สูจิบัตรออนไลน์ จุฬาวาทิตครั้งที่ 220 เสภาตลก ชุด ขุนแผนจับม้าสีหมอก เข้าห้องนางแก้วกิริยา

Page 1


คำบรรยายการแสดงเสภาตลกตามแบบแผนกรมศิลปากร ชุด ขุนแผนจับม้าสีหมอก เข้าห้องนางแก้วกิริยา จรัญ พูลลาภ เรียบเรียง ตำนานเสภา๑ คำว่า “เสภา” น่าจะมาจากศัพท์สันสกฤตว่า “เสวา” ในหนังสืออภิธ านภาษา สันสกฤตฉบับเซอรโมวิลเลียมส์ มีคำว่า “เสวา” มีความหมายอย่างหนึ่งว่า “การบูชา” ถ้านำ คำอื ่ นมาประกอบเข้ าไปด้ว ยเป็ น “เสวา กากุ ” แปลว่ า “การสวดบู ชา” เปลี ่ ยนเป็ นทำนอง ต่าง ๆ เช่น แข็งบ้าง อ่อนบ้าง โกรธเคืองบ้าง เศร้าโศกบ้าง คำ ๆ นี้พวกทมิฬออกเสียงเพี้ยนไป เป็น “เศรไว” หรือ “หริเศรไว” ดังนั้นน่าจะสันนิษฐานได้ว่าประเพณีการขับเสภา ของไทยคง จะได้ตำรามาแต่อินเดีย ส่ ว นตำนานของเสภาในไทย พบหลั กฐานปรากฏอยู ่ ในกฎมนเที ยรบาลซึ่ งตั้ งใน รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๐๑๑ ตอนว่าด้วยกำหนดเวลาพระราชา นุกิจของพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวว่า “หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี เจ็ดทุ่มเบิกนิยาย” ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าในสมัยเมื่อตั้งกฎมนเทียรบาลนั้น นับถือกันอยู่แล้วว่าเสภาเป็นของน่าฟัง และเสภา เป็นอย่างหนึ่งต่างหากไม่เหมือนกับนิยาย (คือเล่านิทาน) สันนิษฐาน ว่าเสภาคงจะขับเป็นลำ นำและคำที่ขับนั้นคงเป็นบทกลอน แต่ข้อที่ในกฎมนเทียรบาลมีคำว่าดนตรีประกอบ อยู่ด้วย นั้น อาจหมายความได้เป็นสองนัย คือ นัยหนึ่งดนตรีเป็นเครื่องอุป กรณ์เสภา ข้อสำคัญของ เสภาชั้นเดิมคงจะอยู่ที่คิดหากลอนดีอย่างหนึ่ง กับขับทำนองเพราะอย่างหนึ่ง ดนตรีเป็นแต่ เครื่องอุปกรณ์สำหรับประสานเสียงหรือทำบรรเลงพอให้คนขับมีเวลาได้พักบ้าง เรื่องที่ใช้ขับเสภา เดิมมิได้ขับเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” เพราะขุนช้างขุนแผนเกิดหลัง มีเสภามาช้านานสันนิษฐานว่าเสภาชั้นเดิมคงจะขับเรื่องนิทานเพื่อสดุดพี ระเป็นเจ้า เช่น เรื่อง มหาภารตะและเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น หรือบางทีอาจจะนำเอาเรื่องนิทานในพื้ น เมื องอั น เป็นเรื่องเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิ นขับ เสภาบ้าง ต่อมาจนถึงตอนปลายสมั ย กรุ ง ศรี อยุธยาเป็นราชธานี เสภาจึงชอบขับแต่เรื่องขุนช้างขุนแผนเรื่องเดียว

เสภาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ถือกันว่าเป็นมหรสพอย่างหนึ่งมักชอบมี ใ น งานมงคล เช่น งานโกนจุกและขับกันตอนพลบค่ำเท่านั้น ไม่เคยปรากฏว่ามีการขับในเวลา กลางวั นเลย เสภาในตอนหลั ง คนขั บจะขยั บกรับ จั ง หวะไม่ มี ดนตรี เป็ นเครื ่องประกอบ ประเพณีอันนี้เข้าใจว่าเริ่มมีมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การขั บ ก็ ขับ แต่ เรื่องขุนช้างขุนแผนเรื่ องเดียว สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะเรื่องขุนช้างขุนแผนมี เ ล่ า กั นเป็ น นิ ย ายมาก่ อน เมื ่ อเล่ า แบบนิ ยายนานเข้ าคนก็ เบื ่ อ จึ ง นำเอาไปขั บเป็ นเสภาเรื ่ อยมา นอกจากนี้เรื่องขุ นช้างขุ นแผนก็ เป็นเรื่ องเฉลิมพระเกี ยรติพระเจ้าแผ่ นดิน คือ สมเด็ จ พระ พันวษาที่มีชัยชนะเชียงใหม่ ซึ่งเข้าตำรานำมาขับเสภาได้คนจึงชอบฟังเสภาขุนช้ า งขุ นแผน เสภาในสมัยรัตนโกสินทร์ มี ห ลั กฐานแสดงให้ เห็ นว่ า ในชั ้ นแรกคงจะเล่ นตาม แบบอย่างเมื่อตอนปลาย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คืออยู่ในจำพวกมหรสพซึ่งมีในเวลาค่ ำ และมักมีในงานมงคล เช่น งานโกนจุก เสภาในยุคนี้ ได้แก่ รั ชกาลที่ ๑ เริ ่ ม ถื อว่ าหนัง สื อบทเป็นสำคั ญ แต่ ก่อนนิย มใช้ แบบกลอนสด คือ จะต้องคิดขึ้นขับในทันที แต่เข้าใจว่าเสภานิยมแพร่หลายในพื้นเมือง คนขับเสภาที่มีเสีย งดี ขับทำนองเพราะ แต่ไม่สันทัดในเชิงกลอน จำต้องไหว้วานคนอื่นให้แต่งบทจดให้ท่องจำเอา ไปขับอีกทีหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุ ภาพทรงสั นนิ ษ ฐานว่ า บทเสภาน่าจะมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่คงเป็นทีห่ วงแหน ดังนั้นตัวบทเสภาครัง้ กรุงเก่าจึง มีฉบับน้อย พอถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงต้องมาแต่งใหม่แทบทั้งนั้น ๒. เสภาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อยังทรงดำรง พระยศเป็นเจ้าต่างกรม โปรดเสภามากถึงกับได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภาโดยการแปลงบท เสภาเก่าบางตอน ได้แก่ ตอน พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม และตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง และเข้าห้องนางแก้วกิริยา ............................................................. @

โมรี ชื่นสำราญ, ศาสตราจารย์เทือก กุสุมา ณ อยุธยา, ประวัติศาสตร์วรรณคดี วิชาชุดครูประกาศนียบัตรของ คุรุสภา ภาษาไทย ตอน ๓ องค์การค้าคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๑๘ หน้า ๒๕๔


นอกจากนี้สังเกตดูสำนวนในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เข้าใจว่าจะทรงพระราชนิพนธ์ตอน อื่นอีก เช่น ตอนนางลาวทองทะเลาะกับนาง วันทองและตอนขุนแผนพานางวันทองหนีไปจาก บ้านขุนช้าง ในรัชกาลนี้ได้มีการแก้ไขกระบวนบทเสภาใหม่ คือ ๒.๑ โปรดให้แต่งบทเสภาขึ้นใหม่ เรียกว่า “เสภาหลวง” (ทำนองเดียวกับเรียกว่า “บทพระราชนิพนธ์”) เพราะแต่งขึ้นในราชสำนักและใช้ปี่พาทย์เป็นเครื่องประกอบกับเสภา ใช้สำหรับขับถวายในเวลาทรงเครือ่ งใหญ่ ๒.๒ การแต่งบทเสภาใหม่ในรัชกาลที่ ๒ เข้าใจว่าคงจะทรงขอแรงให้พวกกวีใน ราชสำนักช่วยกันรับไปแต่งเป็นตอน ๆ และใช้ขับในราชสำนัก แต่ไม่ปรากฏว่าใครแต่งตอน ไหน ส่วนมากพิจารณาดูสำนวนกลอน เช่น ตอนกำเนิดพลายงาม เป็นสำนวนของสุนทรภู่ เป็นต้น ๒.๓ เนื่องจากเกิดมีบทเสภาหลวงขึ้น ทำให้การเล่นเสภาแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ เสภาด้น เป็นการขับแบบโบราณด้วยกลอนสด เสภาเรื่อง เป็นการขับตามบทที่กวีแต่ง ๓. เสภาในรัชกาลที่ ๓ การเล่นเสภาในรัชกาลนี้ ถือว่าปี่พาทย์เป็นของสำคัญคูก่ บั เสภา ซึ่งในรัชกาลที่ ๒ ปี่พาทย์เป็นแต่เพียงดนตรีประกอบเท่านั้น การเล่นเสภาตามแบบ หลวงครั้งรัชกาลที่ ๒ จึงนับว่าดีที่สุด ในรัชกาลที่ ๓ ในรัชกาลนี้ยังไม่มีการรวบรวมบทเสภา ๔. เสภาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฟังเสภา เหมือนรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้ขอ้ สันนิษฐานว่า การรวบรวมบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เอามาเชื่อมให้ติดต่อกันตามเรื่องแต่ ต้นจนปลายนั้น เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลักฐานที่ได้คอื มีฉบับหลวงอาลักษณ์ในรัชกาลที่ ๔ เขียนไว้และฉบับของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชยั ญาติ ฝีมือเขียนก่อนรัชกาลที่ ๔ นั้นไม่มี ในรัชกาลนี้ปรากฏว่าลีลาการขับเสภานั้นเสื่อมลงไป เพราะเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่พากันนิยมปีพ่ าทย์มากกว่าการขับเสภา และไม่นิยมใช้เพลง ตามเรื่องเสภาอย่างแต่ก่อน นอกจากนี้เป็นเพราะในรัชกาลนี้ เริ่มมีละครผู้หญิงนอกราชสำนัก ทำให้คนนิยมหัดละครผู้หญิงกันขึ้นแพร่หลาย บางพวกถึงกับนำเอาเรื่องขุนช้างขุนแผนไปเล่น

