วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2016/2559

Page 1


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2016/2559 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย  อาจารย์ชวนชม อาจณรงค์  นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ  นางสาวพิมพ์ฤทัย วิชัยธรรมคุณ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี ปีละ 300 บาท (จำ�นวน 3 ฉบับ/ปี) จำ�หน่ายปลีก ราคาฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 หรือธนาณัติ สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ” ปณ.อ้อมใหญ่ 73160


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

ปีใหม่ก�ำลังจะกลับมาเยือน  พร้อมกับการจากลาของปีเก่า  2016  เป็นการจากลาทีค่ ลาคลำ�่ ไปด้วย ความโศกเศร้ากับการเสด็จสูส่ วรรคาลัยของพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ 9  นับเป็นการสูญเสียครัง้ ยิง่ ใหญ่  ทีย่ าก จะท�ำใจยอมรับได้โดยง่าย  กับการจากไปของพ่อหลวงและศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทยในครั้งนี้ เมื่อพูดถึง  “พ่อ”  บิดามารดาของหลายท่านคงก�ำลังอยู่ในวัยผู้สูงอายุ  ซึ่งก�ำลังเป็นประชากรกลุ่ม ใหญ่ ข องสั ง คมไทย  จากรายงานของมู ล นิ ธิ ส ถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาผู ้ สู ง อายุ ไ ทย  พ.ศ.2557  พบว่ า ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มประชากรอยู่ที่ร้อยละ  0.5  ต่อปี  และมีแนวโน้มลดลงไปอีก  ขณะที่ประชากร สูงวัยที่มีอายุ  60  ปีขึ้นไป  มีจ�ำนวนมากถึง  10  ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ  15  ของจ�ำนวนประชากร ทั้งหมด  และในปี  พ.ศ.2564  หรือในอีก  5  ปีข้างหน้า  คาดว่า  เราจะมีประชากรสูงวัยคิดเป็นร้อยละ 20  เมือ่ เทียบกับประชากรในวัยท�ำงาน  ในเวลานี ้ เรามีคนวัยแรงงาน  อายุ  15-59  ปี  คิดเป็น  4.3  คน ต่อผู้สูงอายุ  1  คน  และในอีกประมาณ  20  ปีข้างหน้า  ประเทศไทยจะมีคนในวัยแรงงาน  2  คนต่อ ผู้สูงอายุ  1  คน  นั่นหมายความว่า  เราก�ำลังจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในไม่ช้านี้แล้ว การตระหนักและเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดงั กล่าว  เป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้  เพราะด้วย อัตราการเกิดที่ลดลง  ย่อมส่งผลให้ผู้สูงวัยต้องเผชิญกับการอยู่ตามล�ำพัง  หรือต้องอยู่กับคู่สมรสซึ่งมีอายุ มากด้วยกันทัง้ คูต่ ามล�ำพัง  ต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ  สุขภาพ  ฯลฯ  หากท่านลองจินตนาการว่า เป็นตัวท่านเอง  หรือญาติผู้ใหญ่ที่ต้องอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้  ท่านจะรู้สึกอย่างไร  และชีวิตของท่านจะ เป็นอย่างไร  หากไม่มีการเตรียมความพร้อมในด้านใดๆ  ไว้ล่วงหน้า แสงธรรมปริทศั น์จงึ ขอถือโอกาสนี ้ ชวนท่านมาตระหนักถึงสถานการณ์ทกี่ �ำลังเกิดขึน้   เพือ่ พวกเรา จะได้ไม่มองข้ามความจริง  ไม่มองข้ามหัวใจของผู้สูงอายุ  ที่ควรได้รับความใส่ใจ  ความเคารพ  ความรัก และโอกาสในการแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตอันมีค่ายิ่ง  ให้กับบรรดาลูกหลาน เพือ่ ช่วยให้พวกท่านไม่ยอ่ ท้อต่อสภาพภายนอกทีเ่ ปลีย่ นแปลงทรุดโทรมไป  และได้รบั การปรับเตรียม สภาพจิตใจภายในให้พร้อมกลับไปรับรางวัลนิรันดรในสวรรค์บ้านแท้ของเราทุกคน บรรณาธิการสร้างสรรค์

ข่าวประชาพันธ์...  ขอเชิญชวนส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ฉบับต่อไป เดือนมกราคม - เมษายน  2560  ในหัวข้อ “คริสตศาสนสัมพันธ์”  ส่งต้นฉบับได้ที่ อาจารย์พรี พัฒน์ ถวิลรัตน์ E-mail : pi_santo@yahoo.com หรือ  คุณสุกานดา วงศ์เพ็ญ E-mail : sukanda.1984 @gmail.com ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560  และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความที่ส่งมา ร่วมแบ่งปัน บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3

ค�ำกล่าวถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร  สยามินทราธิราช  บรมนาถบพิตร

วันจันทร์  ที่  7  พฤศจิกายน  2559 ณ  หอประชุม  LUXMUNDI  สถาบันแสงธรรม ​ นับแต่วนั ที ่ 9  มิถนุ ายน  พุทธศักราช  2489  ทีอ่ งค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช  มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร  สยามินทราธิราช  บรมนาถบพิตร  ทรงเสด็จขึน้ เ ถลิงถวัลยราชสมบัติ  พร้อมพระราชปณิธานอันประเสริฐว่า  “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อ ประโยชน์สุขแห่งมหาชน  ชาวสยาม”  ภายใต้ร่มพระบารมีของพระองค์เป็นเวลา  70  ปี  พสกนิกร ทั่วทั้งแผ่นดินต่างประจักษ์แจ้งถึงความรัก  เมตตา  เสียสละ  อุทิศตนของพระองค์  เพื่อประเทศชาติ เพือ่ ความสุขร่มเย็นของปวงชนชาวไทย  ทรงเป็นพระมหากษัตริยผ์ ทู้ รงพระคุณอันประเสริฐล�ำ้ เลิศ  ทรง เป็น  “พระราชาผูท้ รงธรรม”  ปฏิบตั พิ ระองค์มนั่ คง  ในทศพิธราชธรรมอย่างบริบรู ณ์  ทรงเปีย่ มด้วย ความพากเพียร  อดทน  และเสียสละยิง่   ทรงบ�ำเพ็ญพระราช-  กรณียกิจคุณปู การในทุกๆ  ด้าน  โดย เ ฉพาะ  ทรงมีพระปรีชาสามารถในการผสานความร่วมมือของทุกศาสนา  และในการพัฒนาด้านการ ศึกษาในทุกระดับ  ทรงให้ความส�ำคัญกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง  ดังพระบรมราโชวาท  เมื่อ พุทธศักราช  2512  ความตอนหนึ่งว่า  “…งานด้านการศึกษาเป็นงานที่ส�ำคัญที่สุด  อย่างหนึ่งของ ช าติ  เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น  ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่  จึง ต้อง  จัดการศึกษาให้เข็มแข็งยิง่ ขึน้ ...”  และพระบรมราโชวาททีก่ ล่าวเมือ่ ปีพทุ ธศักราช  2524  ความ ว่า  ”..ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาทุกๆ  คน  ต้องถือว่า  ตัวของท่านมีความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมือง อ ยู่อย่างเต็มที่  ในอันที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เที่ยงตรง  ถูกต้อง  สมบูรณ์  โตเต็มก�ำลัง  จะประมาท ห รือละเลยมิได้  เพราะถ้าปฏิบัติให้ผิดพลาดบกพร่องไปด้วยประการใดๆ  ผลร้ายอาจเกิดขึ้นแก่ส่วน รวมและประเทศชาติ  ได้มากมาย…”  อีกทัง้ ทรงตรัสสอนแก่นกั ศึกษา  บัณฑิตในปีพทุ ธศักราช  2553 ว่า  “…การศึกษา  ขั้นมหาวิทยาลัย  คือ  การศึกษาค้นคว้า  เพื่อสร้างเสริมและสะสมความรู้  ความ จัดเจน  ในด้านวิชาการ  อย่างสูง  และด้านการใช้ความคิดวิจารณญาณ  ตามเหตุผลหลักวิชาความถูก ต้อง  ผู้มีปัญญาซึ่งได้ผ่านการศึกษาระดับนี้  จัดว่าเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่า  ผู้จะเป็นก�ำลังสร้างสรรค์ ค วามเจริญมั่นคงทุกด้านของประเทศอย่างส�ำคัญต่อไป  เหตุนี้  บัณฑิตทั้งหลายจึงมีหน้าที่รับผิดชอบ เกิดขึน้   ทีจ่ ะต้องน�ำความรู ้ ความคิด  และความสามารถจัดเจนของตนออกปฏิบตั งิ าน  เพือ่ ประโยชน์ สุขของส่วนรวมและบ้านเมือง…”


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

นอกจากนั้น  พระองค์ได้มีพระราชด�ำริให้ด�ำเนินการพัฒนาทางด้านการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น  การจัดท�ำสารานุกรมไทยส�ำหรับหรับเยาวชน  การก่อตัง้ มูลนิธ ิ การก่อตัง้ กองทุนการศึกษา  การ ส ร้างโรงเรียนในชนบทหรือถิ่นทุรกันดาร  การสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท  เพื่อให้เด็กนักเรียน  ได้ เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคูก่ นั ไป  อันจะท�ำให้เยาวชนของชาติ  นอกจากจะมี ค วามรู้ด้านวิชาการแล้ว  ยังจะท�ำให้มีจิตใจที่ดี  ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม  เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของ ประเทศชาติต่อไปในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น  พระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งในเรื่องของการศึกษาเรียนรู้  ทรงมีพระวิริยะ อุตสาหะในการศึกษาวิจยั ใฝ่รตู้ ลอดเวลา  จนเกิดความเชีย่ วชาญในสาขาวิชาการต่างๆ  แล้วทรงน�ำความ รู้และแนวทางที่เป็นคุณประโยชน์มาปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง  ประจักษ์แก่สาธารณชนอยู่เป็นนิจ  ทั้ง พระราชด�ำรัส  พระบรมราโชวาท  พระราชนิพนธ์  พระราชกรณียกิจ  พระราชจริยวัตร  และพระราชด�ำริ หลากหลายประการ  ล้วนทรงสัง่ สอนและทรงเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรทัง้ สิน้   ทรงเปรียบประดุจครูของ ประชาชน  ทั้งแผ่นดิน  สมดังพระราชสมัญญา  “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” พระมหากรุณาธิคณ ุ อันหาทีส่ ดุ มิได้น ้ี ตราตรึงในหัวใจของพวกเราทุกคนและพสกนิกรชาว ไ ทยมาโดยตลอดมิรู้ลืม  ปวงข้าพระพุทธเจ้า  ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมร�ำลึกในพระมหา กรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ การเสด็จสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เมื่อวันที่  13 ตุลาคม  พุทธศักราช  2559  เป็นความโศกเศร้าอาดูรและความสูญเสียอันใหญ่หลวงของพสกนิกรชาว ไทยทุกคน  หากแต่เป็นการจากไปเพียงพระวรกายเท่านั้น  พระองค์จะยังทรงเป็น  “ครูแห่งแผ่นดิน” ยังทรงเป็น  “พระราชาผู้ทรงธรรม”  ของปวงชนชาวไทย  และทรงสถิตมั่นในดวงใจพสกนิกรของ พระองค์  ตราบนิรันดร์กาล ข้าพระพุทธเจ้า  พร้อมด้วย  คณะผูบ้ ริหาร  คณาจารย์  เจ้าหน้าที ่ นักศึกษา  วิทยาลัยแสงธรรม และคณะผูใ้ ห้การอบรม  สามเณราลัยแสงธรรม  ขอตัง้ จิตอธิษฐานภาวนา  วิงวอนขอองค์พระเยซูคริสต์ เ จ้า  โปรดให้ดวงพระวิญญาณอันประเสริฐสุด  ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ม หิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร  สยามินทราธิราช  บรมนาถบพิตร  ได้พักผ่อนในสันติสุข นิรันดร  ในพระสิริรุ่งโรจน์  ในสรวงสวรรค์พร้อมกับเหล่านักบุญด้วยเทอญ

ข้าพระพุทธเจ้า บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย  พงษ์ศิริ อธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม


Content 7

โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 5

SaengthamJournal ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559

7

ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล บาทหลวงเชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I.

28

28

วัยชรา: วัยใกล้ชิดพระเจ้า บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์

38

ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์

บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

38

51

Ad Deum Qui Laetificat SENECTUTEM meam ศ.กีรติ บุญเจือ

63

63

เรียนรู้การดำ�เนินชีวิตผู้สูงวัย

บาทหลวงปรีชา  ธรรมนิยม, O.M.I.

73

73

ความรักที่ยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้ให้ ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์


6

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

SaengthamJournal

ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559

81

Content

81

คุณแม่เทเรซานักบุญผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช

88

คุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ

88

ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์

102

ประสบการณ์ก่อนจะได้ไปเรียนที่โรม บาทหลวงเมธาสิทธิ์ นามละคร

102

109

การเสริมสร้างคุณธรรมความรักเมตตาผ่านโครงการ ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ครั้งที่ 2

ปนัดดา ชัยพระคุณ และ กัญวสุ ศรีไทย

117

117

บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร

126

บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช

แนะนำ�หนังสือพระสมณลิขิตถึงผู้สูงอายุ (Letter to the elderly)

126

แนะนำ�หนังสือสรุปพระสมณลิขิต (Misericordia et misera)


ผู้สูงอายุ:

จิตวิญญาณและการอภิบาล บาทหลวงเชิดชัย เลิศจิตรเลขา M.I.

ข้ า พเจ้ า ได้ รั บ หนั ง สื อ เชิ ญ ให้ เ ขี ย น บทความเกี่ ย วกั บ ผู ้ สู ง อายุ   จึ ง พยายาม ไตร่ตรองว่าในฐานะทีเ่ ป็นนักบวชคามิลเลียน ที่ท�ำงานในสนามงานสุขภาพอนามัย  ซึ่ง เป็นพระพรพิเศษของคณะผู้รับใช้คนป่วย บทความเกี่ยวกับผู้สูงอายุควรที่จะมีเนื้อหา สาระอะไรจึ ง จะเหมาะสม  ที่ เ ป็ น การ แสดงออกถึงความเข้าใจผู้สูงอายุ  จากมุม

มองของพระสงฆ์คามิลเลียนที่มีอัตลักษณ์ เฉพาะตน  ในสนามงานแห่งการรับใช้ผปู้ ว่ ย เพื่อการเข้าใจ  และปฎิบัติรับใช้ผู้สูงอายุใน สังคมประเทศไทย  ที่ในปัจจุบันมีจ�ำนวน เพิ่มมากขึ้น สั ง คมประเทศไทยให้ ค วามสนใจ ผูส้ งุ อายุอย่างเป็นพิเศษ  เนือ่ งจากสังคมไทย ก�ำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว

อธิการเจ้าคณะแขวงคามิลเลียนแขวงประเทศไทย, อาจารย์ประจ�ำวิทยาลัยแสงธรรม

( หมวดงานอภิบาล )

ความต้องการด้าน


จากสถิติปัจจุบัน  จ�ำนวนประชากรเฉลี่ยที่ เป็น ผู้สูงอายุมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อ เนื่ อ ง  และจ� ำ นวนอั ต ราเด็ ก ที่ เ กิ ด ใหม่ มี จ� ำ น ว น ล ด ล ง   ซึ่ ง เ ป ็ น ข ้ อ มู ล ด ้ า น ประชากรศาสตร์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ในสั ง คม ประเทศไทย  และเรือ่ งนีไ้ ม่ใช่เป็นเรือ่ งทีไ่ กล ตั ว อี ก ต่ อ ไป  ข้ อ เท็ จ จริ ง นี้ น� ำ มาซึ่ ง การ ท�ำความเข้าใจ  การเปลี่ยนแปลง  การปรับ ตัว  ของคนไทยทุกๆ  คนและในทุกๆ  มิติ ของชีวิต เนือ่ งจากผูส้ งู อายุไม่ใช่เป็นเรือ่ งทีไ่ กล ตัวอีกต่อไป  เพราะปัจจุบันเราสัมผัสได้ถึง กลุม่ ผูส้ งู อายุทกี่ ำ� ลังมีจำ� นวนมากขึน้   ซึง่ สืบ เนือ่ งมาจากประเทศไทยเป็นประเทศทีม่ กี าร พัฒนาด้านความเจริญด้านวิทยาศาตร์  การ บริโภคอาหาร  การแพทย์  และเทคโนโลยี ต่างๆ  อย่างรวดเร็ว  ที่เอื้ออ�ำนวยให้แต่ละ คนมีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้นและมีอายุ ยืนยาวมากขึน้   ปัจจัยเหล่านีเ้ ท่ากับเป็นการ เพิ่มจ�ำนวนผู้สูงวัยให้เพิ่มมากขึ้นในสังคม ซึง่ เราสามารถสังเกตได้จากกลุม่ สังคมในทุก ระดับ  ตัวอย่างเช่น  ในครอบครัวมีผสู้ งู อายุ ที่มีจ�ำนวนมากขึ้น  แม้ว่าปัจจุบันในเมือง ใหญ่คนไทยมักนิยมรูปแบบของครอบครัว เดียวเพิ่มมากขึ้นก็ตาม  ตามวัดต่างๆ  มี ชมรมผู้สูงอายุที่นับแต่จะมีการรวมตัวและ เพิ่ ม จ� ำ นวนมากขึ้ น   ในคณะนั ก บวชและ คณะสงฆ์   มี จ� ำ นวนนั ก บวชผู ้ สู ง วั ย และ พระสงฆ์ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

จากการค้นคว้าอย่างคร่าวๆ  เกี่ยวกับผู้สูง อายุ  ท�ำให้ทราบว่า  ความรู้  ความเข้าใจ เกีย่ วกับผูส้ งู อายุในปัจจุบนั พัฒนาขึน้ มาก  มี หนังสือและบทความต่างๆ  เขียนออกมา อย่างมากมาย  ซึง่ บทความนีไ้ ม่มจี ดุ ประสงค์ จะให้ความรู ้ ความเข้าใจ  เกีย่ วกับผูส้ งู อายุ ได้ทงั้ ครบ  เนือ่ งจากขอบเขตของเนือ้ หาและ สถานที่ ที่ จ� ำ กั ด   แต่ บ ทความนี้ เ ป็ น ความ พยายามที่เขียนเกี่ยวกับผู้สูงอายุขึ้น  เพื่อ ต้องการเสริมสร้างความคิด  ความเข้าใจ เกีย่ วกับผูส้ งู อายุจากมุมมองคริสตชน  ซึง่ ไม่ เพี ย งแต่ เ ข้ า ใจผู ้ สู ง อายุ จ ากมุ ม มองด้ า น ร่างกาย  จิตใจ  สังคม  เท่านั้น  แต่เข้าใจ ผู้สูงอายุในบริบทของความเชื่อของคริสตชน ซึ่งเป็นมิติที่ส�ำคัญ  นอกนั้น  จะน�ำเสนอ แนวทางในการอภิบาลผู้สูงอายุ  ซึ่งคาดว่า บทความนี้   คงมี ป ระโยชน์ ต ่ อ การปฎิ บั ติ อย่างเป็นรูปธรรมต่อผู้สูงอายุ  ที่เป็นบุคคล ที่อยู่ใกล้เคียงที่ท่านเคารพรักไม่มากก็น้อย ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้สูงอายุใน ประเทศไทย ประเทศไทยเป็ น ประเทศผู ้ สู ง อายุ และก�ำลังก้าวเป็นสังคมผูส้ งู อายุอย่างเต็มตัว ภายในอี ก ไม่ กี่ ป ี ข ้ า งหน้ า   ข้ อ มู ล จาก ส� ำ นั ก งานคณะกรร มการพั ฒ นาการ เศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ   ให้ ข ้ อ มู ล ว่า  “ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ ปี   พ.ศ.2548  ผลการคาดประมาณ


ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล

ประชากรในช่วงปี  พ.ศ.2553–2583  พบ ว่า  อัตราเจริญพันธุ์ที่มีแนวโน้มลดลงอย่าง ต่อเนื่อง  และจะส่งผลให้ประชากรไทยเพิ่ม ขึ้นจากปี  พ.ศ.2553  ไปจนถึงระดับสูงสุด ที่  66.38  ล้านคนในปี  พ.ศ.2569  ก่อน ที่จะลดลงจนเหลือ  63.86  ล้านคนในปี พ.ศ.  2583  โดยสัดส่วนประชากรวัยเด็ก (0–14  ปี)  และวัยท�ำงาน  (15–59  ปี) จะลดลงเหลือร้อยละ  12.8  และ  55.1 ตามล�ำดับ  ขณะที่สัดส่วนวัยสูงอายุ  (60 ปีขนึ้ ไป)  จะเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งจากร้อยละ 13.2  ในปี  พ.ศ.2553  เป็นร้อยละ  31.1 ในปี   พ.ศ.2558”  (ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ,  2558:17) ทั้ ง นี้   “ประเทศไทยจะเข้ า สู ่ สั ง คม สูงวัยอย่างสมบูรณ์  หรือมีประชากรอายุ มากกว่ า   60  ปี   ถึ ง ร้ อ ยละ  20  ของ ประชากรทัง้ หมดในปี  พ.ศ.2668  โดยจะมี สัดส่วนผู้สูงอายุเป็นอันดับสองในอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์  และเมื่อพิจารณา กลุ่มผู้สูงอายุโดยใช้เกณฑ์การประเมินความ สามารถในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน  และ ข้อความจ�ำกัดด้านร่างกายทีส่ มั พันธ์กบั กลุม่ อายุสามารถแบ่งได้  3  กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่ม ทีม่ ศี กั ยภาพ  (ติดสังคม)  ช่วงอายุ  60–69 ปี  กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง  (ติดบ้าน) ช่วงอายุ  70–79  ปี  และกลุ่มที่ช่วยเหลือ ตนเองไม่ได้  (ติดเตียง)  ช่วงอายุ  80  ปีขนึ้

ไป  โดยคาดประมาณว่า  ประหว่างปี  พ.ศ. 2553-2585  กลุ่มอายุ  60-69  ปี  จะ เพิ่มขึ้นในช่วงแรกก่อนลดลงในช่วงปีหลังปี พ.ศ.2577  ขณะที่กลุ่มอายุ  80  ปีข้ึนไป และ  70-79  ปีจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” (ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,  2558:18) จากข้อมูลข้างต้น  ภาครัฐได้แสดงให้ เห็นแนวโน้มจ�ำนวนของผูส้ งู อายุจะเพิม่ ขึน้ ใน อนาคต  และการพึ่ ง พิ ง ของผู ้ สู ง อายุ จ ะมี จ�ำนวนเพิม่ ขึน้ ตามล�ำดับ  เนือ่ งจากผูส้ งู อายุ นั บ ว่ า เป็ น กลุ ่ ม วั ย ที่ มี ค วามเปราะบางใน สังคม  และเนือ่ งจากศักยภาพท�ำงานทีล่ ดลง และสภาพร่ า งกายที่ เ สื่ อ มลงตามวั ย   จึ ง จ�ำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ  ดูแล  และ พัฒนาศักยภาพ  นอกนั้น  ภาครัฐยังได้มี นโยบายส่งเสริมศักยภาพของผูส้ งู อายุ  “เพือ่ ให้ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคม และสมควรส่งเสริมให้คงคุณค่าไว้ให้นาน ที่สุด  แต่ในกรณีที่ตกอยู่ในสถานะที่ต้อง พึง่ พิงผูอ้ นื่   ครอบครัวและชุมชนจะต้องเป็น ด่ า นแรกในการเกื้ อ กู ล   เพื่ อ ให้ ผู ้ สู ง อายุ สามารถด�ำรงอยู่ในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีสวัสดิการจากรัฐเป็นระบบเสริม  เพื่อ ให้เกิดหลักประกันในวัยสูงอายุและความ มัน่ คงทางสังคม”  (ส�ำนักงานคณะกรรมการ พั ฒนาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ , 2558:18)

