วารสารแสงธรรมปริทัศน์
วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ ผู้อ�ำ นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อ�ำ นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร ์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ นางสาวพิมพ์ฤทัย วิชัยธรรมคุณ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู ้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี ปีละ 300 บาท (จำ�นวน 3 ฉบับ/ปี) จำ�หน่ายปลีก ราคาฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819
บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร ในปีนี้นับว่า เป็นปีแห่งพระพรและความรักของพระเจ้า ที่ทรงมีต่อพวกเราคริสตชนใน ประเทศไทย ผ่านทางการเฉลิมฉลอง 350 ปีแห่งมิสซังสยาม ผ่านทางการมาเยือนประเทศไทย ของพระคาร์ดนิ ลั ฟิโลนี จากสมณกระทรวงประกาศพระวรสารสูป่ วงชน และท้ายปี ผ่านทางการ เสด็จมาเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส การเฉลิ ม ฉลอง 350 ปี แ ห่ ง มิ ส ซั ง สยาม เป็ น การเฉลิ ม ฉลองที่ เ ราร�ำลึ ก ถึ ง ความรั ก ที่พระเจ้าทรงมีต่อประชาชนคนไทย ด้วยการให้ข่าวดีของพระคริสตเจ้าได้มาเติบโตงอกงามบน แผ่นดินไทย ผลงานของพระจิตเจ้าได้ออกดอกออกผลจนกลายมาเป็นพระศาสนจักรคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย ในยุคปัจจุบัน วารสารแสงธรรมปริทศั น์จงึ อยากจะเชิญชวนคริสตชนคาทอลิกทุกท่าน ผ่านทางบทความ ต่างๆ ทั้งในด้านปรัชญาและศาสนา มาร่วมกันตระหนักถึงความส�ำคัญของพระพรอันยิ่งใหญ่ ที่พระเจ้าทรงมีต่อประชากรของพระองค์บนแผ่นดินไทย และมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองนี้ ด้วย การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่พระศาสนจักรได้จัดขึ้น หรือด้วยการด�ำเนินชีวิตเป็นพยานถึงข่าวดี หรือด้วยวิธอี นื่ ๆ เพือ่ ให้เมล็ดพันธุแ์ ห่งความรักของพระเจ้า ได้เติบโตงอกงามในจิตใจ โดยเริม่ จาก ตัวของเราเอง และแผ่ขยายสู่บุคคลรอบข้าง
บรรณาธิการสร้างสรรค์
ข่าวประชาสัมพันธ์... ขอเชิญชวนส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ ฉบับต่อไปเดือนกันยายน - ธันวาคม 2562 ในหัวข้อ “มโนธรรม” ส่งต้นฉบับได้ที่ E-mail: pi_santo@yahoo.com หรือ E-mail: sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที 10 พฤศจิกายน 2562 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความทีส่ ง่ มาร่วมแบ่งปัน
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
Content
ปีท ี่ 43 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 Saengtham Journal
4 14 27 40 48 58 67 74 83
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (VICARIATE) แห่งสยามในปี1669/2212 ภราดา ดร.เบอร์นาร์ด เวียธ, O.M.I.
มิสซังสยามข้าม 350 ปี ศ.กีรติ บุญเจือ, ราชบัณฑิต การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. ประวัติคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล(OMI/ธ.ม.น. ค.ศ.1816/พ.ศ.2359) บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.
350 ปี มิสซังสยามกับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในการประกาศข่าวดี ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์ สืบสานพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์ การประกาศพระวรสาร คือ ต้องรักและรับใช้ ในดินแดนอีสานยุคบุกเบิก ธัญภรณ์ ลีก�ำเนิดไทย ประจักษ์พยานชีวิตฆราวาสธรรมทูต ผู้เรียบเรียง: บร.รติ พรหม แนะน�ำหนังสือ “กว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยาม” สุกานดา วงศ์เพ็ญ
(หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (Vicariate) แห่งสยาม ในปี 1669/2212 ภราดา ดร.เบอร์นาร์ด เวียธ, O.M.I.
เมื่อ 350 ปีมาแล้ว คือปี 1669/2212 พระศาสนจักรแห่งประเทศไทยได้ก่อฐานซึ่ง เราเรียกในเวลานั้นว่า “เทียบสังฆมณฑลแห่ง สยาม” ได้รบั การรับรองจากกรุงโรมและให้อยู่ ในความดูแลของสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศ แห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ในบทความนี้ เราจะย้อนอดีตประวัติศาสตร์เพื่อสามารถรู้สภาพแวดล้อม/บริบทใน ช่วงที่มีการก่อฐาน จุดเริ่มต้นและวิวัฒนาการ ดังนี้ 1. ข้อมูลบางประการเกีย่ วกับกรุงสยาม เพื่อท�ำความรู้จักประเทศนี้ในศตวรรษที่ 17 ให้มากขึ้น
2. ข้ อ มู ล แน่ ชั ด ของการมาของคณะ มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส สิ่งแปลกใหม่ ทีไ่ ม่เหมือน ธรรมทูต (missionaries) คณะอืน่ ทีเ่ คยเข้ามาท�ำงาน ข้อก�ำหนด/ค�ำสัง่ พิเศษจาก กรุงโรม 3. ภาพรวมของภารกิจธรรมทูตทีบ่ รรดา สมาชิกรุ่นแรกๆ ได้กระท�ำไปแล้วในสยาม 4. บทวิเคราะห์ผลงานของคณะมิสซัง ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส 1. ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับกรุงสยาม ในสมัยนั้น (ประเทศ) สยามเป็นหนึ่ง ในน้อยประเทศที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้า
ภราดาสังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (O.M.I.), อาจารย์พเิ ศษภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์)
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (Vicariate) แห่งสยาม ในปี 1669/2212 5
มาอยู่อาศัย สยามรับรู้อิสรภาพในการนับถือ ศาสนาคาทอลิก ผูอ้ พยพหนีการเบียดเบียนมา จากญี่ปุ่นและอันนาม (เวียดนาม) แท้จริงแล้ว ก็ถือว่าสยามได้ต้อนรับธรรมทูตคาทอลิกอย่าง มีไมตรีจติ นอกจากนัน้ การติด ต่อด้าน การค้า กับประเทศอื่นในแถบเอเชีย เอื้อประโยชน์ อย่างมากต่อการส่งธรรมทูตเข้ามาในประเทศ (ประเทศ) สยามเป็น (ประเทศ) กสิกรรม ทั่ ว ท้ อ งแผ่ น ดิ น เป็ น ของกษั ต ริ ย ์ แต่ ล ะ ครอบครัวมี สิทธิท�ำกินในเนื้อที่ที่ได้รับเพื่อ ปลูกข้าว และเพื่อเติมเต็มความต้องการด้าน บริ โ ภค สยามมี ต ้ น ไม้ พั น ธุ ์ พื ช หลากหลาย ชนิด มีตน้ มะพร้าว ปลูกต้นหมาก มีการประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ เพราะมีเนื้อที่ ส่วนมาก เป็นป่า จึงมีไม้หลากหลายชนิด เป็นทรัพยากร เยี่ ย มในการส่ ง ออก รวมถึ ง ไม้ ที่ มี เ นื้ อ แข็ ง มาก (Ironwood) ใช้ในการก่อสร้าง อีกทั้ง มีไม้จันทร์หอมใช้ในการแกะสลัก มีไม้ที่ใช้ท�ำ ก�ำยานและเครื่องหอม หรือท�ำยาได้ นอกจาก นัน้ ยังมี gibier มากมายในการส่งออก มีหลาย ครั้งที่ได้มีการพูดถึงแรดและช้าง นอกจากนี ้ ยังมีบ่อแร่ต่างๆ ดีบุก เหล็ก ทอง เพชรนิล จินดา ถ้าเราสาธยายยาวแบบนี ้ ก็เพือ่ กล่าวถึง ความมั่งคั่งที่สยามมีส่วนในการค้าขาย (ประเทศ) สยามเป็นจุดรวมของการ ค้าเรือจากอินเดียและจากเปอร์เซีย มิได้มุ่ง ตรงทุกล�ำไปจีนหรือญี่ปุ่น และเป็นไปในทาง กลั บ กั น สยามจึ ง เป็ น จุ ด นั ด พบของบรรดา พ่อค้าจากประเทศต่างๆ ทีม่ าแลกเปลีย่ นสินค้า ของตน
ชาวยุ โรปเริ่ ม สนใจอย่ า งรวดเร็ ว ใน เรือ่ งการค้าขายนี ้ ระหว่างปี 1516/2059 และ ปี 1538/2081 มีชาวโปรตุเกสมากมายอาศัย ในสยาม ประมาณกลางศตวรรษที่ 17 มีชาว โปรตุเกสอาศัยในอยุธยา 300 คน พวกเขา จัดเสบียงอาวุธส่งพระมหากษัตริย์และเป็น ที่ปรึกษา หรือไม่ก็เป็นทหารรับจ้าง ในปี 1598/2141 ชาวสเปนได้ท�ำสนธิ สัญญาการค้ากับประเทศสยาม ผ่านทางผู้ว่า ราชการชาวสเปนทีป่ กครองประเทศฟิลปิ ปินส์ ต้นศตวรรษที ่ 17 ชาวฮอลันดาได้เข้ามา โดยอาศัยก�ำลังทางเรือ ในปี 1613/2156 พวก เขาได้ตั้งบริษัทการค้าแห่งแรก ในเวลาเดี ย วกั น ชาวอั ง กฤษได้ ม าตั้ ง บริ ษั ท อั ง กฤษของอิ น เดี ย ตะวั น ออกในช่ ว ง ครึ่งที่สองของศตวรรษที่ 17 ชาวฝรั่งเศสได้ เข้ามาหลังการมาของสมาชิกสงฆ์แห่งมิสซัง ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ด้วยเหตุที่มีชนหลายชาติทั้งชาวเอเชีย และชาวยุ โรป สยามจึ ง ได้ มี ผ ลผลิ ต ส่ ง ออก มากขึ้น และ อยู่ในจุดสูงสุดในปี 1680/2223 เพราะว่าพระนารายณ์ได้ทรงพัฒนากิจการ ของราชบริษัท ชาวต่างประเทศที่มาท�ำการค้าในสยาม ได้รับพื้นที่แปลงหนึ่งที่ชานเมือง ซึ่งพวกเขา สามารถเจริญชีวติ ตามประเพณีและตามศาสนา ของตนอย่างอิสระ นอกจากชาวต่างประเทศ ทีส่ นใจในการค้านานาชาติแล้ว ยังมีชาวอพยพ ที่ ถู ก ขั บ ไล่ อ อกจากประเทศของตน อาทิ คริสตศาสนิกชนชาวญี่ปุ่น ที่ถูกขับไล่ในสมัย
6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 การเข้าครองอ�ำนาจของโชกุน เพราะความ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลอันพิเศษนี้เอง บรรดาธรรมทูต จึ ง สนใจมาเจริ ญ ชี วิ ต และพั ฒ นาการปฏิ บั ติ ภารกิจธรรมทูต 2. ข้อมูลแน่ชดั ของการมาของคณะมิสซังต่าง ประเทศแห่งกรุงปารีส เพื่ อ สามารถเข้ า ใจความแปลกใหม่ (ความริเริ่ม?) ของคณะมิสซังต่างประเทศแห่ง กรุงปารีส เราต้องมองดูถึงความพยายามแรก ของการประกาศข่าวดีในสยามช่วงศตวรรษ ที่ 16 คณะโดมิ นิ กั น ชาวโปรตุ เ กสจากคาบ สมุทรอินเดียตะวันตก (Goa) ได้เข้ามาประกาศ ข่าวดีตั้งแต่ ปี 1566/2109 จากนั้นได้มอบ ภารกิ จ แพร่ ธ รรมให้ กั บ คณะฟรั ง ซิ ส กั น ชาว สเปนจากมะนิลาในปี 1582/2125 เป็นต้นมา พวกท่านได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี และ สามารถประกอบศาสนกิจได้อย่าง เปิดเผย พระมหากษัตริยไ์ ด้ทรงประทานทีด่ นิ แปลงหนึง่ เพื่อสร้างวัด แต่ทว่าพวกท่านสามารถปฏิบัติ หน้าที่กับชนชาวโปรตุเกสเท่านั้น ด้วยเหตุผล ของการพักอาศัยอยู่ในระยะสั้นๆ และต้องพัก การปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ อย่ า งกระท่ อ นกระแท่ น เพราะอยู่ในช่วงสงคราม เป้าประสงค์แต่แรก ที่ต้องการเข้าถึงชนท้องถิ่นจึงไม่เป็นผลสักที ่ พึงสังเกตด้วยว่าธรรมทูตต้องปฏิบตั หิ น้าทีแ่ พร่ ธรรมทางการทูตและทางการค้ากับรัฐเพื่อน บ้านด้วย
คณะเยซูอิสได้ปรากฏตัวเข้ามาตั้งแต่ปี 1607/2150 หลายท่านได้สานต่อภารกิจตาม กันในเรื่องการทูต เมื่ อ คณะมิ ส ซั ง ต่ า งประเทศแห่ ง กรุ ง ปารี ส เข้ า มาในสยามเมื่ อ ปี 1662/2205 มี พระสงฆ์ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นกรุงศรีอยุธยา 11 ท่าน คือ คณะเยซูอสิ 4 ท่าน คณะโดมินกิ นั 2 ท่าน คณะฟรันซิสกัน 2 ท่าน สงฆ์สงั ฆมณฑล 3 ท่าน ส่วนมากเป็นชาวโปตุเกส พวกท่านมีสถานที่ ส� ำ หรั บ ศาสนพิ ธี ก รรมส� ำ หรั บ กลุ ่ ม คริ ส ต- ศาสนิกชนประมาณ 2,000 คน ส่วนมากเป็น ชาวตะวันตกและบรรดาลูกครึ่ง ถ้าบรรดาพระสงฆ์เหล่านี้ดูแลเฉพาะ ชนชาติ ข องตนก็ เ พราะได้ รั บ ภารกิ จ ชี้ แ นะ อย่ า งเป็ น ทางการจากเจ้ า นายสู ง สุ ด ของ ประเทศของตน (กษัตริย์) ในเวลานั้นระบบ Padroado เข้มแข็งมาก คือ ระบบที่กษัตริย ์ ของประเทศโปรตุเกสและสเปนมีอำ� นาจสัง่ การ ก่ อ ฐานพระศาสนจั ก รในประเทศที่ ต นไป แพร่ ธ รรม กษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ผู ้ เ ลื อ กส่ ง ธรรมทู ต พระองค์เป็นผู้ดูแลเรื่องการเดินทาง การยัง ชีพของบรรดาธรรมทูตเหล่านัน้ จึงเป็นธรรมดา ที่ ง านแรกและหลั ก คื อ การดู แ ลชนต่ า งชาติ ในเวลาเดี ย วกั น ได้ รั บ มอบหมายให้ ส ร้ า ง สัมพันธไมตรีทดี่ รี ะหว่างกษัตริยช์ าวสยาม/ไทย และกษั ต ริ ย ์ ช าวยุ โรป ซึ่ ง สถานการณ์ เช่ นนี้ ท�ำให้ต้องเข้าไปยุ่งกับความสัมพันธ์ทางการ ทู ต ระหว่ า งประเทศ ในปี 1622/ 2165 พระสันตะปาปา เกรโกรี ่ ที ่ 15 (GREGORY XV)
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (Vicariate) แห่งสยาม ในปี 1669/2212 7
ได้ทรงสถาปนา “สมณกระทรวงพระสัจธรรม” ให้อยู่ในอาณัติโดยตรงของพระสันตะปาปา มี ห น้ า ที่ ท บทวนกิ จ กรรมธรรมทู ต ในโลก ซึ่ ง ในเวลานั้ น อยู ่ ใ ต้ อ� ำ นาจความรั บ ผิ ด ชอบ ของกษั ต ริ ย ์ โ ปรตุ เ กสและสเปน จึ ง จ� ำ เป็ น ต้องลดทอนการประกาศข่าวดีให้นอกอ�ำนาจ คาทอลิกและอ�ำนาจทางการเมืองอื่นๆ การตั ด สิ น ใจประการแรกของสมณกระทรวง คือการแต่งตั้งพระสังฆราช 3 องค์ ส�ำหรับบูรพประเทศ/ประเทศตะวันออกไกล (Far-East) ฯพณฯ ฟรังซัวส์ ปัลลือ (François PALLU) เป็นมุขนายก (Apostolic Vicar) แห่งแคว้นตังเกี๋ย ลาว และจีนตอนใต้ ฯพณฯ ปิแอร์ ลังแบร์ต์ เดอ ลา มตต์ (Lambert de la Motte) มุขนายกของแค้วนเวียดนามใต้ ฯพณฯ อิญาซ โกโตลังดี (Ignace COTOLENDI) มุขนายกของจีน เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีการ เอ่ยชื่อประเทศสยามเลย แม้ในรายละเอียด ของประเทศที่ มุ ข นายกทั้ ง สามองค์ ต ้ อ งไป ปฏิบัติหน้าที่ แต่จริงแล้วมุขนายกทั้งสามท่าน ยังไม่ทราบว่าสุดท้ายตนต้องเข้าเกี่ยวข้องกับ การประกาศข่าวดีในประเทศสยามในภายหลัง หลังจากได้แต่งตั้งทั้งสามมุขนายกแล้ว สมณกระทรวงได้ออกข้อชี้แนะใหม่ส� ำหรับ ภารกิจธรรมทูต ประการส�ำคัญ คือ ให้ความ ส�ำคัญหลักในการปรับตัวเข้าหาแก่งานแพร่ ธรรมด้านอภิบาล ขนบธรรมเนียมประเพณี ของประเทศที่ตนเข้าไปประกาศข่าวดี ข้อชี ้ แนะนี้เปิดเผยเจตนารมณ์ใหม่ที่แตกต่างจาก การก่อฐานกลุ่มคริสตศาสนิกชนโดยธรรมทูต
ของระบบ Padroado ทีม่ งุ่ เน้นการทีธ่ รรมทูต บังคับให้ผู้อยากเป็นคริสตศาสนิกชนต้องเป็น ตามแบบของระบบโปรตุ เ กสจากลิ ส บอน (Lisbon) ข้อชี้แนะใหม่นี้เน้นการที่ธรรมทูต ต้ อ งให้ เ กี ย รติ พ ฤติ ก รรมการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีต่างๆ ของคน ในประเทศต้ อ นรั บ พวกเขา ไม่ มี ก ารยก ขนบธรรมเนี ย มประเพณี ข องตนมาใส่ ใ น ประเทศในเอเชีย เราต้อ งถือ ว่ านี่ เป็ นช่วงเวลาของการ เปลี่ยนผลัดจากหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่ต้องจารึกเน้นไว้ให้โดดเด่นในวาระ ครบ 350 ปี ของการประกาศข่าวดีในสยาม เป็นข้อก�ำหนดชี้แนะใหม่ที่ยังเป็นปัจจุบันอยู่ เสมอจนถึงทุกวันนี้ “จงอย่ามีความกระตือรือร้น อย่าใช้ เหตุผล/วาทะศิลป์ เพื่อเอาชนะประชาชน เหล่านัน้ เพือ่ ให้พวกเขาเปลีย่ นพิธกี รรมของ เขา ขนบธรรมเนียมประเพณีของพวกเขา... ไม่มีอะไรที่ใช้เหตุผล/น่าข�ำ เท่าการยกเอา ประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี หรือประเทศ อืน่ ในยุโรปมาวางใส่ลงบนชนชาวจีน จงอย่า น�ำประเทศของเราไปให้พวกเขา แต่จงน�ำ ความเชื่ อ และความเชื่ อ นี้ ต ้ อ งไม่ ผ ลั ก ดั น หรื อ ท� ำ ร้ า ยพิ ธี ก รรมและพฤติ ก รรมของ ชนชาติ ใ ด ไม่ ว ่ า ... จงอย่ า เปรี ย บเที ย บ พฤติกรรมการด�ำเนินชีวิตของชนเหล่านั้น กับชนชาติของยุโรป ตรงข้ามต้องพยายาม ท�ำตัวให้กลมกลืนสอดรับกับวิถชี วี ติ ของพวก เขา”
8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ยั ง มี อี ก สามผลงานที่ ค ณะมิ ส ซั ง ต่ า ง ประเทศแห่งกรุงปารีสได้เริ่มปฏิบัติการอย่าง เร่ ง ด่ ว น/โดยไม่ รี ร อ คื อ “สร้ า งคณะสงฆ์ พื้นเมือง” เปิดโรงเรียนและสามเณราลัยรับ ผู้สมัครจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีกลุ่มคริสตศาสนิกชนแต่ยงั ไม่มมี ขุ นายก... “วางตัวให้หา่ ง จากการเมือง” เป็นปัญหาเผือกร้อน ปัญหา หนึ่งที่สร้างความวุ่นวายให้กับคณะมาก และ สุดท้าย “รักษาการสื่อสารอย่างสม�่ำเสมอกับ กรุงโรม” จดหมายจ�ำนวนมากของสมาชิกของ คณะ รวมถึงรายงานเกีย่ วกับสถานการณ์หลาก หลาย ยืนยันอย่างดีถึงความกังวลใส่ใจอย่าง คงเส้นคงวา ที่ย้อนแย้งกับธรรมทูตรุ่นก่อนๆ ที่ต้องรายงานให้กษัตริย์ของตนผู้ได้ส่งพวกเขา ไปประกาศข่าวดีในช่วงนั้นก็คือ รายงานให้ กษัตริย์โปรตุเกสผู้มีอ�ำนาจโดยตรงเหนือพวก เขา นี่ คื อ ข้ อ ชี้ แ นะที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ เ ป็ น แรง ผลักดันคณะมิสซังต่างประเทศที่เข้ามาท�ำงาน ในสยาม และได้ สั ต ย์ ซื่ อ ต่ อ ข้ อ ชี้ แ นะตลอด ภารกิ จ แพร่ ธ รรม เวลานี้ เราจะมาดู ภ ารกิ จ ที่ ค ณะมิ ส ซั ง ต่ า งประเทศแห่ ง กรุ ง ปารี ส ได้ พยายามท�ำให้เป็นจริงในสยาม 3. ภาพรวมของภารกิ จ ธรรมทู ต ที่ บ รรดา สมาชิกรุ่นแรกๆ ได้กระท�ำไปแล้วในสยาม ขอกล่ า วถึ ง การเดิ น ทางของสาม มุขนายก เป็นการเดินทางที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม เป็นช่วงห่างกันหลายเดือน ข้อก�ำหนดจากโรม ชัดเจนมาก คือออกเดินทางอย่างเงียบๆ หลีก
เลีย่ งชาวโปรตุเกส นัน่ หมายความว่าไม่สามารถ ใช้ บ ริ ก ารเรื อ ของชาวโปรตุ เ กสที่ มี ก องทั พ ทรงอ�ำนาจมากในเวลานั้น และคุมเหนือบูรพประเทศ/ประเทศตะวันออกไกล และเหมือน ผูกขาดในแถบนี้ ดังนี้ ทั้งสามท่านจึงต้องเดิน ทางท่ามกลางอันตราย ทั้งทางน�้ำ และทางบก เดินทางเป็นช่วงๆ ฯพณฯ ลังแบรต์ เดอ ลา มอตต์ เป็น ท่านแรกที่ออกเดินทางพร้อมเพื่อนอีก 2 ท่าน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 1660/2203 ใช้เวลา เดินทาง 22 เดือน กว่าจะถึงกรุงศรีอยุธยา อย่างปลอดภัย แม้ต้องผ่านความยากล�ำบาก มากมาย จริงๆ แล้วประเทศสยามหาใช่จุด หมายปลายทางของมุขนายกไม่ ท่านได้รับ หน้ า ที่ ใ ห้ ดู แ ลแคว้ น เวี ย ดนามใต้ แต่ ท ่ า น ประหลาดใจในอิสรภาพของการปฏิบัติศาสนา ความเชื่อ รวมถึงอิสรภาพที่ชนต่างชาติได้รับ จนท�ำให้ท่านต้องตัดสินใจหยุดการเดินทางต่อ ไว้ก่อน แล้วค่อยเดินทางอีกในภายหลัง ฯพณฯ โกโตลังดี (COTOLENDI) เป็น กลุม่ เดินทางทีส่ องพร้อมกับเพือ่ นๆ อีก 3 ท่าน มีเพียง 2 ท่านทีส่ ามารถไปถึงอยุธยาได้ เพราะ ท่านโกโตลังดีได้เสียชีวิตก่อน ฯพณฯ ปัลลือ (PALLU) เป็ น กลุ ่ ม ที่ ส ามที่ เ ดิ น ทางไปเสริ ม พลังพร้อมเพื่อนธรรมทูตอีก 9 ท่าน มีเพียง 3 ท่านในกลุ่มที่สามนี้ที่สามารถไปถึงอยุธยา ได้ เมือ่ วันที ่ 24 มกราคม 1664/2207 ในการ ออกเดิ น ทางทั้ ง สามครั้ ง มี เ พี ย งธรรมทู ต 9 ท่ า นเท่ า นั้ นใน 17 ท่ า น ผู ้ ส ามารถไปถึ ง กรุงศรีอยุธยาได้ จ�ำนวนนี้บ่งชี้ถึงความยาก
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (Vicariate) แห่งสยาม ในปี 1669/2212 9
ล�ำบากและอันตรายแค่ไหน แต่ทว่า 5 ปีตอ่ มา สามกลุ ่ ม แรกนี้ แ หละที่ ก ่ อ ตั้ ง ฐานของพระ ศาสนจักรในสยามอย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลาแรกของการท�ำงานธรรมทูต ได้เริ่มเรียนภาษาท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับภารกิจไป แคว้นเวียดนามใต้หรือประเทศอืน่ สามารถหา ประชากรของภาษานั้นๆ จากผู้ที่อยู่อาศัยใน ชานเมือ งของกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้มาสอน ภาษา ส่วนท่านอืน่ ก็ได้ทมุ่ เทตนเรียนภาษาไทย เป็นช่วงทีล่ ำ� บาก เพราะทุกคนหาได้มศี กั ยภาพ เฉกเช่น ฯพณฯ ลาโน ไม่ เราจะกล่าวถึงท่าน ในช่วงต่อไป เมื่อกลุ่มผู้เดินทางครั้งที่สองและครั้งที่ สามมาถึงอยุธยา ฯพณฯ ลังแบรต์ ได้จัดให้มี ช่วงเวลาของการไตร่ตรองส�ำหรับทุกคน เพื่อ ให้สอดรับกับค�ำสั่งของกรุงโรม เพื่อสามารถ วางนโยบายในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ทั่ ว ไป นี่ คื อ สมัชชาแห่งกรุงศรีอยุธยา บรรดาธรรมทูตได้ จั ด ให้ มี ข ้ อ ชี้ แ นะอย่ า งชั ด เจน โดยใช้ ค� ำ สั่ ง ของกรุงโรมเป็นบรรทัดฐานส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึง่ การจัดระเบียบของชีวติ ธรรมจิต (spirituality) ให้สอดรับกับหลักการพื้นฐานของสมัย นั้น นั่นคือ - ใช้ชีวิตถือศีลอดอาหาร ชีวิตล�ำบาก และเข้ ม งวด โดยถื อ การทรมานกายเป็ น ภาคส่วนส�ำคัญในชีวิต - เจริ ญ ชี วิ ต ในความสุ ภ าพถ่ อ มตน ตามแบบองค์ พ ระเยซู แ ห่ ง นาซาแรธโดย ไม่ต้องชื่นชอบใจในพรสวรรค์ของตน แต่ ยกความดีแห่งผลส�ำเร็จให้แด่พระเจ้าผู้เดียว
- ระลึ ก เสมอว่ า การภาวนาเป็ น สิ่ ง จ�ำเป็นตามค�ำสอนของพระวรสาร การร�ำพึง เพ่งพิศต่อพระพักตร์องค์พระเยซู ณ ตู้ศีล (โอเรซง=Oraison) คือท่อธารขอทุกคุณธรรม จากนั้น เป็นการพิจารณาหัวข้อเรื่อง การเตรียมตัวที่จ�ำเป็นส�ำหรับงานแพร่ธรรม โดยเน้นว่างานแพร่ธรรมต้องเริ่มด้วยการเข้า เงียบฟื้นฟูจิตใจเหมือนองค์พระเยซูในถิ่นธุระ กันดาร มีชีวิตพื้นฐานบนการทรมานกายและ การภาวนา ธรรมทูตเป็นแค่เครือ่ งมือธรรมดาๆ ของพระเจ้า เราจะไม่กล่าวมากเกี่ยวกับการบันดาล ใจของข้อชีแ้ นะจากสมณกระทรวง เพียงขอให้ เราขีดเส้นใต้ความจ�ำเป็นที่จะต้องศึกษาภาษา ท้องถิ่นที่มีวิวัฒนาการไปมากแล้ว เหลืออีกหลักการหนึง่ ในมาตราข้อชีแ้ นะ อันเป็นที่โปรดปรานของธรรมทูตของศตวรรษ ที ่ 17 คือการน�ำเสนอข้อพิสจู น์แน่ชดั ในตัวเอง ของคริสตศาสนา นัน่ คือ เมือ่ น�ำเสนออย่างแจ้ง ชั ด สิ่ ง ที่ อ ยู ่ ใ นความเชื่ อ ของคริ ส ตศาสนา ก็ มี แ ต่ ส ่ อ งทางและน� ำ ทางไปสู ่ ก ารยอมรั บ อย่ า งอิ ส ระ องค์ พ ระเยซู ค ริ ส ต์ ไ ด้ แ สดงให้ เห็นองค์ประกอบที่น่ายอมรับและเชื่อถือได้ ในตัวพระองค์และในสารของพระองค์ จะมี ก็ แ ต่ ค วามอวิ ช าหรื อ บาปเท่ า นั้ น ที่ ส ามารถ ต่อต้านได้ การน�ำเสนอเอกสารที่สมัชชาได้ท�ำงาน กันไปแล้วของบรรดามุขนายกเป็นเอกสารย่อ เกินไป ก็เหมือนกับข้อชีแ้ นะจากสมณะกระทรวง ถ้าต้องการจะเข้าถึงเนื้อความและนัยความ
10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ส�ำคัญของเอกสาร จ�ำต้องมีการวิเคราะห์ที่ กว้ า งกว่ า อย่ า งไรก็ ต าม ถ้ า เราหยุ ด อยู ่ แ ค่ บางลักษณะแนวความคิด ก็เพราะเหตุวา่ ส�ำคัญ และจ�ำเป็นเพื่อความเข้าใจภารกิจแพร่ธรรม ของธรรมทูตในสยาม 4. บทวิเคราะห์ผลงานของคณะมิสซังต่าง ประเทศแห่งกรุงปารีส ในช่วงเวลา 26 ปี คือปี 1662/2205 ถึ ง 1688/2232 ธรรมทู ต ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ แพร่ธรรมในสมัยพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พระนารายณ์สิ้นพระชนม์ พระเพทราชาได้ ขึ้นครองราชแทน พระองค์ทรงมีท่าทีไม่เป็น มิตรต่อบรรดาธรรมทูตเลย ท�ำให้งานทีไ่ ด้ทำ� ไป แล้วต้องกลับมาเริม่ ต้นใหม่ ช่วงเวลา 26 ปีนนั้ มีธรรมทูตมาถึงสยาม 60 ท่าน แต่ในจ�ำนวนนี้ 40 ท่านอยู่เพียงชั่วคราวคือ 20 ท่านต้องไป แคว้นเวียดนามใต้ 10 ท่านไปจีน และอีก 10 ท่านไปตังเกี๋ย มีเพียง 20 ท่านเท่านั้นที่ถูกส่ง มาท�ำงานในสยาม แต่แล้วทั้ง 20 ท่านก็มิได้ ท�ำงานตลอดอยู่ในสยามจากปี 1662/2205 - 1688/2231 แต่มาจากหลายช่วงเวลา เช่น ปี 1662/2205 - 1670/2213 มี ธ รรมทู ต 5 ท่านจาก 1670/2213 - 1675/2218 มี ธรรมทูต 8 ท่าน จาก 1675/2218 - 1680/ 2223 มีธรรมทูต 13 ท่าน และจากปี 1680/ 2223 - 1688/2231 มี 15 ท่าน รายละเอียดข้างบนนี ้ ก็เพือ่ แสดงให้เห็น ว่าคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสต้องพบ ความยากล�ำบากในการท�ำผลงานทีพ่ วกท่านได้
เริ่มมาแล้วด้วยความอาจหาญ แม้ด้วยจ�ำนวน สมาชิกเพียงน้อยนิดก็ตาม ตามข้อชี้แนะของ สมณกระทรวง สิง่ ทีต่ อ้ งการกระท�ำก่อนในการ ส่งบรรดามุขนายกไปยังตะวันออกไกล ก็คือ การอบรมเยาวชนเพื่ อ ได้ ม าซึ่ ง พระสงฆ์ ใ น ภายหลัง พูดอีกแบบก็คือ การพยายามสร้าง โรงเรียน ดังนี้ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุง ปารี ส จึ ง ได้ ส ร้ า งสามเณราลั ย นั ก บุ ญ โยเซฟ เป็นสถานอบรมอเนกประสงค์ เริ่มแรกรับชาย หนุ่ม 9 คนจากมาเก๊า จากเวียดนามใต้ และ เมียนมาร์ (พม่า) เพื่อศึกษาเทววิทยา เป็น กลุ่มคริสตศาสนิกชนท้องถิ่นที่ส่งพวกเขามา ใกล้สามเณราลัยมีโรงเรียนเล็กๆ ทีร่ บั เด็กทุกวัย มิเพียงแต่สอนพวกเขาให้อ่านออกเขียนภาษา ท้องถิ่นได้เท่านั้น ยังต้องดูแลพวกเขาในด้าน อื่นๆ ด้วย นอกจากนั้น โรงเรียนแห่งนี้ยังเป็น สถานที่ ร องรั บ บรรดาธรรมทู ต ผู ้ ร อการไป ท� ำ งานในประเทศอื่ น ในช่ วงเวลารอคอยนี้ จึงจ�ำเป็นต้องจัดหาคนที่สามารถสอนภาษา ต่างๆ ที่พวกท่านพูดเมื่อไปท�ำงานในประเทศ นั้น เช่น ภาษาจีน เวียดนาม ตังเกี๋ย เป็นต้น แม้การอบรมบรรดาชายหนุ่ม/เยาวชน ท้ อ งถิ่ น เป็ น ภารกิ จ หลั ก ที่ ต ้ อ งมาก่ อ นของ บรรดามุขนายก แต่สามเณราลัยโยเซฟก็หาได้ ผูกขาดงานที่สามเณราลัยไม่ แต่ได้ส่งเสริม ธรรมทู ต หนุ ่ ม ให้ ไ ปปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ท ่ า มกลาง กลุ่มชนชาวเวียดนามใต้ ณ ชานเมืองอยุธยา และในชนบทที่มีชาวลาวอาศัยอยู่ มีการเปิด ศูนย์แพร่ธรรม (mission) ทีพ่ ษิ ณุโลก ทีภ่ เู ก็ต พวกท่านไปเยี่ยมคนเจ็บในบ้าน ในเรือนจ�ำ
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (Vicariate) แห่งสยาม ในปี 1669/2212 11
เป็ น งานประจ� ำ วั น ใกล้ ศู น ย์ แ พร่ ธ รรมจะมี สถานอนามัยเพื่อบริการคนเจ็บไข้ กิจกรรม เหล่านี้เอื้อต่อการได้สัมผัสโดยตรงกับชาวบ้าน เป็นการสร้างโอกาสเพื่อการประกาศข่าวดี อีกด้วย การสอนหนั ง สื อ การบ� ำ บั ด รั ก ษา คนป่วย การก่อตั้งวัด สอดรับอย่างเคร่งคัด กั บ ค� ำ สั่ ง ชี้ แ นะจากโรม รวมถึ ง การงดการ แทรกแซงในกิจกรรมทางการเมืองประเทศ อี ก ทั้ ง ไม่ ย อมรั บ อภิ สิ ท ธิ์ ใ ดๆ จากกษั ต ริ ย ์ ต้ อ งหลี ก เลี่ ย งการร่ ว มท� ำ ให้ เ สื่ อ มเสี ย จาก บรรดาผู้น�ำทางการเมือง ข้อบังคับสุดท้ายนี ้ น�ำความล�ำบากใจและปัญหามาให้อย่างรวดเร็ว ในระยะแรกๆ คณะมิ ส ซั ง ฯ มี ค วาม สั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ กษั ต ริ ย ์ ข องสยาม สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชได้ท รงมอบที่ดินและ อุปกรณ์ในการสร้างวัดและสามเณราลัย และ ในปี 1673/2216 ฯพณฯ ปั ล ลื อ ได้ น� ำ ส่ ง จดหมายของกษัตริย์ฝรั่งเศสขอความอารักขา จากพระเจ้าแผ่นดินสยามต่อบรรดาธรรมทูต รวมถึงบริษทั ฝรัง่ เศส และดังนี ้ บรรดาธรรมทูต จึ ง ขึ้ น ตรงทั้ ง กั บ กษั ต ริ ย ์ ฝ รั่ ง เศส ทั้ ง กั บ พระ นารายณ์มหาราช เป็นความจริงที่ว่าการเดิน ทางต่ า งๆ ของบรรดาธรรมทู ต จากฝรั่ ง เศส มาสูป่ ระเทศสยาม รวมทัง้ การเตรียมการต่างๆ ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ต่อมาเมื่อจ�ำนวน ธรรมทู ต เพิ่ ม ขึ้ น การส่ ง ท่ า นเหล่ า นั้ น ไปสู ่ ประเทศต่างๆ งบประมาณของสามเณราลัย ที่ต้องต้อนรับก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ... เมื่อมองเห็น ความล�ำบากเหล่านี ้ ฯพณฯ ปัลลือ ได้ขอความ
ช่ ว ยเหลื อ จากกษั ต ริ ย ์ ห ลุ ย ส์ ที่ 14 สั ม พั น ธ์ ไมตรีระหว่างฝรั่งเศสและกรุงสยามเข้มข้นขึ้น กรุงสยามได้สง่ ทูตไทย 3 ครัง้ ไปฝรัง่ เศส (คณะ ทูตแห่งสยามคณะแรกเสียชีวติ กลางพายุในการ เดินทาง) ฝรั่งเศสส่งทูตฝรั่งเศส 2 คณะมายัง กรุงสยาม จุดประสงค์ของการแลกเปลีย่ นกันนี้ เกี่ยวโยงเป็นธรรมดากับผลประโยชน์ทางการ ค้า... เหตุการณ์สดุ ท้ายในปี 1682/2225 ทีท่ ำ� ให้สถานการณ์บา้ นเมืองเปลีย่ นไปมาก คือ การ เข้ามามีบทบาทของคอนสแตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิไชเยนทร์/วิชาเยนทร์) ในราชส�ำนัก ท่านเป็นที่โปรดปรานของพระนารายณ์ ท่าน รับเป็นผู้จัดการบริหารค่าใช้จ่ายของงานแพร่ ธรรม... ในแง่หนึ่งดูเหมือนเป็นการบรรเทาใจ ส�ำหรับธรรมทูต แต่ในเวลาเดียวกันได้สร้างการ ขึ้ น ตรงอี ก แบบหนึ่ ง กั บ ท่ า น และเมื่ อ ท่ า น หมดอ�ำนาจและหายไปจากการเมืองของสยาม (ถูกประหารในสมัยปฏิวตั สิ ยาม = ผูถ้ อดความ) เป็นงานแพร่ธรรมของคาทอลิกที่ตกในสภาพ สูญเสียคุณค่า การที่ต้องขึ้นกับอ�ำนาจทางการเมือง ส่วนหนึ่ง ปัญหาปัจจัยด้านทรัพยากรอีกส่วน หนึ่งที่ สร้างความเสียหายแก่บรรดามุขนายก และงานแพร่ธรรมของคณะมิสซังฯ ในปี 1688/2231 ธรรมทูตหลายท่าน ถูกจับเข้าคุก สักการะสถานถูกปิดหรือไม่ก็ถูก ท�ำลาย ถูกปล้นสะดม สถานอบรมต่างๆ ก็ได้ รับกรรมเช่นกัน ดูเหมือนว่าในสายตาของชาว สยามเชือ่ มเหตุการณ์นกี้ บั ตัวเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผูอ้ ารักขาทีม่ อี ำ� นาจ
12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ล้นฟ้าในช่วงปีท้ายๆ รวมเข้ากับการใช้อ�ำนาจ ทางทหารฝรั่งเศสที่ได้ส่งกองก�ำลัง 600 นาย ยึดป้อมที่บางกอกและของมะริด ดังนี้ จ�ำเป็นที่เราต้องล�ำดับเหตุการณ์ ต่ า งๆ ในสมั ย นั้ น ให้ อ ยู ่ ใ นสภาพแวดล้ อ ม/ บริบทของวัฒนธรรมของสมัยนั้น ในนามของการประกาศข่าวดี บรรดา ธรรมทูตยังคงเป็นคนตะวันตก แม้เราได้เห็น ความพยายามปรั บ ตั ว ของพวกท่ า น เช่ น การพูด การท�ำความเข้าใจ การสื่อสาร การ ด�ำเนินชีวติ แบบชาวสยาม แต่ในหลายลักษณะ พวกท่านยังมีแนวความคิดแบบยุโรป จึงแน่นอน ว่าต้องปะทะกับแนวความคิดของชนท้องถิ่น หนึ่ ง ในบรรดาธรรมทู ต ที่ ไ ด้ พ ยายาม ปรั บ ตั ว อย่ า งมาก ก็ คื อ ฯพณฯ ลาโน (พระสังฆราช LANEAU) ท่านเดินเท้าเปล่า และทานข้ า วเหมื อ นชาวบ้ า น ทานกั บ ปลา ทานกับผัก เลีย่ งทานเนือ้ เพราะกลัวว่าจะเป็น ที่สะดุด ท่านเป็นผู้ริเริ่มความคิดว่าควรห่มผ้า เหลืองเหมือนพระภิกษุในการประกาศข่าวดี เพราะเห็นว่าพระภิกษุได้รับความเคารพจาก ชาวบ้ า น ท่ า นยอมรั บ ข้ อ ติ ง ของบาทหลวง เฟอรี่ (l’abbé FLEURY) ที่ว่า “เรานุง่ ห่มเสือ้ ยาวเกือบถึงพืน้ คนเห็น แต่ใบหน้าขาวของเรา เหมือนร่างหุ้มกระดูก ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรที่ชาวสยามวิ่งหนีเมื่อ เห็นพวกเราเข้าใกล้พวกเขา และยิง่ ถ้าไปบอก พวกเขาว่า ‘พวกเธอหลงผิด บรรพบุรษุ ของ พวกเธอจะถูกสาปแช่ง และพวกเขาก็จะรับ ผลเหมือนกัน’ คงไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดให้เป็นที่ ยอมรับจากพวกเขาได้”
มีสงิ่ หนึง่ ทีเ่ ราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ ธรรมทูตเชือ่ มัน่ ใจว่าพวกเขาเป็นผูก้ ำ� ความจริง ทัง้ หมดแต่ผเู้ ดียว แนวความคิดแบบนีย้ ากทีจ่ ะ โดนใจและสร้างความไว้วางใจในบรรดาผู้ที่ได้ ยินได้ฟงั เราสามารถบรรยายข้อจ�ำกัดและอคติ ของบรรดาธรรมทูตที่มีต่อชาวสยามในเชิงลบ ได้อีกมากมาย แต่เราขอปิดบทบาทนี้ด้วยการ มาดูข้อดีข้อบวกของงานแพร่ธรรมของคณะ มิสซังฯ บุคคลหนึง่ ทีเ่ ราควรยกย่องและพิจารณา เป็นพิเศษในช่วงเวลาของการประกาศข่าวดี ในตอนแรกๆ ก็คอื พระสังฆราช ลาโน ท่านมา ในสยามในฐานะที่เป็นธรรมทูตที่เป็นพระสงฆ์ ธรรมดาและถูกแต่งตัง้ ให้เป็นพระสังฆราชหลัง จากอยู่ในสยามเป็นเวลาหลายปีแล้ว ท่านเป็น ผู้ที่พ�ำนักในสยามนานที่สุดคือ 32 ปี จากปี 1664/2207 ถึง 1696/2239 ในปีต้นๆ ท่าน ใช้ เวลาอยู ่ ในวั ด พุ ท ธเพื่ อ เรี ย นทั้ ง ภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต ท่ า นได้ เ ป็ นอาจารย์ แ ละอธิ ก ารสาม- เณราลัยนักบุญโยเซฟ ท่านได้ดูแลรักษาคน เจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้ามาอยู่ใน สถานอนามัยใกล้บ้านเณร ท่านเป็นผู้ผลักดัน เพื่อนให้ไปสู่หมู่บ้านชนบท ชาวลาว ไปปฏิบัติ ภารกิจที่พิษณุโลกและที่ภูเก็ต ท่านได้บันทึก เหตุการณ์เพื่อชี้น�ำบรรดาธรรมทูต ในการเปิด สถานแพร่ธรรมใหม่ๆ เช่น ท่านได้เขียนหนังสือ เป็นภาษาไทยกว่า 20 เล่ม ท่านแปลพระ- วรสารและหนังสือนักบุญเอากุสติน มีทั้งเนื้อ ความของการสอนหลักความเชือ่ (ค�ำสอน) และ
การก่อฐานเทียบสังฆมณฑล (Vicariate) แห่งสยาม ในปี 1669/2212 13
การเสวนาระหว่างพุทธและคริสตศาสนิกชน เอกสารเหล่านี้มีอยู่ในปัจจุบันและเป็นเอกสาร ทรงคุณค่า แม้จะมีอายุนานแล้ว เอกสารบาง ฉบั บ อยู ่ ที่ ศู น ย์ ข องคณะมิ ส ซั ง ต่ า งประเทศ กรุงปารีส บางฉบับอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ในกรุ ง ปารี ส อยู ่ ใ นแผนกหอทะเบี ย นและ เอกสารหายากเกี่ยวกับอินโดจีน ผู้อ่านท่านใด สนใจเอกสารเหล่านีส้ ามารถติดต่อได้ท ี่ ภราดา แบร์นาร์ด์ (Brother BERNARD) O.M.I.
