Lesson learnt bcr cc thailand

Page 1

185 ซอยประดิพัทธ์ 6 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 02 265 6888 โทรสาร: 02 271 4467 Website: www.raksthai.org Facebook: www.facebook.com/RaksThaiFoundation

หนึ่งโครงการ หลากหลายบทเรียน: บันทึกสรุปบทเรียนการด�ำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

มูลนิธิรักษ์ ไทย

หนึ่ ง โครงการ

ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น

บันทึกสรุปบทเรียนการด�ำเนินงานโครงการ เสริมสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



หนึ่ ง โครงการ ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น

บันทึกสรุปบทเรียนการด�ำเนินงานโครงการ เสริมสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้เรียบเรียง : บุญธิดา เกตุสมบูรณ์

2

ผู้สนับสนุนข้อมูล : พรพนา ก๊วยเจริญ วีณา นำ�เจริญสมบัติ ประสาน สถานสถิตย์ เสกสรร ชัญถาวร ดนภัทร ตามรสุวรรณ ซัมรี แคเมาะ จรูญ พลอยด้วง อนุชา อับดุลกาเดร์ บุษยา ไชยลึก


จัดพิมพ์โดย

มูลนิธิรักษ์ ไทย 185 ซอยประดิพัทธ์ 6 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 02 265 6888 โทรสาร: 02 271 4467 Website: www.raksthai.org Facebook: www.facebook.com/RaksThaiFoundation ภาพถ่าย: มูลนิธิรักษ์ไทย กราฟิก ปก และรูปเล่ม: กานต์ ทัศนภักดิ์ พิมพ์ที่ บริษัท อัพทรูยู ครีเอทนิว จำ�กัด โทรศัพท์: 02 964 8484 พิมพ์ด้วยกระดาษรีไซเคิล 100%

3


4


สารบั ญ ที่มา

7

บทน�ำ

11

1. บริบทพื้นที่

15

2. เรียนรู้...จากความส�ำเร็จ

23

3. รู้เรียน...จากความผิดพลาด

53

4. สรุปเป็นบทเรียน

69

5


6

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


ที่ ม า โ

ครงการ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชายฝั่ง ทะเลเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเทศไทย” (The Building Coastal Resilience to Reduce Climate Change Impact in Thailand หรือ BCR CC) โดยมูลนิธิ รักษ์ไทย (Raks Thai Foundation หรือ RTF) เป็นผูป้ ฏิบตั งิ าน ในพื้นที่ มีกรอบระยะเวลาการด�ำเนินงาน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 มีพื้นที่การด�ำเนินงาน 16 ต�ำบล ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ และตรัง ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะ กรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป (the European Commission) มีจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการ คือ • เพื่ อ ให้ มี ก ารบู ร ณาการประเด็ น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้ า ไว้ ใ นยุ ท ธศาสตร์ แ ละแผนงานพั ฒ นาของ หน่วยงานและองค์กรท้องถิ่น • เพื่อให้มีการออกแบบแผนงานและ การด�ำเนินกิจกรรมการปรับตัวโดยชุมชนอย่าง มีส่วนร่วม

ที่ ม า

7


โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้ 1. การประเมินขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศใน 16 ต�ำบลของพื้นที่การด�ำเนินงานโครงการใน 4 จังหวัด 2. การเสริมสร้างศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการกิจกรรมการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานการพัฒนาในระดับท้องถิ่น 3. การเสริมสร้างศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาและด�ำเนินการกิจกรรม การปรับตัวโดยชุมชน โครงการฯ ได้ใช้คู่มือการวิเคราะห์ขีดความสามารถ และความเปราะบางของชุมชนต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Vulnerability and Capacity Analysis: CVCA) เป็นเครื่องมือ ส�ำคัญในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งสร้างกระบวนการการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้

8

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความเปราะบางและขีดความสามารถของตนเอง และใช้ข้อมูลที่ได้จากการ วิเคราะห์ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางแผน และออกแบบกิจกรรมการปรับตัวของชุมชน ทั้งยังได้มีการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับท้องถิ่น อาทิ องค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการสนับสนุนการด�ำเนินงานในพื้นที่ทางด้านงบประมาณ และองค์ความรู้ โดย การสร้างกระบวนการให้เกิดการบูรณาการกิจกรรมการปรับตัวเข้าใว้ในแผนพัฒนาในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ มูลนิธิรักษ์ ไทยซึ่งเป็นผู้ด�ำเนินงานโครงการฯ ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ จึงจัดให้มีการสะท้อนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานโครงการฯ และสรุปเป็นบันทึกบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ ในการ น�ำไปประยุกต์ ใช้เพื่อการพัฒนาโครงการการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคต ด้วยการเรียนรู้จากความส�ำเร็จ และความผิดผลาด ของโครงการที่ผ่านมา...ซึ่งถึงแม้จะเป็นเพียง หนึ่งโครงการ...แต่ประกอบด้วย...หลากหลายบทเรียน

ที่ ม า

9


10

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


บทน� ำ จ

ากการสังเกตของคนชุมชนชายฝั่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิอากาศ อาทิ การเพิม่ ขึน้ ของระดับน�ำ้ ทะเลอุณหภูมขิ องน�ำ้ ทะเลทีเ่ พิม่ สูงขึน้ คลื่นลมพายุมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น เกิดการเคลื่อน ของฤดูกาลและทิศทางของลมมรสุม รวมทั้งการตกของฝนที่ เปลีย่ นแปลงไปทัง้ ปริมาณและการกระจายตัว โดยการเปลีย่ นแปลง ต่างๆ เหล่านี้มีความรุนแรง ความถี่ แตกต่างกันไปในแต่ละ ช่วงเวลา และในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีที่ตั้งที่แตกต่างกันไป ปรากฎการณ์เหล่านี้ได้สร้างผลกระทบอย่างมีนัยยะ ส�ำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งและวิถีชีวิตการด�ำรง ชีวิตของคนในชุมชน อาทิ การเกิดการรุกคืบของน�้ำเค็มสู่พื้นที่ น�้ำจืด ท�ำให้ขาดแคลนน�้ำในช่วงฤดูแล้งและท�ำให้พื้นที่ท�ำการ เกษตรเสียหาย การเกิดการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งท�ำให้ สูญเสียที่ดินในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน รวมทั้งการลดลงของ ปริมาณสัตวน�้ำ เป็นต้น ภาคส่วนต่างๆในชุมชนจึงต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ แตกต่างไปจากเดิม ในขณะที่ศักยภาพขององค์กรปกครองท้อง ถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาศักยภาพ ของชุมชนให้สามารถตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลงได้อย่างเหมาะ สมและยัง่ ยืน ยังมีอยูอ่ ย่างจ�ำกัด เป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการผลักดัน ยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแผนปฏิบัติ การปรับตัวของชุมชน บ ท น� ำ

11


ดังนั้น โครงการจึงได้สร้างแนวทางการด�ำเนินงานเพื่อให้มีการบูรณาการประเด็นการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานพัฒนาขององค์กรท้องถิ่น รวมทั้ง ให้มีการออกแบบแผนงานและการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยให้ ความส�ำคัญกับการสร้างเสริมศักยภาพในประเด็นด้านการปรับตัวให้กับผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะแกนน�ำชุมชนและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น โดยการปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศโดยชุมชน (Community-based Adaptation: CBA) หมายถึง กระบวนการทีช่ มุ ชนเป็นผูด้ ำ� เนินการ โดยมีฐานจากความต้องการองค์ความรู้ และศักยภาพ ของชุมชนเอง โดยไม่ละเลยความรูด้ า้ นระบบนิเวศน์และบริบททางสังคมวัฒนธรรมของชุมชนนัน้ ๆ ทีส่ ง่ ผล กับความยืดหยุน่ ทนทานของชุมชนต่อการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงระยะเวลาหนึง่ ๆ เป็นการด�ำเนินงานที่ มีลกั ษณะจากล่างสูบ่ น เพือ่ ให้เสียงของผูท้ ถี่ กู ละเลยกลุม่ ต่างๆ โดยเฉพาะกลุม่ เปราะบาง ให้สามารถมีชอ่ งทาง ในการส่งผ่านความต้องการของตนเองสู่ระดับนโนบาย อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินงานการพัฒนาในลักษณะ Project based นั้นมีช่วงระยะเวลาและ งบประมาณการปฏิบตั งิ านทีถ่ กู ก�ำหนดและจ�ำกัดไว้ ท�ำให้ผลที่ได้รบั และผลกระทบทีเ่ กิดจากการด�ำเนินงาน โครงการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น การสรุปบทเรียนที่ได้รับ 12

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


จากการปฏิบัติงานจึงเป็นกิจกรรมส�ำคัญและจ�ำเป็น เพื่อจะได้เกิดการขยายผลและต่อยอดงานพัฒนา มุ่งสู่เป้าหมายหลักด้านการปรับตัวที่ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้อย่างยั่งยืน โดยการสรุปบทเรียน เป็นความรู้ และ ความเข้าใจที่ได้รับจากประสบการณ์ ซึ่งอาจเกิดจากการ ด�ำเนินงานที่ประสพผลส�ำเร็จ และหรือล้มเหลว มุ่งเน้นที่การประเมินจุดเด่น และจุดด้อยในการเตรียมการ การออกแบบ และการด�ำเนินงานโครงการทีส่ ง่ ผลต่อการปฏิบตั งิ าน ต่อผลผลิต ผลลัพธุ์ และผลกระทบที่ได้ ส�ำหรับบันทึกฉบับนี้เกิดจากการรวบรวมรายงานการสรุปบทเรียน และรายงานการติดตาม ประเมินผลโครงการของผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เกี่ยวข้องจากหลาย ภาคส่วน ซึ่งผลที่ได้ทั้งหมดได้ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อไม่ให้เป็นการน�ำเสนอเจาะจงเฉพาะหนึ่งโครงการ แต่พยายามสรุปเนื้อหาเพื่อให้เกิดเป็นแนวคิด หรือแนวทางในการน�ำบันทึกนี้ไปประยุกต์ ใช้ โดยแบ่ง ออกเป็น 4 บทหลัก เพื่อให้ทราบถึงบริบทของพื้นที่และขั้นตอนการด�ำเนินงาน การเรียนรู้จากความส�ำเร็จ การรู้เรียนจากความผิดผลาด และสรุปเป็นบทเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อพิจารณาพื้นฐานที่ควรมีใน การพัฒนาโครงการด้านการปรับตัวโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางที่ค�ำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน

บ ท น� ำ

13


14

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


1. บริ บ ทพื้ น ที่

ครงการมีพื้นที่การด�ำเนินงานใน 16 ต�ำบล ของ 4 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด กระบี่ และจังหวัดตรัง โดยภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศที่ทอดตัวยาวขนาบข้าง ด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ ฝั่งทะเลอันดามัน ด้านตะวันตก และฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก ลักษณะภูมิอากาศมี 2 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ -พฤษภาคม) และฤดูฝน (พฤษภาคม - กุมภาพันธ์) และในช่วงฤดูฝนของภาคใต้ยงั แบ่ง ออกเป็น 2 ระยะคือ ช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม) ซึ่ง ในระยะดังกล่าวจะมีฝนตกชุกในบริเวณภาคใต้ ฝั่งตะวันตก และช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งจะมีฝนตกชุกในบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ขนาบข้างด้วยทะเล ถึงสองด้าน ท�ำให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ เศรษฐกิจหลัก ของคนในภาคใต้จงึ เกีย่ วข้องกับการประมง การท�ำ เกษตรกรรม เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน�ำ้ มัน สวนผลไม้ และการท่องเที่ยว

บ ริ บ ท ขอ งพื้ น ที่

15


จังหวัดชุมพร มีพนื้ ทีด่ ำ� เนินงานใน 4 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบลชุมโค ต�ำบลบางสน (อ�ำเภอประทิว) และต�ำบลปากแพรก ต�ำบลด่านสวี (อ�ำเภอสวี) คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำการประมงชายฝั่ง เลี้ยงปลา ในกระชัง ท�ำการเกษตร (ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน กาแฟ มะพร้าว) และรับจ้างทั่วไป ที่ผ่านมาคนในชุมชนประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งการ แย่งชิงทรัพยากรสัตวน�้ำจากเรือประมงอวนลากขนาดใหญ่รุกล�้ำเข้ามา จับสัตว์น�้ำบริเวณชายฝั่งที่เป็นแหล่งท�ำมาหากินของชาวประมงพื้นบ้าน การปล่อยน�้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งลงสู่แหล่งน�้ำ ท�ำให้สัตว์น�้ำบริเวณ ล�ำคลองและชายฝั่งตายและลดจ�ำนวนลง การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน และชายหาดเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งและการสร้างถนน ท�ำให้พื้นที่ที่เป็น แหล่งอนุบาลและเพาะพันธุ์สัตวน�้ำตามธรรมขาติลดน้อยลง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ด�ำเนินงานใน 4 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบลท่าซัก ต�ำบลท่าไร่ (อ�ำเภอเมือง) และ ต�ำบลส�ำเภา ต�ำบลทุ่งใส (อ�ำเภอสิชล) คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำการประมงพื้นบ้านและ การเพาะเลี้ยงกุ้งตามธรรมชาติ ปัจจุบันคนในชุมชนได้รับผลกระทบ จากปั ญ หาการกั ด เซาะชายฝั ่ ง และการลดลงของปริ ม าณสั ตว์ น�้ ำ อันเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ การลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน การใช้อุปกรณ์การประมงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ เช่น เรืออวนลาก หรือในช่วงฤดูฝน น�้ำจืดที่ไหลลงจากบนฝั่งในปริมาณ ที่มากกว่าปกติ ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ เป็นต้น จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ด�ำเนินงานใน 4 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบล คลองประสงค์ ต�ำบลเขาคราม (อ�ำเภอเมือง) และ ต�ำบลเกาะกลาง ต�ำบล คลองยาง (อ�ำเภอเกาะลันตา) คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำการประมง ขนาดเล็กตามแนวชายฝั่ง และท�ำการเกษตรปาล์มน�้ำมันและยางพารา ที่ผ ่ านมาคนในชุ ม ชนประสพปั ญ หาการสะสมของตะกอนขวางการ ไหลของน�้ำท�ำให้เกิดน�้ำท่วมในบางพื้นที่ การขาดแคลนน�้ำจืดและ การแทรกซึมของน�้ำทะเลสู่พื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง การบุกรุก พื้ น ที่ ป ่ า ชายเลนและชายหาดเพื่ อ การพั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละ การเพาะเลี้ยงกุ้ง การสูญเสียพื้นที่ดินของชุมชนจากการกัดเซาะชายฝั่ง 16

