino  Aflante  Spiritu  1943  อนุญาตให้ใช้วิธีการทันสมัยอธิบาย  ค�ำสอนคาทอลิกได้  แต่อย่าเปลี่ยนหรือเพิ่ม ข้อก�ำหนดของพระศาสนจักร  นักปรัชญา คาทอลิกตอบสนองโดยตั้งขบวนการส่งเสริม ลัทธิโทมัสใหม่  (Neo-Thomism)  ต่อมา  ออกสมณสาสน์   Humani  Generis  1950  อนุ ญ าตให้ รั บ พิ จ ารณาทฤษฎี วิ วั ฒ นาการได้   แต่ อ ย่ า ถึ ง กั บ สรุ ป ว่ า เป็ น ทฤษฎี เ ดี ย วที่ ต ้ อ งใช้ อ ธิ บ ายพระคั ม ภี ร  ์ นักปรัชญาคาทอลิกตอบสนองโดยตั้งขบวน  การสนั บ สนุ น ลั ท ธิ อั ส สมาจารย์ นิ ย มใหม่ (Neoscholasticism)

พระสันตะปาปาจอห์นที ่ 23  ประกาศ  ณ  วั น ที่   25  มกราคม  ค.ศ.1959  ว่ า  พระศาสนจั ก รต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ ทั น สมั ย ใน  ทุกด้าน  (Aggiornamento)  อันเป็นทิศทาง  ของพระสังคายนาวาติกันที่  2 พระสั ง คายนาวาติ กั น ที่   2  ออก แถลงการณ์  Dei  Verbum  1965  แนะน�ำ  ให้ตคี วามคัมภีรไ์ บเบิลตามรูปแบบวรรณกรรม  (literary  form  interpretation)  และ  แถลงการณ์  Nostra  Aetate  1965  ระบุ ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกรับรู้ความจริงและ ความดีในนิกายและศาสนาอื่นๆ  (ซึ่งต้อง เข้าใจว่าไม่รวมถึงไสยศาสตร์ทุกรูปแบบที่ แอบแฝงอยู ่ ใ นทุ ก ศาสนาแม้ แ ต่ ใ นศาสนา คริสต์เองด้วย) พระสันตะปาปาพอลที ่ 6  (Paul  VI)  ตรัสแก่ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์เข้าเฝ้าเมื่อวันที่  19  เมษายน  ค.ศ.1968  ให้ร่วมมือศึกษา พระคัมภีร์ไบเบิลกับพี่น้องชาวยิวและชาว โปรเตสแตนต์ เ พื่ อ แลกเปลี่ ย นความรู ้ แ ละ ประสบการณ์กันและกันอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ใช่ยอมรับหรือปฏิเสธอย่างมัว่ ซัว่   และตรัส แก่คณะกรรมาธิการพระคัมภีรท์ เี่ ข้าเฝ้าเมือ่ วัน ที่  14  มีนาคม  ค.ศ.1974  ว่า  เทววิทยา มีได้หลายระบบส�ำหรับความเชื่อเดียวกัน พระสันตะปาปาจอห์นปอลที่  2  เมื่อ วั น ที่   7  เมษายน  1986  ประณามการ เข้ า ใจพระคั ม ภี ร ์ ต ามตั ว อั ก ษรว่ า เป็ น การ บิดเบือนเจตนาของพระคัมภีร์ที่เปิดทางให้


