Ca351 week05 tv and film language

Page 1

นศ 351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

ภาษาของสื่อโทรทัศน์ (TV and Film Language) และคําศัพท์เทคนิคเฉพาะทางในการผลิตรายการ • • •

วัจนภาษาและอวัจนภาษา ภาษาของสื่อโทรทัศน์ ภาษาภาพ คําศัพท์ด้านภาพและการตัดต่อภาพ (ขนาดภาพ, การเคลื่อนกล้อง, มุมกล้อง)


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

ภาษาเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความคิด จากผู้ถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร การใช้ภาษาจะต้องเป็นไปอย่าง ถูกต้อง ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการ หากการถ่ายทอดมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน จะทําให้การถ่ายทอด ความคิดนั้นไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ภาษา คือ ระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งความคิดถึงกันและกัน จากความหมาย ของภาษานี้ สามารถแยกพิจารณาความสําคัญของภาษาได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ คือ เป็นกลุ่มเครื่องหมายที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีระเบียบ แบบแผน อาจเป็นเสียง รูปภาพ หรือ เครื่องหมายต่างๆ ภาษาจึงมีองค์ประกอบ 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่เป็นภาพ ซึ่งอาจอยู่ในรูปลักษณ์ของ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ และส่วนที่เป็นเสียง ระเบียบหรือลําดับของเครื่องหมายเหล่านั้น จะต่างกันไปในแต่ละภาษา สิ่งนี้เรียกว่าระบบภาษา ดังนั้นการที่จะเข้าใจความหมายของคําพูดในภาษาใดภาษาหนึ่งได้ จะต้องรู้จักสัญลักษณ์และเข้าใจระบบของสัญลักษณ์ของภาษานั้น ซึ่งเรียกระบบสัญลักษณ์นี้ว่า หลักภาษาผู้ใช้ภาษา ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องรู้หลักภาษาอย่างดีเสียก่อน จึงจะเข้าใจภาษาได้ตรงกัน 2. ภาษาเป็นเครื่องมือส่งความคิด ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของภาษา หากไม่มีการนําภาษามาใช้ ภาษานั้นจะไม่มีประโยชน์เหมือนกับภาษาที่เลิกใช้หรือภาษาที่ตายแล้ว แต่ยังคงมีระบบสัญลักษณ์ของภาษาอยู่ และไม่มีค่าในด้านการใช้ จึงหมดความสําคัญในฐานะเครื่องมือในการส่งความคิด การทีจ่ ะใช้เครื่องมือให้ได้ผลเต็มที่นั้น ต้องทําการศึกษาวิธีใช้ให้เข้าใจกลไกและความสามารถของเครื่องมือนั้นเป็นอย่างดี ซึ่งการใช้ภาษาประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายส่งและฝ่ายรับ ฝ่ายที่ส่งภาษาเป็นฝ่ายที่ใช้ภาษาในการแสดงความคิด ต้องรู้หลักภาษา พอที่จะแสดงความคิดของตนออกมาเป็นภาษาได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ส่วนผู้ที่เป็นฝ่ายรับต้องใช้ภาษา เพื่อให้เข้าใจความคิด และจะต้องรู้หลักภาษาพอที่จะแปลความหมายของคําพูดนั้นๆ ให้ตรงกับความคิดของผู้ส่งได้ จึงนับได้ว่าทั้งผู้ส่งภาษและผู้รับเป็นผู้ที่ใช้ภาษาทั้งคู่ การใช้ภาษาจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคล 2 ฝ่ายนี้เข้ารหัส ภาษาในการส่งและถอดรหัสในการรับภาษานั้นๆ หน้าที่พื้นฐานของภาษา 1. ให้ข้อเท็จจริง ทําหน้าที่บอกหรือยืนยันว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งสิ่งที่ยืนยันอาจเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ โดยคํานึงถึงเนื้อหาของคําพูดเป็นหลัก เป็นภาษาที่ใช้ในการอ้างอิงเหตุผล อธิบายและใช้ข้อเท็จจริงต่างๆ 2. แสดงความรู้สึก ได้แก่ ภาษาที่ใช้ในคําประพันธ์ หรือภาษาโฆษณา ซึ่งเป็นภาษาประเภทเร้าอารมณ์ มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ข้อเท็จจริงเป็นสําคัญ แต่มีจุดมุ่งหมายในทางเร้าอารมณ์ผู้อ่านหรือผู้ฟังให้คล้อยตามและเกิดอารมณ์เช่นเดียวกับผู้เขียนบทหรือผู้พูด อาจจะเป็นการแสดงความรู้สึกของผู้เขียน หรือเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง 3. ทําหน้าที่แนะนํา ทําให้เกิดการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นคําสั่งหรือคําขอร้อง ไม่ได้มีการบอกข้อเท็จจริงหรือแสดงอารมณ์ใดๆ หากแต่ว่าการให้ข้อเท็จจริงจะเป็นการแสดงเหตุผลประกอบ เพื่อช่วยเพิ่มน้ําหนักของคําพูดให้กระทําตาม ส่วนการใช้น้ําเสียงเพื่อให้อีกฝ่ายกระทําตามคําขอร้อง เป็นเพียงเครื่อง แสดงอารมณ์ ประกอบเท่านั้น เพราะการเร้าอารมณ์อาจจะช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ได้ง่ายขึ้น วัจนภาษาและอวัจนภาษา ประเภทของภาษาในการสื่อสารความหมายนั้น แบ่งออกเป็น วัจนภาษา และอวัจนภาษา ดังนี้ วัจนภาษา (VERBAL LANGUAGE) คือ ภาษาที่มีระบบสัญลักษณ์ของภาษา เช่น ตัวอักษรต่างๆ หรือคําต่างๆ ที่สามารถฟังหรืออ่านแล้ว เกิดความเข้าใจได้ ได้แก่

2


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

1. ภาษาพูด ภาษาพูด เกิดจากการเปล่งเสียงของมนุษย์ออกมาในระดับเสียงสูงต่ําแตกต่างกัน แล้วจึงมี การกําหนด สัญลักษณ์ให้เป็นที่เข้าใจ ภาษาพูดนี้มีข้อจํากัดในเรื่องของเวลาและระยะทางเพราะเมื่อพูดไปแล้วไม่สามารถ เก็บคําพูดนั้นเอาไว้ได้ ระยะทางในการรับฟังก็อยู่ในระยะจํากัดทําให้เกิดการพยายามเอาชนะข้อจํากัดนี้ ในปัจจุบัน จึงมีการบันทึกเสียงลงบนวัสดุบันทึกเสียงชนิดต่างๆ และถ่ายทอดเสียงผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ซึ่งสามารถเอาชนะในเรื่องของระยะทางได้ 2. ภาษาเขียน ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทําให้มนุษย์ได้พัฒนาภาษาให้เจริญขึ้นมา เกิดเป็นภาษาเขียน ซึ่งทําให้มนุษย์สามารถจารึกหรือบันทึกเรื่องราวด้วยภาษาเขียนได้ และภาษาเขียนยังเป็นเครื่องมือในการกําหนด ความรู้ความเข้าใจ และความคิดเห็นต่างๆ อวัจนภาษา (NON – VERBAL LANGUAGE) อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่มีสัญลักษณ์ในการสื่อความคิดได้แก่ - ท่าทาง - ภาษาภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งประเภทของภาษาได้ตามประเภทของสื่อ ดังนี้ 1. ภาษาสําหรับสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ ภาษาเขียน 2. ภาษาสําหรับสื่อเสียง ได้แก่ ภาษาพูด บทสนทนา ดนตรีประกอบ เสียงประกอบ 3. ภาษาภาพ ได้แก่ ภาพนิ่ง ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว สื่อแต่ละสื่อจะมีสัญลักษณ์และระบบของภาษาที่ต่างกัน และยังมีข้อจํากัดของตัวสื่อเองด้วย เช่น ภาษาเสียง ไม่สามารถอธิบายภาพได้ชัดเจนเท่าภาษาภาพ แต่ในขณะเดียวกันภาษาภาพยังจําเป็นต้องใช้เสียงบรรยายหรือเสียงประกอบอื่นๆ มาช่วยเสริม นอกจากนี้ ความยากง่ายในการเข้าใจและการใช้ภาษาแต่ละประเภทนั้น เป็นสิ่งสําคัญที่ผู้ใช้ภาษาจะต้องเรียนรู้โดยเฉพาะผู้ที่จะเป็นนักเขียนบทโทรทัศน์ จะต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาประเภทต่างๆ เหล่านั้น ถ่ายทอดความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่มีความเข้าใจในระบบสัญลักษณ์คุณลักษณะและธรรมชาติของภาษาเท่านั้นแต่ยังต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์ ในการถ่ายทอดความคิด รูปแบบของการถ่ายทอดความคิดและประเภทของสื่อที่จะใช้ด้วย การใช้ภาษาในการถ่ายทอดความคิดดังกล่าวจึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผล แนวทางในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด 1. ต้องมีความเข้าใจสัญลักษณ์ของภาษาที่จะใช้ 2. ต้องมีความเข้าใจในระบบของภาษาและหลักของภาษา 3. ต้องรู้ลักษณะและธรรมชาติของภาษาแต่ละประเภท 4. ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับหน้าที่ของภาษา 5. ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและโอกาสของการสื่อสาร 6. ต้องใช้ภาษาสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง กระชับ ได้ใจความ 7. ต้องรู้ว่าภาษาสามารถ่ายทอดความคิดได้มากน้อยเพียงไร และใช้ได้ผลดีเมื่อไร 8. ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบรรยากาศ และจังหวะของเรื่อง 9. ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร 10. ต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับรูปแบบของการสื่อสาร และประเภทของสื่อ

3


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

ภาษาของสื่อโทรทัศน์

โทรทัศน์เป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษที่สลับซับซ้อนทัง้ กระบวนการผลิตรายการ และกระบวนการทางด้านเทคนิค รวมทั้งกระบวนการแพร่ภาพรายการสู่กลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่สําคัญที่จะเป็นส่วนในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในแง่ของเนื้อหาสาระ ได้แก่ รายการประเภทต่างๆ ซึ่งแต่รายการแต่ละประเภทที่ผลิตขึ้นนั้น มีส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างสําคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายการโทรทัศน์ทั่วไป คือ ส่วนที่เป็นภาพและส่วนที่เป็นเสียง โดยส่วนที่เป็นภาพและเสียงซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นรายการโทรทัศน์แต่ประเภทนั้น จะมีส่วนประกอบสําคัญซึ่งเป็นวิธีการนําเสนอภาพและเสียงเกี่ยวข้องอยู่ ส่วนประกอบดังกล่าว ได้แก่ ภาษาภาพ (VISUAL LANGUAGE) และภาษาเสียง (SOUND LANGUAGE) เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นกระบวนการการนําเสนอความสมบูรณ์ของ รายการทั้งด้านภาพและเสียง เนื่องจากรายการโทรทัศน์เป็นการนําเสนอภาพที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องเช่นเดียวกับการนําเสนอภาพยนตร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการผลิตและอุปกรณ์ในการถ่ายทําเท่านั้น สื่อแต่ละประเภทย่อมมีหลักการพื้นฐานของสื่อที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารหรือสื่อความหมายแตกต่างกันไป หลักการสําคัญของสื่อที่เป็นส่วนสําคัญในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายนั้นเรียกว่า ภาษาสื่อ (LANGUAGE OF MEDIA) เช่น สื่อวิทยุกระจายเสียงมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาเสียงเพื่อนําเสนอรายการวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น ดังนั้นเมื่อสื่อทุกๆ สื่อมีภาษาเฉพาะของสื่อ สื่อโทรทัศน์ที่นําเสนอรายการในแต่ละประเภท จึงเป็นการนําเสนอความสมบูรณ์แห่งภาษาภาพและภาษาเสียง ซึ่งทั้งภาษาภาพและภาษาเสียงนั้นเรียกโดยรวมว่า “ภาษาของสื่อโทรทัศน์ (Television Language)” ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไป ภาษาภาพ (VISUAL LANGUAGE) คําศัพท์ด้านภาพและการตัดต่อภาพ (ขนาดภาพ, การเคลื่อนกล้อง, มุมกล้อง) สําหรับภาษาของสื่อโทรทัศน์นั้น ต้องเน้นหนักไปที่ภาษาภาพ ซึ่งภาษาภาพนี้เป็นคําที่มีมานานแล้ว และเป็นที่เข้าใจต่อความหมายของคํานี้เป็นอย่างดี ในกลุ่มผู้อยู่ในวงการวิชาชีพภาพยนตร์และโทรทัศน์ต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มทีมงานผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และทีมงานผู้ถ่ายทําภาพยนตร์และสร้างภาพยนตร์ รวมทั้งผู้ที่ศึกษาวิชาชีพแขนงนิเทศศาสตร์ และสื่อมวลชน ภาษาภาพเป็นแบบลักษณ์ต่างๆ ของภาพที่ได้จากการถ่ายทํา โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการนําเสนอภาพที่มีลักษณะต่างๆ เพื่อการสื่อความหมายกับกลุ่มเป้าหมาย ภาษาภาพเป็นส่วนสําคัญในการสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึก การถ่ายทอดความต่อเนื่องของเนื้อหาสาระ การให้คําอธิบายรายละเอียดของเนื้อหา หรือแม้แต่เป็นการกําหนดบทบาทของผู้ชมเพื่อให้ผู้ชมเสมือนหนึ่งกําลังเข้าไปอยู่ในเกณฑ์นั้นๆ อย่างใกล้ชิด

