EX Thesis

Page 1

การออกแบบอัตลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ : กรณ์ศึกษาสถาบันกวดวิชา i-SAC ปีพ.ศ. 2554-2556 A DESIGN PROJECT OF CORPORATE IDENTITY FOR PROMOTING CASE STUDY I-SAC TUTOR IN 2011-2013

โดย นางสาวโชติกา ศรีประเสริฐ รหัส 5111302542 ศศ.บ. 511(4)/13A

โครงการพิเศษนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบนิเทศศิลป์) ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีการศึกษา 2554


บทที่ 1 บทนา

ที่มาและความสาคัญของปัญหา ในปัจจุบันวิชาการแพทย์ยังมีส่วนสาคัญ อย่างมากที่ช่วยให้มนุษย์เราสามารถเอาตัวรอดจากโรคภัยไข้ เจ็บและยังเป็นอาชีพที่ต้องเกี่ยวพันกับขบวนการและปัญหาของวัฎสงสารในเกือบทุกขั้นตอน นับตั้งแต่วันที่ มนุษย์เราแรกเกิดจนตาย ดังนั้น อาจจะไม่ผิดนักที่อาชีพหมอต้องดูแลชีวิตของมนุษย์เราตั้งแต่วันแรกจนถึงวัน สุดท้ายที่เรามีชีวิตอยู่ อาชีพแพทย์จึงเป็นอีกหน้าที่ที่ทรงเกียรติในสังคม และอาจเป็นเพราะเหตุผลนี้เองทาให้ คณะแพทย์เป็นคณะที่นิยมของสังคมการศึกษาไทยที่รวบรวมนิสิตที่มีความรู้ในระดับหัวหระทิ เพราะหน้าที่ หมอนั่นหากพลาดหรือไม่มีความระเอียดรอบคอบพอนั้นอาจหมายชีวิตของผู้ป่วยเลยก็เป็นได้ ดังนั้นแพทย์ นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถที่เท่าทันโรคแล้วสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือความละเอียดรอบคอบ สาหรับ สาขาของคณะแพทย์ศาสตร์นั้นแตกต่างกันไปในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งปัจจัยสาคัญขึ้นอยู่กับความพร้อมใน การเปิดสอนในสาขาต่างๆกัน รวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามรถในแขนงต่างๆ การเข้าศึกษาใน คณะแพทย์นั้นมีทั้งแบบการสอบในระบบโควต้าที่คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆจะกาหนด หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและเปิดรับสมัครสอบและวิธีการคัดเลือกนั้น หน่วยงานที่กากับดูแลของ มหาวิทยาลัยนั้นๆจะเป็นผู้ดาเนินการในการสอบคัดเลือกเอง และยังมีการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในระบบเอ็นท รานซึ่งบ่อยครั้งและเกือบจะทุกปีที่คณะแพทย์ศาสตร์มักจะมีคะแนนสูงสุดซึ่งสะท้อนได้ออกมาเป็นอย่างดีว่า คณะนี้มีการแข่งขันกันอย่างมาก เมื่อการสอบเข้ามาเป็นปัจจัยหลักสาหรับนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการจะสอบเพื่อเข้าเรียนในคณะที่ ใฝ่ฝันฝัน จึงได้เกิดเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งขึ้นนั่นก็คือโรงเรียนสอนพิเศษหรือสถาบันกวดวิชาต่างๆ ซึ่งต้อง ยอมรับว่ากระแสการเรียนพิเศษเข้ามามีบทบาทความสาคัญอย่างมากของนักเรียนไทยที่สอบเข้าได้ ไม่ว่าจะ เป็นระดับมัธยม ระดับมหาวิทยาลัยที่เรียนดี หลายคนล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการเรียนพิเศษทั้งสิ้น จึงได้เกิดเป็น การแข่งขันกันทางธุรกิจ และโดยได้ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ หลายองค์กรให้ความสาคัญกับการ ออกแบบอัตลักษณ์องค์กรอย่างจริงจัง ซึ่งก็คือการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้าง


ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรและสื่อให้เห็นถึงตัวตนขององค์กรนั้นๆ เพื่อบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่ เหมือนกับคู่แข่งทางธุรกิจที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เพื่อจะให้ผู้คนจดจาได้ มองเห็นและรู้สึกถึงความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจที่มีรูปแบบคล้ายหรือเหมือนกัน เพื่อสร้างจุดความมุ่งมั่นและจุดยืนขององค์กร ซึ่งงาน ออกแบบดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบสัญลักษณ์ขององค์กร ป้ายชื่อร้าน ไปจนถึงสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อ ประชาสัมพันธ์ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้จะถูกนาไปประยุกต์เป็นงานออกแบบให้กับองค์กรต่อไป จากปัญหาและความสาคัญดังกล่าว

พบว่าการออกแบบอัตลักษณ์ให้องค์กรมีความสาคัญและจาเป็น

อย่างยิ่งเพื่อเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร โดยการศึกษาครั้งนี้นอกจากเป็นการออกแบบอัต ลักษณ์ทั่วไปให้กับองค์กรแล้ว ยังเน้นถึงการศึกษาเรื่องสัญลักษณ์เป็นพิเศษ เพราะจะใช้เป็นตัวแทนในการสื่อ ถึงภาพลักษณ์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี การสร้างคุณค่าความประทับใจให้กับสัญลักษณ์ว่าเมื่อเห็นแล้วนึกถึง อะไร ศึกษาถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถเสริมสร้าง ความรู้สึกที่มีต่อองค์กร จึงได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของบริษัท หรือองค์กร อาจมี ลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบโดดเด่น หรือเป็นภาพที่มีชื่อบริษัทอยู่ด้วยเป็นสัญลักษณ์ หรือมิเช่นนั้นก็ ประกอบขึ้นด้วยทุกองค์ประกอบที่กล่าวมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรวัตถุประสงค์ของโลโก้ คือ การบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ การออกแบบโลโก้เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสาคัญต่อการ สร้างแบรนด์ จะทาให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจาแบรนด์ขององค์กรหรือสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้จัดทาโครงการได้เล็งเห็นแล้วว่า จากแนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อให้เป็นงานออกแบบ เชิงพาณิชย์จึงต้องหาความแตกต่างขององค์กรให้มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าองค์กรอื่นๆที่อยู่ในประเภท เดียวกันเพื่อให้ได้อัตลักษณ์ที่มีความเหมาะสมในเรื่องรูปแบบและมีความสวยงามและสมคุณค่าต่อองค์กร นัน้ ๆ ให้ออกมาเป็นสไตล์โมเดิร์น (Modern Style) เป็นรูปแบบที่เน้นในเรื่องของความเรียบง่าย เข้าถึงคนทุกวัย โดยใช้เส้นสายขององค์ประกอบและเป็นแบบกราฟิค นารูปทรงเรขาคณิตคณิตสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทรงกลม มาใช้ การเลือกใช้องค์ประกอบที่ดูน้อยทาให้รู้สึกสบาย ไม่เลี่ยน สีสันที่ใช้จะมีเพียง2-3 สีเท่านั้น หรืออาจมีการ เลือกใช้รูปทรงไม่มากเพื่อให้เข้ากับรูปแบบชีวิตที่ทันสมัยในปัจจุบันและเน้นที่ความสดใสของสีสรร อีกทั้งยัง นาไปออกแบบร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์ในการประชาสัมพันธ์องค์กร


สมมติฐานการวิจัย .................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบอัตลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์สถาบันกวดวิชา i-SAC เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริงในรูปแบบของสื่อประชามสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับองค์กร

ขอบเขตการวิจัย 1. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทาสื่อประชาสัมพันธ์ 2. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของสถาบันกวดวิชา i-SAC 3. แบบเพื่อนาไปผลิต (ART WORK) 4. ต้นแบบเหมือนจริง (PHOTOTYPE) 5. รายงานการทาวิจัย จานวน 8 ฉบับ 6. ซีดีรายงานการทาวิจัย จานวน 1 ชุด

