NATIVE
Kudeejean
THE CULTURAL GUIDEBOOK OF KUDEEJEAN
กุ ฏี จีน
“ความศรัทธา”
EDITOR
ETM318 DESIGN AND PRODUCTION OF PRINTED MEDIA Educational Technology and Mass Communication Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut’s University of Technology Thonburi
Photographer Anan Naruphantawat
Art Director Chatchai Choeichit
Senior Writer Sataporn Satsanapitak
Asst.Writer Tanit Manthet
ENoteditor
“
วัตถุย่อมเปลี่ยนสภาพไปตามวิถีโลก มันรู้สึก ภูมิใจคือความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งสาม ศาสนาสี่ความเชื่อยังเหมือนเดิม แม้แต่กาล เวลาก็ไม่สามารถพัดผ่านไปได้ ก็ยังสืบทอด อย่างเหนียวแน่น โลกที่ทันสมัยขึ้นผู้คนก็ เปลี่ยนไป ก็ได้แต่หวังว่าเมื่อมีงานเทศกาลทุก คนจะเข้ามาร่วมช่วยกันรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีดีงามในอดีตไว้ ให้คนรุ่นหลังได้เรียน
” - Anan Naruphantawat - Chatchai Choeichit - Sataporn Satsanapitak - Tanit Manthet
CONTENTS Kudeejean 2 Informatiom 3 Inside Santa Cruz Church 4
ขนมฝรั่งกุฏีจีน
5
Attractions Around Kudeejean (Infographics) 6 Wat Kalayanamitr 7 Kian Un Keng Shrine 8 Wat Prayurawongsawas Warawihan 9 The Spcial One(สัมภาษณ์)
11
1
แม้นปัจจุบันคนไทยอาจจะ(จำ�ใจ)คุ้นเคยกับ ภาพความแบ่งแยกไม่ว่าประเด็นจะมาจากความ ต่างของศาสนา ชาติพันธิ์หรือแม้แต่เหมือน กันทุกอย่างก็ยังหาเรื่องของ “สี” มาแบ่งแยก กันจนได้ เขาว่ากันว่าเราจะรู้รักกันเพียงใด ต้องผ่าอุปสรรคหรือร่วมมือกันสักอย่าง
กรุงเทพธุรกิจ พ.ศ.2552
2
KUDEEJEAN เมื่อสามศาสนาสี่ความเชื่อ มารวมตัวกัน
ชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ
ที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปีตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นาม”กุฎีจีน”หรือ “กะดีจีน”ย่าน ที่ความแตกต่างสามารถอยู่ด้วย กัน อย่างปกติสุขโดยเส้นบางๆ ที่ดูเหมือนแยกผู้คนออกเป็นก ลุ่มตามคติความเชื่อและศรัทธา ไม่ว่า จะเป็นพุทธคริสต์อิสลาม หรือลัทธิแบบจีนไม่อาจเป็น อุปสรรค สมคำ�ร่ำ�ลือว่า เป็น ย่าน “สามศาสนา สี่ความเชื่อ” ที่มีความใกล้ชิด และเอื้ออาทร ต่อกันมากที่สุดชุมชนหนึ่ง
3
ชุมชนกุฏีจีน - Kudeejean
Information PHRANAKHOR CHAO
PHRA
KUDEEJEAN
THONBURI
YA R
IVER
ที่ตั้ง : ชุมชนกุฏีจีน ถนน เทศบาลสาย 1 แขวง เบอร์ติดต่อ เบอร์ โทรศัพท์ โบสถ์ซางตาครู้ส : 0-2466-0347, วัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 0-2472-0153-4 FAX โบสถ์ซางตาครู้ส : 0-2465-0930 เวลาทำ�การ วัดซางตาครู้ส : เวลา 17.00 - 19.00 น. วิธีเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว รถเมล์ สาย 3, 4, 7ก, 9, 10, 19, 21, 37, 40, 42, 56, 82, 85, ปอ.3, 4, 7, 21, 82 เรือ เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าราชินี เรือโดยสารข้ามฟาก : ท่าปากคลองตลาด - วัดกัลยาณ์
