วารสารแสงธรรมปริทัศน์
วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 44 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, คณบดีคณะมนุษยศาสตร,์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์, ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ, และ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวง อดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายก วีระ อาภรณ์รัตน์, บาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร, บาทหลวง เจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวง ธีรพล กอบวิทยากุล, บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร ์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส, บาทหลวง สมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวง วิรัช นารินรักษ์, บาทหลวง ชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวง เคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวง อนุสรณ์ แก้วขจร, บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายก ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บรรณาธิการบริหาร บาทหลวง ธีรพล กอบวิทยากุล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์ สุจิตตรา จันทร์ลอย, นางสาว สุกานดา วงศ์เพ็ญ และ นางสาว พิมพ์ฤทัย วิชัยธรรมคุณ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี ปีละ 300 บาท (จำ�นวน 3 ฉบับ/ปี) จำ�หน่ายปลีก ราคาฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819
บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร ถ้ามีคนถามว่า คุณเห็นคุณค่าและศักดิศ์ รีของมนุษย์หรือไม่? เชือ่ แน่วา่ แทบทุกท่าน จะตอบว่า ใช่ ฉันเห็นคุณค่าและศักดิศ์ รีของมนุษย์อย่างแน่นอน แต่ในโลกของเรายังพบเห็น การท�ำร้ายร่างกายและจิตใจ การกดขีข่ ม่ เหง การกลัน่ แกล้ง และการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ อัตราการเกิดของมนุษย์ยงั ลดลงอย่างต่อเนือ่ ง ด้วยการคุมก�ำเนิดทีม่ ปี ระสิทธิภาพ จนเป็น ที่น่าสงสัยว่า เราเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์จริงหรือไม่? ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลมีกล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นใคร พระองค์จึงทรงระลึกถึงเขา.... พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้ด้อยกว่าทูตสวรรค์เพียงน้อยนิด” (สดด 8:4-5) ยิ่งกว่านั้น พระเยซูเจ้ายังทรงมาบังเกิดรับสภาพมนุษย์ ท�ำให้ความส�ำคัญของมนุษย์ ในฐานะสิง่ สร้าง พิเศษตามพระฉายาลักษณ์ของพระองค์เด่นชัดยิ่งขึ้น แสงธรรมปริทัศน์ฉบับนี้ จึงอยากจะ เชิญชวนผูท้ า่ นทุกท่านลองมาทบทวนตนเองว่า เราได้แลเห็นคุณค่าภายในตน และพยายาม ด�ำเนินชีวติ ทีส่ อดคล้องกับคุณค่าพิเศษทีพ่ ระเจ้ามอบให้นหี้ รือไม่ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารแสดงออก ถึงความเคารพ ความรักที่เราพึงมีต่อตนเองและต่อผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราพึงมีต่อ พระเจ้าผู้ทรงสร้างเรามา Merry Christmas and Happy New Year ขอพระเจ้าประทานพระพรนานัปการ แด่ทุกท่านครับ บรรณาธิการสร้างสรรค์
ข่าวประชาสัมพันธ์... ขอเชิญชวนส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ ฉบับต่อไปเดือนมกราคม - เมษายน 2564 ในหัวข้อ “นักเรียน - นักศึกษา” ส่งต้นฉบับได้ท ี่ E-mail: pi_santo@yahoo.com หรือ E-mail: sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที ่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความทีส่ ง่ มาร่วมแบ่งปัน
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
สารบัญ
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 44 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563
4
51
- บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.
- คุณอัจฉรา สมแสงสรวง
15
59
- ศ.กีรติ บุญเจือ, ราชบัณฑิต
- คุณธัญภรณ์ ลีก�ำเนิดไทย
22
67
- บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, CSS.
- บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช
33
80
ศักดิ์ศรีมนุษย์มาจากการที่พระเจ้า ทรงสร้างตามภาพลักษณ์ของพระองค์
ท�ำไมกระแสหลังนวยุค จึงได้เปรียบชี้ขาดคุณค่าความเป็นมนุษย์
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในการเปิดเผยของพระเจ้า
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แห่งศาสนาอิสลาม - อาจารย์ เมธัส วันแอเลาะ
39
คุณธรรม: คุณค่าและศักดิ์ศรีที่แท้จริง ของความเป็นมนุษย์ - ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์
ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รากฐานต่อการปฏิบัติสิทธิมนุษยชน
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: ก้าวแรกสู่การอยู่ร่วมกัน
การปฏิรูปหนังสือบทอ่าน ของสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2
สรุปเนื้อหาพระสมณสาส์น ทุกคนเป็นพี่น้องกัน (Fratelli Tutti) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เกี่ยวกับภราดรภาพและมิตรภาพทางสังคม - บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร
(หมวดปรัชญา)
ท�ำไมกระแสหลังนวยุคจึงได้เปรียบชี้ขาด
คุณค่าความเป็นมนุษย์
ศ.กีรติ บุญเจือ, ราชบัณฑิต
นวยุคนิยม (modernism) ก�ำหนด กฎเกณฑ์ไว้เพือ่ พัฒนามนุษยชาติ กฎเกณฑ์ ทั้งระบบเป็นวิถีทางเดียวส�ำหรับทุกคนต้อง เดินตามเพือ่ ให้บรรลุถงึ เป้าหมายโดยอัตโนมัติ ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันและต้องใช้วิถี เดียวกันเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย ทุกคนถูก ก� ำ หนดให้ เข้ า หลอมตั ว ในเบ้ า เดี ย วกั น หลอมออกมาเป็นคนดีที่มีคุณสมบัติเดียว กัน แตกต่างกันเพียงสภาพแวดล้อมภาย
นอก หากนับถือศาสนาก็ให้ใช้ปัญญารู้และ เข้ า ใจเป้ า หมายและวิ ถี ที่ เชื่ อ ว่ า ศาสนา ก�ำหนดไว้ตายตัวส�ำหรับคนทุกยุคทุกสมัย และศาสนาที่ ถู ก ต้ อ งมี เ พี ย งศาสนาเดี ย ว กระบวนการเช่นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อ ต่อวจนศูนย์นิยม (logocentrism) ซึ่งหลัง นวยุคนิยม (postmodernism) มองว่าผิด เพราะมนุ ษ ย์ มิ ใช่ ก ลไกที่ ท� ำ ขึ้ น ด้ ว ยสู ต ร เดียวกันเหมือนผลิตหุ่นยนต์ การรู้ว่าความ
ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต อดีต สนช. อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญา และศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา บรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน บรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรม วิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน ออกอากาศวิทยุศึกษาเรื่องราชปรัชญาเพื่อความสุขของมหาประชาชน ชาวสยาม วันจันทร์เวลา 9.10 น. สัปดาห์แรก ของทุกเดือน FM92, AM1161, www.moeradiothai.net กรรมการ ต�ำแหน่งวิชาการของวิทยาลัยแสงธรรม, ม.คริสเตียน, ม.มิชชัน่ ประธานกิตติมศักดิอ์ งค์การศาสนาเพือ่ สันติภาพแห่งเอเชีย เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาจริยศาสตร์ ประจ�ำปี 2560 สอบถามเรื่องปรัชญา โทร.08 6045 5299.
