จุฬาวาฑิต ครั้งที่ ๒๒๑ วงโยธวาทิตกองทัพเรือ วันศุกร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายการแสดง มหานิมิตร โหมโรงสะบัดสะบิ้ง สรรเสริญเสือป่า มาร์ชบริพัตร แขกสาย เถา วอลทซ์ประชุมพล มาร์ชดำรง มาร์ชภาณุรังษี สาครลั่น วอลทซ์ปลื้มจิตต์ แขกมอญบางขุนพรหม เถา ราชนาวี
ประวัติเพลง มหานิมิตร มหานิมิตร หรือ ตระนิมิตร เป็นเพลงหน้าพาทย์สำหรับปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้บรรเลงในพิธี ไหว้ครู เพื่ออัญเชิญเทวดามาในพิธี หรือบรรเลงในการแสดงโขนหรือละคร เพื่อประกอบการ แปลงกายของเทวดา หรือการเสกมนต์ ในปลายรัชกาลที่ ๖ โดยครูจางวางทั่ว พร้อมด้วยศิษย์ เอกของทูนกระหม่อมบริพัตร อีกสองท่านคือ หลวงประสานดุริยางค์ (สุทธิ ศรีชญา) และครูอาจ สุนทร ช่วยกันแยกเสียงประสานสำหรับแตรวงเพื่อใช้ประกอบโขนและละคร เช่น โขนตอน ศึกพรหมมาศ เป็นต้น โหมโรงสะบัดสบิ้ง เพลงโหมโรงสะบัดสบิ้ง เป็นเพลงไทยเดิมสองชั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเป็นเพลงเถา เป็นโน้ตสากล สำหรับแตรวงบรรเลงเป็นเพลงโหมโรงเสภา ใช้เสียงประสานต่าง ๆ พอสมควรปรากฏหลักฐาน อยู่ที่แตรวงทหารเรือและทหารบกในทุกวันนี้ ทรงพระนิพนธ์เมื่อดำรง พระยศเป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ สรรเสริญเสือป่า เพลงสรรเสริญเสือป่า ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงจากเพลงบุหลัน ลอยเลื่อน โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อเป็นเพลงประจำกองเสือป่าพรานหลวง ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นทางแตรวง และบันทึกโน้ตแบบสากล ทรงพระนิพนธ์ขึ้นไว้เมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นเสนาบดีกระทรวงทหาร เรือ มาร์ชบริพัตร เพลงมาร์ชบริพัตร เป็นเพลงในพระนามของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ทรงพระนิพนธ์ในราวต้นรัชกาลที่ ๖ ระหว่าง ปีพ.ศ.๒๔๕๘ ถึง พ.ศ.๒๔๖๐ ใช้บรรเลงประกอบภาพยนตร์เงียบและงานอื่น ๆ มาช้านาน ครูนารถ ถาวรบุตรได้จดโน้ตไว้และนำออกเผยแพร่ นับเป็นเพลงมาร์ชที่สง่างามและไพเราะมาก ที่สุดเพลงหนึ่ง
แขกสาย เถา เพลงแขกสาย เถานี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนคร สวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์เป็นเพลงเถา จากเพลงแขกโหม่ง สองชั้น ของเก่า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ แต่ได้ทรงเพิ่มสร้อยเข้าไปในท่อนที่ ๒ ทำให้เพลงมีความไพเราะงดงามชวนฟังมาก ขึ้น เพลงนี้เดิมทำไว้สำหรับบรรเลงด้วยแตรวงก่อน จากนั้นจึงทรงพระนิพนธ์ปรับทางให้เหมาะ กับวงปี่พาทย์ นับเป็นเพลงไพเราะที่แพร่หลายมากคู่กับเพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา วอลทซ์ประชุมพล เพลงวอลทซ์ประชุมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระ นครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จไปรับราชการ กรมทหารเรือ เป็นเพลงสำหรับ แตรวงทหารเรือบรรเลง และตั้งพระทัยให้เป็นเพลงประจำกรมทหารเรือ จึงได้ทรงตั้งชื่อเพลง “วอลทซ์ประชุมพล” เป็นโน้ตแบบสากล มาร์ชดำรง เพลงมาร์ชดำรงเป็นเพลงที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรม พระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ในราวต้นรัชกาลที่ ๖ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๓ ถึง พ.ศ.๒๔๕๘ แล้วถวายเป็นเพลงประจำพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ พระอนุชาของรัชกาลที่ ๕ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นก่อนเพลงมาร์ชบริพัตรไม่นานนัก เพลง มาร์ชดำรงมีลักษณะท่วงทำนองเป็นตะวันตกอยู่มาก โดยเฉพาะลักษณะทำนองในท่อนสอง ความหลากหลายในทำนอง ทำให้มาร์ชดำรงเป็นเพลงมาร์ชที่มีสีสันสดใสและร่าเริงสง่างามมาก ที่สุดเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงมาร์ชที่แต่งขึ้นในยุคนี้ มาร์ชภาณุรังษี เป็นเพลงมาร์ชรุ่นต้นๆ ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เพลงนี้แต่งขึ้นสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาพิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จวังบูรพา) แนวทางเพลงนี้เป็นมาร์ชแนวเก่าที่นิยมดำเนินทำนอง ตามแบบต้นศตวรรษที่ ๑๘ ทั้งได้มีการบันทึกแผ่นเสียงโดยห้างเยอรมันตรา Odeon ด้วยเป็น เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นประจำมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากเพลงนี้ ยังมีเพลงมาร์ชอื่น ๆ ตามมา เช่น มาร์ชวชิราวุธ(มาร์ชพระนาม) มาร์จิระ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าจิระประวัติกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) มาร์ชดำรง (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) มาร์ชบริพัตร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)
สาครลั่น เพลงสาครลั่น เป็นเพลงจังหวะมาร์ช สำหรับบรรรเลงหน้าแถวทหาร สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงจากเพลง ทะเลบ้า สองชั้น และเพลงคลื่นกระทบฝั่ง สองชั้นทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อดำรงพระอิสริยยศ เป็น เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ วอลทซ์ปลื้มจิตต์ เพลงวอลทซ์ปลื้มจิตต์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนคร สวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จกลับจากการศึกษา ณ ประเทศยุโรป เป็นเพลงแรกซึ่ง เริ่มทรงพระนิพนธ์ ในวิชาการทางดนตรีเป็นโน้ตแบบสากล แขกมอญบางขุนพรหม เถา เพลงนี้ได้ชื่อว่าเป็นเพลงพระนิพนธ์ในพระนาม และเป็นเพลงเถาเพลงแรกที่ทรงประดิษฐ์ ขึ้นจากเพลงมอญ สองชั้นของเก่าชื่อว่าเพลงมอญตัดแตงเป็นเพลง ๓ ท่อน หน้าทับปรบไก่ ทรงพระนิพนธ์ขณะเสด็จไปตรวจราชการการก่อสร้างพระราชวังบ้านปืนจังหวัดเพชรบุรี ใน ปีพ.