หน้าที่พลเมือง

Page 1

พิมพ์ครั้งที่ ๗


คำนำ หน้าทีพ่ ลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวติ ในสังคม เป็นวิชาทีว่ า่ ด้วยการปฏิบตั ติ นเป็น พลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพื่อ ความสันติสุขในประเทศชาติและสังคมโลก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมได้ กำหนดให้ผู้เรียนต้องเรียนสาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ซึ่งได้กำหนดไว้ ดังนี้ วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม และการเปลีย่ นแปลง ทางสังคม ปฏิบตั ติ นและมีสว่ นสนับสนุนให้ผอู้ นื่ ประพฤติปฏิบตั ติ นเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและเสนอแนวทางพัฒนา วิเคราะห์ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและ เลือกรับวัฒนธรรมสากล วิเคราะห์ปญ ั หาการเมืองทีส่ ำคัญในประเทศจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พร้อมทัง้ เสนอแนวทางแก้ไข เสนอแนวทางทางการเมืองการปกครองที่จะนำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ ร่วมกันระหว่างประเทศ วิเคราะห์ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ คณะผู้เรียบเรียงได้จัดแบ่งเนื้อหาแยกย่อยเป็นหน่วยการเรียนรู้ เพื่อสะดวกแก่การจัดการเรียนการสอนและการศึกษาทำความเข้าใจ ซึ่งในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้รับสาระความรู้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักสูตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. ๔-๖ เล่มนี้ จะมีส่วนช่วยเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดคุณภาพ สมตามที่หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้ คณะผู้เรียบเรียง



๑. ความหมาย การอยู่ร่วมกัน และองค์ประกอบของสังคม

๑.๑ ความหมายของสังคม

สังคม คือ กลุ่มคนอย่างน้อยสองคนขึ้นไปมา อาศั ย อยู่ ร วมกั น ในบริ เ วณหนึ่ ง ซึ่ ง คนเหล่ า นี้ จ ะมี ความสั ม พั น ธ์ หรื อ การกระทำตอบโต้ กั น และกั น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความสัมพันธ์ทางตรง เช่น การพูดจาทักทาย การทำงานร่วมกัน การซื้อของ ขายของ และให้ความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นต้น สำหรับ ความสัมพันธ์ทางอ้อม ได้แก่ การเดินผ่านผู้คนที่เรา สังคมเกิดจากการที่คนสองคนขึ้นไปมาอยู่รวมกัน ไม่รู้จัก แต่เขาก็เป็นคนจังหวัดเดียวกัน หรือชาติ ในบริเวณหนึ่ง และมีการปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งความ เดียวกัน การใช้สิ่งของที่ผลิตขึ้นโดยคนที่ไม่เคยพบปะ สัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูกก็ถอื เป็นสังคมได้เช่นกัน เห็ น หน้ า กั น มาก่ อ น คนเหล่ า นี้ จ ะเป็ น กลุ่ ม ที่ เ รา สัมพันธ์กับพวกเขาโดยผ่านบุคคลอื่น ผ่านเอกสารหนังสือที่เขาเขียน หรือผ่านทางวิทยุและ โทรทัศน์ที่พวกเขาจัด และออกรายการ

๑.๒ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม

อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (social animal) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตโดยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า มีความเกี่ยวข้องกันและกัน และมีความสัมพันธ์กันในหมู่มวลสมาชิก โดยสาเหตุ ที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เพราะมีความจำเป็น ด้านต่างๆ ดังนี้ ๑. มนุ ษ ย์ มี ร ะยะเวลาของการเป็ น ทารก ยาวนานและไม่ ส ามารถช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองได้ ในระยะ เริ่มต้นของชีวิต ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์อื่น และด้ ว ยความจำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ก ารเลี้ ย งดู ท ารก เป็นระยะเวลานานนี้เอง ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องใช้ชีวิต มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะมนุษย์ต่างต้องเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่เป็น อยู่ร่วมกัน สร้างแบบแผนความสัมพันธ์กันเป็นครอบครัว พื้นฐานของชีวิต เป็นเพื่อนบ้าน และมีความสัมพันธ์กับคนในสังคมอื่นๆ 2

๒. มนุษ ย์มีความสามารถทางสมอง เพราะสามารถคิดค้นวิธีการในการควบคุม ธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ ในการตอบสนองความต้องการ ทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข ซึ่งการควบคุมธรรมชาติจำเป็นต้องอาศัยการแบ่งงาน และความร่ ว มมื อ จากบุ ค คลอื่ น เพื่ อ ให้ ง านบรรลุ ผลสำเร็จ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกันกับ คนหลายๆ คน เช่น การแสวงหาอาหาร ผลิตสิ่งของ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นต้น ๓. มนุ ษ ย์ มี ความสามารถในการที่ จ ะ สร้างวัฒนธรรมและส่งผ่านวัฒนธรรมไปสู่คนรุ่นหลัง ให้ได้รับรู้ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรม ษ ย์ คิ ด ค้ น และสร้ า งประดิ ษ ฐกรรมที่ ทั น สมั ย เหล่ า นี้ มี ทั้ ง ที่ เ ป็ น ปั จ จั ย พื้ น ฐานในการดำเนิ น ชี วิ ต มนุ ขึ้ น มา เพื่ อ อำนวยความสะดวกและตอบสนอง และวั ฒ นธรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความต้ อ งการอื่ น ๆ ความต้องการ เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น นอกเหนือไปจากสิ่งที่จำเป็นต่อชีวภาพ เช่น ต้องการความรัก ความอบอุ่น การจัดระเบียบ ทางสังคม ความเชื่อ ศาสนา ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น และด้วยเหตุนี้การถ่ายทอด วัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งจึงเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทำต่อเนื่องกันไป อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าการมีวัฒนธรรม ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าจะอยู่รวมกลุ่มคล้ายคลึงกับการเป็นสังคมก็ตาม ทั้งนี้เพราะมนุษย์จำเป็นต้องตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพและความต้องการทางวัฒนธรรม นอกจากนี ้ มนุษย์ยังมีความ คิดสร้างสรรค์ สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และแบบแผนของสังคมขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นั บ ตั้ ง แต่ ม นุ ษ ย์ อุ บั ติ ขึ้ น บนโลกเป็ น ครั้ ง แรกจนกระทั่ ง ปั จ จุ บั น ได้ ส ร้ า งประดิ ษ ฐกรรมและ วัฒนธรรมไว้มากมาย จึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์อื่นๆ อย่างสิ้นเชิง จนมีคำกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐเลิศล้ำกว่าสัตว์ใดๆ ในโลก”

๑.๓ องค์ประกอบของสังคม

สังคมมนุษย์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ๑) ประชากร จะต้องมีจำนวนตั้งแต่สองคนขึ้นไป สังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดก็คือ ครอบครัวที่มีพ่อ-แม่ หรือ พ่อ-แม่-ลูก ในขณะที่ชุมชนหรือหมู่บ้านจะมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นอำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ ตลอดจนสังคมโลก ที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกัน ราว ๖,๐๐๐ ล้านคน 3


๒. โครงสร้างทางสังคม พจนานุ กรมศั พ ท์ สั ง คมวิ ท ยา ฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พุ ท ธศั กราช ๒๕๒๔ ได้ ใ ห้ ความหมายของโครงสร้างทางสังคมว่า หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ค่อนข้างมั่นคง หรือการจัดระเบียบของกลุ่ม หรือสถานภาพของกลุ่ม เมื่อพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมโยงใย และเชื่อมต่อกันเป็นตาข่ายจึงมีการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามสถาบันทางสังคมแต่ละประเภท ซึ่งสถาบันทางสังคมเหล่านี้ ก็จะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนกลายเป็นโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางสังคมสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ระดับ ได้แก่ กลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม

๒.๑ ความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มสังคม

พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้ให้ความหมายว่า กลุ่มสังคม คือ กลุ่มบุคคลที่สมาชิกติดต่อสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบแบบแผน และเป็นที่ยอมรับ กลุ่มสังคมจะมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความสนใจคล้ายกัน ซึ่งทำให้กลุ่ม มีเอกลักษณ์แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ กลุ่มสังคมสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ กลุ่มปฐมภูมิและกลุ่มทุติยภูมิ โดยการมอง สังคมในระดับกลุ่มสังคม เป็นการมองในแง่ตัวคนที่มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี ความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ หากเป็นคนกลุ่มเล็กที่มีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อนสนิท เราจะเรียกว่า กลุ่มปฐมภูมิ ส่วนคนกลุ่มใหญ่ที่รวมตัวกันในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น โรงเรียน สมาคม องค์การ พวกเขาจะมีความสัมพันธ์กันแบบทุติยภูมิ เราจะ เรียกว่า กลุ่มทุติยภูมิ