16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 ประพฤติเช่นไรผิดหรือถูก มิใช่เป็นความ เข้าใจวัตถุวิสัยถึงมาตรการตายตัวภายนอก ในท�ำนองว่าต้องเรียนรูต้ ามมาตรการตายตัว นั้นโดยไม่มีทางเลือก เสรีภาพของมนุษย์จึง จ�ำกัดอยู่ที่จะเลือกและตัดสินใจท�ำถูกหรือ ผิดเพื่อจะเป็นคนดีหรือเลวตามกรอบ ชาว หลังนวยุคมองเห็นว่าเป็นการจ�ำกัดกรอบ ของเสรีภาพลงแคบเหลือเกิน และทีต่ กี รอบ เช่ น นี้ ก็ เ พราะเข้ า ใจธรรมชาติ ข องมนุ ษ ย์ อย่างบกพร่องมากๆ ธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่แบบตายตัวคงที่ถาวรตั้งแต่เกิดจนตาย มาตรการดี-ชั่วมิได้มีตายตัวเป็นมาตรการ เดียวส�ำหรับใช้ประเมินความประพฤติ ทั้ง หนุม่ สาวแก่แม่มา่ ยและผูใ้ หญ่ แต่ทว่าจริงๆ แล้ว เหมือนอย่างที่นักอัตถิภาวนิยมแถลง ไว้ก่อนแล้วว่าธรรมชาติของมนุษย์คือสิ่งที่ มนุษย์แต่ละคนพัฒนาขึ้นตั้งแต่อายุรู้ความ จนหมดความส�ำนึก เด็กแรกเกิดมีธรรมชาติ มนุษย์เพียงในฐานะทีม่ ศี กั ยภาพรูว้ า่ อะไรคุน้ เคยและอะไรไม่คนุ้ เคย เขาเริม่ รูว้ า่ อะไรเป็น อะไรก็ตอ่ เมือ่ มีความส�ำนึก และความส�ำนึก นั้ น เองเป็ น ฐานให้ เขาเลื อ กและตั ด สิ น ใจ เลือก หลังจากการเลือกตัดสินใจแต่ละครั้ง ธรรมชาติเฉพาะตัวของเขา (ซึ่งนักอัตถิ ภาวนิยมเรียกว่า “อัตถิภาวะ”) จะพัฒนา ขึ้น ธรรมชาติจึงเป็นอัตถิภาวะเฉพาะตัว เปลี่ยนแปลงเรื่อยไปตามกระแสแห่งการ เลือก เสรีภาพของมนุษย์มิได้จ�ำกัดอยู่แค่
การตัดสินใจเลือก แต่รวมถึงการส�ำนึกและ การพัฒนาความส�ำนึก ซึ่งบันดาลให้เกิด การเปลีย่ นแปลงอยูเ่ รือ่ ยไป เสรีภาพจึงเป็น แก่นสารของมนุษย์อัตถิภาวะทั้งหมดคือ เสรีภาพ กระแสแห่งความส�ำนึกทั้งกระแส คือเสรีภาพ ความส�ำนึกแต่ละครัง้ มีมโนธรรม ก�ำกับ มโนธรรมก็เป็นส่วนหนึง่ ของเสรีภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของอัตถิภาวะ มโนธรรม พัฒนาไปกับอัตถิภาวะทุกครั้งที่อัตถิภาวะ เลือกและตัดสินใจเลือก ถูก-ผิดจึงขึน้ กับการ ตั ด สิ น ใจในแต่ ล ะครั้ ง ที่ ท� ำ การ ซึ่ ง พั ฒ นา เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่ตายตัว มนุษย์ แต่ละคนต่างมีมโนธรรมของตนซึ่งมีเป้า หมายอยู่ที่การพัฒนาตนเอง (self-realization) ผลิตตนเอง (self-production) มาตรการถูก-ผิดจึงอยูใ่ นตัวเองทีพ่ ฒ ั นามุง่ ไปสู่ความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ ใครบรรลุถงึ ก็เป็นอรหันต์ เป็นนักบุญ เป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์ แต่ส่วนมากจะไปไม่ถึง มักจะจบ ประวัตแิ ห่งความส�ำนึกของตนครึง่ ๆ กลางๆ ชาวพุทธเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิ์เกิดใหม่จนกว่า จะบรรลุ ถึ ง ความสมบู ร ณ์ แ ห่ ง ความเป็ น มนุษย์ของตนชาวคริสต์เชือ่ ว่ามีพระเยซูทรง ช่วยให้รอดโดยการเสริมความสมบูรณ์ให้ หลังความตายของแต่ละคน นั ก หลั ง นวยุ ค สุ ด ขั้ ว (extreme postmodernist) คิดว่าไม่มีเป้าหมาย และเพราะฉะนั้นไม่มีวิถี มนุษย์เราตัดสิน
ท�ำไมกระแสหลังนวยุคจึงได้เปรียบชี้ขาดคุณค่าความเป็นมนุษย์
ใจสะเปะสะปะตามยถากรรมไม่มเี ป้าหมาย ให้บรรลุและไม่มีวิถีที่เรียกได้ว่าถูกหรือผิด นอกจากจะทึกทักเอาเองโดยสร้างเกณฑ์ให้ แก่ตนเองอย่างไร้พนื้ ฐานความเป็นจริง ส่วน นั ก หลั ง นวยุ ค สายกลาง (moderate postmodernist) คิดว่ามนุษย์มเี ป้าหมาย ร่วมกันที่ความสมบูรณ์แห่งความเป็นอัตถิ ภาวะของแต่ ล ะคนที่ ไ ม่ เ หมื อ นกั น และ แต่ละคนมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกวิถีตาม มโนธรรมของตนเองในแต่ละขณะแห่งชีวติ ชีวิตมนุษย์จึงเป็นกระบวนการที่แต่ละคนมี ของตนเองโดยเฉพาะ หากเชื่อว่ามนุษย์มา จากการสร้างสรรค์ของพระเจ้า ก็หมายความ ว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาแต่ละคนๆ ไม่ ให้ม ี 2 คนทีเ่ หมือนกันทัง้ ในภาวะทีส่ มบูรณ์ และยังไม่สมบูรณ์ หากเชื่อว่ามนุษย์เกิดมา ตามกฎแห่งกรรม ก็หมายความกฎแห่งกรรม เปิดโอกาสให้มนุษย์แต่ละคนก�ำหนดอนาคต ของตนตามการตัดสินใจเลือกของตนเอง แต่ละครัง้ มโนธรรมจึงเป็นสมรรถนะชีบ้ อก ทางพัฒนาคุณค่าชีวิตของแต่ละบุคคล แต่ จุดพัฒนาจริงๆอยู่ที่การตัดสินใจ มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้พิพากษาตน เองตามมโนธรรมของตนในแต่ ล ะขณะ อย่างไรก็ตามมนุษย์เรามีการเรียนการสอน กั น ได้ ผู ้ มี ป ระสบการณ์ ม ากกว่ า ย่ อ ม ประเมิ น ค่ า ผลที่ เ กิ ด จากการปฏิ บั ติ ไ ด้ รอบคอบกว่าผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า
17
จึงย่อมสอนให้ผมู้ ปี ระสบการณ์นอ้ ยกว่าให้ ระวังตัวและปรับเปลี่ยนมโนธรรมของตน ได้โดยไม่ตอ้ งรอให้มปี ระสบการณ์จริง ครัน้ มีประสบการณ์จริงก็ตดั สินใจและเรียนรูไ้ ด้ดี กว่าผู้ที่ไม่มีใครสอนไว้ล่วงหน้า ในท�ำนองนี้ มนุษย์เราจึงควรเรียนรูจ้ ากกันและกัน เพราะ มนุษย์แต่ละคนย่อมมีประสบการณ์ที่ไม่มี ใครมีเหมือนตน เขาจึงอยู่ในฐานะที่จะสอน คนอื่นทุกคนในส่วนประสบการณ์พิเศษนั้น ตามปกติผู้ใหญ่ย่อมมีอะไรจะสอนเด็กได้ เสมอ แต่เด็กก็มีบางเรื่องที่ผู้ใหญ่ควรเรียนรู้ จากเด็ก เพราะเด็กทุกคนมีประสบการณ์ เฉพาะตัวทีจ่ ะบอกคนอืน่ รูใ้ ห้ได้รวมทัง้ ผูใ้ หญ่ ด้วย ข้อคิดจากชาวลัทธิคานท์ใหม่ วีนเดลบานด์ (Wilhelm Windelband 1848-1915) ชาวเยอรมัน เป็นผู้ก่อ ตั้งส�ำนักคานท์ใหม่แห่งฮายเดลเบิร์ก (Heidelberg) เสนอให้เอาความรู้ที่แน่ใจได้จาก เหตุผลปฏิบัติ (practical reason) ของ คานท์เป็นพื้นฐานของปรัชญา อันได้แก่ คุณค่าของความจริง ความดีและความงาม ที่รู้ได้แน่นอนจากเหตุผลปฏิบัติ (เหตุผล ปฏิบัติของคานท์เป็นสมรรถภาพรู้ระดับ สู ง ที่ รู ้ โ ดยตรงเหมื อ นการหยั่ ง รู ้ แต่ รู ้ ใ น ลักษณะรู้สึกว่าเป็นหน้าที่จะต้องปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติจะไม่สบายใจ และรู้สึกเพียงแค่
18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 นั้ น ไม่ ม ากไม่ น ้ อ ยกว่ า นั้ น คุ ณ ค่ า ของ ศาสนาถือว่าเป็นผลบวกของทั้ง 3 คุณค่า ที่ ย กสู ่ ร ะดั บ ความเป็ น จริ ง เหนื อ ผั ส สะ (supersensible reality) และเพราะเหตุ นีว้ นี เดลบานด์จงึ ได้ชอื่ ว่า บิดาของปรัชญา คุณค่า (philosophy of value) ตั ว ประธาน (subject) ที่ ใ ห้ ค วาม แน่ใจเหล่านี้ วีนเดลบานด์เรียกว่า Archetypal Consciousness (Normalbewusstsein = ความส�ำนึกต้นแบบ) ซึ่งดัด แปลงมาจาก Pure Consciousness (ความ ส�ำนึกบริสุทธิ์) ของคานท์นั่นเอง และท�ำ หน้าที่คล้ายกัน จะต่างกันก็อยู่ที่ว่าความ ส�ำนึกบริสุทธิ์ของคานท์ให้เพียงความส�ำนึก ในคุณค่าว่าควรจะเป็นอย่างไร เอาไปใช้เป็น พื้นฐานให้แก่ความเป็นจริงไม่ได้ แต่ความ ส�ำนึกต้นแบบของวีนเดลบานด์เอาไปใช้ เป็นพื้นฐานให้แก่ความเป็นจริงได้ และ เป็นพืน้ ฐานให้เกิดความรูป้ ระเภท nomothetic (law-based knowledge = ความ รู้บนฐานแห่งกฎ) อันเป็นความรู้ส่งเสริม วจนศู น ย์ นิ ย ม (logocentrism) หรื อ ความรูท้ เี่ ป็นระบบ ซึง่ ส�ำหรับวีนเดลบานด์ จ�ำกัดวงอยู่ในประเภทความรู้ก่อนประสบ การณ์เท่านั้น ถ้าต้องพึ่งประสบการณ์แล้ว จะได้เพียงความรูบ้ นฐานแห่งหน่วย อันเป็น ความรู ้ เ ฉพาะหน่ ว ย (ideographic = knowledge based on the particular
individual) วีนเดลบานด์ยังคงสนับสนุน วจนศูนย์นิยมโดยเสนอให้วิชาธรรมชาติทั้ง หลายเป็นประเภทให้กฎสากลที่ประสาน กันเป็นระบบ ส่วนวิชาสังคมวิทยาซึง่ วีนเดล บานด์ถอื ว่าเป็นส่วนหนึง่ ของวิชาวัฒนธรรม (cultural sciences) สังกัดความรู้ที่เป็น หน่วยๆ และวิชาประวัติศาสตร์ที่ควบ 2 ลักษณะคือ เริ่มจากเหตุการณ์เฉพาะหน่วย (individual) ผูกสัมพันธ์เป็นเครือข่ายกับ เหตุ ก ารณ์ อื่ น ทั้ ง ในอดี ต ปั จ จุ บั น และ อนาคต เอามาสร้าง (reconstructing) เป็น ระบบเครือข่ายของวิชาประวัติศาสตร์ หลัง จากนั้นก็เอาไปใช้อ้างอิงเพื่อตีความส่วนใด ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ได้ ฮายน์ริช รีเคิร์ท (Heinrich Rickert 1863-1936) เป็นประธานส�ำนักคานท์ใหม่ แห่ ง ฮายเดลเบิ ร ์ ก แทนวี น เดลบานด์ แ ละ คิดค้นคว้าสืบต่อไป คือรับรู้สืบต่อในส�ำนัก ว่ามีความรูอ้ ยู ่ 2 อย่างคือความรูบ้ นฐานแห่ง กฎที่มีเนื้อหาเป็นมโนภาพที่ให้ความเข้าใจ สากล (generalizing concepts) อันได้แก่ วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ และความรูบ้ นฐาน แห่งหน่วยทีม่ เี นือ้ หาเป็นมโนภาพทีใ่ ห้ความ เข้าใจเป็นหน่วย (individualizing con- cepts) อย่างวิชาประวัติศาสตร์ต่างๆ รวม ทั้งประวัติปรัชญาด้วย เช่น ประวัติศาสตร์ การปฏิวัติฝรั่งเศสให้ความเข้าใจแก่ประวัติ ศาสตร์ยโุ รป อันเป็นมโนภาพรวมของมันแต่
ท�ำไมกระแสหลังนวยุคจึงได้เปรียบชี้ขาดคุณค่าความเป็นมนุษย์
