ปฏิจจสมุปบาท ฉบับวิเคราะห์-สังเคราะห์

Page 1


»¯Ô¨¨ÊÁØ»ºÒ· ©ºÑº ÇÔ à¤ÃÒÐËì -Êѧà¤ÃÒÐËì

จัดพิมพและเผยแพรโดย ธรรมสถานจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย ดร.มงคล เดชนครินทร ราชบัณฑิต สํานักวิทยาศาสตร ราชบัณฑิตยสถาน ที่ไดกรุณาตรวจแกสํานวนและวรรคตอนใหถูกตองและเหมาะสม


"ปฏิจจสมุปบาท ฉบับวิเคราะห-สังเคราะห” เรียบเรียง : เภสัชกรสุรพล ไกรสราวุฒิ

พิมพครัง้ ที่ 1 : พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ธรรมสถานฯ จํานวน 4,000 เลม หลวงพอปฏิจจะ สัมมัตตะ10 (พระวินยั สิรธิ โร) จํานวน 1,000 เลม ขอมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหงชาติ สุรพล ไกรสราวุฒิ. ปฏิจจสมุปบาท ฉบับวิเคราะห-สังเคราะห.- - กรุงเทพฯ : ธรรมสถานจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2553. 48 หนา. 1. ธรรมะกับชีวิตประจําวัน. I. ชื่อเรือ่ ง.

294.3144

ISBN : 978-616-551-210-7 บรรณาธิการอํานวยการ : ศาสตราจารยกติ ติคณ ุ ดร.ระวี ภาวิไล บรรณาธิการ : เภสัชกรสุรพล ไกรสราวุฒิ ออกแบบปก : นายมาโนช กลิน่ ทรัพย พิสูจนอักษร : นางปาลิดา จิรภาธงชัย ประสานงาน : นางสาวปทุมรัตน กิจจานนท, นางนิติพร ใบเตย พิมพที่ : โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 254 ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร.0-2215-1991-2 ลิขสิทธิ์ : ธรรมสถานจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3018 Website : http://www.dharma-centre.chula.ac.th Email : dharma-centre@chula.ac.th


คํานํา โดย ศาสตราจารยกิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล *******************


สารบัญ l ปฏิจจสมุปบาทคือกฎธรรมชาติที่พระพุทธองคตรัสรู l เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นธรรม และเห็นพระพุทธเจา l ปฏิจจสมุปบาท เปนอริยญายธรรม l ปฏิจจสมุปบาท เปนธรรมที่รูตามยาก เห็นไดโดยยาก l ความหมายและอาการแหงปฏิจจสมุปบาท l จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนอริยสัจ 4 lความหมายขององคธรรมแตละองคในปฏิจจสมุปบาทตามพระพุทธวจนะ lประมวลแนวทางอธิบายปฏิจจสมุปบาท 3 นัย ที่ ปรากฏในแวดวงชาวพุทธ l มู ลเหตุ ที่ ทําให มี การอธิ บ ายปฏิ จ จสมุ ป บาทในลั ก ษณะเป น 3 ชาติ และในลักษณะเปนกลไกการเกิดขึ้นของทุกขในปจจุบัน l การอธิ บายปฏิ จจสมุ ปบาทที่ แสดงว า เป นกระบวนการหรื อ กลไกการ เกิดขึ้นของทุกขในชีวิตประจําวัน ถูกตองตามหลักพุทธธรรมหรือไม ? lการอธิ บายและวิ เคราะห -สั งเคราะห ปฏิ จจสมุ ปบาท ตามนั ยที่ เ ป น กลไกการเกิดขึ้นของทุกขในปจจุบัน ♦เงื่อนไขสําคัญที่จะตองรูกอน ♦มองปฏิจจสมุปบาทโดยภาพรวม (bird’s-eye view) ♦วิเคราะห-สั งเคราะห อวิชชาเปนป จจั ยให เกิดสั งขาร ♦วิเคราะห-สั งเคราะห สั งขารเป นปจจั ยใหเกิ ดวิ ญญาณ ♦วิ เคราะห-สั งเคราะห วิ ญญาณเปนป จจั ยให เกิดนามรู ป ♦วิ เคราะห -สั งเคราะห นามรู ปเป นป จจั ยให เ กิ ดสฬายตนะ ♦วิ เคราะห-สั งเคราะห สฬายตนะเป นป จจัยให เกิ ดผัสสะ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ผัสสะเปนปจจัยใหเกิดเวทนา ♦วิเคราะห-สั งเคราะห เวทนาเปนปจจัยใหเกิดตัณหา ♦วิเคราะห-สังเคราะห ตั ณหาเป นป จจั ยให เกิดอุ ปาทาน ♦วิเคราะห-สังเคราะห อุปาทานเปนปจจัยใหเกิดภพ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ภพเปนปจจัยใหเกิดชาติ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ชาติเปนปจจัยใหเกิดชรามรณะ l ผลของความเขาใจและรูแจงในปฏิจจสมุปบาท l การประยุกตปฏิจจสมุปบาท เปนหมวดธรรมตาง ๆ ♦จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตเปนอริยสัจ 4 และกิจในอริยสัจ 4 ♦จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนพระอริยบุคคล 4 และสังโยชน 10 ♦จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนเรื่องกรรม l บทสรุป / ดรรชนีคนคํา

หนา 1 2 2 3 3 5 7 8 10 11 12 12 15 18 20 21 24 25 27 28 28 30 30 32 33 34 34 37 41 43 / 44


»¯Ô¨¨ÊÁØ»ºÒ· ©ºÑºÇÔà¤ÃÒÐËì-Êѧà¤ÃÒÐËì

***********************************

ปฏิจจสมุปบาท เปนหลักธรรมสําคัญที่สุดและ

เขาใจยากทีส่ ดุ เรือ่ งหนึง่ ในพระพุทธศาสนา

ปฏิจจสมุปบาทคือกฎธรรมชาติทพ ี่ ระพุทธองคตรัสรู ความสําคัญยิง่ ของ ปฏิจจสมุปบาท คือ เปนธรรมอยางที่ เรียกวาเปน ธรรมธาตุ หรือกฎธรรมชาติ ทีม่ อี ยูแ ลว อยางทีพ่ ระพุทธองคตรัสไววา เปน ธัมมฐิติ (ความตัง้ อยูแ หงธรรมดา) เปน ธัมมนิยาม (ความเปนกฎตายตัวแหงธรรมดา) และยังไดตรัสสําทับลงไปใหเห็นถึง ความเฉียบขาดของกฎธรรมชาตินอ้ี กี วา เปน ตถตา (เชนนัน้ เอง) เปน อวิตถตา (ไมเปนเชนนัน้ ไมได) และเปน อนัญญถตา (เปนอยางอืน่ ไมได) เปนกฎที่ยืนยงและเปนอยูเชนนั้น ไมวาพระพุทธเจาจะทรง อุบตั ขิ นึ้ หรือไมกต็ าม 1


การตรัสรูของพระพุทธเจา กลาวไดวา คือการคนพบ และรูแจงแทงตลอดในปฏิจจสมุปบาทนี้เอง และจากปฏิจจสมุปบาทที่ตรัสรู จึงไดนํามาตรัสบอก แสดง บัญญัติ แตงตั้ง เปดเผย จําแนก กระทําใหตื้น1 จนกลายมาเปนพระธรรมที่ ตรัสสอนทัง้ หมด เห็น ปฏิจจสมุปบาท คือ เห็นธรรม และเห็นพระพุทธเจา ดังนัน้ การทีจ่ ะรูเ ขาใจธรรมทีต่ รัสสอน ตลอดจนภาวะแหงพุทธะ (= ภาวะแหงการรู ตืน่ เบิกบาน ซึง่ อันทีจ่ ริงคือภาวะทีป่ ฏิจจสมุปบาท ถูกดับลงจนหมดสิน้ ) ไดถกู ตองและตรงกับพุทธประสงคอยางแทจริง ก็ดว ยความรูค วามเขาใจ และการรูแ จงในปฏิจจสมุปบาทเปนพืน้ ฐาน สําคัญ สมดังพระพุทธพจนทต่ี รัสวา “ผูใ ดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผูน นั้ เห็นธรรม” 2 และ “ผูใ ดเห็นธรรม ผูน นั้ เห็นเรา(ตถาคต)” 3 ปฏิจจสมุปบาท เปนอริยญายธรรม ความสําคัญยิง่ ของปฏิจจสมุปบาทอีกประการหนึ่ง คือ เปน อริ ยญายธรรม4 (สิ่ งที่ ควรรู อันประเสริฐ) และเพราะไมรู ไมแจง แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท จึงทําใหจติ ของหมูส ตั วเปนเหมือนกลุม ดายยุง พันกันยุง เหมือนหญามุงกระตายและหญาปลอง ยอมไมสามารถ ลวงพนอบาย(ความเสือ่ ม) ทุคติ(ทางไปทีไ่ มด)ี วินบิ าต(ทีท่ ่มี ีแตทกุ ข และการลงโทษ) และสังสารวัฏ(การเวียนวายตายเกิด) ไปได 5 1

3 5

พระไตรปฎกเลมที่ 16 ขอ 61 ; พระไตรปฎกเลมที่ 17 ขอ 216 ;

2

4

พระไตรปฎกเลมที่ 12 ขอ 346 ; พระไตรปฎกเลมที่ 16 ขอ 159 ;

พระไตรปฎกเลมที่ 16 ขอ 225

2


ปฏิจจสมุปบาท เปนธรรมทีร่ ตู ามยาก เห็นไดโดยยาก ปฏิจจสมุปบาท เปนธรรมที่ลมุ ลึกเหลือประมาณ ลึกซึง้ ใน ระดับเทียบเคียงไดกบั เรือ่ งของ “นิพพาน” เลยทีเดียว ถึงขัน้ ทีพ่ ระพุทธเจา เมือ่ หลังจากตรัสรูใ หม ๆ ทรงรูส กึ ทอพระทัย และปรารภที่จะไมสอน ในตอนตน เพราะเล็งเห็นวาเรื่องนี้เปนเรื่องที่ลึก รูตามยาก เห็นได โดยยาก เปนธรรมสงบระงับ ประณีต อันความตรึกหยัง่ ไมถงึ ละเอียด รูไ ดแตบณ ั ฑิต การสอนเรือ่ งนีน้ า จะเปนการเหน็ดเหนือ่ ยเปลา6 แตดว ย พระมหากรุณาธิคณ ุ ไดทรงพิจารณาเห็นวา อาจมีบคุ คลบางคนอยางที่ เรียกวา เปนผูมีธุลีในดวงตานอย ซึ่งสามารถรูตามและเห็นตามได จะเสียโอกาส เพราะไมไดยินไดฟ ง จึงทรงเปลี่ ยนพระทัยที่ จะนํา มาสอน และยังมีอีกกรณีที่พระพุทธเจาไดตรัสเตือนพระอานนทวา อยากล าวเชนนั้ น เมื่ อไดกลาวถึงปฏิจจสมุปบาทวา แมเป นธรรม ทีล่ กึ ซึง้ แตกป็ รากฏแกทา นเหมือนเปนธรรมงาย ๆ7 ดั งนั้ น การเรี ยนรู ในเรื่ องปฏิ จจสมุ ปบาทนี้ จึ งควร กระทําอยางระมัดระวัง ดวยความรอบคอบ และละเอียดออน อยางยิ่ง ความหมายและอาการแหง ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท ออกเสียงตามภาษาบาลี อานวา ปะ-ติดจะ-สะ-หมุบ-บาด แตหากออกเสียงตามภาษาไทยที่คนุ เคยกันทัว่ ไป อานวา ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-ปะ-บาด 6

พระไตรปฎกเลมที่ 13 ขอ 509 ;

7

พระไตรปฎกเลมที่ 16 ขอ 224

3


ปฏิจจสมุปบาท แยกศัพทไดเปน ปฏิจจฺ + สํ + อุปปฺ าท ปฏิจจฺ มีความหมายวา สัมพันธกนั อิงอาศัยกัน สํ มีความหมายวา พรอมกัน หรือดวยกัน อุปปฺ าท มีความหมายวา การเกิดขึน้ ความหมายโดยสรุป คือ การเกิดขึ้ นเพราะอิงอาศัยกัน ซึง่ ในทีน่ ค้ี อื การอิงอาศัยกันเกิดขึน้ ของทุกข หรือกลาวโดยภาษา สมัยใหมวา คือ กลไกการเกิดขึน้ ของทุกข นัน่ เอง การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจานั้น ยักเยื้องเปน หลายรูปแบบ แตในรูปแบบทีถ่ อื เปนมาตรฐานไดตรัสไวเปน 11 อาการ มี 12 องคธรรม ดังนี้ เพราะอวิชชาเปนปจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเปนปจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเปนปจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเปนปจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเปนปจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเปนปจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเปนปจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเปนปจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเปนปจจัย ภพจึงมี เพราะภพเปนปจจัย ชาติจงึ มี เพราะชาติเปนปจจัย ชราและมรณะจึงมี ความโศก ความคร่ําครวญ ทุกข โทมนัส และ ความคับแคนใจ จึงมีพรอม ความเกิดขึน้ แหงกองทุกขทงั้ ปวงนี้ จึงมีได ดวยประการฉะนี้

4


ในหนังสือนี้ ผูเรียบเรียงจะกลาวถึงเฉพาะปฏิจจสมุปบาท ในรูปแบบขางตนนี้ ซึง่ หากเขาใจดีแลว ก็เปนอันวาจะเขาใจในรูปแบบ อื่น ๆ ที่ตรัสทั้งหมด จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนอริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท เปนกฎธรรมชาติที่แสดงใหเห็นกลไกการ เกิดขึ้นและดับลงของทุกข โดยเริ่มตนจากอวิชชา ทําใหเกิดสังขาร --> วิญญาณ --> นามรูป --> สฬายตนะ --> ผัสสะ --> เวทนา --> ตัณหา --> อุปาทาน --> ภพ --> ชาติ --> ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส และมีคาํ สรุปในตอนทายวาความเกิดขึ้นพรอมแหง กองทุกขทง้ั สิน้ นี้ ยอมมีดว ยอาการอยางนี้ สวนความดับลงของอวิชชา ไปตามลําดับจนหมดสิน้ กระแสปฏิจจสมุปบาท ก็คอื ความดับลงแหง กองทุกข จากปฏิจจสมุปบาทซึ่ งเปนเรื่ องลึกซึ้ งและเขาใจยาก เมื่ อ พระพุทธเจาจะทรงนํามาตรัสสอน เพือ่ ใหเขาใจงายขึน้ และสามารถนํา ไปปฏิ บัติได โดยงาย ไดทรงประยุ กตและจําแนกแจกแจงใหม เปน อริยสัจ 4 โดยนําเอาชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส อุปายาส มาจัดใหอยูร วมกันและใหชอื่ เรียกใหมวา อุปาทานขันธ  5 และจัดใหเปน ทุกข และนําเอา ตัณหา มาจัดเปน สมุทยั เอา ความดับสิน้ ไปแหงตัณหา มาจัดเปน นิโรธ 5


