CU Around จุฬาสัมพันธ์ ฉบับที่ 1 ปีที่ 61

Page 1


สารนายกสภา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใน

วาระขึ้นปีใหม่ 2561 ดิฉันขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ในสากลโลก โปรดอ�ำนวยพรอันประเสริฐ แด่ท่านและครอบครัว ให้ประสบแต่ความดี ปราศจากทุกข์ ขอพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานก�ำเนิดจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระผูท้ รงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงคุ้มครองปกปักรักษา ให้ท่านและครอบครัวมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีพลังกายพลังใจอันเข้มแข็ง พร้อมด้วยสติและปัญญา ให้ประสบความส�ำเร็จในการกระท�ำดี และให้สามารถท�ำหน้าทีข่ องท่านอย่างเต็มทีแ่ ละอย่างดีทสี่ ดุ ในการพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างบัณฑิตที่ดีและเก่ง พร้อมด้วยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อสร้างประโยชน์ สุขแก่สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป

(ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์) นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


สารอธิการบดี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พี่น้องชาวจุฬาฯ ที่เคารพรัก วาระ

วันขึ้นปีใหม่ได้เวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ในรอบปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาฯ ประชาคมชาวจุฬาฯ ทั้งคณาจารย์ บุคลากร นิสติ และศิษย์เก่าต่างร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงาน เพือ่ ให้สถาบัน อันเป็นที่รักของเรา ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 อย่างสง่างาม เป็นที่ยอมรับ ทัง้ ในระดับชาติและนานาชาติ ดังทีป่ รากฏว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศอีกครั้ง โดย QS World University Rankings ประจ� ำ ปี 2017-2018 นอกจากนี้ ทั้งคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจุฬาฯ ยังน�ำชื่อเสียง เกียรติภมู มิ าสูม่ หาวิทยาลัยอย่างต่อเนือ่ ง ด้วยผลงานต่างๆ รวมถึงงาน วิจัย นวัตกรรม และการให้บริการวิชาการสู่สังคม ท�ำให้ได้รับรางวัล ประกาศเกียรติคณ ุ ทัง้ ในระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นจ�ำนวนมาก

ในนามของคณะผูบ้ ริหาร ผมขอขอบคุณประชาคมชาวจุฬาฯ อย่างจริงใจ ทีท่ กุ คนร่วมกันท�ำงานปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตนด้วยความวิรยิ ะ อุตสาหะ และความทุ่มเทตลอดมา จนท�ำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความส�ำเร็จ น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจเช่นทุกวันนี้ ในวารดิถี ปีใหม่นี้ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่พวกเราจะได้ทบทวนผลงานของตนเอง ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อสานต่อผลงานให้บรรลุเป้าหมาย สมความ ตั้งใจยิ่งขึ้นต่อไป ในศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ 2561 นี้ ผมขออาราธนาคุณพระศรี รัตนตรัย และเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว และพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว พระผู ้ พระราชทานก�ำเนิดและพระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โปรดดลบันดาลให้ประชาคมชาวจุฬาฯ ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีพลังกายและพลังใจที่เข้มแข็ง น�ำความก้าวหน้ามาสู่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคนสืบไป

(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์) อธิการบดี


CU Feature

l 4

y t i s r r e v a i n U Sm

y t i l i b o tM

t r a Sm

เรื่อง : สุรเดช พันธุ์ลี ภาพ : สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร พิมพ์ลักษณ์ สิริวัชราทร

การเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ที่ส�ำคัญประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจของการสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จุฬาฯ ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวใจกลางเมือง มีศักยภาพในการเป็นแม่แบบแนวคิดเรื่องเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ ได้พัฒนารูปแบบและ แนวทางการสัญจรทีเ่ ป็น Smart Mobility อย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะเป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์ นิสติ บุคลากร และผูม้ าติดต่อมหาวิทยาลัยลดการใช้รถยนต์ ส่วนตัว โดยได้สร้างอาคารจอดรถ 4 แห่งรอบจุฬาฯ รวมทั้งมีการสร้างทางเดินมีหลังคา (Cover Way) ภายในมหาวิทยาลัยทั้งสองฝั่ง เพื่อกันแดดและฝน และอ�ำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้ผู้คนเดินเท้ามากขึ้น ในส่ ว นการสร้ า งระบบขนส่ ง สาธารณะภายใน มหาวิทยาลัยทีล่ ดการใช้พลังงานเชือ้ เพลิงและเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม จุฬาฯ ได้ออกแบบระบบขนส่งต่างๆ อาทิ รถโดยสารไฟฟ้าปรับอากาศ ข น า ด เ ล็ ก ภ า ย ใ น จุ ฬ า ฯ ( S h u t t l e B u s ) ร ถ จั ก ร ย า น สาธารณะจุฬาฯ (CU Bike) และล่าสุดคือโครงการแบ่งปันรถกันใช้ ด้วยยานยนต์ไฟฟ้า “CU TOYOTA Ha:mo” ซึ่งเปิดให้ชาวจุฬาฯ ได้ ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 เป็นต้นมา ระบบการสัญจรอัจฉริยะทัง้ หมดภายในจุฬาฯ นอกจาก จะอ�ำนวยความสะดวกการเดินทางภายในจุฬาฯ แล้ว ยังเชื่อมต่อกับ โครงข่ า ยการเดิ นทางสาธารณะของเมื อ งด้ ว ย ทั้ ง นี้ ก็ เ พื่ อ ให้ ชาวจุฬาฯ มาร่วมสร้างวัฒนธรรมการสัญจรอัจฉริยะ และความเป็น เมืองอัจฉริยะด้วยกัน

หนึ่งในทางเลือกล่าสุดเพื่อการสัญจรในจุฬาฯ “CU TOYOTA Ha:mo” เป็นความร่วมมือระหว่าง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบริษทั โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จ�ำกัด ในการเดินทางแบบแบ่งปันรถกันใช้ในจุฬาฯ ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาด เล็ก (EV sharing) ครั้งแรกในประเทศไทย รศ.ดร.บุ ญ ไชย สถิ ต มั่ น ในธรรม รองอธิ ก ารบดี จุ ฬ าฯ เผยถึงที่มาของโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” ว่า “ที่ผ่านมาจุฬาฯ มีความร่วมมือในด้านงานวิจัยกับบริษัทโตโยต้า ในหลายโครงการ ส�ำหรับรถ Ha:mo เป็นโครงการทีท่ างโตโยต้าได้ดำ� เนินการ ที่ประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว จึงได้มีการหารือระหว่างกัน ถึงความเป็นไปได้ในโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทของจุฬาฯ ที่มีแนวคิด ในเรื่อง “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City) โดยมีเรื่อง Smart Mobility รวมอยู่ด้วย จึงได้มีการผนวกโครงการรถยนต์ขนาด เล็กทีใ่ ช้พลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัย ร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ” ด้วยรูปลักษณ์ยานยนต์ที่กะทัดรัด ทันสมัย ตอบโจทย์การเดินทางระยะสัน้ ในพืน้ ที่ รอบจุฬาฯ “CU TOYOTA Ha:mo” จึงเป็น ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ชาวจุฬาฯ สัญจรไปยัง จุดหมายได้สะดวกรวดเร็ว

ในเบื้องต้น มีรถให้บริการจ�ำนวน 10 คัน และวางแผนไว้ว่า ในช่วงกลางปี 2561 จะเพิ่มรถอีกจ�ำนวน 20 คัน รวมเป็น 30 คัน เพื่อรองรับการให้บริการแก่ชาวจุฬาฯ มากขึ้น โดยจะครอบคลุมพื้นที่ ให้ บ ริ ก ารในจุ ฬ าฯ ทั้ ง สองฝั ่ ง มี ส ถานี จ อดรถ 12 สถานี สถานี อัดประจุไฟฟ้า 10 สถานี และมีจ�ำนวนช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด พร้อมอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางเชือ่ มต่อกับระบบ ขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าทั้ง BTS MRT และรถโดยสาร ประจ�ำทาง ผู้ที่ต้องการใช้บริการรถ “CU TOYOTA Ha:mo” สามารถสมัครเป็นสมาชิกของโครงการผ่านระบบ ออนไลน์ หรื อ สมั ค รด้ ว ยตนเองได้ ที่ ส� ำ นั ก งาน โครงการที่อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาฯ โทร. 0-2218-6733 ในการลงทะเบียน ผู้สมัครจะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป พร้ อ มบั ต รเครดิ ต หรื อ บั ต รเดบิ ต ค่ า ลงทะเบี ย นสมาชิ ก 100 บาท หาก ต้องการบัตรไอซีการ์ด จะเสียค่าธรรมเนียม การออกบัตร 110 บาท ค่าบริการรถ เริม่ ต้น ครัง้ ละ 30 บาท สามารถใช้รถได้ 20 นาที ติดตามข้อมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับการใช้งาน รถ “CU TOYOTA Ha:mo” ได้ที่ www. cutoyotahamo.com


CU Pop Bus

รถโดยสารไฟฟ้ า ปรั บ อากาศขนาดเล็ ก ภายในจุฬาฯ (Shuttle Bus) เป็นต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้า