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


จังหวัดตรัง มีพื้นที่ด�ำเนินงานใน 4 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบลสุโสะ ต�ำบลท่าข้าม (อ�ำเภอปะเหลียน) และต�ำบลตาเสะ ต�ำบลหาดส�ำราญ (อ�ำเภอหาดส�ำราญ) คนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพท�ำการประมงชายฝั่ง และการเกษตรปาล์มน�้ำมันและยางพารา ที่ผ่านมา คนในชุมชนประสพปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน การกัดเซาะชายฝั่ง ระดับน�้ำทะเล ที่เพิ่มสูงขึ้น และการลดลงของปริมาณสัตว์น�้ำในทะเล บ ริ บ ท ขอ งพื้ น ที่

17


18

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


ผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการวิ เ คราะห์ ความเสี่ ย งและความเปราะบาง ชุมชนได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศในระยะ 2 - 5 ปีที่ผ่านมาว่า รูปแบบของฤดูกาล ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยลมมรสุมมีความรุนแรง และความถี่มากขึ้น เกิดลมมรสุมนอกฤดูกาล และเกิดน�้ำท่วม บ่อยครัง้ บางพืน้ ทีก่ ารกัดเซาะชายฝัง่ มีความรุนแรงมากขึน้ รวมถึง การเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวจากอุณหภูมิของน�้ำทะเล ทีส่ งู ขึน้ เกิดการย้ายถิน่ ของสัตว์นำ�้ ซึง่ จากการเปลีย่ นแปลงดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งต่อการประกอบอาชีพประมงและเกษตรกรรม รวมถึงการตัง้ ถิน่ ฐานของชุมชน โดยชาวประมงพืน้ บ้านขนาดเล็ก มีช่วงระยะเวลาการออกท�ำการประมงได้น้อยลง หรือต้องออกไป ท�ำการประมงไกลจากฝั่งมากขึ้น ท�ำให้ต้นทุนการท�ำประมงสูงขึ้น การเพาะเลีย้ งสัตว์นำ�้ ชายฝัง่ ได้รบั ผลกระทบจากน�ำ้ ท่วมด้วยสาเหตุ จากน�ำ้ ทะเลหนุนสูงและน�ำ้ จืดที่ไหลลงมาจากบนฝัง่ และเมือ่ น�ำ้ จืด ที่ไหลลงมามาก ท�ำให้นำ�้ กร่อยบริเวณชายฝัง่ เจือจางมากกว่าปกติ ส่งผลให้สัตว์น�้ำตาย และลดจ�ำนวนลง นอกจากนี้ ยังพบว่าการ ตัง้ ถิน่ ฐานบ้านเรือนชุมชนทีอ่ ยูบ่ ริเวณชายฝัง่ ทะเล หรือปากคลอง มีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัญหาคลื่นลมแรง และการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงขึ้น

บ ริ บ ท ขอ งพื้ น ที่

19


การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด รายงานการคาดการณ์สภาพภูมอิ ากาศทีจ่ ดั ท�ำโดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วจิ ยั และฝึกอบรม การเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA START RC) (2556) ได้วิเคราะห์และ สรุปโดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสองช่วงเวลา คือ ปี ค.ศ. 1990 - 2009 (พ.ศ. 2533 - 2552) และปี ค.ศ. 2030 - 2049 (พ.ศ. 2573 - 2592) ใน 4 จังหวัดของพื้นที่การด�ำเนินงาน โครงการ ดังนี้ จังหวัดชุมพร ปริมาณฝนรายปีมีแนวโน้มลดลง 7% ในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิอาจเพิ่มสูงขึ้น 1-2 องศา ความเร็วลมมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ทัง้ ในลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพฉายสภาพภูมิอากาศไม่ได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณฝน รายปี แม้ว่ามีแนวโน้มการเลื่อนของฝนไปตกปลายฤดูฝน อุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้น 1 องศา จังหวัดกระบี่ ปริมาณฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงเช่นเดียวกับปัจจุบัน อุณหภูมิ อาจเพิ่มขึ้นราว 1 องศา ความเร็วลมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งลมมรสุดตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดตรัง ปริมาณฝนรายปีมีแนวโน้มเช่นเดียวกับปัจจุบัน อุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้น 1 องศา ความเร็วลมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งลมมรสุดตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะทีก่ ารเปลีย่ นแปลงระดับน�ำ้ ทะเล ทางฝัง่ อ่าวไทยมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ประมาณ 20 เซนติเมตร ในทศวรรษ 2030 - 2040 (พ.ศ. 2573 - 2583) ส่วนทางชายฝั่งอันดามันมีแนวโน้มที่ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้จะยืดออกไป “ส�ำหรับประเทศไทย มีผลการศึกษาแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศในอนาคตซึง่ บ่งชีว้ า่ ...... • อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปจะสูงขึ้นเล็กน้อยทั้งกลางวันและกลางคืน • วันที่ร้อนที่สุดในรอบปีจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก • ช่วงเวลาอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น ฤดูหนาวที่สั้นลงมีพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดมากขึ้น • ปริมาณน�้ำฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ฤดูฝนจะยังคงมีระยะเวลาเท่าเดิม ลักษณะนี้อาจท�ำให้ฤดูน�้ำหลากมีมาก หรือน�้ำท่วม • อาจมีการเลื่อนของฤดูกาล • ฤดูแล้งอาจแล้งจัด เนือ่ งจากระยะเวลาทีม่ อี ากาศร้อนในรอบปีมแี นวโน้มร้อนมากขึน้ และนานขึน้ • ความแปรปรวนระหว่างฤดูและระหว่างปีจะเพิ่มสูงขึ้น ...” (SEA START RC, 2014) 20

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


ขั้นตอนการด�ำเนินงาน 5. จัดท�ำวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การปรับตัวระดับต�ำบล (Scenario mapping)

6. ออกแบบและด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัว (Priority action project) 7. ศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Feasibility study) 8. จัดเวทีนโยบายระดับภูมิภาค 10. จัดเวทีนโยบายระดับชาติ

3. การจัดตั้งคณะที่ปรึกษานโยบายระดับจังหวัด 4. การจัดตั้งคณะท�ำงานระดับต�ำบล 1. กระบวนการวิเคราะห์ขีดความสามารถ และความเปราะบางของชุมชน (CVCA)

9. สร้างจุดเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศระดับต�ำบล (Climate Focal Point)

2. ศึกษาการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (Climate projection)

all-s i lhouet t es . c om

บ ริ บ ท ขอ งพื้ น ที่

21


22

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


2. เรียนรู้... จากความสาเร็จ การด�ำเนินงานการปรับตัวโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวทางแบบบูรณาการที่ ต้องใช้วิธีการแบบผสมผสานทั้งองค์ความรู้ท้องถิ่นควบคู่กับยุทธศาสตร์ ใหม่ๆ ในการ แก้ไขปัญหาความเปราะบางในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็สร้างขีดความสามารถในการ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สามารถเผชิญกับปัญหาความท้าทาย ที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอย่างไม่หยุดนิ่ง ชุมชนต้องสามารถสร้างทางเลือกให้ หลากหลายในวิถีการด�ำรงชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองกับความ ไม่แน่นอน โดยโครงการที่จะประสพผลส�ำเร็จควรเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนา ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1. การส่งเสริมวิถีชีวิตการด�ำรงชีวิตที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศควบคู่กับการสร้างรายได้หลายทาง และขีดความสามารถด้านการวางแผน และการจัดการความเสี่ยง 2. การลดความเสี่ยงภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อครัวเรือน และปัจเจกบุคคลที่เป็นกลุ่มเปราะบาง 3. การพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมในท้องถิ่น สถาบัน และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้กลุ่ม องค์กร และหน่วยงานเหล่านี้สามารถให้การ สนับสนุนแก่ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคลได้ดียิ่งขึ้น 4. การรณรงค์ และสนับสนุนการขับเคลือ่ นทางสังคมเพือ่ แก้ไขสาเหตุพนื้ ฐาน ของความเปราะบาง อาทิ การบริหารจัดการของภาครัฐที่ขาดประสิทธิภาพ การขาด การเข้าถึงและควบคุมการใช้ทรัพยากรของชุมชน หรือการขาดโอกาสในการเข้าถึง การบริการขั้นพื้นฐาน

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

23


ด้วยการตระหนักถึงความส�ำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออ�ำนวยต่อการด�ำเนินงาน การปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศโดยชุมชน ท�ำให้การวางยุทธศาสตร์ และโครงการต่างๆ จะ ไม่จ�ำกัดเฉพาะการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนเท่านั้น แต่ได้พยายามให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เชิงนโยบาย โดยใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนรูจ้ ากการด�ำเนินงานกับชุมชนในการการรณรงค์ทมี่ หี ลักฐานข้อมูล ชัดเจน เพื่อเพิ่มช่องทางให้ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในทุกระดับ และด้วยเป็นทีป่ ระจักษ์โดยทัว่ ไปว่า “การปรับตัวจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของชุมชน” เป็น “กระบวนการ”(Community-based Adaptation as a process) และ “การสร้างขีดความสามารถในการ ปรับตัวให้กบั ชุมชน” เป็นกิจกรรมทีต่ อ้ งด�ำเนินงานอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ สร้างความเข้าใจ และการวางแผนใน การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มี “ความไม่แน่นอน” ดังนั้น การประเมินโครงการจึงขึ้น อยูก่ บั ประสิทธิภาพของกระบวนการการด�ำเนินงาน ซึง่ สามารถถอดเป็นบทเรียนที่ได้รบั เพือ่ การเรียนรูจ้ าก ความส�ำเร็จได้ดังต่อไปนี้ 24

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


2.1 เริ่มจากสร้างข้อมูล สร้างคน ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม “เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว เมื่อทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากร” การด�ำเนินงานโครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยชุมชน จะประสบ ผลส� ำ เร็ จ ได้ ควรเริ่ ม จากการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ชุ ม ชน และข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในทุ กระดั บ และทุ ก ภาคส่วน เพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์ค้นหาความต้องการของชุมชน และการท�ำความเข้าใจโครงสร้าง ชุมชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจที่มีความซับซ้อนในระบบเครือข่ายทางสังคม ซึ่งต้องด�ำเนินการด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้จักตนเอง เกิดการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม และรับรู้ข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้ง ส่งผ่านข้อมูลที่ได้รับสู่คนในชุมชน กลุ่ม และเครือข่ายต่างๆ ซึ่งการใช้ข้อมูล สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับการด�ำเนินงานในพื้นที่ โดยความรู้ท้องถิ่น และข้อมูลสภาพอากาศช่วยในการจัดการความเสี่ยงในระยะสั้น และเมื่อผนวกการใช้ข้อมูลการคาดการณ์ ภูมิอากาศเข้ามาร่วมพิจารณาจะช่วยในการวางแผนพัฒนาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวให้กับ ชุมชนในระยะยาว รวมทั้งเพื่อสร้างการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคีต่างๆ ในพื้นที่ ให้เกิด กระบวนการร่วมคิด ร่วมท�ำ และร่วมกันเป็นเจ้าของโครงการ ทั้งนี้จากการสรุปบทเรียนพบว่า โครงการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยชุมชน จ�ำเป็นต้องมีองค์ประกอบด้านการจัดการ ความรู้ ตั้งแต่เริ่มด�ำเนินงานโครงการ ซึ่งสามารถสรุปเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ดังนี้ 1. สร้างกระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม 2. ผสมผสานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นกับข้อมูลวิทยาศาสตร์ 3. สร้างรูปธรรม และเผยแพร่ข่าวสารในทุกระดับ

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

25


กระบวนการการด�ำเนินงาน กรอบการวิเคราะห์ขีดความสามารถ และความเปราะบาง

กระบวนการเสริมสร้างทักษะการ ประเมินขีดความสามารถและ ความเปราะบางของชุมชน

- ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภัยต่างๆ - ทรัพยากรที่จ�ำเป็นต่อวิถีการด�ำรงชีวิต - แนวทางการรับมือภัยที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ - ศักยภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยง - เครือข่ายความช่วยเหลือทางสังคม - ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ ที่มีต่อการพัฒนาชุมชน - มิติหญิงชาย

ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในโครงการ ฝึกอบรมวิทยากรแกนน�ำ ฝึกอบรมสร้างวิทยากรชุมชน เก็บรวบรวม และวิ เคราะห์ข้อมูเคราะห์ ลชุมชนCVCA รายงานผลการวิ ศึกษาการคาดการณ์ สภาพภูมิอากาศ ศึกษาความเป็นไปได้ ด้านเทคนิค

รายงานผลการวิเคราะห์ CVCA สร้างวิสัยทัศน์ + ยุทธศาสตร์การปรับตัว สร้างโครงการน�ำร่อง เพื่อการปรับตัวของชุมชน

โดยการด�ำเนินงานทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ มีเป้าหมาย 1) สร้างข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจใน การก�ำหนดกิจกรรมเพื่อการปรับตัวของชุมชน และ 2) การสร้างศัยภาพให้ปัจเจกบุคคล และกลุ่มผู้น�ำที่ เป็นคณะท�ำงานในการใช้ข้อมูล น�ำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการกิจกรรมการ ปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศเข้าไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานการพัฒนาในระดับท้องถิน่ ซึง่ ในแต่ละขั้นตอนสามารถแสดงรายละเอียดได้ ดังนี้

26

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


1. สร้างกระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม “การสร้างแนวทางการปรับตัว ด้วยการดึงความร่วมมือจากชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ต่างๆในระดับท้องถิ่น จะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องของกระบวนการด�ำเนินงาน เพราะชุมชน ได้รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของ และสามารถสร้างกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ได้อย่างแท้จริง” การวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชน (Climate Vulnerability and Capacity Analysis: CVCA) โครงการเริ่มจากการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า กระบวนการ CVCA ให้กับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการเรียนรู้ในประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมี กระบวนการ ดังนี้ 1. อบรมเจ้าหน้าที่โครงการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ CVCA 2. อบรมตัวแทนชุมชน และผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่โครงการ เพื่อสร้าง “กลุ่มวิทยากร แกนน�ำ” ในการวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชนโดยใช้คู่มือ CVCA 3. อบรมวิทยากรชุมชน โดยกลุม่ วิทยากรแกนน�ำ เพือ่ ท�ำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน และเมื่อได้ด�ำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นด้วยกระบวนการและวิธีการจากคู่มือ CVCA แล้ว เจ้าหน้าที่โครงการได้ร่วมกับวิทยากรชุมชนในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ สรุปเป็น “รายงาน การวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชน” ผลที่ได้รับ โดยกระบวนการการวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชนในการปรับตัว จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ท�ำให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงบทบาทที่ส�ำคัญของคนในท้องถิ่น ในการก�ำหนดและขับเคลื่อนอนาคตของตนเอง การเก็บรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลได้ให้ความส�ำคัญ กับองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม เป็นกระบวนการที่สร้างเสริมศักยภาพ ในการปรับตัวของครัวเรือน และปัจเจกบุคคล โดยให้แนวทางและเครือ่ งมือส�ำหรับการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม กระบวนการนี้ค�ำนึงถึงบทบาทของสถาบันต่างๆทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ตลอดจนนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนกระบวนการการปรับตัวของชุมชน การวิเคราะห์แสดงถึง “ปัจจัยเกื้อหนุนต่อการปรับตัว” ซึ่งต้องมีอยู่ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติ ซึ่งเกิดผลที่ได้รับดังนี้

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

27


สร้างข้อมูล และการเรียนรู้ รายงานการวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของ ชุมชน เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ท�ำให้เกิดการ เรียนรู้เชื่อมโยงวิถีการด�ำรงชีวิตเข้ากับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างชัดเจน เกิดการ เรียนรู้ตนเอง ท�ำให้คนในชุมชนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขี้นในอนาคต นอกจากนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถน�ำรายงานการวิเคราะห์นี้ไปใช้เป็นข้อมูลฐานในการพัฒนาแผนงานหรือโครงการเพื่อการปรับตัว ของชุมชนได้ ทั้งยังช่วยในการรวบรวมและจัดข้อมูลชุมชนให้เป็นระบบมากขึ้น

28

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


สร้างกลุ่มคนท�ำงาน กระบวนการเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์ขีดความสามารถและความ เปราะบางของชุมชน ที่จัดให้มีการอบรมหลายครั้ง และหลากหลายเป้าหมาย ท�ำให้เกิดการรวมกลุ่ม คนท�ำงานที่เชื่อมโยงกันทั้งระดับต�ำบลและจังหวัด เป็นการสร้างศักยภาพคนท�ำงานในประเด็นการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไม่เป็นทางการ สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกกลุ่มในชุมชน การใช้เครื่องมือ CVCA ท�ำให้กลุ่มคนต่างๆ ใน ชุมชน นอกเหนือจากกลุ่มผู้น�ำแล้ว การด�ำเนินกิจกรรมยังให้ความส�ำคัญกับผู้สูงอายุ ผู้หญิง เยาวชน และ กลุ่มอื่นๆ ที่มักถูกละเลย ให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการได้มากขึ้น ท�ำได้เห็นถึงความ ต้องการของชุมชน ที่ไม่จ�ำกัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

29


2. ผสมผสานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นกับข้อมูลวิทยาศาสตร์ “ถ้าชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้องในทุกระดับและทุกภาคส่วนตระหนักถึง “ความ ไม่แน่นอนในอนาคต”ของการคาดการณ์ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พวกเขาจะมีความสามารถในการสร้างและสารต่อกิจกรรม หรือกระบวนการปรับตัวที่ยืดหยุ่น ตอบสนอง และก้าวหน้า เพื่อการเตรียมความพร้อมและจัดการความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต” ความท้าทายในการด�ำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับ ท้องถิ่นนั้น ได้แก่ การขาดข้อมูลผลกระทบในระดับพื้นที่ ผนวกกับข้อมูลข่าวสารด้านสภาพอากาศ และ การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยังมีไม่เพียงพอ ท�ำให้การท�ำงานในด้านนี้มีขีดจ�ำกัด และความยุ่งยากมากขึ้น โครงการจึงได้ก�ำหนดให้ใช้ทรัพยากรบุคคลจากหน่วยงานการศึกษาเข้ามาเป็น ที่ปรึกษา และท�ำการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนการด�ำเนินงานโครงการ ดังนี้ การศึกษาการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Projection) เพื่อสร้าง การเรียนรูใ้ ห้กบั ชุมชน และใช้ผลการศึกษาที่ได้ในการพิจารณาร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์ขดี ความสามารถ และความเปราะบางของชุมชน เพื่อการสร้างวิสัยทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์การปรับตัวของชุมชน การศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิคของโครงการน�ำร่องเพือ่ การปรับตัวของชุมชน (Feasibility Study) โครงการน�ำร่องเพื่อการปรับตัวของชุมชน จะแตกต่างกันไปในแต่พื้นที่ ตามวิสัยทัศน์และ ยุทธศาสตร์การปรับตัวที่ชุมชนร่วมกันก�ำหนด โดยกิจกรรมการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเทคนิค เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้ชุมชนมีข้อมูลที่เพียงพอในการด�ำเนินงานโครงการน�ำร่องให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไป อย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ อาทิ การสร้างบ้านปลา การฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่นากุ้งร้าง การปักเขื่อนไม้ไผ่กันคลื่นเพื่อการฟื้นฟูป่าชายเลน เป็นต้น ผลที่ได้รับ การศึกษาข้างต้นได้มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม โดยเปิดเวทีการพูดคุยให้ ชุมชนซักถาม และแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ของคนในชุมชนกับข้อมูลวิชาการที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ ท�ำให้เกิดผลที่ได้รับดังนี้ เกิดความรูใ้ หม่ และยุทธศาสตร์ทเี่ หมาะสมในการปรับตัวของชุมชน โดยกระบวนการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารโดยคนในชุมชนเป็นก�ำลังส�ำคัญในการท�ำให้เกิดการผสมผสานข้อมูลท้องถิ่น กับข้อมูลเชิงวิชาการ เกิดเป็นความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การปักเขื่อนไม้ไผ่กันคลื่น ซึ่งมี รูปแบบการปักเฉพาะพื้นที่ ตามที่ตั้ง ทิศทางคลื่นลม ที่แตกต่างกันไป เป็นต้น 30

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


เกิดวิสัยทัศน์ และมุมมองที่กว้างไกล ด้วยการให้ข้อมูลใหม่ๆ เช่น ผลการศึกษาการคาดการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผ่านด้วยกระบวนการพูดคุย สามารถกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิด มุมมองที่แตกต่างจากเดิม เกิดความเข้าใจผลเชื่องโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อ วิถีการด�ำรงชีวิตของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยง และวางแผนส�ำหรับการปรับตัว ได้ดียิ่งขึ้น เกิดความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้วยการศึกษาใดๆที่มีกระบวนการดึงการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน ซึง่ นอกจากจะได้ผลการศึกษาทีเ่ ป็นรูปธรรมแล้ว ยังได้ผรู้ ว่ มงานทีม่ มี มุ มองทีแ่ ตกต่างกัน ตามประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล เกิดเป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้ โครงการได้จัดให้มีกิจกรรมเสริม เช่น การศึกษาดูงานระหว่างเจ้าหน้าที่ ระหว่าง ชุมชนกับชุมชน และระหว่างชุมชนและหน่วยงานการศึกษา ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมาย การด�ำเนินงาน ท�ำให้ชุมชน และภาคีต่างๆ เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็น รูปแบบที่จ�ำเป็นในการด�ำเนินงานด้านการปรับตัว ที่ควรตั้งอยู่บนฐานการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ปรับเปลี่ยน ไปตามปัจจัยและช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

31


3. สร้างรูปธรรม และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ “การใช้ข่าวสารข้อมูลสภาพภูมิอากาศเป็นแนวทางการด�ำเนินงานโครงการ เพื่อให้ ชุมชนใช้ในกระบวนการการตัดสินใจ เป็นสาระส�ำคัญยิ่งส�ำหรับการท�ำงานด้านการปรับตัว ซึ่ง เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความแตกต่างจากการด�ำเนินงานโครงการพัฒนาทั่วไป ซึ่งถ้าปราศจากการ เข้าถึงข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่เข้าใจง่าย ทันสมัย และเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์ ของคนในพื้นที่แล้ว ชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จะไม่ สามารถสร้างแผนการด�ำเนินงานทีด่ พี อส�ำหรับการตอบสนองต่อผลกระทบของการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศได้” การขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อแก้ไขสาเหตุพื้นฐานของความเปราะบาง อาทิ การขาดการเข้าถึง และควบคุมการใช้ทรัพยากรของชุมชน หรือการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยงของ ภาครัฐและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ต้องอาศัยการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นใน 32

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


วงกว้าง อย่างไรก็ตาม จากบทเรียนพบว่า การรณรงค์ที่ปราศจากการน�ำเสนอรูปธรรมที่เกิดขึ้นจริงใน พื้นที่ ย่อมขาดน�้ำหนักในการกระตุ้นเตือนให้เกิดแนวร่วมในการท�ำงาน หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ เกิดขึ้นได้ ดังนั้น โครงการจึงได้ก�ำหนดให้มีการสร้างโครงการน�ำร่องเพื่อการปรับตัวของชุมชน สร้าง จุดเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพถูมิอากาศระดับต�ำบล และน�ำส่งรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้สู่ระดับนโยบาย โดยมีรายละเอียดดังนี้ โครงการน�ำร่องเพื่อการปรับตัวของชุมชน (Priority Action Project) ซึ่งหลังจากที่ชุมชนและภาคี ได้รว่ มกันวางวิสยั ทัศน์ และแผนยุทธศาสตร์การปรับตัวของชุมชน แล้ว จึงได้รว่ มกันก�ำหนดโครงการน�ำร่อง เพือ่ สร้างรูปธรรมการด�ำเนินกิจกรรมเพือ่ ตอบสนองต่อผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ อาทิ ชุมชนที่มีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นแหล่งอาหารส�ำหรับจังหวัด แต่ด้วยที่ผ่านมาพบว่าปริมาณสัตว์น�้ำลดลงมาก ชาวประมงพืน้ บ้านต้องออกเรือไปไกลจากฝัง่ ในการจับสัตว์นำ�้ และใช้เวลาในการท�ำการประมงยาวนานขึน้ ซึง่ นอกจากเพิม่ ต้นทุนน�ำ้ มันแล้ว ยังมีความเสีย่ งมากขึน้ จากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึง่ ชาวประมง สังเกตุได้ว่าองค์ความรู้ท้องถิ่นที่ใช้อยู่เดิม เช่น การดูทิศทางคลื่นลมในปัจจุบันอาจใช้ไม่ได้แล้ว เพราะ เกิดการเคลื่อนของฤดูกาล และเมื่อน�ำข้อมูลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาประกอบการ พิจารณาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเผชิญในอนาคต ท�ำให้เกิดเป็นโครงการน�ำร่องในการสร้าง บ้านปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์ที่ชุมชนร่วมกันก�ำหนดขอบเขต กฎข้อบังคับ โดยเป็นการตกลงร่วมกันของ คนในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น�้ำ และบางเขตพื้นที่เป็นแหล่งอาหารใกล้บ้านให้คนชุมชน ในช่วงฤดูมรสุม โดยกระบวนการสร้างบ้านปลา เป็นด�ำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และเป็นการ ผนวกความรูท้ อ้ งถิน่ (รายงานการวิเคราะห์ CVCA) กับความรูท้ างวิชาการจากผูเ้ ชีย่ วชาญ (รายงานการศึกษา ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค) เพื่อให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่ และทนทานต่อความแปรปรวน ของสภาพอากาศทั่งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ โครงการน�ำร่องที่ด�ำเนินการในแต่ละพื้นที่ ต้องเกิดจาก ความต้องการของชุมชนที่ได้ใช้ข้อมูลหลากหลายด้านเพื่อการพิจารณา และมีการติดตามประเมินผล การด�ำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สื่อสาร ข้อมูลชุมชน/เครือข่าย แลกเปลี่ยน ประสบการณ์/บทเรียน