๒.๒ ความสัมพันธ์ในระดับสถาบันทางสังคม

การมองสั ง คมในระดั บ สถาบั น ทางสั ง คม เป็ น การมองในแง่ ก ลุ่ ม ความสั ม พั น ธ์ นักสังคมวิทยาเชื่อว่า มนุษย์ต่างมีความสัมพันธ์กับผู้คนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ศาสนา นันทนาการ ดังนั้น จึงต้องจำแนกกลุ่ม ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นสถาบันทางสังคมประเภทต่างๆ เพื่อความสะดวกในการมอง ภาพของสังคมในแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจนมากขึ้น (ซึ่งรายละเอียดของสถาบันทางสังคมแต่ละ สถาบันจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราจะสามารถจำแนกกลุ่มความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม เป็นสถาบัน ทางสังคมประเภทต่างๆ แต่ตามสถานการณ์เป็นจริงนัน้ ลักษณะความสัมพันธ์ของผูค้ น มิใช่มเี พียง ด้านใดด้านหนึง่ แต่จะเชือ่ มโยงกันเสมือนเป็นตาข่าย โดยความสัมพันธ์ที่เป็นตาข่ายนี้จะอยู่ภายใต้ การจัดระเบียบทางสังคม เพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติตามและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ 5


โครงสร้างทางสังคมอาจเปรียบเสมือนโครงสร้างของตึก ซึ่งตึกประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ พื้น เสา ฝาผนัง และหลังคา แต่ละส่วนจะได้รับการจัดให้อยู่ ในตำแหน่งและหน้าที่ ตามประโยชน์ของแต่ละประเภท ส่วนประกอบทุกๆ ส่วนจะมีความสัมพันธ์เกื้อหนุนและโยงใย ต่อกันและกัน เช่น โครงสร้างของตึกทั้งหลัง หากขาดเสาหรือหลังคาตึก ก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ ในสภาพของตึก สังคมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน กล่าวคือ สังคมดำรงอยู่ได้เพราะมีสถาบันต่างๆ กฎระเบียบและกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นโครงสร้างที่ยึดโยงให้สังคมดำรงอยู่ได้ ไม่แตกสลาย โครงสร้างสังคมมีความหมายกว้างขวางมาก โดยหมายถึงการจัดระเบียบในสังคมทั้งหมด รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่มคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นไปทั้งในทางความร่วมมือ สนับสนุนซึ่งกันและกัน การแข่งขัน การขัดแย้ง การประนีประนอม หรือการเอารัดเอาเปรียบกัน ก็ได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่มต่างๆ นั้น จะต้องเป็นไปตามแบบแผน หรืออยู่ใน กรอบแห่งโครงสร้างสังคมนั่นเอง จะเห็นได้ว่า โครงสร้างทางสังคมเป็นภาพรวมของสังคม ทำให้เราสามารถมองเห็นสังคม ว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร และระบุได้ว่านี่คือโครงสร้างสังคมไทย โครงสร้างสังคมจีน โครงสร้าง สังคมอังกฤษ ที่มีความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ ในอดีตราวปี ค.ศ. ๑๔๙๐ จอร์น เอมบรี นักวิชาการชาวอเมริกัน ได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีโครงสร้างทางสังคมแบบหลวมๆ ทั้งนี้เขาได้ สังเกตจากการที่คนไทยมักปฏิบัติตนตามอำเภอใจของตนเองมากกว่าที่จะกระทำตามกฎเกณฑ์ ของสังคม ข้อความนี้ได้รับการคัดค้านจากนักวิชาการของไทยว่าไม่เป็นความจริง เพราะกฎระเบียบ ทางสังคมได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และผู้คนต่างมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเหนียวแน่น ยิ่งในปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กฎหมายได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อ การดำรงชีวิต ยิ่งทำให้โครงสร้างสังคมต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะสมาชิกต่างต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายและกฎศีลธรรมอย่างเคร่งครัด กล่าวโดยสรุป การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวม ของสังคมได้แจ่มชัด และสามารถระบุได้ว่าสังคมนั้นๆ จะมีความมั่นคงแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน โดยดูได้จากการทำหน้าที่ของสถาบันทางสังคมต่างๆ ว่ามีความสอดคล้อง สมดุล สนับสนุน หรือแข่งขันตามกฎกติกาหรือไม่เพียงใด ในทางตรงกันข้ามโครงสร้างสังคมจะอ่อนแอไม่มั่นคง หากว่าความสัมพันธ์และสถาบันทางสังคมมีแต่ความขัดแย้ง คนในสังคมไม่ทำตามบรรทัดฐาน ทางสังคมที่วางไว้ ปัญหาของสังคมก็จะมีปรากฏขึ้น ในที่สุดสังคมก็จะประสบแต่ความสับสน วุ่นวาย และไร้ระเบียบ 6

๓. สถาบันทางสังคม เมื่อคนมาอาศัยอยู่ร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างกัน ความสัมพันธ์เหล่านั้น จะเชื่อมโยงกันไปมาเสมือนเป็นแบบแผนที่มั่นคง หากจัดแบ่งความสัมพันธ์เหล่านีอ้ อกเป็นเรือ่ งๆ เราก็จะเห็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เราเรียกกลุ่มความสัมพันธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ว่า “สถาบันทางสังคม (social institution)” ซึ่งจะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้ให้ความหมาย ของสถาบันทางสังคมว่า หมายถึง ยอดรวมของรูปแบบความสัมพันธ์ กระบวนการ และวัสดุอุปกรณ์ ที่สร้างขึ้น เพื่อสนองประโยชน์สำคัญๆ ทางสังคมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทุกสถาบันจึงมีจารีตประเพณี กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมปฏิบัติ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ของตนเอง เช่น อาคารสถานที่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น สถาบันทางสังคมตามนัยแห่งสังคมวิทยานั้น มิใช่จะปรากฏออกมาในรูปที่เป็นทางการ เช่น การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวในบ้านแห่งหนึ่ง (สถาบันครอบครัว) ธนาคาร สำนักงาน ตลาดสด (สถาบันทางเศรษฐกิจ) โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย (สถาบันการศึกษา) เท่านั้น แต่รวมไปถึงรูปแบบทีไ่ ม่เป็นทางการด้วย ซึง่ ในแต่ละสังคม จะมีสถาบันทางสังคมทีเ่ ป็นพืน้ ฐาน ดังนี้

๓.๑ สถาบันครอบครัว

สถาบันครอบครัว คือ แบบแผนพฤติกรรมของคนที่มาติดต่อเกี่ยวข้องกันในเรื่องเกี่ยวกับ ครอบครัวและเครือญาติ นั่นคือคนที่เป็นญาติกันโดยสายเลือด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง และเป็นญาติกัน ทางการแต่งงาน เช่น สามีภรรยา เขยสะใภ้ หรือการรับไว้เป็นญาติ เช่น บุตรบุญธรรม เป็นต้น คนเหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แบบแผนที่สังคมเป็นผู้กำหนดขึ้น รวมเรียกว่า “สถาบัน ครอบครัว” บทบาทและหน้ า ที่ ข องสถาบั น ครอบครั ว คือ การให้สมาชิกใหม่กบั สังคม ดูแลและทำนุบำรุง รวมทัง้ ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่สมาชิกใหม่ทกี่ ำเนิดขึน้ มาใน สั ง คม ตลอดจนกำหนดแนวปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ความ สัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว เช่น การเลือกคู่ การ หมัน้ การแต่งงาน เป็นต้น สถาบั น ครอบครั ว เป็ น สถาบั น พื้ น ฐานแรกสุ ด ที่ มี ความสำคั ญ อย่ า งยิ่ ง เพราะเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ สถาบันอื่นๆ ในสังคม และทำหน้าที่อบรมขัดเกลา สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานแรกสุดของ สังคม ซึง่ มีหน้าทีส่ ำคัญในการอบรมและขัดเกลาให้ ให้สมาชิกในครอบครัวเป็นคนดีของสังคม สมาชิกในครอบครัวเป็นคนดี 7


๓.๒ สถาบันเศรษฐกิจ สถาบั น เศรษฐกิ จ คื อ แบบแผนการคิ ด การกระทำเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งของการผลิ ต สิ น ค้ า และบริการ การจำหน่ายแจกจ่ายสินค้าและการให้บริการต่างๆ รวมทั้งการบริโภคของสมาชิก ในสังคม สถาบันเศรษฐกิจเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ลูกจ้าง นายจ้าง เจ้าของโรงงาน ธนาคาร และ ผู้ผลิตสินค้าและบริการจะต้องปฏิบัติตาม แม้แต่ผู้ประกอบการอิสระและเกษตรกร ก็จะต้อง ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของการประกอบอาชีพที่ดีเช่นเดียวกัน สถาบันเศรษฐกิจเป็นความสัมพันธ์ในแง่ของการผลิต การแลกเปลี่ยน และการบริโภค ซึ่งการปฏิสังสรรค์กันทางสังคมในแง่นี้ อาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและ ญาติ หรือกับบุคคลอื่น ทั้งที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกัน หรือต่างสังคมกันก็ได้ บทบาทและหน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ คือ สร้างแบบแผนและเกณฑ์ในการผลิตสินค้า ให้ได้มาตรฐาน กำหนดกลไกราคาทีเ่ หมาะสม รวมทัง้ ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคและเทคโนโลยี ซึ่ง คนๆ เดียวไม่สามารถที่จะกระทำหรือผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด จึงต้อง พึ่ ง พาอาศั ย คนอื่ น ให้ ช่ ว ยทำให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต ที่ เ ป็ น อาหารและของใช้ ส่ ง ผลให้ ค นเราต้ อ งมี ความสัมพันธ์กบั คนอืน่ ๆ และภายหลังทีผ่ ลิตขึน้ มาได้แล้วก็จำเป็นต้องนำไปแลกเปลีย่ นกับของชนิดอืน่ ที่เราไม่ได้ทำขึ้นเอง กล่าวได้ว่ากระบวนการแลกเปลี่ยนจึงเป็นหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์ ของคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการผลิตสินค้าและบริการจำนวนมาก

