Ca351 week04 film genre

Page 1

นศ 351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

ประเภทของภาพยนตร์ • • •

ภาพยนตร์คืออะไร สไตล์ภาพยนตร์ การจําแนกประเภทของภาพยนตร์


ประเภทของภาพยนตร์ |

2

ภาพยนตร์เป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่งที่สร้างความบันเทิงและให้แง่คิดประเด็นใดประเด็นหนึ่งกับผู้ชมด้วยวิธีการเล่าเรื่องที่ ผู้ผลิตต้องการถ่ายทอดและสื่อสารความหมาย ซึ่งภาพยนตร์นี้จัดเป็นศิลปะการเล่าเรื่องร่วมสมัยที่มีความโดดเด่นเช่นเดียวกับ การละครและวรรณกรรม เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงออก ความคิดเห็น ความฝัน และจินตนาการที่สามารถก้าวข้าม กำแพงแห่งเชื้อชาติ วัฒนธรรม และภาษา ของมนุษย์อย่างที่ไม่เคยมีสื่อใดทำได้ ขณะเดียวกันก็สร้างทั้งความบันเทิง และความตื่นเต้นแก่มวลชนอย่างแพร่หลาย เฉกเช่นศิลปะแขนงอื่นๆ (รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, 2558) ภาพยนตร์คืออะไร ก่อนที่จะศึกษาศาสตร์ทางด้านภาพยนตร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจลักษณะหรือธรรมชาติของภาพยนตร์ก่อนว่า ภาพยนตร์คืออะไร นักวิชาการด้านภาพยนตร์พยายามอธิบายความหมายของภาพยนตร์ให้เห็นตามแนวทาง (approach) การศึกษาภาพยนตร์ สรุปได้อย่างน้อย 4 ด้าน คือ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ศิลปะ และปฏิบัติการสังคมและวัฒนธรรม ด้านแรก : เทคโนโลยี จะมองภาพยนตร์เป็นเสมือนกับประดิษฐกรรมชิ้นใหม่ของโลกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อบันทึก และฉายภาพที่เคลื่อนไหว จนตั้งชื่อว่า “ภาพยนตร์” หรือภาพที่เคลื่อนไหว ตรงกับภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า Cinematography ซึ่งรากศัพท์มาจากคำว่า Kinma รวมกับคำว่า graphy หมายถึง เคลื่อนไหวและการเขียนตามลำดับ ในยุคแรก การบันทึกภาพที่เคลื่อนไหวและนำออกมาฉายนั้นมักจะเป็นภาพยนตร์ขนาดสั้น มีเนื้อหาทีเ่ รียบง่าย เน้นความสมจริง แรงไร้ซึ่งเสียง เช่น ภาพรถไฟแล่นเข้ามาสู่สถานี ภาพคนกำลังจาม ภาพยนตร์ยุคแรกไม่ค่อยมีเทคโนโลยีมากนัก แต่ต่อมาด้วยพัฒนาการของกล้องและเทคโนโลยีก็ทำให้ภาพยนตร์เริ่มใช้ภาษาหนัง/ภาษาภาพยนตร์ เริ่มมีเรื่องราว มีสี มีเสียง และกลายเป็นภาพยนตร์ดังที่ได้รับชมในปัจจุบัน ด้านที่สอง : อุตสาหกรรม เป็นการพิจารณาภาพยนตร์ถึงมิติด้านกำไรที่ได้รับ เมื่อย้อนกลับไปในยุคแรกของการถือกำเนิดภาพยนตร์ พบว่า ภาพยนตร์ถือกำเนิดในช่วงของสังคมอุตสาหกรรมที่ประชาชนเข้ามาทำงานในเมือง ภาพยนตร์จึงกลายเป็นสื่อบันเทิงทีช่ ่วย ผ่อนคลายความตึงเครียดและให้หลุดพ้นจากโลกความจริงหรือที่เรียกว่า escapism นอกจากนี้ยังได้รับอานิสงส์คือผลกำไร จากการเข้าชมด้วย ต่อมาไม่นานนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ทำรายได้อย่างสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศจวบจนปัจจุบัน ด้านที่สาม : ศิลปะ ในขณะที่ยุคแรกของการถือกำเนิดภาพยนตร์ ภาพยนตร์ถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ยังไม่เป็นศิลปะ เนื่องจากใช้กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวเท่านั้น ไม่มีศิลปะของการถ่ายทำแต่อย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน ผู้ผลิตภาพยนตร์และนักวิชาการสาขาภาพยนตร์ก็พยายามต่อสู้เพื่อยกระดับให้ภาพยนตร์เป็นศิลปะ และข้อสำคัญที่ค้นพบก็คือ การพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า Soviet montage ในทศวรรษที่ 1910 ซึ่งให้ความสนใจการตัดต่อภาพ ที่กระจัดกระจายจากพื้นที่และเวลาต่างๆ แต่กลับมารวมกันให้มีความหมายและกลายเป็นเรื่องราวได้ หลังจากนั้น ผู้ผลิตภาพยนตร์ก็ยังพัฒนาภาษาหนังเพิ่มเติม เช่น การใช้ภาพ มุมกล้อง การเคลื่อนไหวของกล้อง แสง สี การจัดองค์ประกอบของภาพ (mise-en-scene) จนทำให้ภาพยนตร์มีศิลปะด้วยตัวของมันเองดังงานเขียนเรื่อง The Art of the Moving Picture ของ Vachel Lindsay(1915) (Tuner, 1999:35) และต่อมาก็ยกย่องผู้กำกับในฐานะศิลปินผู้สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ในช่วงทศวรรษที่ 1960