ก็ยังเป็นหน่วย ไม่เป็นสากล เหมือนต้นไม้ ต้นนี้เฉพาะหน่วยให้ความเข้าใจแก่ต้นไม้ สากล โดยไม่กลายเป็นต้นไม้สากลเสียเอง วิชาทัง้ 2 ประเภทมีกรอบแห่งความถูกต้อง (realm of validity) เท่ากัน แต่กรอบแห่ง ภาวะ (realm of being) ไม่เสมอกัน คือ เนือ้ หาของวิทยาศาสตร์ได้แก่วตั ถุทสี่ มั ผัสได้ (sensible objects) แต่เนื้อหาของประวัติ ศาสตร์และวิชาวัฒนธรรมทั้งหลายได้แก่สิ่ง ทีม่ นุษย์สร้างขึน้ ในสังคม (cultural objects) ความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์กบั ความเป็น จริงทางวัฒนธรรมอยู่กันคนละกรอบแม้จะ ศึกษาได้อย่างน่าเชื่อถือเสมอกัน และการที่ น่าเชื่อถือเสมอกันเช่นนี้แสดงว่ามีภาวะรวม เรียกว่ากรอบก่อนธรรมชาติ (prephysical realm) คื อ ก่ อ นจะแบ่ ง ออกเป็ น ภาวะ วิทยาศาสตร์หรือภาวะวัฒนธรรม และทัง้ 2 ความเป็นจริงตั้งอยู่บนพื้นฐานของกรอบ คุณค่า (axiological realm) ส�ำหรับความ จริง ความดี และความงาม ตามวิชามนุษย ศาสตร์ หรือกรอบอภิปรัชญา (metaphysical realm) ส�ำหรับวิทยาศาสตร์ หรือกรอบ อุตระ (transcendental realm) ส�ำหรับ ศึกษาศาสนา วิธีศึกษาวิชาวัฒนธรรม หรือคุณค่า หรื อ มนุ ษ ยศาสตร์ (รวมประวั ติ ศ าสตร์ ) เรียกว่า verstehen (การซาบซึ้งใจ) ซึ่ง ดีลธายจะศึกษาต่อ
19
ดีลธาย (Wilhelm Dilthey 18331911) ชี้ขาดลงไปว่าวิช าธรรมชาติใช้วิธี อธิ บ าย (erklearn = clarify) ส่ ว นวิ ช า มนุ ษ ย์ ใช้ วิ ธี ซ าบซึ้ ง ใจ (verstehen = understand) ความซาบซึ้งใจมี 2 แบบคือ แบบซาบซึง้ ใจทันทีเพราะเรียบง่าย (simple) กับแบบซับซ้อน (complex) ซึ่งต้องการ การตีความ (interpretation) และดีลธาย ก็ได้ศึกษาวิธีอรรถปริวรรตตามที่ตนชอบ เพื่อใช้ตีความวิชามนุษย์ ซึ่งจริยศาสตร์เป็น ส่วนหนึ่ง ดีลธายเริ่มต้นสังเกตว่าความส�ำเร็จ ของวิทยาศาสตร์ ท�ำให้มนุษยศาสตร์และ สั ง คมศาสตร์ ร ่ ว มใช้ วิ ธี เ ดี ย วกั น กั บ วิ ท ยา ศาสตร์ และคิดจะให้เ นื้ อ หาความรู ้ ข อง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รวมอยู่ใน เครือข่ายเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ก็เลย ท�ำให้สบั สนกันมาก ถึงเวลาทีจ่ ะต้องแยกใช้ วิธีต่างกันเพื่อให้คล่องตัว ดีลธายเสนอให้ศกึ ษาจิตของมนุษย์ เพื่อใช้วิธีจิตวิทยาท�ำการวิเคราะห์และ ตีความวิชาทุกอย่างที่เกี่ยวกับมนุษย์ แมกซ์เวเบอร์ (Max Weber 18641920) สืบทอดเจตนารมณ์ของส�ำนักคานท์ ใหม่ และเน้นทางด้านสังคมศาสตร์ โดย เฉพาะอย่างยิง่ จรรยาบรรณของนักการเมือง เผยแพร่หนังสือชื่อ ความเป็นกลางทางจริย ศาสตร์ (Ethical Neutrality, 1981); วิทยา
20 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 ศาสตร์ ใ นฐานะวิ ช าชี พ (Science as a Calling, 1919); การเมืองในฐานะอาชีพ (Politics as Calling, 1919) ตั ว แมกซ์ เวเบอร์เองเคยเล่นการเมืองก่อนเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่รามือจากการเมือง เสียทีเดียว จึงได้มีประสบการณ์และรู้เห็น อย่างมากมาย แมกซ์เวเบอร์แก้ไขความคิดของส�ำนัก ที่ว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้บนฐานแห่ง กฎเกณฑ์อนั เป็นส่วนของระบบเครือข่ายนัน้ หาจริงไม่ แต่ทว่าความรู้ไม่ว่าในด้านใดของ มนุษย์เป็นเพียงส่วนจ�ำกัดนิดเดียวของความ เป็นจริง (a finite portion of reality) แต่ ทว่าในวิถที างต่างๆ กัน (different ways) วิชาธรรมชาติเลือกเอาเฉพาะส่วนที่ จะตั้งกฎเกณฑ์แห่งความเป็นสาเหตุได้ เอา มาปะติดปะต่อกันเป็นระบบ มีเนื้อหาอีก มากมายทีไ่ ม่เข้าระบบ ส่วนวิชามนุษย์ (รวม วิชาสังคมด้วย) นั้นเลือกเอาส่วนหนึ่งของ ความเป็นจริงมาตีความให้มคี วามหมายตาม วัฒนธรรมของตน การตีความย่อมรวมการ ประเมินค่าอยูใ่ นตัว ซึง่ ก็ยอ่ มจะล�ำเอียงไป ตามวัฒนธรรมของผู้ตีความ
ครัน้ อนุมานหลักการต่างๆ ทีว่ เิ คราะห์ ได้มาถึงขณะนั้น แมกซ์เวเบอร์ก็พบว่ามี ความขัดแย้งซ่อนเร้น (hidden conflicts) หนักหน่วงระหว่างเป้าหมายกับวิถีที่ถูกต้อง ท�ำให้รสู้ กึ ว่าพบทางตัน เพราะความเป็นจริง ที่พบใหม่ไม่โสภา (disenchanted) และ ไร้ความหมาย (meaningless) หลังนวยุคสายกลางถือโอกาสทองเผยแพร่ ความคิด เหมือนกับชี้โพรงให้กระรอก คนช่าง คิดตัง้ แต่นนั้ มาก็เห็นความขัดแย้งในวิชาการ และในความพยายามสร้างระบบมากขึ้น ตามล� ำ ดั บ จนถึ ง จุ ด ที่ ช าวหลั ง นวยุ ค จะ แถลงการณ์โดยเสนอให้เลิกสนใจแก้ความ ขัดแย้งเพราะแก้ไม่ไหว ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง ก็เลย ต้อง “embrace the unembraceable” (โอบสิง่ ทีโ่ อบไม่ได้) “to replace diversity with uniformity” (รับเอาความ หลากหลายเข้ า แทนที่ ค วามสม�่ ำ เสมอ) “ambivalence with coherent and transparent order (รับความก�ำกวมเข้า แทนที่ระเบียบที่สหนัยกันอย่างโปร่งใส) เหล่านีค้ อื ความเป็นจริงใหม่สำ� หรับปรัชญา ใหม่และจรรยาบรรณใหม่ของลัทธิหลัง นวยุค ที่แทรกเข้าไปในทุกองค์การอย่าง เงียบๆ
บรรณานุกรม Borchert, Donald. (2006). Encyclopedia of Philosophy. New York: Macmillan. Craig, Edward. (1998). Routledge Encyclopedia of Philosophy. London: Routledge. Eliade, Mircea, ed. (1987). The Encyclopedia of Religion. New York: Macmillan. Hastings, James, ed. (1959). Encyclopedia of Religion and Ethics. New York: Scribner.
(หมวดพระสัจธรรม)
คุณค่าและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ในการเปิดเผยของพระเจ้า บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, CSS.
ชี วิ ต เป็ น ของประทานจากพระเจ้ า อาดัมมีชีวิตได้เพราะได้รับลมแห่งชีวิตจาก พระเจ้า “พระเจ้าทรงเอาฝุ่นจากพื้นดินมา ปั้นมนุษย์ และทรงเป่าลมแห่งชีวิตเข้าใน จมูกของเขา มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต” (ปฐก 2:7) และหากพระเจ้าทรงถอนลมแห่งชีวิต ของพระองค์คืน มนุษย์ก็จะต้องตาย “ถ้า พระองค์... ทรงถอนจิตและลมปราณของ พระองค์กลับมา สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็จะตาย พร้อมกัน มนุษย์กจ็ ะกลับเป็นฝุ่นดิน” (โยบ 34:14-15) ชีวิตจึงเป็นของพระเจ้า และใน เมื่อพระเจ้าเป็นเจ้าของชีวิตของมนุษย์ทุก คน มนุษย์จึงไม่มีสิทธิ์อย่างเด็ดขาดเหนือ
ชีวติ ของตน มนุษย์เป็นเพียง “ผูด้ แู ล” ชีวติ ที่พระเจ้าประทานให้เท่านั้น และเมื่อเป็น เช่นนี ้ ชีวติ มนุษย์จงึ ต้องได้รบั การดูแลเอาใจ ใส่และได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่ ทั้งชีวิต ของตัวเองและชีวิตของผู้อื่น 1. มนุษย์ถูกสร้างขึ้นตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้า คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็ น ธรรมชาติ ที่ อ ยู ่ ใ นตั ว ของมนุ ษ ย์ เ อง เหตุเพราะชีวิตของมนุษย์มาจากพระเจ้า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา “ตามภาพ ลักษณ์” ของพระองค์เอง “พระเจ้าตรัสว่า
บาทหลวงสังกัดคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์, อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
”
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเปิดเผยของพระเจ้า
23
มนุษย์มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีนับแต่เริ่มมีชีวิต เพราะชีวิตมนุษย์มาจากพระเจ้า เป็นพระเจ้าเองที่เป็นผู้สร้าง ให้เป็นเหมือนพระองค์
”
“เราจงสร้างมนุษย์ขึ้นตามภาพลักษณ์ของ เรา ให้มีความคล้ายคลึงกับเรา... พระองค์ ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า พระองค์ ท รงสร้ า งให้ เ ป็ น ชายและหญิ ง ” (ปฐก 1:26-27) ชีวิตมนุษย์จึงมีคุณค่าและ ศักดิ์ศรีในตัวเอง พระสมณสาส์น “Evangelium Vitae” ของพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ที่ ออกประกาศในวันที่ 25 มีนาคม 1995 มี หลั ก ค� ำ สอนที่ ส� ำ คั ญ มากเกี่ ย วกั บ คุ ณ ค่ า และศักดิศ์ รีของชีวติ มนุษย์ พระสันตะปาปา ทรงอ้างอิงข้อความพื้นฐานจากพระคัมภีร์ เพื่อยืนยันว่าชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ กล่าวคือ ทรงอ้างจากหนังสือปฐมกาลที่เล่า ว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้า (ปฐก 1:26-27) โดยพระเจ้าทรงปัน้ มนุษย์ขึ้นมาจากฝุ่นดินและเป่าลมแห่งชีวิต ให้มนุษย์ มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต (ปฐก 2:7) และเมือ่ มนุษย์มาจากฝุน่ ดิน มนุษย์กจ็ ะกลับ
