พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญฺ)
ปราชญ์ผู้ปริวรรตสังคม
เมืองพะเยา
2 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
งานถ่ายทอดองค์ความรู้ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
3
4 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
สถาบันปวงผญาพยาว ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ และความสัมพันธ์อันดีต่อการพัฒนาท้องถิ่น แบบยั่งยืน เพื่อสืบทอดแนวคิดและการท�ำงาน ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ ผู้มาท�ำงานหรือกิจกรรมกับสถาบันนี้ ล้วนมีจิตอาสา มองเห็นอนาคต และเปิดโอกาสให้กลุ่มคนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วม น�ำพาเมืองพะเยาก้าวหน้าวัฒนาถาวรต่อไป
สารบัญ
ค�ำน�ำ ค�ำนิยม พระธรรมราชานุวัตร พระมงคลวัฒน์ พระราชวิริยาภรณ์ พระสุนทรกิตติคุณ พระราชปริยัติ พระครูศรีวรพินิจ พระครูโสภณปริยัติสุธี พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ วิมล ปิงเมืองเหล็ก เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ อ้วน ขันทะวงศ์ สะอาด ปริปุณนากร เส้นทางชีวิตหลวงปู่ ปราชญ์ผู้ปริวรรต สังคมเมืองพะเยา ผลงานเขียนพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
๘ ๑๐ ๑๖ ๓๐ ๓๖ ๔๖ ๕๔ ๗๘ ๘๖ ๙๘ ๑๑๐ ๑๒๒ ๑๓๖ ๑๔๔ ๑๕๔ ๑๖๖ ๑๘๔
ค�ำน�ำ
นับแต่สถาบันปวงผญาพยาวได้ก่อตั้งขึ้นใน ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ภายใต้วัตถุประสงค์และภารกิจ ที่ต้องการสร้างสรรค์องค์ความรู้ และความสัมพันธ์อันดี ต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดเอาแนวคิดและแนวทาง ท�ำงานของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ เป็นหลักชัย และเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตอาสา กลุ่มคนทุกหมู่เหล่า ได้มาท�ำงานและกิจกรรมร่วมกับ สถาบัน เพือ่ น�ำพาเมืองพะเยาก้าวหน้าวัฒนาถาวรต่อไป ส่งผลให้สถาบันปวงผญาพยาว ได้รับการ ยอมรับและสนับสนุนจากบุคคล กลุ่มคน เครือข่าย องค์กร สถาบัน หน่วยงานรัฐและเอกชน ให้ด�ำเนิน กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและ ระดับประเทศ ทั้งนี้คงเป็นไปได้ยาก หากไม่ได้รับความ เมตตาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระอุบาลีคุณูปมา จารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) และเหล่าศิษยานุศิษย์ของท่าน ที่ช่วยสนับสนุนและเกื้อกูลอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ลงนาม เห็นชอบในการก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ วัดศรีโคมค�ำ โดย พระสุนทรกิตติคุณ (เดชา อินทปญฺโญ) รองเจ้าอาวาส ให้การอนุเคราะห์สถานที่ ตั้งส�ำนักงาน และประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา โดย พระราชวิรยิ าภรณ์ (ศรีมลู มูลศิร)ิ , พระราชปริยัติ (สายัน อรินทโม), และคณาจารย์ ที่ ช่วยรับรองให้สถาบันเข้าสู่ร่มเงามหาวิทยาลัยภายใต้
8 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ความร่วมมือด้านวิชาการ ขอขอบคุณ ดร.ภัทรา บุรารักษ์, ดร.สหัทยา วิเศษ, ผศ.มนตรา พงษ์นิล, คุณชัยวัฒน์ จันธิมา ที่ ร่วมเป็นผู้ก่อการและประสานก่อตั้งสถาบัน อันท�ำให้ สถาบันเดินทางมาได้โดยสมบูรณ์ ตลอดจนท่านพระครู โสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรฺธมฺโม) และคณะที่ ปรึกษา คณะท�ำงานหลายท่าน ที่ให้ค�ำแนะน�ำและร่วม สนับสนุนกิจกรรม ด้วยจิตอาสา ทั้งนี้สถาบันปวงผญาพยาว เชื่อว่าแนวคิดและ แนวทางการท�ำงานของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำนั้น เป็นเหมือน“ต้นแบบ” หรือ “แบบพิมพ์” ที่ดี ที่ควรค่าแก่การสืบทอดให้คนรุ่น หลังได้น�ำไปเป็น “แรงบันดาลใจ” ในการด�ำเนินชีวิต และท�ำงานเพื่อสังคมท้องถิ่นต่อไป ในโอกาสฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๖ ปี ของ หลวงพ่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ นี้ สถาบันปวงผญาพยาว มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมค�ำ จึงได้จัดพิมพ์ หนังสือ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ปราชญ์ผู้ปริวรรตสังคมเมืองพะเยา” พร้อมให้มีเวที วิชาการและนิทรรศการขึ้น ณ อุโบสถกลางน�้ำ วัด ศรีโคมค�ำ ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ อันเป็น ส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างองค์ ความรู้ท้องถิ่นพะเยาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ อ.เมือง จ.พะเยา สถาบันปวงผญาพยาว จึงขอขอบคุณ ทุกท่านที่ร่วมสร้างสรรค์องค์ความรู้และสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีต่อการพัฒนาสังคมเมืองพะเยา ตลอด ช่วงเวลาที่ผ่านมา และตลอดไปในอนาคต พระครูศรีวรพินิจ(สมคิด คมฺภีรญาโณ) ผู้ก่อตั้งสถาบันปวงผญาพยาว
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
9
ค�ำนิยม
องค์ความรู้ ท�ำให้ชาติและชุมชนผ่านพ้น วิกฤติและด�ำรงความเป็นชาติ หรือชุมชนได้ องค์ความ รู้มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น จนถึง ระดับชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นองค์ความรู้ระดับ ชุมชนท้องถิ่นที่มีคุณค่า และความดีงามที่จรรโลง ชีวิตและวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสภาวะ แวดล้อมได้อย่างกลมกลืนและสมดุล เป็นพื้นฐานการ ประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจาก การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาเพื่อการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่เกิดจากการ ผสมผสานองค์ความรู้สากลบนฐานภูมิปัญญาเดิม เพื่อ เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย ดังนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงมีคุณค่าไม่เพียงมีต่อท้องถิ่นและ ผู้คนเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการ วางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ อ.เมือง จ.พะเยา เป็นพระสงฆ์ที่มีความ
10 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เข้าใจและมีความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาค้นคว้า ด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ โ บราณคดี ข องล้ า นนาและเมื อ ง พะเยามากว่า ๕๐ ปี เป็นผู้เปิดประตูเมืองพะเยาในอดีต ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาโบราณสถาน และโบราณวัตถุ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความหวงแหนวัฒนธรรม ของตนเองอันเป็นมรดกล�้ำค่า โดยท่านได้เก็บสะสมวัตถุ โบราณมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๘ เช่น พระพุทธรูปหินทราย ศิลปวัตถุอีกมากมาย จากผลงานนี้ทั้งหมดจึงเป็นส่วน ส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่จัดรวบรวมจัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญา ชาวบ้าน พร้อมกับวัตถุโบราณต่าง ๆ ที่เก็บรักษาไว้ ภายในวัดศรีโคมค�ำ ต่อมาท่านได้สร้างพิพิธภัณฑ์ท้อง ถิ่นพะเยาขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “หอวัฒนธรรมนิทัศน์” วัด ศรีโคมค�ำ เพื่อเก็บรวมรวมโบราณวัตถุของเมืองพะเยา ในอดีต และจัดแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์เมืองพะเยา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงศิลปวัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นพะเยาที่สมบูรณ์ครบถ้วน จนกลาย เป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในหลายจังหวัด จากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมอย่างต่อ เนื่องของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ได้ สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและมั่งคั่งของเมืองพะเยา อย่างชัดแจ้ง จึงถือว่าเป็นปราชญ์ท้องถิ่นต้นแบบของ เมืองพะเยา ที่ท�ำงานด้านการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น มี ผลงานเขียน บันทึก รวบรวมหลักฐานไว้อย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการปริวรรต ปั๊บสา ต�ำราโบราณ และเขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ เมืองพะเยาอีกกว่า ๒๕ เรื่องเช่น ประวัติศาสตร์เมือง พะเยา ต�ำนานกว๊านพะเยา ต�ำนานพระเจ้าตนหลวง เงี้ยวปล้นเมืองพะเยา ฯลฯ ซึ่งงานเขียนดังกล่าวได้ก่อ คุณค่าและยังประโยชน์อเนกอนันต์ต่อคนรุ่นหลังได้ เชื่อมต่อรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ ตนเองอย่างเข้าใจ และมีจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์และ พัฒนาท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
11
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) นอกจากจะเป็ น ที่ ย อมรั บ และถู ก อ้ า งอิ ง ในแวดวง วิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนา และเมือง พะเยาแล้ว ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ท�ำ หน้าทีอ่ บรมสัง่ สอนพระภิกษุ - สามเณร ให้ทนุ การศึกษา สนับสนุนกิจการคณะสงฆ์ และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันการ ศึกษาทั้งแผนกธรรมบาลี การศึกษาระดับมัธยม และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต พะเยา มีลูกศิษย์หลายคนที่ล้วนมีผลงานและสร้าง ประโยชน์อันทรงค่า ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ จากความส�ำคัญดังกล่าว สถาบันปวงผญา พยาว วิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และวัดศรีโคมค�ำ จึงมีความ สนใจที่จะศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยา และศึกษา กระบวนการสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยาของพระ อุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) เพื่อให้เกิดการ สังเคราะห์ และพัฒนาเป็นชุดความรู้ท้องถิ่นพะเยาใน ด้านต่าง ๆ การน�ำชุดความรู้ และกระบวนการสร้างองค์ ความรู้ท้องถิ่นพะเยามาปรับใช้กับการปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาท้องถิ่น และสังคม พะเยา รวมถึงพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยต่อไป อนึ่งหนังสือเล่มนี้ แม้จะเป็นเพียงข้อมูล เบื้องต้นที่คณะท�ำงานได้เก็บรวบรวมและสังเคราะห์ เพื่ อ จั ด พิ ม พ์ ร ่ ว มแสดงมุ ทิ ต าจิ ต ในโอกาสอายุ วัฒนมงคล ๙๖ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ นี้ แต่ก็มี ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างสรรค์องค์ความรู้และความ สัมพันธ์อันดีแก่สังคมเมืองพะเยาโดยแท้ ขอให้ก�ำลัง ใจคณะท�ำงานทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ พระสุนทรกิตติคุณ (เดชา อินทปญฺโญ) รองเจ้าอาวาส วัดศรีโคมค�ำ
12 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
13
14 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เป็นธงธรรมน�ำหน้าสังคม ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
15
16 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน)
เจ้าคณะภาค 6 เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว เชียงราย
ความเกี่ยวข้องกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ : อาตมาได้สมั ผัสพระเดชพระคุณหลวงปู่ ตั้งแต่ ท่านมีสมณะศักดิ์เป็นพระโสภณธรรมมุณี ต�ำแหน่งเจ้า คณะอ�ำเภอพะเยา ตอนนั้นอาตมาเป็นพระปฏิบัติรับ ใช้ท่านเจ้าคุณพุฒิวงศ์วิวัฒน์ วัดพระแก้วแห่งนี้ เป็น เจ้าคณะอ�ำเภอเมืองเชียงราย ท่านทั้งสองก็คุ้นเคย กัน อาตมาภาพก็ได้รู้ได้เห็น ได้ทราบกิตติศัพท์ว่าท่าน ได้เริ่มต้นน�ำเอาการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีมาเปิด ที่พะเยา พร้อมกับเปิดโรงเรียนพินิตประสาธน์ ท�ำให้ คณะสงฆ์ในตอนนั้น นอกจากอ�ำเภอเมืองเชียงรายแล้ว ยังมีที่อ�ำเภอพะเยาอีก ซึ่งก็ได้ช่วยสงเคราะห์เกื้อกูลซึ่ง กันและกัน เมื่อได้สัมผัส ได้พบเห็นหลวงปู่แล้ว ก็รู้สึกว่า มีความประทับใจในจริยาวัตรของท่าน รู้สึกเกรงขาม ในฐานะที่เป็นพระเถระที่ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรม เป็นผู้ที่ ภูมิฐาน เป็นภาพที่ประทับใจ ต่อจากนั้นอาตมาก็ได้ไป ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเบญจมบพิตร ซึ่งเคยเป็นที่ ศึกษาของท่านมาก่อน สมัย พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๙ เมื่อ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
17
ท่านไปก็ได้พักกับท่านเจ้าคุณพระราชกิตติเมธี (แก้วมูล กิติปญฺญํ) ที่เดิมมีภูมิล�ำเนาที่วัดจ�ำป่าหวาย อาตมาเอง ก็พักกับพระราชกิตติเมธีเหมือนกัน จึงมีโอกาสปฏิบัติ รับใช้ท่าน ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๓ อาตมาได้รับต�ำแหน่ง เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค ๖ ส่วนจังหวัดพะเยายก ฐานะขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านก็ได้ รับสมณะศักดิ์เป็นเจ้าคณะจังหวัด เมื่อได้มีโอกาสก็ได้ ไปเยี่ยมให้ก�ำลังใจ ได้โอกาสปรึกษาหารือ เอาแนววัตร ปฏิบัติและช่วยงานสงฆ์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่ออาตมาได้รับการไว้วางใจจากคณะ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะวัดพระแก้ว และรองเจ้า คณะจังหวัดเชียงราย ก็ได้มีส่วนท�ำให้เชื่อมงานต่าง ๆ ระหว่างเชียงรายกับพะเยา ซึ่งมีพื้นฐานประวัติศาสตร์ และบรรพชนมาจากที่เดียวกัน และพื้นฐานคณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชนก็ได้ช่วยเหลือกันมาโดยตลอด หลวงปู่ฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๖ อาตมาภาพก็ได้ รับต�ำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ก็ได้อาศัยท่าน เป็นแนวทางปฏิบัติในงานต่าง ๆ เอาท่านเป็นธงน�ำ ในการปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนที่ว่าจะโดดเด่นอย่างไรนั้น อาตมาภาพก็ไม่สามารถกล่าวได้อย่างเต็มปาก แต่ว่าได้ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ กล่าวได้ ว่าช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่การปกครอง การเผยแพร่ การ สาธารณูปการการต่าง ๆ ของคณะสงฆ์ ก็รู้สึกได้ว่าเป็น โอกาสที่ดี ที่เป็นรากฐานมาจนปัจจุบัน ส่วนใดที่ได้รับการเรียนรู้และน�ำมาปฏิบัติเป็นพิเศษ : ท่านเป็นพระเถระที่มีความสุขุม ในการ ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ สิ่งใด ๆ ที่เรามีปัญหา แล้วปรึกษา หารือท่าน ท่านจะให้คติ ให้ค�ำปรึกษาหารือ ให้พิจาณา ให้ดี ให้ตรวจดูพระธรรมวินัยสงฆ์ เพื่อให้การปฏิบัติ หน้าที่ต่าง ๆ ถูกต้อง อันนี้มีความประทับใจมาก ใน ความเป็นผู้ที่มีความสุขุม ความพากเพียร ประการต่อ มาที่มีความประทับใจอย่างยิ่ง คือ เป็นพระมหาเถระที่
18 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เราเรียกว่า ประเภทหูหนัก คือ ต้องฟังเสียก่อน ไม่ใช่ เพียงแค่ว่ารับเรื่องมาแล้ว ด�ำเนินการเลย อันนี้เป็นแบบ อย่างของการปฏิบัติงานของทางคณะสงฆ์ ท่านบอกว่า “เราไม่สามารถหนีหน้า ย้ายวัด หนีกันได้ เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติงานต่างๆนั้น ถ้า หากว่ากระทบกระทั่ง อาจจะแตกแยกกันชั่วชีวิต” ท่านจะสอนแบบนี้ ช่วงที่อาตมาเป็นเจ้าคณะจังหวัด เชียงราย ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๔๑ ช่วงระยะ เวลานั้นมีหัวเลี้ยวหัวต่อมากมาย ได้ปรึกษาท่าน ท่าน ให้ค�ำแนะน�ำ บางอย่างท่านได้มาน�ำปฏิบัติด้วยตนเอง คือ สอนให้จำ� น�ำให้ปฏิบตั ิ ท�ำให้เราเกิดก�ำลังใจ และที่ ส�ำคัญได้ภาคภูมิใจในความเป็นผู้ที่มีภูมิรู้ในแนวปฏิบัติ และภูมิธรรม ท่านไม่เคยน�ำเรื่องนอกพระธรรมวินัยต่าง ๆ มากล่าว ที่ไม่ใช่ค�ำพูดของสงฆ์ หรือที่เราเรียกว่า โจ๊ก ไม่เคยมี พูดแต่สิ่งที่เป็นพจนสุนทร เป็นผู้ที่กล่าวแต่ใน สิ่งที่ดี อันไหนไม่ดี ท่านไม่เคยกล่าว แม้แต่พฤติกรรม ของพระรูปนั้นรูปนี้ ก็ไม่เคยเอามาพูดให้ฟัง อันนี้ถือว่าเป็นต้นแบบ ที่เราภาคภูมิใจ เป็น ผู้ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม และไปที่ไหนมีแต่คนเกรงขาม แต่ มิใช่ว่าจะไปแสดงอ�ำนาจบาทใหญ่ แต่เมื่อท่านไปที่ไหน ท่านจะเป็นผู้ที่อาจหาญ ท่านจะได้นั่งพูดจาเป็นหลัก เป็นฐาน เป็นรากฐานในการวางตน วางตัว ในเรื่องที่ ความไม่ดีไม่งามต่าง ๆ ไม่เคยปรากฏจากปากพระเดช พระคุณหลวงปู่ฯ อันนี้เป็นภาพที่ประทับใจ และน�ำเอา มาปฏิบัติ แม้ว่าไม่เสมอเหมือน แต่เราก็พยายามเอา แบบอย่าง ด้านการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นของท่าน : ท่านถือว่าเป็นปราชญ์ เห็นท่านปริวรรต ค้นคว้า เป็นที่น่าภาคภูมิใจ เป็นพระรูปเดียวที่ท�ำได้ อย่างนี้ อาตมาภาพได้ชื่นชมที่ท่านท�ำได้อย่างนั้น แต่ เรามีข้อด้อยอย่างหนึ่ง อักขระพื้นเมืองเราไม่เก่งเหมือน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
19
ท่าน ซึ่งเราเสียเปรียบมาก เนื่องจากอาตมาออกจาก ชนบทมาอยู่ในเมืองตั้งแต่เด็ก ๆ ตั๋วเมือง เลยไม่ค่อยเก่ง เรื่องการค้นคว้าได้เคยน�ำเอาผลงานของท่านมาศึกษา หรือว่าได้น�ำเอาผลงานนักปราชญ์ท่านอื่น ๆ ทั้งเป็น บรรพชิตและฆราวาสมาศึกษา ช่วงหลังปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อสิ้นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิวมหาเถร) วัด พระสิงห์ เชียงใหม่ ไม่มีพระเถระรูปไหนทีจ่ ะมาเสมอ เหมือนพระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ที่เป็น จุดแข็งของพระมหาเถระ หรือเป็นจุดแข็งของวิทยาลัย เขตพะเยา เรียกได้ว่าเป็น “มหาปราชญ์ของท้องถิ่น” หลวงพ่อท่านมีวิธีการท�ำงานอย่างไร : จะพูดอย่างภาคภูมิใจว่า การเดินทางไป ต่างประเทศ อาตมาภาพเป็นผู้ที่ได้ติดตามท่านเป็น ส่วนใหญ่ เริ่มต้นไม่ว่าจะไปประเทศลาว ประเทศ จีน ประเทศศรีลังกา โดยเฉพาะศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ตอนนั้นในโอกาสครบวาระส�ำคัญที่พระอุบาลี ในกรุงศรีอยุธยาเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตไปประกาศ พุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อน ทางคณะสงฆ์ประเทศไทย ได้หล่อรูปเหมือนพระอุบาลี ไปประดิษฐานที่ประเทศศรีลังกา ในตอนนั้นทางการ ได้มอบหมายให้พระสุเมธาธิปดี วัดมหาธาตุ เจ้าคณะ กทม. เป็นประธาน โดยมีหลวงปู่ฯ ขณะนั้นมีสมณะ ศักดิ์เป็นพระเทพสุทธิเวที และอาตมาภาพก็ได้ติดตาม ไปด้วย พอถึงวันงานประธานสงฆ์ไปไม่ได้ หลวงปู่ฯ ก็ได้เป็นประธานสงฆ์ ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังสี หัวหน้าพระธรรมทูตประเทศอินเดีย - เนปาล ผู้เขียน ค�ำมอบเป็นภาษาบาลี ได้กล่าวท่ามกลางคณะสงฆ์ และประธานาธิบดีประเทศศรีลังกา ที่มะหินธเล เมือง อนันตะระบุทะ ประเทศศรีลังกา ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นประธานผู้มอบรูปเหมือนพระอุบาลีให้กับประเทศ ศรีลังกา เรามีความภาคภูมิใจว่าเราเป็นพระเถระจาก ต่างจังหวัดไปในงานระดับประเทศ แต่ว่ามีส่วนเป็น
20 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ประธาน นับว่าหาได้ยากยิ่ง แต่ว่าเป็นบุญเหลือเกิน ใน กาลต่อมาหลวงปู่ฯ ได้รับพระราชทาน เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ครั้งนั้นถือว่าเป็นนิมิต หมายที่ส�ำคัญ เหมือนเป็นว่าเป็นการให้สมณศักดิ์สงฆ์ ในต�ำแหน่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นรูปที่ ๒ ที่มา อยู่ทางเหนือ รูปแรกอยู่ที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในขณะที่ไปต่างประเทศ อาตมาจะได้พัก นอนกับหลวงปู่อยู่ปฏิบัติรับใช้ท่าน แต่ส่วนใหญ่อาตมา จะจ�ำวัดก่อน แต่ว่าท่านยังไม่จ�ำวัด ยังบันทึกอยู่ ท่าน สงสัยเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็จะถามอะไรต่าง ๆ ที่ประเทศ ศรีลังกา ท่านก็ดูเหมือนจะได้เขียนค่าวไว้ ไปคุณหมิง ไปสิบสองปันนาเป็นครั้งแรก เมื่อลาวก็ครั้งแรก และ เกาหลี ประเทศจีน เมืองซีอาน เมืองลั่วหย่าง เมือง ปักกิ่ง เมืองแมนจู นับว่าเป็นพระมหาเถระที่เป็นธงชัย น�ำพระเจ้าพระสงฆ์ทางภาคเหนือของเราไปประกาศ พุทธศาสนา การเดินทางไปต่างประเทศนั้นก็มิใช่ว่าจะ ไปทัศนศึกษาธรรมดา ๆ ส่วนใหญ่จะไปท�ำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิ ประกาศพุทธศาสนาด้วย ในประเทศพม่าทุก แห่ง พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ น�ำในการที่จะนั่งสมาธิ น�ำในการสวดมนต์ น�ำในการเวียนเทียนประทักษิณ ซึ่ง ชาวพม่า ชาวต่างประเทศได้เห็นก็ชื่นชม แล้วก็ตาม ขบวนของเรา : ในการเดินทางท่านได้บันทึกอะไรอีกบ้าง : หลักฐานที่เป็นรูปธรรมก็มีการจดบันทึก มี กล้องถ่ายภาพ แต่ว่าทางด้านนามธรรม ท่านจะต้อง ไปหาผู้ที่เป็นหัวหน้า เช่น เจ้าอาวาสอยู่ไหน พระสงฆ์ ชื่ออะไร อยู่วัดไหน เป็นต้น ท่านพยายามที่จะสนทนา นี่คือเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นก็คือ ท่านก็ได้ให้แนวคิด ว่าที่เรามานี่เราก็ได้บุญจาก หนึ่ง บุญคุณจากบรรพชน ให้พวกเราทั้งหลายได้เจริญเติบโต ให้พวกเราทั้งหลาย ได้อาศัยความเจริญของบ้านเมืองต่าง ๆ จึงพอมีเงินมี ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
21
ทอง ซึ่งครั้งเมื่อไปเชียงตุง ได้ไปเยี่ยมวัดต่าง ๆ ถึง ๙ วัด แล้วก็กลับมาถึงด่านที่แม่สายประมาณ ๖ โมงเย็นพอดี ท่านนี่ดีใจมาก ส่วนหนึ่งที่เราได้ไปเยี่ยมก็คือ เมืองสิบ สองปันนา ก็เป็นครั้งแรกปี ๒๕๓๗ ตอนนั้นถนนหนทาง ไม่ค่อยดี ประเทศจีนก็ยังไม่เปิดร้อยเปอร์เซ็น แต่ว่า เราก็สามารถไปได้ ประเทศที่ ๓ ที่เราไปบุกเบิก ก็คือใน เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ส่วนประเทศที่ ๔ เรา ไปไม่ถึง แต่ว่าได้สัมผัสถึงคือ ตอนนั้นได้พาท่านไปวัด ชาวไทอาหม รัฐอัสสัม หรือว่าไทพวนด�ำ ท่านก็สนทนา ภาษาลึก ๆ ของคนไทยโบราณ ซึ่งก็ได้ถามถึงความเป็น มาของทางรัฐอรุณาจัล รัฐอัสสัม ซึ่งคนไทยก็สามารถ ให้ปากค�ำต่าง ๆ ได้ ท่านสนใจเป็นอย่างมาก เคยถามท่านไหมว่าท�ำไมถึงสนใจ : ไม่ได้ถาม แต่ว่าท่านบอกว่าที่เรามา ไม่ใช่ ว่าจะมาง่าย ๆ ต้องใช้เงินเป็นหลักหมื่น เรามานี้ เราก็ ต้องรู้เห็นประวัติศาสตร์ เพราะว่าเมื่อเรามา พ.ศ. นี้ รู้ อย่างนี้ และถ้ามาครั้งต่อไปต้องรู้มากกว่านี้ แล้วก็จะได้ เป็นประวัติศาสตร์ เค้าก็จะได้รู้ว่ามีเพื่อนที่เป็นเชื้อสาย เผ่าไทเหมือนกัน แสดงความคุ้นเคยให้เกิดเป็นไมตรีจิต แสดงถึงความปรารถนาดี ท�ำให้พวกเราที่เป็นหมู่คณะ ก็ดีใจด้วย ซึ่งแสดงน�้ำจิตน�้ำใจของคนไทย แสดงความ ปรารถนาดี แล้วก็เป็นผู้ที่แสดงให้เห็นว่าใฝ่เรียนใฝ่รู้ ในลัทธิศาสนา ภาษา วัฒนธรรมของคนในพื้นที่ต่าง ๆ หลายครั้งที่ได้ไปหลวงปู่ท่านจะใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์มากที่สุด ด้านวัฒนธรรมล้านนาได้แลกเปลี่ยนกับท่านหรือไม่ : ถ้าพูดถึงแนวทางอนุรักษ์ ก็คือ พระพุทธรูป รอบศาลารายในพระวิหารหลวงของวัดศรีโคมค�ำ ซึ่ง ท่านได้เมตตาอธิบายข้อมูลของพระพุทธรูปนัน้ ๆ ด้วย ตนเองและบอกเราให้เก็บของเก่าแก่ไว้ เพราะเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่ส�ำคัญ เก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ถือว่า
22 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เป็นมรดกตกทอด ซึ่งจะได้รู้ว่าคนในสมัยก่อน เขามี การใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีวัฒนธรรมประเพณี อย่างไร โดยเฉพาะพระสงฆ์จะต้องเป็นผูท้ รี่ แู้ ละสามารถ น�ำไปอธิบายหรือเล่าให้ชาวบ้านฟังได้ เพราะฉะนั้นเริ่มต้นจะต้อง รู้ แล้วก็รัก แล้ว ก็อนุรักษ์ หวงแหน สืบทอด จึงได้มา นั่นก็คือ หอ วัฒนธรรมนิทัศน์ เห็นแล้วเกิดความภาคภูมิใจ อันนี้ก็ เป็นคุณลักษณะที่เป็นพระมหาเถระที่เป็นต้นแบบให้กับ พวกเราทั้งหลาย พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มองรวมๆ เป็นอย่างไร : เป็นผู้ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน ๓ อย่างนี้ ดู แล้วท่านมีครบ คือ เป็นผู้มีภูมิรู้ และยังมีภูมิธรรม สงฆ์ หลายๆ องค์จะรู้ แต่ภูมิธรรมไม่ค่อยมี ภูมิรู้ แปลว่า การ ประพฤติปฏิบัติในการครองตน ครองคน ครองงาน ตาม หลักธรรมหรือไม่ อันนี้เราพิสูจน์ได้ เราศรัทธาท่าน ท่าน มีความรู้ซึ้ง ทรงไว้ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งทางด้านธรรมะ วินัย ทั้งทางด้านศาสนา ทั้งการศิลปะและความรู้ทาง ด้านอื่น ๆ เรียกว่า ภูมิรู้ ส่วนภูมิธรรม ภูมิรู้ก็คือคนมี ความรู้ทั่วไป แต่ว่าภูมิธรรมต้องพิสูจน์ อย่างน้อย ๆ ก็ ๙๐ ปี ไม่มีโอกาสที่เป็นอื่นแล้ว แต่ว่าหลวงปู่ นี่คือ เป็น หลักเป็นฐานและก็ภูมิฐาน เมื่อท่านอยู่ท่ามกลางพระ สงฆ์ก็ดี ประชาชนก็ดี ดูแล้วภูมิฐาน ผู้น�ำสงฆ์และสังคมเป็นอุดมคติของศาสนาหรือไม่ : เรียกว่าเป็นพระในอุดมการณ์ของพระพุทธ ศาสนา เหมือนกับว่าเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพุทธประสงค์ ของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ท่านได้ประกาศพระพุทธ ศาสนาให้พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มีธรรม มีวินัย นอกจากนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งเป็นหน้าที่ทางธรรมชาติ และหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง หน้าที่ทางธรรมชาติ ก็คือ ได้มาเป็นสามเณร ได้มาเป็นพระภิกษุ อันนี้ถือว่าเป็น ธรรมชาติ แต่หน้าที่โดยแต่งตั้ง คือ เจ้าอาวาส ด้วยท่าน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
23
ก็ท�ำได้ดี พัฒนาวัดวาอารามต่าง ๆ ตั้งแต่วัดเมืองชุม วัดศรีอุโมงค์ค�ำ วัดศรีโคมค�ำตามล�ำดับ จนได้เป็นพระ อารามหลวง ต่อมาเป็นเจ้าคณะอ�ำเภอ ก็พัฒนาการ ศึกษา ยกระดับการศึกษาอ�ำเภอพะเยาเป็นต้นแบบใน ภาคเหนือในตอนนั้น ต่อมาเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด เชียงราย เป็นเจ้าคณะจังหวัดพะเยา ด�ำรงต�ำแหน่ง รองเจ้าคณะภาค ต่อมาได้มีกฎหมายฉบับที่ ๒๔ ว่า ด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ ผู้ที่มีอายุ ๘๐ ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นที่ปรึกษา ทั้ง ต�ำแหน่งแห่งหนไหน ท่านก็ปฏิบัติงานได้ดี โดยเฉพาะ ต�ำแหน่งทางธรรมชาติเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เวลาท่านไปเปิดประชุมที่ไหน ท่านก็จะนั่งฟังจนจบ ปัจจุบนั ก็นงั่ ฟังจนจบ อย่างวันที่ ๘ พฤษภาคม ทีผ่ า่ นมา มีการสอบบาลีฯ ได้ฉันเพลกับท่าน ท่านก็ได้มอบหมาย ให้ แต่ท่านก็ขึ้นไปดูจนจบ คนรุ่นหลังควรจะสืบทอดได้อย่างไร : สิ่งที่ท�ำได้ดีที่สุด คือ ท่านด�ำรงต�ำแหน่งไหน ก็ทำ� ได้ดที สี่ ดุ ตัง้ ใจท�ำ เต็มใจท�ำ ทุม่ เทอย่างเต็มที่ ตาม หน้าที่ ท�ำตามแนวปฏิบัติ ท�ำได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นผู้ที่ จะเอาปฏิปทาของท่านไปใช้ คือ ต้องท�ำงานทุกอย่าง ๆ เต็มที่ ตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่ว่าต�ำแหน่งหน้าที่ตาม ธรรมชาติหรือต�ำแหน่งหน้าที่ทางแต่งตั้ง ไม่ว่าจะเป็น บรรพชิตหรือฆราวาสน�ำไปใช้ได้ จะเป็นพ่อแม่ก็เป็น พ่อแม่ที่ดีที่สุด จะเป็นลูกก็เป็นลูกที่ดีที่สุด จะเป็นครู ก็เป็นครูที่ดีที่สุด ซึ่งหลวงปู่ได้ปฏิบัติให้พวกเราได้รู้ได้ เห็นและเป็นตัวอย่างว่า ท่านเป็นสามเณรก็ตั้งใจศึกษา อยู่พะเยาบ้านสาง ใฝ่เรียนใฝ่รู้ด้นดั้นไปถึงกรุงเทพฯ ไป อยู่ที่วัดใฝ่เงินโชตนารามในเขตบางรัก ตอนนั้นเป็นพระ แล้ว ต่อมาก็มาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร เมื่อสอบเปรียญ ธรรม ๕ ประโยคได้ ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านก็กลับบ้านมาอย่างทุลักทุเล กว่าจะมาถึงก็เป็น เดือน ก็เพราะว่าตั้งใจจะมาสอนพระปริยัติธรรมแผนก
24 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
บาลี น�ำแสงสว่างมายังบ้านเกิด ต่อมาได้รับความไว้ วางใจให้สอนพระปฏิบัติธรรม ต่อมาก็ได้รับต�ำแหน่ง เจ้าคณะอ�ำเภอ งานทุกอย่างที่หลวงปู่ได้ท�ำ ท่านท�ำ อย่างตั้งใจ เต็มใจท�ำ การที่ตั้งใจท�ำมีน้อย ไม่ได้ท�ำแบบ เต็มความรู้ ความสามารถ จะท�ำมากไปก็เกรงว่าจะเป็น ภาระ หรือจะติดกับงานที่อื่นอยู่ แต่หลวงปู่ตั้งหน้าตั้งตา ท�ำ ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค แต่ก็สามารถพัฒนา งานต่าง ๆ ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คือ มีความวิริยะ อุตสาหะ และเป็นผู้ที่มีมีความตั้งใจสูงในการปฏิบัติ หน้าที่ และท�ำเพื่อท้องถิ่น นี้เป็นประเด็นส�ำคัญ ท่านพูดถึงเรื่องท้องถิ่น เชียงราย-พะเยา อย่างไร : เคยถามท่านว่าท�ำไมไม่อยูท่ วี่ ดั เบญจมบพิตร ท่านก็บอกว่า “บ้านเราส�ำคัญกว่า บ้านเราก�ำลังรอ ค่อยคนที่ตั้งใจจริง” เพราะว่าพระสงฆ์บ้านเราสมัย ก่อน มาก็เพื่อที่จะไป มาอยู่มีความรู้ก็ออกไป เป็นมหา เปรียญก็สิกขาลาเพศไป อีกอย่างหนึ่ง มาแล้วพอรวย แล้วก็ออกไป คือคนที่ตั้งใจที่ท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อบ้าน เพื่อเมือง อาจจะมี แต่มีน้อย แต่ว่าแนวทางของท่าน คือท่านมีความตั้งใจไปศึกษาเล่าเรียนด้วยความยาก ล�ำบาก อยู่ กทม. ช่วงนั้นไม่ได้สะดวกสบาย เป็นเวลา สงคราม กลับมาบ้านเราก็ยิ่งไปใหญ่ เพราะว่าปัญหา ทางสุขภาวะบ้านเราก็ยังไม่มีอะไรดี แต่ว่าหลวงปู่ฯมีความตั้งใจสูง ส่วนหนึ่งก็คือ กลัวเขาดูถูกบ้านเรา ส่วนใหญ่มักบอกว่า “คนเมืองท�ำ อะไรไม่จริงจังหรอก” เขาจะดูถูกคนภาคเหนือของเรา คนภาคเหนือเราที่ใจเข็มแข็งไม่ค่อยมี คนที่มีความรู้ ความสามารถมากก็มีเยอะ แต่ว่าเอาไปใช้อย่างอื่น ที่จะ มาพัฒนาวัดวาอาราม ปักหลักให้เป็นหลักเป็นฐาน ถ้า หลวงปู่ฯ จะใฝ่หาความสุขส่วนตัว มีทางไปเยอะแยะ ในตอนนั้น แต่ว่าเมื่อท่านมา เราก็ได้ส่วนต่างๆ ในการ ทางภาพกว้าง โดยเฉพาะจังหวัดพะเยาได้เริ่มต้นใน การเขียนประวัติศาสตร์ อาตมาได้เห็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
25
๒๕๐๑ ในเอกสารของศาสนิก เป็นกลุ่มของพระภิกษุ สามเณรเชียงรายที่อยู่ กทม. รวมถึงพะเยาด้วย ท่าน ได้ศึกษาไว้ ถือว่าเป็นประเด็นส�ำคัญ คือคนเราก่อนที่ จะท�ำอะไรต่าง ๆ รักบ้านรักเมือง รักท้องถิ่นนั้น จะ ต้องมีความรู้ หลวงปู่ฯมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ ซึ่ง ก็พยายามที่จะอนุรักษ์ ที่จะค้นคว้า รักษา และสืบทอด แล้วรักบ้านรักเมือง หลวงปู่ฯเมื่อได้อยู่ในพระพุทธศาสนาได้เป็น เจ้าอาวาสวัดเมืองชุม เป็นเจ้าอาวาสศรีอุโมงค์ค�ำ เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีโคมค�ำ ความเจริญก็มาตามวัดต่างๆ นั้นทั้งสาม นอกจากนั้นก็มีโรงเรียนพินิตประสาธน์ “พิ นิ ต ”มาจากชื่ อ สมณศั ก ดิ์ ข องท่ า นในขณะนั้ น คื อ “พระครูพินิตธรรมประภาส” สองคือ “หอวัฒนธรรรม นิทัศน์” และสามก็คือ “วิทยาลัยสงฆ์พะเยา” อันนี้ เป็นสิ่งที่ท�ำให้เราได้รู้ได้เห็น จะใช้เป็นเสมือนอนุสาวรีย์ แห่งความตั้งใจมาปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ซึ่งมีความ วิริยะอุตสาหะ ท�ำให้เป็นมรดกตกทอดให้กับพวกเรา : ท่านได้พูดฝากอะไรไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างไร : พูดว่า ให้สามัคคีกัน ท�ำให้ดียิ่งขึ้น เหมือน กับว่าท่านได้พัฒนามาถึงจุดนี้แล้ว ตอนนี้ท่านหยุดแล้ว แต่อย่างที่อาตมาภาพบอก “สอนให้จ�ำ ท�ำให้ดู” ทั้ง สองวาระนี้หมดแล้ว มีแต่ “อยู่ให้เห็น” ลักษณะของ ท่าน “ถ้าจะมองไปข้างหน้าก็มีความหวัง ถ้าจะมอง ไปข้างหลังก็มีความภาคภูมิใจ” ข้างหลังก็คือ ผลงาน ของท่าน ข้างหน้าก็มีความหวังอยู่ คือเรามีมหาเปรียญ ธรรม ตั้งแต่ ๓ - ๙ ประโยค มีตั้งแต่ ป. ๔ จนถึง ดร. มี ผศ. ศ. ต่าง ๆ พะเยาไม่เหมือนเก่าแล้ว นี่คือ ความหวังของหลวงปู่ฯ ที่นี้จะส�ำเร็จ ตามความหวั ง ของท่ า นหรื อ ไม่ ก็ อ ยู ่ ที่ พ วกเราแล้ ว ท่านบอกให้สามัคคีกัน ตั้งใจ ให้ท�ำจริง
