“ขับขานเพลงดนตรี 105 ปีจุฬาฯ” เนื่องในโอกาสเป็นช่วงเดือนแห่งวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอนำเสนอเพลงที่ใช้เนื้อร้องจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และบทเพลงของชาวจุฬาฯ ที่รู้จักกันดี บรรเลงโดย วงดนตรีสากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม รายการแสดง สรรเสริญเสือป่า สยามานุสติ เกียรติศักดิ์ทหารเสือ โยสลัม สาส์นรัก ดวงใจ ร้อยใจเป็นมาลัยรัก สีชัง ไทยสามัคคี
คำปฏิญาณ ไร้รักไร้ผล ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ ความรัก หลั่งมาเองเหมือนฝน ศกุนตลา เจ้าดารารัศมี จุฬาแซมบ้า มหาจุฬาลงกรณ์
ประวัติเพลง 1. สรรเสริญเสือป่า บรรเลง
2. สยามานุสติ ขับร้องหมู่
เดิมเพลงนี้ใช้เป็นเพลงบรรเลงคำนับสำหรับกองเสือป่า ต่อมา ได้เริ่มใช้บรรเลงในงานพิธีการของโรงเรียนมหาวชิราวุธวิทยาลัยนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 และได้มีหน่วยงานต่างๆ นำไปบรรเลงในงานพิธี ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึง ปัจจุบัน
คำโคลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวัน เสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสา สมัครสงครามโลกครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสยามานุสติมาจากคำขวัญปลุกใจของ อังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ว่า “What stands if Freedom fall” “Who dies if England live”
คำร้อง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ วงศ์ ทำนอง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระ นครสวรรค์วรพินิต (ทรงพระราชนิพนธ์ดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม “บุหลันลอยเลื่อน”) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2456
ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ประพันธ์ ทำนองโดย นารถ ถาวรบุตร เมื่อปี พ.ศ. 2482 เพื่อประกอบ ภาพยนตร์เรื่อง “ค่ายบางระจัน” ของบริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ส่วน เนื้อร้องนั้น ได้นำบทพระราชนิพนธ์ สยามานุสสติ บทที่ 3 และบทที่ 4 มา โดยใช้บทที่ 4 ขับร้องก่อนแล้วจึงต่อด้วยบทที่ 3 เป็นลำดับถัดไป เพลงนี้เคยมีการบรรเลงและบันทึกเสียงด้วยวงโยธวาทิต แต่ เดิมสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ได้ใช้ ทำนองต้นฉบับซึ่งจัดทำขึ้นเฉพาะกิจ บรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร เรียบเรียงเสียงประสานและอำนวยเพลงโดยนายชลหมู่ ชลานุเคราะห์ เปิดนำในรายการข่าวต้นชั่วโมงและข่าวหลักของสถานีฯ มากว่า 50 ปี
3. เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ผู้ขับร้อง: มานิต ธุวะเศรษฐกุล
5. สาส์นรัก ผู้ขับร้อง: ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้
เป็นบทโคลง ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เทียบคำ โคลงมาจากภาษิตของฝรั่งเศส และได้ให้ช่างภาพในกรมศิลปากร เขียนภาพขึ้น ๔ ภาพ เพื่อประกอบโคลงบทนั้นบาทละภาพ และได้นำ มาเป็นประกอบละครเวที เรื่อง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ประพันธ์ทำนอง โดย ครูสง่า อารัมภีร
จากบทละครรำเรื่อง “ท้าวแสนปม” พระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ท้าวแสนปม คือพระชิน เสน โอรสท้าวศรีวิชัย ผู้ครองเมืองศิริชัย เมื่อได้ข่าวว่าธิดาเมืองไตร ตรึงษ์มีพระสิริโฉมงดงามมาก จึงได้ปลอมตัวเอาฝุ่นเถ้าเขม่ามอม ทำตัวให้เป็นปุ่มปม แล้วแฝงเข้าไปอยู่กับตาเฒ่าในสวนหลวง จนได้พบ และถวายมะเขือที่จารึกความรักเป็นปริศนา เมื่อเจ้าหญิงอุษาได้อ่าน จึงเขียนสาส์นรักตอบไปในใบพลู อันเป็นที่มาของเพลงสาส์นรัก ซึ่งครู เอื้อ สุนทรสนาน ได้นำบทพระราชนิพนธ์ มาแต่งทำนองและให้คุณ มัณฑนา โมรากุล (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ขับร้องและบันทึกเสียง
