รายการแสดง • โหมโรงเทิด ส.ธ. • ถอนสมอ เถา ออกพระเจ้าลอยถาด • โลมอนงค์ เถา • แขกมอญบางช้าง เถา ทางครูเขียน ศุขสายชล • บทร้องเพลงเต่าเห่ ชุด “เย็นย่า” (ตับเย็นย่า) (เต่าเห่-สาวคา-เพลงเร็ว-เขมรทุบมะพร้าว-ลา) • ทยอยเดียว – เดียวซอด้วง โดย ครูวรยศ ศุขสายชล • เขมรราชบุรี เถา
ประวัติเพลง 1. โหมโรงเทิด ส.ธ. โหมโรงเทิด ส.ธ. อัตรา 3 ชั้น เป็นเพลงที่กรมศิลปากรและธนาคารกรุงเทพ จากัด ได้ มอบให้ครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 ในขณะที่ท่านมีอายุ 90 ปี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ขณะดารงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช-กุมารี ครูมนตรี ตราโมท ได้อธิบายการประพันธ์เพลงโหมโรงเทิด ส.ธ. ไว้ดังนี้ ในศุ ภ ดิ ถี ม หามงคลสมั ย ซึ่ ง สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ทรงมี พระชนมายุครบ 3 รอบบริบูรณ์ ณ วันที่ 2 เมษายน 2534 กรมศิลปากรกับธนาคารกรุงเทพ จากัด ได้มอบให้ข้าพเจ้าแต่งเพลงโหมโรง ชื่อเพลง เทิด ส.ธ. เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายในพระราช วโรกาสนี้ ข้าพเจ้าก็คิดว่าจะนาเพลงอัตรา 2 ชั้นของเก่ามาแต่งขยายขึ้น ตามแบบที่โบราณจารย์ท่านได้ กระทามา แต่ในวโรกาสอันสาคัญและชื่อเพลงบ่งถึงการเทิดพระนามาภิไธยเช่นนี้ เพลง 2 ชั้นที่จะ นามาแต่งขยาย ควรจะเป็นเพลงที่มีคุณสมบัติและศักดิ์ศรีที่เหมาะสม จึงได้นึกถึงเพลงเก่าคู่หนึ่ ง ชื่อ เพลงเชิญเหนือและเชิญใต้ เพลงคู่นี้ ภายหลังครูผู้ทรงคุณวุฒิในสมัยโบราณได้นามาปรับเข้ากับหน้า ทับตะโพนกลองแบบเพลงตระ เรียกว่าเพลงตระเชิญ บรรเลงต่อกันทั้ง 2 เพลง อันการบรรเลงเพลง ตระที่ใช้เป็นหน้าพาทย์ เช่น เพลงตระนิมิต ตระนอน ตระสันนิบาต ฯลฯ จะต้องบรรเลงซ้า 2 เที่ยว แต่การบรรเลงเพลงตระเชิญ บรรเลงเที่ยวเดียว ไม่ต้องบรรเลงซ้า 2 เที่ยว เพราะว่าเพลงตระเชิญ บรรเลงตามเพลงเชิญเหนือถือเป็นเที่ยวหนึ่ง และบรรเลงตามเพลงเชิญใต้ ซึ่งถือเป็นการบรรเลงซ้า อีกเที่ยวหนึ่ง จึงไม่ต้องบรรเลงซ้า หรือกลับต้นอีกครั้ง เหมือนเพลงตระอื่น ๆ ข้าพเจ้าได้นาเพลงเชิญเหนือกับเชิญ ใต้ หรือเพลงตระเชิญนี้มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น และนาเพลงสังข์น้อยจากเพลงเรื่องทาขวัญหรือเวียนเทียนมาขยายขึ้นเป็นเพลงต่อท้ายตามแบบ แผนโหมโรงเสภาโบราณ ซึ่งเพลงตระเชิญและเพลงสังข์น้อยเป็นเพลงอันสูงศักดิ์ เป็นเพลงสิริมงคล ทั้งคู่ เหมาะกับกรณีนี้เป็นอย่างยิ่ง การแต่งเพลงนี้ ข้าพเจ้าพยายามที่จะให้มีทางต่ าง ๆ ทั้งทางพื้น ทางกรอ และลูกขัดระคนกัน โดยเริ่มต้นแต่งที่บ้านพักบริเวณพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ไปสาเร็จลงที่พุเตย จังหวัดกาญจนบุรี กลับมาตรวจทานที่บ้านจังหวัดนนทบุรีอีกครั้ง
