Interview Fashion Magazine

Page 1

FASHION MAGAZINE

ECT 23”




รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ETM 314 การสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพทาง เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน (Professional Experiences in Educational Technology and Mass Communication) จัดทำ�เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกับงานด้านนิตยสารซึ่งในรายงานเล่ม นี้กล่าวถึงบทสัมภาษณ์ของคุณจิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ บรรณาธิการนิตยสาร CHEEZE LOOKER และ คุณธาวนี จันทนาโกเมษ บรรณาธิการ NYLON THAILAND ที่ได้กล่าวถึงความเป็นมาของนิตยสาร จุดเริ่มต้นของอาชีพบรรณาธิการรวมไปถึงกระบวนการผลิต หน้าที่ของฝ่ายต่างๆในการผลิตงาน ด้านนิตยสารแฟชั่น ปัญหาอุปสรรคในการทำ�งาน แรงบันดาลใจในการทำ�งาน และความรู้ ในการ ประกอบอาชีพอีกด้วย ทางผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจงานด้านนิตยสารทั้งใน เรื่องของการเป็นบรรณาธิการ การเป็นนักเขียนและความแตกต่างของนิตยสารประเภทต่างๆไม่มาก ก็น้อย หากรายงานเล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำ�ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ�



10

CHEEZE LOOKER

TEAM EDITOR

INTERWVIEW

+ CONTENT

03


INTERVIEW NYLON THAILAND

20

COMPARATIVE ANALYSIS

27



TEAM EDITOR+


TEAM EDITOR

นางสาวณัชชา จุลมณฑล รหัสนักศึกษา 56080500413

นางสาวกวิสรา จันทร์อินทร์ รหัสนักศึกษา 56080500402

นายทีปกร ศตกุลพัชร รหัสนักศึกษา 56080500469

003

นางสาวเบญจมาศ วรยศ รหัสนักศึกษา 56080500427

นางสาวธีริศรา เล็กเครือสุวรรณ รหัสนักศึกษา 56080500471


นางสาวจุฑามาศ จิตสุวรรณ รหัสนักศึกษา 56080500458

นายฐาปกรณ์ สังข์ทอง รหัสนักศึกษา 56080500462 นายฉัตรชัย เฉยชิต รหัสนักศึกษา 56080500459

นายสถาพร ศาสนพิทักษ์ รหัสนักศึกษา 56080500485

นางสาวอัจฉรา สังฆมณี รหัสนักศึกษา 56080500491

004







INTERVIEW จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์

“ผู้ชาย มากความ สามารถ และยังเป็น บรรณาธิการ นิตยสารวัยรุ่น อันดับหนึ่ง ของเมืองไทย”

010


INTERVIEW CHEEZE MAGAZ

Q : ความเป็นมาของนิตยสาร Cheeze กับ Looker P : นิตยสาร Cheeze กับ Looker พี่ทำ�หนังสือออกมา 6 ปีแล้ว เริ่มต้นจากพี่ เป็นคนชอบอ่านนิตยสาร ชอบแฟชั่น ชอบShopping ชอบสังคมชอบ Culture วัฒนธรรมของการแต่งตัว แล้วพี่รู้สึกว่าประเทศไทยยังไม่มีสังคมแบบนี้จริงจัง เพราะส่วนใหญ่ถ่ายทอดมาจาก Runway พี่อยากถ่ายทอดจาก street โดยตรง เพราะว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่เป็น Fact เป็นข้อเท็จจริงไม่โกหก พี่อยากเก็บเป็น ประวัติศาสตร์การแต่งตัวของประเทศเลยอยากทำ�หนังสือสักเล่มที่เราอยากอ่านและ คนทั่วๆไปก็อยากอ่านด้วย ประกอบกับช่วงนั้นในแผงหนังสือไม่มีหนังสือประเภทนี้ เลยอยากลองทำ�อะไรใหม่ๆจะได้ไม่มีข้อเปรียบเทียบ