26 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
27
28 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
สร้างศรัทธาและทุนทางสังคม ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
29
30 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระมงคลวัฒน์ (ก�้ำ กลฺยาณธมฺโม)
เจ้าอาวาสวัดบุญเกิด อ.ดอกค�ำใต้
ความเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ : รู้จักกันก่อนหน้าที่หลวงพ่อท่านยังไม่ได้เป็น เจ้าคณะ ก็ได้ไปมาหาสู่กัน เมื่อก่อนท่านจะพูดว่า “ถ้า มาดอกค�ำใต้แล้ว ไม่ได้มาแวะวัดบุญเกิด มันไม่แล้วใจ (สบายใจ)” ท่านก็มาหาอยู่ประจ�ำไม่ได้ขาด ไปไหน มาไหนก็ได้นั่งเป็นคู่กันไป อาตมาเองก็เคารพหลวงพ่อ ท่านเป็นพี่ เป็นพระผู้ใหญ่ เพราะว่าพรรษาและอายุ ท่านก็เยอะกว่า ท่านเกิด พ.ศ. ๒๔๖๐ หลวงพ่อเกิด พ.ศ. ๒๔๖๔ ห่างกัน ๔ นิสัยใจคอก็เข้ากัน เราก็เลย เคารพนับถือท่าน ประทับใจในตัวของหลวงพ่อด้านใด : หลวงพ่อเป็นผู้ที่ยึดมั่น ถือมั่นในปฏิปทา ท�ำอะไรแล้วท�ำจริง ลูกน้องต้องท�ำตามที่ท่านสั่ง อีก อย่างท่านไม่ทอดทิ้งงานทางพระพุทธศาสนา ตอนเป็น พระธรรมทูต ท่านก็ต้องออกอบรมให้ได้ ไม่ว่าอยู่ใกล้ หรือไกล สมัยนั้นก็ไม่ได้มีถนนหนทางเจริญแบบนี้ ไป บ้านถ�้ำ บ้านปิน บ้านหล่ม ล�ำบากมาก แต่ว่าคนก็ชอบ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
31
รับฟังธรรมค�ำสอนต่าง ๆ บางทีดึกดื่นค่อนคืน ตีสองตี สามถึงได้กลับวัด ท่านจะปฏิบัติหน้าที่ได้ดี เวลาท่าน ไปที่ไหนไกล ก็จะให้หลวงพ่อไปด้วย พระธรรมทูตสมัย นั้น ไม่ได้อยู่แค่พะเยา ไปถึง อ.เทิง บ้านต้า อ.เชียงของ ลงน�้ำโขง ขึ้นเรือจากวัดกลางเวียง อ.เชียงของ ไปบ้าน ท่า บ้านม้ง บ้านยาย ใกล้ไกล พยายามไปให้ได้ สมัย ก่อนรถไม่ค่อยจะมี ก็เดินจากหมู่บ้านนี้ไปหมู่บ้านนั้น ครั้ ง หนึ่ ง ไปอบรมพระธรรมทู ต ที่ วั ด ช้ า งศรี จ.ล�ำพูน คณะสงฆ์อ�ำเภอพะเยา ไปนอนที่วัดช้างศรี ทั้งหมด กลางวันไปอบรมที่วัดพระธาตุหริภุญชัย และที่ ประทับใจในตัวท่าน คือมีคนื หนึง่ อาตมานอนละเมอตอน เกือบ ๆ สว่าง ร้องดังลั่น คณะสงฆ์ทุกอ�ำเภอนอนด้วย กัน มีหลวงพ่อเป็นผู้น�ำ ท่านก็สะดุ้งตื่น “ว่าใครละเมอ” พระรูปอื่นก็บอกว่า “เจ้าคณะอ�ำเภอดอกค�ำใต้” ท่าน ก็เรียกให้ตื่น แล้วถามว่า “เป็นอะไร” อาตมาก็เลยบอก ว่า “ฝันว่ามีอะไรมานอนทับ ดิ้นก็ไม่ได้ ได้แต่ร้อง” ท่านเลยบอกว่า “กรวดน�้ำให้เขาซะ อีกเดี๋ยวก็สว่าง แล้ว” ตื่นเช้ามาก็เดินไปดูที่เราปัสสาวะเมื่อวาน ปราก ฎว่าเป็นกู่เก่า บางคนก็บอกว่าเป็นกู่ผู้หญิงตายท้อง กลม ตายตกน�้ำ แล้วเอากระดูกมันมาฝังไว้ที่นั้น อัน นี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ประทับใจ ได้เรียนรู้จากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เรื่องใดบ้าง : ส่วนมากก็จะเป็นค�ำไหว้ ค�ำสาต่าง ๆ เช่น ค�ำว่า “ปะมาเทนะ ทวารัตตะเยนะ ขะมะถะ เม ภันเต ข้าพระเจ้าขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือท่านน�ำ กล่าวว่า “พุทธะ ปะฏิมา กาเร ปะมาเทนะ” ไม่เคย ได้ยินที่ไหน อาตมาเลยจดจ�ำเอาไว้ เป็นสิ่งที่แปลกใหม่ ในหนังสือเราก็ไม่เคยเห็น แต่เพราะว่าหลวงพ่อท่านมี ความรู้ “พุทธะ ปะฏิมา กาเร” หมายถึงพุทธปติมากร ซึ่งเราก็เข้าใจ บางคนก็ว่าท่านกล่าวอะไรไม่รู้ ท่านมี วิชาความรู้สูงก็เลยจดจ�ำเอาของท่านมาใช้
32 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
มองท่านปฏิปทา เป็นอย่างไรบ้าง : ท่านเป็นคนที่มุ่งมั่น เผยแพร่พุทธศาสนา เน้นให้พระสงฆ์ได้ปฏิบัติ เอาจริงเอาจัง เป็นสิ่งที่ท่าน ยึดมั่นมาอย่างไม่ลดละตลอดกาล การประชุมที่ไหน ไม่ ว่าใกล้ไกล ถ้าท่านมีโอกาส ท่านไม่เคยละทิ้ง ชักชวน พระสงฆ์ให้ไปด้วยกัน งานทุกงาน ท่านจะต้องเทศนา พร�่ำสอนศรัทธา ชาวบ้าน ไปทั่วจังหวัด งานไหนก็ให้ ท่านเป็นประธาน ก็จะเทศน์เรื่องศีลธรรมต่าง ๆ นา ๆ ไปงานไหน ก็เอาเรื่องเกี่ยวกับงานนั้นขึ้นมาเทศน์ คิดว่าพระอุบาลีคุณูปมาจารย์โดดเด่นด้านใด : น่าจะเป็นนักประวัติศาสตร์ เพราะท่านจะ เก่งในเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองพะเยา พะเยาเป็นมาอย่างไร ถ้าท่านเทศน์เรื่องนี้เมื่อใดไม่ค่อย จะจบง่าย ๆ จะเทศน์ยาวมาก แตกเรื่องไปเรื่อย ๆ บางคนถึงกลับบอกว่า “ถ้าฟังหลวงพ่อเทศน์ ไม่รู้จะ จบเมื่อไร” ท่านมีความรู้เรื่องนี้มาก หลวงพ่อเจ้าคุณ ธง วัดราชคฤห์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดรูปก่อน ท่านก็ เคยกล่าวเช่นนี้ว่า “ถ้าหลวงพ่อเทศน์เรื่องดังกล่าวไม่รู้ จะจบเมื่อไร”เพราะว่าท่านได้เกิดมาพบเจอกับเรื่องราว เหล่านี้มาก ท่านมีความสนใจ มาอยู่ที่วัดหลวงนอก(วัด ศรีโคมค�ำ) ก็เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ ซึ่งมีคนนั้น คน นี้มาถามประวัติศาสตร์อยู่เรื่อย จึงเป็นเหตุให้ท่านสนใจ ในเรื่องประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น ตั๋วเมืองล้านนา หรืออักษรไทยฝักขาม ประวัติศาสตร์ที่จารึกอยู่ในศิลาจารึก ท่านก็ยังอ่านได้ เพราะมีความคล้ายกับตัวเมือง(อักษรล้านนา) คิดไป อ่านไป บางค�ำก็เป็นค�ำที่แปลออกมาเป็นค�ำเมืองได้ ถ้าท่านเห็นแล้วไม่อ่านไม่คิด มันก็ทิ้งเสียเปล่าไป
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
33
34 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
สร้างเครือข่าย/ทุนทางความคิด ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
35
36 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระราชวิริยาภรณ์ (ศรีมูล มูลศิริ )
เจ้าคณะจังหวัดพะเยา รองอธิการบดี มจร.พะเยา
รู้จักกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อย่างไร : ท่านเป็นพระอุปชั ฌาย์ เราเป็นลูกศิษย์ ก็ได้ ช่วยงานท่านมาตลอด โดยเฉพาะงานที่โรงเรียนพินิต ประสาธน์ในช่วงแรก ๆ ซึ่งหลวงพ่อใหญ่เป็นผู้ด�ำเนิน การติ ด ต่ อ ประสานงานกับ กระทรวงศึก ษาธิก ารและ ฝ่ายคณะสงฆ์ซึ่งสมัยก่อน คือ ฝ่ายสังฆมนตรี ท่านได้ไป ขอทางสมเด็จพระสังฆราชที่วัดเบญจมบพิตร จนได้รับ การอนุมัติตั้งโรงเรียนพินิตประสาธน์ เหตุผลที่ท่านสร้างโรงเรียนพินิตประสาธน์ : เพราะว่าสมัยก่อนพระเณรไปเรียนโรงเรียน พะเยาพิทยาคมไม่ได้ ท่านก็ไปเอาแบบอย่างการสร้าง โรงเรียนเมธีวฒ ุ กิ ร วัดพระธาตุหริภญ ุ ชัย จ.ล�ำพูนมา กว่า จะได้จัดตั้งมาท่านต้องต่อสู้กับความคิดและอุปสรรค หลายด้านมาก เริ่มจากอาคารเรียนสมัยก่อนหลังคา ต้องมุงหญ้าคา ต้องไปขอโต๊ะจากเจ้าคณะต�ำบลต่าง ๆ เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ หรือไปเทศน์ แล้วเอาปัจจัยที่ได้ มาจ่ายเป็นเงินเดือนครู ตอนแรกที่เปิดเรียนมีประมาณ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
37
๕๐ กว่าคน ก็มีพระเณรมาเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พระ เณรเหล่านี้ก็เรียนหนังสือเก่ง เขียนตัวหนังสือก็สวย เพราะว่าจบนักธรรมมาทั้งนั้น แข่งกันเรียนหนังสือ สมัย นั้นยังไม่มีไฟฟ้า ต้องจุดเทียนอ่านหนังสือกัน เวลาสอบ ก็ไปสอบแข่งที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ครูโรงเรียน พะเยาพิทยาคมก็แย่งกันตรวจข้อสอบ เพราะว่าพระ เณรเขียนตัวหนังสืออ่านง่าย ชนะได้ที่หนึ่งแทบทุกครั้ง ต่อมาได้เปิดรับฆราวาสมาเรียน ตอนนี้ก็เปิด รับทั้งผู้หญิงเข้ามาเรียนด้วย มารุ่นหลัง ๆ มีคนมาจาก หลายที่หลายทาง เด็กก็ไม่ค่อยสนใจเรียนเท่าไร เลยไม่ ค่อยเก่ง สมัยก่อนนั้นสอบแข่งได้หมด รุ่นแรก ๆ จะได้ เป็น ผอ. เป็นผู้หลักผู้ใหญ่กันเยอะ นอกจากนี้ท่านก็ยัง ส่งเสียให้พระเณรไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพด้วย อย่าง ตัวหลวงพ่อเองก็ได้ขอท่านไปเรียนที่เชียงใหม่ และ เรียนต่อที่กรุงเทพฯ มีสิ่งใดที่ได้เรียนรู้และน�ำมาปฎิบัติ : อาตมานัน้ ยึดปฎิบตั เิ อาท่านเป็นตัวอย่าง เช่น การส่งเสริมการศึกษา เราต้องเป็นผู้เสียสละ ไปรับเอา เด็กชาวเขามาเรียน ไปเทศน์ได้เงินมาก็เอามาเลี้ยงเด็ก เหล่านี้เป็นอาหารกลางวัน ซื้อเสื้อผ้าแจกจ่าย เจริญ รอยตามหลวงพ่อท่านเลย ไม่สะสมข้าวของ อีกอย่าง หนึ่งท่านจะเอาใจใส่พระเณร ถ้าพระเณรไม่สบาย ท่านจะเอาใจใส่เป็นพิเศษ ท่านเป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ อนุเคราะห์ ไม่เก็บเงินทอง ข้าวของ ถ้าท่านมี ท่านก็ จะเอาไปเป็นทานต่อไปเรื่อย ๆ เราเป็นลูกศิษย์ท่าน เรา ก็เลยต้องเจริญตามรอยท่านต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการศึกษาที่เราต้องเสียสละ การบริหารของท่านมีความพิเศษอย่างไร : หลวงพ่อท่านเป็นพระนักปกครอง ท่าน จะเก่งเรื่องการดูแลพระเณร อีกอย่างหนึ่งท่านจะมี วิสัยทัศน์กว้างไกล วัดต่าง ๆ ท่านจะถามอยู่เสมอว่า
38 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ท�ำโฉนดหรือยัง? ถ้าวัดไหนยังไม่ได้ท�ำ ท่านก็จะบอก ให้ไปท�ำ เช่น โฉนดวัดพระเจ้าตนหลวง วัดพระธาตุ จอมทอง ถ้าไม่ท�ำไว้ ปานนี้คงไม่เหลือที่วัด ตอน นั้นอาตมาเองก็จ�ำอยู่ที่วัดพระเจ้าตนหลวง มีหลวงพ่อ ท่าน ครูบาแก้ว ครูบาปัญญา ก็มาร่วมประชุมกัน เรา มีมติให้ท�ำโฉนดฝังหลักหมุดกัน แต่ที่ดินสมัยก่อนก็หาย ไปเยอะ ถ้าสมัยนั้นไม่รีบท�ำตอนนี้คงเหลือที่นิดเดียว เหมือนกว๊านพะเยา ๑๖,๐๐๐ ไร่ ตอนนี้เหลือ ๑๒,๐๐๐ ไร่ ๔,๐๐๐ ไร่ หายไปไหน เพราะถ้าไม่ท�ำมันก็จะหาย ไปเรื่อย ๆ เพราะจะโดนบุกรุกเข้าไปเรื่อย ๆ หลวงพ่อ ใหญ่ท่านจะเป็นห่วงตลอด เพราะท่านมีวิสัยทัศน์มอง การณ์ไกลของท่าน หลวงพ่อท่านมีแนวทางเผยแผ่ความรู้อย่างไร : ท่านจะจัดให้มีการอบรม โดยแบ่งพระเณร ประมาณ 2 รูป ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ จะขอรถไปรับไป ส่งไปเทศน์ตามที่ต่างๆ ถ้าใกล้ ๆ เช่น บ้านแม่ใส ก็จะ เดินไป ก็เอาพระมหาต่าง ๆ ที่เรียนจบจากกรุงเทพไป เทศน์ โดยท่านก็จะเดินทางไปด้วย ท่านจะปาฐกถา เปิดก่อน เสร็จแล้วก็ให้พระขึ้นเทศน์ต่อ แล้วท่านก็จะ เดินทางไปต่ออีกวัดหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นเรื่องธรรม บรรยายธรรม หลัง ๆ มาพอท่านไปไหน ท่านมักจะถาม หาชื่อ คนนั้น คนนี้ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ยังอยู่สบายดีไหม สมัยนั้นยังไม่มีโทรทัศน์ เจ้าอาวาสตีฆ้องตีกลอง ผู้ใหญ่ บ้านประกาศ ชาวบ้านก็จะมากันเต็มวิหาร เดี๋ยวนี้มี โทรทัศน์มีละคร ชาวบ้านติดละครไม่มาเลย คนสมัย ก่อนเขาชอบฟังเทศน์ ถ้าพระมหารูปไหนเทศน์ตลก เทศน์สนุก ชาวบ้านก็จะหัวเราะกันลั่น นี่คือแนวทางใน การเผยแผ่องค์ความรู้ เผยแผ่ธรรมะของหลวงพ่อท่าน อีกอย่างท่านก็จะชอบพูดเรื่องประวัติศาสตร์ เช่นไปบ้านบัว ท่านก็จะพูดเรื่องเตาเผาบ้านบัว ท่าน ก็จะมีกล้องถ่ายอันหนึ่งจะถ่ายรูปไปด้วย มีสมุดบันทึก ไว้จดบันทึกบ้าง ถ้าไปกิจนิมนต์ต่าง ๆ อาตมาติดรถ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
39
หลวงพ่อท่านกลับวัด วันนั้นกว่าจะถึงวัดก็เกือบเย็น จะ บอกให้คนนั้นคนนี้พาให้ไปดูกู่เก่า เจดีย์เก่า ท่านจะถาม คนเฒ่าคนแก่ ว่ามันเป็นมาอย่างไร ท่านจะจดบันทึก เช่น บ้านต�๊ำเป็นมาอย่างไร เหตุการณ์ไฟไหม้บ้านสาง เป็นอย่างไร ท่านได้ปั๊บหรือบันทึกท่านก็จะชอบเก็บ การเก็บโบราณวัตถุต่างๆเป็นอย่างไร : มีพระพุทธรูป หรือเศียรพระอยู่ที่ไหน ท่าน ก็จะไปหาผู้ใหญ่บ้าน แล้วพากันไปที่กู่นั้น หรือบางที มีผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส เจ้าคณะต�ำบลต่าง ๆ มาบอก ท่านก็จะให้คนเอารถออกพาไปดู ท่านจะเดินดูรอบ ๆ ถ้าไม่มีใครดูแลรักษาแล้วท่านจะขอมาเก็บรักษาไว้ ส่วน ปั๊บสาใบลานจะรวบรวมเอาตามเจ้าอาวาสต่าง ๆ ท่าน ได้มาก็จะเอามาเขียนเอามาปริวรรต เด่นที่สุดของท่านจึงเป็นที่ยอมรับทางด้าน ประวัติศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็จะนิมนต์ ท่านไปบรรยายเป็นประจ�ำ ถือเป็นนักโบราณคดี นัก ประวัติศาสตร์ ไปเมืองแพร่ก็เล่าเรื่องเมืองแพร่ ไปเมื่อ น่านก็เล่าเมืองน่าน ครูบาศรีวิชัยมาสร้างวิหาร พระเจ้า ตนหลวงก็ได้เขียนหนังสือออกมาเรื่อย ๆ เมื่อก่อนท่าน เป็นเจ้าคณะจังหวัดพะเยารูปแรก สมัยที่พะเยาแยก จากจังหวัดเชียงราย ต่อมาก็เป็นรองเจ้าคณะภาค ๖ พอ อายุมาก ท่านก็ได้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค แต่ว่าท่าน ก็เขียนหนังสืออยู่ตลอด จ�ำ พ.ศ. เขียนประวัติศาสตร์ แต่งหนังสือหลายเล่ม ท่านมีวิธีจัดการสิ่งเหล่านั้นอย่างไร : ท่านจะสืบเสาะสืบค้นโดยการสอบถามคน เฒ่าคนแก่ บางครั้งก็ถ่ายรูปเอาไว้ ถ้าไม่มีท่านของดี หรือประวัติศาสตร์เรื่องราวในพะเยาจะหายไปอีกเยอะ หลวงพ่อท่านทุ่มเทให้วงการศึกษาพระเณรมาก : เรื่องการศึกษา ท่านชอบเรียนนักธรรมบาลี
40 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
และปริยัติสามัญ ท่านจะคุมอยู่ ๒ อย่าง เพราะท่าน ชอบและเณรก็มีความสุข พระเณรก็ตั้งใจเรียน ตอน นี้ไปไหนมาไหนก็เจอลูกศิษย์ลูกหาเป็นต�ำรวจ ทหาร ครูบาอาจารย์ ไปที่ไหนอ�ำเภอไหนท่านก็เจอ ท่านก็ดีใจ ที่มีคนบอกว่าจบจากโรงเรียนพินิตประสาธน์ ส่วนการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา อาตมากับ ดร.ปรีชา หอมประภัทร ซึ่งก่อนหน้านั้นได้นั่งรถเมล์ไปสอนที่วัด สวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนั้นได้เงินเดือน ๆ ละ ๕๐๐ สอนอยู่ ๒ วันต่อสัปดาห์ ไปสอนอยู่ที่นั่น ๓ ปี อาตมาเลยขอมาเปิดห้องเรียนที่พะเยา เพราะว่าพระ เณรไปเรียนล�ำบาก ไกลก็ไกล ก็ตกลงประชุมกันเป็น ๑๐ ครั้งกว่าจะอนุมัติ แรกเลยว่าจะไปเปิดวัดป่าแดง แต่วัดป่าแดงยังไม่มีอาคารอะไรเลย พอหลังจากนั้น ก็ปรึกษากันว่ามาเปิดที่วัดหลวง เพราะว่ามีอาคาร มี โต๊ะ มีเงิน หลังจากนั้นก็เลยเข้ามาหาหลวงพ่อ ขอหลวง พ่อท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ หลังจากนั้นก็เรียนเจ้าคณะ จังหวัด เจ้าคณะอ�ำเภอ และผู้แทนทางเชียงใหม่ก็มา ร่วมประชุมกัน หลวงพ่อท่านอนุญาต จึงได้เป็นวิทยาลัย เขตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น นิสิตก็เริ่มมาเรียนเยอะขึ้น มหาจุฬาฯ เราเปิดมาเป็น เวลา ๒๕ ปี และเปิดปริญญาโทมา ๒ ปีแล้ว หลวงพ่อรับเป็นผู้อุปถัมภ์เพราะอะไร : หลวงพ่อเป็นผู้อุปถัมภ์คนแรก และก็เป็น รองอธิการบดีคนแรก ต่อมาอาตมาก็ได้เป็นคนที่สอง ตอนนั้นถ้าไม่น�ำมาเปิดที่วัดศรีโคมค�ำก็คงจะติดขัดอยู่ เหมือนกัน เพราะคิดว่าท่านชอบการศึกษาอยู่แล้ว จึง ยกให้ท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ใหญ่ ถ้าไม่มีวัดศรีโคมค�ำคงจะ ด�ำเนินการช้าอยู่พอสมควร การสร้างโรงเรียนต้องมีบุญ และบารมีด้วย มันมีมารมาผจญเยอะ สมัยนั้นอาตมา กับร้อยโทปรีชาเป็นคนออกความคิด แต่ต้องอาศัย บารมีของหลวงพ่อและอาศัยบารมีของพระเจ้าตนหลวง ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
41
กรรมการเหล่านั้นเลยยอมให้ตั้งเป็นวิทยาเขต ก็จบมา เป็นรุ่นเป็นรุ่นไป อาตมาบอกเสมอว่า มจร.เราไม่ได้ เก่งอะไร แต่เรามาอาศัยบุญบารมีท่าน จึงท�ำให้มี คนจบ ดร. หรือ ผศ. เงินเดือนสี่ห้าหมื่น เวลาปฐมนิเทศ นักศึกษาใหม่ อาตมาก็จะเล่าแบบนี้ให้ฟังตลอด เพราะ กลัวหลายคนลืม ต่อไปคนก็จะลืมของเก่าหรือเล่าเพี้ยน ไปก็ได้ หรือไม่งั้นก็จะลืมกันไม่รู้จักที่ไปที่มา เดี๋ยวก็มา แข่งมาเบ่งบารมีกัน ท�ำไมไม่รู้จักคนที่เอามาเหรอ ไม่รู้ จักหลวงพ่อหลวง อาตมาก็จะเล่าแบบนี้เสมอ เพื่อที่จะ ให้ทุกคนรับรู้ตลอดไป หลวงพ่อท่านมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไร : การประพฤติปฏิบัติดี เรื่องการปาฏิโมกข์ ท่านก็ไม่เคยขาด คงเส้นคงว่า เอาใจใส่คณะสงฆ์ เวลา พักท่านก็ไม่พัก เวลาประชุมอะไรอายุ ๙๐ กว่าแล้วท่าน ก็ยังมานั่งฟัง เวลาเรียนบาลีท่านก็มานั่งดู ท่านเอาใจ ใส่เสมอ เอาใจใส่พระสงฆ์เวลามีประชุมท่านใจดี ด้าน เผยแพร่ท่านก็สุดยอด สมัยตอนหนุ่ม ๆ ไปทุกวัน เวลา เข้าพรรษา ๑ ทุ่ม ท่านก็ไปละ แยกไปแต่ละต�ำบล ๆ ไป ท่านก็แยกไปแต่ละต�ำบล ไปทุกวัด ทุกวัน ภาพแรกที่นึกถึงหลวงพ่อจะนึกถึงอะไร : ภาพแรก คือ คุณลักษณะที่มีเสียงดังและไม่ ค่อยยิ้มเวลาไปไหน ได้ยินเสียงหลวงพ่อมาก็พากันเงียบ หมด ท่านมีอ�ำนาจอยู่ในตัว ขนาดท่านเป็นเจ้าคณะ อ�ำเภอมีอ�ำนาจในสมัยแต่ก่อน เป็นเจ้าคณะจังหวัดคน แรก ท่านว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น เพราะความยุติธรรม ของท่านมีเปี่ยมล้น ถ้าคิดถึงหน้าหลวงพ่อ ท่านก็จะหน้านิ่ง ๆ แต่ท่านจะมีเมตตา มีอะไรท่านจะช่วยเต็มที่ ส่วน เรื่องการปกครองท่านก็ต้องคุมความประพฤติของ พระเณรให้เป็นอย่างดี แต่จิตใจท่านก็ยังเอ็นดูและ สงสารพวกเราอยู่เสมอ
42 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
43
44 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เดินหน้าพุทธศาสนาสัมพันธ์ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
45
46 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระสุนทรกิตติคุณ (เดชา อินทปญฺโญ )
รองเจ้าอาวาสวัดศรีโคมค�ำ
ความเกี่ยวข้องกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ : เข้ามาอยู่วัดศรีโคมค�ำ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ จึง ได้ช่วยงานท่านเรื่อย ๆ โดยช่วงนั้นท่านจะมีเลขานุการ ช่วยงานท่านอยู่แล้ว พอปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เมืองพะเยาถูก ยกระดับขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา หลวงพ่อได้เป็นเจ้าคณะ จังหวัดพะเยาองค์แรก ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เลขานุการ ของท่านขอลาเพื่อกลับไปจังหวัดสุรินทร์ อาตมาจึงมา รับท�ำหน้าที่เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดแทนท่าน เดิม จากนั้นหลวงพ่อท่านก็ได้เป็นรองเจ้าคณะภาค ๖ อาตมาจึงเป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค ท�ำงานร่วม ติดตามท่านไปอีก หรือแม้สมัยที่ท่านได้เป็นรองเจ้า คณะจังหวัดเชียงราย ก็ได้ตามท่านไปในที่ต่าง ๆ ได้เห็น ว่าท่านท�ำงานด้านการศึกษา การเผยแพร่ การปกครอง อะไรต่าง ๆ งานเลขานุการที่ท�ำต้องสนองด้านใดบ้าง : แทบทุกอย่าง เหมือนเป็นไม้เป็นมือให้ท่าน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการปกครองพระสงฆ์ ถ้าพระ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
47
สงฆ์มีเรื่องร้องเรียน เลขานุการก่อนจะเป็นผู้ลงบันทึก หนังสือให้ท่าน แล้วจึงจะออกไปเยี่ยม การศึกษาก็ เช่นกันท่านจะออกไปเยี่ยม ไปแทบทุกวัด ทุกหมู่บ้าน ทุกต�ำบล ท่านท�ำงานหนักมาก ไม่เคยนึกถึงยศถา บรรดาศักดิ์อะไร สังเกตว่าท่านได้สมณะศักดิ์เป็นเจ้า คุณชั้นสามัญมากกว่า ๒๐ ปี กว่าจะได้เป็นเจ้าคุณราช เมื่อตอนเป็นเจ้าคณะจังหวัด จากนั้น ๕ ปีเป็นชั้นเทพ อีก ๕ ปีถึงเป็นชั้นธรรม แล้วอีก ๕ ปีก็ได้เป็นชั้นรอง สมเด็จ จนทางคณะสงฆ์ที่กรุงเทพฯ ถามว่า “ใครที่ เป็นเจ้าคุณ ที่นานที่สุด” ก็คือ หลวงพ่อเราเท่านั้น พอ มาถึงตอนนี้ เวลาได้พิสูจน์แล้วว่าในภูมิภาคต่างจังหวัด ใครที่จะได้สมณศักดิ์เป็นถึงรองสมเด็จฯ นั้นหายาก จะมีก็ไม่แค่กี่รูป หลวงพ่อของเรา คือ หนึ่งในนั้น การเดินทางไปยังที่ต่างๆในสมัยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง : ล�ำบากนะ...ลองนึกภาพ ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ตอนนั้นหลวงพ่อท่านไม่มีรถ วัดเราแม้จะอยู่ในเมืองก็ ใช่ว่าจะมีศักยภาพมากมาย ยามนั้น อ.บุญธรรม ยะ เรือน ยังเป็นพระอยู่ ท่านคิดว่าท�ำยังไงจะให้หลวงพ่อมี รถใช้ ก็เลยคิดออกเหรียญพระเจ้าตนหลวงรุ่น ๑ ก็ได้รถ มาใช้คันหนึ่ง ราคา ๖๐,๐๐๐ บาท เลขทะเบียน ๐๐๑ ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ คิดดูว่านานขนาดไหน ท่านใช้ จนคุ้ม นั่งไปตั้งแต่เหนือจรดใต้เลย ให้คุณกิจ ธีรณรงค์ เป็นคนขับ ขับเก่งมาก เวลารถติดล่ม ก็ต้องเข่น ต้อง ดันกัน สนุกสนาน ท�ำงานแบบไม่เครียด ไปเรื่อย ๆ ค�่ำ ที่ไหนนอนที่นั้น ท่านท�ำไปโดยที่ไม่เห็นแก่ความเหนื่อย ยากล�ำบาก โดยเฉพาะด้านการศึกษา ท่านอยู่ตรงไหน ก็จะต้องยุ่งอยู่กับเรื่องการศึกษา ทั้งทางคดีโลกและ คดีธรรม เพราะท่านเคยเรียนบาลีที่กรุงเทพฯ แล้ว ก็จบประโยค ๕ มาก่อน กลับมาอยู่วัดเมืองชุม สมัย สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็มาตั้งส�ำนักเรียนธรรมบาลี แม้ ท่านจะอยู่ที่นั้นได้ไม่นาน และย้ายมาอยู่ต่อวัดศรีอุโมงค์
48 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ค�ำแล้วก็เปิดสอนบาลีเหมือนกัน คือท่านนึกคิดต่อไปว่า เด็กและเยาวชนในวันข้างหน้าจะต้องได้รับการศึกษาทั้ง ทางคดีโลกและคดีธรรม ท่านจึงตั้งโรงเรียนราษฎ์เพื่อ การกุศล จึงไปดูตัวอย่างที่โรงเรียนเมธีวุฒิกร ล�ำพูน ดู ว่ามีกฎระเบียบการบริหารจัดการอย่างไร น�ำแนวคิดวิธี การมาตั้งเป็น “โรงเรียนพินิตประสาธน์” ซึ่งคือฉายา ธรรมของหลวงพ่อเอง “พระครูพินิตธรรมประภาส” ท่านเคยปรารภเรื่องการศึกษาว่ามีความตั้งใจอย่างไร : ท่านนึกถึงว่า ถ้าคนเราได้รับการศึกษา อนาคตต่างๆ ก็ต้องเจริญรุ่งเรือง ท่านสร้างคน วัตถุ เองท่านก็ไม่ทิ้ง ท่านก็ได้สร้าง แต่ว่าท่านจะสร้างคน มากกว่าการสร้างวัตถุ ท่านว่าสิ่งไหนที่คนพร้อมแล้ว วัตถุก็จะตามมา ท่านต้องใช้ปัจจัยส่วนตัว เพื่อแบ่งปันให้กับพระเณร : เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ หลวงพ่อท่านเป็นผู้ที่เสีย สละมาก ท่านได้อะไรมาทุกอย่าง ก็จะเอามาไว้เป็นกอง กลาง ถ้าเป็นเงินก็มอบให้คนเก็บไว้เลย เงินก้อนหนึ่งจะ เอามาเป็นค่าจ้างครู เหลือนั้นเอามาเป็นค่าอาหารเลี้ยง พระเณร ถ้าเหลืออีกก็เอามาสร้างสิ่งต่าง ๆ เป็นแบบ นี้และท�ำมาโดยตลอด อยู่กับพระเณร หลวงพ่อท่านปฏิบัติตัวอย่างไร : ท่านจะเป็นคนที่ชอบเล่าเรื่อง รวมถึงเรื่อง ตลกก็มีให้เราฟังอยู่ตลอด ท่านเป็นคนที่ไม่เครียด เช่น แม้ในวัดท่านจะถือเคร่งในเรื่องของการฉัน ถ้าเอามา ถวายแล้วไม่ประเคนไม่ได้ ถ้ามีของหวานก็ต้องใช้ให้ เด็กเอามาถวาย วันหนึ่งมีแตงโม เด็กก็เอาแตงโมทั้งลูก มาถวาย เสร็จแล้วท่านก็เอาแตงโมโยนใส่หัว แล้วบอก “จะให้ฉันยังไง” แต่ท่านท�ำด้วยความมีเมตตา ท่านท�ำ ด้วยความรัก ท�ำด้วยความมีระเบียบวินัย จะให้พระฉัน ต้องท�ำอย่างไร อย่างจะฉันปลา จะท�ำอย่างไร เพราะ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
49
วัดเราก็ไม่ได้สมบูรณ์ไปเสียทุกมื้อ บางมื้อต้องประกอบ อาหารเลี้ยงพระเอง ท่านจึงบอกให้เด็กว่า เอาปลา ไปปล่อย เด็กมันก็เอาไปปล่อยจริง ๆ ถึงเวลาเพลมา อาหารเพลไปไหน เด็กก็บอกว่า “หลวงพ่อให้เอาปลาไป ปล่อย ผมก็เอาไปปล่อย” เด็กก็คิดตามไม่ทัน หลวงพ่อ เองก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรที่จะให้คนท�ำอาหารมาให้ฉัน หลวงพ่อท่านชอบเดินทาง ส่วนใหญ่ไปไหนบ้าง : ท่านพาไปตามหมู่บ้าน วัด ต�ำบล อ�ำเภอ ต่าง ๆ ซึ่งท่านจะเป็นผู้ที่ยึดถือระเบียบจากกรุงเทพฯ มาบังคับใช้มาก แต่บ้านเราเป็นประเภทที่ว่าไม่ถือสา หาความ ไปมาหาสู่กัน เคยไปหมู่บ้านหนึ่งตอนหัวค�่ำ โยมบอก “ท่านเจ้าคุณมา เอาข้าว เอาต้มไก่มาเลี้ยง” หลวงพ่อก็บอก “โยมมันไม่ถูกเวลา มันเป็นยามวิกาล แล้ว ไม่ใช่เวลาพระฉัน” สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาไม่ เข้าใจ แต่นี้เป็นความหวังดี ถ้าเราได้ไปในที่ต่างๆ เรา ก็จะได้รู้ได้เห็น บางทีไปวัด ไม่เจอพระเณรท่านก็จะ ถามว่า “ไปไหนกันหมด” ชาวบ้านแถวนั้นเขาก็จะบอก ว่าไปทานข้าวที่บ้าน แต่ท่านก็ไม่ได้ดุด่า แต่จะบอกว่า “กาลนี้มันไม่ถูกต้อง” แต่ถ้าคนทางบ้านเราไม่เป็นไร แต่ถ้าคนภาคกลางเขามาเห็นแล้ว...มันไม่เหมาะสม ด้านโบราณคดี หลวงพ่อเริ่มให้ความสนใจจากจุดใด : ท่านเก็บสะสมมาตั้งแต่อยู่วัดศรีอุโมงค์ค�ำ แล้ว ตอนที่ท่านอยู่ที่นั่น ทางกรมศิลปากร และคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ คุณขรรค์ชัย บุญปาน ซึ่งเป็นนักศึกษา ของกรมศิลปากร ก็มาอาศัยข้าวก้นบาตรของหลวงพ่อ มาอยู่มานอน หลวงพ่อท่านก็ใจดี พาไปดูโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ท่านได้เก็บจากวัดนั้นวัดนี้เอามา รวบรวมไว้ อย่างคุณขรรค์ชัย บุญปาน ก็นึกถึงข้าวก้น บาตรของท่าน ก็ได้ให้การอุปถัมภ์ท่านมาโดยตลอด ท่านพูดถึงลูกศิษย์สองท่านนี้ว่าอย่างไรบ้าง
50 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
: ท่านว่าเป็นคนดี รู้กตัญญู มาเยี่ยมมาหา มา อุปถัมภ์บ�ำรุงวัด มีหนังสืออะไรก็ให้เอาไปพิมพ์ อย่าง คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ครั้งที่แล้วก็เอาหนังสือเมืองพะเยา ไปพิมพ์ ท่านมารวบรวมของท่านเองเลย แล้วก็มาจัด พิมพ์ถวาย ถ้าทางวัดอยากได้เพิ่มเติม ท่านก็ให้บอกไป เขาก็จะจัดพิมพ์ถวายมาเรื่อย ๆ อย่างตอนนี้เราจะท�ำ พิพิธภัณฑ์ต่อ ท่านก็ถามว่าตอนนี้หลวงพ่อมีทุนเท่าไร มีประมาณสัก ๕ ล้าน จะใช้เท่าไร ๑๕ ล้าน ท่านก็บอก ว่า เดี๋ยวเราทอดผ้าป่า ท่านก็บอกจะช่วยหลวงพ่อ ท�ำไมท่านจึงคิดท�ำหอวัฒนธรรมนิทัศน์ขึ้นมา : ตอนนัน้ มีคนผูห้ ลักผูใ้ หญ่จากส่วนกลาง บอก ว่าถ้าเราจะท�ำเป็นพิพธิ ภัณฑ์ หลวงพ่อจะต้องยกทีด่ นิ ยกข้าวของต่าง ๆ ให้กบั กรมศิลปากรดูแลทัง้ หมดก่อน จึงจะมีเจ้าหน้าทีจ่ ากส่วนงานใหญ่มาดูแลเหมือนกับส่วน ราชการ หลวงพ่อบอกว่า “ถ้าอย่างนัน้ ไม่ได้ เพราะว่ามัน เป็นสมบัตขิ องวัดหรือจะเป็นของชาติกเ็ หมือนกัน แต่วดั ควรเป็นผูด้ แู ล” จึงออกมาในรูป “หอวัฒนธรรมนิทศั น์” เป็นการแสดงวัตถุโบราณต่าง ๆ สามารถเคลือ่ นย้าย เปลีย่ นแปลงปรับปรุงได้ตลอด อาศัยคุณขรรค์ชยั บุญ ปาน ทอดผ้าป่านานาชาติ ได้เงินมาจึงมอบให้บริษทั รับเหมาก่อสร้างและตกแต่งท�ำการก่อสร้าง ใช้วงเงิน ประมาณ ๒๐ ล้านบาท หลวงพ่อมีวิธีการบริหารจัดการด้านต่างๆอย่างไร : หลวงพ่อท่านจะมีผู้ช่วย วัดศรีโคมค�ำเรามี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสหลายรูป ท่านจะดูความถนัดของแต่ละ รูป แล้วท่านก็จะให้ท�ำ ทั้งการศึกษาบาลี การศึกษานัก ธรรม ตอนนี้มีวิทยาลัยสงฆ์ ด้านการศึกษาให้เจ้าคุณ พระราชปริยัติ (สายัน อรินฺทโม) เป็นผู้ดูแล ด้านการเผย แพร่มอบให้ท่านพระครูศรีวรพินิจ (สมคิด คมฺภีรญาโณ) ด้านสาธารณูปการหรือการศึกษาศาสนาวันอาทิตย์ให้ พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม) ด้านการ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
51
ปกครองอาตมาภาพก็ดูแลอยู่ เหมือนว่ารองเจ้าอาวาส จะต้องดูแลแทนพระเดชพระคุณหลวงพ่อมาโดยตลอด หลวงพ่อมีวีธีมอบหมายหรือชวนพูดชวนคุยอย่างไร : ท่านชวนมานั่งปรึกษาว่า “หลวงพ่อจะ ท�ำอันนั้นอันนี้ มีใครที่จะช่วยเหลือหลวงพ่อได้บ้าง” อย่างมหาวิทยาลัยสงฆ์ แทบทุกคนในวัดนี้ท�ำงานอยู่ ในนั้นก็ดูแลได้หมด แล้วก็มีเจ้าคณะจังหวัดที่ท่านมา เป็นหัวหน้าดูแลในต�ำแหน่งรองอธิการบดีอยู่ ท่านอื่น ก็ไปเป็นผู้อ�ำนวยการด้านต่าง ๆ ก็ช่วยเหลือกันทุก ๆ ด้าน โดยท่านมักจะบอกว่า “หลวงพ่อจะมอบหมายงาน ต่าง ๆ ให้ท�ำ ถ้าหากว่าเหลือบ่ากว่าแรงหรือมีปัญหา อุปสรรคอะไรก็ให้บอก” ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะให้การ สนับสนุนส่งเสริมให้ท�ำ และทุกรูปก็จะมาปรึกษาหลวง พ่อทุกครั้ง ถ้าท�ำส�ำเร็จหรือไม่ส�ำเร็จ หลวงพ่อว่าอย่างไร : ท่านให้รางวัล ยกตัวอย่างการศึกษาดีเด่น หลวงพ่อก็จะให้เงินเป็นรางวัล การศึกษาต่างๆ ประโยค ๒ ได้ ๒,๐๐๐ บาท ประโยค ๓ ได้ ๓,๐๐๐ ประโยค ๔ ได้ ๔,๐๐๐ และก็ท�ำมานานแล้ว ส่วนงานไหนถ้าท�ำ ผิดพลาดก็ให้มาปรึกษาหารือกัน ท่านจะไม่ต�ำหนิ สิ่งที่ ท�ำไป ปัญหาอุปสรรค มันมีทุกคนทุกอย่าง ปัญหานั้น มีหนทางแก้ไขเสมอ เพียงแต่หลวงพ่อท่านจะเป็นคนที่ พูดเสียงดัง อาจจะเป็นบารมีท่านนะ ถ้าท่านพูดบางคน แทบไม่กล้าเข้าใกล้ แต่ถ้าคนที่อยู่ใกล้จะรู้ พูดเสียงดัง ฟังชัด อาตมาคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติของคนเรา บางที งานก็หนัก กิจนิมนต์ก็เยอะ ยิ่งเป็นพระผู้ใหญ่กิจนิมนต์ ก็จะเยอะ ภาระงานก็มาก แต่ท่านก็ไม่เคยทิ้งงาน ทิ้ง คนท�ำงาน ปณิธานอะไรที่ส�ำเร็จแล้ว และที่ยังไม่ส�ำเร็จ : ท่านจะบอกว่าท่านมีความตั้งใจ และส่วน
52 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
มากก็จะท�ำไปหลาย ๆ เรื่องพร้อมกันไป อย่างการศึกษา ท่านก็ท�ำของท่านไป อย่างการก่อสร้างต่าง ๆ ก็ควบคู่ กันไปด้วย แต่ว่าจะดูว่าสิ่งไหนส�ำคัญมากน้อย อันไหน ส�ำคัญมากก็ท�ำไปก่อน เช่น การบูรณปฏิสังขรณ์วัด ซึ่ง ไม่ค่อยห่วงเท่าไร เพราะว่ามีทางกรมศิลปากรมาช่วย ก�ำกับดูแลในส่วนรอบก�ำแพงแก้วทั้งหมด แต่ถ้าจะท�ำ อะไรเขาจะท�ำหนังสือมาขออนุญาตกับวัด เราก็ให้การ สนับสนุน ถ้าด้านนอกก�ำแพงแก้วเป็นหน้าที่ของวัด จะ ต้องน�ำเรื่องเข้าไปเสนอสู่คณะกรรมการพัฒนาวัด ซึ่ง เข้ามาช่วยหลวงพ่อได้ส่วนหนึ่ง งานการเขียนการบันทึกต่างๆ ท่านจะใช้วิธีการใด : ส่วนมากหลวงพ่อท่านจะเป็นคนเขียน คน บันทึกเป็นภาษาล้านนา จากนั้นก็ปริวรรตมาเป็นภาษา ไทยเรา ท่านจะเขียนของท่าน ท่านจะท�ำงานประมาณ ตั้งแต่สามทุ่มถึงสี่ทุ่ม จนถึงเที่ยงคืน เขียนออกมาเป็น เล่ม ๆ แล้วข้อมูลต่าง ๆ ที่ท่านได้เสร็จแล้ว ท่านส่ง ให้พวกเราไปพิมพ์ ท่านก็บอกว่าพิมพ์แล้วเอามาอ่านดู แล้วก็จะเอาเข้าโรงพิมพ์ ส่วนการถ่ายรูป การใช้กล้อง ถ่ายรูปนั้นมาทีหลัง หลวงพ่อท่านก็ถ่ายเองเยอะ เป็น กล้องแบบขาวด�ำ ไม่มีใครที่จะถ่ายภาพได้มากเท่ากับ หลวงพ่อเมืองพะเยา เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่เต็มไปหมด เก็บไว้ บนกุฏิในห้องท่าน ท่านจะให้ความส�ำคัญกับการจัดพิมพ์หนังสือมาก : หลวงพ่อท่านให้ความส�ำคัญ เพราะว่าท่าน เห็นว่าหนังสือนั้นเป็นประโยชน์กับเด็กและเยาวชน คน ทั่วไป แต่ถ้าเราไม่ท�ำหนังสือ เสร็จงานก็หมด มันไม่มี อะไรเก็บไว้เป็นที่ระลึก เหมือนกับวัตถุมงคล : หลวงพ่อท่านไม่สร้างวัตถุมงคล เน้นท�ำแต่หนังสือ : วัตถุมงคลก็ท�ำทุกปี โดยลูกศิษย์ลูกหาเป็นผู้ ท�ำ แต่หนังสือถ้าถึงเวลามาท่านจะย�้ำเสมอว่า “ใครจะ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
53
เขียนหนังสืออะไรบ้าง” หลวงพ่อก็จะมีที่เขียนไว้ของ ท่าน แต่ตอนระยะหลัง ๆ มามีคุณเกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ พระครูศรีวรพินิจ พระครูโสภณปริยัติสุธี เหล่านี้ที่มา ช่วยในด้านเขียนหนังสือ ด้านการเทศน์ธรรมค�ำสอนต่างๆท่านเป็นอย่างไรบ้าง : หลวงพ่อท่านเป็นพระนักเทศน์ ที่หาตัว จับยาก จะเทศน์เป็นภาษากลางตลอด ไม่เคยพูดเป็น ภาษาเหนือเลย จะเอาแบบอย่างของวัดเบญจบพิตรมา ใช้ เช่น การลงสวดพระปาติโมกข์ วันพระ ๑๕ ค�่ำ ต้อง ลงปาติโมกข์ จนถึงทุกวันนี้ท่านก็ยังลง บอกว่าเป็นพระ กิจวัตรส�ำคัญ คือ ต้องลงปาติโมกข์และท�ำวัตรสวด มนต์ แล้วก็มีการเทศน์ทุกวันพระ เมื่อก่อนไม่เคยมี ท่านมาอยู่ที่นี่ เลยต้องมีทุกวันพระ มีการแสดงพระ ธรรมเทศนา ไม่มีใครเทศน์ ท่านขึ้นเทศน์เอง เสียดาย อยู่อย่างหนึ่งว่า ตอนที่ท่านเทศน์ไว้เราไม่ได้อัดเทปไว้ ถ้าเราได้อัดเทปไว้เหมือนพระนักเทศน์ในปัจจุบันนี้ที่ ไปไหนท่านก็จะอัดไว้ เช่น หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ สามารถน�ำมาพิมพ์เป็นหนังสือได้เป็นเล่ม ๆ เพราะว่า เทศน์อย่างน้อยไม่ต�่ำกว่า ๑ ชั่วโมง แต่ก็มีบางส่วนที่เขา อัดแล้วพิมพ์ไว้ แต่ว่ามันไม่ตลอด เรียนรู้อะไรจากท่านและน�ำมาปรับใช้อย่างไร : หลวงพ่อท่านจะเป็นแบบอย่าง ที่ดี ที่ให้ เราทั้งหลายได้เห็นเป็นแบบอย่าง ได้ศึกษา ได้ค้นคว้า ปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ท่านได้ปฏิบัติมาแล้วทุกอย่าง เราก็เจริญรอยตามท่าน ท่านท�ำอะไรเราได้รู้ ได้เห็น เรา ก็ท�ำตามรูปแบบของท่านเคยท�ำมา ไม่ท�ำโดยไม่มีแบบ มีแผน เพราะว่าหลวงพ่อท�ำอะไรต้องมีแบบแผน จะ ต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันทุกฝ่ายทุกหมู่คณะ ไม่ใช่ว่าคิดจะท�ำอะไรก็ท�ำ ต้องมีการประชุมก่อน ผลงานของท่านมีผลประโยชน์ต่อสังคมเมืองพะเยา
