พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

Page 1

พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

เอกสารประกอบการเสวนาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“…การเป็นนักศึกษาไม่ใช่อาชีพ เป็นเวลาที่จะฝึกทางวิชาการ และก็ ท างจิ ต ใจ เพื่ อที่ จ ะมี พ ลั ง แข็ ง แรงที่ จ ะรั บ ใช้ ช าติ เป็นพลเมืองดี แล้วก็เป็นความหวัง และก็เป็นสิ่งทีส ่ �ำคัญทีส ่ ุด ว่าเมื่อได้ฝึกในทางจิตใจเป็นคนเข้มแข็ง ซื่อตรงและเป็นคนที่ มีความปรารถนาที่จะสร้างสรรค์แล้ว จะต้องรักษาอุดมคตินี้ หรือพลังนีห ้ รือปณิธานนีไ้ ว้ตลอดชีวิต…”

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๑๔



สารอธิการบดี

พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช รั ช กาลที่ ๙ แห่ ง พระบรมราชจั ก รี ว งศ์ ทรงเป็ น พระบรมราชู ป ถั ม ภกของจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมาช้านาน เจ็ดสิบปีในรัชกาล เป็นเจ็ดสิบปีทที่ รงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ เปี่ยมล้นแก่ชาวจุฬาฯ เสมอมามิขาดสาย ท�ำให้มหาวิทยาลัยวิวัฒนาการและ เจริ ญ ก้ า วหน้ า มาถึ ง ทุ ก วั น นี้ การใดที่ จ ะมี โ อกาสได้ ส นองพระเดชพระคุ ณ ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคนมีความพร้อมเพรียงและตัง้ ใจมัน่ เช่นนัน้ เสมอ หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อย้อนร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่เคย “แผ่ปกพสกจุฬาฯ” มากว่า ๗๐ ปี ทั้งพระราชหัตถเลขา พระราชด�ำรัส และ พระราชทัศนะทางวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งการจัดเสวนาเพื่อบอกเล่าความจงรัก ภักดี โดยชาวจุฬาฯ ทีเ่ คยเข้าเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทและถวายงานอันเกีย่ วเนือ่ ง กับมหาวิทยาลัยในโอกาสต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและของประชาชน ชาวไทยทั้งปวง ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


อารัมภบท

ในช่วงเวลาของการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ ๑๐๐ ปี นั้น เป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริ ราชสมบัตเิ ป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ถงึ ๗๐ ปี พระมหากรุณาธิคณ ุ ที่พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามมีมากเป็นล้นพ้นสุดที่จะพรรณนา ให้ครบถ้วนได้ และทรงปฏิบัติพระราชภารกิจตามธรรมเนียมราชประเพณีใน พระฐานะสมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังเช่น พระราชทานพระราชหัตถเลขาให้นสิ ติ อัญเชิญมาลงตีพมิ พ์ ใน หนังสือมหาวิทยาลัย และ หนังสืออนุสรณ์จุฬาบัณฑิต เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรีเป็นการส่วน พระองค์ทหี่ อประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๕ ครัง้ ทรงปลูกต้นจามจุรี ๕ ต้น เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเป็นประธานและทรงแสดงพระราชทัศนะต่อการใช้ ภาษาไทย หอประวัตจิ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ส�ำนึก ว่าในวาระครบ ๑๐๐ ปีของการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นสมควร อัญเชิญพระราชหัตถเลขา พระราชด�ำรัสมาพิมพ์เผยแพร่เพือ่ เฉลิมพระเกียรติและ แสดงความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้

สวัสดิ์ จงกล ผู้เชี่ยวชาญเอกสารประวัติจุฬาฯ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐


สารบัญ

หน้า

พระราชหัตถเลขาที่พระราชทานให้ลงตีพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย พระราชด�ำรัสพระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี พระราชด�ำรัสพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี พระราชทัศนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ต่อการใช้ภาษาไทยในสมัยปัจจุบัน บรรณานุกรม รายนามคณะผู้จัดท�ำ

๗ ๒๖ ๑๒๐ ๑๒๗ ๑๓๘ ๑๔๐


พระราชหัตถเลขา ที่พระราชทานให้ลงตีพิมพ์ ในหนังสือมหาวิทยาลัย


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

8

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับฉลองบัณฑิต ๑๒ เมษายน ๒๔๙๐.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉะบับต้อนรับน้องใหม่ สิงหาคม ๒๔๙๐.

9


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

10

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉะบับวันเกิด ๑ มกราคม ๒๔๙๑.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๔๙๑.

11


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

12

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉะบับ “มหาจุฬาลงกรณ์” ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๒.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชหัตถ์เลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๔.

13


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

14

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๕.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

15


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

16

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๔๙๖.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

17


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

18

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๗.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

19


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

20

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๘.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๙.

21


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

22

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๐.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๑.

23


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

24

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๒.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลงพิมพ์ในหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๗.

25


พระราชด�ำรัส

พระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ ให้นิสิตกว่าสองพันคนเข้าเฝ้าฯ ถวายความจงรักภักดีและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐

นิสิตสมาชิกวง C.U.Band จ�ำนวนหนึ่งได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ไปร่วมบรรเลงในวงดนตรีลายคราม ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร

27


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรเลงคลาริเน็ตร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์บนเวทีลีลาศ สวนอัมพร

28


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๑ ในโอกาสที่นิสิตเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน วันศุกร์ที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ นิสิตทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้เห็นพวกท่านมาอวยพรลูกคนเล็กของข้าพเจ้า ลูกคนนี้ออกจะโชคดีที่มีคนมาอวยพรเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อโตขึ้นและรู้คงจะพอใจ และภูมิใจมาก ตามธรรมดาพ่อแม่ที่ได้เห็นลูกเติบโตแข็งแรงก็ย่อมปลื้มใจ ยิ่งเห็น คนจ�ำนวนมากมาแสดงความยินดีกย็ งิ่ ดีใจมากขึน้ ข้าพเจ้าและครอบครัวขอขอบใจ พวกท่าน พระราชินีก็ดีใจมากและอยากมา แต่เสียใจที่มาไม่ได้ เพราะต้อง อยูเ่ ลีย้ งลูก ตามธรรมดาทุกปี ข้าพเจ้าไปแจกปริญญา แจกอยูน่ านแล้วก็ให้โอวาท ให้เรียนดี ให้สามัคคีพร้อมเพรียง แต่วันนี้ไม่ต้องพูดอีกแล้ว เพราะการที่ท่านมา ชุมนุมกันมากมายเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ในโอกาสที่ท่านมาชุมนุมกันนี้ พอดีเป็นวันที่มีวงดนตรีของสถานีวิทยุ อ.ส. ซึ่งออกอากาศประจ�ำทุกวันศุกร์ จึงขอชวนให้อยู่ฟังด้วย ดนตรีนี้เล่น อย่างกันเอง เลอะ ๆ เทอะ ๆ บางทีควรจะจบก็เล่นต่อไป บางทียังไม่ทันจบก็รีบจบ บางทีมีคนขอเพลงมาไม่เคยได้ยินก็เปิดแผ่นเสียงให้ฟัง ก็เล่นกันไปได้ เล่นอย่าง กันเอง อย่างที่นายแมนรัตน์ นายวงเขาเคยพูดบ่อย ๆ ว่า เป็นกันเองกับผู้ฟังดี วันนี้ขอให้นิสิตเป็นกันเอง ต่อไปนี้ขอแนะน�ำนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นายวง ให้ขึ้นมาแนะน�ำเกี่ยวกับรายการวงดนตรีนี้

ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๔๕๙ - ๒๕๐๙. พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบรอบห้าสิบปีของการสถาปนา, โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๐. หน้า ๑๒๑. ๑

29


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับการถวายความเคารพ จากนิสิต คณาจารย์ และผู้เข้าชมและฟังดนตรีบนเวทีหอประชุมจุฬาฯ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซกโซโฟนร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์บนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

30


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

คณบดี อาจารย์ ตลอดจนนิสิตได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยพร้อมเพรียงกันเพื่อชมการแสดงดนตรีในหอประชุมจุฬาฯ

พลเอก ประภาส จารุเสถียร อธิการบดีกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

31


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปียโน ณ เวทีหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

32


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี วันศุกร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖๒ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อบ่ายวันที่ ๒๐ เดือนนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดานิสิตได้เข้าเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาทโดยใกล้ชิด ในโอกาสนี้ พลเอก ประภาส จารุเสถียร อธิการบดี มหาวิทยาลัย และคณบดีและอาจารย์ตลอดจนนิสติ ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท โดยพร้อมเพรียงกัน โอกาสนั้นพลเอก ประภาส จารุเสถียร อธิการบดีได้กราบบังคมทูล มีความว่า คณะอาจารย์และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความส�ำนึกใน พระมหากรุณาเป็นล้นพ้นในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาตามประเพณีเพื่อเป็น สิริมงคลแก่บรรดานิสิตและอาจารย์ทั้งหลาย พร้อมกันนั้นได้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานกระแสพระราชด�ำรัสด้วย เมือ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกราบบังคม ทูลจบลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ำรัสตอบขอบใจ มหาวิทยาลัยที่ได้ให้โอกาสมาในวันนี้ ต่อจากนั้นได้ทรงพระราชด�ำรัสถึงกิจการ ของมูลนิธิอานันทมหิดลว่ามีนิสิตที่ได้รับทุนจากมูลนิธินี้จบไปแล้วหลายคน ไปนอกกันก็มาก และปีนี้คณะอักษรศาสตร์ก็ได้รับทุนอีก ๑ คน เกีย่ วกับเรือ่ งประเพณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ำรัส มีใจความว่า ประเพณีเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ถ้าใช้ในทางที่ถูกก็เป็นประโยชน์ ประเพณี ที่ดีจึงต้องรักษาไว้และใช้กัน แต่ประเพณีที่ไม่ดีเราก็ต้องแก้ไข และการกระท� ำ บางอย่ า งจะเรี ย กว่ า เป็ น ประเพณี ไ ม่ ไ ด้ น อกเสี ย จากเป็ น ความเคยชิ น เช่ น การเดินขบวนเป็นต้น ซึ่งไม่ควรท�ำ แต่ก็ยังดีที่เมืองไทยยังไม่เดินขบวนกัน มากนัก ขอให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เพราะการเดินขบวนไม่ดีหลายอย่าง นิสิตก็เพิ่มขึ้น หลายพัน ถ้าเดินขบวนก็จะคับถนน ยิ่งสมัยนี้มีการขุดท่อก็จะตกท่อผลที่จะได้ ไม่ได้อะไร การที่จะถือว่านักศึกษาต้องมีเสรีภาพในการเดินขบวนนั้นไม่ได้ เพราะเสรีภาพต้องใช้ให้ถูก ๒

คัดจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๔๐๔๗ ประจ�ำวันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ หน้า ๑ - ๒

33


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

34


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

35


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ทรงมีพระราชด�ำรัสตอนหนึ่งว่า “การเดินขบวนแทนที่จะเป็นการใช้ เสรีภาพกลับเป็นการผูกมัดตัวเอง ล่ามโซ่ตวั เองแบบทีเ่ ป็นในต่างประเทศเป็นการ ล่ามโซ่ตัวเอง เราไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น เราอยากเป็นไทย ไม่อยากเป็นทาสใคร” ต่อจากนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ำริให้ทปี่ ระชุม ทราบว่า ก่อนมานี้ก็ได้รับฎีกาจากนิสิตมหาวิทยาลัย ๙ คนเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น เร็ว ๆ นีพ้ ร้อมทัง้ ทรงน�ำซองฎีกาออกให้ทปี่ ระชุมดู พร้อมทัง้ ค�ำสัง่ ของมหาวิทยาลัย แล้วมีพระราชด�ำรัสว่า ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกท�ำโทษเขียนมารับว่าท�ำผิดจริง การรับว่าท�ำผิดนัน้ ดี แสดงว่าเขารูต้ วั ว่าท�ำผิด คนเราท�ำผิดครัง้ เดียวนับว่าเก่งมาก นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าท�ำผิดมา การที่เขาท�ำผิดและฎีกามาในวันนี้ จึงอยากจะ ให้อธิการบดีและคณะอาจารย์อภัยเขาเสียทีเนื่องในวันนี้ ภายหลังสิ้นกระแสพระราชด�ำรัส บรรดานิสิตและอาจารย์ปรบมืออยู่ เป็นเวลานาน พร้อมทั้งพลเอก ประภาส จารุเสถียร อธิการบดีด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชด�ำรัสต่อไปว่า “ที่ตบมือนี้แสดงว่านิสิตทั้งหลายเห็นด้วยที่อภัยโทษและอธิการบดีก็ตบมือด้วย (ปรบมืออีก) นีก่ แ็ สดงว่าอธิการบดีและคณะครูอาจารย์ไม่ได้คดิ สนุกทีจ่ ะตัดสินใคร ท�ำโทษใครโดยไล่ออกหรือโดยท�ำโทษอย่างอื่น ที่จริงก็ดีใจด้วยที่นิสิตได้รับ อภั ย โทษ แต่ อ ย่ า ถื อ ว่ า ไม่ มี ค วามผิ ด ” ต่ อ จากนั้ น ได้ ท รงเตื อ นนั ก ศึ ก ษาว่ า “พวกเราต้องระวังอย่าให้หลงการยุยงไม่ว่าจะมาจากที่ใด รวมทั้งที่มาจากข้างใน ของตนด้วยต้องมีสติเอาไว้ ที่พูดมากเพราะเป็นห่วง และวันนี้ก็เป็นวันพิเศษจึง อภัยโทษ ที่มาวันนี้ได้รับเชิญให้มาฟังดนตรี แต่ต้องกลับมาพูดเรื่องอภัยโทษ เพราะเห็นเป็นเรื่องส�ำคัญจึงได้พูดเข้าใจว่าทางมหาวิทยาลัยจะได้พิจารณา ลดหย่อนผ่อนโทษตามกฎของมหาวิทยาลัย จงจ�ำไว้วา่ การอยูเ่ ป็นหมูค่ ณะ จะท�ำอะไร ตามใจไม่ได้ ที่มีเรื่องขึ้นเช่นนี้ก็ท�ำให้สลดใจ ขอร้องด้วยว่า ควรมีสติให้ช่วยเหลือกัน เพื่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เพื่อความปลอดภัยของบ้านเมืองเป็นส่วนรวม ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ำรัสถึงเรื่อง ช่วยกาชาดจบแล้ว เสด็จร่วมทรงดนตรีกับคณะดนตรีของสโมสรมหาวิทยาลัย จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. จึงเสด็จพระราชด�ำเนินกลับ

36


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซกโซโฟนร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์บนเวทีหอประชุมจุฬาฯ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗

นายกสโมสรนิสิตฯ ทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

37


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ผู้แทนนิสิตทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

38


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี วันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ๓ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “วันนี้กลุ้มใจเลยพูดระบายแบ่งความกลุ้มใจให้คนส่วนมากฟังบ้าง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ำรัสตอนหนึง่ ในการเสด็จเตือนนิสติ และนิ สิ ต าของจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย พร้ อ มด้ ว ยสมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถอย่างไม่ถือพระองค์เมื่อบ่ายวาน พระราชทานพระบรม ราโชวาททรงกล่ า วชี้ ใ ห้ เ ห็ น ผลร้ า ยของการเดิ น ขบวน ทรงกล่ า วถึ ง ประวั ติ ของมนุ ษ ย์ ม าจากลิ ง แล้ ว พระราชทานพรให้ ส อบได้ ให้ กั บ ผู ้ ท ่ อ งหนั ง สื อ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และให้กับคนไม่ท่อง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ท่ามกลางความตื้นตัน ในพระมหากรุณาธิคุณของนิสิตและนิสิตาเป็นล้นพ้น “การมาครั้งนี้นับว่าพิเศษจริง ๆ เพราะมีพิธีการคล้ายการรับน้องใหม่ เพราะต้องมีการให้โอวาทด้วย” องค์พระประมุขรับสั่งกับที่ชุมนุมนักศึกษา ที่ เ ฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาทอั น ล้ น หลาม เมื่ อ หม่ อ มหลวงจิ ร ายุ นพวงศ์ โฆษกของมหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลรายงาน แล้วกราบทูลขอพระราชทาน พระบรมราโชวาทเพื่อให้นิสิตสอบไล่ได้ “การเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยนี้ น้องใหม่ทุกคนน่าจะทราบดีว่ามาเพื่อเรียน ไม่ใช่มาเดินเล่นโก้ ๆ เก๋ ๆ หรือ ไม่เก๋ก็ได้ หรือมาเดินขบวนกัน รุ่นพี่บางคนอยู่ในมหาวิทยาลัยมาหลายปีเต็มทน ควรท�ำตัวอย่างให้ดีให้น้องเห็นว่าพี่ปฏิบัติดีน่าเลื่อมใส นี่เป็นส่วนให้พรก่อน” พระองค์รับสั่งด้วยความขอบอกขอบใจของเหล่านิสิตว่า “ส�ำหรับพร ที่ขอให้สอบไล่ได้เป็นของที่ทุกคนต้องการ ทุกคนต้องการสอบได้ ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ ผู้ปกครองหรือผู้หวังดีทั้งหลายอยากให้นักศึกษาเรียนดีและสอบได้ การจะสอบได้มอี ยูว่ ธิ เี ดียวคือท่องหนังสือ ถ้าจะให้พรก็จะขอเฉพาะผูท้ ที่ อ่ งหนังสือ ให้มีก�ำลังใจท่องต่อไปให้รู้จริง พรก็ อ ยู ่ ที่ ว่ า ก่ อ นสอบขอให้ ไ ม่ ห มดก� ำ ลั ง ใจ ให้ขะมักเขม้นเมื่อถึงเวลาใกล้สอบ อย่าหัวเสีย จิตใจอยู่กับตัวเอง เชื่อว่าพรนี้ ศักดิ์สิทธิ์มาก ส�ำหรับผู้ท่องหนังสือ และอาจมีผลส�ำหรับผู้ไม่ท่องเหมือนกัน แต่น้อยราว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ส�ำหรับผู้ท่องมีผลถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ทีเดียว” ๓

คัดจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๖๕๑ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้า ๑ และ ๑๖

39


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

แล้วพระองค์รับสั่งเปิดเผยถึงเหตุผลที่เสด็จไปเยือนนักศึกษา เป็น การส่วนพระองค์ว่า “ว่าถึงวันนี้มาท�ำไม เพราะการเดินทางจากบ้านมาถึงนี่ ก็ควรมีเหตุผลว่ามาท�ำไม ที่มาเพราะได้รับลายเซ็นของคนหลายพันคน ต่อว่า ว่าปีนี้ท�ำไมไม่มาเหมือนปีก่อน ๆ เพราะเคยมาเสียจนกลายเป็นประเพณีเสียแล้ว แต่บังเอิญปีนี้ไม่อยู่ไปท�ำงานต่างประเทศเสียเลยไม่ได้มา แต่ก่อนไปต่างประเทศ ก็ได้ยนิ เสียงขอร้องไม่ดังนักพูดอย่างหมดหวังว่าปีนี้คงไม่ได้มา วิธพี ดู แบบนี้เข้าใจ ว่าคงอยากให้มา แต่ยงั ไม่ใช่สงิ่ ยืนยันทีเ่ พียงพอ ถ้าอยากให้มาก็นา่ จะปรึกษาหารือ กันว่าอยากให้มาแน่ เพราะถ้าเกิดรับเชิญมาในหอประชุมมีคนเพียง ๑๐ คน ฝ่ายข้างบนไม่เป็นทุกข์เพราะมีวงดนตรี ๒ คนก็เล่นได้ แต่คนฟังโหรงเหรง น่ากลัวผีหลอกแน่ ถ้าปรึกษากันพร้อมเพรียงดีแล้วก็จะถือเป็น “ประชามติ” แต่จะเรียกว่าประชามติก็ไม่ถูกนัก ควรจะเรียกว่า “จุฬามติ” จะน่าฟังกว่า” พระองค์ได้ตรัสเตือนนักศึกษาว่า “พูดถึงประชามติเกิดกลุ้มใจขึ้นมา มีโอกาสก็ขอพูดเสียหน่อย เพราะประชามติก�ำลังเฟ้อขณะนี้ เช่นการเดินขบวน ประท้วง ที่เกิดเหตุจลาจลข้างบ้านเราขณะนี้ ที่จริงเขาท�ำไปเพราะสนุก ไม่รู้ด้วยซ�้ำ ว่าประท้วงอะไรกัน กลายเป็นเดินเล่นสนุกกัน พวกเรารู้ดีว่าการสนุกแบบนั้นไม่ดี เพราะพวกที่เดินไม่ใช่ปัญญาชน เขาไม่รู้ผลได้ผลเสียของการเดิน แต่ถ้าเดินไปตีกัน หน้าแตกก็เห็นผลเสีย เพราะต้องเสียยารักษา จริงอยู่เมืองไทยก็มียามาก แต่เรา ควรใช้ยาเมื่อมีความจ�ำเป็นเท่านั้น ประชามติจริง ๆ จะต้องมาจากประชาชน จ�ำนวนมาก ไม่ใช่จากพวกใดกลุ่มใด จ�ำไว้” “ขอแสดงความยินดีกับเมืองไทย กับพวกเราเองว่าเรามีสมองพอ ทีจ่ ะรูว้ า่ อะไรดีไม่ดี และมีการยัง้ คิดทีถ่ กู ต้องท�ำให้เราคิดถึงเรือ่ งของมนุษย์ ประวัติ ของมนุษย์นะ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ เพราะไม่ชอบประวัติศาสตร์ เคยสอบตกด้วย” พระองค์ทรงเล่าโดยไม่ถือพระองค์เลย

40


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระองค์รับสั่งเรื่องประวัติมนุษย์ว่า “เราควรรู้ว่ามนุษย์มาจากอะไร ทุกคนรู้ว่าเรามาจากลิง ลิงเป็นญาติพี่น้องเรา มนุษย์เราก้าวหน้ามาเรื่อยจนเป็น มนุษย์มีความคิด รู้จักท�ำอะไร มีศีลธรรม ปัจจุบันลิงยังมีอยู่ ที่เขาดินก็มี ชอบดู เหมือนกัน ลิงเป็นสัตว์ฉลาด แต่ลิงฉลาดอย่างไรก็ยังใช้เท้าเกาหัว สัตว์ทุกชนิด ใช้เท้าเกาหัว แต่มนุษย์ใช้เท้าเดิน มนุษย์มาจากลิง แต่ใช้สมองคิด เมื่อสมัยนี้ ยั ง มี ลิ ง อยู ่ คนจึ ง มี ทั้ ง พวกใช้ ส มองคิ ด และพวกที่ คิ ด ว่ า ใช้ ส มองคิ ด แต่ เ ปล่ า วันนี้กลุ้มใจเลยพูดระบายแบ่งความกลุ้มใจให้คนส่วนมากฟังบ้าง แบ่งให้ทุกคน ช่วยกลุ้ม ที่จริงก็เป็นบาปเหมือนกัน” พระองค์ตรัส “ขอฝากให้คดิ ว่า ถ้าจะตัดสินใจเรือ่ งอะไร เรือ่ งสอบไล่ หรือคิดจะแสดง ประชามติละก็ ขอให้ใช้สมองคิด” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำรัส ในที่สุดว่า “พูดวกวนมามากเพราะเชิญให้โอวาท จะได้ไม่ขาดทุน เรื่องดนตรีไม่รู้ ด้ ว ยนะบางที ดี บางที ไ ม่ ดี แต่ อ าจดี เ หมื อ นกั น เพราะดนตรี ว งนี้ ไ ม่ มี อ าย หน้าด้านที่สุด ใครขอเพลงอะไรก็ต้องเล่น ไม่ขอก็เล่น แต่นักศึกษามหาวิทยาลัย คงรู้จักดีแล้ว พวกน้องใหม่คงได้รับค�ำอธิบายจากพี่ ๆ แล้วว่าดนตรีนี้เป็นอะไร ไม่ต้องตกใจ”

41


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

42


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

43


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารกับคณาจารย์ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๘

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ฯ ทรงเปียโนร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์

44


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ทรงเป่าแซกโซโฟนร่วมกับนักดนตรีบนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

นิสิต ก�ำลังชมการบรรเลงเพลงในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

45


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่นิสิต ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

46


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี วันจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๘๔ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสด็จฯ จุฬาฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ พร้อมด้วยทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าชาย หญิง เสด็จพระราชด�ำเนิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อบ่ายวานนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชาย หญิง 3 พระองค์ เสด็จฯ ให้บรรดานิสติ เรือนเกือบหมืน่ เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ และทรงดนตรี พระราชทานเพลงตามค�ำขอ พระองค์ทรงดนตรีแบบแจ๊ส และทรงน�ำวงดนตรี แบบชาโดว์ไปแสดงด้วย แต่พระราชทานชือ่ ให้เสียใหม่วา่ วง “ชาดก” โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าชาย หญิงทรงดนตรี และเพลงทุกพระองค์ บรรดานิสิตและอาจารย์ รวบรวมเงิน โดยเสด็จพระราชกุศลได้ทั้งหมดสองหมื่นบาทเศษ กับเหรียญ โทรศัพท์อีกหนึ่งเหรียญ เหมือนกับปีก่อน ๆ มา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพบปะ กับเหล่านิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทรงดนตรีพระราชทานเป็นการ ส่วนพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย วชิราลงกรณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรฯ เสด็จฯ ถึงหอประชุมมหาวิทยาลัย เมือ่ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. เมือ่ วานท่ามกลาง เหล่านิสิตชายหญิงตั้งแถวถวายการต้อนรับ องค์พระประมุขมีพระราชปฏิสันถารกับบรรดานิสิตซึ่งเข้าเฝ้าแออัด อยู่ในหอประชุมจนไม่มีที่ว่างเหลืออยู่เลย แล้วทรงเข้าประจ�ำที่ในวงดนตรี ทรงเปิดวงด้วยเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ แล้วทรงบรรเลงเพลงตามค�ำขอของเหล่า นิสติ ทัง้ หลาย พวกนิสติ ชาวสีชมพูพากันทยอยขอเพลงไม่ขาดสาย ตัง้ แต่สามโมงเย็น จนสองทุ่มก็ยังไม่หมด พร้อมกับบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล วงดนตรีของพระองค์ได้บรรเลงเพลงต่าง ๆ รวมทัง้ เพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงทีก่ ำ� ลังอยูใ่ นความนิยม แม้แต่เพลง “ผูใ้ หญ่ล”ี พระองค์กไ็ ด้บรรเลงโดย มีนักร้องขับร้อง แต่ได้แปลงเนื้อร้องให้ตลกยิ่งขึ้นท่ามกลางเสียงปรบมือพึงพอใจ อย่างยิ่งของบรรดานิสิตอันล้นหอประชุม ถึงกับมีเหลือออดูอยู่ตามเครื่องรับ โทรทัศน์ ซึ่งมีการถ่ายทอดการแสดงในหอประชุมออกมาข้างนอก ๔

คัดจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑๙๒๒ วันอังคารที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๘ หน้า ๑ และ ๑๖

47


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ได้ มี นิ สิ ต ทู ล ขอให้ ส มเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ชายทรงดนตรี พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั ทรงลุกขึน้ จากทีป่ ระทับมารับสัง่ ทีไ่ มโครโฟนว่า ต้องให้ไปถามสมเด็จ เจ้าฟ้าชายดู พระองค์ตรัสเป็นท�ำนองตลก ๆ ว่า “พ่อแม่สมัยใหม่ ไม่อาจจะบังคับลูก ได้เหมือนสมัยก่อนเสียแล้ว” อาจารย์เสนาะ ตันบุญยืน ผู้ท�ำหน้าที่เป็นโฆษก จึงได้ไปกราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้าชายและพระองค์ก็ยอมทรงดนตรีด้วยการทรง แซ็กโซโฟนทองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนจบเพลง ท่ามกลางเสียง ปรบมือของนิสิตทั้งหอประชุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์สากลสีน�้ำเงิน ทรงเป็น โฆษกด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ ทรงลุกขึ้นจากที่ประทับเมื่อทรงเพลงจบ มารับสั่งแล้วก็กลับไปทรงดนตรีอีก ด้วยพระพักตร์อันแย้มสรวล แม้ว่าอากาศ ภายในจะอบอ้าว แต่พระองค์คงทรงดนตรีอย่างมีชีวิตชีวาตลอด ในขณะที่ ก ารบรรเลงจบลงเพลงหนึ่ ง นั้ น ได้ มี ป ระกาศว่ า สมเด็ จ เจ้าฟ้าชายพระราชทานเงิน ๑๐๐ บาท ขอให้พลเอกประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีมหาดไทย รองนายกรัฐมนตรี และด�ำรงต�ำแหน่งอธิการบดีร้องเพลง อาจารย์เสนาะแจ้งให้ทราบว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายรับสัง่ ว่า นอกจากจะขอให้พลเอก ประภาสร้องเพลงแล้วยัง “โดยเสด็จพระราชกุศล” ด้วย นิสติ ทัง้ หอประชุมพากัน ปรบมือให้ไม่ยอมหยุด ในที่สุดพลเอกประภาสซึ่งนั่งแล้วอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ ได้ลุกออกมาถวายค�ำนับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปอยู่หน้าไมโครโฟนออกตัวว่า “วันนี้ไม่ค่อยสบาย และไม่ได้ เตรียมตัวมา ไม่ทราบว่าจะร้องเพลงอะไร จะร้องเพลงสยามานุสสติ พวกเรา ช่วยกันร้องหน่อยนะ” พลเอกประภาสพูดพลางหันมาพยักหน้ากับพวกนิสิต เมือ่ ในหลวงทรงบรรเลงน�ำขึน้ พลเอกประภาสก็เริม่ ร้องด้วยเสียงอันดัง เป็นท�ำนองไทยเดิม แต่เหล่านิสิตร้องตามไม่ถูกเลยไม่ได้ร้อง รัฐมนตรีมหาดไทย ในชุ ด สากลหู ก ระต่ า ยที่ ช อบใส่ ร ้ อ งได้ ว รรคหนึ่ ง เลยหยุ ด เข้ า ไปกราบทู ล ในหลวงว่า “พวกเขาไม่ช่วยข้าพระพุทธเจ้าร้อง แล้วขอพักการร้องเอาไว้แค่นั้น” พระองค์ทรงลุกมารับสั่งว่า “ท่านอธิการบดีมาบอกว่า นักศึกษาไม่ช่วยร้อง ร้องกันได้ไหม” พวกนิสติ ทูลตอบว่าร้องไม่ได้พระองค์ทรงพระสรวลและทรงกลับ ไปที่ประทับ แล้วโฆษกได้มาประกาศว่า พลเอกประภาส ได้บริจาคเงินโดยเสด็จ พระราชกุศลเป็นใบแดง ๆ ปึกหนึ่ง พร้อมกับน�ำมานับต่อหน้า ได้เป็นจ�ำนวน ๑๐ ใบ

48


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

บรรดานิสิตพากันปรบมืออย่างพึงพอใจที่สุดเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิรินธรฯ ทรงออกมาร้องเพลงตามค�ำทูลขอของนิสิต เจ้าฟ้าหญิงก�ำลังประทับ อยูก่ บั สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จออกไปทีไ่ มโครโฟน แต่ประทับ ยืนนิ่งหันไปทอดพระเนตรสมเด็จฯ ทรงยืนลังเลสักครู่ จนสมเด็จฯ กวักพระหัตถ์ เรียกให้ไปหาอีก แล้วจึงเสด็จกลับมาที่ไมโครโฟนอีก แต่พอพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงน�ำเพลงขึ้น พระองค์เหมือนจะทรงลืมนักร้อง เสด็จวิ่งกลับไป หาสมเด็จพระบรมราชินีอีกถึงสองครั้งสองครา เหล่านิสิตพากันปรบมือและ หัวเราะอย่างพออกพอใจ ครัน้ แล้วพระองค์จงึ ทรงเพลงด้วยพระสุรเสียงอันชัดถ้อย ชัดค�ำในเพลง “จนกว่าเราจะพบกันอีก” พอทรงเสร็จก็เสด็จวิง่ โผกลับไปหาสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทันทีโดยมีเสียงปรบมือดังขึ้นอย่างยาวนาน ในพระราชด�ำรัสที่ทรงมีแก่เหล่านิสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ รับสัง่ ว่า “วันนีไ้ ม่ตอ้ งมีโอวาทเพราะไม่มเี หตุการณ์” เสียงนักศึกษาหัวเราะชอบใจ พระองค์รับสั่งต่อไปว่า ได้ทรงน�ำวงดนตรีแบบชาโดว์มาด้วยและทรงกล่าวว่า “ก็เลยตกลงว่า เรียกว่าวงชาโดว์ แต่เห็นว่าพวกที่เล่นนี้ยังไม่แก่อายุเพียง…” ทรงหยุดนิดหนึ่ง “บอกไม่ได้ แต่ชื่อนี้ไม่เป็นศักดิ์ศรี ไม่ค่อยงาม เลยขอชื่อว่าวง “ชาดก”” วง “ชาดก” ของพระองค์ได้เล่นดนตรีแบบชาโดว์ โดยมีผู้เล่นกีตาร์ ไฟฟ้า ๓ คน ส่วนพระองค์ทรงเปียโน เพลงหนึ่งที่ทรงคือ “ยัวร์ซีดติ้ง ฮาร์ด” พระองค์ได้รับสั่งถึงเพลง “ผู้ใหญ่ลี” ว่า “เพลงผู้ใหญ่ลีนี้มีคนพูด กันมากว่าไม่สมควร เพราะดูถูกชาวนา แต่รู้สึกตรงกันข้าม แล้วแต่ฟังจากใคร ขอให้พิจารณาคนไทยไม่มีแบ่งแยก คนไทยชอบล้อชอบแหย่ ถ้าไม่แหย่ก็ไม่สนุก ย่อมง่วง ไม่มีก�ำลังใจต้องครึกครื้น” ตั้งแต่เสด็จฯ ถึงจนสองทุ่มเศษ พระองค์ทรงดนตรีอย่างไม่ยอมหยุด และนิสิตทั้งหลายก็พากันเฝ้าฯ อย่างไม่ยอมย่อท้อเช่นกัน พากันทูลขอเพลง พร้อมกับช่วยกันบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล จนกว่าจะเสร็จสิ้นการบรรเลง ได้เงินทั้งหมดสองหมื่นบาทเศษ กับเหรียญโทรศัพท์อีกหนึ่งเหรียญ

49


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

50


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

51


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

นิสิตตั้งแถวรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่หน้าหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จพระราชด�ำเนินเข้าสู่หอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

52


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินมายังเวทีหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

ผู้แทนนิสิตเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บนเวทีหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

53


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่นิสิตในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