P’POO

Q : สไตล์นิตยสาร Cheeze และ Looker มีจุดแข็งแตกต่าง อย่างไรของทั้งสองเล่ม P :Cheeze และ Looker คือ On Street หัวใจหลักมันคือ Call Content เป็นเหมือนกับ On Location คำ�ว่า Street ไม่ได้แปล ว่าถนน ไม่ใช่คนยืนอยู่บนถนนแล้วเราเรียกว่า On Street คำ� ว่า On Street หมายถึง กาลเทศะ ต้องดูด้วยว่าเค้ายืนอยู่ตรง ไหนแล้วเหมาะกันไหม สมมติมีผู้หญิงคนหนึ่งใส่ชุดเดรสถือ กระเป๋า Louis Vuitton รองเท้าส้นสูงใส่หมวกใส่แว่นตาไปงาน เปิดตัวแบรนด์ที่ Paragon เราคิดว่าเท่ห์มากเราอยากถ่ายรูป คนนี้มาขึ้นหนังสือ Cheeze แต่ถ้าคนๆนี้แต่งตัวแบบเดียวกันไป เดินจตุจักรวันเสาร์ตอนเที่ยงๆ เราจะไม่ถ่ายเขาเพราะมันไม่ใช่ กาลเทศะที่จะเป็น เพราะฉะนั้นหนังสือ On Street ไม่ใช่หนังสือคน แต่งตัวดีแต่เป็นคนที่รู้กาลเทศะในการแต่งตัว


ZINE

Q : ในปัจจุบันคนไทยก็เสพงานแฟชั่นมากพอแล้วสไตล์ของคนไทยตอบ โจทย์ Cheeze และ Looker มากน้อยเพียงใด P : Cheeze และ Looker ไม่ใช่หนังสือที่แนะนำ�หรือชักจูงในการแต่งตัว เขา แต่งอยู่แล้วเราแค่ไปถ่ายรูปมาลง คุณจะแต่งตามหรือไม่ก็ได้ คนที่ไปถ่ายพี่ ไม่ได้บอกให้แต่งตัวแบบนี้แล้วพี่จะถ่าย คือเขาแต่งอยู่แล้ว เราแค่มอนิเตอร์ เขาแล้วก็ถ่ายรูปเขามาวางเรียงกันเป็นกรุ๊ปและถ่ายทอดให้เห็นว่ามันเป็น หนังสือเชิงข่าว ถามว่าตรงใจไหม ข่าวนี้ยังไงคนก็สนใจ แค่มีจรรยาบรรณ ในการทำ�หนังสือ อย่างน้อยคุณไม่ทำ�อะไรในทางลบ ไม่ไปแอบถ่ายเขา ไม่ เอาภาพที่เขาไม่ยินดีมาลง ไม่ก้าวร้าวไม่ยั่วยุให้คนแต่งตัวเป็นอีกแบบเช่น การแต่งตัวโป๊

Q : นิยามของนิตยสาร Cheeze และ Looker เป็นแบบไหน P :นิยามของคำ�ว่า Cheeze และ Looker คือหนังสือที่บันทึก การแต่งตัวของสังคมไทยเป็นยุคสมัย อีกสัก 50 ปีมันจะมี ประโยชน์มาก ถ้ามองย้อนกลับมาเราจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ แฟชั่นได้จากหนังสือสองเล่มนี้เหมือนกับว่าไม่โกหก ภาพ ไม่โกหก คุณใช้ประวัติศาสตร์ทำ�นายอนาคตได้ เช่น เดี๋ยว ซัมเมอร์นี้เราก็ทำ�นายว่าเป็นแฟชั่นแบบไหนได้ เพราะแฟชั่น เป็นอุปโลกน์จากคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง Q : ตัว Concept ของเล่ม ไม่ว่าจะเป็นการวาง Layout, Content, Text ในแต่ละเดือนมีการวาง Concept อย่างไรบ้าง P : ในตัวหนังสือจะมี Concept มี คาแรคเตอร์ชัดเจนวางไว้ครั้งแรกครั้ง เดียว ที่เหลือเป็นแค่รายละเอียดในแต่ละเดือนว่าจะเล่น Gimmick อะไร กี่เปอร์เซ็น อาจสัก2ปีเปลี่ยนครั้งหนึ่งแต่เปลี่ยนไม่เยอะ คาแรคเตอร์ มันเปลี่ยนไม่ได้ หนังสือ Cheeze และ Looker เป็นแบบนี้ คาแรกเตอร์ที่ เราวางเราวิเคราะห์ออกมาว่าอีก 20 ปี มันก็ยังสามารถเป็นแบบนี้ไปได้ เรื่อยๆ เราไม่สามารถเปลี่ยนได้ทุกเล่ม การจัด Layout ในแต่ละคอลัมน์ เป็นแบบไหนคอลัมน์หน้าก็จัดเป็นแบบนั้น เปลี่ยนแค่ภาพ สี คำ� เพิ่มเติม นิดหน่อย เพิ่มลูกเล่นได้ แต่เราไม่เปลี่ยนคาแรคเตอร์ได้ Q : ทิศทางในอนาคตของ Cheeze และ Looker จะออกไปในทิศทางใด P : ถ้าพูดถึงอนาคตเราไม่ได้บอกว่าเราคือคนทำ�หนังสือ เราแค่เริ่มต้น การทำ�เป็นรูปแบบหนังสือ เราคือ Content Provider เราเป็นคนคิด Content แต่ทำ�ในรูปแบบหนังสือ เมื่อ 3 ปีที่แล้วเริ่มมี E-magazine มีSocial มีEvent มีรายการทีวี มีYoutube เรามีทุกอย่างแล้ว เรากำ�ลัง จะทำ�โรงแรม เรากำ�ลังจะทำ�ร้านอาหาร เราจะทำ�ยี่ห้อเครื่องเขียนแล้วก็ ยี่ห้อเสื้อผ้าของตนเอง ชีวิตเราต้องไปเรื่อยๆ วันหนึ่งอาจไม่มีคนอ่าน หนังสือ Cheeze และ Looker ก็ได้ แต่ทุกคนรู้จัก Cheeze และ Looker ในรูปแบบใดก็ไม่รู้ แต่มันก็ยังจี๊ดจ๊าดแบบนี้เหมือนเดิม