54 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
: ถือว่ามีประโยชน์มาก เช่น การศึกษาก็มีลูก ศิษย์ลูกหาอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง อย่างเช่นลูกศิษย์จาก โรงเรียนพินิตประสาธน์ ศิษย์มหาจุฬาฯ ศิษย์โรงเรียน บาลี แม้แต่ศิษย์โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มี ประโยชน์มาก คิดดูว่าตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อ ๒๕๑๗ เด็กที่ จบไปมีงานท�ำ ยังย้อนกลับมาบอกว่า “เขา คือ ศิษย์” โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เมื่อก่อนดูเป็นปึกแผ่น มาก แต่หลัง ๆ นี้โรงเรียนสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ไม่ค่อยนิยม เพราะว่าเด็กสมัยนี้เรียนพิเศษกันเยอะ วัน เสาร์ - อาทิตย์ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน พ่อแม่ต้องให้ไปเรียน พิเศษ เมื่อก่อนนั้นไม่มี ดังนั้นถือว่าเราได้สร้างบุคคล นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง พอพูดถึงหลวงพ่อ ภาพอะไรที่นึกขึ้นมาทันที : ถ้าเรานึกถึงหลวงพ่อแล้ว ภาพที่เห็นก็มี แต่ท�ำงาน ท่านเป็นคนที่ท�ำงาน จนถึงปัจจุบันนี้ท่าน ก็ท�ำของท่าน ไม่คิดที่จะอยู่นิ่งเฉย แต่มาปีนี้ท่านจะ ปล่อยวางลงไปเยอะ เช่น อาตมาภาพไปพูดว่าปีนี้จะจัด งานท�ำบุญวันเกิด หลวงพ่อก็บอกว่า “จะท�ำก็ได้ ไม่ท�ำ ก็ได้” ท่านก็เฉย ทุกปีต้องมาประชุมกันว่าจะต้องแบบ นั้นแบบนี้ แต่มาปีนี้ท่านบอก “แล้วแต่ลูกศิษย์ลูกหา” ทุกปีท่านจะต้องบอกว่า “ถ้าจะถวายพระ ต้องแบบนั้น แบบนี้” นึก ๆ ไป ท่านอยูก่ บั เรามาถึงขนาดนี้ ก็ถอื ว่า ท่านเป็นปูชนียบุคคล เป็นปราชญ์ทคี่ นเคารพนับถือ
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
55
56 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เมตตาธรรมต่อผู้ยากไร้ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
57
58 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระราชปริยัติ (สายัน อรินทฺโม)
ผู้อ�ำนวยการส�ำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
เริ่มรู้จักหรือเกี่ยวข้องกับหลวงพ่ออย่างไร : ตอนที่รู้จักและอยู่หลวงพ่อ จะมีอยู่ ๒ ช่วง ช่วงแรก ก็คือเมื่อประมาณ ปี ๒๕๒๘ ตอนนั้นหลวงพ่อ เจ้าอาวาสที่วัดน�ำมาฝากเรียนบาลีที่นี่ โดยเจอท่านครั้ง แรกท่านไม่รับ ท่านบอกว่า “วัดมีที่อยู่เต็ม” ตอนนั้น พระกับเณรค่อนข้างเยอะมาก ๘๐ - ๙๐ รูป สิ่งปลูก สร้างที่วัดค่อนข้างเล็ก ที่อาศัยไม่เพียงพอ แต่เนื่องด้วย ท่านเห็นว่าเป็นลูกเป็นหลานคนพะเยา ท่านก็ตกลงรับ เข้าศึกษาในปีนั้น เบื้องต้นก็อยู่แค่ถึงปี 2531 เรียนถึง นักธรรม 4 ประโยค ที่ส�ำนักเรายังไม่มีสอนประโยค ชั้นสูง ยังไม่มีชั้นต่อไป ท่านก็ให้ย้ายไปศึกษาต่อได้ ซึ่ง ตอนนั้นย้ายไปศึกษาต่อที่วัดมงคลทับ จังหวัดพิจิตร ซึ่ง ประจวบเหมาะว่า หลวงพ่อวัดที่นั่นกับหลวงพ่อเรารู้จัก กัน กลับมาอีกครั้งหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน ก็ เกือบ ๒๐ ปี ก็มาช่วยงานท่าน แล้วตลอดเวลาที่รู้จัก หลวงพ่อ ท่านให้การดูแลตลอด แม้ย้ายไปเรียนต่อต่าง จังหวัด ท่านยังให้การสนับสนุนส่งเสริมอยู่ พอเรียนต่อ ที่กรุงเทพ หลวงพ่อท่านยังให้การสนับสนุนส่งเสริมอยู่ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
59
ทุกอย่าง ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย เรื่องค่ารถ ค่าเดินทางจน กระทั่งเรียนจบ ท่านบอกว่า “เรียนจบแล้วกลับไปช่วย งานที่พะเยานะ” ก็รับปากท่าน พอจบก็ไปลาหลวงพ่อ เจ้าอาวาสวัดที่กรุงเทพก็ไม่อยากให้มา อยู่ในช่วงการ ตัดสินใจล�ำบาก ก็เลยบอกเหตุผลท่าน ท่านก็บอกว่าให้ กลับมาช่วยงานที่พะเยา ได้แค่ ๓ เดือน ๑ พรรษานะ พอออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อเจ้าอาวาสที่กรุงเทพท่าน ได้มรณภาพ ก็ถือโอกาสตอนนั้น หลวงพ่อได้บอกว่า “ไหนๆท่านเจ้าอาวาสก็สิ้นแล้ว กรุงเทพมีคนเรียนธรรม เก้าประโยคก็เยอะแล้ว ขอตัวกลับมาช่วยงานที่นี่เถอะ” เลยเป็นการเริ่มต้นสนองงานหลวงพ่อเป็นครั้งที่สอง ท�ำไมท่านถึงให้ความส�ำคัญกับภาษาบาลี : เดิมทีหลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังว่า หลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระ สังฆราชของวัดเบญจมบพิตรฯ ในสมัยนั้นท่านอนุญาต ให้พระแต่ละรูปกลับภูมิล�ำเนาถิ่นฐานเดิมได้ หลวงพ่อ ท่านจึงกลับมาพะเยาและเริ่มบุกเบิกงานด้านการศึกษา ขึ้น เพราะท่านเป็นคนที่ชอบสร้างคนมากกว่าสร้างวัตถุ ท่านเคยบอกเสมอว่า “การศึกษาสร้างพระเณรที่ดีกับ วัด ที่ดีกับศาสนาได้” แม้เริ่มต้นเดิมทีท่านไม่ได้อยากจัดการศึกษา เกี่ยวกับเรื่องธรรมบาลี แต่สิ่งที่ท่านท�ำแล้วเป็นผลดี ถึงปัจจุบันคือโรงเรียนการกุศลของวัดหรือ “โรงเรียน พินิตประสาธน์” เป็นผลงานที่หลวงพ่อท่านภูมิใจ ท่านบอกว่ามันเป็นผลงานที่ท่านทุ่มเท ทั้งแรงกายและ แรงใจ ทั้งชีวิตของท่าน แต่ท่านก็เห็นว่าในส่วนนั้นเมื่อ ท�ำส�ำเร็จแล้ว ท่านก็ต้องการที่จะสร้างพระเณร การที่ จะสร้างพระเณรได้ดี ไม่มีการศึกษาส่วนใดที่จะดีเท่า การศึกษาธรรมบาลีในสมัยนั้น หรือแม่แต่ปัจจุบันเอง ก็ตาม เนื่องจากว่าการศึกษาธรรมบาลีเป็นการศึกษา แขนงหลักของพระพุทธศาสนา ที่เป็นกระบวนการ ศึกษาการขัดเกลาทั้งผู้เรียนและผู้สอนให้เห็นคุณค่า
60 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ของศาสนา เห็นคุณค่าของพระธรรมพระสงฆ์ โดย เฉพาะพระพุทธเจ้าผู้เป็นเป็นศาสดาของศาสนา เพราะ เป็นการศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางพุทธศาสนา ความเป็นมา ทุกสิ่งทุกอย่างที่ส่งผ่านภาษาบาลีและนัก ธรรมที่เรียนกันอยู่ หลวงพ่อเห็นว่าถ้าอยากได้พระเณร ที่อยู่กับวัด การศึกษาบาลีจะช่วยได้เยอะ จ�ำความได้ว่า ท่านเคยเล่าให้ฟังท่านเคยท�ำ อยู่หลายครั้งแต่ก็ล้มเลิกไป เพราะหาผู้สอนได้ยากมาก ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ท่านบอกว่า ท่านยอม ทุ่มเททุกอย่าง แต่สิ่งที่เราเห็นนักเรียนบาลีสมัยนั้น สิ่ง ที่เราประทับใจตัวหลวงพ่อเอง คือหลวงพ่อท่านให้ทุก อย่างทั้งแรงกาย ตกเย็นมาไม่มีเจ้าอาวาสรูปไหนวัด ใดที่เป็นถึงพระราชาคณะ ต้องมาก่อฟืนสุมไฟ ต้มน�้ำ ปานะถวายนักเรียน ไม่มี มีแต่หลวงพ่อนี่แหละ ท่าน ด�ำรงสมณศักดิ์ชั้นราชแล้ว แต่ท่านยังท�ำในสิ่งเหล่านี้ เพราะท่านมองว่านักเรียน เรียนมาก็เหนื่อยทั้งวัน จะ มาให้ต้มน�้ำปานะให้ฉันเอง มันก็กะไรอยู่ ตัวท่านเอง ท่านยังพอมีเวลาว่าง จึงเป็นภาพที่ท�ำให้เราผูกพันกับ หลวงพ่อ หลวงพ่อท่านท�ำให้ทุกอย่าง แม้แต่เวลาหลวง พ่อไปปฏิบัติภารกิจนอกวัดหรือต่างจังหวัด ทุกครั้งที่ หลวงพ่อท่านไม่เคยลืมก็คือพวกฟืนถ่านที่ใช้หุงต้ม จะ ต้องติดรถท่านมาตลอด ท่านเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่ง จ�ำเป็นขั้นพื้นฐานที่นักเรียนบาลีพวกเราทั้งหลายต้อง ใช้ในการหุงต้มอาหารทั้งเช้าทั้งเย็น ซึ่งตอนนั้นที่วัด สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างหายาก หรือไปไหนก็แล้วแต่ ถ้าท่าน ไปเทศน์ ไปสอนไปที่ไหนก็แล้วแต่ ท่านจะมีพวกผล หมากรากไม้หรือพวกวัตถุดิบที่ใช้ท�ำครัวเลี้ยงพระภิกษุ สามเณรมาให้ตลอด มันจึงเป็นภาพที่เราเห็นว่า หลวง พ่อเข้าวัดมาปุ๊ป จะต้องมีของที่ติดรถมา มันก็เลยท�ำให้ หลาย ๆ คนส่วนใหญ่มองเห็นว่าหลวงพ่อเป็นผู้ให้จริง ๆ แม้แต่เรื่องทุนการศึกษาเรื่องการสนับสนุน ท่านก็ให้ตลอด ดังนั้นในปัจจุบันมันจึงไม่แปลกใจว่า ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
61
ท�ำไมหลวงพ่อซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ อายุขนาดนี้ ด�ำรง สมณศักดิ์สูงขนาดนี้ จึงไม่มีเงินเก็บ เพราะเนื่องจาก หลวงพ่อท่านให้ตลอด ท่านมีเท่าไหร่ท่านก็ให้ ยิ่งเมื่อ ๓๐ - ๔๐ ปีที่แล้ว จตุปัจจัยมันไม่ได้หามาง่ายขนาดนี้ แต่ด้วยความที่หลวงพ่อท่านรักที่จะสร้างคน สร้างพระ สร้างเณร สร้างการศึกษา ท่านยอมเก็บหอมรอมริบเพื่อ ส่งลูกศิษย์ท่านเรียน ท่านไม่เคยใช้เงินวัด ท่านใช้เงิน ส่วนตัวของท่าน แม้การเดินทางไปไหนก็แล้วแต่ ท่าน จะไม่ใช้เงินวัด การส่งลูกศิษย์ไปเรียน แม้แต่การศึกษา ของอาตมาเอง เวลาจะกลับกรุงเทพหรือไปต่างจังหวัด หลวงพ่อก็จะให้ค่ารถและบอกอยู่เสมอว่า “นี่ไม่ใช่เงิน วัดนะ เป็นเงินหลวงพ่อ” จึงเป็นแรงบันดาลใจที่อาตมา ต้องกลับมาที่นี่กลับมาดูแลท่าน กลับมาสนองงานท่าน หลวงพ่อบอกไหมว่าท่านได้แรงบันดาลใจมาจากไหน : หลวงพ่อท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เหตุที่ท่าน ต้องท�ำเรื่องการศึกษา ท่านเห็นว่าต่างจังหวัดแดนไกล โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นสถานที่ห่างไกลจากการ ศึกษา ถ้าไม่จัดการศึกษาแล้ว ลูกหลานชาวบ้านหรือ พระภิกษุสามเณรจะเล่าเรียนอะไร สุดท้ายแล้ววัดก็ จะได้พระเณรที่ไม่มีการศึกษา แล้วพระเณรที่ไม่มีการ ศึกษาจะไปช่วยพระศาสนาอะไรได้ ท่านได้มองเห็น ว่าศึกษาสามารถสร้างคน คนที่ว่านี้ก็คือ พระภิกษุ สามเณร แล้วเมื่อสร้างพระภิกษุสามเณรที่ดีได้ คราว นี้ก็อยู่ที่พระภิกษุสามเณรว่าสามารถเป็นศาสนทายาทที่ ดีของพระพุทธศาสนา ท่านก็บอกว่าเป็นการช่วยเหลือ เป็นตอบแทนคุณพระพุทธเจ้า ในสิ่งที่หลวงพ่อท่านมุ่ง มั่นและตั้งใจของท่าน หลวงพ่อท่านมีวิธีหรือแนะน�ำด้านบาลีอย่างไร : ส่วนใหญ่หลวงพ่อท่านจะเล่าถึงความล�ำบาก ทีท่ า่ นตัง้ ส�ำนักเรียนบาลี พอมาถึงขนาดนีไ้ ด้ ท่านต้องท�ำ อะไรไปบ้าง ล�ำบากในการหาครูมาสอน ล�ำบากในการ
62 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ต้องสนับสนุนส่งเสริม ทั้งการดูแลพระภิกษุสามเณรทุก อย่าง แต่ท่านรู้ว่าท่านเรียนมาไม่สูงนักเรื่องบาลี เพราะ เนื่ อ งจากในภาวะที่ ห ลวงพ่ อ เรี ย นอยู ่ ใ นภาวะที่ บ ้ า น เมืองไม่สงบ ที่เกิดจากภาวะสงคราม ท่านก็บอกเสมอว่า หลวงพ่อสนับสนุนต็มที่ จะเรียนแบบไหน เรียนอย่างไร สนับสนุนให้เต็มที่ ขาดเหลืออะไรบอกท่าน ท่านดูแล ให้ทั้งหมด โดยการเรียนการศึกษา ขอให้เป็นหน้าที่ของ ครูใหญ่กับคณะครู ส่วนหลวงพ่อจะเป็นผู้ให้สนับสนุน เต็มที่ เต็มก�ำลังความสามารถที่ท่านมีให้ นอกจากนี้ ท่านจะไปดูว่าเวลาเรียนใครเข้าเรียน ใครเข้าสอน ท่าน ก็ไปให้ก�ำลังใจอยู่ข้างข้าง แม้หลวงพ่อจะมีงานคณะ สงฆ์ที่ต้องดูแลเป็นส่วนมาก ซึ่งตอนนั้นอาตมามาอยู่ ที่นี่หลวงพ่อขึ้นชั้นเป็นรองเจ้าคณะภาคแล้ว การงาน คณะสงฆ์เยอะมาก แต่ท่านก็ยังมีเวลาที่จะแสวงหา หรือหาวัตถุดิบ หาทุนทรัพย์ในการสนับสนุนให้ทุกคณะ ครูอาจารย์และนักเรียน ไม่เคยทอดทิ้ง แม้แต่ปัจจุบันก็ ไม่เคยทอดทิ้ง ถึงท่านจะอายุมาก ท่านอาจหลง ๆ ลืม ๆ ไปบ้าง แต่เรื่องบาลี ท่านไม่เคยลืม เรื่องอื่นจ�ำได้บ้างไม่ ได้บ้าง หรือลูกศิษย์ลูกหามากราบไหว้ บางทีก็จ�ำไม่ได้ ก็เป็นธรรมดาของคนอายุมาก แต่ว่าเรื่องบาลีไม่เคยลืม เลย ยกตัวอย่างครั้งสุดท้าย ล่าสุด เมื่ออาทิตย์ ก่อน มีปฐมนิเทศการศึกษาบาลี หลวงพ่อท่านสามารถ ให้โอวาท เป็นชั่วโมงๆ ได้ เกี่ยวกับเรื่องภาษาบาลี ท่าน สามารถให้โอวาท ตั้งแต่เริ่มต้น เดิมที่ท่านตั้งส�ำนักเรียน เมื่อปี ๒๕๑๗ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็แสดงว่า บาลีฝัง ลึกในสายเลือดของท่าน เพราะท่านเห็นว่าบาลีเป็นการ สร้างพระเณรที่ดีให้กับวัด หากมีพระเณรที่ดีที่อยู่กับวัด วัดก็เป็นวัดที่ดีของศาสนา คิดว่าหลวงพ่อท่านเป็นแรงบันดาลใจด้านใด : ภาพที่เราเห็นหลวงพ่อเป็นผู้ให้ ส่วนตัว ของอาตมา อาตมาถือก�ำเนิดมากับโยมพ่อโยมแม่ ถาม ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
63
ว่ารักท่านไหม รัก แต่ถ้าเลือกระหว่างโยมพ่อกับโยม แม่ ครอบครัว หลวงพ่อ อาตมาเลือกหลวงพ่อ โยม พ่อโยมแม่ เขาให้ก�ำเนิด เขาให้ชีวิต แต่หลวงพ่อท่าน ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ชีวิต ให้การศึกษา ให้แนวคิด ให้ วิถีชีวิต แล้วก็ให้รู้ซึ้งบุญคุณของการใช้ชีวิตในสังคม ดัง นั้น หลวงพ่อท่านจะให้ก�ำลังใจในการท�ำงาน โดยเฉพาะ เรื่องบาลี หลวงพ่อท่านจะรับฟังปัญหาทุกอย่างและ ท่านหาวิธีการแก้ไข ช่วยเหลือ และจุนเจือให้ ด้วยความที่หลวงพ่อเป็นพระที่ให้มาตลอด และเป็นพระที่เป็นนักการศึกษา อาตมายอมท�ำทุกอย่าง ให้ท่าน ยอมถวายชีวิตให้ท่าน เพราะเห็นภาพหลวง พ่อที่ท่านให้เราเมื่อสามสิบปีที่แล้ว เป็นภาพที่เป็นแบบ อย่าง วันนี้เรามาอยู่จุดนี้ได้ ท�ำให้เราหวนระลึกถึงว่า คุณประโยชน์หรืออุดมการณ์ที่หลวงพ่อมี อุดมคติที่ หลวงพ่อใช้ มันเป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์ให้กับวัด กับพระ ศาสนา อย่างมหาศาล ฉะนั้นเมื่อเรียนจบ ถามว่ามี ส�ำนักเรียนที่ต้องการให้อาตมาไปสอนหรือไปเป็นครู มี เยอะมาก บางวัดให้ข้อเสนอไปอยู่กะเขา ให้ต�ำแหน่งนู่น นี่ แล้วก็เงินเดือน เขาถามเลยว่าต้องการเท่าไหร่ เขาให้ ได้เต็มที่ แต่ถามว่าส่วนนั้นมันช่วยอะไรได้ไหม ก็ช่วย ได้เยอะนะ แต่ทีนี้ว่า อุดมการณ์และภาพลักษณ์ หรือ ว่าสัญลักษณ์ของการเป็นหลวงพ่อเราจะเอาไปไว้ที่ไหน เอาไปไว้ตรงไหน ถ้าหากเรามีตัวอย่างที่ดีๆให้เห็น แต่ เราไม่สามารถท�ำดีตามได้ ความดีมันก็จะไม่เกิด อย่าง ทุกวันนี้ เราคิดว่าพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดีงาม ถามว่า คนเคยเห็นพระพุทธเจ้าไหม คนก็ไม่เคยเห็น เพียงแต่รู้ ว่าแนวทางหรือหลักธรรมของพระพุทธองค์ประทานไว้ ให้เราท�ำ เราปฏิบัติ เห็นว่ามันจริง มันเป็นสิ่งดีส�ำหรับ ชาวโลก เรายังอุตส่าห์ยอมท�ำ เราท�ำเพื่อคนที่เราไม่ เคยเห็นตัว แต่หลวงพ่อท่านอยู่ให้เห็น ท่านท�ำเป็น ตัวอย่างที่ดี ที่สามารถจับต้องลูบคล�ำได้เป็นรูปธรรมได้ ถ้าหากว่าเรามีทุกอย่างที่ดีแล้ว เราไม่ประพฤติปฏิบัติ ตามอุดมการณ์ของท่าน หรือรักษาเกียรติภูมิไว้แล้ว
64 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เมื่อไหร่จะท�ำ การเรียนการศึกษาก็ไม่มีประโยชน์หรอก ถ้าเราไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ตามที่หลวง พ่อท่านมอบหมายให้ได้ หลายคนที่มาที่นี่ บอกว่าหลวงพ่อไม่เคยเข้า ห้องเรียนสอน แต่ว่าค�ำสอน คือ โอวาทของท่าน สิ่งที่ ท่านท�ำเป็นตัวอย่างนั้น มันเป็นแบบอย่าง-แบบแผนที่ดี เป็นชนิดบุคคลที่เราควรเอาเป็นแบบอย่างในการสร้าง ประโยชน์และสังคม เหมือนค�ำโบราณบอกว่า หนึ่งแบบ อย่างที่ดี ดีกว่าหมื่นวิธีค�ำพูด นั่นคือหลวงพ่อ ดังนั้นก�ำลังใจทุกอย่างที่คณะครูเรามี ณ วันนี้ แม้หลวงพ่อท่านจะอ่อนแรงไปเยอะ ท่านไม่ได้คลุกคลี ตีวงเหมือนสมัยก่อน แต่เราก็ยังเชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งที่ หลวงพ่อต้องการ พวกเราไม่เคยทอดทิ้งบาลี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ การศึกษาบาลีที่นี่ถึงทาง ตัน นั้นก็คือไม่มีนักเรียนเลย นักเรียนลงศูนย์ พวกเรา คณะครูน�ำความไปหารือหลวงพ่อ สิ่งแรกที่หลวงพ่อ ท�ำให้เห็นคือการถอนหายใจ แล้วท่านก็บอกว่าเราจะ ท�ำยังไงกัน พวกเราก็เลยเสนอเรื่องบอกหลวงพ่อว่า ทุกรูปทุกนามที่อยู่ที่นี่คณะครูบาลี เราจะฟื้นมาอีกครั้ง พวกเรายอมสละทั้งแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ เราจะ ท�ำ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เราจะไม่ยอมหยุดอยู่แค่นี้ ถึงจะ มีอยู่รูปเดียวเราก็จะหา เราก็จะเรียน เราก็จะสอน ท่าน สามารถยิ้มได้ ท่านยังบอกเลยว่า ถ้ามันง่ายเหมือนกับ เททองหล่อพระ หล่อเหรียญ หลวงพ่อจะเททองหล่อที ละเป็นร้อยเป็นพันรูปเลย นั่ น แสดงว่ า ท่ า นมี ค วามมุ ่ ง มั่ น ในเรื่ อ งของ ภาษาบาลี หลวงพ่อท่านจะบอกเสมอว่า “ในวัดศรีโคม ค�ำใครจะจัดการศึกษาอะไรก็แล้วแต่ ถ้านอกจากภาษา บาลี รอให้หลวงพ่อตายก่อน” มันคือปณิธาน เป็น อุดมการณ์ที่แน่วแน่ เพราะหลวงพ่อยืนอยู่เคียงข้าง ภาษาบาลีตลอด แม้กระทั่งจนปัจจุบันก็สนองสอดคล้อง กับนโยบายของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าแม่กอง บาลีสนามหลวง เมื่อท่านมาตอนที่หลวงพ่ออายุ ๙๒ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
65
ท่านบอกว่า“ขอให้เรียนให้สอนถึงจะมีรูปเดียวก็ขอให้ สอน” ด้วยความเป็นห่วงของผู้ใหญ่และความมุ่งมั่น ของคณะครูที่ต้องการท�ำถวายหลวงพ่อ พวกเราจึงยอม ฝ่าฟัน ท�ำทุกอย่างจะหนักหรือจะเหนื่อย พวกเราไม่ท้อ จนกระทั่ง ณ วันนี้ เรายังมีนักเรียนบาลี คืนกลับมา ๔๐ - ๕๐ รูป ซึ่งก็ท�ำให้หลวงพ่อท่านยิ้มได้ และท�ำให้หลวง พ่อท่านภาคภูมิใจว่าคณะลูกศิษย์ลูกหาที่ท่านเลี้ยงมา กับมือไม่ทิ้งงานของท่าน นี้คือสิ่งที่เราท�ำให้หลวงพ่อได้ ท่านเคยบอกว่า “เรื่องเงินเรื่องทอง ใครไม่ต้องหามาให้ ท่านไม่ได้ต้องการ ท่านไม่ได้บวชเพื่อเก็บเงินเก็บทอง” ท่านบอกมาตลอด ให้ท�ำเพื่อดูแลการศึกษาให้ดี ดูแล วัดวาอาราม ดูแลเรื่องบาลีแค่นั้นเอง เวลามีปัญหาต่างๆ หลวงพ่อแนะน�ำหรือใช้วิธีอะไร : ท่านมีวิธีแก้ปัญหาตลอด ท่านบอกว่า หลวง พ่อท�ำงานมาเยอะ รู้จักคนมาก็มากท�ำงานกับบริหาร คณะสงฆ์มาก็มาก ยกตัวอย่างมีอยู่ครั้งหนึ่งเณรเราดื้อ มันก็ดื้อตามภาษาเด็กจนเรื่องราวบานปลาย ไม่รู้จะ แก้ไขยังไง ก็พาคณะครูมาหาหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านก็ ถามว่า “ท่านเสียใจกับเรื่องพวกนี้ ท่านตัดสินใจไล่เณร ออกจากวัดเกือบ ๒๐ รูป” แต่กลายเป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะตอนนัน้ ๒๐ รูปออกจากวัดไปแล้วก็จบเลย เพราะ นักเรียนมีน้อยอยู่แล้ว ทีนี้คนที่จะมาเรียนก็ไม่มา พวก เราก็เข้าหาหลวงพ่อ ตอนนั้นคณะครูเราก็รู้สึกถึงทาง ตัน เพราะแก้ปัญหาไม่ได้ มันเป็นค�ำสั่งของเจ้าอาวาส มีอ�ำนาจทางกฎหมาย ทุกคนก็มานั่งจับเข่า สุมหัวกัน ว่า คงหมดแล้วล่ะ สิ่งไหนที่หลวงพ่อตัดสินใจไปแล้วก็ คือจบ ไม่มีใครคัดค้าน หลวงพ่อก็บอกว่า “หลวงพ่อ ตัดสินใจไปแล้ว หลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาส ถ้าวันนี้พูด อย่างพรุ่งนี้พูดอีกอย่างใครจะไปเคารพนับถือ” ค�ำพูดนี้ กินใจมาก หลวงพ่อก็ถามว่า “แล้วคณะครูจะท�ำยังไง” เราก็บอกว่า พวกกระผมขอความเมตตาหลวงพ่อ ครั้ง หนึ่งหลวงพ่อเคยบอกว่า การศึกษาสามารถสร้างคนให้
66 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เป็นคนดีได้ การศึกษาสามารถสร้างพระเณรที่ดีให้กับ วัดได้ ท่านบอกว่า “ใช่ แล้วมันดีไหมล่ะ” เราก็บอกว่า เราตระหนักในคุณประโยชน์ของส�ำนักบาลีที่หลวงพ่อ ฝ่าฟันมาตลอด เราไม่อยากให้มันถึงทางตัน ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ ถ้าถึงทางตันจบกันแบบนี้ส�ำนักเรียนก็เดิน หน้าไม่ได้ แล้วสิ่งที่หลวงพ่อสร้างขึ้นมา ด้วยน�้ำพักน�้ำ แรงของหลวงพ่อทุกสิ่งทุกอย่าง มันต้องมีอันต้องจบ ต้องหยุดแค่นี้ ท่านยอมฟัง ท่านนั่งคิดอยู่นานเหมือนกัน มา ถึงตรงนี้เพราะความที่หลวงพ่อเป็นนักการศึกษา ท่าน ชอบสร้างคนมากว่าสร้างวัตถุ ท่านก็บอกว่า “ถ้าเช่นนั้น หลวงพ่อจะยอมให้ครั้งหนึ่ง แต่อย่าให้มีอีก แต่ถ้าจะไม่ ให้มีอะไรไม่ได้ เพราะหลวงพ่อพูดไปแล้ว” พวกเราก็ยัง พอใจชื้นขึ้นมาหน่อย “เอาแบบนี้แล้วกัน ถ้าไม่อยากให้ เป็นปัญหามาก ให้พานักเรียน ๒๐ รูปเข้ามาขอขมาและ รับฟังโอวาท” ดังนั้นปัญหาก็จบ มีอยูค่ รัง้ หนึง่ ในตอนปี ๒๕๔๗ ตอนนัน้ อาตมา ได้รับเลือกให้เป็นต�ำแหน่งรองคณะเจ้าจังหวัดวันที่ขึ้น ไปกราบหลวงพ่อ ท่านบอกว่า “ดีใจด้วยทีค่ ณะสงฆ์เห็น คุณค่าของคนของเรา” ท่านบอก “คนของเรา” แล้ว ท่านก็บอกว่า “เรือ่ งยศเรือ่ งต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงานมันไม่ ยัง่ ยืนหรอก มันเป็นเพียงสังคมทีเ่ ขาอุปโลกน์ขนึ้ มา เขา ให้ท�ำหน้าที่ไปตามนั้น สิ่งไหนที่คณะสงฆ์เขาให้เกียรติ ให้ความเคารพศรัทธาก็ให้ปฏิบัติตัวแบบนั้นต่อไป อย่า ไปหลงใหลได้ปลื้มกับยศต�ำแหน่งที่มีมา” เป็นค�ำโอวาท ของท่านที่อาตมาเขียนไว้ในสมุดโน้ตถึงปัจจุบันนี้ ถือ เป็นค�ำเตือนค�ำสอนที่คิดว่า น้อยคนนักที่หลวงพ่อท่าน จะรู้ว่าใครควรบอกได้ ใครบอกไม่ได้ ท่านรู้ตัวเอง ท่าน รู้ของท่านเอง เพราะฉะนั้นท่านบอกลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ ด้วยกันทั้งหมด แต่ละคนจะแตกต่างกันไป ถามหลวง พ่อรักไหม รักทุกคน แต่จะสอนคนไหนอย่างไร จะไม่ เหมือนกัน เพราะท่านจะรู้ว่าใครควรบอกและแนะน�ำ แบบไหน ใครควรชี้แนะน�ำยังไง ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
67
อย่างอาตมาไปร่วมงานคณะสงฆ์ ท่านก็จะ แนะน�ำ เพราะท่านด�ำรงต�ำแหน่งคณะสงฆ์มาก่อน ท่านบอกว่า ก่อนท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ท�ำงานยังไงถึงได้รับการยอมรับเชื่อถือ เป็นเจ้าคณะ จังหวัดพะเยาท�ำยังไงให้คณะสงฆ์ยอมรับนับถือ ซึง่ จริง ๆ เป็น อย่างที่หลวงพ่อว่า คณะสงฆ์ส่วนใหญ่ให้ความเคารพ นับถืออย่างเกณฑ์หลวงพ่อ เนื่องจากหลวงพ่อท่านเป็น คนตรงไปตรงมา ผิดก็ว่าตามผิด ถูกก็ว่าตามถูก ผิดจะ แก้ไขอย่างไง ไปอีกเรื่องหนึ่ง ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก สิ่ง ที่อาตมาชอบก็คือ ท่านเป็นแบบลักษณะไม้หลักปักหิน ว่าไปตามเนื้อผ้า ใครท�ำผิด ก็คือลงโทษ ถามว่าอาตมา เคยโดนไหม เคย คือถูกหลวงพ่อตีจนเลือดไหล ณ วันนี้ท�ำให้เราส�ำนึกได้ว่าถ้าไม่มีหลวงพ่อ วันนั้นก็ไม่มีเรา ณ วันนี้ พอเรียนจบ อาตมาจึงไม่สนใจ เรื่องอย่างอื่น ขออย่างเดียว คือ กลับมาช่วยงานท่าน จะให้ช่วยหรือไม่ให้ช่วยก็คือเรื่องของท่าน แต่นั่นหน้าที่ ของเรา เพราะหน้าที่ของท่านในการอุปการะเลี้ยงดู เรา ท่านท�ำส�ำเร็จแล้ว ท่านส่งเสียเราจนจบ แต่หน้าที่ ในการทดแทนคุณเป็นของเรา เป็นหน้าที่ที่เราควรท�ำ สนองคุณแก่ท่าน หลวงพ่อท่านฝากบอกให้สืบต่อ นอกจากเรื่องบาลี : เรือ่ งพวกนีห้ ลวงพ่อจะไม่พดู เพราะท่าน เห็นว่าลูกศิษย์มเี ยอะ โดยปกติหลวงพ่อจะไม่ฝากฝังกับ รูปใดรูปหนึง่ เพราะฉะนั้นมาถึงปรัชญาของวัดศรีโคมค�ำ “สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี” เน้นเรื่องสามัคคีเป็นหลัก ถึง จะรู้บ้างที่ลูกศิษย์อาจมีปีนเกลียวกัน แต่ท่านจะไม่พูด เรื่องพวกนี้ ท่านจะไม่มอบหมายให้กับบุคคลใดบุคคล หนึ่ง รูปใดรูปหนึ่ง ดูแลเป็นพิเศษ ท่านเคยพูดว่า “ทุก รูปก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ จะในหรือนอกวัดก็เป็น ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ถ้าให้ความพิเศษรูปใดรูปหนึ่งที่ เหลือจะท�ำยังไง” นี่คือ หลวงพ่อ นี่คือ ตัวตนของหลวง พ่อ
68 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
คุณูปการของหลวงพ่อ สังคมเมืองพะเยา : เห็นได้ชัดเจนง่าย ๆ ที่สุด ก็คือ โรงเรียน พินิตประสาธน์ วันแรกที่หลวงพ่อท่านฟันฝ่าอุปสรรค กว่าจะมาเป็นโรงเรียนพินิตประสาธน์ได้นั้น ท่านต้อง เจอกับมรสุม เจออุปสรรคเยอะมาก แต่ท่านไม่เคย ย่อท้อ เพราะท่านเห็นว่า โรงเรียนนี้จะเป็นแหล่งศึกษา ของลูกหลานชาวพะเยา พินิตประสาธน์ ณ วันแรกที่ หลวงพ่อท�ำ กับ ณ ปัจจุบัน มันเป็นสิ่งที่ให้สังคมโดย เฉพาะลูกหลานของเรามากมายมหาศาล มากกว่าคน พะเยาให้หลวงพ่อทั้งพะเยาเชียงราย ซึ่งคงนับเป็น จ�ำนวนไม่ได้ ณ ปัจจุบัน ท่านก็ยังให้ สิ่งหนึ่งที่อาตมาเคารพและศรัทธาในความ คิดของท่าน ก็คือการให้ ไม่ว่าใครจะรู้จักหรือไม่รู้จัก จากไหนลูกเต้าเหล่าใคร หรือพระภิกษุวัดไหนก็แล้ว แต่บางทีเขียนจนหมายมาขอเงิน หลวงพ่อก็ยังให้ ไม่ เคยรู้จัก เห็นแค่จดหมาย ก็ส่งไปให้เขา ถามหลวงพ่อ “หลวงพ่อรู้จักเหรอแล้วให้เขาไปท�ำไม” หลวงพ่อก็บอก ว่า “ก็อตุ ส่าห์เขียนมาขอ...สงสารเขา” นีค่ อื สิง่ ง่าย ๆ เบือ้ งต้นทีห่ ลวงพ่อให้กบั สังคม ฉะนั้นคณะสงฆ์และการศึกษาสงฆ์ ทั้งธรรม บาลี ทั้งเรื่องการศึกษา มันคิดเป็นจ�ำนวนไม่ได้หรอก ว่า หลวงพ่อให้มากน้อยแค่ไหน แต่อาตมาเชื่อว่า หลวง พ่อให้กับสังคมคนพะเยา ทั้งวงการคณะสงฆ์พะเยา ทั้ง ฆารวาสญาติโยมมากว่าที่ให้หลวงพ่ออีก ร้อยเท่าพัน เท่า หลวงพ่อให้ได้ คนทั้งจังหวัด อย่างพินิตประสาธน์ หลวงพ่อให้ ณ วันนี้ที่ผ่านมานักเรียนเป็นหมื่น ๆ และ คนเรานี้ที่ประสบความส�ำเร็จมีอาชีพการงาน มีชีวิตที่ดี มีเยอะแยะไป มีไม่ถึง ๑ - ๑๐ นะ ที่กลับมาหาหลวงพ่อ มาเลี้ยงดูหรือมากราบไหว้ท่าน ซึ่งหลวงพ่อท่านไม่เคย เรียกร้อง ถ้าคิดว่าหลวงพ่อให้อะไรกับพะเยา มันยาก ที่จะบอกว่าให้อะไรบ้าง แต่อาตมาก็ยังยืนยันได้ว่า ให้ มากกว่าคนพะเยาให้หลวงพ่อ แม้กระทั่งมหาวิทยาลัย พะเยา หลวงพ่อก็ยังมีส่วนในการริเริ่มผลักดันที่จะให้ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
69
เกิดมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ปัจจุบันถึงแม้ว่าท่านจะอ่อน แรงไปเยอะ อายุขนาดนี้แล้วท่านก็ยังให้ ท่านไม่เคยเก็บ นี่ก็คือ ปณิธานของหลวงพ่อ ฉะนั้นต้องกลับไปถามคน พะเยานะ ว่าให้อะไรกับหลวงพ่อบ้าง นึกถึงภาพของหลวงพ่อ ภาพนั้นคืออะไร : ความยุติธรรมและความเป็นผู้ให้ของท่าน ทุกวันที่ยอมอยู่กับท่าน ที่ไม่ยอมไปไหน เพราะว่าเห็น ความเป็นผู้ให้ กับความยุติธรรมที่หลวงพ่อให้กับสังคม แต่ไม่รู้นะ ก็แล้วแต่มุมมองของคน แต่อาตมาได้รับมา แบบนี้ สิ่งที่เราเห็นสิ่งที่เราได้สัมผัส สิ่งเราได้อยู่ด้วย มานานเหล่านี้ มีคุณค่าแบบไหนยังไง ถ้าสิ่งเหล่านี้ หลายคนที่ไม่ได้รู้จักหลวงพ่อ ไม่ได้สัมผัสไม่ได้เกี่ยวข้อง กับหลวงพ่อก็อาจจะมองยากนะ อาตมาว่า หรือบางที ลูกศิษย์หลาย ๆ คนที่ไปจากที่นี่แล้ว ไม่มีโอกาสแวะ เวียนมาหาหลวงพ่อ ก็อาจจะไม่รู้ว่าหลวงพ่อท่านเป็น แบบไหนอย่างไร นั่นก็เป็นมุมมองของคน แต่ส่วนของ อาตมา ทุกวันนี้ถึงยอมเลือกอยู่กับท่าน เพราะโยมพ่อ ก็ยังดูแลตัวเองได้ ก็ยังมีลูกมีหลานดูแลได้ แต่หลวงพ่อ ถามว่ามีคนดูแลหลวงพ่อเยอะไหม เยอะมาก ทั้งลูก ศิษย์ลูกหา ทั้งภิกษุสามเณร สังคญาติ ญาติโยม แล้ว ถามว่า ถ้าแบบนั้นมันส�ำคัญ มันจ�ำเป็นถึงกับเราต้อง มาดูแลไหม คิดว่าจ�ำเป็น เพราะยิ่งมีคนดูแลเยอะเท่า ไหร่ยิ่งเป็นน�้ำทิพย์ชโลมใจท่านมากเท่านั้น หลายๆคน คงคิดว่าหลวงพ่อคงมีคนดูแลเยอะแล้วก็อาจจะห่าง ๆ ท่านไปบ้าง แล้วเมื่อไหร่เขาจะได้ดูแลท่าน วันนี้ ที่ลูกศิษย์หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือเราทุก ๆ คน ที่จะต้องเข้าใจ คือ หนึ่งวันที่ผ่านไป คือ หนึ่งก้าวที่ หลวงพ่อจากเราไปตามวัยตามสังขาร ท่านไม่กลับมา อยู่กับเราเหมือน สามสิบ สี่สิบปีที่แล้วหรอก วันนี้ ท่านยังมีลมหายใจ ยังเป็นแบบอย่าง ให้เราได้ ถ้าวันนี้ไม่คิดจะท�ำดีเพื่อท่าน ลองกลับไป ถามตัวเองว่า ชีวิตจะท�ำเพื่อใคร
70 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
71
72 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ฟื้นสายสัมพันธ์อาเซียน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
73
74 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระครูศรีวรพินิจ (สมคิด คมฺภีรญาโณ)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดศรีโคมค�ำ ผอ.วิทยาลัยสงฆ์ มจร.พะเยา
จุดเริ่มต้นที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อ : หลังจบนักธรรมโทจากอ�ำเภอปง ย้านมา อยู่วัดศรีโคมค�ำ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เพราะรู้ว่าที่นี่มี ส�ำนักโรงเรียนสอนภาษาบาลี จึงรีบสมัครเรียนเป็นรุ่น แรก โดยแต่ก่อนวัดศรีโคมค�ำไม่ได้เป็นแบบนี้ สมัย นั้นจะมีต้นมะม่วงใหญ่ ๆ อยู่ทางเหนือของวัด และมี ต้นมะขามหลวง ต้นจามจุรี ที่หน้าวัดก็จะมีศาลาเอาไว้ สวดศพ ด้านใต้มีกุฏิครูบาปัญญา ซึ่งหลวงพ่อได้มอบ หมายให้เฝ้ากุฏิครูบาปัญญาหรือกุฏิใต้ ด้วยความเมตตา ท่านให้ความอนุเคราะห์ปัจจัยเดือนละ ๕๐๐ บาท เป็น ค่าภัตตาหาร โดยไม่ต้องไปฉันข้าวร่วมกับกุฏิเหนือ เพราะมันอยู่ไกล อยู่ที่นี่นักธรรมเอกก็ไม่ได้ บาลีปริยัติก็ไม่ได้ เลยกราบเรียนท่านว่าจะท�ำยังไงดี ท่านแนะน�ำว่า “เอา อย่างนี้ละกันให้ไปอยู่ที่ส�ำนักวัดป่างิ้ว เวียงป่าเป้า” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙ ต่อมาราชการเปิดให้ เทียบวุฒิได้ ประโยค ๖ เทียบเท่า ม.๖ จึงไปเรียนต่อ ปริญญาตรีที่ มจร.วัดพระศรีมหาธาตุฯ สาขาบริหารรัฐ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
75
ก็ไปเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ๔ ปี โดยมีหลวงพ่อตามส่งตาม เยี่ยมตลอดเวลา มีปัจจัยก็ฝากไปตลอด พร้อมให้ดูแล พระรุ่นน้องวัดศรีโคมค�ำที่ไปเรียนที่นั่น ติดต่อประสาน งาน พบปะพูดคุย เพื่อให้ทกคนเรียนจบ พอในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กลับมาที่วัดศรีโคมค�ำ เพื่อท�ำหน้าที่เป็นผู้อุปถัมภ์หลวงพ่อแทนคนเดิม ก็ย้าย มาอยู่ที่หน้าห้องหลวงพ่อชั้นบน มีหน้าที่ดูแล สนองงาน หลวงพ่อ สนองงานศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์ พิมพ์ดีด หนังสือเข้า หนังสือออก เกลางานต่างๆ ค้นคว้าและเริ่ม สนใจในการแปลการปริวรรตอักษรล้านนาตั้งแต่ตอน นั้นมา งานส่วนมากจะเป็นการสนองงานในการพิมพ์ หนังสือ ต�ำรา ท่านจะพิมพ์หนังสือแจกทุกปีในวันเกิด ของท่าน ตอนสุดท้ายพิมพ์ต้นฉบับไว้หลายฉบับ หลาย เรื่อง เช่น ค่าวศรีลังกา ค่าวน�้ำท่วม ค่าวเมืองจีน ค่าว สิบสองปันนา ฯลฯ หลวงพ่อไปไหนจะเขียนค่าวไว้ทุก ครั้ง เราก็มีหน้าที่ช่วยหลวงพ่อในการพิมพ์ ตรวจทาน ก่อนเข้าโรงพิมพ์ หลังจากนั้นก็จะมีการช่วยในการ ปริวรรตต�ำนานพระเจ้าแซกค�ำ ท่านได้มาจากสาธุใหญ่ ของหลวงพระบาง วัดแสนสุขาราม เป็นภาษาที่มีความ คล้ายภาษาล้านนา มาช่วยกันปริวรรตกับพระมหาโยธิน ฐานิสฺสโร พิมพ์ออกมาเป็นรูปเป็นเล่ม ตอนหลังท่าน มอบหมายให้ดูแลเอกสารและมีการพิมพ์แจกในงานวัน เกิดของท่าน ในงานหนังสือดุษฎีบัณฑิตที่รวบรวมพิมพ์ ไว้ทั้งหมด พ.ศ. ๒๕๓๘ ท่านให้ไปเรียนต่อปริญญาโท ที่ ประเทศอินเดีย ก่อนไปหลวงพ่อขอให้รอจนกว่าวัดจะ ได้รับการตั้งเป็นพระอารามหลวงก่อน หลังจากนั้นจึง แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ตอน นั้นท่านได้พระธรรมวิมลโมลี เมื่อไปเรียนต่อที่ประเทศ อินเดีย มหาวิทยาลัยมคธ หลวงพ่อก็ได้เขียนจดหมาย ไปหาตลอด แต่จะใช้ภาษาล้านนาทุกครั้ง เพราะท่าน กลัวลูกศิษย์จะลืม จากนั้นก็กลับมาสนองงานเป็นผู้ อ�ำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐
76 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
จนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อท่านเริ่มงานด้านล้านนาคดีจากจุดไหนก่อน : ท่านบอกว่า ท่านได้หยิบจับงานด้านนี้ตั้งแต่ คุณขรรค์ชัย บุนปานที่เรียนคณะโบราณคดี ได้ขอให้ ท่านพาไปส่งตามสถานที่ต่าง ๆ โดยคุณขรรค์ชัยก็เล่า ให้ฟังว่า“นี่คือ...หินยุคนั้นยุคนี้” หลวงพ่อก็เริ่มสนใจ ขึ้นมา ต่อมาก็มีคนให้หลวงพ่อเขียนบทความเกี่ยวกับ ต�ำนานเมืองพะเยา ลงในหนังสือที่ระลึกงานพิธีเปิดโรง พยาบาลพะเยา ส่วนงานที่หลวงพ่อท�ำที่เด่น ๆ จะมีงาน ด้านการปริวรรต และเป็นพระนักพัฒนาหรือ NGOs รุ่น แรก ที่เข้าไปท�ำงานร่วมกับชาวบ้าน ด้วยการสนับสนุน ด้านอาชีพ เช่น ทอผ้ากี่กระตุก เจาะครก กระเป๋าผักตบ ชวา เวลาหลวงพ่อไปเจอกระเป๋าจากที่อื่นมันแปลกดี ก็ จะซื้อมาให้แม่บ้านท�ำกระเป๋าท�ำตาม นอกจากนี้ยังท�ำงานร่วมกับรัฐบาล ตอนนั้น ท่านนายกฯชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข ท่านได้ออกไปรณรงค์ให้กับชาวบ้านได้ กินเกลือป้องกันโรคคอฟอก ก่อนที่หลวงพ่อจะเป็นนัก โบราณคดีก็ได้ท�ำการศึกษา ก่อนที่จะเป็นนักการศึกษา ก็เป็นนักปกครอง เป็นเจ้าคณะอ�ำเภอพะเยารูปแรก รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าคณะจังหวัดพะเยา รูปแรก มาเป็นรองภาคและเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค งานการศึกษาก็ริเริ่มมาโดยตลอด โดยตั้งส�ำนักบาลี โรงเรียนพินิตประสาธน์ ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ มหาจุฬาฯ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นต้น ส่วนงานต่าง ๆ ก็มีลูกศิษย์ของหลวงพ่อเข้ามาช่วยดูแล บริหาร แต่งานที่หลวงพ่อได้ท�ำมาโดยตลอด คือ งาน ปริวรรตหนังสือ ท�ำตั้งแต่แรกจนถึงชรา จนแรงไม่มีก็ ยังท�ำ วิธีการสืบค้นหรือปริวรรตของหลวงพ่อมาจากไหน : หลวงพ่อท่านได้หลักการจากนักวิชาการ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
77
ที่มาหาท่านบ่อย ๆ ถ้าด้านวิชาการ คือ ตอนนั้นรุ่นคุณ ขรรค์ชัยหรือนักศึกษาจากศิลปากร หลวงพ่อเวลาท่าน ไปเจอไหหรือโอ่ง ท่านก็จะจดบันทึกไว้เสมอ เขียนว่า สถานที่พบเป็นอย่างไร มีลักษณะเป็นอย่างไร ห่างจาก ต้นไม้อะไรเท่าไหร่ ท่านจะละเอียดมากในเรื่องนี้ แม้ กระทั้งอิฐ ๑ ก้อนก็ท�ำเหมือนกัน ถ้าไปต่างประเทศ เช่นไปพม่า เราจะต้องเตรียมเครื่องบันทึกเสียง เวลา ไกด์น�ำเที่ยวพูดก็เอาไมค์ให้ไกด์ พอกลับมาที่พักก็เอา มาให้หลวงพ่อฟัง ท่านจะเขียนบันทึกก่อนนอนทุกครั้ง บางทีก็จะเขียนค่าวบันทึกไว้เลย จดไว้เป็นเล่มๆ ดังนั้น การเดินทางไปที่ต่าง ๆ ท�ำให้ผู้ติดตามได้ข้อคิดดี ๆ มา โดยตลอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องต่างๆ ท่านแนะน�ำอย่างไร : ท่านจะแนะน�ำเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น การ เข้าหาพระผู้ใหญ่จะท�ำอย่างไร จะเข้าไปเวลาไหน มี พิธีการยังไง ควรกราบตรงไหน ควรหรือไม่ควร ท่านจะ บอกหมด ถ้าไปที่เชียงใหม่ก็จะมีอาจารย์รุจยา อาภากร และนักวิชาการอีกหลายท่าน หรือสายประวัติศาสตร์ ก็มีอาจารย์ประเสริฐ ณ นคร ไปเชียงใหม่ไปหาใคร กรุงเทพฯไปหาใคร แวะหาคุณขรรค์ชัย ท�ำนองนี้ เลย ท�ำให้คนรู้จักหลวงพ่อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และท่านมี ความช�ำนาญกับการเดินทาง รู้เวลารู้เส้นทางว่าจะเดิน ทางไปอย่างไร ควรออกเดินทางกี่โมง ท่านก็จะแนะน�ำ ให้ตลอดว่าควรออกเดินทางกี่โมง พอไปถึงจะพอดี : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากตัวหลวงพ่อ มีอะไรบ้าง : ส�ำหรับอาตมาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหลวงพ่อ คือ การเป็นนักพัฒนา เพราะหลวงพ่อเล่าว่า เดิมตอน หนุ่มๆ หลวงพ่อเคยเป็นครู ต่อมาหลวงพ่อจึงได้ไปเรียน ที่กรุงเทพฯ ก็คิดว่าท�ำยังไงให้คนพะเยาได้มีความรู้ ได้ เรียนหนังสือ มีการศึกษา ท่านจึงมักจะยึดถือหนังสือ ต�ำราวิชาการเป็นหลัก ท่านจะเคร่งเรื่องกฎเกณฑ์ กฎ
78 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ระเบียบข้อบังคับ ถ้าหลวงพ่อชี้แจงจะไม่มีใครขัดแย้ง เพราะท่านจะมีหนังสือติดตัวตลอดเวลา ท่านจะเปิด หนังสืออ่านชี้แจง ก็เลยไม่มีใครขัดแย้ง หรือการตรวจ เรื่องหนังสือเข้า หนังสือออก หลวงพ่อจะตรวจย่อหน้า เว้นวรรคตอน ท่านจะอ่านหมด แล้วจะท�ำวงกลมตรงที่ ผิด ว่าผิดเพราะอะไรและควรเขียนยังไง ด้านการพัฒนาสมัยนั้นมีสายคริสตจักรเข้า มาเผยแพร่ศาสนาและสนับสนุนชุมชนในพื้นที่ เขาให้ มีสหกรณ์และขยายออกไปยังที่ต่าง ๆ ด้านพุทธจักร เราหลวงพ่อก็จะตั้งกลุ่มธนาคารข้าวเปลือก กลุ่มทอผ้า กลุ่มท�ำกระเป๋าจากผักตบชวา ฯลฯ งานพัฒนาที่ท่าน มอบหมายให้ท�ำแรก ๆ เป็นงานผู้สูงอายุ ท�ำโครงการ แจกจ่ายผ้าห่มผู้ยากไร้ จากนั้นหันมาพัฒนาเยาวชน เยาวชนที่ผ่านวัดไปก็ได้รับคัดเลือกเป็นประธานสภา เครือข่ายเยาวชน ขยายเครือข่าย จัดตั้งกลุ่มดนตรี สะล้อ ซอ ซึง ตอนหลังเปิดโรงเรียนแพทย์แผนไทย ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลังจากนั้นขอจัดตั้งส�ำนักปฏิบัติธรรม ประจ�ำจังหวัดพะเยา โดยท่านเป็นผู้มอบหมาย ท่าน บอก “ให้มหาไปดูแล หลวงพ่อจะตามไปดูด้วย” ถ้าไม่มี ท่านอยู่ข้างหลังก็คงล้มไปนานแล้ว เคยถามท่านไหม ว่าท�ำไปท�ำไม ท่านแนะน�ำอย่างไร : ท่านจะไม่บอก ถ้าจะบอกก็เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น หนังสือ ท่านจะบอกว่า “มันมีความรู้ เขียนไปเถอะ อ่านไปเถอะ” หนังสือของหลวงพ่อที่ท�ำขายมีจ�ำนวน น้อยมาก แต่ขอให้ได้พิมพ์แจก และอีกด้านหนึ่งท่าน เป็นพระนักเทศน์ เทศน์กัณฑ์กุมาร หลวงพ่อท่านจ�ำ ได้หมด ท�ำนองแม่น แล้วแต่เราจะจับจุดยังไง เช่น การเทศน์จะไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ท่านจะสวดมนต์ให้ ถูกต้อง เพราะท่านเคยอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรฯ มาก่อน จึงเคร่งคัดมากเรื่องพิธีกรรม เช่น เวลารับเสด็จหลวงพ่อ ท่านจะต้องห่มซ้อนเสมอ ใครจะรู้ไม่รู้หลวงพ่อจะห่มไว้ ก่อน ร้อนไม่ร้อนไม่รู้ท่านก็จะทน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
79
ด้านงานพัฒนา ท่านบอกให้เราระมัดระวัง เช่น งานเยาวชนที่มีคนจับตาอยู่ มีทั้งคนที่เห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย มีทั้งคนรักและคนชัง งานสร้างสรรค์ที่ยัง ไม่มีคนท�ำ มันจะท�ำล�ำบาก หลวงพ่อจะบอกโดยตลอด ว่าให้ระวัง ด้านงานปกครอง ได้แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้า อาวาสวัดอารามหลวง มีอะไรก็ท�ำเป็นตัวอย่าง เวลาท�ำ อะไรก็ห้ามขาด ฉันข้าวก็ต้องฉันร่วมกับพระเณรทุก ๆ เช้า คือ งานปกครอง หลวงพ่อจะบอกเสมอว่า “ให้เอา ตัวเราเองเป็นตัวอย่าง” ด้านการศึกษา หลวงพ่อท่านมีปณิธานอย่างไร : การศึกษาถือเป็นแนวคิดของท่านมาตลอด เช่น การเปิดมหาจุฬาฯ แต่พระผูใ้ หญ่บางรูปบอกว่า มจร.เป็ นการสอนให้ พ ระเณรหัว แข็งและไม่ไ ด้เลื่อน สมณศักดิ์ ตอนสุดท้ายหลวงพ่อก็ขอเปิด แม้กระทั้ง โรงเรียนพินิตประสาธน์ ตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ เป็น โรงเรียนการกุศลของวัด พระปกครองสมัยนั้นไม่ค่อย ชอบสั ก เท่ า ไหร่ แ ละบอกว่ า จะไม่ ใ ห้ ส มณศั ก ดิ์ ห รื อ ต�ำแหน่งอะไรสักอย่างเลยกับหลวงพ่อ แต่ท่านก็บอก ว่า “ไม่เป็นไร เราไม่ได้ไปอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่บ้านเรา” ท่านคุยให้ฟัง พระผู้ใหญ่ให้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบาลี สาธิต หลวงพ่อก็ตอบว่า “ไม่เป็นไร เราอยากเปิดแบบนี้ เพราะหน้าที่ของเรา คือ ให้การศึกษา” ด้านงานเขียน การท�ำงานองค์ความรู้ แม้ใน ปัจจุบันยังไม่มีใครเขียนหนังสือเหมือนหลวงพ่อและยัง ไม่มีใครท�ำอะไรเกินไปจากหลวงพ่อ มีแต่วิจารณ์ท่าน ว่า ท่านจับประเด็นผิด เวลานี้อาตมาจึงร่วมกับลูกศิษย์ ลูกหาช่วยกันก่อตั้งเป็น “สถาบันปวงผญาพยาว” เพื่อที่ จะสานงานต่อหลวงพ่อ ช่วยสนับสนุนใครก็ตามที่อยาก มาท�ำงานสานต่อจากหลวงพ่อ เช่น หนังสือที่หลวงพ่อ เขียนไปแล้ว อย่างเวียงน�้ำเต้า เวียงปู่ล่าม หลังจากนั้น เป็นอะไร เป็นตึกเป็นบ้านหรือเป็นอะไรไปแล้ว ยังไม่มี
80 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ใครกล้าเขียนหรือกล้าที่จะออกไปจากองค์ความรู้เดิม ของท่านไปได้ คือ เหมือนเก็บรอยเท้าตามหลวงพ่อ จึง คิดว่าต่อไปภารกิจของเราคือ สานงานต่อจากท่าน คนรุ่นใหม่สนใจท�ำงานแบบหลวงพ่อ ควรท�ำอย่างไร : จะต้องศึกษาองค์ความรู้ของท่านก่อน อ่าน หนังสือของหลวงพ่อ ว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร มีกรอบ ถึงไหนถึงแค่นี้ก่อน เหตุใดหลวงพ่อท่านจึงก้าวไป แล้ว ถึงท�ำให้คนหันมาสนใจเมืองภูกามยาว เมืองพะเยาได้ หลวงพ่อสามารถชี้ได้ว่านี่คือ เวียงจอมทอง เวียงปู่ล่าม เวียงต�๋ำ เวียงต๋อม และถ้าจะศึกษาต่อ คือ เวียงจอมทอง เป็นอย่างไร เพื่อให้คนหันมาสนใจ ดังนั้นหน้าที่ของคน รุ่นต่อไป คือ ท�ำอย่างไรให้คนรุ่นเรา สื่อไปถึงบุคคล อื่นได้ไหม ให้คนรุ่นหลังหันมาสนใจได้ไหม แต่คนรุ่น หลังยังไม่มีใครกล้าท�ำ ความคิดเดิม คือ อยากรักษาองค์ ความรู้ของหลวงพ่อเอาไว้ แม้แต่หลวงพ่อท่านยังท�ำตัว ให้เป็นองค์ความรู้ ท่านยังน�ำมาเปิดมาเผยแพร่ให้คน ที่สนใจให้คนซักถาม ใครที่สามารถเขียนภาษาฝักขาม การเขียนหิน เขียนกระดาษสา การปั๊มตัวหนังสือจาก หลักศิลาจารึก ถ่ายรูปมา เรายังท�ำไม่ถึงขนาดนั้น ไหนี้ ได้มาจากไหน ไหนี้ได้มาอย่างไร เรายังไม่รู้เลยว่าหลวง พ่อท่านไปขู่เอามาหรือเปล่า หรือว่าท่านซื้อมาหรือ เปล่า หรือได้มาอย่างไรเราก็ไม่รู้ เล่ากันว่า สมัยนั้นท่าน ชอบไปเที่ยวบ้านขุนปืม ไปดูพระเก่า หลวงพ่อท่านก็จะ มีลีลาในการขอมาต่าง ๆ นานา เช่น “นี่มันเป็นสมบัติ ของชาติไทยเรานะ เป็นสิ่งที่มีค่าจะขายให้เท่าไหร่ละว่า มาได้เลย หลวงพ่อจะได้เอาไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์” สมัยนั้นสังคมยังไม่มีใครเชื่อใจ เพราะมีข่าว ว่าพระมาเอาของเก่าหรือวัตถุโบราณไปขาย ในตอน นั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังไม่ค่อยมีของอะไร ตั้งแต่มีชาวประมง มาบอกหลวงพ่อว่าตรงนั้นตรงนี้มีพระเก่า มีวัตถุโบราณ ตรงนั้นมีพระหินอ่อนอยู่ หลวงพ่อจึงพาเณรไปเอามา เอาเรือไป ๔ - ๕ ล�ำ โดยเอาไม้ฟาดเรือ ๒ ล�ำเอาไว้ เณร ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
81
คนที่ด�ำน�้ำได้ก็เอาเชือกไปมัดองค์พระเอาไว้แล้วก็หมุน ไม้ขึ้นมา พอพระขึ้นมาได้ ก็พากันพายเรือเข้าฝั่งแล้ว ช่วยกันยกขึ้นบก พอขึ้นบกได้แล้ว ท่านจะไม่เอาไปตั้ง ไว้เฉย ๆ ท่านจะท�ำการส�ำรวจก่อนว่าเป็นหินชนิดไหน รุ่นไหน โมลีเป็นอย่างไร หลวงพ่อก็จะจดบันทึกไว้หมด และอธิบายอย่างละเอียด ตอนนี้หาคนท�ำอย่างหลวงพ่อได้ยังไม่มี โดย ความเป็นนักปราชญ์ของท่าน แม้กระทั้งรุ่นเราคงยาก แม้แต่อาตมายังไม่กล้าเขียนหนังสือ ยังไม่กล้าคลุกคลี ตีวงเลย อย่างหนังสืออัครดุษฎีบัณฑิตยังไม่ปรากฏชื่อ ผู้จัดท�ำ เพราะองค์ความรู้เกือบทั้งหมด คือ องค์ความ รู้ของหลวงพ่อทั้งนั้น เราหวังว่าในอนาคตอยากจะให้มี พระที่เป็น Idol ที่เป็นแบบอย่างของพระทั้งหลายที่มุ่ง มั่นท�ำงานการปกครอง งานการศึกษา งานโบราณคดี งานประวัติศาสตร์ งานเผยแพร่ งานสังคมสงเคราะห์ อยากให้ได้ส่วนใดส่วนหนึ่งของหลวงพ่อก็พอใจแล้ว เช่น งานโบราณคดีก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม ไม่ใช่ว่าเอาผล งานของหลวงพ่อมาเขียนแล้วเขียนอีก ถ้าหลับตานึกถึงภาพหลวงพ่อ ภาพที่เห็นคืออะไร : เมตตา คือ หลวงพ่อใหญ่จะมีความเมตตา จะเป็นพระที่เมตตากับทุกคน ซึ่งอาตมาได้สัมผัส ได้ มองหลายด้าน คือ เราได้รับความอุปถัมภ์ได้รับการดูแล เลยเกิดเป็นความรู้สึกผูกผันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย เพราะ ได้อยู่กับหลวงพ่อตั้งแต่เป็นเณร ในตอนเด็กหลายคน อาจจะไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดแบบนี้ แต่อาตมาได้กินได้อยู่ ได้นอนกับท่านเป็นประจ�ำ บุคลิกของท่านจะเป็นคน เคร่งขรึม แต่ถ้าใครได้สัมผัส ท่านจะมีความเมตตา มาก และเป็นคนขี้เกรงใจ เกรงใจทุกคน แม้กระทั้ง ปัจจุบันเป็นรองสมเด็จฯ ก็ไม่มีการปิดตัวเอง ไปไหนไป หมด ไม่ว่าจะเป็นบ้านนอกคอกนา ท่านจะไม่มีนาย หน้าจัดคิวให้ แต่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของท่านเอง ดังนั้น หลับตาจึงเห็นถึงความเมตตาของท่านอยู่ตลอดเวลา
82 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ระยะหลังนี้ท่านเป็นผู้ปล่อยวางทุกอย่าง บาง ต�ำแหน่งท่านก็ให้รองอธิการบดีมหาจุฬาฯ ท่านก็มอบ ให้ท่านเจ้าคุณเชียงรายท�ำงานแทน ท่านมอบให้โดย เต็มใจให้เป็นประธานสภาฯ ท่านบอก “หลวงพ่อใหญ่ ขอลาออก เพราะมันสมควรแก่เวลาแล้ว” งานบริหาร วัดท่านก็ให้คนอื่นมารับแทนท่าน บอกว่า“วางมือละ” แต่ท่านกลับสุขภาพดีขึ้น ฉันข้าวได้ทุกอย่าง กลับกันคน ที่มารับต�ำแหน่งแทน เดี๋ยวก็ป่วยไม่สบาย เดี๋ยวก็เข้า โรงพยาบาล เรามาเห็นว่าท่านเป็นแบบอย่างให้กับเรา ทุกอย่าง อาตมาก็เลยบอกว่าท�ำอะไรให้ท่านเห็นบ้าง ล่าสุดจึงรวมตัวลูกศิษย์ของท่านสร้างวิหารหลวงเป็น อนุสรณ์ สร้างเป็นวัดป่าพระอุบาลี ท่านก็พึงพอใจ ให้ ตั้งชื่อ “วิหารหลวง ๙๖ ปีพระอุบาลี” ณ วัดป่าพระ อุบาลี อยู่กับมหาจุฬาฯ และจะหล่อพระเจ้าค่าคิงถวาย หลวงพ่อ คือ วัดมาจากเท้าถึงศีรษะของท่านหล่อเป็น พระ ถวายในงานวันฉลอง ๙๖ ปีของหลวงพ่อ ซึ่งคิดดู แล้วหายากที่มีสมณศักดิ์สูงและอายุพรรษาสูงที่สุดใน ล้านนา โดยจะจัดท�ำเหรียญ ๙๖ ปีพระอุบาลี เป็นการ ระดมทุน แต่เหรียญนี้ก็จะมีแค่ปีเดียว ต่อไปจะเป็น ๙๗ ๙๘ ๙๙ ๑๐๐ ปีไปเรื่อย ๆ ท�ำถวายหลวงพ่อใน ฐานะที่ชุบเลี้ยงมาตั้งแต่ยังเล็ก ผู้ที่มาอยู่วัดศรีโคมค�ำ นับจากหลวงพ่อใหญ่ ก็มีอาตมาที่ถือเป็นรูปที่ ๒ ที่ยังหลงเหลือจ�ำวัดอยู่ใน วัดศรีโคมค�ำ เพราะมาอยู่ที่นี่ก่อน รู้เห็นอะไรหลาย อย่าง ท่านด่าก็ฟัง ท่านอบรมก็ฟัง ก็อยู่กับท่านมา โดยตลอด
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
83
84 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ยกย่องปราชญ์ท้องถิ่น
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
85
86 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม) เจ้าคณะอ�ำเภอภูกามยาว
เริ่มต้นสนองงานให้พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้อย่างไร : ช่วงแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๖ ช่วงนั้นมาเป็นนักเรียนบาลี หลังจากจบมัธยม ก็ เรียนตั้งแต่เป็นเปรียญธรรม ๓ - ๖ แล้วก็ได้เป็นครูสอน ที่นี่ด้วย ได้รับใช้หลวงปู่ท่านในแง่ของ ๑. การศึกษา ด้านภาษาบาลี ๒. เรื่องของกิจกรรม เช่นเรื่องของ โรงเรียนศาสนาวันอาทิตย์ และกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนช่วง ที่สอง คือหลังจากที่ได้ไปเรียนจบปริญญาโทจากอินเดีย พ.ศ. ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบัน หลักคือรับงานของมหา จุฬาฯ เป็นช่วงที่เรามีความรู้แล้ว ได้ไปได้สัมผัส ได้อ่าน งานเขียน จึงเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ ๒ วาระ งานที่ท่านมอบหมายมีอะไรบ้าง : ถ้ารับใช้โดยตรง คือการน�ำต้นฉบับเอาตรวจ ความถูกต้อง และมีบางส่วนรับใช้เรียบเรียงบทความ ต่าง ๆ ของหลวงปู่ท่าน เพราะช่วงหลังสุขภาพไม่ค่อย ดี ก็พยายามน�ำเนื้อหาที่ท่านเคยเขียนไว้มาขัดเกลาเพื่อ มอบให้หน่วยงานที่ขอมา นี้คือแนวทางที่รับใช้โดยตรง ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
87
แนวทางที่สองก็คือ จากการสังเกต การซึมซับผลิตงาน ของตนเอง โดยน�ำเอางานของหลวงปู่ท่านมาต่อยอด คือ งานของท่านจะเป็นศาสตร์ปริวรรต น�ำเอาภาษา พื้นเมืองแปลมาเป็นภาษาไทย ส่วนอาตมาน�ำมาต่อยอด ถ้าเทียบแล้วของหลวงปู่ ท่านเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ ของ อาตมาเป็นศาสตร์ประยุกต์ เช่น เอางานวัฒนธรรม ของพะเยาไปประยุกต์กับรัฐศาสตร์ เป็นหนังสือเล่มชื่อ “สังคมการเมืองการปกครองของเมืองพะเยาในอดีต” การปริวรรตของท่านมีลักษณะเฉพาะอย่างไร : หลวงปู่ท่านจะแปลตัวต่อตัว จากภาษา นี้สู่ภาษานี้ แทบจะไม่ได้เสริมลงไป แต่ว่ามีบาง กรณี เช่น ที่อาจารย์หลายท่านยกเอาเรื่องกบฏเงี้ยว มาวิพากษ์ “ปู่แสนผิ่ว” นามสกุล “เสมอเชื้อ” ซึ่งมี นักโบราณคดีติงว่า ในยุคนั้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มี นามสกุล หมายความว่าหลวงปู่เสริมลงไป แล้วอีกอย่าง หนึ่งหลวงปู่ท่านจะแปลตามตัว สังเกตได้จากต�ำนาน พระธาตุจอมทอง บรรทัดที่ ๓ บอกว่า “ได้เอากระดูก ข้อพระหัตถ์ ด้านซ้ายไปฝังไว้” แต่ว่าอีกสองบรรทัดต่อ มาเป็น “ด้านขวา” เคยไปกราบเรียนท่าน ตกลงเป็น ซ้ายหรือขวากันแน่ ท่านก็บอก “ไม่รู้...แปลตามนั้น” งานของท่านมีพัฒนาการอย่างไร : น่าจะแบ่งเป็น ๓ ยุค ยุคแรกของหลวงปู่ ท่านจะปริวรรตแล้วก็มาพิมพ์ มันอาจจะดูพื้นๆ เพราะ ว่าท่านยังไม่ได้เรียนมา ในยุคที่ ๒ มีคนที่เข้ามาช่วย รวบรวม เป็นหมวดหมู่ ส�ำนักพิมพ์เอาไปรวมเล่มใหญ่ๆ ที่ชื่อว่า สังคม ประวัติศาสตร์ เมืองพะเยา นั้นก็มีความ เป็นระบบมากขึ้น แต่ยุคที่ ๓ พอจะเป็นเชิงวิชาการ มากขึ้น ตอนที่มีคุณเกรียงศักดิ์ ชัยดรุณเข้ามาช่วยท�ำ มี รูปเล่มกระชับ มากขั้น ท่านมีวิธีการได้ข้อมูลมาปริวรรตอย่างไร
88 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
: โดยพื้นฐานแล้วท่านเป็นคนที่ชอบค้นคว้า ถ้าปีไหนมีงานอะไร ท่านก็จะเอามาปริวรรต พิมพ์เป็น หนังสือ สมัยหนุ่มๆท่านจะเอารถออกไปเยี่ยม พระ ภิกษุสามเณรวัดต่าง ๆ ถึงกับไปนอนค้างเลย ตอนที่ ไปนอนท่านก็จะรู้ว่าวัดไหนมีคัมภีร์โบราณ วัตถุโบราณ ถ้าวัดไหนเขาไม่ได้ดูแลรักษาท่านก็ขอมา ถ้าวัดไหนยัง มีการดูแลรักษา ท่านก็ไม่ได้เอามา อีกอย่างหนึ่งมีคน รู้ว่าหลวงปู่ท่านท�ำงานด้านนี้ กลัวว่าวันข้างหน้าลูก หลานจะไม่ดูแล ก็เอามาไว้ให้ท่าน เอามาบริจาค นี้เป็น แหล่งข้อมูล ที่ชัดเจนคือ งานเขียนที่เป็นเรื่องของเจ้า เมืองต่าง ๆ ท่านได้จัดระบบและมีวิธีถ่ายทอดต่ออย่างไร : ท่านจะเริ่มต้นท�ำเองก่อน ลูกศิษย์ลูกหา ก็ จะบริการด้านอื่น ซึ่งมี ๓ ส่วน หนึ่งด้านงานเขียน ก็คือปริวรรตก็ชัดเจนอยู่แล้ว ๓๐ เล่มนี้ก็ถือว่าโดดเด่น เป็นต�ำราเรียนได้เลย คนรุ่นเราได้อาศัยต่อยอด ก็เพราะ งานเขียนของท่าน ด้านที่ ๒ ก็คือ การรวบรวมศิลปะ ต่างๆ ตอนเป็นเด็กเราก็ไม่รู้ความหมาย เศียรพระได้มา ท่านก็เก็บ ๆ แต่ว่างานนี้ได้พัฒนากลายมาเป็น “หอ วัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมค�ำ” เป็นแหล่งค้นคว้า อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้คนได้รู้จักท่าน ด้ า นการพู ด การบรรยายของท่ า นก็ มี ส ่ ว น เช่น บางครั้งเรานั่งรถไปกิจนิมนต์กับท่าน ท่านก็จะ บอกว่าอันนี้เป็นแบบนั้น อันนั้นเป็นแบบนี้ ทุกคนก็ฟัง เท่ากันหมด แต่ว่าโชคดีที่อาตมาเอาไปต่อยอดได้ เช่น ท่านพูดถึงครูบาอารามป่าน้อยเป็นผู้ที่ชอบปฏิบัติธรรม เราก็จบั ประเด็นไปค้นคว้าดูวา่ ครูบาอารามป่าน้อยเป็น ใคร อยูท่ ไี่ หน มีวตั รปฏิบตั อิ ย่างไร ก็กลายมาเป็นหนังสือ เรือ่ ง “พระเด่นเมืองพะเยา” แม้แต่แปดเป็งก็เหมือนกัน หลวงปูท่ า่ นก็พดู แต่อาตมาคิดว่าเมือ่ พูดถึงแปดเป็งมัน น่าจะมีบริบทอะไรขึน้ มา จึงได้เอามาเขียนเรือ่ ง “แปด เป็ง ประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง” ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
89
ท่านใช้วีธีการจดบันทึกเรื่องต่างๆอย่างไร : ท่านได้แนวคิดจากครูบาศรีวิราชเพราะ ครูบาศรีวิราชท่านเป็นนักจดบันทึกประจ�ำวัน วันนี้คน นั้นมาขอยาไป ให้ยาไปเท่าไหร่ เวลาเท่าไหร่ หลวงปู่ ก็พยายามเลียนแบบ แต่ท่านจะไม่ค่อยท�ำทุกวัน แต่ หลวงปู่จะเขียนในปฏิทินเก่า ท่านจะจดบันทึกด้วยมือ ของท่านเอง ด้วยภาษาไทย ท่านจะจดบันทึกเอาไว้เช่น บันทึกน�้ำท่วม ค่าวต่าง ๆ และสิ่งที่ท่านปริวรรตแล้ว ท่านก็เอามาให้ลูกศิษย์ดูแล้วก็ไปเข้าโรงพิมพ์ หลวงพ่อท่านสนใจไหมเรื่องค่าวจากจุดไหน : คงเป็นงานอดิเรกของท่าน ท่านพูดตอนสมัย หนุ่มว่าท่านเคยไปพบอาจารย์มณี พยอมยงค์ แล้วก็ คล้าย ๆ ว่าพระหนุ่มกับพระหนุ่มก็เขียนค่าวทักทายกัน เหมือนกับว่าลองภูมิกันในสมัยนั้น เคยศึกษางานท่านมา คนส่วนใหญ่มีทัศนคติอย่างไร : ทุกคนรักและเทิดทูน ไม่ใช่รักธรรมดาแต่ เทิดทูนหลวงปู่ในฐานะที่เป็นปูชนียบุคคล คือท่านไม่ใช่ เป็นแค่ผู้มีคุณประโยชน์ต่อสังคมเพียงอย่างเดียว แต่ ท่านเป็นผู้ให้นี่แหละส�ำคัญที่สุด ผลงานท่านมีคุณูปการกับสังคมเมืองพะเยาอย่างไร : ย้อนมองไปดูจังหวัดอื่นๆ มีไหมที่ได้เรียนรู้ ประวัติศาสตร์บ้านเมืองตนเอง แม้แต่เชียงใหม่ หรือ สุโขทัยเอง เอาเข้าจริงๆ แล้วก็บ่นกัน แต่ของพะเยาของ เรามีการเจาะลึก ความโชคดีของพะเยาอีกอย่างหนึ่ง คือทรัพยากรบุคคล ยุคก่อนก็มีครูบาอารามป่าน้อย ส่ง ต่อมายุคของครูบาศรีวิราชวริรปัญญา ต่อยอดมาให้กับ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มันมีให้เห็น แม้แต่ยุคหลวงปู่ มาก็มีคนสนใจมากขึ้น สงสัยยุคเราก็ต้องรับช่วงต่อจาก ท่านไปอีก จะเห็นได้ว่ามันจะมีการส่งต่อกันเป็นช่วงๆ แต่ว่าผลงานหลวงปู่ท่านมีคุณูปการ ค่อนข้างที่จะกว้าง
90 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
กว่ายุคใด ๆ ในทีก่ ล่าวมา เช่น ยุคของครูบาอารามป่า น้อย ในยุคนัน้ ก็ไม่คอ่ ยมีเครือ่ งไม้เครือ่ งมือ มายุคของ ครูบาศรีวริ าชวชิรปัญญาก็มกี ระดาษฟุลสแก๊ป ก็เขียน ๆ ไว้ มาถึงยุคของหลวงปูก่ เ็ ป็นยุคพิมพ์ดดี แต่มายุคคน ปัจจุบนั นีเ้ ป็นยุคของคอมพิวเตอร์ เห็นได้วา่ ขุมพลังมันมี มาก็เป็นทอด ๆ ถ้าให้พูดถึงยุคของหลวงปู่มีผลกระทบมาก เป็นพิเศษอย่างไร ต้องถามว่าเมืองพะเยาทีข่ นึ้ ชือ่ ว่าเป็น “เมืองศิลปวัฒนธรรม” ก็สว่ นหนึง่ มาจากงานหลวงปู่ ท่าน “มหาวิทยาลัยพะเยา” ทีบ่ อกว่ามีวชิ า “พะเยา ศึกษา” ก็มสี ว่ นหนึง่ ทีม่ าจากหลวงปูท่ า่ น เป็นส่วนส�ำคัญ เลยทีเดียว แม้แต่รนุ่ ลูกศิษย์ทที่ ำ� งานด้านวัฒนธรรม เช่น คุณขรรค์ชยั บุนปาน คุณสุจติ ต์ วงษ์เทศ ก็ถอื ว่ามีพลัง มาก แบบอย่างที่ได้น�ำเอามาปฏิบัติมีด้านใดบ้าง : รูปแบบแห่งการประพฤติปฏิบัติ พระเถระ รูปนี้เป็นแบบอย่างทั้งวิถีชีวิต การด�ำเนินรูปแบบการ เป็นสมณะให้งดงามอย่างไร หลวงปู่ท่านมีความเป็น แบบอย่างมาก หลวงปู่ท่านมีความรอบครอบ คือท่าน ท�ำงานทุกอย่างด้วยระบบระเบียบ ท่านจะมีบรรทัดฐาน ของท่านเอง ไม่ใช่ว่าสุขเอาเผากิน แต่ว่าท่านจะมี กระบวนการวิธีคิดของท่านอยู่ พูดง่ายๆว่าท่านรู้ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติ และสิ่งเหล่านี้ก็เป็นต้นแบบของ สังคมเมืองพะเยา เพราะยุคของท่านนั้นถูกส่งมาจาก กทม. แล้วท่านได้รับโจทย์ว่า ให้ท�ำให้คณะสงฆ์พะเยา กับเชียงรายเป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ แล้วท่านก็ได้ท�ำ ส�ำเร็จด้วย อย่าลืมว่ายุคนั้นแต่ละรูปอาจจะไม่ปฏิบัติ เหมือนกัน ห่มผ้าอาจจะไม่เหมือนกัน วิถีชีวิตอาจไม่ เหมือนกัน แต่ว่าท่านได้รับโจทย์ให้มาท�ำงานท้าทายนี้ จะเอาแบบอย่างท่านปรับใช้ในสังคมได้อย่างไร : ถ้าเทียบเป็นธรรมะก็คือ สังคหวัตถุ ๔ ลอง ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
91
สังเกตดูวา่ ลักษณะ ๑ หลวงปูจ่ ะเป็นคนให้ อะไรก็ตาม ท่านจะท�ำงานโดยไม่หวังอะไรตอบแทน ท่านจะให้ ๆ ในกุฏิของท่านจะไม่มีสังฆทานเลยที่จะเก็บเอาไว้ไม่ให้ ใคร ลักษณะ ๒ หลวงปูม่ หี ลักการพูดดี อาจจะไม่ถงึ กับ ปิยวาจา ท่านมีหลักการว่า กาลไหนควรพูด กาลไหนไม่ ควรพูด ลักษณะ ๓ ประพฤติปฏิบตั ติ นให้เป็นประโยชน์ ต่อสังคม การบริหารกิจการคณะสงฆ์ งานเผยแพร่ งาน วัฒนธรรม งานการส่งเสริมการศึกษา คือทุกอย่างท่าน ท�ำตัวให้เป็นประโยชน์ของสังคม ลักษณะ ๔ คือท่าน เสมอต้นเสมอปลาย ตัง้ แต่ยคุ แรกวัยต้นของชีวติ วัย กลางคนและบัน้ ปลายของชีวติ ท่านงามก็สมควรทีจ่ ะ เอาเป็นแบบอย่าง สามารถให้ลกู ศิษย์เดินตามได้ ส่วนตัวประทับใจอะไรในตัวของท่านที่สุด : ท่านไม่ทิ้งเรา อย่างเช่นไปเรียนหนังสือที่ กรุงเทพฯ ไปลาท่าน ท่านก็จะให้ปัจจัยในการเดินทาง หลังจากไปแล้วท่านก็หาเวลาไปฝากไปเยี่ยมเจ้าอาวาส แล้วก็บอกว่า “ส่งลูกศิษย์มาอยู่ที่นี่นะ” แม้แต่ไปเรียนที่ อินเดีย ท่านก็ส่งปัจจัยไปให้ สมัย ๒๐ ปีที่ผ่านมา เงิน หมื่นไม่ใช่น้อย ๆ คือท่านให้เรา ท่านก็ไม่ได้คิดว่าเราจะ กลับมารับใช้ไหม แต่คือท่านจะเป็นแบบครูบาอาจารย์ ที่ไม่ทอดทิ้งลูกศิษย์ คือไม่ได้หวังอะไรกับตัวเรา พอรู้ไหมว่าท�ำไมท่านถึงท�ำแบบนั้น : เพราะท่านมีคุณธรรม คือ หลวงปู่ท่านไม่ได้ เรียนรู้ธรรมเพียงอย่างเดียว แต่ท่านปฏิบัติธรรมด้วย พอปฏิบัติคุณธรรมเหล่านั้น มันเป็นภาวนา มันเป็นการ เกิด การมี มันเป็นโดยตรง ไม่ใช่เรียนรู้ถือไว้แล้วก็จบ แค่นั้น แต่หลวงปู่มันอยู่ในจิตส�ำนึกของท่านเลย ท�ำไมท่านถึงเน้นเรื่องการศึกษาที่สุด : ท่านน่าจะมีเบื้องหลัง คือการศึกษาของท่าน ได้มายากล�ำบาก คนยุคนั้นจะไปเรียนหนังสือล�ำปาง
92 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เดินทางล�ำบาก ท่านจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ท่านจะ ต้องเดินเท้าจากบ้านสางมาพักที่วัดพระเจ้าตนหลวง 1 คืน แล้วเตรียมตัวไปกรุงเทพ ฯ นั่งรถไปล�ำปางอีก 1 คืน กว่าจะไปถึงกรุงเทพใช้เวลาไปเท่าไหร่ ความล�ำบากตรง นี้มากกว่า คนเราพอเจอสถานการณ์ล�ำบาก ก็เลยท�ำให้ ตกผลึกทางความคิด โดยที่พื้นฐานจิตของท่านเป็นคนที่ มีจิตสูงอยู่แล้ว คือท่านคงคิดว่าในเมื่อเราล�ำบากขนาด นี้ คนรุ่นต่อไปจะไม่ล�ำบากเหมือนเราขนาดนี้แล้ว ถ้า เราเอาจิตวิญญาณของท่านมาวิเคราะห์ ท่านคงคิด แบบนี้ จึงเป็นที่มาของการตั้งปณิธานด้านการศึกษา ด้านการส่งเสริมด้านอาชีพ ท่านก็เคยส่งเสริม เช่น ส่งเสริมอาชีพท�ำครกหิน ส่งเสริมอาชีพ จักสาน ปั่นด้ายทอด้ายท่านก็ท�ำ แต่ว่ามันไม่ประสบความส�ำเร็จ มันไม่ยั่งยืน แม้แต่เทศน์บรรยายท่านก็ท�ำ แต่บังเอิญว่า หน่วยงานของรัฐเขาท�ำอยู่แล้ว แต่สิ่งที่คนท�ำไม่มากพอ และท่านเห็นว่าคนยังไม่ค่อยมีโอกาสคือเรื่องการศึกษา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าท่านเน้นเรื่องการศึกษา ชั้น ประถม โรงเรียนเทศบาล ๕ ท่านก็เอาวัดไปช่วยเหลือ มัธยมท่านก็สร้างโรงเรียนพินติ ประสาธน์ บาลีทา่ นก็เอา ครูบาอาจารย์มาจากหลายทีห่ ลายแห่ง ท่านก็สอนเอง ด้วย มหาจุฬาฯ ระดับอุดมศึกษา สิง่ ทีท่ า่ นท�ำเหล่านี้ ท่านบอกว่า “พะเยาเรา พระเณรเยอะแยะแต่ทำ� ไมไม่มี ทีเ่ รียน ดูลำ� พูนสิ ล�ำปางสิ พระเณรเขามีการศึกษา” รูไ้ หมว่าตอนนีพ้ ะเยาเป็นศูนย์กลางจริงๆ ถาม ว่าเชียงรายใหญ่กว่าพะเยาไหม ใหญ่กว่า ล�ำปางใหญ่ กว่าพะเยาไหม ใหญ่กว่า แต่อะไรเป็นศูนย์กลาง พะเยา วิทยาลัยสงฆ์เชียงรายต้องขึน้ กับพะเยา วิทยาลัยสงฆ์ ล�ำปางก็ขนึ้ กับแพร่ เราจะเห็นได้วา่ ทีเ่ กิดขึน้ มาทุกอย่าง ก็เพราะว่าหลวงปู่ สรุปว่าหลวงปูท่ า่ นเน้นยุทธศาสตร์ ด้านการศึกษามาก ถ้าคิดถึงหลวงปู่ ภาพแรกที่เห็นคืออะไร : ความเป็นปราชญ์ อย่างที่เขียนในหนังสือ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
93
เรื่องพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ผญาเมืองพะเยา ก็เห็น ความเป็นปราชญ์ของท่าน ๔ ด้าน หนึ่ง โดยรูปแบบ ที่ท่านปฏิบัติก็เป็นวิถีของปราชญ์ ความงามของท่าน ตั้งแต่ต้น กลาง ปลาย วิถีชีวิตของท่านเป็นความ งาม เป็นภูมิปัญญาไม่มีความบกพร่อง ไม่มีเรื่องเลย เป็นการยากที่คนจะท�ำได้ ไปดูวิถีท่านได้ สอง ปราชญ์ ในฐานะเป็นองค์ความรู้ เพราะว่าหลวงปู่ท่านเป็นคน ที่มีความรู้ เช่นการเขียนหนังสือ แม้ว่าท่านจะปริวรรต มาโดยวิธีไหนก็ตาม ถ้าพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์เมือง พะเยา ท่านเป็นเหมือน “Body of Knowledge” คลัง แห่งความรู้ สาม ท่านเป็นปราชญ์แห่งผู้สร้าง วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เช่น วิทยาลัยสงฆ์ โรงเรียน พินิตประสาธน์ โรงเรียนนักธรรมบาลี หอวัฒนธรรม นิทัศน์ แม้แต่หอจดหมายเหตุฯจังหวัดพะเยา นี้ก็เป็น ส่วนส�ำคัญส่วนหนึ่ง เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมแห่งการ เรียนรู้ นอกจากนั้นก็เป็นปราชญ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เยอะแยะไปหมด ส่งลูกศิษย์ลูกหาไปเรียน กทม. ไปต่าง จังหวัดเต็มไปหมด ๔ ประเด็นนี้ที่เราเห็น ขอท่านนั้นชัดเจน ถ้า จะกล่าวว่าเป็น “ผญาแห่งเมืองพะเยา” ก็ไม่ผิด
94 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
95
96 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เก็บของเก่าเล่าสืบคนรุ่นหลัง ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
97
98 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (โยธิน ฐานิสฺสโร)
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมค�ำ
จุดเริ่มต้นที่มาเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อ : แต่เดิมบวชอยู่ที่อ�ำเภอปงได้ ๓ พรรษา จบ นักธรรมเอก พระอาจารย์ที่อยู่อ�ำเภอปงท่านจึงได้ส่ง มาเรียนที่วัดศรีโคมค�ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เรียนจนจบ บาลี หลังจากอุปสมบทในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ก็ได้ขึ้นไป จ�ำวัดที่กุฏิหน้าห้องหลวงพ่อ เพื่อรับใช้แบบใกล้ชิดและ มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการท�ำงานของหลวงพ่อ และได้เห็นวิถีชีวิตบางส่วนของท่าน ระหว่างนั้นก็ศึกษา ต่อที่ มจร.วิทยาเขตพะเยา และช่วยท่านสอนบาลีอยู่ บ้าง ประจวบจังหวะกับหอวัฒนธรรมนิทัศน์ขาดผู้ดูแล หลวงพ่อก็ได้รับมอบหมายให้มาดูแล นับแต่นั้นก็รับผิด ชอบดูแลเกี่ยวกับหอวัฒนธรรมนิทัศน์ พร้อมทั้งได้ดูแล อุปัฎฐากท่านไปด้วย กิจวัตรประจ�ำวันของหลวงพ่อท่านมีอะไรบ้าง : ลูกศิษย์ลูกหาทุกคนจะเห็นหลวงพ่ออยู่กับ กองหนังสือตลอด ถ้าหากไปปฏิบัติศาสนกิจแล้วกลับ มาหรือเวลาตอนเย็น ตอนกลางวันที่ไม่ได้ไปกิจนิมนต์ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
99
ที่อื่น ท่านก็จะเอาคัมภีร์หรือว่าปั๊บมานั่งเขียนที่หน้า กุฏิ จะปริวรรตจะเขียน พอตอนกลางหัวค�่ำท่านก็ จะดูข่าว พอจบข่าวพระราชส�ำนักเสร็จท่านก็จะเขียน หนังสือ ลักษณะการเขียนหนังสือของท่าน เมื่อก่อนที่ ท่านยังแข็งแรง ท่านไปต่างประเทศหรือไปที่ต่าง ๆ ก็จะ นิยมจดบันทึกหรือเขียนค่าว จดตามปฏิทินเก่า สมุดเก่า เขียนด้านหลัง บางทีเขียนยังไม่เสร็จท่านนึกถึงเรื่องอื่น ได้ท่านก็เขียนเรื่องอื่นต่อ ท่านจะท�ำแบบนี้ตลอดทุกวัน ท่านจะนอนดึกทุกวัน ตีหนึ่ง ตีสอง บางทีที่ท่านเขียน เพลิน ในฐานะที่อาตมาที่ได้รับใช้ใกล้ชิดและเป็นพระ อุปัฏฐากก็ต้องรอให้ท่านนอนก่อน เพราะบางทีท่าน จะเรียกใช้ ประมาณสักสี่ทุ่มก็จะเข้าไปจัดที่นอนให้ท่าน แต่ท่านก็จะนั่งกับโต๊ะหนังสือกองหนังสือเต็มไปหมด จ�ำได้มีอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งท่านไปรับกิจนิมนต์ข้าง นอก ท่านอาจารย์เจ้าคุณสุนทรแต่ก่อนเป็นท่านพระครู ปริยัติกิตติคุณและก็ลูกศิษย์ลูกหา ด้วยความปรารถนา ดีบอกว่าห้องหลวงพ่อมันรก หนังสือกองเต็มโต๊ะ มัน รกรุงรัง ก็เลยชวนกันไปจัดเก็บให้เข้าที่เข้าทางเข้าตู้ให้ เรียบร้อย ปรากฏว่าท่านกลับมา ท่านด่าว่า “มันไปรก อะไรของแก” เพราะว่าเอกสารทุกอย่างของท่าน ท่าน จะรู้ว่าถ้าอยากได้เรื่องไหน จะหยิบกองไหนมุมไหน ท่านจะรู้หมด แต่พอลูกศิษย์ลูกหาไปจัดเก็บหมด ท่าน โวยวาย เพราะท่านจะหาไม่เจอ แต่หลวงพ่อท่านจะมีอุปนิสัยอย่างหนึ่งเท่า ที่ได้อุปัฏฐากรับใช้ท่าน ตอนนั้นท่านไปเจอกับคนงาน ที่เผากิ่งไม้ ใบไม้ ท่านจะรักต้นไม้มาก ท่านก็จะด่า ๆ แล้วท่านก็จะเดินไป ท่านก็จะไม่โกรธ ไม่เหมือนคนอื่น ที่โมโหแล้วไปลงกับคนอื่น แต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ท่านจะดี ท่านโมโหอะไร ท่านจะไม่ลงกับคนอื่น หลวงพ่อท่านใช้อะไรเป็นเครื่องมือในการบันทึก : หลวงพ่อจะไม่ถนัดพิมพ์ดีด แต่ท่านจะเขียน ด้วยลายมือของท่านเอง เอกลักษณ์ของหลวงพ่ออีก
