รายงานความคืบหน้า คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ครั้งที่ ๒ (๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ – ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔)
ธันวาคม ๒๕๕๔
๒
รายงานความคืบหน้า คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป) ครั้งที่ ๒ (๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ – ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔) ๑. ความนํา เมื่ อ ได้ มี เ หตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบและความรุ น แรงในประเทศไทยในช่ ว งระยะเวลาที่ ผ่ า นมา โดยเฉพาะความรุนแรงในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ อันนํามาซึ่งความสูญเสียอย่าง ประมาณค่ามิได้ ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนนํามาซึ่งผลกระทบในทางลบต่อทุกภาคส่วนของสังคม โดยยังมีข้อประเด็นข้อสงสัยที่ยังไม่สามารถค้นหาและทําความจริงให้ปรากฏเกี่ยวกับเหตุการณ์ความ รุนแรงอันเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยและนานาประเทศได้ จึงต้องมีการตรวจสอบและค้นหาความจริง และข้อเท็จจริงที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง โดยมีเป้าหมายให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ อันจะนําไปสู่การป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดซ้ําอีกในอนาคต และส่งเสริม การปรองดองของประเทศในระยะยาวต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เห็นชอบในหลักการให้มี คณะกรรมการอิ ส ระตรวจสอบและค้ น หาความจริ ง เพื่ อ การปรองดองแห่ ง ชาติ (คอป.) และแต่ ง ตั้ ง ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการดังกล่าว โดยให้ประธานกรรมการสรรหา กรรมการจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบและค้นหาความจริง การเยียวยาฟื้นฟู การลดความขัดแย้งหรือป้องกันความรุนแรง และได้เห็นชอบให้ออกระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้มี คณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นอิสระและความเป็นกลาง โดยกําหนดระยะเวลา ในการดํ า เนิ น การให้ แ ล้ ว เสร็ จ ใน ๒ ปี (เริ่ ม ดํ า เนิ น การตั้ ง แต่ วั น ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึ ง วั น ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕) และมีแนวทางในการดําเนินการดังนี้ ๑. ตรวจสอบและค้นหาความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๓ รวมตลอดถึ ง ประเด็ น ที่ เ ป็ น รากเหง้ า ของปั ญ หาความขั ด แย้ ง และเหตุ ก ารณ์ ความรุนแรงที่ผ่านมา ๒. เยี ย วยาและฟื้ น ฟู บุ ค คล สั ง คม องค์ ก ร และสถาบั น ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากเหตุ ก ารณ์ ความรุนแรง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตามแนวทางความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และความยุติธรรมทาง สังคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปรองดองในประเทศต่อไป ๓. วางมาตรการเพื่ อ ลดความขั ด แย้ ง ในสั ง คมไทย และป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ความรุ น แรงและ ความสูญเสียขึ้นอีกในอนาคต
๓
ทั้งนี้ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวได้กําหนดให้ คอป. ต้องจัดทํารายงานความคืบหน้า ของการทํางานทุกรอบ ๖ เดือน รวมทั้งรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี และสาธารณชน ซึ่ง คอป. ได้จัดทํารายงานความคืบหน้าในการทํางาน คอป. ครั้งที่ ๑ (๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ – ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔) โดยมีข้อเสนอแนะรวม ๘ ประการ๑ เสนอต่อรัฐบาล (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) แล้ว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายในการดําเนินการ คอป. ได้กําหนดยุทธศาสตร์กรอบ การดําเนินงานใน ๔ มิติ ซึ่งแต่ละมิติจะมีคณะอนุกรรมการรับผิดชอบโดยตรงดังนี้ มิติที่ ๑ การตรวจสอบและค้นหาความจริง มีอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง และ อนุกรรมการตรวจสอบเฉพาะกรณี อีก ๕ คณะ เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบหาข้อมูล ข้อเท็จจริงจาก เหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา รวมทั้งมีทีมงานภาคสนามและอาสาสมัครเข้าร่วมทํางานด้วย โดยที่การ ทํางานมีทั้งการสัมภาษณ์ การเรียกข้อมูล จากบุคคล หน่วยงานต่างๆ และมีการจัดเวทีสาธารณะที่ให้ ทุกฝ่ายโดยเฉพาะคู่ขัดแย้งเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูล มิติที่ ๒ การเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง มีอนุกรรมการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกัน ความรุ น แรง และอนุ ก รรมการเพื่ อ ดํ า เนิ น การเยี ย วยา ฟื้ น ฟู และป้ อ งกั น ความรุ น แรงเฉพาะกรณี รับผิดชอบในการทําหน้าที่เยียวยา ฟื้นฟู ทั้งบุคคล สังคม องค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงที่ผ่าน มา และได้มีการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ขึ้นที่สํานักงาน คอป. ในการทําหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานกับผู้ได้รับผลกระทบให้ได้รับการ เยียวยาอย่างเป็นธรรม มิติที่ ๓ การศึกษาวิจัยถึงปัญหารากเหง้าของความขัดแย้ง มีอนุกรรมการด้านการศึกษาวิจัยและ กิ จ กรรมทางวิ ช าการ รั บ ผิ ด ชอบในการศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความกระจ่ า งกั บ รากเหง้ า ของปั ญ หา ความขัดแย้ง ซึ่งมีกรอบของการศึกษาวิจัยทั้งในด้านของโครงสร้างอํานาจที่ไม่เท่าเทียมกัน การจัดการ ด้านความมั่ น คงและจิ ตสํ านึก ของทหาร บริบทของสั งคม วัฒ นธรรม ประวัติศาสตร์ และอั ตลัก ษณ์ การบังคับใช้กฎหมาย และสื่อสารมวลชน ที่ส่งผลให้เกิดความแตกแยกขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม ในช่วงที่ผ่านมา
๑
ข้อเสนอแนะ ๘ ข้อ สรุปได้ดังนี้ - การให้ ค วามสํ า คั ญ ในการร่ ว มกั น แสวงหาแนวทางเพื่ อ แก้ ปั ญ หาที่ ร ากเหง้ า อย่ า งจริ ง จั ง โดยคํ า นึ ง ถึ ง ผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง - การทําให้การเลือกตั้งปราศจากความรุนแรงและเป็นกลางอย่างแท้จริง และการประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของ พรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้งถึงกระบวนการและแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการนําชาติบ้านเมืองไปสู่การก้าวข้ามปัญหา ความขัดแย้งภายหลังจากการเลือกตั้ง - ความเหมาะสมในการเสนอให้มีการนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์ความรุนแรง - การกํากับควบคุมการใช้อํานาจรัฐ - ความเป็นกลางของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม - การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และการนําเอากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้ - ความรับผิดชอบของสื่อในการเสนอข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณชน - การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง
๔
มิ ติ ที่ ๔ การสร้ า งความปรองดองและป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ค วามรุ น แรงเกิ ด ขึ้ น อี ก มี อ นุ ก รรมการ ด้านยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง ที่มุ่งเน้นบทบาทในการเป็นตัวกลางในการเสริมหรือเชื่อมประสานงาน ให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะคู่ขัดแย้งสามารถเจรจาหรือพูดคุยกันได้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกิด ความปรองดองร่วมกันอย่างเป็นระบบ และนําเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการยับยั้งไม่ให้ความรุนแรง เกิดขึ้นใหม่หรือขยายตัว นอกจากการทํางานตามกรอบยุทธศาสตร์แล้ว เมื่อพบสถานการณ์ที่จะเป็นปัจจัยในการเพิ่ม ความขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในการปรองดองของประเทศ คอป. ก็ได้มีความพยายามที่จะ ลดหรือจํากัดเงื่อนไขนั้น ดังจะเห็นได้จากการมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอแนะให้พิจารณาจํานวน ๒ ๒ ครั้ง คือ ข้อเสนอแนะเรื่องการตีตรวนผู้ต้องขัง และข้อเสนอแนะในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ชุมนุม
๒. หลักการ ปรัชญา และแนวคิดการดําเนินงานของ คอป. ในการทํางานของ คอป. นั้น คอป. ยึดถือหลักการ ปรัชญาและแนวคิดดังต่อไปนี้ ๒.๑ ความอิสระและความเป็นกลาง คอป. ยึดหลักความเป็นอิสระและความเป็นกลางเป็นหลักการสําคัญในการทํางาน คือ (๑) ให้ความสําคัญกับดําเนินการตรวจสอบค้นหาความจริง และนําเสนอโดยปราศจากอคติ (๒) คํานึงถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในสังคมไทยที่ผูกโยงกับบริบททาง สังคมและภูมิหลังความเป็นมาของแต่ละฝ่าย (๓) กรณีที่พบข้อเท็จจริงซึ่งอาจเป็นประเด็นการถกเถียงโต้แย้งระหว่างฝ่ายต่าง ๆ คอป. จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการโต้แย้งกับคู่กรณีหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหล่านั้น (๔) คอป. จะพิจารณาเปิดเผยความจริงเป็นระยะ ๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยคํานึงถึง บรรยากาศความปรองดองทางสังคมเป็นสําคัญ ๒.๒ การรับฟังความคิดเห็น ในขณะที่สังคมไทยเราขาดผู้รับฟัง คอป. จึงทําหน้าที่รับฟังข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ รวมทั้งแสวงหาแนวร่วมที่พร้อมจะให้การสนับสนุนการดําเนินงานของ คอป. โดย คอป. จะทําหน้าที่เป็น พื้นที่กลางเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น เปิดเผยข้อเท็จจริง และเสนอแนะ เกี่ยวกับทางออกที่เป็นไปได้อันจะนําไปสู่การปรองดองของประเทศ ๒.๓ ยืนยันศักยภาพของประเทศ คอป. ยืนยันให้ประชาคมโลกเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยว่าแม้จะมีสถานการณ์ ความขัดแย้งระดับรุนแรงเกิดขึ้น แต่ประเทศสามารถพัฒนากลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยคนกลาง ในรูปของ “คณะกรรมการอิสระ” เพื่อดําเนินการเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ ๒
ดู สําเนาหนังสือคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ ยธ ๐๙๑๐/๑ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในผนวก ๑ และสําเนาหนังสือคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความ จริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ด่วนที่สุด ที่ คอป. ๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ในผนวก ๒ และดู คณิต ณ นคร กระบวนการยุติธรรมกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน (หนังสือรวมข้อเสนอแนะและบทความอันเกี่ยวกับ ข้อเสนอแนะของ คอป. กับบทสัมภาษณ์ของประธาน คอป. ต่อรัฐบาลเมื่อครั้งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี) พิมพ์ครั้งแรก สํานักพิมพ์วิญญูชน ธันวาคม ๒๕๕๓
๕
๒.๔ ระบบตรวจสอบ คอป. ให้ความสําคัญกับระบบ “การตรวจสอบโดยประชาชน” (Public accountability) เพื่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในประเทศและของประชาคมระหว่างประเทศ ๒.๕ ความสัมพันธ์กับระบบความยุติธรรมของประเทศ คอป. ให้ความระมัดระวังต่อกรณีที่อาจก้าวล่วงต่อหลักการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมโดย ตระหนักดีว่า คอป. ไม่ใช่องค์กรด้านตุลาการหรือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อตัดสินคดีหรือ ชี้ว่าใครถูกใครผิดสมควรต้องถูกลงโทษทางกฎหมายหรือไม่ ๒.๖ หลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน คอป. นํา “หลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน” (Transitional justice) มาปรับใช้ ในการดําเนินงาน โดยศึกษาจากนานาประเทศที่มีประสบการณ์ความขัดแย้งระดับรุนแรงเกิดขึ้นและไม่ สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมตามปกติในการแก้ไขปัญหาได้
๓. ผลการดําเนินงานที่ผ่านมาในรอบการทํางาน ๖ เดือนที่สอง ผลงานในรอบการทํางาน ๖ เดือนที่สอง (๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ – ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๕๔)๓ มีดังต่อไปนี้ ๓.๑ ความร่วมมือกับต่างประเทศ คอป. ตระหนักดีว่าความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานั้น นอกจากจะมีผลกระทบใหญ่หลวงอย่างประมาณ ค่ามิได้ในสังคมไทยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมนานาชาติอีกด้วย เพื่อให้การทํางานเป็นที่ยอมรับและมี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับแนวทางการทํางาน คอป. ได้รับการติดต่อจากหน่วยงาน องค์กรระหว่าง ประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีประสบการณ์ในการตรวจสอบและค้นหาความจริง ตลอดจนการจัดการกับ ปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง (Truth for Reconciliation) จากต่างประเทศมาให้คําปรึกษา เสนอแนะ และการกําหนดกรอบ ยุทธศาสตร์การทํางาน โดยความร่วมมือกับต่างประเทศที่ผ่านมามีดังนี้ ๓.๑.๑ สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจําประเทศไทย ได้ให้ความร่วมมือกับทาง คอป. ใน การส่ง Mr. Quentin Milliet ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพถ่ายและวีดิทัศน์ (visual imagery expert) มาให้ คําแนะนําและเป็นที่ปรึกษาในงานด้านการตรวจสอบและค้นหาความจริง เป็นระยะเวลา ๒ เดือน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ๓.๑.๒ สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจําประเทศไทย ได้ส่ง Dr. Beatrice Schiffer ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science Expert) เพื่อเข้าร่วมในการทํางานของ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง เป็นระยะเวลา ๑ ปี
๓
สําหรับผลการดําเนินงานในรอบ ๖ เดือนแรก ดู รายงานความคืบหน้าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและ ค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ครั้งที่ ๑
๖
๓.๑.๓ International Center for Transitional Justice (ICTJ) ได้ส่ง Mr. Ari Bassin ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการ (Management Strategy Expert) เพื่อเข้าร่วมในการทํางานของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ รวม ๓ สัปดาห์ ๓.๑.๔ United Nation Development Programme (UNDP) ได้ส่ง Mr. Samuel Gbaydee Doe ที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ความขัดแย้ง (Advisor for Conflict Analysis) เพื่อเข้าร่วม ในการทํางานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ เป็น ระยะเวลา ๓ เดือน (๑๕ มิถุนายน – ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔) ๓.๒ การค้นหาความจริง คอป. ได้ดําเนินการและจัดทํากิจกรรมเพื่อตรวจสอบและค้นหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ความรุนแรงที่ผ่านมาสรุปได้ดังนี้ ๓.๒.๑ ตรวจสอบเหตุการณ์สถานการณ์ภาพรวมของความขัดแย้ง โดยลําดับเหตุการณ์และ สรุปข้อมูลการเสียชีวิต สูญหาย การบาดเจ็บ ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา ถูกจับกุมดําเนินคดี จํานวนและลักษณะ ของความรุนแรง ตลอดจนความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นของทุกฝ่าย รวมทั้งเหตุการณ์สําคัญ ดังนี้ (๑) เหตุการณ์กรณีการเสียชีวิต ๖ ศพ บริเวณวัดปทุมวนาราม (๒) กรณีการเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (ญี่ปุ่นและอิตาลี) (๓) กรณีการเสียชีวิตของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล (๔) เหตุการณ์ปะทะ ๑๐ เมษายน บริเวณสี่แยกคอกวัว (๕) เหตุการณ์กรณีการปะทะบริเวณบ่อนไก่-สีลม (๖) เหตุการณ์ปะทะบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง-ซอยรางน้ํา (๗) เหตุการณ์ปะทะบริเวณอนุสรณ์สถาน (๘) กรณีสถานีดาวเทียมไทยคม (๙) การเผาอาคารสถานที่ในกรุงเทพมหานคร (๑๐) การเผาอาคารสถานที่ราชการในต่างจังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัด อุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมุกดาหาร ๓.๒.๒ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรง (๑) การดําเนินคดีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม รวมทั้งสิ้น ๒๕๘ คดี โดยแบ่งประเภทความผิดออกเป็น ๔ กลุ่มคดี คือ กลุ่มที่ ๑ การก่อการร้าย (เหตุร้ายต่างๆ) ๑๔๗ คดี กลุ่มที่ ๒ การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทําการใดๆ ๒๒ คดี กลุ่มที่ ๓ การทําร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๖๙ คดี และกลุ่มที่ ๔ การกระทําต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของ ทางราชการ ๒๐ คดี๔ จากจํานวนคดีพิเศษที่รับไว้ทําการสอบสวนทั้งสิ้น ๒๕๘ คดี นั้น สอบสวนแล้วเสร็จ ๑๐๒ คดี มีผู้ต้องหา ๖๔๒ คน จับกุมได้ ๒๗๔ คน หลบหนี ๓๖๖ คน (เสียชีวิตแล้ว ๒ คน)
๔
มติคณะกรรมการคดีพิเศษ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ให้ความผิดทางอาญาทั้ง ๔ กลุ่ม ดังกล่าว อันเกี่ยวกับการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายในช่วงปลายปี ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ในราชอาณาจักร รวมถึงความผิดที่ เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษ
๗
(๒) คดีวางเพลิง มีทั้งหมด ๖๒ คดี แบ่งเป็น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๔๙ คดี และ ต่างจังหวัด ๑๓ คดี ทั้ง ๖๒ คดี มีผู้ต้องหาทั้งหมด ๔๕๗ คน จับกุมได้ ๑๔๔ คน๕ โดยมีอาคารสถานที่ถูก เพลิงไหม้ประมาณ ๗๑ แห่ง แบ่งเป็นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓๗ แห่ง และต่างจังหวัด ๓๔ แห่ง๖ ๓.๒.๓ จั ด ให้ มี โ ครงการรั บ ฟั ง ข้ อ มู ล ข้ อ เท็ จ จริ ง เกี่ ย วกั บ เหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบจาก ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Hearing) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากบุคคลจากมุมมอง ต่าง ๆ ของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง๗ เพื่อเป็นการสอบทานความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ได้ในแต่ละประเด็นของ ทุกเหตุการณ์ ๓.๓ การเยียวยา ฟื้นฟู คอป. ได้ดําเนินการในด้านการเยียวยา ฟื้นฟู ดังต่อไปนี้ ๓.๓.๑ ดําเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เหยื่อ (Victim support) โดยเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมเยือน ผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อรับฟังสภาพปัญหา ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนํามา พัฒนาแนวทางการเยียวยาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น๘ จังหวัดอุบลราชธานี๙) และ ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่๑๐ จังหวัดลําพูน๑๑ จังหวัดลําปาง๑๒) ๓.๓.๒ จัดเวทีสาธารณะสําหรับเหยื่อ (Victim Hearing) โครงการเวทีประชาคมระดม ความเห็นเพื่อเยียวยาผลกระทบจากภาวะวิกฤตการณ์ สู่การปรองดองแห่งชาติ (๑) เวทีใหญ่ประชาคมระดมความเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร และเวทีใน ๕๐ ๑๓ เขตกรุงเทพมหานคร (๒) เวทีในระดับภูมิภาค ๓ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ๑๔ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๑๕ และ ภาคใต้ ๓.๓.๓ การลงพื้นที่ช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกคุมขังร่วมกับกรมสุขภาพจิต พื้นที่ภาคกลาง จํานวน ๕ เรือนจํา๑๖ ภาคเหนือ จํานวน ๑ เรือนจํา๑๗ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจํานวน ๖ เรือนจํา๑๘ ๕
โดยคดีวางเพลิงที่มีผู้ต้องหา (จับกุมผู้ต้องหาได้) ทั้งที่เกิดเหตุในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดมี จํานวน ๑๔ คดี DSI สอบสวนเสร็จ มีความเห็นสั่งฟ้อง เสนอพนักงานอัยการ และพนักงาน อัยการ “สั่งฟ้อง” ทุกคดี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ๖ ดูผนวก ๓ ๗ ได้จัดเวทีไปทั้งหมด ๑๓ ครั้ง ในช่วงระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ ดู ผนวก ๔ ๘ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ๙ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ๑๐ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ ๑๑ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ศาลากลาง จังหวัดลําพูน ๑๒ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลําปาง จังหวัดลําปาง ๑๓ ดูผนวก ๕ ๑๔ ภาคเหนือ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลําปาง จังหวัดลําปาง ๑๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ โรงแรมสุรินทร์มาเจสติก จังหวัดสุรินทร์ ๑๖ เรือนจําอําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔, เรือนจําจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่๒๔ มกราคม ๒๕๕๔, เรือนจํากลางคลองเปรม เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔, ทัณฑสถานหญิงกลาง เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ และเรือนจํากลางสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔ ๑๗ เรือนจํากลางเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
๘
๓.๓.๔.จัดทําโครงการ/กิจกรรม เพื่ อสนับสนุนการเยียวยาและฟื้นฟู ผู้ ได้ รับ ผลกระทบ ดังต่อไปนี้ (๑) โครงการ การเยี่ยมเยียนผู้ปฏิบัติงานรักษาความสงบในเหตุการณ์ความไม่สงบ ทางการเมื อ ง จํ า นวน ๓๒๖ คน ได้ แ ก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ฯ สั ง กั ด กองทั พ เรื อ จํ า นวน ๑๗๐ คน และสั ง กั ด กองทัพบก จํานวน ๑๕๖ คน๑๙ (๒) โครงการเยียวยาสู่การพัฒนาเพื่อสังคมที่มีสุขภาวะ โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง กลไกของภาคประชาชน เพื่อการเยียวยาและป้องกันปัญหาความรุนแรง เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนา และแก้ปัญหาของท้องถิ่นร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดอาสาสมัครเยียวยาเพื่อความ สมานฉันท์ (๓) โครงการติดตามการเยียวยา ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่ สงบในการชุมนุมทางการเมือง ชุมชนบ่อนไก่และชุมชนพระเจน ๓.๓.๕ จัดตั้งศูนย์ประสานงานเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยทําหน้าที่ (๑) รับเรื่องและแยกประเภทความต้องการของผู้ขอรับ การเยียวยา (๒) ประสานหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการช่วยเหลือเยียวยา เพื่อดําเนินการให้ความ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (๓) ติดตามความคืบหน้า และ (๔) แจ้งผลให้ผู้ขอรับการเยียวยาทราบ ในขณะนี้ ศูนย์ฯ ได้รับข้อมูลของผู้ขอรับการเยียวยา จํานวนทั้งสิ้น ๖๖๒ ราย (ข้อมูล ณ กรกฎาคม ๒๕๕๔) โดยแบ่งประเภทความต้องการขอรับการเยียวยา ดังนี้ ๑. ด้านร่างกาย จํานวน ๓๖ ราย ๒. ด้านจิตใจ/อารมณ์ จํานวน ๓๒ ราย ๓. ด้านทรัพย์สิน/รายได้/เศรษฐกิจ จํานวน ๖๓๙ ราย ๔. ด้านสังคม จํานวน ๓ ราย ๕. ด้านอื่นๆ จํานวน ๒๕ ราย ๓.๓.๖ ประสานหน่วยงานภาครัฐ และพบผู้นําทางศาสนา ในการหาแนวทางร่วมกันเพื่อ การปรองดอง โดยได้เข้าพบ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)๒๐ และนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี๒๑
๑๘
เรือนจํากลางจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๔,เรือนจําจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔,เรือนจําจังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔,เรือนจําอําเภอสีคิ้ว เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔,เรือนจํากลางจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ และเรือนจํากลางอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๙ ได้เยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ ทั้งหมด ๔ ครั้ง ดังนี้ ๑. เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้เยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ในสังกัดกองทัพเรือกรุงเทพ จํานวน ๑๐๕ คน ๒. เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้เยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ในสังกัดกองทัพเรือสัตหีบ จํานวน๖๕ คน ๓. เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เจ้าหน้าที่สังกัดกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ จํานวน ๑๐๖ คน ๔. เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เจ้าหน้าที่สังกัดกองพันทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ที่ ๑ จํานวน ๕๐ คน ๒๐ เข้าพบเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ วัดสระเกศราชวรวิหาร ๒๑ เข้าพบเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
๙
สรุปข้อมูลผู้ตอ้ งขังในคดีความผิดต่อพระกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ยอดรวมใน ๑๔ เรือนจําและทัณฑสถาน - ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวน, พิจารณา - ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา - ผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด - ผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับ
ถึงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จํานวน ๖๔ คน จํานวน ๒๑ คน จํานวน ๒๐ คน จํานวน คน
คงเหลือรวมทั้งสิ้น จํานวน
๑๐๕ คน
สรุปข้อมูลผู้ตอ้ งขังในคดีความผิดต่อพระกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ และคดีที่เกี่ยวเนื่องที่มีปัญหาสุขภาพจิต* (ยังถูกคุมขัง) ระดับความเครียด - ผู้ต้องขังมีความเครียดระดับมากที่สุด จํานวน ๑๐ ราย - ผู้ต้องขังมีความเครียดระดับมาก จํานวน ๖ ราย ภาวะซึมเศร้า - ผู้ต้องขังมีภาวะซึมเศร้า จํานวน ๑๕ ราย แนวโน้มการฆ่าตัวตาย - ผู้ต้องขังมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายระดับรุนแรง จํานวน ๑ ราย - ผู้ต้องขังมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายระดับปานกลาง จํานวน ๑ ราย จํานวนผู้ต้องขังในคดีความผิดต่อพระกําหนดการฯ ที่มีปัญหาสุขภาพจิต รวม ๑๖ ราย หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ * ประเมินภาวะสุขภาพจิตโดยหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ๓.๔ การศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของปัญหา คอป. ระลึ ก อยู่ เ สมอว่ า การตรวจสอบและค้ น หาความจริ ง การเยี ย วยา ฟื้ น ฟู ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากความขัดแย้งเป็นภารกิจเร่งด่วนของ คอป. แต่อย่างไรก็ตามภารกิจที่สําคัญยิ่งประการหนึ่ง คือความรู้ความเข้าใจในประเด็นของรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่นํามาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่ หลวง การขาดองค์ความรู้ในรากเหง้าของปัญหาเป็นอุปสรรคสําคัญยิ่งที่จะทําให้สังคมก้าวข้ามความ ขัดแย้งไปไม่ได้ และ/หรืออาจทําให้ความรุนแรงย้อนกลับมาได้อีกในอนาคต คณะอนุกรรมการด้านการศึกษาวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ ซึ่งรับมอบหน้าที่ในการศึกษา ถึงรากเหง้าความขัดแย้ง ได้มีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ๒๒ ในประเด็นปัญหา ต่างๆ และมีการพูดคุย ปรึกษาหารือ กับบุคลากรต่างๆ นักวิชาการ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ๒๒
มีการเปิดเวทีรับฟัง ดังนี้ (๑) การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๔ (๒) การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ณ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔
๑๐
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนนํามาสู่การกําหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย และได้พัฒนาขอบข่ายการ จัดจ้างที่ปรึ กษา (TOR) โครงการปัญหารากเหง้าของความขัดแย้ งและแนวทางสู่ความปรองดอง: ศึ กษา เฉพาะกรณีจํานวน ๖ เรื่อง ได้แก่ ๓.๔.๑ โครงสร้างอํานาจที่ไม่เท่าเทียมกัน ๓.๔.๒ การปฏิรูปองค์การด้านความมั่นคง ๓.๔.๓ มิติสังคมและวัฒนธรรมของความรุนแรงทางการเมืองไทยและแนวทางแก้ไข ๓.๔.๔ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ๓.๔.๕ ขอบเขตการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในการนําเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้บทบัญญัติ ของกฎหมาย ๓.๔.๖ รากเหง้าของความขัดแย้งสู่ทางออกเพื่อความปรองดอง ๓.๕ ยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง ผลลัพธ์สูงสุดของภารกิจที่สําคัญของ คอป. คือ “เพื่อให้เกิดการปรองดองของประเทศ” ซึ่ง คอป. ได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง ในการพยายามเน้นบทบาทในการ เป็นตัวกลางประสานให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะคู่ขัดแย้งสามารถเจรจาพูดคุยกันได้ เพื่อหาแนวทางในการให้ เกิดการปรองดองอย่างเป็นระบบ และนําเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการยับยั้งไม่ให้ความรุนแรง เกิดขึ้นใหม่หรือขยายตัว คณะอนุ ก รรมการด้ า นยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ การปรองดองได้ ดํ า เนิ น การตามภารกิ จ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเป็นตัวกลางในการนําทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุยในการแสวงหาแนวทางการ ปรองดองร่วมกัน การจัดงานเสวนา๒๓ การประสานงานองค์กรต่างๆ จนนําไปสู่การรวมตัวเป็นเครือข่าย “ก้าวข้ามความรุนแรงสู่สังคมปรองดอง”๒๔
๒๓
คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดเวทีเสวนา ๑ ครั้ง คือ เวทีเสวนาเรื่อง“แนวทางการดําเนินงานของ คอป. ต่อ ข้อเสนอการปรองดองของประเทศ” เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ๒๔ ประกอบไปด้วย องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรวิชาชีพสื่อ และองค์กรภาคประชาสังคมรวม ๑๔ องค์กร ได้แก่ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไทย สํ า นั ก สั น ติ วิ ธี แ ละธรรมาภิ บ าล สถาบั น พระปกเกล้ า ศู น ย์ ศึ ก ษาและพั ฒ นาสั น ติ วิ ธี มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา ๓๕ เครือข่ายประชาธิปไตยเห็นต่างกันได้อย่าใช้ความรุนแรง เครือข่ายนักวิชาการ ไม่ เอาความรุนแรง กลุ่มปลาดาว เครือข่ายเยาวชนโลก และแพทยสภาซึ่งได้มีข้อเสนอในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ รวม ๓ ข้อ ดังนี้ ๑ พรรคการเมืองทุกพรรค รวมถึงกลุ่มการเมืองทุกกลุ่มต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และหลีกเลี่ยงหรือไม่ ดําเนินการด้วยประการใด ๆ ที่จะนําประเทศกลับไปสู่ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ๒. พรรคการเมืองทุกพรรคต้องแสดงเจตจํานงทางการเมืองว่า จะให้ความสําคัญกับกระบวนการลดความ ขัดแย้งอันจะนําไปสู่ความปรองดองของประเทศ โดยให้ถือเป็นสัญญาประชาคมว่าหลังการเลือกตั้งจะต้องดําเนินการ อย่างเร่งด่วน ๓. การสร้างความปรองดองจะต้องดําเนินการโดยองค์กรที่เป็นอิสระและไม่ใช่คู่ขัดแย้ง โดยมีกระบวนการที่ เหมาะสมและเป็นธรรม
๑๑
๔. อุปสรรคและปัญหาในการดําเนินงาน ๔.๑ การขาดความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อันเนื่องมาจากการ ดําเนินการของ คอป. ที่เป็นไปในลักษณะการขอความร่วมมือ เพราะไม่มีอํานาจในการเรียกบุคคลหรือ หน่วยงานมาให้ข้อมูลได้ อีกทั้งการการขาดความคุ้มครองความปลอดภัยทําให้เป็นอุปสรรคที่สําคัญในการ ทํางาน ๔.๒ ข้อจํากัดในสถานภาพและที่มา เนื่องจาก คอป. ได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐบาลซึ่งถูกมองว่า เป็นฝ่ายหนึ่งของความขัดแย้ง อีกทั้งการตั้ง คอป. ก็ตั้งอยู่ในช่วงที่ความขัดแย้งดังกล่าวยังคงดํารงอยู่ ทํา ให้ บางฝ่ า ยขาดความเชื่อ มั่น และไม่ ใ ห้ค วามร่ วมมื อ แต่ อย่ างไรก็ต าม คอป. ได้ ทํา งานเพื่อ พิ สู จน์ ใ ห้ สาธารณะได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ถึงความอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริง
๕. ข้อเสนอแนะ จากการดํ า เนิ น การที่ ผ่ า นมา คอป. ได้ มี ข้ อ เสนอแนะเป็ น หนั ง สื อ ถึ ง นายกรั ฐ มนตรี ๒ ครั้ ง ในเรื่องการตีตรวนผู้ต้องขัง และสิทธิพื้นฐานของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา และข้อเสนอแนะ ๘ ประการ ในรายงานความคืบหน้าในการทํางานของ คอป. ครั้งที่ ๑ คอป. ขอเรียนว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวแม้จะ ได้มีการนําเสนอต่อรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ก็เป็นข้อเสนอแนะที่มีลักษณะทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงกับรัฐบาล ชุ ด ใดชุ ด หนึ่ ง คอป. จึ ง ขอเรี ย กร้ อ งให้ รั ฐ บาลต้ อ งนํ า ข้ อ เสนอแนะที่ ผ่ า นมาของ คอป. ไปพิ จ ารณา และนําข้อเสนอแนะไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบรรยากาศการปรองดองของประเทศให้ดําเนิน ไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คอป. ใคร่ขอเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในประเด็นสําคัญๆ ดังนี้ ๕.๑ คอป. เห็นว่า ในระหว่างที่สังคมไทยยังมีความขัดแย้งอยู่นั้น รัฐบาลต้องมีเจตนารมณ์ทาง การเมือง (Political Will) ที่จะยึดถือหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในการบริหารประเทศโดยเคารพ กฎหมาย และยึ ด ถื อ ผลประโยชน์ ข องประเทศชาติ เ ป็ น ที่ ตั้ ง รั ฐ บาลต้ อ งดํ า เนิ น มาตรการเพื่ อ ลด ความขัดแย้ง โดยตรวจสอบว่าเจ้าพนักงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด ให้ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ให้ความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและผู้ต้องหาที่ต้องการความช่วยเหลือ ตรวจสอบและผลักดันให้ผู้ที่ ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายรวมทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมเพื่อได้รับการพิจารณาวินิจฉัยอย่างเท่าเทียมกัน โดยให้ความสําคัญกับศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน ๕.๒ ในระหว่ า งที่ ค วามขั ด แย้ ง ยั ง คงดํ า รงอยู่ และสั ง คมไทยเริ่ ม มี ค วามหวั ง ที่ จ ะก้ า วข้ า ม ความขัดแย้งไปสู่ความปรองดอง คอป. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกํากับและควบคุมการใช้อํานาจรัฐ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง กลุ่มบุคคล และ องค์กรต่างๆ ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งยวดในการกระทําการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการกระทบกระเทือนถึง บรรยากาศในการปรองดอง โดยเฉพาะรัฐบาลซึ่งต้องระลึกว่าชัยชนะจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมา จากนโยบายที่สนับสนุนการปรองดอง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ดําเนินการใดๆ ที่กระตุ้น ให้เกิดความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น คอป. ตระหนักดีว่าท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่เกิดขึ้น รัฐบาลยากที่จะ วางตนเป็นกลางในสายตาของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม การปรองดองของคนในชาติจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ รั ฐ บาลซึ่ ง เป็ น ผู้ กํ า กั บ การใช้ อํ า นาจรั ฐ มี ค วามตั้ ง ใจจริ ง อดทน และมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะนํ า พาประเทศเข้ า สู่ กระบวนการปรองดองอย่างจริงจัง
๑๒
๕.๓ คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสําคัญที่ นํามาสู่ความรุนแรงและการกระทําความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งฝ่ายต่าง ๆ ความรุนแรงและการกระทําความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมใน ภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้ เพราะการกระทําความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจาก ความคิ ด เห็ น ในทางการเมื อ ง ดั ง นั้ น แม้ พ ฤติ ก รรมที่ ผิ ด กฎหมายที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบและสร้ า ง ความเสียหายแก่บุคคลและส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทําต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ในทาง กฎหมายที่เหมาะสม แต่ในหลายกรณีความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทาง อาญาแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่ สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทํา ความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจาก ผู้กระทําความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรง ที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในการสร้างความยับยั้งหรือความหลาบจํา (deterrence) ให้กับผู้กระทํา ความผิดเองและสังคมโดยรวมตามหลักทฤษฎีในการลงโทษทั่วไปได้ นอกจากนี้การดําเนินคดีอาญาที่ เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจํากัดของกระบวนการในการสืบสวน สอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและโน้มเอียงไปในทางที่เป็น คุณต่อผู้กุมอํานาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ด้ ว ยเหตุ นี้ คอป. จึ ง มี ค วามเห็ น ว่ า การดํ า เนิ น คดี อ าญาในคดี ค วามผิ ด ตามพระราชกํ า หนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา ๒๑๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่น พระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทํา ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทาง การเมือง รัฐบาลสมควรดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้ ๕.๓.๑ เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดําเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและ จําเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทําหรือไม่ และทบทวนว่ามีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดําเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่ ๕.๓.๒ ดําเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหา และจําเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจําเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิด ขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจํากัดเสรีภาพ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน สอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจําเลยว่ามีเหตุที่จะหลบหนี เหตุที่จะทําลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคมหากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่ หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยมีสิทธิ ได้รับการปล่อยชั่วคราว และในการปล่อยชั่วคราวนั้น แม้ตามมาตรา ๑๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจ ารณาความอาญา จะไม่เ รี ยกร้ องหลั ก ประกันก็ ต าม แต่ ใ นทางปฏิ บัติขององค์ ก รในกระบวนการ ยุติธรรมยังมีการกําหนดให้มีหลักประกันอันเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายเสมอมานั้น ทํา ให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก กล่าวคือ ได้เป็นช่องทางให้ “นายประกันอาชีพ” ซึ่งเป็นองค์กรเถื่อนในกระบวนการยุติธรรมฉวยโอกาสเข้าไปแสวงหาประโยชน์กับสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลตลอดมา และ “บริษัทประกันภัย” ซึ่งก็เข้าไปแสวงหาประโยชน์กับสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
๑๓
ทํานองเดียวกัน ซึ่งการปล่อยให้ “บริษัทประกันภัย” เข้าไปแสวงหาประโยชน์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจาก นโยบายรัฐบาล ในยุคสมัยหนึ่งที่มีความไม่เข้าใจหลักกฎหมายเช่นเดียวกัน แต่การที่จะแก้ไขปัญหาที่ ต้นเหตุคือความเข้าใจหลักกฎหมายที่ถูกต้องที่ยังไม่อาจกระทําได้ในขณะนี้ เพราะปัญหาเกี่ยวข้องกับทั้ง การศึกษากฎหมายและทัศนคติของผู้ใช้กฎหมายและอื่น ๆ นั้น ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อย ชั่ ว คราวแต่ กํา หนดให้มี ห ลัก ประกั นด้ ว ยนั้น ก็ ช อบแล้ วที่ รัฐ บาลจะจั ดหาหลั ก ประกั น ดั ง กล่ า วให้ แ ก่ ผู้ต้องหาและจําเลยทุกคนที่ไม่สามารถจัดหาหลักประกันได้ตามทางปฏิบัติที่ผ่านมา อนึ่ง ต้องพึงตระหนัก ว่าการที่ผู้ต้องหาและจําเลยถูกตั้งข้อหาร้ายแรงนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวตาม กฎหมาย ๕.๓.๓ เนื่องจากผู้ต้องหาและจําเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหา และจําเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่ เรือนจําปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจําเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต ๕.๓.๔ เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ ดํ า เนิ น อยู่ ใ นช่ ว งเวลาหลายปี ที่ ผ่ า นมาโดยผู้ ก ระทํ า ผิ ด มี มู ล เหตุ จู ง ใจในทางการเมื อ ง และปั ญ หา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีรากเหง้าที่สําคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition) การนําเอาหลักความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิง ลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนําเอา หลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนําหลักการและแนวทางของหลักวิชาการ ดั ง กล่ าว ตลอดจนประสบการณ์ ข องต่า งประเทศที่เ คยเผชิ ญ ความขั ด แย้ ง อย่ า งรุ น แรงมาปรั บ ใช้ ใ ห้ เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย ด้ ว ยเหตุ นี้ ในระหว่ า งที่ มี ก ารศึ ก ษาถึ ง แนวทางในการนํ า มาตรการต่ า งๆ ที่ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดําเนินคดีอาญา เหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานําคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูลที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งคดี ข้อมูลในภาพรวมของสาเหตุของปัญหา ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทาง ในด้านวิชาการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในกรอบของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และความ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เพื่อให้อัยการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการประเมินความเหมาะสมทางด้าน ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งมาตรการทางอาญาที่เหมาะสมก่อนการสั่งคดี ๕.๔ คอป. เห็นว่าการชดเชยเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุก ฝ่ายเป็นเงื่อนไขสําคัญในการสร้างความปรองดองในชาติ รัฐมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน และป้ องกันไม่ ใ ห้เกิ ดความรุน แรง ซึ่ งกระทบต่ อสิท ธิใ นชี วิต ร่างกาย และทรัพย์ สินของบุค คล และ กระทบกระเทือนต่อสังคม ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงโดยที่รัฐไม่สามารถป้องกันได้ รัฐย่อมมี หน้าที่เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลและฟื้นฟูสังคม โดยรัฐบาลต้องดําเนินการในเรื่องการ เยียวยาอย่างรวดเร็วและจริงจัง ทั้งนี้ ควรดําเนินการอย่างน้อยตามแนวทาง ดังนี้ ๕.๔.๑ เนื่องจากการเยียวยาในกรณีนี้แตกต่างจากการเยียวยาในกรณีปกติ เพราะเป็นการ เยียวยาอันเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบของรัฐที่ไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทําให้
๑๔
ความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ในกรอบ และดําเนินไปตามครรลองของสันติวิธีจนเกิดความรุนแรงซึ่งสร้าง ความเสียหายต่อบุคคลและสังคม อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกว่ารัฐตระหนักและรับรู้ถึงความเจ็บปวด สูญ เสีย ของผู้ ที่ ได้ รั บ ผลกระทบทุก ฝ่ า ย และจะรั บผิ ดชอบความเจ็ บปวดสู ญ เสี ยนั้ น เพื่ อ ให้ผู้ ที่ ไ ด้รั บ ผลกระทบสามารถดํารงชีวิตต่อได้อย่างเป็นปกติ การเยียวยาในกรณีนี้จึงไม่อาจใช้หลักการและมาตรการ ตามปกติดังเช่นที่รัฐใช้กับผู้ประสบภัยพิบัติ หรือหลักการในการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายในคดีอาญา ฯลฯ แต่จะต้องใช้มาตรการพิเศษที่ไม่ติดยึดอยู่กับสิทธิที่มีอยู่ตามกรอบของ กฎหมายและแนวปฏิบัติของหน่วยงานและองค์กรที่ดําเนินการในกรณีปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้การเยียวยามีผล ในการป้องกันเหตุการณ์ความรุนแรงในอนาคตและสร้างความปรองดองในชาติ ๕.๔.๒ รั ฐ บาลควรเยียวยาผู้ ที่ได้รับ ผลกระทบทุ กฝ่ายอย่างเร่งด่วนและต่ อเนื่อ ง โดยกลุ่มเป้าหมายในการเยียวยาไม่ควรจํากัดเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม ๒๕๕๓ เท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา โดยให้รวมถึงประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชน ตลอดจนครอบครัวของ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ควรขยายขอบเขตการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่ ชุมชน และสังคมด้วย โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยและย่านการค้าที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและ เหตุการณ์ความรุนแรง ๕.๔.๓ รัฐบาลควรกําหนดกรอบในการเยียวยาให้กว้างขวาง สอดคล้องกับสภาพความเป็น จริงของเหตุการณ์ และครอบคลุมถึงความสูญเสียในลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยให้ ครอบคลุมถึงความสูญเสียในทางเศรษฐกิจและโอกาสของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ความทุกข์ทรมานและความ เจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความรุนแรง ความสูญเสียทางด้านอัตลักษณ์ ความสูญเสียด้านการประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย หน้าที่การงาน โอกาส และรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟู รัฐบาลต้องตระหนักว่าการดําเนินการเยียวยามีหลาย วิธีการต่าง ๆ กันและประกอบกัน ไม่ใช่เฉพาะการเยียวยาด้วยตัวเงินเท่านั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบแต่ละราย และแต่ ล ะครอบครั ว ต่ า งได้ รั บ ผลกระทบที่ เ หมื อ นและแตกต่ า งกั น ไป การเยี ย วยาและฟื้ น ฟู จึ ง ต้ อ ง เหมาะสมกับแต่ละราย เพื่อให้การเยียวยาได้ผลและเพื่อให้มีผลต่อความปรองดอง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบ บางคนต้องการตัวเงินเนื่องจากยากจนหรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจ บางคนต้องการการขอโทษเพื่อฟื้นฟู เกียรติยศของผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ บางคนต้องการโอกาสในการประกอบอาชีพ บางคนต้องการ ความยุติธรรมโดยให้นําผู้กระทําผิดสู่กระบวนการยุติธรรม บางคนต้องการการเยียวยาทางด้านจิตใจ เป็นต้น ๕.๔.๔ รัฐบาลควรจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทําหน้าที่ในการให้การเยียวยาผู้ที่ได้รับ ผลกระทบทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีองค์กรเฉพาะกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการ ประสานงานความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการเยียวยาอย่างเป็นระบบ ทั่วถึง และต่อเนื่อง ๕.๕ นอกจากกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงแล้ว การเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูก ดําเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมก็เป็นกลุ่มเป้าหมายสําคัญที่เป็นเงื่อนไขในการสร้างความปรองดองในชาติ ความรู้สึกว่าตนถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดหรือถูกดําเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม โดยการตั้งข้อหาที่ร้ายแรง เกินกว่าเหตุ การไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว และการขาดโอกาสในการต่อสู้คดี ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อ ส่วนตัวและครอบครัว ทั้งด้านการเงิ นและด้านจิตใจ ซึ่ งล้วนเป็นเรื่องที่จําเป็นต้องมีการเยียวยาโดย