012


TEAMWORK! Q : ทิศทางในอนาคตของ Cheeze และ Looker จะออกไปในทิศทางใด P : ถ้าพูดถึงอนาคตเราไม่ได้บอกว่าเรา คือคนทำ�หนังสือ เราแค่เริ่มต้นการทำ�เป็น รูปแบบหนังสือ เราคือ Content Provider เราเป็นคนคิด Content แต่ทำ�ในรูปแบบ หนังสือ เมื่อ 3 ปีที่แล้วเริ่มมี E-magazine มีSocial มีEvent มีรายการทีวี มีYoutube เรามีทุกอย่างแล้ว เรากำ�ลังจะทำ�โรงแรม เรากำ�ลังจะทำ�ร้านอาหาร เราจะทำ�ยี่ห้อ เครื่องเขียนแล้วก็ยี่ห้อเสื้อผ้าของตนเอง ชีวิตเราต้องไปเรื่อยๆ วันหนึ่งอาจไม่มีคน อ่านหนังสือ Cheeze และ Looker ก็ได้ แต่ทุกคนรู้จัก Cheeze และ Looker ใน รูปแบบใดก็ไม่รู้ แต่มันก็ยังจี๊ดจ๊าดแบบนี้ เหมือนเดิม Q : ในปัจจุบันเด็กไทยไม่ค่อยอ่านหนังสือ ตัวนิตยสารมีผลกระทบหรือไม่ P : ไม่ใช่แค่เด็กไทยที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ใน ยุคปัจจุบันผลกระทบคือทั่วโลก สื่อของ สิ่งพิมพ์น่าจะลดลงประมาณ 10% - 30% บางอันก็กระทบถึง 50% บางอันถึงกับ ต้องปิดตัวลงไป หนังสือที่โดนผลกระทบ มากที่สุดน่าจะเป็นหนังสือเชิงข่าว ซึ่งเดือน หนึ่งก็เอาข่าวเสนอครั้งหนึ่ง แต่ว่าจริงๆ คนอ่านไปเมื่อ 25 วันที่แล้วในออนไลน์ ซึ่งมันทำ�ให้ไม่ทันคนอื่น หนังสือที่ยังอยู่ ได้แต่ยอดจำ�หน่ายได้ความนิยมลดลง ไปประมาณ 20% - 30% ก็หนังสือเชิง Content แบบของพี่ มีผลกระทบไหมก็มี ผลกระทบต่อยอดจำ�หน่ายของหนังสือ Hard Copy คนจะไปโหลดดิจิตอล โหลด E-Book เราก็มีให้ โหลด แต่ถ้าคุณไม่อ่าน เลย ไม่ซื้อหนังสือเลย พี่ก็ทำ�หนังสือ Free Copy ขึ้นมา 1 เล่ม ไม่ซื้อหนังสือไม่เป็นไร เดี๋ยวทำ�ให้อ่านฟรี

