วารสารสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ฉบับ 2 ปี 2559

Page 1


วัฒนธรรมองค์กร L A B O U R L = Learning หมายถึง ใฝ่เรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน

A = Alert หมายถึง มีความพร้อมและกระตือรือร้นในการปฏิบัติ งาน เพื่อตอบสนองนโยบายและข้อสั่งการให้ทันต่อเวลา

B = Balance หมายถึง มีความเป็นกลางในการปฏิบัติงาน เพื่อ สร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

O = Objective หมายถึง มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย ด้วยการทำ�งานบน พื้นฐานของข้อมูล เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของกรม

U = Unity หมายถึง มีความสมัครสมานสามัคคี ทำ�งานเป็นทีม R = Receptiveness หมายถึง มีใจที่เปิดกว้าง ยอมรับแนวคิดใหม่ๆ และทันสมัย


สารบัญ ฉบับที่ ๒ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

ที่ปรึกษา

นายจ้างควรรู้....

ลูกจ้างควรรู้...

นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่

กองบรรณาธิการ / ศิลปกรรม

การให้ความช่วยเหลือ ลูกจ้าง

๑๐

ภารกิจ สสค.ชม

๑๒

รู้ไว้... ใช่ว่า

ว่าที่ร้อยโทธนทัต ช่างคำ�มูล นักวิชาการแรงงาน สำ�นักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น ๒ อาคาอำ�นวยการกลาง

๑๖

ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อำ�เภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่​่

“เป็นองค์กรหลักมืออาชีพในการคุ้มครอง แรงงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อย่างเป็นมาตรฐาน และสร้างสันติสุขใน วงการแรงงานด้วยความเป็นธรรม”


EDITOR TALK ฉบับที่ ๒ เดือนตุลาคม ปี ๒๕๕๙

EDITOR TALK

นายธรรศณัฏบ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหว้ดเชียงใหม่ ร.อ. จรัญ คุณยศยิ่ง นักวิชาการแรงงานชำ�นาญการพิเศษ

ประกาศสำ � นั ก พระราชวั ง เมื่ อ เวลา 18.45 น. วั น ที่ 13 ตุ ล าคม 2559 ความว่ า พระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จ พระราชดำ�เนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรง พยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่สำ�นักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะ แล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจน สุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุด หนักลงตามลำ�ดับถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โร ง พ ย า บ า ล ศิ ริ ร า ช ด้ ว ย พ ร ะ อ า ก า ร ส ง บ สิ ริ พระชนมพรรษาปี ที่ 89 ทรงครองราชสมบั ติ ไ ด้ 70 ปี ข้ า ราชการ พนั ก งาน เจ้ า หน้ า ที่ สำ � นั ก งาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ถวาย อาลั ย และน้ อ มรำ � ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อย่ า ง หาที่สุดมิได้ จากภาพ EDITOR TALK นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ เข้ารับ มอบใบประกาศเกียรติคณ ุ ชนะเลิศการประกวดการดำ�เนิน กิจกรรม 5 ส. ปี 2559 และรางวัลบุคคากรดีเด่น ของกรม สวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน ประจำ�ปี 2559 จากอธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นับเป็นปีที่ 2 สำ�หรับ รางวัลแห่งความภาคภูมิใจนี้ วารสารฯ ฉบั บ นี้ ยั ง คงมี เ นื้ อ หาที่ สำ � คั ญ สำ � หรั บ นายจ้าง/ลูกจ้าง ที่ควรรู้ เป็นเรื่องใกล้ตัวหลายคนมองข้าม รวมถึงการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างของสำ�นักงานสวัสดิการ และคุ้ ม ครองแรงงานจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ค รั บ เนื้ อ หาอื่ น ๆ สามารถติดตามต่อได้ภายในฉบับนี้ครับ...