2. ถอนสมอ เถา ออกพระเจ้าลอยถาด เพลงถอนสมอ อัตรา 2 ชั้น ของเก่า เป็นเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่ มี 2 ท่อน ท่อนที่ 1 มี 4 จังหวะ ท่อนที่ 2 มี 6 จังหวะ มีมาแต่สมัยอยุธยา อยู่ในเพลงเรื่องถอนสมอ แต่บางตารา รวมเข้าในเพลงตับมโหรีเรื่องบังใบ เรียกชื่อในครั้งนั้นว่า “เพลงฝรั่งถอนสมอ” ในราวปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้แต่งขยายเพลงฝรั่งถอนสมอขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น ทั้งทางร้องและทาง ดนตรีสาหรับวงเครื่องสายในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมงกุฎราช กุมาร ใช้บรรเลงรับร้ อง เมื่อถึงยุคที่ นิยมเพลงเถา จึงมีผู้ตัดลงเป็นชั้นเดียว ใช้บรรเลงรับร้อง ครบเป็นเพลงเถา มีหลายทางด้วยกัน ส่วนเพลงหางเครื่อง ได้นาเพลงพระเจ้าลอยถาด อัตรา 2 ชั้น ของเก่า ไม่ปรากฏนาม ผู้ประพันธ์ มาบรรเลงและขับร้องติดต่อกัน บทร้องนามาจากบทละครดึกดาบรรพ์เรื่องพระยศ เกตุ พระราชนิ พ นธ์ ใ นสมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า จุ ฑ าธุ ช ธราดิ ล ก กรมขุ น เพชรบู ร ณ์ อิ น ทราชั ย ในตอนที่พ ระยศเกตุ ได้พ บกับ นางเมธาวดี แล้ว บรรเลงปิ ด ท้ า ยด้ว ยเพลงพระเจ้ า ลอยถาด ชั้นเดียว บทร้องเพลงถอนสมอ เถา ลมดีพระก็ใช้ใบไป ภูวนัยอุ้มองค์ขนิษฐา ขึ้นนั่งยังท้ายเภตรา ชมหมู่มัจฉาในสาชล พิมทองล่องลอยแลคล่า วาฬผุดพ่นน้าเป็นฝอยฝน ฉนากฉลามว่ายตามวน โลมาหน้าคนนนทรี ชี้ชมศิลาปะการัง ที่เขียวดังมรกตสดศรี ที่ลายก็คล้ายราชาวดี แดงเหลืองเลื่อมสีเหมือนโมรา (บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2)
บทร้องเพลงพระเจ้าลอยถาด ข้าแต่พระสมุทรสุดลึกล้า สุดหาคาใดกล่าวเล่าเฉลย เป็นคลังแก้วมีค่าน่าชมเชย ผู้ใดเคยได้เห็นเป็นขวัญตา พระองค์ซ่อนนางไว้ไกลมนุษย์ แสนสุดที่จะตามไปค้นหา เท่ากับซ่อนลักษมีศรีสุดา มิให้นารายณ์เทพได้เชยชม ขอเดชะพระเดชปกเกศเกล้า เป็นที่พึ่งข้าพระเจ้าประสงค์สม ในสิ่งซึ่งจิตใจใฝ่นิยม ข้าปรารมภ์จะใคร่ได้ในเร็วพลัน (บทละครดึกดาบรรพ์เรื่องพระยศเกตุ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย)