013


Q : รายได้หลักจากหนังสือทั้งสองเล่มมา จากอะไร P : เนื่องจากหนังสือตอนนี้ไม่ใช่แค่หนังสือ รายได้จากตัวหนังสือก็คือขายตัวมันเอง โฆษณาที่มาลงหนังสือสองเล่ม Event ออนไลน์ Youtube พวกนี้จะเป็นรายได้ หลักของหนังสือ Q : ถ้ารายได้หลักหายไปจะส่งผลกระทบ ต่อหนังสืออย่างไร P : ในส่วนนิตยสาร รายได้หลักพวกนี้จะ ไม่หายเพราะหนังสือมันย่อตัวลงสุดแล้ว ยังไงโฆษณาก็ยังมีอยู่ Magazine ยังมี Prudential มากกว่าออนไลน์ มันส่งผล เยอะเพราะว่าคนอ่านหนังสือก็จะมีวิธีคิด อีกแบบกับคนดูออนไลน์ผ่านๆ รายได้ ใน วงการโฆษณามันมีไม่กี่ที่ แต่พี่มี 3 ตัว พี่ ก็ได้เงินหมดเลย Event, TV ออนไลน์พี่ก็ ทำ� มันมีช่องทางที่supportตัวมันอยู่ วัน หนึ่งคนไม่อ่านหนังสือแต่ไปอ่านออนไลน์ เพราะมันฟรี พี่ก็ขายโฆษณาในออนไลน์ พี่ได้ ไม่ว่าช่องใดช่องหนึ่งยังไงรายได้ก็ เข้ามามากน้อยว่ากันไปตามสถานการณ์ เพราะหนังสือมันไม่ได้ทำ�เดือนต่อเดือน เราต้องวางแผนกันหนึ่งถึงสองปีล่วง หน้า เราก็จะรู้ว่าปีหน้ามีอะไรบ้างไม่มีอะไร บ้างเวลาคุยกับลูกค้าก็จะคุยล่วงหน้าหนึ่ง ปี เดือนไหนคุณจะมาลงโฆษณา ไม่อย่าง นั้นเราจะเหนื่อย เรามีการเซ็นสัญญากับ ลูกค้าปีหน้าก็ปลอดภัย ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าเหตุการณ์ที่ทำ�ให้ทุก อย่างหยุดชะงักก็คือเหตุการณ์บ้านเมือง พวกนี้เป็นเรื่องที่ทำ�อะไรไม่ได้คาดเดาไม่ได้

Q : การรับบุคลากรเข้ามาทำ�งาน ต้องมี คุณสมบัติอย่างไร A : คุณสมบัติของพี่คือ เราจะนั่งคุยแล้วมอง ตาเขาสัก5นาที แล้วก็จะบอกว่ารับหรือไม่รับ พี่ไม่เคยรู้ว่าเขาจบอะไร มีหลายคนที่จบม.6ก็ มี ไม่จบก็มี มาจากมหาวิทยาลัยที่ไหนบ้างก็ ไม่รู้ ไม่เคยดูใบเกรด แต่พี่รับคนจาก Attitude มากกว่า คนพวกนี้จะเก่งง่าย มีใจรัก Office รักเพื่อนร่วมงาน อยู่ดึกได้ ทำ�งานเสาร์ อาทิตย์ได้ ทำ�งานตัวเองเสร็จก็ช่วยคนอื่น Office พี่ไม่มีคนเก่ง ที่อยู่ๆกันมาจากไหนบ้าง ก็ไม่รู้ แต่พอมารวมตัวกันแล้วมันมีพลัง ไม่มี ตัวใครตัวมัน ส่วนใหญ่ก็รับคนจาก Attitude พวกนี้ พี่ว่ามันสำ�คัญที่สุด 014


HERE WE GO จิรัฏฐ์ พรพนิตพันธุ์ บรรณาธิการนิตยสาร Cheeze Looker cheezelooker@gmail.com instagram : jiradt