เป็นฝุน่ ดินอีก (ปฐก 3:19) พระสันตะปาปา ยังได้ทรงสอนเพิ่มเติมอีกว่าบุคคลมนุษย์ ประกอบด้วยส่วนทีเ่ ป็นวัตถุ (ดิน) และส่วน ที่เป็นจิต (ถูกสร้างขึ้นตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้าและมีวิญญาณที่เป็นอมตะ) ดังนี้ มนุษย์จงึ ถูกแยกออกจากสิง่ สร้างอืน่ และอยู่ เหนือสิ่งสร้างอื่นใดในโลก มนุษย์มีคุณค่า และมีศักดิ์ศรีนับแต่เริ่มมีชีวิต เพราะชีวิต มนุษย์มาจากพระเจ้า เป็นพระเจ้าเองทีเ่ ป็น ผูส้ ร้าง และพระองค์ทรงสร้างให้เป็นเหมือน พระองค์ การที่พระเยซูเจ้าองค์พระวจนาตถ์ ของพระเจ้าและพระบุคคลที่สองในพระตรี เอกภาพศักดิ์สิทธิ์ เสด็จมารับสภาพมนุษย์ นั้น ถือเป็นค�ำสอนของพระคัมภีร์ที่ส�ำคัญ อย่างมากเกี่ยวกับคุณค่าและศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์นับตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของ มารดา พระวรสารของนักบุญยอห์นได้ยืน ยันเรือ่ งนีเ้ มือ่ กล่าวว่า “พระวจนาตถ์ทรงรับ
24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 ธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ใน หมู่เรา” (ยน 1:14) การที่พระเยซูเจ้าทรง เลือกที่จะมาบังเกิดอย่างอัศจรรย์ในครรภ์ที่ พรหมจรรย์ของพระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ ์ ทรงประทับอยูใ่ นครรภ์ของพระนางเป็นเวลา ถึงเก้าเดือนและทรงบังเกิดในรางหญ้าใน เบธเลเฮ็มนั้น ล้วนเป็นการยืนยันถึงคุณค่า และศั ก ดิ์ ศ รี ข องชี วิ ต มนุ ษ ย์ แม้ จ ะอยู ่ ใ น สภาพที่ยากจนที่สุดก็ตาม เมื่อชีวิตมนุษย์เป็น “ของประทาน” จากพระเจ้าที่มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีเช่นนี้ ชีวิตมนุษย์จึงไม่อาจถูกล่วงละเมิดได้ และ เพราะพระเจ้าเป็นผูป้ ระทานของประทานนี้ ให้ ม นุ ษ ย์ อ ย่ า งอิ ส ระ พระเจ้ า เองจึ ง ทรง เป็น “ผูป้ กป้อง” ของประทานนี ้ ดังค�ำสอน ของพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ที่ กล่ า วว่ า “ในการมอบชี วิ ต ให้ ม นุ ษ ย์ นั้ น พระเจ้าทรงเรียกร้องให้มนุษย์รักกันและกัน เคารพและปกป้องชีวิต ของประทานจาก พระเจ้ า จึ ง กลายเป็ น บทบั ญ ญั ติ และบท บัญญัติในตัวเองก็เป็นของประทาน” (EV 52) พระบัญญัติ “ห้ามฆ่าคน” จึงไม่อาจ มีข้อยกเว้นใดๆ ได้หากเกี่ยวข้องกับชีวิต มนุษย์ผู้บริสุทธิ์
2. การเริ่มต้นชีวิต การท�ำแท้งเป็นเรือ่ งทีโ่ ลกสมัยโบราณ อาจไม่รู้จัก พระคัมภีร์จึงไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง นี้ไว้อย่างชัดเจนและเราก็ไม่พบค�ำนี้ในพระ คัมภีร์ด้วยแม้ความคิดเรื่องนี้จะพบได้ใน พระคัมภีรก์ ต็ าม เช่นเดียวกับค�ำว่า “บุคคล” ที่เราใช้เพื่อหมายถึงมนุษย์ปัจเจกและยังใช้ เพื่อบรรยายถึงพระเจ้าเดียวแต่แตกต่างกัน ระหว่างพระบิดา พระบุตร และพระจิต แต่ ว่าบุคคลนี้เราก็ไม่พบในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เช่นกัน กระนั้นก็ดี หากเราอ่านพระคัมภีร์ อย่าพินิจพิเคราะห์และพยายามหาค�ำสอน จากพระคัมภีร์ว่า เมื่อพูดถึงเรื่องชีวิตมนุษย์ พระคัมภีรส์ อนเรือ่ งนีว้ า่ อย่างไร และเมือ่ พูด ถึงเรื่องการท�ำลายชีวิตของผู้อื่น พระคัมภีร์ หมายความว่าอย่างไร เราก็พบว่ามีหลาย ข้อความจากพระคัมภีร์ที่พูดถึงคุณค่าและ ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตมนุษย์ และที่จริง แล้ว ความเป็นมนุษย์นนั้ เริม่ ต้นก่อนทีบ่ คุ คล มนุษย์จะด�ำรงอยูใ่ นครรภ์ของมารดาเสียอีก ปัญหาเรือ่ งการท�ำแท้งนัน้ ประเด็นหลัก เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ชีวิต” และ “ความเป็น บุคคล” ว่าเริ่มต้นเมื่อไร และค�ำตอบที่มีก็ แตกต่างกันไป1 กระนั้นก็ดี ในส่วนของพระ
เช่น บางคนว่าเริม่ ต้นเมือ่ ปฏิสนธิในครรภ์ บางคนว่าเริม่ ต้นเมือ่ เซลล์ (ตัวอ่อน) ฝังตัวติดกับผนังมดลูก และบางคนก็วา่ เมือ่ เกิดออก มาแล้ว เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการแพทย์ว่าชีวิตเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่และสเปอร์ม) ผสมกัน (Conception) 1
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเปิดเผยของพระเจ้า
คั ม ภี ร ์ ก็ มี พู ด ถึ ง เรื่ อ งนี้ อ ยู ่ แ ล้ ว ว่ า ทารกใน ครรภ์เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตที่เป็นภาพลักษณ์ ของพระเจ้ า แล้ ว ในเพลงสดุ ดี ที่ 139 กษั ต ริ ย ์ ด าวิ ด ได้ พู ด พรรณาถึ ง พระเจ้ า ว่ า ได้ทรงสร้าง “ส่วนภายใน” ของท่านอย่างไร ขณะที่ ตั ว ท่ า นยั ง อยู ่ ใ นครรภ์ ข องมารดา “พระองค์ทรงปั้นส่วนภายในของข้าพเจ้า ทรงถักทอร่างข้าพเจ้าในครรภ์มารดา” (สดด 139:13) ข้อความตอนนีส้ อนเราอย่างชัดเจน ว่าพระเจ้าทรงสร้าง “บุคคลมนุษย์” ก่อนที่ เขาจะเกิดมาเสียอีก ไม่ใช่สร้างในระหว่าง ก�ำลังเกิดหรือหลังจากเกิดมาแล้ว มากกว่า นั้น กษัตริย์ดาวิดยังได้พูดถึงตัวพระองค์ เองว่าเป็นคนบาปตัง้ แต่มารดาตัง้ ครรภ์ “ใช่ แล้วข้าพเจ้ามีความผิดตั้งแต่เกิด เป็นคน บาปตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์” (สดด 51:5) ดังนีต้ ามค�ำสอนของพระคัมภีร ์ ในเมือ่ มนุษย์ เท่านั้นที่สามารถเป็นผู้รับผิดชอบทางศีล
25
ธรรมได้ ความเป็นบุคคลทั้งครบของมนุษย์ จึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธินั่นเอง นี่น�ำมา สู่ข้อสรุปที่ว่า การท�ำลายทารกในครรภ์ถือ เป็ น การท� ำ ลายชี วิ ต และนี่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ บ ท บัญญัติในหนังสืออพยพห้ามไว้ (อพย 20: 13 “ห้ามฆ่าคน”) ความรู้สึกที่รุนแรงของ พระเจ้าต่อการท�ำลายชีวิตที่ยังไม่ได้เกิดนั้น ถูกเน้นย�้ำผ่านทางการห้ามไม่ให้ท�ำลายชีวิต ผู้บริสุทธิ์ พระองค์ตรัสว่า “ท่านจะต้องไม่ พูดเท็จเลย อย่าประหารผูบ้ ริสทุ ธิห์ รือผูช้ อบ ธรรม เพราะเราจะไม่ให้อภัยผู้ที่กระท�ำผิด เช่นนี”้ (อพย 23:7) พระเจ้า “ทรงเกลียด... มือที่หลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์” (สภษ 6:16-17) ในพระสมณสาส์น “Evangelium Vitae” พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้อ้างถึงข้อความจากพระคัมภีร์อีกหลาย ตอน2 ที่พูดถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และการ ละเมิ ด ไม่ ไ ด้ ข องบุ ค คลที่ อ ยู ่ ใ นครรภ์ ข อง
เช่น โยบ 10:8-12 “พระหัตถ์ของพระองค์ปน้ั และสร้างข้าพเจ้าขึน้ มา บัดนีพ้ ระองค์ทรงเปลีย่ นพระทัยกลับมาท�ำลายข้าพเจ้าหรือ โปรดทรงระลึกว่าพระองค์ทรงสร้างข้าพเจ้ามาจากดิน พระองค์จะทรงท�ำให้ข้าพเจ้ากลับเป็นฝุ่นดินอีกหรือ พระองค์มิได้ทรงเท ข้าพเจ้าเหมือนเทน�้ำนม และทรงท�ำให้ข้าพเจ้าแข็งเหมือนเนยแข็งหรือ พระองค์ทรงหุ้มข้าพเจ้าไว้ด้วยหนังและเนื้อ และทรงทอ ข้าพเจ้าด้วยกระดูกและเส้นเอ็น พระองค์ประทานชีวติ และความรักมัน่ คงแก่ขา้ พเจ้า ความเอาพระทัยใส่ของพระองค์ดแู ลจิตใจของ ข้าพเจ้าไว้; เพลงสดุดี 139:13-16 “พระองค์ทรงปั้นส่วนภายในของข้าพเจ้า ทรงถักทอร่างข้าพเจ้าในครรภ์มารดา ข้าพเจ้า ขอบพระคุณพระองค์ทที่ รงสร้างข้าพเจ้าให้เป็นดังปาฏิหาริย ์ พระราชกิจของพระองค์นา่ พิศวง พระองค์ทรงรูจ้ กั ข้าพเจ้าอย่างดี ร่าง ของข้าพเจ้าไม่เป็นสิ่งลึกลับส�ำหรับพระองค์เลย เมื่อข้าพเจ้าถูกปั้นอย่างเงียบๆ และถูกถักทอขึ้นในส่วนลึกของแผ่นดิน ข้าพเจ้ายัง เป็นตัวอ่อนในครรภ์ พระองค์กท็ อดพระเนตรเห็นแล้ว ทุกอย่างมีเขียนไว้ในหนังสือของพระองค์ วันเวลาถูกก�ำหนดไว้แล้วก่อนทีจ่ ะ เกิดขึน้ ; และ 2 มัคคาบี 7:22-23 “แม่ไม่รวู้ า่ ลูกมาอยูใ่ นครรภ์ของแม่ได้อย่างไร แม่มใิ ช่ผทู้ ใี่ ห้ลกู มีลมหายใจและชีวติ แม่มใิ ช่ผทู้ จี่ ดั โครงสร้างของลูกแต่ละคน แต่พระผูเ้ จ้าผูท้ รงเนรมิตโลกทรงเป็นผูใ้ ห้กำ� เนิดมนุษยชาติและทรงเป็นบ่อเกิดของทุกสิง่ พระองค์จะทรง พระกรุณาประทานลมหายใจและชีวิตคืนให้แก่ลูก เพราะบัดนี้ลูกสละชีวิตของตนเพราะเห็นแก่ธรรมบัญญัติของพระองค์” 2