4


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

ซึ่งภาษาภาพเป็นส่วนสําคัญที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ทางจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อโทรทัศน์ ควรมีความเข้าใจและศึกษาถึงรายละเอียดของภาษาภาพอย่างลึกซึ้ง และนําลักษณะต่างๆ ของภาษาภาพมาเลือกใช้กับการผลิตรายการโทรทัศน์อย่างเหมาะสมและถูกต้องกับหลักการของภาษาภาพให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระของรายการไปสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบของภาษาภาพ (VISUAL LANGUAGE) ภาษาภาพที่ใช้เพื่อการผลิตรายการมีหลายแบบลักษณ์ ดังต่อไปนี้ดังนี้ 1. ขนาดภาพ (TYPE OF SHOT) 2. การเคลื่อนกล้อง (CAMERA MOVEMENT) 3. มุมกล้อง (CAMERA ANGLE) 4. ทิศทางกล้อง (CAMERA DIRECTION) 5. จุดแห่งการมองเห็น (POINT OF VIEW) 6. ความต่อเนื่องของภาพ (VISUAL CONTINUITY) 1. ขนาดภาพ (TYPE OF SHOT) ความหมายและความสําคัญของขนาดภาพ ขนาดภาพเป็นการนําเสนอภาพแทนสายตาหรือแทนการได้เห็นของมนุษย์ โดยธรรมชาติมนุษย์จะมองเห็นภาพขนาดต่างๆด้วยตาคู่เดียว หากต้องการเห็นภาพใหญ่จะต้องเดินเข้าไปดูใกล้ๆ วัตถุนั้นๆ แต่ในการผลิตรายการกล้องโทรทัศน์จะนําเสนอภาพขนาดต่างๆสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่นภาพขนาดใหญ่ ภาพขนาดกลาง และ ภาพขนาดเล็ก โดยที่กลุ่มเป้าหมายไม่ต้องเคลื่อนที่ ซึ่งจุดมุ่งหมายของการนําเสนอขนาดภาพนั้น เพื่อสร้างการเปรียบเทียบการรับรู้และการเชื่อมโดยงในการเห็นภาพของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความต่อเนื่องของช่วงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอเนื้อหาสาระในรายการ ลักษณะของขนาดภาพ ขนาดภาพที่ใช้เพื่อการนําเสนอรายการโทรทัศน์มีหลายขนาด ภาพแต่ละขนาดมีจุดมุ่งหมายในการสื่อความหมายเฉพาะเนื้อหา อารมณ์ หรือเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน กล่าวได้ว่าขนาดภาพที่ใช้ในการผลิดรายการโทรทัศน์เพื่อการสื่อความหมายนั้น แบ่งได้ 3 ขนาดใหญ่ๆ คือ 1. ภาพระยะไกล (LONG SHOT) 2. ภาพระยะปานกลาง (MEDIUM SHOT) 3. ภาพระยะใกล้ (CLOSE UP SHOT) และภาพทั้ง 3 ขนาด หรือ 3 ระยะนั้น มีเกณฑ์การเปรียบเทียบไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุที่จะถ่ายทําว่าเป็นบุคคลหรือสถานที่ ซึ่งได้มีการกําหนดขนาดของภาพมาตรฐานขึ้น โดยยึดเอาขนาดและสัดส่วนร่างกายของคนเป็นเกณฑ์ ดังนี้ 1. ภาพระยะไกลมาก (EXTREME LONG SHOT – ELS) เป็นภาพบุคคลขนาดเต็มส่วนที่เห็นส่วนรวมของร่างกายทั้งหมดตั้งแต่เท้าจรดศีรษะและเห็นรวมไปถึงบริเวณพื้นที่ของฉาก หลังทั้งหมด 2. ภาพระยะไกล (LONG SHOT – LS) เป็นภาพระยะไกลที่เห็นบุคคลเต็มส่วน ตั้งแต่เท้าจรดศีรษะ แต่ความกว้างของฉากหลังและพื้นที่ส่วนบนและพื้นที่ด้านล่างลดลง 3. ภาพระยะไกลปานกลาง (MEDIUM LONG SHOT – MLS) ภาพขนาดนี้เป็นภาพจากระยะไกลที่มีขนาดปานกลาง แสงดรายละเอียดตั้งแต่บริเวณหัวเข่าขึ้นไปจรดศีรษะ

5


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

4. ภาพระยะปานกลาง หรือ ภาพขนาดปานกลาง (MEDIUM SHOT – MS) เป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของสัดส่วนตั้งแต่เองหรือสะโพกจรดศีรษะ 5. ภาพระยะใกล้ปานกลาง (MEDIUM CLOS SHOT – MCU) เป็นภาพที่กําหนดตั้งแต่เหนือเอวขึ้นไปจรดศีรษะ 6. ภาพระยะใกล้ (CLOSE UP SHOT – CU) เป็นภาพขนาดที่กําหนดตั้งแต่บริเวณไหล่จรดศีรษะ 7. ภาพระยะใกล้มาก (BIG CLOSE UP SHOT – BCU) เป็นภาพขนาดที่กําหนดเฉพาะใบหน้า 8. ภาพระยะใกล้พิเศษ (EXTREME CLOSE UP SHOT – ECU) เป็นภาพขนาดที่กําหนดเอาเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งของบริเวณใบหน้า เช่น เฉพาะดวงตา เฉพาะริมฝีปาก หรือเฉพาะบริเวณจมูก เป็นต้น ขนาดภาพและการถ่ายทอดความหมาย ภาพขนาดต่างๆ ดังกล่าวนั้น เป้ฯตัวกําหนดการรับรู้ความต่อเนื่องของช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นการเน้นหรือสร้างอารมณ์ความรู้สึกและการสื่อความหมายในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. ภาพระยะไกล (LONG SHOT) ภาพขนาดนี้โดยทั้วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อการนําเสนอหรือการบอกเล่าเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุการณ์ ภาพขนาดนี้เป็นภาพมุมกว้างที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ๆ มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลใช้ในการเปิดเรื่องหรือเปิดฉาก เพื่อบอกผู้ชมว่าเรื่องราวเกิดขึ้นที่ไหน บรรยากาศและเหตุการณ์โดยส่วนรวมเป็นอย่างไร ภาพระยะนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ESTABLISHING SHOTS หรือ OPENING SHOT 2. ภาพระยะปานกลาง (MEDIA SHOT) การนําเสนอภาพระยะปานกลาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดของวัตถุที่ถ่ายทําให้ใกล้เข้ามาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะทําให้เห็นรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการเชื่อมโดยงระยะการมองเห็นภาพจากระยะไกลให้ใกล้เข้ามามากขึ้น การใช้ภาพขนาดนี้จะช่วยถ่ายทอดอารมณ์การรับรู้ต่อสิ่งนั้นๆ ได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งภาพบุคคลและสถานที่ 3. ภาพระยะใกล้ (CLOSE UP SHOT) การนําเสนอภาพขนาดนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนเน้นรายละเอียดของสิ่งๆ นั้น ให้โดดเด่นมากขึ้น ทั้งในรายละเอียดของวัตถุสิ่งของหรือรายละเอียดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่แสดงออกทางใบหน้าของนักแสดงในรายกา รประเภทละคร ภาพระยะใกล้นี้จะช่วยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกทาง ใบหน้า ดวงตา ของผู้แสดงได้ทีที่สุดมากกว่าการใช้ภาพขนาดอื่นๆ การกําหนดขนาดภาพบุคคลในกลุ่มเหตุการณ์ การกําหนดของขนาดภาพบุคคลนั้น นอกจากจะกําหนดโดยถือเอาสัดส่วนของร่างกายมนุษย์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งและสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ ภาพระยะไกลมาก ภาพระยะปานกลาง และภาพระยะใกล้แล้ว ยังมีการแบ่งและกําหนดขนาดภาพบุคคลเพื่อให้เหมาะสม และสะดวกต่อการผลิตรายการ อีกทั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการเรียกชื่อ และกําหนดภาพในการถ่ายทํา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. ONE SHOT – SINGLE SHOT เป็นการกําหนดขนาดภาพบุคคลหรือจําแนกภาพบุคคลที่อยู่ในกรอบภาพนั้นๆ ให้เป็นเพียงบุคคลเดียว ทั้งนี้เป็นภาพขนาดไหนก็ได้ เช่น ภาพบุคคลเดียวในกรอบภาพ แต่เป็นภาพจากระยะไกล ภาพจากระยะปานกลาง หรือภาพจากระยะใกล้การกําหนดภาพขนาดนี้ หมายความว่า ในเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม เมื่อผู้กํากับรายการสั่งให้ผู้ควบคุมกล้องจับภาพเป็น SINGLE SHOT แล้ว ผู้ควบคุมกล้องจะต้องจับภาพให้มีเพียงบุคคลเดียวในกรอบภาพนั้นๆ

6


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

2. TWO SHOT เป็นการกําหนดจํานวนบุคคลในกรอบภาพในเหตุการณ์ใดๆ ภายในฉากให้มีภาพบุคคลในกรอบภาพสองคน เช่น รายการประเภทสนทนา ซึ่งบางครั้งอาจจะตัดภาพเน้นเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เมื่อผู้กํากับรายการสั่งให้จับภาพเป็น TWO SHOT แล้ว ผู้ควบคุมกล้องจะต้องจับภาพบุคคลสองคนในกรอบภาพทันที ภาพลักษณะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับปฏิกิริยาโต้ตอบและรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงออกของบุคคล สองคน 3. GROUP SHOT เป็นการกําหนดขนาดภาพในกรอบภาพใดกรอบภาพหนึ่งของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ให้มีบุคคลอยู่ในกรอบภาพนั้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป การกําหนดขนาดภาพเช่นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นรายละเอียดของส่วนรวมทั้งหมาดในการสแดงออกของบุคคลใดๆ ที่ร่วมกันอยู่เป็นกลุ่มในเหตุการณ์นั้นๆ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับขนาดภาพ จากการอธิบายถึงภาพขนาดต่างๆ ที่ได้จากการถ่ายทําระยะต่างๆ ที่มีผลต่อการรับรู้และการสื่อความหมาย ได้แก่ภาพจากระยะไกล ภาพจากระยะปานกลาง และภาพจากระยะใกล้ซึ่ง ขอสรุปให้เห็นถึงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับขนาดภาพ ดังนี้ 1. ขนาดภาพแสดงการเชื่อมโยงการรับรู้ทางสายตา 2. ขนาดภาพสร้างความต่อเนื่องในการมองเห็น 3. ขนาดภาพช่วยเชื่อมโยงช่วงสําคัญของเหตุการณ์ 4. ขนาดภาพสื่อความหมายด้านเนื้อหาสาระ 5. ขนาดภาพกําหนด และเสริมความคิดรวบยอดของเรื่อง 6. ขนาดภาพแสดงการเปรียบเทียบ 7. ขนาดภาพบอกสถานที่เกิดเหตุ 8. ขนาดภาพแสดงรายละเอียดของบรรยากาศ 9. ขนาดภาพสร้างความรู้สึก และอารมณ์ของเรื่อง 10. ขนาดภาพแสดงการเน้น ย้ํา และให้รายละเอียดเฉพาะแห่ง 11. ขนาดภาพแสดงการเปรียบเทียบระดับของอารมณ์การรับรู้ จะเห็นว่าการใช้ภาษาภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขนาดภาพสามารถสร้างอารมณ์ และถ่ายทอดเนื้อหาเพื่อสื่อความหมายในลักษณะต่างๆ ได้อย่างละเอียดอ่อนลึกซึ้ง การผลิตรายการหรือการถ่ายทํารายการโทรทัศน์ทุกๆ ประเภท จึงควรคํานึงถึงหลักการของภาษาภาพดังกล่าวให้มากที่สุดและนํามาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมซึ่งจะช่วยให้การนําเสนอรายก ารโทรทัศน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 2. การเคลื่อนกล้อง (CAMERA MOVEMENT) การเคลื่อนกล้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาษาภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของภาพที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางและตําแหน่งของกล้อง ซึ่งผลจากการเคลื่อนกล้องจะทําให้ภาพแปรเปลี่ยนลักษณะรูปแบบ ขนาดภาพ และผลทางการสื่อความหมายด้านเนื้อหาและภาพที่เกิดจากการเคลื่อนกล้องในลักษณะต่างๆ ยังมีผลต่อการสื่อความหมายและสร้างผลพิเศษทางการรับรู้เชิงจิตวิทยาอีกด้วย การผลิตรายการโทรทัศน์ที่ใช้วิธีการเครื่องกล้องที่ถูกต้องตามหลักการสื่อความหมายนั้น จะเป็นการนําเสนอภาษาภาพที่มีประสิทธิผลต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย

7


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

ซึ่งการเคลื่อนกล้องมีรูปแบบที่นํามาใช้ในการถ่ายทํา 4 วิธี คือ 2.1 การแพน (PANNING) 2.2 การทิลท์ (TILTING) 2.3 การดอลลี่ (DOLLYING) 2.4 การทรัค (TRUCKING) 2.5 กล้องสั่น (JERK) 2.1 การแพน (PANNING) การแพน เป็นวิธีการเครื่องกล้องโดยวิธีการผันหน้ากล้องหรือการส่ายหน้ากล้องไปในแนวนอนหรือแนวราบ โดยการส่วนหน้ากล้องให้อยู่ในระดับสายตา (EYE LEVEL) การผันหน้ากล้องกระทําได้ 2 ลักษณะคือ การแพนกล้องไปทางซ้าย (PAN LEFT) และการแพนกล้องไปทางขวา (PAN RIGHT) PANNING เป็นการส่ายหน้ากล้องที่เคลื่อนไหวเฉพาะในส่วนที่เป็นตัวกล้อง (LENS & CAMERA HEAD) เท่านั้น ส่วนขาตั้งกล้องจะไม่เคลื่อนไหว

PAN RIGHT

PAN LEFT

จุดประสงค์ของการเคลื่อนกล้องแบบ PANNING นี้ หากพิจารณาในแง่ของ การสื่อความหมายและการรับรู้แล้ว มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหา หรือเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งที่ถ่ายทํา ซึ่งเป็นวัตถุใดๆ หรือบุคคลใดๆ 2 สิ่งที่อยู่คนละจุดหรืออยู่ห่างกัน แต่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องในเหตุการณ์เดียวกัน การใช้วิธีการเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ในเหตุการณ์นั้นเป็นวิธีการสร้าง ความต่อเนื่องของเหตุการณ์ให้เข้ากันอย่างกลมกลืนและสมบูรณ์กว่าการใช้วิธีการตัดภาพโดยตรง (DIRECT CUT) และโดยทั่วไปนั้น การแพนหรือการส่ายหน้ากล้องไปในแนวระดับซ้ายหรือขวานั้น กระทําได้หลายลักษณะ ดังนี้ (1) FOLLOWING PAN FOLLOWING PAN เป็นวิธีการแพนกล้องตามวัตถุที่กําลังเคลื่อนที่อยู่ การแพนแบบนี้จะต้องคอยระมัดระวังเกี่ยวกับความเร็วของสิ่งที่เคลื่อนไหวเป็นหลัก และต้องคํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตําแหน่งของกรอบภาพ (FRAME) กับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ถ่ายทํา คือจะต้องผันหน้ากล้องจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ถ่ายให้อยู่ภายในกรอบภาพ ทั้งนี้เพื่อรักษาความต่อเนื่องของเหตุการณ์และเนื้อหาไว้โดยตลอด (2) SUPVEYING PAN SUPVEYING PAN เป็นวิธีการส่วยหน้ากล้องไปในแนวระดับซ้ายหรือขวาอย่างช้าๆ ให้ความรู้สึกเหมือนกับติดตามสํารวจตรวจตราเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามทิศทางของการส่วยหน้ากล้องนั้น การแพนหรือการส่วยหน้ากล้องลักษณะนี้เปรียบได้กับการที่เราผันใบหน้ากวาดสายตาไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยปกติแล้วการใช้ SURVEYING PAN นั้นใช้กับวัตถุที่อยู่กับที่ เช่น ทิวทัศน์ เป็นต้น

8


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

(3) INTERUPTED PAN INTERUPTED PAN เป็นวิธีการแพนแบบเป็นระยะๆ คือ เป็นการส่ายหน้ากล้องเป็นช่วงระยะยาวแต่นิ่มนวล โดยบางช่วงเวลาอาจจะหยุดการแพนเพื่อจับภาพวัตถุใดวัตถุหนึ่งหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและเหตุการณ์ของเรื่องนั้นๆ จากนั้นกล้องจะแพนต่อไปอีก เช่น กล้องจะแพนตามชายคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ร้ายที่เดินอย่างเร่งรีบเบียดฝูงชนเพื่อหนีการติดตามของเจ้าหน้าที่ตํารวจ กล้องจะแพนตามผู้ร้ายไปเรื่อยๆและมาหยุดอยู่ในขณะที่ผู้ร้ายเดินชนกับผู้หญิงคนหนึ่งล้มลง ในช่วงนี้กล้องจะจับภาพเหตุการณ์ที่หญิงคนนั้นถูกชนล้มลงและหญิงนั้นแสดงอารมณ์ไม่พอใจที่ถูกชนอยู่ครู่หนึ่ง จากนั้นกล้องจะแพนติดตามผู้ร้ายต่อไปโดยทิ้งเหตุการณ์ที่หญิงถูกชนในช่วงนั้นไป (4) SWISH PAN SWISH PAN เป็นการแพนหรือส่วยหน้ากล้องไปในแนวระดับซ้ายหรือขวาอย่างเร็ว ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นจากการแพนกล้องแบบนี้ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เนื่องจากความเร็วของการแพนเหนือส่ายหน้ากล้องทําให้ภาพเป็นเส้นหรือเบลอร์ SWISH PAN มีชื่อเรียกได้อีกหลายชื่อ เช่น WHIP PAN, ZIP PAN, BLUR PAN เป็นต้น จุดประสงค์ของการใช้ SWISH PAN นั้น เพื่อการเชื่อมโยงเหตุการณ์จากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นคนละสถานที่ แต่ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทางเนื้อหาระหว่างกันเป็นการเชื่อมโยงจุดสนใจระหว่างฉากเพื่อจุดมุ่งหมายต่างๆ ดังนี้ 1. เพื่อการเชื่อมโยง (TRANSITTION) ระหว่าง SUBJECT ที่มีความแตกต่างกันอยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน 2. เพื่อการเชื่อมโยงเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นแนวเดียวกัน 3. เพื่อเปลี่ยนแปลงจุดสนใจเหตุการณ์หนึ่งไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง เช่น จากจุดเริ่มต้นของการตีกอล์ฟไปยังจุดที่ลูกกอล์ฟลงหลุม 4. เพื่อการแสดงเหตุที่เกิด และผลที่ตามมาของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น จากจุดที่เด็กเตะลูกฟุตบอล และ SWISH PAN อย่างรวดเร็วมายังจุดที่ลูกฟุตบอลกระทบกระจกหน้าต่างแตก 5. เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับช่วงเวลา ที่เปลี่ยนแปลงไปของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น จากจุดที่นักวิ่งเริ่มออกจากจุดเริ่มแล้ว SWISH PAN ไปยังจุดที่กําลังจะเข้าเส้นชัย การใช้วธิ ีการสื่อความหมายจากภาษาภาพด้วยการใช้ SWISH PAN นั้น โดยสรุปแล้วมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเชื่อมโยงเหตุการณ์หรือเพื่อสร้างความต่อเนื่องระหว่างฉากที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและ กันอย่างรวดเร็ว 2.2 การทิลท์ (TILTING) TILTING เป็นวิธีการเคลื่อนกล้องอีกลักษณะหนึ่ง โดยการเงยหน้ากล้องขึ้น หรือกดหน้ากล้องลงในแนวดิ่ง (A TILTING IS A VERTICAL MOVE UP OR DOWN) (1) มีจุดมุ่งหมายในการใช้เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของ SUBJECT ต่างๆ ในแนวดิ่ง ซึ่งการใช้ TILT นี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ (1) TILT UP ได้แก่การเงยหน้ากล้องขึ้นจากแนวระดับสายตา

9


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

(2) TILT DOWN ได้แก่การกดหน้ากล้องลงจากแนวระดับสายตา

TILTING เป็นการเปลี่ยนระดับของมุมกล้องในแนวดิ่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะ TILT ขึ้นหรือลงก็ได้ โดยเป็นการเคลื่อนที่เฉพาะส่วนที่เป็นตัวกล้องเท่านั้น ส่วนฐานรองรับกล้องหรือขาตั้งกล้องจะอยู่กับที่เสมอ ซึ่งลักษณะของภาพที่เกิดจากการเคลื่อนกล้องแบบ TILT นี้สามารถสร้างการสื่อความหมายและให้ผลทางจิตวิทยาการรับรู้ได้หลายประการ คือ 1. นํามาใช้เพื่อการสร้างความต่อเนื่องของอารมณ์ 2. นํามาใช้เพื่อสร้างภาพแทนตําแหน่งการได้เห็นของบุคคล (ภาพแทนสายตา) หรือตัวละครในเหตุการณ์ของฉากใดฉากหนึ่ง 3. นํามาใช้เพื่อการพินิจรายละเอียดของ SUBJECT ต่างๆ เช่น บุคคล วัตถุ สถานที่ 4. นํามาใช้กับการสื่อความหมาย ในลักษณะการนําผู้ชมเข้าไปในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ภาพที่เกิดจากการใช้วิธี TILT ยังให้ความหมายในลักษณะอื่นๆ ดังนี้ 1. การ TILT จากมุมต่ําสู่มุมสูง จะให้ความหมายในแง่ของการกําลังติดตามพิเคราะห์ SUBJECT นั้นๆ อย่างต่อเนื่องและอย่างตื่นเต้น หรือเป็นการมองอย่างชื่นชม อย่างน่ายกย่อง 2. การ TILT จากมุมสูงสู่มุมต่ํา จะให้ความหมายในแง่ของการกําลังติดตามพิเคราะห์ SUBJECT นั้นๆ อย่างต่อเนื่องแต่ให้ความรู้สึกที่ไม่ค่อยดี หากเป็นการมองบุคคลอาจให้ความรู้สึกในลักษณะการดูหมิ่นเหยียดหยาม ไร้ความหมาย ไร้ความสําคัญ เป็นการสร้างภาพแทนสายตาของบุคคลหนึ่งที่กําลังมองบุคคลหนึง่ โดยการ TILT จากศีรษะมายังเท้า เป็นต้น

10


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

2.3 การดอลลี่ (DOLLYING) DOLLYING เป็นการเคลื่อนกล้องอีกลักษณะหนึ่ง โดยการเคลื่อนกล้องเข้าไปหาวัตถุหรือเคลื่อนกล้องถอยห่างออกจากวัตถุในทิศทางใดทิศทางหนึ่งในแนวเส้นตรง และ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) DOLLY IN ได้แก่ การเคลื่อนกล้องเข้าไปหา SUBJECT ใดๆ อย่างช้าๆ และนิ่มนวลในแนว เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง (2) DOLLY OUT ได้แก่ การเคลื่อนกล้องถอยห่างออกจาก SUBJECT ใดๆ อย่างช้าๆ และนิ่มนวล ในแนวเส้นตรงอย่างต่อเนื่อง DOLLY เป็นการเคลื่อนกล้องโดยเคลื่อนไปทั้งตัวกล้องและฐานรองรับกล้องพร้อมๆ กันซึ่งการเคลื่อนกล้อง แบบนี้ ฐานรองรับกล้องจะต้องเป็นแบบที่มีล้อเลื่อน (DOLLY) เท่านั้น จึงจะสามารถเคลื่อนกล้องในลักษณะนี้ได้