ประเภทของภาพยนตร์ |

3

ด้านที่สี่ : ปฏิบัติการสังคมและวัฒนธรรม ความหมายนี้ให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ของภาพยนตร์กับสังคมใน 2 ด้าน ด้านแรก ภาพยนตร์ในฐานะ ภาพสะท้อนสังคม (Reflectionism) ซึ่งหมายถึง ภาพยนตร์จะเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนความเป็นไปในสังคม ในทางกลับกัน ด้านที่สอง ภาพยนตร์คือการประกอบสร้างความเป็นจริง (Constructionism) จะมองในมุมต่างไปตามสำนักมาร์กซิสต์ และวัฒนธรรมศึกษา ซึ่งมองว่าแม้จะไม่มีความจริง แต่ภาพยนตร์ก็สามารถประกอบสร้างความหมายใหม่ขึ้นได้ตามแต่ว่า ใครจะเป็นผู้กำหนด เช่น ภาพยนตร์จะสร้างภาพของประเทศเพื่อนบ้าน ผู้หญิง-ผู้ชาย-เพศที่สาม ให้กับผู้ชม แนวทางดังกล่าวมองว่าผู้ชมจะถูกครอบงำความหมายจากภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว และหากเป็นสำนักวัฒนธรรมศึกษา ก็จะขยายความต่อว่า แม่้จะถูกครอบงำความหมายก็ตาม แต่ผู้ชมก็สามารถตีความหมายได้ตามประสบการณ์ของตน ซึ่งถือได้ว่า เป็นวิธีคิดชุดล่าสุดในการวิเคราะห์ภาพยนตร์ สไตล์ภาพยนตร์ การแบ่งสไตล์ภาพยนตร์ (Film Style) นั้นมีความแตกต่างกันหลายแห่ง ซึ่งการแบ่งกลุ่มในที่นี้จะในแนวความคิดของ หลุยส์ จิอันเน็ตตี (Louis Giannetti) ศาสตราจารย์ทางภาพยนตร์ชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยคลีฟแลนด์ ใช้วิธีการเรียกว่า “Style of Film” แบบกว้างๆ เพื่อความเข้าใจการแบ่งประเภทของภาพยนตร์ให้ง่ายขึ้น ภาพยนตร์พัฒนามาจากแนวคิดที่สำคัญสองขั้วคือ แนวคิดความเหมือนจริง (Realistic) หรือ สัจนิยม (Realism) และแนวคิดสร้างสรรค์เหนือจินตนาการ (Formalistic) หรือ รูปแบบนิยม (Formalism) กล่าวคือ แนวคิดความเหมือนจริง (Realistic) คือการบันทึกเหตุการณ์และการกระทำที่เกิดขึ้นจริงสู่ภาพยนตร์ โดยปราศจากการสกัดตัดทอนแต่งเติมใดๆ หรือมีการปรุงแต่ง น้อยที่สุด เกิดขึ้นในยุคแรกของการผลิตภาพยนตร์ ได้แก่ภาพยนตร์ของสองพี่น้องตระกูลลูมิแยร์ (Lumiere Brothers) เป็นภาพยนตร์สั้นๆ ถ่ายด้วยฟิล์ม 35 มม. มีความยาวประมาณ 17 เมตร หรือมีความยาวประมาณ 45-50 วินาที เช่นเรื่อง Le repas de bebe (Baby’s Meal, 1895) เป็นเรื่องของหลุยส์ ลูมิแยร์ (Louis Lumiere) กำลังป้อนอาหารให้ลูก เรื่อง La sortie de I’ usine Lumiere a Lyon (Workers Leaving the Lumiere Factory in Lyon, 1895) เป็นเรื่องของคนงานกำลังเดินออกจากโรงงานในเมืองลีออง เรื่อง L’arrivee d’ un train en gare de La Ciotat (The Arrival of a Train at la Ciotat, 1895) เป็นเรื่องของรถไฟกำลังแล่นเข้าสถานีซิโอตาท์ เป็นต้น ภาพยนตร์สั้นๆ เหล่านี้ ถ่ายทำในสถานที่จริงและเหตุการณ์จริง ซึ่งตามความคิดของ Louis Gianetti เรียกภาพยนตร์รูปแบบนี้ว่า สไตล์เรียลิซึม (Style of Realism) (Louis Gianetti, 1990)

ภาพยนตร์เรื่อง Le repas de bebe (Baby’s Meal, 1895) เป็นเรื่องของหลุยส์ ลูมิแยร์ (Louis Lumiere) กำลังป้อนอาหารให้ลูก


