เพาะพันธุ์สารคดีใหม่ในจอตู้

Page 1

สารคดีใหม่... เ พ า ะ พั น ธุ์

ตู้

คู่มือ

การผลิ ต รายการสารคดี โ ทรทั ศ น์ ข องคนรุ่ น ใหม่


คำนำ บั น ทึ ก เ รื่ อ ง ร า ว “ คู่ มื อ ก า ร ผ ลิ ต ร า ย ก า ร ส า ร ค ดี โ ท ร ทั ศ น์ ” โครงการเติมไฟประกายฝัน ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่เล่มนี้ มิใช่เพียง ตั ว อั ก ษร กระดาษ ภาพวาด และสี สั น ในเล่ ม เท่ า นั้ น แต่ ทุ ก สิ่ ง ที่ ม องเห็ น คื อ ชี วิ ต แ ล ะ วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ค ว า ม ฝั น ของใครหลายๆ คน ที่ ร่ ว มก้ า วเดิ น ไปในเส้ น ทางการผลิ ต รายการ ส า ร ค ดี โ ท ร ทั ศ น์ ส ำ ห รั บ เ ย า ว ช น แ ล ะ ค ร อ บ ค รั ว มี รุ่ น พี่ มื อ อ า ชี พ เ ป็ น ผู้ ถ่ า ย ท อ ด ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ใ ห้ ค น รุ่ น ใ ห ม่ โ ด ย ก า ร เ ปิ ด หั ว ใ จ รั บ รู้ แ ล ะ แ ล ก เ ป ลี่ ย น ค ว า ม คิ ด เ ห็ น กั น ด้ ว ย ค ว า ม ห วั ง ว่ า ทุ ก สิ่ ง ที่ ท ำ เ พื่ อ เ ย า ว ช น ทุ ก ค น คื อ เ พื่ อ น พ้ อ ง น้ อ ง พี่ ที่ มี ไ ม ต รี จิ ต ต่ อ กั น ส มุ ด บั น ทึ ก เ ล่ ม นี้ มี เ รื่ อ ง ร า ว ข อ ง วั น เ ว ล า ที่ ไ ด้ เ รี ย น รู้ ร่ ว ม กั น หวังว่าความฝันคงได้สานต่อและทำให้โลกนีม้ สี อื่ สีขาว สือ่ ดีๆ เพือ่ เยาวชนของเรา ผู ้ จั ด ท ำ โ ค ร ง ก า ร


คำนิ ยม ...เห็นความจริงจัง ...เห็นความตั้งใจ ...เชื่อมั่นว่าการทำงาน “สื่อเพื่อเด็ก”

...จะสามารถฝ่าฟันสู่ความฝันที่สวยงาม เข็มพร วิรุณราพันธ์


สารบัญ การผลิตรายการสารคดี รศ. จุมพล รอดคำดี  6 อ. พรสุรีย์ วิภาศรีนิมิต  8

รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และ อ. เมธา เสรีธนาวงศ์  32

เทคนิคการผลิตรายการสารคดี พัทจารี อัยศิริ  36 ยุพา เพชรฤทธิ์  37 วรางคณา วรภู และ วิทิต ภูษิตาศัย  40 สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ  42 ประสาน อิงคนันท์  75 จิรา บุญประสพ  48 ภาคผนวก

...รู้จัก “โครงการเติมไฟประกายฝัน ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่” ..หลายมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิ

ตัวอย่างบทรายการสารคดีโทรทัศน์


สารคดี

การผลิ ต รายการ


รายการ

สารคดี

“ฉันจึงมาหาความหมาย”

รศ. จุมพล รอดคำดี กรรมการบริหารสถานีวทิ ยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สารคดี หมายถึง สาระ + คดี เท่ากับ เรื่องราวที่มีสาระ

เวลาจะพิจารณารายการสารคดีทางโทรทัศน์หรือวิทยุก็ตามหลักการ คือ

1. จะต้องเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องที่สร้างขึ้นตามจินตนาการ ในเมื่อเป็น เรื่องจริงแสดงว่าต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ ตรวจสอบได้เสมอ 2. จะต้องนำเสนอเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้นไม่เสนอหลายเรื่องใน คราวเดียวกัน สมมุติว่าเสนอเรื่องกุหลาบ ก็จะพูดหรือนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ กุหลาบเท่านัน้ ไม่ใช่วา่ มีเรือ่ งอาหารเพือ่ สุขภาพเข้ามาแทรกด้วยในตอนเดียวกัน เช่นนี้คงผิดหลักการในการจัดรายการสารคดีแน่นอน

>> 6


3. วิ ธี ก ารนำเสนอรายการสารคดี มั ก จะนำเสนอโดยวิ ธี เ ล่ า เรื่ อ ง เล่าประสบการณ์ที่ตนเองประทับใจ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีก็ได้ แต่เมื่อเล่า ให้ฟังพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ แล้ว มักจะตบท้ายด้วยสิ่งที่ทำให้ผู้ชมผู้ฟังได้ เกิดการเรียนรู้อะไรไปบ้าง 4. อันที่จริงรายการสารคดีนั้นมีการนำเสนอใน 2 แนวทางใหญ่ๆ คือ เล่ า ในสิ่ ง ที่ เ ป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง (fact) ล้ ว นๆ พร้ อ มพยานหลั ก ฐานต่ า งๆ สารคดีพวกนี้เรียกว่า สารคดีเชิงวิเคราะห์ (Documentary Program) แต่ สารคดีอีกจำพวกหนึ่งที่เป็นเรื่องราวเบาๆ สนุกสนาน และมักจะเล่าจากความ ประทับใจต่างๆ ของตนเอง หรือเป็นมุมมองของมนุษย์ สารคดีพวกนี้เรียกว่า สารคดี ทั่ ว ไป (Feature Program) ซึ่ ง ก็ แ ยกย่ อ ยเป็ น สารคดี ท่ อ งเที่ ย ว สารคดีเนื่องในวันสำคัญต่างๆ หรือสารคดีเกี่ยวกับประสบการณ์ของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เป็นต้น

“คงพอได้แนวคิดบ้างใช่ไหมว่าสารคดีที่ดีเป็นอย่างไร”

7 <<


รู้จักและ เข้าใจ

การผลิต รายการสารคดีโทรทัศน์

อ. พรสุรีย์ วิภาศรีนิมิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ความหมายของ “สารคดี” (feature)

สารคดี หมายถึ ง เรื่ อ งราวของความจริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง เคยเกิ ด ขึ้ น หรือเคยมีอยู่จริง และถูกถ่ายทอดออกมาอย่างสร้างสรรค์ โดยมีผลกระทบต่อ ความรู้สึกนึกคิดหรืออารมณ์ของผู้ชม

หลักสำคัญของรายการสารคดี (Feature Program)

ต้ อ งถ่ า ยทอดความจริ ง ออกมาอย่ า งสร้ า งสรรค์ น่ า สนใจ น่ า ติ ด ตาม ต้ อ งให้ มี ผ ลต่ อ ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด และอารมณ์ ร่ ว มของผู้ ช ม (ผู้ ช มดู จ บแล้ ว นำไปคิดต่อได้)

ตอบคำถาม 3 ข้อ ก่อนที่จะทำรายการสารคดี

1. ทำไปเพื่ออะไร คือวัตถุประสงค์ กำหนดแนวคิดและประเภทของงาน 2. ทำไปให้ ใ ครดู คื อ กลุ่ ม เป้ า หมาย กำหนดรู ป แบบการนำเสนอให้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 3. ดูแล้วจะได้อะไร คือผลที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดเทคนิคการนำเสนอ

>> 8


สารคดี ประเภทของรายการ

ขึ้ น อยู่ กั บ ว่ า ใช้ ห ลั ก เกณฑ์ ใ ดเป็ น ตั ว แบ่ ง ในที่ นี้ ใ ช้ เ นื้ อ หา (content) เป็นเกณฑ์ จึงสามารถแบ่งได้ดังนี้ สารคดีความรู้ทั่วไป (General Feature) สารคดีเชิงข่าว (News Documentary) สารคดีเชิงวิเคราะห์ (Documentary) สารคดีเนื่องในโอกาสพิเศษ (Special Occasion Feature) สารคดีท่องเที่ยว (Touring Feature) และในปัจจุบันสารคดีท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-Tourism) กำลังเป็น ที่นิยม

รูปแบบเทคนิคการนำเสนองานสารคดี

•พิธีกร (MC) •บรรยาย (Narration) •เล่าเรื่อง (Story Telling)


•สัมภาษณ์ (Interview) •สนทนา (Talk) •ละคร (Docu Drama) •Vox Pop •แอนิเมชัน (Animation) •ผสมผสาน (Combination)

ขั้นตอนการผลิตรายการสารคดี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)

>> 10

•หาข้อมูล •สำรวจสถานที่ •เขียนบท •วางแผนการถ่ายทำ

ขั้นผลิตรายการ (Production)

•ถ่ายทำ

ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)

•ทำกราฟิก •ลำดับภาพ •ทำดนตรีประกอบ •บรรยาย •มิกซ์เสียง


ขั้ น ต อ น ก า ร เ ขี ย น บ ท ประกอบด้วย

1. การหาข้อมูล 2. การจับประเด็น 3. การวางโครงเรื่อง 4. การเขียนบท

1. การหาข้อมูล

• แหล่ ง ข้ อ มู ล อาจได้ จ ากข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น เอกสาร รู ป ภาพ และวั ส ดุ หรือข้อมูลจากบุคคล • ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือ หาแหล่งข้อมูลที่ ถู ก ต้ อ งกั บ เรื่ อ งให้ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะหาได้ อย่ า พอใจแค่ ห นั ง สื อ 1 เล่ ม หรือคนเพียง 1 คน • ตั้งคำถามหรือสงสัยในข้อมูลนั้นๆ ซักถามให้มากที่สุดจนแน่ใจว่าไม่มีข้อ สงสัยใดๆ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ข้อมูลที่กว้าง ลึก และถูกต้องที่สุด

2. การจับประเด็น

การพิจารณาว่าจะจับประเด็นใดมาใช้ในงานเขียนแต่ละชิ้น ควรคำนึงถึง • แนวคิดของรายการหรือของงาน (Concept) ข้อมูลชิ้นเดียวกันอาจทำ ได้หลายรายการ หรือแตกเป็นงานต่างๆ กันได้ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของรายการ

11 <<


ว่ากำหนดไว้อย่างไร • ความสำคัญของประเด็น อะไรเป็นประเด็นหลัก อะไรเป็นประเด็นรอง ข้อมูลทีห่ ามาได้ทงั้ หมดสามารถแยกแยะออกมาเป็นประเด็นต่างๆ กัน เมือ่ เลือก ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับรายการได้แล้ว ต้องคิดด้วยว่าประเด็นสำคัญใดบ้างทีต่ อ้ ง ใช้ ประเด็นรองลงไปข้อใดที่ควรใช้ร่วมด้วย และประเด็นปลีกย่อยใดที่ตัดทิ้งได้

3. การวางโครงเรื่อง

• การวางโครงเรือ่ งมีวตั ถุประสงค์เพือ่ กำหนดกรอบความคิดในการนำเสนอ เพื่อให้การวางแผนการผลิตเป็นไปได้อย่างถูกต้องและรอบคอบ เพื่อความ เข้าใจที่ตรงกันของทีมงาน และเพื่อความสะดวกในการพัฒนาบทสารคดี • การวางโครงเรื่องต้องมีแก่นเรื่อง (Theme) ที่ชัดเจน และเดินเรื่อง ทั้งหมดไปตามแก่นเรื่องนั้น • การวางโครงเรื่องเป็นการร้อยเรียงประเด็นหลักกับประเด็นรองเข้า ด้ ว ยกั น โดยไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งไล่ เ รี ย งจากหลั ก ไปหารองเสมอ แต่ ใ ห้ ค ำนึ ง ถึ ง ความเชื่อมโยง (Link) ของแต่ละประเด็นที่ร้อยเรียงกันให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจได้ • การวางโครงเรื่องไม่จำเป็นต้องนำเสนอด้วยการบรรยายเสมอไป ควร นำการนำเสนอด้วยรูปแบบอื่นๆ มาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้เรื่องมี มิติน่าติดตาม