นิยามศัพท์เฉพาะ อัตลักษณ์ หมายความถึง การนาหัวใจของความแตกต่างของสถาบันกวดวิชา i-SAC มาถ่ายทอดเป็นงาน ออกแบบ ตั้งแต่การเลือกตัวอักษร ไปจนถึงการตกแต่งบรรยากาศต่างๆภายในอาคาร สื่อประชาสัมพันธ์ หมายความถึง การนาตราสัญลักษณ์ กลุ่มสี และรูปแบบตัวอักษรที่ผ่านการออกแบบแล้ว มากาหนดขอบเขตการใช้งาน เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ตราสัญลักษณ์ให้กับทีมงานทุกคน เช่น ตรา


สัญลักษณ์อาจจะไปปรากฏอยู่ด้านบนเพื่อแสดงถึงชื่อสถาบัน , ปรากฏบนเสื้อของทีมงาน, ปรากฏบนอุปกรณ์ ในสานักงาน, ปกหนังสือ, ปกซีดี ฯลฯ I’M SMART ACADEMY CENTER (i-SAC) หมายความถึง ชื่อของสถาบันสถาบันเตรียมสอบเข้าคณะทาง การแพทย์ ได้แก่ คณะแพทย์ คณะทันตะ คณะเภสัช โดยเฉพาะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์ 2. ต้นแบบการนาไปใช้งานเหมือนจริง 3. ได้ศึกษาระบบการพิมพ์


บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยการออกแบบอัตลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์สถาบันกวดวิชา i-SAC ในปี พ.ศ. 2554-2556 ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตรงตามแนวคิดที่กาหนดไว้ และเป็นงานที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีและการจัด องค์ประกอบต่างๆ

1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ 2. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ 3. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์องค์กร 4. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับสัญศาสตร์ 5. ความเป็นมาของการก่อตั้งสถาบันกวดวิชา i-SAC 1.1. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ อัตลักษณ์ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองว่า "ฉันคือใคร" ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิสังสรรค์ ระหว่างตัวเรากับคนอื่น โดยผ่านการมองตัวเองและคนอื่นมองเราในขณะนั้น (KATH 2000; 67 อ้างใน พิศิษฏ์ ) และในขณะเดียวกันมโนทัศน์อัตลักษณ์ จะถูกกล่าวควบคู่ไปกับเรื่องของอานาจ นิยามความหมายหรือการสร้างภาพแทนความจริง( REPRESENTATION)เมื่ออัตลักษณ์ไปสัมพันธ์กับ แนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นแล้วดูจะมีความหมายที่แตกต่างจากความหมายที่เข้าที่เข้าใจกันโดย สามัญสานึกมาก(อภิญญา ,2543:1) CORPORATE IDENTITY DESIGN (หรือ CI DESIGN) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กร หรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายความถึงการสร้างแบรนด์นั้นๆโดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสาคัญที่จะ


กาหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะ ไม่ใช่แค่การออกแบบ “โลโก้” แล้วนาไปประยุกต์ใช้ กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI DESIGN คือ การออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทาให้คนภายนอกสัมผัสได้ เช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป

1.2. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ เป็นงานในระดับนโยบายที่องค์กร สถาบันทุกประเภท ต่างนาเอาการ ประชาสัมพันธ์ไปใช้กับองค์กรหรือสถาบันของตนอย่างกว้างขวางแพร่หลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานของตนกับประชาชน ป้องกันการเข้าใจผิด ตลอดจนการลดสาเหตุแห่งความขัดแย้งต่างๆ รวมทั้งการใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนนโยบาย และการดาเนินงานขององค์กร สถาบัน เสริมสร้างและรักษาชื่อเสียง ความนิยม ความเชื่อถือศรัทธา และความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนที่พึงมีต่อหน่วยงานของตน คาว่าการประชาสัมพันธ์ เป็นคาที่พบเห็นบ่อยมากในชีวิตประจาวัน จนเกิดความเข้าใจผิด บางประการเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริง เช่น ความเข้าใจสับสนระหว่างการประชาสัมพันธ์และการ โฆษณา (Advertising) การโฆษณาสินค้าต่างๆ ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ จนบางคนสรุป เอาว่าการโฆษณาคือการประชาสัมพันธ์ ซึ่งความจริงแล้วการประชาสัมพันธ์มิใช่การโฆษณาสินค้า ถึงแม้บางครั้งอาจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดก็ตาม เป็นต้น