4. โยสลัม ผู้ขับร้อง: สุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์ เพลงจากบทละครเรื่อง “วิวาหพระสมุท” พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงพระ ปรีชาสามารถในการสอดแทรกคำสอนและคติเตือนใจผ่านบทเพลง และบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ มากมาย สำหรับเพลงโยสลัมนี้ แต่เดิมเรียกว่า “ฝรั่งโยสลัม” เป็นเพลงตระกูลเพลงภาษา กลองจะตี เป็นจังหวะมาร์ช ส่วนฉิ่งก็จะตีเป็นเสียง ฉิ่ง ฉิ่ง ฉิ่ง ไม่ลงเสียงฉับ บางตำราก็ว่า โยสลัมเป็นเพลงสำเนียงแขก ซึ่งน่าจะมาจากคำว่า assalam ซึ่งเป็นคำทักทายของพวกอาหรับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้นำ มาขับร้องเป็นเพลงไทยสากล
6. ดวงใจ ผู้ขับร้อง: ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ จากบทละครรำเรื่อง “ท้าวแสนปม” พระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เนื้อความเป็นตอนที่นาง อุษารำพึงและวอนเทวดาช่วยดลบันดาล ให้นางสมหวังในความรัก ประพันธ์ทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน
7. ร้อยใจเป็นมาลัยรัก ผู้ขับร้อง: สุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์
9. ไทยสามัคคี ขับร้องหมู่หญิง
คำร้อง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว ที่ขึ้นว่า “ตลอดชีพมิขอคลาดเสน่ห์น้อง ขอประคองเคียงคู่ผู้สม ศักดิ์…”
คำร้อง นำมาจากบทละครคำกลอนเรื่อง พระร่วง พระราช นิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงพระร่วง เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติและได้พระราชทานพระราโชวาทแก่ชาว เมืองสุโขทัย เนื้อเพลงมีเนื้อหาปลุกใจให้คนรักชาติ และมีความ สามัคคี
8. สีชัง ผู้ขับร้อง: สุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์ เนื้อร้องมาจากบทละครเรื่อง “พระร่วง” หรือ “ขอมดำดิน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2457 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองทัพ เรือที่สัตหีบ และได้พระราชนิพนธ์ “กาพย์เห่เรือยุคใหม่” พระราชทาน แก่หนังสือสมุทรสาร ซึ่งพระราชนิพนธ์บทนี้เป็นวรรณคดีปลุกใจให้รัก ชาติ ครูสง่า อารัมภีร (ศิลปินแห่งชาติ) อัญเชิญมาใส่ทำนองเพลง บรรเลงโดย วงสุนทราภรณ์ ขับร้องครั้งแรกโดยหม่อมราชวงศ์ถนัด ศรี สวัสดิวัฒน์ (ศิลปินแห่งชาติ)
ทำนอง: ครูเอื้อ สุนทรสนาน เรียบเรียงดนตรี: ร.ต. เจน ศรีพระราม รน.
10. คำปฏิญาณ ขับร้องหมู่ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) ซึ่งใช้นามแฝงว่า “ศุกร หัสน์” ได้อัญเชิญพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 จากเรื่องพระร่วง ขับ ร้องนำหมู่โดย วรนุช อารีย์ ประพันธ์ทำนองเพลงโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน
11. ไร้รักไร้ผล ผู้ขับร้อง: ดวงดาว เถาว์หิรัญ
12. ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ ผู้ขับร้อง: มานิต ธุวะเศรษฐกุล
บทชวนให้รักชาติ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บทขึ้นต้นว่า
เนื้อหาของเพลงมาจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “เวนิส วาณิช” ตอนลอเรนโซ บรรยาย ให้เซ็สซิกาฟังเกี่ยวกับเรื่องคนไม่มีดนตรีในหัวใจ ดังนี้
ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย ประพันธ์ทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน และผู้ขับร้องคนแรก คือ วรนุช อารีย์ ขับร้องนำหมู่ชายหญิง
ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์ หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี้ ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ บทเพลงนี้ประพันธ์ทำนองโดย ครูสง่า อารัมภีร (ศิลปินแห่ง ชาติ) และขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรกโดย สุเทพ วงศ์กำแหง (ศิลปิน แห่งชาติ)
13. ความรัก ผู้ขับร้อง: มานิต ธุวะเศรษฐกุล และณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้
14. หลั่งมาเองเหมือนฝน ผู้ขับร้อง: มานิต ธุวะเศรษฐกุล
คำร้องพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว บทเพลงนี้มาจากพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง เวนิสวานิส ต้นฉบับ ภาษาอังกฤษ The Merchant Of Venice ของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ใน ตอนที่ว่า
ประพันธ์คำร้อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ทำนอง: สง่า อารัมภีร์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภทเพลงไทยสากล ปี 2531) เรียบเรียงดนตรี: ร.อ. สมศักดิ์ มหาสวัสดิ์ รน.