๑๕
เร่งด่วน ความรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถให้ความเป็นธรรมได้แต่กลับเป็นกลไกที่สร้างความไม่ เป็นธรรมเสียเองเป็นเรื่องร้ายแรงที่อาจนํามาสู่ความคับแค้น ความเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม และเป็นประเด็นที่สามารถสร้างแนวร่วมทางอุดมการณ์ของความไม่พอใจต่ออํานาจรัฐได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง นับว่าเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความสงบสุขมั่นคงของประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คอป. จึงเห็นควรดําเนินการเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูกดําเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมเนื่องจากการชุมนุม ดังนี้ ๕.๕.๑ ควรเร่งรัดการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของผู้เข้าร่วมชุมนุม และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจําทั่วประเทศ โดยตรวจสอบว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรง เกินสมควรปรับบัญ ชีรายชื่อผู้ต้องขังและจําเลยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน จําแนกกลุ่ม ผู้ต้องขังและจําเลยกลุ่มต่าง ๆ อีกครั้งอย่างเป็นระบบ โดยเร่งดําเนินการเยียวยากลุ่มผู้เสียหายที่ตกสํารวจ จากบัญชีรายชื่อดังกล่าว หรือที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาโดยเร็ว ๕.๕.๒ จ่ า ยค่า ทดแทนแก่จํ า เลยที่ ศ าลมีคํ าพิ พ ากษาถึ ง ที่ สุด ให้ ย กฟ้ อ งแล้ ว โดยไม่ต้ อ ง พิจารณาว่าศาลได้มีคําพิพากษาว่าจําเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่ ๕.๕.๓ สําหรับจําเลยที่ศาลมีคําพิพากษาลงโทษถึงที่สุดแล้ว หรือไม่ให้ประกันตัว ควรให้ ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของจําเลยเหล่านั้นในด้านมนุษยธรรม และหากพ้นโทษแล้ว รัฐบาลควรมี มาตรการให้ความช่วยเหลือแนะนําในการประกอบอาชีพ เพื่อลดความคับแค้น และฟื้นฟูให้สามารถกลับ เข้าสู่สังคมได้ตามปกติ ๕.๖. คอป. มีความกังวลต่อสถานการณ์เกี่ยวกับการดําเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตาม มาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้ นอย่างเห็นได้ชัด จนส่งผลกระทบในทางการเมือง คอป. มีความเห็นว่าแม้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องดําเนินการอย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของปวงชน ชาวไทยไม่ให้ถูกจาบจ้วงล่วงละเมิดด้วยพฤติกรรมและการ กระทําที่ไม่เหมาะสม แต่การนําเอามาตรการในการดําเนินคดีอาญามาใช้ โดยไม่มีการกําหนดนโยบายทาง อาญาและการกํากับควบคุมแนวทางในการบังคับใช้ที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ซับซ้อนตามมา ทั้งในระดับภายในประเทศซึ่งกําลังอยู่ในภาวะความขัดแย้งทางการเมือง และระดับระหว่างประเทศที่ให้ ความสําคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยในปัจจุบันประเด็นเรื่องพัฒนาการทางการเมืองและ การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Lèse majesté) ของประเทศไทยกลายเป็นประเด็นที่ สหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และนานาประเทศให้ความสนใจติดตามอย่าง ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้วยเหตุผลดังกล่าว คอป. เห็นว่าประเด็นเกี่ยวกับการนํากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาใช้ในช่วงเวลานี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ และการแก้ไข ปัญหานี้อย่างเหมาะสมจะส่งผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีส่วนสําคัญในการคลี่คลายความ ขัดแย้งของประเทศไปสู่ความปรองดอง โดย คอป. เห็นควรให้มีการดําเนินการดังนี้ ๕.๖.๑ ในสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ คอป. เห็นว่ารัฐบาลต้องดําเนินการทุกวิถีทาง โดยคํานึงถึงเป้าหมายสุดท้าย คือการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในสถานะที่สามารถ ดํารงพระเกียรติยศได้อย่างสูงสุดเป็นสําคัญ โดยควรดําเนินการอย่างเด็ดขาดและเคร่งครัดต่อผู้ที่จาบจ้วง ล่วงละเมิดที่มีเจตนาร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะและหวงแหนของปวงชนชาว
๑๖
ไทย แต่ไม่ควรนําเอามาตรการในทางอาญามาใช้มากจนเกินสมควรโดยขาดทิศทางและไม่คํานึงถึงความ ละเอียดอ่อนของคดีอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตามมาทั้งจากภายในประเทศ และจากต่างประเทศ ๕.๖.๒ ทุกฝ่ ายที่เกี่ ยวข้องในความขัดแย้งต้องดําเนินการทุ กวิ ถีทางเพื่ อเทิดทูนสถาบัน พระมหากษั ต ริ ย์ ใ ห้ อ ยู่ เ หนื อ ความขั ด แย้ ง ในทางการเมื อ ง และต้ อ งยุ ติ ก ารกล่ า วอ้ า งถึ ง สถาบั น พระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และตรงประเด็นสามารถทําได้โดยนักการเมือง พรรคการเมือง และกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องต้อง หารือกันอย่างจริงจัง เพื่อกําหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดําเนินการให้เกิดผลอันเป็นการเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง ๕.๖.๓ รัฐบาลต้องดําเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความเป็นเอกภาพและดําเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ มีกลไกที่สามารถ กําหนดนโยบายในทางอาญาที่เหมาะสม สามารถจําแนกลักษณะของคดีโดยพิจารณาจากความหนักเบา ของพฤติกรรม เจตนา แรงจูงใจในการกระทํา สถานภาพของบุคคลที่กระทํา และบริบทโดยรวมของ สถานการณ์ที่นําไปสู่การกระทํา โดยคํานึงถึงสภาพปัญหาในความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจุบันมีความ ขัดแย้งในทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงมีความพยายามที่จะนําความไม่จงรักภักดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นประเด็นในทางการเมือง ทุกฝ่ายต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้น จากการถวายพระเกียรติยศสูงสุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสําคัญ ๕.๖.๔ ในการดําเนินการคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อัยการซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการ ใช้ดุลพินิจว่าจะดําเนินคดีหรือไม่ ควรให้ความสําคัญกับแนวทางการสั่งคดีโดยใช้ดุลพินิจ (Opportunity Principle) ซึ่งเป็นอํานาจของอัยการอันเป็นสากล แม้ว่าคดีมีหลักฐานเพียงพอในการสั่งฟ้อง แต่อัยการ ต้องให้ความสําคัญกับการชั่งน้ําหนักเปรียบเทียบผลดีผลเสียในการดําเนินคดีด้วย โดยคํานึงถึงประโยชน์ สาธารณะเป็นสําคัญ ในกรณีนี้ ประเด็นที่อัยการต้องพิจารณาคือแนวทางใดระหว่างการสั่งฟ้องคดีหรือ การสั่งไม่ฟ้องคดี จะเป็นผลประโยชน์สูงสุดในการปกป้องและถวายพระเกียรติยศที่เหมาะสมแด่สถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นสําคัญ อันเป็นแนวทางที่ใช้กันอยู่ในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ๕.๖.๕ รัฐบาลควรดําเนินการเพื่อให้ผู้ต้องหาและจําเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้รับ การปล่อยชั่วคราว เนื่องจากข้อหาที่ร้ายแรงมิได้เป็นเหตุตามกฎหมายที่ทําให้ผู้ต้องหาและจําเลยไม่ได้รับ สิทธิ การปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ดังที่ศาลได้อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวใน คดีที่มีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ซึ่งศาลได้ อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานอยู่เสมอ ๕.๖.๖ รั ฐ บาลควรพิ จ ารณาทบทวนการดํา เนิน คดีที่ นํา เอาประเด็น เรื่อ งกฎหมายหมิ่ น พระบรมเดชานุภาพมาขยายผลในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง อาทิเช่น การกล่าวหาและ โฆษณารณรงค์เรื่องขบวนการ "ล้มเจ้า" ซึ่งอาจมีการตีความกฎหมายที่กว้างขวางจนเกินไปและอาจส่งผล ต่อความปรองดองในชาติ และไม่เป็นผลดีต่อการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ ในการดําเนินคดี ต่อไปจะต้องมีการพิจารณาโดยมีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเฉพาะ บุคคลที่ชัดเจนที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
๑๗
๕.๗. คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้สั่งสมจนทําให้เกิด ความแตกแยกที่ร้าวลึกในสังคมไทยจนเกินกว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ปัญหาได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องใน ความขัดแย้งทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจและสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชนทุกคนจึง ล้วนมีบทบาทสําคัญในการนําพาประเทศชาติไปสู่การปรองดองด้วยกันทั้งสิ้น รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้มี การจัด เวที แ ลกเปลี่ย นเพื่ อ ให้ ทุ ก ฝ่ า ยในสั งคมไทยได้ เ ข้ าใจถึง สาเหตุ ข องปัญ หาความขั ด แย้ ง ซึ่ง เป็ น ปรากฏการณ์ของทุกสังคมในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่สําคัญ ในการนี้รัฐบาลควรสนับสนุนการ เผยแพร่ความรู้และการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจร่วมกันของสังคมในการก้าว ข้ามความขัดแย้ง ในสื่อต่าง ๆ อย่างเต็มที่ การทําความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาและการแสวงหา ทางออกจากความขัดแย้งร่วมกันของสังคมไทยอย่างถูกวิธีเป็นการสร้างองค์ความรู้ท่ีสําคัญที่จะนําพา สังคมไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนสืบไป ๕.๘ จากการทํางานของ คอป. ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาได้ข้อสรุปประการหนึ่งว่าสาเหตุ อันเป็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งของประเทศจนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นผลของการ กระทํ า และเหตุการณ์ หลาย ๆ ครั้งต่อเนื่องกัน ซึ่ง คอป. ได้พยายามเรียงลํ าดับเหตุการณ์สําคัญ ๆ โดยเฉพาะ ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งเป็น การปฏิรูปโครงสร้างของประเทศครั้งสําคัญโดยเฉพาะการปฏิรูปทางการเมือง โดยสร้างความเข้มแข็งให้ พรรคการเมื อ ง ฝ่ า ยบริ ห าร และสร้ า งกลไกการตรวจสอบโดยองค์ ก รอิ ส ระหลายองค์ ก ร เช่ น ศาล รัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นต้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกภายใต้ระบบการเมืองใหม่ ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๔ พรรคไทยรักไทย ได้เป็นผู้นําในการจัดตั้งรัฐบาล โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และสามารถบริหารราชการแผ่นดินครบวาระ ๔ ปี เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ใน วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก จนสามารถจัดตั้งรัฐบาล พรรคเดียว อย่างไรก็ตามการบริหารประเทศในสมัยที่ ๒ ต้องเผชิญกับปัญหา ทั้งเรื่องที่มีการกล่าวอ้างถึง การคอร์รัปชันทางนโยบาย รัฐบาลเผด็จการเสียงข้างมากในสภา การแทรกแซงองค์กรอิสระต่าง ๆ ส่งผล กระทบต่อหลักนิติธรรม (Rule of Law) และกระบวนการยุติธรรมของประเทศอย่างยิ่ง จากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งดูเหมือนว่าอํานาจทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติทั้งหมด อยู่ที่บางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น ในขณะที่อํานาจทางตุลาการก็ถูกแทรกแซง จึงเป็นที่มาของการชุมนุมขับ ไล่รัฐบาลของกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มที่มีบทบาทสําคัญคือ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่ อ ประชาธิ ป ไตย ซึ่ ง มี ก ารเคลื่ อ นไหวอย่ า งเข้ ม ข้ น และมี ผู้ เ ข้ า ร่ ว มเป็ น จํ า นวนมาก จนกระทั่ ง นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภา การเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ พรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง แต่มีผู้ ลงคะแนนเสียงในช่องไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเป็นจํานวนมาก และจําเป็นต้องมีการเลือกตั้งใหม่ใ น หลายๆ เขตเลือกตั้ง ท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการ เลือกตั้งใหม่อีกครั้งในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๙
๑๘
การเลือกตั้งใหม่ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้น เพราะเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และมีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว เป็นเหตุให้ เกิดการชุมนุมทางการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งที่เริ่มจากต่อต้านการรัฐประหาร และรวมตัวกันเป็นกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) มีการชุมนุมหน้าบ้านพัก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และ จัดการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล บริหารประเทศ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมต่อเนื่อง และขับไล่รัฐบาลอีกครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ๒๕๕๑ มีการบุกยึดทําเนียบรัฐบาล บุกรุก สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาและมีการสลายการชุมนุมในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ และเกิดกรณีบุกรุกท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาพรรคพลัง ประชาชนถูกยุบพรรค จนมีการเปลี่ยนการจัดตั้งรัฐบาลโดยการนําของพรรคประชาธิปัตย์ จนเกิดการ ชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทั่วประเทศ และเกิดเหตุการณ์ ความรุนแรงเดือนเมษายน ๒๕๕๒ และความรุนแรงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ๒๕๕๓ ขึ้น ๕.๙ จากภาพเหตุการณ์ ต่อเนื่ องมาตั้งแต่การประกาศใช้รั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ถึงการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ คอป. เห็นว่ารากเหง้าของ ปัญ หาความขั ด แย้ง ส่ ว นหนึ่ งมาจากกระบวนการที่ล ะเมิ ดหลักนิ ติธ รรม กระบวนการประชาธิป ไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ที่ทุกๆอย่างมีความอ่อนแอ และขาดประสิทธิภาพ จนนําไปสู่กระบวนการ ใช้อํานาจนอกระบบในการแก้ไขปัญหา โดยการรัฐประหารซึ่งเป็นการละเมิดหลักการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง ซึ่งแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหา แต่ในท้ายที่สุดกลับสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น การละเมิดหลักนิติธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมอันเป็นรากเหง้าของปัญหาเกิดจากกรณีของคํา วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๔๗ ในคดีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทํา ผิดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙๕ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “คดี ซุกหุ้น” ที่ศาลรัฐธรรมนูญมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักแห่งกฎหมาย กล่าวคือ ในทางหลักกฎหมายนั้น โดยทั่วไปในการวินิจฉัยคดีไม่ว่าของศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลใด ๆ ก็ตาม ศาลต้องตั้งประเด็นในประการ แรกว่าคดีที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดนั้นอยู่ในอํานาจของศาลหรือไม่ อันเป็นประเด็นในเรื่อง “เงื่อนไขให้ อํานาจดําเนินคดี” (Prerequisite for prosecution) ซึ่งเป็น “เงื่อนไขที่ต้องพิจารณาก่อน” (prerequisite) และหากศาลเห็นว่าคดีอยู่ในอํานาจของศาลแล้ว ประเด็นที่จักต้องวินิจฉัยต่อไปก็คือว่า ผู้ ถูกกล่าวหาได้กระทําตามที่ ถูกกล่ าวหาหรือไม่ อันเป็นประเด็นในเนื้อหาของคดี ซึ่ งใน “คดีซุ กหุ้น ” ดั ง กล่ า วนี้ แ ม้ ศ าลรั ฐ ธรรมนู ญ ในขณะนั้ น จั ก ได้ วิ นิ จ ฉั ย ในประเด็ น “เงื่ อ นไขให้ อํ า นาจดํ า เนิ น คดี ” (Prerequisite for prosecution) ซึ่งเป็น “เงื่อนไขที่ต้องพิจารณาก่อน” (prerequisite) ไว้ถูกต้องแล้ว โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวน ๑๑ คนเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญจํานวน ๔ คนเห็นว่าคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยก็ตาม แต่ อย่างไรก็ตาม ในชั้นพิจารณาชี้ขาดในเนื้อหาของคดีนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวน ๗ คน ได้วินิจฉัย ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ทําการซุกหุ้นจริง ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวน ๖ คน วินิจฉัยว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําผิดในข้อกล่าวหา แต่ที่น่าประหลาดก็คือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จํานวนอีก ๒ คนที่เคยลงมติว่าคดีไม่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ลงไปวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหา ของคดีแต่อย่างใด เท่านั้นไม่พอศาลรัฐธรรมนูญเองยังได้นําเอาคะแนนเสียง ๒ เสียงหลังนี้ไปรวมกับ
๑๙
คะแนนเสียงจํานวน ๖ เสียงที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําผิดในข้อกล่าวหาว่า “ซุก หุ้น” แล้วศาลรัฐธรรมนูญได้สรุปเป็นคําวินิจฉัยชี้ขาดยกฟ้อง การปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าว นี้จึงมีความไม่ชอบมาพากลที่ยากที่ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจได้ ทั้งบรรยากาศของบ้านเมืองในขณะนั้นดู จะไม่เอื้อต่อการที่จะทําความเข้าใจในหลักกฎหมายดังกล่าวนี้ด้วย เพราะกระแสสังคมในบ้านเมืองใน ระหว่างการดําเนิน “คดีซุกหุ้น” นั้น เป็นไปในทิศทางที่มีการคาดหวังในตัวบุคคลอย่างรุนแรงมากจนทํา ให้ศาลรัฐธรรมนูญเกิดหวั่นไหวเลยทีเดียว การที่ ตุ ล าการศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ๒ คน ไม่ วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดในเนื้ อ หาของคดี ก็ ดี และการที่ ศ าล รัฐธรรมนูญเองได้นําเอาคะแนนเสียง ๒ เสียงเข้าไปบวกรวมกับคะแนนเสียง ๖ เสียงก็ดี เป็นการปฏิบัติที่ ผิดหลักกฎหมายโดยแท้ กล่าวคือ ทําให้เกิดความผิดพลาด ๒ ประการ คือ เป็นความผิดพลาดของตุลา การศาลรัฐธรรมนูญ ๒ คนที่ไม่วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาของคดีซึ่งเท่ากับเป็นการไม่ทําหน้าที่ตุลาการของตน เพราะผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นจะไม่ทําหน้าที่ของตนไม่ได้โดยเด็ดขาด และยังเป็นความผิดพลาดของ ศาลรัฐธรรมนูญเองอีกด้วยที่ได้เอาคะแนนเสียง ๒ เสียงไปรวมกับคะแนนเสียง ๖ เสียงที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กระทําความผิดตามข้อกล่าวหา ทําให้ผลของคดีดังกล่าวนี้เป็นผลที่มีความไม่ชอบมา พากล เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐๓ บัญญัติเหตุแห่งการ ถอดถอนออกจากตําแหน่งว่า “จงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” ผล ของการปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ๒ คน และศาลรัฐธรรมนูญโดยรวมดังกล่าว มานั้น จึงเป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย๒๕ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงใน หลักนิติธรรมของประเทศไทย โดยที่ตั้งแต่ได้เกิดการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายขึ้นในคดีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ ถูกกล่าวหาใน “คดีซุกหุ้น” เมื่อปี ๒๕๔๗ นั้น รัฐยังละเลยและไม่ได้เข้าไปตรวจสอบถึงรากเหง้าของความ ไม่ชอบมาพากลหรือความที่น่ากังขาของเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนั้น คอป. จึงขอเสนอแนะให้รัฐและสังคมได้ ตรวจสอบการยึดถือปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง
๒๕
ดู คณิต ณ นคร “การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย” หักดิบกฎหมาย พิมพ์ครั้งแรก สํานักพิมพ์วิญญูชน กันยายน ๒๕๕๐ ในผนวก ๖
Interim Report Truth for Reconciliation commission of Thailand (TRCT) Second Report (17 January 2011 – 16 July 2011)
December 2011
2
Interim Report Truth for Reconciliation Commission of Thailand (TRCT) Second Report (17 January 2011 – 16 July 2011) 1. Introduction The conflict and violent incidents that recently occurred in Thailand, especially during April and May 2010, resulted in tremendous loss and damage to the nation and affected all Thai people. There was violence during political gatherings, possible violations of human rights, loss of life, physical and mental injury, loss of property, and other forms of loss. Many Thais and members of the international community are confused about the causes of the political unrest and violence. In order to reduce this confusion it is necessary to determine the truth about the events and the context in which they occurred and make this truth known to all. Hopefully, this will bring about a common understanding and help prevent future violence and damage. Victims and those affected are receiving treatment and compensation and the Thai people are binding up their wounds and trying to live together in harmony and peace. A culture of compromise and tolerance of different opinions needs to replace the previous culture of division and violence so that long-term national reconciliation can occur. In response to the situation, the Thai Cabinet agreed to establish an independent Truth for Reconciliation Commission and appointed Professor Dr.Kanit Nanakorn to act as chairman of the committee. Dr. Kanit subsequently appointed commissioners who had experience and proven expertise in investigation and truth-seeking, restoration, conflict resolution, and the prevention of violence and damage in order to investigate the situation and events. On 6th July, 2010, the Cabinet endorsed the Regulation of the Office of the Prime Minister on the Truth for National Reconciliation (TRCT) which formally established the Commission, allocated a period of two years for the Commission to complete its investigation (commencing from 17 July 2010 and extending to 16 July, 2012), and provided the following mandate: 1. Investigate and determine the truth about the violence that occurred during April and May 2010. In addition, determine the root causes and precedents of the conflict and violence in the country. 2. Recommend both short and long-term restoration measures for individuals, groups, organizations, and institutes that were affected by the violence. 3. Recommend measures to reduce social conflict and prevent future violence and loss from occurring.