4. การเขียนบท

• การทำสารคดีไม่ว่าจะเป็นรายการหรืองานผลิตทางด้านนี้ ต้องเข้าใจว่า การเขียนบทเป็นงานเขียนเพื่อเล่าเรื่องควบคู่ไปกับภาพ เมื่อเขียนบทต้องคิดถึง ด้านภาพ (Shot) เสมอว่าภาพสามารถเล่าเรื่องอะไรได้บ้าง ภาพเล่าเรื่องได้ ชัดเจนหรือไม่ • เมือ่ เขียนบทควรย้อนกลับไปอ่านทวนเป็นระยะ เพือ่ ให้การเล่าเรือ่ งมีความ ต่อเนื่องและสละสลวย

>> 12


การใช้ภาษาและถ้อยคำ

• ควรใช้ภาษาที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน สื่ออารมณ์ ความรู้สึกและกระตุ้นความสนใจของผู้ชมได้ • การเขียนแบบพรรณนาโวหารเป็นการแข่งกันอธิบายทั้งภาพและคำ ทำให้เรื่องเยิ่นเย้อ • ใช้ถ้อยคำที่สามารถเป็นลูกเล่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายภาพตรงๆ • การใช้คำว่า การ ในการ ความ ทำให้ประโยคและเรื่องราวเป็นทางการ และเยิ่นเย้อ • เลี่ยงการใช้คำเชื่อมประเภทถูกกระทำ หรือการขยายความในประโยค • ใน 1 ย่อหน้าควรมีประเด็นเดียว และไม่ควรมีประโยคซ้อนหรือประโยค ขยายความมากเกินไป • ไม่ควรใส่ตัวเลขที่มีรายละเอียดมากเกินไป ให้ใช้ตัวเลขโดยประมาณ • เมื่อเขียนบทสารคดีให้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากภาพ จะช่วยให้การใช้ คำเชิงอธิบายน้อยลง และใช้คำในการสื่อความหมาย ความรู้สึก ที่จะช่วยเพิ่ม สีสันให้เรื่องน่าติดตามมากขึ้น

คนที่จะเขียนบทสารคดีที่ดีได้

• ต้องมีนิสัยรักการอ่าน • รักที่จะเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ต่างๆ อยู่เสมอ • หมั่นทบทวนข้อผิดพลาดในการคิดเรื่อง จับประเด็น และสร้างคำ • แก้ ไ ขและฝึ ก ฝนการใช้ ภ าษาถ้ อ ยคำให้ ถู ก อั ก ขระ ถู ก ความหมาย และสละสลวยยิ่งขึ้น

13 <<


10 คุ ณ Àาพ ที่ควรตระหนักในการผลิตสารคดี 1. เรื่องที่จะทำ 2. เทคนิคการนำเสนอ 3. การเขียนบท 4. การถ่ายทำ 5. การบันทึกเสียง 6. การลำดับภาพ/การตัดต่อภาพ 7. การทำกราฟิก 8. การทำดนตรีประกอบ 9. การลงเสียงบรรยาย 10. การมิกซ์เสียง >> 14


สิ่งที่คนทำสารคดี ควรตระหนัก คุณภาพ สำคัญที่สุดในการผลิต ทำงานเป็นทีมเวิร์ก สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จ มีสปิริตและมีน้ำใจช่วยเหลือกัน สำคัญที่สุดในการอยู่ร่วมกัน ตรงต่อเวลา มีวินัย มีความรับผิดชอบ สำคัญที่สุดต่อตนเอง การงาน และคนรอบข้าง กิริยามารยาทและการแสดงออกที่ดี สำคัญที่สุดต่อภาพลักษณ์ของทีมงานและ องค์กร

15 <<


เริ่ ม ต้ น ดี มี ชั ย ไปกว่ า ครึ่ ง อ. พรสุรีย์ วิภาศรีนิมิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ารผลิตรายการโทรทัศน์นน้ั บริษทั ผูผ้ ลิตรายการจำเป็นต้องมีการ วางแผนการผลิตรายการให้ชัดเจน ว่าต้องการผลิตรายการอะไร ให้ใครดู และดูแล้วจะได้ประโยชน์อะไร เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร สถานีโทรทัศน์หรือผู้สนับสนุนรายการ ในที่นี้จึงขอพูดถึงการวางแผนรายการ โดยเน้นที่การเขียน Proposal รายการดังนี้ 1. ทำไมถึงต้องวางแผนผลิตรายการ 2. การทำ Proposal รายการเพื่อนำเสนอสถานีหรือผู้สนับสนุนการผลิต 3. การทำ Proposal เฉพาะตอนที่จะผลิต 4. เทคนิคการนำเสนอรายการ (Presentation Technique) 5. ตัวอย่าง : Proposal รายการสารคดีโทรทัศน์

>> 16


“โอกาสอยู่เคียงข้างคุณเสมอ” 1. ทำไมถึงต้องวางแผนผลิตรายการ

ในการผลิตรายการสารคดีเพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์นั้น ผู้ผลิต รายการหรือบริษัทผู้ผลิตควรจะต้องมีการประชุม วางแผน เพื่อกำหนดแนวทาง การผลิตและเป้าหมายในการผลิตให้ชัดเจนก่อน หลังจากนั้นจึงนำผลลัพธ์ที่ได้ จากการประชุมมาเขียนให้อยู่ในรูปของ Proposal ภาพรวมรายการเพื่อนำเสนอ สถานีโทรทัศน์ทจี่ ะออกอากาศ หรือนำเสนอให้สปอนเซอร์ผสู้ นับสนุนการผลิตได้ พิจารณา และที่สำคัญเพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวทางให้แก่ทีมงานฝ่ายผลิตทุก คนทีเ่ กีย่ วข้อง ใช้ศกึ ษาทำความเข้าใจในตัวรายการทีจ่ ะผลิต รวมไปถึงใช้วางแผน เตรียมการผลิตให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายการที่ตั้งไว้

2. การทำ Proposal ภาพรวมของรายการ

โดยทั่วไปแล้วการเขียน Proposal ภาพรวมของรายการโทรทัศน์ประกอบ ด้วยหัวข้อต่างๆ ที่เป็นการอธิบายรายละเอียดที่สำคัญและเป็นจุดเด่นของ รายการ เพือ่ ให้ผทู้ เ่ี กีย่ วข้องได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของรายการทีก่ ำลังจะผลิตขึน้ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือการเขียนอธิบายรายละเอียดของรายการหรือ Proposal ด้วยภาษาที่เป็นทางการ ตรงไปตรงมา ถ้าหากผู้ผลิตรายการมีความ สามารถด้านการใช้ภาษาในระดับดี สามารถใช้คำหรือภาษาที่สละสลวย เหมาะสม กับรายการและกลุ่มเป้าหมาย และหากมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ตัวอักษรทีจ่ ะใช้เป็นชือ่ รายการ การเลือกใช้โทนสี โลโก้รายการ เป็นต้น สิง่ เหล่านี้ จะช่วยสร้างความประทับใจและความน่าเชื่อถือให้แก่รายการยิ่งขึ้น อีกทั้งยัง สะท้อนให้เห็นถึงความพิถีพิถัน ใส่ใจในรายละเอียด สมกับความเป็นมืออาชีพ

17 <<


ของบริษทั ผูผ้ ลิตรายการอีกด้วย (ศึกษาเพิม่ เติมได้จากเว็บไซต์ของบริษทั ผูผ้ ลิต รายการโทรทัศน์ชนั้ นำ เช่น ป่าใหญ่, เวิรค์ พอยท์, ทีวบี รู พา, พาโนรามา เวิลด์ไวด์ เป็นต้น)

3. การทำ Proposal เฉพาะตอนที่จะผลิต

เมื่อทีมงานจัดทำ Proposal ภาพรวมของรายการที่จะผลิตเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในที่นี้หมายถึงรายการสารคดี ขอแนะนำให้ทีมงานฝึกขยายผลด้วยการ วางแผนเลือกเรื่องหรือตอนที่จะทำไปออกอากาศในแต่ละครั้ง สักประมาณ 3 เดือนล่วงหน้า (ประมาณ 10-15 ตอน ในกรณีทอ่ี อกอากาศเป็นประจำสัปดาห์ ละครั้ง) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการฝึกการวางแผนในระยะยาว ไม่ใช่ถึงเวลาที่จะต้องส่ง รายการให้สถานีออกอากาศทีหนึ่ง ต้องมานั่งปวดหัวคิดไม่ตกว่าจะทำเรื่องอะไร ส่งดี บางบริษัทที่เป็นมืออาชีพเขานิยมประชุมเพื่อวางแผนการผลิตเป็นปี (52 สัปดาห์) เพื่อให้ทางสถานีเห็นศักยภาพของบริษัทก่อนที่จะตัดสินใจเซ็นสัญญา ว่าจ้างกัน หากผู้ผลิตหรือบริษัทผู้ผลิตสามารถทำเช่นนี้ได้น่าจะเป็นเรื่องที่ดี และมีประโยชน์ในการวางแผนเตรียมการผลิตสารคดีให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

>> 18


หัวข้อของการทำ Proposal สามารถเพิ่มเติมหรือตัดทิ้งäด้ตามความเหมาะสม ดังนี้

-ชื่อรายการ -ประเภทสารคดี -หลักการและเหตุผล หรือที่มาของรายการ -ออกอากาศสถานีโทรทัศน์ -วันและเวลาออกอากาศ -ความยาวรายการ -พิธีกร -ผู้บรรยาย -ผู้ร่วมรายการ -ผู้ชมเป้าหมาย -อัตราค่าโฆษณานาทีละ -โครงสร้างรายการ

-บริษัทผู้ผลิตรายการ

นาที (เนื้อหารายการ

นาที + โฆษณา

นาที)

บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

(อธิบายตัง้ แต่ไตเติล้ รายการจนจบรายการ โดยทัว่ ไปมัก นิยมแบ่งเนือ้ หารายการตามเบรกโฆษณา เช่น เบรก 1 เบรก 2 เบรก 3)

19 <<


ตารางวางแผนการผลิต รายการสารคดี .......................................................................................................... สัญญาผลิตรายการเป็นระยะเวลา .................................................................. เดือน/ปี จำนวนตอนที่ผลิตออกอากาศ ............................................................................. ตอน เริ่มออกอากาศวันที่ ......................................................... ถึงวันที่ ............................ ทางสถานีโทรทัศน์ ..................................................................................................... ตอนที่

วันที่ออกอากาศ

ชื่อตอน/ เนื้อหาที่นำเสนอ

หมายเหตุ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

เมื่ อ ถึ ง ขั้ น จะเริ่ ม ลงมื อ ผลิ ต รายการออกอากาศตอนแรกหรื อ ทุ ก ๆ ตอน ทีมงานผู้ผลิตควรจะต้องทำ Proposal เฉพาะตอนที่จะผลิตด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็น การวางแผนการผลิ ต เนื้ อ หาในแต่ ล ะตอนให้ ชั ด เจน และเป็ น การกำหนด แนวทางการผลิตให้ทีมงานทุกคนได้เข้าใจตรงกัน

>> 20


การทำ Proposal

เ©พาะตอนที่จะผลิต ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ -รายการ -ประเภทสารคดี -ตอนที่ -ชื่อตอน -ออกอากาศวันที่ -วัตถุประสงค์ของตอน -แก่นเรื่องหรือสาระสำคัญของตอนที่นำเสนอ (Theme/Synopsis)

-เทคนิคการนำเสนอรายการ (ทำเป็นตารางแสดงลำดับประเด็นเนื้อหาที่จะนำเสนอ และวิ ธี ก ารนำเสนอรายการตั้ ง แต่ ต้ น จนจบรายการ ดังตัวอย่างตาราง) -งบประมาณการผลิต -กำหนดวันถ่ายทำ (ระบุวัน วันที่ เวลา) -กำหนดวันตัดต่อ (ระบุวัน วันที่ เวลา) -ตารางการถ่ายทำอย่างละเอียด (Shooting Schedule)

21 <<


4. เทคนิคการนำเสนอรายการ (Presentation Technique)