3. โลมอนงค์ เถา เพลงโลมมอญ เป็ นเพลงสาเนีย งมอญชั้นเดีย ว นายมนตรี ตราโมท ได้แ ต่งขึ้ นให้มี ลักษณะเป็นเพลงขับร้องประเภทโอ้โลม ซึ่งไม่มีหน้าทับมีแต่จังหวะฉิ่ง ต่อมาได้มีผู้นามาปรับ เป็ น เพลงอั ต รา 2 ชั้ น เพื่ อ ใช้ ใ นการแสดงละครร้ อ ง พ.ศ. 2529 นายประสิ ท ธิ์ คุ้ ม ทรั พ ย์ ได้ แ ต่ ง ขึ้ น เป็ น เพลงเถาท่ อ นเดี ย ว 4 จั ง หวะ ประเภทหน้ า ทั บ ปรบไก่ ให้ ชื่ อ ว่ า “เพลงโลมอนงค์ เถา” โดยได้นาเพลง “ดารารามัญ” ซึ่งเป็นเพลงสาเนียงมอญชั้นเดียว มาใช้ บรรเลงออกท้ายเพลงโลมอนงค์อีกเพลงหนึ่ง นาออกบรรเลงครั้งแรกในงานเชิดชูเกียรตินักแต่ง เพลงไทย ครั้งที่ 5 จัดโดยสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2529 บทร้องเพลงโลมอนงค์ เถา พิศโฉมประโลมเลิศเจิดจรัส บริสุทธิ์ดุจทิพย์เทวัญ หวังรักหวังโลมโฉมสมร หวังชื่นหวังชมภิรมย์สราญ โลมรักรักโลมโฉมฉาย โลมสมรสมรสงวนนวลผจง
สารพัดงามพร้อมเป็นจอมขวัญ สาวสวรรค์ชั้นไหนไม่เปรียบปาน หวังวอนหวังร่าคาหวาน หวังสมานหวังสนิทชิดอนงค์ โลมเจ้าเจ้าอายชายหลง โลมอนงค์อนงค์เคล้าเฝ้าประโลม
(นายพูนพิศ อมาตยกุล แต่ง)
4. แขกมอญบางช้าง เถา ทางครูเขียน ศุขสายชล เพลงแขกมอญบางช้างนี้ ครูผู้ใหญ่บางท่านกล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 ครูหน่าย บ้าน ข้างวัดปากง่าม คลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นครูผู้มีฝีมือและชื่อเสียงทางดนตรี ในจังหวัดนั้น ได้สอนทานองเพลง 2 ชั้น ให้ศิษย์ไว้ ชื่อเพลงบางช้าง มีอยู่ 2 เพลง คือ เพลง ใบ้ คลั่ งบางช้า งและเพลงแขกมอญบางช้ าง ส่ ว นท านองแขกมอญบางช้ า ง 3 ชั้ นนั้น พระ ประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เป็นผู้แต่งขึ้น ทานองของเพลงมีความหมายคล้ายจะฝากความรัก และความอาลัยไว้ สาหรับอัตราชั้นเดียว มีผู้แต่งขึ้นภายหลัง ไม่ทราบเป็นผู้ใด บทร้องเพลงแขกมอญบางช้าง เถา นิจจาเจ้าวันทองน้องพี่อา นิจจาใจช่างกระไรมาแปลกแปลง เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่า พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย เจ้ามาได้ผัวดีมีทรัพย์มาก หลงเชิงขุนช้างมันช่างวอน ถ้ามันตื่นขึ้นเห็นพี่จูบเจ้า สั่นปลุกลุกยิงสิพี่จน
พี่จาหน้าเนื้อน้องได้ทุกแห่ง เอามือคลาแล้วยังแคลงอยู่คลับคล้าย เด็ดใบบอนซ้อนน้าที่ไร่ฝ่าย แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน มาลืมเรือนเพื่อนยากแต่เก่าก่อน กอดท่อนซุงสักสาคัญคน ตายเปล่าคอพี่คงขาดป่น ลุกขึ้นได้ไล่ชนพี่ตายจริง
(เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 17 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยา)