3
The regulation of the Office of the Prime Minister also requires that the Commission produce progress reports every six months and a final report containing the findings and recommendations of the Commission at the end of its mission. These reports are to be presented to the public and to the Cabinet by TRCT. The first progress report of the TRCT (17 July 2011 – 16 January 2012) has been presented to the former government headed by Mr. Abhisit Vejjajiva and included eight recommendations1. TRCT has devised a strategic framework consisting of the following four dimensions: (1) Truth-Seeking. A sub-commission (including five Case-specific Truth Seeking Subcommissions) is responsible for searching for the facts about the civil unrest and violence that occurred in the country during the recent past. Fieldworkers and volunteers have collected statements and requested information from all parties and organizations. Public hearings have been held where all parties, especially those involved in the conflict, have been given an opportunity to speak out and exchange information in order to help establish the truth about what occurred.
1
Recommendations of the TRCT: 1. All parties should give a priority to mutually, and in good faith, finding a genuine solution to the problem. In so doing, the benefit to the nation as a whole should be kept uppermost in mind 2. All parties should promote an election which is fair and free from violence. Further, all political parties should state explicitly, in advance of the election, their intended policies and procedures for leading our country to reconciliation and away from dispute after the election. 3. The best solution to this problem is for the people to understand how our country got itself into this situation and to learn together how to find a way out based on the experience of other countries that found themselves in similar situations. Also to see the importance of implementing a system of transitional justice as a mechanism for promoting the principles of justice in special situations. 4. The government and all agencies involved in monitoring and controlling the use of state power should be very careful in their enforcement of laws and use of the criminal justice system and not unduly accuse those involved in violent demonstrations. 5. Given the sensitive nature of the current situation, all agencies within the system of justice need to be particularly careful to remain absolutely impartial and not side with one or other of the parties in the conflict. 6. All sides should join together to express their reverence for the monarchy which is an institution above political disputes. In addition, state law enforcement and agencies in the system of justice should be wary in applying lese majeste laws during these times of tense political controversy. A more appropriate channel of sanctions should be explored so as to reduce the conflict which may arise. 7. All forms of mass media must be cautious and act responsibly to ensure that the information they provide to the public is correct. 8. The government should continually support and promote remedy and restoration to people from all parties that were affected by the violence
4
(2) Restoration and Conflict Prevention. A sub-commission (including Case-Specific Restoration and Conflict Protection Sub-commissions) is focusing on reparation and restoration of individuals, organizations, and institutes affected by the violent events. A Coordination Center for Restoration of Victims of Violence has been set up within the TRCT which coordinates between institutions and the victims of violence in order to expedite restorative and social justice (3) Determining the root causes of the conflict. A Research and Academic Activity Sub-commission is studying and researching the underlying causes and contributing factors of the conflict including the inequality of authority structures; security management; the role of the military in cultural, social, and traditional contexts; enforcement of the law; and the role of the media. (4) Building reconciliation and preventing a reoccurrence of violence. The Strategic Planning for Reconciliation Sub-mission functions as a go-between among the various parties. It facilitates and coordinates communication between groups, especially between those in direct conflict with each other. This makes it possible to find solutions to problems and build systematic reconciliation which can prevent conflicts from escalating in the future. The TRCT has presented recommendations to the Prime Minister on two occasions; one recommending that using chains or leg-irons on accused or detained people should be discontinued, and the second on the right of detainees to temporary release2.
2. Principles and Procedures of TRCT TRCT operates according to the following principles: 2.1 To follow independent and impartial procedures as follows: (1) Employ investigation procedures and reporting which are without bias; (2) Take into account the relationship between the Thai social context and background of each party in the conflict; (3) Not to side with either party or others involved if facts are revealed that lead to argument and dispute between the various parties; (4) Disclose the truth at regular and appropriate times taking into account the existing atmosphere for social reconciliation.
2
Document No. YorThor 0910/1 dated 29 July 2010 (Ref. Appendix 1) Document No. TRCT 1/2553 dated 15 November 2010; (Ref. Appendix 2) Dr.Kanit Nanakorn, “กระบวนการยุติธรรมกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน” (Collections of recommendations and articles of the TRCT including an interview with the chairman during former Prime Minister Abhisit Vejjajiwa’s term of office), 1st edition, Winyuchon, December 2010
5
2.2 To listen to all opinions TRCT will listen to the opinions of all parties in order to find a way to achieve a consensus agreement to support the procedures of TRCT. TRCT functions as “neutral ground” where all parties can present facts, recommendations, and raise important issues that they believe will lead to social reconciliation. 2.3 To prove the capability of Thailand TRCT will prove to the international community that despite such a serious dispute, Thailand is capable of solving this problem through developing their own impartial arbitration in the form of “an independent commission“ just like any other country. 2.4 To stress public accountability TRCT gives high priority to “public accountability” so that the Thai public and the international community can be confident in the work of TRCT. 2.5 To consider the judiciary systems within the country TRCT is very careful not to infringe upon the deliberations of courts of law but at the same time not to be remiss in the duty of the Commission to make recommendations that will promote social reconciliation. TRCT is not a court of law which decides who is wrong and who is right or what might be appropriate punishment for wrongdoers. 2.6 To employ principles of transitional justice TRCT employs with slight modification the principles of transitional justice used in other countries which have experienced violent social conflict and were not able to rely on the existing system of justice to bring about a solution. 3. Progress during the Second Six Months (17 January 2011 – 16 July 2011)3 3.1 International Cooperation The TRCT is very aware that the violent conflict and clashes that have occurred, especially during April and May 2010, have resulted in tremendous loss and damage to the nation and affected all Thai people. TRCT has been contacted by a number of prominent international organizations with significant experience in many countries in truth-seeking operations, conflict resolution, and reconciliation support. Following is a summary of cooperation efforts between TRCT and international organizations of foreign countries: 3.1.1 The Embassy of Switzerland in Thailand made Mr. Quentin Milliet available to provide advice to TRCT from March 2011 to June 2011. Mr. Milliet is a forensic scientist who is an expert in visual imagery analysis. 3.1.2 The Embassy of Switzerland also made available Dr. Beatrice Schiffer, a forensic expert, to assist TRCT for a period of 1 year. 3
Details of progress made during the first six months can be read in the 1st Interim Report of the Truth for Reconciliation Commission of Thailand
6
3.1.3 The International Center for Transitional Justice (ICTJ) made available Mr. Ari Bassin, a management strategy expert, to work with the TRCT from 9 – 30 September, 2011. 3.1.4 The United Nation Development Programme (UNDP) made available Mr. Samuel Gbaydee Doe, Advisor for Conflict Analysis, to work with the TRCT for a period of 3 months (15th June – 15th August 2011). 3.2 Truth-seeking The progress of the TRCT in investigating the violent conflict can be summarized as follows: 3.2.1 An overall view of the conflict has been established and data on individual incidents has been collected including the number of people who died or disappeared, were injured, accused, or detained; the number and type of violent incidents, and damages incurred by affected parties. Major incidents are as follows: (1) Death of six people at Wat Pratumwanaram (2) Death of two foreigners; Mr. Hiro Muramoto and Mr. Fabio Polenghi (3) Death of Maj.-Gen. Khattiya Sawasdipol (4) Incident at the Kok-wua intersection (5) Incident at the Bongai-Silom area (6) Incident at the Dindaeng-Rangnam intersection (7) Incident at the Democracy Monument (8) Incident at Thaicom Satellite (9) Arson of buildings in Bangkok (10) Arson of government building and property in the provinces of Chiangmai, Udornthani, Khonkaen, Ubonrachathani and Mukdaharn. 3.2.2 Facts collected on the incidents (1) There are a total of 258 cases relating to charges against demonstrators. These include: 1. Terrorism and sabotage: 147 cases 2. Threats made against the government: 22 cases 3. Attacks against the public and authority: 69 cases 4. Abuse of state weaponry: 20 cases4
4
Special Resolution 3/2553 dated 16 April 2010 states that the Committee resolved to consider the abovementioned four categories of acts, as well as violations connected with demonstrations in Bangkok in late 2009, and connected offenses, as special cases
7
Of these 258 cases, investigations into 102 cases have been completed. The number of suspects involved in these cases is 642; 274 have been arrested, 366 are still at large and two have died. (2) There were 62 cases of arson – 49 in Bangkok and 24 in other provinces involving 457 suspects. To date, 1445 of these suspects have been arrested. Arson occurred in at least 71 locations; 37 in Bangkok and 346 at places in other provinces. 3.2.3 Hearings for victims7 have been organized to provide opportunities for them to explain events from their point of view. TRCT also collected facts and opinions in order to cross check information. 3.3 Restoration Progress on restoration and violence prevention can be summarized as follows: 3.3.1 Victim support has been provided by visiting the victims that were directly and indirectly affected and listening to their opinions and recommendations. These are being used to develop a restoration strategy for the Northeastern provinces of Khonkaen8 and Ubonrachathani9 and for the Northern provinces of Chiangmai10, Lampoon11 and Lampang12. 3.3.2 Victim hearings organized by TRCT have provided opportunities for victims to speak out and to express their opinions and suggestions regarding reducing the impact of the conflicts and building national reconciliation. (1) Dialogue forums were organized in 50 districts of Bangkok13. (2) Regional forums were organized in the Northern14, North-Eastern15 and Southern regions of Thailand. 3.3.3 TRCT joined with the Department of Mental Health to visit detainees in several regions including 5 prisons16 in the Central Region, 1 prison17 in the Northern Region and 6 prisons18in the Northeast.
5
The investigation of 14 arson cases in Bangkok and other provinces has been completed by the DSI. All cases have been brought to court by the public prosecutor. Currently, these cases are pending actions. 6 See Ref. Appendix 2 7 Organized 13 public hearings between 1st February 2011 – 26th April 2011. See Ref. Appendix 4. 8 th 30 October 2010, Jitavej Khonkaen Hospital, Khonkaen 9 rd 3 February 2011, Phra Si Maha Phot Hospital, Ubon Ratchathani Province 10 th 4 March 2011, Suanprung Hospital, Chiangmai Province 11 th 4 March 2011, Citihall, Lamphun Province 12 th 5 March 2011, Thammasat University, Lampang Province 13 See Ref. Appendix 5 14 North Thailand, 5th March 2011, Thammasat University, Lampang Province 15 Northeast of Thailand, 21st October 2011, Surin Majestic Hotel, Surin Province
8
3.3.4 The following Projects/Activities to provide assistance to individuals affected by violent events have been organized: (1) Meetings among peacekeepers - 170 members from the Thai navy and 19 156 members from the Royal Thai Army. (2) The development of a program to improve health conditions by setting up a public sector mechanism that provides reparation and helps prevent future violence. This program coordinates with other sectors within our society. It also encourages volunteers to seek for more harmony-building. (3) Remedy measures in the Bongai and Prajen Communities have been followed up on. 3.3.5 The Coordination Center for Restoration of Victims of Violence was established on the 19th November 2010. Its functions are to: 1) Accept reparation requests and claims and to categorize the reparation needs of victims. 2) Contact and inform organizations or agencies responsible for support of victims. 3) Follow up on the process and progress of reparations. 4) Inform victims of the results of claims filed. As of July 2011, the Coordination Center for Restoration of Victims of Violence had received 662 “reparation” claims summarized as follows: 1. Physical Damages 36 cases 2. Mental Damages 32 cases 3. Property/Salary/Economic Damages 639 cases 4. Social Damages 3 cases 5. Other Damages 25 cases 3.3.6 TRCT has coordinated meetings between government agencies and religious leaders in order to find the most effective approach for reconciliation. Meetings
16
Amphur Thanyaburi Prison at Pathumthani on the 24th January 2011, Nonthaburi Prison on the 24th January 2011, Klong Prem Central Prison on the 11th January 2011, Women’s Central Correctional Institution on the 11th January 2011 , Samutprakarn Central Prison on the 28th January 2011 17 Chiangmai Central Prison on the 1st February 2011 18 Khonkaen Central Prison on the 19th January 2011, Mahasarakham Prison on the 20th January 2011, Mukdaharn Prison on the 27th January 2011, Amphoe Sikiew Prison on the 28th January 2011, Udonrthani Central Prison on the 31th January 2011, Ubonrachathani Central Prison on the 16th February 2011 19 TRCT met with officials on four occasions as follows: On the 25th March 2010 with 105 members of the Thai Navy, Bangkok On the 28th March 2011 with 65 members of the Thai Navy, Sattahip On the 4th July 2011 with 106 members of the 11th Infantry Regiment On the 5th July 2011 with 50 members of the 1st Field Artillery Battalion King’s Guard
9
have been arranged with Somdej Phra Buddhacarya (Kiew Upaseno)20 and Mr. Asil Pitakkumpol Chularachamontree21. Summary of those being detained because of violating the Declaration of Emergency Decree BE 2548 (2005) Detained in 14 prisons and detention centers (as of 22nd July 2011) - Detainees under investigation 64 - Detainees in process of appeal 21 - Detainees in process of the Supreme Court 20 - Confinement in lieu of penalty payment Total 105 Summary of detainees’ mental health Stress Level - Highest stress - High stress Depression - Depressed Risk of Suicide - High risk of suicide - Moderate risk of suicide
Total Total
10 6
Total
15
Total Total
1 1
A total of sixteen detainees suffered from mental health problems Note: Resource 22nd July 2011 * Mental Health Department, Ministry of Public Health 3.4 Causes of the Conflict TRCT is keenly aware that seeking for the truth and coordinating reparations to those affected are the highest priorities for TRCT. However, it is also important to obtain an understanding of the root causes of the conflict that led to such tremendous loss. A lack of understanding of the causes of the conflicts may result in obstacles to building reconciliation and may also lead to future conflicts. The Research and Academic Activity Sub – commission has been given the responsibility of studying the root causes of the conflict. It has organized public hearings22 20
On the 29th December 2011 at Wat Sraket 21 On the 7th February 2011 at the National Administration Center for Islamic Affairs, Chalerm Phrakiat 22
(1) Public Hearing in Chiangmai on the 3rd March 2011 (2) Discussion Forum at Ubonrachathani on the 29th April 2011
10
on many issues and has consulted with academics and experts from the public and private sectors and from national and international bodies and has hired relevant experts (TOR). Currently, the Sub-commission is focusing on the following reconciliation-building issues: 3.4.1 Inequality of authority; 3.4.2 Security sector reform; 3.4.3 Social and cultural aspects of Thai political violations and resolutions; 3.4.4 Justice reform; 3.4.5 Limitations to freedom of the press in providing information about the law; and 3.4.6 Analyzing the root causes of the conflict in order to be able to find solutions that result in reconciliation. 3.5 Strategic Planning for Reconciliation The target of the TRCT is to lead the country to reconciliation. TRCT has therefore established a Strategic Planning Sub-commission. This Sub-Commission functions as go-between among the various parties. It facilitates and coordinates communication between groups, especially between those in direct conflict with each other. This makes it possible to find solutions to problems and build systematic reconciliation. The Strategic Planning Sub-Commission has consistently followed its mandate and has facilitated and coordinated communication between groups and organized forums23. It is coordinating with other organizations to build a network whose aim is to “Lead our country and society to reconciliation”24
23
The Sub-commission has organized one discussion panel on “TRCT’s Approaches on Implementing Reconciliation” on the 7th July 2011 at the Rama Garden Hotel 24 The network consists of businesses, the media and civil society organizations. The 14 organizations in the network are: the Federation of Thai Capital Market Organizations, the Thai Bankers Association, Board of Trade of Thailand, Journalists Association of Thailand, Thai Broadcast Journalists Association, Department of Peace and Governance Committee, King Prajadhipok’s Institute, Research Center for Peace, Mahidol University, The Relative Committee of May 1992, Democracy Network, Scholars’ Network for a Just Society, Pladao Group, Global Youth Network and the Medical Council. On the 30th June the network made the following three proposals: 1. Every political party must accept the result of the general election and avoid any action that would lead to a return to violence. 2. Every party must show that they recognize the importance of the conflict-solving process which will lead our country to reconciliation. This should be regarded as a social contract which requires immediate action. 3. The reconciliation process must be carried out by an independent agency, not the parties in conflict, and should be carried out in an appropriate and fair manner.