บรรณาธิการ


สืบเนื่องจากลูกจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เปอร์เฟตโต ได้ รวมตัวกันเข้ายื่นคำ�ร้อง กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง นั้น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ได้ดำ�เนินการช่วยเหลือ ตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งสำ�นักงานสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ มีคำ�สั่งและได้ดำ�เนินคดี กับนายจ้าง รวมทั้งมอบเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง จากกองทุน สงเคราะห์ลูกจ้างกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยและกรณี อื่นนอกจากค่าชดเชย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ ลูกจ้าง ดังกล่าว เมือ่ วันที่ 26 กันยายน 2559 นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ มอบเงินสงเคราะห์ จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยและ กรณีอื่นนอกจากค่าชดเชย เป็นครั้งที่ 2 จำ�นวน 2,056,638.01 บาท (สองล้านห้าหมื่นหกพันหกร้อยสามสิบแปดบาทหนึ่งสตางค์) ให้แก่ลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนจำ�กัดเปอร์เฟตโต จำ�นวน 141 คน ซึ่งถูกนายจ้างเลิกจ้างและไม่จ่ายเงินตามคำ�สั่งของพนักงานตรวจ แรงงาน ณ ห้องประชุมสำ�นักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสำ�นักงานสวัสดิการฯ ได้จ่ายเงินสงเคราะห์จาก กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของลูกจ้าง ครั้งที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559 จำ�นวน 1,017,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท ถ้วน) รวมเงินที่ลูกจ้างได้รับเงินสงเคราะห์ จากกองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างจำ�นวน 3,073,638.01บาท (สามล้านเจ็ดหมืน่ สามพันหก ร้อยสามสิบแปดบาทหนึ่งสตางค์)

มอบเงินสงเคราะห์ จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย และกรณีอน ื่ นอกจากค่าชดเชย เป็นครั้งที่ ๒

กรณี ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความเป็ น ธรรมจากนายจ้ า ง สามารถยื่ น คำ � ร้ อ งได้ ที่ สำ � นั ก งานสวั ส ดิ ก ารและคุ้ ม ครองแรงงาน จั ง ห วั ด เชี ย ง ใ ห ม่ ชั้ น 2 อ า ค า ร อำ � น ว ย ก า ร ก ล า ง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา อำ�เภอเมืองเชียงใหม่


นายจ้างควรรู้

สิทธินายจ้าง (ตอนที่ ๒)

สิทธินายจ้างมาถึงตอนที่ ๒ ต่อจากฉบับที่แล้ว เกี่ยวกับสิทธินายจ้างที่ควรรู้ ด้าน ค่าล่วงเวลา ค่าทำ�งานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด 1. ถ้าทำ�งานเกินเวลาทำ�งานปกติของวันทำ�งาน นายจ้าง ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อ ชั่วโมงในวันทำ�งานตามจำ�นวนชั่วโมงที่ทำ�หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่า ครึง่ ของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำ�งานตามจำ�นวนผลงานทีท่ �ำ ได้ สำ�หรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน 2. ถ้าทำ�งานในวันหยุดเกินเวลาทำ�งานปกติของวันทำ�งาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลกู จ้างในอัตราสามเท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำ�งานตามจำ�นวนชั่วโมงที่ทำ�หรือ ตามจำ�นวนผลงานที่ทำ�ได้สำ�หรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำ�นวณเป็นหน่วย 3. ถ้าทำ�งานในวันหยุดในเวลาทำ�งานปกติ นายจ้างต้อง จ่ายค่าทำ�งานในวันหยุดให้แก่ลกู จ้างทีม่ สี ทิ ธิได้รบั ค่าจ้างในวันหยุด เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำ�งานตามชั่วโมงที่ทำ�งานในวัน หยุด หรือตามจำ�นวนผลงานที่ทำ�ได้ สำ�หรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำ�นวณเป็นหน่วย สำ�หรับลูกจ้างทีไ่ ม่มสี ทิ ธิได้รบั ค่า จ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำ�งาน ตามชัว่ โมงทีท่ �ำ งานในวันหยุดหรือตามจำ�นวนผลงานทีท่ �ำ ได้ส�ำ หรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำ�นวณเป็นหน่วย ค่าชดเชย 1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดย ลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้ 1.1 ลูกจ้างซึง่ ทำ�งานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ ไม่ครบ 1 ปี มีสทิ ธิได้รบั ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 1.2 ลูกจ้างซึ่งทำ�งานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 1.3 ลูกจ้างซึ่งทำ�งานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ ครบ 6 ปี มีสทิ ธิได้รบั ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 1.4 ลูกจ้างซึ่งทำ�งานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ ครบ 10 ปี มีสทิ ธิไ์ ด้รบั ค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน 6

