ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา

Page 1

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ

เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา

กระทรวงการต่างประเทศ



ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ

เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา ภู มิ ห ลั ง เกี่ ย วกั บ เขตแดนไทย - กั ม พู ช า และ ปราสาทพระวิหารโดยสังเขป ๑. ประเทศไทยมีเขตแดนทางบกร่วมกับประเทศ เพื่ อ นบ้ า น ๔ ประเทศ รวมเป็ น ระยะทาง ๕,๖๕๖ กิโลเมตร ได้แก่ กับพม่า ๒,๔๐๑ กิโลเมตร กับลาว ๑,๘๑๐ กิโลเมตร กับมาเลเซีย ๖๔๗ กิโลเมตร และ กับกัมพูชา ๗๙๘ กิโลเมตร ๒. เส้นเขตแดนไทย - กัมพูชา เป็นไปตามความ ตกลง ๒ ฉบับ คือ อนุสัญญาระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) และสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) โดยเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปักหลัก เขตแดน ๑๙๕ กิโลเมตร (ตามอนุสัญญาระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) และพื้นที่ที่ปักหลัก เขตแดนแล้ว (จำนวน ๗๓ หลัก) ๖๐๓ กิโลเมตร (หลัก เขตที่ ๑ ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ - หลักเขตที่ ๗๓ บ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด)


๓. พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดน ช่ ว งที่ ยั ง ไม่ มี ก ารปั ก หลั ก เขตแดน ซึ่ ง อนุ สั ญ ญาปี ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) กำหนดให้เส้นเขตแดนบริเวณนี้ เป็ น ไปตามสั น ปั น น้ ำ ของเทื อ กเขาพนมดงรั ก และ กำหนดให้รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสจัดตั้งข้าหลวงปักปัน ขึ้นเพื่อไปทำการปักปันเขตแดน


ข้อมูลสังเขปปราสาทพระวิ หาร ปราสาทพระวิหารเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปะ ขอม ตั้งอยู่บนภูเขาในเทือกเขาพนมดงรักบริเวณ ชายแดนไทย - กั ม พู ช า ตรงข้ า มบ้ า นภู มิ ซ รอล ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตัวปราสาทไล่เรียงเป็นชั้นๆ เป็นทางยาวตามแกน ทิศเหนือ - ใต้ เริ่มจากเชิงเขาด้านล่างทางทิศเหนือ ไปจนสุ ด ยอดเขาซึ่ ง อยู่ สู ง จากระดั บ น้ ำ ทะเล ปานกลาง ๖๕๗ เมตร

แผนผังอาคารสำคัญต่างๆ ของปราสาทพระวิหาร

โคปุระชั้นที่ 4

โคปุระชั้นที่ 3

โคปุระชั้นที่ 2

โคปุระชั้นที่ 1

บันไดนาค

แผนผังและภาพถ่ายปราสาทพระวิหาร


ปราสาทพระวิหาร

ตามหลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ปราสาท พระวิหารสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เพื่อ เป็ น ศาสนสถานตามคติ ค วามเชื่ อ ในศาสนาฮิ น ดู ลัท ธิไ ศวนิกายที่นั บ ถือ พระศิ วะเป็ น เทพสู ง สุ ด ถือ เป็นร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองและวิถีชีวิตของ ผู้ ค นในอดี ต และยั ง สะท้ อ นถึ ง ความสำคั ญ ของ ปราสาทที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างความ สั ม พั น ธ์ ใ กล้ ชิ ด ระหว่ า งผู้ ค นในชุ ม ชนโบราณใน ดินแดนแถบนี้มาแต่บรรพกาล


ปราสาทพระวิหาร


๔. ข้าหลวงปักปันตามอนุสัญญาปี ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) ฝ่ า ยฝรั่ ง เศสนำโดยพั น ตรี แบร์ น ารด์ และ ฝ่ายไทยนำโดยพลตรี หม่อมชาติเดชอุดม ได้สำรวจ ภูมิประเทศ และฝ่ายฝรั่งเศสได้นำผลสำรวจกลับไป จัดทำแผนที่ที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วส่งแผนที่ที่จัดทำ แล้ว (แผนทีม่ าตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐) ให้ประเทศไทย เมื่อ ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘) ๕. เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙) กัมพูชายื่นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ขอให้พิพากษาว่า อธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาท พระวิหารเป็นของกัมพูชา และให้ไทยถอนกำลังออก จากปราสาท โดยไม่ได้ขอให้พิพากษาเรื่องเส้นเขตแดน ระหว่างประเทศทั้งสองในพื้นที่ดังกล่าว ๖. หลังจากที่ได้พิจารณาข้อต่อสู้ของทั้งฝ่ายไทย และฝ่ า ยกั ม พู ช าแล้ ว ศาลยุ ติ ธ รรมระหว่ า งประเทศ ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) สรุปว่า ๖.๑ ปราสาทพระวิ ห ารตั้ ง อยู่ ใ นอาณาเขต ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา (the Temple of Preah Vihear is situated in territory under the sovereignty of Cambodia)


๖.๒ ประเทศไทยมี พั น ธกรณี ต้ อ งถอนกำลั ง ทหารหรื อ ตำรวจ หรื อ ผู้ เ ฝ้ า รั ก ษาการซึ่ ง ไทยส่ ง ไป ประจำที่ ป ราสาทพระวิ ห ารหรื อ ในบริ เ วณใกล้ เ คี ย ง ปราสาท ๖.๓ ไทยมี พั น ธกรณี ต้ อ งคื น บรรดาโบราณ วั ต ถุ ที่ ไ ทยได้ โ ยกย้ า ยออกไปจากปราสาทพระวิ ห าร หรือจากบริเวณปราสาท ๗. ทัง้ นี้ ศาลยุตธิ รรมระหว่างประเทศไม่ได้พพิ ากษา ชี้ ข าดเรื่ อ งเส้ น เขตแดนระหว่ า งประเทศทั้ ง สอง โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ได้พิพากษาว่าเขตแดนจะต้องเป็น ไปตามแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ดังที่กัมพูชา กล่ า วอ้ า งอยู่ เ สมอ ข้ อ เท็ จ จริ ง คื อ ศาลเพี ย งแต่ อ้ า ง แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ เป็นเหตุผลในการ พิ พ ากษาสามประการข้ า งต้ น โดยชี้ ว่ า คำขอ (sub- missions ในภาษาอั ง กฤษ หรื อ conclusions ใน ภาษาฝรั่ ง เศส) ของกั ม พู ช าต่ อ ศาลในตอนท้ า ยของ กระบวนการให้ปากคำ (เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๐๕ / ค.ศ. ๑๙๖๒) ซึ่ ง ขอให้ ศ าลชี้ นิ ติ ฐ านะของแผนที่ ดั ง กล่ า วและของเส้ น เขตแดนในพื้ น ที่ พิ พ าทนั้ น ศาลสามารถพิจารณาให้ได้เฉพาะเท่าที่เป็นสิ่งแสดง เหตุผล (grounds ในภาษาอังกฤษ หรือ motifs ใน