อริยสัจ 4 ไมไดแสดงใหเห็นกลไกการเกิดขึน้ ของทุกขอริยสัจ คื อ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ และสมุ ทั ย คื อตั ณหา ตลอดจนนิ โรธ วามีทม่ี าทีไ่ ป มีกลไกสัมพันธกนั มาเปนลําดับอยางไร เหมือนอยางที่ แสดงไวในปฏิจจสมุปบาท สวน มรรค นัน้ ปฏิจจสมุปบาทไดแสดงไว เปนการมี วิชชา หรือความรูแ จงแทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท นัน่ เอง ซึ่งเปนสิ่งที่ ทําใหจติ หลุดพนจากอบาย ทุคติ วินบิ าต และสังสารวัฏ ดังทีไ่ ดกลาว ไปแลว สําหรับอริยสัจ 4 ไดแสดงไววา คืออริยมรรคมีองค 8 ซึง่ หาก พิจารณาใหดแี ลวจะเห็นวาเปนเรือ่ งเดียวกัน เพราะอริยมรรคมีองค 8 เมื่อปฏิบัตจิ นครบถวนสมบูรณแลว จะทําใหเกิดสัมมาญาณะ และ ตามดวยสัมมาวิมตุ ติ (ดูสมั มัตตะ10)8 สัมมาญาณะนี้ คือ วิชชา สวนสัมมาวิมตุ ติ ก็คอื นิโรธ จากปฏิจจสมุปบาทที่ทรงแสดง จึงทําใหสามารถเขาใจได ชัดเจนวา อริยมรรคมีองค 8 สามารถดับทุกขไดอยางไร กลาวคือ เมือ่ ปฏิบตั อิ ริยมรรคมีองค 8 จนครบถวนดีแลว จะทําใหเกิดสัมมาญาณะ หรือวิชชาขึน้ และวิชชานีเ้ องทีเ่ ปนตัวไปทําหนาทีด่ บั อวิชชาในกระแส ปฏิจจสมุปบาท จึงทําใหกองทุกขดบั สิน้ ไป ดวยเหตุนี้ จึงมีนกั ปราชญบางทานเรียกปฏิจจสมุปบาท วา อริยสัจใหญ หรือ อริยสัจฉบับสมบูรณ 8

พระไตรปฎกเลมที่ 24 ขอ 104

6


ความหมายขององคธรรมแตละองคในปฏิจจสมุปบาท ตามพระพุทธวจนะ พระไตรปฎกเลมที่ 16 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ขอ 6 ถึงขอ 17 ไดใหความหมายขององคธรรมแตละองคในปฏิจจสมุปบาท ไววา 1. อวิชชา คือ ความไมรใู นทุกข ในเหตุแหงทุกข ในความดับทุกข และในปฏิปทาทีจ่ ะใหถงึ ความดับทุกข หรือความไมรใู นอริยสัจ 4 2. สังขาร คือ สังขาร 3 (กายสังขาร วจีสงั ขาร จิตตสังขาร) 3. วิญญาณ คือ หมูแ หงวิญญาณ 6 (วิญญาณทาง ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) 4. นามรูป นาม คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา มนสิการ สวนรูป คือ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป (รูปทีอ่ าศัยมหาภูตรูป 4) 5. สฬายตนะ คือ อายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) 6. ผัสสะ คือ ผัสสะ 6 (สัมผัสทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) 7. เวทนา คือ เวทนา 6 (เวทนาทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) 8. ตัณหา คือ ตัณหา 6 (ตัณหาทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) 9. อุปาทาน คือ อุปาทาน 4 (กามุปาทาน ทิฏุปาทาน สีลพั พตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน) 10. ภพ คือ ภพ 3 (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) 11. ชาติ คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยัง่ ลง เกิด เกิดจําเพาะ ความปรากฏแหงขันธ ความไดอายตนะครบในหมูส ตั ว นัน้ ๆ ของเหลาสัตวนน้ั ๆ

7


12. ชราและมรณะ ชรา คือ ความแก ภาวะของความแก ฟนหลุด ผมหงอก หนังเหีย่ ว ความเสือ่ มแหงอายุ ความแกหงอมแหง อินทรีย ; มรณะ คือ ความเคลือ่ น ภาวะของความเคลือ่ น ความทําลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแหงขันธ ความทอดทิ้ งซากศพ ความขาดแหงชีวิตินทรีย จากหมูสัตวนั้น ๆ ของเหลาสัตวนน้ั ๆ ผูเ รียบเรียงจะไดอธิบายและวิเคราะห-สังเคราะห ในความหมาย ของแตละองคธรรม ใหชดั เจนยิง่ ขึน้ ในบทถัด ๆ ไป ประมวลแนวทางอธิบายปฏิจจสมุปบาท 3 นัย ทีป่ รากฏในแวดวงชาวพุทธ เรือ่ งปฏิจจสมุปบาทนี้ เปนทีน่ า แปลกยิง่ วา แมจะมีพระพุทธพจน ตรัสใหความหมายขององคธรรมแตละองค ซึง่ มีทง้ั สิ้น 12 องค คือ ตัง้ แตอวิชชา จนถึง ชรา มรณะ ไวอยางชัดเจนแลวก็ตาม แตอาจเปน เพราะความลุ มลึ กและความยากของปฏิ จจสมุ ปบาทอย างที่ ตรั ส เตือนไว จึงทําใหในปจจุบนั มีคาํ อธิบายปฏิจจสมุปบาทเปนที่ปรากฏ ในแวดวงชาวพุ ท ธแตกต างกั นออกไปได หลายแบบ ซึ่ งสามารถ ประมวลไดอยางนอยเปน 3 แบบหรือ 3 นัยใหญ ๆ คือ 1. ปฏิจจสมุปบาททีแ่ สดงถึงกระบวนการทีเ่ ปนไปใน ชวงกวางระหวางชีวิตตอชีวิต หรือกระบวนการเวียนวายตาย เกิดของชีวิต ซึ่งมีมุมมองสําคัญวา ชีวิตที่ยังตองเวียนวายตายเกิด เปนชีวิตที่ ยังจมอยูในกองทุกข หรือยังจมอยูในวัฏสงสาร การพน 8


ทุกขในที่นี้ก็คือ การพนจากกระแสของการเวียนวายตายเกิด โดยมี หัวใจสําคัญอยูท ว่ี า ทําอยางไรจึงจะไมตอ งมาเกิดอีก คําอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบนี้จึงมีลักษณะครอบคลุม 3 ชาติ คือ มีอดีตชาติ ปจจุบนั ชาติ และอนาคตชาติ โดยจัด อวิชชา สังขาร ใหอยูใ นอดีตชาติ ; วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ อยูในปจจุบันชาติ ; ชาติ ชรา มรณะ อยูในอนาคตชาติ 2. ปฏิจจสมุปบาททีแ่ สดงถึงกระบวนการของปจจยาการ ที่เกิดขึ้นในขณะจิตเดียว หมายความวาปฏิจจสมุปบาท 11 อาการ 12 องคธรรมนัน้ สามารถอธิบายไดวา กระบวนธรรมทัง้ หมดนี้ เกิดขึน้ ในจิตเพียงขณะเดียว การอธิบายแบบนีป้ รากฏอยูใ นคัมภีรท าง ฝายพระอภิธรรม ซึ่งจะตองมีการศึกษามาเปนการเฉพาะ จึ งจะพอ เขาใจการอธิบายในแบบนีไ้ ด 3. ปฏิจจสมุปบาททีแ่ สดงถึงกระบวนการหรือกลไก การเกิดขึน้ ของทุกขในจิตในคราวหนึง่ ๆ ซึง่ เปนสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ประจําวันในปจจุบนั นีเ้ อง เปนการอธิบายใหเห็นวาทุกขทเ่ี กิดขึน้ ในจิต ครั้ งหนึ่ ง ๆ นั้ น เกิดขึ้ นเนื่ องจากการที่ จิ ตรับรู ต อสิ่ งต าง ๆ อย าง ไมถกู ตองอยางไร ในหนังสือนี้ ผูเ รียบเรียงจะเลือกการอธิบายและวิเคราะหสังเคราะหเฉพาะตามแนวทางการอธิบายในแบบที่ 3 เทานั้น เพราะเห็นวาเปนแบบทีบ่ คุ คลทัว่ ไปสามารถทําความเขาใจและ ตรวจสอบ หรือพิสจู นดว ยตนเองไดมากกวา และยังสามารถนํา ไปใชประโยชนในชีวติ ประจําวันไดงา ยกวา 9


มูลเหตุทที่ ําใหมกี ารอธิบายปฏิจจสมุปบาท ในลักษณะเปน 3 ชาติ และในลักษณะ เปนกลไกการเกิดขึน้ ของทุกขในปจจุบนั มูลเหตุสาํ คัญทีท่ าํ ใหมกี ารอธิบายปฏิจจสมุปบาทแตกตางกัน ในประเด็นทีว่ า เปนเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ครอบคลุม 3 ชาติ หรือเปนเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ในปจจุบนั มาจากความเขาใจในองคธรรม 2 องคในปฏิจจสมุปบาท ทีแ่ ตกตางกัน กลาวคือ วิญญาณ และ ชาติ ในฝายทีอ่ ธิบายวาเปนเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ครอบคลุม 3 ชาติ ก็เพราะใหความหมายของ 2 องคธรรมดังกลาววา คือ ปฏิสนธิวญ ิ ญาณ ซึ่งใหความหมายวาเปนวิญญาณดวงแรกของบุคคลที่ตายจากอดีต ชาติแลวมาเกิดใหมในปจจุบันชาติ และ ชาติ คือการเกิดใหมของ ขันธหรือบุคคลทีต่ ายจากปจจุบนั ชาติ แลวไปเกิดใหมในอนาคตชาติ สวนในฝายที่อธิบายวาเปนกลไกการเกิดขึ้นของทุ กข ในปจจุ บัน ก็เพราะใหความหมายของ วิ ญญาณ วาคือหมู แหง วิญญาณ 6 (วิญญาณทางตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) ซึง่ มีปรากฏอยูแ ลว ในชีวติ ปจจุบนั และใหความหมายของ ชาติ วาคือการปรากฏขึน้ ของ ทุกขอริยสัจ หรือ อุปาทานขันธ 5 (ขันธทป่ี ระกอบอยูด ว ยอุปาทาน หรือความยึดมั่นถือมั่น) ในจิตในชีวิตประจําวัน ตามที่ไดตรัสไวใน อริยสัจ 4 ซึง่ ไดประมวลองคธรรม ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ วาคือ อุปาทานขันธ 5 ไมไดมคี วามหมายวาการบังเกิดขึน้ ของขันธ 5 ใหม ในชาติใหม ซึง่ เปนอนาคตชาติ

10


การอธิบายปฏิจจสมุปบาททีแ่ สดงวาเปนกระบวนการ หรือกลไกการเกิดขึ้นของทุกขในจิตในชีวิตประจําวัน ถูกตองตามหลักพุทธธรรมหรือไม ? ในทีน่ ้ี ขอเสนอใหพจิ ารณาพระพุทธพจนทต่ี รัสแกอทุ ายีปริพาชก ซึง่ มีใจความสรุปวา บุคคลใดทีส่ ามารถระลึกถึงขันธในอดีต (อดีตชาติ) หรือขันธในอนาคต (อนาคตชาติ) จึงสมควรจะมาถามกับทานในเรือ่ ง ของขันธในอดีตหรืออนาคต และตรัสใหงดเรื่องของขันธในอดีตและ อนาคตไวกอ น จากนัน้ ก็ตรัสแสดงธรรมตามนัยของปฏิจจสมุปบาท 9 พระพุทธพจนขางตนนี้ ทําใหเห็นไดวาปฏิจจสมุปบาทเปน เรื่องที่ทรงมุงแสดงใหเห็นกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นในปจจุบัน เพราะได ตรั สให งดถามถึ งเรื่ องของขั นธ ในอดี ตและขั นธ ในอนาคต ไว เป น การลวงหนา แลวแสดงปฏิจจสมุปบาทตอไปเลย เรือ่ งนีไ้ ปสอดคลองยิง่ กับองคคณ ุ หรือลักษณะของพระธรรม (โดยเฉพาะธรรมในระดั บโลกุ ตตร) ตามที่ ตรั สไว 6 ประการ คื อ สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, สนฺทิฏฐิโก, อกาลิโก, เอหิปสฺสิโก, โอปนยิโก, ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิ ฺ หู ิ โดยเฉพาะคําวา สนฺทฏิ ฐ โิ ก ซึง่ แปลวา เปนปจจุบนั เห็นทันตา หรือเห็นกับตา10

9 10

พระไตรปฎกเลมที่ 13 ขอ 371 พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ของทานเจาคุณพระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) พิมพครัง้ ที่ 11 หนา 431

11


การอธิบายและวิเคราะห-สังเคราะหปฏิจจสมุปบาท ตามนัยทีเ่ ปนกลไกการเกิดขึน้ ของทุกขในปจจุบนั ตอจากนี้ไป ผูเ รียบเรียงจะไดอธิบายพรอมกับการวิเคราะหสังเคราะหกระแสแหงปฏิจจสมุปบาท โดยยึดถือตามความหมายที่ พระพุทธเจาตรัสไว ซึง่ ไดยกมาไวแลวในหนา 7 - 8 ของหนังสือนี้ และ อาจมีพระพุทธพจนอนื่ อีกตามสมควร เพือ่ ใหเขาใจชัดเจนยิง่ ขึน้ โดยจะ อธิบายไปทีละขัน้ ทีละอาการตามลําดับ จนครบ 11 อาการ 12 องคธรรม และจะถืออยางเครงครัดวาองคธรรมที่ตรัสถึงกอนจัดเปนเหตุ สวน องคธรรมทีต่ รัสทีหลังจัดเปนผล โดยที่ เหตุตอ งมากอนผล ; ผลจะมากอนเหตุไมได จะมีขอ ยกเวนอยูก เ็ ฉพาะตรงอาการทีว่ า วิญญาณเปนปจจัย ใหเกิดนามรูป ซึง่ มีพระพุทธพจนตรัสไววา แมนามรูปก็เปนปจจัยให เกิดวิญญาณ ระหวางวิญญาณกับนามรูปนี้ สามารถเปนเหตุและผล สลับกันไปมาได ซึง่ นาสนใจมาก และจะไดวเิ คราะหตอ ไป เงือ่ นไขสําคัญทีจ่ ะตองรูก อ น ในกระแสปฏิจจสมุปบาท มีองคธรรมที่เปนจุดเชื่อมสําคัญ คือ ผัสสะ ซึง่ เปนจุดเชือ่ มตออันเนือ่ งจาก อายตนะภายใน (ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ) มากระทบกับอายตนะภายนอก (รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส, ธรรมารมณ) แลวเกิดวิญญาณ 6 ขึน้ (การเห็น การไดยนิ การรูก ลิน่ การรูร ส การรูส ง่ิ ตองกาย การรูเ รือ่ งในใจ) จนทําใหบคุ คล เกิดการรูเ รือ่ งราวของสิง่ ตาง ๆ เมือ่ มีผสั สะเกิดขึน้ บุคคลจึงมีการรูเ รือ่ งราวของสิงต ่ าง ๆ 12