เทคนิ ค หรื อ วิ ธี ก ารนำเสนอสารคดี ส ามารถเลื อ กทำได้ ห ลายวิ ธี สมมุติว่าผู้ผลิต 9 บริษัทได้รับโจทย์ให้ผลิตรายการเรื่องเดียวกันและมีข้อมูล เหมือนกัน เชื่อได้ว่ารายการที่ผลิตออกมานั้นจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับประเด็นหรือมุมมองที่ผู้ผลิตต้องการจะนำเสนอ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ ของผู้ผลิตแต่ละราย ว่าควรจะใช้วิธีใดในการนำเสนอจึงจะเหมาะสม ซึ่งถือเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต้องฝึกวิทยายุทธ์บ่อยๆ จึงจะชำนาญขึ้น ขอติ ง ไว้ นิ ด หน่ อ ยสำหรั บ ผู้ ผ ลิ ต บางรายที่ ช อบเล่ า เรื่ อ งหรื อ นำเสนอ เรือ่ งราวแบบเป็นลำดับขัน้ ตอนทีน่ า่ เบือ่ ตัง้ แต่ตน้ จนจบ จะทำให้ผชู้ มเบือนหน้าหนี รายการสารคดีมากยิ่งขึ้น เช่น โครงการนี้ชื่ออะไร–จัดทำขึ้นโดยใคร–มีวัตถุประสงค์อะไร–

ใครเป็นผู้เข้าร่วมโครงการ–โครงการนี้มีกิจกรรมอะไรให้ทำบ้าง– ความรู้สึกของผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างไรบ้าง

เขาชื่ออะไร–เกิดที่ไหน–เรียนจบจากที่ไหนตั้งแต่อนุบาลยัน มหาวิทยาลัย–ทำงานอะไร–ยึดหลักอะไรในการดำเนินชีวติ –แต่งงาน มีลูกเมียกี่คน–ตายตอนอายุเท่าไหร่ เป็นต้น

>> 22


หากผูผ้ ลิตรูจ้ กั นำมาปรับเปลีย่ นหรือลำดับเรือ่ งใหม่ให้เร้าใจ ดึงดูดความ สนใจของผู้ ช มได้ ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม จนจบรายการเหมื อ นกั บ ดู ภ าพยนตร์ ดี ๆ ที่ดูสนุกสักเรื่องหนึ่ง น่าจะถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในการทำรายการสารคดี โดย หลักของการเล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่องแบบภาพยนตร์ก็คือ เปิดเรื่องให้น่าสนใจ ตามด้วยการขมวดปมเรื่องให้เข้มข้นน่าติดตาม จนกระทั่งถึงจุดไคลแมกซ์ แล้ว จึงจบเรื่องด้วยการฝากอะไรไว้ให้คนดูได้นำไปคิดต่อ เทคนิคหรือวิธีการนำเสนอ ได้แก่ การใช้พิธีกร การบรรยาย การสนทนา การสัมภาษณ์ Vox Pop การอภิปราย เหตุการณ์จำลอง (Docu Drama) ภาพประกอบเพลง หรือการใช้กราฟิก เป็นต้น

อย่าลืมให้ความสำคัญในเรื่องของระยะเวลาที่จะใช้ในการนำเสนอแต่ละ ประเด็นด้วยว่าควรจะใช้เวลาประมาณกี่นาที จึงจะเหมาะสมกับเวลาทั้งหมดของ รายการ ควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการเน้น ประเด็นที่เป็นประเด็นหลักของ รายการก็ควรให้เวลานำเสนอมากได้ ส่วนที่เป็นประเด็นรองก็ให้เวลาลดหลั่นลง ไป ส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องถ้าตัดได้ก็ตัดไป บางรายการความยาวเพียง 15 นาที แต่ใช้เวลาสัมภาษณ์ผู้บริหารตั้ง 5 นาที สัมภาษณ์เจ้าของเรื่องอีก 5 นาที แบบนี้ก็มากเกินไป

23 <<


หัวข้อการเขียนเทคนิคหรือวิธกี ารนำเสนอสารคดี (Presentation Technique) นัน้ จะเขียนตัง้ แต่เปิดรายการ (Title) จนจบรายการ รวมถึง รายชื่อทีมงาน (End Credit) และผู้สนับสนุนรายการ มีดังนี้

ลำดับ

ประเด็นหรือ เนื้อหาที่นำเสนอ

วิธีการที่นำเสนอ

เวลา (นาที)

รวมความยาว

..... นาที

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15

>> 24


5. ตัวอย่าง : การผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์ “โอกาสอยู่เคียงข้าง คุณเสมอ”

เพือ่ ให้เข้าใจมากขึน้ จะขอยกตัวอย่างประกอบ โดยสมมุตใิ ห้เป็นการวางแผน ผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์ “โอกาสอยู่เคียงข้างคุณเสมอ” ที่จะแสดงให้เห็น ตั้งแต่การทำ Proposal ภาพรวมรายการไปจนถึงการเขียนบทโทรทัศน์ ดังนี้ 5.1 การทำ Proposal ภาพรวมของรายการสารคดี “โอกาสอยู่เคียงข้าง คุณเสมอ” 5.2 การวางแผนผลิตรายการ 5 ตอนแรก 5.3 การทำ Proposal ตอนที่ 1 (ชีวิตบนรถเข็น) 5.4 ลำดับเทคนิคการนำเสนอรายการ (เฉพาะตอนที่ 1) ตั้งแต่ต้นจนจบ

25 <<


5.1 ตัวอย่รายการสารคดี างการทำโทรทัProposal ศน์ ชื่อรายการ ประเภทสารคดี หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของรายการ ออกอากาศสถานีโทรทัศน์ วันและเวลาออกอากาศ ความยาวรายการ พิธีกร ผู้บรรยาย ผูร้ ว่ มรายการ ผู้ชมเป้าหมาย โครงสร้างรายการ บริษัทผู้ผลิตรายการ

>> 26

โอกาสอยู่เคียงข้างคุณเสมอ สารคดีทั่วไป คนเราทุกคนล้วนมีปัญหาอุปสรรคที่ต้องเผชิญ ในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางคนมีฐานะ ยากจน บางคนร่างกายพิการ บางคนเป็นโรคร้าย ฯลฯ รายการนี้จะเป็นกำลังใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ เยาวชนต่อสู้กับปัญหา ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ขอ เพียงเราไม่ยอมแพ้เราก็จะประสบความสำเร็จได้ เพราะโอกาสอยู่เคียงข้างคุณเสมอ เพือ่ เป็นแรงบันดาลใจแก่เยาวชนให้ตอ่ สูก้ บั ปัญหา ที่ต้องเผชิญ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคหรือยอมแพ้ อะไรง่าย ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ของแต่ละคนเท่าที่จะทำได้ ไทย PBS ทุกวันเสาร์ เวลา 16.30-16.40 น. 10 นาที ไม่มี สายสวรรค์ ขยันยิ่ง เป็นเยาวชนทีม่ เี รือ่ งราวการสูช้ วี ติ ทีน่ า่ สนใจ น่าชืน่ ชม เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ เยาวชนอายุตั้งแต่ 7-25 ปี - ไตเติ้ลรายการ - เนื้อหารายการ - End Credit - โปรโมตตั ว อย่ า งรายการตอนต่ อ ไปที่จ ะออก อากาศในสัปดาห์หน้า บริษัท ดินโป่ง ครีเอชั่น จำกัด


5.2 ตัวอย่างการวางแผนการผลิตในแต่ละตอน ตอนที่

วันออกอากาศ

1

1 พ.ย. 2551

2

8 พ.ย. 2551

3

15 พ.ย. 2551

4

22 พ.ย. 2551

5

29 พ.ย. 2551

ชื่อตอน/เนื้อหาที่นำเสนอ ตอน 1 : ชีวิตบนรถเข็น น้องตัก๊ อายุ 20 ปี ทีพ ่ กิ ารช่วงล่าง ต้องใช้ชวี ติ อยู่บนรถเข็นตั้งแต่ 2 ขวบ กำลังจะจบการ ศึกษาระดับมหาวิทยาลัย พร้อมเกียรตินยิ มอันดับ 1 ตอน 2 : เด็กหญิงนักสู้ น้องตั๊กอายุ 20 ปี ที่รับจ้างทำงานสารพัดแม้ แต่รับจ้างชกมวยไทย เพื่อหารายได้จุนเจือ ครอบครัวที่พ่อตาบอด ตอน 3 : THE TOUCH OF SIGHT พี่ นุ้ ย เลขานุ ก ารผู้ พิ ก ารทางสายตาของ กอง บก.นิตยสาร a day ที่สามารถเรียนจบ คณะอักษรศาสตร์ ม.มหิดล ทำงานและใช้ชีวิต ร่วมกับคนตาดีได้อย่างมีความสุข ตอน 4 : นาฬิกาชีวิต พี่ติ๊กอายุ 25 ปี ที่เพิ่งจะรู้ว่าตนเองป่วยเป็น มะเร็งระยะสุดท้าย แต่ไม่ยอมแพ้ตอ่ โชคชะตา ยืนยันที่จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้คมุ้ ค่าด้วยการ เป็นอาสาสมัครดูแลให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งที่ โรงพยาบาล ตอน 5 : คนไกล (ใกล้) โอกาส สมะพอ เด็กชาวเขาที่ อ. ปาย เป็นคนแรกของ หมูบ่ า้ นทีไ่ ด้เรียนหนังสือจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพราะเขาใฝ่ฝันอยากจะเป็นครูเพื่อกลับไป สอนเด็กๆ บนดอยอันเป็นบ้านเกิดของเขา

หมายเหตุ กทม.

จ. สระแก้ว

กทม.

จ. นนทบุรี

จ. แม่ฮ่องสอน

27 <<


5.3 การทำ Proposal ตอนที่จะผลิต ชื่อรายการ ประเภทสารคดี ตอนที่ ชื่อตอน วัตถุประสงค์ของตอน

โอกาสอยู่เคียงข้างคุณเสมอ สารคดีทั่วไป 1 ชีวิตบนรถเข็น เพือ่ เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผชู้ ม โดยเฉพาะ ผู้พิการทางร่างกายที่ไม่ย่อท้อความพิการ จนละทิง้ โอกาสทางการศึกษา ซึง่ เป็นพืน้ ฐาน ทีส่ ำคัญในการดำรงชีวติ อย่างมีคณ ุ ภาพในสังคม

แก่นเรื่อง/สาระสำคัญของตอนที่นำเสนอ

ความพิการไม่ใช่อปุ สรรคในการศึกษาเสมอไป เช่น ในกรณีของน้องตัก๊ หรือ น.ส. จิราภรณ์ คงสวัสดิ์ อายุ 20 ปี ที่พิการช่วงล่างต้องใช้ชีวิตบนรถเข็นตั้งแต่ 2 ขวบ ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ สามารถใช้ชีวิตท่ามกลางเด็กปกติได้อย่างมีความสุข เป็นที่รักของ พ่อแม่ เพื่อน ๆ และครูอาจารย์ และยังมีผลการเรียนระดับเกียรตินิยมอีกด้วย ตั๊กเป็นลูกสาวคนโต มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เติบโตมาในครอบครัวที่อบอุ่น ส่งผลให้เธอมีนิสัยร่าเริงและมองโลกในแง่ดี แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็ได้ เกิดขึน้ ตอนตัก๊ อายุ 2 ขวบ ตัก๊ ประสบอุบตั เิ หตุตกรถจักรยาน ทำให้กล้ามเนือ้ ขา อ่อนแรงไม่สามารถเดินได้ ต้องใช้ชีวิตบนรถเข็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ร่างกายจะพิการ แต่กลับไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของตั๊กเลย ปัจจุบันตั๊กเรียนเอกภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีผลการเรียนอยู่

>> 28


ในระดั บ ดีมาก เกรดเฉลี่ย 3.50 และจัดได้ว่า เป็นเด็กเกียรตินิยมคนหนึ่ง แถมยังเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยตลอดตั้งแต่สมัยมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเธอและครอบครัว แต่สิ่งที่ ทำให้เธอยิม้ สูม้ าได้จนถึงทุกวันนี้ คือพลังแห่งความรักและกำลังใจทีเ่ ธอได้รบั จาก พ่อ แม่ เพื่อนๆ และครูอาจารย์ ถึงแม้บางครั้งเธอจะรู้สึกท้อแท้กับปัญหาและ อุ ป สรรคที่ ผ่ า นเข้ า มา เธอก็ จ ะนึ ก ถึ ง คำพู ด ของพ่ อ ที่ ใ ห้ ก ำลั ง ใจเธอเสมอว่ า “ไม่วา่ ลูกจะเป็นอย่างไร พ่อกับแม่กจ็ ะเลีย้ งดูลกู ให้ดที ส่ี ดุ เพราะตัก๊ เป็นลูกของพ่อ” จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเธอก็คือ ต้องการให้พ่อแม่ได้เห็น ความสำเร็จในการศึกษาและความพยายามมุ่งมั่นในสิ่งที่เธอทำ และเพื่อเป็น การตอบแทนพระคุณพ่อแม่ที่ทำให้เธอมีวันนี้ ตั๊กได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความพิการ ทางร่างกายไม่ใช่อุปสรรคต่อการศึกษาเสมอไป แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคและคอย ขัดขวางเราอยู่ คือความพิการในจิตใจคนเรามากกว่า หากเรามีความตั้งใจจริง และพยายามแสวงหาโอกาสที่จะเรียนรู้ เราก็จะค้นพบว่า“โอกาสอยู่เคียงข้างคุณ เสมอ”