ภาษาฝรั่ ง เศส) เท่ า นั้ น และไม่ ใ ช่ ใ นฐานะเป็ น ข้ อ เรียกร้อง (claims ในภาษาอังกฤษ หรือ demandes ในภาษาฝรั่งเศส) ที่จะตัดสินให้ได้ในข้อบทพิพากษา ๘. หลั ง จากศาลยุ ติ ธ รรมระหว่ า งประเทศมี คำพิ พ ากษา รั ฐ บาลไทยได้ อ อกแถลงการณ์ เ มื่ อ วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ไม่เห็นด้วย กั บ คำพิ พ ากษา แต่ ใ นฐานะประเทศสมาชิ ก ของ องค์ ก ารสหประชาชาติ ไทยจะปฏิ บั ติ ต ามพั น ธกรณี ต่ า งๆ อั น เป็ น ผลมาจากคำพิ พ ากษาตามข้ อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) เป็นธรรมนูญขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ ๕๕ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ข้อ ๙๔ “๑. สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติ รับที่จะอนุวัตตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศในคดีใดๆ ที่ตนตกเป็นฝ่ายหนึ่ง 10


๒. ถ้าผู้เป็นฝ่ายในคดีฝ่ายใดไม่สามารถ ปฏิบตั ติ ามข้อผูกพันซึง่ ตกอยูแ่ ก่ตน ตามคำพิพากษา ของศาล ผู้เป็นฝ่ายอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยัง คณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าเห็นจำเป็นก็อาจทำ คำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินเพื่อให้ เกิดผลตามคำพิพากษานั้น” ๙. รั ฐ บาลไทยโดยมติ ค ณะรั ฐ มนตรี วั น ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ได้ ป ฏิ บั ติ ต าม คำพิ พ ากษาโดยกำหนดขอบเขตปราสาท กล่ า วคื อ ทางทิศเหนือที่ระยะ ๒๐ เมตรจากบันไดนาคไปทางทิศ ตะวันออกจนถึงช่องบันไดหัก และทางทิศตะวันตกที่ ระยะ ๑๐๐ เมตร จากแกนของตัวปราสาทไปทางทิศใต้ จนจรดขอบหน้าผา โดยเจ้าหน้าที่ไทยได้นำเสาธงไทย ออกจากพืน้ ทีน่ นั้ และถอนกำลังตำรวจตระเวนชายแดน ออกจากปราสาท เมื่ อ เวลาเที่ ย งวั น ของวั น ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) ๑๐. นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศในขณะนั้น ได้มีหนังสือแจ้งการปฏิบัติ ตามคำพิ พ ากษาดั ง กล่ า วแก่ ผู้ รั ก ษาการเลขาธิ ก าร สหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) โดยในหนั ง สื อ ดั ง กล่ า วได้ แ จ้ ง ด้ ว ยว่ า ไทย 11


ขอสงวนสิทธิ์ที่ไทยมีหรืออาจมีในอนาคตที่จะเรียกเอา ปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการ ทางกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง หนังสือจากนายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศในขณะนัน้ ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ

12


ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) “ข้อ ๖๐ คำพิ พ ากษาเป็ น ที่ สุ ด ไม่ ส ามารถ อุทธรณ์ได้ ในกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมาย หรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลจะเป็นผู้ตีความ โดยคำร้องขอของคู่กรณีฝ่ายใดก็ได้ ข้อ ๖๑ ๑. คำขอให้ ศ าลแก้ ไ ขคำพิ พ ากษานั้ น สามารถกระทำได้เฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอันมี ลักษณะเป็นปัจจัยชี้ขาด ซึ่งในขณะที่ตัดสินคดีนั้น มิได้ปรากฏต่อศาลและคู่กรณีที่ร้องขอให้มีการแก้ไข และความไม่ รู้ นั้ น มิ ไ ด้ เ ป็ น เพราะความประมาท เลินเล่อ ๒. กระบวนการขอให้ แ ก้ ไ ขนั้ น ให้ เ ริ่ ม โดยคำสั่งของศาล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของ ข้อเท็จจริงใหม่ โดยรับว่าข้อเท็จจริงนั้นมีลักษณะที่ สมควรให้เปิดคดีเพือ่ แก้ไข และประกาศว่า คำร้องขอ นั้นรับฟังได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว 13


๓. ศาลอาจกำหนดให้มีการปฏิบัติตาม คำพิพากษาก่อนจะรับให้มีกระบวนการแก้ไข ๔. คำขอให้ แ ก้ ไ ขต้ อ งกระทำภายใน หกเดือนเป็นอย่างช้าที่สุดนับแต่ปรากฏข้อเท็จจริง ใหม่นั้น ๕. ภายหลั ง จากสิ บ ปี นั บ แต่ วั น ที่ ศ าล มีคำพิพากษา ไม่อาจจะขอให้มีการแก้ไข” ๑๑. ปัจจุบัน กัมพูชายังคงอ้างเส้นเขตแดนตาม แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๐๐,๐๐๐ ในบริเวณปราสาท พระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทยเข้ามาไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ไร่ หรือ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ โดยอ้างคำพิพากษา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศข้างต้น ซึ่งเป็นการอ้างที่ ไม่ มี เ หตุ ผ ลทางกฎหมายสนั บ สนุ น (ดู ข้ อ ๕ ถึ ง ๗ ข้างต้น) ๑๒. ปั ญ หาเขตแดนบริ เ วณปราสาทพระวิ ห าร เป็ น หนึ่ ง ในปั ญ หาเขตแดนไทย - กั ม พู ช า ที่ มี อ ยู่ ตลอดแนว ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ใช้การอดกลั้น อย่างสูงสุดต่อการละเมิดดินแดนไทยที่มีขึ้น เนื่องจาก คำนึงถึงมิตรภาพ ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม และ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียน แต่กระทรวง 14


