Ca351 week01 introduction to tv production

Page 1

นศ 351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

บทนํา

• ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์ • บทบาทหน้าที่ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ • องค์ประกอบของวิทยุโทรทัศน์ •

ลักษณะและข้อจํากัดของวิทยุโทรทัศน์


ความหมายและความสำคัญของโทรทัศน์และภาพยนตร์

|1

วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อมวลชน (Mass media) ที่เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป หลังจากทีเ่ กิดหนังสือพิมพ์ประมาณ 300 ปี และหลังจากที่คิดค้นเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้สําเร็จ ประมาณ 20 ปี มีการนําเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้ในประเทศไทย ตามมาด้วยการนําเข้าเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้น คําศัพท์ที่ใช้เรียกขานรวมถึงนิยามความหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารดังกล่าว จึงเพิ่งถูกบัญญัติขึ้นใช้ใน ประเทศไทยประมาณสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จวบจนถึงปัจจุบัน โดยสื่อวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีต่างประเทศที่ถูกนําเข้ามาใช้ในประเทศไทยนั้นมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันทําให้มีความเหมาะสม กับการสื่อสารที่แตกต่างกันไปด้วย ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์ สําหรับความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงคําศัพท์ที่ใช้เฉพาะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์นั้น มีทั้งใช้ภาษาไทยหรือบางครั้งใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่หลายคํา โดยจะยกตัวอย่างมาอธิบายดังนี้ วิดีทัศน์ วีดิทัศน์ (Video) เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทําหน้าที่หลักในการนําเสนอเสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพ เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วิดีทัศน์เป็นสื่อในลักษณะที่นําเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว และสร้างความต่อเนื่องของการกระทํา ของวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความรวดเร็วสามารถเสนอเหตุการณ์ได้ทันที ถ้าเสนอรายการผ่านระบบโทรทัศน์ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นว่า Video เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกับ Television ซึ่งมีคําไทยใช้ว่า โทรทัศน์ แล้ว สมควรคิดหาคําไทยใช้กับ Video ด้วยโดยคําที่จะคิดขึ้นนี้ควรจะมีคําว่า “ทัศน์” ประกอบอยู่ด้วย เพื่อให้เข้าชุดกัน และควรหาคําที่จะมีเสียงใกล้เคียงกับ คําทับศัพท์ที่นิยมใช้กันอยู่แล้ว ซึ่งจะทําให้มีการยอมรับศัพท์ที่คิดขึ้น ได้ง่าย (วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี) จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ คือ วิดีทัศน์ หมายถึง แถบวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งเป็นแถบเคลือบแม่เหล็กสามารถเก็บ บันทึกข้อมูลได้หลายมิติ เช่น ภาพ และเสียง ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถตัดต่อ เพิม่ เติม ลบข้อมูลภาพและเสียง ออกได้โดยมีอุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูลสัญญาณภาพและเสียง ที่เรียกว่า เครื่องเล่นวิดีทัศน์ โทรทัศน์ คําว่า “โทรทัศน์ ” เป็นคําเรียกที่ใช้เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึง สื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง แต่คําที่สื่อความหมายได้ ถูกต้อง สมบูรณ์กว่าคือคําว่า “วิทยุโทรทัศน์ (Television)” ซึ่งเหตุผลที่ต้องมีคําว่าวิทยุนําหน้า เนื่องจากการส่งและรับภาพและ เสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น จําเป็นต้องออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุเพื่อให้สามารถส่งภาพและเสียง ไปยังเครื่องรับที่ห่างไกลได้ (นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล, 2547) วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรทัศน์ (Television) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกและภาษาลาติน 2 คํา คือ คําว่า Tele มาจากภาษากรีก แปลว่า ไกล และคําว่า Vision มาจากภาษาลาตินว่า Videre แปลว่า การเห็น โดยเมื่อรวมคําแล้วจะแปลได้ว่า “การเห็นได้ไกล (Far seeing)” ซึ่งวิทยุโทรทัศน์นั้นเป็นสื่อมวลชนที่มีความสําคัญและได้รับความนิยมจาก ประชาชนอย่างแพร่หลายมากที่สุด ในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากระบบโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านคุณภาพของภาพและเสียง รูปแบบรายการ ตลอดจนระบบส่งสัญญาณในรูปแบบต่างๆ


