แนวคิด โครงสร้าง ระบบ การปฏิรูปการเมืองไทย แนวคิด โครงสร้าง ระบบ การปฏิรูปการเมืองไทย
โครงสร้างระบบการเมืองไทย ดร.ไก่ Tanond
>>>>>>>>>>>>[สถาบันพระมหากษัตริย์]<<<<<<<<<<<<< รัฐธรรมนูญ โครงสร้างส่วนบน input > ข้อเรียกร้อง ข้อสนับสนุน
1.[บริหาร] 2.[นิติบัญญัติ] 3.[ตุลาการ] > out put 4. [ข้าราชการส่วนกลาง] 1.นโยบาย V 2.พรบ /พรก/พรฏ [ทหาร] V 3.คําพิพากษา V 4.กฏกระทรวง/กรม โครงสร้างส่วนกลาง [กลุ่มกดดัน] [กลุ่มผลประโยชน์] [สื่อมวลชน] [ข้าราชการส่วนภูมิภาค] V V [ประชาชน] [องค์กรปกครอง/ข้าราชการส่วนท้องถิ่น] โครงสร้างสร้างส่วนล่าง
1.พรรคและนักการเมืองไทย 1.1 โดยหลักการที่ถูกต้องแล้ว พรรคการเมืองต้องอยู่ในโครงสร้างส่วนล่าง 1.2 นักการเมืองส่วนใหญ่แล้ว ก็ควรอยู่ที่ส่วนล่างนี้เช่นเดียวกัน แต่ๆๆๆ
สําหรับของไทยนั้น กลับมีบุคคล/องค์กรในกลุ่มผลประโยชน์(ธุรกิจต่างๆ) เป็นตัวขับเค...ลื่อน กําหนด เป้าหมาย ด้วยความเป็นระบอบธนาธิปไตย โครงสร้างส่วนบนทั้ง1.และ2. จึงไม่ใช่ตัวแทนปวงชนอย่าง แท้จริง 2.เผด็จการรัฐสภา เป็นผลพวงโดยตรง ของมติพรรค! ในโครงสร้างส่วนบน ข้อ1.(บริหาร)และ2.( ส.ส.) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อ ข้อ2.มีพรรคเสียงข้างมาก ก็เข้าไปมีอํานาจในข้อ1.(บริหาร) ฝ่าย บริหารต้องการให้แก้ ให้ออกกฎหมายอะไร เช่นไร ก็เพียงใช้มติพรรคให้2.ยกมือสนับสนุน ผ่านกฎหมาย นั้นๆ ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ คือ การมีผู้นําอยู่โครงสร้างส่วนบ น กุมอํานาจในทุกโครงสร้าง กระทั่ง 3 ประชาชนด้วย ยุคสมัยทักษิณนั่น กินส่วนบนไปเกือบหมด เหลือตุลาการอยู่ โครงสร้างส่วนกลาง กลุ่ม ผลประโยชน์ ธุรกิจใหญ่ๆก็ซัดเองทั้งนั้นที่เหลือก็ต่างเป็นพรรคพวกเขาทั้ง สื่อก็ซื้อมา กลุ่มกดดันก็มีเสื้อ แดง โครงสร้างส่วนล่าง ประชาชนคนเหนือ-อีสาน-กรุงเทพฯ ก็ไปแล้วครึ่งหนึ่ง ขืนอยู่ต่ออีกเทอม หมด แน่ๆกระทั่งสถาบันที่อยู่เหนือโครงสร้าง ทาไมการเมืองมันถึงเน่า!อ.ไก่ ชุดความคิด – เพื่อชี้ให้เห็นว่าทาไม “การเมืองมันถึงเน่า” System Theory : ทฤษฏีระบบ
INPUT >>>>>>>>>PROCESS>>>>>>>>>OUTPUT สมาชิกพรรค –
วัฒนธรรมทางการเมือง - performanceทางการเมือง
การยกตัวอย่างง่ายๆประกอบคาอธิบาย - สาหรับ 3 ส่วนนี้ เช่น ข้าวสาร >>>>>>>> หม้อหุงข้าว>>>>>>>ข้าวสวยที่ได้ แต่ถ้าเอาข้าวสาร>>หุงในหม้อที่มีเชื้อเน่าบูด>>ก็จะได้ข้าวบูด
หากจะยกตัวพรรค ปชป. ทาไมทาให้คนผิดหวังไปทั้งประเทศ? ตัว INPUT(ข้าวสาร) – ในที่นี้คือบรรดาสมาชิกทั้งเก่าและใหม่ที่เข้าสู่เวทีการเมือง ซึ่งเป็นที่ทราบดีกันอยูว่ ่า “ดูดี มีการศึกษา ฐานะดี มีตระกูล”เป็นส่วนใหญ่
ตัว OUTPUT(ข้าวสวย) – แล้วทาไมผลงาน/ การทาหน้าที่ / จึงมีแต่เรื่องน้าเน่าๆ? หัวใจสาคัญ เพราะ
ตัว PROCESS(หม้อหุงข้าว) – ก็คือวัฒนธรรมพรรค และวัฒนธรรมทางการเมืองน้าเน่า! ไม่ต่างกับหม้อหุงข้าวที่มีเชื้อบูด หุงเมื่อไหร่ก็ได้แต่ข้าวบูดไม่ว่าข้าวสารจะพันธุ์ดีขนาดไหน เช่นนี้แล้ว จะให้ได้ข้าวสวยที่ดีที่กินได้ ก็ต้องเปลี่ยนหม้อหุงข้าวใหม่ หรือไม่ก็ต้องต้มล้าง ใหม่ให้ปลอดเชื้อด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง ที่อาจเสียเวลากว่าซื้อใหม่และรักษาให้สะอาดเข้าไว้
ทัศนคติ(ความเชื่อส่วนบุคคล) > บวกปริมาณ=ค่านิยม>บวกการกระทา=วัฒนธรรม
หากวัฒนธรรมทางการเมือง คือ การตักตวงผลประโยชน์ตนจากการโกง เป็นตัวตั้ง จะเอาคนดีแค่ไหนเข้าไปในระบบ ที่ยึดติดกับวัฒนธรรมเน่าๆ การเมืองทาอย่างไร? ก็ไม่มีวันจะดีได้ เพราะมีวัฒนธรรมทางการเมืองเน่า เป็นเสมือนกฎเหล็ก ที่นักการเมืองไม่ว่าพรรคไหนๆ ยังปรารถนาที่จะทา คนดีมีความรู้ >>>>วัฒนธรรมการเมืองเน่า >>>>การเมืองน้าเน่า???
ท่าไมการเมือง กับ ภาคประชาชน ถึงขัดแย้งกันร่าไป? ทฤษฎีการพัฒนาการเมืองและการผุกร่อนทางการเมือง (Political Development And Political Decay) Samuel Huntington ศาสตราจารย์ แซมมูเอล ฮันติงตัน นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮา วาร์ด เป็นที่รู้จักกันในนามของหนังสือเรื่อง “Political Order in Changing Societies” ที่เขียน ขึ้นในปีค.ศ.1968 ด้วยการนําเสนอทฤษฎี “ Clash Of Civilizations” ที่แม้จะเป็นทฤษฎีที่เสนอมากว่าสี่ ทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังสามารถนํามาปรับใช้กับสภาพการเมืองภายในประเทศ ทั้งของไทยและประเทศอื่นๆได้เป็นอย่างดี Samuel Huntington กล่าวว่า “social mobilization ” หรือ การขยับชั้นทางสังคมนั้น เป็นผลจาก การเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น เปลี่ยนจากเกษตรไปสู่กึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การพัฒนาการศึกษา สื่อมวลชน การเกิดชุมชนเมืองมากขึ้น จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สําคัญ นั่น คือความตืนตัวทางการเมือง และการเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สภาพการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ในส่วนนี้เรียกว่าความจ่าเริญทางการเมือง (political modernization)[1] เมื่อ ความจําเริญทางการเมืองเกิดขึ้นเนื่องจากการขยับตัวของสังคม จําเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างสถาบันทางการเมือง และ กระบวนการที่สามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลง หรือตอบสนองต่อความเป็นพลวัตในมิติทางการเมืองดังกล่าว การ สร้าง สถาบันดังกล่าวนี้ได้แก่ การมีรัฐธรรมนูญทีเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีกระบวนการเลือกตั้งโดยมี
กฎหมายเลือกตั้ง และการจัดตั้ง พรรค การเมืองได้โดยสะดวก การแสดงประชาพิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น การคัดและการค้าน การต่อสู้เพือความ ถูกต้อง การกระจายอ่านาจ กล่าวอีกนัยหนึงคือ การจัดตั้งสถาบันทางการเมือง เพือรองรับความต้องการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชน อันเกิดจากความตืนตัวทางการเมือง ซึงเป็นผลโดยตรงจากการเปลียนแปลงทาง สังคม ในทางเศรษฐกิจ และค่านิยม เป็นความจ่าเป็นทีมิอาจจะหลีกเลียงได้ กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า การพัฒนา ทางการเมือง (political development) เมื่อใดก็ตาม ที่ความจําเริญทางการเมืองเกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ในขณะที่การพัฒนาการเมืองไม่สามารถจะพัฒนา ใน อัตราที่รวดเร็วเท่าเทียมกับความจําเริญทางการเมืองได้ ก็จะนํา ไปสู่ความ เสียดุลของทั้งสองมิติ การเสียดุลดังกล่าวจะ น่าไปสู่การใช้ความรุนแรงทางการเมืองการ เมือง (political violence) กดดันระบบและผู้ด่ารงต่าแหน่งทาง การเมือง จนอาจจะถึงขั้นนองเลือดดังเช่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 รวมตลอดทั้งเหตุการณ์ 17-20 พฤษภาคม 2535 และ19 กันยายน 2549 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในขอบเขตที่กว้างขวางและลุ่มลึก แต่การพัฒนาการเมือง ยังล้าหลังทั้งในแง่ของโครงสร้าง และในแง่ของผู้ปฏิบัติการทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังไม่ได้ให้ความไว้วางใจ รวม ตลอดทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งตามไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคมภายในและสังคมโลก ทําให้เกิดการเสียดุล อย่างหนัก และนี่คือทฤษฎีที่ยังสามารถจะนํามาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้ ปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในรูปของการประท้วงหรือการใช้ความรุนแรงก็ดี การลอบสังหารทางการเมืองก็ดี การเรียกร้อง อย่างไร้เหตุไร้ผลก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้มาตรการปราบปรามโดยไม่คํานึงถึงกฎหมายก็ดี การตีความตะแบงกฎหมาย เพื่อประโยชน์ทางการเมืองก็ดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความด้อยพัฒนาในด้านการเมือง ในขณะที่ความจําเริญทาง การเมือง ได้พัฒนาสูงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในบริบทของการเมืองภายในและ ต่างประเทศ การเสียดุล ดังกล่าวนี้ จะนําไปสู่การสะดุดของการพัฒนาระบบการเมืองแบบเปิด และถ้าไม่ระมัดระวังก็อาจนํา ไปสู่สภาวะของ อนาธิปไตย ทําให้ระบบการเมืองเสียความชอบธรรมจนประชาชนเสื่อมศรัทธาในระบบ ถ้าถึงจุดดังกล่าวก็จะเป็นเรื่องที่ อันตราย แต่โชคดีที่ประเทศไทยได้ พัฒนามาถึงจุดที่สําคัญคือ สังคมไทยได้มีข้อสรุปแล้วว่า ระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังคงเป็นระบบการเมืองที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ จึงจําต้องช่วยกัน จรรโลงรักษากันต่อไป ส่วนข้อบกพร่องต่างๆ ก็ต้องทําการแก้ไขเพื่อปรับปรุงให้ระบบดีขึ้นกว่าเก่า ดังนั้น จุดสําคัญ ที่สุดในขณะนี้ก็คือการทําให้เกิด ความสมดุลระหว่างความจําเริญทางการเมืองและการพัฒนาทางการเมืองในสังคมไทย ทฤษฎี ดังกล่าว ได้ถูกนํามาเตือนเจ้าหน้าที่ของจีนก่อนกรณีเหตุการณ์สําคัญในประเทศจีน โดยได้มีการบรรยายที่ มหาวิทยาลัยประชาชนทีป่ ักกิ่งและได้มีการยกทฤษฎีของแซม มูเอล ฮันติงตัน มาเป็นตัวอย่าง ขณะนั้นจีนกําลังมีขบวนการ สี่ทันสมัย อันได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตร ป้องกันประเทศ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนโยบายเปิด ประตูประเทศ มีการส่งนักศึกษาจีนไปศึกษายังต่างประเทศเป็นจํานวนมาก ขณะเดียวกันนักวิชาการชาวจีน และ นักศึกษาชาวจีนก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับโลกภายนอกผ่านทางการสื่อสาร โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต และสื่อมวลชน ของจีนซึ่งมีความอิสระมากขึ้น สภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการนําระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามาใช้ จนทําให้เกิดชนชั้นที่มีเงินและเกิดความเหลื่อมล้ําทางสังคม การไหลบ่า เข้ามาของนักลงทุนต่างชาติย่อมนํามาซึ่งความคิดและค่านิยมที่ประเทศ สังคมนิยมแบบจีนไม่เคยได้สัมผัส ดังนั้น ถึง จุดๆหนึ่งก็จะมีการเรียกร้องให้มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าเดิม ทั้งในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนว่าจีนจะ อนุญาตให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจและในทางสังคม ซึ่งได้แก่ การดํารงชีวิตตามที่ตนต้องการในขอบเขตที่กําหนด แต่
เสรีภาพในทางการเมืองยังอยู่ภายใต้กรอบของพรรคคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม เมื่อเป็นเช่นนี้ความเสียดุลย่อมเกิดขึ้น ระหว่างความจําเริญทางการเมืองและ การพัฒนาทางการเมือง และผลสุดท้ายการเรียกร้องให้ระบบเปิดกว้างขึ้นก็จะตาม มา และเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่จะต้องตัดสินระหว่างการ เปลี่ยนแปลงระบบหรือใช้กําลังปราบปราม อัน จะสะท้อนถึงการผุกร่อนทางการเมืองตามทฤษฎีที่ได้กล่าวมาแล้ว ประมาณ 6 เดือนหลังจากที่มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยประชาชน ก็เกิดกรณีนองเลือดที่ เทียนอันเหมิน เนื่องจากผู้ ประท้วงเรียกร้องให้มีระบบเสรีในทางเศรษฐกิจ แต่ที่สําคัญเรียกร้องให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการ เลือกตั้ง ผู้นําจีนในสมัยนั้นมีทางเลือกเพียงสองทาง คือ ยอมเปลี่ยนแปลงตามที่เรียกร้องซึ่งอาจจะนําไปสู่กลียุคทาง การเมือง หรือ ใช้วิธีการปราบปรามด้วยวิธีการซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว และนี่คือกรณี ตัวอย่างของการผุกร่อนทาง การเมือง ที่ได้มีการทํานายไว้เมื่อสิบกว่าปีว่า จากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในเมืองจีน วันหนึ่งจะต้องมีการเลือก หัวหน้าหมู่บ้านโดยประชาชน เพื่อดูแลการบริหารในหมู่บ้านนั้น และบัดนี้ก็ได้มีการเลือกหัวหน้าหมู่บ้านแล้ว ซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญ สามารถจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าอาจจะประมาณสิบปี การบริหารเมือง ใหญ่ๆ ในมณฑลต่างๆ อาจจะมีการเลือกตั้งสภาของเมืองและนายกเทศมนตรี เช่นเดียวกับระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น อื่นๆ โดยสมาชิกสภารวมทั้งนายกเทศมนตรีอาจไม่ใช่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ทุกคน การเปลี่ยนแปลงที่ทํานายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเมือง ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองต่อความจําเริญทางการเมือง ซึ่ง จะมีขอบข่ายที่กว้างขึ้นและเข้มข้นขึ้น เมื่อสังคมจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นด้วยการติดต่อกับ โลกภายนอก คงไม่เป็นการเสี่ยงเกินไปทีจ่ ะกล่าวว่าสภาวการณ์ดังกล่าวมา เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จีนเป็นประเทศใหญ่ มณฑลบางมณฑลเปรียบได้กับหนึ่งประเทศ ในแง่หนึ่งจีนคือ มหาอาณาจักรซึ่งประกอบด้วย 30 กว่าประเทศ ภายใต้การปกครองจากรัฐบาลกลาง ความจําเป็นในการกระจายอํานาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ สําคัญประเทศจีน ขณะนี้มีสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนที่ฮ่องกงและมาเก๊า และที่สําคัญที่สุดไต้หวันซึ่งจีนถือ เป็นมณฑลหนึ่งของจีน ก็มีระบบเศรษฐกิจเสรีและมีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งประธานาธิบดีที่มาจากการ เลือกตั้ง นี่คือหนามยอกอกที่จีนไม่สามารถจะบ่งออกได้ และวันหนึ่งอาจจะเป็นชนวน ทําให้เกิดการเรียกร้องขึ้นทั่วทั้ง ประเทศโดยคนรุ่นใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้นระดับความจําเริญทางการเมือง ก็คงจะถึงจุดสุดขีดจนความจําเป็น ในการ พัฒนาการเมืองไม่สามารถจะถูกปฏิเสธได้อีกต่อไป[2] แบบจ่าลอง – เพื่อใช้อธิบายการเกิดการเสียดุลระหว่างความจําเริญทางการเมือง (political modernization) กับการพัฒนาการเมือง ( political development) จะนําไปสู่ความผุกร่อนและ ความวุ่นวายทางการเมือง (political decay and turmoil )[3] ความจ่าเริญทางการเมือง + + + การพัฒนาการเมือง
+
-
-
ความผุกร่อน หรือ ความวุ่นวายทางการเมือง
มาล้างบ้านสร้างเมืองกันด้วยพิมพ์เขียวโดย. ดร.ไก่ Tanond ที่แรกก็ว่าจะรออีกสักนิดค่อยเปิดประเด็น แต่ข้อสงสัยที่มากับคําถามชักจะเยอะขึ้นตามลําดับ ไม่อธิบายแต่เิ นิ่นๆเดี๋ยวจะไม่ได้การ ก็เช่นนี้นะครับ -
1.หากเราจะสร้างอาคารใหญ่ๆสักหลัง มันใช่หรือเปล่าครับ ที่เราต้องมีแบบแปลนในส่วนต่างๆ ที่จะใช้ เป็นต้นแบบในการก่อสร้าง! ไหนจะแบบฐานราก ไปจนถึงชั้นต่างๆ รวมไปถึงแบบเดินท่อประปา ไฟฟ้า น้ําทิ้ง ฯลฯ สารพัดมากมายหลายแผ่น - พิมพ์เขียนในการปฏิวัติ(ปฏิรูป)การเมืองก็เช่นกัน ไม่ได้ทําไม่ได้ใช้แบบแปลนเดียว แต่ต้องมีพิมพ์เขียว ครอบคลุมไปใน 3 เสาหลักของสังคมกล่าวคือ สังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง 2.จะเอาอะไรใส่เข้าไป? - โดยหลักใหญ่ใจความก็คือ การนําเอาปัญหาอุปสรรค รวมถึงความผิดพลาด จากอดีต และสิ่งที่ขาดหายไปจากระบบการดําเนินงานในส่วนต่างๆใน 3 เสาหลักนี้ ที่เป็นเรื่องสาธารณะ ที่มีองค์กรภาคประชาชนเป็นผู้รู้ถึงปัญหา และสภาพการณ์ สภาพแวดล้อมปัญหาเป็นอย่างดี ได้นํามา สังเคราะห์หาต้นเหตุร่วมกันกับผู้ที่ถูกผลกระทบปลายทางตามรูปแบบของประเด็นสาธารณะ เพื่อหาทาง ออกทางแก้ร่วมกัน ก่อนจะนําบรรจุลงเป็นพิมพ์เขียว 3.เช่นนี้แล้วปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางแก้ไขเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ขาดหายไป ก็จะถูกยกร่างไว้ ในพิมพ์เขียวฉบับต่างๆ ภายใต้บริบทของทั้ง 3 เสาหลัก สังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง 4.เมื่อมีทั้ง 3 ส่วนนี้ครบ ต่อไปก็คือ การนําใช้ตรรกะพื้นฐานในการวางแผนจัดการ ที่ประกอบไปด้วย ใครทําหน้าที่อะไร ที่ไหน อย่างไร และมีอะไรที่ต้องทําต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยการใช้หลัก input process - output เมื่อทั้งหมดพร้อมก็จัดทํา Process Fowchart (แผนรวม)เพื่อ สามารถมองให้เห็นภาพรวมได้ ข้างต้นนี้เป็นการอธิบายความโดยสังเขปเท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อให้เห็นตัวอย่างได้ว่า - ระบบ TQM ขอ งอ.ปรีดาจะไปอยู่ตรงไหน ในที่นี้ก็คือ คู่ขนานไปกับกระบวนบริหารราชการของภาครัฐ และกระบวนการ ในทางการเมืองทั้งระบบ(ตามโครงสร้างระบบการเมือง)พิมพ์เขียวในการแก้ปัญหา ในส่วนของ input ก่อนและหลังการเข้าสู่อํานาจทางการเมือง(ฉบับของผม)ก็จะอยู่ในส่วนของการเมือง ในเรื่องออทิสติกของ คุณจีรพันธ์ ที่ศึกษามาเป็นรูปเล่มและนําเสนออยู่บ่อยๆ ก็เข้าไปอยู่ในส่วนของสังคม คล้ายกับของคุณเนื้อ แพร ที่พยายามกดดันให้รัฐออกพรบ.คุ้มครองผู้ป่วย ความเรียกร้องต้องการ ในอันที่จะเกิดประโยชน์ต่อ สังคมโดยรวมมากมายหลายพันเรื่อง ที่ถูกปฏิเสธโดยภาครัฐตลอดมา ก็จะสามารถได้รับตอบสนองให้เป้น จริงขึ้นมาได้ เพราะทั้งหมดจะเป็นเรื่องประชาชน ที่จะเข้าไปแก้ไขเรื่องต่างๆของตนเอง โดยตนเอง ให้เป็น ที่เรียบร้อย ก่อนที่จะถอยออกมาเฝ้าระวัง เมื่อฝ่ายการเมืองเข้ากลับมาทําหน้าที่ใหม่ (ซึ่งในวันนั้น พรรคกม ม.ก็พร้อมที่เจ้าเข้ามาแข่งขันได้ ไม่ใช่วันนี้ ที่เห็นคาดการณ์กันถึงตัวเลข 10 กว่าที่นั่ง จะเอาไปทําอะไรได้ ครับ แค่นั้นนะถอยลงมาก้าว เพื่อกระโดดได้ไกลขึ้นเถิดครับ)