29 <<


5.4 ตัวอย่างเทคนิคการนำเสนอรายการ (เฉพาะตอนที่ผลิต) ลำดับ 1 2

3

4

5 6

7

8 9

>> 30

ประเด็นหรือ เนื้อหาที่นำเสนอ ความคิดเห็นของคนพิการและคนทั่วไปที่ มีต่อการศึกษา “เราเรียนไปเพื่ออะไร” ในสังคมไทยยังมีคนพิการกลุม่ หนึง่ ทีเ่ ห็น ความสำคัญของการศึกษาและคิดว่าความ พิการของพวกเขาไม่ใช่ปญ ั หาหรืออุปสรรค ในการศึกษา จุดพลิกผันของชีวติ ตัก๊ จากคนปกติไปเป็น คนพิการ - เหตุการณ์จำลองที่เปลี่ยนชีวิตของตั๊ก - ความลำบากในการใช้ชีวิตหลังจากที่ ประสบอุบัติเหตุ ตัก๊ กับอุปสรรคในการเรียนและการใช้ชวี ติ ประจำวัน - กิจวัตรประจำวันของตั๊ก - ความลำบากของตัก๊ ในการเดินทางไปเรียน - ความลำบากในการใช้ชวี ติ ในมหาวิทยาลัย ตั๊กคิดว่าความพิการไม่ใช่อุปสรรคในการ เรียน

วิธีการที่นำเสนอ

เวลา (นาที)

Vox Pop 6 คน

0.30

ผู้ พิ ก า ร + ค น ป ก ติ บรรยาย

1.00

- Docu Drama - บรรยาย - สัมภาษณ์พ่อ - สัมภาษณ์ตั๊ก

1.30

- บรรยาย - สัมภาษณ์ตั๊ก - สัมภาษณ์เพื่อน

2.00

- บรรยาย - สัมภาษณ์ตั๊ก - บรรยาย ตัก๊ ได้รบั กำลังใจในการเรียนจากครอบครัว - สัมภาษณ์พ่อ และคนรอบข้างทำให้เธอไม่คิดจะยอมแพ้ - สัมภาษณ์เพื่อน - สัมภาษณ์ตั๊ก จุดมุ่งหมายของตั๊กคือการได้ตอบแทน พระคุณพ่อแม่ที่ทำให้เธอได้เรียนหนังสือ - บรรยาย และกำลังจะจบการศึกษา ทำงานสุจริต - สัมภาษณ์ตั๊ก ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ ไม่สร้างปัญหา ให้สังคม ขอให้ทุกคนอย่าย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะ - บรรยาย “โอกาสที่จะเรียนรู้อยู่เคียงข้างคุณเสมอ” - เพลงประกอบ ขอบคุณผู้สนับสนุน และรายชื่อทีมงาน รวมความยาว

1.00 1.30

1.00

1.00 0.30 10.00


กำหนดวันถ่ายทำ คิวที่ 1

วันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 เวลา 8.30-19.00 น. มูลนิธิบ้านนนทภูมิ/โรงเรียนศรีสังวาลย์/สะพานพระราม 8

คิวที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2551 เวลา 8.30–18.30 น. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/หมู่บ้านชวนชื่น

คิวที่ 3

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลา 5.30–20.00 น. หอพักน้องตัก๊ /มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/บ้านพ่อน้องตัก๊ ทีม่ นี บุรี

กำหนดวันตัดต่อ คิวที่ 1

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551

เวลา 8.30–21.00 น.

คิวที่ 2

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม 2551

เวลา 8.30–21.00 น.

คิวที่ 3

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2551

เวลา 8.30–21.00 น.

31 <<


สารคดี

ที่ดต้องให้ี เขาคิดเองสรุปเอง รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิรวิ งศ์ / อ. เมธา เสรีธนาวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์กล่าวว่า การเขียนสารคดีนั้นจะเขียนคล้ายๆ กับการเขียนละคร อาจมีเรื่องของ อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องตีโจทย์ให้ชัดและหาวิธีการนำเสนอที่สร้างสรรค์น่าสนใจ สารคดีที่ดี ไม่ควรสรุปให้ผชู้ ม แต่ควรให้พวกเขาได้คดิ เอง ผูผ้ ลิตต้องนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้านว่ามีประเด็น หักล้างกันหรือไม่

สารคดีมี 2 กลุ่ม คือ

1. สารคดีจำพวก What เป็นสารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องสวยๆ งามๆ เช่น สารคดีท่องเที่ยว 2. สารคดีจำพวก How/Why เป็นการนำเสนอที่ครอบคลุมทุกประเด็น หรือเป็นเรื่องราวที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ในปัจจุบนั เรามองข้ามวัตถุประสงค์ของทีส่ อ่ื ทีใ่ ห้แก่สงั คม สังคมไทยยังไม่มี ใครกล้าทำตรงนั้น เนื้อหาของสารคดีควรเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว หาข้อข้ดแย้งที่เกิดขึ้นในเรื่องนั้น เพราะข้อขัดแย้งจะช่วยให้งานน่าสนใจและน่า ติดตามมากยิ่งขึ้น

บทบาทของสารคดี

>> 32

1. บันทึกข้อมูล 2. โน้มน้าวใจ 3. วิเคราะห์เจาะลึก/ค้นหาข้อเท็จจริง 4. แสดงอารมณ์/สุนทรียะ


พั²นาการáละประเÀท

สารคดี

ของ

ยุคแรก สารคดีโทรทัศน์ทั่วไป -เกณฑ์ด้านเนื้อหา

-เหตุการณ์ปัจจุบัน -ประวัติศาสตร์ -ศิลปะ -วิทยาศาสตร์ -ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-เกณฑ์ด้านรูปแบบ

- เชิงข่าว (News) - เชิงท่องเที่ยว (Travel) - เชิงสังคม (Sociological) - เชิงสืบสวน (Investigative) - เชิงประสบการณ์ (Experiential) - เชิงพยาน (Testimonial)

ยุคที่สอง สารคดีเชิงละคร -Drama Docu/Drama Documentary -Docu Soaps -Docu Drama

ยุคที่สาม สารคดีชีวิตจริง (Reality TV) -สารคดีอาชญากรรม -สารคดีแอบถ่าย -สารคดีติดตามชีวิตคนดัง -สารคดีการแข่งขันด้านอาชีพ -Reality Game Show

33 <<


การผลิ ต

รายการสารคดี

การเขียนโครงร่าง/โครงเรื่อง การวางทีมงาน การวางแผนบทและการถ่ายทำ การค้นคว้าข้อมูล (Factual Research, People Research, Archive Research) การวางแผนการถ่ายทำ

Production

>> 34

เทคนิคการนำเสนอด้วยภาพ วงจรปิด สังเกตการณ์ ภาพแทน เทคนิคการเล่าเรื่อง เปิดเรื่อง-สู่จุดขัดแย้ง-จุดสูงสุด-คลี่คลาย-ปิดเรื่อง

Post Production การตัดต่อและเทคนิคพิเศษ การเผยแพร่ การประเมินผล


เทคนิคการผลิตรายการ

สารคดี


3สนสุก สาระ

สร้างสรรค์ “ขอเพียงตั้งใจทำให้เด็ก” คุณพัทจารี อัยศิริ (น้านิด สโมสรผึ้งน้อย)

“น้านิด” หนึ่งในผู้บุกเบิกรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ได้ให้ข้อคิดในการทำรายการโทรทัศน์

สำหรับเด็กว่า คนที่ทำรายการเด็กได้ดีนั้นต้องคิดบวกและต้องมองโลกในแง่ดี ที่สำคัญต้องมี ความฝัน ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม จะต้องต่อสู้ฟันฝ่าไปให้ได้

หลักในการทำรายการเด็กควรมี 3 ส

1. สนุก จะทำรายการอย่างไรให้สนุก อาจไม่ต้องมีตัวตลกแต่ต้องน่าดู และน่าติดตาม 2. สาระ เมือ่ เด็กดูรายการแล้วควรได้สงิ่ ทีเ่ ป็นสาระจากรายการ หมายความ ว่านอกจากจะต้องสนุกน่าติดตามแล้ว รายการเด็กต้องสอดแทรกสาระด้วย การทำรายการโทรทัศน์นั้นเวลาทุกนาทีมีค่ามาก ผู้ทำรายการไม่ควรโลภ เนื้อหา รายการควรมีประเด็นเดียวแต่ต้องคม 3. สร้างสรรค์ ผู้ทำรายการต้องมีมุมมองในการนำเสนอที่สร้างสรรค์ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ “คิดนอกกรอบ”

มุมมองของภาพที่จะนำเสนอในรายการเด็ก

>> 36

- ต้องศึกษาโจทย์ว่าจะทำให้ใครดู - ต้องเอาชนะใจเด็กให้ได้ - ทำอย่างไรให้เด็กสนใจและดูต่อเนื่อง - ควรทำรายการอย่างตั้งใจ อย่าคิดว่าเป็นรายการเด็กจะทำอย่างไรก็ได้ - ควรทำให้เหนือกว่ารายการของผู้ใหญ่


ทำอยา่ งäร

ใ ห ้ เ ด ็ ก เขาอยากดูรายการของเรา คุณยุพา เพชรฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด

บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด มีชื่อเสียงในการผลิตรายการ โทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีภาพสวยงาม เล่าเรื่องได้น่าติดตาม และ สามารถดึงความเป็นธรรมชาติของเด็กมานำเสนอได้เป็นอย่างดี คุณยุพา เพชรฤทธิ์ ในฐานะผู้ผลิตรายการอย่างต่อเนื่องมา กว่า 10 ป ได้กล่าวถึงเรือ่ งของการเขียนบทและเทคนิคในการทำงาน ได้อย่างน่าสนใจ... พื้นฐานของการเขียนบท

การเขียนบทจะออกมาดีหรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะจับหรือนำอะไรมาใช้ ความ ยากของการเขียนบทคือ จะนำมาสื่อสารอย่างไร และต้องศึกษาว่ากลุ่มเป้าหมาย เป็นใคร เช่น เด็ก ชาวบ้าน หรือนักธุรกิจ เป็นต้น

เทคนิคการเขียนบท

หาข้อมูลให้ได้มากทีส่ ดุ แล้วลากเส้นเป็นแกนตัง้ จากนัน้ ลากเส้นจากแกนตัง้ โดยใส่ Topic เป็นกิ่งก้าน ดูว่าหัวใจที่จะสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายคือเรื่องอะไร แล้วดึง เนื้อหาที่เหมาะสมที่สุดมาเขียน เรื่องยากอีกอย่างหนึ่งของการเขียนบทก็คือ จะ เล่าเรื่องอย่างไรให้สนุกน่าติดตาม และอะไรควรมาก่อนมาหลัง

37 <<


เทคนิคการเล่าเรื่อง

วิธกี ารเล่าเรือ่ งจะต้องเหมาะสมกับกลุม่ เป้าหมายว่าเป็นใคร ดูจริตของผูช้ ม รายการ เมือ่ ได้ขอ้ มูลต่างๆ แล้วต้องใช้ความรูส้ กึ (อารมณ์) แต่การใช้ความรูส้ กึ อาจขัดกับทฤษฎีไปบ้าง เพราะต้องอาศัยประสบการณ์และความรูข้ องแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการตัดต่อ ต้องศึกษาและเรียนรู้เทคนิคการตัดต่อ ควรรับสื่อมากๆ จะได้ทราบเทคนิคใหม่ๆ อีกทั้งคนเขียนบทจะต้องเป็นคนที่ สือ่ สารกับผูอ้ น่ื เพราะถ้าเขียนบทได้ดแี ต่ไม่สามารถสือ่ สารกับคนทีท่ ำงานร่วมกัน งานที่ออกมาก็อาจไม่ดี ปัจจุบันการทำงานนั้นต้องเรียนรู้โลกธุรกิจ จะมีสปอนเซอร์ของรายการเข้า มาเกี่ยวข้องในการทำงาน คนเขียนบทจะต้องเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันด้วย

