The arts of myanmar in nan province

Page 1

a

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน เฉลิมพล อินตะอาย

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

1



ศิลปะพมาในเมืองนาน โดย เฉลิมพล อินตะอาย 550310089


ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับเมืองน่าน เมื่อหลังเจ้าพระยาพลเทพฤชัยหนีไปเมืองหลวงพระบางแล้วพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองโปรดฯ ให้พระยาหน่อคำ�สงครามมาเป็นเจ้าเมืองน่านแทนตลอดช่วง ระยะเวลา ๒๐๐ ร้อยปีเศษระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๓-๒๓๒๘ หัวเมืองล้านนาทั้งมวล ตกอยู่ในความสั่นคลอนเพราะเกิดสงครามกับพม่าและกรุงศรีอยุธยาอยู่เนืองๆ เมื่อพระนางวิสุทธิเทวีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพื่อปกครองหัวเมืองล้านนาโดยตรง ในปี พ.ศ. ๒๑๒๒ เมืองน่านต้องขึ้นตรงต่อการปกครองของพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ด้วยเจ้าเมืองน่านได้พยายามแข็งเมืองต่อพม่าหลายครั้งแต่ไม่เป็นผลสำ�เร็จ เป็นต้น ว่าปี พ.ศ. ๒๑๔๖ เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ถูกจับไปประหารที่เชียงใหม่ และ พ.ศ. ๒๑๖๖ เจ้าอุ่นเมืองต้องหนีลงไปพึ่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๑๖๗ พระเจ้าสุทโธธรรมราชาได้ยกกองทัพพม่าตีเมืองน่านและ กวาดต้อนผู้คนไปไว้ที่เมืองหงสาวดี จากนั้นได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนเจ้าเมือง ในเขตล้านนาเข้ามาปกครองเมืองน่านอีกครั้ง นอกจากเมืองน่านจะต้องทำ�ศึก สงครามเพราะการแข็งเมืองต่อพม่าแล้ว ระยะหลังต้องรับศึกจากทางใต้หรือกรุง ศรีอยุธยาอีกทางหนึ่งด้วย เช่นปี พ.ศ. ๒๒๐๕ สมเด็จพระนายณ์มหาราชทรงส่ง กองทัพมาตีเมืองและจับตัวพระยาแหลมมุมเจ้าเมืองลงไปยังกรุงศรีอยุธยา ล่วง มาถึง พ.ศ. ๒๒๔๖ พระเมืองราชาเจ้าเมืองน่านแข็งเมืองต่อพม่า พระเจ้ากรุงอัง วะจึงส่งกองทัพจากเชียงใหม่มาปราบปราม เมืองน่านเสียหายอย่างหนัก ผู้คนต่าง หลบหนีละทิ้งบ้านเรือนเข้าไปหลบซ่อนตามป่าเขา เมืองถูกทิ้งร้างไปถึง ๕ ปี เจ้า ฟ้าเมืองคอง และเจ้าฟ้าเมียวซาขุนนางพม่าได้เข้ามารวบรวมไพร่พลตั้งบ้านเรือน ขึ้นใหม่ (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๕๗) และให้ปกครองดูแลเมืองน่านมิให้ก่อการกระด้าง กระเดื่องได้อีกต่อไป

2

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


เมื่อเจ้าฟ้าเมียวซาถึงแก่พิราลัยพระยานาขวาผู้รักษาเมืองซึ่งเป็นชาวน่านได้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้ากรุงอังวะอัญเชิญพระยาหลวง ติ๋นมหาวงศ์เจ้าเมืองเชียงใหม่มาเป็นเจ้าเมืองน่านในปี พ.ศ. ๒๒๖๙ เมือง น่านจึงกลับมีเจ้าผู้ครองนครโดยการสืบเชื้อสายลำาดับราชวงศ์อีกครั้งหนึ่งเรียก ว่า “ราชวงศ์หลวงติ๋นมหาวงศ์” ในปี พ.ศ. ๒๓๐๓ พระเจ้าอลองพญายกกองทัพ มาตีกรุงศรีอยุธยาแต่เกิดเหตุปืนใหญ่แตกถูกพระองค์ประชวรหนักต้องยกทัพกลับ และเสด็จสวรรคตกลางทาง พวกหัวเมืองล้านนาได้โอกาสจึงพากันแข็งเมืองต่อ พม่าเมื่อพระเจ้ามังรอกเสวยราชสมบัติจึงทรงส่งอภัยคามณีเป็นแม่ทัพมาตีเมือง เชียงใหม่และหัวเมืองอื่นๆเจ้าสุริยวงศ์เมืองน่านจำาต้องยอมหันไปอ่อนน้อมกับพม่า ดังเดิมเมื่อปราบปรามหัวเมืองล้านนาได้ราบคาบแล้ว พระเจ้ามังรอกทรงตั้งอภัยคามณีเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๐๖ พระเจ้ามังระได้เสวยราชย์ อภัยคมณีไปเข้าเฝ้าที่เมืองอังวะ เจ้านายท้าว พระยาในหัวเมืองล้านนาได้กำาลังสนับสนุนจากเมืองหลวงพระบางพากันแข็งเมือง พระเจ้ามังระจึงให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพนำากำาลังร่วมกับกองทัพอภัยคามณียก มาปราบปรามอีกครั้ง จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ อภัยคามณีได้ตระเตรียมกองทัพ เพื่อมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยได้ระดมไพร่พลจากหัวเมืองล้านนา เจ้าอริยวงศ์มอบ หมายให้เจ้านายอ้ายผู้เป็นหลาน คุมกำาลังพลเมืองน่านมาสมทบกองทัพพม่า เมื่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาจากพม่าได้ แล้วหัวเมือง ล้านนาพม่ายังคงยึดครองอยู่ จึงทรงยกกองทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่ถึง ๒ ครั้ง ด้วยกันครั้งแรกไม่สำาเร็จ ส่วนครั้งหลังยกขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พระยาจ่าบ้าน เมืองเชียงใหม่พระยากาวิละเจ้าเมืองลำาปาง ได้หันมาสวามิภักดิ์กับฝ่ายไทย นำา

