สูจิบัตรออนไลน์ จุฬาวาทิตครั้งที่ 219 :120 ปี ชาตกาล ครูแอบ ยุวนวณิชย์ วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565

Page 1


๑๒๐ ปี ชาตกาล ครูแอบ ยุวนวณิชย์ “เก็บเพลงเก่า มาเล่าเรื่อง” ด้วยในปี ๒๕๖๓ เป็นปีครบรอบ ๑๒๐ ปี ชาตกาล คุณครูแอบ ยุวนวณิชย์ ครูจะเข้ หญิง ๕ แผ่นดิน ท่านเป็นนักดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง เป็นแม่ครูต้นแบบทางวัฒนธรรม ดนตรีไทยที่ทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ และที่สำคัญมีลูกศิษย์สืบทอดแนวทางการ บรรเลงจะเข้จนมาถึงปัจจุบัน ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ คณะลูกศิษย์จึงมีแนวคิดร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานทาง เพลงของครู ถ่ายทอดไปยังอนุชนดนตรีไทยรุ่นต่อ ๆ ไป โดยอนุรักษ์และต่อยอดทางเพลง เพื่อให้คงอยู่สืบไป แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จึงต้องเลื่อน กำหนดการมาจัดแสดงในปี ๒๕๖๕ ด้วยการเล็งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมดนตรีไทย และเจตนารมณ์อันงดงามของ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งให้ความอนุเคราะห์คณะศิษย์ ครูแอบ ยุวนวณิชย์จัดกิจกรรมดนตรี "๑๒๐ ปี ชาตกาล ครูแอบ ยุวนวณิชย์ เก็บเพลง เก่ามาเล่าเรื่อง" วันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๘.๐๐–๒๐.๐๐ น. ขอเชิญท่านสัมผัสกับสุนทรียรสจากเสียงดนตรี และร่วมเดินทางย้อนอดีตไปกับ การร้อยเรียงเรื่องราวจากบทเพลงที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูแอบ ยุวนวณิชย์ เมื่อครั้งที่ ครูได้มาสอนจะเข้ ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ – ๒๕๒๕ ได้ ณ บัดนี้


รายการแสดงงานจุฬาวาฑิต ครั้งที่ ๒๑๙ ๑๒๐ ปี ชาตกาล ครูแอบ ยุวนวณิชย์ “เก็บเพลงเก่า มาเล่าเรื่อง” วันศุกร์ ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นบบูชาพระคุณครู ๑. ลำนำมโหรีบูชาครู

มโหรีโบราณ วง มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

๒. โหมโรงครอบจักรวาลออกม้าย่อง

มโหรีเครื่องคู่ วง มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เชิดชูสืบสาน ๓. เพลงทะแย ๓ ชั้น

เครื่องสายไทยผสมซอสามสาย วงเพื่อนรัก

๔. เดี่ยวจะเข้หมู่เพลงจีนขิมใหญ่ ๒ ชั้น โกญจนาทวิบูลย์เพ็ง และกลุ่มรักษ์เพลงเก่า ๕. เดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพน ๒ ชั้น

โกญจนาท วิบูลย์เพ็ง

๖. เพลงล่องลม เถา

เครื่องสายปี่ชวา วงเฉลิมศิลป์

ตราบนานนิรันดร์ ๗. เดี่ยวจะเข้หมู่เพลงพญาโศก ๓ ชั้น สิทธิชัย ศรกาญจน์ และลูกศิษย์ ๘. เดี่ยวจะเข้เพลงนางครวญ ๓ ชั้น