>> 38


ส รุ ป ค ำ ถ า ม แ ล ะ ค ำ ต อ บ ถาม ส่วนใหญ่เห็นรายการของบริษทั ป่าใหญ่ครีเอชัน่ เป็นรายการเด็ก มีวธิ กี าร

ทำงานและการปรับตัวให้เข้ากับเด็กอย่างไรบ้าง ? ตอบ ทีมงานจะต้องไปสำรวจพื้นที่ก่อนถ่ายทำจริง ไปคลุกคลีกับเด็กและไม่ ทำให้เขารู้ตัวว่าจะถูกเลือก มีการเล่นเกมพูดคุยละลายพฤติกรรม การ เขียนบทต้องดูจิตวิทยากับแบ็กกราวนด์ของตัวละครด้วย ถาม การเขียนบทของทีมงานบริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่นก่อนถ่ายทำนั้นมีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ? ตอบ ไม่มีสคริปต์แต่มีการทำเอาต์ไลน์เพื่อสื่อสารกับตากล้องในเรื่องของ บรรยากาศและอารมณ์ที่ตัวผู้เขียนบทต้องการ ถาม วิธีคิดที่ทำให้เด็กอยากดูรายการคืออะไร ? ตอบ ต้ อ งดู ว่ า เด็ ก ชอบอะไร เนื้ อ หาและกราฟิ ก ต้ อ งเหมาะกั บ เด็ ก ด้ ว ย ธรรมชาติของเด็กชอบเรือ่ งสัน้ ๆ สนุก ได้หวั เราะ ทำรายการอะไรก็ได้ทมี่ ี คุณค่าและเด็กต้องดูด้วย

สรุปในตอนท้าย คุณยุพากล่าวว่า.....

• สิ่งสำคัญก็คือเวลาในการออกอากาศ เพราะรายการที่จะออกอากาศนั้น มีเวลาจำกัด แต่ถึงเวลาน้อยก็ไม่ควรอัดเนื้อหาเข้าไปมากเกินไป • คนทำรายการโทรทัศน์ต้องคิดอะไรใหม่ๆ และไม่ควรไปลอกเลียนแบบ รายการอื่น • การดูฟดี แบ็กสามารถดูได้จากทางอินเทอร์เน็ตว่าใครพูดถึงรายการหรือ งานของเราอย่างไรบ้าง การสือ่ สารกับคนไม่ใช่เรือ่ งง่ายๆ ต้องตืน่ ตัวตลอดเวลา แล้วทำอย่างไรให้คนอยากดูรายการของเราจริงๆ

39 <<


นั้น ี่เขียนภาพ บทต้อทงเคารพ และ

วัตถุดิบที่มีอยู่ด้วย คุณวรางคณา วรภู คุณวิทิต ภูษิตาศัย โปรดิวเซอร์ ผู้เขียนบท ฯลฯ ผู้หลงรักการทำสารคดีเพื่อสังคม บริษัท จินตนาการ จำกัด

ในมุมมองของคนที่ทำสารคดีเพื่อสังคม ทั้งสองท่านกล่าวว่า เวลาเจอเหตุการณ์สดตรงหน้าที่มันเกี่ยวกับเรื่องของเรา ก็สามารถ นำเหตุการณ์นั้นมาเชื่อมโยงกันได้ งานโทรทัศน์มหี ลายแนวมากและแต่ละเรือ่ งมีเป้าหมายต่างกัน การทำงาน นั้นเริ่มจากการเดินเข้าไปหาความจริงแล้วเสาะแสวงหาข้อมูล ตากล้องจะถ่าย สิ่งที่อยู่รอบๆ อย่างครอบคลุมเพื่อนำมาใช้ในการตัดต่อ ถ้าเข้าใจธรรมชาติของสื่อก็จะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดี โดย ทัว่ ไปการทำสารคดีไม่ใช่การไปแทรกแซง แต่เป็นการออกไปหาความรู้ ซึง่ วัตถุดบิ เดียวกันอาจมีการนำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับสไตล์ของ แต่ละคน

>> 40


ส รุ ป ค ำ ถ า ม แ ล ะ ค ำ ต อ บ ถาม ได้ประสบการณ์อย่างไรจากการทำงาน ? ตอบ งานทุกงานให้ประสบการณ์กับตัวเราหมด บทเป็นแค่ส่วนหนึ่งและต้อง

สัมพันธ์กับภาพ เสียง และเรื่องต่างๆ เขียนอย่างไรให้คนอยากดู นั่น คือต้องเปิดประเด็นให้น่าสนใจ บทต้องเข้าใจง่าย ไม่ซ้ำซาก และต้องส่ง ประเด็นขมวดปมไปสู่บทสรุป บทที่เขียนนั้นต้องเคารพภาพและวัตถุดิบ ที่มีอยู่ด้วย ถาม เมื่อได้โจทย์มาแล้วจะทำอย่างไรในการผูกเรื่อง ? ตอบ เมือ่ ได้โจทย์มาแล้วต้องมีการพูดคุยกันกับทีมงาน แล้วลงพืน้ ทีไ่ ปหาข้อมูล ในพื้นที่ที่จะถ่ายทำ จะต้องไปพูดคุยกับคนในพื้นที่เพื่อหาข้อมูล อีกทั้ง ต้องหารูปธรรมที่สื่อถึงโจทย์นั้นให้ได้ การวิจัยนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการ ลงพืน้ ที่ เวลาถ่ายทำรายการจะต้องเปิดตัวเอง อย่าไปวางกรอบให้ตวั เอง ส่วนคนที่ทำงานด้านข้อมูลต้องเป็นคนที่ช่างซักช่างถาม คนเขียนบทต้องมีจนิ ตนาการ มีวธิ คี ดิ แบบเชือ่ มโยง พลังของสารคดี อยู่ที่ความจริง การตัดต่อจะช่วยให้คนดูมีอารมณ์ร่วมหรือมีความรู้สึกขึ้น มาได้ ดนตรีจะช่วยสร้างบรรยากาศ ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น มากมาย เราต้องศึกษาเพื่อนำมาใช้เป็นเทคนิคในการผลิตและต้องตั้ง อยู่บนพื้นฐานของความจริงด้วย ถาม จะมีวิธีการสร้างเรื่องอย่างไรให้มีคุณค่า และแค่ไหนจึงจะพอดี ? ตอบ เลือกพูดบางบทบาทและต้องชัดเจน เรื่องทางสังคมมีหลายมิติ คนทำ รายการโทรทัศน์จะต้องรู้ลึกและเข้าใจมากพอ ถาม เคยมีสารคดีที่สามารถเปลี่ยนเด็กคนหนึ่งเป็นเด็กอีกคนหรือไม่ ? ตอบ มีหลายกรณีที่สามารถเปลี่ยนแปลงคนไปในทางที่ดีได้ ถาม พบปัญหาอะไรในเด็กรุน่ ใหม่ และต้องการให้คนรุน่ ใหม่เรียนรูอ้ ะไรมากขึน้ ? ตอบ ทางบริษทั จะสอนเด็กให้เรียนไปทำงานไป เด็กจะได้ความรูจ้ ากการทำงาน จริง

41 <<


คน ค้น ฅน ทำสารคดี โทรทัศน์

ชื่อ “สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ”

คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ โปรดิวเซอร์และพิธีกรรายการกบนอกกะลา บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี

รายการสารคดีที่ดีเป็นอย่างไร

>> 42

“สารคดีเป็นเรื่องของความจริง เพราะฉะนั้นสารคดีที่ดีต้องมีข้อมูลที่ ถูกต้อง คือต้องให้ความสำคัญกับเรื่องข้อมูล เรื่องของความถูกต้องทุกอย่างที่ อยู่ ใ นงานของเรา ต้ อ งมี ที่ ม าที่ ถู ก ต้ อ งด้ ว ย ยกตั ว อย่ า งเช่ น สมมุ ติ เราจะไปถ่ายภาพเสือ หรือจะไปถ่ายภาพนกในรังก็ได้ แต่ต้องไปรื้อรังนกแล้วก็ เอากล้องขึน้ ไป แล้วมาทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวติ ของนกอะไรแบบนี้ นีถ่ อื ว่า ไม่ถูกต้องในการทำงานสารคดี เพราะฉะนั้นนอกจากความถูกต้องสมบูรณ์ ของตัวเนื้อหาข้อมูลแล้ว ในเรื่องของการได้มาต้องถูกต้องด้วย อันนี้คือเป็น จรรยาบรรณของคนทำสารคดี สารคดีเป็นงานทีท่ ำให้คนอืน่ ดู หมายความว่าต้องมีวธิ กี ารนำเสนอ คือเรือ่ ง วิธกี ารนำเสนอต้องน่าสนใจ ถ้าพูดรวมๆ ก็คอื ต้องมีความลงตัวทุกองค์ประกอบ เหมือนคนแต่งตัวไม่ว่าจะแต่งสูท ผูกไท เพื่อชีวิต ฮิปปี้ มันเป็นรูปแบบหรือวิธี นำเสนอที่ต้องมีความลงตัวและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เราทำเพื่อที่จะให้ คนดู พูดง่ายๆ เพื่อที่จะสื่อสารอะไรบ้าง ดังนั้นงานที่ดีคือต้องสื่อสารสิ่งที่เรา ต้องการสือ่ สารไปยังเป้าหมายหรือไปยังผูช้ มของเราให้ได้ แล้วทีม่ ากกว่านัน้ ก็คอื ต้องเป็นการสื่อสารที่มีพลัง ต้องทรงพลัง หมายความว่าดึงความสนใจ พูดกัน ภาษาจิก๊ โก๋หน่อยก็ตอ้ งบอกว่า “เอาอยู”่ อะไรอย่างนัน้ ผมคิดว่าถ้าทำได้ประมาณนี้ ก็น่าจะเรียกได้แล้วว่าเป็นงานที่ดีนะครับ”


ฝากถึงคนทำสารคดีรุ่นใหม่ๆ “อันดับแรกเลยก็ฝากความหวังนะครับ อันนีเ้ ป็นการฝากทีย่ งิ่ ใหญ่มากและเป็น การฝากที่เหมือนการฝากฝังจริงๆ คือผมเชื่ออยู่เสมอและคิดอยู่ทุกวันว่าคนรุ่นผม จะกลายเป็นอดีตภายในเวลาไม่ชา้ ความหวังจริงๆ ของวงการอะไรก็ตามต้องอยูท่ คี่ น รุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นคนรุ่นใหม่จะต้องเข้าใจความคาดหวังของคนรุ่นก่อนในบทบาทนี้ และต้องเข้าใจตัวบทบาทหน้าที่ของตัวเองตรงนี้ ในการที่จะทำให้สารคดีในบ้านเราได้ รับการพัฒนา หรือว่ามันมีพื้นที่ที่แข็งแรงของตัวเอง ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่เราจะ ต้อง “ช่วงชิงกลุ่มผู้ชม” ให้หันมาดูรายการที่พวกเราทำให้มากขึ้น ขยายกลุ่มมากขึ้น และได้เห็นงานที่หลากหลายขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่าเรามีพื้นที่ของเราอยู่จริง แล้วยิ่งงานที่เราทำไปสามารถแข่งขันได้ มีคนดูแล้วขายได้ด้วย สมมุติถ้าคนรุ่นก่อน เป็นช้างที่เข้าบุกเบิกทางไว้แล้ว ขอฝากคนรุ่นใหม่ให้สร้างอะไรใหม่ๆ ให้สมกับที่เป็น คนรุ่นใหม่และสมความคาดหวัง มีจินตนาการ แต่อย่าก๊อบปี้เพราะในวันหนึ่งมันจะ เป็นการทำลายตัวเอง จำเป็นที่คนรุ่นใหม่ต้องมีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างอัตลักษณ์ สร้างเอกลักษณ์อะไรใหม่ๆ ฝากถึงคนรุ่นใหม่อีกอันหนึ่งก็คือฝาก การทำงานหนัก ทำงานจริง คือมันไม่มอี ะไรทีไ่ ด้มาง่ายๆ ไม่มอี ะไรทีส่ วยงาม ข้างหน้า จอกับข้างหลังจอต้องบอกว่ามันคนละเรือ่ งกันนะครับ มีคนจำนวนมากทีเ่ ดินมาทีบ่ ริษทั ทีวีบูรพา ด้วยแรงกระตุ้นด้วยแรงบันดาลใจจากงานที่พี่ๆ ในบริษัททำ แต่พอมาถึง ขั้ น ของการทำงานจริ ง ปรากฏว่ า ไม่ ส ามารถที่ จ ะอยู่ ไม่ ส ามารถที่ จ ะรั บ มื อ ได้ คิดว่ามันคงจะสนุกนะ ได้ออกไปทำรายการคนค้นฅน กบนอกกะลา หรืออะไรอย่างนี้ แต่พอไปจริงปรากฏว่าไม่เห็นสนุกเหมือนกับที่ดูที่หน้าจอเลย ต้องอดทนในงานหนัก ครับ และที่สำคัญก็คือว่า ในมหาวิทยาลัยสอนองค์ความรู้พื้นฐานให้ แต่ว่าในเรื่อง ของความเป็นมืออาชีพหรือเรือ่ งของวิถกี ารเป็นคนทำสารคดี ในมหาวิทยาลัยไม่ได้สอน โดยเฉพาะวิถีที่มันไปเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงอีกหลายด้านหลายระดับ ในโลกของ ธุรกิจในโลกของความเป็นจริงเป็นสิ่งที่เราต้องมาเรียนรู้และมาทำความเข้าใจกับมัน เพราะฉะนั้นก็คาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะต้องเปิดใจ แล้วก็ต้องคอมโพรไมส์ (Compromise) หรือเอาความเป็นจริงมาประยุกต์กับการเรียนรู้”