ดังนัน้ ปฏิจจสมุปบาทในสวนทีเ่ กิดกอนผัสสะคือ อวิชชา, สังขาร, วิ ญญาณ, นามรู ป, สฬายตนะ จึ งเป นองคธรรมที่ เกิ ดขึ้ นก อนที่ บุคคลจะรูเ รือ่ งราวของสิง่ ตาง ๆ กลไกชวงนีเ้ ปนเรือ่ งภายในตัวชีวติ โดย เฉพาะ ทีท่ าํ หนาทีป่ รับองคาพยพทัง้ หมดของชีวติ ใหอยูใ นสภาพพรอมที่ จะรู และมีปฏิสมั พันธกบั เรือ่ งตาง ๆ ทีร่ อู ยางไร แลวทําใหเกิดทุกขขนึ้ กระบวนธรรมในชวงนีจ้ งึ เปรียบเสมือนเชือ้ ทีเ่ ปนสาเหตุแทจริง ทีท่ าํ ให ทุกขเกิดขึน้ สวนองคธรรมตัง้ แต เวทนา, ตัณหา, อุปาทาน, ภพ, ชาติ, ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส ซึง่ เปนชวงทีบ่ คุ คลสามารถรู เรือ่ งราวได เปนชวงปรากฏหรือแสดงตัวของทุกขทบ่ี คุ คลสามารถรับรูไ ด กรณีขา งตนนีอ้ าจเปรียบไดกบั บุคคลทีเ่ ปนโรคอะไรสักอยางหนึง่ บุคคลทัวไปจะยั ่ งไมสามารถรูถึ งในขณะทีสาเหตุ ่ ของโรคกําลังกอตัวอยู แตจะ เริม่ รูก เ็ มือ่ มีอาการของโรค เชน ความปวด, ไอ-จาม เปนตน ปรากฏขึน้ แลว ความยากยิงของปฏิ ่ จจสมุปบาททีต่ รัสวา รูต ามยาก เห็นได โดยยาก ก็คอื กระแสปฏิจจสมุปบาททีเ่ กิดขึน้ ในชวงกอนผัสสะ นีเ้ อง ซึง่ เปนชวงทีเ่ กิดขึน้ กอนบุคคลจะรูเ รือ่ งราวของสิง่ ตางๆ เพือ่ ใหเขาใจเรือ่ งนี้ ขอเสนอแนะใหทา นผูอ า นศึกษาเพิม่ เติมเรือ่ ง ของวิถจี ติ ซึง่ ในพระอภิธรรมไดแสดงไววา วิถจี ติ ทุกวิถจี ติ เริม่ ตนจาก ภวังคจิต (= จิตทีเ่ ปนองคแหงภพ ทีม่ ไิ ดเสวยอารมณทางทวาร 6)11 โดยทีภ่ วังคจิตเมือ่ ถูกอารมณภายนอกมากระทบแลว จะเกิดการไหว และตัดภวังค จากนั้นจะเกิดจิตที่ทําหนาที่เปดทวาร 6 แลวจึงเกิด วิญญาณ 6 ขึน้ ทําใหรเู รือ่ งราวของอารมณ ทีม่ ากระทบตอไป เมือ่ เทียบเคียงกลไกของวิถจี ติ กับกระแสปฏิจจสมุปบาทแลว จะเห็นไดวา มีสว นทีใ่ กลเคียงกันอยางยิง่ โดยเฉพาะ วิถจี ติ ในสวนตน 11

พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท ของพระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) พิมพครัง้ ที่ 11 หนา 280

13


ตัง้ แตภวังค ภวังคไหว ตัดภวังค จนถึงตอนทีเ่ กิดจิตทีเ่ ปดทวาร 6 สามารถเทียบไดกบั กระแสปฏิจจสมุปบาท ในชวงตัง้ แต อวิชชา ไปจนถึงอายตนะ ซึง่ เปนชวงกอนทีบ่ คุ คลจะรูเรื อ่ งราวของสิง่ ตางๆ ภาวะของจิตทีอ่ ยูใ นภวังคน้ี อาจพอยกตัวอยางเพือ่ ใหเขาใจ งายขึน้ โดยเปรียบไดกบั จิตในขณะทีห่ ลับสนิท ไมฝน ซึง่ ขณะนัน้ ยังไมมี การรับรูอ ารมณใด ๆ ทางทวาร 6 (ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ) ตอเมือ่ ถูก อารมณตา ง ๆ จากภายนอกมากระทบ เชน เสียงปลุก, การเขยาตัว เปนตน ภวังคจิตจะถูกกระทบใหเกิดการไหว และหากไหวจนกระทัง่ เกิดการตัดภวังคหรือออกจากภวังคเมือ่ ใด จิตก็จะเริม่ ขึน้ สูว ถิ กี ารรับรู อารมณตา ง ๆ ทางทวาร 6 และรูเ รือ่ งราวตาง ๆ ของอารมณทม่ี ากระทบนัน้ ซึง่ เปรียบไดกบั บุคคลทีเ่ ริม่ รูส กึ ตัวตืน่ ขึน้ และรูเ รือ่ งราวของอารมณตา ง ๆ ที่ เกิ ดขึ้ น แต หากเพี ยงไหว แต ไม ถึ งขั้ นที่ ทําให เกิ ดการตั ดภวั งค จิตก็จะยังคงดํารงอยูใ นภาวะภวังค คือนอนหลับสนิท ไมฝน ตอไป ดังนั้น การที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทใหเปนที่เขาใจ อย างแท จริ ง จึ งเห็ นว าควรจะมี จุ ดตั้ งต น เริ่ มจากภวั งคจิ ต ดังที่กลาวไปแลว และกระแสปฏิจจสมุปบาทจะเกิดขึ้นตั้งแต ภวังคจิตเริม่ ถูกอารมณจากภายนอกมากระทบเลยทีเดียว ทั้ ง นี้ หากจิ ตยั ง อยู ในภวั งค กระแสปฏิ จจสมุ ปบาท ก็จะยังไมสามารถเกิดขึน้ ได จิตทีอ่ ยูใ นภวังคนี้ คัมภีรอ รรถกถา ได แสดงว า เป น “จิ ตประภั สสร” เป นจิ ตที่ ผ องใส ยั งไม มี กิเลสใดๆ เกิดขึน้ รบกวน แตกย็ งั ไมใชจติ ทีบ่ ริสทุ ธิ์ เพราะหาก ออกจากภวังคเมือ่ ใด กระแสปฏิจจสมุปบาทและกิเลสทัง้ หลาย ซึง่ มีฐานะเปนอาคันตุกะหรือแขกจร ก็สามารถเกิดขึน้ และทําให จิตเศราหมองได 14


นอกจากนัน้ ความเขาใจตามนัยขางตนนีย้ งั เปนพืน้ ฐานสําคัญ ทีจ่ ะทําใหบคุ คลเขาใจ และสามารถแยกแยะไดถงึ ความแตกตางของ องคธรรมบางองคในปฏิจจสมุปบาท ทีใ่ หความหมายเปนอยางเดียวกัน ยกตัวอยาง วิญญาณ ทีใ่ หความหมายวา คือหมูแ หงวิญญาณ 6 ตรงปจจยาการ เพราะสังขารเปนปจจัย วิญญาณจึงมี ซึ่งเกิดกอน ผัสสะ มีความแตกตางจากวิญญาณ 6 ทีเ่ กิดขึน้ หลังผัสสะอยางไร ? หรือในกรณีนามรูป ซึ่งเกิดกอนผัสสะ ที่ใหความหมายของ นามไววา คือ เวทนา และผัสสะ เปนตน แตกตางกับองคธรรม คือผัสสะ และเวทนา ทีเ่ กิดขึน้ หลังผัสสะอยางไร ? ผูเ รียบเรียงจะไดอธิบายให ชัดเจนยิง่ ขึน้ ตอไป มองปฏิจจสมุปบาทโดยภาพรวม (bird’s-eye view) กอนทีจ่ ะอธิบายปฏิจจสมุปบาทซึง่ มี 11 อาการ 12 องคธรรม ไปตามลําดับทีละอาการ จะขออธิบายใหเห็นเปนเคาโครงหรือภาพรวม ทั้งหมดโดยสังเขปสักครั้งหนึ่งกอน ในลักษณะเหมือนกับการขึ้นไป มองทัศนียภาพจากทีส่ งู ในมุมสูง เพือ่ ใหเห็นภาพกวางโดยรวม อยางที่ เรียกวา bird’s-eye view ซึ่งจะชวยทําใหเขาใจไดงายขึ้นและ ชัดเจนมากขึ้น เมื่ อไดฟงการอธิบายรายละเอียดของอาการแตละ อาการ ในภายหลัง กลาวโดยสรุป ปฏิจจสมุปบาท คือกฎธรรมชาติทแี่ สดง ใหเห็นกลไกการเกิดขึน้ ของทุกข (= ทุกขอริยสัจ) หรืออุปาทานขันธ ทีเ่ กิดขึน้ ในจิตครัง้ หนึง่ ๆ โดยทีแ่ ตละครัง้ จะมีกลไกทีท่ ําใหเกิด จําแนกไดเปน 11 อาการ 12 องคธรรม 15


เนือ่ งจากปฏิจจสมุปบาทเปนกลไกการเกิดขึน้ ของทุกข ดังนัน้ จึง มีจดุ เริม่ ตนที่ อวิชชา คือ ความไมรใู นทุกข ในเหตุแหงทุกข ในความดับ ทุกข และในวิธปี ฏิบตั ใิ หถงึ ความดับทุกข หรือความไมรใู นอริยสัจ 4 เพราะไมรใู นทุกข เปนตน จึงมีการปรุงแตงใหเกิดกระแส ปฏิจจสมุปบาททีเ่ ปนกองทุกขขนึ้ มีขอ พึงระวังในทีน่ ้ี คือ อยาเขาใจผิดวา อวิชชา เปนเหตุตง้ั ตน อันดับแรกสุด (มูลการณ) หรือทีเ่ รียกในภาษาอังกฤษวา “The First Cause” เพราะมีพระพุทธพจนตรัสไววา แมอวิชชาก็มเี หตุปจ จัยทําให เกิดขึน้ กลาวคือ อาสวะเปนเหตุปจ จัยทีท่ าํ ใหเกิดอวิชชา12 ....ดวยอํานาจของอวิชชา จะปรุงแตงภวังคจิตซึง่ เปนจิตทีย่ งั ไมมพี ฤติใด ๆ ใหเกิดมีพฤติขนึ้ (สังขาร) และทําใหเกิดจิตทีจ่ ะออกมารับรู ตอสิง่ ตาง ๆ (วิญญาณ) เปนไปตามอํานาจของอวิชชา วิญญาณที่ เกิดขึน้ นีท้ าํ ใหเกิดการทําหนาทีร่ ว มกันของธรรมชาติชวี ติ 2 ฝาย คือ ฝายรูปและฝายนาม (นามรูป) ซึง่ สําเร็จออกมาเปนเครือ่ งเชือ่ มตอทีท่ าํ ให เกิดการรับรู (อายตนะ) จนรูเ รือ่ งราวของสิง่ ตาง ๆ (ผัสสะ) และทีส่ าํ คัญ คือ การรูเ รือ่ งราวนัน้ มีความรูส กึ หรือรสชาติของการรับรูเ กิดขึน้ ดวย (เวทนา) และโดยวิสยั ของสัตวโลกทัว่ ไปทีย่ งั มีอวิชชา จะเกิดความทะยานอยาก (ตัณหา) ไปตามรสชาติของเวทนาทีเ่ กิดขึน้ นัน้ จนเกิดเปนความยึดมัน่ ถือมัน่ (อุปาทาน) เมือ่ มีความยึดมัน่ ถือมัน่ เกิดขึน้ จิตก็จะเพลินและ โลดแลนอยูแ ตกบั ความยึดมัน่ ถือมันนั ่ น้ จนกลายเปนโลกของบุคคลนัน้ (ภพ) และเกิ ดเป นชี วิ ตทุ กข หรื อทุ กขอริ ยสั จขึ้ น กล าวโดยสรุ ป คื อเกิ ด อุปาทานขันธ หรือชีวติ ทีป่ ระกอบอยูด ว ยความยึดมัน่ ถือมัน่ โดยแสดง ตัวออกมาเปน ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส 12

พระไตรปฎกเลมที่ 12 ขอ 128

16


ชีวิตที่มีความยึดมั่นถือมั่นนี้แหละ ที่ทางพุทธศาสนา แสดงวาเปนชีวติ ทุกข ยึดมัน่ มากก็ทกุ ขมาก ยึดมัน่ นอยก็ทกุ ขนอ ย ไมยึดมั่นก็ไมทุกข และสาระสําคัญของอุปาทานขันธนี้มีราก ฐานอยูท คี่ วามยึดมัน่ ถือมัน่ วาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา ดังนัน้ อุปาทานขันธอนั ดับแรกสุดทีเ่ กิดขึน้ คือ ชาติ นี้ จึงมี สาระสําคัญ คือ การเกิดขึน้ ของภาวะชีวติ ทีม่ คี วามยึดมัน่ ถือมัน่ วาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา เมือ่ ชาติ คือภาวะชีวติ ทีม่ คี วามยึดมัน่ ถือมัน่ วาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา เกิดขึน้ อุปาทานขันธในลําดับถัดไปคือ ชรา ก็จะเกิดขึน้ ความหมายในที่ นี้ คื อ ภาวะชี วิ ต ที่ มี ค วามยึ ด มั่ นถื อ มั่ น ว า มี เราผูเ สือ่ ม เราผูด อ ยลง เราผูง อ นแงนคลอนแคลน เราผูไ มมนั่ คง ทําใหเกิดระดับความรุนแรงของทุกขอริยสัจมากขึน้ ไปอีก และถึงทีส่ ดุ ก็เกิดเปน มรณะ ซึ่งหมายถึง ภาวะชีวิตที่มคี วามยึดมั่นถือมัน่ วามี เราผูพ ลัดพราก เราผูส ญ ู สิน้ เราผูห ายนะ เราผูถ กู ทําลาย ทําให ทุกขอริยสัจเพิม่ ระดับจนถึงขีดสูงสุด ส ว น โสกะปริ เ ทวะทุ กข โ ทมนั ส อุ ป ายาส (ความโศก ความคร่าํ ครวญ ทุกข โทมนัส และความคับแคนใจ) เปนเพียงอาการ ปรากฏของทุกขอริยสัจ ทีแ่ สดงใหเห็นชัดเจนออกมาเทานัน้ ความเกิดขึน้ แหงกองทุกขทงั้ ปวง จึงมีไดดว ยประการฉะนี้ กลไกของปฏิจจสมุปบาทดังที่ไดอธิบายแลวนี้ อาจจะกลาว ใหกระชับยิง่ ขึน้ อีกไดวา เกิดขึน้ เนือ่ งจากจิตมีทา ทีในการรับรูต อ สิง่ ตาง ๆ อยางไมถกู ตอง จึงทําใหเกิดการปรุงแตงไปในทางยินดีและเพลินกับ การแสวงหารสชาติของสัมผัสที่รับรูตอสิ่งตาง ๆ จนยึดมั่นถือมั่นใน สิง่ ตาง ๆ วาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา และเกิดเปนกองทุกขขนึ้ 17


