วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2017/2560

Page 1


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย  นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ  นางสาวพิมพ์ฤทัย วิชัยธรรมคุณ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี ปีละ 300 บาท (จำ�นวน 3 ฉบับ/ปี) จำ�หน่ายปลีก ราคาฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819


2

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร

ถ้าท่านมีลกู   2-3  คน  ท่านอยากให้ลกู ๆ  ของท่านรักและเป็นหนึง่ เดียวกันหรือไม่  เชือ่ แน่วา่ ทุกท่านคงตอบว่า  ใช่  ถ้าวันหนึง่   ลูกๆ  ของท่านทะเลาะกันอย่างรุนแรง  ไม่รกั กัน  ไม่ให้อภัยต่อกัน ท่านจะรู้สึกอย่างไร  ค�ำตอบคงเป็นความรู้สึกไม่สบายใจ  ทุกข์ใจ  กังวลใจ  และอยากจะให้ทุกคนกลับ คืนดีกัน พระเป็นเจ้าคงไม่ตา่ งจากท่าน  ทีอ่ ยากเห็นลูกๆ  ของพระองค์รกั กัน  ครัง้ หนึง่   พระเยซูเจ้าทรง อธิษฐานภาวนาว่า  “ข้าแต่พระบิดา  ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา  เพือ่ ให้ทกุ คนเป็นหนึง่ เดียวกัน  เช่นเดียว กับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า  และข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์”  (ยน.  17:21)  นับเป็นเวลาหลายร้อยปี แล้ว  ที่คริสต์ศาสนาแยกออกเป็นนิกายต่างๆ  แม้มีความพยายามที่จะปรับเข้าหากันเพื่อความเป็น เอกภาพ  แต่ทุกสิ่งล้วนต้องการเวลา วารสารแสงธรรมปริทัศน์อยากจะเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน  ได้มีส่วนร่วมกันในการสร้างเอกภาพ ให้เกิดขึ้นจริง  ด้วยการเริ่มต้นที่ความคิดความเข้าใจที่พึงมีต่อกัน  อธิษฐานภาวนาเพื่อความเป็น เอกภาพ  และร่วมมือร่วมใจกับพี่น้องคริสตชน  ในฐานะที่เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า  ช่วยกันท�ำให้ ความปรารถนาที่จะกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันนี้เป็นจริงอีกครั้งหนึ่ง แม้จะต้องใช้เวลาและใช้ความพยายามมากขนาดไหน  แต่ด้วยพระพรและความช่วยเหลือของ พระเป็นเจ้า  ทุกสิ่งย่อมเป็นไปได้เสมอ บรรณาธิการสร้างสรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์...  ขอเชิญชวนส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ฉบับต่อไป เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม  2560  ในหัวข้อ  “ทูตสวรรค์” ***ส่งต้นฉบับได้ที่*** อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ E-mai: pi_santo@yahoo.com หรือ  คุณสุกานดา วงศ์เพ็ญ E-mai: sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2560  และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความที่ส่งมาร่วมแบ่งปัน

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3

Content

SaengthamJournal

5

5

ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560

เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับคริสตศาสนสัมพันธ์ บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์ S.D.B.

17

17

คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์ ศ.กีรติ  บุญเจือ, ราชบัณฑิต

30

คริสตศาสนจักรสัมพันธ์: ประวัติและแนวทาง บาทหลวง ดร.เกรียงยศ ปิยวัณโณ, S.J.

40

40

Fundamentalismand Relativism พระสังฆราช ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต

57

57

คริสตศาสนสัมพันธ์: ร่วมมือช่วยสร้างพระศาสนจักร บาทหลวงปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.

65

65

แนวคิดการทำ�งานศาสนสัมพันธ์ระหว่าง นิกายคาทอลิกและโปรเตสแตนท์

ศาสนาจารย์  ดร.ชุลีพรรณ  ศรีสุนทร, ศาสนาจารย์  นันทิยา  เพ็ชรเกตุ, ลลิตา  กิจประมวล และ บาทหลวง  เสนอ  ดำ�เนินสะดวก


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

SaengthamJournal ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560

71

Content

71 76

ครั้งหนึ่ง.. กับสัมมนาข้อเชื่อ

วรัญญู นางาม และ ขวัญชัย นาอุดม

76

สู่วิถีแห่งความเข้าใจระหว่างศาสนา ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์

84

ศาสนสัมพันธ์.. ในครอบครัว

ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

84

91

แนะนำ�หนังสือพระสมณกฤษฎีกา เรื่องคริสตศาสนิกสัมพันธ์ (Decree  on  Ecumenism; UNITATIS  REDINTEGRATIO) และหนังสือจากความขัดแย้งสู่ความเป็นหนึ่งเดียว (From Conflictto Communion) ลูเธอรันและคาทอลิกร่วมกันระลึกถึง 500 ปี แห่งการปฏิรูปในปี ค.ศ.1517-2017 บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร

***ในวารสารฉบับนี้***

กองบรรณาธิการต้องการน�ำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง “การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผูน้ บั ถือศาสนาคริสต์นกิ ายต่างๆ” แม้ถ้อยค�ำที่ใช้ในแต่ละบทความจะแตกกันตามการใช้ของผู้เขียน


บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์ S.D.B.

คริ ส ตชนคาทอลิ ก   ออร์ โ ธด็ อ กซ์ และโปรเตสแตนต์  มีความเลื่อมใสศรัทธา ต่อพระนางมารีย์แตกต่างกัน  นิกายทั้ง  3 นี้ มี ค วามคิ ด เห็ น ใดบ้ า งที่ เ หมื อ นและไม่ เหมือนกันเกี่ยวกับพระนางมารีย์  สมมุติ ถ้าเราไปสัมภาษณ์ผู้แทนนิกายส�ำคัญของ คริสตศาสนาดังกล่าวนี้  คือ  พระสงฆ์กรีก อ อ ร ์ โ ธ ด็ อ ก ซ ์ ค น ห นึ่ ง   ศิ ษ ย า ภิ บ า ล โปรเตสแตนต์ นิ ก ายลู เ ธอรั น คนหนึ่ ง และ ฆราวาสโรมันคาทอลิกอีกคนหนึ่ง  ถามเขา แต่ละคนว่า  “พระนางมารีย์ทรงเป็น ผู้ใด ส�ำหรับท่าน”  ค�ำตอบอาจเป็นดังนี้

“ส� ำ หรั บ ผมออร์ โ ธด็ อกซ์   พระนาง มารีย์  พระชนนีของพระเจ้า  ประทับอยู่ใน ทุ ก หนทุ ก แห่ ง   ถ้ า ท่ า นมาร่ ว มพิ ธี ก รรม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องเราก็ จ ะสั ง เกตว่ า  พระนาง มารีย์ทรงได้รับเกียรติ  โดยพระสงฆ์ถวาย ก�ำยานแด่รูปภาพของพระนาง  ในหนึ่งรอบ ปีพิธีกรรม  เราเฉลิมฉลองพระนางหลาย โอกาส  ขับร้องสรรเสริญพระนางด้วยบท สร้ อ ยและเพลงเทิ ด เกี ย รติ ที่ มี สั ญ ลั ก ษณ์ ในพระคัมภีร์และแรงบันดาลใจของนักกวี อย่างเต็มเปี่ยม  จริงๆ  แล้ว  ค�ำกล่าวของ บุลคาคอฟ  (Bulgakov)  ก็ถกู ต้องว่า  ศาสนา

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน S.D.B., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

(หมวดพระสัจธรรม)

เทววิทยา เรื่องพระนางมารีย์ กับคริสตศาสนสัมพันธ์


6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 ของเราเป็ น ศาสนาของพระเยซู เ จ้ า และ พระนางมารีย์” ทัศนคติของศิษยาภิบาลโปรเตสแตนต์ นิ ก ายลู เ ธอรั น แตกต่ า งกั บ ความคิ ด ของ ออร์โธด็อกซ์จากหน้ามือเป็นหลังมือว่า  “เรา เคารพพระมารดาของพระเยซูเจ้า  แต่ไม่ อธิษฐานภาวนาวอนขอความช่วยเหลือจาก พระนางเลย  เพราะระหว่ า งพระเจ้ า กั บ มนุษย์เราไม่ยอมรับคนกลางอืน่ ๆ  นอกจาก พระเยซูเจ้าคนกลางเพียงผูเ้ ดียวเท่านัน้   เรา มองพระนางมารีย์ในฐานะทรงเป็นผู้มีความ เชื่อ  ดังที่นางเอลีซาเบธประกาศยืนยันว่า พระนางทรงเป็นสุขเพราะความเชื่อ” ส่วนฆราวาสคาทอลิกแสดงความคิด เห็นว่า  “ผมรักพระนางมารีย์ในฐานะทรง เป็น ผู้ร่วมงานในพระธรรมล�้ำลึกเรื่องความ รอดพ้น  ยิง่ กว่านัน้   ยังทรงเป็นรูปแบบหรือ แบบอย่างของมนุษย์ผู้ได้รับพระหรรษทาน จากพระเจ้าแล้ว  ก็ทรงตอบสนองพระองค์ ด้ ว ยความพร้ อ มเพรี ย งเต็ ม เปี ่ ย ม  ดั ง ที่ พระนางทรงปฏิบตั เิ มือ่ ทูตสวรรค์ทรงแจ้งข่าว แด่ พ ระนาง  เราวอนขอพระนางให้ ท รง อธิษฐานภาวนาเพื่อเรา  บัดนี้และเมื่อจะ ตาย” ความแตกต่ า งดั ง กล่ า วเข้ า ใจได้ ใ น บริบทการยืนยันความเชื่อของแต่ละนิกาย ความเชื่อระหว่างพระศาสนจักรคาทอลิก กับคริสตจักรออร์โธด็อกซ์แตกต่างกันไม่มาก นัก  ออร์โธด็อกซ์เชือ่ ว่าพระนางมารียท์ รงได้

รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ และทรงเป็ น ผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ไ ร้ ม ลทิ น ใดๆ อย่างไรก็ตาม  เขาไม่เห็นด้วยที่พระศาสนจักรคาทอลิกได้ประกาศเป็นพระสัจธรรม ว่า  “พระนางมารียท์ รงเป็นผูป้ ฏิสนธินริ มล” เขายังเชื่อเหมือนกับคริสตชนคาทอลิกว่า มนุษย์ร่วมมือกับพระเจ้าได้ ส่วนความแตกต่างระหว่างพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก กั บ คริ ส ตจั ก รโปรเตสแตนต์ นิกายต่างๆ  มีมากกว่า  เพราะเขาเหล่านัน้ ล� ำ บากในการยอมรั บ พระสั จ ธรรมเรื่ อ ง พระนางมารีย์ทรงปฏิสนธินิรมลและทรงได้ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เขาไม่ยอมรับการร่วมมือของพระนางในงาน ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นและเรื่องการอธิษฐาน ภาวนาวอนขอความช่วยเหลือจากพระนาง 1.  ความมุ่งมั่นของคริสตศาสนสัมพันธ์ และเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ สมเด็จพระสันตะปาปา  นักบุญยอห์น ปอลที่   2  และผู ้ สื บ ต� ำ แหน่ ง ต่ อ จาก พระองค์ประทานแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า แก่ ค ริ ส ตชนให้ มุ ่ ง มั่ น สร้ า งคริ ส ตศาสนสัมพันธ์และร่วมมือกันพัฒนาเทววิทยาเรื่อง พระนางมารีย์ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แม้ พ ระศาสนจั ก คาทอลิ ก และคริ ส ตจั ก ร โปรเตสแตนต์นกิ ายต่างๆ  มีคำ� สอนแตกต่าง กันหลายเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของพระนาง มารียใ์ นงานช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น  แต่คริสต-


เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

จั ก รทั้ ง หลาย  ก็ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ให้ ด� ำ เนิ น การ เสวนากันต่อไปเพื่อลบล้างความแตกต่าง เหล่านี้  และจับมองพระนางมารีย์  ว่าทรง เป็นมารดาของคริสตชนทุกคน  จึงจ�ำเป็น อย่างยิ่งที่นักเทววิทยาผู้ศึกษาค�ำสอนเรื่อง พระนางมารีย์ต้องว่องไวต่อความเร่งด่วน ของคริสตศาสนสัมพันธ์  ซึ่งพระจิตเจ้าทรง ก่อให้เกิดเพื่อบรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้า จะก้าวเดินต่อไปสูค่ วามเป็นเอกภาพ  โดยไม่ หวั่ น กลั ว ว่ า คริ ส ตศาสนสั ม พั น ธ์ จ ะเป็ น อันตรายต่อการรักษามรดกของพระศาสนจักรคาทอลิกเกี่ยวกับพระมารดาขององค์ พระผู้เป็นเจ้า  เพราะคริสตศาสนสัมพันธ์ ทีแ่ ท้จริงไม่สญ ู เสียหรือเปลีย่ นแปลงคลังแห่ง ความเชือ่   ตรงกันข้าม  กลับตัง้ ใจทีจ่ ะศึกษา ค้นคว้าพร้อมกันและเสวนากันด้วยความ จริ ง ใจ  เพื่ อ ช่ ว ยบรรดาพี่ น ้ อ งคริ ส ตชน นิ ก ายอื่ น ๆ  ให้ รู ้ จั ก ความจริ ง ทั้ ง หมดที่ พระเจ้าทรงเปิดเผยเกี่ยวกับพระนางมารีย์ ชาวนาซาเร็ ธ   รวมทั้ ง เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ คริสตชนคาทอลิกไตร่ตรองถึงข้อข้องใจของ คริสตจักรอืน่ ๆเกีย่ วกับการเสนอภาพลักษณ์ ข อ ง พระมารดาพรหมจารี ทั้ ง ในด้ า น ประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรม ดังนัน้   การวิจยั ค้นคว้าของนักเทววิทยา เรือ่ งพระนางมารียจ์ งึ ต้องรักษากฎเกณฑ์พนื้ ฐานต่อไปนี้ ก.  ต้ อ งหลี ก เลี่ ย งอคติ ดั้ ง เดิ ม ถ้อยค�ำ  การตัดสินและการกระท�ำที่

ไม่สะท้อนให้เห็นค�ำสอนของพี่น้องนิ กายอื่ น ๆ  อย่ า งยุ ติ ธ รรมและตาม ความเป็นจริง  ซึ่งท�ำให้การเสวานา ยากยิ่งขึ้น ข.  ต้องด�ำเนินการเสวนาด้วยความ เชื่ อ มั่ น   เพราะพระศาสนจั ก ร ประกาศว่าเป็นวิธกี ารทีจ่ ำ� เป็นและเร่ง ด่วน ค.  ต้องหลีกเลี่ยงที่จะมองข้ามความ แตกต่างกันเพื่อเห็นแก่เอกภาพ  คือ ต้ อ งน� ำ เสนอหลั ก ค� ำ สอนเกี่ ย วกั บ พระนางมารียอ์ ย่างชัดเจน  ไม่วา่ เป็น ค� ำ สอนที่ พ ระศาสนจั ก รก� ำ หนดไว้ อย่ า งเป็ น ทางการหรื อ ค� ำ สอนที่ สั่ ง สอนโดยอ�ำนาจปกติและสากล ง.  ต้ อ งใช้ ถ ้ อ ยค� ำ และสู ต รอย่ า ง รอบคอบเพื่อหลีกเลี่ยงภาษาที่อาจ สร้างความรูส้ กึ ไม่สบายใจให้แก่พนี่ อ้ ง นิกายอื่นๆ  คือควรใช้ถ้อยค�ำที่แสดง ค�ำสอนอย่างชัดเจนและถูกต้อง  โดย ไม่ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู ้ อื่ น ตี ค วามอย่ า ง ผิดๆ จ.  ต้องหลีกเลี่ยงการน�ำเสนอภาพ ลักษณ์ของพระนางมารียแ์ ยกพระนาง ออกจากโครงสร้างของพระศาสนจักร นี่เป็นลักษณะที่จ�ำเป็น  ซึ่งทั้งนิกาย โปรเตสแตนต์และแองกลิกนั เรียกร้อง และยั ง เป็ น ลั ก ษณะที่ ส อดคล้ อ ง กั บ ธรรมประเพณี แ ท้ จ ริ ง ของพระ

7


8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 ศาสนจั ก รคาทอลิ ก   เพราะไม่ เ ป็ น อุปสรรคขัดขวางที่จะเน้นคุณสมบัติ เฉพาะเจาะจงไม่ เ หมื อ นใครของ พระมารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์และรุ่งโรจน์ 2.  วิธีการค้นคว้าเทววิทยาเรื่องพระนาง มารีย์แบบคริสตศาสนสัมพันธ์ 2.1  ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วันที ่ 21  พฤศจิกายน  1964  เป็น วันส�ำคัญส�ำหรับประเด็นของเรา  เพราะมี เหตุการณ์  2  ประการที่เกิดขึ้น  คือ  ก) การอนุมัติสังฆธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร  “Lumen  Gentium”  รวมทั้งบทที่ 8  ที่ มี ชื่ อ ว่ า   “พระนางพรหมจารี ม ารี ย ์ พระชนนีพระเจ้า  ในพระธรรมล�้ำลึกของ พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร”  และ  ข) การอนุมัติพระสมณกฤษฏีกาว่าด้วยสากล สัมพันธภาพ  “Unitatis  Redintegratio” เอกสารทัง้ สองนีเ้ ป็นจุดอ้างอิงของการเสวนา เรื่ อ งพระนางมารี ย ์ แ ละเทววิ ท ยาเรื่ อ ง พระนางมารีย์อีกด้วย  ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้น มา  เริม่ มีกระบวนการเสวนาอย่างมีขนั้ ตอน ส�ำคัญดังต่อไปนี้ • ขั้นตอนแรก  (1964-1974)  มี ลักษณะเฉพาะที่คริสตจักรโปรเตสแตนต์นกิ ายต่างๆ  เข้ามีสว่ นปฏิสมั พันธ์ อย่างกว้างขวางและหลากหลายกับ พระศาสนจักรคาทอลิก  แต่ไม่ยอมรับ ค� ำ สอนบทที่   8  ของ  “Lumen