ธัญญพงษ์ ณ นคร

๙. เดี่ยวจะเข้เพลงเชิดนอก

พิพัฒน์พงษ์ วิชายา

๑๐. เดี่ยวจะเข้หมู่เพลงกราวใน ๒ ชั้น

กลุ่มลูกศิษย์


ประวัติครูแอบ ยุวนวณิชย์ ครูแอบ ยุวนวณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ณ ตำบลบางซ่อน อำเภอพระนคร กรุงเทพ บิดาชื่อ นายอาจ รับราชการกอง ดุริยางค์ทหารเรือ มารดาชื่อ นางจันทร์ พนักงานห้อง เครื่อง ตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทราบรม ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประวัติการเรียนจะเข้ ๑. คุณยายละมัย บุนนาค ซึ่งเป็นคนจะเข้ประจำวงพระราชวังเดิมในสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ๒. ครูเจริญ บุนนาค ข้าราชการกองดุริยางค์ทหารเรือ ๓. ครูสังวาลย์ กุลวัลกี นักดนตรีวงวังบูรพาภิรมย์ ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์ วงศ์วรเดช และ ครูเครื่องสายวงพระตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และ วงวังบาง ขุนพรหม ในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๔. ครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ครูผู้ควบคุมวงของวังบางขุนพรหม ในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๕. ขุนเจริญดนตรีการ (นายดาบเจริญ โรหิตะโยธิน) ครูสอนเครื่องสายไทย ณ สโมสร บันเทิง สามัคยาจารย์สมาคม ๖. ครูเฉลิม บัวทั่ง ครูผู้ควบคุมวงดนตรีไทยกรมตำรวจ


ประวัติเพลง ๑. ลำนำมโหรีบูชาครู มโหรีโบราณ วงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ผศ.ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง ควบคุมวง) คุณสิทธิชัย ศรกาญจน์ ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของครูแอบ ยุวนวณิชย์ ได้เป็นผู้ ประพันธ์บทลำนำ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ (ตรงกับวันเกิดของครูแอบ) เพื่อเตรียม ไว้ใช้ในเป็นบทขับร้องในงานรำลึกถึงครู และได้รับความอนุเคราะห์จาก ผศ.ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บรรจุเพลงครอบจักรวาล ม้า ย่อง และจำปานารี บรรเลงด้วยวงมโหรีโบราณโดยนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัย การดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รำลึก ๑๒๐ ปี ชาตกาล ครูแอบ ยุวนวณิชย์ จะเข้หญิง ๕ แผ่นดินถิ่นสยาม เลื่องลือนาม ครูแอบ เป็นแบบอย่าง กลอนเพลงเก่าพลิ้วไหวไม่จืดจาง ยังพราวพร่างกลางใจชนคนดนตรี วัน เวลา มิอาจกลบลบเลือนเสียง สื่อสำเนียงทรนงคงศักดิ์ศรี จะเข้ครู คู่เครื่องสาย มโหรี เพลินดนตรีบรรเลงเพลงโบราณ ครูคือเพชรเม็ดอะคร้าววาวระยับ ทุกเหลี่ยมจับขับประกายฉายแสงฉาน เพลงของครูคงอยู่เป็นตำนาน ศิษย์สืบสานทางครูแอบแนบนิรันดร์


๒. โหมโรงครอบจักรวาล ออกม้าย่อง มโหรีเครื่องคู่ วงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ผศ.ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง ควบคุมวง) เพลงครอบจักรวาล ๒ ชั้น เป็นเพลงเก่า ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขยายขึ้น เป็น ๓ ชั้น เพื่อใช้เป็นเพลงโหมโรง เมื่อครั้งเป็นครูผู้สอนอยู่ในวงปี่พาทย์ของพระยาอิน ทราธิบดีสีหราชรองเมือง (เนียม) ส่วนเพลงม้าย่อง ของเก่าเป็นเพลงในอัตรา ๒ ชั้น ครู ช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขยายขึ้นเป็น ๓ ชั้น เพื่อใช้บรรเลงต่อจากเพลงโหมโรงครอบ จักรวาล ในการบรรเลงครั้งนี้ใช้ทางจะเข้ที่ครูแอบ ได้ถ่ายทอดไว้ วิธีการขึ้นเพลงโหมโรง ครอบจักรวาล เป็นวิธีการขึ้นตามรูปแบบสำนักพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)