(หมวดปรัชญา)
มิสซังสยาม ข้าม 350 ปี ศ.กีรติ บุญเจือ, ราชบัณฑิต
ความหมาย มิสซังสยาม ข้าม 350 ปี หมายความว่า 1. เข้าสู่สังคมออนไลน์ 2. เข้าสูบ่ รรยากาศปฏิบตั ศิ าสนิกสัมพันธ์ 3. เข้าสู่การศึกษาศาสนสัมพันธ์ 4. เข้าสูก่ ารร่วมสร้างอารยธรรมไทยด้วย ปรัชญาอารยัน 5. เข้าสู่การประกาศข่าวดีใหม่
เข้าสู่สังคมออนไลน์ ได้เสนอให้พิจารณาไว้แล้วในแสงธรรม ปริทรรศน์ฉบับที่แล้ว ปฏิบัติศาสนิกสัมพันธ์ โดยมองว่าผู้ท�ำดีท้ังหลายมีสิทธิ์เข้าอยู่ ในอาณาจักรของพระเป็นเจ้า หากพระเป็นเจ้า มีจริงตามที่ชาวคริสต์เชื่อ และพระเยซูเจ้าจะ
ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต, อดีต สนช., อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตคณบดีคณะปรัชญา และศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, บรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน, บรรณาธิการจัดท�ำ สารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน ออกอากาศวิทยุศึกษาเรื่องราชปรัชญาเพื่อความสุขของ มหาประชาชนชาวสยาม วันจันทร์เวลา 9.10 น. สัปดาห์แรกของทุกเดือน FM92, AM1161, www.moeradiothai.net กรรมการต�ำแหน่งวิชาการของวิทยาลัยแสงธรรม, ม.คริสเตียน, ม.มิชชั่น ประธานกิติมศักดิ์องค์การศาสนาเพื่อสันติภาพ แห่งเอเชีย, สอบถามเรื่องปรัชญา โทร.08 6045 5299.
มิสซังสยามข้าม 350 ปี 15
เป็ น กษั ต ริ ย ์ จ ริ ง ของอาณาจั ก รนิ รั น ดรนั้ น ดั ง ค� ำ สั ญ ญาของพระเยซู เ จ้ า ที่ ป รากฏใน พระวรสารโดยมัทธิวบทที่ 25 ข้อ 31-46 ว่า “เมื่ อ บุ ต รแห่ ง มนุ ษ ย์ จ ะเสด็ จ มาในพระสิ ริ รุ่งโรจน์พร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์ทั้งหลาย พระองค์จะประทับเหนือพระบัลลังก์อนั รุง่ โรจน์ บรรดาประชาชาติจะมาชุมนุมกันเฉพาะพระ พักตร์พระองค์จะทรงแยกเขาออกเป็นสองพวก ดังคนเลี้ยงแกะแยกแกะออกจากแพะ ให้แกะ อยู ่ เ บื้ อ งขวา ส่ ว นแพะอยู ่ เ บื้ อ งซ้ า ย แล้ ว พระมหากษัตริย์ตรัสแก่ผู้ที่อยู่เบื้องขวาว่าเชิญ มาเถิ ด ท่ า นทั้ ง หลายที่ ไ ด้ รั บ พระพรจาก พระบิ ด าของเรา เชิ ญ มารั บ อาณาจั ก รเป็ น มรดกที่เตรียมไว้ให้ท่านแล้วตั้งแต่สร้างโลก เพราะว่าเมือ่ เราหิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า ท่านก็ ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้า ท่านก็ให้เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วยท่านก็มาเยีย่ ม เราอยูใ่ นคุกท่านก็มา หา บรรดาผูช้ อบธรรมจะทูลถามว่า พระเจ้าข้า เมื่อไรเล่าข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นพระองค์ทรงหิว แล้วถวายพระกระยาหาร หรือทรงกระหาย แล้วถวายให้ทรงดืม่ เมือ่ ใดเล่าข้าพเจ้าทัง้ หลาย ได้เห็นพระองค์ทรงเป็นแขกแปลกหน้าแล้ว ต้อนรับ หรือไม่มเี สือ้ ผ้าแล้วถวายให้ เมือ่ ใดเล่า ข้าพเจ้าทัง้ หลายเห็นพระองค์ประชวรหรือทรง อยู่ในคุกแล้วไปเยี่ยม พระมหากษัตริย์จะตรัส ตอบว่า เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านท�ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต�่ำต้อยที่สุดของเราคน หนึง่ ท่านก็ทำ� สิง่ นัน้ แก่เรา... ผูช้ อบธรรมจะไป รับชีวิตนิรันดร”
พระวรสารตอนนี้แสดงเจตนาชัดเจน ที่จะถือว่า หากในโลกหน้าคนท�ำดีไม่มีที่อื่น จะไปเสวยสุ ข มี แ ต่ อ าณาจั ก รแห่ ง สวรรค์ ท ี่ พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้มีอ�ำนาจเด็ดขาดที่จะ อนุมัติให้ใครหรือไม่ให้ใครเข้าเป็นสมาชิกละก็ ผู้มีเมตตาจิตทุกคน ไม่ว่าขณะที่อยู่ในโลกนี้ จะรู้จักพระองค์พอจนถึงมีศรัทธาที่จะปฏิบัติ ตนเป็นศิษย์ของพระองค์หรือไม่ ก็มีสิทธิ์เข้า ในอาณาจักรของพระองค์ได้พอๆ กับผูป้ วารณา ตั วเป็ นศิ ษ ย์ ข องพระองค์ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ดจน ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้นผู้ที่รับใช้พระองค์ ด้วยความเชื่อและศรัทธาจนตลอดชีวิต หากมี จิ ต ริ ษ ยาผู ้ ถื อ สิ ท ธิ์ พิ เ ศษอย่ า งบุ ญ หล่ น ทั บ ดังกล่าว ก็อาจจะเสียโอกาสไม่ได้เข้าอาณาจักร ของพระองค์ ก็ ไ ด้ ด ้ ว ย ดั ง ค� ำ อุ ป มาเรื่ อ งลู ก ล้ า งผลาญได้ ดี แ ละเรื่ อ งลู ก จ้ า งเสี้ ย ววั น ได้ ค่าจ้างเต็มวันเป็นอุทาหรณ์ อาจจะมีผู้ถาม ว่ า ถ้ า เช่ น นั้ น จะรั บ เชื่ อ เป็ น สมาชิ ก ของพระ ศาสนจักรตั้งแต่ในโลกนี้และปฏิบัติตนอย่าง ซื่อสัตย์จนตลอดชีวิตไปท�ำไม ท�ำดีกลับไม่ได้ ดีกระนั้นหรือ โปรดอ่านข้อต่อไปให้จบแล้ว มีสิทธิ์เลือกได้ตามใจ ท�ำตัวเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของโลก ศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) คือเครื่อง หมายภายนอกที่ แ สดงถึ ง พระหรรษทานที่ พระเป็นเจ้าทรงจัดการให้ท�ำการอย่างล�้ำลึก ภายใน ชาวคาทอลิกแต่ละคนรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ได้ ม ากที่ สุ ด 7 ประการซึ่ ง พระเยซู เจ้ า ทรง รับรองว่าเกิดผลอย่างล�้ำลึกในวิญญาณของ
16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์โดยอัตโนมัติของพระศาสนจักร เพราะผู้ประทานศีลเป็นเพียงผู้ท�ำแทน พระศาสนจั ก ร ไม่ ใช่ เจ้ า ของศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ตนประทานให้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ทุกข้อ เริ่มตั้งแต่ ศี ล ล้ า งบาปเป็ น ปฐม ท� ำ ให้ เ กิ ด ผลหรื อ ย�้ ำ ผลเดิ มให้ ห นั ก แน่นยิ่งขึ้นว่า ตัวผู้รับศีลเอง ทัง้ ตัวตนเป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิข์ องโลก (Sacramentum Mundi = the Sacrament of the World) ซึ่งหมายความว่าเขาเป็นเครื่องหมาย และเครื่องมือของการท�ำดีของคนทั้งโลก และ ของการท�ำดีทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกไม่ว่าจะ เป็นโลกมนุษย์หรือโลกอมนุษย์ และเมื่อคน ทั้ ง หลายที่ เป็ น ศีลศัก ดิ์สิท ธิ์ร วมกันเป็นพระ ศาสนจักร ก็ท�ำให้พระศาสนจักรมีฐานะเป็น มหาศีลศักดิ์สิทธิ์ของโลก ดังที่พระธรรมนูญ เรื่องพระศาสนจักร Lumen Gentium ของ สังคายนาวาติกันที่ 2 ข้อ 1 แถลงไว้ว่า “ด้วย เหตุที่พระศาสนจักรอยู่ในพระคริสตเจ้าเยี่ยง ศีลศักดิส์ ทิ ธิ ์ หรือเครือ่ งหมายและเครือ่ งมืออัน บั น ดาลให้ เ กิ ด เอกภาพอั น ชิ ด สนิ ท ยิ่ ง กั บ พระเป็นเจ้า และเอกภาพระหว่างมนุษยชาติ ทั้งสิ้น พระศาสนจักรจึงปรารถนาในบัดนี้ที่ จะแสดงให้สมาชิกของพระศาสนจักร และให้ มนุ ษ ย์ ทั่ ว โลกได้ เ ห็ น ลั ก ษณะแท้ จ ริ ง และ ภารกิจสากลของพระศาสนจักรอย่างสมบูรณ์ ยิง่ ขึน้ ” เพือ่ ให้บรรลุปณิธานดังกล่าวสังคายนา วาติกันครั้งที่ 2 จึงได้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความ เข้าใจกับศีลศักดิ์สิทธิ์ย่อยทุกตัวตนที่ประกอบ กันขึ้นเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์องค์รวม ตั้งแต่ฆราวาส ที่ได้ศีลน้อยที่สุดจนถึงพระสันตะปาปาที่ได้ ศีลใหญ่ทสี่ ดุ ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญในหน้าที่
และบทบาทของตนในฐานะศีลศักดิ์สิทธิ์ของ โลก ใครที่เข้าอยู่ในพระศาสนจักรแล้วหรือที่ เตรียมตัวจะเข้าเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร พึงท�ำการศึกษาและเข้าใจบทบาทหน้าที่และ สิทธิอันพึงมีในอาณาจักรของพระเจ้าของผู้อยู่ ในฐานะทีเ่ ป็นเพียงผูค้ อยรับบุญหล่นทับเหมือน ลูกล้างผลาญหรือลูกจ้างท�ำสวนชั่วโมงสุดท้าย หรือจะเต็มใจรับหน้าที่เป็นพนักงานบริการ ความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ในโลกโดยไม่แบมือ ขอค่าตอบแทน? นักเทววิทยาอย่างน้อย 4 ท่านทีช่ ว่ ยกัน ร่างค�ำสอนเรื่องนี้ให้แก่สังคายนาวาติกันที่ 2 ในฐานะผู้รับเชิญในขณะนั้น ซึ่ง ณ บัดนี้คือ พระสั น ตะปาปาเบเนดิ ก ต์ ที่ 16 โยเซฟ รั ต ซิ ง เกอร์ (Joseph Ratzinger 1927-), คาร์ดินัลอองรี เดอ ลูบัค (Henri de Lubac 1986-1991), คาร์ดินัล อีฟส์ กงการ์ (Yves Congar 1904-1995), คุณพ่อคาร์ล ราห์เนอร์ (Karl Rahner 1904-1984) โดยเฉพาะท่าน สุดท้ายที่เขียนสารานุกรม 6 เล่มใหญ่ให้ชื่อว่า Sacramentum Mundi (the Sacrament of the World) ซึ่งหมายถึงพระศาสนจักร จะต้องเป็นฝ่ายทุม่ เทเสียสละเพือ่ ความอยูร่ อด ของโลกและเขียนบทความขยายความรวบรวม เป็นเล่มได้กว่า 400 เล่ม สมาชิ ก พระศาสนจั ก รในฐานะศี ล ศักดิ์สิทธิ์ของโลก ต้องบริการใครบ้าง 1. บริการสมาชิกอื่นที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ด้วยกันเพราะ “พวกท่านต้องรักกันและกัน เพื่อให้คนทั้งหลายรับรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของ เรา” (ยอห์น 13:35)
มิสซังสยามข้าม 350 ปี 17
2. บริการชาวยิว “ประชากรทีพ่ ระเป็น เจ้าประทานพันธสัญญาให้และพระคริสตเจ้า ทรงบังเกิดในชาติของเขา” (Lumen Gentium, ข้อ 16 ดูจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 9:4-5) 3. “ในบรรดาผู้เชื่อถึงพระผู้สร้าง พวก แรกได้ แ ก่ ช าวมุ ส ลิ ม ผู ้ ยื น ยั น ว่ า ตนถื อ คติ ความเชือ่ ของอับราฮัมและนมัสการพระเป็นเจ้า ผู้ทรงพระเมตตาแต่องค์เดียวเช่นเดียวกับเรา” (Lumen Gentium, ข้อ 16) 4. “ผูท้ ใี่ ช้เหตุผลผิดทางไป เอาความจริง ของพระเป็นเจ้าไปแลกกับความเท็จ” (Lumen Gentium, ข้อ 16) สรุปได้ว่า ผู้สมัครเต็มใจรับศีลล้างบาป และศีลอืน่ ใดต่อไป ถือว่าเป็นผูพ้ ร้อมบริการรับ ใช้ทุกคนทั้งในและนอกพระศาสนจักร โดยไม่ หวังผลตอบแทนใดๆ นอกจากความสุขที่ได้ จากการได้ท�ำบทบาทของศีลศักดิ์สิทธิ์ของโลก แต่ถ้าท�ำไม่ไหว ก�ำลังไม่พอ เวลาไม่พอ แบ่ง ออกเป็นเบี้ยหัวแตกแล้วไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็น อัน ก็ต้องใช้พระคุณของพระจิตเจ้าข้อที่ 1 ฤทธิ์ คิ ด อ่ า นหรื อ ความรอบคอบปรี ช าญาณ เลือกท�ำ 1. ส่วนทีข่ าดผูอ้ าสาทีส่ ดุ และ 2. ส่วน ที่ท�ำแล้วมีความสุขใจชื่นชมยินดีในพระเจ้าได้ อย่างต่อเนือ่ ง มิฉะนัน้ จะอาสาท�ำไม่ได้นานแล้ว จะเบื่อหน่ายท้อถอย
ส�ำหรับมิสซังสยามข้าม 350 ปี มิสซังสยาม สามร้อยห้าสิบปี จากดินแดนที่ มิสชันนารีเพียงผ่าน เป็นดินแดนมุ่ง ผดุงลงหลักปักฐาน ตราบนั้นเนานาน สร้างสานคริสตจักร ไทย มิสซังสยามกับคริสตจักรคาทอลิกไทย ต่างกันอย่างไร มิสซังหมายความว่าช่วยตัวเอง ไม่ได้ ไปไม่รอด รอรับความช่วยเหลือจากนอก อาณาจักรเพื่อความอยู่รอด ส่วนคริสตจักร คาทอลิกไทยนั้นต้องอยู่บนแข้งขาของตนเอง ช่ ว ยเหลื อ กั น และกั น ให้ อ ยู ่ ร อดให้ เ ป็ น ศี ล ศักดิ์สิทธิ์บริการพลเมืองไทยให้แก้ปัญหาและ เจริญก้าวหน้า ใช้ปัญญามองด้วยวิจารณญาณ ให้เห็นความต้องการที่จ�ำเป็นอันดับก่อนหลัง อาสาท�ำส่วนที่จ�ำเป็นที่สุดไปตามล�ำดับ ช่วย ผู ้ อื่ น ท� ำ และ/หรื อ ชั ก ชวนให้ ผู ้ อื่ น ท� ำ ในส่ ว น ถู ก ปล่ อ ยปละละเลยจากมากที่ สุ ด ไปก่ อ น โดยเฉพาะในส่วนทีจ่ ำ� เป็นต้องมีและยังขาดอยู่ อย่ า งมากที่ สุ ด ทั้ ง นี้ โ ดยต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง ความ สามัคคีและประโยชน์ของประเทศชาติเป็นทีต่ งั้ มิสซังสยาม สามร้อยห้าสิบปีผ่านไปแล้ว ต่อ จากนีไ้ ปต้องเป็นมิสซังสยามข้ามสามร้อยห้าสิบ ปีเข้าสู่คริสตจักรคาทอลิกไทย
18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 คริสตจักรคาทอลิกไทยสามารถช่วยพลเมือง ไทยได้ในด้านการศึกษา นับเป็นเอกลักษณ์ขอ้ หนึง่ ของคริสตจักร คาทอลิกไม่วา่ ทีไ่ หนและเมือ่ ใด หากปักหลักลง ได้จนเป็นพระศาสนจักรท้องถิ่นแล้ว ก็ร่วมมือ กับชนท้องถิ่นทั้งหลายสร้างองค์ความรู้และ ปรัชญาที่ทันสมัย เพื่อฝากไว้เป็นมรดกอารยธรรมประจ�ำชาติ เช่น ในระยะแรกสุดได้เกิด คริสตจักรอเล็กซานเดรีย (the Church of Alexandria) ที่ส่งเสริมการศึกษาปรัชญาของ เพลโทว์ และคริสตจักรอันทิโอก (the Church of Antioch) ที่ส่งเสริมการศึกษาปรัชญาของ อริสโตเติล ซึ่งเมื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติเฉพาะ ด้านก็เรียกว่าอารยธรรมประจ�ำชาติ และถ้า ชาติ นั้ น มี ก ารแยกย้ า ยแตกแขนงออกเป็ น หลายชาติก็จะเป็นอารยธรรมประจ�ำเผ่าเช่น อารยธรรมอารยั น ในด้ า นนี้ ตั้ ง แต่ ใ นสมั ย ที ่ มิสชันนารีเพียงผ่าน ก็ได้จับประเด็นถูกที่มิได้ ตั้งหน้าตั้งตาเผยแผ่ศาสนาหาสมาชิกมาเข้ารีต เพียงอย่างเดียว แต่ได้มแี ผนช่วยการศึกษาของ ทั้ ง ชาวสยามและคนไทยเรื่ อ ยมาจนเป็ น ที่ ยอมรับและได้รบั การยกย่องสรรเสริญมาตลอด เวลา เช่น มิชชันนารีในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น ราชธานีกไ็ ด้พยายามสร้างสถานศึกษาให้ความ รู้แก่ชนชาวสยามสมัยนั้นถึงขั้นมหาวิทยาลัย ท�ำดุษฎีนพิ นธ์ เช่นของ ดร.ปิน่ โต ได้รบั เชิญไป ท�ำการสอบป้องกันที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ กรุงปาริส เป็นต้น และในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ ยังรักษาจิตตารมณ์นอี้ ย่างเข้มข้นโดยมิสชันนารี คณะเซนต์คาเบรียลและคณะเซนต์ปอลเดอ
ชาร์ตรและคณะอื่นๆ ที่ทยอยกันเข้ามาเสริม อุดมการณ์ มีส่วนช่วยให้ประเทศของเราผ่าน พ้นวิกฤตต่างๆ ในเหตุการณ์ประวัติมาได้เป็น อย่างดีเรือ่ ยมา มาบัดนีไ้ ม่มใี ครบอกได้วา่ ไม่รวู้ า่ สังคมไทยมีวิกฤติด้านความสามัคคีและความ สงบสุขร่มเย็นในชาติที่เคยมีมาแต่โบราณกาล คริสตจักรคาทอลิกไทยในฐานะสังกัดองค์การ ศาสนาสากล มีศักยภาพพอที่จะช่วยวิเคราะห์ ถึงสาเหตุและเสนอทางแก้แก่เพื่อนพี่น้องด้วย เจตนารมณ์แห่งศีลศักด์สิทธิ์ของโลกได้บ้าง จึงน่าจะถือว่าเป็นหน้าทีใ่ นบทบาททีพ่ งึ ตอบสนอง ด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จากบทบาทบริการการศึกษาแห่งชาติที่ ได้แบบแผนมาจากประสบการณ์ให้บริการการ ศึกษานานาชาติของนักบวชนักพรตคณะต่างๆ พบข้อเท็จจริงว่า ชาติใดมีอารยธรรมประจ�ำ ชาติเข้มแข็ง ความสามัคคีของคนทั้งชาติเพื่อ แก้วิกฤติใดๆ ที่เกิดขึ้นย่อมได้ผลชัดเจนเมื่อ ยกเอาอารยธรรมของชาติหรือของเผ่าพันธ์ุขึ้น มาชูเป็นทางออก ตรงกันข้ามชาติทมี่ แี ต่วฒ ั นธรรม (culture) แต่ไม่มอี ารยธรรม (civilization) ก็ มักจะหาทางออกได้ยากจนกว่าจะหาทางออก โดยค้นหาอารยธรรมของชาติให้พบจนได้ ดังจะ ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือเวนิสวานิชว่า “ชนใดไม่มีดนตรีกานต์ ในสันดานก็เป็นตน ชอบกลนัก” ซึ่งก็คงได้ความจริงยิ่งกว่าหาก อนุมานไปเป็นว่า “ชนใดไม่มีอารยธรรมธาร ในสันดานก็เป็นคนชอบกลนัก” ทั้งนี้ก็เพราะ
มิสซังสยามข้าม 350 ปี 19
ว่าอารยธรรมเป็นฐานให้เกิดดนตรีกานต์อีก ต่อหนึ่ง จึงเป็นความต้องการ (need) ของ ชาติยิ่งขึ้น ตั้งแต่บัดนี้มิสซังสยามข้ามสามร้อยห้า สิบปีเป็นต้นไป คณะมิสชันนารีทั้งหลายละ สภาพจากผู้ก่อร่างสร้างตัวให้แก่มิสซังสยาม มาเป็นผูเ้ สริมก�ำลังการท�ำหน้าทีข่ องคริสตจักร คาทอลิกไทยซึง่ มีสภาพเป็นคริสตจักรคาทอลิก ท้องถิน่ อย่างสมบูรณ์ ก็เป็นทีค่ าดหวังของพีน่ อ้ ง คาทอลิกทัง้ โลกว่า จะท�ำบทบาทตามประเพณี ของคริสตจักรคาทอลิกท้องถิ่นทั้งหลายอย่าง สมบูรณ์ตามคติของพระสังคายนาวาติกันครั้ง ที่ 2 ประเด็นต่างๆ ที่ก�ำลังท�ำหรือคิดท�ำอยู่ แล้ ว ก็ ข อเชี ย ร์ ใ ห้ ด� ำ เนิ น การต่ อ ไป โดยการ “ยืนหยัดชัดเจน กางเขนยิ่งมียิ่งทน พระพรยัง คงพร่างพรม อุดมดวงจิตคริสตชน เพิม่ พูนพลัง ร้อนรน เปี่ยมล้นแผ่นดินถิ่นนี้” ยังเหลืออีกประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรมอง ข้าม เพราะ “แผ่นดินถิน่ นี”้ ต้องการ (needs) อย่างยิง่ ไม่วา่ จะอยากได้ (want) หรือไม่กต็ าม ถ้าไม่อยากได้เพราะการเข้าใจผิดหรือรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ ก็ต้องมีความเพียรอดทนค่อยๆ ชี้แจง แนะน�ำกันไปจนกว่าจะเข้าใจดีต่อกันทุกฝ่าย ไม่ต้องรีบร้อน เพราะอายุพระศาสนจักรรอ ได้ชั่วชีวิตของคนหนึ่งยังท�ำอะไรไม่ได้ก็จะมี ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อในชั่วอายุคนต่อไป
เข้าสู่การร่วมสร้างอารยธรรมไทย อารยธรรม (civilization) คือมรดกทาง ปัญญา (the intellectual heritage) ซึง่ แต่ละ ชาติจ�ำเป็นต้องมี (need) หากมีความเข้าใจ ความเป็นมนุษย์ของตนเองและของเพื่อนร่วม ชาติทุกคนอย่างที่ควรจะเข้าใจ หากไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ และเข้าใจไม่ถูกต้อง ท�ำให้รู้สึกไม่ ต้องการ (want) ก็ต้องพยายามอบรมกันจน กว่าจะเข้าใจกันอย่างถูกต้องเป็นส่วนมากอย่าง น้อยเกินครึง่ ของชุมชน เมือ่ ก�ำหนดอารยธรรม ประจ�ำชาติได้แล้วจึงประยุกต์ออกมา แต่ละ ด้านเรียกว่าวัฒนธรรมประจ�ำชาติ อารยธรรม เป็นสิง่ ไม่ตายไม่เปลีย่ นแปลงแต่ปรับตัวได้ดว้ ย การปฏิรูปไม่ใช่ด้วยการปฏิวัติตามการค้นพบ ใหม่ๆ ยอร์ช วอชิงตันเป็นแม่ทัพที่สามารถ ขั บ ไล่ ก องทั พ อั ง กฤษออกจากอาณานิ ค ม อเมริกันได้ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณชาว อาณานิคมที่ได้เอกราชมาใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ พร้อมใจกันมอบต�ำแหน่งกษัตริย์ให้ แต่ยอร์ช ไม่ยอมรับแต่ขอแลกกับการขอให้รบั รัฐธรรมนูญ ที่ เ ป็ น อารยธรรมของพลเมื อ งประเทศใหม่ ทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ทีเ่ ป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ นั้นจึงเป็นกฎบัตรแห่งอารยธรรมอเมริกันซึ่ง เปลี่ยนแปลงไม่ได้แต่เสริมด้วยกฎหมายข้อ บังคับและธรรมเนียมประเพณีตา่ งๆ ทีป่ รับปรุง เปลี่ยนแปลงได้แต่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับ เดียวนั้นไม่ได้ เพราะยอร์ช วอชิงตันเสนอให้ เป็ น รั ฐ ธรรมนู ญ และขณะเดี ย วกั น ก็ ใ ห้ เ ป็ น อารธรรมเบื้องต้นของประเทศสหรัฐอเมริกา มาจนทุกวันนี้
20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาหลายสิบ ฉบับแล้ว ไม่เป็นไรและจะมีอกี กีฉ่ บับก็ไม่เป็นไร เพราะผู้สร้างรัฐธรรมนูญไทยมาแต่แรกมิได้ ตั้งใจให้เป็นแม่แบบอารยธรรมไทย แต่ก็มีแวว แห่งอารยธรรมไทยอยู่เบื้องหลังทุกฉบับต้อง ช่วยกันศึกษาและตีแผ่ออกให้คนทัง้ ชาติได้รบั รู้ ประเด็ น ส� ำ คั ญ ในตอนนี้ ก็ คื อ ต้ อ งชั ก ชวนให้ เพื่อนร่วมชาติตระหนักให้ได้เสียก่อนว่าเรา มี อ ารยธรรมประจ� ำ ชาติ ไ ทย ขั้ น ต่ อ มาก็ คื อ ก� ำ หนดได้ ว ่ า อยู ่ ต รงไหน ซึ่ ง ต้ อ งค่ อ ยๆ รั บ พิจารณาจากความเห็นต่างๆ จนกว่าจะลงตัว คื อ เป็ น ผลจาการรั บ รู ้ ข องผู ้ ส นใจส่ ว นมาก ผู้วิจัยจึงขอเสนอเป็นความเห็นส่วนตัวก่อน เพือ่ ให้มปี ระเด็นวิจยั และออกความเห็นกันต่อไป ผู้วิจัยเห็นด้วยกับโซสซูร์ (Ferdinand de Saussure 1857-1913) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ภาคภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของวิชาภาษาศาสตร์กล่าวไว้ว่า ภาษามี บทบาทสื่ อ อารมณ์ ความคิ ด และเหตุ ผ ล กลุ่มภาษาอัลไตเน้นการสื่ออารมณ์จึงสร้าง สุ น ทรี ย ภาพได้ ง ่ า ยรวมถึ ง การเล่ น ค� ำ ผวน เช่น ภาษาไทย กลุ่มภาษาอารยันเน้นการสื่อ เหตุผลจึงสร้างปรัชญาได้กระชับ เช่น ภาษา บาลี สันสกฤต ละติน กรีก ซึ่งควรจะเรียกได้ ว่าภาษาลูกอารยัน เพราะมีภาษาแม่อารยัน ร่วมกัน และแตกออกเป็นภาษาหลานอารยัน ทั้งหลายที่มีอยู่มากมาย ทั้งในเอเชียและยุโรป รวมถึงอเมริกาเหนือใต้ กลุ่มภาษาเซมิติคเน้น ความคิดตรงเชิงเพ่งพินิจ จึงเก่งในเรื่องความ ลึกลับซับซ้อนทั้งในโลกนี้และโลกหน้าโดยไม่
สู้จะแยกออกจากกัน ภาษาไทยเป็นภาษาใน ตระกู ล อั ล ไตมาแต่ แรก จึ ง โดดเด่ น มาแต่ โบราณกาลเรื่ อ งกาพย์ กลอน โครง ฉั น ท์ และค�ำผวน ศาสนาแต่เดิมของผู้ใช้ภาษาไทย ก็คือศาสนาระดับวิญญาณนิยม ซึ่งไม่ลึกลับ มากเท่าศาสนาของชาวเซมิตคิ และไม่ใช้เหตุผล มากเหมือนศาสนาของชาวอารยัน แต่พิสดาร มากในแง่สุนทรี ต่อมาชนชาวสยามรับนับถือ พระพุทธศาสนาซึ่งใช้ภาษาอารยันเป็นคัมภีร์ ชาวสยามจึงรับค�ำบาลีสันสกฤตเข้ามาใช้แต่ ใช้ตามไวยากรณ์อัลไต ไม่รับไวยากรณ์อารยัน ต่อมาเมื่อเป็นชาวไทยสยามก็รับอารยธรรม ตะวันตกเข้ามาอย่างเต็มที ่ ซึง่ ใช้ภาษาลูกภาษา หลานอารยันกรีกและละติน ภาษาไทยรับค�ำ อารยันตะวันตกมาใช้ในวิชาการต่างๆ โดยทับ ศัพท์จากภาษาอารยันตะวันตกหรือแปลเป็น ค� ำ อารยั น ตะวั น ออก ภาษาไทยปั จ จุ บั น จึ ง ร�่ำรวยด้วยค�ำและความหมายที่มาจากภาษา อารยั น ส� ำ คั ญ ทั้ ง 4 คื อ บาลี สั น สกฤต กรี ก ละติน แต่โครงสร้างภาษาไทยยังเป็นอัลไต ตามเดิมจึงถนัดคิดแบบไทยๆ แต่ขณะเดียวกัน ก็มผี เู้ ชีย่ วชาญทีค่ ดิ แบบอารยันได้และสามารถ แปลงเป็นภาษาไทยตามแนวคิดแบบอัลไตได้ จากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันท�ำให้พลเมือง ไทยส่วนมากเคว้งคว้างไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจ เพือ่ นร่วมชาติ ไม่เข้าใจสังคมไทยทีก่ ำ� ลังเป็นอยู่ และไม่รวู้ า่ สังคมไทยทีค่ วรจะเป็นนัน้ คืออย่างไร สภาพที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความไม่มั่นใจในชีวิต ความเป็นอยู่ ความไม่มั่นใจในอนาคต ความ กลัวการเสียเปรียบ ชิงการได้เปรียบไว้ก่อน
มิสซังสยามข้าม 350 ปี 21
ฟั ง ดี ๆ จะได้ ยิ น เสี ย งดั ง ก้ อ งขึ้ น มาว่ า “เรา หิวโหยปรัชญาประจ�ำชาติ” ใครจะหาให้ได้ ผูเ้ ขียนขอเสนอความคิดน้อยๆ เพือ่ เป็น ตุ๊กตาให้คิดต่อ ซึ่งจะต่อยอดก็ได้ หรือจะล้ม กระดานนี้แล้วหงายกระดานใหม่ขึ้นมาเสนอ ก็ได้ ไม่ว่ากัน ในสภาพปัจจุบันนี้ ถ้าเสนอความคิดที่ คนส่วนใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยอมรับกันมากทีส่ ดุ ก็นา่ จะง่ายทีส่ ดุ จึงขอเลือก เอาพระปฐมบรมราชโองการของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ 9 ทีท่ รงประทาน เมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ว่า “เราจะ ปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม” และพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลปั จ จุ บั น ก็ ไ ด้ ท รงตั้ ง พระปณิธานว่าจะทรงด�ำเนินตามพระนโยบาย ดังกล่าวว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งอาณาราษฎรตลอดไป” เราศึกษาขยายความเข้าใจได้วา่ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษา ปรัชญาจากมหาวิทยาลัยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ภาคภาษาฝรัง่ เศสซึง่ เรารูว้ า่ เป็นภาษาใน ตระกูลอารยันซึ่งใช้ระบบความคิดของอริสโตเติลเป็นฐานปรัชญาและวิชาการต่างๆ พระองค์ ทรงตั้งพระปณิธานให้ประชาชนชาวสยามมี ความสุข และประชาชนชาวสยามของพระองค์ ก็นับถือศาสนาพุทธคริสต์อิสลามเป็นส่วนมาก ซึ่งล้วนแต่รับรู้ความส�ำคัญของภาษาอารยันใน การให้และสื่อความจริงระดับโลก ซึ่งก็ตรงกับ
ข้อสังเกตของโซสซูรว์ า่ ภาษาอารยันเน้นเหตุผล และให้ความหมายทีต่ รงกับสัญชาตญาณความ จริงของปัญญามากที่สุด ในเมื่อขณะนี้ยังไม่มีการรับรู้ว่าอารยธรรมไทยเป็ น อย่ า งไร ก็ น ่ า จะลองคิ ด หา ปรั ช ญาตามโครงสร้ า งของภาษาอารยั น คื อ บาลี สั น สกฤตและกรี ก ละติ น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง คุ ณ ค่ า ทางสุ น ทรี ข องตระกู ล อั ล ไตอั น เป็ น เอกลักษณ์ของภาษาไทยควบไปด้วย หมายเหตุ แม้ศาสนาคริสต์จะมีคัมภีร์ ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ภาษาในตระดู ล เซมิ ติ ค และ ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาคัมภีร์ แต่ นั ก ปราชญ์ ท่ี ส� ำ คั ญ ของ 2 ศาสนานี้ ก็ ใช้ ปรั ช ญาของอริ ส โตเติ ล ซึ่ ง สร้ า งปรั ช ญาจาก ภาษากรีกเพื่อขยายความในส่วนที่เป็นเหตุผล จนศาสนาทั้ ง 2 ใช้ เ หตุ ผ ลได้ อ ย่ า งศาสนา อารยันโดยไม่สูญเสียความเป็นเซมิติคดั้งเดิม การคุ้ยหาความจริงจากภาษา แต่เริ่มแรกพระเวท (เมื่อใดไม่รู้) ผู้ใช้ ภาษาสันสกฤตคนหนึ่งเริ่มตระหนักว่าตนได้ เข้ า ถึ ง ความจริ ง ในภาษาสั น สกฤตและฝาก ความจริงไว้ในภาษาสันสกฤตโดยหวังว่าภาษา สันสกฤตจะเก็บความจริงไว้ให้ผู้สนใจสามารถ ขุดคุย้ ได้จนเชือ่ ว่ามีอยูจ่ ริง (อสฺสติ) นอกปัญญา และมีความสุข (ความจริง = truth คือความรู้ ในปั ญ ญาที่ ผู ้ รู ้ เชื่ อ ว่ า ตรงกั บที่ มี อ ยู ่ จริ ง นอก ปัญญาที่เรียกว่าความเป็นจริง (reality)) ก.ค.ศ.632-543 พระพุทธเจ้าทรงใช้ เวลาส่วนหนึง่ ในแคว้นมคธเพือ่ ฝากความจริงไว้
22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 กับภาษาบาลีโดยทรงคาดหวังว่าภาษาบาลีจะ เก็บความจริงไว้ให้ผู้สนใจสามารถขุดคุ้ยได้จน เชื่อว่ามีอยู่จริง (อตฺถิ) และมีความสุข ก.ค.ศ.384-322 อริสโตเติลใช้เวลาส่วน หนึง่ ในกรุงเอเธนส์เพือ่ ฝากความจริงไว้ในภาษา กรีก โดยคาดหวังว่าภาษากรีกจะเก็บความจริง ไว้ให้ผสู้ นใจสามารถขุดคุย้ จนเชือ่ ได้วา่ มีอยูจ่ ริง (estin) และมีความสุข ค.ศ.1225-1274 โทมัส อไควนัส ชาว อิตาเลียน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในหมู่นักปราชญ์ ผู้ใช้ภาษาละตินเพื่อฝากความจริงไว้ในต�ำรา Summa ซึง่ เขียนเป็นภาษาละติน โดยคาดหวัง ว่าจะเก็บความจริงไว้ให้ผู้สนใจขุดคุ้ยจนเชื่อได้ ว่ามีอยู่จริง (est) และมีความสุข ภาษาทั้ง 4 อยู่ในตระกูลภาษาอารยัน ด้วยกันที่โซสซูร์ระบุว่ามีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ ใกล้เคียงกับไวยากรณ์ระดับลึกมากกว่าภาษา ใดในโลกมนุษย์ และอริสโตเติลก็ได้แสดงให้ เห็นว่าตนใช้ภาษากรีกแสดงการท�ำงานของ ปัญญาตามข้อมูลทีไ่ ด้จากประสบการณ์โดยตรง โดยทีว่ จิ ารณญาณไม่อาจปฏิเสธได้ในส่วนทีจ่ ริง เด็ดขาด จริงอย่างมีเงื่อนไข ไม่แน่ว่าจริงหรือ เท็จจึงต้องเลือกข้างเชื่อ และส่วนที่เท็จอย่าง แน่นอน ผู้ใช้ภาษาอารยันย่อมจะซาบซึ้งว่า ภาษาอารยันท�ำหน้าที่นี้ได้จริง แต่ก็มีเสรีภาพ ที่จะไม่เชื่อตามที่รู้ได้อยู่ ปรัชญาอย่างนี้เรียกว่าปรัชญาอารยัน น่าจะใช้เป็นฐานของอารยธรรมของชนชาติไทย เพือ่ ความสุขแห่งมหาชนชาวสยามได้เป็นอย่าง ดี ทั้ ง นี้ โ ดยไม่ ขั ด ข้ อ งที่ บ างคนจะเสริ ม ด้ ว ย
ศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่รัฐธรรมนูญ ไทยสนับสนุนตามนโยบาย “แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เป้าหมายอยู่ที่ความสุขแท้ของ มหาชนชาวสยามและของทุกคนในใลกนี้และ บรรลุความสุขในโลกหน้าตามศรัทธาของแต่ละ คนได้ตามปณิธาน โซสซูร์ชี้ว่ามีไวยากรณ์ระดับลึก โซสซู ร ์ (Ferdinand de Saussure 1857-1913) บิดาของวิชาภาษาศาสตร์ทศี่ กึ ษา ทุกภาษาของโลก ชี้ว่า 1. ภาษาของมนุษยชาติมีทั้งหมดเท่าที่ รู้ประมาณ 4000 ภาษา (ไม่นับภาษาที่เพี้ยน หรือแปล่งออกไปว่าเป็นจ�ำนวนเพิ่ม) มีเกม ภาษา (language game) ควบคุมการใช้ภาษา แต่ละครัง้ เพือ่ ควบคุมความเข้าใจให้ตรงกันตาม ประโยชน์ใช้สอยและความไพเราะสุนทรี แต่ก็ ยั ง เข้ า ใจข้ า มภาษากั น ได้ เ พราะมี ไวยากรณ์ ระดับลึกชุดเดียวกัน ไวยากรณ์ระดับลึกค�้ำ ประกันความเข้าใจเรียกว่า La Langue ส่วน ไวยการณ์ระดับผิวพื้นค�้ำประกันความสะดวก และความสุนทรีเรียกว่า La Parole ซึง่ ยิง่ ปรับ มากเข้าเท่าไรก็ยงิ่ สือ่ ความจริงได้ลดน้อยลงตาม ส่วน 2. ภาษาจึงค�้ำประกัน 3 ด้านโดยต้อง แบ่งเปอร์เซ็นต์กัน คือความรู้ ความจริง และ อารมณ์ 3. ภาษาอารยันมี La Parole ที่ใกล้ เคี ย งกั บ La Langue มากที่ สุ ด จึ ง เข้ า ถึ ง ความจริ ง ได้ ง ่ า ยที่ สุ ด ภาษาลู ก และหลาน
มิสซังสยามข้าม 350 ปี 23
อารยันใกล้เคียงน้อยลงตามล�ำดับ เพราะอยาก ได้ความไพเราะเพิ่มก็ต้องยอมลดสมรรถนะ การเสนอความจริง อย่างเช่นภาษากลุ่มภาษา อั ล ไตทั้ ง หลายซึ่ ง ภาษาไทยเป็ น ตั ว อย่ า ง นับเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าภาษา ต่างๆในโลกต้องพึ่งพาอาศัยกัน ภาษาเดียว จะท�ำได้สมบูรณ์ทุกอย่างไม่ได้ โนม โชมสคี โนม โชมสคี (1928-) เสนอหลักการ transformational grammar คื อ ความ สัมพันธ์ระหว่าง Generative Grammar (or Deep Grammar) กับ Descriptive Grammar (or Superficial Grammar) และเทคนิค การปรับเปลี่ยนจากระดับหนึ่งสู่อีกระดับหนึ่ง อันเป็นกุญแจส�ำคัญให้ทุกภาษาสื่อความเข้าใจ และความจริ ง เดี ย วกั น ได้ ซึ่ ง ก็ เ ป็ น การย�้ ำ รับรองว่าภาษาอารยันรับรองความจริงตาม ความเข้ า ใจเริ่ ม แรกของปั ญ ญาได้ ดี ที่ สุ ด เพราะความจริงที่แฝงอยู่เบื้องหลังของภาษา ลูกอารยันร่วมกันก็คือ ตรรกะ (Logic ซึ่งมา จากค�ำ Logos ภาษากรีก ตรงกับ Dhamma ภาษาบาลี Dharma ภาษาสั น สกฤต และ Verbum ภาษาละติน และค�ำเหล่านี้ในทั้ง 4 ภาษาลู ก อารยั น มี ค วามหมายตรงกั น ว่ า 1. ความจริ ง นิ รั น ดรไม่ เ ปลี่ ย นแปลง และ 2. ค�ำพูดเครื่องมือสื่อผลงานของปัญญาอย่าง ได้ผล (Nature does not fail.))