สาธารณะในมหาวิทยาลัย มีจุดเริ่มต้นจากความร่วมมือในการวิจัย และพัฒนาโครงการรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย ระหว่ า งคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ จุ ฬ าฯ กั บ ภาคเอกชน เมื่ อ ปี พ.ศ.2557 จนเป็นต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งได้มีการ พัฒนา GPS application เพื่อตรวจสอบต�ำแหน่งการเดินทางของรถ Shuttle ทั้ง 5 สายที่ให้บริการในจุฬาฯผ่านทางโทรศัพท์มือถือ “CU Pop Bus” ให้บริการฟรีแก่ชาวจุฬาฯ และ ผู้มาติดต่อในมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 5 สายการ เดิ น รถ ปั จ จุ บั น ด� ำ เนิ น การโดยบริ ษั ท รถไฟฟ้ า (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) โดยได้จดั รถให้บริการ ชั่วคราวตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา วันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 07.00 - 22.00 น. และวันเสาร์ (เฉพาะสาย 1 และ สาย 2) เวลา 07.00 - 19.00 น. ส�ำหรับรถทีใ่ ช้พลังงาน ไฟฟ้าซึง่ น�ำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จ�ำนวน 34 คัน จะเริม่ ให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ติดตาม รายละเอียดได้ที่ Facebook : CU POP BUS

CU Bike

โครงการรถจักรยานสาธารณะจุฬาฯ เป็นระบบ

จักรยานสาธารณะที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม เริ่ม โครงการตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2558 มีรถจักรยานสาธารณะให้บริการจ�ำนวน 120 คัน มีสถานีจอดจักรยานภายในจุฬาฯ จ�ำนวน 5 สถานี พร้อม ระบบยืม-คืนแบบอัตโนมัติ ระบบสถานีจะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ กล่องควบคุมจักรยาน และไฟส่องสว่างหน้า - หลัง ท�ำงานอัตโนมัติ ใช้ พลังงานไฟฟ้าจาก พลั ง งานที่ ถู ก สะสมโดยการปั ่ น จั ก รยานผ่ า น ไดนาโม ท� ำ ให้ จุฬาลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เป็ น มหาวิทยาลัยแห่งแรกทีม่ รี ะบบจักรยานสาธารณะ ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรผู้สนใจสมัคร สมาชิก CU Bike ได้ทศี่ นู ย์ควบคุมและซ่อมบ�ำรุง จักรยาน ชั้น 1 อาคารมหิตลาธิเบศร ติดตามรายละเอียดการใช้บริการได้ที่ www. facebook.com/chulabike หรือ Call Center 09-2659-7788

ทางเดินมีหลังคา (Cover Way)

ภายในมหาวิทยาลัยทัง้ สองฝัง่ ช่วยกันแดด กันฝน และ กระตุ้นให้ชาวจุฬาฯ เดินเท้ากันมากขึ้น

Advisors ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดี อ.ดร.อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ..............................................................

Editorial

บรรณาธิการ ธาริณี ไชยประพาฬ สุรเดช พันธุ์ลี กรรณจริยา สุขรุ่ง นักเขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ กนกวรรณ ยิ้มจู อุมาพร โกมลรุจินันท์ ลือฤทธิ์ เอี่ยมภักดี กาญจนาภา วัฒนธรรม พิระดา ธรรมวีระพงษ์ กราฟิก ดีไซเนอร์ จุรีพร หลักสุวรรณ กาญจนาภา วัฒนธรรม ช่างภาพ สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร พิมพ์ลักษณ์ สิริวัชราทร ลือฤทธิ์ เอี่ยมภักดี หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรี 1 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์ 0-2218-3364-5 อีเมล pr@chula.ac.th ..............................................................

Publisher

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์ 0-2218-3563

อีเมล cuprint@hotmail.com


CU Pride

l 6

ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ

จากงานวิจัยด้วยความรัก สู่นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เรื่อง : กาญจนาภา วัฒนธรรม ภาพ : ลือฤทธิ์ เอี่ยมภักดี

ปั จ จุ บั น

ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยมีจ�ำนวนมากกว่าห้าแสนคน ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะมีภาวะอัมพฤกษ์ และอัมพาตตามมา ซึ่งหากได้รับการกายภาพบ�ำบัดตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็จะช่วยให้การฟื้นฟูร่างกายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่น่าเสียดายที่นักกายภาพบ�ำบัด ในบ้านเรามีจ�ำนวนไม่เพียงพอกับจ�ำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทางออกของปัญหานี้คือการพึ่งหุ่นยนต์ คณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงร่วมมือกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีหนุ่ ยนต์ทางการแพทย์เพือ่ การฟืน้ ฟูสมรรถนะผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมองทีม่ อี าการกล้ามเนือ้ อ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคพาร์กินสัน ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักวิจัยดีเด่นผู้เป็นเจ้าของ นวัตกรรมหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแรงบันดาลใจและแนวทางการวิจัยที่ช่วยคืนคุณภาพชีวิต ที่ดีให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผลงานวิจัยนวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์นี้มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง?

งานวิจัยชิ้นนี้ด�ำเนินการมา 3 - 4 ปีแล้ว ในตอนนั้นอาจารย์แพทย์ที่จุฬาฯ มาชวนบอกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น ทุกปี โดยปัจจุบนั มีจำ� นวนผูป้ ว่ ยใหม่ปลี ะมากกว่าสองแสนคน ถ้าคิดเป็นจ�ำนวน ผู้ป่วยสะสมก็จะอยู่ที่ประมาณมากกว่า 500,000 คน หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว อาการที่ตามมาคือเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาตครึง่ ซีก โดยมีอาการหนักเบาแตกต่างกัน ซึง่ หากได้ทำ� การรักษา ในระยะเริ่มต้นคือเวลา 6 เดือนหลังรักษาโรคหลอดเลือดในสมองแล้วจะท�ำให้ ประสิทธิภาพของการฟื้นฟูเป็นไปได้อย่างดี แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว การฟื ้ น ฟู จ ะเป็ น ไปได้ ค ่ อ นข้ า งช้ า และในทางการแพทย์ ก็ ยั ง ขาดแคลน นักกายภาพบ�ำบัด อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ค่อนข้างสูง ดังนั้นนวัตกรรม หุ่นยนต์ชิ้นนี้จึงถูกสร้างมาเพื่อช่วยตอบโจทย์ปัญหานี้

อะไรคือแรงบันดาลใจที่ท�ำให้เกิดผลงานวิจัยชิ้นนี้?

ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ กับหลากรางวัลแห่งความภูมิใจ นักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำ�ปี พ.ศ. 2560 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลวิศวจุฬาดีเด่น ประจำ�ปี 2560 จากสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำ�ปี 2559 จากสภาวิจัยแห่งชาติ

ก่อนที่ผมจะมาท�ำนวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชิ้นนี้ ผมท�ำหุ่นยนต์ที่ใช้ ในอุ ต สาหกรรมทั่ ว ไปมาก่ อ น ซึ่ ง มี ป ระโยชน์ ส� ำ หรั บ กลุ ่ ม เฉพาะเท่ า นั้ น แต่นวัตกรรมชิน้ นี้ เราตัง้ ใจทีจ่ ะให้เกิดประโยชน์กบั ผูม้ ปี ญ ั หาด้านการเคลือ่ นไหว ที่เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและ นักกายภาพบ�ำบัดจะเป็นผู้ใช้หุ่นยนต์ชิ้นนี้ ที่ผ่านมา หุ่นยนต์ได้ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย แล้วหลายคน

กว่าจะท�ำนวัตกรรมชิ้นได้ส�ำเร็จมีอุปสรรคอะไรบ้างไหม?

ผมรู้สึกโชคดีนะ เพราะปัญหาที่พบนั้นมีเพียงปัญหาเล็กๆ ตามปกติของ การท�ำงาน แต่ปัญหาใหญ่ๆ นั้นไม่มี เนื่องจากเราท�ำงานวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ มานาน มีระบบพื้นฐานที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เรายังมีระบบผลิต ที่ ค ่ อ นข้ า งทั น สมั ย ในระดั บ หนึ่ ง สามารถผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นต่ า งๆ ที่ ต ้ อ งการ ความละเอียดสูงได้เป็นอย่างดี ท�ำให้หุ่นยนต์ที่เราผลิตขึ้นในโครงการมีคุณภาพ สมํ่าเสมอทุกตัว


CU Pride ในอนาคตคิดว่าอยากจะต่อยอดหรือพัฒนาผลงานวิจัยชิ้นนี้อย่างไรบ้าง?