1.3. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างภาพลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ (IMAGE) หมายความว่า ภาพที่เกิดขึ้นในใจ อาจเป็นภาพใดๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นความ ประทับใจของบุคคลที่มีต่อองค์กร บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งความประทับใจนี้มีรากฐานมาจาก ความสัมพันธ์หรือผลกระทบระหว่างบุคคลกับสิ่งนั้น ภาพลักษณ์มีความสาคัญต่อการประชาสัมพันธ์ มาก เมื่อใดองค์กรมีการพิจารณาถึงการประชาสัมพันธ์ก็จะมีคาว่าภาพลักษณ์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย


เสมอ เนื่องจากการประชาสัมพันธ์เป็นงานที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์และเป็นงานที่เสริมสร้างภาพลักษณ์ ขององค์กรที่ดีต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เพื่อผลแห่งชื่อเสียง ความเชื่อถือ ศรัทธาจาก ประชาชนที่มีต่อองค์กรนั่นเอง หน่วยงานหรือองค์กรใดก็ตามหากมีภาพลักษณ์ไปในทางที่เสื่อมเสียแล้ว หน่วยงานนั้นย่อมไม่ได้ รับความยอมรับนับถือ หรือความไว้วางใจจากประชาชน อาจมีความระแวงสงสัยหรือเกลียดชัง รวมทั้ง อาจไม่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานนั้นๆ ในทางตรงกันข้ามหากหน่วยงานมีภาพลักษณ์ที่ดี ภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานย่อมเป็นสิ่งที่ดี ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

1.4. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับสัญศาสตร์ สัญศาสตร์ เป็นการหาความสาคัญระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ เพื่อดูความหมายการ ถูกสร้างและถูกถ่ายทอดอย่างไร สัญญะต้องมีส่วนประกอบทั้ง 2 อย่าง 1.4.1. รูปสัญญะ คือสิ่งที่เราสามารถรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส เช่น การมองเห็นตัวอักษร รูปภาพ หรือ การได้ยินสิ่งที่เปล่งออกมาเป็นเสียง 1.4.2. สัญญะ หมายถึง คานิยามหรือความคิดรวบยอด (CONCEPT) ที่เกิดขึ้นในใจ หรือในความคิดของ ผู้รับสาร - ประเภทของสัญญะขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะแต่ละตัวนั้นเกิดขึ้นโดยการพิจารณาที่ ตรรกะของความแตกต่างนั้นก็ได้มีการนาเสนอการจัดประเภทของสัญญะ - รูปเหมือน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะกับความหมายสัญญะ เป็นเรื่องของความ เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งถึง เช่นภาพถ่าย ภาพเหมือน ภาพยนตร์และแผนภาพ เป็นต้น - สัญลักษณ์ เป้นความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะกับความหมายสัญญะที่แสดงถึงบางสิ่ง บางอย่าง แต่มันไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งชี้เลย ซึ่งการใช้งานเป็นไปในลักษณะ ของการถูกกาหนดขึ้นเองซึ่งได้รับการยอมรับจนเป็นแบบแผน


