ฟังดนตรีที่จุฬาฯ ONLINE รายการ “เสน่ห์สองแผ่นดิน บรรเลงพิณเพลินเพลง” รายการแสดง เพลงจีนวังหลวง เถา เพลงไผ่สีม่วง (จือ จู๋ เตี้ยว) เพลงเขมรพายเรือ เถา เพลงเรือประมงยามเย็น เรือประมงยามเย็น 漁舟唱晚 (หยู๋ โจว ฉ้าน หว่าน) เพลงลาวแพน (เดี่ยวกู่เจิง) เพลงโม่ ลี่ ฮัว (ดอกมะลิ) 茉莉花 เพลงมะลิซ้อน สองชั้น เพลงเงี้ยวรำลึก เถา เพลงระบำเผ่าเย้า 瑶族舞曲 เพลงพระจันทร์แทนใจ (เยว่ เลี่ยง ไต้ เปี่ยว หว่อ เตอ ซิน) เพลงลาวดวงเดือน เพลงจีนขิมใหญ่ ออกเพลงสู้พายุ
๑. เพลงจีนวังหลวง เถา เพลงจีนหลวง อัตรา ๒ ชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสอง ไม้ มีท่อนเดียว พันโท หลวงสราวุธวิชัย (สราวุธ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) เห็นว่า ทำนอง ๒ ชั้นมีลีลาและทำนองเพลงสละสลวยจึงได้คิดปรึกษากับครูเจือ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ร่วมกันแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ทำสำเนียงให้เป็นจีนสมชื่อ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เพลงจีนวังหลวง เถา” เพื่อให้เข้าคู่กับ “เพลงจีนวังหลัง” ๒. เพลงไผ่ สี ม่ ว ง (จื อ จู๋ เตี้ ย ว) เป็ น เพลงพื้ น บ้ านของเจี ยงหนาน ซึ่งเป็ น พื้ น ที่ บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซี ได้แก่ ตอนใต้ของมณฑลอานฮุย และตอนเหนือของ มลฑล เจียงซีและเจ้อเจียง ไม่ทราบนามผู้แต่ง สันนิษฐานว่าทำนองเพลงมีที่มาจาก เพลงพื้นบ้านสมัยซุนซิวหรือประมาณกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว วงดนตรีพื้นบ้านเจียง หนาน มีชื่อเรียกว่า วงเจีย งหนานซือจู๋ ซึ่งหมายถึงดนตรีแห่ งไหมและไผ่ โดยการ บรรเลงยังคงรูปแบบดั้งเดิมไว้คือการบรรเลงทำนองหลักผสมการแปลทำนองของ เครื่องดนตรีแต่ละเครื่องตามลักษณะทางกายภาพของเครื่องและรูปแบบสำเนียง ดนตรีเจีย ง-หนาน เพลงไผ่สีม่วงเป็ น หนึ่ งในบทเพลงเจียงหนานซือจู๋สั้ นๆ ที่ได้รั บ ความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักดนตรีจีนมาถึงปัจจุบัน ๓. เพลงเขมรพายเรือ เถา เพลงเขมรอมตึ๊ก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงเขมรพาย เรือ เป็นเพลงอัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๓ จังหวะ ใช้ร้องในการแสดงโขนละคร ครูเฉลิม บัวทั่ง ได้ นำมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา สามชั้นและตัดลงเป็นชั้นเดีย ว ครบเป็นเพลงเถา ทั้ง ทางร้องและทางดนตรี โดยใช้ชื่อว่า “เพลงเขมรอมตึ๊ก เถา” ได้นำออกบรรเลงเป็น ครั้งแรกในการบรรเลงปี่พาทย์ไม้แข็งคณะศิษย์ดุริยศัพท์ (วงของครูเฉลิม บัวทั่ง) ณ บริเวณสังคีตศาลา กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๑๔๙๖ ปรากฏว่าเป็นที่พอใจของคนฟัง