วิทยาศาสตร์กับความเชื่อคริสต์

พบความหมายของชีวิตให้ละเอียดสุขุมและ ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นอย่างไม่รู้จบ  ต่อมาได้ออก สมณสาสน์   Fides  et  Ratio  1998  ปลดปรัชญาออกจากการเป็นสาวใช้ของราชินี เ ท ว วิ ท ย า   แ ต ่ ย ก ป รั ช ญ า   ( ร ว ม ทั้ ง วิทยาศาสตร์และวิชาการทุกสาขา)  ขึ้นเป็น  กระแสเรี ย กคู ่ เ คี ย งกั บ เทววิ ท ยาในพระ ศาสนจั ก รของพระคริ ส ต์ แ ละในอาณาจั ก ร  ของพระเจ้า  ผลจากสมณสาสน์นี้ที่ส�ำคัญก็ คือ  พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่  16  เขียน ในหนังสือ  Jesus  of  Nazareth  2012  ว่า  “ข่าวดีเป็นข่าวแห่งความชืน่ ชมยินดีมสี ขุ ”  และพระสันตะปาปาฟรังซิสออกสมณสาสน์ เตื อ นใจ  Evangelii  Gaudium  2013  (ความชืน่ ชมยินดีแห่งพระวรสาร)  ท้ายล่าสุด คือสมณสาสน์  Laudato  Si’  2015  ที ่ แหวกแนวโดยใช้ภาษาอิตาเลียนโบราณ  เป็น ชื่อสมณสาสน์แทนที่จะใช้ชื่อเป็นภาษาละติน ทรงก�ำชับให้ทวั่ โลกศึกษาและใช้วทิ ยาศาสตร์ ในการรักและรักษ์โลกตามเจตนาสร้างโลกของ พระเป็นเจ้า  นับเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่ที่พระ จิตเจ้าทรงประทานลงมาอย่างต่อเนื่องแก่ ประชากรของพระองค์ในยุคของเรานี้ สรุป ค�ำถามสุดท้ายที่ควรจะถามเพื่อความ สบายใจของทุกคนทีเ่ กีย่ วข้องกับวิทยาศาสตร์ ก็คือความจริงวิทยาศาสตร์คืออะไร  จะขัด แย้งกับความจริงศาสนาตรงไหนได้บ้าง  เช่น

51

ความจริ ง ของไบเบิ ล และค� ำ สอนของพระ ศาสนจักร ตอบค�ำถามแรกเสียก่อน  ความจริง วิทยาศาสตร์คอื ความจริงทีส่ รุปจากข้อมูลเท่า ที่มีอยู่ขณะสรุป  ความจริงวิทยาศาสตร์จึง เปลี่ยนแปลงได้และต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ เมื่อมีข้อมูลมาใหม่จากเดิม  เช่น  สมัยหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสสารทั้งหมดประกอบ ขึ้นจากธาตุ  4  คือ  ดิน  น�้ำ  ลม  ไฟ  ก็ ถือได้ว่าจริงตามข้อมูลสมัยนั้นและก็ใช้เป็น สูตรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  รักษาสุขภาพและ รักษาความปลอดภัยได้ระดับหนึง่ อย่างสบาย ต่อมาพบข้อมูลใหม่ว่าธาตุ  4  เองยังไม่ใช่ ธาตุสดุ ท้าย  แต่ประกอบขึน้ จากอะตอมของ ธาตุ  92-110  ชนิด  เป็นข้อมูลใหม่  ความ จริ ง วิ ท ยาศาสตร์ ก็ ต ้ อ งปรั บ เปลี่ ย นไปตาม ครรลองและประยุกต์ใช้ได้ดมี ากกว่าเดิม  แต่ แล้วก็ต้องยอมจ�ำนนต่อข้อมูลใหม่ว่าอะตอม เองประกอบขึ้นจากอนุภาค  4  ชนิดไม่ใช่  ดินน�้ำลมไฟ  แต่เป็นอิเลคตรอน  โปรตอน  โปซี ต รอน  และนิ ว ตรอน  ความจริ ง วิทยาศาสตร์ก็เลยต้องเปลี่ยนไปตอบสนอง ข้อมูลใหม่ดังกล่าว  นึกว่าจะจบ  ที่ไหนได้  มีการพบว่าอนุภาคก็ยงั ประกอบขึน้ จากคว้าค  (quark)  ไม่น้อยกว่า  62  ชนิด  ตอนนี ้ เลยต้ อ งท� ำ ใจพร้ อ มที่ จ ะเปลี่ ย นความจริ ง วิทยาศาสตร์ต่อไปอีก  ทั้งๆที่ยังมองไม่ออก ว่าจะไปทางทิศไหนต่อไป