เป็นละครก็มี คนทั้งหลายหันไปชอบละครผู้หญิงกันมากขึ้น ทำให้คนเสื่อมความนิ ยมเสภาลง มาก แต่อย่างไรก็ตามรัชกาลที่ ๔ ยังโปรดเสภาและโปรดมโหรีผู้หญิงของหลวงขับเสภาพระ ราชพงศาวดารของสุนทรภู่ด้วย นอกจากนี้บรรดาท่านผู้ใหญ่ทไี่ ม่หดั ละคร และยังคงเล่นเสภา ต่อมาด้วยกันกับปี่พาทย์ก็มีเสภาจึงยังไม่สาบสูญไป ๕. เสภาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดทรงฟัง เสภาเหมือนรัชกาลที่ ๔ และโปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) แต่งเสภา เรื่อง อาบู หะซัน ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นลิลิต* เรื่อง นิทราชาคริต ขึ้นเป็นเสภาบทหลวงอีกเรื่อง หนึ่ง ในรัชกาลนี้ยังคงนิยมเล่นปี่พาทย์เป็นสำคัญกว่าเสภาและ การเอาเรื่องขุนช้างขุนแผนไป เล่นละครก็ยังคงแพร่หลายกว่าแต่ก่อน เครื่องมหรสพอื่น ๆ เช่น ลิเก ละครร้อง และ ภาพยนตร์ เกิดขึ้น ทำให้ความนิยมฟังเสภาอย่างโบราณลดน้อยลง ในรัชกาลนี้มีหนังสือบท เสภา พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ หมอสมิทเจ้าของโรงพิมพ์ที่บางคอแหลม ได้หนังสือเสภาฉบับของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ซึ่งคัดสำเนาไปจากฉบับหลวง ไปพิมพ์) จึงทำให้เสภาบทหลวงแพร่หลายยิ่งขึ้น พวกที่ขับเสภาหันมาขับเสภาบทหลวง พวก ที่เป็นนักเรียนวรรณคดีก็พากันชอบอ่านบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เพราะเป็นหนังสือ สำนวน กวีซึ่งมีชื่อเสียงในกรุงรัตนโกสินทร์แต่งแทบทุกคนและแต่งเต็มฝีปากกันทั้งนั้น นับ ถือกันว่าเป็นหนังสือประชุมกลอนสุภาพ* ซึ่งอ่านไม่รู้จักเบื่อไม่มีเรื่องอื่นดีเสมอ บทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผนจึงเกิดเป็นหนังสือสำคัญในวรรณคดีไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาและเป็น ที่รู้จักกันในนามว่า หนังสือเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน

........................................................................... * กวีนิพนธ์ที่มีเนื้อเรื่องยาว ๆ โดยการนำเอาคำประพันธ์ที่ประกอบด้วยร่ายและโคลงมาแต่งละคนกันไป ร่าย และโคลงต้องมีสัมผัสเกีย่ วข้องกัน ระหว่างบทต่อบทตั้งแต่ตน้ จนจบ ให้คำสุดท้ายของบทหน้าสัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ในวรรคต้นของบทต่อไป


๖. เสภาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสภา เหมือนกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ยังทรงฟังเสภาในเวลาทรงพระเครื่องใหญ่และในเวลาเสด็จ ประพาสหัวเมือง นอกจากนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภา “เรื่อง พระยาราชวังสัน” ขึ้น ใหม่เรื่องหนึ่ง และทรงพระราชดำริวิธเี ล่นเสภาขึ้นใหม่อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า “เสภาสามัคคี เสวก” คือ มีระบำเล่นเข้ากับปี่พาทย์ ไม่มีบทร้องหรือบทเจรจาใช้ขับเสภาบอกเรื่องระบำ ก่อนเปิดม่านทุกตอน ในรัชกาลนี้มีการพิมพ์บทเสภาฉบับหอพระสมุดขึ้นเพื่อจะได้เป็นฉบับ มูลเหตุการขับเสภา๒ ประเพณีของการขับเสภา ไม่ปรากฏเหตุเดิมแน่นอน แต่พอสันนิษฐานได้ว่ามูลเหตุ คงเนื่องมาแต่เล่านิทานให้คนฟัง อันเป็นประเพณีมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ทีเดียว แม้ในคัมภีร์ สารัตถสมุจจัยซึ่งแต่งมากว่า ๗๐๐ ปี ยังกล่าวในตอนอธิบายเหตุแห่งมงคลสูตรว่า ในครั้ง พระพุทธกาลนั้นตามเมืองในมัชฌิมประเทศ มักมีคนไปรับจ้างเล่านิทานให้ฟังกันในที่ ประชุมชน เช่น ที่ศาลาพักคนเดินทาง เป็นต้น เกิดแต่คนทั้งหลายได้ฟังนิทาน จึงโจทย์เป็น ปัญหากันขึ้นว่าอะไรเป็นมงคล เป็นปัญหาแพร่หลายไปจนถึงเทวดาไปทูลถามพระพุทธองค์ จึงได้แสดงมงคลสูตร ประเพณีรับจ้างเล่านิทานให้คนฟังดังกล่าวนี้ แม้ในสยามประเทศก็มี มาแต่โบราณ จนนับเป็นมหรสพอย่าง ๑ ซึ่งมักมีในการงาน เช่น งานโกนจุก ในตอนค่ำเมื่อ พระสวดมนต์แล้วก็หาคนไปเล่านิทานให้แขกฟังเป็นประเพณีมาเก่าแก่ และยังมี ลงมาจนถึง ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ขับเสภาก็คือเล่านิทานนั้นเอง และประเพณีมีเสภาก็มีในงานอย่าง เดียวกับที่เล่านิทานนั้น จึงเห็นว่าเนื่องมาจากเล่านิทาน ขับเสภาผิดกับเล่านิทานแต่เอา นิทานมาผูกเป็นกลอน สำเนียงที่ใช้ขับเป็นลำนำ และขับกันเฉพาะเรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่อง เดียว เสภาผิดกับเล่านิทานที่เป็นสามัญอยู่แต่เท่านั้น ถ้าจะลองสันนิษฐานว่าเหตุใดจึงมีคน คิดขับเสภาขึ้นแทนเล่านิทาน ก็ดูเหมือนพอจะเห็นเหตุได้ คือ เพราะเล่านิทานฟังกันมา นาน ๆ เข้าออกจะจืด จึงมีคนคิดเล่านิทานให้แปลก โดยกระบวนแต่งเป็นกลอนว่าให้คล้อง กัน ให้น่าฟังกว่าที่เล่านิทานอย่างสามัญประการหนึ่ง เมื่อเป็นบทกลอนจึงว่าเป็นทำนอง