มาก เพลงเขมรอมตึ๊ก เถา ที่ครูเฉลิม บัวทั่ง แต่งขึ้นใหม่นี้ นายมนตรี ตราโมท ให้ เรียกชื่อว่า “เพลงเขมรพายเรือ” เป็นเพลงสำเนียงเขมรที่ไพเราะน่าฟังเพลงหนึ่ง ๔. เพลงเรื อ ประมงยามเย็ น เรื อ ประมงยามเย็ น 漁舟唱晚 (หยู๋ โจว ฉ้ า น หว่าน) เป็นทำนองเพลงสำเนียงเหอหนาน ทางตอนใต้ของจีน บทเพลง อย่างเป็น จังหวะที่ผ่อนคลายอารมณ์ ทำนองเพลงแสดงให้เห็นถึงฉากพายเรือ ที่กำลังออกสู่ ทะเล และกลับเข้าหาฝั่งในยามอาทิตย์ตกดินเรืองแสงยามเย็นที่กระทบผิวน้ำอย่างมี ชีวิตชีวาที่สวยงาม ๕. เพลงลาวแพน (เดี่ยวกู่เจิง) เพลงลาวแพน เป็นเพลงอัตราสองชั้น สำเนียงลาว เป็นเพลงนิยมสำหรับเดี่ยวปี่และจะเข้มาแต่โบราณ เป็นเพลงที่นำเพลงเกร็ดต่างๆ มา บรรเลงเรียงร้อยติดต่อกัน เช่น ต้นลาวแพน ลาวแพนใหญ่ ลาวแพนน้อย ลาวสมเด็จ เป็ น ต้น และจบด้ ว ยเพลงลาวซุ้ ม ทำนองเพลงมี ค วามไพเราะนุ่ ม นวลน่ าฟั งและ จังหวะสนุกสนาน ในตอนท้าย นักดนตรีจึงนำทำนองไปแต่งเป็นทางเดี่ยวในแต่ละ เครื่องมือหลายชนิด เช่น ขิม ระนาด ฆ้องวงฯลฯ การบรรเลงครั้งนี้จะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีกู่เจิง ซึ่งได้เรียบเรียงทำนองเพลงขึ้นใหม่ โดย นายอภิชัย พงษ์ลือเลิศ ประดิษฐ์ทำนองให้มี ความไพเราะเหมาะสมกับเครื่อง ดนตรีกู่เจิง ซึ่งมีความอ่อนช้อยอ่อนหวานและน่าฟัง ๖. เพลงโม่ ลี่ ฮัว (ดอกมะลิ) 茉莉花 เพลงนี้แต่งขึ้นในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง แห่งราชวงศ์ชิง และมีฉบับท้องถิ่นอีกหลายฉบับฉบับซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด มีสอง ฉบั บ คื อ ฉบั บ ของมณฑลเจ้ อ เจี ย ง กั บ ฉบั บ ของมณฑลเจี ยงซู ซึ่ งมี เนื้ อ ร้อ งและ ทำนองต่างกัน ฉบับหนึ่งพรรณนาถึงธรรมเนียมการมอบดอกมะลิ ซึ่งปฏิบัติกันใน
ภู มิ ภ าคแยงซี ข องประเทศจี น อี ก ฉบั บ ซึ่ ง มี ค วามยาวยิ่ ง กว่ า พรรณนาถึ ง ความ ปรารถนาที่จะเด็ดดอกมะลิ มาเชยชม เพลงนี้ เป็ น หนึ่งในบรรดาเพลงลู กทุ่งจีนซึ่ง ได้รับความนิยมมากมายภายนอกประเทศจีน ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ข้าหลวงจีนในยุโรปใช้ เพลงนี้เป็นเพลงชาติจีนชั่วคราว ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเพลงนี้ไว้ในรายการเพลงที่ควรฟัง ครั้นประเทศ จีนได้กลับมาปกครองฮ่องกงและมาเก๊าอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามลำดับ ก็ใช้เพลงนี้ในพิธีเฉลิมฉลองด้วยประธานาธิบดี เจียงเจ๋อหมิน ซึ่งเป็นที่ กล่าวขานกันว่าโปรดปรานเพลงนี้เป็นการส่วนตัว เป็นผู้ขอให้บรรเลงเพลงนี้ในพิธีส่ง มอบเกาะฮ่องกงเอง อนึ่ ง เพลงนี้ ยั งมักประโคมในที่ป ระชุมคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย ในการปฏิวัติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ผู้จัดการชุมนุมมเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศ จีน ได้ เรี ย กร้ องผู้ ชุ ม นุ มให้ เปิ ดฉบั บ หนึ่ งของเพลงนี้ ด้ ว ยโทรศั พ ท์ มื อถื อ เพื่ อเป็ น สัญลักษณ์แห่งการต่อต้านรัฐบาล เพลงนี้จึงถูกขึ้นเป็นเพลงต้องห้าม แต่ก็ไม่บรรลุ เป้าหมายเท่าใดนัก เพราะเพลงโม่ลี่ฮัวเป็นที่แพร่หลายมาแต่เดิมอยู่แล้ว เนื้อร้อง เจ้าดอกมะลิช่างงามนัก ในบรรดาดอกไม้ใบหญ้าซึ่งหอมหวนอยู่ในสวน ไม่มีพรรณไหนกลิ่นหอมจรรโลงใจเช่นเจ้าอีกแล้ว ข้าใคร่เด็ดมาเจ้ามาเชยแล้วประดับเจ้าไว้กับกายข้า แต่เจ้าของสวนคงเอ็ดข้าตาย เจ้าดอกมะลิช่างวิเศษนัก มะลิเมื่อเจ้าเบ่งบาน
หิมะก็ไม่ขาวงามเสมือนเจ้า ข้าหวังจะเด็ดมาเจ้ามาชมแล้วติดเจ้าไว้กับกายข้า แต่เกรงคนทั้งหลายคงเยาะข้าตาย เจ้าดอกมะลิช่างสวยนัก ในบรรดาไม้ทั้งหลายซึ่งผลิบานอยู่ในสวน หามีพรรณไหนเสมอเจ้าอีกแล้ว ข้าปรารถนาจะเด็ดเจ้ามาเชยชมแล้วประทับเจ้าไว้กับกายข้า แต่หวั่นเกรงว่า เจ้าจะบานไม่ถึงปีหน้า ที่มา วีกิพีเดีย ๗. เพลงมะลิซ้อน สองชั้น เป็นการบรรเลงด้วย ๓ ซอไทย คือ ซอสามสาย ซอด้วง และซออู้ เพลงมะลิ ซ้อน ทำนองสองชั้น สำเนี ย งเชิงมอญ ลี ล าและช่ว งทำนองที่ อ่อนหวาน ไพเราะชวนฟั ง วัน นี้ จ ะเป็ น การบรรเลงโดยใช้ ๓ ซอไทย สี ส อดสลั บ หยอกล้อกันไปมา ดังเปรียบเสมือน ดอกมะลิซ้อน ที่มีความสวยงามบริสุทธิ์ และได้ นำเปียโนมาผสมผสานกัน ให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น บทร้องเพลงมะลิซ้อน มะลิซ้อนเบ่งบานไม่นานเนิ่น สวยเหลือเกินเชิญชมดมกลิ่นหอม ดมเฉยเฉยแค่กลิ่นฉันยินยอม ห้ามเด็ดดอมดอกดวงจะร่วงลา ของรักใครใครครองก็ต้องหวง ใช่ของลวงควงเล่นเหมือนเช่นว่า อยากได้พันธุ์มะลิซ้อนแต่งกลอนมา จะติดตาต่อกิ่งให้ชิงชม ๘. เพลงเงี้ยวรำลึก เถา นายบุญยงค์ เกตุคง สมัยที่รับราชการอยู่แผนกดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ ได้นำทำนองของเพลงสุดท้ายในชุดฟ้อนเงี้ยวของภาคเหนือซึ่ง เป็นเพลงท่อนเดียวมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็น
เพลงเถาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ และได้ทำทางเปลี่ยนไว้ด้วย ส่วนหน้าทับอนุโลมให้ใช้หน้า ทับสองไม้ นายคงศักดิ์ คำศิริ หัวหน้าแผนกดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้แต่ง บทร้อง ให้มีความหมายเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ของไทย และนายจำเนียร ศรี ไทยพันธุ์ เป็นผู้แต่งทางร้อง ๙. เพลงระบำเผ่ า เย้ า 瑶族舞曲 (Yao Dance) มี ชื่ อ เดิ ม ว่ า " Dong Dance " ทำนองเพลงประพัน ธ์โดย Liu Tiesha และ Mao Yan ใน ปี ค.ศ. ๑๙๕๑-๑๙๕๒ บรรยายถึ ง การร้ อ งรำทำเพลง และการเต้ น รำของชาวเย้ า ที่ จั ด งานเฉลิ ม ฉลอง เทศกาล หลังจากที่ขนานนามชื่อเดิมว่า เผ่าดง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เผ่าเย้า ในปี ค.