๓.๓ สถาบันการเมืองการปกครอง

สถาบันการเมืองการปกครอง คือ แบบแผนการคิดการกระทำที่จะแตกต่างกันออกไป ในแต่ละสังคมโดยขึ้นอยู่กับปรัชญาความเชื่อพื้นฐานของคนในสังคมว่าต้องการจะให้เป็นแบบ เสรีประชาธิปไตย หรือแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือแบบคอมมิวนิสต์ เมื่อได้เลือกรูปแบบ การปกครองแล้วก็ต้องจัดการบริหารการปกครองให้เป็นไปตามปรัชญาการเมืองแบบนั้นๆ ตามแนวทางทีเ่ ห็นว่าถูกต้องเหมาะสม บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครองที่สำคัญ คือ การรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของชาติ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎร สร้างความมั่นคงและรักษาสิทธิประโยชน์ ของประเทศชาติ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยจะครอบคลุมทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ซึ่งบางส่วนจะทำหน้าที่ในการตรากฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับ และ บางส่วนจะทำหน้าทีบ่ ริหารงาน เพื่อให้สังคมดำรงอยู่และพัฒนาต่อไปได้ โดยในระดับชาติ เช่น 8

นักการเมือง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา เป็นต้น และในระดับท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เป็นต้น

๓.๔ สถาบันการศึกษา สถาบันการศึกษา คือ แบบแผนของการคิด และการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการอบรมให้การศึกษา แก่สมาชิกใหม่ของสังคม รวมทั้งถ่ายทอดวัฒนธรรม จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วย สถาบันทางการ ศึ ก ษาเป็ น สถาบั น ที่ ค รอบคลุ ม ในเรื่ อ งที่ เ กี่ ย วกั บ หลักสูตร การสอบเข้า การเรียนการสอน การฝึก อบรมในด้านต่างๆ เป็นต้น สถาบั น การศึ ก ษาทำหน้ า ที่ ใ ห้ ค วามรู้ ใ นหลายๆ นกั บ สมาชิ ก ในสั ง คม เช่ น ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการศึกษา คือ ด้ด้าานการวิ จัย เป็นต้น ส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมเกิดความเจริญงอกงาม ในด้านต่างๆ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการวิจัย เป็นต้น ส่งเสริมให้บุคคลเป็นคนดี มีศีลธรรม มีค่านิยมที่ดีงาม รู้จักสิทธิหน้าที่ที่ตนพึงปฏิบัติต่อสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ เกิดการเปลีย่ นแปลงและการปฏิรปู สังคม เบือ้ งต้นการอบรมขัดเกลาสมาชิกของสังคมเป็นหน้าทีข่ องครอบครัว ส่วนการจัดการศึกษา เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ มีคุณธรรม และวิชาชีพต่างๆเพื่อจะได้นำไปใช้ ในการดำเนินชีวิต ในสังคมต่อไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของรัฐและเอกชนในการจัดให้ โดยจะจัดเป็นโรงเรียน ที่มีครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่ร่วมมือในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชน แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาในระบบที่ไม่เป็นทางการก็มีปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมและ ถือว่าเป็นสถาบันทางการศึกษาได้เช่นกัน เช่น พ่อแม่สอนหนังสือและอบรมสั่งสอนลูกที่บ้าน พ่อสอนลูกทำนาทำสวน พระเทศนาธรรมให้พุทธศาสนิกชนฟังการรับฟังข่าวสารจากสื่อมวลชน แขนงต่างๆ เป็นต้น

๓.๕ สถาบันศาสนา สถาบันศาสนา คือ แบบแผนการคิดและการกระทำของสถาบันทีเ่ กีย่ วพันระหว่างสมาชิกของสังคม กับนักบวช คำสอน ความเชือ่ สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ อำนาจทีน่ อกเหนือธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของสังคม การนับถือศาสนาจะเกีย่ วพันกับการดำเนินชีวติ ของคนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอกาสสำคัญต่างๆ ของชีวิต หรือในช่วงเวลาที่ผ่านพ้น จากสถานภาพหนึ่งไปสู่อีกสถานภาพหนึ่ง เช่น ตอนเกิด ตอนเข้าสู่วัยรุ่น ตอนแต่งงาน เป็นต้น

9


บทบาทและหน้าที่ของสถาบันศาสนา คือ เป็นศูนย์รวมความศรัทธา สร้างแบบแผน แนวทางการดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคม วางกรอบความประพฤติดีประพฤติชอบให้สมาชิกใน สังคม รวมทั้งควบคุมสมาชิกในสังคม โดยจะสอนให้บุคคลที่นับถือสร้างแต่ความดีและละเว้นการ ทำความชั่ ว ตลอดจนเป็ น หลั ก ในการสร้ า งและ รักษาสังคมให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง

๓.๖ สถาบันนันทนาการ

สถาบันนันทนาการ คือ แบบแผนการคิดและ การกระทำที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ หลังจากการทำงานที่เหน็ดเหนื่อยของคนในสังคม เพื่อ ให้การดำรงชีวิตมีความสุขสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น บทบาทและหน้าที่ของสถาบันนันทนาการ คือ การเล่นดนตรีเป็นการพักผ่อนหย่อนใจเพื่อความ การทำให้ ค นในสั ง คมผ่ อ นคลายความตึ ง เครี ย ด บันเทิงและสามารถสร้างเป็นอาชีพได้ หากได้มี การฝึกฝนจนชำนาญ เพิ่ ม พู น อนามั ย ที่ ดี ใช้ เ วลาว่ า งให้ เ ป็ น ประโยชน์ ในทางสร้างสรรค์ต่างๆ รวมทั้งสนองความต้องการทางสังคม ในรูปแบบความบันเทิงต่างๆ เช่น ศิลปะ การละเล่น กีฬา เป็นต้น โดยผลที่ตามมานอกจากความผ่อนคลาย ความเพลิดเพลินใจ แล้ว ก็คือทำให้มีละคร ภาพยนตร์ งานบันเทิง มหรสพ ดนตรี ฟ้อนรำ ขึ้นมาในสังคม สถาบั น นั นทนาการจำเป็นที่จะต้อ งมีบุ ค คลวิ ธี การสำหรั บ ดำเนิ น การ และการฝึ ก ฝน เป็นระยะเวลานานจนเกิดความชำนาญ จนทำให้การแสดงสมจริง สามารถสร้างความเพลิดเพลิน บันเทิงใจแก่คนทั่วไปได้ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปิน ผู้จัดการ และคนดูทั่วไป จึงเกิดขึ้น และสอดคล้องกันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันความสัมพันธ์ดังกล่าวได้มีความสำคัญและสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ ด้านบันเทิงทั้งหลายกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีผู้คนทำงานในกิจการประเภทนี้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่ทำรายได้สูง จึงเป็นที่ใฝ่ฝันของผู้คนทั่วไปที่ต้องการเข้าวงการบันเทิง

๓.๗ สถาบันสื่อสารมวลชน สถาบันสื่อสารมวลชน คือ แบบแผนการสื่อสารระหว่างบุคคลในสังคมที่มีการขยายตัว กว้างใหญ่ขึ้น ครอบคลุมอำเภอ จังหวัด ประเทศ และโลก โดยแบบแผนดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อ ลดข้อจำกัดในแง่ของระยะทางและเวลา ในรูปของหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต บทบาทและหน้าที่ของสถาบันสื่อสารมวลชน คือ การส่งข่าวสาร นำเสนอความคิดเห็น ของประชาชนออกไปสู่ ส าธารณชนเพื่ อ ให้ รั บ รู้ ข่ า วสารทั น กั บ ความเปลี่ ย นแปลงของสั ง คม 10