9


10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 จ�ำนวนผู้สูงอายุที่เป็นพระสงฆ์  และ นักบวชคณะต่างๆ  ในประเทศไทยปัจจุบัน มีจำ� นวนเพิม่ มากขึน้   และอายุเฉลีย่ ของพระ สงฆ์และนักบวชคณะต่างๆ  ก็เพิม่ สูงมากขึน้ ตามล�ำดับ  พระสงฆ์สังฆมณฑลและคณะ นักบวชเริม่ สร้างบ้านผูส้ งู อายุสำ� หรับสมาชิก ของตนเอง  และให้ความสนใจกลุม่ ผูส้ งู อายุ ที่ เ ป็ น สมาชิ ก นั ก บวชเพิ่ ม มากขึ้ น   ข้ อ มู ล เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ส�ำหรับเรา  ใน การเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่  (change of  mentality)  เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ความเข้ า ใจพื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ ช่ ว งวั ย ชี วิ ต มนุษย์ ชีวติ คือการเดินทางในการค้นพบความ หมาย  (Frankl,  1959);  (เชิดชัย,  2553: 61–84)  ค�ำกล่าวนีเ้ ป็นความจริง  เราจึงไม่ สามารถเข้าใจชีวิตมนุษย์เฉพาะเพียงช่วงใด ช่วงหนึง่ ในลักษณะคงทีไ่ ด้  (statics)  เพราะ นับตั่งแต่เริ่มการปฎิสนธิ  ชีวิตก็เริ่มต้นขึ้น แล้ว  และเริม่ ขบวนการแห่งการพัฒนาเจริญ เติบโตสู่วัยต่างๆ  เช่น  วัยทารก  วัยเด็ก เยาวชน  วั ย ผู ้ ใ หญ่   และวั ย ผู ้ สู ง อายุ เ นื่ อ ง จ า ก ชี วิ ต มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป ็ น พ ล วั ต (dynamic)  เราจึงไม่สามารถเข้าใจช่วงหนึง่ ช่ ว งใดของชี วิ ต ที่ แ ยกออกมาต่ า งหากได้ นอกนั้ น   สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ป็ น ความสามารถที่ มี ลักษณะเป็นธรรมชาติของมนุษย์คือ  ความ สามารถในการปรับตัวเอง  (self-adaption)

ในการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอายุ  ไม่ว่า จะเป็นความสามารถในการปรับตนเองด้าน ร่ า งกาย  ด้ า นจิ ต ใจ  ด้ า นสั ง คม  ในการ เผชิญหน้ากับปัญหา  และอุปสรรค์แห่งชีวิต แม้ว่าเราไม่สามารถแบ่งแยก  (separation)  ช่วงต่างๆ  ของชีวิตได้  แต่ตาม ปกติเรามักจะแยกแยะ  (distinction)  ช่วง ชีวิตออกเป็นช่วงวัยแต่ละวัย  เริ่มตั้งแต่วัย เด็ก  เยาวชน  วัยผู้ใหญ่  และวัยผู้สูงอายุ โดยก�ำหนดให้แต่ละช่วงวัย  มีคุณลักษณะ เด่นเฉพาะ  (characters)  ซึ่งการก�ำหนด ลักษณะเด่นเฉพาะของแต่ละวัย  เป็นวิธกี าร เข้าใจช่วงระยะเวลาของการด�ำเนินชีวิตของ มนุษย์เท่านั้น  การแยกแยะช่วงเวลาต่างๆ แห่งชีวติ โดยก�ำหนดคุณลักษณะเด่นดังกล่าว เป็นวิธกี ารทีง่ า่ ยๆ  แต่ควรกระท�ำด้วยความ ระมัดระวัง  เพราะเราไม่สามารถก�ำหนด คุณลักษณะเด่นของแต่ละช่วงชีวิตได้อย่าง สมบูรณ์  เนื่องจากขอบเขตแต่ละช่วงของ ชี วิ ต มั ก มี ค วามคุ ม เคลื อ   และเป็ นวิ ธี ก าร แยกแยะอย่างหยาบๆ  เท่านั้น  (Cina`, 2015:597) ช่วงเวลาแต่ละวัยแห่งชีวิตนี้เป็นช่วง เวลาที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง (unique)  และไม่ซ�้ำรอยใคร  (unrepeatable)  ที่ มี คุ ณ ค่ า เฉพาะตั ว   มี ศั ก ยภาพ และรูปแบศีลธรรมเป็นของตนเอง  ช่างเวลา แต่ละช่วงของชีวิต  ตั้งแต่วัยเด็ก  เยาวชน วัยผู้ใหญ่  และวัยผู้สูงอายุ  จึงจ�ำต้องเข้าใจ


ในบริบทของชีวิตทั้งครบตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง ความตาย  ในความเป็นบุคคลทีเ่ ป็นแก่นแท้ ของตนเองทีก่ ำ� ลังเดินทางไปสูค่ วามสมบูรณ์ ครบครัน  จึงจะเป็นความเข้าใจที่สมบูรณ์ (Cina`,  2015:603) นอกนัน้   วิธกี ารแบ่งช่วงเวลาของชีวติ ออกเป็ น แต่ ล ะช่ ว งวั ย   และก� ำ หนด คุณลักษณะ  เช่น  วัยเด็กเป็นวัยแห่งช่วง ชีวติ ทีม่ คี วามไว้วางใจ  วัยเยาวชนเป็นช่วงวัย แห่ ง การแสวงหาอั ต ลั ก ษณ์ ข องตนเอง แสวงหาความรักและความรับผิดชอบส่วน บุคคล  วัยผู้ใหญ่เป็นวัยแห่งการมีสมดุลย์ มีความบรรลุวฒ ุ ภิ าวะ  ความรับผิดชอบชีวติ ความเข้าใจชีวิตตนเอง  เป็นวัยที่สร้างความ มั่ น คงให้ แ ก่ ชี วิ ต   วั ย ผู ้ สู ง อายุ เ ป็ นวั ย แห่ ง ปรี ช าญาณ  ความรอบรู ้   ที่ ไ ด้ ม าจาก ประสบการณ์ชีวิต  มีความสามารถในการ แยกแยะล�ำดับความส�ำคัญของชีวิตในสิ่งที่ เป็นสาระถะ  เป็นต้น  คุณลักษณะเหล่านี้ เป็นคุณลักษณะที่แต่ละช่วงชีวิตควรที่เป็น เท่านั้น  ซึ่งในความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ส�ำหรับทุกคน  เช่น  ลักษณะของเด็กบางคน ที่ดื้อรัน  เยาวชนที่มีความเปราะบางต่อสิ่ง ล่ อ ลวงต่ า งๆ  ผู ้ ใ หญ่ ที่ แ สวงหาแต่ ค วาม ร�่ ำ รวย  ความสุ ข สบายจนลื ม ครอบครั ว และคุณค่าแห่งความเป็นเพื่อน  วัยผู้สูงอายุ ที่เป็น ผู้ที่ขี้บ่น  บิดขังอยู่ในโลกของตัวเอง เป็นต้น  ดังนั้น  การเข้าใจวัย ผู้สูงอายุใน บริบทช่วงชีวติ ทัง้ ครบตัง่ แต่ทารกจนถึงความ

ตาย  จึ ง เป็ น ประโยชน์ ส� ำ หรั บ เราในการ เข้าใจวัยผู้สูงอายุ ร่างกายและจิตวิทยาของการเข้าสู่วัยชรา มิติแรกในการเข้าใจผู้สูงอายุคือจาก ความคิดเรื่องสุขภาพ  (well-being)  จาก มิตริ า่ งกายและจิตใจ  ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องและ พิ่ ง พิ่ ง ต่ อ กั น เสมอ  ดั ง สั จ พจน์ ที่ ก ล่ า วว่ า “จิตใจที่แจ่มใส่มีอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” (mens  sana  in  corpore  sano)  และ ความหมายของสุ ข ภาพเป็ น สิ่ ง ที่ มี ค วาม ส�ำคัญส�ำหรับการเข้าใจผู้สูงอายุ  เนื่องจาก ร่างกายและจิตใจเป็นสิง่ ทีแ่ ยกออกจากกันไม่ ได้  ซึง่ ในวัยผูส้ งู อายุรา่ งกายทีค่ อ่ ยๆ  เสือ่ ม สภาพลงมี ผ ลกระทบต่ อ สภาพจิ ต ใจของ ผู้สูงอายุ  ดังนั้น  เราสามารถเข้าใจสุขภาพ ในผู้สูงอายุได้หรือไม่? มนุษย์ทกุ วัยซึง่ รวมทัง้ ผูส้ งู อายุมคี วาม ต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดี  (good  health) ส�ำหรับสุขภาพในวัยผูส้ งู อายุ  สุขภาพในทีน่ ี้ ความหมายถึง  สุขภาวะ  (state  of  wellbeing)  กล่ า วคื อ การที่ ผู ้ สู ง อายุ มี ค วาม สัมพันธ์ในมิติต่างๆ  เช่น  ร่างกาย  จิตใจ สังคม  และจิตวิญญาณทีม่ ลี กั ษณะเป็นองค์ รวมแห่งชีวิต  (integral  life)  เช่น  ความ สัมพันธ์กับตนเอง  ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความสั ม พั น ธ์ กั บ สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ (พระเจ้า)  และความสัมพันธ์แห่งมิติต่างๆ แบบองค์รวมนีเ้ องทีเ่ ราใช้เป็นแนวทางในการ


12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 เข้ า ใจสุ ข ภาพของผู ้ สู ง อายุ   (Sandrin, 2015:11-14) สุ ข ภาวะ  (well-being)  ของผู ้ สู ง อายุ ใ นที่ นี้ ห มายถึ ง ความสอดคล้ อ ง กลมกลืน  (harmony)  ของมิติต่างๆ  ของ ชีวิต  เช่น  มิติด้านร่างกาย  จิตใจ  สังคม และจิตวิญญาณ  ซึง่ ลักษณะความสอดคล้อง ในทีน่ มี้ ลี กั ษณะเป็นพลวัต  (dynamic  harmony)  ที่ด�ำเนินก้าวไปอย่างต่อเนื่องอย่าง มีคุณภาพชีวิต  (quality of life)  ในบริบท ของชีวติ ทัง้ ครบ  ดังนัน้   ความหมายสุขภาพ (heath)  ในความหมายนี้เองเราสามารถ กล่าวถึงสุขภาพของผู้สูงอายุได้  (Sandrin, 2015:456) นักจิตวิทยาปัจจุบนั ส่วนใหญ่มกั เข้าใจ ผูส้ งู อายุในขบวนการเข้าสูว่ ยั ผูส้ งู อายุ  (ageing  psychology)  ในฐานะที่การก้าวสู่วัย ผู้สุงอายุเป็นขบวนการที่เป็นส่วนหนึ่งชีวิตที่ สมบูรณ์ทั้งครบ  มากกว่าที่จะเข้าใจเพียง พฤติกรรมของบุคคลที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เท่ า นั้ น   (Psychology  of  the  elder person)  เนื่องจาก  การเข้าใจเฉพาะส่วน ใดส่วนหนึง่ ของชีวติ ตามกาลเวลา  (chronological)  เท่านั้น  เราจะได้ความรู้ความเข้า ใจพฤติกรรมของช่วงวัยที่มีลักษณะคล้าย คลึ ง กั น   (similarity)  แต่ ใ นความจริ ง พฤติกรรมที่แสดงออกไม่ได้มากจากวัยของ ผู้สูงอายุตามระยะเวลาในช่วงของชีวิต  ขึ้น กับองค์ประกอบและปัจจัยหลายๆ  อย่างที่ มีอิทธิพลต่อผู้สูงอายุ

นอกนั้น  มโนทัศน์เกี่ยวกับการเข้าใจ ตนเองของผู้สูงอายุในแต่ละคนก็ไม่เหมือน กันตลอดไป  (univocal)  เพราะแต่ละคนมี ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเองจากมุม มองที่หลายหลากแตกต่างกัน  เช่น  ความ รูส้ กึ เกีย่ วกับตนเองว่าตนเองเริม่ ก้าวเข้าสูว่ ยั ผูส้ งู อายุ  ทัศนะคติของผูอ้ นื่ ทีม่ คี วามรูส้ กึ ต่อ ผู้สูงอายุเองมีความแตกต่าง  และไม่จ�ำเป็น ต้องสอดคล้องกันเสมอไป  และบางครัง้ อาจ มีความขัดแย้งเกิดขึ้นได้  เช่น  บุคคผู้อื่นดู จากสภาพร่ า งกายแล้ ว เป็ น ผู ้ สู ง อายุ   แต่ สภาพภายในของตนนั้นยังรู้สึกหนุ่มสาวอยู่ จึงแสดงพฤติกรรมของวัยหนุ่มสาวออกมา และบุ ค คลเหล่ า นี้ ห ลายๆ  ครั้ ง ได้ รับ การ ปฎิบตั ใิ นฐานะทีเ่ ป็นผูส้ งู อายุ  ซึง่ เป็นสิง่ ทีข่ ดั แย้ ง กั บ ความรู ้ สึ ก ของตนเองอย่ า งสิ้ น เชิ ง (Sandrin,  2015:456) ดั ง นั้ น   แทนที่ จ ะเป็ น การศึ ก ษา จิตวิทยาของผู้สูงอายุ  (Psychology  of the  elder  person)  ที่ศึกษาสภาพจิตใจ ของบุ ค คลที่ เ ข้ า วั ย ผู ้ สู ง อายุ   ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ ง จิ ต วิ ท ยาของวั ย ผู ้ สู ง อายุ ที่ มี ลั ก ษณะที่ คล้ายคลึงกัน  นักจิตวิทยาปัจจุบันมักชอบ ที่จะใช้ค�ำว่าจิตวิทยาของการเข้าสู่วัยชรา (ageing psychology)  มากกว่า  ซึง่ จิตวิทยา ของการเข้าสู่วัยชรา  มีมุมมองว่าจิตวิทยา ของบุคคลผู้สูงอายุ  จากมุมมองและวิธีการ ที่ใช้ในการศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ วิ วั ฒ นาการ  (evaluative)  ประวั ติ ชี วิ ต


ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล

(biography)  และบริบทแห่งชีวิต  (context)  ในมุมมองของชีวิตทั้งครบ นอกนั้น  เนื้อหาจิตวิทยาของการเข้า สู ่ วั ย ผู ้ สู ง อายุ   (ageing  psychology) จึงเป็นการศึกษาค้นคว้าขบวนการเข้าสู่วัย ชราของผูส้ งู อายุ  ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความทรงจ�ำ ทั ศ นะคติ   ความคิ ด   สติ ป ั ญ ญา  และ อารมณ์ ค วามรู ้ สึ ก   บุ ค คลิ ก ภาพ  ความ สัมพันธ์ด้านอารมณ์กับครอบครัวและกับ สังคม  ของผู้ที่ก�ำลังก้าวสู่วัยชราว่าผู้สูงอายุ เผชิญกับปัจจัยต่างๆ  เหล่านีอ้ ย่างไร?  และ ยังศึกษาผลกระทบที่ผู้สูงอายุได้รับในการ เปลี่ยนสถานะภาพในครอบครัวที่ปัจจุบัน กลายเป็นคุณปู่คุณย่า  หรือคุณตาคุณยาย ผลกระทบที่ ไ ด้ รั บ เมื่ อ คู ่ ชี วิ ต ตายจากไป ความเจ็บป่วยหรือความพิการของตนเอง หรื อ   ชี วิ ต บั้ น ปลายที่ ค วามตายก� ำ ลั ง คื บ คลานเข้ามาว่าผู้สูงอายุควรปรับตัวในการ เผชิญหน้าอย่างไร?  เพื่อน�ำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการด�ำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและอย่าง มีความสุข ผู้สูงอายุ:  วิกฤติการณ์และความยืดหยุ่น ทางจิตใจ แม้ว่าการเป็น ผู้สูงอายุจะไม่ใช่หมาย ถึ ง เป็ น การเจ็ บ ป่ ว ยเสมอไป  แต่ ห ลายๆ ครัง้ วัยผูส้ งู อายุอาจน�ำมาซึง่ ความเจ็บป่วยได้ เพราะเนือ่ งจากการเปลีย่ นแปลงด้านร่างกาย ที่เกิดขึ้น  เช่น  ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง

13

และเป็ น โอกาสน� ำ ไปสู ่ ค วามพิ ก าร  โดย เฉพาะอย่างยิง่ กลุม่ ทีช่ ว่ ยเหลือตัวเองได้บา้ ง ที่มีช่วงอายุ  70  ปีขึ้นไป  การเกษียณจาก งานประจ�ำ  การเป็นคูณปู่คุณย่าหรือคุณตา คุณยาย  การเปลีย่ นสถานะภาพทีจ่ ำ� ต้องพึง่ พิงคนอื่นมากยิ่งขึ้น  การตายของคู่ชีวิตและ ชีวติ ทีค่ บื ใกล้ความตาย  ฯลฯ  สิง่ เหล่านีเ้ ป็น ปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อผูส้ งู อายุในทุกๆ  มิติ แห่งชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มต้นจากประสบการณ์ของผู้ที่ก้าว เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ  มักจะมีความวิตกกังวล ความไม่แน่ใจในตนเอง  ทีม่ กั จะเกีย่ วข้องกับ การปรับตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น  การเกษียณจากงาน  เป็นช่วง เวลาที่ ส� ำ คั ญ และอ่ อ นไหวมากส� ำ หรั บ ผู ้ สูงอายุ  เพราะงานไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น  แต่การ ท�ำงานเกี่ยวข้องกับมิติจิตวิทยาและสถานะ ภาพทางสังคมของบุคคลนัน้ ด้วย  เพราะการ ท� ำ งานช่ ว ยให้ เ รารู ้ สึ ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ชี วิ ต ของ ตนเอง  และการท� ำ งานยั ง ช่ ว ยให้ บุ ค คล พั ฒนาความเป็ น บุ ค คลที่ ส มบู ร ณ์ ม ากขึ้ น นอกนั้น  งานยังท�ำให้เรามีสถานะภาพหรือ ต� ำ แหน่ ง ในสั ง คม  งานท� ำ ให้ เ ราสามารถ สร้างอัตลักษณ์ของตนเองได้  และงานท�ำให้ เรามีตารางเวลาประจ�ำวันที่แน่นอน  ฯลฯ นอกนั้ น   ส� ำ หรั บ บุ ค คลที่ ใ ห้ ค วาม ส�ำคัญกับงานเป็นพิเศษ  หรือสังคมทีเ่ น้นย�ำ้ ว่าคุณค่าของบุคคลอยู่ที่ผลของงานเท่านั้น


14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 ก็มีผลกระทบต่อการปรับตัวของผู้สูงอายุที่ เกษียณจากงาน  เช่น  ในสังคมไทย  เรามัก พบเห็นค�ำกล่าวทีว่ า่   “ค่าของคนอยูท่ ผี่ ลของ งาน”  ที่ติดประกาศอยู่ตามสถานที่ราชการ บางแห่ง  เป็นความคิดความเข้าใจพื้นฐาน เกี่ ย วกั บ ความเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ มุ ่ ง เฉพาะ ประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลจากงาน เท่านัน้   มองดูผวิ เผินค�ำกล่าวนีอ้ าจเป็นสิง่ ที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน  ที่เรียกร้อง ให้ทุกคนมุ่งท�ำงานอย่างเต็มความสามารถ (ซึ่งเหมาะสมกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุของ ผู้ที่ในวัยท�ำงาน)  แต่ถ้าเป็นความคิดหรือ เป็นทัศนะคติที่ติดตัว  และเป็นปรัชญาใน การด� ำ เนิ น ชี วิ ต แล้ ว   ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ อั น ตราย อย่างมาก  โดยเฉพาะส�ำหรับทัศนะคติของ ผู้สูงอายุเองที่มีต่อตนเอง  และของบุคคล อื่นๆที่อยู่รอบข้างผู้สูงอายุ ร่างกายที่เสื่อมสภาพลงจากบุคคลที่ เคยท�ำงานและช่วยเหลือตนเองได้  กลาย เป็นบุคคลที่ต้องพึ่งพึงผู้อื่น  ซึ่งสืบเนื่องมา จากความพิการบางอย่าง  อาจก่อให้เกิด ความหงุ ด หงิ ด   ความไม่ มั่ น ใจในตนเอง นอกนั้ น   การเสื่ อ มถอยของความทรงจ�ำ (ผู ้ สู ง อายุ มั ก มี ค วามทรงจ� ำ ในอดี ต ที่ เ ป็ น ประสบการณ์ในชีวติ ทีต่ นเองเคยประสบได้ดี แต่ เ นื่ อ งมาจากการเปลี่ ย นแปลงองค์ ประกอบของสมองทีบ่ างส่วนท�ำงานบกพร่อง ผู้สูงอายุมักหลงลืมเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น เมื่อไม่นาน)  สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความไม่

แน่ ใ จในตนเองของผู ้ สู ง อายุ   การเปลี่ ย น สถานะสังคมในครอบครัว  การกลายเป็น คุณปูค่ ณ ุ ย่าก็มผี ลกระทบต่อสภาพจิตใจของ ผู้สูงอายุ  เช่น  จากสถานะภาพที่เคยเป็น ผูน้ ำ� ของครอบครัวทีส่ ามารถตัดสินใจในการ แก้ปญ ั หาครอบครัว  กลายเป็นผูท้ ตี่ อ้ งรับฟัง และปฎิบัติตามผู้อ่ืน  และความตายของคู่ ชีวิตที่จากไป  สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อพฤติกรรม ที่ออกมาจากสภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่มี ความวิตกกังวล  ไม่แน่ใจ  สิ้นหวัง  ท้อแท้ ซึง่ อาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทีก่ า้ วร้าว เก็บตัว  อารมณ์ฉุนเฉียว  เศร้าสร้อย  ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ  เหล่านีก้ อ่ ให้เกิดความโดดเดีย่ ว (loneliness)  และสภาพจิตใจต่างๆ  ใน ผู้สูงอายุ  ซึ่งเป็นวิกฤติ  (crisis)  ที่พบได้ ในวัยผู้สูงอายุ  (Sandrin,  2015:459) ผูส้ งู อายุกเ็ ช่นเดียวกับบุคคลทุกวัย  ที่ จ� ำ ต้ อ งมี สุ ข ภาพหรื อ สุ ข ภาวะ  ซึ่ ง ในที่ นี้ หมายถึ ง ความสามารถในการผสมผสาน สภาพต่างๆ  ที่ตนเองก�ำลังเผชิญอยู่  ทั้ง สภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพตามอายุของวัย สภาพจิตใจต่างๆ  ทีเ่ ป็นผลกระทบจากการ เปลี่ ย นแปลงต่ า งๆ  สภาพสั ง คมรวมถึ ง สภาพแวดล้อมต่างๆ  ที่เปลี่ยนแปลง  และ สภาพจิตวิญญาณในฐานะที่เป็นวัยที่มองหา สิ่ ง ที่ เ ป็ น แก่ น แท้ ห รื อ ความหมายของการ ด�ำเนินชีวติ   หรือชีวติ หลังความตายทีย่ งิ่ ทีย่ งิ่ เข่มข้นมากยิง่ ขึน้   ซึง่ การผสมผสานมิตติ า่ งๆ เหล่านี้ในการสร้างสมดุล  (balance)  เพื่อ


สามารถทีจ่ ะด�ำเนินชีวติ ทีม่ สี ขุ ภาวะ  ส�ำหรับ ผู้สูงอายุบางคนที่ไม่สามารถที่แสวงหาหรือ สร้างความสมดุลในชีวิตได้  ก็น�ำไปสู่ความ สิน้ หวังในการด�ำเนินชีวติ   และอาจจะน�ำไป สู่การฆ่าตัวตาย  (suicide)  แต่ในผู้สูงอายุ บางคนมีความสามารถในการจัดการ  (coping)  กับความวิตกกังวลต่างๆ  ได้  และ สามารถด�ำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  และ ประสบความส� ำ เร็ จ ในการใช้ ชี วิ ต อย่ า งมี ความหมาย  ซึ่ ง สิ่ ง นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ น ่ า สนใจที่ นักจิตวิทยาเรียกว่าความยืดหยุ่นทางจิตใจ (resilience)  (Sandrin,  2015: 467) ความยืดหยุ่นหรือการปรับตัว  (resilience)  เป็นค�ำที่เริ่มใช้กบั การปรับตัวให้เข้า กับสภาพแวดล้อมด้านร่างกาย  เพื่อไม่ให้ เกิดการแตกหัก  ซึ่งทั้งวัตถุต่างๆ  และสัตว์ ต่างๆ  โดยธรรมชาติมีความสารถนี้เพื่อที่ ด�ำรงสืบเผ่าพันธุข์ องตน  แต่ในด้านจิตวิทยา หมายถึงปรากฏการณ์ของบุคคลที่แม้ว่าได้ ผ่านชีวิตแม้แต่ในความรุนแรง  ความโหด ร้ า ย  สงคราม  ความหวาดกลั ว ต่ า งๆ สามารถค้นพบความสมดุล  (balance)  ใน การด�ำเนินชีวติ ทีส่ งบสุขและอย่างมีความสุข ได้  เราอาจกล่าวได้วา่ ความยืดหยุน่   (resilience)  เป็นขบวนการด�ำเนินชีวิตในด้าน บวก  ในการแก้ ไ ขตนเอง  และแสวงหา ความก้าวหน้าในการด�ำเนินชีวติ   ท่ามกลาง วิ ก ฤติ ก ารณ์ แ ละปั ญ หาต่ า งๆ  ได้ อ ย่ า ง ประสพความส�ำเร็จ