11
4. Problems Encountered 4.1 The Commission must rely on the willingness of individuals and agencies to provide evidence and testimony. It has no authority to subpoena individuals or agencies when they are reluctant to cooperate. Lack of cooperation from government agencies and private enterprises in providing information has been an obstacle to TRCT procedures. Another obstacle has been a lack of protection for individuals and agencies that provide information. 4.2 The status and background of TRCT initially created limitations. As it had been established by the government, a party in the conflict, there were concerns regarding the Commission’s impartiality. However, this limitation gradually reduced as TRCT was able to demonstrate in the course of carrying out its duties that it was, in fact, independent and impartial. 5. Recommendations As previously mentioned, TRCT has presented recommendations to the Prime Minister on two occasions; the first regarding the use of chains on detainees and the second regarding fundamental rights of accused persons in criminal proceedings. Further, the First Interim Report of TRCT contained eight recommendations. TRCT would like to point out that although these recommendations were presented to the previous government, they were general in nature and not specifically addressed to any particular government. TRCT therefore requests that the current government take into consideration all recommendations made so far and proceed according to the recommendations in a concrete manner so as to continue to create a supportive environment for national reconciliation. TRCT now has the honor to present further recommendations on important issues to the Prime Minister as follows: 5.1 TRCT believes that the period of conflict is still extant in Thai society. The government should determine to adhere to the rule of law while governing the country by respecting the law and holding the interest of the nation above all else. The government should proceed with measures to reduce the conflict by ensuring that officials of the executive branch strictly abide by the law; allow people who have been treated unfairly to gain access to the system of justice; provide legal aid to people and accused persons when needed; and investigate and urge all parties responsible for violent incidents, including government officials, to be judged equally by the system of justice which should give due weight to human dignity and human rights. 5.2 As such a situation of conflict still exists and as Thai society hopes to overcome the conflict and achieve reconciliation, TRCT requests all parties involved in the conflict – the government, those involved in the supervision and control of the use of state power,
12
political parties, political groups, and many agencies – to exercise caution and not commit any act which could adversely affect the reconciliation process. In particular, the election of the current government was, in part, based on their campaign pledge to support reconciliation so they should be especially careful to avoid any act which could provoke an increase in conflict. TRCT is well aware that amid the stream of ongoing conflicts it is difficult for the government to appear impartial in the view of all parties. However, reconciliation among diverse groups in our nation can only be achieved if the government, which supervises the use of state power, is strongly committed, tolerant and persevering in their desire to lead the country to reconciliation. 5.3 TRCT believes that political conflict that has occurred in the past was a significant factor in later violence and violation of criminal law by various parties. The violence and violation of criminal law that occurred cannot be considered as normal social behavior without such political conflict because the violation is fundamentally based upon political perspectives. Hence, even if such illegal behavior affects and harms individuals and the public and requires that perpetrators be held legally accountable, criminal responsibility and criminal punishment may not conform to the punishment philosophy and may not render justice and contribute to solving the conflict. Perpetrators who have political motives are different from common criminals who are essentially villains and criminals. Punishment for this type of violent behavior may not result in deterring the perpetrators themselves or the entire public according to the common philosophy of punishment. Moreover, the prosecution of criminal cases related to political conflict may encounter problems because of limitations of the investigation process, accusations, and the gathering of evidence and witnesses viewed as being impartial, as well as bias for the advantage of those who control state power in each period. TRCT sees the prosecution of criminal cases according to the Royal Decree on Public Administration in Emergency Situations B.E. 2548 (2005), the offence of unlawful assembly of ten or more persons under Section 215 of Criminal Code, and other relevant cases relating to incidents of political violence before and after the 19 September 2006 coup including cases of lèse majestÊ under Section 112 of Penal Code and Computer Related Crime Act B.E. 2550 (2007) as all being related to political conflict. The government should thus proceed with the prosecution of such offences as follows: 5.3.1 Clarify whether the accusation and the prosecution against accused persons or defendants are consistent with the circumstances and consider whether the accusation is unduly harsh or the evidence too weak to prove guilt. 5.3.2 Proceed in earnest with the temporary release of detainees as this is a fundamental right of accused persons and defendants. Temporary release will enable accused persons and defendants to prepare their defense and reduce the effects of restriction of freedom on themselves and their families. The relevant authorities, such as
13
investigating officers and prosecutors, should file petitions with the court providing information relating to accused persons and defendants, whether or not there is a risk that they will abscond, a reason to destroy evidence or a reason to cause harm to society if a temporary release is granted. If no such reasons exist, the legal principle protecting the fundamental right to temporary release of accused persons and defendants should be affirmed. With regard to temporary release, although Section 110 of the Criminal Procedure Code does not require bail, it has been the practice of agencies within the justice system to require bail. This practice is not in accordance with legal principles and has caused substantial damage to the justice system. It has opened the door to “professional bailers”, illegal in the justice system, to take advantage of detainees whose rights and freedoms have been withheld. Likewise, an “insurance company” also takes advantage. Permission for an “insurance company” to gain advantage in this manner originated from a government policy in one era which lacked understanding of the legal principle. However, the solution to the root cause of the problem, which is a correct understanding of the legal principle, cannot be brought about at this time because this problem involves legal education and a change in perspective of those applying the law. In a case where the court allows temporary release on bail, it is right that the government should provide such bail to all accused persons and defendants who are not able to provide it. It should be noted that harsh accusations against an accused is no reason for not allowing temporary release according to the law. 5.3.3 Accused persons and defendants are not villains or criminals as in regular criminal cases but are accused of committing an offence in order to achieve political goals. Therefore, if accused persons and defendants are not granted temporary release, the government should arrange for their detention in an appropriate place, not in a common prison as has been the case in the past. 5.3.4 These cases are related to the ongoing political conflict over the past few years. The perpetrators have political motivations and the ongoing conflict is rooted in the transition of Thai society. Therefore, the principle of criminal justice which uses criminal prosecution measures and punishment is not appropriate for the current situation in our country. It is thus appropriate to study and apply the theories of transitional justice and restorative justice in order to properly apply their principles and methods. This will enable Thailand to learn from the experience of foreign countries that have encountered severe conflicts. While studying how to properly apply various measures to the conflict situation in Thailand, prosecutors should be requested to cooperate by delaying prosecution of these cases and by not taking them to court until collection of the relevant information is complete – correct and reliable information concerning circumstances of the case, overall information regarding the causes of the problem, and information on academic principles pertaining to legal measures under the framework of transitional justice and restorative
14
justice. This will benefit prosecutors and the public and will enable us to decide on appropriate measures before the cases come to court. 5.4 TRCT believes that the reparation and restoration of all parties affected by violent incidents is an important condition for bringing about reconciliation. The state has the responsibility to protect the rights of people and prevent violence which affects the rights to life and property of individuals and society as a whole. When the state fails to prevent violent incidents, the state has the duty to provide reparation for damages against individuals and for the restoration of society. The government should promptly and decisively proceed with reparations by following these guidelines: 5.4.1 Reparations in this case are different from reparations made in a normal case because they represent the state’s response to a lack of adequate and effective mechanisms that would enable peaceful control of political conflict. Moreover, they demonstrate that the state is aware of, and recognizes, the pain and loss that occurred to all affected parties and that they share responsibility for such pain and loss. It is not appropriate that reparations in this case should depend upon the principles and measures relating to compensation and expenses ordinarily used by the state in cases of disaster. To prevent future violent incidents and bring about reconciliation the government must employ special measures, which may not correspond exactly to existing rights under the legal framework or to the practices of agencies and organizations in a normal case. 5.4.2 The government should urgently and continuously provide reparation to all affected parties. Groups to which reparations are made should not be limited to only those affected by the April - May 2010 incidents but should cover those affected by violent incidents related to political conflict since the 19 September 2006 coup. This should include individuals, government officials, mass media and the members of the private sector as well as their families and other affected persons. In addition, the scope of the reparations and restoration should be extended to those affected at the level of area, community and society, particularly the residential neighborhoods and commercial areas affected by demonstrations and violent incidents. 5.4.3 The government should determine the reparation framework broadly to be consistent with the actual situation of the incidents and to cover various types of loss physical and mental - including economic loss; loss of opportunity; physical and mental suffering and pain from violent incidents; identity loss; loss of career; damage to residence, occupation, opportunity or expected profit; and restoration expenses. The government must be aware that reparations can proceed in various ways and does not have to be limited to monetary reparation. There is wide variance in type and extent of damages and effects to individuals and their families and reparations and restoration must be consistent with each to ensure effective reparation and contribute to reconciliation. Some need money due to poverty and economic distress; some need an apology to restore honor to deceased and
15
injured persons; some need occupation and career opportunities; some need perpetrators to be brought to justice; some need mental reparation, etc. 5.4.4 The government should establish an ad hoc committee mandated to provide reparation to all affected parties. The ad hoc committee must effectively serve as a center in coordinating budgetary aid to ensure systematic, thorough and continuous reparation. 5.5 Besides those affected by violent incidents, reparation of those who have faced unfair trials, which is a significant target group, is also a condition for bringing about reconciliation. The perception that they have been unfairly accused of committing offences and prosecuted, have been accused of unduly harsh offences, have been denied temporary release, and have not been given opportunities to defend their cases have affected them and their families economically and emotionally. These cases require urgent reparation. Another matter of grave concern is the perception that the justice system fails to render justice but is used as a mechanism to deliver injustice. This has inevitably led to resentment and lack of faith in the justice system and has given rise to an ideological united front which is angry at the government. These issues represent a grave danger to the peace and stability of the country. TRCT is therefore of the opinion that reparations for those facing trials because of their actions during demonstrations should proceed as follows: 5.5.1 The fundamental rights of demonstrators and involved persons who are detained in prisons throughout the country should be guaranteed. Accusations should be examined to ensure that they are not unduly harsh. The list of persons detained and defendants should be made complete and current. The categorization of detained persons and defendants should be revised and made more systematic. Reparation to those affected but who were left off the previously compiled list or who have not received reparation should be provided as soon as possible. 5.5.2 Remuneration should be paid to defendants after a final judgment is made by the court to dismiss the case without further consideration of the defendant’s innocence or guilt. 5.5.3 In respect to defendants who are convicted or who are denied release, support should be provided to their families. For those acquitted, the government should have a policy to provide occupational and career support and advice to reduce acrimony and help them successfully integrate back into society. 5.6 TRCT expresses concern regarding the prosecution of individuals for lèse majestÊ offences under Section 112 of Criminal Code and Computer Related Crime Act B.E. 2550 (2007). The increase in the number of cases could have a political impact. TRCT believes that although the government has the obligation to vigorously protect the monarchy, regarded by Thai people with the utmost reverence, from being defamed by inappropriate behavior and acts, the use of criminal prosecution without due regard for
16
criminal policy or control guidelines for proper enforcement during times of political conflict can create national and international complications, particularly in regard to freedom of expression. At present, the enforcement of lèse majesté laws in Thailand has become an issue of interest for the United Nations, international human rights organizations, and several foreign countries. TRCT believes that the enforcement of lèse majesté laws during this period is directly related to the political conflict inside the country. Finding an appropriate solution to this problem will benefit the monarchy and play a significant role in mitigating the conflict and expediting reconciliation. Regarding this matter, TRCT recommend the following: 5.6.1 Because of the sensitive nature of this issue, TRCT is of the opinion the government must proceed by keeping in mind the final goal which is to protect and safeguard respect for the monarchy and to maintain its status of most exalted honor. The government should strictly and stringently proceed against those who defame and violate with malice against the monarchy. However, punishments should not be excessive or without direction or without regard to the sensitivity of the case as this might subsequently affect the monarchy domestically and internationally. 5.6.2 All parties involved in the conflict must proceed in a way that expresses their reverence for the monarchy which is above political conflict. All parties must stop referring to the monarchy for political advantage, either directly or indirectly. A pertinent solution to the problem, addressing its root causes, can be achieved through serious discussion among relevant politicians, political parties, and political groups. Through such discussion, appropriate measures can be determined which will protect the revered monarchy from being referred to for political advantage. 5.6.3 The government should unify and integrate agencies involved in the enforcement of lèse majesté laws. There should be a mechanism for determining appropriate criminal policy and for categorizing cases according to degree of behavior, intention, motivation to commit, status of the perpetrator, and overall context of the situation leading to the commission of the crime. The current situation in Thai society should be taken into consideration. The present political conflict is unique in that there are attempts to claim lack of loyalty to the monarchy and use this to create a political issue. All parties must see that the highest advantage for all comes from honoring the monarchy. 5.6.4 In the prosecution of lèse majesté cases, prosecutors have an important role. They must use discretion as to whether to prosecute or not and in doing so emphasize a means for ordering cases (Opportunity Principle). This is a universal power of the prosecutor. Although there might be adequate evidence for ordering prosecution, the prosecutor must weigh the advantages and disadvantages of doing so, taking into account the public interest. In cases of lèse majesté, the prosecutor must consider whether ordering
17
a prosecution or not ordering is more beneficial in protecting the honor of the monarchy. This is the method used in countries such as the Netherlands. 5.6.5 The government should arrange for the temporary release of accused persons and defendants in lèse majesté cases, as the severity of the accusation is not a legal reason for denying the right to temporary release which is a fundamental right under the law. Courts usually grant temporary release in other cases which have a heavier punishment than lèse majesté cases such as for murder. 5.6.6 The government should consider reviewing the prosecution of cases which expand the issue of lèse majesté law during political conflict such as the existing accusations and propaganda that there is a conspiracy to “overthrow the monarchy”. In this respect, the interpretation of the law might be too broad to affect reconciliation in the nation and adversely affect the protection of the monarchy. Further prosecution must be undertaken by considering the explicit evidence regarding specific individual behaviors to prove guilt in accordance with the rule of law. 5.7 TRCT requests all parties to remain aware of the fact that the ongoing conflict has gradually escalated over time and has now created serious divisions in Thai society. The problem cannot be solved by any one organization alone. All parties involved in the conflict – the government, civil society, the business sector, mass media, and the public at large – have a significant role to play in leading the country towards reconciliation. The government should facilitate exchange forums that will enable all parties in Thai society to understand the cause of the conflict and to understand that such conflict is a phenomenon that occurs in every society during a major transition. In this regard, the government should vigorously support knowledge dissemination and the exchange of opinions through various media to support a mutual understanding of the root causes of the problem and the correct way to overcome the conflict. The creation of such an important knowledge asset will contribute to building a strong and sustainable democratic society. 5.8 TRCT has concluded that the root causes of the conflict and the violence that erupted in April and May 2010 is not attributable to a single incident but is the result of repeated actions and incidents. TRCT has attempted to classify events according to importance, beginning with the adoption of the Constitutional Charter of the Kingdom of Thailand BE 2540 (1997) which set the stage for significant reforms, especially political reform, as well as administrative and monitoring mechanisms by several independent organizations such as the Constitutional Court, National Corruption Commission and the Election Commission. The Thai Rak Thai party was the first elected government under the new politic regime, on January 6th 2001, with Thaksin Shinawatra as a Prime Minister. After their first 4year term, the Thai Rak Thai party gained a majority of votes in the parliamentary election of February 6th 2005 and was therefore able to form the government by itself. However, during
18
its second term of administration, the government was confronted with many criticisms and accusations including policy corruption, parliamentary dictatorship, and intervention by independent entities which gravely affected the rule of law and the country’s judicial administration. It seemed that both administrative and legislative power rested with only a small group of individuals and that they were intervening in the judicial process. This led to various anti-government protests. The most high profile group among the protesters was the People’s Alliance for Democracy (PAD). This group developed a strong movement and had many supporters until the Prime Minister of the time, Thaksin Shinawatra, dissolved the Parliament. In the subsequent election on April 2nd 2006, the Democrat Party, Chart Thai Party and Mahachon Party refused to enter the election. The Thai Rak Thai Party won the election but there were a tremendous number of no-voters and elections had to be called again in many districts. Eventually, the Constitutional Court decided that the election was invalid and the Cabinet passed a resolution to set new elections for October 15th 2006. This election in October never took place as there was a coup d’etat on September th 19 2006. An interim government was set up and repealed the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997). This led to the formation of another group of protestors under the name of Democratic Alliance Against Dictatorship (DAAD) which hold a public protest on July 22nd 2007 outside the residence of Privy Council President Prem Tinsulanonda. A new constitution was drafted and enforced (Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550), however; in the next election on December 23rd 2007 the People Power Party won and formed the new government. The People’s Alliance for Democracy gathered and protested against the government once again, Between May and December 2008, PAD protestors invaded the Government House and the headquarters of the National Broadcasting Services of Thailand, they started rallies at the parliament which then has been dispersed on October 7th 2008. Furthermore, PAD protestors blockade the Don Muang Airport as well as the Suvarnabhumi International airport. The People Power Party was dissolved and a new government was formed under the Democrat Party leadership. This led to countrywide protests by the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) and eventually led to the violence that occurred in April 2009, and, once again in April and May 2010. 5.9 The TRCT sees the root cause of conflicts that took place from the time of promulgation of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997) to the rampage in 2010 was the use of procedures that were against the rule of law and democratic procedure. In addition, law enforcement procedures were weak and inefficient leading to the use of power outside the system to solve problems. Such solutions resulted in even more problems.