๔.๑ ความหมาย

การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่คนในสังคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็น ระเบียบกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้ ได้ รั บ การจั ด ให้ เ ป็ น แบบแผน ทำให้ สั ง คมรั บ รู้ ว่ า ควรจะปฏิบัติตนและกระทำอย่างไร ในแต่ละโอกาส เวลา สถานการณ์ และสถานภาพ เรียกแบบแผน และกฎเกณฑ์ทางสังคมเช่นนี้ว่า “ระเบียบทางสังคม” กฎระเบียบทางสังคมได้รับการสร้างขึ้น เพื่อใช้ เป็นแนวทางให้คนในสังคมถือปฏิบัติต่อกันตามฐานะ สถานการณ์ และโอกาส กฎระเบี ย บจึ ง เป็ น ที่ รู้จัก กฎจราจรเป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดระเบียบทาง และเข้าใจกันในหมู่ของคนในสังคมเดียวกัน ทำให้ สังคม เพื่อควบคุมการจราจรให้มีความคล่องตัว และปลอดภัย เกิ ด ความรู้ สึ ก เป็ น หมู่ พ วกและสามารถอยู่ ร่ ว มกั น ในสังคมนั้นๆ ได้อย่างเป็นปกติสุข การจัดระเบียบทางสังคมจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม ทั้งนี้เป็นผลมาจากความคิด ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์ และบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง และการส่งผ่านกฎเกณฑ์ทางสังคมให้แก่ผู้ที่เป็นสมาชิก ดังจะเห็นได้ว่าสังคมไทยจะแตกต่าง จากสั ง คมจี น สั ง คมญี่ ปุ่ น สั ง คมอั ง กฤษ หรื อ แม้ แ ต่ ใ นสั ง คมเดี ย วกั น ความแตกต่ า ง ก็อาจเกิดขึ้นได้ตามภูมิภาค จังหวัด เพราะอาจมีการสืบเชื้อสายมาจากต่างชาติพันธุ์แล้วมาอาศัย อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแม้ว่าความแตกต่างของการจัดระเบียบทางสังคมจะมีขึ้นระหว่าง กลุ่ ม เล็ ก กลุ่ ม น้ อ ย แต่ ก็ จ ะมี ก ฎเกณฑ์ ข องสั ง คมในระดั บ ประเทศครอบคลุ ม และกำหนดให้ พลเมืองของประเทศนั้นๆ ปฏิบัติตาม จึงเป็นผลให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่น

๔.๒ องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคมเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้นและเป็นส่วนหนึ่ง ของวั ฒ นธรรม คนในสั ง คมสามารถนำมาใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ใ นการอยู่ ร่ ว มกั น เป็ น สั ง คม องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ ๑) ระบบคุณค่าของสังคม (social value) ถือเป็นหัวใจหรือเป้าหมายสูงสุด ที่สังคมปรารถนาจะให้บังเกิดขึ้น คุณค่านี้เป็นสิ่งที่สมาชิกของสังคมยอมรับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม 12

น่ายกย่อง และสมควรกระทำให้บรรลุผล เพราะจะก่อให้เกิดความร่มเย็นและความพึงพอใจของ สังคมทั้งมวล อาจมีการเรียกระบบคุณค่าของสังคมว่าเป็น “สัญญาประชาคม” ที่เกิดขึ้นจากการ ผสมผสานและการสังเคราะห์ระหว่างความเชื่อปรัชญา ศาสนา อุ ด มการณ์ และภู มิ ปั ญ ญาของสั ง คมที่ หล่อหลอมจนเกิดเป็นคุณค่าหรือค่านิยมที่พึงยกย่อง เช่ น เสรี ภาพ ความรั ก ชาติ ความดี มี คุ ณ ธรรม ความเสมอภาค ความยุติธรรม และความสุขที่เป็นผล มาจากความสำเร็จ อันเกิดจากความขยันหมั่นเพียร ในการทำงาน เป็นต้น ระบบคุณค่าของสังคมทำหน้าที่เสมือน หนึ่งเป็นสมองของมนุษย์ ที่เป็นศูนย์รวมกำหนดให้ บรรทัดฐานทางสังคมไทย กำหนดให้ลูกศิษย์ที่ดี ต้องเคารพเชื่อฟังครูอาจารย์และตอบแทนบุญคุณ ส่ ว นต่ า งๆ ของร่ า งกายดำเนิ น งานไปตามกลไก เท่าที่กระทำได้ ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด เป้าหมายของสังคมก็เป็น เช่นเดียวกันเพราะเป็นเป้าหมายที่สมาชิกของสังคมนั้นประสงค์ที่จะก้าวไปให้ถึง ๒) บรรทัดฐานหรือปทัสถานทางสังคม (social norms) หมายถึง มาตรฐาน การปฏิ บั ติ ตามบทบาทและสถานภาพของแต่ ล ะบุ ค คล บรรทั ด ฐานทางสั ง คมเป็ น ระเบี ย บ แบบแผนที่กำหนดว่า การกระทำใดถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควรยอมรับ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตาม ทิศทางของระบบคุณค่าทางสังคมนั่นเอง กล่ า วอี ก นั ย หนึ่ ง คื อ ระบบคุ ณ ค่ า เป็ น เป้ า หมายของสั ง คม บรรทั ด ฐานเป็ น มาตรฐานหรือแนวทางการกระทำตอบโต้กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสังคมนั้นๆ ตัวอย่างของบรรทัดฐานทางสังคม เช่น เมื่อสังคมต้องการจะให้สมาชิกของสังคม เป็นคนดีมีศีลธรรม สังคมก็จะกำหนดมาตรฐานของความเป็นคนดีมีศีลธรรมว่าควรเป็นเช่นไร ผู้ที่เป็นพ่อ นักเรียน ครูอาจารย์ หรือประชาชน ก็จะรับรู้ถึงมาตรฐานนั้น และกระทำตนเป็นคนดี ตามมาตรฐานนั้น โดยละเว้นจากการกระทำชั่ว หรือไม่กระทำในสิ่งที่สังคมไม่พึงปรารถนา บรรทัดฐานจึงเป็นเหมือนกลไกทางสังคมที่คอยควบคุมความประพฤติของสมาชิก ในสังคม ถ้าสังคมใดขาดบรรทัดฐานก็จะทำให้สังคมนั้นเกิดความวุ่นวาย บรรทัดฐานจึงมี ประโยชน์มากในสังคม เพราะหากมีผู้ฝ่าฝืนบรรทัดฐานย่อมได้รับการตอบโต้จากสมาชิกคนอื่น ในสังคมซึ่งการตอบโต้ดังกล่าวเป็นกลไกทางสังคมอย่างหนึ่งที่ทำให้บุคคลปฏิบัติตามกรอบ หรือกฎเกณฑ์ทางสังคม 13


ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าปฏิกิริยาตอบโต้ทำให้เราสามารถรับรู้ ได้ว่าบรรทัดฐาน มีปรากฏในสังคม เช่น ถ้าพูดจาไม่สุภาพในที่สาธารณะหรือต่อคนอื่น คนทั่วไปก็จะมองหน้า หรืออาจถูกว่ากล่าวตักเตือนจากผู้ใหญ่ที่รู้จักมักคุ้น หากประพฤติผิดดื่มสุราอาละวาด เจ้าพนักงาน ของรัฐมีอำนาจควบคุมตัวไปที่สถานีตำรวจ หรือหากฆ่าคนตายก็จะถูกจำคุก เป็นต้น ตัวอย่างดังที่ได้กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่าระดับของความผิดที่แตกต่างกันก็จะได้รับ การตอบโต้ จากสั ง คมหนั ก เบาแตกต่ า งกั น ไปตามความผิ ด ที่ ไ ด้ กระทำ ในทางตรงกั น ข้ า ม หากยึดถือและกระทำตามกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานทางสังคม ก็จะได้​้รับคำชมเชยหรือรางวัล จากสังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของการกระทำนั้นๆ ว่าสังคมให้คุณค่าในระดับใด นานาสาระ แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมไทย

1. ตระหนักว่าเราอยู่ร่วมกันในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ภายใต้หลังคาเดียวกัน ทุกคนต้องรับผิดชอบสังคมร่วมกัน 2. แลกเปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน ในการดำรงชีวิตอยู่ เราจำเป็นต้องมีปัจจัยสี่ ในขณะที่มีความ แตกต่างทางฐานะกันอยู่มาก เราจึงไม่ควรแบ่งแยกคนรวยและคนจน แต่ให้มองดูว่าทุกคนเป็นสมาชิกของสังคม ดังนั้น ทุกคนควรได้รับปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกัน 3. เคารพกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน ๔. การใช้วาจาแห่งความรัก ความเมตตา 5. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อกันและกัน 6. ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับข่มขู่ให้ผู้อื่นคิดตามเรา และร่วมกันตัดสินใจ หากคนในสังคมสามารถกระทำได้ตามแนวทางที่ได้กล่าวมานี้ จะส่งผลให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีแต่ความสุข และสังคมจะเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ที่มา : http://www.dmh.go.th/sty_libnews/ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