Q: นิตยสาร Cheeze และ Looker มีนโยบายรับนักศึกษาฝึกงานหรือไม่ อย่างไร P : ที่นี่ไม่มีเกณฑ์ไม่มีอะไรทั้งสิ้น อยาก ฝึกงานก็โทรเข้ามาเดินเข้ามาเดี๋ยวก็ได้ ฝึก ส่วนใหญ่พี่ไม่ดูPort พี่ไม่เคยดูว่า เขาเคยทำ�อะไรไม่เคยทำ�อะไร เพราะว่า คนเราบางทีไม่เคยเริ่มงานแล้วจะเอาผล งานมาจากไหน แต่พี่เชื่อว่างานที่พี่ทำ� มันฝึกกันเดือนเดียวก็ทำ�ได้แล้ว ที่นี่รับ เด็กฝึกงานปีนึงเป็นร้อยคน ถ้าเขาโอเค ทำ�ได้เราก็จองตัวไว้ก่อนส่วนใหญ่จะ เป็นแบบนั้น

~ 015

Q : แรงบันดาลใจของพี่และทีมงานคืออะไร P : เนื่องจากที่นี่มันชัดเจนอยู่แล้วว่าเรามา ทำ�หนังสือเป็นหนังสือแฟชั่น สิ่งที่เป็นรูป ธรรมชัดเจนคือคุณต้องชอบวิธีการทำ� หนังสือก่อน คุณเป็นช่างภาพก็จริงแต่คุณ ต้องเป็นช่างภาพของหนังสือแฟชั่นก่อน คือไม่ใช่แค่ชอบถ่ายภาพเฉยๆแล้วมาทำ�งาน กับเราได้ คุณต้องรู้จักลักษณะงานที่จะมา ทำ� แรงบันดาลใจคือเราจะต้องเอาชนะคน อ่านให้ได้ โฆษณาเอาไว้ตอนหลังเพราะถ้า คนอ่านอ่านเยอะ โฆษณาก็จะมาหาเราเอง หนังสือที่ดีคือหนังสือที่ทำ�แล้วมีคนอ่าน หนังสือที่ดีมากๆแล้วไม่มีคนอ่านจะพูดได้ อย่างไรว่าเป็นหนังสือที่ดี


O






W E I V R E T N I “ ใครบ้างที่ไม่เคยฝันอยาก จะเป็นบก.นิตยสารแฟชั่น? มาจับเข่าคุยกับ บรรณาธิการ ของนิตยสาร ชื่อดัง NYLON THAILAND”

ธาวินี จันทนาโกเมษ

020



Q: ทำ�ไมถึงเลือก Nylon เข้ามาประเทศไทย S : ก่อนอื่นเลยที่มาของนิตยสาร Nylon จริงๆ มาจาก Newyork กับ London เพราะเขาเชื่อ ว่าทั้ง Newyork กับ London มันสามารถ ถ่ายทอดภาพของ Street Style หรือ High Street ได้ และที่นำ�เข้ามาในประเทศไทยเพราะ ทางผู้บริหารเห็นว่ามันมีช่องว่างทางการตลาด ของ Target reader อยู่ ถ้าแบ่งนิตยสารแฟชั่น ในประเทศไทยออกเป็นหมวดๆ ระดับล่างสุด เป็นกลุ่มเด็กมหาวิทยาลัย ก่อนมหาวิทยาลัย ตลาดเอเชีย ถ้าโตขึ้นจะมี Ceei หนังสือที่โตก ว่านั้นคือ Ray, Ceci และตลาดที่โตขึ้นที่รองรับ อยู่ Seventeen Cheeze หรือ Looker ซึ่งเป็น ตลาดที่มากกว่าห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของตลาด Street ถ้ายังมีคนที่สนใจเรื่องแฟชั่นอาจจะ ต้องข้ามไปอ่าน L'OFFICIEL Bazaar หรือ Vogue แต่ถามว่าสิ่งที่เค้านำ�เสนอในนั้นเรา สามารถได้ ในความเป็นจริงไหม เราเองพอเรา จบมหาวิทยาลัยเราก็อยากที่จะหาเรื่องอะไร ที่เกี่ยวกับการทำ�งานที่แรก บางทีลองกลับ ไปดู Cheeze , Looker หรือ Seventeen ซึ่ง พูดแต่เรื่องฉันมีปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนร่วม มหาวิทยาลัยเราจะเอาสิ่งเหล่านี้ไปใช้ ในการ ทำ�งานได้ไหม เราเชื่อว่า Nylon เป็นสิ่งที่อยู่ ตรงกลางระหว่าง Seventeen Cheeze , Looker กับ Vogue , L'OFFICIEL หรือ Bazaar ก็คืออยู่ตรงกลางพอดีซึ่งหมายความไปถึงเด็ก ที่มีอายุยี่สิบกว่าไปจนถึงสามสิบกว่าค่ะ

