วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2020/2563

Page 1



วารสารแสงธรรมปริทัศน์

วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, คณบดีคณะมนุษยศาสตร,์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์, ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ, และ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวง อดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายก วีระ อาภรณ์รัตน์, บาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร, บาทหลวง เจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวง ธีรพล กอบวิทยากุล, บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร ์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส, บาทหลวง สมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวง วิรัช นารินรักษ์, บาทหลวง ชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวง เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I.  บาทหลวง อนุสรณ์ แก้วขจร, บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายก ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บรรณาธิการบริหาร บาทหลวง เจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์ สุจิตตรา จันทร์ลอย, นางสาว สุกานดา วงศ์เพ็ญ และ นางสาว พิมพ์ฤทัย วิชัยธรรมคุณ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี ปีละ 300 บาท (จำ�นวน 3 ฉบับ/ปี) จำ�หน่ายปลีก ราคาฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี)  มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันปัสกาแด่ผู้อ่านทุกท่านครับ แม้ปีนี้เราอาจจะพูดไม่ได้ว่า เรามีความสุขกันอย่างแท้จริง เหตุเพราะโลกของเรามีไวรัสระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ผคู้ นจ�ำนวนมากเสียชีวติ  หลายครอบครัวสูญเสียบุคคลทีต่ นรักโดยไม่มโี อกาสเข้าไป อ�ำลาอย่างใกล้ชิด เฉกเช่นธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยมีมา ในสถานการณ์ทมี่ โี รคระบาดร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวติ ของประชาชน สภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จนท�ำให้หลายคนท้อ กังวล หวาดกลัวต่อผลกระทบ ต่างๆ นานา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไม่ท�ำให้เราต้องเสียศูนย์ในชีวิต ถ้าเรามีความหวัง  ความหวังในมุมมองของคริสตชนคือ ความวางใจในพระเจ้า เป็นความเชื่อมโยงกับ พระเจ้า วางทุกสิง่ ในพระหัตถ์ของพระองค์ และเชือ่ อย่างสุดหัวใจในความรักอันยิง่ ใหญ่ของ พระองค์ เชือ่ มัน่ ว่า พระองค์ไม่ทรงทอดทิง้ และช่วยเหลือเราอยูต่ ลอดเวลา ความหวังไม่ได้ ท�ำให้เรารู้แค่ว่า ที่สุดแล้วเราจะรอด แต่ท�ำให้เรารู้จักแสวงหาน�้ำพระทัยของพระองค์ เพื่อ จะท�ำในสิ่งที่ดีท่ีสุด เหมาะสมที่สุด ตามน�้ำพระทัยของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรักเรา และเราก็รักพระองค์ แสงธรรมปริทัศน์ฉบับนี้ จึงอยากจะขอร่วมใจกับคริสตชนทั่วโลกในค�ำภาวนา และ เป็นก�ำลังใจให้กับทุกท่าน โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ทหาร ต�ำรวจและทุกท่านที่ เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา ป้องกันประชาชนจากโรคระบาด หวังว่า สถานการณ์จะกลับ คืนสูป่ กติโดยเร็ว และเชือ่ ว่าไม่มสี งิ่ ใดเกิดขึน้ โดยไม่มเี หตุ ไม่มสี งิ่ ใดในโลกทีไ่ ม่เปลีย่ นแปลง มีโรคระบาดหรือไม่มีโรคระบาด ล้วนเกิดขึ้นเพื่อให้เราเรียนรู้ และปรับปรุงตนเอง ถ้าเรา พร้อมจะเรียนรู้ บรรณาธิการสร้างสรรค์ ข่าวประชาสัมพันธ์... ขอเชิญชวนส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ ฉบับต่อไปเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2563 ในหัวข้อ “พระวาจาของพระเจ้า” ส่งต้นฉบับได้ท ี่ E-mail: pi_santo@yahoo.com หรือ E-mail: sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที 30 มิถนุ ายน 2563 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความทีส่ ง่ มาร่วมแบ่งปัน บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ


Content

ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 Saengtham Journal

4

61

บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.

ความหวังของคริสตชนคืออะไร

18

ความหวัง: คุณธรรมจ�ำเป็นต่อความรอด บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, C.S.S.

นักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6

70

การต่อสู้ การภาวนา และความหวัง ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง ในโลกปัจจุบัน

28

ธัญภรณ์ ลีก�ำเนิดไทย

ศ.กีรติ บุญเจือ, ราชบัณฑิต

77

ต้องไว้ใจหรือวางใจในพระเจ้าถึงจะถูก

37

การศึกษาอบรมที่ให้ความหวัง ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์

43

เจริญชีวิตในความหวังเสมอ

บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.

53

“ความหวัง” ในมุมมองของ บาทหลวง มิเกล กาไรซาบาล, S.J. บทสัมภาษณ์โดยกองบรรณาธิการ

83

ชีวิตกับความหวัง

ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์

95

Faith Hope and Philosophy

Fr.Patrick A. Connaughton, S.S.C. การบริหารความหวังตามนัยยะแห่ง ศาสนาอิสลาม กรณีศึกษา: การบูรณาการ 101 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความหวัง ไม่สิ้นแสงแห่งหวัง ด้วยการศึกษาตามทรรศนะของท่าน อาจารย์ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ มาวัรดีย์และท่านอิมามอิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ อาจารย์ เมธัส วันแอเลาะ

112

แนะน�ำหนังสือ

บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร


(หมวดพระสัจธรรม)

ความหวัง

ของคริสตชนคืออะไร บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, SDB.

1. บริบทวัฒนธรรมแถบตะวันตก ชาวยุ โรปตะวั น ตกก� ำ ลั ง อยู ่ ใ นช่ ว ง วิกฤตการณ์หรือจุดจบทั้งของอารยธรรม ความคิดสมัยใหม่  อิทธิพลของคริสตศาสนา ในสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิม ส�ำหรับเขา ลักษณะโดดเด่นของยุคนีค้ อื ความไม่แน่นอน และความไม่สามารถคาดคะเนอนาคตได้ ยิ่งกว่านั้น เขารู้สึกว่าตนควบคุมโลกไม่ได้ ทัง้ หมดนีก้ อ่ ให้เกิดความหวาดกลัวและความ วิ ต กกั ง วล เพราะสถานการณ์ ต ่ า งๆ ที่ มี สงครามและการถูกกดขี่ขม่ เหงในส่วนต่างๆ ของโลก นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้เรืองนาม ชื่อมาร์ค โอเช่ค (Marc Augé) เรียบเรียง

หนังสือที่มีชื่อว่า “ความกลัวใหม่ๆ” เขา อธิบายว่าชาวตะวันตกน�ำความกลัวที่จะ ต้องมีชีวิตมาแทนความกลัวที่จะต้องตาย ปัจจุบัน ค่านิยมทางวัฒนธรรมที่มีชัยชนะ เป็นค่านิยมทีเ่ น้นความไม่จรี งั ยัง่ ยืนและเวลา ชั่วขณะที่หายวับไป มนุ ษ ย์ ไ ม่ แ สวงหาความหมาย ของชี วิ ต อี ก แล้ ว  เขาด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดยมี ความหวังและคาดหวังในอนาคตเพียงเล็ก น้อย พอใจในโครงการระยะสั้นๆ อนาคต ไม่เป็นค�ำสัญญาอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ไม่ รู้จักและคุกคามเขา ทุกวันนี้  อุดมการณ์ ทางการเมื อ งและอุ ด มรั ฐ ทางสั ง คมคติ

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน S.D.B., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


ความหวังของคริสตชนคืออะไร

ได้ล้มเหลว มนุษย์หลายคนรู้สึกผิดหวังเมื่อ ได้ยนิ ว่าอนาคตเป็นค�ำสัญญา เขาประสบกับ ความป่าเถือ่ นทีแ่ พร่กระจาย ความยุตธิ รรม ที่ ห ละหลวม การยกย่ อ งผู ้ มี อ� ำ นาจ การ แข่งขันกันและการยกย่องตลาดเสรีว่าเป็น เหมือนเทพเจ้า  ต่อหน้าความเย็นเฉยของมนุษย์ทวั่ ไป คริสตชนต้องด�ำเนินชีวิตที่แตกต่างออกไป มิฉะนั้นแล้ว ชีวิตของเขาไม่เป็นประโยชน์ อะไรเลย อิมมานูเอล คานต์  (Immanuel Kant) เคยตัง้ ค�ำถามว่า “ฉันหวังอะไรได้บา้ ง” ในทีน่  ี้ เราจึงต้องค้นหาพืน้ ฐานความหวังของ คริสตชน 2. ความหวังของคริสตชนคืออะไร ความหวั ง เป็ น คุ ณ ธรรมเกี่ ย วกั บ พระเจ้าที่ช่วยเราให้ใฝ่หาอาณาจักรสวรรค์ และชี วิ ต นิ รั น ดรเป็ น ความสุ ข ของเราคื อ พระเจ้ า นั่ น เอง  (เที ย บ  ค� ำ สอนพระ ศาสนจั ก รคาทอลิ ก  ข้ อ  1817) ดั ง นั้ น ความหวังแท้จริงจึงไม่เป็นสิ่งของแต่เป็น พระบุคคล ไม่มีพื้นฐานในสิ่งที่อันตรธาน ซึ่งอาจถูกลิบไปก็ได้  แต่มีพื้นฐานในพระเจ้า ผู้ประทานพระองค์เองแก่เราอยู่เสมอ  ในปี  2007 สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่  16 ทรงเขียนพระสมณสาส์น ว่าด้วยเรือ่ งความหวังของคริสตชน ทีม่ ชี อื่ ว่า “รอดพ้นด้วยความหวัง” (Spe Salvi) พระองค์

5

ทรงสรุปว่า “ความหวังอันยิ่งใหญ่ซึ่งต้อง เป็นความหวังที่อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างคือ พระเจ้าผู้เดียวเท่านั้น ผู้ทรงรวมความเป็น จริ ง ทั้ ง หมดไว้   และทรงเป็ น ผู ้ ส ามารถ ประทานสิ่งที่ล�ำพังตัวเราเองไม่อาจบรรลุ ถึงได้... พระเจ้าทรงเป็นรากฐานของความ หวัง มิใช่เทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แต่เป็น พระเจ้าผู้ทรงมีพระพักตร์แบบมนุษย์และ ทรงรักเราจนถึงที่สุด ทรงรักเราแต่ละคน และทรงรักมนุษยชาติทั้งมวลด้วย” (Spe Salvi, ข้อ 31)  พระสมณสาส์ น ฉบั บ นี้ เ ป็ น ผลงาน ยอดเยี่ ย มที่ ซึ ม ซาบธรรมประเพณี ข อง พระศาสนจักรอย่างลึกซึ้ง มาจากหัวใจของ ผู ้ อ ภิ บ าลสั ต บุ รุ ษ และรู ้ ถึ ง แรงบั น ดาลใจ รวมทัง้ ความวิตกกังวลของเขา ขอสรุปความ คิ ด หลั ก ของพระสมณสาส์ น ฉบั บ นี้   โดย ตอบค�ำถามง่ายๆ ดังต่อไปนี้ 2.1 ความหวังตอบค�ำถามอะไรบ้าง ที่อยู่ในใจของมนุษย์  ค�ำถามพื้นฐานเกี่ยว กับชีวิตที่เกิดขึ้นในใจของมนุษย์ทุกคนคือ เราจะด�ำเนินชีวติ อย่างไร เราสามารถ “เผชิญ หน้ากับชีวิตปัจจุบัน” (Spe Salvi, ข้อ 1) ที่หลายครั้งยากล�ำบากและทุกข์ทรมานได้ อย่างไร เราจะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างไร มีสิ่งใดบ้างที่ ยังคงอยูใ่ นขณะทีท่ กุ สิง่ ทุกอย่างอันตรธานไป อย่างไรก็ตาม มนุษย์ย่อมทะนุถนอมความ


6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 หวังมากมายตลอดชีวิต เมื่อความหวังบาง ประการหรือความหวังทั้งหมดส�ำเร็จลุล่วง ไปเขาสังเกตว่าตนยังปรารถนาสิ่งอื่นๆ อีก เพราะยั ง ไม่ พ อใจอย่ า งเต็ ม เปี ่ ย ม เขาจึ ง “เห็ น ชั ด เจนว่ า  สิ่ ง ที่ ไ ม่ มี ข อบเขตจ� ำ กั ด เท่านั้นสามารถท�ำให้เขารู้สึกพึงพอใจ นั่น คือสิง่ ทีเ่ ป็นมากกว่าสิง่ ทีเ่ ขาอาจบรรลุถงึ ได้” (Spe Salvi, ข้อ 30) 2.2 ความหวังมีลักษณะอย่างไร ก) ความหวังเป็นเครื่องหมายเด่นชัด ของคริสตชน เพราะเห็นแก่ความหวัง “เขา มีอนาคต มิใช่เพราะเขารู้รายละเอียดถึง สิ่งที่รอคอยเขาอยู่  แต่รู้โดยรวมๆ ว่า ชีวิต ของเขาจะไม่จบสิ้นลงแบบว่างเปล่าแน่ๆ” (Spe Salvi, ข้อ 2) ข) ความหวังของคริสตชนมีการรอ คอยของพระเจ้าน�ำหน้า “ถูกแล้ว พระองค์ ทรงรักเรา และเพราะเหตุนี้  จึงทรงรอคอย ให้เรากลับไปหาพระองค์ เปิดใจรับความรัก ยอมให้พระองค์ทรงจับมือ และระลึกว่าเรา เป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์  การรอคอย นี้ของพระเจ้าน�ำหน้าความหวังของเราอยู่ เสมอ เช่นเดียวกับความรักของพระองค์มา ถึงเราเป็นอันดับแรกเสมอ” (บทเทศน์ของ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ท ี่ 16 วันที่ 1 ธันวาคม 2007)  ค) ความหวังของคริสตชนได้ชื่อว่า เป็นคุณธรรมทางเทววิทยา เพราะพระเจ้า

ทรงเป็นแหล่งที่มา ผู้ค�้ำจุนและจุดมุ่งหมาย ของความหวัง ง) ความหวังของคริสตชนไม่เป็นเพียง การให้ขอ้ มูลเท่านัน้  แต่เรียกร้องการกระท�ำ คื อ  “ไม่ เ ป็ น เพี ย งการสื่ อ สารถึ ง สิ่ ง ที่ เรา สามารถรู้จักเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสาร ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด สิ่ ง ต่ า งๆ ขึ้ น  และท� ำ ให้ ชี วิ ต เปลี่ยนแปลง” (Spe Salvi, ข้อ 2) จ) ความหวังแข็งแกร่งยิ่งกว่าความ ทุกข์ทรมานและการเป็นทาส ดังนั้น ความ หวังจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและโลก จากภายในได้  (เทียบ Spe Salvi, ข้อ 4)  ฉ) ความหวังของคริสตชนโดยสาระ ส� ำ คั ญ เป็ น ความหวั ง เพื่ อ ผู ้ อื่ น เสมอ เมื่ อ เป็นเช่นนี้แล้ว จึงจะเป็นความหวังส�ำหรับ ข้ า พเจ้ า ด้ ว ยจริ ง ๆ ...ในฐานะคริ ส ตชน เราไม่ควรถามตนเองเพียงว่า “ข้าพเจ้าจะ เอาตัวรอดได้อย่างไร” แต่เราควรถามด้วย ว่า “ข้าพเจ้าสามารถท�ำอะไรได้บ้างเพื่อคน อืน่ ได้รบั ความรอดพ้น” (Spe Salvi, ข้อ 48) ความรอดพ้น “ได้รับการพิจารณาว่าเป็น ความจริงส่วนรวม” (Spe Salvi, ข้อ 14) “การมีชีวิตเพื่อพระคริสตเจ้าหมายถึงการ ยอมเป็นบุคคลเพือ่ ผูอ้ นื่ ” (Spe Salvi, ข้อ 28) 2.3 อะไรเป็นแหล่งทีม่ าของความหวัง ก) ความหวั ง มาจากการพบปะกั บ พระเยซูเจ้าผูท้ รงท�ำให้เรารูจ้ กั พระเจ้า “การ รู ้ จั ก พระเจ้ า เที่ ย งแท้ ห มายถึ ง การได้ รั บ


ความหวังของคริสตชนคืออะไร

ความหวัง” (Spe Salvi, ข้อ 3) คือค้นพบ พระเจ้าในฐานะทรงเป็นพระบิดาผูพ้ ระทัยดี และเมตตากรุณา ทรงเป็นพระเจ้าองค์ความ รั ก ที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรงเปิ ด เผยด้ ว ยการรั บ ธรรมชาติมนุษย์  พระชนมชีพบนแผ่นดิน การเทศน์สอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ สิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพ ความหวั ง แท้ จ ริ ง และมั่ น คงมี พื้ น ฐาน บนความเชื่อในพระเจ้าผู้ทรงความรักและ ทรงเป็ น พระบิด าผู้ทรงพระเมตตากรุณ า ผู้  “ทรงรักโลกอย่างมากจึงประทานพระ บุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์” (ยน 3:16) ดังนั้น ความหวังของคริสตชนจึงมี ความหมายเท่าเทียบกับความเชื่อ เพราะ เหตุผล 2 ประการคือ  • “ความเชื่ อ คื อ ความมั่ น ใจในสิ่ ง ที่ เราหวังไว้  เป็นข้อพิสูจน์ถึงสิ่งที่มองไม่เห็น” (ฮบ 11:1) “ความเชือ่ เป็นสารัตถะของความ หวัง” (Spe Salvi, ข้อ 10) • “วิ ก ฤตการณ์ ข องความเชื่ อ ใน ยุคปัจจุบัน เหนือสิ่งอื่นใด เป็นวิกฤตการณ์ ความหวังของคริสตชน” (Spe Salvi, ข้อ 17) ข) ความหวั ง มาจากการพบปะกั บ พระเยซูเจ้าผูท้ รงท�ำให้เราเป็นคนอิสระอย่าง แท้จริง พระคริสตเจ้า “ตรัสกับเราว่า จริงๆ แล้ว มนุษย์เป็นผู้ใดและต้องท�ำอะไรเพื่อ เป็นมนุษย์แท้จริง...พระองค์ยงั ทรงชีห้ นทาง หลังความตายให้เรารู้” (Spe Salvi, ข้อ 6)

7

ค) ความหวั ง มาจากการพบปะกั บ พระเยซูเจ้าผู้ทรง “ถ่ายทอดสารัตถะของ สิ่งที่จะเป็นในอนาคตแก่เรา ดังนั้น การรอ คอยพระเจ้ามีความแน่ใจใหม่  เป็นการรอ คอยสิง่ ทีจ่ ะเป็นไปในอนาคตจากมุมมองของ ปัจจุบันที่ถูกมอบไว้ให้แล้ว เป็นการรอคอย เฉพาะพระพักตร์พระคริสตเจ้าและพร้อมกับ พระคริสตเจ้าผู้ประทับอยู่  ให้พระวรกาย ของพระองค์สมบูรณ์ไป เพราะเห็นแก่การ เสด็ จ มาอย่ า งรุ ่ ง โรจน์ ข องพระองค์ ค รั้ ง สุดท้าย” (Spe Salvi, ข้อ 9) ง) ความหวั ง มาจากการพบปะกั บ พระเยซูเจ้าผู้ทรงมอบชีวิตนิรันดรแก่เรา  2.4 ชีวิตนิรันดรคืออะไร “ชี วิ ต นิ รั น ดรคื อ การรู ้ จั ก พระองค์ พระเจ้าแท้จริงแต่พระองค์เดียวและรู้จัก ผูท้ พี่ ระองค์ทรงส่งมา คือพระเยซูคริสตเจ้า” (ยน 17:3) “ถ้ า เรามี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พระองค์ผทู้ รงเป็นอมตะ ผูท้ รงเป็นองค์ชวี ติ และองค์ความรักแล้ว เราก็อยูใ่ นชีวติ  ดังนัน้ เราจึงมีชีวิต” (Spe Salvi, ข้อ 27) และจะ มีชีวิตตลอดไป 2.5 ความหวังของคริสตชนต่อต้าน สิ่งใด ก) ความหวั ง ของคริ ส ตชนต่ อ ต้ า น อเทวนิยมของศตวรรษที่ 19 - 20 ซึ่งท�ำให้ “การประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมต่างๆ ในโลก” กลับเป็น “การประท้วงต่อต้าน


8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 พระเจ้า” อย่างไรก็ตาม “ถ้าต่อหน้าความ ทุกข์ทรมานของโลกนี้  การประท้วงต่อต้าน พระเจ้าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้  ค�ำกล่าวอ้างสิทธิ ที่ว่ามนุษยชาติสามารถท�ำและต้องท�ำสิ่งที่ พระเจ้ า ไม่ ท รงสามารถท� ำ และไม่ ท รงมี อ�ำนาจที่จะท�ำ  เป็นค�ำกล่าวที่จองหองและ ไม่ จ ริ ง ในตั ว มั น เอง มิ ใช่ เ ป็ น เรื่ อ งบั ง เอิ ญ ที่ความคิดแบบนี้ได้น�ำไปสู่ความโหดร้าย และการละเมิดความยุติธรรมยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะความคิดนี้มีพื้นฐานบนความไม่เป็น จริงในตัวมันเองของการอ้างสิทธินี้” (Spe Salvi, ข้อ 42) ข) ความหวั ง ของคริ ส ตชนต่ อ ต้ า น ลัทธิมาร์กซิสต์  ซึ่งสอนเรื่องการปกครอง แบบเผด็ จ การของชนชั้ น กรรมาชี พ  ลั ท ธิ นี้ได้  “ทิ้งร่องรอยความพินาศน่าตระหนก ยิ่ ง ไว้ เ บื้ อ งหลั ง ” เพราะ “ลื ม มนุ ษ ย์ แ ละ ลืมอิสรภาพของมนุษย์...มาร์กซ์คิดว่าเมื่อ จัดการให้เศรษฐกิจลงตัวแล้ว ทุกสิง่ ทุกอย่าง ก็จะเข้าที่เข้าทางของมันได้เองโดยอัตโนมัติ ความผิดพลาดแท้จริงของเขาคือ เรื่องลัทธิ วัตถุนิยมนั่นเอง ที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เป็น เพี ย งผลผลิ ต จากเงื่ อ นไขของเศรษฐกิ จ และเป็นไปไม่ได้ที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น เพียงจากสิ่งภายนอกเท่านั้น โดยวิธีสร้าง สภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ อ�ำนวยทางด้านเศรษฐกิจ” (Spe Salvi, ข้อ 20,21)

ค) ความหวั ง ของคริ ส ตชนต่ อ ต้ า น “ความเชือ่ ในความก้าวหน้าว่าเป็นความหวัง ใหม่ของมนุษย์” (Spe Salvi, ข้อ 20) ซึ่ง จินตนาการขึ้นมาเป็นการควบคุมธรรมชาติ ยิ่งทียิ่งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้มนุษย์ หลงเชื่อว่าตนจะได้รับความมรอดพ้นจาก ทางวิทยาศาสตร์  และได้จ�ำกัดความเชื่อ และความหวังในขอบเขตส่วนตัวของแต่ละ บุคคลมากยิ่งขึ้นเสมอ คริสตชนต้องก�ำจัด “ความก�ำกวมของความก้าวหน้า” คือความ ก� ำ กวมที่ ม าจากสาเหตุ ที่ ค วามก้ า วหน้ า “อาจเปิดโอกาสใหม่ๆ เพื่อท�ำความดี  แต่ ในเวลาเดียวกัน ยังเปิดโอกาสให้ท�ำความ ชั่วร้ายอย่างน่ากลัวอีกด้วย” (Spe Salvi, ข้อ 22) เขาจ�ำเป็นต้องท�ำเช่นนี้โดย • มีการเจริญเติบโตของชีวิตภายใน เพื่อมนุษย์จะได้ก้าวหน้าในด้านศีลธรรม คื อ  “ถ้ า ความก้ า วหน้ า ทางวิ ท ยาการไม่ สอดคล้องกับความก้าวหน้าในการอบรม มนุ ษ ย์ ใ ห้ มี ศี ล ธรรม ในการเจริ ญ เติ บ โต ภายในของมนุษย์แล้ว (เทียบ อฟ 3:16; 2 คร 4:16) ความก้าวหน้านั้นไม่เป็นความ ก้าวหน้าเลย แต่กลับเป็นการคุกคามมนุษย์ และโลก” (Spe Salvi, ข้อ 22) • มี เ หตุ ผ ล “ซึ่ ง เป็ น ของประทาน ยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าทรงมอบแก่มนุษย์” ต้อง เปิดใจรับความเชื่อ เพราะมนุษย์ลืมไม่ได้ ว่า “ชัยชนะของเหตุผลเหนือสิ่งที่ไร้เหตุผล