DOLLY และการสื่อความหมาย ภาพที่เกิดจากการเคลื่อนกล้องด้วยวิธีการ DOLLY นั้น สื่อความหมายได้หลายลักษณะ ดังนี้ 1. การใช้ DOLLY IN การใช้ DOLLY IN ให้ความรู้สึกเหมือนกับการนําผู้ชมเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ โดยนําผู้ชมค่อยๆเข้าสู่ช่วงเหตุการณ์นั้นๆ อย่างใกล้ชิดภาพในลักษณะนี้ให้ความรู้สึกถึงการเข้าไปในเหตุการณ์นั้นๆ เป็นการสร้างอารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือสร้างการสื่อความหมายในลักษณะนําผู้ชมเข้าไปพิจารณาถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ และละเอียดอ่อน 2. การใช้ DOLLY OUT การใช้ DOLLY OUT จะให้ความรู้สึกตรงข้ามกับการใช้ DOLLY IN ภาพที่ได้จากการใช้ DOLLY OUT จะให้ความรู้สึกเหมือนผู้ชมค่อยๆ ถอยออกจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือนําผู้ชมออกมาจาก SUBJECT ใด SUBJECT หนึ่ง เป็นการเบี่ยงเยนความรู้สึกของผู้ขมออกมาจากเหตุการณ์หนึ่งๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการสร้างความหมายในลักษณะที่นําผู้ชมออกมาจากเหตุการณ์นั้นๆ DOLLY OUT ปกติใช้กับกรณีที่ดึงผู้ชมให้ถอยห่างออกมาจาก SUBJECT ในขณะที่ SUBJECT อยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ แต่บางกรณี DOLLY OUT อาจจะใช้กับ SUBJECT ที่เคลื่อนไหวเข้าหากล้อง ซึ่งต้อง DOLLY OUT ถอยออกมาเพื่อรักษาขนาดของภาพภายในกรอบภาพให้คงที่ รวมทั้งถอยออกมาเพื่อรักษาระยะชัด ของภาพให้คงที่ด้วย 2.4 การทรัค (TRUCKING) เป็นวิธีการเคลื่อนกล้องขั้นพื้นฐานอีกลักษณะหนึ่งที่นํามาใช้กับการนําเสนอภาพเพื่อการสื่อความหมาย ซึ่งการ TRUCK นี้จะเป็นการเคลื่อนกล้องไปในแนวขนานกับวัตถุ โดยการเคลื่อนกล้องขนานไปทางด้านขวา (TRUCK RIGHT) และด้านซ้าย (TRUCK LEFT) การใช้ TRUCK นี้มุมมองของหน้ากล้องจะอยู่ในตําแหน่งแนวระดับสายตาเสมอ เช่นเดียวกับมุมของการแพน

11


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

การใช้ TRUCK มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอรายละเอียดของเหตุการณ์หรือเพื่อแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดด้านข้างของ SUBJECT หรือของฉากใดฉากหนึ่งอย่างต่อเนื่อง หรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเชื่อมโยงภาพระหว่าง ACTION หนึ่งไปยังอีก ACTION หนึ่งที่อยู่ในทิศทางอื่นแต่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งการเคลื่อนกล้องด้วยการ TRUCK นี้ เป็นการเคลื่อนไปทั้งตัวกล้องและฐานรองรับกล้อง โดยภาพที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายๆ กับการเดินผ่าน SUBJECT หรือเดินผ่านเหตุการณ์ใดๆไปทางซ้ายหรือขวา ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความเคลื่อนไหวให้เกิดกับภาพภายในฉากนั้นๆ เพื่อความน่าสนใจของเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้น สรุปการเคลื่อนกล้องที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะภาพ 1. การเคลื่อนกล้องเฉพาะตัวกล้อง แต่ขาตั้งกล้องยังอยู่กับที่ ได้แก่การ PAN 2. การเคลื่อนทั้งตัวกล้องขาตั้งกล้อง ได้แก่ การ DOLLY และการ TRUCK 3. การเปลี่ยนแปลงมุมของภาพให้กว้างหรือแคบอย่างต่อเนื่องได้แก่ การ ZOOM 2.5 กล้องสั่น (JERK) JERK กล้องสั่น! เป็นการเคลื่อนกล้องอีกแบบหนึ่ง เพราะจะทาให้ตากล้องและทีมงานรู้วิธีการทางานได้ง่ายขึ้นมากกว่าการวาดเฟรมนิ่งๆ การวาดขอบเฟรมซ้อนเหลื่อมกันหลายๆ ชั้น จะช่วยแสดงความรู้สึกสั่นหรือแกว่งไกวของภาพได้ 3. มุมกล้อง (CAMERA ANGLE) ความสําคัญของมุมกล้อง มุมกล้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาษาภาพ ที่มีความสําคัญต่อการนําเสนอเรื่องราวต่างๆ ผลของภาพที่เกิดขึ้นจากมุมกล้องในลักษณะต่างๆนั้น เปรียบเสมือนภาพแทนสายตาของกลุ่มเป้าหมายที่ช่วยถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นรวมทั้งช่วยสร้างผลการรับรู้ทางจิตวิทยาแก่กลุ่มเป้าหมายเป็นสําคัญ การใช้มุมกล้องได้อย่างถูกต้องามหลักการแห่งการรับรู้จะทําให้การนําเสนอภาพและเนื้อหาต่างๆนั้นมีประสิทธิผ ลทางการสื่อสารทั่วๆ ไปและการสื่อสารเชิงจิตวิทยา ดังนั้นจึงควรที่จะศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมุมกล้องให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ซึ่งมุมกล้องที่ใช้ในการถ่ายภาพนั้นกําหนดได้ 2 ลักษณะ คือ มุมกล้องในแนวดิ่งและมุมกล้องในแนวนอน การกําหนดมุมกล้องทางแนวดิ่ง (VERTICAL VIEW POINT) การกําหนดมุมกล้องในแนวดิ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตามที่มองเห็นได้แก่ 1. การถ่ายภาพจากมุมสูงมากพิเศษ (EXTREME HIGH ANGLE SHOT) 2. การถ่ายภาพจากมุมสูง (HIGH ANGLE SHOT) 3. การถ่ายภาพในระดับสายตา (EYE LEVEL SHOT) 4. การถ่ายภาพจากมุมต่ํา (LOW ANGLE SHOT) 5. การถ่ายภาพจากมุมต่ํามากพิเศษ (EXTREME LOW ANGLE SHOT)

12


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

การกําหนดตําแหน่ง และระดับความสูงต่ําของกล้องทางแนวดิ่งหรือแนวตั้ง สรุปได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. การถ่ายภาพจากมุมต่ํา (LOW ANGLE SHOT) 2. การถ่ายภาพระดับสายตา (EYE LEVEL SHOT) 3. การถ่ายภาพจากมุมสูง (HIGH ANGLE SHOT) 1. การถ่ายภาพจากมุมต่ํา (LOW ANGLE SHOT) การถ่ายภาพจากมุมต่ํา เป็นการกําหนดตําแหน่งของกล้องให้ต่ํากว่าระดับขงสิ่งที่ถูกถ่าย หรือกล้องยู่ในตําแหน่งที่ต่ํากว่าระดับสายตา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการนําเสนอเพื่อกําหนดให้เป็นภาพแทนสายตาของกลุ่มเป้าหมายตามความเป็นจริงของเหตุ การณ์ทกี่ ําลังเกิดขึ้นภายในฉากหรือการแสดงนั้นๆ เช่น ผู้แสดงที่ยืนอยู่ในตําแหน่งที่ต่ํากว่ามองขึ้นไปยังผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งยืนอยู่ด้านบนที่สูงกว่า ซึ่งผู้แสดงทั้งสองฝ่ายอยู่ในเหตุการณ์และช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นการสร้างภาพแทนสายตาหรือการแทนค่าความเป็นจริงที่เกิดขึน้ จากการเห็น จึงเป็นตัวกําหนดมุมกล้องตามความเป็นจริงของจุดแห่งการมองเห็น (POINT OF VIEW) ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้นๆ หรืออาจสรุปจุดมุ่งหมายของการถ่ายภาพจากมุมต่ําได้ 2 ประการ คือ 1.1 เพื่อการกําหนดภาพที่เป็นจริงตามเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นภายในฉากนั้นๆ 1.2 เพื่อการกําหนดการสื่อความหมายและการสร้างผลการรับรู้ทางจิตวิทยา การถ่ายภาพมุมต่ํานั้น จะช่วยถ่ายทอดและสื่อความหมายให้สิ่งที่ถูกถ่ายนั้นมีความยิ่งใหญ่ มีศักดิ์ศรี มีพลัง มีอํานาจ มีความขลัง มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความแข็งแรง มีความมั่งคง มีความน่าเกรงขาม ซึ่งลักษณะของภาพที่ถ่ายจากมุมต่ํานี้จะส่งผลต่อการรับรู้เชิงจิตวิทยาเหมอ หากเหตุการณ์ใดหรือสถานการณ์ใด ที่ต้องการสร้างการสื่อความหมายและต้องการกําหนดให้ผู้ชมมีความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ ความมีอํานาจ อิทธิพล ศักดิ์ศรี หรือให้เกิดการได้เปรียบในสถานการณ์นั้นๆ ต้องกําหนดมุมกล้องให้เป็นมุมระดับต่ําเสมอ ระดับองศาของการถ่ายทําภาพจากมุมต่ํา การถ่ายภาพมุมต่ํา ให้ยึดเอาองศาของการเงยหน้ากล้องขึ้นทํามุมกับ SUBJECT ที่ถูกถ่ายเป็นหลัก โดยการเปรียบเทียบกับมุมมองในระดับสายตาปกติ ซึ่งการถ่ายภาพจากมุมต่ําสามารถแบ่งออกได้ 2 ระดับ คือ 1. LOW ANGLE SHOT 2. VERY LOW ANGLE SHOT LOW ANGLE SHOT LOW ANGLE SHOT ได้แก่ การถ่ายภาพจากมุมระดับต่ําที่ยึดเอามุมในการถ่ายตามการเงยหน้ากล้องขึ้นทํามุมกับวัตถุที่ถูกถ่าย ประมาณตั้งแต่ 20 – 40 องศา ซึ่งเรียกการถ่ายภาพที่ได้จากมุมระดับนี้ว่า การถ่ายภาพมุมต่ํา VERY LOW ANGLE SHOT VERY LOW ANGLE SHOT ได้แก่ การถ่ายภาพจากมุมระดับต่ําที่มีมุมในการถ่ายทําประมาณ 50-60 องศา ซึ่งภาพที่ได้จากการถ่ายทําในมุมระดับนี้หากเป็นภาพอาคารหรือภาพบุคคล ภาพที่ได้จะมีลักษณะพิเศษทาง PERSPECTIVE ที่ให้ความรู้สึกสูงตระหง่านยิ่งใหญ่ มั่งคง แข็งแรง หรือเรียกภาพที่ได้จากการถ่ายภาพในมุมระดับนี้ ว่า ANT EYE VIEW หรือมุมต่ําพิเศษ