100 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
อย่างหนึง่ คือเขียนไทยผสมค�ำเมือง เวลาท่านบรรยาย ก็ จะพูดไทยผสมค�ำเมือง เวลาท่านไปเทีย่ วมาก็จะเขียน เป็นค่าว แต่งานทีถ่ นัดของหลวงพ่อ คือ งานปริวรรต โดยในห้องท่านจะมีตคู้ ำ� ภีรท์ เี่ ป็นเรือ่ งราว เช่น ต�ำนาน เชียงแสน ต�ำนานเมืองพะเยา ต�ำนานพระเจ้าตนหลวง ประวัตศิ าสตร์ตา่ ง ๆ เต็มไปหมด อาตมามีหน้าที่อยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้าท่าน เขียนเสร็จก็จะเอาไปพิมพ์ ตอนนั้นเป็นพิมพ์ดีด ต่อ มาพัฒนาเป็นคอมพิวเตอร์ โดยมีผู้รับใช้ใกล้ชิดอีกท่าน หนึ่ง คือ ท่านพระครูศรีวรพินิจ ที่ท่านจะเรียกใช้ใน ฐานะที่อาตมาและท่านพระครูศรีฯ เนื่องจากพอจะมี ความรู้เกี่ยวกับภาษาล้านนา ตอนเริ่มแรกอาตมาก็เรียน ภาษาล้านนาที่อ�ำเภอปง ที่วัดเดิมที่อุปสมบทแต่ไม่ค่อย ได้ใช้ พอมาอยู่กับหลวงพ่อ ท่านใช้และใช้เป็นกลวิธี กล อุบายที่จะถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ เช่น ตอนที่ปริวรรต ต�ำนานเชียงแสน จะมีอยู่ ๓ ผูก ท่านจะปริวรรตในผูก ที่ ๑ แล้ว ต่อด้วยผูกที่ ๒ ท่านก็จะบอกว่า “..มหาโยธิน เอาไปช่วยเขียนให้หน่อย” เหมือนกับท่านต้องการให้ เราอ่านและเขียนออกมา โดยเป็นการฝึกไปในตัวด้วย หลวงพ่อแนะน�ำหรือถ่ายทอดอะไรบ้าง : หลวงพ่อนั้นจะไม่ถ่ายทอดออกมาเป็นค�ำพูด แต่จะท่านจะท�ำให้เป็นตัวอย่าง เช่นจะจัดพิมพ์หนังสือ เล่มนี้นะ ท่านก็จะให้ลูกศิษย์ลูกหาเอาไปท�ำต้นฉบับ พิมพ์ดีดก่อน เพื่อที่เราก็จะได้อ่านด้วย ท่านจะให้โรง พิมพ์พิมพ์เลยก็ได้ แต่ท่านไม่ท�ำอย่างนั้น ท่านอยากให้ ลูกศิษย์ของท่านรับรู้ด้วยว่า ท่านท�ำเกี่ยวกับอะไร เราก็ จะได้เรียนรู้ไปด้วย การมอบหมายงานให้ท�ำ ท่านให้เริ่มต้นอย่างไร : ส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกหัดก่อนมากกว่า เช่น อยู่กับวัดศรีโคมค�ำ ท่านก็จะให้เราเขียนหนังสือเกี่ยวกับ วัดศรีโคมค�ำก่อน หรือให้เอาประวัติพระเจ้าตนหลวง ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
101
มาเขียน “เดี๋ยวหลวงพ่อจะออกทุนพิมพ์ให้” แล้วเอา มาแจก นี่คือเล่มแรกที่ท�ำ อยู่ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ท่าน ก็ให้เขียนเกี่ยวกับหอวัฒนธรรมนิทัศน์ หนังสือ 10 ปี หอวัฒนธรรมฯ หนังสือบันทึกวัดศรีโคมค�ำ ท่านให้เรา ศึกษาเกี่ยวกับวัดว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับวัดบ้าง เหมือนกับว่านี่เป็นวิธีการและเทคนิคที่ท่านต้องการให้ เราสืบทอดจากท่าน ได้เดินทางไปกับหลวงพ่อตามที่ต่าง ๆ อย่างไร : ไปตอนไปรับกิจนิมนต์ที่โน้นที่นี่ หรือต่าง จังหวัดบ้าง เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของลูกศิษย์ที่ ติดตามหลวงพ่อจะได้องค์ความรู้จากหลวงพ่อ เพราะ ว่าท่านจะไปทุกวัด ท่านก็จะสอบถามประวัติต่าง ๆ ตลอดการเดินทาง ท่านก็จะอธิบายได้หมด ก็เหมือน กับว่าท่านถ่ายทอดไปในตัวว่า ตรงนี้คือหมู่บ้านอะไร มีความส�ำคัญอย่างไร “ข้าเคยมาเอาพระพุทธรูปเก่า วัดนี้” ท่านก็จะคุย ๆ ไปท�ำให้ลูกศิษย์ได้รับความรู้โดย ตลอด โดยท่านจะใช้ค�ำแทนตัวเองว่า “ข้า” เช่น “ข้าเคยไปที่นั้นที่นี่มา” ได้เรียนรู้งานหลัก ๆ ของหลวงพ่ออะไรบ้าง : เท่าที่ได้อยู่กับท่านและคิดว่าได้รับตรง ๆ คือ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองพะเยา เกี่ยวกับการ ปริวรรตอักษรภาษาล้านนาต่าง ๆ อย่างที่บอกท่านจะ มีกลอุบาย คือท่านเขียนไปสักสองสามหน้าใบลาน หลัง จากนั้นท่านก็จะให้เอาไปเขียนต่อ บางทีก็บอกว่า “ข้า อ่านไม่ไหวละ มหาโยธินเอาไปท�ำต่อนะ” ท่านจะก่อรูป ให้เราเสมอ สิ่งที่ได้คือเรื่องเกี่ยวกับการปริวรรตหนังสือ จากท่านและประวัติศาสตร์เมืองพะเยา คิดว่าผลงานท่านมีประโยชน์ต่อสังคมพะเยาอย่างไร : ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ท่านได้ ก่อตั้งหอวัฒนธรรมนิทัศน์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ
102 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปัจจุบันนี้ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ของเราอยู่ในระดับแนว หน้า จากที่อาตมาภาพได้สัมผัสและได้ต่อยอดจากผล งานของท่าน โดยได้นำ� หอวัฒนธรรมนิทศั น์เข้าไปร่วมกับ เครือข่ายของศูนย์สริ นิ ธร ของสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ แห่งชาติ ซึง่ ทีม่ คี ณะกรรมการมาตรวจสอบและประเมิน ต่าง ๆ และยังได้ไปศึกษาดูงานทีภ่ าคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ เราก็ได้เห็นหอวัฒนธรรมนิทศั น์ของเราได้รบั การ ยกย่องจากที่อื่นเป็นอย่างมากในฐานะที่เป็นพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นที่จัดได้ดีมีรูปแบบเทียบเคียงกับพิพิธภัณฑ์แห่ง ชาติ ทีม่ กี ารบริหารจัดการเป็นของวัด ดูแลโดยวัด ซึง่ เป็ น รู ป แบบที่ ที่ อื่ น ยกย่ อ งให้ เ ป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ต ้ น แบบ และได้รบั การยอมรับให้เป็นประธานเครือข่ายพิพธิ ภัณฑ์ ท้องถิน่ ภาคเหนืออีกด้วย หลวงพ่อพูดอะไรเกี่ยวกับหอวัฒนธรรมนิทัศน์บ้าง : ก็จะเป็นความสุขของหลวงพ่อมากเวลาที่ ท่านมา ณ ปัจจุบันนี้ท่านชราภาพมาก แต่กิจที่ท่าน จะต้องท�ำเป็นประจ�ำ คือ เดือนหนึ่งอย่างน้อยท่านจะ มาที่หอวัฒนธรรมฯ แห่งนี้ เดือนละครั้งสองครั้ง เมื่อ ก่อนท่านเดินมาได้ท่านก็จะเดินมา ตอนนั้นความจ�ำของ ท่านยังจ�ำได้ดี เราก็จะได้อาศัยท่าน เดินตามท่านไป สอบถามว่าวัตถุนั้นได้มาอย่างไร ท่านก็จะเล่าว่าได้มา จากไหนได้มาอย่างไร แต่ก่อนจ�ำได้ทุกชิ้น แต่ตอนหลัง จ�ำไม่ค่อยได้ หอวัฒนธรรมฯ ของเราก็จะมีสองชั้น มี บันได ลูกศิษย์ลูกหาก็จะไม่ให้ท่านขึ้น แต่หลวงพ่อท่าน บอกว่า “ข้าจะขึ้นไป” ท่านก็จะเดินไปดู ความจ�ำท่านก็ จะเริ่มกลับมาว่าชิ้นนี้ได้มาจากไหน อย่างไร บางทีท่าน ก็ยิ้ม เวลาเห็นของชิ้นนั้น บางทีเหนื่อยก็ต้องนั่งพักเป็น ห้อง ๆ ไป แต่ท่านก็ยังมีความสุขที่จะเดิน ท่านได้ฝากอนาคตไว้อย่างไร : ท่านก็จะฝากตลอดว่าให้ดูแลให้ดี ๆ นี่คือ ผลงานทั้งชีวิตของท่านที่อยู่ที่นี่ อยากให้ดูแลดี ๆ และ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
103
หลวงพ่อท่านมักจะถามหาว่า “ขรรค์ชยั ได้มาเห็นหรือยัง ทีป่ รับปรุงใหม่ในครัง้ นี”้ เพราะโยมขรรค์ชยั บุนปาน ผู้ ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชนได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมจัดตั้ง หอวัฒนธรรมฯ และท่านคิดว่า การทีเ่ ราพัฒนาไปถึงขัน้ ทีไ่ ด้รบั รางวัลกินรี รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว ได้ รับรางวัลต่าง ๆ แล้วโยมขรรค์ชยั เคยกลับมาดูมาชืน่ ชม ผลงานทีร่ ว่ มสร้างนีบ้ า้ งไหม ท่านจะย�ำ้ อยูเ่ สมอ หลวงพ่อย�้ำอะไรอีกไหมที่อยากให้ท�ำต่อ : สิ่งที่หลวงพ่อย�้ำอยู่ประจ�ำ คือ อยากให้ก็ พวกเราก้าวขึ้นไปเป็นนักค้นคว้า โดยท่านจะแนะน�ำ ว่าอยู่ตรงจุดนี้แล้วต้องหมั่นศึกษา และท่านจะแนะน�ำ กัลยาณมิตรให้รู้จัก เช่น อาจารย์เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ เมื่อได้รู้จักกัน เราก็สามารถเรียนรู้กับคนอื่นได้ เพราะ อาจารย์เกรียงศักดิ์จะเป็นคนท�ำหนังสือให้กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็แนะน�ำให้รู้จักอาจารย์เกรียงศักดิ์ ซึ่งถนัด ในเรื่องการอ่านหลักศิลาจารึกทางประวัติศาสตร์ ท่าน แนะน�ำให้ติดต่อกัน เพื่อเราก็จะได้เรียนรู้ ณ ตรงนั้น ภาพจ�ำที่นึกถึงหลวงพ่อ คือ ภาพอะไร : หลวงพ่อจะอยู่กับกองหนังสือ เพราะ ว่าตลอดระยะเวลาที่ได้อยู่กับหลวงพ่อตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จนถึงปัจจุบัน ๒๐ กว่าปี หลวงพ่อท่านพึ่งจะ มาเลิกอ่านหนังสือไม่กี่ปีช่วงปลายชีวิตของท่าน เพราะ สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ซึ่งก็แค่ไม่กี่ปี ๒๐ กว่าปีที่อยู่ กับท่าน ท่านก็จะอยู่กับกองหนังสือกับแว่นขยายที่ท่าน จะส่องคัมภีร์ส่องทีละตัว ส่องทีละตัวแล้วก็เขียน ส่อง แล้วก็เขียน คือ จะติดตาอยู่ตลอด เพราะว่าห้องนอน อาตมากับห้องหลวงพ่อเป็นห้องกระจกเวลามองเข้าไป หาหลวงพ่อ ก็จะเห็นหลวงพ่อนั่งอยู่บนโต๊ะหนังสือ เอาแว่นขยาย ขยายคัมภีร์ แล้วเขียน บนโต๊ะหนังสือ ของหลวงพ่อก็จะมีแต่กองหนังสือ ภาพที่ท่านปริวรรต หนังสือจะติดตาอยู่ตลอด บนโต๊ะหนังสือห้ามใครไปค้น
104 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ส่วนใดของท่านที่คนรุ่นหลังควรจะน�ำมาใช้กับตนเอง : หลวงพ่อท่านเป็นปราชญ์จริง ๆ เป็นที่รวม ของสรรพวิชาต่าง ๆ ลูกศิษย์ลูกหา ณ ปัจจุบันไม่มีใครที่ สามารถรับองค์ความรู้ของท่านได้ทั้งหมด ท่านในฐานะ ที่เป็นพระนักปกครอง ท่านเป็นพระปกครองตั้งแต่เจ้า คณะอ�ำเภอ รองจังหวัด เจ้าคณะจังหวัด ท่านไม่มีความ บกพร่องในการปกครอง ไม่มีจุดด่างพร้อยให้เป็นที่ติฉิน นินทา ท่านปกครองอย่างมืออาชีพ นักประวัติศาสตร์ ท่านก็เป็นนักประวัติศาสตร์ค้นหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง กว้างและลึก นี่คือ นักประวัติศาสตร์ ด้านสังคมสงเคราะห์ หลวงพ่อก็เป็นนัก สังคมสงเคราะห์ที่ดี เข้าไปหาชาวบ้านที่เป็นโรคเอ่อ (ภาวะปัญญาอ่อน) เป็นผู้หญิง ๓ คนและมีแม่แก่ ๆ อีกคนหนึ่ง เวลาท่านเดินทางไปอ�ำเภอปง ท่านจะเอา ข้าวสารใส่หลังรถไปกระสอบหนึ่งพร้อมข้าวปลาอาหาร พอท่านรับกิจนิมนต์เสร็จ ท่านก็จะตรงไปสงเคราะห์ ครอบครัวนี้ จะสอบถามชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่อยู่ตลอด นี่คือนักสังคมสงเคราะห์ที่ท่านท�ำมาโดยตลอด ชาวบ้าน ที่อยู่รอบ ๆ วัดเวลามีงานศพเขามาขออะไร หลวงพ่อก็ จะให้หมด ด้านนักเทศน์ ท่าน คือ นักเผยแพร่ชั้นยอดใน อดีตถือว่ามหาปวงเทศน์เก่ง เวลาอบรมประจ�ำต�ำบลใน เวลากลางคืน ไปโน้นไปนี่ท่านจะจัดพระไปให้ นักสวด นักพิธีกรรม หลวงพ่อก็เป็นชั้นยอด คือ การสวดมนต์ ในวิหารพระเณรนั่งสวดกัน ๗๐ - ๘๐ รูปถ้าหากหลวง พ่อลงเวลาสวด ถ้ามีคนสวดผิดก็จะหยุดทันทีแล้วให้ เริ่มใหม่ ท่านจะบอกว่าสวดผิด ออกเสียงใหม่ เพราะ ท่านเอาใจจดจ่อฟังลูกศิษย์ลูกหาสวด ส่วนพิธีกรรมขั้น ตอนต่างๆ ในฐานะที่ท่านเป็นพระที่มีการศึกษาในเมือง กรุงท่านไปอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรฯ ท่านจะบอกว่า “ไม่ ได้พิธีกรรมต้องถูกต้อง แต่ก่อนข้าได้อยู่กับสมเด็จฯ ท่านท�ำอย่างนั้น” โดยเฉพาะลงพระปาฏิโมกข์อุโบสถ ท่านจะเน้นหนักและย�้ำอยู่ตลอด วัดรอบนอกจะลงพระ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
105
อุโบสถแค่ช่วงกลางพรรษา ๓ เดือน แต่วัดศรีโคมค�ำลง ทั้งปี นี่คือกิจของสงฆ์ ท่านจะต�ำหนิพระที่ไม่ลงฟังพระ ปาฏิโมกข์ หรือไม่ลงทันฑ์ทางพระวินัยรุนแรงมาก ท่าน จะไม่เรียก “มหานั้นมหานี่” แต่ท่านจะเรียก “หมานั้น หมานี่” ลูกศิษย์ลูกหาก็ไม่กล้าขาด เพราะท่านจะถาม หาตลอดว่าไปไหน ด้วยเหตุนี้เราก็จะเห็นได้ว่าหลวงพ่อมีความ โดดเด่นทุกๆ ด้าน แต่ลูกศิษย์ลูกหาไม่สามารถที่จะท�ำ เหมือนท่านได้ ก็ได้คนละนิดคนละหน่อย บางคนก็เป็น พระนักปกครอง นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ และนักเขียน ทุกคนก็จะได้คนละเล็กคนละน้อย แสดง ว่าท่านโดดเด่นมากในหลายๆด้าน แสดงว่าหลวงพ่อ ท่านเป็นนักปราชญ์อย่างแท้จริง ถ้าจะศึกษาหลวงพ่อ ควรเริ่มต้นศึกษาสิ่งใดก่อน : ถ้าจะศึกษาเกี่ยวกับหลวงพ่อให้มาศึกษาที่ หอวัฒนธรรมฯ ดูท่านเป็นนักสะสมวัตถุโบราณเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา เพราะเราจะเห็นได้ชัดว่านี้ คือ ความอุตสาหวิริยะแทบทั้งชีวิตของท่าน ท่านบอกว่า “เมื่อก่อนของพวกนี้ทิ้งระเกะ ระกะ ไม่มีใครเห็นคุณค่า ข้าก็เก็บมาหมด จนทุก วันนี้เป็นแก้วเป็นแสงไปหมด” คือ ปัจจุบันสิ่งที่มีอยู่ ในหอวัฒนธรรมนี้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าไปหมดแล้ว จากในอดีตเป็นเพียงเศษหินดินทรายที่ทิ้งตามวัดร้าง
106 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
107
108 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เป็นต้นแบบของปราชญ์ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
109
110 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
วิมล ปิงเมืองเหล็ก นักวิชาการด้านวัฒนธรรม
จุดเริ่มต้นที่ได้มาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ : ผมอยู่กับหลวงพ่อท่านตั้งแต่เล็กๆ เนื่องจาก คุณพ่อกับหลวงพ่อ ท่านเป็นเพื่อนกัน และเมื่อคุณพ่อ เสียชีวิตไปเมื่อผมอายุประมาณ ๑๐ ขวบ หลวงพ่อก็ได้ เอาไปชุบเลี้ยง จากนั้นก็ได้ไปเรียนหนังสือ ได้นักธรรม ชั้นเอก แต่ว่าเปรียญธรรมไม่ได้ไปสอบ เพราะสิกขา ลาเพศก่อนไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จากนั้น ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยประสานมิตร ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตอนหลัง เรียนโทที่มหาวิทยาลัยนเรศวร แล้วก็ได้เป็นอาจารย์อยู่ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา อยู่ ๑๐ กว่าปี อาชีพผมที่แปลกไปกว่าการเป็นอาจารย์ คือ เคยได้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “ครูไทยปริทัศน์” ในยุคตุลาคม ๑๖ เคยท�ำงานเป็นผู้ช่วยผู้สื่อข่าวของ วิทยุและการกระจายเสียงที่อเมริกา คือ ABC News เขาก็ให้ท�ำเรื่องต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น การอพยพ การต่อสู้ของเขมรหรือลาว หลังจากนั้นก็ได้กลับมา เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ในเหตุการณ์ ๖ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
111
ตุลาคม ๑๙ ความสนใจเรื่องวัฒนธรรม หลวงพ่อพระครู โสภณธรรมมุนี หรือหลวงพ่อรองสมเด็จฯ พระอุบา ลีคุณูปมาจารย์ในปัจจุบัน ได้ปลูกฝังโดยที่เราไม่รู้สึก ตัว คือ การที่ท่านให้เปิดฟังวิทยุกระจายเสียง รายการ ธรรม ข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ตรวจปรู๊ฟหนังสือที่ท่าน พิมพ์ในช่วงแรก ๆ เรื่องประวัติเมืองพะเยา ประวัติ พญาง�ำเมือง ซึ่งมีคนมาขอให้เขียน พอท่านเขียนแล้ว ก็จะให้อ่าน ตอนที่อยู่กรุงเทพฯ ท่านก็ส่งต้นฉบับให้ ไปพิมพ์ตามโรงพิมพ์ต่าง ๆ ธรรมสภาบ้าง ท่านก็จะให้ ตรวจไป สมัยก่อนก็ไม่ได้มีความรู้มากมาย ได้รับการ ซึมซับไปเรื่อย ๆ ความรู้เรื่องโบราณสถาน โบราณวัตถุ ต่าง ๆ ก็ได้จากท่าน เพราะท่านไปไหนก็จะหิ้วพระเณร ไปด้วย ไปถึงก็ต้องปีนขึ้นดูโบราณสถานต่าง ๆ เช่น วัด ป่าแดงบุญนาค วัดเจดีย์หนองห้า เวียงลอ เวียงบัว บางทีต้องแบกก้อนอิฐ หรือเศียรพระกลับมาที่วัดด้วย ความจริงเป็นการเรียนรู้และซึมซับ หลวงพ่อท่านชุบเลี้ยงมาเหมือนลูกเริ่มต้นเมื่อใด : ตั้งแต่เด็ก เริ่มต้นตอนคุณพ่อเสีย เพราะว่า พ่อเป็นมัคทายกวัดสูง (วัดศรีอุโมงค์ค�ำ) ท่านป่วยด้วย ไข้ป่า ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสวัดสูง แล้ว หลวงพ่อเห็นว่าเป็นลูกของเพื่อน ไม่มีใครดูแล แล้วแม่ ก็ไม่มีแล้ว ก็เลยเอามาบวชเป็นเณรอยู่ที่วัดสูง ให้เรียน หนังสือตั้งแต่นั้นมา ก็ได้ผูกพันเหมือนเป็นพ่อคนหนึ่ง แม้จะไปอยู่ที่ไหน ผมก็ต้องกลับมาหาท่าน อย่างน้อยก็ มานวดแข้ง นวดขา ไม่มีอะไรจะถวาย ก็ขอแค่ได้ไปยก ประเคนอาหารให้ท่าน ถือว่าผมรักและผูกพันท่านมาก เคยช่วยงานท่านด้านใดบ้าง : นอกจากการได้ดูแลงานเขียนของท่านแล้ว เรื่องของการจัดระบบการพิมพ์ เรื่องของต้นฉบับ ซึ่ง ตอนนั้นก็รู้สึกอยากจะเปลี่ยนแปลงงานเขียนของท่าน
112 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของภาษา ซึ่งภาษาของท่าน เป็นภาษาล้านนาผสมภาษาไทยกลาง แต่โชคดีมากที่ ไม่กล้าเปลี่ยน เพราะไม่รู้ และเป็นคุณูปการ ถึงตอนนี้ ซึ่งถ้าเราเปลี่ยนตอนนั้น ก็แสดงว่าเราเปลี่ยนอัตลักษณ์ การเขียนของท่านไปเลย มีบางค�ำเราไม่รู้ เช่นในใบลาน ปั๊บสา เขียน“จะและ-จะแล” เราก็คิดว่ามันคืออะไร เรา น่าจะตัดออกไป แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เป็นเรื่องที่ส�ำคัญ และมีความหมายมากกับการเขียนใบลานปั๊บสา ที่ภูมิใจมากที่สุด คงเป็นการช่วยกับบุคคล หลาย ๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคุณขรรค์ชัย บุนปาน, คุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ, อาจารย์พิเศษ เจียรจันทร์พงศ์, อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เราก็เป็นลูกศิษย์ปลาย ๆ ใน การสร้างหอวัฒนธรรมนิทัศน์ และจัดระบบต่าง ๆ ของ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ จะสังเกตว่ามีหลายตอน ตอน แรกเรื่องกว๊านพะเยาไม่มีปัญหา เพราะว่ามีคนเขียน ไว้เยอะ พะเยายุคเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง พะเยายุคร่วงโรย แต่ที่ไม่มีใครเขียนเลย คือพะเยาในอนาคต หลังจากที่ มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ เราจะท�ำอย่างไร จะให้มี การจัดสัมมนาและก็สรุปประเด็นให้เห็นภาพ เพื่อหลวง พ่อได้เห็นว่า จัดห้องนี้เป็นแบบนี้ เป็นอย่างนี้ แล้วก็จัด ระบบหอวัฒนธรรมให้ทันสมัยมากขึ้น ได้เรียนรู้อะไรจากหลวงพ่อท่าน : สิ่งที่ได้คือ การใฝ่เรียน ชอบอ่านหนังสือ ท�ำอะไรแล้วไม่กล้าท�ำชั่ว เพราะเรารู้ว่าเราเป็นลูกศิษย์ ของใคร อันนี้ส�ำคัญ ถ้าเราท�ำชั่ว มันก็กระเทือนถึงคน ที่ชุบเลี้ยงเรามา ผลงานหลวงพ่อที่ท�ำมีคุณูปการต่อสังคมอย่างไร : อันนีส้ ำ� คัญมาก ตอนแรกเราคิดว่าไม่มี หลวงพ่อเก็บมาท�ำไม พวกเศียรพระเก่า ๆ บางทีตอน เป็นเณรเรายังเคยไปปีนเศียรพระเล่น ทีว่ ดั สบร่องขุย ตอนหลังมาทุกชิน้ มันมีเรือ่ งราว มันมีองค์ความรู้ซ่อน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
113
อยู่ และองค์ความรู้เหล่านี้หลวงพ่อท่านจะดึงออกมา แล้วก็จะมีคนที่รับต่อก็จะเป็นนักวิชาการต่าง ๆ จาก สถาบันต่าง ๆ เป็นลูกศิษย์ลูกหาบ้าง จนถึงขณะนี้เชื่อ ว่างานที่หลวงพ่อท�ำในชีวิตของท่านไว้มีอยู่ ๓ เรื่อง ที่ กระจายเป็นเหมือนคลื่น ไปยังคนต่าง ๆ ให้คนรู้ คือ หนึ่ง เรื่องการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพราะว่าท่านเป็นพระธรรมทูต ทางคณะสงฆ์ส่งท่าน มาจากวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ มาจัดระบบของสงฆ์ ในจังหวัดพะเยา ให้สอดคล้องกับระบบราชการมากขึ้น และที่ส�ำคัญ คือการเปิดส�ำนักเรียนที่ดีเด่นที่สุดในภาค เหนือ สอง ด้านการให้การศึกษากับคนจน ท่านจะ พยายามมองหาเด็กเรียนดี แต่ยากจน ซึง่ พอเรียนดี แต่ ไม่ถงึ เก่งมากอะไร อย่างช่วงแรกๆ ทีใ่ ห้สอบได้นกั ธรรม โท จากต�ำบลต่างๆ ก็จะไปนิมนต์มา จะพาไปกรุงเทพฯ ไปฝากไว้วดั ต่างๆ จนพวกนีไ้ ด้กลับมาเป็นก�ำลังส�ำคัญ ของพุทธศาสนาหมด เช่น ท่านมหาสะอาด ปริปญ ุ ณากร ท่านมหาบุญเลิศ ท่านเจ้าคุณธงชัย พระราชวิรยิ าภรณ์ เจ้าคณะจังหวัด เป็นผลงานที่หลวงพ่อใหญ่ท่านได้ส่ง เสริม และที่ส�ำคัญที่สุด ที่เป็นรูปธรรม คือ โรงเรียน พินิตประสาธน์ ที่เปิดโอกาสให้ลูกคนจน ได้เข้ามาเล่า เรียน แล้วก็เก็บค่าเล่าเรียน ถ้ามีข้าวก็เอาข้าวมา ๑ กระสอบ ถ้าปลูกข้าวโพดก็เอาข้าวโพดมา ใครมีเงินก็ เอามา ๕๐ - ๑๐๐ บาท จนเดี๋ยวนี้เชื่อว่าโรงเรียนพินิต ประสาธน์ผลิตบุคลากรให้กับสังคมเยอะมาก และมี คุณค่ามาก สาม การศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ พะเยา ถ้าไม่มหี ลวงพ่อ ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ จะไม่มกี ระแส ขนาดนี้ คนจะไม่รจู้ กั พญาเจือง พญาง�ำเมือง คนจะ ไม่รจู้ กั พญายุทธิษฐิระ คนจะล้มเจดียว์ ดั ป่าแดงบุญนาค คนจะไม่อนุรกั ษ์กว๊านพะเยา จะถมทีก่ ว๊านให้กลายเป็น สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว อาจจะมีเรือเจ็ตสกีอะไรพวกนี้ เพราะ ว่าหลวงพ่อให้องค์ความรู้ เหมือนกับว่าเราจะต้องเดินใน
114 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ทิศทางใด ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้นับว่ามีประโยชน์ต่อท้องถิ่น พะเยาและส่วนรวมมาก หลวงพ่อท่านมีแรงบันดาลใจมาจากไหน : หลวงพ่อโชคดีที่เกิดมาเป็นเด็กบ้านนอก อยู่ ติดกับภูเขา แต่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ได้ไปอ่านปั๊บสา ใบลาน และท่านก็เชี่ยวชาญในภาษาล้านนา ท่านก็อ่าน อันนี้เป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง แต่ที่ผมได้ยินจากหลวงพ่อก็ คือ ตอนที่เปิดโรงพยาบาลพะเยา โดยคุณหมอสมบัติ อินทรลาวัลย์ มาขอให้ท่านได้เขียนประวัติศาสตร์ พะเยา ท่านก็บอกไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เพราะยัง ไม่มีองค์ความรู้มาก่อน แล้วพอท่านไปพบบันทึกของ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส รูปก่อน ของวัดพระเจ้าตนหลวง ได้บันทึกเรื่องราวเอาไว้ ถือว่า เป็นข้อมูลชั้น ๑ แล้วหลวงพ่อก็เอาข้อมูลตรงนั้นมาใช้ ประโยชน์ ท่านเห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้มันมีประโยชน์ แล้วท่านก็ศึกษา เริ่มแรกจะท�ำพิพิธภัณฑ์เก็บ ท่าน ได้ศิลาจารึกมา ๑ แท่ง ท่านก็อ่านหมดเลย แล้วท่านก็ เขียน ท่านได้ปั๊บสาอายุ ๕๐๐ - ๖๐๐ ปีมา ท่านก็อ่าน แล้วก็ปริวรรต แล้วก็พิมพ์เผยแพร่ ท่านได้จากบันทึก พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ถ้าเป็นคนอื่นอาจจะทิ้งไป แล้วก็ได้ ท่านก็อ่าน ๆ ทั้งหมด ๑๑ เล่ม ตอนแรก ๆ การปริวรรตของหลวงพ่อ คือ การเพิ่มเติม แต่พอมาปัจจุบันนี้ เมื่อพวกเราตกผลึกแล้ว การปริวรรตอย่างหลวงพ่อดีที่สุดแล้ว อ่านง่ายและ เข้าใจง่าย อย่างเรื่องของวันเวลา ที่พูดถึงทหารสยาม ประหารชีวิตปู่แสนผิ่ว บันทึกของพระครูศรีวิราชฯ ว่า ได้ตัดคอปู่ผิ่ว หนานนนท์ หนานใจ๋ แต่หลวงพ่อท่าน รู้จักใคร ท่านจะเพิ่มเติม เช่น ปู่ผิ่ว เป็นต้นตระกูลเสมอ เชื้อ เคยเป็นคหบดีอยู่แม่ต�๋ำ ท่านจะขยายองค์ความ รู้เหล่านี้ น่าจะได้รับการกระตุ้นจากสังคมภายนอกและ ก็พื้นฐานของท่าน จากที่ท่านเก่งอักษรล้านนา ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
115
หลวงพ่อท่านไปหาข้อมูลเหล่านี้จากไหน : เรื่องนี้ต้องยกค�ำกล่าวของ ดร. ฮันส์ เพนธ์ จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ผมไม่เคยเห็นชนชาติใดที่เขียนหนังสือมากมายเท่ากับ ชนชาติล้านนา” มันเต็มไปหมดในวัดวาอาราม มีทั้ง ใบลาน ปั๊บสา ศิลาจารึก สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ท้าทายว่าเขา เขียนอะไร เขาศึกษาอะไร หลวงพ่อท่านเก็บข้อมูลด้วยวิธีการใด : หลวงพ่อท่านชอบเดินทาง ถ้าได้ยินใคร บอกว่าพบพระพุทธรูปหรือของเก่า ที่ไหนท่านจะไป ถ้าขอได้ท่านก็ขอ แล้วก็จะเอามาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่ง แรก คือ พิพิธภัณฑ์วัดสูง ที่มีอาคารตีด้วยไม้ไผ่ แต่ ช่วงหลัง ๆ มา คุณพ่อของอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม คือ อาจารย์มานิต วัลลิโภดม พานักศึกษามหาวิทยาลัย ศิลปากร มาขอข้อมูลหลวงพ่อ มาขอดูคูเมือง ท่านก็ พาไปดูหมด ไปเวียงลอ เวียงบัว เวียงน�้ำเต้า ถ้าใครมา คุยเรื่องนี้ท่านชอบ มีบริกรรับใช้ มีน�้ำเลี้ยงอีกต่างหาก ถ้าคุยเรื่องนี้ยาว เรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ท่านคงคิดว่าคนข้างนอกเขายังเห็นความส�ำคัญของการ ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แล้วคนท้องถิ่นท�ำไมไม่ เห็นจุดนี้ หลวงพ่อมีวิธีการถ่ายทอดอย่างไร : หลวงพ่อท่านมักจะปริวรรตแล้วก็พิมพ์ ท่านจะพิมพ์เนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น การได้รับเลื่อน สมณศักดิ์ ถ้าไม่พิมพ์เอง ก็จะมีลูกศิษย์พิมพ์ให้ สมัย ก่อนมีโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นวารสารเล็ก มักจะพิมพ์เผยแพร่ หรือใครจะพิมพ์หรือใครจะเปิดงาน อาคารต่าง ๆ จะมาขอ ถ้าใครอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยว กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จะต้องเข้าหาหลวงพ่อใหญ่ แล้วท่านก็จะศึกษาค้นคว้า บางทีท่านก็จะไปปรึกษา คนอื่น หลายครั้งที่เห็นท่านคุยโทรศัพท์ เช่น โทรถาม
116 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ว่า ค�ำ นี้เรียกกว่าอะไร แปลว่าอะไร แต่ผมก็ไม่กล้าถาม ว่าท่านปรึกษาใคร ท�ำไมหลวงพ่อให้ความส�ำคัญกับงานพิมพ์ : ท่านตอบเมือ่ คราวฉลองอายุครบ ๘๐ ปี “เรือ่ งราวต่าง ๆ เหล่านี”้ ค�ำว่าเรือ่ งราวเหล่านีค้ อื “เรือ่ ง ราวประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ยังเป็นทีต่ อ้ งการของทัว่ ไป และเยาวชน เพราะสังเกตว่ามักจะมีคนมาทีก่ ฏุ แิ ละมา ขอข้อมูลกันตลอด จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องพิมพ์เพือ่ เผยแพร่” ท่านตอบไว้อย่างชัดเจน หลวงพ่อขึ้นเทศน์เป็นอย่างไรบ้าง : หลวงพ่อเทศน์ไม่คอ่ ยน่าสนใจ เป็นการเทศน์ แบบภาษากลาง เพราะว่าท่านพูดแล้วจะพูดยาว ท่าน จะขยายความ จะไม่คอ่ ยเหมาะกับคนฟัง แต่ถา้ ท่าน เทศน์พนื้ เมืองจะเพราะมาก เทศน์ให้ศรัทธาญาติโยม ทีม่ าท�ำบุญวันพระ ท่วงท�ำนองเป็นท�ำนองพะเยาทีแ่ ท้ จริง แท้จากต้นฉบับทีเ่ ป็นภาษาล้านนาเลย พูดถึงหลวงพ่อ ภาพแรกที่เห็นคืออะไร : พระที่ขยันท�ำงาน พระที่มุ่งมั่นให้คนอื่น ได้ดี พระที่มีเมตตา เย็น ๆ มาท่านก็จะมาดูใครได้กิน ได้ฉัน เป็นอะไรบ้าง ตอนที่อยู่วัดสูง พระเณร ๒๐๐ กว่ารูปท่านก็จะเดินดูหมด ว่าได้กิน ได้ฉันไหม ถ้าเณร เรียนอยู่นี้แล้วเดินไปเล่นอีกห้อง อันนี้ต้องโดนไม้เรียว ท�ำไมไม่อ่านหนังสือ ถ้าท่านได้งานสลากภัตต์ หรือรับ ถวายต่าง ๆ ได้นม ได้โอวัลตินมา ท่านก็จะให้ผมชงใน กะละมังใหญ่ ๆ แล้วนิมนต์พระเณรมานั่ง แจกให้ดื่ม จากนั้นก็มีอบรมนิดหน่อย แล้วก็ปล่อยเข้าไปจ�ำวัด จน ปัจจุบันนี้ ท่านอายุ ๙๖ ปีแล้ว ผมไปหาหลวงพ่อ พอ ประเคนอาหารแล้ว ท่านจะฉันประมาณ ๑๑.๑๕ น. พวกเรายังไม่หิว พอเราไปเก็บถ้วยเก็บชาม ท่านก็มัก จะบอกว่า ให้นั่งตรงนี้ กินตรงนี้ กินให้เห็นตรงนี้ กินให้ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
117
อิ่ม ๆ คือท่านจะห่วงไปหมดทุกคน จนถึงปัจจุบันนี้ พรรษาท่าน ๙๖ ปี ผมว่า เป็นพระอริยะแล้ว ท่านมองอะไรเฉยๆแล้ว ใครจะเอา เรื่องดีเรื่องร้ายมาเล่า อย่างเช่นเรื่องฉัตรทองค�ำ หาย เป็นเรื่องใหญ่มากส�ำหรับท่านในสมัยก่อน เมื่อครั้งที่ พระพุทธรูปที่วัดพระเจ้าตนหลวงหายไป ๑๑ องค์ ท่าน จะต้องตามเอามาให้ได้ ได้คืนมา ๙ องค์ นั่นคือพระครู โสภณธรรมมุนี แต่เดี๋ยวนี้ท่านจะวางเฉย แม้แต่มีคน มาบอกให้ผมไปกราบเรียนว่า หลวงพ่อได้รองสมเด็จฯ เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านก็เฉย ๆ พอวันจะ ไปรับ ซึ่งขณะนั้นมีการเดินขบวนประท้วงที่กรุงเทพฯ ท่านก็บอกว่า “ไม่ต้องไปรับก็ได้ เพราะว่ามันล�ำบาก” แสดงว่าท่านไม่ยินดียินร้ายแล้ว ทุกวันนี้ ท่านก็นั่งมองคนผ่านไปมา เป็น พระรองสมเด็จฯ องค์เดียวในเมืองไทย ที่เข้าพบง่าย ที่สุด ใครก็ได้ ลุงแก้ว ลุงสี ตามี ยายมา จะเอาเครื่อง ไทยทาน จะมีเงินถวายหรือไม่มี ท่านอนุโมทนาหมด ล่าสุดมีนักศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา มา อยู่หอพักใหม่ บอกว่าโดนผีหลอก อยากถวาย สังฆทาน มากระซิบบอกผม “อาจารย์มีแต่ดอกไม้จะ มาท�ำสังฆทานจะได้ไหม” ก็บอกว่า “ได้” หลวงพ่อ ท่านก็รับ แล้วผมก็ตะโกนบอกท่านว่า เด็กเขามาท�ำ สังฆทาน ท่านก็ให้ศีล ให้พรไป...ผมมั่นใจว่า ท่านเป็น พระอริยะแล้ว
118 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
119
120 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
งานเผยแผ่ความรู้/ธรรมะ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
121
122 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ นักวิชาการอิสระ
จุดเริ่มต้นเริ่มเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเมื่อใด : ผมรู้จักหลวงพ่อตั้งแต่เด็ก เพราะได้ไป ท�ำบุญกับแม่ที่วัด ไปหาหลวงพ่อ ไปเห็นการสะสม โบราณวัตถุของเก่า พระพุทธรูปต่าง ๆ แต่ยังไม่สนใจ เป็นจริงจัง จนเมื่อมีความสนใจด้านประวัติศาสตร์เมือง พะเยาเมื่อเรียนหนังสือกลับมาจากกรุงเทพฯ รู้จักกับ อาจารย์บุญรัตน์ ทิพย์มณี ท่านมาคุยเรื่องเก่า ๆ ของ พะเยาให้ฟัง และท่านได้แนะน�ำว่าถ้าสนใจเรื่องแบบนี้ บุคคลแรกที่ผมควรไปหา คือ หลวงพ่อพระอุบาลีคุณู ปมาจารย์ในขณะนี้ ซึ่งตอนนั้นหลวงพ่อคงเห็นผมเป็น เด็กอยู่ ผมจ�ำได้ว่าไปนั่งที่กุฏิชั้น ๒ ผมก็เห็นตู้เอกสาร ของท่าน ผมเลยขออนุญาตดูว่าเป็นเอกสารอะไร ท่านก็ อนุญาตให้ผมดู เป็นเอกสารเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลศิลา จารึกของพะเยาเป็นส่วนใหญ่ โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ รวบรวมอ่านแปลให้ และอีกส่วนหนึ่ง คือ สถาบันวิจัย สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเกิดความคิดขึ้นมาและ ถามไปว่า “เราอ่านเองไม่ได้เหรอครับหลวงพ่อ” ท่านก็ ตอบว่า “อ่านได้แต่ตัวเมือง แล้วในนั้นเป็นตัวขอม” ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
123
ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ศาสตราจารย์ธวัช ปุญโณทก ตอนนั้นสอนอยู่มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มา ท�ำงานวิจัยด้านจารึกทางภาคเหนือ ผมจึงพาไปรู้จัก กับหลวงพ่อ และท่านก็พาไปดูหลักศิลาจารึก ผมเห็น ศ.ธวัช ท่านอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว ท�ำให้เกิดความ อึดอัดใจว่าเราเองคนเหนือแท้ ๆ ท�ำไมอ่านไม่ได้ ซึง่ หลัก ฐานต่าง ๆ ทีอ่ า่ น ล้วนต้องท�ำส�ำเนาส่งไปส่วนกลาง กว่า จะรู้ผลก็เป็นปี ผมจึงเกิดความคิดว่า ท�ำไมเราอ่านเอง ไม่ได้ น่าจะมีคนที่อ่านได้แปลได้ ไม่ต้องรอเป็นปี ๆ กว่า จะรู้ประวัติศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีกล้องถ่าย รูปเลย ต้องใช้กระดาษสาปั๊มกับหลักศิลาจารึก ผมเอง มีหน้าที่ช่วยอาจารย์ในการปั้มหลักศิลาจารึกเป็นหลาย สิบปั๊บ เมื่อเกิดความช�ำนาญ ก็อยากเรียนอ่านอักษร โบราณบ้าง อาจารย์ธวัชก็บอกผมว่าไม่ต้องเรียนหรอก เพราะอาชีพนี้เป็นอาชีพไส้แห้งส�ำหรับเมืองไทย ถ้าจะ ท�ำก็ให้เป็นอาชีพเสริม ท่านก็ให้หนังสือไปเล่มหนึ่งเป็น หนังสืออ่านอักษรโบราณเพื่อศึกษาเอง หลังจากนั้น ผมจึงเดินทางมาหาหลวงพ่อบ่อยขึ้น มาดูของจริง เช่น หลักศิลาจารึกบันทึกต่าง ๆ ได้ขออาสาจัดเอกสารในตู้ เอกสารของท่าน ผมเก็บไป อ่านไป ศึกษาไป ว่ากรม ศิลปากรมีการอ่านการแปลแบบไหน สถาบันวิจัยสังคม มีการอ่านการแปลแบบไหน ท�ำให้ผมได้เปรียบกว่าคน อื่นที่ว่าได้อ่านจากหลักศิลาจารึกของจริง เอกสารจริง ช่วงเวลานั้นช่วยท�ำงานท่านอย่างไร : ประมาณปี พ.ศ.2530 มีการค้นพบหลักศิลา จารึกมาต่อเนื่อง ส่วนตัวผมนั้นก็ได้อ่านมาเรื่อยๆ ชาว บ้านขุดเจอบ้าง หลวงพ่อไปเอามาบ้าง พระครูอนุรักษ์ บุรานันท์ (ชื่น ฐิตธมฺโม) หรือครูบาชื่น เจ้าอาวาสวัดลี เอามาบ้าง ผมก็ต้องท�ำหน้าที่เป็นผู้น�ำสารหรืออ่านสาร จากอดีต คือเป็นแบบฝึกหัดของผม หากค�ำไหนที่ผม ติดขัด ผมก็จะโทรไปหาอาจารย์ธวัช และผมโชคดีอยู่ อย่างหนึ่ง ที่รู้จักนักปราชญ์ เช่น ดร.ประเสริฐ ณ นคร
124 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