ประเภทของภาพยนตร์ |

4

ส่วนแนวคิดสร้างสรรค์จินตนาการ (Formalistic) เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ต่อเนื่องถัดจากพีน่ ้องตระกูลลูมิแยร์ฉาย ภาพยนตร์ครั้งแรกโดย จอร์จส์ เมลิเอส์ (Georges Melies) ได้สร้างภาพยนตร์แนวแฟนตาซีเป็นเรื่องราวที่เกิดจาก จินตนาการมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Le chateau hante (The Haunted Castle, 1896) เป็นเรื่องการผจญภัยของอัศวินในปราสาทที่เต็มไปด้วยความลึกลับ มีความยาวประมาณ 3 นาที หรือเรื่อง Le voyage dans la lune (A Trip to the Moon, 1902) เป็นเรื่องราวของการเดินทางไปยังดวงจันทร์ของกลุ่มนักดาราศาสตร์ มีความยาวประมาณ 9 นาที ภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีการสร้างฉากยิ่งใหญ่ตระการตา ผสมผสานความตลกจากการแสดงและการใช้เทคนิคต่างๆ ในภาพยนตร์ ตามความคิดของ Louis Gianetti เรียกภาพยนตร์รูปแบบนี้ว่า สไตล์ฟอร์มัลอิซึม (Style of Formalism) ซึ่งในความหมายในงานศิลปะคือการยึดถือวิธีการข้อกำหนดแบบดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด แต่สำหรับนักวิจารณ์ศิลปะ ในสหภาพโซเวียตใช้คำนี้เพื่อจำแนกศิลปะที่ต่างไปจากการถ่ายทอดเรื่องราวแบบเดิมๆ จึงทำให้ขัดแย้งกับแนวทางของ “Social Realism” (สัจนิยมเชิงสังคม) ดังนั้นภาพยนตร์ตามแนวคิดของ “Formalism” ของสหภาพโซเวียตจึงเน้นที่เทคนิคและรูปแบบ เป็นจุดหมายของการสร้างสรรค์งานศิลปะมากกว่าเนื้อหา (Content) และเมื่อมาใช้ในภาษาไทย จึงใช้คำว่า “รูปแบบนิยม”

ภาพยนตร์เรื่อง Le voyage dans la lune (A Trip to the Moon, 1902) เป็นเรื่องราวของการเดินทางไปยังดวงจันทร์ของกลุ่มนักดาราศาสตร์ การสร้างภาพยนตร์ทั้งแนวคิดความเหมือนจริง (Realistic) และแนวคิดสร้างสรรค์เหนือจินตนาการ (Formalistic) ต้องใช้วัตถุดิบจากโลกแห่งความจริงภายนอกนำมาถ่ายทอดผ่านกรอบของภาพยนตร์ โดยแนวคิดความเหมือนจริงต้องการ ถ่ายทอดสิ่งของ หรือเรื่องราวเหตุการณ์ทางกายภาพที่มองเห็นจากกรอบภาพ โดยไม่ต้องการเข้าไปจัดระเบียบใหม่ มีการสร้างสรรค์แต่งเติมน้อยที่สุดเป็นกระจกสะท้อนโลกแห่งความเป็นจริง ขณะที่แนวคิดสร้างสรรค์จินตนาการพยายาม เข้าไปปรุงแต่งภายในกรอบภาพ โดยเจตนาปรับเปลี่ยนสิ่งที่มองเห็นวัตถุดิบทางธรรมชาติจากโลกบริสุทธิ์ภายนอก ให้เกิด มุมมองใหม่ๆ หรือวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ยังไม่สมบูรณ์ต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ เข้าไปจัดการทดแทน ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่แต่ละคน เข้าไปทำอะไรกับวัตถุดิบเหล่านั้นและเลือกหยิบวัตถุดิบมาตบแต่งอย่างไร สิ่งเหล่านี้จึงเป็นตัวกำหนดสไตล์ของแต่ละคน ที่แตกต่างกัน ดังนั้นสไตล์จึงขึ้นอยู่กับแต่ละคนเข้าไปสร้างสรรค์วัตถุดิบธรรมชาติภายในกรอบมากน้อยเพียงไร หากไม่เข้าไป สร้างสรรค์ปรุงแต่ง หรือเกือบไม่ได้ปรุงแต่งใดๆ เลย ก็จะกลายเป็นสไตล์เรียลิซึมหรือกลุ่มประเภทภาพยนตร์สารคดี (Documentary Film) ที่เน้นความเป็นจริง แต่ถ้าหากเข้าไปสร้างสรรค์จินตนาการมากจนถึงขั้นเป็นนามธรรม (Abstract) ไร้รูปทรงที่ชัดเจนเป็นเพียงแสงและเสียง ก็จะกลายเป็นสไตล์ฟอร์มัลิซึมที่สมบูรณ์ ได้แก่ ภาพยนตร์ประเภทอาวองการ์ด (Avantgarde Film) เรียกว่า สไตล์คลาสสิซิซึม (Classicism Style) ได้แก่ ภาพยนตร์ประเภทบันเทิง (Dramatic Feature Film หรือ Feature Film) จึงเป็นที่มาของการใช้คำว่าสไตล์สร้างสรรค์จินตนาการ (Formalism Style) และสไตล์เหมือนจริง (Realism Style) ในที่นี้ เพื่อความสอดคล้องและความเข้าใจง่ายต่อภาพยนตร์ในเบื้องต้น