13


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

2. การถ่ายภาพระดับสายตา (EYE LEVEL SHOT) การถ่ายภาพโดยใช้มุมระดับสายตา เป็นการกําหนดตําแหน่งของการตั้งกล้องอยู่ในแนวระดับสายตาปกติ ภาพที่ได้จากการกําหนดมุมระดับสายตานี้ จะให้ความรู้สึกเหมือนจริงตามสภาพที่ตามองเห็น ซึ่งการนําเสนอภาพในมุมระดับสายตานี้ ผู้ถ่ายภาพจะต้องรักษาความเป็นจริงและความถูกต้องของทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างที่ถ่ายทําตามที่ตามองเห็น โดยเฉพาะต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องของเส้นต่างๆ ทั้งเส้นในแนวนอน (HORIZONTAL LINE) และเส้นในแนวดิ่ง (VERTICAL LINE) เนื่องจากเส้นต่างๆ จะปรากฏอย่างชัดเจน เช่น เส้นของแนวขอบฟ้า เส้นนอนของอาคาร เส้นตั้งของต้นไม้ เสา ซึ่งหากผู้ถ่ายภาพไม่ระวังในเรือ่ งเกี่ยวกันเส้นบังคับกรอบภาพดังกล่าว จะทําให้เกิดการบกพร่องของภาพขึ้นได้ เช่น การเอนเอียงไม่ได้ระดับหรือเกดอาการผิดสัดส่วนของวัตถุ อาการบิดเบือน (DISTORTION) ของสิ่งที่ถ่ายอาจผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงที่ตามองเห็น 3. การถ่ายภาพจากมุมสูง (HIGH ANGLE SHOT) การถ่ายภาพจากมุมสูง เป็นวิธีการถ่ายภาพที่วางตําแหน่งของกล้องไว้ในตําแหน่งที่สูงกว่าสิ่งที่ถูกถ่าย ตัวกล้องจะตั้งอยู่บนที่สูง และกดหน้ากล้องหรือเลนส์ให้เป็นมุมต่ําลงมา มุมในการกดหน้ากล้องจะกดต่ําลงเป็นมุมกี่องศานั้นขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการถ่ายทํา และการนําเสนอภาพในลักษณะมุมสูงดังกล่าวมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 3.1 เพื่อถ่ายทอดตามความเป็นจริง ของเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นตามตําแหน่งแห่งการมองเห็นภายในฉากใดฉากหนึ่ง เช่น ผู้แสดงที่อยู่บนที่สูงมองลงไปยังที่ต่ํากว่า หรือผู้แสดงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ร้ายกําลังวิ่งหนีตํารวจขึ้นไปอยู่บนบันไดขั้นที่สี่ มองลงมายังพื้นชั้นล่างซึ่งเห็นตํารวจกําลังวิ่งตามบันไดขึ้นไปทั้งตํารวจและผู้ร้ายต่างอยู่ในเหตุการณ์เดียวกันใน ช่วงเวลาเดียวกัน และภาพของตํารวจที่อยู่ด้านล่างนั้น เป็นภาพที่เกิดจากความเป็นจริงตามตําแหน่งแห่งการมองเห็นของผู้ร้ายที่อยู่บนพื้นที่ๆ สูงกว่าหรือเรียกว่าเป็นภาพแทนสายตาของผู้ร้ายที่มองตํารวจจากที่สูง 3.2 เพื่อสร้างการรับรู้เชิงจิตวิทยา เนื่องจากลักษณะของภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้มุมสูงจะส่งผลทางการรับรู้พิเศษเชิงจิตวิทยาและให้ความรู้สึกว่า SUBJECT ที่ถูกถ่ายนั้น อยู่ในสภาพที่อ่อนแอ หมดหวัง สิ้นหวัง ถูกจํากัด ถูกครอบงํา ถูกบังคับ หมดทางสู้ ด้อยศักดิ์ศรี ไม่มีความสําคัญ หรือภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกเหมือนหนึ่งลดบทบาทของ SUBJECT นั้น อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น หากมีจุดมุ่งหมายในการนําเสนอภาพ เพื่อให้ได้ความหมายและความรู้สึกเชิงจิตวิทยาการรับรู้ เพื่อให้ SUBJECT นั้นๆ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล มีความอ่อนแอ อ้างว้าง ถูกทอดทิ้ง โดดเดี่ยว หรือไร้คุณค่า แล้วจะต้องนําเสนอภาพที่ได้จากการถ่ายทําจากการกําหนดมุมกล้องให้เป็นมุมสูงเท่าเสมอ

14


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

ระดับองศาของการถ่ายภาพจากมุมสูง ในทางปฏิบัตินั้นได้กําหนดให้องศาของกล้องที่กดมุมลงไปยังสิ่งที่ถ่ายเป็นเกณฑ์ในการกําหนดมุมระดั บต่างๆ ซึ่งการถ่ายภาพจากมุมสูงแบ่งออกได้ 4 ระดับ คือ 1. HIGH ANGLE SHOT HIGH ANGLE SHOT หมายถึง การถ่ายภาพจากมุมระดับสูง ที่มีมุมของการถ่ายทําประมาณ 20 – 40 องศา ซึ่งเรียกว่า การถ่ายภาพจากมุมสูงปกติ 2. VERY HIGH ANGLE SHOT VERY HIGH ANGLE SHOT หมายถึง การถ่ายภาพจากมุมระดับสูงที่มีมุมของการถ่ายทําประมาณ 50 – 60 องศา ซึ่งเรียกว่าการถ่ายภาพจากมุมสูงมาก 3. OVERHEAD SHOT OVERHEAD SHOT หมายถึง การถ่ายภาพจากมุมระดับสูงที่มีมุมของการถ่ายทําตั้งแต่ 60 องศาขึ้นไป โดยที่เลนส์ของกล้องจะกดลงเป็นแนวดิ่งกับ SUBJECT ที่ถูกถ่าย ซึ่งหากเป็นการถ่ายสิ่งก่อสร้างภาพที่ได้จะเห็นพื้นที่ส่วนบน (TOP VIEW) ทั้งหมด และหากเป็นภาพบุคคล ภาพที่ได้จะเป็นด้านบนศีรษะทั้งหมด 4. EXTREME HIGH ANGLE SHOT EXTREME HIGH ANGLE SHOT หมายถึง การถ่ายภาพจากมุมระดับสูงมากพิเศษโดยทั่วไปจะกําหนดเอาระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถูกถ่ายเป็นเกณฑ์ เช่น การถ่ายภาพจากเครื่องบินที่ติดตัวกล้องไว้กับส่วนท้องของเครื่องบิน การใช้มุมกล้องระดับสูงมากพิเศษนี้มุมกดจากเลนส์ของกล้องจะเป็นแนวดิ่ง 90 องศา ซึ่งเป็นการถ่ายภาพทางอากาศที่เรียกว่า ARIAL SHOT หรือมีชื่อเรียกทั่วไปว่า BIRD EYE VIEW การถ่ายภาพจากมุมสูงมากพิเศษนี้ มีจุดมุ่งหมายโดยทั่วไปเพื่อการนําเสนอบรรยากาศ เหตุการณ์ และรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุ หรือเพื่อการนําเสนอภาพความกว้างใหญ่ไพศาลไร้ขอบเขตของสภาพภูมิประเทศโดยภาพรวม ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับมุมกล้อง 1. มุมกล้องให้รายละเอียด และความหมายของเรื่อง 2. มุมกล้องสร้างและกําหนดความคิดรวบยอด 3. มุมกล้องสร้างอารมณ์ความรู้สึกในลักษณะต่างๆ 4. มุมกล้องสร้างผลทางการรับรู้เชิงจิตวิทยา 5. มุมกล้องกําหนด ระดับ ฐานะ ศักดิ์ศรี และ สถานภาพของตัวละคร 6. มุมกล้องอธิบายเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้น 7. มุมกล้องอธิบายรายละเอียดของเหตุการณ์ และสถานที่เกิดเหตุ 8. มุมกล้องสร้างความลวงตา และสร้างความต่อเนื่อง 9. มุมกล้องสร้างภาพแทนสายตาและสร้างภาพแทนตําแหน่งแห่งการมองเห็น 4. ทิศทางกล้อง (CAMERA DIRECTION) ทิศทางกล้อง (CAMERA DIRECTION) หมายถึง การกําหนดตําแหน่งของกล้องขณะจับภาพเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้น การกําหนดทิศทางกล้องมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของ SUBJECT เสมอ ซึ่งกําหนดทิศทางของกล้องได้ 3 ทิศทาง โดยยึดเอา SUBJECT ที่ถูกถ่ายเป็นหลัก คือ

15


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

1. ทิศทางด้านหน้า (FRONT DIRECTION) 2. ทิศทางด้านข้าง (SIDE DIRECTION) 3. ทิศทางด้านหลัง (BACK DIRECTION) การกําหนดทิศทางของกล้องจากด้านหน้าและด้านข้างของ SUBJECT นั้น เป็นการกําหนดการวางตําแหน่งของกล้องแต่ละกล้องในกรณีที่อาจใช้กล้องหลายตัวพร้อมๆ กัน ซึ่งทิศทางของกล้องลักษณะนี้จะต้องเคลื่อนไหวและอยู่ในองศาของการเคลื่อนที่เพียง 180 องศาเท่านั้น องศาของทิศทางในการเคลื่อนกล้องเป็นมุม 180 องศานั้น เป็นการกําหนดทิศทางของกล้องให้อยู่ในแนวเส้นแกนการแสดง (AXIS OF ACTION) ซึ่งหากเคลื่อนกล้องหรือกําหนดทิศทางของกล้องข้ามเส้นแกนการแสดงเดิน 180 องศา เมื่อใดจะทําให้เกิดการไขว้เขวและสับสนต่อการสื่อความหมาย เนื่องจากทิศทางของ ACTION หรือทิศทางตําแหน่งของตัวแสดงจะเปลี่ยนไปทันทีจึงควรระมัดระวังและทําความเข้าใจในเรื่องของทิศทางกล้องและเส้นแ กนการแสดงให้เข้าใจ ดังนั้นการถ่ายทําการแสดงที่ภายในเหตุการณ์มีฉากหลังเป็นหลักนอกจากจะต้องคํานึงถึงองศาของเส้นแกนการ แสดงแล้ว กรณีใช้กล้องโทรทัศน์หลายกล้องร่วมกัน การจับภาพควรคํานึงถึงทิศทางของใบหน้าและทิศทางที่ผู้แสดงเคลื่อนที่ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อการตัดภาพระหว่างกล้องแต่ละตัวเชื่อมโยงทิศทางการมองหรือการเคลื่อนที่ไปของตัวแสดงได้อย่างถูกต้อง ในกรณีนี้หากวางตําแน่งของทิศทางกล้องไม่ถูกต้อง อาจทําให้ตัดภาพเชื่อมต่อทิศทางของผู้แสดงผิดได้ง่าย เช่น ในกรณีที่ใช้กล้อง 2 กล้อง จับภาพบุคคล 2 คนกําลังหันหน้าสนทนากัน เหตุการณ์นี้หากต้องการตัดภาพของแต่ละกล้องด้วยสวิชเชอร์ให้เห็นบนจอรับภาพเป็นภาพขนาดบุคคลเดียว (SINGLE SHOT) ภาพทีต่ ัดจากกล้องทั้ง 2 แต่ละครั้งจะต้องให้คนทั้ง 2 ที่สนทนาหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งหมายความว่าองศาและตําแหน่งของกล้องทั้ง 2 กล้องจะต้องไม่เคลื่อนไหวข้ามพื้นที่ๆ เกินมุม 90 องศาของกล้องตัวใดตัวหนึ่งเป็นอันขาด หากเมื่อใดที่ภาพใบหน้าของผู้สนทนาหันไปในทิศทางเดียวกัน แสดงว่าการกําหนดทิศทางของกล้องผิดซึ่งเรียกว่า การถ่ายผิดคู่ (MISMATCHED SHOT) ซึ่งจะทําให้เกิดการสับสน สื่อความรู้สึกผิดธรรมชาติและการสื่อความหมายได้ เส้นแกนการแสดง (AXIS OF ACTION) เนื่องจากการนําเสนอภาพจากกล้องโทรทัศน์ เป็นการนําเสนอภาพในลักษณะ 2 มิติ ซึ่งมีฉากหลังเป็นตัวกําหนดจุดสิ้นสุดความลึก การเคลื่อนกล้องข้ามทิศทางด้านข้างของตัวแสดงออกไปด้านหลังจะมีผลทําให้ทิศทางของภาพที่ได้เปลี่ยนไป หรือเกิดการกลับข้างของตําแหน่งของผู้แสดงจากซ้ายกลายเป็นขวา ดังนั้นการถ่ายทําจึงกําหนดให้กล้องอยู่ในทิศทางภายในเส้นแกนการแสดงเสมอ เส้นแกนการแสดงมีความสําคัญต่อเทคนิคการวางกล้อง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ชมดูภาพอย่างถูกต้อง เส้นแกนการแสดงจะถูกกําหนดให้วางอยู่ในแนวขนานกับวัตถุ (SUBJECT) เป็นมุมตรง 180 องศาเสมอ การจัดวางตําแหน่งของกล้องไว้ในทิศทางด้านหน้าของเส้นแกนการแสดง จะทําให้ภาพของคู่สนทนา 2 คนหันหน้าเข้าหากันอย่างเป็นความจริง และหากใช้กล้อง A วางไว้ในตําแหน่งทิศทางล่วงล้ําเข้าไปด้านหลังเส้นแกนการแสดง ภาพที่ได้จากกล้อง A ภาพผู้ชายจะหันหลังให้กับผู้หญิงทันที ซึ่งผิดหลักแห่งความจริง