การพัฒนาหุน่ ยนต์นนั้ ชุดขับหรือชุดให้กำ� ลังงานนัน้ เป็นส่วนทีม่ คี วามส�ำคัญทีส่ ดุ เรามี จุดอ่อนคือประเทศไทยไม่มีบริษัทที่วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์มอเตอร์หรือชุดให้ก�ำลังงานที่เหมาะ ส�ำหรับใช้ในงานอย่างที่เราต้องการ หากเราสามารถหาระบบขับเคลื่อนหรือมอเตอร์ตามที่เรา ออกแบบไว้ได้ ก็จะช่วยท�ำให้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมามีรูปร่างที่เหมาะสมและท�ำงานได้อย่างดี ตามที่เราออกแบบระบบควบคุม ดังนั้น ในการต่อยอดผลงาน เราได้พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้ระบบ ควบคุมทางพลศาสตร์ที่เราออกแบบไว้ท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้เรา ก�ำลังพัฒนาระบบควบคุมโดยมีพื้นฐานของระบบควบคุมเดิมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่ สามารถยืนด้วยตัวเองได้ หรือช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงสามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าว สะดวกมากขึ้น

...งานวิจัยและพัฒนาที่มีประโยชน์เรื่องเดียวนั้น อาจจะเกิดจากความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนก็เป็นได้ ดังนั้นถ้าเรามีศรัทธาในสิ่งที่เราท�ำ ก็ขอให้มีความมุ่งมั่นและมีการประเมินผลตลอดเวลา เราจะประสบความส�ำเร็จไม่เร็วก็ช้า...

ในฐานะนักวิจัยดีเด่น อาจารย์มีข้อคิดหรือแนวทางการท�ำงานวิจัยอย่างไร ให้ประสบความส�ำเร็จ?

การท�ำงานวิจัยและการพัฒนามักเกิดจากความรักในสิ่งที่เราท�ำก่อน รวมถึง ความรูใ้ นศาสตร์นนั้ จะท�ำให้เรามองเห็นแนวทางในการพัฒนาเพือ่ ให้เกิดประโยชน์ได้ดกี ว่า การท�ำงานวิจัยและพัฒนาในสิ่งที่เราไม่ชอบหรือไม่ถนัด เมื่อเรามีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ทีเ่ รามีในการประยุกต์หรือต่อยอด เราก็มงุ่ เป้าไป อย่ากลัวว่าจะหลงทาง งานวิจยั และพัฒนา ทีม่ ปี ระโยชน์เรือ่ งเดียวนัน้ อาจจะเกิดจากความผิดพลาดนับครัง้ ไม่ถว้ นก็เป็นได้ ดังนัน้ ถ้าเรา มีศรัทธาในสิ่งที่เราท�ำ ก็ขอให้เรามีความมุ่งมั่นและมีการประเมินผลตลอดเวลา เราจะประสบ ความส�ำเร็จไม่ช้าก็เร็ว การสนับสนุนงานวิจัยสมัยนี้มักจะเน้นงานวิจัยและพัฒนาที่เกิดประโยชน์ ใช้งาน ได้จริงเป็นหลัก แต่ในฐานะนักวิจัย งานวิจัยพื้นฐานก็เป็นสิ่งส�ำคัญที่เราต้องค�ำนึงถึง เพราะจะ เป็นการสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการ ดังนั้น การสร้างความสมดุลระหว่างงานวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยเชิงประยุกต์จึงเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับการพัฒนางานวิจัยในสมัยนี้ นับว่าเป็นข่าวดีของวงการแพทย์และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในไทย เพราะปัจจุบัน หุ่นยนต์ทางการแพทย์ชิ้นนี้ ได้ถูกน�ำไปติดตั้งเพื่อท�ำกายภาพบ�ำบัดให้ผู้ป่วย ที่สวางคนิวาส และ ศูนย์เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาฯ โดยต่อไปก็จะท�ำการพัฒนาให้มีหลากหลาย รูปแบบ และมีจ�ำนวนมากขึ้น เพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลของภาครัฐเป็นหลักก่อน

l l 77


Knowledge CU CU Knowledge

l 8

รวมพลังสถาบันอุดมศึกษาไทย

สู่ความยั่งยืน เรื่อง : อุมาพร โกมลรุจินันท์ ภาพ : สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร

จุ ฬ าฯ

ก้ า วย่ า งสู ่ ค วามเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ยั่ ง ยื น ในมิ ติ ต ่ า งๆ ทั้ ง ด้ า นอาคารและผลกระทบต่ อ ความยั่ ง ยื น ด้ า นการวางผั ง และ การตั้งเป้าหมาย และด้านการบูรณาการงานวิจัย การเรียนการสอน และการสร้างสรรค์สังคม ในการประชุมประจ�ำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 250 คน จากสถาบันอุดมศึกษา ภายในประเทศจ�ำนวน 24 สถาบัน ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประชุมดังกล่าวเป็นเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูป้ ระสบการณ์การด�ำเนินงานเพือ่ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ก�ำหนดแนว นโยบายและมาตรฐานการชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน ส�ำหรับการประชุมปีที่ 2 นี้ จุฬาฯ รับเป็นเจ้าภาพ โดยจัด การประชุมภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” ในงานมีการบรรยาย การน�ำเสนอผลงานวิจัยและ บทความวิชาการตลอดจนการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและ ความร่วมมือเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ในการประชุมครัง้ นี้ ผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษ นักวิจัยโครงการฯ คาดการณ์ว่าประชาคมจุฬาฯ ซึ่งประกอบไปด้วย สุวรรณภูมิ และ ผศ.ชยการ คีรรี ตั น์ ได้รว่ ม นิสิตและบุคลากรมากกว่า 40,000 คน อาจจะเป็นแหล่งผลิตขยะ แบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ข องคณะ ถึงวันละ 44 ตัน หรือ 10,580 ตันต่อปี จุฬาฯ โดยสถาบันวิจัยสภาวะ ครุศาสตร์ จุฬาฯ เกี่ยวกับรูปแบบ แวดล้อมและส�ำนักบริหารระบบกายภาพจึงได้ริเริ่มแผนปฏิบัติการ การบูรณาการการท�ำงานระหว่าง ดังกล่าว เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตราย บุคลากรสายวิชาการและสายปฏิบตั ิ ในจุฬาฯ ให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่เมือง และลดปริมาณ งาน โดยมุง่ เน้นการสร้างประสบการณ์ ขยะเหลือทิ้งของมหาวิทยาลัย โดยมองเป็นแผนระยะยาว เพื่อปลูก ครุศาสตร์สกู่ ารศึกษาเพือ่ การพัฒนา จิตส�ำนึกให้กบั ประชาคมจุฬาฯ เห็นความส�ำคัญของการลดและคัดแยก ทีย่ งั่ ยืนของประเทศไทย หรือ Education ขยะทีต่ น้ ทาง สร้างค่านิยม Zero Waste จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร for Sustainable Development (ESD) คุณจิรารัตน์ เผยผลการด�ำเนินงานในช่วงแรกว่า มีความ Experience จากกรอบแนวคิด 3 องค์ประกอบ ก้าวหน้าตามเป้าหมาย อาทิ โครงการสนับสนุนการลดใช้ถุงพลาสติก เริ่มจาก ESD Learning การพัฒนา ลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 90.4% โครงการ My Cup และ My Bottle หลักสูตรระดับรายวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่ง พบว่ามีการน�ำแก้วน�ำ้ หรือกระบอกน�ำ้ ส่วนตัวมาใช้ซอื้ เครือ่ งดืม่ เพิม่ ขึน้ เสริมความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมที่น�ำไปสู่การ ยอดเฉลี่ยต่อเดือน 4,711 แก้ว และโครงการ Green Office พบว่า พัฒนาที่ยั่งยืน ESD Ecology แนวคิดการ บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น พกถุงผ้าเพิ่มขึ้น 27% พัฒนาระบบนิเวศเพือ่ ความยัง่ ยืน สร้าง ใช้กระดาษสองหน้าเพิ่มขึ้น 38% เป็นต้น สภาพแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้ภายใน ด้าน รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดี จุฬาฯ บริเวณคณะ ด้วยการใช้พื้นที่ว่างรอบ ในฐานะประธานเครื อ ข่ า ยมหาวิ ท ยาลั ย ยั่ ง ยื น แห่ ง ประเทศไทย อาคารปลู ก พื ช ผั ก และผลไม้ ป ลอด เผยว่า เมื่อพูดถึงเรื่องความยั่งยืน ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนที่จะท�ำได้ดี สารพิษ โดยคณาจารย์และบุคลากรให้ ในทุกๆ เรือ่ ง อีกทัง้ เรือ่ งนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งขององค์กรใดองค์กรหนึง่ โดยเฉพาะ ความร่วมมือในการดูแล และ ESD Way of แต่ต้องอาศัยการท�ำงานร่วมกันในหลายมิติ จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่ปีนี้ Life แนวทางส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ปลอดภัย เรามีสมาชิกในเครือข่ายฯ เพิม่ จากปีทแี่ ล้ว 16 สถาบัน เป็น 24 สถาบัน รักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมหลากหลาย อาทิ การจัด และภาคเอกชนก็ให้ความส�ำคัญเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากนี้ โรงอาหารคณะที่เน้นเรื่องสุขาภิบาลและความปลอดภัยในการบริโภค เรายังขยายความร่วมมือกับเครือข่ายในต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ฯลฯ เกาหลี ฯลฯ ซึง่ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้เห็นการรวมตัวกันเป็น อีกหนึง่ โครงการของจุฬาฯ ที่ร่วมน�ำเสนอในครั้งนี้คือ แผน Sustainable University Network Asia เพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริง ปฏิบตั กิ ารการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยัง่ ยืนในจุฬาฯ ของสังคมไทยและสังคมโลกต่อไป หรื อ “Chula Zero Waste” คุ ณ จิ ร ารั ต น์ พิ น ทอง ผู ้ ช ่ ว ย