ทั้งนี้และทั้งนั้น บนเวทีมัฆวานคงจะได้เริ่มพูดคุยในเรื่องนี้ อย่างที่อ.ปานเทพได้เคยกล่าวไว้ในเร็ววันนี้ ต่อไป ตรงนี้จึงเป้นการเกริ่นนําเคร่าๆไว้เท่านั้น (คนถามนี่ก็ใจร้อนจริงๆนะครับ เห้นใจคนตอบบ้างซิครับ นี่เรามาร่วมด้วยช่วยกันนะครับ ไม่ใช่ผมจะไปรู้อะไรมันเสียทุกอย่างนะขอรับ) ปล.เรื่องแก้รับธรรมนูญก็เช่นกัน ไม่ต้องรีบโผล่กันมาตอนนี้หรอกครับ นั่นมันวิธีโบราณแล้ว ทําพิมพ์เขียว ให้มันแล้วเสร็จนําเสนอภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าไปพร้อมๆกัน จะลงไม่ลงประชามติก็ว่าไป ได้คําตอบ เช่นไร จึงค่อยนํามาใส่กรอปด้วยรัฐธรรมนูญ นะขอรับ
การปฏิรูปประเทศไทย เพือสุขภาวะของคนไทย “มหาวิกฤตสยาม” ที่กําลังคุกคามอยู่ในทุกด้าน เชื่อมโยงทั้งระบบการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม จนกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยครั้งใหญ่ ดังที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เรียกว่า วิกฤตการณ์ที่ยากที่สุดในการหาทางออก ไม่รู้จะเริ่มต้นจากจุดใด และ ไม่สามารถแก้ได้เพียงแค่การ “ปฏิรูปการเมือง” อย่างที่เคยมีความพยายามทํากันมา โครงการการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะคนไทยที่กําลังดําเนินอยู่จริง มีเครือข่ายสถาบันทางปัญญาและ บุคคลเข้ามาทํางานร่วมกัน โดยมี สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้ประสาน และสนับสนุน
“การปฏิรูปประเทศไทยนี้ จะขับเคลือนขยายตัวจนเป็นกระแสใหญ่ทีทุกภาคส่วนสามารถเข้าร่วม เพือเปลียนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศทีน่าอยู่ทีสุดในโลก” สถาบันวิชาการที่รวมตัวกันในรูปแบบที่เรียกว่า “เครือข่ายสถาบันทางปัญญา กระทําโดยประชาชนคนละ ไม้คนมือ ทําในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น ไม่ต้องรอคอยอํานาจรัฐระดับชาติ หรือสภา ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อระดมสมองหาทางถอดรหัสการปฏิรูปประเทศไทย โดยหนึ่งในนั้น คือ การพุ่งเป้าไปที่ การปฎิรูปธรรมาภิบาลระบบการเมืองการปกครอง ด้วยเห็นว่าคือจุดที่เป็นตอใหญ่ของปัญหาในเวลานี้ การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เสนอ “เป้าหมายร่วม” ให้กับคนไทยทั้งมวล ไว้ว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด และคนไทยมีสุขภาวะ โดยให้ลักษณะทั้ง 5 ประการ คือ 1) ประเทศแห่งความพอเพียง โดยการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยสัมมาชีพนี้เป็นพื้นฐานสําคัญที่ทําให้ บ้านเมืองสงบสุข 2) ประเทศแห่งความดี เช่น มีน้ําใจ มีความปลอดภัย มีความยุติธรรม มีสันติภาพ และมีธรรมาภิบาล เป็นต้น
3) ประเทศแห่งความงาม ศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 4) ประเทศแห่งปัญญา สาเหตุที่ทําให้ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติ เนื่องจากเป็นสังคมแห่งอํานาจ นิยม เป็นสังคมการเรียนรู้น้อย ดังนั้นสังคมไทยจําเป็นต้องปรับจากสังคมแห่ง อํานาจนิยมไปสู่สังคมแห่ง ปัญญานิยม ซึ่งปัญญานิยมนี้ควรเป็นวิสัยทัศน์ใหญ่ของประเทศไทย 5) ประเทศแห่งสุขภาวะ ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญา ทั้งหมดนี้ เป็นเบญจคุณ ได้แก่ พอเพียง ดี งาม ปัญญา และความสุข
ประเทศไทยจะมีคุณลักษณะเบื้องต้นดังทีกล่าวมา อาจก่าหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ (ในเบื้องต้น) ดังนี้ 1) สร้างจิตส่านึกใหม่ (new consciousness) ประเด็นนี้ได้มีการหารือว่าประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้าจะต้องสร้างจิตสํานึกใหม่ วิธีคิดใหม่ เป็นสังคมที่คิดเพื่อส่วนรวม หลุดจากความคิดที่คับ แคบและคิดเฉพาะเรื่องส่วนตัว 2) สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที หากทําได้จะทําให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข เศรษฐกิจดี ความชั่วไม่ มี ครอบครัวอบอุ่น สัมมาชีพนี้ในความเป็นจริงควรเป็นเป้าหมายใหญ่และเป็นตัวชี้วัดของประเทศ ไม่ ควรเป็น GDP ซึ่งไม่ได้บอกศีลธรรม หากแต่สัมมาชีพนี้สามารถระบุได้ทุกหมู่บ้าน ทุกตําบล ทั้งนี้ นโยบาย เช่น ที่ดิน เทคโนโลยี จําเป็นจะต้องหนุนให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่ 3) สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิน ทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม การเมือง และ ประชาธิปไตย ซึ่งมีเจ้าภาพในการดําเนินการ 4) สร้างระบบการศึกษาทีพาชาติออกจากวิกฤติ ทําอย่างไรให้มีระบบการศึกษาที่สามารถอภิวัฒน์คุณภาพ คนทั้งประเทศได้อย่างรวดเร็ว กุญแจสําคัญคือ คุณภาพคน ซึ่งจะต้องหาเจ้าภาพในการดําเนินงานให้ได้ 5) สร้างธรรมาภิบาล การเมือง การปกครอง และระบบความยุติธรรม เพราะที่ผ่านมา ประเทศเสียหาย เนื่องจากขาดธรรมาภิบาลในเรื่องต่างๆ ทั้งการเมือง การปกครอง องค์กรต่างๆ ซึ่งตรงนี้กระทบกับระบบ ใหญ่ของประเทศ
6) สร้างระบบสวัสดิการสังคม เป็นระบบที่ทําอย่างไรให้ชีวิตเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานทั้งหมดดี ขึ้น นโยบาย ระบบและยุทธศาสตร์ควรเป็นอย่างไร ถ้าทําได้สังคมไทยดีขึ้น ชีวิตเกษตรกรและผู้ใช้ แรงงานดีขึ้น 7) สร้างความสมดุลของสิงแวดล้อมและพลังงาน 8) สร้างระบบสุขภาพเพือสุขภาวะของคนทั้งมวล มีเจ้าภาพ องค์กรมาก มีเครื่องมือเยอะ และเชื่อมกับ ประเด็นอื่นๆ โดยมองสุขภาพไม่ใช่แบบเดิม แต่มองครอบคลุม 4 มิติ กาย จิต สังคม และปัญญา ซึ่ง เชื่อมโยงทุกเรื่อง 9) สร้างสมรรถนะในการวิจัยและสามารถท่าเรืองยุทธศาสตร์ชาติ สําหรับประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่า ห่วง ทั้งนี้เราจําเป็นจะต้องรู้ทั้งหมดว่ามีอะไรเกิดขึ้นในโลกบ้าง มหาวิทยาลัยเองจําเป็นต้องมีการ ปฏิรูป หากมหาวิทยาลัยไม่จัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์และปล่อยให้เรื่องดังกล่าวอยู่ในมือของบุคคลที่มี ความรู้น้อย จะนําพาประเทศไปสู่ความเสียหาย 10) สร้างระบบการสือสาร ที่ผสมผสานการสร้างสรรค์ทั้งหมด เพราะว่าการสื่อสารสําคัญมาก เป็นตัว เชื่อมโยงและทําให้ทั้ง 9 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไปได้ ถ้าเราสามารถเชื่อมโยงทั้งหมดได้ ทําให้สามารถขับเคลื่อนงานและมีคนมาเชื่อมต่อได้ แต่ละคนสามารถ ทําได้หลายเรื่อง ขอเพียงแต่ว่าช่วยกันพัฒนาและปรับปรุง โดยเครือข่ายสถาบันทางปัญญาจะจัดเวทีให้แก่บุคคลที่อาสามาร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศไทยโดย อาศัย “ความรู้” และ “กระบวนการเรียนรู้” ร่วมกัน ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่จะมีบทบาทสําคัญในองค์กร เช่น มหาวิทยาลัยและสถาบันทางปัญญารูปแบบอื่น โดยแต่ละท่านได้ทํางานศึกษาวิจัยในประเด็นปัญหาตาม สาขาความถนัดของตน ล้วนมีจุดมุ่งหมายภายใต้หัวข้อเดียวกันคือ “ปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะของคน ไทยทั้งมวล หากการปฏิรุปประเทศไทยทุกด้านคงไม่อาจทําสําเร็จได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ และมิใช่เพียงการตั้งสภาร่าง รัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) อย่างที่เคยมีมาแต่ละรูปแบบหนึ่งจะจัดให้มีกิจกรรมลักษณะการวิจัยเชิงปฎิบัติการ และการรณรงค์ต่อเนื่องไป โดยใช้เวลา 1-3 ปี และคาดว่าแวดวงผู้สนใจเรื่องปฎิรูปประเทศไทยจะขยาย กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ การปฏิรูปประเทศไทย โดย นายแพทย์ประเวศ วะสี ๑.
ไม่มีรัฐบาลใดแก้ปัญหาประเทศได้
(เพราะใช้แต่กลไกทีเป็นทางการ)
สังคมไทยติดอยู่ในมายาคติ ๔-๕ อย่างที่ทอนพลังและทําลายตัวเอง มายาคติอย่างหนึ่งคือ การให้ ความสําคัญกับความเป็นทางการมากเกินไป ที่จริงความไม่เป็นทางการมีมาก่อน ใหญ่กว่า และมีสาระ มากกว่าความเป็นทางการ ภาษาอังกฤษว่า Formal ก็ติดใน Form หรือรูปแบบมากกว่าสาระ โครงสร้างแท่ง (รูป ก .) จะใช้อํานาจมากกว่าปัญญา เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีความซับซ้อนและยาก การ พัฒนาด้วยอํานาจจะไม่สําเร็จ หากทํางานด้วยโครงสร้างนี้จะไม่สําเร็จต่อการแก้ไขปัญหา เพราะทุกรัฐบาล มุ่งแต่ใช้กลไกที่เป็นทางการ โครงสร้างแท่ง (รูป ข .) การอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action) ในแต่ละพื้นที่มีบุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบันต่างๆ เป็นจํานวนมาก แต่ต่างคนต่าง อยู่เพราะความเป็นทางการ หากบุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันใน การปฏิบัติ จะเกิดอิทธิพลังแห่งความสําเร็จ (รูป ข .) การบริหารจัดการใหม่ คือ การส่งเสริมการรวมตัวร่วมคิดร่วมทําในทุกพื้นที่ องค์กร และทุกเรื่อง เกิดเป็น เครือข่ายของความร่วมมือร่วมใจของคนไทยเต็มประเทศ เพื่อจะลดพลังทางลบเพิ่มพลังทางบวก พา ประเทศออกจากวิกฤตการณ์ไปสู่การสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด จากทรัพยากรต่างๆ ที่ มากเกินพอจะสร้างความสุขให้คนไทยทุกคน ๒. ความฝันใหญ่ของคนไทยร่วมกัน การสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ถือว่าเป็นจิตนาการที่ใหญ่ ประเทศใดหรือองค์กร ใดมีจิตนาการใหญ่ ประเทศนั้นองค์กรนั้นจะมีพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นจริง การทํา อะไรให้มีพลังไม่ใช่เริ่มต้นที่ความรู้ เพราะความรู้มักจะมีข้อจํากัดที่ทอนพลัง “ท่าอย่างนั้นท่าอย่างนี้ ไม่ได้” จินตนาการใหญ่ที่ไม่มีข้อจํากัดจึงเพิ่มพลัง โดยการที่คนไทยต้องมีการจินตนาการใหญ่ร่วมกันว่า เราจะร่วมกันสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ๓.ประเทศทีน่าอยู่ทีสุดในโลกเป็นอย่างไร ควรมีการระดมความคิดกันทุกหมู่บ้าน ทุกตําบล ทุกอําเภอ ทุกจังหวัด ว่าหมู่บ้านน่าอยู่เป็นอย่างไร ท้องถิ่น น่าอยู่เป็นอย่างไร จังหวัดน่าอยู่เป็นอย่างไร และประเทศน่าอยู่เป็นอย่างไร แทนที่ใครคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้นิยามว่าประเทศน่าอยู่ที่สุดเป็นอย่างไร คนไทยทั้งหมดจะเป็นผู้นิยาม ใน กระบวนการนี้จะเป็นการสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม ซึ่งจะเกิดพลังขับเคลื่อนมหาศาล ตัวอย่างองค์ประกอบของการเป็นประเทศน่าอยู่ (๑) มีเศรษฐกิจดี ประชาชนมีสัมมาชีพอย่างถ้วนหน้าและมั่นคง (๒) มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ําใจไมตรีจิต ไม่ทอดทิ้งกัน (๓) มีสันติประชาธรรม ที่มีการเคารพศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มี ประชาธิปไตย เคารพสิทธิมนุษยชน มีความเป็นธรรม
(๔) มีสิ่งแวดล้อมดี ที่เกื้อกูลต่อชีวิต (๕) มี สสส. คือ สุนทรียธรรม สันติภาพ และสุขภาพ ทั้ง ๕ รวมกันอาจเรียกว่าเบญจลักษณ์ของการเป็นหมู่บ้านน่าอยู่ ท้องถิ่นน่าอยู่ จังหวัดน่าอยู่ ประเทศน่าอยู่ เบญจลักษณ์ดังกล่าวอาจเป็นโครงให้เพิ่มเติม ตกแต่ง ต่อเติม อย่างใดก็ได้ตามปรารถนาของแต่ละกลุ่ม ๔.การพัฒนาอย่างบูรณาการ โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งการจะเป็นประเทศน่าอยู่ ต้องมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ๘ เรื่องเชื่อมโยงกัน คือ เศรษฐกิจ-จิตใจ-สังคม-วัฒนธรรม-สิ่งแวดล้อม-สุขภาพ-การศึกษา-ประชาธิปไตย ซึ่งอาจเรียกว่า “บูรณา การ ๘” การพัฒนาอย่างบูรณาการ เอากรมหรือหน่วยงานเป็นตัวตั้งไม่ได้ เพราะกรมหรือหน่วยงานแยกเป็นเรื่องๆ ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เรามีตัวอย่างของหมู่บ้านและตําบลที่มีการพัฒนาอย่างบูรณาการ แล้วเกิดความ ร่มเย็นเป็นสุขประดุจสวรรค์บนดิน ควรส่งเสริมให้ทุกหมู่บ้าน ทุกท้องถิ่น และทุกจังหวัด สามารถรวมตัว กันพัฒนาอย่างบูรณาการจนเกิดสภาวะร่มเย็นเป็นสุขเต็มพื้นที่ ถ้ามหาวิทยาลัยหนึ่งแห่งร่วมมือกับจังหวัดหนึ่งจังหวัดในการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัดภายใน ๕ ปี ทุกชุมชนท้องถิ่นจะเข้มแข็ง ภายใน ๑๐ ปี บ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุข ภาคธุรกิจมีโครงสร้างอย่างกว้างขวาง และบุคลากรที่มีความสามารถจํานวนมาก หากภาคธุรกิจรวมตัวกันและทํางานพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบ จะเป็นพลังมหาศาลในการสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด ภาคธุรกิจน่าจะรวมตัวกันเป็น “สภานักธุรกิจเพื่อการพัฒนา” (Business Council for Development) เชื่อมโยงกับ องค์กรทางธุรกิจที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งทุก ชุมชน ทุกท้องถิ่น และทั้งจังหวัด ปัญหาต่างๆ ต่อให้ยากเพียงใดไม่น่าจะทานพลังแห่งความร่วมมือของคน ไทยได้ ๕. ปฏิรูปประเทศไทยอย่างน้อย ๑๐ เรือง นอกจากการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ยังมีเรื่องหรือประเด็นใหญ่ที่ต้องการปฏิรูปอีก หลายเรื่อง เรื่องเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกัน จะปฏิรูปแต่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ปฏิรูปการเมือง จะไม่สําเร็จ เครื่องดนตรีทั้งวงต้องบรรเลงเพลงเดียวกัน รูปข้างล่างแสดงประเด็นใหญ่ๆ ๑๐ เรื่อง ที่เชื่อมโยงกัน แต่ละ เรื่องเป็นเรื่องใหญ่ ยากและยังแตกแขนง แยกย่อยไปได้อีก ควรมีบุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบัน ที่จับประเด็น ใดประเด็นหนึ่งหรือมากกว่าศึกษาค้นคว้า ให้เกิดความเข้าใจชัดเจนและผลักดันไปสู่การปฏิบัติ ความจริงมหาวิทยาลัยต่างๆ มีอาจารย์และนักวิชาการจํานวนมาก ควรจะเป็นขุมกําลังของการเปลี่ยนแปลง ของประเทศไทย การที่มหาวิทยาลัยไม่เป็นพลังของการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเพราะมหาวิทยาลัยทํางาน โดยเอาวิชาเป็นตัวตั้งอย่างเดียว ขาดการรวมตัวกันทํางานเชิงประเด็น นอกจากโครงสร้างที่เป็นคณะวิชา ภาควิชา สาขาวิชา มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิชาการรวมตัวกันข้ามองค์กร ข้าม สาขาวิชา ตามประเด็น เช่น ที่ยกตัวอย่างมา ๑๐ เรื่อง หรือประเด็นอื่นใดที่คิดว่ามีความสําคัญในการ