♦วิเคราะห-สังเคราะห อวิชชาเปนปจจัยใหเกิดสังขาร

ดังทีได ่ เสนอไววา การจะอธิบายปฏิจจสมุปบาท ใหเปนทีเข่ าใจและ แจมแจง ควรจะมีจดุ ตัง้ ตนจากภวังคจิต โดยทีผ่ เู รียบเรียงไดยกตัวอยาง ใหพอเขาใจแลววา ภวังคจิต คือ จิตในขณะหลับสนิท ไมฝน นัน้ มีเรื่องที่จะตองทําความเขาใจตรงนี้ใหดีกอนวา การกลาว ถึงภวังคจิตนี้ ไมไดเปนการบอกวา กระแสปฏิจจสมุปบาทมีจดุ เริม่ ตน จากบุคคลในขณะที่กําลังหลับสนิทอยู การกลาวถึงภาวะของจิตใน ขณะที่หลับสนิท ไมฝน เปนเพียงการยกตัวอยางเพือ่ ใหพอรูจักและ เขาใจภาวะของภวังคจิตเทานัน้ เพราะในขณะนอนหลับสนิท ไมฝน จิตจะดํารงอยูแตในภาวะที่เปนภวังคจิต เกิด-ดับ ๆ อยูตลอดเวลา โดยไมเกิดจิตประเภทอืน่ แทรกขึน้ มาเลย แตในขณะตืน่ อยูห รือกําลัง ทําอะไรอยู ซึง่ จิตขึน้ สูว ถิ นี น้ั ไมใชวา จะไมมภี วังคจิตเกิดขึน้ ทุกวิถจี ติ ทีเ่ กิดขึน้ รับรูแ ละมีปฏิสมั พันธตอ อารมณภายนอก โดยธรรมชาติจะมี จุ ดเริ่ มต นที่ ภวั งคจิ ต และจบลงด วยภวั งคจิ ตทั้ งนั้ น การรั บรู ต อ อารมณหนึง่ ๆ จะมีวถิ จี ติ เกิดขึน้ เปนจํานวนมาก ดังนัน้ แมในขณะทีก่ าํ ลังตืน่ อยู ก็ปรากฏมีภวังคจิตเกิด ขึน้ สลับกับการเกิดจิตประเภทอืน่ ๆ ทีข่ นึ้ สูว ถิ กี ารรับรู ปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดไดตลอดเวลา เมื่อจิตออกจากภวังคและขึ้นสู วิถี เมื่ อภวังคจิตถูกอารมณจากภายนอกมากระทบ การ กระทบนัน้ มีผลทําใหภวังคจิตเกิดการไหว ; การไหวของภวังคจิต ดังกลาวทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของภวังคจิต จากภวังคจิต ที่ ยังไมมีพฤติใดๆ กลายมาเปนภวังคจิตที่ เริ่ มมีพฤติ ซึ่ งใน 18


ที่ นี้ ก็ คื อบุ คลิ กภาพทั้ งทางกาย วาจา และความรู สึ กนึ กคิ ด หรืออุปนิสยั การแสดงออกทีเ่ ปนของบุคคลนัน้ ๆ ทีเ่ กิดขึน้ พฤติซึ่งเปนบุคลิกภาพทางกาย วาจา และความรูสึก นึกคิด หรืออุปนิสัยการแสดงออกที่เปนของบุคคลนี้ ในทาง ศาสนาก็คือสิง่ ทีเ่ รียกวา กายสังขาร วจีสงั ขาร และจิตตสังขาร หรือความสามารถในการปรุงแตงเพือ่ แสดงออกทางกาย วาจา ใจ ของบุคคลนั่ นเอง สังขารทั้ งหมดเหล านี้ จะมี ลั กษณะหรื อ คุณภาพเปนอยางไร ขึ้นอยูกับความรู (วิชชา) หรือความไมรู (อวิชชา) ที่จิตของบุคคลนั้นสะสมจนเปนความเคยชินหรือจน เปนปกติ กลาวใหชัดยิ่งขึ้น อวิชชาในปฏิจจสมุปบาทนี้มีความหมาย เฉพาะวา คือ ความไมรใู นทุกข ในเหตุแหงทุกข ในความดับทุกข และ ในปฏิปทาทีจ่ ะใหถงึ ความดับทุกข หรือความไมรใู นอริยสัจ 4 ดังนัน้ อวิชชาในปฏิจจสมุปบาทนี้จึงทําหนาทีป่ รุงแตงภวังคจิตทีถ่ กู อารมณภายนอกมากระทบจนไหวนัน้ ใหมพี ฤติหรือสังขาร (กายสังขาร วจีสงั ขาร จิตตสังขาร) ทีเ่ ปนบุคลิกภาพและอุปนิสยั ของ บุคคล ในทางทีจะออกไปรั ่ บรูอ ารมณแลวเกิดเปนทุกขขนโดยเฉพาะ ึ้ จึงเห็นไดวา ในขณะที่บุคคลหลับสนิท ไมฝน ซึ่งจิตอยูใน ภวังคนน้ั จะไมมกี ารรับรูใ ด ๆ ทางทวาร 6 และจะยังไมมพี ฤติตา ง ๆ ของจิตเกิดขึน้ แตพอถูกปลุกหรือถูกอารมณจากภายนอกมากระทบ จนภวังคจิตเกิดการไหวเทานั้น พฤติของจิตซึ่งเปนบุคลิกภาพและ อุปนิสยั ตาง ๆ ในความเปนบุคคลคนนัน้ ก็ถกู ปรุงแตงใหเกิดขึน้ ทันที อวิชชาเปนปจจัยใหเกิดสังขาร เกิดขึ้นดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ 19


♦วิเคราะห-สังเคราะห สังขารเปนปจจัยใหเกิดวิญญาณ

ภวั ง คจิ ต ที่ ถู กอารมณ ภ ายนอกมากระทบให ไ หว จะถู ก ปรุงแตงจากจิตที่ไมมีพฤติใด ๆ ใหกลายมาเปนจิตที่เริ่มมีพฤติหรือ บุคลิกภาพทีเ่ ปนไปตามอํานาจอวิชชาของบุคคลนัน้ ๆ ภวังคจิตที่เริ่มมีพฤติดังกลาวนี้ คือภวังคจิตที่เริ่มไหว และจะเริม่ ออกไปทําหนาทีร่ บั รูอ ารมณตา งๆ ทีม่ ากระทบตอไป การทีภ่ วังคจิตจะออกไปทําหนาทีร่ บั รูอ ารมณตา งๆ ทีม่ ากระทบ ไดนนั้ ปจจัยสําคัญคือ จะตองตัดภวังคหรือออกจากสภาพความ เปนภวังคอยางสิน้ เชิงเสียกอน ซึง่ ทําไดโดยอารมณทมี่ ากระทบ เมือ่ กระทบแรงขึน้ ๆ ก็จะเราใหภวังคจิตทีไ่ หวนัน้ ปรุงแตงใหเกิด วิญญาณ 6 ขึน้ (จะเกิดเปนวิญญาณในทางใด ขึน้ อยูก บั อารมณภาย นอกอะไรทีม่ ากระทบ) เพือ่ ทีจ่ ะรับรูต อ อารมณทมี่ ากระทบนัน้ วิญญาณ 6 ทีเ่ กิดขึ้นในขั้นตอนนี้ แตกตางจากวิญญาณ 6 ทีเ่ กิดขึน้ ในขัน้ ตอนสฬายตนะเปนปจจัยใหเกิดผัสสะ ซึง่ เปนวิญญาณ 6 ทีเ่ กิดจากอายตนะภายในและอายตนะภายนอกมากระทบกัน แลวทําให เกิดการรูเ รือ่ งราวตาง ๆ ของอารมณขนึ้ แตวญ ิ ญาณ 6 ในขัน้ ตอนนี้ เปนวิญญาณ 6 ทีเ่ กิดขึน้ จาก การกระทบกันของอารมณภายนอกกับภวังคจิตโดยตรง (ไมใช เกิดขึนจากอายตนะภายในกระทบกั ้ บอายตนะภายนอก) วิญญาณ 6 ในขัน้ ตอนนี้ จึงเพียงสามารถรับรูตอ อารมณทมี่ ากระทบเทานัน้ แตยงั ไมสามารถรูเ รือ่ งราวของอารมณนนั้ ๆ ได ; วิญญาณ 6 ที่ เกิดขึน้ นีเ้ อง ทีท่ ําใหเกิดการตัดภวังคและเกิดการเคลือ่ นออก จากสภาพของภวังคจิต ใหขนึ้ สูว ถิ เี พือ่ รับรูอ ารมณตอ ไป 20


ในกรณีนี้ อาจเปรียบไดกับการปลุกบุคคลที่กําลังหลับสนิท ไมฝน (จิตขณะนัน้ อยูใ นภวังค) ในขัน้ ตอนนี้ บุคคลเริม่ รับรูต อ อารมณ ที่ มากระทบ แต ยั งไม สามารถรู เรื่ องราวของอารมณ ได คื อเพี ยง รับรูว า มีอะไรบางอยางทีเ่ ขามากระทบ แตยงั ไมรวู า เปนอะไร สังขารเปนปจจัยใหเกิดวิญญาณ เกิดขึน้ ดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ ♦วิเคราะห-สังเคราะห วิญญาณเปนปจจัยใหเกิดนามรูป ประเด็นสําคัญทีจ่ ําเปนตองรูก อน เพือ่ การทําความเขาใจใน ปจจยาการขัน้ ตอนนี้ คือ นามรูปในทีน่ มี้ ลี กั ษณะเปนเอกพจน ไมได เปนพหูพจน โดยแยกเปนนามสวนหนึง่ และเปนรูปอีกสวนหนึง่ ความเปนเอกพจนของนามรูป มีความหมายวา ธรรมชาติ ของชีวติ ทีป่ ระกอบดวยสวนทีเ่ ปนนามธรรมและรูปธรรม ทัง้ นามและรูป จะต องผสมผสานและรวมกั นเป นหนึ่ งเดี ยวในการทําหนาที่ จึงจะสามารถขับเคลือ่ นองคาพยพของชีวิตทัง้ หมดเพื่อรู และ ปฏิสมั พันธกบั สิง่ ตางๆ ภายนอกได เพือ่ ความเขาใจในเรื่องนี้ ขอเสนอใหพิจารณาพระพุทธพจน บทหนึง่ ทีก่ ลาววา “บุรษุ นีป้ ระกอบอยูด ว ยธาตุ 6 อยาง คือ ปฐวีธาตุ (ดิน), อาโปธาตุ (น้าํ ), เตโชธาต ุ (ไฟ), วาโยธาตุ (ลม), อากาสธาตุ (ทีว่ า ง) และวิญญาณธาตุ (รู) ”13 ธาตุทั้ง 6 ดังกลาว เปนธาตุพื้นฐานหรือธาตุตั้งตนของสิ่งที่ เป นสังขตธรรมหรื อสิ่ งที่ มี ป จจั ยปรุ งแต งทั้ งหลาย หมายความว า สิง่ ตาง ๆ หรือปรากฏการณตา ง ๆ เกิดขึน้ จากการผสมผสาน หรือการ ปรุงแตงของธาตุทง้ั 6 นีเ้ อง จนมาเปนสรรพสิง่ ทีเ่ ปนสังขตธรรม 13

พระไตรปฎก เลมที่ 14 ขอ 679

21


ธาตุดนิ ธาตุนา้ํ ธาตุไฟ ธาตุลม และธาตุทวี่ า ง จัดเปน ธาตุฝา ยรูป สวนวิญญาณธาตุ หรือธาตุรู จัดเปนธาตุฝา ยนาม คําวา นามรูป จึงมีความหมายวา เปนองคธรรมทีเ่ กิดขึน้ จากการผสมผสานจนเปนหนึง่ เดียวของธาตุทงั้ 6 ดังกลาว จะเห็นไดวา ตัง้ แตเริม่ ตนของกระแสปฏิจจสมุปบาท จากอวิชชา --> สังขาร จนมาถึงวิญญาณ ยังไมมีเรือ่ งราวของธรรมชาติฝา ยรูป เขามาเกีย่ วของ แตหลังจากเกิดวิญญาณแลว จึงมีธรรมชาติฝา ยรูป เขามาเกีย่ วของ โดยเกิดเปน นามรูป ดังนัน้ ในขัน้ ตอนของกระแสปฏิจจสมุปบาท ตัง้ แต อวิชชา --> สั ง ขาร --> วิ ญ ญาณ และยั ง ไม ไ ด ป รุ ง แต ง ให นามรู ป เกิดขึ้น ภาวะของชีวิตจะอยูในลักษณะที่เปนธาตุ 6 ที่กระจัด กระจาย โดยเฉพาะธาตุ ฝ ายรู ปกั บธาตุ ฝ ายนามยั งดํารงอยู อยางเปนเอกเทศตอกัน จึงยังไมสามารถขับเคลือ่ นองคาพยพ ของชีวติ ทัง้ หมดเพือ่ รู และปฏิสมั พันธกบั สิง่ ตางๆได กลาวใหชดั ยิง่ ขึน้ ถึงความหมายของ นามรูป นาม ในทีน่ ้ี มีทม่ี าจาก วิญญาณ 6 ทีเ่ กิดขึน้ ในขัน้ ตอนของ สังขารเปนปจจัยใหเกิดวิญญาณ สวน รูป ในทีน่ ้ี มีทม่ี าจาก ตัวประสาท ทีเ่ กิดขึน้ จากการปรุง แตงของธาตุดนิ น้าํ ไฟ ลม คําวา นามรูป จึงหมายถึง การผสมผสานจนเปนหนึง่ เดียว ของวิญญาณ 6 กับ ตัวประสาท และเพราะการรวมกันจนเปน หนึง่ เดียวในการทําหนาที่ จึงทําใหเกิดคุณสมบัตพิ เิ ศษบางอยางขึน้ จนทําใหสามารถขับเคลือ่ นองคาพยพของชีวติ ทัง้ หมดได 22