ประเภทของภาพยนตร์ |

5

ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ พี่น้องตระกูลลูมิแยร์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นตำรับของผู้สร้างภาพยนตร์สไตล์ เหมือนจริง (Realism Style) ส่วนจอร์จส์ เมลิเอส์ เป็นผู้สร้างภาพยนตร์สไตล์สร้างสรรค์จินตนาการ (Formalism Style) และเพื่อการจัดแบ่งประเภทของภาพยนตร์ให้ง่ายขึ้น นักวิชาการและนักวิจารณ์ภาพยนตร์จึงนำคำ เรียลิซึม (Realism) และ ฟอร์มัลิซึม (Formalism) มาใช้เรียกในการจัดประเภทของภาพยนตร์ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างๆ ไม่ตายตัว ปัจจุบันการสร้างภาพยนตร์ได้พัฒนาไปมากเช่นรูปแบบการสร้างสรรค์จินตนาการ มีลีลาการออกแบบที่สวยงาม มีการปรุงแต่งแสดงความคิดตนเองและมีความเป็นส่วนตัวสูง จนกระทั่งก้าวข้ามไปสู่รูปแบบของความคิดที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Abstract) เช่น ภาพยนตร์บางเรื่องในยุคแรกๆ เรื่อง Lichtspiel Opus(1921) ของ Walter Ruttmenn เรื่อง Eye of Sound(1961) และ Allures(1961) ของ Jordan Belson อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสร้างภาพยนตร์ที่มีสไตล์ความเหมือนจริง และสร้างสรรค์จินตนาการแบบสุดขั้วมีไม่มากนัก แต่ก็สามารถทำให้การจัดประเภทภาพยนตร์ชัดเจนขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ภาพยนตร์สารคดี (Documentary Film) ภาพยนตร์สารคดี พัฒนามาจากแนวคิดความเหมือนจริง (Realistic) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Documentary Film” หรือ “Non-fiction Film” เป็นภาพยนตร์กลุม่ หนึ่งที่เน้นข้อมูลในการเล่าเรื่อง เหตุการณ์ที่เป็นความจริง ที่ผู้ชมตั้งใจชมข้อเท็จจริง ไม่ใช่เหตุการณ์ที่แต่งขึ้นหรือเกิดจากจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์ เป็นแนวสัจนิยม (Realism) โดยปกติแล้วเป็นการสร้างภาพยนตร์ที่เน้นว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือเป็นการสร้างเหตุการณ์ด้วยการตัดต่อ ให้ผู้ชมได้รับชมในรูปแบบการนำเสนอที่มีความหลากหลาย ส่วนเป้าหมายในการนำเสนอนั้นมีกเน้นการเจาะลึก ให้ความรู้ ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ หรืออาจเป็นการชี้ให้เห็นสภาวะของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่ให้ความรู้หรือเพื่อให้สังคมถกเถียงกันมากกว่าการให้ความบันเทิงแต่เพียงอย่างเดียว เช่น เรื่อง The Act of Killing (2012) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสังหารกันในประเทศอินโดนีเซียในปี 1965-1966

ภาพยนตร์เรื่อง The Act of Killing (2012)