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

3


กำาลังผู้คนเข้ามาสมทบตีเมืองเชียงใหม่ ส่วนทางเมืองน่านซึ่งยังสวามิภักดิ์ต่อ พม่าได้มอบให้เจ้าน้อยวิฑูรตำาแหน่งเจ้านาขวาเกณฑ์พลมาช่วยพม่าป้องกันเมือง เชียงใหม่โปมะยุง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่สู้กำาลังกองทัพไทยไม่ได้จึงทิ้งเมืองไปตั้ง มั่นอยู่ที่เมืองเชียงแสน ส่วนเจ้าน้อยวิฑูรถูกกองทัพไทยจับกุมหลังจากที่ตีเมือง เชียงใหม่ได้แล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้เจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) อยู่จัดการปกครองหัวเมืองล้านนาครั้งนั้นได้เกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองน่านให้สวามิภักดิ์ กับฝ่ายไทยและให้เจ้าน้อยวิฑูรกลับไปปกครองเมืองน่าน ต่อมาเจ้าน้อยวิฑูรไม่ตั้ง มั่นอยู่ในสัจจะ พระยากาวิละเจ้าผู้ครองนครลำาปางจึงนำากำาลังไปควบคุมตัวและ ครอบครัวส่งมายังกรุงธนบุรีในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ เป็นต้นเหตุให้เมืองน่านขาดผู้นำา กองทัพพม่าจากเมืองเชียงแสนได้ยกกำาลังมากวาดเป็นราชาธานี ส่วนทางฝ่าย พม่านั้นโปมะ-ยุง่วนก็ยังคงคุมกำาลังตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเชียงแสนในปี พ.ศ. ๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่ตั้งเจ้าหนานจันทปโชติขึ้นเป็น พระยามงคลวรยศให้มาครองเมืองน่าน ขณะนั้นบ้านเมืองรกร้างว่างเปล่า พระ ยามงคลวรยศจึงตั้งมั่นอยู่ที่บ้านท่าปลา ฝ่ายพม่าได้แต่งตั้งเจ้าอัตถวรปัญโญเป็น เจ้าเมืองน่าน ในปีต่อมาเช่นกันเจ้าอัตถวรปัญโญ ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเทิงส่วนเจ้าสมุน อยู่ที่เวียงสา (อำาเภอเวียงสา) หลังจากเมืองเชียงแสนถูกกำาลังหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ แล้วเจ้าอัตถวรปัญโญได้นำาครอบครัวชาวน่านและชาวเมือง เทิงย้ายลงมาอยู่ที่บ้านเถิดในเขตเมืองน่าน ต่อมาได้เกิดวิวาทกับเจ้าสุมนผู้เป็นน้า พระยามงคลวรยศจึงได้ไกล่เกลี่ยปรองดอง ให้สมัคสมานสามัคคีแล้วยกเมืองน่าน ให้เจ้าอัตถวรปัญโญ ขึ้นครองหลังจากเมืองพุกามได้ล่มสลายเมืองต่างๆ ก็แตก ออกมาเป็นเมืองน้อยรวม 6 เมืองด้วยกันใน พ.ศ. 1842 ขณะที่เมืองพม่าเริ่มมี อำานาจขึ้นเรื่อยๆตรงกับสมัยของพ่อขุนรามคำาแหงในพุทธศตวรรษที่ 19 พ่อขุน 4

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


รามคำ�แหงได้ยกพระธิดาในพระองบค์ให้แก่กษัตริย์พม่า คือพระเจ้าฟ้ารั่วหรือมะ กะโท (พ.ศ.1830 – 1844 ) เพื่อเป็นการขยายอำ�นาจไปยังเมืองพม่า และผูก ไมตรีกันต่อจากนั้นศิลปะของพม่าก็ส่งอิทธิพลแก่ศิลปะสุโขทัย ลักษณะของเจดีย์ สุโขทัยเรียกว่าเจดีย์ทรงลังกา ระหว่างฐานไปองค์ระฆังด้านหน้าเป็นซุ้มประตูทาง เข้าเจดีย์เช่นที่วัดนางพญาที่ศรีสัชนาลัยระห่างฐานและองค์ระฆังทำ�เป็นลวดลาย บัว 3 ชั้นเหนือซุ้มประตูเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์ปล้องไฉนลักาณะเช่นนี้มีอยู่ใน ศิลปะพุกามคือเจดีย์ LtpyatsaShwe-GuStupa ลักษณะเป็นเจดีย์แบบพม่าสร้างขึ้น สมัยพระเจ้าอันสูที่ 1 หรือพระเจ้ายลองสิตู (Alavgrgitv) พ.ศ. 1655 – 1710

การเข้ามาทำ�สัมปทานป่าไม่ของพม่าในน่าน หลังจากที่มีการบูรณะมากมายทำ�ให้ศิลปะในจังหวัดน่านหายไปเหลือไว้เพียงหลัก ฐานบางอย่าง ซึ่งจากที่สำ�รวจมานั้นพบ ว่าศิลปะพม่าในจังหวัดน่านนั้นเข้ามา โดยการทำ�สัมปทานป่าไม้ ด้วยการเข้ามาลงทุนและมาจากกรมป่าไม้ของอังกฤษ เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้และจากการศึกษาพบว่าชาวพม่านั้นจะนิยมเชื่อเรื่อง ภูตผีวิญญาณและคติเทพนัต ซึ่งตรงกับงานศิลปะกรรมแบบพม่า ที่บางวัดหลง เหลือไว้ดังเช่นรูปแกะสลักไม้นูนสูงที่มีลักษณะเป็นรุกขเทวดาที่ชาวพม่าเรียกว่าเท พนัตของดาวเพดาลวัดกู่คำ�และรูปปั้นปูนเทวดาพม่า (นัต) ที่ซุ้มโขงทางเข้าเจดีย์ วัดพระธาตุแช่แห้งซึ่งชาวพม่าจะสร้างสิ่งของเหล่านี้จากการสืบหาและศึกษาพบ ว่าในเมื่อร้อยกว่าปีมานี้ที่เข้ามาในจังหวัดน่านด้วยการทำ�สัมประทานป่าไม้ และ ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