ถ่ายทอด บอกเล่าเรื่องราวงาน เรียนรู้ ปัญหาอุปสรรคและผลที่ได้รับ

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

33


จุดเรียนรูก้ ารเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศระดับต�ำบล (Climate Focal Point) โครงการก�ำหนดให้มกี จิ กรรม การสื่อสาร ถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ ข่าวสารข้อมูลที่ได้จากการด�ำเนินงานเผยแพร่ออกไปสู่กลุ่ม เป้าหมายในทุกระดับด้วยการใช้สอื่ ต่างๆ และทีส่ ำ� คัญ คือ การสร้างจุดเรียนรูร้ ะดับต�ำบล ซึง่ เป็นทัง้ สถานที่ และกลุ่มบุคคล ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการด�ำเนินงานโครงการ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ จากการฝึกอบรมเป็นวิทยากรแกนน�ำและวิทยากรชุมชน รวมทั้งเป็นคณะท�ำงานระดับต�ำบล โดยจุดเรียนรู้ นี้จะเป็นทั้ง ผู้รับและผู้ส่งข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ กับคนในชุมชน นอกจากนี้ โครงการยังได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักใน ประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกระดับ อาทิ • สร้ า งสื่ อ เพื่ อ การเผยแพร่ ทั่ ว ไป เช่ น บอร์ ด นิ ท รรศการ โปรเตอร์ ความรู ้ เว็บไซต์โครงการ วารสารรายเดือน ภาพยนต์สารคดี บทความลงในสื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ • อบรมการสร้างสารคดีหนังสั้นให้กับเยาวชนรวมทั้งการจัดประกวด ในการสร้าง ความตระหนักเรือ่ งการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศให้กลุม่ เยาวชนในพืน้ ที่ เพือ่ เป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมต่อไปในอนาคต 34

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


• การน�ำบุคคลากรด้านสื่อสารมวลชนศึกษาดูงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการส่งผ่าน ข้อมูลที่เป็นรูปธรรม จากระดับท้องถิ่นสู่สาธารณะ รวมทั้งเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้กับ ผู้ส่งข่าวสารให้เข้าใจในประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ควรค�ำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงง่าย ใช้ภาษาที่เหมาะสม และเข้าใจได้ง่าย ผลที่ได้รับ โดยคนในชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง ต่างรับรู้และเข้าใจถึงผลกระทบที่ก�ำลังเกิดขึ้นกับ การประกอบอาชีพของตน จากการเคลื่อนของฤดูกาล จากลมมรสุมที่มีความรุนแรงและถี่ขึ้น ฯลฯ ดังนั้น ในทุกพื้นที่จึงให้ความส�ำคัญกับการปรับตัวในมิติของความมั่นคงทางอาหารเป็นอันดับแรก ซึ่งเชื่อมโยง กับการประกอบอาชีพทั้งที่เป็นการท�ำประมงชายฝั่งและการท�ำการเกษตร นอกจากนี้ ชุมชนยังให้ ความส�ำคัญกับการการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ ทั้งในมิติของการสร้างความมั่นคงในการตั้งถิ่นฐาน และ การฟื้นฟูทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งท�ำให้เกิดผลที่ได้รับดังนี้ รูปแบบการปฎฺบัติงานที่ดี (Best practices) โครงการน�ำร่องเพื่อการปรับตัวของชุมชนที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคีทเี่ กีย่ วข้อง ทัง้ ทีแ่ ต่ละบุคคลมีความเชีย่ วชาญในประเด็นทีแ่ ตกต่าง กันไป แต่สามารถน�ำองค์ความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่มาร่วมกันคิดพิจารณาออกแบบการด�ำเนินงาน 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

35


36

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เกิดเป็นรูปแบบการปฏิบัติงานที่ดี ที่สามารถส่งผ่านความรู้นี้ ให้กับชุมชนอื่นๆ เพื่อการเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ และอาจเกิดการต่อยอด คิดค้นความรู้ใหม่ๆ เพื่อหนุนเสริม การด�ำเนินงานของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนความรู้แบบเครือข่าย จุดเรียนรู้ทั้งที่มีและไม่มีสถานที่ แต่เป็นบุคคลและ กลุ่มบุคคลที่สามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ได้ อาทิ การเชื่อมโยงข้อมูลการประกอบอาชีพชุมชนกับ ข้อมูลความแปรปรวนของสภาพอากาศด้วยช่องทางการใช้อินเตอร์เน็ต หรือ การเชื่อมโยงชุมชนที่ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการรับมือในรูปแบบต่างๆ หรือ การเชื่อมองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางนโยบาย เช่น การจัดตั้งกองทุนการปรับตัว ซึ่งต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน ความต่อเนื่องของกิจกรรมการเรียนรู้ภายในชุมชน เมื่อชุมชนมีคนท�ำงาน มีข้อมูลและ จุดการเรียนรู้ ที่เป็นต้นแบบโครงการน�ำร่อง มีแนวทางและช่องทางการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงาน ความร่วมมือต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคล ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการด�ำเนินกิจกรรมภายในชุมชน การสนับสนุน และความร่วมมือที่เหมาะสม การมีต้นแบบที่เป็นรูปธรรมอยู่ในพื้นที่สามารถ น�ำเสนอให้กับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชนให้รับทราบถึงประโยชน์ที่ชุมชน จะได้รับได้ง่าย ส่งผลต่อการสนับสนุนและความร่วมมือที่เหมาะสมย่อมเกิดขึ้นตามมา 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

37


38

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


2.2 ขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน ด้วยกลไกภาคีความร่วมมือ “การท�ำงานของภาคีความร่วมมือภายนอกกับชุมชน เช่น การเป็นที่ปรึกษา หรือการให้การสนับสนุนทางด้านบุคคลากรและงบประมาณ ถึอว่าเป็นปัจจัยความส�ำเร็จที่ ส�ำคัญในการท�ำงานโครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยชุมชนเป็น ศูนย์กลาง” การท�ำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถเอื้ออ�ำนวยให้ เกิดการขับเคลื่อนเชิงนโยบายได้ โดยเฉพาะเพื่อการบูรณาการประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เข้าสู่แผนพัฒนาในระดับท้องถิ่นเพื่อการจัดสรรงบประมาณ และหรือในประเด็นเฉพาะ อาทิ สิทธิในการเข้าถึง และควบคุมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยไม่ละเลยกลุ่มเปราะบาง กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มผู้หญิงและเด็ก และผู้สูงอายุ เป็นต้น โครงการจึงได้จัดตั้งกลไกการท�ำงานขั้นใน 2 ระดับ คือ 1) การจัดตั้งคณะที่ปรึกษาระดับจังหวัด และ 2) การจัดตั้งคณะท�ำงานระดับต�ำบล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ การจัดตั้งกลไกระดับจังหวัด คณะท�ำงานที่ปรึกษาโครงการระดับจังหวัด ได้จัดตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีบทบาทในการให้ค�ำปรึกษาและค�ำแนะน�ำการด�ำเนินโครงการ ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงาน ภาครัฐ องค์การปกครองท้องถิ่น สถาบันวิชาการ และภาคประชาสังคม การให้ค�ำปรึกษาหรือความคิดเห็น ได้ด�ำเนินการผ่าน “เวทีประสานนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” โดยจัดให้ มีการประชุมในทุกๆ 6 เดือนในช่วงระยะเวลาด�ำเนินงานโครงการ ซึ่งจะมีคณะท�ำงานระดับต�ำบลเข้าร่วม การประชุมด้วยทุกครัง้ โดยการจัดเวทีประชุมในระยะแรกๆ จัดขึน้ ในหน่วยงานระดับจังหวัด ต่อมาระยะหลัง จัดขึ้นในระดับพื้นที่ ท�ำให้ชุมชนสามารถเข้าร่วมประชุมได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ผลที่ได้รับ คณะท�ำงานที่ปรึกษาระดับจังหวัด เป็นกลไกที่มีขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพให้กับคณะท�ำงาน ระดับต�ำบล ในการพัฒนาและด�ำเนินกิจกรรมโครงการ โดยประสิทธิผลของกลไกระดับจังหวัด สามารถ จ�ำแนกได้ ดังนี้ • สามารถสร้างบทบาทในการให้ค�ำปรึกษาและค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ ทางกฎหมายในการด�ำเนินกิจกรรมของโครงการ โดยเฉพาะโครงการน�ำร่องเพื่อการปรับตัว ของชุมชน และการให้ความเห็นทางวิชาการด้านอื่นๆ • สามารถสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มช่องทางการติอต่อประสานงานกับภาครัฐ ให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการตามขอบเขตหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

39


• สามารถเอื้ออ�ำนวย เชื่อมโยง และชี้แนะช่องทางเพื่อการบูรณาการประเด็น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่แผนพัฒนาในระดับจังหวัดเพื่อการ จัดสรรงบประมาณ • สามารถสร้ า งพื้ น ที่ เ รี ย นรู ้ และสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งหน่ ว ยงานรั ฐ กั บ ชุมชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโครงการของชุมชน อาทิ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ ให้มบี ทบาทสนับสนุนกิจกรรมโครงการและกิจกรรมต่อเนือ่ ง หลังโครงการสิ้นสุดลง การจัดตั้งกลไกระดับต�ำบล คณะท�ำงานระดับต�ำบลได้จัดตั้งขึ้นหลังจากการฝึกอบรมทักษะ การประเมิ น ขี ด ความสามารถและความเปราะบางของชุ ม ชนต่ อ การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อากาศ (CVCA) โดยมีองค์ประกอบจากผู้น�ำในท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น และ ภาคประชาสังคม คณะท�ำงานส่วนใหญ่มาจากวิทยากรชุมชน มีบทบาทหลักในการด�ำเนินงานเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนเพื่อการประเมินขีดความสามารถและความเปราะบาง ด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วม และการด�ำเนินงานโครงการน�ำร่องเพื่อการปรับตัวในพื้นที่เป้าหมาย ผลที่ได้รับ คณะท�ำงานระดับต�ำบลเป็นโครงสร้างที่มีความส�ำคัญในการด�ำเนินงานโครงการ ซึ่งได้รับการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรชุมชน โดยประสิทธิผลของกลไกระดับต�ำบล สามารถจ�ำแนกได้ ดังนี้ • สามารถวิเคราะห์ความเปราะบางของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และใช้ ข้อมูลดังกล่าวในการพัฒนากิจกรรมโครงการน�ำร่องเพือ่ การปรับตัว ตลอดจนด�ำเนินงานจนประสบผลส�ำเร็จ ในระดับหนึ่ง • สามารถสร้างกลุ่มคนท�ำงานที่มีแนวคิดเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของชุมชน ทั้งในด้าน การรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ความมั่นคงทางอาหาร และเศรษฐกิจชุมชน • สามารถสร้างความเชื่อถือและการร่วมมือของคนในชุมชน การสนับสนุนจากองค์กรปกครอง ท้องถิน่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และภาคีอนื่ ๆ ซึง่ เป็นผลมาจากการท�ำงานอย่างจริงจัง ของคณะท�ำงานระดับต�ำบล • สามารถพัฒนาความรู้และทักษะการน�ำเสนอข้อมูลต่างๆ อาทิ ข้อมูลผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนแนวทางการปรับตัวของชุมชน แต่อาจมีระดับมากน้อย แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ละคณะท�ำงาน ซึ่งส่งผลต่อการขอสนับสนุนในด้านต่างๆ จากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 40

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


สิ่งส�ำคัญอย่างยิ่งของการเข้าถึงช่องทาง และข่าวสารเพื่อการบูรณาการประเด็นการปรับตัว ต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศเข้าไว้ในแผนของหน่วยงานเพือ่ การสนับสนุนด้านงบประมาณ ขึน้ อยูก่ บั การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพียงพอกับหน่วยงานนั้นๆ ดังนั้น การสร้างกระบวนการที่เอื้ออ�ำนวยให้เกิดการ มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย อาทิ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจ และเรียนรู้การด�ำเนินงาน ตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานกับคณะท�ำงานชุมชน อาจเป็นรูปแบบหนึ่ง ที่จ�ำเป็น โดยการเป็นหุ้นส่วนการท�ำงานร่วมกัน จะสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มความส�ำเร็จให้กับ การด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัว ซึ่งต้องอาศัยสหสาขาวิชาและความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ในการ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอือ้ อ�ำนวยต่อการด�ำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ทุกหน่วยงานทัง้ ภาครัฐ องค์การปกครอง ส่วนท้องถิน่ และเอกชน ย่อมมีบทบาทหน้าที่ ความสนใจ และการจัดล�ำดับความส�ำคัญ เฉพาะในประเด็นที่ แตกต่างกันไป ดังนั้น การสร้างหุ้นส่วนการท�ำงานจะส�ำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อสามารถโน้มน้าวให้เห็นถึงประเด็น ปัญหาร่วมกัน และกระตุ้นให้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์ร่วมในการด�ำเนินงานแก้ไขปัญหาทั้งมีอยู่ในปัจจุบัน และอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีแผนและวาระ ปีงบประมาณที่ชัดเจน 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