52

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2015/2558

ใ น ท� ำ น อ ง เ ดี ย ว กั น   ค ว า ม จ ริ ง ประวัติศาสตร์ขึ้นกับหลักฐานเท่าที่มี  ความ จริงคณิตศาสตร์ขนึ้ กับนิว้ มือ  2  ข้างรวมกัน ความจริงปรัชญาขึน้ กับกระบวนทรรศน์  และ ความจริงศาสนาขึน้ กับประมวลข้อเชือ่ ทีแ่ ต่ละ คนรับเชือ่   ข้อเชือ่ ของแต่ละศาสนาไม่เปลีย่ น แต่การตีความขององค์กรและความเข้าใจของ ศาสนิกอาจจะปรับพัฒนาได้  แต่ไม่ใช่ปรับ เปลีย่ น  หากปรับเปลีย่ นก็จะกลายเป็นศาสนา ใหม่  ไม่ใช่ศาสนาเดิม ความจริงของคริสตจักรคาทอลิกตาม ข้อเชื่อคาทอลิกเปลี่ยนไม่ได้  ปรับเปลี่ยนแต่ การตีความและการท�ำความเข้าใจภายใต้การ ดูแลของสันตะส�ำนัก  แม้จะมีการประกาศข้อ เชื่อใหม่ก็เป็นเพียงขยายผลข้อเชื่อที่มีมาแต่ ต้น  ไม่ใช่สร้างข้อเชื่อใหม่ถอดด้ามอย่างที่ บางคนเข้ า ใจ  จึ ง ต่ า งกั บ ความจริ ง วิ ท ยาศาสตร์อย่างคนละมิตชิ นิดไม่มที างจะมาขวาง ทางขัดแย้งกันได้  อย่างที่กาลิเลโอเข้าใจและ ปรารภหลังจากที่ศาลศาสนาตัดสินห้ามการ เผยแพร่ข้อมูลใหม่ทางดาราศาสตร์ขณะนั้น เรือ่ งโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  โดยปรารภกับ

คนใกล้ ชิ ด ว่ า   “ไม่ ว ่ า จะสอนหรื อ ไม่ ส อน อย่างไร  โลกมันก็ยงั โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ วันยังค�ำ่ จนกว่ามันจะเปลีย่ นแปลงของมันเอง เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  La  scienza  insegna  come  va  il  cielo,  la  religione  però  insegna  come  va  in  cielo.  วิทยาศาสตร์สอนให้ รูว้ า่ ฟ้าเป็นไปอย่างไร  ส่วนศาสนาสอนให้รวู้ า่ ไปสวรรค์ชั้นฟ้าอย่างไร  ในส�ำนวนอิตาเลียน มี ก ารเล่ น ค� ำ และตระหวั ด ส� ำ นวนได้ ไ ม่ ธรรมดา  หากคณะลูกขุนของศาสนาได้รู้จัก แยกประเด็นอย่างนีก้ าลิเลโอก็คงไม่เดือดร้อน และก็จะไม่รอ้ นถึงพระสันตะปาปายอห์นปอล ที ่ 2  ต้องลุกขึน้ มาขอโทษวิทยาศาสตร์แทน ศาลศาสนาที่ตัดสินลงโทษกาลิเลโออย่างนั้น  Errare  humanum  est,  sed  perseverare  in  errore  est  diabolicum.  ความพลาดพลั้งเป็นเรื่องปรกติของมนุษย์ (และของสัตว์แม้  มีถึง  4  เท้ายังรู้พลาด  แม้ นั ก ปราชญ์ ยั ง รู ้ พ ลั้ ง )  แต่ ก ารจมอยู ่ ใ น ความพลาดพลั้งไม่ยอมปรับตัว  เป็นปรกติ ของปิศาจมารร้าย

ขอให้ทุกคนเก่งวิทยาศาสตร์และศรัทธาเต็มที่ในศาสนาอย่างสบายใจ พระสมณสาสน์ Fides et Ratio, 1998. พระสมณสาสน์ Laudato Si’,2015.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.