ลำนำตามวิสัยการว่าบทกลอน ให้ไพเราะขึ้นกว่าเล่านิทานอีกประการหนึ่ง ข้อที่ขับแต่เรื่อง ขุนช้างขุนแผนเรื่องเดียวนั้น คงจะเป็นด้วยนิทานเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่ชอบกัน แพร่หลายในครั้งกรุงเก่ายิ่งกว่านิทานเรื่องอื่น ๆ ด้วยเป็นเรื่องสนุกจับใจและถือกันว่าเป็น เรื่องจริง จึงเกิดขับเสภาขึ้นด้วยประการฉะนี้ เสภาขับ กับปี่พาทย์เสภา๓ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของช่างขับเสภากับการละคร ย่อมส่งผลไปถึง ความสัมพันธ์อันสนิทสนมกับวงปี่พาทย์ด้วย เพราะปี่พาทย์จะต้องตีเป่าประโคมรับส่งละคร ทำให้ช่างขับทีเ่ คยขับเพลงส่งมโหรีจงึ ปรับกระบวนให้เข้ากับปีพ่ าทย์อันเป็นแบบแผนถึง สมัยต่อมา และผลักดันให้พิถีพิถันไม้ทำกรับที่ตอ้ งเป็นไม้เนื้อแกร่ง ๆ เช่น ไม้ชิงชัน เพื่อให้มี เสียงใสปาน “แก้ว” ได้ระดับเสียงเสมอระนาด ขณะเดียวกันก็สร้างกระบวนตีกรับให้ ซับซ้อนขึ้น การปรับกระบวนเสภาครั้งใหญ่น่าจะเกิดขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มี กลอนกำกับ ไว้ว่า “เมื่อพระจอมนรินทร์แผ่นดินลับ เสภาขับยังหามีปี่พาทย์ไม่ มาเมื่อพระองค์ทรงชัย ก็เกิดคนดีในอยุธยา” กลอนกำกับบทนี้ น่าจะหมายถึงการวางระเบียบขับเสภาส่งปีพ่ าทย์ ให้เป็นแบบ แผนตายตัวมากขึ้น ด้วยอิทธิพลของละครและการบันทึกบทเสภาเป็นลายลักษณ์อักษร ดัง จะเห็นร่องรอยอยู่ในระเบียบปี่พาทย์ ทำโหมโรงเสภาแบบเดียวกับโหมโรงละคร กล่าวคือ เริ่มบรรเลงด้วยเพลงตระจนถึงกราวนอกแล้วลงเพลงลา เมื่อจะเริ่มเกริ่นเสภาจึงบรรเลง เพลงวา เสร็จแล้วช่างขับเสภาจึงขึ้นไหว้ครู หลังจากนั้นก็เข้าเรื่องเสภา ...................................................................... ๒

เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง”เสภา : การประพันธ์และการขับขาน” โครงการเนื่องในวัน ภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช๒๕๕๔ จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ๑๔ และ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔) หน้า ๕


ต่อมาพวกปี่พาทย์เห็นว่าโหมโรงอย่างละครยาวและเยิ่นเย้อเกินไป จึงตัดย่อลงให้สั้นเหลือ เพลงวา อย่างเดียว แต่แล้วพวกปี่พาทย์ก็เบื่ออีก จึงดัดแปลงอีกครั้งหนึ่งให้เริ่มด้วยเพลงรัว ประลองเสภา แล้วต่อด้วยเพลงโหมโรง เช่น ไอยเรศ หรือ สะบัดสะบิ้ง ฯลฯ แต่จะต้องจบลง ด้วยเพลงวา (กลอนไหว้ครูเพลงโต้ตอบบอกว่า “ขึ้นสงแล้วลงวา”) เท่านั้น ช่วงที่เสภาปี่ พาทย์รุ่งเรือง ชือ่ เสภามีอิทธิพลครอบงำปี่พาทย์ ดังจะเห็นจากกรณีทมี่ ีการว่าจ้างปีพ่ าทย์ไป ทำรับร้องก็มักเรียกกันว่าหาปีพ่ าทย์ไป “ทำเสภา” (แทนที่จะบอกว่าหาไป “ทำปี่พาทย์”) ด้วยเหตุนี้ชื่อโหมโรงรับร้องจึงยังเรียก “โหมโรงเสภา” ละครเสภา ๔ บทละครเสภาที่นำมาจัดแสดงกันอยู่เสมอ คือ เรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องไกร ทอง ซึ่งเป็นเรื่องชีวิตของคนธรรมดาสามัญ วรรคต้นของบทกลอนมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “ครานั้น, ปางนั้น” นับว่าเป็นลักษณะที่แปลกกว่าละครรำชนิดอื่นที่นิยมขึ้นด้วย “เมื่อนั้น, บัดนั้น” ดนตรีประกอบการแสดงจะใช้วงปี่พาทย์เช่นเดียวกับละครนอก เพลงที่ใช้ร้อง ประกอบการแสดง นอกจากจะใช้เพลงตามแบบแผนละครนอกแล้ว จะมีการขับเสภาดำเนิน เรื่องแทนการร้องร่ายในบางครัง้ เสภาตลก เป็นเสภารำที่เน้นแสดงแบบตลก ผู้ริเริ่มเสภารำแบบตลกนี้ ชื่อขุนรามเดชะ (ห่วง) บางท่านว่า ขุนราม (โพ) กำนันตำบลบ้านสาย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเล่าลือกันว่าขับเสภาดีนัก ท่านผู้นี้ได้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๖ ขุนสำเนียงวิเวกวอน (น่วม บุญยเกียรติ) ร่วมกับนายเกริ่น และนายพัน ได้คิดเสภาตลกขึ้น อีกชุดหนึ่งเลียนแบบขุนช้างขุนแผน โดยแสดงเรื่อง พระรถเสน ตอนฤษีแปลงสาร