กลุม่ งานด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน พ ืน้ ท ี ่ 3

1.5 ลูกจ้างซึง่ ทำ�งานติดต่อกันครบ 10 ปีขนึ้ ไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน 2. ในกรณีทนี่ ายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุง หน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำ�หน่ายหรือการบริการอันเนื่อง มาจากการนำ�เครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือ เทคโนโลยี ซึง่ เป็นเหตุให้ตอ้ งลดจำ�นวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบตั ิ ดังนี้ 2.1 แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิก จ้าง และรายชือ่ ลูกจ้างทีจ่ ะถูกเลิกจ้าง ให้ลกู จ้างและพนักงานตรวจ แรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง 2.2 ถ้าไม่แจ้งแก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วง หน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน นายจ้างต้อง จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลกู จ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำ�งานหกสิบ วันสุดท้ายสำ�หรับลูกจ้างซึง่ ได้รบั ค่า จ้างตามผลงานโดยคำ�นวณเป็น หน่วย ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ ให้ถือว่านายจ้างได้จ่าย ค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วยนายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้ 1. ลูกจ้าง ทำ�งานติดต่อกันครบหกปีขนึ้ ไป นายจ้างจะต้อง จ่ายค่าชดเชย พิเศษเพิม่ ขึน้ จากค่าชดเชยปกติซงึ่ ลูกจ้างนัน้ มีสทิ ธิได้ รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำ�งาน ครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำ�งานสิบห้าวันสุดท้าย ต่อการทำ�งาน ครบหนึ่งปีสำ�หรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำ�นวณเป็นหน่วย 2. ค่าชดเชยพิเศษนีร้ วมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามร้อย หกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำ�งานสามร้อยหกสิบ วันสุดท้าย สำ�หรับลูกจ้างซึง่ ได้รบั ค่าจ้างตามผลงานโดยคำ�นวณเป็น


หมายเหตุ: ภาพประกอบจาก Internet หน่วย แต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน 3. เพื่อประโยชน์ในการคำ�นวณค่าชดเชยพิเศษของระยะ เวลาทำ�งานทีม่ ากกว่าหนึง่ ร้อยแปดสิบวัน ให้นบั เป็นการทำ�งานครบ หนึ่งปี ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือ ครอบครัว 1. นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลกู จ้างทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าสามสิบวันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำ�งานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อย กว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ 2. ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลกู จ้างทราบการย้ายสถานประกอบ กิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน ข้อยกเว้นทีน่ ายจ้างไม่ตอ้ งจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มสี ทิ ธิได้รบั ค่า ชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ 1. ลูกจ้างลาออกเอง 2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำ�ความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง 3. จงใจทำ�ให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รบั ความเสียหาย อย่างร้ายแรง

5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำ�งาน หรือระเบียบ หรือ คำ�สั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้าง ได้ตกั เตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีทรี่ า้ ยแรง นายจ้างไม่จ�ำ เป็น ต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่ วันที่ลูกจ้างได้กระทำ�ผิด 6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำ�งานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมี วันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร 7. ได้รับโทษจำ�คุกตามคำ�พิพากษาถึงที่สุดให้จำ�คุก 8. กรณีการจ้างที่มีกำ�หนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำ�หนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้ 8.1 การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งาน ปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดของงานที่แน่นอน 8.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำ�หนด งานสิ้นสุดหรือความสำ�เร็จของงาน 8.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วง เวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดย นายจ้างได้ทำ�สัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง นายจ้างทราบอย่างนี้แล้ว... ควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง ให้ ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานนะครับ ฉบับต่อไปมีความรู้ดีๆ ที่ นายจ้างควรทราบอีกแน่นอน แล้วพบกันครับ

สำ�นักงานสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานจังหวัดเช ยี งใหม่

7


ลูกจ้างควรรู้

การสวัสดิการ แรงงาน (ตอน ๒)