เปลี่ยนแปลงประเทศ และเกาะติดประเด็นนั้นๆ ส่งต่อความรู้ไปให้สังคมเคลื่อนไหวไปสู่ความสําเร็จ ๖. เครือข่ายปฏิรูป ประเทศไทยที่ครอบคลุมทั้งประเทศ(บุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบัน) ในการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสร้าง ประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดนี้ ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือสถาบัน ใดสถาบันหนึ่ง หรือรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งจะทําได้สําเร็จ แต่บุคคล กลุ่มบุคคลองค์กร สถาบันต่างๆ สามารถคิดโดยอิสระ เคลื่อนไหวเข้ามาเชื่อมโยงด้วยมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ใหญ่ร่วมกัน คือ เปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปประเทศไทยในที่สุด จะเกิดเครือข่ายปฏิรูปประเทศไทยที่ครอบคลุมทั้งประเทศเป็นพลัง ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่จุดลงตัวใหม่ด้วยพลังทางสังคม พลังทางปัญญา พลังทางการจัดการ และพลัง ทางสันติวิธี ที่ทุกคนเป็นอิสระ สร้างสรรค์เต็มที่ ไม่มีใครหรือองค์กรใดมีอํานาจเหนือใคร ทุกคนทุกกลุ่ม เข้ามาเชื่อมโยงกันด้วยความสมัครใจและความสุขในการได้เรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ เพื่อเปลี่ยนแปลง ประเทศไทย ๗. เซลล์สมองทางสังคม ศูนย์ข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย ความจริงในแต่ละพื้นที่มีบุคคล องค์กร สถาบันจํานวนมาก ที่ต่างคนต่างอยู่ ทําให้ไม่มีพลังสร้างสรรค์ เกิดขึ้น ดัง (รูป ก.) ที่เหมือนสังคมไม่มีเซลล์สมอง และรูป (ข.) แสดงเซลล์สมองทางสังคมทําหน้าที่ เชื่อมโยงส่วนต่างๆ เข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน ทําให้เกิดพลั งสร้างสรรค์ไปสู่ความสําเร็จ เซลล์สมองทางสังคมทําหน้าที่ ๖ อย่าง คือ (๑) สํารวจข้อมูลในพื้นที่ (๒) ส่งเสริมการรวมตัวร่วมคิดร่วมทํา (๓) มีการจัดการความรู้ คือดึงความรู้จากการปฏิบัติเก่าที่มีอยู่ในตัวคนออกมาใช้ (๔) วิจัยสร้างความรู้ใหม่ที่ต้องการใช้งาน (๕) สังเคราะห์ประเด็นนโยบายที่เกิดขึ้น (๖) ทําการสื่อสารทั้งในพื้นที่และกับภายนอก หน่วยงานที่ทําหน้าที่เซลล์สมองอาจเป็นองค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น อบต. โรงพยาบาลชุมชน ฯลฯ อยู่ที่การ ปรับตัวให้ทําหน้าที่ครบทั้ง 6 ประการ นักพัฒนาเอกชนสามารถรวมตัวเป็นกลุ่มเซลล์สมองทางสังคม มหาวิทยาลัยควรเป็นเซลล์สมองขนาดใหญ่ ถ้ามีเซลล์สมองน้อยใหญ่ทํางานเชื่อมโยงกันเต็มประเทศ ประเทศไทยก็จะเปลี่ยน เปลี่ยนจากการเป็นสังคมอํานาจ ไม่มีเซลล์สมอง ซึ่งไม่ได้ผล ไปเป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ หรือสังคมที่มีเซลล์สมอง เกิดผลสัมฤทธิ์สูง สามารถสร้างสังคมที่คนไทยทุกคนมีเกียรติ มี ศักดิ์ศรี และมีความสุขได้ ควรมีศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย เพื่อรวบรวมและกระจายข้อมูลข่าวสารให้รู้กันทั่วใคร ที่ไหน กําลังทําอะไร เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์
แห่งประเทศไทยก็สามารถเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย ศูนย์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกันเป็น เครือข่ายศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย เพื่อคนไทยครับ ประเทศไทยกําลังประสบวิกฤตการณ์ที่ยากที่สุดๆ ไม่มีใคร องค์กรใด สถาบันใด หรือ รัฐบาลใด สามารถแก้ไขได้ นอกจากคนไทย กลุ่ม องค์กร สถาบัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายปฏิรูปประเทศ ไทย ซึ่งมีวิธีการทํางานอย่างเป็นระบบที่ไม่ได้ใช้อํานาจ แต่ใช้การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ หรือปัญญา เป็นเครื่องมือ เกิดพลัง 4 คือ พลังทางสังคม พลังทางปัญญา พลังทางการจัดการ พลังแห่งสันติวิธี ซึ่งเป็น อิทธิพลังหรือพลังแห่งความสําเร็จ ปฏิรูปประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่ร่มเย็นเป็นสุข หรือประเทศที่ น่าอยู่ที่สุด
“ปฏิรูปประเทศ : ปฏิรูประบบรัฐสภาเพือการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตย” ศ.อมร จันทรสมบูรณ์ ในการอภิปราย ที่สถาบันพระปกเกล้าในวันนี้ ผู้เขียน จะขอพูด เป็น ๓ ช่วง คือ ในตอนแรก ผู้เขียนจะให้ ข้อคิดเห็นว่า อะไร คือ “สาหตุ” ที่ทําให้คนไทยต้องแตกแยกกัน ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ และในตอน ที่สอง จะเป็นตอนที่ว่า เราจะหา”ทางออก”จากสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ได้อย่างไร ; และจะจบ ลงด้วย บทสุดท้าย ว่าด้วย ข้อคิดที่ได้มาจาก “นิทานอิสป” เรื่องหนูกับแมว ตอนที่ ๑ ผู้ใดหรือกลุ่มใด ที่ทําให้คนไทยต้องตกอยู่ในสภาพแตกแยก ดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๕๓) ในตอนนี้ (การวิเคราะห์หา “สาเหตุ”ของการแตกแยก) ผู้เขียนจะแยกกล่าวเป็น ๓ ข้อ คือ (๑) ท่านรู้ หรือไม่ว่า รัฐธรรมนูญของไทยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก ที่ใช้ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง ของนายทุน”ในระบบรัฐสภา ; (๒) “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ทําให้คนไทย แตกแยกได้อย่างไร ; และ (๓) “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด และ “ใคร” เป็นผู้ที่ทําให้เกิดขึ้น ข้อ ๑.๑ ท่านรู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลก ที่รัฐธรรมนูญใช้”ระบบเผด็จการโดย พรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา -parliamentary system ( โดยรัฐธรรมนูญ มี บทบัญญัติบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง / ให้พรรคการเมืองมีอํานาจเอา ส.ส.ออกจากตําแหน่ง ส.ส.ได้ / กําหนดบังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. - หัวหน้าพรรคการเมือง เท่านั้น) ท่านเคยย้อนคิดบ้างหรือไม่ว่า ทําไม คณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และ คณะรัฐศาสตร์ ใน มหาวิทยาลัยของเรา จึงไม่เคยบอกกับเราว่า รัฐธรรมนูญของเรา ที่ใช้ “ระบบสถาบันการเมือง(ระบบเผด็จ การโดยพรรคการเมืองนายทุน )” นั้น มีเพียงประเทศเดียวในโลก คือ ประเทศไทย เท่านั้น
ท่านรู้หรือไม่ว่า วงการวิชาการของทุกประเทศทั่วโลก เขามองเห็นผล(เสีย)ของระบบนี้ มาตั้งแต่ ระยะแรก ๆของการที่ประเทศในยุโรป(โลก) เริ่มใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณะ - written constitution เพื่อกําหนดรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ ตั้งแต่ ปลายศตวรรษที่ ๑๘ คือ กว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยมีบทบัญญัติกําหนดให้ ส.ส.มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ของ ส.ส. และต้องไม่อยู่ภายไต้อาณัติและการมอบหมายใด ๆ ข้อ ๑.๒ ทําไม “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ในระบบรัฐสภา parliamentary system จึงทําให้คนไทยแตกแยกได้ รัฐธรรมนูญของเราในปัจจุบันนี้ (รัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลก) ที่สร้าง ระบบเผด็จการโดยพรรค การเมืองของนายทุน ในระบบรัฐสภา ด้วยบทบัญญัติ ๓ ประการ ดังกล่าวข้างต้น(บังคับให้ ส.ส.สังกัด พรรค / ให้พรรคการเมืองมีอํานาจให้ ส.ส. พ้นจากตําแหน่งได้ /นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. –หัวหน้า พรรคเท่านั้น) เป็นระบบที่ชักนําและทําให้นายทุนมารวมทุนกันตั้งพรรคการเมือง เพื่อเข้ามาผูกขาด “อํานาจรัฐ” ในระบบรัฐสภา ( โดยเป็นทั้งรัฐบาลและคุมทั้งเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร) เพื่อหา โอกาสแสวงหาความร่ํารวยจากทรัพยากรของชาติโดยมิชอบ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ ในระบบรัฐสภา parliamentary system ได้ทําให้ระบบรัฐสภาขาดการถ่วงดุลระหว่างสถาบันฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)กับสภาบันฝ่ายนิติบัญญัติ(สภาผู้แทนราษฎร) และทําเกิดการผูกขาดอํานาจโดยพรรคการเมือง และ ทําให้ “พรรคการเมือง”กลายเป็นองค์กรที่มีอํานาจสูงสุดของประเทศ เหนือรัฐบาลและเหนือสภา ผู้แทนราษฎร [หมายเหตุ สิ่งที่แปลกแต่จริงสําหรับคนไทย ก็คื อ ด้วย “ความไม่รู้”ของคณาจารย์นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ที่ไม่สามารถอธิบายให้คนไทยทราบถึง “ความเป็นจริง”ข้อนี้ได้ จึงทําให้เรา ได้ยินทางหนังสือพิมพ์อยู่บ่อย ๆ ว่านายกรัฐมนตรี สามารถหลีกเลี่ยง “ความรับผิดชอบ”ของตนเอง ได้ โดยการกล่าวเพียงว่า เรื่องนี้เป็นของสภาและสมาชิกสภา ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล รัฐบาลไม่เกี่ยว ทั้ง ๆ ที่ นายกรัฐมนตรีเองเป็น “หัวหน้าพรรคการเมือง” ที่คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ? ? ? ] ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ทําให้นายทุนทั้งหลายใช้เงินและอิทธิพลในการซื้อ เสียง (ในขณะที่สภาพสังคมไทยอ่อนแอและมีกลไกการบริหารที่พิกลพิการ) เพื่อเข้ามา “จับขั้ว”รวมกลุ่ม กันเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และเข้ามาเป็นรัฐบาลที่ผูกขาดอํานาจรัฐ และใช้ “อํานาจรัฐ” แสวงหาความร่ํารวยจากทรัพยากรของส่วนรวมทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยตรงและโดยการทุจริตทางนโยบาย คือ ออกกฎหมายที่ไม่ควรออก(เพื่อประโยชน์ของตนเองและพรรค พวก) และไม่ออกกฎหมายที่ควรจะต้องออก รวมทั้งการใช้นโยบาย populist โดยไม่มีขอบเขต เพียง เพื่อซื้อเสียงและซื้อความนิยมจากประชาชน เพื่อให้ตนได้อยู่ในตําแหน่งให้นานที่สุด เพื่อจะได้ผูกขาด อํานาจรัฐ (และทําการทุจริตคอร์รัปชั่นหาความร่ํารวยจากทรัพยากรของส่วนรวม) ต่อไป ; วิธีการใช้
อํานาจของนักการเมืองนายทุน ได้กลายเป็นวงจรแห่งความเสื่อม - vicious circle โดยไม่มีที่สิ้นสุด การแข่งขันกันระหว่างกลุ่มนายทุน(เจ้าของพรรคการเมือง(ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ)ในการซื้อ เสียงเพื่อการเลือกตั้ง และการแจกเงินและแจกจ่ายผลประโยชน์(ของนักการเมือง)เพื่อแสวงหาและผูกพัน หัวคะแนน / พรรคพวก / และประชาชนที่สนับสนุนตนในทุกวิถีทาง(ทั้งในขณะเลือกตั้งและในขณะที่เป็น รัฐบาล)นั่นเอง ได้เป็น “สาเหตุ”ของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมไทย ทําให้คนไทยต้องแตกแยกทั้งใน ด้านความคิดเห็นและแบ่งพรรคแบ่งพวกออกเป็นจังหวัดและภาค ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓) .ข้อ ๑.๓ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ในระบบรัฐสภา ในรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขี้นตั้งแต่เมื่อใด และ ใครหรือกลุ่มใด เป็นผู้ที่ทําให้เกิดระบบนี้ขึ้น ในประเทศไทย - ประเทศเดียวใน โลก (ก) “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ในระบบรัฐสภา ในรัฐธรรมนูญของไทย เกิด ขี้นครั้งแรกโดยสมบูรณ์ แบบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (เดือนกันยายน) ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๓๔ (ฉบับที่ ๔) โดย คณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว หลัง “พฤษภาทมิฬ” “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ใช้บังคับมาจนถึงขณะนี้ เป็นเวลา ๑๗ ปี และผล ของการใช้บังคับระบบนี้ต่อเนื่องกันมาถึง ๑๗ ปีนี้เอง ได้ทําให้คนไทยต้องแตกแยกกัน ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ ในปัจจุบัน (ข) ผู้ใดทําให้“ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ในระบบรัฐสภา เกิดขึ้นในประเทศ ไทย(ประเทศเดียวในโลก) ผู้ที่รับผิดชอบทําให้ระบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่ชนชั้นนํา ๒ กลุ่ม คือ (๑) นักการเมืองนายทุนที่มาจากเลือกตั้ง ที่ต้องการผูกขาดอํานาจทางการเมืองไว้ในกลุ่มนายทุนด้วย กันเอง (โดยอาศัยการเลือกตั้งในสภาพที่สังคมไทยมีความอ่อนแอและสภาพกลไกการบริหารที่พิกลพิการ) (๒) กลุ่ม นักวิชาการและคณาจารย์ ที่มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง คือ พวกที่ไม่รู้จริงและ ขาดความรอบรู้ และ อีกประเภทหนึ่ง คือ ประเภท ที่(อาจ)รู้จริงหรือไม่รู้จริง แต่ประสงค์จะแสวงหา ตําแหน่งหรือประโยชน์ ด้วยการเป็น”นิติบริกร” ให้แก่ทหาร(ที่เข้ามาใช้อํานาจทางการเมือง) หรือ นักการเมืองนายทุน(ที่มาจากการเลือกตั้ง) ผู้เขียนคิดว่า ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน (ในระบบรัฐสภา) คงจะไม่ได้รับการ ยอมรับ และไม่ สามารถเกิดขึ้นได้ (ตามความต้องการของนักการเมืองนายทุนที่มาจากการเลือกตั้ง ) ถ้าหาก คณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยและนักวิชาการของเรา จะมีความรู้ในระดับ มาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้ว และอธิบายให้คนทั่วไปได้ทราบว่า เพราะเหตุใด ทั่วโลกเขาจึงไม่ ให้ “พรรคการเมืองนายทุน เข้ามาผูกขาดอํานาจรัฐ ” และ ทําไมเขาจึงต้องบัญญัติให้ ส.ส. ต้องมีความเป็น
อิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. และนอกจากนั้น ประเทศไทยเรายังมี “ชนชั้นนํา - Elite” ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน(ที่ไม่ได้เป็น นักการเมือง) แต่บังเอิญท่านเหล่านี้ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ท่านจึงมองไม่เห็น “ปัญหา”ที่จะ เกิดตามมา จากความผิดพลาดในการกําหนดรูปแบบ - form of government ใน การปกครองระบอบประชาธิปไตย ; ด้วยเหตุนี้ ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภา (ประเทศเดียวในโลก) จึงได้เกิดขึ้น ด้วยความสนับสนุนจาก elite กลุ่มนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ สิ่งที่ผู้เขียนแปลกใจ ก็คือ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน (ในระบบรัฐสภา)”ของเรา สามารถดํารงอยู่ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงขณะนี้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นเวลานานถึง ๑๗ ปี โดยไม่มี คณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของเรา และ Elite ที่ไม่ใช่นักการเมือง ของเรา สังเกตเห็น ความเลวร้าย (vice)ของระบบนี้ ทั้ง ๆ ที่ ได้มี “เหตุการณ์ที่ผิดปกติ”เกิดขึ้นอย่าง มากมายในประเทศ และเห็นกันอยู่เป็นประจําวัน (?) (?) (?) การทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองของเรามีอยู่ในทุกรูปแบบ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น / นักการเมืองของเราสามารถส่งมอบ “ตําแหน่งรัฐมนตรี”ให้แก่บุตรภริยาได้ / จํานวนตําแหน่งรัฐมนตรีของ ประเทศ หารแบ่งกันได้ในระหว่างกลุ่มนายทุน(ในพรรคการเมือง) โดยคํานวณตามจํานวน ส.ส. ที่นายทุน ให้ “เงินช่วยเหลือ(ประจํา)” / สมาชิกสภาจัดสรรงบประมาณให้สมาชิกสภา(ตนเอง)ไปต่างประเทศ / การ ฟ้องร้องคดีและการแจ้งความโดยนักการเมืองมีหลากหลายจนนับไม่ถ้วน ; ถ้าหากแบ่งผลประโยชน์กันไม่ ลงตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะไม่เข้าประชุม (เพื่อให้สภาล่ม) หรือมิฉะนั้น ก็มาประชุม แล้วขอนับ องค์ประชุม แต่เดินออกนอกห้องประชุมเพื่อไม่ให้นับเป็นองค์ประชุม ; ทั้งนี้ โดยไม่พูดถึง พฤติกรรม ธรรมดา ๆของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ออกไปข้างนอกไม่อยุ่ประชุม แต่ฝากบัตรไว้ให้ผู้อื่นเสียบ ลงคะแนนแทน( โดยลงตามมติที่พรรคการเมืองสั่ง โดยไม่ต้องฟังเหตุผล) ขณะนี้ เมื่อบรรดา “พรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น ”ของเรา ได้โอกาสที่สามารถล้ม “พรรค การเมืองนายทุนระดับชาติ” - การผูกขาดอํานาจโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวลงได้ (เพราะโลภมาก เกินไป)ได้ บรรดาพรรคการเมืองนายทุนท้องถิ่น ๒-๔ พรรค ต่างก็แย่งกัน “จับขั้ว” เพื่อให้ได้เสียงข้างมาก ในสภาผู้แทนราษฎร และเข้ามาเป็นรัฐบาล เพื่อผูกขาดอํานาจและแสวงหาประโยชน์(คอร์รัปชั่น) แทนที่ ต่อไป สิ่งที่รออยู่ในอนาคตอันไม่ไกลนัก ก็คือ เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อการแสวงหาผลประโยชน์และการ คอร์รัปชั่นของ กลุ่มนายทุนที่เป็น “ พรรครัฐบาล”ในปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์ต่อคนทั่วไป ก็จะถูก นักการเมืองนายทุนของพรรคการเมือง(ที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล)นําเอาการทุจริตคอร์รัปชั่นมาเปิดเผย และเปิด อภิปรายเพื่อล้มขั้วพรรคการเมืองของรัฐบาล ทั้งนี้ เพียง เพื่อหาโอกาสให้ตนเองได้ “จับขั้ว”กันเป็นพรรค