1.5. ความเป็นมาของการก่อตั้งสถาบันกวดวิชา i-SAC I'M SMART ACADEMY CENTER หรือ i-SAC เริ่มเปิดดาเนินการตั้งแต่ปี 2551 จัดตั้งขึ้น จากความมุ่งมั่นและตั้งใจของ อ.เอด-เอกศิษฐ์ ศิริกุลเลิศรัฐ และ อ.บอย-องอาจ พุทธรักษา ทั้งสอง ท่านผู้มีประสบการณ์และความชานาญในการสอนมากกว่า 15 ปี และมีความต้องการที่จะพัฒนา ความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนที่ต้องการเตรียมสอบเข้าคณะทางการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทย์ คณะทันตะ คณะเภสัช โดยเฉพาะ ดังนั้นผู้เรียนจึงมั่นใจได้ว่า เมื่อมาเรียนที่นี่จะได้รับความรู้และ ทักษะที่มีประสิทธิภาพเหมาะแก่การนาไปใช้เข้าศึกษาต่อ i-SAC เป็นสถาบันเตรียมสอบเข้าคณะทางการแพทย์แห่งแรก ที่มีการรับรองผล อันอาจนับได้ ว่า เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาแห่งแรกของไทย ซึ่งไม่ใช่เพียงการรับประกัน ในส่วนของ สถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน โดยมีตัวบ่งชี้คือ ผลสาเร็จของนักเรียนที่สอบได้ซึ่งปัจจุบัน i-SAC ถูกจัดอันดับในกลุ่มสถาบันกวดวิชา ว่าเป็นสถาบันที่ นักเรียนที่เรียนมีโอกาส สอบติดคณะแพทย์มากที่สุดในประเทศ

2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1. โครงการการออกแบบเอกลักษณ์องค์กรสาหรับโครงการโฮมสเตย์มาตรฐานไทย หัวข้อศิลปะนิพนธ์ โครงการการออกแบบเอกลักษณ์องค์กรสาหรับโครงการโฮมสเตย์มาตรฐาน ไทย (CORPORATE IDENTITY DESIGN FOR HOMESTAY STANDARD THAILAND) ชื่อ นางสาวชลธิศา เที่ยวประดิษฐ์ สาขา ศิลปกรรม (ออกแบบนิเทศศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเด็นสาคัญ : การออกแบบสัญลักษณ์องค์กรต้องมีการหาข้อมูลพื้นฐานต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการการออกแบบเอกลักษณ์องค์กร รวมทั้งแนวทางแก้ไขและเลือกแบบทดลองที่มี ความเป็นไปได้ในแง่ของการสื่อสาร การออกแบบ และการนาไปใช้งานสาหรับบุคลากรในองค์กร รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนาไปใช้ในการออกแบบสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์


2.2. โครงการการออกแบบสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหารคร หัวข้อศิลปะนิพนธ์ โครงการการออกแบบสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในกรุงเทพ มหารคร (THE DESIGN OF SIGN FOR TOURISM PROMOTION IN BANGKOK METROPOLOTAN) ชื่อ นายอธิวัฒน์ จุลมัจฉา สาขา ศิลปกรรม (ออกแบบนิเทศศิลป์)

มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประเก็นสาคัญ : การออกแบบสัญลักษณ์เพื่อแนะนาสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร บริเวณเกาะ รัตนโกสินทร์ ซึ่งนามาประยุกต์ให้เข้าเป็นชุดกับสัญลักษณ์ประเภทบริการและการเดินทาง จานวน 1 ชุด โดยให้ทั้งหมดมีความสวยงาม สอดคล้อง กลมกลืน และสื่อความหมายให้ประชาชนเข้าใจง่าย

2.3. โครงการสื่อภาพเคลื่อนไหวเพื่อประชามสัมพันธ์อาคารสานักศิลปะและวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2553-2555 หัวข้อศิลปะนิพนธ์ โครงการสื่อภาพเคลื่อนไหวเพื่อประชามสัมพันธ์อาคารสานักศิลปะและ วัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2553-2555 A DESIGN PROJECT OF ANIMATION MEDIA FOR PROMOTING ART AND GULTURAL OFFICE IN 2553-2555 ชื่อ นางสาวกุลธิดา กุลเกลี้ยง สาขวิชา

ศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)

ปีการศึกษา

2553


ประเด็นสาคัญ : การออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหว เพื่อประชามสัมพันธ์อาคารสานักศิลปะและ วัฒนธรรม เป็นการออกแบบที่มุ่งเน้นเพื่อให้อาคารสานักศิลปะและวัฒนธรรมได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและ ปรับปรุงรูปลักษณ์ให้ใกล้เคียงกับการจัดพื้นที่เพื่อแสดงงานศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมของไทย การจัดพื้นที่ภายในได้คานึงถึงการใช้พื้นที่ใช้สอยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใน งานออกแบบภาพเคลื่อนไหวเสมือนจริง ให้มีความสอดคล้องกับลักษณะและต้องตามรูปแบบที่ ต้องการ


บทที่ 3 วิธีดาเนินงานการวิจัย จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทาให้พบว่ากระบวนการออกแบบและการผลิต ต้นแบบเหมือนจริงในการวิจัยครั้งนี้ต้องดาเนินการตามวัตถุประสงค์ภายใต้สมมติฐานที่กาหนดไว้ซึ่งกาหนด ตามแผนของระบบงานวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนหลักคือขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต ขั้นตอนการพัฒนาและ การผลิต รวมไปถึงขั้นตอนหลังการผลิตโดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิตงาน (PRE PRODUCTION STAGE) 1.1. การตั้งสมมติฐาน 1.2. การศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (DOCEMENTARY RESEACH) 1.3. การศึกษาตัวอย่างจากกรณีศึกษา (CASE STUDY) 1.4. แบบร่าง (IDEA SKETCH) 1.5. แบบที่ทาการสรุป 2. ขั้นตอนการพัฒนาและการผลิตผลงาน (DEVELOPMENT AND PRODUCTION STAGE) 3. ขั้นตอนหลังการผลิต (POST PRODUCTION STAGE) 3.1. การประเมินผล 3.2. การวิเคราะห์ข้อมูล 3.3. สรุปและอภิปรายผล วิธีการวิจัย 1. ขั้นตอนการวางแผนก่อนการผลิต (PRE PRODUCTION STAGE) 1.1. การกาหนดสมมติฐาน (HYPOTHESIS) จากการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อนามากาหนดเป็น ประเด็นของปัญหาหาในการวิจัย


1.2. การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (DOCUMENTARY RESEACH) ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารใน รูปแบบต่างๆ ที่เป็นข้อมูลจากหนังสือ จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโดยแบ่งข้อมูลการศึกษา ดังนี้ 1.2.1. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันกวดวิชา I-SAC - การศึกษาลักษณะการเรียนการสอน เอกลักษณ์ขององค์กร - การศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อจะนามาใช้ในงานการแสดงสื่อเพื่อ ประชาสัมพันธ์ - การศึกษาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ในแต่ละประเภท เพื่อให้ สามารถเลือกใช้เครื่องมือต่างๆได้เหมาะสมกับงาน 1.3. การศึกษาตัวอย่างจากกรณีศึกษา (CASE STUDY) เป็นการศึกษาเพื่อที่จะนาไปพัฒนาและนาเทคนิค ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เช่น การสร้างแบรนด์ขององค์กรที่มีความใกล้เคียงกับงาน และ องค์กรที่มีความโดดเด่นทางด้านอัตลักษณ์ 1.3.1. โลโก้ วิเคราะห์แบบที่ 1 โลโก้ของสถาบันกวดวิชา Tutor Club เป็นชนิด Combination logo คือมีทั้งรูปภาพกราฟิก และการออกแบบตัวอักษร ภาพกราฟิกสื่อชัดเจนถึงภาพลักษณ์องค์กรที่รับสอนเด็กเล็ก มัธยมศึกษาปีที่ 3 การใช้ Typeface เป็นแบบ Handwriting ให้ความรู้สึกที่เป็น Handmade ดู ไม่เป็นทางการมาก สีส่มให้ความรู้สึกอบอุ่น สดใส วัยรุ่น