Gentium”  แม้เขาเริ่มมั่นใจว่าควร ตอบสนองค�ำเชือ้ เชิญจากคาทอลิกให้ แสดงความคิ ด ของตนเกี่ ย วกั บ พระนางมารีย ์ ส่วนคริสตชนคาทอลิก ในคริสตศาสนสัมพันธ์ชว่ งเวลานีค้ อ่ น ข้าง  “เงียบ”  ไม่พูดถึงพระนางเลย เพราะเทววิทยาก่อนสภาสังคายนา วาติกันที่  2  เรื่องพระนางมารีย์เกิด วิ ก ฤติ ก ารณ์ แ ละนั ก เทววิ ท ยาต้ อ ง เผชิ ญ กั บ ความยากล� ำ บากในการ ปรับปรุงวิชานีต้ ามข้อก�ำหนดใหม่ของ สภาสังคายนา • ขั้ น ตอนที่ ส อง  (1974-1987) จบลงเมื่ อ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา นักบุญยอห์นปอลที ่ 2  ทรงประกาศ พระสมณสาสน์  “มารดาพระผู้ไถ่” (Redentoris  Mater)  ช่วงเวลานี้ มีลักษณะเฉพาะของการเสวนาแบบ “หน้ า ต่ อ หน้ า ”  เข้ ม แข็ ง มากยิ่ ง ขึ้ น โดยมีอากัปกริยาที่เป็นรูปธรรมและ มีความหมาย  ซึง่ ก่อให้เกิดการศึกษา พระคั ม ภี ร ์ แ ละเทววิ ท ยาหลายครั้ ง สมาชิกผูเ้ ข้าร่วมเสวนามีสมั พันธภาพ ที่ แ สดงถึ ง ความเสมอภาพต่ อ กั น และใช้พระคัมภีร์เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อ เข้าใจพระนางมารีย์ • ขั้นตอนที่สาม  (1987–ปัจจุบัน) เป็นช่วงเวลาที่มีการเสวนาอย่างเป็น ทางการเรื่องพระนางมารีย์  ระหว่าง


เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

ท�ำไมพระนางมารีย์จากสตรีที่เป็น “แบบอย่าง” ของความเชื่อ กลายเป็น “บุคคล” ที่เราต้องเชื่อ.. จาก “สตรีผู้อธิษฐานภาวนา” กลายเป็น “สตรีที่เราอธิษฐาน” วอนขอพระเจ้าแทนเรา... จาก “ผู้ทรงได้รับความรอดพ้น” กลายเป็น “ผู้ทรงช่วยให้มนุษย์รอดพ้น”... นั ก เทววิ ท ยาโรมั น คาทอลิ ก กั บ นั ก เทววิ ท ยานิ ก ายอื่ น   โดยเฉพาะกั บ ผู้แทนนิกายลูเธอรัน  (1983-1990) กั บ ผู ้ แ ทนนิ ก ายเมโธดิ ซ ด์   (19922011)  และกั บ ผู ้ แ ทนนิ ก ายแองกลิ กั น   (2000-2005)  ยั ง มี ก าร เสวนาที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการระหว่ า ง นั ก เทววิ ท ยาโรมั น คาทอลิ ก จ� ำ นวน 20  คน  กั บ นั ก เทววิ ท ยาโปรเตสแตนต์นิกายลูเธอรันอีกจ�ำนวน  20 คนจากประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์ แลนด์  การเสวนาครัง้ นีม้ ชี อ่ื ว่า  “The Groupe  des  Dombes”  เพราะ เขาได้ชมุ นุมกันในอารามคณะนักบวช ซิสเตอร์เซียนทีเ่ มืองดอมบ์  ใกล้เมือง ลีอองส์  (1997-1998)  และวันที่ 12-13  มี น าคม  1988  มี ก าร ประชุ ม ของผู ้ แ ทนโปรเตสแตนต์

นิกายต่างๆ  ในประเทศอิตาลี  เพื่อ อภิปรายในหัวข้อทีว่ า่   “พระนางมารีย์ พีส่ าวของเรา  คริสตจักรโปรเตสแตนต์ ต่ อ หน้ า การฟื ้ น ฟู เ ทววิ ท ยาเรื่ อ ง พระนางมารีย์” การประชุ ม เหล่ า นี้ เ ป็ น โอกาสให้ นักเทววิทยาโปรเตสแตนต์ตงั้ ค�ำถามพืน้ ฐาน เกี่ ย วกั บ เทววิ ท ยาเรื่ อ งพระนางมารี ย ์ ว ่ า ท�ำไมพระนางมารีย์จากสตรีที่เป็น  “แบบ อย่าง”  ของความเชื่อกลายเป็น  “บุคคล” ที่ เ ราต้ อ งเชื่ อ   ท� ำ ไมพระนางจาก  “สตรี ผู้อธิษฐานภาวนา”  กลายเป็น  “สตรีที่เรา อธิษฐาน”  วอนขอพระเจ้าแทนเรา  ท�ำไม พระนางมารี ย ์ จ าก  “ผู ้ ท รงได้ รั บ ความ รอดพ้น”  กลายเป็น  “ผู้ทรงช่วยให้มนุษย์ รอดพ้นด้วย”  เพราะพระนางตรัสกับทูต สวรรค์ ว่ า   “ขอให้ เป็ น ไปกั บ ข้ า พเจ้ า ตาม วาจาของท่ า นเถิ ด ”  นี่ คื อ ปั ญ หาทางพระ

9


10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 สั จ ธรรมและวั ฒ นธรรมที่ จ ะต้ อ งแก้ ไ ข เพราะบรรดาโปรเตสแตนต์ คิ ด ว่ า พระ ศาสนจักรคาทอลิกบังคับให้ยอมรับค�ำสอน ดังกล่าวโดยเหตุผลทีไ่ ม่ถกู ต้อง  ปัญหาเหล่า นี้แม้เป็นพื้นฐานและยังไม่แก้ตก  แต่ก็ไม่ได้ ปิดกั้นการเสวนาเพื่อคริสตศาสนสัมพันธ์ แม้ยังมีความแตกต่างกันมาก  แต่ทุกคนก็ ยอมรับว่า  จ�ำเป็นต้องไตร่ตรองถึงพระนาง มารีย์ตามค�ำสอนในพระคัมภีร์  เพื่อจะได้ เป็น  “รูปแบบของความเชื่อ”  เป็น  “ภาพ ลักษณ์ของพระศาสนจักรและของผู้มีความ เชื่อ”  และเป็นสมาชิกพิเศษในความสนิท สัมพันธ์ของผู้ศักดิ์สิทธิ์ 2.2.  ในบริ บ ทของเทววิ ท ยาด้ า น คริสตศาสนสัมพันธ์ การเสวนาเรื่องพระนางมารีย์จะถูก ต้องและด�ำเนินต่อไปด้วยความสงบสุข  ก็ตอ่ เมื่ อ อยู ่ ใ นบริ บ ทของเทววิ ท ยาด้ า นคริ ส ต ศาสนสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นจากความมั่นใจที่ ว่าการเทศน์สอนจะไร้ประโยชน์  ถ้าพระ คริสตเจ้ายังทรงด�ำรงอยู่ในพระศาสนจักร อย่างแบ่งแยก  เทววิทยานีก้ ำ� ลังเป็นรูปธรรม โดยเน้นทัศคติที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน  ไม่ใช่ ทัศคติที่แบ่งแยกกัน  ส่งเสริม  “ความแตก ต่าง”ทีค่ นื ดีกนั ได้  ไม่ใช่เรียกร้องให้นกิ ายอืน่ หั น กลั บ มาในพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก เป็นการยืนยันความจริงไม่ใช่การโต้แย้งกัน มีจุดยืนในการเสวนา  ไม่ใช่ในการป้องกัน ตนเอง  และวินิจฉัยหลักค�ำสอนที่เป็นแก่น แท้  ไม่ใช่ไตร่ตรองรายละเอียดที่ไม่ส�ำคัญ

มุมมองของเอกภาพ  เทวววิทยาด้าน คริสตศาสนสัมพันธ์มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ • มีพื้นฐานใน  “ความรัก”  ซึ่งกัน และกันทีแ่ สดงออกในมิตกิ ารอธิษฐาน ภาวนาและในมิติการเป็นประกาศก ซึ่ ง ผลั ก ดั น คริ ส ตจั ก รต่ า งๆ  ให้ มี สถานภาพใหม่  เพราะความแตกต่าง หลายประการในอดีตเข้าใจได้ชัดเจน ในปัจจุบัน • มี ลั ก ษณะวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ แ ละ ยื น ยั น ความจริ ง   เตื อ นคริ ส ตจั ก ร ต่างๆ  อยูเ่ สมอว่า  เขาไม่ซอื่ สัตย์ตอ่ พระเจ้ า และจ� ำ เป็ น ต้ อ งออกจาก สภาพนี้ • มี มิ ติ ส รรเสริ ญ ถวายพระพรแด่ พระเจ้ า   ขอบพระคุ ณ พระองค์ ส�ำหรับเอกภาพที่มีอยู่แล้ว  และวอน ขอพระองค์ ป ระทานความสนิ ท สัมพันธ์อย่างเต็มเปี่ยม • มีจิตส�ำนึกลึกซึ้งถึงการอยู่ร่วมกัน เป็ น หมู ่ ค ณะ  เดิ น ทางพร้ อ มกั น เหมือนเพื่อนร่วมทางที่ได้พบกันใหม่ อีกครั้ง • มี วิ สั ย ทั ศ น์ ท างประวั ติ ศ าสตร์ โดยมี เ จตนาที่ จ ะถ่ า ยทอดข่ า วดี แ ก่ มนุษยชาติว่า  ทุกคนได้รับเรียกให้ เป็ น รู ป ภาพของพระตรี เ อกภาพ ศักดิ์สิทธิ์


เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

2.3.  ที่อยู่ของพระนางมารีย์ในเทว วิทยาด้านคริสตศาสนสัมพันธ์ ส�ำหรับโปรเตสแตนต์  เทววิทยาเรื่อง พระนางมารีย์ในบริบทเทววิทยาด้านคริสต ศาสนสัมพันธ์หมายถึง  การพูดถึงพระนาง จากจุดยืนหลักดังต่อไปนี้คือ  “sola gratia” พระหรรษทานเพียงอย่างเดียว  “sola  fides” ความเชื่ อ เพี ย งอย่ า งเดี ย ว  “soli  Deo” พระเจ้าเพียงพระองค์เดียว  ดังนั้น • พระนางมารีย์ทรงเป็นจุดรวมของ พระหรรษทาน  เป็นกุญแจเปิดประตู สู่ความเข้าใจพระหรรษทาน • พระนางมารีย์ทรงเป็นภาพของผู้ มีความเชื่อ  เป็นแบบอย่างของความ เชือ่ ทีน่ า่ ประหลาดใจ  รูค้ ณ ุ และชืน่ ชม ยิ น ดี   ทรงเป็ น บุ ค คลผู ้ ป ระสาน ลักษณะของคริสตชนส�ำรองผู้ต�่ำต้อย คนหนึง่ อย่างกลมกลืนกับคุณลักษณะ ของนักเทววิทยาเรื่องการปลดปล่อย มนุษย์ • พระนางมารีย์ทรงเป็นส่วนหนึ่งใน แผนการแห่ ง ความรอดพ้ น   ซึ่ ง ทบทวนกิ จ การที่ พ ระเจ้ า ทรงมอบ พระองค์ แ ด่ ม นุ ษ ย์ โ ดยไม่ มี เ งื่ อ นไข และในเวลาเดียวกันสรุปกิจการของ มนุษย์ที่มอบตนเองแด่พระเจ้าโดย ไม่มีเงื่อนไข  ทั้งเดชะพระหรรษทาน และในความมืดที่ทรมานใจ

11

• พระนางมารีย์ทรงเป็นสตรีผู้ถวาย พระพรแด่พระเจ้า  ผู้ทรงสร้างความ ยิ่ ง ใหญ่ ใ ดๆ  และผู ้ ป ระทานพระ หรรษทาน  พระองค์ทรงปลดปล่อย ผู้ถูกกดขี่ข่มเหงให้เป็นอิสระ  ทรงชี้ หนทางแก่ ม นุ ษ ย์ ผู ้ แ สวงหาความ หมายของชีวิต  ทรงปกป้องผู้ที่วอน ขอพระเมตตาและชีวิตในความตาย ทรงรักและประทานเกียรติแก่บรรดา เพื่อนของพระบุตร  ดังนั้น  พระองค์ จึ ง ทรงรั ก และประทานเกี ย รติ แ ด่ พระนางมารีย์เป็นอันดับแรก  และ ทรงดลใจนางเอลี ซ าเบธให้ ขั บ ร้ อ ง เพลงสรรเสริญพระมารดาขององค์ พระผูเ้ ป็นเจ้าว่า  “เธอได้รบั พระพรยิง่ กว่าหญิงใดๆ” 3.  ความเป็นไปได้ที่จะสร้างเทววิทยาเรื่อง พระนางมารีย์แบบคริสตศาสนสัมพันธ์ ในปัจจุบนั   มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ จะสร้างเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์แบบ คริสตศาสนสัมพันธ์  ยืรเกน  โมลต์มันน์ (Moltmann)  นักเทววิทยาโปรเตสแตนต์ ชาวเยอรมันยืนยันว่า  เรายังไม่พร้อมที่จะ พั ฒนาเทววิ ท ยาเรื่ อ งพระนางมารี ย ์ แ บบ คริสตศาสนสัมพันธ์อย่างแท้จริง  แต่อย่าง น้อย  เราสามารถพยายามบรรยายเงื่อนไข บางประการที่ ต ้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง เพื่ อ จะสร้ า ง เทววิทยานี้ขึ้นมา  ดังนั้น  แม้เวลาของการ


12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 สร้างเทววิทยาเรือ่ งพระนางมารียแ์ บบคริสต ศาสนสัมพันธ์ยงั มาไม่ถงึ   แต่เวลานี ้ ทุกคน เข้าใจและก�ำลังท�ำงานเพื่อความเป็นไปได้ ในวงการของโปรเตสแตนต์การเปลี่ยนแปลง ทั ศ คติ เ กี่ ย วกั บ พระนางมารี ย ์   รวมทั้ ง เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์  ก�ำลังค่อยๆ ปรากฏชัดเจนยิง่ ขึน้   คริสตจักรโปรเตสแตนต์ ผ่านจากการไม่สนใจและปิดบังเรื่องนี้ไปสู่ การเสนอแนะน�ำเรือ่ งส�ำคัญๆ  ทีแ่ สดงความ สนใจและเจตนาที่ จ ะศึ ก ษาบทบาทของ พระนาง  นี่ เ ป็ น เหตุ ผ ลส่ ว นหนึ่ ง ของการ รื้ อ ฟื ้ น การเสวนาเกี่ ย วกั บ เทววิ ท ยาเรื่ อ ง พระนางมารีย์ 3.1  การไม่สนใจพระนางมารีย์ ตั้งแต่ศตวรรษที่  18  เพราะเหตุผล หลายประการ  เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่าง เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับการปฏิรูป พระศาสนจักรคาทอลิก  (Counter-Reformation)  ยุ ค สว่ า ง  (Enlightment) และพิสทุ ธินยิ ม  (Puritanism)  การไม่สนใจ ในพระนางมารี ย ์ ป รากฏชั ด เจนมากที่ สุ ด ก่อนสภาสังคายนาวาติกันที่  2  ทัศนคติ ทั่วไปของโปรเตสแตนต์คือ  พระศาสนจักร คาทอลิ ก ไม่ ไ ด้ ต อบปั ญ หาของการปฏิ รู ป โปรเตสแตนต์อย่างแท้จริง  จึงยังไม่ปฏิรูป ตนเองเท่าทีค่ วร  ต่อมา  เมือ่ สภาสังคายนา วาติ กั น ที่   1  นิ ย ามให้ เ ป็ น พระสั จ ธรรม ว่า  “การสัง่ สอนของสมเด็จพระสันตะปาปา ผิดพลั้งไม่ได้”  (1870)  และเมื่อสมเด็จ