5


เหล่านายทุนชาวพม่าได้ตัดไม้ในเขตจังหวัดน่านไปเป็นจำานวนมากโดยจากคติ ความเชื่อของชาวพม่าแล้ว เชื่อว่าต้นไม้ทุกต้นนั้นมีเทวดาสิงสถิตอยู่ภายในเมื่อไป ตัดต้นไม้ ก็หมายถึงการไปทำาลายซึ่งที่พักอาศัยของเหล่าเทวดาหรือรุกขเทวดา เหล่านี้จึงอาจทำาให้ท่านเหล่านี้อาจโกรธ และไม่พอใจจะบันดาลให้พวกตนเจ็บ ป่วยและอาจถึงกับชีวิต นายทุนชาวพม่าที่ทำาป่าไม้จึงคิดตระหนักถึงคติความเชื่อ เหล่านี้ จึงได้คิดสร้างสิ่งของถวายวัด อาทิ เช่น เจดีย์เพื่อถวายให้วัดที่อยู่ในเขตที่ ตนได้กระทำาการตัดไม้ เพื่อถวายให้แก่วัดและเพื่อให้เหล่ารุกขเทวดาไปอยู่ในที่พัก อาศัยใหม่ที่ตนได้สร้างถวายนี้ และอีกนัยหนึ่งก็คือเหล่าพ่อค้าที่เข้ามาทำาสัมปทาน ป่าไม้ได้คิดที่จะลงหลักปักฐานตนอยู่ที่จังหวัดน่านเหมือนคุณพ่อผกาคำาปุกผู้สร้าง อุโบสถ์ถวายให้แก่วัดกู่คำา จนมาถึงในปัจจุบันและได้แต่งงานกับคนจังหวัดน่าน และมีครอบครัวที่จังหวัดน่านนี้จนปัจจุบันลูกหลานก็ยังเข้ามาอุปถัมภ์วัดและอุ โบสถ์หลังนี้ อยู่เรื่อยๆ ซึ่งจากการศึกษาและลงพื้นที่สำารวจสอบถามผู้ทราบข้อมูล ได้ความตามที่กล่าวมาข้างต้น หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

6

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


อิทธิพลของศิลปะพม่ามัณฑะเลย์ในน่าน ศิลปะสมัยหลังหรือศิลปะของเมืองอมรปุระ และเมืองมัณฑเลย์ตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 24 จนถึงปัจจุบันราชธานีซึ่งสืบต่อมา หรืออยู่ร่วมสมัยระหว่างหลังเมืองพุกาม จนถึงสมัยเมืองอังวะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่นำ�้อิรวดีพระเจ้าโบดอปยะ (Bodawpaya) ได้ ย้ายราชธานีจากเมืองอังวะไปที่เมืองอมรปุระในต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ปัจจุบันได้ รวมเป็นเมืองเดียวกันกับมัณฑะเลย์ (สร้างโดยพระเจ้ามินดงเมื่อ พ.ศ. 2400) ซึ่ง หลังจากหมดสมัยอาณาจักรพุกาม แล้วศิลปกรรมพม่าดูอ่อนด้อยลงไปกว่าสมัย พุกามมาก สมัยนี้เองที่เริ่มมีการฟื้นฟูศิลปกรรมแบบพม่าขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในสมัย พระเจ้ามินดง (พ.ศ. 2396-2421) ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2396 ได้ทำ�ไมตรีกับ อังกฤษพม่าจึงถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือทางภาคใต้อังกฤษเป็นผู้ปกครองเมืองหลวง ตั้งอยู่ที่ย่างกุ้ง และทางภาคเหนือนั้นพม่าเป็นผู้ปกครองเองเมืองหลวงอยู่ที่อม ระปุระต่อมา พ.ศ. 2400 ได้ย้ายเมืองหลวงมาสร้างใหม่ที่เมืองมัณฑะเลย์ให้ชื่อ ว่า กรุงรัตนปุระ ตามชื่อเดิมของเมืองอังวะและได้ทำ�สังคายนาพระไตรปิฎกครั้ง ใหญ่เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อมาปี พ.ศ. 2428 ยุคของพระเจ้าสีป่ออังกฤษ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดพม่าภาคเหนือ ที่เมืองมัณฑะเลย์จับตัวพระเจ้าสีป่อไว้ที่ภาค ตะวันตกของอินเดียจนกระทั่งสิ้นพระชนม ์และในปี พ.ศ. 2468 เป็นอันสิ้นสุด สถาบันกษัตริย์ของพม่า ทางด้านศิลปะสมัยหลังได้หันไปเลียนแบบศิลปะแบบ ประเพณีของพุกามการสลักไม้ของพม่าในสมัยมัณฑะเลย์ นี้ยังคงความงดงามซึ่ง ศาสนาสถานในสมัยนี้นิยมก่อสร้างด้วยเครื่องไม้ มีลวดลายเครื่องประดับอย่าง อลังการและประณีตวิจิตรเป็นอย่างยิ่ง สถาปัตยกรรมอาคารเรือนไม้นิยมสร้าง แบบเรือนปราสาทชั้นซ้อนแบบพม่าทางพม่าออกเสียงว่าปะยาทาต (Pyathat) พระพุทธรูปในสมัยหลังพุกามเชื่อว่า มีการก่อสร้างมากมายการสร้างพระพุทธรูป จากหินสลักไม้และโลหะสำ�หรับประติมากรรมได้แกะสลัก (ทั้งที่เป็นประติมากรรม ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