ที่จอดรถ บริเวณภายในวัดกัลยาณ์และ โรงเรียนซางตาครู้ส สถานที่ ใกล้เคียง กุฏีเจริญพาศน์, ป้อมวิชัย ประสิทธิ์, พระราชวังเดิม, มัสยิด บางหลวง, วัดกัลยาณมิตร, สะพานเจริญพาศน์, สะพานพุทธ, สะพานปกเกล้า, วัดประยุรวงศา วาส, โรงเรียนศึกษานารี, วัด บุปผาราม, วงเวียนเล็ก
4
INSIDE SANTA CRUZ CHURCH เนื้อเรื่อง : สถาพร ศาสนพิทักษ์
ห
ากมองจากริมฝั่งเเจ้าาพระยา เราจะ สามารถมองเห็นโบสถ์คริสถ์หลังหนึ่ง ประดับ ไม้กางเขนเหนือยอดโดมบนหอระฆังแปดเหลี่ยม ที่รู้จักกันดีในนาม “วัดซางตาครู้ส” ตามประวัติเล่าต่อกันมาว่าวัดนี้สร้างขึ้น ภายหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราช ได้กอบ กู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชนธานี โดยพระองค์ได้ทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่ง ให้กับบาทหลวงกอร์ชาวฝรั่งเศส เพื่อให้สร้าง โบสถ์ โดยอาคารหลังปัจจุบันที่เห็นเป็นอาคาร หลังที่ 3 ซึ่งมีอายุเกือบ 100 ปี ซึ่งตัวอาคารนั้น เป็นสถาปัตยกรรมชั้นเดียวแบบอิตาลี ซึ่งโบสถ์ซางตาครู้สมีลักษณ์เด่นที่สำ�คัญ ก็คือหอคอยยอดโดม คล้ายกับพระที่นั่งอนันต สมาคม ประดับไม้กางเขนที่ยอด โบสถ์ซาง ตาครู๊สแห่งนี้ถือว่าเป็นศาสนสถานที่สำ�คัญอยู่ คู่กับชุมชนกุฎีจีน ริมฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยาอย่าง ยาวนาน
5
ขนมฝรั่งกุฏีจีน น
อกจากสถานที่ทางศาสนาที่เป็น จุดเด่นของชุมชนกุฎีจีนแล้ว ที่นี่ยังมีไฮไลต์ อีกอย่างหนึ่งที่เรียกได้ว่าใครที่ผ่านไปผ่านมา ในชุมชนนั้น ต้องมาลองลิ้มชิมรสกันทั้งนั้น ซึ่งไฮไลต์ที่ว่านั้นก็คือ “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” เป็น ขนมโบราณกว่า 200 ปี ที่มีต้นตำ�รับมาจาก ชาวโปรตุเกสที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนกุฎี จีนเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันยังเหลือบ้านที่ทำ�ขนมฝรั่ง กุฎีจีนอยู่เพียงไม่กี่บ้านเท่านั้น และเมื่อเรามี โอกาสมายังชุมชนกุฎีจีน ก็ไม่พลาดที่จะนำ� ขนมฝรั่งฯ มาให้รู้จักกัน “ขนมฝรั่งกุฎีจีน” เป็นขนมลูกผสมระหว่าง จีนกับฝรั่ง ตัวขนมเป็นตำ�รับของโปตุเกส และหน้าของขนมเป็นจีน มีลักษณะเด่นตรง ที่ใช้วัตถุดิบอย่างดีมาทำ�ขนม คือมีแป้ง ไข่ และน้ำ�ตาล เพียงแค่ 3 อย่างนี้ตีให้ส่วนผสม เข้ากันจนขึ้นฟู โรยด้วยลูกเกด ลูกพลับ ฟัก เชื่อม และน้ำ�ตาลทราย แล้วนำ�ไปเทใส่แม่ พิมพ์แล้วอบจนขนมสุก
ชาวจีนมีความเชื่อว่าหากรับประทาน ขนมฝรั่งกุฎีจีนแล้วจะร่มเย็น เนื่องจากชาวจีน เชื่อว่ากินฝักเชื่อมแล้วจะร่มเย็น กินน้ำ�ตาล ทรายแล้วจะมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำ�ตาล ทรายที่นับเม็ดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกพลับอบ แห้ง และลูกเกด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีราคาและมี คุณค่าทางอาหารอีกด้วย โดยขนมฝรั่งกุฎีจีนจะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ ขนมฝรั่งกุฎีจีนแบบดั้งเดิม (ชิ้นเล็ก) คือไม่มีหน้า ตัวขนมจะมีเนื้อที่เบา นุ่ม และ หอม มีรสไม่หวานมาก และแบบมีหน้าชิ้นใหญ่ โรยด้วยลูกเกด ลูกพลับ ชิ้นฟัก และน้ำ�ตาล ทราย ตัวเนื้อขนมจะแห้งฟูนุ่มร่วน ส่วนผิว ด้านหน้าจะเคี้ยวกรุบๆ ด้วยเม็ดน้ำ�ตาล ช่าง เป็นขนมโบราณที่รสชาติอร่อยถูกปากเสียจริง ด้วยสูตรพิเศษนี้เอง ที่ทำ�ให้ขนมฝรั่งกุฎีจีน มี เอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนขนมชนิดไหนๆ
6
Attractions Around Kudeejean วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ศาลเจ้าเกียนอันเกง
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แม่น
โบสถ์ซางตาครู้ส
ำ�้เจ้าพ
ระยา
ชุมชุนกุฏีจีน
7
WAT KALAYANAMITR
วั
ดกัลยาณมิตร วรมหาวิหารหรือวัดกัลยา ตั้ง อยู่บนถนนอรุณอัมรินทร์ตัดใหม่ เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาอัน ยาวนาน โดยมีเจ้าพระยานิกร บดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก
ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ให้ โดยแต่เดิมนั้นเป็นหมู่บ้านที่มี ภิกษุจีนพำ�นักอยู่ และเรียกกันต่อมา ว่า “หมู่บ้านกุฎีจีน” สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๓
พระราชทานนามว่า “วัด กัลยาณมิตร” และทรงสร้าง พระวิหารหลวงและพระประธาน พระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต
Kian Un Keng Shrine 恩很好
8
ศาลเจ้าเกียนอันเกง เป็นศาลเจ้า ของชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตั้งอยู่ริม
ฝั่งแม่น้ำ�เจ้าพระยา ใกล้กับ วัดกัลยาณมิตร มีพระโพธิสัตว์กวนอิมหรือที่ ชาวบ้านเรียก กันทั่วไปว่าเจ้าแม่กวนอิม เป็นองค์พระประธาน จนทำ�ให้ บางคนเรียกชื่อศาลเจ้าตามองค์พระประธานว่า “ศาล เจ้าเม่กวนอิม” ตาม คำ�บอกเล่าสืบต่อกันมาเมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงย้ายพระนครหลวง ไปตั้งยังฝั่งพระนคร คนจีนเหล่านี้ได้อพยพ ไปตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่ฝั่งพระนครบริเวณตลาดน้อยมาจนจรดสามเพ็ง ศาล เจ้าที่สร้างในสมัยนั้นมีอยู่สองศาล ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน จะมีชื่อว่ากระไรไม่ ปรากฏ ศาลหนึ่งประดิษฐานเจ้าพ่อโจวซือกง ส่วนอีกศาลหนึ่งประดิษฐาน เจ้าพ่อกวนอู เมื่อคนจีนย้ายไป อยู่ฝั่งพระนครแล้ว ศาลเจ้าทั้งสองศาลนี้ก็ ถูกทอดทิ้งชำ�รุด ทรุดโทรมลง ครั้นเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร จากอดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ระยะเวลาจะล่วงเลย มา ยาวนานหลายชั่วอายุคน แต่ความงดงามของศาลเจ้า เกียน อันเกงยังคงอยู่ แม้ว่าจะลบเลือนลงบ้างตามกาลเวลา ภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ปูนปั้น และเครื่องไม้แกะสลักฝีมือ ชั้นครู ยัง คงอวดความงดงามให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาตามเจตนารมณ์ ใน การอนุรักษ์ของบรรพบุรุษที่สืบทอด กันมาจนถึงปัจจุบัน หาก ท่านได้มานมัสการเจ้าแม่กวนอิม ที่ศาลเจ้า เกียนอันเกงแห่ง นี้ นอกจากท่านจะได้พบกันความร่มเย็น แห่งเมตตาบารมีของ องค์เจ้าแม่กวนอิมแล้ว ท่านยังจะ ได้พบกับความงดงามของ ศิลปกรรมอันทรงคุณค่า และ ความสงบแห่งพุทธสถานที่จะหา พบได้ยากในกรุงเทพ มหานครเช่นในทุกวันนี้ ซึ่งท่านคงจะได้ ประจักษ์ด้วยตัว ของท่านเอง
เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร อุทิศที่บ้านกับซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้างวัดกัลยาณมิตรขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ ซึ่งเป็นปีที่ ๒ ในรัชสมัย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ชาวจีน จากมณฑลฮกเกี้ยน ตำ�บลเจียงจิว และโจวจิว ซึ่งเป็น บรรพบุรุษของสกุลตันติเวช กุล และสกุลสิมะเสถียร ได้เดินทางมากราบไหว้ที่ศาลเจ้าทั้งสองนี้ ครั้นแลเห็นชำ�รุด ทรุดโทรมก็ไม่คิดที่จะซ่อมแซม แต่ได้ร่วมกันรื้อ ศาลเจ้า ทั้งสองแต่เดิมนั้นลง แล้วสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ในที่เดิมเป็น ศาลเดียว จากนั้นได้อัญเชิญเจ้าแม่กวนอิมมาเป็นองค์ ประธาน และชื่อศาลเจ้าแห่งนี้เป็นชื่อที่ใช้ติดต่อสืบมา จนปัจจุบันว่า “ศาลเจ้าเกียนอันเกง”
9
Wat Prayurawongsawas Warawihan
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก
กันว่า วัดรั้วเหล็ก เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี ซึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุญนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ ใหญ่ ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 โดยชาวบ้านในบริเวณวัดเรียกกันว่า วัดรั้วเหล็ก เพราะ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ ใหญ่สั่งรั้วเหล็กมาจากอังกฤษ เพื่อนำ�มา น้อมเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 3 ใช้เป็นกำ�แพงในพระบรมมหาราช วัง แต่ทรงไม่โปรด จึงขอรับพระราชทานมาใช้เป็นกำ�แพงวัด แทน จนกลายมาเป็นวัดที่ชาวบ้านให้ความเคารพ
ในปัจจุบันวัดแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าอาวาสรูปที่ 14 คือ พระธรรมโกศาจารย์ โดยภายในวัดออกแบบพระอุโบสถ ด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หน้าบันเป็นลายดอกบุนนาค พระ วิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนาคน้อย ซึ่งนัยว่าอัญเชิญมาจาก สุโขทัย รวมทั้งมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น รั้วเหล็ก รูปหอก ดาบ และขวาน, พระเจดีย์ ใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุและอัฐิคนในตระกูลบุนนาค, ภูเขาจำ�ลองหรือเขาเต่าก่อ ด้วยหินอยู่ข้างประตูทางเข้าวัด, มีโบสถ์และเจดีย์ขนาดเล็กบนยอด, สระน้ำ�เป็นที่อาศัยของเต่า, อนุสาวรีย์รูปปืนใหญ่ เป็นอนุสรณ์ถึง เหตุการณ์คราวฉลองวัดเมื่อ พ.ศ. 2380 เป็นต้น
และไฮไลท์ที่สำ�คัญของวัดนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือพระบรม ธาตุมหาเจดีย์ โดยในปี พ.ศ. 2556 พระเจดีย์แห่งนี้ก็ได้รับ รางวัลในระดับนานาชาติ คือ รางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 หรือ Award of Excellence จากโครงการประกวดรางวัลเพื่อการ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำ� ปี พ.ศ. 2556 ชนะเลิศอันดับที่ 1 จาก 47 โครงการจากผู้เข้า ร่วมกว่า 16 ประเทศทั่วโลก ด้วยการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรม ธาตุมหาเจดีย์ และพรินทรเปรียญปริยัติธรรมศาลา ที่สามารถ สะท้อนความเข้าใจทางเทคนิค และเป็นโครงการอนุรักษ์ที่สร้าง ความตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนรอบ ข้างได้
- The Special One -
thank you