ยกตัวอยาง ในภาวะทีห่ ลับสนิท ไมฝน ซึง่ ยังไมมวี ญ ิ ญาณ 6 เกิดขึน้ หรือในภาวะทีต่ น่ื อยู แตประสาทสวนนัน้ เสียไป หรือถูกทําให อยูในภาวะที่คลายกับเสียไป ก็ไมสามารถรูและทําอะไรได นั่นเปน เพราะธาตุทง้ั 2 ฝาย คือ นาม และ รูป ไมสามารถหรือไมไดผสมผสาน กันจนเปนหนึง่ เดียวในการทําหนาที่ นัน่ เอง เพือ่ ใหเห็นเปนรูปธรรมยิง่ ขึน้ อาจเปรียบชีวติ ไดกบั เครือ่ งใชไฟฟา ซึง่ จะตองมีทง้ั กระแสไฟฟา(=วิญญาณ) และสายไฟฟา (=ตัวประสาท) เปนปจจัยรวมสําคัญ (=นามรูป) จึงทําใหเครือ่ งใชไฟฟาทํางานได เมือ่ มีการตัดภวังคและเกิดวิญญาณ 6 ขึน้ ; วิญญาณ 6 ที่ เกิดขึ้นนี้จะโลดแลนไปตามตัวประสาท และผสมผสานกับตัว ประสาท จนเปนอันหนึง่ อันเดียวกัน เกิดเปนนามรูป ขึน้ การเกิดขึน้ ของนามรูป ทําใหเกิดมีคณ ุ สมบัตพิ เิ ศษบาง อยางเพิมมากขึ ่ นไปอี ้ ก โดยในสวนของนาม ทําใหเกิดคุณสมบัตทิ สามารถ ่ี จะรูเ รือ่ งราว(ผัสสะ), รูส กึ (เวทนา), จดจํา(สัญญา), ตลอดจนสามารถ แสดงเจตนจาํ นง (เจตนา) และความใสใจ (มนสิการ) และในสวนของ รูป ทําใหเกิดรูปทีอ่ าศัยมหาภูตรูป ซึง่ ทัง้ หมดเปนคุณสมบัตสิ าํ คัญทีท่ าํ ให สามารถขับเคลือ่ นองคาพยพของชีวติ เพือ่ รูแ ละปฏิสมั พันธกบั สิง่ ตาง ๆ ได ภาวะของนามรูปจึงเปนภาวะชีวติ ทีพ่ รอมจะทําหนาทีต่ า งๆ ตอไป วิญญาณเปนปจจัยใหเกิดนามรูป เกิดขึ้นดวยอาการ ดังทีก่ ลาวแลวนี้ ปจจยาการในขั้นตอนนี้ มีความพิเศษยิ่งกวาในขั้นตอนอื่น ทัง้ หมด กลาวคือ นอกจากตรัสวาวิญญาณเปนปจจัยใหเกิดนามรูปแลว พระพุทธองคยงั ไดตรัสอีกวา แมนามรูปก็เปนปจจัยใหเกิดวิญญาณ ซึง่ นาพิจารณายิง่ วาทําไมจึงตรัสเชนนี้ 23


ทัง้ นีเ้ พราะภาวะของนามรูป เปนภาวะทีว่ ญ ิ ญาณ 6 ผสม ผสานจนเปนหนึงเดี ่ ยวกับตัวประสาท ในการทําหนาที่ จึงทําใหทงจิ ั้ ต และตัวประสาททํางานอยูตลอดเวลา  ตราบเทาทีนามรู ่ ปยังปรากฏอยู การทีน่ ามรูปทํางานตอเนือ่ งอยูเ ปนระยะเวลานานนัน้ ทําใหทงั้ จิต และประสาทเหน็ดเหนื่อย และหากนานจนเกินไป ก็จะทําให กระทบกระเทือนและเป นอันตรายตอทั้ งจิ ตและตั วประสาท ไดมาก ดังนัน้ เมือ่ ทํางานไปไดชว งเวลาหนึง่ โดยธรรมชาติจะมีการ สลายจากนามรูป กลับไปเปนวิญญาณ 6 และกลับสูภ วังคหรือเขาสู ภาวะหลับ ทัง้ นีเ้ พือ่ ใหทงั้ จิตและตัวประสาทไดพกั และสะสมพลัง เพือจะได ่ สามารถกลับมาทํากิจตางๆ ไดอยางมีประสิทธิภาพตอไป ดังนัน้ ในขัน้ ตอนนี้ จึงมีปจ จยาการตามทีต่ รัสไววา แมนามรูป ก็เปนปจจัยใหเกิดวิญญาณ ดวย ♦วิเคราะห-สังเคราะห นามรูปเปนปจจัยใหเกิดสฬายตนะ

เมือ่ นามรูปเกิดขึน้ จะมีการปรุงแตงตอใหนามรูป นัน้ เกิด เปนอายตนะหรือเครือ่ งเชือ่ มตอกับอารมณตา งๆ ภายนอก ซึง่ มี 6 อยางดวยกัน คือ ตา หู จมูก ลิน้ กาย และใจ มนสิการ หรือ ความใสใจในนามรูป เปนสิง่ ทีม่ บี ทบาท สําคัญทีจ่ ะเลือกปรุงแตงใหเกิดอายตนะใดขึน้ เชน หากมีมนสิการ มาทีต่ า อายตนะคือตาจึงเกิดขึน้ และจึงสามารถรับรูแ ละรูต อ อารมณ ทีผ่ า นเขามาทางตาได ในอายตนะอืน่ ๆ ก็เชนเดียวกัน นอกจากนั้น มนสิการยังมีบทบาทสําคัญยิ่งในขั้นตอนของ ผัสสะ โดยจะทําหนาทีเ่ ลือกอารมณ ตลอดจนเลือกการใสใจตออารมณ ทีร่ บั รู ซึง่ แยกไดเปน 2 แบบใหญ ๆ คือการใสใจแบบโยนิโสมนสิการ 24


และการใสใจแบบ อโยนิโสมนสิการ ซึง่ เปนเงือ่ นไขสําคัญทีจ่ ะกําหนด กระแสปฏิจจสมุปบาทในลําดับตอจากผัสสะไปนัน้ วาจะใหดาํ เนินไป ในทิศทางใด ดีหรือชัว่ ทุกขหรือไมทกุ ข ในกรณีน้ี เปรียบไดกบั บุคคลทีถู่ กปลุกใหตน่ื จนอายตนะตาง ๆ ทัง้ 6 อยูใ นภาวะพรอมทีจ่ ะรับรูและรูเ รือ่ งราวของอารมณตา ง ๆ ทีเ่ ขามาสัมผัส นามรูปเปนปจจัยใหเกิดสฬายตนะ เกิดขึน้ ดวยอาการ ดังทีก่ ลาวแลวนี้ ♦วิเคราะห-สังเคราะห สฬายตนะเปนปจจัยใหเกิดผัสสะ

คําวา อายตนะ มีความหมายวา เครือ่ งเชือ่ มตอการรับรู บุ ค คลจะรู เรื่ องราวของสิ่ งต า งๆ ที่ เป น อารมณ ภายนอกได ก็โดยผานอายตนะนีเ้ อง ; หากไมมอี ายตนะเกิดขึน้ ก็ไมสามารถรูเ รือ่ งราวของสิง่ ตางๆ ทีเ่ ปนอารมณภายนอกได อายตนะ 6 ในขณะใดขณะหนึ่ง จะเกิดขึ้นไดเพียงครั้งละ อายตนะเดียวเทานัน้ ขึน้ อยูก บั วาในขณะนัน้ ๆ กําลังมีมนสิการไปใน อายตนะใด เชน หากอายตนะ คือ ตา เกิดขึน้ อายตนะอืน่ อีก 5 อยางก็ ไมสามารถเกิดขึน้ ได อยางไรก็ตาม อายตนะทัง้ 6 สามารถเกิดสลับไปมา ไดอยางรวดเร็ว จนคลายกับวาอายตนะตาง ๆ นัน้ เกิดขึน้ พรอม ๆ กัน เมือ่ อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิน้ กาย และใจ เกิดขึน้ หมายความวามีเครือ่ งเชือ่ มตอการรับรูเ กิดขึน้ จึงสามารถไปเชือ่ มตอ กับอายตนะภายนอกทีถ่ กู คูก นั คือ รูป เสียง กลิน่ รส สัมผัสทางกาย และธรรมารมณ ตามลําดับ ; อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ที่ไมถูกคูกัน ไมสามารถเชื่อมตอกันได เชน ตา ตองเชื่อมตอกับรูป ไมสามารถเชือ่ มตอกับเสียง เปนตน 25


อายตนะภายในทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ มากระทบหรือเชือ่ มตอกับอายตนะ ภายนอก จะทําใหเกิดสิง่ ทีเ่ รียกวา วิญญาณ 6 ขึน้ ซึง่ ในขัน้ ตอนนี้ เปนวิญญาณ 6 ทีร่ แู จงและรูเ รือ่ งราวของอารมณทมี่ าเชือ่ มตอ ทางอายตนะ ไดแก การเห็น การไดยิน การไดกลิ่น การรูรส การรูส งิ่ ตองกาย และการรูเ รือ่ งในใจ การเกิดขึน้ ขององคประกอบ 3 อยางนี้ คือ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณทางอายตนะ มีชอื่ เรียกรวมวา ผัสสะ เมือ่ มีผสั สะเกิดขึน้ บุคคลจึงมีการรูเ รือ่ งราวของสิง่ ตางๆ ในกรณีของผัสสะ หากกลาวใหละเอียดยิง่ ขึน้ ยังมีการจําแนก เป น 2 ประเภท คื อ ปฏิ ฆสั มผั ส และอธิ ว จนสั มผั ส14 ซึ่ งไดมี คําอธิบายไวสน้ั ๆ วา คือ สัมผัสทางรูป และสัมผัสทางนามคือใจ ตามลําดับ สัมผัสทางรูป มีความหมายวา เปนการสัมผัสที่ผา นเขามา ทางอายตนะ 5 คือ ตา หู จมูก ลิน้ และกาย ซึง่ เปนการสัมผัสและรับรู เฉพาะสี เสียง กลิน่ รส และสิง่ ตองกาย ลวน ๆ โดยยังไมมเี รือ่ งราวของ คุณคาและความหมายของสิง่ ตาง ๆ ทีร่ บั รูเ กิดขึน้ สวนสัมผัสทางนาม มีความหมายวา เปนการสัมผัสทีผ่ า น เขามาทางอายตนะที่ 6 คือ ใจ ซึง่ เปนการสัมผัสทีม่ กี ารรับรูท ก่ี วางขวาง มาก สัมผัสทางรูปเมือ่ เกิดขึน้ แลว จะมีการสงตอมายังสัมผัสทางนาม อีกครัง้ หนึง่ เพือ่ ใหเกิดความรูใ นเรือ่ งราวของสิง่ ตาง ๆ ทีเ่ ปนสัมผัสทางรูป มากยิ่ งขึ้ นไปอี ก โดยเฉพาะในส วนที่ เป นคุ ณค าและความหมาย ตลอดจนชือ่ บัญญัตขิ องสิง่ ตาง ๆ เหลานัน้ นอกจากนัน้ ยังรับรูธ รรมารมณ ตาง ๆ ทีม่ าสัมผัสทางนามโดยตรง เชน ความรูส กึ นึก คิด ฯลฯ 14

พระไตรปฎก เลมที่ 29 ขอ 62

26


สฬายตนะเปนปจจัยใหเกิดผัสสะ เกิดขึ้นดวยอาการ ดังทีก่ ลาวแลวนี้ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ผัสสะเปนปจจัยใหเกิดเวทนา

การรูเรื่องราวของสิ่งตาง ๆ โดยผัสสะนี้เปนสิ่งที่สําคัญมาก เพราะผัสสะเปนแหลงหรือชุมทางสําคัญที่จะทําใหเกิดสิ่งหรือเรื่อง ตาง ๆ แตกตัวออกไปไดมากมายมหาศาล ในนิพเพธิกสูตร15 พระพุทธองคไดทรงแสดงไววา ผัสสะเปน เหตุเกิดแหงกาม, เวทนา, สัญญา และกรรม ซึง่ ลวนเปนสิง่ ทีส่ าํ คัญยิง่ และมีความหมายตอชีวติ เปนอยางมาก แตในกระแสปฏิจจสมุปบาท ทรงเลือกเอาเฉพาะปจจยาการ ทีว่ า ผัสสะเปนเหตุเกิดแหงเวทนา เปนประเด็นสําคัญ ทัง้ นีเ้ พราะ เวทนาหรือความรูสึกที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสกับสิ่งตางๆ ทาง อายตนะทั้ ง 6 ซึ่ งอาจเรียกว าเป นรสชาติ ของการสัมผั สนั้ น มีอทิ ธิพลผูกมัดจิตใจ ตลอดจนครอบงําธรรมอืน่ ๆ ใหเปนไป ตามอํานาจ ยิง่ กวาสิง่ ใด ถึงขัน้ มีพระพุทธพจนตรัสไววา “ธรรม ทัง้ หลายมีเวทนาเปนทีป่ ระชุมลง”16 ซึง่ หมายความวา พฤติกรรม และการกระทําทัง้ หลายของผูท ยี่ งั มีอวิชชา และดวยอํานาจของ อโยนิโสมนสิการ จะชักนําใหการรับรูตรงผัสสะนี้ มีจดุ มุงเพื่อ แสวงหาเวทนาหรือรสชาติจากการสัมผัสเปนสําคัญ ผัสสะเปนปจจัยใหเกิดเวทนา เกิดขึ้นดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ 15

พระไตรปฎก เลมที่ 22 ขอ 334 ;

16

พระไตรปฎก เลมที่ 24 ขอ 58

27


♦วิเคราะห-สังเคราะห เวทนาเปนปจจัยใหเกิดตัณหา

เมือ่ เวทนาหรือรสชาติแหงการสัมผัสทัง้ หลายทางอายตนะ 6 ซึง่ เปนสิง่ ทีม่ อี ทิ ธิพลผูกมัดจิตใจของบุคคลเปนอยางยิง่ เกิดขึน้ จะเรา ความปรารถนาหรือความทะยานอยาก (ตัณหา) ใหเกิดขึน้ และเปน ไปตามอํานาจของเวทนาทีเ่ กิดขึน้ นัน้ กลาวคือ หากเปน สุขเวทนา ก็จะเราใหเกิดความปรารถนา หรือความทะยานอยากไปในทางทีจะครอบครองเป ่ นเจาของ (= กามตัณหา) หรือตองการดํารงอยูเปนอันหนึ่งอันเดียวกับภาวะของสุขเวทนานั้น (= ภวตัณหา) แตหากเปน ทุกขเวทนา ก็จะเราใหเกิดความปรารถนาหรือ ความทะยานอยากไปในทางที่ จ ะผลั ก ไสหรื อ หนี จ ากภาวะของ ทุกขเวทนานัน้ (= วิภวตัณหา) ในกรณีที่เปน อทุกขมสุขเวทนา (เวทนาที่ยังตัดสินลงไป ไมไดวา เปนสุขหรือเปนทุกข) ก็ขนึ้ อยูก บั บุคคลแตละคนวาจะตัดสินตอ เวทนานัน้ อยางไร หากตัดสินไปในทางทีป่ รารถนาจะครอบครอง หรือ ดํารงอยูเ ปนอันหนึ่งอันเดียวกับเวทนานัน้ ก็จะเราใหเกิดกามตัณหา และภวตัณหา ตามลําดับ ; ในทางตรงขามหากตัดสินไปในทางที่ ปรารถนาจะผลักไสหรือหนีไป ก็จะเราใหเกิด วิภวตัณหา ขึน้ เวทนาเปนปจจัยใหเกิดตัณหา เกิดขึ้นดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ตัณหาเปนปจจัยใหเกิดอุปาทาน

บุคคลเมือ่ มีความทะยานอยากในรสชาติสมั ผัสของสิง่ ใด (ตัณหา) ก็จะยึดติดอยูก บั สิง่ นัน้ และกอตัวเปนความยึดมัน่ ถือมัน่ 28