7


ลอยตัวและสภาพสลักนูน) มักจะปิดทองหรือทาสีหลากสี ซึ่งเป็นการแสดงอย่าง ดียิ่งถึงประเพณีของศิลปะพม่าสมัยใหม่นี้สำาหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังพบว่าเริ่ม นำาสีวิทยาศาสตร ์(สีสังเคราะห์) มาใช้เน้นเทคนิคการใช้สีที่สดใสเช่นสีฟ้าสีเขียว เชื่อ ว่าได้รับแนวคิดและวัตถุดิบจากจีนพม่า อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2428-2491 เป็นระยะเวลาถึง 63 ปีจนกระทั่งวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2491 ประเทศอังกฤษประกาศให้เอกราชคืนกับพม่า อย่างเป็นทางการมี นายพลอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสหภาพพม่าและประธานาธิบดี คนแรกเป็นชนกลุ่มน้อยชื่อ“เจ้าฟ้าชเวเทียกสอพวาแห่งเมืองยองห้วย”ปัจจุบัน มีเมืองหลวงชื่อเมืองเนปีดอว์ย้ายราชธานีจากเมืองย่างกุ้งเมื่อปี พ.ศ.2548

8

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


ศิลปะพม่ามัณฑะเลย์ในน่านที่พบมีดังนี้ วัดกู่คำ� วัดกู่คำ�สถานที่ตั้งตำ�บลในเวียงอำ�เภอเมืองจังหวัดน่านอายุ 400 ปีวัดกู่คำ� ตำ�บลในเวียงอำ�เภอเมืองไม่มีประวัติเกี่ยวกับการสร้างที่แน่ชัดแต่พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิดได้กล่าวถึงพระธาตุกู่คำ�ว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๒ เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน พระปลัดขวัญชัยสิริวฑังมโน ศิลปะพม่าที่พบเป็นแบบพม่ามัณฑะเลย์ มีดังนี้ - พระพุทธศิลป์ - ดาวเพดาน - สิงห์

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

9


พระพุทธรูปแบบศิลปะพม่าโดยมีพระ วรกายสีขาวนวลตามแบบแผนพม่าและ มีจีวรแนบพระวรกายมีการใส่เครื่อง คล้ายกษัตริย์แบบพม่า

ซึ่ ง จากการสำ � รวจและวิ เ คราะดู แ ล้ ว พบว่ า พระพุ ท ธรู ป ที่ วั ด กู่ คำ � นี้ จ ากการสอบถาม เจ้ า อาวาสได้ ค วามว่ า ไม่ ท ราบว่ า มี ใ ครเป็ น ผู้ ส ร้ า งที่ แ น่ น อนแต่ มี ม าตั้ ง แต่ ก่ อ ตั้ ง อุ โ บสถ แล้ ว ซึ่ ง รู ป แบบทางการสร้ า งพระพุ ท ธรู ป นั้ น มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น แบบศิ ล ปะพม่ า มั ณ ฑะ เลย์ อ ย่ า งชั ด เจนโดยมี ลั ก ษณะพระพั ก ตร์​์ มี ลั ก ษณะมนพระเนตรเรี ย งยาวพระโอษฐ์ บางและมักยิ้มเล็กน้อยอย่างเป็นธรรมชาติ พระกรรณยาวบางครั้ ง ยาวถึ ง พระพาหา เหนื อ พระนลาฎนิ ย มทำ � เป็ น กระบั ง หน้ า แคบๆ ซึ่งบางครั้งก็มักประดับด้วยอัญมณี เม็ดพระรัศมีขนาดเล็กมีอุษณีษะที่แลเห็นได้ ชั ด เจนไม่ มี พ ระรั ศ มี ค รองจี ว รห่ ม เฉี ย งเปิ ด พระอังสาขาวจีวรมักเป็นริ้วแสดงถึงรอบพับ เหมื อ นจริ ง แบบประดิ ษ ฐ์ ที่ นิ ย มในประเทศ อินเดียและจากการลงสำ�รวจพื้นที่ยังพบว่า ด้ า นซ้ า ยของพระหั ต ร์ นั้ น ยั ง มี พ ระพุ ท ธรู ป ลักษณะโครงสร้างแบบเดียวกันแต่มีลักษณะ ที่ใหม่กว่าซึ่งพระพุทธรูปด้านซ้ายพระหัตย์ นั้นเป็นคนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อถวายให้กับวัด

10

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

พระพุทธรูปแบบศิลปะพม่าโดยมี พระวรกายสีขาวนวลตามแบบแผน พม่าและมีจีวรแนบพระวรกายมี การใส่เครื่องคล้ายกษัตริย์พม่า


กู่ คำ า ถวายโดยคุ ณ กนิ ษ ฐาเขมะลิ ลิ ต ร เป็นคนชาวกรงเทพเหตุที่ต้องทำาเป็น แบบศิ ล ปะพม่ า มั ณ ฑะเลย์ นั้ น เพราะ ต้องการให้เหมือนกันองค์พระประธาน