ประเภทของภาพยนตร์ |

6

อย่างไรก็ตาม การนำเสนอภาพยนตร์สารคดีในปัจจุบันมีการผสมผสานรูปแบบที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ใช้ดาราเป็นผู้เล่าเรื่อง (Narrator) การถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบ การจัดแสงให้สวยงาม หรือใช้กราฟิกเพื่อผ่อนคลายให้ผู้ชมไม่เคร่งเครียดจนเกินไป ภาพยนตร์สารคดีโดยทั่วไปมีลักษณะดังต่อไปนี้ • การนำเสนอความจริง ภาพยนตร์สารคดีส่วนใหญ่ไม่สามารถนำเสนอความจริงได้อย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่มีการ ปรุงแต่ง เป็นเรื่องยากเพราะการถ่ายทำที่ใช้ขนาดภาพ ระดับความสูงของกล้อง มุมมอง การตัดต่อภาพ การเลือกบรรยายให้น้ำหนักของเนื้อหาด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ล้วนเป็น การปรุงแต่งทั้งนั้น จึงขึ้นอยู่กับผู้นำเสนอว่าจะให้น้ำหนักของสไตล์เรียลิซึมมากน้อยเพียงใด • การใช้การแสดง โดยหลักการของภาพยนตร์สารคดีมักหลีกเลี่ยงการใช้การแสดง เแต่ในบางครั้งอาจมี ความจำเป็นต้องใช้การแสดง เนื่องจากเทคนิคทางภาพยนตร์ที่บางช่วงบางตอนต้องการภาพ ขนาดใกล้จึงต้องมีการใช้การแสดงซ้ำ หรือในบางสถานทีท่ ี่มีข้อจำกัดในการถ่ายทำที่ไม่สะดวก อาจมีการต่อเติมฉากหรือสร้างบางสิ่งบางอย่างให้เอื้อกับการถ่ายทำ แต่ไม่ทำให้โครงสร้างของ ความเป็นจริงสูญเสียไป • การใช้ข้อมูลเสริม สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการนำเสนอภาพยนตร์สารคดี คือ ข้อมูลเสริมเนื้อหา เช่น เอกสาร ภาพถ่าย วัตถุ บุคคลอ้างอิง คำสัมภาษณ์ ซึ่งอาจใช้ภาพยนตร์ข่าว หรือโฮมวิดีโอประกอบไปกับ ภาพยนตร์ที่สามารถชักจูงผู้ชมให้คล้อยตามและเกิดความน่าเชื่อถือได้ • การใช้เทคนิคภาพยนตร์ ภาพยนตร์สารคดีแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่มักถ่ายจากเหตุการณ์จริงที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ให้กับผู้ชม มีการวางแผนการถ่ายทำล่วงหน้าในสถานที่ถ่ายทำเพื่อนำเสนอหรือสำรวจเหตุการณ์ ที่ไม่ได้แต่งเติมหรือพยายามยัดเยียดสิ่งใดหรือประเด็นใดกับผู้ชมแบบตรงไปตรงมา เรียกว่า “ภาพยนตร์บริสุทธิ”์ (Direct Cinema) โดยปล่อยให้เหตุการณ์เล่าเรื่องของมันเองและใช้การถ่ายแบบ “ปล่อยยาว” (Long Take) เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์เหมือนนำผู้ชมไปเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามความไม่สมบูรณ์ของภาพและเสียง เช่น การถือกล้องถ่ายทำให้กล้องไม่นิ่ง ภาพไม่คมชัด เสียงอาจฟังดูไม่ชัดเจนในบางช่วง บางครั้งอาจมืดหรือสว่างไป ความไม่สมบูรณ์เหล่านี้ อาจเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งในการนำเสนอของภาพยนตร์สารคดี เพราะไม่ใช่เรื่องของการ “จัดฉาก” แต่ได้ความรู้สึกของความ “สด” ขณะเดียวกันการถ่ายทำภาพยนตร์แบบตามจริง (Cinema Verite) ที่พัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส มีการใช้อุปกรณ์และการถ่ายทำที่คล้ายคลึงกันแต่มีการถามคำถาม ในระหว่างการถ่ายทำกับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ด้วย 2. ภาพยนตร์อาวองการ์ด (Avant-garde Film) ภาพยนตร์อาวองการ์ดคือภาพยนตร์ศิลปะ (Art Film) ที่พัฒนามาจากภาพยนตร์สไตล์สร้างสรรค์จินตนาการ (Formalistic) นักวิชาการด้านภาพยนตร์ David Bordwell กล่าวว่า “ภาพยนตร์ศิลปะ เป็นประเภทหนึ่งของภาพยนตร์ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปจากรูปแบบเดิม (Conventions) ภาพยนตร์ศิลปะ ส่วนมากเป็นภาพยนตร์แนวอิสระ (Independently Made Film) หรือ กลุ่มภาพยนตร์แนว “Avant-garde” หรือ


ประเภทของภาพยนตร์ |

7

“หนังอาร์ต” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Art Film” หรือ “Art Movie” หรือ “Art House Film” หรือ “Art Cinema” นอกจากนี้ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้เรียกภาพยนตร์ประเภทนี้โดยรวม ได้แก่ ภาพยนตร์อิสระ (Indie Film) ภาพยนตร์ทางเลือก (Alternative Cinema) ภาพยนตร์ทดลอง (Experimental Film) เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหา จริงจังไม่มุ่งหวังเชิงพาณิชย์ เป็นภาพยนตร์อิสระมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแค่คนดูกลุ่มเล็กๆ มากกว่ากลุ่มใหญ่ๆ ต่างจากภาพยนต์ฮอลลีวู้ด (Hollywood) ที่มีการใช้เงินลงทุนสูงในการถ่ายทำ มีการทำภาพเทคนิคพิเศษ มีการใช้ดาราที่มีชื่อเสียงและนำออกฉายทั่วโลก นอกจากนี้ภาพยนตร์ศิลปะยังเป็นภาพยนตร์ที่มักไม่ได้รับการสนับสนุน ด้านการเงินก้อนใหญ่จากนายทุน ไม่รณรงค์โฆษณาเหมือนกับภาพยนตร์กระแสหลักที่ออกฉายทั่วไป แต่อาศัย นักวิจารณ์ การสนทนา การพูดคุยกับนักเขียน บทความศิลปะเกี่ยวกับภาพยนตร์ คนวิจารณ์ และการบอก ปากต่อปากโดยคนดู ออกฉายตามโรงภาพยนตร์ในสหรัฐ เรียกว่า “Art House Cinema” และฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ คำว่า “Art Film” ปัจจุบันมีการฉายอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกามากกว่าในยุโรป

ภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ(2553) ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรฐกุล ภาพยนตร์เรื่อง "ลุงบุญมีระลึกชาติ" สร้างสรรค์โดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรฐกุล ซึ่งคว้ารางวัลสูงสุด "ปาล์มทองคํา (Palme d’Or)" ในเทศกาลภาพยนตร์ทเี่ มืองคานส์ ในปี 2010 ลุงบุญมีระลึกชาติ เป็นส่วนหนึ่ง ในองค์ประกอบของงานศิลปะหลายรูปแบบที่คุณเจ้ย อภิชาติพงศ์เรียกว่า Primitive art project มีทั้งนิทรรศการ ศิลปะแบบแหวกแนวที่เขานําออกแสดงที่ปารีส, ลิเวอร์พูล และมิวนิค มีทั้งจอวิดีโอขนาดใหญ่เก้าจอ และสิ่งของต่างๆ เช่น ปืน, ภาพถ่าย ฯลฯ รวมถึงภาพยนตร์สั้นสองเรื่อง คือ จดหมายถึงลุงบุญมี และ ผีนาบัว (Phantoms of Nabua) โดยผลงานศิลปะดังกล่าวนี้ได้รับแรงบันดาลใจ จากหนังสือที่เขียนโดยพระรูปหนึ่งในจังหวัด ขอนแก่น บอกเล่า เรื่องราวของลุงบุญมี ที่เชื่อว่าตัวเองระลึกชาติได้ โดยส่วนหนึ่งของความทรงจํานั้น พัวพันกับการปราบปราม คอมมิวนิสต์อย่างรุนแรงของรัฐบาลที่หมู่บ้านนาบัว จังหวัด นครพนมในปี 1965


ประเภทของภาพยนตร์ |

8

3. ภาพยนตร์บันเทิง (Dramatic Feature Film) ภาพยนตร์บันเทิง หรือบางครั้งเรียกว่า Feature Film ซึ่งหมายถึงภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวที่แต่งขึ้นในเชิง การละครหรือการแสดง ซึ่งเป็นรูปแบบภาพยนตร์แนวกระแสหลัก (Mainstream Film Form) ที่เน้นความบันเทิง สามารถชักจูงให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมคล้อยตามด้วยองค์ประกอบของศิลปะ เช่น ภาพยนตร์แนวฮอลลีวู้ด (Hollywood) ส่วนมากสร้างอยู่บนพื้นฐานของการผสมผสานระหว่างรูปแบบความจริง (Realistic) และรูปแบบสร้างสรรค์จินตนาการ (Formalistic) เข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าเป็นการแสดงสด (Live Action) หรือแอนิเมชั่น (Animation) เป็นที่นิยมสร้างต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคแรกในทศวรรษที่ 20 และแพร่หลายไปทั่วโลก มีกลุ่มผู้ชมจำนวนมากที่สุด เนื้อหาไม่มีความซับซ้อน มีกมีเรื่องราวเดียวโดยเริ่มจากจุดหนึ่งไปยังจุดเป้าหมายของเรื่องได้อย่างขัดเจนอยู่ในกรอบ และเคยชินกับการเล่าเรื่องแบบเดิมเรียกว่าแบบ “จารีต” (Conventional) มีบทสรุปตรงไปตรงมาให้ความสุข ความบันเทิงกับผู้ชม โครงสร้างของเรื่องมีเหตุและผล กระทบซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ระหว่างฉากต่อฉาก มีเทคนิคการสร้างเพื่อชักจูงอารมณ์ให้ผู้ชมคล้อยตาม หรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง ใช้การออกแบบ เสื้อผ้า หน้า ผม ของตัวละครให้เกิดความเหมือนจริง (Realistic Effect) กำหนดให้การกระทำของตัวละคร เกิดจากแรงจูงใจ (Character Motivation) นอกจากนี้ยังมีการใช้ศิลปะในการจัดองค์ประกอบภาพ (Mise-en-Scene) เสริมอารมณ์ให้เกิดความงดงามและความจริงในความรู้สึกขึ้นเช่นเดียวกันกับการสร้างตัวละครเพื่อให้ผู้ชมเชื่อ มีการใช้ เทคนิคการตัดต่อที่ไร้ร่องรอย (Invisible Editing) มีความต่อเนื่องของแอ็คชั่น เวลา และพื้นที่แนบเนียน ต่อเนื่องจนผู้ชมไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ภาพยนตร์มีความแตกต่างแยกย่อยกันออกไป การศึกษาการเขียนบทภาพยนตร์จะต้องเข้าใจพื้นฐานสไตล์ทั้งสาม ของภาพยนตร์ก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มแรกที่เป็นภาพยนตร์ที่เน้นความจริงไม่มีการปรุงแต่งเรื่องราว หรือมีในระดับน้อยมาก ได้แก่ ภาพยนตร์สารคดี (Documentary Film) กลุ่มที่สองเป็นภาพยนตร์ศิลปะที่มีการสร้างสรรค์จินตนาการในระดับมาก มีการใช้ความหมายหรือสัญลักษณ์ บางเรื่องลดรูปลักษณ์จนกลายเป็นนามธรรม (Abstract) ได้แก่ ภาพยนตร์อาวองการ์ด (Avant-garde Film) ภาพยนตร์อิสระ (Indie Film) ภาพยนตร์ทางเลือก (Alternative Cinema) และภาพยนตร์ทดลอง (Experimental Film) เป็นต้น และกลุ่มที่สามเป็นภาพยนตร์ที่มีการปรุงแต่งในระดับปานกลางเพื่อเพิ่มสีสันโลกของ การแสดงให้มีอรรถรสเรียกว่าภาพยนตร์บันเทิง (Dramatic Feature Film) ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างภาพยนตร์แนวสารคดี ที่เน้นความจริงกับแนวศิลปะที่ถือเป็นหัวใจสำคัญเพราะภาพยนตร์บันเทิงต้องอาศัยความเป็นจริงที่มีการปรุงแต่ง เพื่อให้เกิด ความเชื่อในตัวผู้ชม ตลอดจนความบันเทิงที่พวกเขาสามารถมีความสุข ความทุกข์ หรืออารมณ์ร่วมไปกับตัวละครในภาพยนตรได้