”
26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563
บุคคลมนุษย์นั้นอยู่ในความนึกคิด ของพระเจ้าอยู่แล้ว “ก่อน” ที่มนุษย์จะเกิดมา ทางกายภาพและแม้แต่ก่อนที่เขาจะปฏิสนธิ ในครรภ์มารดาของเขาเสียอีก
”
มารดา แต่ที่ชัดเจนที่สุดมาจากหนังสือของ ประกาศกเยเรมีย ์ 1:5 ทีก่ ล่าวว่า “ก่อนทีเ่ รา ปั้นท่านในครรภ์มารดา เราก็รู้จักท่านแล้ว ก่อนที่ท่านจะเกิด เราก็แยกท่านไว้เป็นของ เราแล้ว เราแต่งตั้งท่านให้เป็นประกาศก ส�ำหรับนานาชาติ” นี่แสดงว่าพระเจ้าทรง ต้ อ งการสอนประชากรชาวอิ ส ราเอลว่ า บุ ค คลมนุ ษ ย์ นั้ น อยู ่ ใ นความนึ ก คิ ด ของ พระเจ้ า อยู ่ แ ล้ ว “ก่ อ น” ที่ ม นุ ษ ย์ จ ะเกิ ด มาทางกายภาพ และแม้แ ต่ก่อนที่เขาจะ ปฏิสนธิในครรภ์มารดาของเขาเสียอีก และ หลังการปฏิสนธิแล้วพระเจ้าก็ยังทรงดูแล เอาใจใส่บุคคลมนุษย์ขณะอยู่ในครรภ์ทั้งใน การก่อตัวเป็นรูปร่างทางชีวภาพและในทาง จิตวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ “ชีวิตมนุษย์จึงควร ได้ รั บ การเคารพและการปฏิ บั ติ ใ นฐานะ บุคคลนับแต่วินาทีแรกของการมีชีวิต และ นับจากวินาทีนนั้ เอง สิทธิของการเป็นบุคคล ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วและต้องได้รับการเคารพ
ด้ ว ย ซึ่ ง ในล� ำ ดั บ แรกคื อ สิ ท ธิ ข องชี วิ ต ที่ บริสุทธิ์ทุกคนที่จะมีชีวิตอยู่และไม่อาจถูก ล่วงละเมิดได้” (EV 60) ที่ สุ ด ค� ำ สอนของพระศาสนจั ก ร คาทอลิกได้เชื่อมการเปิดเผยของพระเจ้า ในธรรมประเพณีของอัครสาวกเข้ากับพระ คัมภีรศ์ กั ดิส์ ทิ ธิภ์ ายใต้การน�ำของอ�ำนาจการ สอนที่ไม่อาจผิดหลงได้ของพระศาสนจักร ค�ำสอนของพระศาสนจักรนี้จึงเป็นเหมือน “ค�ำอธิบาย” ทางการของพระศาสนจักร เกีย่ วกับพระคัมภีร ์ (ซึง่ แม้วา่ จริงๆ แล้วเป็น มากกว่านี)้ ค�ำอธิบายอย่างเป็นทางการเกีย่ ว กั บ คุ ณ ค่ า และศั ก ดิ์ ศ รี ข องบุ ค คลมนุ ษ ย์ แม้ขณะยังอยู่ในครรภ์ของมารดานั้น พบใน ค�ำสอนของพระศาสนจักรข้อ 2270-2271 ซึ่งระบุว่า “ชีวิตมนุษย์ นับตั้งแต่เวลาที่ปฏิสนธิ ต้องได้รับความเคารพและปกป้องอย่างเด็ด ขาด นับตั้งแต่ช่วงเวลาแรกที่มีความเป็นอยู่
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเปิดเผยของพระเจ้า
บุคคลมนุษย์ต้องได้รับการรับรองว่ามีสิทธิ ในฐานะบุคคล และสิทธิประการแรกที่ล่วง ละเมิดไม่ได้เลยของสิง่ สร้างทีม่ ชี วี ติ ทุกอย่าง ก็คือสิทธิท่ีจะมีชีวิตอยู่ ... ตั้งแต่ศตวรรษ ที่หนึ่งแล้ว พระศาสนจักรประกาศยืนยัน เป็นความผิดทางศีลธรรมของการท�ำแท้ง ทุกอย่างค�ำสอนข้อนีไ้ ม่เคยเปลีย่ นแปลงเลย ยั ง คงเป็ น ข้ อ ห้ า มที่ ไ ม่ มี วั น เปลี่ ย นแปลง การท� ำ แท้ ง โดยตรงนั่ น คื อ ในฐานะที่ เ ป็ น จุ ด ประสงค์ ห รื อ เป็ น วิ ธี ก ารที่ ต ้ อ งการใช้ ก็เป็นการขัดต่อกฎศีลธรรมอย่างหนัก” 3. การจบชีวิต นักบุญเปาโลพูดถึงความตายว่าเป็น สิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะ เป็นผลมาจากบาปของมนุษย์ “บาปเข้ามา ในโลกเพราะมนุษย์คนเดียว และความตาย เข้ า มาเพราะบาปฉันใด ความตายก็แ พร่ กระจายไปถึ ง มนุ ษ ย์ ทุ ก คนเพราะทุ ก คน ท� ำ บาปฉั น นั้ น ก่ อ นที่ จ ะมี ธ รรมบั ญ ญั ติ บาปมีอยู่ในโลกแล้ว แต่เมื่อยังไม่มีธรรม บัญญัติก็ไม่นับว่าเป็นบาป ถึงกระนั้นความ ตายก็ มี อ านุ ภ าพเหนื อ มนุ ษ ยชาติ ตั้ ง แต่ อาดัมมาจนถึงโมเสส มีอานุภาพเหนือแม้ คนที่ไม่ได้ท�ำบาปเหมือนกับอาดัมที่ได้ล่วง ละเมิด อาดัมเป็นรูปแบบล่วงหน้าของผูท้ จี่ ะ มาในภายหลัง” (รม 5:12-14) และ “ความ ตายมาจากมนุษย์คนหนึ่งฉันใด การกลับ
27
คืนชีพของบรรดาผู้ตายก็มาจากมนุษย์คน หนึ่งฉันนั้น มนุษย์ทุกคนตายเพราะอาดัม ฉันใด มนุษย์ทุกคนก็จะกลับมีชีวิตเพราะ พระคริสตเจ้าฉันนั้น” (1 คร 15:21-22) บ่อยครั้งที่กระบวนการของการจบชีวิตของ มนุษย์เริ่มต้นจากความเจ็บป่วย ความเจ็บ ปวดและความทุกข์ทรมาน การุณยฆาตจึง เป็นวิธีการหนึ่งที่มนุษย์เสนอขึ้นมาเพื่อช่วย ให้ผทู้ กี่ ำ� ลังทุกข์ทรมานนัน้ จบชีวติ ลง ไม่ตอ้ ง ทุ ก ข์ ท รมานอี ก ต่ อ ไป ซึ่ ง อาจจะเป็ น การ กระท�ำโดยตรงเพื่อให้จบชีวิต หรือโดยการ หยุดที่จะให้การรักษาอีกต่อไป ผู้ป่วยเอง อาจเป็ น ผู ้ ร ้ อ งขอและยิ น ยอมด้ ว ยความ สมัครใจ หรืออาจจะไม่ได้สมัครใจเอง หรือ อาจอยู ่ ใ นสภาพที่ ไ ม่ ส ามารถตั ด สิ น ใจได้ เนื่องจากไม่รู้ตัวก็ตาม การท�ำให้ผู้ป่วยจบชีวิตลงเพื่อจะไม่ ต้ อ งทุ ก ข์ ท รมานอี ก ต่ อ ไปนั้ น แม้ จ ะเป็ น ความต้องการของผูป้ ว่ ยเอง ก็ถอื ว่าเป็นเรือ่ ง ที่กระท�ำไม่ได้ เราเห็นตัวอย่างหลักการทาง ศีลธรรมนีไ้ ด้อย่างชัดเจนในกรณีของกษัตริย์ ซาอูล เมื่อทรงบาดเจ็บสาหัสจากการสู้รบ กับชาวฟิลิสเตีย กษัตริย์ซาอูลทรงสั่งให้ผู ้ ถืออาวุธของพระองค์ฆา่ พระองค์เสีย เพราะ ไม่ต้องการให้คนต่างศาสนาฆ่าพระองค์ แต่ ผูถ้ อื อาวุธของกษัตริยซ์ าอูลปฏิเสธไม่ยอมท�ำ (1 ซมอ 31:1-5) กษัตริยด์ าวิดก็เช่นกัน เมือ่ ทหารชาวอามาเลขน�ำข่าวการสิ้นพระชนม์
28 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 ของกษัตริย์ซาอูลมาแจ้ง โดยอ้างว่าตัวเขา เองเป็นคนฆ่าตามค�ำขอร้องของกษัตริยซ์ าอูล เนื่องจากกษัตริย์ได้รับบาดเจ็บสาหัสและ ก�ำลังทุกข์ทรมานและไม่มโี อกาสจะรอดชีวติ อย่างแน่นอน เมื่อกษัตริย์ดาวิดได้ยินดังนั้น ก็ทรงต�ำหนิทหารคนนั้นอย่างรุนแรงและ สั่งให้ทหารของพระองค์ฆ่าทหารคนนั้นเสีย (2 ซมอ 1:1-16) นีแ่ สดงว่า การท�ำลายชีวติ ของคนอืน่ ก็ตอ้ งรับผิดชอบต่อการกระท�ำนัน้ ของตนและถูกพระเจ้าลงโทษผ่านทางผูแ้ ทน ของพระองค์ ดังพระด�ำรัสเรือ่ งระเบียบใหม่ ของโลกที่พระเจ้าทรงตรัสแก่โนอาห์หลังน�้ำ วินาศลดลงแล้วว่า “ถ้าผู้ใดหลั่งโลหิตของ มนุษย์คอื ปลิดชีวติ ของเขา เราจะมาทวงชีวติ ของเขาด้วย ... และจะลงโทษมนุษย์ที่ได้ ฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผู้ใดหลั่งเลือดของ เพือ่ นมนุษย์ เลือดของเขาจะต้องถูกหลัง่ โดย มนุษย์เช่นกัน เพราะพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์
ตามภาพลักษณ์ของพระองค์” (ปฐก 9:5-6; เทียบ รม 13:1-7) ค�ำสอนที่ชัดเจนที่สุดในพระคัมภีร์ที่ ต่อต้านการท�ำลายชีวิต พบในพระบัญญัติ ของพระเจ้าที่ระบุว่า “อย่าฆ่าคน” (อพย 20:13; ฉธบ 5:17) และค�ำอธิบายในเวลา ต่อมา (อพย 21:12-32) ก็ได้สอนเรื่องนี้ไว้ อย่างชัดเจนเกีย่ วกับข้อห้ามนี ้ ค�ำว่า “ฆ่าคน” ในภาษาฮีบรูที่พบใน อพย 20:13 นั้นไม่ได้ หมายถึงการฆ่าคนโดยเจตนาเท่านัน้ 3 แต่ยงั หมายถึงการเป็นเหตุให้คนอืน่ ตายเพราะการ ละเลยและการขาดความเอาใจใส่ของตน ด้วย4 อย่างไรก็ตาม เราต้องเข้าใจเรือ่ งนีด้ ว้ ย ว่า ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมการห้ามฆ่า คนนั้นหมายถึงการห้ามท�ำลายชีวิตของคน อื่นนอกที่เหนือจากที่พระเจ้าทรงก�ำหนดไว้ ให้ท�ำได้5
ตัวอย่างเช่น ยรม 7:9 “ท่านลักขโมย ฆ่าคน ล่วงประเวณี สาบานเท็จ เผาก�ำยานถวายพระบาอัลและนมัสการเทพเจ้าซึ่งท่านไม่ เคยรูจ้ กั มาก่อน”; เปรียบเทียบกับ อพย 21:12, 14, 20 “ผูใ้ ดตีคนถึงตาย ผูน้ นั้ จะต้องถูกประหารชีวติ ”; “แต่ถา้ ผูใ้ ดมีเจตนาจะฆ่า ผูอ้ นื่ โดยวางแผนล่วงหน้า จะต้องน�ำผูน้ นั้ ไปประหารชีวติ แม้จะต้องไปลากตัวออกมาจากแท่นบูชาของเราก็ตาม”; “เมือ่ ผูใ้ ดใช้ไม้ตี ทาสของตนจนตายคามือ ไม่ว่าจะเป็นทาสชายหรือทาสหญิง เขาจะต้องถูกลงโทษ” 4 ตัวอย่างเช่น ยชว 20:3-6 “ผูใ้ ดก็ตามฆ่าผูอ้ นื่ โดยอุบตั เิ หตุ (ไม่ได้เจตนา) อาจหลบหนีไปอยูท่ นี่ นั่ และเมืองนัน้ จะถือเป็นเหมือนกับ ทีล่ ภี้ ยั จากการล้างแค้นโลหิต (ผูฆ้ า่ คนจะต้องหนีเข้าไปในเมืองหนึง่ เมืองใดระหว่างเมืองเหล่านี ้ เขาจะหยุดตรงประตูเมืองและอธิบาย กรณีของเขาให้ผอู้ าวุโสของเมืองฟัง ผูอ้ าวุโสจะรับเขาเข้าในเมืองและก�ำหนดสถานทีใ่ ห้เขาอยูท่ า่ มกลางพวกเขา ถ้าผูล้ า้ งแค้นโลหิต ออกติดตามไป พวกเขาต้องไม่สง่ มอบตัวผูฆ้ า่ ให้ เนือ่ งจากเขาได้ฆา่ คนโดยไม่เจตนา และไม่ได้กระท�ำไปเพราะความเกลียดชังทีส่ งั่ สม มานานต่อผู้นั้น เขาจะอยู่ในเมืองนี้) จนกว่าจะถูกน�ำตัวมาไต่สวนต่อหน้าชุมชน (จนกว่ามหาสมณะที่ด�ำรงต�ำแหน่งในขณะนั้นสิ้น ชีวติ หลังจากนัน้ เท่านัน้ ทีผ่ ฆู้ า่ คนจะกลับเมืองของตนและกลับไปบ้านของตนในเมืองทีเ่ ขาได้หลบหนีออกมา)” เปรียบเทียบกับ อพย 21:13 “ถ้าเขาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา แต่เป็นอุบัติเหตุ ก็ให้เขาหนีไปอยู่ในที่ที่เราจะก�ำหนดไว้” 5 เช่น ในสงครามและในการลงโทษจากพระเจ้าโดยตรง 3