54


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๕ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการนิ สิ ต จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอรั บ พระราชอาญาต่ อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องนิสิตตีกันจนบาดเจ็บสาหัส ในระหว่างที่เสด็จ พระราชด�ำเนินต่างประเทศ รับสั่งเสียพระทัยที่มีเรื่องไม่ดีงามเกิดขึ้นในจุฬาฯ อีก ทัง้ ทีท่ รงเตือนไว้แล้วหลายครัง้ ทรงปฏิเสธไม่ยอมลงพระราชอาญาว่าไม่มปี ระโยชน์ ถ้าไม่เข็ดหลาบ “คนทีท่ ำ� ผิดเบียดเบียนคนอืน่ ผิดกฎหมายบ้านเมืองก็ตอ้ งมีการลงโทษ ไม่ให้ทำ� อีก และเพือ่ ให้ผอู้ นื่ ได้เห็นว่า ท�ำอย่างนัน้ ผิด อย่าไปท�ำอีก” เป็นตอนหนึง่ ในพระราชด�ำรัส เมือ่ เวลา ๑๕.๐๐ น. วานนี้ ทีห่ อประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคลาคล�ำ่ ด้วยนิสติ หญิงชายจากทุกคณะของมหาวิทยาลัย เพือ่ รับเสด็จพระราชด�ำเนินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่ง เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ร่วมกับนิสิตของจุฬาฯ ประจ�ำทุกปี ในวันที่ ๒๐ กันยายน อันเป็นวันตรงกับวันพระราชสมภพของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล แต่ ใ นปี นี้ วั น ที่ ๒๐ กั น ยายน พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินต่างประเทศจึงต้องเลื่อน การเสด็จฯ มาในวันนี้ รถพระที่ นั่ ง ผ่ า นแถวของนิ สิ ต ใหม่ ชายหญิ ง ทุ ก คณะตลอดระยะ จากประตูมหาวิทยาลัยถึงหอประชุม หลังจากเสด็จพระราชด�ำเนินบนเวทีแล้ว นิสิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีกระหึ่มหอประชุม นายสงคราม สมบูรณ์ นายกสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลในนามของนิสิตปัจจุบัน และนิสิตเก่า ชื่นชมในพระมหากรุณาธิคุณที่เสด็จพระราชด�ำเนินมาในครั้งนี้ และกล่าวค�ำปฏิญาณว่า บรรดานิสิตจะจงรักภักดีต่อล้นเกล้าล้นกระหม่อม ทั้งสองพระองค์ พระราชชนนี พระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ ๕

คัดจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ ๖๓๐๘ วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ หน้า ๑, ๒ และ ๑๖

55


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

และพร้อมที่จะพลีชีวิตอุทิศถวายทุกเมื่อ พร้อมกับได้กราบบังคมทูลถึงเหตุการณ์ ที่มีเรื่องไม่ดีงามเกิดขึ้นในระหว่างที่เสด็จพระราชด�ำเนินต่างประเทศ ทั้งที่ ทรงมีพระกระแสรับสั่งเตือนไว้แล้วให้รักษาความสงบ จึงเบิกตัวกรรมการนิสิต น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมขอรับพระราชอาญา และทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องขอขมา ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสัง่ กับนิสติ จุฬาฯ ทัง้ หญิงชาย ทีม่ าประชุมอยูเ่ นืองแน่น กว่า ๕ พันคนว่า ยังไม่ทรงอยากที่จะพูดเรื่องที่ท�ำผิดพลาดกันไปในตอนแรกนี้ ทรงรับสัง่ ให้นสิ ติ ว่าควรจะนัง่ ลงได้แต่ยงั ไม่ทรงอนุญาตให้นงั่ และทรงให้ขอ้ คิดว่า กิริยาอาการใด ๆ ไม่ว่าการนั่ง หรือการยืน การนอน ต้องมีเหตุผลมีปัญหา ทั้งสิ้นว่า ท�ำอย่างใดจึงจะควร ไม่ควร ถูกกาลเทศะหรือไม่ แต่ที่เราท�ำ ๆ กันอยู่ จนเคยชิน จนไม่คิด “เมื่อเราปฏิบัติการอะไรไม่ทันคิด เหมือนอย่างพูดเพ้อเจ้อแล้วก็ว่า กลอนพาไป ความจริงต้องโทษตนเองว่าไม่มีจิตใจอยู่กับตัว ท�ำอะไรก็มีผิดพลาดไป นี้ก็จวนจะเข้าเรื่องที่จะพูดแล้ว แต่ขอยังไม่พูดในตอนนี้” หลังจากทรงอนุญาตให้นสิ ติ นัง่ ลงได้แล้วก็ทรงรับสัง่ ว่า “มาวันนีม้ าตาม ค�ำขอของคณะกรรมการเมือ่ วันที่ ๑๑ ซึง่ เอาฎีกามาให้มชี อื่ ลงนับพันในฎีกาขอให้ มาที่หอประชุมนี้ เพื่อมาเล่นดนตรี เพราะไม่ได้มาเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ตามทีเ่ คยมา เป็นการเล่นดนตรีตามค�ำขอ ซึง่ ความจริงทางรัฐบาลก็บอกว่าไม่ควร จะมี (นิสิตปรบมือหัวเราะ) ก็มีเหตุผลเหมือนกัน เรื่องทางวิทยุขอเพลงไม่เหมาะสม หลายประการ ท�ำให้เสียเวลา ท�ำให้มีเรื่องเกิดขึ้น มีจริง ๆ มีเหตุผล แต่จะรุนแรง แค่ไหนก็ไม่ทราบ เราฝ่าฝืนบทนั้น แต่เลี่ยงได้ว่าหนังสือที่ให้มาไม่ใช่ค�ำขอ เป็นฎีกา และไม่ได้ออกวิทยุ ห้ามไม่ให้ขอเพลง แต่ถ้านิสิตอยากฟังเพลงอะไรให้ ปรารภเอาก็ได้” นิสิตหัวเราะปรบมือชอบใจในรับสั่ง และทรงรับสั่งว่า ในวันนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง ๓ พระองค์ไม่ได้มา ตามค�ำทูลเชิญ เพราะ ๒ พระองค์ทรงยังไม่หายจากประชวรดีและติดสอบ อีกพระองค์หนึ่งก็ติดสอบเช่นกัน

56


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ทรงมีรับสั่งถึงการที่นิสิตมีการทะเลาะวิวาทกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต ในระหว่างที่เสด็จพระราชด�ำเนินต่างประเทศว่า “ตามปกติเชิญมาเล่นดนตรี วันนี้ไม่ได้เชิญมาเล่นดนตรีหรือให้โอวาท แต่เชิญให้มาลงพระราชอาญา ไม่ทราบว่าจะลงอย่างไร ลงพระราชอาญาเขาลง ส�ำหรับเด็ก ๆ หรือผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตลงโทษตามศาล และถวายฎีกาขึ้นมา ว่าบัดนี้เข็ดหลาบแล้วเข็ดจริง ๆ ไม่ท�ำอีกแล้ว ที่ท�ำไปเพราะโง่เขลาเบาปัญญา บ้างก็โดยโง่เขลาจริง ๆ แต่เป็นภัยร้ายแรง ให้อภัยก็ล�ำบากอยู่ บางทีก็ไม่โง่เขลา แต่มีเหตุผลอื่น แต่อย่างไรก็ชอบเขียนในฎีกาว่าโง่เขลา แต่มานึกถึงเชิญมาลง พระราชอาญาก็ชอบกล ไม่ชอบ เพราะไม่มีประโยชน์ การลงโทษของกฎหมาย บ้านเมือง ผู้กระท�ำผิดต้องลงโทษ มีเหตุผลว่าคนท�ำผิดเบียดเบียนคนอื่นท�ำให้ ส่วนรวมเสียหาย ต่อประเทศชาติ บุคคล ผู้ร่วมชาติ ก็ต้องลงโทษ เพื่อลงโทษ ไม่ให้ท�ำอีก และให้ผู้อื่นเห็นว่าท�ำอย่างนั้นอีกต้องถูกลงโทษ” “และที่ว่าเหตุการณ์ที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นนั้น ไม่ดี ไม่งามจริง ๆ ไม่น่า จะเกิดขึ้นจริง ๆ การแก้ไขไม่ได้อยู่ที่ลงโทษ คราวที่แล้วบอกว่าปีหน้ามีอะไรอีก จะไม่เอาอีก ไม่หวังให้อภัย แต่ก็…ก็ไม่พูดถึง อภัยโทษหรืออย่างไรก็ตามอยู่ที่ใจ ของแต่ละคนไม่ได้อยู่ที่การลงโทษ” “ขอให้ทกุ คนมีเหตุผล ถ้ามีเหตุผลจะไม่มอี ะไรเลย แต่ถา้ เหตุผลละลายไป หรือมีอารมณ์ ไม่ระวังก็จะท�ำในสิ่งที่ไม่ดี ความเข็ดหลาบจะต้องมีอยู่ตลอดเวลา ผิดพลาดอะไรไป ก็ต้องรู้ตัวป้องกันไม่ให้เกิดใหม่ ให้มีคติอยู่ในจิตใจตลอดเวลา ให้คติเป็นเครื่องมือให้แต่ละคนไม่ท�ำในสิ่งที่เลวร้าย ถ้าจิตใจอยู่กับตัวท�ำอะไร ก็ส�ำเร็จ” ทรงรับสั่งถึงผลเสียหายว่า “ความเสียหายไม่พูดถึงก็รู้อยู่แล้วว่า มหาวิทยาลัยมีความส�ำคัญอย่างไรต่อประเทศ ผู้ที่ศึกษามหาวิทยาลัยไม่ใช่เด็ก ๆ ไม่ใช่ผทู้ จี่ ะโดนจูงไปในทางใด ๆ ทีไ่ ม่ชอบได้งา่ ย ๆ แต่ถา้ ปล่อยตัวก็อาจเป็นเด็กได้” ทรงรับสั่งถึงข้อที่กล่าวหากันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ว่า

57


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

“ผู้ใหญ่ก็ว่าเด็กไม่ดี เด็กก็ว่าผู้ใหญ่ไม่ดี ก็เป็นความผิดทั้งสองฝ่าย ที่ผู้ใหญ่ไม่ดี เพราะผู้ใหญ่ไม่เอาใจใส่เด็กด้วยจิตใจบริสุทธิ์แก่อนาคตของเด็ก เด็กก็มีความผิด ด่าผู้ใหญ่ว่าเขาเลว ท�ำไมปล่อยให้เขาเลว ก็มีความรับผิดชอบ ต่อส่วนรวม เพราะว่าไม่ใช่เด็กนัก” “แต่ก็น่าเห็นใจพวกอยู่สมัยนี้ เกิดมาเห็นแต่โลกที่ปั่นป่วน เกิดมา หลังจากสงครามหรือตอนสงคราม หลังจากนัน้ ก็มแี ต่ความปัน่ ป่วนทัว่ ไป ปัจจุบนั ไม่มีเหตุผลเลย ไม่มีขอบเขตกฎเกณฑ์ เขาเรียกว่าสงครามเบ็ดเสร็จ ก็อาจให้นึกว่า โลกเรา คนเราไม่มีขอบเขต ไม่มีกฎเกณฑ์เหมือนกัน ก็นึกว่าจะท�ำอะไรก็ได้ ไม่มีผิด” “อันการต่อสู้อะไรเพื่ออุดมคติอะไร ก็ให้มีมติว่าอุดมคติลัทธินั้นถูก หรือไม่ถกู น่าฟังหรือไม่นา่ ฟัง แล้วก็จะไม่เกิดเรือ่ ง การลงพระอาญาไม่รลู้ งอย่างไร และไม่อยากลง แต่อยากให้ทกุ คนอยูใ่ นความสงบ ช่วยกันสร้างความเจริญรุง่ เรือง ให้แก่ประเทศชาติ” หลังจากมีพระบรมราโชวาทจบแล้ว เสียงเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” น�้ ำ ใจน้ อ งพี่ สี ช มพู ก็ ดั ง กระหึ่ ม หอประชุ ม พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงคลาริเน็ตและแซ็กโซโฟนร่วมกับวงดนตรี อ.ส. บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ตามค�ำ “ปรารภ” ของนิสิต โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับฟัง แย้มสรวลอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งค�่ำ จึงเสด็จพระราชด�ำเนินกลับ

58


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

59


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

60


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

61


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ เสด็จพระราชด�ำเนินมาถึงหอประชุมจุฬาฯ มีคณาจารย์ และนิสิตรอเฝ้ารับเสด็จฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐

นิสิตรีบไปเข้าแถวรอรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่หน้าหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

62


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซกโซโฟนในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรเลงคีย์บอร์ด ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ทรงร้องเพลงในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

63


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี วันพุธที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐๖ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงเรื่องการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย ว่าทุกคน มีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นด้วย แต่การพูดอะไรออกมานั้น ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน เพราะเมื่อพูดเข้าหูคนแล้วยากที่จะจบได้ และอาจถูกคนอื่นที่ฉลาดกว่าใช้เป็น เครื่องมือท�ำลายสิทธิ์ของคนพูดได้ เมือ่ บ่ายวานนี้ เวลา ๑๕.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปยังหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงดนตรี เป็นการส่วนพระองค์ตามค�ำกราบบังคมทูลเชิญของสโมสรนิสิตจุฬาฯ ภายหลัง ที่นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอ พระราชทานพระบรมราโชวาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ำรัสว่า “ปีนี้เริ่มต้น ประเพณีทเี่ คยท�ำมากว่า ๑๐ กว่าปีแล้วทีไ่ ด้มาเยีย่ มจุฬาฯ เป็นโอกาสได้ให้โอวาท และแสดงดนตรี เมื่อสองเดือนมานี้มีลูกชายมาเยี่ยมเลยต้องให้โอวาทกันทุกวัน ซึง่ น่าจะท�ำให้ชำ� นาญขึน้ แต่ดเู หมือนจะให้โอวาทเสียจนหมดพุง ลูกชายก่อนทีจ่ ะ กลับมาได้พอให้พ่อแม่ได้สั่งสอนทุกวันเพื่อจะได้ปฏิบัติอะไรไม่ผิดพลาด” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ำรัสถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ ว่า “วันนี้ขาดนักร้องไปคนหนึ่งเพราะมัวแต่ท่องหนังสือ จนเป็นไข้ การท่องหนังสือจนเป็นไข้นเี้ ป็นสิง่ ทีห่ ลายคนปฏิบตั อิ ยู่ แต่กม็ อี ยูไ่ ม่นอ้ ย เหมือนกัน ที่ไม่ท่องหนังสือแล้วเป็นไข้ในห้องสอบ การท่องหนังสือจนเป็นไข้ ยังดีเสียกว่า”

คัดจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๐

64


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

“ครั้งสุดท้ายได้ไปต่างประเทศเมื่อไปที่มหาวิทยาลัยที่ให้ปริญญา กิตติมศักดิ์ได้ข้อคิดมาหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีวิธีการให้ปริญญา ทัง้ กิตติมศักดิแ์ ละธรรมดาแตกต่างไปจากของเรามาก ของเรานัน้ ใช้เวลาหลายชัว่ โมง แจกปริญญาเสร็จแล้วก็ให้โอวาท ทีม่ หาวิทยาลัยแห่งนัน้ เวลามีแจกปริญญา มีคน ขึ้ น มาพู ด หลายคนมี ทั้ ง แขกผู ้ รั บ เชิ ญ ผู ้ ไ ด้ ป ริ ญ ญากิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ แ ละนั ก ศึ ก ษา ที่ส�ำเร็จการศึกษาในวันนั้น มีการพูดกันถึงการไม่เห็นด้วยซึ่งในประเทศฝรั่งนั้น การไม่เห็นด้วยมีความหมายแปลว่า ผู้ที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนกันปัญหาว่า ไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ อะไร หากไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ รั ฐ บาลที่ ส ่ ง ทหารไปญวนอย่ า งใน ปัจจุบันนี้ เราก็ส่งทหารไปญวนอาจจะมีไม่เห็นด้วยเหมือนกัน เรื่องของการพูดนี้ เป็นเรื่องยุ่งยาก เป็นเรื่องของความคิดของคนคนหนึ่งอาจถูกหรือผิดได้ การที่จะ แสดงความคิ ด เห็ น นั้ น เคยบอกนั ก ศึ ก ษาที่ ม หาวิ ท ยาลั ย นี้ แ ล้ ว ว่ า การแสดง ความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ควรท�ำได้ และทุกคนควรจะท�ำ แต่ก่อนที่จะแสดงความคิด ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อน การพูดนัน้ ย่อมจะกระทบถึงผูฟ้ งั เข้าไปในสมองแล้ว อาจเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้ ค�ำพูดเป็นคลื่นเสียงอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ว่าก็ไม่น่า จะมีอะไร แต่เมื่อเสียงนี้เข้าไปศูนย์กลางของระบบประสาท ซึ่งไม่อยู่เพียงแค่นั้น ความคิดเห็นนั้นยังถ่ายทอดต่อไป ถ้าจะพูดว่าวันนี้อากาศร้อนทุกคนก็ต้อง เห็นด้วย แต่ถ้าบอกว่าอากาศเย็นสบายทุกคนก็คงรู้สึกแปลกเพราะไม่ถูกกับ ความคิดของแต่ละคน ถ้าบอกว่านิสิตจุฬาฯ หน้าตาประหลาด ๆ ก็จะไปกระทบ จิตใจของคนไม่น้อยมีทั้งอดีตและปัจจุบัน และถ้าพูดมาก ๆ ถึงไม่ดังก็ไปกระทบ จิตใจคนเกีย่ วข้องได้รวมเป็นพลัง แต่ทมี่ เี สียงหัวเราะก็เพราะรูว้ า่ พูดเล่น และเข้าใจ จึงไม่เกิดปฏิกิริยาและความจริงนิสิตจุฬาฯ หน้าตาสวย ๆ ทั้งนั้น การพูดไม่ลึกซึ้ง ก็ย่อมเข้าใจง่าย แต่การพูดลึกซึ้งนั้นยุ่งยากจนเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ และเกิดการ เข้าใจผิดได้ วุ่นวาย ทะเลาะกันจนถึงใช้ก�ำลังท�ำลายกันได้”

65


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ำรัสต่อไปว่า “จึงเกิด ความคิดว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้นเขามีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นด้วย ในการไม่เห็นด้วยกับ คนอืน่ นัน้ ก็ตอ้ งมีหน้าทีข่ นึ้ มา การแสดงความคิดเห็นแย้งก็เป็นสิทธิท์ แี่ สดงได้ เช่น ไม่เห็นด้วยกับเพื่อน ครู ผู้ปกครองมหาวิทยาลัยตลอดจนผู้ปกครองประเทศ ก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงได้แต่ต้องดูหน้าที่ของตน การมีความคิดเห็นว่าควรเดินขบวน ก็ต้องพิจารณาดูโดยรอบคอบว่าจะมีผลอะไรติดตามมา เมื่อกระท�ำไปหรือพูดไป ก็ยอ่ มจะไปกระทบหูคนอืน่ ได้ ถ้าพูดไม่ระวังเขาก็อาจใช้เป็นเครือ่ งมือมาท�ำลายสิทธิ์ ของตนได้ เพราะคนนั้นอาจมาใช้ความคิดวาจาของเราได้ หากว่าคนมาใช้นั้น ฉลาดกว่าเราหรือฉลาดพอๆ กับเรา แต่เขามีทางทีใ่ ช้คำ� พูดของเรา เพราะพูดออกไป แล้วลบออกจากจิตใจจากสมองไม่ได้ ถ้าหงุดหงิดพลาดไปแล้วก็แก้ไขไม่ได้ ไม่เหมือนกับพูดลงในเครือ่ งบันทึกเสียงยังสามารถลบได้แต่เมือ่ เข้าไปในสมองแล้ว ลบไม่ได้ ดังนัน้ การพูดอะไรออกไปจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบอย่าให้ผดิ พลาดได้ ที่พูดมานี้ก็จะอยู่ในสมองของทุกคน อาจจะผิดพลาดได้ จงใช้สติปัญญาพิจารณา ดูว่าค�ำพูดนี้ถูกต้องหรือไม่” หลังจากพระราชทานพระราชด�ำรัสแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดนตรีและเสด็จพระราชด�ำเนินกลับเมื่อเวลา ๒๐.๐๐ น.

66


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

นิสิตตั้งแถวรอรับเสด็จฯ และถวายความเคารพ ขณะที่รถยนต์พระที่นั่งแล่นผ่าน ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒

พระอิริยาบถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

67


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลถวายรายงานต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บรรยากาศการแสดงบนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

68


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๗ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี๘ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ก่อนทีจ่ ะให้ตามทีน่ ายกสโมสรขอ และก่อนทีจ่ ะอนุญาตให้นงั่ ขอเทียบ ว่าเวลาตามเวลานาฬิกาใหม่นี้ เป็นเวลา ๑๕ นาฬิกา ๑๗ นาที ไม่ทราบว่า ตรงหรื อ ไม่ ต รงเพราะว่ า ไม่ ไ ด้ ตั้ ง แต่ ถื อ ว่ า เป็ น เวลาทางราชการในวั น นี้ ในหอประชุมนี้ และในบริเวณหอประชุมนี้ ที่ต้องตั้งนาฬิกาและเทียบเวลานี้ เพราะว่ า วั น นี้ ก็ ต ามเคย ก็ ค งมี ก ารชั ก เย่ อ กั น แล้ ว ก็ จ ะต้ อ งอ้ า งถึ ง เวลา ในต่างประเทศ ก็ขอไม่อ้างเวลาในต่างประเทศ แล้วตอนนี้ก่อนที่จะวิสัชนาต่อไป ก็ขอให้นั่งได้ การที่ต้องเทียบเวลานี้เพราะว่าทราบดีว่ามีกิจการหลายอย่าง ที่จะแสดงในวันนี้ การมาเป็นประจ�ำหรือเกือบประจ�ำทุกปีตามค�ำขอของทางมหาวิทยาลัย และของสโมสรของนิสิตจุฬาลงกรณ์ ก็มาด้วยจุดประสงค์หลายประการ ตามที่ ขอให้มาให้โอวาทและมาเล่นดนตรี ทั้งมารับเงินด้วย การที่มารับเงินนั้นก็เป็นไป ตามประเพณีที่ว่า เราจะต้องช่วยกันที่จะสร้างการกุศล แล้วก็การกุศลนั้น โดยเฉพาะที่เป็นมูลนิธิอานันทมหิดล ซึ่งเป็นมูลนิธิที่จะช่วยให้นักศึกษาที่ส�ำเร็จ จากมหาวิทยาลัยนี้ได้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อไป ปีก่อน ๆ นี้เคยมาแล้วโฆษณา ซึง่ เว้นมาหลายปี มาโฆษณามูลนิธอิ านันทมหิดล แต่ในปีนจี้ ะขอโฆษณานิดหน่อย โดยที่ว่ามีผลงานของมูลนิธิอานันทมหิดลมาอยู่ ณ ที่นี้ และก็ก�ำลังปฏิบัติการ คิดด้วยเครือ่ งสมองอันใหญ่โต การทีพ่ ดู เรือ่ งสมองอันใหญ่โตนี้ เพราะว่าคราวทีม่ า แจกปริญญาเมือ่ คราวทีแ่ ล้ว ทางท่านอธิการบดีกไ็ ด้โอ้อวดว่า ปีนที้ างมหาวิทยาลัย ได้รับการพัฒนาอย่างใหญ่หลวง คือมีสมองอิเล็กทรอนิกส์ใช้ ก็วันนี้ก็ดูเหมือนจะ มาแสดงให้ดู นี่เป็นรายการของทางมหาวิทยาลัย เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้ ในพระบรมราชวโรกาสเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ๗

69


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ข้ อ ต่ อ ไปที่ จ ะต้ อ งอารั ม ภบทอี ก คื อ ว่ า ปี นี้ พ วกที่ นั่ ง อยู ่ ใ นที่ นี้ อ าจ ไม่ทันนึกว่าเป็นปีที่ ๑๒ แล้วที่มีการประชุมกันแบบนี้ ครบรอบแล้ว ที่จ�ำได้ดี เพราะว่าผลงาน คือมีบุคคลหนึ่งในที่นี้อายุ ๑๒ แล้ว แล้วก็ขอเตือนความจ�ำหรือ บอกว่า ที่เริ่มมีการประชุมอย่างเช่นวันนี้ก็ต่อเนื่องมาจากการเกิดของบุคคลนี้ เมื่อ ๑๒ ปี เมื่อปี ๒๕๐๐ นั่นน่ะ วันหนึ่งมาแจกปริญญาในหอประชุมนี้ แล้วก็ เมื่อแจกปริญญาเสร็จแล้ว ก็ได้ประกาศสิ่งที่ไม่เคยประกาศเลย ณ ที่ใดว่า เมื่อแจกปริญญาเสร็จแล้วขอหนีกลับบ้าน วันนั้นผู้ที่ได้รับปริญญาก็คงงงพอใช้ แต่ว่าก็กลับบ้านไป แล้วไปคอย แล้วเกิดบุคคลผู้นี้ขึ้นมา๙ เมื่อเป็นเช่นนั้น ได้ทราบข่าวว่า มีทั้งอาจารย์ทั้งนักศึกษาขอแสดง ความยินดี ก็ตดิ ต่อมาทางอาจารย์สมุ นชาติ สวัสดิกลุ ผูล้ ว่ งลับไปแล้วว่า นักศึกษา อยากจะมาแสดงความยินดี ก็บอกว่าให้มาได้ที่พระที่นั่งอัมพร แล้วก็ยินดีที่จะ ต้อนรับ ให้ส่งจ�ำนวนและรายชื่อมาจะได้ให้ทางต�ำรวจ ทางทหาร ทางเจ้าหน้าที่ ได้ทราบ จะได้ให้เข้ามาได้ ก็บอกว่ามีประมาณ ๔๐ คน ต่อมาก็บอกว่าขอเพิ่ม จ�ำนวนเป็นสัก ๑๐๐ คน ต่อมาก็เพิ่มเป็นจ�ำนวน ๓๐๐ คน ก็เลยบอกว่า ถ้าเป็น เช่นนั้นก็ขอเปลี่ยนสถานที่เป็นสวนอัมพร เพราะว่า ๓๐๐ คน จะมาประชุม ในห้องหนึง่ ก็รสู้ กึ ว่าจะล�ำบาก ก็ไปทีส่ วนอัมพร ในวันนัน้ ปรากฏว่ามาเป็นจ�ำนวน ไม่ใช่ ๓๐๐ คน มาเป็นจ�ำนวน ๓,๐๐๐ คน คนเหล่านั้นก็คงได้ศึกษาส�ำเร็จมาแล้ว ก็หวังว่าอย่างนั้น เพราะ ๑๒ ปีมาแล้ว แล้วก็ได้ท�ำประโยชน์แก่บ้านเมือง อย่ า งมากมายแล้ ว ผู ้ ที่ อ ยู ่ ใ นหอประชุ ม และรอบหอประชุ ม นี้ ก็ ค งจ� ำ ไม่ ไ ด้ เพราะไม่ได้อยู่ในที่นั้น ก็ถึงต้องมาอธิบายว่า การมาอย่างนี้ก็มาเป็นประเพณี ซึ่งก็ทุกปีที่มาแบบนี้และทั้งมาเวลามาแจกปริญญา ก็ได้เคยบอกว่าเป็นการ ให้โอวาท ในการแจกปริญญานั้นเป็นโอวาทในการมาอย่างเช่นวันนี้ ไม่ใช่โอวาท แต่ก็กลับกลายมาเป็นประเพณีว่า นายกสโมสรขอให้ให้โอวาท ก็จนใจ ไม่ทราบว่า ถ้ามาออกตัวว่า วันนี้ไม่ใช่โอวาทก็จะหัวร่อกัน จึงยอมรับว่า วันนี้จะเป็นโอวาท ก็ได้ แต่ข้อสังเกตอีกอย่างก็คือ ภายใน ๑๒ ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีเหตุการณ์ต่าง ๆ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐ อันเป็นวันพระราชทานปริญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจ�ำปีนั้น ๙

70


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ทั้งในมหาวิทยาลัย ทั้งนอกมหาวิทยาลัย ทั้งนอกประเทศ ซึ่งถ้าสังเกตดูจริง ๆ จะว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” ก็พูดไม่ถูก ในทางดีก็มีมาก คืออย่างประเทศชาติก็พัฒนาขึ้นไป มหาวิทยาลัยก็พัฒนาขึ้นมา จนกระทั่งได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์อันมโหฬาร แล้วก็ เหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ที่ได้บันทึกไว้ในหนังสือพิมพ์ก็ตาม ได้ออกประกาศทั้งวิทยุ และโทรทัศน์กต็ าม นีต่ อ้ งบอกว่าทางสือ่ มวลชนทัง้ หมด เพราะว่าโดยมากถ้าบอก ทางหนังสือพิมพ์เท่านั้น เดี๋ยววิทยุเขาก็ต่อว่า ว่าไม่ได้เอ่ยถึง เวลาเอ่ยถึงวิทยุ เขาก็บอกว่าโทรทัศน์ไม่ ก็เลยเอาทั่วทุกอย่าง สื่อมวลชนทั้งหลายได้รายงานข่าว ทั้งดีทั้งไม่ดี เราได้อ่านได้ฟังได้เห็นทั่วกัน นั่นน่ะส่วนหนึ่ง แต่ว่าเหตุการณ์ที่มีขึ้น แล้วก็ไม่ได้ผ่าน ไม่ได้รับการบันทึกหรือกระจายข่าวทางสื่อมวลชนก็มีเหมือนกัน ซึ่งก็มีทั้งดีทั้งไม่ดี ทั้งนี้ถ้าเรามาคิดดู ข่าวต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เราจะมา ฟังข่าวเพียงว่าฟังสนุกก็เป็นทางหนึ่ง อีกทางหนึ่งเราฟังข่าวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ แล้ว เราจะต้องมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่เรา มาพิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์ อย่างไรแก่เรา แล้วก็เมื่อคิดแล้วว่าอยากจะให้ข่าวเหล่านั้น เหตุการณ์เหล่านั้น เป็นประโยชน์แก่เรา เราจะท�ำอย่างไร เราจะมีทศั นะอย่างไรต่อข่าว หรือเราจะฝึก จิตใจของเราอย่างไร ส�ำหรับให้ข่าวเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อเราและต่อส่วนรวม อันนี้ก็ต้องมานั่งคิด จะว่ามานั่งวิปัสสนาหรือมานั่งทางในก็อาจมากเกินไป แต่ขอ ให้ได้มาพิจารณาว่า จุดประสงค์ของแต่ละคน และแต่ละคณะ แต่ละสถาบัน แต่ละหมู่ชนหรือประเทศหรือแม้แต่มนุษย์ทั้งหลาย เรามีจุดประสงค์อะไร ตามความจริงแต่ละคนก็ต้องการความเจริญก้าวหน้า ความเจริญนั้นก็มีทั้งเจริญ ทางวัตถุและทางจิตใจ ทุกคนต้องมีหน้าที่จะปฏิบัติตนท� ำให้เกิดประโยชน์ เกิดพัฒนาขึ้น ทั้งนี้เราจะต้องใช้วิธีต่าง ๆ มาท�ำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมา ที่พูดอย่างนี้ อาจท�ำให้งงว่าจะน�ำไปสู่อะไร อันนี้คือทราบดีว่าได้พูดซ�้ำซากมาแล้วเป็นเวลา หลายปี ว่าแต่ละคนต้องพยายามที่จะใช้ความคิดพิจารณาให้รอบคอบ ใช้สติ ทั้งสติที่รู้ตัวว่าก�ำลังท�ำอะไร ทั้งสติปัญญา เพื่อประกอบกรรมที่ดี เพื่อให้กรรม นัน้ น่ะสนองให้เป็นผลทีด่ แี ก่เราและแก่สว่ นรวม อันนีก้ เ็ ลยท�ำให้มาพิจารณาว่าถ้า แต่ละคนปฏิบัติอะไร จะปฏิบัติอะไร มีสติอยู่กับตัว มีสติปัญญา แล้วมีความตั้งใจ ที่แน่วแน่ จะบรรลุผลตามที่ต้องการ คือการพัฒนาในทางจิตใจและในทางวัตถุ แก่ตนเองและแก่ส่วนรวม

71


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

บัดนี้ได้มีข่าวบางอย่าง ซึ่งไม่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ หรือออกวิทยุ หรือโทรทัศน์ มาถึงก็ได้สดับตรับฟังแล้ว แล้วท�ำให้นึกถึงว่า แต่ละคนที่เกี่ยวข้อง ก็อาจไม่ได้คดิ ถึงประโยชน์แท้จริงของตัว ถึงท�ำให้เกิดอลวนได้ แล้วก็อาจเกิดอลวน ต่อไปได้ ที่พูดถึงก็ขอพูดตรง ๆ แล้วก็ที่มีแฟ้มขึ้นมานี่ แฟ้มอันที่เขาให้เรามานี่ ตอนนี้ก็ไม่ทราบว่ามีอะไร ยังไม่ได้ดู แต่แฟ้มที่เอามานี้ก็มีหมายก�ำหนดการ ว่าจะท�ำอะไร ก็เห็นว่าไม่มีอะไรมากนัก มีแต่ว่ามีพระราชด�ำรัส มีทรงดนตรี ถวายพระสุธารส แล้วก็ถวายของ ถวายเงินสมทบทุน แล้วก็เสด็จพระราชด�ำเนิน กลับตามพระราชอัธยาศัย ทีน่ ี้ ทีเ่ อาแฟ้มมานี่ ก็เพราะมีสงิ่ ส�ำคัญอยูด่ ว้ ยเกีย่ วข้อง กับทีพ่ ดู เมือ่ กีว้ า่ ทีเ่ ราต้องการทีจ่ ะขจัดสิง่ ทีไ่ ม่ปรารถนานัน้ เรามีทาง แล้วเราต้องท�ำ แต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่ได้สดับตรับฟังมาแล้วก็ไม่เรียบร้อย แล้วก็น่าจะขจัดได้ด้วย ความเข้าใจดี ๒ เรื่อง เรื่องหนึ่งก็คือเรื่องตะกี้ก็เห็นว่า คณะวิศวกรรมเวลาต้อนรับ ลงกราบที่ถนน แล้วก็เป็นสิ่งที่คณะต่าง ๆ เขม่น เรื่องเขม่นกันก็รับว่าในโลกนี้ ก็ เขม่ น กั น ทั้ ง นั้ น คนหนึ่ ง เขม่ น อี ก คนหนึ่ ง เพราะว่ า แต่ ล ะคนก็ นึ ก ว่ า ตั ว ถู ก แต่วา่ เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งทีข่ อมาแยกธาตุ ทางฝ่ายคณะวิศวกรรมเขาท�ำด้วยจิตใจทีไ่ ม่ได้ อยากจะเบียดเบียนใคร เขาท�ำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ เขาก็ท�ำไป ฝ่ายคนอื่นเขาบอกว่า ท�ำอย่างนั้นมันเบียดเบียน ก็อาจเบียดเบียนได้บ้าง เพราะว่าคนอื่นเค้าก็บอกว่า ท�ำคล้าย ๆ ว่าท�ำอย่างนีเ้ ป็นการเหยียดหยามว่าคนอืน่ ท�ำไม่ถกู แต่ในสมัยปัจจุบนั นั้นขอให้เข้าใจว่า แต่ละคนมีเสรีภาพที่จะท�ำในสิ่งที่ไม่เกิดเสียหาย มีการอ้างถึง พระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการของรัชกาลที่ ๕ ทีท่ รงไว้ตอนเสวยราชย์ ใหม่ ๆ ซึง่ มีใจความทีว่ า่ ให้เลิกการหมอบคลานในทุกที่ มีไว้วา่ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยซึ่งจะเข้ามาในที่เฝ้าแห่งหนึ่งแห่งใด จงประพฤติตาม ข้อบัญญัติที่พระราชทานไว้ อันนี้ก็ไม่ได้พูดถึงว่าให้คณะวิศวกรรมปฏิบัติตามนี้ แต่ถา้ จะมาสรุปในพระบรมราชโองการก็มวี า่ ทรงพระราชปรารภว่าต้องการทีจ่ ะให้ ประชาชนทั้งหลายในประเทศไทยในประเทศสยามมีความก้าวหน้า ในสมัยนี้ ก็จะเรียกว่าพัฒนา ใช้ค�ำว่าพัฒนาอันหนึ่ง ทั้งนี้ก็บอกว่าประเทศอื่น ๆ ทางตะวันตก ตะวันออกเขาเปลี่ยนได้ เราจึงเปลี่ยนได้เหมือนกัน ในประเทศเราก็ควรจะ เปลี่ ย นได้ แล้ ว มี ไว้ ว ่ า การหมอบคลานเป็ น การกดขี่ ก็ ค วรจะเปลี่ ย นแปลง แล้วก็พระราชโองการนีเ้ ป็นพระราชโองการต่อพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ

72


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ผู้ใหญ่ผู้น้อย แต่ถ้ากลับมาดูจริง ๆ ใจความหรือพระราชปณิธานของรัชกาลที่ ๕ ทรงมีไว้เพือ่ ทีจ่ ะขจัดในสิง่ ทีเ่ ป็นการกดขี่ กดขีน่ ำ�้ ใจ ซึง่ นับว่าเป็นการเปลีย่ นแปลง การปกครองหรือเปลีย่ นแปลงความรูส้ กึ ของประชาราษฎร โดยเฉพาะข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้เป็นการปกครองอย่างไม่กดขี่ การปกครองไม่กดขี่นั้นก็ทรง ยกตัวอย่างเกี่ยวข้องกับการหมอบคลานนี้เป็นอย่างหนึ่ง แล้วก็มีชัดอยู่ในนี้ว่า ขนบธรรมเนียมหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีอีกมากมายจะต้องพยายามที่จะขจัดด้วย ไม่ให้มกี ารกดขีต่ อ่ ไป ก็ไม่ได้เขียนไว้ชดั ในนีถ้ งึ ค�ำว่าประชาธิปไตย เพราะเวลานัน้ ยังไม่ได้เห่อประชาธิปไตย หรือไม่ได้พูดถึงสิทธิเสรีภาพหรืออะไรมากมาย แต่ในสมัยนี้ก็พูดถึงสิทธิและเสรีภาพซึ่งถ้ามาเปลี่ยนมาแปลงในสมัยปัจจุบันนี้ เราก็ปรารถนาจะให้ทกุ คนมีสทิ ธิและเสรีภาพเต็มที่ แต่ตอ้ งมาพิจารณาดูวา่ เสรีภาพ นัน้ น่ะคืออะไร ไม่ทราบว่าเคยพูดในทีน่ แี้ ล้วหรือเปล่าว่าเสรีภาพของแต่ละคนน่ะมี มีเต็มที่ทีเดียว แต่ละคนจะท�ำอะไรก็ได้ จะท�ำตัวให้เป็นอันธพาลก็ได้ อยากจะท�ำ อะไรที่เสียหาย ๆ ก็ท�ำได้ทั้งนั้น แต่ว่ามีหลักอยู่ว่า กรรมเป็นของแต่ละคน แต่ละ คนท�ำกรรมใด หมายความว่ากระท�ำอะไรจะต้องเกิดผลทั้งนั้น ผลจะดีถ้าท�ำ กรรมดี เพราะกรรมดีก็คือท�ำสิ่งอะไรมีความรอบคอบแล้วคิดให้รอบคอบ ทีนี้ก็เรื่องเสรีภาพ เราจะท�ำอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ว่าต้องมีอีกอย่างหนึ่ง คือคนหนึ่งมีเสรีภาพ อีกคนหนึ่งก็มีเสรีภาพเหมือนกัน ถ้าเสรีภาพนั้นมันก้าวก่าย กันจะท�ำอย่างไร เหมือนที่ในหอประชุมนี้นั่งกันอย่างหนาแน่น แต่ถ้าคนหนึ่ง อยากจะนั่งหรืออยู่ในที่ที่อีกคนนั่งอยู่ก็ออกจะล�ำบาก ไม่ใช่ว่าเกือบจะเกิด ทะเลาะวิวาทกัน แต่วา่ เป็นการทีท่ ำ� ไม่ได้ เพราะว่าคนหนึง่ จะไปอยูใ่ นช่องอากาศ ที่อีกคนหนึ่งอยู่ก็ไม่ได้ แม้แต่อากาศที่เคยอยู่ในที่ที่เราจะมานั่งก็ต้องหนีไป เราก็ เบียดเบียนอากาศไป ให้ไปที่อื่น จึงมีหลักว่า เสรีภาพของแต่ละคนก็มีการจ�ำกัด โดยเสรีภาพของคนอืน่ มีอยูแ่ ค่ไหนเราก็ตอ้ งเคารพ เคารพนับถือเสรีภาพของผูอ้ นื่ ก็เลยมานึกถึงการที่คณะวิศวกรรมเขาปฏิบัติเช่นนั้น เขาก็มีเสรีภาพที่จะปฏิบัติ เช่นนั้น ถ้าพูดถึงว่าเป็นกฎเกณฑ์การท�ำความเคารพประมุขในการที่ได้พบกัน ถ้ า เขาอยากจะแสดงอย่ า งนั้ น เขาก็ แ สดงได้ ไม่ ไ ด้ ยิ่ ง หย่ อ นกว่ า คนที่ แ สดง ความเคารพโดยถวายค�ำนับก้มศีรษะ หรืออย่างอื่น ผู้ที่ท�ำความเคารพตาม ประเพณีนิยมใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผลให้เข้าใจตามนั้น ๆ เป็นการกระท�ำ

73


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ที่เหมาะสมแล้ว ก็ท�ำได้ทั้งนั้น จึงมองไม่เห็นว่าท�ำไมจะต้องมาเหยียดหยามกัน ท�ำไมจะต้องมาเบียดเบียนกัน ก็แสดงเหมือนกัน เท่ากัน อันที่พูดมาตรง ๆ อย่างนี้เพราะว่าเห็นว่าจะเป็นเรื่องที่เหยียดหยามกัน ฟัดกันโดยที่ไม่มีประโยชน์เลย เราต้องการอะไร เราต้องการความเจริญ ความสงบ ความสุขของส่วนรวม โดยเฉพาะของมหาวิทยาลัยเป็นส่วนรวม แล้วท�ำไมเราจะต้องมาตีหัวกันเพื่อ เรือ่ งหยุมหยิมอย่างนี้ แล้วก็ขอเตือนอย่างหนึง่ ว่า การทีจ่ ะมาฟัดกัน ไม่ใช่วา่ พวกเรา ฟัดกันเองเท่านั้น คนอื่นเขาช่วยฟัดด้วย ถ้าคนอื่นช่วยฟัดมันจะยุ่ง แล้วทุกคน ก็จะเสีย ไม่อยากทีจ่ ะให้ทกุ คนเสียด้วยเรือ่ งทีห่ ยุมหยิม นีก่ เ็ รือ่ งหนึง่ ก็ขอให้เข้าใจ ว่าต้องระวังการกระท�ำ เพราะว่าถ้าเราตีหัวกันเอง เราก็มีเสรีภาพจะตีหัวกันเอง แต่ว่าถ้าคนอื่นเขาสวมรอยซึ่งปรากฏมาแล้ว คนที่ไม่ใช่วิศวกรรมหรือบัญชีเขา ก็มาตีหัว ทั้งวิศวกรรมทั้งบัญชีก็จะเสียหายทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วก็โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ก็ต้องเสียยา อย่างนี้จึงได้ว่าขอให้พิจารณา ข้ อ ที่ ส อง เรื่ อ งที่ ส องก็ เรื่ อ งออกจะคล้ า ย ๆ กั น เมื่ อ กี้ ร ้ อ งเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ สัญญากันว่าจะเชิดชูพระเกี้ยว นายกสโมสรก็ปฏิญาณตนแทน ทุกคนในเช่นเดียวกัน ก็เป็นเรือ่ งของธงพระเกีย้ วนีเ่ องทุกคนต้องเชิดชู เชิดชูทำ� ไม ธงนั้นก็เป็นผ้า มีด้าม พระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายซึ่งถือว่าเป็นเครื่องหมายของ มหาวิ ท ยาลั ย การเชิ ด ชู พ ระเกี้ ยวก็ เ ป็น การเชิ ด ชูส ถาบัน การเชิ ด ชู สถาบัน มีประโยชน์ในทางทีจ่ ะท�ำให้ทกุ คนเกีย่ วข้อง ทัง้ ครู ทัง้ ลูกศิษย์ ทัง้ ผูท้ เี่ ป็นศิษย์เก่า ทั้งผู้ที่เป็นศิษย์ปัจจุบัน ทั้งผู้ที่ไม่เคยเป็นศิษย์เลย แต่ว่าขอเชิดชูสถาบันนี้ว่าเป็น สถาบันชั้นสูงที่จะช่วยให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าได้ ทุกคนต้องเชิดชูความคิด หรือสถาบัน ธงสีชมพู พระเกี้ยวจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ คราวนี้ต้องช่วยกันจึงต้อง ช่วยกันเชิดชู การที่มีเรื่องบอกว่า คณะวิศวกรรมเป็นผู้ถือธงนั้นเป็นประเพณีมา เพราะว่าถือมาเรื่อย ไม่มีใครคัดค้าน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องว่า ถ้ามีอาจารย์บอกว่า มีหลักฐานว่าคณะวิศวกรรมได้ถอื ธงนีม้ าตลอดเป็นประเพณีมา ก็ตอ้ งถือต่อไปนัน้ ค�ำพูดอันนี้ก็เป็นจริงไป คณะวิศวกรรมจึงต้องถือธงนี้ไป แต่ว่าหลักถูกหรือไม่ถูก นีเ่ ป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ความจริงเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งเล็กเหมือนกัน คือเรือ่ งเล็กในการกระท�ำ เมื่อร้องเพลงว่าจะเชิดชูกันทั้งนั้น ก็เห็นด้วยกับคณะอื่นที่เขาบอกว่า “ขอ ขอบ้าง ขอเชิดชูบ้าง ขอถือบ้าง” เห็นใจ แต่ว่าทางคณะวิศวกรรมเขาก็ได้บอกเหมือนกัน

74


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ว่า เขาเห็นใจเหมือนกัน แล้วก็ตกลงกันแล้วว่า ปีหน้าให้เริ่มการหมุนเวียนเป็น ประเพณีขึ้นมาใหม่ ก็ดูจะไม่มีเรื่องอะไรที่จะมาพูด แต่ว่าที่พูดถึงเรื่องนี้เพราะว่า อยากให้ทุกคนพิจารณาว่า การเชิดชูสถาบันจากการเชิดชูส่วนรวมหมายในที่สุด ว่าเชิดชูตัวเอง ให้ตัวมีเกียรติว่าอยู่ในสถาบันที่มีเกียรติ แล้วก็เป็นคนที่มีความคิด มีสติ ทัง้ มีสติทรี่ ตู้ วั ว่าตัวก�ำลังท�ำอะไร ก�ำลังเรียนอยู่ ให้เข้าใจว่า การทีท่ ะเลาะกัน เรือ่ งถือธงนีเ้ ป็นเรือ่ งเล็ก แต่วา่ ความคิดในการถือธงนัน้ น่ะเป็นเรือ่ งใหญ่ มีคนเขา มาเสนอ บอกว่าขอให้พระราชทานธงใหม่ ซึ่งขอตอบว่าไม่ให้ เสียทรัพย์เปล่า ๆ ธงนี้มีแล้ว เรียบร้อยแล้ว แล้วก็ตกลงกันเรียบร้อยแล้วว่า การถือหมุนเวียนกัน ปีหนึ่งก็คณะหนึ่งตามล�ำดับอักษรก็ยุติธรรมดีแล้วขอให้ปฏิบัติตามนี้ แล้วก็เรื่อง ก็จะยุติ ถ้าอยากหาเรื่องที่จะตีหัวกัน ก็หาเรื่องอื่น ถ้ามีเหตุผลดีที่จะตีหัวกัน ก่อนที่จะตีหัว ขอบอกว่าให้มาแยกธาตุกันเสียก่อน ถ้าหากว่ามีเรื่องที่จะตีหัวกัน จริง ๆ ยินดีจะมาทุกเมื่อไม่ต้องวันที่ ๒๐ กันยาฯ ก็ได้ คือว่าถ้าอยากจะตีหัวกัน แล้วก็วางแผนกันที่จะตีหัวกันเองน่ะ ขอร่วมสนุกด้วย เดี๋ยวนี้การตีหัวกันเขามี เทคนิคสูง แล้วก็เทคนิคสูงนี้นะ เมื่อพัฒนามากก็รู้สึกว่าเราก็จะต้องพัฒนาการ ตีหัวกัน การตีหัวด้วยไม้มันล้าสมัยแล้ว มันเป็นสมัยโน้น สมัยก่อนสมัยหิน มาตีหัว ด้วยท่อนเหล็กก็เป็นสมัยเหล็ก มาตีหัวกันด้วยระเบิด จะเป็นขวดหรือไม่ขวด ก็เป็น สมัยโนเบล โนเบลได้คน้ คิดดินระเบิด แต่ทา่ นไม่ได้คน้ คิดมาส�ำหรับมาโยนสังหารกัน ถ้าจะตีหวั อย่างสมัยใหม่จริง ๆ มาตีหวั กันด้วยคอมพิวเตอร์ดกี ว่า เราเป็นคนสมัยใหม่ เรามันเป็นคนที่อยากจะทันสมัย ไม่ค่อยอยากที่จะถอยหลังเข้าคลอง เขาท�ำอะไร กันได้ เราก็ท�ำได้ทั้งนั้น จึงขอร่วมสนุกด้วย ถ้ามีเรื่องราวอะไร ถ้าอยากจะตีหัวกัน ให้ได้รว่ มกันตีกนั อย่างหัน่ แหลกทีเดียว แต่วา่ ขอให้ทำ� อย่างมีเหตุผล แล้วก็คอยดู จะเป็นผลดี แล้วก็สมัยนี้แพทย์ในประเทศไทยก็น้อยเต็มทน งานเขามาก แล้ว แพทย์บางคนก็ไปหากินต่างประเทศเพราะเงินดีกว่า เราช่วยประหยัดเวลา ของแพทย์ก็จะดี ทั้งต�ำรวจก็มีน้อย ต�ำรวจจะต้องมาแยกพวกที่ตีหัวกันออกจะ เสียเวลา เราท�ำกันเอง ตีหัวกันเอง แล้วก็รักษากันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใสกันเอง แล้วก็ปัญหาจะไม่มี จะมีความก้าวหน้า พัฒนาทุกประการ

75


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ขอให้ทกุ คนถือสัญญาตามเพลงและตามค�ำของนายกสโมสรว่าจะเชิดชู พระเกี้ยว ตอนนี้เรื่องในนี้มีอีก แต่ว่าคงไม่ต้องพูดอะไรมากมาย เพราะว่าที่จริง ก็ขอให้ย่อยสองเรื่องนี้ให้ดี แล้วก็ให้ไม่ต้องใช้ยามากเกินไป (ต่อจากนัน้ เป็นการตัง้ โฆษกและการแสดงดนตรี จบแล้วทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานพร) รู้สึกว่าการมาวัดเสียงนั้นก็ได้ความรู้ต่าง ๆ มาก รวมทั้งมาใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ ถามว่าคลาริเน็ตคืออะไร เราก็ได้ทราบว่าเป็นอะไร แล้วก็การที่ทาง วิศวกรรมเขาได้รวบรวมเกี่ยวข้องกับเสียงของดนตรีร่วมมือกับฝ่ายวิทยาศาสตร์ ก็เป็นความรู้ที่เราควรจะค้นคว้าอยู่ อาจไม่ได้อยู่ในหลักสูตรของเรา แต่ว่าก็เป็น ความรู้ที่น่าที่จะสนใจ น่าจะวิจัยอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นที่ทุกคนมีจิตใจที่เปิดเผย ที่อยากรู้อยากเห็นอยากวิจัย อยากท�ำงานที่จะให้มีของใหม่ ๆ ตลอดเวลานั้น เป็นจิตใจที่ถูกต้อง ก็ท�ำให้เห็นว่า ณ มหาวิทยาลัยนี้มีผู้ที่สนใจการค้นคว้าในการ แหวกแนว ในการหาสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทั้งในทางวิชาการ ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ที่ผู้แทนนักศึกษาได้มาขอให้ออกความเห็น สมเด็จฯ ได้ออกความเห็นเรื่อง ผู้หญิงไทยนี่ก็หมายความว่าสนใจว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไร แต่ก็ขอฝากให้ไป วิจัยกันเองด้วยว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร ทีนี้มาถึงเรื่องสอบไล่ คราวนี้เป็นเรื่องสอบไล่กลางปี ก็ดีแล้วที่ขอพร ส�ำหรับสอบไล่กลางปี เพราะว่า ถ้าสอบไล่กลางปีได้ดี หมายความว่าผู้นั้นไปใน ทางทีถ่ กู แล้ว ไปทางทีจ่ ะสอบไล่ปลายปีได้ดี การทีจ่ ะให้พร อย่างทีเ่ คยให้พรทีไ่ หน ก็ตามก็ต้องมีอารัมภบทว่า คนไหนท่องหนังสือดีอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้หมายความ ว่าจะต้องนั่งจมอยู่อ่านหนังสือตลอดเวลา แต่ว่าหมายถึงเอาใจใส่ในการเรียน ถึ ง เวลาเรี ย นก็ เรี ย น คื อ มี ส ติ ใ นการกระท� ำ ของตน คนนั้ น มี ห วั ง สอบไล่ ไ ด้ โดยที่เป็นพรในตัว แต่พรที่จะให้คือให้ทุกคนมีก�ำลังใจที่จะมีสมาธิ มีพลังอย่างที่ อาจารย์โฆษกราษฎร์พูดถึง ขอทุกคนจงมีก�ำลังใจที่จะมีสมาธิ มีความเพียรที่จะ เล่าเรียน และจิตใจไม่วอกแวกไปทางอื่นและท�ำแต่สิ่งที่เหมาะสม จะท�ำให้การเรียน ได้ผลดี เมื่อการเรียนได้ผลดี คือหมายความว่าเมื่อถึงเวลาสอบไล่ ครูจะถามอะไร ข้อสอบจะออกมาอย่างไร เราตอบได้ เราจึงจะผ่านการสอบไล่ได้ดี ส�ำหรับการ

76


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

สอบไล่กลางปีนกี้ ใ็ ห้สำ� เร็จเรียบร้อยให้มผี ลดี และให้ผลนีเ้ ป็นการส่งเสริมให้มกี ำ� ลังใจ ให้สอบปลายปีให้ดยี งิ่ ขึน้ ส�ำหรับผูท้ ยี่ งั เรียนไม่ใช่ปสี ดุ ท้ายก็ให้มกี ำ� ลังใจทีจ่ ะเรียน ปีต่อ ๆ ไปด้วยความขะมักเขม้นจนกระทั่งสอบได้ปริญญา ได้ประกาศนียบัตร อย่างมีเกียรติ เพื่อที่จะเป็นก�ำลังของชาติบ้านเมืองและเป็นก�ำลังส�ำหรับตัวเอง เพื่อสร้างตัวเองให้มีความสุข ความเจริญก้าวหน้าทุกประการ อีกอย่างก็ตอ้ งขอขอบใจทีท่ กุ คนให้ความสนใจ ทัง้ ทุกคนทีไ่ ด้รว่ มแสดง ร่วมสนุกในรายการนี้ ซึง่ ถือว่าเป็นการมาร่วมกันหย่อนใจแลกเปลีย่ นความคิดกัน แล้วก็แสดงว่าสถาบันนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียว มีจุดประสงค์อย่างเดียว คือผลิตคน ที่มีความรู้สูง มีใจสูง และจะสามารถสร้างบ้านเมืองให้ก้าวหน้าให้มีความเจริญ จริงๆ ต้องขอบใจทุกคนที่บริจาค แม้จะไม่ใช่นโยบายที่จะมารีดไถ ที่จริงก็รีดไถ ได้ไม่ใช่น้อย แล้วก็ทางข้างหลังที่แบ่งกันบริจาค คนไหนอยากร้องเพลงก็บริจาค คนไหนไม่อยากร้องเพลงก็บริจาค นั่นน่ะ เป็นเครดิตที่ดีมาก ก็ขอขอบใจ ในที่นี้ด้วย ที่พูดอย่างนี้ก็หมายความว่าขอบใจส�ำหรับทั้งหมดที่เป็นไปอย่างนี้ แล้วก็ขอบอกว่ารายการนี้จะต้องยุติเพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องยุติบ้าง รายการยุติช้ากว่าก�ำหนด ๓ ชั่วโมง ๕๒ นาที แต่ยังไม่เสร็จ ต้องปิดรายการก่อน (นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลรายงาน การบริจาคทัง้ หมด ได้เงินจ�ำนวน ๓๕,๓๕๔.๒๑ บาท และขอพระราชทานเบิกตัว นางสาววิไล ผาตินาวิน เหรัญญิกสโมสรฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าฯ ถวายเงินบริจาค) ก็ขอขอบใจอีกที วันนี้ที่ปิดรายการช้าไป ๔ ชั่วโมง กับ ๑ นาที ก็เป็นวันหรือเป็นคืนที่สนุกมาก ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันท�ำให้มหาวิทยาลัยนี้ มีความครึกครื้น มีความร่าเริง มีความเรียบร้อย ส�ำเร็จทุกประการตลอดปี ถ้าอยากตีหัวกันก็บอกให้ทราบ แต่ว่าหวังว่าจะไม่ตีหัวกันก่อนปีหน้า

77


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงฟังการร้องเพลงของคณะนิสิต ณ เวทีหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซกโซโฟนในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

78


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรเลงคีย์บอร์ด และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ทรงขับร้องเพลงในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

79


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ๑๐ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี ๑๑ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ การมาทุกปีเป็นการมาอย่างเป็นส่วนตัว เพือ่ มาพบกับนิสติ และอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยนี้ จึงขอให้ทุกคนได้นั่งลงเสียก่อน แล้วจะชี้แจงทีหลัง การมาครั้งนี้ต้องขอชี้แจงเรื่องเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๙ กับวันที่ ๑๐ กันยายน ๑๒ ศกนี้ คือในวันที่ ๙ ผู้ที่มีชื่อว่าจุฬาภรณ์ไม่ค่อยสบาย จะเป็นลม แล้ว ก็เลยต้องไปดูวา่ เป็นอย่างไร เมือ่ เป็นเช่นนัน้ แล้วก็ไปอยูน่ านพอควรแล้วก็เกิดหิว... นี่มีคนเขาบอกว่าที่มาที่นี่ไม่ควรพูดถึงเรื่องหิว... ก็เกิดหิว ก็ขอขนมปังที่แห้ง ๆ ที่ มีอยู่ในห้องนั้นมารองท้องไว้ แล้วได้เคี้ยวลงไป เคี้ยวลงไป ขนมปังที่ไม่น่าจะมี พิษสงนักก็ได้ท�ำลายฟัน ฟันข้างในได้แยกออกไปเป็นสองเสี่ยง อันนี้ก็ไม่น่า คือ ไม่รู้ว่าท�ำไมขนมปังอ่อน ๆ ชิ้นเล็กนิดเดียวนั้นท�ำให้ฟันบิออกเป็นสองเสี่ยงได้ ก็เข้าใจว่ามีเหตุการณ์มาเป็นเวลานานพอใช้ที่ท�ำให้ฟันซี่นั้นไม่ค่อยสมบูรณ์ เมื่อมาโดนสิ่งที่ไม่สู้จะแข็งนักจึงบิออกเป็นสองเสี่ยงได้ เลือดออกด้วย จึงขึ้นไป ส่องกระจกดู ก็เห็นว่าฟันนั้นเป็นเสี่ยงแล้ว จึงได้นัดหมอฟัน เหตุการณ์ในวันที่ ๑๐ กันยายนนั้น หมอฟันก็มาตามนัด แล้วก็ถึงเข้าห้องหมอฟัน บอกกับหมอฟัน ว่าวันนี้ถอนฟัน เพราะเป็นฤกษ์ที่ดี เวลานั้นก็นับว่าภายนอกบ้านเรียบร้อยแล้ว กลับบ้านกันหมดแล้ว แล้วภายในบ้านก็เป็นอันว่าเรียบร้อย ฟันก็ถอนไป นี่เป็น เวลา ๑๐ วันแล้ว ฟันนั้นน่ะหมดภาระแล้ว ไม่เจ็บแล้วเพราะว่าถอนออกไป แต่ว่าในปากก็ยังมีค้างอยู่บ้างว่าวันนี้ พูดอาจชอบกล เสียงแปลกหน่อย เพราะ มันกลวง ๆ ยังไม่ครบแล้วถ้าเล่นดนตรี อย่างที่เชิญมาเพื่อเล่นดนตรี ฟังดูเสียง เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินจาก พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ไปทรงดนตรีและพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๒ ในวันที่ ๙ และ ๑๐ กันยายน ๒๕๑๓ นั้น มีการเดินขบวนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกร้องให้มีการสอบสวนลงโทษผู้ทุจริตเกี่ยวกับการจัดการผลประโยชน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ ๑๑

80


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

อาจก้อง ๆ นิดหน่อย อันนี้แสดงให้เห็นว่า เรื่องขนมปังนุ่ม ๆ นั้นอาจท�ำให้มี ผลสะท้อนมาจนทุกวันนี้ได้ นี่เป็นข้อแรกเป็นการออกตัวว่ารู้สึกว่าวันนี้การพูด อาจกลวงนิดหน่อย หรืออาจยังมีความเจ็บปวดเล็กน้อย มาวันนี้ ก็ขอแถลงอีกอย่างหนึ่งว่า มิได้มาในฐานะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นผู้ปกครองของนักศึกษา (เสียงปรบมือ) และที่ได้ขอเมื่อกี้นี้ก็ขอ หนึ่งโอวาท สองขอดนตรี สามขอพรให้ได้สอบไล่ได้ และนอกจากนี้ก็ยังมีขอให้รับฟังสัญญา ของเหล่านิสิตทั้งหลาย ก็ไม่ทราบว่าสัญญานี้สามัคคีกันสัญญาหรือเปล่า แต่ว่า เข้าใจเป็นสัญญาที่มาจากใจทุกคน ที่ว่าไม่ได้มาอย่างเป็นพ่อเป็นแม่ ก็เพราะว่า เดื อ ดร้ อ นและขั ด กั บ ค� ำ ขอโอวาท ทางรั ฐ บาลท่ า นขอให้ พ ่ อ แม่ ใ ห้ โ อวาท (เสียงปรบมือ) ที่จริงไม่ได้บอกว่าให้โอวาท บอกว่าให้ตักเตือนให้ระมัดระวัง ก็คือโอวาท นั่นแหละ ค�ำว่าโอวาทนี่ก็เคยพูดมาหลายครั้งแล้วและก็รู้สึกว่าก็ยัง ไม่เข้าใจกันดีว่าแปลว่าอะไร โอวาทโดยมากก็เข้าใจว่าเป็นค�ำสั่งสอน เป็นค�ำ ตักเตือน แต่ว่าถ้าแปลเป็นภาษาฝรั่ง ก็ไม่ทราบว่าจะแปลว่าอย่างไร บางที อย่างที่แปลลงข่าวบอกว่าเป็นสปีช ก็หมายความว่าส�ำหรับพระเจ้าแผ่นดินก็เป็น พระราชด�ำรัส บางคนก็แปลเป็น admonition ซึ่งถ้าแปลมาตรงตัวก็เป็นการ ตักเตือนว่ากล่าว ซึง่ บางทีก็ ไม่คอ่ ยตรง เพราะว่าไม่เคยว่ากล่าวอะไรเลย อาจเคย ตักเตือนหรือเคยพูดในหลักวิชาว่าการท�ำอะไร เป็นอย่างไร แล้วก็ให้ต่างคน ต่างเอาไปคิดพิจารณา เพราะว่ามีเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมอะไรต่าง ๆ เพราะว่า เรามีหูมีตา เราฟังเราดู เราก็จะต้องเก็บมาพิจารณา แต่บางทีคนเดียวพิจารณา อยู่คนเดียวก็ไม่ดี เพราะว่า ไม่ครบถ้วน ก็ต้องมีการปรึกษาหารือ มีการฟัง จากผู้อื่น จะเป็นผู้ใหญ่หรือจะเป็นเด็ก หรือจะเป็นอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ก็การปรึกษาหารือก็เป็นการดี อย่างที่มาอย่างนี้ก็พูดในสิ่งที่ประสบมา และเมื่อ พูดออกไปแล้วตกเข้าไปในหูของแต่ละคน แต่ละคนก็ไปพิจารณาว่าจริงหรือไม่จริง อาจเป็นการเป็นประโยชน์แก่แต่ละคนและแก่ส่วนรวมเพื่อให้ปฏิบัติอะไรๆ ที่ เ หมาะสมและที่ เจริ ญ แก่ ต นเองและแก่ ห มู ่ ค ณะ ค� ำ ว่ า โอวาทจึ ง เป็ น ค� ำ ที่ กว้างออกไป เป็นค�ำพูดที่จะเตือนสติก็ได้ เป็นค�ำพูดที่จะเป็นประโยชน์ได้ แต่ถ้า

81


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

มาพิจารณาถึงค�ำว่าโอวาท ก็แปลว่าเป็นวาทะเป็นค�ำที่มาจากที่สูง ถ้าพูดอย่างนี้ อย่างที่พูดอยู่เดี๋ยวนี้ ส�ำหรับคนที่อยู่ข้างล่างก็เป็นโอวาทเพราะว่าลงมาจากที่สูง ลงไปที่ต�่ำ ส่วนคนที่อยู่ข้างบนนั้นไม่ใช่โอวาท เพราะว่าขึ้นไปโน่น อย่างไรก็ตาม จึงได้บอกว่า ทีม่ าขอโอวาทในวันนีไ้ ม่สามารถทีจ่ ะปฏิบตั ไิ ด้ เป็นการขัดมติมหาชน ขอเปิดวงเล็บว่าพรุ่งนี้จะลองอ่านหนังสือพิมพ์ดู น่ากลัวจะเขียนอะไรสนุกมาก เพราะว่าค�ำพูดวันนี้อาจไม่ได้เรื่อง แล้วเขาก็นึกว่าจะต้องไปลงอะไรที่ได้เรื่อง เลยแต่งเอาเอง (เสียงปรบมือ) ที่มากล่าวถึงว่าขออภัยที่เข้าไปในเขตพระราชฐานนั้น เรื่องนี้ขอชี้แจง ข้อสังเกตบางประการ สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา ที่สถิตอยู่ ณ พระที่นั่งอนันต์นั้น อยู่ในเขตพระราชฐานจริง เพราะว่าเขตนั้นเคยเป็นเขตพระราชฐาน เป็นที่ ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Throne Hall แล้วก็ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพเป็นรัฐสภาแล้ว ก็เรียกต่อมาอีกหลายอย่าง สภาผู้แทนราษฎรก็มี รัฐสภาก็มี สภาอะไรก็ไม่รู้ก็มี เขาว่าแต่ละสมัยก็เปลี่ยนชื่อจนตามไม่ทัน แต่ว่าเมื่อเป็นรัฐสภาแล้ว แม้จะเป็น เขตพระราชฐานก็ต้องถือว่ารัฐสภาเป็นเจ้าของที่ การที่บอกว่ารุกล�้ำเข้าไปใน เขตพระราชฐานก็ฟังไม่ขึ้น (เสียงปรบมือ) แต่มีข้อว่าได้ คือพวกที่เดินไป ได้เข้าไป ทีป่ ระตู แล้วก็ผลักประตู ซึง่ มีขา่ วบางข่าวว่าพังประตูเข้าไป ความจริงขอให้สงั เกต ให้ดีว่าประตูนั้นใส่กลอนเอาไว้ แต่ใส่กลอนแบบพระราชฐานตอนนี้คือกลอนนั้น หยิบนิดเดียวก็หลุด แล้วเปิดเข้าไปได้โดยสันติ การนี้แสดงให้เห็นว่าการปิดกลอน นั้นไม่ได้ปิดกลอนส�ำหรับไม่ให้เข้า (เสียงปรบมือ) อันนี้ที่ให้สังเกตดูเพราะว่า มี ที่ ไ หนในโลกบ้ า งที่ เขาปิ ด กลอนส� ำ หรั บ ให้ เข้ า มี แ ต่ เ มื อ งไทย มั น เป็ น วิ ธี ที่เราพูดกันมากว่า ประชาธิปไตยแบบไทย พูดกันมากเรื่อง ทุกสิ่งทุกอย่าง งาน การด�ำเนินงานแบบไทย อันนี้เป็นการปิดประตูแบบไทย เขาคงนึกว่าถ้าสมมุติว่า ปิดกลอนแล้วขัดกลอนติดกุญแจแล้วก็ป่วยการ เพราะว่ามีขุนแผนมาสะเดาะกลอน เพราะว่าฝรั่งเขามีกุญแจ เราก็ต้องมีกุญแจบ้าง ฝรั่งเขามีประตูเหล็ก เราก็ต้องมี ประตูเหล็กเหมือนกัน ใครเข้าไปทีไ่ หนก็รบั รองถ้าตามโบราณของเขา คนทีเ่ ดินทางมา ไม่ใช่เดินขบวน ผ่านไปที่ไหนถ้าหิวก็เข้าไปในบ้านแล้วก็เขาก็เลี้ยง คือเขาแบ่งให้