เนื้อเรื่องย่อละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน๕ เรื่องนี้เป็นแบบเรื่องรักสามเส้า ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของนวนิยาย คือ เป็นเรื่องของขุน ช้าง ขุนแผน และนางวันทอง ซึ่งเป็นชาวสุพรรณบุรี “นางวันทอง” เดิมชื่อนางพิม เป็น บุตรสาวของพันศรโยธา กับนางศรีประจัน นางวันทองได้รักใคร่กับ “ขุนแผน” ตั้งแต่เมื่อครัง้ ยังเป็นพลายแก้ว ขุนแผนเป็นบุตรชายของขุนไกรพลพ่าย กับนางทองประศรี ส่วนทางฝ่าย “ขุนช้าง” เป็นบุตรชายของขุนศรีวิไชยเป็นนายกรมช้าง กับนางเทพทอง หลงรักนางวันทอง เหมือนกัน เมื่อพลายแก้วถูกเกณฑ์ไปทำสงครามเป็นเวลานาน ขุนช้างได้ให้มารดาไปสู่ขอ นางวันทอง โดยใช้อุบายจนในที่สุดก็ได้นางเป็นภรรยา พลายแก้วเมื่อกลับจากทัพได้เป็น ที่ “ขุนแผนแสนสะท้าน” ตำแหน่งปลัดซ้ายกรมตำรวจภูบาล และได้ลักนางวันทองไปได้ ฝ่ายขุนช้างก็พยายามติดตามจะเอานางวันทองคืนมาให้ได้ จนถึงกับกราบทูลความเท็จต่อ สมเด็จพระพันวษาว่าขุนแผนเป็นกบฏ สมเด็จพระพันวษาโปรดให้จมื่นศรี จมื่นไวย เป็นแม่ ทัพไปจะจับขุนแผน ขุนแผนเป็นคนมีวิชาอาคม และอยู่ยงคงกะพันใครฆ่าไม่ตาย ขุนแผนฆ่า ทหารของสมเด็จพระพันวษาตายเสียหลายคน ทำให้พระองค์กริ้วมาก โปรดให้มีใบบอกไป ทุกหัวเมืองให้จับขุนแผน ขุนแผนพาวันทองหลบซ่อนซมซานไปในที่ต่าง ๆ จนนางวันทอง ครรภ์แก่ ขุนแผนจึงตกลงใจไปหาพระพิจิตรเล่าความจริงให้ทราบ ที่สุดขุนแผน ตกลงใจเข้าถวายตัวต่อสมเด็จพระพันวษา และถูกตัดสินให้ติดคุก ในระหว่างนั้นนางวันทอง ได้คลอดบุตรเป็นชายให้ชื่อว่า “พลายงาม” ...................................................................... เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง”เสภา : การประพันธ์และการขับขาน” โครงการเนื่องในวัน ภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช๒๕๕๔ จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ๑๔ และ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔) หน้า ๕ ๔เรื่องเดีย วกัน (หน้า ๕๓) ๕โมรี ชื่นสำราญ , ศาสตราจารย์เทือก กุสุมา ณ อยุธยา, ประวัติศาสตร์วรรณคดี วิชาชุดครูป ระกาศนีย บัตร ของคุรุสภา ภาษาไทย ตอน ๓ องค์การค้าคุรุสภา พิมพ์ ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๑๘ หน้า ๒๖๘ ๓