การเมืองนายทุนชุดใหม่ เพื่อเข้ามาผูกขาดอํานาจและแสวงหาประโยชน์ (คอร์รัปชั่น) เหมือน ๆ กัน [ หมาย เหตุ เหตุการณ์เช่นนี้ - การแย่งกันจับขั้วระหว่างกลุ่ม “พรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น ” ได้เคยเกิดขึ้น มาแล้ว ในระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนที่พรรคการเมืองของนายทุนระดับชาติจะได้ จัดตั้งขึ้น และแย่งการผูกขาดอํานาจรัฐ ไปจากพรรคการเมืองของนายทุนท้องถิ่น ] ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ประเทศไทยจะอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้อีกนานเท่าใด ก่อนที่ประเทศจะล่มสลาย เพราะ การคอร์รัปชั่นอย่างต่อเนื่อง ของนายทุนพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนายทุนท้องถิ่น หรือนายทุน ระดับชาติ โดยไม่มีที่สิ้นสุด ตอนที่ ๒ ขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๓ ) เราจะหา”ทางออก” ได้อย่างไร ในตอนที่ ๑ ผู้เขียนได้พูดถึง “สาเหตุ”ที่ทําให้คนไทยต้องแตกแยก กันมาแล้วว่า การที่คนไทยต้อง แตกแยกกัน ก็เพราะ รัฐธรรมนูญของเรา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของ นายทุน” ในระบบรัฐสภา(ประเทศเดียวในโลก) ซึ่งเป็นเหตุทําให้ นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง (ซึ่งต่างก็ มีความโลภตามธรรมชาติ และ ต่างต้องการชัยชนะใน “การเลือกตั้ง”) แข่งขันกันแจกเงินและประโยชน์ ด้วยวิธีการต่าง ๆอย่างไร้ขอบเขต เพื่อเข้ามาผูกขาดอํานาจรัฐ และแสวงหาประโยชน์และความร่ํารวยจาก ทรัพยากรของส่วนรวม ภายไต้ระบบการเมืองที่ปราศจากการคานอํานาจและการถ่วงดุล การที่ “กลุ่มนักการเมืองนายทุน”เจ้าของพรรคการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ต่างแก่งแย่ง” อํานาจรัฐ”(เพื่อมาแสวงประโยชน์และความร่ํารวยฯ)นี้เอง ก่อให้เกิดผลที่ตามมา ก็คือ ทําให้คนไทยทั้ง ประเทศต่างเข้าหาและเป็นพรรคพวกของนายทุนพรรคการเมืองฝ่า ยที่จะให้และเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง มากที่สุด : คนไทยจึงแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย และมองหาประโยชน์ส่วนตัวที่ใกล้ตัวที่นักการเมืองให้ หรือเสนอให้ และสูญเสียความสํานึกใน “ประโยชน์ส่วนรวม”ของประเทศ ผู้เขียนเห็นว่า การที่จะแก้ปัญหาการเมืองของประเทศ มีหนทางเดี ยว คือ ต้องแก้ปัญหาที่ “สาเหตุ” ของปัญหาที่ทําให้นายทุนแก่งแย่งกัน นั่นก็คือ การผูกขาดอํานาจรัฐ ด้วยการยกเลิก “ระบบเผด็จการโดย พรรคการเมืองของนายทุน” ในระบบรัฐสภา(ประเทศเดียวในโลก) นี้เสีย ปัญหาจึงมีอยู่ว่า แล้ว “ใคร”จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ – การปฏิรูปการเมืองให้เรา และถ้าจะแก้ จะ แก้อย่างไร ; ดังนั้น ในตอนที่ ๒ นี้ ผู้เขียนจะแยกเป็น ๓ ข้อ คือ (๑) ท่านคิดว่า ในใจจริงของ“นักการเมือง ในรัฐบาลปัจจุบัน” มีความต้องการอันแท้จริง ที่จะปฏิรูปการเมือง หรือไม่ ; (๒) ถ้านักการเมืองในรัฐบาล ปัจจุบัน (ที่กุมอํานาจรัฐอยู่) ไม่ต้องการปฏิรูปการเมืองให้เราแล้ว เรา(คนไทย)จะทําอย่างไร ; และ (๓) “ทางออก”ของคนไทย อยู่ที่ไหน
ข้อ ๒.๑ นักการเมือง ใน“รัฐบาล”ปัจจุบัน มีความตั้งใจจริง จะปฏิรูปการเมือง หรือไม่ การปฏิรูปการเมือง คือ การแก้ไข form of government (ระบบสถาบันการเมือง) ด้วย การยกเลิกและปรับเปลี่ยน (rationalization) “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ( ใน ระบบรัฐสภา)”(ประเทศเดียวในโลก) เพื่อมิให้มีการผูกขาดอํานาจรัฐโดยพรรคการเมือง อีกต่อไป คําถามแรก ที่เราจะต้องหาคําตอบ ก็คือ “นายทุน”เจ้าของพรรคการเมืองที่กําลังผูกขาดอํานาจรัฐอยู่ ในปัจจุบัน จะแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตนเองไม่มีอํานาจผูกขาดนี้ และ ทําให้ตนเองต้องสูญเสียโอกาสใน การแสวงหาความร่ํารวยจากทรัพย์กรของส่วนรวม หรือไม่ การที่ท่านจะรู้ว่า รัฐบาลปัจจุบันมี “ความตั้งใจจริง”จะปฏิรูปการเมืองหรือปฏิรูปประเทศหรือไม่ ก็ คงต้องดูจาก “คําพูด”และจาก “การกระทํา”ของรัฐบาลและของนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ และแน่นอนว่า “คําพูด” ก็คงไม่สําคัญเท่ากับการกระทํา เพราะ “การกระทํา” เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนาที่แท้จริงที่ “ซ่อน”อยู่ในใจของนักการเมือง ผู้เขียนคงไม่จําเป็นต้องบอกว่าผู้เขียนมีความเห็นอย่างไร แต่ผู้เขียนขอแนะนําให้ท่านผู้อ่าน “คิด” และตอบแก่ตัวท่านเอง ว่า นักการเมืองนายทุนที่กุมอํานาจรัฐอยู่ในขณะนี้ มีเจตนาที่แท้จริงที่จะปฏิรูป การเมือง หรือไม่ โดยขอให้ท่านลองนึกย้อนหลัง ไปสัก ๑ ปี หรือย้อนหลังไปตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ที่ผ่าน มาก็ได้ ว่า ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ท่านนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบันเรา ได้ “พูด” อะไร บ้างและได้ “ทํา”อะไรมาบ้าง เพื่อ การปฏิรูปการเมือง และปราบ “คอร์รัปชั่น” ในกลุ่มนักการเมือง ของรัฐบาลเอง เรื่องที่ (๑) ................................................................................... เรื่องที่ (๒).................................................................................. เรื่องที่ (๓) .................................................................................. ฯลฯ ฯลฯ ข้อ ๒.๒ ถ้าท่านพบว่า นายกรัฐมนตรีและนักการเมืองในรัฐบาลปัจจุบัน ไม่มี “ความตั้งใจที่แท้จริง” ในการปฏิรูปการเมือง เรา(คนไทย)จะทําอย่างไร จึงจะทําให้เกิด “การปฏิรูปการเมือง” ซึ่งบางที บางคนก็ คิดไปไกลถึงจะ “การปฏิรูปประเทศ” (?) คําตอบ ก็คือ ผู้เขียนคิดว่า ก่อนที่เราจะคิดปฏิรูปการเมือง(หรือการปฏิรูปประเทศ) เราคนไทยคง ต้องหา “ความรู้”ให้แก่ตนเองก่อนตามสมควร เพื่อจะได้รู้ว่า การปฏิรูปการเมือง เขาทํากันอย่างไร “ความรู้”ในที่นี้ คงมิใช่เป็น ความรู้ที่จะทําให้เราสามารถเขียนรัฐธรรมนูญได้ด้วยตัวเอง แต่เป็น “ความรู้ทั่วไป” ที่จะทําให้เรา “รู้เท่าทัน” นักการเมืองนายทุน และนักวิชาการประเภท นิติบริกรหรือ
ประเภทศรีธนญชัย เพื่อมิให้บุคคลเหล่านี้ อาศัยความไม่รู้ของคนส่วนใหญ่ เอาคําว่า “ประชาธิปไตย”มา หลอกเรา และ เขียนรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองของนายทุน ” ในระบบรัฐสภา ( ประเทศเดียวในโลก) เอา อํานาจรัฐ ไปให้ตนเอง ผูกขาด และทําการทุจริตคอร์รัปชั่นแสวงหาความร่ํารวย จากทรัพยากรของส่วนรวม “ความรู้ทั่วไป” ที่จะทําให้เรารู้เท่าทันนักการเมืองและนักวิชาการประเภทนิติบริกร มีอยู่ ๔ ประการ คือ (๑) เรา ต้องรู้ว่า “การปฏิรูปประเทศ” ประกอบด้วยการปฏิรูป ๒ ส่วน ส่วนแรก คือ “การปฏิรูป การเมือง” ซึ่งได้แก่ การปฏิรูประบบสถาบันการเมือง - form of government ในระบบรัฐสภา และ ส่วนที่สอง คือ“การปฏิรูประบบ(กฎหมาย) การบริหารพื้นฐานของประเทศ” ได้แก่ การปฏิรูประบบ การบริหารงานในเรื่องที่สําคัญ ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และระบบ(กฎหมาย)ที่สําคัญและเร่งด่วนที่จะต้อง ปฏิรูป ก็มี เช่น เรื่องระบบตํารวจและกระบวนการยุติธรรม(ตํารวจ-อัยการ-ศาล) ระบบการกระจายอํานาจ ให้แก่ท้องถิ่น ระบบข้าราชการประจํา ระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ระบบการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ ระบบสหกรณ์ เป็นต้น แต่ที่สําคัญที่สุด ที่ เราจะต้องรู้ ก็คือ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น สถาบันการเมือง(ที่มา จากการเลือกตั้ง) เป็นสถาบันที่สําคัญที่สุด เพราะเป็นสถาบันมีอํานาจสูงสุดของประเทศ และเป็นสถาบัน เดียวที่มีอํานาจตรากฎหมาย(พระราชบัญญัติ) และ ดังนั้น เราจึงต้องระลึกอยู่เสมอ ว่า เราไม่สามารถมี “การ ปฏิรูปประเทศ”(การปฏิรูปการเมือง + การปฏิรูประบบบริหารพื้นฐานประเทศ) ได้ โดยไม่มี “การปฏิรูป การเมือง (ระบบสถาบันการเมือง) ” การปฏิรูปการเมือง เป็นการทําให้ “คนดี”ได้เข้ามาปกครองบ้านเมือง ไม่ใช่ให้นักการเมืองนายทุน ที่ร่วมลงทุนกันในการเลือกตั้ง แล้วเข้ามาผูกขาดอํานาจ ดังเช่นในขณะนี้ เราไม่ควรให้นักการเมืองนายทุนที่ผูกขาดอํานาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน เอาประเด็นเรื่องการบริหาร ประเทศ (รวมทั้งกรณีปัญหาปราสาทพระวิหาร)และปัญหาทางเศรษฐกิจ มากลบเกลื่อนความสําคัญและ ความเร่งด่วนของ “การปฏิรูปการเมือง” เพื่อถ่วงเวลาให้ตนเองได้ผูกขาดอํานาจและทําการคอร์รัปชั่น แสวงหาความร่ํารวย ด้วยการอ้างใช้จ่ายเงินแผ่นดินเพื่อความจําเป็นในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (๒) เราต้องทราบว่า ในการปฏิรูปการเมือง (การออกแบบ – design ระบบสถาบันการเมือง) นั้น ประเทศต้องการ “ความรู้”ในระดับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ การออกแบบรัฐธรรมนูญ เป็นการวางรูปแบบของรัฐบาล - form of government และ กําหนดกลไกของรัฐให้มีการคานและถ่วงดุลอํานาจซึ่งกันและกัน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลในสถาบัน
การเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้อํานาจรัฐโดยบิดเบือนความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ เพื่อการแสวงหา ประโยชน์และความร่ํารวยส่วนตัวจากทรัพยากรของชาติ โดยอ้างการเลือกตั้ง การร่างรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่เป็นเรื่องการเอา “บุคคลที่พอรู้กฎหมาย”มาเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ประชุมลงมติด้วยคะแนนด้วยเสียงข้างมาก เป็นรายประเด็น เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อ ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นประชาธิปไตยของ “รัฐธรรมนูญ” อยู่ที่การให้ความเห็นชอบของประชาชน(ส่วนใหญ่) ทั้ง ประเทศ ด้วยการออกเสียงเป็น ประชามติ - referendum โดยอาศัยการชี้นําและความเชื่อถือในตัว บุคคลที่เป็นผู้นําประเทศในระดับที่เป็น statesman หรือ เป็นวีรบุรุษสงคราม หรือเป็นผู้กู้ประเทศ ให้มีอิสรภาพ (ซึ่งปัจจุบันนี้ ประเทศไทยอาจยังหาไม่พบ) หรือ โดยวิธีการที่กําหนดให้มีการออกเสียง ประชามติ - referendum หลังจากที่ประชาชนมีความกระจ่างแจ้ง (๓) เราต้องทราบว่า การเป็น “นักกฎหมาย”นั้น มิได้หมายความว่า ผู้นั้นจะเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ กฎหมาย” และนอกจากนั้น กฎหมายก็มีหลายสาขา เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณา ความ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง ฯลฯ ดังนั้น การเป็น “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย(หากเป็น)” ก็มิได้ หมายความว่า ผู้นั้นจะเชี่ยวชาญกฎหมายได้ในกฎหมายทุกสาขา ในการปฏิรูปการเมือง เราต้องการ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายในสาขากฎหมายรัฐธรรมนูญ (ที่ดีที่สุด เท่าที่ เราจะหามาได้) และนอกจากนั้น เรา ต้องทราบว่า การดํารง”ตําแหน่งทางบริหาร”ในสถาบันการศึกษา (เช่น ตําแหน่งคณะบดีคณะนิติศาสตร์ก็ดี หรือตําแหน่งอธิการบดีในมหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนทาง นิติศาสตร์ก็ดี ) กับความเชี่ยวชาญกฎหมายนั้น ก็ เป็นคนเรื่องกัน ; และดังนั้น ผู้ที่ดํารงตําแหน่งคณบดี นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย จึงมิได้หมายความ ผู้นั้นจะเป็น “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย” และแม้ว่า ผู้นั้นจะเป็น ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย ก็มิได้หมายความว่า ผู้นั้นจะเป็น “ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ” [หมายเหตุ และ แม้แต่ อาจารย์“ผู้ที่สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ”ในมหาวิทยาลัยเอง ก็มิได้หมายความว่า ผู้นั้นจะเป็น “ผู้ เชียวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญ” ซึ่งท่านสามารถทราบได้ เพียงแต่ท่านเอาตําราหรือเอกสารที่อาจารย์ใช้ สอนนักศึกษา(ถ้าหากจะมี) วางเทียบกับตํารารัฐธรรมนูญของประเทศที่พัฒนาแล้ว ท่านก็จะเห็นความ แตกต่าง ] (๔) และในประการสุดท้าย เรา ต้องทราบถึงความเป็นจริง – reality ที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ซึ่ง ได้แก่ สภาพสังคม / สภาพของกฎหมายที่เป็นพื้นฐานสําคัญในการบริหาร / และ สภาพของชนชั้นนํา – elite ในสังคม ; พูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ ก่อนที่เราจะเริ่มต้น “การปฏิรูปการเมือง” และ“การปฏิรุปประเทศ” เราต้องรู้จักตัวเราเอง
(ก) สภาพสังคมไทย สภาพสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความอ่อนแอ เป็นสังคมที่อยู่ภายไต้ระบบ อุปถัมภ์ที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน และขาด “ประสบการทางการเมือง” ที่เกิดจากวิวัฒนาการในทาง ประวัติศาสตร์ ( ผิดกับประชาชนของประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ ) และ สังคมไทยเป็น สังคมเกษตรที่ยังยากจน ; ดังนั้น สภาพสังคมเช่นนี้ จึงเป็น “โอกาส”ของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองใน การที่จะซื้อเสียงจากคนส่วน ใหญ่ของสังคม เพื่อเข้ามาผูกขาดอํานาจรัฐ ได้โดยง่าย (ข) สภาพของระบบกฎหมายพื้นฐาน สภาพระบบกฎหมายที่เป็นพื้นฐานของระบบบริหารประเทศ อยู่ในสภาพพิกลพิการ ทั้งในด้านการบริหารราชการประจําและในด้านการกระจายอํานาจให้แก่ท้องถิ่น ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็น “เอกราช”มาโดยตลอด ไม่เคยตกเป็นประเทศในอาณานิคม ของประเทศมหาอํานาจ ดังนั้น กฎหมายว่าด้วยระบบบริหารพื้นฐานของประเทศและระบบการปกครอง ท้องถิ่นของเรา จึงไม่ได้รับอิทธิพล จาก “รูปแบบ(กฎหมาย)” ของประเทศที่พัฒนาแล้ว กลไกการบริหารงานประจํา(รวมทั้งระบบกระบวนการยุติธรรม) และการกระจายอํานาจให้แก่ ท้องถิ่น ที่พิกลพิการของเรา จึงได้กลายเป็นเครื่องมือและตกอยู่ไต้อิทธิพล ของนักการเมืองนายทุน ใน ระบบเผด็จการโดยงานพรรคการเมืองนายทุน (ประเทศเดียวในโลก)ได้โดยง่าย ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ระบบการปกครองท้องถิ่น และระบบงานราชการประจํา เป็นกลไกพื้นฐาน ทางการเมืองให้แก่ “สถาบันทางการเมือง” โดยเป็นกลไกที่ถ่วงดุลอํานาจ และทําให้ระบบการบริหารของ ประเทศ มีความโปร่งใส - เปิดเผย ซึ่งตรงกันข้ามและกลับกันกับสภาวการณ์ในประเทศไทย (จากพื้นฐาน ที่พิกลพิการอยู่แล้ว) “รัฐบาล”ในช่วงระยะเวลา ๑๗ ปีในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ยังได้ ทําให้ระบบการปกครองท้องถิ่นและกลไกประจําทางราชการ เป็นฐานของ “หัวคะแนน” และการแสวงหา ประโยชน์ของนักการเมืองนายทุน ดังนั้น การคอร์รัปชั่นจึงได้ขยายตัวและกระจายไปสู่องค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว (ค) สภาพชนชั้นนํา – elite ของคนไทย อยู่ในสภาพที่ต่างคนต่างเห็นแก่ตัว และขาดคุณภาพ คือ เรามีนักการเมืองนายทุน ที่แสดงให้เห็น “พฤติกรรม”ในการฉวยโอกาสจากสภาพสังคมที่อ่อนแอและการมี นักวิชาการที่ขาดคุณภาพ ด้วยการสร้างระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน (ประเทศเดียวในโลก)ขึ้น และทําให้คนทั้งประเทศเข้าใจว่า ระบบนี้ เป็นกลไกที่ถูกต้องของความเป็นประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อ ประโยชน์ในการผูกขาดอํานาจและแสวงหาความร่ํารวยในกลุ่มนักการเมืองนายทุน เรามี คณาจารย์นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของไทย ที่มีความรู้ที่ แตกต่าง(ต่ํากว่า) กับ ระดับมาตรฐานของประเทศเทศที่พัฒนาแล้วมาก และหลงอยู่ในความคิดของความเป็นประชาธิปไตยใน สมัยมองเตสกีเออ เมื่อ ๒๕๐ ปีก่อน โดยไม่รู้ว่า ในปัจจุบันนี้ นิติปรัชญาและวิชานิติศาสตร์ของประเทศที่ พัฒนาแล้ว ได้พัฒนาไปไกลเพียงใด นักกฎหมายและนักวิชาการของเราจํานวนมาก ขาดทักษะทาง “ภาษา” ซึ่งทําให้มีข้อจํากัดในการ
เข้าถึงตําราที่ได้มาตรฐาน(ภาษาต่างประเทศ) ของประเทศที่พัฒนาแล้ว และทําให้ “มาตรฐานความรู้”ของ เรา แตกต่างกับความรู้ของวงการวิชาการของประเทศที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศทมหาอํานาจ ซึ่ง นักวิชาการของเขาไม่มีอุปสรรคในการอ่านตําราภาษาต่างประเทศ ; นอกจากนั้นแล้ว ยังมี “กรณี”ที่ปรากฏ ให้เห็นด้วยว่า นักกฎหมายและนักวิชาการของเราที่ไปจบจากการศึกษาจากต่างประเทศในบางประเทศ มี ความรู้ทางภาษาศาสตร์ เพียง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ซึ่งทําให้นักกฎหมายของเรา ขาดความลึกในความเข้าใจทาง วิชาการ ทั้งนี้ โดยยังไม่พูดถึงนักกฎหมายและนักวิชาการ ประเภท “นิติบริกร” ประเทศไทยไม่มีโครงการแปลตําราทางวิชาการอย่างกว้างขวาง เหมือนกับ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศ ไต้หวัน ประเทศจีน และประเทศเกาหลีไต้ ที่จะทําให้นักศึกษา(จํานวนมาก)หาความรู้ได้ โดยไม่ต้องเรียน ภาษาต่างประเทศก่อน [หมายเหตุ ความเป็นจริง เรื่อง การต่ํากว่ามาตรฐานทั่วไปของนักวิชาการทางกฎหมายของไทย สามารถพิสูจน์ได้โดยไม่ยาก เพราะ เพียงแต่ เรานําเอกสาร ที่เรียกว่า “เอกสาร - expose”ที่อธิบาย เกี่ยวกับการเขียน (ออกแบบ)กฎหมา ย ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่เขาทํากันเป็นปกติในเสนอร่างกฎหมาย ต่อสภานิติบัญญัติ มาวางเปรียบเทียบกับ เอกสารการเสนอร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติของเรา เราก็ สามารถรู้ได้ว่า มาตรฐานและคุณภาพของนักวิชาการทางกฎหมายของเขากับของเรา แตกต่างกันและห่าง กัน(ไกล)เพียงใด ; เอกสาร – expose (ในการเสนอร่างกฎหมาย)นี้ นักกฎหมายจะต้องทําคําอธิบาย เปรียบเทียบโครงสร้างและกลไกในร่างกฎหมาย กับโครงสร้างและกลไกในกฎหมายของประเทศอื่น และ ต้องสามารถอธิบายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ และประชาชนทั่วไป ทราบและมองเห็นได้ว่า โครงสร้างและ กลไกในร่างกฎหมาย ที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติ (แต่ละฉบับ)นั้น จะทําให้ “จุดหมาย” ของ(ร่าง)กฎหมาย ดังกล่าว สัมฤทธิผลได้อย่างไรและ เพียงใด ซึ่ง ประเทศไทยไม่เคยมี “เอกสาร” ที่ถึงระดับนี้ ตัวอย่าง การเขียน(ออกแบบ)กฎหมาย (โดยมีความรู้ที่ไม่ถึงมาตรฐาน) ที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย และทําให้การบริหารประเทศพิกลพิการอย่างไร ที่เห็นชัดเจนอยู่ในขณะนี้ ก็คือ กฎหมายว่าด้วยตํารวจและ กฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรม(ทางอาญา) : อันที่จริง มีกฎหมายที่สําคัญ ๆ อีกจํานวนมากที่พิกล พิการและก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ในขณะนี้ แต่บังเอิญเพียงว่า เราคนไทยไม่รู้ว่า กฎหมายเหล่านี้พิกล พิการ เพราะว่า วงการกฎหมายและวงการวิชาการของเรา ไม่รู้ ว่า “กฎหมายที่ดี”ของประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามีกันอย่างไ ร ท่านเคยถามตัวท่านเองบ้างหรือไม่ว่า ใน “คดีคอร์รัปชั่น”ที่มีคนต่างประเทศให้สินบนแก่เจ้า พนักงานของไทยในประเทศไทย ทําไม ต่างประเทศเขาจึงสอบสวนและพิจารณาเสร็จไปแล้ว แต่ทําไม กระบวนการสอบสวนของประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้น และไม่รุ้ว่าจะเสร็จเมื่อใด ทิศทางปฏิรูปประเทศ อาจารย์ปรีดา กุลชล การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสร้างบรรยากาศให้ประชาชน 63 ล้านคน
ตื่นตัวเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเรื่องดีที่สมควรได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่ง เพราะความสําเร็จในเรื่อง นี้จะทําให้การบริหารของรัฐบาลมีระบบมีคุณภาพเป็นครั้งแรกหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีระบบป้องกันปัญหาทุกเรื่องรวมทั้งการทุจริตแทนที่จะตามแก้ปัญหาแบบวัวหายล้อมคอก มี การปรับปรุงระบบเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้ประชาชนยากจนมีการอยู่ ดีกินดี มีระบบป้องกันความปลอดภัยทุกรูปแบบ ทําให้ประเทศไทยสงบสุขเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด ประเทศหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดต่างๆที่รัฐบาลแต่งตั้งต้องรู้สาเหตุถึงความจําเป็นที่ ต้องปฏิรูปประเทศและรู้ทิศทางการปฏิรูปที่ถูกต้องได้มาตรฐานสากล ประเทศต่างๆทั่วโลกพากันตื่นตัวปฏิรูปการบริหารมีสาเหตุมาจากการวิจัยของ ดร.เดม มิ่ง(Edwards Deming) เมื่อทศวรรษ 1970s พบว่า การทํางานของคนมีประสิทธิภาพไม่เกิน 15% เท่านั้น อีก 85% ขึ้นอยู่กับระบบ(ดู Deming 85/15 rule ใน google) ดังนั้น <span>เป้าหมายของการปฏิรูปประเทศคือ </span><span>“ให้การบริหารประเทศมี คุณภาพ”</span> <span>ซึ่งจําเป็นต้องมีระบบ เพราะระบบเป็นหลักประกันคุณภาพ </span>(Quality Assurance) องค์กรมาตรฐานสากลโดยการสนับสนุนขององค์การ สหประชาชาติได้ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2530 ให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยต้องใช้การ บริหารที่มีระบบ Quality Management System ระบบนี้องค์กรมาตรฐานสากลเรียกว่า Quality System ซึ่งหมายถึงโครงสร้างที่เป็นระบบ การบริหารต้องมีระบบวิธีปฏิบัติงาน และใช้ ทรัพยากรเป็นเครื่องมือในการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุ (Man Money Material) กล่าวโดย ย่อให้เข้าใจง่ายคือ <span>คน</span> เช่น นายกรัฐมนตรีบริหาร<span>ระบบวิธี ปฏิบัติงาน</span>ตาม<span>โครงสร้างที่เป็นระบบ</span>...นี่คือความสําเร็จของการ ปฏิรูปประเทศที่แท้จริง 1. โครงสร้างเป็นระบบ(Organization as a system): ธรรมชาติของระบบทํางาน ทั่วไปคือ มีการนําเข้า(Inputs)...มีกระบวนการเพื่อเพิ่มมูลค่า(Process)...ออกมาเป็นผลผลิต (Outputs) เมื่อสังเกตจะเห็นว่าธรรมชาติของกระบวนการทํางานเป็นรูปแนวนอนหรือ แนวราบ ดังนั้น โครงสร้างจําเป็นต้องเป็นระบบหรือเป็นแนวราบเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทํางาน ตามธรรมชาติ โครงสร้างเป็นระบบแนวราบ(Flat organization)หมายถึงการตัดลําดับชั้นต่างๆ หลายชั้น(Hierarchy)ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 6 ฉบับออกหมด ในทาง ปฏิบัติ การบริหารคุณภาพยุคใหม่ของโลกจะมีเพียงลําดับชั้นเดียวเท่านั้นคือทีม (Teams) ทีมรายงาน ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารสูงสุด (Leadership Council)ซึ่งมี ผู้บริหารสูงสุด หรือ Champion เป็นผู้แทนของคณะกรรมการดังกล่าว และมีนักบริหารระบบ(Process Owner)รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบทั้งหมดขององค์กรรวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพ(Quality
Improvement)อันเป็นเป้าหมายของการบริหารคุณภาพ(Quality Management)ตาม มาตรฐานสากล 2. ระบบวิธีปฏิบัติงาน (Documented Procedures): ระบบนี้เป็นหัวใจของการ บริหารคุณภาพซึ่งการบริหารจะมีคุณภาพได้จําเป็นต้องมีความสามารถในการพัฒนาระบบหรือออกแบบ ระบบให้ได้ก่อน ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้และใช้เวลาพัฒ นา ระบบนานพอสมควรโดยใช้อํานาจตามกฏหมายมากกว่าความรู้การบริหารที่ทันสมัยของโลก กพร.ยังไม่ รู้ตัวว่าตนเองคืออุปสรรคของการปฏิรูปประเทศเพราะยึด พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2550 เป็นหลัก เมื่อ กพร.ไม่สามารถออกแบบระบบได้...ก็ไม่มีระบบให้บริหาร ซึ่งหมายถึงความ ล้มเหลวเพราะไม่สามารถเริ่มต้นใช้การบริหารที่มีคุณภาพ ดังนั้น การปฏิรูปใดๆทั้งการปฏิรูประบบ ราชการหรือการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูป สื่อ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและตํารวจ ฯลฯ จะมีคุณภาพได้ จําเป็นต้องเริ่มต้นที่การออกแบบ ระบบ(System Design or Process Design)ขึ้นมาก่อน และใช้ระบบประกอบการ วางแผน(Strategic Planning) ใช้ระบบประกอบการปฏิบัติงาน(Operating Procedures)และใช้ระบบเป็นพื้นฐานในการบริหารบุคลากร(Workforce Process) การปฏิรูปของคณะกรรมการปฏิรูปที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ประสบ ความสําเร็จอย่างแน่นอนถ้ามีระบบดังกล่าว Set of Procedures รองรับการบริหาร
3. ทรัพยากร(Resources): โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในฐานะผู้นํา(Leadership)มีความสําคัญ มาก เพราะเป็นผู้ขับเดลื่อนระบบตามข้อ 2. และบริหารโครงสร้างที่เป็นระบบตามข้อ 1. ความสามารถ ของผู้นําในการบริหารคุณภาพยุคใหม่มีจุดเด่นที่ใช้ <span>ระบบ</span>เป็นเครื่องมือในการ ประเมินและปรับปรุงที่<span>ระบบ</span>เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ผู้บริหาร ราชการยุคเก่ายังคิดไม่ถึง เนื่องจากการบริหารราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2550 ล้าสมัยเพราะใช้โครงสร้างหลายลําดับชั้น(Hierarchy)ที่ไม่เป็นระบบเช่นโครงสร้างตามข้อ 1. และขาดระบบวิธีปฏิบัติงานตามข้อ 2. กฏหมายดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคสําคัญที่ต่อต้านความสําเร็จ ในการปฏิรูปประเทศที่คณะกรรมการชุดของ ดร.คณิต ณ นคร ควรตระหนักในเรื่องนี้
ทั้ง 3 ข้อข้างต้นคือระบบ Quality System ที่ใช้ในการบริหารเพื่อให้การ บริหารมีคุณภาพ อันเป็นทิศทางที่ถูกต้องของการปฏิรูปการบริหารทุกสาขาอาชีพที่ได้มาตรฐานสากล International Organization for Standardization อีกทั้งสอดคล้องกับ
มาตรฐานบอลริจ(Baldrige Criteria)ของรัฐบาลสหรัฐ US. Federal Government อันเป็นมาตรฐานที่นานาชาติให้การรับรองโดยมีกว่า 70 ประเทศที่ใช้มาตรฐาน บอลริจเป็นมาตรฐานรางวัลในการปฏิรูปการบริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมาตรฐานใหญ่ระดับโลก ทั้งสองต้องเริ่มต้นที่การออกแบบระบบให้ได้ดีเสียก่อน เพื่อให้ระบบเป็นหลักประกันคุณภาพการบริหาร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีความเฉียบแหลมที่ริเริ่มปฏิรูปประเทศโดย แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ เช่น นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูป โดยมี นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ทั้ง 2 ชุดมีวาระ 3 ปี โดยใช้บ้าน พิษณุโลก เป็นที่ทํางานชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการหาข้อเท็จจริงนําโดย ดร.คณิต ณ นคร อดีต อัยการสูงสุด และมี ดร.สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ไข รัฐธรรมนูญ คณะกรรมการชุดสําคัญที่ตกหล่นขาดหายไปคือ การออกแบบระบบซึ่งเป็นเรื่องยากมาก หากขาดประสบการณ์ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีน่าตั้งผู้มีประสบการณ์ออกแบบระบบ(System Design or Process Design)เป็นคณะกรรมการเพื่อให้บริการเรื่องระบบแก่คณะกรรมการ ปฏิรูปชุดต่างๆเพื่อให้งานที่คณะกรรมการปฏิรูปกําหนดมีคุณภาพ เป็นวิธีเที่ดีเพื่อสร้างความสําเร็จให้การ ปฏิรูปประเทศ นั่นคือ การบริหารทุกเรื่องมีระบบมีคุณภาพ ทั้งของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ ฝ่ายกระบวนการยุตธิ รรม
การปฏิรูปประเทศ เช่น การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ตาม ความเห็นของข้าพเจ้านั้น...ง่ายเหมือนกินกล้วย(ซึ่งลิงก็ทําได้) สิ่งที่ข้าพเจ้าสงสัย คือ 1).ทั่วโลกใช้ TQM ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการสาธารณสุข ปฏิรูปการบริหารทุก ประเภทรวมทั้งการบริหารธุรกิจภาคเอกชน...แต่ทําไมประเทศไทยไม่ใช้ TQM ทั้งๆที่มีนายกรัฐมนตรี สําเร็จจาก Oxford ซึ่งประเทศอังกฤษใช้การบริหารระบบหรือ TQM เป็นแนวทางปฏิรูปประเทศ โดยออกเป็น British Standard เมื่อ พ.ศ. 2522 คือ BS-5750, 1979 โดยกําหนดให้ ใช้"ระบบ"เป็นหลักประกันคุณภาพการบริหาร...กว่า 30 ปีแล้ว 2). ความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษแรก(2542-2551) ใช้เงินงบประมาณของ ประชาชนประมาณ 1 ล้าน-ล้าน บาท(฿.Trillion) การปฏิรูปการเมืองหรือการปฏิรูประบบราชการใช้ เงินประชาชนกับความล้มเหลวมากมายมหาศาลพอๆกัน 3). ความสําเร็จของการปฏิรูปต้องมี Commitment ของผู้บริหารสูงสุด เช่น นายกรัฐมนตรี
ชี้ให้เห็นทิศทางปฏิรูปด้วย TQM แต่ทําไมไม่มีนายกรัฐมนตรีแม้แต่คนเดียวที่ชี้ทิศทางที่ถูกต้องดังกล่าว ...มีแต่ชี้ให้หลงทาง เช่น แก้รัฐธรรมนูญจํานวน ส.ส. ประชาวิวัฒน์หาเสียง...หรือตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยเลือกเชิญคนที่มีชื่อเสียงที่ไม่รู้เรื่อง TQM เพื่อให้ได้แสดงความขยันปฏิรูปลองผิดลองถูกช่วยซื้อ เวลาให้รัฐบาล ก. รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง บัญญัติชัดเจนให้ใช้ TQM. โดยระบุใน มาตรา 75 ให้จัด"ระบบ"งานราชการ เพราะ"ระบบ"(System) คือหัวใจของ TQM. ก็น่าจะรู้แล้ว ว่ารัฐธรรมนูญให้ใช้ TQM ข. พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ชี้ชัดเจนให้ใช้ TQM โดยให้มี"ระบบ"การประกันคุณภาพ การศึกษาในหมวด 6 เพราะ"ระบบ"เป็นหัวใจของการบริหารการศึกษา คือ เป็นทั้งระบบวางแผนการศึกษา เป็นระบบวิธีการสอนหรือวิธีการทํางาน และเป็นระบบประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้ง 3 อย่างทําได้ใน ระบบเดียวกัน. ความล้มเหลวดังกล่าวเป็นเพราะเส้นผมบังภูเขาของนักปราชญ์หรือเป็นกลยุทธ์หลอกลวงสร้างภาพของ นักการเมืองซึ่งผู้ที่เสียหายคือประชาชน...ในฐานะประชาชน...ข้าพเจ้าจะเขียนสั้นๆให้ท่านอ่านใน Note นี้เร็วๆนี้ เพื่อให้พิจารณาว่า ที่ว่าการปฏิรูปข้างต้นง่ายเหมือนกินกล้วยนั้น จริงหรือไม่ การปฏิรูปประเทศ (1) การปฏิรูปประเทศหมายถึง 1). การปฏิรูปการเมืองหรือปฏิรูปการบริหารของรัฐบาล 2). การปฏิรูป เศรษฐกิจ 3). การปฏิรูปสังคมและการศึกษา สาเหตุความล้มเหลวของการปฏิรูปประเทศไทยในอดีต คือ เกาไม่ถูกที่คัน...หรือปฏิรูปไม่ตรงประเด็นที่โลกหรือนานาชาติเขาปฏิรูปกันตามการชี้แนะของ UN. และ องค์กรมาตรฐานสากล กล่าวคือ โลกเขาปฏิรูปให้มีการบริหารระบบหรือการบริหารคุณภาพ TQM.(Total Quality Management) แต่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่ขาดความรู้ สมัยใหม่ดังกล่าว จึงใช้อํานาจปฏิรูปด้วยการใช้วิธีการลองผิดลองถูก (Trial and Errors)ตาม ความรู้สึกของนายกรัฐมนตรีแต่ละคนรวม 6 ท่าน คือ 1.นายชวน หลีกภัย 2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 3. พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ 4. นายสมัคร สุนทรเวช 5. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ 6. นายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญ 2540 และฉบับ 2550 บัญญัติให้ “จัดระบบงานราชการ” เพื่อให้มีการ บริหารระบบ (TQM) ซึ่งเป็นการปฏิรูปที่ถูกต้องตามข้อกําหนดของมาตรฐานสากล ผู้ที่สามารถทําให้ การปฏิรูปประเทศประสบความสําเร็จได้มีเพียงคนเดียวเท่านั้นคือนายกรัฐมนตรี ความล้มเหลวในการ ปฏิรูปประเทศจะต้องมีต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีที่มีความรู้การบริหารที่ทันสมัยมาเกิดหรือมี นายกรัฐมนตรีที่เฉียบแหลมใฝ่รู้ศึกษาได้ด้วยตนเอง...ความสําเร็จของการปฏิรูปประเทศ นอกจาก
นายกรัฐมนตรีต้องมีความรู้การบริหารที่ทันสมัยของโลกแล้ว ยังจําเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบต่อ ประชาชนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร(Top Management Commitment)ว่าจะปฏิรูป ประเทศไปในทิศทางที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล การปฏิรูปการเมืองหรือปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานการปฏิรูปชุดเดียวกันได้ เช่น เกณฑ์ทั้ง 7 หมวดตามโครงร่างองค์กรของ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (PMQA) หรือ เกณฑ์ ตามโครงร่างองค์กร 7 หมวดของสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกอ)ซึ่งเหมือนกัน อีกทั้งการปฏิรูปของทุกกระทรวงสามารถกําหนดให้มี ศูนย์กลางปฏิรูปประเทศเพียงแห่งเดียวอย่างเป็นเอกภาพ โดยไม่จําเป็นต้องแยกออกเป็นการปฏิรูป การศึกษาส่วนหนึ่ง การปฏิรูประบบราชการอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เหมือนในอดีตที่ล้มเหลว ข้อสังเกต: องค์กรที่น่าจะมีบทบาทสําคัญในการปฏิรูปประเทศ คือ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากองค์กรนี้รับผิดชอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศซึ่ง น่าจะเป็นผู้นํา เพราะแผนเกิดขึ้นก่อนและเป็นผู้ชี้นําการปฏิบัติงานของกระทรวงต่างๆ ในยุคที่ประเทศ ตื่นตัวเรื่องการปฏิรูป สภาพัฒน์ฯกลับทําตัวเป็นอีแอบเก็บเนื้อเก็บตัวอย่างสงบเงียบซึ่งน่าจะเป็นเพราะมีปม ด้อยขาดความรู้การบริหารสมัยใหม่ของโลก...หลักฐานยืนยันการขาดความรู้เห็นได้ที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เป็นแผนที่ล้าสมัยตกยุคที่สร้างความเสียหายให้ประเทศอย่างไม่น่าให้อภัย เป็นแผนที่ล้าสมัยเนื่องจากไม่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทยได้ ในทาง ตรงกันข้าม ความล้าสมัยเป็นตัวกดดันให้ชาติตกต่ําในยุคที่ประชาคมอาเชียนเปิดเสรีในปี พ.ศ. 2558 (ASEAN 2015) ที่ประเทศไทยควรเป็นผู้นําในเรื่องความสามารถแข่งขัน ...สาเหตุหย่อนยาน ความสามารถแข่งขันเป็นเพราะสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีคณะกรรมการที่มีความรู้การ วางแผนที่ตกยุคไปแล้ว รวมทั้งข้าราชการระดับสูงของสภาพัฒน์ฯ ขาดความรู้เรื่องการวางแผนสมัยใหม่ ของโลกซึ่งมีวิธีการวางแผนที่มีเป้าหมายในการปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement) ให้ ชาติมีความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้การบริหารระบบ(Management System) ด้วยการ ออกแบบระบบการบริหารแผนของชาติ (System design for Strategic Planning) โดยมีการวัด(Measurement) เพื่อปรับปรุงแผนโดยทีม PIT (Process Improvement Teams) ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ทําให้ประเทศไทย เป็นผู้นําของประชาคมอาเชียนได้อย่างมีศักดิ์ศรี วันนี้ยังไม่สายเกินไป...ยังพอมีเวลาเล็กน้อยในการเร่ง พัฒนาความรู้ข้าราชการและการปรับปรุงแผนฯ 11 ตามวิธีดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่ทําให้ชาติมีความสามารถในการแข่งขันให้จงได้ ซึ่งความรู้การวางแผนที่ทันสมัยเปรียบเสมือน ชูชีพที่ช่วยให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรอดจากการจมน้ําตายหรือรอดจากการถูกยุบ