ความยืดหยุ่นทางจิตใจ  (resilience) ไม่ได้หมายถึงการปฎิเสธปัญหา  หรือมอง ข้ามปัญหา  แต่บุคคลที่มีความยืดหยุ่นคือ บุ ค คลที่ ส ามารถเผชิ ญ กั บ ปั ญ หาที่ รุ น แรง และโดยอาศัยประสบการณ์ที่ร้ายแรงต่างๆ ในอดีตสามารถแสวงหาและค้นพบการเจริญ เติบโตก้าวหน้าของชีวิต  ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความเจริ ญ เติ บ โตก้ า วหน้ า ของชี วิ ต   ใน บริบทการเข้าใจถึงชีวติ แบบองค์รวมคือทัง้ มิติ ด้านร่างการ  จิตใจ  สังคม  และจิตวิญญาณ (Sandrin,  2015:468) เมื่ อ เรากล่ า วถึ ง ความยื ด หยุ ่ น ทาง จิตใจ  (resilience)  เรามิได้หมายถึงความ สามารถในการต่ อ สู ้ กั บ สถานการณ์ ห รื อ ปัญหาที่เป็นภัยอันตรายต่อตนเองเท่านั้น แต่ ร วมถึ ง ความสามารถในการก่ อ สร้ า ง ขบวนการอยู่ร่วมกับปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (creative)  ซึ่งเป็นการด�ำเนินชีวิตใหม่เชิง สร้างสรรค์  โดยผ่านทางประสบการณ์ร้าย แรง  และสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามใน อดีต  เป็นเครื่องมือในการสร้างขบวนการ ป้องกันตนเองให้สามารถด�ำเนินชีวติ เอาชนะ อุ ป สรรค์ แ ละด� ำ เนิ น ชี วิ ต ได้ อ ย่ า งมี ค วาม หมายและอย่างมีความสุข  ความยืดหยุ่น ทางจิตใจ  (resilience)  สามารถแบ่งได้ ออกเป็น  3  ระดับคือ  ระดับส่วนบุคคล ร ะ ดั บ ค ร อ บ ค รั ว   แ ล ะ ร ะ ดั บ สั ง ค ม (Sandrin,  2015:468)


ความยื ด หยุ ่ น ทางจิ ต ใจ  (resilience)  เป็นสิ่งที่มาจากดีเอ็นเอที่ถูกบันทึก ในยีนส์ของเรา  และความยืดหยุ่นนี้อาจลด น้อยถอยลงหรืออาจจะเจริญเติบโตก้าวหน้า ขึ้นก็ได้  ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม  การ อบรม  และทัศนคติ  ที่เราได้รับมาตั่งแต่วัย เด็ ก เรื่ อ ยมาตลอดช่ ว งชี วิ ต ของเรา  ใน ประสบการณ์ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อผู้อื่น หรือ  การขาดประสบการณ์เหล่านั้นก็ได้ ความยื ด หยุ ่ น ทางจิ ต ใจ  (resilience)  สามารถเกิดขึน้ ได้ในวัยผูส้ งู อายุโดย ผ่านทางผู้ปกป้อง  (resilience  guardian) ผู้สูงอายุเป็น ผู้ที่สามารถค้นพบความหมาย ใหม่ของการยึดติดกับสิง่ ต่างๆ  (attach)  ที่ ความยื ด หยุ ่ น ด้ า นจิ ต ใจช่ ว ยให้ ผู ้ สู ง อายุ สามารถเผชิญหน้ากับความโดดเดียว  ความ เศร้ า หมองได้   ผู ้ ป กป้ อ ง  (resilience guardian)  เหล่านีอ้ าจเป็นบุคคลทีผ่ สู้ งู อายุ ให้ความมัน่ ใจและความไว้วางใจ  ซึง่ อาจจะ เป็น  บุคคลในครอบครัว  เพือ่ น  ผูท้ ใี่ ห้การ ดู แ ลรั ก ษา  นั ก สั ง คมสงเคราะห์   นั ก จิตวิทยา  นักบวชชายหญิง  พระสงฆ์  หรือ บุคคลที่สามารถอยู่เคียงข้างให้การปลอบ ประโลมและความมั่ น ใจแก่ ผู ้ สู ง อายุ   ซึ่ ง บุคคลเหล่านีต้ อ้ งเป็นผูท้ มี่ คี วามเสียสละ  มี ความเห็นอกเห็นใจ  เมตตาสงสาร  นอกนัน้ 1

สภาพแวดล้อมด้านสังคมก็มีส่วนช่วยเหลือ ให้ผสู้ งู อายุสามารถปรับตัวมีความยืดหยุน่ ใน ชีวติ ได้  เช่น  สภาพสังคมทีผ่ สู้ งู อายุมคี วาม รู ้ สึ ก ถึ ง การมี ส ่ ว นร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ครอบครั ว   บุ ค คลต่ า งๆ  ที่ ผู ้ สู ง อายุ มี ปฎิสมั พันธ์ดว้ ยเป็นต้น  (Sandrin,  2015: 456) ผู ้ สู ง อายุ ใ นทั ศ นะของพระศาสนจั ก ร คาทอลิก พระศาสนาจั ก รคาทอลิ ก ให้ ค วาม ส� ำ คั ญ ต่ อ ผู ้ สู ง อายุ   ที่ เ ด่ น ชั ด ที่ สุ ด คื อ จดหมายของสมเด็จพระสันตะปาปานักบุญ ยอหน์  ปอลที ่ 2  ทีท่ รงเขียนถึงผูส้ งู อายุใน ป ี   ค . ศ . 1 9 9 9 1   ซึ่ ง เ ป ็ น ก า ร เ ต รี ย ม สหประชาชาติ ไ ด้ มี ม ติ ป ระกาศให้ เ ป็ น ปี ผู ้ สู ง อ า ยุ ส า ก ล ใ น ป ี ถั ด ไ ป   โ ด ย ที่ สหประชาชาติ ไ ด้ ป ระกาศหั ว ข้ อ ในวั น ผู้สูงอายุสรุปได้ว่า  “สังคมส�ำหรับคนทุกวัย คื อ สั ง คมที่ ไ ม่ ยึ ด ถื อ ผู ้ สู ง อายุ เ ป็ น เพี ย งแค่ บุคคลที่เกษียณแล้วและไม่แข็งแรง  ในทาง ตรงกันข้าม  กลับถือว่าพวกเขาเป็นตัวแทน และผู้รับประโยชน์จากการพัฒนา”  ดังนั้น สังคมส�ำหรับคนทุกวัยจึงเป็นสังคมของชน หลายรุ่นที่มุ่งมั่นสร้างเงื่อนไขของชีวิต  ให้ ผู้สูงอายุสามารถใช้ศักยภาพที่ตนมีอยู่ได้ อย่างเต็มที่

จดหมายฉบับนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยคณะอนุกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้สูงอายุ ในปี พ.ศ.2546 โดยใช้ซื่อหนังสือว่า พระศาสนจักรกับผู้สูงอายุ


ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล

ในจดหมายของสมเด็จพระสันตะปาปา นั ก บุ ญ ยอหน์   ปอลที่   2  ที่ ท รงเขี ย นถึ ง ผูส้ งู อายุ  สามารถสรุปได้ในประเด็นส�ำคัญๆ ดั ง นี้   ทรงเปรี ย บเที ย บวั น ผู ้ สู ง อายุ ว ่ า เป็น  “ฤดูใบไม้ร่วงของชีวิต”  ที่นักปราชญ์ กรีกชีเซโร่ได้เปรียบเทียบไว้  และพระองค์ ทรงเสริ ม ว่ า   “อย่ า งไรก็ ต าม  ในเวลา เดียวกันนัน้   มนุษย์ถกู แยกออกมาจากความ เป็นจริงอื่นๆ  ทั้งมวลที่อยู่รอบตัวเขา  เป็น เพราะเขาเป็นบุคคล  ทีถ่ กู สร้างตามรูปแบบ และภาพลั ก ษณ์ ข องพระเจ้ า   เป็ น ผู ้ ที่ มี มโนธรรมและความรับผิดชอบ  แม้กระทัง่ ใน มิ ติ จิ ต วิ ญ ญาณของเขาเหล่ า นั้ น ”  (พระ ศาสนจักรกับผู้สูงอายุ:  2003  หน้า  17) สมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอหน์ ปอลที่  2  ได้ทรงบรรยายถึงบุคคลที่เป็น ผูส้ งู อายุในพระคัมภีร ์ โดยเน้นว่าพระคัมภีร์ ให้ความส�ำคัญต่อชีวิตเพราะชีวิตทุกระยะ เวลาช่วงแต่ละวัยนั้นเป็นสิ่งดีและมีพันธกิจ เฉพาะของตน  พระองค์ทรงกล่าวถึงบุคคล ทีเ่ ป็นผูส้ งู อายุในพระคัมภีรท์ มี่ บี ทบาทส�ำคัญ ในพระวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง ความรอดของ มนุษยชาติ  บุคคลในพระคัมภีร์ภาคพันธ สั ญ ญาเดิ ม คื อ   อั บ ราฮั ม   นางซาราห์ โมเสส  โตเบีย  เอเลอาซาร์  และในพระ คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่คือ  เอลิซาเบธ เซคาริ ย าห์   ซี เ มออน  อั น นา  นิ โ กเดมั ส และนักบุญเปโตร  ซึง่ เป็นผูท้ ถี่ กู เลือกให้เป็น มรณสักขี

17

“ผู้พิทักษ์ความทรงจ�ำร่วมกัน”  เป็น หัวข้อที่พระองค์ทรงกล่าวถึง  โดยชี้ให้เห็น ความคิดของคนปัจจุบันว่า  “หากเราหยุด พิจรณาสถานการณ์ปจั จุบนั   เราจะเห็นว่าใน บรรดาประชาชาติบางส่วน  ผู้สูงอายุจะได้ รับการเคารพยกย่อง  ในขณะที่ประชาชาติ อื่นๆ  ไม่ค่อยมีการเคารพยกย่องกันเท่าไร นัก  ทั้งนี้เนื่องจากทัศนคติที่ให้ความส�ำคัญ แก่ผลประโยชน์  และความสามารถเป็นหลัก ทั ศ นะคติ ดั ง กล่ า วมั ก จะน� ำ ไปสู ่ ก ารดู ถู ก เหยียดหยามในช่วงปีท้ายๆ  ของชีวิต  ใน ขณะที่ผู้สูงอายุเองก็รู้สึกแปลกใจว่าชีวิตของ พวกเขายั ง มี คุ ณ ค่ า อยู ่ อี ก หรื อ ไม่ ?   (พระ ศาสนจักรกับผู้สูงอายุ:  2003  หน้า  23) “จงนั บ ถื อ บิ ด ามารดา”  เป็ น พระ บั ญ ญั ติ ที่ มี ค วามเป็ น สากล  และถ้ า บทบั ญ ญั ติ นี้ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ การปฎิ บั ติ อย่ า งซื่ อ สั ต ย์ แ ล้ ว   อั น ตรายจากการที่ ผู ้ สูงอายุจะถูกมองว่าไร้ประโยชน์  และเป็น ภาระที่ยุ่งยากก็จะมีเพียงเล็กน้อย  นอกนั้น พระองค์ทรงกล่าวเสริมว่า  ในประเทศที่ เศรษฐกิ จ มี ค วามเจริ ญ ก้ า วหน้ า กว่ า นั้ น จ�ำเป็นจะต้องมีการปรับเปลียนแนวโน้มที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน  เพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตยืนยาวด้วยศักดิ์ศรี โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่า  พวกเขาจะจบชีวิต โดยไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย  (พระศาสนจักรกับผู้สูงอายุ:  2003  หน้า  26)


18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 เราทุกคนคุ้นเคยกับแบบอย่างของผู้ สูงอายุที่ยังคงมีจิตใจสดใสอย่างวัยรุ่นและ เปี่ยมด้วยพลัง  ผู้ที่เข้ามาสัมผัสกับพวกเขา จะพบว่าค�ำพูดของพวกเขาเป็นแรงบันดาล ใจ  และแบบอย่างของพวกเขาเป็นบ่อเกิด ของความบรรเทาใจ  สังคมหลายๆ  สังคม... คุ้นเคยกับศักยภาพเต็มเปี่ยมของผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างถูกต้องว่า  “เป็น สารานุ ก รมแห่ ง ภู มิ ป ั ญ ญาที่ มี ชี วิ ต ”  เป็ น ผู้พิทักษ์ขุมทรัพย์ประสบการณ์ของมนุษย์ และจิ ต วิ ญ ญาณ  ที่ไม่สามารถค�ำนวนได้ ขณะที่พวกเขามีแนวโน้มต้องการความช่วย เหลือทางด้านกายภาพ  แต่ในความเป็นจริง เช่นเดียวกันทีว่ ยั สูงอายุของพวกเขาสามารถ ให้ค�ำแนะน�ำ  และการสนับสนุนช่วยให้คน รุน่ หนุม่ สาวเผชิญกับอนาคต  และเตรียมตัว ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งชีวิต  (พระศาสนจักรกับผู้สูงอายุ:  2003  หน้า  28) จดหมายปิดท้ายด้วยหัวข้อ  “ก�ำลังใจ ให้ด�ำเนินชีวิตอย่างสมบูรณ์”  พระองค์ทรง เขียนว่า  “ในขณะที่ข้าพเจ้าให้ก�ำลังใจท่าน แต่ละคนให้ด�ำเนินชีวิตด้วยความสงบ  ตาม วั น เวลาที่ พ ระเจ้ า ประทานให้ แ ก่ ท ่ า น ข้าพเจ้ารู้สึกว่าต้องแบ่งปันความรู้สึกของ ข้าพเจ้าเองในช่วงวาระนี้ของชีวิตข้าพเจ้า หลังจากระยะเวลากว่า  20  ปีที่ท�ำหน้าที่ บนบัลลังก์ของนักบุญเปโตร  ...  แม้ว่าจะมี ข้อจ�ำกัดที่เกิดมาจากอายุขัย  แต่ข้าพเจ้าก็ ยังชื่นชมชีวิต  ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงโมทนา คุ ณ พระเจ้ า   นั บ ว่ า เป็ น สิ่ ง ยอดเยี่ ย มที่

ข้ า พเจ้ า สามารถถวายตั ว เองจนถึ ง วาระ สุดท้าย  เพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้า” พระองค์ ท รงกล่ า วสรุ ป ในบทสุ ด ท้ า ยของ จดหมายว่า  “ในเวลาเดียวกัน  ข้าพเจ้าก็พบ สันติสุขในการคิดถึงวันเวลาเมื่อพระเจ้าจะ ทรงเรียกข้าพเจ้า  จากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิต หนึ่ง  (พระศาสนจักรกับผู้สูงอายุ:  2003 หน้า  37) ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผูส้ งู อายุ ความต้องการด้านจิตวิญญาณเป็นสิ่ง ทีผ่ อู้ ภิบาลให้ความสนใจมากขึน้ ในทุกช่วงวัย ของชีวิต  ความต้องการด้านจิตวิญญาณมัก แสดงออกมาได้ชดั เจนในผูท้ กี่ ำ� ลังเผชิญหน้า กับความตาย  เช่น  ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย หรื อ ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นวั น ที่ ต ้ อ งการแสวงหาความ หมายในการด�ำเนินชีวิต  ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง และเป็นโอกาสทีน่ ำ� ไปสูก่ ารพึง่ พึงผูอ้ นื่ อันสืบ เนือ่ งมาจากความพิการ  โดยเฉพาะอย่างยิง่ กลุม่ ผูส้ งู อายุทชี่ ว่ ยเหลือตัวเองได้บา้ งในช่วง อายุ   70  ปี ขึ้ น ไป  นั บ เป็ น กลุ ่ ม ที่ แ สดง ความต้องการด้านจิตวิญญาณออกมาได้งา่ ย ดั ง นั้ น ที่ บุ ค คลที่ อยู ่ เคี ยงข้ า งทุ ก คนควรให้ ความสนใจต่อความต้องการด้านจิตวิญญาณ นั้น  ซึ่งอาจแสดงออกมาเป็นค�ำถามง่ายๆ เช่น  ท�ำไมต้องเป็นฉันที่ต้องทุกข์ทรมาน ด้วย?  ชีวิตในช่วงบั้นปลายนี้มีความหมาย อะไร?  เมื่อตายแล้วจะไปไหน?  ฯลฯ


ปัจจุบนั มีผทู้ ไี่ ด้มคี วามพยายามค้นหา ความหมายของจิ ต วิ ญ ญาณ  Soravito (1984:  91)  ให้คำ� นิยามว่า  “จิตวิญญาณ หมายถึงประสบการณ์ทเี่ ป็นแก่นแท้ของชีวติ ของบุคคล  ที่รวมทั้งความส�ำเร็จ  ความผิด หวัง  ความสุขและความทุกข์  จิตวิญญาณ ยังหมายถึง  สิ่งที่เป็นภูมิหลัง  วัฒนธรรม ประสบการณ์ ด ้ า นการงาน  ด้ า นชี วิ ต ใน ครอบครัวและชีวิตสังคม  และรวมทั้งทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นหนึ่งของ บุคคล  และยังรวมถึงความสามารถในการ ตอบรับเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ  ที่ ผ่านเข้ามาในชีวิต” Mollier  A.  และ  Lecomte  C. (1990:7)  เล็ ง เห็ น ความส� ำ คั ญ ของจิ ต วิญญาณในผู้ที่ก�ำลังเผชิญหน้ากับความตาย และให้ค�ำนิยามความหมายของจิตวิญญาณ ว่า  “จิตวิญญาณเป็นสถานที่เฉพาะที่มีใน แต่ ล ะบุ ค คล  ที่ เ ราไม่ ส ามารถก� ำ หนด ต�ำแหน่งของสถานทีด่ งั กล่าวได้  ซึง่ ในสถาน ที่ ดั ง กล่ า วบุ ค คลสามารถตั้ ง ค� ำ ถามหรื อ สนทนาเกีย่ วกับแก่นแท้ของชีวติ   และความ หมายของชีวิตในโลกนี้ได้ว่าชีวิตที่เกิดมามี ความหมายอะไร?  ซึ่งเป็นค�ำถามที่บุคคล ต้องแสวงหาค�ำตอบในช่วงที่ชีวิตของตนเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความหมายของ ชีวิตที่มีความส�ำคัญส�ำหรับมนุษย์  ในช่วงที่ ชีวิตประสบวิกฤตในการเผชิญหน้ากับความ ตาย”

ค�ำนิยามความหมายของจิตวิญญาณ ดั ง กล่ า วมาข้ า งต้ น   ซึ่ ง เป็ น การเน้ น การ แสวงหาความหมายของชีวิต  การค้นพบ คุณค่าของการด�ำเนินชีวิต  และความส�ำเร็จ ในการเป็นตัวของตนเอง  ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกิด มาจากศาสนา  แม้วา่ ศาสนาจะมีอทิ ธิพลอยู่ อย่างมากในการแสวงหาความหมายของชีวติ ก็ตาม  Jung  (1933)  กล่าวถึงจิตวิญญาณ ประเภทเดียวกันนี้ว่า  “จากบรรดาผู้ป่วยใน ช่วงที่สองของชีวิต  กล่าวคือผู้ป่วยที่มีอายุ เกิน  35  ปีขนึ้ ไป  ไม่มปี ญ ั หาอะไรทีค่ น้ พบ ในพวกเขาที่ เป็ น ปั ญ หาที่ แยกตั วต่ า งหาก โดยไม่ เ กี่ ยวกั บมิ ติ ค วามเชื่ อ ของศาสนาที่ ตนเองเชื่อเกี่ยวกับชีวิตของตน  ซึ่งอาจจะ เกี่ ย วกั บ ความเชื่ อ ของตนตามลั ท ธิ ต ่ า งๆ หรือความเชื่อของตนที่มีต่อศาสนา” Brusco  การตระหนักถึงความต้อง การด้านจิตวิญญาณในความเชื่อของศาสนา เป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการอภิบาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในผู้ป่วยระยะสุดท้าย  จิตวิญญาณ ในที่นี้หมายถึง  “การแสวงหาความหมาย ของชีวติ   การแสวงหาความหมายของคุณค่า การมุ ่ ง สู ่ สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ   ซึ่ ง มี อ ยู ่ ใ น ศาสนา  แต่ไม่จ�ำเป็นว่าต้องเกิดมากจาก ศาสนา  และมีอยู่เฉพาะในศาสนาแต่เพียง อย่างเดียวเท่านั้น”  และยังกล่าวอย่างน่า สนใจว่า  “เมื่อใดที่จิตวิญญาณที่แสวงหา ความหมายและคุณค่าของชีวติ   สามารถค้น พบบ่อเกิดและค�ำตอบที่ส�ำคัญต่อปัญหาดัง


กล่าว  และที่ตรงตามความเชื่อหรือความ ศรัทธาของศาสนา  ซึง่ มีระบบการแสดงออก ของความเชื่อที่เฉพาะเจาะจงแล้ว  มนุษย์ก็ จะสามารถค้นพบความหมายของชีวิต  ใน รูปแบบการแสดงออกมาภายนอกของศาสนา เช่น  พิธีกรรม  สัญญาลักษณ์  หรือความ เชื่ อ ถึ ง ผู ้ ที่ เ ป็ น คนกลางระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ พระเจ้า  เราก็สามารถกล่าวถึงจิตวิญญาณ ของแต่ละศาสนาได้  เช่น  จิตวิญญาณของ คริสตศาสนา  จิตวิญญาณของพุทธศาสนา จิตวิญญาณของศาสนาอิสราม  ตามระบบ การแสดงความเชื่อของแต่ละศาสนา” ดังนั้น  จิตวิญญาณของมนุษย์จึงเป็น มิติที่มีลักษณะเป็นแก่นแท้แห่งความเป็น บุคคล  ที่ชี้น�ำมิติอื่นๆ  และท�ำให้มิติอื่นๆ ของมนุษย์  เช่น  ร่างกาย  จิตใจ  มุง่ ตรงไป สู่การเป็นตัวของตนเอง  (self-realization) ในฐานะที่เป็นอยู่อย่างแท้จริง  ซึ่งสามารถ บรรลุถึงการเป็นบุคคลอย่างแท้จริงได้  โดย จากการแสวงหาความหมายของชี วิ ต   ที่ ตนเองก� ำ ลั ง ด� ำ เนิ น อยู ่   ซึ่ ง เป็ น ความ พยายามที่ จ ะกล่ า วถึ ง ความหมายของจิ ต วิญญาณของมนุษย์  ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ที่ยังไม่มีความเชื่อและผู้ที่มีความเชื่อหรือ ความศรัทธาของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง แนวทางการอภิบาลผู้สูงอายุ ความต้ อ งการด้ า นจิ ต วิ ญ ญาณมั ก แสดงออกอย่างชัดเจนในผู้ที่ก�ำลังเผชิญกับ

ความตาย  ผู้สูงอายุในแต่ละระดับของช่วง วัยแห่งชีวติ   โดยเฉพาะอย่างยิง่   ผูท้ กี่ ำ� ลังที่ พึ่งพาตนเองได้บ้างมักแสดงออกซึ่งความ ต้องการด้านจิตวิญญาณเป็นพิเศษ  ดังนั้น แนวทางการอภิบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึง สามารถประยุกต์ใช้ในการอภิบาลผูส้ งู อายุใน ช่วงวัยดังกล่าวได้  (เชิดชัย  2547:42-49) ซึ่งการอภิบาลเป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อน เป็นอย่างมาก  ดังนั้น  แนวทางปฏิบัติใน การอภิบาลผู้สูงอายุ  จึงต้องการความเสีย สละอย่างมาก  การให้การอภิบาลจึงมีทั้ง ลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  เพราะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทั้งใน ด้านสติปญ ั ญาและจิตใจ  กล่าวคือ  ต้องการ ความพร้ อ มทั้ ง ในด้ า นบุ ค ลิ ก ลั ก ษณะของ ผู้อภิบาล  ความรู้ความเข้าใจ  และความ สามารถในการอภิบาลด้วย  โดยแนวทางใน การอภิบาลด้านจิตวิญญาณต้องการความ ร่วมมือในการเดินทางไปด้วยกันทัง้   2  ฝ่าย ทั้ ง ในส่ ว นของผู ้ สู ง อายุ เ องและผู ้ ใ ห้ ก าร อภิบาล  ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติที่ส�ำคัญๆ นั้นสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ การเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณของตนเอง ที่มั่นคงหนักแน่น  ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีความ ส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับบุคคลที่ท�ำหน้าที่เป็น ผูอ้ ภิบาล  โดยก่อนทีจ่ ะท�ำหน้าทีก่ ารอภิบาล ผูอ้ นื่ ตนเองต้องเป็นผูท้ มี่ จี ติ วิญญาณทีม่ นั่ คง เสียก่อน  ความมั่นใจในการแสดงออกว่า ตนเองเป็น ผู้ที่มีจิตวิญญาณที่มีความมั่นคง


ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล

หนักแน่น  สามารถท�ำให้ผู้สูงอายุ  มีความ รู ้ สึ ก สั ม ผั ส ถึ ง เสรี ภ าพภายใน  (interior freedom)  ของตนเอง  ซึ่งเสรีภาพภายใน เป็ น สิ่ ง ที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ การเปิ ด เผยความ ต้องการด้านจิตวิญญาณออกมาภายนอก และหลีกเลี่ยงการปิดกันตนเองของผู้ป่วย Rumbold  (1986:57-58)  ได้กล่าว อย่างถูกต้องว่า  การอภิบาลด้านจิตวิญญาณ ผู ้ ป ่ ว ยในระยะสุ ด ท้ า ยที่ ถู ก ต้ อ งนั้ น   ไม่ สามารถเริม่ ต้นจากผูท้ ยี่ งั ไม่มคี วามมัน่ คงใน วุฒิภาวะด้านจิตวิญญาณ  และเป็นต้นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณค่าเป็นของตนเองได้  ซึ่งการ แสดงออกคุณค่าของชีวติ ทีต่ นเองมี  อาจจะ แสดงออกมาในรูปของการให้คำ� อธิบายความ หมายของความทุ ก ข์ ท รมานของชี วิ ต มาตรการที่ตนเองใช้เมื่อเผชิญหน้ากับความ ตาย  และการเป็น ผู้ที่มีความหวัง  เป็นต้น และยังกล่าวว่าผูอ้ ภิบาลทีไ่ ม่มคี วามมัน่ คงใน จิตวิญญาณของตนเอง  ไม่สามารถท�ำให้ ผูอ้ นื่ ปิดตนเองออกและรับรูเ้ รือ่ งจิตวิญญาณ ของตนเองได้  แต่ในทางกลับกัน  จะท�ำให้ ผูอ้ นื่ นัน้ ปฏิเสธ  และละเลยชีวติ จิตวิญญาณ ของตนเอง Odier  (1990:35)  นักสอนศาสนา ชาวสวิสเซอร์แลนด์กล่าวอย่างหน้าสนใจ ว่า  “เพื่อที่จะสามารถเป็น ผู้ที่อยู่เคียงข้าง ผู ้ ป ่ ว ยหนั ก ในเรื่ อ งของจิ ต วิ ญ ญาณ  เรา จ�ำเป็นต้องให้ความสนใจต่อความต้องการใน ด้ า นต่ า งๆ  ของเราเสี ย ก่ อ น  เราต้ อ ง

21

พยายามที่ จ ะเข้ า ใจส่ ว นที่ ลึ ก ซึ่ ง ในจิ ต วิญญาณของตนเองก่อน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ท�ำให้ เรามีพลังในการก้าวไปข้างหน้า  เราจ�ำเป็น ต้องเอาจริงเอาจังและให้ความส�ำคัญในจิต วิญญาณของตนเองก่อน  เพื่อที่จะสามารถ ยอมรับรูปแบบต่างๆ  ของความต้องการ ด้านจิตวิญญาณของผูอ้ นื่ ทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั ได้  และสามารถช่วยให้ผปู้ ว่ ยสามารถค้นพบ ส่วนที่ลึกซึ่งที่สุดในชีวิตของตนเองได้  ทีม สุขภาพไม่สามารถเป็น ผู้ที่หยิบยื่นคุณค่าให้ ผู้ป่วยได้  แต่ทีมสุขภาพต้องท�ำหน้าที่อยู่ เคียงข้างจนผู้ป่วยสามารถค้นพบคุณค่านั้น เองได้  ซึง่ เป็นตัวจักรทีผ่ ลักดันทีท่ ำ� ให้กา้ วไป ข้างหน้าได้  และไม่ว่าใครจะเรียกชื่อสิ่งนี้ว่า อะไร  แต่ส�ำหรับข้าพเจ้า  สิ่งนี้คือองค์พระ จิตเจ้า  ซึ่งเป็นบ่อเกิดของชีวิต” ดังนั้น  ผู้ให้การอภิบาลต้องเป็นผู้ที่มี จิตวิญญาณที่มั่นคงและหนักแน่น  และยึด มั่นต่อคุณค่าต่างๆ  ที่ให้ความหมายแก่ชีวติ ของตนเอง  มีความมั่นคงต่อคุณค่าต่างๆ ที่ให้ความหมายต่อชีวิตที่ก�ำลังเผชิญความ ทุกข์ทรมานและความตาย  และเมื่อทั้งผู้ สูงอายุและผูอ้ ภิบาลมีสงิ่ นีแ้ ล้ว  เขาทัง้ สองก็ สามารถเป็นผูท้ อี่ ยูเ่ คียงข้าง  หรือเดินทางไป ข้างหน้าด้วยกัน การตระหนักว่าบุคคลเป็นผู้ที่ลึกลับ การให้การดูแลรักษาพยาบาลในปัจจุบันที่ แนวโน้มทีจ่ ะแบ่งแยกบุคคลออกเป็นส่วนต่างๆ และพยายามทีจ่ ะรักษาพยาบาลบุคคลซึง่ ให้


22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 ความสนใจบุคคลในด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะ อย่าง  โดยอาศัยผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะทาง  แต่ วิธีการรักษาพยาบาลที่เราเลือกใช้เป็นวิธี แบบองค์ ร วม  ซึ่ ง เป็ นวิ ธี ก ารที่ ใ ช้ ใ นการ ให้การรักษาพยาบาล  ที่ไม่ใช่เป็นการสนใจ บุคคลเฉพาะในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่ เข้าใจบุคคลในมิติรวมแห่งความเป็นมนุษย์ ทั้งครบ  ซึ่งวิธีการดังกล่าวท�ำให้เราเข้าใจ และตระหนักว่าบุคคลเป็น ผู้ที่ลึกลับ  ที่เรา ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างหมดเปลือก  กล่าว คือบุคคลเป็นความเป็นจริงทีม่ คี วามซับซ้อน เกินกว่าวิธกี ารคิดของเราทีม่ ขี อบเขตจ�ำกัดที่ จะเข้าใจได้  เราไม่สามารถใช้วธิ กี ารคิดทีเ่ รา มีอยู่เข้าใจธรรมชาติที่ลึกลับของบุคคลได้ ทั้ ง หมดได้   เพราะวิ ธี ก ารคิ ด ของเรามี ขอบเขตจ� ำ กั ด   และจากคุ ณ ลั ก ษณะของ บุคคลที่มีความลึกลับดังกล่าว  ผู้สูงอายุใน ฐานะที่เป็นบุคคลก็เช่นเดียวกัน  เป็น ผู้ที่มี คุ ณ ค่ า ต่ า งๆ  ที่ เ ราไม่ ส ามารถเข้ า ใจได้ ทั้ ง หมด  ดั ง นั้ น เราจึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งให้ ก าร เคารพต่อคุณค่าและศักดิศ์ รีของแต่ละบุคคล อย่างที่เขาเป็น การรับฟังค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับจิต วิญญาณ  ค�ำถามของผูส้ งู อายุทเี่ กีย่ วข้องกับ จิตวิญญาณ  สามารถแสดงออกได้หลายรูป แบบ  ทั้งทางตรงและทางอ้อม  หรือผ่าน ทางสัญญาลักษณ์ต่างๆ  ผู้อภิบาลจ�ำต้อง รูจ้ กั รับฟังและแยกแยะความต้องการด้านจิต วิ ญ ญาณของผู ้ สู ง อายุ   ตั ว อย่ า ง  สั ญ ญา

ลักษณ์หรือค�ำสนทนาทีผ่ สู้ งู อายุตอ้ งการเอ่ย ถึงเรือ่ งจิตวิญญาณของตนเอง  เช่น  ไม่รวู้ า่ จะมีชวี ติ อยูไ่ ปท�ำไม?  อยากจะตายให้รแู้ ล้ว รู้รอดไปเสียที  ท�ำไมพระเจ้าปล่อยให้ทน ทุกข์ทรมานอย่างนี ้ ชีวติ นีไ้ ม่รวู้ า่ ท�ำเวรกรรม อะไรเอาไว้  ถ้าชาติหน้ามีจริงไม่ขอเกิดมาอีก แล้ว ข้ อ เรี ย กร้ อ งของผู ้ ป ่ ว ยในด้ า นจิ ต วิ ญ ญาณเป็ น ข้ อ เรี ย กร้ อ งของความเป็ น บุคคล  การแยกแยะระหว่างความต้องการ ด้านจิตวิญญาณ  ในสังคมที่มีความหลาย หลาก  ที่แต่ละบุคคลมีความหลายหลาก ด้านความเชือ่   ความศรัทธาในแต่ละศาสนา อุดมคติ  และแนวความคิดทีไ่ ม่นบั ถือศาสนา ดังนัน้   การอภิบาลในสถานการณ์เช่นนี ้ เรา ไม่ควรจ�ำกัดการอภิบาลด้านจิตวิญญาณเป็น เพียงเฉพาะการให้บริการด้านศาสนา  หรือ จารีตพิธีกรรม  ตามความเชื่อความศรัทธา ของเขา  เช่น  การโปรดศีลเจิมคนไข้  การ ส่ ง ศี ล มหาสนิ ท   การโปรดศี ล กลั บ คื น ดี เท่านั้น  แต่ควรให้ความสนใจในความเป็น บุคคลที่บุคคลนั้นเป็น ผู้ที่มีศักดิ์ศรี  ที่ต้อง เคารพในความเป็นบุคคลทั้งครบ จงแสวงหากรอบและบริ บ ทที่ ผู ้ สู ง อายุตอ้ งการทีจ่ ะกล่าวเกีย่ วกับจิตวิญญาณ ของตนเอง  ถ้าหากว่ามนุษย์ทุกคนมีความ ต้องการด้านจิตวิญญาณ  แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ ต้องการที่จะแสดงความต้องการดังกล่าว ออกมา  และในบรรดาผู้ที่อยากที่จะเอ่ยถึง


ความต้องการด้านจิตวิญญาณ  ก็ไม่ใช่ทกุ คน ที่อยากจะกล่าวถึงในบริบทของความเชื่อ และความศรัทธาของศาสนา  เพียงแต่ว่า พวกเขามีความต้องการทีจ่ ะพูดระบายความ ในใจนัน้ ออกมาให้คนบางคนรับทราบเท่านัน้ ซึ่งบุคคลผู้นั้นอาจจะเป็นใครคนใดคนหนึ่ง หรือเป็น ผู้ที่ท�ำงานในด้านสุขภาพที่อยู่เคียง ข้างก็ได้  ดังนั้น  จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีความ พร้อมของผู้ที่ท�ำงานในด้านสุขภาพ  ในการ ทีจ่ ะต้องเข้าใจความต้องการด้านจิตวิญญาณ ในขณะที่แสดงออกมา  ซึ่งต้องการจากทุก คนที่ มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบในการที่ จ ะรั บ ฟั ง ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ จงให้ ก ารเคารพจั ง หวะชี วิ ต   ในผู ้ สูงอายุก�ำลังอยู่ในระยะสุดท้าย  เป็นสภาพ ทีต่ อ้ งการความหวังในการด�ำเนินชีวติ ทีเ่ หลือ อยู ่   ความหวั ง มี บ ทบาทที่ ส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง ค� ำ พู ด และวาจาที่ ใ ห้ ค วามหวั ง จากผู ้ ที่ อ ยู ่ เคียงข้างสามารถท�ำให้ผู้ป่วยด�ำเนินชีวิตที่ เหลือและพร้อมทีจ่ ะเผชิญหน้ากับความตาย ได้  E.  Kübler-Ross  (1979:45)  กล่าว เกี่ยวกับความหวังของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ว่า  “มีความหวังอยู ่ 2  ประเภท  ทีเ่ ราต้อง รู้จักแยกแยะ  ในขณะที่ผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ระยะ สุดท้าย  ผูป้ ว่ ยมีความหวังทีเ่ กีย่ วข้องกับการ รักษาพยาบาล  เช่น  หวังว่าจะหายจากการ รักษา  หวังว่าจะมีชีวิตยืนยาวขึ้น  ซึ่งเป็น ความหวังที่มีอยู่ทั้งในคนป่วยเอง  ญาติของ ผูป้ ว่ ย  และทีมสุขภาพ  แต่เมือ่ ความหวังดัง

กล่าวไม่มโี อกาสทีจ่ ะเป็นไปได้  ความหวังใน ผู้ ป่วยก็จะเปลี่ยนรูปแบบไป  ที่ไม่ใช้เป็น ความหวังที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอีกต่อไป ความหวังประเภทที่สอง  ที่มีอยู่ในช่วงเวลา สั้ น ๆ  เป็ น ความหวั ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ชี วิ ต หลังความตาย  หรือเกี่ยวกับบุคคลบุคคลที่ ผู้ป่วยจะลาจากไป  ตัวอย่างเช่น  มารดาที่ ใกล้เสียชีวิต  มีความหวังว่าลูกๆ  ของเธอ สามารถดูแลตนเองได้  หรือผู้ป่วยที่มีความ เชื่อในศาสนาหวังว่า  พระเจ้าจะทรงมารับ วิ ญ ญาณสู ่ ส รวงสวรรค์   ดั ง นั้ น จึ ง เป็ น สิ่ ง จ�ำเป็นที่จะต้องรับฟังและให้ก�ำลังใจผู้ป่วย เพื่อจะได้มีความหวัง” ดั ง นั้ น   จงให้ เ วลาที่ เ หมาะสมและ เคารพจังหวะชีวติ ของผูส้ งู อายุ  อย่าท�ำอะไร แบบเร่งรีบ  เช่น  การตอบค�ำถามผู้สูงอายุ แบบเร่งรีบ  การตัดสินความผิด  หรือการให้ ก�ำลังใจแบบเร่งรีบ  อาจจะก่อให้เกิดความ วิตกกังวลในผูป้ ว่ ยมากกว่าทีจ่ ะเป็นผลดี  จึง ต้องให้เวลากับผูส้ งู อายุจนท่านมีความพร้อม ที่ จ ะกล่ า วถึ ง เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความ ต้องการด้านจิตวิญญาณของตน จงสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ ผู้สูงอายุ  การเดินทางอยู่โดดเดี่ยวในความ ทุกข์หรือในความมืดเป็นสิง่ ทีน่ า่ กลัว  ดังนัน้ ความความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและผู้ที่ ท�ำหน้าที่อภิบาลจึงเป็นสิ่งที่มีความส�ำคัญ อย่างยิง่   ต่อการอภิบาลด้านจิตวิญญาณของ ผู้สูงอายุ  ในปัจจุบันวิธีการและแนวทางใน


การให้ค�ำปรึกษาที่ใช้จิตวิทยาได้พัฒนาขึ้น เป็นอย่างมากในการสร้างความใกล้ชิดกับ ผู้สูงอายุ  เช่น  ลักษณะหรือท่าทีที่ช่วยใน การสร้างความสัมพันธ์  เช่น  ท่าที่ในการ พร้ อ มที่ จ ะรั บ ฟั ง   ท่ า ที แ ห่ ง ความเมตตา สงสาร  ท่าทีเป็นผูท้ มี่ องชีวติ และมองโลกใน แง่บวก ในการอยู่เคียงข้างผู้สูงอายุในระยะ สุ ด ท้ า ย  ท่ า ที เ ป็ น ผู ้ ที่ พ ร้ อ มที่ จ ะรั บ ฟั ง มี ความส�ำคัญอย่างมาก  ในการใช้เป็นวิธที เี่ ข้า ถึงความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย การรับฟังที่เหมาะสมสามารถป้องกันไม่ให้ ตอบค�ำตอบล่วงหน้า  ก่อนที่ผู้สูงอายุเริ่มที่ จะเอ่ยถึงค�ำถามเรื่องจิตวิญญาณ  และใน ขณะเดียวกันก็เป็นพยานทีบ่ ง่ บอกว่ามีผปู้ ว่ ย เป็นจุดศูนย์กลางทีส่ ำ� คัญทีเ่ ป็นผูท้ มี่ สี ว่ นร่วม ด้ ว ย  Catalan  (1994:154)  กล่ า วย�้ ำ ว่า  “การอยู่เคียงข้างไม่ได้หมายถึงการเป็น ผูน้ ำ� ทางพาให้เดินตาม  แต่เป็นผูท้ ชี่ ว่ ยให้เขา ค้นพบหนทาง  สนับสนุนเขาในการเดินทาง ให้ความกระจ่างในสิ่งที่ยังมืดมน  บางครั้ง อาจจะชี้แนะแนวทางให้เท่านั้น  และไม่ท�ำ อะไรนอกเหนือมากไปกว่านี้” จงช่ ว ยให้ ผู ้ สู ง อายุ ส ามารถใช้ ทรัพยากรภายในให้เป็นประโยชน์  ผูส้ งู อายุ ทุ ก คนมี ค วามสามารถหรื อ สมรรถภาพ ภายในต่างๆ  เช่น  บุคลิกภาพ  พลังจิต ทั ศ นะคติ ต ่ า งๆ  และประสบการณ์ ส ่ ว น บุ ค คล  ที่ ส ามารถใช้ ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ

ตนเอง  บ่อยๆ  สมรรถภาพเหล่านีท้ ซ่ี อ่ นอยู่ ในผู้สูงอายุและถูกละเลยไป  ซึ่งอาจจะเป็น เพราะความไม่ร ู้ หรือความหวาดกลัวเพราะ ความเจ็ บ ป่ ว ยปิ ด กั้ น เอาไว้   ทรั พ ยากร ภายในที่มีอยู่ในผู้สูงอายุนี้อาจเป็นคุณค่า ความเป็นมนุษย์  ส�ำหรับผูท้ ไี่ ม่มศี าสนา  จิต วิญญาณ  หรือความเชื่อความศรัทธาของ ศาสนาก็ ไ ด้   ซึ่ ง อาจจะใช้ สั ญ ญาลั ก ษณ์ ภายนอกที่สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถ แสดงสมรรถภาพภายในออกมา  เช่น  พระ วาจาทีท่ รงชีวติ จากพระคัมภีร ์ เครือ่ งหมาย แห่งกางเขน  สายปะค�ำ  หนังสือบ�ำรุงความ ศรัทธา  หนังสือธรรมมะ  หรือค�ำเทศนาของ พระภิกษุสงฆ์ จงช่ ว ยให้ ผู ้ สู ง อายุ ส ามารถค้ น พบ ตนเองที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดความสุขแท้  ผู้ สูงอายุทุกคนมีความปรารถนาที่จะค้นพบ ความสุขเที่ยงแท้ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสุดท้าย ของมนุ ษ ย์ ทุ ก คน  ความสุ ข แท้ น้ี ส ามารถ เข้ า ใจได้ ใ นบริ บ ทของศาสนาต่ า งๆ  เช่ น ส�ำหรับคริสตศาสนาเข้าใจความ  สุขแท้คือ การได้พรพระเจ้าแบบหน้าต่อหน้า  ส�ำหรับ พุทธศาสนา  ความสุขแท้คอื นิพาน  ส�ำหรับ ศาสนาอิ ส ลามความสุ ข แท้ คื อ การเข้ า สู ่ สวรรค์กับพระเจ้า  ส�ำหรับผู้ที่ไม่มีศาสนา ความสุขแท้  คือการความสุขสุดท้ายที่ได้รับ ในความส�ำเร็จแห่งการเป็นมนุษย์ทั้งครบซึ่ง มีลักษณะของศีลธรรมด้วย  เป็นต้น


ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล

สรุป ปัญหาของการเข้าสู่วัยชรามีมากมาย ซึ่งการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เป็นการเดินเข้าไป หยิบยืน่ ความช่วยเหลือให้แก่ผสู้ งู อายุเท่านัน้ แต่เป็นการสร้างสถานะสภาพแวดล้อมที่ เอื่ อ อ� ำ นวยให้ ผู ้ สู ง อายุ ส ามารถมองเห็ น ตนเองภายในด้ ว ยตนเอง  โดยการรั บ ฟั ง เดินเคียงข้างเพือ่ ให้ผสู้ งู อายุสามารถใช้ความ สามารถทีต่ นเองมีอยูส่ ร้างสมดุลในชีวติ ด้วย ตนเอง  ซึง่ สภาพแวดล้อมต่างๆ  นัน้ รวมถึง มิติด้านจิตวิญาณด้วย  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ง่าย

25

และเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทาย  เพราะเราเมือ่ กล่าวถึง ผู้สูงอายุ  มักจะมีทัศนะคติที่ปฎิเสธที่มีต่อ ไม่เพียงแต่บุคคลผู้สูงอายุเท่านั้น  และรวม ถึงความความชราภาพที่ที่ละเล็กที่ละน้อยมี อยู่ในตัวของเราแต่ละคนด้วย  การให้ความ ช่วยเหลือผู้สุงอายุคือการยอมรับถึงความ เป็นผูส้ งู อายุทอี่ ยูภ่ ายในตัวเราเช่นกัน  ทีเ่ รา ยอมรับถึงความเปราะบางและความเสื่อม ซึง่ เป็นเครือ่ งมือในการรักษาเรา  ซึง่ เป็นภาพ ลักษณ์ที่มีคุณค่าในการยอมรับสภาพที่แท้ จริงภายในตัวเรา  เช่นกัน

บรรณานุกรม คณะอนุกรรมการคาทอลิกเพือ่ ผูส้ งู อายุ.  พระศาสนจักรกับผูส้ งู อายุ.  ยานนาวา:  กรุงเทพฯ, 2003. เชิ ด ชั ย   เลิ ศ จิ ต รเลขา.  “ความต้ อ งการและการอภิ บ าลด้ า นจิ ต วิ ญ ญาณในผู ้ สู ง อายุ ที่ใกล้ตาย.”  รวบรวมองค์ความรู้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย.  โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก:  กรุงเทพฯ.  2507,  30–51. เชิ ด ชั ย   เลิ ศ จิ ต รเลขา.  “มนุ ษ ย์ บุ ค คลที่ แ สวงหาความหมายแห่ ง ชี วิ ต .”  แสงธรรม ปริทัศน์  34,  3  (2553,  กันยายน–ธันวาคม),  61–84. ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ .   “การจั ด การระบบ การดูแลและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย.”  วรสารเศรษฐกิจและ สังคม  52,  3  (2558,  กรกฎาคม–กันยายน),  17–25.


26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 American  Psychology  Association.  [Online].  Availble:https://www.apa.org/pi/ aging/resources/guides/aging.pdf.  [n.d.].  Retrieved  November  14,  2016. Bumbold,  B.  Helplessness  and  hope:  pastoral  care  in  terminal  illness. London,  SCM  Press  LTD,  1986. Brusco,  A.  “L’accompagnamento  spirituale  del  morente”.  Camillianum. (13)  1986,  25-59. Catalan,  J.F.  Esperienza  spirituale  e  psicologia,  San  Paolo,  Cinisello Balsamo  (MI),  1994. Cina`,  G.  La  persona  anziana  nella  communita`  cristiana:  una  propettiva telogica.  Camillianum.  (45)  2015,  597–627. De  Henzenel,  M.  and  Montigny,  J.  L’amour  ultime:  L’accompagne-ment des  mourant.  Paris:  Hatier,  1987. Frankl,  E.  V.  Man’s  Search  for  Meaning.  New  York:  A  Touchstone Book,  1959. John,  Paul  II.  Letter  of  his  Holiness  Pope  John  Paul  II  to  the  Elderly,  1959. Jung,  C.  Modern  man  in  search  of  soul.  New  York:  Brace  and  World inc.,  1933. Kübler-Ross,  E.  On  Death  and  Dying.  London:  Tavistock  Publica tions,  1979. Mollier,  A.  and  Lecomte,  C.  “Quelques  enjeux  autour  de  la  notion de  spiritualita”,  in:  JAMALV,  (22),  1990. Odier,  C.  “L’accompagnement  spirituel-  Les  besoins  desma dades  dans  la  pratique  quotidienne”,  in:  JALMALV.  (22),  35-40, 1990. Sandrin,  L.  Psychologia  del  malato.  Comprendere  la  sofferenza, accompagnare  la  speranza.  EDB:  Bologna,  2015. Sandrin,  L.  “La  Psicologia  dell’invecchiamento”.  Camillianum. (45),  2015,  455–470.