5. บทร้องเพลงเต่าเห่ ชุด “เย็นย่า” (ตับเย็นย่า) เพลงเต่ า เห่ อั ต รา 2 ชั้ น เป็ น ท านองของเก่ า มี ม าแต่ ค รั้ งกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ประเภท หน้า ทับ ปรบไก่ บรรจุ อ ยู่ในเพลงช้า เรื่อ งเต่า กินผัก บุ้ ง ในลาดับ ที่ 2 เพลงนี้สมเด็จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า กรมพระยานริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ์ กั บ หลวงเสนาะดุ ริ ย างค์ (ทองดี ทองพิรุฬห์) ได้ร่วมกันปรับปรุงเข้าไว้ในบทคอนเสิร์ตเรื่องนางลอย ขับร้องและบรรเลงลาลอง พร้อมกันไปทาให้เกิดรสน่าฟังขึ้นมาก ที่เรียกว่าเต่าเห่ ก็ด้วยมีผู้นามาร้องแล้วแทรกเห่ต่อท้าย อย่างเห่เรือเข้าไปด้วยนั่นเอง โดยทาเป็นสร้อยทานองให้ผู้ขับร้องเห่สอดปี่พาทย์ ประสานกันคน ละแนว จึงมีผู้นิยมนาไปใช้เพื่อผลในการขับร้องบรรเลง และประกอบการแสดงนาฏศิลป์อย่าง หลากหลาย
บทร้องเพลงเต่าเห่ บท “เย็นย่า” ที่นิยมใช้ประกอบการบรรเลงแต่เดิมนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย นัยว่าทรงพระราชนิพนธ์เป็นคาพูดของสาวชาววังอ้างถึงท้าวศรีสัจจา (มิ) ผู้มี สิทธิ์ขาดในงานว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ที่ทางานของท่านอยู่ใกล้กับประตูดิน มีเกียรติ คุณยิ่งกว่าท้าวนางอื่น ๆ จึงได้ฉายาว่า “เจ้าคุณประตูดิน” นอกจากนี้ ในบันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ ลายพระหัตถ์ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2480 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงอธิบายมูลเหตุของบทพระราชนิพนธ์ “เย็นย่า” ที่นามาบรรเลงและขับร้องด้วยเพลงเต่าเห่ไว้ว่า เจ้ าพระยาเทเวศร์ เป็น ผู้ รู้ สึก ร าคาญหู ก่ อ น ท่านจึ งคิ ด จั ดร้ อ งเพลงช้าบทเย็ น ย่ า ให้ เป็ น ลา เต่ากินผักบุ้ง และบังคับให้ปี่พาทย์ทาเพลงช้าด้วยเพลงเต่ากินผักบุ้งเช่นกัน จึงฟังกลมกลืนเข้ากันดี หายรกหู คนชอบ จึงจาเอามาเล่นกันจนทุกวันนี้ .. ส่วนเพลงเร็วต่อท้ายซึ่งร้องบทรักเจ้าสาวคานั้น จะตอนมาแต่เมื่อไร และมีชื่ออย่างไรหาได้ทราบไม่ เรียกกันแต่ว่าเพลงสาวคาตามบทร้องนั้นเอง