Meeting Board Board l CUCUMeeting

ข่าวที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 809 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560 มีมติพิจารณาผู้ด�ำรงต�ำแหน่งต่างๆ ดังนี้

หัวหน้าภาควิชา คณะเภสัชศาสตร์ : ผศ.ภญ.ดร.รตท.หญิง ภูรี อนันตโชติ เป็นหัวหน้าภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร ต่อไปอีกวาระหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 วาระ 4 ปี

แสดงความยินดีกับต�ำแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้

เสนอขอโปรดเกล้าฯ ให้ด�ำรงต�ำแหน่ง ศาสตราจารย์ จ�ำนวน 2 ท่าน ประกอบด้วย 1. รศ.ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ สาขาวิชาสุขศึกษา 2. รศ.เมตตา วิวัฒนานุกูล สาขาวิชานิเทศศาสตร์

คณะครุศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์

รองศาสตราจารย์ จ�ำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย 1. ผศ.ทญ.ดร.ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ 2. ผศ.ทญ.ดร.บุษยรัตน์ สันติวงศ์ 3. ผศ.ทพ.ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์ 4. ผศ.ทญ.ดร.สิรีรัตน์ สูอ�ำพัน 5. ผศ.พญ.สุกัญญา ชัยกิตติศิลป์ 6. ผศ.พญ.ดร.กนิษฐา ภัทรกุล 7. ผศ.ดร.นราพร สมบูรณ์นะ 8. ผศ.ดร.สุเทพ เรืองวิเศษ

สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ สาขาวิชาทันตกรรมส�ำหรับเด็ก สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จ�ำนวน 15 ท่าน ประกอบด้วย 1. อ.ดร.เปรม สวนสมุทร 2. อ.ดร.มณีรัตน์ เอกโยคยะ 3. อ.ทญ.ดร.ปวีณา จิวัจฉรานุกูล 4. อ.ทญ.ดร.พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์ 5. อ.นพ.เจริญ ทวีผลเจริญ 6. อ.พญ.ดร.ศิวะพร บุณยทรัพยากร 7. อ.นพ.พรเทพ อังศุวัชรากร 8. อ.นพ.กฤษณชัย ชมโท 9. อ.นพ.วิทวัส ลออคุณ 10. อ.ภก.ดร.ฉัตรชัย เชาว์ธรรม 11. อ.ดร.ศุภกาญจน์ ช�ำนิ 12. อ.ดร.กฤษดา พนมเชิง 13. อ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล 14. อ.สพ.ญ.ดร.อนงค์นาฏ อัศวชีพ 15. อ.ดร.ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์

สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ สาขาวิชาวิทยาเอ็นโดดอนต์ สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน สาขาวิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา สาขาวิชาจุลชีวิทยา สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาเภสัชเวท สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาสัตวบาล สาขาวิชานิติศาสตร์

คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะทัตนแพทยศาสตร์ คณะทัตนแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์

l9 9


Health CUCUHealth

l l 10 10

CU

HEALTH

ไขมันพอกตับ

อีกโรคที่ไม่ควรมองข้ามในยุค

Thailand 4.0 เรื่อง : ขนิษฐา จันทร์เจริญ

คนไทยไม่น้อยกว่า 20-30 % อาจกำ�ลังมีภาวะไขมันพอกตับโดยไม่รู้ตัว โรคนี้ ไม่แสดงอาการและเป็นภัยเงียบที่อาจนำ�ไปสู่มะเร็งตับได้ ข่าวดีก็คือ ต้นเหตุของโรคและการรักษาอยู่ที่พฤติกรรมของตัวเราเอง

อินโฟกราฟิก : กาญจนาภา วัฒนธรรม

ในการตรวจสุขภาพประจ�ำปีกับทาง รอบเอวจะเกิน 90 ซม. ส่วนผู้หญิงเกิน 80 ซม. องค์กร ชัชพล พนักงานธนาคารวัย 53 ปี มั่นใจ โดยส่วนใหญ่คนอ้วนลงพุงมักมีน�้ำหนักเกินกว่า ว่าผลการตรวจจะออกมาปกติอย่างปีที่ผ่านมา มาตรฐาน เช่น มีดัชนีมวลกาย (Body Mass เพราะเขาไม่รู้สึกว่าสุขภาพในปีนี้จะต่างไปจาก Index; BMI) เกิน 25 (ค�ำนวณจากนํ้าหนักตัว ปีก่อนๆ สักเท่าไร แต่ผลการตรวจบางอย่างใน เป็นกิโลกรัมต่อส่วนสูงเป็นเมตรยกก�ำลังสอง) ปีนี้ท�ำให้เขาประหลาดใจ “ผมเป็นไขมันพอกตับ อย่างไรก็ตาม อาจพบในคนที่มีนํ้าหนักตัวปกติ ได้อย่างไร?” ชัชพลถาม ยิ่งไปกว่านั้น ก็ได้ เพื่อนร่วมงานของเขาหลายคน โรคไขมันพอกตับมักพบร่วม ก็ตรวจพบว่ามีไขมันพอกตับ กับโรคอืน่ ๆ อีกหลายอย่าง ด้วยเช่นกัน เช่น เบาหวาน ไขมันใน ไขมั น พอกตั บ เลือดสูง และความดัน หรื อ โรคตั บ คั่ ง ไขมั น โลหิตสูง ดังนัน้ คนทีเ่ ป็น (Non-alcoholic fatty โรคนี้ จึงมักมีความเสีย่ ง liver disease, NAFLD) ต่ อ โรคหลอดเลื อ ด เป็นหนึ่งใน “กลุ่มโรคไม่ สมองและหัวใจ รวมทัง้ ติดต่อเรื้อรัง(Non-comโรคมะเร็ ง ของอวั ย วะ municable diseases, ต่างๆ มากขึน้ ด้วย NCDs)” ที่เป็นภัยเงียบร้ายแรง ไขมันพอกตับเป็นโรคตับ แบบไร้อาการ จึงไม่นา่ แปลกหาก แบบเรือ้ รังทีพ่ บได้บอ่ ยมาก และ ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเอง พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เนือ่ งจาก ภาควิ ช าชี ว เคมี คณะแพทยศาสตร์ เป็นโรคนีจ้ นกว่าจะตรวจพบตอน เป็นโรคทีส่ มั พันธ์กบั พฤติกรรม เช็คสุขภาพร่างกาย และความน่า การใช้ชวี ติ ศ.นพ.พิสฐิ กล่าวเสริม กลัวของโรคนี้ก็คือสามารถน�ำไปสู่การเป็นโรค ว่า อัตราการเกิดโรคนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่าง มะเร็ ง ตั บ ได้ หากไม่ ดู แ ลรั ก ษาตั ว ให้ ดี รวดเร็วทัว่ โลก คาดการณ์วา่ คนไทยเป็นโรคนี้ ไม่ ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวาณิชย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะ น้อยกว่า 20 - 30 % และเริ่มพบมากขึ้นเรื่อยๆ แพทยศาสตร์ กล่าว ตั้งแต่ในเด็กเล็กจนถึงวัยรุ่นช่วงอายุ 18 - 20 ปี โรคไขมันพอกตับพบได้บอ่ ยในคนอ้วน เนื่องจากการนิยมบริโภคอาหารประเภท Fast ลงพุง (Metabolic syndrome) ที่มีไขมันสะสม Food ที่มีไขมันในปริมาณสูง ขนมหรืออาหารที่ อยู่ในช่องท้องมากจนเกินควร ในผู้ชายเมื่อวัด หวานมากจนเกินไป และขาดการออกก�ำลังกาย