ตัวอย่างคติร่วมของภาษาลูกอารยันทั้ง 4 มีคาถาในภาษาบาลีว่า อิงฺฆ อญฺเญปิ ปุ จฺ ฉ สฺ สุ ปุ ถู สมณพฺ ร หฺ ร หฺ ม เณ ยทิ สจฺ จ า ขนฺตฺยา ภิยฺโยธ วิชฺติ แปลเป็ น ภาษาอั ง กฤษได้ ว ่ า Please ask the other monks in general if exists anything more important than สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ. (สคาถวรรค สังยุตติกนิกาย 15/316/845) แปลเป็นภาษาสันสกฤตก็จะได้ขอ้ ความ และค�ำคล้ายกับภาษาบาลี โดยมีค�ำกุญแจว่า สัตยะ ทมะ ขันติ ตยาคะ แปลเป็นภาษาละตินได้วา่ “Ecce pete communes alteros monachos si existit superior quam Prudentia, Fortitudo, Justitia, Temperantia.” 4 ค�ำสุดท้ายเป็น ค�ำกุญแจ แปลเป็นภาษากรีกก็จะได้ข้อความและ ค�ำคล้ายกับภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยมี ค� ำ กุ ญ แจว่ า Phronesis, Tharros, Dikaiosune, Metrispatheia. 4 ค�ำกุญแจเป็นคุณสมบัติของผู้มีความ สุขแท้ตามความเป็นจริง เป็นความคิดร่วมของ ภาษาลูกอารยันทัง้ 4 จึงถือได้วา่ เป็นเป้าหมาย ของปรั ช ญาอารยั น และเมื่ อ วิ เ คราะห์ ใ น รายละเอียดของบันทึกภาษาลูกอารยันทั้ง 4 ก็ พ บความพยายามสร้ า งเหตุ ผ ลจู ง ใจตาม โครงสร้างภาษาเหตุผลแบบอารยันเหมือนกัน เป็นประโยคคูว่ า่ ยถา-ตถา (บาลีและสันสกฤต เหมือนกัน และรวมความหมายด้วยค�ำ ยทิ
24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 แปลเป็นภาษาไทยได้วา่ ถ้า-ก็ ซึง่ ไม่คนุ้ หูเพราะ ไม่ ใช่ ส� ำ นวนภาษาในกลุ ่ ม อั ล ไต), ละติ น Si-tunc และ กรีก Ean-tote (แปลเป็นภาษา อังกฤษได้ว่า if-then และภาษาอังกฤษก็เป็น ภาษาหลานอารยัน จึงรู้สึกชินหูไม่ถึงขั้นคุ้นหู) ภาษาในกลุม่ อารยันจึงพยายามวิเคราะห์ความ คิ ด และพิ สู จ น์ ด ้ ว ยประการทั้ ง ปวงเพื่ อ ให้ ประชาชนมีความสุขทั้งในโลกนี้และในปรโลก ด้วยปรัชญาอารยัน แต่ปรัชญาวิทยาศาสตร์ นิยม (เอาแต่วิทยาศาสตร์อย่างเดียว) ก�ำลัง แผลงฤทธิ์จะล้มทั้งปรัชญาอารยันและสุนทรี อัลไต ปรัชญาอารยันกับสุนทรีอลั ไตจึงต้องร่วม มื อ ให้ วิ ท ยาศาสตร์ อ ยู ่ ใ ต้ วิ จ ารณญาณของ ปรัชญาอารยันและสุนทรีอัลไตให้ได้ มิฉะนั้น จะมี แ ต่ ค วามสั บ สนวุ ่ น วายพู ด กั น ไม่ รู ้ เรื่ อ ง (Chaos) พระพุ ท ธเจ้ า ทรงให้ ค วามส� ำ คั ญ แก่ ค� ำ กุ ญ แจทั้ ง 4 โดยทรงขนานนามรวมว่ า ฆราวาสธรรม 4 ซึ่งน่าจะหมายความว่าเป็น ฐานชีวิตของชาวพุทธทุกระดับตั้งแต่เริ่มต้น ที่สุดจนถึงสูงสุด จะขาดข้อใดข้อหนึ่งเสียมิได้ อริสโตเติลขนานนามรวมว่า aretai arthrotai (แปลตามตัวอักษรว่าคุณธรรมหัวสลักบานพับ มาจากค� ำ arthron แปลว่าหัวสลัก ที่ท� ำให้ บานพับคอกแกะหมุนได้รอบตัว) ซึ่งอไควนัส แปลเป็นภาษาละตินว่า virtutes cardinales กลายเป็นภาษาอังกฤษว่า cardinal virtues
ความเป็นไปได้ของปรัชญาอารยัน ปรั ช ญาอารยั น จะเกิ ด และพั ฒ นาได้ ก็ต้องมีผู้สนใจปรัชญาที่รวมกลุ่มกันแล้วมีผู้รู้ ภาษาลูกอารยันทัง้ 4 ภาษา คือ บาลี สันสกฤต กรี ก และละติ น เป็ นโอกาสอั นดี ที่ เชิ ญ ชวน ผู ้ รู ้ ป รั ช ญาที่ มี ศ รั ท ธาในศาสนาต่ า งๆ ใน ประเทศไทยมารวมก�ำลังปัญญาช่วยกันสร้าง ปรัชญาไทย คือ ปรัชญาอารยันที่ใช้ภาษาไทย อั น มี ลั ก ษณะเป็ น อั ล ไตและไม่ ล ะเลยความ ก้าวหน้าของวิทยาการและสุนทรียภาพด้าน ต่างๆ อารยธรรมไทยที่แท้จริงจะได้ผุดได้เกิด เสียที และจะสะสมเพิ่มพูนเป็นมรดกถ่ายทอด สู่อนุชนชาวไทยทุกรุ่นไป ที่จะภูมิใจว่าเรามี อารยธรรมของเราเอง ซึ่ ง ควรแก่ ก ารรั ก หวงแหน และพัฒนาต่อไปจากรุ่นถึงรุ่นอย่าง ไม่ขาดสาย เรามี ม หาวิ ท ยาลั ย และวิ ท ยาลั ย ที่ มี ศักยภาพที่จะริเริ่มงานนี้ได้ ที่เชื่อว่าจะท�ำให้ ช่วงข้าม 350 ปีมสิ ซังสยามมีความหมายลึกซึง้ เข้าสู่การประกาศข่าวดีใหม่ มีการแสดงออกให้เห็นความพยายาม ปรับข่าวดีของพระเยซูด้วยเนื้อร้องเพลงว่า “ศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิต ประกาศข่าวดี ใหม่” ซึ่งเป็นนิมิตหมายดี แต่มีความก�ำกวมที่ น่าเป็นห่วงว่า อาจจะมีการเข้าใจผิดที่ค�ำว่า “ใหม่ ” และเอาไปใช้ อ ย่ า งผิ ด ๆ หรื อ เพื่ อ น พี่ น ้ อ งความเชื่ อ อื่ น อาจจะเข้ า ใจเจตนาผิ ด จึงควรท�ำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า
มิสซังสยามข้าม 350 ปี 25
1. ไม่ม ี “ข่าวดีใหม่” เพราะต้องประกาศ ข่าวดีตามเจตนาของพระเยซูเจ้าเท่านั้น คือ “จงรักกันเหมือนที่เรารักพวกท่าน” 2. ไม่ มี “เป้ า หมายใหม่ ” เพราะ “อาณาจั ก รของเรามิ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นโลกนี้ ” แต่ มี หน้ า ที่ ส ร้ า งชาติ ต ามกฎหมาย ของแผ่ น ดิ น ให้คืนแก่แผ่นดิน ของพระเป็นเจ้าจงคืนให้ พระเป็นเจ้า 3. ไม่ มี “พระคริ ส ต์ ใ หม่ ” มี แ ต่ พ ระ คริสต์ที่เสียสละ เพื่อให้ทุกคนมีความสุข และ ผู้เสียสละมีความสุขด้วย 4. มี แ ต่ “เจริ ญ ชี วิ ต ใหม่ ” จากการ ตีความ “matheteusate” จงท�ำศิษย์ (มัทธิว 28:19) มาจากค�ำ mathetos ลูกศิษย์ คือ พระองค์ท�ำตัวอย่างไร ก็ให้ไปท�ำตัวอย่างเป็น ค�ำสอนอย่างนั้น 5. มีแต่ “ความรักใหม่” ไม่ใช่เปลี่ยน นิยามความรัก แต่เพิ่มผลของความรัก จาก แต่ก่อนเน้น “ความภูมิใจที่ได้รักอย่างเสียสละ ไม่ ห วั ง ผลตอบแทนอั น ใดนอกจากความสุ ข ในสวรรค์” ขอให้เพิ่ม (ไม่ใช่แทน) ความสุขใน ทุ ก ครั้ ง ที่ ป ฏิ บั ติ ค วามรั ก และทุ ก ขณะที่ รั ก สวรรค์จะเป็นอย่างไร แล้วแต่จะทรงประทาน การเปลีย่ นแปลงทีส่ ำ� คัญนีป้ รากฏออกมาอย่าง สม�่ำเสมอจากผู้น�ำความคิดของพระศาสนจักร เช่น The Joy of the Gospel (ความชื่นชม
แห่งพระวรสาร), Amoris Laetitia (ความปิต ิ ยินดีแห่งความรัก) ของพระสันตะปาปาฟรังซิส และพระองค์ก็ได้แสดงความสุขสุดยอดในการ ปฏิบัติความรักห่วงใย เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2562 ณ ส�ำนักวาติกัน ตามรายงานของ หนั ง สื อ พิ ม พ์ ส ยามชนฉบั บ มิ ถุ น ายน 2562 หน้า 1 และ 3 ว่า พระองค์ทรงคุกเข่าลงจูบเท้า (อย่ า งไม่ ต ะขิ ด ตะขวงพระทั ย ) ของรอง ประธานาธิบดีซัลวา กีอีร์ มายาดิต เคลื่อนไป จูบเท้ารีค มาชาร์ อดีตรองประธานาธิบดี และ จูบเท้าของนางรีเบคกา เอ็นยางเดน มาบิยอร์ รั ฐ มนตรี ก ระทรวงคมนาคม เพื่ อ วอนขอ สันติภาพ ประเด็นส�ำคัญอยูท่ ขี่ อ้ คิดของผูเ้ ขียน บทความว่า “ทั้งๆ ที่มีอาการเจ็บหัวเข่าเรื้อรัง ในวัย 82 ปี พระองค์ก้าวเดินช้าๆ ด้วยสีหน้า เบิกบานแจ่มใส โดยมีผู้ช่วยจับแขนประคอง อยูด่ า้ นขวา หากไม่ทรงกระท�ำเช่นนัน้ ก็จะไม่มี ใครต�ำหนิพระองค์ได้เลย แต่พระองค์ทรงตัง้ ใจ จูบไปตรงที่ต�่ำที่สุดคือหลังเท้า เพื่อจะบอกว่า แม้แต่สิ่งที่ต�่ำที่สุดของมนุษย์ พระองค์ก็ยังจูบ ได้ นับประสาอะไรกับการให้เกียรติให้อภัยผูอ้ นื่ จะท�ำไม่ได้เชียวหรือ” ส�ำหรับชาวคาทอลิก ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าพระองค์ได้ท�ำศิษย์ตามค�ำสั่ง ของพระเยซูเจ้า คือสอนและท�ำอย่างมีความสุข นั่นเอง
บรรณานุกรม O’Donnell, Christopher. (1996). Ecclesia: A Theological Encyclopedia of the Church. Minnesota: Collegeville. กีรติ บุญเจือ. (2561). ชุดปรัชญาสวนสุนันทา 10 เล่ม.
(หมวดพระสัจธรรม)
การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 หลังจากสภา สังคายนาเมืองเตรนท์ (ปี ค.ศ.1543-1563) ความเลื่ อ มใสศรั ท ธาต่ อ พระนางมารี ย ์ ใ น พระศาสนจักรยุโรปตะวันตกได้รับการฟื้นฟู ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อโต้ตอบค�ำกล่าวหาของ นักปฏิรปู บรรดามิชชันนารีรนุ่ แรกๆ ทีเ่ ดินทาง ประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้าและน�ำความ เชื่ อ คาทอลิ ก มาสู ่ ร าชอาณาจั ก รสยาม จึ ง มี ความเลื่อมใสศรัทธาลึกซึ้งต่อพระนางมารีย์ และได้รบั การศึกษาในด้านเทววิทยาอย่างดีเพือ่ เตรียมตัวเป็นพระสงฆ์
เป็นเรื่องยากที่จะสรุป “เทววิทยาเรื่อง พระนางมารีย์” ของมิชันนารีเหล่านั้นผู้ยึดมั่น ในค�ำสอนที่ได้รับการพัฒนามาหลายศตวรรษ ตั้ ง แต่ ส มั ย ปิ ต าจารย์ จนถึ ง สมั ย นั้ น อย่ า งไร ก็ตาม เราสามารถบ่งบอกแนวโน้มบางประการ และคารวกิจที่ได้ปฏิบัติกันในวันฉลองต่างๆ เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางมารีย์ ดังต่อไปนี้ 1. พระนางมารียเ์ ป็นพระมารดาพรหมจารี คือ ทรงปฏิสนธิพระบุตรของพระเจ้าใน พระครรภ์ เดชะพระอานุภาพของพระจิตเจ้า พระนางจึงทรงได้รบั พระนามว่า “พระชนนีของ
บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน S.D.B., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 พระเจ้า” (Theotokos) ดังที่สภาสังคายนา เมืองเอเฟซัสประกาศอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.431 และก�ำหนดวันสมโภชพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเจ้า 2. พระนางมารี ย ์ ท รงเป็ น พรหมจารี เสมอ ดั ง ที่ ส ภาสั ง คายนาเมื อ งคอนสแตน ติ โ นเปิ ล ครั้ ง ที่ 2 ในปี ค.ศ.553 และสภา สั ง คายนาลาเตรั น ในปี ค.ศ.649 ประกาศ อย่างเป็นทางการ หมายความว่า ก) หลังจาก ประสู ติ พ ระเยซู เจ้ า แล้ ว พระนางไม่ ท รงให้ ก�ำเนิดบุตรคนใดอีก ข) ทรงเป็นพรหมจารีใน การประสูติพระเยซูเจ้า ทั้งในแง่ที่ว่าพระนาง ทรงมอบพระวรกายและพระวิญญาณทั้งหมด แก่งานของพระบุตรเพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น และในแง่ชีวภาพคือพระนางประสูติพระเยซู เจ้าโดยปราศจากความเจ็บปวดใดๆ 3. พระนางมารีย์ทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ใน ความหมาย 3 ประการคือ ก) ความศักดิ์สิทธิ์ ในแง่ศลี ธรรมและคุณธรรมส่วนตัวของพระนาง เช่น ความเชื่อในการยอมรับพระประสงค์ของ พระเจ้าดังที่ทูตสวรรค์แจ้งให้ทราบ ข) ความ ศักดิ์สิทธิ์ในแง่ทรงเป็นผู้ปราศจากบาปและ ข้อบกพร่องทุกประการ ดังที่ท�ำฉลองในวัน “พระนางมารียผ์ ปู้ ฏิสนธินริ มล” ทัง้ ๆ ทีใ่ นสมัย นั้นยังไม่ค่อยเข้าใจอย่างชัดเจนว่า พระนาง ผู ้ ป ฏิ ส นธิ ใ นครรภ์ ข องนั ก บุ ญ อั น นาทรง ปราศจากบาปก�ำเนิด ค) นักเทววิทยาบางคน เชือ่ ว่า พระนางมารียท์ รงเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิเ์ พราะ ทรงปฏิสนธิโดยปราศจากก�ำเนิด
4. ยังมีความคิดหลากหลายเกีย่ วกับช่วง สุดท้ายในพระชนมชีพของพระนางมารีย์บน แผ่ น ดิ น เช่ น บางคนคิ ด ว่ า พระนางมารี ย ์ สิน้ พระชนม์เป็นมรณสักขีหรืออาจสิน้ พระชนม์ ตามธรรมชาติ บางคนคิดว่าพระนางอาจไม่ได้ สิ้นพระชนม์ เพียงบรรทมหลับไป และอีกบาง คนคิดว่าพระนางมารีย์สิ้นพระชนม์และทรง กลั บ คื น พระชนมชี พ ตามภาพลั ก ษณ์ ข อง พระบุตร เพื่อเป็นสัญลักษณ์จุดมุ่งหมายของ พระศาสนจักร 5. บรรดามิชชันนารีน�ำวันฉลองอื่นๆ ถวายเกียรติแด่แม่พระเข้ามาในราชอาณาจักร สยามคื อ ฉลองการถวายพระกุ ม ารในพระ วิหาร (Presentation of the Lord) ฉลอง การแจ้งข่าวเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพ มนุ ษ ย์ (Annunciation) ฉลองแม่ พ ระรั บ เกียรติเข้าสู่สวรรค์ (Assumption) และฉลอง แม่พระบังเกิด (Nativity) รวมทั้งสมโภช คริสตสมภพ ในช่วงเวลา 350 ปี ต่อจากการสถาปนา มิสซังสยาม นักเทววิทยาของพระศาสนจักร คาทอลิกทั่วโลก ได้พยายามไตร่ตรองบทบาท ของพระนางต่ อ ไปโดยขยายโลกทั ศ น์ อ ย่ า ง ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ การไตร่ตรองทางเทววิทยาในทุกสาขา นั่นคือ พิจารณาจากมุมมองของคริสตวิทยาผ่านไป ยังมุมมองของมานุษยวิทยา ค�ำยืนยันความเชือ่ เกี่ยวกับพระนางมารีย์ของบรรดาปิตาจารย์ และสภาสั ง คายนาสากลครั้ ง แรกๆ เคยถู ก
การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม 29
ก�ำหนดไว้ในความสัมพันธ์กับข้อโต้เถียงเกี่ยว กับพระคริสตเจ้า แต่บดั นี ้ ค�ำสอนเรือ่ งพระนาง มารียถ์ กู ก�ำหนดไว้ในมุมมองใหม่ นักเทววิทยา ของพระศาสนจั ก รยุ โรปตะวั น ตกพิ จ ารณา จากพระสั จ ธรรมเรื่ อ งพระคริ ส ตเจ้ า และ พระตรีเอกภาพผ่านไปยังพระสัจธรรมเรื่อง มานุษยวิทยา นั่นคือพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับ สภาพดั้ ง เดิ ม ของมนุ ษ ย์ การประทานพระ หรรษทาน การพัฒนาชีวิตคริสตชน และจุด มุง่ หมายสุดท้ายของชีวติ มนุษย์ การเปลีย่ นแปลง ของมุมมองนี้อธิบายทั้งความยุ่งยากที่เกิดขึ้น ในระยะแรกๆ และเส้ น ทางของการพั ฒ นา ต่อไป เมื่อพระศาสนจักรยุโรปตะวันออกไม่ ค่ อ ยสนใจเทววิ ท ยาทางมานุ ษ ยวิ ท ยาแล้ ว พระศาสนจั ก รยุ โรปตะวั น ตกจึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ ง พิจารณามุมมองนี้ด้วย เพื่อพัฒนาเทววิทยา เรื่องพระนางมารีย์ อย่างไรก็ตาม การไตร่ตรองของบรรดา ปิตาจารย์และของพระศาสนจักรสมัยต่อไป ก็ยังคงด�ำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพราะเหตุผล 3 ประการคือ 1) ปัญหาบางอย่างที่ปิตาจารย์หลาย คนได้ อ ้ า งถึ ง และโต้ เ ถี ย งกั น ตั้ ง แต่ ส มั ย แรก แต่ยังไม่ได้รับค�ำตอบ เช่น นักบุญเอปีฟานีอุส (Epiphanius) เคยตั้งค�ำถามเกี่ยวกับจุดจบ ชีวิตบนแผ่นดินของพระนางมารีย์ หรือนักบุญ ออกั ส ติ น เคยคิ ด ว่ า พระนางมารี ย ์ ท รงเป็ น ผู้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ตั้งแต่จุดเริ่มแรกของชีวิตซึ่งมี ผลในเรื่องบาปก�ำเนิด
2) พิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันที ่ 15 สิงหาคม ฉลองพระนางมารียท์ รงรับเกียรติ เข้ า สู ่ ส วรรค์ และวั น ที่ 8 ธั น วาคม ฉลอง พระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล บทเทศน์ในวัน ฉลองทั้ง 2 นี้เป็นแรงบันดาลใจอยู่เสมอให้ เข้าใจพระธรรมล�้ำลึกเรื่องพระชนมชีพทั้งหมด ของพระนางมารีย์ และในที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด 3) พระศาสนจักรเคยสัง่ สอนอยูเ่ สมอว่า พระธรรมล�้ำลึกเรื่องพระคริสตเจ้าและพระตรี เอกภาพเป็นรากฐานความเชือ่ เกีย่ วกับพระนาง มารีย์ พระมารดาพรหมจารีของพระเจ้า จน กระทัง่ นักเทวิทยาทุกคนทีพ่ ยายามอธิบายสิทธิ พิ เ ศษของพระนาง ทั้ ง เมื่ อ ทรงเริ่ ม ชี วิ ต โดย ปราศจากบาปและเมือ่ ทรงได้รบั พระสิรริ งุ่ โรจน์ ในจุดจบของชีวิต ต่างก็อ้างเหตุผลพร้อมกับ นักบุญออกัสตินว่า “เพือ่ ถวายเกียรติสรรเสริญ พระเจ้า” (propter honorem Domini) และ พิจารณาบทบาทของพระนางมารียใ์ นแผนการ แห่งความรอดพ้นอยู่เสมอ เหตุ ผ ลที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ พระศาสนจั ก ร ตะวันตกให้นิยาม “พระสัจธรรมเรื่องพระนาง มารียใ์ นสมัยใหม่” (modern Marian dogmas) หมายถึง “การปฏิสนธินิรมล” และ “การรับ เกียรติเข้าสูส่ วรรค์” ของพระมารดาพรหมจารี ของพระเจ้า สรุปได้ใน 4 ประเด็น คล้ายกับที่ เราพบในสมัยบรรดาปิตาจารย์คือ 1) ความจ�ำเป็นที่ต้องยืนยันความจริง ของข้ อ ความเชื่ อ เพื่ อ ถวายเกี ย รติ ส รรเสริ ญ พระเจ้าและเพื่อความรอดพ้นของมนุษย์
30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 2) ปฏิกิริยาต่อค�ำสอนผิดๆ บางอย่าง เกี่ยวกับมานุษยวิทยาทางเทววิทยาและการไถ่ กู้มนุษย์ 3) การอ้างอิงถึงแบบอย่างทางจิตใจและ จริยธรรมของพระนางมารีย์ 4) ความต้องการและแรงกระตุ้นที่มา จากประสบการณ์ของคารวกิจต่อพระมารดา ของพระเจ้า 1. ความจ�ำเป็นที่ต้องถวายพระพรสรรเสริญ พระเจ้าส�ำหรับสิง่ มหัศจรรย์ทที่ รงกระท�ำเพือ่ มนุษย์ ไกเซลมันน์ (Geiselmann) นักเทววิทยา ชาวเยอรมันให้ข้อสังเกตว่า พระสัจธรรมเกี่ยว กั บ พระนางมารี ย ์ 2 ประการสุ ด ท้ า ยแสดง ลักษณะชัดเจนว่าเป็น “การนมัสการพระเจ้า” แรงบันดาลใจโดยตรงและส�ำคัญที่สุดในการ ประกาศพระสัจธรรมดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการต่อ ต้านค�ำสอนผิดๆ บางประการ หรือแก้ไขการ โต้ เ ถี ย งอย่ า งเด็ ด ขาด แต่ เ พื่ อ เป็ น พยานถึ ง ความจริง ถวายพระพรแด่พระเจ้าส�ำหรับสิ่ง มหัศจรรย์ที่ทรงกระท�ำเพื่อเรา พระธรรมนูญ ทัง้ 2 ฉบับของสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที ่ 9 และปีโอที่ 12 ผู้ทรงประกาศพระสัจธรรม 2 ประการนี้ ก็ยืนยันเจตนาที่จะถวายพระพรแด่ พระเจ้าอย่างชัดเจนว่า “เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระตรีเอกภาพศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเกียรติยศ และเครื่องประดับของพระชนนีพรหมจารีของ พระเจ้ า ... เรายื น ยั น ” และ “เพื่ อ พระสิ ริ รุ่งโรจน์ของพระเจ้าผู้ทรงสรรพาภาพ... เพื่อ ถวายเกียรติสรรเสริญพระบุตร... เพือ่ ถวายเกียรติ
มากยิ่งขึ้นแด่พระมารดาผู้สูงส่งของพระเจ้า... เราประกาศ ยืนยันและให้ค�ำนิยาม...” ร่วมกับจุดมุง่ หมายทีจ่ ะถวายพระพรแด่ พระเจ้านี้ พระศาสนจักรต้องการเข้าใจความ เชื่ อ เกี่ ย วกั บ พระนางมารี ย ์ ใ นเชิ ง บวกอย่ า ง ชัดเจนและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพราะเคยมีการ โต้เถียงของบรรดาอัสมาจารย์เป็นเวลาหลาย ศตวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ระหว่างผูส้ นับสนุน กับผู้ต่อต้านข้อความเชื่อเกี่ยวกับการปฏิสนธิ นิรมลของพระนาง ซึ่งฝ่ายหนึ่งยึดมั่นกับธรรม ประเพณีของนักบวชคณะฟรังซิสกัน และอีก ฝ่ายหนึ่งยึดมั่นกับธรรมประเพณีของนักบวช คณะโดมินกิ นั ในทีส่ ดุ พระศาสนจักรประกาศ ค�ำนิยามพระสัจธรรมทั้ง 2 ประการนี้ “เพื่อ เทิดทูนความเชื่อคาทอลิกและความเจริญก้าว หน้าของคริสตศาสนา” และ “เพือ่ ความชืน่ ชม ยินดีและความสุขของพระศาสนจักรทั้งหมด” ดังนัน้ จึงเป็นพลวัตภายในของความเชือ่ ที่พระศาสนจักรในสมัยใหม่ต้องการแสดงออก ในพระสัจธรรม 2 ประการ คือความต้องการ ที่จะเข้าใจพระธรรมล�้ำลึกอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยพิศเพ่งข้อความเชื่อนี้ด้วยความเคารพบูชา “หลังจากที่ได้วอนขอพระเจ้าอย่างมั่นคงอยู่ เสมอ และเรียกขานพระจิตแห่งความจริง” ในท�ำนองเดียวกัน การประกาศพระสัจธรรม 2 ประการนี้ ยั ง เป็ น การรั บ รองความรู ้ สึ ก ที่ ประชากรของพระเจ้ามีเกีย่ วกับความเชือ่ ดังที่ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงส�ำรวจก่อนที่จะ ประกาศข้อความเชื่อดังกล่าว เพราะทรงมั่น พระทัยด้วยความเชื่อว่า พระจิตเจ้าไม่ทรง ปล่อยให้พระศาสนจักรทั้งหมดหลงผิดในเรื่อง
การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม 31
ความเชื่ อ ตรงกั น ข้ า ม พระจิ ต เจ้ า จะทรง บั น ดาลให้ พ ระศาสนจั ก รเข้ า ใจอย่ า งลึ ก ซึ้ ง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในความจริงที่พระเยซูเจ้า ทรงสั่ ง สอนและหนั ง สื อ พั น ธสั ญ ญาใหม่ ไ ด้ บันทึกไว้ (เทียบ ยน 16:13) 2. ปฏิกิริยาต่อค�ำสอนผิดบางอย่างเกี่ยวกับ มานุษยวิทยาทางเทววิทยาและการไถ่กมู้ นุษย์ การเน้นย�้ำถึงเจตนาที่จะถวายพระพร แด่พระเจ้าและจะเสนอพระสัจธรรมเกี่ยวกับ พระนางมารียใ์ นสมัยใหม่ ไม่ยกเว้นเราจากการ ค้ น คว้ า โลกทั ศ น์ ท างวั ฒ นธรรมและชี วิ ต จิ ต ซึ่งเป็นเบื้องหลังของการนิยามพระสัจธรรม เราพบทั ศ นคติ ต รงกั น ข้ า ม 2 ประการที่ ล ด มานุษยวิทยาทางเทววิทยาและหลักค�ำสอน เกี่ ย วกั บ การช่ ว ยมนุ ษ ย์ ใ ห้ ร อดพ้ น ซึ่ ง พระ สัจธรรมได้ต่อต้านคือ ด้านหนึ่ง ในสมัยใหม่ การเทิดทูนมนุษย์ในเชิงอัตวิสัยและในฐานะ บุ ค คลส� ำ คั ญ ทางประวั ติ ศ าสตร์ จนกระทั่ ง ลบล้างคู่แข่งใดๆ ทางเทววิทยา หรือลบล้าง ความรอดพ้นใดๆ ที่มาจากเบื้องบน อีกด้าน หนึ่ง การเทิดทูนพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า มากเกินไปจนท�ำให้การกระท�ำของมนุษย์เป็น เพียงแง่ลบและมนุษย์เป็นฝ่ายรับอย่างเดียว ตามค�ำสอนของนิกายโปรเตสแตนต์ ความเชื่อ ของพระศาสนจักรคาทอลิกอยูร่ ะหว่างความคิด ตรงกันข้าม 2 ขั้วนี้ คือระหว่างความรุ่งโรจน์ ของมนุษย์โดยปฏิเสธพระเจ้ากับพระสิรริ งุ่ โรจน์ ของพระเจ้าโดยปฏิเสธศักดิ์ศรีของมนุษย์
ความเชื่อของพระศาสนจักรต่อเนื่องมา จากการประกาศความเชื่อของสภาสังคายนา เมืองคาลเซโดน ในปี 451 ซึ่งยืนยันพระธรรม ล�้ำลึกเรื่องพระคริสตเจ้าอย่างสมดุล พระองค์ ทรงรวมธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ กั บ พระธรรมชาติ พระเจ้า “โดยไม่ปะปน ไม่เปลีย่ นแปลง ไม่แบ่ง แยก แต่รวมเป็นหนึ่งเดียว” ในการเป็นพระ บุ ค คลหนึ่ ง เดี ย วของพระวจนาตถ์ ผู ้ ท รงรั บ ธรรมชาติมนุษย์ ในสมัยโบราณ เทววิทยาเรือ่ ง พระนางมารียข์ องพระศาสนจักรเคยช่วยรักษา ข้ อ ความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ พระคริ ส ตเจ้ า ฉั น ใด ในสมั ย ใหม่ ก็ ก ลายเป็ น สื่ อ เพื่ อ ยื น ยั น ความ สอดคล้ อ งระหว่ า งบทบาทของมนุ ษ ย์ กั บ บทบาทของพระจ้าในมานุษยวิทยาฉันนั้น 2.1 เบื้องหลังของการประกาศพระ สัจธรรมสมัยใหม่ “ทัศนคติสมัยใหม่” เป็นเบื้องหลังของ ข้ อ โต้ แ ย้ ง แม้ จ ะอยู ่ ห ่ า งไกลค� ำ นิ ย ามพระ สัจธรรมเรื่องการปฏิสนธินิรมลของพระนาง มารี ย ์ คื อ เพื่ อ ต่ อ ต้ า นความคิ ด ที่ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น ผู ้ ตั ด สิ น เด็ ด ขาดถึ ง ชะตากรรมของตน และ มนุษย์เป็นผู้เดียวที่สร้างความก้าวหน้าของตน พระศาสนจักรประกาศยืนยันเสียงดังกึกก้องว่า การริ เริ่ ม ของพระเจ้ า ในประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง ความรอดพ้นเป็นเอกอย่างแน่นนอน ซึง่ ปรากฏ ชัดเจนเป็นพิเศษในประวัตศิ าสตร์ของพระมารดา พรหมจารีพระเจ้า นี่คือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการนิยาม พระสั จ ธรรมเรื่ อ งการปฏิ ส นธิ นิ ร มลของ พระนางมารียใ์ นสมัยใหม่ รากฐานข้อความเชือ่
32 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 นีอ้ ยูใ่ นพระคัมภีรอ์ ย่างแน่นอน ในปี ค.ศ.1854 สมณสารตรา “Ineffabilis Deus” ของสมเด็จ พระสันตะปาปาปีโอที ่ 9 อ้างถึงชือ่ ทีท่ ตู สวรรค์ กาเบรียลใช้ทักทายพระนางมารียว์ า่ “ท่านผู้ที่ พระเจ้าโปรดปราน” หรือ ดังที่ธรรมประเพณี ของพระศาสนจักรภาษาลาตินเรียกว่า “เปี่ยม ด้วยพระหรรษทาน” (gratia plena ลก 1:28) นีเ่ ป็นข้อความในพระคัมภีรท์ เี่ ป็นพืน้ ฐานมัน่ คง ที่สุด แม้ยังไม่เป็นข้อพิสูจน์ เพื่อส่งเสริมความ เชื่อว่าพระนางมารีย์ทรงปฏิสนธินิรมล ตลอด หลายศตวรรษที่ผ่านมาพระศาสนจักรเข้าใจ ความหมายของชื่อนี้มากยิ่งขึ้นว่า พระหรรษทานของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงพระนางมารีย ์ จนกระทั่งท�ำลายบาปและผลตามมาของบาป เพราะชีวิตใหม่ที่พระเจ้าประทานอย่างอุดม สมบูรณ์ (เทียบ อฟ 1: 6ฯ) ถ้าเป็นความจริงที่ พระหรรษทานของพระเจ้ า เปลี่ ย นแปลง พระนางมารียโ์ ดยสิน้ เชิงแล้ว ความจริงนีก้ ร็ วม ความคิดที่ว่า พระเจ้าทรงปกป้องพระนางให้ พ้ น จากบาป ทรงช� ำ ระ ทรงบั น ดาลความ ศักดิ์สิทธิ์แด่พระนางอย่างเต็มเปี่ยม คริสตชน สมั ย แรกๆ เชื่ อ ว่ า โลกใหม่ เริ่ ม ต้ น ขึ้ น แล้ ว ในพระนาง เพราะพระนางทรงเป็นธิดาแห่ง ศิ โ ยนในวาระสุ ดท้าย เป็นเครื่องหมายของ ประชากรอิสราเอลที่กลายเป็นสิ่งสร้างใหม่ โดยไม่ ย กเลิ ก การเป็ น ประชากรแห่ ง พั น ธสัญญานี่คือพระธรรมล�้ำลึกเกี่ยวกับความต่อ เนื่องของมนุษยชาติในความไม่ต่อเนื่องของ พระหรรษทาน
บรรดาปิตาจารย์เคยสอนอย่างชัดเจนว่า ความศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ของพระนางมารีย์เป็น ข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องสงสัย แต่ต่อมา มีความ ยากล� ำ บากมากมายในธรรมประเพณี ข อง พระศาสนจักรทั้งตะวันออกและตะวันตกที่ ต่อต้านความคิดเกีย่ วกับการปฏิสนธินริ มลของ พระนางมารีย์ เช่น ค�ำสอนนี้จะท�ำลายความ เป็นสากลของบาปก�ำเนิดและความต้องการ ของมนุษย์ทกุ คนทีจ่ ะได้รบั ความรอดพ้นหรือไม่ หลักค�ำสอนที่แพร่หลายของนักบุญออกัสติน ที่ว่า บิดามารดาถ่ายทอดบาปก�ำเนิดแก่ลูกที่ ปฏิสนธิโดยทางเพศสัมพันธ์ (Traducianism) จะสอดคล้ อ งกั บ การบั ง เกิ ด ตามธรรมชาติ ของพระนางมารียไ์ ด้อย่างไร และในทีส่ ดุ หลัก ค�ำสอนทีไ่ ด้รบั แรงบันดาลใจจากนักบุญเกรโกรี แห่งเมืองนาซีอนั เซนทีว่ า่ พระนางมารียท์ รงได้ รับการช�ำระให้บริสทุ ธิเ์ มือ่ สมัครพระทัยยอมรับ แผนการของพระเจ้าที่ทูตสวรรค์แจ้งให้ทราบ จะดีกว่าค�ำสอนทีพ่ ระนางทรงได้รบั การปกป้อง ให้พ้นจากบาปตั้งแต่ทรงปฏิสนธิหรือไม่ พระศาสนจักรแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ อย่ า งค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป บรรดาอั ส มาจารย์ ประสบความส�ำเร็จในการอธิบายว่า บาปก�ำเนิด ขึ้ น อยู ่ กั บ จิ ต วิ ญ ญาณของบุ ค คลที่ อ าจมี ความผิ ด หรื อ ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซึ่ ง ท� ำ ให้ พ ้ น จากวิ สั ย ทั ศ น์ ค ่ อ นข้ า งกลไกทางกายภาพ ตามหลั ก ค� ำ สอนที่ นั ก บุ ญ ออกั ส ติ น เผยแผ่ (Traducianism) นั ก เทววิ ท ยาคนแรกที่ ไ ด้ แก้ ไขปั ญ หาดั ง กล่ า วอย่ า งถู ก ต้ อ งคื อ ดุ น ส์ สโคตุส (Duns Scotus) ผูม้ คี วามหยัง่ เห็นแบบ
การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม 33
อัจฉริยะเสนอความคิดเกี่ยวกับการปกป้อง รักษา (praeservatio) เขาอธิบายว่า พระเยซู คริสตเจ้า ทรงเป็นคนกลางผูเ้ ดียวและสมบูรณ์ ระหว่ า งพระเจ้ า กั บ มนุ ษ ย์ ทรงเลื อ กที่ จ ะ บั น ดาลให้ พ ระมารดาของพระองค์ พ ้ น จาก ุ บารมีของพระองค์ บาปก�ำเนิดเพราะเห็นแก่บญ ความคิดนี้ท�ำให้ความจ�ำเป็นของมนุษย์ ทุกคนที่จะต้องได้รับความรอดพ้นจากพระเจ้า ยังคงมีผลบังคับอยู่ ขณะที่พระเจ้าทรงเลือก พระนางมารี ย ์ อ ย่ า งอิ ส ระเต็ ม เปี ่ ย มโดยไม่ เป็นการตอบแทน และทรงเห็นล่วงหน้าว่า พระนางจะทรงยิ น ยอมรั บ การเลื อ กสรรนี ้ ในพระชนมชี พ ของพระนาง วิ ธี นี้ ปู พื้ น ฐาน ส� ำ หรั บ ค� ำ สอนอย่ า งเป็ น ทางการของพระ ศาสนจักรเสมอมา เช่น สภาสังคายนาเมือง เตรนอ้างถึงสิทธิพิเศษที่พระเจ้าประทานแก่ พระนางมารีย์ ท�ำให้พระนางพ้นจากบาปใดๆ ตลอดพระชนมชีพทั้งหมดของพระนาง และ ในปี ค.ศ.1661 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็ก ซานเดอร์ท ี่ 7 ทรงประกาศสาสน์ “ความเอาใจ ใส่ดูแลพระศาสนจักรทั้งหลาย” (Sollicitudo omnium ecclesiarum) ซึ่งมีรายละเอียด ดังทีเ่ ราจะพบในค�ำนิยามพระสัจธรรมเรือ่ งการ ปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1854 สมเด็จพระสันตะปาปา ปี โ อที่ 9 ทรงประกาศ ในบริ บ ทการยื น ยั น ความเป็นเอกของพระเจ้าโดยสิ้นเชิง เพื่อต่อ ต้านข้อสันนิษฐานของอันตรภาพนิยม (immanentism)ในสมั ย ใหม่ คื อ ทฤษฎี ที่ ว ่ า พระเจ้าแพร่อยู่ในทุกๆ สิ่ง
2.2. พระสัจธรรมการปฏิสนธินิรมล ของพระนางมารีย์ ตัวบทของสมณสารตรา “Ineffabilis Deus” ชัดเจนและกะทัดรัดแบบข้อเขียนของ อัสมาจารย์ดังกล่าวว่า “เรายืนยัน ประกาศ และนิยามว่าพระสัจธรรมทีถ่ อื ว่า ตัง้ แต่ทรงเริม่ ปฏิสนธิ พระนางพรหมจารีมารียท์ รงได้รบั พระ หรรษทานพิเศษและอภิสิทธิของพระเจ้าผู้ทรง สรรพานุภาพ โดยทรงค�ำนึงถึงบุญบารมีของ พระคริสต์เยซู (intuitu meritorum Christi Iesu) พระผู้กอบกู้มนุษยชาติ ปกป้องไว้ให้ พ้นจาก (praeservatam immunem) มลทิน ทุกประการของบาปก�ำเนิด เป็นความจริงที่ พระเจ้าทรงเปิดเผยและผู้มีความเชื่อทุกคน ต้องเชื่อมั่นอย่างมั่นคง” ก่อนอื่นหมด น่าสังเกตว่าค�ำนิยามนี้มี ลักษณะยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางคือ พิจารณา พระบุ ค คลของพระนางมารี ย ์ ใ นบริ บ ทของ บุคคลแห่งพระตรีเอกภาพ พระเจ้าพระบิดา ประทานพระหรรษทานพิ เ ศษและอภิ สิ ท ธิ แด่ พ ระบุ ค คลของพระนางพรหมจารี ทรง ปกป้องพระนางไว้ให้พน้ จากมลทินทุกประการ ของบาปก�ำเนิด โดยทรงค�ำนึงถึงบุญบารมีของ พระบุ ต รผู ้ ท รงรั บ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ จริ ง อยู ่ ค�ำนิยามนี้ไม่อ้างถึงพระจิตเจ้าโดยตรง แต่วลี ที่ว่า “พระหรรษทานพิเศษ” ชวนให้คิดถึง บทบาทของพระจิตเจ้าอีกด้วย ค�ำนิยามนีม้ องพระนางมารียใ์ นแผนการ แห่งความรอดพ้นของพระตรีเอกภาพ พระนาง ทรงขึน้ อยูอ่ ย่างสิน้ เชิงกับพระบุตร “พระผูก้ อบ
34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 กู ้ ม นุ ษ ยชาติ ” ส่ ว นพระบิ ด าทรงเลื อ กสรร พระนางเช่นเดียวกับมนุษย์อื่นๆ ด้วยอิสรภาพ โดยไม่ เ ป็ น การตอบแทน ผ่ า นทางการเป็ น คนกลางหนึ่ ง เดี ย วและสากลของพระบุ ต ร พระเยซูคริสตเจ้า และเพราะเห็นแก่บุญบารมี ของพระองค์ เ ฉพาะพระพั ก ตร์ พ ระบิ ด าเจ้ า พระนางทรงได้ รั บ การปกป้ อ งไว้ ใ ห้ พ ้ น จาก สภาพบาปก� ำ เนิ ด ของมนุ ษ ย์ ทุ ก คน ดั ง นั้ น พระนางจึ ง ทรงด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ ส อดคล้ อ งกั บ แผนการของพระเจ้าได้อย่างสมบูรณ์ พระนาง มารีย์ทรงพระชนมชีพจากพระบิดาผ่านทาง พระบุตรและในพระจิตเจ้า เพือ่ พระสิรริ งุ่ โรจน์ ของพระบิดาในพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน ผ่าน ทางพระบุตรนิรันดรเพียงพระองค์เดียว ผู้ทรง รั บ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ ใ นพระนางเพื่ อ ความ รอดพ้นของเรา วิสัยทัศน์นี้เฉลิมฉลองชัยชนะ แห่งพระหรรษทานเท่านั้น พระเจ้ า ประทานทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งแด่ พระนางมารีย์ตั้งแต่เริ่มต้นพระชนมชีพ ก่อน ทีพ่ ระนางจะทรงกระท�ำการใดๆ ทีเ่ ป็นบุญกุศล ก็ทรงได้รบั พระหรรษทานอย่างเต็มเปีย่ มเพราะ เห็นล่วงหน้าถึงบุญบารมีของพระบุตรผูท้ รงรับ ธรรมชาติมนุษย์ การเป็นของประทานจาก พระเจ้าไม่ควรท�ำให้เรามองข้ามความสัมพันธ์ ระหว่างพระธรรมล�้ำลึกการปฏิสนธินิรมลของ พระนาง กับการที่พระเจ้าทรงเตรียมพระนาง ไว้ในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลก่อนหน้านั้น นี่ เ ป็ น พระธรรมล�้ ำ ลึ ก ของพระหรรษทานที่ ครอบคลุ ม แผนการแห่ ง ความรอดพ้ น เป็ น พระธรรมล�้ำลึกแห่งความรัก คือความรักของ
พระเจ้าต่างจากความรักของเรา เพราะความ รักของพระเจ้าไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทรงรัก แต่เป็น ความรักทีส่ ร้างสิง่ ทีท่ รงรักโดยไม่มอี ปุ สรรคใดๆ ขัดขวาง พระเจ้าทรงสร้างโลกใหม่ขนึ้ มาแทนโลก แรกเริ่มที่เก่าแก่ ทรงท�ำให้พระนางมารีย์เป็น มนุษย์ที่น่ารักและน่าประทับใจมากที่สุด เป็น บุ ค คลที่ ไ ม่ ป ระนี ป ระนอมกั บ บาปเลย เป็ น บุคคลที่พระเจ้าจะทรงพ�ำนักอยู่การปฏิสนธิ นิรมลของพระนางมารีย์จึงเป็นชัยชนะแห่ง พระหรรษทานของพระเจ้าโดยปราศจากการ กระท�ำใดๆ ของมนุษย์ การประกาศว่าความ คิดริเริ่มของพระเจ้าเป็นเอกเหนือสิ่งอื่นใดและ เป็นพื้นฐานของพระธรรมล�้ำลึกทั้งหมดแห่ง ความรอดพ้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พระ สัจธรรมการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ พรหมจารีเป็นส่วนส�ำคัญของค�ำสอนเรือ่ งความ รอดพ้นของมนุษย์ และเป็นรูปแบบของความ รอดพ้นที่สมบูรณ์ พระศาสนจักรยืนยันความ จริงนีเ้ พือ่ เน้นว่า พระเจ้าทรงยิง่ ใหญ่กว่าทุกสิง่ และทรงเป็นเอกอยู่เสมอ ความจริงนี้ต่อต้าน ทัศนคติของปรัชญาสมัยใหม่ 2.3. พระสัจธรรมการรับเกียรติเข้าสู่ สวรรค์ของพระนางมารีย์ พระสัจธรรมการรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ ของพระนางมารีย์เป็นการพัฒนาการเข้าใจ ความเชื่อเกี่ยวกับพระนางเพื่อต่อต้านการมอง มนุ ษ ย์ ใ นแง่ ล บ ที่ เ ป็ น ผลมาจากขบวนการ ปฏิ รู ป ของนิ ก ายโปรเตสแตนต์ ซึ่ ง ต้ อ งการ “ถวายพระสิรริ งุ่ โรจน์แด่พระเจ้าเพียงพระองค์
การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม 35