43 <<


กำลังใจจากรุ่นพี่ “ขอให้กำลังใจและให้โอกาสกับคนรุ่นใหม่ สำหรับตัวผมเองนี่คือเต็มเปี่ยม อยู่ แ ล้ ว การสื่ อ สารกำลั ง ใจจากผมขอใช้ ค ำพู ด “ขอให้ สู้ น ะครั บ ” และผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ ขอให้ทุกคนถ้ารักหรือเลือกที่จะเดินบนเส้นทางของ การที่จะเป็นนักผลิตสารคดีหรือคนผลิตสารคดี ขอให้เอาจริง ขอเป็นกำลังใจให้ สามารถเดินไปบนเส้นทางของการเป็นนักทำสารคดีรุ่นใหม่ ผมยินดีเสมอ คน ทำสารคดีก็เหมือนคนทำอาชีพอื่นๆ นั่นก็คืออยากประสบความสำเร็จในอาชีพ ของตัวเอง อยากมีความภูมิใจในงาน อยากได้ความสุขจากการทำงาน อยากได้ ความภาคภูมิใจในงาน ผมยืนยันว่าหากเอาจริงเอาจังแล้วก็ทำมันด้วยความรัก ด้วยความเชื่อ แล้วพัฒนามันให้ได้ก็จะประสบความสำเร็จ อยากให้พื้นที่สำหรับ งานสารคดีก้าวไกลไปถึงระดับโลก อันนั้นจะเป็นวันที่ผมดีใจมาก ดีใจด้วยที่มี โครงการที่มีลักษณะที่เหมือนกับเป็นเวิร์กช็อปให้แก่คนรุ่นใหม่ เป็นเวทีของการ ให้ ค นรุ่ น ใหม่ ไ ด้ มี เ วที ข องการแสดงออก ได้ คิ ด ได้ ท ดลองทำ ได้ เ พิ่ ม เติ ม ประสบการณ์ เป็นเวทีที่เป็นประโยชน์ แล้วเห็นมามากต่อมากแล้วที่มีคนรุ่นใหม่ ทีแ่ จ้งเกิด เหมือนเปิดโอกาสดีๆ ให้มกี จิ กรรมในการเรียนรูแ้ สวงหาประสบการณ์ ที่สำคัญที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง”

>> 44


เน อ ้ ื ห า กับ การนำเ

สำคัญสำหรับ การทำรายการโทรทัศน์

สนอ

คุณประสาน อิงคนันท์ โปรดิวเซอร์และพิธีกรรายการกบนอกกะลา บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี

คุณประสานได้กล่าวถึงการผลิตสารคดีโทรทัศน์ว่า.....

การทำรายการโทรทัศน์หรือสารคดีโทรทัศน์จะมองออกเป็น 2 ส่วน คือ เนื้อหาและการนำเสนอ เมื่อเริ่มต้นทำงานถ้ามอง 2 ส่วนนี้จะทำให้สามารถคุม ทิศทางได้ง่าย ถ้ามองออกก็จะทำให้มองเห็นรูปแบบของสารคดีได้ สิ่งเหล่านี้จะ ช่วยเชือ่ มโยงสิง่ ต่างๆ เช่น พิธกี ร กราฟิก เพลงประกอบ การตัดต่อ การลงเสียง อีกทั้งช่วยคุมโทนว่ารายการจะออกมาในรูปแบบใด

“การกำหนดโทน” ของสารคดีเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะต้องกำหนดโทนให้

ได้ รายการเดียวกันแต่ตอนต่างกันก็อาจใช้โทนหรือภาษาทีต่ า่ งกันได้ การทำงาน โทรทั ศ น์ เ ป็ น การทำงานเป็ น ที ม ต้ อ งมี ก ารสื่ อ สารและการประสานงานที่ ดี คนเขียนบทและโปรดิวเซอร์ตอ้ งชัดเจน ถ้าสือ่ สารไม่ดกี อ็ าจทำให้งานผิดพลาดได้ การคิ ด งานโทรทั ศ น์ จ ะคิ ด ฝั่ ง เดี ย วไม่ ไ ด้ ต้ อ งจิ น ตนาการไปถึ ง ภาพที่ ต้องการด้วย ต้องคิดว่าจะใช้ภาพอะไรบ้างในการนำเสนอ จากนั้นคิด Mood & Tone ว่าต้องการแบบใด ถ้า Mood & Tone เหมือนเดิมหรือซ้ำๆ จะทำให้รายการ น่าเบื่อ ต้องดูว่าจะต้องปรับหรือแก้ไข Mood & Tone อย่างไรได้บ้าง

45 <<


เทคนิคที่ใช้ คือ เมื่อดูรายการที่ทำในรอบแรกแล้วรู้สึกเบื่อหรือไม่น่า สนใจ ก็แสดงว่างานนั้นไม่ผ่าน แต่ถ้างานไหนดูกี่รอบก็ไม่เบื่อแสดงว่างานนั้น น่าสนใจ Mood & Tone นั้นมาจากผู้ตัดต่อที่จะช่วยกำกับ เป็นคนที่ทำงาน ร่วมกับโปรดิวเซอร์อย่างใกล้ชิด ส่วนช่างภาพนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจใน เนื้อหา ภาพที่ได้นั้นนอกจากจะสวยแล้ว ยังต้องสื่อสารได้ดีอีกด้วย สิ่งเหล่านี้จะ ใช้เป็นทรัพยากรในการตัดต่อ คนตัดต่อจะนำภาพมาประดิษฐ์เรื่องราวโดยใช้เทคนิคต่างๆ ภาษาภาพ ไม่ต้องมีตัวหนังสือมาก อาจมีแค่คำบรรยายสั้นๆ จะทำอย่างไรให้ภาพและ ตัวหนังสือพอดีกัน จะต้องหาวิธี สารคดีที่มีเรื่องของการบรรยายมากๆ ตัว สารคดีจะเนิบนาบเชื่องช้าและน่าเบื่อ

>> 46


ส รุ ป ค ำ ถ า ม แ ล ะ ค ำ ต อ บ ถาม ตอบ ถาม ตอบ

ถาม ตอบ ถาม ตอบ

รายการคนค้นฅนตอน “ยายไฮ” ใช้เวลาการถ่ายทำกี่วัน ? 2-3 สัปดาห์ หลังจากการถ่ายทำจะนำภาพมาร้อยเรียงให้น่าสนใจได้อย่างไร ? ต้องมีการจัดการที่ดี มีการกำหนดเวลา ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของ รายการด้วย สารคดีเชิงความรู้จะทำให้น่าสนใจนั้นต้องหาอะไรที่จับต้อง ได้ ลงรายละเอียด การเล่าเรือ่ งแต่ละสไตล์จะต้องดูความเหมาะสม การ เปิดเรื่องในแต่ละงานมีความสำคัญมาก ต้องให้มีความน่าสนใจ อย่า ซ้ำซาก ต้องหาวิธีการเล่าเรื่องมาประกอบกัน ซาวนด์ที่ใช้ในการตัดต่อนั้นนำมาจากไหน ? ดนตรีที่ใช้นั้นเป็นดนตรีลิขสิทธิ์ทั้งหมด การเลือกเพลงนั้นต้องให้ภาพ กับเพลงไปด้วยกัน สมดุลกัน ถ้าภาพไปทางก็จะทำให้ความรู้สึกของ คนดูขัดกัน มันจะโดด เรื่องบางอย่างนั้นไม่สามารถสอนกันได้ เป็นเรื่อง ของรสนิยมของแต่ละบุคคล รายการบางรายการจะสรุปให้เลย แต่บางรายการแค่ทิ้งท้ายให้ผู้ชมคิด เอง จะเลือกใช้วิธีใดจึงจะดีที่สุด ? จะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของรายการ ถ้าจะใช้รายการเป็น เครื่องมือของสังคมหรือจูงใจคนก็อาจสรุปให้เลยก็ได้

47 <<


จะเขียน

สารคดี ูล

มีข้อม ความจริง

ต้อง นำเสนอ

คุณจิรา บุญประสพ อดีตนักข่าวการเมือง คนเขียนบท คนเดินเรือ่ ง และโคโปรดิวเซอร์ ที่กำลังช่วยสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิและบริษัททีวีบูรพาสร้างโครงการ รายการต้นแบบเพื่อผลิตรายการที่จะเพิ่มความงดงามให้เกิดขึ้นกับ สังคมในอนาคต เธอเน้นการเขียนสารคดีทบี่ อกว่าการเขียนสารคดีตอ้ งวิเคราะห์ จากฐานข้อมูล จะจินตนาการเอาเองไม่ได้

>> 48


ส รุ ป ค ำ ถ า ม แ ล ะ ค ำ ต อ บ ถาม ข้อควรระวังในการทำรายการสารคดีชีวิตคนคืออะไร ? ตอบ จะมั่วข้อมูลเองไม่ได้ วิธีการเข้าถึงคือการเข้าไปคลุกคลีกับเขา คนเขียน

ถาม ตอบ

ถาม

ตอบ

ถาม ตอบ

บทต้องดูวา่ ความจริงคืออะไร ระวังความจริงในคน ต้องศึกษาจากคนรอบๆ ข้าง หรือการปฏิบัติตัวของเรา ความจริงได้จากการเสาะหาข้อมูลเชิงลึก มี สุภาษิตว่า “เห็นโลกเท่าไร เขียนได้เท่านัน้ ” ต้องเข้าถึงข้อมูลในการนำเสนอ ความจริง หาวิธีการนำเสนอแล้วจึงชักจูงและทำให้คนรู้สึกกับเรื่องให้ได้ การใช้ถ้อยคำหรือภาษาจะช่วยโน้มน้าวและชักจูงใจควบคู่ไปกับภาพ บาง ครั้งการเขียนบทมาจากสัญชาตญาณด้วย ประเด็นที่จะนำมาเขียนอาจ เป็นประเด็นทีอ่ ยากเขียนหรือเป็นประเด็นสังคมก็ได้ ตัวอย่างจากรายการ หลุมดำก็เป็นรายการทีเ่ ปิดประเด็นเพือ่ ให้สงั คมได้รเู้ ท่าทัน หลังจากทีไ่ ด้ ข้อมูลมาแล้วก็จะหาวิธีการนำเสนอว่าจะนำเสนอรูปแบบใด การไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ของทีมงานนั้นได้นำกล้องไปด้วยหรือไม่ ? การนำไปหรือไม่นำไปนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของรายการ เช่นรายการคน ค้นฅนก็จะไม่นำกล้องไปด้วย แต่จะลงไปสร้างความคุน้ เคยก่อน เพราะใน ช่วงแรกเขายังไม่คุ้นเคย ส่วนรายการแผ่นดินไทยจะนำกล้องไปด้วย เพราะต้องการความสด เวลากำลังถ่ายทำอยูแ่ ล้วคนรอบข้างสงสัยว่าทำอะไรจะมีวธิ จี ดั การเรือ่ งนี ้ อย่างไร ? ทีมงานจะไปอธิบายให้คนรอบข้างฟัง หรือเข้าไปขอความร่วมมือด้วยวิธี การดีๆ วิธีการหาข้อมูลทำได้อย่างไร ? จะเข้าไปคุยกับคนต้นเรื่องอย่างเดียวไม่ได้ (ยกตัวอย่างจากรายการ คนค้นฅน) ต้องไปสัมภาษณ์คนรอบข้างด้วย บางเรือ่ งทีเ่ ป็นเรือ่ งอ่อนไหว