“Tell me where is fancy bred, Or in the heart, or in the head? How begot, how nourished? Reply, reply.” ต่อมาจึงได้นำมาเรียบเรียงเป็น เพลงไทยสากลประพันธ์ ทำนองโดย คุณครู สง่า อารัมภีร ศิลปินแห่งชาติ
15. ศกุนตลา ผู้ขับร้อง: ดวงดาว เถาว์หิรัญ จากบทละครรำ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยนำเนื้อเรื่องมาจาก วรรณคดี ซึ่งกาลิทาส รัตนกวีของอินเดียเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น “ศกุน ตลา” เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์ภารตะ กล่าวถึงเรื่องราวความ รักของศกุนตลาธิดาเลี้ยงฤาษีกัณวะ ความรักของนางต้องพบ อุปสรรคเนื่องมาจากผลคำสาปของฤาษีทุรวาส กลอนบทหนึ่งในละคร เรื่องนี้ถูกนำมาแต่งทำนองโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน และขับร้องครั้ง แรกโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี (ศิลปินแห่งชาติ)
16. เจ้าดารารัศมี ผู้ขับร้อง: ดวงดาว เถาว์หิรัญ เพลงนี้ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติคุณ เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ซึ่งประพันธ์คำร้องและขับร้องต้นฉบับโดย พาริณี พจนสุนทร ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงเสียงประสานโดย อภิชาติ ศรีศิริจันทร์ 17. จุฬาแซมบ้า ขับร้องหมู่ ผู้ประพันธ์คำร้อง: หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ผู้ประพันธ์ทำนอง: หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และหม่อม หลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ 18. มหาจุฬาลงกรณ์ ขับร้องหมู่ เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง: ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ นายสุภร ผลชีวิน
ประวัติความเป็นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 อันเป็นปีสถาปนาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเป็นต้นมา นิสิตจุฬาฯ มีเพลงร้องภายในมหาวิทยาลัย มากมาย แต่ทว่าเพลงซึ่งประกาศว่าเป็นเพลงประจำสถาบันอันเป็นที่ หมายรู้กันนั้นยังไม่ปรากฏ ในปี พ.ศ. 2491 ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล จึง ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และมีท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และนาย สุภร ผลชีวินเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง ด้วยพระปรีชาญาณ พระอัจฉริยภาพทางการดนตรี และพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงตั้งพระทัยพระราชนิพนธ์เพลงนี้ให้มีความพิเศษแตกต่างจากบทเพลงอื่นๆ จึงทรง พระราชนิพนธ์เพลงนี้ด้วย Pentatonic scale หมายถึงในบทเพลงนี้ จะประกอบไปด้วยโน้ตเพียง 5 เสียงเท่านั้นที่ซ่อนรูป และร้อยเกี่ยวอยู่ ภายในบทเพลงอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งผู้ฟังจะไม่รู้สึกเลยว่าใช้หลัก การประพันธ์ประเภทใด และทรงเลือกใช้สำเนียงที่ให้สีสันความเป็น โลกตะวันออกแต่กลับให้ท่วงทำนองสง่างามแบบสากลโดยไม่ปรากฏ ความขัดแย้งแต่ประการใด เราชาวจุฬาฯ ทั้งมวลรู้สึกสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้และตระหนักในพระวุฒิปรีชา สามารถในงานศิลปกรรมศาสตร์ทุกสาขา โดยเฉพาะดุริยางคศิลป์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชนิพนธ์เพลงมหา จุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยไว้ดุจอัญมณีล้ำค่าที่ชาว จุฬาฯ จะหวงแหนรักษาไว้เพื่อเป็นเกียรติอันสูงส่งแก่มหาวิทยาลัยชั่ว กาลนาน
รายนามนักดนตรีและนักร้อง ผู้อำนวยเพลง นายธนู รักษาราษฎร์ ไวโอลิน 1 นายธันวิน ใจเพียร นายโชติ บัวสุวรรณ นางสาวกุลิสรา แสงจันทร์ นายชลัฐ ลิมปิศิริ ไวโอลิน 2 นายรวยชัย แซ่โง้ว นางสาววรรณชนก นุตาคม นางปณริตรา โกศลสิริพจน์ วิโอลา นายขจร โกศลสิริพจน์ นายอัจยุติ สังข์เกษม เชลโล นายไพโรจน์ พึ่งเทียน นายทศพร โพธิ์ทอง
ฟลูต นายศุภชัย จงชนะไชย โอโบ นายชนันนัทธ์ มีนะนันทน์ คลาริเน็ท นายวีรวิทย์ เจนจินตานันท์ บาสซูน นายศิริอนันต์ ใจซื่อ ฮอร์น นายนันทวัฒน์ วารนิช ทรัมเป็ต นายศศิศ จิตรรังสรรค์ ทรอมโบน นายสมเจตน์ สุกอร่าม ทูบา/เรียบเรียงเสียงประสาน นายมานิตย์ บูชาชนก
เปียโน นายพศธร เสถียรนิธิ
ประสานงานกลุ่ม นางวันดี วงศ์สิปปกร
กีตาร์ นายสกล ศิริพิพัฒนกุล
ติดตั้งและจัดเก็บอุปกรณ์ นายสุวัฒน์วิสูตรโกษา
เบสไฟฟ้า นายคุณากร สวัสดิ์ชูโต
ควบคุมการบรรเลง จ่าเอกสมเกียรติ ศรีคำ (ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์สากล)
กลอง นายคุณากร สวัสดิ์ชูโต ขับร้อง นางดวงดาว เถาว์หิรัญ นายสุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์ นายมานิต ธุวะเศรษฐกุล นางสาวณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Art Culture @cuartculture CU Art Culture cu.art.culture 099-328-1616 cuartculture@chula.ac.th www.cuartculture.chula.ac.th