พระสั น ตะปาปาปี โ อที่   9  ทรงประกาศ พระสัจธรรมเรื่อง  “การปฏิสนธินิรมลของ พระนางมารีย์”  (1854)  และเมื่อสมเด็จ พระสันตะปาปาปีโอที่  12  ทรงประกาศ พระสัจธรรมเรื่อง  “การรับเกียรติเสด็จสู่ สวรรค์ ข องพระนางมารี ย ์ ทั้ ง กายและ วิ ญ ญาณ”  (1950)  โปรเตสแตนต์ ก็ ย่ิ ง มัน่ ใจว่า  พระศาสนจักคาทอลิกยังไม่ปฏิรปู ตนเอง  เพราะได้ประกาศยืนยันค�ำสอนทีเ่ ขา คิดว่าไม่มีพื้นฐานเพียงพอในพระคัมภีร์ว่า เป็นข้อความเชื่อ  เขาคิดว่าพระศาสนจักร คาทอลิกใช้ค�ำสอนเกี่ยวกับพระนางมารีย์ เป็นอาวุธเพือ่ ต่อต้านคริสตจักรโปรเตสแตนต์ นิกายต่างๆ  ดังนั้น  การไม่สนใจพระนาง มารี ย ์ จึ ง กลั บ เป็ น เครื่ อ งหมายเฉพาะของ คริสตจักรโปรเตสแตนต์นกิ ายต่างๆ  เพือ่ ต่อ ต้านกับพระศาสนจักรคาทอลิก  โปรเตสแตนต์ ไม่เพียงต่อต้านพระสัจธรรมเท่านั้น  แต่ยัง ต่ อ ต้ า นหลั ก ค� ำ สอน  ขนบประเพณี แ ละ คารวกิ จ ของพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก   (ที่ แสดง)  ต่อพระนางมารีย์ การเสวนาเรือ่ งคริสตศาสนสัมพันธ์จงึ เรียกร้องที่จะต้องปลดปล่อยพระนางมารีย์ และเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ให้หลุดพ้น จากการต่อต้านดังกล่าวระหว่างคริสตจักร โปรเตสแตนต์ กั บ พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก ในปัจจุบันนี้  คริสตจักรโปรเตสแตนต์นิกาย ต่างๆ  พยายามข้ามผ่านแนวความคิดของ คาร์ล  บาร์ธ  (Karl  Barth)ทีว่ า่   ไม่จำ� เป็น


เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

ต้องมีเทววิทยาเรือ่ งพระนางมารียเ์ ลย  ไปสู่ การยอมรับพระนางมารียแ์ ละเทววิทยาเรือ่ ง พระนาง  เพราะในพระวรสารมีบันทึกว่า พระนางเป็นพระมารดาขององค์พระผู้เป็น เจ้า  และพระศาสนจักรคาทอลิกหลังสภา สังคายนาวาติกันที่  2  ได้พยายามจ�ำกัด ขอบเขตที่แท้จริงของเทววิทยาเรื่องพระนาง มารีย์ เหตุ ผ ลอี ก ประการหนึ่ ง ของการไม่ สนใจพระนางมารียม์ พี นื้ ฐานในยุคสว่างทาง เทววิทยา  ซึ่งตีความหมายว่าการปฏิสนธิ ของพระเยซูคริสตเจ้าจากหญิงพรหมจารีเป็น ต�ำนานและเทพนิยายที่เกิดขึ้นระหว่างชาว กรีกเพื่ออธิบายเหตุผลที่ว่า  ท�ำไมพระเยซู เจ้ า จึ ง มี ชื่ อ ว่ า   “พระบุ ต รของพระเจ้ า ” ความคิดนี้ไร้เหตุผล  เพราะดังที่โมลต์มันน์ อธิบาย  ความเชื่อที่ว่าพระคริสตเจ้าเป็น พระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดพ้น  ไม่ขึ้นอยู่ กับการประสูติจากหญิงพรหมจารี 3.2  การรื้ อ ฟื ้ น ความสนใจใน พระนางมารีย์ เหตุผลประการหนึ่งที่ท�ำให้คริสตจักร โปรเตสแตนต์นกิ ายต่างๆ  รือ้ ฟืน้ ความสนใจ ในพระนางมารีย์คือ  ความสนใจในคริสต ศาสนสั ม พั น ธ์ นั่ น เอง  เป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ดี ว ่ า เทววิ ท ยาเรื่ อ งพระนางมารี ย ์ แ ละอ� ำ นาจ ปกครองของสมเด็ จ พระสั น ตะปาปาเป็ น สองเรื่องที่ความเชื่อของโปรเตสแตนต์และ ความเชื่ อ ของคาทอลิ ก แตกต่ า งกั น มาก

13

เพราะเหตุนี้  การเสวนาระหว่างสองฝ่าย อาจเสี่ ย งที่ จ ะเป็ น การพู ด เพี ย งฝ่ า ยเดี ย ว หรือเป็นการเสวนาของคนหูหนวก  แต่ขบวน การคริสตศาสนสัมพันธ์เรียกคริสตจักรทั้ง หลายทุกวันนี้ให้เดินข้ามเขตแดนของการ สนทนา  เพื่อต้อนรับและสร้างความสนิท สั ม พั น ธ์ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย ว  รู ป แบบทางพระ คัมภีร์ของพระนางมารีย์เป็นส่วนหนึ่งของ ความสนิทสัมพันธ์นอี้ ยูแ่ ล้ว  แต่คารวกิจและ พระสัจธรรมเกีย่ วกับพระนางยังเป็นประเด็น ที่อยู่ห่างจากรูปแบบนั้น  ดังที่นักเทววิทยา โปรเตสแตนต์คนหนึ่งยืนยันว่า  “พระนาง มารี ย ์ ท รงรวมเราให้ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย ว  แต่ เทววิทยาเรือ่ งพระนางมารียแ์ บ่งแยกเราออก จากกัน” เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ท�ำให้คริสตจักรโปรเตสแตนต์นิกายต่างๆ  รื้อฟื้นความ สนใจในพระนางมารีย์คือ  ปรากฏการณ์ เรียกร้องสิทธิสตรีและเทววิทยาสตรีนยิ ม  ซึง่ เน้นบทบาทของพระนางมารีย์ในบริบทของ การอภิปรายถึงบทบาทของสตรีในศาสนา แม้ โ ดยทั่ ว ไป  เทววิ ท ยาเรื่ อ งสตรี นิ ย ม ประณามภาพพจน์ของพระนางมารีย์ตาม ธรรมประเพณี แ ละความเลื่ อ มใสศรั ท ธา ประชานิยม  แต่กย็ งั มีสว่ นในการฟืน้ ฟูความ สนใจของโปรเตสแตนต์ ใ นพระนางอย่ า ง กว้างขวาง


14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 3.3  จุดมุ่งหมายที่เป็นไปได้ส�ำหรับ เทววิ ท ยาเรื่ อ งพระนางมารี ย ์ แ บบคริ ส ต ศาสนสัมพันธ์ ในปัจจุบัน  การเสวนาอย่างจริงจัง เรื่องพระนางมารีย์แบบคริสตศาสนสัมพันธ์ โดยพยายามวิเคราะห์แหล่งทีม่ าของคารวกิจ ต่ อ พระนาง  และเหตุ ผ ลของการปฏิ เ สธ คารวกิจนี้เป็นการกระท�ำที่ยากมาก  เพราะ เหตุนี้  เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์จึงเป็น ประเด็นที่เริ่มอภิปรายในการประชุมคริสต ศาสนสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ  เพียงไม่ นานมานี้เอง  ยิ่งกว่านั้น  เมื่อประเด็นนี้ถูก น�ำอภิปรายในการเสวนาแล้ว  ค�ำสอนที่ได้ รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายก็เป็น ผลงาน ของนักเทววิทยาเท่านัน้   ไม่คอ่ ยมีผลส�ำหรับ คริสตจักรที่เขาเป็นผู้แทน  แม้ยังไม่ถึงเวลา ที่จะสร้างเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์แบบ คริสตศาสนสัมพันธ์  ปัจจุบันจุดมุ่งหมาย คงจะต้ อ งบรรยายวิ ธี ก ารทั่ ว ไปเพื่ อ สร้ า ง เทววิทยานี้  ซึ่งได้แก่ • จะต้องสร้างภายในขบวนการฟืน้ ฟู เอกภาพคริสตจักร  และต้องแสดง ความสนิทสัมพันธ์นี้ • จะต้ อ งเจริ ญ เติ บ โตภายในการ เสวนากับอิสราเอล  โดยเน้นความ สัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างพระธรรมล�ำ้ ลึกของอิสราเอลและพระธรรมล�้ำลึก ของพระศาสนจักร

• จะต้องสร้างเทววิทยา  โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง  เพื่อผู้ต�่ำต้อยและยากจน • จะต้องมองข้ามขอบเขตของคริสตศาสนสั ม พั น ธ์ เ พื่ อ ค� ำ นึ ง ถึ ง ความ รอดพ้นของมนุษย์ทุกคน 4.  หลักเกณฑ์ทเี่ ป็นไปได้สำ� หรับเทววิทยา เรือ่ งพระนางมารียแ์ บบคริสตศาสนสัมพันธ์ เมือ่ ค�ำนึงถึงประเด็นทัง้ หมดทีไ่ ด้กล่าว มานี้   โปรเตสแตนต์ วิ เ คราะห์ ห ลั ก เกณฑ์ พื้นฐานเหล่านี้ส�ำหรับเทววิทยาแท้จริงเรื่อง พระนางมารีย์แบบคริสตศาสนสัมพันธ์ว่า • จะต้องเป็นเทววิทยาทีไ่ ม่ดำ� เนินไป ด้วยตนเอง  เพราะพระนางมารีย์ไม่ ทรงเป็นบุคคลที่เทววิทยาไตร่ตรอง โดยไม่ค�ำนึงถึงความสัมพันธ์กับวิชา อื่ น   แต่ ต ้ อ งประสานกลมกลื น กั บ เทววิทยาเรือ่ งพระคริสตเจ้า  เทววิทยา เรื่ อ งพระจิ ต เจ้ า   เทววิ ท ยาเรื่ อ ง พระศาสนาจักรและพิธีกรรม • จะต้ อ งไม่ แ ยกจากวิ ช ามานุ ษ ยวิทยาและต้องพิจารณาเครื่องหมาย แห่ ง กาลเวลา  ดั ง นั้ น   ต้ อ งเป็ น เทววิทยาที่ประสานกับวัฒนธรรม • จะต้ อ งมี พื้ น ฐานในพระคั ม ภี ร ์ เพราะจุดเริ่มต้นของเทววิทยาเรื่อง พระนางมารี ย ์ ต ้ อ งมาจากการเป็ น พยานของพันธสัญญาใหม่ • จะต้องเคารพหลักความเชื่อของ แต่ละนิกาย  คือสร้างเทววิทยาเรื่อง


เทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

พระนางมารี ย ์ ที่ บั ง คั บ ทุ ก นิ ก ายให้ ยอมรับแก่นแท้  และปล่อยให้แต่ละ นิ ก ายซื่ อ สั ต ย์ ต ่ อ แนวความคิ ด และ ประสบการณ์ เ ฉพาะของตนในการ พัฒนาแก่นแท้นั้น  และในการปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม • จะต้ อ งเน้ น พระแบบฉบั บ ของ พระนางมารี ย ์   ซึ่ ง เป็ น จุ ด เด่ น ของ พิธีกรรมและคารวกิจของนักบวชใน สมัยกลาง  รวมทัง้ ค�ำสอนทัง้ หลายใน พระศาสนจักร สรุป พระนางมารี ย ์ ป ระทั บ อยู ่ ใ นพระ ศาสนจักร  เพราะพระนางทรงมีสว่ นร่วมใน พระธรรมล�้ ำ ลึ กเรื่อ งพระวจนาตถ์ทรงรับ ธรรมชาติมนุษย์ดังเหตุการณ์เมื่อทูตสวรรค์ แจ้งข่าวแด่พระนาง  เมื่อพระนางเสด็จไป เยี่ ย มนางเอลี ซ าเบธ  ทรงขั บ ร้ อ งเพลง สรรเสริญ  “มักญีฟกี ตั ”  ทรงรับใช้คบู่ า่ วสาว ที่หมู่บ้านคานา  โดยวอนขอความช่วยเหลือ จากพระเยซู เจ้าดุจมารดาต่อบุตรของตน เมื่ อ ทรงร่ ว มอธิ ษ ฐานภาวนากั บ บรรดา อั ค รสาวก  เพื่ อ แสดงเอกภาพของพระ ศาสนจักรในวันเปนเตกอสเต  และตลอด  2,000  ปี ข องประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง พระ ศ า ส น จั ก ร   พ ร ะ น า ง ม า รี ย ์ ท ร ง เ ป ็ น เครื่องหมายสากลของความรอดพ้น

15

ค� ำ ท� ำ นายของพระนางมารี ย ์   ใน บทเพลงสรรเสริ ญ   “มั ก ญี ฟ ี กั ต ”  เป็ น ค� ำ ท� ำ นายถึ ง เอกภาพว่ า   “ชนทุ ก สมั ย จะ กล่าวว่า  ข้าพเจ้าเป็นสุข”  (ลก  1:48)  แม้ จะมีความสงบเงียบ  ความแตกต่างและการ ปฏิเสธซึ่งยังคงมีอยู่ในคริสตจักรบางนิกาย เกี่ยวกับพระนางมารีย์  แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ ว่าคริสตชนทุกคนสรรเสริญความเชื่อของ พระนาง  ปฏิ บั ติ ต ามท่ า ที ข องพระนางที่ ความหวังและความรัก  เทิดทูนความร่วมมือ ของพระนางกับพระหรรษทานของพระจิต เจ้า  และคริสตชนส่วนใหญ่วอนขอพระนาง ให้ทรงอธิษฐานภาวนาต่อพระเจ้าแทนเรา เพื่อพระศาสนจักรและโลก ถ้ า คริ ส ตจั ก รทุ ก นิ ก ายไตร่ ต รองถึ ง บทบาทของพระนางมารียท์ างประวัตศิ าสตร์ พระคัมภีร ์ และค�ำสอนอย่างสันติ  ก็จะเห็น ว่ า ไม่ มี ค วามขั ด แย้ ง ที่ แ ก้ ไ ขไม่ ไ ด้ เ กี่ ยวขั บ ความเข้าใจพระนางมารีย ์ แม้ความแตกต่าง ทางเทววิทยาและการปฏิบัติยังคงอยู่  โดย เฉพาะอย่ า งยิ่ ง   เกี่ ย วกั บ ธรรมประเพณี วิวฒ ั นาการของพระสัจธรรมและบทบาทของ อ�ำนาจสั่งสอนแห่งพระศาสนจักร  อย่างไร ก็ตาม  ดังที่ผู้ร่วมเสวนาที่เมืองดอมบ์สรุป ว่ า   “งานของเราได้ แ สดงให้ เ ห็ นว่ า ไม่ มี เหตุ ผ ลใดที่ จ ะท� ำ ให้ พ ระนางมารี ย ์ เ ป็ น สัญลักษณ์ของสิ่งที่แยกเราออกจากกัน”


บรรณานุกรม พระคัมภีรค์ าทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พระคัมภีร,์ 2014. Anderson, H. George. Stafford, J. and Burgess, J. The One Mediator, the Saints and Mary: Lutherans and Catholics in Dialogue VIII. Minneapolis: Augsburg, 1992. Anglican-Roman Catholic International Commission. Mary: Grace and Hope in Christ. London: Morehouse, 2006. Austin Flannery, (ed). Vatican Council II, Vol. 1: The Conciliar and Post Conciliar Documents, new revised edition. Northport, NY: Costello Publishing Company, 1996. Blancy, A. Jourjon, M. and Dombes Group. Mary in the Plan of God and in the Communion of Saints: Towards a Common Christian Understanding. New York-Mahwah: Paulist, 2002. British Methodist/Roman Catholic Committee. Mary, Mother of the Lord. London: Catholic Truth Society, 1995. Bruni, Giancarlo. Mariologia ecumenica: Preliminari da un punto di vista prote stante. Translated by Theotokos (VI). Roma: Edizioni Monfortane, 1998. De Satgé, John. Mary and the Christian Gospel. London: SPCK, 1979. Hyland, John (ed). Mary in the Church. Dublin: Veritas, 1989. Mackenzie, Ross. “Mariology as an Ecumenical Problem” Marian Studies 36, 1975. McLoughlin, W. and Pinnock, J. (eds). Mary is for Everyone. Leominster: Gracewing, 1997. Paul VI, Pope. To Honour Mary (Marialis Cultus). London: Catholic Truth Society, 1974. John Paul II, Pope: Redemptoris Mater. London: Catholic Truth Society, 1987. Raja, Santiago. Mary and Ecumenism: Problems and Prospects. Delhi: ISPCK, 2013. Ricca, P. “Maria di Nazaret nella riflessione di alcuni teologi contemporanei della Riforma” Marianum (LX). Roma: Edizioni Marianum, 1993. Schillebeeckx, Edward. Mary, Mother of the Redemption. New York: Sheed and Ward, 1964. Stacpoole, Alberic (ed). Mary’s Place in Christian Dialogue. Slough: St Paul, 1982.