การต่างประเทศและหน่วยงานในท้องถิ่น ได้ประท้วง หรื อ ทั ก ท้ ว งการละเมิ ด ดั ง กล่ า วเป็ น ระยะเพื่ อ รั ก ษา สิทธิของไทยไว้ ระหว่างที่รอการแก้ไขปัญหาเขตแดน เสร็จสิ้นโดยการตกลงกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ และย้ำเสมอว่าการอดกลั้นของไทย ไม่ใช่การนิ่งเฉย หรือการยอมรับการละเมิดดังกล่าว ๑๓. โดยทีป่ ระเทศไทยมีนโยบายมาอย่างต่อเนือ่ ง ที่ จ ะสำรวจและจั ด ทำหลั ก เขตแดนกั บ ประเทศ เพื่ อ นบ้ า นให้ ชั ด เจน เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาเขตแดนอย่ า ง ถาวร อั น จะนำมาซึ่ ง ความสงบสุ ข ของประชาชน บรรยากาศความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ร ะหว่ า งกั น และความ ร่วมมือกันในด้านต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับกัมพูชา ไทย ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนทางบก พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ. ๒๐๐๐) และ จั ด ตั้ ง คณะกรรมาธิ ก ารเขตแดนร่ ว มไทย - กั ม พู ช า (Thai – Cambodian Joint Commission for the Demarcation of Land Boundary หรือ JBC) ขึ้น เป็นกลไกในการเจรจา ฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการต่ า งประเทศเป็ น ประธานโดยตำแหน่ ง ฝ่ า ยกั ม พู ช ามี ที่ ป รึ ก ษารั ฐ บาลกั ม พู ช าผู้ รั บ ผิ ด ชอบ กิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธาน 15


๑๔. ในการประชุ ม คณะรั ฐ มนตรี ร่ ว มไทย กัมพูชา ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๑ มิถุนายน ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓) ที่ เ มื อ งเสี ย มราฐ ประเทศ กัมพูชา และที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายได้ตกลง กั น ที่ จ ะให้ มี ค วามร่ ว มมื อ เพื่ อ พั ฒ นาเขาพระวิ ห าร และบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ ป ราสาทพระวิ ห ารเพื่ อ เป็ น

สั ญ ลั ก ษ ณ์ แ ห่ ง มิ ต ร ภ า พ แ ล ะ ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ที่ แน่ น แฟ้ น และยั่ ง ยื น ระหว่ า งสองประเทศ และเพื่ อ ผลประโยชน์ ร่ ว มกั น ของประชาชนไทยกั บ กั ม พู ช า เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม ดังกล่าว โดยไทยได้จดั ตัง้ คณะกรรมการร่วมเพือ่ พัฒนา เขาพระวิ ห าร และกั ม พู ช าได้ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการ ระหว่างกระทรวงเพื่อเตรียมการพัฒนาพื้นที่ช่องตาเฒ่า และเขาพระวิ ห าร เพื่ อ เป็ น กลไกหลั ก ในการทำงาน ร่ ว มกั น โดยมี ก ารจั ด ประชุ ม กลุ่ ม ย่ อ ยเมื่ อ วั น ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ (ค.ศ. ๒๐๐๔) ที่กรุงเทพฯ ซึ่งที่ประชุม ได้ ต กลงในหลั ก การขั้ น พื้ น ฐานเพื่ อ ร่ ว มพั ฒ นาเขา พระวิ ห ารและบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ ป ราสาทพระวิ ห าร โดยกัมพูชาได้ร้องขอว่า ความร่วมมือระหว่างไทย กั ม พู ช าในเรื่ อ งนี้ จ ะเริ่ ม ขึ้ น หลั ง จากที่ อ งค์ ก ารการ ศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรื อ ยู เ นสโก (UNESCO) ได้ ขึ้ น ทะเบี ย นปราสาท 16


พระวิ ห ารเป็ น มรดกโลก ซึ่ ง ในครั้ ง นั้ น ฝ่ า ยไทยได้ รั บ ทราบโดยขอให้ มี ก ารร่ ว มมื อ และปรึ ก ษาหารื อ อย่ า ง ใกล้ ชิ ด ในทุ ก ส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การขอขึ้ น ทะเบี ย น มรดกโลก การพัฒนาพื้นที่ และการบูรณปฏิสังขรณ์ ปราสาทพระวิหาร

17


ปัญหาจากการที่กัมพูชานำปราสาทพระวิหาร

ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ๑๕. ในระหว่างปี ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๕ - ๒๐๐๖) กั ม พู ช าได้ ด ำเนิ น กระบวนการยื่ น ขอ จดทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห ารเป็ น มรดกโลกต่ อ ยู เ นสโกฝ่ า ยเดี ย ว โดยไม่ ไ ด้ ป รึ ก ษาหารื อ กั บ ไทย ตามที่เคยหารือกันไว้ในกรอบคณะกรรมการร่วมเพื่อ พัฒนาเขาพระวิหารและมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม ไทย - กัมพูชา

มรดกโลก มรดกโลกคืออะไร มรดกโลกคื อ สถานที่ ที่ มี คุ ณ ค่ า อั น เป็ น สากล ควรแก่การอนุรักษ์และทะนุบำรุงเพื่ออนุชนรุ่นหลัง อนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยการคุ้ ม ครองมรดกโลกทาง วัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) ปี ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) ขององค์การยูเนสโก (หรืออนุสัญญาว่าด้วยมรดก โลก) กำหนดให้ประเทศภาคีเสนอสถานที่ที่มีคุณค่า ในประเทศของตนเพื่ อ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลก 18


พร้ อ มกั บ นำเสนอแผนการบริ ห ารจั ด การในการ อนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ดังกล่าว ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยมรดกโลก ๑๘๕ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่ ง เข้ า เป็ น ภาคี เ มื่ อ วั น ที่ ๑๗ กั น ยายน ๒๕๓๐ (ค.ศ. ๑๙๘๗) โดยไทยมีสถานที่ที่ได้รับการประกาศ จากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกจำนวน ๕ แห่ง เป็น มรดกโลกทางวั ฒ นธรรม ๓ แห่ ง ได้ แ ก่ นคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร (๒๕๓๔ / ค.ศ. ๑๙๙๑) เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร (๒๕๓๔ / ค.ศ. ๑๙๙๑) และแหล่ง โบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (๒๕๓๕ / ค.ศ. ๑๙๙๒) และมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง (๒๕๓๔ / ค.ศ. ๑๙๙๑) และพื้นที่ผืนป่าเขาใหญ่ - ดงพญาเย็น (๒๕๔๘ / ค.ศ. ๒๐๐๕) การคั ด เลื อ กสถานที่ เ พื่ อ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลก การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกจะทำโดย คณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ประกอบด้ ว ยสมาชิ ก ที่ เ ป็ น ภาคี 19


อนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลกที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน ๒๑ ประเทศ มี ว าระดำรงตำแหน่ ง คราวละ ๖ ปี