82


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

แต่ว่าการที่วันนั้นเดินทางเฉียดสวนจิตรไป ก็นึกว่าจะแวะเข้ามาเยี่ยมกันบ้าง (เสียงปรบมือ) แต่วา่ หาได้เยีย่ มไม่ ก็ลงท้ายไปบอกว่านายกรัฐมนตรีควรจะเลีย้ งน�ำ้ หวาน (เสียงปรบมือ) ท�ำอย่างนี้ไม่ได้ เพราะว่าถ้านายกรัฐมนตรีในฐานะนายกรัฐมนตรี เลีย้ งน�ำ้ หวานใครต่อใครทีม่ าอย่างนีแ้ ล้ว พวกเราก็จะไม่ชอบ เพราะพวกเราไม่คอ่ ยชอบ การที่จะใช้อะไรฟุ่มเฟือยท�ำให้เสียงบประมาณแผ่นดิน ก็เลยเห็นใจท่านนายกฯ ที่เลี้ยงน�้ำหวานได้พอประมาณเพียงแค่สองสามขวดเท่านั้นเอง แต่อย่าไปคิดว่า ผ่านแถวสวนจิตรแล้วจะเข้าไปนะ นัน่ น่ะเขตพระราชฐานแท้ ๆ ถ้าอยากจะเดินขบวน แล้วเข้าไปเยี่ยมเยียนในสวนจิตรด้วยก็ขอให้บอกล่วงหน้า จะได้เตรียมน�้ำหวานให้ (เสียงปรบมือ) เรื่องน�้ำหวานนี่ ทุกคนที่เริ่มเดินขบวนก็ย่อมต้องทราบดี ว่าเดินแล้ว มันเหนื่อย ไปถึงแล้วมันก็ร้อนเพราะว่าก�ำลังเที่ยง แล้วก็การขึ้นไปบนรัฐสภา ไปอยู่ ใต้ร่มของหลังรัฐสภาเงยขึ้นไปดูก็คงเห็นรูปต่าง ๆ แสดงถึงประวัติของเมืองไทย ก็คงเย็นลงไปบ้าง แต่ว่าการที่เข้าไปในรัฐสภานั้น คนไหนที่ไปลืมตัวไปยุ่งกับ เศวตฉัตรก็ถือว่าไม่ค่อยดีนักเหมือนกัน ทีนี้ก็เป็นเรื่องที่ก�ำชับต�ำรวจไม่ให้รุนแรง ข้อนี้ที่ท�ำไปเพราะเหตุว่าไม่ได้ นึกว่า นักศึกษาจะเป็นคนท�ำให้วุ่นวาย หรือต�ำรวจจะท�ำให้วุ่นวาย แต่ว่าเคย ปรากฏมาแล้วในต่างประเทศและในเมืองไทยว่า มีการเล่นละครเป็นนักศึกษาบ้าง เป็นต�ำรวจบ้าง แล้วละครนี้ก็เลยกลายเป็นละครโรงใหญ่จนถึงตายก็มี นี่เป็น เหตุผลที่ก�ำชับไป มิใช่ว่ามีค�ำสั่ง ของทางต� ำ รวจให้ รุ นแรง อั นนี้ ก็ ไ ปเห็ นใน หนังสือพิมพ์วา่ บางคนนัยว่าให้สมั ภาษณ์หนังสือพิมพ์วา่ ผมบุกตาย เขียนจดหมาย ถึงพ่อถึงแม่แล้วว่าวันนี้ตายก็ไม่เป็นไร ท�ำเพื่ออุดมคติ แล้วก็บอกว่าเคราะห์ดีที่ พระเจ้าอยู่หัวก�ำชับไม่ให้ต�ำรวจรุนแรง เพราะว่าต�ำรวจมีค�ำสั่งแล้วให้ยิง (เสียงฮา) นี่ก็ยกเมฆกันใหญ่ ไม่ทราบว่า ใครยกเมฆ ค�ำสั่งนั้นไม่เคยมีเลย ทราบแน่ และ ทราบก่อนที่จะได้บอกไปว่าขอว่าให้ใจเย็นไว้ ตอนนั้นเขาก็มีค�ำสั่งทางต�ำรวจแล้ว ให้ระมัดระวังที่สุด เพราะว่าไม่อยากจะให้เกิดเรื่องรุนแรง ซึ่งเสียหายต่อส่วนรวม ไม่ มี ป ระโยชน์ อ ะไรเลยทั้ ง หมด ทั้ ง ทางราชการทั้ ง ทางประชาชนทั่ ว ไปจะ เสียประโยชน์ การทีเ่ กิดเรือ่ งก็ได้ปรากฏอยูค่ รัง้ หนึง่ ทีส่ นามหลวงทีม่ ผี ทู้ ปี่ ลอมตัว เป็นนักศึกษา เข้าไปผลักต�ำรวจ แล้วก็กา้ วร้าวต�ำรวจต่าง ๆ บอกว่าต�ำรวจเป็นอันธพาล เป็นอะไร ๆ ต�ำรวจคนนั้นก็ชักโมโห เคราะห์ดีที่ไม่เกิดเรื่องมาก แต่ก็เกือบจะ

83


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ทะเลาะวิวาทกันอย่างถึงขนาดหนัก ในต่างประเทศก็เคยเห็นข่าวแล้ว อย่างที่ มหาวิทยาลัยเค้นท์ การท�ำโดยที่ไม่ระมัดระวังก็เกิดเรื่องถึงตายได้ การตายนั้น ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ยิงก็บอกว่า เพราะฝ่ายผู้ที่เดินขบวนเขายิงมาก่อน ฝ่ายที่ เดินขบวนนั้นเขาไม่ได้ยิง แต่มีใครก็ไม่ทราบจะว่าผีหรืออะไรก็ตามยิง เมื่อยิงแล้ว ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็เกิดหัวเสีย ก็ยิงไป ก็เป็นเรื่องที่ท�ำให้เสียหาย อันนี้เรียกว่า เป็นลูกไม้หรือเรียกว่าวิธีการที่ท�ำกันมามาก แต่ในเมืองไทยก็ยังไม่ส�ำเร็จนัก เพราะส่วนมากคนก็ยังใจเย็นอยู่ได้ ถ้าเราจะเอาอย่างต่างประเทศที่ไม่ใจเย็น ใครผลักเรา เราผลักเขา ก็จะเกิดเรื่องแน่ วันนั้นการเดินของนิสิตก็เดินอย่างมี ระเบียบพอดู ไม่ได้ขัดจราจร แม้จะมีผู้น�ำค�ำพูดซึ่งนับว่าเป็นพระบรมราโชวาท ที่ได้พูดมาหลายปีแล้วว่านักศึกษาควรจะใช้สมองคือใช้หัวไม่ใช่ใช้เท้านั้นมาอ้าง ก็ยังนับว่าเดินอย่างใช้หัว (เสียงปรบมือ) ไม่ใช่ว่าผู้ที่เดินในวันนี้เดินแบบโยคะ เอาหัวถูดิน แต่ว่าใช้สมองที่ประจักษ์ก็คือเดินไปไม่ได้ท�ำให้การจราจรติดขัดนัก หรือจะเป็นเพราะว่าเดี๋ยวนี้ท่อประปาไม่ค่อยขุดกัน นอกจากจะไปขุดแล้ว ไปแตกทางธนบุรี แต่ว่าที่เห็นประจักษ์ได้ชัดคือว่าทั้งวันที่ ๙ ทั้งวันที่ ๑๐ ที่ ไ ปถึ ง ท� ำ เนี ย บ ก็ เ ดิ น ไป ได้ อ อกก� ำ ลั ง ดี และขากลั บ ก็ ก ลั บ มาด้ ว ยรถบั ส ก็ไม่เหนื่อยดี คือว่าใช้สมองว่าขากลับมาจะเดินกลับก็ป่วยการ เพราะไม่ได้ เป็นการแสดงอะไรแล้ว กลับรถบัสก็ดีแล้ว (เสียงฮา) นับได้กว่า ๑๐ คัน ก็เป็น ที่ประจักษ์แล้วว่าการเดิน คือหมายความว่าการเดินขบวน ซึ่งได้มีการอ้าง พระบรมราโชวาทว่าให้ใช้หัวมากกว่าใช้เท้า ก็ได้ใช้หัวพอใช้ แต่ก็ขอให้ระลึกถึง ทีเ่ คยพูดอีกด้วยว่าการเดินขบวนนัน้ ต้องมีประโยชน์ เมือ่ มีประโยชน์แล้วก็เดินไป ที่นึกถึงข้อนี้ก็เพราะมานึกดูว่า เราไปแสดงมติ มีจุดประสงค์ ที่จะแสดงมติ ว่าไม่ชอบคอร์รัปชัน ซึ่งก็เห็นด้วยว่าคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ไม่ดี ที่ท�ำให้บ้านเมือง ล้มเหลวลงไปอย่างยิ่ง ต้องหาวิธีการที่จะปราบคอร์รัปชันนั้น เป็นการแสดงมติของ ผูท้ อี่ ยูใ่ นมหาวิทยาลัยนีว้ า่ ต้องปราบคอร์รปั ชัน ก็เป็นมติทถี่ กู ต้อง และเป็นการแสดง ที่ถูกต้อง ผลที่จะได้ก็ยังไม่ทราบและไม่ขอวิจารณ์ในวันนี้ ประเด็นต่าง ๆ ที่ได้ขอ คือได้ขอให้มีกรรมการ เขาก็มีกรรมการขึ้นมาแล้ว ก็ดูต่อไปว่าผลนั้นกรรมการ เขาว่าอย่างไร ถ้ากรรมการชี้แจงอย่างไรก็ว่ากันใหม่ทีหลัง แต่อย่าเพิ่งเดิน

84


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

วิธีการที่ท�ำก็เกิดการขัดแข้งกันเองเหมือนกันว่าควรจะท� ำอย่างไร เมื่อท�ำไปแล้ว ก็อย่ามาตีกันใหม่เพื่อที่จะบอกว่าที่ท�ำนั้นน่ะดีหรือไม่ดี เพราะว่า การตี กั น ใหม่ ก็ รู ้ สึ ก ว่ า จะไม่ ไ ด้ ผ ลอะไรเลย จะกลั บ เข้ า ไปสู ่ ส ภาพเดิ ม คื อ เข้าโรงพยาบาลตาม ๆ กัน อันนี้ก็ขอร้องไว้ว่าอย่าตีกัน ถ้าขัดแข้งในสิ่งที่เป็น เรื่องใหญ่ก็ถกเถียงกันดีกว่าที่จะตีกัน เมื่อคราวก่อนนี้เคยบอกไว้ว่า ถ้าอยาก ตีหัวกันก็ตีหัวกันได้ แล้วก็เคยบอกไว้ว่าถ้าจะตีหัวกันขอให้เชิญมาดู เพราะว่า ก็อยากดูวา่ เขาตีกนั อย่างไร แต่กเ็ สียใจทีไ่ ม่ได้เห็นการตีสมัยใหม่ คือการตีโดยการ โต้วาทีกนั ก็ขอให้ตอี ย่างนัน้ แล้วก็ทะเลาะกันให้เต็มเหนีย่ ว แต่วา่ เมือ่ ทะเลาะกัน แล้วให้ใช้สมองและสรุปว่าอะไรถูกอะไรผิด ก็จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการ ทะเลาะกัน ทีจ่ ริงยังมีเรือ่ งอีกหลายเรือ่ งแต่ลมื แล้ว ไม่รวู้ า่ จะพูดว่าเรือ่ งอะไร คือว่า พูดได้หลายเรื่องแล้วก็รู้สึกว่าไม่ทราบว่าจะพูดว่าอะไร นอกจากว่าที่เขาพูดอ้าง ค�ำพูดว่าให้ใช้สมองให้ใช้หัวไม่ใช้เท้านั้น บางทีเมื่อใช้สมองแล้วก็ต้องใช้เท้า (เสียงปรบมือ) แต่ขอเตือนว่าเมื่อใช้เท้าแล้ว ก็จะต้องขัดรองเท้า แล้วใช้สมอง มาพิจารณาว่าการใช้เท้าได้ประโยชน์แค่ไหน แล้วก็การใช้เท้า รองเท้าจะสึก แค่ไหน แล้วใครจะมาช่วยท�ำให้รองเท้าสึกยิ่งขึ้น และไม่ใช่รองเท้าสึกเท่านั้นเอง แผ่นดินจะสึก แล้วก็ไม่ใช่แผ่นดินจะสึก แผ่นดินจะถล่ม จะไม่มีที่เหยียบก็ได้ เพราะว่ามีคนขุดดินใต้เท้าเรา ก็ขอให้ไปพิจารณา เงือ่ นไขข้อแรกทีเ่ ชิญมาวันนีก้ เ็ ป็นอันว่าพับไปแล้วคือข้อโอวาท ข้อทีส่ อง ให้มาเล่นดนตรี เดี๋ยวก็จะเล่นดนตรี ข้อที่สามให้พร ตามระเบียบก็ต้องไว้ รายการสุดท้ายเรือ่ งดนตรีกก็ ำ� ลังจะเล่น เรือ่ งโฆษกนัน้ ขออย่าให้ปฏิวตั คิ อื ปีทแี่ ล้ว ก็มกี ารเลือกแล้ว ปีนไี้ ม่ได้เอาเครือ่ งมา ก็เข้าใจว่าให้เป็นโฆษกเดิม ถ้ามาก็เป็นโฆษก อีกอย่างหนึ่งก่อนที่จะอ�ำลาไมโครโฟนทั้งสองนี้ (เสียงฮา) ก็ขอบอกว่า ตามปกติ เวลาเดินเข้าไปทีด่ นตรีกม็ กี ารร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ เมือ่ กีก้ ช็ งิ ร้องไปเสียก่อน ก็เลยรูส้ กึ ว่าทีจ่ ะขอให้ทกุ คนร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อกี ครัง้ ก็เกินไป เอาเป็นว่า ขอให้ร้องอาจเที่ยวเดียวก็พอ แล้วหยุดนิ่งสักครู่ นึกถึงแปลว่าอะไร ตอนนี้ก็ขอ ไปเตรียมเครื่องดนตรี แล้วก็ขอให้ทุกคนร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์

85


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

(ต่อจากนั้นเป็นการบรรเลงดนตรี จบแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร ดังต่อไปนี้) ตอนนี้ก็ถ้าจะถึงรายการให้พร ก็รู้สึกว่าสมควรแก่เวลาเหมือนกัน เรื่องพรนี้ ก็เคยพูดมาหลายครั้งอยู่แล้ว ว่าอยู่ที่ตัวผู้ที่จะรับพร เพราะว่าถ้าผู้ที่รับพรจะท�ำตน ให้พร้อมที่จะรับและปฏิบัติตาม และท�ำให้ได้ผลตามที่มีความต้องการก็ท�ำได้ แต่ว่าถ้าไม่พร้อมที่จะรับ ก็ป่วยการที่จะท�ำให้ตัวพร้อมที่จะรับพร คือจะต้องนึก ให้แน่วแน่วา่ ตัวเรา มีภารกิจอะไร เราต้องการอะไร ซึง่ ในกรณีนกี้ เ็ ข้าใจว่าต้องการ ให้สอบไล่ได้ ให้มีความส�ำเร็จ การสอบไล่ได้ก็ต้องพิจารณาดูว่าท�ำอย่างไร เพือ่ สอบไล่ได้ ก็ตอ้ งเรียนหนังสือ ต้องฟังค�ำสอนของอาจารย์ ต้องพยายามด้วยตนเอง ที่จะขวนขวายหาความรู้ในวิชาและท่องหนังสือ คือดึงเอาความรู้เหล่านั้นเข้าไป ในหัวของตัว ทั้งหมดนี้แล้วก็ยังมีเรื่องอีกว่า การสอบก็มีข้อสอบซึ่งอาจารย์เป็น ผูอ้ อกข้อสอบทัง้ หมดนีม้ ไี ว้เพือ่ อะไร ก็เพือ่ ทีจ่ ะทดสอบดูวา่ ผูท้ มี่ าเรียนได้เรียนจริง หรือเปล่า แล้วเมื่อเรียนจริงแล้วก็ทดสอบดูว่าคนนั้นมีภูมิความรู้พอที่จะให้ ประกาศนียบัตรหรือปริญญาเป็นเครือ่ งหมายว่าผูน้ มี้ คี วามรูเ้ ท่านัน้ ๆ เมือ่ เป็นเช่นนี้ ผูท้ พี่ ยายามทีจ่ ะหาความรูฟ้ งั ค�ำสอนของครู อ่านหนังสือทีเ่ ป็นต�ำราและมาพิจารณา เพื่อให้เข้าอยู่ในสมอง ก็มีหวังสอบไล่ได้เป็นของธรรมดา ผู้ที่ไม่ได้เรียนก็สามารถ หรือมีหวังน้อยที่จะสอบได้ ข้อส�ำคัญในการสอบที่เป็นที่จะรับพรได้ส่วนหนึ่งก็คือ ให้โชคดี ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวข้องกับโชคอยู่เหมือนกัน บางทีเราเรียนแล้วเกิดโชคร้าย ไม่ได้เรียนส่วนที่เขาออกข้อสอบก็เป็นได้ แต่ส่วนมากถ้าเราเตรียมตัวดีแล้ว โชคก็ เป็นข้างของเรา มีอีกอย่างหนึ่งก็คือเวลาเข้าห้องสอบ จะเป็นสอบเขียนหรือ สอบสัมภาษณ์กต็ าม เราจะต้องมีความแน่วแน่ใจ ความแน่วแน่ใจนีห้ มายถึงใจแข็ง จิตใจเข้มแข็ง เราจึงจะไม่หวัน่ ไหวในการทีเ่ ห็นว่า การสอบนีเ้ ป็นสิง่ ทีน่ า่ กลัว เมือ่ ไม่กลัว เมือ่ แน่วแน่แล้ว เราก็เอาความรูข้ องเราทีม่ อี ยูใ่ นสมองออกมาใช้ได้ การทีจ่ ะให้พร ก็ให้พรให้มีก�ำลังจิตใจที่จะปฏิบัติสิ่งที่ควรท�ำ เพื่อให้มีความรู้ตอนเตรียมสอบ เมือ่ เข้าสอบก็ให้มจี ติ ใจแน่วแน่เพือ่ ทีจ่ ะน�ำความรูเ้ หล่านัน้ ออกมาตอบข้อสอบได้ แล้ว ก็ขอให้ทุกคนมีโชคดีที่เป็นคนที่เข้มแข็ง ให้เป็นคนที่สามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรรค ซึ่งจะมีมาต่อมาให้ผ่านพ้นไปได้ เพื่อให้ประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองทุกคน

86


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระอิริยาบถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บนเวทีหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔

พระอิริยาบถในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ขณะทรงฟังและทรงทอดพระเนตรการแสดงดนตรี

87


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซกโซโฟน และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ ทรงร่วมขับร้องเพลงบนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ทรงร่วมกันขับร้องเพลงบนเวทีหอประชุมจุฬาฯ

88


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๑๓ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี๑๔ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ วันนี้ดีใจมากที่มาที่นี่ไม่เก้อ เพราะว่าได้ข่าวว่าจะเดินไปไหนไม่ทราบ แต่ว่าก็ปรากฏว่าไม่ได้เดินไปไหน เดินมาที่มหาวิทยาลัยและมาขอค� ำแนะน�ำ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตน ก็จะสนองตามค�ำขอ แต่ก่อนอื่นก็ขอให้ทุกคนนั่ง ให้เรียบร้อยก่อน ไม่อย่างนั้นแย่ ทีม่ อี ยูใ่ นซองนัน้ ก็ได้ทราบว่าจะขอค�ำแนะน�ำ นีท่ ราบมาจากหนังสือพิมพ์ ก็ได้เอามาเป็นปึกนี่ ทัง้ ปึกนีม่ ขี า่ วหนังสือพิมพ์วา่ ได้เคยมีพระบรมราโชวาทให้ใช้สมอง ไม่ควรใช้เท้า แล้วก็จะมาขอค�ำแนะน�ำเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เป็นปัญหาขึ้นมา๑๕ ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีที่นายกสโมสรได้กล่าวว่า ที่พูดเมื่อปีก่อน ๆ นั้นได้ผลดี คือมีปัญหาอะไรทางนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ใช้สมองพิจารณา และส่วนใดที่ดีก็ปฏิบัติ ที่ไม่ดีก็ระงับการปฏิบัติ ถ้าสิ่งใดมีทั้งดีทั้งไม่ดีก็พิจารณา ด้วยความรอบคอบว่ามีความดีมากกว่าความเลวจึงปฏิบัติ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าชมเชย และน่าอนุโมทนาอย่างยิง่ เพราะว่าท�ำให้มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรตินมี้ คี วามเรียบร้อย ไม่วนุ่ วายเหมือนแห่งอืน่ ๆ ซึง่ บางทีกม็ าขอค�ำแนะน�ำจากสถาบันนีว้ า่ ควรจะท�ำอย่างไร ค�ำตอบที่ผู้ที่เป็นฝ่ายน�ำในมหาวิทยาลัยนี้ให้ไป ก็รู้สึกว่าสมเหตุสมผลดี คือให้ พิจารณาและปฏิบตั ิ ไม่ใช่ปฏิบตั แิ ละพิจารณา พูดถึงหน้าทีข่ องนักศึกษาโดยทัว่ ไป ก็เห็นใจว่า คนที่อยู่ในวัยที่จะศึกษาในขั้นมหาวิทยาลัยนั้น มีความสงสัยอยู่เสมอ ว่าตนควรจะปฏิบัติอย่างไร เพราะว่ามีตัวอย่างทั้งในประเทศทั้งต่างประเทศ

เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ไปทรงดนตรี และพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๕ ปัญหาการสอบสวนเรื่องการจัดการผลประโยชน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ยังค้างอยู่ ๑๓ ๑๔

89


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ให้นักศึกษาปฏิบัติ และมีการส่งเสริม มีการสั่งสอน มีการชักน�ำให้นักศึกษาแสดง ตนว่ามีก�ำลัง ข้อนี้ ถ้าปฏิบัติตามที่ได้ชี้แจงว่าได้ปฏิบัติก็ไม่เกิดอันตรายใด ๆ แต่ถ้าลืมข้อที่ต้องพิจารณาก็อาจเกิดอันตรายได้ เพราะตัวอย่างต่าง ๆ ที่มี และค�ำแนะน�ำทีใ่ ห้กนั มีความขัดแย้งกันมากมาย บางส่วนเขาก็บอกว่านักศึกษานี่ จะต้องเป็นผู้น�ำประเทศหรือน�ำสังคม แต่การแนะน�ำออกจะวุ่นวายหรือสับสน ไม่ทราบว่าควรจะท�ำอย่างไร บางคนก็บอกว่าจะต้องให้แสดงตนว่ามีอ�ำนาจ ซึง่ ถ้าแสดงตนให้มอี �ำนาจว่ามีอ�ำนาจไปในทางที่ดกี ไ็ ม่เป็นอะไรแต่บางทีเขาแนะน�ำ ให้แสดงตนให้มีอ�ำนาจเพื่ออ�ำนาจ หมายความว่าแสดงวุ่นวายไปท�ำลายสิ่งของ ท� ำ ลายสิ่ ง ของนี้ ก็ เ ป็ น การแสดงอ� ำ นาจเหมื อ นกั น แต่ เ ป็ น การแสดงอ� ำ นาจ เป็นทางทีท่ จุ ริต และลงท้ายก็จะท�ำให้เกิดความหายนะแก่สว่ นรวมและแก่ตนเอง ถ้ า แสดงอ� ำ นาจในทางมี อ� ำ นาจวิ ช าหรื อ อ� ำ นาจทางความคิ ด ที่ ดี ที่ ร อบคอบ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงการปฏิบตั จิ งึ เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญ ถ้าดูตวั อย่างในต่างประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศ ก็มขี อ้ ทีน่ า่ วิตกในด้านทีว่ า่ นักศึกษาหรือผูท้ อี่ ยูใ่ นวัยฉกรรจ์ ต้องแสดงความมีอิสระ ถ้าผู้ที่เรียกว่าผู้ใหญ่บอกว่าไม่ควรที่จะเสพติด ก็บอก ว่าผูใ้ หญ่นนั้ โง่เขลา เพราะว่ายาเสพติดนีเ้ ป็นทางทีจ่ ะท�ำให้มเี สรีภาพ การพิจารณา ใช้ เ หตุ ผ ลอย่ า งนี้ ก็ อ อกจะไม่ ถู ก ที่ พู ด ถึ ง ยาเสพติ ด ก็ เ ป็ น วงเล็ บ เท่ า นั้ น เอง ขอผ่ า นไปโดยที่ ข อชี้ แจงอี ก นิ ด เดี ย วว่ า โดยมากการเสพยาเสพติ ด เริ่ ม ด้ ว ย ความกดดันหรือความท้อใจ และบังเอิญมีผทู้ แี่ นะทางบอกว่าลองเสพเสียนิดหน่อย ท�ำให้สบายดี ผูท้ ฟี่ งั ก็บอกว่าเราเป็นผูท้ มี่ คี วามรู้ เราเป็นคนฉลาด เราก็ทดลอง ถ้า ใช้ได้ก็ลองใช้ไป ถ้าใช้ไม่ได้ก็เลิกได้ แต่ข้อส�ำคัญหารู้ไม่ว่าเลิกล�ำบากเหมือนกัน แล้วก็จะติดจริง ๆ และจะท�ำให้เกิดผลไม่ดีส�ำหรับร่างกายของตน ส�ำหรับสังคม ของตน และสถาบันของตนอันนี้ก็เป็นวงเล็บ ขอปิดวงเล็บแค่นี้ส�ำหรับเรื่อง ยาเสพติด ที่พูดถึงยาเสพติดก็เพราะว่ามีข่าวอยู่แล้วก็จึงต้องพูด กลับมาถึงหน้าที่ของนักศึกษา คือหน้าที่ที่ต้องแสดงความคิดความเห็น ความคิดความเห็นที่จะต้องแสดงนั้น ถ้าแสดงในทางที่ถูกและใช้วิธีการที่ถูกก็เกิด ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าทุกคนจะเป็นนักศึกษา หรือจะเป็นข้าราชการ จะเป็นประชาชนทั่วไปก็มีหน้าที่ทั้งนั้นที่จะเป็นห่วงส่วนรวม ส� ำหรับนักศึกษา ก็มหี น้าทีท่ จี่ ะเป็นห่วงสถาบันของตนและบ้านเมืองของตน มีเรือ่ งทีใ่ คร่จะพูดเป็น

90


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

วงเล็บที่สอง คือในการบริหารมหาวิทยาลัย เกิดมีปัญหาอันหนึ่งเกี่ยวข้องกับ คณะหนึ่ง แล้วก็เมื่อทราบข่าวแล้วก็เกิดความคิดขึ้นมา ขอมาฝากแก่ที่ชุมนุมนี้ ก็คอื เรือ่ งของคณะอักษรศาสตร์นนั้ นัยว่าจะย้ายแล้วก็มกี ารเตรียมการเดินขบวน เพื่อคัดค้านการย้ายคณะอักษรศาสตร์ อันนี้ ความจริงก็ไม่ได้เป็นห่วงการเดิน ขบวนเท่าไร เพราะว่าถ้าเดินก็คงวนเวียนอยู่ในนี้ (เสียงฮา) ไม่ท�ำให้การจราจร ติดขัด แต่ว่าก่อนอื่นขอให้พิจารณาดู ถ้าเดินแล้วจะได้ผลอย่างไร แล้วก็เกี่ยวข้อง กับเรือ่ งของการย้ายนีม้ ปี ระเด็นอย่างไรเดีย๋ วจะต้องมีการเดินขบวนส�ำหรับคัดค้าน การเดินขบวนอีก (เสียงฮา) ทีเ่ ดินขบวน ขบวนแรกเข้าใจว่าจะไปหาใครก็ไม่ทราบ แต่วา่ จะเดินไปบอกว่าอย่าย้ายคณะอักษรศาสตร์ เพราะว่าคณะอักษรศาสตร์เป็น คณะที่มาก่อนคณะอื่นที่อาศัยตึกนั้น จึงเป็นเจ้าของที่เป็นเจ้าถิ่น ไม่ควรที่จะต้อง ย้ายไปที่อื่นเหมือนว่าโดนขับไล่ไป คนอื่น คณะอื่นควรจะไปเสียก่อน ท�ำที่ให้ คณะอักษรศาสตร์มีที่ขยายตัวได้ ก็น่าฟังเหมือนกันเพราะว่าคนแก่ต้องมาก่อน ต้องมีสิทธิ์ก่อน (เสียงฮา) อันนี้ก็พูดอย่างโบราณว่า คนแก่ต้องรับความนับถือ หมายความว่าต้องนับถือ Senior (เสียงฮา) ก็นา่ เห็นใจ แล้วก็นา่ จะให้คณะอักษรศาสตร์ อยูท่ เี่ ดิม และขับไล่คณะอืน่ ไปอยูท่ อี่ นื่ (เสียงฮา) ก็เมือ่ เป็นเช่นนัน้ แล้ว เมือ่ เดินขบวน เป็นผลส�ำเร็จแล้ว ท่านผู้ใหญ่ที่ตัดสินบอกว่าคณะอักษรศาสตร์ถูก ควรจะอยู่ที่เดิม ก็จะต้องมีการเดินขบวนเป็นครัง้ ทีส่ อง ขบวนทีส่ องนีจ้ ะไปบอกว่าคณะอักษรศาสตร์ เป็นคณะที่โบรมโบราณ ที่มีอาวุโส แล้วก็ที่ใหญ่โต ควรจะมีที่ใหม่ และที่เดิมนั้น คับแคบและก็เก่าเกินไป จึงขอหาทีใ่ หม่ให้เพือ่ ทีจ่ ะเหมาะสม ให้ทันสมัย ท่านผูใ้ หญ่ ทีร่ บั ฟังก็เห็นด้วย เห็นด้วยในหลักว่าคณะอักษรศาสตร์นเี่ ป็นคณะทีใ่ หญ่และส�ำคัญ ควรที่จะมีที่ท�ำการ ที่สอน ที่ที่จะเป็นคณะที่มีหน้ามีตาและสมเกียรติแก่คณะ จึงตัดสินว่าควรทีจ่ ะหาทีใ่ หม่สร้างให้ใหญ่โตมโหฬาร เมือ่ ตัดสินเช่นนีก้ ด็ ำ� เนินการ ขบวนแรกก็ไม่พอใจ ก็ตั้งขบวนที่สาม เมื่อตั้งขบวนที่สามมาคัดค้านไปมาอย่างนี้ โดยผลัดกันเดินขบวนไปหาท่านผูใ้ หญ่ ก็ไม่มสี นิ้ สุด เมือ่ ไม่มสี นิ้ สุดแล้วการด�ำเนินงาน ก็เริ่มไม่ได้ ปฏิบัติอะไรไม่ได้ ก็ยังอยู่อย่างเดิม อยู่ในที่ที่คับแคบ และกิจการ ก็ไม่ก้าวหน้า วิธีการที่จะท�ำก็คือ ถ้ามีปัญหาขึ้นมาให้ทั้งสองขบวนเดินพร้อมกัน เดินมาที่หอประชุมนี้ก็ได้ อย่างเช่นที่ท�ำมาวันนี้ แทนที่จะเดินขบวนไปหาใคร ก็เดินขบวนมาที่หอประชุมนี้ มาฟังดนตรีกัน แต่ว่าส�ำหรับคณะอักษรศาสตร์

91


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ยังไม่มกี ารเดินขบวน ก็ถงึ ยุแหย่ให้เดินขบวน แต่วา่ ขอให้เดินขบวนโดยทีน่ ดั หมาย ไว้ว่าจะเดิน และให้เดินกันครบถ้วนทุกคน และมาตัดสินใจกันว่าอย่างไหน จะมีประโยชน์ที่สุด คืออนาคตของคณะอักษรศาสตร์จะอยู่ที่เดิมหรือไปที่ใหม่ ควรจะปฏิบัติอย่างไรให้อภิปรายกันสุดความสามารถ และให้เสร็จเรื่องกัน ในวันเดียวกันเพื่อให้ด�ำเนินการได้โดยไม่ขัดข้อง ไม่มีความล่าช้า อันนี้ก็เป็น ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ควรจะท�ำ มาบัดนี้ วงเล็บที่สองปิด มาถึงข้อส�ำคัญตามทีน่ ายกสโมสรได้ขอค�ำแนะน�ำในการปฏิบตั ิ ความจริง ในการปฏิบตั ทิ จี่ ะท�ำเมือ่ ปีทแี่ ล้ว ก็จริงตามทีน่ ายกสโมสรได้กล่าว ปีทแี่ ล้วบอกว่า เมือ่ เขาตัง้ กรรมการแล้วก็ขอให้ดผู ลของกรรมการ อย่าเพิง่ เดินขบวน อันนีพ้ ดู จริง และก็พดู เหมือนกันว่าเมือ่ เขาปฏิบตั อิ ะไรแล้วจะดูกอ่ น และเมือ่ ล่วงมาปีหนึง่ แล้ว ก็ควรจะดูได้แล้ว คราวนี้การที่จะไปดูว่ากรรมการเขาตัดสินอะไร กรรมการ เขาค้นหาอะไร วิธที จี่ ะทราบจะท�ำอย่างไร ถ้าจะแนะน�ำให้ถกู ใจ ก็แนะน�ำให้เดินขบวน ไปหาท่ า นนายกฯ อี ก ที (เสี ย งปรบมื อ ประปราย) ก็ ป รบมื อ กั น ประปราย เพราะว่าสงสัยว่าจะไม่แนะน�ำ แต่วา่ เป็นความจริง ถ้าการเดินขบวนไปหานายกฯ จะได้ประโยชน์ นายกฯ ท่านอาจออกมาหรือท่านจะส่งใครออกมาชี้แจงก็เป็นได้ แต่ค�ำชี้แจงนั้นจะเป็นที่พอใจของการเดินขบวนหรือไม่ก็ไม่ทราบ เข้าใจว่า จะไม่พอใจ เพราะว่าการเดินขบวนยกโขยงไปก็ท�ำให้วุ่นวาย แล้วก็จะท�ำให้การ ชี้แจงนั้นไม่สะดวก ความจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่กรรมการได้ปฏิบัติมา อย่างน้อย ที่กรรมการชุดแรกได้ปฏิบัติมา ก็อยู่ในปึกนี้ แล้วก็ได้ค้นพบว่าได้ผลตามที่ได้ เดินขบวนปีที่แล้ว คือมีทุจริต และก�ำลังด�ำเนินการอยู่ แต่ว่าไม่ทราบว่าจะได้ ทุกอย่างหรือไม่ อันนีต้ ามผลทีม่ ี เป็นรายงานของฝ่ายทีม่ หี น้าทีป่ ราบปราม มีขอ้ หนึง่ ว่ามีการเดินขบวนไปหาท่านนายกรัฐมนตรี ขอให้มกี ารสอบสวนกรณีทจุ ริตในเรือ่ ง การเงินและทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันนี้เป็นเหตุผลข้อหนึ่ง ที่เดินขบวน ข้อสองนายกรัฐมนตรีได้มีค�ำสั่งให้ตั้งกรรมการสืบสวนการบริหาร ทรัพย์สินและการเงินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๑๓ โดยมีนายพิชาญ ดโณทัย รองปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ การ สอบสวนมีแยกเป็น ๒ เรือ่ ง เรือ่ ง ก. คือเรือ่ งการจัดซือ้ ทีด่ นิ จัดสรรให้อาจารย์ และ ข้อ ข. เรื่องที่ดินสยามสแควร์และโรงแรมมหาวิทยาลัย ที่บอกว่าไม่ทราบว่าครบ