๓. เพลง ทะแย ๓ ชั้น เครื่องสายไทยเครื่องคู่ผสมซอสามสาย วงเพื่อนรัก (สิทธิชัย ศรกาญจน์ ควบคุมวง) เพลงทะแย ๒ ชั้น เป็นเพลงเก่า นิยมใช้ร่วมร้องบรรเลงในวงมโหรีตับทะแย และยัง ใช้เป็นเพลงสำหรับปี่ชวาเป่านำขบวนกลองชนะ ในขบวนโดยเสด็จพยุหยาตราทาง สถลมารค และใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ประจำเทศน์มหาชาติกัณฑ์นครกัณฑ์ ที่เรียกว่า ทะแยกลองโยน ต่อมา พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้แต่งขยายขึ้นเป็น ๓ ชั้น นับ เป็นเพลง ๓ ชั้นเพลงแรก ๆ ของวงการดนตรีไทย นอกจากใช้ร้องบรรเลงเป็นวงแล้วก็ นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวใช้อวดฝีมือสำหรับ ปี่ ซอสามสาย และเครื่องดนตรีอื่น ๆ ด้วย ทางจะเข้ที่จะใช้บรรเลงในวันนี้ เป็นกลอนเพลงที่ครูแอบ ได้ถ่ายทอดไว้ บทร้อง โอ้ว่าเจ้าดวงมณฑาทอง พี่ตั้งจิตคิดอยู่ทุกเวลา

ไฉนน้องจึงมาร้างเสน่หา จะรับแก้วแววตามาเวียงชัย ( เรื่อง มณีสุริยงค์ )


๔. เพลง จีนขิมใหญ่ ๒ ชั้น เดี่ยวจะเข้ โดย โกญจนาท วิบูลย์เพ็งและกลุ่มรักษ์เพลงเก่า (โกญจนาทวิบูลย์เพ็ง ควบคุมวง) เป็นเพลงเก่า สำเนียงจีน ที่เล่นกันแพร่หลาย และ นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นเพลง เดี่ยวอวดฝีมือสำหรับ จะเข้ ปี่ ระนาด และเครื่องดนตรีอื่น ๆ ทางเดี่ยวจะเข้ที่จะบรรเลงใน วันนี้ เป็นทางที่ครูเจริญ บุนนาค ดีดบันทึกเสียงไว้ในแผ่นเสียงโบราณ ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ ๕

๕. เพลง ลาวแพน ๒ ชั้น เดี่ยวจะเข้ โดย โกญจนาท วิบูลย์เพ็ง เป็นเพลงเก่าที่มีต้นกำเนิดมาจากการร้องประกอบการเป่าแคนของเชลยศึกชาว ลาวที่ถูกเกณฑ์มาใช้แรงงานในสยาม ตั้งแต่ครั้งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คีตกวีชาวไทย ไปได้ยินมา จึงประดิษฐ์เป็นเพลงเดี่ยวขึ้น นิยมใช้บรรเลงอวดฝีมือสำหรับ จะเข้ ปี่ ระนาด เอก และเครื่องดนตรีอื่น ๆ ทางเดี่ยวจะเข้ที่บรรเลงในวันนี้ เป็นทางที่ครูเจริญ บุนนาค ดีดบันทึกเสียงไว้ในแผ่นเสียงโบราณ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕

๖. เพลง ล่องลม เถา เครื่องสายปี่ชวา วงเฉลิมศิลป์ (ผศ.ดร.นพ.ธัญญพงษ์ ณนคร ควบคุมวง) เป็นเพลงเก่า มีมานานแล้ว ทั้ง ๓ ชั้น และ ๒ ชั้น ไม่ทราบว่าครูท่านใดเป็นผู้แต่งต่อ มาในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงมีผู้นำมาตัดลงเป็นชั้นเดียวจนครบเถา นิยมนำมาใช้ร้องบรรเลง ทั้งในวงเครื่องสายทั่วไป และวงเครื่องสายปี่ชวา ทางจะเข้ที่บรรเลงในวันนี้ครูแอบ ยุวนวณิชย์ ได้ดีดบันทึกเสียง เป็นวงเครื่องสายไทยกับครูอาวุโสที่ห้องบันทึกเสียงสิทธิถาวร การดนตรี ของครูประสิทธิ์ ถาวร