ในรูปแบบตางๆ ขึน้ (อุปาทาน) โดยมีจติ ฝงลงไปวา ความยึดมัน่ ถือมัน่ นี้ จะทําใหชีวติ มีความสุข ความมัน่ คง และความยัง่ ยืน ทีแ่ ทจริง อุปาทาน หรือความยึดมัน่ ถือมัน่ จําแนกออกเปน 4 อยาง ดวยกัน คือ 1. กามุปาทาน คือ ความยึดมัน่ ถือมัน่ ในกาม หรือใน ความสุขทีเ่ กิดขึน้ จากการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิน้ กาย โดยมี ความยึดมัน่ ถือมัน่ วา ความสุขทีแ่ ทจริงของชีวติ คือความสุขทีม่ าจาก กามคุณ 5 ; การจะมีความสุขทีม่ นั่ คงและยัง่ ยืน คือการมีชวี ติ อยูด ว ย ความพรัง่ พรอมของ รูป เสียง กลิน่ รส และสิง่ ตองกาย ทีน่ า ยินดีและ นาปรารถนา 2. ทิฏุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ หรือ ทฤษฎี ความเห็น หรือความเชือ่ ในคําสอนตางๆ โดยมีความยึดมัน่ ถือมั่นวา ความสุขที่แทจริง จะเกิดขึ้นไดดวยการดําเนินชีวิตไปตาม ทิฏฐิ ทฤษฎี หรือความเห็น ทีเ่ ชือ่ หรือทีย่ ดึ มัน่ อยูเ ทานัน้ 3. สีลพ ั พตุปาทาน คือ ความยึดมัน่ ถือมัน่ ในศีลพรต หรือในการปฏิบตั ติ ามขอวัตรอะไรบางอยาง แลวจะทําใหบรรลุ ความสุขทีแ่ ทจริง 4. อัตตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน โดยมีความยึดมัน่ ถือมัน่ วา มีสง่ิ ทีเ่ รียกวาตัวตนทีเ่ ปนแกนสารของชีวติ ความสุขที่แทจริงจะเกิดขึ้นไดดวยการที่ตัวตนนี้ไดเขาถึงหรือบรรลุ อะไรสักอยางหนึง่ ทีเ่ ปนภาวะสูงสุด ตัณหาเปนปจจัยใหเกิดอุปาทาน เกิดขึน้ ดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ 29


♦วิเคราะห-สังเคราะห อุปาทานเปนปจจัยใหเกิดภพ

เมื่ อบุ คคลมี จิ ตฝ งลงไปในความยึ ดมั่ นถื อมั่ นอั นใด (อุปาทาน) จิตก็จะเพลิดเพลินและโลดแลนอยูแ ตกบั ความยึดมัน่ ถือมัน่ นัน้ จนกลายเปนโลกของบุคคลนัน้ (ภพ) ภพในที่ นี้ จํ า แนกตามสุ ข เวทนาหรื อ อุ เ บกขาเวทนาที่ ละเอียดประณีตยิ่งไปกวาสุขเวทนาที่บุคคลยึดมั่นถือมั่นเปนสําคัญ ประมวลสุ ขเวทนาหรื ออุ เบกขาเวทนาที่ บุ คคลที่ ยั งมี อวิ ชชา (คื อ ความไมรใู นอริยสัจ 4) จะรูจ กั และยึดมัน่ ถือมัน่ อยู จัดไดเปน 3 ระดับ คือ - สุขเวทนาทีเ่ นือ่ งมาจากกาม - สุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาทีเ่ นือ่ งมาจากรูปฌาน - อุเบกขาเวทนาทีเ่ นือ่ งมาจากอรูปฌาน ซึ่งมีชื่อเรียกตามเวทนาที่ยึดมั่นขางตนนี้วา กามภพ, รูปภพ และ อรูปภพ ตามลําดับ อุปาทานเปนปจจัยใหเกิดภพ เกิดขึ้นดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ภพเป็นปจจัยใหเกิดชาติ

คําวา ชาติ ตามที่ไดมีพระพุทธพจนตรัสอธิบายไววา คือ ความปรากฏของขันธ เปนตนนั้น เปนคําที่มีความหมายพิเศษที่ จะตองวินจิ ฉัยใหดี ในทีน่ ข้ี อเสนอใหพจิ ารณาเรือ่ ง อริยสัจ 4 ตามทีพ่ ระพุทธองค ทรงแสดง โดยเฉพาะในหัวขอแรก คือ ทุกขอริยสัจ ซึง่ ใหความหมาย ไววา คือ ความเกิด (ชาติ), ความแก (ชรา), ความตาย (มรณะ), 30


ความโศก ความคร่าํ ครวญ ทุกข โทมนัส และความคับแคนใจ (โสกะ ปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส) ฯลฯ และมีคาํ ตรัสสรุปรวบยอดไววา “วาโดยยอ อุปาทานขันธ 5 เปนทุกข” ดังนัน้ ความปรากฏของขันธ ในทีน่ ้ี จึงมีความหมายพิเศษ วาเปน ความปรากฏของอุปาทานขันธ หรือขันธ 5 ที่ประกอบอยู ดวยความยึดมัน่ ถือมัน่ ซึง่ เปนความปรากฏของชีวติ ทุกข หรือทุกขอริยสัจ นัน่ เอง โดยใหนํา้ หนักอยูท อ่ี ุปาทาน คือ อัตตวาทุปาทาน หรือความ ยึดมั่นถือมั่นวาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา ซึ่งมีความหมาย ครอบคลุมอุปาทานอืน่ ๆ ทัง้ หมด เมื่อจิตเพลิดเพลินและโลดแลนอยูแตกับความยึดมั่น ถือมัน่ นัน้ จนกลายเปนโลกของบุคคลนัน้ (ภพ) บุคคลจึงเกิด ความรูส กึ วามีภาวะชีวติ ทีเ่ ปน เรา ของเรา และตัวตนของเรา (ชาติ) เปนผูโ ลดแลนอยูใ นโลกนัน้ ภาวะชีวติ ทีม่ คี วามยึดมัน่ ถือมัน่ วาเปนเรา ของเรา ตัวตนของ เรา นัน้ ทําใหบคุ คลเกิดความรูส กึ แปลกแยก และมี “เรา” ทีแ่ ยกออก ไปจากธรรมชาติ จึงทําใหเกิดความรูสกึ ที่ตอ งการเขาไปควบคุมและ จัดการธรรมชาติ ตลอดจนสิง่ ทีย่ ดึ วาเปนเราและของเรานัน้ ใหเปนไป อยางที่ “เรา” ตองการ ซึง่ โดยสรุป ก็คอื ตองการไมใหมกี ารเปลีย่ นแปลง ไปในทางที่ไมตองการ (นิจจัง) ตองการใหคงทนอยูเ ชนนั้นตลอดไป (สุขขัง) และตองการใหสง่ิ ตางๆ เปนไปตามอํานาจการบังคับของตน (อัตตา) ซึ่งเปนเรื่องที่ขัดแยงกับสัจจะหรือความจริงของธรรมชาติ ที่ทุกสิ่งลวนดํารงอยูและเปลี่ ยนแปลงไปตามเหตุปจจัย (อนิจจัง) อยูในภาวะที่ทนอยูในสภาพเดิมไมได (ทุกขัง) และไมอยูในอํานาจ การบังคับของใคร (อนัตตา) 31


ดังนัน้ ชีวติ ทีม่ คี วามยึดมัน่ ถือมัน่ วา เรา ของเรา ตัวตน ของเรานี้ โดยธรรมชาติจงึ เปนชีวติ ทีข่ ดั แยงกับสัจจะหรือความจริง ของธรรมชาติตลอดเวลา ผลของความขัดแยงนีเ้ องทีก่ อ ใหเกิด เปนชีวติ ทุกข (ทุกขอริยสัจ) และพรอมทีจ่ ะกอตัวเปนความทุกข ทีร่ นุ แรงยิง่ ขึน้ ตอไป หากยึดมัน่ ถือมัน่ มาก จะทําใหเกิดทุกขมาก หากยึดมัน่ ถือมัน่ นอย จะทําใหเกิดทุกขนอ ย ความหมายของชาติอี กนัยหนึ่ ง ที่ตรัสไววา คือ ความได อายตนะครบในหมูส ตั ว ก็เปนขอความทีม่ คี วามหมายพิเศษอีกเชนกัน ในทีน่ ้ี หมายความวา นอกจากจะยึดมัน่ ถือมัน่ ในขันธ 5 วาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา แลว แมแตอายตนะรวมทั้ งสิ่ งที่รับรู ทางอายตนะ ก็พลอยถูกยึดมัน่ ถือมัน่ วาเปน เรา ของเรา ตัวตนของเรา ไปดวย ภพเปนปจจัยใหเกิดชาติ เกิดขึ้นดวยอาการดังที่กลาว แลวนี้ ♦วิเคราะห-สังเคราะห ชาติเป็นปจจัยใหเกิดชรามรณะ

เมือ่ ชาติ คือ อุปาทานขันธ หรือ ภาวะชีวติ ทีป่ ระกอบอยูด ว ย ความยึดมั่ นถือมั่นวา เรา ของเรา ตัวตนของเรา เกิดขึ้น จะทําให อุปาทานขันธในลําดับถัดไป คือ ชรา เกิดขึน้ คําวา ชรา โดยสาระสําคัญแลว หมายถึง ความเสือ่ ม ภาวะที่ ดอยลง ความงอนแงนคลอนแคลน หรือความไมมนั่ คง ดังทีพ่ ระพุทธองคไดตรัสใหเห็นเปนรูปธรรมวา คือภาวะของความแก ฟนหลุด ผมหงอก หนังเหีย่ ว ความเสือ่ มแหงอายุ ความแกหงอมแหงอินทรีย เปนตน 32


ดังนัน้ ชรา ในที่นี้ จึงมีความหมายพิเศษเชนเดียวกัน กับคําวา ชาติ กลาวคื อ เปนอุปาทานขันธ หรือภาวะชีวิตที่ ยึดมัน่ ถือมัน่ วา เรา ของเรา ตัวตนของเรา ทีเ่ ปนผูเ สือ่ ม ผูด อ ยลง ผูง อ นแงนคลอนแคลน ผูไ มมนั่ คง ซึง่ ทําใหระดับความรุนแรงของ อุปาทานขันธ หรือทุกขอริยสัจ เพิม่ มากขึน้ ไปอีก สําหรับคําวา มรณะ ก็เชนกัน มีสาระสําคัญ หมายถึงความ พลัดพราก ความสูญสิน้ ความหายนะ หรือการถูกทําลาย ดังนัน้ มรณะ ในทีน่ ี้ จึงมีความหมายพิเศษวา เปนอุปาทานขันธ หรือภาวะชีวติ ทีย่ ดึ มัน่ ถือมัน่ วา เรา ของเรา ตัวตนของเรา ทีเ่ ปนผูพ ลัดพราก ผูส ญ ู สิน้ ผูห ายนะ ผูถ กู ทําลาย ซึง่ ทําใหระดับความ รุนแรงของอุปาทานขันธ หรือทุกขอริยสัจเพิม่ มากขึน้ จนถึงขีดสูงสุด สวน โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส (ความโศก ความคร่าํ ครวญ ทุกข โทมนัส และความคับแคนใจ) นัน้ อยางทีไ่ ดกลาวไปแลว เปน เพียงอาการปรากฏของทุกขอริยสัจทีแ่ สดงใหเห็นชัดเจนออกมาเทานัน้ ชาติเปนปจจัยใหเกิดชรามรณะ เกิดขึน้ ดวยอาการดังที่ กลาวแลวนี้ ..... กองทุกขทงั้ ปวง จึงมีไดดว ยอาการเชนนี้ ผลของความเขาใจและรูแ จงในปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท ดังที่กลาวไปแลว จะทําใหบุคคลไดรูชัดถึง กลไกทัง้ หมดทีท่ าํ ใหทกุ ข (= ทุกขอริยสัจ) เกิดขึน้ และดับลง ซึง่ เทากับ ทําใหบคุ คลรูถ งึ พระธรรมทีต่ รัสสอนทัง้ หมด สมดังพระพุทธพจนที่ วา “แตกอนก็ดี บัดนี้ ก็ดี ตถาคต บัญญัตแิ ตเรือ่ งของทุกข และความดับไปแหงทุกขเทานัน้ ” ความเขาใจทีถ่ กู ตองในเรือ่ งปฏิจจสมุปบาทนี้ มีผลมาก 33


ถึงขั้นที่พระพุทธองคตรัสไววา เปนองคคุณขอหนึ่งที่ใชในการ พยากรณตนเองวา เปนผูถ ึงแลวซึ่งกระแส เปนพระโสดาบันผู เทีย่ งแทตอ นิพพาน17 และการประจักษแจงหรือเกิดวิชชาในปฏิจจสมุปบาท ทําใหบคุ คลเปนพระอรหันต แจงพระนิพพาน รูช ดั วา ชาติสิ้นแลว พรหมจรรยอยูจบแลว กิจที่ควรทําทําเสร็จแลว กิจอืน่ เพือ่ ความเปนอยางนี้ มิไดม18ี การประยุกตปฏิจจสมุปบาท เปนหมวดธรรมตางๆ ตอจากนี้ไปจะไดแสดงใหเห็นตัวอยางการประยุกตปฏิจจสมุปบาท มาเปนหมวดธรรมหมวดตาง ๆ โดยจะเลือกกลาวถึงเฉพาะ หมวดทีส่ าํ คัญบางหมวด ซึง่ จะชวยทําใหเขาใจในทีม่ าทีไ่ ป ตลอดจน เรือ่ งราวของหมวดธรรมนัน้ ๆ ไดชดั เจนและถูกตองยิง่ ขึน้ ♦จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนอริยสัจ 4

และกิจในอริยสัจ 4 นอกจากการประยุกตจากปฏิจจสมุปบาท มาเปนอริยสัจ 4 ดังทีไ่ ดอธิบายไปแลวในหนา 5-6 นัน้ การจะไดรบั ประโยชนจากอริยสัจ 4 โดยสมบูรณ ยังจะตองทราบถึงกิจหรือหนาทีท่ จ่ี ะตองปฏิบตั ติ อ อริยสัจ ทัง้ 4 หัวขอ ใหถกู ตองอีกดวย พระพุทธองคไดทรงแสดงไววา ทุกข ให กําหนดรู สมุทยั ให ละ หรือทําใหไมเกิดขึน้ นิโรธ ให ทําใหแจง มรรค ให เจริญ หรือใหปฏิบตั ิ 17

พระไตรปฎก เลมที่ 16 ขอ 154-155 ;