Q : สไตล์การทำ�เล่มของ Nylonเป็นอย่างไร การเลือก แฟชั่นที่จะเอามาลงในเล่ม เลือกอย่างไร S : ตอนที่พี่ทำ�ความเข้าใจกับ Nylon ไปทำ�ความเข้าใจ ที่อเมริกาเพราะว่า Nylon ไม่ใช่สื่อที่ตัดสินว่าอะไรถูก อะไรผิด อยากให้คนอ่านรู้สึกสนุกกับการแต่งตัวเพื่อ บอกการเป็นตัวของตัวเองแต่เราจะไม่พูดว่าอันนี้ถูกอัน นี้ผิดหรือว่าอันนี้มัน Out เรามีความรู้สึกว่า ถ้าสิ่งที่ คนกำ�ลังฮิตกันอยู่มันไม่ใช่ตัวเราหรือเราต้องไปสนใจให้ ความสำ�คัญกับมันโดยที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองเลย แล้วจะใจความสำ�คัญอย่างไรเพราะฉะนั้นเลยมีความรู้สึก ว่าจริงๆแล้วเรื่องแฟชั่นสำ�หรับ Nylon มันไม่มีอะไรถูก อะไรผิด

P’SAI Q : กระแสแฟชั่นของเด็กไทยเป็นอย่างไร S : ตัวพี่เองมีความรู้สึกว่า เด็กไทยหรือว่า Target คนกลุ่มหรือเป็นคนอ่าน จะไม่ค่อยกล้าแต่งตัว จะแต่ง ตัวแบบว่าถ้าเพื่อนฉันแต่งแบบนี้ฉันก็จะแต่งแบบนี้ ทั้ง ที่จริงๆแล้วเพื่อนเราอาจจะเป็นแนว Punk แต่เราไม่ได้ อยากจะ Punk เราไป Punk ทำ�ไม ถ้าเรามีความสนใจที่ ต่างกัน ไม่เห็นต้องแคร์เลย


FASHION ICON NYLON THAILAND Q : นิยามของนิตยสาร Nylon S : คาแรคเตอร์ของ Nylon มันเหมือนผู้หญิงที่ไม่ค่อย เรียบร้อยเท่าไรกล้านำ�เสนอ มีความเป็นหัวโจก กล้านำ� เสนออะไรที่มีความสุ่มเสี่ยง จริงๆ เรามีความรู้สึกว่า สิ่งที่ Nylon นำ�เสนอ เวลาเราเลือก Content ที่จะนำ� เสนอเราจะมีความรู้สึกว่า เรื่องนี้เรารู้แล้วเราไม่อยาก จะนำ�เสนอ แต่เรื่องที่เราไม่รู้เราอยากจะบอกมากเลย เหมือนเวลาที่เรามีเพื่อนแบบคอยมาบอกว่า รู้เรื่องรึยัง มีเรื่องนี้ที่น่าสนใจ หรืออะไรแบบนี้มากกว่าเหมือนเป็น เพื่อนของคนอ่าน Q : วิธีวาง Content , Text , Layout , Concept ในแต่ละเดือน S : ความเป็น Nylon มันก็มีความไม่เหมือนกับเล่มอื่นลองไปสังเกต กันดูก็ได้ ในโลกของความเป็นจริงเดือนมีนาคมกับเดือนกันยายน ต้องเป็นเรื่องของแฟชั่น เดือนกุมภาพันธ์เป็นเรื่องของ Beauty เพราะเป็นเรื่องวันวาเลนไทน์ เมษายนจะเป็นเรื่องของทะเล ธันวาคม เป็นเรื่องการเฉลิมฉลอง พฤศจิกายนเป็นเรื่องของท่องเที่ยวเพราะ ว่าเป็นช่วงปลายปีเหมือนกัน เดือนที่เหลือหลังจากนั้นเราก็มอง ดูว่าหนังสือเราเสนอเรื่องไหนบ้างแล้วมีเรื่องไหนที่เรายังไม่พูดถึง เช่น อย่างเล่มแฟชั่นที่ผ่านมาพูดถึงเรื่องแฟชั่นที่อัพเดทล่าสุด แต่ พอมาปีนี้เรารู้สึกว่ามันมีกระแสเลสเบี้ยน เกย์ ทอม เราลองทำ�เป็น Theme Masculine ไหม เรื่องแฟชั่นที่ไม่ได้จำ�กัดเรื่องของเพศ เอา สิ่งที่หน้าสนใจของตอนนั้น เล่มอื่นอาจจะไม่ได้กล้าพูด เรามั่นใจว่า เล่มเดือนกันยายน L’OFFICIEL หรือ Vogue เขาก็ไม่กล้าพูดเรื่อง แบบนี้