สํานักงานเพราะความล้าสมัย ในวันที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่มีความรู้การบริหารที่ทันสมัยเร็วๆนี้ แผนฯ 11 ไร้ความสามารถแข่งขัน ความมุ่งหมายสําคัญที่สุดที่ชี้ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 คือ ความสามารถในการแข่งขันของชาติ (National Competitiveness) ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อน ของประเทศไทยที่ยังไม่มีสถาบันทางเศรษฐกิจของชาติให้ความสําคัญเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง ทั้งในเวทีการ ประชุมประจําปีของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเวทีการประชุมของสภาที่ ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าการจัดทําทิ ศทาง ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่ไร้ความสามารถแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553นั้น ชี้ให้เห็นว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ คณะรัฐมนตรีไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องความสามารถในการแข่งขันของชาติเท่าที่ควร ทั้งๆที่ในช่วง ระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 ประชาคมอาเซียนประกาศเปิดการ แข่งขันโดยเสรีในปี พ.ศ. 2558 เมื่อแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 เป็นแผนที่ไร้ความสามารถในการแข่งขัน เช่นนี้ ย่อมชี้ให้นานาชาติในประชาคมอาเซียนเห็นว่าประเทศไทยยอมรับความอ่อนแอของตนเองและยังไม่ มีความพร้อมในการเป็นผู้นําในภูมิภาคนี้ เพราะขาดความสนใจเนื่องจากขาดความรู้วิธีการวางแผนที่สร้าง ความสามารถในการแข่งขัน วิธีการวางแผนให้มีความสามารถแข่งขันได้นั้น การวางแผนต้องต้องมี “ระบบ” (Work System) และ “กระบวนการทํางาน” (Work Processes) เป็นรากฐานในทุกเรื่อง กล่าวคือ นอกจากต้องชี้ ทิศทางการพัฒนาแผนแล้ว ยังต้องมี “ระบบ” รองรับการปฏิบัติงานตามแผน(Operations) และต้อง มีการวัด (Measures) ที่ “ระบบ” และ “กระบวนการทํางาน” เพื่อปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement)ของการปฏิบัติตามแผน...การปรับปรุงดังกล่าวนี่แหละ คือ ความสามารถในการ แข่งขันของชาติ ดังจะบอกวิธีการในรายละเอียดต่อไป การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี “ระบบ” รองรับ มิฉะนั้นจะเป็นแผนที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นแผนที่บกพร่องสูงอย่างน้อย 85% ตามผลการวิจัยของ ดร.เดมมิ่งที่ทั่วโลกรับรอง (Deming,“Out of the Crisis.”) จากการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึง ฉบับที่ 10 ล้วนไม่มีคุณภาพ เพราะทุกฉบับ บกพร่องอย่างน้อย 85 % ดังนั้น การที่สื่อบางฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการวิจารณ์ว่าแผนพัฒนาฯของ ชาติไม่ดีนั้น เป็นความจริงทุกประการตามผลการวิจัยดังกล่าว
ข้อสังเกต: นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต้องมี “ระบบ” แล้ว การบริหารของรัฐบาล ต้องมี “ระบบ” ด้วย ซึ่งในอนาคต การบริหารราชการทุกกระทรวงต้องจัดทําระบบรองรับการบริหารหมวด ต่างๆตามโครงร่างองค์กร(Organizational Profile)ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งระบบสามารถป้องกันความเลวร้ายต่างๆของชาติวันนี้ได้ เช่น การซื้อเสียงของนักเลือกตั้งอัน เป็นที่มาของการโกงชาติขายแผ่นดิน และการคอร์รัปชั่นรวมทั้งการรีดไถทุกรูปแบบจนทําให้ประเทศไทย ที่เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่น้ํามันปาล์ม ประชาชนต้องเข้าคิวรอซื้อราคแพงทีละขวด เช่นเดียวกับข้าว ที่มีราคาสูงในตลาดโลก แต่ชาวนาไทยถูกโกงกดราคาตกต่ําเพราะรัฐบาลขาดระบบป้องกัน เช่นเดียวกับ การบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต้องมี “ระบบ” การประกันคุณภาพการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ...ทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าวคือ สภาพัฒน์ฯ ก.พ.ร. และกระทรวงศึกษาธิการจําเป็นต้องบริหารโดยมี “ระบบ” (Work Systems) รองรับรวมทั้งการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11โดยหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะเป็นไปตามข้อกําหนดขององค์กร มาตรฐานสากลที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก หลักฐานยืนยันการบริหารของทั้ง 3 องค์กรต้องมีระบบนอกจาก เป็นข้อกําหนดของมาตรฐานสากลแล้ว ยังดูรายละเอียดได้ที่หนังสือระดับ 5 ดาวของ ดร.เดมมิ่ง ชื่อ “The New Economics for Industry, Government, Education.” การบริหาระบบของหน่วยงานราชการต่างๆไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรในอดีตเป็นเพราะติดอยู่ที่การ ออกแบบระบบ (System design) ใม่ได้ “ระบบที่ดีจริง” สาเหตุการออกแบบไม่ง่าย เพราะ ระบบที่ดีต้องทําหน้าที่ได้ 3 ประการพร้อมกันในระบบเดียว คือ 1). เป็นระบบที่เป็นแผนชี้นําการทํางาน (Plan what to do)…2). เป็นระบบวิธีปฏิบัติตามแผน (Do what you planned) และ… 3). เป็นระบบที่วัดหรือประเมินการทํางาน (Verify what you’re doing it.)เพื่อ ปรับปรุงคุณภาพ ระบบบริหารที่ดีที่สุดในโลกได้แก่ระบบบริหารของรัฐบาลสหรัฐ (US. Federal Government) ซึ่งเมื่อประมาณปลายทศวรรษ 1970s ประเทศอังกฤษและองค์กร มาตรฐานสากล ISO ได้นําระบบของรัฐบาลสหรัฐมาเป็นตัวอย่างในการปฏิรูปการบริหารของประเทศ อังกฤษให้เปลี่ยนไปใช้การบริหารระบบ TQM. แต่อังกฤษและองค์กรมาตรฐานสากลพลาดไปหยิบเอา ระบบผิดคือ MIL-Q-9858A ซึ่งเป็นระบบจัดซื้อ...มิใช่ระบบบริหารตามที่ต้องการ ซึ่งป่านนี้คงจะมี การแก้ไขไปแล้ว.(โปรดติดตามอ่านตอนต่อๆไปซึ่งจะเขียนสั้นๆให้เข้าใจง่ายแบบนี้ โดยเรียบเรียงให้เห็น วิธีการวางแผนอย่างมีระบบที่ได้มาตรฐานสากลฉบับปัจจุบัน เพื่อสร้างความสามารถแข่งขันให้ประเทศ ไทยเป็นผู้นําในภูมิภาค ASEAN ที่หาอ่านได้ยากจากที่อื่น...ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับการ comments และ ยินดีตอบคําถามเท่าที่รู้).
สหรัฐปฏิรูปประเทศเป็นชาติแรกของโลกเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยใช้รางวัลจูงใจให้เปลี่ยนแปลงการบริหาร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากการบริหารสมัยเก่า Bureaucracy ไปสู่การบริหารสมัยใหม่ TQM โดยออกกฏหมายคือ Public Law 100 - 107, 1987 (ดู google) โดยมีเป้าหมายที่การ ปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)เพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน ปัจจุบัน มีประเทศ ต่างๆทั่วโลกมากกว่า 70 ชาติพากันปฏิรูปประเทศด้วย TQM ตามวิธีการของสหรัฐ วิธีการปฏิรูปประเทศของสหรัฐ ใช้ ภาวะผู้นํา (Leadership) บริหารระบบ 3 ระบบ 1. ระบบยุทธศาสตร์ (Strategy system) โดยมุ่งที่ความพอใจของประชาชนหรือลูกค้า (Customer Focus) 2. ระบบปฏิบัติงาน (Operation system) 3. ระบบบริหารคน (Workforce system) การสร้างความสามารถแข่งขันตามเป้าหมายของกฏหมายดังกล่าว ใช้วิธีการวัดการวิเคราะห์ (Measurement, Analysis)ที่จุดอ่อนของระบบทั้ง 3 ข้างต้นและฝึกอบรมให้เป็นจุดแข็ง... อันเป็นวิธีการปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)เพื่อสร้างความสามารถแข่งขันให้ องค์กรและประเทศที่แท้จริง การไร้ความสามารถแข่งขันของชาติ ความมุ่งหมายหรือทิศทางสําคัญที่สุดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 คือ ความสามารถในการแข่งขันของชาติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนที่ทําให้ประเทศไทยอ่อนด้อยเรื่องความสามารถ แข่งขันบนเวทีโลก เพราะยังไม่มีสถาบันทางเศรษฐกิจของชาติที่ให้ความสําคัญในเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง ทั้ง ในเวทีการประชุมประจําปีของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเวทีการประชุม ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าการจัดทํา ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่ขาดประเด็นความสามารถแข่งขัน เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2553นั้น ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งคณะรัฐมนตรี ที่ขาดความรู้เรื่องความสามารถแข่งขัน มี ความจําเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องให้ความสําคัญเรื่องนี้เป็นอันดับแรกเพื่อให้ชาติมีความสามารถ แข่งขัน เนื่องจากมีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558
ความสามารถแข่งขันคืออะไร คนทั่วไปมักคิดว่า ความสามารถแข่งขันคือการต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งเหมือนกีฬามวยหรือกีฬาฟุตบอล...การ ต่อสู้กับบุคคลอื่นหรือสู้กับคู่แข่งมิใช่วิธีสร้างความสามารถแข่งขันตามบทความนี้ วิธีการสร้าง ความสามารถแข่งขันตามมาตรฐานสากลใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement) จนสามารถผลิตบริการหรือสินค้าให้ประชาชนหรือลูกค้ามีความพึงพอใจคุณภาพ(Customer Satisfaction) ดังนั้น การวางแผนของชาติให้มีความสามารถแข่งขันคือการวางแผนให้กระทรวง ต่างๆพัฒนาองค์กรของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มความสามารถแข่งขันซึ่งใช้วิธีการสํารวจหรือชี้ จุดอ่อน(Identify)ของกระบวนการทํางาน(Work Processes)เพื่อหาโอกาสให้มีการปรับปรุง (Opportunity for Improvement).….การปรับปรุงคุณภาพตามวิธีนี้คือการสร้าง ความสามารถแข่งขันตามมาตรฐานสากล การปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement)คืออะไร การปรับปรุงคุณภาพให้ทําเป็นระบบได้แก่จัดให้มี “ระบบงาน” (Work Systems)ที่เป็นระบบ แสดงความมุ่งหมาย(Purpose)และขั้นตอนวิธีปฏิบัติ(Procedures)ในการปรับปรุงคุณภาพให้ ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นคู่มือ....คู่มือที่จําเป็นของการปรับปรุงคุณภาพอีกอย่างหนึ่งที่ละเว้นมิได้ คือคู่มือ “กระบวนการทํางาน” (Work Processes) ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญในรูปเอกสารที่บรรยายลักษณะ การทํางานตั้งแต่จุดเริ่มต้น (Inputs) กระบวนการ(Process)เพิ่มมูลค่า จนออกมาเป็นผลผลิต (Outputs) การมีคู่มือกระบวนการทํางานช่วยให้ง่ายต่อการสํารวจค้นหาจุดอ่อนต่างๆในการปฏิบัติงาน ให้เห็นโอกาสในการปรับปรุง OFI. (Opportunity for Improvement)....เมื่อเห็น จุดอ่อนในกระบวนการทํางานแล้ว ก็ให้แก้ไขที่จุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งด้วยวิธีการฝึกอบรมเพื่อกําจัดจุดอ่อน ...ด้วยวิธีนี้นี่แหละ คือ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กรของท่าน...เมื่อรัฐบาลส่งเสริมให้ มีการปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีข้างต้นอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นั่นคือ การสร้าง ความสามารถแข่งขันให้ทั้งประเทศ หากมีการเอาจริงเอาจังพัฒนาในเรื่องนี้ ย่อมส่งผลให้ประเทศไทยมี ความสามารถแข่งขันสูงเหนือกว่าชาติอื่นในภูมิภาคอาเซียน และในระดับสากล. วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน...ทําได้อย่างไร วิธีการปรับปรุงคุณภาพ ในทางปฏิบัติให้มีการตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพ PIT (Process Improvement Team)เข้าไปช่วยหน่วยงานที่ต้องการปรับปรุง ทีมนี้เป็นทีมเฉพาะกิจ (Adhoc Team) ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ย วข้อง ขนาดของทีมมี 5-7 คน ทุกคนผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพมาแล้วเป็นอย่างดี ระยะเวลาทํางานปรับปรุงประมาณ 3 – 5 เดือน เมื่องานปรับปรุงคุณภาพประสบความสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดแล้ว ให้ยุบทีม โดยมีการให้
รางวัลลูกทีมทุกคนที่พาทีมประสบความสําเร็จบรรลุเป้าหมาย…รายละเอียดเพิ่มเติมดู Peter R. Scholtes, The Team Handbook (Madison, WI: Joiner Associates, 1988); H. James Harrington, Business Process Improvement (New York: McGraw-Hill, 1991); Joseph M. Juran and Frank M. Gryna, Quality Planning and Analysis (New York: McGraw-Hill, 1993); Peter S. Pande, Robert P. Neuman, Roland R. Cavanagh, The Six Sigma Way (New York: McGrawHill, 2000) องค์กรใหญ่ในสหรัฐ เช่น G.E. ลงทุนให้พนักงานนับแสนคนเข้ารับการฝึกอบรม วิธีการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรหลายสัปดาห์ บริษัทซัมซุงของเกาหลีปฏิบัติตามโดยใช้วิธีฝึกอบรม เหมือนกับ G.E. จนติดอันดับ Top Ten ของโลกได้...นี่คือวิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้าง ความสามารถแข่งขัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเชื่อถือได้หรือไม่ การที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับวิจารณ์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไม่มีคุณภาพนั้นเป็นความจริง ถึงแม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 พยายามช่วยโดยบัญญัติให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทํา หน้าที่ให้คําปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีนั้นไร้ค่าโดยสิ้นเชิง เพราะสภาที่ปรีกษาดังกล่าวขาด ความรู้เรื่องระบบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-10 แต่ละฉบับเชื่อถือได้ไม่เกิน 15% เท่านั้น เพราะแผนดังกล่าวทุกฉบับไม่มี “ระบบ” รองรับ หลักฐานยืนยันเรื่องนี้ได้จากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่งที่นานาชาติให้ความเชื่อถือ Edwards W. Deming, The New Economics (Cambridge, MA; MIT Center for Advanced Engineering Study, 1993) วิธีแก้ให้เป็นแผนที่เชื่อถือได้ ให้มีการวางแผนโดยมีระบบรองรับตามการแนะนําขององค์กรมาตรฐานสากล ISO 9000:2008 ได้แก่แผนโฮชิน Hoshin Planning รายละเอียดดู Serv Singh Soin, Total Quality Control Essentials (New York:McGraw-Hill, 1992); Yoji Akao (ed.), Hoshin Kanri: Policy Deployment for Successful TQM (Cambridge, MA: Productivity Press, 1991)
พิมพ์เขียวการปฏิวัติประชาธิปไตยด้วยการปฏิวัติการเมือง อาจารย์ไก่ (ว่าที่)ดร.ฐนน จุลเวช
ผมเชื่อว่าก่อนที่จะได้มีการนาเสนอ พิมพ์เขียว ฉบับเช่นว่านี้ คงมีเพื่อนพ้องน้องพี่หลายคน สงสัยว่า มันคืออะไร? ตอบแบบง่ายๆมันก็คล้าย แบบแปลน ของบ้านที่เราต้องการจะสร้างนั่น แหละครับ ใครที่ไหนเขาสร้างบ้านกันโดยที่ไม่มีแบบแปลนกัน ระบบการเมืองก็เช่นกัน ก่อนที่จะ มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือ สร้างใหม่ ก็จาต้องทาแบบแปลน หรือ พิมพ์เขียวนี้เสียก่อน เช่นกัน อีกทั้งวัตถุประสงค์หลักในการจัดทาในที่นี้ ก็เพื่อเรียกหาการมีส่วนร่วมจากภาค ประชาชน เพื่อแสดงความคิดเห็น ตลอดจนความเห็นชอบ และสนับสนุนควบคู่ไปกับการจัดทา
สาหรับ ฉบับนี้ ผมมีคาถามหลักๆในใจอยู่ 4-5 ข้อ ที่พี่น้องเองก็คงมีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะขอ นามาใช้เป็นตัวนาร่อง โหมโรง ให้เข้าใจตรงกันในขั้นต้นว่า ถึงเวลาหรือยัง ที่พวกเราประชาชน คนไทย จาต้องเป็นผู้ริเริ่ม และหยิบยื่น พิมพ์เขียวนี้ให้แก่ฝ่ายการเมือง เพื่อเดินตามความ ต้องการของประชาชนมั่ง ดังนี้-
1.ถ้าระบบการ เมืองทั้งระบบในวันนี้ เปรียบได้ดั่งรถยนตร์ที่เครื่องยนตร์และระบบต่างๆ พังฉิบ หายลง จนไม่สามารถซ่อมแซม เพื่อให้ใช้งานได้อีกต่อไป คาถามจึงอยู่ที่ว่า แล้วใครควรจะมี สิทธิ์ในการตัดสินใจซื้อรถคันใหม่นี้ "นักการเมือง" ผู้อยู่ในอานาจตามที่ประชาชนได้มอบฉันทา มติให้ อย่างที่เคยเป็นมากระนั้นหรือ? หรือ ควรจะเป็น "ประชาชน" ในฐานะเจ้าของสิทธิ์โดย ชอบธรรม ที่ได้มอบให้แก่เหล่านักการเมือง?