CU l 11 l 11 CUHealth Health

โรคไขมั น พอกตั บ เกิ ด จากการที่ มี ไ ขมั น เข้ า ไปแทรก อยูใ่ นเซลล์ตบั มากกว่าปกติ โดยเกณฑ์ในคนปกติไม่ควรมีไขมันเกินกว่า 5 -10 % ไขมันที่เพิ่มมากขึ้นนี้ไม่ได้อยู่เฉยๆ เมื่อมันพอกพูนมีจ�ำนวน มากขึน้ เรือ่ ยๆ จะส่งผลท�ำให้เซลล์ตบั เกิดการอักเสบและถูกท�ำลาย เมือ่ เวลาผ่ า นไปนานๆ จะเกิ ด เป็ น แผลเป็ น ที่ ตั บ และพั ฒ นาต่ อ ไป จนเป็นตับแข็ง ซึง่ ตับแข็งเป็นสภาพของตับทีอ่ อ่ นแอและท�ำงานได้นอ้ ย กว่าปกติ สุดท้ายตับแข็งอาจน�ำไปสูก่ ารเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด มะเร็ง ตับถือว่าเป็นโรคมะเร็งที่น่ากลัวมากเพราะมีความรุนแรงและรักษา ให้หายขาดได้ยาก ที่ส�ำคัญคือเป็นมะเร็งในล�ำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคน ไทยและคนทั่วโลกในแต่ละปี โรคไขมั น พอกตั บ เป็ น โรคที่ ไ ม่ ค ่ อ ยแสดงอาการใดๆ คนส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าจะตรวจพบตอนเช็ค สุขภาพร่างกาย เช่น ตรวจเลือดพบว่ามีค่าเอ็นไซม์ของตับ (AST หรือ SGPT) สู ง กว่ า เกณฑ์ ป กติ หรื อ ทราบว่ า เป็ น โรคไขมั น พอกตั บ จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ของช่องท้อง เมือ่ ทราบหรือสงสัยว่าเป็นโรคนีแ้ ล้วควรพบแพทย์เพือ่ ท�ำการ ตรวจโดยละเอี ย ดต่ อ ไป เช่ น ตรวจเลื อ ดเพิ่ ม เติ ม ว่ า ไม่ มี โ รคตั บ จากสาเหตุ อื่ น ๆ เช่ น ไวรั ส ตั บ อั ก เสบบี ห รื อ ไวรั ส ตั บ อั ก เสบ นอกจากนี้ ในปัจจุบนั ยังมีเครือ่ งตรวจพิเศษทีเ่ รียกว่าเครือ่ ง FibroScan ซึ่งใช้วัดความยืดหยุ่นของตับที่สามารถบอกได้ว่าตับมีพังผืดมากน้อย

เพียงใดหรือมีไขมันสะสมอยู่เท่าไร ศ.นพ.พิสิฐ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษาโรค ไขมันพอกตับโดยตรง แนวทางการรักษาโรคไขมันพอกตับ เน้นเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ผู้ที่มีนํ้าหนักเกินควรลดนํ้าหนักลง อย่างน้อย 5 - 10 % ของนาํ้ หนักเดิม ควรออกก�ำลังกายอย่างสมาํ่ เสมอ 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 - 40 นาที นอกจากนี้ ควรปรับเปลี่ยน อาหารการกิน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีแป้งและ นาํ้ ตาลมากเกินไป รวมถึงลดการดืม่ นาํ้ อัดลมและเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ ด้วย ส่วนกาแฟสามารถดื่มได้เนื่องจากมีรายงานการศึกษามากมายที่ ร ะ บุ ว ่ า ก า แ ฟ ช ่ ว ย ล ด ค ว า ม เ สี่ ย ง ก า ร เ กิ ด ตั บ แ ข็ ง แ ล ะ มะเร็งตับได้ แต่ทงั้ นีก้ ค็ วรเป็นกาแฟด�ำทีไ่ ม่เติมนํา้ ตาลและนมข้นหวาน ส�ำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ร่วมด้วย ควรควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดีและพบแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ศ.นพ.พิสิฐ ทิ้งท้ายว่า ทุกคนไม่ว่าจะวัยไหน เด็ก วัยรุ่น คนวัยท�ำงาน และผู้สูงอายุ ควรเอาใจใส่ให้มากในเรื่องนํ้าหนักตัว อาหารการกิ น และการออกก� ำ ลั ง กาย รวมทั้ ง หมั่ น ตรวจสุ ข ภาพ เป็นประจ�ำเพื่อหลีกให้ไกลจากภัยเงียบที่ร้ายแรงนี้

CU Global

“ Take a Rain Check ” “Take a Rain Check” ใช้ในกรณีที่ต้องการขอผัดข้อ เสนอในตอนนี้ แต่ยงั ต้องการทีจ่ ะรับข้อเสนอนัน้ ในอนาคต หรือใช้สำ� หรับการปฏิเสธ แบบสุภาพก็ได้ สันนิษฐานว่ามีการเริ่มใช้ช่วงปี ค.ศ.1870 ในเกมการแข่งขันเบสบอลใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อฝนตกจนไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ ผู้จัดจะออกตั๋ว ให้มาดูการแข่งขันเกมอื่นแทน ต่อมามีการใช้แพร่หลายมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับว่า “Rain Check” หมายถึง การขอเลื่อนข้อเสนอ นั่นเอง

ภาพ : IDIOMLAND.COM


Star CUCUStar

l 12

พลังสีชมพู

ปลุก กับประธานเชียร์คนใหม่

“บุ๋นบุ๋น บุรณี – รักษ์พศิน กวินปฐมวงศ์”

เรื่อง : พิระดา ธรรมวีระพงษ์

นั บ ตั้ ง แต่

ป ระกาศผลการคั ด เลื อ กประธานเชี ย ร์ ป ระจ� ำ งานฟุ ต บอลประเพณี ฯ “บุ ๋ น บุ ๋ น บุ ร ณี - รั ก ษ์ พ ศิ น กวิ น ปฐมวงศ์ ” นิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะครุศาสตร์ ประธานเชียร์คนใหม่ประจ�ำงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ปีที่ 72 ก็ตระเวนเดินสายตามคณะต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้เพื่อนๆ นิสิตมาร่วมงานฟุตบอล และท�ำกิจกรรมร่วมกัน มาท�ำความรู้จักประธานเชียร์ผู้มีรอยยิ้มสดใสและพลังใจเกินร้อยไปพร้อมกันกับ CU Star ประจ�ำเดือนนี้

อะไรคือนิยามของ “ประธานเชียร์” ส�ำหรับบุ๋นบุ๋น?

ประธานเชียร์ คือ คนที่จะสร้างความสุขและความทรงจ�ำที่ดี ให้ กั บ ทุ ก คน ทั้ ง ก่ อ นงานบอลและในวั น งานบอล ไม่ ว ่ า จะเป็ น การประชาสัมพันธ์ การสร้างบรรยากาศของเทศกาลงานบอล เพื่อให้ ทุกคนรู้สึกว่าต้องมาร่วมงานบอลปีนี้ให้ได้ คิดว่าอะไรที่ท�ำให้เรา ได้รับเลือกเป็นประธานเชียร์ บุ๋นคิดว่าความเป็นตัวของตัวเองค่ะ บุน๋ รูส้ กึ สนุกกับทุกอย่างทีท่ ำ� ความสนุก ความเอนเตอร์เทนและทัศนคติ ที่แสดงออกมานั้นคือตัวตนของบุ๋นเอง

บุ๋นบุ๋นประทับใจอะไรในงานฟุตบอลประเพณีที่ผ่านมา?

สิ่ ง ที่ ป ระทั บ ใจมากที่ สุ ด คื อ พลั ง ของคน บนสแตนด์ ไม่ใช่แค่เราทีส่ ง่ ความสุขให้กบั คนบนสแตนด์ แต่พลังจากคนบนสแตนด์ก็ส่งกลับมาให้เราเช่นกัน

ตั้งแต่เข้ามารับหน้าที่เป็นประธานเชียร์ ชีวิตของบุ๋นบุ๋น เป็นอย่างไรบ้าง? มี ค วามสุ ข มากค่ ะ เพราะนี่ คื อ ความฝันที่เราอยากท�ำมาตลอด หลักคิด ของบุ๋นคือ “คนส�ำราญ งานส�ำเร็จ” กล่าว คือ งานที่เราท�ำต้องประสบความส�ำเร็จ ในขณะเดียวกัน คนที่ท�ำงานกับเรา หรือคนที่ได้สัมผัสงานของเราก็ต้อง มี ค วามสุ ข รู ้ สึ ก สนุ ก กั บ เราด้ ว ย สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ท ้ า ทายมากคื อ การ จัดการเวลา เพราะทันทีทไี่ ด้รบั ห น ้ า ที่ นี้ ก็ มี ง า น เ ข ้ า ม า โดยตลอด สิ่งที่บุ๋นท�ำเป็น อั น ดั บ แรกคื อ ตั้ ง สติ แ ล้ ว พิ จ า ร ณ า ว ่ า ตอนนี้มีงาน อะไร เมื่อไหร่บ้าง แล้ ว สรุ ป แผนงานแต่ ล ะวั น เพื่ อ ให้ เ รา สามารถจัดตารางเวลาได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

งานฟุ ต บอลประเพณี ค รั้ ง นี้ บุ ๋ น บุ ๋ น เตรี ย มความสุ ข และความทรงจ� ำ อะไรดีๆ ให้กับทุกคนบ้าง?