เดี ย ว” เพื่ อ ยื น ยั น ว่ า พระเจ้ า ทรงมี บ ทบาท สมบูรณ์สูงสุดในงานกอบกู้มนุษย์ และเพื่อ ปฏิเสธการร่วมมือใดๆ ของมนุษย์และของพระ ศาสนจักร ในการโต้เถียงกันระหว่างทัศนคติ ของคาทอลิ ก กั บ ทั ศ นคติ ข องโปรเตสแตนต์ ซึ่งไม่มีการประนีประนอม และเป็นคู่อริกัน อย่างสุดขีด พระสัจธรรมเรื่องพระนางมารีย์ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์แสดงมานุษยวิทยาของ นิ ก ายคาทอลิ ก ที่ ม องมนุ ษ ย์ ใ นแง่ บ วกอย่ า ง ชัดเจน รวมทั้งความส�ำคัญในการเป็นคนกลาง ของพระศาสนจักร ซึ่งน�ำมาประยุกต์กับการ เป็นคนกลางหนึ่งเดียวและสมบูรณ์ของพระ คริสตเจ้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่มองข้ามว่า พระหรรษทานเป็นเอกอยู่เสมอ ดังนั้น พระสัจธรรมทั้ง 2 ประการใน สมั ย ใหม่ คื อ การปฏิ ส นธิ นิ ร มลและการรั บ เกียรติเข้าสู่สวรรค์ของพระนางมารีย์ก็ส่งเสริม ซึ่ ง กั น และกั น ท� ำ ให้ พ ระนางมารี ย ์ ท รงเป็ น ภาพลักษณ์มานุษยวิทยาทางเทววิทยาอย่าง เป็นรูปแบบ ในภาพนี้พระเจ้าไม่ทรงเป็นคู่แข่ง กับมนุษย์ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ได้รับ การยืนยันอย่างเต็มเปี่ยมและมาพร้อมกับชีวิต ที่เต็มเปี่ยมของมนุษย์ ตามคติพจน์ของนักบุญ อีเรเนโอที่ว่า “พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าคือ มนุษย์ผมู้ ชี วี ติ ” (“Gloria Dei, vivens homo est”) พระสั จ ธรรมเรื่ อ งพระนางมารี ย ์ รั บ เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ขยายแสงสว่างของพระธรรม ล�้ำลึกที่เป็นศูนย์กลางของคริสตศาสนา คือ การที่ พ ระบุ ต รทรงรั บ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ แ ละ
พระธรรมล�้ ำ ลึ ก ปั ส กา ไปถึ ง พระชนมชี พ ทั้ ง หมดของพระนางมารี ย ์ ทั้ ง การเริ่ ม ต้ น (Immaculate Conception) และจุดหมาย ปลายทาง (Assumption) พระเจ้าผู้ทรงเป็น ศู น ย์ ก ลางประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง ความรอดพ้ น ยังทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียวกันทีท่ รงให้กำ� เนิด ทุกสิ่งและเป็นจุดหมายของทุกสิ่ง ทรงเป็น “อัลฟ่าและโอเมก้า” (วว 1:8) กิจการยิ่งใหญ่ ที่พระเจ้าทรงกระท�ำในพระนางผู้รับใช้ของ พระองค์ สั ม ผั ส พระชนมชี พ ทั้ ง หมดของ พระนาง พระนางมารียท์ รงเป็นผูป้ ฏิสนธินริ มล เพราะพระจิตเจ้าผู้ทรงบันดาลให้พระนางเต็ม ไปด้วยพระหรรษทานเมือ่ ทรงรับสารว่า จะทรง เป็ น พระมารดาของพระบุ ต รตามแผนการ นิรันดรของพระบิดาผู้ ทรงปกป้องพระนาง ให้พ้นจากบาป เพราะเห็นแก่บุญบารมีของ พระบุ ต รฉั น ใด ชั ย ชนะเหนื อ ความตายที่ พระนางทรงได้รบั จากพระคริสตเจ้าผูท้ รงกลับ คืนพระชนมชีพ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดง ชัยชนะเหนือความบาป ก็ส่องแสงอย่างเต็ม เปี ่ ย มในพระนางฉั น นั้ น “พระนางทรงรั บ เกียรติเข้าสู่สวรรค์ เพราะทรงปฏิสนธินิรมล” (Assumpta quia Immaculata) นั่นเอง ธรรมประเพณีทรงชีวติ ของพระศาสนจักร ได้เตรียมความคิดนี้แล้ว ปิตาจารย์หลายคน คิดว่า การเป็นมารดาของพระเจ้าเป็นเหตุผล พืน้ ฐานทีเ่ รียกร้องให้พระวรกายของพระนางได้ รับการยกเว้นจากการเสื่อมสลาย ตรงกันข้าม ได้รับการกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์และเสด็จ สู ่ ส วรรค์ ในจิ ต ส� ำ นึ ก ของธรรมประเพณี ทั้ ง
36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ตะวันออกและตะวันตก พระนางมารียท์ รงเป็น มนุษย์ผู้เดียวที่พระเจ้าประทานพระวรกาย รุ่งโรจน์ให้พ�ำนักอยู่กับพระบุตรในสวรรค์ เมื่ อ วั น ที่ 1 พฤศจิ ก ายน ค.ศ.1950 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที ่ 12 ทรงประกาศ สังฆธรรมนูญ “Munificentissimus Deus” ทีว่ า่ “เราประกาศ ยืนยันและนิยามเป็นสัจธรรม ที่พระเจ้าทรงเปิดเผยว่า เมื่อพระมารดานิรมล ของพระเจ้า คือพระนางมารีย์พรหมจารีเสมอ จบพระชนมชีพในโลกนีแ้ ล้ว พระนางยังทรงได้ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งร่างกายและวิญญาณ อย่างรุ่งโรจน์ ทรงได้รับการยกย่องจากองค์ พระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ให้ เ ป็ น พระราชิ นี แ ห่ ง สากล จักรวาล เพื่อจะทรงคล้ายอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กับพระบุตรของพระนาง เจ้านายแห่งเจ้านาย ทั้งหลาย ผู้ทรงพิชิตบาปและความตาย” ข้ อ ความนี้ เ น้ น ความเป็ น ส่ ว นตั ว คื อ พระเจ้าทรงเป็นผู้บันดาลให้พระนางมารีย์ได้ รับเกียรตินี้ ส่วนพระนางมารีย์ทรงเป็นผู้รับ เกี ย รติ นี้ ใ นการเป็ น เอกภาพส่ ว นตั ว ทั้ ง จิ ต วิญญาณและร่างกาย เหตุผลของการกระท�ำ เช่ น นี้ ข องพระเจ้ า แฝงอยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง ของ พระนางที่ ว ่ า ทรงเป็ น ผู ้ ป ฏิ ส นธิ นิ ร มล พระมารดาของพระเจ้า และพรหมจารีเสมอ ต�ำแหน่งดังกล่าวนี้ชวนให้คิดถึงความสัมพันธ์ พิเศษไม่เหมือนใครทีพ่ ระนางทรงมีกบั พระบุตร ในแผนการนิรนั ดรของพระบิดาผูท้ รงเลือกสรร เดชะการกระท� ำ ของพระจิ ต เจ้ า ซึ่ ง ท� ำ ให้ พระนางทรงมีสว่ นร่วมกับพระธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา แห่งความรอดพ้นของมนุษย์ ดังนัน้ “ชีวประวัติ
ทั้ ง หมดของพระนางมารี ย ์ ” ถู ก จารึ ก ไว้ ใ น “ชีวประวัตทิ งั้ หมดของพระคริสตเจ้า” พระนาง จึ ง ทรงแสดงล่ ว งหน้ า ถึ ง สิ่ ง ที่ พ ระบุ ต รของ พระนางทรงกระท�ำเพื่อเราโดยทรงกลับคืน พระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย ซึ่งเป็นชัยชนะ เหนื อ บาปและความตาย ความส� ำ เร็ จ ของ แผนการที่พระเจ้าทรงช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น เปล่งประกายในพระนางมารีย์ ศักดิ์ศรีของ มนุ ษ ย์ ป รากฏขึ้ น อย่ า งชั ด แจ้ ง ในจุ ด หมาย ปลายทางทีเ่ ป็นความจริงแล้วในพระนางมารีย์ คื อ มนุ ษ ย์ ทั้ ง วิ ญ ญาณและร่ า งกายรวมเป็ น บุคคลหนึ่งเดียว จะมีส่วนร่วมในความรุ่งโรจน์ บนสวรรค์ ั หา น่าสังเกตว่า ข้อความนีไ้ ม่ชว่ ยแก้ปญ เรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระนางมารีย์ที่ว่า พระมารดาของพระเจ้าสิน้ พระชนม์และทรงรับ เกียรติเข้าสู่สวรรค์ตามพระฉบับของพระบุตร ผู้สิ้นพระชนม์ ทรงกลับคืนพระชนมชีพและ เสด็จสู่สวรรค์ หรือพระนางทรงได้รับชัยชนะ เหนื อ ความตายทั น ที โ ดยไม่ ไ ด้ สิ้ น พระชนม์ จากพระบุตรผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ แต่ ค�ำนิยามพระสัจธรรมนี้สนใจเพียงที่จะยืนยัน จุ ด มุ ่ ง หมายสุ ด ท้ า ยของพระนางมารี ย ์ เพื่ อ เป็นรูปแบบชะตากรรมของมนุษย์ที่จะกลับ คืนชีพ “สิทธิพิเศษ” ของพระนางเป็นเหมือน เครื่องหมายแห่งความหวังอย่างเป็นรูปธรรม ที่พระเจ้าทรงมอบแก่มนุษยชาติ เพื่อแสดง ให้เห็นจุดมุ่งหมายสุดท้ายแห่งการจาริกแสวง บุญของมนุษย์บนแผ่นดินนี้ และเพื่อหล่อเลี้ยง ความเชื่อในการกลับคืนชีพของมนุษย์ ดังที่
การพัฒนาเทววิทยาเรื่องพระนางมารีย์ในช่วงเวลา 350 ปี แห่งมิสซังสยาม 37
การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าได้ เป็นประกันไว้ มานุษยวิทยาของคริสตชนจึงส่องสว่าง ในลักษณะเฉพาะของตน ทีแ่ สดงความไว้วางใจ และความหวังในความเป็นไปได้ และชะตากรรม ของมนุษย์ ซึ่งเป็นผลตามมาของความเชื่อใน พระอานุภาพไร้ขอบเขตของความรักที่พระเจ้า ในฐานะพระผู้สร้างและผู้ทรงช่วยให้รอดพ้น ทรงมี ต ่ อ มนุ ษ ย์ การมองโลกในแง่ ล บของ โปรเตสแตนต์บางคนพบว่า พระสัจธรรมการ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ของพระนางมารีย์เป็น อุปสรรคยิ่งใหญ่ที่ขัดขวางความคิดของตน
จุดมุ่งหมายปลายทางตามแผนของพระเจ้า โดยอ้างตัวอย่างของพระนางมารีย์อย่างเป็น รูปธรรม เราพบความคิดนีอ้ ย่างดีเลิศในผลงาน ชิน้ เอกของนักบุญอัลฟอนโซ มารีย ์ เด ลิกวอรี ที่มีชื่อว่า “ความรุ่งโรจน์ของพระนางมารีย์” ซึ่งเป็นการพิศเพ่งภาวนาความมหัศจรรย์ของ พระเจ้าในพระธรรมล�้ำลึกของพระนางมารีย์ พรหมจารี เพื่อสรรเสริญพระเจ้าและเป็นแสง สว่างส�ำหรับคนบาป เพราะพระนางทรงเป็น ดวงดาวสุกใสที่ส่องสว่างมนุษย์ ในการปฏิบัติ ตามแผนการของพระเจ้าให้สำ� เร็จไปในชีวติ ของ ตน
3. แบบอย่ างทางจิต ใจและจริย ธรรมของ พระนางมารีย์ เมื่ อ เราเปรี ย บเที ย บเทววิ ท ยาเรื่ อ ง พระนางมารีย์ (Mariology) ในสมัยใหม่กับ เทววิทยาในยุคบรรดาปิตาจารย์ จะเห็นว่า เทววิ ท ยาสมั ย ใหม่ ส นใจเป็ น พิ เ ศษใน มานุ ษ ยวิ ท ยา พยายามมองพระนางมารี ย ์ พรหมจารีเป็นแบบอย่างของมนุษย์ที่ได้บรรลุ ความสมบูรณ์ตามแผนการของพระเจ้า เป็น รู ป แบบบริ สุ ท ธิ์ ยิ่ ง ของมนุ ษ ย์ ที่ ไ ด้ รั บ ความ รอดพ้น นั ก เทววิ ท ยาคาทอลิ ก จึ ง ได้ พ ยายาม สรรเสริ ญ ความรุ ่ ง โรจน์ ข องพระนางมารี ย ์ เพื่ อ ต่ อ ต้ า นการมองมนุ ษ ย์ ใ นแง่ ล บของ โปรเตสแตนต์ ซึ่งเน้นมากเกินไปในหลักการ ที่ ว ่ า “พระเจ้ า เท่ า นั้ น สมควรได้ รั บ พระสิ ริ รุ่งโรจน์” เขาจึงยืนยันศักดิ์ศรีของมนุษย์และ
4. คารวกิจต่อพระมารดาของพระเจ้า การพั ฒ นาความเลื่ อ มใสศรั ท ธาต่ อ พระนางมารีย์ในศตวรรษหลังๆ นี้ ได้ส่งเสริม ปฏิกิริยาต่อต้านลัทธิโปรเตสแตนต์และลัทธิ สมัยใหม่ และช่วยคริสตชนให้รับรู้อย่างลึกซึ้ง ถึ ง การประทั บ อยู ่ เ ยี่ ย งมารดาของพระนาง ผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิย์ งิ่ ในความสนิทสัมพันธ์ของบรรดา ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพระตรีเอกภาพทรงเป็นบ่อเกิด สถานที่และจุดมุ่งหมาย ไม่ ใช่ เ ป็ น การบั ง เอิ ญ ที่ ห นั ง สื อ ซึ่ ง มี อิทธิพลมากที่สุดในการพัฒนาความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระนางมารีย์ในสมัยใหม่ ซึ่งเป็น ผลงานของนักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ ต ที่ มี ชื่ อ ว่ า “ความเลื่ อ มใสศรั ท ธา แท้จริงต่อพระนางมารียพ์ รหมจารี” อธิบายว่า “พระนางทรงเป็นพระวิหารและที่พ�ำนักอาศัย แห่งพระตรีเอกภาพ เป็นที่พระองค์ทรงชอบ
38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 พระทัยประทับอยู่ยิ่งกว่าที่ใดๆ ทั่วสากลโลก” (ข้ อ 5) ในพระนาง พระบุ ค คลทั้ ง สามของ พระเจ้ า ทรงกระท� ำ กิ จ การจนส� ำ เร็ จ อย่ า ง สมบูรณ์ ดังที่จะทรงกระท�ำในพระศาสนจักร จนถึงการเสด็จมาอย่างรุง่ โรจน์ของพระคริสตเจ้า “การกระท�ำของพระบุคคลทั้งสามแห่งพระ ตรีเอกภาพ ทรงมีในการรับธรรมชาติมนุษย์ และการเสด็จมาครั้งแรกของพระคริสตเจ้านั้น ทรงกระท�ำอย่างไร ก็ยังทรงกระท�ำอย่างนั้น ทุกวันโดยไม่ประจักษ์แก่สายตาในพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ และคงทรงกระท�ำเช่นนี้เรื่อยไป จนอวสานกาลในวาระสุดท้ายเมื่อพระเยซูเจ้า จะเสด็จมาอีกครัง้ หนึง่ ” (ข้อ 22) ดังนัน้ ความ เลือ่ มใสศรัทธาต่อพระนางมารียใ์ นรูปแบบต่างๆ ช่วยเราให้รับรู้พระสัจธรรมการส�ำเร็จลุล่วงไป ของพระตรี เ อกภาพในพระนาง เพื่ อ เป็ น เครื่องหมายล่วงหน้าของส�ำเร็จที่พระเจ้าทรง สัญญาแก่มนุษย์เมื่อ “พระเจ้าจะได้ทรงเป็น ทุกสิง่ ในทุกคน” (1 คร 15:28) นีเ่ ป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของพระสัจธรรมการรับเกียรติ เข้าสู่สวรรค์ของพระนางมารีย์ ซึ่งพระศาสนจักรได้ประกาศเพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระ ตรีเอกภาพ และเพื่อพระสิริรุ่งโรจน์นี้สะท้อน ในมนุษย์ที่จะได้รับความรอดพ้น
สรุปแล้ว พระสัจธรรมการปฏิสนธินริ มล และพระสัจธรรมการรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ ของพระนางมารีย์ไม่เป็นข่าวใหม่จากพระเจ้า แต่เป็นการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แห่งความรอดพ้นและพระชนมชีพของพระนาง มารีย์เข้าด้วยกันในแสงสว่างของพระจิตเจ้า ผู้ทรงส่องแสงในสิ่งที่พระคริสตเจ้าทรงสั่งสอน ในพระสัจธรรมสมัยใหม่เรื่องพระนางมารีย์ พระมารดายังทรงขึ้นกับพระบุตรอย่างสิ้นเชิง อยูเ่ สมอ แต่ขณะทีพ่ ระศาสนจักในสมัยโบราณ พิจารณาพระธรรมล�้ำลึกลับของพระนางเพื่อ เข้าใจพระธรรมล�้ำลึกเรื่องพระบุตรมากยิ่งขึ้น ซึง่ เป็นรากฐานความรอดพ้นของมนุษย์ ส่วนใน สมัยใหม่ ความเชื่อของพระศาสนจักรต้องการ เข้าใจผลตามมาจากการเปิดเผยของพระเจ้า เกี่ยวกับมนุษย์ ชีวิตที่ได้รับความรอดพ้นและ ประวัตศิ าสตร์มากยิง่ ขึน้ ผ่านทางพระธรรมล�ำ้ ลึกเรื่องพระนางมารีย์ ประวัตพิ ระสัจธรรมใหม่ดงั กล่าวจึงสอน เราว่า พระมารดามารีย์เสด็จมาจากพระตรีเอกภาพและทรงน�ำเราไปสูต่ รีเอกภาพ ทรงเป็น ผูร้ บั ใช้ตำ�่ ต้อยขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ในพระนาง พระเจ้าแห่งพันธสัญญาพอพระทัยทีจ่ ะกระท�ำ กิจการยิ่งใหญ่ เพื่อเรามนุษย์และเพื่อความ รอดพ้นของเรา
บรรณานุกรม
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. (2557). พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. Forte, Bruno. (1989). Maria, la donna icona del Mistero. Cinisello Balsamo: Edizioni Paoline. Graef, Hilda. (1965). Mary: A History of Doctrine and Devotion, 2 Vols. London: Sheed & Ward. O’Carroll, Michael. (1982). Theotokos: a theological encyclopedia of the Blessed Virgin Mary. Wilmington, Del.: M. Glazier.
(หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)
ประวัติคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI/ธ.ม.น. ค.ศ.1816/พ.ศ.2359) บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.
ยากเกินไปที่จะกล่าวอย่างละเอียดใน ช่วงกว่า 50 ปีของการท�ำงาน บทความนี้จึง ใคร่เพียงขอน�ำเสนออย่างคร่าวๆ ให้รู้จักคณะ งานของคณะในประเทศไทย และเหตุการณ์ ส�ำคัญๆ เท่านั้น คณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมลก่อก�ำเนิด มาจากความริเริม่ ของท่าน เออเยน เดอ มาเซอ โนด์ (St.Eugene de MAZENOD: 2325/ 1782 – 2404/1861) ขุนนางหนุม่ ทีไ่ ด้อทุ ศิ ตน ก่อตั้งคณะที่เมืองเอ๊กษ์ (Aix-en-Provence) ตะวันออกเฉียงใต้ของฝรัง่ เศส ด้วยใจทีป่ รารถนา เยียวยาสภาพอันเสือ่ มโทรมของพระศาสนจักร ในสมัยนั้น เหตุมาจากการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่
บาทหลวงสังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (O.M.I.)
ของฝรั่งเศส ท่านและเพื่อนสมาชิกเพียงหยิบ มือเดียวได้เริ่มทุ่มเทตนปฏิบัตภารกิจธรรมทูต เจตนารมณ์ คื อ เป็ น ธรรมทู ต เป็ น ผู ้ ถวายตัว ผูป้ รารถนาเป็นศิษย์ขององค์พระคริสต์ พยายามด�ำเนินชีวติ อย่างเรียบง่ายแบบครอบครัว ท่ามกลางผู้ยากไร้และผู้ที่ถูกทอดทิ้งมากที่สุด วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2369/1826 พระสันตะบิดรเลโอที่ 12 ได้ทรงรับรองคณะ รวมถึงรับรองธรรมนูญและวินยั ของคณะอย่าง เป็นทางการ พระองค์ได้ทรงประทานนามให้ คณะคือ “ธรรมทูตแห่งมารีนริ มล” สอดรับกับ ความปรารถนาและความศรัทธาของผูส้ ถาปนา คณะที่มีต่อพระแม่พรหมจารี
ประวัติคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI/ธ.ม.น. ค.ศ.1816/พ.ศ.2359) 41
(ชือ่ คณะภาษาฝรัง่ เศส = Missionniare Oblats de Marie Immaculee ภาษาอังกฤษ = Missionary Oblates of Mary Immaculate /O.M.I. เราตกลงใช้ชื่อ “ธรรมทูตแห่งมารี นิรมล) 21 พฤษภาคม 2404/1861 พระเจ้าได้ ทรงยกท่านเออเยน ผูส้ ถาปนาคณะเข้าในอ้อม อุ ร ะของพระองค์ ท่ า นเออเยนได้ ถ ่ า ยทอด มรดกไว้ ใ ห้ แ ก่ ส มาชิ ก คื อ “ความรั ก เผื่ อ แผ่ (charity)” 3 ธันวาคม 2538/1995 นักบุญพระ- สันตะบิดร ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้แต่งตั้งท่าน เออเยนเดอ มาเซอ โนด์ เป็นนักบุญ คณะได้ขยายงานไปทางด้านตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศ จากนั้นได้ขยายต่อไปใน ยุโรปบางประเทศ ได้ส่งสมาชิกบางท่านไป ท�ำงานที่แคนาดา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไป แถบขั้วโลกเหนือ ท�ำงานต่อในอเมริกาเหนือ ใต้ (ในปี 2401/1858...) แอฟริ ก า (ในปี 2395/1852) ปี 2478/1935 (6 มกราคม) คณะได้ เข้าท�ำงานในเขตปกครองทางศาสนา (มิสซัง) ลาวเหนื อ ของสาธาณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาว ซึ่ ง ต่ อ มาได้ ก ลายเป็ น เขต ปกครองทางศาสนาเวี ย งจั น ทน์ แ ละหลวง พระบาง หลั ง จากประเทศลาวได้ เ ป็ น เอกราช สมณประมุขแห่งเวียงจันทน์ในเวลานั้น จึงได้ เริ่มคิดว่าจะส่งสมาชิกมาประจ�ำที่กรุงเทพฯ ได้มกี ารเจรจากับ ฯพณฯ CHORIN ท่านพร้อม
ที่จะให้วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง (ที่เพิ่งแล้ว เสร็ จ เมื่ อ ปี 2499/1956) แก่ ค ณะถ้ า คณะ พร้อมจะซือ้ แต่คณะไม่สามารถซือ้ สถานทีน่ ไี้ ด้ แต่เจตจ�ำนงทีจ่ ะมาท�ำงานในประเทศไทยยังคง อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้มีผู้สมัครแล้ว 2 คนแรกคื อ นายปรี ช า ธรรมนิ ย ม และนาย ประจักษ์ เจียจวบศิลป์... ในปี 2505/1962 ทั้งสองได้เข้าไปเรียนที่บ้านเณรปากซัน เข้าท�ำงานในประเทศไทย (2509/1966) ก่อนอื่นหมด ต้องขอบคุณเขตปกครอง ทางศาสนาแห่งกรุงเทพฯ ทีเ่ อือ้ โอกาสให้คณะ ได้เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย มกราคม 2509/1966 คุณพ่อเชอวรูเลต์ (Pierre CHEVROULET OMI) ชาวฝรั่งเศส อธิการกิง่ แขวงลาวในสมัยนัน้ ได้แวะทีก่ รุงเทพฯ ได้มโี อกาสพบ ฯพณฯ ท่านนิตโย และได้พดู คุย เรื่องการเข้ามาท�ำงานที่กรุงเทพฯ ได้มีการ รับปากเท่านั้นว่าจะคุยกันในรายละเอียดเมื่อ การประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะทีก่ รุงโรมเสร็จ สิน้ (มีนาคม) ในการไปประชุมสมัชชาใหญ่ของ คณะที่กรุงโรมครั้งนั้น คุณพ่ออธิการใหญ่ได้ ถามเรื่องไปท�ำงานในประเทศไทยและได้บอก ว่า “เรามีคนให้คณ ุ พ่อแล้ว!” คือ“คุณพ่อ FORTIN” คุ ณ พ่ อ Gerard FORTIN (เยราร์ ด ์ ฟอร์ แ ตง) ชาวฝรั่ ง เศสเคยเป็ น ธรรมทู ต ใน ศรีลังกา และได้เคยท�ำงานในหลายต�ำแหน่ง ในเขตปกครองทางศาสนา COLOMBO ระหว่ า งการประชุ ม ของสมั ช ชาใหญ่ สมาชิก 2 ท่านของคณะที่ออกมาจากประเทศ
42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ศรีลังกา คือ คุณพ่อ Jean HABERSTROH (ฌั ง ฮาเบสโตร) ชาวฝรั่ ง เศส และคุ ณ พ่ อ Christian GILLES (คริสติองั ยิลส์)ชาวฝรัง่ เศส ได้แสดงเจตจ�ำนงอยากรู้จักประเทศไทย ต้นเดือนพฤษภาคม คุณพ่อ เชอวรูเลต์ ได้ไปพบ ฯพณฯ ยวง นิตโย ได้ตกลงกันว่า จะให้คณ ุ พ่อ FORTIN พักทีบ่ า้ นของคณะเซนต์ คาเบรียลก่อน พวกเราได้ติดต่อกันกับสมาชิก ของคณะเซนต์คาเบรียลมาเป็นเวลานานแล้ว ในเวลานั้นคุณพ่อทุกท่านที่มาเรียนภาษาไทย ได้พักอยู่ที่บ้านของคณะเซนต์คาเบรียลโดย ตลอด ต้ อ งขอบคุ ณ คณะเซนต์ ค าเบรี ย ลใน ความเอื้ออาทรนี้ 18 พฤษภาคม 2509/1966 คุ ณ พ่ อ FORTIN มาถึ ง กรุ ง เทพฯ พั ก ที่ โ รงเรี ย น อัสสัมชัญ บางแค ไม่กี่เดือนให้หลัง คุณพ่อ Jean HABERSTROH และคุณพ่อ Christian GILLES ได้มาสมทบท�ำงานในประเทศไทย คุณพ่อทั้งสองมาถึงท่าเรือคลองเตยเมื่อวันที ่ 23 ธันวาคม 2509/1966 ปี 2510/1967 คุณพ่อ FORTIN ได้ไป พ�ำนักทีอ่ ารามพระหฤทัย คลองเตย และได้เริม่ งานอภิบาลที่สลัมคลองเตย (โรงหมู) ร่วมกับ ซิสเตอร์คณะพระกุมารเยซู คุณพ่อ HABERSTROH พ� ำ นั ก ที่ วั ด นั ก บุ ญ ฟรานซิ ส เซเวี ย ร์ สามเสน (เณรปรี ช า ธรรมนิ ย มและเณร ประจักษ์ เจียจวบศิลป์ ผูส้ มัครเข้าคณะคนไทย 2 คนแรกมาจากวั ด นี้ เ อง) คุ ณ พ่ อ GILLES พ�ำนักที่วัดอัสสัมชัญ บางรัก ปีเดียวกันนี้เอง คุณพ่อ Marcel CHARLOT (มาร์เซล ชาร์โลต์)
สมาชิ ก ของคณะคนที่ สี่ ไ ด้ ม าถึ ง กรุ ง เทพฯ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2511/1968/ คุณพ่อ HABERSTROH รั บ หน้ า ที่ เ ป็ น เจ้ า อาวาสวั ด พระตรี เ อกภาพ หนองหิน นครปฐม ตรงกับโครงการสร้างวัด หลั ง ใหม่ ซึ่ ง กิ น เวลาประมาณ 2 ปี คุ ณ พ่ อ ยังพ�ำนักทีอ่ ารามพระหฤทัย คลองเตย คุณพ่อ Jean GUILVOUT (ฌัง กิลวูต์) ชาวฝรั่งเศส สมาชิกท่านใหม่ได้เข้ามาประเทศไทยและได้ เริ่มเรียนภาษาทันที ปี 2512/1969 เณรประจักษ์เข้าเป็นนวก และได้ใช้วัดหนองหินเป็นนวกสถานในความ รับผิดชอบของคุณพ่อ HABERSTROH คุณพ่อ FORTIN ไปช่วยงานบ้านสมณทูต วันละสอง ชั่วโมงตามค�ำของท่านสมณทูต Jean JADOT (ได้ท�ำงานกว่า 20 ปี) งานในเขตกรุงเทพฯ ปี 2513/1970 เขตปกครองทางศาสนา กรุงเทพฯ ได้มอบวัดแม่พระฟาติมาให้คณะ ดูแลโดยไม่จ�ำกัดเวลา และสามารถยกเลิกได้ ด้วยความเห็นพ้องของทั้งสองฝ่าย เราได้เข้าดูแลวัดแม่พระฟาติมาในเดือน มี น าคม คุ ณ พ่ อ GILLES เป็ น เจ้ า อาวาส คุณพ่อกิลวูต์เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแม่พระ ฟาติมา คุณพ่อฟอร์แตงไปเป็นเจ้าอาวาสวัด แม่พระประจักษ์เมืองลูรด์ บางสะแก พร้อมทัง้ ท�ำงานที่บ้านสมณทูตต่อไป คุณพ่อชาร์โล่ต์ ไปเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยเจ้ า อาวาสวั ด พระตรี เ อกภาพ ชัว่ คราว และได้ยา้ ยไปเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระ
ประวัติคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI/ธ.ม.น. ค.ศ.1816/พ.ศ.2359) 43
ประจักษ์บนภูเขาคาร์แมล สองพีน่ อ้ ง ในเดือน กรกฎาคม น่าแปลกที ่ “สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (ปีที่ 3 ฉบับที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2534/19912535/1992) เกี่ยวกับประวัติวัดต่างๆ หน้า 111 มิ ไ ด้ ก ล่ า วแม้ สั ก นิ ด เดี ย วเกี่ ย วกั บ การ ทีค่ ณะได้ดแู ลวัดนี ้ (2512/1970-2526/1983) คุณพ่อบรูโน อาเรินส์ (Bruno ARENS) ชาวเบลเยี่ ย ม และภราดา แบร์ น าร์ ด วี ร ท์ (Bernard WIRTH) ชาวฝรั่ ง เศส ได้ เข้ า มา เสริมพลัง ภารดาแบร์นาร์ดได้เริ่มสอนภาษา เยอรมั น ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ทั บ แก้ ว นครปฐม ต่อมาได้เปลีย่ นมาสอนภาษาฝรัง่ เศส และได้ ท� ำ งานในด้ า นการศึ ก ษากั บ บรรดา นักศึกษาเรื่อยมา ปี 2518/1975 เกิดปฏิวตั ทิ ปี่ ระเทศลาว 1 พฤษภาคม (วันล่มสลายของกรุงไซ่ง่อน) มีคนอพยพหนีมาจากประเทศลาวเข้ามาในไทย จุดหนึง่ คือทีว่ ดั แม่พระฟาติมา ไม่นานต่อมาก็มี ชาวเวียดนามคาทอลิกอพยพมาสมทบอีกมาก อันสร้างภาระหนักใจแก่คณ ุ พ่อยิลส์ เจ้าอาวาส ในเวลานั้น ในปี 2519/1976 คุณพ่อบรูโน ไปเป็น เจ้าอาวาสวัดแม่พรประจักษ์แห่งภูเขาคาร์แมล สองพี่น้อง หลังจากได้ช่วยดูแลวัดพระคริสตกษัตริยพ์ กั หนึง่ คุณพ่อชาร์โล่ทไ์ ปเป็นเจ้าอาวาส วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง คุณพ่อฟอร์แตง กลับมาเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมา คุณพ่อฮาเบสโตรไปเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมาสน์ นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง คุณพ่อยิลส์ไปเป็น
เจ้าอาวาสวัดพระตรีเอกภาพหนองหิน นครปฐม ภารดาแบร์นาร์ด์ได้ช่วยคุณพ่อยิลส์ดูแลวัด พระคริสตกษัตริย์ นครปฐม พร้อมกับท�ำงาน ด้านการศึกษาต่อไปที่ทับแก้ว กิ่งแขวงแห่งประเทศไทย (2519/1976 – 2520/1977) เมื่อการเมืองในประเทศลาวเปลี่ยนไป ผูใ้ หญ่ของคณะทีก่ รุงโรมจ�ำเป็นต้องยุบกิง่ แขวง เวียงจันทน์และได้แต่งตั้งเขตกรุงเทพฯ ที่เคย เป็นส่วนหนึ่งของกิ่งแขวงฯ ให้เป็น GENERAL DELEGATION (กิ่ ง แขวงที่ ขึ้ น ตรงต่ อ คณะ บริการกลางและกับอธิการใหญ่) ช่วงนั้น คุณพ่อแบร์แตรส์ (Yves BERTRAIS) ได้เข้ามาท�ำงานกับชางม้งที่เชียงใหม่ 27 มีนาคม 2520/1977 สังฆานุกรปรีชาได้รบั การบวชเป็ น พระสงฆ์ ที่ วั ด พระตรี เ อกภาพ หนองหิ น เมื่ อ บวชแล้ ว ได้ อ ยู ่ ช ่ ว ยดู แ ลวั ด พระคริสตกษัตริย์ นครปฐมต่อ ในเดือนมิถุนายน คุณพ่อชาร์โล่ต์ได้ไป พั ก ผ่ อ นที่ ฝ รั่ ง เศสและไม่ ไ ด้ ก ลั บ มาอี ก เลย คุณพ่อฟอร์แตงได้รกั ษาการเจ้าอาวาสวัดแม่พระ ฟาติมา ดินแดง โดยมิได้หยุดงานทีบ่ า้ นสมณทูต ปี 2521/1987 คุ ณ พ่ อ ZAGO รอง อธิ ก ารใหญ่ ข องคณะในเวลานั้ น ได้ มี โ อกาส เข้าพบ ฯพณฯ มีชัย ได้ขออนุญาตส่งธรรมทูต ที่เคยท�ำงานในประเทศลาวบางท่านมาช่วย ท�ำงานในไทย ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อเชอวรูเลต์ ได้เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย คุณพ่อ Michel LYNDE ได้รับอนุญาตให้เข้าท�ำงานในประเทศ
44 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ไทยด้วยเช่นกัน คุณพ่อเชอวรูเลต์มาถึงไทย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ได้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง มกราคม 2522/1979 คุ ณ พ่ อ มิ แชล ไม่ปรารถนาท�ำงานที่กรุงเทพฯ คุณพ่อบรูโน จึงปรึกษากัน ฯพณฯ ยอด พิมพิสาร บิช็อป แห่งเขตปกครองทางศาสนาอุดรธานีให้คุณพ่อ แลนด์อยู่ที่วัดพระคริสตกษัตริย์ จังหวัดเลย พร้อมงานอภิบาลกับผู้อพยพจากสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (โดยพาะอย่างยิง่ กับชาวลาวอพยพ และชาวม้งอพยพ) นี่คือ จุดเริ่มต้นของการเข้าท�ำงานของคณะในเขต ปกครองทางศาสนาอุดรธานี (นั่นคือในค่าย อพยพ เลย วังสะพุง ท่าบม เชียงคาน ฯลฯ) หลังปัสกา 2522/1979 สถานการณ์ ใหม่ของ DELEGATION คือ คุณพ่อเชอวรูเลต์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง คุณพ่อ ฟอร์ แ ตงเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยฯ และท� ำ งานต่ อ ที่ บ ้ า น สมณทู ต ด้ ว ย คุ ณ พ่ อ ปรี ช าผู ้ ช ่ ว ยฯ คุ ณ พ่ อ ฮาเบสโตรเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยเจ้ า อาวาสอาสนวิ ห าร บางรัก คุณพ่อยิลส์เป็นเจ้าอาวาสวัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน นครปฐม ภารดาแบร์นาร์ด ช่วยดูแลวัดนครปฐมและงานด้านการศึกษา ที่ เขตวั ด แม่ พ ระฟาติ ม า เราได้ ช ่ ว ยกั น ดู แ ล คริสตศาสนิกชนเขตคลองจั่น (วัดพระมารดา นิ จ จานุ เ คราะห์ ป ั จ จุ บั น ) และของโรงเรี ย น เซนต์จอห์น (มหาวิทยาลัยปัจจุบัน) คุณพ่อ ยิลส์ ได้พยายามให้ความช่วยเหลือชาวอพยพ ขณะรอเวลาไปประเทศที่สาม ในเขตของวัด แม่ พ ระฯ มี ศู น ย์ อ พยพดิ น แดง ศู น ย์ อ พยพ
ลุมพิน ี และศูนย์อพยพสวนพลู แต่สมาชิกของ คณะทีท่ ำ� งานกับผูล้ ภี้ ยั มากและเป็นเวลาหลาย ปี คือ คุณพ่อแลนด์ เริ่มแรกได้เริ่มท�ำงานกับ บรรดาผู้ลี้ภัยในศูนย์บ้านวินัย อ�ำเภอปากชม ดูแลบรรดาคริสตศาสนิกชนทีส่ ว่ นมากเป็นชาว เขาเผ่าม้ง อันที่จริงมีหลายองค์กรที่ท�ำงานใน ค่ายและมีหลายคนท�ำงานในศูนย์ของชาวเขา เผ่าม้ง รวมทั้งบาทหลวงคณะเยซูอิต (JIRS) แต่ไม่รภู้ าษาม้ง คุณพ่อแลนด์จงึ เป็นผูร้ บั ผิดชอบ และประสานงานอภิบาลด้านศาสนาทั้งหมด ทางกรุงเทพฯ ท่านยอดในฐานะประธาน คณะกรรมการของสภาพระสังฆราชรับผิดชอบ สื่อมวลชนคาทอลิก ได้ขอคุณพ่อฮาเบสโตร ท�ำงานเรื่องสื่อมวลชนคาทอลิกระดับชาติ ปี 2514/1981 ยูนานประเทศจีนแผ่น ดินใหญ่ มีเมืองคุนหมิงเป็นเมืองหลวง ขอให้ คุณพ่อแบร์แตรได้รับอนุญาตไปเยี่ยมชาวเขา เผ่าม้งมากมายที่อยู่ในเขตนั้น นี่คือจุดเริ่มต้น แห่งการเดินทางไปจีนของคุณพ่อแบร์แตรส์ เพื่อชาวม้ง ฯพณฯ มี ชั ย ได้ อ นุ มั ติ ใ ห้ ก ่ อ สร้ า งวั ด พระคริ ส ตกษั ต ริ ย ์ ห ลั ง ใหม่ พร้ อ มบ้ า นพั ก พระสงฆ์ คุณพ่อยิลส์ยังเป็นเจ้าอาวาส ได้มีพิธี เสกวัดหลังใหม่ในวันสมโภชพระคริสตกษัตริย์ แห่งสากลโลก เมือ่ วันที ่ 22 พฤศจิกายน 2524 /1981 2525/1982 คุณพ่อเปรง (Francois PERON) เข้ า เป็ น เจ้ า อาวาสวั ด อั ค รเทวดา ราฟาแอล ท่าบม ได้พยายามพัฒนาหมู่บ้าน ท่าบม โดยเฉพาะอย่างยิง่ เรือ่ งโครงการระบาย
ประวัติคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI/ธ.ม.น. ค.ศ.1816/พ.ศ.2359) 45
น�ำ้ จากเนินเขาเข้าสูห่ มูบ่ า้ น และอยูป่ ระจ�ำทีว่ ดั นี้เป็นเวลา 13 ปี คุณพ่อแลนด์ไปอยู่ที่อ�ำเภอ เชียงคาน ในปี 2527/1984 หลั ง จากได้ มี ก าร ตัดสินใจจะมอบคืนวัดแม่พระฟาติมาให้อยู่ใน ความดูแลของเขตปกครองทางศาสนากรุงเทพฯ ได้พูดคุยตลอดปีกับพระคาร์ดินัลเกี่ยวกับที่ดิน อันเหมาะส�ำหรับสร้างศูนย์คณะ เจตจ�ำนงของ พวกเราคือมีบ้านพักของตนเพื่อต้อนรับแขก สมาชิกของคณะ พระคาร์ดินัลเข้าใจเจตจ�ำนง นีเ้ ป็นอย่างดี จึงได้เสนอทีส่ องแห่งให้คณะเลือก พวกเราได้เลือกที่ดิน (สองไร่) ในเขตวัดรังสิต (วัดพระชนนีของพระเป็นเจ้า) เพราะอยู่ริม ถนนพหลโยธิน สะดวกส�ำหรับบรรดาคุณพ่อ ทีอ่ ยูจ่ งั หวัดเลย ไม่ไกลจากสนามบินดอนเมือง วันที่ 10-11 พฤษภาคม นักบุญพระสั น ตะปาปา ยอห์ น ปอล ที่ 2 เสด็ จ เยื อ น ประเทศไทย คุ ณ พ่ อ ฟอร์ แ ตงได้ รั บ เหรี ย ญ เกียรติยศจากนักบุญพระสันตะบิดร ยอห์น ปอล ที่ 2 จากพระหัตถ์ของพระองค์ที่บ้าน สมณทูตเป็นมอญซิ หลังการเสด็จเยือน พวก เราได้ออกจากวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง ที่ พวกเราได้รับโอกาสให้ดูแลมาเป็นเวลา 14 ปี คุ ณ พ่ อ ยิ ล ส์ ไ ด้ เข้ า ดู แ ลวั ด อั ค รเทวดา มีคาแอล สะพานใหม่ ซึ่งเวลานั้นเป็นอาคาร พาณิชย์สามชั้นสองคูหา (วัดห้องแถว) กลุ่ม คริสตศาสนิกชนได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาพระ คาร์ดินัลได้ซื้อที่ดินแปลงใกล้ๆ “วัดห้องแถว” เพื่อจะได้สร้างวัดใหม่
ประวัต ิ “บ้าน เดอ มาเซอโนด์”(de Mazenod house 2527/1984) อั น ที่ จ ริ ง ก่ อ นที่ ค ณะเข้ า มาท� ำ งานใน ประเทศไทย ก็ได้มผี สู้ มัครขอเข้าคณะแล้ว แต่ การดูแลไม่สู้ได้ผลนัก เนื่องจากไม่มีบ้านของ คณะในประเทศ คุณพ่ออธิการใหญ่ของคณะได้ เปรยไว้วา่ จ�ำเป็นต้องเริม่ กิจการหากระแสเรียก พวกเราได้เช่าบ้านเพื่อเริ่มดูกระแสเรียกก่อน คุณพ่อบรูโนลงมาจากจังหวัดเลยร่วมกับคุณพ่อ ปรีชาเพื่อจุดประสงค์นี้เอง ในปีแรกบ้านที่เราเช่าก็พอเพียงส�ำหรับ เณร 3 คน มิถุนายน (2528/1985) เริ่มก่อสร้าง “บ้านนริมล” ศูนย์ของคณะที่รังสิต วันที ่ 11 มกราคม 2530/1987 โอกาส ฉลองวั ด พระชนนี แ ห่ ง พระเป็ น เจ้ า รั ง สิ ต พระคาร์ดินัลมีชัยได้เสก “บ้านนิรมล” ปี 2531/1988 คุณพ่อ ZAGO ท่าน อธิการใหญ่ของคณะ ได้มาเยี่ยมและได้ขอซื้อ ทีด่ นิ ทีส่ ามพราน (บ้านมาเซอโนด์ปจั จุบนั ) เพือ่ สร้างบ้านเณรเล็ก การก่อสร้างได้เริม่ ทันทีและ เราได้ยา้ ยเข้าในวันที ่ 5 พฤษภาคม 2532/1989 วั น เสาร์ ที่ 9 มี น าคม 2534/1991 คุณพ่อฟอร์แตงถึงแก่มรณภาพด้วยโรคมะเร็ง ในระบบน�้ำเหลือง วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พิ ธี ป ลงศพที่ วั ด นั ก บุ ญ เปโตร สามพราน อุปสังฆราช จ�ำเนียร กิจเจริญ เป็นประธาน ในพิธี
46 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ในปี 2533/1990 เพื่ อ งานด้ า นการ อบรมเณร Franklin MIRASOL และคุณพ่อ Dorotheo REYES ได้รับค�ำสั่งให้มาท�ำงานใน ประเทศไทย และวันที่ 17 กรกฎาคม คุณพ่อ Paolo MICELI (คุณพ่อเปาโล) เดินทางมาถึง ประเทศไทย เขตจังหวัดเลย คุณพ่อแลนด์ได้สร้าง วัดเล็กที่เชียงคานชื่อ ‘มารีน�ำไมตรี’ (OUR LADY OF THE VISITATION) ก่ อ ตั้ ง ศู น ย์ เยาวชนหญิงท�ำงานกับเครื่องเย็บผ้าส�ำหรับ เด็กผู้หญิง ดูแลบ้านคนชรา คุณพ่อสอนหลัก ความเชื่อ 10 ธันวาคม 2534/1991 โอกาสฉลอง 25 ปี ที่ ค ณะเข้ า มาท� ำ งานในประเทศไทย พระคาร์ ดิ นั ล มี ชั ย ได้ ใ ห้ เ กี ย รติ เ ป็ น ประธาน ในบูชาขอบพระคุณ พร้อมกับ ฯพณฯ ยอด พิมพิสาร รวมทั้งพระสงฆ์อีกจ�ำนวนหนึ่ง พิธี กระท�ำที่บ้านเณรเล็ก เดอ มาเซอโนด์ และได้ เสกอาคารทั้งสองหลังของบ้านเณร คุณพ่อเปาโลได้รับต�ำแหน่งเจ้าอาวาส วัดอัครเทวดามีคาแอล สะพานใหม่ ต่อจาก คุณพ่อปรีชา ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ของวัดใหม่ ในเดือนธันวาคม เดือนตุลาคมปีต่อมาคุณพ่อ Claudio BERTUCCIO (คุ ณ พ่ อ เคลาดิ โ อ แบร์ ตุ ช อ) ได้ รั บ มอบหมายให้ ม าท� ำงานใน ประเทศไทย วันสมโภชพระคริสตสมภพ 2536/1993 กลุ่มคริสตชนของวัดสะพานใหม่ย้ายมาเข้าวัด ที่อาคารหลังใหม่