การกระทำทางสังคมอาจจำแนกออกเป็นระดับต่างๆ ซึ่งแต่ละระดับอาจเรียกว่า “ประเภทของบรรทัดฐาน” ประกอบด้วย ๒.๑) วิถีประชา (folkways) หรือธรรมเนียมชาวบ้าน เป็นระเบียบแบบแผนที่ สมาชิ ก ในสั ง คมควรปฏิ บั ติ ตาม ถ้ า หากไม่ ป ฏิ บั ติ ตามหรื อ ฝ่ า ฝื น จะถู ก สั ง คมตำหนิ ติ เ ตี ย น หรือมีปฏิกิริยาตอบโต้ที่ไม่รุนแรง แต่หากว่าทำความดีตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดจะได้รับ คำชมเชยเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้กำลังใจ เช่น หากนักเรียนแต่งกายไม่เรียบร้อยหรือพูดจาไม่สุภาพ จะได้รับการตำหนิจากพ่อแม่หรือครูอาจารย์ หากนักเรียนเก็บของได้แล้วนำไปคืนแก่เจ้าของ ก็จะได้รับคำขอบคุณและคำชมเชย เป็นต้น 1๔

๒.๒) จารี ต (mores) หรื อ อาจเรี ย กว่ า กฎศี ล ธรรม หรื อ จารี ต ประเพณี เป็นมาตรฐานการกระทำที่สำคัญมากขึ้น ผู้ที่ทำผิดจารีตจะถูกนินทาว่าร้าย ถูกตำหนิอย่างรุนแรง และเป็นที่รังเกียจของสังคมทั่วไป โดยเฉพาะในสังคมที่ยังไม่มีภาษาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จารี ต จะเป็ น เสมื อ นกฎสั ง คมที่ รุ น แรงที่ สุ ด เช่ น หากใครทำผิ ด เรื่ อ งชู้ ส าวจะถู ก ขั บ ออก จากสังคม หรือต้องโทษประหารชีวิต เป็นต้น จารี ต เป็ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ค่ า นิ ย ม ปรั ช ญา และอุ ด มการณ์ ข องสั ง คมที่ เ ป็ น กฎเกณฑ์หลักของสังคม เช่น พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่ชาวพุทธให้ความเคารพนับถือ พุทธศาสนิกชน จะโกรธแค้นหากมีผู้แสดงอาการไม่เคารพ โดยผู้กระทำจะได้รับโทษอย่างรุนแรง หรือการอกตัญญู ต่อพ่อแม่และครูอาจารย์ถือว่าเป็นการผิดจารีตอย่างรุนแรง เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม สังคมจะให้รางวัลสูงสุดและยกย่องหรือเลื่อนชั้นทางสังคม ให้บุคคลที่กระทำความดีอันมีคุณค่ายิ่งแก่สังคม เช่น นักพัฒนาดีเด่น พ่อตัวอย่าง เป็นต้น ๒.๓) กฎหมาย (law) เป็นข้อบังคับที่รัฐจัดทำขึ้น หรือมาตรฐานของสังคม หรือจารีตประเพณีที่ได้รับการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนตาม ระดับความรุนแรงของการกระทำไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างวิถีประชา จารีต และกฎหมาย ก็คือ กฎหมาย ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบังคับใช้กับทุกคนในสังคม หรือในระดับโลกก็จะมีกฎหมาย สากลเขียนไว้ ในขณะที่วิถีประชาและจารีตมักไม่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ทุกคนในสังคม จะรับรู้ว่ามีปรากฏอยู่และใช้เป็นมาตรฐานการดำรงชีวิตในสังคม อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันมีการบันทึกวิถีประชาและจารีตเป็นลายลักษณ์อักษร ไว้บ้างแล้ว เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสามารถใช้เปรียบเทียบกับวิถีประชาและจารีตของ สังคมอื่นๆ ได้ จะเห็นได้ว่าบรรทัดฐานทางสังคมเป็นกลไกที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้เป็นไปตามทิศทาง เป้าหมาย และกฎระเบียบที่สังคมวางไว้ บรรทัดฐานจึงมีได้ทั้งสองนัย คือ มีการลงโทษต่อผู้ฝ่าฝืน หรือให้รางวัลแก่ผู้ที่กระทำตามบรรทัดฐาน ๓) สถานภาพและบทบาท ในสั ง คมต่ า งๆ ที่ เ ราพบเห็ น นั้ น เมื่ อ ดู ผิ ว เผิ น ก็จะพบคนและกลุ่มคนมากมาย บ้างก็ทักทายปราศรัยกันหรือทำงานร่วมกัน บ้างก็เดินผ่านกันไปมา โดยไม่ได้สนใจกัน ซึ่งปรากฏการณ์ดังนี้สามารถพบเห็นได้ในทุกสังคม แต่หากมองลึกลงไป คนในสังคมต่างมีการกระทำโต้ตอบกัน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ตามตำแหน่งและหน้าที่ ในสังคม เราเรียกตำแหน่งทางสังคมว่า “สถานภาพ” และหน้าที่ที่กระทำตามตำแหน่งว่า “บทบาท” 15


เป็นต้น หมายความว่าตำแหน่งที่ ได้มานั้นต้องใช้ความสามารถของตนกระทำจึงจะได้มา เช่น สถานภาพเป็นนักเรียน เมื่อเรียนจบได้ทำงาน สถานภาพก็เปลี่ยนแปลงจากนักเรียนเป็นพนักงาน บริษัทหรือพนักงานของรัฐ และเมื่อประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน สถานภาพก็เปลี่ยน เป็นผู้จัดการบริษัทหรือได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกคนจะต้องปฏิบัติงานตามสถานภาพและ บทบาทของตน เช่น เมื่อเป็นนักเรียนการปฏิบัติตามบทบาทก็จะต้องตั้งใจเรียน สถานภาพเป็นลูก ก็จะต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ เมื่อสถานภาพเป็นสามีหรือภรรยาก็ต้องมีหน้าที่ในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี ให้การศึกษาแก่ลูก เป็นต้น จึ ง กล่ า วได้ ว่ า การอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คมแต่ ล ะคนก็ จ ะมี ส ถานภาพและบทบาทที่ สั ง คมกำหนด และมี การกระทำต่ อ กั น ตามบรรทั ด ฐานและระบบคุ ณ ค่ า ที่ มี อ ยู่ ใ นสั ง คมนั้ น แต่อย่างไรก็ตามหลายครั้งที่คนมีสถานภาพขัดกัน เช่น เมื่อเป็นนักเรียนจะต้องเป็นเด็กดี และขยันเรียนหนังสือ แต่หากอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่เกเร ไม่สนใจเล่าเรียน มั่วสุม และสร้างพฤติกรรม ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับคนทั่วไป ก็จะทำให้เราซึ่งมีสถานภาพเป็นนักเรียนและเป็นเพื่อน ในเวลาเดียวกัน กระทำตัวไม่ถูกว่าจะตั้งใจเรียนหรือหนีเรียนไปกับเพื่อนในกลุ่ม เพราะไม่ ต้องการเสียทั้งการเรียนและเพื่อน เราเรียกว่า “สถานภาพที่ขัดแย้งกัน” ซึ่งก่อให้เกิดบทบาท ที่ขัดแย้งกันตามไปด้วย โดยการแก้ไขก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น ปรึกษาหารือกับครูอาจารย์ หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือการเกลี้ยกล่อมให้เพื่อนกลุ่มดังกล่าวหันมาตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และหาเวลาพากันไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

๕. การขัดเกลาทางสังคม พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้ให้ความหมายของการขัดเกลาทางสังคมว่า หมายถึง กระบวนการที่คนเรียนรู้การเป็นสมาชิก ของกลุ่มหรือของสังคม โดยการซึมซับเอาบรรทัดฐานและค่านิยมทางสังคมมาเป็นของตน และเรียนรู้ในการปฏิบัติตนตามบทบาทและภาระหน้าที่ทางสังคม เช่น ลูก เพื่อน นักศึกษา ผู้สูงอายุ ดังนั้น การขัดเกลาทางสังคมจึงเป็นทั้งกระบวนการทางสังคมและจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้ บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ โดยเด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอน ให้มีความเป็นคนโดยแท้จริง สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดขึ้นมาในโลก ตัวแทนสำคัญ ที่ทำหน้าที่ในเรื่องนี้ ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนา ตลอดจน 17


สื่อมวลชนต่างๆ โดยตัวแทนเหล่านี้จะทำให้บุคคลได้ตระหนักถึงคุณธรรม คุณค่า และอุดมคติ ที่สังคมยึดมั่น ได้เรียนรู้บรรทัดฐาน และขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ใช้อยู่ในสังคม

๕.๑ ประเภทของการขัดเกลาทางสังคม

การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้ ๑) การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง เช่น การอบรมขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร สอนให้เรียกพี่น้อง ปู่ย่า หรือ ครูอาจารย์จะสอนความรู้และวิทยาการให้แก่นักเรียนในชั้นเรียน เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับ จะรู้สึกตัวในกระบวนการขัดเกลา เพราะเป็นการอบรมกล่อมเกลากันโดยทางตรง ๒) การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ เป็นต้น ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆ ซึมซับ เข้าไปในจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ และจะไม่ยอมรับหากกระทำในสิ่งที่ แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึงการอ่านนวนิยาย และหนังสือต่างๆ การเข้าร่วมในกลุ่มเพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัว และพัฒนาบุคลิกภาพ