โดยไทยเคยดำรงตำแหน่งในช่วงปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๘๙ - ๑๙๙๕) และปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๑๙๙๗ - ๒๐๐๓) ปัจจุบันสมาชิกประกอบ ด้ ว ย ออสเตรเลี ย บาห์ เ รน บาร์ เ บโดส บราซิ ล แคนาดา จี น คิ ว บา อี ยิ ป ต์ อิ ส ราเอล จอร์ แ ดน เคนยา มาดากัสการ์ มอริเชียส โมร็อกโก ไนจีเรีย เปรู เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ตูนีเซีย และสหรัฐฯ คณะกรรมการมรดกโลกจะประชุมกันปีละครั้ง โดยจะพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของ รัฐภาคีในระหว่างการประชุมประจำปีด้วย กระบวนการการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเทศที่ ป ระสงค์ จ ะขอขึ้ น ทะเบี ย นจะต้ อ ง ส่งคำขอไปยังศูนย์มรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่ ง เศส โดยคำขอจะต้ อ งประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล แผนบริหารจัดการพื้นที่เขตแกน (core zone) การ กำหนดพื้ น ที่ กั น ชน (buffer zone) เพื่ อ กำหนด มาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ที่ขอขึ้นทะเบียน และต้ อ งแนบแผนที่ ก ำหนดเส้ น เขตแดนที่ ชั ด เจน ของสถานที่และพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าว จากนั้น ศูนย์ 20


มรดกโลกจะส่งองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการ มรดกโลก คื อ International Council on Monuments and Sites หรือ อิโคมอส (ICOMOS) ซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองคำขอขึ้นทะเบียน ไปสำรวจ สถานที่ แ ละจั ด ทำรายงานข้ อ เสนอแนะเกี่ ย วกั บ ข้อมูลด้านวัฒนธรรมและเทคนิค และร่างคำตัดสิน เสนอเพื่ อ บรรจุ ใ นระเบี ย บวาระของการประชุ ม

คณะกรรมการมรดกโลก ๑๖. ปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบต่อประเทศไทย คือเอกสารประกอบคำร้องยื่นขอจดทะเบียนปราสาท พระวิ ห ารเป็ น มรดกโลก (Nomination File) ของ กัมพูชาได้แนบแผนที่กำหนดเขตแกน (Core Zone) เขตกั น ชน (Buffer Zone) และเขตพั ฒ นา (Development Zone) ของอาณาบริ เ วณปราสาท

พระวิหารที่กัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ล้ำเข้ามาในดินแดนไทย ๑๗. การกำหนดขอบเขตดั ง กล่ า ว ตั้ ง อยู่ บ น

พืน้ ฐานความเข้าใจของฝ่ายกัมพูชาในเรือ่ งเส้นเขตแดน ที่ต่างจากไทย (ดูข้อ ๑๑) ซึ่งทำให้บางส่วนของพื้นที่ เขตแกนและเขตพัฒนาที่ฝ่ายกัมพูชาระบุล้ำเข้ามาใน ดินแดนของไทย และทำให้มีชาวกัมพูชารุกล้ำเข้ามา 21


ภาพแสดงแนวสันปันน้ำบริเวณเขาพระวิหาร ก่อสร้างชุมชน ร้านขายของที่ระลึก และวัดในดินแดน ของไทย ใกล้ กั บ ตั ว ปราสาทพระวิ ห ารอี ก ด้ ว ย ซึ่ ง

เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งการรุ ก ล้ ำ ของชุ ม ชนกั ม พู ช าดั ง กล่ า ว กระทรวงการต่ า งประเทศได้ ท ำการประท้ ว งรั ฐ บาล กัมพูชามาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ๑๘. ต่ อ มาเมื่ อ วั น ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๙

(ค.ศ. ๒๐๐๖) กั ม พู ช าได้ ส่ ง เอกสารรายละเอี ย ด

เกี่ ย วกั บ ปราสาทพระวิ ห ารเพื่ อ การขึ้ น ทะเบี ย น

เป็ น มรดกโลกถึ ง ศู น ย์ ม รดกโลก ซึ่ ง ต่ อ มาได้ รั บ รอง

และนำเสนอเข้ า วาระ ในการประชุ ม คณะกรรมการ

มรดกโลกสมั ย ที่ ๓๑ ที่ เ มื อ งไครสต์ เ ชิ ร์ ช ประเทศ นิวซีแลนด์ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) 22


๑๙. ในการประชุ ม คณะกรรมการมรดกโลก

สมั ย ที่ ๓๑ ที่ เ มื อ งไครสต์ เ ชิ ร์ ช ฝ่ า ยไทยได้ ร ณรงค์

ทางการเมื อ งและการทู ต จนประสบผลสำเร็ จ ให้

คณะกรรมการมรดกโลกมีมติเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) ให้ เ ลื่ อ นการพิ จ ารณาขึ้ น ทะเบี ย นของกั ม พู ช าออกไป ๑ ปี และให้ ไ ทยและ กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ โดยจะมีการ พิ จ ารณาเรื่ อ งนี้ อี ก ครั้ ง ในการประชุ ม คณะกรรมการ มรดกโลก สมั ย ที่ ๓๒ เดื อ นกรกฎาคม ๒๕๕๑

(ค.ศ. ๒๐๐๘) ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ๒๐. ในการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อหาทาง

แก้ปัญหาร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยได้เสนอใน หลายโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาถอนคำขอขึ้นทะเบียนเดิม ของตน และให้ กั ม พู ช าและไทยร่ ว มกั น นำปราสาท

พระวิ ห ารในพื้ น ที่ ฝั่ ง กั ม พู ช า รวมทั้ ง โบราณสถานที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ปราสาทที่ อ ยู่ ใ นฝั่ ง ไทย อาทิ สระตราว สถู ป คู่ แหล่ ง ตั ด หิ น ไปขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลก

แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวของไทย ๒๑. ในเดื อ นมิ ถุ น ายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ไทยได้ เ สนอรายงานข้ อ โต้ แ ย้ ง ทางวิ ช าการเกี่ ย วกั บ

การประเมินของอิโคมอส (International Council on 23


Monuments and Sites – ICOMOS) กรณีการเสนอ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยอ้าง เหตุผลต่างๆ อาทิ การไม่ได้นำองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่ต่อเนื่องจากปราสาท (อาทิ สระตราว แหล่งตัดหิน) มาพิจารณา การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปราสาท กั บ ชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม ในแง่ ค วามผู ก พั น ทางจิ ต ใจ และ ความคลาดเคลื่อนของการตีความและนำเสนอข้อมูล ๒๒. อย่ า งไรก็ ต าม ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการ

มรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา ให้ปราสาทพระวิหาร (ไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้าง หน้าผา และถ้ำต่างๆ) เป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่า สากลที่โดดเด่นของตัวปราสาทพระวิหารเอง ๒๓. ในการประชุ ม ดั ง กล่ า ว ไทยในฐานะผู้ สังเกตการณ์ได้แถลงคัดค้านการขึ้นทะเบียน รวมทั้ง เอกสารทุกชิ้นและแผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่นประกอบ โดยอ้างข้อ ๑๑ (๓) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง มรดกโลกทางวั ฒ นธรรมและทางธรรมชาติ ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) ซึ่งระบุว่า การรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ ในดินแดน อธิปไตย หรือเขตอำนาจที่อ้างสิทธิโดยรัฐ มากกว่ า หนึ่ ง รั ฐ จะไม่ ก ระทบกระเทื อ นสิ ท ธิ ข องคู่ พิพาทไม่ว่าในทางใด (The inclusion of a property 24


situated in a territory, sovereignty or jurisdiction over which is claimed by more than one State, will in no way prejudice the rights of the party to the dispute.)