92


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

หรือไม่ครบในข้อที่เดินขบวนเมื่อปีที่แล้ว ก็อยากทราบว่าความครบตามประเด็น ที่เดินขบวนหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็ขอให้บอกผ่านทางนายกสโมสรมาให้ทราบว่า ประเด็ น สองประเด็ น นี้ ถู ก ต้ อ งหรื อ ไม่ เรื่ อ งด� ำ เนิ น งานเรื่ อ งซื้ อ ที่ ดิ น จั ด สรร ให้อาจารย์กม็ กี ารด�ำเนินงานมาโดยทีป่ รากฏผลการสอบสวน ปรากฏว่ามีกรณีทจุ ริต ในการซือ้ ทีด่ นิ ทีซ่ อยศูนย์วจิ ยั ถนนเพชรบุรตี ดั ใหม่ การจัดซือ้ ทีด่ นิ จัดสรรทีห่ วั หมาก และการจัดซื้อที่ดินที่ต�ำบลหนองแก อ�ำเภอหัวหิน เพื่อตั้งศูนย์วิจัยประมง ขณะนี้กรมต�ำรวจได้ส่งเรื่องให้กรมอัยการเพื่อให้ด�ำเนินคดีต่อไปแล้ว หมายความว่า เรือ่ งของการจัดสรรทีต่ า่ ง ๆ นีเ้ ขาก�ำลังด�ำเนินการอยู่ ถ้าเดินขบวนไปหาท่านนายกฯ ท่านนายกฯ ก็อาจตอบอย่างนี้กระมัง เรื่องที่ดินสยามสแควร์ และโรงแรม มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้โฮเตล (เสียงฮา) ที่อยู่ในนี้ อยู่ในระหว่างการสอบสวน ของกรรมการ และปัจจุบันนี้ทางต�ำรวจยังมิได้รับเรื่องให้ด�ำเนินการสอบสวนคดี เพราะยังมิได้มีการร้องทุกข์จากอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่อย่างใด อันนีก้ เ็ ป็นเรือ่ งทีก่ รรมการชุดแรกได้ปฏิบตั ิ และกรรมการชุดทีส่ องก็กำ� ลังปฏิบตั อิ ยู่ เข้าใจว่าถ้าเดินขบวนไปก็จะได้รบั ค�ำตอบจากนายกฯ หรือฝ่ายนายกฯ ดังทีไ่ ด้กล่าว ไว้นี้ ฉะนั้นการที่แนะน�ำว่าให้เดินขบวนไปหานายกฯ จึงเข้าใจว่าจะไม่เกิดผลนัก แล้วก็ที่จะบอกว่าให้คอย ก็รู้สึกเกรงว่างานจะยังไม่ด�ำเนินโดยรวดเร็ว จึงขอ แนะน�ำอย่างทีเ่ ห็นในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึง่ ว่า “จะขอส่งผูแ้ ทนไปหาฝ่ายนายกฯ” ก็รู้สึกว่าจะเป็นการดี จะได้เตรียมข้อต่าง ๆ ที่สงสัยเป็นข้อ ๆ และให้ตอบมาเป็นข้อ ๆ ข้อไหนที่ตอบได้ดังที่ได้กล่าวไว้นี้ก็คงตอบมา และข้อไหนที่ก�ำลังด�ำเนินงานอยู่ก็คง บอกว่าก�ำลังด�ำเนินงานอยู่ และทางฝ่ายผูแ้ ทนของทางมหาวิทยาลัยควรจะขอร้อง ให้ด�ำเนินงานโดยรวดเร็วเพื่อที่จะให้เรียบร้อยไปเสียที ก็มีการแนะน�ำการปฏิบัติแค่นี้ เพราะว่าถ้าจะปฏิบัติอย่างอื่นก็จะวุ่นวายเปล่า ๆ แล้วก็การที่ทุกคนได้เอาใจใส่ ในเรื่องนี้ ก็ขอแสดงความเห็นว่าดีและน่าชมเชย เพราะว่าบางอย่างมีเหตุผล และมีสาระ ความวุ่นวายในวงการนักศึกษาจะเรียบร้อยขึ้นก็โดยปฏิบัติดังที่ได้ ปฏิบตั มิ า ขอให้พยายามทีจ่ ะปฏิบตั อิ ย่างนีต้ อ่ ไป จะได้ผลมาก และจะเป็นการช่วยให้ บ้านเมืองมีความเรียบร้อยได้ ที่ดีใจมากเป็นพิเศษจริง ๆ ก็เพราะได้แสดงให้เห็น ว่านิสิตจุฬาลงกรณ์นี้เป็นก�ำลังจริง ๆ เป็นพลังของบ้านเมืองจริง ๆ ไม่ใช่สักแต่จะ แสดงตนว่ามีพลังเท่านั้นเอง เป็นการแสดงตนว่าเป็นพลังที่มีเหตุผล

93


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

เวลานี้ก็ไม่มีอะไรที่จะพูดมากมาย ความจริงได้จดข้ออะไรต่าง ๆ ที่จะ มาพูด แต่ว่ารู้สึกว่าจะเบื่อหน่ายกัน เขียนไว้ก็รู้สึกว่าอ่านไม่ค่อยออกเหมือนกัน (เสียงฮา) ก็มีอย่างเดียวที่เขียนเอาว่า ปีที่แล้วบอกว่าถ้าจะเดินขบวนขอให้ บอกล่วงหน้า ไม่ทราบว่าจ�ำได้หรือไม่ บอกให้บอกล่วงหน้า เพราะว่าจะต้อง เตรียมน�้ำหวาน (เสียงฮา) ความจริงเรื่องที่จะเตรียมน�้ำหวานนี้ เมื่อกี้ เมื่อก่อนมา ก็ใจหายใจคว�่ำเหมือนกัน เพราะไม่ได้เตรียม (เสียงฮา) ไม่ได้เตรียมน�้ำหวาน แล้วก็คอยอยู่ทางโน้น ถึงมาช้า คอยอยู่ทางโน้นว่าจะไปที่โน่น จะไปที่สวนจิตร หรือจะมาที่มหาวิทยาลัย แต่เมื่อเห็นว่าทางโน้นไม่มีใครไปจึงเข้าใจว่ามาทางนี้ ก็หวังว่าทางนี้เขาเตรียมน�้ำหวานไว้ให้ เพราะว่าก็รู้สึกว่าอากาศก็อบอุ่นดี (เสียงฮา) แล้วก็หิวน�้ำเหมือนกัน ที่นี่ก็จะมีการแสดงดนตรี ในการแสดงดนตรีนี่ พวกนักดนตรี ก็ขอน�้ำหวานด้วย ไม่รู้จะได้หรือไม่ได้ นอกจากนั้นที่เขียนเอาไว้ก็ไม่มีอะไร นอกจากที่เขียนว่าจะมาให้โอวาท แนะน�ำคือเพียงแต่ขอสรุปหน้าที่ของผู้ที่เป็น นิสิตนักศึกษาว่า การเป็นนักศึกษาไม่ใช่อาชีพ เป็นเวลาที่จะฝึกทางวิชาการและ ก็ทางจิตใจ เพือ่ ทีจ่ ะมีพลังแข็งแรงทีจ่ ะรับใช้ชาติ เป็นพลเมืองดี แล้วก็เป็นความหวัง และก็เป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดว่าเมื่อได้ฝึกในทางจิตใจเป็นคนเข้มแข็ง ซื่อตรงและ เป็นคนที่มีความปรารถนาที่จะสร้างสรรค์แล้ว จะต้องรักษาอุดมคตินี้หรือพลังนี้ หรือปณิธานนี้ไว้ตลอดชีวิต เคยได้แย้มไว้แล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีเวลาที่จะ ขยายความพอว่าทุกคนเมือ่ อยูใ่ นวัยศึกษาขัน้ มหาวิทยาลัย ต่างคนมีอดุ มคติทแี่ ข็งแรง ทีเ่ ข้มแข็งและตัง้ ใจทีจ่ ะปราบคอร์รปั ชัน ตัง้ ใจทีจ่ ะท�ำงานเพือ่ ส่วนรวมอย่างแรงกล้า ก็ดังที่ได้แสดงแล้วว่านิสิตนักศึกษาได้ช่วยบ้านเมืองในหลายทาง ตัวอย่างก็คือ เวลาเลือกตั้งก็อุตส่าห์ออกไปดูแลตามหน่วยเลือกตั้งต่าง ๆ ด้วยความเข้มแข็ง เพื่อที่จะให้มีการเลือกตั้งเป็นไปโดยเรียบร้อย ก็นับว่าได้ประโยชน์มาก นอกจากนั้น ในเวลาว่าง ในเวลาพักเรียนก็ได้ออกไปพัฒนา ไปช่วยประชาชนที่แร้นแค้นที่ล�ำบาก ได้ไปช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเพราะประสบอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไปช่วยสร้างสรรค์ความเจริญแก่ผู้ที่ต้องการ อันนี้ก็นับว่าได้ท�ำด้วยความเข้มแข็ง ด้วยอุดมคติ ด้วยความบริสุทธิ์และด้วยความสุจริต ขอให้อุดมคตินี้ การกระท�ำ

94


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ในทางที่ดีและเข้มแข็งนี้จงอยู่ในตัวของทุกคน แม้จะพ้นสภาพจากการเป็น นักศึกษา คือเมื่อส�ำเร็จการศึกษาแล้วไปปฏิบัติงานของแต่ละคนตามหน้าที่หรือ ตามทีเ่ ลือกแล้ว ก็ขอให้รกั ษาอุดมคตินไี้ ว้ตลอดไปเพราะว่าถ้าเราเกลียดคอร์รปั ชัน เราเกลียดการท�ำสิง่ ทีท่ จุ ริต เราจะต้องปฏิบตั สิ จุ ริต เราจะต้องปฏิบตั ดิ ว้ ยความเข้มแข็ง และรักษาไว้ แล้วก็เชื่อว่าจ�ำนวนนักศึกษาที่ส�ำเร็จการศึกษาจากสถาบันนี้ปีละ ประมาณ ๒ พันคนที่ออกไปปฏิบัติงาน ภายใน ๒๐ ปีข้างหน้า อายุก็จะถึงขั้นที่ จะรับหน้าที่ส�ำคัญ ๆ ถ้าใน ๒๐ ปีข้างหน้ายังรักษาความซื่อตรง รักษาอุดมคติ รักษาความเข้มแข็งไว้ได้ทกุ คน ก็เข้าใจว่าคอร์รปั ชันจะไม่มแี ล้วในเวลานัน้ เพราะว่า เดี๋ยวนี้ที่กล่าวหากันอ้างว่ามีคอร์รัปชันในวงการราชการก็ตาม หรืออื่น ๆ ก็ตาม เป็นคนที่มีอายุระหว่างประมาณ ๓๕ ขึ้นไปถึง ๖๕ ถ้าทุกคนรักษาอุดมคติ และ ความเข้มแข็งได้อย่างสุดก�ำลังในเวลา ๒๐ ปีขา้ งหน้า คือจบจากมหาวิทยาลัยแล้ว ๒๐ ปีต่อไปบวกเข้าไปก็ประมาณอายุ ๔๔ อายุ ๔๕ ถ้าทุกคนที่อยู่ในที่นี้หรือที่ไม่อยู่ ในทีน่ กี้ ต็ ามมีอดุ มคติแรงกล้า ยังดุเดือด ยังไม่ทอ้ ใจ ยังคงปฏิบตั ดิ ว้ ยความรอบคอบ ด้วยความคิดพิจารณา ด้วยความสุจริตเข้าใจว่าผีขอทุจริตนี้จะต้องหายไปหมด เพราะว่าจะต้องไม่มี แต่ว่าใครจะรับรองได้ ก็คือท่านทั้งหลายทุกคนรับรองได้ ภายในโครงการ ๒๐ ปีนี้ ทุจริตในประเทศจะค่อย ๆ หายไปจนกระทั่งหมดสิ้น ถ้าทุกคนปฏิบัติตามที่ตนจะท�ำเดี๋ยวนี้ ตามที่มีอุดมคติเดี๋ยวนี้ อันนี้ก็เขียนไว้เพียง ๒ บรรทัด ขยายความไปมาก แต่ก็ยังไม่หมด จะขยายความได้อีกมากมาย แต่ว่า ขอไม่ขยายเดี๋ยวจะไปท�ำให้ท่านทั้งหลายไม่มีทางที่จะขยายความต่อไป จึงขอให้ ทุกคน จะเป็นนักศึกษาปีไหนก็ตาม ตั้งแต่ปีที่ ๑ ถึงปีสุดท้าย ที่บอกปีสุดท้าย เพราะว่าไม่ทราบว่าปีสุดท้ายเป็นปีเท่าไร (เสียงฮา...ปรบมือ) และรวมทั้ง คณาจารย์ต่าง ๆ ให้พิจารณาว่า ถ้ายอมรับว่าตนมีอุดมคติขอให้รักษาอุดมคติไว้ คือฝากอุดมคติไว้ให้รักษา หมายความว่า ขอให้แต่ละคนรักษา ไม่ใช่ว่าแต่ละคน มีอุดมคติแล้วจะไปทิ้งขว้างได้ แล้วก็อันนี้ไม่ใช่ค�ำสั่ง ถ้าเป็นค�ำสั่งให้รักษาก็จะ กลายเป็นสิ่งที่บังคับ แต่ว่าแต่ละคนเมื่อมีอุดมคติแล้วต้องบังคับตัวเองให้อยู่ แล้วอย่าลืมเท่านัน้ เอง เป็นค�ำแนะน�ำอย่างทีน่ ายกสโมสรขอ ไม่ใช่คำ� สัง่ หรือโอวาท เป็นค�ำแนะน�ำว่าถ้าอยากให้ดี ก็รักษาไว้

95


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ที่นี้ถ้าจะมาอ่านบรรทัดที่ ๓ ก็จะขยายความไปอีกประมาณครึ่งชั่วโมง บรรทัดที่ ๓ มีวิธีการเดินขบวน บรรทัดที่ ๔ ต่อไป มีเรื่องของการเอาอย่าง การเอาอย่างนักศึกษาคณะต่าง ๆ จะเอาตัวอย่างที่ดีและไม่ดี แต่ว่าทุกอย่างนี่ ทีเ่ ขียนเอาไว้ในนีก้ ไ็ ม่จำ� เป็นทีจ่ ะกล่าว เพราะว่าถ้าทุกคนมีการพิจารณาทีเ่ ข้มแข็ง ก็ไม่จ�ำเป็นที่จะอธิบาย เดี๋ยวนี้นาฬิกาก็เตือนแล้วว่าถึงเวลาที่จะท�ำตามที่ขอร้อง คือมาที่นี่แนะน�ำแล้วและให้เล่นดนตรี ขอทบทวนอีกทีว่า ถ้าขอค�ำแนะน�ำให้ท�ำ อะไรต่อไปถ้าไม่พอใจที่แนะน�ำ ให้ส่งผู้แทนไปหาท่านนายกฯ เกี่ยวข้องกับเรื่องราว ทีต่ อ้ งการทราบ ขอให้บอกให้ทราบ แล้วก็อาจแนะน�ำต่อไปได้ในโอกาสหลัง หรือ ระหว่างทีเ่ ล่นดนตรี เหนือ่ ยแล้วก็มาแนะน�ำต่อได้ ตอนนีก้ จ็ ะขอเริม่ รายการดนตรี เรือ่ งของโฆษกก็ตามเดิมเท่าทีก่ ะ ไม่มกี ารขัดข้อง ถ้าขัดข้องขอให้เดินขบวนขึน้ มา (เสียงฮา) คือเดินขบวนแบบพัฒนา เดินขบวนขึ้นมามาแจ้งว่าไม่ชอบโฆษก ก็เดินขบวนขึน้ มาแล้วก็เสนอโฆษกใหม่ แต่ถา้ ไม่มกี ารเดินขบวนก็ถอื ว่าเป็นโฆษก เดิมตามที่ได้ตั้งเอาไว้ และขอให้โฆษกที่เคยท�ำหน้าที่มาปรากฏตัว ณ บัดนี้ (เสียงฮา...ปรบมือ) ให้เวลา ๕ นาทีที่จะเดินขบวน ถ้าไม่มีการเดินขบวนก็หมายความว่า ใช้ได้ ตกลงไม่มีการเดินขบวนและเป็นที่ตกลงว่าโฆษกสองท่านนี้จะเป็นโฆษก นอกจากโฆษกสองท่านจะไม่เห็นด้วย และขอให้ ๕ วินาที ให้โฆษกสองท่าน ถ้าไม่ชอบใจให้เดินขบวน (เสียงฮา) ถ้า ๕ วินาทีล่วงไปแล้วท่านไม่เดินขบวน ท่านปักหลักอยู่ (เสียงฮา) ก็หมายความว่าท่านรับ อันนีข้ อวงเล็บทีส่ ามว่าเป็นการ เลื อ กตั้ ง แบบเดิ น ขบวน คื อ เคยมี ก ารเลื อ กตั้ ง แบบลงคะแนน แบบรั ฐ บาล ท่านท�ำ แบบตามรัฐธรรมนูญ แล้วก็เคยมีการเลือกโฆษกแบบปรบมือและวัดเสียง ตอนนี้เป็นการเลือกตั้งแบบเดินขบวน ซึ่งก็ไม่เลวเหมือนกัน เร็วดี ได้ผลดี ก็ขอมอบหน้าทีใ่ ห้โฆษกทัง้ สองให้ปฏิบตั กิ ารต่อไปและพบกันใหม่ทไี่ มโครโฟนโน้น (เสียงปรบมือ) (ต่ อ จากนั้ น เป็ น การบรรเลงดนตรี เมื่ อ การบรรเลงยุ ติ แ ล้ ว จึ ง มี พระราชด�ำรัสต่อ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร)

96


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

อันว่าเงินที่คนบริจาคมาให้จ�ำนวนห้าหมื่นบาท ท�ำไมต้องแบกเอามา ตั้ง ๑๐ คน ที่จริงไม่แปลกนัก เพราะว่าภาระหนัก ก็ต้องแบ่งกัน สมมุติว่า ถ้าคนเดียวแบกมาทั้งห้าหมื่นบาทซึ่งเป็นเหรียญบาทหรือเป็นอะไรอย่างนั้น ก็ จ ะแบกมาไม่ ส� ำ เร็ จ จึ ง ต้ อ งแบ่ ง หน้ า ที่ กั น ที่ จ ะแบกเอามาแล้ ว ก็ เ อามาให้ ถ้ าให้มาทั้งก้อนก็จ ะแบกไม่ไหว จะไม่ ส� ำ เร็ จกิ จการที่ จะเอาเงิ นมามอบให้ เพื่อการกุศลเช่นนี้ จะเมื่อยแล้วก็จะไม่เรียบร้อย ฉะนั้นการที่แบ่งภาระมาเช่นนี้ได้ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ควรที่สมแล้ว ก่อนจะว่าด้วยการให้พรก็ต้องบอกว่าติดหนี้ อย่างหนึ่ง เมื่อกี้คนขอเพลงแล้วก็ขอผลการสอบสวนคอร์รัปชันอันนี้ก็บอกวิธี ไปแล้ว ทีข่ อเพิม่ เติมเพราะว่าลืมเพิม่ เติมวิธที จี่ ะมาขอผลว่า ถ้าอยากทราบเรือ่ งอะไร ขอให้ถามเรื่องนั้น คือว่าถ้าไปบอกเฉย ๆ ไปเต้นแร้งเต้นกาอยู่ข้างหน้าท�ำเนียบ บอกว่าขอผล ไม่ทราบว่าผลอะไรอย่างนั้น ท่านผู้ใหญ่ก็ยิ่งงง แล้วก็ไม่ทราบ ว่าจะตอบอย่างไร เมื่อท่านผู้ใหญ่งงไม่ทราบว่าจะตอบอย่างไร พวกเราที่ไป ก็ยิ่งโมโหว่าท�ำไมท่านผู้ใหญ่ไม่ให้ค�ำตอบ การที่ไปถามอะไร ไปขออะไร ก็ต้องขอ ให้แจ่มแจ้ง ถ้าอยากทราบข้อไหนก็ขอให้ถามอย่างแจ่มแจ้ง อย่างเมื่อกี้นี้บอกว่า ให้ขอ จะบริจาคเงินละ ขอผลการสอบสวนมีอยู่ทั้งปึกนั้น เพิ่งได้มาเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ น. ยังไม่ได้ทันอ่านแต่เห็นแล้วว่ามีผล ถ้าจะมาให้อ่านทั้งหมดนี่ก็ เสียเวลาหมด แล้วก็ไม่มที างทีจ่ ะมาเลือกว่าตอนไหนทีม่ ที จุ ริต ตอนไหนทีไ่ ม่มที จุ ริต ตอนไหนที่จะลงโทษได้ ตอนไหนที่ไม่ลงโทษจึงไม่ได้บอกว่าผลเป็นอย่างไร เพียงแต่บอกคร่าว ๆ แต่วา่ ขอเตือนว่าถ้าอยากทราบเข้าใจว่าท่านผูใ้ หญ่ทเี่ กีย่ วข้อง เรื่องนี้และกรรมการก็ยอมที่จะบอกให้ทราบว่าสอบสวนถึงแค่ไหนและจะมี ได้ผลอย่างไร คือตามที่รายงานมามีผลแน่ แต่ก็ให้ถามอย่างแจ่มแจ้งอย่างแน่ชัด ไม่ใช่คลุม ๆ บอกว่า โอย! คอร์รัปชัน เราเกลียดคอร์รัปชัน ขอให้หมดไปมันเป็น ความคิดที่เราต้องการทุกคน ไม่มีสักคนที่เป็นคนสุจริต คือส่วนมากก็ทุจริต ที่ต้องการคอร์รัปชัน ที่ชอบคอร์รัปชัน แต่ว่าถ้าถามว่าจะท�ำอย่างไร จะปราบ คอร์รัปชันอย่างไรถ้าพูดคลุม ๆ แล้ว ก็ไม่มีวันจะแก้ไขคอร์รัปชันได้ อันนี้ถึงขอ เพิ่มเติมเป็นบทสุดท้ายและไม่ใช่วงเล็บ แต่เป็นการบอกแนะน�ำอย่างที่นายก สโมสรได้ขอแนะน�ำ ถ้าต้องการค�ำแนะน�ำอื่น ๆ ก็ขอให้จดหมายไปถึงวิทยุ อ.ส.

97


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ในรายการ อ.ส. วันศุกร์ก็ได้ แล้วก็ถ้าเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่จะตอบได้ก็คงตอบ แต่คงไม่ตอบทางวิทยุ เพราะว่าเดี๋ยววิทยุ อ.ส. ถูกปิด เมื่อวิทยุ อ.ส. ถูกปิด วงดนตรี อ.ส. ก็ถูกปิดไปด้วย เพราะว่า อ.ส. วันศุกร์ก็ต้องอาศัยวิทยุ อ.ส. เราก็ไม่มีที่พักที่พิงที่อาศัย อาจต้องปีละครั้งที่มาแสดงในหอประชุมนี้ อาศัยที่นี้ ก็ได้ แต่ว่าถ้าถูกปิดแล้ว ก็อาจถูกปิดไม่ให้มาแสดงที่นี่ก็ได้ จึงขอความกรุณาด้วย ว่าถ้ามีความประสงค์ที่จะทราบอะไร ถามให้ชัดแจ้งชัดเจนและถ้าตอบได้ทางใด ก็คงมีทางที่จะตอบ แต่ไม่ใช่ทางวิทยุ ตอนนี้แล้วก็วันนี้ รายการก็จบ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเพลงจบของ วงดนตรียังไม่ได้เล่น เพียงแต่เล่นตอนเป็นเพลงเกิดเป็นไทย แต่ก็เขาก็บอกว่า รายการยังไม่จบแต่นาฬิกาเขาก็บอกว่าถึงเวลาแล้ว ก็จะให้พรเวลานี้ แต่พรก็เป็น เหมือนอย่างเดิมแล้วก็เข้าใจว่าได้ผล คือทุกคนถ้ามีความคิดพิจารณาแล้ว ก็เท่ากับ ได้รับพรไปกว่าครึ่งแล้ว หมายความว่าคนไหนเรียนด้วยความคิดพิจารณา ที่รอบคอบ ด้วยความตั้งใจที่บริสุทธิ์ ก็ท�ำให้วิชานั้นเข้าไปในสมองดี และเมื่อ เข้าไปในสมองแล้วก็สามารถที่จะผ่านการสอบซึ่งเป็นการตรวจสอบว่า มีวิชา อีกครึ่งหนึ่ง คือถ้าท�ำจิตใจที่แจ่มใสที่ผ่องใสก็ท�ำให้สามารถที่จะตอบปัญหาได้ และสอบได้ ขอทุกคน จงถึงพร้อมด้วยสติปัญญา ด้วยความเข้มแข็ง ด้วยความ มีไหวพริบ และถ้าโชคจะช่วยได้ก็ขอให้โชคช่วยให้ทุกคนผ่าน ไม่ใช่เฉพาะ การสอบกลางปี แต่การสอบปลายปี และมีความส�ำเร็จในชีวิตด้วยทุกคน

98


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถาร กับนิสิต คณาจารย์ ผู้เข้าชมและผู้ฟังดนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕

99


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถระหว่างพักการบรรเลงเพลง

พระอิริยาบถสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ขณะทรงฟังและทรงทอดพระเนตรการแสดงดนตรี

100


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๑๖ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี๑๗ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพุธที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ขอให้ท่านทั้งหลายนั่งตามเดิมเสียก่อน วั น นี้ ที่ ม าที่ นี่ ก็ ตื่ น เต้ น มาก เพราะว่ า นึ ก ว่ า จะมาไม่ ไ ด้ นึ ก ว่ า เขา จะปิดการเรียน (เสียงฮา) และแม้จะมา ก็มาทางที่ผิดประเพณี คือไม่ได้ลุยน�้ำมา (เสียงฮา) แต่ก็อย่างไรก็ตาม ก็ไ ด้ ม าถึ ง ที่ นี่แ ล้ ว และไม่ ไ ด้ ม าทางชลมารค (เสียงฮา) ซึ่งก็นับว่าดีมาก เพราะว่าเป็นประเพณีที่จะต้องมาเยี่ยมท่านทั้งหลาย ในวันนี้ (ที่ ๒๐ กันยายน) เพื่อที่จะแสดงดนตรี และมาเพื่อระลึกถึงทั้งรัชกาล ที่ ๕ ทั้งรัชกาลที่ ๘ คือเป็นวันพระราชสมภพของท่านทั้งสองพระองค์และ ทั้งสองพระองค์ก็มีความผูกพันกับสถานศึกษานี้เป็นอันมาก ที่ต้องขอสรุปว่าวันนี้เป็นวันดนตรีและเป็นวันระลึกถึงทั้งสองพระองค์ ก็ เ พราะว่ า ก่ อ นมานี้ พยายามที่ จ ะเตรี ย มโอวาทตามที่ น ายกสโมสรได้ ข อ ก็เตรียมไม่ไหว เพราะว่ารู้สึกว่าสมองจะเป็นสนิม (เสียงฮา) คือเรื่องฝนขึ้นสมอง ทั้งฝนจริงทั้งฝนเทียม (เสียงฮา) เขาว่ากันว่าฝนในพระนครหรือในนครหลวง กรุงเทพธนบุรนี เี่ ป็นฝนธรรมชาติ ส่วนฝนต่างจังหวัดเป็นฝนเทียม ซึง่ ก็ดจู ะให้เกียรติ ฝนเทียมมาก เพราะว่าฝนเทียมท�ำได้มากมายอย่างนี้ ก็นับว่าเป็นผลส�ำเร็จ อย่างใหญ่หลวง แต่ว่าเข้าใจว่าเป็นตรงข้าม ฝนในนครหลวงนี้เป็นฝนเทียม ฝนต่างจังหวัดเป็นฝนธรรมชาติ เพราะว่าตามหลักวิชาของฝนเทียมจะต้อง สร้างแกนส�ำหรับให้เม็ดฝนได้มาเกาะ หรือให้ความชืน้ มาเกาะให้เป็นเม็ดฝน และ ขยายเม็ดฝนให้โตขึ้นเพื่อที่จะให้ตกลงมาได้ ในพระนครนี้ปรากฏว่าตกมากมาย นับว่าได้ผลมาก เพราะเหตุว่ามีแกนหรือมีผงขึ้นไปในอากาศมาก ซึ่งเขาเรียก ตามธรรมดาและก�ำลังเห่อกันมากคือพอลลูชนั่ ในพระนครนีม้ พี อลลูชนั่ มาก และ ๑๖

เรียบเรียงจากพระสุรเสียงที่ได้บันทึกไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทั้ง ๒ พระองค์มาทรงดนตรีและพระราชทานพระราชด�ำรัส แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

๑๗

101


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พอลลูชั่นขึ้นไปก็เป็นที่เขาเรียกในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นชม็อก ชม็อกนี้เวลามา กระทบกับความชื้นและกับความกดดันที่ต�่ำก็ท�ำให้ฝนตก ฉะนั้นฝนในพระนครนี้ เป็นฝนเทียม ส่วนฝนในต่างจังหวัดนั้น มาจากพายุโซนร้อนที่เปลี่ยนมาเป็น พายุดเี พรสชัน่ และมีชอื่ เพราะ ๆ ถ้าจ�ำกันได้ ทีม่ เี ข้ามาก็มคี ณ ุ เอลซี่ (เสียงหัวเราะ) และเมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณฟลอสซี่ก็มา (เสียงหัวเราะ) แต่ว่าคุณต่าง ๆ อื่น ๆ ก็ได้ ไปเยี่ยมเยียนต่างประเทศ เช่นคุณเฮเลนได้พาคุณเกรซไปเยี่ยมประเทศญี่ปุ่น และไปท�ำความเสียหายมากมายที่โน่น ที่นี้เกิดปัญหาขึ้นมาว่า เรื่องของคุณเอลซี่ กับคุณฟลอสซี่นี้ เข้ามาแล้วจะเป็นอย่างไร ที่บ่นกันในพระนครนี้ ก็ว่าไม่อยากให้ ฝนตกเลยเพราะว่าท�ำให้การจราจรเดินไปมาไม่เรียบร้อย เดินขบวนก็ไม่สะดวก (เสียงฮา) ก็ตกหลุมกันจริง ๆ แม้จะแล่นรถ รถทั้งคันก็ลงไปในหลุมได้ ที่นี้เมื่อ นึกถึงคุณประโยชน์ของคุณทั้งสองนั้นที่เข้ามา ก็ทราบดีว่า ในระยะนี้และในปีนี้ ฝนตกไม่พอส�ำหรับทั่วประเทศ การเกษตรกรรมและส�ำหรับท�ำการไฟฟ้าน�้ำ จะไม่พอ และก็บ่นกันมาก ขอแจ้งผลของการปฏิบัติงานของคุณเอลซี่และ คุณฟลอสซี่ว่าได้ผลดีมากกว่าผลเสีย คือทางผลเสียนั้นก็ต้องนับอยู่เหมือนกัน ทั้งสองคุณนี้ได้เข้ามาทางจังหวัดอุบลราชธานี ผ่านจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ต่อไปก็ผ่านมาทางด้านภาคกลาง คุณเอลซี่แยกทางลงมา ทางด้านปทุมธานีและราชบุรอี อกไปทางทะเลอันดามัน ส่วนคุณฟลอสซีม่ าทางเดียว แต่ผา่ นทางสระบุรีและก็ขึ้นไปเยี่ยมนครสวรรค์ และต่อออกไปทางใต้จงั หวัดตาก ตามทางก็มีความเสียหายไม่น้อย ถ้านับเป็นเงินก็นับเป็นสิบล้าน ความเสียหายนี่ แยกออกมาเป็นสองอย่าง คือทางหนึ่งท่วมบ้านเรือนของประชาชนท�ำให้มีความ เสียหายด้วยวาตภัยและอุทกภัย ทั้งท�ำให้ผลทางเกษตรท่วมน�้ำท่วมไปด้วย อีกทางหนึง่ ก็ทำ� ความเสียหายทางคมนาคม คือถนนหนทางทีส่ ร้างเอาไว้ถกู พัดไป สะพานพัง และทางชลประทาน เหมือง ฝาย และเขื่อน ที่ได้สร้างขึ้นมาก็พัง ไปบ้ า ง ส่ ว นใหญ่ ใ นด้ า นเกษตรนั บ ว่ า ได้ ผ ลดี เพราะว่ า ขาดน�้ ำ และการที่ ผลผลิตทางเกษตรถูกท่วมก็เป็นส่วนน้อย สรุปแล้วทางเกษตรกรรมก็ได้ผลดี ส่วนทางทีบ่ า้ นเรือนพังไปก็มเี ป็นจ�ำนวนหนึง่ ซึง่ ก็ได้พยายามแก้ไขโดยทีห่ น่วยต่างๆ หลายหน่วยหลายองค์การได้ออกไปช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ฉะนั้น ถ้าเปรียบเทียบ ความเสียหายกับสิ่งที่จะได้มา ก็เข้าใจว่าในที่สุดเป็นผลดีส�ำหรับประเทศ เพราะว่า