ผู้สูงอายุ: ความต้องการด้านจิตวิญญาณและการอภิบาล

27

Soravito,  L.  “Educare  alla  spiritualita”.  Credere  oggi  (22/4),  1984,  91-98. The  Australian  Psychological  Society  Ltd.  (2000)  Psychology  and  Ageing. “A  position  paper  prepared  for  the  Australian  Psychology  Society.” [Online].  Availble:https://www.psychology.org.au/Assets/Files/Position-Paper Ageing.pdf.  [n.d.].  Retrieved  November  14,  2016.


บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, C.S.S. ความแก่ชราเป็นเรื่องหนึ่งที่มนุษย์เรา ไม่ต้องการ  จึงไม่มีใครอยากแก่  และออก จะกลัวๆ  ทีจ่ ะแก่ชราเสียด้วย  ความแก่ชรา มีมิติที่น่าสะพรึงกลัวอยู่หลายประการด้วย กัน  ไม่วา่ จะเป็นการมีโอกาสทีจ่ ะเจ็บป่วยได้ ง่าย  พละก�ำลังก็เริ่มถดถอยลง  ทั้งยังรู้สึก ว่ า ตั ว เองไม่ ค ่ อ ยจะมี ป ระโยชน์ เ ท่ า ไรนั ก เพื่อนสนิทมิตรสหายก็เริ่มลดน้อยลงเนื่อง จากค่อยๆ  ล้มหายตายจากกันไป  มีความ รู้สึกว่าความตายเข้ามาใกล้ตัวเองมากขึ้น แล้ว  เริม่ รูส้ กึ โดดเดีย่ วอ้างว้างและรูส้ กึ ว่าถูก ทอดทิ้งจากลูกหลานอันมีเหตุมาจากแต่ละ

คนต้องวุ่นอยู่กับงานประจ�ำที่ต้องท�ำ  และ บ่อยครั้งก็เผชิญกับปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ ด้วย  คือ  รายรับไม่พอกับรายจ่าย  เป็นต้น ในประเทศจีน  คนแก่ชราหรือคนสูง อายุได้รับการเคารพและการเอาใจใส่ดูแล อย่างดีมากกว่าประเทศอืน่ ๆ  ในโลก  นีเ่ ป็น เรื่องที่น่ายกย่องมากทีเดียว  ว่ากันว่า  ที่ มหานครช่างไห่หรือเซี่ยงไฮ้  เมืองที่ใหญ่ติด อันดับหนึ่งในห้าของโลก  มีบ้านพักส�ำหรับ ผู้สูงอายุน้อยมาก  เหตุเพราะผู้สูงอายุส่วน ใหญ่ ยั ง คงพั ก อยู ่ กั บ ลู ก หลานของตน  นี่ หมายความว่า  ลูกๆ  หลานๆ  ยังคงให้

บาทหลวงสังกัดคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ C.S.S., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

( หมวดพระสัจธรรม )

วัยชรา: วัยใกล้ชิดพระเจ้า


วัยชรา: วัยใกล้ชิดพระเจ้า

ความเคารพและเอาใจใส่ดแู ลพ่อแม่และปูย่ า่ ตายายของตน  สังคมไทยในอดีตก็เคยเป็น สังคมที่ให้ความเคารพและเอาใจใส่คนแก่ ชราหรือผู้สูงอายุมากเหมือนกัน  นี่ท�ำให้ ผู้คนแก่ชราอยู่ได้อย่างมีความสุข  เพราะ รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ถูกทอดทิ้งและอยู่อย่าง โดดเดี่ยว  แต่ยังมีค่า  มีความหมายและมี ประโยชน์ตอ่ ลูกๆ  หลานๆ  แต่สภาพเช่นนี้ ก�ำลังค่อยๆ  เปลี่ยนไป  คนไทยในปัจจุบัน เน้ น ตั ว เองเป็ น ศู น ย์ ก ลางมากขึ้ น   เน้ น ประโยชน์สว่ นตัวเป็นหลัก  คนรุน่ ใหม่ๆ  จึง เริ่มมองคนแก่ชราว่าเป็นภาระทางเศรษฐกิจ เสียมากกว่า  เพราะเรียกร้องเวลา  ความ เอาใจใส่  และค่าใช้จ่ายในการดูแล ทุกวันนี้  มนุษย์เราค่อนข้างจะมีอายุ ยื น ยาวขึ้ น   ทั้ ง นี้   ก็ ด ้ ว ยเพราะความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ ที่สามารถค้นพบยาต่างๆ  ในการรักษาโรค และด้วยเพราะสภาพการเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ทัง้ ใน เรือ่ งทีพ่ กั อาศัยและอาหารการกิน  สิง่ ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขส่งเสริมให้คนมีอายุ ยืนยาวขึ้น  คนที่อายุ  60  ปีในเวลานี้จึงมี โอกาสมากขึน้ ทีจ่ ะอยูถ่ งึ   80  ปี  กระทรวง สาธารณสุขเปิดเผยข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้ว่า ผูส้ งู อายุชาวไทยตอนนีเ้ พิม่ ขึน้ ปีละประมาณ 5  แสนคน  ซึ่งคาดว่าในอีกปี  10  ปีข้าง หน้า  ประเทศไทยจะก้าวเข้าสูก่ ารเป็นสังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  โดยจะมีผู้สูงอายุ  1 คนในประชากรทุกๆ  5  คน  นีห่ มายความ

29

ว่า  ในประมาณปี  พ.ศ.2569  ประเทศไทย จะมีผู้สูงอายุกว่า  14  ล้านคน  และเรา หรือท่านก็อาจจะเป็นหนึง่ ในจ�ำนวนผูส้ งู อายุ นั้นด้วย  เราแต่ละคนจึงควรหันมาถามตัว เองกันแล้วว่า  “แล้วเราล่ะ  เราจะเตรียมตัว ของเราเพื่ อ เข้ า สู ่ วั ย แก่ ช รานั้ น อย่ า งไร?” ความจริ ง ก็ คื อ   เราเป็ น อย่ า งไรในขณะนี้ เมื่อยามเราแก่ชราเราก็จะเป็นในแบบนั้น หมายความว่า  ถ้าเราเป็นคนไม่มีความเชื่อ ในตอนนี้  ก็ยากที่เราจะกลายเป็นคนที่มี ความเชื่อในตอนแก่ชรา  ถ้าเราเป็นคนมอง โลกในแง่ร้าย  ก็ยากที่เราจะเปลี่ยนเป็นคน มองโลกในแง่ดียามเมื่อเราแก่ชรา  และถ้า เราเป็นคนที่ไม่เคยมีสัมพันธ์กับพระเจ้าใน ตอนนี้  เราก็จะกลายเป็นคนไม่มีพระเจ้าใน ที่สุด ในพระคัมภีรพ์ นั ธสัญญาเดิม  เราพบ ว่า  “เพลงสดุดี  71”  เป็นทั้งตัวอย่างและ ค� ำ แนะน� ำ ที่ ดี ส� ำ หรั บ การเข้ า สู ่ วั ย ชราของ คริสตชนผู้มีความเชื่อ  ผู้เขียนเพลงสดุดีบท นี้เป็นคนแก่ชราที่มองดูชีวิตที่ผ่านมาของตน ว่าท่านได้รับความรักและความเมตตาจาก พระเจ้ า มากมายที เดี ยว  ท่ า นเป็ น คนที่ มี ความวางใจในพระเจ้าตลอดมานับตั้งแต่วัย เยาว์  แม้ในปัจจุบันนี้ที่แม้ยังจะต้องเผชิญ หน้ากับปัญหาและความทุกข์ล�ำบากต่างๆ แต่ท่านก็ยังคงมีความไว้วางใจในพระเจ้าอยู่ ต่อไป  ในค�ำอ้อนวอนขอความช่วยเหลือของ ท่ า น  แม้ จ ะต้ อ งเผชิ ญ กั บ อุ ป สรรคต่ า งๆ


30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 มากมาย  แต่ท่านก็ยังมีความสุข  เพราะ ท่านยึดองค์พระผู้เป็นเจ้าไว้คอยช่วยเหลือ เพลงสดุดบี ทนีจ้ งึ แสดงให้เห็นถึงการเข้าสูว่ ยั ชราตามวิถีทางของพระเจ้า  นั่นคือ  การ พัฒนาชีวติ ของตนให้เดินไปพร้อมกับพระเจ้า เนื้อหาของเพลงสดุดี  71  มีดังนี้ (1)  ข้าแต่พระยาห์เวห์  ข้าพเจ้าลีภ้ ยั มาพึง่ พระองค์  ข้าพเจ้าไม่มวี นั จะต้องได้รบั ความอับอายเลย (2)  พระองค์ทรงเที่ยงธรรม  โปรด ทรงช่วยชีวิตข้าพเจ้า  โปรทรงปลดปล่อย ข้าพเจ้าโปรดทรงเงี่ยพระกรรณฟังข้าพเจ้า และทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้นด้วยเถิด (3)  ขอพระองค์ทรงเป็นหลักศิลาที่ ก� ำ บั ง ส� ำ หรั บ ข้า พเจ้า   ขอทรงเป็นที่มั่นที่ ข้ า พเจ้ า จะเข้ า ถึ ง ได้ เ สมอ  พระองค์ ท รง สัญญาจะช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น  เพราะ พระองค์ทรงเป็นหลักศิลาและทรงเป็นป้อม ปราการของข้าพเจ้า (4)  ข้ า แต่ พ ระเจ้ า  โปรดทรงช่ ว ย ข้าพเจ้าให้พ้นจากมือของคนชั่ว  พ้นจาก เงือ้ มมือของคนอธรรมและคนใจอ�ำมหิตด้วย เถิด (5)  ข้าแต่พระยาห์เวห์  องค์พระผู้ เป็ นเจ้ า   พระองค์ทรงเป็นความหวังของ ข้าพเจ้า  พระองค์คอื ผูท้ ขี่ า้ พเจ้าวางใจมาแต่ วัยเยาว์

(6)  ข้าพเจ้าพึ่งพิงพระองค์มาตั้งแต่ ก�ำเนิด  ตั้งแต่ข้าพเจ้าอยู่ในครรภ์มารดา พระองค์ ก็ ท รงเป็ น ที่ พึ่ ง ของข้ า พเจ้ า แล้ ว ข้าพเจ้าสรรเสริญพระองค์ตลอดมา (7)  คนจ� ำ นวนมากพิ ศ วงในตั ว ข้าพเจ้า  พระองค์คอื แหล่งลีภ้ ยั อันมัน่ คงของ ข้าพเจ้า (8)  ปากข้ า พเจ้ า เต็ ม เปี ่ ย มด้ ว ย ถ้ อยค� ำ สรรเสริ ญ พระองค์   กล่ า วถ้ อยค� ำ ถวายพระเกียรติตลอดวัน (9)  ขอพระองค์ อ ย่ า ทรงทอดทิ้ ง ข้าพเจ้าในวัยชรา  อย่าทรงละทิ้งข้าพเจ้าไป เมื่อข้าพเจ้าอ่อนก�ำลัง (10)  เพราะศัตรูของข้าพเจ้าก�ำลังพูด ใส่ร้ายข้าพเจ้า  ผู้ที่มุ่งเอาชีวิตข้าพเจ้าก�ำลัง ร่วมกันวางแผนอยู่ (11)  พูดว่า  “พระเจ้าทรงทอดทิง้ เขา แล้ว  จงไล่ตามเขาเถิด  จงจับกุมเขาไว้ไม่มี ใครจะมาช่วยเขาได้” (12)  ข้าแต่พระเจ้า  ขอพระองค์อย่า ทรงอยู่ห่างจากข้าพเจ้า  ข้าแต่พระเจ้าของ ข้าพเจ้า  โปรดเสด็จมาช่วยข้าพเจ้าโดยเร็ว เถิด (13)  ขอให้ผู้ที่ใส่ร้ายข้าพเจ้าต้องได้ รับความอับอายและความพินาศเถิด  ขอให้ ผู้ที่ต้องการท�ำร้ายข้าพเจ้าได้รับแต่ความ อัปยศเถิด


(14)  ส่วนข้าพเจ้านั้น  ข้าพเจ้าจะมี ความหวังตลอดไป  จะสรรเสริญพระองค์ มากยิ่งขึ้น (15)  ปากข้ า พเจ้ า จะประกาศถึ ง ความเที่ยงธรรมของพระองค์  จะประกาศ ตลอดวันถึงพระราชกิจมากมายเหลือคณา นับที่ทรงช่วยให้รอดพ้น (16)  ข้าแต่พระยาห์เวห์องค์พระผู้ เป็นเจ้า  ข้าพเจ้าจะมาเล่าถึงพระราชกิจอัน ยิ่งใหญ่ของพระองค์  จะระลึกว่าพระองค์ เพียงพระองค์เดียวทรงเที่ยงธรรม (17)  ข้าแต่พระเจ้า  พระองค์ทรงสัง่ สอนข้าพเจ้ามาตั้งแต่วัยเยาว์  และข้าพเจ้า ยังเฝ้าประกาศการมหัศจรรย์น่าพิศวงของ พระองค์ตลอดมา (18)  บัดนี้  เมื่อข้าพเจ้าชราลงและ ผมก็ เ ป็ น สี ด อกเลา  ข้ า แต่ พ ระเจ้ า   ขอ พระองค์อย่าทรงละทิง้ ข้าพเจ้า  จนกว่าจะได้ ประกาศถึงพระอานุภาพแก่ชนรุ่นหลัง (19)  ข้าแต่พระเจ้า  พระอานุภาพ และความเที่ ย งธรรมของพระองค์ สู ง ถึ ง ท้องฟ้า  พระองค์ทรงกระท�ำกิจการยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระเจ้า  ใครเล่าจะเหมือนพระองค์? (20)  พระองค์ทรงบันดาลให้ขา้ พเจ้า ประสบความทุ ก ข์ ร ้ อ นและเคราะห์ ร ้ า ย มากมาย  แต่พระองค์จะประทานชีวิตให้ ข้าพเจ้าอีก  พระองค์จะทรงน�ำข้าพเจ้าขึน้ มา จากส่วนลึกของแผ่นดิน

(21)  พระองค์จะทรงเสริมความยิ่ง ใหญ่ของข้าพเจ้า  และจะประทานก�ำลังใจ แก่ข้าพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง (22)  แล้ ว ข้ า พเจ้ า จะบรรเลงพิ ณ สรรเสริ ญ พระองค์   ข้ า แต่ พ ระเจ้ า ของ ข้าพเจ้า  พระองค์ทรงความซื่อสัตย์  องค์ ผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งอิสราเอล  ข้าพเจ้าจะบรรเลง พิณเขาคู่สดุดีพระองค์ (23)  ริมฝีปากของข้าพเจ้าจะโห่ร้อง ด้วยความยินดี  เมื่อข้าพเจ้าถวายสดุดีแด่ พระองค์  จิตวิญญาณของข้าพเจ้าทีท่ รงไถ่กู้ นั้นก็จะสรรเสริญพระองค์ด้วย (24)  ลิ้ น ของข้ า พเจ้ า จะประกาศ ความเที่ยงธรรมของพระองค์ทุกวัน  ใช่แล้ว ผู้ที่ต้องการท�ำร้ายข้าพเจ้าจะต้องรับความ อับอายและความอัปยศ จากเพลงสดุ ดี   71  นี้   เราพบว่ า เหตุ ผ ลที่ ผู ้ เ ขี ย นเพลงสดุ ดี บ ทนี้ ส ามารถ จัดการกับปัญหาต่างๆ  ได้  แม้ตัวท่านเอง จะเข้าสู่วัยชราแล้วก็คือเพราะท่านเดินไป พร้อมกับพระเจ้าและพัฒนาความสัมพันธ์ให้ ชิดสนิทกับพระองค์ยิ่งทียิ่งมากขึ้น  พระเจ้า จึงทรงเป็นแหล่งพลังของท่าน  ทรงท�ำให้จติ วิ ญ ญาณของท่ า นเข้ ม แข็ ง   แม้ ร ่ า งกาย ภายนอกจะอ่อนแรงไปตามอายุขัยก็ตาม ทีจ่ ริง  เราไม่รแู้ น่ชดั ว่าใครเป็นคนแต่ง เพลงสดุดที  ี่ 71  นี ้ ผูร้ บู้ างท่านสันนิษฐาน ว่าเป็นประกาศกเยเรมีย์  แต่ก็มีผู้รู้อีกบาง ท่านที่เชื่อว่าเป็นกษัตริย์ดาวิดที่เป็น ผู้เขียน


32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 ขึ้นในตอนที่อับซาโลม  พระโอรสของท่าน ได้ท�ำการกบฏต่อท่าน  เพลงสดุดีบทนี้ยัง รวบรวมเนื้อหามาจากบทเพลงของดาวิด หลายบทเพลงด้ ว ยกั น   (เช่ น   สดด.22, 31,35,40,109)  โดยอ้างถึงการสรรเสริญ พระเจ้าด้วยพิณเขาคู ่ (สดด.71:22)  คล้าย กับการกระท�ำของกษัตริย์ดาวิด  และการ อ้างถึงความยิง่ ใหญ่ทเี่ พิม่ มากขึน้ ของพระเจ้า (สดด.71:21)  ก็สามารถเทียบเคียงได้กับ การที่ดาวิดได้กลับมาครองราชย์อีกครั้งหนึ่ง สภาพแวดล้อมต่างๆ  ที่มีกล่าวถึงในเพลง สดุดีบทนี้ยังสอดคล้องกับสมัยของดาวิดใน ครั้งที่อับซาโลมก่อการกบฏต่อท่าน  เช่น ความรู้สึกอับอาย  (สดด.71:1)  การตกอยู่ ในเงื้ อ มมื อ ของคนอธรรม  (สดด.71:4) ศัตรูของท่านก�ำลังพูดใส่ร้ายท่าน  (สดด. 71:10,13,24)  ชี วิ ต ที่ ทุ ก ข์ ร ้ อ นและมี เคราะห์กรรมต่างๆ  มากมาย  (สดด.7:20) พระเจ้าทรงเป็นผู้ที่ท่านวางใจมาแต่วัยเยาว์ (สดด.71:17)  และตอนนี้  ท่านชราลงและ ผมก็เป็นสีดอกเลา  (สดด.71:9,18) แต่อย่างไรก็ตาม  ผูเ้ ขียนเพลงสดุดบี ท นี้ได้แสดงให้เห็นว่าในการเดินไปพร้อมกับ พระเจ้าตลอดวันเวลาชีวติ ของท่านนัน้   มีมติ ิ ส�ำคัญอยู่  3  ประการ  ซึ่งเป็นเหมือนค�ำ แนะน�ำส�ำหรับคริสตชนทุกคนที่ก�ำลังจะเข้า สู่วัยชราด้วยว่า  ในการเผชิญหน้ากับความ ทุ ก ข์ ย ากล� ำ บากต่ า งๆ  ในวั ย ชราของเรา มนุษย์นั้น  เราต้องพัฒนาความสัมพันธ์ของ เรากับพระเจ้าพร้อมกันไปด้วย  นั่นคือ

- เราต้องพัฒนาความรู้ของเราที่มีต่อ พระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น - เราต้องพัฒนานิสยั ของเราให้มคี วาม วางใจในพระเจ้ า   รู ้ จั ก สรรเสริ ญ พระเจ้ า และมีความหวังในพระองค์ - เราต้องพัฒนาวิถีชีวิตของเราในการ ท�ำงานศาสนบริการเพื่อพระเจ้า 1.  เราต้ อ งพั ฒ นาความรู ้ ข องเราที่ มี ต ่ อ พระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพลงสดุด ี 71  มีเนือ้ หาทีเ่ ต็มไปด้วย ความเข้าใจและความรูส้ ว่ นตัวของผูเ้ ขียนทีม่ ี ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า  ท่านได้รับการสอน จากพระโอษฐ์ ข องพระเจ้ า เอง  (71:17) ท่านรูจ้ กั พระเจ้าในฐานะเป็นทีล่ ภี้ ยั ของท่าน (71:1,7)  และเป็นความเทีย่ งธรรมของท่าน (71:2)  และท่านยังเรียกพระเจ้าว่าทรงเป็น หลักศิลาที่ก�ำบังและที่มั่นของท่าน  (71:3) เป็ น ความหวั ง และความวางใจของท่ า น (71:5) ผูเ้ ขียนเพลงสดุดบี ทนีย้ งั ได้พดู ถึงพระ ราชกิจยิ่งใหญ่ของพระเจ้า  (71:16)  พระ อานุ ภ าพของพระองค์   (71:18)  และ กิ จ การยิ่ ง ใหญ่ ที่ พ ระองค์ ไ ด้ ท รงกระท� ำ (71:19)  ท่านมัน่ ใจว่าเป็นพระเจ้าทีท่ รงน�ำ ท่ า นไปสู ่ ค วามทุ ก ข์ ร ้ อ นและเคราะห์ ร ้ า ย ต่างๆ  แต่ก็เป็นพระองค์ที่ได้ทรงช่วยท่าน และประทานชี วิ ต ให้ แ ก่ ท ่ า น  (71:20) พระเจ้ า จึ ง ทรงเป็ น แหล่ ง ในการประทาน


วัยชรา: วัยใกล้ชิดพระเจ้า

ก�ำลังใจให้แก่ทา่ น  (71:21)  พระเจ้าทรงไถ่ กูจ้ ติ วิญญาณของท่าน  (71:23)  ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงร้องออกมาว่า  “ข้าแต่พระเจ้า  ใคร เล่าจะเหมือนพระองค์?”  (71:19)  แล้ว ปากของท่ า นก็ เ ต็ ม เปี ่ ย มไปด้ ว ยถ้ อ ยค� ำ สรรเสริญพระเจ้า  กล่าวถ้อยค�ำถวายพระ เกียรติตลอดวัน”  (71:8,22,23,24) ผู้เขียนเพลงสดุดีท่านนี้เป็นคนที่รู้จัก พระเจ้าที่ท่านนับถือ  จากเนื้อหาของเพลง สดุดีเราเห็นอย่างชัดเจนว่าท่านรู้จักพระเจ้า ของท่านมานานแล้ว  และท่านก็ได้พิสูจน์ ความซื่อสัตย์ของพระเจ้าของท่านขณะเมื่อ ท่ า นอยู ่ ท ่ า มกลางความทุ ก ข์ ย ากล� ำ บาก ต่างๆ  มากมายมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ดังนั้น  ในครั้งนี้  ท่านจึงไม่ได้สงสัยเลยว่า พระองค์ยังทรงด�ำรงอยู่หรือไม่และพระองค์ เป็นใคร  แต่สงิ่ ทีท่ า่ นต้องการคือความวางใจ ในพระเจ้า  ท่านไม่ได้ต้องการมีความเชื่อ อย่างก้าวกระโดดแต่อย่างใด  เพราะท่าน รู้จักพระเจ้าของท่านเป็นการส่วนตัวแล้ว และได้ผ่านการพิสูจน์มาหลายต่อหลายครั้ง แล้ว ค� ำ ถามคื อ   “แล้ ว เราล่ ะ ?  เรารู ้ จั ก พระเจ้าในแบบเดียวกันนี้หรือเปล่า?”  “เรา ก�ำลังอยูใ่ นขัน้ ตอนของการรูจ้ กั พระเจ้าอย่าง ลึกซึ้งผ่านทางพระวาจาและประยุกต์พระ วาจาของพระองค์มาสูก่ ารปฏิบตั ขิ องเราหรือ เปล่า?”