บทขับร้องเพลงเต่าเห่นี้ เมื่อเกิดความนิยมขึ้นจึงได้มีผู้คิดนาเพลงมาบรรเลงและขับร้อง ต่อท้ายเพิ่มเติมจากเพลงประธาน อาทิ เพลงสาวคา บทร้องของเก่าไม่ทราบนามผู้แต่ง เพลงเร็ว จากบทพระราชนิพนธ์ “เงาะป่า” ตอนที่นางกอยสาวเข้ากระบวนฟ้อนราในพิธีแต่งงานของนาง ลาหับกับฮเนา เพลงออกภาษาเขมรทุบมะพร้าว หรือ “สาวสุดสวย” อัตรา 2 ชั้น เป็นต้น ได้ใช้ เป็นแบบฉบับการบรรเลงในหมู่นักดนตรีสืบมา เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ตับเย็นย่า” สาหรับการบรรเลงครั้งนี้ ประกอบด้วยเพลงจานวน 5 เพลง คือ เต่าเห่ สาวคา เพลงเร็ว แม่วอนลูก-ลูกวอนแม่ เขมรทุบมะพร้าว (สาวสุดสวย) และบรรเลงปิดท้ายด้วยเพลงลา ซึ่งได้มี การเรียบเรียงการบรรเลงรับ-ส่งร้องเพื่อให้เกิดสุนทรียรสตามแบบฉบับของวงเครื่องสายผสม ออร์แกนและขิม พร้อมทั้งปรับปรุงคาร้องและวิธีการขับร้องแบบต้นบท-ลูกคู่ พร้อมทั้งการขับ ร้องหมู่สอดสลับกันไป เพื่อเพิ่มลีลาและอรรถรสในการรับฟังบทเพลงยิ่งขึ้น
บทร้องเพลงเต่าเห่ ชุด “เย็นย่า” (ตับเย็นย่า) เต่าเห่ เย็นย่า จะค่าลงแล้วอยู่รอนรอน สาวน้อยเจ้าค่อยเดินจร ไปเก็บดอกแก้วเล่นเย็นเย็น ที่เกยเราเคยเห็น เป็นพวงเป็นพู่ดูน่าชม บ้างเด็ดได้ใส่ผ้าห่ม บ้างเดินบ้างดมบ้างชูไสว โขลนคนหนึ่งจึงร้องห้าม ว่าพวงงามงามอย่าเด็ดเอาไป ห้ามแล้วหาฟังไม่ จะไปเรียนเจ้าคุณประตูดิน (บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย )
สาวค่า รักเจ้าสาวคา นุ่งแดงห่มแดง ดอกคามันยิ่งแพง สาวน้อยจะห่มสีชมพู เจ้าก็มีผัวแล้ว จะแต่งไปให้ใครดู แต่งไปล่อชู้ เขาก็รู้อยู่เต็มใจ รักเจ้าสาวคา นุ่งเขียวห่มเขียว เดินไปคนเดียว ที่สะพานนายไกร จะไปทางนี้ หรือจะไปทางไหน นึกรักอยากได้ เจ้าสาวคาเอย (บทของเก่า ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง)
เพลงเร็ว ช้าหน่อยแม่นางก็อยเอย อย่าทาใจน้อยหน้าตาบูดบึ้ง ยิ้มเสียให้แฉ่งอย่าแสร้งมึนตึง ช้าหน่อยแม่นางก็อยเอย ช้านิดแม่ชื่นจิตรเอย อย่าใส่จริตกระดุ้งกระดิ้ง ดอกไม้หอมกรุ่นฉุนหรือจะทิ้ง ช้านิดแม่ชื่นจิตรเอย ช้าอืดแม่นางอืดเอย ตามกันเปนยืดยักไหล่ฟ้อนรา อย่าให้ช้านักจักเสียลานา ช้าอืดแม่นางอืดเอย ช้าไว้แม่ชื่นใจเอย ระวังอกไหล่อย่าให้ปะทะ จะเกิดราคาญขี้คร้านเอะอะ ช้าไว้แม่ชื่นใจเอย อย่าแค้นแม่แสนงอนเอย เวียนแต่ควักค้อนผูกคิ้วนิ่วหน้า ผัดอีกหน่อยหนึ่งให้ถึงเวลา อย่าแค้นแม่สอนงอนเอย ชะต้าแม่ตาคมเอย อย่าทาเก้อก้มเมียงเมินเขินขวย เหลือบมาสักนิดขอพิศตาสวย ชะต้าแม่ตาคมเอย หน่อยแน่แม่กินนรเอย ราร่ายฟายฟ้อนให้ต้องจังหวะ อย่าทาตัว้ เตี้ยจะเสียระยะ หนอยแน่แม่กินนรเอย ถึงแล้วแม่แก้วตาเอย เหนื่อยนักหรือจ๋าเหื่อตกซิกซิก หยุดพักเสียทียังมีบทอิก ถึงแล้วแม่แก้วตาเอย (บทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5)