ข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา เรื่องการขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลก วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)

25


26


(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) ข้อมติ: 32 COM 8 B. 102 คณะกรรมการมรดกโลก 1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/ INF.8B.Add2 2. โดยอ้ า งถึ ง ข้ อ มติ 31 COM 8B.24 ซึ่ ง ยอมรับ “ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหาร มีความสำคัญระหว่างประเทศอย่างสูงและมีคุณค่า สากลที่โดดเด่นบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ (4) และตกลงในหลักการว่าปราสาทพระวิหารควร ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก” 3. ได้ บั น ทึ ก ว่ า ความคื บ หน้ า โดยรั ฐ ภาคี กั ม พู ช าไปสู่ ก ารพั ฒ นาแผนบริ ห ารจั ด การสำหรั บ ทรั พ ย์ สิ น ดั ง ร้ อ งขอโดยคณะกรรมการโดยข้ อ มติ

31 COM 8 B.24 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ 4. ขอแสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยียม สหรั ฐ อเมริ ก า ฝรั่ ง เศส และอิ น เดี ย ที่ ใ ห้ ก าร สนั บ สนุ น การทำงานของผู้ เ ชี่ ย วชาญที่ ช่ ว ยเหลื อ

ในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น 27


และ ICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีค่าในกระบวนการนี้ 5. รั บ รอง ว่ า คำแถลงการณ์ ร่ ว มฉบั บ เมื่ อ

วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาล แห่ ง กั ม พู ช าและไทย กั บ ยู เ นสโก รวมทั้ ง ร่ า งคำ

แถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร

WHC 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้ อ งไม่ ใ ช้

ตามการตั ด สิ น ใจของรั ฐ บาลไทยที่ ร ะงั บ ผลของ แถลงการณ์ ร่ ว ม ภายหลั ง คำสั่ ง คุ้ ม ครองชั่ ว คราว

ของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้ 6. บั น ทึ ก ว่ า รั ฐ ภาคี กั ม พู ช าได้ ยื่ น ต่ อ คณะ กรรมการมรดกโลกซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน (RGPP) รวมอยู่ ใ น WHC-08/32.COM/INF.8B.

Add2 (ซึ่ ง ต่ อ จากนี้ ไ ปจะเรี ย กว่ า “RGPP”) ระบุ ขอบเขตที่ทบทวนใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการ ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก 7. ตั ด สิ น บนพื้ น ฐานการยกเว้ น เป็ น กรณี

พิ เ ศษ ให้ รั บ ในกระบวนการพหุ ภ าคี ซึ่ ง ไปสู่ ก าร

จั ด ทำรายงานขยายความเสริ ม ซึ่ ง เสนอเมื่ อ เดื อ น พฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยรั ฐ ภาคี กั ม พู ช า ตาม 28


คำขอของคณะกรรมการมรดกโลกของยู เ นสโก ข้ อ มู ล ส่ ง โดยรั ฐ ภาคี นั้ น ภายหลั ง กำหนดเวลาที่ กำหนดไว้ในวรรค 148 ของแนวปฏิบัติดำเนินการ 8. รั บ รอง ว่ า ไทยได้ แ สดงความปรารถนา

ซ้ ำ แล้ ว ซ้ ำ อี ก เพื่ อ ที่ จ ะร่ ว มในการขอขึ้ น ทะเบี ย น ปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ 9. บั น ทึ ก ว่ า ทรั พ ย์ สิ น ที่ เ สนอสำหรั บ ขึ้ น ทะเบี ย น ได้ รั บ การลดขนาดและประกอบเพี ย ง ปราสาทพระวิ ห ารและไม่ ร วมชะง่ อ นเขาที่ มี พื้ น ที่ กว้าง หน้าผา และถ้ำต่างๆ 10. พิ จ ารณา ต่ อ ไปอี ก ว่ า การค้ น คว้ า ทาง โบราณคดี ก ำลั ง ดำเนิ น อยู่ ซึ่ ง อาจมี ก ารค้ น พบ สำคั ญ ซึ่ ง อาจทำให้ ส ามารถพิ จ ารณาการขอขึ้ น ทะเบี ย นข้ า มพรมแดนใหม่ ไ ด้ ซึ่ ง จะต้ อ งได้ รั บ

ความยินยอมทั้งจากกัมพูชาและประเทศไทย 11. ส่งเสริม กัมพูชาให้ประสานงานกับไทย

ในการอนุรักษ์คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริง

ที่ ว่ า ประชาชนในพื้ น ที่ โ ดยรอบได้ ใ ห้ คุ ณ ค่ า แก่ ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็น

สิ่งพึงปรารถนาในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและ

ภู มิ ทั ศ น์ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ โดยการขอขึ้ น ทะเบี ย นใน 29


บัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4

ซึง่ ได้รบั การรับรองแล้วโดยคณะกรรมการในคำตัดสิน 31 COM 8B.24 12. ขึ้ น ทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห าร กั ม พู ช า

ในบัญชีมรดกโลกในเกณฑ์ 1 13. ออกคำแถลงเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอัน เป็นสากล ดังต่อไปนี้ ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรม

ที่มีลักษณะเฉพาะของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วย ระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร เป็ น ศิ ล ปกรรมชั้ น เยี่ ย มของสถาปั ต ยกรรมเขมร

ในเรื่องของผัง การตกแต่ง และความสัมพันธ์กับ

ภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ เกณฑ์ 1 : พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยม

ของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง ความถูกต้องแท้จริงได้รบั การยอมรับ ในลักษณะ ที่ อ าคารและวั ส ดุ ไ ด้ แ สดงคุ ณ ค่ า ของทรั พ ย์ สิ น

เป็ น อย่ า งดี ข้ อ เด่ น ของทรั พ ย์ สิ น ประกอบด้ ว ย

กลุ่มปราสาท บูรณภาพของทรัพย์สินถูกทำให้เสีย

ไปส่วนหนึ่งเพราะส่วนของชะง่อนเขาไม่ได้รวมไว้

30


ในขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาท ในทางกฎหมายถือว่าเพียงพอ และความคืบหน้า

ในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้องได้รับ การพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับ การรับรอง 14. ร้องขอ ให้รฐั ภาคีกมั พูชา โดยการประสานงานกั บ ยู เ นสโก ให้ จั ด การประชุ ม คณะกรรมการ ประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและพัฒนา ทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดย เชิญให้รัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีก

ไม่เกิน 7 ประเทศเข้าร่วม เพื่อตรวจสอบนโยบาย ทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ของทรั พ ย์ สิ น โดยสอดคล้ อ งกั บ มาตรฐานการ อนุรักษ์สากล 15. ร้ อ งขอ รั ฐ ภาคี กั ม พู ช าให้ ส่ ง เอกสาร

ต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 : ก) แผนทีช่ วั่ คราวซึง่ ให้รายละเอียดเพิม่ เติม ของทรั พ ย์ สิ น ที่ ไ ด้ ขึ้ น ทะเบี ย น และแผนที่ ก ำหนด ขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP 31


น้ ทะเบียนทีป่ รับปรุงแล้ว ข) เอกสารคำขอขึ เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน ค) คำยื น ยั น ว่ า พื้ น ที่ บ ริ ห ารจั ด การของ ทรั พ ย์ สิ น จะรวมทรั พ ย์ สิ น ที่ ขึ้ น ทะเบี ย นและเขต กันชนที่ระบุใน RGPP ง) รายงานความคื บ หน้ า เกี่ ย วกั บ การ

เตรียมแผนบริหารจัดการ 16. ร้ อ งขอเพิ่ ม เติ ม ต่ อ รั ฐ ภาคี กั ม พู ช าให้ ส่ ง แผนบริ ห ารจั ด การที่ ส มบู ร ณ์ เ พื่ อ ทรั พ ย์ สิ น ที่ ไ ด้ รั บ การขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จให้ศูนย์ มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้ แก่คณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 34 ใน ค.ศ. 2010

32


ความตึงเครียดบริเวณชายแดนหลังกัมพูชานำ ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก ๒๔. การที่ กั ม พู ช านำปราสาทพระวิ ห ารไปขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น มรดกโลก โดยไม่ รั บ ฟั ง เสี ย งทั ด ทาน

จากประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และได้รับ ผลกระทบจากการดำเนิ น การดั ง กล่ า วของกั ม พู ช า ทำให้ เ กิ ด ความตึ ง เครี ย ดในความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ประเทศทั้งสอง และบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา

โดยกั ม พู ช าได้ ปิ ด ทางขึ้ น ปราสาทพระวิ ห ารในเวลา

ต่อมา ๒๕. ต่อมาในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) กำลังทหารไทยได้เข้าคุ้มครองชาวไทย ๓ คน ในบริ เ วณวั ด “แก้ ว สิ ข าคี รี ส ะวารา” ใกล้ ป ราสาท

พระวิหาร ซึ่งกัมพูชาสร้างล้ำดินแดนไทย ทำให้กัมพูชา ไม่ พ อใจและทำหนั ง สื อ แจ้ ง คณะมนตรี ค วามมั่ น คง

แห่ ง สหประชาชาติ เ มื่ อ วั น ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ.๒๐๐๘) และเสนอให้มีการประชุมด่วนคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยอ้างว่า เหตุการณ์

ที่เกิดขึ้นกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน ของกั ม พู ช า รวมทั้ ง สั น ติ ภ าพและความมั่ น คงของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยก็ได้ทำหนังสือ 33


ถึงสหประชาชาติชี้แจงจุดยืนของไทยและแสดงความ มุ่ ง มั่ น ที่ จ ะแก้ ไ ขปั ญ หากั บ กั ม พู ช า โดยสั น ติ วิ ธี ผ่ า น กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) คณะมนตรี ค วามมั่ น คงแห่ ง สหประชาชาติได้ตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาคำขอของ กัมพูชาออกไป ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เห็นสอดคล้องกับไทย ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาในระดับทวิภาคีระหว่าง ไทยกับกัมพูชา ซึ่งควรแก้ไขปัญหาด้วยกลไกทวิภาคีที่ มีอยู่แล้ว ๒๖. ประเทศไทยได้พยายามแก้ไขปัญหาความ ตึงเครียดที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธีผ่านกลไกทวิภาคี อาทิ การประชุ ม คณะกรรมการชายแดนทั่ ว ไป (General Border Committee) ระหว่างผู้บัญชาการทหารสูงสุด ของไทย (ซึ่ ง ได้ รั บ มอบหมายจากนายกรั ฐ มนตรี

ในขณะนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมด้ ว ย) กั บ รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) การ

หารือทางโทรศัพท์ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับนายก รั ฐ มนตรี กั ม พู ช า เมื่ อ วั น ที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑

34


(ค.ศ. ๒๐๐๘) การพบหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของไทยกับกัมพูชา ที่เมือง เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา และที่อำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) และวันที่ ๑๘ - ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ตามลำดับ ๒๗. แม้จะมีความพยายามเจรจาระหว่างไทยกับ กัมพูชาดังกล่าว แต่ความตึงเครียดที่ชายแดนบริเวณ เขาพระวิหารยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การ เผชิ ญ หน้ า และการใช้ ก ำลั ง ในบริ เ วณเขาพระวิ ห าร

เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) บริเวณ

ภู ม ะเขื อ (ทางด้ า นตะวั น ตกของปราสาทพระวิ ห าร) เหตุการณ์ที่ทหารไทย จำนวน ๒ คน เหยียบทุ่นระเบิด ที่ มี ก ารวางใหม่ เ มื่ อ วั น ที่ ๖ ตุ ล าคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ทำให้ขาขาดและบาดเจ็บสาหัส และเหตุการณ์ ปะทะกั น ที่ รุ น แรงที่ สุ ด เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ วั น ที่ ๑๕ ตุ ล าคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ซึ่งมีผลทำให้ทหารไทยเสียชีวิต ๒ คน และทหารกัมพูชาเสียชีวิต ๓ คน ทั้งนี้ เป็นที่น่า สั ง เกตว่ า เหตุ ก ารณ์ เ มื่ อ วั น ที่ ๑๕ ตุ ล าคม ๒๕๕๑

(ค.ศ. ๒๐๐๘) เกิ ด ขึ้ น เพี ย ง ๒ วั น หลั ง จากที่ น ายก รัฐมนตรีกัมพูชายื่นคำขาด ในโอกาสการเดินทางเยือน 35


กัมพูชาของอดีตรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ให้ ไ ทยถอนทหารออกจากบริ เ วณ