คริสตศาสนิกสัมพันธ์ ศ.กีรติ  บุญเจือ

ความหมาย ศาสนิกสัมพันธ์  หมายถึงการใช้ชวี ติ ร่วมกันระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างกัน  เช่น การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างผู้นับถือศาสนา พุทธ  อิสลาม  คริสต์  ซึง่ บรรดาฆราวาสท�ำ กันดีอยู่แล้ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ท�ำธุรกิจ การค้ า   ใครมาติ ด ต่ อ ซื้ อ ขายก็ จ ะกุ ลี กุ จ อ ต้อนรับขับสู้อย่างดีที่สุดทั้งๆ  ที่รู้ว่านับถือ

ศาสนาต่างกัน  และจะไม่พยายามพูดถึง เรื่องศาสนาเพราะกลัวจะมีผลเสียต่อรายได้ พระศาสนจักรคงไม่จ�ำเป็นต้องชักชวนส่ง เสริมความสัมพันธ์ในลักษณะนี้  เพราะท�ำ กันดีอยู่แล้ว ศาสนสัมพันธ์  หมายถึงการสนใจ ศาสนาของกันและกัน  เริม่ ตัง้ แต่การรู ้ การ เข้าใจ  การปฏิบตั  ิ ความด�ำเนินงาน  ความ

ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต,  อดีต  สนช.  อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  อดีตคณบดีคณะปรัชญา และศาสนา  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น,  ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,  ประธานบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน,  บรรณาธิการจัดท�ำ สารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน,  กรรมการสหวิทยาการในสมเด็จพระเทพฯ  ออกอากาศวิทยุ ศึกษาเรื่องราชปรัชญาเพื่อความสุขของมหาประชาชนชาวสยาม  วันจันทร์  เวลา  9.10  น.  สัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่  4  ของทุกเดือน  FM92,  AM1161,  www.moeradiothai.net,  กรรมการต�ำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัยแสงธรรม,  มหาวิทยาลัยคริสเตียน,  มหาวิทยาลัยมิชชัน่   ประธานกิตมิ ศักดิอ์ งค์การศาสนาเพือ่ สันติภาพแห่งเอเชีย  สอบถามเรือ่ งปรัชญา โทร.  086-0455299.

(หมวดปรัชญา)

กับคริสตศาสนสัมพันธ์


18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 ส�ำเร็จ  อุปสรรค  และปัญหา  อันน�ำไปสู่ ความหวังดีต่อกัน  มีมุทิตาจิตคือความยินดี ต่ อ ความส� ำ เร็ จ   และความรู้สึกร่วมเศร้า เสียใจในเหตุอนั ไม่พงึ ประสงค์ของกันและกัน ระหว่ า งผู ้ นั บ ถื อ ศาสนาต่ า งกั น   ความ สั ม พั น ธ์ แ บบนี้ แ หละที่ มี ป ั ญ หาว่ า   พระ ศาสนจักรส่งเสริมแค่ไหน  สัตบุรุษท�ำได้แค่ ไหน  และต้องท�ำแค่ไหน  ความสัมพันธ์เช่น นี้ บ างที ต ้ อ งค� ำ นึ ง ต่ อ ขยายถึ ง ผู ้ ไ ม่ นั บ ถื อ ศาสนาใดเลยด้วยซึ่งก็มีความเชื่อและการ ปฏิบัติตามคติความเชื่อนั้นราวกับเป็นความ เชื่ อ ของศาสนาหนึ่ ง   พระศาสนจั ก รหลั ง สังคายนาวาติกันที่  2  เปิดทางให้ท�ำความ สัมพันธ์ดงั กล่าว  ไม่วา่ กับศาสนาใดและรวม ไปถึงผู้ไม่นับถือศาสนาด้วย  แต่ก็มีเงื่อนไข อะไรบางอย่างที่พึงสังเกตและรับรู้เพื่อมิให้ ล่ ว งล�้ ำ อ� ำ นาจสอนครุ ย าญาสิ ท ธิ์ ข องพระ ศาสนจักร  (Magisterium  of  the  Church)  คริ ส ตศาสนิ ก สั ม พั น ธ์   หมายถึ ง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกันแต่ต่างนิกายกัน  ความสัมพันธ์จึงมี ส่วนที่ง่ายกว่าและยากกว่าศาสนิกสัมพันธ์ เพราะมีจุดร่วมมากกว่าและจุดต่างน้อยกว่า กัน  แต่กลับกลายเป็นว่าในเรื่องจุดต่างที่ น้อยกว่านีเ้ องกลับมีความละเมียดละไมเป็น เงื่ อ นไขที่ ย ากเย็ น ในการปฏิ บั ติ ม ากกว่ า เปรียบเหมือนความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มี ความละเอียดอ่อนบางอย่างทีไ่ ม่ตอ้ งค�ำนึงใน ความสัมพันธ์กบั คนนอกครอบครัว  เป็นต้น

ดังนั้นในการท�ำธุรกิจกับคนต่างศาสนาอาจ จะมีเสรีภาพในการตกลงอะไรกันก็ได้  แต่ กั บ ผู ้ ติ ด ต่ อ ค้ า ขายที่ รู ้ ว ่ า นั บ ถื อ ศาสนา เดียวกันและนับถืออย่างเคร่งครัด  ไม่วา่ ต่าง นิกายหรือนิกายเดียวกัน  อาจจะต้องยอม เสีย่ งหรือขาดรายได้อะไรบางอย่างเพือ่ แสดง ว่านับถือศาสนาเดียวกัน คริ ส ตศาสนสั ม พั น ธ์   คื อ   ศาสน สั ม พั น ธ์ ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น   แต่ ใ ช้ กั บ ชาว คริสต์ดว้ ยกันทีส่ งั กัดต่างนิกายกัน  จึงหมาย ถึงศาสนสัมพันธ์ทปี่ ฏิบตั ติ อ่ ชาวออร์ธอดอกซ์  และโปรเตสแตนต์โดยเฉพาะ  แต่เนื่องจาก ในประเทศไทยยังไม่มชี าวคริสต์ออร์ธอดอกซ์ ให้เห็น  จึงยังไม่ขอออกความเห็น อารัมภบท เนื่ อ งจากสั ง คายนาวาติ กั น ที่   2  แถลงนโยบายส่งเสริม  Religious  Dialogue  ซึง่ ตามไวยาการณ์ของภาษาตะวันาตก  อาจ จะหมายความได้ ทั้ ง ศาสนสั ม พั น ธ์   และ ศาสนิกสัมพันธ์  ก็ตีความได้ว่าหมายถึงทั้ง  2  อย่าง  แต่เนื่องจากชาวไทยมีประเพณี ปฏิบัติศาสนิกสัมพันธ์กันมาอย่างดีอยู่แล้ว  จึงเพียงแต่ขอให้รกั ษาประเพณีอนั ดีงามนีต้ อ่ ไป  โดยขอให้เพิ่มศาสนสัมพันธ์เข้าไปด้วย ซึ่งขัดกับคติของชาวไทยมาแต่เดิมว่า  หาก อยากรักษาความสัมพันธ์กันต่อไปนานๆ  ก็อย่าพูดเรื่องศาสนาที่ต่างกันเช่นเดียวกับ พรรคการเมืองทีต่ า่ งกัน  กลายเป็นมารยาท


คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

ทางสังคมของคนไทยด้วยกัน  คนต่างด้าว พูดเรือ่ งต่างศาสนาฟังได้  แต่คนไทยด้วยกัน พูดไม่ได้ฟงั ไม่ได้  ไม่เข้าหู  ผิดมารยาท  ยิง่ ในความสัมพันธ์ระหว่างชาวคริสต์ตา่ งนิกาย ยิง่ ต้องรักษามารยาทนีอ้ ย่างเคร่งครัดมากขึน้ บทความนี้จึงขอวิเคราะห์เรื่องคริสต ศาสนิกสัมพันธ์และคริสตศาสนสัมพันธ์โดย เฉพาะ  เรือ่ งใดพูดรวมกันได้กจ็ ะชีแ้ จงรวมๆ กั น ไป  เรื่ อ งใดต้ อ งแยกก็ จ ะชี้ แ จงเฉพาะ  คริสตศาสนสัมพันธ์เท่านั้น เงื่อนไขศาสนสัมพันธ์ ความอยากท�ำศาสนสัมพันธ์กบั ความ ต้องการรักษาศาสนศรัทธาเป็นเหมือนปลาย  2  ข้างของกระดานหกเดียวกัน  จึงต้องคิด ค�ำนวณให้ดวี า่ จะให้ราคาแก่ดา้ นใดสักเท่าใด จึงจะรู้สึกว่าไม่ท�ำให้อึดอัดใจต่อกัน  เช่น  การแสดงความเชื่ อ ต่ อ พระตรี เ อกภาพใน ขณะท�ำศาสนสัมพันธ์กับพี่น้องชาวมุสลิม การแสดงความเชื่อต่อความเป็นพรหมจรรย์ ตลอดชีพของพระมารดาในขณะท�ำคริสต ศาสนสัมพันธ์กับพี่น้องชาวโปรเตสแตนต์ และการแสดงความเชือ่ ต่อพระผูส้ ร้างในขณะ ท�ำศาสนสัมพันธ์กับพี่น้องชาวพุทธ ไม่เหมือนเงื่อนไขความเมตตาต่อผู้ ด้ อ ยโอกาส  ยิ่ ง อธิ บ ายมากเท่ า ใดก็ ยิ่ ง ยอมรับกันได้มากเท่านั้น  เพราะมันเหมือน ขึ้นลิฟต์คันเดียวกัน  ขึ้นก็ขึ้นด้วยกัน  ลงก็ ลงด้วยกัน  เอออวยกันง่ายดายราวปีก่ บั ขลุย่

19

แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน  แม้ในเงื่อนไขนี้  บาง คนก็ห้ามอย่าอาจเอื้อมไปถึงเหตุผลที่ต้อง ช่วยเหลือผูด้ อ้ ยโอกาส  หากฝ่ายหนึง่ เน้นว่า เพื่อเป็นมรรคสู่นิพพานส่วนอีกฝ่ายดันทุรัง ว่าต้องท�ำเพราะเป็นบัญญัติของพระเจ้า  ก็ อาจจะเสียมิตรภาพมากกว่าเสริมมิตรภาพ ในท�ำนองเดียวกันในเรื่องของคริสตศาสน สั ม พั น ธ์ ห ากฝ่ า ยหนึ่ ง จะตั้ ง ป้ อ มเน้ น พระมารดามีบุตรกับโยเซฟหลายคนเพราะ ตีความว่าพี่น้องของพระเยซูต้องหมายถึง  พี่น้องท้องเดียวกันอย่างเดียว  ส่วนอีกฝ่าย ยืนหยัดว่าพี่น้องในบริบทนี้ต้องตีความว่า เป็นญาติกัน  ก็ไม่ควรท�ำศาสนสัมพันธ์ให้ เสี ย บรรยากาศ  คงท� ำ แค่ ค ริ ส ตศาสนิ ก สัมพันธ์ให้ได้ก็ดีเหลือหลายไปแล้ว  ทั้งนี้จึง เป็นพันธะของแต่ละท้องทีท่ จี่ ะต้องพิจารณา ให้รอบคอบว่าควรปฏิบัติในระดับใดจึงจะ เหมาะสมทีส่ ดุ   อย่างปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในขณะ นีใ้ นเรือ่ งการรับคนอพยพทีต่ า่ งความเชือ่ กับ พลเมืองส่วนใหญ่  เงือ่ นไขแห่งความขัดแย้ง ระหว่ า งรั ฐ บาลกั บ พลเมื อ งส่ ว นใหญ่ ข อง ประเทศที่ ป รากฏชั ด ก็ คื อ รั ฐ บาลต้ อ งการ แสดงเจตนารมณ์  (spirit)  ของกระบวน  ทรรศน์แห่งการไม่ยดึ มัน่ ถือมัน่   แต่พลเมือง กลัวความต่างในกระบวนทรรศน์ของผูอ้ พยพ ซึ่งเมื่อความขัดแย้งบานปลายประชาชนจะ เป็ น ผู ้ รั บ เคราะห์ ต รงๆ  และไม่ แ น่ ใ จว่ า รัฐบาลที่รับผู้อพยพเข้ามาในขณะนี้  จะยัง เป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาในอนาคตนั้นหรือ ไม่


20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 จึงเห็นได้ว่าศาสนสัมพันธ์และคริสต ศาสนสัมพันธ์นั้นท�ำได้ยากกว่าท�ำศาสนิก สัมพันธ์และคริสตศาสนิกสัมพันธ์  เพราะมี เงือ่ นไขมากกว่า  โดยเฉพาะอย่างยิง่ เงือ่ นไข กระบวนทรรศน์ ข องทั้ ง   2  ฝ่ า ย  และ เงื่อนไขการตีความภาษาศาสนา เงื่อนไขจากกระบวนทรรศน์ กระบวนทรรศน์  (paradigm)  คือ  กรอบความคิดของแต่ละคน  แต่ก็อาจจะ จ�ำแนกได้เป็น  5  กระบวนทรรศน์ของคน ทั้งโลก  จึงมีผลอย่างยิ่งต่อความพร้อมที่จะ ท�ำศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนสัมพันธ์ หรือไม่ กระบวนทรรศน์ ที่   1  เป็ น กรอบ ความคิ ด ของกลุ ่ ม บุ ค คลที่ เ ชื่ อ เฉพาะ ประกาศิตจากเบื้องบนเท่านั้น  ประกาศิต จากเบื้ อ งบนอาจจะมาตรงๆ  หรื อ ผ่ า น ตัวแทนทีเ่ ชือ่ ว่าเป็นตัวแทนของเบือ้ งบนทีเ่ ชือ่ ว่ามีจริง  เงือ่ นไขก็คอื หากฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ถือ กระบวนทรรศน์ นี้   ก็ ย ากที่ จ ะท� ำ ศาสน สัมพันธ์หรือคริสตศาสนสัมพันธ์ได้ส�ำเร็จ เพราะถ้ า เบื้ องบนไม่สั่งก็ไม่อ ยากขยับ ตัว  หรือถ้าวันนี้สั่งก็กุลีกุจอดันทุรังท�ำให้ได้  วัน ไหนมีบญ ั ชาห้ามลงมาก็จะหยุดกึกอย่างไม่มี ปี่ไม่มีขลุ่ย กระบวนทรรศน์ ที่   2  เป็ น กรอบ ความคิดของบุคคลที่เชื่อกฎเกณฑ์ตายตัว และถ้ามีหลายกฎให้เลือกในเรื่องเดียวกันก็

จะเลือกเชือ่ ค�ำชีข้ าดของเจ้าส�ำนักทีต่ นนับถือ เท่านัน้   เงือ่ นไขก็คอื หากฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ถือ กระบวนทรรศน์นแี้ ละเจ้าส�ำนักของเขาไม่ถอื กระบวนทรรศน์ที่  5  ก็ยากที่จะท�ำศาสน สัมพันธ์หรือคริสตศาสนสัมพันธ์ได้ยืด กระบวนทรรศน์ ที่   3  เป็ น กรอบ ความคิดของบุคคลทีเ่ ชือ่ ว่าความสุขใดในชีวติ นี้ล้วนแต่เป็นอุปสรรคต่อความสุขแท้ในโลก หน้า  เขาพร้อมที่จะสละทุกสิ่งในชีวิตนี้แม้ กระทั่งการมีชีวิตต่อไปเพื่อค�้ำประกันความ สุขในชีวิตหน้า  เงื่อนไขก็คือหากฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งถือกระบวนทรรศน์นี้  ก็ยากและอาจมี อั น ตรายที่ จ ะท� ำ ศาสนสั ม พั น ธ์ ห รื อ คริ ส ต ศาสนสัมพันธ์ด้วย กระบวนทรรศน์ ที่   4  เป็ น กรอบ ความคิดของบุคคลทีเ่ ชือ่ ว่าความเชือ่ เรือ่ งโลก หน้าเป็นความเชือ่ ทีง่ มงาย  ล้าสมัย  พิสจู น์ ไม่ได้  ที่พยายามพิสูจน์กันอยู่นั้นล้วนแต่  ไร้สาระ  (absurd)  ไม่น่าเชื่อถือ  (incredible)  จุดอ่อน  (weak  point)  เป็นเหตุผล  วิบตั  ิ (fallacy)  เพราะศาสนาเป็นยาเสพติด  มอมเมาประชาชน  กระบวนทรรศน์นี้หาก ประยุกต์เป็นลัทธิการเมือง  ก็ยากที่จะท�ำ ศาสนสัมพันธ์ดว้ ยและอาจจะเป็นภัยต่อผูท้ ำ� ศาสนสัมพันธ์ด้วย  แต่ถ้าเป็นเพียงกรอบ ความคิด  พระสมณสาสน์ศรัทธากับเหตุผล แนะน� ำ ให้ ท� ำ ศาสนสั ม พั น ธ์ ด ้ ว ย  เพราะ ความขั ด แย้ ง หลายข้ อ ไม่ ขั ด แย้ ง กั น จริ ง  อย่างที่คุณพ่อเตยารด์เดอชาร์แดงเคยกล่าว


คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

ไว้ว่า  ผู้ที่ได้ชื่อว่านักอเทวนิยมหลายคนที่ ท่านรู้จักในสมัยของท่าน  เชื่อในพระเจ้าถูก ต้องกว่าชาวคริสต์จ�ำนวนมาก กระบวนทรรศน์ ที่   5  เป็ น กรอบ ความคิดของบุคคลที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น  จึงมี หลักยึดเหนี่ยว  (principle to hold)  ที่ไม่  ยึดติด  (but  not  to  attach)  นั่นคือมี  หลักยึดเหนี่ยวเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างมีความสุขด้วยการสร้างสรรค์  ปรับตัว ร่วมมือ  และแสวงหา  ซึ่งไม่ตายตัวแต่ทว่า ปรับตัวไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพ สูงขึ้นเรื่อยๆ  เรียกว่ายึดเหนี่ยวแต่ไม่ยึดติด กระบวนทรรศน์นี้เป็นเงื่อนไขจ�ำเป็นส�ำหรับ ท�ำศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนสัมพันธ์ หากทั้ง  2  ฝ่ายถือกระบวนทรรศน์นี้  ก็จะ มีความสุขในการรับฟังกัน  เคารพความเชื่อ และศรัทธาของกันและกัน  แม้ในประเด็นที่ เคยยึดมัน่ ถือมัน่ และตัง้ ป้อมวิวาทกันมาเป็น ศตวรรษก็จะยกขึ้นมาศึกษากันได้อย่างไม่ ตะขิ ด ตะขวงใจ  และถือว่า ที่เคยมีปัญหา หนักหน่วงในอดีตก็เพราะขาดความรู้เรื่อง ปรัชญาภาษาที่ต้องตีความตามหาความจริง ตามประเภทวรรณกรรม  (literary  interpretation) ความจริง  5  ประเภทตาม  5  ประเภท วรรณกรรมวิชาการ 1.  ความจริงคณิตศาสตร์  จริงตาม เงื่ อ นไขที่ พ ร้ อ มใจกั น รั บ รู ้   เช่ น   1+1=2

21

ภายใต้เงื่อนไขว่ารวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันไม่ ได้และเกิดลูกไม่ได้  เช่นเหรียญ  1  บาทกับ เหรียญ  1บาท  รวมเป็น  2  บาท  ส่วน ทราย  1  กองเทเข้ารวมกับทรายทีม่ อี ยูแ่ ล้ว  1  กองจะได้ทราย  1  กองที่โตขึ้น  ส่วน ชาย  1  หญิง  1  สมรสกันวันนี้ปีหน้าจะ กลายเป็น  3  หรือ  4  ก็ได้ 2.  ความจริงวิทยาศาสตร์  จริงตาม ข้อมูลเท่าทีม่ ใี ห้พจิ ารณา  (available  data)  ซึง่ หมายความว่าหากข้อมูลเปลีย่ นไป  ความ จริ ง วิ ท ยาศาสตร์ ก็ พ ร้ อ มที่ จ ะเปลี่ ย นตาม ข้อมูลใหม่ 3.  ความจริงประวัตศิ าสตร์  จริงตาม หลักฐาน  (document)  ทีใ่ ช้พจิ ารณา  พบ หลักฐานใหม่ขึ้นเมื่อใดนักประวัติศาสตร์ก็ พร้อมทีจ่ ะเปลีย่ นความจริงทีส่ นั นิษฐานเป็น ประวัตศิ าสตร์  เช่น  มนุษย์อบุ ตั ขิ นึ้ ในโลกนี้ ตัง้ แต่เมือ่ ไรขึน้ กับหลักฐานกระดูกมนุษย์เท่า ที่พบว่าเก่าแก่ที่สุดซึ่งปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ จากหมี่ น ปี เป็ น แสนปี   ห้ า แสนปี   ล้ า นปี  สองล้านปี  ล่าสุดเป็นประมาณสี่ล้านปีแล้ว 4.  ความจริ ง ปรั ช ญา  จริ ง ตาม  กระบวนทรรศน์ทแี่ ต่ละคนใช้ตดั สินความจริง ความจริงปรัชญาจึงเปลีย่ นได้หากเปลีย่ นกระ บวนทรรศน์  และจะไม่มวี นั ยอมเปลีย่ นหาก ไม่ เ ปลี่ ย นกระบวนทรรศน์ เ สี ย ก่ อ น  เช่ น ความจริงของซาคเขรอถิส  เพลโทว์  และ แอร์เริสทาทเถิล  คือ  ความรูใ้ นปัญญาทีต่ รง กั บ ความเป็ น จริ ง ภายนอกปั ญ ญา  แต่ ใ น


22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 ปัจจุบนั ความจริงคือความรูท้ พี่ ฒ ั นาคุณภาพ ชีวิตอันน�ำความสุขแท้ตามความเป็นจริง 5.  ความจริงศาสนา  จริงตามศรัทธา เพราะฉะนัน้ ใครมีศรัทธาต่ออะไรก็จะเชือ่ สิง่ นั้นมากน้อยตามศรัทธา  คือถ้าศรัทธาเต็ม ร้อยก็จะเชือ่ และทุม่ เทเต็มร้อย  แม้จะมีผไู้ ม่ เชื่อเลยสักนิดก็ตาม  เพราะไม่มีศรัทธาเลย ก็ ย ่ อ มไม่ เ ชื่ อ แม้ แ ต่   1%  หากเป็ น ผู ้ ถื อ  กระบวนทรรศน์ท่ี  5  ก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ  ยอมให้ผู้อื่นเห็นต่างได้  และสนใจที่จะ เข้าใจอย่างเคารพ  และอยากให้ผเู้ ชือ่ เคารพ ความไม่เชื่อหรือเชื่อตามแบบของตนเช่นกัน อย่างทีค่ ณ ุ พ่อเตยารด์เดอชาร์แดง  (Teillard  de  Chardin)  ได้ปฏิบัติต่อเพื่อนอเทวะใน สมั ย ของท่ า น  และที่ คุ ณ พ่ อ สตานิ ส ลาส์  เบรอตง  (Stanislas  Breton)  ปฏิบัติต่อ  อ า แ ล ง   บ า ดิ อู   ( A l a i n   B a d i o u )  นักมาร์ซิสท์ใหม่ในสมัยของเรา การตีความภาษาศาสนา 1.  คนกระบวนทรรศน์ที่  1  ชอบ ตีความตามตัวอักษรหรือโดยพยัญชนะ  (literary  interpretation)  เช่น  คัมภีร์ไบเบิล  ระบุ ว ่ า พระเจ้ า ทรงสร้ า งโลก  6  วั น   มี กลางวันและกลางคืน  ก็เชือ่ ตามตัวอักษรว่า วั น หนึ่ ง คื อ   24  ชั่ ว โมงตามปรกติ   ผู ้ ที่ ตีความคัมภีร์เช่นนี้ไม่ว่าในศาสนาใดย่อม ท�ำได้แค่ศาสนิกสัมพันธ์  ไม่เหมาะส�ำหรับ ท�ำศาสนสัมพันธ์  เพราะมักจะยึดมัน่ ถือมัน่

ว่าการตีความของตนเท่านั้นถูกต้อง  ความ คิดเห็นอย่างอื่น ผิดหมด  ไม่อยากฟังอย่าง อื่นเพราะกลัวว่าศรัทธาของตนจะสั่นคลอน แม้ผนู้ บั ถือศาสนาเดียวกันแต่มคี วามเห็นต่าง ก็ ไม่ อยากฟั ง   จะยอมฟั ง ก็ เฉพาะผู ้ เสริ ม ความเชื่อของตนเท่านั้น 2.  คนกระบวนทรรศน์ที่  2  ชอบ ตีความโดยอรรถ  (contextual  interpretation)  เช่น  6  วันของการสร้างโลกต้องตี  ความตามบริบทที่ยังไม่มีดวงอาทิตย์ให้แยก กลางวันและกลางคืน  ดังนัน้ วันหนึง่ คืนหนึง่ จะนานเท่าใดก็ได้  อาจจะเป็นหมื่นห้าพัน ล้านปีอย่างทีน่ กั ดาราศาสตร์ปจั จุบนั ก�ำหนด เป็นอายุของหมอกเพลิงก็ได้(ก็ไม่รเู้ หมือนกัน ว่าตอนเกิดมหากัมปนาท  Big Bang  นั้น  ยังไม่มโี ลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  เขาใช้อะไร ก�ำหนดปี  ที่ล่วงมาห้าพันล้านปีจึงเกิดดวง อาทิตย์  และต่อมาอีกห้าพันล้านปีจึงเริ่มมี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ให้วดั วันเดือนปีได้) สมั ย หนึ่ ง จึ ง นิ ย มแปลพระคั ม ภี ร ์ ต อนนี้ ว ่ า  พระเจ้าทรงสสร้างโลกเป็นเวลา  6  วาระ เข้ า กรอบของกระบวนทรรศน์ ที่   2  ได้  ผู ้ ช อบตี ค วามอย่ า งนี้ มั ก จะไม่ ยึ ด ติ ด การ ตี ค วามของตนเองอย่ า งคนถื อ กระบวน  ทรรศน์ที่  1  แต่จะยึดติดการตีความของ ส�ำนักที่มีเจ้าส�ำนักเป็นที่อ้างอิงส�ำหรับร่วม แรงแข็งขันในกลุ่มที่เรียนมาจากส�ำนักหรือ อาจารย์เดียวกัน  หรืออ่านจากต�ำราเล่ม เดียวกัน  เป็นการให้ก�ำลังใจแก่กันและกัน


คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

อย่างเป็นปึกแผ่น  เหมือนนักบุญเปาโลขณะ เป็นศิษย์ของส�ำนักเยรูซาเลมที่มีกามาลีเอล เป็นเจ้าส�ำนักให้อ้างอิงได้อย่างภาคภูมิใจ  คนเช่นนี้จะไม่ชอบท�ำศาสนสัมพันธ์หรือแม้ แต่ศาสนิกสัมพันธ์นอกจากจะหวังดึงคนนอก ส�ำนักมาเข้าส�ำนักของตน  อย่างที่ชาวกรีก โบราณทีไ่ ปถึงไหนของมหาอาณาจักรโรมันก็ จะพยายามตั้งส�ำนักสาขาและชักชวนคนทุก เชื้อชาติเข้าเป็นศิษย์ของส�ำนักของตน 3.  กระบวนทรรศน์ ที่   3  ชอบ ตี ค วามแบบสุ ด ขั้ ว   (fundamentalistic  interpretation)  เช่น  ต้องตีความว่าพระเจ้า  ทรงสร้างโลก  6  วันและวันที่  7  ทรงพัก ผ่อนตัง้ แต่สนิ้ วันที ่ 6  คือดวงอาทิตย์ตกดิน จนถึงสิ้นวันที่  7  คือดวงอาทิตย์ตกดินของ วันที่  7  เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ ต้องการบังคับมนุษย์ว่าตลอด  24  ชั่วโมง ของวันที่  7  นั้นเป็นวันพักผ่อน  100%  ท�ำอะไรไม่ได้เลยทีไ่ ด้ชอื่ ว่าท�ำการ  ดังนัน้ ใน เมือ่ เป็นพระประสงค์ทจี่ ะทรงสร้างโลกใน  6  วั น โดยสลั บ ท� ำ งานกลางวั น   12  และ วางแผนกลางคืน  12  ชั่วโมงพระองค์ย่อม ท� ำ ได้ แ ละทรงท� ำ จริ ง เพื่ อ เป็ น ตั ว อย่ า งให้ มนุษย์ปฏิบตั ติ าม  แม้จะทรงสร้างให้เร็วกว่า นั้นหรือนานกว่านั้นก็ย่อมท�ำได้  แต่ทรงพอ พระทัยเลือกอย่างนั้นเพื่อบังคับมนุษย์อย่าง นี้  ก็ไม่ควรที่ใครจะไปรู้ดีกว่าพระองค์  พึง ปฏิบัติไปตามนั้น  เชื่อไปตามนั้น  ให้เกินไว้ เผื่อไว้  ดีกว่าขาด  แม้ถวายหัวก็ต้องยอม

23

โดยไม่ต้องแก้ตัวและบิดเบือนไปตามความ พอใจของตนเอง  คนพวกนี้ มั ก จะมอง คนนอกกลุ่มเป็น ฝ่ายตรงข้ามที่ไม่น่าไว้ใจ  จึงปลุกใจกันอยู่เสมอให้พร้อมสละชีพเพื่อ ความอยูร่ อดของกลุม่   เหมือนชาวยิวในพระ ธรรมเดิมทีม่ องคนชาติอนื่ ทุกชาติเป็น  gentile  ชนชาติที่เป็นศัตรูต่อการปฏิบัติตามบท บัญญัติทุกข้อของโมเสสที่ประกาศในนาม ของพระยาห์เวห์ 4.  กระบวนทรรศน์ ที่   4  ชอบ ตีความตามความจริงวิทยาศาสตร์  เพราะ ถื อ ว่ า ความจริ ง ศาสนากั บ ความจริ ง วิทยาศาสตร์ย่อมเสริมกัน  ไม่ใช่ขัดแย้งกัน เพราะความจริ ง ทุ ก อย่ า งมาจากพระเจ้ า ความจริงวิทยาศาสตร์ยอ่ มขยายความหมาย ของคัมภีร์ไบเบิล  (หรือคัมภีร์ใดก็ตามที่ตน มีศรัทธา)  ได้ดีที่สุด  และพระวาจาทั้งหมด ในพระคัมภีร์ย่อมเสริมวิทยาศาสตร์ให้เป็น ความจริงศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงพระเมตตา ประทานแก่มนุษย์  ดังนัน้ ผูใ้ ดทีเ่ ห็นความขัด แย้ ง ระหว่ า งความจริ ง วิ ท ยาศาสตร์ กั บ ข้อความใดของพระคัมภีร์ให้ฟันธงได้เลยว่า เข้าใจไม่จบเกม  พึงศึกษาค้นคว้าต่อไปจน เห็นความสอดคล้องได้ทะลุปรุโปร่งหมดทุก ประเด็น  ก็จะได้ซึ้งถึงความมหัศจรรย์ของ พระปรีชาญาณทีไ่ ด้ประทานพระคัมภีรไ์ ว้แต่ โบราณกาลอย่างลึกซึง้ ครบถ้วนเป็นแนวทาง ให้นักวิทยาศาสตร์พยายามขยายผลออกมา เท่าไรก็ไม่รจู้ กั หมด  เช่น  เรือ่ งพระเจ้าสร้าง


24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 โลก  6  วันตามคัมภีร์ปฐมกาลบทที่  1  ก็ จะอธิบายได้ว่า วาระก่อนวาระ  ก่อนวันที่  1  แห่ง การสร้าง  ซึ่งไม่รู้นานเท่าใด  พระคัมภีร์ใช้ ค�ำว่า  “เมื่อเริ่มแรกนั้น...In  the  beginning”  ซึ่งหมายความว่าตั้งแต่ยังไม่มีอะไร  เลย  คือ  มีแต่ความเปล่าของสสารกับองค์ พระผูเ้ ป็นเจ้าเท่านัน้   แล้วพระองค์กท็ รงเริม่ เป็น ผู้สร้างโดยทรง  “เนรมิตสร้างฟ้าและ แผ่นดิน...God  created  (bara)  heaven  and  earth”  และชี้แจงต่อไปว่า  “แผ่นดิน  (earth)  ยังเป็นทีร่ า้ งไร้รปู ร่าง  ความมืดมิด ปกคลุ ม อยู ่ เ หนื อ ทะเลลึ ก   (ของแผ่ น ดิ น )  และลมพายุแรงกล้าพัดอยู่เหนือน�้ำ  (ของ แผ่นดิน)...  the earth was a formless  void (tohu va bohu  =  ภาษากรี ก  Chaos) : there was darkness over  the deep  (ภาษากรีก  abyssos),  with  a  divine  wind  sweeping  over  the  waters.”  ส่วนว่าฟ้า  (heaven)  นัน้   พระ คัมภีรม์ ไิ ด้ระบุวา่ เป็นอย่างไรนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความเชื่อจะตีความว่า  พระเจ้าได้ทรง สร้างธาตุ  4  ให้พร้อมเป็นหมอกเพลิงและ ทรงประคบประหงมมานานแสนนานให้ธาตุ  4  ค่อยๆ  มีพลังที่ทรงก�ำหนดไว้แต่แรก จวบจนเมื่อประมาณ  15,000  ล้านปีมา แล้ ว   ธาตุ ทั้ ง   4  พร้ อ มพลั ง เต็ ม เปี ่ ย ม ประลองพลังพร้อมกันเป็นกลุ่มหมอกเพลง (nebular)  อันได้แก่ธาตุทั้ง  4  ปะปนกัน

ไม่เป็นสัดส่วน  จึงได้แก่ to hu va bohu  คื อ มี ธ าตุ ดิ น (earth  ซึ่ ง ภาษาไทยน่ า จะ  แปลว่าธาตุดิน)  มีธาตุน�้ำ  (waters  ในรูป  พหูพจน์ซึ่งภาษาไทยควรแปลว่าธาตุน�้ำ)  มี ธาตุลม  (heaven  ซึ่งหมายถึงช่องว่างหรือ  space  ในภาษาอังกฤษนัน้ เอง  และธาตุไฟ (divine  wind)อั น เป็ น พลั ง   (energy)  สร้างสรรค์ที่แทรก  (sweeping)  ไปในทุก  ซอกของสารไร้รูปดั้งเดิมเพื่อควบคุมให้ทุก อย่างเป็นไปตามแผนการแห่งการสร้าง  โดย พัฒนาทุกสัดส่วนให้มีคุณภาพพร้อมที่จะ ตอบสนองพระประสงค์ ใ นการสร้ า ง  6  วาระที่จะตามมาด้วยพระญาณเอื้ออาทร (Providence)  ดูแล  (caring)  อย่างใกล้ชดิ   โดยมีจุดหมาายปลายทางที่การสร้างมนุษย์ ให้บรรลุ  Parusia  วาระสุดท้ายนิรันดรที ่ จะรวมทุกสิ่งดีๆในพระคริสต์ในที่สุด  ซึ่ง มั่นใจได้ว่าจะไม่มีอะไรที่ดีแม้แต่เท่ายองใย จะไม่ได้รับพระพร ดั ง นั้ น   ค� ำ ว่ า ฟ้ า และดิ น ของคั ม ภี ร ์ ไบเบิลจึงหมายถึงธาตุ  4  ที่ปนกันอย่าง สับสนนั่นเอง วาระที ่ 1  เมือ่ ธาตุทงั้   4  ได้พฒ ั นา พลังพอเพียงพร้อมที่จะประสานพลัง กั น ได้ แ ล้ ว   พลั ง ของธาตุ ทั้ ง   4  ก็ ร ่ ว ม พ ลั ง ทั้ ง ห ม ด ป ะ ท ะ กั น เ กิ ด  spark  เป็นปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่  เอาฤกษ์การสร้างทีน่ กั ดาราศาสตร์ให้ ชื่ อว่ า มหากั ม ปนาท  (Big  Bang)


คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

เมื่อประมาณ  15,000  ล้านปีมา แล้ว  ซึง่ ภาษาคัมภีรบ์ นั ทึกไว้วา่   “จง มีความสว่าง...ทรงแยกความสว่างจาก ความมืด”  ซึ่งแสดงว่า • 1)  ความสว่ า งของวาระที่   1  มิได้มาจากดวงอาทิตย์ซงึ่ จะทรงสร้าง ในวันที่  4  แต่มาจากสปาร์คเริ่มต้น (original  spark)  ซึ่งให้แสงสว่าง  ความร้อนและพลังต่างๆ  เหลือคณา และยังคงมีผลท�ำการมาจนทุกวันนี้ เป็นพลังงานเอกภพ • 2 )   อ า ณ า บ ริ เ ว ณ ข อ ง ม ห า กัมปนาทเป็นเพียงส่วนหนึง่ ของสารไร้ รูปดั้งเดิมที่ได้ทรงสร้างไว้  บริเวณที่ เกิดมหากัมปนาทคือบริเวณของแสง สว่างทีค่ มั ภีรเ์ รียกว่าวัน  (Day)  ส่วน ที่ เ หลื อ และยั ง ไม่ เ กิ ด ปรากฏการณ์  สปาร์ค  ยังคงอยู่ในแดนมืดมิดต่อไป ซึ่งคัมภีร์เรียกว่าคืน  (night)  สักวัน  หนึ่งจะเกิดอาการสปาร์คหรือไม่แล้ว แต่แผนการณ์ของพระเจ้า  และอาณา บริ เ วณมื ด มิ ด นั้ น มี เ ท่ า ใดก็ ค งมี แ ต่ พระองค์เท่านั้นที่รู้  เอกภพของเรา อาจเป็นเพียงเศษผงธุลีในงานสร้าง จริงๆ  ของพระองค์ก็ได้ • 3)  กลางคืนและกลางวันอย่างที่ เราเข้าใจกันในทุกวันนี้จะเริ่มมีจริงก็ ต่อเมื่อทรงสร้างดวงอาทิตย์ในวาระที่  4  เป็นต้นมา

25

วาระที่  2  ทรงสร้างเขื่อนแข็งเรงที่ เราเห็ น เป็ น ครอบฟ้ า หรื อ แผ่ น ฟ้ า สีน�้ำเงินเหมือนกระทะคว�่ำมหึมาเพื่อ แยกน�ำ้ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วเป็นส่วนเหนือครอบ ฟ้ า มิ ใ ห้ ต กลงมาท่ ว มพื้ น โลกตลอด กาล  แต่ให้รั่วตกลงมาเป็นครั้งคราว เพือ่ ให้พนื้ ดินชุม่ ชืน้ หล่อเลีย้ งพรรณไม้ ต่างๆที่จะทรงสร้างขึ้นในวาระที่  3  คั ม ภี ร ์ ใ ช้ ภ าษาชาวบ้ า นบั น ทึ ก ซึ่ ง อธิบายตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์ได้ว่า หลั ง จากเหตุ ก ารณ์ ม หากั ม ปนาท ประมาณ  5,000  ล้ า นปี คื อ เมื่ อ  10,000  ล้านปีมาแล้ว  หมอกเพลิง กลุ่มหนึ่งก็เย็นพอที่จับตัวกันเป็นลูก ข่างมหึมาหมุนรอบตัวเองเป็นดารา จักร  (galaxy)  ทางช้างเผือกซึ่งต่อ  มาก็แตกตัวเป็นลูกข่างย่อยหมุนรอบ ตัวเองประมาณ  100,000  ลูก  ซึ่ง  1  ในนั้นคือดวงอาทิตย์ของเรา  เมื่อ โลกหลุ ด ออกจากดวงอาทิ ต ย์ เ มื่ อ ประมาณ  5,000  ล้านปีมาแล้วนั้น ในชั้นแรกก็เป็นเพียงหมอกเพลิงกลุ่ม หนึ่งที่ร้อนระอุ  ครั้นหมุนรอบตัวเอง ไปได้ สั ก ประมาณ  500  ล้ า นปี หมอกเพลิ ง ส่ ว นที่ เ ย็ น ลงต�่ ำ กว่ า  100°C  ก็จะแยกตัวแบ่งส่วนพอให้  เห็นเป็นของแข็ง  ของเหลวและไอน�้ำ ผิวโลกยิ่งเย็นลงก็ยิ่งท�ำให้ฝนตกมาก น้อยแล้วแต่ทศิ ทางลม  เหตุการณ์นมี้ ี


26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 จุดเริ่มต้น  จึงดูเหมือนกับว่ามีเขื่อน กั้ น น�้ ำ ที่ มี ม ากในรู ป ของเมฆฝนบน ท้ อ งฟ้ า ให้ ต กๆ  หยุ ด ๆ  ไม่ มี ใ คร จะบันดาลปรากฏการณ์น้ีได้นอกจาก พระผู้สร้าง  จึงนับได้ว่าเป็นวาระที ่ 2  ของการสร้ า งโลกเมื่ อ ประมาณ  2,000  ล้านปีมาแล้ว วาระที ่ 3  ในช่วงแรกของวาระที ่ 2  เมือ่ ประมาณ  2,000  ล้านปีมาแล้ว ฝนตกทั่วไปอย่างไม่ลืมหูลืมตา  ทั่ว ผิวโลกมีแต่นำ�้ ไหล  ท�ำให้ดเู หมือนกับ ว่าทุกพื้นที่ตั้งแต่ยอดเขาลงมามีน�้ำ ปกคลุม  ครั้นตกไปได้ระยะหนึ่ง  ไอ น�้ำในอากาศก็เริ่มจะเบาบางลง  ฝน จึงค่อยๆ  หยุดตกมากขึ้นตามล�ำดับ เปิดโอกาสให้ที่สูงเริ่มขาดน�้ำปกคลุม ซึ่งขยายวงกว้างออกไป  ส่วนน�้ำที่หา ทางไหลลงสู ่ ที่ ต�่ ำ กว่ า ก็ ไ ปจนตรอก  ณ  ทีต่ ำ�่ สุดทีไ่ หลต่อไปไม่ได้กจ็ ะหยุด ไหลและรวมตัวกันเป็นพื้นน�้ำ  จึงดู เหมือนว่ามีผจู้ ดั ระเบียบแบ่งเขตทะเล มหาสมุทรออกจากดิน  ดินที่น�้ำไม่ ท่วมประจ�ำ  หรือท่วมประจ�ำเพียง เล็ ก น้ อ ยก็ ก ลายเป็ น ที่ เ กิ ด พื ช พั น ธุ ์ ธัญญาหารต่างๆราวกับชิงกันเกิดจน เบียดเสียดเยียดยัด  ผู้ที่ท�ำเช่นนั้นได้ จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้นอกจากพระผู้ สร้ า ง  เหตุเกิด เมื่อ ประมาณ1000  ล้านปีมาแล้ว

วาระที่   4  พระคั ม ภี ร ์ ร ะบุ ว ่ า  พระเจ้าทรงสร้างดวงอาทิตย์  ดวง จันทร์และดวงดาวทัง้ หลายในท้องฟ้า เพื่อประดับท้องฟ้าให้งดงามและเป็น ประโยชน์ต่อการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ ที่ จ ะทรงสร้ า งในวาระสุ ด ท้ า ย  นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ก ระบวนทรรศน์ ที่   4  ถื อว่ า ไม่ มี ค วามขั ด แย้ ง จริ ง กั บ การ สร้างต้นไม้ในวาระที่  3  เพราะพระ คัมภีร์เล่าตามที่ชาวบ้านจะเข้าใจได้  จึงไม่ใช้สำ� นวนวิชาการ  พระคัมภีรจ์ งึ ให้ความจริงตามประสบการณ์ทสี่ มมุติ ว่ามีผู้สังเกตการสร้างในโลกขณะนั้น  ก็จะรูส้ กึ ตามทีค่ มั ภีรเ์ ล่าว่า  ในตอนที่ มี ด วงอาทิ ต ย์ อ ยู ่ ก ่ อ นและโลกหลุ ด ออกจากดวงอาทิ ต ย์ เ มื่ อ ประมาณ  5,000  ล้านปีมาแล้วจนถึงเวลาทีพ่ นื้ ดินเริม่ ให้กำ� เนิดแก่พนั ธุไ์ ม้เล็กใหญ่ใน ปลายระยะที่  3  จนสิ้นระยะที่  3  นั้ น   แม้ ใ นท้ อ งฟ้ า จะมี ด วงอาทิ ต ย์  ดวงจันทร์และดวงดาวพร้อมสรรพ แล้วก็จริง  แต่บรรยากาศของโลกยัง เต็มไปด้วยไอน�้ำหนาแน่นจนมองไม่ เห็นว่ามีอะไรในท้องฟ้า  จึงมีอะไรก็ เหมือนไม่มี  ต้องรอจนกว่าไอน�้ำใน บรรยากาศของโลกจะแจ่มใสพอให้ เริ่มเห็นอะไรในท้องฟ้าได้  ผู้นิพนธ์ พระคัมภีร์จึงเอาปรากฏการณ์ที่เกิด ขึ้ น จริ ง นี้ ม าเล่ า เป็ น ภาษาชาวบ้ า น


คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

นับได้วา่ เริม่ วาระที ่ 4  เมือ่ ประมาณ  1,000  ล้านปีมาแล้ว วาระที่   5  ตั้ ง แต่ ป ระมาณ  100  ล้านปีมาแล้วเป็นต้นมา  พระเจ้าทรง สร้างสัตว์น�้ำ  สัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์ บก  สัตว์จตุรบาท  ก็เป็นไปตามขั้น ตอนของวิทยาศาสตร์อย่างดีเยี่ยม วาระที่  6  คัมภีร์ปฐมกาลบทที่  1  ข้ อ   27  วรรคที่   3  กล่ า วว่ า  “Male  and  female  He  created  them”  ซึ่งน่าจะหมายถึงการสร้าง  มนุ ษ ย์ ช� ำ นาญ  (Homo  Habilis)  เมือ่ ประมาณ  4  ล้านปีมาแล้ว  ส่วน ปฐมกาลบทที่  2  ข้อ  7  ที่กล่าว ว่า  “พระยาห์เวห์เพระเจ้าทรงเอาฝุน่ จากพื้นดินมาปั้นมนุษย์และทรงเป่า ลมแห่ ง ชี วิ ต เข้ า ในรู จ มู ก ของเขา  มนุษย์นนั้ จึงมีชวี ติ ขึน้   น่าจะหมายถึง การสร้างมนุษย์ฉลาด  (Homo  Sapiens) ทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น ความพยายามของ  นักวิชาการกระบวนทรรศน์ที่  4  ที่มีความ เชื่อ  เมื่ออธิบายได้ปรุโปร่งก็สบายใจที่เห็น ว่า  ความเชื่อกับเหตุผลไม่มีอะไรขัดแย้งกัน (แต่ ทั้ ง นี้ มิ ใ ช่ เ จตนาของพระสมณสาสน์ ศรัทธากับเหตุผล  ซึง่ ชักชวนให้ผถู้ อื กระบวน ทรรศน์ที่  5  ไม่ว่าจะนับถือศาสนาต่างกัน หรือต่างนิกายกัน  หรือศาสนาและนิกาาย เดียวกัน  ให้ท�ำศาสนสัมพันธ์เป็นตัวอย่าง

27

อย่างไรก็ตามความไม่ขัดแย้งของผู้ถือกระ บวนทรรศน์ ที่   4  ก็ คื อ   ไม่ ขั ด แย้ ง ใน มโนธรรมของตัวเองเท่านั้น  เขาจะภูมิใจว่า เขาท�ำได้  และอยากให้ทุกคนท�ำอย่างเขา ใครไม่เชื่อเขาเขาจะไม่พอใจ  กลายเป็นว่า เขาท� ำ ศาสนสั ม พั น ธ์ ไ ม่ ไ ด้ แ ม้ กั บ ผู ้ นั บ ถื อ ศาสนานิกายเดียวกัน  กับผู้นับถือศาสนา ต่างนิกาย  และกับผู้นับถือต่างศาสนา  แต่ เขาชอบท�ำศาสนิกสัมพันธ์เพราะอยากจะหา คนเห็นด้วยกับเขาและยกย่องเขา  ยิง่ กว่านัน้ ผู้ถือกระบวนทรรศน์ที่  4  ที่ไม่มีความเชื่อ ย่อมมีแนวโน้มที่จะถือว่าความเชื่อเรื่องโลก หน้าทุกรูปแบบเป็นความงมงาย  น่าสงสาร สมเพช  บางคนยอมรับฟังโดยมารยาท  บาง คนแสดงความหวังดีดว้ ยการพยายามสัง่ สอน ด้วยอาการยกตนข่มทุกคนที่เชื่อเรื่องโลก หน้ า   และบางคนอาจจะคิ ด ว่ า การห้ า ม นับถือศาสนาเป็นความหวังดีต่อมนุษยชาติ 5.  กระบวนทรรศน์ ที่   5  คน  กระบวนทรรศน์ ที่   5  ไม่ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น เท่านั้นที่พร้อมที่จะท�ำศาสนสัมพันธ์และ  คริสตศาสนสัมพันธ์ได้ตามเจตนาของพระ สมณสาสน์ศรัททธากับเหตุผล สังคายนาวาติกันที่  2  ว่าอย่างไร ค�ำแถลง  Nostra  Aetate  ข้อ  2  เสนอเป็นนโยบายให้ท�ำศาสนสัมพันธ์โดย ก�ำหนดเงื่อนไขที่มีลักษณะเป็นกระดานหก ต่อกันดังนี้


28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 1.  “พระศาสนจักรคาทอลิกไม่ปัดทิ้ง สิ่ ง ใดที่ จริ ง และศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นศาสนาต่ า งๆ  พระศาสนจักรรับพิจารณาด้วยความเคารพ อย่ า งจริ ง ใจซึ่ ง วิ ธี ป ฏิ บั ติ แ ละด� ำ รงชี วิ ต  ตลอดจนกฎและพระธรรมค�ำสอนเหล่านี้  ถึงแม้จะผิดกับทีต่ นเองปฏิบตั แิ ละสอนหลาย ประการ  แต่บอ่ ยครัง้ ก็นำ� แสงจากองค์ความ จริงมาให้  ซึ่งฉายส่องความสว่างแก่มนุษย์ ทุกคน” 2.  “อย่ า งไรก็ ต ามพระศาสนจั ก ร ประกาศและมีพันธะที่จะไม่หยุดยั้งประกาศ องค์พระคริสตเจ้าซึ่งทรงเป็นหนทางความ จริงและชีวิต” เงื่อนไข  2  ข้อนี้เป็นกระดานหกต่อ กันก็เพราะข้อเท็จจริงทีว่ า่   หากคิดท�ำศาสน สั ม พั น ธ์ เ พื่ อ ประกาศองค์ พ ระคริ ส ต์ ม าก เท่าใด  ศาสนสัมพันธ์ก็ได้ผลน้อยลงเท่านั้น และหากคิดประกาศองค์พระคริสต์เพื่อผล ทางศาสนสัมพันธ์มากเท่าใด  ผลประกาศ พระคริสต์กจ็ ะเฉาลงมากเท่านัน้   ถ้าท�ำแยก กันก็ไม่มีเจตนาท�ำศาสนสัมพันธ์  จึงต้องใช้ ความเฉลียวฉลาดรอบคอบในอัตราส่วนที่ พอดี   ก็ จ ะได้ ทั้ ง ศาสนสั ม พั น ธ์ แ ละการ ประกาศพระคริ ส ต์ อ ย่ า งเหมาะสมใน กิจกรรมเดียวกัน นอกจากนั้นปัญหาส�ำคัญส�ำหรับฝ่าย คาทอลิกยังมาจากการตีความค�ำว่า  “สิ่งที่ จริงและศักดิส์ ทิ ธิใ์ นศาสนาต่างๆ”  ซึง่ ขึน้ อยู่ กับกระบวนทรรศน์ของผู้ตีความอย่างมาก