ศ. ๑๙๕๑ Liu Tieshan เป็ น อาจารย์ ส อนที่ Central Conservatory of Music ได้ เดินทางไปยังมณฑลกวางตุ้ง ยูนนาน และสถานที่อื่นๆ เพื่อมารวมตัวกับกลุ่มชาติ พันธุ์กลาง ในเพลงพื้นเมืองของชาวเย้าในท้องถิ่น และการเต้นรำของชาวเย้า และ เพลงกลอง เมื่อ ปี ค.ศ. ๑๙๕๒ Mao Yan ได้ เรี ย บเรียงทำนองขึ้น ใหม่ ให้ กั บ วง ดุริยางค์ ใช้ชื่อใหม่ว่า 瑶族舞曲 "ระบำเผ่าเย้า" ซึ่งทำการแสดงครั้งแรก ณ กรุง ปักกิ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ๑๐. เพลงพระจันทร์แทนใจ (เยว่ เลี่ยง ไต้ เปี่ยว หว่อ เตอ ซิน) เป็นเพลงที่นำ ทำนองและแปลคำร้ อ งมาจากเพลงจี น มี ชื่ อ ภาษาไทยว่ า “พระจั น ทร์แ ทนใจ” ทำนองเพลงสื่อความหมายถึงความรักของหญิงสาวที่เปรียบหัวใจของเธอเหมือน พระจันทร์ที่อยู่บนท้องฟ้าในยามค่ำคืน เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุ ขความสมหวังและ ความรักแน่นแฟ้น ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ห่างกันอย่างไร แต่ยามใดเมื่อเธอคิดถึงฉัน เพียง แค่ ม องพระจั น ทร์ เธอก็ จ ะเห็ น ฉั น อยู่ ที่ นั่ น จงรู้ ไว้ ว่ า ใจของฉั น เปรี ย บเหมื อ น พระจันทร์ มีความสุข ความสมหวัง เหมือนพระจันทร์แทนใจ
เพลงนี้ บั น ทึ ก เสี ย งครั้ งแรกเมื่ อ ค.ศ. ๑๙๗๒ โดยหลิ ว กวนหลิ น และในปี ค.ศ. ๑๙๗๓ โดยเฉิน เฟินหลัน ผู้ที่ขับร้องบทเพลงนี้คือ เติ้ง ลี่จวิน นักร้องเพลงจีนที่มี ชื่อเสียง บทเพลงนี้ได้รับการกล่าวถึงจากบทความของ หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์ก ไทมส์ (The New York Times) ซึ่ งเป็ น หนั งสื อ พิ ม พ์ ร ายวั น ที่ มี ก ารตี พิ ม พ์ ที่ น คร นิวยอร์กและตีพิมพ์ไปทั่วโลกว่า เป็นเพลงจีนบทเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตลอดกาล ต่ อ มามี ก ารบั น ทึ ก เสี ย งโดยศิ ล ปิ น ชื่ อ ดั งหลายท่ า น อาทิ เลสลี่ จาง (Leslie Cheung) ซึ่งได้นำมาขับร้องบันทึกเสียงในอัลบั้ม “Leslie Endless Love” ในชื่ อ ภาษาอั งกฤษว่า “The Moon Represents My Heart” และ “พระจัน ทร์ แทนใจ” เป็นอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อร้องเป็นภาษาไทย ๑๑. เพลงลาวดวงเดือน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม พระนาม เดิ ม คื อ พระองค์ เจ้ า ชายเพ็ ญ พั ฒ นพงศ์ เป็ น พระโอรสในพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดามรกฎ ได้พระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนขึ้น เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการซึ่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ ระหว่างที่พักแรมอยู่ตามทาง ได้ พระนิพนธ์เพลงขึ้น มีลีลาแบบเพลงลาวดำเนินทราย และประทานชื่อว่าลาวดำเนิน เกวียน โดยพระนิพนธ์บทร้องด้วยมีคำว่า “โอ้ละหนอดวงเดือนเอย” จึงเป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายว่าเป็นเพลงลาวดวงเดือนตามคำร้องขึ้นต้น