ความหวังของคริสตชนคืออะไร

ก็เป็นจุดมุ่งหมายของความเชื่อคริสตชนอีก ด้วย” (Spe Salvi, ข้อ 23)  • “วิทยาศาสตร์อาจช่วยได้มากในการ ท�ำให้โลกและมนุษย์มคี วามเป็นมนุษย์ยงิ่ ขึน้ ถึงกระนั้น วิทยาศาสตร์ก็อาจท�ำลายมนุษย์ และโลกได้ด้วย ถ้าไม่ถูกบังคับทิศทางโดย พลังอ�ำนาจากภายนอก... ไม่ใช่วทิ ยาศาสตร์ ที่ ไ ถ่ กู ้ ม นุ ษ ย์   มนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ การกอบกู ้ จ าก ความรั ก ... มนุ ษ ย์ ต ้ อ งการความรั ก แบบ ไม่มเี งือ่ นไข เขาต้องการความแน่ใจซึง่ ท�ำให้ เขาพูดออกมาว่า “ไม่ว่าความตายหรือชีวิต ไม่วา่ ทูตสวรรค์หรือผูม้ อี ำ� นาจปกครอง ไม่วา่ ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่ว่าฤทธิ์อ�ำนาจใด หรื อ ความสู ง ความลึก ไม่มีสรรพสิ่ง ใดๆ จะพรากเราได้จากความรักของพระเจ้า ซึ่ง ปรากฏในพระคริ ส ตเยซู   องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของเรา” (รม 8:38-39) ถ้ า ความรั ก สมบูรณ์นี้มีอยู่จริงอย่างแน่นอนแล้ว เวลา นั้นเท่านั้นที่มนุษย์จะได้การกอบกู้  ไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับเขาในกรณีเฉพาะเจาะจง ของตน นี่คือความหมายเมื่อเราพูดว่า พระ คริสตเจ้าทรงกอบกู้เรา” (Spe Salvi, ข้อ 24-26) ง) ความหวั ง ของคริ ส ตชนต่ อ ต้ า น วัตถุนิยม “ไม่ใช่องค์ประกอบของจักรวาล ไม่ใช่กฎของสสารที่ปกครองโลกและมนุษย์ ไว้เด็ดขาด แต่เป็นพระบุคคลของพระเจ้า ผู้ทรงปกครองดวงดาวทั้งหลายคือจักรวาล

9

มิใช่กฎของสสารและกฎของวิวัฒนาการมี อ�ำนาจสูงสุด แต่เป็นเหตุผล เจตจ�ำนง และ ความรักคือพระบุคคล...ชีวิตไม่เป็นเพียงผล ของกฎต่างๆ และปัจจัยของสสารเท่านั้น” (Spe Salvi, ข้อ 5) จ) ความหวั ง ของคริ ส ตชนต่ อ ต้ า น “สุญนิยมร่วมสมัยซึง่ บัน่ ทอนความหวังในใจ ของมนุษย์  ชวนให้คิดว่า ทั้งในตัวเขาและ รอบตัวเขามีแต่ความว่างเปล่า คือไม่มีสิ่งใด เลยก่ อ นมนุ ษ ย์ เ กิ ด มาและไม่ มี สิ่ ง ใดเลย หลังความตาย จริงอยู่  ถ้าไม่มีพระเจ้าความ หวังก็จะล้มเหลว ทุกอย่างสูญเสียรูปทรง เหมื อ นกั บ ว่ า เมื่ อ ทุ ก สิ่ ง สู ญ เสี ย ความลึ ก ทุ ก อย่ า งก็ จ ะแบนราบ ไม่ มี ค วามหมาย อีกเลย คงเหลือเพียงความเป็นสสารเท่านัน้ ” (บทเทศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเน ดิกต์ที่  16 โอกาสท�ำวัตรเย็นวันเสาร์ก่อน วันอาทิตย์ที่  1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระ คริสตเจ้า 1 ธันวาคม 2007) ฉ) ความหวั ง ของคริ ส ตชนต่ อ ต้ า น ความสิ้นหวังและความวิตกกังวลในปัจจุบัน ซึ่งสรุปได้ในถ้อยค�ำที่จารึกไว้บนหินฝังศพ โบราณ ในศตวรรษแรกๆ ของคริสต์ศาสนา ว่า “ในความว่างเปล่า เราตกไปอยู่ในความ ว่างเปล่า อย่างรวดเร็วเหลือเกิน” (In nihil ab nihilo quam cito recidimus”) (Spe Salvi, ข้อ 2)


10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ช) ความหวังของคริสตชนต่อต้านรูป แบบหนึง่ ของคริสตศาสนาสมัยใหม่ ซึง่  “จ�ำกัด ความสนใจส่วนใหญ่ไว้กับปัจเจกบุคคลและ ความรอดพ้นของตน” (Spe Salvi, ข้อ 25) ท�ำให้  “ความหวังทางพระคัมภีร์เกี่ยวกับ พระอาณาจักรของพระเจ้าถูกแทนที่โดย ความหวังเกีย่ วกับอาณาจักรของมนุษย์ และ โดยความหวั ง เกี่ ย วกั บ โลกที่ ดี ก ว่ า  ซึ่ ง จะ เป็น “พระอาณาจักรของพระเจ้า” ทีแ่ ท้จริง ในเรือ่ งนี ้ แม้เราต้องยอมรับว่ารูปแบบนีข้ อง คริสตศาสนาคงให้การอบรมมนุษย์และดูแล เอาใจใส่ผู้อ่อนแอและผู้ทนทุกข์ทั้งหลาย อย่างมาก ก็ยงั ต้องตัง้ ค�ำถามทีว่ า่  “แล้วเมือ่ ไหร่จึงจะมีโลกที่ดีกว่านี้เล่า อะไรท�ำให้โลก นีด้  ี มีมาตรการอะไรทีเ่ ราใช้ตดั สินว่าโลกนีด้ ี อะไรเป็นทางน�ำไปสู่โลกที่ดี” (Spe Salvi, ข้อ 30) 2.6 เราจะเรียนรูแ้ ละฝึกปฏิบตั คิ วาม หวังได้จากสถานการณ์ใด ส่วนใหญ่สถานการณ์สำ� คัญทีส่ ง่ เสริม การเรี ย นรู ้ แ ละฝึ ก ปฏิ บั ติ ค วามหวั ง มี   4 ประการคือ ก) การอธิษฐานภาวนา • “ถ้าไม่มผี ใู้ ดฟัง พระเจ้าก็ยงั ทรงฟัง ข้าพเจ้าอยู่  ถ้าข้าพเจ้าไม่สามารถพูดคุยกับ ผูใ้ ด หรือเรียกหาใครได้อกี แล้ว ข้าพเจ้าก็ยงั สามารถพูดคุยกับพระเจ้าได้เสมอ ถ้าไม่มี ใครช่วยข้าพเจ้าท�ำสิ่งที่จ�ำเป็นหรือต้องคาด หวังสิ่งที่เกินเลยความสามารถของมนุษย์

พระองค์กย็ งั ทรงช่วยข้าพเจ้าได้” (Spe Salvi, ข้อ 32) • ค�ำอธิษฐานภาวนา “ต้องได้รับการ ชี้น�ำและได้รับแสงสว่างจากบทภาวนายิ่ง ใหญ่ของพระศาสนาจักรและของบรรดา นักบุญ จากบทภาวนาในพิธีกรรมซึ่งองค์ พระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ทรงสอนเราอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ให้รู้จักภาวนาอย่างถูกต้อง...การอธิษฐาน ภาวนาจึงต้องเกี่ยวข้องกับการผสมผสาน ระหว่างบทภาวนาส่วนรวมกับบทภาวนา ส่วนตัวเสมอ” (Spe Salvi, ข้อ 34) ข) การกระท�ำ ความหวังของคริสต ชนคือ “ความหวังที่เป็นกิจการซึ่งเราออก แรงเพื่อโลกส่องแสงและมีมนุษยธรรมยิ่ง ขึ้น... ถูกแล้ว เราไม่ได้สามารถสร้างพระ อาณาจักรของพระเจ้าขึ้นมาด้วยพลังของ ตนเอง สิ่งที่เราสร้างขึ้นจะเป็นอาณาจักร ของมนุ ษ ย์ ที่ มี ข ้ อ จ� ำ กั ด มากมายเฉพาะ เจาะจงของธรรมชาติมนุษย์  พระอาณาจักร ของพระเจ้าเป็นของประทาน และเพราะ เหตุนเี้ อง พระอาณาจักรจึงยิง่ ใหญ่  สวยงาม และเป็นค�ำตอบให้แก่ความหวัง...อย่างไร ก็ตาม แม้เราตระหนักดีว่าสวรรค์มีคุณค่า มากกว่าการกระท�ำของเรา ก็ยังเป็นความ จริงอยู่เสมอว่า เราต้องไม่ประพฤติตนเมิน เฉยเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า และดังนัน้ ต้อง ไม่ เ มิ น เฉยต่ อ การพั ฒ นาชี วิ ต มนุ ษ ย์ ด ้ ว ย เราสามารถเปิดใจและเปิดโลกให้พระเจ้า


ความหวังของคริสตชนคืออะไร

เสด็จเข้ามา กล่าวคือเปิดใจต้อนรับความจริง ความรัก และความดี... ดังนี้  ทางด้านหนึ่ง การกระท�ำของเราท�ำให้เกิดความหวังแก่เรา และแก่ผู้อื่น แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นความ หวังอันยิ่งใหญ่ที่มีพื้นฐานอยู่บนพระสัญญา ของพระเจ้าที่ให้ก�ำลังใจ และช่วยชี้น�ำการ กระท�ำของเรา ไม่วา่ ในยามสุขหรือยามทุกข์” (Spe Salvi, ข้อ 35) ค) การรั บ ทุ ก ข์ ท รมาน นี่ เ ป็ น อี ก สถานการณ์หนึ่งที่เราเรียนรู้ความหวัง “แน่ นอน เราต้องท�ำทุกอย่างเท่าทีส่ ามารถท�ำได้ เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานต่างๆ” (Spe Salvi, ข้อ 36) อย่างไรก็ตาม “ไม่เป็นการ หลีกเลีย่ งหรือหลบหนีจากความทุกข์ทรมาน ที่รักษามนุษย์  แต่เป็นความสามารถที่จะ ยอมรับและเจริญเติบโตในความทุกข์ทรมาน คือการพบความหมายในการเป็นหนึ่งเดียว กับพระคริสตเจ้า ผูท้ รงรับทรมานด้วยความ รักอันไร้ขอบเขต” (Spe Salvi, ข้อ 37)  ง) การพิพากษาของพระเจ้า “ความ เชื่อมั่นในการพิพากษาครั้งสุดท้าย ก่อนอื่น หมดและโดยเฉพาะอย่างยิง่  เป็นความหวัง” (Spe Salvi, ข้อ 43) “ภาพของการพิพากษา ครัง้ สุดท้าย อันดับแรก มิใช่เป็นภาพบ่งบอก ความน่ากลัว แต่เป็นภาพแห่งความหวัง บางทีส�ำหรับเรา เป็นภาพที่ชัดเจนบ่งบอก ถึงความหวัง” (Spe Salvi, ข้อ 44) “การ พิพากษาของพระเจ้าเป็นความหวัง เพราะ

11

เป็นทั้งความยุติธรรมและพระหรรษทานอีก ด้วย ถ้าเป็นเพียงพระหรรษทานที่ท�ำให้ทุก สิ่งของโลกนี้หมดความส�ำคัญแล้ว พระเจ้า คงจะต้องตอบค�ำถามของเราเกี่ยวกับความ ยุ ติ ธ รรม เป็ น ค� ำ ถามส� ำ คั ญ ยิ่ ง ที่ เราถาม ถึงประวัติศาสตร์และพระเจ้าพระองค์เอง ถ้าการพิพากษานี้เป็นเพียงความยุติธรรม ในที่สุด ก็น�ำเพียงความหวาดกลัวมาให้เรา เท่านั้น” (Spe Salvi, ข้อ 47) “ทั้งความ ยุตธิ รรมและพระหรรษทานจะต้องพิจารณา พร้อมๆ กันในความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง พระ หรรษทานไม่ ข จั ด ความยุ ติ ธ รรมออกไป ไม่ เ ปลี่ ย นความผิ ด ให้ เ ป็ น ความถู ก ต้ อ ง ไม่เป็นฟองน�้ำที่เช็ดทุกสิ่งให้สะอาดเกลี้ยง หมดจด เพื่ อ ว่ า สิ่ ง ใดก็ ต ามที่ ท� ำ บนโลกนี้ จะจบลงแบบมีคุณค่าเท่ากันเสมอ” (Spe Salvi, ข้อ 44)  2.7 ความหวังบอกอะไรกับเราเกีย่ ว กับเหตุการณ์สุดท้าย คริสตชนรอคอยเหตุการณ์สุดท้ายใน อันตวิทยาคือ ความตาย การพิพากษา นรก และสวรรค์  2.8 ภาพใดเป็นเครื่องหมายแสดง ความหวัง ก) ภาพของความหวังซึ่งธรรมประ เพณีของคริสตชนคุ้นเคยมากที่สุดคือ ภาพ ทีเ่ ราพบในพระวรสาร โดยเฉพาะอย่างยิง่  3 ภาพ ดังต่อไปนี้


12 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 • ภาพการรอคอยอย่างสงบเงียบและ ถ่อมตนของผู้เฒ่าสิเมโอนและนางอันนา ประกาศกหญิง (เทียบ ลก 2: 22-40) • ภาพของผู ้ เ ลี้ ย งแกะที่ ดี   ซึ่ ง พระ ศาสนจั ก รสมั ย แรกๆ ชื่ น ชอบเป็ น พิ เ ศษ “เป็นภาพแสดงความใฝ่ฝันของการมีชีวิต สงบราบเรียบของบุคคลทีอ่ ยูท่ า่ มกลางความ สั บ สนวุ ่ น วายในเมืองใหญ่  เขาปรารถนา อย่างยิ่งที่จะมีชีวิตเช่นนี้  บัดนี้  เขาอ่านภาพ ในสถานการณ์ใหม่ซ่ึงให้ความหมายลึกซึ้ง มากยิ่งขึ้นคือ ‘องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเลี้ยงดู ข้าพเจ้าอย่างผู้เลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจึงไม่ขาด สิ่งใด...แม้ข้าพเจ้าจะต้องเดินไปในหุบเขา ที่ มื ด มิ ด  ข้ า พเจ้ า จะไม่ ก ลั ว อั น ตรายใดๆ เพราะพระองค์ ท รงยู ่ กั บ ข้ า พเจ้ า ’ (สดด 23:1, 4) ผู้เลี้ยงแกะที่แท้จริงคือพระผู้ทรง รู ้ จั ก แม้ ก ระทั่ ง เส้ น ทางที่ ผ ่ า นหุ บ เขาแห่ ง ความตาย ทรงเป็ น ผู ้ เ ดิ น ไปกั บ ข้ า พเจ้ า แม้ตามเส้นทางเปลี่ยวสุดท้าย ซึ่งไม่มีผู้ใด ร่วมทางคอยช่วยชี้น�ำให้ข้าพเจ้าข้ามไป คือ พระองค์เองทรงเดินตามเส้นทางนี้  เสด็จลง ไปสู่อาณาจักรแห่งความตาย ทรงมีชัยชนะ และเสด็จกลับมา เพื่อบัดนี้ทรงร่วมเดินทาง กับเราและประทานความแน่ใจว่า พร้อมกับ พระองค์เราจะพบเส้นทางที่ผ่านไป ความ ส�ำนึกทีว่ า่  พระผูท้ รงร่วมเดินทางกับข้าพเจ้า แม้ในความตายทรงมีอยู่จริง รวมทั้ง ‘พระ คธาและธารพระกรของพระองค์ ช ่ ว ยให้

ข้าพเจ้าอุ่นใจ’ จนกระทั่ง ‘ข้าพเจ้าจะไม่ กลั ว อั น ตรายใดๆ เลย’ (สดด 23:4) นี่ เป็น “ความหวังใหม่” (Spe Salvi, ข้อ 6) • ภาพการรอคอยของพระนางมารีย์ เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ และทรงรีบออก เดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้น ยู เ ดี ย  “เป็ น ภาพของพระศาสนจั ก รใน อนาคต ซึ่งในพระครรภ์  พระนางทรงน�ำ ความหวั ง ของโลก  ข้ า มเทื อ กเขาแห่ ง ประวัติศาสตร์” (Spe Salvi, ข้อ 50) ข) “ปลายศตวรรษที่   3 ที่ ก รุ ง โรม เราพบภาพพระเยซูเจ้าในบริบทการกลับ คื น ชี พ ของลาซารั ส บนหี บ ศพท� ำ ด้ ว ยหิ น อ่อนของเด็กชายคนหนึ่ง เป็นครั้งแรกที่เรา พบภาพของพระคริ ส ตเจ้ า ในฐานะนั ก ปรัชญาแท้จริง พระหัตถ์ขา้ งหนึง่ ถือหนังสือ พระวรสาร และอีกข้างหนึ่งถือไม้เท้าของ ผู้เดินทาง เป็นภาพเฉพาะของนักปรัชญา ด้วยไม้เท้านี้พระองค์ทรงมีชัยชนะเหนือ ความตาย พระวรสารน�ำความจริงซึ่งนัก ปรัชญาทั้งหลายที่เดินทางแสวงหาแต่ไม่ได้ ผล ในภาพนี้และในภาพอื่นๆ ตามศิลปะที่ คงอยู่เป็นเวลานานในการแกะสลักหีบหิน อ่อน ปรากฏชัดเจนถึงสิ่งที่บุคคลมากมาย ทัง้ ผูไ้ ด้รบั การศึกษาและสามัญชนพบในพระ คริสตเจ้า กล่าวคือพระองค์ทรงบอกเราว่า จริงๆ แล้วมนุษย์เป็นผู้ใดและมนุษย์ต้องท�ำ อะไรเพื่อจะเป็นมนุษย์ที่แท้จริง พระองค์


ความหวังของคริสตชนคืออะไร

ทรงชี้หนทางแก่เรา และหนทางนี้คือความ จริ ง พระองค์ เ องทรงเป็น ทั้ง หนทางและ ความจริง ดังนัน้  จึงทรงเป็นชีวติ ทีเ่ ราทุกคน ก� ำ ลั ง แสวงหาอี ก ด้ ว ย พระองค์ ยั ง ทรงชี้ หนทางหลั ง ความตายแก่ เ รา เพี ย งผู ้ ที่ สามารถท� ำ เช่ น นี้ ไ ด้ เ ท่ า นั้ น เป็ น อาจารย์ แท้จริงของชีวิต” (Spe Salvi, ข้อ 6) 2.9 นักบุญใดทีส่ มเด็จพระสันตะปาปา ทรงน�ำเสนอว่าเป็นแบบอย่างของความ หวัง สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงระลึกเป็นพิเศษถึงบุคคล 3 ท่าน ในหมู่หญิงและชายจ�ำนวนมากที่เป็นพยาน ถึ ง พระนามขององค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า จนสุ ด ปลายแผ่นดิน แม้ในความทุกข์ยากล�ำบาก และความชื่นชมยินดีประจ�ำวัน นั่นคือ ก) นักบุญโยเซฟิน บาคีตา (Josephine Bakhita) ทาสหญิ ง เล็ ก ๆ ชาว แอฟริ กั น  เกิ ดในปี  1869 ที่เ มืองดาร์ฟูร ์ ประเทศซูดาน เธอเคยพบกับ “เจ้านาย” โหดร้ายน่ากลัวที่เป็นเจ้าของและควบคุม ชีวิต แต่เมื่อได้รู้จักกับเจ้านายที่แตกต่างกัน โดยสิน้ เชิงคือ พระเจ้าผูท้ รงชีวติ  ผูท้ รงความ ดี ทรงรักเขา ความหวังยิง่ ใหญ่กเ็ กิดขึน้ ในใจ ของเธอ และเธอแน่ใจว่าแม้สิ่งใดจะเกิดขึ้น พระเจ้าทรงรักตน เธอไม่สามารถเก็บความ หวังนี้ไว้ในใจเพียงล�ำพัง แต่จะต้องประกาศ แก่ผู้อื่นด้วย (เทียบ Spe Salvi, ข้อ 3)

13

ข) นักบุญเปาโล เล เบ๋า ติน (Paul Le-Bao-Thin) มรณสั ก ขี ช าวเวี ย ดนาม ในปี  1857 ท่านเขียนจดหมายซึ่งอาจเรียก ได้ว่า “จดหมายจากนรก” อย่างแท้จริง เพราะเขียนจากห้วงลึกในเรือนจองจ�ำ  ท่าน เป็นนักโทษในนามของพระคริสตเจ้า และ แม้ท่านถูกล้อมรอบด้วยผู้เกลียดชัง แต่ก็มี ประสบการณ์ ค วามรอดพ้ น ในความหวั ง (เทียบ Spe Salvi, ข้อ 37) ค) ผู ้ น ่ า เคารพ เหงี ย น วั น  ทวน (Venerable François Xavier Nguyen Van Thuân) พระคาร์ดินัลชาวเวียดนาม ผูเ้ สียชีวติ ในปี 2002 ท่านถูกขังอยูใ่ นคุกเป็น เวลา 13 ปี ต้องถูกขังเดีย่ วถึง 9 ปี ท่านเคย กล่าวว่า “ในสถานการณ์ทหี่ มดหวังอย่างสิน้ เชิง การฟังและสนทนากับพระเจ้า เป็นพลัง หล่อเลี้ยงความหวังของตน” (เทียบ Spe Salvi, ข้อ 32) 2.10 ผู้ใดเป็นดาวแห่งความหวัง พระนางมารี ย ์   พระมารดาของ พระเจ้า ทรงเป็นดาวแห่งความหวัง “ตั้งแต่ ศตวรรษที่  8 หรือ 9 คือมากกว่าหนึ่งพันปี มาแล้ว พระศาสนจักรกล่าวทักทายพระนาง มารีย์พระชนนีของพระเจ้าว่า “วันทาดารา สมุทร” (Ave maris stella) ชีวิตมนุษย์ เป็นการเดินทาง ไปสู่จุดหมายปลายทางใด เราจะพบเส้นทางนั้นได้อย่างไร ชีวิตเป็น เสมือนการเดินทางในทะเลแห่งประวัตศิ าสตร์