2.เท่า ที่เปลี่ยนผ่านระบบการเมืองการปกครองมา 78 ปี มาถึงช่วงยุคสมัยการเมืองปัจจุบัน พี่ น้องเห็นว่า การเมืองในวันนี้ยังพอมีหวังอยู่ ยังพอแก้ไขพัฒนาต่อไปได้ และควรให้ดาเนินต่อไป ตามกลไกตามธรรมชาติของมัน หรือ พี่น้องเห็นว่า การเมืองในวันนี้นั้นผุกร่อนเต็มที ใช้งาน ไม่ได้ แถมยังนามาซึ่งความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติ จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การเปลี่ยนแปลงในทันที
3.หากจะ ยกตัวอย่างถึงความผุกร่อนทางการเมือง อาทิเช่น ในเรื่องของการทาหน้า ผู้แทนราษฎร ในฐานะของความเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ที่ผ่านมาพี่น้องคิดว่า สิ่งนี้จริง แท้และแน่นอนไหม? กระทามาโดยตลอดจนเป็นที่ประจักษ์ชัด! หรือ มองไม่เห็น เพราะเท่าที่ ผ่านมา ความเป็นผู้แทนนั้น ถู กผูกติดยึดแน่นอยู่กับพรรคการเมืองต้นสังกัด ที่ทาให้มติพรรค ต้องอยู่เหนือ ความคิดอ่านของตัวผู้แทนอยู่เสมอ จนมิสามารถเห็นเป็นอื่นได้โดยที่ไม่ถูก
ลงโทษ หรือ กระทั่งวัฒนธรรมทางการเมือง ในทางรัฐสภาเอง ที่มติพรรค ยังได้ครอบงาพรรค ร่วมรัฐบาลในการออกมติสนับสนุน รัฐบาลที่ตนร่วมอยู่แบบห้ามออกนอกคอก ใครหรือพรรคใด เห็นต่าง มีมติเป็นอื่น ก็ต้องถูกไล่จากการเป็นพรคร่วมรัฐบาลไป จากแค่ตัวอย่างในสองกรณีที่ว่า นี้ พี่น้องคิดว่า นักการเมืองในฐานะผู้แทนราษฎร ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญมาโดยตลอดหรือไม่? อีก ทั้งจะเอาแค่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบเดิมๆมากล่าวอ้าง ก็ฟังไม่ขึ้น และยังถือว่าละเมิด รัฐธรรมนูญอยู่ด?ี
4.ความพึงพอใจของพี่ น้องที่ได้รับจาก ผล ของการเลือกตั้ง เคยเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดที่ผ่าน มา? พี่น้องพอใจกับสิ่งที่ได้รับ หลังจากที่เรา ได้ทาหน้าที่เลือกตั้งเหล่านักการเมืองพวกนี้เข้า มาทาหน้าที่ ได้เสร็จสิ้นลง พี่น้องอยากเห็นพรรคเสียงข้างมาก หรือ พรรคร่วมรัฐบาล จะตั้งใคร มาเป็นนายก มาเป็นรัฐมนตรีก็ได้ใช่ไหม? หรือ กระทั่งตัวผู้แทนเอง นับวันก็จะยิ่งมีแต่เศรษฐีใน เขตพื้นที่เลือกตั้งของตน ซื้อเสียงเข้ามานั่งในสภา แถมยังจะมีแต่เจ้าสัว รวยระดับชาติ มานั่ง เป็นรัฐมนตรี ที่ก็ไม่ทราบว่า มีความชานาญในทางการเมือง ในการบริหารชาติบ้านเมืองมาได้ อย่างไร? กระทั่งเข้าใจการเมืองการปกครอง ตามหลักรัฐศาสตร์ด้วยหรือไม่? ดังนั้น เมื่อการ เลือกตั้งสิ้นสุดลง ประชาชนก็เพียงหมดหน้าที่อยู่เพียงนี้หรือ? ประชาชนหมดสิทธิ์จะเห็นชอบ ร่วม ในการตั้งรัฐมนตรีอย่างที่ผ่านมาเช่นนั้นหรือ? และ
5.พี่น้อง คิดว่า สภาพการรองรับการบริหารงานของรัฐบาลในปัจจุบัน ที่มีต่อเขตพื้นที่ของ ประเทศ ที่มีความหนาแน่นมากขึ้น มีปัญหาทางสังคม ทางการประกอบอาชีพ ที่มากมาย หลากหลายยิ่งขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น ละเอียดอ่อนมากขึ้น ได้ทาให้การบริหารประเทศที่รวมศูนย์ อานาจอยู่ที่รัฐบาลในกรุงเทพฯ และให้ราชการส่วนกลาง ยืมอานาจเพื่อช่วยบริหารเขตพื้นที่ ต่างๆในต่างจังหวัด อย่างที่เป็นอยู่นี้ ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่? ภาพของผู้ประสพปัญหาในท้องถิ่น จาต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพึ่งพิงรัฐบาลให้ช่วยแก้ไข ในขณะที่ราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดูแลแก้ไข ในส่วนที่ตนรับผิดชอบได้ เท่าที่ควร ก็ยังมีให้เห็นมาโดยตลอดใช่หรือไม่? ภาพของผู้นาประเทศ บริหารประเทศในยามคับ ขัน ด้วยความสับสนอลหม่าน เนื่องจากปัญหาที่ได้เกิดขึ้น อยู่ห่างไกลศูนย์กลาง มากยิ่งๆขึ้น จึงยากยิ่งที่จะแก้ไขได้อย่างทันการ และทั่วถึง วันนี้พี่น้องจึงได้เห็น การทาหน้าที่ของรัฐบาล ที่ นับวันยิ่งจะแก้ปัญหาสาคัญต่างๆ ให้สาเร็จลุล่วงลงได้ยากเต็มที เนื่องเพราะอานาจทั้งหมด มา รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางนี้มากเกินไปหรือไม่? ต่างๆเหล่านี้ ได้ทาให้ระบบการเมืองของเรา ก้าวหน้า หรือ ถอยหลังลงคลองกันแน่?
ทั้ง หมดที่ได้หยิบยกให้ดูเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ เปรียบเสมือนสนิมที่เกิดแต่เนื้อในตนทั้งสิ้น ยัง มิได้หยิบปัญหาต่างๆที่มาจากปัจจัยแวดล้อม กระทั่งวัฒนธรรมในการซื้อเสียงขายสิทธิ์ ที่ได้ กลายเป็นองค์ประกอบสาคัญยิ่งของการเลือกตั้ง จนได้ทาให้ ระบบการเมืองการเลือกตั้งของ ไทยเรา ได้กลายเป็น "อานาจในเชิงปริมาณ" เพียงเท่านั้น
ในการจัดทาพิมพ์เขียว ในทางการเมืองครั้งนี้ ก็มิได้เป็นการขีดเขียนแบบแปลนทางการเมือง แบบละเมอเพ้อฝันแต่อย่างใด แต่เป็นการนา ปัญหาและอุปสรรคสาคัญๆทางการเมือง มา รวมกันไว้เพื่อสังเคราะห์ และจาแนกปัญหาเหล่านั้น เข้ากับโครงสร้างทางเมืองของบ้านเราที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในภาพรวม และในการปฏิสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ
ฉนั้นในส่วนนี้จึงขอแสดงโครงสร้างทางการเมือง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ตั้งแต่เริ่มต้น ดังนี้.-
โครงสร้างระบบการเมืองไทย (ฉบับประยุกต์โดย(ว่าที่)ดร.ฐนน จุลเวช
โครงสร้างส่วนบน รัฐธรรมนูญ | ข้อสนับสนุน>input>
1.บริหาร 2.นิติบัญญัติ 3.ตุลาการ >output>1.นโยบาย
ข้อเรียกร้อง <ทหาร/พลเรือน>
4.ข้าราชการส่วนกลาง | โครงสร้างส่วนกลาง
2.กฏมหาย 3.คาพิพากษา 4.งานราชการ
| กลุ่มกดดัน - กลุ่มผลประโยชน์ - สื่อมวลชน ข้าราชการส่วนภูมิภาค
โครงสร้างส่วนล่าง | ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หมายเหตุ - นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475เป็นต้นมา ระบบการเมืองของไทย เรา ก็อยู่แนวๆนี้มาตลอด จะแตกต่างไปบ้าง ก็เพียงในรายละเอียดที่มีอยู่ในกล่อง หรือ ในหัวข้อ ต่างๆ ตามวิวัฒนาการ ตามธรรมชาติของมัน ทั้งนี้หากเราคนไทยต้องการที่จะ เข้าใจ ไม่ใช่แต่ เพียงรับรู้ด้วยการได้ยินได้ฟังกัน ก็คงหนีไม่พ้นที่ต้องใช้โครงสร้างนี้เป็นตัวช่วย ในการวิเคราะห์ ไปด้วย ทั้งนี้ ผมจะขอยกตัวอย่างการใช้งานจากโครงสร้างนี้ เพื่อวิเคาะห์เหตุการณ์ทาง การเมืองที่สาคัญๆที่ผ่านมา ให้ดูเป็นตัวอย่างดังนี้ เช่น ในยุคสมัยรัฐบาลทักษิณ มีนักวิชาการได้
กล่าวถึง เผด็จการรัฐสภา หรือ สภาเครือญาติอะไรเทือกนี้ อยากรู้มันเป็นอย่างไร? ก็ให้ดูไปที่ โครงสร้างส่วนบน ที่เลข1และ2 ที่ได้บอกเราว่า อานาจทั้ง2ส่วนนี้ ได้กลายเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน หรือ มาจากฝ่ายเดียว พรรคเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ ไม่นับรวม เลข3.ในขณะนั้น ที่ก็ สั่นคลอนไปมาก และหากจะดูเพิ่มเติมว่า ระบอบเผด็จการ หรือ การปกครองโดยทรราชย์นั้นเป็น เช่นไร ก็ให้ดูต่อไปว่า เมื่อข้อ1. อานาจฝ่ายบริหาร มันกลืนกินทั้งข้อ2. บางส่วนของข้อ3.ไป แล้ว ยังลงมาครอบงาโครงสร้างส่วนกลาง ทั้งระบบ เช่นกรณีของทักษิณ ที่มีเนวิน มีนปช เป็น กลุ่มกดดัน เป็นกันชนสู้กับ พธม.ทักษิณเข้าไปแทรกแซง เข้าไปร่วมอยู่ในภาคธุรกิจอย่าง มากมาย(กลุ่มผลประโยชน์) จนกระทั่งลามไปถึงสื่อ (ITV)และสื่อสิ่งพิมพ์บางฉบับ และใน ท้ายสุด หากประเทศใดประเทศหนึ่ง ถูกข้อ1.ฝ่ายบริหาร เข้าแทรกแซง ครอบงามาจนถึง โครงสร้างส่วนล่าง(ประชาชน)ด้วยแล้ว นั่นย่อมแสดงถึง ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือ สังคมนิยม ดังนั้น จากส่วนนี้เป็นต้นไปผมจะอธิบายปัญหานาวิจัย ที่ได้เกริ่นนาไว้ทั้ง 5 ข้อมา สังเคราะห์ผ่านโครงสร้างนี้ให้เห็น ตามหลักวิชาการ(ไม่มีอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวเข้ามา เกี่ยวข้อง)เพื่อใช้หา คาตอบ ให้แก่ปัญหาเหล่านั้น และคาตอบที่ได้นี้ก็จะถูกนามา เพื่อใช้ อ้างอิง สนับสนุน พิมพ์เขียวการเมืองใหม่อย่างมีเหตุมีผลต่อไป
จากประเด็นคาถามในข้อที่1.ที่ ได้เกริ่นนาไว้ ในเรื่องที่ว่า หากระบบการเมือง เป็นเสมือน หนึ่งรถยนตร์ที่พังแล้ว ความพยายามที่จะบารุงรักษาให้มันใช้ได้ต่อไปนั้นไม่เป็นผล จาต้อง เปลี่ยนคันใหม่สถานเดียว! แล้วใครผู้ใดควรที่จะเป็นผู้มีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจเปลี่ยน? ประชาชน หรือ ฝ่ายการเมือง
มุมอง และการตั้งข้อสมมติฐาน - ก่อนอื่นผมขอแสดงทัศนะส่วนตัวสักนิดว่า รถยนตร์คันที่ คณะราษฎร ได้ตัดสินใจแทน เลือกหามาให้ประชาชนคนไทยตั้งแต่ต้นนั้น ไม่เหมาะนักกับ สภาพทั่วไป กับวัฒนธรรมทางสังคม และวัฒนธรรมในทางการเมืองที่ตามมานัก มิติในเชิง ประวัติศาสตร์ สามารถชี้ชัดถึงเหตุและผล ของความไม่เหมาะสมนี้ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้อง เสริมเติมในที่นี้อีก
เช่นนี้แล้ว ประเด็นของใครควรมีสิทธิ์ตัดสินใจ สาหรับผมแล้ว มันก็ต้องประชาชนอย่างแน่นอน ที่สุด และด้วยความชอบธรรมอย่างยิ่ง 78ปีก่อน ประชาธิปไตยที่ได้เริ่มต้น และเกิดขึ้นในบ้านนี้ เมืองนี้ มันก็เป็นเรื่องประหลาดมากพออยู่แล้ว ที่ไม่ได้ตั้งต้น ไม่ได้ถูกเรียกหา ไม่ได้ถูกกดดัน เพื่อให้ได้มาด้วยตัวประชาชนเอง! เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงเสมือนหนึ่ง เป็นการ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนชนชั้นนา ชนชั้นปกครองรุ่นใหม่ ที่ต้องการ "เป็นใหญ่ใน แผ่นดิน " ตัดสินใจแทนเราไปในทุกเรื่อง แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ย่างก้าวแรกของความเป็น ประชาธิปไตยของบ้านเรา จึงเคลือบแฝงไปด้วยความเป็นเผด็จการอย่างไม่ต้องสงสัย ! ยังไม่นับ รวมแรงกดดัน การให้ร้ายต่อ องค์รัชกาลที7 ่ อย่างออกนอกหน้า ที่ได้สรุปรวมไว้ในประโยคที่ว่า "หากพระองค์ท่าน ไม่ทรงตัดสินพระทัยรับเงื่อนไขภายใน 1 ชั่วโมง ข้าฯจะแต่งตั้งให้บุคคล สามัญ ขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐแทน" และนี่ก็คือที่มาของการประณีประนอมของพระองค์ท่าน และ ยอมให้มีระบอบ Constitutional Monarchy หรือ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ที่สืบ ทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่ผิดแปลกแตกต่างไปจากเหตุการณ์ ปฏิวัติโดยประชาชนเมื่อปี2516 ที่ถือได้เลยว่า เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์แบบของประชาชน ผ่านการเคลื่อนไหว ของนิสิต นักศึกษา ที่ได้เสียสละชีวิตตนเข้าแลก และได้นาพาให้เรา ได้สัมผัสกับกลิ่นอายของ
วิถีแห่งประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก ที่ต้องแลกมาด้วยเลือดและน้าตา ที่ถึงแม้จะเป็นแต่เพียงชั่ว ครู่ชั่วยามเท่านั้น ก็ตามที
สภาพ การณ์ทางการเมืองในวันนี้ จึงได้คงสภาพความชั่วร้ายทางการเมือง ที่ได้กัดกร่อน ประเทศชาติ ผ่องถ่ายทรัพยากรของส่วนรวม มาเป็นของตน จนประชาชนส่วนใหญ่ ต่าง ประณามหยาบเหยียดนักการเมืองกันอย่างหนัก และนี่ก็คือ จุดอ่อน ภายในระบบการเมือง ภายในตัวนักการเมืองเอง ตามธรรมชาติของมัน ที่กาลังส่งสัญญาณให้พวกเขาได้รู้ว่า ... ตนเอง ก็กาลัง ดูท่าว่าจะไปไม่รอด!