บุ ๋ น บุ ๋ น เตรี ย มการประชาสั ม พั น ธ์ ให้ ทั่ ว ถึ ง และเข้ า ถึ ง ทุ ก คนมากที่ สุ ด เพือ่ ให้ทกุ คนได้เป็นส่วนหนึง่ ของงานบอล และรู ้ สึ ก ตื่ น เต้ น ไปด้ ว ยกั น ธี ม ของงานปี น้ี คือ “OUR RISE” หมายถึง การที่ทุกคนมีความ แตกต่างทีเ่ ป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง และกล้าทีจ่ ะแสดง ความต่างนั้นออกมา ดังนั้น งานบอลครั้งนี้ก็เหมือนเรา ได้รว่ มกันแสดงพลังและศักยภาพให้ทกุ คนได้เห็นตัวตน “ความเป็นจุฬาฯ” ในวันงาน บุน๋ จะท�ำทุกอย่างเพือ่ สร้าง ความสุขความสนุก และจะดึงพลังของคนทุกคนบนสแตนด์ ออกมา ให้สงั คมได้เห็นว่านีแ่ หละคือความเป็นจุฬาฯ ของพวกเรา

บุ๋นบุ๋นอยากจะฝากอะไรถึงประชาคมจุฬาฯ?

มาขึ้ น สแตนด์ กั น นะคะ มาประกาศความเป็ น จุ ฬ าฯ ให้ทุกคนรู้ถึงพลัง ศักยภาพและเอกลักษณ์ของพวกเรา มาร่วมสร้าง ความรัก ความสุข และความทรงจ�ำดีในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 72 ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 ด้วยกันนะคะ ภาพประกอบ : งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์


CU CUSRSRl 13l 13

โครงการจุฬาฯ – สระบุรี หนึ่งในพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ของจุฬาฯ สู่สังคม เรื่อง : สุรเดช พันธุ์ลี & ขนิษฐา จันทร์เเจริญ ภาพ : สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร & ลือฤทธิ์ เอี่ยมภักดี

บนพื้นที่ 4,711 ไร่

ของโครงการพัฒนาที่ดินจุฬาฯ – สระบุรี” ต.ช�ำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี คือแหล่งเรียนรู้

เพื่อชุมชนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งใจส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ศาสตร์ต่างๆ จากการค้นคว้าวิจัยโดยคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตจุฬาฯ ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้ มูลนิธินิสิตเก่าจุฬาฯ ได้มอบพื้นที่แห่งนี้ให้มหาวิทยาลัย โดยให้อยู่ภายใต้การดูแลของ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการเรียนการการสอน การวิจัย และการจัดกิจกรรมของคณะต่างๆ ปั จ จุ บั น พื้ น ที่ ดั ง กล่ า วได้ รั บ ความสนใจ จากหลายหน่ ว ยงานของจุ ฬ าฯ รวมถึ ง หน่ ว ยงาน ภายนอก ในการจั ด กิ จ กรรมอบรม สั ม มนา ให้ ค วามรู ้ ใ นเรื่ อ งต่ า งๆ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ กั บ ชุ ม ชน ล่าสุด ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับโครงการ อพ.สธ. ได้จัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากร ไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ประจ�ำปี 2560 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็ จ ฯ ทรงเปิ ด การประชุ ม และทอดพระเนตร นิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่มาร่วมจัดแสดง จ�ำนวนมาก

ณัฐพล จิตต์มั่น

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก กฟผ.น�ำเสนอนิทรรศการผลงาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นเรื่อง สมุนไพรปลาไหลเผือก ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีอยู่ รอบเขื่อนภูมิพล การจัดงานในครั้งนี้ถือว่ามี ประโยชน์มหาศาล เป็นการรวบรวมผู้รู้จาก หน่วยงานต่างๆ มาน�ำเสนอผลงาน ช่วยเปิด โลกทัศน์ให้ได้รับความรู้เป็นอย่างมาก

ปรัชญา เพชรโอภาส

นักเรียนโรงเรียนชลบุรีสุขบท โรงเรียนได้จัดนิทรรศการแสดง การสาธิ ต สมุ น ไพรเปรี้ ย วเค็ ม โมเดลฐาน ทรัพยากรท้องถิ่น ต.บางทราย และโครงงาน นวัตกรรมเครื่องประดิษฐ์น�้ำจากกระบวนการ กลั่ นตั ว ของไอน�้ ำ ในอากาศ ท� ำ ให้ เ ยาวชน ประชาชน นักวิชาการ ภาคเอกชนได้เห็นความ หลายหลากแห่งศักยภาพของทรัพยากรไทย ที่มีอยู่มากล้น

ทวี กองแก้ว

นักวิชาการปฏิรปู ทีด่ นิ สปก. มีภารกิจดูแลศูนย์ศิลปาชีพ จ.พระนครศรีอยุธยา งานในครั้งนี้ได้น�ำผลิตภัณฑ์จาก ศูนย์ศิลปาชีพ เช่น กระเป๋าผ้าสีอะคริลิก การ ท�ำดอกไม้ประดิษฐ์ พานพุ่ม การร้อยมาลัยมา จัดแสดง ท�ำให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ใ นการท� ำ งาน เพื่ อ ร่ ว มกั น สืบสานงานสนองพระราชด�ำริให้ก้าวไปอย่าง มั่นคงและยั่งยืน

วิชัย กลึงโพธิ์

ผูจ้ ดั การสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จ�ำกัด นิ ท รรศการน� ำ เสนอให้ ค วามรู ้ เรื่องฟาร์มสวนผสม และเทคโนโลยีการเลี้ยง โคนมให้ประสบความส�ำเร็จ ขับเคลื่อนด้วย สหกรณ์ โ คนม การผลิ ต หญ้ า และ TMR (อาหารข้นและอาหารหยาบผสมอยู่ด้วยกัน) เป็นอาหารแก่โค รู้สึกภูมิใจที่ได้ท�ำอาชีพนี้ ซึ่ง เป็นอาชีพพระราชทาน สมควรสืบทอดต่อคน รุ่นหลังต่อไป

อ.ดร.กัลยา สุนทรวงศ์สกุล

สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ มีการสร้างหลักสูตรและครูของ โรงเรี ย นหญ้ า แฝก ซึ่ ง มี ก ารอบรมตั ว แทน เกษตรกรจากเครือข่ายคนรักษ์แฝก 12 เขตทัว่ ประเทศจ�ำนวน 3 รุ่น และคัดเลือกครูโรงเรียน หญ้าแฝก 12 คน ในการจัดอบรมได้รับการ สนับสนุนจากศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อ ภู มิ ภ าค จุ ฬ าฯ และบริ ษั ท ปตท. จ� ำ กั ด (มหาชน)


Culture CUCUCulture

l 14

ฟังดนตรี ที่

จุฬาฯ เรื่อง : กนกวรรณ ยิ้มจู ภาพ : ส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ

เกือบสามทศวรรษมาแล้ว เวที “ฟังดนตรีทจี่ ฬุ าฯ” ได้มอบความสุนทรียใ์ นชีวติ ให้กบั ผูท้ ชี่ นื่ ชอบการฟังดนตรีและรับชมการแสดง

หลากหลาย ทั้งแนวอนุรักษ์ดั้งเดิม เช่น การบรรเลงวงปี่พาทย์ไม้แข็ง แนวผสมผสาน เช่น วงออร์เคสตราบรรเลงเพลงไทยเดิมให้เราเคลิ้มไปกับ “ลาวดวงเดือน” และแนวสร้างสรรค์ประยุกต์ เช่น การแสดงละครร้องด้วย “ฟั ง ดนตรี ที่ จุ ฬ าฯ” จึ ง เป็ น พื้ น ที่ ส ร้ า งสรรค์ บู ร ณาการ และส่งต่อนวัตกรรมด้านดนตรีให้สังคมภายนอกได้เข้ามารับรู้และ มีส่วนร่วม ไม่เพียงแต่ผู้ชมเท่านั้น ผู้แสดงดนตรีเองก็ได้รับโอกาสที่จะ มีเวทีแสดงความสามารถ ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศทางศิลป วัฒนธรรมในมหาวิทยาลัยอีกด้วย “ฟังดนตรีทจี่ ฬุ าฯ” ต่อยอดมาจาก รายการจุฬาวาทิต รายการ แสดงดนตรีไทยเดิม ที่เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยส�ำนักบริหาร ศิ ล ปวั ฒ นธรรม จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย หรื อ เดิ ม คื อ ศู น ย์ ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.สั นติ ฉั นทวิ ลาสวงศ์ ที่ปรึก ษาอธิการบดี และนายกรรชิ ต จิตระทาน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ซึ่งเป็น หน่วยงานทีม่ พี นั ธกิจด้านการส่งเสริมทุกอย่างทีเ่ กีย่ วข้องกับวัฒนธรรม ไทย รายการจุฬาวาทิต จัดขึน้ เป็นประจ�ำทุกวันศุกร์แรกของเดือน และ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมฟรี เมื่อเป็นการแสดงดนตรีไทยเดิม กลุ่มผู้ชมส่วนมากจึงจ�ำกัด อยู่ในแวดวงผู้ที่ชื่นชอบดนตรีไทยทางส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ต้องการเพิม่ ความหลากหลาย ทัง้ กลุม่ ผูช้ มและผูแ้ สดงดนตรี จึงได้เปิด พื้นที่ให้กับดนตรีคลาสสิค ซึ่งก็สามารถดึงกลุ่มคนที่ชื่นชอบแนวเพลง คลาสสิคได้ไม่น้อย แต่การแสดงและรับชมดนตรีก็ยังเป็นทางใคร ทางมันอยู่ ทางผู้จัดจึงริเริ่มให้เกิดเวทีที่ผสมผสานแนวดนตรีต่างๆ ขึ้น อย่างเช่น น�ำเพลงคลาสสิคหรือเพลงทั่วไปมาเล่นโดยใช้เครื่องดนตรี ไทย หรือเพลงไทยเดิมมาเล่นด้วยเครื่องดนตรีสากล หรือจะเป็น แนวเพลงของสุทราภรณ์บ้าง ลูกกรุงบ้าง ลูกทุ่งบ้าง ตามแต่โอกาส