14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ซึ่งบ่อยครั้งมืดมิดและมีพายุ  เป็นการเดิน ทางทีเ่ ราเฝ้ามองหาดวงดาวทีจ่ ะช่วยน�ำทาง ดวงดาวแท้จริงของชีวติ คือบุคคลทีไ่ ด้ดำ� เนิน ชีวิตอย่างดี  เขาเหล่านั้นเป็นแสงสว่างแห่ง ความหวัง แน่นอน พระเยซูคริสตเจ้าทรง เป็ น แสงสว่ า งเลอเลิ ศ  เป็ น ดวงอาทิ ต ย์ ที่ ปรากฏขึน้ เหนือเงามืดทัง้ หมดในประวัตศิ าสตร์ แต่เพือ่ ไปถึงพระองค์เราต้องการแสงสว่างที่ อยู่ใกล้ๆ อีกด้วย นั่นคือบุคคลที่ส่องสว่าง โดยดึงแสงสว่างจากพระองค์ และช่วยน�ำเรา ไปตามเส้นทางเดินของตน ผู้ใดเล่าจะเป็น ดวงดาวแห่งความหวังได้มากกว่าพระนางมา รี ย ์   พระนางทรงเปิ ด ประตู โ ลกของเรา ต้อนรับพระเจ้าพระองค์เอง พระนางทรง กลายเป็นหีบพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงรับ ธรรมชาติมนุษย์  และทรงกลับเป็นมนุษย์ ในหมู่เรา เสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา” (เทียบ ยน 1:14) (Spe Salvi, ข้อ 49) 3. ข้อสรุป พระสมณสาส์น “รอดพ้นด้วยความ หวัง” (Spe Salvi) แสดงความคิดสร้างสรรค์ ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่  16 ไม่เพียงเรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง กั บ ความรั ก  แต่ ม ากกว่ า นนั้ น ในความ สัมพันธ์ระหว่างความหวังกับความยุติธรรม ความหวังทีจ่ ะได้สงิ่ ทีอ่ ยูเ่ หนือโลกนีห้ ลังจาก ความตาย ไม่เป็นเพียงเป็นความปรารถนา

ทีจ่ ะได้ความรักไร้ขอบเขตเท่านัน้  แต่ยงั เป็น ความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากความชั่ว ร้าย และปรารถนาที่จะได้รับความยุติธรรม ความหวังของเราเรียกร้องชัยชนะของความ ยุติธรรม ซึ่งไม่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้  พระองค์ ตรัสว่า “ข้าพเจ้ามั่นใจว่าปัญหาเรื่องความ ยุติธรรมเกิดเป็นข้อถกเถียงส�ำคัญ หรือมิ ฉะนั้นก็เป็นการให้เหตุผลที่มีน�้ำหนักยิ่งช่วย สนับสนุนเรื่องชีวิตนิรันดร ความต้องการ ของแต่ละคนที่จะบรรลุความส�ำเร็จซึ่งถูก ปฏิเสธในชีวติ นี ้ รวมทัง้ ความต้องการทีจ่ ะมี ความรักนิรันดรซึ่งเราเฝ้ารอคอย ก็เป็นแรง จูงใจที่ส�ำคัญอย่างแน่นอนต่อความเชื่อว่า มนุษย์ถกู สร้างมาเพือ่ ชีวติ นิรนั ดร แต่จำ� เป็น ที่ พ ระคริ ส ตเจ้ า จะต้ อ งเสด็ จ กลั บ มาและ มนุษย์มคี วามมัน่ ใจทีจ่ ะมีชวี ติ ใหม่ เพือ่ ความ อยุติธรรมในประวัติศาสตร์จะไม่เป็นค�ำพูด สุดท้าย” (Spe Salvi, ข้อ 43) ตัง้ แต่นกั บุญ ยอห์นเขียนในจดหมายฉบับที่  1 เรารู้ว่า พระเจ้ า ทรงเป็ น ความรั ก  นั ก บุ ญ ยากอบ เขียนไว้ว่า พระเมตตาของพระเจ้ามีชัยชนะ เหนือความยุติธรรม แต่สมเด็จพระสันตะ ปาปาเบเนดิกต์ที่  16 ตรัสว่า เหตุผลหนัก แน่นทีส่ ดุ เพือ่ ส่งเสริมชีวติ นิรนั ดรไม่ใช่ความ ปรารถนาที่จะมีความรักตลอดไป แต่อยู่ใน เหตุผลทีว่ า่  ผูไ้ ม่ได้รบั ความยุตธิ รรมในโลกนี้ จะได้รบั ความยุตธิ รรมตลอดไปอย่างแน่นอน


ความหวังของคริสตชนคืออะไร

พระองค์ยังทรงเขียนอีกว่า “พระเจ้า ทรงเป็นความยุติธรรมและทรงสร้างความ ยุติธรรม” นี่คือความบรรเทาใจและความ หวังของเรา มีพระหรรษทานของพระเจ้าอยู่ ในความยุตธิ รรมของพระองค์ดว้ ย เรารูเ้ รือ่ ง นี้โดยการหันไปมองพระคริสตเจ้าผู้ทรงถูก ตรึงบนไม้กางเขนและทรงกลับคืนพระชนม ชีพ ทั้งความยุติธรรมและพระหรรษทานจะ ต้องพิจารณาในความสัมพันธ์กนั ภายในทีถ่ กู ต้อง พระหรรษทานไม่ลบล้างความยุตธิ รรม ไม่ท�ำให้สิ่งผิดกลับเป็นสิ่งถูกต้อง ไม่เป็น ฟองน�ำ้ ทีใ่ ช้เช็ดทุกสิง่ ให้เกลีย้ งไป จนกระทัง่ สิ่งใดที่คนหนึ่งได้ท�ำบนแผ่นดินนี้จะจบลง แบบมีคุณค่าเท่าๆ กัน ดังที่ดอสโตเยฟสกี (Dostoevsky) ต่อต้านสวรรค์เช่นนี้และ พระหรรษทานแบบนี้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งใน นวนิ ย ายเรื่ อ งพี่ น ้ อ งคารามาซอฟ (The Brothers Karamazov) ในที่สุด คนที่ท�ำ ความชั่วจะไม่ได้นั่งร่วมโต๊ะงานเลี้ยงอาหาร นิรันดรเคียงข้างผู้ที่เป็นเหยื่อของเขา โดย ไม่มคี วามแตกต่างกัน เหมือนกับว่าไม่มอี ะไร เกิดขึ้น” (Spe Salvi, ข้อ 44) สรุปแล้ว เราหวังสิง่ ใด เราหวังชีวติ  ความรักและความ เมตตา แต่ เ หนื อ สิ่ ง อื่ น ใด เราหวั ง ความ ยุติธรรม ในความยุติธรรมของไม้กางเขน เราพบความหวังที่จะได้รับความรอดพ้น

15

ในปี  1911 ชาร์ล เปกีย์  (Charles Péguy) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์บทกวี ที่มีชื่อว่า “ประตูทางเข้าธรรมล�้ำลึกเรื่อง ความหวัง” (The Portal of the Mystery of Hope) ซึง่ สันนิษฐานว่าสตรีผหู้ นึง่ อธิบาย ให้ ห ญิ ง สาวเข้ า ใจพลั ง และคุ ณ ธรรมแห่ ง ความหวัง ในหน้าแรกๆ ของบทกวี  เปกีย์ เปรียบเทียบคุณธรรมความเชื่อ ความหวัง และความรักกับพีน่ อ้ งสามคน ความเชือ่ เป็น เจ้าสาวที่ซื่อสัตย์  ความรักเป็นแม่ที่เปี่ยม ด้วยความรัก ความหวังเป็นลูกสาวเล็กๆ ที่ ไม่ มี ค วามส� ำ คั ญ เลย เพิ่ ง เกิ ด ในวั น คริ ส ต สมภพเมื่อปีที่แล้ว พี่น้องทั้ง 3 คนเดินเข้า มา เด็กเล็กอยู่ตรงกลางเกือบมองไม่เห็น และถ้าไม่ตงั้ ดูดๆี  จะคิดพีส่ าว 2 คน ดึงน้อง ให้กา้ วเดินไป จริงๆ แล้ว ไม่เป็นเช่นนัน้  แต่ เป็ น คนน้ อ งเล็ ก ที่ จั บ มื อ พี่ ส าวทั้ ง  2 คน เพราะพี่คนหนึ่งเห็นเพียงสิ่งที่เป็นอยู่  และ พี่คนที่  2 รักเพียงสิ่งที่เป็นอยู่  แต่น้องคน เล็กเห็นและรักสิ่งที่จะเป็นในอนาคต และ ท� ำ ให้ พี่ ส าวทั้ ง  2 คนเดิ น ต่ อ ไป เพราะ ปราศจากจากน้องคนเล็กเขาทั้ง 2 คนจะ ไม่ เ ป็ น อะไรเลยในอนาคตและตลอดไป ความหวังมองข้ามเวลาปัจจุบนั ทีอ่ ยูน่ งิ่  มอง การเปลี่ ย นแปลงที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในอนาคต บางทีความหวังอาจเกิดจากความเป็นห่วง กังวล เป็นความกังวลของผู้เลี้ยงแกะที่ดี


16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ซึ่งกลัวว่าแกะตัวหนึ่งที่พลัดฝูงอาจสูญหาย และจะไม่กลับมาอยู่กับบรรดาแกะที่ผู้เลี้ยง ทิง้ ไว้ในคอกของด้วยความเชือ่ และความหวัง เขาจึงออกไปแสวงหาแกะตัวนั้นให้กลับมา ความหวังพุง่ ออกมาจากความกังวลของพระ บิดาผู้ทรงพระเมตตาและจากความอ่อนแอ ของมนุษย์

พระสมณสาส์น “รอดพ้นด้วยความ หวั ง ” จบลงด้ ว ยค� ำ วอนขอที่ ว ่ า  “ข้ า แต่ พระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์  พระมารดาของ พระเจ้า พระมารดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย โปรดทรงสอนข้าพเจ้าทัง้ หลายให้มคี วามเชือ่ ความหวัง และความรักร่วมกับพระนางด้วย เถิด” (Spe Salvi, ข้อ 50)

(Note that the conciliar documents of Vatican II, as well as the official texts of the Popes are available on-line at the Vatican’s website, which can be accessed by e.g. http://www.vatican.va/content/benedict-xvi/it.html)


บรรณานุกรม คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายพระศาสนจักร. (2000). ประมวลกฎหมายพระศาสน จักร. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายพระศาสนจักร. คริสตศาสนธรรม. (2007). ประมวลค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. กรุงเทพฯ: ศูนย์คริสต ศาสนธรรม อัครสังฆมณทลกรุงเทพฯ. คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พระคัมภีร.์  (2014). พระคัมภีรค์ าทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. ไทย อิดชิ นั่ . (2008). พระสมณสาส์นว่าด้วยเรือ่ งความหวังของคริสตชน “รอดพ้นด้วยความ หวัง” Spe Salvi ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่  16. กรุงเทพฯ: สื่อมวลชน คาทอลิกประเทศไทย. Benedict XVI, Pope. (2007). Spe Salvi: Encyclical Letter on Christian Hope. London: Catholic Truth Society. Flannery, Austin, ed. (1992). Vatican Council II, Vol. 1: The Conciliar and Post Conciliar Documents, New Revised Edition. Collegeville. Indiana: The Liturgical Press. Geoffrey Chapman. (1995). Catechism of the Catholic Church. London: Geoffrey Chapman. Leon-Dufour, Xavier. (1967). Dictionary of Biblical Theology. New York: Desclee Company. McKenzie, John L., S.J. (1967). Dictionary of the Bible. London: Geoffrey Chapman. Moltmann, Juegen. (1993). Theology of Hope. Philadelphia: Fortress Press. Moule, C.F.D. (1963). The meaning of Hope: a biblical exposition. Philadelphia: Fortress Press. Péguy, Charles. (2005). The Portal of the Mystery of Hope. New York: Bloomsbury Academic.


(หมวดพระสัจธรรม)

ความหวั ง : คุณธรรมจ�ำเป็นต่อความรอด บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, CSS.

“คุณธรรม” (virtue) เป็นนิสัยมั่นคง ของมนุษย์  ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก1 อธิบายว่าเป็น “ความโน้มเอียงมั่นคงเป็น ประจ�ำทีจ่ ะท�ำดี” ของมนุษย์ (ค�ำสอน 1803) คุณธรรมของมนุษย์เป็นทัศนคติที่ควบคุม และก�ำกับการกระท�ำและกิเลสทุกอย่างของ มนุษย์ “เป็นความโน้มเอียงไม่หวัน่ ไหว เป็น สติปัญญาประจ�ำและเจตนาครบครันที่คอย ก�ำกับการกระท�ำของเรา จัดระเบียบอารมณ์ ของเรา และน� ำ ความประพฤติ ข องเรา ตามเหตุผลและความเชื่อ คุณธรรมเหล่า

นี้ช่วยเราให้ควบคุมตนและมีความยินดีที่ จะด�ำเนินชีวติ ศีลธรรมอย่างดี” (ค�ำสอน 1804) คุ ณ ธรรมของมนุ ษ ย์ มี ค วามหมายรวม ถึง “คุณธรรมหลัก” (cardinal virtues) สี่ประการ ซึ่งได้แก่  ความรอบคอบ ความ ยุ ติ ธ รรม  ความกล้ า หาญและความรู ้ ประมาณ คุณธรรมเหล่านีช้ ว่ ยเตรียมมนุษย์ ให้สามารถเข้าสนิทเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้า แต่มนุษย์จะสามารถบรรลุถึงการเป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้าได้ก็ต้องอาศัย “พระคุณ” (gift) ทีพ่ ระเจ้าประทานให้ นัน่ คือ ผ่านทาง

ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ภาค 3 ชีวิตในพระคริสตเจ้า. แผนกค�ำสอนกรุงเทพฯ. 1996.

1

บาทหลวงสังกัดคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์, อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


ความหวัง: คุณธรรมจ�ำเป็นต่อความรอด

“คุณธรรมเกีย่ วกับพระเจ้า” หรือ “คุณธรรม ทางเทววิทยา” (theological virtues) โดย คุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้าเหล่านี้จะ “จัด เตรียมคริสตชนไว้ให้พร้อมที่จะด�ำเนินชีวิต ในความสัมพันธ์กับพระตรีเอกภาพ” และ “ปรับสมรรถนะของมนุษย์ให้เข้ามามีส่วน ร่วมในพระธรรมชาติของพระเจ้าได้” (ค�ำ สอน 1812) ต้นก�ำเนิดและเป้าหมายของ คุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้าจึงเป็นสิ่งเดียวกัน คือ พระเจ้าสามพระบุคคล 1. ความหวังคืออะไร? ในค�ำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก คุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้ามีอยู่สามประการ คือ ความเชือ่  ความหวัง และความรัก ความ เชือ่ เป็นคุณธรรมที ่ “ท�ำให้เราเชือ่ ในพระเจ้า และทุกสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสและทรงเปิด เผยให้เรารู”้  (ค�ำสอน 1814) แต่ความเชือ่ ก็ เป็นเรื่องที่มีการโต้แย้งและน�ำมาพิจารณา ไตร่ ต รองโดยนั ก เทววิ ท ยาและผู ้ ป กป้ อ ง ความเชื่อคริสตศาสนามากที่สุด ความรัก เป็นคุณธรรม “ทีช่ ว่ ยให้เรารักพระเจ้าเหนือ สิ่ ง ใด” (ค� ำ สอน 1822) ในจดหมายของ นักบุญเปาโลที่เขียนถึงชาวโครินธิ์ ฉบับที่  1 จึ ง อธิ บ ายในลั ก ษณะที่ ว ่ า ความรั ก เป็ น คุ ณ ธรรมเกี่ ย วกั บ พระเจ้ า ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด

19

ส่วนความหวังซึ่งเป็นคุณธรรมประการที่ สองนั้น เป็นคุณธรรมที่มีลักษณะแตกต่าง ไปจากคุณธรรมสองประการที่กล่าวมาแล้ว คริสตชนส่วนมากมองว่าคุณธรรมความหวัง นี้มีลักษณะคล้าย “พระจิตเจ้า” กล่าวคือ มีความคลุมเครือ ไม่กระจ่างชัด ไม่ค่อยถูก พู ด ถึ ง นั ก  และยากที่ จ ะกล่ า วถึ ง ในชี วิ ต ประจ�ำวันของเรามนุษย์ ดังที่ได้กล่าวไว้แต่ต้นว่า ความหวัง เป็นนิสัยของมนุษย์ แต่ที่ความหวังถูกจัดให้ เป็นคุณธรรรมเกี่ยวกับพระเจ้าเหมือนกับ ความเชื่อและความรักนั้น เพราะคุณธรรม ทั้ ง สามประการนี้ เ ป็ น พระคุ ณ ที่ พ ระเจ้ า ประทานให้เปล่าๆ ผ่านทางพระหรรษทาน ของพระองค์   และเนื่ อ งจากความหวั ง มี จุดหมายอยู่ที่การเข้าสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับ พระเจ้าในอาณาจักรสวรรค์และชีวติ นิรนั ดร เราจึงอาจพูดได้วา่ ความหวังเป็น “คุณธรรม เหนือธรรมชาติ” ทีแ่ ตกต่างจาก “คุณธรรม หลัก” ทีเ่ รากล่าวถึงมาก่อนหน้านีแ้ ล้ว และ ความหวังยังเป็นคุณธรรมทีผ่ ทู้ ไี่ ม่มคี วามเชือ่ ในพระเจ้าไม่สามารถน�ำไปปฏิบัติได้ หนั ง สื อ พจนานุ ก รมคาทอลิ ก 2 ได้ นิยามความหวังว่าเป็น “คุณธรรมเกี่ยวกับ พระเจ้ า ซึ่ ง เป็ น พระคุ ณ เหนื อ ธรรมชาติ ที่ พระเจ้าประทานให้  โดยผ่านทางพระคุณนี ้

The Concise Catholic Dictionary. Compiled by Robert C. Broderick, M.A., Milwaukee: The Bruce Publishing Company, 1944. 2


20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 มนุษย์จะมีความวางใจว่าพระเจ้าจะประทาน ชีวติ นิรนั ดรให้  และพระองค์ยงั ทรงประทาน เครือ่ งมือต่างๆ เพือ่ ช่วยให้เขาสามารถบรรลุ ถึงจุดหมายดังกล่าวได้  ความหวังประกอบ ด้วยความปรารถนาและความคาดหวัง รวม ถึงการยอมรับรูว้ า่  กว่าจะบรรลุถงึ ชีวติ นิรนั ดร ได้นั้น มีความยากล�ำบากต่างๆ มากมายที่ จะต้องเอาชนะให้ได้” ดังนี้  ความหวังจึง ไม่ใช่เป็นการเชื่อว่าการบรรลุถึงความรอด นั้นเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ความจริงแล้ว ตรงกัน ข้าม เราหวังในพระเจ้าเพราะเรามัน่ ใจว่าเรา ไม่สามารถบรรลุถึงความรอดได้ด้วยก�ำลัง ความสามารถของตนเอง แต่ ต ้ อ งอาศั ย “พระหรรษทาน” ของพระเจ้าช่วย ซึ่งเป็น พระคุ ณ ที่ พ ระเจ้ า ประทานให้ เราเปล่ า ๆ พระหรรษทานของพระเจ้าจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ที่จะช่วยเราให้สามารถท�ำในสิ่งที่เราจ�ำเป็น ต้องท�ำได้  เพื่อจะได้บรรลุถึงพระเจ้าและ ชี วิ ต นิ รั น ดร ดั ง นี้   ค� ำ สอนพระศาสนจั ก ร คาทอลิ ก จึ ง ได้ นิ ย ามความหวั ง ว่ า เป็ น “คุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้าที่ช่วยให้เราใฝ่ หาพระอาณาจักรสวรรค์และชีวิตนิรันดร ในฐานะเป็นความสุขของเรา โดยวางความ มั่ น ใจของเราไว้ กั บ พระสั ญ ญาของพระ คริสตเจ้า ไม่วางใจในก�ำลังของเรา แต่วางใจ ในความช่วยเหลือจากพระหรรษทานของ พระจิตเจ้า” (ค�ำสอน 1817)

2. ความหวัง: พระคุณที่ได้รับพร้อมกับ ศีลล้างบาป โดยปกติ   ความเชื่ อ เป็ น คุ ณ ธรรมที่ ผูใ้ หญ่จะต้องมีกอ่ นการรับศีลล้างบาป แต่ใน พจนานุกรมคาทอลิก3 คุณพ่อฮาร์ดอนได้พดู ถึงความหวังว่าเป็นคุณธรรมที่  “ได้รับตอน รับศีลล้างบาปพร้อมกับพระหรรษทานศักดิ์ สิทธิกร” ความหวังนีจ้ ะ “ช่วยให้เขามีความ ปรารถนาในชี วิ ต นิ รั น ดร ซึ่ ง เป็ น ชี วิ ต ที่ สามารถเห็นพระเจ้าได้แบบหน้าต่อหน้า และยั ง ช่ ว ยให้ เขามี ค วามวางใจที่ จ ะรั บ พระหรรษทานที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ บรรลุ ถึ ง สวรรค์” ความหวังจึงเป็นความปรารถนาใน ทุ ก สิ่ ง ที่ ดี   กล่ า วคื อ  ปรารถนาในทุ ก สิ่ ง ที่ สามารถน�ำเราไปสูพ่ ระเจ้าได้ ในเมือ่ พระเจ้า ทรงเป็ น เป้ า หมายสุ ด ท้ า ยของความหวั ง สิ่ ง ดี อื่ น ๆ ที่ ช ่ ว ยเราให้ เ ติ บ โตในความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ช ่ ว ยเราให้ บ รรลุ ถึ ง เป้าหมายดังกล่าว พระเจ้าประทานพระคุณแห่งความ หวังนี้แก่มนุษย์เพื่อ “เป็นพลังบันดาลใจ ให้มนุษย์ประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อมุ่งหา อาณาจักรสวรรค์  ช่วยป้องกันไม่ให้หมด ก�ำลังใจ และคอยพยุงใจไว้ไม่ใ ห้ท้อแท้” (ค�ำสอน 1818)

Modern Catholic Dictionary. By John A. Hardon, S.J., Eternal Life Publications. 2000.