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 3

จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า วิทยุโทรทัศน์ (Television) คือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งและรับ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยสัญญาณภาพและเสียงเหล่านั้นจะถูกแพร่ภาพและกระจายเสียงไปได้ไกลและรวดเร็ว ประชาชนที่ต้องการรับสารจะต้องมีเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เพื่อทําหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ให้กลับเป็นภาพและเสียง ที่สามารถรับสารได้ การแพร่ภาพและการกระจายเสียง สารานุกรมวิกิพีเดียให้ความหมายไว้สั้นๆ ว่า หมายถึงการแพร่กระจายสัญญาณเสียงและภาพไปสูผ่ ู้รับสารจํานวนมาก ซึ่งเรียกว่า ผู้ฟังหรือผู้ชม (Broadcasting, 2005) สารานุกรมโคลัมเบียให้ความหมายว่า หมายถึง การแพร่กระจายเสียงหรือภาพไปยังผู้รับสารจํานวนมากโดยใช้วิทยุ และโทรทัศน์ (Broadcasting, 2008) จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า บรอดคาสติ้ง (Broadcasting) หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ รายการวิทยุกระจายเสียงหรือรายการวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ประชาชนผูร้ ับสารจํานวนมาก ทั้งนี้หากต้องการกล่าวถึงการแพร่กระจาย เสียงหรือภาพเฉพาะด้านรายการวิทยุกระจายเสียงหรือรายการวิทยุโทรทัศน์ การกระจายเสียง ให้ใช้คําว่า เรดิโอบรอดคาสติ้ง (Radio broadcasting) และหากต้องการกล่าวถึงเพียงการแพร่ภาพ ให้ใช้คําว่าเทเลวิชั่นบรอดคาสติง้ (Television Broadcasting) จะสามารถเฉพาะเจาะจงในการบรอดคาสติ้งได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้หากเป็นการแพร่ภาพและการกระจายเสียงไปสู่กลุ่มผู้รับสารเฉพาะกลุ่ม เช่น โทรทัศน์ระบบ บอกรับสมาชิก (Pay TV) ซึ่งผู้ที่จ่ายเงินค่าสมาชิกเท่านั้นจึงจะรับสารได้

Pay TV บทบาทหน้าที่ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ คําว่า “บทบาท” มีความหมายว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Role หรือ Function คําว่า บทบาทหน้าที่ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ จึงมีความหมายถึง การทําหน้าที่ของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ตามความต้องการของปัจเจกบุคคลหรือสังคม ด้วยเหตุนี้การศึกษาถึงบทบาทหน้าที่จะทําให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ที่ไม่อาจ แยกขาดจากกันของสื่อวิทยุโทรทัศน์ ปัจเจกบุคคล และสังคม ดังภาพ