ต่อมาเกิดศึกเชียงใหม่ด้วยเรื่องนางสร้อยทอง พระราชธิดาของเจ้าลานช้างซึง่ มี ชันษาได้ ๑๕ ปี เจ้าลานช้างหวังเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา จึงจัดส่งนางสร้อยทองมาถวาย สมเด็จพระพันวษา ในระหว่างทาง เจ้าเมืองเชียงใหม่จัดส่งทหารแอบตีชิงเอานางสร้อยทอง ไป ตอนนี้พลายงามได้ทูลอาสาไปทำสงคราม และขอให้ทรงปล่อยขุนแผนบิดาของตนให้ เป็นอิสระ จะได้ไปช่วยรบในสงครามเชียงใหม่ดว้ ย ขุนแผนจึงพ้นโทษออกจากคุกได้ ทั้ง ขุนแผนและพลายงามเลยต้องเป็นแม่ทัพคุมทัพไปรบเชียงใหม่และได้ชัยชนะในการสงคราม หลังจากนั้นขุนแผนได้รับแต่งตั้งให้เป็น“พระสุรินทรฤาไชย” ครองเมืองกาญจนบุรี ส่วน พลายงามได้เป็น “จมื่นไวยวรนาถ” ต่อมาขุนแผนได้พบกับนางวันทองอีกในวันแต่งงานจมืน่ ไวยบุตรชายกับธิดาพระ พิจิตรชื่อ “ศรีมาลา” ตอนนี้จมื่นไวยได้สะกดด้วยมนต์ลักนางวันทองไปเสียจากขุนช้าง ขุน ช้างจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อสมเด็จพระพันวษา สมเด็จพระพันวษาจึงกริ้วหาว่านางเป็น คนสองใจ จึงให้ประหารชีวิตเสีย แม้ภายหลังพระไวยได้ขอพระราชทานอภัยโทษได้กต็ าม แต่ไปไม่ทันเพชฌฆาตได้ลงดาบเสียก่อน เป็นอันว่านางวันทองถูกประหารชีวิต เพราะถูกหา ว่าเป็นหญิงสองใจ มีเรื่องต่อจากนี้จนถึงพลายเพชรพลายบัว แต่เป็นการแต่งต่อเติมขึ้นภายหลังในราว สมัยรัชกาลที่ ๔ เนื้อเรื่องย่อการแสดงเสภาตลก เรื่องขุนช้างขุนแผน ชุด ขุนแผนจับม้าสีหมอก เข้าห้อง นางแก้วกิริยา การแสดงเสภาตลก เรื่องขุนช้างขุนแผน ชุด ขุนแผนจับม้าสีหมอก เข้าห้องนางแก้วกิริยา เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ได้สร้างสรรค์รูปแบบการแสดง ขึ้นให้มีความตลกขบขันเป็นสำคัญ เน้นการแสดงเสภาซึ่งมีทั้งผู้ขับ ตัวเรื่องและตัวตลก ไม่ เน้นกระบวนการรำสวยงาม อ่อนช้อย โดยเนื้อเรื่องกล่าวถึงขุนแผนโกรธแค้นขุนช้างผู้เป็น เพื่อนทรยศ ได้ลวงหลอกลวงนางวันทองเมียของตนไปเป็นเมีย และเพ็ดทูลพระพันวษาจน

ตนต้องได้รับพระอาญา จึงวางแผนจะลักตัวนางวันทอง จึงต้องออกเดินทางหาของวิเศษ ๓ อย่างตามที่อาจารย์บอก คือ กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้น และม้าสีหมอก ซึ่งเป็นม้าฝีเท้าดีจาก เมืองมะริด มีลักษณะถูกต้องตามตำรา เมื่อได้ของทั้งสามอย่างครบตามต้องการแล้ว ขุนแผนจะเดินทางกลับไปเมืองสุพรรณ จึงไปยังโรงเลี้ยงม้าสีหมอกเพื่อจะขี่ไป แต่ม้าสีหมอก กลับดื้อดึงขัดขืนไม่ยอมให้ขี่ ขุนแผนต้องปลอบโยนแกมบังคับจนม้าสีหมอกยินยอม ครั้น มาถึงเคหาของขุนช้างได้รา่ ยเวทย์มนต์สะกดผู้คนในเรือนให้หลับสนิทหมดทัง้ เรือน นี่คือ ที่มาของการแสดงเสภาตลกเรื่องขุนช้างขุนแผน ชุด ขุนแผนจับม้าสีหมอก เข้าห้องนางแก้ว กิริยา ที่สำนักการสังคีต กรมสิลปากร จัดนำมาแสดงในครั้งนี้ .............................................................