ประเภทของภาพยนตร์ |

9

การจําแนกประเภทของภาพยนตร์ Genre เป็นคํามาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ชนิด หรือประเภท ใช้สําหรับแบ่งประเภทของวรรณกรรม เมื่อนํามาใช้สําหรับภาพยนตร์ จึงเป็นการจัดประเภทของภาพยนตร์ที่มีอยู่มากมายตามรูปแบบของเนื้อเรื่อง โดยเฉพาะภาพยนตร์ จากฮอลลีวู้ด เช่น ภาพยนตร์ประเภทแอ็คชั่น ผจญภัย รัก คาวบอย นักเลงอันธพาลหรือมาเฟีย สืบสวนสอบสวน เพลง ตลก วิทยาศาสตร์ และสยองขวัญ เป็นต้น ในที่นี้สามารถจําแนกประเภทของภาพยนตร์ที่มีอยู่หลากหลายได้ 15 ประเภท ดังนี้ ประเภทภาพยนตร์ (Movie Genres) 1. Action movie (ภาพยนตร์แอคชั่น) 2. Adventure (ภาพยนตร์ผจญภัย) 3. Animation (ภาพยนตร์การ์ตูน) 4. Comedy (ภาพยนตร์ตลก) 5. Documentaries (ภาพยนตร์สารคดี) 6. Drama Movies (ภาพยนตร์ดราม่า) 7. Erotic (ภาพยนตร์ผู้ใหญ่) 8. Family (ภาพยนตร์ครอบครัว) 9. Fantasy (ภาพยนตร์ผสมจินตนาการ) 10. Musicals Movies (ภาพยนตร์เพลง) 11. Romance (ภาพยนตร์โรแมนติก) 12. Sci-Fi Movies (ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์) 13. Thriller Movies (ภาพยนตร์ระทึกขวัญ) 14. War (ภาพยนตร์สงคราม) 15. Western (ภาพยนตร์ตะวันตก) Action movie (ภาพยนตร์แอคชั่น) Action หมายถึง ภาพยนตร์แบบบู๊ แอ็กชั่น ยิง ต่อสู้ ระทึกใจ เหมาะสําหรับคนชอบความแข็งแรงและศิลปะการต่อสู้ ในภาพยนตร์แนวนี้จะมีฉากยิง ระเบิด เผาสิ่งต่างๆ ที่เราอาจจะหาดูได้ยาก ฉะนั้นคนที่ชอบภาพยนตร์ประเภทนี้ ไม่ใช่เพราะชอบความรุนแรง แต่จะหมายถึงคนที่ชอบที่จะสัมผัสกับสิ่งที่หาดูไม่ได้ในชีวิตประจําวันและชอบความตื่นเต้นอยู่ด้วย ปัจจุบันภาพยนตร์ประเภทนี้ มีออกมาฉายกันมากไม่เคยขาดและได้รับการตอบกลับอย่างดี แต่ก็ต้องมีเนื้อหาสาระและมุมมอง ของการออกแบบฉากได้อย่างลงตัวและสมจริงด้วย อย่างเช่นภาพยนตร์เรื่ององค์บากทั้งสองภาคก็ขายความแอ๊คชั่นเป็นจุดสําคัญ และอื่นๆ อีกมากมาย Adventure (ภาพยนตร์ผจญภัย)


ประเภทของภาพยนตร์ |

10

Adventure หมายถึงภาพยนตร์ แนวผจญภัย เข้าป่าฝ่าดง เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย และต้องมีการแก้ไข ปัญหาสถานการณ์ ภาพยนตร์แบบนี้ก็เหมาะสมหรับผู้ชมที่ชื่นชอบการผจญภัย เช่น เข้าไปในป่าที่ยังไม่รู้จักว่ามีอะไรบ้าง ที่รอการเข้าไปค้นหาจากเรา Animation (ภาพยนตร์การ์ตูน) Animation หมายถึงภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมทั้งจากทางตะวันตก จากค่ายวอลต์ ดีสนีย์ เช่น finding nemo หรือแม้แต่ทางตะวันออก เช่น ค่าย Gibli Studio เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตออกมาได้น่าดูและแนบเนียนขึ้น ประเทศไทยเองก็มีออกมาหลายเรื่องและได้รับการต้อนรับมาก โดยมีค่ายกันตนาเป็นผู้ผลิตหลัก Comedy (ภาพยนตร์ตลก) Comedy ภาพยนตร์ตลก เบาสมอง เหมาะกับคนที่ต้องการดูเพื่อการพักผ่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก Crime (ภาพยนตร์อาชญากรรม) Crime ภาพยนตร์อาชญากรรม แนวการแก้ไข ต่อสู้กับคดีต่างๆ ของตํารวจ Documentaries (ภาพยนตร์สารคดี) Documentary ภาพยนตร์แนวสารคดีที่ดูไปด้วย ได้สาระไปด้วย Drama Movies (ภาพยนตร์ดราม่า) Drama ภาพยนตร์ชีวิต ที่จะได้ความรู้สึกซึ้งเศร้า เคล้าน้ําตา ทําให้นึกถึงชีวิตคนจริงๆ บางเรื่องดูแล้วเครียด บางเรื่องก็เศร้ามากๆ ซึ่งเป็นอีกแนวที่ผู้ชมให้ความสนใจ Erotic (ภาพยนตร์ผู้ใหญ่) Erotic เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุไม่ถึง การจะออกฉายได้ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ก่อน