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเปิดเผยของพระเจ้า
4. ผู้ที่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย ในฐานะคริ ส ตชนเราต้ อ งไม่ ลื ม ว่ า คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นอยู ่ บนรากฐานของความจริงที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้ ประทานชีวิตแก่มนุษย์ คุณค่าของมนุษย์ไม่ ได้ขึ้นอยู่กับระดับของความสามารถหรือ ความมีประโยชน์ของบุคคลนั้นๆ ต่อสังคม แต่มาจากการ “ถูกสร้างขึน้ ตามภาพลักษณ์ ของพระเจ้า” พระเจ้าสร้างมนุษย์มาให้เป็น เหมือนพระองค์ ดังนัน้ ผูท้ กี่ ำ� ลังทุกข์ทรมาน จากความเจ็บป่วยก็ไม่ได้มีภาพลักษณ์ของ พระเจ้าในตัวเขาน้อยลงกว่าคนอืน่ แต่อย่างใด ในพระคัมภีร ์ จริงอยูว่ า่ มีคำ� สอนเรือ่ ง การห้ามคนพิการเป็นศาสนบริการของพระเจ้า โดยพระยาห์เวห์ตรัสสัง่ โมเสส “ผูใ้ ดมีรา่ งกาย พิการ จะต้องไม่น�ำธัญบูชาเข้ามาถวายแด่ พระเจ้าของตน ... เขาต้องไม่เข้ามาใกล้มา่ น หรือใกล้พระแท่นบูชา เขาจะต้องไม่ทำ� ให้สงิ่ ศักดิ์สิทธิ์ของเราเป็นมลทิน เพราะเราคือ พระยาห์เวห์ได้ท�ำให้สิ่งเหล่านี้ศักดิ์สิทธิ์” (ลนต 21:16-23) แต่การห้ามนี้ไม่ได้หมาย ความว่าพระเจ้ามีอคติตอ่ คนพิการ ข้อก�ำหนด ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ต้องการสื่อ ความหมายว่ า ในการติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้านั้น มนุษย์ต้องมอบตัวเองทั้งครบ และทัง้ หมดแด่พระเจ้า ไม่ใช่ขาดหายไปบาง ส่วนหรือสงวนส่วนใดส่วนหนึง่ ไว้ ข้อก�ำหนด นี้จึงไม่ได้เป็นการลดคุณค่าของคนพิการลง แต่อย่างใด เรือ่ งนีเ้ ห็นได้ชดั เมือ่ พระเจ้าตรัส
29
สั่งโมเสสไว้ให้ยกย่องคนที่ดูแลเอาใจใส่คน พิการและผูส้ งู อายุดว้ ยความเคารพ “ท่านจะ ต้องไม่สาปแช่งคนหูหนวก เอาของไปวางขวาง คนตาบอด แต่ท่านจะต้องย�ำเกรงพระเจ้า ของท่าน เราคือพระยาห์เวห์ ... ท่านจะต้อง ลุกขึน้ ต่อหน้าผูอ้ าวุโสและแสดงความเคารพ ต่อผู้ชรา ดังนี้ ท่านจะย�ำเกรงพระเจ้า เรา คือพระยาห์เวห์” (ลนต 19:14, 32) ดังนั้น ผูท้ กี่ ำ� ลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย แม้วา่ พวกเขาต้องพึง่ พาอาศัยคนอืน่ หรือก�ำลังป่วย หนั ก ใกล้ สิ้ น ชี วิ ต ก็ ยั ง สมควรได้ รั บ ความ เคารพและการปฏิบัติเหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป คริสตชนต้องเป็นตัวอย่างของผู้ที่สนับสนุน คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นี้ เพราะชีวิตมนุษย์มีรากอยู่ที่การเป็นภาพ ลักษณ์ของพระเจ้า พระองค์เท่านั้นที่เป็น เจ้าของชีวิตและความตาย แล้วเราจะช่วยเหลือผู้ที่ก�ำลังทุกข์ ทรมานจากความเจ็บป่วยได้อย่างไร? ประการแรก เราต้องจ�ำไว้เสมอว่า พระเยซูเจ้าเอง ตลอดชีวติ แห่งการประกาศ ข่าวดี พระองค์ทรงรู้สึกเห็นอกเห็นใจและ มีพระทัยเมตตาสงสารไม่ใช่เฉพาะต่อคนที่ เจ็บป่วยทางกายเท่านั้น “เมื่อเสด็จขึ้นจาก เรือทรงเป็นเห็นประชาชนมากมายก็ทรง สงสารและทรงรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายจาก โรค” (มธ 14:14) แต่พระองค์ยงั ทรงสงสาร ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจด้วย พระวรสารให้หลัก
30 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 ฐานเรื่ อ งนี้ อ ย่ า งชั ด เจนเมื่ อ เล่ า ว่ า “เมื่ อ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชนก็ทรง สงสาร เพราะเขาเหล่านั้นเหน็ดเหนื่อยและ ท้อแท้ประดุจฝูงแกะที่ไม่มีคนเลี้ยง” (มธ 9:36) “เราสงสารประชาชนเพราะเขาอยูก่ บั เรามาสามวันแล้ว และเวลานี้ไม่มีอะไรกิน” (มก 8:2) “เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็น นางก็ทรงสงสารและตรัสกับนางว่า อย่าร้องไห้ ไปเลย” (ลก 7:13) นักบุญเปาโลก็เช่นกัน ท่านสัง่ สอนคริสตชนผูม้ คี วามเชือ่ ชาวโคโลสี ให้มคี วามเห็นอกเห็นใจผูอ้ นื่ และมีความใจดี “ท่านเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร เป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รักของพระองค์ จงเห็น อกเห็นใจกัน จงมีความใจดี ความถ่อมตน ความอ่อนโยน และความพากเพียรอดทน” (คส 3:12) คนเจ็ บ ป่ ว ยไม่ เ พี ย งแต่ ทุ ก ข์ ทรมานจากความเจ็บป่วยทางร่างกายและ จากความไม่สะดวกสบายเท่านั้น เขายังมี ความทุกข์ทางอารมณ์และจิตใจด้วย ในการ ช่วยเหลือผูท้ กี่ ำ� ลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บ ป่วยนี ้ คริสตชนจึงต้องเป็นผูท้ มี่ คี วามเห็นอก เห็นใจและมีความเมตตาสงสารเหมือนพระ เยซูเจ้า และให้ความช่วยเหลือพวกเขาทั้ง ทางร่างกายและจิตใจอย่างสุดความสามารถ ประการทีส่ อง แม้วา่ ความทุกข์ทรมาน ในตัวมันเองไม่ใช่สิ่งดี แต่ก็เป็นผลมาจาก การด�ำเนินชีวิตในโลกที่ตกในบาป ส�ำหรับ
เราคริสตชนผู้มีความเชื่อ มนุษย์จึงจ�ำเป็น ต้องได้รับการไถ่กู้ ความทุกข์ยากล�ำบาก ต่างๆ ในโลกท�ำให้เราตระหนักรู้ถึงความ จ�ำเป็นที่เราจะต้องมีความวางใจในพระเจ้า และวิ ง วอนขอพระหรรษทานและพระ เมตตาต่างๆ จากพระองค์ นักบุญเปาโล ได้แนะน�ำเช่นนี้แก่ชาวโครินธ์เมื่อกล่าวว่า “พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านรู้ ถึงความทุกข์ยากที่เราได้รับเมื่ออยู่ในแคว้น อาเชีย เราได้รบั ความทุกข์ยากอย่างล้นเหลือ เกินก�ำลังของเรา จนกระทั่งเราหมดหวังแม้ จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เรารู้สึกประหนึ่งว่าถูก ตัดสินประหารชีวิต แต่ความทุกข์ยากเหล่า นี้เกิดขึ้นเพื่อมิให้เราไว้ใจตนเอง แต่ให้ไว้ใจ ในพระเจ้าผูท้ รงบันดาลให้ผตู้ ายกลับคืนชีพ” (2 คร 1:8-9) ดังนัน้ ในฐานะคริสตชนเราจึง ต้องถ่ายทอดความตระหนักรูด้ งั กล่าวแก่ผทู้ ี่ ก�ำลังทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย และ แนะน�ำทางพวกเขาให้มีความวางใจในพระ เมตตาของพระเจ้า เพราะพระเจ้าเท่านั้นที่ สามารถบันดาลทุกสิ่งให้เกิดขึ้นได้ ประการทีส่ าม พระคัมภีรเ์ ตือนใจเรา ให้รอ้ งไห้กบั ผูท้ รี่ อ้ งไห้ (รม 12:15) ในฐานะ คริสตชนผูม้ คี วามเชือ่ เราจึงควรแสดงความ รูส้ กึ ร่วมทุกข์กบั ผูท้ เี่ จ็บป่วยและทุกข์ทรมาน เอาใจใส่ดูแลและให้ก�ำลังใจพวกเขาด้วย ความจริงใจของเราด้วย
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเปิดเผยของพระเจ้า
5. บทสรุป คุณค่าและศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์มา จากพระเจ้าพระผูส้ ร้าง และมีรากฐานอยูบ่ น ความจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมา ตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า ในฐานะทีพ่ ระเจ้า มอบหมายให้เรามนุษย์เป็น “ผู้ดูแล” ชีวิต เราจึงต้องสนับสนุนคุณค่าและศักดิ์ศรีชีวิต มนุษย์นับตั้งแต่วินาทีแรกของการเริ่มต้น ชีวติ จนถึงวินาทีสดุ ท้ายของชีวติ เช่นกัน การ ท�ำให้ผอู้ นื่ จบชีวติ ลงเพือ่ ช่วยเหลือให้เขาพ้น จากความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวด ต่างๆ ไม่เป็นเพียงสิ่งที่ไม่สมควรท�ำแล้ว ยัง เป็นการละเมิดและท�ำลายหลักศีลธรรมของ พระเจ้าด้วย ความทุกข์ทรมานไม่ควรน�ำเรา ไปสู่ความตายก่อนถึงเวลาอันควร แต่ความ ทุกข์ทรมานควรเป็นการช่วยให้เรา “ไว้วาง ใจ” ในพระเจ้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับ ตัวเราเองหรือกับคนที่เรารักก็ตาม นักบุญ เปโตรให้ก�ำลังใจเราเช่นนี้ด้วยเมื่อกล่าวว่า “ผูท้ รี่ บั ทรมานเพราะปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ ของพระเจ้า จงท�ำความดีตอ่ ไป และจงมอบ ชีวิตของตนไว้ในพระหัตถ์ของพระผู้สร้าง ผู้ทรงความซื่อสัตย์เถิด” (1 ปต 4:19) เรายังสามารถพบพลังและความหวัง ได้ในพระเยซูคริสตเจ้าของเรา เพราะพระองค์ ได้ทรงชนะความตายและเป็น ผู้ที่เห็นอก