รูปที่ 1.3.1. โลโก้ของสถาบันกวดวิชา Tutor Club


ที่มา http://www.thaifranchisecenter.com/directory/detail.php?fcID=f000000463 วิเคราะห์แบบที่ 2 โลโก้ของสถาบันกวดวิชา The Brain เป็นชนิด Combination logo รูปกราฟิกใช้รูปของ ไอสไตน์เป็นสัญลักษณ์เพราะมีแนวคิดที่ว่าไอสไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ และมี ความคิดไม่เหมือนคนทั่วไป การออกแบบตัวอักษรใช้ San Serif เป็นการพัฒนาจาก Serif ให้มี การลดทอน ตัดส่วน Serif ออกเพื่อให้ดูเรียบง่าย สีดาและน้าเงินให้ความรู้สึกสงบและเคร่งขรึม

รูปที่ 1.3.2. โลโก้ของสถาบันกวดวิชา The Brain ที่มา http://www.thebrain.co.th/v12/images/ei.gif วิเคราะห์แบบที่ 3 โลโก้ของสถาบันกวดวิชา อะคิวท์ ติวเตอร์ เป็นชนิด Combination logo รูปกราฟิกสื่อถึง สถาบันกวดวิชาสาหรับเด็ก การออกแบบตัวอักษรใช้ San Serif ให้ความรู้ค่อนข้างเป็นทางการ เพิ่มความเด่นชัดโดยการเลือกใช้สีตัดกันทางทฤษฎีสีคือ เขียว กับ แดง ให้ความรู้สึกกระตุ้นด้วย สีแดง

รูปที่ 1.3.3. โลโก้ของสถาบันกวดวิชา The Brain ที่มา http://farm6.static.flickr.com/5226/5595165000_f397a7cd5f.jpg


วิเคราะห์แบบที่ 4 โลโก้ของศูนย์การเรียนรู้ KUMON เป็นชนิด Combination logo รูปกราฟิกตัว O เป็น Typeface เป็นแบบ Display ตัวอักษรที่ออกแบบเฉพาะให้แปลกตา สื่อถึงศูนย์การเรียนรู้สาหรับ เด็ก สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็น อิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน แสดงถึงอิสรภาพ ที่สามารถโบยบินเป็นสีแห่ง ความคิด สร้างสรรค์และจินตนาการที่ไม่มีขอบเขต

รูปที่ 1.3.4. โลโก้ของสถาบันกวดวิชา The Brain ที่มา http://2.bp.blogspot.com/_ppE07PEUvvs/S79FIztN9I/AAAAAAAAAcQ/MLyvdcKeBew/s200/366487E4-E68A-4D76-BFED-F0CFFE1AA7DA.jpg

วิเคราะห์แบบที่ 5 โลโก้สถาบันสอนภาษา AUA เป็นชนิด Combination logo รูปกราฟิกสื่อถึงการเรียนการสอน ในรูปแบบของ American English การออกแบบตัวอักษรใช้ San Serif เป็นการพัฒนาจาก Serif ให้มีการลดทอน ตัดส่วน Serif ออกเพื่อให้ดูเรียบง่ายเป็นทางการ

รูปที่ 1.3.5. โลโก้ของสถาบันกวดวิชา The Brain ที่มา http://www.auathailand.org/rajdamri/thai/images/Branches-Home-Page_01.gif