8

กลุม่ งานด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน พ ืน้ ท ี ่ 3

สวัสดิการแรงงาน คือ การดำ�เนินการใดๆ ไม่ว่าโดยนายจ้าง สหภาพแรงงาน (ลูกจ้าง) หรือรัฐบาลที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ ลูกจ้างสามารถมีระดับความเป็นอยูท่ ดี่ พ ี อสมควร มีความผาสุก ทั้งกายและใจ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในการ ทำ�งาน มีความเจริญก้าวหน้า มีความมัน ่ คงในการดำ�เนินชีวติ ไม่ เฉพาะแต่ตวั ลูกจ้างเท่านัน ้ แต่รวมถึงครอบครัวของลูกจ้างด้วย การดำ�เนินการเพื่อให้มีการจัดสวัสดิการขึ้นในสถานประกอบ การนั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำ�เนินภารกิจ โดย ในฉบับที่แล้ว ได้กล่าวไป ๒ ประการ ฉบับนี้ขอกล่าวเพิ่มเติม ในส่วนที่เหลือครับ 3. นายจ้างอาจทำ�ความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษา พยาบาลกับสถานพยาบาล ที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถาน พยาบาลที่นายจ้างอาจนำ�ลูกจ้าง ส่งเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยความ สะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ตามข้อ 2 (2) หรือข้อ 2 (3) ได้ โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย การส่งเสริม สนับสนุน และดำ�เนินการให้มีการจัดสวัสดิการ พระ ราชบัญญัตคิ มุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำ�หนดไว้ในมาตรา 96 ให้นายจ้าง ของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะ กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการประกอบด้วยผูแ้ ทนฝ่ายลูกจ้าง อย่างน้อยห้าคน โดยทีก่ รรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการให้มาจาก การเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำ�หนด และในกรณีที่สถาน ประกอบกิจการใดของนายจ้างมีคณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์แล้ว ให้คณะกรรมการลูกจ้างทำ�หน้าที่เป็นคณะกรรมการ สวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัตินี้ เจตนารมณ์ ข องการจั ด ตั้ ง คณะกรรมการสวั ส ดิ ก ารฯเป็ น การส่ ง เสริ ม ระบบทวิภาคี เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้มีการหารือกับนายจ้างในการจัด สวัสดิการอื่นๆ ซึ่งนอกเหนือจากที่กฎหมายกำ�หนดได้อย่างเหมาะสมแก่ สถานประกอบกิจการ และเป็นสวัสดิการทีล่ กู จ้างเองก็ตอ้ งการ มิใช่นายจ้าง จัดการแต่ฝา่ ยเดียวแต่ไม่เป็นทีส่ นใจของลูกจ้าง การทีเ่ ปิดโอกาสให้ลกู จ้างได้ แสดงความต้องการและได้รับฟังความคิดเห็นข้อมูลจากนายจ้างว่าสามารถ จัดสวัสดิการที่เสนอได้หรือไม่ เป็นการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์และยุติ ปัญหาข้อเรียกร้องข้อพิพาทแรงงานแต่เบื้องต้น ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ดัง กล่าว กฎหมายได้กำ�หนดหน้าที่ไว้ (มาตรา 97 ) ดังนี้


* ร่วมหารือกับนายจ้างจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง * ให้คำ�ปรึกษาหารือและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้าง ในการจัดสวัสดิการสำ�หรับลูกจ้าง * ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัด ให้แก่ลูกจ้าง * เสนอข้อคิดเห็น และแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็น ประโยชน์สำ�หรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ จึงเป็นเสมือน สื่อกลางที่จะถ่ายทอดความต้องการด้านสวัสดิการของลูกจ้างให้ นายจ้างทราบและร่วมปรึกษาหารือให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจน ตรวจสอบ ดูแล การจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการ เพราะกฎหมาย (มาตรา 98 ) ยังได้กำ�หนดไว้ว่านายจ้างต้องจัดให้ มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบ กิจการอย่างน้อยสามเดือนต่อหนึง่ ครัง้ หรือเมือ่ กรรมการสวัสดิการ ในสถาน ประกอบกิจการเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดหรือ สหภาพแรงงานร้องขอโดยมีเหตุผลสมควร การทีก่ ฎหมายกำ�หนดไว้เช่นว่านัน้ เท่ากับเป็นการส่งเสริม สนับสนุนและดำ�เนินการให้มีการจัดสวัสดิการแรงงานขึ้นในสถาน ประกอบกิจการ ซึ่งหากสถานประกอบกิจการใดไม่ดำ�เนินการจะ มีบทลงโทษทั้งจำ�คุกและปรับนอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าว กอง สวัสดิการแรงงานยังเป็นฝ่ายจัดสวัสดิการแรงงานให้แก่ผใู้ ช้แรงงาน โดยใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล 2 กิจกรรมด้วย กัน คือ 1. การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยใน พระราชูปถัมภ์ โดยที่ศูนย์ดังกล่าวเกิดจากพระราชดำ�ริของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทีม่ พี ระประสงค์ให้มกี าร ดูแลบุตรของผู้ใช้แรงงานในเขตที่มาจากสถานประกอบกิจการมาก เพื่อบิดา มารดาจะสามารถทำ�งานได้โดยไม่มีความเป็นห่วงกังวล ในเรื่องการเลี้ยงดูบุตรก่อนวัยเรียนของตน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้ง ศูนย์เด็กเล็กลักษณะนี้ ขึ้น 2 ศูนย์ และสามารถให้การดูแลเด็กเล็ก ที่เป็นบุตรของผู้ใช้แรงงานประมาณ 1,300 คน ทั้งนี้โดยได้รับเงิน งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลและเงินบริจาคจากผู้ใช้แรงงานที่ เป็นบิดา มารดาของเด็กสมทบอีกส่วนหนึง่ การดำ�เนินงานของศูนย์ ทัง้ 2 แห่งอยูภ่ ายใต้การกำ�กับ ดูแลของ กรมสวัสดิการและคุม้ ครอง แรงงาน กองสวัสดิการแรงงาน และมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัยใน พระราชูปถัมภ์