ดังนั้น เมื่อผนวกเอาสิ่งที่ฝ่ายการเมืองดีๆบางพวกบางฝ่าย เชื่อลึกๆอยู่ในใจเขา เข้ากับเหตุและ ผลของประชาชน ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านระบบการเมืองที่ใช้ไม่ได้แล้วนี้ จึงได้เกิดการตั้ง "คณะกรรมการ3ฝ่าย" เข้ามาศึกษาในประเด็นดังกล่าว จะด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือ จะด้วยนัย แอบแฝงก็ตามแต่ แต่ก็ได้ทาไปแล้ว ทว่า องค์คณะที่กาลังดาเนินการอยู่นี้ ใช่เป็นภาค ประชาชนหรือไม่? กระทาการในฐานะตัวแทนประชาชน ที่ได้รับการมอบหมายให้หรือไม่? และ จะได้รับการยอมรับจากประชาชน ได้หรือไม่? นั่นคงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง (ที่ผมคิดเสมอว่า อันนี่แห ล่ะ mission impossible ที่แท้จริง )
ใน วันนี้ ประชาชนจึงมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง ในอันที่จะผลักดันการแก้ไขระบบการเมืองนี้ได้ คือ 1.ในแบบอย่างที่เราคุ้นเคย และเริ่มมีวิวัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ(เกิดประโยชน์ต่อชาติ บ้าน เมือง) หรือ การทาให้ประเทศปลอดการเมือง เพื่อปรับปรุงแก้ไข ไปชั่วระยะหนึ่ง ด้วยการ ร้องขอจากประชาชน ให้ทหารเข้ามาช่วยกันทา non violent revolution ที่สากลพอยอมรับได้ หากในท้ายสุด ระเบียบแบบแผน รวมถึงกฏ กติกา พิสูจน์ให้เห็นได้ว่า สามารถแก้ปัญหาได้จริง และนาพาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า 2.ผ่านการเรียกร้อง กดดัน ตามวิถีประชาธิปไตยจากประชาชนเอง อัน นี้ยืดเยื้อ สร้างความสับสนวุ่นวายให้กับบ้านเมือง โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นว่า ที่ต่าง กรณีกัน ในบ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่อง คิดว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดอีกเป็นแน่ 3.ทูลเกล้าร้อง ขอ ผ่านการ ถวายฏีกา หรือ ภาคประชาชนขอคาปรึกษาต่อคณะองค์มนตรี
ในประเด็นดังกล่าว นี้ สิทธิของประชาชนนั้น จึงมีอยู่อย่างเต็มเปยี่ยมอยู่แล้ว เพียงแต่การยกร่าง นาเสนอ และหาฉันทามติจากภาคประชาชนเอง จาต้องดาเนินการในทุกขั้นทุกตอน อย่างเป็น ระบบ อย่างเปิดเผย เห็นชอบร่วมกัน จนนามาซึ่งความเป็นประชามติ และใช้กดดันได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป
จากประเด็นคาถามในข้อที่2-5 - นี่คือ หัวใจสาคัญของข้อมูลต่างๆ ที่จะนาใช้ในการขึ้นแบบ พิมพ์เขียว แต่เนื่องด้วยแนวทางในการตอบโจทย์ที่เหลือทั้ง4ข้อนี้ เกี่ยวข้องโยงใยกับ โครงสร้างทางการเมือง ที่ได้แสดงไว้ในฉบับที่(1) ตามนัยของความเป็น "ระบบ" ที่จาต้องมี องค์ประกอบอื่นๆ ที่ปฏิสัมพันธ์กัน ทาหน้าที่ระหว่างกันและกัน เพื่อให้ใช้งานได้ และคงสภาพ ความเป็นระบบนั้นเอาไว้ ในส่วนนี้จึงต้องนาเสนอไปพร้อมๆกัน โดยจะเริ่มจากโครงสร้างส่วนบน ไล่เรียงมาเรื่อยๆ ดังนี้-
จาก ส่วนที่1.หรือ ฝ่ายบริหาร สัมพันธ์โดยตรงกับข้อที่2. รัฐสภา เพราะการมีสมาชิกรัฐสภานั้น ต้องเริ่มและเกิดขึ้นก่อนเสมอ จึงจะมีการจัดตั้งรัฐบาลตามมา ได้ เช่นนี้แล้ว จึงขอเสนอในส่วน ของสมาชิกรัฐสภา ที่ควรมีการแก้ไข ปรับปรุง ดังต่อไปนี้1.การ กาเนิดเกิดขึ้นของรัฐสภาของไทย ได้เริ่มต้นด้วยระบบ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ National Assembly ด้วยการมีสมาชิกแบบแต่งตั้งเข้ามาทั้งหมด แล้วจึงกลายพันธ์ มาเป็นแบบแต่งตั้ง บวกเลือกตั้งเข้ามา ผสมปนเปกันมาเช่นนี้(คนส่วนมากชอบเรียกสิ่งนี้ว่า ประชาธิไตยครึ่งใบ)มา นานหลายสิบปี จนถึงช่วงยุคสมัย ที่การเมืองนาการทหาร รัฐสภาไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น รัฐบาลโดยระบบรัฐสภา หรือ Parliamentary Government ซึ่งสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดมาจาก การเลือกตั้ง หากพิจารณาจากสิ่งที่เป็นอยู่จริงในวันนี้ คงต้องบอกว่า ไม่แน่ใจว่าแบบไหนจะ ดีกว่ากัน แต่สิ่งที่บอกได้แน่ๆก็คือ ช่วงยุคสมัยทักษิณนั้น ระบบนี้ได้ล่มสลายไปแล้ว ด้วยเหตุ ของความต้องการล้มปืน ล้มทุน ล้มเจ้า จึงถูกทหารสกัดจุดเข้ายึดอานาจ นาบ้านเมืองกลับเข้าสู่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกครั้ง(ตามกลไกของมัน เพราะเมื่อทหารยึดอานาจแล้ว ก็จะเป็นช่วง ปลอดการเมือง องค์รัฐาธิปัตย์ จะปรับเปลี่ยนแก้ไขเช่นไรก็ว่าไป) ในช่วงของสภานิติบัญญัติ ที่ มีรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์นั้น ถึงแม้จะเสียโอกาสในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ (อย่างที่ผม กาลังเขียนอยู่ขณะนี้) ก็ตามที ก็เนื่องเพราะ คณะผู้ก่อการ ไม่ได้จัดวาง หรือ ไม่ได้มีเจตนาที่จะ จัดทา ให้ถึงขั้นต้องแก้ไขตัวโครงสร้างการเมืองในช่วงนั้น การเมืองหลังการยึดอานาจ ได้กลับ กลายเป็นไปตามวิถีแห่งประชาธิปไตย อย่างน่าแปลกใจ การบริหารบ้านเมืองจึงเป็นไปแบบ เรียบๆเรื่อยๆ แต่ก็มีเอกภาพสูง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติที่ได้ถูกแต่งตั้งมา ก็ต่างทาหน้าที่กัน ไป ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย สั่งการฝ่ายราชการ จัดตั้งองค์กรอิสระแบบเฉพาะกาล เพื่อ แก้ไขในสิ่งผิดได้ การเมืองในช่วงนั้นจึงเป็นไปแบบ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าแบบก่อนหน้า ในยุคสมัยของทักษิณอย่างแน่นอน(ตามหลักการของระบบรัฐสภา) เช่นนี้แล้ว รัฐสภาไทยก็คง ไม่แคล้วที่จะต้องเป็นไป ในรูปแบบที่ผสมผสานเช่นว่านี้ โดยมีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังนี้.-
1.1 วุฒิสภา ควรคงไว้ซึ่งสมาชิกแบบผสมผสานนี้ เลือกตั้งมา 76 จังหวัดๆละ 1 ท่าน แต่งตั้ง สรรหา มา 74 ท่าน รวมเป็น 150 ท่าน ที่กาลังพอเหมาะ (ถึงแม้คณะปัจจุบันที่สรรหามา 74ท่าน จะกลับไปร่วมกับ ฝ่ายเลือกตั้งมาหลายสิบคน ก็ตามที) แต่บทบาทของส.ว.สรรหาเหล่านี้ ก็ ประจักษ์ชัดแล้วว่า ทางานได้อย่างมีน้าหนัก มีจิตสาธารณะ เอาประโยชน์แห่งชาติเป็น ที่ตั้ง โครงสร้างส่วนนี้จึงสมควรคงไว้
1.2 สภาผู้แทนราษฎร ทั้งโครงสร้าง ระบบ หรือ เกือบจะทุกองคาพยพในส่วนนี้มีปัญหาไปหมด อีกทั้งยังไม่เคย มีใครหยิบจับมาปฏิรูปกันแบบจริงๆจังๆ หรือ ที่ผมเรียกว่าปฏิรูปแบบพลิก แผ่นดิน ปัญหาต่างๆจึงได้บานปลายมาถึงเพียงนี้ ดังนั้นจึงอยากนาเสนอให้ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรนี้ ได้ถูกกาหนดขึ้นใหม่หมดทั้งยวง กล่าวคือ ส.ส.ที่จะเข้ามาทาหน้าที่ในสภานี้ ต้องเป็น ผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น โดยให้ได้มาจาก พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยม ตามจานวน ที่ได้ถูกกาหนดไว้ล่วงหน้า เช่น 1.5ล้านคะแนนเสียงเป็นต้น และให้มีจานวนที่เท่าเทียมกัน จาก ทุกพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมตามที่กาหนด โดยให้มีจานวน อยู่ที่พรรคละ 100ท่าน อีก ทั้งยังสมควรให้มี ส.ส.แบบสรรหา เข้าทาหน้าที่ควบคู่กันไป อีกจานวน100 ท่าน เพื่อเป็นตัว คาน เป็นตัวแปร กระทั้งเป็นฝ่ายสนับสนุน สมาชิกบัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองอีกด้วย -ตัวอย่าง : หากในการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองได้เสียงสนับสนุนตามกฏเกณฑ์ มา 2 พรรค ส.ส.บัญชีรายชื่อจากทั้ง2พรรค ก็จะได้ที่นั่งไปเท่าๆกัน พรรคละ 100 มีสองพรรครวมเป็น 200 ที่นั่ง บวกรวมเข้ากับแบบสรรหา อีก 100 ที่นั่ง(ตายตัว) รวมแล้วก็จะมีทั้งหมด 300 ที่นั่ง พรรค ที่มีเสียงสนับสนุนมากสุด มีสิทธิ์เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลตามขั้นตอนถัดไป
หากแต่เมื่อถึงตรงนี้ จะพบความแตกต่างอยู่ที่ 1.การที่จะได้คะแนนนิยมครบตามเกณฑ์นั้น ไม่ ง่ายนัก พรรคเล็กพรรคน้อยที่ชอบเป็นตัวแปร อาจต้องหมดไป หากไม่ควบรวมเข้าด้วยกัน ให้ เป็นพรรคที่ใหญ่พอ 2.ในการรณรงค์หาเสียง ส.ส.ในส่วนนี้ พรรคการเมืองจาต้องใช้กลยุทธ์ที่ เป็นสากลยิ่งขึ้น เพราะจาต้องแสดงสัดส่วน ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อนี้ ในการ หาเสียงว่าใครเหมาะสมที่จะเข้ามารับผิดชอบ ทาหน้าที่ในกระทรวงใด ให้ได้ไม่ต่ากว่า 15 ตาแหน่ง โดยมีคุณสมบัติไม่ต่าไปกว่าที่ก.พ.กาหนดสาหรับตาแหน่งงานผู้บริหารสูงสุด ที่ก.พ. กากับดูแล เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้รับทราบ และตัดสินใจเลือกก่อนการเลือกตั้ง วิธี นี้จะทาให้นักการเมืองรับเชิญ ที่มีเงินแต่ไม่มีปัญญา เข้าสู่เวทีการเมืองได้น้อยลง 3.เมื่อได้รับ เลือกตั้งเข้ามาในสภาแล้ว จานวนที่เท่าๆกันนี้จะทาให้เกิด รัฐบาลที่มีเสียงแบบพอดีๆ เช่น อาจ เอาแบบสรรหาเข้าร่วมด้วย หรือ ร่วมบางส่วน หรือ หากพรรคที่ มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล ไม่เป็นที่นิยม กับอีกพรรค และกับแบบสรรหา ก็ย่อมไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ต่างๆเหล่านี้พรรคการเมืองที่ ได้สมาชิกเข้าสภา จึงจาต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในทางการเมืองเสียใหม่ เพราะ ปริมาณ หรือ อานาจในเชิงปริมาณนี้ จะไม่เป็นตัวแปรที่สาคัญอีกต่อไป หัวใจสาคัญจะเคลื่อนไปอยู่ที่ " คุณภาพ" ของหัวหน้าพรรค กับ เหล่าสมาชิกพรรค ที่ประชาชนเชื่อถือ ศรัทธา มากกว่าการ ความชื่นชอบ ด้วยวิธีการนี้ในอีกนัยหนึ่ง ก็คือการปฏิรูปนักการเมืองไปในตัวนั่นเอง
หมายเหตุ - ทั้งส.ส. และ ส.ว.สรรหาในทีส่วนนี้ จาเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดความ ยืดหยุ่น ภาย ในระบบเองตามสมควร อีกทั้งยังเป็นให้ความสาคัญต่อองค์กรต่างๆของภาคประชาชน ในภาค ส่วนต่างๆที่จะได้รับผู้นาจากองค์กรเหล่านี้ เข้าพิจารณาเป็นสมาชิกส่วนสรรหานี้ด้วย และเมื่อ ระบบการเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทางภายใน5ปี10ปี สมควรให้คงไว้ หรือ ยกเลิกไปต้องมาดูกันอีกที
1.3 มาถึงตรงนี้ คงมีคาถามว่า แล้วจะเอา ส.ส.แบบแบ่งเขตไปไว้ที่ไหน? คาตอบก็คือ ไปรับใช้ พี่น้องประชาชน ในจังหวัดที่เลือกท่านมา โดยจะทาหน้าที่ทั้งในระดับจังหวัด และในระดับ ภูมิภาค ที่จะนาเสนอในข้อต่อไป
1.4 หากพิจารณาถึงโครงสร้างอานาจในส่วนกลาง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะพบว่า ได้ก่อให้เกิด ปัญหาและอุปสรรค มากกว่าการเกิดประโยชน์ที่ได้จากสิ่งที่เรียกว่า บูรณาการ การรวมศูนย์ อานาจอยู่ที่รัฐบาล อยู่ที่กรุงเทพฯนี้ ถือได้ว่าล้าสมัยต่อการเวลาแล้ว และไม่สามารถบริหาร จัดการได้อย่างทั่วถึง ตามที่ได้ยกตัวอย่างไว้แล้วข้างต้น ดังนั้น รัฐบาลควรจาต้อง กระจาย อานาจแบบ autonomy ให้แก่หน่วยงานใหม่ที่จะเสมือนหนึ่งเป็นผู้ช่วยสภาและรัฐบาล ที่อยู่ถูก ที่ถูกทางอยู่แล้ว ด้วยการ จัดตั้ง "องค์กรบริหารส่วนภูมิภาค" ที่จะประกอบไปด้วยสภาส่วน ภูมิภาค ประจาภูมิภาคทั้ง4 เหนือ ใต้ กลาง อีสาน และกรุงเทพมหานคร โดยมีส.ส.ในแต่ละ ภูมิภาค และมีข้าราชการส่วนภูมิภาคระดับสูง ร่วมกันกาหนด จัดวางนโยบายหลักๆของภูมิภาค ตน ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีองค์กรบริหารส่วนจังหวัดในภูมิภาค ทาหน้าที่ฝ่ายบริหาร ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆในเขตพืน ้ ที่
1.5 เมื่อมีองค์กรบริหารส่วนภูมิภาคแล้ว ควรให้มีการจัดตั้งสภาภูมิภาค ไว้ที่ศูนย์กลางของ ภูมิภาคนั้นๆ ส่วนในระดับจังหวัด ควรปรับลด ควบรวมหน่วยงาน รวมถึงข้าราชการกับเจ้าหน้าที่ จากทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกัน เพื่อมิให้เกิดความทับซ้อน และบานปลายไปถึงงบประมาณในการ
จัดจ้างอย่างที่ผ่านมา เราคงต้องยอมรับกันว่า ประชาชน พลเมืองของเราในวันนี้ ได้เพิ่มปริมาณ มีความหลากหลายของปัญหาในทางสังคม ไปมากเกินขีดความสามารถของรัฐบาล ที่จะดูแลได้ ตามลาพังอีกต่อไป การที่เราจะได้เห็นปัญหาในระดับภูมิภาค ได้รับการบริหารจัดการเยียวยาให้ จบหรือเสร็จสิ้นลง ภายในภูมิภาคเอง จึงเป็นสิ่งที่จาเป็น เพราะเมื่อได้มีการดูแล ให้ความสาคัญ อย่างทั่วถึงแล้ว กระบวนทัศน์ทางความคิดของประชาชนที่ด้อยโอกาสกว่า ก็จะปรับเปลี่ยนไป ในทิศทางที่ดีขึ้น เรื่องราวของการถูกทอดทิ้ง หมางเมิน จากรัฐบาลก็จะน้อยลงเพราะผูท ้ ี่จะดูแล นั้น อยู่ใกล้ตัวและเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง หากสามารถปรับเปลี่ยนได้ถึงเช่นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า การขยับชั้นทางสังคม อย่างเป็นรูปธรรม ในจานวนที่มากด้วย จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน อีกทั้ง เมื่อได้เริ่มขยับชั้นทางสังคม ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้ด้วย แล้ว ในที่สุดความยากจนแบบข้นแค้น ก็จะจางหายไปในที่สุด
ทั้งหมด นี้ เป็นเพียงข้อเสนอแนะโดยสังเขป และหากได้มีการนาเสนอในลักษณะของแผนภูมิ ก็ จะทาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขอให้ผู้ที่เข้ามาอ่าน ได้เข้าใจโดยทั่วกันว่า นี่ เป็น เพียงความคิดเห็นส่วนตัว ยังมิได้มีการนาเสนอในที่อื่นใด จึงขอความกรุณาได้เก็บความคิดนี้ เอาไว้ตรงนี้จนกว่า จะถึงเวลาแห่งการนาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
หมายเหตุ - ตระหนักดีครับว่าการปรับเปลี่ยน แก้ไขคงต้องใช้เวลา ดังนั้น ก่อนถึงช่วงระหว่าง แห่งการดาเนินการ ขอแก้รัฐธรรมนูญสักข้อเถอะ เอาข้อเดียวพอ..ผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง (ทั้งหมด) จะต้องมีอายุตั้งแต่ 35ปี - 65ปี (แก้ไปเลยก่อน หรือ หาก จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป)
ทั้งหมดที่ได้อธิบายความไปโดยสังเขป ในส่วนของกลไกแห่งรัฐ สามารถจาลองให้เห็นได้ดังนี้-
รัฐสภา ส.ส.
ส.ว.
|
|
นายก
กรรมาธิการ....>องค์กรอิสระ
|
|
รัฐบาล<....ตรวจสอบ | กระทรวง | ข้าราชการส่วนกลาง |
ข้าราชการส่วนภูมิภาค | ผู้ว่าเขตปกครองพิเศษ...>บริหารเอง ผู้ว่าราชการจังหวัด | อบจ./ ปลัดจังหวัด | อาเภอ / ปลัดอาเภอ | เทศบาล ปลัดเทศบาล | อบต. / ปลัด อบต. | กานัน / ผู้ใหญ่บ้าน | ประชาชน โครงสร้างส่วนล่าง
เรา ใช้โครงสร้างกลไกแห่งรัฐ แบบรวมศูนย์อานาจนี้มานานมากแล้ว ทุกๆอย่างจึงมากระจุกตัว อยู่ที่รัฐบาล ในฐานะผู้ควบคุมนโยบาย หากแต่ยังเป็นผู้บริหารงบประมาณในเชิงบริหารด้วย ควบคู่กันไป ในอดีตการรวมศูนย์อานาจนี้มีความจาเป็นอย่างสูงสุด ด้วยเหตุผลของความมั่นคง แห่งรัฐ และราชบัลลังก์ สะท้อนให้เห็นได้ในมิติเชิงประวัติศาสตร์ ในเรื่องของการแย่งชิงอานาจ ทางการเมือง ในเรื่องของการแบ่งแยกดินแดน และในเรื่องของการปฏิวัติ รัฐประหาร ตลอด ช่วงเวลาตั้งแต่ยุคสมัยที่ทหารนาการเมือง มาจนถึงการเมืองนาการทหาร และน่าที่จะเปลี่ยน ผ่านมาสู่ยุคสมัยที่ ประชาชน นา การเมือง ในยุคสมัยปัจจุบัน สิ่งต่างๆที่นักการเมืองมักพูดว่า กลไกนี้ ไม่มีปัญหา ทุกอย่างยังใช้งานได้ดีนั้น ก็ขอให้อย่างฟังแต่อย่างเดียว แต่ควรดู...ที่ ผลสัมฤทธิ์เป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะในช่วงของการบริหารงานภายใต้วิกฤติ ว่าไม่มีปัญหาจริง เช่นนั้น หรือ? ดูช่วงน้าท่วมนี้ก็ได้ ว่าระบบการเตือนภัย การเตรียมพร้อม ที่เป็นมาตรการในเชิงป้องกัน นั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด? และมาตรการในเชิงบรรเทาที่ตามมานั้น มีประสิทธิภาพเช่นไร? ก็ ตอบกันเอาเองนะครับ สาหรับผมเองไม่สนใจระบบที่มีอยู่นี้มานานแล้ว จึงได้นาเสนอไว้ในพิมพ์ เขียว ฉบับที่(2) และจะขออธิบายเพิ่มเติม ด้วยการการเปรียบเทียบกับโครงสร้างด้านบน(ที่เป็น แบบโดยสังเขป)ตามนี้
ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ ....> รัฐสภา ส.ว แบบเลือกตั้งและสรรหา
| นายกรัฐมนตรี
ส.ส แบบแบ่งเขต
|
|
รัฐบาล
|
|
| | | |
กระทรวง | ข้าราชการส่วนกลาง |
|____> องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค / สภาส่วนภูมิภาค | ------------------------------------------------------------------------------------|
|
|
ปชช.+ส่วนอาเภอ+เทศบาล <ผู้ว่าฯ+อบจ.>ประชาชน+ส่วนตาบล+อบต. (ส่วนงานปกครอง
(ส่วนงานปกครอง
และบริหารอาเภอ)
และบริหารจังหวัด) | ประชาชน โครงสร้างส่วนล่าง
(ส่วนงานปกครอง และบริหารตาบล)
หมายเหตุ - ในโครงสร้างส่วนบนในการเริ่มต้นโครงสร้างใหม่ จะมีผู้แทนแบบสรรหา เข้าดารง ตาแหน่งในทั้งสองสภา - ในโครงสร้างส่วนล่างก็เช่นเดียวกัน ที่จาต้องมีประชาชนผู้เป็นที่ยอมรับนับถือโดย ชาวบ้านกันเอง ถูกสรรหาเข้ามาทาหน้าที่ ในส่วนของสภาอาเภอ / สภาเทศบาล และสภาตาบล หัวใจสาคัญ คือ การควบรวม ราชการ กับ อปท.และประชาชน
โครง สร้าง(โดยสังเขป)ที่นาเสนอนี้ ยังคงไว้ซึ่งความเป็นรัฐเดี่ยว Unitary State และระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุขเช่นเดิม Constitutional Monarchy เพียงแต่ ต้องการกระจายอานาจ แบบเกือบเบ็ดเสร็จให้กับแต่ละภูมิภาค ได้สามารถบริหารจัดการเอง ภายใต้สภาของแต่ละภูมิภาค เพื่อลดทอน กลไกแห่งรัฐที่มีสายการบังคับบัญชาที่ยาวไกล ให้ กระชับขึ้น เช่น
รัฐบาล >ดูแล และรับผิดชอบ นโยบายแห่งชาติ / แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ / กระทรวงและ ข้าราชการส่วนกลาง / จัดสรรงบประมาณ องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค > ดูแล รับผิดชอบเขตพื้นที่ของตนโดยตรงต่อจากรัฐบาล > พี่น้อง ประชาชน ...