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 4

ภาพแสดงความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนต่อปัจเจกบุคคลและสังคม บทบาทหน้าที่ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางสื่อสารมวลชนของนักวิชาการตะวันตกหลายคน อาทิ ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harrold Lasswell) ที่เสนอแนวคิดสายหน้าที่นิยม (Functionalism) ของสื่อมวลชนต่อสังคม หรือ เดนิส แมคเควล (Denis MaQuail) ที่ได้อธิบายเรื่อง บทบาทหน้าที่ของสื่อ ว่าบทบาทของสื่อมวลชนเป็นไปเพื่อความเป็นระเบียบ และก้าวหน้าของสังคม ในขณะที่ ชาร์ลส์ อาร์.ไรท์ (Charles R. Wright) ได้อธิบายถึงบทบาทที่ไม่เป็นไปตามประสงค์ (Dysfunction) ของสื่อมวลชนต่างๆ ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harrold Lasswell, 1948 อ้างใน อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์, 2552) นักรัฐศาสตร์ที่สนใจศึกษา การสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงหน้าที่สําคัญของนักสื่อสารมวลชนว่ามี 3 ประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง สังเกตการณ์สภาพแวดล้อม (Surveillance of the environment) ประการที่สอง สานสัมพันธ์ส่วนต่างๆ ในสังคมเพื่อแสดงปฏิกิรยิ าตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม (Correlation of the parts of society in responding to the environment) ประการที่สาม ทําหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นหลัง (Transmission of the social heritage from one generation to the next) ต่อมา ไรท์ (Wright, 1960) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ขยายความเพิ่มเติมหน้าที่ข้อที่สามจนกลายเป็นข้อที่สี่ ว่าทํา หน้าที่การถ่ายทอดมรดกทางสังคม ซึ่งหมายรวมถึงศิลปวัฒนธรรมและความบันเทงรูปแบบต่างๆ ที่ทําให้ปัจเจกบุคคลได้รับ ความพึงพอใจได้ผ่นคลายความเครียดจากปัญหาชีวติ ประจําวัน ปรมะ สตะเวทิน (2541 : 134-139) ได้สรุปหน้าที่ของสื่อมวลชนจากแนวคิดของลาสเวลล์และไรท์ว่า สื่อมวลชนมี บทบาทหน้าที่สําคัญ 4 ประการแก่ ประการที่หนึ่ง คือทําหน้าที่สอดส่องระวังระไวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อคอยตรวจตราติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม หมายถึงหน้าที่แสวงหาและเผยแพร่ข่าวสาร ประการที่สอง คือทําหน้าที่ประสานส่วนต่างๆ ในสังคม หมายถึงการที่สื่อมวลชนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสิ่งที่เกิด เป็นข่าว การวิเคราะห์ พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ไข (Correlation of the parts of society in responding to the environment) ประการที่สาม คือทําหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคม หมายถึงการเผยแพร่ความรู้ ค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคม แก่สมาชิกรุ่นใหม่ของสังคม เพื่อให้วิทยาการและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ คงอยู่ต่อไป ซึ่งนี่คือ หน้าที่ในการให้การศึกษา (transmission of the social heritage from one generation to the next) และประการที่สี่ คือการเผยแพร่การแสดง ดนตรี และศิลปะ เพื่อสร้างความจรรโลงใจแก่ประชาชน ซึ่งก็คือ หน้าที่ใน การให้ความบันเทิง ดังนั้น การกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ในที่นี้ จึงแบ่งเป็น 4 ประการ ได้แก่ 1. บทบาทหน้าทีใ่ ห้ข่าวสาร เช่น การเสนอข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบัน กิจกรรมบ้านเมือง กิจกรรมสาธารณะ รายการสารคดีพิเศษ


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 5

และรายงาน ข่าวพิเศษ ซึ่งเรื่องที่จะเป็นข่าวได้ต้องเป็นเรื่องราวที่ประชาชนมีความสนใจใครรู้ ได้แก่ สถานการณ์สังคม สถานการณ์โลก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล สภาพแวดล้อม ภัยพิบัติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือเหตุการณ์ แปลกประหลาด เป็นต้น

รายการเสนอข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบันของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ 2. บทบาทหน้าที่ให้ความคิดเห็น เช่น รายการวิจารณ์ รายการสัมภาษณ์ รายการสนทนา รายการวิเคราะห์ข่าว รายงานสถานการณ์ และประเด็นปัญหา เป็นต้น สําหรับสังคมไทยที่เป็นสังคมเสรีนิยมที่ให้ความสําคัญกับการแสดงความคิดเห็น ปัจจัยที่กําหนดบทบาทหน้าที่สื่อเพื่อแสดงความคิดเห็นของประชาชนได้แก่ ลักษณะการเป็นเจ้าของสื่อ ที่มาของ ค่าใช้จ่ายในการบริหารสื่อ และบทบาทของรัฐบาล เช่น หากเจ้าของสถานีเป็นบริษัทเอกชน หรือบริษัทมหาชน บริหารงานโดยไม่พึ่งพางบประมาณจากรัฐบาล ผู้ดําเนินรายการสามารถเสนอความคิดเห็นอย่างเต็มที่ การถูกควบคุม เนื้อหาจากรัฐบาลจะมีน้อย หรือหากแหล่งทุนมาจากการโฆษณา ผู้ให้โฆษณาย่อมพิจารณาความสนใจของผู้รับสาร เป็นหลัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะให้ความสนใจต่อรายการบันเทิงมากกว่ารายการประเภทความคิดเห็น นอกจากนี้ จะพบว่าปัจจุบันการโฆษณาส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นช่องทางในการโฆษณาสินค้ามากเป็นอันดับต้นๆ จากรายงานของบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จํากัด สรุปว่า ในรอบปี พ.ศ. 2549 มีการใช้งบประมาณ โฆษณาผ่านวิทยุโทรทัศน์มากที่สุดเป็นเงิน 53296 ล้านบาท