ดาวเพดาลที่อยู่ในอุโบสถของวัดกู่คำาจากกาสอบถาม เจ้าอาวาสได้ให้ข้อมูลว่าดาวเพดาลนี้ท่านเจ้าอาวาส ท่านเก่านามว่าหลวงพ่อพระชัยญานันทมุณีเป็นผู้นำา ดาวเพดาลนี้ ม าจากพม่ า ที่ วั ด สวนตาลในประเทศ พม่าตอนที่วัดนั้นถูกรื้อทอนท่านจึงได้นำามาติดไว้ที่ อุโบสถวัดกู่คำาจนถึงปัจจุบันนี้และจากการให้ข้อมูล ยั ง ทราบอี ก ว่ า ดาวเพดาลนี้ ยั ง มั ค วามหมายที่ ค น ทั่วไปอาจมิทราบนั้น คือ ดาวดาลในศิลปะพม่าที่ เห็นนี้จะอยู่ในลักษณะของเทพนัตหรือรุกขเทวดาที่ คอยถือดินสอเอาไว้จดรายชื่อผู้ที่คอยมาทำาบุญในวัด แห่งนี้ในเมื่อยามเสียชีวีตไปอาจถูกยมบารสอบสวน เทพนัตหรือเทวดาที่อยู่นี้ก็จะคอยเป็นพยายานใน การทำาความดีของเราได้และอีกนัตย์หนึ่งคือเทพนัต ในความเชื่อของชาวพม่านั้นจะคอยปกปักรักษาที่ แห่งนั้นไว้การนำามาติดไว้ที่พระอุโบสถก็ถือว่าเทพนัต องค์นี้จะคอยดูแลรักษาพระอุโสถหลังนี้ด้วยเช่นกัน

เทวดาที่ดาวเพดานมีลักษณะการแต่งกาย เป็นแบบแต่งกายแบบเต็มเครื่องแบบชุดพม่า เป็นแบบชุดชนชั้นสูงของพม่า

เป็นแบบวงกลมแล้วใช้ลวดลายดอกไม้ พรรณพฤกษาและลวดลายเครือเถา

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

11


รูปแบบโครงสร้างนั้นมีความ คล้ายคลึงกันจากการศึกษา พบว่าสิงห์ที่มีอกเป็นเป็น ลวดลายประดับดอกไม้ตรง บริเวณอกมักจะเป็นสิงห์ตัวผู้

12

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

โดยสิ ง ห์ ที่ ป รากฏอยู่ ใ นงานสถาปั ต ยกรรม เมื อ งน่ า นในรู ป แบบของสิ ง ห์ ที่ มี ลั ก ษณะแบบ ศิ ล ปะพม่ า โดยรู ป แบบแล้ ว จะมี ลั ก ษณะคล้ า ย กั บ ตั ว กิ เ ลนแต่ จ ะยื น สองขาหน้ า และขาหลั ง นั่ ง มั ก นิ ย มทำ � ขนสร้ อ ยที่ ค อลำ � ตั ว ดู ใ หญ่ อ วบมี จะงอยหนวดที่ยาวลงมาถึงออกบางสถานที่จะ มี ล วดลายเครื อ เถาและดอกไม้ ป ระดั บ บริ เวณ หน้าออกซึ่งจากการลงพื้นที่สำ�รวจและวิเคราะห์ พบว่ า สิ ง ห์ ที่ ลั ก ษณะแบบแผนทางการสร้ า ง คล้ายคลึงกับสิงห์ในศิลปะพม่านั้นมีอยจำ�นวน ๓ วัดได้แก่วัดวังครีรีบริเวณฐานด้านล่างของ เจดี ย์ แ ละตรงลานหน้ า ศาสาทางเข้ า กุ ฏิ วั ด วั ง คีรีวัดกู่คำ�อยู่ตรงบริเวณทางขึ้นไปเจดีย์วัดกู่คำ� มี ลั ก ษณะเป็ น สี ข าววั ด พระธาตุ แช่ แ ห้ ง พบใน บริเวณมุมของกำ�แพงล้อมพระธาตุแช่แห้ง ๔ ตัวและหน้าอุโบสถวักพระธาตุแช่แห้งอีก ๒ ตัว


วัดพญาภู วัดพญาภูตั้งอยู่ที่บ้านพญาภูตำ�บล ในเวียง อำ�เภอ เมืองน่าน จังหวัด น่าน คาดว่ามีอายุมากกว่า 549 ปี นมัสการพระพุทธปฏิมาเป็นพระประธาน องค์ใหญ่ที่สุดของจังหวัดน่านนอกจากจะมีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างไว้ด้าน หลังพระวิหารแล้วภายในวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรุปปางลีลา 2 องค์ตามพงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับวัดพระเกิด) ได้กล่าวว่าวัดพญาภูสร้างใน สมัยของพญาผากองเป็นเจ้าผู้ครองเมืองน่านในจุลศักราช 774 (พ.ศ.1955) วั ด พญาภู เ ป็ น อารามหลวงที่ สำ � คั ญ แห่ ง หนึ่ ง ของจั ง หวดน่ า นโบราณสถาน สำ � คั ญ คื อ พระประธานในพระอุ โ บสถและโบราณวั ต ถุ สำ � คั ญ คื อ พระพุ ท ธรู ป ศิ ล ปะสุ โขทั ย จำ � นวน2องค์ ซึ่ ง พระพุ ท ธรู ป มี จ ารึ ก ว่ า สร้ า งโดยพญาสารผาสุ ม ศิลปะพม่าที่พบเป็นแบบพม่ามัณฑะเลย์ มีดังนี้ - ซุ้มจรนำ�ที่อุโบสถหลังเก่า - พระพทุธรูปหน้าพระประธานเป็นแบบศิลปะพม่ามัณฑะเลย์

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

13


จะพบลวดลายประดั บ อาคาร เช่นหน้าบันซุ้มโขงและประตูทาง เข้าซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาที่ได้ รับอิทธิพลลวดลายเครือเถาจาก พม่ า แบบมั ณ ฑะเลย์ เข้ า มาผสม ผสานและนำ � มาปรั บ เป็ น แบบ ลวดลายล้ า นนาในปั จ จุ บั น ดาว เพดานนอกจากที่เป็นรูปเทพนัต ที่ใช้เทคนิคการแกะไม้แบบนูนสูง แล้วยังมีดาวเพดานที่ใช้คติความ เชื่ อ ของแกนกลางจั ก รวาลอี ก ด้วยอยู่ตำ�แหน่งที่ศีรษะของพระ ประธานวัดกู่คำ� ซึ่งจะมีลักษณะ เป็นดอกบัวตูมอยู่ตรงกลางลาย ล้อมด้วยลวดลายพรรณพฤกษา แบบศิลปะพม่ามัณฑะเลย์ซึ่งใช้ เทคนิคการแกะไม้และติดกระจก