41


42

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


2.3 สิ้นสุดโครงการ ด้วยช่องทางการส่งต่อผลที่ได้รับ “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์การบริหาร ส่วนท้องถิน่ องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานทางวิชาการ ด้วยกระบวนการการสร้างศักยภาพ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับแนวทางการมีสว่ นร่วมของทุกฝ่ายด้วยมุมมองทีเ่ ล็งเห็นถึงผลประโยชน์รว่ ม กันในการแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต จะช่วยให้กิจกรรมต่างๆ สามารถด�ำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากโครงการสิ้นสุดลง”

“ศักยภาพ คือ ความสามารถเดิมที่มีอยู่ในชุมชน และสามารถ พั ฒนาต่ อ ยอดความสามารถเดิ ม เพื่ อ ที่ จ ะน�ำไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ โดยเกิดจากปัจเจกบุคคลหรือรวบรวมจากแกนน�ำ เกิดเป็นความเข้มแข็ง ของชุมชน เชื่อมโยงและสร้างเป็นเครือข่ายชุมชน มีการพัฒนาจาก ท้องถิ่นส่งต่อสู่ระดับชาติ ในขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมที่ เอื้ออ�ำนวยต่อวิถีการด�ำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของชุมชน”

การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ ใช่โครงการที่ชุมชนสามารถ ด�ำเนินการได้โดยล�ำพัง แต่เป็นแนวทางการด�ำเนินงานแบบพหุภาคี และให้ความส�ำคัญกับความ ต้องการของกลุ่มเปราะบางเป็นล�ำดับแรก ดังนั้น ชุมชนจึงจ�ำเป็นต้องน�ำโครงการหรือแผนงานในการลด ความเปราะบาง และสร้างความเข้มแข็งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้าไว้ใน กระบวนการการสร้างแผนของภาครัฐในทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยงานหลัก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ที่มีความใกล้ชิดและทราบถึงปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อการจัดสรรงบประมาณได้อย่าง รวดเร็ว สอดคล้อง และเหมาะสม การวางยุทธศาสตร์ และจัดกิจกรรมการสิน้ สุดโครงการ จึงมีความส�ำคัญ อย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อการส่งต่อผลที่ ได้รับจากโครงการให้เกิดการต่อยอดต่อไปในอนาคต ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ 2 ระดับ ดังนื้

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

43


การส่งต่อผลที่ได้รับในระดับพื้นที่ โดยในช่วงสุดท้ายของโครงการได้จัดกิจกรรมเพื่อการส่งต่อผลที่ได้รับ จากการด�ำเนินงานดังนี้ • การประชุมวางแผนระหว่างผู้ด�ำเนินงานเพื่อก�ำหนดแนวทาง และกิจกรรมที่เหมาะสมใน การเตรียมคนในชุมชน แกนน�ำชุมชน ภาคี และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ให้พร้อมที่จะสืบสาน การด�ำเนินงานโครงการต่อไป โดยเฉพาะคณะท�ำงานระดับต�ำบล • การประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างคณะท�ำงานระดับต�ำบล เพื่อประเมินความต้องการของ คนในชุ มชนส� ำ หรั บ การพั ฒนาศั ก ยภาพในการตอบสนองต่ อ การเปลี่ ย นแปลงได้ อ ย่ า ง ต่อเนื่อง รวมทั้งแนวทางการท�ำงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายนอกและในชุมชน ทั้งที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าต้องการอะไร เพื่อใคร และท�ำไม เกิดความร่วมมือได้อย่างไร และร่วมขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันด้วยรูปแบบใด • การจัดประชุมระดับจังหวัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อส่งมอบแนวทาง ข้อมูลกิจกรรมน�ำร่องเพื่อการปรับตัว แผนงานที่ต้องการด�ำเนินการในช่วงต่อไป ให้กับ 44

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ฯลฯ พร้อมทั้งเน้นย�้ำถึงความส�ำคัญของกลไกการท�ำงานระดับจังหวัด และระดับต�ำบล ที่ควรมี ความร่วมมือสืบไป นอกจากการวางกิจกรรมเพื่อส่งต่อผลการด�ำเนินงานโครงงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดย เฉพาะการส่งต่อให้ภาครัฐแล้ว ความส�ำเร็จของโครงการยังอยู่ที่ว่าชุมชนสามารถสร้างแนวทางในการ ด�ำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนือ่ ง และยั่งยืนได้หรือไม่? ทั้งนี้ จากการสรุปบทเรียนพบว่าคนในชุมชนเกิด มุมมองในการต่อยอดผลการด�ำเนินงานไว้หลากหลายแนวทาง ดังนี้ • การผลักดันให้เกิดแผนงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับ ท้องถิ่น ระดับจังหวัด และในระดับชาติ ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการ ทรัพยากรในท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง ขณะเดียวกันก็จัดท�ำแผนงานร่วมกับองค์การบริหารส่วน ต�ำบล ในการพัฒนาด้านอาชีพให้มีความหลากหลาย โดยใช้ข้อมูลจากกระบวนการวิเคราะห์ ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชนเป็นฐานในการวางแผนงานต่างๆ • การขยายพื้นที่เป้าหมาย หรือขอบเขตการด�ำเนินงานให้กว้างขวางขึ้น จากต้นน�้ำสู่กลางน�้ำ และปลายน�้ำ เพื่อให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง อาจท�ำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กร ภาคประชาสังคม • การขยายองค์ความรู้ ท�ำให้จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับต�ำบล (Climate Focal Point) ได้ใช้ ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิต ของชุมชน และขยายการท�ำงานร่วมกับเครือข่ายที่ท�ำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมอิ ากาศ เพือ่ แลกเปลีย่ นองค์ความรู้ และบูรณาการงานด้านการปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการทรัพยากรของชุมชน • การพัฒนายกระดับความสามารถแกนน�ำชุมชนและบุคลากรระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทส�ำคัญในการด�ำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ และเป็นบุคคลทีม่ อี ำ� นาจในการตัดสินใจและก�ำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน การสร้างโอกาสเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งส�ำคัญ อาทิ การเข้าร่วมการสัมมนา หรืออบรมเชิงปฏิบัติการในประเด็นที่เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

45


สรุปข้อเสนอของชุมชนจากเวทีสัมมนาระดับภาค จัดท�ำฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • พัฒนาฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงตั้งแต่ระดับชุมชน เครือข่าย องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จนถึงระดับภาค • พัฒนาองค์ความรูใ้ หม่ๆเพือ่ การตัง้ รับปรับตัวของชุมชนต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ • วางกลไกการสื่อสารข้อมูลข่าวสารด้านภูมิอากาศ และการคาดการณ์ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคนในชุมชน และบุคคลทั่วไปให้ตระหนักถึง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความรับผิดชอบร่วมกัน • ส่งเสริมกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มในชุมชนอย่างเท่าเทียม • เสริมสร้างระบบการท�ำงานแบบเครือข่ายและภาคีความร่วมมือ เพื่อเพิ่มพลังในการ ขับเคลื่อน • หน่วยงานภาครัฐและองค์การบริหารส่วนท้องถิน่ ควรให้ความส�ำคัญกับศักยภาพของชุมชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย วางนโยบายที่เอื้อต่อการปรับตัวของทุกภาคส่วน • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรใช้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการ จัดท�ำแผนพัฒนา และการสนับสนุนงบประมาณในกิจกรรมด้านการปรับตัวของชุมชน • สนับสนุนนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการเข้าถึงทรัพยากรที่เท่าเทียมกัน • ส่งเสริมการออม การสร้างรายได้หลายทาง และเอื้ออ�ำนวยให้ชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

46

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


การส่งต่อผลทีไ่ ด้รบั เพือ่ การขับเคลือ่ นระดับนโยบาย โครงการก�ำหนดให้มกี าร จัดเวทีสมั มนาระดับนโยบาย (Policy Advocacy) เพื่อส่งต่อความต้องการของชุมชนและเครือข่าย ให้ฝ่ายนโยบายหรือส่วนกลาง ได้รับทราบ (Bottom up Approach) เป็นความพยายามในการหนุนเสริมเป้าหมายระยะยาวในการ สร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการปรับตัวของชุมชน อาทิ การรณรงค์ ให้เกิดกองทุนสนับสนุนการ ปรับตัวของชุมชน การแก้ไขกฎระเบียบ ข้อบังคับให้เอื้อต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรใน ท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกัน การสร้างกลไกการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ หรือการเพิ่มขีดความสามารถและ ความตระหนักรู้ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่เอื้ออ�ำนวย ศักยภาพระดับโครงสร้าง/เครือข่าย ศักยภาพชุมชน/หน่วยงาน ศักยภาพบุคคล

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

47


48

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


2.4 ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ ความส� ำ เร็ จ งานพัฒนาทั้งในเชิงประเด็น และหรือเชิงพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้โครงการที่มีช่วงระยะ การด�ำเนินงานและงบประมาณที่ก�ำหนดจุดสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน ในขณะที่เป้าหมายในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นเป็นเป้าหมายระยะยาว ต้องอาศัยการด�ำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา การสร้างข้อเสนอโครงการก็มักจะเกิดจากการต่อยอดจากผลการด�ำเนินงานโครงการไปเรื่อยๆ อาทิ จากโครงการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสพภัย (Emergency Response) สู่โครงการการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชน (Disaster Risk Reduction) และเข้าสู่โครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยชุมชน (Community based Adaptation) โดยในแต่ละโครงการย่อมมีการสรุปบทเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ ทั้งนี้ ปัจจัยส�ำคัญที่เอื้อต่อ ความส�ำเร็จภายใต้โครงการ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย” สามารถสรุปได้ ดังนี้ การคัดเลือกชุมชนเป้าหมาย ที่มีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่ม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มประมงพื้นบ้าน กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การ ด�ำเนินการโครงการมีประสิทธิภาพ ด้วยกลุ่มคนเหล่านี้มีความคุ้นเคยกับการท�ำกิจกรรมกลุ่ม ได้มีโอกาส ถอดบทเรียนและเพิม่ เติมองค์ความรูจ้ ากการรวมกลุม่ ท�ำกิจกรรมต่างๆ ซึง่ เป็นพืน้ ฐานส�ำคัญ เปรียบเสมือน การมีต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้ากับการด�ำรงชีวิตได้ และสามารถรับรู้และเข้าใจถึงผลกระทบที่ก�ำลังเกิดขึ้นในอนาคต ท�ำให้ง่ายต่อ การท�ำความเข้าใจในการสร้างวิสัยทัศน์ และแผนพัฒนาชุมชนโดยค�ำนึงถึงข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชน นอกจากนี้ ถ้ากลุม่ ได้รบั การยอมรับในบทบาทการด�ำเนินงาน พัฒนาในพื้นที่ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคีต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว จะช่วยให้ การประสานความร่วมมือเป็นไปได้อย่างดียิ่งขึ้น ความร่วมมือจากภาคีที่เกี่ยวข้อง การให้ความร่วมมือจากภาคีในการด�ำเนินงานโครงการ อาจแบ่งออกได้ เป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับเข้าร่วมรับฟัง ร่วมประชุม หรือร่วมให้ข้อมูล 2) ระดับการให้การสนับสนุนงบประมาณหรือผู้เชี่ยวชาญตามที่ได้รับการร้องขอ และ 3) ระดับการพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงานในประเด็นการปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศเข้าไว้ในแผนงานของหน่วยงาน 2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

49


โดยทั้ง 3 ระดับนี้ พบได้แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆประกอบกันไป อาทิ ความสัมพันธ์เดิมระหว่างหน่วยงานภาคีกับเจ้าหน้าที่โครงการ และหรือกับกลุ่มแกนน�ำชุมชน ทีด่ ำ� เนินงานในพืน้ ที่ ความสนใจในประเด็นงานพัฒนาของแต่ละบุคคล ความสอดคล้องกับภาระหน้าทีม่ อี ยู่ ของแต่ละหน่วยงาน สภาวะแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการเข้าร่วม.... ซึง่ ปัจจัยเหล่านี้ จะเชือ่ มโยงกับความต่อเนือ่ ง ของการเข้าร่วมกิจกรรม ส่งผลต่อการเรียนรู้ในประเด็นงาน และความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การให้ ค�ำปรึกษาด้านกฎหมายและความคิดเห็นทางด้านวิชาการ และช่องทางการเข้าถึงการสนับสนุนของหน่วยงาน ภาครัฐ ความสอดคล้องของช่วงเวลา การมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่นในการสนับสนุนงบประมาณ ให้กับกิจกรรมของชุมชน ขึ้นกับเงื่อนไขของช่วงเวลา ในบางพื้นที่ องค์กรปกครองท้องถิ่นมีแผนงาน ที่สอดคล้องกับแผนงานของชุมชน การขอการสนับสนุนในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็จะมีความส�ำเร็จสูง แต่ถ้ากิจกรรมเกิดขึ้นหลังจากการจัดท�ำแผนงานขององค์กรท้องถิ่นไปแล้ว การขอการสนับสนุนย่อม มีความเป็นไปได้น้อยลง 50