102


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

เศรษฐกิจของบ้านเมืองจะต้องอาศัยผลผลิตทางเกษตรกรรมเป็นส่วนไม่นอ้ ย และ ทางเจ้าหน้าทีท่ างการก็ได้เคยแจ้งกับประชาชนแล้วว่า ปีหน้าจะต้องรัดเข็มขัดเสียแล้ว เพราะว่าผลผลิตทางเกษตรจะไม่ดี ฉะนัน้ การทีม่ ฝี นตกลงมามาก ๆ ก็ทำ� ให้เข้าใจ ได้ว่าปีหน้าผลผลิตทางเกษตรก็จะไม่ตกต�่ำตามที่นึกคิดไว้ และจะนับว่าพอใช้ได้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายผู้ที่อยู่ในพระนครหลวงทราบว่า การที่ฝนมาลงในพระนคร ก่อความเดือดร้อนแก่ทา่ นทัง้ หลายในการสัญจรไปมาก็อาจไม่มากนัก ขอให้อดทน เอาไว้ นึกถึงผลที่ได้ส�ำหรับส่วนรวมทั้งประเทศ ข้อนี้ก็เป็นข้อหนึ่งที่ขอให้คิด พิ จ ารณา เพราะว่ า โดยมากเวลามี อ ะไรเกิ ด ขึ้ น แก่ เรา ก็ มั ก รู ้ สึ ก ว่ า เรื่ อ งนั้ น เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเป็นเรื่องที่เดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนนี้เป็นเรื่องที่ เดือดร้อนมาก ส่วนถ้าความเดือดร้อนนี้เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้อื่น ซึ่งผู้อื่นนี้เป็นจ�ำนวนมากกว่าเรา ก็น่าจะคิดว่าความเดือดร้อนของเราก็เป็นบุญ ของคนอื่น ถ้ามาดูในระดับชาติแล้ว คนสมัยใหม่นึกถึงว่าต้องตั้งแผนเศรษฐกิจ ตัง้ แผนการพัฒนาให้บา้ นเมืองให้กา้ วหน้า แผนต่าง ๆ นีเ้ ล็งให้บา้ นเมืองมีความเจริญ คือมีความมั่งคั่งมากขึ้น มีผลผลิตมโหฬาร และถ้าดูอย่างนี้ก็ต้องดูเป็นส่วนรวม เพราะว่าถ้าท�ำโครงการเศรษฐกิจหรือโครงการใด ๆ เพื่อความพัฒนา ย่อมต้อง เป็นผลดีแก่สว่ นหนึง่ เป็นผลร้ายแก่สว่ นหนึง่ การเศรษฐกิจนัน้ เป็นอย่างนีม้ าตลอด ไม่ใช่เพิ่งเป็น แต่ว่าเดี๋ยวนี้การพัฒนารวมทั้งการศึกษาการพัฒนาก�ำลังขึ้นสมองกัน ก็เลยท�ำให้เห็นว่าจะต้องศึกษากันใหญ่ แต่ว่าถ้าศึกษาดูจริง ๆ การเศรษฐกิจนี้ก็ เป็นอย่างนี้มาตลอด คือจะต้องพยายามตั้งแผนที่จะท�ำให้คนส่วนใหญ่มีความ ก้าวหน้า แม้จะมีสว่ นน้อยทีเ่ ดือดร้อนบ้าง แต่คนส่วนน้อยทีเ่ ดือดร้อนนัน้ ในทีส่ ดุ ย่อมจะได้รบั ประโยชน์จากทีส่ ว่ นใหญ่ได้รบั ประโยชน์ และส่วนรวมก็กา้ วหน้าขึน้ มา ขอกลับไปถึงเรื่องฝนว่าแต่ก่อนนี้หน้าฝนตกไม่มีใครว่า แต่เดี๋ยวนี้ ฝนตกก็ต้องไปว่า กรมอุตุนิยมว่า ท�ำไมจัดสรรให้พายุนี้พายุโน้นเข้ามาตามเส้นทางโน้นเส้นทางนี้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า เมื่อเรารู้มากเราก็กลุ้มมาก เพราะเรารู้ว่าคุณเอลซี่ จะเข้ามา เราก็ตีตนไปก่อนไข้ ความจริงครั้งนั้นก็คงไม่ได้ตีตนก่อนไข้เท่าไร เพราะยังไม่รู้ฤทธิ์ แต่ว่าเวลาฟลอสซี่เข้ามาก็ตีตนก่อนไข้ว่าเดี๋ยวจะฝนตกใหญ่ ถามกันใหญ่ว่าจะปิดโรงเรียนหรือไม่ เมื่อไม่ปิดโรงเรียนก็เกิดเสียใจกัน (เสียงฮา)

103


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ก็ว่าคุณฟลอสซี่ว่าท�ำไมไม่แสดงฤทธิ์ให้ปิดโรงเรียน (เสียงฮา) กลายเป็นเช่นนี้ แต่ทั้งหมดนี้ก็เกิดความเดือดร้อนเพราะว่ารู้มากเกินไป แล้วก็เกิดความเดือดร้อน ต่อไปว่าจะมีฝนหรือไม่มฝี นในอนาคต จะท�ำให้บา้ นเมืองล่มจมหรือบ้านเมืองเจริญได้ ก็ต้องคิด ๆๆ ต่อไปอีก ทีนกี้ ข็ อพูดถึงฝนเทียม เพราะว่าเขาพูดเขาว่ากันว่าฝนเทียมนีจ้ ะแก้ปญั หา ทุกอย่างสารพัด ถ้าจะมีฝนน้อยเราก็ท�ำฝนเทียม มันจะท�ำให้บ้านเมืองชุ่มฉ�่ำ ตามชอบใจ เมื่อมีความหวังแล้วก็มีความเดือดร้อนตามมาด้วย คือว่าพูดถึงว่า ฝนเทียมท�ำแล้วมันจะคุม้ หรือ ฝนเทียมตกมาเดีย๋ วเกิดเป็นข้าวหรือเป็นหญ้าเทียม ขึ้นมา (เสียงหัวเราะ) จะเป็นไปหรือเปล่า เมื่อมีค�ำถามในสมองของคนเกิดขึ้นมา เช่นนี้ ก็เลยเกิดความกลุ้มใจต่อไป แต่ว่าขอชี้แจงเรื่องฝนเทียมเล็กน้อยว่า ฝนเทียมนี้ เมือ่ ตกลงมาเป็นฝนแท้ คือเป็นน�้ำแล้วก็เป็นน�ำ้ ทีจ่ ะใช้สำ� หรับการเกษตร ใช้บริโภค ได้ทีเดียว มีปัญหาอยู่ที่ว่าจะท�ำให้ตกลงมาได้หรือไม่ การที่จะท�ำให้ตกลงมา อย่าไปนึกว่าจะเอาลงมาสู้กับคุณฟลอสซี่ คือว่าจะให้จ�ำนวนมากมายอย่าง คุณฟลอสซี่ไม่ได้ เพราะเกี่ยวด้วยอุปกรณ์หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องของพลังของ ผู้ที่จะท�ำสู้ธรรมชาติไม่ได้ แต่ว่าจะสามารถท�ำให้ลงมาได้ ซึ่งได้แสดงให้เห็นแล้ว ว่าลงได้ในทีท่ ไี่ ม่ควรจะลง คือในทีท่ ตี่ ามธรรมชาติไม่นา่ จะลงได้ และในสองสามวันนี้ ที่ผ่านมาแล้วนี้ก็ก�ำลังปฏิบัติอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย วันนี้ก็ปฏิบัติอยู่ ขอชีแ้ จงในขณะนีว้ า่ ถ้าคิดว่าเพราะปฏิบตั ฝิ นเทียมทีพ่ ษิ ณุโลก สุโขทัย จึงท�ำให้ฝนตก ทีก่ รุงเทพฯ เช่นนีก้ อ็ ย่าเชือ่ เพราะว่าถ้าท�ำฝนเทียมแล้วตกอย่างขนาดหนักอย่างทีต่ ก ที่กรุงเทพฯ ได้ พวกปฏิบัติฝนเทียมก็จะดีใจมาก แต่ว่าการปฏิบัติที่พิษณุโลกและ สุโขทัยนั้นไปปฏิบัติมาสองครั้งแล้ว แล้วขอมาแจ้งผลของการปฏิบัติฝนเทียมนี้ว่า เป็นอย่างไรบ้าง ในท้องที่สองจังหวัดนั้น เมื่อเดือนกรกฎาที่แล้วมีความแห้งแล้ง เป็นอย่างยิ่ง ฝนตกเป็นจ�ำนวนน้อยที่สุด ตามที่ควรจะตกก็ไม่ตก จึงได้ขอให้ท�ำ ฝนเทียมนาที่พิษณุโลกก่อนที่จะท�ำฝนเทียมท�ำได้เพียง ๔๔% และอาจเสียไป ทั้งหมดก็ได้ เพราะข้าวขึ้นมาแล้วไม่มีน�้ำเลี้ยงต้น ส่วนข้าวโพดในท้องที่ต่าง ๆ ใน จังหวัดพิษณุโลกมีทั้งหมด ๔ แสนไร่ ก็ก�ำลังจะตาย ได้ท�ำฝนเทียมเป็นระยะสั้น ๆ สองครั้ง ปรากฏว่าข้าวโพดทั้ง ๔ แสนไร่สามารถที่จะฟื้นขึ้นมาได้ จะเป็นผล

104


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ขึ้นมาได้ ๔ แสนไร่นี้ เขาค�ำนวณคร่าว ๆ ว่าเป็นเงินมูลค่า ๕๖ ล้านบาท ซึ่งถ้าไม่ได้ท�ำฝนเทียมก็จะตายไปหมด ส่วนนาในจังหวัดพิษณุโลกสามารถท�ำได้ จ� ำ นวนจาก ๔๔ ขึ้ น มาเป็ น ๗๗% ซึ่ ง ก็ นั บ ว่ า เป็ น เงิ น เป็ น ทองไม่ ใช่ น ้ อ ย มาตอนหลังนี้ฝนก็ไม่ตกต่อไป เลยได้ ปฏิ บัติ ฝ นเที ย มอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ในระยะนี้ เข้าใจว่าในท้องที่ทั้งสองจังหวัดจะสามารถท�ำนาและพืชไร่ต่าง ๆ ได้จ�ำนวน ประมาณ ๘๐% ที่ท�ำฝนเทียมนี้ก็เป็นทางประทังให้ต้นข้าวและพืชผลต่าง ๆ ตั้งตัวขึ้นมาได้โดยที่ไม่ตายไปกลางคัน และเป็นการคอยฝนธรรมชาติที่เราก็หวังว่า จะมาอีกในท้องที่สองจังหวัดนี้ ฉะนั้นฝนเทียมนี้ก็ได้ผลดีเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าไม่ได้ผล และจะเป็นทางหนึ่งที่จะท�ำให้เกษตรกรรมในเมืองไทยสามารถที่จะมีความ ก้าวหน้าได้ แม้ดินฟ้าอากาศจะไม่อ�ำนวย ก็ท�ำให้มานึกถึงว่าโครงการเศรษฐกิจ ของชาติทอี่ าศัยเกษตรกรรมของส่วนรวมของทัง้ ประเทศ เกษตรกรรมนีต่ อ้ งอาศัย วิชาการทางเกษตร วิชาการทางชลประทาน คือต้องอาศัยทั้งพืชที่ดีทั้งวิชาการ ในด้านการปลูกพืชที่ดี และอาศัยชลประทานคือการให้น�้ำที่ดี ถ้าตั้งโครงการ เศรษฐกิจทีด่ จี ะต้องสร้างเขือ่ น สร้างคลองส่งน�ำ้ และท�ำการวิจยั ให้ดเี พือ่ ทีจ่ ะให้ได้ผล ทัง้ หมดนีก้ เ็ ป็นงานใหญ่จะต้องร่วมมือกันทัง้ หมด นักวิชาการต่าง ๆ จะต้องร่วมมือกัน ปฏิบัติการ ฉะนั้นต่อไปถ้าตั้งโครงการให้ดีเพื่อที่จะให้เช่นฝนเทียมมาช่วยประทัง ในระหว่างที่ชลประทานยังไม่เหมาะสม ก็เป็นการดีอย่างหนึ่ง หรือถ้ามีการ ชลประทานแล้ว ถ้าไม่มีฝน ก็ท�ำฝนเอาลงมาในอ่างเก็บน�้ำและเก็บเอาไว้ส�ำหรับ ช่วยเกษตรกร ทัง้ หมดนีจ่ ะต้องอาศัยผูท้ มี่ คี วามรูต้ า่ ง ๆ และหน่วยงานต่าง ๆ ทีป่ ฏิบตั ิ ฝนเทียมนี้ได้คิดขึ้นมาเพราะว่าในการปฏิบัติฝนเทียมได้อาศัยหน่วยราชการต่าง ๆ และบุคคลต่าง ๆ มากหลาย โดยที่เขาสามัคคีกัน ช่วยกันท�ำเพื่อภารกิจเสร็จ ต้องมีผทู้ มี่ วี ชิ าการในด้านฝนเทียมโดยตรง ทัง้ เมือ่ มีวชิ าการแล้ว ก็ตอ้ งมีเครือ่ งมือ เช่น ทางกองทัพอากาศได้เอื้อเฟื้อเครื่องบินและเจ้าหน้าที่ ทั้งกองบินต�ำรวจด้วย นอกจากนัน้ เมือ่ จะปฏิบตั กิ ต็ อ้ งมีวชิ าการทางอุตนุ ยิ ม ทางกรมอุตนุ ยิ มก็ได้ปฏิบตั ิ ได้ให้ความรูแ้ ละให้ขอ้ มูลต่าง ๆ ทางกระทรวงเกษตรก็ได้ให้สภาพการณ์ทางเกษตร ทางชลประทานก็ให้สภาพการณ์ทางน�ำ้ ทางกระทรวงมหาดไทยและส่วนปกครอง

105


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ก็ได้ให้ความร่วมมือในการจัดเจ้าหน้าที่ที่จะส�ำรวจ ทางกองสื่อสารก็ได้ช่วยให้ ข้อมูลต่าง ๆ นั้นไปถึงเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อที่จะให้ปฏิบัติโดยสอดคล้องกัน ทัง้ หมดนีท้ ำ� ให้คดิ ถึงว่า ถ้าเราอยากทีจ่ ะท�ำให้บา้ นเมืองเจริญเราจะต้องร่วมมือกัน ทุกด้านทุกคน คนที่มีความรู้ต้องช่วยกันไม่ใช่ว่าฝนตกที่แห่งหนึ่ง ท�ำให้เกิด ความเดือดร้อนแล้ว ก็บอกว่าฝนไม่ดี แต่วา่ ต้องนึกถึงว่าต้องช่วยกันเพือ่ งานส่วนใหญ่ ของบ้านเมืองคือการก้าวหน้าของส่วนรวม ทั้งหมดนี้ก็ได้คิดมาจากฝนที่ตกมา ท�ำให้สมองไปสะกิดอยู่ที่วงจรเกี่ยวข้องกับน�้ำกับฝน และก็เมื่อไปจากฝนก็ไปถึง พืชผลต่าง ๆ ที่จะมี เลยท�ำให้วันนี้มาพูดไม่เป็นโอวาท กลายเป็นการพูดเรื่องฝนฟ้า และเรื่องการท�ำให้ฝนลงมา เรื่องฝนลงมาแล้วเมื่อมีมากเกินไปก็เกิดน�้ำท่วม น�้ำท่วมแล้วก็เกิดลุยน�้ำ ถ้าลุยน�้ำตามถนนใช้รถที่หนัก ก็จะตะกุยน�้ำตะกุยถนน พร้อมกันขึ้นมา ละเลงขึ้นมาเป็นน�้ำโคลน และน�้ำโคลนนั้นก็ประกอบด้วยดิน ดินก็อยู่ใต้ถนน ก็หมายความว่าเป็นหลุมก็เป็นความเดือดร้อน ทั้งหมดนี้ก็ขอให้ ไปพิจารณาเอาเอง เพราะเวลานี้น�้ำมันขุ่น และที่พูดนี้อาจขุ่นด้วยเหมือนกัน เพราะว่าสมองเต็มไปด้วยน�ำ้ และทีพ่ ดู ออกมาก็คอ่ นข้างไม่คอ่ ยชัดเจน แล้วก็เข้าไป ในหูของท่าน เข้าไปในสมอง ก็ท�ำให้อาจไม่เห็นจุดประสงค์ที่พูดออกมา แต่ขอ บอกใบ้ว่าจุดประสงค์คือเพื่อที่จะปลอบโยนท่านทั้งหลายไม่ให้บ่นมากเกินไป แล้วก็นึกถึงว่าสิ่งที่มาจากสวรรค์คือฝนที่ตกมานั้นเป็นทั้งคุณทั้งโทษ เช่นเดียวกับ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นทั้งคุณทั้งโทษ แต่ว่าถ้ามาใช้ในทางที่ถูกต้องและ ด้วยความร่วมมือของทุกคน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ก็จะท�ำให้สิ่งที่ตกลงมา จากสวรรค์นเี้ ป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ สิง่ ทีต่ กมาจากสวรรค์มใิ ช่เพียงแต่ฝน หรือน�้ำ มีทุกอย่าง สิ่งอื่นเช่นความรู้ เช่นปัญญา ก็เรียกว่าตกมาจากสวรรค์ แล้วแต่ใครจะมารับ ส�ำหรับมาใช้ที่ถูกที่ต้อง ก็ขอให้ท่านทั้งหลายน�ำความคิด อันขุ่นนี้ไปแยกแยะและพยายามที่จะคิดว่าความคิดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน ทั้งหลายหรือไม่ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นโอวาทตามค�ำขอของนายกสโมสร เมื่อถือว่า ที่พูดนี้เป็นโอวาทได้โดยที่ท่านทั้งหลายไปแปรรูปในสมองของท่านเองให้เป็น โอวาท

106


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ก็ได้ปฏิบตั กิ ารมาอย่างหนึง่ แล้วทีข่ อร้อง ต่อไปก็เป็นเรือ่ งของแสดงดนตรี และการให้พรในที่สุด วันนี้ในการแสดงดนตรีก็เป็นเช่นกับทุกปี อาจดีกว่าทุกปี ก็ได้ (เสียงฮา) เพราะว่าพวกเราเป็นผู้ที่เล่นดนตรีได้ดีมาก แล้วก็ดีขึ้นทุกปี เข้าใจว่า นึกว่าเป็นอย่างนั้นตามความคิดสากลนิยมที่ว่าเมื่อนับล่วงปีล่วงไปก็ท�ำให้มีการ พัฒนาก้าวหน้าทุกปี แต่ส่วนตัวขอกระซิบบอกว่าไม่ค่อยเชื่อนัก (เสียงฮา) เพราะว่าความก้าวหน้าเสริมขึ้นไปทุกปี แต่ทางศิลปะหรือทางปัญญานี้มันอาจ ถอยไปก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามวันนี้รับรองว่าดนตรีดี เพราะว่าถ้าวงดนตรีที่อยู่ ข้างหลังนีไ่ ม่ดกี ม็ อบหน้าทีใ่ ห้วงดนตรีทอี่ ยูข่ า้ งนี้ (เสียงฮา) ซึง่ สะดวกมากส�ำหรับเรา ทีม่ าแสดงดนตรี เพราะทุกปี ๆ มาแสดงแล้ว แม้จะแสดงไม่ดี ก็ไม่ทราบจะโยนกลอง ให้ใคร ก็ปีนี้ความสามารถอย่างก็ตาม เล่นไม่ดีก็โยนกลองให้ทางนี้เล่นก็สะดวกมาก อีกอย่างหนึ่งในปีนี้ในเรื่องของโฆษกก็มีปัญหาอยู่ เพราะว่าเป็นโฆษกที่มีอยู่ ก็มีเหลือน้อย คือว่าความหนุ่มน้อย (เสียงฮา) แล้วก็เมื่อหนุ่มน้อยก็อาจมีความรู้สึกว่า น้อยใจมาก เลยต้องเชิญโฆษกและแต่งตั้งโฆษกเป็นโฆษก ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าว่า ขอตั้งท่านผู้นี้เป็นโฆษกตลอดกาลจะดีหรือเปล่า เพราะว่าถ้าบอกว่าไม่ตั้ง เป็นโฆษกตลอดกาลเดี๋ยวเกิดน้อยใจบอกว่าลาออก ณ บัดนี้ (เสียงฮา) จะไม่มี โฆษกเลย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อตั้งเป็นโฆษกแล้วท่านก็คงมารับหน้าที่เป็นโฆษก ส่วนโฆษกอีกคนซึ่งเคยได้รับการแต่งตั้งโดยประชามติก็เกิดลาออกตามสมัย นี่ก็ ไม่ทราบว่าจะท�ำอย่างไร เพราะว่าตามสมัยนี้ก็มีการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ก็ล�ำบาก เลยยัดเยียดให้โฆษกใหม่...แต่วา่ ยังไม่บอกว่าโฆษกใหม่นคี้ อื ใคร เพราะว่าถ้าบอกแล้ว โลกจะแตก (เสียงฮา) แต่ว่าโฆษกใหม่ที่กะไว้นี้ที่นึกว่าจะให้เป็นโฆษกก็เพราะว่า ไหน ๆ มาแล้วก็จะต้องเปรี้ยวปาก ต้องพูดต้องแสดง ต้องท�ำอะไรอยู่ ไหน ๆ จะ ต้องการแสดงแล้วก็เลยให้เป็นโฆษกเสียเลย จะได้ไม่เสียก�ำลังไปเดีย๋ วก็คงโผล่มาเอง ไม่ต้องเชิญ ไม่ต้องเชื้อเชิญก็คงออกมาเองแล้ว ก็เพียงแต่เชิญโฆษกเดิม ผู้ที่อาจ ต้องมีการเชื้อเชิญ เพราะว่าถ้าไม่เชิญเดี๋ยวไม่ออก ก็ขอเชิญโฆษกที่ว่านี้ออกมา ส่วนโฆษกที่นี่ต้องเชิญ ยังไม่เชิญ จึงขออย่าเพิ่งออกมา (เสียงฮา) ตอนนี้ก็ขอมอบ หน้าที่ให้แก่โฆษกแล้วแต่โฆษกจะอารัมภบทอะไรก็เชิญ (เสียงปรบมือ)

107


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชด�ำเนิน มายังเวทีหอประชุมจุฬาฯ ในวันทรงดนตรีส่วนพระองค์เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖

นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลถวายรายงานต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

108


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารกับนิสิต ซึ่งศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ เป็นโฆษกของงานวันทรงดนตรีส่วนพระองค์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ ทรงซองสามสายในวงดนตรีไทยของ ส.จ.ม. ซึ่งบรรเลงสลับกันกับการบรรเลงเพลงของวงดนตรี อ.ส.ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวงดนตรี C.U. Band ของ ส.จ.ม.

109


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซกโซโฟน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ขณะชมการบรรเลงเพลง

110


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๑๘ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี๑๙ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖

ในการมาในวันดนตรีจฬุ าฯ วันนีก้ ม็ าด้วยความมัน่ ใจอย่างยิง่ และก็ขอสัง่ ให้ท่านทั้งหลายได้นั่งเพื่อให้เรียบร้อยก่อน ทีม่ คี วามมัน่ ใจมากและกล้าทีจ่ ะสัง่ ท่านทัง้ หลายให้นงั่ ก็มเี หตุผล ได้อาศัย สถิติและประกาศของเทศบาลนครกรุงเทพ (เสียงฮา) สถิติคือสถิติน�้ำฝนที่ลงมา เมื่อปีที่แล้วในเจ็ดวันก่อนวันดนตรี มีฝนลงมาเกิน ๒๐๐ มิลลิเมตร ในปีนี้สถิตินี้ ได้ลดลงมาเหลือประมาณ ๑๐๐ มิลลิเมตร จึงนึกว่าน�้ำคงไม่ท่วม และท่านทั้งหลาย จะนั่งได้ปลอดภัย (เสียงฮา) นอกจากนั้นทางเทศบาลกรุงเทพก็ได้แจ้งไว้ว่า ต่อไปนี้ จะไม่มนี ำ�้ ท่วมถนนแล้ว ก็มาด้วยความสะดวก ฉะนัน้ วันนีจ้ งึ มีความมัน่ ใจ สบายใจ แน่ใจ ส�ำหรับความมั่นใจนี้เข้าใจว่าท่านทั้งหลายคงไม่ได้มีความมั่นใจนัก เพราะ ได้ทราบว่าในระยะนี้กลัวแฉะ จึงไม่เดินขบวน (เสียงฮา) ก็เป็นเหตุผลอย่างหนึ่ง เหมือนกันที่ไม่ควรจะเดินขบวน แต่ว่าเหตุผลอื่น ๆ ก็อาจมี ไม่ทราบ ทีน่ ายกสโมสรได้แจ้งว่ามีกจิ กรรมต่าง ๆ นอกมหาวิทยาลัย การเดินขบวน ก็เป็นกิจกรรมอย่างหนึง่ (เสียงฮา) แต่วา่ ก็ยงั ไม่ขอกล่าว เพราะว่ากิจกรรมทีไ่ ด้ทำ� ในด้านสังคม ในด้านการศึกษาก็ได้กระท�ำมาตลอดปี และได้ทราบว่าผู้ที่ก�ำลัง ศึกษาอยู่ก็แสวงหาความรู้ประสบการณ์ เพื่อที่จะมาประกอบกับวิชาการที่ ก�ำลังเรียนอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เป็น ประโยชน์ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ งานต่าง ๆ ก็ เพื่อที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้กล่าวไว้คือความผาสุก ความร่มเย็นของ ประชาชนคนไทย ซึ่งแต่ละคนที่อยู่ในนี้ก็ล้วนเป็นประชนชนคนไทยเหมือนกัน

เรียบเรียงจากพระสุรเสียงที่ได้บันทึกไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ไปทรงดนตรีและพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๘ ๑๙

111


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ไม่ใช่วา่ ขึน้ ชือ่ ว่าเข้ามาในหอประชุมนีก้ ก็ ลายเป็นคนอืน่ ไม่ใช่คนไทย ฉะนัน้ การที่ ได้ท�ำตัวได้ปฏิบัติงานมาตลอดปีก็ขอชมเชย มาถึงการท�ำงานหรือปฏิบัติการนั้น ก็ได้บอกว่าประสบอุปสรรคต่าง ๆ จนท�ำให้มีความท้อถอยบ้าง ก็เข้าใจ เพราะว่า เราจะท�ำอะไรมันก็มีส�ำเร็จบ้างไม่ส�ำเร็จบ้าง ถ้าไม่ส�ำเร็จก็มีสองทางที่จะเลือกได้ คือ ท้อใจทางหนึ่ง และอีกทางหนึ่งก็คือค้นคว้าต่อ ปฏิบัติต่อไปจนกระทั่งส�ำเร็จ เรียบร้อย ด้วยวิชาการ ด้วยความอดทน ด้วยความกล้าหาญ และด้วยความ รอบคอบ แต่ที่เข้าใจจากค�ำพูดของนายกสโมสรนั้น ก็เข้าใจว่าคงได้ท�ำเช่นนี้แล้ว ก็ได้คิดพิจารณาอยู่แล้ว เพราะว่าได้บอกว่าใช้สมอง ใช้สมองแล้วก็ควรจะได้พบ วิธีการ และการท้อถอยนั้นก็ไม่ใช่ท้อถอยเต็มที่ คือท้อถอยบ้าง ฉะนั้นก็ที่บอกว่า ท้อถอยก็ไม่เป็นห่วงนัก แต่การแก้ไขการท้อถอยนี่มันก็มีหลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดก็วิธี ทีใ่ ช้อยูแ่ ล้ว คือใช้สมองมาพิจารณาโดยรอบคอบว่าปัญหามีอะไรบ้าง ความต้องการ ของเรามีอะไรบ้าง เป้าหมายเรามีอะไรบ้าง อันนี้ก็อาจท�ำให้แต่ละคนรู้สึกว่า เป็นการเสียเวลาเหมือนกัน ไม่ใช่เรือ่ งทีจ่ ะมาเสียเวลา เดีย๋ วนีเ้ วลามีคา่ ต้องรีบท�ำ ถ้าไม่รีบท�ำเวลาจะผ่านไป แต่ด้วยเหตุนี้เองที่เราจะต้องพิจารณาด้วยความ รอบคอบ เพราะว่าถ้าเราพิจารณาด้วยความรอบคอบ แทนทีจ่ ะล่าช้าจะกลับท�ำให้ เร็วขึ้น เพราะท�ำแล้วแน่ ไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมตลอดเวลา ไม่ต้องถอย ไม่ต้องท้อ และไม่ท�ำให้คนอื่นต้องมาขัดขาเรา คือถ้าเราท�ำด้วยเหตุผล ถ้าเราท�ำด้วยความ ตัง้ ใจทีเ่ หมาะสม ตรงเป้าหมายทีเ่ ห็นชัดแจ้งด้วยวิธกี ารทีถ่ กู ต้องแล้ว คนทีจ่ ะขัดขาเรา ก็ไม่กล้า คนที่ขัดขาเราก็ท้อถอยเอง ไม่อยากที่จะมาเจอของที่ถูกต้อง พูดง่าย ๆ ว่ามาเจอของแข็ง คือของแข็งนั่นน่ะไม่ใช่อื่น คือความรอบคอบ ความมีเหตุผล ความมีความสุจริตใจ แน่ใจ และความมีพลัง มีก�ำลังของตัวเพือ่ ท�ำสิง่ ทีด่ คี อื เป้าหมาย ที่เหมาะสม ใครจะมาคัดค้านความแน่วแน่ในทางที่ดี ในทางที่เหมาะสมนี้ได้ ใครก็คัดค้านไม่ได้ จะมีก�ำลังทางกายเท่ า ใดก็ ไ ม่ ส ามารถที่ จะมาท� ำ ให้ พ ลั ง ของความรอบคอบ พลังของเหตุผลได้ พลังของการเล็งเป้าหมายที่เหมาะสม ที่สุจริตนั้นไม่มีอะไรมาท�ำลายได้ ฉะนั้นก็เป็นวิธีการที่จะไม่ต้องท้อถอยแม้แต่นิด แล้วก็ปีหน้าอาจรายงานว่าแม้จะมีทางที่จะท้อถอยก็ไม่ท้อถอย เพราะว่าถ้าเรา

112


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พิจารณาดูแล้ว เราท�ำอะไรที่ดีที่เหมาะสม ไม่มีอุปสรรค ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาไม่ใช่คนแก่ ส่วนมากเป็นผู้ที่ก�ำลังศึกษาเพื่อที่จะปฏิบัติการในชีวิตอนาคต ยังมีวิชาการน้อย จึงเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มพูนวิชาการ อาจยังมีประสบการณ์น้อย เพราะว่าอายุยงั ไม่มากนัก ทีบ่ อกว่าอายุยงั ไม่มากนัก บางคนก็อาจนึกว่าอายุขนาดนี้ ก็ควรจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็จริงผู้ใหญ่แล้ว แต่ว่าอายุในทางปฏิบัติการก็อาจน้อย จึงอาจท�ำให้เห็นว่าเราท�ำแล้วไม่ได้ผลเร็ว ๆ ก็จะท้อถอย แต่ว่าด้วยเหตุผลนี้เอง ต้องพิจารณาโดยรอบคอบว่า เรายังมีวชิ าแค่นแี้ ละมีอายุแค่นี้ เป็นการเสียเปรียบ หรือเปล่า ความจริงไม่ใช่เสียเปรียบ เป็นการได้เปรียบ เพราะว่าถ้ามาพิจารณาแล้ว ด้วยความรอบคอบจริง ๆ ว่า เรามีเวลา เรามีเวลาที่จะปฏิบัติให้ได้ถึงเป้าหมายได้ เพราะเรายังมีชวี ติ ข้างหน้าอีกมาก ส�ำคัญทีส่ ดุ คือ เวลานีเ้ รามีอดุ มคติ เรามีเป้าหมาย ที่แจ่มแจ้ง มีความตั้งใจที่จะท�ำให้บ้านเมืองของเราซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเราเป็นที่ อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ร่มเย็น เราต้องรักษาอุดมคตินี้ไว้ หมายความว่าจะต้องฝึกฝน จิตใจให้เข้มแข็งว่าเดีย๋ วนีเ้ รามีอดุ มคติดว้ ยความสุจริตใจ อย่าให้อดุ มคตินบี้ นิ หายไป แล้วก็ถ้าไม่ระวังมันบินหายไปได้ ฉะนั้นจะต้องตั้งจิตตั้งใจเดี๋ยวนี้ให้รักษาอุดมคติ นี้ไว้ ส�ำหรับอนาคตถึงจะดีแน่แล้วก็ไม่ต้องให้ศีลให้พรอะไรเลย ให้ทุกคนตั้งจิต ให้เข้มแข็ง และหวังว่ารักษาอุดมคตินี้ต่อไปอีกในอนาคต เมื่อมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทุกวัน มีอายุมากขึ้นทุกวัน ให้รักษาอุดมคตินี้ได้ไว้ คือต้องให้ศีลให้พรตัวเองว่าให้ รักษาอุดมคตินี้ไว้เป็นเวลาสักสามสิบสี่สิบปีข้างหน้า จุดหมายที่วางเอาไว้จะต้อง บรรลุผลแน่นอนไม่มีปัญหาไม่มีการสงสัยใด ๆ เลย ที่พูดมานี้ก็เป็นเกร็ดหรือเป็นวิธีการที่จะขจัดความท้อถอยด้วยการ ตั้งจิตใจให้ดีและด้วยการใช้ความคิดพิจารณาที่รอบคอบอย่างเต็มที่ ความจริง ความท้อถอยนั้นก็มีกันได้ทุกคน ไม่ใช่เฉพาะท่านทั้งหลายผู้เป็นนักศึกษา แต่ว่า คนทั่ว ๆ ไปที่อื่นที่ก�ำลังปฏิบัติการอยู่ ทั้งในด้านพลเรือนทั้งในด้านทหาร ทั้งใน ด้านป้องกันประเทศ ทั้งในด้านสร้างประเทศ ดูแลความเรียบร้อยนั้น มีคนที่ดี ๆ ที่เขาตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้เหมาะสมให้ถึงเป้าหมายอีกมาก หมายความว่า ท่านทั้งหลายมีเพื่อนร่วมชาติที่ร่วมอุดมคติไม่ใช่น้อย แต่อาจไม่ทราบก็ได้ ฉะนั้น ก็เพือ่ ความอุน่ ใจอีกขัน้ หนึง่ ขอให้ทา่ นทราบว่า ในเวลานีน้ อกจากผูท้ ตี่ งั้ ใจท�ำงาน