1.4. การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีผลต่อการออกแบบ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทาลักษณะต่างๆของ สถาบันกวดวิชา I-SAC ให้เป็นเอกลักษณ์มากที่สุด 1.5. การออกแบบ แบบร่าง และการพัฒนาแบบร่าง ให้เป็นการออกแบบโดยอาศัยข้อมูล เอกสารและ ทฤษฎีจากการวิจัย การพัฒนาแบบร่างโดยการเลือกเอาแบบร่างที่เหมาะสมทาการปรับปรุงและ พัฒนาแบบให้มีความลงตัวมากที่สุดเพื่อจะนามาเป็นต้นแบบในการทางานจริง ต้นแบบที่พัฒนาเสร็จ แล้วจะนาไปทาเป็นงานที่สมบูรณ์ 2. ขั้นตอนการพัฒนาและการผลิต (PRODUCTION) แนวคิดการออกแบบ (CONCEPT SKETCH) มีความเรียบง่าย สื่อความหมายชัดเจน การนาหัวใจของ ความแตกต่างมาถ่ายทอดเป็นงานดีไซน์ ที่สาคัญคือต้องการออกแบบให้สามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของ สถาบัน การเลือกสีสันที่ดูโดดเด่นและมีความน่าสนใจ การศึกษาหาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับองค์เพื่อนามา เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบไม่ว่าจะเป็นสี กรือแม้กระทั้งรูปแบบของงาน ได้มีการสารวจสถานที่จริงและการหาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องจนได้สีหลักที่จะใช้ในการออกแบบ เพื่อให้ ทุกสิ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันซึ่งได้เลือกใช้สีเขียวเข้มเป็นสีหลัก เนื่องจากสีเขียวเข้มเป็นสีประจาสาขา แพทย์ศาสตร์ในหลายๆมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น สีเขียวเป็นโทนสี เย็น ให้ความรู้สึกสดชื่น สบายตา ผ่อนคลายและปลอดภัย 3. ขั้นตอนหลังการผลิต (POST PROUCTION) 3.1. การประเมินผล โดยการจัดทาแบบประเมินเพื่อสอบถามความพึงพอใจจากประชากร ซึ่งเป็นผู้บริโภค จานวน 1 ชุด คือ แบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้บริโภค แบบสอบถามนี้เป็นแบบสอบถาม ประเภทประมาณค่า โดยกาหนดให้ผู้ตอบเลือกตอบตามระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน เพื่อใช้กับ ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มาจากการสุ่มขั้นตอนเดียว จากการองทฤษฎีความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่ม อย่างง่าย (SIMPLE RANDOM SAMPLING) โดยมีจานวนของกลุ่มตัวอย่างชุดละ 30 คน ตาม หลักการทางสถิติที่ระบุว่าหากประชากรมีจานวนเป็นหลักร้อย ใช้กลุ่มตัวอย่าง 15-30 เปอร์เซ็นต์ 3.2. การวิเคราะห์ข้อมูล ทาการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามดังกล่าว โดยคิดค่าเฉลี่ย( X)จากร้อยละ


3.3. สรุปและอภิปรายผล จากค่าเฉลี่ยของแบบสอบถามเพื่อสารวจสมมติฐานที่กาหนดไว้ และอภิปรายผล ในรูปแบบความเรียง 4. ประชากรในการวิจัย อัตลักษณ์สถาบันกวดวิชา I-SAC 5. เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล 5.1. สัญลักษณ์ 5.1.1. ตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาแล้ว 5.1.2. ตราสัญลักษณ์บนสื่อที่ใช้ในการประชามสัมพันธ์องค์กร 5.2. แบบสอบถาม 5.2.1. แบบสอบถามความคิดเห็น จานวน 30 ชุด


6. ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือน แผนการดาเนินงานตลอดโครงการ ระยะเวลา กิจกรรม/ขั้นตอนการวิจัย

1

2

3

4

5

6

7

1. ก่อนออกแบบ (PRE PRODUCTION) การศึกษาข้อมูล-ร่างแบบ 2. การออกแบบและพัฒนาการผลิต (PRODUCTION) 3. หลังการผลิต (POST PRODUCTION) 4. การเขียนรายงานสรุปผลงาน 5. การนาเสนอและการเผยแพร่

ตารางที่ 1 แผนการดาเนินงานตลอดโครงการ (ที่มา : นางสาวโชติกา ศรีประเสริฐ 2554)

8

9

10 11 12

หมาย เหตุ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.