อาจารย์เทิม มีเต็ม ที่หอสมุดวชิรญาณ ผู้เชี่ยวชาญทาง ด้านอักษรโบราณ อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ท่าน เหล่านี้ได้ถ่ายทอดวิชาการให้ผม ได้เรียนในระบบหรือ นอกระบบไม่ต่างกันเลย บางทีนอกระบบใช้ได้ดีกว่า อีก เพราะเป็นการเรียนรู้ตัวต่อตัว โดยเฉพาะการคลุก คลี่ กั บ ปราชญ์ โ ดยเฉพาะหลวงพ่ อ ที่ ผ มได้ พึ่ ง พามาก ที่สุดเลยในระยะเริ่มต้นแรก ๆ ซึ่งยังไม่ชินกับค�ำโบราณ ก็ปรึกษาหลวงพ่อตลอด บางทีก็ถามค�ำแปลจากท่าน บ้าง ว่ามันเป็นค�ำโบราณที่ปรากฏอยู่ในจารึกหรือว่า ใบลาน ถามอะไรไปท่านสามารถตอบผมได้หมด นี่ คือ คลังข้อมูลของผมหรือห้องสมุดเคลื่อนที่ จากระยะ ความสัมพันธ์ที่เคยห่างกันก็เริ่มชิดๆ เข้ามาเป็นเหมือน คอเดียวกัน ตอนหลังผมไปไหน ผมก็ชวนหลวงพ่อไป และเวลาท่านไปไหนก็จะชวนผมไปด้วย ผลงานแรกๆที่ได้เผยแพร่ออกมา : ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เครือมติชน โดย คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ จะจัดพิมพ์การพิมพ์หนังสือจารึก เมืองพะเยา โดยวางข้อมูลจาก ๓ ส่วนคือส่วนของผม ดร.ฮันส์ เพนท์ และกรมศิลปากร ว่าใครรับผิดชอบ ส่วนไหน พอท�ำเสร็จก็รวบรวมส่งให้คุณสุจิตต์แล้วก็ พิมพ์เป็นหนังสือ ถือเป็นงานวิชาการชิ้นแรกที่ออกมา อย่างเป็นทางการ แต่ก่อนหน้าก็มีอยู่เล่มหนึ่งที่ผมเขียน คือ หนังสือวัดลีเล่มแรกจริงๆ มันจะมีส่วนของภาพเก่า และเขียนเกี่ยวกับหลักศิลาจารึกที่ขุดพบ เพราะว่าช่วง ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๕ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ขุดพบหลัก ศิลาจารึกเยอะมาก ถ้าอยู่ในสายงานนี้จะมีข้อมูลมา ตลอดเลย ไม่ว่าส่วนนอกพื้นที่ก็ตาม ทั้งนี้ภาคเหนือมี คนอ่านได้ไม่กี่คนหรือมีแค่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ เพิ่มมาอีกหนึ่ง คือ ผม ที่อ่านข้อมูลทางพะเยา เชียงราย ล�ำปางก็มาหาผมหมดเลย ส�ำหรับหลวงพ่อท่านจะ ถนัดอ่านใบลาน ส่วนมากศิลาจารึกจะเป็นตัวฝักขาม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผมจะมุ่งเน้นหลักศิลาจารึกมากกว่า ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
125
มันอยู่มานานหลายร้อยปีแล้วและหาคนอ่านยาก และ ช่วยหลวงพ่อจัดการกับหลักศิลาจารึกให้ท่าน มีผลงานอะไรบ้างที่ได้ท�ำร่วมกับหลวงพ่อ : ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หนังสือเล่มสีเทาหนา ๆ ชื่อ หนังสือประวัติสังคมเมืองพะเยาของหลวงพ่อ โดยทาง คุณสุจิตต์ก็ขอให้ช่วยท�ำด้วย แต่ก็เว้นระยะไป จนปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ผมอาสาเข้าไปช่วยหลวงพ่ออีกครั้ง หลวง พ่อก็เอาข้อมูลมาให้ผม ผมก็เห็นจุดบกพร่อง ผมเลยขัน อาสาหลวงพ่อพิมพ์และแก้ไขให้ คือ หนังสือกบฏเงีย้ ว นีค่ อื เล่มแรกทีเ่ ป็นเรือ่ งเป็นราว คือ หนังสือกบฏเงีย้ ว ครบรอบ ๑๐๐ ปี ทีเ่ มืองแพร่ โดยหลวงพ่อเป็นคนที่ รวบรวมข้อมูลให้ทงั้ หมด โดยผมรับเป็นบรรณาธิการให้ หลังจากนั้นท�ำงานอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร : มันคือหน้าทีโ่ ดยส�ำนึก มันคือความเป็น ลูกศิษย์และถือว่าหลวงพ่อเป็นคนมีบุญคุณกับผมมาก ถ้าไม่มที า่ นก็คงไม่มผี มในวันนี้ ท่านคือครูจริง ๆ ครูที่ ไม่หวงวิชา ท่านเป็นผูใ้ ห้ความรูก้ บั ผมครอบจักรวาล พะเยา จากทีผ่ มยังไม่รขู้ อ้ มูลอะไรเลย ผมมาจริงจัง ตอนทีผ่ มมารูจ้ กั กับท่าน ท่านเป็นคนทีใ่ ห้ขอ้ มูลว่าเรือ่ ง นัน้ เป็นอย่างไร เรือ่ งนีเ้ ป็นอย่างไร ผมก็ไปสานต่อ สืบค้น ต่อ มันก็เหมือนเป็นไกด์ให้ผมหรือเป็นเหมือนเข็มทิศ ชีท้ างให้ผม งานทุกชิน้ ทุกวันนีบ้ อกได้เลยว่าเขียนได้ เพราะหลวงพ่อทัง้ นัน้ ดังนัน้ ผมก็ไม่ตอ้ งไปหาข้อมูล ว่ามันอยูต่ รงไหน แต่ผมก็จะไปตรงนัน้ เลย เหมือนรูว้ า่ ต้องไปหาตรงนัน้ ตรงนี้ มันก็ทำ� ให้งา่ ยขึน้ ผลงานทีอ่ อก มาเลยต่อเนือ่ งกันแบบนี้ งานของท่านมีผลกระทบกับสังคมเมืองพะเยาอย่างไร : ไม่เชิงว่ากระทบโดยตรง เพราะมันไม่ใช่ งานวิพากษ์สังคม แต่ท่านจะเขียนแนวประวัติศาสตร์
126 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
และโบราณคดีมากกว่า ซึ่งถ้าถามว่ามันเกี่ยวข้องกับ สังคมไหม มันก็เกี่ยวแน่นอน ยกตัวอย่างที่ท่านได้เล่า ความเป็นมาของบ้านเมืองในอดีต เราจะได้เรียนรู้อดีต ซึ่งบางเล่มอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่เป็นระบบ ยังไม่มี เอกภาพ เพราะต่างคนต่างท�ำมา แล้วแต่คน ๆ นั้นจะ เขียนมา เนื่องจากในกฎกติกาไม่ได้ก�ำหนดหัวข้อขึ้นมา นี่มันก็เลยไม่เป็นเอกภาพ แต่เรือ่ งประชุมจารึกเมือง พะเยาเป็นเอกภาพ เพราะมีการก�ำหนด ส่วนเรือ่ งกบฏ เงีย้ วยังไม่เป็นเอกภาพ เพราะยังต้องเอาเนือ้ หามาปรุง แต่งอยู่ ไม่อย่างนัน้ คงไม่พมิ พ์ครัง้ ที่ ๓ งานของหลวงพ่อท่านมีจุดเริ่มต้นอย่างไร : เวลาที่ผมไปหาท่านส่วนใหญ่จะเป็นช่วง เย็นหลังเลิกงานแล้ว ไปหาท่านที่กุฏิอยู่จนถึงค�่ำ มี ข้อมูลก็จะเอามาถกกันในเรื่องนั้นเรื่องนี้ หรือท่านสอน ก็เป็นแบบปราชญ์พื้นบ้าน คือ จะเล่าข้อมูลให้ฟังแล้ว ก็อยู่ที่ตัวเราว่าจะมีวิธีที่เก็บเกี่ยวข้อมูลมาได้มากเท่า ไหร่ ท่านก็จะเอาใบลานหรือหลักศิลาจารึกช่วยกันอ่าน ช่วยกันแปลและก็มีการจดบันทึกตลอด เพราะการอ่าน หลักศิลาจารึก บางทีกว่าจะอ่านได้เป็นปีสองปีหรือ ยี่สิบปีแล้วแต่ความยากง่าย อันดับแรกก็คือดูเบื้องต้นก่อนว่าตัวหนังสือ มีความคมชัดหรือไม่ อ่านไปคร่าว ๆ ก่อนเหมือนอ่าน หนังสือพิมพ์ อ่านไปก่อนยังไม่เก็บรายละเอียด อันไหน ไม่ได้ก็ขีดไว้ก่อน เพราะการอ่านหลักศิลาจารึกต้องอ่าน บรรทัดใดบรรทัดนั้นเลย พออ่านเสร็จก็เริ่มจับประโยค แล้วก็จับเป็นค�ำแล้วก็ท�ำส�ำเนาเก็บไว้ เพื่อที่จะน�ำไป อ่านที่บ้าน อ่านเป็นอาทิตย์ละก็กลับมาหาหลวงพ่อว่า มันแปลว่ายังไง แต่ก็ยังมีการแก้ไขอยู่ตลอด หลวงพ่อ ก็จะท�ำการจดเอาไว้โดยใช้กระดาษและปากกาที่วางอยู่ เต็มโต๊ะของท่าน นี่คือ จุดเด่นของหลวงพ่อเลยก็ว่าได้ การจดบันทึก คือ ลักษณะของท่าน ซึ่งเปรียบ ดังนักปราชญ์และท่านยังเป็นคนใจกว้าง ถึงแม้ว่าผม ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
127
จะพูดอะไรไปท่านก็จะไม่ว่า นี่แหละตัวอย่างของนัก วิชาการที่ดีต้องใจกว้างและเปิดกว้างที่จะยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น หาได้ยากมากในเมืองไทย ส่วน มากจะคิดว่าฉันแน่แล้วไม่ฟังใคร นี่ก็คือ คุณสมบัติของ หลวงพ่อ แต่ผมก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร ที่จะสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับท่านได้ เพราะตอนแรกหลวงพ่อยัง ไม่ยังค่อยเชื่อ อาจจะยังหนุ่มอยู่ ในตอนนั้นหลวงพ่อได้ใช้อุปกรณ์อะไร : ในตอนนั้นผมเองก็มีกล้องส่วนตัวของผม ส่วนมากผมจะเป็นคนถ่ายภาพ เรื่องเทคนิคการถ่ายจะ อยู่ที่ผม เพราะผมจะรู้หลักของการถ่ายภาพว่าต้อง จัดมุมแสงก่อนจึงค่อยถ่ายได้ ไม่เหมือนปัจจุบันนี้ที่ สามารถน�ำมาปรับในคอมพิวเตอร์ได้ การลงพื้นที่ก็ลง ไปด้วยกัน นั่งรถไปด้วยกัน ส่วนมากจะเป็นรถผม แต่ ถ้ามีคนมาจากรุงเทพฯ ก็เอารถวัดไป ข้อมูลการพบหลักศิลาจารึกได้มาอย่างไร : ข้อมูลข่าวสาร จะมีอยู่ ๒ ส่วน คือ ๑.ไปหา ๒. มีคนมารายงาน ในจุดนี้ผมมาคิดว่าถ้าผมแก่ตัวลงไป หาคนเดียวคงไม่ไหว ผมก็เลยต้องสร้างเครือข่ายของ ผมขึ้นมา ส่วนหนึ่งก็ที่เราลงพื้นที่แล้วเราไปเจอ และ อีกส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านรายงานมาว่ามีคนไปลักลอบขุด พระธาตุหรือเจดีย์ตรงไหนแล้วเจอหลักศิลาจารึก แต่ ถ้าถามว่านี่คือความคิดหรือไม่ ก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่มัน จะเป็นไปตามปริยาย ก็เหมือนคนซื้อของเก่าก็จะรู้ว่า ควรไปซื้อที่ไหน ส่วนว่าถ้าผมหรือหลวงพ่ออ่านไม่ออก ก็จะส่งไปที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับกรมศิลปากร รอเป็นปีกว่าจะแปลเสร็จ ไม่ทันการณ์ ผมจึงได้เข้าไปช่วยเรื่องการจัดเก็บเอกสารของหลวงพ่อ มันค่อนข้างที่จะไม่เป็นระบบ ผมก็จัดให้มันเป็นระบบ แต่ส่วนใบลานผมก็ไม่ได้แตะต้อง มีมหาวิทยาลัย เชียงใหม่เข้ามาจัดการให้กับหลวงพ่อท่านอีกที ผม
128 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
จัดการแค่ขอ้ มูลหลักศิลาจารึกทีอ่ ยูใ่ นตูแ้ ค่นนั้ พอได้ ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยก็จะส่งข้อมูลไปทีก่ รมศิลปากร เพือ่ ลงทะเบียนจารึกตามขัน้ ตอนของราชการ แล้วรอจาก ส่วนราชการส่วนทีแ่ ปลมาอีกที ก็คอื มี ๒ ส่วน หลักศิลาจารึกมีการแบ่งอย่างไร : มันก็จะมีหลักศิลาจารึก ใบลาน และลาน ต่าง ๆ เช่นแผ่นเงิน แผ่นทอง แต่ถ้าหลักศิลาจารึกก็จะ เป็นการบันทึกหรือคล้ายกับใบประกาศว่าวัดนี้สร้างเมื่อ ไหร่ ใครเป็นคนสร้างวัดนี้ ใครมาร่วมสร้างบ้าง ฯลฯ ใบ ประกาศนี้ก็จะไม่มีแค่ค�ำบอกกล่าว แต่มันจะมีค�ำแช่ง อยู่ในนั้นด้วย เป็นเหมือนอาชญาบัตร หรือค�ำสั่งของ พระเจ้าแผ่นดิน ก็เหมือนกฎหมายว่าห้ามใครมายุ่งกับ วัด ห้ามใครมารบกวนคนในวัด ห้ามใครมาเอาที่ของวัด คือกฎหมายที่ตั้งไว้ นี่ก็คือกฎหมายทางโลก กฎหมาย ทางธรรม ก็คือ “ค�ำแช่ง” นี่ก็คือ ลักษณะพิเศษ จุดเด่นหรือลักษณะพิเศษจารึกของเมืองพะเยา : ถ้าพูดถึงจุดเด่นเมืองแต่ละเมืองก็มีประวัติศาสตร์ ด้วยกันทั้งหมดเพียงแต่จะจับประเด็นไหนมา จับเนื้อหา ไหนมาได้เยอะขนาดไหน ก็เหมือนนักวิชาการบางคน บอกว่าพะเยาไม่มีข้อมูลเหรอ บางทีเราก็รู้สึกว่าข้อมูล นั้นมันไม่ได้มีอยู่ในหนังสือที่จะต้องมาเปิดให้ดูเลย แต่ มันต้องค้นหา แสวงหา ถึงจะเจอข้อมูลต่าง ๆ ถามว่า เยอะไหม ตอบได้เลยว่าเยอะ ขนาดตัวของผมเองยัง หาไม่หมดเลย แต่ขึ้นอยู่กับเราจะมีความสามารถเพียง ไหนและมีความอดทนมากเท่าไหร่ด้วย ยกตัวอย่างเช่น วัดโบราณในเมืองพะเยา ผมเดินมาสักเท่าไหร่ ผมท�ำ ร่วมกับพระครูชื่น เบื้องหลังในการท�ำงานมันเหนื่อย มาก บางทีมันมีอุปสรรคหลายด้าน แต่เราต้องอดท�ำให้ ได้และเอาใจจดใจจ่ออยู่กับงาน เวลาเข้าไปในพื้นที่วัด โบราณ พอเก็บข้อมูลภาคสนาม เราก็อยากจะท�ำให้ ต่อเนื่อง แต่ในบางทีก็ต้องกลับออกมาด้วยระยะเวลา ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
129
และสิ่งรอบข้างด้วย หรือต้องใช้เวลานานแรมปีในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ยิ่งตอนลงไปในวัดต้องดูให้ละเอียด มาก เช่น เจดีย์เป็นอย่างไร อิฐเป็นอย่างไร ที่ส�ำคัญ มากในการส�ำรวจ คือ ประสบการณ์และเวลา เช่น ทุ่ง กิ่ว ผมต้องลุยโคลนเข้าไป ๕๐๐ เมตร เดินลุยเข้าไปดูว่า เหลืออะไรบ้าง ก็ต้องท�ำ ถามว่าคุ้มไหม มันคุ้มมาก งาน ด้านโบราณคดีต้องเห็นกับตา ไม่เห็นอย่าเชื่อ ต้องเห็น กับตา ถ้าลงพื้นที่กับหลวงพ่อ ส่วนใหญ่จะไปในพื้นที่ใดบ้าง : ถ้าไปส�ำรวจกับหลวงพ่อก็จะไปในที่ที่เดิน ทางสะดวกสบายไม่มีความล�ำบาก และต้องดูพื้นที่ด้วย โดยหลวงพ่อก็จะไปนั่งดู ท่านก็จะสอบถามข้อมูลชาว บ้าน ว่าได้มาจากที่ไหน อย่างไร เวลาไหน ไปดูพื้นที่จริง ได้ไหมฯลฯ ถ้ามีหลักศิลาจารึกผมก็จะท�ำส�ำเนาไป โดย ผมก็จะเป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติ เก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่ง ยังมีอีก ส่วนมากจะเป็นกู่เก่า และมีงานที่ค้างอีกเยอะ เข้าไปเกี่ยวข้องกับหอวัฒนธรรมนิทัศน์อย่างไร : เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง หลังจากที่ผมเข้า มาท�ำงานจารึกและจัดพิมพ์หนังสือเพื่อร่วมพิธีการเปิด หอวัฒนธรรมนิทัศน์ และมีหน้าที่ส่วนหนึ่งที่ต้องดูการ จัดแสดงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่อยู่ในหอ วัฒนธรรมนิทัศน์ จะมีผมและกรมศิลปากร และมีการ จัดระบบโดยบริษัทเอกชน เพราะมีการรับเหมา แต่ส่วน ข้อมูลต่างๆ คือกรมศิลปากร นักวิชาการกรมศิลปากร ท้องถิ่นก็คือผม ผมก็จะดูโบราณวัตถุที่ตั้ง แล้วทางกรม ศิลปากรเข้าก็จะถามผมว่าเป็นของที่นั่นที่นี่ใช่ไหม บาง อันเราก็บอกว่าไม่ใช่ เพราะผมไปเจอหลักศิลาจารึก ปลอม ผมก็บอกกับอาจารย์ศรีศักดิ์และอาจารย์สุจิตต์ เอาออก เพราะมันเป็นของปลอม บางทีมันผ่านเข้ามา แต่ผมก็ย�้ำกับหลวงพ่อ แล้วว่ามันอ่านไม่ออก มันวนไป วนมา มันไม่ใช่หลักศิลาจารึกของจริง ให้เก็บเอาไว้ดี ๆ
130 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
แต่ก็มีคนเอาเข้ามาโชว์ได้อย่างไรก็ไม่รู้ ขณะนั้นแนวคิดการตั้งหอวัฒนธรรมเป็นมาอย่างไร : ส่วนหนึ่งเป็นโครงการของมติชน และ อีกส่วนเป็นแรงบัลดาลใจจากหลวงพ่อท่านที่อยากได้ พิพิธภัณฑ์ โดยแรกเริ่มกรมศิลปากรจะสนับสนุนเงิน งบประมาณ โดยมีเงื่อนไขต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ กับกรมศิลปากร แต่หลวงพ่อใหญ่ท่านไม่เอา ก็เลย ตั้งเองดีกว่า อาจเป็นเพราะว่าหลวงพ่อไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ เพราะของเหล่านั้นเป็นของที่ท่านหามาทั้งชีวิตและเป็น ของพื้นถิ่นบ้านเรา เวลานั้นมีข่าวว่าของในพิพิธภัณฑ์ หาย ท่านเลยไม่ให้กรมศิลปากรดูแล ท่านจึงขอตั้งเอง เลย โดยมีคุณขรรค์ชัยเข้ามาช่วยในเรื่องงบประมาณ และรูปแบบการจัดแสดงเป็นทีมวิชการจากกรุงเทพฯ ทั้งหมด โดยมีท้องถิ่นให้ความร่วมมือ ไม่ได้เสนอไอเดีย อะไร ผมก็แค่สมทบแค่ข้อมูลหลักศิลาจารึกเท่านั้นและ เสนอแนะบางอย่าง หลวงพ่อท่านพอใจกับหอวัฒนธรรมนิทัศน์ไหม : พอใจมากเพราะเป็นครั้งแรกของภาคเหนือ และเป็นล�ำดับต้น ๆ ของประเทศที่ออกมาในแบบนี้ และทันสมัยในการจัดรูปแบบพิพิธภัณฑ์ มีสื่อวีดีทัศน์ โสตทัศน์ศึกษา มาช่วยให้พิธภัณฑ์ที่แบบเดิมเป็นแบบ โบราณ ได้แต่เดินดูของอย่างเดียว นี่คือ คุณสมบัติของหลวงพ่อ เพราะท่าน ยอมรับฟัง ไม่ได้ดื้อ ท่านเป็นคนใจกว้าง ส�ำคัญคนที่ คุยกับหลวงพ่อต้องมีชื่อเสียงหรือต้องมีเครดิต ดูจาก ผมที่กว่าจะได้พูดคุยกับหลวงพ่อ ผมใช้เวลานานเท่า ไหร่กว่าท่านถึงจะเชื่อใจผม พูดค�ำไหนเป็นค�ำนั้น อย่าง หนังสือของผม ๑๐ เล่มตรงต่อเวลา ไม่มีจุดผิดพลาด หลวงพ่อได้บอกกับอีกไหมว่าอยากจะท�ำอะไร : เรื่องพิพิธภัณฑ์หลังที่ ๒ ก็พาท่านไปดูสถาน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
131
ที่สร้าง ให้ท่านชี้เอาเลยว่าเอาตรงไหน รูปแบบอย่างไร เพราะนี่แหละที่ผมจะท�ำให้หลวงพ่อ เพราะนี่คือผลงาน ชิ้นเอก เพราะจะเป็นอาคารที่ ๒ ที่จะจัดเก็บเอกสาร โบราณทั้งหมดของพะเยาที่อยู่ในวัดศรีโคมค�ำ จะแยก เป็นสัดส่วนและเป็นระบบ ระเบียบแบบแผน และผม จะทุ่มทั้งก�ำลัง ไม่ว่าจะเป็นสมอง แรงงาน รูปแบบหรือ แปลนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากสาเหตุปัญหาตอนนี้เอกสารวัตถุต่างๆ ที่ เก็บไว้ในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ คือ ๑. สถานที่คับแคบ ๒. จัดไม่เป็นระบบ เอามากองไว้ชั้นล่าง และการน�ำ เสนอก็ไม่ค่อยดี การเรียงศักราชไม่ค่อยมี และไม่มี การจัดกลุ่ม เพราะว่าเอามาตั้งๆ ไว้ไม่ต่างจากโกดัง ตัวอย่างที่ผมได้ไปดูต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ผม อยากให้มันเกิดขึ้นเร็วๆ การจัดพิพิธภัณฑ์จะต้องมีพื้น ที่กว้างๆ ไว้ให้กลุ่มนักเรียน นักศึกษามานั่งท�ำงานให้อยู่ กับหลักศิลาจารึกเป็นวัน ๆ ได้เข้ามาหาข้อมูลง่าย ๆ เช่น ยุคนั้น ยุคนี้ แล้วการน�ำเสนอก็ง่ายขึ้น ถ้านึกถึงภาพหลวงพ่อ อะไรเป็นภาพแรกที่เห็น : หลวงพ่อใหญ่นี้เป็นคนที่หายาก ท่านเป็น ผู้มีคณูปการให้กับเมืองพะเยามาก จนไม่รู้จะพูดออก มาอย่างไร ๓ วันก็พูดไม่หมด งานเบื้องหลังที่ท่านได้ ท�ำที่เราไม่รู้อีกละ มันเยอะมาก จนเราไม่รู้จะอธิบาย อย่างไร แต่ว่าควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีส�ำหรับคน เมืองพะเยา ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้น�ำสังคมว่าจะต้องมี คุณสมบัติอย่างไรบ้าง อันดับแรก คือ ต้องมีจิตอาสา ไม่ว่าจะเป็น นักการเมืองหรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ตาม จะต้องมีจิต อาสาโดยไม่มีอะไรมาเคลือบแฝงอยู่ ให้ทุกอย่างและ เผื่อไปยังคนรุ่นหลังอีก คนแบบนี้หายากยิ่งนัก ผมยัง ท�ำไม่ได้เศษเสี้ยวของท่านเลย ถ้าคนมาสืบต่อ ผมก็จะ รู้ว่าหลวงพ่อท�ำอะไรให้กับเมืองพะเยาและเคยท�ำอะไร ไว้บ้าง รุ่นผมท�ำอะไรไว้บ้าง แต่ที่ส�ำคัญ คือ ช่วงอายุ
132 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ระหว่างผมกับหลวงพ่อมันห่างกันเกินไป อาจท�ำให้ งานมันจะไม่ต่อเนื่อง ถ้าเป็นอย่างเชียงใหม่จะห่างกัน แค่ ๑๐ - ๒๐ ปีเท่านั้นเอง ผมว่ า พะเยาเราขาดสถาบั น การศึ ก ษาและ ขาดการสนับสนุน และนี่แหละที่ผมอยากตั้งองค์กรขึ้น มาองค์กรหนึ่งให้เป็นองค์กรทางด้านวิชาการ ใครก็ได้ ที่มีผลงานเอามาเสนอแล้วเราก็พิมพ์หนังสือแจกโดยใช้ หอวัฒนธรรมนิทัศน์นี่แหละ ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใน การสนับสนุน เพราะไม่อย่างนั้นคนรุ่นใหม่ก็ไม่เกิด การที่ จ ะท� ำ งานได้ อ ย่ า งนี้ ต ้ อ งใช้ ค วาม สามารถหลายด้านและจะต้องเหนื่อยและผมก็ไม่อยาก ให้มาเริ่มจากศูนย์ อย่างรุ่นผมสร้างอะไรไว้บ้าง รุ่นต่อ ไปต้องมาสานต่องาน เพราะว่างานนี้เป็นงานไส้แห้ง ถ้า อยู่เมืองนอกก็รวยไปแล้ว แต่บ้านเราเป็นงานบุญ ผมถือว่า ผมท�ำงานให้กับหลวงพ่อท่านและ วัดพระเจ้าตนหลวงเท่านั้น สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก็ เพื่อคนพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
133
134 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
จดบันทึกข้อมูลท้องถิ่น ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
135
136 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
อ.อ้วน ขันทะวงศ์
ครูโรงเรียนพญาลอวิทยาคม อ�ำเภอจุน นักประพันธ์ค่าวล้านนา
เล่าจุดเริ่มต้นที่ได้มาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ : เริ่มแรกเราก็มีชีวิตเป็นลูกชาวนา อยู่ต�ำบล เจดีย์ค�ำ อ.เชียงค�ำ จ.เชียงราย ในสมัยนั้น เดี๋ยวนี้เป็น พะเยา เมื่อสมัยนั้นเรียนหนังสือ ป.๑ - ป.๔ จากนั้น ไม่ได้เรียนต่อเพราะพ่อไม่มีเงินส่งเสีย ช่วยพ่อท�ำนา รับจ้าง จนมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ ก็ไปเป็นเด็กวัด เจ้า อาวาสท่านก็บอกว่า ถ้ามาอยู่วัดต้องบวชเรียนหนังสือ จึงได้เรียนหนังสือล้านนาหรือธรรมเมืองมาอ่าน ทั้งนี้ สูตรสวดมนต์สมัยก่อนเป็นอักขระล้านนา ยังไม่มีธรรม ตัวไทยเหมือนสมัยนี้ พอ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ก่อนพรรษาที่สาม ได้ เจอกับพระวัดบุญยืนซึ่งไปเรียนหนังสือที่จังหวัดล�ำปาง แล้วมาเที่ยวหาเพื่อนที่วัดบ้านปุ๊ พระได้เขียนชื่อวัด เป็นภาษาอังกฤษ ผมสนใจเลยถามว่าไปเรียนที่ไหนมา พระบอกว่าเรียนที่ล�ำปาง ผมเลยคิดว่าอยากไปเรียน พระท่านแนะน�ำให้ไปเรียน หลังปีใหม่สงกรานต์ ก็ไป สมัครเรียนวัดที่จังหวัดล�ำปาง หาวัดที่อยู่ได้แล้ว แต่ พอไปที่โรงเรียน เขาเชิญให้ไปที่ห้องธุรการ บอกว่า ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
137
นิมนต์เณรไปที่ห้องธุรการก่อนคุยอะไรเรียบร้อย แล้ว บอกว่าต้องจ่ายค่าเทอม ค่าบ�ำรุงการศึกษา ๒๖๐ บาท ต่อปี ตอนนั้นเงินผมไม่พอ เรามีแค่ ๘๐ บาท ผมนึกว่า ได้เรียนฟรีเหมือนนักธรรม เมื่อเงินไม่พอ เขาเลยแนะน�ำว่า ให้เราไปกลับ ไปเอาเงินที่บ้านมาก่อนก็ได้ เพราะยังไม่ได้เปิดเทอม ระหว่างนั่งรถล�ำปางมาที่พะเยา ต้องต่อรถกลับเชียงค�ำ แต่รถเมล์เชียงค�ำหมด กลับบ้านไม่ได้ ปัญหาเกิดขึ้น ทันที ท�ำยังไง กลับบ้านยังไง ไม่รู้จักใคร พี่น้องที่พะเยา ไม่มี และคิดได้เมื่อปีที่แล้วตุ๊ลุงและคณะศรัทธาได้เหมา รถเมล์มาไหว้พระเจ้าตนหลวง คิดว่าไม่ไกล ก็ได้เข้ามา หาหลวงพ่อ หลวงพ่อถาม “มาจากไหน” ผมบอก“มาจาก เชียงค�ำไปล�ำปางมาครับ ไปหาทีเ่ รียนหนังสือ” หลวงพ่อ ย้อนตอบ “ไปหาทีเ่ รียนหนังสือเหรอ ทีน่ กี่ ม็ นี ะ มาเรียน ทีน่ ไี่ หม” ผมตอบทันที “ครับ” จาก “ครับ” เพียงค�ำ เดียว ผมอยูว่ ดั พระเจ้าตนหลวง ๘ ปี ได้เรียนบาลีและมาสนใจเรื่องราวท้องถิ่นอย่างไร : ทีแรกก็คิดว่าจะได้เรียนภาษาอังกฤษเหมือน พระที่ล�ำปาง แต่กลับกลายเป็นว่าส�ำนักวัดพระเจ้าตน หลวงนั้นเน้นให้เรียนภาษาบาลี ผมเลยต้องเรียนบาลี ก็เรียนบาลี เรียนนาม เรียนอาขยาตจนจบ ได้เรียนธรรม โทต่อ เรียนบาลี ๑ บาลี ๒ บาลี ๓ และได้ภูมิปัญญา ล้านนามากับหลวงพ่ออีก เพราะเป็นธรรมเนียมของวัด พระเจ้าตนหลวง ที่เช้ามาต้องตื่นเช้า พระเณรจะไป บิณฑบาตกลับมาฉันแล้วท�ำวัตรเช้า ตอนเย็นท�ำวัตรค�่ำ ท�ำวัตรค�่ำตอนหกโมงตรงเป๊ะๆ หลวงพ่อจะพานั่งสมาธิ เป็นประจ�ำ ตรวจสอบชื่อด้วย ใครขาด เหตุใดขาด ขาดเรียนไม่ได้ ขาดบ่อยไม่ได้ ถ้าเจ็บป่วยไข้ไม่เป็นไร หลังจากการนั่งสมาธิหลวงพ่อก็จะเล่าเรื่อง แม่น�้ำอิง เล่าเรื่องพญาง�ำเมือง เล่าเรื่องเมืองเชียงราย เล่าเรื่องกว๊านพะเยา เล่าเรื่องพระเจ้าตนหลวง แล้ว
138 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
แต่หลวงพ่อจะเล่าเรื่องอะไร ตอนนั้นฟังไม่เห็นคุณค่า เพราะส่วนใหญ่คนเรียนบอกหลวงพ่อไม่เลิกสักที แต่ มารู้ทีหลังเป็นคลังปัญญาอย่างมหาศาล เช่น ประวัติ พระเจ้าตนหลวงเป็นอย่างนัน้ พญาง�ำเมืองเป็นอย่างนี้ แม้แต่แม่นำ�้ อิงทีไ่ หลผ่านหลังโรงเรียนนี้ หลวงพ่อเล่าว่า มันเป็นแม่นำ�้ สายตา ไหลมาจากแม่นำ�้ ภูเขา ดอยหลวง หนองเล็งทราย เขาเรียกแม่นำ�้ สายตา ไหลคดไปมามาก ท่านท�ำท่าทางคดเคี้ยววนไปวนมาประกอบ จนมีเณร รูปหนึง่ ถามว่า “คดทีส่ ดุ ในโลกเลยเหรอครับ หลวงพ่อ” หลวงพ่อก็บอกว่า “ก็มนั คดมากจริง ๆ นะ โค้งไปโค้งมา” ท่านก็เล่าให้ฟงั พอฟังก็พวั พันเชือ่ มกับประวัตศิ าสตร์ ของพญาง�ำเมือง พญามังราย พญาร่วง ทีว่ า่ เอาหลังอิงกัน ณ น�ำ้ อิง หลวงพ่อเล่าให้ฟงั เราได้ความรูม้ าก นีค่ อื ความ ผูกพันทีอ่ ยูก่ บั หลวงพ่อ ตอนที่อยู่กับหลวงพ่อรับใช้งานด้านใด : ตอนนั้นก็เรียนหนังสือย่างเดียว นอกจาก หลวงพ่อจะใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ถูกุฏิ ซักผ้า ตอนนั้นงาน เขียนของเรายังไม่มี มีแต่เราอ่านงานเขียนของท่าน เพราะหลวงพ่อมีงานเขียนด้านประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เยอะมาก บางอย่างท่านก็แปลค�ำเมืองล้านนามา แปล ต�ำนานเชียงแสนบ้าง ต�ำนานโยนกบ้าง ท่านเก่งตัว อักษรเมือง เก่งอ่านศิลาจารึกต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่วัดพระเจ้า ตนหลวง ก่อนจะขนไปไว้ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ เคยอยู่ รอบ ๆ ศาลารายวัดพระเจ้าตนหลวงจ�ำนวนมาก งานของท่านมีคุณค่าและประโยชน์กับสังคมอย่างไร : ถ้าไม่มีหลวงพ่อ เราไม่รู้ว่าจะไปอ่าน ประวัติศาสตร์เมืองพะเยาจากไหน นอกจากหลวงพ่อ แล้วก็ยังไม่เห็นใครเขียน หรือถ้ามีก็ต้องอ้างว่าได้มา จากหลวงพ่อ นักปราชญ์พะเยารุ่นหลัง ๆ อย่างเราที่ อ่านประวัติศาสตร์พะเยาก็รู้มาจากหลวงพ่อ ไม่ใช่รู้แค่ ของพะเยา รู้ของเชียงราย รู้ของเชียงแสน รู้ของสุโขทัย ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
139
ท่านจะไปค้นไปคว้า รู้ว่า วัดไหน ที่ไหนมีศิลปะโบราณ เป็นกู่เก่า พระเจ้าคอหักแขนหัก เขาจะทิ้งแล้วไม่มี ใครใช้แล้ว หลวงพ่อจะชวนพระว่าวันนี้ไม่ได้ไปไหน วัน นี้วันอาทิตย์ ที่หยุดวันศีล หรือวันที่ว่าง ๆ เอารถไปขน พระ ที่มีหัวบ้าง ไม่มีตัวบ้าง ก็พากันยก เวียงลอก็ไปเอา แม่กา ที่รู้ว่าเป็นไร่เป็นสวนแล้วชาวบ้านไปเจอแล้วกลัว ท่านก็ไปเอา ไปส�ำรวจแหล่งโบราณต่าง ๆ มีเครื่องมืออะไรบ้าง : ส่วนมากก็ไม่มีอะไร มีแต่สมุดปากกาไปจด กล้องถ่ายรูปก็ไม่มีในสมัยนั้น นอกจากจะมีคนไปตาม ถ่ายให้ ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะเป็นนักเจรจา สอบถาม ชาวบ้าน เช่น “อันไหนส่วนไหนของพระที่ไม่ดี ใครที่ ไม่ต้องการแล้ว หลวงพ่อขอ จะเก็บไปไว้ไปศึกษาไปให้ ลูกให้หลานได้เรียน” หลวงพ่อจะไปได้ทุกที่ ขอให้บอก ท่าน บางทีก็สงสารท่าน เพราะถนนหนทางที่ฝ่าไปมีแต่ ฝุ่นแต่โคลน เป็นดินแดง ทางเดินเท้าไม่มี เหตุการณ์ สถานที่ผ่านมาไม่รู้เป็นกี่ร้อยปีมันเป็นป่ารกร้างแล้ว แต่ เดิมพระพุทธรูปจมดิน น�้ำฝนชะล้างแล้วพระเจ้าโผล่ ก็ ไปช่วยกันขุด ไปยกกันมา หามขึ้นรถ บางทีก็เป็นเรื่องบังเอิญ อย่างที่ไปเมืองพาน แม่อุ้ยเขาเอาโอ่งโบราณ ไปใส่น�้ำล้างเท้าที่บันไดบ้าน เมื่อหลวงพ่อไปเห็นว่าไม่ใช่โอ่งสมัยใหม่ ท่านเป็นนัก ปราชญ์ ท่านดูออก ท่านเลยขอความเมตตาจากอุ้ยว่า “โอ่งนี้ขอเมตตาได้ไหม มันเป็นของโบราณ ถ้าจะขาย ก็จะซื้อเอา” แม่อุ้ยบอกว่า “ซื้อมาเปลี่ยนเอาก็ได้นะ” เราก็ซื้อโอ่งธรรมดามาเปลี่ยน ปรากฏว่าโอ่งโบราณนั้น อายุกี่ร้อยปีไม่รู้ เดี๋ยวนี้อยู่ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ พอ พิพิธภัณฑ์ต่างประเทศจะจัดงานอะไรไม่รู้ ขอไปแสดง โชว์ แค่ใบประกันน�ำขึ้นเครื่องบินใช้เงินถึงสามแสน บาท คือแม่อุ้ยก็ไม่รู้เรื่องขายมาแค่ ๒๐ บาท นี่คือ ความบังเอิญ บางทีคนไร่คนสวนก็เจอพระเจ้า เจอเศียร
140 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระเจ้า เจอแขนพระเจ้า ท่านจะรีบไปดู พาขโยมเด็ก วัดพระน้อยมาช่วยกันขนใส่รถ มาถึงวัดช่วยกันมาล้าง มาขัด อันนี้ส่วนใหญ่ดี อันนี้ส่วนใหญ่ไม่ดี ก็เอาช่างมา ซ่อม ท่านชอบเก็บ เก็บไปเก็บมาก็มารวมท�ำพิพิธภัณฑ์ ส่วนประเภทธรรมค�ำเมือง หนังสือ พื้นแผน โบราณต่าง ๆ หลวงพ่อก็พูดในตอนไปประชุมพระเณร วัดไหนที่จะเอาไปเผา “หลวงพ่อขอนะ อย่าไปเผาเลย เก็บมาไว้นี่” ท่านเสียดาย ก็เอามาไว้ที่นั่น เอามาเป็น ต�ำรา เป็นประวัติศาสตร์ ท่านเป็นคนที่รักบ้านรักเมือง เป็นคนที่เก็บเพื่อลูกเพื่อหลาน ไม่มีเก็บเพื่อตัวเอง หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ดูเหมือนท่านเป็นพระพรหม มีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่น ไม่มีอันไหนที่เก็บไว้เพื่อตัวเอง ค่าวฮ�่ำ ร้อยกรอง ผลงานหลวงพ่อมีลักษณะอย่างไร : ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง ซึ่งหลวงพ่อ จะเขียนเป็นค�ำฮ�่ำ ค่าวไปเวียดนาม ไปเมืองลาว ค่าว หลวงพระบาง ไปเมืองจีน ค่าวศรีลังกา โดยท่านก็แต่ง แบบล้านนา ตอนหลังนี้บอกให้ผม “เอาไปจัดเป็นวรรค ให้หน่อย” ถ้าไม่เป็นวรรค เด็กไม่ชอบอ่าน ค�ำร้อยกรอง อะไรไม่รู้ติดกัน ก็เลยไม่สนใจอ่าน ที่รู้จักกันว่า “สาม ตัวเหลียวเจ็ดตัวเตียว” จัดยังไง จัดเป็นช่องเป็นช่อง ค่าวของผมก็เลยเป็น ๑ บท มีอยู่ ๓ บรรทัด ๓ บาท สัมผัสตามนั้น แต่คนโบราณแต่งเป็นบาทเหมือนกัน แต่ไม่แบ่งวรรค ติดกันเต็มกระดาษ ให้ไปหาวรรคเอา เอง จึงรับงานของท่านมาพิมพ์มาจัดแล้วถวายให้ท่าน หลายอย่างที่ไม่เป็นวรรค เราก็มาจัดวรรคตอนให้ท่าน ในเนื้อหาค่าวมีองค์ความรู้อะไรให้เราเรียนรู้บ้าง : ท�ำให้เราได้รู้ค�ำโบราณที่เราไม่รู้เป็นร้อยปี แบบที่เราไม่เคยได้ยิน อย่างค�ำว่า “ต่องฝ้ายสันถี”จาก เมืองนั้นมาเมืองนี้ คืออะไรเราไม่รู้แล้ว เพราะค�ำเหล่า นี้ เดี๋ยวนี้ไม่ได้ใช้แล้ว หลาย ๆ ค�ำ ที่มีอยู่ในค่าว ใน ธรรมโบราณ เราก็ได้เรียนภาษามา นอกจากเราจะ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
141
อ่านค่าวหลวงพระบาง แล้วเราก็รู้ การใช้ค�ำ ไปเมือง จีน ไปเมืองศรีลังกา ท่านเอาเมืองนั้นมาใส่เอาเมืองนี้ มาใส่ เราไม่เคยไป แต่เราได้อ่าน เราก็ได้รู้ รู้จากค่าว ของท่าน รู้ประวัติ รู้ที่อยู่ รู้จ�ำนวนคน รู้ประเพณีที่ นั้น แถมยังรู้ภาษาก�ำเมืองของเรา ที่ออกมาจากค่าว ของหลวงพ่ออีก นี่ก็คือผลพลอยได้ งานหลวงพ่อสะท้อนทัศนคติหรือให้ข้อคิดอะไรบ้าง : สิ่งที่หลวงพ่อสะท้อนออกมา คือ ๑. เรื่อง ความรักบ้านรักเมือง ท�ำอย่างไรให้คนรู้จักก�ำพืดของ ตัวเอง ให้รู้ภูมิหลังของตัวเองว่าเป็นมาอย่างไร ให้รัก บ้านรักเมืองรักถิ่นก�ำเนิดของตัวเอง ๒. ให้รักวัฒนธรรม ของตัวเอง การกิน การพูด การแต่งกาย อักขระตัวเมือง ๓. สะท้อนด้านคุณธรรมของท่านออกมา โดยจะท�ำตัว ให้เราเห็น โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมการศึกษา เรื่อง เมตตา เรื่องการอยู่อย่างพอเพียงที่มีมานานในตัวของ หลวงพ่อ เรื่องการมีน�้ำใจต่อคนต่อเพื่อนฝูงต่อพี่ต่อน้อง บางทีเราก็คิดไม่ออก แต่ไปอยู่กับท่านก็รู้สึกว่าได้อะไร หลายอย่าง ได้อยู่กับพระผู้ใหญ่ เราก็ภูมิใจแล้วที่ท่าน มีเมตตาธรรมต่อเรา ถ้าไม่มีหลวงพ่อ หรือไม่มีค�ำว่า “ครับ” วัน นั้นก็ไม่รู้จะเป็นยังไง คือพ่อแม่เราไม่มีเงินส่งเรียนแน่ๆ ๒๖๐ บาทมันเยอะมาก ในสมัยนั้นค่าแรงวันละ ๗ บาท ๘ บาท พอมาคิดดูปี ๒๕๒๘ ที่ผมลาสิกขามาเป็นครู ได้ รับค่าจ้างวันละ ๒๐ บาท จากค�ำตกลงที่บอก “ครับ” ค�ำนั้นค�ำเดียว ท�ำให้ได้เรียนภาษาบาลี มีค�ำถามเหมือนกันว่าท�ำไมต้องเรียนบาลีด้วย หลวงพ่อก็บอกว่า “ก็ต้องเรียนสิ เราเป็นพระ ค�ำบาลี เป็นค�ำของพระของพระพุทธเจ้า” จากการเรียนบาลี ท�ำให้เรารู้ว่าเป็นภาษาที่เป็นรากศัพท์ของค�ำไทยที่ใช้ กันแพร่หลายมาก ค�ำไทย ชื่อไทยเป็นแค่ค�ำค�ำเดียว เช่น ชื่อแก้ว ชื่อค�ำ ชื่อจันทร์ ชื่อติ๊บ ชื่อแสง ชื่อมา ชื่อมี ต่างจากชื่อชัยวัฒน์ วุฒิพงษ์ ณัฐนันท์ วราพร นี่เป็นบาลี
142 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
สันสกฤตทั้งนั้น หลวงพ่อมีวิธีการถ่ายทอดหรือเล่าเรื่องอย่างไร : หลวงพ่อท่านจะเทศน์แบบโบราณหน่อย คนแก่คนเฒ่าที่เขาสนใจเทศน์ใบลาน เทศน์พูดก็มี แต่ จะผสมค�ำเมืองค�ำไทยด้วย เพราะท่านเรียนหนังสือจาก กรุงเทพมา ส่วนการบรรยายนั้น ส่วนมากจะเป็นการ ให้ก�ำลังใจเวลาไปเปิดงาน ไปเป็นประธานอะไรแบบนี้ อย่างเปิดสนามสอบนักธรรม ท่านให้ก�ำลังใจว่า “ให้ ตั้งใจท�ำ ช่วยกันรักษา ศึกษาปฏิบัติ หลวงพ่อจะเป็นผู้ที่ ให้ก�ำลังใจ ถ้ามีอะไรก็จะมาปรึกษาหลวงพ่อ มาบอก หลวงพ่อได้” ท่านพูดเปิดกว้างให้เราเข้าถึงตัวท่านเสมอ ส่วนการเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ท่านจะเล่า หลังจากท่านนั่งสมาธิเสร็จแล้ว ขณะที่พระเณรนั่ง หลวงพ่อก็จะเล่า เราก็ฟังท่านเล่าไป เรื่องพญามังราย เรื่องแม่น�้ำอิง เรื่องพญาร่วง ถ้าไปที่ไหนมาก็มาเล่า ไป เที่ยวเจอเหตุการณ์อะไรก็มาเล่า หลังจากที่ท่านไปเจอ มาแล้ว เราก็ได้ความรู้กับท่านด้วย ตัวอย่างกว๊านพะเยา ท่านบอกว่า “แต่ก่อน มันเป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นไม่รู้กี่ยี่สิบสามสิบบวก บวกหนึ่ง กว้างประมาณกี่ไร่สองไร่ หนองแป้น หนองจิ หนองจอก อะไรก็ไม่รู้ เราก็จ�ำไม่ได้ แต่ท่านจ�ำได้ ในพะเยานี้มี ประตูท่าแป้น ประตูสวนจันทร์ สวนดอกไม้...” ท่านคง เคยเห็นตอนเด็ก ๆ ท่านเลยเล่า ตอนนี้เป็นตึกไปหมด แล้วเลยไม่เห็น น�ำองค์ความรู้นั้นมาปรับใช้ในการท�ำงานอย่างไรบ้าง : แทบจะทุกเรื่อง อย่างเรื่องการครองตัว หลวงพ่อให้เป็นคนดี ให้รู้จักจับจ่าย ให้คิดว่าเราจ่าย ส�ำคัญกว่ารายรับ จ่ายให้คิดมากกว่ารับ การครองตัวใน การท�ำอะไร ให้คิดว่าเป็นทุนหรือโทษ การอยู่กับเพื่อน ฝูงควรวางตัวอย่างไร อยู่กับเถ้าแก่ควรวางตัวอย่างไร กริยามารยาท การครองตัว การครองงาน หลวงพ่อท่าน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
143
เป็นผู้อุทิศแก่งาน นั่งเขียนนั่งท�ำ ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่ เหนื่อย ผลของงานนั่นแหละ คือ ค่าตอบแทน ไม่หวัง ผลว่าถ้าเราท�ำงานแล้วจะได้กี่บาท ใครจะมายกย่อง สรรเสริญ ใครจะเอากล่องขวัญมาให้ ไม่คิด คิดแต่ว่า เมื่อท�ำไปแล้วประโยชน์มันเกิดขึ้นอย่างไร งานส�ำเร็จ เสร็จก็ภูมิใจแล้ว อย่างหลวงพ่อท�ำหนังสือมาแต่ละ เล่ม ๆ ประวัติศาสตร์มันก็ออกมา เพราะท่านเป็นห่วง สังคม เป็นห่วงคนอื่นมากว่าตัวเอง สังคมก็เกิดความ เป็นห่วง เกิดส�ำนึกรักบ้านเมืองท้องถิ่นของตนต่อมา นอกจากเรื่องเกี่ยวกับต�ำนาน ได้เรียนรู้อะไรอีกบ้าง : หลวงพ่อไม่ได้สอนใครเป็นพิเศษ ท่านสอน ลูกศิษย์ท่านหมด นอกจากจะเอาทางใดทางหนึ่ง บาง คนไปได้ทางปฏิมากรรม การก่อสร้างวิหาร หลวงพ่อก็ เก่งนะ ออกแบบศิลปะล้านนา บางคนก็ไปได้ทางเรื่อง เกี่ยวกับเมตตาจากหลวงพ่อ หลวงพ่อมีเมตตาสูงนะ ถึงแม้ว่าบางทีอาจจะดูดุไป แต่ใจดีมาก ๆ เลย ลองขึ้น ไปดูบนห้องพักท่าน ไม่มีอะไรที่เป็นของท่านเลย ของที่ ได้รับเป็นสังฆทานมาทุกอย่าง จะไม่มีเก็บ เช่น นม ก็ จะบอกให้พระเณร ใครที่ไม่มีอะไร ยาสีฟัน สบู่ เอาไป ใครไม่มี สบง จีวร หลวงพ่อท่านก็ให้หมด ของที่ท่านถือ มา ท่านไม่เคยเก็บ ท่านบอกว่า “ใครไม่มีอะไรไม่ต้องไปรบกวน ทางบ้าน สบู่ ยาสีฟัน ของกิน ของใช้” แล้วที่หลวงพ่อ มีเมตตาที่สุดก็คือ ถ้ารู้ว่าพระเณรในวัดไม่สบาย ก็จะ พาไปหาหมอ เมื่อก่อนคนขับรถชื่อ ณรงค์ ที่อยู่หน้า วัดราชคฤห์ บอกว่า “ณรงค์ ๆ พระไม่สบาย ปวดท้อง รีบไปส่งลงโรงพยาบาลที” ท่านรักพระ รักเณร รักขโยม เด็กวัด รักเหมือนลูกเหมือนหลาน ถ้ากินข้าว ก็จะถาม ว่า “อิ่มไหม ถ้าไม่อิ่มก็บอก จะได้บอกแม่ครัว” ท่านมี ความเมตตาสูงจริง ๆ ทุกครั้งที่นึกถึงหลวงพ่อ ภาพนั้นคืออะไร