และมี ผ ลไปถึ ง ผลลั พ ธ์ จ ากการท� ำ ศาสน สัมพันธ์อย่างยิ่ง ชาวคาทอลิ ก กระบวนทรรศน์ ที่   1  จะไม่ยอมรับสิ่งจริงและศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีระบุ ไว้ในคัมภีร์ของตน ชาวคาทอลิ ก กระบวนทรรศน์ ที่   2  จะไม่ยอมรับสิ่งจริงและศักดิ์สิทธิ์ที่วิญญาณ  รักษ์ของตนไม่รับรอง ชาวคาทอลิ ก กระบวนทรรศน์ ที่   3  ย่อมอดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าการยกย่องอะไร ก็ตามของศาสนาอื่นเป็นการทรยศต่อพระ เป็นเจ้า ชาวคาทอลิ ก กระบวนทรรศน์ ที่   4  อดไม่ได้ทจี่ ะเชือ่ ว่าความเชือ่ ของตนเท่านัน้ มี เหตุผล ชาวคาทอลิกกระบวนทรรรศน์ที่  5  เท่านั้นที่จะยอมรับรับค�ำสอนของสังคายนา วาติ กั น ที่   2  ได้ อ ย่ า งไม่ ต ะขิ ด ตะขวงใจ  โดยใช้วจิ ารณญาณแยกในศาสนต่างๆ  ว่ามี ส่วนทีพ่ ฒ ั นาคุณภาพชีวติ ได้จริง  รับเป็นผล งานของพระจิตเจ้าในศาสนาอื่น  ส่วนที่ไม่ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ก็ ม องข้ า มไปอย่ า งมี มารยาทโดยถื อ ว่ า เข้ า เกณฑ์ เ สรี ภ าพใน มโนธรรมซึ่งสังคายนาสั่งให้เคารพในฐานะ เป็นเสรีภาพในมโนธรรมซึ่งแม้แต่พระเป็น เจ้าก็ยังเคารพหากเป็นความส�ำคัญผิดที่ด ี (good  faith)  แต่ถ้าเป็นความส�ำคัญผิดที ่ เลว  (bad  faith)  ก็พึงใช้ความฉลาดรอบ  คอบในการชี้แนะอย่างบัวไม่ช�้ำน�้ำไม่ขุ่น


คริสตศาสนิกสัมพันธ์กับคริสตศาสนสัมพันธ์

สรุป คงไม่มขี อ้ สรุปใดในเรือ่ งนีจ้ ะเหมาะไป กว่าข้อเตือนสติจากปิตาจารย์แห่งสังคายนา วาติกันที่  2  ที่ได้แสดงความห่วงใยและ ความเห็นใจผู้ปฏิบัติไว้อย่างกว้างๆในพระ ธรรรมนู ญ ว่ า ด้ ว ยพระศาสนจั ก รในโลก ปัจจุบัน  ข้อ  62  ว่า “ขอให้ สั ต บุ รุ ษ อยู ่ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ มนุษย์ในสมัยของตน  ขอให้พยายามเข้าใจ อย่างถ่องแท้ถงึ วิธคี ดิ และความรูส้ กึ ของพวก เขาที่ แ สดงออกมาทางวั ฒนธรรม  ขอให้ สัตบุรุษเอาความรู้วิชาการและทฤษฎีใหม่ๆ ตลอดจนความรูถ้ งึ สิง่ ทีค่ น้ พบใหม่ๆ  มารวม เข้ากับจารีตประเพณีของพระคริสตธรรม  เพื่อให้การนับถือศาสนาและการมีศีลธรรม ของตนเดิ น เป็ น คู ่ กั น ไปกั บ ความรู ้ ท าง วิทยาศาสตร์และวิชาการทีเ่ จริญก้าวหน้าทุก วั น   และดั ง นี้ เ ขาจะสามารถพิ สู จ น์ แ ละ ตีความหมายทุกสิ่งได้ด้วยความรู้สึกที่เป็น แบบคริสตชนอย่างแท้จริง”  (ข้อ  6)

29

“ความยากล�ำบากจากปัญหาเหล่านี้ มิใช่จะท�ำความเสียหายให้แก่ชีวิตของความ เชื่อทุกทีไป  แต่ตรงกันข้ามอาจจะกระตุ้น จิตใจให้เข้าใจความเชื่ออย่างถูกต้องและลึก ซึ้งยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้  เพราะสิ่งที่วิทยาศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์และปรัชญาค้นคว้าและค้นพบ ล่าสุดมานี้  ท�ำให้เกิดปัญหาใหม่ๆ  ซึ่งมี ผลกระทบถึงชีวิต  ท�ำให้พวกนักเทววิทยา ต้องท�ำการค้นคว้าหาความเข้าใจใหม่ๆ  ต่อ ไป  ยิ่งกว่านั้น  บรรดานักเทววิทยายังถูก ขอร้ อ งให้ ห าวิ ธี ที่ เ หมาะยิ่ ง ขึ้ น ส� ำ หรั บ ถ่ายทอดค�ำสอนไปถึงมนุษย์ในสมัยของเขา เพราะความเชื่ อหรื อข้ อความจริ ง เองเป็ น อย่างหนึง่   วิธที จี่ ะอธิบายข้อความจริงนัน้ ให้ มีความหมายและใจความอย่างเดียวกันนั้น เป็นอีกอย่างหนึ่ง  ในการอภิบาลสัตบุรุษ  ขอให้รู้อย่างพอเพียง  และให้ใช้มิใช่แต่หลัก เทววิทยาอย่างตรงไปตรงมาเท่านัน้   แต่ให้รู้ และใช้สิ่งที่ค้นพบในวิชาทางโลกด้วย”  (ข้อ  2)

บรรณานุกรม กีรติ  บุญเจือ.  ชุดปรัชญาสวนสุนนั ทา.  กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา,  2559. ประยุทธ ศรีเจริญ.  เอกสารสังคายนาวาติกันที่  2.  กรุงเทพฯ: แผนกคริสตศาสนธรรม  อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, 2556. “ปรัชญาธรรมาภิบาล”  ในอปทนิวส์,  วารสารรายปักษ์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พระคัมภีรค์ าทอลิกแห่งประเทศไทย.  พระคัมภีรไ์ บเบิล.  กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพระคัมภีร ์ คาทอลิกแห่งประเทศไทย.


บาทหลวง ดร.เกรียงยศ ปิยวัณโณ, S.J.

คริ ส ตศาสนจั ก รสั ม พั น ธ์   หรื อ ทาง โปรเตสแตนท์  ใช้ค�ำว่า  คริสตจักรสากล สั ม พั น ธภาพ,  และเอกภาพสั ม พั น ธ์ เป็ นการเสริ ม สร้า งความสัมพันธ์ระหว่า ง คริสตชนหมู่คณะนิกายต่างๆ  เพื่อให้เกิด ความเป็นเอกภาพ  พระบุตรทรงปรารถนา ความเป็นเอกภาพนี้  ก่อนสิ้นพระชนม์ทรง ภาวนาถึ ง พระบิ ด า  เพื่ อ บรรดาศิ ษ ย์ ข อง พระองค์ว่า  “ขอให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมื อ นดั ง พระองค์ อ ยู ่ ใ นข้ า พเจ้ า   และ ข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์  ขอให้เขาทั้งหลาย เป็นหนึ่งเดียวกันในเราทั้งสอง  เพื่อโลกจะ ได้เชื่อว่า  พระองค์ทรงส่งข้าพเจ้า”  (ยน. 17:21)

ถึงแม้พระเยซูเจ้าทรงมีพระประสงค์ เช่นนี ้ แต่ในประวัตศิ าสตร์ทผี่ า่ นมา  บรรดา ศิ ษ ย์ ข องพระองค์ ก็ แ ตกแยกกั น   ความ แตกแยกดั ง กล่ า วนอกจากขั ด กั บ พระ ประสงค์ของพระเยซูเจ้าแล้ว  ยังท�ำให้คริสต ชนขาดความน่าเชื่อถือ  เมื่อประกาศพระ วรสารแห่งความรักของพระองค์  คริสตชน ไม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ต ามที่ ต นเทศน์ ส อน  ไม่ ไ ด้ ด�ำเนินชีวิตเป็นพยานในการรักกันและกัน การท�ำเช่นนี้เป็นการขาดความสัมพันธ์อันดี และความเป็นเอกภาพในหมู่คณะคริสตจักร ต่างๆ  เหล่านั้น

บาทหลวงสังกัดคณะเยสุอิต, อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

(หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนสัมพันธ์)

คริสตศาสนจักรสัมพันธ์: ประวัติและแนวทาง


ในบทความนี้  จึงน�ำเสนอประวัติใน การก่ อ ก� ำ เนิ ด ขบวนการคริ ส ตศาสนจั ก ร สัมพันธ์  ทีต่ ระหนักในปัญหาดังกล่าว  และ มุ่งเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่คณะ คริสตจักรต่างๆ  ต่อจากนั้นจะกล่าวถึง  การเข้ า มี ส ่ ว นในขบวนการนี้ ข องพระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก และแนวทางคริ ส ต ศาสนจักรสัมพันธ์ที่ทางคาทอลิกเสนอ ประวั ติ ข บวนการคริ ส ตศาสนจั ก ร สัมพันธ์ในยุคร่วมสมัย คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ของยุคร่วม สมัย  เริ่มจากการประชุมธรรมทูตโลกที่กรุง เอดิ น เบอร์ ก   ประเทศสก๊ อ ตแลนด์ ใ นปี

ค.ศ.1910  (Maffeis,  Ecumenical  Dialogue,  1).  ผูเ้ ข้าร่วมประชุมมาจากหมูค่ ณ ะธรรมทูตและคริสตจักรต่างๆ  ของโปรเตส แตนท์และแองกลิกนั   การประชุมครัง้ นีม้ จี ดุ หมายเพือ่ วางแผนฟืน้ ฟูงานเผยแผ่พระวาจา ในโลกด้วยความเร่งด่วนใหม่  ถึงแม้หวั ข้อใน การประชุมจะเน้นเรือ่ งความเร่งด่วนของงาน ธรรมทูต,  การประกาศพระวรสาร,  ชีวิต ของคริสตจักรในดินแดนแพร่ธรรม,  ฯลฯ แต่ มี หั ว ข้ อ ที่ เ กี่ ย วกั บ การร่ ว มมื อ ระหว่ า ง คริสตจักรต่างๆ  และการรณรงค์เพือ่ ให้เกิด เอกภาพในหมู่คริสตจักรต่างๆ  นั้น  หัวข้อ ดั ง กล่ า วมี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ งานคริ ส ต ศาสนจักรสัมพันธ์โดยตรง


32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 การประชุมธรรมทูตทีเ่ อดินเบิรก์ ถือว่า เป็นการเริม่ ต้นของขบวนการคริสตศาสนจักร สัมพันธ์  เนื่องจากในการพิจารณาทบทวน ยุทธศาสตร์ของการแพร่ธรรม  เกิดความ ตระหนักขึน้ เป็นครัง้ แรกว่า  การแบ่งแยกท่า มกลางคริสตจักรต่างๆ  เป็นอุปสรรคใหญ่ ต่อการเผยแผ่พระวาจาอย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งในดินแดนแพร่ธรรมหมู่คณะธรรม ทูตที่มีความเชื่อต่างกันจะแข่งขันกันในการ เผยแผ่พระวาจา  เพือ่ ให้ได้สมาชิกเข้าในหมู่ คริสตจักรของตน  การท�ำเช่นนี้ท�ำให้ความ น่าเชือ่ ถือและประสิทธิภาพของการประกาศ พระวรสารลดน้ อ ยลงอย่ า งหลี ก เลี่ ย งไม่ ได้การแบ่งแยกในหมู่คริสตจักรก่อให้เกิดผล เสียตามมาทันทีและเฉียบพลัน  ดังนั้น  ใน บริบทของการแพร่ธรรม  ความปรารถนาใน การเป็นเอกภาพในหมูค่ ริสตจักรจึงเป็นไปได้ และอยู่ในรูปแบบเฉพาะด้วย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว  การประชุมที่ เอดินเบิรก์ จึงเสนอเป้าหมายเชิงปฏิบตั ทิ ตี่ อ้ ง เสริมสร้างความร่วมมือของหมูค่ ณะธรรมทูต เพื่อหลีกเลี่ยงการเผยแผ่พระวาจาที่ซ�้ำซ้อน กันของหมู่คณะที่มีความเชื่อต่างกันและการ แข่ ง ขั น กั น ในการเผยแผ่ พ ระวาจานั้ น เมื่ อ พิจารณาทบทวนถึงรากลึกของสถานการณ์ ดังกล่าว  ก็จะพบการแบ่งแยกภายในคริสต จักรต่างๆ  และค�ำถามทีจ่ ะหาหนทางในการ รณรงค์เพื่อให้เกิดเอกภาพในหมู่คริสตจักร ต่างๆ  นั้น ผลสื บ เนื่ อ งจากการประชุ ม   ท� ำ ให้ คณะกรรมการที่ รั บ ผิ ด ชอบเรื่ อ งคริ ส ต ศาสนจักรสัมพันธ์  ก่อก�ำเนิดสภาธรรมทูต นานาชาติขึ้นในปี  ค.ศ.1921  นับเป็นการ ก้าวจากการพบปะเพื่อเปรียบเทียบหัวข้อที่ เจาะจงเป็นครั้งคราว  เข้าสู่การสถาปนา องค์กรทีช่ ว่ ยให้การเสวนาในหมูค่ ริสตจักรได้

“การประชุมสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่  2  ได้แสดงทัศนคติ ที่เปลี่ยนไปของพระศาสนจักรคาทอลิกต่อคริสตจักรอื่นๆ ก่อให้เกิดพื้นฐานความสนิทสัมพันธ์ของพระศาสนจักรคาทอลิก กับคริสตจักรและหมู่คณะทางคริสตจักรอื่น และเป็นการเปิดกว้างไม่จ�ำกัดว่าพระศาสนจักรคาทอลิกเท่านั้น ที่เป็นอย่างเดียวกับพระศาสนจักรของพระคริสต์”


พัฒนาขึ้นอย่างมั่นคง  นอกจากสภาธรรม ทูตนานาชาติแล้วผลการประชุมทีเ่ อดินเบิรก์ ยังก่อให้เกิดอีก  2  ขบวนการต่อมา ขบวนการแรก  คือ  ขบวนการเพื่อ ชีวติ และงาน  ซึง่ มีจดุ ประสงค์ในการรณรงค์ ให้เกิดความร่วมมือระหว่างคริสตจักรต่างๆ ในภาคปฏิบัติ  ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระ ธรรมค�ำสอน  เช่น  ปัญหาต่างๆ  ทีเ่ ร่งด่วน ในสังคม  ขบวนการนีม้ กี ารประชุมระดับโลก ครั้งแรกที่กรุงสต๊อกโฮม  ในปี  ค.ศ.1925 ขบวนการดั ง กล่ า วมุ ่ ง รณรงค์ ค วามสนิ ท สัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรต่างๆ  และยืนยัน คริสตจริยศาสตร์ในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับปัญหา สังคมในยุคสมัยใหม่  กิจกรรมต่างๆ  ที่ท�ำ ร่วมกันในด้านสังคมนี ้ มีรากฐานบนพันธกิจ ของคริสตจักร  และในการท�ำกิจกรรมเหล่า นี้ ท� ำ ให้ เ อกภาพของคริ ส ตจั ก รเจริ ญ ขึ้ น (Maffeis,  Ecumenical  Dialogue,  4). ขบวนการที่สอง  คือ  ขบวนการเพื่อ ความเชื่อและระเบียบ  ขบวนการนี้มีจุดมุ่ง หมายทีจ่ ะเผชิญหน้ากับการปฏิเสธข้อค�ำสอน ของคริสตจักรต่างๆ  การปฏิเสธข้อค�ำสอน ทีอ่ ยูใ่ นบทแสดงความเชือ่ และในระเบียบของ คริสตจักร  ขบวนการนีม้ กี ารประชุมโลกเพือ่ ความเชือ่ และระเบียบทีเ่ มืองโลซานน์  (Lausanne)  ในปี  ค.ศ.1927 ทั้ ง ขบวนการเพื่ อ ชี วิ ต และงานและ ขบวนการเพื่อความเชื่อและระเบียบ  ต่าง เป็นหนทางบางส่วนในการแก้ปัญหาคริสต

ศาสนจักรสัมพันธ์  ดังนัน้ การรวมกันของ  2 ขบวนการนีจ้ งึ เป็นสิง่ จ�ำเป็น  ก่อนหน้านัน้ ใน ปี  ค.ศ.1920  พระสังฆราชแห่งกรุงคอน สแตนติโนเบิลได้เรียกร้องให้ประเทศที่เป็น คริสต์ทงั้ หลาย  จัดตัง้ องค์กรทีร่ วบรวมคริสต จักรต่างๆ  เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพใน หมู่คริสตชนด้วยกัน  เหมือนกับที่มีองค์การ สหประชาชาติรวมประเทศต่างๆ  ในระดับ นานาชาติเข้าด้วยกัน  ผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับขบวน การคริสตจักรสัมพันธ์ได้รบั เอาแนวความคิด นี้มา  ท�ำให้ความคิดนี้เป็นจริงในปี  ค.ศ. 1937  เมือ่ ขบวนการเพือ่ ชีวติ และงาน  และ ขบวนการเพือ่ ชีวติ และระเบียบตัดสินใจทีจ่ ะ รวมกั น เพื่ อ ก่ อ ตั้ ง เป็ น สภาคริ ส ตจั ก รโลก (The  world  Council  of  Churches  WCC)  แต่การรวมตัวกันนี้ถูกเลื่อนออกไป เนื่ อ งจากเกิ ด สงครามโลกครั้ ง ที่   2  ขึ้ น หลังจากสงครามโลกครั้งที่  2  สภาโลกทั้ง สองขบวนการได้รวมกันเป็นสภาคริสตจักร โลกที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปี  ค.ศ.1948 สภาคริสตจักรโลกเป็นเพียงองค์กร ภราดรภาพของคริ ส ตจั ก รทั้ ง หลาย  ท� ำ หน้าที่เป็นเวทีให้คริสตจักรต่างๆ  มีโอกาส มาพูดคุยอภิปรายข้อมูลสมมติฐานทางด้าน เทววิทยาทีแ่ ตกต่างกัน  และเหตุผลทางด้าน สังคมวิทยาที่แตกต่างกัน  เพื่อให้เกิดความ เข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน  อันจะมีผล ต่อการส่งเสริมเอกภาพและงานธรรมทูตต่อ ไป  ในเวลาต่อมาสภาธรรมทูตนานาชาติได้