19
The root cause of violent events in Thailand, in fact, was an Constitutional Court judgment in 2004 in a case in which Thaksin Shinawatra was accused of acting against the Thai Constitution BE 2540 Section 259, famously known as “the hidden assets” case. The Constitutional Court did not follow the law which stated that in deciding a case in any court, the judge has to first see whether the case in front of the court is under its jurisdiction or not. This is referred to as a “Prerequisite for Prosecution”. If the court sees that the case is under its jurisdiction, the court can then decide whether the accused is guilty of not according to the facts presented. In this “hidden assets“ case, the Constitutional Court duly decided the matter of “prerequisite” by a vote of 11 to 4 that the case was under its jurisdiction. However, in court proceedings regarding the facts of the case, seven judges found that Thaksin was guilty while six judges found that he was innocent. Surprisingly, two judges that had previously decided that the case was not under the Constitutional Court jurisdiction did not rule on the facts of the case. The court subsequently counted the two votes of these judges as “not guilty” which when combined with the existing not-guilty votes totaled eight not-guilty votes. This meant that the decision of the court was that Thaksin was innocent of the charges. Such a decision is hard for normal people to understand and gives rise to suspicion. Moreover, the political atmosphere of the time was tense and expectations were so high that the Constitutional Court was shaken. The fact that two judges did not decide on the facts of the case and the fact that the court itself included their two votes as not guilty was a failure to comply with the law. There were actually two failures; the first was that the two judges did not decide on the case which is their duty to do so; and the second failure was the inclusion of the two novotes into the number of not-guilty votes. These make the judgment suspicious. The Thai Constitution B.E.2540, section 303, states that a cause for discharging a person from their position is ‘deliberate use of power against the rule of the Constitution or the law.’ The aforesaid malpractice of the two judges and the court itself was a distortion of law25, which led to serious ambiguity regarding the rule of law in Thailand. Since the time the law was distorted in the case involving hidden assets of Thaksin in 2004, the government has not carried out any investigation of the case to determine the underlying reasons for such a suspicious occurrence. Therefore, the TRCT propose that the government along with relevant social agencies examine this case according to the rule of law.
25
Kanit Nanakorn “การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย” หักดิบกฎหมาย. 1st Edition, Winyuchon, September 2007 (Ref. Appendix 6)
ภาคผนวก APPENDIX
ผนวก ๑
ผนวก ๒
ผนวก ๓ ลําดับรายชื่ออาคารสถานทีต่ ่างๆที่ถูกเผาภายในเขตกรุงเทพมหานคร ๑. สํานักงานป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติดแห่งชาติ (ปปส.) ๒. ธนาคารกสิกรไทย สาขางามดูพลี ๓. ธนาคารนครหลวงไทย ถนนพระราม ๔ ๔. ธนาคารออมสิน สาขาดินแดง ๕. ธนาคารกรุงเทพ สาขาดินแดง ๖. ตึกแถว ๓ ชั้น ติดกับธนาคารกรุงเทพ ๗. ธนาคารกรุงเทพฯ สาขา อโศก-ดินแดง ๘. โรงภาพยนตร์สยาม ๙. สยามสแควร์ซอย๔ อาคารตึกแถวข้างโรงภาพยนตร์ ๑๐. สยามสแควร์ซอย๕ ๑๑. สยามสแควร์ซอย ๖ ธนาคารกรุงเทพ ตึก๔ ชั้น ๑ หลัง ๑๒. ธนาคาร CIMB ตึก ๔ ชัน้ ๒ หลัง ๑๓. การไฟฟ้านครหลวงคลองเตย ๑๔. อาคารมาลีนนท์ ๑๕. ร้านเซเว่น อีเลฟเว้น ใกล้สํานักงาน ปปส. ๑๖. ตลาดหลักทรัพย์ ๑๗. ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม๔ ซอย สุขุมวิท ๒๖ ฝัง่ คาร์ฟูร์ ๑๘. อาคาร ล็อกเลย์ ๑๘ ชั้น ๑๙. ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนจันทร์ซอย ๖ ๒๐. เซ็นทรัลเวิลด์ ๒๑. ธนาคารกรุงเทพ สาขาสาธุประดิษฐ์ ๒๒. ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานเหลือง ๒๓. ธนาคารนครหลวงไทย สาขาตลาดปีนัง ถนนสุนทรโกษา ๒๔.ห้างสรรพ สินค้าเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๔ ชั้น ๒๕. แมคโดนัล สาขาห้างเซ็นเตอร์วัน ๒๖. ธนาคารกสิกรไทย สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(ภายในเซ็นเตอร์วัน) ๒๗. อาคารมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ๒๘. ร้านหนังสือดอกหญ้า สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๒๙. ร้านก๋วย เตี๋ยวเรือพระนคร อนุสาวรียช์ ัยสมรภูมิ ๓๐. ร้านขายทอง ซอยพลโยธิน ๑ อนุสาวรียช์ ัยสมรภูมิ ๓๑. ธนาคารกรุงเทพ สาขาหัวลําโพง ๓๒. อาคารพาณิชย์ ๔ ชั้น ราชวิถีซอย๑ ๓๓. อาคารร้าง ตรงข้ามธนาคารนครหลวงไทย สาขาราชปรารภ ๓๔. อาคารสหชาติติดกับธนาคารกรุงเทพ ถนนราชปรารภ ๓๕.ห้างสรรพ สินค้าบิ๊กซี สาขาราชดําริ ๓๖. ธนาคารพาณิชย์สาขาประชาชื่น
๓๗. ธนาคารนครหลวงไทยสาขาราชปรารภ ลําดับรายชื่ออาคารสถานทีต่ ่างๆที่ถูกเผาในสถานที่ตา่ งจังหวัด จังหวัดขอนแก่น ๑. อาคารศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ๒. สถานีโทรทัศน์ NBT ๓. ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาศรีจันทร์ ๔. บ้านพัก ส.ส.ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ จังหวัดอุดรธานี ๑. สํานักงานจังหวัดอุดรธานี ๒. อาคารศาลากลางจังหวัดอุดรธานีหลังเก่า ๓. อาคารศาลากลางจังหวัด ๗ ชั้น ๔. อาคารที่พักอาสาสมัครรักษาดินแดน ๕. ศูนย์บริการร่วมศาลากลางจังหวัด ๖. ระบบสื่อสารสารสนเทศและระบบสือ่ สารของกระทรวงมหาดไทย ๗. สํานักงานคลังจังหวัดอุดรธานี ๘. สํานักงานท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี ๙. สํานักงานสัสดีจังหวัดอุดรธานี ๑๐. กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุดรธานี ๑๑. ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี ๑๒. สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี ๑๓. สํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุดรธานี ๑๔. สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานี ๑๕. สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี ๑๖. สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี ๑๗. สํานักงานสถิติจังหวัดอุดรธานี ๑๘. เทศบาลนครจังหวัดอุดรธานี ๑๙. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ๑๔ ๒๐. เทศบาลเมืองหนองสําโรง ๒๑. เทศบาลหนองบัว ๒๒. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี ๑. ป้อมยามทางเข้าด้านหน้าและด้านข้างของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
๒. ป้อมยามทางเข้าศาลากลางทั้ง ๓ ป้อม ๓. อาคารศูนย์สื่อสารมหาดไทย ๔. อาคารมิตรไมตรี ๒ ๕. อาคารศาลากลางจังหวัด จังหวัดมุกดาหาร ๑. จุดไฟเผายางรถยนต์หน้าอาคาร ๑ จากนั้นจึงจุดไฟขว้างเข้าไปในอาคาร ๑ ได้รับความเสียหาย ๒. อาคารศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร อาคาร ๑ ๓. อาคารศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ชั้นล่าง อาคาร ๒ จังหวัดเชียงใหม่ ๑. บ้านพักปลัดจังหวัดเชียงใหม่ ๒. ขว้างปาระเบิดเพลิงใส่ป้อมยามรักษาการณ์ด้านหน้าทางเข้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด
ผนวก ๔ โครงการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Hearing) ลําดับเหตุการณ์ กําหนดวัน สถานการณ์ภาพรวมของความขัดแย้ง วันอังคารที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณีสถานีดาวเทียมไทยคม ๙ เมษายน ๒๕๕๓ วันอังคารที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณีการปะทะบริเวณสี่แยกคอกวัว ๑๐ เมษายน วันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณี ก ารเสี ย ชี วิ ต ของช่ า งภาพชาวญี่ ปุ่ น ๑๐ วันอังคารที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เมษายน ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณีความรุนแรงบริเวณอนุสรณ์สถาน ๒๘ เมษายน วันอังคารที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณีความรุนแรงบริเวณบ่อนไก่-สีลม ช่วงวันที่ ๒๒ วันอังคารที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เมษายน – วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณี การเสียชี วิตของพลตรี ขัตติยะ สวัส ดิผ ล ๑๓ วันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณีความรุนแรงบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง-รางน้ํา วันอังคารที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ช่วงวันที่ ๑๓ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณี ก ารเสี ย ชี วิ ต ๖ ศพวั ด ปทุ ม วนาราม ๑๙ วันอังคารที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณี ก ารเสี ย ชี วิ ต ของช่ า งภาพชาวอิ ต าลี ๑๙ วันอังคารที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๓๐น. กรณีการเผาสถานที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครและ วันอังคารที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ สถานที่ ร าชการในต่ า งจั ง หวั ด ๑๙ พฤษภาคม ๑๓.๓๐น. – ๑๗.๐๐น. ๒๕๕๓ กรณีการชุมนุมคู่ขนานในต่างจังหวัด วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
ผนวก ๕ การจัดกิจกรรมรับฟังความเห็นในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่จังหวัดลําปาง เขต วันที่ หมายเหตุ/สถานที่ เปิดเวทีประชาคมระดมความเห็น ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สถาบันบัณฑิต ในเขตกรุงเทพมหานคร พัฒนบริหารศาสตร์ ๑. เขตคลองเตย วันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๔ แฟลตคลองเตย ๒. เขตลาดกระบัง วันเสาร์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขต ลาดกระบัง ๓. เขตพระโขนง วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ ร้านต้นแบบ ๔. เขตหนองจอก วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ ชุมชนเจริญดําริ ๕. เขตพญาไท วันศุกร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตพญาไทย ๖. เขตประเวศ วันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๔ ศูนย์การศึกษานอก โรงเรียนเขตประเวศ ๗. เขตราษฎร์บูรณะ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ วัดราษฎร์บูรณะ ๘. เขตทวีวัฒนา วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ ห้องประชุมชุมชน หมู่บ้านร่วมเกื้อ ๙. เขตคลองสาน วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตคลองสาน ๑๐. คันนายาว วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตคันนายาว ๑๑. เขตยานนาวา วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตยานาวา ๑๒. เขตบางเขน วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตบางเขน ๑๓. เขตทุ่งครุ วันเสาร์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตทุ่งครุ ๑๔. เขตหนองแขม วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัย เอเชียอาคเนย์ ๑๕. เขตบางนา วันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ห้องประชุม วัดบางนาใน เขตบางนา ๑๖. เขตสายไหม วันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตสายไหม ๑๗. เขตบางซื่อ วันพุธที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตบางซื่อ ๑๘. เขตดุสิต วันจันทร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ สํานักงานเขตดุสิต ๑๙. เขตบางขุนเทียน วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ สํานักงานเขต บางขุนเทียน ๒๐. เขตภาษีเจริญ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔ วัดจันทร์ประดิษฐาราม ๒๑. เขตธนบุรี วันอาทิตย์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๔ สํานักงานเขตธนบุรี ๒๒. เขตสวนหลวง วันพุธที่๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โรงเรียนอั้ลฮูดา ๒๓. เขตคลองสามวา วันเสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ สภาองค์กรชุมชน ๒๔. เขตมีนบุรี วันพฤหัสบดีที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ชุมชนอับดุลลามาลย์ ๒๕. เขตสะพานสูง วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ชุมชนทับช้าง ๒๖. เขตพระนคร วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ สํานักงานเขตพระนคร
๒๗. เขตบางกอกน้อย
วันเสาร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๒๘. เขตราชเทวี ๒๙. เขตบางรัก ๓๐. เขตตลิ่งชัน ๓๑. เขตสัมพันธวงศ์
วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ วันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ วันศุกร์ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔ วันอังคารที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔
๓๒. เขตสาทร ๓๓. เขตปทุมวัน ๓๔. เขตบางพลัด ๓๕. เขตบึงกุ่ม ๓๖. เขตลาดพร้าว ๓๗. เขตป้อมปราบ
วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ วันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ วันอาทิตย์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๔ วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ วันพฤหัสบดี ๘ กันยายน ๒๕๕๔ วันพฤหัสบดี ๘กันยายน ๒๕๕๔
๓๘. เขตบางคอแหลม
วันพฤหัสบดีที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔
๓๙. เขตบางบอน
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๔
๔๐. เขตบางแค ๔๑. เขตจตุจักร ๔๒. เขตดินแดง ๔๓. เขตวัฒนา ๔๔. เขตจอมทอง พื้นที่จังหวัดลําปาง
วันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ วันอาทิตย์ที่ ๑๑กันยายน ๒๕๕๔ วันอาทิตย์ที่ ๒๑สิงหาคม๒๕๕๔ วันอาทิตย์ที่ ๑๑กันยายน ๒๕๕๔ เสาร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๔
สํานักงานเขต บางกอกน้อย สํานักงานเขตราชเทวี สํานักงานเขต สํานักงานเขตตลิ่งชัน สํานักงานเขต สัมพันธวงศ์ สหกรณ์บ้านมัน่ คง สํานักงานเขตปทุมวัน สํานักงานเขตบางพลัด สํานักงานเขต สํานักงานเขตลาดพร้าว สํานักงานเขต ป้อมปราบ สํานักงานเขต บางคอแหลม ชุมชนบ้านเอื้ออาทร ถนนเอกชัย สํานักงานเขตบางแค โรงเรียนบางบัว โรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ โรงเรียนวิจิตร วัดบางขุนเทียนนอก มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลําปาง
ผนวก ๖ การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย๑ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร การใช้กฎหมายที่ขัดต่อกฎหมายในประเทศเยอรมัน เป็นความผิดอาญาฐานหนึ่ง เรียกใน ภาษาเยอรมันว่า Rechtsbeugung ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน มาตรา ๓๓๖ บัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐาน Rechtsbeugung ว่า "ผู้พิพากษาผู้ใดพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นคุณหรือเป็นโทษกับฝ่ายใด โดยการบิดเบือน กฎหมาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี" (คําว่า "ผู้พิพากษา" ในภาษาไทยใช้กับผู้ที่ใช้อํานาจตุลาการในศาลยุติธรรม ส่วนผู้ที่ใช้อํานาจ ตุลาการในศาลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลทหาร เราเรียกว่า "ตุลาการ") ความผิดฐานที่เรียกว่า Rechtsbeugung อาจแปลว่า "ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย" หรือ ถ้าจะแปลให้สะใจก็ต้องแปลว่า "ความผิดฐานหักดิบกฎหมาย" ความผิดฐานนี้เป็นความผิดดั้งเดิมในประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันทีเดียว กล่าวคือ การ บิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายเป็นความผิดอาญามาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนสงครามโลก เมื่อเราพูดถึงการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าพนักงานในการยุติธรรมแล้วในกฎหมายอาญา ของไทยเราก็ย่อมจะหมายถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๐๑, ๒๐๒ ซึ่งการทุจริตประพฤติมิชอบดังกล่าวนี้ ก็เป็นการกระทําที่เป็นความผิดอาญาตามกฎหมายอาญา เยอรมันเช่นเดียวกัน และเป็นความผิดอาญาในทุกประเทศ แต่ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายใน กฎหมายอาญาเยอรมันนั้น ไม่มีในกฎหมายอาญาของไทยเรา ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ที่ไม่ใช่เรื่องที่ เกี่ยวกับของกํานัล หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายอย่างไม่ ตรงไปตรงมาที่อาจไม่มีของกํานัลเข้ามาเกี่ยวข้อง การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย คือ การกระทําที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง และใน กรณีที่กฎหมายอาจตีความได้หลายอย่าง การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายก็คือการตีความ กฎหมายที่เกินเลยขอบเขตที่ยอมรับได้ในทางวิชาการ การกระทําที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายเคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทยเรา เช่น กรณี ก ารตี ค วามกฎหมายของศาลรั ฐ ธรรมนู ญ เกี่ย วกั บ การพ้ น ตํา แหน่ ง ของรั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การ กระทรวงการคลัง๒ ๑
ลงพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ฉบับประจําวันที่ ๒๐ - ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และฉบับประจํา วันที่ ๒๗ ตุลาคม –วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน คณิต ณ นคร หักดิบกฎหมาย กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๐ หน้า ๑๑ – ๓๕ อนึ่งในการตีพิมพ์ผู้เขียนได้ปรับปรุงถ้อยคําบางประการเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น และได้ตัดถ้อยคําที่ อาจแสลงใจต่อบุคคลออกเสียบ้างแต่ก็ไม่กระทบกับเนื้อหาแต่ประการใด ๒ ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญกับการตีความกฎหมาย" มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๙๘๕ วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒ หรือใน นิติธรรมอําพรางในนิติศาสตร์ไทย สํานักพิมพ์วิญญูชน กันยายน ๒๕๔๘ หน้า ๔๙
๒