49 <<


ถาม ตอบ

ถาม ตอบ

ถาม ตอบ

ถาม ตอบ

ถาม

ตอบ

>> 50

ต้องมีวธิ กี ารตัง้ คำถามทีด่ แี ล้วมาเขียนบท มีบางกรณีทท่ี ำไปแล้วไม่ใช่ เช่น กรณีที่ไปติดตามคนชั้นสูง เมื่อทำรายการไประยะหนึ่งพบว่าเขาไม่ได้ทำ มาจากใจจริงก็เลิกทำไป ส่วนอีกกรณีหนึ่งเป็นพระที่อยู่บนภูเขา โดยวัด จะรับอุปการะเด็กชาวเขามาดูแล พอฟังเสียงสะท้อนจากคนรอบข้างแล้ว สิ่งที่พระปฏิบัติกับสิ่งที่เทศนามันคนละอย่างกัน จึงเลิกทำกรณีนั้นไป ประเด็นกับปฏิกิริยาของสังคมเป็นอย่างไรบ้าง ? บางคนชืน่ ชมกับประเด็น เพือ่ ทีจ่ ะได้รเู้ ท่าทันสังคม แต่บางคนไม่ชอบ เช่น กรณีเด็กดมกาวที่หัวลำโพง ตำรวจพื้นที่ไม่ชอบเพราะเหมือนเป็นการไป ตำหนิการทำงานของตำรวจ มีวิธีนำเสนออย่างไรที่จะไม่ให้ละเมิดตัวเจ้าของต้นเรื่อง ? คนที่มาเป็นคนต้นเรื่องต้องเต็มใจโดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กกลุ่มนี้ ต้องการใครสักคนทีร่ บั ฟังเขา ต้องบอกว่าจะเกิดอะไรขึน้ หากออกอากาศ ไปแล้ว คนทำรายการต้องมีจรรยาบรรณและทำด้วยใจ ตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน ความไม่เอาเปรียบ สิง่ ทีส่ ำคัญคือเจตนา ต้องไม่เหมือนว่าเป็นการซ้ำเติม มีวิธีการหรือเทคนิคอย่างไรในการนำเสนอให้ดูง่าย ? คือรูปแบบของรายการ การนำต้องจูงใจคนดูให้รสู้ กึ และตระหนัก การตัดต่อ การเขียนบท และภาษาก็สำคัญ จะต้องทำให้โดนใจคนดู คุณจิรารู้สึกอย่างไรกับงานที่ทำอยู่ในตอนนี้ ? รักมันค่ะ งานสื่อก็เหมือนการทำงานสังคมสงเคราะห์ ต้องทุ่มเทเพราะ งานหนักมาก ถ้าไม่มีใจรักจะไม่สามารถทำได้ บางกรณีที่นำเสนอออกอากาศไปแล้วมีการพาดพิงถึงบุคคลใดบุคคล หนึ่ง จะต้องทำอย่างไร ? วิธีการนำเสนอจะนำเสนอทั้งสองฝ่าย รายการต้องได้ออกอากาศเพราะ อยูบ่ นพืน้ ฐานความถูกต้องและความจริง สือ่ ไม่ใช่พระเจ้าทีจ่ ะเข้าไปจัดการ เรื่องทั้งหมดแต่มีหน้าที่คอยประสาน


ถาม ตอบ ถาม ตอบ ถาม ตอบ ถาม ตอบ ถาม ตอบ ถาม ตอบ ถาม ตอบ

การนำเสนอของตัวละครจะมีน้ำหนักอย่างไร ? เรือ่ งราวอาจมีมากมายหลายประเด็นซึง่ จะมีประเด็นหลักและประเด็นรอง มีวิธีการเรียงประเด็นอย่างไรให้น่าสนใจ ? บางทีมคี วามสดของเหตุการณ์ดว้ ย มีฉากทีน่ ำไปสูป่ ระเด็นรวมทีจ่ ะทำให้ รายการไม่แห้ง มีชีวิตชีวา กรณีที่ได้รับข้อมูลมากๆ จะมีวิธีการอย่างไรในการเลือกข้อมูล ? -ประเด็นใดน่าสนใจ -ตัวละครมีวิธีคิดและคาแรกเตอร์เป็นอย่างไร -ส่งทีมงานลงไปเก็บข้อมูลก่อน เมือ่ มีประเด็นมากมายทีเ่ ขียนบทไว้แต่เวลาออกอากาศมีจำกัด จะมีวธิ กี าร อย่างไรให้รายการออกตามเวลาพอดี ? เลือกประเด็นทีเ่ ป็นหัวใจกับเหตุการณ์ทสี่ นับสนุนเอาไว้ ถ้าไม่ทนั จริงๆ ก็ ต้องตัดใจ ถ้าสามารถยืดตอนได้ก็ยืดตอนออกไป เมือ่ เราไปสัมภาษณ์คนต้นเรือ่ งตอนก่อนสัมภาษณ์พดู เป็นธรรมชาติมาก แต่พอเอาจริงกลับพูดน้อย ถามคำตอบคำ จะมีวิธีการรับมืออย่างไร ? ทีมงานต้องไม่ทำให้เขารู้สึกแปลกแยก สร้างความคุ้นเคยกับเขา ให้ดู เหมือนว่าทีมงานเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเขา การวางตัวเป็นกลางทำได้อย่างไร ? ต้องมีวุฒิภาวะ ต้องแยกแยะและมีจรรยาบรรณ ที่สำคัญต้องแยกแยะ ความรู้สึกส่วนตัวกับงานให้ได้ การหาข้อมูลอย่างไรจึงจะเรียกว่ามากพอ ? ข้ อ มู ล จะต้ อ งครอบคลุ ม และไม่ มีค ำถามต่ อ การเขี ย นบทนอกจากใส่ ความจริงแล้ว จะต้องหาวิธที ท่ี ำอย่างไรให้คนดูได้ตระหนักถึงความถูกต้อง

51 <<


Àาคผนวก


บทส่ ง ท้ า ย รู้จักโครงการเติมไ¿ประกายฝัน ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่

เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ผลิตสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ วิทยากรมืออาชีพในการผลิตสารคดีโทรทัศน์ได้ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมจำนวน 45 คน ซึ่งสนใจผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์ และ มีการผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์ความยาว 15 นาที โดยทุกคนได้เรียนรู้ร่วม กันจากการรับฟังข้อเสนอแนะจากวิทยากรตลอดระยะเวลาการอบรม เรื่องราวของการผลิตสารคดีโทรทัศน์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีคุณค่าแก่ การบันทึกเป็นเรื่องราวสำหรับ “คนทำสารคดี” คู่มือการผลิตรายการสารคดี โทรทัศน์ จึงได้เกิดขึน้ จากความตัง้ ใจและมุง่ หวังว่าคงได้เป็นประโยชน์ตอ่ ผูท้ ส่ี นใจ สารคดีโทรทัศน์ วิทยากรผู้ถ่ายทอดประสบการณ์และเสนอแนะผลงานในครั้งนี้ ทำให้ เส้นทางแห่งความหวังเหมือนแสงไฟที่ส่องสว่างอย่างไม่สิ้นสุด


ขอขอบคุณ รศ. จุมพล รอดคำดี รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ คุณสุดใจ พรหมเกิด คุณธีรภาพ โลหิตกุล ผศ. ณาณัฏฐ์ธัญ วงศ์บ้านคู่ ผศ. ดร. อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว น้านิด พัทจารี อัยศิริ คุณยุพา เพชรฤทธิ์ คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อ. พรสุรีย์ วิภาศรีนิมิต คุณวรางคณา วรภู คุณวิทิต ภูษิตาศัย คุณประสาน อิงคนันท์ คุณจิรา บุญประสพ อ. พรรษาสิริ กุหลาบ คุณศรีบัว กันทะวงศ์ ที่สำคัญความหวังยังฝากไว้สำหรับผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่เข้าอบรม ตามโครงการ ขอให้ความหวังและความฝันสืบสานตลอดไป


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ล า ย มุ ม ม อ ง ของผูท้ รงคุณวุฒิ


ตัวอย่างบท

ÃาÂกาÃสารคดีโทรทัศนì


รายการร้อยฝันปันใจ รายการเด็กที่นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ในช่วงชีวิตที่ต้องพบกับ ความแตกต่างทางสังคม เชื้อชาติ หรือศาสนา และอาจต้องปรับตัวให้เข้ากับ สังคมนั้นแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

ประเภทสารคดี

สารคดี ส ะท้ อ นสั ง คมผ่ า นตั ว นำเรื่ อ งที่ พ บเจอสั ง คมใหม่ ๆ ที่ มี ค วาม แตกต่าง

วัตถุประสงค์

1. เพื่ อ ถ่ า ยทอดวิ ถี ชี วิ ต ของเยาวชนที่ ต้ อ งปรั บ ตั ว ในสภาพสั ง คมที่ เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมบ้านเกิดของตัวเอง 2. เพื่อนำเสนอวิธีการปรับตัวในการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมที่แตกต่างจาก ที่คุ้นเคย 3. เพื่อให้กำลังใจแก่เยาวชนที่ต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางสังคม วัฒนธรรม เชื้อชาติที่แตกต่าง 4. เพื่อสื่อให้ผู้ชมได้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมของเยาวชนที่มีความ แตกต่างกัน

แก่นเรื่อง

เยาวชนหลายคนในสังคมไทยต้องประสบปัญหาในการใช้ชีวิตในสังคมที่

63 <<


เปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากการย้ายถิ่นฐานหรือความจำเป็นในการต้องเปลี่ยน วิถีชีวิตตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น - เด็กต่างจังหวัดที่ย้ายมาเรียนในกรุงเทพฯ - เด็กกรุงเทพฯที่ต้องย้ายตามพ่อแม่ไปอยู่ต่างจังหวัดกะทันหัน - เด็กมุสลิมที่ต้องเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ศาสนาอื่น - เด็กเชื้อชาติอื่นที่ช่วงแรกไม่ได้รับการยอมรับในสังคมเพื่อน - เด็กที่มีประสบการณ์ใหม่ๆ มีความทรงจำที่ดีกับสิ่งที่ได้พบเจอในสังคม ใหม่ ฯลฯ ในบรรดาเยาวชนเหล่านี้มีตัวอย่างที่ดีของเยาวชนหลายคนในการใช้ชีวิต ได้อย่างปกติทอี่ าจมีปจั จัยเกีย่ วข้องอืน่ ๆ ทัง้ เพือ่ น ครู สังคม รวมถึงความเข้มแข็ง ของพวกเขาเอง ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนคนอื่นๆ ที่ต้องเจอกับ ปัญหาแบบเดียวกัน

>> 64


รายการร้อยฝันปันใจ ตอน จดหมายต่างแดน ประเด็น

- เรื่องของเด็กชาวเมือง 2 คนที่มีโอกาสไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ยังดินแดนภูเขาสูงที่ห่างไกล - การปรับตัวเข้ากับสังคมรอบข้างที่ทำให้พวกเขาประทับใจ - สังคมและเพื่อนเยาวชนที่นั่นให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาอย่างไร - ความประทับใจซึง่ กันและกันของเด็กจากในเมืองกับเจ้าบ้านจากยอดดอย