ด้วยแนวดนตรีหลากหลายขึ้น กลุ่มคนที่เข้ามาแสดงและ รับชมการแสดงก็มีความหลากหลายไปด้วย ท�ำให้รายการจุฬาวาทิต ต้ อ งเพิ่ ม ความถี่ ใ นการจั ด แสดงดนตรี จากทุ ก ศุ ก ร์ ต ้ น เดื อ น เป็ น ทุกศุกร์แรกและศุกร์ที่สามของเดือน รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายของ รูปแบบการแสดงด้วย อาทิ จัดให้มีการแสดงด้านนาฎยศิลป์ ละครร้อง หรื อ แม้ ก ระทั่ ง เวที แ ลกเปลี่ ย นวั ฒ นธรรมด้ า นดนตรี จ ากสถานทู ต ประเทศต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาร่วมแสดง รายการจุฬาวาทิต จึงนิยามตัวเองใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “ฟังดนตรีที่จุฬาฯ” ตลอดระยะเวลากว่ า 20 ปี ที่ ผ ่ า นมา แฟนคลั บ รายการ “จุฬาวาทิต” หรือตอนนี้คือ “ฟังดนตรีที่จุฬาฯ” มีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น ทุกปี อาจเนื่องด้วยจุฬาฯ เป็นพื้นที่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวก การรับชมการแสดงไม่มคี า่ ใช้จา่ ย และทีส่ ำ� คัญ รายการแสดงดนตรีและ นาฏยศิลป์มีเอกลักษณ์ ความหลากหลาย และเป็นการแสดงจาก นักแสดงที่มีชื่อเสียงและไม่ได้หาดูได้ง่ายๆ โดยทั่วไป ผู้สนใจสามารถรับชมสดรายการแสดง “ฟังดนตรีที่จุฬาฯ” ที่หอแสดงดนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกวันศุกร์ที่ 1 ของเดือน เวลา 18.00 – 21.00 น. หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์และ เฟซบุก๊ ไลฟ์ www.facebook.com/cuartculture และรับฟังรายการวิทยุ “จุฬาวาทิต” ทีอ่ อกอากาศทางสถานีวทิ ยุจฬุ าฯ เป็นประจ�ำทุกวันอาทิตย์ เวลา 06.00 – 07.00 น. ติ ด ตามข่ า วสารของการแสดงดนตรี ที่ จุ ฬ าฯ ได้ ท าง www.facebook.com/cuartculture หรือส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โทร. 0-2218-3634-5


CU CURelax Relaxl 15l 15

์ ค ร ้รางสร

ส ี ต ร โ ู น ม เ ก า

ล ห ม ิ สนุกช

@

ช ี ต ร โ โก

ฯ า ฬ ุ จ ก ั ช า เรื่องและภาพ : ลือฤทธิ์ เอี่ยมภักดี

เมื่อไม่นานมานี้ ราวสองทุ่มกว่าๆ ผมผ่านไปทางถนนบรรทัดทอง ซอยจุฬาฯ 18 สะดุดตากับกลุ่มนิสิตและหนุ่มสาววัยท�ำงานจ�ำนวนมาก ที่นั่งกันเต็มพื้นที่ในร้านเล็กๆ จนบางส่วนต้องออกมานั่งริมฟุตบาท บนโต๊ะของพวกเขา ผมเห็นขนมสูงๆ แหลมๆ ดูน่าสนใจดี ผมเลยลองแวะเข้าไปดู

“โรตีภูเขาไฟ!”

เขาเรียกกันว่าอย่างนั้น โต๊ะอื่นๆ ก็มีเมนูโรตีต่างชื่อกันไป ทั้งโรตีคมแฝก และโรตีทิชชู่! ผมจึงเดินเข้าไปในร้าน และพูดคุยกับชายที่ก�ำลังสาละวนกับการทอดแป้งโรตี “บอล” กิตติฉัตร เอี่ยมอนันต์วัฒนะ เจ้าของร้านและมือท�ำโรตีหนุ่มวัย 32 ปี เผยถึง ที่ไปที่มาของการเปิดร้าน “โก โรตีชาชัก จุฬาฯ” ว่า ก่อนหน้านี้ เขาท�ำงานเป็นพนักงานออฟฟิศ แล้วเมือ่ ได้สนิทกับรุน่ พีท่ เี่ ปิดร้านขายโรตี เขาเห็นว่า การขายอาหารเป็น ธุรกิจทีย่ งั่ ยืนและสามารถสืบทอดกิจการรุน่ สูร่ นุ่ ได้ เขาจึงเริม่ ศึกษาการ ท�ำโรตีและเครื่องดื่มจากรุ่นพี่คนนั้น จนเขาตัดสินใจเปลี่ยนรางชีวิต ลาออกจากงานประจ�ำแล้วมาตัง้ ต้นท�ำธุรกิจร้านโรตีเป็นของตนเองเมือ่ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คุณบอลเล่าว่า เขามีความสุขทุกครัง้ เมือ่ เปิดร้าน ได้ทำ� เมนูโรตี หลากหลาย และพูดคุยกับลูกค้า ร้านของเขาอาจจะเล็กเพียงคูหา เดียว แต่ก็สามารถรองรับลูกค้าได้พร้อมกันทั้งหมด 80 ที่นั่ง ทั้งที่นั่ง ในร้านและริมฟุตบาท โก โรตี มีเมนูโรตีมากกว่า 50 รายการ แต่เมนูยอดนิยม อาทิ โรตีภูเขาไฟ โรตีชีส โรตีแฮมชีส โรตีไข่ดาวแฮมชีส โรตีคมแฝก และ โรตีทิชชู่ จุดเด่นของโรตีที่นี่คือความสร้างสรรค์ไม่จ�ำกัด ทั้งตัวแป้ง รูปทรง สีสัน และไส้โรตี อย่างโรตีภูเขาไฟ หนึ่งในเมนู signature ของร้าน เป็นโรตีทอดสูงใหญ่ ห่อเป็นรูปทรงกรวยเหมือนหมวก ปาร์ตี้วันปีใหม่ ตามด้วยกล้วยหอมหั่นราดช็อกโกแลต ผงโอวัลติน ราคาเฉลีย่ ต่อคน : 50 - 100 บาท และวิปครีม Facebook : เพจ “โก โรตีชาชัก จุฬา” ในยุคที่ความหวานและน�้ำตาลเป็นผู้ร้ายต่อสุขภาพ คุณบอล สถานทีต่ งั้ : ซอยจุฬาฯ 18 ถ.บรรทัดทอง บอกว่า ทางร้านท�ำเมนูตามความต้องการ “หวาน” ของลูกค้า เขา แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กทม. ท�ำโรตีสดๆ และชงเครื่องดื่มแบบแก้วต่อแก้ว ซึ่งลูกค้าสามารถ เบอร์ โ ทรศั พ ท์ ติ ด ต่ อ : คุ ณ บอล เลือกได้ว่าจะเอาความหวานระดับใด หวานมาก หวานน้อย หรือ 089-821-9898 , 062-560-6265 ไม่หวานเลย ลูกค้าบางคนถึงขนาดเอาวัตถุดิบส่วนตัว อย่าง เวลาเปิ ด -ปิ ด : 16.00 - 24.00 น. (หยุ ด ทุ ก วั น พุ ธ ในสั ป ดาห์ ที่ 2 และ 4 น�้ำตาลทรายแดง มาให้เขาชงเครื่องดื่มด้วย เพราะความใส่ใจ ความเป็นกันเองของคุณบอล ท�ำให้ใน ของทุกเดือน) แต่ละวัน มีนสิ ติ ชาวจุฬาฯ รวมถึงผูช้ นื่ ชอบของหวาน แวะมาชิม โรตีและเครื่องดื่มที่นี่อยู่เสมอๆ ด้วยยอดขายกว่า 200 แผ่น ต่อวัน นอกจากนีเ้ ขายังมีบริการให้สงั่ โรตีผา่ นทาง Application “Line Man” ด้วย แต่สำ� หรับผม กินโรตีรอ้ นๆ ทีร่ า้ นจะได้รสชาติ กรอบอร่อยกว่า และยังได้นั่งมองคุณบอลท�ำโรตี ก็เพลินดี ด้วยนะครับ


Inside CUCUInside

l 16

จุฬาฯ คว้ารางวัล Bronze Prize สามัคคีคอื พลัง ดร.เกริก ภิรมย์โสภา อาจารย์ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีม วิ จั ย ได้ รั บ รางวั ล Bronze Prize ในงาน Seoul Inter national Innovation Fair 2017 จากการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์แบบมีปฎิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก : Interactive Robot Interactive Learning (IRAL) ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบ บูรณาการข้ามศาสตร์ ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์กับคณะ ครุศาสตร์ จุฬาฯ