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


ดังนั้น การด�ำเนินงานโครงการ หรือคณะท�ำงานต้องทราบขั้นตอนการจัดท�ำแผนขององค์กร ท้องถิ่นเพื่อก�ำหนดช่องทางและช่วงระยะเวลาการด�ำเนินกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม การออกแบบกระบวนการด�ำเนินงาน กระบวนการเรียนรู้ และการสร้างคนท�ำงานทุกระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ โครงการ คณะท�ำงานระดับต�ำบล และคณะที่ปรึกษานโยบายระดับจังหวัดให้มีความรู้ ความเข้าใจประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท�ำให้ได้มีการเรียนรู้ข้ามประเด็น หรือข้ามเครือข่าย เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการเปิด และขยายแนวความคิดให้กับคณะท�ำงานระดับต�ำบล ทั้งยัง เปิดโอกาสให้กลุม่ คนต่างๆ ในชุมชน ทัง้ ผูน้ ำ� ทีเ่ ป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผูอ้ าวุโส ผูห้ ญิง และเยาวชน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการด�ำเนินโครงการได้มากขึ้น การบริหารจัดการโครงการ การมีส�ำนักงานในระดับพื้นที่ส่งผลต่อการด�ำเนินงานโครงการให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ท�ำให้ใกล้ชิดกับชุมชนและมีความคล่องตัวในการลงพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่สนามเป็น ผู้มีบทบาทส�ำคัญในการติดตามการด�ำเนินงานในระดับต�ำบล และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ นอกจากนี้ การจัดสรรงบประมาณที่ให้ความส�ำคัญกับกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนและภาคี ท�ำให้เกิดประสิทธิผลในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชน และส่งผลต่อการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์กรปกครองท้องถิ่น ทั้งนี้ ระบบการจัดการงบประมาณที่มีความโปร่งใส การใช้ระบบทางบัญชี ที่เข้มงวด ถือเป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการบริหารโครงการให้ประสบผลส�ำเร็จ

2. เ รี ย น รู้ . ..จาก ค วาม ส�ำเ ร็ จ

51


52

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


3. รู ้ เ รี ย น... จากความผิ ด พลาด

ครงการได้สรุปบทเรียนจากการด�ำเนินงานว่ามีความผิดผลาดจากการด�ำเนินงานอะไรบ้าง? สร้าง ผลกระทบอย่างไร? สาเหตุคอื อะไร? และจะท�ำให้แตกต่างได้อย่างไร? ซึง่ สามารถสรุปเพือ่ การรูเ้ รียนได้ดงั นี้

3.1 ช่วงระยะเวลาในการด�ำเนินงาน โครงการมีช่วงระยะเวลาในการด�ำเนินงาน 3 ปี ซึ่งพบว่าเป็นช่วงการปฏิบัติการที่ค่อนข้าง จ�ำกัด ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการ ที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อ บูรณาการกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานการ พัฒนาในระดับท้องถิ่น และการเสริมสร้างศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาและด�ำเนินการกิจกรรม การปรับตัวโดยชุมชน โดยประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่มีความ ซับซ้อนทั้งในเนื้อหาและการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ดังนั้น การสร้างศักยภาพให้กับกลุ่มบุคคล ต้องการ ระยะเวลาที่มากเพียงพอ เพื่อท�ำความเข้าใจกับกลุ่มบุคคลที่เป็นแกนน�ำ รวมทั้งภาคีต่างๆอาทิ หน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานทางวิชาการ และในบางพื้นที่เป็นพื้นที่เปิดใหม่ต้องใช้ เวลาในการประสานงานเพื่อท�ำความรู้จักและคัดเลือกกลุ่มแกนน�ำเพื่อการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสร้างความ ไว้วางใจในการด�ำเนินงานร่วมกัน นอกจากนี้ การก�ำหนดช่วงระยะเวลาการด�ำเนินงานโครงการให้สอดคล้องกับช่วงระยะการ วางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นสิ่งส�ำคัญ เพื่อให้สามารถน�ำประเด็นการ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมเพื่อการปรับตัวของชุมชนเข้าสู่การพิจารณาของ องค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิน่ ได้ ทัง้ นี้ อาจเป็นเพราะผูเ้ ขียนโครงการยังขาดความเข้าใจในโครงสร้าง แบบแผนกระบวนการ และขั้นตอนการสร้างแผนยุทธศาสตร์และแผนงานการพัฒนาในระดับท้องถิ่น ข้อเสนอ การเขียนข้อเสนอโครงการพัฒนาที่มีเป้าหมายการด�ำเนินงานในลักษณะคล้ายคลึง กันนี้ ควรพิจารณาช่วงระยะการด�ำเนินงานที่มากกว่า 3 ปี และควรเริ่มการด�ำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่ เหมาะสม และสอดคล้องกับวัฎจักรการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ กี ารก�ำหนด วาระไว้อย่างชัดเจน 3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

53


3.2 ศักยภาพของผู้ด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว ปัญหาการขาดแคลนบุคคากรที่มีความรู้ และทักษะในการด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท�ำให้โครงการด�ำเนินงานล่าช้า เพราะไม่สามารถจัดหาเจ้าหน้าที่ใน ต�ำแหน่งที่ก�ำหนดไว้ได้ ซึ่งจากการสรุปบทเรียน พบว่า ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ถือเป็นปัจจัยหลักในการ ด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว ถึงแม้วา่ เจ้าหน้าทีส่ ามารถเรียนรูจ้ ากการปฏิบตั งิ านเป็นหลัก (Learning by doing) แต่จ�ำเป็นต้องมีการเสริมความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมมิติต่างๆให้สามารถเชื่อมโยง ประเด็นงานด้านการปรับตัวกับงานการพัฒนา โดยความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นสามารถสรุปได้ ดังนี้ • ความเข้าใจแนวคิดส�ำคัญเรื่องการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • ทักษะการวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับแนวทางการพัฒนา ชุมชน • การให้ความส�ำคัญกับการใช้ข้อมูลในการด�ำเนินงาน และความถูกต้องของข้อมูล 54

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


• ทักษะการเขียนรายงานเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลในหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย • ทักษะในการขยายผลการด�ำเนินงานโครงการต่อภาคส่วนต่างๆ ข้อเสนอ ก่อนการด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว ควรมีการสรรหาและเตรียมเจ้าหน้าที่ โครงการที่มีทักษะ ความรู้ความเข้าใจในประเด็นพื้นฐานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะ ช่วยให้การขับเคลือ่ นงานในระดับพืน้ ทีแ่ ละการประสานงานกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องมีผลสัมฤทธิม์ ากยิง่ ขึน้ สิ่งส�ำคัญในการด�ำเนินงานกระบวนการการวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางของ ชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การเลือกคณะท�ำงานที่มีการศึกษาจากหลากหลายสาขา มีทักษะความช�ำนาญที่แตกต่างกัน เป็นคณะท�ำงานที่มีความเป็นสหวิทยาการ ซึ่งจะมีความได้เปรียบ ในการวิเคราะห์แบบองค์รวม และอีกประการหนึง่ คือ ควรรวมผูท้ รี่ จู้ กั และเข้าใจบริบทของชุมชนเป้าหมาย เข้าไว้เป็นคณะท�ำงาน เพื่อให้เข้าใจและทราบถึงช่องทางในการท�ำงานกับชุมชนเป้าหมายได้อย่าง เหมาะสม รวมทั้งช่วยสร้างความไว้วางใจในช่วงที่มีการท�ำกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ 3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

55


คู่มือการวิเคราะห์ ขีดความสามารถและความเปราะบางของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Vulnerability and Capacity Analysis Handbook: CVCA) ได้แนะน�ำองค์ประกอบคณะท�ำงานด้านการปรับตัวไว้ดังนี้ • ทักษะการวิจัย - ส�ำหรับศึกษาความเป็นมา • ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - เพื่อวิเคราะห์และสรุปข้อมูลสภาพภูมิอากาศ • การวิเคราะห์นโยบายและสถาบัน - เพื่อวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการปรับตัว • ความเชีย่ วชาญด้านวิทยาศาสตร์ - ในภาคการเกษตร การจัดการนำ�้ และภาคส่วนอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง • ทักษะผู้อ�ำนวยการกระบวนการแบบมีส่วนร่วม - เพื่อกระตุ้นและสร้างสมดุลในการมีส่วนร่วม ของทุกคนให้อยู่ในกรอบเนื้อหาการวิเคราะห์ที่วางไว้ และสร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจเพื่อเปิดกว้าง ทั้งการรับฟังและการแสดงความคิดเห็น • เพศภาวะและความหลากหลาย - เพื่อให้แน่ใจว่าการอ�ำนวยกระบวนการจะด�ำเนินไปโดยค�ำนึงถึง ความอ่อนไหวด้านเพศภาวะและความหลากหลาย และวิเคราะห์ความเปราะบางที่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละกลุ่มของชุมชน • การจัดการความขัดแย้ง - เพื่อช่วยให้กลุ่มที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเกิดความเข้าใจ ถึงความแตกต่างหลากหลายในการให้ความคิดเห็น ท�ำให้สามารถได้ข้อสรุป และหรือมีมติความเห็นที่ เป็นเอกฉันท์ • การสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ - เพื่อรับฟังข้อมูลข่าวสาร พร้อมผลักดันหรือโต้แย้งเพื่อให้ได้ข้อมูล ความคิดเห็นเพิ่มเติมที่เจาะลึกและรอบด้านมากยิ่งขึ้น • ทักษะการเขียน - เพื่อน�ำเสนอข้อมูล ข้อถกเถียงได้อย่างชัดเจน น่าเชื่อถือ เพื่อโน้มน้าวผู้ฟัง ที่หลากหลายให้เกิดการผนวกยุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเข้าไว้ในโครงการ หรือกิจกรรมใหม่ๆ

56

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


3.3 ความต่อเนื่องของคณะด� ำเนินงานแบบพหุภาคี โครงการฯได้มกี ารจัดตัง้ “คณะท�ำงานทีป่ รึกษาระดับจังหวัด” อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีบทบาท ในการให้คำ� ปรึกษาและค�ำแนะน�ำการด�ำเนินงานโครงการ และจัดให้มกี ารประชุมในทุกๆ 6 เดือนตลอดช่วง ระยะเวลาด�ำเนินงานโครงการ รวมทัง้ การเชิญให้เข้าร่วมในกิจกรรมโครงการ และการขอการสนับสนุนตาม ภาระหน้าทีข่ องแต่ละหน่วยงาน ทัง้ นี้ เพือ่ ให้หน่วยงานต่างๆเหล่านีเ้ กิดมุมมองในการบูรณาการโครงการและ กิจกรรมเพือ่ การปรับตัวของชุมชนเข้าไว้ในแผนยุทธศาสตร์ หรือแผนการด�ำเนินงานของหน่วยงานตนเอง อย่างไรก็ตามพบว่า คณะท�ำงานที่ปรึกษาจากภาครัฐที่มีบทบาทสนับสนุนการด�ำเนินงาน โครงการฯอย่างต่อเนื่องนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มากกว่าการให้การสนับสนุน ตามภาระหน้าที่ หรือการให้ความส�ำคัญในประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั้นเป็นเงื่อนไขส่วนบุคคล บางหน่วยงานยังเข้าร่วมกิจกรรมแต่เปลี่ยนตัวบุคคล และบางหน่วยงาน เข้าร่วมบ้างเป็นครั้งคราว ท�ำให้ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯในการบูรณาการ ประเด็นการปรับตัวเข้าสู่แผนงานต่างๆในระดับจังหวัด โดยสาเหตุส�ำคัญอาจเนื่องมาจากบุคลากรภาครัฐ บางส่วนยังไม่ได้ให้ความส�ำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเข้าใจว่าการ ด�ำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศนั้นเป็นความรับผิดชอบ เฉพาะหน่วยงานทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น 3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