18

พระไตรปฎก เลมที่ 16 ขอ192

34


ปฏิจจสมุปบาทดังที่ ไดอธิบายไปแลว ทําใหบุคคลมีความ รอบรู และสามารถกําหนดรู ในทุกข(= ทุกขอริยสัจ) ที่ พระพุทธเจา ตรั สสอนได ถู กต อง ทั้ งนี้ เพราะได รู ชั ดว าทุ กข หรื ออุ ปาทานขั นธ ตลอดจนกลไกทีท่ าํ ใหเกิดขึน้ คืออะไรและเปนอยางไร ดังนัน้ การศึกษาและปฏิบตั เิ พือ่ ใหเกิดความรูเ ขาใจในปฏิจจสมุปบาท แททีจริง ่ คือ การทํากิจ “กําหนดรู” ใน ทุกข (อริยสัจ) นัน่ เอง สําหรับประเด็นของสมุทยั คือ ตัณหา ปฏิจจสมุปบาท ก็ ทําใหเขาใจในรายละเอียดตาง ๆ ของ ตัณหา ชัดเจนยิง่ ขึน้ กลาวโดยสรุป : ทําใหเขาใจ ตัณหา หรือ ความทะยานอยาก นี้ คือ ความอยากในเวทนา เปนสําคัญ : ทําใหเขาใจวาตัณหาทําใหเกิดทุกข (อริยสัจ) ไดอยางไร กลาวคือ ตัณหาเปนปจจัยทําใหเกิดอุปาทาน ซึง่ เปนปจจัยสําคัญและ เปนเหตุใกลทจ่ี ะทําใหเกิดอุปาทานขันธ หรือทุกข (อริยสัจ) ตอไป : นอกจากนัน้ ยังทําใหเขาใจวา กิจ “ละ” ในตัณหา ทําอยางไร กลาวคือ การกระทําใดๆ ก็ตาม ทีท่ าํ ใหจติ ไมตกอยูใ ตอาํ นาจของ เวทนา หรือการระวังรักษาจิตไมใหออกมารับรูเ พือ่ แสวงหาเวทนา อยางทีต่ อ งการ ทัง้ นีเ้ พราะสิง่ ทีม่ อี ทิ ธิพลตอตัณหามากทีส่ ดุ ก็คอื เวทนา ดังทีม่ แี สดงไวในปฏิจจสมุปบาทวา เวทนาเปนปจจัยใหเกิดตัณหา มีขอ นาพิจารณาเกีย่ วกับการทํา กิจ “ละ” ในขัน้ ตอนนีว้ า แททจี่ ริงแลวมีจดุ มุง หมายเพือ่ อะไร ? กลาวโดยสรุป มีจุดมุง หมายเพียงเพือ่ ทําใหตณ ั หาไมเกิดขึน้ รบกวนจิตใจในปจจุบนั ซึง่ จะมีผลทําใหทกุ ข (อริยสัจ) ทีบ่ คุ คลสามารถ รับรูแ ละรูเ รือ่ งราวได ไมเกิดขึน้ รบกวนจิตใจในปจจุบนั ดวย โดยยังไมได ชําระลางตัณหาใหหมดสิน้ ไปแตประการใด 35


หากเปรียบเทียบกับการรักษาโรค กิจ “ละ” นี้ เปรียบไดกบั การรั กษาโรคตามอาการ หรื อมุ งรั กษาอาการที่ ปรากฏของโรค เพือ่ ใหอาการของโรคสงบตัวลง โดยยังไมไดเขาไปรักษาถึงสาเหตุหรือ ตนตอที่ แทจริงของโรค การทําเชนนี้ นัยหนึ่งก็มีผลดีอยูพอสมควร กลาวคือ ชวยทําใหคนปวยรูสกึ ดีขึ้น และสามารถดําเนินชีวติ ไดเปน ปกติตามสมควร แตตราบใดทีส่ าเหตุหรือตนตอของโรคยังไมไดรบั การ รักษาใหหายขาด อาการของโรคก็อาจแสดงออกมา ทําใหเกิดปญหาขึน้ มาอีกเมือ่ ใดก็ได ดังนัน้ ในอริยสัจ 4 จึงตองมกี จิ “เจริญมรรค” อีกขัน้ ตอนหนึง่ ซึ่งเปรียบไดกบั การรักษาโรคที่สาเหตุหรือตนตอ เพื่อ กําจัดสาเหตุหรือทําใหตน ตอของโรคหมดไป ซึง่ จะทําใหบคุ คลหายขาด จากโรคไดอยางเด็ดขาด กิจที่เกี่ยวของกับ นิโรธ คือ ทําใหแจงนั้ น หมายถึง การทําใหปรากฏ ซึง่ ปฏิจจสมุปบาทแสดงไวชดั วา คือการทําใหปรากฏ ดวยการดับกระแสปฏิจจสมุปบาท ใหหมดไปอยางสิน้ เชิง ดังนั้ น กิ จของนิโรธ คือทําให แจงนี้ จึงไมใช นิโรธที่ บุคคลสามารถทําใหเกิดขึ้น หรือปฏิบัติเพื่อเขาถึงไดโดยตรง แตเปนนิโรธทีจ่ ะปรากฏขึน้ เอง ภายหลังจากกระแสปฏิจจสมุปบาทถูกดับลงแลวอยางสิน้ เชิง สวน มรรค นั้ น เปนสิ่งที่ จะตองเจริญหรือปฏิบัติให เกิดขึน้ โดยมีวตั ถุประสงคเพือ่ ทําใหจติ ทีไ่ มถกู ครอบงําดวยตัณหาใน ขั้นตอนของ กิจ “ละ” นั้น เกิดวิชชาขึ้น ซึ่งจะมีผลใหอวิชชาที่เกิด กอนผัสสะนัน้ ดับลงอยางสิน้ เชิง พลอยทําใหตณ ั หาถูกดับลงอยางสิน้ เชิง และทุกข (อริยสัจ) ก็ถกู ดับลงอยางสิน้ เชิงดวย 36


สําหรับการปฏิบตั นิ น้ั จะอยางไรก็ตอ งปฏิบตั ติ รงผัสสะนัน่ เอง ปฏิ จจสมุ ปบาททําให เข าใจชั ดว า ประเด็ นสําคั ญของการปฏิ บั ติ อริยมรรคมีองค 8 ก็เพือ่ ทําใหเกิดสัมมาญาณะ หรือวิชชา ดังทีไ่ ดกลาว ไปแลว แตเนือ่ งจากอวิชชาเปนสิง่ ทีเ่ กิดกอนผัสสะ ดังนัน้ พระพุทธองคจึงไดตรัสใหปฏิบัติมาก ๆ และใหตอเนื่อง (ภาวิตา พหุลีกตา) ทั้ งนี้ ก็ เพื่ อให วิชชาที่ เกิดหลังผั สสะนั้ นหยั่ งตั วลง จนกลายเปนวิชชาในระดับที่เกิดกอนผัสสะ จึงสามารถไปดับ อวิชชาในกระแสปฏิจจสมุปบาทใหดบั ลงอยางสิน้ เชิงได จากปฏิจจสมุปบาท จึงทําใหเขาใจชัดเจนยิง่ ขึน้ วา ทําไมเมือ่ มี กิจ “ละตัณหา” แลว จึงยังตองมี กิจ “เจริญมรรค” อีก ♦จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนพระอริยบุคคล 4

และสังโยชน 10

สังโยชน คือสิง่ ผูกมัดจิตใหจมอยูใ นกองทุกข มี 10 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจกิ จิ ฉา สีลพั พตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา คําวา กองทุกข ในทีน่ ้ี กลาวโดยสรุปก็คอื อุปาทานขันธ หรือ ภาวะชีวติ ทีป่ ระกอบอยูด ว ยความยึดมัน่ ถือมัน่ ดังนัน้ ความหมายทีแ่ ทจริงของการจมอยูใ นกองทุกข ก็คอื ภาวะชี วิ ต ที่ ยั ง มี อุ ป าทานขั น ธ เ กิ ด ขึ้ น หรื อ ยั ง เวี ย นว าย หรือยังจมอยูใ นอุปาทานขันธ 37


เนือ่ งจากอุปาทานขันธมสี าระสําคัญอยูท อ่ี ปุ าทาน ซึง่ จําแนก ไดเปน 4 อยางดวยกัน คือ ทิฏุปาทาน, สีลพั พตุปาทาน, กามุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน ; ดังนัน้ อุปาทานขันธ หรือกองทุกข ทัง้ หมดทัง้ สิน้ หากประมวลแลว สามารถจําแนกไดเปน 4 ประเภท คือ อุปาทานขันธ ที่เนื่องดวยทิฏุปาทาน, อุปาทานขันธที่เนื่องดวยสีลัพพตุปาทาน, อุปาทานขันธทเ่ี นือ่ งดวยกามุปาทาน และอุปาทานขันธทเ่ี นือ่ งดวยอัตตวาทุปาทาน ตามลําดับ การดับทุกขในพระพุทธศาสนา จึงเปนการดับทุกขอัน เนือ่ งมาจากอุปาทาน ดังทีไ่ ดกลาวขางตนนี้ คําวา “พระอริยบุคคล” ในพระพุทธศาสนา จึงเปนชื่อ เรียกบุคคลทีส่ ามารถดับอุปาทานขันธไดอยางเด็ดขาด กลาวคือ * พระโสดาบัน เปนผูด บั ทุกขหรืออุปาทานขันธทเ่ี นือ่ งดวย ทิฏุปาทาน และทีเ่ นือ่ งดวยสีลพั พตุปาทาน ไดอยางเด็ดขาด * พระสกทาคามี เปนผูด บั ทุกขหรืออุปาทานขันธทเ่ี นือ่ งดวย ทิฏุปาทาน และทีเ่ นือ่ งดวยสีลพั พตุปาทาน ไดอยางเด็ดขาด และยัง สามารถทําใหทกุ ขหรืออุปาทานขันธทเ่ี หลือเบาบางลง * พระอนาคามี เปนผูด บั ทุกขหรืออุปาทานขันธไดเพิม่ ขึน้ ไปอีก ในสวนทีเ่ นือ่ งดวยกามุปาทาน ไดอยางเด็ดขาด * พระอรหันต เปนผูดบั ทุกขหรืออุปาทานขันธไดเพิ่มขึ้น ไปอีก ในสวนทีเ่ นือ่ งดวยอัตตวาทุปาทาน ไดอยางเด็ดขาด จึงเห็นไดวา การจําแนกพระอริยบุคคล 4 ประเภท มีทมี่ า จากอุปาทานขันธ ที่เนื่องดวยอุปาทาน 4 ในปฏิจจสมุปบาท นีเ้ อง 38


กรณีของ “สังโยชน 10” ซึ่งเปนกิเลสเครื่องรอยรัดสัตว ไว ในภพ ก็ เช นเดี ยวกั น อั นที่ จริ งก็ มี ที่ มาจาก อุ ปาทาน 4 กลาวคือ * จาก ทิฏุปาทาน และสีลัพพตุปาทาน ถูกขยายออก มาเปนสังโยชน คือ สักกายทิฏฐิ วิจกิ จิ ฉา และสีลพ ั พตปรามาส * จาก กามุ ปาทาน ถู กขยายออกมาเป นสั งโยชน คื อ กามราคะ และปฏิฆะ * จาก อัตตวาทุปาทาน ถูกขยายออกมาเปนสังโยชน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา การจําแนกพระอริยบุคคลและสังโยชน ทีเ่ นือ่ งดวยอุปาทาน 4 ตามนั ย ที่ ได แ สดงไปแล ว นี้ อาจจะยั งมี ข อถกเถี ย งไม เป นที่ ยุ ติ โดยเฉพาะในกรณีของกามุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน เพราะถือ หลักฐานที่แตกตางกัน โดยเฉพาะตามที่ปรากฏในพระอภิธรรมปฎก กับในพระสุตตันตปฎก พระอภิ ธรรมป ฎก ไดแสดงวา กามุปาทาน บั งเกิ ดใน จิตตุปบาททีส่ หรคตดวยโลภะ 8 ดวง ; สวน ทิฏุปาทาน สีลพ ั พตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตดวย ทิฏฐิ 4 ดวง19 และ ไดใหความหมายของ อัตตวาทุปาทาน ไวเปน ความหมายเดียวกันกับ สักกายทิฏฐิ 20 กลาวโดยสรุป ตามนัยที่ แสดงไว ในพระอภิธรรมป ฎก พระโสดาบันสามารถละทิฏุปาทาน สีลพ ั พตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน ได อยางเด็ดขาด ; พระอรหันตจึงสามารถละ กามุปาทานไดอยางเด็ดขาด 19

พระไตรปฎก เลมที่ 34 ขอ 956

;

20

พระไตรปฎก เลมที่ 34 ขอ 784

39


สวน พระสุตตันตปฎก ไดกลาวถึงอุปาทาน 4 วา “สมณพราหมณเหลาอืน่ สามารถรอบรูแ ละบัญญัตไิ ดเฉพาะทิฏุปาทาน สีลพ ั พตุปาทาน และกามุปาทาน เทานัน้ ไมสามารถรอบรูแ ละ บัญญัติ อัตตวาทุปาทาน ไดเลย” 21 ดังนัน้ ตามนัยของพระสุตตันตปฎก อัตตวาทุปาทาน จึงเปน สิง่ ทีล่ มุ ลึกยิง่ ไปกวา กามุปาทาน และไมควรมีความหมายเทากับ สักกายทิฏฐิ ทีเ่ ปนเรือ่ งของ “ความเห็น” แตควรจะมีความหมาย เปน “ความรูส กึ ” ยึดมัน่ ถือมัน่ ในตัวตนระดับลึก เทียบเทาไดกบั สังโยชนคอื มานะ มากกวา ซึง่ จะละไดในระดับพระอรหันต กรณีตวั อยางทีย่ นื ยันในเรือ่ งนีช้ ดั เจน ก็คอื ตอนทีพ่ ระพุทธเจา แสดงอนัตตลักขณสูตร โปรดพระปญจวัคคีย หลังจากทีไ่ ดทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จนพระปญจวัคคียไ ดดวงตาเห็นธรรม สําเร็จ เปนพระโสดาบัน ละสังโยชน 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจกิ จิ ฉา และสีลพั พตปรามาส ไดหมดสิ้นแลว ก็ยังไดตรัสสอนใหพิจารณาขันธ 5 วา ไมใชเรา ไมใชของเรา ไมใชตวั ตนของเรา เพือ่ ละสังโยชนเบือ้ งสูง ตอไป จนสําเร็จเปนพระอรหันต การพิจารณาขันธ 5 วา ไมใชเรา ไมใชของเรา ไมใชตวั ตน ของเรา ในขัน้ ตอนหลังนี้ ไมไดเปนไปเพือ่ การละอัตตาหรือตัวตน ในระดับทิฏฐิหรือ “ความเห็น” ทีเ่ ปนสักกายทิฏฐิอยางแนนอน เพราะ ไดละจนหมดสิน้ ไปแลว แตเปนการละอัตตาหรือตัวตนในอีกระดับ หนึง่ ซึง่ เปนตัวตนทีเ่ ปน “ความรูส กึ ” และอยูใ นระดับทีล่ กึ ไปยิง่ กวา อยางทีต่ รัสในพระสูตรขางตนวา ลึกซึง้ ถึงขนาดทีไ่ มมสี มณพราหมณ เหลาใดจะรอบรูและสามารถบั  ญญัตไิ ด ซึง่ ก็คอื อัตตวาทุปาทาน 21