ลวดลายเครือเถา และดอกไม้ใช้เทคนิคการติดกระจก และลวดลายปั้นปูน

14

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


หากเข้าไปในอุโบสถหลัง ปัจจุบันคงต้องบอกว่าไม่มี ความเป็นศิลปะพม่าให้ศึกษา ค้นคว้าแต่หากได้เข้าไปใน อุโบสถหลังเก่าแล้วถึงทราบ ว่าพระประธานในอุโบสหลัง เก่านี้เป็นศิลปะการสร้างแบบ พม่ามัณฑะเลย์ซึ่งอาจดูไม่ ค่อยสวยงามนักแต่สามารถ ระบุได้ว่าพระประธานองค์นี้ อยู่ในศิลปะพม่ามัณฑะเลย์ เนื่องจากลักษณะรูปแบบการ สร้างสอดคล้องกัน

จีวรแนบพระวรกายมีความพริ้วไหวเหมือนกับของจริงมี ใช้หน้ารูปไข่มีลวดลายพรรณพฤกษาประดับจีวรมีทับหน้า หรือมงกุฎ

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

15


วัดหัวเวียงใต้

วัดหัวเวียงใต้อายุกว่า 273 ปีเป็นวัดเก่าแก่ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนหลังคา ทรงมะลิลาซึ่งเคยรุ่งเรือง ในอดีตมีพระประธานเป็นปูนปั้นศิลปะแบบพม่าหน้าตัก 6 ศอกสูง 8 ศอก โดยหม่องส่า หรือนายหม่องวงศ์ษาพ่อค้าไม้ชาวพม่าสร้างถวาย ซึ่งในจังหวัดน่านเหลืออยู่แค่สองวัดที่วัดหัวเวียงใต้และวัดกู่คำ�อำ�เภอเมืองน่าน กำ�แพงวัดอายุกว่า 160 ปี ศิลปะพม่าที่พบเป็นแบบพม่ามัณฑะเลย์มีดังนี้ - พระประธานองค์ใหญ่ในอุโบสถ

16

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


จากการสำ�รวจพบว่าวัดนี้มีองค์พระ ประธานเป็นแบบพระพุทธศิลป์แบบ พม่าองค์ใหญ่ที่สุดของจังหวัดน่านและ อยู่ในศิลปะพม่าแบบมัณฑะเลย์ซึ่งผู้ สร้างถวายนั้นเป็นคนพม่าชื่อนายหม่อ งวงศ์เครื่อซึ่งเป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า ที่รวยและด้สร้างพระประธานองค์นี้ ถวายแก่วัดหัวเวียงใต้ซึ่งมีลักษณะอยู่ ในกลุ่มงานศิลปะพุทธศิลป์แบบพม่า มัณฑะเลย์

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

17


วัดวังคีรี

วัดวังคีรีตั้งอยู่เลขที่69บ้านวังม่วงหมู่ที่ 1 ตำ�บล นำ�ปั้วอำ�เภอเวียงสา จังหวัดน่านสร้างเมื่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2503 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีเนื้อที่ในการ ตั้งวัด 10 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวานอกจากนี้วัดวังคีรีมีพระธาตุที่เก่าแก่อายุ ประมาณ 105 ปีประดิษฐานอยู่บนดอยวัดวังคีรีให้พุทธศาสนิกชนได้กราบ ไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองนอกจากนี้วัดวังคีรียังเป็นศาสนสถานที่จัด กิจกรรมด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมหลายอย่างเช่นเป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์เป็นศูนย์จัดกิจกรรมบรรพชาพระภิกษุสามเณรภาคฤดูร้อน เป็ น ศู น ย์ ฝึ ก อบรมการตี ก ลองปู จ าเป็ น ศู น ย์ ฝึ ก อบรมการทำ � ตุ ง ใยแมงมุ ม ฯลฯ ศิลปะพม่าที่พบเป็นแบบพม่ามัณฑะเลย์มีดังนี้ - เจดีย์ - สิงห์

18

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


วังคีรีหรือผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก กันในนามของวัดวังม่วงซึ่งมี รูปแบบการสร้างแบบ เดียวกับชเวดากองใประเทศ พม่าซึ่งจากการสอบถามเจ้า อาวาสคนปัจจุบันพบว่าผู้ที่ สร้างนั้นเป็นชาวพม่าที่เข้ามา ทำ�สัมปทานป่าไม้ใกล้บริเวณ นั้นแล้วเกิดเห็นนิมิตรตรง บริเวณที่ตั้งของเจดีย์ปัจจุบัน จึงได้ส่งช่างจากมัณฑะเลย์ ขึ้นมาก่อสร้างในปีพ.ศ. ๒๔๕๑ มีนามวว่านายฮ้อย พะกะหม่องปันณะย๊อก

รอบฐานมีเจดีย์องค์เล็กๆลายรอบอยู่และมีเจดีย์องค์ใหญ่สี่องค์ อยู่แต่ละมุมและชั้นล่างของฐานมีอีกสามชั้นลักษณะเจดีย์องค์ เล็กคล้ายกับสถูป