33

สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ เ ราแต่ ล ะคน สามารถท� ำ ได้ ก็ คื อ   การเตรี ย มตั ว เราให้ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ต่างๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต  ไม่วา่ จะออกมาในรูป แบบใดก็ตาม  โดยการให้เวลากับพระวาจา ของพระเจ้ า และเพิ่ ม พู น ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ พระเจ้าของเราให้มากขึน้   และทุกครัง้ ทีอ่ า่ น พระวาจา  ให้เราถามตัวเองว่า  “พระวาจา ของพระเจ้าตอนนีต้ อ้ งการสอนอะไรแก่เรา?” เมื่ อ ได้ ค� ำ ตอบแล้ ว   ก็ น� ำ ค� ำ ตอบนั้ น มา ประยุกต์ใช้กบั ปัญหาต่างๆ  ทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ประจ�ำวันของเรา 2.  เราต้องพัฒนานิสัยของเราให้มีความ วางใจในพระเจ้า  รู้จักสรรเสริญพระเจ้า และมีความหวังในพระองค์ นิสยั เป็นสิง่ ทีพ่ ฒ ั นาได้ผา่ นทางการท�ำ ซ�้ ำ บ่ อ ยๆ  อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง  จนในที่ สุ ด จะ กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเราแทบจะไม่รู้ตัว เลย  อย่างปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจ�ำวัน  บางเรื่องเราสามารถจัดการได้ โดยที่เราแทบจะไม่รู้ตัวเลย  เพราะเราท�ำ เช่นนัน้ ประจ�ำจนเคยชินเป็นนิสยั   คนบางคน มีนิสัยวิตกกังวล  บางคนมีนิสัยขี้บ่น  บาง คนมี นิ สั ย มองคนและสิ่ ง ต่ า งๆ  ในแง่ ล บ มองโลกในแง่ร้ายและขี้โมโห  แต่ก็มีบางคน ทีม่ นี สิ ยั ร่าเริง  สนุกสนานและมองโลกในแง่ บวก  นิสยั ใดทีเ่ ริม่ ปลูกฝังตัง้ แต่ในวัยเยาว์จะ กลายเป็นสิ่งที่ติดตัวไปในยามที่เราเติบโต เป็นผู้ใหญ่


34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 ในเพลงสดุ ดี   71  มี ค� ำ ฮี บ รู อ ยู ่ ค� ำ หนึ่งที่ถูกกล่าวซ�้ำอยู่บ่อยๆ  พบได้ในข้อ ที่   3,6  และ  14  ที่ แ ปลเป็ น ค� ำ ไทยว่ า “เสมอ”  หรือ  “ตลอดมา  (ตลอดเวลา)” หรื อ   “ตลอดไป”  ค�ำนี้สื่อ ความหมายถึง การกระท�ำจนเป็นนิสยั ของผูเ้ ขียน  ไม่ได้เกิด ขึ้นเป็นครั้งคราวหรือบังเอิญ  แต่เป็นสิ่งที่ ฝึกฝนกระท�ำมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนกลายเป็นนิสยั ทีท่ ำ� เป็นประจ�ำ  นิสยั เหล่า นี้ คื อ   การมี ค วามวางใจในพระเจ้ า เสมอ รู ้ จั ก สรรเสริ ญ พระเจ้า ตลอดเวลา  และมี ความหวังในพระเจ้าตลอดไป (ก)  วางใจในพระเจ้าเสมอ  (71:3) เพลงสดุด ี 71  ทัง้ บทมีเนือ้ หาเน้นย�ำ้ ถึงความวางใจของผู้เขียนที่มีต่อองค์พระ ผู้เป็นเจ้า  ท่านต้องต่อสู้ดิ้นรนเพราะอยู่ใน สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ทยี่ ากล�ำบาก หลายคนคอยจ้องท�ำลายชีวิตท่าน  แต่นั่นก็ ไม่ได้ท�ำให้ความเชื่อของท่านซวนเซไปแต่ อย่างใด  เพราะท่านรู้ว่าผู้ที่ท่านเชื่อและ วางใจได้นั้นเป็นใคร การมีความเชื่อเช่นนี้มีที่มาจากการ รู้จักพระเจ้านั่นเอง  การมีความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับพระเจ้าจะช่วยขจัดความสงสัยและ ความหวาดกลัว  เรามนุษย์มีความกลัวและ ไม่ไว้ใจในสิง่ ทีเ่ ราไม่รจู้ กั   ในทางตรงกันข้าม เราโน้ ม เอี ย งที่ จ ะไว้ ว างใจในสิ่ ง ที่ เ รารู ้ จั ก อย่างดีมากกว่า  จนสิ่งนั้นกลายเป็นสิ่งที่

ไว้ใจได้สำ� หรับเรา  เช่นเดียวกับผูเ้ ขียนเพลง สดุดีบทนี้  เนื่องจากท่านรู้จักพระเจ้าของ ท่านดี  ท่านจึงเรียนรู้ที่จะวางใจในพระองค์ เสมอ  (71:3)  แม้จะประสบความทุกข์รอ้ น และเคราะห์ร้ายในบางครั้งก็ตาม  (71:20) แต่ท่านก็รู้ว่าพระเจ้าจะทรงมองเห็นท่าน ผ่านทางช่วงเวลาที่ยากล�ำบากนั้น ในยามที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก ล�ำบากในชีวติ   เราเคยพัฒนานิสยั ของเราให้ มีความวางใจในพระเจ้าอยูเ่ สมอบ้างหรือไม่? หรื อว่ า เรายั ง คงตกอยู ่ ใ นความวิ ต กกั ง วล บ่อยๆ  มีความสงสัยและรู้สึกกลัว? หากเรายังมีปัญหาเรื่องการขาดความ ไว้วางใจอยู ่ จงเริม่ ต้นใหม่เถิด  เริม่ ต้นด้วย การพยายามรู้จักพระเจ้าก่อน  ทบทวนชีวิต ของเราดูว่าพระเจ้าได้ทรงท�ำอะไรให้เรามา บ้างแล้ว  เพลงสดุดี  71  ได้เน้นย�้ำอย่าง มากถึงสิง่ ต่างๆ  ทีพ่ ระเจ้าได้ทรงกระท�ำเพือ่ เรามนุษย์  และนั่นควรท�ำให้ความเชื่อของ เราเข้มแข็งและมัน่ คงขึน้   เราจึงควรทบทวน ดูว่าพระเจ้าได้เคยช่วยรักษาชีวิตของเราไว้ หรือไม่?  พระองค์ได้เคยช่วยเราให้รอดพ้น จากบาปหรือไม่?  พระองค์ได้เคยช่วยค�ำ้ จุน ในยามที่เราอ่อนแอหรือไม่?  ถ้าพระองค์ได้ ทรงท�ำสิ่งต่างๆ  ทั้งหมดนี้เพื่อเรามาแล้ว เราก็ควรที่จะวางใจในพระองค์  ฝากปัญหา และความทุกข์ยากล�ำบากต่างๆ  ที่จะเกิด ขึ้นในอนาคตไว้กับพระองค์


วัยชรา: วัยใกล้ชิดพระเจ้า

(ข)  รูจ้ กั สรรเสริญพระเจ้าตลอดเวลา (ตลอดมา)  (71:6) การรูจ้ กั ยกย่องและกล่าวค�ำสรรเสริญ คนอื่นไม่ใช่นิสัยตามธรรมชาติของมนุษย์ ตรงกันข้าม  มนุษย์มีนิสัยของการบ่นและ ต�ำหนิติเตียนผู้อื่นเสียมากกว่า  แต่พระเจ้า ทรงต้องการให้เราเป็นคนที่มีนิสัยชอบกล่าว ยกย่องสรรเสริญผูอ้ นื่   พระเจ้าทรงปรารถนา ให้เราเรียนรู้ที่จะกล่าวค�ำสรรเสริญพระองค์ (71:8,14,22,23,24)  ซึง่ ผู้เขียนเพลงสดุดี บทนีก้ ไ็ ด้ยนื ยันว่าท่านได้ทำ� เช่นนีต้ ลอดเวลา (ตลอดมา)  (71:6) แต่เราจะกล่าวสรรเสริญพระเจ้าได้ อย่างไรในยามทีเ่ ราประสบกับความทุกข์ยาก ล�ำบากในชีวิต? ค�ำตอบคือ  จงเรียนรู้ที่จะวางใจใน พระองค์ก่อน  เหตุเพราะความวางใจมีที่มา จากการรู้จักพระเจ้า  ดังนั้น  การยกย่อง สรรเสริญจึงมีทมี่ าจากพระเจ้าด้วย  ลักษณะ เช่นนี้เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์เราเอง เรามนุษย์ไม่อาจกล่าวยกย่องใครทีเ่ ราไม่รจู้ กั และไม่ไว้ใจได้  หากเรารู้สึกว่ามีอะไรบาง อย่างในบุคคลคนนั้นที่เรารู้สึกไม่ไว้วางใจ เราก็จะไม่พูดยกย่องสรรเสริญเขาต่อหน้า ใครๆ  กับพระเจ้าก็เช่นกัน  หากในส่วนลึก ของจิตใจเรายังมีความสงสัยในพระทัยดีของ พระเจ้า  เหตุเพราะพระองค์ทรงปล่อยให้ เกิ ด ความทุ ก ข์ ย ากต่ า งๆ  ในชี วิ ต ของเรา เราก็จะไม่รู้สึกวางใจในพระองค์  และเมื่อ

35

เราไม่ ว างใจในพระเจ้ า   เราก็ จ ะไม่ พู ด สรรเสริญพระเจ้าด้วย (ค)  มีความหวังในพระเจ้าตลอดไป (71:14) ผูเ้ ขียนเพลงสดุดบี ทนีม้ ไิ ด้เพียงพัฒนา ตัวท่านเองให้มนี สิ ยั รูจ้ กั วางใจและสรรเสริญ พระเจ้าเท่านั้น  แต่ยังได้พัฒนาให้มีนิสัยที่ จะมีความหวังในพระเจ้าตลอดไปด้วย  แต่ เราต้องท�ำความเข้าใจในที่นี้ก่อนว่า  ความ หวังตามความหมายของโลกกับความหวัง ตามความหมายของพระคัมภีร์นั้นต่างกัน จริงอยู่ที่ความหวังทั้งสองประเภทล้วนเป็น เรื่องของความคาดหวังในสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต  แต่ความหวังฝ่ายโลกนัน้ ไม่แน่นอน เหตุเพราะมีเป้าหมายไม่แน่นอน  แต่ความ หวั ง ในความหมายของพระคั ม ภี ร ์ มี ค วาม แน่นอนและเที่ยงตรง  เหตุเพราะมีพระเจ้า เป็นเป้าหมาย  (71:5)  ตัวอย่างเช่น  เมื่อ เราพูดว่า  “ผมหวังว่าเงินลงทุนของผมจะท�ำ ก� ำ ไร  10%”  ความหวั ง ลั ก ษณะเช่ น นี้ มี ความไม่ แ น่ น อนอยู ่ ด ้ ว ย  เหตุ เ พราะเป้ า หมายในอนาคตนัน้ ไม่แน่นอน  มีความคลาด เคลื่ อ นได้ ต ลอดเวลา  และเราก็ ไ ม่ อ าจ ก�ำหนดเป้าหมายให้เป็นไปตามนั้นได้  แต่ หากเราพูดว่า  “ผมหวังว่าพระเยซูคริสตเจ้า จะทรงบันดาลให้ผมกลับคืนชีพมีชีวิตใหม่” เท่ากับเราก�ำลังพูดถึงสิ่งที่แน่นอนและเป็น จริง  เพียงแต่ยังไม่เกิดขึ้นในเวลานี้เท่านั้น ดั ง นั้ น   ความหวั ง ในความหมายของพระ


คัมภีรจ์ งึ ตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของความวางใจใน พระเจ้ า ของเราและความสั ต ย์ ซื่ อ ของ พระองค์ คริสตชนผู้มีความเชื่อจึงควรเป็นคนที่ มีนสิ ยั มีความหวังในพระเจ้าเสมอและตลอด ไป  ซึ่งเป็นความหวังที่มาจากพระสัญญา และความสัตย์ซื่อของพระองค์ แต่ก็น่าเสียดายที่คริสตชนเราจ�ำนวน มากกลับมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในแง่ลบ เหตุเพราะเขามองที่ปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้น มากกว่ามองที่พระเจ้าและพระสัญญาของ พระองค์  หากเราสามารถพัฒนานิสัยของ เราให้รู้จักมีความหวังในพระเจ้า  ก็จะท�ำให้ ชีวติ ความเป็นอยูข่ องเราในปัจจุบนั ดีขนึ้ อย่าง แน่ น อน  ประชากรของพระเจ้ า ควรเป็ น ประชากรทีม่ คี วามหวังในพระองค์เสมอและ ตลอดไป  ดังเช่นผูเ้ ขียนเพลงสดุดบี ทนี ้ แม้ ท่ า นจะอยู ่ ใ นวั ย ชราแล้ ว   แต่ ก็ ยั ง มี ค วาม มัน่ คงในความหวัง  เหตุเพราะท่านได้พฒ ั นา ตัวท่านเองให้มีความรู้ในพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง และยังได้พฒ ั นานิสยั ของตัวเท่าเองให้มนี สิ ยั แบบพระเจ้า  คือ  มีความไว้วางใจ  รู้จัก ยกย่องสรรเสริญ  และมีความหวังในพระเจ้า เสมอ 3.  เราต้ อ งพั ฒ นาวิ ถี ชี วิ ต ของเราในการ ท�ำงานศาสนบริการเพื่อพระเจ้า แม้ผู้เขียนเพลงสดุดีบทนี้จะชรามาก แล้ว  (71:9,18)  และสามารถที่จะพูดได้

ว่ า   “ข้ า พเจ้ า สมควรจะได้ พั ก ผ่ อ นแล้ ว ” ก็ตาม  แต่ทา่ นก็ไม่ได้ทำ� เช่นนัน้   ท่านยังคง มีความห่วงใยในงานศาสนบริการ  เพือ่ ท่าน จะได้สามารถเป็นประจักษ์พยานแก่ผู้อื่นถึง ความสัตย์ซอื่ และพระพลานุภาพของพระเจ้า ได้   (71:15-18,24)  พู ด อี ก อย่ า งคื อ ตราบใดที่ ท ่ า นยั ง มี ล มหายใจ  ท่ า นก็ ยั ง ต้องการที่จะบอกเล่าเรื่องราวของความยิ่ง ใหญ่และพระเกียรติมงคลของพระเจ้าแก่ ผู้อื่นต่อไป ทุกวันนี้  เมื่อพูดถึงค�ำว่า  “เกษียณ” นอกจากเราจะคิดถึงการหยุดท�ำงานประจ�ำ แล้ว  เรายังมักจะคิดถึงด้วยว่าหมายถึงช่วง เวลาของการท�ำอะไรก็ได้ท่ีเราต้องการท�ำ แต่ในฐานะเป็นคริสตชนผูม้ คี วามเชือ่   เราไม่ เคยมีสทิ ธิทจี่ ะท�ำในสิง่ ทีเ่ ราต้องการท�ำอย่าง นั้นได้เลย  เราคริสตชนไม่เคยมีสิทธิที่จะ ด�ำเนินชีวติ อย่างคนเห็นแก่ตวั ได้เลย  แต่เรา ต้องด�ำเนินชีวติ ตลอดเวลา  ไม่เคยมีวนั หยุด ไม่เคยเกษียณ  ในการให้พระคริสตเจ้าเข้า มาเป็นผู้น�ำและเป็นแบบอย่างของเรา  พระ คัมภีร์ไม่เคยบอกเลยว่าเมื่อถึงอายุเท่าไรเรา ถึงสามารถหยุดติดตามพระเยซูเจ้าได้  ดัง นัน้   หากเราเกษียณจากภาระหน้าทีก่ ารงาน ฝ่ายโลกในขณะทีเ่ รายังมีกำ� ลังและร่างกายที่ แข็งแรงอยู่  ก็ยิ่งเป็นโอกาสและช่วงเวลาที่ เราจะสามารถท�ำงานรับใช้พระเจ้าผ่านทาง งานศาสนบริการต่างๆ  ได้อย่างเต็มที่มาก ขึ้น  คงเป็นเรื่องที่งดงามอย่างมากทีเดียว


วัยชรา: วัยใกล้ชิดพระเจ้า

หากเราจะเห็นคนสูงอายุเข้าห้องเรียนพระ คัมภีร์หรือแม้แต่เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับ พระคัมภีร ์ เพือ่ จะได้สามารถน�ำความรูท้ ไี่ ด้ นี้ไปรับใช้พระเจ้าผ่านทางการประกาศและ การสอนค�ำสอนในภาคสนามจริง  และหาก พระเจ้ า อวยพรให้ มี อ ายุ ยื น ยาวมากขึ้ น เท่ากับเรามีเวลาท�ำงานรับใช้พระเจ้ามากขึน้ ด้วย ผูเ้ ขียนเพลงสดุดบี ทนี ้ แม้ทา่ นจะชรา มากแล้ว  แต่ท่านก็ไม่ได้ต้องการความช่วย เหลือเพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ  เพื่อ จะได้มเี วลาไปพักผ่อนและท�ำสิง่ ต่างๆ  ตาม ความต้องการตามประสามนุษย์  ตรงกัน ข้ า ม  ท่ า นต้ อ งการความช่ ว ยเหลื อ จาก พระเจ้า  เพื่อท่านจะได้สามารถประกาศ

37

และสรรเสริญพระพลานุภาพของพระเจ้าให้ แก่คนรุน่ ใหม่ตอ่ ไปได้  (71:18)  จึงนับว่าผู้ เขียนเพลงสดุดีบทนี้มีวิสัยทัศน์ในการ  “ส่ง ไม้ต่อ”  ไปยังคนรุ่นใหม่  ท่านมองเห็นการ มีชีวิตที่ยืนยาวว่าเป็นโอกาสที่จะท�ำงานให้ พระเจ้ า และพระศาสนจั ก รได้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น และงานศาสนบริการของท่านก็ตงั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของการรู้จักพระเจ้าและนิสัยของการ เป็นคนมีความไว้วางใจเสมอ  รู้จักกล่าวค�ำ สรรเสริญตลอดเวลา  และมีความหวังใน พระเจ้ า ตลอดไปนั่ น เอง  และดั ง นี้   การ วางมือของท่านจึงกลายเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง แล้วเราล่ะ?  เราได้พัฒนาชีวิตการ ท�ำงานศาสนบริการของเราบ้างแล้วหรือยัง? รีบท�ำเถอะ  เพราะนัน่ จะท�ำให้วยั ชรา ของเรามีค่าและมีความหมายมากขึ้นทีเดียว

บรรณานุกรม Henry,  Matthew.  “Commentary  on  Psalm  71.”  [Online].  Availble:http://www. christianity.com/bible/commentary.php?com=mhc&b=19&c=71.  Retrieved November  11,  2016. “God’s  Plan  for  Older  Men  and  Older  Women.”  [Online].  Availble:http:// www.gty.org/resources/sermons/56-13/gods-plan-for-older-men-and-older women.  Retrieved  November  11,  2016. “Psalm  71:  Growing  Old  Gods’  Way.”  [Online].  Availble:https://bible.org/ book/export/html/21957.  Retrieved  November  11,  2016. Spurgeon,  Charles  H.  “Psalm  71:  The  Treasury  of  David”  [Online]. Availble:http://www.spurgeon.org/treasury/ps071.php.  Retrieved  Novem ber  11,  2016.


บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์ S.D.B.

1. บทน�ำ ในข้อความนี้  เราจะพยายามค้นหา ความคิดหลักเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของ ผู้สูงอายุดังที่เราพบในพระคัมภีร์  แน่นอน พระคั ม ภี ร ์ ไ ม่ ไ ด้ แ ก้ ป ั ญ หาทุ ก ข้ อ เกี่ ย วกั บ สภาพของผู ้ สู ง อายุ ใ นมุ ม มองทางสั ง คม วัฒนธรรมและงานอภิบาลดังที่เราเผชิญอยู่ ทุ กวั น นี้   ป ั จ จุ บั น เ ร า ด� ำ เ นิ น ชี วิ ต ใ น สถานการณ์แตกต่างกันมากจากบริบทของ พระคัมภีร ์ ดังนัน้   พระคัมภีรจ์ งึ ไม่สามารถ ตอบค�ำถามทั้งหมดที่เป็นปัญหาส�ำหรับเรา ในวันนี้  แต่ได้บันทึกทัศนคติพื้นฐานของ

ประสบการณ์ ผู ้ สู ง อายุ ต ามแผนการของ พระเจ้า  แผนการนีเ้ รียกว่า  “ประวัตศิ าสตร์ แห่งความรอดพ้น”  ซึ่งมนุษย์ทุกคนทุกวัยมี ส่วนร่วม ประสบการณ์เฉพาะของผูส้ งู อายุตาม แผนการของพระเจ้าเป็นอย่างไร  เราจะตอบ ค�ำถามนีโ้ ดยไตร่ตรองความคิด  3  ประเด็น คือ 1. วัยผูส้ งู อายุในแง่ทเี่ ป็นประสบการณ์ ของความยากจนและความอ่อนแอ

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน S.D.B., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

( หมวดพระสัจธรรม )

ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์


ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์

2. คุ ณ ค่ า ของวั ย ผู ้ สู ง อายุ คื อ ความ มัง่ คัง่ และชีวติ ทีเ่ ต็มเปีย่ ม  ซึง่ ในพระคัมภีรม์ ี คุณลักษณะเฉพาะบางประการ  เช่น  ปรีชา ญาณ  ความเชื่อ  และชีวิตทางสังคม 3. สภาพของผู ้ สู ง อายุ เ ป็ น โอกาส ส�ำหรับชีวิตแห่งความเชื่อในพระหัตถ์ของ พระเจ้า  เพราะเปิดใจเขาให้มงุ่ สูค่ วามหวังที่ เกิ น พละก� ำ ลั ง ทั้ ง ทางด้ า นกายภาพและ จิตวิทยา 2. วัยผูส้ งู อายุในแง่ทเี่ ป็นประสบการณ์ของ ความยากจนและความอ่อนแอ 2.1 บารซิลลัย  ชาวกิเลอาด ข้อความจากพระคัมภีรท์ จี่ ะช่วยเราให้ เข้าใจประสบการณ์ของผู้สูงอายุคือ  เรื่อง เล่ า ในหนั ง สื อ ซามู เ อล  ฉบั บ ที่   2  เมื่ อ อับซาโลมเป็นกบฏต่อกษัตริย์ดาวิด  พระ ราชบิดา  พระองค์ทรงเสีย่ งทีจ่ ะสูญเสียพระ ราชสมบัติและชีวิต  ต่อมาเพระทรงได้รับ ค�ำแนะน�ำและความช่วยเหลือจากบางคนก็ ทรงหลบหนีไป  เพือ่ จะไม่ถกู จับกุมและทรง รวบรวมพลทหารต่ อ สู ้ กั บ ศั ต รู   ในที่ สุ ด พระองค์ ท รงมี ชั ย ชนะและเสด็ จ กลั บ ยั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม   เพื่ อ ทรงลงโทษคู ่ อ ริ แ ละ ทรงตอบแทนผู ้ จ งรั ก ภั ก ดี   ในขณะนั้ น บารซิ ล ลั ย ชาวกิ เ ลอาดผู ้ สู ง อายุ ท่ี มั่ ง คั่ ง และเคยช่วยเหลือกษัตริย์ดาวิดในเหตุการณ์ นั้น  ก็มาเข้าเฝ้าพระองค์

39

“กษัตริย์ตรัสกับบารซิลลัยว่า  ‘จงมา อยู่กับเราที่กรุงเยรูซาเล็มเถิด  เราจะ เลี้ยงดูท่านอย่างดี’  แต่บารซิลลัยทูล กษัตริย์ว่า  ‘ข้าพเจ้าจะมีชีวิตอยู่อีก นานเท่าไร  ทีจ่ ะขึน้ ไปอยูก่ บั พระราชา ทีก่ รุงเยรูซาเล็ม  ข้าพเจ้าอายุแปดสิบ ปีแล้ว  ไม่รสู้ กึ ร้อนรูส้ กึ หนาวอีกต่อไป กินและดื่มอะไรก็ไม่รู้รสแล้ว  แยกไม่ ออกว่าเป็นเสียงร้องเพลงของชายหรือ หญิง  ท�ำไมผู้รับใช้ของพระองค์จะ ต้ องเป็ น ภาระส� ำ หรั บ พระราชาเจ้ า นายของข้าพเจ้าอีก  ผู้รับใช้จะตาม เสด็จพระราชาไปสักระยะหนึง่   ท�ำไม พระราชาจึงจะต้องประทานบ�ำเหน็จ รางวัลให้ข้าพเจ้าเช่นนี้  ขอพระองค์ ทรงอนุญาตให้ผรู้ บั ใช้กลับบ้านไปตาย ในบ้านเมืองของตน  ใกล้ที่ฝังศพของ บิ ด ามารดาเถิ ด   คิ ม ฮามบุ ต รของ ข้าพเจ้า  ผู้รับใช้ของพระองค์อยู่ที่นี่ ให้ เ ขาไปกั บ พระราชาเจ้ า นายของ ข้าพเจ้าเถิด  ขอทรงปฏิบตั ติ อ่ เขาตาม ทีพ่ อพระทัยเถิด’”  (2  ซมอ  19:3438) ถ้อยค�ำเหล่านี้ของบารซิลลัยมีความ ส�ำคัญ  เพราะแสดงความรู้สึกโศกเศร้าต่อ ชีวติ ทีก่ ำ� ลังจะจบลง  แต่ยงั ยอมรับความเป็น จริงโดยรู้ตัว  เขาอายุแปดสิบปีและเข้าใจ สถานการณ์ของตนชัดเจน  ดังที่เพลงสดุดี 90  บรรยายว่า  “ช่วงอายุชีวิตของข้าพเจ้า