เทคนิคการนำเสนอ

นำเสนอสารคดีจากชีวติ จริงของเด็กชาวเมือง 2 คนทีย่ อ้ นอดีตความทรงจำ ที่สวยงามของตนเองหลังจากได้รับจดหมายจากเพื่อนต่างถิ่น แล้วจึงถ่ายทอด ภาพความประทับใจ ภาพที่สวยงามในมิตรภาพบนความแตกต่างของสังคม 2 แห่งสลับกับการพูดคุยสัมภาษณ์ทั้งตัวเยาวชน เพื่อน และผู้ใกล้ชิด โดยรูปแบบ ของการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างกันของเยาวชน นำไปสูก่ ารช่วยเหลือดูแลกัน แล้วเดินไปสูท่ างออกทีส่ ร้างความประทับใจซึง่ กันและกันระหว่างทีใ่ ช้ชวี ติ ร่วมกัน

ทีมงาน

1. นายประพจน์ ชื่นกมล ผู้เขียนบท 2. นายจิรากร รัตนพิทักษ์ ถ่ายภาพ/ควบคุมการผลิต 3. นายมงคล พวงกุลอุทัย ตัดต่อ/กราฟิก/ควบคุมการผลิต 4. นายยุทธพงษ์ กุลนาวงศ์ ถ่ายภาพ

65 <<


รายการร้อยฝันปันใจ ขั ้นตอนการทำงาน

1. หาต้นเรื่อง เมื่อได้แนวคิดเรื่องมิตรภาพอันใสซื่อบริสุทธิ์ของเด็กใน เมืองกับเด็กบนดอยแล้วจึงตามหาเรื่องตัวอย่างด้วยการหาต้นเรื่อง 2. หาข้อมูล เมือ่ ได้ตน้ เรือ่ งเป็นเรือ่ งของน้องพลอยและน้องจ้า เด็กในเมือง 2 คนที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อนบนดอย จากนั้นจึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเชิงลึก - สถานที่ ที่ก๊อดป่าบง อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่ ดูสภาพพื้นที่ด้วยการ ประสานงานผ่านครูดอยในพื้นที่ - นัดหมาย ถ่ายทำ พร้อมน้องพลอยและน้องจ้า - หาคนต้นเรื่องบนดอย ได้แก่ ด.ญ. นามี และ ด.ญ. นาพอ 3. เดินทางไปถ่ายทำ ทีมงาน 2 คนพร้อมผู้ช่วย (นักศึกษาฝึกงาน 1 คน) น้องพลอยและน้องจ้าเดินทางไปถ่ายทำในสถานที่จริง - รวมกลุ่มเด็กๆ ที่เคยเล่นในกลุ่ม พลอย จ้า นามี นาพอ และเด็ก อีกจำนวนหนึ่ง ถ่ายทำกิจกรรมที่เคยไปทำด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง เช่น เก็บข้าวโพด เล่นกระโดดหนังยาง ตักน้ำ ฯลฯ - ถ่ายทัศนียภาพในหมู่บ้านและบริเวณรอบๆ 4. ตัดต่อและบันทึกเสียง 5. ส่งงานเดโมให้แก่โครงการเติมไฟประกายฝัน 6. เดิ น ทางไปถ่ า ยทำครั้ ง ที่ 2 ตามข้ อ คิ ด เห็ น เพิ่ ม เติ ม ของคณะ กรรมการ โดยเดินทางไปถ่ายทำในส่วนของทัศนียภาพรอบหมูบ่ า้ นและสัมภาษณ์ นามีกับนาพอเพิ่มเติม 7. ตัดต่อใหม่อีกครั้ง

>> 66

8. ส่งงาน


บ ท โ ท ร ทั ศ น์ ร้ อ ย ฝั น ปั น ใ จ ตอน จดหมายต่างแดน ภาพ

เสียง

- ภาพน้องพลอยอ่านจดหมาย - ภาพบอกเล่าบรรยากาศตอนน้องพลอย กับเด็กๆ ชาวเขาสนุกสนานมีความสุขบน ดอยที่เชียงดาว

ดนตรีบรรเลงต่อด้วยเสียงบรรยายน้ำเสียง ผู้ใหญ่ - น้องพลอยเด็กชาวเมืองเชียงใหม่ได้รับ จดหมายบันทึกมิตรภาพต่างถิ่นฉบับหนึ่งที่ เล่าถึงประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่สร้างรอยยิ้ม และความอิม่ เอมใจ เมือ่ ครัง้ ทีไ่ ด้มโี อกาสร่วม กิจกรรมของคริสตจักรที่หมู่บ้านก๊อดป่าบง อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่ ทีเ่ มือ่ ตอนปิดเทอม เดือนตุลาคมที่ผ่านมา น้องพลอยและน้อง จ้ามีโอกาสได้ไปที่นั่นกับครอบครัว ก่อนจะ แยกกลุ่ ม จากผู้ ใ หญ่ ไ ปสั ม ผั ส วิ ถี ชี วิ ต ของ เพื่อนวัยเดียวกัน

- ภาพบรรยากาศในหมู่บ้าน - เปิดตัวนามีกับนาพอ - ภาพวิถีชีวิตปกติของนามีกับนาพอ

- หมูบ่ า้ นชาวเขาก๊อดป่าบงแห่งนีเ้ ป็นหมูบ่ า้ น เล็กๆ บนดอยสูงของ อ. เชียงดาว ประชากร ที่นี่ส่วนใหญ่ยังนับถือผีกันอยู่ แต่บางคนก็ นับถือศาสนาพุทธหรือนับถือศาสนาคริสต์ ณ ที่นั้นเองมีเด็กคริสเตียนท้องถิ่น 2 คน ทำหน้าทีเ่ จ้าบ้านและกลายเป็นเพือ่ นสนิทของ ทั้งคู่ นามีและนาพอเด็กสาวชาวมูเซอดำ 2 คนที่ ตั้ ง แต่ เ กิ ด มาก็ อ ยู่ แ ต่ ใ นหมู่ บ้ า นของ ตัวเองมาตลอด จะมีออกไปทีอ่ นื่ ก็เพียงตอน ที่เดินทาง

67 <<


ภาพ

เสียง สัมภาษณ์นามีและนาพอ นามี : นามีมีพี่น้อง 2 คน นามีเป็นพี่ (แล้วน้องไปไหน) นามี : ไปเรียนหนังสือค่ะ (บ้านนามีมีกันกี่คน) นามี : 4 คน พ่อ แม่ หนู และน้องค่ะ นาพอ และพี่ๆ นามี นาสุเนะ นาพอไปโรงเรียนค่ะ (เรียนที่ไหน) ปิมะเยาค่ะ (เรียนชั้นไหน) ป. 4 เป็นคนที่ 4 นาพอเป็นคนสุดท้อง ไม่มี น้องค่ะ

- พลอย จ้า นามี นาพอ เดินไปมาในหมู่บ้าน ทำกิจกรรมร่วมกัน

- น้องพลอยและน้องจ้าได้อยูก่ บั ธรรมชาติ ได้ เรียนรูช้ วี ติ ความเป็นอยูข่ องชาวบ้านทีท่ กุ บ้าน ดูมคี วามสุขดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี มากมายก็มีความสุขได้ ชีวิตที่น่ีต่างจากใน เมืองมาก เพราะที่นี่ชาวบ้านเป็นมิตรกันทั้ง หมู่บ้าน สัมภาษณ์น้องพลอยและน้องจ้า น้องพลอย : ไปที่บง เชียงดาว ไปกับย่ากับ อาจารย์กับครูตา ไปเจอนามี นาพอ เคยไป แล้วเจอข้าวโพด ต้นข้าวโพด น้องจ้า : เจอหมู น้องพลอย : หมา เหม็นขี้หมู ฮ่าฮ่า (ทนได้ไหม) น้องพลอย : ทนได้ บ้านเขามีหมู บ้านเราไม่มี หมู สัมภาษณ์นามีและนาพอ นามี : เก็บข้าวโพด เล่นน้ำ วิ่งเล่น นาพอ : วิ่งเล่น ไปเก็บข้าวโพด ไปเล่นน้ำ

>> 68


ภาพ - กลุ่มเด็กๆ ในไร่ข้าวโพด - เด็กๆ กำลังเก็บข้าวโพด

เสียง - นามีและนาพอพร้อมเพือ่ นกลุม่ เล็กๆ กลุม่ หนึ่งพาน้องพลอยน้องจ้าไปที่ไร่ข้าวโพดที่ พวกเธอได้ช่วยคุณพ่อคุณแม่ปลูกและดูแล มารุน่ แล้วรุน่ เล่า โชคดีวนั นัน้ ข้าวโพดฝักแก่ ได้ที่ เด็กๆ จึงได้สนุกกับการเก็บข้าวโพด ด้วยกันอย่างสนุกสนาน สัมภาษณ์น้องพลอยและน้องจ้า น้องพลอย : ชอบนามีนาพอมาเล่นด้วยกัน ชอบกระโดดเชือก เก็บข้าวโพด ไปกับนามี นา พอสอนเก็บข้าวโพดที่อ้วนๆ แล้วก็แกะดูว่า มันเหลืองรึเปล่า ถ้าเม็ดมันเหลืองเราก็เก็บ ได้เลย (เวลาฝนตกทำไง) น้องพลอย : เอาใบตอง (เวลาอยู่บ้านใช้อะไร) น้องพลอย : ใช้ร่ม น้องจ้า : จ้อง umbrella น้ อ งพลอย : ใช้ วิ ธี ก ารเก็ บ ใบตองมาให้ แล้วก็วิ่งไปที่บ้าน

69 <<


ภาพ

เสียง สัมภาษณ์นามีและนาพอ นามี : คิดถึงค่ะ (อยากไปเที่ยวหาไหม) นามี : ค่ะ นาพอ : อยากไปเทีย่ วหาน้องจ้ากับน้องพลอย ค่ะ น้องพลอยหกล้ม สัมภาษณ์น้องพลอยและน้องจ้า น้องพลอย : ตอนทีห่ นูวงิ่ วิง่ ไม่ทนั แล้วเพือ่ น วิ่งไปก่อน แล้วหนูหกล้ม น้องจ้า : นามีนาพอช่วย น้องพลอย : กับจ้า จ้าหิว้ ปีก นามีนาพอหิว้ ขา ฮ่าฮ่า น้องจ้า : เอาใบสาบเสือทาให้พลอย น้องพลอย : ไม่แสบ (เวลาหกล้มใช้ยาอะไร) น้องพลอย : ยาเหลือง (อยากขึ้นดอยอีกไหม) น้องพลอย : อยากไปเก็บข้าวโพดและเล่น น้ำอีก (เล่นน้ำที่ไหน) น้องจ้า : ในหนองน้ำ (อยากเล่นไหม) น้องจ้า : อยาก สนุก (เห็นคนอื่นเล่นแล้วคิดยังไง) น้องจ้า : สนุกนะ ปัน่ จักรยานมา เป็นชีเปลือยอะ น้องพลอย : ตลก เป็นชีเปลือยพอเสร็จแล้ว ก็เข้าโบสถ์ เข้าโบสถ์ไปร้องเพลง น้องจ้า : ได้ร้องเพลงแล้วก็เรียนพระคัมภีร์ น้องพลอย : นามี นาพอ กับพลอย กับจ้า กับย่าได้ร้องเพลง

>> 70


ภาพ

เสียง - กระดาษแห่งมิตรภาพระหว่างเพือ่ นต่างถิน่ แผ่นนีไ้ ม่ได้จบทีก่ ารกล่าวลา มันยังมีคำถาม จุกอกหลายอย่างค้างคาอยู่ในใจว่ามิตรภาพ จะเกิดขึน้ กับเราได้อย่างไร หากเราไม่เริม่ ต้น ที่จะหยิบยื่นความรักสู่ผู้อื่นอย่างจริงใจ เช่น เดี ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ที่ ใ สซื่ อ ของเด็ ก ๆ เหล่านี้

71 <<


สารคดีใหม่... เ พ า ะ พั น ธุ์

โดย ISBN พิมพ์ครั้งที่ 2 จำนวน ที่ปรึกษา

ตู้

โครงการเติมไฟประกายฝัน ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รุ่นใหม่​่ 978-161-7309-11-8 ตุลาคม 2552 1,000 เล่ม เข็มพร วิรุณราพันธ์ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ สุดใจ พรหมเกิด อัปสร เสถียรทิพย์ ผศ. ลักษมี คงลาภ พันธุ์ธัช ผูกมาศ

ออกแบบปก/รูปเล่ม

สำนักพิมพ์ ปิ่นโต พับลิชชิ่ง

ผู้จัดทำโครงการ

ขอขอบคุณวิทยากร/กรรมการ/ผู้ร่วมโครงการทุกๆ ท่าน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.