023


It Girl Q : ทิศทางในอนาคตของนิตยสาร Nylon S : อย่างที่เห็นชัดเจนเรามี Event มีหลายคนพูดมันเป็นยุคนิ่งๆ ของนิตยสาร มันเป็นช่องทางที่ทำ�ให้หนังสือมีรายได้เพิ่มขึ้น มัน ก็คือการตลาดส่งเสริมการขายหรือการพัฒนาหลังการขาย พอเรารู้ว่ามันเป็นเรื่องที่คนสนใจเราก็ไปพัฒนาเรื่อง Digital สิ หรือว่าคนสนใจเรื่อง Social Network เราก็ใช่ Social Network อย่าง Facebook หรือ Instagram ไหม เพื่อเป็นช่องทาง สื่อสารกับคนอ่าน

Q : ในปัจจุบันเด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ นิตยสารมีผลกระทบหรือไม่และมีวิธีแก้ไขอย่างไร S : โดยรวมแล้วพี่คิดว่าไม่ผลกระทบ ง่ายมากถ้า คนไม่สนใจเราก็ทำ�ให้เขาสนใจสิ แสดงว่า Content เรายังไม่ดีรึเปล่าเราพูดอะไรที่เขารู้อยู่แล้วรึเปล่า เพราะถ้าเป็นเรื่องใหม่หรือเรื่องที่เขาสนใจยังไง เขาก็อยากรู้

Q : เกี่ยวกับ E-magazine ของ Nylon S : ถ้าถามเกี่ยวกับตัว Printing อยากจะ ถามว่าครั้งล่าสุดที่คนพูดว่าหนังสือกำ�ลังจะ ตายแล้วมันกี่ปีแล้ว แล้วถ้ามันผ่านมาขนาดนี้ แล้วมันไม่น่าจะตายแล้วไหมหรือเพราะว่าคน อยากขาย IPad รึเปล่า บริษัทที่เขาพัฒนา ซอฟแวร์หรือเปล่าที่เขาพูดว่ากำ�ลังจะตาย เรากลับไปดูเราคิดว่ามันน่าจะเกินสามปีแล้วนะ ที่คนพูดหนังสือกำ�ลังจะตาย

024


Q : รายได้หลักของนิตยสาร Nylon S : รายได้หลักจริงๆมันผสมกันกับ การขาย การโฆษณา แล้วก็ Event เวลามี Event มันก็ เป็นอีกช่องทางหนึ่งถ้าเขามาซื้อ Event จาก เราแสดงว่าเขาไม่เห็นเราเป็นแค่หนังสือแต่เห็น เราเป็นแบรนด์ เห็นหนังสือเรามีศักยภาพ มากกว่าเป็นหนังสือ แต่ถ้าเราเป็นคนที่มาจาก การทำ�นิตยสาร ชอบนิตยสารเราก็อยากเห็น ยอดพิมพ์ที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น จากปีนี้พิมพ์แสน เล่มปีหน้าก็อยากให้แสนห้า สองแสน อยาก เห็นโฆษณาเยอะขึ้น อยากมี Event อยากได้ ทุกอย่างที่มันเป็นผลดีกับหนังสือเรา

$$$

Q : มีวิธีการอย่างไรถ้าขาดรายได้หลักทั้งหมด S : ทำ�ความเข้าใจใหม่เราไม่ได้บอกว่ารายได้ หลักมาจากการขายอย่างเดียว เราบอกว่าราย ได้หลักมันมาจากทั้งหมดสามทาง ถ้าเราขาด รายได้หลักจากการขายหนังสือไป เราเป็นบก. เราจะกลับมาตั้งคำ�ถามกับตัวเองก่อนว่าสิ่งที่ ทำ�ให้หนังสือมันขายไม่ได้คืออะไร เราจะพัฒนา อะไรแล้วคนต้องการจะอ่านเรื่องไหน มันคือ การพัฒนาเรื่องการขาย เรื่องยอดพิมพ์ สอง เรื่องโฆษณา ถ้าไม่มีรายได้หลักจากโฆษณา ต้องตั้งคำ�ถามว่ามันเกิดขึ้นจากอะไรสมมุติพัง มาจากเศรษฐกิจเราทำ�อะไรไม่ได้เราก็มาพัฒนา เรื่อง Event มันยังมีอีกหลายช่องทางที่เรา สามารถไปต่อได้