16


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

การถ่ายผิดคู่ (MISMATCHED SHOT) การถ่ายผิดคู่เป็นผลจากการตัดภาพข้ามกล้อง ในกรณีใช้กล้องหลายกล้องและวางตําแหน่งกล้องไว้หลายทิศทาง รายการโทรทัศน์ประเภทสนทนานั้น นอกจากจะกําหนดทิศทางของกล้องให้อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของเส้นแกนแสดงแล้ว ยังต้องคํานึงถึงหลักแห่งการตัดภาพเชือ่ มโยงจากกล้องแต่ละกล้องอีกด้วย แม้ว่าจะได้กําหนดทิศทางของกล้องถูกต้องแล้ว หากตัดภาพเชื่อมโยงผิดคู่จะมีผลทําให้การสื่อความหมายไขว้เขวได้ ดังตัวอย่างจากภาพบุคคลที่กําลังนั่งในแนวเดียวกันและใช้กล้อง 3 กล้องจับภาพ ซึ่งหากตัดภาพที่ได้จากกล้อง 1 ไปยังกล้อง 3 ภาพที่ได้จะสื่อได้ว่า นายบี ที่อยู่ในจอด้านขวาของกล้อง 1 กระโดดข้ามมาอยู่ในจอด้ายซ้ายของกล้อง 3 ซึ่งผิดความจริง ดังนั้นการเชื่อมต่อทิศทางของภาพในกรณีนี้ ที่ถูกต้องจะต้องตัดภาพจากกล้อง 1 ไปยังกล้อง 2 และกล้อง 3 ตามลําดับ จึงจะทําให้ทิศทางของ SUBJECT ไม่เปลี่ยนแปลง และเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในการตัดภาพผิดคู่ ในกรณีใช้กล้อง 2 กล้องขึ้นไป มีหลักการการตัดภาพง่ายๆ คือ อย่าตัดภาพข้ามองศาในการจับภาพของแต่ละกล้องเกิน 90 องศา โดยยึดเอามุมการตั้งฉากกับเส้นแกนการแสดงตรงจุดกึ่งกลางเป็นหลัก 5. จุดแห่งการมองเห็น (POINT OF VIEW) POINT OF VIEW เป็นองค์ประกอบที่สําคัญต่อการนําเสนอเหตุการณ์และเนื้อหา การใช้จุดแห่งการมองเห็น จะเป็นการกําหนดให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเข้าไปร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรืออยู่นอกเหตุการณ์นั้นๆ POINT OF VIEW เป็นลักษณะของภาษาภาพอย่างหนึ่ง ที่สื่อความหมายหรือสื่อเรื่องราวต่างๆ สู่กลุ่มเป้าหมาย โดยทั่วไปนั้นภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ที่สื่อความหมายหรือสื่อเรื่องราวต่างๆ สู่กลุ่มเป้าหมาย โดยทั่วไปนั้นภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งนั้น ภายในตัวของภาพย่อมเป็นสื่อชนิดหนึ่งทีบ่ รรจุเอาสารหรือหรือเรื่องราวเข้าไว้เพื่อการสื่อสารไปยังผู้ชม ดังนั้น POINT OF VIEW จึงเป็นจุดแห่งการมองเห็นภาพ ที่สามารถกําหนดความรู้สึกและบทบาทของผู้ชม (AUDIENCE ROLE) ที่มีต่อเหตุการณ์ได้หลายลักษณะ เนื่องจากการชมภาพยนตร์แต่ละเรื่องนั้นหากสังเกตให้ดีจะพบว่าบางครั้งผู้ชมได้ถูกกําหนดให้มีความรู้สึกเสมือนหนึ่งเข้าไ ปร่วมอยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ เช่น ความรู้สึกตื่นเต้น หวิว ผวา สนุกสนาน หวาดเสียว หรือบางครั้งผู้ชมจะถูกกําหนดให้มีความรู้สึกว่าเข้าไปแอบดูอย่างใกล้ชิดหรือบาครั้งก็เป็นเพียงผูส้ ังเกตการณ์อยู่ห่างๆ เท่านั้น อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่ชมภาพยนตร์นั้น เป็นบทบาทหรืเป็นจุดแห่งการมองเห็นของผู้ชม ซึ่งถูกกําหนดโดยภาษาภาพในลักษณะต่างๆ และการที่จะทําให้ผู้ชมเข้าไปอยู่ในตําแหน่งแห่งบทบาทใดๆ ได้อย่างสมจริงแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของการนําเสนอภาพด้วยลักษณะนั้นๆ เป็นหลัก ลักษณะการนําเสนอภาพ ตามจุดแห่งการมองเห็น (FORMAT OF POINT OF VIEW) 1. OBJECTIVE POINT OF VIEW การนําเสนอภาพในลักษณะนี้ เป็นการนําเสนอภาพเหตุการณ์ต่างๆที่เปรียบเสมือนภาพแทนค่าการมองเห็นโดยทั่วของผูช้ ม โดยที่ผู้ชมไม่มีส่วนร่วมยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ผลของภาพในลักษณะ OBJECTIVE POINT OF VIEW นี้ จะให้ความหมายเกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ต่างๆ โดยบอกให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นเมื่อไร และเกิดขึ้นอย่างไร ผู้ชมมีความรู้สึกธรรมดาๆ เหมือนกับการมองเหตุการณ์ออยู่ห่างๆ หรืเป็นเพียงการสังเกตการณ์เท่านั้น

17


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

การนําเสนอภาพในลักษณะนี้ ได้แก่ การถ่ายภาพพื้นฐานทั่วๆ ไป ที่มีจุดมุ่งหมายเพือ่ บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ภาพจากรายการสารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวิตสัตว์ หรือสารคดีที่มีเนื้อหาอื่นๆ โดยกําหนดมุมกล้อง ทิศทางกล้อง และขนาดภาพในลักษณะทั่วๆ ไป 2. SUBJECTIVE POINT OF VIEW SUBJECTIVE POINT OF VIEW เป็นการนําเสนอภาพในลักษณะที่ดังผู้ชม ข้าไปร่วมในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงๆ เช่น ตํารวจกําลังขับมอเตอร์ไซค์ไล่ยิงผู้ร้ายที่กําลังวิ่งเข้าไปในตรอกแคบๆ อย่างสุดชีวิต ซึ่งมีคนซ้อนท้ายเป็นตํารวจคนหนึ่งกําลังจ้องปืนไปยังผู้ร้าย ภาพเหตุการณ์นี้ ผู้ถ่ายทําจะต้องนั่งถ่ายภาพ ในตําแหน่งของตํารวจที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งต้องนั่งซ้อนท้ายคนขับอยู่ในตําแหน่งเดียวกับปืน กล้องจะสร้างภาพแทนสายตาของผู้ชมให้มีความรู้สึกว่าเป็นเสมือนมือปืนที่กําลังติดตามยิงผู้ร้ายเอง

ภาพลักษณะนี้ เป็นการกําหนดภาพในรูปแบบการดึงผู้ชมเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่ตื่นเต้น หวาดเสียว ให้เกิดขึ้นกับผู้ชม นอกจากการนําเสนอภาพโดยใช้รูปแบบของ OBJECTIVE POINT OF VIEW และ SUBJECTIVE POINT OF VIEW แล้ว ยังมีรูปแบบการนําเสนอภาพอีกลักษณะหนึ่งที่กําหนดบทบาทของผู้ชมให้เข้าไปรับรู้เหตุการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ไม่ถึงกับเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์เหมือนรูปแบบของ SUBJECTIVE POINT OF VIEW การนําเสนอภาพในรูปแบบที่ให้ผู้ชมเข้าไปรับรู้อย่างใกล้ชิด เป็นวิธีการที่อยู่ในลักษณะก่ํากึ่งระหว่าง OBJECTIVE POINT OF VIEW และ SUBJECTIVE POINT OF VIEW เป็นการใช้เทคนิคของการวางตําแหน่ง และทิศทางของกล้อง โดยทั่วไปจะใช้กับฉกหรือเหตุการณ์ที่มีผู้แสดงสองคนกําลังสนทนากันอยู่ กล้องจะถ่ายผ่านไหล (OVER SHOULDER SHOT) ของผู้แสดงคนหนึ่งไปยังใบหน้าของอีกคนหนึ่งที่มองมายังทิศทางของคู่สนทนา

18


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

แต่ไม่มองตรงมาที่กล้องซึ่งภาพในลักษณะนี้จะสร้างให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเหมือนกับได้อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ที่ผู้แสดง สองคนสนทนากันอยู่ การนําเสนอภาพลักษณะที่ดึงผู้ชมเข้าไปมีส่วนรับรู้อย่างใกล้ชิดนี้ ส่วนใหญ่จะกําหนดมุมกล้องและทิศทางกล้อง ด้วยการถ่ายผ่านศีรษะหรือผ่านไหลบุคคลหนึ่งไปยังสิ่งที่ต้องการจะถ่าย ซึ่งรูปแบบการถ่ายทําแบบนี้จะใช้กับเหตุการณ์ที่มีบุคคล 2 คน หรือมากกว่าก็ได้ 6. ความต่อเนื่องของภาพ (CONTINUITY) ความหมายของความต่อเนื่อง ความต่อเนื่อง หมายถึง ความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างกลมกลืน ของเหตุการณ์ต่างๆ (EVENTELY) จังหวะ (RHYTHM) ลักษณะภาพ (TYPE OF SHOT) เนื้อหา (CONTENT) และช่วงเวลา (TIME & SPACE) ความต่อเนื่องเป็นภาษาภาพอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อการเชื่อมโยงเนื้อหาหรือเรื่องราวที่นําเสนอให้กลมกลืนต่อการสร้า งการรับรู้เกี่ยวกับช่วงเวลาของเหตุการณ์ต่างๆที่นําเสนอ หากการนําเสนอรายการโทรทัศน์ใดๆ ขาดความต่อเนื่องของเนื้อหา ภาพ ช่วงเวลา หรือ เหตุการณ์แล้ว รายการโทรทัศน์นั้นๆ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์ที่สมบูรณ์ไม่ได้อย่างแน่นอน แบบของความต่อเนื่อง ความต่อเนื่อง เป็นภาษาภาพที่มีรูปแบบในการนําเสนอหลายลักษณะ โดยแบ่งความต่อเนื่องได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ความต่อเนื่องที่เกี่ยวกับภาพ (PICTORIAL CONTINUITY) 2. ความต่อเนื่องที่เกี่ยวกับช่วงเวลา ระยะเวลา (SPATIAL CONTINUITY) 3. ความต่อเนื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (EVENT CONTINUITY) แบบลักษณะของความต่อเนื่อง แบบลักษณะของความต่อเนื่องที่นํามาใช้สร้างความต่อเนื่องทางภาพ มีดังนี้ 1. CUT 2. FADE 3. DISSOLVE 4. WIPE 5. DE FOCUS 6. RE-FOCUS 7. SWISH PAN CUT CUT เป็นภาษาภาพที่นํามาใช้เพื่อการสร้างความต่อเนื่องทางภาพ โดยมีรูปแบบหรือลักษณะเป็นการตัดภาพจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่ง หรือตัดภาพจากขนาดหนึ่งไปยังภาพอีกขนาดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็นการตัดภาพระหว่าง SHOT หรือตัดภาพระหว่างเหตุการณ์ การใช้ CUT นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเชื่อมโยงให้เกิดความต่อเนื่องด้านขนาดภาพ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาและเหตุการณ์เดียวกันในฉากใดฉากหนึ่ง ซึ่งจะทําให้เกิดการสื่อความหมายด้านเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง

19


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

และการสร้างความต่อเนื่องด้วย CUT นี้ แบ่งออกได้หลายลักษณะดังนี้ 1. CUT IN 2. CUT AWAY 3. DYNAMIC CUT 4. CROSS CUT 5. INSERT CUT CUT IN CUT IN ได้แก่ ลักษณะการตัดภาพระหว่าง SHOT หรือตัดภาพระหว่างขนาดภาพที่มีขนาดที่แตกต่างกัน เป็นการตัดภาพที่นําไปสู่รายละเอียดของเหตุการณ์ วัตถุ หรือสิ่งของที่มีความสัมพันธ์ในเนื้อหาซึ่งกันและกัน โดยเป็นการตัดภาพจากภาพรวมไปสู่รายละเอียดที่เป็นย่อย ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนหรือเป็นการเพิ่มรายละเอียดของสิ่งๆนั้น การใช้ CUT IN นี้จะเป็นการช่วยเพิ่มระดับอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เช่น การใช้ CUT IN กับรายการประเภทการสาธิต ที่ต้องการนําเสนอรายละเอียดของวัสดุ สิ่งของบางอย่าง เป็นต้น CUT AWAY CUT AWAY ได้แก่ ลักษณะของการตัดภาพแทรกเหตุการณ์ โดยการตัดภาพจาก SHOT ใด SHOT หนึ่ง เข้ามาแทรกเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่กําลังดําเนินเรื่องอยู่และเป็นเหตุการณ์หลักของเรื่อง ซึ่งภาพที่ตัดมาแทรกเหตุการณ์หลักของเรื่องนั้น แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ภาพที่ตัดมาแทรกนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเนื้อหาของเรื่องนั้นๆ ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักในการใช้ CUT AWAY นั้น เพื่อการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ชม ให้ออกไปจากเรื่องราวของเหตุการณ์หลักซึ่งกําลังดําเนินอยู่ชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นจึงตัดภาพกลับมาที่ฉากหลักเพื่อดึงผู้ชมให้กลับเข้าสู่เหตุการณ์เดิม ซึ่งการใช้ CUT AWAY นี้จะเป็นสร้างเสริมความสัมพันธ์ด้านเนือ้ หาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตัวอย่างการใช้ CUT AWAY ได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมชาติไทยและทีมชาติเกาหลี ณ ราชมังคลาสถาน ซึ่งกล้องได้นําเสนอภาพการแข่งขันภายในสนามฟุตบอลที่ตื่นเต้นเร้าใจ ผลัดกันรุกผลัดกันรับระหว่างทั้งสองทีม และในช่วงหนึ่งศูนย์หน้าทีมไทยพาบอลเลี้ยงเดี่ยวลากผ่านกองหลังของทีมเกาหลีใต้คนแล้วคนเล่า และเข้าไปผจญหน้ากับผู้รักษาประตูของทีมเกาหลีตัวต่อตัว จากนั้นศูนย์หน้าทีมไทยแทงลูกหลบผู้รักษาประตูเกาหลีเข้าไปตุงตาข่ายอย่างสวยงาม ในช่วงนี้ภาพจะตัดจากช่วงที่ลูกฟุตบอลเข้าไปตุงตาข่ายนั้นกลับไปเป็นภาพของผู้ชมชาวไทยที่อยู่บนอัฒจรรย์ที่นั่งซึ่งกําลั งกระโดดโลดเต้นไชโยโห่ร้องด้วยความดีใจ โดยที่ภาพของผู้ชมฟุตบอลที่แสดงปฏิกิริยาดีใจนี้จะถูกตัดให้เห็นเพียงไม่กี่วินาที แล้วภาพจะถูกตัดกลับไปยังเหตุการณ์หลักของการแข่งขันที่สนามฟุตบอลอีกครั้งหนึ่ง เห็นภาพผู้เล่นทีมไทยวิ่งรอบสนามและกระโดดกอดกันด้วยความดีใจ ซึ่งช่วงเวลาของการตัดภาพจากสนามฟุตบอลไปยังผู้ชมที่กําลังดีใจอยู่บนอัฒจรรย์นั้นเรียกว่า CUT AWAY DYANMIC CUT DYANMIC CUT เป็นภาพภาษาภาพพื้นฐานอีกลักษณะหนึ่ง ที่ใช้เพื่อการสร้างความต่อเนื่องทางภาพ ช่วงเวลา ฉาก และเหตุการณ์ และสถานที่ การใช้ DYANMIC CUT นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อการเชื่อมโยงเนื้อหาของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเข้ากับเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งที่มีความเ กี่ยวข้องกันในเนื้อหา การใช้ DYANMIC CUT เพื่อการเชื่อมโยงนี้

20


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

อาจจะใช้เชื่อมโยงได้ทั้งเหตุการณ์ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือเหตุการณ์ที่ต่างช่วงเวลากัน แต่ที่สําคัญที่สุดนั้นเหตุการณ์ต่างๆที่ใช้ DYANMIC CUT เป็นตัวเชื่อมโยงนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กันในเนื้อหาเสมอ นอกจากนี้ DYANMIC CUT อาจจะใช้สื่อความหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการล่วงเลยไปของเวลา เช่นจากเหตุการณ์และช่วงเวลาหนึ่งที่ตัวละครตัวหนึ่งอยู่ในวัยเด็ก แล้วใช้ DYANMIC CUT ตัดภาพเปลี่ยนไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์อีกช่วงเวลาหนึ่งที่เด็กคนนั้นเป็นหนุ่มวัย 20 ปี เป็นต้น รูปแบบการใช้ DYANMIC CUT DYANMIC CUTมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า INVISIBLE CUT แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. การใช้ DYANMIC CUT เชื่อมโยงเหตุการณ์ด้วยภาพ 2. การใช้ DYANMIC CUT เชื่อมโยงเหตุการณ์ด้วยเสียง 3. การใช้ DYANMIC CUT เชื่อมโยงเหตุการณ์ด้วยภาพและเสียง ตัวอย่างการใช้ DYANMIC CUT เพื่อเชื่อมโยงภาพและเสียง ในเหตุการณ์และฉากๆ หนึ่ง ตํารวจยศ รตอ. คนหนึ่งยืนถือปีนเดินไปมาอย่างอารมณ์เสีย ที่ไม่สามารถจับคนร้ายปล้นร้านทองได้ และ รตอ. คนนี้ได้ยกปืนขึ้นเล็งตรงมายังกล้องซึ่งกําลังจับภาพลํากล้องของปืนกระบอกนั้นเป็นภาพขนาดใกล้มากพร้อมกับมีคําพูดข อง รตอ. ผู้นั้นว่า “ถ้าเจอมึงอีกครั้งละก้อ มึงเสร็จกูแน่ไอ้เสือสัก” ขณะนั้นภาพตัดไปรับภาพที่ปืนอีกกระบอกหนึ่งซึ่ง เป็นภาพขนาดใกล้มากซึ่งภาพอยู่ในตําแหน่งและทิศทางกล้องที่จับภาพปืนของ รตอ.คนนั้น พร้อมกับมีคําพูด ของโจรปล้นร้านทองที่ชื่อว่าเสือสักพูดขึ้นมาว่า “ไอ้สารวัตรกู้ถ้ากูเจอมึงอีกละก้อ ไม่มึงก็กูต้องตายกันไปข้างหนึ่ง” พร้อมกับซูมภาพออกให้เห็นอีกฉากหนึ่ง ซึ่งเป็นที่หลบซ่อนของแก๊งโจรปล้นร้านทอง จากการยกตัวอย่างดังกล่าวไปแล้วนั้น จะเห็นว่าในช่วงของการเปลี่ยนภาพกระบอกปืนและคําพูด ของสารวัตรจากฉากซึ่งเป็นสถานีตํารวจแห่งหนึ่งมารับภาพกระบอกปืนในตําแหน่งและขนาดภาพเดียวกัน พร้อมคําพูดของเสือสักหัวหน้าโจรปล้นร้านทองซึ่งอยู่อีกสถานที่หนึ่งนั้น เป็นการใช้ DYANMIC CUT โดยอาจจะเชื่อมโยงเหตุการณ์ด้วยภาพเพียงอย่างเดียว เชื่อมโยงด้วยเสียงอย่างเดียว และหรืออาจจะเชื่อมโยง ด้วยภาพและเสียงทั้งสองอย่างก็ได้ CROSS CUT การใช้ CROSS CUT นี้ มักใช้กับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งกําลังดําเนินเรื่องอยู่ แล้วมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แรกนั้นเข้ามาแทรก ซึ่งเหตุการณ์ที่ตัดเข้ามาแทรกนี้ จะเป็นเพียงเหตุการณ์ประกอบ เหตุการณ์หลักที่กําลังดําเนินเรื่องอยู่ โดยเหตุการณ์ที่แทรกเข้ามานี้จะถูกตัดแทรกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และจะถูกตัดแทรกเป็นช่วงๆ สลับไปมากับเหตุการณ์แรกหรือเหตุการณ์หลักอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเหตุการณ์ทั้งสองนั้น จะต้องเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน มีความเกี่ยวข้องกันแต่ต่างสถานที่กัน ซึ่งลักษณะการนําเสนอเหตุการณ์ ของสองเหตุการณ์หรือมากกว่าสองเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกันดังกล่าวนั้นเรียกว่า CROSS CUT และการใช้ CROSS CUT นั้น ไม่จําเป็นว่าจะต้องใช้ได้เพียงแค่สองเหตุการณ์เท่านั้น อาจจะมีเหตุการณ์อื่นๆ อีกหลายๆ เหตุการณ์เข้ามาแทรกเหตุการณ์หลักนั้นในเวลาเดียวกัน และเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันก็ได้ ตัวอย่างสถานการณ์การใช้ CROSS CUT จากตัวอย่างเหตุการณ์นี้ ภาพจะนําเสนอเหตุการณ์ที่ผู้ร้ายฉุดลูกสาวผู้ใหญ่บ้านขึ้นรถกะบะโฟร์วิลหนี ออกจากหมู่บ้าน บึ่งไปตามถนนสายหนึ่งอย่างเร่งรีบ ซึ่งเหตุการณ์นี้จะถือว่าเป็นเหตุการณ์หลักของเรื่อง จากนั้นภาพจะตัดกลับไปที่บ้านของกํานันซึ่งมีลูกบ้านมาแจ้งความและกําลังจะออกติดตามผู้ร้ายไป