บทร้อง ลมพัดเพลิงดับอนธการ

ประมาณเหมือนต้อนค้างคาวมาดับไฟ

กลิ่นลำดวนหอมหวลเหมือนกลิ่นเจ้า

ที่คลึงเคล้าเชยชิดยังคิดได้

เดือนดับลับเมฆมืดไป

เหมือนมืดในวิหารคีรี

แว่วเสียงสำเนียงบุหรงร้อง

เหมือนเสียงน้องร้องทูลมะเดหวี

วังเวงใจในเวลาราตรี

จวนจะแจ้งแสงสีสว่างฟ้า (เรื่องอิเหนา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ )

๗. เพลง พญาโศก ๓ ชั้น เดี่ยวจะเข้ โดย สิทธิชัย ศรกาญจน์ และลูกศิษย์ (สิทธิชัย ศรกาญจน์ / ผศ.ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทองควบคุมวง) เป็นเพลงเก่า อัตรา ๒ ชั้น บรรเลงรวมอยู่ในเรื่อง พญาโศก และ นิยมนำมาแยกใช้ ประกอบการแสดงโขนละครในบทโศก จนในสมัยรัชกาลที่๔ พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยา งกูร) ได้แต่งขยายขึ้นเป็น ๓ ชั้น และประดิษฐ์ทางเดี่ยวสำหรับเครื่องมือต่างๆเป็นที่นิยม มาถึงปัจจุบัน ทางเดี่ยวจะเข้ที่บรรเลงในวันนี้เป็นทางที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ซึ่งได้ถ่ายทอดไว้ให้กับครูสังวาลย์ กุลวัลกี ต่อมาครูแอบ ได้ถ่ายทอดให้ คุณสิทธิชัย ศรกาญจน์ ซึ่งได้ถ่ายทอดไว้ให้ลูกศิษย์หลายรุ่นที่ภาควิชา ดนตรีไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วันนี้จึงได้พร้อมใจกันมาเดี่ยวจะเข้ เพื่อรำลึกถึงพระคุณครู บทร้อง เหลือบเห็นพระไวยอาลัยพ่อ เป็นทหารผลาญย่อยมาร้อยแดน

น้ำพระเนตรคลอคลอถึงหลวงแผน พระกริ้วแค้นตรัสสั่งพระไวยพลัน ( เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน )


๘. เพลง นางครวญ ๓ ชั้น เดี่ยวจะเข้ โดย ผศ.ดร.นพ.ธัญญพงษ์ ณ นคร เป็นเพลงเก่า อัตรา ๓ ชั้น ที่เชื่อว่า น่าจะมาจากเพลง นางร่ำ ๒ ชั้น ผู้แต่งน่าจะ เป็นท่านเดียวกับผู้แต่งเพลง สุดสงวน ๓ ชั้น โดยน่าจะแต่งไว้ให้เป็นเพลงคู่กัน และแต่งไว้ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทางเดี่ยวจะเข้ที่บรรเลงในวันนี้ เป็นทางที่ครูเฉลิม บัวทั่ง ประดิษฐ์ไว้สำหรับให้ครูแอบ ยุวนวณิชย์ ใช้เดี่ยวจะเข้เมื่อครั้งเป็นนักดนตรีสังกัดวงดนตรี ไทย กรมตำรวจ และในเพลงเดี่ยวนางครวญ ครูแอบ ได้เพิ่มนมจะเข้ อันที่ ๑๒ ขึ้น เพื่อให้ สามารถดีดเสียง “ลา” ตามกลอนเพลงที่ครูท่านประพันธ์ไว้ได้อย่างแยบยล อันเป็นที่มา ของ “จะเข้ ๑๒ นม” สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน บทร้อง โอ้ว่าป่านฉะนี้พระพี่เจ้า ตั้งแต่พระไปแก้สงสัยมา

จะโศกเศร้ารัญจวนครวญหา มิได้พบขนิษฐาในถ้ำทอง (เรื่องอิเหนา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ )

๙. เพลง เชิดนอก เดี่ยวจะเข้ โดย พิพัฒน์พงษ์ วิชายา (รศ.ณรงค์ เขียนทองกุล ควบคุม) เพลงเชิดนอก เป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงหนังใหญ่ในชุด จับลิงหัวค่ำ และ ประกอบการแสดงโขนในชุดหนุมานจับนางเบญกาย และ หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา ตั้งแต่โบราณ นิยมนำเพลงเชิดนอกมาบรรเลงเป็นเพลงเดี่ยวอวดฝีมือ เดิมเครื่องดนตรีที่ ใช้เดี่ยวคือ ปี่ใน ปี่จะเลียนเสียงร้องว่า “จับตัวติดตีให้ตาย” ตามแบบแผนจะเป่าปี่เลียน เสียงจับถึง ๓ ครั้ง จึงจบเพลง เพลงนี้จึงเรียกแต่ละท่อนเป็น“จับ” ไม่เรียก “ตัว” เหมือน เพลงเชิดอื่น ๆ


ราวสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงนำเอาเครื่องดนตรีประเภทอื่นมาเดี่ยวบ้าง เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ใหญ่ จะเข้ ซอด้วง เป็นต้น ทางเดี่ยวจะเข้ที่บรรเลงในวันนี้เดิมเป็นทางที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ซึ่งได้ถ่ายทอดไว้ให้กับขุนเจริญดนตรีการ (นายดาบเจริญ โรหิตะโยธิน) และถ่ายทอดสืบต่อมา แต่ครูแอบ ยุวนวณิชย์ ในวัย ๘๐ ปี หลงลืมจับที่ ๒ และจับที่ ๓ ครูจำได้เพียงจับที่ ๑ เท่านั้น ต่อมารองศาสตราจารย์ ณรงค์ เขียนทองกุล จึงได้ประดิษฐ์จับที่ ๒ และจับที่ ๓ ขึ้นเพื่อให้สามารถบรรเลงได้ครบจบเพลง นำมาบรรเลงในวันนี้ ๑๐. เพลง กราวใน ๒ ชั้น เดี่ยวจะเข้ โดย กลุ่มลูกศิษย์ เป็นเพลงหน้าพาทย์สามัญ ประกอบการแสดงโขนของตัวละครฝ่ายยักษ์ ทำนอง เพลงให้ความรู้สึกองอาจ สง่างามและฮึกเหิม มีกลุ่มลูกโยนที่มีลักษณะพิเศษคือมีลูกโยน ครบทั้ง ๖ เสียง เปิดโอกาสให้พลิกแพลงแปรทำนองให้วิจิตรพิสดารได้มาก จึงเหมาะที่จะ เป็นเพลงเดี่ยวของทุกเครื่องดนตรี ทางเดี่ยวจะเข้ที่บรรเลงในวันนี้เป็นทางที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พระยาประสาน ดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้ถ่ายทอดไว้ให้ขุนเจริญดนตรีการ (นายดาบเจริญ โรหิตะโยธิน) ครูแอบ ยุวนวณิชย์ ได้ต่อเพลงเดี่ยวกราวในจากครูดาบเจริญ ที่สามัคยาจารย์สมาคม สำหรับการบรรเลงในวันนี้ คุณสิทธิชัย ศรกาญจน์ ได้ประพันธ์ บทร้อง บทพากย์ บท เจรจา ขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อใช้เป็นการแสดงชุดอำลา และ รำลึกถึงครูแอบ ยุวนวณิชย์ ครู ผู้เป็นที่เคารพรักตลอดไป โดยคณาจารย์และนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการ ดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ร่วมพากย์ เจรจา ขับร้อง และบรรเลง เครื่องประกอบจังหวะ


บทพากย์ วันนี้จำต้องจากลา

ขอบคุณที่มา

บูชาพระคุณครูเพลง สืบสานต่อยอดบรรเลง

ฮึกเหิมครื้นเครง

บรรเลงลือลั่นสนั่นไป บทเจรจา ร่ายสุภาพ ดูกร มิตรรักดนตรี วันนี้จะบรรเลง

ฝากเพลงสำคัญไว้

ตั้งใจสืบสาน

เนิ่นนานสืบไป

“กราวใน” เลื่องลือ

พลิ้วไหวได้จังหวะ

ไม่ลดละ รุกเร้า

ทางเพลงเก่าสืบทอดมา

ปวงข้าฯ อัญเชิญครู

ดุริยเทพรังสรรค์

รับขวัญเชิดชู

กราบครูผู้สั่งสอน

ทุกทางกลอนสืบมา

คารวะนอบนบ

เคารพวันทา

น้อมบูชานิจนิรันดร์

ศิษย์มาพร้อมกัน

บรรเลงลือลั่น

สืบสาน..สดุดี..