ในบทความนี้ ผู้ เ ขี ย นจึ ง จะได้ ก ารวิ เ คราะห์ถึ ง การบิ ด เบื อ นหรื อ หั ก ดิ บ กฎหมายของศาล รัฐธรรมนูญ ที่แม้จะได้ถูกยกเลิกไปแล้วต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจสําหรับนักกฎหมาย และผู้ใช้กฎหมายทั้งหลาย อนึ่ง ในบทความนี้เมื่อผู้เขียนกล่าวถึง "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ผู้เขียนหมายถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ ที่เพิ่งถูกยกเลิกไปในการยึดอํานาจการ ปกครอง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และเมื่ออ้างถึง "ราชกิจจานุเบกษา" ผู้เขียนหมายถึง ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๗๗ ก วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๔ อันเป็นราชกิจจา นุเบกษาที่ลงพิมพ์คําวินิจฉัยของศาลศาลรัฐธรรมนูญใน "คดีซุกหุ้น" ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็น ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมีอยู่ ๓ เล่ม ๑. อิทธิพลในทางการเมืองต่อนักกฎหมาย คงต้องยอมรับกันได้กระมังว่าขณะเมื่อครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญยังคงมีอยู่นั้น ความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาอยู่มากทีเดียว ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กร แรก และเป็นองค์กรที่สําคัญที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิรูปการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทยเราตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้น ประกอบด้วย ผู้ พิพากษาศาลฎีกาจํานวน ๕ คน ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจํานวน ๒ คน นอกนั้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ สาขานิติศาสตร์จํานวน ๕ คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์จํานวน ๓ คน ดั่งนี้ โครงสร้างของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทยเราในหลักการใช้ได้ดีทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างเอกภาพ ของอํานาจตุลาการโดยมีผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการศาลปกครองสูงสุดร่วมประกอบเป็นส่วน หนึ่งแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวินิจฉัยคดีด้วย ระบบ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของเราจึงเป็น "ระบบกึ่งเปิด" ทํานองเดียวกับศาลสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น คงต้องยอมรับกันอีกต่อไปว่าสังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมที่นําไปสู่ระบบอุปถัมภ์ได้ง่ายมาก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมครอบครัว การเลือกสรรบุคคลในองค์กรอิสระจึงอาจถูกอิทธิพลภายนอกซึ่ง ก็คืออิทธิพลทางการเมืองแทรกได้ง่าย และเพื่อเป็นการป้องกันการเล่นพรรคเล่นพวก รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน จึงได้ฝากความหวังไว้กับวุฒิสภาว่า จะเป็นกลางในทางการเมืองที่เพียงพอ แต่แล้ว ความเป็นกลางในทางการเมืองของวุฒิสภาก็ถูกตั้งคําถามจากสังคมอยู่ไม่น้อย ความเชื่อถือศรัทธาของ ประชาชนต่อวุฒิสภาจึงมีปัญหาอยู่มากเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ การเลือกและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกนั้น กระทําโดย วุฒิสภาที่มีอยู่เดิมที่มาจากการแต่งตั้งจากพวก Technocrat ทั้งหลายซึ่งเห็นกันว่าเป็น Elite ของ บ้านเมือง แต่จากคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นทําหน้าที่ความเชื่อถือศรัทธา ของประชาชนต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกก็เริ่มมีปัญหา ต่อมาเมื่อผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ว่างลงหนึ่งคน และคณะกรรมการสรรหาได้เสนอชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จํานวน ๒ คน ให้วุฒิสภาทําการเลือกตามกติกา บุคคลที่กรรมการสรรหา เสนอให้วุฒิสภาคัดเลือกนั้นคนหนึ่งเป็นนิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่ง กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และอีกคนหนึ่งมีวุฒิทางกฎหมายเพียงชั้นปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ผลปรากฏว่าคนแรกไม่ได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก
๓
คือคนที่สอง กรณีนี้จึงทําให้ผู้เขียน (และอาจมีผู้อื่นด้วย) มีคําถามอยู่ในใจตลอดมาว่า มาตรฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์ของวุฒิสภา Technocrat นั้นวัดกันอย่างไร กระแสสังคมและอิทธิพลในการเมืองต่อนักกฎหมายนั้น ผู้เขียนเคยประสบมาแล้วด้วยตนเอง ในขณะดํารงตําแหน่งอัยการสูงสุด ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๗ ถึง ๒๕๔๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดี ส.ป.ก. ๔-๐๑ ความรุนแรงของกระแสสังคมและอิทธิพลในการเมืองในคดีดังกล่าวนี้นั้นมีสูงมาก จนผู้เขียนซึ่ง เป็นข้าราชการประจําเกือบเอาตัวไม่รอด๓ ๒. ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ (Independence of the Judiciary) นั้น เป็นหัวใจของการกระทําหน้าที่ ของผู้พิพากษาหรือตุลาการ และเป็นสิ่งที่ผู้ที่เป็นผู้พิพากษาหรือ ตุลาการทั้งหลายจักต้องตระหนัก ในอดีต ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ และองค์คณะอีกท่าน หนึ่งถ้าจําไม่ผิดคือ อาจารย์โพยม เลขยานนท์ ได้ตัดสินจําคุกคนขนาดรัฐมนตรีมาแล้ว ท่านทั้งสามจึง ได้รับการกล่าวขวัญถึงตลอดมา ผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นจะหวั่นไหวกับอิทธิพลใดๆ และกระแสสังคมไม่ได้โดยเด็ดขาด ผู้พิพากษาหรือตุลาการจักต้องตั้งมั่นในความเป็นอิสระของตน แต่ในอดีตปรากฏว่า อย่างน้อยตุลา การศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็เคยส่อให้เห็นถึงความอ่อนไหวของตนต่อกระแสการเมืองและกระแสสังคม เพราะในคําวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการนายหนึ่งในคดีที่รู้จักกันทั่วไปว่า "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา มีข้อความตอนหนึ่งว่า "สําหรับความกังวลใจที่ปรากฏในสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศที่ว่าการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งแรก ภายในรัฐธรรมนูญใหม่ทิ้งปัญหาที่ต้องขบคิดอยู่ ๒ ประการคือ ถ้าผู้ถูกร้องไม่ได้เป็น นายกรัฐมนตรีต่อไป รัฐบาลชุดแรกที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย ก็อาจจะ สั่นคลอน แต่ถ้าตรงกันข้ามผู้ถูกร้องพ้นข้อกล่าวหาจากกฎเกณฑ์ที่แตกต่างจากข้อวินิจฉัยเดิม มาตรการต่างๆ ที่ใช้กําจัดการทุจริตประพฤติมิชอบในระยะยาว ก็จะไม่มีประสิทธิภาพนั้น ขอยืนยัน ว่าความกังวลใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคําร้องตามมาตรา ๒๙๕ ไป แล้วเพียง ๘ เรื่องเท่านั้น และยังไม่มีข้อเท็จจริงในคําร้องใด เหมือนกับกรณีของผู้ถูกร้อง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นหุ้น ส่วนกรณีของนาย ป. นั้นได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สินฯ ที่เป็นบัญชีเงินฝากธนาคารกับที่ดินทั้งของนาย ป. เอง และของคู่สมรสมีจํานวนน้อยกว่าที่ ไม่ได้ยื่น และไม่มีกรณีเรื่องหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงแตกต่างในประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงกับผู้ถูกร้องโดย ชัดเจน"๔ ถ้อยคําที่ได้ยกมานี้เป็นถ้อยคําที่ผู้เขียนเห็นว่าไม่ชอบที่ปรากฏในคําวินิจฉัยใดๆ ของศาล รัฐธรรมนูญ เพราะ "คดีซุกหุ้น" นี้มีประเด็นพิจารณาเพียงสองประการ คือ (๑) เป็นคดีที่อยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดหรือไม่ และ (๒) หากเป็นคดีอยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กรณีก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้หรือไม่ว่า ผู้ถูกร้องได้กระทําผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ๓
ดู บนเส้ น ทางหลั ก ยุ ติ ธ รรม หนั ง สื อ พิ ม พ์ เ ป็ น ที่ ร ะลึ ก เนื่ อ งในโอกาสเกษี ย ณอายุ ร าชการของ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร พิมพ์ที่โรงพิมพ์เดือนตุลา กันยายน ๒๕๔๐ ๔ ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒ หน้า ๔๔๑
๔
ฉะนั้น เหตุผลใดๆ ที่หยิบยกขึ้นมากล่าวในคําวินิจฉัยชอบที่จะต้องเป็นเหตุผลโดยตรงในการ รับฟังและในการชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานเท่านั้น ยิ่งถ้อยคําที่ว่า "ขอยืนยันว่าความกังวลใจดังกล่าว จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคําร้องตามมาตรา ๒๙๕ ไปแล้วเพียง ๘ เรื่องเท่านั้น" ด้วยแล้วยิ่งไม่ชอบที่ปรากฏในคําวินิจฉัยเลย ๓. การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานและจิตวิทยาคําให้การพยานบุคคล เกี่ยวกับ "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหานั้น ผู้เขียนได้เคย วิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายมาบ้างแล้ว โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ว่า ในคดีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็น "ศาลพิจารณาพิพากษาเฉพาะข้อกฎหมาย" (Review Court) ไม่ใช่ "ศาลพิจารณา" (Trial Court)๕ โดยที่ใน "คดีซุกหุ้น" นี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานด้วย ผู้เขียนจึงจะ วิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไป ตามหลักกฎหมายนั้น การนั่งพิจารณาคดีของศาล (รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย) ต้องมี ผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทํา คําพิพากษาหรือวินิจฉัยคดีนั้นไม่ได้๖ หลักกฎหมายดังกล่าวนี้ย่อมตรงกับหลักตรรกศาสตร์อันเป็นหลักสําคัญในการชั่งน้ําหนัก พยานหลักฐาน กล่าวคือ ผู้ที่จะชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานได้ต้องเป็นผู้ที่ได้สัมผัสพยานหลักฐานต่างๆ มาด้วยตนเอง เพราะหากให้ ผู้ที่ มิได้สั ม ผัส กั บพยานมาโดยตรงด้วยตนเองเป็นผู้ชั่งน้ําหนัก พยานหลักฐานแล้ว ก็ย่อมจะไม่สามารถที่อธิบายและให้เหตุผลด้วยศาสตร์ใดๆ ได้เลย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการวินิจฉัยชั่งน้ําหนักพยานบุคคล เพราะความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลก็ดี ความสามารถใน การจดจําของพยานบุคคลก็ดี เหล่านี้ผู้ชั่งน้ําหนักพยานบุคคลต้องสัมผัสกับพยานบุคคลโดยตรงด้วย ตนเอง กล่าวคือ พยานบุคคลต้องให้การต่อหน้าตน แต่ทางปฏิบัติในอดีตของศาลยุติธรรมของไทยเรา ได้มีการทําผิดหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด จนต้องเน้นย้ําหลักการนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ ประชาชน๗ อย่างไรก็ตาม แม้จะได้มีหลักการดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ใน "คดีซุกหุ้น" ที่ มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกล่าวหานั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนายหนึ่งซึ่งเพิ่งได้รับเลือกเข้า ไปทําหน้าที่ และไม่ได้สัมผัสพยานบุคคลใดๆ ในคดีโดยตรงด้วยตนเอง แต่ก็ได้เข้าร่วมในการวินิจฉัย ชี้ ข าดข้ อ เท็ จ จริ ง ในคดี ดั ง กล่ า วด้ ว ย การกระทํ า ของตุ ล าการนายนั้ น จึ ง เป็ น การกระทํ า ที่ ขั ด ต่ อ รัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายอย่างแจ้งชัด เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย นั่นเอง การกระทําของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนายดังกล่าวนี้แม้ตามกฎหมายอาญาในปัจจุบันจะเป็น การกระทํ า ที่ ไ ม่ มี ค วามผิ ด ทางอาญา ผู้ เ ขี ย นก็ เ ห็ น ว่ า เป็ น การบั่ น ทอนความเชื่ อ ถื อ ศรั ท ธาของ ศาลรัฐธรรมนูญไปไม่น้อย
๕
ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญในคดียื่นบัญชีทรัพย์สิน" มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๒๓ และ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๔ หรือใน รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม สํานักพิมพ์วิญญูชน มิถุนายน ๒๕๔๙ หน้า ๘๐ ๖ ดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มาตรา ๒๓๖ ๗ ดู คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิมพ์ครั้งที่ ๗ สํานักพิมพ์วิญญูชน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ หน้า ๒๔๑-๒๕๒
๕
๔. การวิเคราะห์คําวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญในคดีซุกหุ้น คําวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญใน "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูก กล่าวหานั้น ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นคําวินิจฉัยที่อ่านเข้าใจเจตนารมณ์ยากที่สุด เป็นคําวินิจฉัยที่ดูออกจะ ยอกย้อนซ่อนเงื่อนไม่น้อย และความยอกย้อนซ่อนเงื่อนนั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่การตั้งประเด็นในการ วินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว เพราะในคําวินิจฉัยกลางในคดีดังกล่าวนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้ตั้งประเด็นวินิจฉัยที่ คลุมเครือว่า "อนึ่ง เนื่องจากในการวินิจฉัยคําร้องนี้ มีเหตุผลที่ผู้ร้องและผู้ถูกร้องยกขึ้นกล่าวอ้างใน หลายกรณีด้วยกัน คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดประเด็นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อ กฎหมายในประเด็นว่า การกระทําของผู้ถูกร้องมีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ หรือไม่"๘ ที่ผู้เขียนกล่าวว่าเป็นการตั้งประเด็นที่คลุมเครือนั้น ก็เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุให้แน่ ชัดว่า ประเด็นข้อเท็จจริงที่จะวินิจฉัยคืออะไรและประเด็นข้อกฎหมายที่จะวินิจฉัยคืออะไร ในเรื่องประเด็นที่จะวินิจฉัยในคดีนี้นั้น หากจะตั้งประเด็นที่จะวินิจฉัยดังต่อไปนี้ก็ย่อมจะมี ความชัดเจน คือ (๑) ผู้ถูกร้องต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๑ และมาตรา ๒๙๒ อันจะมีผลให้ต้อง วินิจฉัยว่าการกระทําของผู้ถูกร้องต้องด้วยมาตรา ๒๙๕ หรือไม่ และ (๒) ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้หรือไม่ว่าผู้ถูกร้องได้กระทําผิดรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๕ ประเด็นแรกนั้นเป็นประเด็นวินิจฉัยข้อกฎหมายและเป็นประเด็นเกี่ยวกับอํานาจศาล ซึ่ง ประเด็นเกี่ยวกับอํานาจศาลนี้เป็นประเด็นที่เป็น "เงื่อนไขที่ต้องพิจารณาก่อน" (prerequisite) เมื่อคําวินิจฉัยในประเด็นแรกเป็นคําวินิจฉัยที่เป็นไปในทางบวก กล่าวคือ เห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กรณีก็ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่สองต่อไป และใน การวินิจฉัยประเด็นที่สองนี้ ย่อมตกเป็นหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนที่จะต้องวินิจฉัย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งคนใดจะอ้างว่าเมื่อตนไม่เห็นด้วยในประเด็นแรกแล้วจะให้วินิจฉัย ประเด็นที่สองได้อย่างไรนั้น ย่อมจะไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนที่อาจ ถูกเพิกถอนออกจากตําแหน่งได้๙ หากพิจารณาตามประเด็นแรกที่ผู้เขียนได้ตั้งไว้ข้างต้นแล้ว ผลก็จะตรงกับคําวินิจฉัยกลางใน ตอนแรกที่ว่า "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ๑๑ คน คือ นายประเสริฐ นาสกุล พลโทจุล อติเรก นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายมงคล สระฏัน นายสุจิต บุญบงการ นายสุจินดา ยงสุนทร นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ นายอนันต์ เกตุวงศ์ นายอมร รักษาสัตย์ นายอิสสร นิติทัณฑ์ประภาศ และ นายอุระ หวังอ้อมกลาง วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ใช้บังคับกับกรณีของผู้ถูกร้องได้ เพราะเป็นมาตรการ บังคับสําหรับผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙๑ และมาตรา ๒๙๒"๑๐
๘
ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑ หน้า ๗๔-๗๕ ดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มาตรา ๓๐๓ ๑๐ ดู ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๑ หน้า ๗๕ ๙
๖
ถ้อยคําในคําวินิจฉัยกลางที่ต่อจากที่กล่าวมาแล้วในย่อหน้าก่อนนี้นั้น มีข้อความต่อไปว่า "ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ๔ คน คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ, นายจุมพล ณ สงขลา, นายผัน จันทรปาน และ นายศักด์ เตชาชาญ วินิจฉัยข้อกฎหมายว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ไม่ใช้บังคับกับกรณีของผู้ถูกร้อง เพราะในขณะที่ยื่นบัญชีฯ ทั้ง ๓ ครั้ง ผู้ถูกร้องได้ พ้นจากตําแหน่งทางการเมืองไปแล้ว ซึ่งแม้การยื่นบัญชีฯ ครั้งแรก ผู้ถูกร้องจะต้องอยู่ในตําแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๒๑๕ วรรคสอง ก็ ตาม แต่เมื่อต้องพ้นจากตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๑๕(๑) แล้ว ก็ไม่อาจถือว่าใน ระหว่างนั้น ผู้ร้องยังดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามความหมายของมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง และ วินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน"๑๑ ข้อความในส่วนหลังนี้นั้น ถ้าคําวินิจฉัยในประเด็นแรกไม่มีถ้อยคําต่อไปที่ว่า "และวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน" แล้ว การวินิจฉัยในประเด็นแรกก็ เข้าใจได้ทันทีว่า คดีนี้เป็นคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญโดยเสียงข้างมากเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจ ศาลรัฐธรรมนูญ คําถามก็คือว่า คํากล่าวที่เกินประเด็นวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่า "และวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องไม่มี ความผิดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน" นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายข้างน้อยต้องการ สื่ออะไร เพราะดูจะเป็นคํากล่าวโดยความตั้งใจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายข้างน้อย ซึ่งผู้เขียนจะ ได้วิเคราะห์ต่อไปในภายหลังเมื่อได้กล่าวถึงคําวินิจฉัยกลางในวรรคต่อมาแล้ว คําวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญในวรรคต่อมามีข้อความว่า "ศาลรัฐธรรมนูญโดยเสียงข้างมากมีมติ ๘ ต่อ ๗ ว่า ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ๘ คน คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ, นายจุมพล ณ สงขลา, พลโทจุล อติเรก, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์, นายผัน จันทรปาน, นายศักดิ์ เตชาชาญ, นายสุจินดา ยงสุนทร และ นายอนันต์ เกตุวงศ์ วินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียง ข้างน้อย ๗ คน คือ นายประเสริฐ นาสกุล, นายมงคล สระฏัน, นายสุจิต บุญบงการ, นายสุวิทย์ ธีรพงษ์, นายอมร รักษาสัตย์, นายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ และ นายอุระ หวังอ้อมกลาง วินิจฉัย ว่า ผู้ถูกร้องมีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕"๑๒ ดังนี้ ปัญหาจึงมีว่าถ้อยคําที่เกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายข้างมาก คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ, นายจุมพล ณ สงขลา, พลโทจุล อติเรก, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์, นายผัน จันทรปาน, นายศักดิ์ เตชาชาญ, นายสุจินดา ยงสุนทร และ นายอนันต์ เกตุวงศ์ ที่ว่า "ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕" ในคําวินิจฉัยกลางตอนที่สองนั้น มีความหมายอย่างเดียวกับถ้อยคําในตอน แรกที่ว่า "ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง" นั้นหรือไม่ ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วว่าถ้อยคําที่ว่า "ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง" ในคําวินิจฉัยตอนแรกนั้น เป็นถ้อยคําที่เกิดขึ้นโดยความตั้งใจของ นายกระมล ทองธรรมชาติ, นายจุมพล ณ สงขลา, นายผัน จันทรปาน และ นายศักดิ์ เตชาชาญ ฉะนั้น ในการตรวจสอบ เจตนารมณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งสี่คนนี้ว่า ต้องการสื่ออะไรก็ชอบที่จะต้องตรวจสอบจากคํา ๑๑ ๑๒
ดู ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๑ หน้า ๗๕ ดู ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๑ หน้า ๗๕
๗