21


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

จากนั้นภาพตัดกลับไปที่สถานีตํารวจทางหลวงแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ริมถนนสายหนึ่ง ซึ่งผู้เห็นเหตุการณ์มาแจ้งว่า มีคนร้ายฉุดผู้หญิงคนหนึ่งเข้าป่าไป โดยทิ้งรถไว้ข้างทาง เมื่อตํารวจได้รับแจ้งก็รีบขึ้นรถพร้อมกําลังตํารวจ ไปยังจุดที่มีผู้มาแจ้งความทันที ภาพตัดกลับไปที่ผู้ร้ายที่กําลังฉุดลากลูกสาวผู้ใหญ่บ้านเข้าไปในป่า โดยลูกสาวผู้ใหญ่บ้านพยายามดิ้นรนขัดขืนตลอดเวลา ภาพตัดกลับไปที่กํานันพาลูกบ้านมาพบรถจิ๊บ ของผู้ร้ายข้างทางและพาลูกบ้านลุยป่าเข้าไป ภาพตัดกลับไปที่ตํารวจมาถึงจุที่ผู้ร้ายทิ้งรถไว้ และพากําลังเจ้าหน้าที่ บุกเข้าไปในป่า ภาพตัดกลับมาที่ผู้ร้ายพาลูกสาวผู้ใหญ่บ้านเข้าถึงกระท่อมกลางป่าหลังหนึ่ง แล้วจับลูกสาวผู้ใหญ่บ้าน มัดไว้ในกระท่อมและกําลังจะทําอนาจาร ภาพตัดกลับมายังกํานันและลูกบ้านและตํารวจมาถึงบริเวณ กระท่อมหลังนั้นและล้อมไว้ พร้อมกับประกาศให้ผู้ร้ายปล่อยตัวลูกสาวผู้ใหญ่บ้านและออกมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่เสีย จากสถานการณ์สมมติซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้ CROSS CUT ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่าภาพจะตัดกลับไปมา ระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตื่นเต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันและเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีเหตุการณ์หลักซึ่งเป็น THEME หลักของเรื่อง แล้วมีสถานการณ์อื่นๆ เข้ามาประกอบ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ ให้เกิดขึ้นกับเนื้อหา โดยใช้ CROSS CUT เป็นตัวเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน FADE FADE เรียกในภาษาไทยได้หลายชือ่ เช่น การเลื่อนภาพ การจางภาพ ซึ่งเป็นภาษาภาพพื้นฐานอีกลักษณะหนึ่ง ที่มีความสําคัญต่อการสร้างความต่อเนื่องทางภาพ ความต่อเนื่องของช่วงเวลา และความต่อเนื่องของเหตุการณ์ จุดมุ่งหมายในการใช้ FADE เพื่อสร้างความต่อเนื่อง การใช้ FADE เพื่อสร้างความต่อเนื่องของรายการโทรทัศน์นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความต่อเนื่องทางภาพ ความต่อเนื่องของช่วงเวลา และความต่อเนื่องของเหตุการณ์ดังนี้ 1. ใช้ FADE เพื่อการเปิดเรื่อง การบอกจุดเริ่มต้น การเริ่มต้นเหตุการณ์ การเริ่มช่วงเหตุการณ์ของแต่ละฉาก 2. ใช้ FADE เพื่อบอกการเปลี่ยนไปของเหตุการณ์ การจบช่วงของฉาก การปิดเรื่อง การจบเรื่อง การเปลี่ยนไปของช่วงเวลา การสิ้นสุดเหตุการณ์ 3. ใช้ FADEเพื่อบอกการเปลี่ยนแปลงสถานที่ 4. ใช้ FADE เพื่อการเชื่อมโยงช่วงเวลาหนึ่งสู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง 5. ใช้ FADE เพื่อการเชือ่ มโยงเวลา เหตุการณ์ และสถานที่เข้าด้วยกัน 6. ใช้ FADE เพื่อสร้างความต่อเนื่องด้านภาพและเนื้อหา แบบลักษณ์ของการใช้ FADE เพื่อการสื่อความหมาย FADE หรือการจางภาพ มีรูปแบบในการใช้ 2 รูปแบบ คือ FADE IN และ FADE OUT FADE IN FADE IN หมายถึง การจางภาพเข้า เป็นรูปแบบที่ใช้กับการสื่อความหมายที่ต้องการจะบอกให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่า เรื่องกําลังเกิดขึ้น หรือ เรื่องกําลังเริ่มต้นขึ้น (INTRODUCTORY) หรือใช้ในกรณีที่ต้องการเปิดฉากใหม่ สถานที่แห่งใหม่ในช่วงใดช่วงหนึ่ง และนอกจากนี้ FADE IN ยังใช้ในความหมายที่เป็นนามธรรมต่างๆ เช่น การใช้ FADE IN เพื่อแสดงความหมายว่ามีการเกิดขึ้น การอุบัติขึ้น การกําเนิดขึ้น การปรากฏขึ้น เป็นต้น

22


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

FADE OUT FADE OUT หมายถึง การจางภาพออก เป็นรูปแบบที่ใช้กับการสื่อความหมายในลักษณะตรงข้างกับ FADE IN คือใช้ FADE OUT เพื่อต้องการที่จะบอกให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่า เรื่องนั้นๆ หรือเหตุการณ์นั้นๆ จบลงแล้ว เรื่องนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ สิ้นสุดลงแล้ว มีความถึง การจบสิ้น การจบฉาก การจบเรื่อง การจบรายการ เป็นต้น และอาจใช้กับความหมายที่เป็นนามธรรม เช่น หมายถึงการสูญสิ้น การดับสูญ การยุติการอวสาน เป็นต้น DISSOLVE DISSOLVE หรือเรียกว่า การจางภาพซ้อน ซึ่งในทางเทคนิคนั้น DISSOLVE เป็นลักษณะของภาพที่เกิดขึ้นจากการสร้างภาพแบบ FADE IN และ FADE OUT ซ้อนกันในช่วงเวลาสั้นๆ และภาพที่ซ้อนกันในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์นั้นเรียกว่า การ DISSOLVE การใช้ DISSOLVE เพื่อการสื่อความหมาย DISSOLVE หมายถึง การจางซ้อน ใช้สื่อความหมายเมื่อต้องการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปของช่วงเวลา เหตุการณ์และสถานที่เป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างความต่อเนื่องและการเปลี่ยนไปของช่วงเวลานั้น การใช้ DISSOLVE จะช่วยให้การสื่อความหมายและการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายเป็นไปอย่างถูกต้องมากกว่าการใช้ความต่อเนื่องรูปแบบอื่นๆ นอกจากจะใช้ DISSOLVE เพื่อสร้างความต่อเนื่องและเชื่อมโยงเหตุการณ์ รวมทั้งสร้างการสื่อความหมาย เกี่ยวกับการเปลี่ยนไปของช่วงเวลาแล้ว DISSOLVE ยังนํามาใช้กับการสื่อความหมายในกรณีที่ จะสร้างการรับรู้ เกี่ยวกับความนุ่มนวล ความกลมกลืนระหว่างการเปลี่ยนขนาดภาพ และการเปลี่ยน SHOT อีกด้วย สรุปจุดมุ่งหมายในการใช้ DISSOLVE เพื่อการสื่อความหมาย 1. ใช้ DISSOLVE เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงไปของช่วงเวลาในเหตุการณ์ 2. ใช้ DISSOLVE เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ 3. ใช้ DISSOLVE เพื่อแสดงความเปลี่ยนไปของสถานที่ 4. ใช้ DISSOLVE เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างการเปลี่ยน SHOT ต่างๆ 5. ใช้ DISSOLVE เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับสิ่งๆ หนึ่งกลายไปเป็นอีกสิ่งหนึ่ง WIPE WIPE เป็นภาษาภาพพื้นฐานอีกลักษณะหนึ่งที่นํามาใช้สร้างความต่อเนื่องทางภาพซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การผลิตรายการโทรทัศน์มี ความสมบูรณ์ด้านการสื่อความหมายมากขึ้น WIPE เป็นรูปแบบของการกวาดภาพ ซึ่งมีรูปแบบ (PATTERN) ที่นํามาใช้ในการกวาดภาพมากมายหลายร้อยหลายพันรูปแบบ และรูปแบบของการกวาดภาพจะมีมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบของบริษัทผู้ผลิตเครื่องสร้างผลพิเศษทางภาพเป็นหลัก นอกจากนี้ความแตกต่างของรูปแบบ และจํานวนแบบของการกวาดภาพยังขึ้นอยู่กับระดับของการใช้งานว่าเป็นเครื่องสร้างผลพิเศษทางภาพที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กั บงานระดับสมัครเล่น ระดับกึ่งอาชีพ ระดับอาชีพ หรือระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น แนวคิดในการใช้ WIPE เพื่อการสื่อความหมาย WIPE เป็นรูปแบบการกวาดภาพที่นํามาใช้สื่อความหมายในลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. ใช้ WIPE เพื่อการเปลี่ยนฉากสู่ฉาก 2. ใช้ WIPE เพื่อการเปลี่ยน SHOT สู่ SHOT 3. ใช้ WIPE เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสถานที่หนึ่งไปเป็นอีกสถานที่หนึ่ง

23


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

4. ใช้ WIPE เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์หนึ่งไปสูอ่ ีกเหตุการณ์หนึ่ง 5. ใช้ WIPE เพื่อการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับช่วงเวลา 6. ใช้ WIPE เพือ่ แสดงการเปรียบเทียบเกี่ยวกับเหตุการณ์ เนื้อหา และอื่นๆ DE - FOCUS DE – FOCUS เป็นภาษาภาพอีกลักษณะหนึ่ง ที่นํามาใช้เพื่อการสร้างความต่อเนื่องทางภาพ โดายนํามาสร้างการรับรู้และการสื่อความหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนไปของช่วงเวลา เหตุการณ์ และสถานที่ นอกจากนี้ DE – FOCUS ยังนํามาใช้สื่อความหมายในลักษณะของความฝัน ความมึนงง ความไม่รู้สึกตัว การขาดสติ ความสับสน หรือ การระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ลักษณะของภาพที่เกิดจากการใช้ DE – FOCUS DE – FOCUS เป็นแบบลักษณ์หนึ่งของผลพิเศษทางภาพ ที่นํามาสร้างความต่อเนื่องทางภาพ ซึ่งภาพที่เกิดจากการใช้ DE – FOCUS จะเริ่มจากภาพ SHOT ใด SHOT หนึ่ง หรือภาพขนาดใดขนาดหนึ่ง ทีมีความชัดเจน แล้วภาพนั้นจะค่อยๆ เลือนไปสู่ความพร่ามัว (BLUR) จนภาพนั้นขาดความชัดเจนในที่สุด แนวคิดในการใช้ DE – FOCUS เพื่อการสื่อความหมาย 1. ใช้ DE – FOCUS เพื่อการสร้างความต่อเนื่องเกี่ยวกับเวลา 2. ใช้ DE – FOCUS เพื่อการสร้างความต่อเนื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์และสถานที่ 3. ใช้ DE – FOCUS เพื่อการเชื่อมโยงเกี่ยวกับเหตุการณ์และสถานที่ 4. ใช้ DE – FOCUS เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการย้อนระลึกถึงอดีต 5. ใช้ DE – FOCUS เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับความรู้สึกที่สับสนงุนงง ขาดสติ 6. ใช้ DE – FOCUS เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการระลึกถึงเหตุการณ์ที่ยงั ไม่เกิดขึ้น 7. ใช้ DE – FOCUS เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการสร้างภาพแทนการจินตนาการ 8. ใช้ DE – FOCUS เพื่อการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับช่วงเวลา 9. ใช้ DE – FOCUS เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับ การจิตนาการ ควาฝัน การนึกคิด 10. ใช้ DE – FOCUS เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับจิตใต้สํานึกที่ปราศจากการควบคุม RE – FOCUS RE – FOCUS เป็นภาษาภาพที่นํามาใช้สร้างความต่อเนื่องทางภาพ มีจุดประสงค์ในการใช้เพื่อการสื่อความหมายในลักษณะที่ตรงข้ามกับการใช้ RE – FOCUS ซึ่งลักษณะของภาพที่เกิดจากการใช้ RE – FOCUS นั้น จะเป็นภาพที่เริ่มชัดเจนแล้วค่อยๆ เบลอร์หรือพร่ามัวไปในที่สุด แต่ลักษณะของภาพที่เกิดจากการใช้ RE – FOCUS นั้นจะมีลักษณะของภาพที่เริ่มจากพร่ามัว แล้วภาพนั้นค่อยๆกลับมาชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งลักษณะของภาพที่เริ่มจากพร่ามัวแล้วชัดเจนนั้นเรียกว่า “IN FOCUS” ส่วนภาพที่เริ่มจากชัดเจนแล้วค่อยๆ เบลอร์หรือพร่ามัวแล้วชัดเจนนั้น เรียกว่า “OUT OF FOCUS” และทั้ง DE – FOCUS และ RE – FOCUS นั้นเป็นผลมาจากการปรับวงแหวนระยะชัด (FOCUS RING) ของเลนส์กล้องโทรทัศน์นั่นเอง แนวคิดในการใช้ RE – FOCUS เพื่อการสื่อความหมาย RE – FOCUS นํามาใช้กับแนวคิดเพื่อการสื่อความหมายหลายลักษณะ ดังนี้ 1. เพื่อการสร้างความต่อเนื่องของช่วงเวลา เหตุการณ์ และสถานที่ 2. เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนไปของช่วงเวลา

24


ภาษาของสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ |

3. เพื่อการเชื่อมโยงระหว่าง SHOT ต่อ SHOT และฉากต่อฉาก 4. เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการระลึกได้ การหวนระลึกมาสู่จิตสํานึกเดิมที่เป็นปกติ 5. เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการรู้สึกตัว การคืนสติ การตื่นจากภวังค์ ตื่นจากฝัน 6. เพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับการกลับจากช่วงเวลาในอดีตเวลาในปัจจุบัน 7. เพื่อสื่อความหมายเกีย่ วกับการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่ไม่ดีสู่สิ่งที่ดี

บรรณานุกรม ศุภางค์ นันตา. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยที่ 1-5. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จํากัด. อรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2544). หลักการเขียนบทโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Zettl, H. (1976). Television Production Handbook. 3rd. Edition. Wadsworth Publishing Company. Inc. Belmont, California.

25


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.