144 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
: ท่านเป็นพระพรหม เป็นพระเจ้าที่มา พรหมคนทุกข์ยากคนที่ขาดโอกาส ด้อยโอกาส คนที่ ไม่มีทางไปและไม่มีที่พึ่ง โรงเรียนพินิตประสาธน์เกิด ขึ้นได้เพราะว่าเห็นแก่ลูกหลานชาวนา สมัยนั้นโรงเรียน รัฐบาลมันไม่มี จะไปเข้าโรงเรียนอื่นก็ต้องเสียค่าเทอม ค่าอะไรอีกมาก หลวงพ่อจึงวิ่งเต้นกว่าจะได้เปิดมานี่ เหนื่อยนะครับ ไปมาหลายรอบ แล้วสมัยก่อนการเดิน ทางล�ำบากมาก ท่านยอมเหน็ดยอมเหนื่อย เมื่อไม่มี คนสอน ท่านก็สอนเอง เมื่อพอมีคนมาช่วยก็ได้เป็นผู้ บริหาร และตอนนี้ลูกศิษย์เป็นหมื่นๆคน เป็นนายร้อย เป็นนายพัน เป็นพลเอก เป็น ผ.อ. เป็นหมอ เป็นอะไร อีกมาก คือเราเข้าใจ คนที่เขาไม่ได้เรียน ไม่ใช่ หมายความว่าไม่มีปัญญาเรียน เขาไม่มีโอกาสเรียน มากกว่า นี่แหละครับหลวงพ่อ ถือว่าเป็นเทพเจ้ามา พรหมมาโปรด
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
145
146 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
147
148 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
มหาสะอาด ปริปุณนากร อดีตศึกษาธิการอ�ำเภอ ข้าราชการบ�ำนาญ
รู้จักหรือเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อ อย่างไร : ผมเคยเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อ นอนใน ห้องเดียวกันกับหลวงพ่อมาตลอด ตั้งแต่หลวงพ่ออยู่วัด เมืองชุม ผมก็รู้จักนิสัยใจคอของท่านเป็นอย่างดี ข้อวัตร ปฏิบัติของท่านก็ปฏิบัติดี เห็นแล้วก็ซาบซึ้ง หลวงพ่อไม่ เคยท�ำผิดวินัย ไม่เคยผิดศีลธรรม ปฏิบัติดีเสมอมา เป็น ผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นคนเคร่งคัดในศีลในธรรม ในฐานะ ที่ได้อยู่ใกล้ชิดและได้อยู่ร่วมห้องกับท่านตั้งแต่หลวงพ่อ เป็น “มหาปวง” ที่ส�ำคัญ ท่านเป็นผู้ส่งพวกเราให้ไปศึกษาเล่า เรียนภาษาบาลีที่กรุงเทพฯ ๗ คน มีท่านเจ้าคณะจังหวัด รูปก่อน พระมหาธงชัย มหาสะอาด มหาอุดม มหาโพธิ์ หนานอิ่นค�ำ หนานทองดี คนไหนที่ไม่ได้เปรียญก็ได้เป็น ต�ำรวจ ทหาร ส่วนผมจบประโยค ๔ ก็ได้ลาสิกขาออก มาเรียนวิชาครู สอบเป็นครู พอได้เป็นครูก็ได้เป็นผู้ช่วย ศึกษาธิการอ�ำเภอ แล้วก็สอบได้เป็นศึกษาธิการอ�ำเภอ ผลงานที่เคยท�ำร่วมกันมีอะไรบ้าง : ผลงานที่เคยร่วมคิดร่วมสร้างกับหลวงพ่อ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
149
จะไม่มี แต่จะร่วมในเรื่องแสวงหาวัตถุโบราณต่างๆ ตามสถานที่ต่างๆ แล้วก็ได้พระพุทธรูปหินทรายได้มาไว้ อันนี้ได้ร่วมกับท่าน การก่อสร้างก็จะมีอยู่ครั้งหนึ่ง อยู่ที่ วัดเมืองชุม คือ การสร้างโบสถ์ขึ้นมาหลังหนึ่ง โดยร่วม มือช่วยงานกับหลวงพ่อในการสร้างโบสถ์ในครั้งนั้นด้วย ความประทับใจในตัวหลวงพ่อ : นอกจากการที่ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงศีล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจแล้ว ผลงานที่ได้ ผลิตขึ้นมา คือ การตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมฝ่ายบาลี ครั้ง แรกที่วัดเมืองชุม ต่อมาก็ตั้งที่วัดหลวง จนเจริญรุ่งเรือง และประสบผลส�ำเร็จ มีพระมหาเปรียญ ๙ ประโยค แม้ ความจริงไม่ได้ส�ำเร็จที่พะเยา แต่ทุกคนได้ไปศึกษาขั้น สูงที่กรุงเทพฯ หลายรูป เช่น พระมหามุ้ย คนบ้านแม่ใส ๘ ประโยค หรือท่านเจ้าคุณที่อยู่วัดห้วยทรายขาว ท่าน เจ้าคุณรองเจ้าอาวาสวัดพิชัยพัฒนาราม ท่านเจ้าคุณ พระราชปริยัติ (สายัน อรินทโม) ที่เรียนจากวัดพระเจ้า หลวง เป็นเณรรูปแรกที่เป็นเปรียญ ๙ แล้วยังเป็นนาค หลวงอีกด้วย ด้านการก่อสร้างวัตถุต่าง ๆ ในวัด อย่างการ ซ่อมแซมพระเจ้าตนหลวงที่เกิดเหตุการณ์น�้ำท่วมจน เกิดเหตุให้พระเจ้าองค์หลวงเอนตัวหงายท้องลงไปจน แตกกระจาย หลวงพ่อจึงไปขอให้กรมศิลปกรมาช่วย ซ่อมแซมในครั้งนี้ โดยใช้แม่แรง ๑๐๐ กว่าลูกและใช้ ไม้หน้าสามงัดขึ้นมาจนกลับขึ้นมาเหมือนเดิม จากนั้น ท�ำการยกฐานพระประทานให้สูงขึ้นหลังจากเดิมและ ปรับพื้นวิหารให้สูงขึ้นตามด้วย ต่อมาน�้ำก็ไม่เคยท่วมอีก เลย นี่ก็เป็นอนุสรณ์อันยิ่งใหญ่ ได้เรียนรู้อะไรจากหลวงพ่อบ้าง : ได้เรียนรู้จากการเขียนหนังสือหลายเล่มของ หลวงพ่อ ทั้งประวัติ ต�ำนาน ต�ำราต่าง ๆ และได้ศึกษา การเขียนหนังสือตามท่านมาหลายอย่าง เรื่องธรรมะ
150 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ธรรมโม ผมก็ได้จัดพิมพ์และแจกจ่ายไปตามวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ ด�ำเนินตามหลวงมาโดยตลอด งานของท่าน มีผลต่อเมืองพะเยาอย่างไร : มีผลดีต่อเมืองพะเยา คือ การก่อตั้ง มจร. พะเยา จนได้วิทยาเขต หลังจากนั้นหลวงพ่อเองก็ได้ ติดต่อมาสร้าง ในตอนแรกใช้ชื่อเป็น วิทยาลัยสงฆ์ ต่อ มาก็ได้เป็นวิทยาลัยเขต นีค่ อื เป็นผลประโยชน์ทไี่ ด้พฒ ั นา พระสงฆ์ เห็นวิธีการแสวงหาความรู้ของหลวงพ่ออย่างไร : หลวงพ่อท่านอ่านตัวเมืองได้ ท่องตัวเมือง ได้คล่องและเทศน์ธรรมก็เก่ง ท่านจึงได้สนใจในเรื่อง ปริวรรต เช่น บันทึกน�้ำท่วมของพระครูศรีวิราชนั้นได้ จารึกไว้เป็นตัวเมือง ท่านได้ปริวรรตเป็นตัวไทยและจัด ท�ำเป็นหนังสือ ถือเป็นผลงานดีเด่นทางประวัติศาสตร์ และประวั ติ ค รู บ าศรี วิ ชั ย ได้ ร ่ ว มสร้ า งพระวิ ห ารวั ด พระเจ้าตนหลวงก็น่าจะได้บันทึกเอาไว้ แม้ว่าท่านจะ ไม่ได้ร่วมในงานนี้ก็ตาม แต่มีครูบาแก้ว เจ้าอาวาสองค์ ก่อน และพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา หรือเจ้าหลวงเมือง พะเยา ก็มีประวัติอย่างชัดเจน หลวงพ่อท่านมีความพิเศษอะไรมากที่สุด : หลวงพ่ออ่านหนังสือเมือง เทศน์หนังสือ เมืองได้ แล้วตัวของท่านเองก็ได้อ่านในปั๊บเหล่านั้น หลัง จากนั้นก็มีแนวคิดว่าต่อไปคงหาอ่านได้ยาก จึงอ่านแล้ว แปลออกมาเป็นตัวไทย เพราะว่าต่อไปคงหาอ่านได้ยาก และคนที่อ่านได้คงน้อยเต็มที ท่านไปค้นหาไปสืบค้นเรื่องเหล่านี้มาอย่างไร : สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องขุด ไม่ต้องค้น เพราะมัน วางอยู่ตรงนั้นแล้ว มันไม่ต้องขุดลึกลงไป ไม่ต้องใช้ เสียม จอบ ขุดลึกลงไป ถ้ามีในหมู่บ้านก็มีการประชุม ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
151
เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส มัคทายก อาจารย์ ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน ว่าขอไปไว้วัดพระเจ้าตนหลวง ถ้าให้ก็เอามา มี หลายวัด เช่น วัดพระเจ้ายั้งย่อง วัดพระศรีจอมเรือง มี โบสถ์หลังเล็ก ๑ หลังได้มา ๑ องค์ พระพุทธรูปศิลาใน วัดเมืองชุม ๑ องค์ โดยครั้งแรกก็มีการรวบรวมไว้ที่วัด พระเจ้าตนหลวง และวัดเมืองชุม หลังจากนั้นก็มีการน�ำ มารวบรวมไว้ที่วัดพระเจ้าตนหลวงที่เดียว เนื่องจาก ไม่มีใครดูแลรักษา น�ำมาวางไว้ใต้ต้นไม้(ต้นศรี) บ้าง ใน โบสถ์บ้าง แต่ยังไม่มีการจัดเก็บเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากนั้นมาก็มีการเขียนติดตามศาลาบาตร แต่ก่อนมีวิธีการจัดเก็บและสืบทอดอย่างไร : แต่ก่อนก็มีแต่พิมพ์ดีด โดยมีคนเฒ่าคนแก่ มาบอก บางทีก็มีหน้อยหนานทั้งหลายมาบอก บางทีก็มี กลุ่มที่รักวัตถุโบราณมาบอก แล้วหน้อยหนานที่เป็นครู อาจารย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับการอ่านปั๊บเข้ามาช่วยอ่าน วัดบ้านกว๊านจะมีปั๊บเยอะที่สุด มีการเก็บไว้ในหีบธรรม ใส่ไว้ในหีบทั้งหมดเลย หลังจากนั้นหลวงพ่อก็ขนมาเก็บ รักษาไว้ สมัยนั้นพระไม่ค่อยทันสมัยและไม่มีการเก็บ รักษา แต่ตอนนี้ก็มีการพัฒนาขึ้นมา พระก็มีการเรียน จบสูงขึ้น มีความรู้มากขึ้น
152 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
153
154 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
สร้างคุณค่าให้ความรู้ท้องถิ่น ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
155
156 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เส้นทางชีวิตหลวงปู่
เรียบเรียงจากบันทึก โดย สานุพงษ์ สันทราย เด็กวัดผู้รับใช้ปัจจุบัน
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺญมหา เถร ป.ธ.๕) หรือที่รู้จักก่อนหน้านี้ คือ “หลวงพ่อใหญ่” พระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดศรีโคมค�ำ, ที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค ๖ เดิมชื่อ “ปวง วงศ์เรือง” เกิดที่บ้านสาง เหนือ หมู่ ๖ ต�ำบล สาง อ�ำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย (อดีต) เป็นบุตรคนที่ ๒ ของ นายพุธ นางหลวง วงค์เรือง มีนายโหล้ วงค์เรือง มีศักดิ์เป็นตา เกิดวันพุธ แรม ๗ ค�่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๗๙ ตรงกับวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เมื่ออายุได้ ๗ ปี ตามเข้าเกณฑ์ตามพระราช บัญญัติการศึกษา จึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาล วัดสางใต้ มีนายตุ่น ช�ำนาญยา เป็นครูใหญ่ เรียนจบ ชั้นประถมปีที่ ๔ แล้ว ช่วยบิดามารดาท�ำการเกษตรท�ำ นา พักแรมอยู่ปางวัว ปางควาย อยู่พักหนึ่ง อายุ ๑๕ ปี ปลายปีได้เห็นพวกเพื่อนเข้าสมัครเป็นเด็กวัด เรียกว่า คะโยมวัดกินข้าวก้นบาตรพระ ศึกษาอักขระสมัยภาษา ล้านนา หรือ ภาษาพื้นเมือง หรือตัวเมือง เรียนอยู่ครึ่ง ปีกว่า ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
157
พอวันเดือนปีย่างขึ้นสู่ พ.ศ. ๒๔๗๕ หลวงพ่อก็เข้าสู่ พระศาสนาเรียกว่า เป็นขโยมวัด(เด็กวัด) อยู่เป็นลูก ศิษย์ของพระภิกษุตุ้ย โดยมีครูบาชื่น เป็นเจ้าอาวาส เรียนอักขระภาษาเมือง โดยเขียนกับอักษรภาษาไทย ใช้กระดานหิน ใช้ดินสอหินอ่อน ท�ำเป็นแท่ง ๆ ดินสอ นี้เอามาจากกิ่วดินสอ ทางไปจังหวัดล�ำปางมีแห่งเดียว ขายแท่งละ ๒ - ๓ สตางค์ เขียนและอ่านท่องจ�ำแล้วลบ เขียนใหม่ วันหนึ่งหลาย ๆ รอบทั้งอักขระและสระ เรียน กันทั้งกลางวัน และกลางคืน จนอ่านออกเขียนได้และ อ่านธรรมเทศนาได้ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ บรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดสางเหนือ มีพระครูบาธรรมวงศ์ เป็นพระ อุปัชฌาย์ พร้อมกับพระสงฆ์ ๗ รูป รวมเป็น ๘ รูป เรียก ๒ สังฆ์ แล้วศึกษาวัตรปฏิบัติสวดมนต์ ๗ ต�ำนาน และ สูตรอื่น ๆ จนจบตามกระบวนกิจวัตร และอนุโมทนาทั้ง พรพื้นเมือง อนุโมทนาคาถาต่าง ๆ ฝึกหัดเทศนา ท�ำนอง พื้นเมืองทั้งท�ำนองธรรมวัตรและท�ำนองมหาชาติ พรรษาต่อมา เรียนนักธรรมชั้นตรี แต่ส่วน ใหญ่เรียนที่วัดเมืองชุม บางปีก็แยกออกไปเรียนส�ำนัก รอบนอก แล้วแต่ครูสอน สมัยก็พาครูสอนก็ยากไม่มีพอ แก่ความต้องการ เช่นจะเรียนวิชาวินัย ต้องไปเรียนวัด ส้นกว๊าน หรือวัดบ้านถ่อน จะเรียนพุทธประวัติต้องไป เรียนที่วัดบ้านม่วง ส่วนเรียนธรรมวิภาค เปิดสอนที่วัด ศรีบุญเรือง (สางใต้) เป็นช่วง ๆ เพราะครูต้องแบ่งกันไป สอนหลายแห่ง ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงพ่อสอบนักธรรม ชั้นตรีได้ ส�ำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง สางใต้ อ�ำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๐ ในระหว่างนีท้ างราชการ ได้เร่งรัดพัฒนาการศึกษา เป็นนโยบายของรัฐทีม่ งุ่ จะให้ คนไทยเรียนหนังสือไทยให้อ่านออกเขียนได้ แต่โรงเรียน ประชาบาลมี ไ ม่ พ อกั บ ความต้ อ งการทางราชการจึ ง ก�ำหนด เปิดโรงเรียนวัดขึ้นดูที่ใด มีประชาชนมาหนา แน่น มีโรงเรียนน้อยไม่สามารถจะรับนักเรียนเข้าเรียน
158 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
มากไม่ได้ จึงเปิดศาลาวัดเป็นโรงเรียน ชั่วคราวขึ้นในวัด บ้านสางเหนือ วัดบ้านงิ้ว ครูผู้สอนจัดพระเณรที่เรียน จบประถมปีที่ ๔ และพระเณรที่ นักธรรมชั้นตรีได้แล้ว มาเป็นครูสอน หลวงพ่อจบนักธรรมชั้นตรี จึงได้เป็น ครูสอน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๔๘๐นับเต็มได้ ๓ ปีครึ่ง ทางโรงเรียนก็ปิดการสอน พออายุกย็ า่ งเข้า ๒๐ ปี แต่ยงั ไม่เต็มดีอตุ สาหะ รอไปอีก ๑ ปี พออายุครบ ๒๑ ปีบริบรู ณ์ ก็อปุ สมบท ประมาณเดือนมิถนุ ายน พ.ศ.๒๔๘๑ ณ อุโบสถกลางทุง่ เขตบ้านสางเหนือ เสร็จธรรม เวลา ๑๓.๑๕ น. ต�ำบลสาง อ�ำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย โดยมีพระธรรมวงศ์ (ตื้อ ธรรมวังโส) เป็นอุปัชฌาย์ อุปสมบทปีนั้นแล้วย้ายส�ำนักไปอยู่วัดเมืองชุม ทางการคณะสงฆ์ก็ส่งพระครูพินิตธรรมประภาส (สว่าง โพธิ์ย้อย) ย้ายจากวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดล�ำพูน มาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ตามค�ำสั่งเจ้าคณะ มณฑลพายัพ วัดเบญจมบพิตรฯ กทม. ไปอยู่ปีนั้น ท่าน พระครูพินิตฯมาอยู่แล้ว ก็เริ่มสร้างศาลาการเปรียญ หลังใหญที่ปรากฏอยู่เดียวนี้ ในฐานะที่หลวงพ่อเป็นคน พื้นที่ ท่านก็วานให้หาช่างบ้าง อุปกรณ์การก่อสร้าง บ้าง จนไม่ว่างเรียนนักธรรม เมื่อไม่ได้เรียนถึงคราว สอบก็สอบไม่ได้ ผ่านไปแล้ว ๒ ปี พอย่างเข้าปีที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๓ ขอลาไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ พอดีพระอธิการชุ่ม วัดไทร บางโคล่ รู้จักกัน วันพระครูพินิตฯ ขึ้นมาเยี่ยม เวลาจะกลับก็ฝากหลวง พ่อไปเที่ยวดูเส้นทางกรุงเทพ จะอยู่ได้หรือไม่ ไปเที่ยว ๑ เดือน กลับมาพระครูพินิตฯถามว่าอยู่ได้ไหม พอ อยู่ได้ ท่านบอกให้เตรียมตัว ถึงเวลาจะส่งไปก็เตรียม ท่องบท เมื่อเตรียมเรียบร้อยแล้ว ประมาณวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๘๒ เดินทางเข้ากรุงเทพ ออกจากวัด เมืองชุม โดยมีพระอินโต คนฺธวํโส เจ้าอาวาสวัดบุญยืน และ เจ้าคณะอ�ำเภอพะเยา อีกรูปหนึ่งคือ พระครูวรรณ รังศรี วัดดงเจน ไปพร้อมกันพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้าน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
159
นาก่วมเหนือ จังหวัดล�ำปาง ฉันข้าวเช้าที่วัดศรีบุญเรือง ฉันแล้วไปขึ้นรถไฟ ท่านทั้งสองก็อุตสาหะไปส่งถึงสถานี รถไฟจนเรียบร้อย วันนั้นเสียค่ารถไฟ ๑๑.๒ สลึง พอได้เวลา รถไฟก็ออกจากสถานีไปถึง กรุงเทพฯเลยไปพักวัดไทร บางโคล่ พักประมาณสัก เดือน การไปเรียนหนังสือที่วัดยานนาวา ทางไกลและ ล�ำบาก ประมาณ ๓ กม. มีอุปสรรคหลายอย่างจึงขอ ย้ายออกจากวัดไทร บางโคล่ไปอยู่วัดไผ่เงินโชตนาราม ใกล้เข้าไปหน่อย แต่ก็เดินไปวัดยานนาวา ไกลประมาณ ๗ กม. แต่ออกถนนใหญ่มีรถรางพอสะดวก ค่ารถราง ตรอกจันทร์ไปวัดยานนาวา ๒ สตางค์ การเดินทางไปเรียนต้องไป ๒ เวลา ๐๘.๐๐ น.ไปกลับ ๑๐.๓๐ น. และ ๑๒.๓๐ น. ออกเดินไปเรียน กลับ ๑๕.๓๐ น. อย่างนี้ทุกวัน บางวันก็เกือบไม่ทันฉัน เพล ส่วนนักธรรมโท เรียนที่วัดมหาพฤฒาราม หรือวัด ตะเคียนก็ช้าไปอีก เรียนนักธรรมต้องอาศัยดูหนังสือ ส่วนตัวเอาเป็นส่วนใหญ่ ปีแรก พ.ศ.๒๔๘๓ ก็สอบนัก ธรรมโทได้ ส่วนบาลีเรียนกันจริง ๆ ชนิดเอาเป็นเอาตาย กัน เพราะเรียนแข่งกันกับพวกพระที่มาจากภาคอีสาน สนุกดี ดูหนังสือไม่ขาด ขนาดเดินบิณฑบาตก็จดใส่ บาตรท่องไป แต่ต้องระวังรถเฉี่ยว พ.ศ. ๒๔๘๓ สามารถสอบ ป.ธ ๓ ส�ำนักวัด ยานนาวาได้ จากนั้นพระครูปลัดฟุ้ง วัดเบญจมบพิตร ไปตามเอาที่วัดไผ่เงิน มาศึกษาต่อส�ำนักวัดเบญจฯ พ.ศ. ๒๔๘๔ สอบ ป.ธ ๔ ได้ส�ำนักวัดเบญจมบพิตร ต้องเร่ง การศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ไม่ว่างหมั่นแปลขีดเขียน ทบทวนอยู่เสมอ แต่ตั้งใจว่าจะกลับไปเยี่ยมบ้าน พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบ ป.ธ ๕ ได้ส�ำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิต วนาราม เมื่อทราบการสอบได้แล้วรู้สึกดีใจ และจะตั้งใจ เรียน ต่อ ป.ธ ๖ พอเวลาผ่านไป ย่างเข้าปี พ.ศ.๒๔๘๗ เกิด สงครามโลก ก็ปะทุอย่างรุนแรง ได้รับข่าวสารจากวิทยุ
160 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ญี่ปุ่น เข้าโจมตีทัพอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้นทัพของญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ท�ำให้อเมริกาไม่พอใจ ส่ง เครื่องบินมาโจมตีไทย เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร บินจากมาเลเซียบ้าง สิงคโปร์บ้าง บางทีเดือนมาละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง วันที่ ๑๕ มิถนุ ายน ๒๔๘๗ ตรงกับวันวัน วิสาขบูชา นัง่ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรฯ เจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต (ปลด) ก�ำลังเทศน์จวนได้เวลาฉันเพล พอดี พระสงฆ์ สามเณร และญาติโยม ก็พากันทยอย ออกจากพระอุโบสถ ขณะนั้นเองเสียงสัญญาณเตือนภัย ทางอากาศ ดังขึ้นได้ยินทั่วกรุงเทพฯ ได้สักพักเครื่อง บินเร็ว บินมาปล่อยสัญญาณไว้เป็นจุด ๆ และเป็น วงกลม ชักสายติดต่อกันเหมือนใยแมงมุมทั่วฟ้า สัก ประเดียวเครื่องบินทิ้งระเบิดตามลงเป็นวงกลม ท�ำให้ บ้านเมืองเกิดโกลาหลทั่วกรุงเทพฯ เสียหายมากที่สุดทั้ง บุคคลและทรัพย์สิน ต่อจากนั้นได้ ๓ วัน เจ้าประคุณสม เด็จฯ ประกาศแก่คณะสงฆ์ทุกรูปท่านที่อยู่ต่างหัวเมือง ให้กลับภูมิล�ำเนา พระที่อยู่ภาคเหนือกลับกันหมด และ ภาคอื่น ๆ ก็ทยอยกลับเช่นกัน พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่อกลับถึงวัดเมืองชุม ให้พระครู พินิตธรรมประภาสทราบและเห็นจะไม่ไปเรียนต่อแล้ว ท่านจึงมอบหมายงานคณะสงฆ์ และการพระศาสนา หลวงพ่อต้องรับภาระหลายอย่าง ทั้งทางการปกครอง คณะสงฆ์และการศึกษาพระพุทธศาสนา มีอะไรก็มอบ ท�ำแทนเป็นประจ�ำ ท่านก็ปล่อยวางหน้าที่การงานใน ที่สุด พ.ศ. ๒๔๘๘ ท่านลาออกจากต�ำแหน่ง เจ้า คณะอ�ำเภอพะเยา มอบให้หลวงพ่อท�ำแทน ต้องรับ ภาระได้แต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ ต�ำแหน่งองค์การ ศึกษาอ�ำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้รบั พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น ทีพ่ ระครูพนิ ติ ธรรมประภาส ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้รบั เลือ่ นเป็นพระครูสญั ญาบัตร ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
161
ชัน้ พิเศษ พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระโศภนธรรมมุนี” เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับ แต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ต่อมาวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รบั พระราชทานเลือ่ นสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชัน้ ราช ที่ “พระราชวิสทุ ธิโสภณ วิมล สีลาจารวิภษู ติ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้ง เป็นรองเจ้าคณะภาค ๖ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระเทพวิสุทธิเวที ศรี ปริยัติวิภูษิต วุฒิกิจวโรปกร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระธรรมวิมลโมลี ศรี กิตติโสภณ โกศลพิพิธกิจจานุกิจ วิจิตรธรรมธาดา มหา คณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี” ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทาน สถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้น หิรัญบัฏ ในราชทินนามที่“พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธจริยาปริณายก ดิลกศีลาทิขันธสุนทรบวร ธรรมภาณี สาธุการีธรรมากร มหาคณิสสร บวรสังฆา ราม คามวาสี”
162 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
163
164 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
165
166 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)
ปราชญ์ผู้ปริวรรต สังคมเมืองพะเยา
บทความโดย ชัยวัฒน์ จันธิมา
ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ สถาบันปวงผญาพยาว
“พะเยา พยาว ภูกามยาว เป็นเมืองเก่าแก่ ทางประวัติศาสตร์...” เรามักได้อ่านหรือได้ยินประโยคเริ่มต้นแบบนี้ “จากการศึกษา / หนังสือที่เขียนโดย / ทัศนะของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ พระนักปราชญ์แห่งเมืองพะเยา กล่าว ว่า...” นี่คือ ค�ำอ้างอิงในวรรค / บรรทัดต่อมา สะท้อนให้เห็นว่า บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการ ศึกษา ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตวัฒนธรรม และ การพัฒนาสังคมในพื้นที่ล้านนานั้น ไม่มีใคร ไม่ยอมรับ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)” ไม่นับถึงความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติ ทางพุทธศาสนา และเมตตาธรรมที่มีต่อผู้ด้อยโอกาส ทางสังคม ซึ่งได้สร้างคุณูปการต่อวงการคณะสงฆ์ และ สังคมเมืองพะเยาในช่วงที่ผ่านมา ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
167
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) คือใคร ท่านมีความส�ำคัญหรือคุณค่าน่าสนใจอย่างไร ท�ำไมเราต้องศึกษาประวัติชีวิตและผลงานของท่าน จะ ด้วยฐานะของคนพะเยาหรือคนท้องถิ่นอื่นๆ ก็ตาม สิ่ง ที่ผู้เขียนอยากน�ำเสนอเบื้องต้นต่อจากนี้ คือ ๑.ท่านเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง ที่มีรูปธรรม การด�ำเนินชีวิต โดยใช้ตนเองเป็น “ต้นแบบ” ส�ำหรับ คนทั่วไปในสังคมและหมู่คณะสงฆ์ ซึ่งได้ก้าวขึ้นสู่ รองสมเด็จพระราชาคณะ อายุวัฒนมงคลในปัจจุบัน ๙๖ ปี (๒๕๕๖) ด้วยสมณเพศกว่า ๘๐ พรรษา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) เดิมชื่อ “ปวง วงศ์เรือง” เริ่มต้นจากครอบครัวชาวนาใน จังหวัดพะเยา กล่าวคือ ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่ง เข้าสู่ระบบการศึกษาโดยการเรียนการสอนบนกระดาน ชนวน ราคา ๒๕ สตางค์ ต้องช่วยพ่อแม่ท�ำนาและเลี้ยง ควายไปพร้อมกัน ก่อนเข้าวัดบวชเณรในปีเดียวกันกับ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ และถูกให้ฝึกอ่าน “ตั๋วเมือง”ภาษาล้านนา และท�ำหน้าที่เป็นครู(พระ)ใน ระยะสั้นๆ จากนั้นตัดสินใจเดินเท้าและขึ้นรถไฟไปเรียน ที่กรุงเทพฯท่ามกลางความขัดสน และเผชิญกับภาวะ สงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงต้องย้อนกลับมาบ้านเกิดด้วย วุฒิบาลีธรรม ๕ ประโยค ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ “วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๘๗ ตรงกับวันวัน วิสาขบูชา นั่งพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ เจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต (ปลด) ก�ำลังเทศน์จวนได้เวลาฉันเพล พอดี พระสงฆ์ สามเณร และญาติโยม ก็พากันทยอย ออกจากพระอุโบสถ ขณะนั้นเองเสียงสัญญาณเตือนภัย ทางอากาศ ดังขึ้นได้ยินทั่วกรุงเทพฯ ได้สักพักเครื่องบิน เร็ว บินมาปล่อยสัญญาณไว้เป็นจุดๆ และเป็นวงกลม ชักสายติดต่อกันเหมือนใยแมงมุมทั่วฟ้า สักประเดียว เครื่องบินทิ้งระเบิดตามลงเป็นวงกลม ท�ำให้บ้านเมือง เกิดโกลาหลทั่วกรุงเทพฯ เสียหายมากที่สุดทั้งบุคคล
168 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
และทรัพย์สิน ต่อจากนั้นได้ ๓ วัน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประกาศแก่ ค ณะสงฆ์ ทุก รูป ท่านที่อยู่ต ่างหัว เมืองให้ กลับภูมิล�ำเนา พระที่อยู่ภาคเหนือกลับกันหมด และภา คอื่นๆ ก็ทยอยกลับเช่นกัน” สานุพงศ์ สันทราย ขโยม (เด็กวัด) ผู้รับใช้ บันทึกจากค�ำบอกเล่า “ผมเคยเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อ นอนใน ห้องเดียวกันกับหลวงพ่อมาตลอด ตั้งแต่หลวงพ่ออยู่ วัดเมืองชุม ผมก็รู้จักนิสัยใจคอของหลวงพ่อเป็นอย่างดี ข้อวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อก็ปฏิบัติดี เห็นแล้วก็ซาบซึ้ง หลวงพ่อไม่เคยท�ำผิดวินัย ไม่เคยผิดศีลธรรม ปฏิบัติดี เสมอมา เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นคนเคร่งคัดในศีลใน ธรรม ในฐานะที่ได้อยู่ใกล้ชิดและได้อยู่ร่วมห้องกับท่าน ตั้งแต่หลวงพ่อเป็นมหาปวง” มหาสะอาด ปริปุณนากร อดีตศึกษาธิการอ�ำเภอ ลูกศิษย์ลูกหาคนส�ำคัญ กล่าว บทบาทพระสงฆ์ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ถูกกล่าวขานในแง่มุมอันเป็นที่ยอมรับตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน “ท่ า นเป็ น คนที่ มุ ่ ง มั่ น เผยแพร่ พุ ท ธศาสนา เน้นให้พระสงฆ์ได้ปฏิบัติเอาจริงเอาจัง เป็นสิ่งที่ท่าน ยึดมั่นมาอย่างไม่ลดละตลอดกาล การประชุมที่ไหนไม่ ว่าใกล้ไกล ถ้าท่านมีโอกาส ท่านไม่เคยละทิ้ง ชักชวน พระสงฆ์ให้ไปด้วยกัน งานทุกงาน ท่านจะต้องเทศนา พร�่ำสอนศรัทธาชาวบ้านไปทั่วจังหวัด งานไหนก็ให้ท่าน เป็นประธานกล่าว” พระมงคลวัฒน์ (ก�้ำ กลฺยาณธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดบุญเกิด กล่าวถึงพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อครั้งเคยท�ำงานร่วมกัน เช่นเดียวกับพระราชวิริยาภรณ์ เจ้าคณะ จังหวัดพะเยาปัจจุบัน ที่กล่าวถึงหลวงพ่อว่า “การ ประพฤติปฏิบัติดี เรื่องการปาฏิโมกข์ท่านก็ไม่เคยขาด คงเส้นคงวา เอาใจใส่คณะสงฆ์ เวลาพักท่านก็ไม่พัก เวลาประชุมอะไร อายุ ๙๐ กว่าแล้ว ท่านก็ยังมานั่งฟัง เวลาเรียนบาลีท่านก็มานั่งดู ท่านเอาใจใส่เสมอ ด้าน เผยแพร่ท่านก็สุดยอด สมัยตอนหนุ่ม ๆ ไปทุกวัน เวลา ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
169
เข้าพรรษา ๑ ทุ่ม ท่านก็ไปละ แยกไปแต่ละต�ำบล ๆ ไป ท่านก็แยกไปแต่ละต�ำบล ไปทุกวัด ทุกวัน” พระราชปริยัติ (สายัน อรินทโม) ผอ.วิชาการ มจร.พะเยา ลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง ได้กล่าวเสริมว่า “ท่าน เคยด�ำรงต�ำแหน่งคณะสงฆ์มาก่อน ท่านจะบอกเลย ว่า ก่อนท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ท�ำงาน อย่างไร คนเขาถึงรับการยอมรับเชื่อถือ เป็นเจ้าคณะ จังหวัดพะเยาท�ำอย่างไรให้คณะสงฆ์ยอมรับนับถือ ซึ่ง จริง ๆ เป็นอย่างที่หลวงพ่อว่า คณะสงฆ์ส่วนใหญ่ให้ ความเคารพนับถืออย่างเกณฑ์หลวงพ่อ เนื่องจากหลวง พ่อท่านเป็นคนตรงไปตรงมา” ๒. ท่านได้วางรากฐานและพัฒนาการศึกษา ของจังหวัดพะเยา โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้คนมีทั้งความรู้และคุณธรรม ตั้งแต่ระดับโรงเรียน และมหาวิทยาลัย ทั้งทางโลก ทางธรรม ส่งผลให้ เมืองพะเยาเป็นเมืองการศึกษาในเวลาต่อมา เมื่อผ่านชีวิตที่ยากล�ำบากจากกรุงเทพฯกลับ มายังพะเยา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่มีคน ด้ อ ยโอกาสอี ก เป็ น จ� ำ นวนมากที่ ไ ม่ อ าจเข้ า ถึ ง ระบบ การศึกษาหรือโรงเรียนของรัฐ โดยเฉพาะพระเณรที่ เป็นบุตรหลานของคนยากคนจน ที่ยังอ่อนทั้งทางโลก และทางธรรม พระหนุ่มผู้ได้ชื่อว่า “มหาปวง” จึงคิด ก่อการสร้างโรงเรียนสายสามัญส�ำหรับพระเณร ในชื่อ “โรงเรียนพินิตประสาธน์” ขึ้น ส่งผลให้ลูกศิษย์คนจนที่ เข้ามาบวชเรียนที่โรงเรียนพินิตประสาธน์ มีจ�ำนวนมาก และได้รับการยอมรับจากสังคมเมืองพะเยาในปัจจุบัน หลายคนเป็นข้าราชการชั้นสูง ครูบาอาจารย์ และ นักการเมืองที่ดียิ่ง “ท่านอยู่ตรงไหนก็จะต้องยุ่งอยู่กับเรื่องการ ศึกษา ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม เพราะท่านเรียนบาลี ที่ กทม. มาก่อน แล้วก็จบประโยค ๕ มาก่อน กลับมา อยู่วัดเมืองชุมสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็มาตั้งส�ำนัก
170 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
เรียนบาลี แม้ท่านจะอยู่ที่นั้นได้ไม่นาน หรือย้ายมาอยู่ ที่วัดศรีอุโมงค์ค�ำแล้วก็เปิดสอนบาลีเหมือนกัน คือท่าน นึกคิดต่อไปว่าเด็กและเยาวชนในวันข้างหน้าจะต้องได้ รับการศึกษาทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม ท่านเลยอยาก จัดตั้งโรงเรียนราษฎ์เพื่อการกุศล ก็ได้ไปดูตัวอย่างที่ โรงเรียนเมธีวุฒิกร จังหวัดล�ำพูน ดูว่ามีกฎระเบียบ อย่างไร จึงน�ำเอาแนวคิดวิธีการมาตั้งเป็น “โรงเรียน พินิตประสาธน์” ซึ่งก็เป็นฉายาธรรมของหลวงพ่อเอง คือ พระครูพินิตธรรมประภาส” พระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาส วัดศรีโคมค�ำ กล่าว “ท่านเป็นผู้ให้การศึกษากับคนจน ท่าน จะพยายามมองหาเด็กเรียนดี แต่ยากจน จึงเกิดเป็น โรงเรียนพินิตประสาธน์ ที่เปิดโอกาสให้ลูกคนจน ได้ เข้ามาเล่าเรียน แล้วก็เก็บค่าเล่าเรียน ถ้ามีข้าว ก็เอา ข้าวมา ๑ กระสอบ ถ้าปลูกข้าวโพดก็เอาข้าวโพดมา ใครมีเงินก็เอามา ๕๐ - ๑๐๐ บาท จนเดี๋ยวนี้เชื่อว่า โรงเรียนพินิตประสาธน์ผลิตบุคลากรให้กับสังคมเยอะ มาก และมีคุณค่ามาก” วิมล ปิงเมืองเหล็ก นักวิชาการ ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น อดีตเณรก�ำพร้า ซึ่งพระอุบาลี คุณูปมาจารย์เคยชุบเลี้ยง กล่าว ในกาลต่ อ มาท่ า นได้ ข ยั บ ขยายระดั บ การ ศึกษาพระเณรของพะเยาและล้านนาตะวันออกให้สูง ขึ้น ไม่ต้องเดินทางไกลไปเรียนที่กรุงเทพฯหรือจังหวัด ใหญ่ ๆ จึงส่งเสริมให้มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ “จุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา” และร่วมมือกับหลาย องค์กรในพื้นที่ผลักดันให้เกิด “มหาวิทยาลัยพะเยา” ซึ่งท่านถือเป็นบุคคลส�ำคัญตั้งแต่แรกเริ่ม “ถ้าไม่มีหลวงพ่อวันนั้น ชีวิตผมก็ไม่รู้จะเป็น อย่างไร คือพ่อแม่เราไม่มีเงินส่งเรียนแน่ๆ ๒๖๐ บาท มันเยอะมาก ในสมัยนั้นค่าแรงวันละ ๗ บาท ๘ บาท พอมาคิดดูดี ๆ เราเข้าใจ คนที่เขาไม่ได้เรียน ไม่ใช่ หมายความว่าไม่มีปัญญาเรียน แต่เพราะไม่มีโอกาส เรียนมากกว่า นี่แหละครับหลวงพ่อ ถือว่าเป็นเทพเจ้า ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
171
มาพรหมมาโปรด” ครูหนานอ้วน ขันทะวงศ์ ครูลูก ชาวนาผู้ได้โอกาสจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กล่าว ๓. ท่านได้จดั ระบบองค์ความรูแ้ ละภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิน่ เพือ่ เป็นแหล่งเรียนรูท้ างประวัตศิ าสตร์และ วิถี วัฒนธรรมแก่คนรุน่ หลัง ทัง้ การปริวรรตเอกสาร/บันทึก/ จารึกหินทราย เก็บรวบรวมหลักฐานโบราณคดี จนกลาย เป็น “หอวัฒนธรรมนิทศั น์” ต้นแบบพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ใน ระดับประเทศ พร้อมกับผลงานหนังสือทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อ การศึกษาอีกกว่า ๔๐ เล่ม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) เดิมสมัยที่ยังด�ำรงต�ำแหน่ง “พระโศภณธรรมมุนี” เจ้า คณะอ�ำเภอเมืองพะเยารูปแรก ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วม ผลักดันให้เกิดโรงพยาบาลพะเยา และในโอกาสเปิดโรง พยาบาลได้เขียนบทความเกี่ยวกับประวัติเมืองพะเยา และประวัติพระเจ้าตนหลวง โดยได้ปริวรรตและเรียบ เรียงจากเอกสารโบราณและบันทึกของ “พระครูศรี วิลาส”พระนักปราชญ์ของเมืองพะเยาอีกรูปหนึ่ง จึงถือ เป็นการเปิดศักราชการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้อง ถิ่นในสังคมพะเยา ท�ำให้ท่านได้รับการยอมรับจากนัก วิชาการและหน่วยงานราชการมากยิ่งขึ้น ต่ อ มาท่ า นจึ ง เป็ น เหมื อ นแหล่ ง รวมความรู ้ ท้องถิ่น ส�ำหรับนักวิชาการและนักศึกษาประวัติศาสตร์ ชุมชนจากทั่วสารทิศ ทั้งนักวิชาการ นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยศิลปกร เจ้าหน้าที่กรมศิลปกร ตัวอย่าง สองนักศึกษาศิษย์ข้าวก้นบาตรที่พระอุบาลีย์คุณูปมา จารย์ได้พาลงพื้นที่ศึกษาโบราณสถาน โบราณคดี ต่างๆ ในเมืองพะเยาครั้งกระโน้น ต่อมาได้เป็นผู้อุปัฐ ถากทั้งความรู้ งานพิมพ์หนังสือ ตลอดจนงานศาสนา วัฒนธรรมต่าง ๆ คือ คุณขรรค์ชัย บุนปาน ประธาน เครือมติชน และคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ นักศิลปวัฒนธรรม นามอุโฆษ ผลงานการปริ ว รรตและเก็ บ รวบรวมวั ต ถุ