วินิจฉัยส่ วนตนของตุ ลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งสี่คนดังกล่าวต่อไป ซึ่งเมื่ อผู้เขียนได้ตรวจสอบคํ า วินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งสี่คนนี้แล้วผลปรากฏดังต่อไปนี้ (๑) นายกระมล ทองธรรมชาติ มีความเห็นในคําวินิจฉัยส่วนตนว่า "พิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้องในกรณีนี้ที่ว่ามาตรา ๒๙๕ ไม่ใช้บังคับกับผู้ที่ พ้นจากตําแหน่งไปแล้วก่อนยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกหรือก่อนครบกําหนดสามสิบวัน ที่ผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกกรณีเข้ารับตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๒ วรรค หนึ่ง (๑) ต่อผู้ร้องรับฟังได้ เพราะการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๕ ซึ่งเป็นบทลงโทษอย่าง หนึ่งต่อผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง จะต้องใช้หลักการตีความอย่างจํากัด และเคร่งครัดว่า มาตรา ๒๙๕ ใช้บังคับกับผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ที่เข้ารับตําแหน่งครบสามสิบวัน และจงใจ ไม่ยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกหรือจงใจยื่นบัญชีด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้ง ให้ทราบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ผู้ถูกร้องในกรณีนี้ยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกกรณีเข้ารับตําแหน่ง หลังจากที่ผู้ถูกร้องพ้นจากตําแหน่งทางการเมืองไปแล้วในวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ ก่อน ครบกําหนดต้องยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกถึงสามวัน จึงทําให้การยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกของผู้ถูกร้องต่อ ผู้ร้องในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เป็นการกระทําที่ไม่เข้าองค์ประกอบของความผิด ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ตามที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้วว่าการยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกของผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองที่จะเข้าข่ายเป็นความผิดสําเร็จตามมาตรา ๒๙๕ จะต้องเป็นการยื่นบัญชีฯ ครั้งแรก ในขณะที่ผู้นั้นยังอยู่ในตําแหน่งทางการเมือง แต่หากผู้ร้องมีข้อมูลจากการตรวจสอบความ เปลี่ยนแปลง ในรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกร้องในบัญชีฯ ที่ยื่นต่อผู้ร้องทั้ง ๓ ครั้งว่ามี ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ผู้ร้องมีอํานาจที่จะดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๔ และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๓๘ ส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมทั้งรายงานผล การตรวจสอบ ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดําเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง เพื่อให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน อาศัยเหตุผลดังกล่าว จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ร้องไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ และไม่จําต้องวินิจฉัย ประเด็นข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงตามคําร้องอื่นๆ อีก ให้ยกคําร้อง"๑๓ ดั่งนี้ คําวินิจฉัยส่วนตนของ นายกระมล ทองธรรมชาติ ได้ชี้ชัดว่า นายกระมล ทองธรรมชาติ เห็นว่า ผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ แห่งรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้อยคําในคําวินิจฉัยกลางทั้ง ตอนแรกและตอนที่สองจึงเป็นอย่างเดียวกัน (๒) นายจุมพล ณ สงขลา มีความเห็นไว้ในคําวินิจฉัยส่วนตนตอนหนึ่งว่า “ผู้ถูกร้องมิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง เพราะมิได้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในขณะที่ยื่นบัญชีฯ ทุกครั้ง และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๒ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าจะต้องเป็นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่มีอยู่จริง ในวันที่ยื่นบัญชีดังกล่าวด้วย เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีไม่ต้องด้วยองค์ประกอบความผิดของมาตรา ๒๙๕ (๑) ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะอ้างว่า ผู้ถูกร้องจงใจยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและ หนี้สินเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบทุกครั้ง ผู้ร้องก็ไม่อาจมีความผิดตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง ได้ ผู้ร้องคงมีอํานาจตรวจสอบแต่เพียงว่าผู้ถูกร้องมี ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติเนื่องจากการดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓
ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒ หน้า ๕๒
๘
๒๙๕ เท่านั้น กรณีไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามมาตรา ๒๙๕ วรรคสอง ไม่จําเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นต่อไป เพราะไม่มีอาจทําให้ผลของคําวินิจฉัย เปลี่ยนแปลง อาศั ย เหตุ ผ ลดั ง กล่ า วมา จึ ง วิ นิ จ ฉั ย ให้ ย กคํ า ร้ อ งของคณะกรรมการป้ อ งกั น และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ”๑๔ ดั่งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าคําวินิจฉัยส่วนตนของนายจุมพล ณ สงขลา ได้แสดงชัดว่า เป็นคําวินิจฉัย ข้อกฎหมายในเรื่องอํานาจศาลรัฐธรรมนูญ หาใช่เป็นคําวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ ไม่ ดังนั้นถ้อยคําในคําวินิจฉัยกลางตอนแรกกับตอนที่สองจึงมีนัยต่างกัน (๓) นายผัน จันทรปาน กล่าวไว้ในคําวินิจฉัยส่วนตนว่า " การวิเคราะห์ตามมาตรา ๒๙๑ จะพบว่าผู้มีหน้าที่ที่ต้องยื่นแสดงรายการทรัพย์สินและ หนี้สิน คือ “ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง” ที่ต้องยื่นในส่วนของตน ของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหมายถึง (๑) นายกรัฐมนตรี (๒) รัฐมนตรี ฯลฯ สําหรับผู้ที่พ้นจากราชการหรือพ้นจากตําแหน่งทางการเมือง จะถูกตรวจสอบ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สินด้วยหรือไม่ พิจารณาจากข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติ มาตรา ๒๙๒ ว่า ผู้นั้นได้ยื่นบัญชีฯ ไว้หรือไม่ ข้อเท็จจริงตามคําร้องนี้ พันตํารวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้อง ถือได้ว่าไม่เคยยื่นบัญชีฯ ในระหว่างดํารงตําแหน่งทางการเมือง เพราะ รัฐธรรมนูญเพิ่งประกาศใช้ แม้รัฐธรรมนูญบังคับให้มีผลบังคับใช้ทันที แต่มาตรา ๓๖๑ อันเป็นบท เฉพาะกาล บั ญ ญั ติใ ห้ค ณะกรรมการ ป.ป.ป. ทํา หน้ า ที่ ค ณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ทําหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดให้ออกระเบียบอันจําเป็น เพื่อใช้ ในการปฏิบัติหน้าที่ และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญก่อน ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และให้ใช้บังคับได้จนกว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกัน และปราบปรามการทุจริต จะมีผลใช้บังคับ ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎคม ๒๕๔๑ การดําเนินการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงใช้เวลาตามสมควร และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ แต่ในข้อเท็จจริง พัน ตํารวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องได้ยื่นบัญชีฯ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ และยื่น บัญชีครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ และยื่นบัญชีครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ การยื่นบัญชีฯ ดังกล่าวจึงเป็นการยื่นบัญชี เมื่อพ้นจากตําแหน่งทางการเมืองแล้ว และเมื่อการยื่น บัญชีฯ ไม่ใช่ในฐานะผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง แต่ยื่นในฐานะบุคคลธรรมดา เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ไม่ใช้บังคับกับผู้ถูกร้อง เพราะในขณะที่ยื่นบัญชีฯ ครั้งแรก กรณีเข้ารับ ตําแหน่งภายในสามสิบวัน ผู้ถูกร้องได้พ้นจากตําแหน่งทางการเมืองไปแล้ว แม้ในการยื่นบัญชีฯ ครั้งแรกนี้ผู้ถูกร้องจะต้องอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๒๑๕ วรรคสอง แต่เมื่อพ้นจากตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๒๑๕ วรรคหนึ่ง (๑) ก็ไม่อาจถือได้ว่า ในระหว่างนั้นผู้ร้องยังคงดํารงตําแหน่งทางการเมืองตาม ความหมายของมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง และเมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ไม่อาจนํามาใช้บังคับ กับผู้ถูกร้องได้ ดังนั้น ผู้ถูกร้องจึงไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคหนึ่ง ๑๔
ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒ หน้า ๗๔-๗๕
๙
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า พันตํารวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้อง ไม่มีความผิด จึงให้ยกคําร้อง"๑๕ ดั่งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าคําวินิจฉัยส่วนตนของ นายผัน จันทรปาน ก็เป็นวินิจฉัยชี้ขาดว่ากรณีไม่ อยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับคําวินิจฉัยส่วนตนของ นายจุมพล ณ สงขลา นั่นเอง ดังนั้น ถ้อยคําในคําวินิจฉัยกลางตอนแรกกับตอนที่สองจึงนัยต่างกัน (๔) นายศักดิ์ เตชาชาญ กล่าวในคําวินิจฉัยส่วนตนว่า "การพ้นจากตําแหน่งทางการเมืองของผู้ถูกร้องโดยผลจากการลาออกจากนายกรัฐมนตรี ของ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ตามมาตรา ๒๑๕ วรรคหนึ่ง (๑) ประกอบมาตรา ๒๑๖ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งรัฐธรรมนูญ ยังคงถือว่าผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งทาง การเมือง อันมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือไม่ เมื่อพิเคราะห์บทบัญญัติของมาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล และมาตรา ๒๑๕ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแล้ว เห็นว่าเป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงความต่อเนื่องของการ บริหารราชการแผ่นดิน โดยให้คณะรัฐมนตรีซึ่งพ้นจากตําแหน่งไปแล้วนั้น ยังคงมีหน้าที่บริหาร ราชการแผ่นดินต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่เท่านั้น จะแปลความเพื่อขยาย ความให้ถือว่าเป็นการดํารงตําแหน่งใหม่ (ตําแหน่งเดิม) นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ไม่ น่าจะถูกต้อง เพราะมิฉะนั้นแล้วหากคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิมซึ่งไม่มีกฎหมายให้ยื่น บัญชีฯ เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง และบริหารราชการแผ่นดิน มาแล้วตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และต้องมาพ้นตําแหน่งเพราะการลาออกของนายกรัฐมนตรี ต้องยื่นบัญชีฯ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันใช้บังคับ อันถือว่าเป็นวัน เข้ารับตําแหน่งตามมาตรา ๒๙๒ วรรคหนึ่ง (๑) ของรัฐธรรมนูญแล้ว ความมุ่งหมายในการ ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตามบทบัญญัติในหมวด ๑๐ แห่ง รัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่วันเข้ารับตําแหน่ง ก็แทบจะไร้ประโยชน์ เพราะการแสวงหาประโยชน์อันมิ ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากจะมีของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอาจจะเกิดขึ้นก่อนวันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนานแล้วก็ได้ ทั้งการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองที่ได้ยื่นไว้ต่อผู้ร้องนั้น ตามบทบัญญัติของมาตรา ๒๙๒ วรรค หนึ่ง (๑) เป็นที่เห็นได้ว่าจะทําได้เฉพาะบัญชีรายการทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีอยู่จริงในวันที่ยื่น บัญชีฯ เท่านั้น จะย้อนหลังไปตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีอยู่เดิม ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ใช้บังคับ ซึ่งในขณะดํารงตําแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิมนั้น ยังไม่มีกฎหมายใด บัญญัติให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน โดยมีบท กําหนดโทษไว้เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นคงกระทํามิได้ นอกจากนี้ กรณีของผู้ถูกร้อง ยังปรากฏว่าผู้ถูกร้องพ้นจากตําแหน่งทางการเมืองไปแล้ว ก่อนที่จะพ้นระยะเวลา ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๙๒ วรรคหนึ่ง (๑) ดังข้อวินิจฉัยข้างต้น ดังนี้ ไม่ว่าจะพิจารณาเช่นใดผู้ถูกร้อง ก็มิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ที่จะต้องยื่นบัญชีแสดง รายการทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา ๒๙๑ ประกอบมาตรา ๒๙๒ วรรคหนึ่ง (๑) การยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้ง ๓ ครั้งของผู้ถูกร้องหลังพ้นจากตําแหน่ง จึงไม่อาจนํา ๑๕
ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒ หน้า ๓๒๔-๓๒๕
๑๐
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ มาบังคับใช้กับกรณีของผู้ถูกร้องได้ ส่วนจะใช้บังคับ บทบัญญัติมาตราใดของรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา ๒๙๔ ประกอบมาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง (๔) เพื่อ ตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ว่ามีอยู่จริง ถูกต้องหรือไม่ อันอาจนําไปสู่การ ขอดําเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อขอให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดินซึ่งผู้ร้องจะเป็นผู้ดําเนินการต่อไปหรือไม่นั้น เป็นอีกกรณีหนึ่ง มิได้เกี่ยวข้องกับ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ แต่อย่างใด การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และ หนี้สินของผู้ถูกร้องตามคําร้องนี้ ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดตามมาตรา ๒๙๕ วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญได้ อาศัยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมา จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ถูกร้องไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙๕ ให้ยกคําร้องของผู้ร้อง"๑๖ ดั่งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าคําวินิจฉัยส่วนตนของ นายศักดิ์ เตชาชาญ ยังไม่อาจชี้ชัดว่า นายศักดิ์ เตชาชาญ ต้องการสื่ออะไรกันแน่ กล่าวคือ เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายในเรื่องอํานาจศาลหรือวินิจฉัย ข้อเท็จจริงในคดีกันแน่ สรุ ป ว่ า ในจํ า นวนตุ ล าการศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ทั้ ง สี่ ค นในแปดคนนั้ น เฉพาะ นายกระมล ทองธรรมชาติ เท่านั้นที่วินิจฉัยชี้ขาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ ส่วน นายจุมพล ณ สงขลา และ นายผัน จันทรปาน นั้นได้วินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญ เหตุดังนั้น เมื่อรวมคะแนนเสียงของ นายกระมล ทองธรรมชาติ ที่วินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องไม่มี ความผิดตามมาตรา ๒๙๕ เข้ากับคะแนนเสียงของ พลโทจุล อติเรก นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายสุจินดา ยงสุนทร และ นายอนันต์ เกตุวงศ์ ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดชัดเจนทั้งในคําวินิจฉัยส่วนตนและใน คําวินิจฉัยกลางว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ รวมกับ นายศักดิ์ เตชาชาญ ซึ่งเมื่อยังไม่อาจชี้ชัดเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือว่านายศักดิ์ เตชาชาญ เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มี ความผิดตามมาตรา ๒๙๕ แล้ว คะแนนเสียงที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ จึงมีทั้งหมดเพียง ๖ เสียงเท่านั้น และคดีปรากฏชัดเจนว่าคําวินิจฉัยชี้ขาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดตามมาตรา ๒๙๕ นั้น มีทั้งหมดจํานวน ๗ เสียง คือ นายประเสริฐ นาสกุล นายมงคล สระฏัน นายสุจิต บุญบงการ นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ นายอมร รักษาสัตย์ นายอิสระ นิติทัณฑ์ ประภาส นายอุระ หวังอ้อมกลาง เหตุนี้ผู้เขียนจึงได้เคยกล่าวว่า ใน "คดีซุกหุ้น" นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้แพ้คดี๑๗
๑๖
ดู ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒ หน้า ๓๓๘-๓๓๙ ดู คณิต ณ นคร "กระบวนการยุติธรรมต้องนิ่ง" รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม สํานักพิมพ์วิญญู ชน มิถุนายน ๒๕๔๙ หน้า ๑๐ ๑๗
๑๑
สรุป ตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นได้ว่าใน "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ ถูกกล่าวหานั้น ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติขึ้นอย่างน้อยสองประการ คือ (๑) เกิดการกระทําที่เป็นการบิดเบือน หรือหักดิบกฎหมายอยู่หลายการกระทํา และ (๒) เกิดอิทธิพลของกระแสทางสังคมและของกระแสทางการเมือง ในคดีที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จอมเผด็จการคู่ประวัติศาสตร์โลก ตกเป็นจําเลยในข้อหากบฏนั้น ได้มีการกระทําความผิด ฐานบิดเบือนกฎหมาย (Rechtsbeugung) เกิดขึ้น และไม่มีการลงโทษ ผู้พิพากษาผู้กระทําความผิดแต่อย่างใด จนกล่าวกันว่าการบิดเบือน หรือหักดิบกฎหมายในคดีดังกล่าว เป็นการบิดเบือน หรือหักดิบกฎหมายครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกทีเดียว เพราะหากผู้พิพากษาใช้ กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลี่ยงบาลีแล้ว อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็จะถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน เยอรมันหลังจากพ้นโทษ ซึ่งจะทําให้ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ไม่มีโอกาสที่จะฉีกรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นใหญ่ และเมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ไม่อาจฉีกรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นใหญ่ได้ สงครามโลกครั้งที่สองก็จะไม่เกิดขึ้น และเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองไม่เกิดขึ้นแล้ว ผู้คนก็จะไม่ล้มตายกันจํานวนมาก และที่สําคัญคนยิวก็ จะไม่ถูกฆ่าทิ้งเป็นล้านๆ คน๑๘ สําหรับ "คดีซุกหุ้น" อันมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหานั้น หากตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นทุกคนยึดหลักกฎหมายแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็จะไม่มีโอกาสได้เป็น นายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา "พตท. ๔๓" และ "ศอ.บต." ก็คงจะไม่ถูกยุบ การฆ่าคนทิ้งเป็นพันๆ คนโดยอ้างเรื่องยาเสพติด ก็คงจะไม่เกิดขึ้น รวมทั้งการตายที่กรือเซะ และตากใบด้วย การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายที่ชัดเจนจนเกิดทางตันทําท่าว่าจะเกิดการฆ่ากันอีกครั้งในประวัติศาสตร์ ชาติไทยก็คงจะไม่เกิดขึ้น "ซีอีโอ" ซึ่งเป็นเรื่องของการบริหารธุรกิจก็คงไม่เกิดขึ้นในระบบราชการไทย ระบบราชการที่พังพินาศที่กระทรวงกลาโหม และที่อื่นๆ ก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน๑๙ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนก็คงจะใช้ได้ต่อไปอีกนานหรือตลอดไป แม้อาจจะต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมกันบ้างก็ตามที หลังจากการปฏิรูปการเมืองนั้น กติกาของสังคมได้เปลี่ยนไปมากแล้ว หากแต่ความคิดของคน ในสังคม ไม่ได้เปลี่ยนไปตามการปฏิรูปการเมือง สภาวะที่เหลือเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้หลังจากการปฏิรูป การเมืองที่เรียกกันทั่วไปว่า "ระบอบทักษิณ" ก็คงจะไม่ไม่เกิดขึ้นจนส่งผลให้ต้องมีการยึดอํานาจการ ปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
๑๘
ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญกับการตีความกฎหมาย" นิติธรรมอําพรางในนิติศาสตร์ไทย สํานักพิมพ์วิญญูชน กันยายน ๒๕๔๘ หน้า ๔๙ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้า ๕๑ ๑๙ ดู วสิษฐ เดชกุญชร "สัญญาณอันตราย ที่กระทรวงกลาโหม" มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๙
๑๒
การบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายนั้น ไม่ได้เป็นภัยใหญ่หลวงต่อสังคมโลกเท่านั้น แต่เป็น ภัยที่ใหญ่หลวงต่อสังคมไทยเราด้วย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องบัญญัติให้การบิดเบือนหรือหัก ดิบกฎหมายเป็นการกระทําที่เป็นความผิดอาญา เพื่อที่จะได้กําราบปราบปรามนักกฎหมายที่ไม่อยู่ กับร่องกับรอยกันได้บ้าง การที่จะเป็นนักกฎหมายสายวิชาชีพ เป็นพนักงานอัยการ หรือเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ นั้น ผู้เขียนเห็นว่าไม่ได้มีความยากเย็นแต่ประการใด นักกฎหมายเพียงแต่ทําตนเองให้ผ่านตาม ขั้นตอนให้ได้เท่านั้นก็เป็นได้สมใจอยาก แต่การเป็นนักกฎหมายสายวิชาชีพ เป็นพนักงานอัยการ หรือ เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ดีต่างหากที่ดูจะเป็นยากอยู่ไม่น้อย ยิ่งการเป็นครูกฎหมายด้วยแล้วยิ่งจะ ยากกว่าการเป็นนักกฎหมายสายวิชาชีพ เป็นพนักงานอัยการ หรือเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการอีก หลายเท่านัก เพราะครูกฎหมายต้องถ่ายทอดวิชาการที่ถูกต้องแก่ศิษย์ และต้องวางตัวเป็นแบบอย่าง ที่ดีของศิษย์๒๐ ในขณะที่ เ รายั ง ไม่ มี ค วามผิ ด ฐานบิ ด เบื อ นกฎหมายนั้ น นอกจาก "เนติ บ ริ ก ร" แล้ ว "นักกฎหมายนาซี" ก็เป็นนักกฎหมายที่สถาบันการเรียนการสอนกฎหมายชอบที่จะต้องตั้งรังเกียจ เช่นเดียวกัน๒๑ อนึ่ง ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวส่งท้ายด้วยว่า กระแสสังคมในบ้านเมืองเราในระหว่างการดําเนิน "คดีซุกหุ้น" นั้น เป็นไปในทิศทางที่มีการคาดหวังในตัวบุคคลอย่างรุนแรงมาก จนทําให้ศาลรัฐธรรมนูญ เกิดความหวั่นไหวเลยทีเดียว ท่านผู้ใหญ่ที่เป็นหลักของบ้านเมืองบางท่านและเป็นที่เคารพนับถือของ คนในสังคมก็เข้าใจผิดในพฤติกรรมของบุคคล และให้การสนับสนุนบุคคลโดยไม่คํานึงถึงหลักกฎหมาย อันเป็นหลักของบ้านเมือง บัดนี้ ท่านผู้ใหญ่ดังกล่าวน่าจะมีความเสียใจอยู่ไม่น้อยเลย
๒๐
ดู คณิต ณ นคร "ครูกฎหมาย" นิติธรรมอําพรางในนิติศาสตร์ไทย สํานักพิมพ์วิญญูชน กันยายน ๒๕๔๘ หน้า ๓๕ ๒๑ ดู คณิต ณ นคร "กฎหมายราชภัฏกับนักบัญญัตินิยม" นิติธรรมอําพรางในนิติศาสตร์ไทย สํานักพิมพ์ วิญญูขน กันยายน ๒๕๔๘ หน้า ๔๑