025


Q : มุมมองเด็กฝึกงานของนิตยสาร Nylon S : การฝึกงานอย่าไปคิดว่าเราจะได้ทำ�อะไร หรือเราจะได้ฉายเดี่ยว การฝึกงานคือการ ที่เราลองมาทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่เรา อยากทำ�ในอนาคตว่าพอเรามาเห็นสิ่งที่เราทำ� แล้วมันใช่กับสิ่งที่เราอยากทำ�ในอนาคตหรือ เปล่า เวลาเราไปฝึกงานอย่าไปเกี่ยงงานว่าเขา จะให้เราทำ�อะไร จงเปิดประสาทคอยสังเกต ว่าแต่ละคนเขาทำ�งานอะไรบ้าง วิธีการทำ�งาน ของเขาแต่ละคนเป็นอย่างไร เห็นคนที่เขาเป็น ตัวอย่างที่ดีเราก็ดูไว้แล้วไปปฏิบัติตาม เด็ก ฝึกงานที่มาฝึกงานที่นี่เขาเริ่มจากงานเล็กๆ คือไม่มีใครอยู่ดีๆ โยนงานก้อนใหญ่ให้เรา ถ้า เราไม่ได้พิสูจน์ว่างานเล็กๆเหล่านั้นเราทำ�ได้ เราทำ�ได้ดี Q : แรงบันดาลใจในการทำ�งาน S : พี่คิดว่าแรงบันดาลใจของ แต่ละคนมันต่างกัน เหมือนกับเรา เราชอบเที่ยวเวลาเราทำ�งานเสร็จ เราก็จะไปเที่ยวไปคนเดียวบ้าง เหมือนหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ เรา ไม่ได้คิดว่าเราเก่งแต่เราเปิดรับทุก อย่างตลอดเวลา อ่านหนังสือ ดู หนัง ฟังเพลงคือแรงบันดาลใจ มันมาจากทุกอย่าง

026

ธาวินี จันทนาโกเมษ บรรณาธิการบริหาร editor@nylonthailand.com instagrom : sainylon



ที่มาของนิตยสาร CHEEZE LOOKER เป็นนิตยสารหัวไทย ถ่ายทอดจาก Street โดยตรง และอยากเก็บเป็นประวัติศาสตร์การแต่งตัวของ ประเทศ เลยเกิดนิตยสารเล่มนี้ขึ้นมา กลุ่มเป้าหมายหลักของนิตยสาร อายุ 17 – 25 ปี ความก้าวหน้าองนิตยสาร มี E-magazine, Social, Event, รายการทีวี, Online, Youtube Chanal สไตล์ของนิตยสาร เป็นการแต่งตัวแนว On Street ที่เห็นได้ตามท้องถนนโดย การเลือกถ่ายการ แต่งตัวตาม กาลเทศะและ เหมาะสมกับ สถานที่

COM ANALYS


MPARATIVE SIS

ที่มาของนิตยสาร NYLON THAILAND เป็นนิตยสารหัวนอก นำ�เข้ามาจากนิวยอร์ก คำ�ว่า NYLON ไม่ได้หมายความว่าเป็น ผ้าไนลอนหรือเชือกไนลอนแต่ NYLON มาจากคำ�ว่านิวยอร์กและลอนดอน New York + London = NYLON กลุ่มเป้าหมายหลักของนิตยสาร อายุ 22 – 30 ปี ความก้าวหน้าองนิตยสาร มี E-magazine มีการทำ� Event ต่างๆ เช่น คอนเสิร์ต Music และ Festival สไตล์ของนิตยสาร นำ�เสนอเรื่องแฟชั่นแนว Street Style หรือ High Street เรื่อง Lifestyle ที่เป็น ทางเลือกให้คนอ่าน ได้รู้จัก





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.