รายการประเด็นข่าวสาร สถานการณ์ และวิเคราะห์ข่าว ของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 6

ตารางที่ 1 แสดงจํานวนและร้อยละของงบโฆษณาผ่านสื่อประเภทต่างๆ ปี พ.ศ. 2549 ประเภท งบโฆษณา (ล้านบาท) วิทยุโทรทัศน์ 53296 หนังสือพิมพ์ 15432 วิทยุกระจายเสียง 6588 นิตยสาร 6140 สื่อกลางแจ้ง 4692 โรงภาพยนตร์ 2404 สื่อเคลื่อนที่ 981 ในห้างสรรพสินค้าและตัวอาคาร 307 รวม 89840 ที่มา : AcNileson Thailand (2000) . อ้างใน ใน อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์, 2552 : 294.

ร้อยละ 59.32 17.18 7.33 6.83 5.22 2.68 1.09 0.35 100

3. บทบาทหน้าที่ให้การศึกษา ถือเป็นบทบาทหน้าที่สําคัญของสื่อวิทยุโทรทัศน์และสื่อวิทยุกระจายเสียง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐาน เบื้องต้นของการพัฒนาประเทศ สื่อทั้งสองประเภทนี้มีศักยภาพในการนําความรู้กระจายไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง และรวดเร็ว ทั้งนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 3.1 รายการความรู้ทั่วไป หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมผู้ฟังได้รับความรู้ ที่เป็นประโยชน์ในทางตรงหรือทางอ้อม รายการเหล่านี้ไม่จําเป็นต้องมีรูปแบบการสอนเหมือนการสอนในห้องเรียน ผู้ผลิตรายการจะใช้ศิลปะในการผลิต รายการเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดรายการสาระความรู้ที่ทําให้ผู้รับสารได้รับความรู้ และเกิดความเพลิดเพลินด้วย เช่น ทางช่องโมเดิร์นไนน์ ได้แก่ รายการคุณพระช่วย ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน) (ปัจจุบันออนแอร์ที่ช่องเวิร์คพอยท์ในระบบทีวีดิจิทัล) มีรูปแบบเป็นรายการนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรมไทย และรายการกบนอกกะลา ผลิตโดย บริษัททีวีบูรพา จํากัด เป็นรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มุ่งให้ ความรู้เกี่ยวกับที่มาของสิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็นในชีวิตประจําวัน ซึ่งมีคําขวัญของรายการว่า “รายการความรู้ดูสนุก” เป็นต้น

รายการคุณพระช่วย ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน)


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 7

รายการกบนอกกะลา ผลิตโดย บริษัททีวีบูรพา จํากัด 3.2 รายการเพื่อการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสอนโดยตรง เนื้อหารายการต้องสอดคล้องกับหลักสูตร จัดขึ้นเพื่อกลุ่มที่สนใจเฉพาะเรื่องหรือผู้เรียน เช่น ให้บริการรายการความรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบ โรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในรายการทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) โดยทําการ ออกอากาศ 2 ระบบ คือ ผ่านดาวเทียมไทยคม และทางอินเทอร์เน็ตที่ www.nfe.go.th/etv แพร่ภาพทุกวันตั้งแต่เวลา 7.00-22.00 น. รายการประเภทนี้แยกย่อยได้อีก 3 ประเภท คือ รายการทําหน้าที่สอนทั้งหมด รายการทําหน้าที่สอนเนื้อหาหลัก และรายการ ทําหน้าที่เสริมการสอน ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทต่อไป