57


ส�ำหรับ “คณะท�ำงานระดับต�ำบล” ซึง่ มีบทบาทหลักในการด�ำเนินงาน เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เพื่อการประเมินขีดความสามารถ และความเปราะบางด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และการด�ำเนินงานโครงการ น�ำร่องเพื่อการปรับตัวของชุมชน ทั้งนี้ จากการสรุปบทเรียนพบว่า คณะท�ำงาน ระดับต�ำบลส่วนใหญ่ยงั มีขอ้ จ�ำกัดด้านศักยภาพในการประสานงานกับหน่วยงาน ต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ท�ำให้ขาดความต่อเนื่องในการ ด�ำเนินงานร่วมกัน นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ซึ่งมีการด�ำเนินงานในลักษณะ “ผู้น�ำเดี่ยว” ท�ำให้ไม่เกิดการสร้างกลุ่มคนท�ำงานในชุมชน ในขณะที่คณะท�ำงานที่มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ มีการเข้าร่วมกระบวนการอย่างต่อเนือ่ ง แต่มขี อ้ จ�ำกัดในการค้นคว้าท�ำความเข้าใจ เพิ่มเติม เพราะมีงานที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่หลายด้าน โดยพบว่าความรู้ ความเข้าใจด้านการปรับตัวของเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยัง อยู่ ในระดับการรับรู้ถึงปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และให้ความส�ำคัญในการสนับสนุนชุมชนในด้านการฟื้นฟูและจัดการทรัพยากร ของท้องถิ่นเท่านั้น นอกจากนี้ การปฏิ บั ติ ง านของหน่ ว ยงานในระดั บ ท้ อ งถิ่ น และ ส่วนภูมิภาค ต้องวางแผนและด�ำเนินงานภายใต้นโยบายที่ก�ำหนดมาจาก ส่วนกลาง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่านโยบายจากส่วนกลางนั้นขาดความต่อเนื่องและ ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ส่งผลต่อการให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น และภู มิ ภาคในการสนั บ สนุ น การด� ำ เนิ น งานในพื้ น ที่ โดยเฉพาะประเด็ น ด้านการปรับตัว ข้อเสนอ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพของคณะด�ำเนินงานแบบพหุภาคี อาจ มีความจ�ำเป็นต้องก�ำหนดให้มีโครงสร้างคณะท�ำงานในทุกระดับที่มีการจัดตั้ง อย่างเป็นทางการ และควรมีการจัดตั้งคณะท�ำงานที่ปรึกษาระดับชาติ ในการ ประสานและผลักดันเชิงนโยบายเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของท้องถิ่น รวมทั้ง ควรสร้างช่องทางการประสานงานของคณะท�ำงานที่จัดตั้งขึ้นทั้ง 3 ระดับ เช่น การก�ำหนดวาระการประชุมร่วมในทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการ ติดตาม และสนับสนุนการด�ำเนินงานโครงการฯ อย่างเป็นระบบ 58

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

59


3.4 ความเข้าใจบทบาทความรับผิดชอบระหว่างภาคี กลไกคณะท�ำงานทีป่ รึกษาระดับจังหวัดและต�ำบล มีบทบาทในการด�ำเนินงานมากน้อยแตกต่าง กันไปในแต่ละพื้นที่ อาทิ ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเป็นหน่วยงานที่มีบทบาท ไม่มากนักในการด�ำเนินงานร่วมกับโครงการฯ ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากความสนใจของผู้แทนและมุมมอง เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานที่เป็นผู้ประสานงานและส่งเรื่องให้กับผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น ท�ำให้การใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ความเปราะบางและขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนของหน่วยงานภาครัฐยังอยู่ ในลักษณะของความสนใจส่วนบุคคล ท�ำให้การประยุกต์ ใช้ข้อมูลในการก�ำหนดยุทธศาสตร์และการ วางแผนงานเกิดขึน้ น้อยกว่าภาคประชาสังคมระดับต�ำบล ซึง่ หากมีการวิเคราะห์หน่วยงานทีม่ หี น้าทีเ่ กีย่ วข้อง โดยตรงและแต่งตั้งอย่างเป็นทางการอาจท�ำให้บทบาทการสนับสนุนโครงการมีความชัดเจนมากขึ้น ข้อเสนอ การให้ความส�ำคัญกับการวิเคราะห์กลไกเชิงสถาบัน (Institutional Mapping) รวมทั้ง การวิเคราะห์นโยบายและแผน (Policy Analysis) ในทุกระดับ ก่อนการด�ำเนินงานโครงการฯ ถือว่าเป็น สิง่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ เพือ่ ให้ทราบถึงบทบาทหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของแต่ละองค์กร ซึง่ จะท�ำให้เกิดความ เข้าใจแนวทางการดึงการมีสว่ นร่วมจากหน่วยงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ สิง่ ส�ำคัญอีกประการ หนึ่ง คือ เจ้าหน้าที่โครงการจ�ำเป็นต้องท�ำความเข้าใจในพลวัตของนโยบายว่าส่งผลกระทบอย่างไรต่อ ขีดความสามารถในการปรับตัวของทั้งหน่วยงานท้องถิ่น ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล 60

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


3.5 การสร้างกระบวนการติดตามประเมินผล ควบคู่กับการด�ำเนินงาน โครงการฯมีการประเมินผลจากผู้ประเมินภายนอกและรายงานผลที่ได้ไปยังผู้ให้ทุนโดยตรง 2 ครั้งตลอดช่วงระยะการด�ำเนินงาน ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนส�ำคัญที่ท�ำให้โครงการไม่สามารถสร้าง การเรียนรู้ให้กับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสาเหตุหลัก 3 ประการคือ • ข้อจ�ำกัดในการจัดสรรทรัพยากรบุคคลและงบประมาณที่เหมาะสม • ศักยภาพในการระดมทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ • การให้ความส�ำคัญกับการติดตามประเมินผลของเจ้าหน้าที่โครงการ โดยระบบการติดตามประเมินผลการด�ำเนินงานโครงการ ควรทราบถึงการเปลีย่ นแปลง ระหว่าง ก่อนและหลังการด�ำเนินงาน การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยการมี ส่วนร่วมของคนในชุมชน และภาคีความร่วมมือ ถือว่าเป็นปัจจัยความส�ำเร็จของการด�ำเนินงานโครงการ โดยเฉพาะในประเด็นการปรับตัวที่หมายถึง “กระบวนการ” ที่ด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขและ ข้อจ�ำกัดด้านต่างๆ 3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

61


ข้อเสนอ ควรมีการสร้างระบบการติดตามประเมินผลควบคู่ไปกับการด�ำเนินงาน ตลอดทั้งโครงการ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลที่ได้รับที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ติดตาม ให้ ค�ำแนะน�ำ และกระตุ้นการด�ำเนินงานเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ผู้ทีเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ องค์กรผู้รับผิด ชอบการด�ำเนินงานโครงการควรให้ความส�ำคัญกับการติดตามประเมินผลอย่างแท้จริง ถึงแม้เป็นเรือ่ งยากในการคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น การติดตามเพื่อให้ทราบว่าจริงๆแล้วชุมชนก�ำลังปรับตัวต่ออะไร? หรือความส�ำเร็จในการปรับตัวมีลักษณะและรูปแบบอย่างไร? นั้นเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า โดยการ จัดการกับ “ความไม่แน่นอน” ต้องการแนวทางการด�ำเนินงานแบบ “เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning-by-doing)” ซึง่ ชุมชนและผูป้ ฏิบตั งิ านสามารถติดตาม ตอบสนองต่อการเปลีย่ นแปลง และเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมายได้อย่างยั่งยืน การสร้างระบบเพือ่ ติดตามการเปลีย่ นแปลงในหลากหลายมิติ อาทิ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ท�ำให้สามารถน�ำข้อมูลผลการ วิเคราะห์การติดตามประเมินผลไปใช้ในการปรับปรุงการด�ำเนินงานโครงการให้สอดคล้องและ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ส�ำหรับประโยชน์ที่คนในชุมชนจะได้รับ ในกระบวนการการติดตามประเมินผล คือ ความเข้าใจในกระบวนการปรับตัว ทักษะในการ สังเกตการเปลี่ยนแปลง และศักยภาพในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเพื่อ ใช้ในการท�ำความเข้าในวิถีการด�ำรงชีวิตของตนเอง กระบวนการในการติดตามประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม เริ่มจากการตั้งค�ำถามกับ เจ้าหน้าที่ผู้ด�ำเนินงานโครงการ 1) การปฏิบัติงานที่ดีมีอะไรบ้าง? 2) การปฏิบัติงานที่ยังไม่ดี มีอะไรบ้าง? 3) เราจ�ำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือไม่? และอย่างไร? 4) อะไรบ้างที่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนภายใต้เงื่อนไข และบริบทที่ก�ำลังเปลี่ยน? รวมทั้ง อาจตั้งค�ำถามกับคนในชุมชนเป้าหมายโดยการจัดประชุมกลุ่มย่อย ได้แก่ 1) คุณมีความพอใจกับกิจกรรมที่ได้ด�ำเนินงานตลอดช่วงโครงการอย่างไรบ้าง? 2) อะไรบ้าง ที่ท�ำได้ดี และอะไรบ้างที่ควรปรับปรุง? 3) มีการเปลี่ยนแปลง (ตามตัวชี้วัดของศักยภาพ ในการปรับตัว) ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มของคุณอย่างไรบ้าง? และการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ถือว่า ส�ำคัญ? และต่อใคร? 4) การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศน์ มีความหมายกับคุณอย่างไรบ้าง? และกลุ่มเปราะบางในชุมชนของคุณตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่? อย่างไร? และถ้าไม่ ท�ำไม?

62

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

63


64

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


3.6 การสร้างกระบวนการสื่อสารแบบเข้าถึงต่อเนื่อง การสื่อสารในระดับโครงการสามารถพิจารณาได้ดังนี้ คือ 1) การสือ่ สารเพือ่ การบริหารจัดการโครงการให้มปี ระสิทธิภาพ และ 2) การสื่อสารเนื้อหาที่ ได้จากการด�ำเนินงานโครงการสู่กลุ่ม เป้าหมายกลุ่มต่างๆทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย ทั้งบุคคลทั่วไปและ ผู้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจและก�ำหนดนโยบาย จากการสรุ ป บทเรี ย น พบการเกิ ด ช่ อ งว่ า งในการสื่ อ สารเพื่ อ การบริหารจัดการโครงการ เพราะไม่ได้มี “การสร้างแผนงานการสื่อสาร ภายในโครงการ” ไว้ ตั้ ง แต่ ต ้ น ส่ ง ผลให้ โ ครงการเกิ ด ความล่ า ช้ า และ ประสิทธิภาพการด�ำเนินกิจกรรมลดลง ด้วยขาดแนวทางและช่องทางการ สื่อสารที่ชัดเจน ข้อเสนอ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะสร้างความตระหนักรู้ ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อกลุ่มเป้าหมายของ โครงการได้ โดยศักยภาพในการสื่อสารระดับพื้นที่จะขึ้นอยู่กับ วิธีการส่งสาร ผูส้ ง่ สาร ผูร้ บั สาร ซึง่ ข่าวสาร อาทิ การจัดท�ำเอกสารต่างๆ ควรง่ายและเจาะจง มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดยการสร้างเครือข่ายในการส่งสารระหว่างชุมชนถือเป็นหัวใจ ส� ำ คั ญ ในการด� ำ เนิ น งานที่ มี ผ ลลั พ ธ์ ใ นการสร้ า งจุ ด เรี ย นรู ้ ใ ห้ กั บ ชุ ม ชน โครงการจึงจ�ำเป็นต้องท�ำให้เกิดความมัน่ ใจได้วา่ ผลที่ได้รบั จากการด�ำเนินงาน มีช่องทางในการส่งผ่านและสื่อสารสู่ระดับนโยบายเพื่อหนุนเสริมการปฏิบัติ งานในพื้นที่ • สร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการท�ำงาน • พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ • สร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน • พัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมโยงในทุกระดับ

3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

65


66

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


“การสร้างแผนการสื่อสารโครงการสู่สาธารณะ” จึงมีความจ�ำเป็น อย่างยิ่ง เพื่อจะได้รับทราบถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มากกว่า ความต้องการของผู้สร้างข่าวสาร โดยแผนและช่องทางที่สร้างขึ้นควรเป็น ระบบการสื่อสารสองทาง ควรมีการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับผลที่ได้รับจากการติดตามประเมินผล ค�ำถามส�ำคัญที่ควรพิจารณา เพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารของโครงการ ได้แก่ • ใครควรรับผิดชอบส�ำหรับกระบวนการสือ่ สาร • ใครเป็นกลุม่ เป้าหมายหลักเพือ่ การสือ่ สาร และ • เราจะประเมินผลกระทบที่ได้รบั จากการสือสารได้อย่างไร?