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

19


ศีรษะคล้ายผม มีขนยาวตรงใต้ คางมาเกือบถึงดอกตรงกลาง หน้าอก

20

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

สิ ง ห์ ใ นทางคติ ค วามเชื่ อ แล้ ว นั้ น เป็ น สั ต ว์ ที่ ดุร้ายแต่หากได้ฟังเรื่องเล่าจากตำ�ราต่างๆนั้น สิ ง ห์ ถึ ง ดุ ร้ า ยแต่ ก็ มี จิ ต รใจที่ รั ก ลู ก และมี พ ลั ง มากน่ า เกรงขามหากมองในด้ า นของศิ ล ปะ นั้นสิงห์ในล้านนาและพม่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ ให้ ป กปั ก รั ก ษาวั ด และอาณาบริ เ วณวั ด ให้ ปลอดภั ย จากภั ย อั น ตรายและมี ค วามน่ า กลั ว และน่าเกรงขามในเวลาเดียวกันยังดูสวยด้วย ลวดลายประดับดอกไม้พันพฤกษาต่างๆ จาก การสำ � รวจสิ ง ห์ ที่ พ บในวั ด วั ง คี รี นั้ น มี รู ป แบบ สิงห์อยู่หลายตัวด้วยกันแต่จากการศึกษาและ ลองเปรียบเทียบกันแล้วนั้นจะมีสิงห์อยู่ ๒ ตัว ที่ มี ลั ก ษณะแบบโครงสร้ า งสิ ง ห์ ใ นพม่ า สิ ง ห์ ที่ อ ยู่ ใ นวั ด วั ง คี รี นั้ น มี ลั ก ษณะที่ ค ล้ า ยกั น คื อ ใบหน้ า คล้ า ยกิ เ ลนมี ข นสร้ อ ยคอเป็ น แผงชั้ น เดียวจากด้านหลังศีรษะมาจรดปลายคางในรูป แบบการอ้ า ปากเห็ น ฟั น ตาโปนและอยู่ ใ นท่ า ยืนขาหน้าและขาหลังนั่งลงติดพื้นยืดอกและมี ดอกประดับอยู่ตรงกลางของอกหางมีลักษณะ โ ค้ ง เข้ า ห า ตั ว ซึ่ ง ลั ก ษ ณ ะ เช่ น นี้ ส า ม า ร ถ พบเห็ น ได้ ม ากในงานศิ ล ปะสิ ง ห์ ใ นพม่ า


วัดพระธาตุแช่แห้ง เท่าที่สืบหาหลักฐานได้มหาธาตุแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๑๘๙๖ ตรงกับสมัยของพระยาการเมืองแห่งราชวงศ์ภูคาครองเมืองน่าน (พ.ศ.๑๘๙๖–๑๙๐๖) พระองค์ได้เสด็จลงไปสร้างวัดหลวงอภัยที่อาณาจักรสุโขทัย เมื่อภารกิจทั้งมวลแล้วเสร็จพระมหาธรรมราชาลิไทได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า ๗ พระองค์มีพระวรรณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดสุกใสดังแก้ว ๒ พระองค์มีพระวรรณะ ดัง่ มุก ๓ พระองค์มพี ระวรรณะดัง่ ทองคำ�เท่าเมล็ดงาดำ� ๒ พระองค์พร้อมพระธาตุแช่ แห้งเป็นโบราณสถานที่สำ�คัญแห่งหนึ่งของชาติมีความสำ�คัญทั้งในด้านแบบแผน ทางศิ ล ปกรรมเป็ น หลั ก ฐานทางโบราณคดี แ ละพั ฒ นาการทางประวั ติ ศ าสตร์ ของจังหวัดน่านมีความยาวของฐานล่างซึ่งเป็นฐานเขียงรูปแท่งสี่เหลี่ยมด้านละ ๑๙.๒๕ เมตรและมีความสูงจากฐานต่างระดับพื้นดินจนถึงปลายสุดของดอกไม้ ทิพย์มีความสูง ๔๓.๔๙ เมตร นับเป็นพระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแผ่น ดิน ล้านนาเป็ น ปุ ช นี ยสถานที่ศัก ดิ์สิท ธิ์เ ป็นที่เ คารพนั บถื อ ของชาวจั ง หวั ด น่ า น ศิลปะพม่าที่พบเป็นแบบพม่ามัณฑะเลย์ มีดังนี้ - เจดีย์ - ซุ้มโขงตรงทางเข้าพระมหาธาตุเจดีย์พระธาตุแช่แห้ง - สิงห์

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

21


วัดพระธาตุแชแห้งนั้นถือเป็นศาสนสถานที่สำ�คัญของเมืองน่านหากจะกล่าวว่า ในด้านหน้าทางเข้าของวัดพระธาตุนั้นหากเหลือบมองจะเห็นเจดีย์ที่มีลักษณะ ที่แตกต่างจากเจดีย์พระธาตุแช่แห้งซึ่งเจดีย์นี้มีลักษณะการสร้างที่เอาแบบการ สร้ า งมาจากเจดี ย์ ช เวดากองของพม่ า ตามชื่ อ พระมาหาธาตุ ช เวดากองจำ � ลอง ซึ่งจากการสำ�รวจและศึกษานั้นจะพบว่าเจดีย์ชเวดากองเป็นรูปแบบการสร้าง เจดีย์แบบพม่ามัณฑะเลย์ซึ่งจะมีลักษณะที่สูงโปร่งกว่าเจดีย์ที่มาจากพุกามซึ่ง ลั ก ษณะเด่ น ชั ด ของเจดี ย์ แ บบพม่ า มั ณ ฑะเลย์ มี ลั ก ษณะที่ แ ยกออกมาได้ ดั ง นี้ -ส่ ว นมากเจดี ย์ แ บบศิ ล ปะมั ณ ฑะเลย์ จ ะพั ฒ นามาจากศิ ล ปะเจดี ย์ พ ม่ า แบบ พุ ก ามมี เ ส้ น ขอบนอกที่ ดู ร าบเรี ย บและกลมกลื น กั น ลั ก ษณะจะสู ง โปร่ ง - ปล้องไฉนลงมาถึงองค์ระฆังและฐานจะดูลื่นไหล - มีรูปแบบของฐานแบบชเวดากองเรียกว่าฐานแบบชิดมเย่าหรือฐานแปดเหลี่ยม - องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส - รอบฐานมีเจดีย์องค์เล็กลายรอบอยู่และมีเจดีย์องค์ใหญ่สี่องค์อยู่แต่ละมุมและชั้น ล่างของฐานมีอีกสามชั้นและมุมมีการย่อไม้เจ็ดทุกมุม - เหนือองค์ระฆังเป็นลวดบัวหลายชั้นต่อด้วยลายกลีบบัวสองแนวคั่นด้วยแนวลาย วงกลม - ยอดเป็นรูปคล้ายปลีกล้วย - เหนือขึ้นไปเป็นฉัตรปิดทองหรือตีและประดับเพชรพลอยซึ่งเจดีย์ชเวดากอง จำ�ลองของวัดพระธาตุแช่แห้งนั้นได้ตรงตามแบบแผนงานสถาปัตยกรรมการสร้าง เจดีย์แบบพม่าในยุคพม่ามัณฑะเลย์