113


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ตั้งใจที่จะปฏิบัติงานส�ำหรับประเทศชาติที่อยู่ในห้องนี้ ในหอประชุมนี้ หรือ ในมหาวิทยาลัยนีย้ งั มีนอกมหาวิทยาลัยอีกทีก่ ำ� ลังปฏิบตั กิ ารอยู่ ขอให้ถอื ว่ามีคนอืน่ ที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ และขอให้ระลึกถึงและพยายามที่จะสร้างสรรค์ ความสามัคคีนี้ให้ดีขึ้น นี่มาถึงกิจกรรมที่เมื่อกล่าวแล้วก็ต้องกล่าวต่อ เรื่องค�ำว่าเดินขบวน อันนี้ ก็อาจดูฟุ่มเฟือยที่จะพูดอยู่เรื่อย แต่ว่าที่จะต้องพูดก็ต้องอ้างนายกสโมสรอีก เพราะบอกว่าค�ำพูดต่าง ๆ ที่พูดที่ถือว่าเป็นโอวาทนี้ก็ได้ไปถูกอ้างอิงในที่ต่าง ๆ ในเวลาต่าง ๆ เช่นที่อ้างอิงที่ได้ยินใครต่อใครเขาอ้างอิงอยู่ว่า เวลาเดินขบวนแล้ว ก็จะเป็นใครก็ตามเดินขบวน เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องไปบอกว่าให้รู้ว่าในหลวงบอกว่า ไม่ให้เดินขบวน ให้ใช้สมอง ไม่ให้ใช้เท้า นี่ก็ไปอ้างอิงจริง ๆ แต่อ้างอิงอย่างนี้ มาก ๆ หน่อย เราก็สกึ หรอไปเหมือนกัน เคยบอกคราวก่อนนีท้ เี่ ดินกันอย่างดุเดือด ว่าให้ใช้สมองดีกว่าใช้เท้า เพราะว่ารองเท้าจะสึก ความสึกหรอที่ถูกอ้างอิงนี้ รองเท้าไม่ได้สึก แต่ว่าอะไรไม่ทราบสึกหรอ แต่ว่าสึกหรอไป ความสึกหรอนี่ก็มา เปิดใจให้ดวู า่ ให้รวู้ า่ ถูกอ้างอิงว่าไม่ให้เดินขบวน เลยท�ำให้บางพวกเขาบอกว่าน่าท้อใจ เวลามีกิจกรรมอะไรก็ต้องถูกปรามอยู่เสมอ ห้ามปรามอยู่เสมอไม่ให้เดิน ไม่ดี แล้วก็ไม่อา้ งเหตุผลอืน่ อ้างเหตุผลบอกว่ามีพระบรมราโชวาทให้ใช้สมอง ไม่ใช้เท้า ก็ อ าจน้ อ ยใจก็ ไ ด้ เพราะว่ า ก� ำ ลั ง ใช้ ส มองอยู ่ แล้ ว ก็ ใช้ เ ท้ า ด้ ว ยเหมื อ นกั น แต่อย่างไรก็ตาม พยายามที่จะใช้สมองมากกว่าเท้า เพราะว่าถ้าเดิน ถึงเวลานั้น ไม่ใช่หน้าฝน ไม่แฉะสักนิด แต่ก็ท�ำให้รองเท้าเสียไป ว่าอย่างไรก็ตาม ก็ถูกอ้างอิง แล้วก็ถูกหาว่าปราม จึงต้องมาบอกให้ทราบว่าท�ำไมปราม ก็จริง ก็ปราม ไม่อยาก ที่จะให้เดินไปก็เพราะว่าเห็นแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวม และเห็นแก่เป้าหมาย ของบ้านเมือง ก็เคยบอกแล้วว่า ถ้ามีโอกาสที่ส�ำคัญหรือที่จ�ำเป็นก็เดินเถิด ไม่เคย บอกว่าไม่ให้เดิน (เสียงฮา) มีเท้าส�ำหรับเดิน แล้วก็ทเี่ ขาท�ำนายเอาไว้วา่ ในอนาคต ถ้าคนเรามีแต่เครือ่ งมือทุน่ แรง แทนทีจ่ ะมีรปู ร่างเป็นคน ก็จะกลายเป็นรูปกลม ๆ (เสียงฮา) แล้วจะมีคล้าย ๆ แขน แล้วมีนิ้วออกมากดปุ่ม ก็อาจเป็นอย่างนั้นก็ได้ แต่เมือ่ เรามีรา่ ยกายอย่างนี้ มีขาทีจ่ ะเดินก็เดิน เดินได้ในโอกาสอันสมควร ทีป่ ราม ก็มเี หตุผลหลายอย่าง ทีบ่ อกว่าอย่าฟุม่ เฟือย เพราะว่าชักจะเอือมกันถ้าเดินฟุม่ เฟือย

114


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พลังที่เราออกในการเดินนึกว่าจะมาสร้างพลังของนักศึกษา มันกลับหายไป คนเขาบอกว่าเอะอะอะไรก็เดินมาสนุกสนาน แล้วก็การจราจรติดขัดเสียเศรษฐกิจ ท�ำให้การท�ำงานของบ้านเมืองหยุดชะงัก ท�ำให้ตอ้ งเสียก�ำลังของเจ้าหน้าทีต่ า่ ง ๆ ที่จะให้ความสะดวกแก่ท่านนักศึกษา แล้วก็ต้องดูแล ต้องระดมเจ้าหน้าที่มา นักศึกษาก็นอนข้างหนึ่ง ต�ำรวจก็นอนอีกข้างหนึ่ง (เสียงฮา) มันก็เสียก�ำลังเปล่า ๆ อันนีถ้ งึ ว่าเตือน จะว่าปรามก็ไม่ใช่ ทีแ่ ท้กเ็ ตือนว่าออกก�ำลังแล้วก็อย่าให้เสียเปล่า แล้วก็ที่ท�ำให้พลังเสียเปล่าไปคือพลังนักศึกษานี่เองก็เสียเปล่าเพราะว่าพลัง นักศึกษานีม่ าจากอะไร มาจากความนับถือของประชาชนทีม่ ตี อ่ ผูท้ อี่ ยูใ่ นขัน้ ทีเ่ ป็น ผู้ใช้สมอง ผู้ที่น่านับถือ แต่ว่าประชาชนเขาก็อาจเห็นว่าประหลาดอยู่ ใช้สมองที่ จะมาสั่งประสาทเท้า แทนที่จะสั่งประสาทที่สมองเองเพื่อที่จะคิดค้นอะไรต่าง ๆ อันนี้ท�ำให้ประชาชนเขาอาจเสื่อมความนับถือ เมื่อเสื่อมความนับถือแล้วพลังก็ หมดลงไป คือเขาเห็นกันว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่ท�ำนี้อาจไม่ได้ท�ำรอบคอบนัก และ เวลาเสร็จแล้วก็ต้องเก็บเศษกระดาษที่ทิ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย ก็ท�ำให้ดู แล้วไม่น่านับถือนัก แต่ว่าถ้าท�ำอย่างดีอย่างคิดรอบคอบและโดยมีเหตุผล ก็จะไม่เสียก�ำลัง ทีนี่ที่เขาพูดถึงว่า ท�ำไมเตือนแก่นักศึกษา เข้าข้างรัฐบาล คือ เข้าข้างเจ้าหน้าที่ กิจการเดินขบวนโดยมากทีผ่ า่ นมาก็มสี ามฝ่าย มีฝา่ ยผูท้ เี่ ดินขบวน มีฝ่ายที่ถูกเดินขบวน และมีฝ่ายที่จะต้องมีหน้าที่บริการทั้งฝ่ายเดินขบวนและ ถูกเดินขบวน ก็เดือดร้อนกันทั้งนั้น ฝ่ายเดินขบวนก็หิวข้าว หิวข้าวหรือไม่ก็ไม่ทราบ ก็ต้องหาอาหาร ฝ่ายถูกเดินขบวนก็ต้องการที่จะไม่ให้เดินขบวน ฝ่ายห้ามปราม ก็รับค�ำสั่งทั้งสองฝ่าย ปวดหัว ฉะนั้นที่ได้ตักเตือนไว้บ้างว่าอย่าให้ฟุ่มเฟือยนัก ก็เพราะว่ามันเสียก�ำลังไปแยะ แล้วก็ไม่ใช่ว่าเตือนทางฝ่ายนักเดินเท่านั้นเอง ก็พูดทั้งนั้นแต่ว่าฝ่ายที่เดินก็อาจมีจ�ำนวนมากอยู่ ก็เลยเข้าใจว่าห้ามปรามเฉพาะ ฝ่ายเดิน แต่ว่าถ้าพูดตามจริงแล้วก็ได้ตักเตือนทุกฝ่าย ได้พยายามที่จะให้ระงับเหตุ ไม่ให้เกิดเรือ่ งทีไ่ ม่พงึ ปรารถนาทุกครัง้ เพราะว่าบางทีแม้จะได้ตามจุดประสงค์แล้ว ก็ยังเดินต่อ แล้วก็ถ้าได้แล้วแล้วเดินต่อ ก็จะท�ำให้เสีย ท�ำให้ผลที่ได้แล้วจะไม่ได้ เพราะโมโหกัน เมื่อโมโหกันก็อาจท�ำให้เกิดผลอีกอย่างหนึง่ คือปะทะกัน ไม่ทราบ อาจมีคนต้องการให้ปะทะกัน แต่ว่าส�ำหรับพวกเราทุกคน ทั้งผู้เดิน ผู้ถูกเดิน และ

115


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ผูอ้ ยูก่ ลางรับค�ำสัง่ ก็ไม่อยากให้เกิดนองเลือด เพราะทุกคนมีมากหรือน้อยก็ตาม ย่อมมีอยู่ว่าไม่อยากให้บ้านเมืองเป็นจลาจล และเมื่อบ้านเมืองเป็นจลาจลมันก็ ต้องเสียเมืองแน่ ต้องพังแน่ ฉะนัน้ การทีต่ กั เตือนก็มจี ดุ ประสงค์อยูค่ อื ความมัน่ คง ร่มเย็นของบ้านเมืองนี่เอง แต่ว่าถ้าเห็นว่าการตักเตือนเป็นสิ่งที่น่าน้อยใจก็เชิญ น้ อ ยใจเถิ ด ผู ้ พู ด ไม่ น ้ อ ยใจ เพราะว่ า ถื อ เป็ น หน้ า ที่ และท� ำ เต็ ม ที่ ที่ จ ะดู ผลประโยชน์ตามที่ผู้เดินจะได้นั่นเอง คือดูแลผลประโยชน์ของผู้เดิน อันนี้พูด กลับไปกลับมาดีมาก (เสียงฮา) แต่ก็คงเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และถ้า คิดถึงและวางแผนที่รอบคอบแล้วจะไม่เกิดเรื่องขึ้น ในรอบปีที่ผ่านมากิจกรรม ในด้านนีน้ ะ่ มีมากและเกิดผลดี และเป็นตามลักษณะทีว่ า่ ไว้หลายอย่าง หมายถึง ว่าการแสดงปฏิกิริยาขึ้นมาก็มีเหตุผล และเมื่อแสดงปฏิกิริยาขึ้นมาแล้วได้ ผลส�ำเร็จ มันหยุดยาก แล้วก็เลยไป การที่แสดงปฏิกิริยาขึ้นมาแล้วรู้จักหยุด และได้ผลแล้วมันก็ดี แต่มนั ก็ไม่คอ่ ยครึกครืน้ ไม่คอ่ ยดัง แต่อย่างไรก็นา่ จะดีกว่า ก็ไม่ค่อยกล้าที่จะยกตัวอย่างประเด็นใด เพราะเดี๋ยวกลายเป็นอภิปรายไป แล้วนี่ก็ได้รับเชิญมา... (เสียงฮา) ทางมหาวิทยาลัยเชิญมาให้อภิปราย อ้า ไม่ (เสียงฮา) ไม่ได้เชิญมาให้อภิปราย เชิญมาให้เล่นดนตรี (เสียงฮา) แล้วก็มาพูดจา อะไรก็ไม่ได้เรียกว่าอภิปราย แต่ว่าเดี๋ยวกลายจะเป็นอภิปราย ทั้งมีผู้ฟังจาก ข้างนอกด้วย (เสียงฮา...ปรบมือ) แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะยกตัวอย่างที่ผ่านมา ในสิ่งที่ได้ผลแล้ว แล้วก็ยังเลยเถิด ท�ำให้เกิดวุ่นวายขึ้นมาได้ ก็ตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่เดินกันเป็นขนานหนักเรื่องประกาศคณะปฏิวัติ ก็แสดงปฏิกิริยาที่ถูกต้องแล้ว ทุกคนเห็นด้วย และทางการก็ได้ลงท้ายก็เห็น และเห็นชัดเจนว่าก็ท�ำตาม ที่เห็นสมควร ทั้งนักวิชาการ ทั้งนักศึกษาก็ได้มีความคิดความเห็นที่ถูกต้อง ก็เป็นผล ทางการก็ระงับเรือ่ งอย่างเด็ดขาด อันนีก้ แ็ สดงให้เห็นว่า ก็ฟงั และปฏิบตั ิ ให้ถกู ต้องในสิง่ ทีอ่ าจผิดพลาดไป แต่วา่ ถ้ามาดูแล้วกิจการนัน้ ได้ผลแล้ว แต่กจิ กรรม ยังไม่เลิก ยังเลยไปถึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน แล้วก็ท�ำให้วุ่นวายอยู่ไปพักหนึ่ง อันนี้ ที่ท�ำให้แทนที่จะพลังนักศึกษาดีขึ้น กลับท�ำให้เป็นง่อยเลย ท�ำให้ไม่ค่อยดีต่อไปได้ นี่ก็ยกตัวอย่างขึ้นมา แล้วก็มาถึงตัวอย่างอันสุดท้ายนี้ คือที่ว่าอภิปรายก็ดี แล้วที่ระงับไม่อภิปรายกันเอง ก็อภิปรายพอสมควรแล้ว คือเดินพอสมควร

116


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ก็ไม่ค่อยจะเดินเลย เพราะว่าที่มีค�ำสั่งมา อาจไม่เข้าใจกันก็ได้ หมายความว่าทาง ฝ่ายออกก�ำลังก็ไม่เข้าใจ คนทีร่ บั ค�ำสัง่ ทีจ่ ะจ่ายค�ำสัง่ ออกมาก็อาจไม่เข้าใจ จนกระทัง่ ผูท้ รี่ บั ค�ำสัง่ ทีจ่ ะให้ปฏิบตั กิ เ็ ลยเข้าใจยาก และผูท้ จี่ ะต้องปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ หรือเป็น วัตถุแห่งค�ำสั่งก็เลยไม่เข้าใจเลย แต่ว่าในที่สุดก็เห็นได้ตามที่พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาทุกฝ่ายก็ได้ท�ำหน้าที่ แล้วก็ไม่ได้จ�ำเป็นที่จะเสียเวลาเรียนไปเดิน แล้วก็ เข้าใจกันได้ เรือ่ งราวนีก้ เ็ ห็นว่า ถ้าออกความเห็นต่าง ๆ ทีด่ ที เี่ หมาะสมทุกคนก็นา่ จะรับได้ แต่ว่าถ้าออกความเห็นที่ดีที่เหมาะสมแล้ว แล้วปฏิบัติให้มันเลยเถิด มันก็กลายเป็นท�ำให้ความเห็นที่ดีที่งามนั้นกลายเป็นมีมลทิน แล้วจะกลายเป็น เรือ่ งใหญ่ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่นา่ ฟังไปเลย ฉะนัน้ การปฏิบตั ติ นทีจ่ ะท�ำให้ไม่ตอ้ งมีทอ้ ถอย บ้าง หรือท�ำให้นกึ ว่าความส�ำเร็จไม่มี ก็ตอ้ งใช้ความรอบคอบยิง่ ขึน้ แล้วก็ขอย�ำ้ ว่า การใช้ความรอบคอบยิ่งขึ้นนั้น เราจะถึงเป้าหมายเร็ว เร็วกว่าถ้าไม่คิดรอบคอบ อันนี้ก็กลับมาถึงตอนแรกแล้ว ก็หมายความว่าเมื่อพูดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วก็กลับ มาที่เดิม ก็หมายความว่าครบรอบแล้ว ก็นับว่าวิ่งหนึ่งรอบหนึ่งรอบสนาม กี่เมตร ไม่ทราบ แต่ว่าก็เหนื่อยเหมือนกัน (เสียงฮา) ตามธรรมดาเวลามาอย่างนี้ก็ต้องระลึกถึงว่าท�ำไมมาวันนี้ ก็เป็นวัน พระราชสมภพทัง้ รัชกาลที่ ๕ ทัง้ รัชกาลที่ ๘ เราก็ตอ้ งมาระลึกถึงท่าน แล้วก็นกึ ถึง ว่ารัชกาลที่ ๕ ท่านทรงราชย์เป็นเวลานาน ท่านได้ทรงมีพระคุณอย่างยิ่ง ได้สร้าง บ้านเมือง ได้ท�ำให้เมืองไทยมีรากฐานที่มั่นคง มีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ และพวกเรา ทั้งหลายเป็นทายาทของท่าน ส�ำหรับรัชกาลที่ ๘ ท่านมีอุดมคติสูง ท่านตั้งใจที่จะ ปกครองบ้านเมืองให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้องตามหน้าที่ แต่ท่านก็ไม่ได้มีโอกาส ทีจ่ ะปฏิบตั มิ ากนัก เพราะต้องสวรรคตเสียก่อน แต่วา่ อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์ ทัง้ สองพระองค์นี้ ก็เป็นตัวอย่างเหมือนกันทีเ่ ราจะนึกถึง เรานึกถึงว่าต้องพยายามท�ำ รัชกาลที่ ๕ ท่านท�ำมาตลอดด้วยความเหน็ดเหนื่อยตลอดตั้งแต่พระชนม์น้อย จนกระทั่งสวรรคตเป็นเวลา ๔๒ ปี ส�ำหรับรัชกาลที่ ๘ ท่านก็มีพลังตั้งใจที่จะท�ำดี แต่ อ าจแรง เลยท� ำ ให้ ส วรรคตไป ฉะนั้ น ก็ ใ ห้ ร ะลึ ก ถึ ง พระราชประวั ติ ข อง ทั้งสองพระองค์ และถือเป็นสิ่งที่จะท�ำให้เรามีก�ำลังใจปฏิบัติ และมีเหตุผลที่จะ ท�ำให้เรายึดอุดมคติไว้ตั้งแต่ต้นจนปลายของชีวิตของเรา

117


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

มาถึงส่วนสุดท้ายที่นายกสโมสรฯ ได้กล่าวว่าปีนี้มีน้องใหม่มาเข้า ก็มาเข้าจริง ๆ (เสียงฮา) และในวันนี้ก็ต้องขอยืมตัว คือแทนที่จะเดินมาคอย อยู่ในนี้ ก็เดินเข้ามาพร้อมกัน แต่ว่าการขอยืมตัวนี้ก็ขอยืมตัวเป็นจ�ำนวน คือ ตัวบุคคลจะแบ่งแยกก็ไม่ค่อยได้ แต่ว่าก็ต้องแบ่งแยกเป็นสามส่วน หนึ่งส่วน เป็นแบบทีเ่ คยเป็นของพ่อของแม่ อีกส่วนหนึง่ ก็เป็นของวงดนตรีสากลของ ส.จ.ม. แล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็เป็นวงดนตรีไทย ก็เลยแบ่งเป็นสามส่วน (เสียงฮา) ฉะนั้น ที่ขอยืม ก็ขอยืมเพียงส่วนหนึ่งในสามมาใช้การข้างบนนี้ (เสียงฮา) แล้วก็อีก ไม่กี่วันข้างหน้าก็ต้องขอยืมตัวไปอีก คือจะส่งไปสวีเดน ส่งไปสวีเดนเป็นราชการ ไปในงานพระศพของพระเจ้ากุสตัฟที่ ๖ อดอล์ฟ ซึ่งสวรรคตมาเมื่อไม่กี่วันมานี้ และที่ส่งไปเพราะเหตุว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นมีพระคุณมาก ตั้งแต่ พระราชบิดาคือพระเจ้ากุสตัฟที่ ๕ ก็มีการติดต่อกับเมืองไทย รัชกาลที่ ๕ ได้เคยไปเยี่ยมประเทศสวีเดน และพระเจ้ากุสตัฟที่ ๕ ก็ยังจ�ำพระองค์ได้อยู่เสมอ จนกระทั่งกุสตัฟ อดอล์ฟที่ ๖ ก็ได้ระลึกถึง ที่เราควรจะระลึกถึงท่านก็เพราะว่า ท่านถือว่าประเทศไทยเป็นมิตร และพระราชวงศ์ไทยเป็นเสมือนพีน่ อ้ งกันโดยแท้ สนับสนุนกันตั้งแต่ต้น เช่นตัวอย่างว่า เมื่อบรมราชาภิเษกกุสตัฟที่ ๕ เป็นพระเจ้า แผ่นดิน และกุสตัฟที่ ๖ อดอล์ฟ เป็นผู้ส�ำเร็จราชการ เพราะว่าพระเจ้ากุสตัฟที่ ๕ ทรงพระชรามาก ก็ ไ ด้ ส ่ ง ตราสู ง สุ ด มาให้ เ พื่ อ เป็ น การแสดงความสั ม พั น ธ์ เป็นประเทศแรกเป็นปฐมฤกษ์ ฉะนัน้ แสดงให้เห็นว่าความผูกพันและพระคุณท่าน มีมาก จึงส่งลูกไปให้เป็นผู้แทนในงานนี้ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้ที่มีพระคุณ จึงต้องขอยืมตัวไปเป็นเวลาประมาณสีห่ า้ วัน แล้วก็เมือ่ กลับจากงานราชการเสร็จ แล้วก็จะกลับมาเรียนตามเดิม (เสียงปรบมือ) ที่ต้องแจ้งให้ทราบก็เพราะว่าเดี๋ยว จะแปลกใจว่าท�ำไมหายต๋อมไป (เสียงฮา) ก็เลยต้องมาแจ้ง แล้วก็ทแี่ จ้งก็เพราะว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วก็มีความรู้สึกว่าจะมาเข้ามหาวิทยาลัยนี้ก็ฝากเนื้อฝากตัวกับรุ่นพี่ ๆ ไว้ ก็รู้สึกว่าได้รับการดูแลอย่างดี ก็อุ่นใจ ฉะนั้นถ้าไปก็แจ้งให้ทราบ

118


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

เวลานี้ก็หมดการวิจารณ์ ค�ำกราบบังคมทูลของนายกสโมสรฯ แล้ว (เสียงฮา) ถ้าเป็นการอภิปรายก็ต้องให้คนอื่นมาพูดต่อ แล้วคนที่จะพูดต่อ ในที่ประชุมนี้ก็มีหลายคนอยู่ ก็มีผู้ที่ตั้งขึ้นเป็นโฆษก ก็พูดได้ คนไหนที่พูดไม่ได้ ก็ร้องเพลง แล้วคนไหนที่ถูกเรี่ยไรเงินก็อาจมาชี้แจงว่าไม่มีเงิน (เสียงฮา) บางคน ก็ขอเพลง ก็ต้องจ่ายเงิน บางคนถูกขอเพลงก็ต้องจ่ายเงินเพราะร้องไม่เป็น (เสียงฮา) บางคนก็ร้องเพลง อยากร้องเพลงก็ต้องจ่ายเงิน (เสียงฮา) เมื่อมี เหตุการณ์แปลก ๆ ต่าง ๆ อย่างนี้ก็คงต้องมีการชี้แจง แล้วก็อาจเป็นการพูดจา ที่ขัดหูกัน กลายเป็นโต้วาทะกันก็ได้ หรืออาจต้องชี้แจงนโยบาย หรือจะต้อง มาถกเถียงปัญหาต่าง ๆ ในอภิปรายก็ได้ ฉะนั้นก็ตอนนี้ชักเหงาต้องดู... ไม่ทราบ ว่าผู้ที่เป็นโฆษกอยู่ที่ไหน ก็ขอเชิญ... ก็ได้ปรากฏตัวแล้ว ไม่ต้องบอกว่าเป็นใคร เพราะว่าในฐานะโฆษกก็ได้แสดงตนมาหลายเวลาแล้ว ในฐานะอื่นก็ไม่ทราบ เป็นอะไร ก็ท่านทั้งหลายคงรู้จักดี เพราะว่ามีชื่อเสียงดีเป็นคนที่พูดตรงไปตรงมา เป็ น คนที่ เวลาไม่ พู ด ก็ ไ ม่ พู ด เลย เวลาพู ด ก็ พู ด ออกมาแล้ ว ก็ บ างที ก็ ไ ม่ ห ยุ ด (เสียงฮา) แต่ทพี่ ดู ก็ลว้ นเป็นสาระเสมอ ไม่มกี ารพูดเละเทะ มีแต่พดู เล่น (เสียงฮา) แล้วก็เวลาพูดเล่นก็ไม่ทราบว่าเล่นหรือจริงหน้าตาเฉย (เสียงฮา) อย่างไรก็ตาม ขอมอบให้ ม าพู ด เรื่ อ งราวต่ า ง ๆ ให้ เ พลิ ด เพลิ น แล้ ว ก็ ข อก� ำ ชั บ ฝากไว้ ว ่ า ถ้าพูดมากเกินไปก็ถอื โอกาสตบมือสักหน่อย หรือฮาสักหน่อย (เสียงฮา) ทางวงดนตรี จะได้มีโอกาสแสดงดนตรีบ้าง (เสียงฮา) แล้วเมื่อพูดก็อาจมีคนอื่นมาพูด ก็เป็น หน้าที่ของโฆษกที่จะน�ำโฆษกอื่นมา หรือน�ำคนที่นักพูดมา ต่อมาก็มอบหน้าที่ให้ โฆษกเป็นผู้ด�ำเนินอภิปรายในวาระต่อไปนี้

119


พระราชด�ำรัส

พระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พลเอก ประภาส จารุเสถียร อธิการบดี และคณาจารย์จุฬาฯ ขณะรอเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณหน้าห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนินมายังหอประชุมจุฬาฯ มีอธิการบดี คณาจารย์ และนิสิตเฝ้ารับเสด็จ ณ หอประชุมจุฬาฯ

121


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นจามจุรีบริเวณหน้าหอประชุมจุฬาฯ ซึ่งน�ำมาจากพระต�ำหนักไกลกังวล

นิสิต และคณาจารย์เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากทรงปลูกต้นจามจุรี ๕ ต้น บริเวณหน้าหอประชุมจุฬาฯ

122


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชด�ำรัสแก่นิสิต และคณาจารย์ที่หน้าหอประชุมจุฬาฯ ก่อนเสด็จพระราชด�ำเนินกลับในวันทรงปลูกต้นจามจุรี

123


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช๒๐ พระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ “วันนี้มาปลูกต้นไม้ ไม่มาท�ำอะไรอย่างอื่น แต่ต้นไม้นี่ส�ำคัญ ส�ำคัญ จริ ง ๆ คื อ ว่ า ทราบดี ว ่ า ต้ น ไม้ นี่ ชื่ อ ว่ า จามจุ รี ก้ า มปู นี่ ก็ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง มหาวิทยาลัยนี้ ก็ได้นำ� มาห้าต้น ห้าต้นนีไ้ ด้เลีย้ งตัง้ แต่เกิด คือว่าปีทแี่ ล้วไปทีห่ วั หิน แล้ ว ก็ ป ลู ก ต้ น ไม้ พวกนี้ ก็ เ กิ ด มาด้ ว ย เมื่ อ เกิ ด มาแล้ ว ก็ ส งสาร ก็ ต ้ อ งเลี้ ย ง เลี้ ย งจนเติ บ โตพอควรก็ เ ห็ น ว่ า โตแล้ ว ควรเข้ า มหาวิ ท ยาลั ย เสี ย ที แล้ ว ก็ มหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับที่นี่ เพราะว่าเขาเอ็นดูต้นจามจุรี ก็เชื่อว่าต้นไม้ ทัง้ ห้าต้นนี้ นิสติ ทัง้ หลายคงรักษาไว้ให้เติบโต ไม่ให้ลม้ ตายคือ ต้นไม้พวกนีก้ ค็ งจะ เป็นความส�ำคัญส�ำหรับมหาวิทยาลัยต่อไป เช่น ต้นก้ามปูนี่มีอยู่แล้วตั้งแต่สร้าง มหาวิทยาลัยคือ ดอกก็สชี มพู แล้วก็อกี อย่างหนึง่ ก็อย่าหมัน่ ไส้เกินไป คือว่าถ้ามัน ออกดอกแล้วก็ออกฝักก็อย่ากลัวเกินไป ตรงข้ามน่าจะเตือน คือเตือนใจว่า ถึงวาระนี้เราควรจะหมั่นเพียรมากขึ้น ซึ่งก็เชื่อนะ เชื่อว่าทุกคนคงหมั่นเพียร ตลอดปี ไม่ใช่ว่าเพียงแต่เวลาต้นไม้เตือน ก็ต้นไม้ทั้งห้าต้นนี่ก็คงอีกเป็นเวลา หลายปีอยู่ที่จะท�ำหน้าที่เตือนได้ เพราะว่ามันยังไม่ได้รับปริญญา อยู่ซะหลายปี ก็คงได้ปริญญาไปได้ไม่ใช่น้องใหม่ ก็ต้องพยายามรักษา ฝากเอาไว้เหมือนฝาก ผู้ที่ท่านเลี้ยงจนโตพอควรแล้ว อย่าให้ท่านต้องเสียใจ เพราะว่าเหมือนกัน ต้นไม้ ก็ตามคนก็ตาม เมื่อเลี้ยงแล้วก็รักและเอ็นดูอยากให้ดี แล้วก็นิสิตทั้งหลายก็บอก ได้ว่าก็เช่นเดียวกัน อยากให้ดีก็เอาต้นไม้มาเตือนเท่านั้นเอง”

ลานจามจุรีพระราชทาน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในศุภวาระที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดลานจามจุรีพระราชทาน, ๒๕๓๙. ๒๐

124


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

“เห็นถ้าจะพอแล้ว เราครึกครืน้ มา...อ้าว ยังไม่พอก็จะให้พดู เรือ่ งต้นไม้ หรือเรื่องคน คือ ถ้าพูดถึงต้นไม้ก็มีเรื่องเหมือนกัน ก็พอแต่ไม่สนุกนัก เรื่องคน ก็มีมากแต่อาจจะเสียดสีคนอื่นบ้าง เพราะว่าก็อดไม้ได้ถ้าพูดถึงคน ก็อาจจะ ท�ำให้คนบางคนอุ่นใจก็ได้ ตรงนี้น่ะก็คงไม่ค่อยหัวร่อแล้ว แต่เรื่องคนนั้นนะเอาไว้ วันหลังดีกว่า เพราะว่าวันนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งของคน เรือ่ งของต้นไม้ เรือ่ งของต้นไม้กม็ อี กี ในด้านวิชาการก็มี คือว่าต้นไม้นี่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แล้วก็บางทีก็ไม่เข้าใจ ท�ำไมรัฐบาลก็ขอให้ระวังป่าไม้ นี่ก็เป็นเรื่องวิชาการ คือถ้าเราตัดต้นไม้หมด หรือตัดขาย แต่ไม่ปลูกไม่บ�ำรุงต้นไม้ของเมืองไทยก็จะหมดไป แล้วก็จะแห้งแล้ง เราก็ต้องช่วยกันปลูกต้นไม้บ�ำรุงต้นไม้ นี่เรื่องวิชาการ เรื่องต้นไม้กับคน ถ้าใคร ชอบต้นไม้ ใครเอ็นดูต้นไม้ก็มีจิตใจที่ดี นี่พูดอย่างนี้คล้าย ๆ พูดที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ แต่วา่ ทีพ่ ดู อย่างนีก้ เ็ พราะว่า ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นนั่ เอง ที่ โ น่ น เขาทราบเพราะเขาเรี ย นโดยตรง เรื่ อ งต้ น ไม้ ที่ นี่ ไ ม่ ไ ด้ เรี ย นโดยตรง เรื่องเกษตรศาสตร์ ก็ขอฝากความคิดเหมือนกันท�ำให้คิดถึงว่า ท�ำไมการพูดเช่นนี้ อาจจะมีประโยชน์ได้นิดหน่อย เพราะว่าคนที่ศึกษาวิชาใด ๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะศึกษา วิชานั้นเท่านั้นเอง ควรจะทราบถึงวิชาอื่น ๆ ทั่วไป คือความรู้ทั่วไปที่กว้างขวาง นัน่ จะเป็นคนทีด่ ี ก็เป็นโอกาสทีจ่ ะเตือนนิสติ ทัง้ หลายว่า แต่ละคนเรียนอะไรก็ตอ้ ง พยายามหาความรู้ทั่วไป เพื่อให้เป็นคนที่ครบถ้วนบริบูรณ์ นี่ก็เป็นการเตือน เท่านี้พอแล้วหรือยัง? นี่ล่ะพูดไปก็คงต้องบอกว่าพอ เพราะเสียงชักอ่อยไป เพราะว่าถ้าพูดไปมาก ๆ ก็นา่ กลัวหน้าม่อยเข้าทุกที เพราะว่าพูดก็งว่ งเข้าทุกที ไม่ ง่วงเหรอ? นี่เขาเรียกว่า พูดอย่างนี้เรียกว่าพูดปลุกใจ แต่ว่าการปลุกใจนี่น่ะต้อง ระวังไม่ให้กายหลับ คือเวลาทีค่ นปลุกใจมาก ๆ พยายามปลุกใจนะ คนทีฟ่ งั ร่างกาย ก็ง่วงได้หลับได้ ก็ต้องระวังเหมือนกันเพราะนี่ให้โอวาทกับตัวเองว่าวิธีให้โอวาท หรื อ พู ด ก็ คื อ ต้ อ งระวั ง ไม่ ใ ห้ ค นหลั บ คื อ กายหลั บ ต้ อ งปลุ ก ทั้ ง กายและใจ ให้เป็นคนที่ว่องไว ที่มีความคิดดีอยู่เสมอ ตอนนี้ให้โอวาทแก่ตัวเองก็พอแล้ว แล้วก็พดู แล้ว ก็นบั ว่าไม่ใช่นอ้ ย ตอนนีก้ เ็ พียงแต่บอกว่าสมควรแก่เวลา ออกจะคล้ายๆ พระเสียแล้ว ก็ถ้าจะพูดจาชักมากเกินไปแล้วจริง ๆ แล้วก็ถ้าบอกว่า...ฮั่นแน่ะ ถ้าบอกว่า พอแล้วยัง ก็ไม่ทราบจะพูดเรื่องอะไร พอแล้วยัง?...นี่ก็ไม่ทราบจะพูด ถึงอะไร...พูดเรื่องอะไรนะ?...เรื่องทางไหน?...ฉันจะบอกให้ท�ำไมไม่มา คือ