3


ความหวัง: คุณธรรมจ�ำเป็นต่อความรอด

3. ท�ำไมเราถึงต้องมีความหวัง? โดยความหมายพื้ น ฐานแล้ ว  เรามี ความหวังเพราะพระเจ้าประทานพระหรรษ ทานให้เรามีความหวัง เราจึงหวังในพระองค์ และการมีชีวิตอยู่ร่วมกับพระองค์ในชีวิต หน้า แต่ถ้าความหวังเป็นนิสัยและความ ปรารถนาของมนุษย์  และเป็นคุณธรรมที่ กระจายอยู่ทั่วไปในตัวมนุษย์  เราก็สามารถ ปฏิเสธความหวังได้ดว้ ยเจตจ�ำนงเสรีของเรา แต่การตัดสินใจไม่ปฏิเสธความหวังนั้นเกิด จากความช่วยเหลือของความเชื่อ พูดอีก อย่ า งคื อ ความเชื่ อ ท� ำ ให้ เรามี ค วามหวั ง นั่ น เอง เหตุ ว ่ า  ความเชื่ อ ท� ำ ให้ เราเข้ า ใจ พระเจ้าว่าทรงสรรพานุภาพ เปีย่ มด้วยความ ดี ง ามและทรงซื่ อ สั ต ย์ ต ่ อ พระสั ญ ญาที่ พระองค์ทรงท�ำไว้กับมนุษย์  ความเชื่อจึง เป็นการเติมเต็มสติปัญญาของเราให้ครบ ถ้วนสมบูรณ์ไป โดยเพิ่มพลังเจตจ�ำนงของ เราให้ปรารถนาในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของ ความเชื่อ ซึ่งนั่นก็คือแก่นหรือสาระส�ำคัญ ของความหวั ง  โดยเมื่ อ ใดที่ เราได้ บ รรลุ ถึงเป้าหมายนั้นแล้ว นั่นคือ เมื่อเราได้เข้า ในพระอาณาจักรสวรรค์แล้ว ความหวังก็ ไม่มีความจ�ำเป็นอีกต่อไป ดังเช่นบรรดา

4

21

นั ก บุ ญ ทั้ ง หลายที่ ไ ด้ รั บ ความบรมสุ ข ใน สวรรค์และได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าแล้ว จึงไม่ ต้องมีความหวังอีกต่อไป เพราะความหวัง ของพวกท่านได้เป็นจริงแล้ว ดังค�ำกล่าวของ นั ก บุ ญ เปาโลที่ ว ่ า  “เพราะเราได้ ร อดพ้ น เพียงในความหวัง แต่ความหวังที่มองเห็น ได้ก็ไม่ใช่ความหวัง เพราะสิ่งที่มองเห็นแล้ว เขาจะหวังไปท�ำไมอีกเล่า” (รม.8:24) ใน ท�ำนองเดียวกัน ใครที่สูญเสียโอกาสที่จะ เข้าสนิทเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้าแล้ว นัน่ คือ ผู้ที่ตกอยู่ในนรก ก็เป็นผู้ท่ีไม่มีความหวังอีก ต่อไปแล้วเช่นกัน ความหวั ง จึ ง เป็ น คุ ณ ธรรมของผู ้ ที่ ก�ำลังต่อสูด้ นิ้ รนอยูใ่ นโลกนี ้ เพือ่ มุง่ สูก่ ารเข้า สนิทเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้ายิง่ ทียงิ่ มากขึน้ กล่าวคือ เป็นของมนุษย์ทั้งชายและหญิง ที่อยู่บนโลกนี้  และผู้ที่ก�ำลังอยู่ในไฟช�ำระ เท่านั้น เรามนุษย์เป็นผู้เดินทางหรือผู้แสวง บุญในโลกนี้  โจเซฟ ไปเปอร์  นักเทววิทยา ชาวเยอรมันสายนิยมโทมิสต์ได้เขียนเรื่อง ความหวังไว้ในหนังสือของเขา 4 ตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงมนุษย์ว่า มนุษย์เป็นผู้เดินทาง (status viatoris) คือ อยู่ในเงื่อนไขหรือใน สถานะของผู้ที่ก�ำลังเดินทาง ซึ่งสอดคล้อง

Josef Pieper. Faith, Hope, Love. San Francisco: Ignatius Press, 1997.


22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 กับค�ำกล่าวของนักบุญเปาโลในจดหมายที่ ท่านเขียนถึงชาวฟิลปิ ปีทวี่ า่  “พีน่ อ้ งทัง้ หลาย ข้าพเจ้าไม่คิดว่า ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้า ท�ำเพียงอย่างเดียวคือ ลืมสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง มุ่งสู่เบื้องหน้าอย่างสุดก�ำลัง” (3:13) การ เป็นผู้ก�ำลังเดินทางหมายถึง “การก้าวหน้า ขึ้นเรื่อยๆ สู่ความสุขนิรันดร” หรือสู่ความ สุขสมบูรณ์สงู สุดเมือ่ ได้พบพระเจ้าแบบหน้า ต่อหน้า นี่หมายความว่า ชีวิตคริสตชนเป็น ชีวิตของเป็นผู้ที่ก�ำลังเดินทางอยู่ในโลกซึ่ง เป็นด้านหนึง่ ของสวรรค์  และก�ำลังมุง่ หน้าสู่ การพักผ่อนอย่างถาวรในสวรรค์  ซึง่ นัน่ ก็คอื การได้เข้าสนิทเป็นเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้า แต่ดว้ ยเหตุทเี่ รามนุษย์เป็นคนบาป เราจึงไม่ สามารถไปสู่จุดหมายดังกล่าวได้ด้วยก�ำลัง ความสามารถของตนเอง เราต้องอาศัยพระ หรรษทานช่วยเหลือจากพระเจ้า นักบุญโทมัส อไควนัส ได้อธิบายไว้ใน หนังสือ Summa Theologiae ว่า “ความ สุ ข ของมนุ ษ ย์ มี อ ยู ่ ส องลั ก ษณะ ลั ก ษณะ แรกคือความสุขที่เป็นของธรรมชาติมนุษย์ ซึ่ ง สามารถได้ ม าด้ ว ยความสามารถของ มนุ ษ ย์ เ อง ส่ ว นอี ก ลั ก ษณะคื อ ความสุ ข ที่ อยู ่ เ หนื อ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์   และมนุ ษ ย์ สามารถได้ ม าโดยอาศั ย พลั ง อ� ำ นาจของ พระเจ้าเท่านั้น นั่นคือ โดยการช่วยเหลือ  Summa. I-II.62.1.

5

ของพระเจ้ า เท่ า นั้ น  ดั ง ที่ มี ก ล่ า วไว้ ใ น พระคัมภีร์ว่า โดยอาศัยพระคริสตเจ้า เรา ทุ ก คนจึ ง ได้   “เข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในพระ ธรรมชาติพระเจ้า” (2 ปต 1:14)5 เหตุเพราะ ความสุ ข เหนื อ ธรรมชาติ นี้ อ ยู ่ เ หนื อ ความ สามารถของมนุ ษ ย์ ที่ จ ะได้ ม าด้ ว ยตั ว เอง แต่ต้องอาศัยความวางใจในความช่วยเหลือ ของพระเจ้า 4. ความหวังจ�ำเป็นต่อความรอด แม้ความหวังเป็นสิง่ ทีไ่ ม่มคี วามจ�ำเป็น อีกต่อไปส�ำหรับผู้ที่บรรลุถึงความรอดพ้น แล้ว และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ส�ำหรับผู้ที่ ปฏิเสธความช่วยเหลือต่างๆ ทีจ่ ะท�ำให้บรรลุ ถึงความรอด แต่ความหวังก็ยงั เป็นสิง่ จ�ำเป็น ส�ำหรับเรามนุษย์ที่ก�ำลังพยายามไปให้ถึง ความรอด และก�ำลังอยูท่ า่ มกลางความกลัว ในโลกนี้  ดังค�ำพูดของนักเปาโลที่ว่า “ท่าน จงออกแรงด้วยความเกรงกลัวจนตัวสัน่  เพือ่ ให้รอดพ้นเถิด” (ฟป.2:12) พระเจ้าไม่ทรง ตัดพระคุณแห่งความหวังออกจากวิญญาณ ของเราโดยไม่มีเหตุผลหรือกฎเกณฑ์ใดๆ อย่างแน่นอน แต่เป็นตัวเราเองทีอ่ าจท�ำลาย พระคุณนี้ไป หากเราสูญเสียความเชื่อ เราก็ ไม่สามารถมีรากฐานส�ำหรับความหวังอีก ต่อไป โจเซฟ ไปเปอร์  ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า


ความหวัง: คุณธรรมจ�ำเป็นต่อความรอด

“โดยอาศั ย คุ ณ ธรรมความหวั ง นี้   มนุ ษ ย์ สามารถเข้ า ใจและยื น ยั น ถึ ง ตั ว เองได้ ว ่ า เป็ น สิ่ ง สร้ า ง กล่ า วคื อ  เป็ น ผู ้ ที่ ถู ก สร้ า ง โดยพระเจ้ า ” ไปเปอร์ ยั ง กล่ า วต่ อ ไปว่ า “นั ก ปรั ช ญาจึ ง ไม่ ส ามารถบรรยายถึ ง ความหวั ง ในฐานะเป็ น คุ ณ ธรรมได้   นอก เสียจากว่าเขาจะเป็นนักเทววิทยาคริสตชน ด้วย” ความหมายก็คือ ความหวัง ซึ่งหมาย ถึ ง ความปรารถนที่ จ ะบรรลุ ถึ ง ความครบ สมบู ร ณ์ ที่ อ ยู ่ เ หนื อ สิ่ ง ที่ พ บในเวลาและ ประวัติศาสตร์  กล่าวคือ อยู่เหนือความหวัง ที่ จ ะมี สุ ข ภาพที่ ดี ห รื อ มี ชี วิ ต ที่ ยื น ยาวนั้ น จะไม่มีความหมายอะไรเลย หากไม่มีความ เชื่ อ ในพระเจ้ า  คุ ณ ธรรมความหวั ง จึ ง เป็นการหวังที่จะได้ไปพบพระเจ้าและอยู่ ร่วมกับพระเจ้า ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้าย ของชีวิตหน้า นั่นคือ ความรอดพ้น นั่นเอง ในพระคั ม ภี ร ์   เรื่ อ งพระอาณาจั ก ร สวรรค์คอ่ ยๆ ได้รบั การเปิดเผยและเห็นเป็น จริงเป็นจังอย่างเป็นขั้นตอน นี่แสดงให้เห็น ว่า มีชีวิตหน้าที่อยู่ต่อจากชีวิตบนแผ่นดินนี้ พระคัมภีรพ์ ดู ถึงชาวอิสราเอลว่ามีความหวัง อยูต่ ลอดเวลาว่าพระเจ้าจะทรงฟืน้ อาณาจักร ของดาวิดขึน้ ใหม่อกี ครัง้ หนึง่  พวกเขายังหวัง และรอคอยการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ตามทีไ่ ด้ทรงสัญญาไว้  และรวมถึงความหวัง ในการกลับคืนชีพของผู้ตาย ค�ำสอนพระ ศาสนจั ก รยื น ยั น เรื่ อ งนี้ ว ่ า  “พระเจ้ า ทรง ค่ อ ยๆ เปิ ด เผยเรื่ อ งการกลั บ คื น ชี พ ของ

23

บรรดาผู ้ ต ายแก่ ป ระชากรของพระองค์ ความหวังว่าร่างกายของผูต้ ายจะกลับคืนชีพ เป็นผลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากความเชื่อ ที่ว่า พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างมนุษย์ทั้งหมด ทุกส่วน ทั้งวิญญาณและร่างกาย” (ค�ำสอน 992) ก่อนการเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ของพระเยซู เ จ้ า  หนั ง สื อ ปรี ช าญาณได้ กล่าวถึงชีวิตหน้าและพระสัญญา ซึ่งเป็น ความหวังของคนดีมีธรรมที่ถูกเบียดเบียน โดยชาวยิวทีต่ งั้ ตัวเป็นศัตรู  แต่หนังสือปรีชา ญาณก็ไม่ได้กล่าวถึงอย่างเจาะจงว่าหมายถึง สวรรค์  เพียงแต่ยืนยันว่า มีชีวิตหน้าอยู่จริง เท่านัน้  จนเมือ่ พระเยซูเจ้าเสด็จมา พระองค์ ได้ประกาศอย่างชัดเจนถึงการมาถึงของพระ อาณาจักรสวรรค์  และยืนยันว่าอาณาจักรนี้ เป็นของทุกคนทีร่ ว่ มแบ่งปันชีวติ กับพระองค์ ทั้งยังจะได้รับการยอมรับในฐานะเป็นบุตร บุ ญ ธรรมของพระเจ้ า ด้ ว ย ค� ำ สอนพระ ศาสนจักรสอนว่า “นับตัง้ แต่เมือ่ พระเยซูเจ้า ทรงเริม่ เทศน์สอนแล้ว ความหวังของคริสตชน ก็ได้รับค�ำอธิบายในการประกาศสอนเรื่อง ความสุ ข แท้   (Beatitudes) ความสุ ข แท้ เหล่านี้ยกความหวังของเราขึ้นไปหาสวรรค์ ซึง่ เป็นประหนึง่ แผ่นดินใหม่แห่งพระสัญญา” (ค� ำ สอน 1820) นั ก บุ ญ เปาโลก็ ไ ด้ เขี ย น บรรยายถึงความหวังในพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระเจ้านี้ว่าได้รับการสถาปนาขึ้นในและ โดยพระเยซูคริสตเจ้า


24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 “ดังนั้น เมื่อได้เป็นผู้ชอบธรรมด้วย ความเชื่ อ แล้ ว เราย่ อ มมี สั น ติ กั บ พระเจ้ า เดชะพระเยซูคริสต์  องค์พระผู้เป็นเจ้าของ เรา โดยทางพระองค์  เราจึงเข้าถึงพระหรรษ ทานและก�ำลังด�ำรงอยู่ในพระหรรษทานนี้ เราภู มิ ใจในความหวั ง ที่ จ ะได้ รั บ พระสิ ริ รุ่งโรจน์ของพระเจ้า ยิ่งกว่านั้น เรายังภูมิใจ ในความทุกข์  เพราะรู้ว่า ความทุกข์ก่อให้ เกิดความพากเพียร ความพากเพียรก่อให้ เกิดคุณธรรมทีแ่ ท้จริง คุณธรรมทีแ่ ท้จริงก่อ ให้เกิดความหวัง ความหวังนี้ไม่ท�ำให้เราผิด หวัง เพราะพระจิตเจ้าซึง่ พระเจ้าประทานให้ เราได้หลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจ ของเรา” (รม.5:1-5) 5. แหล่งที่มาของความหวัง ในบริบทของความหวัง ความตายเป็น เรือ่ งทีม่ คี วามหมายอย่างมากต่อมนุษย์  พระ สังคายนาวาติกัน ครั้งที่  2 กล่าวว่า ในการ เผชิญหน้ากับความตาย ปัญหาเรื่องความ เป็นอยู่ของมนุษย์ถูกน�ำมาพูดถึงมากที่สุด (Gaudium et Spes 18) ความตายเป็น เรื่องที่มนุษย์อยากรู้มากที่สุด แต่ในเวลา เดียวกันก็เป็นเรื่องที่มนุษย์เลี่ยงที่จะพูดถึง อย่างจริงจังมากทีส่ ดุ  แม้ในงานศพเอง บ่อย ครั้งที่เจ้าภาพเลี่ยงที่จะพูดถึงความตายใน

ลักษณะว่าเป็นการจากกันตลอดไป แต่นยิ ม พูดถึงผูล้ ว่ งลับว่า “จะอยูใ่ นความทรงจ�ำของ พวกเราตลอดไป” ประหนึ่งว่า ความทรง จ�ำเป็นสิ่งที่คงอยู่ถาวรตลอดไป มนุษย์กลัว การดับสูญ จึงพยายามต่อสูก้ บั ความคิดทีว่ า่ หลังความตาย เขาจะไม่มีอยู่ต่อไป หากความตายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถ เอาชนะได้ ความหวังก็ไม่ม ี ถ้าไม่มคี วามหวัง ในอนาคตหลังจากผ่านโลกนีไ้ ปแล้ว ชีวิตใน โลกนี้ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย เลสเซค โคลาโควสกี6้  นักปรัชญาทีม่ ชี อื่ เสียง กล่าวว่า “หากจักรวาลและการกระท�ำต่างๆ ของ มนุษย์ไม่ได้มคี วามหมายอะไรทีเ่ กีย่ วกับชีวติ นิ รั น ดรหลั ง ความตาย (eternity) แล้ ว ทุกสิ่งก็ไม่มีความหมายอะไรเลย” นี่หมาย ความว่า มิตใิ ดๆ ของชีวติ ก็ตาม หากปฏิเสธ ไม่ยอมรับรู้ในความไม่เที่ยงแท้ของมนุษย์ ก็ไม่สามารถเป็นแหล่งของความหวังที่แท้ จริงได้ แต่ ถ ้ า ชี วิ ต มี ค วามหมายอยู ่ จ ริ ง ก็แสดงว่าจะต้องมีชวี ติ นิรนั ดรหลังความตาย แล้วอยู่จริง และเมื่อมีชีวิตนิรันดรอยู่จริง ก็ตอ้ งมีความหวังอยูด่ ว้ ย และถ้ามีความหวัง อยูจ่ ริง ก็แสดงว่าต้องมีแหล่งทีม่ าของความ หวัง ซึ่งได้แก่  การกลับคืนพระชนมชีพและ การรับเกียรติรุ่งโรจน์ของพระเยซูคริสตเจ้า

Kolakowski, Leszek. Religion : If There Is No God...On God, the Devil, Sin and Other Worries of the So-called Philosophy of Religion. Indiana: St.Augustine’s Press, 2001. 6


ความหวัง: คุณธรรมจ�ำเป็นต่อความรอด

ผู ้ ไ ด้ ช นะความตายด้ ว ยความตายของ พระองค์   และความหวั ง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า ประทานให้ นี้   “ไม่ ท� ำ ให้ เราผิ ด หวั ง อย่ า ง แน่ น อน เพราะพระจิ ต เจ้ า ซึ่ ง พระเจ้ า ประทานให้ เรานั้ น  ได้ ห ลั่ ง ความรั ก ของ พระเจ้าลงในดวงใจของเรา” (รม.5:5) 6. ความสิ้นหวังและความชะล่าใจ บางครัง้  เราคริสตชนเข้าใจเรือ่ งความ หวังผิดไป สิง่ ทีค่ อยบิดเบือนความเข้าใจเรือ่ ง ความหวังของเราคือความสิ้นหวังและความ ชะล่าใจ (despair and presumption) ทัง้ สองประการนีม้ ลี กั ษณะตรงข้ามกับความ หวัง และในเวลาเดียวกัน ยังเป็นการต่อสู้ กับความหวังด้วย ทั้งสองประการนี้ตั้งอยู่ บนมุ ม มองเรื่ อ งพระเจ้ า และมนุ ษ ย์   คนที่ สิ้นหวังจะหมดหวังในความรอดที่จะได้รับ จากพระเจ้า ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก กล่าวว่าเขา “เลิกหวังว่าจะได้รับความช่วย เหลื อ จากพระองค์ เ พื่ อ บรรลุ ถึ ง ความ รอดพ้น” (ค�ำสอน 2091) และเมื่อเลิกหวัง หรือหมดหวังแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาเสมอ คือความหดหู่ใจ และในหลายกรณี  ความ หดหู่ใจยังเป็นการซ�้ำเติมคนสิ้นหวังให้รู้สึก แย่กว่าเดิมอีก เพราะการสิ้นหวังไม่ใช่เป็น

25

เพียงแค่อารมณ์หรือความรู้สึก แต่เป็นการ ตัดสินใจของตนเองอย่างอิสระ ซึ่งสุดท้าย แล้ ว  จะน� ำ ไปสู ่ ก ารปฏิ เ สธพระเยซู เจ้ า และพระคุณแห่งการไถ่กู้ของพระองค์ด้วย รากหรือที่มาของความสิ้นหวังมาจากการมี ชีวิตจิตที่เฉื่อยชาหรือเกียจคร้าน (acedia) นั่นเอง การทึกทักเอาเองเป็นรูปแบบหนึง่ ของ ความสิน้ หวัง คนทีท่ กึ ทักเอาเองคือคนทีเ่ ชือ่ เอาเองว่าหลังความตาย ไม่มี  “ทางเดิน” ที่มุ่งหน้าสู่อนาคตที่สมบูรณ์อีกต่อไปแล้ว โดยเชื่ อ ว่ า  เขาได้ รั บ และบรรลุ ถึ ง ชี วิ ต ดังกล่าวแล้วในโลกนี ้ ค�ำสอนพระศาสนจักร คาทอลิกบรรยายถึงลักษณะของพวกทีช่ ะล่า ใจว่ามีอยู่สองชนิด คือ “มนุษย์ที่ทึกทักว่า ตนมีความสามารถ (หวังว่าตนสามารถช่วย ให้รอดพ้นได้โดยไม่ตอ้ งได้รบั ความช่วยเหลือ จากเบือ้ งบน) หรือ มัน่ ใจในพระสรรพานุภาพ และพระกรุณาของพระเจ้า (หวังว่าจะได้รบั การอภัยจากพระองค์โดยไม่ตอ้ งกลับใจ และ รับสิรริ งุ่ โรจน์โดยไม่ตอ้ งท�ำดีอะไร)” (ค�ำสอน 2092) พวกชะล่าใจพวกแรกเป็นรูปแบบหนึง่ ของพวกลัทธิเปลาเจียน7 ในอดีต ซึ่งเป็น เฮเรติ๊กที่เชื่อว่ามนุษย์สามารถช่วยตัวเองให้

ลัทธิเปลาเจียน (Pelagianism) เชือ่ ว่า ไม่มบี าปก�ำเนิด มนุษย์มเี สรีภาพเต็มทีท่ จี่ ะท�ำดีหรือชัว่  และกฎหมายหรือพระวรสารหรือ พระหรรษทานของพระเจ้าไม่ใช่สิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับความรอด เป็นเพียงสิ่งที่  ช่วยเท่านั้น พระคริสตเจ้าช่วยเราด้วยการเป็นตัวอย่าง เท่านั้น ความเชื่อเรื่องนี้  ถูกตัดสินว่าเป็นมิจฉาทิฐิโดยสังคายนาเอเฟซัสปี  ค.ศ.431 7


26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 รอดพ้ น ได้   แนวคิ ด แบบนี้ ค ล้ า ยกั บ พวก นับถือศาสนาจอมปลอมที่พยายามจะสร้าง อาณาจักรสวรรค์โดยใช้วิธีการทางการเมือง ส่ ว นพวกที่ ส องพบในความเชื่ อ ของพวก มู ล ฐานนิ ย ม ที่ เชื่ อ ในเรื่ อ ง “ความรอด นิรันดร” ว่าใครที่ได้ประกาศความเชื่อใน พระเยซูเจ้าก็ได้รบั การช่วยให้รอดแล้ว พวก ชะล่าใจเหล่านี้เข้าใจผิดเรื่องคุณลักษณะ ที่ แ ท้ จ ริ ง ของความเป็ น อยู ่ ข องคริ ส ตชน เพราะแท้ จ ริ ง แล้ ว ชี วิ ต คริ ส ตชนเป็ น ชี วิ ต ของการเดินทางหรือการแสวงบุญ และพวก เขายังขาดความสุภาพที่จะยอมรับว่ามนุษย์ เรานั้นเป็นเพียงสิ่งสร้าง ไม่ได้เป็นเหมือน พระเจ้าแต่อย่างใด พวกมูลฐานนิยม8 ที่เชื่อว่าคาทอลิก “เป็นพวกที่ไม่รู้ว่าพวกเขาได้รับการช่วยให้ รอดแล้วหรือยัง” เป็นพวกที่เชื่อในค�ำพูด ของเจมส์  จี  แมคคาร์ธี่ย์9 ซึ่งอดีตเคยเป็น คาทอลิกมาก่อนที่กล่าวว่า “ความรอดใน พระคัมภีรเ์ ป็นเรือ่ งทีแ่ น่นอนปลอดภัยเพราะ ไม่ได้ขนึ้ กับมนุษย์ แต่ขนึ้ กับพระเจ้า” แต่เรา เห็นว่า ความคิดเช่นนี้ผิดเพราะไม่ได้แยก

แยะระหว่างพระสัญญาของพระเจ้าที่เป็น จริงและแน่นอนเสมอกับการเลือกของมนุษย์ ซึ่ ง ไม่ ค ่ อ ยเป็ น จริ ง และไม่ แ น่ น อนด้ ว ย เป้ า หมายของความหวั ง  ซึ่ ง ก็ คื อ ความ รอดพ้นนั้น เป็นสิ่งที่แน่นอนปลอดภัยเสมอ แต่ตวั ของผูท้ หี่ วัง ซึง่ ก็คอื มนุษย์นนั้  สามารถ น้อมรับ หรือปฏิเสธ หรือสิน้ หวัง หรือชะล่า ใจเมื่อไรก็ได้  เรามนุษย์ไม่ได้มีเจตจ�ำนงเสรี เฉพาะในตอนที่เราตัดสินใจเลือกพระคุณ แห่งความรอดของพระเจ้าเท่านัน้  แต่ในการ ปฏิเสธและในการไม่ยอมรับ เจตจ�ำนงเสรี ก็ยังคงอยู่ในตัวเราตลอดเวลาด้วย ดังค�ำพูด ของนักบุญเปาโลแก่ทิโมธีที่ว่า “ต่อไปนีค้ อื ถ้อยค�ำทีเ่ ชือ่ ถือได้  ถ้าเรา ตายพร้อมกับพระองค์  เราจะมีชีวิตอยู่กับ พระองค์   ถ้ า เราอดทนมั่ น คง เราย่ อ มจะ ครองราชย์พร้อมกับพระองค์  ถ้าเราปฏิเสธ พระองค์  พระองค์ย่อมจะทรงปฏิเสธเรา ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์  พระองค์ก็ยังทรงซื่อสัตย์ ต่อไป เพราะพระองค์จะทรงปฏิเสธพระองค์ ไม่ได้” (2 ทธ.2:11-13)