22

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

23


ซุ้ ม โขงนี้ อ ยู่ ใ นตำ � แห่ ง ทางเข้ า ไปเจดี ย์ พ ระธาตุ แช่แห้งซึ่งจากการศึกษาและสังเกตุเห็นว่ารูปแบบ โครงสร้ า งของตั ว ซุ้ ม โขงถึ ง เป็ น งานปู น ปั้ น แต่ มี ความคล้ายกับงานแกะไม้รูปแบบทรงหลังคาซ้อน กั น แบบทรงพญาธาตุ ข องพม่ า มั ณ ฑะเลย์ แ ละ หากมองเข้าไปเหนือหน้าบันซุ้มตรงคานจะเห็น ว่ามีเทวดาหรือที่ชาวพม่านับถือกันคือเทพนัตอยู่ ด้วยซึ่งสร้างจำ�แนกได้ว่าซุ้มโขงนี้มีรูปแบบการ สร้างงานแบบศลิปะพม่ามัณฑะเลย์อยู่ลวดลาย ประดับตกแต่งเป็นลวดลายดอกไม้พันธุ์พฤกษา และลายเครือเถาว์และใบไม้ที่ขดไปมาสวยงาม จากคติความเชื่อของาวพม่าแล้วเทพนัตเปรียบ เหมือนรุกขเทวดาที่คอยปกปักรักษาองค์พระธาตุ เจดีย์นี้ไม่ให้ใครหรือภัยอันตรายเข้ามาทำ�ร้ายได้

รูปเทพนัตซึ่งในความเชื่อของชาวพม่านั้นหมายถึงสิ่งสักศิทธ์ที่ คอยปกปักรักษาองค์พระธาตุเจดีย์

24

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

ลักษณะรูปแบบโครงสร้างคล้ายคลึงกับ งานไม้แกะสลักในศิลปะพม่าในรูปแบบ ของเรือนไม้แบบทรงพญาธาตุแบบพม่า มัณฑะเลย์


ใบหน้าอ้าปากและ ตากลมโตขาหน้ายืน

ขาหลังนั่งยองกลางอก มีดอกไม้ประดับ

สิงห์ในทางคติความเชื่อแล้วนั้นเป็นสัตว์ที่ดุร้ายแต่หากได้ฟังเรื่องเล่าจากตำ�รา ต่างๆ นั้นสิงห์ถึงดุร้ายแต่ก็มีจิตรใจที่รักลูกและมีพลังมากน่าเกรงขามหากมองใน ด้านของศิลปะนั้นสิงห์ในล้านนาและพม่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ปกปักรักษาวัดและ อาณบริเวณวัดให้ปลอดภัยจากภัยอันตรายและมีความน่ากลัวและน่าเกรงขาม ในเวลาเดียวกันยังดูสวยด้วยลวดลายประดับดอกไม้พันพฤกษาต่างๆ อีกด้วยอีก นัยหนึ่งสิงห์ในตำ�นานนั้นถูกสร้างจากอุบายของพระเจ้าสีหพหุกุมารที่ได้ฆ่าพ่อที่ เป็นราชสีห์ของตนเองจึงคิดจะสร้างรูปปั้นสิงห์ขึ้นเพื่อจะกรอบไหว้แต่ก็กลัวชาว บ้านจะติชินนินทาจึงสร้างไว้ที่หน้าทางเข้าจะได้ไม่มีใครส่งสัยจนนิยมสร้างสิงห์ หน้าวัดมาจนถึงปัจจุบันจากการสำ�รวจพบว่าในบริเวณของตรงพระธาตุเจดีย์และ อุโบสถมีสิงห์อยู่ ๒ ตำ�แหน่งคือตำ�แหน่งแรกบริเวณหน้าทางเข้าอุโบสถและส่วนที่ สองอยู่ตรงมุมของกำ�แพงที่ล้อมรอบพระธาตุเจดีย์ซึ่งทั้งสองจุดนั้นจากการสำ�รวจ ลักษณะของสิงห์มีความคล้ายคลึงกันเพียงแค่สิงห์ตรงบริเวณมุมของกำ�แพงทีล้อม รอบเจดีย์นั้นจะตัวเล็กกว่าแต่ในส่วนลวดลายการประดับตกแต่งมีความเหมือนกัน

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

25



ศิลปะพมาในเมืองนาน โดย เฉลิมพล อินตะอาย 550310089



ศิลปะพม่าในเมืองน่าน © 2015 (พ.ศ. 2558) โดย เฉลิมพล อินต๊ะอ้าย สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย เฉลิมพล อินต๊ะอ้าย ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพ การศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​่

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน

29


a

30

ศิลปะพม่าในเมืองน่าน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.