ศ.๒๔๕๓ ปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ทรงพระนิพนธ์ไปพร้อม ๆ กับโปรดฯให้นายสุทธิ ศรีชญา เป่าแตรคอร์เน็ต แล้วเขียนเป็นโน้ตสากลตามไปทีละวรรค แล้วทรงจดเป็นสกอร์โน้ตสากล แยก เสียงประทานให้แตรวงทหารเรือบรรเลงเป็นวงแรก ต่อมาได้ทรงปรับใหม่ทั้งทางบรรเลงและ ขับร้อง เพื่อบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง นับเป็นเพลงที่แพร่หลายเป็นที่นิยมมากที่สุดเพลง หนึ่งของวงการดนตรีไทย บทร้องเดิมที่ทรงกำหนด เดิมมาจาก เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พลายชุมพลแปลงตัวเป็นมอญ โดยเฉพาะในอัตราชั้นเดียวนั้น ได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องไว้เป็น พิเศษเพื่อแสดงว่าเพลงนี้มีกำเนิด ณ วังบางขุนพรหม
เพลงราชนาวี คำร้อง และทำนอง ประพันธ์โดย น.อ.ภิญโญ พงษ์สมรวย หนึ่งพันห้าร้อยไมล์ทะเลไทยมี นาวีนี้เฝ้า ข้าศึกฮึกเข้าระดมโจมตี นาวีนี้รบรับอยู่ ใหญ่กี่ตันต้องสู้กัน ฟาดฟันให้รู้ ไม่ปล่อยให้ศัตรู ล้ำอธิปไตย เหมือนดอกประดู่ชื่อดี นาวีเมืองทอง เราชาตินักรบเกียรติก้อง ยามศึกเราต้องชิงชัย เกิดมาทั้งทีไม่ทุกข์ก็สุขใจ ไม่ว่าศึกเสือเหนือใต้ จมลงไปใต้บาดาล ราชนาวีชาติไทย เราใจทหารเรือกล้าหาญ ราชนาวีต้องการ เราทหารเรือรักชาติ รบช่วยกันรบรั้วเราเข้มแข็ง ทุ่มด้วยแรงนักรบองอาจ สามัคคีในหมู่หารเหมือนญาติ รบเพื่อชาติราชนาวี
รายนามนักดนตรี Flute
จ.อ.ปฏิวัติ กล่ำกลาง
Oboe
จ.อ.สราวุธ รักดี
Clarinet
จ.อ.ธีรภัทร มาตรง
จ.อ.กสิณ ณรงค์ศักดิ์
จ.อ.ปรีชา นพสันติ
จ.อ.สุทธิชัย พันธ์พุทธ
Alto sax
จ.อ.ธนิต นามบุตร
จ.อ.ปิยะณัฐ บุญประคอง
Tenor Sax
จ.อ.อธิบดี นนทะริ
จ.อ.ชนาธิป สมิเปรม
Horn
จ.อ.เฉลิมพล ชื่นทรวง
จ.อ.วีรพันธ์ มารื่น
Trumpet
จ.อ.นริศ อยู่โพธิ์ทอง
จ.อ.จักรกฤษณ์ อ่องเอี่ยม
จ.อ.วิระชัย ผิวพรรณ์
จ.อ.จิตรกร พัฒนาพารา
พ.จ.อ.วรวัฒน์ กำลังงาม
จ.อ.ณัฐนันท์ ตันวัฒนะ
Euphonium
จ.อ.ฉัตรชัย ผิวประกายเพชร
จ.อ.อิฐธิพงษ์ เปรมไพศาล Trombone
พ.จ.อ.ชุมพล ปลื้มถนอม
จ.อ.สิริวัฒน์ ธรรมาภิมุข
จ.อ.ณัฐวุฒิ ตางาม Bass
พ.จ.อ.ศราวุธ ทองประสิทธิ์
จ.ต.ณัฐวุฒิ เจิดสกุล
Percussion
จ.อ.กฤษดา เนตรโรจน์
จ.อ.กุลพงษ์ ผันเจริญ
จ.อ.จอมพล ใจดี ขับร้องเพลงไทย
พ.จ.อ.หญิง อังคนา อ้วนล่ำ
เครื่องจังหวะ
นายณัฐวุฒิ เอี่ยมอิ่ม
จ.ต.หญิง กัญกุลณัช ลาวเกษม
พลฯ กฤษณะ วิฤทธิ์
ร.ต. สมเดช แม่นขำ
ผู้อำนวยเพลง
ร.ท.นิลพรรดิ์ บุตรเพ็ชร ร.ต.มงคล โพธิ์อุบล
ผู้ควบคุมวงดุริยางค์
น.อ.พฤทธิธร สุมิตร
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Art Culture @cuartculture CU Art Culture cu.art.culture 099-328-1616 cuartculture@chula.ac.th www.cuartculture.chula.ac.th