พระไตรปฎก เลมที่ 12 ขอ 156 - 157

40


อัตตวาทุปาทาน กับ สักกายทิฏฐิ จึงเปนคนละอยางกัน และมีระดับความลุม ลึกไมเทากัน นอกจากนัน้ คําวา อัตตวาทุปาทาน แยกศัพทไดวา อัตตา+ วาทะ+อุปาทาน ซึง่ คําวา วาทะ ในทีน่ ี้ ในภาษาบาลีไมไดมคี วาม หมายวาเปนเพียง คําพูด เทานัน้ แตหมายถึง ลัทธิ ซึง่ เปนเรือ่ ง ของความเชือ่ ความรูส กึ ความผูกพัน และมีจติ ฝงลงไปจนเปน สวนหนึง่ ของชีวติ เลยทีเดียว กรณี อัตตวาทุปาทาน จึงไมใชเปน อัตตาในระดับทีเ่ ปนความเห็น ดังเชนในกรณีของ สักกายทิฏฐิ กลาวโดยสรุป การปฏิบตั จิ นถึงทีส่ ดุ แหงทุกข ก็คอื การดับสิน้ ลงแหงอุปาทาน 4 ทั้งหมด เพียงแตมีขอปลีกยอยที่แตกตางกันวา พระอริยบุคคลขัน้ ใด สามารถดับอุปาทานชนิดใดใหหมดสิน้ เทานัน้ ♦จากปฏิจจสมุปบาท ประยุกตมาเปนเรือ่ งกรรม

ในคัมภีรอ รรถกถา ซึง่ อธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบครอบคลุม 3 ชาติ ไดมกี ารจําแนกองคธรรมตาง ๆ ใหเปนระบบทีเ่ รียกวา ไตรวัฏฏ คือ กิเลส - กรรม - วิบาก โดยจําแนกตามอัทธา (= กาลอันยาวนาน) ไดดงั นี้ : (อดีตอัทธาหรืออดีตชาติ = อดีตเหตุ) อวิชชา จัดเปน กิเลส ; สังขาร จัดเปน กรรม (ปจจุบนั อัทธาหรือปจจุบนั ชาติ = ปจจุบันผล)

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา จัดเปน วิบาก

(ปจจุบนั อัทธาหรือปจจุบันชาติ = ปจจุบนั เหตุ)

ตัณหา อุปาทาน จัดเปน กิเลส ; ภพ จัดเปน กรรม

(อนาคตอัทธาหรืออนาคตชาติ = อนาคตผล)

ชาติ ชรามรณะ (+โสกะ ฯลฯ) จัดเปน วิบาก 41


แตจากปฏิจจสมุปบาทในแบบชีวิตประจําวัน เมื่อพิจารณา นิพเพธิกสูตร ตามที่ ไดอางไวในหน า 27 ซึ่ งแสดงวา ผัสสะเปน เหตุเกิดแหงกรรม แลว กรรมจึงเปนเรือ่ งทีเ่ กิดหลังผัสสะ และเมือ่ พิจารณากระบวนธรรมในปฏิจจสมุปบาทชวงหลังผัสสะ ซึ่ งเป น ช ว งที่ จิ ตรั บรู เรื่ อ งราวพร อ มทั้ งรสชาติ จ ากการสั มผั สกั บ อารมณ และปรุ งแต ง ไปในทางที่ จะแสวงหารสชาติ ของสั มผั สที่ ตองการ จนเกิดความยึดมัน่ ถือมั่นและเกิดเปนกองทุกขขนึ้ จึงทําให เขาใจในเรือ่ งของกรรมและวิบากกรรมไดดยี งิ่ ขึน้ 22 โดยทีเ่ รือ่ งของกรรม นัน้ ไดประยุกตมาจากปฏิจจสมุปบาทในชวงหลังผัสสะนีเ้ อง กลาวโดยสรุป การกระทําใดทีม่ งุ ตอเวทนาหรือมีเวทนา เปนจุดมุง หมาย การกระทํานัน้ จัดเปนเรือ่ งของ “กรรม” จึงทําให บุคคลวนเวียนอยูใ นวิบากหรือผลของกรรมทีเ่ ปนสุขและทุกข สวนการกระทําใดทีม่ งุ หมายเพือ่ แสวงหาความจริงหรือ มีวชิ ชาเปนเปาหมาย การกระทํานัน้ จัดเปนเรือ่ งของ “กิรยิ า” หรือ หากใชคาํ วา “กรรม” ก็เปนกรรมทีเ่ ปนไปเพือ่ ความสิน้ กรรม ปฏิจจสมุปบาททีก่ ลาวขางตน ทําใหเห็นความแตกตางของวิถี ดําเนินชีวติ แบบปุถชุ นกับแบบอริยบุคคลไดอยางชัดเจน ซึง่ อยูท ผ่ี สั สะนีเ้ อง กลาวคือ วิถขี องปุถชุ น จะมีผสั สะดวยอโยนิโสมนสิการ ทําใหหลงใหล และมุง แสวงหาเวทนาทีส่ มั ผัสเปนสําคัญ และนําไปสูท กุ ขในทีส่ ดุ ; สวนวิถี ของอริยบุคคล จะมีผสั สะดวยโยนิโสมนสิการ ทําใหมงุ ทีจ่ ะเรียนรูแ ละ แสวงหาความจริงตอสิง่ ทีร่ บั รูน น้ั นําไปสูว ชิ ชาและความสิน้ ทุกข นอกจากนัน้ ยังขอเสนอแนะใหพิจารณาปฏิจจสมุปบาททีพระพุทธองค ่ ไดทรงแสดงแตกแขนงออกไปอีกแบบหนึง่ กลาวคือ เมือปรุ ่ งแตงมาถึงตัณหา 22

พระไตรปฎก เลมที่ 13 ขอ 707

42


แทนทีจ่ ะปรุงแตงใหเกิดอุปาทาน กลับทรงแสดงออกไปอีกแบบหนึง่ คือ .....--> ตัณหา --> ปริเยสนา (การแสวงหา) --> ลาภะ (การได) --> วินจิ ฉัย (การกะกําหนด) --> ฉันทราคะ (ความชอบชิดติดพัน) --> อัชโฌสาน (ความหมกมุน ฝงใจ) --> ปริคคหะ (การยึดถือ ครอบครอง) --> มัจฉริยะ (ความตระหนี)่ --> อารักขะ (ความ หวงกัน) ้ อาศัยอารักขะ จึงมีการถือไม ถือมีด การทะเลาะ แกงแยง วิวาท การด าว า การส อเสี ยด มุ สาวาท บาปอกุ ศลธรรมทั้ งหลาย เปนอเนก ยอมเกิดมีพรัง่ พรอมดวยอาการอยางนี้ 23 จะเห็นไดวา กระแสปฏิจจสมุปบาท ซึง่ แยกจากตัณหา ไปเปนปริเยสนา คือเกิดการแสวงหา จนเกิดกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ทีเ่ ปนบาปอกุศลธรรมทัง้ หลาย ไดสง ผลกระทบ ใหเกิดความทุกขและการเบียดเบียนกันในสังคมอยางมหาศาล บทสรุป ทังหมดที ้ ได ่ กลาวมาแลว ทําใหเห็นถึงความกวางขวางครอบคลุมของกระแสปฏิจจสมุปบาท ยิงขึ ่ นวา ้ นอกจากจะมีผลทําใหเกิดทุกข และเปนกรรมในสวนของบุคคลแลว ยังมีผลตอเนือ่ งเปนกรรมและ กอใหเกิดทุกขและการเบียดเบียนกันในสังคม รวมไปดวยกันเสมอ การดับกระแสปฏิจจสมุปบาท จึงไมไดมีความหมาย เปนเพียงการดับทุกขในจิตใจของบุคคลใหหมดสิน้ เทานัน้ แต ยังหมายรวมไปถึงการดับทุกขของสังคมโดยรวม ตลอดจนดับ กระแสกรรมทัง้ หมดใหสนิ้ ไปอีกดวย 23

พระไตรปฎก เลมที่ 10 ขอ 59

43


เมื่อไดพิจารณาเปนลําดับมาจนถึงตอนนี้ คงจะทําให ประจักษชดั และแจมแจงถึงทีส่ ดุ แลววา ปฏิจจสมุปบาททีพ ่ ระพุทธเจาตรัสรูนี้ มีความสําคัญยิ่งอยางไร การเขาใจ-รูแจงใน ปฏิจจสมุปบาท มีคณ ุ คาสูงสุดตอบุคคลและสังคมเพียงใด... ดรรชนีคน คํา

กฎธรรมชาติ 1 กรรม 27,41,42,43 กาม 27,30 กามคุณ5 29 กามตัณหา 28 กามภพ 7,30 กามราคะ 37,39 กามุปาทาน 7,29, 38,39,40 กายกรรม 43 กายสังขาร 7,19 กิจในอริยสัจ4 34 กิริยา 42 กิเลส 14, 41 ขันธ 7,10,11, 30,31,40 จิตตสังขาร 7,19 จิตตุปบาท 39 จิตประภัส สร 14 เจตนา 7,23 ฉันทราคะ 43 ชรา 4,5, 8,9,10,13, 17,30,32,33,41 ชาติ 4,5,7,9,10,13,17, 30,31,32,33,41 ดวงตาเห็นธรรม 40 ตถตา 1 ตถาคต 2 ตรัส รู 2,3,44 ตัณหา 4,5,7,9,13,16, 28,29,35,37,41,42,43 ตัวตน 17,29,31,32,33,40 เตโชธาตุ 21 ไตรวัฏฏ 41 ทฤษฎี 29 ทวาร6 13,14,19 ทิฏฐิ 29,39,40 ทิฏุปาทาน 7,29, 38,39,40 ทุกข 5,6,15,16,19,34,35

ทุกขเวทนา 28 ทุกขอริยสัจ 6,10,15, 16,17,30,31,32,33,35,36 ทุกขัง 31 ทุคติ 2, 6 ธรรมธาตุ 1 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร40 ธัมมฐิติ 1 ธัมมนิยาม 1 ธาตุ 6 21, 22 นาม 22,23 นามรูป 4,5,7,9,12,13,15, 16,21,22,23,24,25,41 นิจจัง 31 นิพพาน 3,34 นิพเพธิก สูตร 27, 42 นิโรธ 5,6,34,36 บัญญัติ 26 ปฏิฆะ 37,39 ปฏิฆะสัมผัส 26 ปฏิสนธิวิญญาณ 10 ปฐวีธาตุ 21 ประสาท 22,23 ,24 ปริคคหะ 43 ปริเยสนา 43 ปจจุบนั ชาติ 9,10,41,42 ปจจุบันอัทธา 41,42 ปญจวัคคีย 40 ปุถุชน 42 ผัสสะ 4,5,7,9,12,13, 14,15,16,20,23,25,26, 27,36,37,41,42 พระพุทธเจา 1,2,3, 12,35,40,44 พระสกทาคามี 38 พระสุตตันตปฎก 39,40 พระโสดาบัน 34,38,39,40 พระอนาคามี 38 พระอภิธรรม 9,13,39

พระอรหันต 38,39,40 พระอานนท 3 พุทธะ 2 ภพ 4,5,7,9,13,16, 30,31,32,39,41 ภวตัณหา 28 ภวังค 13,14,18,19, 20,21,23,24 ภวังคจิต 13,14,18,19,20 ภาวิตา พหุลกี ตา 37 มนสิการ 7,23,24 มโนกรรม 43 มรณะ 4,5,8,9,10, 13,17,30,32,33,41 มรรค 6,34,36,37 มหาภูตรูป4 7 มัจฉริยะ 43 มานะ 37,39,40 โยนิโสมนสิก าร 24, 42 รูป 22,23 รูปฌาน 30 รูปภพ 7,30 รูปราคะ 37,39 ลัทธิ 29,41 ลาภะ 43 โลกุตตร 11 วจีก รรม 43 วจีสังขาร 7,19 วัฏสงสาร 8 วาทะ 41 วาโยธาตุ 21 วิจิกิจฉา 37,39,40 วิชชา 6,19,34,36,37,42 วิญญาณ 4,5,7,9,10,12, 13,14,15,16,20,21,22, 23,24,25,26,41 วิญญาณธาตุ 21,22 วิถีจิต 13,14,18 วินิจฉัย 43

44

วินิบาต 2, 6 วิบาก 41,42 วิภวตัณหา 28 เวทนา 4,5,7,9,13, 15,16,23,27,28, 35,36,37,41,42 เวียนวายตายเกิด 2, 8,9 ศีลพรต 29 สงสาร 2,6 สมุทัย 5,6,34,35 สฬายตนะ 4,5,7,9,13, 16,20,24,25,27,41 สักกายทิฏฐิ 37,39, 40,41 สังขตธรรม 21 สังขาร 4,5,7,9,13, 15,16,18,19,20 21,22,41 สังสารวัฏ 2, 6 สังโยชน10 37,39,40 สัญญา 7,23,27 สันทิฏฐิโก 11 สัมมัตตะ10 6 สัมมาญาณะ 6,37 สัมมาวิมุตติ 6 สีลพั พตปรามาส 37, 39,40 สีลัพพตุปาทาน 7, 29,38,39,40 สุขขัง 31 สุขเวทนา 28,30 อกุศลธรรม 43 อดีตชาติ 9,10,11,41 อดีตอัทธา 41 อทุกขมสุขเวทนา 28 อธิว จนสัมผัส 26 อนัญญถตา 1 อนัตตลั กขณสูตร 40

อนัตตา 31 อนาคตชาติ 9,10,11, 41,42 อนาคตอัทธา 41,42 อนิจ จัง 31 อบาย 2,6 อโยนิโสมนสิการ 25,27,42 อรรถกถา 14, 41, 42 อริยญายธรรม 2 อริยบุคคล 37,38,39,41,42 อริยมรรคมีองค8 6,37 อริยสัจ 5,6,16,17, 19,30,34,35,36 อรูปฌาน 30 อรูปภพ 7,30 อรูปราคะ 37,39 อวิชชา 4,5,7,9,13,14 16,18,19,20,22,27, 30,36,37,39,41 อวิตถตา 1 อัชโฌสาน 43 อัตตวาทุปาทาน 7, 29,31,38,39,40,41 อัตตา 31,40,41 อากาสธาตุ 21 อาคันตุกะ 14 อาโปธาตุ 21 อายตนะ7,12,13,14,16, 20,24,25,26,27,28,32 อารักขะ 43 อาสวะ 16 อุทธัจ จะ 37,39 อุเบกขาเวทนา 30 อุปาทาน 4,5,7,9,13 16,28,29,30,31,35, 38,39,40,41,42,43 อุปาทานขันธ 5,10, 15,16,17,31,32, 33,35,37,38


การตรัสรูข องพระพุทธเจา กลาวไดวา คือการคนพบและรูแ จง แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาทนีเ้ อง และจากปฏิจจสมุปบาท ที่ ตรัสรู จึงไดนาํ มาตรัสบอก แสดง บัญญัติ แตงตัง้ เปดเผย จําแนก กระทําใหตน้ื จนกลายมาเปนพระธรรมทีต่ รัสสอนทัง้ หมด ดังนัน้ การทีจ่ ะรูเ ขาใจธรรมทีต่ รัสสอน ตลอดจนภาวะแหง พุทธะ (= ภาวะแหงการรู ตื่น เบิกบาน ซึ่งอันที่จริงคือภาวะที่ ปฏิจจสมุปบาท ถูกดับลงจนหมดสิ้น) ไดถูกตองและตรงกับ พุทธประสงคอยางแทจริง ก็ดว ยความรูค วามเขาใจ และการรูแ จง ใน ปฏิจจสมุปบาท เปนพืน้ ฐานสําคัญ สมดังพระพุทธพจนทต่ี รัสวา...... “ผูใ ดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผูน นั้ เห็นธรรม” และ “ผูใ ดเห็นธรรม ผูน นั้ เห็นเรา(ตถาคต)”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.