เขมรทุบมะพร้าว (สาวสุดสวย) สาวสาวเจ้าสุดจะสวย รูปร่างสารวยเอวองค์ทรงหน้า แต่งตัวจะไปตลาด แต่งเปิ๊ดสะก๊าดเสียเต็มประดา มานั่งสาออยคอยท่า คนรักไม่มากลุ้มใจกลุ้มใจ พี่มองเหม่อละเมอคอยจ้อง โอ้แม่รูปทองเจ้าจะปองรักใคร มารักกับพี่เถอะน้องจะซื้อทองให้ใส่ รับรักพี่ชายเอาไว้สักคน รับรองชาตินี้ไม่มีหมองหม่น โอ้แม่หน้ามนมารักดนตรีไทย สาวสาวเจ้าช่างงามสม คิ้วต่อตาคมผมยาวเคลียไหล่ พี่อยากจะถามทรามวัย น้องมีเจ้าหัวใจหรือยังหรือยัง ถ้าหากหัวใจยังว่าง อย่าปล่อยรักร้างไปเลยกานดา พี่เป็นหนุ่มนักดนตรีไทย อยากจะฝากหัวใจไว้กับแม่ขวัญตา ไม่ปล่อยให้น้องต้องหมองวิญญาณ์ ต่อหน้าดินฟ้าสาบานสาบาน ถ้าหากน้องรับรักพี่ ปีนี้หนาวนี้ละแต่งงานแต่งงาน (บทของเก่า ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง)
6. ทยอยเดียว - เดียวซอด้วง เพลงทยอยเดี่ยวนี้ พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร หรือครูมีแขก) ได้คิดแต่งขึ้นจาก เพลงทยอยใน เพื่อใช้เป็นเพลงสาหรับเป่าปี่เดี่ยวอวดฝีมือ โดยเฉพาะตัวพระประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งเป็นผู้แต่งเอง ก็ได้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นจากการเป่าปี่เดี่ยวเพลงทยอยเดี่ยวนี้ ดังที่สุนทรภู่กล่าว ไว้ในคาไหว้ครูเสภาว่า “ครูมีแขกคนนี้เขาดีครัน เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงลือ” และก็นิย มใช้เป็ นเพลงสาหรับ เดี่ย วปี่ กันต่อ มา ภายหลัง พระยาประสานดุริย ศัพ ท์ (แปลก ประสานศัพ ท์) ได้คิดแปลงมาเป็ นทางเดี่ย วซอด้ ว ง ซึ่งมีสาเนีย งพอจะเลีย นกันได้ ต่อจากนั้น จึงมีผู้นาเพลงทยอยเดี่ยวนี้ไปประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ อีก ต่อไปแทบทุกอย่าง เพลงทยอยเดี่ยวนี้ จะเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรีชนิดใดก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็น เพลงชั้นสูงในประเภทเพลงเดี่ยวเพลงหนึ่ง ซึ่งจะหาฟังได้ไม่ง่ายนัก ส่วนทางร้องเพิ่งจะมามีขึ้น ในชั้นหลัง ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดเป็นผู้คิดแต่งขึ้นไว้
7. เขมรราชบุรี เถา เพลงเขมราชบุรี อัตรา 2 ชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ ใช้เป็นเพลงบรรเลงต่อ กับเพลงช้าเรื่องเขมรใหญ่ เพลงช้าเรื่องเขมรใหญ่นั้นมีวิธีเรียงลาดับเพลงอยู่ 2 แบบ แบบหนึ่ง เมื่อจบเพลงซ้าเรื่องเขมรใหญ่ คือ เขมรใหญ่ เขมรน้อยและเขมรกลาง แล้วก็ออกเพลงครวญหา และต่อด้วยเพลงวรเชษฐ์ อีกแบบหนึ่ ง เมื่อจบเพลงช้าเรื่องเขมรใหญ่ คือ เขมรเขาเขียว เขมร ขาว และเขมรแดง แล้ว ออกสองไม้ด้วยเพลงเขมราชบุรี 2 ชั้น และต่อด้วยเพลงเขมราชบุรีชั้น เดียวเป็นเพลงเร็ว เพลงเขมรราชบุรี 2 ชั้น ที่กล่าวมานี้มีผู้นามาแต่งขยายขึ้นเป็นอั ตรา 3 ชั้น สาหรับใช้ร้องส่งในการบรรเลงปี่พาทย์เครื่องสายและมโหรีหลายทางด้วยกันโดยเฉพาะทางของ ครูช้อย สุนทรวาทิน แต่ไม่สู้จะได้รับความนิยมแพร่หลายเท่าใด จึงสูญไป ราว พ.ศ. 2452 พระยาประสานดุริย ศัพ ท์ (แปล ประสานศัพท์) ได้ แต่งขยายเพลง เขมราชบุรีขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้นอีกทางหนึ่ง แทรกเม็ดพราย มีลูกล้อลูกขัดแปลกขึ้นกว่าที่เคยมีมา ในระหว่างที่แต่งเพลงนี้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิล ปบรรเลง) ได้มีส่ วนช่วยเหลืออยู่มาก ต่อมา ครูเฉลิม บัวทั่ง ปรับปรุงเฉพาะในอัตรา 2 ชั้นและชั้นเดียว บรรเลงเป็นเพลงเถา บทร้อง เพลงเขมรราชบุรี เถา ชะรอยกรรมจาพรากต้องจากไกล ถ้าแม้เขามิสงสัยไม่ไปเลย หอมกลิ่นกล้วยไม้ที่ใกล้ทาง พระเปลี่ยวเปล่าเศร้าสร้อยวิญญาณ์ ตะลึงแลจนลับนัยน์เนตร พระรีบขับอัสดรจรจรัล ครั้นถึงที่ประทับพลับพลาทอง อันระเด่นสังคามาระตา
จะผ่อนผันฉันใดนะอกเอ๋ย จะอยู่เชยชมแก้วกัลยา เหมือนกลิ่นสไบนางขนิษฐา เหลียวดูคูหาให้จาบัลย์ ยิ่งอาดูรพูนเทวษโศกศัลย์ หมายมั่นดั้นดงตรงมา ทหารเตรียมตั้งกองอยู่พร้อมหน้า ออกมารับเสด็จพระภูมี
(บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2) อ้างอิง บันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ ประทาน พระยาอนุมานราชธน พระราชนิพนธ์ เงาะป่า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หนังสือ โน้ตเพลงไทย เล่ม 2 พร้อมคาอธิบายเพลง โดย กรมศิลปากร หนังสือ ฟังและเข้าใจเพลงไทย โดย มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์ บทความเรื่องเต่าเห่: บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดย จักกฤษณ์ ดวงพัตรา
ประวัติวงเครืองสายผสมออร์แกนและขิม “วัชโรดม” “วัชโรดม” เป็นวงดนตรีที่เกิดจากการรวมตัวกันของเหล่านักดนตรีหลากหลายสาขา อาชีพ ที่ มี ใจรัก ในบทเพลงไทย ศิ ลปะการขั บ ร้อ งเพลงไทย หลงใหลในสุ นทรีย รสของวง เครื่องสายผสม จึงมีความมุ่งหมายร่วมกันที่จะสร้างสรรค์เสียงเพลงไทยแบบฉบับ ประกอบกับ การขับร้องไทยอย่างพิถีพิถัน เพื่อสื่อสารเสีย งดนตรีไทยอันไพเราะไปยังผู้ฟั ง ประกอบด้ว ย สมาชิกก่อตั้งจานวน 5 คน คือ อุดม ชุ่มพุดซา วรพล มาสแสงสว่าง ชัยทัต โสพระขรรค์ ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ และ จาตุรงค์ จันทภาโส นาเสนอการบรรเลงในรูปแบบวงเครื่องสายผสม ออร์แกนและขิม ซึ่งเป็นวงดนตรีไทยที่เคยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระยะเวลากว่าครึ่ง ศตวรรษที่ผ่านมา “วัชโรดม” มีผลงานการบันทึกเสียงปรากฏสู่สาธารณชนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2558 โดย ออกผลงานซีดีในอัลบั้ม “เพลินจิต” เป็นชุดแรก ก่อนที่จะมีผลงานเพลงเนื่องในวาระสาคัญต่าง ๆ ต่อมา เช่น “ไทยภาษาคุณานุสรณ์” เนื่องในวันที่ระลึกวันภาษาไทยแห่งชาติ เพลงชุด “ใกล้ รุ่งพรุ่งนี้ไม่มีพ่อ” และ “เดือนดาวพราย ปลายฝนหนาว” ซึ่งเป็นผลงานการเรียบเรียงเพลงตับ เนื่องในที่ระลึกเหตุการณ์วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร ออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา เอฟเอ็ม 92.0 เมกกะ เฮิร์ตซ และยังได้เผยแพร่ผลงานเพลงอื่น ๆ ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย การแสดงดนตรีในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนักดนตรีกิ ตติมศักดิ์ร่วมบรรเลงและขับร้อง บทเพลงที่ ไ ด้รั บ คั ด สรรมาเป็ น อย่ า งดี ทุ ก บทเพลงเคยได้ รั บ ความนิ ย มอย่ า งสู ง ในแวดวง เครื่องสาย มีแนวทางบรรเลงและการใช้เสียงดนตรีและขับร้องที่หาฟังได้เฉพาะในโอกาสพิเศษ เป็ นการนาเสนอที่จ ะพาผู้ฟังให้ย้อนราลึก ถึงบรรยากาศในอดีตเมื่อครั้งที่ ว งเครื่องสายผสม ออร์แกนยังเฟื่องฟูอยู่ในวิถีแห่งความบันเทิงเริงรมย์ของผู้คนในสังคมไทยทุกระดับ
รายนามนักดนตรี อุดม ชุ่มพุดซา วรพล มาสแสงสว่าง จาตุรงค์ จันทภาโส อ.กันต์ อัศวเสนา ผศ.ปาณิศรา เผือกแห้ว ดลภทร จันทร์วรานนท์ สุพจน์ สาราญจิตต์ อ.ขจรศิษฎ์ ชุมพร ธนายุทธ กาญจนานุช
โทน-รามะนา ออร์แกน โทน-รามะนา ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ขิม ฉิ่ง ตะโพน กลองตะโพน
อ.ชัยทัต โสพระขรรค์ อ.ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ ส.ต.ท.หญิง อนุสรา ดีชัยชนะ จณิสตา เสียมกระโทก ศิวกร มานุมูลัด
ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง ขับร้อง
โทน-รามะนา ฉิ่ง โหม่ง โหม่ง โหม่ง
รายนามนักดนตรีกิตติมศักดิ์ ครูวรยศ ศุขสายชล ครูประสิทธิ์ คุ้มทรัพย์ ผศ. ดร.จตุพร สีม่วง
ซอด้วง ออร์แกน ขับร้อง
สานักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๒๑๘๓๖๓๔ – ๕ culturalartcu@gmail.com www.cuartculture.chula.ac.th CU Art Culture @cuartculture CU Art Culture