ทั้ ง นี้ การให้ ความส� ำ คั ญ กั บ การจั ด ประชุ ม ระดั บ ภู มิ ภาคและ ระดับชาติ เพื่อน�ำเสนอผลที่ได้รับจากการด�ำเนินงานโครงการและข้อเสนอ จากกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะการน�ำเสนอ ความต้องการของกลุ่มเปราะบาง ต่อผู้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจระดับนโยบาย ซึ่งหมายถึงการส่งผ่านเสียงของ ผู้ที่ขาดอ�ำนาจต่อรองเข้าสู่เวทีเพื่อการพิจารณา อาจท�ำให้ประเด็นที่ไม่เคย ได้รบั ความสนใจจากผูม้ อี ำ� นาจตัดสินใจ ได้รบั การกล่าวถึงและให้ความส�ำคัญ มากขึ้น โดยการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศ ซึง่ เป็นประเด็นใหม่สสู่ าธารณะนัน้ การสือ่ สารอย่างต่อเนือ่ ง ถือว่ามีความส�ำคัญ เจ้าหน้าที่โครงการจึงจ�ำเป็นต้องสร้างช่องทางการส่งผ่าน ข่าวสารให้กับสื่อต่างๆตั้งแต่เริ่มด�ำเนินงานโครงการ รวมทั้ง การสร้าง กระบวนการด�ำเนินงานให้ “เป็นสื่อ”เพื่อจะได้สามารถ “น�ำสาร”ส่งต่อให้กับ กลุ่มเป้าหมายได้ตลอดช่วงระยะโครงการ การสร้างเอกสารที่มีคุณภาพ เพียงพอต่อการสือ่ สาร จึงเป็นอีกประเด็นหนึง่ ทีต่ อ้ งวางแผนไว้ตงั้ แต่เริม่ เขียน ข้อเสนอโครงการ

3. รู้ เ รี ย น ...จาก ค วาม ผิ ด พลาด

67


68

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


4. สรุ ป เป็ น บทเรี ย น

วามหมายของค�ำว่า “ชุมชน” ไม่ได้ก�ำหนดเฉพาะขอบเขตพื้นที่ แต่ยัง หมายถึงการเป็นส่วนหนึ่งของ “เครือข่ายทางสังคม” คนหนึ่งคนในชุมชนซึ่ง แบ่งแยกตาม อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ สถานะทางสังคม เป็นส่วนหนึ่งของ หลากหลายกลุม่ ทีม่ กี ารแลกเปลีย่ นหมุนเวียน เช่น การใช้ทรัยากรข้ามขอบเขต พื้นที่และเวลา การท�ำความเข้าใจชุมชนคือการเชื่อมโยงการสืบทอดองค์ความรู้ และความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจที่มีอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง ไม่หยุดนิ่ง การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดย “ชุมชนเป็น ศูนย์กลาง” หมายถึง กระบวนการทีช่ มุ ชนเป็นผูด้ ำ� เนินการ โดยใช้ฐานจากความ ต้องการ องค์ความรู้ และศักยภาพของชุมชนเอง มีการพัฒนาค�ำนิยาม กรอบ และแนวทางการด�ำเนินงานทั้งที่แตกต่างและคล้ายคลึงกับประเด็นงานพัฒนา อื่นๆ รวมทั้งไม่ละเลยความรู้ด้านระบบนิเวศน์และบริบททางสังคมวัฒนธรรม ของชุมชนนั้นๆที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งทนทานของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ดังนั้น เป้าหมายหลักในการด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว คือ การสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนเพื่อให้สามารถตอบสนอง และจัดการกับ ความเสี่ยง และความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ต้องมีฐานมาจากกระบวนการการตัดสินใจของชุมชนเองเป็นส�ำคัญ บริบทการ ปฏิบัติงานภายใต้โครงการด้านการปรับตัวจึงมีลักษณะจากล่างสู่บน (Bottom up Approach) และเป็นเสมือนภาพสะท้อนผลกระทบที่เกิดจากแนวทางการ ปฏิบตั งิ านในลักษณะบนลงล่าง (Top down Approach) ซึง่ ในปัจจุบนั เป็นแนวทาง หลักเมื่อกล่าวถึงการด�ำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดย ภาครัฐ 4. สรุ ป เ ป็ น บ ท เ รี ย น

69


นอกจากนี้ การวางยุทธศาสตร์ด้านการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ กระบวนการการวางแผนและ การจัดสรรงบประมาณ (การสร้างกระแสหลัก) ในระดับท้องถิ่นและ ระดับชาติ เพื่อการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัวเป็นแนวทางที่ โครงการได้ให้ความส�ำคัญด้วยเช่นกัน เพื่อสร้าง“สภาวะแวดล้อมที่ เอื้ออ�ำนวยต่อการปรับตัวของชุมชน” โดยการด�ำเนินงานด้านการปรับตัวไม่มีจุดเริ่มต้นและ สิ้นสุดอย่างแท้จริง แต่เป็นการสะสมศักยภาพของชุมชนในการ จัดการกับความเสี่ยงและความเปราะบางที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ โดยให้ความส�ำคัญกับ “การเปลี่ยนแปลง” สภาพ ภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีการด�ำรงชีวิต ของคนในชุมชน เป็นการสร้างวิสยั ทัศน์ทคี่ ำ� นึงถึง “ความไม่แน่นอน” ของสภาพภูมิอากาศที่จะมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น เพื่อ สร้างแผนงานในการลดความเสี่ยงและความเปราะบางที่เกิดขึ้นทั้ง ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการพิจารณาด้านการลงทุนกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ (Costs and benefits) ในประเด็นด้านการปรับตัวของชุมชน ส�ำหรับ โครงการใดโครงการหนึ่งนั้น ไม่อาจเป็นการประเมินเฉพาะกิจกรรม เพื่อการปรับตัวส�ำหรับความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบัน แต่ควรประเมินถึงการสะสมขีดความสามารถของชุมชนเพื่อการ ปรับตัวที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันสู่อนาคต ดังนั้น การ บันทึกบทเรียนการด�ำเนินงาน “โครงการเสริมสร้างความเข็มแข็ง ให้ชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ” จึงเป็นความจ�ำเป็นเพื่อจะได้สร้างการเรียนรู้กับผู้ที่ จะด�ำเนินงานในการต่อยอด และขยายผลเพื่อความยั่งยืนต่อไป โดยสามารถสรุปเป็นบทเรียนได้ ดังนี้

70

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


4. สรุ ป เ ป็ น บ ท เ รี ย น

71


1. เริ่มจากสร้างข้อมูล สร้างคน ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม “ความส�ำเร็จ”เกิดจากโครงการได้ใช้ “กระบวนการ” การ มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในชุมชน เพื่อสร้างข้อมูลของชุมชน และ สร้างกลุ่มคนท�ำงานให้มีทักษะในการวิเคราะห์ความเปราะบาง และ ขีดความสามารถการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การที่ชุมชนได้รับรู้ถึงความเสี่ยง ความเปราะบาง และศักยภาพของ ตนเอง ในการตอบสนองต่อผลกระทบจาก “ความแปรปรวนของ สภาพอากาศ” ทีเ่ ผชิญอยู่ในปัจจุบนั และเล็งเห็นถึง “การเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศ” ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เกิดเป็น “วิสัยทัศน์ ของชุมชน”ผสมผสานองค์ความรู้ท้องถิ่นและการสนับสนุนจาก ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านความรูท้ างวิทยาศาสตร์และเทคนิคต่างๆ เป็นฐานใน การสร้างกิจกรรมเพื่อการปรับตัวที่เป็น“รูปธรรม” รวมทั้ง การสร้าง “จุดเรียนรู้และเครือข่าย” เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่างๆพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และ ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 2. ขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน ด้วยกลไกภาคีความร่วมมือ “ความส�ำเร็จ” ของโครงการจะขาดการ “สร้างกลไก ความร่วมมือ”และการท�ำงานร่วมกันระหว่างภาคีตา่ งๆ ในพืน้ ที่ไม่ได้ การประสานงานเพือ่ ให้เกิดการสนับสนุนการขับเคลือ่ นการด�ำเนินงาน ถือเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญของโครงการ โดยการเป็น “หุ้นส่วน การท�ำงานร่วมกัน” จะสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มความส�ำเร็จให้ กับการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัว ซึ่งต้องอาศัยสหสาขาวิชา และความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ในการสร้างสภาพแวดล้อม ให้เอื้ออ�ำนวยต่อการด�ำเนินงาน ซึ่งการสร้างหุ้นส่วนการท�ำงาน จะส�ำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อสามารถโน้มน้าวภาคีและกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ให้เห็นถึงประเด็นปัญหา และผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะความ ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทีม่ แี ผนและวาระปีงบประมาณ ที่ชัดเจน 72

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


4. สรุ ป เ ป็ น บ ท เ รี ย น

73


3. สิ้นสุดโครงการ ด้วยช่องทางการส่งต่อผลที่ได้รับ โครงการจะไม่ประสบผล“ความส�ำเร็จ” ถ้าไม่ได้สร้างช่องทางที่เหมาะสมให้กับชุมชนในการ น�ำผลที่ได้รับจากการด�ำเนินงานเข้าไว้ใน “กระบวนการการสร้างแผนของภาครัฐ” ในทุกระดับ โดยเฉพาะ หน่วยงานหลัก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความใกล้ชิดและทราบถึงปัญหาและความต้องการของ ชุมชน เพื่อการจัดสรรงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้อง และเหมาะสม รวมทั้งการให้ความส�ำคัญกับ การจัดเวทีสัมมนาระดับนโยบาย (Policy Advocacy) เพื่อส่งต่อความต้องการของชุมชนและเครือข่าย ให้ฝ่ายนโยบายได้รับทราบ (Bottom up Approach) เป็นความพยายามในการหนุนเสริมเป้าหมายระยะยาว ในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการปรับตัวของชุมชน โดยแนวทางการด�ำเนินงานแบบองค์รวมและ บูรณาการการท�ำงานจากทุกภาคส่วน การมี ส่วนร่วมในลักษณะของการเป็นภาคี เป็นช่องทางในการเพิ่มข่าวสาร ความรู้ และต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคม ที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละบริบทพื้นที่ รูปแบบการด�ำเนินงานแบบนี้ ท�ำให้เกิดการต่อรอง และ แบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของโครงการ 4. ช่วงระยะเวลาในการด�ำเนินงาน โครงการพัฒนาที่มีเป้าหมายการด�ำเนินงานในการบูรณาการกิจกรรมการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไว้ในยุทธศาสตร์และแผนงานการพัฒนาในระดับท้องถิ่น และการ เสริมสร้างศักยภาพของผูเ้ กีย่ วข้องในการพัฒนาและด�ำเนินการกิจกรรมการปรับตัวโดยชุมชน ควรพิจารณา ช่วงระยะการด�ำเนินงานที่มากกว่า 3 ปี และควรเริ่มการด�ำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม และ สอดคล้องกับวัฎจักรการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีช่วงก�ำหนดวาระที่ชัดเจน 5. ศักยภาพของผู้ด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว ผู้ด�ำเนินงานโครงการด้านการปรับตัว ควรมีความรู้และทักษะที่จ�ำเป็น คือ ความเข้าใจแนวคิด ส�ำคัญเรื่องการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทักษะการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับแนวทางการพัฒนาชุมชน การให้ความส�ำคัญกับการใช้ข้อมูลในการ ด�ำเนินงานและความถูกต้องของข้อมูล ทักษะการเขียนรายงานเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลในหลากหลาย กลุ่มเป้าหมาย และทักษะในการขยายผลการด�ำเนินงานโครงการต่อภาคส่วนต่างๆ

74

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


6. ความต่อเนื่องของคณะด�ำเนินงานแบบพหุภาคี การจัดตั้งคณะด�ำเนินงานแบบพหุภาคีในทุกระดับ ซึ่งได้แก่ คณะที่ปรึกษานโยบายระดับชาติ คณะที่ปรึกษานโยบายระดับจังหวัด และคณะท�ำงานระดับต�ำบล ควรเป็นการการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ในการประสานและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายเพือ่ รองรับการปฏิบตั งิ านของท้องถิน่ รวมทัง้ ควรสร้างช่อง ทางการประสานงานของคณะท�ำงานที่จัดตั้งขึ้นทั้ง 3 ระดับ เช่น การก�ำหนดวาระการประชุมร่วม เพื่อให้ เกิดความต่อเนื่องในการติดตาม และสนับสนุนการด�ำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบ 7. ความเข้าใจบทบาทความรับผิดชอบระหว่างภาคี การให้ความส�ำคัญกับการวิเคราะห์กลไกเชิงสถาบัน (Institutional Mapping) รวมทัง้ การวิเคราะห์ นโยบายและแผน (Policy Analysis) ในทุกระดับ ก่อนการด�ำเนินงานโครงการถือว่าเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เพือ่ ให้ทราบถึงบทบาทหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของแต่ละองค์กร ซึง่ จะท�ำให้เกิดความเข้าใจแนวทางการ ดึงการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 8. การสร้างกระบวนการติดตามประเมินผลควบคู่กับการด�ำเนินงาน องค์กรผู้รับผิดชอบการด�ำเนินงานโครงการควรให้ความส�ำคัญกับการติดตามประเมินผลอย่าง แท้จริง โดยการสร้างระบบการติดตามประเมินผลควบคู่ไปกับการด�ำเนินงานตลอดทั้งโครงการ เพื่อให้ สามารถวิเคราะห์ผลที่ได้รับที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ติดตาม ให้ค�ำแนะน�ำ และกระตุ้นการด�ำเนินงาน เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานโครงการ 9. การสร้างกระบวนการสื่อสารแบบเข้าถึงต่อเนื่อง การสื่ อ สารที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภาพจะสร้ า งความตระหนั กรู ้ ด ้ า นการปรั บ ตั ว ต่ อ การเปลี่ ย นแปลง สภาพภูมิอากาศ ต่อกลุ่มเป้าหมายของโครงการได้ โดยศักยภาพในการสื่อสารระดับพื้นที่จะขึ้นอยู่กับ วิธีการส่งสาร ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ซึ่งข่าวสาร อาทิ การจัดท�ำเอกสารต่างๆ ควรง่ายและเจาะจง มีการ ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน การสร้างเอกสารที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการสื่อสาร จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องวางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มเขียนโครงการ

4. สรุ ป เ ป็ น บ ท เ รี ย น

75


“ศึ ก ษาและทดลองปฏิ บั ติ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง” “ด�ำเนินกิจกรรมต้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน” “พัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนาจุดเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม” “จัดระบบข้อมูลให้กับชุมชนและเชื่อมคนในชุมชนกับเครือข่ายความรู้” “สร้างความเชื่อมั่นจากประโยชน์ที่จะได้รับจากการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการปรับตัว” “ท�ำความเข้าใจความซับซ้อนของความสัมพันธ์ทางสังคม และอ�ำนาจทางการเมือง” “ตระหนักถึงความส�ำคัญของระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ” “สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายที่ดี ต้องมาจากกรณีศึกษา” “สร้างแผนการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย”

76

ห นึ่ ง โค ร ง ก า ร ห ล า ก ห ล า ย บ ท เ รี ย น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.