๕.๒ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม

กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เกิดขึ้นในทุกองค์กรทางสังคม โดยการอบรมกล่อมเกลา ให้ ส มาชิ ก ใหม่ ไ ด้ รั บ รู้ แ ละกระทำตามกฎเกณฑ์ ที่ สั ง คมวางไว้ ในที่ นี้ ไ ด้ จ ำแนกองค์ กรที่ ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมไว้ ดังนี้ ๑) ครอบครัว เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งครอบครัวจะทำหน้าที่อบรมสั่งสอนสมาชิกให้เป็นพลเมืองดี ปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ และแบบแผนที่สังคมกำหนด ๒) โรงเรียน เป็นองค์กรที่มีภาระหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมต่อจากครอบครัว เพื่อสั่งสอนความรู้ วิทยาการ และศีลธรรมจรรยา ตลอดจนการปรับตัวของเด็กในสังคมที่ กว้างออกไปจากครอบครัว ๓) สถาบันศาสนา ดังที่กล่าวในเรื่องสถาบันศาสนาไว้ข้างต้นแล้วว่า ศาสนาเป็น สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกในสังคม ศาสนาทุกศาสนามีข้อกำหนดให้คนในสังคมเป็นคนดี มีศีลธรรม และให้อยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างเป็นสุข ดังนั้น สถาบันศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ ศาสนิกชนของแต่ละศาสนาประพฤติตนเป็นคนดีในกรอบของสังคมนั้น สถาบันศาสนาถือเป็น องค์กรหลักที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่สมาชิกในสังคม 18

๔) กลุ่มเพื่อน เมื่อเราเติบโตขึ้นและเข้าสังคมกับเพื่อนๆ ก็จะได้รับการขัดเกลา ทางสังคมในหมู่เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันมาจากต่างครอบครัว กฎระเบียบของการอยู่ร่วมกัน ของแต่ละกลุ่ม ย่อมแตกต่างกันไป โดยทั่วไปกลุ่ม เพื่ อ นมั ก มี บุ ค ลิ ก บางประการคล้ า ยคลึ ง กั น เช่ น รสนิยม ความคิดเห็น ฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกบางคนของกลุ่มอาจมีความ แตกต่างกัน แต่ก็จะสามารถปรับตัวเข้าหากันและ เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้ กลุ่ ม เพื่ อ นจะมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ วั ย รุ่ น มาก เพราะวัยรุ่นมักมีพฤติกรรมการรับแบบอย่าง เช่น การเลือกคบเพือ่ นทีด่ เี ป็นสิง่ สำคัญ เพราะในปัจจุบนั ถ้ากลุ่มเพื่อนเป็นกลุ่มที่ขยันเรียนหนังสือก็จะชักชวนกัน กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมาก ศึกษาหาความรู้ ช่วยส่งเสริมเรื่องการเรียน แต่ถ้า หากกลุ่มเพื่อนเกเรมีนิสัยก้าวร้าวก็อาจชวนกันไปทำในสิ่งที่ไม่ดี เช่น ยกพวกตีกัน เสพยาเสพติด เป็นต้น ดังนั้น การเลือกคบเพื่อนในช่วงวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๕) สื่อมวลชน ในปัจจุบันสื่อมวลชนเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคน ในสังคมเป็นอย่างมาก เพราะการถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎระเบียบทางสังคมไปยังสมาชิกของสังคมทุกหมู่เหล่า สามารถกระทำได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็วโดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากองค์ กรที่ ก ล่ า วมา ยั ง มี อ งค์ กรอื่ น ๆ อี ก มากมายที่ ท ำหน้ า ที่ ขั ด เกลาทางสั ง คมให้ กั บ สมาชิกของสังคม เช่น กลุ่มเพื่อนร่วมงาน กลุ่มสตรี กลุ่มสหภาพแรงงาน กลุ่มองค์กรทางอาชีพ เป็นต้น องค์กรเหล่านี้ต่างมีกฎระเบียบของตนเองที่กำหนด ให้ บุ ค คลที่ อ ยู่ ใ นสั ง กั ด ปฏิ บั ติ ต าม ทำให้ ส มาชิ ก ได้ เ รี ย นรู้ ถึ ง การอยู่ ร่ ว มกั น เป็ น กลุ่ ม อั น จะนำมา ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาบุคลิกภาพและการเป็นสมาชิกที่ดีของ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะใน ด้านการแพทย์ กลุ่มหรือองค์กรนั้นๆ ได้ 19


๖. การเปลี่ยนแปลงในสังคม

การเปลี่ยนแปลงในสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในทุกสังคม แม้แต่สังคม ไทยก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา

มูลเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมสามารถจำแนกออกเป็น ๒ ปัจจัยใหญ่ๆ ดังนี้ ๑) ปัจจัยภายใน เช่น การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งของใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของปัจจัย ภายในจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาก เนื่องจากเทคโนโลยี ใหม่ๆ ส่งผลให้ชีวิต ความเป็นอยู่สะดวกสบายขึ้น สามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณ ที่ ม ากขึ้ น เพราะใช้ เ ครื่ อ งจั กรผลิ ต แทนกำลั ง คน ทำให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงโครงสร้ า งทาง ประชากรและอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวและสังคมได้ในลำดับต่อไป ๒) ปัจจัยภายนอก มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ปัจจุบันมีการแพร่กระจายและการยืมวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาใช้กันมาก ตัวอย่างเช่น การนำระบบโรงเรี ย นมาใช้ แ ทนการเรี ย นรู้ จากครอบครั ว หรื อวั ด เช่ น ในอดี ต หรื อ การยื ม วัฒนธรรมด้านเครื่องแต่งกาย อาหาร ยารักษาโรค และเครื่องมือสื่อสารจากสังคมอื่นมาใช้ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้นมากมายในปัจจุบัน นอกจากนี้ การที่ครอบครัวหรือชุมชนมิได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวต้องเกี่ยวข้องกับ สังคมอื่น ที่ตั้งอยู่รอบข้างและที่อยู่ห่างออกไปทั้งในและต่างประเทศ จนเกิดเป็นความเกี่ยวพัน ระหว่างสังคมแต่ละสังคม ซึ่งความเกี่ยวพันกันนี้มีขึ้นนับแต่อดีตกาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งใน ระดับจังหวัดและระดับประเทศ โดยชุมชนจะเชื่อมโยงต่อกันตามรูปแบบของการเมืองการ ปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา จนก่อให้เกิดเป็นสังคมท้องถิ่นและสังคมของประเทศชาติ สำหรับระดับนานาชาตินั้นในอดีตมักเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐเป็นสำคัญ แต่ ในยุคปัจจุบันแม้ขอบเขตของความเป็นรัฐยังปรากฏอยู่ตามกฎหมาย แต่ความเกี่ยวข้อง ระหว่างสมาชิกกลับก้าวล้ำไปมาก ดังที่กล่าวกันว่าเป็น “โลกไร้พรมแดน” เป็นผลมาจากการ พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารหรือไอที (information technology) โดยโลกก้าวไปสู่ ยุคของการใช้คอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ และในขณะเดียวกัน การคมนาคมระหว่างกันก็เป็นไปอย่างสะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน มีการค้าและ การลงทุนระหว่างกันด้วยปริมาณและมูลค่าจำนวนมหาศาล และได้มีการพึ่งพาและพึ่งพิงกัน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม

(หมายเหตุ การเปลี่ยนแปลงอีกลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งจะกล่าวถึงอย่างละเอียดในเนื้อหาหน่วยที่ ๒)

๖.๑ ความหมาย

การเปลี่ยนแปลงในสังคม (social change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระเบียบของสังคม ในการกระทำเรื่องต่างๆ เช่น การเปลี่ยนวัตถุสิ่งของที่ใช้ การปรับเปลี่ยนวิธีการหรือเทคโนโลยี ในการผลิตและการบริโภค การเปลี่ยนแบบแผนการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ความคิด ความเชื่อ ค่ า นิ ย ม ระเบี ย บกฎเกณฑ์ ท างสั ง คม หรื อ กฎหมาย เป็ น ต้ น ซึ่ ง เป็ น การเปลี่ ย นแปลง ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และแบบแผนความประพฤติของคนในสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ถ้าหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล เช่น เปลี่ยนสถานภาพจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ หรือการสลับปรับเปลี่ยนตัวบุคคลแต่ละตำแหน่งภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่มีผล ต่ อ การเปลี่ ย นโครงสร้ า งและสถาบั น ทางสั ง คม เพี ย งแต่ เ ป็ น การปรั บ เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นคน ซึ่งเป็นวงจรภายใต้ระบบสังคมเดิม จึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม

๖.๒ ประเภทของการเปลี่ยนแปลงในสังคม

การเปลี่ยนแปลงในสังคม สามารถจำแนกประเภทได้ ดังนี้ ๑) การเปลี่ ย นแปลงระดั บ จุ ลภาค เป็ น การเปลี่ ย นแปลงในระดั บ บุ ค คลที่ สร้างความสัมพันธ์ที่แปลกใหม่ต่อกัน และเป็นการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม เช่น การผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งออกขายในนามของชุมชนหรือตำบล แทนการผลิตสินค้าด้วยวิธีการผลิตตามประเพณี หรือ การเปลี่ ย นแปลงการเรี ย นการสอนที่ ใ ห้ ค รู ถ่ า ยทอดความรู้ ใ ห้ นั ก เรี ย นฝ่ า ยเดี ย วเป็ น การให้ นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เป็นต้น ๒) การเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค เป็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบถอนราก ถอนโคนทั้งระบบสังคม เช่น การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ ๕ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ ๗ หรือการเปลี่ยนแปลง การปกครองของจีนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค ล้วนมีผลกระทบ ต่อชีวิตของคนในสังคมในด้านต่างๆ เช่น ระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิตของผู้คน เป็นต้น 20

๖.๓ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม

21


ความเกี่ ย วพั น กั น นี้ เ องได้ ก่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและวั ฒ นธรรมขึ้ น อย่างรวดเร็วในสังคมทุกระดับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้น ผลดี ได้แก่ การมีชีวิตที่สะดวกสบาย มีความรอบรู้ทันคนทันโลก และนำความรู้มาพัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ผลเสีย ได้แก่ การหลงลืมและรังเกียจค่านิยมและวัฒนธรรมของตนเอง การชื่นชอบและ รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้โดยปราศจากการไตร่ตรอง ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม ร้าวฉาน และการขาดความสามัคคี เป็นต้น อย่างไรก็ตามความเกี่ยวพันระหว่างสังคมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากจึงเป็นเรื่องที่เรา ควรใคร่ครวญและไตร่ตรองอย่างละเอียดในการที่จะเลือกรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาใช้ในสังคม

ส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับและขอบเขตที่ต่างกัน เช่น ระดับชุมชน ระดับประเทศ และ ระดับโลก เป็นต้น อย่ า งไรก็ ต ามไม่ ว่ า ปั ญ หาจะมี ค วามรุ น แรงและมี ข อบเขตขนาดใด คนในสั ง คม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจะต้องพยายามหาทางควบคุม เพื่อให้ความ เป็นระเบียบเรียบร้อยกลับคืนมา ในที่นี้จะหยิบยกปัญหาสังคมบางประการมากล่าวถึงและ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพื่อเป็นตัวอย่าง การศึกษากรณีปัญหาตัวอย่างดังนี้จะทำให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบ ของปั ญ หาสั ง คม เพื่ อ จะได้ ร่ ว มกั น หาหนทางป้ อ งกั นมิ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น อี ก หรื อ หากเกิ ด ขึ้ น แล้ ว จะร่วมกันแก้ไขได้อย่างไร

๗. ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไขปัญหา

แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อที่จะให้กลไกทางสังคมดำเนินไป อย่างราบรื่น แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัย ภายในและจากปัจจัยภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติ และกลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา พจนานุ กรมศั พ ท์ สั ง คมวิ ท ยา ฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พุ ท ธศั กราช ๒๕๒๔ ได้ ใ ห้ ความหมายของปั ญ หาสั ง คมว่ า หมายถึ ง ภาวะใดๆ ในสั ง คมที่ ค นจำนวนมากถื อว่ า เป็ น สิ่งผิดปกติ และไม่พึงปรารถนา รู้สึกไม่สบายใจ และต้องการให้มีการแก้ไขให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตในวงราชการ ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ปัญหาสังคม เป็ น ผลมาจากกระบวนการทางสั ง คม รวมถึ ง การประเมิ น พฤติ กรรมของคนในสั ง คมด้ ว ย มาตรฐานศีลธรรมในขณะนั้น จากคำจำกั ด ความดั ง กล่ า วจะเห็ น ได้ ว่ า ปั ญ หาหรื อ ข้ อ ขั ด แย้ ง ที่ กระทบคนส่ ว นใหญ่ ในสังคมเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นปัญหาสังคม แต่หากเป็นปัญหาของตัวบุคคลเพียงคนเดียว เช่น พี่ทะเลาะกับน้อง เพราะน้องไม่ยอมทำการบ้าน ครูลงโทษนักเรียน เพราะทำผิดกฎของโรงเรียน จะไม่ถือว่าเป็นปัญหาสังคม สังคมไทยก็เป็นเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ ทั่วโลกที่มีปัญหา เพราะทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลง มีคนกระทำพฤติกรรมเบี่ยงเบนความสัมพันธ์ และสถาบันทางสังคมทำหน้าที่ไม่ครบสมบูรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานทำให้เกิดปัญหาสังคมได้ ปัญหาสังคมอาจมีความรุนแรงและ 22

๗.๑ ปัญหายาเสพติด

ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยจากสถิติ การจับกุมผู้้กระทำผิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ ราย เพิ่มเป็น ๒๐๙,๘๘๓ ราย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อมาจำนวนคดีได้ลดลงในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๙ เป็นปีละ ๗๐,๐๐๐ ราย แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑ โดยได้มีการจับกุมผู้กระทำผิดได้จำนวน ถึง ๒๐๓,๗๒๘ ราย ตามกฎหมายได้ให้ความหมายของยาเสพติดว่า หมายถึง ยา สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการรับประทาน ดม สู บ ฉี ด หรื อวิ ธี การใดก็ ตามทำให้ เ กิ ด ผลต่ อ ร่างกายและจิตใจ สาเหตุของปัญหายาเสพติดมาจากความอยากรู้ อยากลองของเด็กเอง และไม่ได้รบั คำแนะนำทีถ่ กู ต้อง จากผู้ใหญ่ จึงหลงผิดไม่รู้ถึงโทษหรือผลลัพธ์ที่จะเกิด ตามมา และสาเหตุ ส ำคั ญ อี ก ประการหนึ่ ง มาจาก สภาพแวดล้ อ มภายนอกที่ ผ ลั ก ดั น ให้ ค นหั น ไปหา ยาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก ความทุกข์ที่เกิด จากความยากไร้ การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ แวดล้อมใหม่ๆ ได้ ทำให้จิตใจอ่อนแอ เมื่อได้รับการ ร่างกายแข็งแรง ยังทำให้ห่างไกลจากยาเสพติด อีกด้วย ชักจูงให้เสพยาเพื่อคลายทุกข์ก็หันเข้าหายาเสพติด 23


ทันที ในขณะเดียวกันเหล่ามิจฉาชีพที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวก็พยายามผลิตและจำหน่าย ยาเสพติดด้วยกลวิธีหลอกล่อให้คนเสพยาโดยไม่คำนึงถึงโทษที่จะเกิดขึ้นกับคนในสังคม แนวทางการแก้ไขและปราบปรามปัญหายาเสพติดที่สำคัญ มีดังนี้ ๑) นโยบายของรัฐบาล ด้านการปราบปรามปัญหายาเสพติด โดยการจับกุม ทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และออกกฎหมายเพิ่มโทษผู้ผลิตและผู้ขายอย่างรุนแรง ๒) สถานบำบั ด รั ก ษาผู้้ ติ ด ยาเสพติ ด ดำเนิ นการเพื่ อให้เ ลิ กใช้ สารเสพติด อนึ่งการบำบัดรักษาต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา และสถาบันนันทนาการ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ติดยาด้านเงินบริจาคกับสถานบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติดให้สามารถออกเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ติดยาได้อย่างสม่ำเสมอ ๓) ความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชน ปัจจุบันมีองค์กรเอกชนมากมายที่ให้ความ ช่วยเหลือผู้ติดยาให้สามารถ ลด ละ เลิกการใช้สารเสพติด เช่น สำนักงานสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) เป็นต้น ในขณะเดียวกันได้มีการสนับสนุนให้สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สร้างภูมิคุ้มกัน ให้คนในครอบครัวและสังคม เป็นคนดีและเป็นที่รักของคนรอบข้าง รู้ผิดรู้ชอบ และสามารถ ช่วยแบ่งเบาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับคนอื่นได้หากเกิดปัญหาในชีวิต ซึ่งมาตรการเหล่านี้ จะทำให้คนหลีกหนียาเสพติดได้ ปั ญ หายาเสพติ ด เป็ น ปั ญ หาสั ง คมที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลเสี ย กั บ ทั้ ง ผู้ เ สพเองและต่ อ สั ง คม ส่วนรวม เพราะผู้ติดยาเสพติดอาจจะสร้างปัญหาสังคมรุนแรงตามมาได้ เช่น อาชญากรรม จี้ปล้น การจับตัวประกันเมื่อเกิดอาการคลุ้มคลั่ง การทำร้ายร่างกาย และการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ดังนั้น ประชาชนทุกคนจึงต้องร่วมมือกันด้วยพลังสามัคคีปกป้อง และแก้ไขให้สังคมไทยหลุดพ้นจาก ปัญหายาเสพติดโดยเร็วที่สุด