31
เห็นใจความทุกข์ทรมานของมนุษย์เสมอ มา “บุ ต รทุ ก คนมี เ ลื อ ดเนื้ อ ร่ ว มกั น ฉั น ใด พระองค์ก็ทรงมีเลือดเนื้อร่วมกับมนุษย์ทุก คนด้วยฉันนั้น เพื่อว่า โดยการสิ้นพระชนม์ พระองค์จะทรงท�ำลายมารผู้มีอ�ำนาจเหนือ ความตายลงได้ เพือ่ ทรงปลดปล่อยผูต้ กเป็น ทาสอยู่ตลอดชีวิตเพราะความกลัวตายให้ เป็นอิสระได้ โดยแท้จริงแล้ว พระองค์มิได้ เอาพระทัยใส่ต่อบรรดาทูตสวรรค์ แต่เอา พระทัยใส่ตอ่ เชือ้ สายของอับราฮัม จึงจ�ำเป็น ที่พระองค์จะต้องทรงเป็นเหมือนกับบรรดา พี่น้องทุกประการ เพื่อพระองค์จะทรงเป็น มหาสมณะทีเ่ พียบพร้อมด้วยพระกรุณาและ ทรงซื่อสัตย์ในการติดต่อกับพระเจ้า ไถ่โทษ ชดเชยบาปของประชากรได้ ในฐานะที่ พระองค์ทรงรับการทรมานและทรงผ่านการ ทดลองมาแล้ว พระองค์จงึ ทรงช่วยเหลือผูท้ ี่ ถูกทดลองได้ด้วย” (ฮบ 2:14-18) ดังนัน้ คริสตชนจึงควรมีความเห็นอก เห็นใจผู้ที่ก�ำลังเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานทั้ง ทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ยื่นมือช่วย เหลือพวกเขาอย่างสุดความสามารถและด้วย ความจริงใจ และที่ส�ำคัญที่สุดคือ มีความ ไว้วางใจในพระเจ้าเหมือนพระนางมารีย์ พรหมจารี เพราะส�ำหรับพระเจ้าแล้วไม่มสี งิ่ ใดที่เป็นไปไม่ได้
บรรณานุกรม คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พระคัมภีร.์ (2557). พระคัมภีรค์ าทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม. (2562). ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (ภาคที่สาม การด�ำเนินชีวิตในพระคริสตเจ้า). กรุงเทพฯ: แผนกคริสตศาสนธรรม. พระสมณสาส์น Evangelium Vitae ใน www.vatican.va
(หมวดปรัชญา)
คุณค่าและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์แห่งศาสนาอิสลาม เมธัส วันแอเลาะ
ความมุง่ หมายแห่งค�ำว่า “คุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ที่แท้จริงนั้น อาจ มิได้หมายเพียงเกียรติยศและความสูงส่งทาง กายภาพเท่านั้น หากแต่หมายความรวมถึง ศักยภาพในการบริหารจัดการภายในจิตใจ ค่านิยม ทีส่ ง่ ผลต่อจิตส�ำนึกในการแสดงออก ต่อบุคคลรอบข้าง ตลอดจนการมีปฏิสมั พันธ์ กับพระผู้เป็นเจ้าในกรอบแห่งความถูกต้อง สม�่ ำ เสมอ และไม่ ล ะเลยต่ อ การให้ ค วาม ส�ำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงจะถือได้ว่านั่นคือ “คุณค่าและศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์” อย่าง แท้จริงได้
อาจารย์พเิ ศษด้านปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม
ในศาสนาอิสลามได้ระบุถึง “คุณค่า และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ไว้ในหลาก หลายรูปแบบ ซึ่งรูปแบบที่เป็นที่ปรับและ เป็นมวลรวมของการประเมินขีดจ�ำกัดในการ แสดงออกถึง “คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์” นัน้ สามารถสรุปได้จากค�ำกล่าวของ ท่านอุสมานผู้เป็นผู้น�ำท่านที่ 3 หลังจากยุค แห่งศาสดามุฮำ� หมัด ได้กล่าวไว้วา่ สัญลักษณ์ ของผูท้ มี่ ี “คุณค่าและศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ ด้วยความย�ำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า” นั้น ประกอบไปด้วย 5 ประการดังต่อไปนี้
”
34 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563
มุสลิมที่ดีย่อมเป็นประดุจต้นไม้ที่ดี ที่หยั่งรากลึกลงไปในดินอย่างมั่นคง และล�ำต้นพุ่งทะยานชูยอดเสียดไปยังท้องฟ้า มุสลิมที่ดีจึงเป็นคนตามนัยและความหมาย
แห่งคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
”
1) การที่บุคคลนั้นมีความมุ่งหมาย หลั ก ที่ จ ะปฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ เ พื่ อ ปรั บ ปรุ ง การปฏิ บั ติ ต ามหลั ก การศาสนา ให้ดียิ่งขึ้นร่วมกันกับเขา มิได้แอบแฝงผล ประโยชน์ หรือมีเจตนาที่ไม่ดีต่อกัน 2) เมื่ อ เขาประสบกั บ สิ่ ง ใดที่ ดี ท าง โลกนี้ เขามักจะมองว่ามันว่าอาจเป็นการ ทดลองจิตใจ หรืออาจเป็นสิ่งเร้าให้เขาต้อง เพลิดเพลินจนขาดซึง่ ศักดิศ์ รีและคุณค่าแห่ง การเป็นมนุษย์ 3) เมือ่ เขาประสบกับสิง่ เพียงเล็กน้อย ทางศาสนาเขาจะรีบฉวยโอกาสท�ำสิ่งนั้นใน ทันที เพราะนัน่ คือความดีโดยไม่ประวิงและ ไม่รรี อทีจ่ ะท�ำ อันเป็นกิจหลักของผูม้ ศี กั ดิศ์ รี และคุณค่าแห่งการเป็นมนุษย์ 4) เขาจะไม่กระท�ำมากมายในสิง่ ทีแ่ ม้ เป็นเรื่องไม่ต้องห้าม เพราะเรื่องที่อนุญาต บางเรื่องเมื่อท�ำมากแล้วจะน�ำพาไปสู่การ
กระท�ำความผิด เช่น รับประทานมาก นอน มาก ก็จะท�ำให้คร้านการปฏิบัติในสิ่งที่ดี 5) เขาจะมองว่ามนุษย์โดยส่วนใหญ่ นั้นจะรอดพ้นจากการลงโทษจากพระเจ้า แต่กลับมองว่าตนเองอาจไม่รอดพ้น เป็น การส�ำนึกตนเอง ไม่มองว่าตนเองดีกว่าผูอ้ นื่ เพราะอาจท�ำให้ศักดิ์ศรีและคุณค่าแห่งการ เป็นมนุษย์ของเขาลดลงได้ ผู้เป็นมุสลิมต้องครองบุคลิกภาพและ คุณลักษณะของคนที่มี “คุณค่าและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความ ว่ า ผู ้ ที่ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เป็ น มุ ส ลิ ม ทุ ก คนจะต้ อ งมี คุ ณ ลั ก ษณะสอดคล้ อ งกั บ หั ว ข้ อ นี้ ทุ ก คน มุสลิมจะได้ชื่อว่าเป็นคนที่สมบูรณ์แบบนั้น จ�ำต้องเป็น “มุสลิมแห่งตัวอย่างที่ดี” ที่มี ศรัทธามัน่ คง ไม่รสู้ กึ เคลือบแคลงหรือสงสัย ในสั จ ธรรมของศาสนา ไม่ เขิ น อายที่ จ ะ แสดงออกว่าเป็นมุสลิม ไม่ตกเป็นทาสของ
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แห่งศาสนาอิสลาม
เงินตรา ลาภยศ อารมณ์ฝ่ายต�่ำ หรือเป็น เครื่องมือของทรชน อันจะลดคุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงได้ ใช้ชีวิตอย่าง เรียบง่าย มีความสมถะ ไม่ยกตนข่มท่าน ล�ำพอง จองหองหรือเย่อหยิ่ง ต้องใช้ชีวิต ตามหลักการของศาสนา บุคคลดังนี้จึงจะ เป็นมุสลิมที่แท้จริง ผู้ซึ่งสถานการณ์สภาพ แวดล้อม กระแสของสังคมไม่อาจส่งผลให้ ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางที่ถูก ต้องได้ ทัง้ สัจธรรมความจริงในตัวเขาก็จะไม่ แปรเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ส่วนมุสลิมคนใด ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะไกลจากที่ ก ล่ า วมานี้ จ ะมี สภาพไม่ต่างจากฟองน�้ำที่หาแก่นแท้และ ความหนักแน่นใดๆ มิได้ ย่อมจะลอยล่องไป ตามกระแสของน�้ำสุดแต่จะพัดพาไป ดังที่ พระคัมภีร์อัล-กุรอาน ระบุไว้ “มุสลิมที่ดี ย่อมเป็นประดุจต้นไม้ที่ดี” ที่หยั่งรากลึกลง ไปในดินอย่างมั่นคง และล�ำต้นพุ่งทะยาน ชูยอดเสียดไปยังท้องฟ้าส�ำหรับมุสลิมที่ขาด คุณลักษณะที่ดีย่อมเป็นประหนึ่ง “ต้นไม้ที่ ไม่ดี” ที่หาที่หยั่งรากลงดินไม่ลึก ต้องล้ม ครืนลงในยามวิกฤตหรือเมื่อเกิดพายุไม่อาจ ยืนหยัดอยู่ต่อไปได้ “มุสลิมที่ดี” จึงเป็นคน ตามนั ย และความหมายแห่ง “คุณ ค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ครั้งหนึ่งท่านเมาลานา ญะลาลุดดีน อัล-รูมี ปราชญ์มุสลิมผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งชาว ตุรกีได้เขียนไว้ในบันทึกของท่านว่า วันหนึ่ง
35