40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 ทั้งหลายยาวนานเจ็ดสิบปี  อาจจะถึงแปด สิบส�ำหรับผู้ที่แข็งแรง  แต่ส่วนใหญ่ก็มีแต่ ความเหน็ดเหนื่อยและความกังวล  วันเวลา ผ่านไปอย่างรวดเร็ว  แล้วข้าพเจ้าทัง้ หลายก็ จากไป”  (สดด  90:10)  บารซิลลัยรู้สึกว่า จะด�ำเนินชีวิตที่ตึงเครียดทางการเมืองใน พระราชวังของกษัตริย์ดาวิดที่กรุงเยรูซาเล็ม ต่ อ ไปไม่ ไ หวอี ก แล้ ว   จริ ง อยู ่   ชี วิ ต ใน พระราชวังน่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยประสบ การณ์ใหม่ๆ  ซึ่งน�ำความสุข  แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่เหมาะสมส�ำหรับตนอีกแล้ว  เขา  “ไม่รู้ สึกร้อนรู้สึกหนาวอีกต่อไป”  หมายความว่า เขามีชวี ติ อยูไ่ ปวันๆ  ไม่มคี วามกระตือรือร้น ในสิง่ ทีด่ แี ละไม่ถกู ล่อลวงในสิง่ ทีไ่ ม่ดเี หมือน แต่กอ่ น  บารซิลลัยเลือกทีจ่ ะกลับไปในบ้าน เกิดของตนและเตรียมตัวตาย  เพราะความ ตายเป็ น การรวมตั ว กั บ บรรพบุ รุ ษ ของตน เขาทูลขอสิ่งเดียวจากกษัตริย์ดาวิดคือ  ให้ ทรงรั บ คิ ม ฮามเข้ า ไปอยู ่ ใ นพระราชวั ง เพราะบุตรของเขายังเป็นหนุ่มและพร้อมที่ จะด�ำเนินชีวิตในพระราชวังได้ด้วยการต่อสู้ อย่างมีความสุข ข้อความนีแ้ สดงคุณลักษณะส�ำคัญบาง ประการของประสบการณ์ผู้สูงอายุคือ ก.  การรับรู้ความจ�ำกัดของชีวิต  วัย สูงอายุเป็นการลดพลังชีวติ คือ  ก�ำลัง และความสามารถถดถอยลง  ผู ้ มี จิ ต ส� ำ นึ ก เช่ น นี้ แ ละยอมรั บ สถานการณ์ของตนด้วยใจสงบ  แม้อาจมี

ความโศกเศร้าบ้างก็ยอ่ มเป็นผูม้ ปี รีชา ฉลาด ข.  ความปรารถนาของบารซิลลัยทีจ่ ะ กลับไปยังบ้านเกิดของตน  ดูเหมือน เป็นความต้องการอย่างหนึ่งของชีวิต ผู้สูงอายุทุกคน  คือปรารถนาอยู่ใน บรรยากาศครอบครัวอย่างปลอดภัย ต้ อ งการมี ค วามรู ้ สึ ก ดี ๆ   ถึ ง ความ สัมพันธ์กับบุคคลที่เขาเคยรักและเสีย ชีวิตไปแล้ว  เพราะดูเหมือนว่าความ คิดถึงผู้ล่วงลับช่วยเขาให้กล้าเผชิญ หน้ากับปัญหาความตายของตนด้วย ใจสงบ ค.  บารซิ ล ลั ย ยอมปล่ อ ยให้ บุ ต ร (ชายสื บ ทอดต� ำ แหน่ ง จากตน  เขา ชนะการถูกประจญที่จะคิดว่า  ชีวิต ของตนช่างน่าสงสารเพราะไม่สามารถ ลิ้มรสความสุขทั้งหมดของชีวิต  ตรง กันข้าม  เขารู้และยอมรับว่าชีวิตนั้น เป็ น ของอี ก บุ ค คลหนึ่ ง   คื อ คิ ม ฮาม บุ ต รของตน  จึ ง ยอมถ่ า ยทอด ต�ำแหน่งให้แก่บตุ รด้วยความยินดีและ ความภาคภูมิใจ  เพราะบุตรของตน ได้ต�ำแหน่งที่มีเกียรติในพระราชวัง ของกษัตริย์ดาวิด ง.  บารซิลลัยเป็นคนปรีชาฉลาด  เขา ได้เรียนรูก้ ารตีคณ ุ ค่าชีวติ อย่างถูกต้อง ดั ง ที่ เ พลงสดุ ดี   90  ยั ง กล่ า วอี ก ว่า  “โปรดทรงสอนข้าพเจ้าทั้งหลาย


ให้รจู้ กั นับวันแห่งชีวติ ได้ถกู ต้อง  เพือ่ จะได้ มี จิ ต ใจปรี ช าฉลาด”  (สดด 90:12)  หมายความว่า  โปรดช่วย ข้าพเจ้าทั้งหลายให้เข้าใจความเปราะ บางของชีวิต  ช่วยให้รู้จักนับวันแห่ง ชีวติ ของตน  และตระหนักว่าวันเหล่า นั้นช่างสั้นเหลือเกิน  สิ่งนี้แหละจะ ท�ำให้เราเป็นคนปรีชาฉลาด  มีสมดุล ในการเลือก เรายังพบความคิดนี้ในพระคัมภีร์อีก หลายตอนที่กล่าวถึงผู้สูงอายุยอมรับความ จริงอย่างตรงไปตรงมาว่า  วัยสูงอายุลดการ มี ชี วิ ต ชี ว า  เป็ น ประสบการณ์ แ ห่ ง ความ อ่อนแอและความเปราะบาง  เป็นจิตส�ำนึก ทีก่ า้ วก�ำลังเดินไปสูค่ วามตาย  จริงอยู ่ การ เดินไปสู่ความตายเริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่มี ชีวิต  แต่ก็ยังเป็นความจริงที่ว่า  เพียงในวัย ผู ้ สู ง อายุ เ ท่ า นั้ น   ความตายกลายเป็ น เหตุการณ์ที่เป็นไปได้และอยู่ใกล้เขา 2.2  หนังสือปัญญาจารย์ อีกตัวอย่างทีง่ ดงามในด้านวรรณกรรม คื อ   บทสุ ด ท้ า ยของหนั ง สื อ ปั ญ ญาจารย์ เป็นการไตร่ตรองของผู้สูงอายุคนหนึ่งที่มี ประสบการณ์ชีวิตอย่างลึกซึ้ง  เพราะเขาได้ ตัง้ ค�ำถามทีว่ า่   การด�ำเนินชีวติ คุม้ ค่าหรือไม่ เป็นงานที่ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่  การ ด�ำเนินชีวติ เป็นงานชนิดหนึง่ ทีเ่ รียกร้องความ เหน็ ด เหนื่ อ ย  จึ ง สมควรที่ จ ะได้ รั บ การ

ตอบแทน  ปัญญาจารย์ได้มีประสบการณ์นี้ และเพราะเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลที่กรุง เยรูซาเล็ม  จึงทรงมีโอกาสมากกว่าพลเมือง อื่นๆ  มีประสบการณ์มากมายในการร�ำพึง ถึงประสบการณ์นนั้   แล้วได้ประเมินผลทีค่ น้ พบว่า  “ไม่เที่ยงแท้ที่สุด  ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ เที่ยงแท้”  (ปญจ  1:2)  ค�ำว่า  “ไม่เที่ยง แท้”  ในต้นฉบับภาษาฮีบรู  หมายถึงหมอก ไอน�้ ำ  ลมหายใจ  ซึ่ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง ความไม่จรี งั ยัง่ ยืน  เปรียบเหมือนกับสายลม ที่จับต้องไม่ได้  บทสุดท้ายเขียนไว้ว่า “จงระลึกถึงพระผู้สร้างของท่านขณะ ทีท่ า่ นยังเยาว์วยั   ก่อนทีว่ นั เลวร้ายจะ มาและเวลาจะมาถึง  เมือ่ ท่านจะต้อง พูดว่า  ‘ข้าพเจ้าไม่มีความสนุกเลย’ เวลานัน้ ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  และ ดวงดาวทั้ ง หลายจะอั บ แสงส� ำ หรั บ ท่าน  และท้องฟ้าจะมีเมฆปกคลุมอยู่ เสมอ  เวลานัน้ แขนของท่านทีป่ กป้อง ท่านไว้จะสั่นสะท้าน  ขาของท่านที่ เคยค�้ำจุนท่านจะอ่อนล้า  ฟันจะลด จ� ำ นวนลงจนเคี้ ย วอาหารไม่ แ หลก นัยน์ตาของท่านจะฝ้าฟางจนเห็นไม่ ชัด  หูของท่านจะตึงจนไม่ได้ยินเสียง อึกทึกจากถนน  ท่านจะไม่ได้ยนิ เสียง โม่ แ ป้ ง   เสี ย งนกร้ อ งและเสี ย งของ ท่านจะอ่อนลงและสั่นเครือ  ท่านจะ กลัวที่สูง  และแต่ละก้าวก็มีอันตราย ที่จะหกล้ม  ผมของท่านจะหงอกขาว


42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 เหมือนดอกอัลมอนด์  ท่านเดินแทบ จะไม่ไหว  และความปรารถนาใดๆ จะหมดสิ้นไป  ท่านจะไปสู่ที่พ�ำนัก ถาวร  ขณะที่มีผู้ร้องไห้และไว้ทุกข์ ตามถนน  ก่ อ นที่ ส ายเงิ น จะขาด ตะเกียงทองค�ำจะล้มแตก  เหยือกน�ำ้ จะแตกที่ พุ น�้ ำ  ล้ อ เชื อ กตั ก น�้ ำ จะ ตกลงไปในบ่อ  ร่างกายของท่านจะ ก ล า ย เ ป ็ น ฝุ ่ น ดิ น ดั ง เ ดิ ม   แ ล ะ ลมปราณจะกลั บ ไปหาพระเจ้ า ผู ้ ประทานลมปราณแก่ท่านปัญญาจาร ย์พูดว่า  “ไม่เที่ยงแท้ที่สุด  ทุกสิ่งทุก อย่างไม่เทีย่ งแท้”  (ปญจ  12:1-  8) ข้อความนี้พยายามบรรยายว่า  ทีละ เล็กทีละน้อยการมีชีวิตชีวาจะค่อยๆ  อ่อน ล้าลง  ส�ำหรับผู้สูงอายุแม้ดวงอาทิตย์จะอับ แสง  ดวงจันทร์  แสงสว่างและดวงดาวทั้ง หลายอับแสงด้วย  เมือ่ พระเจ้าทรงสร้างโลก ทรงท�ำให้แสงสว่างส่องแสงในที่มืด  (เทียบ ปฐก  1:3-4)  แต่บัดนี้  ส�ำหรับผู้สูงอายุแม้ แสงนี้ จ ะอั บ แสงและความมื ด ดู เ หมื อ นจะ กลับมีชยั ชนะอีกครัง้ หนึง่   ในท�ำนองเดียวกัน ดวงดาวและดวงอาทิตย์ซึ่งพระเจ้าทรงสร้าง ขึ้ น เพื่ อ ก� ำ หนดวั น และคื น   (เที ย บ  ปฐก 1:16)  แต่บัดนี้  ส�ำหรับผู้สูงอายุกาลเวลา ไม่มีความแตกต่างกันเลย  วันและฤดูกาล ปะปนกัน  มีสุภาษิตกล่าวว่า  “เมื่อฝนตก แล้ว  อากาศจะแจ่มใส”  แต่ปัญญาจารย์ บอกว่า  นี่เป็นความจริงตราบใดที่ยังอยู่ใน

วัยเยาว์  แต่เมือ่ ชราแล้วก็เกิดเหตุการณ์ตรง กั น ข้ า มคื อ   “ท้ อ งฟ้ า จะมี เ มฆปกคลุ ม อยู ่ เสมอ”  เวลานั้น  “แขนของท่านที่ปกป้อง ท่านไว้จะสัน่ สะท้าน  ขาของท่านทีเ่ คยค�ำ้ จุน ท่านจะอ่อนล้า  ฟันจะลดจ�ำนวนลงจนเคีย้ ว อาหารไม่แหลก  นัยน์ตาของท่านจะฝ้าฟาง จนเห็นไม่ชัด  หูของท่านจะตึงจนไม่ได้ยิน เสียงอึกทึกจากถนน”  การบรรยายเช่นนี้ แสดงการมี ชี วิ ต ที่ อ ่ อ นแรงลงทั้ ง ในด้ า น กายภาพ  จิตใจและสังคม เมื่อความมั่งคั่งของชีวิตลดถอยลงก็ เกิดความโศกเศร้า  แต่ปรีชาฉลาดอยูใ่ นการ ยอมรับว่า  นีค่ อื โครงสร้างของชีวติ   และเรา ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับค�ำสอนนี้คือ  เรียนรู้ ที่ จ ะใช้ ค วามมั่ ง คั่ ง ของชี วิ ต   ตราบใดที่ พระเจ้าประทานพละก�ำลัง  “จงระลึกถึง พระผู้สร้างของท่านขณะที่ท่านยังเยาว์วัย ก่ อ นที่ วั น เลวร้ า ยจะมาและเวลาจะมาถึ ง เมื่อท่านจะต้องพูดว่า  ‘ข้าพเจ้าไม่มีความ สนุกเลย’ ”  (ปญจ  12:1)  จงรับรสชาติของ ชีวิตตราบใดที่พระเจ้ายังประทานให้ 3.  วัยผูส้ งู อายุเป็นประสบการณ์ชวี ติ ทีเ่ ต็ม เปี่ยม เรายังต้องพิจารณาอีกลักษณะหนึ่ง ของวัยผูส้ งู อายุ  พระคัมภีรอ์ ธิบายว่าวัยผูส้ งู อายุยังเป็นความมั่งคั่งและชีวิตที่เต็มเปี่ยม แม้มุมมองด้านกายภาพและสังคมวัยนี้เป็น เหมือนการลดชีวิต  แต่ในแง่ปรีชาญาณและ ภูมิปัญญาเป็นชีวิตเต็มเปี่ยม


ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์

3.1  ศิลปะการด�ำเนินชีวติ ในมุมมอง ปรีชาญาณและภูมิปัญญา ค�ำว่า  “ปรีชาญาณ”  แปลมาจากค�ำ ว่า  “ohk’mah”  ในพระคัมภีรต์ น้ ฉบับภาษา ฮีบรู  หมายถึงศิลปะการด�ำเนินชีวิต  คือ ความสามารถในการจัดการชีวิตที่ซับซ้อน อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ  โดยประสบความ ส�ำเร็จในการด�ำเนินชีวิต  เมื่อเข้าใจปรีชา ญาณเช่นนี้ก็ต้องยอมรับว่า  มนุษย์ทุกคนมี ปรีชาญาณ  แต่ยังเป็นลักษณะพิเศษของ ผู้สูงอายุ  วัยผู้สูงอายุเป็นวัยของปรีชาญาณ ในมุ ม มองของพระคั ม ภี ร ์ ผ มสี ข าวเป็ น เครือ่ งหมายของประสบการณ์ชวี ติ ทีแ่ ข็งแกร่ง แต่สงั คมปัจจุบนั สถานการณ์เปลีย่ นแปลงไป ผู้เยาว์ยากที่จะรับรู้ปรีชาญาณในผู้สูงอายุ สองพันกว่าปีมาแล้ว  เมือ่ พระคัมภีรเ์ ขียนขึน้ วิถชี วี ติ เรียกร้องให้ผเู้ ยาว์เรียนรูเ้ ทคนิคต่างๆ จากผู้สูงอายุ  เช่น  ชาวนาเรียนรู้วิธีการไถ การหว่านเมล็ดพืชและการเก็บเกี่ยวจากผู้ เป็ น ชาวนามาก่ อ น  เขาไม่ ไ ด้ เ รี ย นรู ้ จ าก สถาบั น การศึ ก ษา  แต่ เ ป็ น การถ่ า ยทอด ภู มิ ป ั ญ ญาทางประสบการณ์ จ ากพ่ อ สู ่ ลู ก ปั จ จุ บั น สถานการณ์ เ ปลี่ ย นแปลงอย่ า ง รวดเร็ว  ภูมปิ ญ ั ญาของบิดาในด้านเทคนิคไม่ ค่อยมีประโยชน์เท่าไรนักส�ำหรับลูก  ซึง่ ต้อง เรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ  ที่เพิ่งค้นพบและวาง จ�ำหน่ายในตลาดเมื่อไม่นานมานี้  ด้วยเหตุ นี้  เขาจึงต้องแสวงหาความรู้จากสถานบัน การศึ ก ษาหรื อ ทางโทรทั ศ น์   ความรู ้ ข อง

43

ผูส้ งู อายุในด้านเทคโนโลยีไม่สำ� คัญเหมือนใน อดีต  เพราะผู้เยาว์เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพการ งานจากบริบทอื่นที่ไม่ใช่ครอบครัว  และไม่ เป็นการถ่ายทอดทางประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม  ศิลปะการด�ำเนินชีวิต ไม่ เ ป็ น เพี ย งเรื่ อ งอาชี พ เท่ า นั้ น   แต่ โ ดย เฉพาะอย่างยิง่   เป็นศิลปะในการปฏิสมั พันธ์ กับผู้อื่น  ในการตัดสินใจว่าสิ่งใดมีคุณ ค่า หรื อ ไม่ มี คุ ณ ค่ า ในชี วิ ต   และในการเรี ย ง ล�ำดับความส�ำคัญของคุณค่าต่างๆ  อย่างถูก ต้อง  ในเรือ่ งนีผ้ สู้ งู อายุสามารถเป็นและต้อง เป็ น ครู บ าอาจารย์   แม้ ป ั จ จุ บั น เขาสอน เทคนิคการประกอบอาชีพไม่ได้แล้ว  แต่จะ สอนคุ ณ ค่ า ทางมนุ ษ ยธรรมได้   เช่ น มิตรภาพ  ความรัก  ความเคารพและความ จริงในการติดต่อกับผู้อื่น  ความสมานฉันท์ เราเรียนรูส้ งิ่ เหล่านีจ้ ากการติดต่อกันและการ ถ่ า ยทอดประสบการณ์ จ ากบุ ค คลที่ รู ้ จั ก ด�ำเนินชีวติ เช่นนี ้ คือบุคคลทีบ่ รรลุวฒ ุ ภิ าวะ ซึ่งได้เรียนรู้จากชีวิตที่รักด้วยใจกว้างและ ซื่อสัตย์  โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ถ้ า เราด� ำ เนิ น ชี วิ ต ใกล้ ชิ ด กั บ บุ ค คล เหล่านี ้ เราจะเรียนรูค้ วามมัง่ คัง่ และค่านิยม ในเรื่องทัศนคติและพฤติกรรมจากเขาด้วย ความเป็นกันเอง  การมีบคุ คลหนึง่ ทีเ่ ราไว้ใจ อย่ า งไม่ มี ข ้ อ สงสั ย ก็ ท� ำ ให้ เ รารู ้ จั ก ความ ซื่อสัตย์  ซึ่งมีความส�ำคัญมากในชีวิตทาง สังคม  ความซื่อสัตย์เป็นลักษณะพื้นฐาน ของการด�ำเนินชีวิตทางสังคม  แต่คุณธรรม


44 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 นีไ้ ม่มาจากการศึกษาเล่าเรียน  ถึงแม้วา่ การ เรียนหนังสือท�ำให้เรารูใ้ นด้านทฤษฏีเกีย่ วกับ ความส� ำ คั ญของความซื่ อ สั ต ย์ ใ นชี วิ ต ทาง สั ง คม  แต่ เ ราจะเรี ย นรู ้ ก ารปฏิ บั ติ ค วาม ซื่อสัตย์จากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดซึ่งถ่ายทอด คุณลักษณะนีโ้ ดยอาศัยแบบอย่างและค�ำพูด ของเขา ในการถ่ายทอดประสบการณ์นี้  ผู้สูง อายุเป็นครูบาอาจารย์สอนปรีชาญาณและ ภูมปิ ญ ั ญาโดยปริยาย  ดังทีป่ รากฏชัดเจนใน หนังสือสุภาษิต  สุภาษิตเป็นบทความสั้นๆ ที่ ส รุ ป ประสบการณ์ ชี วิ ต ซึ่ ง ช่ ว ยส่ อ งสว่ า ง พฤติกรรมของบุคคลรุ่นหลัง  ในสุภาษิตเรา พบประสบการณ์ชวี ติ ของผูส้ งู อายุ  เพราะใน อดีตสุภาษิตเป็นวรรณกรรมธรรมดาที่ผู้สูง อายุถ่ายทอดความรู้ของตนแก่ชนรุ่นหลัง 3.2  ศิลปะการด�ำเนินชีวติ ในมุมมอง ภูมิปัญญาทางพระคัมภีร์ แม้เป็นความจริงทีว่ า่   ผูส้ งู อายุมปี รีชา ฉลาดโดยธรรมชาติ  แต่ก็ยังเป็นความจริง อีกว่าการมีอายุยืนนานไม่เพียงพอที่ท�ำให้ มนุษย์มปี รีชาฉลาดอย่างแท้จริงโดยอัตโนมัติ ผู ้ สู ง อายุ เ ป็ น ผู ้ มี ป รี ช าฉลาดเพราะเขามี ประสบการณ์ ชี วิ ต   ได้ ผ ่ า นอุ ป สรรคชนะ ความยากล�ำบากของชีวิตทางสังคม  และ ยิ่งกว่านั้น  เพราะเขาได้เรียนรู้ชีวิตอย่าง แท้จริง  จึงท�ำให้ประสบการณ์นนั้ ฝังลึกลงใน จิตใจ  ดังที่หนังสือบุตรสิราเขียนไว้ว่า

“ถ้าท่านไม่เก็บออมไว้ในวัยเยาว์  เมือ่ แก่เฒ่าแล้วท่านจะมีสมบัติอะไร  สิ่ง ที่น่าชมยิ่งคือคนผมขาวที่รู้จักวินิจฉัย และผู้อาวุโสที่รจู้ ักให้ค�ำแนะน�ำ  สิ่งที่ น่าชมยิง่ คือปรีชาญาณของผูช้ รา  การ รู ้ จั ก ไตร่ ต รองและการตั ด สิ น ของ บุคคลส�ำคัญ  มงกุฎของผู้ชราคือการ มีประสบการณ์มากมาย  ความภูมิใจ ของเขาคือความย�ำเกรงองค์พระผูเ้ ป็น เจ้า”  (บสร  25:3-6) ดังนัน้   พรสวรรค์และลักษณะเฉพาะ ของผู้สูงอายุคือความสามารถในการตัดสิน ประเมินค่าสิ่งต่างๆ  มีความเชี่ยวชาญใน การให้ ค� ำ ปรึ ก ษาและในการวิ นิ จ ฉั ย ประสบการณ์หลากหลายที่ผู้สูงอายุที่เคย ประสบมาก่อน  ช่วยเขาให้ใช้ค�ำพูดที่ปรีชา ฉลาดและรู้จักประเมินค่าสิ่งต่างๆ  อย่าง ชัดเจนก็จริง  แต่มีเงื่อนไขว่าผู้สูงอายุคนนั้น ต้องมีความย�ำเกรงพระเจ้า “ความย�ำเกรงพระเจ้า”  หมายถึงการ ยอมรับด้วยความเคารพว่า  พระเจ้าทรง ปกครองชีวิตของตน  ซึ่งท�ำให้เขามีทัศนคติ ที่ถูกต้องต่อชีวิต  โดยไม่อ้างสิทธิพิเศษและ ไม่มีความทะเยอะทะยาน  จึงบรรลุปรีชา ญาณ  ผู้สูงอายุสามารถใช้ประสบการณ์ให้ เป็ น ประโยชน์   ถ้ า เขาด� ำ เนิ น โดยยอมรั บ พระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์  การ มีอายุยืนยาวอย่างเดียวไม่เพียงพอ  โดย แท้จริงแล้ว  อาจมีสถานการณ์ของผู้สูงอายุ


ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์

ที่ดูเหมือนโง่เขลา  และขาดปรีชาญาณซึ่ง เป็ น ลั ก ษณะเฉพาะของผู ้ สู ง อายุ   ดั ง ที่ หนังสือบุตรสิรายังกล่าวว่า “จิ ต ใจข้ า พเจ้ า เกลี ย ดชั ง คนสาม ประเภท  ชีวิตของเขาน่ารังเกียจมาก คือคนยากจนทีห่ ยิง่ ยโส  คนมัง่ มีทพี่ ดู เท็จ  ชายชราเจ้าชูท้ ขี่ าดสามัญส�ำนึก” (บสร  25:2) บุคคลเหล่านี้มีลักษณะ  2  ประการ ที่ขัดแย้งกันในตัว  คนยากจนเป็นผู้หยิ่งยโส ไม่ได้  คนมั่งมีไม่มีเหตุผลที่จะต้องพูดเท็จ ชายชราไม่ควรเป็นคนเจ้าชู้  คนชราที่แม้ มีอายุยาวนานยังไม่ได้เรียนรู้ความซื่อสัตย์ ความรัก  การอุทศิ ตน  เป็นภาพทีไ่ ม่งดงาม เป็นรูปแบบไม่ถูกต้อง  มีบางสิ่งบางอย่างที่ ขัดแย้งในตัว  ซึ่งบุตรสิรารับไม่ได้  ดังนั้น บทสอนคื อ วั ย สู ง อายุ เ ป็ น บ่ อ เกิ ด ของ ภู มิ ป ั ญ ญา  ถ้ า คนชราด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดย นอบน้อมเชือ่ ฟังพระวาจาของพระเจ้ามีทา่ ที แสดงความซื่ อ สั ต ย์ แ ละพร้ อ มที่ จ ะปฏิ บั ติ ตามพระวาจานั้ น   ดั ง ที่ เ พลงสดุ ดี   119 กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีความเข้าใจยิ่งกว่าบรรดา ครูของข้าพเจ้า  เพราะข้าพเจ้าครุ่น ค�ำนึงถึงกฤษฎีกาของพระองค์ขา้ พเจ้า มีความเข้าใจมากกว่าผูอ้ าวุโส  เพราะ ข้ า พเจ้ า ปฏิ บั ติ ต ามข้ อ บั ง คั บ ของ พระองค์  (สดด  119:99-100)

45

การเชือ่ ฟังพระวาจาของพระเจ้าท�ำให้ ชีวิตมีความมั่งคั่ง  การมีอายุยืนยาวอย่าง เดียวไม่สามารถที่จะให้ได้  หนังสือปรีชา ญาณซึ่ ง สรุ ป ธรรมประเพณี ข องบรรดาผู ้ มีปรีชาฉลาดในเรื่องนี้จึงกล่าวว่า “วัยชราที่น่านับถือไม่ใช่การมีอายุยืน หรือวัดได้ด้วยจ�ำนวนปี  ความรอบรู้ เป็ น เสมื อ นผมหงอกส� ำ หรั บมนุ ษ ย์ ชี วิ ต ไร้ ม ลทิ น เป็ น เสมื อ นวั ย ชราที่ ยืนยาว”  (ปชญ  4:8-9) ปรีชาญาณและชีวิตปราศจากมลทิน คือวัยสูงอายุอย่างแท้จริง ในพั น ธสั ญ ญาใหม่ เ รายั ง พบการ ไตร่ตรองและค�ำตักเตือนทีอ่ า้ งถึงผูส้ งู อายุอกี ด้วย  เช่น  จดหมายของนักบุญเปาโลถึง ทิ ตั ส บรรยายอุ ด มการณ์ ข องผู ้ สู ง อายุ ที่ มี ความเชื่อว่า “จงสอนชายสูงอายุให้มัธยัสถ์ในการ กินการดื่ม  ท�ำตนเป็นที่ควรเคารพ นับถือ  มีเหตุผล  มีความมั่นคงใน ความเชือ่   ความรัก  และความอดทน ท�ำนองเดียวกัน  จงสอนสตรีสูงอายุ ให้ประพฤติตนเหมาะสมกับการเป็นผู้ มีความเชื่อ  ไม่ใส่ความ  ไม่นินทา และไม่ติดสุรา  พวกเขาเหล่านั้นจะ เป็นผูอ้ บรมสัง่ สอนหญิงทีเ่ ยาว์วยั กว่า ให้รู้ว่าจะต้องรักสามีและบุตรของตน อย่างไร  จะต้องมีเหตุผลและท�ำตน ให้บริสทุ ธิอ์ ย่างไร  จะต้องท�ำงานบ้าน


46 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 ต้องสุภาพอ่อนโยนและนอบน้อมต่อ สามี อ ย่ า งไร  เพื่ อจะไม่ ท� ำ ให้ พ ระ วาจาของพระเจ้าถูกกล่าวร้าย”  (ทต 2:2-5) เบื้ อ งหลั ง ความคิ ด และวิ ธี พู ด เช่ น นี้ คือธรรมประเพณีของหนังสือประเภทปรีชา ญาณที่ว่า  เราเรียนรู้ศิลปะการด�ำเนินชีวิต จากผู ้ สู ง อายุ ซึ่ ง เป็ น ครู บ าอาจารย์ โ ดย ธรรมชาติ 3.3  ศิลปะการด�ำเนินชีวิตจากมุม มองความเชื่อ ผู ้ สู ง อายุ มี ท รั พ ย์ ส มบั ติ มั่ ง คั่ ง ทาง ประสบการณ์ ชี วิ ต   ซึ่ ง ท� ำ ให้ เ ขามี ค วาม ช�ำนาญสอนปรีชาฉลาดแก่ผเู้ ยาว์  ยิง่ กว่านัน้ เขายั ง สามารถถ่ า ยทอดความเชื่ อ   โดย แท้จริงแล้ว  เป็น ผู้ถ่ายทอดความเชื่อโดย ธรรมชาติ   เพราะความเชื่ อ เกิ ด ขึ้ น และ ถ่ายทอดทางประสบการณ์  อะไรเป็นเนือ้ หา ส�ำคัญของความเชื่อ  ค�ำตอบก็คือการระลึก ถึงเหตุการณ์ยงิ่ ใหญ่ทพี่ ระเจ้าทรงกระท�ำเพือ่ ช่วยประชากรของพระองค์ให้รอดพ้น  ดังนัน้ ผู้สูงอายุจึงเป็น ผู้เฝ้าพิทักษ์รักษา  “ความ ทรงจ�ำ”  เพราะชีวิตของเขาคือการระลึกถึง อดีต  และผูส้ งู อายุทมี่ คี วามเชือ่ ก็ดำ� เนินชีวติ โดยระลึ ก ถึ ง ความเชื่ อ   เขาจึ ง เป็ น ครู บ า อาจารย์ ส อนสอนความเชื่อ โดยธรรมชาติ เราเรียนรูค้ วามเชือ่ จากผูส้ งู อายุและจากบิดา มารดา  ซึ่งถ่ายทอดการศึกษาอบรมและ ความทรงจ�ำแห่งความเชื่อ  ซึ่งช่วยให้เรามี

ประสบการณ์ส่วนตัว  ดังที่เพลงสดุดี  44 กล่าวว่า “ข้ า แต่ พ ระเจ้ า   ข้ า พเจ้ า ทั้ ง หลาย ได้ยินด้วยหูแล้ว  บรรพบุรุษบอกเล่า แก่ ข ้ า พเจ้ า ทั้ ง หลาย  ถึ ง กิ จ การที่ พระองค์ท รงกระท�ำ ในสมัยของเขา ในโบราณกาล”  (สดด  44:1) พืน้ ฐานของความเชือ่ จากมุมมองพระ คัมภีร์คือ  การบอกเล่าเหตุการณ์พระเจ้า ทรงกระท�ำเพื่อประชากรซึ่งเคยเป็นทาสใน อียิปต์และเป็น ผู้รับใช้ที่กรุงบาบิโลน  พระ ยาห์เวห์ทรงน�ำเขากลับไปสูแ่ ผ่นดินอิสราเอล ประสบการณ์ทั้งหมดของความเชื่อมาจาก การเรื่ อ งเล่ า เหตุ ก ารณ์ ใ นอดี ต   ประสบการณ์แห่งความเชื่อในพระคัมภีร์  และใน ชี วิ ต คริ ส ตชนคื อ   การระลึ ก ถึ ง ความรั ก ที่ พระเจ้าทรงส�ำแดงในเหตุการณ์ต่างๆ  ของ ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดความเชื่อ อย่างเข้มแข็งและคมชัดมากกว่าผูอ้ นื่   เพราะ ความเชื่อของเขาได้เผชิญหน้าและมีชัยชนะ ต่อการทดลองของชีวติ   ถ้าผูส้ งู อายุได้รกั ษา ความเชื่อหมายความว่า  การทดลองของ ชีวติ ไม่สามารถท�ำลายความเชือ่ นัน้   บัญญัติ พืน้ ฐานบทหนึง่ ทีเ่ ราพบในหนังสือเฉลยธรรม บัญญัตกิ ค็ อื   จะต้องถ่ายทอดสิง่ ทีไ่ ด้รแู้ ละมี ประสบการณ์ให้แก่บุตรหลาน  ชนรุ่นที่ออก มาจากอียิปต์มีหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ ของตนแก่บุตร  หลาน  เหลน  และชนรุ่น


ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์

ต่อๆ  ไปในอนาคต  (เทียบ  ฉธบ  6:1-9) ในแง่ นี้ ผู ้ สู ง อายุ เ ป็ น   “ผู ้ เ ฝ้ า พิ ทั ก ษ์ รั ก ษา ธรรมประเพณี ”   หมายความว่ า รั ก ษา เหตุการณ์ที่น�ำความรอดพ้นคือผู้รักษาพื้น ฐานแห่งความเชือ่   เพราะเราสร้างความเชือ่ เช่นนี้  นักบุญเปาโลเตือนทิโมธีให้ระลึกว่า ความเชื่อของเขาเป็นหนี้บุญคุณต่อมารดา และยาย  “ข้าพเจ้ายังระลึกถึงความเชื่อที่ จริงใจของท่านเป็นความเชือ่ แต่เดิมของโลอิส ยายของท่าน  เป็นความเชื่อของยูนิสมารดา ของท่าน  และข้าพเจ้ามัน่ ใจว่าเป็นความเชือ่ ของท่านด้วย”  (2  ทธ  1:5)  จากมุมมอง นี้วัยผู้สูงอายุไม่เป็นเพียงทรัพย์สมบัติแห่ง ปรีชาญาณและปรีชาฉลาด  แต่ยงั เป็นทรัพย์ สมบัติแห่งความเชื่อที่จะต้องถ่ายทอดต่อไป 3.4  อ�ำนาจของผู้สูงอายุในสังคม ในบรรดาองค์ประกอบที่แสดงความ มั่ ง คั่ ง ของผู ้ สู ง อายุ   เรายั ง ต้ อ งพิ จ ารณา อ�ำนาจในสังคม  ในโครงสร้างทางสังคมของ อิสราเอล  ผู้สูงอายุเคยมีความส�ำคัญอย่าง ยิ่ง  เป็น ผู้ตัดสินเรื่องต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับ ชี วิ ต ในเมื อ ง  และเมื่ อ มี ก ารพิ จ ารณาคดี บรรดาผู ้ อ าวุ โ สจะเป็ น ผู ้ พิ พ ากษาในศาล เพราะเขามีปรีชาฉลาดเพียงพอทีจ่ ะประเมิน ค่าและตัดสินใจ  เพือ่ ความดีของชุมชนทีเ่ ขา ด�ำเนินชีวิตอยู่ พระคัมภีร์ใช้ค�ำว่า  “ผู้อาวุโส”  ไม่ เพี ย งส� ำ หรั บ ผู ้ สู ง อายุ เ ท่ า นั้ น   แต่ ยั ง ใช้ ส�ำหรับผูน้ ำ� ชุมชนในด้านศาสนา  ซึง่ เราเรียก

47

ว่า  “สมณะ”  เพราะ  “สมณะ”  ไม่ว่าจะ อายุเท่าใดก็ตาม  เขามีอ�ำนาจปกครองซึ่ง เป็นอ�ำนาจของผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสอย่าง เต็มเปี่ยม 4.  สภาพของผู้สูงอายุเป็นโอกาสส�ำหรับ ชี วิ ต แห่ ง ความเชื่ อ และความหวั ง ซึ่ ง อาจ ส�ำเร็จเป็นจริงอย่างเต็มเปี่ยม ในหนังสือของประกาศกอิสยาห์  เรา ยังพบลักษณะส�ำคัญอีกประการหนึง่ ของชีวติ ผู้สูงอายุคือเป็นผู้มีความหวัง “ยาโคบเอ๋ ย   ท� ำ ไมท่ า นจึ ง พู ด ว่ า อิ ส ราเอลเอ๋ ย   ท� ำ ไมท่ า นจึ ง ย�้ ำ ว่ า ‘ทางเดินของข้าพเจ้าถูกซ่อนไว้จาก พระยาห์ เ วห์   สิ ท ธิ ข องข้ า พเจ้ า ถู ก พระเจ้าของข้าพเจ้ามองข้ามไป’  ท่าน ไม่รหู้ รือ  ท่านไม่เคยได้ยนิ หรือ  พระ ยาห์เวห์เป็นพระเจ้านิรนั ดร  เป็นพระ ผู้เนรมิตสร้างแผ่นดินจนถึงปลายสุด พระองค์ มิ ไ ด้ ท รงอ่ อ นเปลี้ ย หรื อ เหน็ดเหนื่อย  พระด�ำริของพระองค์ เหลือทีจ่ ะหยัง่ รูไ้ ด้  พระองค์ประทาน ก� ำ ลั ง แก่ ผู ้ อ ่ อ นเปลี้ ย   ทรงเพิ่ ม เรี่ยวแรงแก่ผู้ไม่มีก�ำลัง  แม้คนหนุ่ม จะอ่อนเปลี้ยและเหน็ดเหนื่อย  แม้ ชายฉกรรจ์จะสะดุดและล้มลง  แต่ ผู ้ มี ค วามหวั ง ในพระยาห์ เ วห์ จ ะได้ รั บ พลั ง ใหม่   เขาจะกางปี ก บิ น ขึ้ น เหมื อ นนกอิ น ทรี   เขาจะวิ่ ง และไม่


48 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 เหน็ดเหนื่อย  เขาจะเดินและไม่อ่อน เปลี้ย”  (อสย  40:27-31) ข้อความนี้น่าประทับใจอย่างแท้จริง ชาวอิสราเอลถูกเนรเทศอยู่ในกรุงบาบิโลน และด�ำเนินชีวิตน่าสมเพช  เขาจึงคร�่ำครวญ และรูส้ กึ ว่าพระเจ้าทรงทอดทิง้ เขา  ประกาศก อิสยาห์ให้ค�ำตอบแก่ชาวยิวที่ผิดหวังเหล่านี้ ว่า  “ท�ำไมท่านจึงพูดว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้ง เรา  ท่านไม่รหู้ รือว่าพระเจ้าทรงยิง่ ใหญ่  ไม่ ทรงอ่อนเปลีย้ หรือทรงรูส้ กึ เหน็ดเหนือ่ ย  เรา ไม่สามารถเข้าถึงพระด�ำริของพระองค์  อย่า กลั ว ไปเลย  ต่ อ หน้ า อ� ำ นาจของบาบิ โ ลน พระองค์ ไ ม่ ท รงอ่ อ นแอ  ทรงเป็ น ผู ้ เ ยาว์ ตลอดไป” พระวาจาพื้นฐานคือ  “ผู้มีความหวัง ในพระยาห์ เ วห์ จ ะได้ รั บ พลั ง ใหม่ ”   พละ ก�ำลังทางกายภาพที่ถดถอยลงตามเวลาที่ ผ่านไป  แต่ขณะที่เวลาผ่านไปความหวังจะ ฟื้นฟูขึ้นใหม่อยู่เสมอ  เพราะความหวังใน พระเจ้าเป็นวัยเยาว์ตลอดไป  ดังนั้น  แม้ ผู้สูงอายุสามารถด�ำเนินชีวิตที่มั่งคั่งเพราะมี ความหวั ง   นอกเหนื อ จากสภาพทาง กายภาพและจิ ต วิ ท ยาของผู ้ สู ง อายุ   ยั ง มี ความหวังที่สามารถสร้างชีวิตใหม่  เพราะ เขาพักพิงในพระอานุภาพของพระเจ้าซึ่งไม่ ลดถอยในกาลเวลา  ดังทีน่ กั บุญเปาโลเขียน ถึงอับราฮัมในจดหมายถึงชาวโรมว่า “แม้ดูเหมือนจะไม่มีความหวัง  แต่ อับราฮัมก็หวังและเชื่อว่า  เขาจะเป็น

บิ ด าของประชาชาติ จ� ำ นวนมาก สมจริ ง ตามพระสั ญ ญาที่ ว ่ า   ลู ก หลานของเจ้าจะมีจำ� นวนมากเช่นนัน้ ความเชือ่ ของเขายังมัน่ คง  แม้เมือ่ เขา คิดว่าร่างกายของตนดูเหมือนตายไป แล้ ว   ขณะนั้ น เขามี อ ายุ ห นึ่ ง ร้ อ ยปี และครรภ์ของนางซาราห์ก็นับว่าตาย ไปแล้ ว เช่ น เดี ย วกั น   เขาไม่ ส งสั ย เพราะความไม่เชื่อในพระสัญญาของ พระเจ้า  แต่กลับได้รบั พละก�ำลังจาก ความเชื่อ  และถวายพระเกียรติแด่ พระองค์  โดยเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยม ว่ า   สิ่ ง ใดที่ พ ระเจ้ า ทรงสั ญ ญาไว้ พระองค์ย่อมมีพระอ�ำนาจที่จะท�ำสิ่ง นั้นให้เป็นจริงตามพระสัญญาได้  นี่ คือความเชื่อซึ่งนับได้ว่าเป็นความ ชอบธรรมส�ำหรับเขา  ประโยคนี้มิได้ เขียนขึ้นโดยหมายถึงอับราฮัมเท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคนด้วย  ความเชื่อ จะนั บ ได้ ว ่ า เป็ น ความชอบธรรม ส�ำหรับเราเช่นกัน  เพราะเราเชื่อใน พระองค์ ผู ้ ท รงบั น ดาลให้ พ ระเยซู คริสต์  องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรง กลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย พระเยซูคริสตเจ้าทรงยอมสละพระ ชนมชีพเพราะบาปของเรา  และทรง กลับคืนพระชนมชีพเพือ่ ให้เราเป็นคน ชอบธรรม”  (รม  4:18-25)


ผู้สูงอายุในพระคัมภีร์

ในมุมมองของมนุษย์  เมื่ออับราฮัม มีอายุหนึ่งร้อยปี  เขาไม่มีความหวังที่จะมี บุตรแล้ว  แต่เขาได้มคี วามหวังในพระสัญญา ของพระเจ้าผู้ทรงสัญญาว่า  เขาจะได้มีบุตร กับนางซาราห์ภรรยาของตน  สภาพอ่อนแอ ทางด้านกายภาพของอับราฮัมเป็นโอกาส ท�ำให้พระเจ้าทรงส�ำแดงพระอานุภาพและ ความรักของพระองค์  โดยทรงท�ำให้ความ หวังของมนุษย์ส�ำเร็จลุล่วงไป ในกรณีนเี้ ราเห็นชัดเจนว่า  แม้วยั ผูส้ งู อายุเป็นการสูญเสียพลังทางด้านร่ายกาย ก็จริง  แต่ไม่เป็นการพ่ายแพ้ตอ่ ชีวติ   เพราะ ในขณะนัน้ มนุษย์ตอ้ งเรียนรูท้ จี่ ะมีความหวัง ความหวั ง เป็ น เรื่ อ งง่ า ยส� ำ หรั บ ผู ้ วั ย เยาว์ เพราะเขายังมีโอกาสเลือกความเป็นไปได้ มากมาย  แต่เมือ่ เวลาผ่านไปความเป็นไปได้ เหล่านั้นก็ลดลงเรื่อยๆ  และความหวังเป็น สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต  คือเป็นการค้น พบคุณค่าชีวติ ในการอยูก่ บั ผูอ้ นื่ ด้วยความรัก การให้และการรับ  วัยผู้สูงอายุจึงเป็นช่วง เวลาที่ ต ้ อ งมี ค วามเชื่ อ ในพระสั ญ ญาของ พระเจ้า ผูส้ งู อายุระลึกถึงอดีตอย่างดี  แต่อาจ ลดความหวั ง เกี่ ยวกั บ อนาคต  ประเด็ น นี้ แหละที่ เ ขาต้ อ งมี ค วามหวั ง อั น เป็ น ของ ประทานจากพระเจ้า  ซึ่งไม่ได้เป็นโครงการ ชีวิตในระยะสั้น  แต่เป็นความหวังในความ ซือ่ สัตย์และความรักของพระเจ้า  เป็นความ หวังในความหมายของชีวติ   ความสามารถที่

49

จะเปลี่ ย นแปลงชี วิ ต ของตนด้ ว ยความรั ก และการด�ำเนินชีวติ โดยมอบตนแด่องค์พระผู้ เป็นเจ้าด้วยความไว้วางใจ  จากมุมมองนี้ วัยผูส้ งู อายุเป็นเวลาทีช่ วี ติ แห่งความเชือ่ และ ความหวังส�ำเร็จลุล่วงไปอย่างบริบูรณ์ ในจดหมายฉบับที่สองถึงชาวโครินธ์ นักบุญเปาโลกล่าวถึง  “หนามทิ่มแทงเนื้อ หนัง”  ของตน  ซึง่ เป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้ ด�ำเนินชีวิตตามกระแสเรียกอัครสาวกอย่าง เต็มเปีย่ ม  จึงกล่าวว่า  “ข้าพเจ้าวอนขอองค์ พระผู ้ เ ป็ น เจ้ า สามครั้ ง   ขอให้ พ ้ น ไปจาก ข้าพเจ้า”  คือขอให้พระองค์ทรงปลดปล่อย ให้เขาพ้นจากสภาพความอ่อนแอ  ค�ำตอบ ของพระเจ้ า คื อ   “พระหรรษทานของเรา เพียงพอส�ำหรับท่าน  เพราะพระอานุภาพ แสดงออกเต็มที่เมื่อมนุษย์มีความอ่อนแอ” (2  คร  12:7-9ก) นี่เป็นเหตุผลที่ท�ำไมเราจึงเข้าใจว่า วัยผูส้ งู อายุเป็นช่วงเวลาพิเศษในประสบการณ์ แห่งความหวัง  “พระอานุภาพของพระเจ้า แสดงออกเต็มที่เมื่อมนุษย์มีความอ่อนแอ” เพราะวั ย สู ง อายุ เ ป็ น ความอ่ อ นแอด้ า น กายภาพก็เป็นช่วงเวลาที่พระอานุภาพของ พระเจ้าสามารถแสดงออกอย่างมีพลัง ยิ่ง ใหญ่และชัดเจน  นักบุญเปาโลเขียนต่อไป ว่า  “ข้าพเจ้าจึงเต็มใจทีจ่ ะโอ้อวดเรือ่ งความ อ่อนแอ  เพือ่ ให้พระอานุภาพของพระคริสตเจ้าพ�ำนักอยู่ในข้าพเจ้า  ฉะนั้นเพราะความ รักต่อพระคริสตเจ้า  ข้าพเจ้าจึงพอใจความ


50 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2016/2559 อ่อนแอต่างๆ  เมื่อถูกสบประมาท  เมื่อมี ความคั บ แค้ น   เมื่ อ ถู ก ข่ ม เหงและอั บ จน เพราะข้าพเจ้าอ่อนแอเมือ่ ใด  ข้าพเจ้าก็ยอ่ ม เข้มแข็งเมื่อนั้น”  (2  คร  12:9ข-10) ดังนั้น  วัยผู้สูงอายุเป็นความอ่อนแอ ด้วยเพราะเหตุน ี้ จึงเป็นโอกาสทีเ่ ปิดทางน�ำ ไปสูค่ วามเชือ่ ทีเ่ ข้มข้นและบริสทุ ธิม์ ากยิง่ ขึน้ เพราะเป็นความเชื่อที่ไม่มีพลังของมนุษย์ ค�้ ำ จุ น อี กต่ อ ไป  เมื่ อ มนุ ษ ย์ เ ผชิ ญ หน้ า กั บ

ความจ�ำกัดของตน  พระเจ้าจะทรงส�ำแดง พระอานุภาพแก่เขา  เวลานั้นความเชื่อและ ความหวังจะสุกใสมากยิง่ ขึน้   ซึง่ หมายความ ว่า  เราต้องพยายามด�ำเนินชีวติ ทีจ่ ำ� กัดในวัย ชราโดยไม่ยอมพ่ายแพ้  แต่คน้ หาการท้าทาย ของความเชือ่ และความหวัง  เช่นเดียวกับอัม ราฮัมผู้มีความหวัง  “แม้ดูเหมือนไม่มีความ หวัง”

บรรณานุกรม พระคัมภีร์คาทอลิก  ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ:  คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์,  2014. Harris,  J.  Gordon.  Biblical  Perspectives  on  Aging:  God  and  the  Elderly. New  York:  Routledge,  2008. Leon-Dufour,  Xavier.  Dictionary  of  Biblical  Theology.  New  York:  Desclee Company,  1967.  McKenzie,  John  L.,  S.J.,  Dictionary  of  the  Bible.  London:  Geoffrey Chapman, 1976.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.