รายชื่อผู้แสดงและผู้บรรเลง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30.

นายฉันทวัฒน์ ชูแหวน นายไอศูรย์ ทิพย์ประชาบาล นายจรัญ พูลลาภ นายสุรเดช เดชอุดม นายหัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ นายพงษ์พิศ จารุจินดา นายประสาท ทองอร่าม นายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ นายเจตน์ ศรีอ่ำอ่วม นางน้ำทิพย์ ศิริมงคล นางสาวชริตา ธนัทกุลภักดี ม.ร.ว.รัศมีอาภา ฉัตรชัย นายนพพร โหมดเทศ ว่าที่ ร.ต.อลงกรณ์ พวงแก้ว นายพัฒนพงษ์ แสงรื่น นายสามารถ สุทธิกิตติวงศ์ นายธงชัย สงบจิตร์ นางวนิตา กรินชัย นายสุรพงศ์ โรหิตาจล นายฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง นายวรวิทย์ ข้าวสามรวง นายศุภโชค ยอดประเสริฐสุด นายจตุพร ดำนิล นายรณภัทร นามดี นายประวุฒิ อ่ำพุทรา นางสาวนลินนิภา ดีทุม นายสุวิชา คำตา นายจุมพล จำนงธรรม นายอาชวิน ลิมปิสวัสดิ์

นาฏศิลปินอาวุโส นาฏศิลปินชำนาญงาน นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ นาฏศิลปินชำนาญงาน นาฏศิลปินอาวุโส ผู้ชำนาญการศิลปะการแสดง ผู้ชำนาญการศิลปะการแสดง นาฏศิลปิน (ด้านอำนวยการแสดง) ผู้ชำนาญการศิลปะการแสดง ผู้ชำนาญการศิลปะการแสดง นาฏศิลปินอาวุโส ช่างอาภรณ์ นาฏศิลปินอาวุโส นาฏศิลปินปฏิบัติงาน นาฏศิลปินปฏิบัติงาน นาฏศิลปินปฏิบัติงาน พนักงานจัดเครื่องแต่งกายโขน-ละคร นาฏศิลปินอาวุโส นาฏศิลปินอาวุโส ดุริยางคศิลปินอาวุโส ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน ดุริยางคศิลปินอาวุโส ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน พนักงานจัดเครื่องดนตรีไทย พนักงานจัดเครื่องดนตรีไทย พนักงานจัดเครื่องดนตรีไทย

รับบทขุนแผน / ช่วยกำกับการแสดง รับบทนางแก้วกิริยา รับบทม้าสีหมอก รับบทตลก กำกับการแสดง อำนวยการฝึกซ้อม อำนวยการฝึกซ้อม อำนวยการฝึกซ้อม อำนวยการฝึกซ้อม อำนวยการฝึกซ้อม หัวหน้างานพัสตราภรณ์และเครื่องโรง แต่งกาย แต่งกาย แต่งกาย จัดเก็บอุปกรณ์ จัดเก็บอุปกรณ์ จัดเก็บอุปกรณ์ ธุรการกลุ่มนาฏศิลป์ ผู้อำนวยการกลุ่มนาฏศิลป์ ระนาดเอก/ควบคุมการบรรเลง ปี่ ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง

31. 32. 33. 34. 35. 36.

นายวรศิลป์ สังจุ้ย นางสาวหนึ่งฤทัย ไชยศรี นายสุริยะ ชิตท้วม นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสาววัชรี โมกน้ำเที่ยง นายวิษรุต วะสุกัน

ดุริยางคศิลปินอาวุโส เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ดุริยางคศิลปินอาวุโส ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ธุรการกลุ่มดุริยางค์ไทย ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์ไทย อำนวยการแสดง ประสานงานการแสดงสำนักการสังคีต ธุรการสำนักการสังคีต


สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Art Culture @cuartculture CU Art Culture cu.art.culture 099-328-1616 cuartculture@chula.ac.th www.cuartculture.chula.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.