ท่านได้เห็นชายชราคนหนึ่ง ในมือถือคบ เพลิงเดินวนอยู่รอบเมือง ประหนึ่งว่าก�ำลัง ค้นหาอะไรบางอย่าง ท่านจึงถามชายผูน้ นั้ ว่า “คุณมองหาอะไรอยู่หรือ?” ชายชราผู้นั้น ตอบว่า “ฉันเบื่อหน่ายกับการอยู่กับสิงห์ สาราสัตว์เหลือเกิน ระอาจนสุดจะทน จึงได้ ออกค้นหาเพือ่ จะพบผูค้ นบ้างในโลกนี.้ .. ฉัน รู้สึกคับแค้นใจกับบรรดาผู้เกียจคร้าน และ คนครึง่ คนทีพ่ บเห็นอยูม่ ากมาย ... เผือ่ ว่าฉัน จะได้พบที่สมบูรณ์แบบ คนเต็มคนที่ฉันจะ ได้ตื่นตาตื่นใจในคุณค่าของเขาสักที” ท่าน เมาลานาจึงกล่าวว่า “ท่านจะต้องคว้าน�ำ้ เหลว เสียแล้ว ท่านอย่าได้เสียแรงเสียเวลาค้นหา ต่อไปเลย แม้ตัวข้าพเจ้าเองก็ได้พากเพียร อย่างท่าน ออกเดินทางไปกับพาหนะคู่ใจ รอนแรมไปตามบ้านเมืองและแว่นแคว้น ต่างๆ มากมายแต่ก็หาได้พบเห็นแม้แต่ร่อง รอยของคนที่สมบูรณ์แบบไม่” นั่นจึงหมายความว่ามนุษย์ทุกคนต่าง ก็มีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งนั้น แต่ด้วยความ มุ่งมั่นที่มีต่อศาสนาท�ำให้เราทุกคนต้องมี ความพยายามในการต่อต้านความบกพร่อง ต่างๆ เหล่านัน้ อย่างน้อยก็ให้เกิดจากความ พยายามอย่ า งถึ ง ที่ สุ ด ในการให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง “คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ค�ำ สอนจากศาสนาอิสลามได้ระบุไว้ถึงคนที่มี “คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” โดย การเปรียบเทียบอย่างชัดเจนต่อการประพฤติ
36 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 ดีและประพฤติชั่วว่า “ใครท�ำผิดใดๆ แล้ว เขาก็หัวเราะ พระเจ้าจะน�ำเอาเขาเข้านรก ในสภาพที่เขาร้องไห้และใครก็ตามที่เชื่อฟัง พระเจ้าด้วยการอดทนท�ำความดี ในสภาพ ที่ร้องไห้เพราะเหน็ดเหนื่อย พระองค์จะน�ำ เขาเข้าสู่สรวงสวรรค์ในสภาพที่เขาหัวเราะ” ผู้เขียนขอหมายเหตุเอาไว้ว่า หากจะ พิจารณาภาพของคนโดยทัว่ ๆ ไปก็จะเห็นว่า ความแตกต่างทางฐานะ สติปญั ญา การศึกษา บทบาทหรือหน้าที่ทางสังคม ฯลฯ ไม่มีผล กระทบต่อความเป็นคนที่มี “คุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ผู้คนทุกระดับชั้น ทุกฐานะทางเศรษฐกิจ ทุกระดับ สติปญ ั ญา และการศึกษา ล้วนไม่มีความแตกต่างกัน เลยในบรรทัดฐานของความเป็นคน ดังนั้น จึงต้องมีบางสิ่งที่ส�ำคัญกว่านั้นและสิ่งนั้น ย่ อ มส่ ง ผลให้ ค นทุ ก ระดั บ แตกต่ า งกั น ได้ ซึ่ ง หมายความว่ า ในหมู ่ ค นยากจนเข็ ญ ใจ ด้วยกัน สิ่งดังกล่าวจะท�ำให้คนยากจนบาง คนแตกต่างจากบางคน สิง่ นัน้ คือ “ศรัทธา” และ “คุณค่าแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ผู้ที่เป็นมุสลิมย่อมเป็นผู้ที่มีศรัทธาต่อองค์ อภิบาลเพียงพระองค์เดียวจึงจะได้ชื่อว่า “มุสลิม” คือผู้นอบน้อมตนต่อพระประสงค์ ของพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว คนใน รูปแบบที่สมบูรณ์จึงไม่มีเพียงลักษณะทาง กายภาพ และทางชีวภาพที่เป็นลักษณะซึ่ง ทั้งคนมั่งมีหรือยากเข็ญ ผู้ปกครองหรือผู้อยู่
ใต้การปกครองต่างมีเหมือนกัน แต่ความ แตกต่างนั้นอยู่ที่ว่าคนใดบ้างที่มีศรัทธา มี การนอบน้ อ มจ� ำ นนต่ อ พระประสงค์ ข อง พระองค์จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่มี“คุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” จากที่ท่านผู้อ่านได้รับข้อมูลไปนั้น จักท�ำให้ทราบว่า มนุษย์จะมี “คุณค่าและ ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์” ได้นนั้ จะต้องร�ำลึก ถึ ง ชี วิ ต ในโลกหน้ า อั น เป็ น ผลตอบแทนที่ ยัง่ ยืน ดังพระด�ำรัสแห่งพระเจ้าได้กล่าวไว้วา่ “และชีวติ โลกนี ้ มิใช่อนื่ ใดเว้นแต่การ ละเล่นไร้สาระ (เป็นส่วนใหญ่) และแท้จริง สถานบั้นปลายแห่งโลกหน้านั้นคือ ชีวิตอัน แท้จริง (อมตะ) มาตรว่าท่านทั้งหลายจะได้ ล่วงรู้” บทอัล-อังกะบู๊ต โองการที่ 64 กระบวนการพิจารณาและศึกษาข้อ บ่งใช้ของศาสนาในเรื่องการศึกษา “คุณค่า และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” นั้น จักท�ำให้ ผูอ้ า่ นได้รบั รูถ้ งึ คุณประโยชน์ในทีน่ วี้ า่ คนทีด่ ี ย่อมมี 2 สภาวะอยู่ในตนเอง สภาวะที่หนึ่ง คือ ความเป็นคน และสภาวะทีส่ อง ความมี ศรัทธา ในส่วนของความเป็นคนนั้นย่อมไม่ แตกต่างจากคนทัว่ ไปทีม่ เี กิด เติบโต มีความ ต้องการ ความหิวกระหาย รูส้ กึ ถึงหนาวร้อน ต้องดื่มกิน มีสุขภาพที่ดี มีการเจ็บป่วย ล้ม ตายหรือยังมีชีวิตอยู่ สามารถเป็นผู้มีทรัพย์ หรือยากจน รูจ้ กั สร้างผลิตผล สร้างตน สร้าง ครอบครัว วงศ์ญาติ บางคนมีความสามารถ
คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แห่งศาสนาอิสลาม
ไม่เพียงแต่จะดูแลตนเองหรือวงศ์ญาติเท่า นั้น แต่สามารถดูแลบ้านเมืองหรือปกครอง ผูค้ นได้ดว้ ย ทัง้ หมดนีล้ ว้ นเข้าอยูใ่ นกฎสภาวะ แห่งธรรมชาติเฉกเช่นที่สิ่งมีชีวิตทั่วไป รวม ทัง้ ผูค้ นต้องใช้ชวี ติ ให้ดำ� เนินไปตามกฎนีอ้ ย่าง ที่ไม่มีข้อยกเว้นส�ำหรับกฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ แก่ผู้ใด ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงเรียงนามใด ส่วนสภาวะที่สองนั้น คือการที่ผู้เป็น มุสลิมมีความศรัทธา และใช้ชีวิตสอดคล้อง ตามค�ำสั่งสอน ของศาสนาที่สืบทอดมาจาก การเทศนาเชิญชวนมนุษยชาติของบรรดา ศาสดาทั้งหลาย มุสลิมจึงกลายเป็นบุคคลที่ มีศรัทธาเด่นชัด มีความเชื่อที่ถูกต้อง ชีวิต แต่ละวันใช้ไปเพื่อจุดยืนนี้ มุสลิมกลายเป็น สักขีพยานแห่งความจริงที่ประจักษ์แก่โลก และมนุษย์ มุสลิมจึงมีคา่ ควรแก่การอยูค่ กู่ บั โลกอย่างมีเกียรติ อยู่เคียงคู่กับมนุษย์ชาติ กับธรรมชาติและเอกภพนี ้ หากสิง่ มีชวี ติ ตาม ธรรมชาติมีความจ�ำเป็นต้องพึ่งพาน�้ำฉันใด มนุ ษ ย์ ช าติ ก็ มี ค วามจ� ำ เป็ น ฉั น นั้ น ความ หมายของชีวิตได้ผูกโยงไว้คู่กับการที่ชีวิต ต้ อ งมี เ ป้ า หมาย มี วิ ญ ญาณ มี ศ รั ท ธา มี คุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับ การบรรจุ ไว้ อ ย่ า งครบถ้ ว นในสาส์ น และ ค�ำเทศนาของบรรดาศาสดา ผู้เป็นมุสลิม เพียงแต่นำ� มาปฏิบตั ใิ ห้เป็นรูปธรรม รวมทัง้ มี ห น้ า ที่ ใ นการยื น หยั ด ปกป้ อ งค� ำ สอนดั ง กล่ า ว มิ ฉ ะนั้ น แล้ ว เป้ า หมายและสาส์ น
37
อิสลามนี้ก็จะหายสาบสูญไปเช่นขุมทรัพย์ ใต้ดนิ หามีประโยชน์อนั ใดต่อโลกและผูค้ นไม่ ส่วนมุสลิมในบุคลิกภาพทีก่ ล่าวมาจึงจะเป็น เช่นเดือนและตะวัน แม้วา่ ผูค้ นหรือชาติพนั ธุ์ ต่างๆ จะเพิม่ พูนหรือสูญหาย แม่นำ�้ จะเปลีย่ น ทางเดิน รัฐบาลจะหมุนเวียนเปลีย่ นไปอย่างไร กระแสสังคมจะผกผันไปมากน้อยเพียงไร ก็ สามารถยืนหยัดอย่างไม่หวั่นไหวต่อความ เปลี่ยนแปลงทั้งปวง คนดีที่สมบูรณ์แบบด้วยศรัทธาย่อม ผ่านพ้นทุกสิ่งที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตได้อย่าง ทองค�ำทีบ่ ริสทุ ธิท์ ไี่ ม่วา่ จะถูกเผา หลอมหรือ ทุบด้วยฆ้อน อย่างไรก็คงความบริสุทธิ์ของ ตนไว้ได้ในทีส่ ดุ คนทีม่ บี คุ ลิกภาพตามนีย้ อ่ ม เข้มแข็งในยามวิกฤติ จิตใจย่อมใสสะอาด รับผิดชอบในสิง่ ทีไ่ ด้รบั มอบหมายและไว้วาง ใจจากผู้อื่น มีจรรยามรรยาทเป็นที่ประทับ ใจแก่ผู้คนที่ได้รู้จักและพบเห็น แต่ผู้คนโดย ทั่วไปจะผ่านสีสันของชีวิตไปอย่างสะอาด บริสุทธิ์ไร้มลทินนั้นเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้ด้วย ความที่คนนั้นอ่อนแอต่อสิ่งเร้า และบอบ บางต่อภาวะการกดดันทั้งหลาย ภาพของ คนที่ ใช้ ชี วิ ต อย่ า งบริ สุ ท ธิ์ สะอาดมี ค วาม สมถะ มั ก น้ อ ย ยื น หยั ด บนหลั ก การและ ความเที่ยงตรงจึงยากจะมีให้เห็นแต่ทั้งนี ้ ไม่ได้หมายความว่า คนอันเป็นปุถุชนจะไม่ สามารถปฏิบัติคุณงามความดีได้อย่างสม�่ำ เสมอในชีวิตของตน เพียงแต่คนต้องได้รับ
38 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2020/2563 การขัดเกลามลทินอยู่เสมอๆ และได้รับการ ย้อมด้วยสีของความศรัทธา ก็จะเป็นคนที่ สมบูรณ์แบบคงทนอยูไ่ ด้นานแสนนานตราบ ทีห่ วั ใจยังมีศรัทธาอย่างลึกซึง้ ต่อพระเจ้าและ ปฏิบัติตนตามแบบฉบับของท่านศาสดานบี มุฮัมมัด สุดท้ายนีผ้ เู้ ขียนขอฝากข้อคิดเตือนใจ ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต เพื่ อ ให้ มี “คุ ณ ค่ า และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ของท่านอะลีย์ ผู้น�ำท่านที่ 4 ซึ่งท่านได้กล่าวเอาไว้เกี่ยวกับ “คุณค่าและศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์” เอาไว้วา่
1. จงด�ำรงตนอยู่กับพระเจ้าในฐานะ ผู้ที่ดีที่สุด 2. จงด� ำ รงตนอยู ่ กั บ อารมณ์ ข อง ตนเองในฐานะผูท้ เี่ ลวทีส่ ดุ (ไม่สนองอารมณ์ ใฝ่ต�่ำ) 3. จงด�ำรงตนอยู่กับมนุษย์ในฐานะ สมาชิกคนหนึง่ ของมนุษย์ (ช่วยเหลือเกือ้ กูล กัน) เพียงเท่านีท้ า่ นก็จกั ได้สมั ผัส “คุณค่า และศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์”....อย่างแท้จริง