125


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

เมื่อคราวที่แล้วที่มาหอประชุมนี่น่ะ ก็บอกแล้วว่าได้เป็นไข้ ถึงเท่าไหร่ ๆ แล้ว จ�ำ ได้ไหม? คราวนี้เราแสดงมโนราห์ เพราะว่าครูแสงก็เลยเป็นไข้ไปอีกทีหนึ่ง เพิ่ง หายก็เพลียตามระเบียบ แล้วก็ต้องรับเสด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์ก เป็นงานที่หนัก ไม่ใช่น้อย ต้องตื่นแต่เช้า แล้วก็มีงานถึงดึก อย่างเมื่อคืนนี้ก็สองยามกว่า กว่าจะ เลิกงาน แล้วก็ควรจะนอนก็หลับสายกว่านั่นอีก แล้วเมื่อเช้าก็ไปอยุธยา พี่น้อง ชาวอยุธยาก็รับเสด็จอย่างดีมาก เป็นที่พอพระทัย รู้สึกว่าการต้อนรับแขกเมือง ต้องเป็นอย่างนี้ ก็บอกว่าเป็นแขกของรัฐบาล แขกทางราชการหรือแขกของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ในการเยี่ยมอย่างทางราชการ แขกเมืองนั้น เป็นแขกของบ้านเมืองตามชื่อ คือแขกของพวกเราทุกคน ที่เคยไปต่างประเทศก็ เคยไปบอกเขาว่ามาเป็นในหน้าที่ผู้แทนของราษฎรทั้งประเทศ ยี่สิบห้าล้าน ก็เขา มาก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นผู้แทนของราษฎรทั้งประเทศของเขา แล้วเขาก็มาเยี่ยม ประเทศของเรา คือราษฎรทั้งประเทศของเรา ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้อนรับเขา อย่างดี เพราะเขาน�ำไมตรีจิตจากประชาชนของประเทศโน้นมาให้ประชาชนใน ประเทศนี้ นี่เป็นที่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้อนรับเพื่อให้เชื่อมสัมพันธไมตรีให้ดียิ่ง เพราะว่าถ้าในโลกนี้สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ หมายถึงระหว่างประชาชนใน ประเทศต่าง ๆ ดีขึ้นแล้วก็จะเกิดความยุ่งยากไม่ได้ ก็เคยพูดเมื่อวานซืนนี้ในการ เลีย้ งรับรองว่า มิตรภาพระหว่างประเทศเดนมาร์กกับประเทศไทยนัน้ ควรจะเป็น ตัวอย่างต่อประเทศของโลกนีท้ งั้ หลายว่า อยูไ่ ด้อย่างมีความสุขและก้าวหน้า โดยที่ ร่วมมือกันไม่ใช่ตีหัวกัน ที่จริงก็ไม่ใช่ตีหัวกัน เพราะว่าออกจะสมัยใหม่นี้การรบ ไม่ใช่ตีหัวกันเป็นการโรมควันกัน ก็แล้วไม่ใช่ควันละ เป็นผงใช้ผง ใช้อะไร ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ โยนมาใส่เรา คือว่าสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นน่ะ มีอ�ำนาจมากกว่า สิง่ ใหญ่ ๆ เสียด้วย คือปรมาณูกเ็ กีย่ วข้องกับเรือ่ งปรมาณูนกี่ ม็ หี ลายคนอยูใ่ นคณะ วิทยาศาสตร์ ก็เรียนเรื่องวิทยาศาสตร์ต่อไปอาจจะเก่งในทางปรมาณูก็ได้ ก็อาจ จะเป็นผู้เชี่ยวชาญของเมืองไทยได้ช่วยให้เรารอดพ้นจากอันตรายก็ได้ เดี๋ยวนี้ที่มี อยู่คนหนึ่งที่ส�ำเร็จจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แล้วก็ได้รับทุน ก็ก�ำลังเรียนนิวเคลียร์ ฟิสิกส์ที่ฮาร์วาร์ด ก็หวังว่ากลับมาแล้วก็คงจะได้สอนรุ่นน้อง ๆ ให้มีความรู้มาก ขึ้นในด้านปรมาณูนี่...ไป...ไปใหญ่...ไปเรื่องโน้น” “คราวนี้ไม่ถามแล้ว พอไม่พอ พอแล้ว ไม่ให้ศีลให้พรเลยนาวันนี้ เพราะว่าฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”

126


พระราชทัศนะ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั ภูมพ ิ ลอดุลยเดชฯ ต่อการใช้ภาษาไทยในสมัยปัจจุบัน


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าร่วมการประชุมของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

128


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระราชทัศนะต่อการใช้ภาษาไทย ร่วมกับคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีนิสิตเฝ้าฯ ส่งเสด็จพระราชด�ำเนินกลับ

129


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

พระราชทัศนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ๒๑ ต่อการใช้ภาษาไทยในสมัยปัจจุบัน ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีพระราชหฤทัย เป็นห่วงการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน อันมีแนวโน้มไปสู่ความตกต�่ำ จึงได้ทรงแสดง พระราชทัศนะต่อการใช้ภาษาไทยไว้ในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงร่วม การประชุมของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในโอกาสนั้นได้ทรงแสดงพระราชทัศนะ ๓ ประการด้วยกัน คือในเรื่องการอ่านออกเสียงค�ำไทย การใช้ค�ำแทนรูปประโยค และศัพท์บัญญัติ ภาษาไทยในท้ายที่สุดทรงสรุปว่า คนไทยทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหาในการใช้ ภาษาไทยของเรา เพื่อให้ภาษาไทยบริสุทธิ์และยืนยงอยู่ได้ตลอดไป การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเป็นเรื่องส�ำคัญเรื่องหนึ่งของประเทศชาติ เพราะเป็นการด�ำรงเอกลักษณ์อันเด่นชัดที่สุดของชาติมิให้ตกต�่ำเสื่อมโทรม การต่อต้านการใช้ภาษาผิด ๆ ทั้งพูดผิดและเขียนผิดนั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก สืบต่อมาถึงรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ และปรากฏในรัชกาลปัจจุบัน คือรัชกาลของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพ ลอดุลยเดชฯ ความเป็ นห่ วงอั นแสดงความเอื้ อ อาทรใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายครั้งรัชกาลดังกล่าวมานี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า ภาษาไทยนั้นได้ตกต�่ำเสื่อมโทรมมาแล้วบางยุคบางสมัย และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ของไทยทรงตระหนักถึงผลเสียหายในเรือ่ งนีเ้ ป็นอย่างดี ถึงกับทรงแสดง ความห่วงใยและทรงมีพระราชปรารภหลายครัง้ หลายหน ให้มคี วามระมัดระวังใน การใช้ภาษาไทย อย่าใช้ผิด ๆ ตามใจชอบ แต่จะต้องค�ำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็ น เครื่ อ งประกอบการพู ด การเขี ย นทุ ก ครั้ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ก็ได้ทรงมีพระราชหฤทัยเป็นห่วงในการใช้ภาษาไทยปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะ อันไม่เหมาะสมหลายอย่างหลายประการ แสดงแนวโน้มว่าก�ำลังไปสู่ความตกต�่ำ ทุกขณะ ๒๑

วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๐.

130


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

เพราะเหตุที่ทรงเป็นห่วงในสภาพอันตกต�่ำของภาษาไทยในปัจจุบัน นี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงแสดงพระราชทัศนะที่มีต่อการใช้ ภาษาไทยปัจจุบันให้เป็นที่ตระหนักโดยทั่วไปว่า ทรงเห็นข้อบกพร่องอันใด ในด้านไหนของการใช้ภาษาไทย พระราชทัศนะนี้ได้ทรงแสดงเป็นครั้งคราว ในบางโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิง่ ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้ทรงแสดงเป็นครัง้ ส�ำคัญทีส่ ดุ และเป็นทีท่ ราบกันอย่างแพร่หลาย ยิง่ กว่าครัง้ ใด ๆ นัน่ ก็คอื การเสด็จพระราชด�ำเนิน มายังคณะอักษรศาสตร์เพื่อพระราชทานพระราชปาฐกถา อันแสดงถึงพระมติ และทัศนะทีม่ ตี อ่ การใช้ภาษาไทย ตามค�ำกราบบังคมทูลเชิญของชุมนุมภาษาไทย แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทานกระแสพระราชด�ำริ ครั้งนั้น ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้ภาษาไทย อาทิ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ และ หม่อมหลวง บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เข้าร่วมการชี้แจงด้วย ในการแสดงครั้งนั้น มีผู้เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง ๑๐ ตึกอักษรศาสตร์ (ตึก ๑) เป็นจ�ำนวนถึง ๔๐๐ เศษ พระราชทัศนะที่ทรงแสดงต่อที่ประชุมครั้งนั้นสรุปได้เป็น ๓ หัวข้อคือ เรือ่ งการอ่านออกเสียงค�ำไทย เรือ่ งการใช้คำ� แทนรูปประโยค และเรือ่ งศัพท์บญ ั ญัติ ภาษาไทย เรื่องการออกเสียงค�ำที่ใช้ในภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่าเป็นเรื่องส�ำคัญมาก เพราะการออกเสียงผิด ๆ แสดงความเลินเล่อ ความมักง่าย และความไม่เอาใจใส่ของผู้ใช้ภาษา ท�ำให้ความหมายเปลี่ยนไป และท�ำให้เสียงผิดไปจากค�ำเดิม ทรงตั้งข้อสังเกตว่า “ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียง ของเราหลายประเทศมีภาษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่ค่อยแข็งแรง เขาต้อง พยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เรามีโชคดีที่มีภาษา ของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้าน รักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน ...ปัญหาเรื่องการออกเสียงนั้นก็อันตรายอย่างยิ่ง

131


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

นึกถึงค�ำว่ามหาวิทยาลัย เดี๋ยวนี้ทางโทรทัศน์หรือทางวิทยุได้ยินว่า หมาวิทยาลัย กลายเป็น วิทยาลัยหมา ออกจะอันตราย ซึ่งเรายอมไม่ได้ บางอย่างเรายอมได้ อย่างค�ำว่า ฉัน ที่จริงเขียนว่า ฉัน แต่พูดกัน ชั้น ทั้งนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมไว้บ้าง แต่บางทีก็เกินไปหน่อย กลายเป็นอย่างอื่นในค�ำว่า ฉัน นี่ค�ำว่า น้าม เขียนว่า น�้ำ แต่ออกเสียงว่า น้าม นี่เราก็ต้องยอมบ้าง อย่างนี้ไม่เป็นไร แต่ค�ำว่า หมาวิทยาลัย เราอย่ายอม แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาต่าง ๆ และบางสิ่งบางอย่างเราต้องยอม บางสิ่งบางอย่างเราต้องคัดค้านอย่างเด็ดขาด...” ส�ำหรับปัญหาที่สอง คือเรื่อง เอาค�ำมาแทนรูปประโยค ทรงแสดง พระราชทัศนะว่า “ขอพูดอีกอย่าง วิธีพูด หมายถึงการใช้ค�ำมาเป็นประโยคหรือใช้ค�ำ มาแสดงเป็นความคิด ซึ่งได้ยินมามากในทางข่าว ขอยกตัวอย่างว่าค�ำ อุบัติเหตุ ในความหมายของอุบตั เิ หตุคอื สิง่ ทีอ่ บุ ตั ขิ นึ้ ก็เข้าใจว่าเป็นเหตุทไี่ ม่ดี อุบตั ขิ นึ้ โดยที่ มนุษย์ไม่ต้องประสงค์ แต่เดี๋ยวนี้ใช้ค�ำว่า อุบัติเหตุ ในความหมายว่า เหตุการณ์ อุบัติเหตุ นั้นแปลมาจากภาษาฝรั่งว่า accident เดี๋ยวนี้มาใช้ในความหมายว่า incident ฟังข่าววิทยุซึ่งผิดอย่างร้ายที่สุด เพราะว่า accident เป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีมนุษย์ต้องการ ส่วน incident นั้น ถ้าจะอธิบายก็หมายความ ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น แต่โดยที่มีความต้องการของมนุษย์ ไปใช้ อุบัติเหตุ ก็ไม่ถูก ควรใช้เหตุการณ์ หรือเหตุร้าย แต่อาจง่ายเกินไป มีค�ำชนิดนี้อีกหลายค�ำ ซึ่งต่อไป อาจจะได้อภิปรายในค�ำที่ไม่ควร ส�ำหรับค�ำใหม่ที่ตั้งขึ้น มีความจ�ำเป็นในทาง วิชาการไม่ใช่น้อย แต่บางค�ำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้ค�ำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก แต่ก็อาจเป็นด้วยเห็นว่าไม่โก้พอ ก็ต้องใช้ ค�ำใหม่ ๆ แต่การตั้งค�ำใหม่นั้นมีหลักหลายประการ และผู้ที่ตั้งค�ำนั้นต้องรู้ค�ำและ หลักของภาษาลึกซึง้ ทัง้ ภาษาไทยทัง้ ภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษ ต้องทราบถึงภาษาอื่น ๆ ด้วย ต้องทราบถึงหลักภาษาอังกฤษเอง คือมาจากไหน มาจากความคิดอะไร เพื่อจะไม่ให้ผิดไปอย่างตลกขบขันทีเดียว อย่างค�ำง่าย ๆ ที่ เดี๋ยวนี้ใช้กันมากอยู่อย่างแพร่หลายและยอมรับกันแล้ว อย่างค�ำว่า รถบัส ค�ำว่า bus นี้เราใช้ เรารู้ว่าแปลว่าอะไรและไม่มีใครคัดค้านแล้ว แต่ว่ารถบัสนี้

132


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

มีประวัติยืนยาวมาแต่สมัยโรมัน คือรถบัสนี้ รถสาธารณะของเราเอง ภาษาละติน เรียกว่า omnibus คือส�ำหรับทุกคน แต่ควรจะใช้ว่า รถออมนิบุส แปลว่า รถส�ำหรับทุกคนใช้ได้ ท�ำไปท�ำมาค�ำว่า รถ หายไป เหลือแต่ ออมนิบุส เท่านั้นเอง ต่อมาก็ตัดออกไปอีกเหลือ บุส หรือ บัส เท่านั้นเอง ซึ่ง บุส หรือ บัส นี้ เป็นเพียง ค�ำพยางค์เดียวซึ่งอาจมาจากค�ำใด ๆ ก็ได้ แต่มาเข้าใจว่าเป็นรถส�ำหรับทุกคน รถสาธารณะ จนกระทั่งมาเป็นภาษาไทยว่า รถบัส หมายถึงรถสาธารณะ ภาษา มลายูก็เป็น บ๊าส เขียน bas นี่เป็นต้น ก็เข้าใจกันแล้ว รับกันแล้ว ไม่เป็นปัญหา แต่ค�ำใหม่ ๆ ที่มีประวัติที่ขัน โคมลอยเช่นเดียวกัน ใหม่ ๆ อาจท�ำให้ภาษาเราไม่มี ความหมาย ภาษาเราอาจะเป็นภาษาทีไ่ ม่มหี ลักเลย เรียกว่าไม่มบี อ่ เกิด เพราะว่า บ่อเกิดผิดมาหมด บิดเบีย้ วมาจนกระทัง่ ภาษาไม่เป็นภาษา ก็มปี ญ ั หาต่าง ๆ ทีว่ าง เอาไว้แล้ว...” ในประการสุดท้าย ทรงตั้งข้อสังเกตเรื่องศัพท์บัญญัติและการบัญญัติ ศัพท์ว่า “ขอให้ข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ภาษาไทยหรือภาษาทั้งหลายที่ใช้กัน ในปัจจุบันนั้น เป็นภาษาที่มีชีวิต เป็นภาษาที่ประชาชนใช้ ย่อมต้องมีการ เปลี่ยนแปลงในความหมาย ถ้าเราบัญญัติศัพท์อะไรขึ้นมา ก็จะขอให้ประชาชน ทั้งประเทศเป็นผู้ที่มีความคิดในด้านภาษาเป็น ศัพท์บัญญัติกร กันทั้งชาติ หรื อ เป็ น วิ ท ยากรผู ้ ที่ มี ค วามรู ้ ทั้ ง ชาติ ก็ ไ ม่ ไ ด้ เราจะไปโกรธประชาชนแทน โกรธตัวเองไม่ได้ แก้ตัวไม่หลุด ทางที่ดีเราบัญญัติศัพท์แล้วก็ต้องลองดูว่า เขาเข้าใจหรือเปล่า การบัญญัติ ศัพ ท์ ห รื อ การมี ค�ำ ใหม่ มี บ่ อ เกิ ดหลายทาง มีบ่อเกิดอย่างหนึ่ง ท่านทั้งหลายที่เป็น ศัพท์บัญญัติกร ก็เป็นบ่อเกิด ไม่รู้ว่าจะใช้ ค�ำว่าอะไรแทนบ่อเกิด อีกบ่อเกิดหนึง่ ก็คอื ส�ำนักข่าวต่าง ๆ ทีแ่ ปลจากภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศ มาเป็นภาษาไทย ก็ออกมาเป็นภาษาประหลาด ๆ เหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งภาษาชาวบ้านหรือภาษาเด็ก ๆ slang นั้น ซึ่งใช้กันด้วย ความหมายพิ เ ศษของหมู ่ ค ณะ บางที ก็ ติ ด เหมื อ นกั น อย่ า งขณะนี้ คิ ด ออก ค�ำว่า หล่อ นั้น เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจว่ายังใช้กัน อย่างใช้กับคนสวยที่น่ารัก น่าเกรงขาม ก็ว่าคนนั้น หล่อ เฉพาะผู้ชาย ค�ำว่า หล่อ นี้มาจาก รูปหล่อ รูปหล่อก็หมายความ

133


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ว่ารูปร่างหน้าตาเหมือนรูปปั้น รูปหล่อ คงมาจากอย่างนี้ ฝรั่งเขาก็มี เขาว่าผู้ชาย คนนี้มีหน้าตาโก้สวยเหมือน Greek god ก็เหมือนรูปปั้น กลับมาเป็นภาษาไทย ก็ว่า คนนี้รูปหล่อ แล้วก็กลายเป็น หล่อ เฉย ๆ ค�ำว่า หล่อ นี้ก็ชักจะติดเข้ามา ในภาษา อีกหน่อยก็คงกลายเป็นภาษาที่ใช้ได้ แต่ว่า พูดถึงบัญญัติศัพท์ ค�ำต่าง ๆ ที่มาจากคณะกรรมการ ประชาชนก็มาใช้ บางทีก็มาใช้อย่างผิด ๆ ถูก ๆ ไม่ใช่ หน้ า ที่ ข องผู ้ บั ญ ญั ติ ศั พ ท์ ที่ จ ะโกรธ เพราะว่ า เป็ น ผู ้ ท� ำ เป็ น ผู ้ ส ร้ า งขึ้ น มา ต้องทราบถึงผลสะท้อนที่จะมี ไม่ใช่ว่าบัญญัติศัพท์ขึ้นมาแล้ว วางไว้ให้เด็ก ๆ ใช้ เช่นเดียวกับผู้ที่ท�ำปืนขึ้นมา ท�ำขึ้นมาแล้ววางไว้ในโรงเรียนให้ยิงกันจนป่นปี้ ให้เล่นกันจนเกิดอันตรายแล้วบอกว่า สร้างปืนขึ้นมาต่างหาก ไม่ได้ให้เอามา ยิงกันเล่น ไม่มีความผิดอะไรเลย คนที่ท�ำปืนแล้วน�ำมาให้เด็กใช้เช่นนี้ย่อมมี ความผิดด้วย ส่วนคนที่บัญญัติศัพท์ขึ้นมาให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านวิชาภาษา เอาไปใช้เพราะฟังเข้าทีดีก็ผิด...” ในด้านการเขียนค�ำไทยด้วยตัวอักษรโรมัน เพื่อให้ฝรั่งอ่านเข้าใจว่า นั่นเป็นค�ำไทย มิใช่ค�ำที่แปลเป็นภาษาฝรั่งนั้น ทรงเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี เพราะเท่ากับเป็นการอนุรกั ษ์คำ� ไทยเอาไว้ให้คงอยู่ ไม่วา่ จะต้องเขียนด้วยตัวอักษร ของฝรั่งหรืออักษรอะไรก็ตาม และทรงขอร้องให้มีการบัญญัติศัพท์อย่างมีเหตุผล อย่าให้อิทธิพลการเมืองเข้ามาครอบง�ำ ทรงอธิบายเรื่องนี้ว่า “มีแปลก ๆ ตรงข้ามที่สะพานแคบ เมื่อหลายปีมาแล้ว ทางไปหัวหิน เขาเขียนว่า สะพานแคบ เดี๋ยวนี้กว้างหมดแล้ว แต่ก่อนนี้แคบจริง ๆ แล้วเขียน เป็นภาษาฝรั่งว่า Span Kaep หวังจะให้ฝรั่งเข้าใจว่าสะพานแคบเป็นภาษาไทย แต่ เขี ย นตั ว หนั ง สื อ ฝรั่ ง ตกลงเมื อ งไทยเราไม่ เ หมื อ นเมื อ งแขก ไม่ เ หมื อ น เมืองที่ใกล้เคียง อย่างที่บอกตะกี้นี้ว่า เมืองไทยเราโชคดี มีภาษาของเรา มีภาษา ทีเ่ ราใช้ได้ ไม่จำ� เป็นทีจ่ ะไปท�ำลายเสีย แต่ของแขกของประเทศใกล้เคียงนี้ เขาต้อง ท�ำลายภาษาเดิมที่เขาพูดอยู่ เพราะว่ารักชาติ เราขอรักชาติ ขออย่าท�ำลายภาษา ที่มีอยู่ แขกนั้นเขาอยู่ใต้อังกฤษมานาน ก็ต้องใช้ภาษาแบบอังกฤษมาตลอดเวลา แล้วก็อยู่คละกับปากีสถาน เขาก็อยากแยกเรื่องรักชาติอีกแล้ว ไม่อยากตาม จะว่าตามก้น ก็จะเป็นศัพท์หนังสือพิมพ์ไปหน่อย ไม่อยากตามก้นปากีสถาน

134


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ปากีสถานก็ไม่อยากตามก้นอินเดีย เลยทะเลาะกันใหญ่ เป็นเรื่องที่จะต้อง แสดงศักดาแสนยานุภาพว่าตัวมีภาษาของตัว จนกระทั่งไม่รู้เรื่อง ก็ไม่รู้เรื่องนั่น ไม่ส�ำคัญเท่าความรักชาติ ขออย่างหนึ่ง การบัญญัติศัพท์ก็ตาม การใช้ศัพท์ก็ตาม กิจการใด ๆ ก็ตาม ต้องมีเหตุผลอยูเ่ สมอทีจ่ ะท�ำลงไป อย่าให้เหตุผลนัน้ เขวไปเป็น เหตุผลทางการเมือง เหตุผลทางรักชาติเกินควร หรือเป็นความรู้สึกรักตัวเอง เกินไป จะแสดงว่าตัวรู้หรือตัวเก่งเกินไป เพราะว่าไม่ใช่เหตุผล ไม่ใช่หลักที่ถูก หลักของภาษาคืออย่างที่บอกไว้แล้วในตอนต้นว่า เป็นประโยชน์เพื่อให้คนเข้าใจ ซึ่งกันและกัน ภาษามีไว้ส�ำหรับแสดงความคิด คนเรามีสมองที่จะคิด คราวนี้ถ้า คิดอยู่คนเดียวก็เหงา อยากให้คนอื่นคิดบ้าง หรืออยากทราบความคิดของผู้อื่น ก็ตอ้ งใช้ภาษาเป็นสือ่ อย่างไรก็ตอ้ งใช้ภาษา ถ้าไม่ใช้ภาษาคนก็ภาษามือ ภาษาลิง ภาษานก ก็ ต ้ อ งเป็ น ภาษาอยู ่ ดี แต่ ค นเราเป็ น สั ต ว์ ที่ ป ระเสริ ฐ ที่ มี ภ าษา พูดกันได้รู้เรื่อง ถ้าจะท�ำลายภาษาที่พูดกันรู้เรื่องเช่นนี้ ก็กลายเป็นลิง เพราะเรา ถือว่าลิงเขาต�่ำต้อยกว่ามนุษย์ ความมุ่งหมายของภาษาคือแสดงความคิดต่อกัน ถ้าเราจะมาบอกว่า นี่คือถ้วย คนอื่นมาแย้งว่า ไม่ใช่ถ้วย อ้ายนี่แก้วต่างหาก ก็ได้ เหมือนกัน ขอให้ตกลงกันก็แล้วกัน คือค�ำต้องมีความหมายชัดเจน ต้องตกลงกัน แต่เมื่อคนไทยเรามีตั้ง ๒๕-๒๖ ล้าน ก็ต้องตกลงกันทั้งหมดว่า ค�ำนั้นแปลว่าอะไร แต่เมื่อคนบัญญัติศัพท์ค�ำที่พูดยาก หรือเข้าใจยาก ก็อาจจะบิดความหมายไปได้ ต่อไปอีก ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็จะไม่ทราบว่า ค�ำมาจากอะไร” ต่อข้อคิดของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ว่า การใช้ภาไทยอย่างถูกต้อง จะต้องท�ำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของการใช้ภาษา ไทย ซึ่งเรียกว่า อัจฉริยลักษณะของภาษา (genius of the language) นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบด้วย และมีพระราชด�ำรัสเสริมความ ส�ำคัญของเรื่องนี้ว่า “ก็หลักต่าง ๆ ทีใ่ นกรมบรรยายนี้ ก็รสู้ กึ ว่าถูกต้องแล้ว คือว่า ต้องนึกถึง genius ของภาษา แต่ว่าต้องขอย�้ำเกี่ยวข้องกับ genius ของภาษานี้ว่า วิธีพูด ของคนไทย เราเป็นคนไทย กับวิธีพูดของฝรั่ง เช่น อังกฤษ เขาเป็นคนอังกฤษ หน้ า ตาเขาก็ ไ ม่ เ หมื อ นกั บ เรา รู ป ร่ า งก็ ไ ม่ เ หมื อ นกั บ เรา วิ ธี พู ด เสี ย งเขา

135


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ก็ไม่เหมือนเรา สมองวิธีคิดของเขาก็ไม่เหมือนของเราแน่นอน เราเห็นสิ่งใด อย่างหนึ่ง เขาเห็นอีกอย่าง เห็นได้ในศิลปะ ศิลปะเขียนรูปหรือศิลปะดนตรีก็ตาม ต่างกัน นี้เป็นสิ่งส�ำคัญ วิธีพูดต่างกันแล้วก็ expression ศัพท์ของเขาก็ต่าง กับของเรา แต่โดยมากเดี๋ยวนี้ที่อันตรายที่สุดจากการแปลในข่าวอย่างหนึ่ง การแปลในการบันเทิงโดยเฉพาะภาพยนตร์นั้นผิดกันมาก ผิดเรื่อย เพราะว่า เอาภาษาที่เขาพูดมาแล้วมาแปลค�ำนั้นตามที่นึกว่าตรง จนกระทั่งความหมาย ไม่เหมือนกัน อย่างนี้เป็นสิ่งที่อันตราย ต้องระวังเรื่อง genius of the language ตามวิธคี ดิ ของคนเราเป็นอย่างไร ส่วนการจะบัญญัตศิ พั ท์นนั้ ขอให้ระวังอย่างเดียว ขออย่าให้เกิน คือว่า อย่าท�ำเกินความจ�ำเป็น เพราะว่าบางทีชอบท�ำบัญญัติศัพท์ เพื่อบัญญัติศัพท์ เพราะว่าถ้าไม่ได้บัญญัติศัพท์แล้วกลุ้มใจ เป็นอย่างนั้น และ ส�ำหรับในด้านวิชาการก็เห็นว่า ควรจะมีการบัญญัติศัพท์ แต่ขอให้อยู่ในขอบเขต ของวิชาการ ถ้าออกมาถึงประชาชนแล้วก็มกี ารเปลีย่ นแปลงของภาษา ประชาชน อาจชอบค�ำแปลก ๆ เพราะเห็นว่าสนุกดี จนกระทั่งมาใช้ในทางที่ผิด ก็เกิด ความเสียหายได้” ภาษาถิ่น คือภาษาในชนบทภาคต่าง ๆ นั้น ถึงแม้จะมิใช่ภาษาเมืองหลวง อันใช้เป็นภาษาทางราชการก็จริง แต่ภาษาถิ่นต่าง ๆ ก็นับเป็นภาษาไทยที่ใช้กัน อยู่ในถิ่นต่าง ๆ สมควรจะอนุรักษ์ให้คงด�ำรงอยู่ นอกจากนี้ศิลปวัฒนธรรม ในสาขาอื่น ๆ ก็ควรรักษาไว้ให้มั่นคงด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงย�้ำถึงเรื่องนี้ว่า “เราควรจะรักษาภาษาภาคเหนือ ภาคใต้ ฯลฯ ต้องระวังรักษาให้ดี ๆ เพราะเป็นแหล่งที่จะไปศึกษาภาษาโดยแท้ เป็นความจริง เพราะว่าคนเรา ในกรุงเทพฯ ได้พบปะกับชาวต่างประเทศ ทั้งแขก ฝรั่ง จีนมากมาย ท�ำให้ภาษา ของเราพูดจากันแล้ว บางทีก็ไม่รู้เรื่อง เพราะคิดแบบฝรั่ง คิดแบบจีน หรือ คิดแบบแขก นี่เป็นความจริง การรักษาภาษาในชนบทนั้นก็ต้องท�ำ ท�ำให้คิดถึงศิลปะทางการร่ายร�ำ ของชาวบ้าน เดี๋ยวนี้เวลาไปต่างจังหวัด ก็ไปดูการแสดงร่ายร�ำพื้นเมือง ไว้ใจไม่ได้ แล้วว่าเป็นพื้นเมืองจริงหรือไม่จริง เพราะว่าดูแล้วเขาบอกว่าของจริงของ

136


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

จังหวัดนั้น ๆ แต่แท้จริงศิลปากรทั้งนั้นเพราะว่าศิลปากรได้ไปหาการร่ายร�ำของ การพื้นเมือง แล้วมาดัดแปลง เพราะเห็นผู้ใหญ่ที่บอกว่า การร�ำเท้าเปล่าไม่ดี อะไรเป็นต้น ก็ต้องมาใส่รองเท้า หรือการแต่งตัวรุ่มร่ามต้องเอามาเปลี่ยนแปลง ให้หรูหรา จนกระทั่งเป็นแบบอย่าง ชาวจังหวัดที่เป็นบ่อเกิดของการร่ายร�ำ หรือศิลปะแบบนั้นก็ต้องเอาอย่างศิลปากร เพราะครูบาอาจารย์ที่ไปสอนเด็ก ๆ ก็มาจากส่วนกลางอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งนึกว่า อะไร มาจากในกรุงต้องสวยงาม และถูกต้องตามผู้ใหญ่ต้องการ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าการร่ายร�ำพื้นเมือง เป็นของจริงหรือไม่จริง กระทั่งต้องทะเลาะกันว่า อันนี้แท้หรือไม่แท้ นี่เป็น ข้อสังเกตในการเปรียบเทียบศิลปะกับภาษา ภาษาก็เป็นศิลปะเหมือนกัน อาจจะ ไม่ทราบว่าภาษามาจากไหน ภาษาของไทยเราเป็นของจริง อยูท่ ไี่ หน เพราะว่าเรา พยายามก่อขึน้ มาโดยไม่มหี ลักฐาน ไม่มคี วามรอบคอบพอ แล้วก็แพร่ไปต่างจังหวัด ไปท�ำลายภาษาพื้นเมือง ซึ่งจะเป็นหลักประกันของความบริสุทธิ์ของภาษา” ในทีส่ ดุ แห่งรายการอภิปรายทางภาษาครัง้ พิเศษสุด ซึง่ มีเพียงครัง้ เดียว ในประวัติศาสตร์ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรุปปิดรายการด้วย พระราชวาทะอันจับใจและประกอบด้วยเหตุผลอันควรไตร่ตรองอย่างยิ่ง คือ การใช้ภาษาของไทยในปัจจุบนั แม้จะมีขอ้ น่าวิตก น่าเป็นห่วง แต่กไ็ ม่ถงึ กับอับจน ที่จะแก้ไขได้ ทั้งนี้เพราะพื้นฐานทางจิตใจของผู้ใช้ภาษาคือคนไทยนั้น ต่างกับ ชนชาติอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ตรงที่ว่า เรามีความส�ำนึกอย่างสูงในจิตใจของเราว่า อะไรถูกอะไรผิด เรามีหลักการที่ยึดถืออย่างมั่นคง แม้บางครั้งจะเฉไฉออกนอกลู่ นอกทางไปบ้าง ในที่สุดก็จะกลับเข้าสู่ทางที่ถูกที่ควรต่อไป ปัญหาทางภาษา เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องช่วยกันแก้ไข ช่วยกันผดุงรักษาไว้ให้ภาษาไทยอยู่ยืนยงด้วย ความบริสุทธิ์ผุดผ่องตลอดกาล พระราชด�ำรัสอันเป็นพระปัจฉิมวาทะในรายการ ประชุมของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์วันนั้น จบลงด้วยข้อความดังนี้ “คนไทยเรามีจิตใจพิเศษ ไม่เหมือนฝรั่ง หรือแขก หรือจีน ก็ต้องรักษา จิตใจพิเศษนีไ้ ว้ ซึง่ มีอยูใ่ นภาษาเหมือนกัน วันนีไ้ ด้พดู เรือ่ งปัญหาภาษาหลายอย่าง คละเข้าไป แต่ว่าคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกระตุ้นเตือนทุกคนว่า ภาษานี้เกิดปัญหา ขึ้นได้มากหลายทาง ต้องพยายามช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นี้ และถกเถียงกัน เพื่อที่จะขบให้แตกและให้ภาษาของเราบริสุทธิ์ใช้การได้”

137


บรรณานุกรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ๒๔๕๙ - ๒๕๐๙. พระนคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๑๐. นวมินทร์มหาราชา ธ สถิตเหนือเกล้าชาวจุฬาฯ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดงาน “คืนสู่เหย้าชาวจุฬาฯ”, ๒๕๔๒. ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พุทธศักราช ๒๔๙๓ - ๒๕๑๒. กรุงเทพฯ : กองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญ ข้าราชการ, ๒๕๕๐. ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พุทธศักราช ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔. กรุงเทพฯ : กองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญ ข้าราชการ, ๒๕๕๐. ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พุทธศักราช ๒๕๑๕ - ๒๕๑๖. กรุงเทพฯ : กองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญ ข้าราชการ, ๒๕๕๐. มหาวิทยาลัย ๒๔๙๖. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๖. มหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๗. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๗. มหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๘. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๘. มหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๒. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๐๒. มหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๗. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๐๗.


มหาวิทยาลัย ฉบับ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๔. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย, ๒๔๙๔. มหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๕. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๕. มหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๙. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๙. มหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๐. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๐๐. มหาวิทยาลัย ฉบับปิยมหาราชานุสรณ์ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๑. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๐๑. มหาวิทยาลัย ฉะบับ “มหาจุฬาลงกรณ์” ๒๓ ตุลาคม ๒๔๙๒. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๔๙๒. มหาวิทยาลัย ฉะบับวันเกิด ๑ มกราคม ๒๔๙๑. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๑. มหาวิทยาลัย สิงหาคม ๒๔๙๐ ฉะบับต้อนรับน้องใหม่. พระนคร : สโมสรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๔๙๐.


พระบุญญาบารมีแผ่ปกพสกจุฬาฯ

ที่ปรึกษา

ที่ปรึกษาอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์) รองอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต) ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม (นายกรรชิต จิตระทาน) อาจารย์สวัสดิ์ จงกล

คณะผู้จัดท�ำ

ผู้อ�ำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นางสาวพิมพ์พิศา ก�ำเนิดจิรมณี) นางวลัยพร โกศัลวัฒน์ นางอัจฉรา สิทธิพันธ์ นางแววดาว เสาวลักษณ์ นางสาวศศิพิมพ์ จิรศักดิ์ นางมนฤทัย ศิริพูล นางสาวนัฏกร เสาวลักษณ์

หน่วยงานรับผิดชอบ

หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๘ ๗๐๙๗-๙ ส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงวังใหม่ ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๘ ๓๖๓๔-๕

พิมพ์ท ี่

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ISBN 978-616-407-196-4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.