และไม่มีใครเรียกว่าเพลงลาว ดำเนิน เกวียน เป็ นเพลงที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุ บัน ต่อมานายมนตรี ตราโมท ศิล ปินแห่ งชาติ ได้น ำเพลงลาวดวงเดือนมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราจังหวะสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ และตั้งชื่อใหม่แปลงจาก ชื่อเดิมว่า “โสมส่องแสง” บทร้องเพลงลาวดวงเดือน โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ว่าดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย เราละหนอ (พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม) ๑๒. เพลงจีนขิมใหญ่ ออกเพลงสู้พายุ เพลงจีนขิมใหญ่ อัตราจังหวะสองชั้น ของ เก่าประเภทหน้าทับสองไม้ มีทั้งหมด ๕ ท่อน เป็นเพลงสำเนียงจีน ใช้สำหรับบรรเลง มโหรีมาแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะได้รับความนิยม แพร่หลาย รวมถึงเป็นบทเพลงที่นิยมมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรี ประเภทต่างๆโดยเฉพาะเครื่องดนตรีจะเข้ ซึ่งมีผู้ประดิษฐ์ไว้หลายทาง ทางเดี่ยวจะเข้ เพลงจีนขิมใหญ่ที่ได้รับ ความนิยมและเป็นที่ยอมรับ ทางหนึ่งคือ ทางของครูทองดี สุจริตกุล ทางเดี่ยวจะเข้นี้ผู้บรรเลงต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวและผ่านการฝึกฝน มาเป็น อย่ างดี จึ งจะสามารถถ่ายทอดบทเพลงได้อย่างมีอรรถรสและต้องมีความ พร้อมเพรียง เสมือนว่าบรรเลงเดี่ยวจะเข้เพียงตัวเดียว จากนั้นเป็นการบรรเลงเพลงสู้ พายุ (จ้าง ไท่ เฟิง) เป็นเพลงที่บรรยายเกี่ยวกับธรรมชาติของพายุที่พัดโหมกระหน่ำ ในแต่ละละลอก จังหวะของเพลงในช่วงต้นจะให้ความรู้สึก พายุที่พัดโหมกระหน่ำ อย่างรุนแรง ในช่วงกลางให้ความรู้สึกของพายุที่สงบลงส่วนในช่วงท้ ายให้ความรู้สึก
พายุที่พัดโหมกระหน่ำอีกครั้ง ซึ่งบทเพลงนี้เป็นบทเพลงที่แสดงฝีมือการใช้เทคนิค การบรรเลงกู่เจิงโดยเลียนแบบเสียงธรรมชาติของพายุได้อย่างชัดเจน การบรรเลงเดี่ยวจะเข้หมู่ และการบรรเลงกู่เจิงเพลงจีนขิมใหญ่ ออกเพลงสู้พายุ เป็น การเรียบเรียงโดยนายอภิชัย พงษ์ลือเลิศ ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต รายนามนักดนตรี ๑. เพลงจีนวังหลวง เถา เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี อภิชัย พงษ์ลือเลิศ ฐกฤต สุกุลกิตติไกร โอภาส ชำนาญกิจ อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ สหภาพ ชวนจิตร ปิยะ วรรณกูล พชร ภูกำเหนิด ๒. เพลงจือ จู๋ เตี้ยว (ไผ่สีม่วง) นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ สัญชัย กลิ่นถือศีล ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ สุนทร ทองประกอบ อมร พุทธานุ
ซอด้วง ซอด้วง จะเข้ ซออู้ ขิม กู่เจิง ขลุ่ย กลองจีน ฉิ่ง กรับพวง ซอจีน กู่เจิง ผีผา ขลุ่ยจีน เชลโล เปียโน