เขาพระวิหารภายใน ๒๔ ชั่วโมง ๒๘. หลั ง เหตุ ก ารณ์ ค วามตึ ง เครี ย ดบริ เ วณ ชายแดนดั ง กล่ า ว ได้ มี ก ารหารื อ กั น ระหว่ า งไทย

กั บ กั ม พู ช าทั้ ง ในระดั บ ผู้ บั ญ ชาการทหารในพื้ น ที่

(การประชุ ม ระหว่ า งแม่ ทั พ ภาคที่ ๒ ของไทยกั บ

ผู้ บั ญ ชาการภู มิ ภ าคทหารที่ ๔ ของกั ม พู ช าที่ เ มื อ ง

เสียมราฐ เมื่อวันที่ ๒๓ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑/ ค.ศ. ๒๐๐๘) ระดั บ รั ฐ มนตรี ต่ า งประเทศ และในระดั บ

ผู้ น ำรั ฐ บาล (การหารื อ ระหว่ า งอดี ต นายกรั ฐ มนตรี

นายสมชาย วงศ์ ส วั ส ดิ์ กั บ นายกรั ฐ มนตรี ฮุ น เซน

ของกัมพูชา ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในระหว่างการ ประชุมสุดยอดเอเชียยุโรป (ASEM) ครั้งที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ / ค.ศ. ๒๐๐๘) ๒๙. นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กั ม พู ช า และรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงการ

ต่างประเทศของไทยและกั ม พู ช าได้ ป ระชุ ม หารื อ กั น

ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๒ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) และ ๑๒ 36


พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ตามลำดั บ

เพื่ อ หารื อ เกี่ ย วกั บ การลดความตึ ง เครี ย ดบริ เ วณ ชายแดนและให้ มี ก ารสำรวจและปั ก ปั น เขตแดน บริเวณปราสาทพระวิหารโดยเร็ว

37


การดำเนินการของไทยและการแก้ปัญหาอย่าง ยั่งยืน ๓๐. นอกจากการแถลงคั ด ค้ า นข้ อ มติ ข อง

คณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิ ห ารเป็ น มรดกโลก รวมทั้ ง เอกสารทุ ก ชิ้ น และ แผนผังทั้งปวงที่กัมพูชายื่นประกอบการขอขึ้นทะเบียน ตลอดจนได้ แ ถลงสงวนสิ ท ธิ์ ข องไทย ดั ง กล่ า วในข้ อ ๒๓ แล้ว ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศ

ได้ ป ระท้ ว งและตอบโต้ กั ม พู ช า ตลอดจนชี้ แ จงให้ ประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจท่าทีของไทยเกี่ยวกับ การที่กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก ความตึ ง เครี ย ดและการละเมิ ด อธิ ป ไตย

และบู ร ณภาพแห่ ง ดิ น แดนของไทยที่ ต ามมาโดย กั ม พู ช าในทุ ก กรอบความสั ม พั น ธ์ ทั้ ง ทวิ ภ าคี แ ละ พหุภาคี และในทุกเวทีระหว่างประเทศ เช่น คณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาสหประชาชาติ องค์ ก ารยู เ นสโก องค์ ก ารระหว่ า งประเทศของกลุ่ ม ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสและอาเซียน และการประชุม อนุ สั ญ ญาออตตาวาว่ า ด้ ว ยทุ่ น ระเบิ ด สั ง หารบุ ค คล เป็นต้น ๓๑. นอกจากนี้ ประเทศไทยโดยกระทรวง

การต่างประเทศยังได้เตรียมการรับมือกับปัญหาที่อาจ

38


เกิดขึ้นในอนาคต จากการที่คณะกรรมการมรดกโลก

ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ด้วย การกำหนดแนวทางการดำเนิ น การในกรณี ที่ มี ก าร ดำเนิ น การของยู เ นสโกเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้ ซึ่ ง อาจมี นั ย กระทบอธิปไตยของไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความ เห็นชอบ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) สรุปว่า การดำเนินการใดๆ ของยูเนสโกหากจะออก มานอกตัวปราสาท จะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศ ไทยก่ อ น นอกจากนี้ กระทรวงการต่ า งประเทศและ

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ไม่ให้การดำเนินการใดๆ จากทุกฝ่าย ละเมิดอธิปไตย หรื อ บู ร ณภาพแห่ ง ดิ น แดนราชอาณาจั ก รไทยโดย

เด็ดขาด ๓๒. การที่ไทยกับกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีชายแดนร่วมกันถึง ๗๙๘ กิโลเมตรและไม่สามารถ จะแยกออกจากกั น ได้ ตลอดจนความสั ม พั น ธ์ แ ละ

ผลประโยชน์ ร ะหว่ า งประเทศทั้ ง สองยั ง มี ร่ ว มกั น อี ก หลายด้ า น ประเทศไทยจึ ง มี ค วามมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะแก้ ไ ข ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ร่ ว มกั บ กั ม พู ช าโดยการเจรจาผ่ า น กลไกทวิ ภ าคี ที่ มี อ ยู่ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิ ก าร เขตแดนร่ ว มไทย - กั ม พู ช า (JBC) เพื่ อ ลดความ ตึ ง เครี ย ดและการเผชิ ญ หน้ า บริ เ วณชายแดน และ

39


การจัดทำหลักเขตแดนให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ โดยการดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ (๑) ระยะสั้ น จั ด ทำข้ อ ตกลงชั่ ว คราว (Provisional Arrangement) ในบริ เ วณปราสาท

พระวิ ห ารระหว่ า งรอการสำรวจจั ด ทำหลั ก เขตแดน

เสร็จสิ้น (๒) ระยะยาว ให้ JBC เจรจาและจัดทำ หลักเขตแดนตลอดแนว

กรอบการเจรจา

(๑) ข้อตกลงชัว่ คราวไทย - กัมพูชา เกีย่ วกับ สถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร วัตถุประสงค์ เพื่อมีมาตรการชั่วคราวร่วมกัน สำหรั บ ลดความตึ ง เครี ย ดและลดการเผชิ ญ หน้ า

ทางทหารระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ชายแดนบริเวณ เขาพระวิ ห าร ระหว่ า งรอให้ ค ณะกรรมาธิ ก าร เขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (Thai – Cambodian Joint Commission on Demarcation for Land Boundary – JBC) สำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ในพื้นที่ดังกล่าวแล้วเสร็จ 40


สาระสำคัญ

๑. ปรับกำลังของแต่ละฝ่ายออกจากวัดแก้ว สิขาคีรีสะวารา พื้นที่รอบวัด และปราสาทพระวิหาร เหลือไว้เพียงชุดติดตามสถานการณ์ทหาร (Military Monitoring Groups) ของแต่ ล ะฝ่ า ยในจำนวน