172 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
บารณในจังหวัดพะเยา โดยเฉพาะศิลาจารึกหินทราย น�ำไปสู่การสร้าง “หอวัฒนธรรมนิทัศน์” วัดศรีโคม ค�ำ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านซึ่งมีลักษณะเฉพาะแห่งแรกใน ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบที่มีความ น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดแสดงที่มีเนื้อหา ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด รวมถึงการบริหารจัดการ ที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณทั้งการก่อสร้างและดูแลจาก ราชการ แต่อยู่ได้อย่างยั่งยืนโดยวัด “ท่านเคยบอกว่า “เมื่อก่อนของพวกนี้ทิ้งระ เกะระกะ ไม่มีใครเห็นคุณค่า ข้าก็เก็บมาหมด จนทุก วันนี้เป็นแก้วเป็นแสงไปหมด” คือ ปัจจุบันสิ่งที่มีอยู่ ในหอวัฒนธรรมนี้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าไปหมดแล้ว จากในอดีตเป็นเศษหินดินทรายที่ทิ้งตามวัดร้าง ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ของเราอยู่ในระดับแนว หน้า จากที่อาตมาภาพได้สัมผัสและได้ต่อยอดจากผล งานของท่าน โดยได้น�ำหอวัฒนธรรมนิทัศน์เข้าไปร่วม กับเครือข่ายของศูนย์สิรินธร ของสถาบันพัฒนาการ เรียนรู้แห่งชาติ ถ้าไปศึกษาดูงานที่ภาคอีสาน ภาค กลาง ภาคใต้เราก็จะได้เห็น หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัด ศรีโคมค�ำของเราได้รับการยกย่องจากที่อื่นเป็นอย่าง มากในฐานะที่เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่จัดได้ดีมีรูปแบบ เทียบเคียงกับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติได้ ซึ่งมีการบริหาร จัดการเป็นของวัด ดูแลโดยวัด ซึ่งนี้เป็นรูปแบบที่ที่อื่น ยกย่องให้เป็นพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ” พระมหาโยธิน ฐานิ สสโร ฝ่ายวิชาการ หอวัฒนธรรมนิทัศน์กล่าว “ถ้าไม่มีหลวงพ่อใหญ่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จะไม่มีกระแสขนาดนี้ คนจะไม่รู้จักพญาเจือง พญาง�ำ เมือง คนจะไม่รู้จักพญายุทธิษฐิระ คนจะล้มเจดีย์วัด ป่าแดงบุญนาค คนจะไม่อนุรักษ์กว๊านพะเยา จะถม ที่กว๊านให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อาจจะมีเรือเจ็ต สกีอะไรพวกนี้ เพราะว่าหลวงพ่อให้องค์ความรู้ เหมือน กับว่าเราจะต้องเดินในทิศทางใด” วิมล ปิงเมืองเหล็ก ลูกศิษย์ผู้สืบสานงานวัฒนธรรมท้องถิ่น กล่าว ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
173
๔. ท่านเป็นศูนย์กลางแห่งพลังศรัทธาของ ศิษยานุศษิ ย์ทมี่ าจากหลากหลายกลุม่ สังคม ทัง้ กลุม่ คณะสงฆ์ ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ นัก วิชาการ นักพัฒนา นักสื่อสารมวลชน ทุกระดับ รวมเครือข่ายเหล่านี้สร้างเป็นทุนในการพัฒนาวัด พัฒนาการศึกษา และพัฒนาสังคม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) นอกจากจะอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ความมีเมตตา ธรรม ความเป็นผู้รู้ในวิชาการท้องถิ่น ด้วยความศรัทธา และเลื่อมใสในการประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดตามวินัย สงฆ์ ท่านยังเป็นผู้บริหารจัดการสังคมที่มีความสามารถ ในเชิงการสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงการก่อตั้งจังหวัดพะเยา ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (แยกมาจากจังหวัดเชียงราย) ท่านเป็นแรงผลักดัน ส�ำคัญทั้งระยะเริ่มต้นและในกาลต่อมา โดยเฉพาะด้าน วิชาการประวัติศาสตร์เมืองพะเยาที่เป็นเหตุเป็นผลให้ พะเยาได้ยกระดับฐานะเมืองเป็นจังหวัด จากนัน้ ท่านก็ถกู วางบทบาทให้เป็น “ทีป่ รึกษา” ผู้ประสานเชื่อมโยงกิจการหรือกิจกรรมการพัฒนาที่ เกิดขึ้นในสังคมเมืองพะเยา ทั้งส่วนที่เป็นผลประโยชน์ ต่อสังคม หรือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ด้วย ความเป็นกลางและยุตธิ รรมเสมอมา ไม่วา่ จะเป็นการ ผลักดันนโยบายการพัฒนาของฝ่ายหน่วยงานราชการ การเมืองทัง้ ระดับท้องถิน่ และระดับประเทศ กลุม่ คณะ สงฆ์ กลุม่ นักพัฒนาเอกชน เป็นต้น “หลวงพ่ อ ใหญ่ จ ะเป็ น พระที่ เ มตตากั บ ทุ ก คน อาตมาจะได้สัมผัสมุมมองหลายด้าน คือ เราได้รับ ความอุปถัมภ์ได้รับการดูแล เลยเกิดเป็นความรู้สึกผูก ผันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย เพราะได้อยู่กับหลวงพ่อตั้งแต่ เป็นเณร ในตอนเด็กหลายคนอาจจะไม่ได้สัมผัสใกล้ ชิดแบบนี้ แต่อาตมาได้กินได้อยู่ได้นอนกับท่านเป็น ประจ�ำ บุคลิกของท่านจะเป็นคนเคร่งขรึม แต่ถ้าใครได้
174 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
สัมผัส ท่านจะมีความเมตตามาก และเป็นคนขี้เกรงใจ เกรงใจทุกคน แม้กระทั้งปัจจุบันเป็นรองสมเด็จฯ ก็ ไม่มีการปิดตัวเอง ไปไหนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน นอกคอกนา ท่านจะไม่มีนายหน้าจัดคิวให้ แต่ขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของท่านเอง ดังนั้นหลับตาจึงเห็นถึงความ เมตตาของหลวงพ่ออยู่ตลอดเวลา” พระครูศรีวรพินิจ (สมคิด คมฺภีรญาโณ) ผู้อ�ำนวยการสถาบันปวงผญาพ ยาว กล่าว ซึ่งสถาบันปวงผญาพญาพยาว เป็นองค์กร ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดแนวคิดการท�ำงานเครือข่ายเพื่อ สังคมในจังหวัดพะเยา โดย “ปวง” หมายถึง หมู่ เหล่า กลุ่มคน และเป็นนามเดิมของพระอุบาลีคุณปมาจารย์ “ผญา” คือ ความคิด และพยาว คือ พะเยา “ทุนสังคม”ทั้งจากภายนอกและภายใน จาก เครือข่ายที่เป็นลูกศิษย์ลูกหา หลั่งไหลให้การสนับสนุน ท่านให้สามารถขับเคลื่อนงานต่าง ๆ จนส�ำเร็จ ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบมีส่วนร่วมต่อท้องถิ่นเมือง พะเยาอย่างน่าสนใจ จากปี ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นปีที่ท่านบวชเป็นเณร ณ วัดบ้านสาง จังหวัดพะเยา อันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของ การปกครองประเทศ สิ่งที่ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์ กับแนวคิดแนวทางการพัฒนาของพระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) อาจจะไม่แนบชิดกันนักกับความเป็น พระสงฆ์ที่ใฝ่ทางธรรมเป็นการเฉพาะตน แต่หากพิจารณาจากปรากฏการณ์ทางผลงาน ของหลวงพ่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ นับตั้งแต่เริ่มต้นไปศึกษาที่กรุงเทพฯ แล้วกลับมาพะเยา จวบจนถึงวันนี้ มีไม่น้อยที่จะเห็นว่า ท่านได้วางรากฐานส�ำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิด ของตนเองไว้อย่างชัดแจ้ง ดังค�ำกล่าวของพระธรรมราชานุวัตร (สุทัสน์ สุทสฺสโณ) เจ้าคณะภาค ๖ ซึ่งเคยบอกไว้ว่า... “เคยถามท่านว่า ท�ำไมไม่อยูท่ วี่ ดั เบญจมบพิตร ท่านบอกว่า “บ้านเราส�ำคัญกว่า บ้านเราก�ำลังรอค่อย ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
175
คนที่ตั้งใจจริง” เพราะว่าพระสงฆ์บ้านเราสมัยก่อน มา ก็เพื่อที่จะไป มาอยู่ มีความรู้ก็ออกไป เป็นมหาเปรียญก็ สิกขาลาเพศไป อีกอย่างหนึ่ง มาแล้วพอรวยแล้วก็ออก ไป คือคนที่ตั้งใจที่ท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อบ้านเพื่อเมือง อาจจะมี แต่มีน้อย แต่ว่าแนวทางของท่านคือ ท่านมี ความตั้งใจไปศึกษาเล่าเรียนด้วยความยากล�ำบาก อยู่ กทม. ช่วงพ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๘๙ ไม่ได้สะดวกสบาย เป็น เวลาสงคราม กลับมาบ้านเรา ก็ยิ่งเลวร้าย เพราะว่า ปัญหาทางสุขภาวะบ้านเราก็ยังไม่มีอะไรดี แต่ว่าท่านมีความตั้งใจสูงว่า ส่วนหนึ่งก็คือ กลัวเขาดูถูกบ้านเรา ส่วนใหญ่มักบอกว่า “คนเมือง (เหนือ)ท�ำอะไรไม่จริงจังหรอก” ถ้าท่านจะใฝ่หาความ สุขส่วนตัว มีทางไปเยอะแยะในตอนนั้น แต่ว่าเมื่อท่าน มา เราก็ได้ส่วนต่างๆ ในการทางภาพกว้าง โดยเฉพาะ จังหวัดพะเยา ได้เริ่มต้นในการเขียนประวัติศาสตร์ ท่านเขียน ท่านได้ศึกษาไว้ ถือว่าเป็นประเด็นส�ำคัญ คือคนเราก่อนที่จะท�ำอะไรต่างๆ รักบ้านรักเมือง รัก ท้องถิ่นนั้นจะต้องมีความรู้ หลวงปู่ฯมีความรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์ ซึ่งก็พยายามที่จะอนุรักษ์ ที่จะค้นคว้า รักษาและสืบทอด แล้วรักบ้าน รักเมือง” ค�ำถาม...คนที่รักบ้าน รักเมือง รักท้องถิ่น และรู้รากเหง้าวัฒนธรรมของตนเอง มีหรือไม่? หนึ่งในผู้ที่ติดตามการท�ำงานและสนองงาน พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ด้านประวัติศาสตร์เมืองพะเยา ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการคนหนึ่ง คือ คุณเกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ กล่าวว่า “ท่ านเป็ น ผู ้ ที่ มี คุณูป การให้กับ เมืองพะเยา มาก จนเราไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่ว่าควรจะเป็น แบบอย่างที่ดีส�ำหรับคนเมืองพะเยา ที่จะก้าวขึ้นมา เป็นผู้น�ำสังคมว่าจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง อันดับ แรก คือ ต้องมีจิตอาสา ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือนัก สังคมสงเคราะห์ก็ตาม จะต้องมีจิตอาสาโดยไม่มีอะไร มาเคลือบแฝงอยู่ ให้ทุกอย่างและเผื่อไปยังคนรุ่นหลัง
176 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
อีก คนแบบนี้หายากยิ่งนัก ผมยังท�ำไม่ได้เศษเสี้ยวของ ท่านเลย ถ้าคนมาสืบต่อ ผมก็จะรู้ว่าหลวงพ่อท�ำอะไร ให้กับเมืองพะเยาและเคยท�ำอะไรไว้บ้าง รุ่นผมท�ำอะไร ไว้บ้าง แต่ที่ส�ำคัญ คือ ช่วงอายุระหว่างผมกับหลวงพ่อ มันห่างกันเกินไป ผมมีความหวังว่า สักวันหนึ่งเราจะมีองค์กร ขึ้นมาองค์กรหนึ่งให้เป็นองค์กรทางด้านวิชาการ ใคร ก็ได้ที่มีผลงานเอามาเสนอแล้วเราก็พิมพ์หนังสือแจก โดยใช้หอวัฒนธรรมนิทัศน์นี่แหละ ที่เป็นหัวเรี่ยว หัวแรงในการสนับสนุน เพราะไม่อย่างนั้นคนรุ่นใหม่ ก็ไม่เกิด เพราะการที่จะท�ำงานได้อย่างนี้ต้องใช้ความ สามารถหลายด้านและจะต้องเหนื่อย ผมก็ไม่อยากให้ มาเริ่มจากศูนย์ อย่างรุ่นผมสร้างอะไรไว้บ้าง รุ่นต่อไป ต้องมาสานต่องาน เพราะว่างานนี้เป็นงานไส้แห้งถ้าอยู่ เมืองนอก็รวยไปแล้ว ทุกวันนี้ผมท�ำงานให้กับหลวงพ่อ และวัดพระเจ้าตนหลวงเท่านั้น สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก็ เพื่อคนพะเยา” พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ อายุ ๙๖ ปี ผลงานงานที่ท่านสร้าง ทิ้งไว้ เป็นแรงบันดาลใจให้กับสังคมที่จะน�ำไปพัฒนาต่อยอด “ถ้าไม่มีหลวงพ่อ เราไม่รู้ว่าจะไปอ่าน ประวัติศาสตร์เมืองพะเยาจากไหน นอกจากหลวงพ่อ แล้วก็ยังไม่เห็นใครเขียน หรือถ้ามีก็ต้องอ้างว่าได้มา จากหลวงพ่อ นักปราชญ์พะเยารุ่นหลังๆ อย่างเราที่ อ่านประวัติศาสตร์พะเยาก็รู้มาจากหลวงพ่อ ไม่ใช่รู้แค่ ของพะเยา รู้ของเชียงราย รู้ของเชียงแสน รู้ของสุโขทัย ท่านจะไปค้นไปคว้า รู้ว่า วัดไหน ที่ไหนมีศิลปโบราณ เป็นกู่เก่า พระเจ้าคอหักแขนหัก เขาจะทิ้งแล้วไม่มีใคร ใช้แล้ว หลวงพ่อจะชวนพระว่าวันนี้ไม่ได้ไปไหน วันนี้วัน อาทิตย์ ที่หยุดวันศีล หรือวันที่ว่างๆ เอารถไปขนพระ ที่ มีหัวบ้าง ไม่มีตัวบ้าง ก็พากันยก เวียงลอก็ไปเอา แม่กา ที่รู้ว่าเป็นไร่เป็นสวนแล้วชาวบ้างไปเจอแล้วกลัว ชาว บ้านก็กลัว ท่านก็ไปเอา...มาถึงวันนี้เรารู้เลยว่าท่านท�ำ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
177
ไปเพื่ออะไร แต่ตอนนั้นมันท้าทายความคิดเด็กๆอย่าง พวกเรามาก” ครูหนานอ้วน ขันทะวงศ์ ครูสอนภาษา ไทย และนักประพันธ์ค่าว กล่าว แล้วยังมีความท้าทายอะไรอีก ส�ำหรับคน พะเยารุ่นหลัง “ความโชคดีของพะเยาอีกอย่างหนึ่ง คือ ทรัพยากรบุคคล ยุคก่อนก็มีครูบาอารามป่าน้อย ส่ง ต่อมายุคของครูบาศรีวิราชวริรปัญญา ต่อยอดมาให้กับ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ซึ่งยุคนี้ก็มีคนสนใจมากขึ้น เพราะผลงานท่านมีคุณูปการค่อนข้างที่จะกว้างกว่ายุค ใดๆในที่กล่าวมา เช่น ยุคครูบาอารามป่าน้อย ในยุคนั้น ก็ไม่ค่อยมีเครื่องไม้เครื่องมือ ต่อมาถึงยุคท่านพระครู บาศรีวิราชวชิรปัญญาก็มีกระดาษฟุตสแก๊ป ก็เขียนๆ ไว้ จนมายุคของหลวงปู่ก็เป็นยุคพิมพ์ดีด แต่มายุค คนปัจจุบันนี้เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ ซึ่งท้าทายคนรุ่น อาตมาว่าต้องรับช่วงต่อจากท่านไปอีกไหม จึงเห็นได้ ว่าขุมพลังมันมีมาก็เป็นทอดๆ ถ้าดูผลกระทบที่เกิดขึ้น เมืองพะเยาที่ขึ้นชื่อ ว่าเป็น “เมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม” และ “มหาวิทยาลัย พะเยา” ที่บอกว่ามีวิชา “พะเยาศึกษา” ก็มีส่วนหนึ่ง ที่มาจากท่าน เป็นส่วนส�ำคัญเลยทีเดียว แม้แต่รุ่นลูก ศิษย์ที่ท�ำงานด้านวัฒนธรรม เช่น คุณขรรค์ชัย บุญปาน คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็ถือว่ามีพลังมาก” พระครูโสภณ ปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม) พระนักคิดนักเขียนลูก ศิษย์พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) กล่าว จากการสังเคราะห์เส้นทางชีวิตและผลงาน ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ผ่าน มุมมองของลูกศิษย์ลูกหาผู้ใกล้ชิดมาตามล�ำดับ ผู้ เขี ย นมี ข ้ อ ค้ น พบที่ พ อจะสรุ ป ในตอนท้ า นนี้ อี ก ครั้ ง หนึ่งว่า... พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) นั้นท่านเป็นปราชญ์ท้องถิ่นที่มิเพียงแต่เชี่ยวชาญรอบรู้ ด้านประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีเท่านั้น แต่ท่านยังมี
178 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
บทบาทส�ำคัญในการวางรากฐานสังคมเมืองพะเยาที่ ก�ำลังเปลี่ยนผ่านไปข้างหน้า ด้วยการสร้างต้นแบบจากแนวคิดแนวปฏิบัติ ในตัวตนของท่านเอง ด้วยการเสียสละ ด้วยเมตตาธรรม ด้วยความยุติธรรม สมเป็นพระสงฆ์ที่มีอุดมการณ์ตาม พุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้าโดยแท้ และท่านมีความ มุ่งมั่นสร้างบุคลากรให้มีคุณภาพทั้งทางโลกทางธรรม โดยขจัดความเหลื่อมล�้ำด้อยโอกาสของคนในสังคมท้อง ถิ่นให้สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ มากไปกว่านั้น ท่านยังเห็นว่าองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อการพัฒนาที่คนรุ่น หลังต้องน�ำไปใช้ในการก�ำหนดทิศทางของสังคมอนาคต ท่านเชื่อว่าส�ำนึกรักท้องถิ่น เกิดจากการเรียนรู้ผ่าน ประวัติศาสตร์ชุมชน ที่ส�ำคัญท่านได้วางระบบคณะสงฆ์ให้สามารถ ไปต่อเชื่อมกับเครือข่ายทุนทางสังคมที่พร้อมสนับสนุน ให้กิจการหรือกิจกรรมของวัดและสังคมพัฒนาไปพร้อม กันได้ ด้วยเหตุนี้ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) จึงไม่ได้ปริวรรตเพียงแต่อักษรล้านนามา เป็นภาษาไทย เพื่อให้เราคนรุ่นหลังได้ศึกษาเข้าใจความ เป็นมาทางประวัติศาสตร์ง่ายขึ้นเท่านั้น หากท่านได้ แสดงอย่างประจักษ์แจ้ง มากว่า ๙๖ ปีแล้วว่า ท่านได้ ปริวรรตสังคมท้องถิ่น โดยเฉพาะเมืองพะเยา ให้คน พะเยาและคนภายนอก อ่านและเห็นอนาคตข้างหน้าที่ ก�ำลังเปลี่ยนผ่าน - เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันด้วย ๙๖ ปีที่ผ่านมา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) บอกเราว่า “พะเยามาจากไหน” ท่านมีค�ำตอบเป็นแนวทางให้เราพอสมควรแล้ว ส่วน ค�ำถามว่าปีต่อไป“พะเยาจะไปทางไหน”นั้น เป็นสิ่ง ท้าทายความคิดและการท�ำงานส�ำหรับเราทุกคน ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
179
180 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
181
182 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ปริวรรต/ค้นคว้า/เขียนหนังสือ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
183
ผลงานหนังสือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)
จากการศึกษาเอกสาร งานเขียนที่เป็นองค์ ความรู้ท้องถิ่นพะเยาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พบ ว่าพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปวง ธมฺมปญฺโญ) เป็น นักการศาสนา ผู้ค้นหาความจริงแห่งชีวิต นักบริหาร การศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ค้นคว้าประวัติศาสตร์ ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณูปการต่อวงการ ศาสนา การศึกษา วงการวิจัยและวิชาการ ตลอดจน วงการพัฒนาต่างๆ ทั้งระดับท้องถิ่นพะเยาและระดับ ประเทศ โดยมีหนังสือที่ท่านเขียน และเรียบเรียง รวม ทั้งเป็นผู้แต่งร่วมที่ได้รับการตีพิมพ์ จ�ำนวน ๒๙ เล่ม แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้ หมวดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพะเยา จ�ำนวน ๙ เล่ม หมวดพุทธศาสนา จ�ำนวน ๙ เล่ม หมวดวรรณกรรม จ�ำนวน ๕ เล่ม หมวดต�ำนานท้องถิ่นล้านนา จ�ำนวน ๔ เล่ม หมวดการปกครองคณะสงฆ์ จ�ำนวน ๑ เล่ม หมวดศิลปวัฒนธรรมล้านนา จ�ำนวน ๑ เล่ม
184 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
185
ชื่อหนังสือ : ประวัติกว๊านพะเยา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๒๔ โรงพิมพ์ : หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์ จ.เชียงราย องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติการเกิดกว๊านพะเยาในอดีต
186 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : พะเยาความเป็นมาในอดีต ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๘ โรงพิมพ์ : นครนิวส์การพิมพ์ พะเยา ค�ำส�ำคัญ : ความเป็นมาของพะเยา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติ พระธรรมวิมลโมลีและประวัติศาสตร์เมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
187
ชื่อหนังสือ : ครบรอบ ๑๐๐ ปี เหตุการณ์เงี้ยว ก่อการจลาจลในมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๕๔ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี, เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๕๓ (ครั้งที่ ๓) โรงพิมพ์ : นครนิวส์การพิมพ์ บรรณาธิการ : เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ค�ำส�ำคัญ : กบฎเงี้ยว องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : 1. ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาและล้านนา 2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์
188 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : เมืองพะเยา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระราชวิสุทธิโสภณ , ศรีศักร วัลลิโภดม และพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๒๗ โรงพิมพ์ : พิฆเณศพริ้นดริ้งเซ้นเตอร์ จ�ำกัด กรุงเทพมหานคร บรรณาธิการ : สุจิตต์ วงษ์เทศ ค�ำส�ำคัญ : เมืองพะเยา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับเมือง พะเยา ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
189
ชื่อหนังสือ : ประวัติวัดศรีโคมค�ำ พระเจ้าตนหลวง และพระพุทธบาท ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๓ โรงพิมพ์ : พิฆเณศ พริ้นดริ้ง เซ้นเตอร์ จ�ำกัด กรุงเทพมหานคร ค�ำส�ำคัญ : ประวัติวัติศรีโคมค�ำ องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติวัดศรีโคมค�ำและพระเจ้าตนหลวงกับรอย พระพุทธบาท
190 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ประวิติศาสตร์ เมืองพะเยายุคหลัง ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๑ โรงพิมพ์ : บริษัท โรงพิมพ์ทรงสิทธิวรรณ จ�ำกัด ค�ำส�ำคัญ : ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
191
ชื่อหนังสือ : เมืองพะเยาจากต�ำนานสู่ประวัติศาสตร์ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๖ โรงพิมพ์ : นครนิวส์การพิมพ์ จ.พะเยา บรรณาธิการ : เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ค�ำส�ำคัญ : ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาตั้งแต่อดีตที่มีการบันทึก ไว้ในศิลา
192 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ประวัติต้นตระกูลวงษ์เรือง ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระราชวิสุทธิโสภณ ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๑ โรงพิมพ์ : นีลนาราการพิมพ์ กรุงเทพ ค�ำส�ำคัญ : ประวัติตระกูลวงษ์เรือง องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ประวัติบุคคลและสภาพ สังคมเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
193
ชื่อหนังสือ : เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จประพาส เชียงราย-พะเยา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี โรงพิมพ์: หจก. เชียงรายไพศาลการพิมพ์ เชียงราย
194 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ด้านพุทธศาสนา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
195
ชื่อหนังสือ : ปรมัตถธรรม จากคัมภีป์ปั๊บกระดาษสา ของเก่า พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๐ โรงพิมพ์ : หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์ เชียงราย ค�ำส�ำคัญ : ธรรมะปรถมัตธรรม องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : คติธรรม หรือ ธรรมะ สามารถน�ำมาใช้ปรับใช้ได้จริง
196 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ธรรมอวยพร ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ค�ำส�ำคัญ : ธรรมอวยพร พระธรรมวิมลโมลี องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวหลัก ธรรมค�ำสอนของพระพุทธศาสนา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
197
ชื่อหนังสือ : บ้านเมืองน่าอยู่ ผู้คนต้องมีคุณธรรม ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ /โรงพิมพ์ : ไม่ปรากฏ (พิมพ์ ๒ ครั้ง) ค�ำส�ำคัญ : คติธรรม องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : คติธรรมสอนใจ
198 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : อนายุสฺสสูตรที่ ๑ - ๒ และคติค�ำสอน โบราณ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระราชวิสุทธิโสภณ ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๐ โรงพิมพ์ : ศรีประดิษฐ์การพิมพ์ ล�ำปาง ค�ำส�ำคัญ : ธรรมะ คติค�ำสอน องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : วิธีการสั่งสอนและปลูกฝัง จิตใจให้กับคนในสังคม ของคนอดีต ซึ่งดึงเอาเรื่องราว ของศาสนามาผูกมัดกับค�ำสอน เพื่อให้ผู้คนเกิดวาม ศรัทธาและน�ำไปปฏิบัติ ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
199
ชื่อหนังสือ : ธรรมอวยพรปีใหม่ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๖ ค�ำส�ำคัญ : อวยพรวันปีใหม่ องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับหลัก ธรรมค�ำสอนของหลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี
200 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : พระธรรมเทศนาเรื่อง วันอาสาฬหบูชา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๘ โรงพิมพ์ : หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์ เชียงราย ค�ำส�ำคัญ : วันอาสาฬหบูชา พระธรรมวิมลโมลี องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับวัน อาสาฬหบูชาในตามหลักพระพุทธศาสนา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
201
ชื่อหนังสือ : คติธรรมค�ำสอน ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๒ โรงพิมพ์ : พิฆเณศ พริ้นดริ้ง เซ้นเตอร์ จ�ำกัด กรุงเทพมหานคร ค�ำส�ำคัญ : คติค�ำสอน พระเทพวิสุทธิเวที องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เรื่องหลักค�ำสอน ทางศาสนาของล้านนา
202 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : โลกหานีและปกิณกะเทศนา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระโศภนธรรมุนี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๒๒ โรงพิมพ์ : ธาราทองการพิมพ์ เชียงใหม่ ค�ำส�ำคัญ : ครูบาปัญญา ปญฺโญ องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : อัตชีวประวัติพระสงฆ์ อัน เป็นบุคคลส�ำคัญของอีกหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ถูก ถ่ายทอดให้ผู้คนได้ศึกษา และพระธรรมค�ำสอนที่แต่ง ด้วยบทกวีของล้านนา (ค่าว) ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
203
ชื่อหนังสือ : สุภาษิต...ขงจื้อ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา (เขียน) พระธรรมวิมลโมลี ( เรียบเรียง ) ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๘ โรงพิมพ์ : กอบค�ำการพิมพ์ พะเยา ค�ำส�ำคัญ : สุภาษิตขงจื้อ องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : คติธรรมสอนใจ
204 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ด้านต�ำนานท้องถิ่น
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
205
ชื่อหนังสือ : อัตถคัมภีร์แห่งพุทธโฆษาจารย์เจ้า : กฎหมายล้านนา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๕ โรงพิมพ์ : ส.ทรัพย์การพิมพ์ เชียงใหม่ บรรณาธิการ : สมหมาย เปรมจิตต์ ค�ำส�ำคัญ : กฎหมายล้านนา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ประวัติศาสตร์ ตัวบท กฎหมายการปกครองบ้านเมืองในอดีต
206 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ต�ำนานเมืองเชียงแสน ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๘ โรงพิมพ์ : พิฆเณศ พริ้นดริ้ง เซ็นเตอร์ จ�ำกัด กรุงเทพมหานคร ค�ำส�ำคัญ : ประวัติ เมืองเชียงแสน องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
207
ชื่อหนังสือ : ร่าย(ค�ำกระด้าง) พระยาพรหม ของพระยาพรหมโวหาร กวีเอกล้านนา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๗ โรงพิมพ์ : ธาราทองการพิมพ์ เชียงใหม่ ค�ำส�ำคัญ : ร่ายพระยาโวหาร องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : - คติเตือนใจ จากส�ำนวนสุภาษิตที่ถูกสอดแทรกไว้ ในเนื้อหาของร่าย - แบบฝึกหัดของการเรียนอักษรล้านนาเบื้องต้น
208 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ต�ำนานพระแซกค�ำ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๔ โรงพิมพ์ : หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์ เชียงราย ค�ำส�ำคัญ : พระแซกค�ำ องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับต�ำนาน พระแซกค�ำ
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
209
ด้านวรรณกรรม
210 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ค่าวซอเรื่อง หงษ์หิน ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๗ โรงพิมพ์ : นครนิวส์การพิมพ์ พะเยา บรรณาธิการ : เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ค�ำส�ำคัญ : วรรณกรรมเจ้าหงษ์หิน
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
211
ชื่อหนังสือ : ค่าวไปต่างประเทศ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๓๖ โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์กิติวรรณ กรุงเทพมหานคร ค�ำส�ำคัญ : เรื่องราวการเดินทางไปต่างไปเทศ องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ความแตกต่างของวิถีชีวิต ของคนในแต่ละประเทศ ที่มีการปรับตัวเพื่อให้มีความ อยู่รอด ซึ่งสอดแทรกไปด้วย วิถีคิด และ คติ ที่ผู้อ่าน สามารถ น�ำเอามาเป็นแบบอย่างการด�ำเนินชีวิตได้
212 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ค่าวฮ�่ำพระครูบาศรีวิชัยและน�้ำท่วม เมืองพะเยา ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ /โรงพิมพ์ : ไม่ปรากฏ ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ประวัติครูบาศรีวิชัย และ บันทึกน�้ำท่วมเมืองพะเยา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
213
ชื่อหนังสือ : ค่าว สรรหาปราชญ์เมืองพะเยาในอดีต ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระธรรมวิมลโมลี ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๔ ค�ำส�ำคัญ : ปราชญ์, ศิลปวัฒนธรรม, เมืองพะเยา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันทรงคุณค่าแก่การเรียนรู้ของคนและชุมชนคนเมือง พะเยาในอดีต
214 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ค่าวฮ�่ำไปเมืองจีน ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๔๘ โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญอักษร องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : ความรู้เรื่องเมืองจีนทั่วไป กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
215
ด้านปกครองสงฆ์
216 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ประวัติคณะสงฆ์เมืองพะเยา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ : ๒๕๓๖ โรงพิมพ์ : หจก.เชียงรายไพศาลการพิมพ์ เชียงราย ค�ำส�ำคัญ : ประวัติคณะสงฆ์ พะเยา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้เกี่ยวกับคติธรรม ค�ำสอน
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
217
ด้านวัฒนธรรมล้านนา
218 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
ชื่อหนังสือ : ประเพณีท�ำบุญล้านนา ชื่อผู้แต่ง/เรียบเรียง : พระเทพวิสุทธิเวที ปี พ.ศ.ที่พิมพ์ : ๒๕๕๐ โรงพิมพ์ : เจริญอักษรการพิมพ์ ค�ำส�ำคัญ : ประเพณีท�ำบุญล้านนา องค์ความรู้ที่มีในหนังสือ : องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับ พิธีกรรมและประเพณีของชาวล้านนา
ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
219
220 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
www.phayaoforum.com ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
221
222 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
“พระดีมีไว้บูชาเป็นแบบอย่าง” หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๖ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันปวงผญาพยาว มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมค�ำ พร้อมกาลนี้ ได้จัดเวทีวิชาการและนิทรรศการ หัวข้อ “คุณูปการพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ กับสังคมเมืองพะเยาและความท้าทายต่อคนรุ่นใหม่” ณ อุโบสถกลางน�้ำ วัดศรีโคมค�ำ ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย เรื่อง กระบวนการสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นพะเยา ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) (เนื่องจากเป็นข้อมูลจากงานวิจัยเบื้องต้น หากพบข้อบกพร่องใด ยินดีรับไปปรับปรุงแก้ไข ในโอกาสต่อไป) ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา
223
224 ปราชญ์ผู้ปริวรรตเมืองพะเยา