ลัทธิมูลฐานนิยม (Fundamentalism) เป็นรูปแบบหนึ่งทางศาสนาที่ยึดถือความเชื่อตามพระคัมภีร์อย่างเคร่งครัดและตีความ ตามตัวอักษร มักพบในกลุ่มโปรเตสแตนต์ในสหรัฐอเมริกาและในศาสนาอิสลาม 9  McCarthy, James G., The Gospel According to Rome: Comparing Catholic Tradition and the Word of God. Oregon: Harvest House Publishers, 1995. 8


ค�ำพูดของนักบุญเปาโลนี้ไม่ใช่ภาษา ของพวกชะล่าใจหรือพวกทีเ่ ชือ่ ในความรอด นิรันดร แต่เป็นความหวังและเจตจ�ำนงเสรี ที่ แ ท้ จ ริ ง  เปาโลเตื อ นเราว่ า  การปฏิ เ สธ พระเจ้ า จะน� ำ ไปสู ่ ก ารที่ พ ระเจ้ า ปฏิ เ สธ เราด้ ว ยเช่ น กั น  เหตุ เ พราะพระองค์ ท รง เคารพในพระคุณของเจตจ�ำนงเสรีทพี่ ระองค์ ประทานให้แก่มนุษย์  พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ แต่เรามนุษย์สามารถเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ได้ หากเราไม่คิดเช่นนี้  เราก็อาจเป็นพวกชะล่า ใจได้

7. จนกว่าความหวังทั้งสิ้นจะผ่านพ้นไป จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้  ขอสรุป ด้วยบทตอบรับตอนจบของบทยืนยันความ เชื่ อ ที่ เราสวดในมิ ส ซาทุ ก วั น อาทิ ต ย์ ว ่ า “ข้าพเจ้ารอวันที่ผู้ตายจะกลับคืนชีพ และ คอยชีวติ ในโลกหน้า อาแมน” เหตุเพราะบท สวดนี้ยืนยันแก่เราอย่างชัดเจนว่า หากไม่มี ความหวังในชีวิตหน้า เราก็ไม่มีความหวัง อะไรอีกแล้ว ชีวิตในโลกหน้าหรือชีวิตในอีกด้าน หนึง่ ของเรานัน้  เป็นอะไรทีท่ า้ ทายความหวัง ของเราอย่างมาก เป็นเหมือนป้ายบอกทาง ที่ชี้ไปยังบ้านสุดท้ายของเรา ซึ่งที่นั่น ไม่ จ�ำเป็นต้องมีความหวังและความเชื่ออีกต่อ ไปแล้ว เพราะในสวรรค์  ความเชื่อถูกท�ำให้ สมบูรณ์แล้ว และความหวังก็ส�ำเร็จเป็นจริง แล้ว มีกแ็ ต่เพียงความรักเท่านัน้ ทีย่ งั ด�ำรงอยู่


(หมวดการศึกษา)

การศึกษาอบรมที่ให้

ความหวัง ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์

“จงตื่นเถิดเปิดตาหาความรู้  เรียนค�ำครูค�ำพระเจ้าเฝ้าขยัน จะอุดมสมบัติปัจจุบัน แต่สวรรค์ดีกว่าเราอย่าลืม” (ฟ.ฮีแลร์) จากบทกลอนของ ฟ.ฮี แ ลร์   บทนี้ ชีเ้ ป้าหมายของการศึกษาคาทอลิกไว้ได้อย่าง ชัดเจน เริ่มจากการเรียนรู้ในโรงเรียน การ ด�ำเนินชีวติ ในโลก จนถึงเป้าหมายปลายทาง ของชี วิ ต  ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ ความหวั ง ของ มนุษย์  ในช่วงเวลาของความเจริญก้าวหน้า ทางวิ ท ยาการ อิ น เทอร์ เ น็ ต  เทคโนโลยี สารสนเทศ วิทยาศาสตร์การแพทย์  พลังงาน ทางเลื อ ก การค้ น คิ ด สิ่ ง ใหม่ ๆ  มากมาย

หุ่นยนต์  ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถ ท�ำหลายสิง่ หลายอย่างแทนมนุษย์ได้ ตรงกัน ข้ามกับสภาพจิตใจของมนุษย์ที่หลายคน รู้สึกโดดเดี่ยว แม้อยู่ในครอบครัวหรือสังคม รู้สึกเป็นตัวคนเดียวในโลกกว้างที่ก่อให้เกิด การตั ด สิ น ใจฆ่ า ตั ว ตายในหลายรู ป แบบ ทั้ ง ตามตั ว อั ก ษรและใช้ วิ ธี ก ารอื่ น ๆ เช่ น สิ่งเสพติดต่างๆ ยาเสพติด เพศรส เงินทอง อ�ำนาจ การกดขี่ข่มเหง เพื่อให้รู้สึกมีตัวตน

อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563

ความหวังเป็นคุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้า ที่ช่วยเราให้ใฝ่หาพระอาณาจักรสวรรค์ และชีวิตนิรันดรเป็นความสุขของเรา ขึ้นมา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ห่างไกลจากค�ำว่า “ความหวัง” แล้วความหวังหมายความว่า อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการศึกษาอบรม ก่อนอืน่  เราจะท�ำความเข้าใจกับความ หมายของความหวัง ในพจนานุกรมกล่าว ว่า “ความหวัง (hope) เป็นการคาดถึงบาง สิ่งบางอย่างที่ดีที่รออยู่ในอนาคต” เช่นหวัง ว่าชีวิตข้างหน้าจะดีกว่าปัจจุบันนี้  หรือทิ้ง อาชีพงานประจ�ำไปเป็นเกษตรกรทีพ่ งึ่ ตัวเอง และหวังว่าจะมีความสุขกว่าอาชีพในปัจจุบนั ซึ่งแตกต่างจากความไว้ใจ (trust) ที่มีความ หมายถึงการเชือ่ ใจในตัวบุคคล เหมือนเด็กที่ ไว้ใจในตัวบิดา กล้ากระโดดเข้าไปหาอ้อม แขนของท่าน แม้อยู่ห่างออกไป เมื่อเข้าใจ ถึงความหมายของความหวังโดยทั่วไปแล้ว แล้ ว ในศาสนาคริ ส ต์ ค วามหวั ง ที่ พู ด ถึ ง นี้ หมายถึงอะไร  จากค� ำ สอนของพระศาสนจั ก ร ปัจจุบันให้ความหมายถึงความหวัง ว่าเป็น คุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้า ที่ช่วยเราให้ใฝ่หา พระอาณาจักรสวรรค์และชีวิตนิรันดร เป็น

ความสุขของเรา โดยวางความมั่นใจของ เราไว้กับพระสัญญาของพระเยซูคริสตเจ้า ไม่วางใจในก�ำลังของเรา แต่วางใจในความ ช่วยเหลือจากพระหรรษทานของพระจิตเจ้า อาศั ย ความหวั ง นี้ เ อง ท� ำ ให้ ก ารแสวงหา ความสุขทีพ่ ระเจ้าทรงวางไว้ในใจของมนุษย์ แต่ละคน กลายเป็นพลังบันดาลใจให้เรา ประกอบกิจกรรมต่างๆ ท�ำให้พลังบันดาลใจ เหล่านีม้ งุ่ หาอาณาจักรพระเจ้า ช่วยป้องกัน ไม่ให้หมดก�ำลังใจ คอยพยุงใจไว้ไม่ให้ทอ้ แท้ เปิดใจกว้างและมีความหวังว่าจะได้รบั ความ สุขนิรันดร พลังของความหวังนี้ช่วยปกป้อง เราจากความเห็นแก่ตวั  หรือความรักตนเอง ในทางที่ไม่ถูกต้อง และน�ำเราให้แสวงหา ความสุขที่มาจากความรักที่แท้จริง นี่คือ ความหมายของความหวั ง แบบคริ ส ตชน ดังนัน้  ไม่ใช่เพียงเชือ่ ว่ามีชวี ติ นิรนั ดรเท่านัน้ แต่ยงั มีพลังทีช่ ว่ ยให้ดำ� เนินชีวติ อย่างเหมาะ สมกับชีวิตนิรันดรที่จะก้าวเข้าไปรับด้วย ความหวังจึงเป็นความเชื่อมั่นในชีวิต นิรนั ดรว่าชีวติ นิรนั ดรมีจริง ไม่ใช่เรือ่ งหลอก


การศึกษาอบรมที่ให้ความหวัง

ลวง การท�ำความดีเพื่อจะได้ชีวิตหน้าเป็น ความจริงส�ำหรับมนุษย์ทุกคน จากเอกสาร พระศาสนจักรทีเ่ กีย่ วกับการศึกษาคาทอลิก เรื่องมิติด้านศาสนาในโรงเรียนคาทอลิก ข้อ 9 ได้กล่าวถึงสภาพของเยาวชนไว้ว่า  “เยาวชนเหล่ า นี้ ซึ ม ซั บ เอาความรู ้ ต่างๆ นานามากมายจากแหล่งที่มา หลากหลายประเภท รวมทั้ ง จาก โรงเรียนด้วย แต่พวกเขายังไม่มคี วาม สามารถเพียงพอทีจ่ ะจัดระเบียบและ จัดลาํ ดับความสาํ คัญของสิง่ ทีพ่ วกเขา ได้เรียนรูเ้ หล่านี ้ พวกเขายังไม่มคี วาม สามารถในเชิงวิพากษ์  ซึ่งจําเป็นใน การแยกแยะสิ่งที่จริงและสิ่งที่ดีออก จากสิ่งตรงกันข้าม พวกเขายังไม่มี บรรทัดฐานทางศาสนาและทางศีล ธรรมซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถ ตั้ ง มั่ น อยู ่ บ นพื้ น ฐานของความจริ ง และเป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร เมื่อต้อง เผชิ ญ กั บ ทั ศ นคติ แ ละนิ สั ย ที่ ยึ ด ถื อ ปฏิบตั กิ นั อยูท่ วั่ ไปในสังคมในทุกวันนี้ แนวความคิดเกีย่ วกับความจริง ความ งาม และความดี  กลับกลายเป็นสิ่ง คลุมเครือไม่ชดั เจน จนกระทัง่ บรรดา เยาวชนไม่ รู ้ จ ะหั น หน้ า ไปพึ่ ง ใคร ถึ ง แม้ ว ่ า พวกเขาจะสามารถยึ ด ถื อ คุณค่าบางประการ แต่พวกเขาก็ไม่มี ความสามารถเพี ย งพอที่ จ ะพั ฒ นา

39

คุณค่าเหล่านีใ้ ห้กลับกลายเป็นวิถชี วี ติ ของพวกเขาได้  บ่อยครั้งที่พวกเขามี ความโน้มเอียงที่จะเลือกทําเพียงแต่ สิ่งที่ตนเองอยากจะทํา โดยยอมรับ สิง่ ใดก็ตามทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มกันอยูใ่ นขณะ นั้น” ซึ่งเมื่อพิจารณาดีๆ แล้ว ก็ไม่ได้แตก ต่างจากยุคปัจจุบันมากนัก เยาวชนก�ำลัง แสวงหาความมัน่ คงในชีวติ  ท่ามกลางความ สับสนวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงอย่าง พลิกโลก แต่ความเป็นจริงนัน้ ขึน้ กับปฏิกริ ยิ า ตอบสนองของบุคคลต่อสถานการณ์ของโลก ที่ จ ะเกิ ด ผลดี ห รื อ ร้ า ยต่ อ ตนเองมากกว่ า ถ้าบุคคลนั้นมีหลักยึดเหนี่ยวในการด�ำเนิน ชีวิต ในการเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ชีวิต เขาก็จะผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ด้วยดี มีแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ในทาง พุทธศาสนาเชื่อว่าทุกการกระท�ำมีผลสืบ เนื่อง (กรรม) และผลของกรรมสืบเนื่องไป ยังชีวิตใหม่  ส�ำหรับคริสตชนซึ่งเชื่อว่ามีชีวิต นิรนั ดร เมือ่ ยอมรับพระเยซูเจ้าเป็นองค์พระ ผูไ้ ถ่และปฏิบตั ติ ามพระวาจาก็จะได้ไปอยูก่ บั พระเจ้าตลอดนิรันดร นี่เป็นความหวังของ เรา และอาศัยความหวังนี้เอง จึงช่วยเราให้ กระท� ำ ทุ ก สิ่ ง ที่ เ ป็ น ความดี ง ามต่ อ ตนเอง ต่อผู้อื่น เป็นการปฏิบัติตามพระวาจาของ พระเยซูเจ้าทีว่ า่  “จงรักผูอ้ นื่ เหมือนรักตนเอง” การมีความหวังในชีวิต ยังบอกกับเราอีกว่า


40 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 เมื่อท�ำผิดพลาดไปแล้ว ยังมีโอกาสให้กลับ ตัวแก้ไขความผิดหรือชดเชยความผิดทีไ่ ด้ทำ� ไปแล้ว มีโอกาสรับการอภัยโทษ จากผู้อื่น จากพระเจ้ า และที่ ส� ำ คั ญ การยกโทษให้ ตนเองสามารถยอมรับได้ว่า เรามนุษย์เป็น ผู้อ่อนแอไม่สมบูรณ์ผิดพลาดได้  แก้ไขได้ เปลี่ยนแปลงตนเองได้  ถ้าตั้งใจและต้องการ เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวตนเอง ผู้อื่น และสภาพแวดล้อมด้วย

เกิดขึ้นได้  ต้องยอมรับและปล่อยให้มันเป็น ไป เช่น ขับรถอยู่ดีๆ เกิดเสียกลางคัน หรือ ไปสนามบินแล้ว เครือ่ งบินเปลีย่ นเวลาขึน้ ลง และอืน่ ๆ จะเห็นได้วา่ เราไม่สามารถควบคุม สิ่งที่เกิดขึ้นได้  แต่สิ่งที่เราท�ำได้คือการตอบ สนองหรือปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น พอ รถเสียเราปฏิบัติอย่างไร เกิดอารมณ์เสีย โมโห โกรธ หรือโทษนั่นนี่  ตัวเราเองก็จะ เป็นเหยือ่ ของความรูส้ กึ ของตนเอง และไม่มี

มนุษย์เราจะมี ได้อย่างไร ถ้าในชีวิตไม่เคยประสบกับความสุขเลย

ความหวัง

หลายท่านคงเคยได้ยินค�ำว่า กฎ 1 ใน 10 ของ Stephen Covey ที่เสนอสูตร การแสวงหาความสุขจากชีวิตประจ�ำวันที่ กล่าวว่า สิ่งที่เราควบคุมได้มีถึงเก้าส่วนแต่ ส่วนทีเ่ ราควบคุมไม่ได้มเี พียง 1 ส่วนเท่านัน้ เพราะกฎนี้บอกว่า ในชีวิตของคนเรานั้น ร้อยละ 10 ของความเป็นไปในชีวติ นัน้ ทีอ่ ยู่ นอกเหนื อ การควบคุมของตัว เรา อีก 90 เปอร์เซนต์คอื ปฏิกริ ยิ าของเราต่อสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับตัวเรา เรือ่ งต่างๆ ในชีวติ ประมาณ 1 ใน 10 ส่วน ที่เราควบคุมหรือป้องกันไม่ให้มัน

ความสุข เพราะเราสามารถก�ำหนดได้วา่ เรา จะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะ เราควบคุมมันไม่ได้อย่างไร ดังนั้น ให้เรา จดจ่อดูสิ่งที่เราควบคุมได้  แล้วเราจะด�ำเนิน ชีวิตได้อย่างมีความสุขในปัจจุบัน สิ่งที่เรา สามารถเปลี่ยนแปลงได้คือปฏิกิริยาของตัว เราเอง ถ้าเราตั้งใจและลงมือปฏิบัติจริงๆ เราเปลี่ยนได้ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับความหวังและความ ไว้ใจในพระเจ้าเช่นกัน ในพระคัมภีร ์ ปัญญา จารย์  (3:11-14) มีกล่าวว่า


การศึกษาอบรมที่ให้ความหวัง

“พระองค์ ท รงให้ ทุ ก สิ่ ง งดงามตาม เวลา แต่ทรงใส่ความส�ำนึกถึงเวลาที่ ผ่ า นไปไว้ ใ นใจมนุ ษ ย์   ถึ ง กระนั้ น มนุ ษ ย์ ก็ ยั ง ไม่ เข้ า ใจจุ ด เริ่ ม ต้ น และ การสิ้นสุดของกิจการที่พระเจ้าทรง กระท�ำ  ข้าพเจ้ารูว้ า่ มนุษย์ไม่มสี งิ่ ใดดี กว่าการมีความสุขและความยินดีใน ชีวติ  ยิง่ กว่านัน้ ส�ำหรับมนุษย์  การกิน การดื่ม และการพบความสุขในความ ล� ำ บากตรากตร� ำ ของตนก็ เ ป็ น ของ ประทานจากพระเจ้าด้วย” การมี ค วามสุ ข ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ประจ�ำวัน เป็นพระพรจากพระเจ้าเช่นกัน มนุษย์เราจะมีความหวังได้อย่างไร ถ้าในชีวติ ไม่เคยประสบกับความสุขเลย เมือ่ ไม่เคยลิม้ รสความสุขในชีวิตนี้  จะแน่ใจได้อย่างไรว่า จะมีความสุขยินดีในภายหน้า การศึกษาคาทอลิกจึงมีบทบาททีต่ อ้ ง ช่วยให้มนุษย์มีโอกาสลิ้มรสความสุขยินดี ในชีวิตนี้และชี้น�ำไปให้เห็นถึงความสุขยินดี ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่รอเราอยู่ในชีวิตหน้า ที่เป็น ชีวติ นิรนั ดร แล้วจะต้องท�ำอย่างไรในสถาบัน การศึกษาต่างๆ ในการเรียนการสอนต้อง สามารถน� ำ นั ก เรี ย นไปพบกั บ ความสุ ข ใน ความงาม ความจริง และความดีของสิง่ สร้าง ที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา ยกตัวอย่าง การเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์  คุณครูสามารถสอนน�ำไปถึง

41

ประเด็นการเห็นความงดงามในธรรมชาติ การดู แ ลสิ่ ง สร้ า งที่ ส วยงาม ความพิ ศ วง อัศจรรย์ใจในความลึกลับของจักรวาล เด็กๆ จะเรียนรู้ความงามที่แท้จริง ความจริงของ ธรรมชาติที่ผันเปลี่ยนไปตามฤดูกาล และ ความดีที่คงอยู่ถาวรเหนือกาลเวลา การเรียนสังคมศึกษาที่เด็กสามารถ เรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัฒนธรรม การ เคารพศักดิศ์ รีของกันและกัน การแบ่งปันให้ กันและกันจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในราย วิชาอื่นๆ ก็เช่นกัน กระบวนการเรียนการ สอนของโรงเรียนควรสามารถน�ำผู้เรียนก้าว ข้ามปัญหาเฉพาะตนเองไปยังการใส่ใจผู้อื่น การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ของชุมชน สังคม ของโลก การสร้างความ หวังให้กบั ตนเองและผูอ้ นื่ เป็นพลังชีวติ ให้แก่ กันและกัน  ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเริ่มจากตัวบุคลากรที่ ส�ำคัญคือครู  เพราะครูคือผู้ที่จะช่วยให้การ ศึกษาคาทอลิกประสบความส�ำเร็จ ตามที่ เอกสารกล่าวว่า “ในโรงเรียนคาทอลิกความ รับผิดชอบหลักในการสร้างบรรยากาศที่ พิเศษของโรงเรียนแบบคริสต์ตกอยู่กับครู ในฐานะของปั จ เจกบุ ค คลและฐานะของ ชุมชน การสอนเป็นกิจกรรมที่มีนัยทางศีล ธรรมที่ลึกซึ้งและเป็นหนึ่งในกิจกรรมของ มนุ ษ ย์ ท่ี ล�้ ำ ค่ า และสร้ า งสรรค์ ที่ สุ ด  ทั้ ง นี้ เพราะครูไม่ได้แต่เพียงเขียนคําสอนลงใน


42 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 วัสดุที่ไม่มีชีวิต แต่จารึกบนจิตวิญญาณของ มนุษย์  ดังนั้น ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ครูกับนักเรียนจึงมีความสําคัญใหญ่หลวง” เพราะอาศัยความสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กัน นักเรียน จะฟังสิ่งที่ครูชี้แนะ พิจารณา และสามารถ ประพฤติปฏิบัติตามตัวอย่างที่คุณครูสอน และปฏิบัติให้เห็น ครูที่ให้อภัยต่อความผิด พลาดของศิษย์  ให้โอกาสศิษย์ในการแก้ไข ตัวเองใหม่ พัฒนาตนเองให้ดขี นึ้ มากกว่าเดิม เสมอ ช่วยพวกเขาสามารถมองเห็นหนทาง ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวติ  ท�ำให้เยาวชนตระหนักดีวา่  ชีวติ ยังมี ความหวัง ผิดพลาดไปแล้วยังมีโอกาสในการ แก้ไข ท�ำให้ดีขึ้นในครั้งต่อๆ ไป และใช้ชีวิต อย่างไม่ประมาท มีทั้งความหวังและยังรู้จัก ไว้วางใจในผูท้ ปี่ รารถนาดีอย่างจริงใจได้ จาก ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน จึงช่วยให้จดุ มุง่ หมายของการศึกษาคาทอลิก ประสบความส�ำเร็จ นัน่ คือ การพัฒนาบุคคล ทั้งครบ ทั้งชีวิต และจิตวิญญาณ

การศึกษาคาทอลิกส่งเสริมให้เยาวชน เป็นผู้มีความหวังและพัฒนาเยาวชนให้เป็น ผู้มีความรัก และรู้จักรับใช้แบ่งปันตามแบบ อย่างพระเยซูเจ้าผู้เป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ ของการศึ ก ษาอบรมคาทอลิ ก  ส่ ง เสริ ม เยาวชนเป็นผู้ไม่ท้อแท้ต่อปัญหาอุปสรรคที่ เกิดขึน้  ไม่หาทางลัดในการแก้ปญ ั หาหรือหนี ปัญหา มีความไว้วางใจต่อพระเจ้า ต่อบิดา มารดา ครูอาจารย์ทปี่ รารถนาดี เหมือนพระ เยซูเจ้าที่สิ้นพระชนม์บนกางเขนที่ดูเหมือน ไม่มคี วามหวังเป็นผูแ้ พ้ มองไม่เห็นหนทางใน ภายภาคหน้าถึงกระนั้น พระองค์ยังทรงไว้ วางใจในพระบิดาเจ้า มอบทุกสิ่งไว้ในอ้อม พระหัตถ์ของพระบิดา โดยความหวังนี ้ หลัง จากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์  พระเยซู เจ้าทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ ทรงพระชนม์ อยู่ท่ามกลางเรา เป็นแบบอย่างแห่งความ หวังของเราตลอดไป

บรรณานุกรม สารานุกรมคาทอลิก ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก มิติด้านศาสนาในโรงเรียนคาทอลิก


(หมวดค�ำสอน)

เจริญชีวติ ใน

ความหวัง

เสมอ

บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม, OMI.