รายการ Student Channel เปลี่ยนชื่อรายการใหม่เป็น ETV ติวเข้มเติมเต็มความรู้


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 8

4. บทบาทหน้าที่ให้ความบันเทิง ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่ประชาชนทั่วไป นิยมใช้เพื่อเปิดรับ ความบันเทิง เพื่อผ่อนคลายความเครียด รูปแบบรายการประเภทนี้จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และมีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น ละคร ภาพยนตร์ เพลง ทอล์กโชว์ เกมโชว์ เรียลลิตี้โชว์ วาไรตี้ ฯลฯ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า มีจํานวนรายการบันเทิง มากกว่าเนื้อหารายการอื่นๆ รายการบันเทิงบางรายการทําหน้าที่ให้ความบันเทิงโดยแฝงความรู้ไว้ให้ผู้รับสาร กล่าวคือ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้วยังได้รับความรู้หรือคติชวนคิดอีกด้วย เช่น ละครเรื่องแรงเงา เป็นบทประพันธ์ชื่อดัง ของ นันทนา วีระชน ผลิตโดย บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น เมื่อปี พ.ศ.2555 นี้ มีเปลือกนอกเป็นเรื่องราวของพี่สาว ผู้เป็นเหมือนเงาสะท้อนมาแก้แค้นให้น้องสาวฝาแฝด เป็นละครจิตวิทยาและสะท้อนสังคมถึงเงามืดในใจคน ที่เกิดจาก การเลี้ยงดูอันผิดพลาด มีเนื้อแท้แต่มีเนื้อแท้เป็นเรื่องของกรรม กรรมอันเป็นเหมือนเงาที่ติดตามตัวมนุษย์ทุกผู้คน นอกจากนี้ รายการเกมโชว์อย่างปริศนาฟ้าแลบที่มีรูปแบบรายการที่น่าสนใจในการตอบคําถามของผู้เข้าร่วมรายการ ก็มีผู้ชมเป็นจํานวนมาก รายการเรียลลิตี้ที่ซื้อลิขสิทธิ์มากจากต่างประเทศอย่าง เดอะเฟซ ที่มีบริษัทกันตนาเป็นผู้ผลิตรายการ ตลอดจนซีรยี่ ์สะท้อนสังคมวัยรุ่นอย่างฮอร์โมนทั้ง 3 ซีซั่น จากค่ายจีทีเอช

เรียลลิตี้ เดอะเฟซ ไทยแลนด์, เกมโชว์ปริศนาฟ้าแลบ, ซีรีย์ฮอร์โมน ซีซั่น 3 และละครเรื่อง ทายาทอสูรในแต่ละเวอร์ชั่น องค์ประกอบของวิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีธรรมชาติที่สัมผัสด้วยการดู ส่วนวิทยุกระจายเสียงนั้นสัมผัสได้ด้วยการฟัง จากธรรมชาติ ของสื่อทั้งสอง หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิทยุกระจายเสียงจะพบว่าอาจไม่เท่าวิทยุโทรทัศน์ที่สามารถรับฟังเสียง และรับชมภาพได้พร้อมๆกัน ทั้งนี้สอื่ วิทยุโทรทัศน์จึงจําเป็นต้องเสนอสาระความบันเทิงที่หลากหลายกว่าวิทยุกระจายเสียง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับสารที่สัมผัสได้ทั้งการฟังและการชม


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 9

องค์ประกอบของวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้ 1. กระบวนการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง

feedback หลักการสื่อสารทั่วไป

ข้อมูลย้อนกลับ หลักการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง จากภาพหลักการสื่อสารทั่วไปที่ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message) ช่องทางการสื่อสาร(Channel) ผู้รับสาร(Reciever) ผลของการสื่อสาร(Destination) และปฏิกิริยาตอบกลับ(Feedback) ในขณะที่ภาพหลักการสื่อสาร ของวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง อธิบายได้ว่ากระบวนการเริ่มต้นโดยผู้ดําเนินรายการเปรียบเสมือนผู้ส่งสาร มีเนื้อหา สาระข่าวสาร ออกอากาศผ่านช่องทางสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ เพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้ชมได้รับความรู้ความบันเทิงต่างๆ ทัง้ นี้ หากเกิดพฤติกรรมหลังจากรับชมรับฟังอย่างไร จึงจะสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบกลับไปยังผู้ดําเนินรายการได้ต่อไป 2. ผลของการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เป้าหมายของการสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงคือ เกิดผลอย่างไรต่อผู้ชมหรือผู้ฟัง หลังจากได้รับ สื่อนั้นแล้ว ผู้ดําเนินรายการจะทําหน้าที่เลือกสาระรายการให้มีคุณภาพก่อนแพร่ภาพหรือกระจายเสียงออกอากาศ โดยมี เป้าหมายเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้ผู้รับฟังรับชม คิดตาม คล้อยตาม ซึ่งสังเกตหรือวัดผลได้จากพฤติกรรม ที่เปลี่ยนไป แสดงได้จากภาพต่อไปนี้

แสดงพฤติกรรมในการรับชมรับฟังวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 10

จากภาพดังกล่าว อธิบายได้ว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้ฟัง ผู้ชม หลังจากที่ได้รับสื่อวิทยุโทรทัศน์และวิทยุ กระจายเสียงอาจเกิดแนวคิดหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือการกระทําตาม เช่น มีความสุข ความเพลิดเพลินเมือฟังรายการเพลง สบายๆ หรือได้รับแนวปฏิบัติจากการรับชมสปอตประชาสัมพันธ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวนับได้ว่า การสื่อสารทางวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3. ส่วนประกอบของรายการวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว รายการเพลง ละคร สารคดี หรือสปอตโฆษณาต่างๆ พบว่ามีส่วนประกอบสําคัญคือ ภาษาที่ใช้ เนื้อหาสาระ และลีลา ซึ่งการเสนอรายการทั้ง 3 ส่วน ต้องประสมกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่าย ภาษาที่ใช้ ต้องเป็นประโยคสั้นๆ สื่อความหมายชัดเจนตรรงไปตรงมาเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ทันที และก่อให้เกิด จินตนาการต่อได้ เนื่องจากธรรมชาติของสื่อวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ผู้รับสารอาจไม่สามารถ กลับมาฟังซ้ํา หรือ รับชมได้อีก เนื้อหา ควรเลือกเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อผู้ชม ผู้ฟัง เป็นสําคัญ นอกจากนี้ ควรลําดับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ให้เข้าใจง่าย ไม่สับสน เช่นรายการละครทางโทรทัศน์ที่ต้องดําเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ ลีลา การเสนอรายการ หมายถึง การเลือกรูปแบบวิธีการนําเสนอที่มีความหลากหลาย ไม่ซ้ําซากจําเจ เช่น ลีลา การนําเสนอรายการสารคดีเชิงข่าวทางโทรทัศน์มีการรายงานเชิงสอบสวน เจาะลึกจากแหล่งข้อมูลข่าวมานําเสนอแก่ผู้ชม หรือลีลาการนําเสนอรายการของผู้ดําเนินรายการที่มีไหวพริบและใช้น้ําเสียงถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างน่าติดตาม เป็นต้น 4. ผู้ฟังหรือผู้ชม นับเป็นบุคคลที่ผู้ผลิตรายการจะต้องคํานึงถึงและให้ความสําคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากสื่อวิทยุโทรทัศน์และวิทยุ กระจายเสียงนั้น มีอิทธิพลในระดับบุคคลและสังคม ผู้ผลิตรายการจึงต้องตระหนักว่าการเสนอเนื้อหาใดผ่านทางรายการ ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น เพื่อให้ข่าวสาร ให้ความรู้ สร้างความบันเทิง หรือต้องการโน้มน้าวชักจูงใจ อย่างไรก็ตาม การผลิตรายการนั้นก็ควรเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังและผู้ชม แม้จะเป็นรายการที่เนื้อหายุ่งยากซับซ้อน ที่ต้องพยายาม ปรุงแต่งให้รายการมีคุณภาพดี มีความหลากหลายในวิธีเสนอรายการเพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้ชมได้รับประโยชน์มากที่สุด ลักษณะและข้อจํากัดของวิทยุโทรทัศน์ ลักษณะของวิทยุโทรทัศน์ มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล, 2541 : 27-33 อ้างใน อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์, 2552) 1. ประสิทธิภาพในการรับรู้ เป็นสื่อมวลชนที่นอกจากใช้เสียงในการสื่อสารเช่นเดียวกับวิทยุกระจายเสียงแล้วยังมีภาพส่งออกอากาศควบคู่ ไปด้วย ซึง่ โดยทั่วไปการสื่อสารโดยอาศัยสื่อวิทยุโทรทัศน์จะใช้ภาพเป็นหลัก และเสียงเป็นส่วนเสริมในการสื่อสาร เป็น สื่อมวลชนที่มีประสิทธิภาพมาก สามารถส่งข่าวเพื่อความรู้ ส่งรายการวาไรตี้เพื่อความบันเทิง แก่ประชาชนได้ เป็นต้น 2. ประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้รับสาร วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อที่ส่งสารได้เร็วและกว้างไกลเช่นเดียวกับวิทยุกระจายเสียง แต่เดิมมีจํานวนผู้รับสาร น้อยกว่าสื่อวิทยุกระจายเสียงเนื่องจากเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์มีราคาสูงกว่า ไม่สะดวกในการรับสารในสถานที่ต่างๆ เท่ากับวิทยุกระจายเสียง แต่ในปัจจุบันเครื่องรับโทรทัศน์มีราคาที่ลดต่ําสง มีรายการที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น ทําให้จํานวน ผู้รับสารจากวิทยุโทรทัศน์มีมากกว่าวิทยุกระจายเสียงทั้งในเขตเมืองและชนบท จากการสํารวจการบริโภคสื่อต่างๆ ของประชาชนไทยเมื่อในปี พ.ศ. 2544 พบว่าคนไทยทั่วประเทศทังที่อยู่ในเขตเมืองและชนบทใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์สูงสุด ในขณะที่ใช้วิทยุกระจายเสียงมากเป็นอันดับที่สอง


ความหมายและความสําคัญของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ | 11

3. ข้อจํากัดของวิทยุโทรทัศน์

มีลักษณะเช่นเดียวกับวิทยุกระจายเสียงกล่าวคือ สารไม่มีความคงทน ผู้รับสารไม่สามารถย้อนไป รับสารที่ ผ่านไปแล้วได้ เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารมีโอกาสได้รับปฏิกิริยาตอบกลับน้อย นอกจากนี้ยงั จัดว่าเป็นสื่อที่มีราคาสูง ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของครัวเรือนที่มีเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ปี พ.ศ. 2540-2542 ประเภท พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541 วิทยุกระจายเสียง 66 70 วิทยุโทรทัศน์ 94 94 ที่มา : AcNileson Thailand (2000) อ้างใน ใน อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์, 2552 : 15. ตารางที่ 3 แสดงอัตราการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ ปี พ.ศ. 2544 ประเภท เขตเมือง (ร้อยละ) เขตชนบท (ร้อยละ) กรุงเทพฯ 85 ภาคกลาง 97 95 ภาคเหนือ 93 94 ภาคาตะวันออกเฉียงเหนือ 92 92 ภาคใต้ 97 92 รวม 95 93 ที่มา : AcNileson Telescope (2001) อ้างใน ใน อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์, 2552 : 15.

พ.ศ. 2542 69 94

รวม (ร้อยละ) 95 96 94 92 93 94

บรรณานุกรม ศุภางค์ นันตา. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุกัญญา สมไพบูลย์ และ ปอรรัชม์ ยอดเณร. (2550). ออกทีวีให้ดูดี TV Performance การปรากฏตัวทางโทรทัศน์ในหลากหลายรายการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยที่ 1-5. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยที่ 6-10. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์. สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จํากัด. อรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2544). หลักการเขียนบทโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาพประกอบบางส่วนจาก http://www.satfocus.de/Unsere-Pay-TV-Kunden:_:63.html http://www.tvshow.tlcthai.com http://th.wikipedia.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.