34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560

เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสภาคริสตจักรโลก ในปี  ค.ศ.1961  เมื่อมีการจัดประชุมใหญ่ ของสภาคริ ส ตจักรโลก  ครั้งที่  3  ที่กรุง นิวเดลี พระศาสนจักรคาทอลิกกับขบวนการ คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ พระศาสนจักรคาทอลิกไม่ได้เข้าร่วม ขบวนการคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ตั้งแต่แรก เพราะมีมุมมองเรื่องเอกภาพของคริสตจักร ที่ต่างออกไป  พระศาสนจักรคาทอลิกมีมุม มองว่า  ความเป็นเอกภาพของคริสตจักรจะ

ส�ำเร็จได้ด้วยการที่คริสตจักรต่างๆ  ที่แยก ตัวออกไป  กลับเข้ามาเป็นหนึง่ เดียวกับพระ ศาสนจักรหนึ่งเดียวเที่ยงแท้นี้  จุดยืนของ พระศาสนจักรคือ  พระศาสนจักรคาทอลิก เท่ า นั้ น ที่ เ ป็ น อย่ า งเดี ย วกั บ   (identified with)  พระศาสนจักรของพระคริสต์  เพราะ ได้ครอบครองแก่นแท้ต่างๆ  ของพระคริสต์ ไว้  (Maffeis,  Eeumeniced  Dialogue, 23).  จุ ด ยื น นี้ ท� ำ ให้ พ ระศาสนจั ก รไม่ สามารถมองหมู่คณะที่แยกตัวออกไปเป็นคู่ ร่วมในการเสวนาได้


แต่การประชุมสภาสังคายนาวาติกัน ครัง้ ที ่ 2  แสดงทัศนคติทเี่ ปลีย่ นไปของพระ ศาสนจักรคาทอลิกต่อคริสตจักรอื่นๆ  ใน พระธรรมนูญเรือ่ งพระศาสนจักร  -  Lumen Gentium  ข้อ  8  ได้กล่าวว่า  พระศาสนจักร ของพระคริสต์ด�ำรงอยู่ใน  (subsists  in) พระศาสนจักรคาทอลิก  และพระศาสนจักร ยอมรับส่วนที่เป็นความศักดิ์สิทธิ์และเป็น ความจริ ง นอกพระศาสนจั ก ร  (Maffeis, Ecumenical  Dialogue,  26).  การยอมรับ นี้  ก่อให้เกิดพื้นฐานความสนิทสัมพันธ์ของ พระศาสนจักรคาทอลิกกับคริสตจักรและหมู่ คณะทางคริสตจักรอืน่   แม้จะเป็นความสนิท สัมพันธ์ทไี่ ม่สมบูรณ์กต็ าม  ทัศนคติทเี่ ปลีย่ น ไปของพระศาสนจักรคาทอลิกนี้  เป็นการ เปิดกว้างไม่จำ� กัดว่าพระศาสนจักรคาทอลิก เท่านั้นที่เป็นอย่างเดียวกับพระศาสนจักร ของพระคริสต์  แต่พระศาสนจักรก็ยงั ยืนยัน ว่ า พระศาสนจั ก รคาทอลิ ก เป็ น ที่ พ ระ ศาสนจั ก รของพระคริ ส ต์ ด� ำ รงอยู ่ ท าง ประวัติศาสตร์  เพราะมีคุณสมบัติทั้งหมดที่

จ�ำเป็นและเป็นหนทางแห่งความรอดที่พระ เยซูคริสต์ประทานให้ การเป็นคริสตจักรของหมู่คณะต่างๆ เหล่านั้นมีรากฐานมาจาก  การมีส่วนที่เป็น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละเป็ น ความจริ ง   ซึ่ ง เป็นการท�ำงานของพระศาสนจักรของพระ คริ ส ต์ ใ นหมู ่ ค ณะทางคริ ส ตจั ก รเหล่ า นั้ น (Maffeis,  Ecumenical  Dialogue,  27, 28)  ส่ ว นที่ เ ป็ น ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละเป็ น ความจริงที่อยู่นอกพระศาสนจักรคาทอลิก เชื่อมโยงในหมู่คณะเหล่านี้เข้าด้วยกัน  และ ท�ำให้เป็นคริสตจักรและหมู่คณะทางคริสต จักร การประชุมสภาสังคายนาวาติกันครั้ง ที่   2  ได้ อ อกพระสมณกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ย สากลสัมพันธภาพ  Unitatis  Redintegratio–UR  ยืนยันว่า  ผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า และได้รบั พิธบี ปั ติสมา  มีความสนิทสัมพันธ์ กับพระศาสนจักรคาทอลิก  ถึงแม้จะเป็น ความสนิทสัมพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์  (UR,  3 อ้างอิงใน  Maffeis, Ecumenical Dialogue,


36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 28).  พระสมณกฤษฎีกา  ข้อ  3  นี้แสดง ให้ เ ห็ น อย่ า งชั ด เจนว่ า   พระศาสนจั ก ร คาทอลิกได้เปลี่ยนแปลงการตัดสินหมู่คณะ คริสตจักรที่ไม่ใช่คาทอลิก  นี้เป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์เดิมที่มุ่งแต่ช่วง ของการปฏิเสธและช่วงของความแตกต่าง นอกจากการเปลี่ยนแปลงความคิด เรื่ อ งคริ ส ตจั ก รนี้ แ ล้ ว   การประชุ ม สภา สังคายนาวาติกันครั้งที่  2  ยังแสดงถึงการ เปลี่ ย นแปลงในความสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งเป็ น รูปธรรมกับคริสตจักรและหมู่คณะความเชื่อ คริสต์แบบอื่น  พระสันตปาปายอห์นที่  23 เป็นผู้น�ำในการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์นี้ ท่านมีความสนใจในเรื่องเอกภาพคริสตชน ตั้งแต่เริ่มแรกที่ท่านขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งเป็น พระสันตะปาปา  ท่านขอให้คริสตชนที่ไม่ใช่ คาทอลิ ก กลั บ มาสนิ ท สั ม พั น ธ์ กั บ พระ ศาสนจักรคาทอลิก  ด้วยท่าทีที่อบอุ่นเป็น พิ เ ศษ  ปราศจากความหยิ่ ง ยโส  การที่ พระองค์แสดงออกเช่นนี้  ท�ำให้คริสตชนที่

ไม่ ใ ช่ ค าทอลิ ก มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในพระทั ย ที่ ปรารถนาความเป็นเอกภาพของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเรียกให้มีการประชุม สภาสังคายนาวาติกันครั้งที่  2  พระองค์ ทรงเชิญผู้แทนของคริสตจักรต่างๆ  เข้าเป็น ผูส้ งั เกตการณ์  ก่อนหน้านัน้ ทรงจัดตัง้ ส�ำนัก เลขาธิการเพื่อการรณรงค์เอกภาพคริสตชน ขึ้น  แล้วทรงให้ส�ำนักเลขาธิการดังกล่าว เตรียมเรื่องคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ส�ำหรับ การประชุมสภาสังคายนาฯ  ในระหว่างการ ประชุมสภาสังคายนาฯ  ส�ำนักเลขาธิการนี้ ท�ำหน้าที่ดูแลผู้แทนของหมู่คณะคริสตจักร ต่างๆ  ให้สามารถติดตามการด�ำเนินไปของ การประชุมสภาฯครั้งนี้ได้อย่างดี  หลังจาก สิ้ น สุ ด การประชุ ม สภาสั ง คายนาฯแล้ ว ส�ำนักเลขาธิการฯ  ยังติดตามให้เกิดความ สั ม พั น ธ์ ที่ ดี ร ะหว่ า งคริ ส ตจั ก รนั้ น กั บ พระ ศาสนจักรคาทอลิกต่อไป แนวทางในการท� ำ คริ ส ตศาสน สัมพันธ์ตามที่พระสมณกฤษฎีกาแนะน�ำ

“การภาวนาเป็นองค์ประกอบส�ำคัญ ในการรณรงค์เพื่อเอกภาพคริสตชน”


คริสตศาสนจักรสัมพันธ์: ประวัติและแนวทาง

พระสมณกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ยสากล สัมพันธภาพได้ให้แนวทางในการท�ำคริสต ศาสนจั ก รสั ม พั น ธ์ แ ก่ พ ระศาสนจั ก รและ คริสตชนคาทอลิกดังนี้ 1.  ให้คริสตชนคาทอลิกอย่ารีรอที่จะ แสดงความสนใจ  ความเอาใจใส่ตอ่ พี่ น้องที่แยกตัวออกไป  โดยเป็น ฝ่าย ก้าวไปหาเขาก่อน 2.  พระศาสนจักรต้องฟื้นฟูตัวเองใน ความซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียกการเป็น คริ ส ตชนคาทอลิ ก   เพราะการขาด วินัยและความบกพร่องทางศีลธรรม ของสมาชิกของพระศาสนจักร  เป็น สาเหตุ ใ ห้ เ กิ ด การแบ่ ง แยกในอดี ต (UR,6,  Cassidy,  Ecumenism and  Interreligious  Dialogue, 15) 3.  คริสตชนคาทอลิกต้องเปลี่ยนใจ หากไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงภายในจิตใจ ก็ไม่มีการท�ำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ อย่ า งแท้ จริ ง   คริ ส ตชนคาทอลิ ก ผู ้ เลื่อมใสทุกคนถูกเรียกให้ด�ำเนินชีวิต อย่างศักดิ์สิทธิ์  แล้วให้คริสตชนขอ พระหรรษทานของพระจิต  ช่วยให้ สามารถปฏิเสธตัวเองอย่างแท้จริง  มี ความสุภาพและถ่อมตัวในการรับใช้ผู้ อื่น  (UR,  7) 4.  ให้มีการภาวนาส่วนตัวและส่วน รวม  ร่ ว มไปกั บ การฟื ้ น ฟู พ ระ

37

ศาสนจั ก ร  การภาวนาเป็ น องค์ ประกอบส� ำ คั ญ ในการรณรงค์ เ พื่ อ เอกภาพคริสตชน  เพราะเป็นหนทาง ส�ำคัญที่จะได้รับพระหรรษทานของ ความเป็นเอกภาพ  (UR,  8) 5.  ในการเสวนาในความจริง  คู่ร่วม เสวนาต้ อ งพบกั น บนพื้ น ฐานที่ เ ท่ า เที ย มกั น   ทุ ก คนที่ เ กี่ ยวข้ อ งในการ เสวนาเพื่อคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ต้ องเข้ า ใจในสิ่ ง ต่ อไปนี้   คื อ  ภาพ รวมของคู ่ ร่ วมเสวนา,  ข้ อค� ำ สอน, ประวัติศาสตร์,  ชีวิตฝ่ายจิต,  ชีวิต ด้านพิธีกรรม,  จิตวิทยาทางศาสนา และภูมิหลังทั่วไปของเขา  (UR,  9) 6.  การสอนวิชาเทววิทยาและความรู้ สาขาอื่ น ๆ  โดยเฉพาะที่ เ ป็ น เชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์   ต้ อ งสอนโดยการ ค�ำนึงถึงมุมมองด้านคริสตศาสนจักร สั ม พั น ธ์   เพื่ อจะได้ ส อดคล้ อ งและ ถูกต้องกับข้อเท็จจริงต่างๆ  ในการ อบรมผู ้ ที่ จ ะเป็ น พระสงฆ์ ต ้ อ งหลี ก เลี่ ย งการแบ่ ง ขั้ ว ทางหมู ่ ค ณะนิ ก าย และเทววิ ท ยาที่ ส อนแบบนี้   (UR, 10) 7.  ให้ มี ก ารร่ ว มมื อ กั น ทางคริ ส ต ศาสนจักรสัมพันธ์  เมื่อคริสตชนทั้ง หลายร่วมกันเป็นพยานถึงความหวังที่ มี ร ่ ว มกั น เช่ น   การยุ ติ ก ารใช้ ค วาม รุนแรงในสังคม  ฯลฯ  การเป็นพยาน ร่ ว มกั น นี้ แ สดงถึ ง ความสั ม พั น ธ์


38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2017/2560 ระหว่างคริสตชนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (UR,  12) นอกจากแนวทางจากพระสมณ กฤษฎี ก านี้ แ ล้ ว   พระศาสนจั ก รยั ง ออก เอกสารหลายฉบับที่ให้แนวทางในการท�ำ คริ ส ตศาสนจั ก รสั ม พั น ธ์   เช่ น   หนั ง สื อ แนะน�ำในการท�ำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ (Ecumenical  Directory),  พระสมณสาสน์ ของสมเด็จพระสันตะปาปา  ยอห์นปอลที่ 2  “เพื่ อ ให้ ทุ ก คนเป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น ”  – Ut  Unum  Sint,  พระสมณสาสน์  “พระ ศาสนจักรในเอเชีย”  –  Ecclesia  in  Asia ในที่ นี้ ข อเพิ่ ม เติ ม แนวทางการท� ำ คริ ส ต ศาสนจั ก รสั ม พั น ธ์ จ ากพระสมณสาสน์ “พระศาสนจักรในเอเชีย”  ดังนี้ 1.  ให้พระสังฆราชแต่ละประเทศใน เอเชียเชิญบรรดาคริสตจักรต่างๆ  มา จั ด ให้ มี อ งค์ ก รร่ ว มกั น   ซึ่ ง ส่ ง เสริ ม ความเป็นเอกภาพคริสตชน 2.  ให้มีการเฉลิมฉลองสัปดาห์แห่ง การภาวนาเพื่ อ เอกภาพคริ ส ตชน ตามที่ ร ะดั บ สากลจั ด ในสั ป ดาห์ ที่ 2–3  ของเดือนมกราคม 3.  ให้ พ ระสั ง ฆราชจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ก าร ภาวนาและเสวนาในสังฆมณฑลของ ตน 4.  ให้บ้านเณร  บ้านอบรมนักบวช และสถาบันการศึกษาต่างๆ  จัดให้มี การอบรมเรื่อง  การเสวนากับคริสต์ นิกายต่างๆ  อย่างเหมาะสม

แนวทางดังกล่าวหลายอย่างได้น�ำมา ปฏิบัติแล้วในประเทศไทยปัจจุบัน  โดยทาง ฝ่ายคาทอลิกมีคณะกรรมการศาสนสัมพันธ์ และคริสตศาสนจักรสัมพันธ์เป็นหน่วยงาน หลัก  คณะกรรมการนี้ได้เชิญผู้แทนจากหมู่ คณะต่างๆ  ของโปรเตสแตนท์เข้ามาร่วม ประชุมจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ  ที่ส่งเสริม ความเป็นเอกภาพของคริสตชน  สิ่งที่ได้ท�ำ เช่น  การภาวนาเพือ่ เอกภาพ,  การเปิดสอน วิ ช าคริ ส ตศาสนจั ก รสั ม พั น ธ์ ใ นสถาบั น ที่ อบรมผู ้ รั บ ใช้ ,   การแลกเปลี่ ย นอาจารย์ ระหว่างสถาบันดังกล่าว  กิจกรรมทีโ่ ดดเด่น คื อ   การจั ด สั ม มนาศึ ก ษาข้ อ เชื่ อ ให้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาปี สุ ด ท้ า ยของ  5  สถาบั น คื อ สถาบันกรุงเทพพระคริสตธรรม,  สถาบัน พระคริสตธรรมแม็คกิลวารี,  วิทยาลัยแสง ธรรม,  สถาบันพระคริสตธรรมลูเธอร์  และ โรงเรียนคริสตศาสตร์แบ็ปติสต์  (ซึ่งเข้ามา ร่วมระยะหลัง) สุดท้าย  งานคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ เป็นงานที่คริสตชนทุกหมู่คณะนิกายต้องให้ ความส�ำคัญ  เพื่อจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ กันโดยตระหนักว่าเราต่างอยู่บนรากฐาน ความเชื่อหลักเดียวกัน  เป็นศิษย์ที่พระเยซู คริสต์ทรงปรารถนาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน  ใน ขณะเดียวกันเรายอมรับความแตกต่างด้าน ความเชือ่ และประเพณีปฏิบตั ขิ องกันและกัน เพื่อจะร่วมมือกันในการประกาศพระวาจา และเป็นพยานต่อความรักของพระองค์ใน สังคม


คริสตศาสนจักรสัมพันธ์: ประวัติและแนวทาง

39

บรรณานุกรม Cassidy,  Edward  Idris.  Ecumenical  and  Interreligious  Dialogue:  Unitatis  Red integratio,  Nostra  Aetate.  New  York,  Mah-wah  NJ:  Paulist  Press, 2005. Maffeis,  Angelo.  Ecumenical  Dialogue.  Tr.by  Lorelei  Fuchs. Collegeville, Min nesota: Liturgical  Press,  2005.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.