วันที่  19 ธันวาคม 2019/2562 องค์ พระสันตะปาปาฟรานซิสได้ทรงอักษรสาส์น ส� ำ หรั บ วั น สั น ติ ภ าพสากล ส่ ว นหนึ่ ง ของ สาส์ น พระองค์ ท รงอั ก ษรว่ า  “สั น ติ ภ าพ เป็นการเดินทางแห่งความหวัง ผ่านอุปสรรค และปั ญ หาต่ า งๆ มี คุ ณ ค่ า ยิ่ ง ใหญ่   และ ประเสริฐมาก... เป้าหมายแห่งความหวัง ของเราและเป็นศูนย์กลางแห่งแรงปรารถนา ของครอบครัวมนุษยชาติ... ความหวังจึงเป็น คุณธรรมชั้นสูงที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวก เราต้องพยายามก้าวต่อไป แม้ต้องเผชิญ อุปสรรคมากมาย...” พระองค์ได้ทรงเอ่ยถึง ค� ำ ของนั ก บุ ญ ยอห์ น แห่ ง ไม้ ก างเขนที่ ว ่ า “พวกเราทุกคนจะได้รับทุกสิ่งที่เราหวัง” บาทหลวงสังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล

และทรงอธิบายต่อว่า ความหวังต้องผสม ผสาน กับความเพียรทนอดกลั้น พร้อมทั้ง มีความเชื่อมั่นใจ เพราะความหวังที่แท้ก็ คือการต้องเดินทาง แต่ เ มื่ อ ฟั ง และเห็ น ข่ า วสารต่ า งๆ ฆาตกรรม ความรุ น แรง ความอยุ ติ ธ รรม ความคิดแต่ผลประโยชน์ของตนและของ พวกพ้ อ ง ท� ำ ให้ คิ ด ว่ า ความหวั ง ของเรา ดูเลือนราง แต่ถา้ เราน�ำเอาแนวความคิดของ องค์พระสันตะปาปามาเป็นหลักประจ�ำใจ อาจกล่าวได้ว่า ความหวังเป็นการก้าวเดิน ทาง  เป็ น การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ ต ้ อ งผ่ า น ประสบการณ์ของอุปสรรคมากมาย แต่ยัง ยิ้มสู้ต่อไปได้


44 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 เมือ่ เราหวัง เราก็เชือ่ ว่าเราสามารถไป ถึงจุดที่เรามีเป้าประสงค์ไว้ให้ได้  เราท้อเมื่อ เราคิดว่าเราจะไปไม่ถงึ และรูส้ กึ ว่าท�ำอะไรไม่ ได้  ความหวังอิงอยู่กับอ�ำนาจ อยู่กับความ เป็นไปได้  อยู่กับการเปลี่ยนแปรได้  ความ หวั ง คื อ เสี ย งที่ ก ้ อ งในหั ว ใจเรา ว่ า ยั ง ไม่ มี อะไรสาบสู ญ  เป็ น การมอบชี วิ ต พร้ อ ม กับประสบการณ์ความทุกข์และความสุข เสมือนเป็นค�ำสัญญาที่ต้องลงมือปฏิบัติให้ ครบจบขบวนการ เป็นการมองไปข้างหน้า ในอนาคต ขณะเดียวกันรู้ว่าต้องท�ำตรงนี้ ณ เวลานี ้ ก่อนเป็นการปฏิเสธทีจ่ ะฝังตัวเอง หรือกลบตัวเองหรือจมปลักอยู่กับที่กับสิ่งที่ เราตระหนักรูว้ า่ เราขาดอยู ่ พูดกันจริงๆ แล้ว ความหวังคือการยอมรับว่าตนเป็นทาสที่ ผลักดันให้ตัดสินใจออกจากสถานการณ์นั้น เป็นความต้องการปลดปล่อยตนเองให้พ้น จากสภาพการณ์นนั้  นีค่ อื การแสวงหาตลอด เวลาให้พบความปลดปล่อยให้พ้นให้เป็น อิสระนั่นเอง

บทเรียงความนี้ขอกล่าวถึง “ความ หวั ง ” ในมุ ม มองแบบคริ ส ตชน เพื่ อ อาจ ได้เข้าใจอย่างลุ่มลึกขึ้นด้วยสายตาที่ใหม่ อยู ่ เ สมอในทุ ก เหตุ ก ารณ์ ต ่ า งๆ ของชี วิ ต และอาจช่ ว ยให้ เข้ า ใจในความผู ก พั น นั้ น มีเครือ่ งหมายของการประทับอยูข่ องพระเจ้า และยอมรับในทีส่ ดุ ว่าการเจริญชีวติ ในความ หวังคือการน้อมรับทั้งความสุขและความ ทุกข์ของชีวิต ความหวังเท่านั้นที่ท�ำให้เรา ข้ามผ่านความทุกข์ยากเพือ่ ไปสูค่ วามยินดีที่ พระเจ้าได้ทรงเตรียมให้เราไว้แล้ว เพราะ พระองค์ทรงรักเรา เมื่อเรามองโลกปัจจุบัน เราสามารถ สัมผัสได้ถึงความก้าวร้าวรุนแรงในโลก ใน ขณะที่ อี ก มุ ม มอง เราต้ อ งยอมรั บ ความ ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอย่างน่าอัศจรรย์ อันเกี่ยวโยงกับสถานภาพของการด�ำเนิน ชีวิต บ้านเรือน เคหะต่างๆ การคมนาคม สิ่ ง แวดล้ อ ม ฯลฯ แม้ ค วามก้ า วหน้ า ทาง เทคโนโลยีนี้อาจสร้างผลในทางลบให้กับ

ความหวังเป็นการก้าวเดินทาง เป็นการด�ำเนินชีวิตที่ต้องผ่าน ประสบการณ์ของอุปสรรคมากมาย แต่ยังยิ้มสู้ต่อไปได้


เจริญชีวิตในความหวังเสมอ

มนุษยชาติ  (ระเบิดนิวเคลียร์  สงครามเชื้อ โรค อุบตั เิ หตุ  บนถนน บนอากาศ มลภาวะ ฯลฯ) แต่มันก็น�ำมาซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจใน อ�ำนาจของมัน เป็นเหมือนการสร้างความ หวังว่าได้รับการปลดปล่อยจากความเป็น ทาสของธรรมชาติ   แม้ เ ทคโนโลยี ยั ง ไม่ สามารถควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ ทุกอย่างก็ตาม (ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว พายุ ภูเขา ไฟ ฯลฯ) แต่มันท�ำลายแนวความคิด ของเคราะห์กรรม ของ “โชคร้าย” ซึ่งตรง ข้ามกับความหวัง ต้ อ งยอมรั บ ว่ า เป็ น การเสี่ ย งมาก เพราะในความก้าวหน้านั้นไม่มีที่ส�ำหรับ การประทับอยู่ของพระเจ้า แต่เป็นสถาน เพาะอ�ำนาจมากจากฝีมือมนุษย์ล้วนๆ ในความเป็นจริง การพูดถึงความหวัง แบบคริสตชนในโลกปัจจุบัน ในสังคมโลกที่ เต็มไปด้วยบริโภคนิยม วัตถุนยิ ม โลกียน์ ยิ ม เหมือนจ�ำเป็นต้องคิดว่าเป็นอะไรที่เป็นได้ ยาก นอกจากต้องรอชาติหน้า แน่นอนว่า เป้าประสงค์นนั้ ชัดเจนอยูแ่ ล้วคือในโลกหน้า หลังความตาย แต่ความหวังนี้ต้องเริ่มเกิด จากประสบการณ์ในโลกนีก้ อ่ น ประสบการณ์ ที่ เ อื้ อ ให้ เราได้สัมผัสการประทับอยู่  ของ พระเจ้าในชีวิตของเรา ซึ่งอันที่จริงแล้วก็มี วิธกี ารมากมายในการได้มาซึง่ ประสบการณ์นี้ แต่ละคนอาจมีความหวังไม่เหมือนกัน หรือในระดับเดียวกัน แต่ความหวังนั้นได้

45

แฝงตัวอยูใ่ นส่วนลึกของทุกคน และเพือ่ เริม่ สัมผัสความหวังนีไ้ ด้ จ�ำเป็นต้องผ่านประสบ การณ์ชีวิตที่เจือปนทั้งความสุขและความ ทุกข์  ต้องรู้จักสังเกตคนรอบข้างด้วยความ มีกัล ยาณมิตร ด้วยดวงตาแห่งการมองดี จะสามารถมองเห็นแสงเรืองรองที่อยู่โพ้น นิ มิ ต  อาจดู ไ ม่ มี เ หตุ ไ ม่ มี ผ ลแต่ ห าใช่ ก าร เพ้อเจ้อไม่  แม้ในสิ่งจ�ำเจประจ�ำวัน แม้ใน พฤติกรรมซ�้ำซาก แม้ในเหตุการณ์ที่ไม่คาด หวังน่าอัศจรรย์และตืน่ เต้นไปในตัว ด้วยการ ไขว่คว้าปรากฏการณ์เหล่านี้ในชีวิตที่เป็น การก่อตัวของความหวังได้ องค์พระสันตะปาปาฟรานซิสเพิง่ ตรัส ว่า “พระเจ้านัน้ ทรงกระท�ำการอันเปีย่ มด้วย ความคาดไม่ถึงเสมอๆ เป็นประสบการณ์ที่ หลายคนได้ สั ม ผั ส โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ผู ้ ที่ ท�ำงานกับคนที่มีสภาพจิตไม่ปรกติ  ผู้ต้อง เผชิญการปิดกีดกันสารพัดในสังคม ในโลก ของความไม่จริงใจ หน้าไหว้หลังหลอกเพียง เพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว พวกเขาที่ เราคิดว่าผิดปรกติกลับต้องยอมจ�ำนนและ เจริญชีวิตแทบจะเปลือยเปล่าเพราะต้อง ประนีประนอมเพือ่ ความหวังของโลกทีด่ กี ว่า ในอนาคต ความหวังนี้เหมือนพยายามมอง สิ่ ง ที่ เ ห็ น และสั ม ผั ส ไม่ ไ ด้ ใ นสิ่ ง ที่ เ ห็ น และ สัมผัสได้ในทุกวัน การมองหรือทีทศั น์แบบนี้ เป็นการข้ามผ่านเครื่องหมายที่แสดงให้เห็น การเปลีย่ นแปรอันยิง่ ใหญ่ในตัว เพราะเวลา


46 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563

ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นความหวัง พระองค์คือผู้ที่ข้าพระองค์วางใจ มาแต่เยาว์วัย นั้ น เรายอมรั บ ความจริ ง อยู ่ โ พ้ น มิ ติ   นี่ คื อ เครื่องก�ำเนิดท�ำให้เกิดความวางใจอันน�ำไป สู่ความหวัง” ลึกๆ แล้วการที่จะไปให้สุดแห่งความ หวังนั้น จ�ำเป็นต้องมีอย่างน้อยสองท่าทีคือ ประการหนึ่งต้องมีไหล่ที่กว้าง นั่นคือควรมี ทักษะความสามารถ มีความเพียรทน มีการ รู ้ จั ก กาลเทศะ มี ส ติ   ที่ เราสามารถเรี ย ก ตามพระคัมภีร์ได้ว่าเป็น “ความปรีชา” อีก ประการหนึ่งก็คือ ต้องอาจหาญในการต่อสู้ กั บ ปี ศ าจและกั บ ความเลวร้ า ยทุ ก ชนิ ด เหมื อ นองค์ พ ระเยซู ไ ด้ ท รงกระท� ำ ให้ ดู ในถิ่นทุรกันดารหลังจากได้รับพิธีล้างจาก ยอห์นผู้ช�ำระล้าง พระองค์ได้ทรงแสดงให้ เห็ น และเข้ า ใจว่ า ไม่ มี อ ะไรประกั น ความ ส� ำ เร็ จ  ดู พ ระชนม์ ข องพระองค์ จ นวาระ สุดท้าย ไม่มีอะไรเป็นความส�ำเร็จถ้ามอง และคิ ด แบบมนุ ษ ย์   แต่ ค วามล้ ม เหลว ประสามนุ ษ ย์ ที่ พ ระองค์ ไ ด้ ป ระสบก็ ห า เป็นค�ำสุดท้ายหรือจุดจบของทุกสิ่งไม่

เราอาจเผลอมองโลกปัจจุบนั ในแง่ลบ เท่ า นั้ น และความท้ อ แท้ สิ้ น หวั ง ก็ ค ่ อ ยๆ คืบคลานใส่ตัวเรา ปรากฏการณ์มากมาย ดูเหมือนเป็นธรรมล�้ำลึกให้เราได้เจาะลงให้ ลึกแต่เราต้องเคารพมัน ได้กล่าวไปแล้วว่าสิ่งที่เราหวังนั้นไม่ เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับจังหวะสภาพการณ์ และสถานการณ์ของแต่ละคน แม้ดูเหมือน ว่าสิ่งที่เราคาดหวังอาจไปในทิศทางตรงกัน ข้ามกับทีเ่ ราคาดหวังไว้ แต่เราจะหยุดหวังไม่ ได้  เหมือนเราหยุดหายใจไม่ได้  และด้วย สายตาทีม่ องทุกอย่างแบบบวก มองทุกอย่าง ด้วยสายตาแห่งความรัก และกัลยาณมิตร ที่สามารถผลักดันให้เราหวังได้ แล้วยังมีความคาดหวัง การตีความ หรือการคาดเดาเหตุการณ์ตา่ งๆ ในชีวติ ทีย่ งั ไม่เกิดขึ้น ด้วยความหวังว่าอะไรต่างๆ จะ เป็นไปตามความต้องการของตน เป็นความ เชื่อที่คอยคิดล่วงหน้า คาดการณ์ล่วงหน้า ซึง่ ในความเป็นจริงอาจเกิดขึน้ ในทางตรงกัน ข้ามก็ได้  การคาดหวังเช่นนี้มีผลกระทบต่อ


เจริญชีวิตในความหวังเสมอ

พฤติกรรมของบุคคลเพราะการคาดเดาล่วง หน้าถึงอนาคตที่ดีเป็นความมุ่งหวังที่ดีงาม เป็นการดิน้ รนและความพึงพอใจ โดยหวังใน สิ่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้พฤติกรรมอยู่ใกล้ เคียงกับความสามารถท�ำให้เป็นไปได้จริง มากขึ้น เพราะเป็นการบ่งชี้ถึงความส�ำเร็จ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจให้เลือกพฤติกรรม ของตนให้ ส อดรั บ กั บ องค์ ป ระกอบของ เหตุ ก ารณ์ แ ละสภาพแวดล้ อ มขึ้ น อยู ่ กั บ ระดั บ ความยากง่ า ยของกิ จ การและ ประสบการณ์ในอดีต บุคคลที่เคยประสบ ความส�ำเร็จมาก่อนย่อมหวังความส�ำเร็จที่ดี กว่าในครั้งต่อไป คงเป็นทีเ่ ข้าใจกันแล้วว่าความหวังคือ คุ ณ ธรรมที่ ดึ ง เราเข้ า สั ม ผั ส /สั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้าโดยตรง และผลักดันให้เราก้าวไป อย่างมุง่ มัน่ สูอ่ นาคต ความหวังยังอิงแอบอยู่ ในพระสัญญาของพระเจ้าที่มีความเชื่อเป็น เครือ่ งรับรอง สามารถท�ำให้ใครก็ได้เพียรทน และสัตย์ซอื่ จนตลอดในความทุกข์ยากนานา ในพระคัมภีร์ ในพระธรรมเดิ ม  หนั ง สื อ สดุ ดี อ าจ แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความวางใจของ ชนชาวอิสราแอลที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงเป็น ศิลาแห่งความรอดพ้น “ข้าแต่พระเจ้า... ข้าพระองค์ลี้ภัยมา พึง่ พระองค์  โปรดช่วยข้าพระองค์ให้รอดพ้น

47

จากบรรดาผู้ตามล่าข้าพระองค์  และทรง ช่ ว ยข้ า พระองค์ ใ ห้ พ ้ น ภั ย เถิ ด ... ข้ า แต่ พระเจ้า โปรดประทานความยุติธรรมแก่ ข้าพระองค์  เพราะข้าพระองค์เป็นผู้ชอบ ธรรม...ไร้ความผิด” (เทียบสดุดี  7) “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงช่วยชีวิต ข้าพระองค์  ข้าแต่พระเจ้า โปรดเสด็จมา ช่วยเหลือข้าพระองค์โดยเร็วเถิด... ทุกคน ที่แสวงหาพระองค์  จงยินดีและชื่นชมใน พระองค์   ผู ้ ที่ รั ก พระองค์   ผู ้ ท รงช่ ว ยให้ รอดพ้ น  จงพู ด เสมอว่ า  “พระเจ้ า ทรงยิ่ ง ใหญ่”... ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็น ความหวั ง  ข้ า พระองค์   พระองค์ คื อ ผู ้ ท่ี ข้าพระองค์วางใจมาแต่เยาว์วัย ข้าพระองค์ พักพิงพระองค์ตั้งแต่ก�ำเนิด ตั้งแต่ยังอยู่ใน ครรภ์ ม ารดา พระองค์ ท รงเป็ น ที่ พึ่ ง ของ ข้าพระองค์แล้ว... ข้าพระองค์จะมีความหวัง ตลอดไป จะสรรเสริญพระองค์มากยิ่งขึ้น ปากของข้าพระองค์จะประกาศความเที่ยง ธรรมของพระองค์” (เทียบสดุดี  71) ในประวัติศาสตร์ความรอดพ้นของ ประชากรของพระเจ้ า เต็ ม ไปด้ ว ยเพลง สรรเสริญความหวังของพระเจ้า เริ่มตั้งแต่ อับราฮัมทีพ่ ระเจ้าได้ทรงเลือกท�ำพันธสัญญา ด้วย บ่งบอกถึงความมั่นใจ ความหวังอย่าง ไม่ สั่ น คลอนว่ า แผนการของพระเจ้ า ต้ อ ง ส�ำเร็จไปตามค�ำสัญญาของพระองค์  ผ่าน ทางประกาศกที่พระเจ้าได้ทรงเลือกสรรไว้


48 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 และเป็ น หน้ า ที่ ข องทายาทของบรรดา ประกาศกที่ ต ้ อ งสานต่ อ แผนการนี้   จาก โมเสสถึงยอห์นผูท้ ำ� พิธลี า้ ง โดยไม่ลมื เน้นถึง ช่วงเวลาอันโชคร้าย ขณะอยู่เป็นทาสของ ชาวอียิปต์  เน้นถึงช่วงเวลาที่ถูกไล่ต้อนเป็น เชลยที่บาลีโลน หรือช่วงเวลาที่ต้องอยู่ใต้ อ�ำนาจของชนต่างชาติ  รวมถึงช่วงเวลาที่ ประชากรของพระเจ้าหลงในความโน้มเอียง ในการอยากหันหลังให้พระเจ้า เป็นความ นอกใจไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ในทุกช่วงของ วิกฤตนี้ก็มีคนของพระเจ้า ปรากฏตัวขึ้นมา เสนอเป็นผูป้ ระกาศและยืนยันค�ำสัญญาของ พระเจ้า ยังคงเป็นเหมือนเดิม และพระองค์ ก็ไม่ทรงล้มเลิกหรือตัดสายสัมพันธ์แห่งพันธ สัญญานั้นส่วนผู้ซึ่งเปลี่ยนจิตใจเป็นทุกข์จะ ได้พบพระเมตตาของพระเจ้า ความหวั ง ของประชากรอิ ส ราแอล เสร็จสมบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสต์  ผ่านทาง พระชนม์ชีพ พระทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนม์ชีพ นี่คือท่อธาร แห่งความหวังทั้งครบของศิษย์ขององค์พระ เยซูคริสต์  สานุศิษย์ของพระองค์ทราบว่า เป็นหนทางเดียวกับพระองค์  ที่ทุกคนต้อง ผ่านถ้าต้องการไปพบความหวังอันสมบูรณ์ นั่นคือพยายามค่อยๆ ปล่อยให้พระเจ้าเข้า ครอบครองจิตใจ นีค่ อื ส่วนของเราทีต่ อ้ งร่วม ในการเดินในหนทางแห่งความหวังพร้อมกับ องค์พระคริสต์  แต่เราก็ไม่สามารถเจาะจง

ลงไปได้วา่ จะเป็นเวลาไหน ตรงจุดไหน ทีเ่ รา สามารถพบพระองค์ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ แ บบ แม้เมื่อเราต้องจากโลกนี้ไป นักบุญเปาโลได้อธิบายอย่างชัดแจ้ง ถึงความจริงของความหวังของประชากรของ พระเจ้า ท่านได้เขียนจากในคุกว่า “...ข้าพเจ้ามุง่ มัน่ รอคอยอย่างกระตือ รือร้น และหวังว่าข้าพเจ้าจะไม่อับอายเลย แต่จะพูดอย่างอาจหาญว่า องค์พระคริสต์ จะทรงได้รบั เกียรติในร่างกายของข้าพเจ้า ... ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเป็นหรือตายก็ตาม ข้าพเจ้า คิดว่าการมีชีวิตอยู่ก็คือองค์พระคริสต์  และ การตายก็คือก�ำไร...ข้าพเจ้ารู้สึกลังเลคือ ปรารถนาจะพ้นจากชีวติ นีไ้ ป เพือ่ อยูก่ บั องค์ พระคริสต์ซงึ่ จะเป็นการดีกว่า แต่การมีชวี ติ ในโลกนีต้ อ่ ไปก็จำ� เป็นอย่างยิง่ เพือ่ พวกท่าน” (เทียบ ฟิลิปปี  1:20-24) ในฉบับเดียวกัน ท่านยังเขียนอีกว่า “นับแต่บัดนี้  ข้าพเจ้าเห็นทุกสิ่งไม่มี ประโยชน์อกี ต่อไป เมือ่ เปรียบกับประโยชน์ อั น ล�้ ำ ค่ า  คื อ การรู ้ จั ก องค์ พ ระคริ ส ตเยซู องค์เจ้าเหนือหัวของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึง ยอมสูญเสียทุกอย่าง ข้าพเจ้าเห็นทุกสิ่งเป็น ปฏิกูล เพื่อจะได้องค์พระคริสต์มาเป็นก�ำไร และอยู่ในพระองค์... ข้าพเจ้าต้องการรู้จัก พระองค์  รู้จักฤทธานุภาพของการกลับคืน พระชนม์ชพี ของพระองค์  ต้องการมีสว่ นร่วม ในพระทรมานของพระองค์ โ ดยมี ส ภาพ