2. การจัดตั้งกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน เป็นการจัดสรร เงินทุนหมุนเวียนจากรัฐบาลเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานกู้โดยผ่านสหกรณ์ ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้เพื่อเป็น ทุนหมุนเวียนในการพัฒนารายได้แก่ผู้ใช้แรงงานและเพื่อการออม ทรัพย์และปลดเปลื้องหนี้สินของผู้ใช้แรงงานโดยผ่านสหกรณ์ออม ทรัพย์ ซึง่ กองทุนเพือ่ ผูใ้ ช้แรงงานจะให้กไู้ ด้ในอัตราดอกเบีย้ ตํา่ อัตรา ร้อยละ 2.25 ฉบับนีข้ อฝากไว้ให้ลกู จ้างได้ศกึ ษาเท่านีก้ อ่ นครับ... พบ กันใหม่ฉบับหน้า...

หมายเหตุ: ภาพประกอบจาก Internet

สำ�นักงานสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานจังหวัดเช ยี งใหม่

9


การให้ความช่วยเหลือลูกจ้าง

10

กลุม่ งานด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน พ ืน้ ท ี ่ 3


เดือนกันยายน ๒๕๕๙

ช่วยเหลือลูกจ้าง จำ�นวน ๖ ราย ได้รับเงินคื​ืน จำ�นวน ๒๑๘,๔๖๖.๖๖ บาท นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการให้ความช่วยเหลือลูกจ้าง ของสำ�นักงานสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนกันยายน ๒๕๕๙ ได้ดำ�เนินการรับและวินิจฉัยคำ�ร้อง กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย คุ้มครองแรงงานนั้น ทางสำ�นักงานสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานได้รบั คำ�ร้อง ทัง้ สิน้ ๒๖ ราย เป็นลูกจ้าง จำ�นวน ๗๕ คน แรงงานไทย จำ�นวน ๗๐ คน แรงงานต่างด้าว จำ�นวน ๕ คน ซึ่งเป็นการยื่น คำ�ร้องในเรือ่ งค่าใช้จา่ ยค้างจ่ายมากทีส่ ดุ จำ�นวน ๑๙ ราย รองลงมาคือ เรือ่ งค่าชดเชย จำ�นวน ๙ ราย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จำ�นวน ๖ ราย ค่าล่วงเวลาในวันทำ�งาน จำ�นวน ๕ ราย เงินประกัน, ค่าล่วงเวลาในวันทำ�งาน จำ�นวน ๔ ราย ค่าประกันชุด ๓ ราย และค่าคอมมิชชั่น จำ�นวน ๑ ราย พนักงานตรวจแรงงานได้ดำ�เนินการแล้วเสร็จ ช่วยเหลือลูกจ้างได้จำ�นวน ๖ ราย ให้ได้รับ เงินคืน เป็นจำ�นวนทัง้ สิน้ ๒๑๘,๔๖๖.๖๖ บาท (สองแสนหนึง่ หมืน่ แปดพันสีร่ อ้ ยหกสิบหกบาท หกสิบหกสตางค์) ทัง้ นีท้ างสำ�นักงานสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ดำ�เนินการจ่าย เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยและพนักงาน ตรวจแรงงานได้มีคำ�สั่งเป็นที่สุดแล้ว จำ�นวน ๑๔๑ คน เป็นเงิน ๒,๐๕๖,๖๓๘.๐๑ บาท (สองล้านห้าหมื่นหกพันหกร้อยสามสิบแปดบาทหนึ่งสตางค์) นายธรรศณัฏฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางสำ�นักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ ได้รบั การร้องเรียน กรณีนายจ้างปฏิบตั ไิ ม่ถกู ต้องตามกฎหมายคุม้ ครอง แรงงาน เป็นการร้องเรียนของลูกจ้างกรณีนายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คุ้มครองแรงงาน โดยในเดือนกันยายน ๒๕๕๙ พบว่าลูกจ้างร้องเรียนจำ�นวน ๔ ราย เป็นการร้องเรียนทางโทรศัพท์ และด้วยตนเอง ณ สำ�นักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ในเรื่องค่าจ้างในการทำ�งาน เรื่องไม่มี วันหยุดตามประเพณี ค่าล่วงเวลา สวัสดิการในการทำ�งาน ค่าจ้างในวันลาป่วย ไม่คืนเงินประกัน ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานได้ดำ�เนินการตรวจสอบ และยุติแล้ว ทั้ง ๔ ราย

นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่

สำ�นักงานสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานจังหวัดเช ยี งใหม่

11


ภารกิจ สสค.ชม. เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

มอบใบประกาศเกียรติคุณ แก่สถานประกอบกิจการ

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา ๐๙.๐๐ น. นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดเชียงใหม่ มอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ฟาร์ม 9 ไก่สด ซึ่งเป็น สถานประกอบกิจการที่แสดงความมุ่งมั่นในการนำ� หลั ก การ แนวปฏิ บั ติ ก ารใช้ แรงงานที่ ดี (Good Labour Practices : GLP) มาใช้ในการบริหารจัดการ ด้านแรงงานภายในสถานประกอบกิจการ โดยมี นายนัฐพงษ์ ดวงคำ�ฟู ผู้จัดการทั่วไป เป็นตัวแทนรับ มอบฯ ทั้งนี้ได้ให้คำ�แนะนำ�ด้านสวัสดิการและการ คุ้มครองแรงงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหาร จัดการด้านแรงงานในสถานประกอบกิจการ ให้กับ เจ้าหน้าที่ของ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ฟาร์ม ๙ ไก่สด ใน การนำ�ไปปฏิบัติ ณ สถานที่ตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ฟาร์ม 9 ไก่สด ตำ�บลมะขามหลวง อำ�เภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

12

กลุม่ งานด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน พ ืน้ ท ี ่ 3

มอบใบรับรอง มาตรฐานแรงงานไทย (มรท. ๘๐๐๑ - ๒๕๕๓) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 255๙ เวลา ๑๑.๐๐ น. นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดเชียงใหม่ มอบใบรับรองมาตรฐาน แรงงานไทย (มรท. 8001 – 2553) แก่ บริษัท นิธิ ฟูด้ ส์ จำ�กัด ซึง่ เป็นสถานประกอบกิจการทีเ่ ข้าร่วมจัด ทำ�มาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001 – 2553) ในระดับพื้นฐาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานได้พิจารณาผลการตรวจประเมินและให้การ รั บ รองมาตรฐาน โดยมี นายวิ เชี ย ร เลี่ ย มนาค ผู้ ช่ ว ย ก ร ร ม ก า ร ผู้ จั ด ก า ร ฝ่ า ย ป ฏิ บั ติ ก า ร เป็นผู้รับมอบฯ ทั้งนี้ได้ให้คำ�แนะนำ�ด้านมาตรฐาน แรงงานไทย เพื่ อ ให้ ส ถานประกอบกิ จ การนำ �ไป ดำ�เนินการต่อไป ณ ที่ตั้ง บริษัท นิธิฟู้ด จำ�กัด ตำ�บลสันป่าตอง อำ�เภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่