ทันตกรรมพระราชทาน น�้ ำ ใจของชาวจุ ฬาฯ ไม่ เ คยเหื อ ดหาย คณาจารย์ ทันตแพทย์ นิสติ เก่าและบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมให้บริการทางทันตกรรมกับหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ บพิตร เนื่องในวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม 2560 ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก

CU Inside inside : NEWS UPDATES

นิสิตเก่าจุฬาฯ ร่วมบริจาค ก้าวคนละก้าว ตูน บอดี้สแลม หรือ คุณอาทิวราห์ คงมาลัย นิสิตเก่า คณะนิติศาสตร์ วิ่งจากภาคใต้มาถึงกรุงเทพฯ สมาคมนิสิตเก่า คณะนิตศิ าสตร์ จุฬาฯ รวมน�ำ้ ใจมอบเงินสนับสนุนโครงการก้าว คนละก้าว จ�ำนวน 999,999 บาท เพือ่ ช่วยเหลือ 11 โรงพยาบาล ทั่วประเทศ

VC Fabric Young Designer Contest

ภายใต้คอนเซปต์ Absolute Contrast “แตกต่างอย่างลงตัว” นางสาวพิมพ์ชนก ณ พัทลุง และนายวริศ อาชวุ ฒิ กุ ล วงศ์ นิ สิ ต คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าฯ คว้ า รางวั ล ชนะเลิ ศ และรองชนะเลิ ศ อั น ดั บ 1 ตามล� ำ ดั บ จากการแข่งขัน VC Fabric Young Designer Contest ซึ่ง เป็นการประกวดออกแบบตกแต่งภายในห้องชุดคอนโดหรูของ นักศึกษารุ่นใหม่ที่รักงานดีไซน์ ภายใต้โครงการ The Lake @ Metro Park by Property Perfect


CU Inside CU Insidel 17l

สัตวแพทย์จุฬาฯ อาสา

นิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทอง Art Wood

เมื่อวันที่ 11-15 ธันวาคม 2560 ส�ำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดมุกดาหาร ส�ำนักงานปศุสตั ว์อำ� เภอดงหลวง ร่วมกับจุฬาฯ ออกหน่วยบริการตามโครงการสัตวแพทย์จฬุ าฯ อาสาเพือ่ พัฒนา ชนบท ประจ�ำปี 2560 ปฏิบัติงานพื้นที่ ต.ชะโนดน้อย 8 จุด บริ ก ารทั้ ง สั ต ว์ ใ หญ่ แ ละสั ต ว์ เ ล็ ก โดยให้ บ ริ ก ารฉี ด วั ค ซี น ถ่ายพยาธิ เจาะเลือด แจกแร่ธาตุก้อน จามจุรีอดั เม็ด รักษาสัตว์ ป่ ว ย ซึ่ ง ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากผู ้ น�ำ หมู ่ บ ้ า นและเกษตรกร เป็นอย่างดี

อี ก หนึ่ ง ความภาคภู มิ ใ จของชาวจุ ฬ าฯ นิ สิ ต คณะ วิทยาศาสตร์ นายธเนศ ทับทิมทอง และนายศักดิ์ชาย หลักสี สามารถคว้ า รางวั ล เหรี ย ญทองจากงาน ArtWood ในการ ประกวดสิง่ ประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติในงาน Seoul International Invention Fair 2017 ประเทศเกาหลี ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2560 โดยมีผลงาน ส่งประกวดมากถึง 633 ชิ้นจาก 30 ประเทศ

CU Inside : LASTEST NEWS

นิสิตเก่ามอบกล้องจุลทรรศน์

ตัวไกลใจไม่ห่าง นพ.ณรงค์ศักดิ์ วัชโรทน อายุรแพทย์ โรคไต โรงพยาบาลสระบุรี นิสิตเก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มอบกล้องจุลทรรศน์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จ�ำนวน 1 เครื่อง เพื่อน�ำไปใช้ส�ำหรับการเรียนการสอน โดยมี ผศ.นพ. ณัฐวุฒิ โตวน�ำชัย พร้อมด้วย นพ.สุวศิน อุดมกาญจนนันท์ เป็น ผู้รับมอบ เมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2561 ณ ห้องเรื่อง ในหลวง อานันทฯ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

เภสัชนานาชาติแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด หลักสูตรเทคโนโลยีเภสัชกรรม (นานาชาติ) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับเกียรติจาก Prof. Elka Touitou จาก Institute of Drug Research, School of Pharmacy, Faculty of Medicine, Hebrew University of Jerusalem ประเทศอิสราเอล มาบรรยายพิเศษ เรื่อง “Nasal delivery of drugs for systemic and CNS action” ให้แก่ คณาจารย์ นิสิต และผู้สนใจ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุม นานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

17


Game l CUCUGame

18

ลานจุฬาฯ มหาสนุก

โดย : โปรเกมเมอร์

สวัสดีปีใหม่ชาวจุฬาฯ

ทุกท่าน กับโฉมใหม่ของวารสาร “จุฬาสัมพันธ์” พร้อมเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย คอลัมน์ประจ�ำใน “จุฬาสัมพันธ์” ฉบับใหม่ คือ CU Game ที่จะน�ำสาระ / เกร็ดความรู้ในรั้วจุฬาฯ มาให้ร่วมสนุกกันแบบมีรางวัลเก๋ๆ ส�ำหรับทุกท่านด้วย

นอกจากอาคารต่างๆ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีลานอเนกประสงค์อีกหลายลานที่ชาวจุฬาฯ สามารถไปท�ำกิจกรรมและพักผ่อนได้ อีกทั้งยังท�ำให้มหาวิทยาลัยของเรามีความสวยงามและร่มรื่น คาดว่าคุณต้องเคยเดินผ่านลานเหล่านี้อยู่บ้างแน่ๆ แต่คุณบอกได้หรือไม่ว่า ลานต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่ไหน เติมหมายเลขให้ตรงกับต�ำแหน่งลานต่างๆ ในแผนที่ด้านข้าง

ลานพิพิธศิลป์

ลานประชุมกร

ลานอักษรสิทธิ์

ลานแก้วปริญญ์

ลานตฤณชัย

ลานพระบรมรูป สองรัชกาล

ลานจักรพงษ์

ลานพระศรี มหาโพธิ์

ชื่อผู้ส่ง.................................. คณะ / หน่วยงาน...................... ลานจามจุรี เบอร์โทรศัพท์...........................

ถ่ายรูปค�ำตอบพร้อมเขียนชื่อ คณะ / หน่วยงานที่สังกัด และเบอร์โทรศัพท์ ส่งมาทาง Inbox : www.facebook.com/จุฬาสัมพันธ์@CUAround ของรางวัล : เซ็ทปากกาไฮไลท์ 5 เฉดสี พร้อมแพ็กเกจสุดเก๋จากศูนย์สื่อสารองค์กร จ�ำนวน 10 รางวัล และเพื่อเป็นการฉลองการเปิดศักราชใหม่กับจุฬาสัมพันธ์รูปโฉมใหม่ เพียงกด Like Facebook Fanpage : จุฬาสัมพันธ์@CUAround พร้อมแชร์ไปหน้า Facebook ของท่าน และติดแฮชแท็ก #จุฬาสัมพันธ์@CUAround น�ำมาแสดง โดยส่งภาพหน้าจอมาทาง Inbox รับไปเลย! กระเป๋าผ้าสปันบอล CU100 จ�ำนวน 10 รางวัล ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลใน CU Around จุฬาสัมพันธ์ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และทางเฟซบุ๊ก จุฬาสัมพันธ์@CUAround


CU Echo

คุณมีส่วนร่วมในการ

l 19

ลดขยะในจุฬาฯ อย่างไร?

CU SOON

CU Around จุฬาสัมพันธ์

ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เตรียมพบกับหลากหลายเรื่องราวรอบรั้วจามจุรี จากองค์ความรู้ ผลงานวิชาการ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอันน่าภาคภูมิใจของคณาจารย์จุฬาฯ น�ำเสนอในคอลัมน์ต่างๆ ที่น่าสนใจ • งานเปิดตัวโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District) โดย CU Innovation Hub • ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติของ ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ • ความรู้เรื่องสุขภาพเกี่ยวกับการออกก�ำลังกายกับผู้สูงวัย • “พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ” แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับจุฬาฯ • สัมผัสประสบการณ์ดีๆ ของนิสิตในค่ายสัตวแพทย์ จุฬาฯ อาสาพัฒนาชนบทที่มุกดาหาร ฯลฯ แล้วพบกันฉบับหน้ากับจุฬาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ CU Around! ใครมีข้อเสนอแนะสามารถส่งมาได้ที่ Inbox Facebook Fanpage : จุฬาสัมพันธ์@CUAround


Calendar l l CU CU Calendar

20

มกราคม มีอะไร?

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.chula.ac.th/calendar/index.php/calendar/


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.