ปี 2537/1994 ได้มีความพยายามหา ข้อยุติในเรื่องแยกเณรใหญ่ออกจากเณรเล็ก คณะได้ซื้อที่แปลงใหม่หลังอารามคาร์แมลใน เดือนธันวาคม... ปี 2538/1995 มี ก ารประชุ ม อธิ ก าร แขวงทั่วโลกที่สามพราน (การประชุมระหว่าง สมัชชาใหญ่สองสมัย) ได้ใช้บ้านผู้หว่านเป็น สถานที่ประชุมในเดือนตุลาคม หลังจากได้ปฏิญาณตนตลอดชีพแล้ว ภารดาประสงค์ได้ไปอยูก่ บั คุณพ่อเปรงทีท่ า่ บม คุณพ่อบรูโนในฐานะอธิการกิง่ แขวงไปประจ�ำที่ บ้านรังสิตกับคุณพ่อฮาเบสโตรผู้ไปช่วยถวาย บูชาขอบพระคุณภาษาอังกฤษที่เซนต์ยอห์น วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม แปดวันหลัง จากการแต่งตัง้ ผูส้ ถาปนาคณะเป็นนักบุญ พวก เราได้ฉลองท่านนักบุญเออเยน เดอ มาเซอโนด์ โดยแทรกพิธนี เี้ ข้าในบูชาขอบพระคุณฉลองวัด ประจ�ำปีของวัดคอนเซ็ปชัญ พระคาร์ดินัลให้ เกียรติเป็นประธานในพิธี ปี 2539/1966 คณะได้รับงานมากขึ้น ในเขตปกครองทางศาสนาอุดรฯ อาทิ ชุมแพ หมั น ขาว และยั ง ช่ ว ยงานอยู ่ จ นถึ ง ปั จ จุ บั น ท้ายสุด คณะได้สร้างบ้านรับรองเล็กๆ ริมน�ำ้ โขง ที่เชียงคาน ปี 2542/1999 ภารดาทินรัตน์ได้ช่วย พวกเราให้ออก ‘วิสัยทัศน์’ อันมีใจความว่า ครอบครัวธรรมทูตในพระศานจักรท้องถิ่น มุ ่ ง สู ่ ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ กล้ า อุ ทิ ศ ตนประกาศ พระวรสารท่ามกลางผู้ยากไร้
ประวัติคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI/ธ.ม.น. ค.ศ.1816/พ.ศ.2359) 47
ปี 2546/2003 ฯพณฯ จ�ำเนียร สันติสขุ นิรนั ดร์ ได้เชิญพวกเราไปท�ำงานในเขตปกครอง ทางศาสนานครสวรรค์ นีค่ อื จุดเริม่ ต้นของการ เข้าท�ำงานในเขตปกครองฯ นี ้ ปัจจุบนั สมาชิก บางท่านรับใช้พระศาสนจักรในงานอภิบาลบาง แห่ ง พร้ อ มกั บ ท� ำ งานที่ ห ล่ ม สั ก ในเรื่ อ งการ ประกาศข่าวดีแก่ชาวม้ง รวมถึงงานด้านการ ศึกษาด้วย เราได้สร้างอาคารที่หล่มสักเพื่อ รองรั บ งานการประกาศข่ า วดี เ ป็ น ภาษาม้ ง ทางวิทยุแก่ชาวม้ง ผ่านทาง Radio Veritas (ที่ฟิลิปปินส์) ขอตบท้ายการน�ำเสนอคณะอย่างคร่าวๆ ด้วยการเสริมว่า ภราดาแบร์นาร์ด นอกจาก ช่วยงานด้านการศึกษที่ทับแก้วแล้ว ท่านยังได้ อภิบาลงานกับผูถ้ กู กักขังที ่ ต.ม. คุณพ่อโดโรท ได้ชว่ ยงานกับ Caritasฯ (ผูล้ ภี้ ยั , การค้ามนุษย์) คุณพ่อพนศรีชว่ ยงานกับผูต้ อ้ งขัง, ผูอ้ พยพและ ผู้ย้ายถิ่น
พฤศจิกายน 2562/2016 คณะได้ฉลอง 50 ปี ของการเข้ามาท�ำงานในประเทศไทย ณ วัดแม่พระฟาติมาดินแดง ปั จจุ บันคุ ณ พ่ อ เคลาดิ โ อ แบร์ ตุช ชอ, ธ.ม.น. (Claudio BERTUCCIO omi) เป็น อธิการกิ่งแขวงไทย-ลาว อาจารย์วิทยาลัยแสง ธรรมและที่ ป รึ ก ษาด้ า นเทววิ ท ยาของสภา สมณประมุขของเขตปกครองทางศาสนาแห่ง ประเทศไทย (วอนขอผู ้ อ ่ า นประวั ติ ย ่ อ นี้ ได้ ก รุ ณ า แทรกค�ำภาวนาเพื่อกระแสเรียกของคณะใน ค�ำภาวนาหลากหลายของท่าน ขอขอบพระคุณ ล่วงหน้ามา ณ ที่นี้)
(หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)
350 ปี มิสซังสยาม
กับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
ในการประกาศข่าวดี ซิสเตอร์ ดร.ชวาลา เวชยันต์
โอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 350 ปี ของการสถาปนามิสซังสยาม เป็นโอกาสดีที่ คริสตชนจะพินจิ พิจารณาขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับพระพร พระหรรษทานแห่งความเชื่อที่ เราได้ รั บ และเป็ น พิ เ ศษส� ำ หรั บ คณะภคิ นี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ที่ได้ รับพระพรแห่งกระแสเรียกในการติดตามพระ เยซูคริสตเจ้าในนามชือ่ พระหฤทัยศักดิส์ ทิ ธิข์ อง พระเยซูเจ้า ถึงแม้เราจะเป็นเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยว หนึง่ ของประวัตศิ าสตร์พระศาสนจักรคาทอลิก ในประเทศไทยก็ตาม จากประวัตขิ องพระศาสนจักรในประเทศ ไทย พบว่ า คณะนั ก บวชพื้ น เมื อ งแห่ ง สยาม
ได้ถูกตั้งขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 1672 ที่กรุงศรี อยุธยาโดยพระสังฆราชลังแบร์ต เดอ ลาม็อต ผู้ก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส หลังจากที่ ฯพณฯ ได้ตั้งคณะรักกางเขนแล้ว สองอารามที่โคชินไชน่า ในรายงานที่ส่งไปที่กระทรวงเผยแพร่ พระวรสารเมื่อปี ค.ศ. 1764 พบว่าที่ประเทศ สยาม มี อ ารามคณะรั ก ไม้ ก างเขนอยู ่ สี่ แ ห่ ง และมีนักบวชทั้งหมด 54 คนแต่หลังจากพม่า ยกทัพเข้ามากรุงตีกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อปี ค.ศ.1767 และได้เผากรุงศรีอยุธยา อาราม รักไม้กางเขนก็ถูกท�ำลายด้วย บรรดานักบวช เหล่านั้นได้หนีกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่น
อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
350 ปี มิสซังสยามกับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในการประกาศข่าวดี 49
ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ประเทศ เวียดนามมีการเบียดเบียนศาสนา จึงมีคนญวน จ� ำ นวนหนึ่ ง อพยพมาอยู ่ ใ นประเทศไทยใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า- อยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระองค์อนุญาตให้บรรดา คริสตชนชาวเวียดนาม ตั้งบ้านเรือนที่ต�ำบล สามเสน หรือเรียกกันว่าบ้านญวน ในกลุ่มนี้มี นักบวชหญิงคณะรักไม้กางเขนสองคนเดินทาง มาพร้อมกับคริสตชนชาวเวียดนามด้วย นักบวช หญิ ง ทั้ ง สองนี้ ข อร้ อ งพระสั ง ฆราชกู เวอร์ ซี ให้รับรองสถานะของตน พระสังฆราชกูเวอร์ซี ได้เขียนรายงานเรื่องนี้ไปที่กรุงปารีสว่า “ภคินี สองคนที่ เ คยอยู ่ ใ นคณะที่ โ คชิ น ไชน่ า ได้ ม า ขอร้องเรา ให้รับเขาเข้าอยู่ในฐานะนักบวช ต่อไป เราคิดจะสร้างอารามรักกางเขนขึ้นหลัง หนึ่งในค่ายนี้ ซึ่งสามารถอยู่ได้ 10 ถึง 15 คน และให้ถอื วินยั อย่างทีเ่ คยถือทีโ่ คชินไชน่า ภคินี เหล่านี้จะรับผิดชอบโรงเรียนเด็กหญิงเล็กๆ มิสซังจะให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะในระยะ เริม่ ต้น ข้าพเจ้าหวังว่าในไม่ชา้ เขาจะช่วยตัวเอง ได้อาศัยงานที่เขาสามารถท�ำได้ นอกนั้นอาจมี รายได้จากเงินทานบ้างโดยการรับเป็นธุระดูแล โรงเลี้ยงเด็กก�ำพร้า” เนื่องจากอารามแห่งนี้ ขาดผูใ้ ห้การอบรม การด�ำเนินการจึงไม่เกิดผล เท่าที่ควร ดังที่พบในรายงานของพระสังฆราช กูเวอร์ซีในปี ค.ศ.1839 ว่า “ที่กรุงเทพได้มี คณะรักกางเขนทีถ่ กู ยุบแล้วเพราะขาดระเบียบ วินยั ” นอกจากนัน้ มีความพยายามทีจ่ ะรือ้ ฟืน้ อารามรักกางเขนนี้ขนึ้ มาอีก โดยเชิญภคินจี าก จันทบุรี แต่ไม่สามารถรื้อฟื้นได้
จนกระทั่ ง ถึ ง สมั ย คุ ณ พ่ อ อาลอยส์ อั น ฟองส์ ดอนต์ หรื อ ที่ สั ต บุ รุ ษ ในสมั ย นั้ น เรียกท่านว่าคุณพ่อปีโอ สงฆ์คณะมิสซังต่าง ประเทศแห่งกรุงปารีส เชื้อชาติเบลเยี่ยม ท่าน ได้เดินทางเข้ามาในประเทศสยามในปี ค.ศ. 1867 และต่อมาในปี ค.ศ.1871 ท่านได้รับ แต่งตัง้ ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน ท่านได้ปรับปรุงอาคารของอารามที่ สามเสนในปี ค.ศ.1897 หลั ง จากที่ ท ่ า นได้ ปรับปรุงอาคารของอารามแล้ว ท่านได้รวบรวม ผู้สมัครมารับการอบรมจ�ำนวน 12 คน หกคน จากอารามเก่ า และอี ก หกคนสมั ค รเข้ า ใหม่ คุ ณ พ่ อ ดอนต์ ไ ด้ เ ปิ ด นวกสถานพระหฤทั ย และให้การอบรมด้วยตนเอง ท่านมีบทบาทต่อ อารามแห่ ง นี้ อ ย่ า งมาก ท่ า นดู แ ลเอาใจใส่ ทัง้ ทางด้านฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณของภคินี หลังจากที่โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์เปิด ท�ำการแล้วในปี ค.ศ.1899 คุณพ่อดอนต์ซึ่ง ล้ ม ป่ ว ยและเข้ า รั บ การรั ก ษาที่ โรงพยาบาล ท่านประทับใจในการท�ำงานของบรรดาภคินี เซนต์ปอล เดอชาร์ตร คุณพ่อจึงปรึกษากับ พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ จะขอภคินีคณะนี ้ ให้มาเป็นผูใ้ ห้การอบรมทีอ่ ารามสามเสน ดังนัน้ ท่านจึงเขียนจดหมายไปถึงคุณแม่กนั ดิด๊ อธิการ ที่ไซ่ง่อน แต่ยังไม่ได้รับค�ำตอบทันที ในปี ค.ศ.1900 คุณแม่เซรินนาผู้ตรวจ การของคณะเซนต์ปอลฯ กับคุณแม่กนั ดิด๊ ได้มา ตรวจเยีย่ มทีป่ ระเทศสยาม คุณพ่อดอนต์จงึ ถือ โอกาสนี้ขอภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร มาท�ำ การอบรมภคินีพื้นเมืองอีกครั้งหนึ่ง หลังจาก
50 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ที่คุณแม่ทั้งสองได้ไปดูอารามที่สามเสนแล้ว คุณแม่ทั้งสองจึงตกลงใจส่งภคินีสองคนจาก ไซ่ง่อนมาประจ�ำที่อารามสามเสน วันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ.1900 เซอร์ฮัง เรีย๊ ต อธิการ และเซอร์ยสุ ติน ผูช้ ว่ ยได้เดินทาง มาถึงอารามสามเสน บรรดาหญิงสาวที่อาราม สามเสนพร้อมใจกันฝากตัวไว้ในการดูแลของ ท่านทั้งสอง วันนั้นเอง จึงถือเป็นวันประวัติศาสตร์ ข องคณะนั ก บวชหญิ ง พื้ น เมื อ งแห่ ง อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ (ในขณะนั้ น คื อ มิสซังสยาม) เพราะถือเป็นวันก�ำเนิดของคณะ ภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ. ตัง้ แต่ป ี ค.ศ.1900 คณะภคินเี ซนต์ปอล เดอชาร์ตร ก็ได้เป็นผู้อบรมและอยู่กับคณะ ภคินีพระหฤทัยฯ จนถึงปี ค.ศ.1952 นับว่า คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าฯ ได้รับ พระพรพระหรรษทาน กระแสเรียกจากพระเจ้า ผ่านทางคณะมิชชันนารีถึงสองคณะ คือ คณะ สงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสผ่านทาง คุณพ่อ อาลอยส์ อันฟองส์ ดอนต์ และคณะ ภคินีเซนต์ปอล เดอชาร์ตร ผ่านทางคณะเซอร์ ที่มาให้การอบรมตลอด ห้าสิบปีแรกของคณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่เซราฟิน เดอ มารี ทีเ่ ป็นอธิการิณขี องคณะด้วยในสมัยแรกตัง้ คณะ คุณแม่เซราฟินทีไ่ ด้เป็นอธิการแทนเซอร์ฮงั เรีย๊ ต ตั้งแต่ปีค.ศ.1902 และอยู่กับคณะภคินีพระ หฤทัยฯ จนถึงปีที่ท่านกลับไปหาพระเจ้าในปี ค.ศ.1952
บทบาทการประกาศข่ า วดี ข องคณะภคิ นี พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าฯ การประกาศข่าวดีของคณะภคินีพระ หฤทัยฯ ที่อ้างอิงได้จากการรายงานของพระ สังฆราชกูเวอร์ซใี นปี ค.ศ.1839 คือ การรับผิด ชอบโรงเรี ย นเด็ ก หญิ ง เล็ ก ๆ และการดู แ ล โรงเลี้ ย งเด็ ก ก� ำ พร้ า ตั้ ง แต่ เริ่ ม ต้ น ที่ อ าราม สามเสน บรรดาภคินีและผู้ฝึกหัด ได้มีหน้าที่ ดู แ ลเด็ ก ก� ำ พร้ า ที่ วั ด นั ก บุ ญ ฟรั ง ซิ ส เซเวี ย ร์ สามเสน บางครั้งมีจ�ำนวนมากถึง 50 คน ซึ่ง เป็นงานที่หนักมากเพราะต้องเอาใจใส่ตลอด 24 ชัว่ โมง เพราะในสมัยนัน้ มีเด็กทารกทีถ่ กู ทิง้ จ�ำนวนมากโดยเฉพาะเด็กหญิง งานนี้จึงเป็น งานแรกที่ ค ณะได้ ท� ำ และท� ำ ต่ อ เนื่ อ งมาจน ปัจจุบัน ในด้านการดูแลโรงเรียนเด็กหญิงเล็กๆ นอกจากการรายงานของพระสังฆราชกูเวอร์ซี แล้ว ยังปรากฏในร่างพระวินยั ของคณะทีเ่ ขียน เป็นภาษาวัดในสมัยพระสังฆราชเรอเน แปร์ รอส ผู้อนุมัติธรรมวินัย วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1927 มีความว่า “ข้อ 2 ให้นางชีจะได้เป็นครูสอนเด็ก หญิง ไม่ว่าเด็กนั้นเป็นคริสตังแล้วหรือ ยั ง ให้ ส อนบทสวดภาวนา ค� ำ สอน คริสตัง หนังสือและวิชาการต่างๆ ตาม หลั ก สู ตรชั้ นประถมส�ำ หรั บ โรงเรี ย น มิ ส ซั ง โรมั น คาทอลิ ค ทั้ ง สอนให้ รู ้ การบ้ า นการเรื อ นตามฐานะแห่ ง ตน หวังจะให้เด็กนั้นๆ ได้รับประโยชน์ทั้ง ฝ่ายวิญญาณและกายด้วย
350 ปี มิสซังสยามกับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในการประกาศข่าวดี 51
ข้ อ 3. ให้ น างชี หั ด ตั ว เพื่ อ จะได้ รั บ หน้าที่ช่วยการวัด เรือนครัวของวัดได้ ตามที่ พ ระสั ง ฆราชก็ ไ ด้ จ ะเห็ น ควร อนุญาต ข้อ 4. ให้นางชีสบื ว่าบ้านยิน่ ติว (คนต่าง ศาสนา) ไหนมี ท ารกกุ ม ารเจ็ บ หนั ก อยู่น่ากลัวจะตายไม่ได้รับศีลล้างบาป ทราบแล้วเรียนให้พระสงฆ์เพื่อจะได้ จัดแจง หากว่าถึงทีอ่ บั จน เรียนพระสงฆ์ ไม่ทนั หรือไม่มพี ระสงฆ์อยู ่ ก็ให้โปรดศีล ล้างบาปให้กุมารนั้นทันที ทั้งสามประการนี้ ทางคณะภคินีพระ หฤทัยฯ ก็ได้ด�ำเนินตามอย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ข้อ 4. เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การแพทย์และ สาธารณสุขดีขึ้น จึงไม่ได้ท�ำตามข้อนี้อีก จากประวัติของคณะภคินีพระหฤทัยฯ หลังจากได้รับการอบรมจากเซอร์เซนต์ปอล เดอชาร์ตรรแล้วในปี ค.ศ.1909 ภคินีได้เริ่ม ออกไปท�ำงานตามวัด เป็นครูสอนเด็กเล็กๆ ที่ โรงเรี ย นของวั ด เป็ น แห่ ง แรก ที่ วั ด นั ก บุ ญ ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน (โรงเรียนนักบุญเทเรซา ชือ่ ในสมัยนัน้ ) ภายหลังโรงเรียนนีไ้ ด้เปลีย่ นชือ่ เป็นโรงเรียนโยนออฟอาร์ค ในรายงานประจ�ำปี ค.ศ.1910 พระสังฆราช เรอเน แปร์รอส ประมุขมิสซังสยามได้รายงาน ไปยังคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสด้วย ความยินดีว่า “บ้านนักบวชที่สามเสนเริ่มให้ ผลเป็นครั้งแรกในปีนี้ มีภคินีสี่รูปจากบ้านนี้ ซึ่งได้เข้ารับการอบรมเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ได้ออก ไปประจ�ำอยู่ที่กลุ่มคริสตชนภายนอกสองแห่ง
งานนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะได้ให้บริการมากขึ้น ซึง่ เป็นสิง่ ทีย่ งั ขาดอยูใ่ นปัจจุบนั ” ตามหลักฐาน บันทึกเพิ่มเติมจากรายงานของประมุขมิสซัง ถึงการเปิดบ้านของคณะได้ระบุว่าในปี ค.ศ. 1910 มีจ�ำนวนการออกไปช่วยงานแต่ละวัด ไว้ ดั ง นี้ “ภคิ นี อ อกไปช่ ว ยงานตามวั ด ต่ า งๆ 5 แห่ง วัดแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล สองพี ่ น้ อ ง จั ง หวั ด สุ พ รรณบุ รี , วั ด บ้ า นปลายนา จั ง หวั ด อยุ ธ ยา (ต่ อ มาย้ า ยออกมาอยู ่ ริ ม แม่น�้ำน้อย ปัจจุบันคือวัดมารีย์สมภพ บ้าน แพน เสนา), วัดพระวิสทุ ธิวงศ์ ล�ำไทร จังหวัด ปทุมธานี, วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ จังหวัดอยุธยา, วัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง จังหวัดสิงห์บุรี” รายงานประจ�ำปี ค.ศ.1925 จากมิสซัง สยามถึงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภคินีรักไม้กางเขนแห่ง อารามพระหฤทัย ที่สามเสนเป็นนวกสถาน ภคินีพื้นเมืองที่ฟื้นฟูขึ้นใหม่เมื่อปี ค.ศ.1899 โดยคุณพ่อดอนต์ ผู้ช่วยประมุขมิสซัง มีภคินี จ�ำนวน 4 คนกับภคินเี ป็นครูสอนตามวัดต่างๆ อีกจ�ำนวน 30 คน มีโนวิสประมาณ 60 คน มีสถานเลีย้ งเด็กเล็กๆ ลูกคนต่างศาสนา สถาน รับเด็กหญิงก�ำพร้า อธิการคือ มีเซอร์เซราฟิน เดอ มารียเ์ ป็นผูป้ กครองและปีนไี้ ด้ฉลอง 25 ปี ให้กับภคินีพื้นเมืองรุ่นแรกจ�ำนวน 6 คน” ในเอกสารทีไ่ ม่มชี อื่ จากห้องเอกสารของ คณะภคินเี ซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ปี ค.ศ.1926 ยังกล่าวว่า “งานในระยะแรกของภคินีเหล่านี้ คือการท�ำอาหารส�ำหรับคุณพ่อ ดูแลวัดและ
52 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 สอนค�ำสอน พวกเธอค่อยๆ เรียนรู้อักษรไทย จนถึงปัจจุบนั จึงท�ำให้พวกเธอมีความสามารถ สอนเรียนได้ ทั้งนี้อยู่ภายใต้การน�ำของคุณพ่อ แต่ละวัดจะมีโรงเรียนจะมีเด็กคริสตังประมาณ 70 ถึ ง 80 คน โรงเรี ย นเหล่ า นี้ รั บ เด็ ก ถื อ ศาสนาอื่นที่เข้ามาเรียนด้วย ขณะนี้มีวัดทั้ง สิ้ น 19 แห่ ง ในมิสซังที่ภคินีพื้นเมืองเหล่านี้ ได้ไปท�ำงานอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของพระ ศาสนจักรและเพื่อความรอดของวิญญาณ” ส� ำ หรั บ งานด้ า นการดู แ ลเด็ ก ก� ำ พร้ า มีบนั ทึกไว้ในหนังสือสารสาสน์ในการฉลองเสก อารามใหม่ที่คลองเตย กันยายน ค.ศ.1932 “นอกจากตึกใหญ่ยังมีอีกตึกหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่ ของเด็กๆ ที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง คนที่รอดตาย ได้ก็เติบโตขึ้นและได้รับการอบรมต่อไป เป็น คริสตตังที่ดีและพลเมืองที่ดี ภายในตึกของ เด็กๆ อนาถานั้น มีแผ่นศิลาจารึกอยู่แผ่นนึง จารึกใจความว่านายช่างก่อสร้างตึกพระอาราม ได้ ท� ำ บุ ญ สร้ า งตึ ก แห่ ง หนึ่ ง ส� ำ หรั บ เด็ ก ไทย อนาถาได้มที พี่ กั จึงนับเป็นบุญกองใหญ่อยูก่ อง หนึ่ง แต่ยังสู้บุญคุณของชีผู้พิทักษ์รักษาเด็กๆ ตั้ ง แต่ อ ยู ่ ใ นผ้ า อ้ อ มจนเติ บ โตไม่ ไ ด้ ดู สิ ดู ชี ปฏิบัติต่อเด็กๆ อย่างมารดาบังเกิดเกล้าแท้ๆ และยิง่ เด็กเป็นโรคหรือทุพพลภาพก็ยงิ่ ดู ยิง่ รัก ใคร่มากขึน้ น่าชมพระคริสตธรรมเสียเหลือเกิน บรรดาชีผถู้ วายกายใจแด่พระอาจารย์เจ้ายึดถือ พระธรรมคัมภีร์ที่ว่า “ให้เด็กๆ มาหาเราเถิด เพราะเมืองสวรรค์เป็นของเด็กๆ” กับ “ถ้าใคร ท�ำดีแก่เด็กๆ ก็เท่ากับท�ำกับเราเอง” พระธรรม นีต้ า่ งเก็บไว้ในใจจนเป็นอารมณ์ เลีย้ งเด็ก ดูแล
อบรมจนเจริญอายุ และปฏิบตั พิ ระผูส้ ร้างและ แม่พระ เพื่อมีความสุขใจในโลกนี้ และมีความ บรมสุขในโลกหน้าตลอดนิรันดรด้วย ข้าพเจ้า ขออ� ำ นวยพรให้ ชี รั ก ไม้ ก างเขน และคณะชี เซนต์ปอลเดอชาร์ตร ผู้ท�ำการเผยแพร่พระ ธรรมค�ำสอนของพระมหาเยซูเจ้าได้รับพระ พิพิธวรพรอันแสนประเสริฐจากเบื้องบนเพื่อ สามารถท�ำการเพาะปลูกพระคริสตธรรมไว้ใน วงชาวชนพลเมืองไทยที่รักของเราต่อไปให้ยิ่ง ขึ้นสมประสงค์เทอญ” นอกนั้น ในการรับรองธรรมวินัยของ คณะและการรับรองคณะอย่างเป็นทางการจาก พระศาสนจั ก ร ในปี ค .ศ.1957 นั้ น คุ ณ พ่ อ มอรีส ยอลี ได้เขียนไว้ในจดหมายยื่นขอรับ การรับรองความว่า “จุดประสงค์อันดับสอง และพิเศษของคณะ ให้ภคินรี ว่ มกับพระสงฆ์ใน การแพร่ศาสนา เป็นต้น ช่วยแปลค�ำสอนแก่ ผูส้ มัครเป็นคริสตัง สอนและอบรมนักเรียนและ หญิ ง สาวในโรงเรี ย นทุ ก ชนิ ด เช่ น โรงเรี ย น ประถม มัธยม การเรือน อาชีพ และชนิดอืน่ ๆ สอนวิชาชีพและหางานให้คนจน พยาบาลคน ป่วยตามโรงพยาบาลและสุขศาลา ตามบ้านที่ มีคนป่วยจะได้มโี อกาสโปรดศีลล้างบาปในกรณี ฉุกเฉิน เป็นต้นแก่ทารก ช่วยแบ่งเบาภาระของ พระสงฆ์ในเรือ่ งเกีย่ วกับวัด ดูแลโรงครัว ตลอด จนกิจการอื่นที่ผู้ใหญ่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ แก่มิสซัง” จากรายงานเกีย่ วกับการด�ำเนินงานของ คณะของคุณแม่แบร์นาแด๊ต ในปี ค.ศ. 1957 ในด้ า นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กิ จ การของคณะ เช่ น
350 ปี มิสซังสยามกับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในการประกาศข่าวดี 53
ได้สงเคราะห์เด็กก�ำพร้าจ�ำนวน 30 คน สร้าง โรงเรี ย นที่ ส วรรคโลก จ� ำ นวนวั ด ที่ ภ คิ นี ไ ป ประจ�ำอยู่ทั้งสิ้น 34 แห่ง ฯลฯ ในการแพร่ธรรม คณะภคินพี ระหฤทัยฯ ได้เป็นผูร้ ว่ มมือกับพระสงฆ์ ในการเป็นผูช้ ว่ ยใน การแพร่ธรรม ดังจะเห็นได้จากการที่พระสงฆ์ มิสซังต่างประเทศได้ริเริ่มไปประกาศข่าวดีใน ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ตัง้ แต่ป ี ค.ศ.1932 คณะก็ได้สง่ สมาชิกไปร่วมมือกับพระสงฆ์ในการ ดูแลวัดและโรงเรียนของวัดเป็นรุ่นแรกๆ เช่น วัดพระหฤทัยและโรงเรียนพระหฤทัย จ.เชียงใหม่ วัดนักบุญเทเรซาและโรงเรียนนุชนาถอนุสรณ์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย วัดแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ และโรงเรียนศิรมิ าตย์เทวี จ.เชียงราย โรงเรียน อรุโณทัย จ.ล�ำปาง ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนา กั บ สมาชิ ก รุ ่ น แรกที่ ไ ปท� ำ งานที่ เวี ย งป่ า เป้ า ที่พาน และที่เชียงใหม่ พวกท่านเล่าว่า “ต้อง เดินเท้าไป นั่งเกวียนบ้าง กว่าจะถึงเมืองพาน ต้องค้างคืนในหมู่บ้านระหว่างทาง 1 คืน” ส� ำ หรั บ สถานที่ อื่ น ๆ ที่ ภ คิ นี เ คยไป ประจ�ำอยู่ เช่น วัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ วัดเซนต์นิโคลาส พิษณุโลก วัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ ว นครราชสี ม า วั ด นั ก บุ ญ ยอแซฟ บ้ า นหั น นครราชสี ม า วั ด พระหฤทั ย ขลุ ง วัดพระผูไ้ ถ่ เสาวภา วัดนักบุญยาโกเบ แม่กลอง ฯลฯ สมาชิกของคณะได้ไปท�ำงานตามสถานที่ ต่างๆ จนกระทัง่ มีการแยกมิสซังออกจากมิสซัง กรุงเทพฯ คณะจึงไม่ส่งภคินีไปประจ�ำตามวัด ต่างๆ ทั่วไป คงอยู่แต่บางมิสซังเท่านั้น
ในปั จ จุ บั น ตามที่ มี ก ารอธิ บ ายความ หมายของการประกาศข่าวดีซึ่งครอบคลุมการ ท� ำ งานตั้ ง แต่ ง านด้ า นสั ง คม งานด้ า นการ อภิบาลและค�ำสอน งานด้านธรรมทูต งานด้าน การศึกษา งานด้านศาสนสัมพันธ์ ทั้งหมดนี้ คณะภคิ นี พ ระหฤทั ย ของพระเยซู เจ้ า แห่ ง กรุงเทพฯ ได้ตอบสนองความต้องการของพระ ศาสนจักรในทุกด้านเท่าทีก่ ำ� ลังของเราสามารถ ท�ำได้ จากสมัชชาของคณะตัง้ แต่ตน้ ถึงปี ค.ศ. 2015 ซึ่งมีหัวข้อสมัชชาในปี 2015 ว่า “หนึ่ง เดียวในหมู่คณะประจักษ์พยานชีวิต อุทิศตน ประกาศข่าวดีใหม่” คณะมีการแบ่งโครงสร้าง การท� ำ งานเป็ น ฝ่ า ยต่ า งๆ เพื่ อ ตอบสนอง ภารกิ จ ด้ า นการประกาศข่ า วดี ในปั จ จุ บั น ภารกิ จ ของคณะ แบ่ ง เป็ น ฝ่ า ยต่ า งๆ ดั ง นี้ ฝ่ายอบรม ฝ่ายอภิบาล และประกาศข่าวดี ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายสังคมพัฒนา และฝ่ายแม่ บ้าน ด้านการอบรม มีการฟื้นฟูชีวิตจิตของ สมาชิก โดยการส่งเสริมให้มกี ารอ่าน ร�ำพึงและ ปฏิ บั ติ พ ระวาจา ธรรมวิ นั ย ของคณะ การ สัมมนา การเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจ การศึกษา เอกสารต่างๆ ของพระศาสนจักร การส่งเสริม ชีวติ หมูค่ ณะ ความเป็นหนึง่ เดียวกันในหมูค่ ณะ การประสานงานระดับเขต เพื่อให้เกิดความ เป็นหนึ่งเดียวกัน มีการส่งเสริมกระแสเรียก ให้กับเยาวชน ทั้งการอบรมเบื้องต้นและการ จั ด ค่ า ยกระแสเรี ย กตามโอกาสที่ เ หมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับกฤษฎีกาของพระศาสนจักร แห่งประเทศไทย ปี ค.ศ.2015
54 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ด้านการอภิบาลและประกาศข่าวดี เน้น ทั้งการอภิบาลและการประกาศข่าวดี ส�ำหรับ การอภิบาลนัน้ ได้มกี ารส่งเสริมให้สมาชิกทุกคน มี ส ่ ว นในการสอนค� ำสอนทั้ ง ในวั ด โรงเรี ย น และตามโอกาสต่างๆ เช่นค่ายค�ำสอนในระยะ ปิดภาคเรียน ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ และประสานงานกั บ บรรดาพระสงฆ์ ต าม วัดต่างๆ ที่ต้องการการจัดค่ายค�ำสอน ปีละ ประมาน 7-10 ค่ า ย แล้ ว แต่ บุ ค ลากรของ คณะทีจ่ ะสามารถจัดสรรได้ การจัดค่ายค�ำสอน ในช่วงปิดภาคเรียนนั้นได้ท�ำต่อเนื่องนานเกิน กว่า 20 ปีแล้ว จัดในหลายสังฆมณฑล เช่น สังฆมณฑลเชียงใหม่ สังฆมณฑลนครสวรรค์ สังฆมณฑลท่าแร่ และจัดในบางวัด ร่วมกับ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ผลที่เกิดขึ้นคือเด็กๆ หลายคนจากค่ายค�ำสอนต่อมาสมัครเข้าเป็น เณร เป็นผูฝ้ กึ หัด จนในทีส่ ดุ ได้บวชเป็นพระสงฆ์ นักบวชก็มีหลายคน ทั้งยังส่งเสริมผู้ฝึกหัดและสมาชิกให้มี ความรู้ด้านค�ำสอน โดยส่งไปเรียนค�ำสอนที่ โรม เรียนหลักสูตรคริสตศาสตร์ ที่วิทยาลัย แสงธรรม และอบรมค�ำสอนภาคฤดูรอ้ น ทีศ่ นู ย์ ค�ำสอนระดับชาติ ส�ำหรับงานค�ำสอนระดับ ชาติ คณะส่ ง สมาชิ ก ไปเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยงานศู น ย์ ค�ำสอนตัง้ แต่เริม่ แรกของงานค�ำสอนระดับชาติ ซึ่งเป็นการร่วมมือกับสภาพระสังฆราชแห่ง ประเทศไทยและชมรมนั ก บวชหญิ ง แห่ ง ประเทศไทยในขณะนั้น นอกจากงานอภิ บ าลด้ า นการสอน ค�ำสอนแล้ว คณะยังส่งเสริมการพัฒนาชีวติ จิต
ของฆราวาส โดยการฝึ ก จิ ต ภาวนาให้ กั บ ฆราวาสทัว่ ไปทีส่ นใจ จัดให้มกี ารฝึกจิตภาวนา ในอาทิตย์ที่สามของเดือน โดยพระสงฆ์และ สมาชิกของคณะเป็นผู้น�ำ งานศาสนสัมพันธ์ คณะฯให้ความร่วม มือกับงานศาสนสัมพันธ์ระดับสังฆมณฑลและ ระดับชาติ ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เช่น ศูนย์ คุณธรรมเข้าร่วมเป็นโรงเรียนคุณธรรมเป็น วิทยากรให้ความรู้ ฯลฯ ทัง้ ยังมีการส่งเสริมให้สมาชิกเยีย่ มเยียน สัตบุรุษ ผู้อาวุโส ผู้เจ็บป่วย ผู้ที่ห่างเหินวัด โดยเริม่ จากครอบครัว และบุคคลทีส่ มาชิกรูจ้ กั ส�ำหรับด้านการประกาศข่าวดี สมาชิก ของคณะได้ร่วมมือกับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ โดยเป็นผู้ร่วมมือกับพระสงฆ์ในการแพร่ธรรม ในที่ต่างๆ ตั้งแต่อดีต ส่วนในปัจจุบันมีการ ส่งเสริมวิถีชุมชนวัด โดยที่สมาชิกของคณะ ไปร่วมก่อตั้งและร่วมประชุม กลุ่มวิถีชุมชนวัด ในวัดต่างๆ มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องใน ระดับผู้น�ำ ปฏิบัติตามผลของกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศ ไทย ค.ศ.2015 ที่ประกาศให้มีการส่งเสริม วิถีชุมชนวัด ในการใช้พระวาจาในการฟื้นฟู ชีวิตของคริสตชนขั้นพื้นฐาน แม้แต่ในอาราม พระหฤทัยที่คลองเตยเอง ได้มีการรวมกลุ่มวิถี ชุมชนวัดในกลุ่มพนักงาน โดยมีสมาชิกของ คณะเป็นผู้ช่วยส่งเสริมให้กลุ่มเข้มแข็ง รวม ทั้งสมาชิกของคณะเป็นวิทยากรให้ความรู้วิถี ชุ ม ชนวั ด ให้ กั บ ผู ้ น� ำ จากเขตต่ า งๆ ของอั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามแต่โอกาสทีเ่ หมาะสม
350 ปี มิสซังสยามกับคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ในการประกาศข่าวดี 55
มีการส่งสมาชิกและบุคลากรของคณะไปรับ การอบรมพระคัมภีร์ที่สถาบันพระคัมภีร์ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ การอบรม Bibliodrama ฯลฯ ทั้ ง หมดนี้ เ พื่ อ จะได้ ม ารั บ ใช้ พระศาสนจั ก รในประเทศไทยต่ อ ไป มี ก าร ส่งเสริมการผลิต Bible diary เพื่อคริสตชน ไทยจะได้ มี พ ระวาจาในการอ่ า นร� ำ พึ ง และ ปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวัน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 ซึ่งจะครบ 30 ปี ในปี ค.ศ.2021 นี้ นอกนั้น คณะได้ร่วมมือกับคณะธรรม ทู ต ไทย (TMS) โดยส่ ง สมาชิ ก ไปท� ำ งานที่ ประเทศกัมพูชา สังฆมณฑลพนมเปญ ตั้งแต่ ปี ค.ศ.2009 ส�ำหรับงานด้านการศึกษา คณะได้ร่วม มือกับพระศาสนจักร โดยส่งสมาชิกของคณะ ไปท� ำ งานตามโรงเรี ย นของอั ค รสั ง ฆมณฑล และสังฆมณฑลต่างๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 จน ถึงปัจจุบัน แม้บางวัดบางโรงเรียนคณะไม่ได้ ส่ ง สมาชิ ก ไปท� ำ งานที่ นั่ น แล้ ว แต่ ก ระนั้ น บรรดาลูกศิษย์ก็ยังจดจ�ำได้จนปัจจุบัน เช่น วัดและโรงเรียนในเขตสังฆณฑลนครราชสีมา ปี ค.ศ.2019 คณะส่งสมาชิกไปท�ำงาน ในโรงเรียนของสังฆมณฑล จ�ำนวน 30 แห่ง 5 สังฆมณฑล นอกนั้ น คณะฯ ยั ง ร่ ว มงานของสภา พระสังฆราชแห่งประเทศไทย โดยท�ำงานใน องค์กรของพระศาสนจักร ร่วมมือกับสภาการ ศึ ก ษาคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทยโดยเป็ น กรรมการบริหารของสภาฯ และยังอนุญาต ให้สมาชิกบางคนเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัย แสงธรรมอีกด้วย
ในด้ า นสั ง คมพั ฒ นาในระยะเริ่ ม แรก ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สมาชิกดูแลเด็กก�ำพร้า ที่วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน และงานนี้ ได้ปฏิบตั ติ อ่ เนือ่ งมาจนในปัจจุบนั ซึง่ ได้เปลีย่ น เป็นบ้านหรือศูนย์ต่างๆ ทั้งเป็นบ้านของคณะ เองและร่วมมือกับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทีบ่ า้ นหทัยการุนย์ ฉะเชิงเทรา ในปี ค.ศ.2019 คณะมีบ้านสงเคราะห์ของคณะ 5 แห่ง คือ บ้านสวนพระหฤทัย ล�ำปาง, บ้านสวนพระหฤทัย สวรรคโลก, บ้านพระหฤทัยดอนเมือง, บ้าน พระหฤทัยพัฒนเวศม์, ศูนย์เด็กเล็ก หนองแขม (สถานที่ท�ำงานกับชุมชนกองขยะหนองแขม โดย ซิสเตอร์อาเมลี วราภรณ์ ธิราศักดิ์ ตั้งแต่ 20 กว่ า ปี ที่ ผ ่ า นมา จนปั จ จุ บั น ชุ ม ชนได้ เปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) และเพิ่ ม การท� ำ งานกั บ อั ค รสั ง ฆมณฑล กรุงเทพฯ ที่ ศูนย์คอมมูนิต้า ล�ำไทร อีกหนึ่ง แห่ง นอกนั้ น ยั ง ร่ ว มมื อ กั บ องค์ ก รของรั ฐ ในการท�ำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านยาเสพติดที่บ้านคุณพุ่ม นครปฐม โดยมี มูลนิธิพระหฤทัยอุปถัมภ์เป็นตัวกลางประสาน งานกับองค์กรของรัฐ ส�ำหรับงานเรือ่ งการส่งเสริมศักดิศ์ รีและ สิทธิของมนุษย์และการต่อต้านการค้ามนุษย์ คณะได้อนุญาตให้สมาชิกท�ำงานด้านการต่อ ต้ า นการค้ า มนุ ษ ย์ ร ่ ว มมื อ คณะกรรมการ ทาลิ ธ ากุ ม ได้ ท� ำ งานอย่ า งแข็ ง ขั น ในสถาน ศึกษาและองค์กรอื่นๆ โดยการให้ความรู้อย่าง ต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ส่งเสริมพัฒนาสมาชิก ให้ มี ค วามรู ้ ค วามสามารถและเป็ น วิ ท ยากร
56 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ให้กับหน่วยงานอื่นๆ เป็นกรรมการระดับชาติ ไปร่วมประชุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ที่โรมและที่ประเทศเวียดนาม ฝ่ายสังคมพัฒนายังร่วมมือกับคาริตัส ไทยแลนด์ และฝ่ายสังคมของสังฆมณฑลต่างๆ เมือ่ เกิดภัยพิบตั ติ า่ งๆ เช่น น�ำ้ ท่วม ไฟไหม้ ฯลฯ ในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและต่อเนื่อง เช่น การท�ำงานช่วยเหลือเมือ่ เกิดสึนามิ ปี ค.ศ. 2006 ส�ำหรับในระดับท้องถิ่นสมาชิกที่ท�ำงาน ด้านสังคมพัฒนายังช่วยส่งเสริมให้มีธนาคาร โคกระบือ ส่งเสริมอาชีพ และไปเยี่ยมเยียน ให้ก�ำลังใจกลุ่มคริสตชน เช่นที่ หมู่บ้านลาน กระบือ สุโขทัย ฯลฯ ส� ำ หรั บ ด้ า นแม่ บ ้ า นและการดู แ ลวั ด และโรงครัว คณะยังคงซือ่ สัตย์โดยการให้ความ ร่วมมือท�ำงานดูแลวัด ดูแลโภชนาการของวัด และโรงเรียน และอ�ำนวยความสะดวกให้กับ ผู้ที่มาติดต่อ จะเห็นได้จากจ�ำนวนวัดที่สมาชิก ไปประจ�ำอยู่ 30 แห่ง ใน 5 สังฆมณฑล จากที่ ก ล่ า วมาทั้ ง หมด จะเห็ น ได้ ว ่ า คณะภคิ นี พ ระหฤทั ย ของพระเยซู เจ้ า ฯ ได้ พยายามตอบสนองความต้องการจ�ำเป็นของ พระศาสนจั ก รแห่งประเทศไทยในด้านการ ประกาศข่าวดีมาตั้งแต่เริ่มต้นตั้งคณะ อาศัย พระพรพิ เ ศษของคณะและการท� ำ ตามน�้ ำ พระทัยของพระเจ้าผ่านทางผู้ใหญ่ของพระ ศาสนจั ก รและการประชุ ม สมั ช ชาใหญ่ ข อง คณะที่พินิจพิจารณาสัญญาณแห่งกาลเวลา ตามสถานการณ์ ใ นขณะนั้ น และพยายาม ตอบสนองในแง่ของพระพรพิเศษของคณะเอง
ในโอกาส 350 ปี การสถาปนามิสซัง สยาม ขอโมทนาคุณพระเจ้าส�ำหรับพระพร ต่างๆ ที่คณะได้รับผ่านทางมิชชันนารีที่ยอม อุ ทิ ศ ชี วิ ต เพื่ อ น� ำ ผู ้ อื่ น มาให้ รู ้ จั ก กั บ พระเจ้ า หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อและสืบทอดมา ถึงพวกเราทุกคน ดังข้อความของพระสังฆราช ลัมแบร์ต เดอ ลาม้อต ที่บันทึกไว้ว่า “เราได้เริม่ ทอดสะพานจากยุโรปสูเ่ อเชีย ข้าพเจ้ายินดีมากทีเดียวที่จะถวายร่างกายและ กระดูกของข้าพเจ้า รวมทั้งของลูกที่รักของ ข้าพเจ้า (บรรดามิชชันนารี) ใช้เป็นเสาค�้ำยัน สะพานนัน้ ให้แข็งแรง เปิดทางให้บรรดาธรรมทูต ผูม้ ใี จกล้าหาญในอนาคตได้เดินทางผ่านข้ามไป” ขอขอบพระคุณบรรดามิชชันนารีทกุ คน พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชายหญิง รวม ทั้ ง สมาชิ ก รุ ่ นแรกๆ ที่ อุ ทิ ศ ชี วิต ในการรั บใช้ พระเจ้าตามบทบาทหน้าทีข่ องตนอย่างซือ่ สัตย์ เราซึง่ เป็นอนุชนรุน่ หลัง เราจึงต้องสืบทอดการ เป็นธรรมทูตทีเ่ ข้มแข็ง กล้าหาญ พร้อมทีจ่ ะพลี ตนเองเพือ่ ประกาศข่าวดีให้กบั ผูอ้ นื่ ทีย่ งั ไม่รจู้ กั พระเจ้า ไม่วา่ จะอยูใ่ นแห่งหนต�ำบลใด ไม่วา่ จะ พร้อมหรือไม่พร้อม ไม่วา่ จะมีบทบาทหน้าทีใ่ ด ให้เราประกาศความรักของพระเจ้า ในองค์พระ เยซูคริสตเจ้า ด้วยการเจริญชีวิตเป็นประจักษ์พยาน และยืนยันด้วยวาจาและการกระท�ำดี ด้วยความรักเมตตาในทุกโอกาส เหมือนกับที่ ประชาชนกล่าวถึงพระเยซูเจ้าว่า “คนคนนี้ท�ำ สิ่งใดดีทั้งนั้น” (มารโก 7:37) และพระวาจา อีกตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงออก ไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง...” (มารโก 16:15)
บรรณานุกรม คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ. (2558). การประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 12. _____. (2557). ประวัติคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เล่ม 1 – 2. ซีมอนา สมศรี บุญอรุณรักษา. (มปป). จากแคว้นอัลซาลสูด่ นิ แดนแห่งรอยยิม้ คุณแม่เซราฟิน เดอ มารี SPC _____. (มปป). ธรรมทูตชาวเบลเยีย่ มผูม้ ใี จอ่อนโยน คุณพ่ออาลอยส์ อัลฟองส์ ดอนต์ ค.ศ.1843- 1916. โรแบร์ต โกสเต. (2549). ประวัติการเผยแพร่คริสต์ศาสนาในสยาม ลาว. กรุงเทพฯ. วิกตอร์ ลาร์เก. (มปป). ประวัติคณะภคินีรักไม้กางเขนในมิสซังสยาม-กรุงเทพฯ 1834-1957.
(หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)
สืบสานพันธกิจแห่ง
การประกาศข่าวดี ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์
บทน�ำ ปี 2019 นี้ เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง โอกาสครบรอบ “350 ปี มิ ส ซั ง สยาม” ซึ่ ง สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ ประกาศให้ชว่ งเวลา 3 ปี (ค.ศ.2015-ค.ศ.2018) เป็ น ช่ ว งเวลาแห่ ง การฟื ้ น ฟู ชี วิ ต คริ ส ตชน คาทอลิกไทยเพื่อให้คริสตชนเไทยได้เตรียม ตัวสู่การเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ “350 ปี มิสซังสยาม” ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.2019 จะเห็นได้ว่าทุกภาคส่วนของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทยต่างก็รว่ มมือร่วมใจกัน
ด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ การเตรียมจิตใจของคริสตชนไทยโดยมุ่งฟื้นฟู ชีวิตความเชื่อทั้งในระดับส่วนตัว ครอบครัว ชุมชนวัด กลุ่มองค์กร สถานศึกษา เป็นต้น ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่พวกเราคริสตชน ไทยรวมทั้งผู้เขียนเองจะได้ใช้โอกาสนี้ในการ ฟื้นฟูชีวิตในมิติต่างๆ เพื่อให้ชีวิตคริสตชนของ เรามีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ในบทความนี้ก็จะเป็นการ พิจารณาไตร่ตรองว่ามีมติ ใิ ดบ้างทีค่ ริสตชนชาว ไทยควรจะได้ฟื้นฟูเนื่องในโอกาสการเฉลิม ฉลอง “350 ปีมิสซังสยาม”
อาจารย์อาวุโสประจ�ำศูนย์จริยธรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สืบสานพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี 59
การทบทวนประวั ติ ศ าสตร์ ข องการวาง รากฐานพระศาสนจักร หลักฐานแน่ชดั ทีช่ ใี้ ห้เห็นว่า คณะมิชชัน นารี ค ณะแรกที่ เข้ า มาในเมื อ งไทยนั้ น ไดั แ ก่ มิชชันนารีคณะโดมินิกัน 2 ท่าน คือ คุณพ่อ เยโรนิโม ดา ครูส้ (Jeronimo da Cruz) และ คุณพ่อเซบาสติอาว ดา กันโต (Sebastiao da canto) ในปี ค.ศ.1567 แต่คุณพ่อเยโรนิโม ถูกฆ่าตายเพราะความอิจฉาของคนบางกลุ่ม ในขณะที่คุณพ่อเซบาสติอาวก็ถูกท�ำร้ายจน บาดเจ็บ แต่คุณพ่อก็ได้ทูลขอพระกรุณาจาก พระมหากษัตริย์ให้ยกโทษให้แก่ผู้ที่กระท�ำผิด ต่อท่าน อีกทัง้ ยังได้ทลู ขอพระบรมราชานุญาต ให้น�ำมิชชันนารีใหม่เข้ามาเพิ่มเติมอีก 2 ท่าน และในปี ค.ศ.1569 พม่าได้บุกเข้ามาท�ำลาย กรุงศรีอยุธยาเป็นครัง้ แรก คุณพ่อทัง้ สามคนได้ ถูกพม่าฆ่าตายในขณะที่ท่านก�ำลังสวดภาวนา พร้อมกันในวัดของท่าน มิชชันนารีที่เข้ามาในประเทศสยามอีก คณะหนึง่ ได้แก่ คณะเยซูอติ ซึง่ คุณพ่อองค์แรก ที่เข้ามาในประเทศสยาม ได้แก่ คุณพ่อบัลทา ซาร์ เซเกอีรา (Balthasar Segueira) โดย เข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 19-26 มีนาคม ค.ศ.1607 ต่อมาก็ค่อยๆ มีพระสงฆ์เยซูอิตทยอย เข้ามาเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มีการจัดสร้างที่อยู่ อย่างถาวร มี วัด โรงเรียน และวิทยาลัยที่ม ี ชื่อว่า ซาน ซัลวาดอร์ (San Salvador) ขึ้น ในประเทศสยาม ในสมัยนัน้ งานแพร่ธรรมของ พวกท่านได้ถูกบันทึกโดยพวกมิชชันนารีและ
มีการจัดพิมพ์เป็นหนังสือหลายเล่ม แต่งาน แพร่ธรรมก็ยังมีอุปสรรคอยู่เสมอ อุปสรรคนั้น มีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ.1767 ซึ่งท�ำให้พวกมิชชัน นารีเหล่านี้ต้องขาดระยะการท�ำงานไป จุดเริม่ ต้นของพระศาสนจักรในประเทศสยาม คณะสงฆ์พนื้ เมืองมิสซังต่างประเทศแห่ง กรุงปารีส (M.E.P) ได้เข้ามาพร้อมพระสังฆราช เพื่อท�ำหน้าที่ปกครอง คณะสงฆ์คณะนี้ได้เป็น ผูก้ อ่ ตัง้ มิสซังสยามขึน้ อย่างเป็นทางการ โดยได้ ขออนุญาตจากทางกรุงโรมจนท�ำให้มสิ ซังสยาม เป็นมิสซังแรกของการท�ำงานของคณะนี้ด้วย พระสงฆ์คณะนี้จึงมีความส�ำคัญและมีบทบาท อย่างต่อเนื่องในมิสซังสยาม ในเวลานั้นสมเด็จพระสันตะปาปาเกร โกรีที่ 15 ได้ทรงสถาปนากระทรวงหนึ่งขึ้น เมือ่ วันที ่ 6 มกราคม ค.ศ.1622 มีชอื่ ว่า สมณ กระทรวงว่าด้วยการเผยแพร่ความเชื่อ หรือ ที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า โปรปากันดา ฟีเด (Propaganda Fide) สมณกระทรวงนี้ท�ำหน้าที่ ในการแพร่ ธ รรมโดยตรง ซึ่ ง ค� ำ ว่ า มิ ส ซั ง (Mission) ก็ถูกใช้โดยสมณกระทรวงนี้ตั้งแต่ แรกๆ เพราะค�ำว่ามิสซังหมายถึงการส่งออกไป อันได้แก่ การส่งผูแ้ ทนพระสันตะปาปา (Apostolic Vicars) ออกไปท�ำงานในนามของพระ สันตะปาปา และในขณะนั้นก็มีพระสงฆ์คณะ เยซูอติ องค์หนึง่ คือ คุณพ่ออเล็กซานเดอร์ เดอ โรดส์ (Alexandre de Rhodes) ได้ขอให้ จัดส่งพระสังฆราชไปตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อ
60 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 บวชพระสงฆ์ พื้ น เมื อ งและให้ พ วกเขาได้ ท� ำ หน้ า ที่ แ พร่ ธ รรมในหมู ่ ป ระชาชนของตนได้ ในที่สุดด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือ จากหลายๆ ฝ่าย คณะมิสซังต่างประเทศแห่ง กรุงปารีสจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1659 และเป็นผู้น�ำพระวรสารไปยังดินแดนต่างๆ ของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ และหลังจากที่ มีการแต่งตัง้ ประมุขของมิสซังต่างๆ แล้ว ต่อมา เมือ่ วันที ่ 27 ตุลาคม ค.ศ.1663 สามเณราลัย มิสซังต่างประเทศก็ได้รบั การก่อตัง้ ขึน้ อย่างเป็น ทางการทีก่ รุงปารีสเพือ่ เป็นสถานทีใ่ นการอบรม และส่งมิชชันนารีใหม่ไปยังภาคตะวันออกไกล ต่อไป การแพร่ธรรมในกรุงศรีอยุธยา สมณกระทรวงโปรปากันดา ฟีเด ได้จัด ส่งพระสังฆราชชุดแรก 3 องค์ จากพระสงฆ์ คณะนี้ให้เดินทางมาท�ำงานในฐานะผู้แทนของ พระสันตะปาปาในภูมิภาคตะวันออกไกลเป็น ชุดแรก และทีจ่ ริงแล้ว พระสังฆราชแต่ละองค์ นัน้ ถูกก�ำหนดให้เป็นผูแ้ ทนพระสันตะปาปาของ ประเทศจีน โคจินจีนและตังเกี๋ยเป็นหลัก แต่ ประเทศเหล่านั้นก�ำลังมีการเบียดเบียนศาสนา อย่างหนักจนไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้อย่าง เด็ดขาด บรรดาพระสังฆราชจึงต้องหยุดรออยู่ ที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อรอคอยให้เหตุการณ์ต่างๆ ดีขนึ้ เสียก่อนจึงค่อยเดินทางต่อไป บรรดาพระ สั ง ฆราชและมิ ช ชั น นารี ม องเห็ น ว่ า ประเทศ สยามเป็นประเทศที่สงบสุขและมีความเอื้อ อาทรแก่ศาสนาต่างๆ อีกทั้งพระมหากษัตริย์
ของประเทศสยามก็มีท่าทีที่เป็นมิตร จึงตัดสิน ใจอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อใช้เป็นฐานในการเดิน ทางต่อไป และในเวลาเดียวกันก็เริ่มประกาศ เทศนาพระวรสารไปด้วย พระสั ง ฆราชลั ง แบรด์ เดอ ลาม็ อ ต (Lambert de la Motte) เป็นพระสังฆราช องค์แรกที่มาพร้อมกับ คุณพ่อยัง เดอ บูร์ช (Jean de Bourges) และคุ ณ พ่ อ เดดี เ อร์ (Deydier) โดยเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมือ่ วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1662 ต่อมาอีก 2 ปี พระสังฆราชฟรังซัว ปัลลือ (Francois Pallu) กับคุณพ่อหลุยส์ ลาโน โน (Louis Laneau) คุ ณ พ่ อ แฮงค์ (Hainques) คุ ณ พ่ อ แบรงโด (Brindeau) และฆราวาสผูช้ ว่ ยคนหนึง่ ชือ่ เดอ ชาแมสซอง ฟัวซี (De Chamesson Foissy) ก็ได้เดินทางมาถึงประเทศสยามเช่นเดียวกัน เมือ่ วันที ่ 27 มกราคม ค.ศ.1664 เมือ่ พวกท่าน มาถึงกรุงศรีอยุธยานัน้ มีพระสงฆ์มชิ ชันนารีชาว โปรตุเกส 10 องค์ ชาวสเปน 1 องค์ อยู่ใน สยามและมีคริสตชนทั้งหมดประมาณสองพัน คน ในวันที ่ 13 กันยายน ค.ศ.1669 กรุงโรม ก็ได้ตั้งมิสซังสยามขึ้นมาด้วยเอกสารทางการที่ ชือ่ ว่า “Specculatores” และผูแ้ ทนของพระ สันตะปาปาผู้ท�ำหน้าที่ดูแลมิสซังใหม่นี้ก็คือ พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ผูซ้ งึ่ ได้รบั การแต่งตัง้ และอภิเษกเป็นพระสังฆราช โดยพระสังฆราช ทั้งสองข้างต้น ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1674 ดังนั้น พระสังฆราชลาโนจึงเป็นพระสังฆราช องค์แรกของมิสซังสยาม
สืบสานพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี 61
มิสซังสยามมีความเจริญก้าวหน้ามากใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ค.ศ.1657ค.ศ.1688) พระองค์ทรงให้อสิ รภาพในการเผย แพร่ศาสนาแก่บรรดามิชชันนารี งานส�ำคัญๆ ที่พวกมิชชันนารีฝรั่งเศสได้ท�ำเช่น ก่อตั้งบ้าน เณรหรือวิทยาลัยกลางขึน้ ในปี ค.ศ.1665 และ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการองค์แรกของ วิทยาลัยก็คือ คุณพ่อลาโน นอกจากนี้ยังได้มีการก่อตั้งโรงพยาบาล ขึ้นในปี ค.ศ.1669 และการแพร่ธรรมได้ขยาย ไปตามสถานที่ แ ละเมื อ งต่ า งๆ เช่ น อยุ ธ ยา ละโว้ พิษณุโลก บางกอก ตะนาวศรี เกาะถลาง (ภูเก็ต) และตะกั่วทุ่ง เป็นต้น มีกลุ่มคริสตชน ใหม่ๆ เกิดขึ้น มีการสร้างโบสถ์ที่สวยงามตาม ทีต่ า่ งๆ มีจำ� นวนผูร้ บั ศีลล้างบาปเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ บรรดามิชชันนารี นอกจากจะสอนค�ำสอนแล้ว ยังต้องท�ำหน้าที่เป็นครูสอนคริสตชนใหม่ให้ อ่านและเขียนภาษาไทยและภาษาลาตินด้วย สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้การสนับสนุน พวกมิชชันนารีมาก ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้พระสังฆราชและมิชชันนารีเข้าเฝ้า อย่างสง่า ได้พระราชทานที่ดินส�ำหรับสร้างวัด และโรงเรี ย น ในที่ สุ ด ประเทศสยามก็ ไ ด้ มี สั ม พั น ธ์ ท างการฑู ต กั บ ฝรั่ ง เศสและกรุ ง โรม ได้มีการส่งคณะฑูตอัญเชิญพระราชสาสน์ไป เจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและ กรุ ง โรม การที่ ส มเด็ จ พระนารายณ์ ท รงมี พระทั ย เมตตาต่ อ บรรดามิ ช ชั น นารี ท� ำ ให้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 รวมทั้งฑูตของพระเจ้า หลุ ย ส์ ที่ 14 เข้ า ใจว่ า สามารถท� ำ ให้ ส มเด็ จ
พระนารายณ์กลับใจได้ ประกอบกับขุนนางไทย เริ่มหวั่นเกรงอิทธิพลของขุนนางชาวกรีกซึ่ง เป็นทีโ่ ปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ทชี่ อื่ คอนสแตนติ น ฟอลคอน (Constanttine phalcon) ที่มีอ�ำนาจควบคุมทหารได้ จะท�ำ ให้ความมั่นคงของประเทศสั่นคลอนได้ ดังนั้น พระเพทราชาจึงท�ำรัฐประหารขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์ แล้วขับไล่พวกฝรั่งเศสออกจาก ประเทศรวมทั้ ง เบี ย ดเบี ย นศาสนาของชาว ฝรัง่ เศส นัน่ คือ เบียดเบียนพวกมิชชันนารีและ ผู้ที่นับถือคริสตศาสนาซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ในช่วง ค.ศ.1688-1690 การแพร่ ธ รรมของพวกมิ ช ชั น นารี ประสบปัญหาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าท้ายสระ (ค.ศ.1709-1733) ในเวลานั้น พระสังฆราช และบรรดามิชชันนารีถูกห้ามไม่ให้ออกนอก พระนคร ห้ามใช้ภาษาไทยและบาลีในการสอน ศาสนา ข้อห้ามต่างๆ เหล่านี้ถูกจารึกลงใน แผ่ น ศิ ล าและตั้ ง ไว้ ห น้ า วั ด นั ก บุ ญ ยอแซฟ อยุธยา จนมาถึงปี ค.ศ.1767 ทหารพม่าได้ บุ ก เข้ า มาท� ำ ลายกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาครั้ ง ที่ ส อง พระสังฆราชบริโกต์ถูกจับและถูกน�ำตัวไปพม่า วัดนักบุญยอแซฟถูกเผาและบ้านเณรถูกปล้น คริสตังบางคนถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย บาง พวกหนีเอาตัวรอดไปตามที่ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ มีผลกระทบต่อคริสตศาสนาจนท�ำให้การเผย แพร่พระวรสารเกือบสิ้นสุดลง หลั ง จากสมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น ทรง กอบกู้เอกราชคืนมาในปี ค.ศ.1768 และทรง สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว คุณพ่อ
62 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 กอรร์ (Corre) ซึ่งลี้ภัยไปอยู่ที่เขมรได้เดินทาง กลับเข้ามาในประเทศไทยและรวบรวมคริสตัง ที่บางกอกจ�ำนวน 400 คน ให้มาอยู่รวมกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงพระราชทานทีด่ นิ แปลงหนึ่งส�ำหรับสร้างโบสถ์ คุณพ่อกอรร์ได้ ตั้งชื่อว่า “วัดซางตาครู้ส” งานเผยแพร่พระ วรสารได้เริ่มขึ้นใหม่อีกครั้ง จ�ำนวนคนกลับใจ และรับศีลล้างบาปได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ เป็ น ชาวจี น และนี่ คื อ เหตุ ผ ลที่ ท� ำ ให้ บ รรดา มิชชันนารีต้องเรียนรู้ภาษาจีนด้วย นอกจาก การเรียนรู้ภาษาไทย การแพร่ธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ เริ่ ม ต้ น ปี ค.ศ. 1782 สถานการณ์ตา่ งๆ เริม่ ดีขนึ้ แม้วา่ สมเด็จ พระเจ้าตากสิน (ค.ศ.1768-1782) จะได้ขบั ไล่ พวกมิชชันนารีออกนอกประเทศด้วยเหตุผล บางประการก็ตาม ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่1 ก็ได้เชิญพระสังฆราช กูเดและบรรดามิชชันนารีกลับเข้ามาอีกครั้ง ใน ค.ศ.1785 เมือ่ กองทัพไทยกลับจากกัมพูชา และเวียดนามก็ได้น�ำคริสตชนโปรตุเกสจาก กัมพูชามา 450 คน พร้อมชาวกัมพูชาอีก 100 คน นอกจากนีย้ งั มีคริสตชนอีก 250 คนทีล่ ภี้ ยั ทางตอนเหนื อ ของกั ม พู ช า คริ ส ตั ง จ� ำ นวน ดังกล่าวได้มาตั้งรกรากที่วัดคอนเซปชัญ ในสมั ย พระสั ง ฆราวการ์ โ นลต์ (Garnault 1786-1811) ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที ่ วั ด ซางตาครู ้ ส ซึ่ ง โรงพิ ม พ์ นี้ ไ ด้ พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ค�ำสอนทีเ่ ป็นหนังสือเล่มแรกทีพ่ มิ พ์ในประเทศ สยาม
บุคคลที่มีชื่อเสียงมากในมิสซังสยามใน ช่วง ค.ศ.1841-1862 คือ พระสังฆราชปัลเลอ กัว ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถสูง ในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และด้าน ภาษาต่างๆ ท่านประจ�ำอยู่ที่วัดคอนเซปชัญ ซึ่งใกล้กับวัดราชาธิวาส อันเป็นวัดที่เจ้าฟ้า มงกุฏ (รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชอยู่ ท่านได้มี โอกาสถวายการสอนภาษาลาตินแด่พระองค์ และพระองค์ ก็ ท รงสอนภาษาบาลี แ ก่ ท ่ า น ความสั ม พั น ธ์ ที่ แ น่ น แฟ้ น กั บ เจ้ า ฟ้ า มงกุ ฏ นี ้ ช่วยให้ท่านสามารถเทศน์สอนศาสนาได้โดย เสรี ในเวลาต่อมาพระสังฆราชปัลเลอกัวได้ จัดท�ำพจนานุกรมเป็นภาษาต่างๆ ถึง 4 ภาษา ซึ่งท่านใช้เวลาในการท�ำถึง 10 ปี ด้วยความ มานะพยายามของท่าน ซึ่งหนังสือนี้มีคุณค่า มหาศาลต่อประวัตศาสตร์ชาวไทยโดยเฉพาะ ในเรือ่ งของภาษาศาสตร์ นอกจากนีท้ า่ นยังแต่ง หนังสืออีกหลายเล่ม ทั้งหนังสือค�ำสอนและ หนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อไวยากรณ์ไทย หลังจากสมัยพระสังฆราชปัลเลอกัวแล้ว มิสซังสยามก็มคี วามเจริญก้าวหน้ามากขึน้ ตาม ล�ำดับ เห็นได้อย่างชัดเจนในสมัยพระสังฆราช ดือปองด์ (Dupond ค.ศ.1865-1872) จะเห็น ว่ า มี จ� ำ นวนคริ ส ตชนเพิ่ ม มากขึ้ น ทุ ก แห่ ง เนื่ อ งจากพระสั ง ฆราชดื อ ปองด์ เ ป็ น ผู ้ ที่ มี ความกระตือรือร้นและสามารถพูดภาษาสยาม และภาษาจี น พื้ น เมื อ งได้ ดี ท่ า นจึ ง สามารถ ท�ำงานในท่ามกลางชาวสยามและชาวจีนได้ด ี มีการกลับใจมากมายโดยเฉพาะในบรรดาชาว จีน เมื่อพระสังฆราชดือปองด์ถึงแก่มรณภาพ
สืบสานพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี 63
ในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.1872 มิสซังสยาม มีจำ� นวนคริสตชนถึง 10,000 คน มีมชิ ชันนารี ชาวยุ โรปจ� ำ นวน 20 องค์ และมี พ ระสงฆ์ พื้นเมือง 8 องค์ ในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคของการน�ำความ รู้ใหม่ๆ ทางตะวันตกมาใช้ ในสมัยเดียวกันนี้ พระสังฆราชยัง หลุยส์ เวย์ (Jean Louis Vey ค.ศ.1875-1909) เป็นผู้ปกครองมิสซังสยาม ท่านได้ก่อตั้งโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ก่อตั้ง วิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ และท่านได้เชิญ คณะนักบวชต่างๆ เข้ามาท�ำงาน เช่น คณะ แซงต์โมร์ คณะเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร คณะ เซนต์คาเบรียลให้เข้ามาช่วยงานในมิสซัง มีการ พิมพ์หนังสือขึ้นเพื่อใช้สอนศาสนาจ�ำนวนมาก ท่านได้แต่งหนังสือขึน้ มาหลายเล่มและส่งเสริม ให้บรรดามิชชันนารีแต่งหนังสือเพิ่มขึ้นด้วย ในช่วงสมัยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส (RenePerros ค.ศ.1909-1947) และในสมัย พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง (Louis Chorin ค.ศ.1947-1965) นอกจากจะมีวดั และโรงเรียน เพิ่มขึ้นมากมายแล้ว ยังมีคณะนักบวชต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามาท�ำงานกันอย่างมากมาย หลายคณะ เช่น คณะอูรสุลิน เข้ามาในปี ค.ศ. 1924 ได้ จั ด ตั้ ง โรงเรี ย นมาร์ แ ตร์ เ ดอี และ โรงเรียนวาสุเทวีทกี่ รุงเทพฯ และจัดตัง้ โรงเรียน เรยีนาเชลีที่เชียงใหม่ ต่อมาในปี ค.ศ.1925 ภคินีคณะคาร์เมไลท์ก็ได้เดินทางเข้ามาท�ำงาน ในด้านต่างๆ ส่วนคณะซาเลเซียนก็เข้ามาในปี ค.ศ.1927 เป็นต้น การเข้ามาของคณะนักบวช
ต่างๆ เหล่านี้ ท�ำให้งานในด้านการศึกษามี ความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว บทบาทของมิ ช ชั น นารี ใ นการมี ส ่ ว นร่ ว ม พัฒนาสังคมไทย จากการย้ อ นกลั บ ไปทบทวนถึ ง จุ ด เริ่มต้นและการเจริญเติบโตของมิสซังสยาม ซึง่ เริม่ ต้นก่อตัง้ ขึน้ ในปี ค.ศ.1669 เราจะพบว่า การแพร่ธรรมของบรรดามิชชันนารีในอดีตนั้น ด�ำเนินไปอย่างช้าๆ และมีความยากล�ำบาก บางครัง้ ทีก่ จิ การก�ำลังด�ำเนินไปด้วยดีแต่กต็ อ้ ง มาหยุดชะงักหรือพังทลายจนหมดสิน้ ตัวอย่าง เช่น ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์ ทรงให้การสนับสนุนในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ เป็นอย่างดีท�ำให้งานการแพร่ธรรมในช่วงนั้น ด� ำ เนิ น ไปได้ ดี ม าก และพระองค์ ก็ ไ ด้ ท รง พระราชทานที่ดินส�ำหรับการสร้างวัด บ้านพัก บ้านเณร โรงพยาบาล และอื่นๆ ท�ำให้คริสต์ ศาสนาในประเทศสยามมีความเจริญก้าวหน้า เป็นอย่างมาก มีคนกลับใจเป็นจ�ำนวนไม่น้อย แต่ในช่วงรัชสมัยต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ นัน้ บรรดามิชชันนารีถกู เข้าใจผิด คริสต์ศาสนา ถูกเบียดเบียน จนท�ำให้งานแพร่ธรรมต้องหยุด ชะงักไประยะหนึง่ และนอกจากนัน้ ในช่วงเวลา ต่อมาประเทศสยามก็ถูกพม่าโจมตีจนเสียกรุง ไปเมือ่ ค.ศ.1767 ท�ำให้ทงั้ วัด บ้านพัก พระสงฆ์ ตลอดจนบ้ า นเณรถู ก พม่ า เผาจนวอดวาย บรรดาคริ ส ตชนต้ อ งหนี ก ระจั ด กระจายไป อีกทัง้ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสัตบุรษุ หลาย คนก็ถูกจับไปเป็นเชลยที่พม่า ท�ำให้งานแพร่
64 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ธรรมและผลงานที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งเวลากว่ า 200 ปี ที่ผ่านมาตั้งแต่คริสต์ศาสนาได้เริ่มเข้า มาในประเทศสยามต้ อ งสู ญ เสี ย ไปจนหมด กระนั้นก็ดีเราก็ได้เห็นแล้วว่าบรรดามิชชันนารี ก็ไม่เคยย่อท้อ พวกท่านต่างก็เริม่ ต้นท�ำกันใหม่ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย พระสังฆราชผู้เป็น ประมุของค์หนึ่งจากไปก็จะมีพระสังฆราชองค์ ใหม่เข้ามารับสานงานต่ออย่างต่อเนื่อง แม้จะ เป็นช่วงวิกฤติทสี่ ดุ ของชีวติ การแพร่ธรรมก็ตาม เราได้เห็นแล้วว่าตลอดประวัติศาสตร์ ของมิสซังสยาม แม้วา่ อาจจะมีบางช่วงทีค่ ริสต์ ศาสนาถู ก เบี ย ดเบี ย นแต่ บ รรดามิ ช ชั น นารี ก็ไม่เคยย่อท้อต่อเหตุการณ์ที่เลวร้ายเหล่านั้น ในทางตรงกันข้ามสิ่งเหล่านั้นกับท้าทายพวก เขาให้ พ ยายามที่ จ ะสร้ า งความมั่ น คงให้ กั บ พระศาสนจักรในประเทศสยามต่อไป และใน ทีส่ ดุ จนถึงปัจจุบนั นี ้ เราก็ได้เห็นถึงความมัน่ คง ของพระศาสนจักรในประเทศสยามที่มีถึง 11 สังฆมณฑล อันได้แก่ กรุงเทพฯ ท่าแร่-หนอง แสง จันทบุร ี เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา นครสวรรค์ ราชบุร ี สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี และอุดรธานี จ�ำนวนสังฆมณฑลทีเ่ พิม่ ขึน้ นัน้ จึง เป็นเครือ่ งหมายทีแ่ สดงถึงการเจริญเติบโตของ พระศาสนจักรในประเทศสยาม จากการศึกษาประวัตศิ าสตร์มสิ ซังสยาม ยังท�ำให้เราทราบอีกว่า การเผยแพร่ศาสนาของ บรรดามิชชันนารีนั้นจะมาพร้อมกับกิจเมตตา และกิจการต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต่อคริสตชนเองและต่อชาวไทยด้วย ไม่ว่า จะเป็นงานด้านการศึกษา การช่วยเหลือคน
ยากไร้ คนเจ็บป่วย งานด้านการดูแลเยาวชน งานเมตตาจิ ต เป็ น ต้ น โดยได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง โรงเรียน การจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นมา ดังนั้น การท�ำงานของบรรดามิชชันนารีจึงมีผลดีต่อ คนทีอ่ ยูร่ อบข้าง ในด้านของการน�ำความรูส้ มัย ใหม่และวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาใช้ในชีวิต ประจ�ำวัน ดังนัน้ จึงอาจกล่าวได้วา่ ความเจริญ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งก็เกิดขึ้นเพราะ วิสัยทัศน์ของบรรดามิชชันนารี คริสตชนกับพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี จากประวัติศาสตร์มิสซังสยามท�ำให้เรา ได้เห็นถึงหัวใจรักที่ยิ่งใหญ่ของบรรดามิชชันนารี ทั้งนี้ก็เพราะว่า การเดินทางมาแพร่ธรรม ของมิชชันนารีในช่วงแรกเริ่มโดยเฉพาะของ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสนัน้ จะเต็ม ไปด้ ว ยอุ ป สรรคและความยากล� ำ บาก ต้ อ ง เผชิ ญ กั บ ภยั น ตรายจากการเดิ น ทางและ ต้องเสี่ยงกับความตายเป็นอย่างมาก นั่นคือ มีมิชชันนารีเดินทางออกมายังประเทศสยาม สามกลุ่มซึ่งรวมแล้ว มีจ�ำนวน 17 คน แต่มา ถึงสยามเพียง 9 คน และเสียชีวิตกลางทาง 8 คน ซึ่ ง พระคุ ณ เจ้ า ปั ล ลื อ ก็ ไ ด้ เขี ย นใน จดหมายฉบับหนึ่งเอาไว้ว่า “เราได้เริ่มทอด สะพานระหว่างยุโรปกับเอเชีย ข้าพเจ้าจะ ยินดีมากทีเดียวที่ถวายร่างกายและกระดูก ของข้าพเจ้า รวมทัง้ ของลูกที่รักของข้าพเจ้า (มิชชันนารี) ใช้เป็นเสาให้สะพานนัน้ แข็งแรง เพื่อเปิดทางเตรียมให้มิชชันนารีใจกล้าจะได้ ผ่านในอนาคตต่อไป”
สืบสานพันธกิจแห่งการประกาศข่าวดี 65
เราจะเห็ น ได้ ว ่ า เมื่ อ 350 ปี ที่ แ ล้ ว ได้มคี นต่างชาติ ต่างภาษา ทีพ่ วกเราไม่เคยรูจ้ กั เขามาก่อน พวกเขายอมทิ้งบ้านเกิดเมืองนอน ยอมทิ้งญาติพี่น้องของเขาเดินทางเสี่ยงความ ตายมาทีป่ ระเทศสยามของเรา ระหว่างการเดิน ทางพวกเขาก็ ยั ง ต้ อ งเผชิ ญ กั บ อั น ตรายและ โรคภัยต่างๆ อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างยาก ล�ำบาก โดยเฉพาะอากาศและอาหารการกิน ซึ่งแตกต่างไปจากบ้านเกิดเมืองนอนของพวก เขาอย่างสิ้นเชิง มีบางคนอาจจะเคยตั้งค�ำถาม ด้วยความสงสัยว่า บรรดามิชชันนารีเหล่านั้น รู้หรือไม่ว่า ในการเดินทางมายังประเทศสยาม นี้มีความเสี่ยงต่อชีวิต และมีโอกาสที่จะต้อง ตายด้วย ค�ำตอบก็คือพวกเขารู้และพวกเขาก็ พร้อมทีจ่ ะสละชีวติ เพือ่ ทีจ่ ะประกาศและยืนยัน ในสิง่ ทีพ่ วกเขาเชือ่ และศรัทธา พวกเขาต้องการ ประกาศถึงพระเยซูคริสตเจ้าให้พวกเราทุกคน ที่ยังไม่รู้จักพระเจ้า ไม่รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า และยั ง ไม่ เ คยได้ ยิ น ข่ า วดี ห รื อ พระวรสาร จะได้รู้จัก ได้เชื่อ และศรัทธาอย่างที่พวกเขา เชือ่ และศรัทธา เพือ่ ทีพ่ วกเราจะได้เอาตัวรอด ไปสวรรค์ได้ คริสตชนทุกคน โดยอาศัยศีลล้างบาป ย่ อ มมี ส ่ ว นร่ ว มในชี วิ ต แห่ ง พระตรี เ อกภาพ โดยได้กลายเป็นบุตรของพระบิดาเจ้าและเป็น ส่วนหนึ่งของพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้าและเป็นพระวิหารของพระจิตผูท้ รงบันดาล ให้เข้าไปมีสว่ นร่วมในชีวติ ของพระเยซูคริสตเจ้า ดังนัน้ คริสตชนทุกคนจึงเป็นศิษย์ของพระเยซู
คริสตเจ้าด้วยการด�ำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับ ความเชื่อ ด้วยการปฏิบัติตามพระวาจาของ พระเจ้า เป็นประจักษ์พยานด้วยชีวติ และส�ำนึก ถึ ง บทบาทที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ในการประกาศข่ า วดี ตามพระบั ญ ชาของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ที่ ว ่ า “ท่านทัง้ หลายจงไปสัง่ สอนนานาชาติให้มาเป็น ศิษย์ของเรา” (มธ.28:19) พระศาสนจักรเป็นเครือ่ งหมายและเป็น เครื่องมือแห่งความรอดของมนุษยชาติ โดย ผ่านทางพระศาสนจักร พระเยซูคริสตเจ้าได้ มอบหมายพันธกิจในการประกาศพระวรสารให้ กับบรรดาคริสตชนทีม่ คี วามเชือ่ ดังนัน้ คริสตชน ทุกคนจึงต้องรักษาความเชื่อของตนให้มีชีวิต ชี ว าอยู ่ เ สมอ ด้ ว ยการเข้ า ร่ ว มพิ ธี บู ช าขอบ พระคุณและการเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ในวัด และจะต้ อ งท� ำ ให้ ค วามเชื่ อ นี้ เ ติ บ โตและ แข็ ง แกร่ ง ขึ้ นด้ วยการอ่ า นพระคั ม ภี ร ์ เ พราะ พระคัมภีร์จะช่วยให้คริสตชนได้รู้จักและเข้าใจ ถึงความรักของพระเจ้าที่เผยแสดงในประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น คริสตชนสามารถประกาศข่าวดีเกีย่ วกับ พระเยซูคริสตเจ้าได้ในทุกๆ สิง่ ทีเ่ ราพูดและเรา กระท�ำ ดังเช่น บรรดาอัครสาวกทีไ่ ด้รบั พระจิต เจ้ า ในวั น เปนเตกอสเต พวกเขาได้ อ อกไป ประกาศพระวรสารให้กบั ผูท้ ไี่ ม่รจู้ กั กับพระเยซู คริสตเจ้า ดังนั้นพันธกิจในการประกาศข่าวดี ของคริสตชนจึงต้องอาศัยความกล้าหาญและ แสงสว่างจากองค์พระจิตเจ้า
66 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 บทสรุป ประวัติศาสตร์มิสซังสยามนั้นเริ่มต้นมา จากมิชชันนารีกลุ่มแรกที่เดินทางมาที่อยุธยา โดยธรรมทู ต คณะมิ ส ซั ง ต่ า งประเทศแห่ ง กรุงปารีส (MEP) จากนั้นก็มีมิชชันนารีและ นักบวชชาย หญิงคณะอื่นๆ ตามเข้ามา พวก เขามีความร้อนรนที่จะแพร่ธรรมอีกทั้งยังได้ อุทิศตนท�ำงานด้วยความเสียสละเพื่อก่อตั้ง พระศาสนจักรบนผืนแผ่นดินแห่งประเทศสยาม นี้
ในการเฉลิ ม ฉลอง 350 ปี แ ห่ ง การ สถาปนามิ ส ซั ง สยามนี้ จึ ง เป็ น โอกาสที่ ดี ที่ คริสตชนไทยจะได้เรียนรู้ถึงความรัก ความ ศรัทธา ความกล้าหาญ และการอุทิศตนอย่าง เสียสละของบรรดามิชชันนารีในอดีตที่ล่วงลับ ไปแล้วด้วยใจกตัญญู และให้การแพร่ธรรมที่ เริ่มต้นด้วยหัวใจแห่งความรัก และความเสีย สละอันเป็นฐานหลักของบรรดามิชชันนารีเหล่า นี้จะได้ถูกจารึกไว้ในจิตใจของลูกหลานเพื่อจะ ได้สืบทอดค�ำสั่งสอนของพระเยซูคริสตเจ้าใน แผ่นดินประเทศสยามตลอดไป
บรรณานุกรม โรแบต์ โกสเต, บาทหลวง. (2549). ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ. ส�ำนักพิมพ์แม่พระยุคใหม่. (2539). ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย. ฉะเชิงเทรา: ส�ำนักพิมพ์แม่พระยุคใหม่. สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์, บาทหลวง. ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.catholichaab.com/main/index.php/2015-09-22-02-3-59/... เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2019.
(หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)
การประกาศพระวรสาร คือ
ต้องรักและรับใช้ ในดินแดนอีสานยุคบุกเบิก
1
ธัญภรณ์ ลีก�ำเนิดไทย การฉลองครบรอบ 350 ปี มิสซังสยาม ถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะมาพิจารณา ไตร่ตรองเรือ่ งราวของคุณพ่อมิชชันนารีรว่ มกัน การเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ ความทรงจ�ำ และ เรือ่ งเล่าทีเ่ หล่าคุณพ่อมิชชันนารีทงิ้ ไว้ให้คนรุน่ หลังสามารถช่วยพวกเราให้ใช้ชีวิตในความเชื่อ ให้ดียิ่งขึ้น เดินตามพระเยซูคริสต์ให้ดียิ่งขึ้น และประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบันให้ดี ยิง่ ขึน้ นอกจากนีม้ รดกของเหล่าพ่อมิชชันนารีที่ ได้ตกทอดมาให้พวกเราเห็นกันในปัจจุบันยัง เผยให้เห็นถึงความหวัง และความฝันที่คุณพ่อ
มิชชันนารีอยากเห็นและอยากฝากไว้กับคนรุ่น หลัง แม้ว่าเรื่องราวของพ่อมิชชันนารีจะเป็น เพียงแค่เรือ่ งราวในอดีตซึง่ หลายคนอาจมองว่า ไม่อัปเดต ไม่ทันสมัย และตกยุค หากแต่ว่า เรือ่ งราวของคนในอดีตเหล่านัน้ ไม่ได้ตา่ งไปจาก ปัจจุบนั มากนัก โดยมีเพียงแค่บริบทและสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนไป อย่างที่คุณพ่อเปรโดร อารุปเป (Pedro Arrupe)2 ซึง่ เคยเป็นมิชชันนารี ในญี่ปุ่นกว่า 27 ปี ได้กล่าวในระหว่างการ ประชุมเกี่ยวกับงานมิชชันนารีในปี ค.ศ.1968 ว่า “ความรูส้ กึ ของชาวญีป่ นุ่ ทีม่ ตี อ่ พ่อแม่ และ
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจและการเงิน นักแปล นักเขียน มหาบัณฑิตด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัย รัฐศาสตร์ปารีส, อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลฝรัง่ เศสทีส่ นใจศึกษาค้นคว้าทางเทววิทยา และพยายามเป็นศิษย์ธรรมทูตตามแบบ ฉบับฆราวาสในโลกปัจจุบัน 1 บทความนี้เน้นการประกาศพระวรสารระหว่าง ค.ศ.1881-1886 ซึ่งเป็นยุคแรกของการก่อตั้งมิสซังลาว-อีสาน 2 เปรโดร อารุปเป - Pedro Arrupe (ค.ศ.1907-1991) หัวหน้าคณะเยซูอติ คนที ่ 18 ผูร้ เิ ริม่ องค์การเยสุอติ สงเคราะห์ผลู้ ภี้ ยั (Jesuit Refugee Service) และยังเคยเป็นมิชชันนารี่ในประเทศญี่ปุ่น ได้ให้สุนทรพจน์ที่กรุงเทพฯ ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะ ป่วยด้วยภาวะหลอดเลือดด�ำในสมองอุดตัน ระหว่างการเดินทางกลับไปยังกรุงโรม
68 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ปู่ย่าตายายของพวกเขานั้น เหมือนกับสิ่งที่ นักบุญฟรันซิสเซเวียร์เคยเขียนเอาไว้เมื่อ 4 ศตวรรษก่ อ น i ” แน่ น อนว่ า การพิ จ ารณา ไตร่ตรองสิ่งที่บรรดาคุณพ่อมิชชันนารีต้องการ สื่ อ นี้ ต ้ อ งอาศั ย เวลาเนื่ อ งจากข้ อ ความของ คุณพ่อธรรมทูตเหล่านี้ไม่สามารถถ่ายทอดเป็น ข้อความบนโลกออนไลน์ii อย่างบนเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือในอินสตราแกรมได้ ซึ่งเป็น ข้อความที่สั้น และสะดวกรวดเร็วเหมาะกับ ยุคสมัย ทว่าขาดน�ำ้ หนัก หากพิจารณาปัจจัยและองค์ประกอบ ต่างๆ การประกาศธรรมยุคแรกของบรรดา คุณพ่อมิชชันนารีในดินแดนอีสานที่แร้นแค้น และห่างไกลเหมือนจะเป็น “มิชชั่น: อิมพอส- ซิเบิ้ล (Mission: Impossible)” เป็นภารกิจ ที่สุดแสนจะเป็นไปไม่ได้ อุปสรรคในการเดิน ทางสภาพอากาศที่ โ หดร้ า ย ภั ย จากไข้ ป ่ า ช่องว่างทางวัฒนธรรมและภาษา ฯลฯ ต่าง ฉุดรั้งอัตราความส�ำเร็จของการแพร่ธรรมที่ เดิมทีมอี ยูร่ บิ หรี ่ นีจ่ งึ ท�ำให้เกิดค�ำถามน่าคิดว่า พวกคุณพ่อมิชชันนารีก้าวผ่านความยุ่งยาก เหล่านี้ได้อย่างไร? ยิ่งไปกว่านั้น “ไม่มีใครเคย เห็นพระเจ้าเลย” (ยอห์น 1:18) และอย่างที่ คาร์ ล ราห์ เ นอร์ (Karl Rahner) เคยพู ด พระเจ้านั้นเป็น “ปริศนาอย่างสมบูรณ์” (Absolute Mystery) แต่ถึงกระนั้นพวกคุณพ่อ
มิชชันนารียุคแรกก็สามารถชักชวนให้คนที่ไม่รู้ จั ก ไม่ เ คยเห็ น ไม่ เ คยได้ ยิ น มาฟั ง พระวาจา พระเจ้าได้...พวกคุณพ่อนั้นมีเคล็ดลับอะไร? วิธีที่ดีที่สุดส�ำหรับการหาค�ำตอบของค�ำถาม เหล่ า นี้ มี เ พี ย งแค่ ก ารสั ม ผั ส ประสบการณ์ อันล�ำ้ ค่าผ่านค�ำบอกเล่าทีป่ รากฏในบันทึกของ คุณพ่อมิชชันนารีต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นพยานชั้น หนึ่งที่คริสตชนในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ การแพร่ธรรมในภาคอีสาน-ลาวนั้นเริ่ม ขึน้ จากปณิธานของพระคุณเจ้าชอง-หลุยส์ เวย์ (Jean-Louis Vey) ซึง่ ได้เลือกคุณพ่อคอนสตองต์ โพรดอมม์ (Constant Prodhomme) ให้เป็น ผู้รับผิดชอบภารกิจการประกาศพระวรสารใน ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นมีชาวลาวอาศัยอยู่ โดยดินแดน ทางภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ นี้ ไ ด้ ร วม อาณาเขตทางฝั่งซ้ายของแม่น�้ำโขงจนไปถึง ชายแดนประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ทั้งนั้นภารกิจ ดังกล่าวรูจ้ กั กันในนาม “มิสซังลาว” (La mission Lao) การเดินทางครั้งแรกไปยังภูมิภาค อี ส านเริ่ ม ขึ้ น ในปี ค.ศ.1881 เมื่ อ คุ ณ พ่ อ โพรดอมม์ออกเดินทางพร้อมกับคุณพ่อเซวิเอร์ เกโก้ (Xavier Guégo) โดยนั่งเรือเป็นระยะ เวลา 4 วันจากกรุงเทพฯ ไปยังท่าเคียน (ปัจจุบนั ตั้งอยู่ใน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา) ก่อน ที่จะนั่งเกวียนไปยังอุบลฯ การเดินทางไปยัง
Pedro Arrupe (1968): Foi chrétienne et action missionnaire aujourd’hui in Ecrits pour évangeliser. Desclée de Brouwer Bellarmin ii Cristus vivit 195 i
ส�ำหรับพ่อมิชชันนารี่ในดินแดนอีสานยุคบุกเบิก “การประกาศพระวรสาร คือ ต้องรักและรับใช้” 69
อีสานครัง้ แรกนีใ้ ช้เวลากว่า 102 วัน เนือ่ งจาก พ่อทั้งสองไม่รู้จักเส้นทาง และไปตามเส้นทาง ทีพ่ อ่ ค้าวัวควายใช้ แต่หลังจากการเดินทางครัง้ ที่สองในปี ค.ศ.1882 และครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1883 เวลาการเดินทางระหว่างกรุงเทพ-อุบลฯ นั้นลดลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงแค่ 50 วัน บริบทยุคแรกของการประกาศข่าวดีใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น อาณาจักรสยาม ยังคงอยูภ่ ายใต้ระบบไพร่-ขุนนาง และยังไม่ตก เป็นเป้าของการล่าอาณานิคม หัวเมืองต่างๆ ยังคงมีอ�ำนาจอิสระในการบริหารตนเอง และ ด้วยเหตุนี้กฎหมายที่ทางการ (กรุงเทพฯ) ได้ ประกาศบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรจึงถูกเพิก เฉยและละเลยโดยหัวเมืองทั่วภูมิภาค การค้า ทาสยังคงมีให้เห็นอยูบ่ อ่ ยครัง้ โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ ในพืน้ ทีท่ หี่ า่ งไกล ถึงแม้วา่ จะมีกฎหมายห้าม ให้มีการซื้อขายบุคคลใดๆ ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี แล้วก็ตาม การค้าทาสได้สร้างรอยแผลในใจของ ชาวบ้านทีเ่ คยเป็นเหยือ่ ลบล้างความไว้เนือ้ เชือ่ ใจของคนในหมู่บ้านต่อคนแปลกหน้าทุกคน ที่ เข้ า มา ระหว่ า งการเดิ น ทางในภาคอี ส าน คุ ณ พ่ อ โพรดอมม์ แ ละคุ ณ พ่ อ รองเดลพบว่ า ชาวบ้านในบางหมู่บ้านต่างพากันหวาดกลัว และไม่มีท่าทีต้อนรับผู้มาเยือนต่างถิ่น “พวก
เราเข้ามายังบ้านอุโลก (Ulok) แววตาม้าของ พวกเราได้ ส ร้ า งความหวาดกลั ว ในหมู ่ บ ้ า น เหล่าผูช้ ายร้องตะโกน ในขณะทีผ่ หู้ ญิงทัง้ หลาย ต่างวิ่งหนีบันดาลผู้เป็นแม่พากันซ่อนลูกของ ตัวเองไว้ บ่อยครัง้ ทีช่ าวพม่ามาทีด่ นิ แดนแห่งนี้ โดยชาวพม่านัน้ ได้อทุ ศิ ตนเองให้กบั การค้าทาส และดูเหมือนว่าพวกเขาคิดว่าพวกเราเป็นชาว พม่าiii” และในท�ำนองเดียวกันทีห่ มูบ่ า้ นท่าโบก (Tha-Bok) “พวกเราพบว่าชาวบ้านไม่คอ่ ยอยาก ต้อนรับพวกเราซักเท่าไหร่นัก […] พวกเขาเล่า ให้พวกเราฟังว่าพวกเขาท�ำตามสัญชาตญาณiv” การค้าทาสซึ่งได้พรากคนครอบครัว และหยั่ง ลากลึกในสังคมสมัยก่อนสร้างความท้าท้าย อย่างมากให้กับเหล่าคุณพ่อมิชชันนารียุคแรก ในการสอนคริสตชนใหม่ ซึ่งในอดีตเคยเป็น ทาสมาก่อน “...การเปลี่ยนวิธีคิดและการมอง โลก [...] การปลูกฝังให้มคี วามยุตธิ รรม […] ให้ ลดความโกรธ และหยุดยัง้ ความแค้นของเหยือ่ การค้าทาสเหล่านี้ เจอแต่อุปสรรค!v” นอกจากนีย้ งั มีเรือ่ งของทรัพยากรมนุษย์ และการเงินที่สร้างความยากล�ำบากให้กับงาน ประกาศธรรม ในปี ค.ศ.1886 คุณพ่อโพรดอมม์ ส่งจดหมายไปหาพระสังฆราชเวย์ “เวลาของ พวกเราทั้งหมดตกไปอยู่กับการสอนคริสตชน ใหม่หมู่บ้านสิบหมู่บ้านรอบๆ อุบลฯ มาขอ
Au Laos; du Thibet en Chine; de Chine au Thibet, par deux missionnaires (1903). A. Mame et fils (Tours), p.32-33 iv Ibid, p.82 v Ibid, p.48 iii
70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 เข้ารีตกับข้าพเจ้า พวกเราขาดทั้งครูสอนและ เงิน”vi ยิง่ ไปกว่านัน้ คุณพ่อโพรดอมม์ พร้อมกับ คุณพ่อมิชชันนารียุคบุกเบิกต้องพบกับความ ยุ่งยากเมื่อต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ท้องถิน่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ ต้องไปศาลเพือ่ ช่วยทาสให้เป็นไท “ด้วยความเกรงกลัวชาว พม่า หนึ่งในผู้พิพากษาไม่กล้าตัดสินคดีความ นอกจากนี้ ยั ง มี เ รื่ อ งผลประโยชน์ ส ่ ว นตั ว โดยเขาได้ รั บ เงิ น ก้ อ นหนึ่ ง หลั ง จากที่ ไ ด้ ส ่ ง ตัวชายที่หลบหนีออกมาก่อนหน้านี้กลับไปหา ชาวพม่าvii” ถึงกระนัน้ เหล่าคุณพ่อมิชชันนารียคุ แรก ในอีสานก็สามารถก้าวข้ามอุปสรรคดังกล่าว และก่อตั้งหมู่บ้านคริสตชนในที่สุด โดยชาว บ้านต่างๆ ในหมูบ่ า้ นซึง่ ถูกไถ่ตวั จากพ่อค้าทาส โดยเหล่าคุณพ่อมิชชันนารี “มองว่ามิชชันนารี ว่าเป็นคนดีviii” เมื่อย้อนไปดูเส้นทางความส�ำเร็จของ คุณพ่อมิชชันนารีในการประกาศพระวรสาร อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว คุ ณ พ่ อ โพรดอมม์ แ ละคุ ณ พ่ อ มิชชันนารีคนอื่นๆ ไม่ได้มีเทคนิคอะไรพิเศษ มีเพียงแต่ความปรารถนาทีจ่ ะใช้ชวี ติ ตามอย่าง พระเยซูคริสต์นั่นก็คือ “รักและรับใช้” กล่าว
คือ การใช้ชีวิตที่พร้อมจะให้บริการและช่วย เหลื อ ผู ้ อ ยากไร้ ผู ้ ที่ ถู ก รั ง แกข่ ม เหง ผู ้ ที่ ถู ก ทอดทิ้ง ซึ่งแสดงให้ถึงความรักของพระเจ้า ดังนัน้ แม้วา่ พระเจ้าจะทรงเป็น “ปริศนาอย่าง สมบูรณ์” แต่ตราบใดทีม่ คี วามรัก พระเจ้าทรง อยู่กับเรา โดยความรักที่มีให้ต่อผู้อื่นถือว่าเป็น ความรักของพระเจ้าในตัวของมันเอง ซึ่งไม่ สามารถแยกออกจากกันได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า Deus caritas est “พระเจ้าทรงเป็นความรัก และผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นความรั ก ก็ อ ยู ่ ใ นพระเจ้ า และ พระเจ้าก็ทรงอยู่ในคนนั้น” (1 ยอห์น 4.16) และในขณะเดี ย วกั น หากไม่ มี ค วามรั ก ที่ แสดงออกเป็นรูปธรรม มันคงเป็นไปไม่ได้ที่ เหล่าคุณพ่อมิชชันนารีจะสามารถแนะน�ำให้ ผู้ที่เคยเป็นทาสหรือเหยื่อของความอยุติธรรม ในสังคมให้รจู้ กั กับพระเจ้า ทัง้ นีค้ ณ ุ พ่ออารุปเป ได้อธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบใน สังคมที่ไม่ได้มีความเชื่อใดๆ ไว้ดังนี้ว่า “คนที่ ไม่ มี ค วามเชื่ อ จะตั ด สิ น พวกเราจากวิ ถี ก าร ใช้ชีวิต และจากผลงานของพวกเราเป็นพิเศษ พวกเขาอยากรู้และอยากได้ค�ำอธิบายเกี่ยวกับ วิถีการใช้ชีวิตของพวกเรา ซึ่งส�ำหรับพวกเขา นั้นมันเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าที่จะเข้าใจได้ พวก เขาจะถามพวกเรา และให้โอกาสพวกเราพูด
Compte-rendu annuel du supérieur de Mission Siam au supérieur de Paris (1886) p.110 Georges Auguste Dabin: Origine du vicariat apostolique du Laos in Annales M.E. 1912-1920, p.227 Op. cit, p.49 viii Pedro Arrupe (1979): Notre responsabilité en présence de l’incroyance in Ecrits pour évangeliser. Desclée vi
vii
ส�ำหรับพ่อมิชชันนารี่ในดินแดนอีสานยุคบุกเบิก “การประกาศพระวรสาร คือ ต้องรักและรับใช้” 71
ถึง ‘ความใหม่ของพระวรสาส์น’ (The newness of the Gospel) ซึ่งชีวิตของชาวเรา (เหล่า คริสตชน) พยายามจะแสดงออกมาให้เห็นix” ความรักและความปรารถนาที่จะรับใช้ ของเหล่ า พ่ อ มิ ช ชั น นารี ไ ด้ แ สดงออกมาใน รูปแบบต่างๆ มากมาย ในช่วงที่เกิดปัญหา การขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ “เหล่าคุณพ่อ มิชชันนารียงั มีหน้าทีร่ บั เด็กก�ำพร้ากว่า 75 คน โดยให้อาศัยอยู่ในกระท่อมที่มีสภาพค่อนข้าง โทรม แต่สงิ่ ทีส่ ำ� คัญคือเด็กเหล่านีต้ อ้ งมีขา้ วกิน นอกจากนี้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ไม่สามารถพึ่งพาตัว เองได้กว่า 40 คน จะมารับเงิน […] เพือ่ ไปซือ้ ข้าวและผัก สถานีตำ� รวจทีอ่ บุ ลฯ ซึง่ ไม่สามารถ หาอาหารให้ เพียงพอส� ำหรับเจ้าหน้าที่และ นักโทษ ก็มาหาความช่วยเหลือทีม่ สิ ซังx” ยิง่ ไป กว่านั้นบรรดาคุณพ่อมิชชันนารี่ยังช่วยให้ทาส ที่ถูกไถ่มาทั้งหลาย ซึ่ง “ไม่มีทรัพย์สินอะไร เลย” สามารถพึ่งตัวเองได้ และกลับเข้าไปอยู่ ในสังคมได้อีกครั้ง เช่น การให้เงินบรรดาทาส ที่พึ่งเป็นไท เพื่อที่จะได้ “ออกไปซื้อข้าวด้วย เงินดังกล่าว ซึ่งพวกเขาจะน�ำข้าวกลับมาที่ อุบลฯ และเอามาขายต่อโดยให้พอมีก�ำไรเล็ก น้อยxi” หรือการให้ทดี่ นิ “ใกล้ๆ กับมิสซัง […] ทาสที่คุณพ่อช่วยไถ่ออกมาให้เป็นอิสระ […] de Brouwer Bellarmin Eustache Berthéas (1909) La Mission du Laos. Lyon xi Op. cit, p.48 xii Op. cit, p.45 xiii Maxim of Gábor Hevenesi (1656 – 1715) xiv Evangelii Nuntiandi 14 ix x
ได้สร้างกระท่อม […] และบางคนเริม่ สร้างบ้าน จากไม้ไผ่แล้วxii” โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เรียกสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นเหล่านีว้ า่ เป็นปัจจัยพืน้ ฐานของ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3T อันได้แก่ “Trabajo: งาน, Tierra: ทีด่ นิ และ Techo: บ้าน” ภายใต้ภารกิจมิสซังลาว บรรดาคุณพ่อ มิชชันนารียอมรับว่า “พวกเราไม่อาจสามารถ ฝ่ า ฟั น ความยากล� ำ บากเหล่ า นี้ ไ ปได้ หาก ปราศจากการท�ำงานหนัก และจิตใจที่ทุ่มเท สิ่ ง นี้ เ องที่ ท� ำ ให้ พ วกเราสามารถเอาชนะ อุปสรรคต่างๆ” ซึ่งส�ำหรับเหล่าบรรดาคุณพ่อ มิชชันนารี “นีค่ อื กฎข้อแรกส�ำหรับใครก็ตามที่ ลงมือปฏิบตั :ิ จงเชือ่ ในพระเจ้า จงลงมือปฏิบตั ิ ราวกับว่าทุกๆ อย่างขึ้นอยู่กับตัวเอง และไม่มี อะไรที่มาจากพระเจ้า แต่ในขณะเดียวกันจงรู้ ไว้ว่า ในความเป็นจริงไม่มีอะไรที่มาจากตัวเอง และทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระเจ้าเท่านั้นxiii” แต่ คุณพ่อทุกคนก็รู้เสมอว่า “ไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้า จะทรงกระท�ำไม่ได้” (ลูกา 1:37) และพละ ก�ำลังของพ่อแต่ละคนคือ พละก�ำลังของพระเจ้า (อสย. 29.37) นั บ ตั้ ง แต่ จุ ด เริ่ ม ต้ น ของคริ ส ตศาสนา ผู้ประกาศพระวรสาส์นเป็นที่ต้องการอยู่ตลอด “ศาสนาจักรด�ำรงอยูเ่ พือ่ ประกาศพระวรสารxiv”
72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 เพือ่ น�ำความสงบสุข และสันติให้กบั มนุษยชาติ ผ่ า นทางการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและ จิ ต วิ ญ ญาณ ทั้ ง ในระดั บ บุ ค คลและระดั บ กลุ ่ ม เพื่ อ ที่ จ ะท� ำ ให้ โ ลกนี้ มี ค วามยุ ติ ธ รรม และมีความเอื้ออาทรฉันท์พี่น้องมากขึ้น เพื่อ ที่ “พระประสงค์จงส�ำเร็จในแผ่นดินเหมือน ในสวรรค์” ส� ำ หรั บ พวกเราในยุ ค ปั จ จุ บั น “ด้ ว ย พระหรรษทานที่ได้รับจากศีลล้างบาป สมาชิก แต่ละคนของประชากรพระเจ้าเป็นสานุศิษย์ มิชชันนารี ผู้รับศีลล้างบาปแต่ละคน ไม่ว่าจะ มีหน้าที่ใดในศาสนาจักร […] ต่างเป็นคนที่ตื่น ตัวในการประกาศพระวรสาร มันไม่เพียงพอที่ จะคิดถึงเพียงแค่แผนการประกาศพระวรสาร ส�ำหรับคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ในขณะที่ ประชากรทีซ่ อื่ สัตย์คนอืน่ ๆ นัน้ เป็นเพียงแค่ผทู้ ี่ ได้รับประโยชน์จากคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เหล่านั้นxv” ทว่ า การเป็ น สานุ ศิ ษ ย์ มิ ช ชั น นารี ใ น ศตรวรรษที่ 21 ไม่มีคู่มือปฏิบัติตายตัว ไม่มี คอร์ ส ให้ เรี ย น ไม่ มี ติ ว เตอร์ มี แ ต่ เ พี ย งแนว ตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน ผ่านบันทึก ค�ำบอกเล่า หรือพยานเหตุการณ์ ซึ่งต้องน�ำไปปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันที่ ซึ่งการซื้อขายทาสไม่มีให้เห็นในสังคมไทยอีก ต่อไป ในขณะที่การสื่อสารและการคมนาคม
ขนส่งต่างๆ มีความสะดวกรวดเร็วมากกว่าแต่ ก่อน ถึงกระนัน้ จากประสบการณ์ของคุณพ่อ มิ ช ชั น นารี ยุ ค บุ ก เบิ ก ในอี ส าน สิ่ ง ที่ ยั ง คงไม่ แปลเปลี่ยน และอยู่เหนือการเวลา ซึ่งพวกเรา ทุกคนในฐานะผู้ประกาศข่าวดีสามารถน�ำมา ใช้ได้นั้น คือ “ความรักและการรับใช้” โดย ทั้ ง สองสิ่งนี้จ�ำเป็นต้องอาศัยสิ่งอื่นประกอบ อีก 3 อย่าง อันได้แก่ 1. ความคิดสร้างสรรค์ 2. การสวนกระแส 3. ความกล้าที่จะเสี่ยง 1. ความคิดสร้างสรรค์: การดัดแปลง ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และ การแก้ปญ ั หาเฉพาะหน้าล้วนมีให้เห็นอยูต่ ลอด ระหว่างการประกาศธรรม พ่อซาวิเอ้ร์ได้เล่า ว่า “...ข้าพเจ้านัน้ ลืมมุง้ กันยุง ข้าพเจ้าพยายาม นอน แต่ยงุ ไม่อยากให้นอน... ประมาณตีหนึง่ ... ข้ า พเจ้ า ได้ คิ ด ค้ น วิ ธี สุ ด ท้ า ย: ข้ า พเจ้ า สวม กางเกงสามชั้น เสื้อสามชั้น ข้าพเจ้าใส่ถุงเท้า พร้อมกับน�ำถุงเท้ามาใส่ที่มือด้วย ข้าพเจ้าเอา ผ้าโพกขนาดใหญ่มาพันหัว เหลือแค่ตรงจมูก และปาก [...] และข้าพเจ้าก็หลับ” 2. การสวนกระแส: “คริสตชนคือชาย หญิงที่เดินสวนกระแสxvi” สวนทางกับตรรกะ ของโลกทีซ่ งึ่ ความไม่ยตุ ธิ รรม และความเห็นแก่ ตัวเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมที่การซื้อขายทาส ยังคงมีให้เห็น แม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามการค้า
Evangelii Gaudium 120 Pope Francis: General Audience at St.Peter’s Square, 28 June 2017
xv
xvi
ส�ำหรับพ่อมิชชันนารี่ในดินแดนอีสานยุคบุกเบิก “การประกาศพระวรสาร คือ ต้องรักและรับใช้” 73
ทาสในประเทศสยาม เหล่าคุณพ่อมิชชันนารีที่ พยายามช่วยทาสให้เป็นไท โดยช่วยคุ้มครอง ปกป้องสิทธิของพวกเขา แม้วา่ จะต้องเผชิญกับ ผู้พิพากษาที่มีความคิดที่แตกต่าง แน่นอนว่า พ่อมิชชันนารี “ต่างถิน่ ” เหล่านีไ้ ด้สร้างศัตรูไว้ พอสมควร ทั้งนี้ในตอนที่พระเยซูส่งบรรดา สาวกออกไป พระเยซูบอกอย่างชัดเจนว่าการ ประกาศอาณาจักรของพระเจ้าจะต้องเจอกับ แรงต่อต้านคัดค้านอยู่เสมอ (มธ. 10, 17-23) 3. กล้าที่จะเสี่ยง: การออกเดินทางโดย ไม่รเู้ ส้นทาง และต้องฝ่าป่าฝ่าเขาต่างๆ จ�ำเป็น ต้องอาศัยความกล้าหาญ ระหว่างทางที่ไปยัง อุบลฯ เหล่าคุณพ่อธรรมทูตเล่าว่า “มีก�ำแพง หินขนาดใหญ่อยู่ทั้งด้านหน้าและด้านซ้ายมือ ส่วนด้านขวามือก็เป็นห้วย พวกเราค้นหาเส้น ทางอืน่ อย่างไร้ผล ในขณะทีพ่ วกเราเจอกับทาง ตัน พวกเราจ�ำเป็นต้องลองเสี่ยงเพื่อที่จะหา ทางออก โดยพวกเราปีนขึ้นไปบนก�ำแพงหิน จากทางฝั่งที่เป็นล�ำธาร วัวต่างๆ ปีนขึ้นบน ก�ำแพงอย่างยากล�ำบาก และมีวัวสี่ตัวกลิ้งตก ก�ำแพงหินอย่างน่าหวาดเสียว […] พวกเราวาง ชิ้นส่วนต่างๆ ของเกวียน ไว้บนก้อนหินขนาด ใหญ่ ในขณะที่ล้อเกวียนได้ถูกวางไว้ใกล้กับ เหว” แต่ท้ายที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี
Teilhard de Chardin (1968) Le prêtre
xvii
บรรดาคุณพ่อมิชชันนารีไม่ว่าจะเป็น คุณ พ่อ โพรดอม หรือ คุ ณพ่อ ซาวิ เอร์ ต ่า งน�ำ คุ ณ สมบั ติ ทั้ ง สามเหล่ า นี้ อ อกมาใช้ ร ะหว่ า ง ภารกิ จ และดู เ หมื อ นว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ มิ ช ชั น นารี ทุ ก คนได้ เ ผยให้ เ ห็ น ระหว่ า งการ ประกาศพระวรสารในดิ น แดนต่ า งๆ ตั้ ง แต่ ในอดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ไม่ ว ่ า จะเป็ น นั ก บุ ญ ฟรั น ซิ ส ซาเวี ย ร์ หรื อ มาเตโอ ริ ช ชี่ ที่ อ อก ประกาศข่ า วดี ใ นทวี ป เอเชี ย เมื่ อ ราวๆ 4 ศตวรรษก่อน เป็นที่แน่นอนว่าไม่มีใครเคยรู้ล่วงหน้า ว่าการออกไปประกาศข่าวดีจะลงเอยอย่างไร แม้กระทั่งตัวคุณพ่อมิชชันนารีเองในสมัยนั้น คริสตชนแต่ละคนรู้เพียงว่าต้องท�ำสิ่งตัวเอง สามารถท�ำได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วผลลัพท์นั้น ขึน้ อยูก่ บั พระเจ้า ซึง่ ทรงเป็นแรงผลักดันให้กา้ ว ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ อยูใ่ นสถานการณ์ ที่ ย ากล� ำ บาก ทั้ ง นี้ เ รื่ อ งราวของคุ ณ พ่ อ โพรดอมม์ คุ ณ พ่ อ ซาวิ เ อ้ ร ์ คุ ณ พ่ อ รองเดล และบรรดาคุณพ่อมิชชันนารีในมิสซังอีสาน ยุ ค แรก ได้ เ ผยให้ เ ห็ นว่ า การเป็ นผู ้ ประกาศ พระวรสารนั้น สิ่งแรกที่ต้องท�ำคือ “ต้องรัก และรับใช้” พร้อมกับกล้าที่จะท�ำสิ่งใหม่ๆ ซึ่ง รวมไปถึงความพยายามทีจ่ ะ “เป็นคนแรกทีร่ บั รู้ถึงสิ่งที่โลกนี้ชอบ สิ่งที่ท�ำให้โลกนี้ต้องเจ็บ ปวดทรมาน [...] เป็นคนแรกที่ยอมเสียสละ ตนเอง...xvii”
(หมวดแพร่ธรรม)
แบ่งปันประจักษ์พยานชีวิต
ศิษย์พระคริสต์ ศิษย์ธรรมทูต รติ พรหมเด่น : เรียบเรียง
บทความนี้เรียบเรียงจากการแบ่งปันประสบการณ์ ชีวิตฆราวาสธรรมทูต ในงานวันชุมนุม คนแพร่ธรรม “ศิษย์พระคริสต์ ศิษย์ธรรมทูต โอกาสฉลองครบรอบ 350 ปี การสถาปนามิสซังสยาม เมื่ อ วั น ที่ 17 สิ ง หาคม ค.ศ.2019 ณ ห้ อ งประชุ ม Lux Mundi วิ ท ยาลั ย แสงธรรม โดยมี เรื่องราวที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ โรซา อารี ตั้งฤทัยวานิชย์ (อาสาสมัครธรรมทูต) ดิฉันเคยเป็นพุทธมาก่อน ล้างบาปในปี อบรมสั่งสอนลูกอย่างไรถ้าฝ่ายหนึ่งสั่งสอน 2018 และแต่งงานในปีเดียวกัน โดยมีเหตุผล แบบพุทธ ฝ่ายหนึ่งสั่งสอนแบบคริสต์ จะเป็น เดียวของการเปลี่ยนศาสนาคือการแต่งงาน อย่ า งไร ลู ก คงจะสั บ สน ท้ า ยที่ สุ ด เราคงจะ และความเป็นหนึง่ เดียวของครอบครัว จากการ ทะเลาะกันแน่นอน ดิฉนั ใช้เวลาในการตัดสินใจ ปรึ ก ษาของสามี ว ่ า เราจะเลี้ ย งลู ก อย่ า งไร สองเดือนในการเปลี่ยนแปลงมานับถือคริสต์ ครอบครัวเราจะเป็นอย่างไร ถ้าชีวิตเรานับถือ ดิ ฉั น ไม่ เข้ า ใจว่ า การเป็ น คริ ส ต์ เ ป็ น อย่ า งไร คนละอย่างแบบนี้ และในฐานะแม่จะเลี้ยงดู ในวันนั้นรู้เพียงอย่างเดียวว่าพระเยซูเจ้าเป็น
นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
แบ่งปันประจักษ์พยานชีวิต ศิษย์พระคริสต์ ศิษย์ธรรมทูต 75
ดิฉันเคยเป็นพุทธมาก่อน เคยรู้สึกขาดความเชื่อความศรัทธาในหัวใจ แต่ ห ลั ง จากที่ ตั ด สิ น ใจเดิ น ไปต่ อ หน้ า รู ป แม่ พ ระ ขอให้ แ ม่ พ ระช่ ว ย และแม่ พ ระได้ ท รงช่ ว ยเหลื อ ท�ำให้ทุกอย่างในใจเปลี่ยนไปหมด รวมถึงได้พบกับความรักของพระเจ้า... ศาสดาของศาสนาคริ ส ต์ ดิ ฉั น ตั้ ง ใจจะเป็ น ตัวเองเป็นคาทอลิกที่แย่ บทข้าแต่พระบิดา คริ ส ตชนที่ ส มบู ร ณ์ ใ ห้ ไ ด้ แต่ ไ ม่ รู ้ ว ่ า จะเป็ น วันทามารียด์ ฉิ นั สวดไม่เป็น ดิฉนั ไม่รพู้ ระคัมภีร์ อย่างไร ดิฉันเริ่มเรียนค�ำสอนในปีนั้น ยอมรับ ดิ ฉั น เคยบอกว่ า แม่ พ ระไม่ ใช่ พ ระเป็ น เจ้ า ว่าความเชือ่ ทีไ่ ม่แข็งแรง ความศรัทธาทีไ่ ม่มาก จะช่วยอะไรดิฉันได้ สามีบอกดิฉันว่าแม่พระ พอ และไม่เคยแสวงหาเพิ่มพูนความเชื่อใดๆ เป็นแม่ของพระเจ้า หากขออะไรแม่พระจะฟัง ทั้ ง สิ้ น ความมั่ น ใจในการเป็ น คริ ส ตชนที่ เสมอ ตัดสินใจเดินไปต่อหน้ารูปแม่พระ และ สมบูรณ์เริ่มถดถอย ในที่สุดการด�ำเนินชีวิต พูดว่าดิฉันไม่มีอะไรไปถวายแม่พระเลย ถ้าพ่อ อย่ า งยากล� ำ บาก ท� ำ ให้ ดิ ฉั น รู ้ สึ ก ไม่ มี ที่ พึ่ ง รอดดิฉันจะสวดสายประค�ำทุกวันตลอดชีวิต เพราะดิฉันขาดความเชื่อความศรัทธาในหัวใจ 7 โมงเช้ า วั น ต่ อ มาดิ ฉั น ไปถึ ง ห้ อ ง ICU ดิฉันเป็นคริสต์ที่สมบูรณ์ไม่ได้ และกลับเป็น คุณพ่อหายเป็นปกติ ท่านหัวเราะ และออกจาก ห้ อ ง ICU ในวั น นั้ น ความป่ ว ยของคุ ณ พ่ อ พุทธก็ไม่ได้ เหมือนคนทีต่ กนรกทัง้ เป็น เป็นสิง่ ที่น่าสงสารและน่าเวทนาในตัวเอง ดิฉันรู้สึก ถู ก รั ก ษาให้ ห าย แต่ ดิ ฉั น ไม่ รู ้ สึ ก ขอบคุ ณ เช่นนัน้ ทีส่ ดุ ของความทุกข์ทรมานในความเชือ่ พระเป็นเจ้า แต่กลับรู้สึกว่าดิฉันต้องสวดสาย คุ ณ พ่ อ ติ ด เชื้ อ ในกระแสเลื อ ดเข้ า ห้ อ ง ICU ประค�ำทุกวันตลอดชีวิต ดิฉันสวดสายประค�ำ ให้จบอย่างรวดเร็ว เป็นหน้าที่ ในเวลาเดือน ความกลัวท�ำให้ดฉิ นั คิดว่า ดิฉนั จะพึง่ ใคร ดิฉนั ถามคุ ณ หมอว่ า คุ ณ พ่ อ จะเสี ย ชี วิ ต ไหม คุ ณ กว่าดิฉันกลับมาส�ำนึกได้ว่าแม่พระไม่เคยบอก หมอบอกว่ารอปาฏิหาริย ์ รอปาฏิหาริยค์ อื อะไร ไม่เคยถามอะไรดิฉนั เลยในสิง่ ทีฉ่ นั ขอ ในวันนัน้ คื อ คุ ณ พ่ อ จะเสี ย ชี วิ ต ใช่ ไ หม คื น นั้ น ฉั น เดิ น ดิฉันตั้งใจสวดสายประค�ำอย่างดี ทุกค�ำที่ดิฉัน เข้าไปหาแม่พระแล้วบอกแม่พระว่าดิฉันรู้ว่า สวดดิฉันเข้าใจความหมายอย่างดี เพียงสอง
76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 เดือนเท่านัน้ ทุกอย่างในใจเปลีย่ นไปหมด ดิฉนั เดินเข้าไปแก้บาปครัง้ แรกวันที ่ 13 พ.ค. 2017 ตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2017 เป็นเวลา 9 ปีเต็มที่ ดิฉันไม่ได้แก้บาปเลย ในวันนั้นจากความเป็น ทาสในความทุกข์สิ่งที่อยู่ในใจกลายเป็นความ เลื่อมใส สว่าง ชื่นใจ ดิฉันจ�ำความรู้สึกนั้นได้ดี ดิฉันปรารถนาที่จะรับความรู้สึกนั้นอีกจึงเริ่ม แสวงหา ด้วยการศึกษาประวัตินักบุญว่าท่าน เหล่านั้นเป็นนักบุญได้อย่างไร ผ่านทาง You- Tube และหนังสือ จากประวัตินักบุญกว่า 30 ท่าน สิ่งเดียวที่ดิฉันค้นพบก็คือ ความรักของ พระเป็นเจ้าที่อยู่ในใจของพวกเขา และความ รักของพวกเขาทีอ่ ยูใ่ นใจของพระเป็นเจ้า ดิฉนั ไม่รู้จักความรักนี้แต่อยากร่วมกับสิ่งนี้ จึงเริ่ม แสวงหาอีกครั้ง การแสวงหานั้นคือ ดิฉันอ่าน พระคัมภีร ์ ฟังพระวาจาทุกวัน ฝึกท�ำกิจศรัทธา บ่อยๆ ขอรือ้ ฟืน้ การเรียนค�ำสอน แก้บาปบ่อยๆ และตัดสินใจเรียนหลักสูตรคริสตศาสนธรรม ภาคพิเศษ หลักสูตรนี้ท�ำให้ดิฉันพบความรัก ของพระเจ้า ความรักครัง้ นีเ้ ปลีย่ นชีวติ ใหม่ของ ดิฉนั ชีวติ ทีม่ แี ต่พลัง ชีวติ ทีม่ คี วามสุข อยากให้ ทุกคนเห็นความรักที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เมื่อ ดิฉนั มีความรักของพระเจ้าอยูใ่ นใจ ดิฉนั ไม่กลัว สิ่งใด ไม่แสวงหาค�ำติชมใดๆ ทั้งสิ้น กลัวเพียง อย่างเดียว กลัวทีจ่ ะไม่ได้ประกาศความรักของ พระองค์ นี่คือชีวิตใหม่ของดิฉัน ดิฉันเริ่มต้น ด้วยการท�ำโครงการไปด้วยกัน โครงการที่เชิญ ชวนญาติพี่น้องที่รู้จักกันที่น�ำเงินส่วนตัว ไม่ว่า จะขายขนมในวัด เพื่อน�ำเงินไปท�ำการกุศล ชวนลูกวาดรูปไปขาย เอาเงินไปซื้อรองเท้า
นักเรียนให้เด็กก�ำพร้า ซื้อผ้าห่มให้เด็กก�ำพร้า บนดอย ทุกอย่างเพื่อประกาศความสุขที่ดิฉัน ได้รบั ดิฉนั ได้มโี อกาสสมัครเป็นผูช้ ว่ ยบราเดอร์ ในการสอนค� ำ สอนที่ วั ด ด้ ว ย ความรั ก ของ พระองค์ได้นำ� ดิฉนั ไปทุกที ่ ดิฉนั เป็นเพียงเครือ่ ง มือเท่านั้น และพระองค์ได้น�ำดิฉันมาที่นี่เพื่อ บอกพวกคุณในงานประกาศข่าวดี มารีอา นิรมล สุขวัฒนากู (หัวหน้าทีมกฎหมายในบริษัทน�้ำมันเอกชน) ดิฉันมีอาชีพเป็นนักกฏหมายในบริษัท เอสโซ่ ในวันนี้ดิฉันอยากแบ่งปันเรื่องราวการ ประกาศข่าวดี ดิฉันขอบคุณพระเป็นเจ้าที่ให้ ดิฉันมีโอกาสแบ่งปัน ดิฉันเกิดในครอบครัวที่ คุณพ่อเป็นพุทธ คุณแม่พาดิฉันมารับศีลล้าง บาป และเข้ า เรี ย นที่ โรงเรี ย นเซนต์ โ ยเซฟ คอนแวนต์ ในระหว่างที่เรียนมาเซอร์ก็ดูแล ดิ ฉั น อย่ า งดี ชี วิ ต ในช่ ว งมหาลั ย ประสบกั บ ความทุกข์ยากล�ำบาก คุณพ่อป่วยด้วยโรคพิษ สุราเรือ้ รัง ระหว่างทีเ่ รียนต้องท�ำงาน และดูแล คุณพ่อ ดิฉันไม่ได้ไปวัด ไม่สวดภานา ไม่อ่าน พระคัมภีร์ ดิฉันไม่เชื่อว่าจะมีใครช่วยให้ดิฉัน ผ่านช่วงเวลานี้ได้ และด�ำเนินชีวิตแบบนี้เป็น เวลากว่า 10 ปี จนกระทั่งบริษัทมีการอบรม มีคนจากสิงคโปร์นั่งข้างดิฉัน เขาเป็นโปรแตส แตนท์และพยายามประกาศข่าวดีแก่ดฉิ นั ทีเ่ ป็น คาทอลิกตลอดเวลา จนกระทั่งมีอยู่วันนึงก็นั่ง รถไปกับเค้า เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง แล้วเขา ก็พูดเรื่องอัลฟ่าตลอด จนดิฉันยอมแพ้ ดิฉัน ตัดสินใจเข้าร่วม เพียงแต่ว่าดิฉันเข้าร่วมหนึ่ง
แบ่งปันประจักษ์พยานชีวิต ศิษย์พระคริสต์ ศิษย์ธรรมทูต 77
อัลฟ่าคอร์สท�ำให้ดิฉันได้ฟื้นชีวิตคริสตชน ได้กลับมาใกล้ชิดกับพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตฉัน ฉันอยากรับใช้พระเจ้า และอยากให้ผู้อื่นมารู้จักพระองค์ ครั้ง ตลอดเวลาในระหว่างเรียนคอร์สอัลฟ่า ดิฉันรู้สึกว่าพระเยซูเจ้าเน้นย�้ำท�ำความรู้จักกับ ฉันใหม่ ให้ดิฉันรู้จักพระองค์ใหม่ ฉันค่อยๆ เรียนรู้ และพระองค์ทรงเผยแสดงให้ฉันผ่าน ในแต่ละ session ของบทเรียนของอัลฟ่าพอ หลังจากจบคอร์ส ปรากฎว่าฉันรู้สึกว่าชีวิตฉัน แปลงเปลี่ยนไป ดิฉันรู้สึกมีความตื่นเต้นยินดี อย่างที่ไม่เคยมาก่อน ดิฉันอยากจะบอกทุกๆ คนว่า ดิฉันมีความสุขที่ฉันได้พบพระเยซูเจ้า ตอนนัน้ ใครบอกให้ดฉิ นั ไปพูดทีไ่ หน หรือว่าไป ยกตัวอย่างทีไ่ หน พูดเรือ่ งชีวติ ตัวเอง ฉันไปทัง้ นั้น แล้วก็มีเรื่องที่เกี่ยวกับบิดาของดิฉันป่วย บิดาของดิฉันเองก็ได้ไปเข้าคอร์สอัลฟ่า และ ก็ได้พบพระเจ้าในคอร์สนั้น ซึ่งเพื่อนที่ชักชวน ดิฉันไปเขาบอกว่าไม่ต้องพาพ่อไปรักษาที่ไหน หรอก ไม่มที างหาย พระเจ้าจะทรงรักษา แล้ว ก็เป็นจริงที่ว่าพระเจ้ารักษาคุณพ่อในช่วงเวลา นัน้ ให้หายจากโรคแอลกอฮอล์ลซิ มึ่ และคุณพ่อ เองก็มาเป็นคริสต์ แต่ว่ารับความเชื่อในคริสต-
จักรไครสต์เชิรช์ และต่อมามีคนติดต่อว่าให้มา พบคุณพ่อซึ่งเป็นบาทหลวงคาทอลิกเพราะว่า ท่านจะเอาคอร์สอัลฟ่ามาเผยแพร่ที่คาทอลิก คุณพ่อบอกว่าได้ยินว่ามีคาทอลิกคนหนึ่งเคย เรียนคอร์สนีแ้ ล้ว ดิฉนั ไม่ได้ไปวัดมานานแล้วจึง ไม่ ก ล้ า ไปพบคุ ณ พ่ อ แต่ ว ่ า ในที่ สุ ด ก็ ม าพบ คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ กับคุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร หลังจากทีไ่ ด้พบคุณพ่อ ท่านให้ ไปช่วยสอนคอร์สอัฟฟ่าแก่เยาวชนที่อัสสัมชัญ ในระหว่างนั้นคุณพ่อก็เรียกคุยว่า ท�ำไมพูดจา ภาษาเป็นโปรแตสแตนท์ไปหมด เป็นคาทอลิก ใช่ไหม? ดิฉันจ�ำได้ว่าแรกๆ คุณพ่อมองว่าไม่ แน่ใจว่านี่เป็นคาทอลิกแท้รึเปล่า ดิฉันก็เข้าใจ ตอนหลังคุณพ่อก็เรียกคุย พร้อมกับส่งดิฉัน ไปเข้ า คอร์ ส PMG ดิ ฉั น ก็ ไ ด้ ไ ปเรี ย นรู ้ ก าร ประกาศข่าวดี เรียนรู้เรื่องคาทอลิก ว่าความ เชื่ อ คาทอลิ ก ต่ า งจากโปรแตสแตนท์ ยั ง ไง แล้วก็ได้เรียนพระคัมภีร์กับคุณพ่ออาดรีอาโน่ แล้วทุกอย่างก็เปิดให้ดิฉัน ดิฉันก็กลับมาแพร่-
78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 ธรรมในพระศาสนจักรคาทอลิก พระเจ้าก็เรียก ดิฉันให้กลับมาในพระศาสนจักรคาทอลิก ใน พระศาสนจักรสากล อันนีเ้ ป็นตัวอย่างของการ ที่ดิฉันถูกประกาศ และเมื่อฉันพบพระเยซูเจ้า ชีวติ ของดิฉนั และคุณพ่อของฉันก็เปลีย่ นแปลง ไป คนในครอบครัวก็กลับมาคืนดีกัน หลังจาก ที่คุณพ่อและคุณแม่แยกทางกันแล้ว จากที่ว่า เจอกันไม่ได้อีกเลย คุณพ่อและคุณแม่ได้กลับ มาคืนดี เพราะดิฉันเริ่มมีความกล้าที่จะเป็น ศูนย์กลางที่จะเชื่อมต่อกันระหว่างกัน ดิฉันกับ เพื่อนโปรแตสแตนท์ได้รวมกลุ่มกัน ในเวลา กลางวัน พักเที่ยงและก็ทานอาหารเสร็จแล้ว ก็มาสวดภาวนา อ่านพระคัมภีร ์ จากกลุม่ เล็กๆ แล้วก็พยายามเอาคอร์สอัลฟ่าเข้ามาจัด เราก็ จัดที่ร้านกาแฟข้างๆ บริษัท มีคนพุทธที่มาเข้า คอร์สอัลฟ่า เขาบอกว่าท�ำไมไม่ตั้งชมรมคริสต์ ในบริษทั ซะเลย เราก็เลยตัง้ ชมรมคริสต์มาเป็น ชุมชนศิษย์พระคริสต์ที่ประกอบจากคริสตชน หลายนิ ก าย และก็ เ ป็ น โอกาสที่ ดิ ฉั น ได้ จั ด กิจกรรมต่างๆ เพือ่ เผยแพร่ชวี ติ คริสตชนให้กบั คนในบริษทั และเชิญบรรดาคุณพ่อทีอ่ สั สัมชัญ คือ คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร, คุณพ่อ สมเกี ย รติ ตรี นิ ก ร และคุ ณ พ่ อ เอกรั ต น์ ไป บรรยาย ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก แม้ กระทั่งที่โรงกลั่นที่ศรีราชา ที่คนนอกจะเข้าไป ยากมาก แต่ว่าด้วยกิจกรรมตรงนี้เราสามารถ ที่ จ ะพาคุ ณ พ่ อ เข้ า ไปพู ด เรื่ อ งวั น คริ ส ต์ ม าส ให้บรรดาเพื่อนชาวพุทธฟัง และมีเพื่อนมุสลิม เข้ามาฟังด้วยกัน บางครั้งดิฉันได้ใช้ความรู ้ จากที่ไปเรียนมา บรรยายเองบ้าง จัดกิจกรรม