เจริญชีวิตในความหวังเสมอ

เหมือนพระองค์ในความตาย... ข้าพเจ้ายัง ไม่บรรลุเป้าหมาย ยังท�ำไม่ส�ำเร็จ ข้าพเจ้า มุ่งหน้าวิ่งต่อไปเพื่อจะช่วงชิงรางวัลให้ได้ ดังที่องค์พระคริสต์เยซูทรงช่วงชิงข้าพเจ้าไว้ ได้แล้ว ข้าพเจ้าไม่คิดว่าข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้ า พเจ้ า ท� ำ เพี ย งอย่ า งเดี ย ว คื อ  ลื ม สิ่ ง ที่ อยู่เบื้องหลังมุ่งสู่เบื้องหน้าอย่างสุดก�ำลัง ข้าพเจ้าวิง่ เข้าสูเ่ ส้นชัยไปหารางวัลทีพ่ ระเจ้า ทรงเรียกจากสวรรค์ให้ข้าพเจ้าเข้าไปรับ ในองค์พระคริสตเยซู” (ฟิลิปปี  3:8-14) แม้ความหวังนี้ผลักดันเราให้มองไป ข้างหน้าในอนาคต ในชีวิตอันรุ่งโรจน์กับ องค์พระคริสต์  เราก็ควรให้กำ� ลังใจตัวเราเอง โดยร�ำลึกถึงความสัตย์ซื่อที่ช่วยปกป้องชีวิต ความเชือ่ ของเราตลอดเวลา แล้วเหลียวหลัง เพียงเพื่อจะได้สามารถขอบคุณพระเจ้าใน พระพรที่พระองค์ได้ทรงประทานให้แล้ว อย่ า งมากมาย เหมื อ นนั ก บุ ญ เปาโลใน บั้นปลายชีวิตได้บอกกล่าวถึงความเชื่อมั่น อันมิเคยสั่นคลอนและความวางใจในผู้ที่ได้ คอยพยุงตนตลอดเวลาท่ามกลางความทุกข์ ยากนานาในการปฏิบัติงานอภิบาล “ข้าพเจ้าก�ำลังทนทุกข์  แต่ข้าพเจ้าก็ ไม่รู้สึกอาย เพราะรู้ว่าข้าพเจ้ามอบความ วางใจกับผู้ใด” (2 ทิโมธี  1:12)

49

อุปสรรค แต่แล้วก็เกิดอุปสรรคนานาอย่างไม่ คาดคิดในชีวิต ท�ำให้คริสตศาสนิกชนรวม ถึงบาทหลวงและนักบวชมากมายเกิดสับสน ในวิธีด�ำเนินชีวิตด้วยความหวัง มี ช ่ ว งวั ย อาวุ โ สที่ รู ้ สึ ก ว่ า ตนเอง อาจท� ำ อะไรไม่ ไ ด้ ดั ง ใจปรารถนา จนดู เหมื อ นชี วิ ต ถู ก ปิ ด กั้ น ด้ ว ยเส้ น ขอบฟ้ า ของความริ เ ริ่ ม หลากหลาย หรื อ อาจมี เหตุ ก ารณ์ ต ้ อ งล้ ม หมอนนอนเสื่ อ  เจ็ บ ไข้ ได้ป่วย นักบุญเปาโลสอนให้เราผนวกความ ทุ ก ข์   ความยากล� ำ บาก ความไม่ ไ ด้ ดั ง ใจ ปรารถนา ร่ ว มถึ ง ความเจ็ บ ป่ ว ยเข้ า กั บ พระทรมานขององค์พระคริส ต์  ผู้ถูกตรึง กางเขน เวลานั้นความทุกข์ทรมาน ความ เจ็บไข้ได้ป่วยนั้นจะถูกยกขึ้นสู่ระดับคุณค่า แห่งความรอดพ้น เตือนให้นึกถึงพระวาจา ขององค์พระคริสต์ที่ว่า “แบกกางเขนของ ตนทุกวัน” นักบุญเปาโลยืนยันท่าทีอันนี้ โดยกล่าวว่า “บัดนี้  ข้าพเจ้ายินดีที่ได้รับ ทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย พระทรมาน ขององค์พระคริสต์ยังขาดสิ่งใด ข้าพเจ้าก็ เสริมให้สมบูรณ์ด้วยการทรมานในกายของ ข้าพเจ้า เพือ่ พระกายของพระองค์” (โคโลสี 1:24) คริสต์ศาสนิกชนผู้มีความเชื่อเข้มข้น และความหวังเปี่ยมล้น สามารถยึดท่าทีนี้ เป็นหลักประจ�ำชีวิตฝ่ายธรรมจิต ดังเช่น นั ก บุ ญ เทเรซาแห่ ง พระกุ ม ารเยซู ผู ้ ถ วาย


50 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ความทุกข์ทรมานในอารามเป็นบูชาเพือ่ งาน แพร่ธรรม * อีกอุปสรรคที่มีต่อการมีความหวัง ก็ คื อ ความรู ้ สึ ก ว่ า ตนเองไร้ ค ่ า เมื่ อ ขณะที่ ตนเองยังท�ำงานได้อย่างแข็งขัน แล้วถูกตัด อย่างกะทันหันจากการงานกลายเป็นคนว่าง งาน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม “ผู้ไร้สมรรถภาพ” ต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ เ ข้ า กั บ สถานภาพและ สถานการณ์ ใ หม่   อาจต้ อ งหมุ น ตั ว ทุ ่ ม เท ท�ำงานในอีกแบบที่ตนยังอาจไม่ถนัด การ ปรั บ ตั ว นี้ ดู เ งี ย บๆ ไม่ โ ดดเด่ น  แต่ อ าจมี คุณค่าในสายพระเนตรของพระเจ้า อาทิ การภาวนาและการยอมรอคอยอย่างสงบ จะยกความรู้สึกด้อยค่าของตัวเองออกไป พระแม่มารีได้เจริญชีวิตอย่างสงบจิตสงบใจ หลังการเสด็จสูส่ วรรค์ขององค์พระเยซูคริสต์ เฝ้ารอคอยพร้อมกับบรรดาสานุศิษย์ถึงการ เสด็จมาอีกครัง้ ของพระองค์ เป็นความเพียร ทนจนถึงที่สุด เป็นความสัตย์ซื่อจนถึงที่สุด ด้วยอาศัยความเชื่อที่ได้รับการขัดเกลาและ ช�ำระจากความทุกข์ยากนานาประการ เราอาจมีอุปสรรคขวางกั้นความหวัง โดยการมีความโน้มเอียง เมื่อวันหนึ่งความ กลัว ความกังวลผ่านเข้ามาในชีวติ  โดยคิดว่า ตนได้รับใช้พระเจ้าและแผนการแห่งความ รอดพ้นด้วยใจกว้างเพียงพอเพียงใด เป็นที่ เข้าใจได้ว่าไม่มีใครกล้าอวดตัวว่าได้ปฏิบัติ หน้าทีอ่ ย่างถูกต้องและอย่างถูกใจ แต่ความ

หวังนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับผลงานของเรา แต่ขึ้น อยู่กับพระเจ้าพระผู้ทรงเมตตา ผู้มิได้ทรง จงใจจดจ�ำความผิดของเรา “เอฟราอิมเอ๋ย เราจะละทิ้งท่านได้ อย่างไร อิสราแอลเอ๋ย เราจะมอบท่านให้ ผู้อื่นได้อย่างไร เราจะท�ำให้ท่านเป็นเหมือน เมืองอัดมาห์  หรือท�ำกับท่านเหมือนเมือง เศโบลิมได้อย่างไร ใจเราปั่นป่วนอยู่ภายใน ความเอ็นดูของเราก็ครุกรุ่นขึ้น เราจะไม่ ลงอาญาตามที่เราโกรธจัด เราจะไม่ท�ำลาย เอฟราอิมอีก เพราะเราเป็นพระเจ้า มิใช่ มนุษย์  เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ในหมู่ท่าน เรา จะไม่มาด้วย ความโกรธ” (โฮเชยา 11:8-9) เราจึงต้องจดจ�ำพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อ เรา สิ่งมหัศจรรย์หลากหลายที่พระองค์ได้ ทรงกระท� ำ เพื่ อ มวลมนุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ อ ดี ต จน ถึ ง ปั จ จุ บั น  อาทิ   กั บ ประชากรอิ ส ราแอล สามารถเสริมพลังแห่งความหวังได้  เพราะ พวกเขาได้ ผ ่ า นประสบการณ์ ชี วิ ต อย่ า ง โชกโชนในความสั ต ย์ ซื่ อ ต่ อ พระเจ้ า  ผู ้ ไ ด้ ทรงกระท� ำ พั น ธสั ญ ญาแก่ ป ระชากรของ พระองค์ ในพระศานจักร ในช่ ว งเวลาหลั ง ๆ ได้ มี ก ารเปลี่ ย น แปลงอย่างมากในพระศาสนจักร เราได้เห็น ได้ สั ม ผั ส กั บ บรรดาสั ต บุ รุ ษ จ� ำ นวนหนึ่ ง ที่ เสียดายและโหยหาชีวิตของพระศาสนจักร


เจริญชีวิตในความหวังเสมอ

ในอดี ต  เป็ น ที่ ย อมรั บ อย่ า งแน่ น อนว่ า มี หลายธรรมประเพณีได้เลือนรางหรือหายไป พร้ อ มกั บ ความเสื่ อ มถอยของการปฏิ บั ติ ศาสนกิจ จนถึงขั้นมีผู้กล่าวหาและลงโทษ สังคายนาวาติกนั ที ่ 2 รวมถึงกล่าวโทษคณะ บริหารจัดการของพระศาสนจักร แต่สงั คายนา วาติกันที่  2 ก็ได้พิสูจน์ตนเองทีละเล็กทีละ น้อย ในการต้องปรับวิธดี ำ� เนินชีวติ ของพระ ศาสนจักรให้เข้ากับสภาพการณ์ที่ต้องตาม ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี อ ย่ า งแทบ ไม่กล้าเหลียวหลัง ปรากฏการณ์นี้รบกวน อย่างมากหลายคนที่วางความหวังในพระ ศาสนจักรอย่างเคร่งครัด และอาจมองว่า สังคายนาวาติกนั ทีส่ องคือ “วิกฤต” แต่เมือ่ ขบวนการของสังคายนาได้ผ่านความทุกข์ ยากและปัญหาต่างๆ ผลที่ออกมาน่าเป็น ที่ยอมรับได้ว่า “วิกฤต” นั้นได้เปิดทางไปสู่ การฟื้นฟู/การปรับตัวใหม่ - มีการฟื้นฟู/การปรับตัวใหม่ในเรื่อง พระคัมภีร์ด้วยการมอง การอ่าน การร�ำพึง ให้ เ ป็ น จริ งเป็ นจัง และเข้มข้น ขึ้น  เพื่อให้ พระคัมภีร์มีบทบาทในชีวิตมากขึ้น - มีการฟื้นฟู/การปรับตัวใหม่ในด้าน พิธีกรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมากขึ้นใน การสรรเสริ ญ พระเจ้ า เป็ น ส่ ว นรวม โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในบูชาขอบพระคุณ โดยให้มี ส่วนร่วมตามหน้าที่ของตน ให้ความหมาย ที่แท้จริงและให้หวนไปยังท่อธารประเสริฐ คือองค์พระเยซูคริสต์

51

- มี ก ารเน้ น การน� ำ ความเชื่ อ เข้ า สู ่ วัฒนธรรมท้องถิน่ ให้ถกู ต้องขึน้  โดยพยายาม กระท�ำให้สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ มากที่สุด - มีการฟื้นฟู/ปรับความสัมพันธ์ด้าน ศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  ได้มี การเชิ ญ ผู ้ สั ง เกตการณ์ ข องศาสนาอื่ น มา ประชุ ม อย่ า งเปิ ด เผย โดยมิ ไ ด้ ป ิ ด บั ง จุ ด ประสงค์ในความปรารถนาความเป็นหนึ่ง เดียวของคริสตศาสนิกชน ต่อมามีการแปล พระคัมภีร์ร่วมกัน มีบรรดานักเทววิทยามา นั่งพิจารณาร่วมกันถึงข้อเห็นร่วมและเห็น ต่างทางเทววิทยา มิใช่หรือนีค่ อื ความหวังของการได้เห็น การต่อสู้ทางด้านความคิดที่ขัดแย้งกันค่อย จางลง เพื่อมุ่งประกาศความเชื่อเดียวกันใน องค์พระเจ้าเหนือเยซูคริสต์ ให้เรานึกถึงองค์ พระเยซูในคืนวันพฤหัสศักดิส์ ทิ ธิ ์ พระองค์ได้ ทรงภาวนาเพื่อเอกภาพของศาสนิกทุกคน บ่ อ ยครั้ ง การเบี ย ดเบี ย น ไม่ ว ่ า จะ เป็ น การกระท� ำ ที่ โจ่ ง แจ้ ง  ท� ำ อย่ า งลั บ ๆ หรื อ กระท� ำ อย่ า งแอบแฝงแยบยล เป็ น โอกาสให้ ค ริ ส ตศาสนิ ก ชนได้ เข้ า ใจและ เจริญชีวติ ความเชือ่ ทีล่ มุ่ ลึกและเข้มข้นเสมอ พร้อมทั้งยืนยันและยืนหยัดในความเชื่อนั้น อย่างมั่นคง แม้ว่าจ�ำนวนผู้กล้าหาญที่ถูก เบียดเบียนเหล่านั้นอาจเป็นเพียงจ�ำนวน น้อยในบางภูมิภาค แต่พวกเราก็ได้รับการ เสริมพลัง และได้รับการช�ำระล้างจิตใจให้มี


52 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ความเชื่อที่บริสุทธิ์ขึ้น เป็นพยานชีวิตด้วย ความเชื่ อ  ความอาจหาญและความหวั ง เป็ น ปรากฏการณ์ ที่ ค วรลบความท้ อ แท้ ความกังวลของพวกเราของพระศาสนจักร ซึ่งต้องพยายามมองปรากฏการณ์เหล่านี้ ในแง่บวกและร�ำพึงไว้ในใจด้วยความหวัง ขอจบบทเรียงความเกีย่ วกับความหวัง แบบคร่าวๆ นีด้ ว้ ยข้อเขียนของนักบุญเปาโล ดังนี้

“ขอพระเจ้าผู้ทรงประทานความหวัง โปรดให้ท่านทั้งหลายเปี่ยมด้วยความยินดี และสันติทุกประการในการที่ท่านเชื่อ เพื่อ ว่าท่านทั้งหลายจะได้มีความหวังอย่างเต็ม เปี่ยม” (เทียบ โรม 15:13)


(หมวดจิตวิทยา)

ไม่สิ้นแสงแห่ ง หวั ง พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

“ความหวังคือความสามารถที่จะเห็นว่า ยังคงมีแสงสว่าง ทั้งที่อยู่ท่ามกลางความมืดมน” Desmond Tutu นั บ ตั้ ง แต่ ป ี   ค.ศ.2018 เป็ น ต้ น มา โลกต้องเผชิญกับสงครามการค้าระหว่าง ประเทศมหาอ� ำ นาจของโลก คื อ  สหรั ฐ อเมริกาและจีน ส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลก อย่างชัดเจน ก่อให้เกิดการลุกลามบานปลาย กลายเป็นสงครามเทคโนโลยี  สงครามค่าเงิน สงครามการลงทุ น  ฯลฯ และในปี นี้   โรค ระบาดร้ายแรง Covid-19 ได้ตดิ ต่อกระจาย ตัวในหมูป่ ระชาชนจ�ำนวนมาก จากประเทศ

สู่ประเทศ จนมียอดผู้ติดเชื้อหลายแสนราย และมี ผู ้ เ สี ย ชี วิ ต หลายหมื่ น รายทั่ ว โลกใน ขณะนี้  โดยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ยังไม่อาจบอกได้วา่  สถานการณ์จะสิน้ สุดลง เมื่อใด ด้วยสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และโรคระบาดที่ก�ำลังรุมเร้า ส่งผลกระทบ ต่อประชาชนจ�ำนวนมาก ทีป่ ราศจากภูมคิ มุ้ กันในชีวิตอย่างดีเพียงพอ ย่อมไม่อาจต้าน

นักจิตวิทยาการปรึกษา, อาจารย์พเิ ศษด้านจิตวิทยาในสถาบันอุดมศึกษา, รองผูอ้ ำ� นวยการศูนย์สง่ เสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, วิทยากรฝึกอบรมและบรรยายด้าน Counseling Psychology, Family Counseling และ Self-empowerment


102 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ทานปัญหาทีถ่ าโถมเข้ามา จนยากทีจ่ ะด�ำรง ตนอยู่ในความสงบสุข ทุกคืนวันไม่ว่าจะหัน ซ้ายแลขวา ล้วนพบเจอปัญหาให้ครุ่นคิด ผู้คนมากมายต่างเต็มไปด้วยความกังวลใจ ความทุกข์ใจ ราวกับว่าชีวิตนี้ไม่มีแล้วซึ่ง ความสุข ไร้สิ้นแล้วซึ่งแสงแห่งความหวัง ในขณะทีม่ นุษย์กำ� ลังเผชิญความทุกข์ หลายคนอาจจะขาดสติ ใ นการไตร่ ต รอง หาเหตุและผล หลุดออกจากพื้นฐานของ ความเป็นจริง มองทุกสิง่ รอบตัวด้วยแว่นตา แห่งความทุกข์ เรามักจะไม่คอ่ ยมองโลกตาม ความเป็นจริง แต่มองโลกตามความเข้าใจ หรือตามประสบการณ์ของเรา ด้วยเหตุนี้ ในสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก สิ่งหนึ่งที่พวก เราพึงมี  คือ ความหวัง นักบุญเปาโลเคยกล่าวไว้ว่า “จงชื่น ชมยินดีในความหวัง จงมีความอดทนต่อ ความทุกข์ยาก จงพากเพียรในการภาวนา” (โรม 12: 12) ความหวั ง เป็ น ความรู ้ สึ ก  เป็ น เหตุ ปัจจัย เป็นกระบวนการ ที่มนุษย์เรารับรู้ ถึงความมีอยูข่ องความหวังภายในใจของเรา มนุษย์  และได้มีการศึกษา “ความหวัง” ใน ฐานะตัวแปรหนึง่ ของการศึกษาวิจยั ในหลาก หลายสาขาวิ ช า เช่ น  ปรั ช ญา เทววิ ท ยา จิตวิทยา ฯลฯ ในช่วงหลายสิบปีทผี่ า่ นมา ความหวัง ได้ ก ลายมาเป็ น หั ว ข้ อ ที่ ไ ด้ รั บ ความสนใจ

อย่างมากจากสังคมศาสตร์  ขณะที่ศาสตร์ ด้ า นจิ ต วิ ท ยาและจิ ต เวชศาสตร์ ใ ห้ ค วาม สนใจประเด็น “ความหวัง” เพือ่ ทีจ่ ะพัฒนา การเอาชนะความสิ้นหวัง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัย ส�ำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้มนุษย์ขาด ก� ำ ลั ง ใจ ขาดความกระตื อ รื อ ร้ น ในการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต  จนน� ำ ไปสู ่ ก ารมี ป ั ญ หาด้ า น สุขภาพจิต (Sain, 2020)  ในมุมมองของจิตวิทยา ความหวังเริม่ มีการศึกษาค้นคว้าและให้ค�ำนิยาม ซึ่งเป็น ที่ยอมรับในหมู่นักจิตวิทยาอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี  ค.ศ.1991 (เบญจรัตน์  จงจ�ำรัส พันธ์, 2559) โดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แนวจิตวิทยาเชิงบวกนามว่า Charles R. Snyder  Snyder (2002) กล่าวถึงความหวัง (Hope) ว่าเป็นกระบวนการทางความคิดที่ บุคคลคิดและวางแผนเกีย่ วกับเป้าหมายของ ตนเอง โดยประกอบไปด้วย 1. ความคิดที่มุ่งไปยังเป้าหมาย ที่มี คุณค่าเพียงพอให้เจ้าของความหวังนัน้ คิดต่อ 2. ความคิ ด มุ ่ ง กระท� ำ  (Agency thinking) เป็นการคิดที่มีความตั้งใจ และ รับรู้ถึงความสามารถที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย โดยบุคคลเชือ่ ว่า ตนเองมีความสามารถทีจ่ ะ ไปถึงเป้าหมาย และด้วยความเชื่อนี้จะเป็น แหล่งพลังงานภายใน ที่คอยขับเคลื่อนให้ บุคคลบรรลุเป้าหมายของตนเองได้  ดังนั้น


ไม่สิ้นแสงแห่งหวัง 103

บุ ค คลที่ มี ค วามหวั ง จะเชื่ อ มั่ น ว่ า  ตนเอง ท�ำได้  ในเรื่องที่ตั้งใจหรือต้องการให้ประสบ ผลส�ำเร็จ 3. วิถีทาง (Pathways) เป็นการรับรู้ ว่ า เป้ า หมายของตนคืออะไร รู้เ ส้นทางที่ ตนเองจะเลือกเดิน รวมถึงมั่นใจในเส้นทาง ที่ตนเองเลือก จนสามารถก้าวข้ามอุปสรรค ต่างๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของตนเอง ทัง้ นีต้ ามความเห็นของ Snyder ความ หวังเป็นสิง่ ทีม่ มี าแต่กำ� เนิด เราเกิดมาพร้อม กับความหวัง และค่อยๆ ถูกปรับแต่งผ่าน ทางประสบการณ์   ท� ำ ให้ เราเรี ย นรู ้ ที่ จ ะ ประเมินตนเองและสถานการณ์  ที่จะน�ำไป สู่ความส�ำเร็จหรือความล้มเหลว (Snyder, Rand, & Sigmon, 2002) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักจิตวิทยา ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “ความหวัง” และค้น พบว่า ความหวังมีประโยชน์อย่างยิง่ ต่อชีวติ มนุษย์  กล่าวคือ ความหวังมีส่วนช่วยให้ บุ ค คลประสบความส� ำ เร็ จ  ตั ว อย่ า งเช่ น นักศึกษาที่ตั้งความหวังไว้สูง จะมีประสบ การณ์ของความส�ำเร็จทางการศึกษามากกว่า นักศึกษากลุ่มอื่น (Snyder, Cheavens, & Michael, 1999) มี ผ ลสอบที่ สู ง กว่ า (Snyder et al., 1997) และมีเกรดเฉลีย่ ทีด่ ี กว่า (Curry, Snyder, Cook, Ruby, & Rehm, 1997) ในกลุม่ บุคคลวัยท�ำงานทีต่ งั้ ความหวังไว้สงู ก็เช่นกัน จะมีสขุ ภาวะ (well-

being) ที่ดี  มีความพึงพอใจในงาน มีความ มุ่งมั่น มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความเครียดน้อยและไม่คอ่ ยมีภาวะหมดไฟ (burnout) (Reichard, Avey, Lopez, & Dollwet, 2013) นอกจากนี้   ความหวั ง ยั ง มี บ ทบาท ส�ำคัญอย่างยิ่งในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดย ผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามหวังจะจัดการกับความเครียด ได้ดกี ว่าผูป้ ว่ ยที่หมดหวังต่อการรักษา(Feld er,  2004)  และความหวั ง ยั ง ส่ ง ผลดี ต่อการเยียวยารักษาแบบองค์รวม (Feudtner, 2005) โดยความหวังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ได้กับทุกคน อย่างไม่แตกต่างระหว่างเพศ ชายและเพศหญิง (Gomez et al. 2015) ความหวังยังมีผลดีต่อการพัฒนาความภาค ภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และการ เสริ ม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบุ ค คล (Rand & Cheavens, 2012) งานวิจยั ของ Ho et. al, (2019) ซึง่ ท�ำ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ระหว่างความหวังกับสุขภาวะ และคุณภาพ ชีวติ กับสุขภาพในผูร้ อดชีวติ จากมะเร็งตัง้ แต่ วัยเด็ก พบว่า ผูเ้ ข้าร่วมงานวิจยั จ�ำนวน 176 คน ช่วงอายุระหว่าง 10-16 ปี ทีม่ คี วามหวัง ในระดับต�่ำจะมีโอกาสสูงในการมีอาการซึม เศร้าเพิม่ มากขึน้  ขณะทีค่ วามภูมใิ จในตนเอง และคุณภาพชีวิตลดลง