ที่เท่ากัน ๒. จัดการประชุมระหว่างหัวหน้าชุดประสาน งานชั่ ว คราวฝ่ า ยกั ม พู ช า (ซึ่ ง ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ วั น ที่ ๖

ส.ค. ๒๕๕๑) กับประธานคณะกรรมการชายแดน ส่วนภูมิภาคฝ่ายไทย เป็นครั้งที่สองที่กัมพูชา เพื่อ หารือเรื่องการปรับกำลังช่วงที่สอง และให้ฝ่ายไทย จัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราว ๓. เก็บกู้ทุ่นระเบิดในลักษณะที่ประสานงาน กั น ในพื้ น ที่ ที่ จ ะทำการสำรวจและจั ด ทำหลั ก

เขตแดนโดย JBC ตามบันทึกความเข้าใจปี ๒๕๔๓ ๔. ให้ JBC กำหนดพืน้ ทีท่ จี่ ะทำให้อยูใ่ นสภาพ พร้ อ มสำหรั บ การสำรวจและจั ด ทำหลั ก เขตแดน

ภายใต้แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของ JBC และทำให้ พื้ น ที่ ดั ง กล่ า วอยู่ ใ นสภาพพร้ อ ม

ก่อนที่ชุดสำรวจร่วมจะเริ่มงาน 41


่วคราวประกอบด้วย ๕. จัดตั้งชุดประสานงานชั หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เพื่อพิจารณา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ รวมทั้งวัดแก้วสิขาคีรี-

สะวารา ๖. ข้ อ ตกลงชั่ ว คราวนี้ จ ะไม่ ก ระทบต่ อ สิ ท ธิ

ของแต่ ล ะฝ่ า ยเกี่ ย วกั บ การสำรวจและจั ด ทำหลั ก เขตแดนในกรอบของ JBC และท่าทีทางกฎหมาย ของตน (๒) กรอบการเจรจาด้านการสำรวจและจัด ทำหลักเขตแดนทางบกไทย - กัมพูชา ตลอดแนว ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา เจรจากั บ ฝ่ า ยกั ม พู ช าเพื่ อ ดำเนิ น การสำรวจและ

จัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชาให้ เป็นไปตามเอกสารดังต่อไปนี้ ๑. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไข ข้อบทเพิ่มเติม ข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่

๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ (ค.ศ. ๑๘๙๓) ว่าด้วยดินแดน กั บ ข้ อ ตกลงอื่ น ๆ ฉบั บ ลงนาม ณ กรุ ง ปารี ส เมื่ อ

วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒ (ค.ศ. ๑๙๐๔) 42


๒. สนธิสัญญาระหว่ างพระเจ้าแผ่นดินสยาม

กับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสฉบับลง นาม ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ (ค.ศ. ๑๙๐๗) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ า ยสนธิ สั ญ ญา ฉบั บ ลงวั น ที่ ๒๓ มี น าคม

ร.ศ. ๑๒๕ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ๓. แผนที่ ที่ จั ด ทำขึ้ น ตามผลงานการปั ก ปั น เขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่าง สยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. ๑๙๐๗ กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญา ฉบั บ ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิ สั ญ ญาฉบั บ ปี

ค.ศ. ๑๙๐๗ ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ๓๓. รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจา ทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ด้ ว ยคะแนน ๔๐๙ ต่ อ ๗ และ ๔๐๖ ต่ อ ๘ (จาก

๔๑๘ เสี ย งของผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม ) ตามลำดั บ และ

ขณะนี้การเจรจาในกรอบ JBC กำลังดำเนินอยู่

43


ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชมาตรา ๑๙๐ ของรั อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงไว้ ซึ่ ง พระราชอำนาจใน การทำหนั ง สื อ สั ญ ญาสั น ติ ภ าพ สั ญ ญาสงบศึ ก

และสั ญ ญาอื่ น กั บ นานาประเทศหรื อ กั บ องค์ ก าร ระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต ไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมี สิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออก พระราชบัญญัตเิ พือ่ ให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรื อ สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพัน ด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่ า งมี นั ย สำคั ญ ต้ อ งได้ รั บ ความเห็ น ชอบของ รัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับ นานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ตาม วรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจง 44


ต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือ สัญญานั้น ในการนี้ ให้ คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อ

ขอความเห็นชอบด้วย เมือ่ ลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรี ต้ อ งให้ ป ระชาชนสามารถเข้ า ถึ ง รายละเอี ย ดของ หนั ง สื อ สั ญ ญานั้ น และในกรณี ที่ ก ารปฏิ บั ติ ต าม หนั ง สื อ สั ญ ญาดั ง กล่ า วก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ประชาชนหรือผูป้ ระกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีตอ้ งดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผูไ้ ด้รบั ผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม ให้ มี ก ฎหมายว่ า ด้ ว ยการกำหนดขั้ น ตอน

และวิ ธี ก ารจั ด ทำหนั ง สื อ สั ญ ญาที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ หรื อ สั ง คมของประเทศ อย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือ

การลงทุ น อย่ า งมี นั ย สำคั ญ รวมทั้ ง การแก้ ไ ขหรื อ เยี ย วยาผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการปฏิ บั ติ ต าม หนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก การปฏิ บั ติ ต ามหนั ง สื อ สั ญ ญานั้ น และประชาชน ทั่วไป 45


ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสองให้ เป็นอำนาจ ของศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ที่ จ ะวิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าด โดยให้ น ำ บทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับ

การเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ๓๔. กระทรวงการต่ า งประเทศ ได้ ด ำเนิ น การ

ให้ข้อมูล รับฟังความเห็นประชาชน และชี้แจงรัฐสภา เกี่ ย วกั บ การเจรจาข้ า งต้ น มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งในหลาย

ช่องทาง อาทิ การเปิด website - www.mfa.go.th/190 หรือ www.mfa.go.th คลิกภาษาไทย และคลิกแถบ “การดำเนิ น การตามมาตรา ๑๙๐” การให้ ข้ อ มู ล

ผ่ า นสื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ต่ า งๆ ตลอดจนการจั ด การ

ให้ ข้ อ มู ล และรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จากประชาชนใน ลักษณะสัญจร ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัด ๓๕. กระทรวงการต่ า งประเทศ ขอเรี ย นเชิ ญ

พี่น้องประชาชนชาวไทยให้ข้อคิดเห็นโดยผ่านช่องทาง ข้างต้น หรือส่งความคิดเห็นไปที่

ศูนย์สถานการณ์พื้นที่เขาพระวิหาร และชายแดนไทย - กัมพูชา กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ 46


กระทรวงการต่างประเทศ มีนาคม ๒๕๕๒ 47


พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕ E-mail : info@amarin.co.th Homepage : http://www.amarin.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.