18

ปี

เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศ

ในประเทศต่างๆ

Family (ภาพยนตร์ครอบครัว) Family เป็นภาพยนตร์ที่คนทุกคนในครอบครัวดูได้ ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความผูกพัน ของคนในครอบครัว ส่วนใหญ่ก็จะแฝงแง่คิดเอาไว้และเดินเรื่องแบบเรียบง่าย เน้นความรักกันของคนในครอบครัว Fantasy (ภาพยนตร์ผสมจินตนาการ) Fantasy ภาพยนตร์ที่มีการผสมจินตนาการแบบที่เราๆ ไม่ค่อยเห็นในชีวิต หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า เหนือจริง Musicals Movies (ภาพยนตร์เพลง) Musical ภาพยนตร์เพลง เช่น ชิคาโก หรือภาพยนตร์บอลลีวู้ดของอินเดีย สําหรับประเทศไทยยังไม่ค่อยมีให้เห็น ซึ่งก็เป็นการยากที่จะทําให้มีรายได้ เพราะความนิยมของคนแนวนี้มไี ม่มาก


ประเภทของภาพยนตร์ |

11

Romance (ภาพยนตร์โรแมนติก) Romance ภาพยนตร์แนวรักโรแมนติก เหมาะกับคู่หนุ่มสาวและผู้ที่กําลังมีความรักทั้งหลาย หรือคนที่กําลังอยากจะรักใคร ชมไว้เป็นแนวทางในการทําตนเมื่อมีคนรัก จะได้ความรู้สึกมากขึ้น หากเราเคยมีประสบการณ์ และความรู้สึกเหมือนในภาพยนตร์ จึงไม่แปลกใจที่หลายคนร้องไห้กับภาพยนตร์แนวนี้ แต่อีกหลายคนอาจจะไม่รู้สึกร่วมไปด้วย ซึ่งไม่ผิดแต่ประการใด Sci-Fi Movies (ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์) Sci-Fi ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาอ้างอิงวิทยาศาสตร์ แต่ทําออกมาให้น่าสนใจอาจจะผสมจินตนาการเข้าไปด้วย แต่หลายคนบอกว่าไม่ชอบเพราะดูไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะบางเรื่องก็ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเป็นเดิมพันบ้าง แต่ถ้าหากชมบ่อยๆ ก็จะเริ่มรู้เรื่องและกลายเป็นคนชอบภาพยนตร์ประเภทนี้ก็ได้ ภาพยนตร์แนวนี้สามารถต่อจินตนาการให้เราได้ เพราะอาจกระตุ้นให้ผู้ชมออกมาสร้างประโยชน์ให้กับคนรอบข้างได้ และแนวคิดของภาพยนตร์แนวนี้ก็เป็นแรงกระตุ้นให้ นักวิทยาศาสตร์พยายามทําให้ได้แบบในภาพยนตร์

Thriller Movies (ภาพยนตร์ระทึกขวัญ) Thriller ภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน ที่มีการผูกเรือ่ งเพื่อให้ผู้ชมลุ้นไปด้วยว่าผลสุดท้ายจะออกมาในแนวใด เหมาะกับผู้ที่ชอบการสืบ เพราะมีเสน่ห์ตรงทําให้ผู้ชมต้องติดตามตลอดทั้งเรื่อง ดังนั้นหากเรื่องไหนทําให้เกิดปมช้า ก็ทําให้ภาพยนตร์น่าเบื่อ และตอนจบและแนวเรื่องต้องมีความแปลกใหม่ War (ภาพยนตร์สงคราม) War หนังสงคราม ที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์สงครามที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เน้นจุดๆ หนึ่งในสงครามนั้นๆ Western (ภาพยนตร์ตะวันตก) Western หนังคาวบอยตะวันตก ปัจจุบันอาจจะดูไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ในการนําเสนอหายากขึ้นและเสี่ยงมากที่จะทําออกมา

เพราะความแปลกใหม่

นอกจากนี้มภี าพยนตร์ในแต่ละประเทศก็จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป แม้จะมีการวางโครงเรื่องที่มีลักษณะ เดียวกัน ทั้งนี้การจําแนกประเภทของภาพยนตร์ข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เพือ่ จะนําไปวิเคราะห์และสามารถ นําแนวคิดต่างๆ ไปเขียนบทภาพยนตร์ได้ถูกต้องตามหลักการ

บรรณานุกรม กําจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้าง : สังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :


ประเภทของภาพยนตร์ |

12

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.