กราวใน บัดนั้น ขอคุณครูจงช่วยรักษา

เหล่าศิษย์ก้มกราบกตัญญุตา “กราวใน” เจิดจ้าสถาพร


รายนามนักดนตรี มโหรีโบราณ วงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขับร้อง

ขลุ่ย

สุธี จันทร์ศรี

นพดล จันทร์แจ่ม

ธาดาพงษ์ ยี่ผาสุก ฐนันดร แก้วลูก

โทน

รัตนะ ฮุยนอก

สุภัทรชัย สืบสกุล

ซอสามสาย

รำมะนา

ชวลิต ลีนาบัว

จิรายุส ทรัพย์อยู่

กระจับปี่ ฐิติพงศ์ ราชวงศ์ มโหรีเครื่องคู่ วงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซอสามสาย

จะเข้

ณัฐพร เล็กสัมฤทธิ์

จิตต์เดช โอภาสสุริยะ

นพวรรณ ทับเพรียง

ธเนศ มลิชู

ซอด้วง

ขลุ่ยเพียงออ

นวรัตน์ วงศ์ถนอม

อภิวัฒน์ พุ่มซ่อนกลิ่น

ชุติภา เอมะรักษ์ ขลุ่ยหลิบ ซออู้

ธีธัช ฉีดจันทร์

รสริน อ่อนน่วม พรรฒนภร สุวรรณศรี

ระนาดเอก ฐิติรัตน์ วรวานิช


ระนาดทุ้ม

ฉิ่ง

ครองไทย อยู่ดี

จิรายุส ทรัพย์อยู่

ฆ้องวงใหญ่

ฉาบ

วรากร อ่ำเมือง

สัภยา สิงห์อ้าย

ฆ้องวงเล็ก

กรับพวง

ศุภชัย ศิษย์ประเสริฐ

ธีรพันธุ์ อิ่มสะอาด

โทน-รำมะนา

โหม่ง

สุภัทรชัย สืบสกุล

วรรณรัตน์ ชำนาญสินธุกิจ

เครื่องสายไทยเครื่องคู่ผสมซอสามสาย วงเพื่อนรัก ขับร้อง

จะเข้

ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ

สิทธิพร ศรกาญจน์ สิทธิชัย ศรกาญจน์

ซอสามสาย จักรี มงคล

ขลุ่ยเพียงออ มนวัฒน์ เงินฉ่ำ

ซอด้วง สุรพล ลิ้มพานิช

ฉิ่ง

อาทร ธนวัฒน์

สุพจน์ สำราญจิตต์

ซออู้

โทน-รำมะนา

ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์

อุดม ชุ่มพุดซา

มารุธ วิจิตรโชติ


เดี่ยวจะเข้หมู่เพลงจีนขิมใหญ่ ๒ ชั้น ขับร้อง

ฉิ่ง

จุฑาภัทร บุญศรี

ภัทราพร กิขุนทด

จะเข้

กลองแขก

โกญจนาท วิบูลย์เพ็ง

มณต์มนัส ลือชัย

นราธิป เพียรทอง

ปฏิพล ชำนาญกลาง

ธีรวุฒิ รักไร่ จิรายุ สีชัง ภูวิศ แถวเพีย ศิวัชญ์ สลิลรัตน์ ธีรภัทร โสนเส้ง คงกช ชัยประสิทธิกุล เดี่ยวจะเข้เพลงลาวแพน ๒ ชั้น ขับร้อง