เองบ้าง ในขณะที่ดิฉันมีหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม กฎหมายของบริษัทน�้ำมัน มีความเสี่ยงในเรื่อง สิง่ แวดล้อม และก็มปี ญ ั หาในการดูแลผูบ้ ริโภค เพื่อนร่วมงานและน้องในทีม บรรดาลูกความ ที่อยู่ในบริษัท รู้ว่ามาตรฐานของดิฉันคืออะไร ทุ ก อย่ า งดิ ฉั น ท� ำ บนความถู ก ต้ อ ง บนความ สันติสุข บนความรักของพระเป็นเจ้า ดิฉันได้ ใช้เวลาในที่ท�ำงานเป็นพยานถึงความรักของ พระคริสตเจ้า ดิฉันอยากจะฝากไว้ว่า ดิฉัน เป็นลูกแกะที่หลงทางไป ถ้าคุณพ่อไม่ได้คิดถึง คริ ส ตชนคนนี้ ป ่ า นนี้ ดิ ฉั น ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นพระ ศาสนจักรคาทอลิก ดิฉันได้กลับมาประกาศ ข่าวดี เพราะฉะนัน้ ดิฉนั อยากฝากข้อพระคัมภีร์ ที่ดิฉันคิดว่าเหมาะกับพวกเราทุกคน (ฟิลิปปี 2:18) “พระเจ้าทรงท�ำงานในท่าน เพือ่ ให้ทา่ น มีทั้งความปรารถนาและความสามารถ เพื่อที่ จะท�ำงานตามพระประสงค์” ดิฉันคิดว่าเป็น ข้อคิดส�ำหรับพวกเราทุกคน ดิฉันก็อยากจะ ใช้ศัพท์ของโปรแตสแตนท์ว่า ขอหนุนใจพวก เราทุกคนว่า ให้มคี วามกล้าทีจ่ ะทิง้ แกะ 99 ตัว ไว้และก็ไปตามหาแกะตัวที่หายไป ยอห์น บัปติส เมธา เหลืองรุ่งนภา (พ่อค้าขายอาหาร) อาชีพของผมขายราดหน้ามา 20กว่าปี อาชีพหลักคืออาชีพเยีย่ มคนป่วย อาชีพรองคือ ขายราดหน้า ผมมีโอกาสไปเยี่ยมคนป่วย ครั้ง แรกคิดถึงญาติพนี่ อ้ งทีท่ งิ้ วัด เพราะอยากจะให้ เขากลั บ ใจ ทุ ก ครั้ ง ที่ คิ ด ถึ ง พี่ น ้ อ งที่ ทิ้ ง วั ด ก็ มี ความทุกข์ใจ ผมคิดว่าจะท�ำยังไงที่จะไปเยี่ยม
แบ่งปันประจักษ์พยานชีวิต ศิษย์พระคริสต์ ศิษย์ธรรมทูต 79
ครั้งแรกคิดถึง ญาติพี่น้องที่ทิ้งวัด เพราะอยากจะให้ เขากลับใจ ทุกครั้งที่ คิดถึงพี่น้องที่ทิ้งวัด ก็มีความทุกข์ใจ
คนที่ทิ้งวัด ก่อนที่ผมจะไปผ่าตัดเข่า ผมก็ต้อง สวดขอพลังขอพระพรจากพระองค์ให้หายจาก โรค ผมขอแบ่งปันเกีย่ วกับผูป้ ว่ ยทีเ่ ป็นคาทอลิก ที่ทิ้งวัด ส่วนมากที่ผมไปพบตามโรงพยาบาล ถ้าเป็นคาทอลิกทุกท่านก็จะพูดถึงพระ เขาไม่ ได้ไปวัดมานาน บางครั้งคนเป็นพุทธเราก็ไป เยี่ยม แล้วก็ไปให้ก�ำลังใจเกือบทุกวัน จนในที่ สุดก็ขออนุญาตเชิญคุณพ่อมาเยี่ยม ให้คุณพ่อ เจิมศีล ผมบอกคุณพ่อให้อธิบายกับคนป่วยให้ ทราบว่าไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวล ผมก็อธิบาย ให้คนป่วยเกือบทุกครัง้ ทีค่ ณ ุ พ่อเจิมศีล เมือ่ เจิม เสร็จแล้วประมาณ 2 วัน ผมก็ไปเยี่ยมคนป่วย แต่คนป่วยก็ไม่ได้อยู่ที่เตียงแล้ว ผมก็ตกใจ ไปถามคนป่วยข้างเตียง เขาบอกว่า ตอนที่มี ผู้ชาย (เขาก็ไม่ทราบว่าเป็นคุณพ่อ) เป็นผู้ชาย ใส่ชุดขาวมา หลังจากนั้น 2 วันคนป่วยเขา ก็ ก ลั บ บ้ า น ผมอยากบอกว่ า ศี ล เจิ ม เป็ น ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ก ว่ า ฤทธิ์ ย า และอี ก เรื่ อ งหนึ่ ง คนป่วยที่ผมรู้จักสมัยก่อนประมาณ 40-50 ปี
เป็นร้านตัดเสื้อ เขาประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่รักครอบครัว มีผู้หญิงคนอื่น หลังจากนั้น ผมก็ไปที่ร้านไปเยี่ยมคนป่วยท่านนี้ ตอนแรก บอกกั บ เขาว่ า เชิ ญ คุ ณ พ่ อ มาเยี่ ย มมาส่ ง ศี ล ให้ แต่เขาก็ปฏิเสธบอกว่าไม่ต้อง หลังจากนั้น อีกประมาณ 6-7 เดือน ได้มาเจอกับภรรยา ของเขาและได้ชักชวนให้ไปเยี่ยม พอดีเขามี ร้านตัดเสื้อจึงไปอุดหนุนเขา แค่ไปเยี่ยมแล้วก็ ขอตัดเสือ้ 2 ชุด ผมพูดกับเขาว่า “เฮียป่วยนะ อย่างนี้ผมจะเชิญคุณพ่อมาดีไหม?” เขาบอก ว่า “ได้ๆ” ผมก็เชิญคุณพ่อไปเยีย่ มทีบ่ า้ น ตอน ครัง้ แรกก็ปฏิเสธ เมือ่ คุณพ่อไปถึงทีร่ า้ น พอเขา เห็นคุณพ่อก็มาก้มกราบกับพื้นและไหว้คุณพ่อ บอกให้คณ ุ พ่อส่งศีลให้เค้า เจิมศีลให้ จนกระทัง่ ทุกวันนี้ไปโบสถ์กับภรรยาที่อารามคลองเตย มีอกี หลายคนทีผ่ มไปเยีย่ ม ถ้าคนป่วยหนักเป็น พุทธ ผมก็จะน�ำความรักของพระองค์ไปมอบ ให้กับคนป่วย จนมีครั้งหนึ่ง มีคุณป้าท่านหนึ่ง ขอน�้ ำ กิ น ผมก็ เ อาน�้ำให้ แ ก้ วหนึ่ ง และผมก็ แนะน�ำตัว แล้วบอกกับป้าท่านนัน้ ว่า “ผมเป็น คาทอลิกนะครับ ผมมาเยี่ยม ขอให้ก�ำลังใจ” เขาก็ พู ด ขึ้ น มาว่ า “ตอนเด็ ก ๆ เขาก็ เ คยอยู ่ โรงเรียนกุหลาบวัฒนาที่ตลาดน้อย มาเซอร์พา ไปทีโ่ บสถ์ ร้องเพลง” ผมคิดว่าพระคงไม่ทงิ้ เขา จึงให้ผมไปพบเขา เขาเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ตอนหลังเขาก็ยินดีที่จะกลับใจมาล้างบาป เขา บอกว่าอยากมาล้างบาปตั้งนานแล้ว จากการ ไปเยี่ยมผู้ป่วยของผมนั้น ผมคิดว่ายังมีผู้ป่วย อีกหลายคนที่ได้รับพระเมตตาจากพระองค์
80 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562
วันหนึ่งตัวเองป่วยเป็นมะเร็ง ก่อนจะผ่าตัด กลัวที่จะไม่ตื่นได้ จึงขอพระเมตตาจากพระเจ้า รู้สึกเหมือนตัวเองตายไปแล้ว ชีวิตที่เหลืออยู่ จึงเป็นก�ำไร และเปลี่ยนจากไกด์น�ำเที่ยว มาเป็นไกด์น�ำวิญญาณผู้คน โยฮันนา นันทพิมพ์ กิจนิจชีวะ (อดีตมัคคุเทศก์) ดิ ฉั น เป็ น คริ ส ตั ง นอน มี อ าชี พ เป็ น ไกด์ญปี่ นุ่ วันท�ำงานส่วนมากจะตรงกับวันเสาร์ วั น อาทิ ต ย์ ดิ ฉั น ท� ำ งานไกด์ ม าหลายสิ บ ปี มี ค วามคิ ด ว่ า ถ้ า แก้ บ าปแล้ ว ยั ง ท� ำ บาปอี ก รู ้ สึ ก ว่ า เป็ น การโกหกพระ จึ ง ไม่ ไ ด้ แ ก้ บ าป พระได้ให้เวลาในการเก็บเกี่ยวทรัพย์สมบัต ิ เป็ น เวลาหลายปี จนกระทั่ ง เกิ ด เหตุ ก ารณ์ บ้านเมืองในปี 2554 ดิฉันตกงาน จึงไปเข้า คอร์ ส วิ ป ั ส นาที่ เชี ย งใหม่ ทุ ก ครั้ ง ที่ นั่ ง สมาธิ เจ็ บ หลั ง มาก อาจารย์ บ อกว่ า มั น เกิ ด จาก เจ้ากรรมนายเวร เจ้ากรรมนายเวรของฉันเป็น ใคร ดิ ฉั น รู ้ สึ ก ว่ า คงเป็ น เพราะดิ ฉั น หั ก หลั ง พระเยซูเจ้า ท�ำให้ดิฉันกลับมาหาพระเจ้าและ ได้เจอกับคุณพ่อมี้ชวนไปเข้าเงียบของเยาวชน ได้ให้โอกาสไปเทีย่ วแสวงบุญ ท�ำให้รวู้ า่ พระเจ้า รั ก เรามากแค่ ไ หน รู ้ สึ ก ว่ า สิ่ ง ที่ มี ทุ ก อย่ า ง พระเจ้าประทานให้ รู้สึกว่าเราต้องตอบแทน
พระเจ้าได้แล้ว มีโอกาสอบรมศาสนสัมพันธ์ มีโอกาสอบรมฆราวาสประกาศข่าวดี ท�ำให้ รูว้ า่ คริสตชนมีหน้าทีป่ ระกาศข่าวดี ถ้าไม่ทำ� จะ วิบตั ิ เราจะประกาศข่าวดีเราต้องรูว้ า่ เราประกาศ อะไร เรารู้จักพระเยซูเจ้าไหม เราจ�ำพระองค์ ได้หรือยัง พระองค์บอกอะไรกับเรา จึงท�ำให้ ตัดสินใจเข้ามาเรียนคริสตศาสนธรรมภาคฤดู ร้อน ท�ำให้รวู้ า่ ต้องรักพระเจ้าสุดชีวติ สุดจิตใจ สุดวิญญาณ ตอนนั้นตั้งใจเรียนมาก ต่อมาได้ รู ้ จั ก คุ ณ พ่ อ อาดรี อ าโน คุ ณ พ่ อ สอนถึ ง การ ประกาศข่าวดีแก่คนต่างศาสนา ในช่วงแรก ท� ำ อะไรไม่ ไ ด้ ม ากแต่ ก็ พ ยายามใช้ ชี วิ ต เป็ น ประจักษ์พยาน รักคนอืน่ ให้มากขึน้ แบ่งปันใน สิ่งที่พระเจ้าสอนผ่านทางชีวิตการท�ำงานเป็น ไกด์ จนวันหนึ่งตัวเองป่วยเป็นมะเร็ง ก่อนจะ ผ่าตัดกลัวที่จะไม่ตื่นขึ้นมาอีก จึงได้ขอพระ เมตตาจากพระเจ้า รู้สึกเหมือนตัวเองตายไป แล้ว ชีวติ ทีเ่ หลืออยูจ่ งึ เป็นก�ำไร คุณพ่อชวนให้ ไปช่วยงานกับคุณพ่ออาดรีอาโน ซึ่งเป็นช่วง
แบ่งปันประจักษ์พยานชีวิต ศิษย์พระคริสต์ ศิษย์ธรรมทูต 81
เวลาที่ก่อตั้งธรรมทูตหญิง จึงออกจากบ้านมา สู่ชุมชนไพร่ฟ้า ออกจากอาชีพไกด์มาท�ำงาน ธรรมทูตเต็มเวลา ดูแลเด็กก�ำพร้า ดูแลหญิง หม้าย คนในเรือนจ�ำ การท�ำงานมีความทุกข์ใจ แต่พระหรรษทานจากพระเจ้ามีเพียงพอเสมอ จึงเปลี่ยนจากอาชีพไกด์น�ำเที่ยวมาเป็นไกด์น�ำ วิญญาณผู้คน ยอแซฟ สายชล ศีติสาร (ธุรกิจส่วนตัวและท�ำงานด้านการส่งเสริม ชีวิตครอบครัว) อยากจะใช้ตัวเราเป็นประจักษ์พยาน จากการเป็ น พุ ท ธกลั บ ใจเป็ น คาทอลิ ก ทั้ ง ครอบครั ว เมื่ อ 20 ปี ก ่ อ น เราเกิ ด วิ ก ฤติ ต้มย�ำกุ้ง นี่คือวิกฤติของครอบครัว ชีวิตของ ผมเริ่มจากครอบครัว ผมแต่งงานครบ 10 ปี เมื่อปี 2541 อาจารย์รัมภาพาผมไปสัมมนา ที่ วั ด บางบั ว ทองฟื ้ น ฟู ชี วิ ต ครอบครั ว ผมไม่ เข้าใจว่ามาสอนชีวิตครอบครัวได้ยังไง ด้วย ความเชื่อในปี 2000 ผมกลับใจทั้งครอบครัว
แรงจูงใจ ในการเป็นคริสตชน ประกาศข่าวดี เริ่มต้นที่ได้รับ การอบรมชีวิตครอบครัว
ย้ายจากกรุงเทพฯ ไปศรีราชา ผมคิดเสมอว่า ชีวติ ก็คอื หน้าที ่ แต่พระคริสต์ให้ผมรูถ้ งึ ความรัก ความรักของพระคริสต์ทำ� ให้ผมไปเรียนค�ำสอน และกลับใจเป็นคริสต์ ผมเชื่อว่านี่เป็นพันธกิจ ของชีวิตผม สิ่งที่เราเติบโตในพระคริสต์ท�ำให้ ผมมีความเชื่อในชีวิต ผมเติบโตด้วยพระวาจา ผมฟังพระวาจาผ่าน YouTube ซึง่ เติมเต็มพลัง ของผม มารีอา รจนา ศีติสาร (ท�ำงานด้านการส่งเสริมชีวิตครอบครัว) ดิ ฉั น ในฐานะที่ ท� ำ งานส่ ง เสริ ม ชี วิ ต ครอบครั ว เมื่ อ เราได้ เจอพี่ น ้ อ ง ได้ แ บ่ ง ปั น การท�ำบทบาทของ แม่ ที่ ดี ท�ำให้ ไ ด้ ลู ก ที่ ดี และขยายความรักของ พระออกไป การแบ่ ง ปั น ของพระมันไม่มีที่สิ้นสุด ท�ำให้เรามีความสุข ในบทบาทของพนักงาน เราได้ ส ร้ า งมุ ม แห่ ง ความรั ก ความแบ่ ง ปั น เป็นการแบ่งปันพระพรของเรา และในมุมของ ความเป็นแม่ต้องขอบคุณมาเซอร์ที่ลูกได้เรียน ค�ำสอนตัง้ แต่อนุบาล วันหนึง่ เขาได้บอกกับเรา ว่ามาเซอร์ได้อบรมค�ำสอนดีๆ ให้เสมอ มาเซอร์ สอนว่าพระให้เรารู้จักความเจ็บปวด และกลับ
82 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 เห็ น ความรั ก ของพระเจ้ า หน้ า ที่ ข องเราคื อ การออกไปข้างนอก ไม่ใช่รอให้คนข้างนอกมา หาเราที่วัด เราต้องออกไปประกาศข่าวดี พระ เยซูเจ้าบอกให้เราออกไปเป็นผู้ประกาศความ รัก เห็นความรักระหว่างเรา ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีพระเยซูเจ้า พระเยซูเจ้าอยู่ทุกที่ แล้วสิ่งที ่ เราต้องท�ำคือให้คนอืน่ ได้เห็นพระเจ้าทีอ่ าศัยอยู่ ในชี วิ ต โดยเฉพาะชี วิ ต ผู ้ ต่� ำ ต้ อ ย เราแน่ ใจ ว่าพระเยซูเจ้ารักผู้ต�่ำต้อยเป็นพิเศษ ในฐานะ พ่อได้สอนค�ำสอนชาวแอฟริ กา ให้ได้รับศีลล้างบาป แต่ เ ขาไม่ ดี ใ จเลย.... า ค�ำพู ด ส�ำคั ญ ที่นั่นท�ำให้พ่อเข้าใจว่ แต่การปฏิบัติส �ำคัญกว่า... บาทหลวง อเล็กซานเดอร์ ไบร์ (บาทหลวงธรรมทูต) พ่อไปอยูท่ แี่ อฟฟริกา 4 ปี ไปเรียนต่อที่ ผู้ประกาศข่าวดี เราต้องมีชีวิตเรียบง่าย ถ้าเรา อิตาลีหลังจากที่บวชเป็นพระสงฆ์ พ่อได้สอน มี ห ลายสิ่ ง หลายอย่ า งท� ำ ให้ เราไม่ ส ามารถ ค�ำสอนชาวแอฟริกาให้ได้รบั ศีลล้างบาป แต่เขา ประกาศข่าวดีได้ เราฉลอง 350 ปี เป็นโอกาส ไม่ดีใจเลย เขาบอกว่าพ่อโกหก เขาบอกว่าพ่อ ที่จะมีพิธีต่างๆ แต่อย่าลืมประกาศข่าวดีใน สอนว่าพระเยซูรกั ทุกคน แต่คาทอลิกทีโ่ รมส่วน ชีวิตประจ�ำวัน พ่อบอกเยาวชนว่าคาทอลิกมี ใหญ่ไม่รักทุกคน ไม่ต้อนรับทุกคน นี่เป็นสิ่งที่ น้อย เรามีโอกาสประกาศข่าวดีมากกว่าพ่อ ท�ำให้เข้าใจว่าค�ำพูดส�ำคัญ แต่การปฏิบตั สิ ำ� คัญ ไม่ใช่งานของคุณพ่อ แต่เราต้องท�ำงานร่วมกัน กว่า ความรักทีแ่ ท้จริงบังคับให้เราเป็นธรรมทูต พ่อเชื่อว่าคนอื่นจะประทับใจแน่นอน หากเราไม่ได้เป็นธรรมทูตแสดงว่าเรายังไม่ได้ มาช่วยคนอื่น ให้เราท�ำให้ดีที่สุดเมื่อสุดก�ำลัง แล้ ว ให้ ป ล่ อ ยเป็ น หน้ า ที่ ข องพระ นี่ คื อ สิ่ ง ที่ ลูกสาวได้รับจากการเรียนค�ำสอน หล่อหลอม ให้ ลู ก ดิ ฉั น ตั ด สิ น ใจเป็ น หมอเพื่ อ ช่ ว ยผู ้ อื่ น ใช้วชิ าชีพช่วยเหลือผูอ้ นื่ ตรงนีเ้ ป็นการแบ่งปัน ของพระ การท�ำบทบาทของแม่ที่ดี ท�ำให้ได้ ลู ก ที่ ดี และขยายความรั ก ของพระออกไป การแบ่งปันของพระมันไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือส่วน หนึ่งของประสบการณ์ของดิฉัน
“
แนะน�ำหนังสือ
”
สุกานดา วงศ์เพ็ญ
ผู้เขียน: พิมพ์ครั้งที่ 1 : จัดพิมพ์โดย :
ซิสเตอร์ซีมอนา สมศรี บุญอรุณรักษา พฤษภาคม 2562 จ�ำนวน 296 หน้า สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย ภายใต้สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
“กว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยาม” เป็นหนังสือทีท่ ำ� การศึกษาค้นคว้าเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ตา่ งๆ ของคริสต์ศาสนาในประเทศสยาม ก่อนทีจ่ ะได้รบั การแต่งตัง้ เป็นมิสซัง ข้อมูลทัง้ หมดในหนังสือเล่ม นี้ ซึ่งผู้เขียนคือ ซิสเตอร์ ซีมอนา สมศรี บุญอรุณรักษา ได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวของชาว โปรตุเกส ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาในประเทศสยาม และบรรดามิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาท�ำการ ประกาศศาสนาในกรุงศรีอยุธยา รวมถึงปัญหาความขัดแย้งอุปสรรคต่างๆ และเหตุการณ์ส�ำคัญ หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบรรดามิชชันนารีจากรุ่นต่อรุ่น ซึ่งต่างมีจุดหมายปลายทางเดียวกัน จนก่อก�ำเนิดเป็นมิสซังสยาม
เลขานุการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
84 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 หนังสือ “กว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยาม” แบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 บท จ�ำแนกออกเป็นแต่ละ บทได้ดังต่อไปนี้ บทที่ 1 โปรตุเกสฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาในประเทศสยาม บทที่ 2 การเข้ามาของคริสต์ศาสนาในประเทศสยาม บทที่ 3 สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (Propaganda Fide) บทที่ 4 คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส บทที่ 5 จากกรุงปารีสสู่กรุงสยาม บทที่ 6 สภาพคริสต์ศาสนาในสยามเมื่อมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสมาถึง บทที่ 7 ก�ำเนิดมิสซังสยาม และ บทที่ 8 ประมุขมิสซังสยามองค์แรก ดังนัน้ หนังสือกว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยามจึงเป็นหนังสือเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์คริสต์ศาสนา ที่น่าสนใจอย่างมาก เป็นประโยชน์ต่อคริสตชนทั้งหลายและบุคคลทั่วไปที่สนใจประวัติศาสตร์
“
เกร็ดความรู้จากหนังสือ
”
“กว่าจะ... ก�ำเนิด มิสซังสยาม” สุกานดา วงศ์เพ็ญ 1. กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงที่มีอายุ พระสังฆราชปีแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์ นานถึง 417 ปี (ค.ศ.1350-1797/พ.ศ.1893- และพระสั ง ฆราชฟรั ง ซั ว ส์ ปั ล ลื อ ให้ เ ลื อ ก 2310) ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ ประมุขมิสซังองค์หนึ่งส�ำหรับมิสซังที่สถาปนา 33 พระองค์ บางพระองค์ปกครองเพียงแค่ไม่ ขึ้นใหม่ กี่วัน บางพระองค์นานถึง 40 ปี 5. มิชชันนารีชาวฝรัง่ เศสจ�ำนวน 17 คน 2. ศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิกเข้า เดิ น ทางออกจากกรุ ง ปารี ส มุ ่ ง ตรงมาที่ ท วี ป มาในประเทศสยามครั้งแรก ตั้งแต่ประมาณ เอเชีย มีมชิ ชันนารีเพียง 9 คนเท่านัน้ ทีเ่ ดินทาง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 คุณพ่อเยโรมแห่ง มาถึ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ในจ� ำ นวนนี้ มี ห นึ่ ง ท่ า น ไม้กางเขนและคุณพ่อเซบาสเตียนเดอ กานโต กลายเป็ น บุ ค คลส� ำ คั ญ ของมิ ส ซั ง สยาม คื อ สงฆ์คณะโดมินกิ นั ทีเ่ ดินทางเข้ามาเพือ่ ดูแลชาว คุณพ่อหลุยส์ ลาโน หรือต่อมาคือ พระสังฆราช โปรตุเกสที่เข้ามาอาศัยที่กรุงศรีอยุธยา แห่งเมเตลโลโปลิส ประมุขมิสซังสยามองค์แรก 3. สมณกระทรวงเผยแผ่ความเชื่อตั้ง 6. วันทีม่ ชิ นั นารีเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระสังฆราชชาวฝรัง่ เศส 3 องค์ น�ำมิชชันนารี พวกท่านพบคริสตังจ�ำนวนหลักพัน แต่ปจั จุบนั ชาวฝรั่งเศสจ�ำนวนทั้งสิ้น 17 คน เดินทางมา มิสซังสยามได้เติบโตกลายเป็นพระศาสนจักร ทวีปเอเชีย เพื่อมาประกาศศาสนา อบรมเพื่อ โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ที่ประกอบไป ให้มีการบวชพระสงฆ์พื้นเมือง และปกครอง ด้ ว ย อั ค รสั ง ฆมณฑล 2 แห่ ง สั ง ฆมณฑล มิสซังภายใต้อำ� นาจที่ขึ้นตรงต่อสันตะส�ำนัก 9 แห่ง วัด 526 แห่ง จ�ำนวนพระสงฆ์ 442 4. วันที ่ 4 มิถนุ ายน ค.ศ.1669/พ.ศ.2212 องค์ นักบวชชาย 118 คน นักบวชหญิง 1,480 สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาเคลเมนต์ ที่ 9 ทรง คน คริสตัง 388,468 คน (จากสถิติคาทอลิก ประกาศตั้ ง มิ สซังสยาม และทรงให้สิท ธิแก่ ในประเทศไทย ค.ศ.2019/พ.ศ.2562)
เลขานุการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม
86 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 7. ค.ศ.1511/พ.ศ.2054 คณะทู ต โปรตุเกสชุดที่ 1 เดินทางมาขอเจริญสัมพันธไมตรี กั บ สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่ 2 และถื อ เป็นการเข้าเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็น ครั้งแรกของชาวยุโรปในราชส�ำนักสยาม 8. ค.ศ.1512/พ.ศ.2055 คณะทู ต โปรตุเกสชุดที ่ 2 เดินทางเข้ามาทีก่ รุงศรีอยุธยา พร้อมกับทูตสยามที่เดินทางกลับ 9. ค.ศ.1518/พ.ศ.2061 คณะทู ต โปรตุเกสชุดที่ 3 เดินทางเข้ามาเพื่อขอรื้อฟื้น สัมพันธไมตรีกบั สมเด็จพระรามาธิบดีท ี่ 2 และ ขอให้ชาวสยามไปตัง้ บ้านเรือนทีม่ ะละกาเพราะ ทีน่ นั่ มีคนอยูจ่ ำ� นวนน้อยมาก และการเข้ามาใน ครั้งนี้ของคณะทูตโปรตุเกสได้รับอนุญาตให้ พ่อค้าชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่กรุงศรีอยุธยา และให้มีการสอนศาสนาได้อย่างเสรี ในทุกที่ที่พวกเขาพ�ำนักอยู่ 10. คณะทูตของฟรังซิสโก เดอกาสโตร คณะทูตชุดนีเ้ ข้ามาเพือ่ ขออิสรภาพให้แก่ทหาร อาสาชาวโปรตุเกส และชาวโปรตุเกสอีก 16 คน ที่พวกเขาคิดว่าชาวโปรตุเกสพวกนี้เป็นเชลย 11. การเข้ามาของชาวยุโรปชาติอื่นๆ - ค.ศ.1598/พ.ศ.20141 ชาวสเปน เป็นยุโรปชาติที่ 2 ที่เดินทางเข้ามาท�ำสัญญา การค้ากับประเทศสยาม หลังจากทีส่ มเด็จพระ นเรศวรทรงมีจดหมายไปถึงผูป้ กครองกรุงมะนิลา เชิญให้พอ่ ค้าชาวสเปนมาค้าขายทีก่ รุงศรีอยุธยา - ค.ศ.1602/พ.ศ.2145 ชาวฮอลันดา เข้ า มาตั้ ง สถานี ก ารค้ า ที่ เ มื อ งปั ต ตานี ค.ศ. 1604/พ.ศ.2147 ชาวฮอลันดาเดินทางมาที่
กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ค.ศ.1607/พ.ศ.2150 ประเทศสยามส่งทูตไปฮอลันดา ทูตสยามเดิน ทางถึงเนเธอร์แลนด์เดือนกันยายน ค.ศ.1608/ พ.ศ.2151 - ค.ศ.1612/พ.ศ.2155 บริษทั อินเดีย ตะวันออกของอังกฤษน�ำพระราชสาส์นจาก พระเจ้าเจมส์ที่ 1 เข้ามายังประเทศสยาม 12. ใน Catholic Encyclopedia (art. Siam) ได้ บั น ทึ ก ไว้ ว ่ า ค.ศ.1553/ พ.ศ.2096 เรือโปรตุเกสหลายล�ำเดินทางเข้า มายังประเทศสยาม พร้อมกับทหารโปรตุเกส จ�ำนวน 300 นาย จุดประสงค์เพื่อเข้ามารับใช้ พระเจ้ า แผ่ น ดิ น สยามตามค� ำ ขอร้ อ งของ พระองค์ ปีตอ่ มา ค.ศ.1554/พ.ศ.2097 คุณพ่อ โดมิ นิ กั น สององค์ คื อ คุ ณ พ่ อ เยโรมแห่ ง ไม้กางเขนและคุณพ่อเซบาสเตียนเดอ กานโต เดิ น ทางเข้ า มาอยู ่ กั บ ชาวโปรตุ เ กสในฐานะ พระสงฆ์ วิ ญ ญาณรั ก ษ์ ใ ห้ แ ก่ ท หารเหล่ า นี ้ และพวกเขาตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นอย่างรวดเร็ว จ�ำนวน 3 กลุ่ม มีชาวสยามกลับใจประมาณ 1,500 คน 13. วันที ่ 26 มกราคม ค.ศ.1566/พ.ศ. 2109 มี ค นต่ า งศาสนา (มุ ส ลิ ม ) สองคน ไม่พอใจที่เห็นศาสนาคริสต์มีความก้าวหน้า มากขึน้ และการค้าของโปรตุเกสก็เจริญรุง่ เรือง ชาวมุสลิมสองคนนี้จึงได้ท�ำร้ายคุณพ่อเยโรม และคุณพ่อเซบาสเตียน เดอ กานโต จนคุณพ่อ เยโรมเสียชีวิต คุณพ่อเยโรมจึงเป็นพระสงฆ์ โดมินิกันองค์แรกที่เป็นมรณสักขีในประเทศ สยาม
เกร็ดความรู้จากหนังสือ กว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยาม 87
14. มิชชันนารีคณะโดมินกิ นั ได้นำ� ความ เชื่อเรื่องการปฏิสนธินิรมลของพระแม่มารีย์ เข้ามาในประเทศสยามด้วย และได้ตั้งคณะ แม่พระแห่งลูกประค�ำ ความศรัทธาต่อแม่พระ ท�ำให้มีคนกลับใจเป็นจ�ำนวนมาก 15. ค.ศ.1583/พ.ศ.2126 นักบวชคณะ ฟรังซิสกันกลุ่มแรกเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา เพื่ อ เข้ า มาตั้ ง อาราม และประมาณเดื อ น มีนาคม ค.ศ.1586/พ.ศ.2129 คุณพ่อคณะ ฟรั ง ซิ ส กั น เดิ น ทางมากรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาอี ก ครั้ ง จากนั้นพบหลักฐานเกี่ยวกับคณะฟรังซิสกัน อีกครั้งในหนังสือ Conquista Espiritual do Orienteกล่าวถึงวัดของคณะฟรังซิสกันไว้ว่า “ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร (ค.ศ.1590/พ.ศ. 1605) ภราดาอั น เดรแห่ ง พระจิ ต เจ้ า ได้ รั บ อนุญาตให้สร้างวัดหลังหนึ่งที่กรุงศรีอยุธยา” วัดมีลักษณะคล้ายอาราม มีเขตพรตและห้อง นอนส�ำหรับพระสงฆ์ 4 องค์ 16. การเข้ามาของคณะเยสุอิตครั้งที่ 2 หลังจากทีไ่ ม่มพี ระสงฆ์ประจ�ำอยูท่ กี่ รุงศรีอยุธยา นานถึง 23 ปี ต่อมา ค.ศ.1655/พ.ศ.2198 คุณพ่อมัสวัลกวา นารา ได้รบั มอบหมายให้เข้า มาที่กรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นคุณพ่ออายุ 46 ปี และถือว่าท่านคือผูก้ อ่ ตัง้ คณะเยสุอติ ครัง้ ทีส่ อง ในประเทศสยาม 17. คุณพ่อมัสวัลกวา นารา เดินทางมา พร้อมกับกัปตันเรือชาวโปรตุเกสชื่ออันเดรส และเมื่ อ ถึ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาได้ เ พี ย ง 7 เดื อ น อั น เดรสถึ ง แก่ ก รรมและทิ้ ง ทรั พ ย์ สิ น มู ล ค่ า 14,000 สกูดี โรมานี ไว้ให้คณะเยสุอิตส�ำหรับ
ตัง้ วิทยาลัย ค.ศ.1670/พ.ศ.2213 คุณพ่อได้นำ� เงิ น จ� ำ นวนนี้ ม าสร้ า งวิ ท ยาลั ย พระผู ้ ไ ถ่ ต าม ความประสงค์ของอันเดรส 18. การเริ่มต้นของสมณกระทรวงเผย แพร่ความเชื่อ สมณะกระทรวงได้ส่งจดหมาย เป็นภาษาอิตาเลียนไปถึงสมณทูตทุกองค์ เพื่อ แจ้งการตั้งส�ำนักกระทรวงพร้อมทั้งอธิบายถึง จุดประสงค์และวิธีการด�ำเนินงาน ในจดหมาย ฉบับนี้สมณะกระทรวงใช้ส�ำนวนการประกาศ ศาสนาว่าให้ความเชือ่ คาทอลิกแพร่ไปไม่ใช่ดว้ ย ความรุนแรงแต่ด้วยวิธีที่อ่อนโยนและเมตตา ที่มาจากพระเจ้าด้วยวาจาการเทศน์สอนแบบ อย่างทีด่ คี ำ� ภาวนา และการพลีกรรม เพือ่ จะได้ รับความเมตตาจากพระเจ้า 19. เลขาธิ ก ารคนแรกของสมณ กระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ หลังจากด�ำเนิน งานไปได้ ร ะยะหนึ่ ง บรรดาพระคาร์ ดิ นั ล ไม่ ส ามารถท� ำ งานได้ เ ต็ ม ที่ สมเด็ จ พระ สันตะปาปาจึงตั้งมงซินญอร์ฟรังซิสโกอินโกลี เป็นเลขาธิการของสมณะกระทรวงหลังจากได้ รับหน้าที่เลขาธิการแล้ว จึงเริ่มท�ำการส�ำรวจ ปัญหาจากบรรดาพระสมณทูตพระสังฆราช อธิการเจ้าคณะนักบวช และผูร้ บั ผิดชอบมิสซัง ต่างๆ 20. ผูแ้ ทนพระสันตะปาปา คือ ผูป้ กครอง ที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตั้งให้ไปปกครอง ดินแดนที่พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกตั้งขึ้น เขตปกครองเหล่านัน้ ยังไม่ได้รบั พระฐานานุกรม เป็นสังฆมณฑลบางครั้งจะเรียกผู้แทนพระสันตะปาปาว่าประมุขมิสซัง
88 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2019/2562 21. วันที ่ 27 กันยายน ค.ศ.1659/พ.ศ. 2202 พระสังฆราชปัลลือต้อนรับผู้สมัครเป็น ธรรมทูตทั้งหมดประมาณ 40 คน แต่พระคุณ เจ้าคัดเลือกเพียง 6 คนเท่านั้น ตามกฎเกณฑ์ การคัดเลือกธรรมทูตที่ท่านก�ำหนดคือต้องมี สุขภาพแข็งแรง มีความสมดุลทั้งทางด้านกาย และจิ ต ใจ สติ ป ั ญ ญาดี พ อสมควร มี จิ ต ใจ นอบน้อมเชื่อฟัง รู้จักตัดสละถือความยากจน และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อมาภายหลังท่าน ปั ล ลื อ ยั ง คงยื น ยั น เรื่ อ งการเลื อ กผู ้ ที่ จ ะไป เป็นธรรมทูตว่า “ยิ่งข้าพเจ้าก้าวไปข้างหน้า ข้าพเจ้ายิ่งมั่นใจว่าเป็นเรื่องพิถีพิถันอย่างยิ่ง ในการเลือกคนงาน” (ธรรมทูต) 22. พระสังฆราชแบรนาร์ดโอนบ้านเณร บาบิโลนให้เป็นที่ตั้งบ้านเณรคณะมิสซังต่าง ประเทศ บ้านเณรที่ซื้อจากพระสังฆราชแห่ง บาบิโลนนัน้ มีเพียงแค่ประมาณ 1 ใน 10 ของ ที่ ดิ น ของบ้ า นเณรคณะมิ ส ซั ง ประเทศแห่ ง กรุงปารีสในปัจจุบัน 23. เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1663/พ.ศ. 2206 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงลงพระนามใน เอกสารกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของ ต่อมาวันที ่ 7 กันยายน เอกสารฉบับนี้ได้รับการบันทึกที่ รัฐสภาพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 รับสั่งว่า “เราต้อง การให้ชอื่ ว่าบ้านเณรส�ำหรับการกลับใจของคน ต่างศาสนาในดินแดนของคนต่างชาติ และให้ เขียนไว้ที่ประตูทางเข้าบ้านเณรแห่งนี้” 24. พิธีเปิดบ้านเณรอย่างเป็นทางการ จั ด ขึ้ น ในวั น ที่ 27 ตุ ล าคม ค.ศ.1663/พ.ศ. 2206 พระสังฆราชแห่งบาบิโลน สมาชิกหลาย
ท่ า นของสมาคมศี ล มหาสนิ ท ได้ ม าร่ ว มพิ ธ ี คุณพ่ออธิการอารามแซงแชร์แมนเป็นผู้ท�ำพิธี เสกบ้านเณร พิธจี บโดยคุณพ่อโบซูเอสเป็นผูก้ อ่ บทสดุดีที่ 57 และเพื่อเป็นเกียรติแด่พระแม่ มารี ย ์ สมาชิ ก คณะได้ เข้ า มาอยู ่ ใ นบ้ า นเณร วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.16563/พ.ศ.2206 หลัง ท�ำวัตรเย็นวันก่อนวันสมโภชแม่พระปฏิสนธิ นิรมล 25. วันที ่ 11 มิถนุ ายน ค.ศ.1664/พ.ศ. 2207 มีการประชุมเลือกตั้งอธิการบ้านเณร คณะมิสซังต่างประเทศ คุณพ่อวินเซนต์เดอ เมอร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นอธิการบ้านเณรคณะ มิ ส ซั ง ต่ า งประเทศคนแรก คุ ณ พ่ อ ลุ ค แฟร์ มาแนล เป็นเหรัญญิก อาจารย์ด้านเทววิทยา และอธิการเณร 26. มิ ช ชั น นารี ทั้ ง 3 กลุ ่ ม ที่ เ ดิ น ทาง ออกจากกรุงปารีสทัง้ สิน้ 17 คน มีเพียง 9 คน เท่ า นั้ น ที่ เ ดิ น ทางมาถึ ง กรุ ง สยาม คุ ณ พ่ อ ดานวิลล์มารภาพเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1662/พ.ศ.2205 ไม่ กี่ วั น ต่ อ มา วั น ที่ 13 ธันวาคม คุณพ่อเชโรมรณภาพเช่นเดียวกัน ปีตอ่ มาวันที ่ 7 สิงหาคม ค.ศ.1663/พ.ศ.2206 คุณพ่อบรูเนลมรณภาพ และหกวันต่อมา วันที ่ 13 สิงหาคม มิชชันนารีองค์สดุ ท้ายต้องจบชีวติ ลงกลางทางคือคุณพ่อเปริโกด์และหลังจาก เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยามิชชันนารีทั้งหมด ท�ำการเข้าเงียบเป็นเวลา 3 วัน 27. สามสั ป ดาห์ ห ลั ง จากมิ ช ชั น นารี สอนค� ำ สอนให้ ช าวญวน มี ห ลายคนขอรั บ ศีลล้างบาป คนแรกที่ได้รับศีลล้างบาป อายุ
เกร็ดความรู้จากหนังสือ กว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยาม 89
30 ปี มิชชันนารีตงั้ ชือ่ นักบุญให้คริสตังคนแรก ว่าโยเซฟ 28. เดือนตุลาคม ค.ศ.1663/พ.ศ.2206 หนึ่งปีหลังจากพระสังฆราชลังแบรต์ คุณพ่อ เดอบูร์จ และคุณพ่อเดย์ดิเยร์เดินทางมาถึง กรุงศรีอยุธยา มีคริสตังทีท่ า่ นดูแลมากถึง 500 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวญวนและชาวญี่ปุ่น 29. พระสังฆราชลังแบรต์เดอ ลา ม็อตต์ จั ด ตั้ ง คณะรั ก กางเขนที่ ตั ง เกี๋ ย เมื่ อ วั น ที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1670/พ.ศ.2213 ที่โคชินจีน ค.ศ.1671/พ.ศ.2214 และที่ประเทศสยาม ค.ศ.1672/พ.ศ.2215
30. หลั ง จากสมเด็ จพระสั นตะปาปา เคลเมนต์ที่ 9 ทรงประกาศตั้งมิสซังสยามแล้ว ต้องรออีก 4 ปีกว่ามิสซังสยามจะมีประมุข มิ ส ซั ง องค์ แรก และผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ เลื อ กให้ เ ป็ น ประมุขมิสซังสยามองค์แรก คือ พระสังฆราช หลุยส์ ลาโน พระคุณเจ้าได้รับเกียรตินามว่า “พระสังฆราชแห่งเมเตลโลโปลิส” และได้รับ อภิเษกวันที ่ 25 มีนาคม ค.ศ.1674/พ.ศ.2217 ปกครองมิสซังสยามนาน 22 ปี สมเด็จพระ นารายณ์มหาราชทรงพระราชทานนามแก่ทา่ น ว่า “พระสังฆราชฝรัง่ เศสผูเ้ ป็นใหญ่ ชาวคริสต์ ผู้มีชัย และเป็นผู้ตื่นรู้ในธรรม”
บรรณานุกรม สมศรี บุญอรุณรักษา. (2560). กว่าจะ... ก�ำเนิดมิสซังสยาม. กรุงเทพฯ: สื่อมวลชนคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย.
โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1
วารสารแสงธรรมปริทัศน์
ใบสมัครสมาชิก/ต่ออายุสมาชิก/ยกเลิกสมาชิก/เปลี่ยนที่อยู่ ข้าพเจ้า บาทหลวง/ภคินี/นาย/นาง/นางสาว.............................................................................................มีความจำ�นง ( ) 1.สมัครสมาชิกใหม่ ในนาม ( ) องค์กร (โปรดระบุชื่อ)........................................................................................ ( ) บุคคล (โปรดระบุชื่อ)........................................................................................ โดยเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ................. (หรือ ปีที่.............. ฉบับที่.............) (ปีละ 3 ฉบับ อัตราค่าสมาชิก ปีละ 300 บาท) ที่อยู่ในการจัดส่งวารสาร เลขที่.........................................................วัด/โรงเรียน......................................................... ถนน................................................ซอย.............................................แขวง/ตำ�บล......................................................... เขต/อำ�เภอ..........................................จังหวัด.......................................................รหัสไปรษณีย์.................................... โทรศัพท์...............................................มือถือ.............................................................โทรสาร............................................ ( ) 2.ต่ออายุสมาชิก หมายเลข.....................................................................ปี พ.ศ. (หรือ ปีที่).......................................... ( ) 3.ยกเลิกการเป็นสมาชิก หมายเลข.....................................................ตั้งแต่ปี พ.ศ. (หรือ ปีที่)..................................... ( ) 4.เปลี่ยนที่อยู่ในการจัดส่งวารสาร ของ..............................................สมาชิกเลขที่........................................................ เป็นดังนี้ เลขที่...................................................................................วัด/โรงเรียน.............................................................. ถนน................................................ซอย.............................................แขวง/ตำ�บล......................................................... เขต/อำ�เภอ..........................................จังหวัด.......................................................รหัสไปรษณีย์.................................... โทรศัพท์...............................................มือถือ.............................................................โทรสาร............................................ ( ) 5.สมทบทุนในการจัดพิมพ์วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่................ฉบับที่....................(หากต้องการระบุปี/ฉบับ) พร้อมกันนี้ ขอส่งเงินค่า ( ) สมาชิกใหม่ ( ) ต่ออายุสมาชิกใหม่ ( ) ยอดค้างชำ�ระค่าสมาชิก ( ) สมทบทุน เป็นจำ�นวนเงิน...................................บาท (...................................................................................................) โดยช่องทาง ( ) เงินสด ( ) โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม บัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ลงชื่อ.........................................................ผู้สมัครสมาชิก วันที่...................../...................../.................. ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ วิทยาลัยแสงธรรม 20 ม. 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819