๓. เพลงเขมรพายเรือ เถา เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ ฐกฤต สุกุลกิตติไกร โอภาส ชำนาญกิจ ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ สหภาพ ชวนจิตร ปิยะ วรรณกูล พชร ภูกำเหนิด
ซอด้วง จะเข้ ซออู้ ขิม ขลุ่ย โทน รำมะนา ฉิ่ง กรับพวง
๔. เพลงเรือประมงยามเย็น อภิชัย พงษ์ลือเลิศ นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล
กู่เจิง ซอจีน
๕. เพลงลาวแพน เดี่ยวกู่เจิง อภิชัย พงษ์ลือเลิศ อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ สัญชัย กลิ่นถือศิล ตริตราภรณ์ หมู่ผึ้ง โอภาส ชำนาญกิจ สหภาพ ชวนจิตร พชร ภูกำเหนิด
กู่เจิง กู่เจิง กู่เจิง กู่เจิง โทน รำมะนา ฉิ่ง กรับพวง
๖. เพลงโม่ ลี่ ฮัว (ดอกมะลิ) อภิชัย พงษ์ลือเลิศ
กู่เจิง
นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล สัญชัย กลิ่นถือศีล อมร พุทธานุ สุนทร ทองประกอบ มรุธิดา บุญมงคล
ซอจีน ผีผา เปียโน เชลโล ขับร้อง
๗. เพลงมะลิซ้อน สองชั้น เดี่ยวสามซอไทย เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี ซอสามสาย โอภาส ชำนาญกิจ ซอด้วง ฐกฤติ สุกุลกิตติไกร ซออู้ อมร พุทธานุ เปียโน สหภาพ ชวนจิตร โทน รำมะนา ปิยะ วรรณกูล ฉิ่ง ชุลีกร อินวัน ขับร้อง ๘. เพลงเงี้ยวรำลึก เถา โอภาส ชำนาญกิจ ฐกฤต สุกุลกิตติไกร อภิชัย พงษ์ลือเลิศ อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ สหภาพ ชวนจิตร ปิยะ วรรณกูล พชร ภูกำเหนิด
ซอด้วง ซออู้ จะเข้ กู่เจิง ขลุ่ย โทน รำมะนา ฉิ่ง กรับพวง
๙. เพลงระบำเผ่าเย้า เดี่ยวกู่เจิง อภิชัย พงษ์ลือเลิศ สัญชัย กลิ่นถือศีล นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ สุนทร ทองประกอบ
กู่เจิง ผีผา ซอจีน ขลุ่ย เชลโล
๑๐. เพลงพระจันทร์แทนใจ (เยว่ เลี่ยง ไต้ เปี่ยว หว่อ เตอ ซิน) อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ กู่เจิง นำภาค ศรีบัณฑิตมงคล ซอจีน สัญชัย กลิ่นถือศิล ผีผา ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์ ขลุ่ย สุนทร ทองประกอบ เชลโล อมร พุทธานุ เปียโน มรุธิดา บุญมงคล ขับร้อง ๑๑. เพลงลาวดวงเดือน อภิชัย พงษ์ลือเลิศ อมร พุทธานุ โอภาส ชำนาญกิจ ชนะชัย กอผจญ ชุลีกร อินวัน
กู่เจิง เปียโน โทน รำมะนา ฉิ่ง ขับร้อง
๑๒. เพลงจีนขิมใหญ่ ออก สู้พายุ (จ้าน ไถ่ เฟิง) (เดี่ยวจะเข้และกู่เจิง) พชร ภูกำเนิด จะเข้ อภิชัย พงษ์ลือเลิศ กู่เจิง สหภาพ ชวนจิตร จะเข้ อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ กู่เจิง ปิยะ วรรณกูล จะเข้ สัญชัย กลิ่นถือศิล กู่เจิง ภูริพัทธ์ สมบุญ จะเข้ ตริตราภรณ์ หมู่ผึ้ง กู่เจิง กานต์รวี เอี่ยมวงศ์ จะเข้ พรธิรา ทองภูเบศ จะเข้ ทรรศญา ตลับเพ็ชร จะเข้ ฐกฤติ สุกุลกิตติไกร ฉิ่ง โอภาส ชำนาญกิจ กลอง ผู้ดำเนินรายการ ว่าที่ ร.ต.อนุชิต เพ็งบุปผา