ภารกิจ สสค.ชม. เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

บรรยายให้ความรู้ “สิทธิหน้าที่ของผู้รับงานไปทำ�ที่บ้าน” ณ เทศบาลตำ�บลแม่แรม

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ๒๕59 นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการ และคุ้ ม ครองแรงงานจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ม อบหมายให้ น างสาว กิง่ กาญจน์ คำ�เมรุ นักวิชาการแรงงานชำ�นาญการ และนางสาวปิยะพร ศิวิลัยซ์ นักวิชาการแรงงาน บรรยายให้ความรู้ในเรื่อง สิทธิหน้าที่ ของผู้รับงานไปทำ�ที่บ้านและผู้จ้างงานให้แก่ผู้รับงานไปทำ�ทั่บ้าน ผู้นำ�ของศูนย์ประสานงานและผู้นำ�กลุ่มแรงงานนอกระบบ อาสา สมัครแรงงานและอาสาสมัครอื่นๆ ตามโครงการให้ความรู้การ ประกันสังคมและกฏหมายอื่นที่เกี้ยวข้อง ณ เทศบาลตำ�บลแม่แรม อำ�เภอแม่รมิ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยศูนย์ประสานงานแรงงานนอก ระบบร่วมกับสำ�นักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ มีผเู้ ข้ารับการ อบรม จำ�นวน 57 คน

นางสาวกิ่งกาญจน์ คำ�เมรุ นักวิชาการแรงงานชำ�นาญการ

14

กลุม่ งานด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน พ ืน้ ท ี ่ 3

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นางอุบล หน่อกุล นักวิชาการแรงงานชำ�นาญการ บรรยาย ให้ความรูเ้ รือ่ งสิทธิ หน้าทีข่ องผูร้ บั งานไปทำ�ทีบ่ า้ นและผูจ้ า้ ง งานให้แก่ผรู้ บั งานไปทำ�ทีบ่ า้ นผูน้ �ำ ของศูนย์ประสานงานและ ผู้นำ�กลุ่มแรงงานนอกระบบ อาสาสมัครแรงงาน และอาสา สมัครอื่นๆ ตามโครงการให้ความรู้การประกันสังคมและ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เทศบาลตำ�บลหนองตองพัฒนา อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่จดั โดยศูนย์ประสานงานแรงงานนอก ระบบ ร่วมกับสำ�นักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ มีผเู้ ข้า อบรม จำ�นวน 53 คน

บรรยายให้ความรู้ “สิ ท ธิ ห น้ า ที่ ข องผู้ รั บ งานไป ทำ�ที่บ้าน” ณ เทศบาลตำ�บล หนองตองพัฒนา



ภารกิจ สสค.ชม. เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

พิธีบำ�เพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559 เวลา 19.00 น. นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่สำ�นักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ร่วม พิ ธี บำ � เพ็ ญ กุ ศ ลอุ ทิ ศ ถวายแด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ วิหารหลวง วัดพระ สิงห์วรมหาวิหาร ตำ�บลพระสิงห์ อำ�เภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเจริญจิตตภาวนา แผ่กุศลอุทิศ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช น้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้มีข้าราชการ และ ประชาชน เข้าร่วมพิธี จำ�นวน 500 คน

16

กลุม่ งานด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน พ ืน้ ท ี ่ 3

วันที่ 26 ตุลาคม 2559 เวลา 08.30 น. นายธรรศณัฏฐ์ นุชแสงพลี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ พร้ อ มด้ ว ย เจ้ า หน้ า ที่ สำ � นั ก งานสวั ส ดิ ก ารและคุ้ ม ครอง แรงงานจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมพิธเี ปิดนิทรรศการโครงการ อั น เนื่ อ งมาจากพระราชดำ � ริ แ ละพระราชกรณี ย กิ จ เพื่ อ เผยแพร่ พ ระเกี ย รติ คุ ณ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร ม ห า ภู มิ พ ล อ ดุ ล ย เ ด ช ณ บ ริ เ ว ณ ส น า ม ห ญ้ า อาคารอำ � นวยการกลาง ศาลากลางจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ โดยมี น ายปวิ ณ ชำ � นิ ป ระศาสน์ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด เชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้มี กงสุลต่างประเทศ ในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ข้ า ราชการชั้ น ผู้ ใ หญ่ หั ว หน้ า ส่ ว น ราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ พี่น้องชนเผ่าชาว ไทยภูเขา ผู้นำ�ภาคเอกชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และ พสกนิกรชาวเชียงใหม่ทุกหมู่เหล่าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการ โครงการ จำ�นวน 4,000 คน ซึ่งนิทรรศการเปิดให้บุคคล ทั่วไป นักท่องเที่ยว เข้าชมถึงวันที่ 20 มกราคม 2560




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.