๗.๒ ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ ในขั้นรุนแรง และส่งผล กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน สิ่งแวดล้อมในที่นี้ หมายถึง สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ภูเขา และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น ป่าไม้ พืชพันธุ์ทาง ธรรมชาติ สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ด้วยกันหลายประการแต่ที่สำคัญ คือ เกิดจาก กระบวนการผลิตโดยเฉพาะจากโรงงานอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ การพัฒนาประเทศที่ก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทั้งทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และ 2๔


๗.๔ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมกำลังเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมอย่างมาก เพราะปัญหาดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาการทารุณกรรมในครอบครัว ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาสิทธิเด็กและสตรี ปัญหาวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็น แนวทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการพนัน ต่อไปได้ สาเหตุหลักๆ ของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมนั้นมาจากการที่สังคมมี จำนวนสมาชิกหรือจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนในสังคมต้องแข่งขันกัน ในด้านต่างๆ จนเกิดความเครียด หรือสภาพสังคมที่เน้นวัตถุนิยม รวมทั้งการยับยั้งชั่งใจและ การควบคุ ม อารมณ์ ใ ห้ มี ส ติ ข องคนในสั ง คมมี น้ อ ยลง จึ ง ทำให้ ห ลายคนหั น ไปใช้ ก ำลั ง และ ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่ แนวทางการแก้ไขปัญหาควรเริม่ จากการสร้างค่านิยมการให้เกียรติกนั และกันในครอบครัว หันหน้าปรึกษาหารื อ กั น ทั้ ง ทางด้ า นการเงิ น การเรี ย น การดำเนิ น ชี วิ ต และทางด้ า นจิ ต ใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ครอบครัวมีความเอื้ออาทร ลดความรุนแรงอย่างยั่งยืนได้ และต้องอาศัย ความร่วมมือจากองค์กรช่วยเหลือต่างๆ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ในการเข้าไปรณรงค์และดูแลทำให้ปญั หาต่างๆ คลีค่ ลายไปในทางทีด่ ี เช่น ส่งเสริมการสร้างครอบครัว ใหม่ทมี่ คี วามเข้าใจกัน ส่งเสริมสิทธิสตรี ส่งเสริมการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น อนึ่ง การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมจะเป็นทางออกที่ดีให้กับสังคมที่มีการแตกแยก ด้านความคิดและใช้ความรุนแรงเข้าประหัตประหารกัน โดยเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผ่านทางการประชุม สัมมนา และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างค่านิยม การยอมรับความแตกต่างในด้านความคิดเห็นของบุคคลอื่น เพราะถ้าหากสังคมไร้ค่านิยม ดังกล่าว สังคมก็จะมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ปราศจากความสงบสุข และไม่อาจพัฒนาต่อไปได้ นอกจากปัญหาสังคมที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้น สังคมไทยยังมีปัญหาสังคมอีกมากมาย ที่มีความรุนแรงสูง เช่น ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาคนชรา เป็นต้น ซึ่งทุกปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกของสังคมในการพิจารณาถึงสาเหตุ ของแต่ละปัญหา แนวทางป้องกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่าเดิม ทัง้ นี้ หากทุกคนทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์โดยอยู่ในกรอบของกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคม ก็ย่อมจะทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้อย่างแน่นอน 26

๘. แนวทางการพัฒนาทางสังคม สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาด้วยอัตราที่เร็วบ้างช้าบ้าง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก่อให้เกิดผลดีมากมาย แต่ ในขณะเดียวกันผลกระทบในทางลบก็เกิดขึ้นหลากหลายเช่นกัน จนกลายเป็นปัญหาสังคมที่จะต้องร่วมกันแก้ไข โดยในช่วงที่ผ่านมาผลการพัฒนาสังคมของ ไทยนั้น ประสบผลสำเร็จในหลายด้าน เช่น คนไทยมีอายุที่ยืนยาวขึ้น สามารถเข้าถึงหลักประกัน สุขภาพทุกรูปแบบอย่างทั่วถึง มีการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประชากรมีการ ศึกษาสูงขึ้น มีสาธารณูปโภคที่ดีครบครันแทบทุกหมู่บ้านทุกตำบลทั่วประเทศ แต่ความก้าวหน้าในเชิงคุณภาพยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เช่น คุณภาพการศึกษาของเด็กไทย โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดอ้ ย กลุม่ แรงงานยังมีระดับการศึกษาต่ำ สุขอนามัยยังอยู่ในภาวะเสีย่ งจาก การเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม ปัญหาด้านสุขภาพ ความมั่นคงและความปลอดภัย ของคนและสังคมยังน่าวิตก สังคมยังมีการก่ออาชญากรรม ทำร้ายร่างกาย จนถึงอาชญากรรม ข้ามชาติ และสถาบันครอบครัวมีแนวโน้มอ่อนแอลงทุกขณะ ด้วยเหตุนี้ทิศทางและกระบวนการพัฒนาสังคมจึงต้องเป็นไปในเชิงรุกควบคู่กับการแก้ไข ปัญหาที่สั่งสมมานาน เพื่อให้การพัฒนาสังคมมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เป้าหมายของการพัฒนา สังคมในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔) จึงกำหนดให้ “คนไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ มีความสุข อยู่ในสังคมที่เอื้ออาทร สันติ และเป็น ธรรม” โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ ดังนี้ ๑) ยกระดับคุณภาพคนไทย เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างศักยภาพ การเรียนรู้ ทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างจิตสาธารณะ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้มี สุขภาพดีทุกมิติ กล่าวคือ ใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งในการเสริมสร้างสุขภาวะและพฤติกรรม สุขภาพที่ดี ในทุกกลุ่มอายุ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างกำลังคนรุ่นใหม่ ให้มี สมรรถนะทางวิชาชีพและทักษะ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ ๒) เตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ทั้งนี้เป็นเพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้าน การแพทย์ ดังนั้น จึงต้องร่วมกันสร้างเสริมความรับผิดชอบ การดูแลสุขภาพ สร้างหลักประกัน ด้านรายได้ สนับสนุนการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคม 27


๓) สร้างความมั่นคงทางสังคมแก่คนไทย โดยให้ทุกคนได้รับการคุ้มครองทาง

สั ง คม มี ที่ พั ก อาศั ย ที่ มั่ น คง มี ความปลอดภั ย ในชุ ม ชน และสร้ า งหลั ก ประกั น ทางสั ง คม ให้สามารถดำรงชีวิตและทำมาหากินได้อย่างปกติสุข เน้นบทบาทครอบครัวและชุมชนเป็น พื้นฐานสำคัญ ๔) รักษาคุณค่าของสังคมไทย โดยการนำทุนทางสังคมหรือสิ่งดีๆ ที่ีมีอยู่แล้ว ในสังคมมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กล่าวคือ มุ่งที่การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยทุนทางสังคม ที่มีอยู่ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมให้ภาคเอกชน นำวัฒนธรรมไทยมาเป็นปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการ กล่าวได้ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ ให้ความสำคัญต่อ การสร้ า งประชากรและชุ ม ชนให้ เ ข้ ม แข็ ง เน้ น การมี ส่ ว นร่ ว มพั ฒ นาสั ง คม จั ด การบริ ห าร การพัฒนามีประสิทธิภาพ และจัดทำรากฐานทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่น สร้างระบบพื้นฐานและ จัดบริการทางสังคมที่ดีมีคุณภาพ กฎระเบียบต้องมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับความต้องการ ของคนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ผ้าทอฝีมือกลุ่มแม่บ้าน นับเป็นการพัฒนาตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่ต้องการ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย

28


คาถาม ประจำหน่วยการเรียนรู้ ๑. โครงสร้างทางสังคมมีความสำคัญอย่างไรต่อสังคม ๒. การจัดระเบียบทางสังคม มีองค์ประกอบอะไรบ้าง จงอธิบาย ๓. เพราะเหตุใด เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้สังคมของตนเองและสังคมอื่นๆ ๔. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญของประเทศไทย มีอะไรบ้าง ๕. จงเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยบรรเทาหรือขจัดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย มาพอสังเขป

กิจสร้กรรม างสรรค์พัฒนาการเรียนรู้ กิจกรรมที่ ๑ ให้นักเรียนเสนอแนะวิธีการจัดระเบียบสังคม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพ สังคมไทยในปัจจุบัน มาพอสังเขป ส่งครูผู้สอนในชั่วโมง กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนวิเคราะห์สภาพสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ลงในกระดาษรายงาน แล้วสุ่มตัวอย่างเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน จากนั้นรวบรวมส่งครูผู้สอน กิจกรรมที่ ๓ ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน จัดนิทรรศการเกี่ยวกับบุคคลตัวอย่าง ที่ทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ โดยแต่ละกลุ่มจะต้องนำเสนอบุคคล ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน

30


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.