กลองแขก

จุฑาภัทร บุญศรี

มณต์มนัส ลือชัย ปฏิพล ชำนาญกลาง

จะเข้ โกญจนาท วิบูลย์เพ็ง ฉิ่ง ภัทราพร กิขุนทด


เครื่องสายปี่ชวา วงเฉลิมศิลป์ ขับร้อง

ขลุ่ยหลิบ

อนุชา ก้องมณีรัตน์

มนวัฒน์ เงินฉ่ำ

ปี่ชวา

ฉิ่ง

พรชัย ตรีเนตร

สุพจน์ สำราญจิตต์

ซอด้วง

กลองแขก

ภควัต บ่างสมบูรณ์

ตะวัน โตเอี่ยม ธนกร เติมเต็มศรี

ซออู้ ธัญญพงษ์ ณ นคร

กรับ ลัทธวิทย์ เปรื่องวิชา

จะเข้ ปรากฏ ลิมปกาญจน์ เดี่ยวจะเข้เพลงนางครวญ ๓ ชั้น ขับร้อง วิมลมาศ กางจันทา จะเข้ ธัญญพงษ์ ณ นคร

ฉิ่ง อนุชา ก้องมณีรัตน์ โทน-รำมะนา อุดม ชุ่มพุดซา


เดี่ยวจะเข้หมู่เพลงพญาโศก ๓ ชั้น ขับร้อง

ฉิ่ง

ดุษฏี สว่างวิบูลย์พงศ์

ชวลิต ลีนาบัว

จะเข้

โทน-รำมะนา

สิทธิชัย ศรกาญจน์

สุภัทรชัย สืบสกุล

สุรพงษ์ บ้านไกรทอง พงษ์ศิริ ยอดเพชร

กรับพวง

พาสุข แววศรี

ณัฐรุจา ใจสนธิ

ฐิติพงษ์ ราชวงศ์

ชมพูนุท จูฑะเศรษฐ์

ธเนศ มลิชู จิตต์เดช โอภาสสุริยะ สัภยา สิงห์อ้าย รัชพล ยังยิ่งทรัพย์ ภานุพัฒน์ แสนคำ มาลิณี อุ่นหะวงศ์ อภิวัล วิโรจน์ กิตติยา บัวผลิ ฐิติมา กฤษฎาสกุลการ เดี่ยวจะเข้เพลงเชิดนอก จะเข้

กลองสองหน้า

พิพัฒน์พงษ์ วิชายา

แนววิทย์ นิยมวงษ์

ฉิ่ง อภิญญาวุฒิ วิโรจน์เวชภัณฑ์


เดี่ยวจะเข้หมู่กราวใน ๒ ชั้น พากย์ /เจรจา / ขับร้อง

ฉิ่ง

สุธี จันทร์ศรี

สุรพงษ์ บ้านไกรทอง

ฐนันดร แก้วลูก ธาดาพงษ์ ยี่ผาสุก

ตะโพน

รัตนะ ฮุยนอก

สุภัทรชัย สืบสกุล

จะเข้

กลองทัด

ณรงค์ เขียนทองกุล

จิรายุส ทรัพย์อยู่

สิทธิชัย ศรกาญจน์ ธัญญพงษ์ ณ นคร พิพัฒน์พงษ์ วิชายา โกญจนาท วิบูลย์เพ็ง


ขอขอบพระคุณ ภาควิชาดนตรี วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณาจารย์ พี่ เพื่อน น้อง ลูกศิษย์ หลานศิษย์ นิสิต นักศึกษา นักดนตรีที่มาร่วมบรรเลง ตลอดจนกัลยาณมิตรที่นิยมชมชอบ สุนทรียรสจากดนตรีไทยทุกท่าน ... ขอคุณครู อำนวยพรให้ทุกท่านประสบความสุขสวัสดีตลอดไปครับ ...

... ดนตรีไทย... ก้องไปในโลกหล้า ด้วยแรงรักศรัทธามิเสื่อมสูญ ธำรงรักษ์ดนตรีไทยเพริศไพบูลย์ เพื่อเกื้อกูลชาติไทยให้ยั่งยืน … สิทธิชัย ศรกาญจน์ - ร้อยกรอง ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ผลิตรายการโดย สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Art Culture @cuartculture CU Art Culture cu.art.culture 099-328-1616 cuartculture@chula.ac.th www.cuartculture.chula.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.