104 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ความหวั ง ยั ง ส่ ง ผลดี ต ่ อ การเปลี่ ย น แปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผูป้ ว่ ย โดย เฉพาะในกลุม่ วัยรุน่  (Herth, 1992; Hinds, 2004) ผู ้ ที่ มี ค วามหวั ง จะตอบสนองต่ อ ความเครียดจากโรคมะเร็งด้วยความเข้าใจ ซึง่ จะช่วยให้จดั การกับความเครียดได้ดยี งิ่ ขึน้   ในประสบการณ์ชวี ติ ของเราแต่ละคน ย่อมหลีกหนีไม่พน้ ทีจ่ ะต้องเผชิญกับอุปสรรค อย่างน้อยสักครั้งในชีวิต อันส่งผลให้ชีวิต ของเราสะดุด ไม่เป็นอย่างที่ใจของเราหวัง ทว่า หากเราพิจารณาย้อนดูในทุกประสบ การณ์ชีวิต เราจะพบว่า ทุกๆ ปัญหาที่เรา ประสบ จะมีทางออกมากกว่า 1 ทางเสมอ เพี ย งแต่ ใ นขณะนั้ น  ท่ า มกลางความยาก ล�ำบากหรือวิกฤติในชีวิต เราอาจจะยังมอง ไม่เห็น  ดังนัน้  ในทุกสถานการณ์ทยี่ ากล�ำบาก เฉกเช่นสถานการณ์ปจั จุบนั ทีม่ นุษย์เกือบทัง้ โลกก�ำลังประสบกับการแพร่ระบาดของโรค  Covid-19 หลายคนมี ค วามหวั ง  มี ค วาม เชื่ อ ว่ า เราจะสามารถรั ก ษา ยั บ ยั้ ง และ ปกป้องตนเอง ตลอดจนเพือ่ นพีน่ อ้ งของเรา จากโรคระบาดร้ายแรงที่ก�ำลังคร่าชีวิตผู้คน จ�ำนวนมาก ด้วยความหวังนี้  เราจึงยังคง รักษาก�ำลังใจของเราไม่ให้หมดไปกับสถาน การณ์ที่เลวร้ายต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพราะประสบการณ์จากความ หวังที่เราเคยมีในอดีต ท�ำให้เราเรียนรู้ว่า

ความหวังเป็นเครือ่ งมืออันงดงาม ทีจ่ ะท�ำให้ เราผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ ในชีวิตไปได้อย่างดี โดยความหวังจะมาพร้อมกับผลลัพธ์ในเชิง บวกทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ในอนาคต เพียงแต่เรา ต้องรู้จัก “รอ” ผลลัพธ์ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นซึ่ง อาจจะเป็นอย่างที่เราหวัง หรือแตกต่างไป จากความหวังของเราก็ได้ อย่างไรก็ด ี ความ หวังมักจะท�ำให้เรายังคงมีภาวะอารมณ์ที่ดี ไม่ขุ่นมัว ไม่ทุรนทุรายไปกับความคาดหวัง ภายในใจของเรา (Fredrickson, 2005) อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะสงสัย ว่าความหวังแตกต่างจากความคาดหวัง อย่างไร เพราะบางครัง้ เราอาจจะพูดว่า เรา ไม่ได้หวังอะไร แต่ภายในใจของเรากลับมี ความรู้สึกผิดหวังซ่อนอยู่ภายใต้ค�ำพูดนั้น นั่นคือ สิ่งที่สะท้อนให้เรารู้ว่า จริงๆ แล้ว เราหวังหรือคาดหวังต่อบางสิง่ ทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ กันแน่ เมื่ อ เรามี ค วามหวั ง ต่ อ สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น เรามักจะรับรู้ภายในใจว่า สิ่งนั้นยากที่จะควบคุมหรือจัดการให้เป็นไป ตามความต้องการของเราได้ แต่เมือ่ ใดก็ตาม ที่เราคาดหวัง เราจะคาดหมายให้สิ่งที่เรา อยากได้  เป็นไปตามความต้องการของเรา โดยไม่ อ ยากจะรั บ รู ้ ถึ ง ความเป็ น จริ ง ว่ า สิ่งนั้นอาจจะไม่เป็นไปตามความต้องการ ของเรา เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมทุก สิ่งให้เกิดขึ้น หรือเป็นไปตามความต้องการ


ไม่สิ้นแสงแห่งหวัง 105

ของเราได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์  ตัวอย่างเช่น ถ้าเราตกหลุมรักใครสักคน เราอาจจะหวังว่า สักวันหนึง่ เราอาจจะได้รบั ความรักตอบและ ได้แต่งงานกับบุคคลที่เรารัก ความรู้สึกภาย ในใจคือ รับรูถ้ งึ ความต้องการและความเป็น ไปได้ ท่ี อ าจจะสมหวั ง หรื อ ไม่ ส มหวั ง ก็ ไ ด้ โดยไม่ ว ่ า  ผลจะออกมาอย่ า งไร เราจะ ยอมรับได้  แต่ถ้าเราคาดหวัง เราจะยอมรับ ได้ เ ฉพาะผลที่ เ ป็ น ไปตามความคาดหวั ง ของเรา และรู้สึกผิดหวัง โกรธหรือเสียใจ กับผลที่ไม่เป็นไปตามที่ใจเราต้องการ เนื่องจากความหวังมีความส�ำคัญต่อ บุคคล ในฐานะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรา สามารถด�ำรงตนอยู่ได้  ในท่ามกลางสถาน การณ์ตา่ งๆ ทีย่ ากล�ำบากและอาจก่อให้เกิด ความตึงเครียด ความท้อแท้สิ้นหวังภายใน จิตใจ ดังนั้น สิ่งส�ำคัญที่เราควรรู้คือความ หวังเกิดขึ้นได้อย่างไร และควรท�ำอย่างไร เพื่อให้ความหวังด�ำรงคงอยู่ในจิตใจของเรา ประการแรก เราควรมี  “เป้าหมาย” ในชีวติ  เป้าหมายนีจ้ ะเป็นเป้าหมายในระยะ สั้นหรือระยะยาวก็ได้  แต่ต้องเป็นเป้าหมาย ทีม่ คี ณ ุ ค่าเพียงพอจะท�ำให้บคุ คลมุง่ สูก่ ารไป ให้ ถึ ง เป้ า หมายนั้ น  (Snyder, Rand, & Sigmon, 2002) เมื่อบุคคลมีเป้าหมายใน ชีวติ ทีต่ นต้องการจะท�ำให้สำ� เร็จ สิง่ ทีจ่ ะตาม มาคือความหวัง ซึ่งจะกลายเป็นพลังส�ำคัญ ในการผลักดันบุคคล ให้ก้าวเดินตามใจที่

หวังไว้ ทัง้ นี ้ บุคคลทีม่ คี วามหวังจะเลือกเป้า หมายที่ดีที่ตนมองเห็นว่า ควรจะท�ำอย่างไร เพื่ อ ให้ เ ป้ า หมายนี้ บ รรลุ ผ ลส� ำ เร็ จ  และ แสวงหาวิธีการที่จะลงมือกระท�ำให้บรรลุ เป้าหมายที่วางไว้นั้น  ประการที่ ส อง ความหวั ง เป็ น สิ่ ง ที่ เรียนรูไ้ ด้  จากงานวิจยั พบว่าบุคคลทีม่ คี วาม หวังจะเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ในอดีต และ เกิดความเชื่อบางอย่างในใจเกี่ยวกับความ หวัง ดังนี้  1) อนาคตจะดีกว่าในปัจจุบัน 2) ฉันมีพลังทีจ่ ะท�ำให้เป้าหมายทีว่ าง ไว้ส�ำเร็จ 3) หนทางที่จะท�ำให้เป้าหมายส�ำเร็จ มีหลายหนทาง ไม่ได้มีเพียงหนทางเดียว 4) ในหนทางต่ า งๆ เหล่ า นั้ น  ไม่ มี หนทางใดหรือวิธีการใด ที่จะพาเราไปสู่เป้า หมาย โดยที่ไม่พบเจออุปสรรค (Lopez, 2014)  ประการที่สาม การไตร่ตรอง เนื่อง จากความหวังเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้  ดังนั้น เพื่อ ให้การเรียนรูเ้ ป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เรา ควรหาเวลาไตร่ตรองตนเอง เพื่อช่วยให้เรา เรียนรูไ้ ด้อย่างละเอียดลึกซึง้ เพิม่ ขึน้  อย่างไร ก็ตาม การไตร่ตรองอาจท�ำให้เรามีความหวัง เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือก ทีจ่ ะมองประสบการณ์ของเราในแง่บวกหรือ ลบ แน่นอนว่าหากเรามองในแง่ลบ เราจะ


106 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 เรียนรู้แต่ความผิดหวัง ความเศร้าใจ ก�ำลัง ใจและความหวังจึงลดลง ตรงกันข้าม ถ้าเรา ไตร่ตรองในแง่บวก เราจะพบว่า มีเรือ่ งมาก มายที่เราควรจะรู้สึกขอบคุณพระเจ้า เพื่อน พี่ น ้ อ งและตนเอง รวมถึ ง สรรพสิ่ ง ต่ า งๆ ที่ ท� ำ ให้ เรามี โ อกาสดี ๆ  มากมายในชี วิ ต สามารถด�ำเนินชีวิตอย่างมีความหวัง จน กลายเป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมต่อไปใน อนาคต  ส� ำ หรั บ ค� ำ ถามซึ่ ง อาจจะเป็ น ประโยชน์ต่อการไตร่ตรอง เช่น อะไรคือ สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้  มีอะไรบ้างที่เราควร จะขอบคุณในวันนี้  มีเหตุการณ์อะไรบ้าง ในวันนี้ที่ช่วยเพิ่มเติมความหวังในใจของเรา เป็นต้น ประการที่สี่  มองเห็นความเข้มแข็ง ความส�ำเร็จ และแหล่งทรัพยากรที่เป็น ประโยชน์ต่อความหวัง ทั้งสามปัจจัยเป็น องค์ประกอบที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาความ หวังในชีวิต เนื่องจากหากเรามองเห็นความ เข้มแข็งหรือจุดแข็งภายในตนเอง เราจะมี ความมั่นใจมากขึ้นในความสามารถที่เรามี ความมั่ น ใจนี้ จ ะส่ ง ผลให้ เรามี ค วามหวั ง แม้อยู่ในยามที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ ยากล�ำบาก และความส�ำเร็จในอดีตจะเป็น เครือ่ งพิสจู น์ถงึ ความสามารถของเรา ในการ เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ส่วนแหล่งทรัพยากร จะท�ำให้เรารู้ว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เรายัง มี ท างเลื อ กและเครื่ อ งมื อ ที่ จ ะช่ ว ยให้ เรา

เอาชนะปัญหาต่างๆ ในชีวติ  ดังนัน้  ไม่วา่ เรา จะเจอเหตุการณ์อะไร เราจะปรับตัวได้ง่าย เราจะยังคงมีและรักษาความหวังของเราไว้ ได้ ประการที่ห้า พัฒนาทักษะในการ จัดการกับปัญหา (Coping skills) เนื่อง จากเราไม่อาจหลีกหนีปัญหาหรืออุปสรรค ทีเ่ ข้ามาในชีวติ  ซึง่ ท�ำให้เราเกิดความรูส้ กึ ใน เชิงลบ เช่น ความเครียด ความกลัว ความ สับสน ความวิตกกังวล ความเศร้าโศก ฯลฯ อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิต ซึ่งเราควรจะพัฒนาทักษะในการ จัดการกับปัญหา อันจะท�ำให้เรามีมุมมอง เชิงบวกในทุกสถานการณ์  เพื่อช่วยให้เราไม่ ตกอยู่ภายใต้อารมณ์  ที่จะน�ำเราไปสู่ภาวะ หมดหวัง หมดก�ำลังใจ  ประการทีห่ ก ให้ความส�ำคัญกับสิง่ ที่ เสริมก�ำลังใจ ไม่ใช่ปัญหา กล่าวคือ เราไม่ ควรจมอยูก่ บั ปัญหา แต่ควรมุง่ ไปทีก่ ารแก้ไข ปัญหาหรืออุปสรรค เพราะการจมอยู่กับ ปัญหา จมอยูก่ บั ความทุกข์  จะยิง่ ท�ำให้ชวี ติ หมดพลัง ไม่เห็นคุณค่าของเป้าหมาย และ ไม่มีความหวังที่จะก้าวไปสู่จุดหมายที่ตน ตั้งไว้  ประการที่เจ็ด สร้างความสัมพันธ์ที่ ดีกับผู้อื่น จริงอยู่ที่ความหวังเป็นเรื่องภาย ในตัวบุคคล แต่มกี ารค้นพบว่า สัมพันธภาพ ทีด่ รี ะหว่างบุคคลมีสว่ นช่วยเสริมสร้างความ


ไม่สิ้นแสงแห่งหวัง 107

หวัง ท�ำให้เรามีพลังในการกระท�ำสิ่งต่างๆ ตามที่ ตั้งใจไว้   อีกทั้ง การมีปฏิสัมพัน ธ์กับ บุ ค คลอื่ น ยั ง ช่ ว ยให้ เราเกิ ด แรงบั น ดาลใจ ในการสร้างสรรค์เป้าหมายที่ดีส�ำหรับชีวิต เป้าหมายที่ดีนี้จะส่งผลให้เรามีความหวังใน ชี วิ ต เพิ่ ม ขึ้ น  และท� ำ ให้ ก ารด� ำ เนิ น ชี วิ ต มี ความหมายมากขึ้น ประการที่แปด ความรัก บุคคลที่มี ความหวังอย่างเต็มเปี่ยมมักจะเป็นบุคคลที่ มีความรักอยูภ่ ายในใจ ไม่วา่ จะเป็นความรัก ที่มีต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือจะกล่าวอีกนัย หนึ่ ง  ความรั ก ท� ำ ให้ เ กิ ด ความหวั ง  ทั้ ง นี้ เพราะความรักเป็นพลังที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เมื่อเรารักใครหรือรักอะไร เรามักจะทุ่มเท ท�ำสิ่งต่างๆ เพื่อบุคคลหรือสิ่งที่เรารัก โดย จะไม่ยอมแพ้ ย่อท้อหรือสิน้ หวังต่ออุปสรรค ต่างๆ อย่างง่ายดาย ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั คือ บรรดาบุคคลทีศ่ รัทธาในศาสนา หรือบุคคล ที่รักองค์พระผู้เป็นเจ้า ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทัง่ ยอมพลีชวี ติ  เพือ่ แสดงถึงความรัก จนหมดหัวใจ ที่ตนเองมีต่อพระเจ้าหรือต่อ ศาสนาที่ตนนับถือ อย่างไรก็ตาม Loewenstein, et al. (2001) พบว่า ความหวังสามารถเกิดขึ้นได้ แม้ บุ ค คลก� ำ ลั ง มี ส ภาวะอารมณ์ ท างลบ ในขณะทีก่ ารมองบวกจะไม่เกิดขึน้  ถ้าบุคคล ก�ำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์ทางลบ ซึ่งเป็น ความแตกต่างระหว่างการมองบวกกับความ

หวัง อาทิเช่น ถ้าเราและเพือ่ นๆ วางแผนจะ เดินทางไปจังหวัดสงขลา แต่หนึ่งวันก่อน เดินทางมีพยากรณ์อากาศว่า พรุ่งนี้จะมีฝน ตกหนัก 80% ทั่วบริเวณภาคใต้  เราและ เพือ่ นๆ เริม่ วิตกกังวลว่า ฝนทีต่ กลงมาอย่าง หนักอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง หรือ กลัวว่าอาจจะท�ำให้ต้องเปลี่ยนแผนการเดิน ทาง ในสถานการณ์เช่นนี้  บุคคลที่มีความ หวังจะยังคงหวังว่า พรุง่ นีฝ้ นจะไม่ตก แม้จะ มีโอกาสแค่  20% ถ้าเปรียบเสมือนเหรียญ ที่มีสองหน้า การมองบวกกับการมองลบจะ อยู ่ กั น คนละด้ า นของเหรี ย ญ แต่ ส� ำ หรั บ ความหวังจะกลายเป็นเหรียญที่มีหน้าเดียว คือความหวัง ซึ่งเป็นอารมณ์ทางบวกกับ ความวิตกกังวล ความกลัว ซึ่งเป็นอารมณ์ ทางลบ จนอาจกล่าวได้ว่า ความหวังเป็น พระพรพิเศษที่พระเจ้าประทานให้กับเรา มนุษย์  เพื่อควบคุมความกลัว ความวิตก กังวลของเรา มิใช่เพือ่ ขับไล่ความรูส้ กึ เชิงลบ ให้ออกไปจากตัวเรา Desmond Tutu มุ ข นายกนิ ก าย แองกลี กั น แห่ ง สั ง ฆมณฑลเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้  เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี  พ.ศ.2527 เคยกล่าวไว้วา่ “ความหวังคือความสามารถที่จะเห็นว่า ยังคงมีแสงสว่าง ทั้งที่อยู่ท่ามกลางความ มืดมน”


108 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2020/2563 ดังนัน้  ขอเพียงให้เรารูจ้ กั  “รอ” และ มองให้เห็น “โอกาส” หรือ “ความเป็นไป ได้” ที่จะท�ำให้ความหวังของเรากลับกลาย เป็นความจริง ด้วยใจที่เชื่อมั่นว่า ทุกปัญหา มี ท างออก แม้ อ ยู ่ ท ่ า มกลางความมื ด มิ ด แสงแห่งความหวังย่อมไม่ลางเลือน

สุดท้าย ขอพระเจ้าผู้ประทานความ หวังโปรดให้ท่านทั้งหลายเปี่ยมด้วยความ ยินดีและสันติทุกประการในการที่ท่านเชื่อ เช่นนั้น เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะได้มีความ หวังอย่างเต็มเปี่ยม เดชะพระฤทธานุภาพ ของพระจิตเจ้า (โรม 15:13)


บรรณานุกรม เบญจรัตน์  จงจ�ำรัสพันธ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังและสุขภาวะองค์รวม โดยมีความเพียรและความเครียดเป็นตัวก�ำกับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Averill, J., Catlin, G., & Chon, K. (1990). Rules of hope. New York: Springer-Verlag. Bai, Q., Zhang, Z., Lu, X., et al. (2010). Attitudes towards palliative care among patients and health professionals in Henan, China. Progress in Palliative Care. 18(6), 341–345. Bruininks, P., & Malle, B. (2005). Distinguishing hope from optimism and related affective states. Motivation and Emotion. 29(4), 327-355. Curry, L., Snyder, C., Cook, D., Ruby, B., & Rehm, M. (1997). The role of hope in student-athlete academic and sport achievement. Journal of Personality and Social Psychology. 73, 1257–1267. Everson, S., Goldberg, D., Kaplan, G., Cohen, R., Pukkala, E., Tuomilehto, J., & Salonen, J. (1996). Hopelessness and risk of mortality and incidence of myocardial infarction and cancer. Psychosomatic Medicine. 58, 113– 121. Felder, B. (2004). Hope and coping in patients with cancer. Cancer Nursing. 27(4), 320–324. Feudtner, C. (2005). Hope and the prospects of healing at the end of life. Journal of Alternative and Complementary Medicine. 11 (Suppl. 1), S23–S30.


Fredrickson, B. (2005). The broaden-and-build theory of positive emotions. In F. A. Huppert, N. Baylis, & B. Keverne (Eds.), The science of well-being. (pp.217-238). New York: Oxford University Press. Godfrey, J. (1987). A philosophy of human hope. Dordrecht, The Netherlands: Martinus Nijhoff. Gomez, R., McLaren, S., Sharp, M., Smith, C., Hearn, K., & Turner, L. (2015). Evaluation of the bifactor structure of the Dispositional Hope Scale. Journal of Personality Assessment. 97, 191–199. Herth, K. (1992). Abbreviated instrument to measure hope: Development and psychometric evaluation. Journal of Advanced Nursing. 17, 1251– 1259. Ho, L., Li, W., Cheung, A., Ho, E., Lam, K. Chiu, S., Chan, G., & Chung, J. (2019). Relationships among hope, psychological well-being and health-related quality of life in childhood cancer survivors. Journal of Health Psychology. 1, 1-10 Lester, A. (1995). Hope in pastoral care and counseling. Louisville: Westminster John Knox Press. Loewenstein, G., Weber, E., Hsee, C., & Welch, N. (2001). Risk as feelings. Psychological Bulletin. 127(2), 267-286. Lopez, S. (2014). Making Hope Happen: Create the Future You Want for Yourself and Others. New York: Atria Books. Reichard, R., Avey, J., Lopez, S., & Dollwet, M. (2013). Have the will and finding the way: A review and meta-analysis of hope at work. The Journal of Positive Psychology. 8, 292-304. Sain, B. (2020). What is This Hope?: Insights from Christian Theology and Positive Psychology. Journal of Moral Theology. 9(1), 98-119.


Shade, P. (2000). Habits of hope: A pragmatic theory. Nashville, TN: Vander bilt University Press. Standish, K. (2019). Learning How to Hope: A Hope Curriculum. Humanity & Society. 43(4), 484-504. Snyder, C., Cheavens, J., & Michael, S. (1999). Hoping. In C. R. Snyder (Ed.), Coping: The psychology of what works. (pp.205–231). New York: Oxford University Press. Snyder, C., Cheavens, J., & Sympson, S. (1997). Hope: An individual motive for social commerce. Group Dynamics: Theory, Research, and Practice. 1, 107–118. Snyder, C., & Lopez, S. (2002). Handbook of Positive Psychology. New York: Oxford University Press.


โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1

วารสารแสงธรรมปริทัศน์

ใบสมัครสมาชิก/ต่ออายุสมาชิก/ยกเลิกสมาชิก/เปลี่ยนที่อยู่ ข้าพเจ้า บาทหลวง/ภคินี/นาย/นาง/นางสาว.............................................................................................มีความจำ�นง ( ) 1.สมัครสมาชิกใหม่ ในนาม ( ) องค์กร (โปรดระบุชื่อ)........................................................................................ ( ) บุคคล (โปรดระบุชื่อ)........................................................................................ โดยเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ................. (หรือ ปีที่.............. ฉบับที่.............) (ปีละ 3 ฉบับ อัตราค่าสมาชิก ปีละ 300 บาท) ที่อยู่ในการจัดส่งวารสาร เลขที่.........................................................วัด/โรงเรียน......................................................... ถนน................................................ซอย.............................................แขวง/ตำ�บล......................................................... เขต/อำ�เภอ..........................................จังหวัด.......................................................รหัสไปรษณีย์.................................... โทรศัพท์...............................................มือถือ.............................................................โทรสาร............................................ ( ) 2.ต่ออายุสมาชิก หมายเลข.....................................................................ปี พ.ศ. (หรือ ปีที่).......................................... ( ) 3.ยกเลิกการเป็นสมาชิก หมายเลข.....................................................ตั้งแต่ปี พ.ศ. (หรือ ปีที่)..................................... ( ) 4.เปลี่ยนที่อยู่ในการจัดส่งวารสาร ของ..............................................สมาชิกเลขที่........................................................ เป็นดังนี้ เลขที่...................................................................................วัด/โรงเรียน.............................................................. ถนน................................................ซอย.............................................แขวง/ตำ�บล......................................................... เขต/อำ�เภอ..........................................จังหวัด.......................................................รหัสไปรษณีย์.................................... โทรศัพท์...............................................มือถือ.............................................................โทรสาร............................................ ( ) 5.สมทบทุนในการจัดพิมพ์วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่................ฉบับที่....................(หากต้องการระบุปี/ฉบับ) พร้อมกันนี้ ขอส่งเงินค่า ( ) สมาชิกใหม่ ( ) ต่ออายุสมาชิกใหม่ ( ) ยอดค้างชำ�ระค่าสมาชิก ( ) สมทบทุน เป็นจำ�นวนเงิน...................................บาท (...................................................................................................) โดยช่องทาง ( ) เงินสด ( ) โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม บัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ลงชื่อ.........................................................ผู้สมัครสมาชิก วันที่...................../...................../.................. ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ วิทยาลัยแสงธรรม 20 ม. 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.